ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาติ

เล่มที่ ๔

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต

ปฐมปัณณาสก์

ธนวรรคที่ ๑

๑. อัปปิยสูตร

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 2

ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรร-

เสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ เป็นผู้มุ่ง

สักการะ ๑ เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ เป็นผู้ไม่มีหิริ ๑ เป็นผู้ไม่มี

โอตตัปปะ ๑ มีความปรารถนาลามก ๑ มีความเห็นผิด ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก

ไม่เป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญของเพื่อน

พรหมจรรย์ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ

ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของ

เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ ไม่เป็นผู้มุ่งสักการะ

๑ ไม่เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ มีความ

ปรารถนาน้อย ๑ มีความเห็นชอบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้

ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ

เป็นที่เคารพและเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

จบ อัปปิยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 3

มโนรถปูรณี

อรรถกถาอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต

ปฐมปัณณาสก์

ธนวรรคที่ ๑

อรรถกถาอัปปิยสุตรที่ ๑

สัตตกนิบาต ปิยสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนวญฺตฺติกาโม แปลว่า ผู้ประสงค์เพื่อเป็นผู้มีชื่อเสียง.

จบอรรถกถาอัปปิยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 4

๒. อัปปิยสูตร

[๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ

ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่

สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ เป็นผู้มุ่ง

สักการะ ๑ เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑

มีความริษยา ๑ มีความตระหนี่ ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้

ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่

ชอบใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์

ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ

ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของ

เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ ไม่เป็นผู้มุ่งสักการะ

๑ ไม่เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ไม่มีความ

ริษยา ๑ ไม่ตระหนี่ ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม

๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพและเป็นที่

สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

จบ อัปปิยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 5

๓. ปฐมพลสูตร

[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็น

ไฉน คือ ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ

สมาธิพละ ปัญญาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้แล.

ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปป-

พละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละเป็นที่ ๗

ภิกษุผู้มีพละด้วยพละ ประการนี้ เป็นบัณฑิต

ย่อมอยู่เป็นสุข พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย

ย่อมเห็นอรรถแห่งธรรมชัดด้วยปัญญา ความ

หลุดพ้นแห่จิต (จริมกจิต) คือ ความดับของ

ภิกษุนั้นย่อมมีได้ เหมือนความดับแห่งประทีป

ฉะนั้น.

จบ ปฐมพลสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมพลสูตรที่ ๓

ปฐมพลสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยนิโส วิจิเน ธมฺม ความว่า ย่อมเลือกเฟ้นธรรมคือ

สัจจะ ๔ โดยอุบาย. บทว่า ปญฺตฺถ วิปสฺสติ ความว่า ย่อมเห็น

สัจจธรรม ด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยมรรคพร้อมวิปัสสนา. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 6

ปชฺโชตสฺเสว ความว่า ประหนึ่งความดับแห่งประทีปฉะนั้น. บทว่า

วิโมกฺโข โหติ เจตโส ความว่า จริมกจิต จิตดวงสุดท้ายของพระ-

ขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยพละเหล่านี้นั้น ย่อมหลุดพันจากวัตถุและ

อารมณ์ เหมือนความดับไปแห่งดวงประทีปฉะนั้น คือ ย่อมไม่ปรากฏ

สถานที่ไป.

จบ อรรถกถาปฐมพลสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 7

๔. ทุติยพลสูตร

[๔]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๗ ประการนี้ ๗ ประการ

เป็นไฉน คือ ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปปพละ สติพละ

สมาธิพละ ปัญญาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ศรัทธาพละเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ

เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ

เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นจำแนกธรรม นี้เรียกว่า ศรัทธาพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิริยพละเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม

เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น

มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า วิริยพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็หิริพละเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอายต่อกาย-

ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการจักต้องอกุศลธรรม

อันลามกทั้งหลายนี้เรียกว่า หิริพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โอตตัปปพละเป็นไฉน ก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 8

สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูก

ต้องอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย นี้เรียกว่า โอตตัปปพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สติพละเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ คือ ประกอบด้วยสติเครื่อง

รักษาตนอย่างยิ่ง ย่อมระลึกนึกถึงแม้สิ่งที่ทำคำที่พูดไว้นาน ได้

นี้เรียกว่า สติพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิพละเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน นี้

เรียกว่า สมาธิพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาพละเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา

ที่กำหนดความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึง

ความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พละ ๗ ประการนี้แล.

ศรัทธาพละ วิริยพละ หิริพละ โอตตัปป-

พละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละเป็นที่ ๗

ภิกษุผู้มีพละด้วยพละ ๗ ประการนี้ เป็นบัณฑิต

ย่อมอยู่เป็นสุข พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย

ย่อมเห็นอรรถแต่งธรรมชัดด้วยปัญญา ความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 9

หลุดพ้นแห่งจิต (จริมกจิต) คือ ความดับของ

ภิกษุนั้นย่อมมีได้ เหมือนความดับแห่งประทีป

ฉะนั้น.

จบ ทุติยพลสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยพบสูตรที่ ๔

ทุติยพลสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ทุติยพลสูตรที่ ๔ มีอาทิว่า สทฺโธ โหติ ได้พรรณนาไว้แล้ว

ในปัญจกนิบาต นั่นแล.

จบ อรรถกถาทุติยพลสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 10

๕. ปฐมธนสูตร

[๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการ

เป็นไฉน คือ ทรัพย์คือศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑

จาคะ ๑ ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล.

ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ

สุตะ จาคะ และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มี

แก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม บัณฑิตเรียก

ผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวตของผู้นั้นไม่เปล่า

ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า พึงประกอบ

ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม.

จบ ปฐมธนสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมธนสูตรที่ ๕

ปฐมธนสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ธนานิ ได้แก่ชื่อว่าทรัพย์เพราะอรรถว่า เพราะบุคคล

ผู้ไม่ยากจนทำได้.

จบ อรรถกถาปฐมธนสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 11

๖. ทุติยธนสูตร

[๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการ

เป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑

จาคะ ๑ ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือศรัทธาเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ

เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ

เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศรัทธา.

ดูก่อนภิกษุทั้ง. หลาย ก็ทรัพย์คือศีลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ

จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

นี้เรียกว่า ทรัพย์คือศีล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือหิริเป็นไฉน ก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความละอาย คือ ละอาย

ต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอายต่อการถูกต้องอกุศลธรรม

อันลามก นี้เรียกว่า ทรัพย์คือหิริ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือโอตตัปปะเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความสะดุ้งกลัว คือ

สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถูก

ต้องอกุศลธรรมอันลามก นี้เรียกว่า ทรัพย์คือโอตตัปปะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 12

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือสุตะเป็นไฉน ก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยะสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ

เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดี

ด้วยทิฏฐิ. ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง

งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ

บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นี้เรียกว่า ทรัพย์คือสุตะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือจาคะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีใจอันปราศจากมลทิน

คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม

ยินดีในการสละ. ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการจำแนกทาน

นี้เรียกว่า ทรัพย์คือจาคะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์คือปัญญาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นปัญญา คือ ประกอบด้วย

ปัญญาที่กำหนดความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส

ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ทรัพย์คือปัญญา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล.

ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ

สุตะ จาคะ และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้มี

แก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม บัณฑิตเรียกผู้

นั้นว่า เป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 13

ประโยชน์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อ

ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง

ประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการเห็น

ธรรม.

จบ ทุติยธนสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 14

๗. อุคคสูตร

[๗] ครั้งนั้นแล มหาอำมาตย์ของพระราชาชื่อว่าอุคคะ ได้

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ไม่เคยมีมา โดยเหตุที่มิคารเศรษฐีผู้เป็นหลานโรหณเศรษฐี.

เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากถึงเพียงนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอุคคะ ก็มิคารเศรษฐีหลานโรหณเศรษฐี

มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากสักเท่าไร.

อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีทองแสนลิ่ม จะกล่าวไปไยถึงเงิน.

พ. ดูก่อนอุคคะ ทรัพย์นั้นมีอยู่แล เรามิได้กล่าวว่าไม่มี แต่

ทรัพย์นั้นแลเป็นของทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา โจร ทายาทผู้ไม่เป็น

ที่รัก ดูก่อนอุคคะ ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระ-

ราชา โจร ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ๗ ประการเป็นไฉน คือ ทรัพย์คือ

ศรัทธา ๑ ศีล ๑ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑ ปัญญา ๑

ดูก่อนอุคคะ ทรัพย์ ๗ ประการนี้แล ไม่ทั่วไปแก่ไฟ น้ำ พระราชา

โจร ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก.

ทรัพย์ คือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ

สุตะ จาคะ และปัญญาเป็นที่ ๗ ทรัพย์เหล่านี้

มีแก่ผู้ใด เป็นหญิงหรือชายก็ตาม เป็นผู้มีทรัพย์

มากในโลก อันอะไร ๆ พึงผจญไม่ได้ในเทวดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 15

และมนุษย์ เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญา เมื่อ

ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง

ประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส และการ

เห็นธรรม.

จบสูตรที่ ๗

อรรถกถาอุคคสูตรที่ ๗

อคคสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุคฺโค ราชมหามตฺโต ได้แก่ มหาอำมาตย์ ของพระเจ้า

ปเสนทิโกศล. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า เป็นผู้บริโภคอาหารเช้า

เสร็จแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า.

บทว่า อทฺโธ ความว่า เป็นผู้มั่งคั่งเพราะทรัพย์ที่เก็บไว้.

ด้วยบทว่า มิคาโร โรหเณยฺโย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา

มิคารเศรษฐีเป็นหลานแห่งโรหณเศรษฐี. บทว่า มหทฺธโน ได้แก่

เป็นมีทรัพย์มากโดยทรัพย์สำหรับใช้สอย. บทว่า มหาโภโค

ได้แก่ เป็นผู้มีโภคะมาก เพราะมีสิ่งอุปโภคและปริโภคมาก บทว่า

หิรญฺสฺส ได้แก่ทองคำนั้นเอง. จริงอยู่ เฉพาะทองคำของเศรษฐีนั้น

นับได้จำนวนเป็นโกฏิ. บทว่า รูปิยสฺส ความว่า กล่าวเฉพาะเครื่อง

จับจ่ายใช้สอย เช่นที่นอน เสื่ออ่อน ขัน เครื่องลาด และเครื่องนุ่งห่ม

เป็นต้น จะประมาณไม่ได้เลย.

จบ อรรถกถาอุคคสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 16

๘. สังโยชนสูตร

[๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการ

เป็นไฉน คือ สังโยชน์ คือ ความยินดี ๑ ความยินร้าย ๑ ความเห็นผิด

๑ ความสงสัย ๑ มานะ ๑ ความกำหนัดในภพ ๑ อวิชชา ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้แล.

จบ สังยชนสูตรที่ ๘

อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๘

สังโยชนสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนุนยสญฺโชน ได้แก่ กามราคสังโยชน์. ความจริง

สังโยชน์ทั้งหมดนี้นั่นแหละ พึงทราบว่า สังโยชน์ เพราะอรรถว่า

เป็นเครื่องผูก. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะวัฏฏอย่าง

เดียว. คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 17

๙. ปหาสูตร

[๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมประพฤติพรหมจรรย์

เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน คือ สังโยชน์

คือ ความยินดี ๑ ความยินร้าย ๑ ความเห็นผิด ๑ ความสงสัย ๑

มานะ ๑ ความกำหนัดในภพ ๑ อวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ ๗ ประการนี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละสังโยชน์ คือ ความยินดีเสียได้

ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิด

ขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ละสังโยชน์ คือความยินร้าย ฯลฯ สังโยชน์

คือ ความเห็นผิด ฯลฯ สังโยชน์คือความสงสัย ฯลฯ สังโยชน์คือ

มานะ ฯลฯ สังโยชน์คือความกำหนัดในภพ ฯล สังโยชน์คืออวิชชา

เสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้

เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อนั้น ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า ตัดตัณหา

ได้ขาดแล้ว เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว

เพราะตรัสรู้คือละมานะเสียได้โดยชอบ.

จบสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 18

๑๐. มัจฉริยสูตร

[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการ

เป็นไฉน คือ สังโยชน์คือ ความยินดี ๑ ความยินร้าย ๑ ความเห็นผิด

๑ ความสงสัย ๑ มานะ ๑ ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้แล.

จบสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอัปปิยสูตร ๒. ทุติยอัปปยสูตร ๓. ปฐมพลสูตร

๔. ทุติยพลสูตร ๕. ปฐมธนสูตร ๖. ทุติยธนสูตร ๗. อุคคสูตร

๘. สังโยชนสูตร ๙. ปหานสูตร ๑๐. มัจฉริยสูตร

จบ ธนวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 19

อนุสยวรรคที่ ๒

๑. ปฐมอนุสยสูตร

[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ ประการนี้ ๗ ประการ

เป็นไฉน คือ อนุสัย คือ กามราคะ ๑ อนุสัย คือ ปฏิฆะ ๑ อนุสัย คือ

ทิฏฐิ ๑ อนุสัย คือ วิจิกิจฉา ๑ อนุสัย คือ มานะ ๑ อนุสัย คือ ภวราคะ

๑ อนุสัย คือ อวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ ประการนี้แล.

จบ ปฐมอนุสยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 20

๒. ทติยอนุสยสูตร

[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน คือ อนุสัย คือ

กามราคะ ๑ อนุสัย คือ ปฏิฆะ ๑ อนุสัย คือ ทิฏฐิ ๑ อนุสัย คือ

วิจิกิจฉา ๑ อนุสัย คือ มานะ ๑ อนุสัย คือ ภวราคะ ๑ อนุสัย คือ

อวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

เพื่อละ เพื่อตัดอนุสัย ๗ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล

ภิกษุละอนุสัยคือกามราคะเสียได้ ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน

ตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ละอนุสัย

คือ ปฏิฆะ... อนุสัย คือ ทิฏฐิ... อนุสัย คือ วิจิกิจฉา... อนุสัย คือ

มานะ... อนุสัย คือ ภวราคะ... อนุสัย คือ อวิชชาเสียได้ ตัดราก

ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีก

ต่อไป เป็นธรรมดา เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัณหาได้แล้ว

เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้

คือละมานะเสียได้โดยชอบ.

จบ ทุติอนุสยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 21

๓. กุลสูตร

[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลซึ่งประกอบด้วยองค์ ๗

ประการ ภิกษุยังไม่เคยเข้าไป ไม่ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้ว

ไม่ควรนั่ง องค์ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ต้อนรับด้วยไม่เต็มใจ ๑

ไหว้ด้วยไม่เต็ม ๑ ให้อาสนะด้วยไม่เต็มใจ ๑ ซ่อนของที่มีอยู่ ๑

เมื่อมีของมากให้น้อย ๑ เมื่อมีของประณีตให้ของเศร้าหมอง ๑ ให้

โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยเคารพ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลซึ่ง

ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้าไป ไม่ควร

เข้าไป หรือเข้าไปแล้วไม่ควรนั่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลซึ่ง

ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ ภิกษุยังไม่เคยเข้าไป ควรเข้าไป

หรือเข้าไปแล้ว ควรนั่ง องค์ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ต้อนรับด้วย

เต็มใจ ๑ ไหว้ด้วยเต็มใจ ๑ ให้อาสนะด้วยเต็มใจ ๑ ไม่ซ่อนของที่

มีอยู่ ๑ เมื่อมีของมากให้มาก ๑ เมื่อมีของประณีตให้ของประณีต ๑

ให้โดยเคารพ ไม่ให้โดยไม่เคารพ ๑ ก่อนภิกษุทั้งหลาย สกุลซึ่ง

ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เคยเข้าไป ควรเข้าไป

หรือเข้าไปแล้วควรนั่ง.

จบ กุลสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 22

อนุสยวรรคที่ ๒

อรรถกถากุลสูตรที่ ๓

วรรคที่ ๒ กุลสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นาล แปลว่า ไม่ควร คือไม่เหมาะสม. บทว่า น มนาเปน

ความว่า ลุกจากอาสนะที่ตนนั่ง โดยอาการไม่คอยเต็มใจ คือแสดง

อาการไม่พอใจนั่นเอง. สองบทว่า สนฺตมสฺส ปริคูหนฺติ ความว่า

ย่อมซ่อน คือย่อมปกปิด - ไทยธรรมแม้ที่มีอยู่แก่ภิกษุนั้น. บทว่า

อสกฺกจฺจ เทนฺติ โน สกฺกจฺจ ความว่า ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเศร้าหมอง

หรือประณีตก็ตาม ให้ ไม่ใช่ด้วยมือของตน คือโดยอาการไม่ยำเกรง

ย่อมไม่ให้โดยอาการยำเกรง.

จบ อรรถกถากุลสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 23

๔. ปุคคสูตร

[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควร

ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควร

กระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๗ จำพวก

เป็นไฉน คือ อุภโตภาควิมุต ๑ ปัญญาวิมุติ ๑ กายสักยี ๑ ทิฏฐิปปัตตะ

๑ สัทธาวิมุติ ๑ ธัมมานุสารี ๑ สัทธานุสารี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ

เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก

ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบ ปุคคลสูตรที่ ๔

อรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๔

ปุคคลสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต ความว่า หลุดพ้นแล้วโดยส่วนทั้ง ๒.

อธิบายว่า หลุดพ้นแล้วจากรูปกาย ด้วยอรูปสมาบัติ และหลุดพ้น

แล้วจากนามกายด้วยมรรค. บุคคลนั้นมี ๕ จำพวก คือ บุคคลผู้

ออกจากอรูปสมาบัติ ๔ แต่ละสมาบัติ แล้วพิจารณาสังขารแล้ว

บรรลุพระอรหัต ๔ จำพวก, และพระอนาคามีผู้ออกจากนิโรธแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 24

บรรลุพระอรหัต ๑ จำพวก. แต่บาลีในพระสูตร มาแล้วด้วยอำนาจ

ผู้ได้วิโมกข์ ๘ อย่างนี้ว่า ก็บุคคลผู้หลุดพันโดยส่วน ๒ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ ถูกต้องวิโมกข์ ด้วยนามกายแล้วอยู่

อาสวะของผู้นั้นย่อมสิ้นไป เพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา.

บุคคลผู้ชื่อว่า ปัญญาวิมุตตะ เพราะหลุดพ้นด้วยปัญญา.

ปัญญาวิมุตตะนั้นมี ๕ จำพวก ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ พระ-

อรหันตสุกขวิปัสสกะจำพวก ๑ ท่านออกจากฌาน ๔ แล้วบรรลุ

พระอรหัต ๔ จำพวก. แต่บาลีในสูตรนี้มาแล้ว โดยปฏิเสธวิโมกข์ ๘

ดังพระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ความจริง บุคคลไม่ได้

ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่ อาสวะทั้งหลายของเขาย่อมสิ้นไป

เพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา บุคคลนี้ท่านเรียกว่า ปัญญาวิมุตติ หลุดพ้น

แล้วด้วยปัญญา.

บุคคลชื่อว่า กายสักขี เพราะทำให้วิโมกข์นั้น อันตนทำให้

แจ้งแล้วด้วยนามกาย. กายสักขีปุคคลนั้นย่อมถูกต้องฌานสัมผัส

ก่อน ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิโร คือพระนิพพานในภายหลัง. กายสักขี-

บุคคลนั้น นับตั้งแต่พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล จนถึง

พระอริยบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค รวมเป็น ๖ จำพวก

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า บุคคลบางคนในพระศาสนา

ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกายอยู่ อาสวะ บางเหล่าของผู้นั้น

ย่อมสิ้นไป เพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา บุคคลนี้ท่านเรียกว่า กายสักขี

ด้วยเห็นวิโมกข์ด้วยนามกาย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 25

บุคคลผู้ชื่อว่า ทิฏฐิปปัตตะ เพราะถึงอริยสัจจธรรมที่ตน

เห็นแล้ว. ในทิฏฐิปปัตตบุคคลนั้น มีสักษณะสังเขปดังต่อไปนี้ บุคคล

ชื่อว่า ทิฏฐิปปัตตะ เพราะรู้ เห็น รู้แจ้ง ทำให้แจ้ง ถูกต้องด้วยปัญญา

ว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ความดับสังขารเป็นสุขดังนี้. แต่เมื่อ

ว่าโดยพิศดาร บุคคลแม้นั้น ย่อมมี ๖ จำพวก ดุจกายสักขีบุคคล

ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า บุคคลบางตนในพระ-

ศาสนานี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัด

ตามความเป็นจริงว่า นี้ปฏิปทา เป็นเครื่องยังสัตว์ให้ถึงความดับทุกข์

ดังนี้ และเป็นผู้มีธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ซึ่งตน

เห็นแล้วด้วยปัญญา อันตนประพฤติแล้วปัญญา บุคคลนี้ ท่าน

เรียกว่า ทิฏฐิปปัตตะ ผู้ถึงอริยสัจจ์ ที่ตนเห็นแล้ว.

บุคคล ชื่อว่า สัทธาวิมุตตะ เพราะหลุดพ้นด้วยศรัทธา

สัทธาวิมุตตบุคคลแม้นั้น ก็มี ๖ จำพวก โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ ย่อม

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

นี้ปฏิปทาเป็นเครื่องให้ถึงความดับทุกข์ และย่อมเป็นผู้มีธรรมที่

พระตถาคตประกาศแล้ว ซึ่งตนเห็นแล้วด้วยปัญญา อันตนประพฤติ

แล้วด้วยปัญญา ฯลฯ บุคคลนี้ ท่านเรียกว่า สัทธาวิมุตตะ หลุดพ้น

ด้วยศรัทธา แต่ว่าไม่เป็นเหมือนความหลุดพ้นของทิฏฐิปปัตตะบุคคล.

เพราะความสิ้นกิเลสของสัทธาวิมุตตะบุคคลนี้ เหมือนความสิ้นกิเลส

ของบุคคลผู้เชื่ออยู่ ปักใจเชื่ออยู่ เเละน้อมใจเชื่ออยู่ ในมัคคขณะ

อันเป็นส่วนเบื้องต้นฉะนั้น ญาณอันเป็นเครื่องดับกิเลสในมัคคขณะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 26

อันเป็นส่วนเบื้อต้น ของทิฏฐิปปัตตะบุคคล เป็นญาณไม่ชักช้า

กล้าแข็ง แหลมคม ตัดกิเลสผ่านไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น เหมือน

อย่างว่า บุคคลใช้ดาบที่ไม่คม ตัดต้นกล้วย รอยขาดของต้นกล้วย

ย่อมเกลี้ยงเกลา ดาบก็ไม่นำ (ตัด) ไปได้โดยฉับพลัน ยังได้ยินเสียง

ใช้ความพยายามอย่างแรงกล้า ฉันใด มรรคภาวนา อันเป็น

ส่วนเบื้องต้น ของสัทธาวิมุตตบุคคลนั้น พึงทราบเหมือนฉันนั้น

แต่ยุคคล เอาดาบที่ลับดีแล้วตัดต้นกล้วย รอยขาดของต้นกล้วย

ย่อมเกลี้ยงเกลา ดาบย่อมนำ (ตัด) ได้ฉับพลัน ไม่ได้ยินเสียง ไม่ต้อง

ใช้ความพยายามอย่างแรง ฉันใด มรรคภาวนา อันเป็นส่วนเบื้องต้น

ของปัญญาวิมุตตบุคคลก็พึงทราบฉันนั้นเหมือนกัน.

บุคคล ชื่อว่า ธัมมานุสารี เพราะตามระลึกถึงธรรม. พร้อม

ชื่อว่า ธรรม. อธิบายว่า บุคคลย่อมเจริญมรรคอันมีปัญญาเป็นตัวนำ

แม้ในบุคคลผู้สัทธานุสารีก็นัยนี้เหมือนกัน. บุคคลทั้ง ๒ นั้น ก็ต่อ

บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคนั่นแล. สมจริงดังคำที่ธรรมสังคห-

กาจารย์ กล่าวไว้ว่า บุคคลใด ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล

ปัญญินทรีย์ย่อมมีจำนวนมาก บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญอริยมรรค

อันมีปัญญาเป็นตัวนำ บุคคลนี้ท่านเรียกว่า ธัมมานุสารี. ในธัมมา-

นุสารีนั้น มีความสังเขปเพียงเท่านี้. แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร กถาว่าด้วย

อุภโตภาควิมุตตะปุคคลเป็นต้นนี้ ก็กล่าวไว้แล้วในอธิการว่าด้วย

ปัญญาภาวนาในวิสุทธิมรรค เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบ

โดยที่กล่าวแล้วในปกรณ์นั้นเถิด ดังนี้.

จบ อรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 27

๕. อุทกูปมสูตร

[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลมีเปรียบด้วยน้ำ ๗ จำพวกนี้

มีปรากฏอยู่ในโลก ๗ จำพวกเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้

จมลงแล้วคราวเดียว ก็เป็นอันจมอยู่นั่นเอง ๑ บางคนโผล่ขึ้นมาแล้ว

กลับจมลงไป ๑ บางคนโผล่พ้นแล้วทรงตัวอยู่ ๑ บางคนโผล่ขึ้นแล้ว

เหลียวไปมา ๑ บางคนโผล่ขึ้นแล้วเตรียมตัวจะข้าม ๑ บางคนโผล่

ขึ้นแล้วได้ที่พึ่ง ๑ บางคนโผล่ขึ้นมาได้แล้วเป็นพราหมณ์ข้ามถึงฝั่ง

อยู่บนบก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่จมลงแล้วคราวเดียว

ก็เป็นอันจมอยู่นั่นเองอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยอกุศลธรรมฝ่ายดำโดยส่วนเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล

ที่จมลงแล้วคราวเดียวก็เป็นอันจมอยู่นั่นเองอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาได้กลับจมลงไป

อย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาได้ คือเขามีธรรม คือ

ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาชั้นดี ๆ ในกุศลธรรมทั้งหลาย

แต่ศรัทธาของเขานั้นไม่คงที่ ไม่เจริญขึ้น เสื่อมไปฝ่ายเดียว หิริ

โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาของเขานั้น ไม่คงที่ ไม่เจริญขึ้น เสื่อมไป

ฝ่ายเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้วกลับจมลง

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้วทรงตัวอยู่อย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาได้ คือ เขามีธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา

หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาชั้นดี ๆ ในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 28

ศรัทธาของเขานั้นไม่เสื่อมลง ไม่เจริญขึ้น คงที่อยู่ หิริ โอตตัปปะ

วิริยะ และปัญญาของเขานั้นไม่เสื่อมลง ไม่เจริญขึ้น คงที่อยู่ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาได้แล้วทรงตัวอยู่อย่างนี้แล.

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาได้แล้วเหลียวไปมา

อย่างไร บุคคลบางตนในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาได้ คือ เขามีธรรมเหล่านี้

คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาชั้นดี ๆ ในกุศลธรรม

ทั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เขาเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่

ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลที่โผล่ขึ้นมาได้แล้วเหลียวไปมาอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาได้แล้วเตรียมตัว

จะข้ามอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาได้ คือ เขามีธรรม

เหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญาชั้นดี ๆ ในกุศลธรรม

ทั้งหลาย เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เพราะทำราคะ โทสะ โมหะ

ให้เบาบางลง เขาเป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น

แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลที่โผล่ขึ้นมาได้แล้ว เตรียมตัวจะข้าม

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาแล้วได้ที่พึ่งอย่างไร

บุคคลบางตนในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาได้ คือ เขามีธรรมเหล่านี้ คือ

ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา ชั้นดี ๆ ในกุศลธรรมทั้งหลาย

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาเป็นพระอนาคามี จัก

ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคล

ที่โผล่ขึ้นมาแล้วได้ที่พึ่งอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 29

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่โผล่ขึ้นมาได้แล้วเป็นพราหมณ์

ข้ามถึงฝั่งอยู่บนบกอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ โผล่ขึ้นมาได้

คือ เขามีธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา

ชั้นดี ๆ ในกุศลธรรมทั้งหลาย เขากระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา-

วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา

อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ บุคคลที่โผล่ขึ้นมาได้แล้วเป็นพราหมณ์

ข้ามถึงฝั่งอยู่บนบกอย่างนี้แล้ว ก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบ

ด้วยน้ำ ๗ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบ อุทกูปมสูตรที่ ๕

อรรถกถาอุทกูปมสูตรที่ ๕

อุทกูปมสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุทกูปมา ความว่า บุคคล ท่านเปรียบด้วยน้ำ เพราะ

ถือเอาอาการมีการดำลงเป็นต้น. สองบทว่า สกึ นิมุคฺโค ได้แก่

ดำลงคราวเดียว บทว่า เอกนฺตกาฬเกหิ พระองค์ตรัสหมายถึง

นิยตมิจฉาทิฏฐิ. บทว่า อุมฺมุชฺชติ แปลว่าผุดขึ้น. บทว่า สาธุ ความว่า

งาม คือ ดี. บทว่า หายติเยว ความว่า ย่อมเสื่อมไปหมดทีเดียว

เหมือนน้ำที่บุคคลรดลงในเครื่องกรองน้ำ ฉะนั้น. หลายบทว่า

อุมฺมุชฺชิตฺว่า วิปสฺสติ วิโลเกติ ความว่า บุคคลที่โผล่ขึ้นได้แล้ว

พิจารณาเหลียวแลดูทิศที่ควรจะไป. บทว่า ปตรติ ความว่า ชื่อว่า

เป็นผู้บ่ายหน้าต่อทิศที่ควรไปข้ามไปอยู่. สองบทว่า ปติคาธปฺปตฺโต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 30

โหติ บุคคลโผล่ขึ้นมาแล้วเหลียวดูข้ามไป ชื่อว่าย่อมประสมที่พึง

คือ ย่อมยืนอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ไม่หวนกลับมาอีก. บทว่า ติณฺโณ

ปารคโต ถเล ติฏฺติ ความว่า บุคคลข้ามหวัง คือ กิเลสทั้งปวง

ถึงฝั่งโน้นแล้ว ชื่อว่า ย่อมเป็นผู้ยืนอยู่บนบก คือ พระนิพพาน.

วัฏฏะและวิวัฏฏะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรนี้.

จบ อรรถกถาอุทกูปมสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 31

๖. อนิจจสูตร

[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควร

ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควร

กระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๗ จำพวก

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็น

ความไม่เที่ยง มีความสำคัญว่าไม่เที่ยง ทั้งรู้ว่าเป็นของไม่เที่ยง

ในสังขารทั้งปวง ตั้งใจมั่นติดต่อกันไปไม่ขาดสาย มีปัญญาหยั่งทราบ

ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ นี้เป็นบุคคลที่ ๑ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญ

ของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางตนในโลกนี้

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง... มีปัญญาหยั่งทราบ ความสิ้นอาสวะ

และความสิ้นชีวิตของเขา ไม่ก่อนไม่หลังกัน นี้เป็นบุคคลที่ ๒

เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง... มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาจักปรินิพพานในระหว่าง นี้เป็นบุคคลที่ ๓

เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 32

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง... มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาจักปรินิพพานในเมืออายุเลยกึ่ง นี้เป็น

บุคคลที่ ๔ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง... มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาจักปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก

นี้เป็นบุคคลที่ ๕ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก

ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง... มีปัญญาหยั่งทราบ. เพราะโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาจักปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง

นี้เป็นบุคคลที่ ๖ เป็นผู้ควรของคำนับ... เป็นนาบุญของโลกไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง มีความสำคัญว่าไม่เที่ยง ทั้งรู้ว่าเป็น

ของไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง ตั้งใจมั่น ติดต่อกันไปไม่ขาดสาย

มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เขาเป็นผู้

มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่อกนิฏฐภพ นี้เป็นบุคคลที่ ๗ เป็นผู้ควร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 33

ของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของ

ต้อนรับ เป็นควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญ

ของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบ อนิจจสูตรที่ ๖

อรรถกถาอนิจจสูตรที่ ๖

อนิจจสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บุคคลชื่อว่า อนิจานุปัสสี เพราะตามเห็นขยายไปด้วย

ปัญญาอย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง. บุคคลชื่อว่า อนิจจสัญญี

เพราะมีความสำคัญอย่างนี้ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง. บุคคลชื่อว่า

อนิจจปฏิสังเวที เพราะรู้ชัดด้วยญาณ (ปัญญา) อย่างนี้ว่า สังขาร

ทั้งหลายไม่เที่ยง. บทว่า สตต ได้แก่ ทุกกาล. บทว่า สมิต ความว่า

จิตดวงหลัง ถึงแล้วคือเข้าถึงแล้ว สืบต่อกับจิตดวงก่อนอย่างใด

จิตดวงก่อนก็สืบต่อกับจิตดวงหลังอย่างนั้น. บทว่า อพฺโพกิณฺณ

ความว่า ต่อกันไม่ขาดสาย คือไม่เจือปนด้วยจิตดวงอื่น. บทว่า

เจตสา อธิมุจฺจมาโน ได้แก่ น้อมในไป. บทว่า ปญฺาย ปริโยคาหมาโน

ได้แก่ ตามเข้าไปด้วยวิปัสสนาญาณ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 34

บทว่า อปุพฺพ อจริม ได้แก่ ไม่ก่อนไม่หลัง คือในขณะเดียวกัน

นั้นเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมสีสีบุคคล ไว้ในพระสูตรนี้.

สมสีสีบุคคลนั้น มี ๔ จำพวก คือ โรคสมสีสี เวทนาสมสีสี

อิริยาปถสมสีสี และชีวิตสมสีสี. บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนั้น

บุคคลใดถูกโรคอย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว โรคสงบระงับ และ

อาสวะสิ้นไป โดยคราวเดียวกันนั่นเอง บุคคลนี้ ชื่อว่าโรคสมสีสี.

ส่วนบุคคลใด เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เวทนาสงบระงับไป

และอาสวะสิ้นไป ในคราวเดียวกันนั่นเองบุคคลนี้ ชื่อเวทนาสมสีสี.

ส่วนบุคคลใด พรั่งพร้อมด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง มีการยืน

เป็นต้น เห็นแจ้งอยู่ อริยาบถสิ้นสุด และอาสวะสิ้นไป โดยขณะ

เดียวกันนั่นเอง บุคคลนี้ ชื่อว่า อิริยาปถสมสีสี. ส่วนบุคคลใด

พยายามฆ่าตัวตายหรือทำสมณธรรมอยู่ ชีวิตสิ้นไป และอาสวะก็

สิ้นไป โดยขณะเดียวนี้นั่นเอง บุคคลนี้ ชื่อว่า ชีวิตสมสีสี. ชีวิต-

สมสีสีบุคคลนี้ ท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้. ในชีวิตสมสีสีบุคคล

นั้น มีอธิบายว่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ย่อมมีได้ด้วยมรรคจิต

ความสิ้นสุดแห่งชีวิตย่อมมีได้ด้วยจุติจิตก็จริง ถึงกระนั้น ชื่อว่า

ความเกิดพร้อมแห่งธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ และการสิ้นสุดแห่งชีวิต

ทั้ง ๒ อย่าง ย่อมมีในขณะเดียวกันไม่ได้. ก็เพราะเหตุที่พออาสวะ

ของชีวิตสมสีสีบุคคลนั้นสิ้นไป ความสิ้นสุดแห่งชีวิตก็มาถึง ใน

ลำดับวาระแห่งปัจจเวกขณะทีเดียว ไม่ปรากฏช่องว่าง ฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 35

บทว่า อนฺตราปรินิพฺพายี นี้ เป็นชื่อของพระอนาคามีบุคคล

ผู้เกิดในภูมิใดภูมิหนึ่ง บรรดาสุทธาวาสภูมิทั้ง ๕ หรือเลยไปหน่อย

หนึ่ง หรือยังตั้งอยู่ตรงกลาง. ในขณะที่บังเกิดแล้วบรรลุพระอรหัต.

บทว่า อุปหจฺจปรินิพฺพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคล. ล่วงเลย

กลางอายุขัยแล้ว จึงบรรลุพระอรหัต ในสุทธาวาสภูมินั่นเอง.

บทว่า อสงฺขารปรินิพฺพายี ได้แก่ พระอนาคามีบุคคล ผู้ทำกิเลส

ทั้งหลายให้สิ้นไป โดยไม่ต้องกระตุ้นเตือน ไม่ต้องกระทำความ

พากเพียร ของบุคคลเหล่านั้นทั้งนั้น. บทว่า อสงฺขารปรินิพฺพายี

ได้แก่ พระอนาคามีบุคคล ผู้ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป โดยต้อง

กระตุ้นเตือน ต้องมีความพยายาม. บทว่า อุทฺธโสโตอกนิฏฐคามี

ได้แก่พระอนาคามีบุคคล ผู้บังเกิดในสุทธาวาสภูมิชั้นต่ำ ๔ ชั้น

ชั้นใดชั้นหนึ่ง จุติจากภูมินั้นแล้ว เกิดในอกนิฏฐภูมิ โดยลำดับ

แล้วบรรลุพระอรหัต.

จบ อรรถกถาอนิจจสุตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 36

๗. ทุกขสูตร

[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควร

ของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๗ จำพวก

เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความทุกข์ มีความ

สำคัญว่าเป็นทุกข์ ทั้งรู้ว่าเป็นทุกข์ ในสังขารทั้งปวง ฯลฯ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควร

ขอต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นควรกระทำอัญชลี เป็น

นาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบ ทุกขสูตรที่ ๗

อรรถกถาทุกขสูตรที่ ๗

ทุกขสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุกฺขานุปสฺสี ได้แก่ บุคคลผู้ตามเห็นอาการคือ ความ

ไม่บีบคั้น โดยความเป็นทุกข์.

จบ อรรถกถาทุกขสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 37

๘. อนัตตสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของ

คำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๗ จำพวก

เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่าเป็นอนัตตา มีความ

สำคัญว่าเป็นอนัตตา ทั้งรู้ว่าเป็นอนัตตา ในธรรมทั้งปวง ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ

เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบ อนัตตา สูตรที่ ๘

อรรถกถาอนัตตาสูตรที่ ๘

อนัตตสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนตฺตานุปสฺสี ได้แก่บุคคลผู้ตามเห็นอาการ คือ

ความไม่เป็นไปในอำนาจ ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ดังนี้.

อรรถกถาอนัตตสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 38

๙. นิพพานสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควรของคำนับ

เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำ

อัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๗ จำพวกเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นความเป็นสุข สำคัญว่าสุข

ทั้งรู้ว่าเป็นสุข ในนิพพาน ตั้งใจมั่น ติดต่อกันไปไม่ขาดสาย มี

ปัญญาหยั่งทราบ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ นี้เป็นบุคคลที่ ๑ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ

เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้

พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข... มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะความสิ้น

อาสวะสู่ความสิ้นชีวิตของท่านนั้น ไม่ก่อนไม่หลังกัน นี้เป็น

บุคคลที่ ๒ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้

พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข... มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ ๕ สิ้นไป จักปรินิพพานในระหว่าง นี้เป็นบุคคลที่ ๓

เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 39

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้

พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข... มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิย

สังโยชน์ ๕ สิ้นไป จักปรินิพพานในเมื่ออายุเลยกึ่ง นี้เป็นบุคคลที่ ๔

เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้

พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข... มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ ๕ สิ้นไป จักปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก นี้

เป็นบุคคลที่ ๕ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก

ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางตนในโลกนี้

พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข... มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ ๕ สิ้นไป จักปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง

นี้เป็นบุคคลที่ ๖ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก

ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง บุคคลบางตนในโลกนี้

พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข... มีปัญญาหยั่งทราบ เพราะโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นมีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ นี้เป็น

บุคคลที่ ๗ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้

ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นควรของทำบุญ เป็น

ผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบ นิพพานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 40

อรรถกถานิพพานสูตรที่ ๙

นิพพานสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สุขานุปสฺสี ได้แก่ บุคคลผู้ตามเห็นด้วยญาณ (ปัญญา)

อย่างนี้ว่า พระนิพพานเป็นสุข.

จบ อรรถกถานิพพานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 41

๑๐. นิททสวัตถุสูตร

[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้ ๗ ประการ

เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า

ในการสมาทานสิกขาและเป็นผู้ได้ความยินดีในการสมาทานสิกขา

ต่อไป ๑ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการใคร่ครวญธรรม และ

เป็นผู้ได้ความยินดีในการใคร่ครวญธรรมต่อไป ๑ เป็นผู้มีความพอใจ

อย่างแรงกล้าในอันที่จะกำจัดความอยาก และเป็นผู้ได้ความยินดี

ในอันที่จะกำจัดความอยากต่อไป ๑ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า

ในการหลีกเร้นและเป็นผู้ได้ความยินดีในการหลีกเร้นต่อไป ๑ เป็น

ผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และเป็นผู้

ได้ความยินดีในการปรารภความเพียรต่อไป ๑ เป็นผู้มีความพอใจ

อย่างแรงกล้าในความเป็นผู้มีสติรอบคอบ และเป็นผู้ได้ความยินดี

ในความเป็นผู้มีสติรอบคอบต่อไป ๑ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า

ในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ และเป็นผู้ได้ความยินดีในการแทงตลอด

ด้วยทิฏฐิต่อไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ ๗ ประการนี้แล.

จบ นิททสวัตถุสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 42

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนุสยสูตรที่ ๑ ๒. อนุสยสูตรที่ ๒ ๓. กุลสูตร

๔. ปุคคลสูตร ๕. อุทกูปมสูตร ๖. อนิจจาสูตร ๗. ทุกขสูตร

๘. อนัตตาสูตร ๙. นิพพานสูตร ๑๐. นิททสวัตถุสูตร

จบ อนุสยวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 43

วัชชีวรรคที่ ๓

๑. สารันททสูตร

[๑๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สารันทท-

เจดีย์ ใกล้กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีหลายพระองค์ด้วยกัน

พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า ดูก่อนลิจฉวี

ทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการ แก่ทานทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนลิจฉวีทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ

ชาววัชชีจักหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวัง

ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ชาววัชชี

เมื่อประชุมก็จักพร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียง

กันเลิกประชุมและจักพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ เพียงใด

ชาววัชชีพึงหวังความเจริญ ได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย

เพียงนั้น, ชาววัชชีจักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่บัญญัติ จักไม่ถอนสิ่ง

ที่ท่านบัญญัติไว้แล้ว ประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชีครั้ง

โบราณ ตามที่ท่านบัญญัติไว้ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญ

ได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ชาววัชชีจักสักการะ

เคารพ นับถือ บูชาท่านวัชชีผู้ใหญ่ทั้งหลาย และจักสำคัญถ้อยคำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 44

แห่งท่านเหล่านั้น ว่าเป็นถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง เพียงใด ชาววัชชี

พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น

ชาววัชชีจักไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงในสกุล เพียงใด ชาววัชชี

พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น,

ชาววัชชียังคงสักการะ เคารพ นับถือ, บูชาเจติยสถานของชาววัชชี

ทั้งภายในและภายนอก และไม่ลบล้างพลีกรรมอันชอบธรรม ซึ่งเคยให้

เคยทำแก่เจติยสถานเหล่านั้น เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญ

ได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ชาววัชชีจักถวาย

ความอารักขา ความคุ้มครอง ป้องกันโดยชอบธรรมในพระอรหันต์

ทั้งหลาย เป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยัง

ไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้น และที่มาแล้ว พึงอยู่เป็นสุขเพียงใด ชาว

วัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.

ดูก่อนลิจฉวีทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ใน

ชาววัชชี ละชาววัชชียังปรากฏอยู่ในอปริหานิยธรรม ๗ ประการ

นี้ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความ

เสื่อมเลย เพียงนั้น.

จบ สารันททสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 45

วัชชีวรรคที่ ๓

อรรถกถาสารันททสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๓ สารันททสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สารนฺทเท เจติเย ได้แก่ในวิหารมีชื่ออย่างนั้น.

ได้ยินว่า เมื่อพระตถาคตยังไม่เสด็จอุบัติ สถานที่อยู่ของยักษ์

ชื่อสารันททะ ได้กลายเป็นเจดีย์. ครั้งนั้น ชนทั้งหลายได้พากัน

สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เจดีย์นั่นแล. บทว่า ยาวกีวญฺจ

แปลว่า ตลอดกาลเพียงไร. บทว่า อภิณฺหสนฺนิปาตา ความว่า ประชุม

กันวันละ ๓ ครั้งก็ดี ประชุมกันเป็นระยะ ๆ ก็ดี ชื่อว่า ประชุมกัน

เนือง ๆ. บทว่า บทว่า สนฺนิปาตพหุลา ความว่า ชื่อว่า มากด้วยการประชุม

เพราะยุติกันไม่ได้ว่าทั้งวันวาน ทั้งในวันก่อน ๆ เราก็ประชุมแล้ว

เพื่อประโยชน์อะไรจึงประชุมกันวันนี้อีก. คำว่า วุฑฺฒิเยว ลิจฺฉวี

วชฺชีน ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ ความจริงเจ้าลิจฉวี เมื่อไม่ประชุม

กันเนื่อง ๆ ย่อมไม่ได้สดับข่าวสาสน์อันมาในทิศทั้งหลายเลย.

แต่นั้นย่อมไม่ทราบว่า เขตแดนหมู่บ้านโน้น หรือเขตแดนนิคมโน้น

วุ่นวายกัน พวกโจรส่องสุมกันอยู่ในที่โน้น ฝ่ายพวกโจร ครั้นรู้ว่า

เจ้าทั้งหลายพากันประมาทแล้ว ก็โจรตีหมู่บ้านเป็นต้น ทำชนบท

ให้เสียหาย. ความเสื่อมเสียย่อมมีแก่เจ้าทั้งหลายด้วยอาการอย่างนี้.

แต่เมื่อประชุมกันเนือง ๆ ย่อมได้ฟังเรื่องนั้น ๆ จากนั้น ก็ได้ส่ง

กองกำลังไปกระทำการปราบศัตรู. แม้พวกโจรก็คิดว่า เจ้าทั้งหลาย

ไม่ประมาทแล้ว พวกเราไม่อาจเที่ยวไปโดยคุมกันเป็นพวก ๆ ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 46

แล้วก็พากันแตกหนีไป. เจ้าทั้งหลายจึงมีความเจริญด้วยอาการ

อย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วุฑฺฒิเยว ลิจฺฉวี

วชฺชีน ปาฏิกงฺขา โน ปริหานิ.

ในบทว่า สมคฺคา เป็นต้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. เมื่อสิ้นเสียงกลอง

เรียกประชุม พวกเจ้าวัชชี กระทำความบ่ายเบี่ยงว่า วันนี้เรามีกิจ

เรามีการมงคล ดังนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความพร้อมเพรียงกันประชุม

อนึ่ง พวกเจ้าวัชชี พอได้สดับเสียงกลอง กำลังบริโภคอาหารก็ดี

กำลังประดับก็ดี กำลังนุ่งผ้าอยู่ก็ดี บริโภคอาหารได้ครึ่งหนึ่ง ประดับ

ตัวครึ่งเดียว กำลังนุ่งผ้าก็มาประชุม ชื่อว่าย่อมพร้อมเพียงกัน

ประชุม. อนึ่งพวกเจ้าวัชชี ประชุมคิดปรึกษากันทำกิจที่ควรทำแล้ว

แต่ไม่พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม ชื่อว่า ไม่พร้อมเพรียงกันเลิก

ประชุม. ด้วยว่าเมื่อพวกเจ้าวัชชี เลิกประชุมกันอย่างนี้ พวกเจ้า

วัชชีที่เลิกไปก่อน ย่อมมีปริวิตกอย่างนี้ว่า พวกเราได้สดับแต่เรื่อง

นอกประเด็นทั้งนั้น บัดนี้จักมีเรื่องวินิจฉัยกันดังนี้. อนึ่ง พวกเจ้าวัชชี

เมื่อพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม ชื่อว่า ย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกันเลิก

ประชุม.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพวกเจ้าวัชชี สดับว่า คามสีมาหรือนิคมสีมา

ในที่ชื่อโน้นวุ่นวายหรือ มีพวกโจรส้องสุมดักปล้น กล่าวว่า ใคร

จักไปกระทำการปราบพวกศัตรู ดังนี้แล้วก็แย่งกันไปกล่าวว่า

เราก่อน เราก่อน ชื่อว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม. แต่เมื่อ

การงานของเจ้าวัชชีผู้หนึ่ง ต้องหยุดชงักลง พวกเจ้าวัชชีนอกนั้น

ต่างก็ส่งบุตรและพี่น้องชายไปช่วยเหลือ เจ้าวัชชีบ้าง พวกเจ้าวัชชี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 47

ทั้งหมดอย่าได้พูดกะเจ้าผู้เป็นอาคันตุกะว่า จงไปเรือนของเจ้าวัชชี

โน้น จงไปเรือนของเจ้าวัชชีโน้น ดังนี้ ต่างพร้อมเพรียงกันสงเคราะห์

บ้าง เมื่อการมงคลก็ดี โรคก็ดี ก็หรือว่าเมื่อสุขทุกข์เช่นนั้นอย่างอื่น

เกิดขึ้นแก่เจ้าวัชชีคนหนึ่ง พวกเจ้าวัชชีทั้งหมด ก็พากันเป็นสหาย

ในการงานนั้นบ้าง ชื่อว่า ย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงช่วยกระทำกิจ

ที่เจ้าวัชชีควรกระทำ.

ในบทว่า อปฺปญฺตฺต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ พวก

เจ้าวัชชีเมื่อให้เก็บส่วยภาษีหรือค่าสินไหมที่ไม่ได้กระทำไว้ใน

กาลก่อน ชื่อว่า ย่อมบัญญัติข้อที่ยังไม่ได้บัญญัติ อนึ่ง พวกเจ้า

วัชชีเมื่อให้เก็บส่วยเป็นต้น เฉพาะที่มีอยู่ตามประเพณีโบราณ ชื่อว่า

ย่อมไม่ถอนข้อที่บัญญัติได้แล้ว. พวกเจ้าวัชชี ตัดสินพวกมนุษย์

ที่ถูกเจ้าหน้าที่จับมาแสดงว่าเป็นโจร สั่งลงโทษเสร็จเด็ดขาด

ชื่อว่า ถือวัชชีธรรมของเก่าปฏิบัติ. เมื่อพวกเจ้าวัชชีเหล่านั้น

บัญญัติข้อที่ไม่เคยบัญญัติไว้ พวกมนุษย์ผู้ถูกภาษีใหม่เอี่ยมเป็นต้น

บีบคั้นปรึกษากันว่า พวกเราถูกพวกเจ้าวัชชีเบียดเบียนเหลือเกิน

ใครเล่าจักทนอยู่ในแคว้นของพวกเจ้าเหล่านี้ได้ดังนี้แล้ว พากัน

อพยพไปยังปลายเป็นเป็นโจรบ้าง เป็นพวกของโจรบ้างพากันปล้น

ชาวชนบท. เมื่อเจ้าวัชชีเหล่านั้น ถอนข้อบัญญัติ ที่บัญญัติไว้แล้ว

ไม่เก็บส่วยเป็นต้น ที่มีอยู่แล้วตามประเพณี เรือนคลัง ย่อมเสื่อม

ลง ลำดับนั้น ชนทั้งหลาย มีพลม้า พลช้าง กองทหาร และ

นักสนม เป็นต้น เมื่อไม่ได้รับค่าจ้าง ที่เคยมีเป็นประจำ ย่อม

เสื่อมถอยจากเรี่ยวแรงและกำลัง. ชนเหล่านั้น ย่อมทนความเป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 48

พลรบไม่ได้ อดทนต่อความปรนนิบัติมิได้. เมือเจ้าวัชชีทั้งหลาย

ไม่ยึดวัชชีธรรมของเก่าปฏิบัติ พวกมนุษย์ในแว่นแคว้น พากันโกรธ

ว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ตัดสินบุตรบิดาของเรา ผู้ไม่เป็นโจรให้กลาย

เป็นโจรแล้ว ทำลายทรัพย์เสียดังนี้ ดังนี้แล้วพากันอพยพไปอยู่

ชายแดน เป็นโจรบ้าง เป็นพวกของโจรบ้าง พากันปล้นชนบท เจ้า

ทั้งหลายย่อมมีแต่ความเสื่อมด้วยอาการอย่างนี้ แต่เมื่อเจ้าวัชชี

ทั้งหลาย ไม่บัญญัติข้อที่มิได้บัญญัติไว้ พวกมนุษย์ต่างกันยินดี

ร่าเริงว่า เจ้าทั้งหลาย ทำตามข้อบัญญัติที่เคยมีมาแล้วตามประเพณี

เท่านั้น ดังนี้แล้ว ย่อมจัดแจงการงานมีกสิกรรมและพานิชยกรรม

เป็นต้น ให้สำเร็จผล เมื่อเจ้าวัชชีทั้งหลาย ไม่ถอนข้อที่บัญญัติไว้

เก็บภาษีเป็นต้น ที่เคยมีมาตามประเพณี เรือนคลังก็ย่อมเพิ่มพูน

แต่นั้น พลช้าง พลม้า พลเดินเท้า และนางสนมเป็นต้น เมื่อได้ค่าจ้าง

ตามที่มีเป็นประจำ ย่อมสมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง ย่อม

อดทนต่อการรบ และอดทนต่อการปรนนิบัติบำรุง. เมื่อเจ้าวัชชี

ทั้งหลาย ยึดวัชชีธรรมของเก่าประพฤติ พวกมนุษย์ก็ไม่เพ่งโทษ

ต่อเจ้าทั้งหลาย ทรงกระทำตามประเพณีโบราณ พระองค์เองก็รักษา

นิติธรรม อันเสนาบดีและอุปราชผู้ฉลาดในประโยชน์รักษาแล้ว

ทรงให้สอนคัมภีร์ตามประเพณี ทรงให้ลงอาชญาที่เหมาะสมเท่านั้น

พวกเจ้าเหล่านี้ไม่มีความผิด พวกเราต่างหากมีครามผิด ดังนี้

แล้ว พากันไม่ประมาทกระทำการงานทั้งหลายจึงมีแก่ความเจริญ

ด้วยอาการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 49

บทว่า สกฺกริสฺสนฺติ ความว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย เมื่อกระทำ

สักการะอย่างใดอย่างหนึ่ง แก่เจ้าวัชชีผู้ใหญ่เหล่านั้น จักกระทำ

แต่สิ่งทีดีเท่านั้น. บทว่า ครุกรสฺสนฺติ ความว่า จักเข้าไปตั้งความ

เคารพ กระทำ. บทว่า มาเนสฺสนฺติ ความว่าจักเป็นที่รักโดยความ

นับถือ. บทว่า ปูเชสฺสนฺติ ความว่า จักบูชาด้วยการบูชาด้วยสัจจะ

บทว่า โสตพฺพ มญฺิสสนฺติ ความว่า พวกเจ้าวัชชี ไปประพฤติ

วันละ ๒ - ๓ ครั้ง สำคัญถ้อยคำของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่เหล่านั้นว่าฟัง

ควรเชื่อถือ. บรรดาเจ้าวัชชีเหล่านั้น เจ้าวัชชีเหล่าใดไม้ทำสักการะ

เป็นต้นแก่เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ หรือไม่ไปปรนนิบัติเจ้าวัชชีผู้ใหญ่เหล่านั้น

เพื่อประโยชน์แก่การรับโอวาทอย่างนี้ เจ้าวัชชีเหล่านั้น เป็นอันเจ้า-

วัชชีผู้ใหญ่เหล่านั้นทอดทิ้งเสียแล้ว ไม่ให้โอวาท เพลินแต่

การเล่น ย่อมเสื่อมจากราชการ แต่เจ้าวัชชีเหล่าใด ย่อมปฏิบัติ

โดยประการนั้นอยู่ เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ ย่อมบอกประเพณีโบราณ

แก่เจ้าวัชชีเหล่านั้นว่า กิจนี้ควรทำ กิจนี้ไม่ควรทำ แม้ถึงคราว

สงคราม ก็แสดงอุบายว่า ควรเข้าไปอย่างนี้ ควรออกอย่างนี้.

เจ้าวัชชีเหล่านั้น เมื่อถูกเจ้าวัชชีผู้ใหญ่โอวาทอยู่ ปฏิบัติตามโอวาท

ย่อมอาจดำรงประเพณีแห่งราชการ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า วุฑฺฒิเยว ลิจฺฉวี วชฺชีน ปาฏิกงฺขา ดังนี้.

บทว่า กุลิตฺถิโย ได้แก่หญิงแม่เรือนไม่สกุล. บทว่า กุลกุมาริโย

ได้แก่ ธิดาทั้งหลาย ของหญิงแม่เรือนเหล่านั้น. บทว่า โอกสฺส

หรือบทว่า ปสยฺห นี้เป็นชื่อของอาการคือการข่มขืนนั่นแล. บาลีว่า

โอกาส ดังนี้ก็มี. ในบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกสฺส แปลว่า ฉุดมา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 50

คือคร่ามา. บทว่า ปสยฺห แปลว่า ครอบงำ คือ บังคับ ความจริง

เมื่อเจ้าเหล่านั้นกระทำอย่างนั้น มนุษย์ทั้งหลายในแว่นแคว้นก็โกรธ

ว่า ทั้งบุตรและพี่น้องในเรือนของพวกเรา ทั้งธิดาที่เราเช็ดน้ำลาย

และน้ำมูกเป็นต้น ออกหน้าเลี้ยงให้เจริญเติบโต เจ้าวัชชี

เหล่านั้น จับไปโดยพลการให้อยู่เสียในเรือนของตนอย่างนี้แล้ว

พากันไปชายแดนเป็นโจรบ้าง เป็นพรรคพวกของโจรบ้าง ปล้น

ชนบท. เมื่อเจ้าวัชชีไม่กระทำอย่างนั้น พวกมนุษย์ในแว่นแคว้น

เป็นขวนขวายน้อย กระทำการงานของตน ย่อมทำคลังหลวง

ให้เพิ่มพูน พึงทราบความเจริญและความเสื่อมในข้อนี้ ด้วยอาการ

อย่างนี้.

บทว่า วชฺชีน วชฺชีเจติยานิ ความว่า สถานที่ของยักษ์

อันได้นานว่า เจดีย์ อันเขาตกแต่งให้วิจิตรในแคว้นวัชชี ของเจ้า-

วัชชีทั้งหลาย. บทว่า อพฺภนฺตรานิ ได้แก่ตั้งอยู่ภายนอกพระนคร.

บทว่า ทินฺนปุพฺพ กตปุพฺพ แปลว่า ทีให้และกระทำมาแต่ก่อน

บทว่า โน ปริหาเปสฺสนฺติ ได้แก่ เจ้าวัชชีทั้งหลาย จักไม่ลดคง

กระทำตามที่เป็นอยู่แล้วนั้นแล. จริงอยู่ เมื่อเจ้าวัชชีทั้งหลายลด

พลีกรรมที่เป็นธรรม เทวดาทั้งหลายก็ไม่กระทำการอารักขา ที่

จัดไว้เป็นอย่างดี แม้เมื่อไม่อาจจะให้เกิดสุขที่ยังไม่เกิด ย่อมทำ

โรคไอ โรคศีรษะ เป็นต้น ที่เกิดแล้วให้กำเริบ เมื่อเกิดสงคราม

ก็ไม่เป็นพรรคพวกด้วย แต่เมื่อพวกเจ้าวัชชีไม่ลดพลีกรรม เทวดา

ทั้งหลายก็กระทำการอารักขาที่จัดแจงเป็นอย่างดี แม้เมื่อไม่สามารถ

จะให้เกิดสุขที่ยังไม่เกิดได้ ทั้งยังเป็นพรรคพวกคราวมีสงคราม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 51

ด้วยเหตุนั้น พึงทราบความเจริญและความเสื่อมในข้อนี้ ด้วยประการ

ฉะนี้.

ในบทว่า ธมฺมิการรฺขาวรณคุตฺติ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. อารักขา

นี่แหละ ชื่อว่าป้องกัน เพราะป้องกันโดยประการที่สิ่งที่น่าปรารถนา

จะไม่มาถึง ชื่อว่าคุ้มครอง เพราะคุ้มครองโดยประการทีสิ่งน่า

ปรารถนาไม่เสียหาย ในอารักขานั้นการใช้กองกำลังห้อมล้อมรักษา

หาชื่อว่า ธรรมิการักขาวรณคุตติสำหรับบรรพชิตไม่. ส่วนการ

กระทำโดยประการที่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ไม่แผ้วถางต้นไม้ในป่า

ใกล้วิหาร ชาวไร่ไม่ลงพืชเขาวิหาร ไม่จับปลาในสระใกล้วิหาร ชื่อว่า

ธรรมิการักขาวรณคุตติ บทว่า กินฺติ แปลว่า เพราะเหตุไรหนอ.

ในคำว่า ธมฺมิการกฺขาวรณคุตฺติ นั้นมีวินิจฉัยดังนี้.

เจ้าวัชชีผู้ไม่ปรารถนาการมาของพระอรหันต์ทั้งหลาย

ผู้ยังไม่มา ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เมื่อ

บรรพชิต มาถึงแล้ว คนไม่กระทำการต้อนรับ ไปก็ไม่ยอมพบ

ไม่ทำการปฏิสันถาร ไม่ถามปัญหา ไม่ฟังธรรม ไม่ถวายทาน

ไม่ฟังการอนุโมทนา ไม่จัดแจงที่พักอาศัยให้ เมื่อเป็นเช่นนั้น

กิตติศัพท์ไม่ดีงาม ของเจ้าวัชชีเหล่านั้น ย่อมขจรไปว่า เจ้าชื่อโน้น

เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เมื่อบรรพชิตมาถึงแล้ว

ไม่ออกไปต้อนรับ ฯลฯ ไม่จัดแจงที่พักอาศัยให้. บรรพชิตทั้งหลาย

ได้ฟังดังนั้นแล้ว แม้ไปทางประตูเมือง ก็ไม่เข้าเมือง เมื่อเป็นเช่นนั้น

พระอรหันต์ ที่ยังไม่มาก็ไม่มา แต่ที่มาแล้ว เมื่ออยู่ไม่ผาสุก ผู้ที่

ไม่รู้แล้วมาก็ตั้งใจว่าจักอยู่จึงพากันมา ใครเล่าจักอยู่ได้ โดยการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 52

ไม่นำพาทั้งนี้ของพวกเจ้าเหล่านี้ แล้วก็พากันออกไป เมื่อเป็น

เช่นนี้ เมื่อพระอรหันต์ที่ยังไม่มา ก็ไม่มาที่มาแล้วก็อยู่เป็นทุกข์

ประเทศนั้นก็ชื่อว่า ไม่เป็นที่น่าอยู่สำหรับบรรพชิต. นั้น การ

อารักขาของเทวดาก็ไม่มี เมือการอารักขาของเทวดาไม่มี พวก

อมนุษย์ย่อมได้โอกาส อมนุษย์จะหนาแน่น ย่อมทำพยาธิที่ยัง

ไม่เกิดขึ้น บุญอันเป็นวัตถุแห่งการเห็นผู้มีศีล และถามปัญหา

เป็นต้นก็จะไม่มาถึง. โดยปริยายตรงกันข้าม ธรรมฝ่ายขาว (กุศล)

ตามที่กล่าวแล้ว ก็จะเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น พึงทราบความเจริญ

และความเสื่อมในเรื่องนี้ด้วยอาการอย่างนี้.

จบ อรรถกถาสารันททสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 53

๒. วัสสการสูตร

[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา

คิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าแผ่นดินมคธ

พระนามว่าอชาตสัตรูเวเทหีษุตร ทรงพระประสงค์จะยาตราทัพ

ไปย่ำยีชาววัชชี ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า เราจักตัดเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์

มีอานุภาพมากอย่างนี้ ๆ ให้ขาดสูญ ให้พินาศ ให้ถึงความย่อยยับ

ดับสูญ ครั้งนั้นแล พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตสัตรู-

เวเทหีบุตร จึงตรัสเรียกวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ของแคว้น-

มคธมาปรึกษาว่า ก่อนท่านพราหมณ์ เชิญท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้-

มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ จงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าตามคำสั่งของเรา จงทูลถามถึงความ

เป็นผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง กระปรี่กระเปร่า ทรงมี

กำลัง ความอยู่สำราญว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดิน

มคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหีบุตร ทรงถวายบังคมพระบาท

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ทรงทูลถามถึงความเป็นผู้มี

พระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง กระปรี่กระเปร่า ทรงมีกำลัง

ความอยู่สำราญ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า เข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตสัตรูเวเทหีษุตร ทรงพระ

พระสงค์จะยาตราทัพไปย่ำยีชาววัชชี ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า

เราจักตัดเจ้าวัชชีผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ ๆ ให้ขาดสูญ

ให้พินาศ ให้ถึงความย่อยยับดับสูญ ดังนี้ ท่านจงสำเหนียกพระดำรัส

ที่พระมีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์นั้นไว้ให้ดี แล้วมาบอกแก่เรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 54

พระตถาคตเจ้าทั้งหลายจะไม่ตรัสพระดำรัสที่คลาดเคลื่อนจาก

ความจริงเลย วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ รับ

พระราชโองการพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตสัตรูเวเท-

หีบุตร แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย

กับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้-

มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมเจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธ

พระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหีษุตร. ทรงถวายบังคมพระบาทของ

พระโคดมผู้เจริญด้วยเศียรเกล้า ทรงกราบทูลถามถึงความเป็น

ผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง กระปรี่กระเปร่า ทรงมี

กำลัง ความอยู่สำราญ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระเจ้าแผ่นดิน

มคธทรงพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหีบุตร ทรงมีพระประสงค์

จะยาตราทัพไปย่ำยีชาววัชชี ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า จักตัดเจ้าวัชชี

ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมาก อย่างนี้ ๆ ให้ขาดสูญ ให้พินาศ ให้ถึงความ

ย่อยยับดับสูญ.

ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า อยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอได้สดับมาแล้วดังนี้

หรือว่า ชาววัชชีหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พระอานนท์กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชีหมั่นประชุม

กันเนืองนิตย์ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 55

พ. ดูก่อนอานนท์ ชาววัชชีจักประชุมกันเนืองนิตย์ เพียงใด

ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย

เพียงนั้น ดูก่อนอานนท์ เธอสดับมาแล้วดังนี้หรือว่า ชาววัชชีเมื่อ

ประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียง

กันเลิกประชุมพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาว-

วัชชีเมื่อประชุม ก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็

พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่ควรทำ

พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ชาววัชชีเมื่อประชุมก็พร้อมเพียงกัน

ประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียง

ช่วยกันทำกิจที่ควรทำ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้

แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ดูก่อนอานนท์ เธอได้

สดับมาแล้วดังนี้หรือว่า ชาววัชชีไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ

ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติแล้ว ประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชี

ตามที่ได้บัญญัติไว้ในครั้งก่อน.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชี

ไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว

ประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของชาววัชชี ตามที่ได้บัญญัติไว้ในครั้งก่อน

พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ชาววัชชีจักไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติ

ไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว จักประพฤติมั่นอยู่ในธรรมของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 56

ชาววัชชี ตามที่บัญญัติไว้ในครั้งก่อน ๆ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวัง

ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ก่อน

อานนท์ เธอได้สดับมาดังนี้หรือว่า ชาววัชชียังสักการะ เคารพ

นับถือ บูชา ชาววัชชีใหญ่ และย่อมสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้น

ว่าเป็นถ้อยคำอันนี้พึงเชื่อฟัง.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาว-

วัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ชาววัชชีใหญ่ และย่อม

สำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่า เป็นถ้อยคำอั้นตนพึงเชื่อฟัง

พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ชาววัชชียังสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

ชาววัชชีใหญ่ และจักสำคัญถ้อยคำแห่งท่านเหล่านั้นว่าเป็น

ถ้อยคำอันตนพึงเชื่อฟัง เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้

แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ก่อนอานนท์ เธอได้

สดับมาดังนี้หรือว่า ชาววัชชีไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงในสกุล.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชี

ไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงในสกุล พระเจ้าข้า.

พ. ก่อนอานนท์ชาววัชชีไม่ข่มขืนบังคับปกครองหญิงในสกุล

เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความ

เสื่อมเลย เพียงนั้น ก่อนอานนท์ เธอได้สดับมาดังนี้หรือว่า ชาว-

วัชชียังคงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เจติยสถานของชาววัชชี

ทั้งภายในภายนอก และไม่ลบล้างพลีกรรมอันชอบธรรมซึ่งเคยให้

เคยทำแก่เจติยสถานเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 57

อา. ข้าพระองค์เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาว-

วัชชียังคงสักการะ เคารพนับถือ บูชา เจติยสถานของชาววัชชี

ทั้งภายในภายนอก และไม่ลบล้างพลีกรรมอันชอบธรรมซึ่งเคย

ให้เคยทำแก่เจดีย์สถานเหล่านั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก่อนอานนท์ชาววัชชีจักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

เจติยสถานของชาววัชชี ทั้งภายในภายนอก และจักไม่ลบล้าง-

พลีกรรมอันชอบธรรมซึ่งเคยให้ เคยทำแก่เจติยสถานเหล่านั้น

เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความ

เสื่อมเลย เพียงนั้น ก่อนอานนท์ เธอได้สดับมาดังนี้หรือว่าชาว-

วัชชีถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรม

ในพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์

ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้น และที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า ชาววัชชี

จักถวายความอารักขา ความคุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมใน

พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นอย่างดี ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์ทั้งหลาย

ที่ยังไม่มา พึงมาสู่แว่นแคว้น และที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข พระเจ้าข้า

พ. ก่อนอานนท์ ชาววัชชีจักถวายความอารักขา ความ

คุ้มครอง ป้องกันอันชอบธรรม ในพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นอย่างดี

ด้วยหวังว่า ไฉนพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา จงมาสู่แว่นแคว้น

ที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้

แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 58

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะวัสสการพราหมณ์

มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธว่า ดูก่อนพราหมณ์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ ณ

สารันททเจดีย์ ใกล้พระนครเวสาลี ณ ที่นั้น เราได้แสดงอปริหา-

นิยธรรม ๗ ประการนี้ แก่เจ้าวัชชีว่า ก่อนพราหมณ์ อปริหา-

นิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ชาววัชชีพึงหวังความเจริญได้

แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.

วัสสการพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ชาววัชชีประกอบด้วยอปริหานิยธรรมแม้แต่ละอย่าง ก็พึงหวัง

ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย จะกล่าวใยถึง

ชาววัชชีผู้ประกอบด้วยปริหานิยธรรม ๗ ประการเล่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ อนึ่ง ชาววัชชีอันพระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า

อชาตสัตรูเวเทหีบุตร ไม่พึงทำการยุทธด้วยได้ เว้นเสียจากการ

เกลี้ยกล่อม เว้นเสียจากการยุยงให้แตกกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ข้าพระองค์ผู้มีกิจมาก มีกรณีย์มาก ขอกราบลาไป ณ บัดนี้.

พ. ก่อนพราหมณ์ บัดนี้ท่านจงรู้การที่ควรเถิด.

ลำดับนั้น วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แห่งแคว้นมคธ

ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ

แล้วหลีกไป.

จบ วัสสการสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 59

อรรถกถาวัสสการสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิยาตุกาโม ความว่า มีพระราชประสงค์จะกรีธาทัพ

ไปย่ำยี บทว่า วชฺชี ได้แก่ เจ้าวัชชีทั้งหลาย. ด้วยบทว่า เอวมหิทฺธิเก

ได้แก่ผู้ประกอบด้วยราชฤทธิ์ใหญ่อย่างนี้. ด้วยบทว่า เอวมหิทฺธิเกนี้

พระเจ้าอชาตศัตรู ตรัสถึงความที่เจ้าวัชชีเหล่านั้น มีความพร้อม

เพรียงกัน. บทว่า เอวมหานุภาเว ได้แก่ ประกอบด้วยราชานุภาพ

ใหญ่อย่างนี้ ด้วยบทว่า เอวมหานุภาเว นี้ พระเจ้าอชาตศัตรู ตรัสถึง

ความที่เจ้าวัชชีเหล่านั้นเป็นผู้กระทำการศึกษาแล้วในหัสดีศิลปเป็นต้น

ที่ทรงตรัสหมายเอาว่า เจ้าหนุ่มลิจฉวีเหล่านี้ ศึกษาแล้วหนอ เจ้าลิจฉวี

เหล่านี้ศึกษาดีแล้วหนอ ที่ปล่อยลูกธนูใหญ่น้อยที่มีภู่ติดปลาย ไม่

พลาดเป้าทางช่องตาลที่ถี่ ๆ บทว่า อุจฺเฉชฺชิสฺสามิ แปลว่า จักตัด

ให้ขาด บทว่า วินาเสสฺสามิ แปลว่า ทำไม่ให้ปรากฏเลย อนยพฺยสน

ได้แก่ ไม่เจริญและความย่อยยับแห่งญาติ. บทว่า อาปาเทสฺสามิ

แปลว่า จักให้ถึงความเสื่อมและความพินาศ.

ได้ยินว่า พระอาชาตศัตรูนั้น ตรัสเรื่องการรบในที่ ๆ

ประทับยืนที่ประทับนั่งเป็นต้น และตรัสสั่งกองกำลังว่า พวกเจ้า

เตรียมยาตราทัพด้วยประการฉะนี้. เหตุไร ? เพราะว่า ริมฝั่งแม่น้ำ

คงคา อาศัยหมู่บ้านปัฏนคามตำบลหนึ่ง เป็นดินแดนของพระเจ้า-

อาชาตศัตรู ๘ โยชน์ ของพวกเจ้าลิจฉวี ๘ โยชน์ ในปัฏฏนคามนั้น

คันธชาติมีค่ามาก ไหลมาจากเชิงเขา เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูทรงสดับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 60

เรื่องนั้น ทรงตระเตรียมว่า เราจะไปวันนี้ พรุ่งนี้ พวกเจ้าลิจฉวี

พร้อมเพรียงร่าเริงมาเสียก่อนเก็บเอาไปหมด.

พระเจ้าอชาตศัตรู เสด็จมาทีหลัง ทรงทราบเรื่องนั้นเข้า

ก็ทรงพระพิโรธแล้วเสด็จกลับไป. แม้ในปีต่อไป เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น

ก็ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ ครั้งนั้นแล พระเจ้าอชาต-

ศัตรูกริ้วอย่างแรง ก็ได้กระทำอย่างนั้นในครั้งนั้น

ลำดับนั้น พระเจ้าอชาตสัตรู ทรงพระดำริว่า ชื่อว่า การรบ

กับคณะเจ้าลิจฉวี เป็นเรื่องหนัก การประหัตประหารกันอย่างไร้ผล

แม้ครั้งเดียวมีไม่ได้ จำต้องมีการปรึกษากับบัณฑิตผู้หนึ่งจึงทำการ

คงจะไม่ผิดพลาด แต่บัณฑิตที่เสมือนกับพระศาสดาไม่มี และ-

พระศาสดาก็ประทับอยู่ในพระวิหารใกล้ ๆ ไม่ไกล เอาละจะส่งคน

ไปทูลถาม ถ้าหากว่าเราไปเองจักมีประโยชน์ไร พระศาสดา

คงจักนิ่ง แต่เมื่อไม่มีประโยชน์ พระศาสดาจักตรัสว่า จะประโยชน์

อะไรด้วยการไปในที่นั้น. ท้าวเธอจึงส่งวัสสการพราหมณ์ไป.

พราหมณ์ไปกราบทูลเรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า อถโข ราชา ฯลฯ อาปาเทสฺสามิ วชฺชีติ.

บทว่า ภควนฺต วีชมาโน ความว่า พระเถระตั้งอยู่ในข้อวัตร

ถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ความหนาวหรือความร้อน

หามีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับ

คำของพราหมณ์แล้ว มิได้ทรงปรึกษากับพราหมณ์นั้น มีพระ-

ประสงค์ก็จะปรึกษากับพระเถระจึงตรัสว่า กินฺติ เม อานนฺท สุต

ดังนี้. คำนั้น มีเนื้อความกล่าวไว้แล้วทั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 61

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ว่า เอกมิทาห เพื่อทรงประกาศ

ความที่วัชชีธรรม ๗ ประการนี้ที่ทรงแสดงแก่เจ้าวัชชีทั้งหลาย

มาก่อน. บทว่า กรณียา แปลว่า ไม่ควรทำ อธิบายว่า ไม่ควรถือเอา

บทว่า ยทิท เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ยุทฺธสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัต ใช้ใน

อรรถแห่งตติยาวิภัต. อธิบายว่า ใคร ๆ ไม่อาจยืดได้ด้วยการรบ

ซึ่ง ๆ หน้า. บทว่า อญฺตฺร มิถุเภทา ความว่า เว้นการเจรจา

การส่งบรรณาการมีช้าง ม้า รถ เงิน ทอง เป็นต้น กระทำการ

สงเคราะห์กันด้วยกล่าวว่า อล วิวาเทน อย่าวิวาทกันเลย บัดนี้

เราจักสามัคคีกัน กลมเกลียวกัน ชื่อว่า การเจรจากัน อธิบายว่า

กระทำการสงเคราะห์อย่างนี้ ก็จะยืดเหนี่ยวน้ำใจกันไว้ได้ด้วยความ

สนิทสนมอย่างเดียว บทว่า อญฺตฺร มิถุเภทา ได้แก่ เว้นการทำ

ให้สองฝ่ายแตกกัน. ด้วยบทนี้ พระเจ้าอชาตสัตรูแสดงว่า ทำให้

แตกกันและกันแล้ว ก็จะจับเจ้าวัชชีเหล่านั้นไว้ได้.

พราหมณ์ได้นัยเเห่งพระพุทธดำรัสแล้ว จึงกล่าวดังนี้. ก็

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พราหมณ์ได้นัยแห่งพระดำรัสนี้

หรือ ? ใช้ทรงทราบ ถามว่า ก็เมื่อทรงทราบ เหตุไรจึงตรัส ตอบว่า

เพื่อทรงอนุเคราะห์ นัยว่าพระองค์ได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า แม้เมื่อ

เราไม่กล่าว ๒ - ๓ วัน พระเจ้าอชาตสัตรูจักเสด็จไปจับเจ้าวัชชี

ไว้หมด. แต่ครั้นเรากล่าวแล้ว พระเจ้าอชาตสัตรูต้องใช้เวลา ๓ ปี

ทำลายพวกเจ้าลิจฉวีผู้สามัคคี จึงจักกลับได้ การมีชีวิตอยู่แม้เท้านี้

ก็ประเสริฐ จริงอยู่ เจ้าวัชชีเป็นอยู่เท่านี้ก็จักกระทำบุญอันเป็น

ที่พึงแก่คนได้ บทว่า อภินนฺทิตฺวา แปลว่า บันเทิงแล้วด้วยจิต. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 62

อนุโมทิตฺวา บันเทิงด้วยวาจาว่า พระดำรัสนี้ ท่านพระโคดม

ตรัสไว้ดีแล้ว. บทว่า ปกฺกามิ กลับไปเฝ้าพระราชาแล้ว. ฝ่าย

พระราชา ก็ส่งวัสสการพราหมณ์นั้นนั่นแล ไปทำลายเจ้าวัชชี

ทั้งหมดให้ถึงความย่อยยับ.

จบ อรรถกถาวัสสการสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 63

๓. ภิกขุสูตร

[๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ

ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

จักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจไว้ให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

ภิกษุทั้งหลายหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ เพียงใด พึงหวัง

ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น,

ภิกษุทั้งหลายเมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิก

ประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก จักพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจ

ที่สงฆ์พึงทำ. เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึง

หวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่

ยังไม่ได้บัญญัติ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่บัญญัติแล้ว จักประพฤติ

มั่นในสิกขาบทตามที่บัญญัติไว้แล้ว เพียงใด พึงหวังความ

เจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ภิกษุ

ทั้งหลายยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ท่านผู้เป็นเถระ

เป็นรัตตัญญู บวชมานาน เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก

และจักสำคัญถ้อยคำ. แห่งท่านเหล่านั้นว่า เป็นถ้อยคำอันตน

พึงเชื่อฟัง เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวัง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 64

ความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ภิกษุทั้งหลายจักพอใจอยู่ในเสนา-

สนะป่าเพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวัง

ความเสื่อมเลย เพียงนั้น, ภิกษุทั้งหลายจักเข้าไปตั้งความ

ระลึกถึงเฉพาะตนได้ว่า ไฉนหนอ เพื่อนพรหมจรรย์มีศีล

เป็นที่รัก ที่ยังไม่มา ขอจงมา และที่มาแล้วพึงอยู่เป็นสุข

เพียงใด พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อม

เลย เพียงนั้น, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗

ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจัก

ปรากฏในอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ภิกษุ

ทั้งหลายพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อม

เลยเพียงนั้น.

จบ ภิกขุสูตรที่ ๓

อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๓

ภิกขุสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิณฺหสนฺนิปาตา นี้ เป็นเหมือนคำที่กล่าวแล้วในวัชชี

อปริหานิยธรรม ๗ ประการนั่นแหละ. ก็ภิกษุทั้งหลาย แม้ในพระ-

ศาสนานี้ ไม่ประชุมกันเป็นนิตย์ย่อมไม่ได้ยินข่าวที่มาในทิศทั้งหลาย.

ต่อแต่นั้น ย่อมไม่รู้ข่าวเป็นต้นว่า สีมาวิหาริโน้นวุ่นวาย อุโบสถ

และปวารณา ยังตั้งอยู่. ภิกษุในที่ชื่อโน้นกระทำเวชกรรมและ

ทูตกรรมเป็นต้น ภิกษุทั้งหลายผู้มากไปด้วยวิญญัติ ย่อมเลี้ยงชีพ

ด้วยการให้ผลไม้และดอกไม้เป็นต้น แม้ภิกษุชั่วทั้งหลาย รู้ว่าสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 65

ประมาทแล้ว ย่อมทำคำสั่งสอนที่เป็นกองให้เสื่อมลง. ส่วนภิกษุ

ทั้งหลาย ผู้ประชุมกันเนื่องนิตย์ ย่อมได้สดับเรื่องนั้น. ลำดับนั้น ก็

ส่งภิกษุสงฆ์ไปให้กระทำสีมาเสียให้ตรง ยังอุโบสถและปวารณา

ให้เป็นไป ส่งภิกษุผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ไปในสถานที่อยู่ของพวกภิกษุ

มิจฉาชีพ ให้สอนอริยวงศ์ให้ภิกษุเหล่าวินัยธร ลงนิคคหะแก่ภิกษุชั่ว

ทั้งหลาย แม้ภิกษุชั่วทั้งหลายรู้ว่าสงฆ์ไม่เผลอเรอ พวกเราไม่อาจ

เพื่อเที่ยวไปเป็นพวกเป็นหมู่ได้ ดังนี้แล้ว ก็แตกหนีกันไป. พึงทราบ

ความเจริญและความเสื่อมในข้อนี้ด้วยอาการอย่างนี้.

ในบทว่า สมคฺคา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. พอเมื่อบุคคล

ตีกลองหรือเคาะระฆังว่า สงฆ์จงประชุมกัน เพื่อชำระพระเจดีย์

หรือมุงเรือนโพธิ์โรงอุโบสถ หรือเพื่อประสงค์จะตั้งกติกาวัตร

ภิกษุทั้งหลาย ทำความบ่ายเบี่ยงไปว่า เรามีจีวรกรรมอยู่ เราระบม

บาตรอยู่ เรามีนวกรรมอยู่ ชื่อว่าไม่พร้อมเพรียงกันประชุม. ก็

ภิกษุทั้งหลายเว้นกรรมนั้นทั้งหมด ต่างรีบไปกันก่อน ประชุม

พร้อมกัน ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันประชุม. ส่วนภิกษุทั้งหลายประชุม

กัน คิดปรึกษากันกระทำกิจที่ควรทำ ไม่พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม

ทีเดียว ชื่อว่าไม่พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม. ด้วยว่าเมื่อภิกษุ

ทั้งหลายเลิกประชุมกันด้วยอาการอย่างนี้ เหล่าภิกษุที่ไปถึงก่อน

ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราตั้งแต่นอกเรื่อง ส่วนภิกษุทั้งหลาย

ผู้เลิกประชุมพร้อม ๆ กันนั่นแหละ ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม

อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสดับข่าวว่า สีมาวิหารในที่โน้นวุ่นวาย.

อุโบสถปวารณายังตั้งอยู่ในที่โน้น พวกภิกษุชั่วกระทำเวชกรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 66

เป็นต้นหนาแน่น เมื่อพระเถระกล่าวว่า ใครจักไปลงนิคคหะภิกษุ

เหล่านั้น ก็จะชิงกันพูดว่าผมก่อน ผมก่อนแล้วก็ไป ชื่อว่า พร้อมเพรียง

กันเลิกประชุม. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย เห็นภิกษุอาคันตุกะ ไม่กล่าวว่า

ท่านจงไปบริเวณนี้ ท่านจงไปบริเวณนั่น พวกเราเป็นใคร ดังนี้

ทุกรูปกระทำวัตรบ้าง เห็นอาคันตุกะมีบาตรจีวรเก่า ก็แสวงหาบาตร

จีวร ด้วยภิกษาจารวัตร ถวายภิกษุอาคันตุกะนั้น แสวงคิลานเภสัช

(ยา) แก่ภิกษุอาคันตุกะอาพาธบ้าง ไม่พูดกะภิกษุอาคันตุกะ

ผู้อาพาธไม่มีที่พึ่งว่าจงไปบริเวณโน้น บำรุงอยู่ในบริเวณของตน ๆ

บ้าง. คัมภีร์ที่ยังบกพร่องคัมภีร์หนึ่ง ก็สงเคราะห์ภิกษุผู้มีปัญญา

ให้เธอยกคัมภีร์นั้นขึ้นบ้าง ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันกระทำกิจที่ควร

กระทำของสงฆ์.

ในบทว่า อปฺปญฺตฺต เป็นต้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ภิกษุ

ทั้งหลาย ถือเอากติกาวัตรหรือสิกขาบทที่ไม่เป็นธรรมใหม่ ชื่อว่า

บัญญัติข้อที่มิได้ทรงบัญญัติ เหมือนภิกษุทั้งหลายในกรุงสาวัตถี

บัญญัติข้อที่ยังไม่ได้บัญญัติ ในเพราะเรื่องสันถัดเก่า ฉะนั้น.

ภิกษุทั้งหลายแสดงคำสอนนอกธรรม นอกวินัย ชื่อว่า

เพิกถอนข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว เหมือนภิกษุวัชชีบุตร ชาวกรุง-

เวสาลี เพิกถอนข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปีฉะนั้น อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายจงใจละเมิด

อาบัติเล็กน้อย ชื่อว่า ไม่สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลาย

ตามที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว เหมือนภิกษุอัสสชิ และภิกษุปุนัพพสุกะ

ฉะนั้น. ส่วนภิกษุทั้งหลาย ผู้ไม่กระทำอย่างนั้น ชื่อว่า ไม่บัญญัติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 67

ข้อที่ยังไม่ได้ทรงบัญญัติ ไม่เพิกถอนข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทาน

ประพฤติ ในสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว เหมือนท่านพระอุคคเสน

ท่านพระยสกากัณฑกษบุตร และท่านพระมหากัสสปะ ฉะนั้น. บทว่า

วุฑฺฒิเยว ความว่า พึงหวังแต่ความเจริญด้วยคุณมีศีลคุณเป็นต้น

เท่านั้น ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย

บทว่า เถร ได้แก่ผู้ถึงภาวะความมั่นคง คือประกอบด้วย

คุณเครื่องกระทำความเป็นเถระ พระเถระทั้งหลายย่อมรู้ราตรี

เป็นอันมาก เหตุนั้นจึงชื่อว่า รัตตัญญู การบวชของภิกษุเหล่านี้

สิ้นกาลนานเพราะเหตุนั้น ภิกษุเหล่านี้ชื่อว่า จิรปัพพชิตา พระเถระ

ทั้งหลายตั้งอยู่ในฐานะเป็นบิดรแห่งสงฆ์ เหตุนั้นจึงชื่อว่า สังฆบิดร

เพราะตั้งอยู่ในฐานะเป็นสังฆบิดร ภิกษุเหล่าใดย่อมนำสงฆ์ คือ

เป็นหัวหน้าให้ภิกษุทั้งหลายประพฤติในสิกขา ๓ เพราะเหตุนั้น

พระเถระเหล่านั้น ชื่อว่า สังฆปริณายก ผู้นำสงฆ์. ภิกษุเหล่านั้น

ไม่กระทำสักการะ. เป็นต้น ก็พระเถระเหล่านั้น ไม่ไปปรนนิบัติ

๒ วาระ ๓ วาระ เพื่อประโยชน์แก่การรับโอวาท พระเถระแม้

เหล่านั้น ย่อมไม่ให้โอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้น ไม่กล่าวถ้อยคำอันเป็น

ประเพณีธรรมเนียมแก่ภิกษุเหล่านั้น ไม่ให้ศึกษาธรรมปริยาย

อันเป็นสาระ ภิกษุเหล่านั้นอันพระเถระเหล่านั้นสลัดเสียแล้ว ย่อม

เสื่อมจากคุณทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้คือ ธรรมขันธ์ มีศีลขันธ์เป็นต้น

และอริยทรัพย์ ๗ ประการ. ฝ่ายภิกษุเหล่าใด กระทำสักการะเป็นต้น

แก่พระเถระเหล่านั้น ไปปรนนิบัติพระเถระเหล่านั้น ย่อมให้โอวาท

แก่ภิกษุเหล่านั้น มีคำเป็นต้นว่า "ท่านพึงก้าวไปข้างหน้าด้วยอาการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 68

อย่างนี้" กล่าวถ้อยคำอันเป็นประเพณีธรรมเนียม ให้ศึกษาธรรม-

ปริยายอันเป็นสาระแก่นสาร พร่ำสอนด้วยธุดงค์ ๑๓ ด้วยกถาวัตถุ

๑๐ ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระเหล่านั้น เจริญด้วย

คุณ มีศีลคุณเป็นต้น ย่อมบรรลุตามลำดับซึ่งประโยชน์แห่งสามัญญผล

ในข้อนี้พึงทราบความเสื่อมและความเจริญด้วยอาการอย่างนี้.

การเกิดใหม่เป็นปกติของตัณหานั้น เหตุนั้น ตัณหานั้น ชื่อว่า

โปโนพภวิกา อธิบายว่า ให้การเกิดใหม่. ของตัณหาอันเกิดใหม่นั้น

ในคำว่า น วส คจฺฉิสฺสนฺติ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ภิกษุเหล่าใด

เป็นผู้ดำเนินไปตามรอยแห่งอุปฐากทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔

ย่อมเที่ยวไปบ้านโน้นบ้านนี้ ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า ไปสู่อำนาจแห่ง

ตัณหาอันมีการเกิดใหม่เป็นปกตินั้น. ฝ่ายภิกษุอีกพวกหนึ่ง ไม่ไปสู่

อำนาจแห่งตัณหาอันมีปกติเกิดใหม่นั้น. ในข้อนั้นความเสื่อมและ

ความเจริญทั้งหลายปรากฏแล้วทั้งนั้น.

บทว่า อารญฺเกสุ ได้แก่ ในที่แห่งเสนาสนะ ไกลจาก

หมู่บ้านประมาณชั่ว ๕๐๐ ธนูเป็นที่สุด. บทว่า สาเปกฺขา แปลว่า

ยังมีความอาลัย. จริงอยู่ภิกษุแม้ได้บรรลุฌานในเสนาสนะใกล้บ้าน

พอมาตรว่าออกจากฌานนั้น ได้ฟังเสียงหญิงชายและเด็กเป็นต้น

เพราะเหตุนั้น คุณวิเศษที่ภิกษุนั้นบรรลุแล้ว ย่อมเสื่อมโดยแท้.

ภิกษุนั้นแม้หลับไปในเสนาสนะป่า พอตื่นขึ้นได้ยินเสียงราชสีห์

เสือโคร่ง และนกยูงเป็นต้น ซึ่งได้ปีติในป่า พิจารณาเสียงนั้น

นั่น ก็ตั้งอยู่ในผลอันเลิศ. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรง

สรรเสริญภิกษุผู้นอนในป่าเท่านั้น สำหรับภิกษุผู้บรรลุฌานนั่งใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 69

เสนาสนะใกล้บ้าน เพราะเหตุนั้นอาศัยอำนาจประโยชน์นั้นแหละ

จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายจักมีความอาลัยในเสนาสนะป่า ดังนี้.

บทว่า ปจฺจตฺตญฺเว สตึ อปฏฺเปสฺสนติ ความว่า เข้าไป

ตั้งสติไว้ภายในตน. บทว่า เปสลา แปลว่า ผู้มีศีลเป็นที่รัก. ภิกษุ

ผู้เป็นเจ้าถิ่นทั้งหลาย แม้ไม่ปรารถนาการมาของภิกษุเพื่อนสพรหม-

จารีทั้งหลาย แม้ในพระศาสนานี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่ความเลื่อมใส

ไม่กระทำวัตรมีการออกไปต้อนรับ รับบาตรและจีวรการปูอาสนะ

และการถือพัดก้านตาลเป็นต้น แก่ภิกษุผู้มาถึงวิหาร. ลำดับนั้น

ชื่อเสียงที่เลว ของภิกษุเหล่านั้น ย่อมฟุ้งขจรไปว่า ภิกษุทั้งหลาย

ผู้อยู่ในวิหารชื่อโน้น เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ไม่กระทำ

แม้วัตรปฏิบัติแก่ภิกษุผู้เข้าไปยังวิหาร. บรรพชิตทั้งหลาย ครั้น

ได้ยินเรื่องนั้นแล้ว แม้เมื่อเดินไปทางประตูวิหารก็ไม่เข้าไปยังวิหาร

บรรพชิตทั้งหลายที่ยังไม่เคยมาก็ไม่มา ด้วยประการฉะนี้. ส่วน

บรรพชิตผู้มาถึงแล้ว เมื่อวิหารที่อยู่ไม่มีความผาสุก ฝ่ายบรรพชิต

ผู้ที่มาถึง เพราะไม่ทราบ ก็พากันกับออกไปด้วยคิดว่า พวกเรา

มาแล้วด้วยหวังว่า พวกเราจักพักอยู่ก่อนจึงมา ด้วยการปฏิบัติ

ทำนองนี้ของภิกษุผู้เป็นเจ้าถิ่นเหล่านี้ ใครจักพักอยู่ได้. วิหารนั้น

ย่อมไม่เป็นที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น

ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลาย เมื่อไม่ได้พบเห็นภิกษุทั้งหลายมีศีล ย่อม

ไม่ได้ผู้บรรเทาความสงสัย ผู้ให้ศึกษาอาจาระหรือการฟังธรรม

ที่ไพเราะ. ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เรียนธรรมที่ไม่เคยเรียน ย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 70

ไม่ได้กระทำการสาธยายธรรมที่เคยเรียนมาแล้ว. ดังนั้น ภิกษุ

เหล่านั้นจึงมีแต่ความเสื่อมอย่างเดียว ไม่มีความเจริญเลย.

ส่วนภิกษุเหล่าใด ย่อมปรารถนาการมาของเพื่อสพรหมจารี

ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส กระทำ

สามีจิกรรมมีการออกไปต้อนรับเป็นต้น แก่เพื่อนสพรหมจารีเหล่านั้น

ผู้มาถึงแล้ว ย่อมปูอาสนะถวาย พาภิกษุผู้เป็นสพรหมจารีเหล่านั้น

เข้าไปภิกษาจารบรรเทาความสงสัย ย่อมได้การฟังธรรมอันไพเราะ.

ลำดับนั้น ชื่อเสียงอันดีงามของภิกษุเหล่านั้นก็ฟุ้งขจรไปว่า ภิกษุ

ทั้งหลายในวิหารชื่อโน้น เป็นผู้มีศรัทธา เลื่อมใสสมบูรณ์ด้วยวัตร

เป็นผู้สงเคราะห์ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายได้สดับข่าว

ดังนั้น จึงพากันมาแม้แต่ที่ไกล. ภิกษุทั้งหลายเจ้าขอบถิ่น พระทำวัตร

แก่ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปใกล้ไหว้ภิกษุอาคันตุกะผู้แก่กว่า แล้วนั่งอยู่

ถือเอาอาสนะในสำนักของภิกษุผู้อ่อนกว่าแล้วนั่ง ถามว่า ทาน

ทั้งหลายจักอยู่ในที่นี้หรือจักไป เมื่อทานกล่าวว่า จักไป จึงกล่าวคำ

มีอาทิว่า เสนาสนะเป็นสัปปายะ ภิกษาหาได้ง่าย ดังนี้แล้ว จึงไม่ยอม

ให้ไป. ถ้าภิกษุนั้นเป็นพระวินัยธรไซร้ ก็สาธยายพระวินัยในสำนัก

ของท่าน. ถ้าท่านเป็นผู้ทรงพระสูตรเป็นต้น ก็สาธยายธรรมใน

สำนักของท่านภิกษุเหล่านั้น ตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระผู้อาคันตุกะ

ย่อมบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ภิกษุอาคันตุกะ

ทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้กล่าวว่า พวกเขามาด้วยคิดว่า พวกเราจักอยู่

สักวันหนึ่ง สองวัน แต่พวกเราก็อยู่เสีย ๑๐ พรรษา ๒๐ พรรษา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 71

เพื่อประโยชน์แก่การอยู่เป็นสุข สำหรับภิกษุเหล่านี้. พึงทราบ

ความเสื่อมและความเจริญ ในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 72

๔. กรรมสูตร

[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗

ประการ แก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม

๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายจักไม่ยินดีการงาน จักไม่

ขวนขวายความยินดีการงาน เพียงใด ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวัง

ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ภิกษุ

ทั้งหลายจักไม่ยินดีการคุย ฯลฯ จักไม่ยินดีความหลับ ฯลฯ จักไม่

ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ฯลฯ จักไม่เป็นผู้มีความปรารถนา

ลามก จักไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความปรารถนาลามก ฯลฯ จักไม่

คบมิตรชั่ว จักไม่มีสหายชั่ว จักไม่มีเพื่อนชั่ว ฯลฯ จักไม่ถึงความ

ท้อถอยเสียในระหว่างที่บรรลุคุณวิเศษเพียงเล็กน้อยเพียงใด ภิกษุ

ทั้งหลายพึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย

เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จัก

ตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏอยู่ในอปริหา-

นิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญ

ได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.

จบ กรรมสูตรที่ ๔

อรรถกถากรรมสูตรที่ ๔

กรรมสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า น กมฺมารามา ความว่า ภิกษุเหล่าใดกระทำกิจกรรม

มีจีวร, ประคดเอว, ผ้ากรองน้ำ, ธัมกรก, ไม้กรวด, ที่รองเท้าเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 73

เท่านั้น ประจำวัน ภิกษุเหล่านั้น ก็ห้ามเสียได้ด้วยศรัทธา ส่วน

ภิกษุใด ในเวลากระทำกิจกรรมเหล่านั้น กระทำกิจกรรมเหล่านี้

ในเวลาเทศ ก็เรียนอุเทศ เวลากระทำวัตรที่ลานเจดีย์ ก็กระทำ

วัตรที่ลานเจดีย์ เวลาทำมนสิการ ก็ทำมนสิการ ภิกษุนั้น ชื่อว่า

ไม่ยินดีในการงาน.

ภิกษุใด กระทำการพูดคุยกันถึง ผิวพรรณของหญิงและชาย

เป็นต้นเท่านั้น ให้ล่วงวันล่วงคืนไป ไม่จบการคุยกันเห็นปานนั้น

ภิกษุนี้ ชื่อว่า ยินดีในการคุย. อนึ่ง ภิกษุใด ย่อมกล่าวสนทนาธรรม

ตอบปัญหาทั้งกลางคืนกลางวัน ภิกษุนี้ ถึงจะเป็นคุยน้อย ก็ยัง

พูดจบคุยจบเหมือนกัน เพราะเหตุไร ? เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอประชุมกันแล้ว ก็มีกิจที่ควร

กระทำ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถา กล่าวธรรม หรือดุษณีภาพนิ่ง

อย่างอริยะ".

ภิกษุใด ยืนก็ตาม เดินก็ตาม นั่งก็ตาม ถูกถีนมิทธะครอบงำ

ก็หลับไป ภิกษุนี้ชื่อว่ามักหลับ. ส่วนภิกษุใด มีจิตหยั่งลงสู่ภวังค์

เพราะความป่วยไข้ของกรัชกาย ภิกษุนี้ไม่ชื่อว่า ไม่มักหลับ.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก่อนอัคคิเวสสนะ

เราย่อมรู้ยิ่ง ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน เรากลับจากบิณฑบาต

ภายหลังภัตร ปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น นอนตะแคงข้างขวา มีสติ-

สัมปชัญญะหลับลง.

ภิกษุใด คลุกคลีอยู่อย่างนี้ เป็นคนที่ ๒ สำหรับภิกษุรูปหนึ่ง

เป็นคนที่ ๓ สำหรับภิกษุ ๒ รูป เป็นคนที่ ๔ สำหรับภิกษุ ๓ รูป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 74

อยู่คนเดียวก็ไม่ได้อัสสาท ความยินดี ภิกษุนี้ ชื่อว่า ชอบคลุกคลี

ส่วนภิกษุใด อยู่ผู้เดียวเท่านั้นในอิริยาบถ ๔ ย่อมได้อัสสาทะ

ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่ชอบคลุกคลี.

ภิกษุผู้ประกอบด้วยความปรารถนาความสรรเจริญคุณ

ที่ไม่มีในตน เป็นผู้ทุศีล ชื่อว่ามีความปรารถนาลามก. ภิกษุเหล่าใด

มีมิตรชั่ว มีสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว เพราะบริโภคร่วมกันในอิริยาบถ

ทั้ง ๔. และภิกษุเหล่าใด เป็นเพื่อนให้ภิกษุชั่วทั้งหลาย เพราะน้อมไป

โอนไป เงื้อมไปในปาปมิตรนั้น ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่ามีมิตรชั่ว

สหายชั่ว เพื่อนชั่ว.

บทว่า โอรมตฺตเกน ได้แก่ มีประมาณนิดหน่อย คือมีประมาณ

น้อย. บทว่า อนฺตรา ได้แก่ ในระหว่างนี้ เพราะยังไม่บรรลุพระอรหัต.

บทว่า โวสาน ได้แก่ ความจบสิ้น ความท้อถอยว่า เท่านี้ก็พอ.

ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุจักไม่ถึงที่สุดด้วยคุณมี

ศีลปาริสุทธิ, ฌานและความเป็นพระโสดาบันเป็นต้น. อย่างใดอย่าง

หนึ่ง เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย พึงหวังแต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่

เสื่อมเลยเพียงนั้น.

จบ อรรถกถากรรมสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 75

๕. สัทธิยสูตร

[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗

ประการ แก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม

๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้มีศรัทธาอยู่ เพียงใด

ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อม

เลย เพียงนั้น ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้มีหิริ ฯลฯ จักเป็นผู้มีโอตตัปปะ

ฯลฯ จักเป็นพหุสูตร ฯลฯ จักปรารภความเพียร ฯลฯ จักเป็นผู้มีสติ ฯลฯ

จักเป็นผู้มีปัญญา เพียงใด ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้

แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย. เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อปริหานิยธรรม ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุ

ทั้งหลายจักปรากฏอยู่ในอปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด

ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อม

เลย เพียงนั้น.

จบ สัทธิยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 76

๖. โพธิยสูตร

[๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗

ประการ แก่เธอทั้งหลาย ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม

๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายจักเจริญสติสัมโพชฌงค์อยู่

เพียงใด ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวัง

ความเสื่อมเลย เพียงนั้น ภิกษุทั้งหลายจักเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์

ฯลฯ จักเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ จักเจริญสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

จักเจริญปัสสัทธิสันโพชฌงค์ ฯลฯ จักเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

จักเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อยู่ เพียงใด ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวัง

ความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงห้วงความเสื่อมเลย เพียงนั้น ก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จักตั้งอยู่ในภิกษุ

ทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏอยู่ในอปริหานิยธรรม ๗

ประการนี้ เพียงใด ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน

ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น.

จบ โพธิยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 77

๗. สัญญาสูตร

[๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗

ประการ ก็เธอทั้งหลาย ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม

๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายจักเจริญอนิจจสัญญาอยู่เพียงใด

ภิกษุทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย

เพียงนั้น ภิกษุทั้งหลายจักเจริญอนัตตสัญญา ฯลฯ จักเจริญอสุภ-

สัญญา ฯลฯ จักเจริญอาทีนวสัญญา ฯลฯ จักเจริญปหานสัญญา ฯลฯ

จักเจริญวิราคสัญญา ฯลฯ จักเจริญนิโรธสัญญาอยู่ เพียงใด ภิกษุ

ทั้งหลายก็พึงหวังความเจริญได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย

เพียงนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๗ ประการนี้ จัก

ตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักปรากฏอยู่ในอปริหา-

นิยธรรม ๗ ประการนี้ เพียงใด ภิกษุทั้งหลาย ก็พึงหวังความเจริญ

ได้แน่นอน ไม่พึงหวังความเสื่อมเลย เพียงนั้น ฯลฯ

จบ สัญญาสูตรที่ ๗

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๗

สัญญาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

สัญญา มี อนิจจสัญญา. เป็นต้น คือสัญญาที่เกิดพร้อมกับ

อนุปัสสนา มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น.

จบอรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 78

๘. เสขสูตร

[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไป

เพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็น

ผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑

ความเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวาร

ในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑

กิจที่สงฆ์จะพึงทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุไม่สำเหนียกในกิจนั้นอย่างนี้ว่า

ก็พระเถระผู้รัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระ มีอยู่ในสงฆ์

ท่านเหล่านั้นจะรับผิดชอบด้วยกิจนี้ ดังนี้ ต้องขวนขวายด้วยตนเอง ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความ

เสื่อมแก่ภิกษุเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้

ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ๗ ประการเป็นไฉน

คือ ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ๑ ความเป็นไม่ชอบคุย ๑ ความ

เป็นผู้ไม่ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบบุคคลคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑

ความผู้เป็นผมครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นรู้จัก

ประมาณในโภชนะ ๑ กิจที่สงฆ์จะพึงทำมีอยู่ในสงฆ์ ภิกษุสำเหนียก

ในกิจนั้นอย่างนี้ว่า ก็พระเถระผู้รัตตัญญู บวชมานาน เป็นผู้รับภาระ

มีอยู่ในสงฆ์ ท่านเหล่านั้นจะรับผิดชอบด้วยกิจนั้น ดังนี้ ไม่ต้อง

ขวนขวายด้วยตนเอง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้สล

ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ

จบ เสขสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 79

อรรถกถาเสขสูตรที่ ๘

เสขสูตรที่ ๘ มิวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ภิกษุเหล่าใด ย่อมนำไปซึ่งภาระเพราะช่วยทำกิจของสงฆ์

ที่เกิดขึ้นแล้วให้สำเร็จ เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าผู้นำภาระ.

บทว่า เต เตน ปญฺายิสฺสนฺติ ความว่า พระเถระเหล่านั้นจักปรากฏ

ด้วยกิจที่สมควร ก็ความเป็นพระเถระของตนนั้น. บทว่า โว โยค

อาปชฺชติ ความว่า ย่อมถึงการประกอบ คือ เริ่มทำกิจเหล่านั้นเอง

จบ อรรถกถาเสขสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 80

๙. หานิสูตร

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไป

เพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก ๗ ประการเป็นไฉน คือ อุบาสกขาดการ

เยี่ยมเยียนภิกษุ ๑ ละเลยการฟังธรรม ๑ ไม่ศึกษาในอธิศีล ๑

ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่

ทั้งปานกลาง ๑ ตั้งจิตติเตียนคอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑ แสวงหา

เขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอก

ศาสนานี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็น

ไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการ

นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก ๗ ประการเป็นไฉน

คือ อุบาสกไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑ ไม่ละเลยการฟังธรรม ๑

ศึกษาในอธิศีล ๑ มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ

ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑ ไม่ตั้งจิตติเตียน ไม่คอยเพ่งโทษ

ฟังธรรม ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอก ๑ กระทำสักการะก่อน

ในเขตบุญในศาสนานี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้

แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก.

อุบาสกใดขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ

ผู้อบรมตน ละเลยการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษา

ในอธิศีล มีความไม่เลื่อมใสเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ในภิกษุทั้งหลาย ตั้งจิตติเตียนปรารถนาฟัง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 81

สัทธรรม แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้

และกระทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอก

ศาสนานี้ อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรม อันเป็นที่

ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงแล้ว ๗ ประการ

นี้แล ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม อุบาสกใดไม่ขาด

การเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ไม่ละเลยการ

ฟังอริยธรรม ศึกษาอยู่ในอธิศีล มีความเลื่อมใส

เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปในภิกษุทั้งหลาย ไม่ตั้งจิต

ติเตียนปรารถนาฟังสัทธรรม ไม่แสวงหาเขต

บุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะ

ก่อนในเขตบุญในศาสนานี้ อุบาสกนั้นซ่องเสพ

ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดง

ดีแล้ว ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม.

จบ หานิสูตรที่ ๙

อรรถกถาหานิสูตรที่ ๙

หานิสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ภิกฺขุทสฺสน หาเปติ ความว่า ทำการไปเยี่ยมภิกษุสงฆ์

ให้เสียไป บทว่า อธิสีเล ได้แก่ ในศีลอันสูงสุด กล่าวคือศีล ๕ และ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 82

ศีล ๑๐ บทว่า อิโต พหิทฺธา ได้แก่ นอกพระศาสนานี้. บทว่า

ทุกฺขิเณยฺย คเวสติ ความว่า แสวงหาบุคคลผู้รับไทยธรรม. บทนี้

อิธ จ ปุพฺพการ กโรติ ความว่า ให้ทานแก่พวกเดียรถีย์ ภายนอก

(พระศาสนา) เหล่านั้น แล้วจึงถวายทานแก่ภิกษุทั้งหลายในภายหลัง

คำที่เหลือในบทว่าทั้งปวง มีอรรถง่ายทั้งนั้น แล.

จบ อรรถกถาหานิสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 83

๑๐. วิปัตติสัมภวสูตร

[๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิบัติของอุบาสก ๗ ประการนี้...

สมบัติของอุบาสก ๗ ประการนี้... ความเสื่อมของอุบาสก ๗ ประการ

นี้... ความเจริญของอุบาสก ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ

อุบาสกไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑ ไม่ละเลยการฟังสัทธรรม ๑

ศึกษาในอธิศีล ๑ มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ

ผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑ ไม่ตั้งจิตติเตียน ไม่คอยเพ่งโทษ ฟังธรรม ๑

ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ กระทำสักการะก่อนใน

เขตบุญในศาสนานี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญของอุบาสก

๗ ประการนี้แล.

อุบาสกใด ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรม

ตน ละเลยการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล

มีความไม่เลื่อมใสเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปในภิกษุ

ทั้งหลาย ตั้งจิตติเรียนปรารถนาฟังสัทธรรม

แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำ

สักการะก่อนในเขตบุญภายนอกในศาสนานี้

อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

เสื่อม อันเราแสดงแล้ว ๗ ประการนี้แล ย่อม

เสื่อมจากสัทธรรม อุบาสกใดไม่ขาดการเยี่ยม-

เยียนภิกษุผู้อบรมตน ไม่ละเลยการฟังอริยธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 84

ศึกษาอยู่ในอธิศีล มีความเลื่อมใสเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น

ไปในภิกษุทั้งหลาย ไม่ตั้งจิตติเตียนปรารถนา

ฟังสัทธรรม ไม่แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอก

ศาสนานี้ แลพกระทำสักการะก่อนในเขตบุญใน

ศาสนานี้ อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรมอันไม่เป็น

ที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงดีแล้ว ๗ ประการ

การนี้แล ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม.

จบ วิปัตติสัมภวสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สารันททสุตร ๒. วัสสการสูตร ๓. ภิกขุสูตร ๔. กรรม-

สูตร ๕. สิทธิยสูตร ๖. ฑยธยสูตร ๗. สัญญาสูตร ๘. เสขสูตร

๙. หานิสูตร ๑๐. วิปัตติสัมภวสูตร

จบ วัชชีวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 85

เทวตาวรรคที่ ๔

๑. อัปปมาทสูตร

[๒๙] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาคนหนึ่ง

มีผิวพรรณงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม

ก็ภิกษุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นเคารพในพระศาสดา ๑

ความเป็นผู้เคารพในธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความ

เป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็น

ผู้เคารพในความไม่ประมาท ๑ ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร ๑

ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ

เทวดานั้นกราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น

เทวดานั้นทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยเรา ถวายอภิวาท

กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง ครั้นล่วงราตรีนั้นไป

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไป เทวดาตนหนึ่งมีผิวพรรณงาม ยังวิหาร

เชตวันทั้งสิ้นไห้สว่างไสวแล้ว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้ว

ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 86

แก่ภิกษุ ๗ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑

ความเป็นผู้เคารพในธรรม ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความ

เป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็น

ผู้เคารพในความไม่ประมาท . ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร ๑ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความ

ไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว

ไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง.

ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มี

ความเคารพในธรรม มีความเคารพอย่างแรงกล้า

ในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร มี

ความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา มีความเคารพ

ในความไม่ประมาท มีความเคารพในปฏิสันถาร

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมมีในที่ใกล้

นิพพานทีเดียว.

จบ อัปปมาทสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 87

๒. หิรีมาสูตร

[๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนื้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว

เทวดาตนหนึ่งมีผิวพรรณงาม ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสวแล้ว

เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

แล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้

ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ. ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ

ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในธรรม ๑ ความ

เป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็น

ผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้เคารพในหิริ ๑ ความเป็นผู้เคารพ

ในโอตตัปปะ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อม

เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว

ไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นเอง.

ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มี

ความเคารพในธรรม มีความเคารพอย่างแรงกล้า

ในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร

มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ถึงพร้อม

ด้วยหิริและโอตตัปปะ มีความเคารพ ยำเกรง

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมมีในที่ใกล้

นิพพานทีเดียว.

จบ หิรีมาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 88

๒. ปฐมสุวจสูตร

[๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว

เทวดาตนหนึ่ง ฯลฯ ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม

๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๗ ประการ

เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพใน

ธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา

ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตร

ดีงาม ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไป

เพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้น ครั้นกล่าว

ดังนี้แล้ว ไหวเรา กระทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้นเอง.

ภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา มี

ความเคารพในธรรม มีความเคารพอย่างแรงกล้า

ในสงฆ์ มีความเคารพในสมาธิ มีความเพียร มี

ความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา มีมิตรดีงาม

เป็นผู้ว่าง่าย มีความเคารพ ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควร

เพื่อความเสื่อม ย่อมตั้งอยู่ในที่ใกล้แห่งพระ-

นิพพานทีเดียว.

จบ ปฐมสุวจสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 89

๔. ทุติยสุวจสูตร

[๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว

เทวดาตนหนึ่ง ฯลฯ ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม

๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๗ ประการ

เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพ

ในธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา

๑ ความเป็นผู้เคารพในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้

มีมิตรดีงาม ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อม

เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดานั้น

ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ไหว้เรากระทำประทักษิณาแล้ว หายไป ณ

ที่นั้นเอง.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความ

แห่งภาษิตที่พระองค์ตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ว่า ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา กล่าว

สรรเสริญความเป็นผู้เคารพในพระคาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่น

ผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดาให้เคารพในพระศาสดา และกล่าว

สรรเสริญภิกษุผู้มีความเคารพในพระศาสดา ตามความเป็นจริง

โดยกาลอันควร ตนเองเป็นผู้เคารพในธรรม ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความ

เคารพในสงฆ์ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ ตนเอง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 90

เป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ

เป็นผู้มีมิตรดีงาม ให้เป็นผู้มีมิตรดีงาม และกล่าวสรรเสริญภิกษุ

เหล่าอื่นผู้มีมิตรดีงาม ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้ทั่วถึง

เนื้อความแห่งภาษิตที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้

เป็นการดีแล ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้มี

ความเคารพในพระศาสดา กล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มีความเคารพ

ในพระศาสดา และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้มีความเคารพใน

พระศาสดา ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ตนเองเป็นผู้มีความ

เคารพในธรรม ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสงฆ์ ฯลฯ ตนเอง

เป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสมาธิ

ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ ตนเองเป็นผู้มีมิตรดีงาม กล่าวสรรเสริญ

ความเป็นผู้มีมิตรดีงาม ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีมิตรดีงาม

ให้เป็นผู้มีมิตรดีงาม และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้มีมิตร

ดีงาม ตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ดูก่อนสารีบุตร เธอพึงเห็น

เนื้อความแห่งภาษิตที่เรากล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้.

จบ ทุติยสุวจสูตรที่๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 91

๕. ปฐมสขาสูตร

[๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงคบมิตรผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๗ ประการ. ด้วยองค์ ๗ ประการเป็นไฉน คือ มิตรผู้ให้ของ

ที่ให้ได้ยาก ๑ รับทำกิจที่ทำได้ยาก ๑ อดทนถ้อยคำที่อดในได้ยาก ๑

บอกความลับของตนแก่เพื่อน ๑ ปิดความลับของเพื่อน ๑ ไม่ละทิ้ง

ในยามวิบัติ ๑ เมื่อเพื่อนสิ้นโภคสมบัติก็ไม่ดูหมิ่น ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงคบมิตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ

นี้แล.

มิตรที่ดีงามย่อมให้ของที่ดีงามให้ได้ยาก

รับทำกิจที่ทำได้ยาก อดทนถ้อยคำหยาบคาย

แม้ยากที่อดใจไว้ได้ บอกความลับของตนแก่

เพื่อน ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ เมื่อเพื่อนสิ้นโภค-

สมบัติ ก็ไม่ดูหมิ่น ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด

บุคคลนั้นเป็นมิตรแท้ ผู้ประสงค์จะคบมิตร ก็

ควรคบมิตรเช่นนั้น.

จบ ปฐมสขาสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 92

เทวตาวรรคที่ ๔

อรรถกถาปฐมสขาสูตรที่ ๕

วรรคที่ ๔ สูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุทฺทท สิงของมีค่ามาก อันสละได้ยาก. บทว่า ทุกฺกร

กโรติ ความว่า ย่อมกระทำกิจกรรมที่กระทำไม่ได้ง่าย ๆ

บทว่า ทุกฺขม ขมติ ความว่า ย่อมอดกลั้นได้อย่างมาก เพื่อ

ประโยชน์แก่สหาย. บทว่า คุยฺหมสฺส อาวิกโรติ ความว่า ย่อมเปิด

เผยความลับของตนแก่สหายนั้น. บทว่า คุยฺหมสฺส ปริคูหติ ความว่า

ไม่บอกความลับของสหายนั้นแก่คนเหล่าอื่น. บทว่า ขีเณน นาติมญฺติ

ได้แก่ เมื่อโภคสมบัติของสหายนั้นสิ้นไปแล้ว ก็ไม่ดูหมิ่นสหายนั้น

เพราะความเสื่อมสิ้นนั้น คือไม่กระทำการเหยียบย่ำและดูหมิ่น

ในตัวสหายนั้น

จบ อรรถกถาปฐมสขาสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 93

๖. ทุติยสขาสูตร

[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗

ประการควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่

ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุเป็นที่รักใคร่พอใจ ๑ เป็นที่

เคารพ ๑ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ๑ เป็นผู้ฉลาดพูด ๑ เป็นผู้อดทน

ต่อถ้อยคำ ๑ พูดถ้อยคำลึกซึ้ง ๑ ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ควรเสพ

ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้ แม้ถูกขับไล่.

ภิกษุเป็นที่รักใคร่ พอใจ เป็นที่เคารพ

ควรสรรเสริญ ฉลาดพูด อดทนต่อถ้อยคำ พูด

ถ้อยคำลึกซึ้ง ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ฐานะเหล่านี้

มีอยู่ในภิกษุใด ภิกษุนั้นเป็นมิตรแท้ มุ่งอนุเคราะห์

แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ผู้ประสงค์จะคบมิตร ควร

คบมิตรเช่นนั้น แม้จะถูกขับไล่.

จบ สขาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 94

อรรถกถาทุติยสขาสูตรที่ ๖

ทุติยสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วตฺตา ได้แก่ผู้ฉลาดในถ้อยคำ. บทว่า วจนกฺขโม

ความว่า ภิกษุย่อมอดทนถ้อยคำ คือกระทำตามโอวาทที่ท่านให้.

บทว่า คมฺภีร ได้แก่ ถ้อยคำที่ปกปิด ลึกลับที่อาศัยฌาน อาศัย

วิปัสสนา มรรคผล และนิพพาน.

จบ อรรถกถาทุติยสขาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 95

๗. ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร

[๓๕] ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ พึงกระทำ

ให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ ต่อการไม่

นานเลย ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อ

จิตหดหู่ ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า จิตของเราหดหู่ จิตท้อแท้ในภายใน

ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า จิตของเราท้อแท้ในภายใน หรือจิตฟุ้งซ่าน

ไปภายนอก ก็รู้ชัดตามเป็นจริงว่า จิตของเราฟุ้งซ่านไปภายนอก

เวทนาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ภิกษุนั้น

ทราบแล้ว สัญญาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้

ภิกษุนั้นทราบแล้ว วิตกย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่

ไม่ได้ ภิกษุนั้นทราบแล้ว อนึ่ง นิมิตในธรรมเป็นที่สบาย ไม่เป็น

ที่สบาย เลว ประณีต ดำ ขาว และเป็นปฏิภาคกัน อันภิกษุนั้นเรียน

ดีแล้ว มนสิการดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล

พึงกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่

ต่อกาลไม่นานเลย.

จบ ปฐมปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 96

อรรถกถาปฐมปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๗

ปฐมปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อิทมฺเม เจตโส ลีนตฺต ควาาว่า เมื่อจิตหดหู่เกิดขึ้นแล้ว

ภิกษุย่อมรู้ตามสภาวะความเป็นจริงว่า จิตของเรานี้หดหู่ จิตไปตาม

ถีนมิทธะ ชื่อว่าจิตหดหู่ในภายใน จิตที่กวัดแกว่งไปในกามคุณ ๕

ชื่อว่าจิตฟุ้งไปในภายนอก บทว่า เวทนาเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงถือเอาด้วยอำนาจมูลแห่งธรรมอันเป็นเครื่องเนิ่นช้า. ด้วยว่า

เวทนาเป็นมูลแห่งตัณหา เพราะตัณหาเกิดขึ้นด้วยอำนาจความสุข

สัญญาเป็นมูลของทิฏฐิ เพราะทิฏฐิ เกิดขึ้นในอวิภูตารมณ์ อารมณ์

ที่ไม่ชัดแจ้งวิตกเป็นมูลแห่งมานะ เพราะอัสมิมานเกิดขึ้นด้วย

อำนาจวิตก. บทว่า สปฺปายา สมฺปาเยสุ ได้แก่ที่เป็นอุปการะและ

ไม่เป็นอุปการะ. บทว่า นิมิตฺต ได้แก่ เหตุ. คำที่เหลือในบททั้งปวง

ง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 97

๘. ทุติยปฏสัมภิทาสูตร

[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗

ประการ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

เข้าถึงอยู่ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ สารีบุตรในธรรมวินัยนี้

เมือจิตหดหู่ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า จิตของเราหดหู่ จิตท้อแท้ใน

ภายใน รู้ชัดตามเป็นจริงว่าจิตของเราท้อแท้ในภายใน หรือจิตฟุ้งซ่าน

ไปภายนอก เวทนาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อมถึงการตั้งอยู่

ไม่ได้ สารีบุตรทราบแล้ว สัญญาย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ ย่อม

ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ สารีบุตรทราบแล้ว วิตกย่อมเกิดขึ้น ย่อมปรากฏ

ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้. สารีบุตรทราบแล้ว จิตในธรรมเป็นที่สบาย

ไม่สบาย เลว ประณีต ดำ ขาว และเป็นปฏิภาคกัน อันสารีบุตร

เรียนดีแล้ว มนสิการดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล

ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่.

จบ ทุติยปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 98

๙. ปฐมวสสูตร

[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗

ประการ ย่อมยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ และไม่เป็นไปตามอำนาจ

ของจิต ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น

ผู้ฉลาดไม่สมาธิ ๑ ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ ฉลาดในการตั้งอยู่

แห่งสมาธิ ๑ ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑ ฉลาดในความพร้อมมูล

แห่งสมาธิ ๑ ฉลาดรู้ในอารมณ์แห่งสมาธิ ๑ ฉลาดในอภินิหาร

แห่งสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗

ประการนี้แล ย่อมยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ และไม่เป็นไปตาม

อำนาจของจิต.

จบ ปฐมวสสสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยวสสูตร

[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรผู้ประกอบด้วยธรรม

๗ ประการ ย่อมยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ และไม่เป็นไปตาม

อำนาจของจิต ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สารีบุตรในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑ ฉลาดในการเข้า

สมาธิ ๑ ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑ ฉลาดในการออกจาก

สมาธิ ๑ ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตร

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ

ได้ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต.

จบ ทุติยวสสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 99

๑๑. ปฐมนิททสสูตร

[๓๙] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตร

และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านคิดว่า เราจะ

เที่ยวไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถีก็ยังเช้านัก อย่ากระนั้นเลย เราควร

เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ครั้งนั้น ท่าน

พระสารีบุตรเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้

สนทนาปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ก็สมัยนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังนั่งประชุมสนทนากันว่า

ท่านมีอายุทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์

บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้นิททสะ ทานพระสารีบุตร

ไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำกล่าวของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น

ครั้นแล้วลุกจากที่นั่งหลีกไปด้วยตั้งใจว่า เราจะทั่วถึงเนื้อความ

แห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น ท่านพระ

สารีบุตรเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว กลับจากบิณฑบาต

ในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์

นั่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ข้าพระองค์

คิดว่า เราจะเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีก็ยังเข้านัก อย่ากระนั้นเลย

เราควรเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ลำดับนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 100

ข้าพระองค์เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้

สนทนาปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ก็สมัยนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังนั่งประชุมสนทนากันว่า

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์

บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกว่า ภิกษุผู้นิททสะ แต่ข้าพระองค์

ไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำกล่าวของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น

ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยตั้งใจว่า เราจะรู้ทั่วถึงเนื้อความ

แห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระองค์อาจหรือหนอ เพื่อทรงบัญญัติภิกษุนิททสะ ด้วยเหตุเพียง

การนับพรรษาอย่างเดียว ในธรรมวินัยนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร จะไม่มีใคร ๆ

อาจเพื่อบัญญัติภิกษุผู้นิททสะด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียว

ในธรรมวินัยนี้ ก่อนสารีบุตร วัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้

เรากระทำไห้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ประกาศแล้ว นิททสะวัตถุ ๗

ประการเป็นไฉน ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีฉันทะกล้า

ในการสมาทานสิกขา และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการสมาทาน

สิกขาต่อไป ๑ มีฉันทะกล้าในการฟังธรรม และมีความรักอย่างลึกซึ้ง

ในการฟังธรรมต่อไป ๑ มีฉันทะกล้าในการกำจัดความอยาก และมี

ความรักอย่างลึกซึ้งในการกำจัดความอยากต่อไป ๑ มีฉันทะกล้า

ในการหลีกออกเร้น และมีความรักอย่างลึกซึ้งในการหลีกออกเร้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 101

ต่อไป ๑ มีฉันทะกล้าในการปรารภความเพียร และมีความรักอย่าง

ลึกซึ้งในการปรารภความเพียรต่อไป ๑ มีฉันทะกล้าในสติเครื่อง

รักษาตัว และมีความรักอย่างลึกซึ้งในสติเครื่องรักษาตัวต่อไป

มีฉันทะกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฐิ และมีความรักอย่างลึกซึ้ง

ในการแทงตลอดด้วยทิฐิต่อไป ๑ ดูก่อนสารีบุตร วัตถุแห่งนิททสะ

๗ ประการนี้แล ถ้าประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี

ก็ควรจะเรียกได้ว่า ภิกษุผู้นิททสะ ถ้าประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์

บริบูรณ์ครบ ๒๔ ปี ก็ดี... ๓๖ ปีก็ดี... ๔๘ ปีก็ดี ก็ควรจะเรียกได้ว่า

ภิกษุนิททสะ.

จบ ปฐมนิททสสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 102

๑๒. ทุติยนิททสสูตร

[๔๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม

ใกล้กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงโกสัมพี ครั้งนั้นท่านคิดว่า

เราจะเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพี ก็ยังเช้านัก อย่ากระหาย

เราควรเข้าไปยังอารามของพวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ลำดับ

นั้นแล ท่านพระอานนที่เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์

ปริพาชก ได้สนทนาปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังนั่งประชุม

สนทนากันว่า ท่านมีอายุทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติ

พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรจะเรียกว่า ภิกษุ

ผู้นิททสะ ท่านพระอานนท์ไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำกล่าวของพวก

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป

ด้วยตั้งใจว่าเราจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคำกล่าวของพวกอัญญ-

เดียรถีย์ปริพาชก ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น

ท่านพระอานนท์ได้เที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพี กลับจากบิณฑบาต

ในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์

นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงโกสัมพี ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 103

ได้คิดว่า เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงโกสัมพี ก็ยังเช้านัก อย่า

กระนั้นเลย เราควรเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

ลำดับนั้น ข้าพระองค์เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

ได้สนทนาปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ก็สมัยนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกำลังนั่งประชุมสนทนากันว่า

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านผู้ใดผู้หนึ่งประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์

บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปี ควรเรียกว่า ภิกษุผู้นิททสะ แต่ข้าพระองค์

ไม่ยินดี ไม่คัดค้านคำกล่าวของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น

ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราจะรู้ทั่วถึงเนื้อความ

ของภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระองค์อาจหรือหนอ เพื่อทรงบัญญัติภิกษุนิททสะ ด้วยเหตุเพียง

นับพรรษาอย่างเดียวในธรรมวินัยนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ไม่มีใคร ๆ อาจ

เพื่อบัญญัติภิกษุผู้นิททสะ ด้วยเหตุเพียงนับพรรษาอย่างเดียวใน

ธรรมวินัยนี้ ก่อนอานนท์ วัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้ เรากระทำ

ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ประกาศแล้วนิททสะวัตถุ ๗ ประการเป็น

ไฉน ดูก่อนอานนท์ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑

มีโอตตัปปะ ๑ เป็นพหูสูต ๑ ปรารภความเพียร ๑ มีสติ ๑ มีปัญญา ๑

ดูก่อนอานนท์ วัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้ง

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ประกาศแล้ว ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 104

ด้วยวัตถุแห่งนิททสะ ๗ ประการนี้แล ถ้าประพฤติพรหมจรรย์

บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ ๑๒ ปีก็ดี ควรจะเรียกได้ว่า ภิกษุผู้นิททสะ

ถ้าประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบ ๒๔ ปีก็ดี... ๓๖

ก็ดี... ๔๘ ปีก็ดี ก็ควรจะเรียกได้ว่า ภิกษุผู้นิททสะ.

จบ ทุติยนิททสสุตรที่ ๑๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัปปมาทสูตร ๒. หิรีมาสูตร ๓. ปฐมสุวจสูตร ๔. ทุติย-

สุวจสุตร ๕. ปฐมสขาสูตร ๖. ทุติยสขาสูตร ๗. ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร

๘. ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร ๙. ปฐมวสสูตร ๑๐. ทุติยวสสูตร ๑๑. ปฐม-

นิททสสูตร ๑๒. ทุติยนิททสสูตร.

จบ เทวตาวรรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 105

มหายัญญวรรคที่ ๕

๑. จิตตสูตร

[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณฐิติ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่ง

วิญญาณ) ๗ ประการนี้ วิญญาณฐิติ ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์

เทวดาบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวกนี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่

สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน แต่มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดา

ชั้นพรหมกายิกา ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๒

สัตว์บางพวกมีกายอย่างเดียวกัน แต่มีสัญญาต่างกัน เหมือนเทวดา

ชั้นอาภัสสระ นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๓ สัตว์บางพวกมีกายอย่าง

เดียว มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนเทวดาชั้นสุภกิณหะ นี้เป็น

วิญญาณฐิติข้อที่ ๔ สัตว์บางพวกเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดย

มนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา โดยประการ

ทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ ไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา

นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๕ สัตว์บางพวกเข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ

โดยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ

โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๖ สัตว์บางพวกเข้าถึง

ชั้นอากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไร ๆ เพราะล่วง

วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ ๗

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณฐิติ ๗ ประการนี้แล.

จบ จิตตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 106

มหายัญญวรรคที่ ๕

อรรถกถาจิตตสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วิญฺาณฏฺิติโย ได้แก่ ที่ตั้งแห่งปฏิสนธิวิญญาณ.

ศัพท์ว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าเป็นตัวอย่าง. อธิบายว่า

มนุษย์ทั้งหลาย. จริงอยู่ บรรดามนุษย์ทั้งหลาย หาประมาณมิได้

ในจักรวาฬหาประมาณมิได้ แม้ ๒ คน จะชื่อว่า เหมือนมนุษย์คน

เดียวกันด้วยอำนาจสีและทรวดทรงเป็นอันหามีไม่. แม้มนุษย์

เหล่าใด เป็นพี่น้องฝาแฝดในที่ไหน ๆ ย่อมเหมือนกันโดยสีและ

ทรวดทรง แม้มนุษย์เหล่านั้นแปลกกันตรงที่แลดู เหลียวดู พูดหัวเราะ

เดิน และยืนเป็นต้น นั่นแล. เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า นานตฺตกายา

มีกายต่างกัน. ก็ปฏิสนธิสัญญา ของสัตว์เหล่านั้น เป็นติเหตุกะก็มี

เป็นทุเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะก็มี เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า

นานตฺตสญฺิโน มีสัญญาต่างกัน. บทว่า เอกจฺเจ จ เทวา ได้แก่

เทวดาชั้นกามาวจร ๖ ชั้น. จริงอยู่ บรรดาเทวดาชั้นกามาวจร ๖

ชั้นนั้น เทวดาบางพวกมีกายเขียว บางพวกมีกายเหลืองเป็นต้น

ส่วนสัญญาของเทวดาเหล่านั้น เป็นทุเหตุกะก็มี เป็นติเหตุกะก็มี

ที่เป็นอเหตุกะไม่มี บทว่า เอกจฺเจ จ วินิปาติกา ความว่า สัตว์ผู้พัน

จากอบาย ๔ มีอาทิอย่างนี้คือ อุตตรมาตายักขิณี ปิยังกรมาตายักขิณี

ผุสสมิตตายักขิณี ธัมมคุตตายักขิณี และเวมาณิกเปรต เหล่าอื่น. ก็

สัตว์เหล่านั้นมีกายต่างกันโดยผิวมี ผิวเหลือง ผิวขาว ผิวดำ และผิวคล้ำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 107

เป็นต้น และโดยผอมอ้วนเตี้ยและสูง. แม้สัญญาก็ต่างกัน โดยเป็น

ทุเหตุกะติเหตุกะ และอเหตุกะ แต่สัตว์เหล่านั้น ไม่มีอำนาจมากเหมือน

เทวดา มีอำนาจน้อย มีอาหารและเรื่องนุ่งห่มหายาก อยู่เป็นทุกข์

เหมือนมนุษย์ยากไร้ บางพวกต้องทุกข์เวลาข้างแรม มีสุขเวลาข้างขึ้น

เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า วินิปาติกา เพราะตกไปจากกองสุข ส่วน

บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดเป็นติเหตุกะ สัตว์เหล่านั้น ตรัสรู้

ธรรมก็มีเหมือนปิยังกรมาตายักขิณีเป็นต้น.

บทว่า พฺรหฺมกายิกา ได้แก่พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา

มหาพรหมา บทว่า ปฐมาภินิพฺพตฺตา ได้แก่ สัตว์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด

บังเกิดด้วยปฐมฌาน. ส่วนพรหมปาริสัชชา บังเกิดด้วยปฐมฌาน

อย่างอ่อน พรหมปาริสัชชาเหล่านั้นมีอายุประมาณเท่ากับส่วนที่ ๓

แห่งกัป พรหมปุโรหิตาบังเกิดด้วยปฐมฌานปานกลาง มีอายุประมาณ

กึ่งกัป พรหมเหล่านั้นจึงมีกายกว้างกว่ากัน มหาพรหมาบังเกิดด้วย

ปฐมฌานอย่างประณีต มีอายุประมาณกัปหนึ่ง แต่มหาพรหมาเหล่านั้น

มีกายกว้างอย่างยิ่ง ดังนั้น พรหมเหล่านั้น พึงทราบว่า นานตฺตกายา

เอกตฺตสญฺิโน เพราะมีกายต่างกัน มีสัญญาเป็นอันเดียวกัน ด้วย

อำนาจปฐมฌาน. สัตว์ในอบาย ๔ ก็เหมือนกับพรหมเหล่านั้น.

จริงอยู่ ในนรกทั้งหลาย สัตว์บางพวกนีอัตภาพ คาวุตหนึ่ง บางพวก

กึ่งโยชน์ บางพวกโยชน์หนึ่ง แต่ของพระเทวทัต ๑๐๐ โยชน์. แม้ใน

บรรดาสัตว์ดิรัจฉาน บางพวกเล็ก บางพวกใหญ่ แม้ในปิตติวิสัย

บางพวก ๖๐ ศอก บางพวก ๘๐ ศอก บางพวกมีพรรณดี บางพวก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 108

มีพรรณทราม. พวกกาลกัญชกอสูรก็เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง

ในพวกอสูรเหล่านั้น ชื่อว่า ทีฆปิฏฐิกอสูร ๖๐ โยชน์ ก็สัญญา

ของอสูรแม้ทั้งหมด เป็นอกุศลวิบากอเหตุกะ. ดังนี้ สัตว์ผู้เกิด

ในอบาย ย่อมนับว่ามีกายต่างกัน มีสัญญาเป็นอันเดียวกัน.

บทว่า อาภสฺสรา ความว่า พรหมชื่อว่า อาภัสสรา เพราะ

พรหมเหล่านี้มีรัศมีซ่านออก คือแผ่ออกไปจากสรีระดุจขาดตกลง

เหมือนเปลวไฟแห่งคบไฟฉะนั้น บรรดาอาภัสสรพรหมเหล่านั้น

พรหมผู้เจริญทุติยฌานและตติยฌานทั้ง ๒ อย่างอ่อน ในปัญจกนัย

เกิดขึ้น ชื่อว่า ปริตตาภาพรหม. ปริตตาภาพรหมเหล่านั้น มีอายุ

ประมาณ ๒ กัป ที่เจริญทุติยฌาน ตติยฌานอย่างกลางเกิดขึ้น

ชื่อว่า อัปปมาณาภาพรหม อัปปมาณาภาพรหมเหล่านั้น มีอายุ

ประมาณ ๔ กัป ที่เจริญทุติยฌาน ตติยฌานอย่างประณีตเกิดขึ้น

ชื่อว่าอาภัสราพรหม. อาภัสราพรหมเหล่านั้น มีอายุประมาณ ๘ กัป

ในที่นี้ทรงถือเอาพรหมเหล่านั้นทั้งหมด โดยการกำหนดอย่างอุกฤษฏ์

ความจริง พรหมเหล่านั้นทั้งหมดมีกายกว้างเป็นอันเดียวกัน ส่วน

สัญญาต่าง ๆ กัน ไม่มีวิตกเพียงมีวิจารบ้าง ไม่มีวิตกวิจารบ้าง.

บทว่า สุภกิณฺหา ความว่า พรหมทั้งหลายมีรัศมีจากสรีระ

ระยิบระยับด้วยความงาม รัศมีแห่งสรีระโดยความงาม อธิบายว่า

เป็นแท่งทึบโดยความงาม. จริงอยู่ สุภกิณหาพรหม พรหมเหล่านั้น

รัศมีไม่ขาดไปเหมือนของอาภัสราพรหม. แต่ในปัญจนัย เหล่า

พรหมณ์ที่บังเกิดชื่อว่า ปริตตสุภาพรหม อัปปมาณาสุภาพพรหม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 109

และสุภกิณหพรหม มีอายุ ๑๖ กัป ๒๓ กัป ๖๔ กัป ด้วย

อำนาจจตุตถฌานอย่างอ่อน อย่างกลาง มีกายเป็นอย่างเดียวกัน และ

พรหมเหล่านั้นทั้งหมด พึงทราบว่า มีกายเป็นอย่างเดียวกัน และ

มีสัญญาเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยสัญญาในจตตุถฌาน

ฝ่ายเวหัปผลาพรหม ก็ย่อมเทียบวิญญาณฐิติ ที่ ๔ เท่านั้น

เหล่าอสัญญีสัตว์ หรือวิญญาณาภาพรหม ย่อมไม่สงเคราะห์เข้า

ในข้อนี้ แต่ไปในสัตตวาสทั้งหลาย. สุทธาวาสพรหม ตั้งอยู่ในฝ่าย

วิวัฏฏะ. ย่อมไม่มีตลอดกาลทุกเมื่อ คือไม่เกิดขึ้นในโลก ที่ว่างจาก

พระพุทธเจ้า ตลอดแสนกัปบ้าง อสงไขยหนึ่งบ้าง. เมื่อพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ทรงอุบัติขึ้นแล้วนั่นแล ย่อมเกิดขึ้นในภายในเขตกำหนด

อายุ ๑๖,๐๐๐ กัป ย่อมเป็นเสมือนค่ายพักของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เป็นพระธรรมจักรพรรดิ์ เพราะเหตุนั้น จึงไม่เทียบวิญญาณฐิติ

และสัตตาวาส. ส่วนพระมหาสิวเถระ กล่าวว่า แม้พรหมชั้นสุทธาวาส

ก็ย่อมเทียบวิญญาณฐิติที่ ๔ และสัตตาวาสที่ ๔ โดยสูตรนี้ว่า

ดูก่อนสารีบุตร ก็สัตตวาส ไม่ใช่โอกาสที่จะได้โดยง่ายแล

สัตตาวาสนั้นเราไม่เคยอยู่ โดยกาลอันยืดยาวนานนี้ เว้นเทวดา

เหล่าสุทธาวาส. คำนั้น ท่านอนุญาตไว้แล้ว เพราะไม่มีพระสูตร

ห้ามไว้. เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ชื่อว่า มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี

สัญญาก็มิใช่ เพราะแม้วิญญาณ เป็นของละเอียดเหมือนสัญญา

ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ท่านจึงกล่าว

ไว้ในวิญญาณฐิติ ทั้งหลาย.

จบ อรรถกถาจิตตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 110

๒. ปริกขารสูตร

[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์แห่งสมาธิ ๗ ประการนี้

๗ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑

สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เอกัคคตาจิตประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้

เรียกว่าอริยสมาธิ ที่เป็นไปกับด้วยอุปนิสัยก็มี มีเป็นไปกับด้วย

บริขารก็มี

จบ ปริกขารสูตรที่ ๒

อรรถกถาปริกขารสูตรที่ ๒

ปริกขารสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมาธิปริกฺขารา ได้แก่ องค์ประกอบแห่งสมาธิ

อันสัมปยุตด้วยมรรค.

จบ อรถกถาปริกขารสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 111

๓. ปฐมอัคคิสูตร

[๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๗ กองนี้. ไฟ ๗ กองเป็นไฉน

คือ ไฟคือราคะ ๑ ไฟคือโทสะ ๑ ไฟคือโมหะ ๑ ไฟคืออาหุไนย-

บุคคล ๑ ไฟคือคหบดี ๑ ไฟคือทักขิไณยบุคคล ๑ ไฟเกิดแต่ไม้ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๗ กองนี้แล.

จบ ปฐมอัคคิสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมอัคคิสูตรที่ ๓

ปฐมอัคคิสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า อคฺคิไฟ

เพราะอรรถว่าตามเผาผลาญ. ส่วนบทเป็นต้นว่า อาหุเนยฺยตฺคิ นี้

พึงทราบวินิจสัยดังต่อไปนี้ สักการะท่านเรียกว่า อาหุนะ ชนเหล่าใด

ย่อมควรซึ่งอาหุนะ เหตุนั้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า อาหุเนยยา ชนผู้ควร

ซึ่ง อาหุนะ. จริงอยู่ มารดาและบิดาทั้งหลาย บุตรทั้งหลาย

เพราะท่านทั้งสองเป็นผู้มีอุปการมากแก่บุตรทั้งหลาย บุตรทั้งหลาย

ปฏิบัติผิดในมารดาและบิดาทั้ง ๒ นั้น ย่อมบังเกิดในอบายมีนรก

เป็นต้น เพราะเหุนนั้น ถึงแม้มารดาและบิดา จะมิได้ตามเผาผลาญ

อยู่ก็จริง ถึงกระนั้นท่านทั้ง ๒ ก็ยังเป็นปัจจัยแก่การตามเผาผลาญ

อยู่ ดังนั้น ท่านเรียก มารดาบิดาว่า อาหุเนยยัคคิ เพราะอรรถว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 112

ตามเผาผลาญนั่นแล. ก็เจ้าบ้านท่านเรียกว่า คหบดี จริงอยู่ คหบดีนั้น

มีอุปการะมากแก่มาตุคาม ด้วยการมอบให้ ที่นอน เสื้อผ้า และ

เครื่องประดับเป็นต้น มาตุคามผู้นอกใจสามีนั้น ย่อมบังเกิดใน

อบายมีนรกเป็นต้น เพราะเหตุนั้น สามีแม้นั้น ท่านก็เรียกว่า

คหปตัคคิ เพราะอรรถว่าตามเผาผลาญ โดยนัยก่อนนั่นแล.

ส่วนในคำว่า ทกฺขิเณยฺยคฺคิ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ปัจจัย

๔ ชื่อว่า ทักษิณา ภิกษุสงฆ์ชื่อว่า ทักขิเณยยบุคคล ผู้ควรแก่

ทักษิณา. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้น ย่อมเป็นผู้มีอุปการะมาก แก่คฤหัสถ์

ทั้งหลาย ด้วยการประกอบไว้ในกัลยาณธรรมทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้

คือ ในสรณะ ๓ ศีล ๕ ศีล ๑๐ การบำรุงมารดาและบิดา การบำรุง

สมณะและพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม คฤหัสถ์ผู้ปฏิบัติผิดในภิกษุสงฆ์

นั้น ด่า บริภาษ ภิกษุสงฆ์ ย่อมบังเกิดในอบายทั้งหลาย มีนรก

เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุสงฆ์นั้น ท่านเรียกว่า ทักขิเณยยัคคิ

ไฟคือทักขิเณยยบุคคล เพราะอรรถว่า ตามเผาผลาญโดยนัยก่อน

นั่นแล. ไฟตามปกติที่เกิดแต่ไม้ ชื่อว่า กัฏฐัคคิ ไฟเกิดแต่ไม้.

จบ อรรถกถาปฐมอัคคิสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 113

๔. ทุติยอัคคิสูตร

[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ก็สมัย

นั้แล อุคคตสรีรพราหมณ์ตระเตรียมมหายัญ โคผู้ ๕๐๐ ลูกโคผู้

๕๐๐ ลูกโคเมีย ๕๐๐ แพะ ๕๐๐ แกะ ๕๐๐ ถูกนำเข้าไปผูกไว้ที่หลัก

เพื่อบูชายัญ ลำดับนั้น อุคคตสรีรพราหมณ์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม

ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

พราหมณ์ แม้เราก็ได้ฟังมาว่า การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ

มีผลมาก มีอานิสงส์มาก แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ อุคคตสรีร-

พราหมณ์ก็ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์

ได้สดับมาดังนี้ว่า การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ มีผลมาก มี

อานิสงส์มาก.

พ. ก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ได้ฟังมาว่า การก่อไฟ การ

ปักหลักบูชายัญมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อความทั้งหมดของข้าพระองค์

สมกันกับข้อความของท่านพระโคดม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 114

เมื่ออุคคตสรีรพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์

ได้กล่าวกะอุคคตสรีรพราหมณ์ว่า ก่อนพราหมณ์ ท่านไม่ควร

ถามพระตถาคตอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์

ได้สดับมาดังนี้ว่า การก่อไฟ การปักหลักบูชายัญ มีผลมาก มี

อานิสงส์มาก แต่ท่านควรถามตถาคตอย่างนี้ว่า ข้าพระองค์เจริญ

ก็ข้าพระองค์ประสงค์จะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าโปรด ตักเตือนสั่งสอนข้อที่จะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุขตลอดกาลนาน แก่ข้าพระองค์เถิด ลำดับนั้นอุคคตสรีร-

พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ข้าพระองค์ประสงค์จะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ขอท่านพระโคดม

โปรดตักเตือนสั่งสอนข้อที่จะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุขตลอดกาลนาน แก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ

ในการบูชายัญเบื้องต้นย่อมเงื้อศาตรา ๓ ชนิด อันเป็นอกุศล มีทุกข์

เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ศาตรา ๓ ชนิดเป็นไฉน คือ ศาตรา

ทางกาย ๑ ศาตราทางวาจา ๑ ศาตราทางใจ ๑ ดูก่อนพราหมณ์

บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ในการบูชายัญเบื้องต้นทีเดียว

ย่อมเกิดความคิดอย่างนี้ว่า ต้องฆ่าโคผู้เท่านี้ตัว ลูกโคผู้เท่านี้ตัว

ลูกโคเมียเท่านี้ตัว แพะเท่านี้ตัว แกะเท่านี้ตัว เพื่อบูชายัญ เขาคิดว่า

จะทำบุญแต่กลับทำบาป คิดว่าจะทำกุศล กลับทำอกุศล คิดว่าจะ

แสวงหาทางสุคติ กลับแสวงหาทางทุคติ ก่อนพราหมณ์ บุคคล

เมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ในการบูชายัญเบื้องต้นทีเดียว ย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 115

เงื้อศาตราทางใจข้อที่ ๑ นี้ อันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์

เป็นวิบาก.

อีกประการหนึ่ง บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ใน

การบูชายัญเบื้องต้นทีเดียว ย่อมกล่าววาจา (สั่ง) อย่างนี้ว่า จงฆ่า

โคผู้เท่านี้ตัว ลูกโคผู้เท่านี้ตัว ลูกโคเมียเท่านี้ตัว แพะเท่านี้ตัว แกะ

เท่านี้ตัว เพื่อบูชายัญ เขาสั่งว่าจะทำบุญกลับทำบาป เขาสั่งว่าจะ

ทำกุศล กลับทำอกุศล เขาสั่งว่าจะแสวงหาทางสุคติ กลับแสวงหา

ทางทุคติ ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อบุคคลจะก่อไฟ. ปักหลักบูชายัญ

ในการบูชายัญ เบื้องต้นทีเดียว ย่อมเงื้อศาตราทางวาจาข้อที่ ๒ นี้

อันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก.

อีกประการหนึ่ง บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ในการ

บูชายัญ เบื้องต้นทีเดียว ย่อมลงมือด้วยตนเองก่อน คือต้องฆ่าโคผู้

ลูกโคผู้ ลูกโคเมีย แพะ แกะ เพื่อบูชายัญ เขาลงมือว่าจะทำบุญ

กลับทำบาป ลงมือว่าจะทำกุศล กลับทำอกุศล ลงมือว่าจะแสวงหา

ทางสุคติ กลับแสวงหาทางทุคติ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ

ปักหลักบูชายัญ ในการบูชายัญ เบื้องต้นทีเดียว ย่อมเงื้อศาตรา

ทางกายข้อที่ ๓ นี้ อันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลเมื่อจะก่อไฟ ปักหลักบูชายัญ ในการบูชายัญ

เบื้องต้นทีเดียว ย่อมเงื้อศาตรา ๓ อย่างนี้ อันเป็นอกุศล มีทุกข์เป็น

กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ดูก่อนพราหมณ์ ท่านพึงละ พึงเว้น ไม่พึง

เสพไฟ ๓ กองนี้ ๓ กองเป็นไฉน ไฟคือราคะ ๑ ไฟคือโทสะ ๑ ไฟ

คือโมหะ ๑ ดูก่อนพราหมณ์ ก็เพราะเหตุไรจึงพึงละ พึงเว้น ไม่พึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 116

เสพไฟคือราคะนี้ เพราะบุคคลผู้กำหนัดอันราคะครอบงำย่ำยีจิต

ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจได้ ครั้นประพฤติทุจริต

ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ฉะนั้น จึงพึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือราคะนี้ ก็

เพราะเหตุไร จึงพึงละพึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือผู้โกรธ อันโทสะ

ครอบงำย่ำยีจิต ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจได้

โทสะนี้ เพราะบุคคลครั้นประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ

แล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุติ วินิบาต นรก ฉะนั้น จึง

พึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือโทสะนี้ ก็เพราะเหตุไร จึงพึงละ

พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟคือโมหะนี้ เพราะบุคคลผู้หลงอันโมหะครอบงำ

ย่ำยีจิต ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจได้ ครั้น

ประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อม

เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉะนั้น จึงพึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟ

คือโมหะนี้ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านพึงละ พึงเว้น ไม่พึงเสพไฟ ๓ กอง

นี้แล ดูก่อนพราหมณ์ ไฟ ๓ กองนี้ควรสักการะ เคารพ นับถือ

บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ๓ กองเป็นไฉน คือ ไฟคืออาหุไนย-

บุคคล ๑ ไฟคือคหบดี ๑ ไฟคือทักขิไณยบุคคล ๑ ก่อนพราหมณ์

ก็ไฟคืออาหุไนยบุคคลเป็นไฉน ก่อนพราหมณ์ คนในโลกนี้ คือ

มารดาหรือบิดา เรียกว่าไฟคืออาหุไนยบุคคล ข้อนั้นเพราะอะไร

เพราะบุคคลเกิดมาแต่มารดาบิดานี้ ฉะนั้น ไฟคืออาหุไนยบุคคล

จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ

ก็ไฟคือคหบดีเป็นไฉน ตนในโลกนี้คือ บุตร ภรรยา ทาส หรือคนใช้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 117

นี้เรียกว่าไฟคือคหบดี ฉะนั้น ไฟคือคหบดีจึงควรสักการะ เคารพ

นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ก็ไฟคือทักขิไณยบุคคล

เป็นไฉน สมณพราหมณ์ในโลกนี้ งดเว้นจากความมัวเมาประมาท

ตั้งอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกฝนจิตใจให้สงบ ดับร้อนได้เป็นเอก

นี้เรียกว่าไฟคือทักขิไณยบุคคล ฉะนั้น ไฟคือทักขิไณยบุคคลนี้

จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ

ดูก่อนพราหมณ์ ไฟ ๓ กองนี้แล ควรสักการะ เคารพนับถือ บูชา

บริหารให้เป็นสุขโดยชอบ ส่วนไฟที่เกิดแต่ไม้ พึงก่อให้โพลงขึ้น

พึงเพ่งดู พึงดับ พึงเก็บไว้ตามกาลที่สมควร.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อุคคตสรีรพราหมณ์

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรง

จำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้

เป็นต้นไป ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้จะปล่อยโคผู้

๕๐๐ ลูกโคผู้ ๕๐๐ ลูกโคเมีย ๕๐ แพะ ๕๐๐ แกะ ๕๐๐ ให้ชีวิตมัน

พวกมันจะได้พากันไปกินหญ้าอันเขียวสด ดื่มน้ำเย็นสะอาด และ

รับลมอันเย็นสดชื่น.

จบ อคคิสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 118

อรรถกถาอัคคิสูตรที่ ๔

ทุติยอัคคิสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า อคฺคตสรีรสฺส ความว่า ได้ยินว่าพราหมณ์มหาศาลนั้น

เป็นผู้สูงโดยอัตตภาพ ถึงสารสมบัติโดยโภคะ เพราะเหตุนั้น จึงปรากฏ

ชื่อว่าพราหมณ์ผู้มีตัวสูง. บทว่า อุปกฺขโฏ ได้แก่ ตระเตรียม

บทว่า ถูณูปนีตานิ ได้แก่ นำเข้าไปสู่เสา กล่าวคือ หลักการกระทำ

บูชายัญ บทว่า ยญฺยตฺถาย ได้แก่เพื่อประโยชน์แก่การฆ่าบูชายัญ

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นจัดเตรียมเครื่อง

ประกอบยัญทั้งหมดนั้นแล้ว คิดว่า ได้ยินว่า พระสมณะโคดม

เป็นผู้มีปัญญามาก พระองค์จักตรัสสรรเสริญยัญของเราหรือหนอ

หรือว่าตรัสติเตียน เราจักทูลถามจึงจะรู้ด้วยเหตุนี้ จึงเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า บทว่า อคฺคิสฺส อาธาน ความว่า การก่อไฟ

อันเป็นมงคล ๙ ประการ เพื่อบูชายัญ. ด้วยบทว่า สพฺเพน สพฺพ

นี้ อุคคตสรีรพราหมณ์ แสดงว่า สูตรทั้งหมดที่เราฟังมาแล้ว ย่อม

เทียบเคียงกันได้ ย่อมเป็นอย่างเดียวกันกับสูตรทั้งหมด.

บทว่า สตฺถานิ ความว่า ที่ชื่อว่าศาสตร์ เพราะเป็นเหมือน

สัตรา โดยอรรถว่า เป็นเครื่องเบียดเบียน.

บทว่า สย ปม สมารภติ ความว่า เริ่มด้วยตนเองก่อนทีเดียว.

บทว่า หญฺนฺตุ แปลว่า จงฆ่า. บทว่า ปริหาตพฺพา แปลว่า

พึงปริหาร. บทว่า อิโต หย ตัดเป็น อิโต หิ มาตาปิติโต อย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 119

แปลว่า ผู้นี้เป็นฝ่ายมารดาและบิดา. บทว่า อาหุโต แปลว่า มาแล้ว.

บทว่า สมฺภูโต แปลว่า เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า อย วุจฺจติ พฺราหฺมณ

คหปตคฺคิ ความว่า หมู่บุตรและภรรยาเป็นต้นท่านเรียกว่า

คหปตัคคิ เพราะเป็นเหมือนคหบดี เป็นเหมือนเจ้าเรือนเที่ยวไป.

บทว่า อตฺตาน ได้แก่จิต. บทว่า ทเมนฺติ ได้เก่ ย่อมฝึกด้วยการ

ฝึกอินทรีย์. บทว่า สเมนฺติ ได้แก่ สงบด้วยการสงบราคะเป็นต้น.

อธิบายย่อมดับกิเลส ด้วยการให้กิเลส มีราคะเป็นต้นดับสนิทไป.

บทว่า นิกฺขิปิตพฺโพ ความว่า พึงวางไว้โดยประการที่จะไม่เสียหาย

บทว่า อุปวายต ความว่า จงฟุ้งขจรไป. ก็แลพราหมณ์ครั้นกล่าว

อย่างนั้นแล้ว จึงมอบชีวิตแก่สัตว์ทั้งหมดนั้นแล้ว ทำลายโรงยัญ

ประหนึ่งบ่อน้ำ ในศาสนาของพระศาสดา และ.

จบ อรรถกถาทุติยอัคคิสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 120

๕. ปฐมสัญญาสูตร

[๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุ

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่ง

ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑

มรณสัญยา ๑ อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเก อหิรตสัญญา ๑

อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจ ทุกขสัญญา ๑ ทุกเข อนัตตสัญญา ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ

เป็นที่สุข

จบ ปฐมสัญญาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๕

สูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อมโตคธา ความว่า ตั้งอยู่ในพระนิพพาน บทว่า

อมตปริโยสานา ได้แก่ มีพระนิพพานเป็นที่สุด.

จบ อรรถกถาปฐมสัญญสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 121

๖. ทุติยสัญญาสูตร

[๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้ อันภิกษุ

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่

อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด สัญญา ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑

มารณสัญญา ๑ อาหาเร ปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๑

อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจ ทุกขสัญญา ๑ ทุกเข อนัตตสัญญา ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า อสุภสัญญา อันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มาก ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ

เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก. จิตย่อมหวลกลับ

งอกลับ ถอยกลับจากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการร่วม

เมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบ

เหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใสลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าหากัน

ไม่คลี่ออกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอบรมแล้ว

ด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในการร่วมเมถุนธรรม

หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า

อสุภสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย

ของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเราไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น

จึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า

เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอสุภสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวล

กลับ งอกลับ ถอยกลับ จากการร่วมเมถุนธรรม ไม่ยื่นไปรับการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 122

ร่วมเมถุนธรรม อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้

ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อสุภสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษ

ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเรา

ถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอสุภสัญญานั้น

ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญาอันภิกษุเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ

มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญาอัน

ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญา

อยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต

ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อม

ตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอ

เข้าหากันไม่คลี่ออกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจ

อันไม่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในความ

รักชีวิต หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบ

ข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น

และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่

เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่

โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต ไม่ยื่น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 123

ไปรับความรักชีวิต อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้

ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า มรณสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษ

ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึง

ที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในมรณสัญญานั้น

ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า มรณสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก

แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล-

สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหา

ในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล

ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อม

หดงอเข้าหากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุ

มีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหล

ไปในตัณหาในรส หรือความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุ

พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราไม่ได้เจริญแล้ว

คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผลแห่งภาวนา

ของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน

อาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเมื่อภิกษุมีใจ

อันอบรมแล้วอาหาเรปฏิกูลสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 124

งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขา

หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า

อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและ

เบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น

ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ

เป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรต-

สัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์

มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัย

อะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยสัพพโล-

เกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับ

จากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก อุเบกขา

หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็น

ที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้าห้ากัน ไม่คลี่ออกฉะนั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันไม่อบรมแล้วด้วยสัพพโลเกอน-

ภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไปในความวิจิตรแห่งโลก หรือ

ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า

สัพพโลเกอนภิรตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้น

และเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่

เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรต-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 125

สัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้ว

ด้วยสัพพโลเกอนภิรตสัญญาอยู่โดยมาก จิดย่อมหวลกลับ งอกลับ

ถอยกลับจากความวิจิตรแห่งโลก ไม่ยื่นไปรับความวิจิตรแห่งโลก

อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้น

ดังนี้ว่า สัพพโลเกอนภิรตสัญญอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษทั้ง

เบื้องต้น ละเบื้องปลายของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว

เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในสัพพโลเกอนภิรตสัญญานั้น

ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเกอนภิรตสัญญา

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอัน

ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่

โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับในลาภ

สักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูล

ย่อมตั้งอยู่ เปรียบเหมือนขนไก่ หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ

ย่อมหดงอเข้าหากัน ไม่คลี่ออก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อ

ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมไหลไป

ในลาภสักการะ และความสรรเสริญ หรือความเป็นของไม่ปฏิกูล

ย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจจสัญญาอันเรา

ไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราไม่มี ผล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 126

แห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้

ทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอัน

อบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ

ถอยกลับ ไม่ยื่นไปรับลาภสักการะ และความสรรเสริญ อุเบกขา

หรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่ไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า

อนิจจสัญญาอันเราเจริญแล้ว คุณวิเศษถึงเบื้องต้นและเบื้องปลาย

ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุ

นั้นจึงเป็นต้นทั่วถึงในอนิจจสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจเจทุกขสัญญา

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญา

อยู่โดยมาก ภยสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นภัย) อย่างแรงกล้าในความ

เฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท

ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมปรากฏ

เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นนัย ย่อมปรากฏในเมื่อเพชฌฆาต

เงื้อดาบขึ้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรม

แล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญาอย่างแรงกล้าใน

ความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย ในความประมาท

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 127

ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา ย่อมไม่ปรากฏ

เปรียบเหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมไม่ปรากฏ ในเมื่อเพชฌฆาต

เงื้อดาบขึ้นฉะนั้น ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า อนิจเจทุกขสัญญา

อันเราไม่เจริญแล้ว คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นสละเบื้องปลายของเราไม่มี

ผลแห่งภาวนาของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็น

ผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่า

เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอนิจเจทุกขสัญญาอยู่โดยมาก ภยสัญญา

อย่างแรงกล้าในความเฉื่อยชา ในความเกียจคร้าน ในความท้อถอย

ในความประมาท ในการไม่ประกอบความเพียร ในการไม่พิจารณา

ย่อมปรากฏ เหมือนความสำคัญว่าเป็นภัย ย่อมปรากฏในเมื่อ

เพชฌฆาตเงื้อดาบขึ้น ฉะนั้นไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า

อนิจเจทุกขสัญญา อันเราเจริญแล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น

ของเรามีอยู่ ผลแห่งภาวนาของเราถึงที่แล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น

จึงเป็นผู้รู้ทั่วถึงในอนิจเจทุกขสัญญานั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อนิจเจทุกขสัญญาอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก

แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ก็ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกเขอนัตตสัญญา

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญา

อยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจากทิฏฐิว่าเราตัณหาว่าของเรา และมานะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 128

ทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าว

ล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดี ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่

โดยมาก ใจย่อมไม่ปราศจากทิฏฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะ

ทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้ และสรรพนิมิตในภายนอก ไม่ก้าวล่วง

กิเลส ๓ ประการ ไม่สงบระงับ ยังไม่หลุดพ้นด้วยดีไซร้ ภิกษุ

พึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราไม่เจริญแล้ว

คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายของเราก็ไม่มี ผลแห่งภาวนา

ของเรายังไม่ถึงที่ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงต้องเป็นผู้รู้ทั่วถึงใน

ทุกเขอนัตตสัญญานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าเมื่อภิกษุมีใจ

อันอบรมแล้วด้วยทุกเขอนัตตสัญญาอยู่โดยมาก ย่อมมีใจปราศจาก

ทิฏฐิว่าเรา ตัณหาว่าของเรา และมานะทั้งในร่างกายที่มีใจครองนี้

และสรรพนิมิตในภายนอกเสียได้ ก้าวล่วงกิเลส ๓ ประการ สงบ

ระงับ หลุดพ้นได้เป็นอย่างดีไซร้ ภิกษุพึงทราบข้อนั้นดังนี้ว่า

ทุกเขอนัตตสัญญาอันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก

มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะ

อาศัยข้อนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๗ ประการนี้แล อันภิกษุ

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่ง

ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.

จบ ทุติยสัญญาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 129

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๖

สัญญาสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เมถุนธมฺมสมาปตฺติยา พรั่งพร้อมด้วยเมถุนธรรม.

บทว่า นหารุทฺทุล ได้แก่ เส้นเอ็น หรือรอยเอ็น บทว่า อนุสนฺทติ

ในกาลเป็นที่เจริญสัญญาก่อนกับกาลเป็นที่เจริญสัญญาอัน ๒

ของไม่แปลกัน.

บทว่า โลกจิตฺเตสุ ความว่า อันวิจิตรของโลก กล่าวคือโลก

สันนิวาสอันประกอบด้วยไตรธาตุ

บทว่า อาลสฺเส ได้แก่ในความเกียจคร้าน บทว่า วิสฏฺิเย

ได้แก่ความท้อถอย. บทว่า อนนุโยเค ได้แก่ไม่ประกอบความเพียร.

บทว่า อหการมมการมานาปคต ได้แก่ ปราศจากทิฏฐิว่าเป็นเรา

จากตัณหาว่าของเรา จากมานะ ๙ อย่าง. บทว่า วิธาสมติกฺกนฺต

ความว่า ก้าวล่วงกิเลส ๓ อย่าง. บทว่า สนฺต ได้แก่ สงบจาก

กิเลสอันเป็นข้าศึกแก่การเจริญสัญญานั้น. บทว่า สุวิมุตฺต ได้แก่

หลุดพ้นด้วยดี ด้วยวิมุติ ๕.

จบ อรรถกถาทุติยสัญญาสูตร ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 130

๗. เมถุนสูตร

[๔๗] ครั้งนั้นแล ชานุสโสณีพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า แม้ท่าน

พระโคดมก็ทรงปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารีหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวผู้ใด

ว่าประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์

บริบูรณ์ บุคคลนั้น เมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวเรานั่นแล เพราะ

เราประพฤติพรหมจรรย์ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์

บริบูรณ์เต็มที่.

ชา. ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็อะไรชื่อว่าขา ทะลุ ด่าง พร้อย

แห่งพรหมจรรย์.

พ. ก่อนพราหมณ์ ถูกแล้ว สมณะหรือพราหมณ์บางคน

ในโลกนี้ ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความเป็นคู่ ๆ

กับมาตุคาม แต่ยังยินดีการขัดสี ลูบไล้ ให้อาบน้ำ และนวดเฟ้น

ของมาตุคาม พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจ ด้วยการบำเรอนั้น

แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ก่อนพราหมณ์

ผู้นี้เรากล่าวว่า ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วย

เมถุนสังโยค ไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นไปจากกองทุกข์ได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 131

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์

บางตนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความ

เป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม และไม่ยินดีการขัดสี ลูบไล้ ให้อาบน้ำ และ

การนวดฟั้นของมาตุคาม ยังกระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับ

มาตุคาม พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการเสสรวลนั้น แม้

ข้อนี้ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ฯลฯ

ก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์

บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความ

เป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม และไม่กระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับ

มาตุคาม แต่เพ่งดู จ้องดูจักษุแห่งมาตุคามด้วยจักษุของตน พอใจ

ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการเล็งแลนั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ

ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ฯลฯ.

ก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์

บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความ

เป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม ไม่กระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม

และไม่เพ่ง จ้องดูจักษุแห่งมตุคามด้วยจักษุของตน แต่ได้ฟังเสียง

มาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี

ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจ

ด้วยเสียงนั้น แม้ข้อนี้ ว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ฯลฯ

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์

บางคนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความ

เป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม ไม่กระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 132

ไม่เพ่งดู จ้องดูจักษุแห่งมาตุคามด้วยจักษุของตน และไม่ได้ฟังเสียง

แห่งมาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี

ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี แต่ตามนี้ก็ถึงการ หัวเราะ

พูดเล่นหัว กับมาตุคามในกาลก่อน พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจ

ด้วยอาการนั้น แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์

ฯลฯ

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์

บางคนในโลกนื้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วมความ

เป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม ไม่กระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับมาตุคาม

ไม่เพ่งดู จ้องดูจักษุแห่งมาตุคามด้วยจักษุของตน ไม่ได้ฟังเสียง

แห่งมาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี

ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี และไม่ได้ตามนึกถึงการหัวเราะ

การ การเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน แต่ได้เห็นคฤหบดีก็ดี

บุตรแห่งคฤหบดีก็ดี ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอ

ตนอยู่ พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจด้วยการบำเรอนั้น แม้ข้อนี้

ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ฯลฯ

ก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์

บางตนในโลกนี้ ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบ ไม่ร่วม

ความเป็นคู่ ๆ กับมาตุคาม ไม่กระซิกกระซี้ เล่นหัว สัพยอกกับ

มาตุคาม ไม่เพ่งดู จ้องดูจักษุมาตุคามด้วยจักษุของตนเอง ไม่ได้

ส่งเสียงแห่งมาตุคามหัวเราะอยู่ก็ดี พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี

ร้องไห้อยู่ก็ดี ข้างนอกฝาก็ดี ข้างนอกกำแพงก็ดี ไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 133

ตามนึกถึงการหัวเราะ การพูด การเล่นหัวกับมาตุคามในกาลก่อน

และไม่ได้เห็นคฤหบดีก็ดี บุตรแห่งคฤหบดีก็ดี ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อม

ด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้งปรารถนา

เพื่อเป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า

หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้

พอใจ ชอบใจ ถึงความปลื้มใจ ด้วยความปรารถนานั้น แม้ข้อนี้

ก็ชื่อว่าขาด ทะลุ ด่าง พร้อย แห่งพรหมจรรย์ ก่อนพราหมณ์

นี้เรากล่าวว่า ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วย

เมถุนสังโยค ไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่หลุดพ้นไปจากกองทุกข์ได้.

ดูก่อนพราหมณ์ เรายังพิจารณาเห็นเมถุนสังโยค ๗ ประการ

นี้ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า ยังละไม่ได้ในตน เพียงใด เราก็ยังไม่

ปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก

มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา

และมนุษย์ เพียงนั้น แต่เมื่อใด เราไม่พิจารณาเห็นเมถุนสังโยค

๗ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า ยังละไม่ได้นั้น เมื่อนั้น

เราจึงปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาโพธิญาณในโลก

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า

วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ชานุสโสณีพราหมณ์

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 134

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำ

ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบ เมถุนสูตรที่ ๗

อรรถกถาเมถุนสูตรที่ ๗

เมถุนสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ชานุสโสณีพรหมณ์ บริโภค

อาหารเช้าแล้ว แวดล้อมไปด้วยทาสและกรรมกร เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ภวปิ โน ตัดบทเป็น ภวปิ นุ. บทว่า

พฺรหฺมจารี ปฏิชาติ ความว่า พราหมณ์นั้น ถามว่า ท่านพระโคดม

ผู้เจริญ ปฏิญาณการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้

ประพฤติพรหมจรรย์ ได้ยินว่า พราหมณ์ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

พราหมณ์ทั้งหลาย เรียนเวทในลัทธิของพราหมณ์ ประพฤติ

พรหมจรรย์สิ้น ๔๘ พรรษา ก็พระสมณะโคดม เมื่ออยู่ครองเรือน

ได้อภิรมย์กับนางสนม ๓ หมู่ในปราสาททั้ง ๓ บัดนี้ พระสมณะ

โคดมเจ้าตรัสอย่างไรหนอ ดังนี้แล้ว จึงได้ถามอย่างนี้ หมายเอาเนื้อ

ความนี้. ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงบันลือสีหนาท

หมายถึง แม้เพียงวิตกก็ไม่เกิดขึ้น ปรารภสุขในราชสมบัติ หรือ

ความเพียบพร้อมด้วยนักฟ้อนในปราสาททั้งหลาย เพราะพระองค์

ทรงประพฤติความเพียรตลอด ๖ พรรษา ในเวลาที่ยังทรงมีกิเลส

เหมือนคนจับงูเห่าด้วยมนต์ และเหมือนเอาเท้าเหยียบคอศัตรูฉะนั้น

จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยญฺหิ ต พฺราหฺมณ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 135

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ทฺวยนฺทฺวยสมาปตฺตึ ความว่า ความที่

พึงปฏิบัติกันสองต่อสอง บทว่า ทุกฺขสฺมา ได้แก่ จากทุกข์ในวัฏฏะ

ทั้งสิ้น. บทว่า สญฺชคฺฆติ ได้แก่แสดงความยิ้มแย้ม สงฺกีฬติ ได้แก่

กระทำการเย้าเล่น. บทว่า สงฺเกฬายติ ได้แก่ หัวเราะใหญ่. บทว่า

จกฺขุนา จกฺขุ ความว่า ใช้ตาของตนจ้องมองตาของหญิงนั้น. บทว่า

ติโรกุฑฺฑ วา ติโรปาการ วา ความว่า ที่ฝาเรือนโน้น หรือกำแพงโน้น

บทว่า เทโว ได้แก่ ราชาแห่งเทพองค์หนึ่ง. บทว่า เทวญฺตโร

ได้แก่เทพบุตรองค์ใดองค์หนึ่ง. บทว่า อุนุตฺตร สมฺมาสมฺโพธึ ได้แก่

พระอรหัต และพระสัพพัญญุตญาณ.

จบ อรรถกถาเมถุนสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 136

๘. สังโยคสูตร

[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายอันเป็น

สังโยคะทั้งวิสังโยคะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ

ให้ดี. เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระผู้มีภาคเจ้าแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมบรรยาย

อันเป็นสังโยคะทั้งวิสังโยคะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็หญิง

ย่อมสนใจสภาพแห่งหญิงในภายใน กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว

ความพอใจ เสียง และเครื่องประดับของหญิง เขาย่อมยินดี พอใจ

ในสภาพของตนนั้น ๆ เขายินดี พอใจในสภาพของตนนั้น ๆ แล้ว

ย่อมสนใจถึงสภาพของชายในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว

ความพอใจ เสียง และเครื่องประดับของชาย ย่อมยินดี พอใจ

ในสภาพของชายนั้น ๆ เขายินดี พอใจในสภาพของชายนั้น ๆ แล้ว

ย่อมมุ่งหวังการสมาคมกับชาย และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการ

สมาคมกับชายเป็นเหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้พอใจในภาวะ

แห่งหญิงก็ถึงความเกี่ยวข้องในชาย ด้วยอาการอย่างนี้แล หญิง

จึงไม่ล่วงพ้นภาวะแห่งหญิงไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชายย่อม

สนใจสภาพแห่งชายในภายใน กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ

เสียงและเครื่องประดับของชาย เขาย่อมยินดี พอใจ ในสภาพของตน

เขายินดีพอใจในสภาพของตนนั้น ๆ แล้ว ย่อมสนใจถึงสภาพของ

หญิงในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง

และเครื่องประดับของหญิง ย่อมยินดี พอใจในสภาพของหญิงนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 137

แล้วย่อมมุ่งหวังการสมาคมกับหญิง และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะ

การสมาคมกับหญิงเป็นเหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้พอใจใน

ภาวะแห่งชายก็ถึงความเกี่ยวข้องในหญิง ด้วยอาการอย่างนี้เล

ชายจึงไม่ล่วงพ้นภาวะแห่งชายไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

เกี่ยวข้องย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนความไม่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมไม่สนใจในสภาพของหญิงในภายใน

กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของ

หญิง เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งหญิง ย่อมไม่สนใจถึงสภาพ

แห่งชายในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียง

และเครื่องประดับแห่งชาย เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งชาย

นั้น ๆ แล้ว ย่อมไม่มุ่งหวังการสมาคมกับชายในภายนอก และสุข

โสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมกับชาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์

ไม่พอใจในสภาพแห่งหญิง ก็ถึงความไม่เกี่ยวข้องในชาย ด้วย

อาการอย่างนี้แล หญิงจึงล่วงพ้นสภาพแห่งหญิงไปได้.

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมไม่สนใจในสภาพแห่งชาย

กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับ

ของชาย เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งชายนั้น ๆ แล้ว ย่อม

ไม่สนใจถึงสภาพแห่งหญิงในภายนอก กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว

ความพอใจ เสียงและเครื่องประดับของหญิง เขาไม่ยินดี ไม่พอใจ

ในสภาพแห่งหญิงนั้น ๆ แล้ว ย่อมไม่มุ่งหวังการสมาคมกับหญิง

ในภายนอก และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมนั้นเป็นเหตุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 138

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีพอใจในสภาพแห่งชาย ก็ถึงความ

ไม่เกี่ยวข้องในหญิง ด้วยอาการอย่างนี้แล ชายจึงล่วงพ้นภาวะ

แห่งชายไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่เกี่ยวข้องย่อมมีอาการ

อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลชื่อว่าธรรมบรรยายอันเป็น

ทั้งสังโยคะและวิสังโยคะ.

จบ สังโยคสูตรที่ ๘

อรรถกถาสังโยคสูตรที่ ๘

สังโยคสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สญฺโยควิสญฺโยค ความว่า ได้แก่ การทำการประกอบ

และการไม่ประกอบให้สำเร็จ. บทว่า ธมฺมปริยาย ได้แก่เหตุแห่ง

ธรรม บทว่า อชฺฌตฺต อิตฺถินฺทริย ได้แก่ ความเป็นหญิงภายใน

ของตน. บทว่า อิตฺถีกุฏฺฏ ได้แก่ กิริยาของหญิง. บทว่า อิตฺถากปฺป

ได้แก่ มารยาทของหญิงมีการนุ่งและการห่มเป็นต้น. บทว่า อิตฺถีวิธ

ได้แก่ การไว้ตัวของหญิง. บทว่า อิตฺถิจฺฉนฺท ได้แก่ ความพอใจ

อัธยาศัยของหญิง. บทว่า อิตฺถิสฺสร แปลว่า เสียงของหญิง บทว่า

อิตฺถาลงฺการ ได้แก่ เครื่องประดับของหญิง แม้ในปุริสินทรีย์

เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า พหิทฺธาสโยค ได้แก่ สมาคม

กับบุรุษ บทว่า อติวตฺตติ สัตว์ล่วงพ้น (ความเป็นหญิงความเป็นชาย)

เพราะได้บรรลุ อริยมรรค ด้วยวิปัสสนามีกำลัง ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

ไม่ยินดียิ่ง. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

จบ อรรถกถาสังโยคสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 139

๙. ทานสูตร

[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งสระ-

โบกขรณีชื่อคัคครา ใกล้จัมปานคร ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวเมือง

จัมปามากด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาท

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตร

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า

พวกกระผมได้ฟังมานานแล้ว ขอได้โปรดเถิด พวกกระผมพึงได้ฟัง

ธรรมีกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายพึงมาในวันอุโบสถ

ท่านทั้งหลายพึงได้ฟังธรรมีกถาในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่นอน

อุบาสกชาวเมืองจัมปารับคำท่านพระสารีบุตรแล้วลุกจากที่นั่ง

อภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ต่อมา ถึงวันอุโบสถ อุบาสก

ชาวเมืองจัมปาพากันเข้าไปหาพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว

ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรพร้อมด้วย

อุบาสกชาวเมืองจัมปา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้-

มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคล

บางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมีหรือหนอแล

และทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มี

อานิสงส์มาก พึงมีหรือพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนสารีบุตร ทานเช่นนั้นนั่นแลที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 140

มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก พึงมี และทานเช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคล

บางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก พึงมี.

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องให้ทานเช่นนั้นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก

ไม่มีอานิสงส์มาก อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้ทาน

เช่นนั้นนั่นแล ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์

มาก.

พ. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมีความหวัง

ให้ทาน มีจิตผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วย

ติดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้ เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า

ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและ

เครื่องอุปกรณ์ แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูก่อนสารีบุตร เธอจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางตนในโลกนี้ พึงให้ทาน

เห็นปานนี้หรือ.

สา. อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทาน

มีจิตผูกพันในผลให้ทาน มุ่งการสั่งสมให้ทาน ให้ทานด้วยคิดว่า

ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช สิ้นกรรม

สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังมีผู้กลับมา คือ มาสู่

ความเป็นอย่างนี้ ก่อนสารีบุตร ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มี

หวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 141

ไม่คิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แล้วให้ทาน แก่ให้ทาน

ด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี เขาให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้

ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีปและเครื่องอุปกรณ์

แก่สมณะหรือพราหมณ์ ดูก่อนสารีบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้พึงให้ทานเห็นปานนี้หรือ.

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวัง

ให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้

ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้วจักได้เสวยผลทานนี้ แต่ให้ทานด้วย

คิดว่า ทานเป็นการดี เขาผู้นั้นให้ทานนั้นแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้า

ถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์

สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็น.

อย่างนี้.

ก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทาน

ด้วยคิดว่า ทานเป็นการดี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่า

ตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำให้เสียประเพณี เขาให้ทาน

คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา เขา

สิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยังเป็น ผู้กลับมา

คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทาน

ด้วยคิดว่า บิดามารดาปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราก็ไม่ควรทำ

ให้เสียประเพณี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากิน สมณะและ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 142

พราหมณ์เหล่านี้ ไม่หุงหากิน เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่

สมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่หุงหาไม่สมควร เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์

สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ แล้วยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็น

อย่างนี้.

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางตนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทาน

ด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะและพราหมณ์เหล่านี้หุงหากิน

ไม่ได้ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้หุง

หากินไม่ได้ ไม่สมควร แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนก

แจกทาน เหมือนฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี

วามเทวฤาษี เวสสามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาช-

ฤาษี เวเสฏฐฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี บูชามหายัญ ฉะนั้น

เขาให้ทาน คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา

ชั้นนิมมานวดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่

แล้ว ยังเป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

ก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทาน

ด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกทาน เหมือนอย่างฤาษี แต่ครั้งก่อน

คือ อัฏฐกฤาษี ฯลฯ และภคุฤาษี แต่ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้

ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจและโสมนัส เขาให้ทาน

คือ ข้าว ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตว-

สวัสดี เขาสิ้นกรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว ยัง

เป็นผู้กลับมา คือ มาสู่ความเป็นอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 143

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ ไม่ได้ให้ทาน

ด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานอย่างนี้ จิตจะเลื่อมใส เกิดความปลื้มใจ

และโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน คือ ข้าว

น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีป

และเครื่องอุปกรณ์ ก็สมณะหรือพราหมณ์ ก่อนสารีบุตร เธอ

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ พึงให้ทาน

เห็นปานนี้หรือ.

สา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลผู้ไม่มีความหวัง

ให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้

ไห้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปแล้ว ก็ได้เสวยผลทานนี้ ไม่ได้ให้ทาน

ด้วยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า บิดามารดา

ปู่ย่าตายายเคยให้เคยทำมา เราไม่ควรทำให้เสียประเพณี ไม่ได้

ให้ทานด้วยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้

หุงหากินไม่ได้ จะไม่ให้ทานแก่ผู้ที่หุงหากินไม่ได้ ไม่สมควร

ไม่ได้ไห้ทานด้วยคิดว่า เราจักเป็นผู้จำแนกแจกทาน เหมือนอย่าง

ฤาษีแต่ครั้งก่อน คือ อัฏฐกฤาษี วามกฤาษี วามเทวฤาษี เวส-

สามิตรฤาษี ยมทัคคิฤาษี อังคีรสฤาษี ภารทวาชฤาษี วาเสฏฐ-

ฤาษี กัสสปฤาษี และภคุฤาษี ผู้บูชามหายัญ ฉะนั้น และไม่ได้

ให้ทานด้วยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ จิตจะเลื่อนใส จะเกิดความ

ปลื้มใจและโสมนัส แต่ให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เขาให้ทาน

เช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 144

พรหม เขาสิ้นธรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว

เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ก่อนสารีบุตร

นี้ เหตุปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้

ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น

ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

จบ ทานสูตรที่ ๙

อรรถกถาทานสูตรที่ ๙

ทานสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สาเปกฺโข แปลว่า มีตัณหาความอยาก บทว่า ปฏิพทฺธ-

จิตฺโต ได้แก่ มีจิตผูกพันในผลทาน. บทว่า สนฺนิธิเปกฺโข ได้แก่

ผู้มุ่งฝังจิตลงในทาน. บทว่า เปจฺจ ได้แก่ไปถึงโลกอื่นแล้ว บทว่า

ต กมฺม เขเปตฺวา ให้ผลของกรรมนั้นสิ้นไป. บทว่า อิทฺธึ ได้แก่

ฤทธิ คือ วิบาก. บทว่า ยส ได้แก่ ความพรั่งพรัอมด้วยบริวาร.

บทว่า อาธิปเตยฺย ได้แก่ เหตุแห่งความเป็นใหญ่. บทว่า อาคนฺตุ

อิตฺถตฺต ความว่า ยังกลับมาเป็นอย่างนี้ คือ กลับมาสู่ขันธปัญจกนี้

(ขันธ์ ๕) อีก. อธิบายว่า เขาจะไม่ผุดเกิดในภพนั้นอีก จะไม่ผุดเกิด

ขึ้นในภพสูงขึ้นไป แต่จะกลับมาภพเบื้องต่ำเท่านั้น. บทว่า สาหุ ทาน

ชื่อว่า ทานนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จดีงาม. บทว่า ตานิ มหายญฺานิ

ความว่า มหาทานเหล่านั้น สำเร็จด้วยเนยใส เนยข้น นมส้ม น้ำผึ้ง

และน้ำอ้อยเป็นต้น. บทว่า จิตฺตาลงฺการ จิตฺตปริกฺขาร ความว่า

เป็นเครื่องประดับและเป็นเครื่องแวดล้อมจิต อันสัมปยุตด้วยสมถะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 145

และวิปัสสนา. บทว่า พฺรหฺมกายิกาน เทวาน สหพฺยต ความว่า

เขาไม่อาจเกิดขึ้นในภูมินั้นได้ด้วยทาน ก็เพราะเหตุที่ทานนั้น เป็น

เครื่องประดับจิตอันประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา ฉะนั้น เขาจึง

ทำฌานและอริยมรรคให้บังเกิด ด้วยจิตอันประดับด้วยทานนั้นแล้ว

ย่อมเกิดขึ้นในภูมินั้นด้วยฌาน.

บทว่า อนาคามิ โหติ ความว่า เป็นพระอนาคามี ผู้ไม่กลับมา

เพราะฌาน. บทว่า อนาคนฺตา อิตฺถตฺต ความว่า ไม่กลับมาสู่ภาวะ

ความเป็นอย่างนี้อีก ไม่ผุดเกิดในภพสูง ๆ หรือไม่ผุดเกิดในภพนั้นอีก

ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.

ดังนั้น บรรดาทานเหล่านี้ :-

ทานที่ ๑ ชื่อว่า ตณฺหุตฺตริยทาน การให้อันยิ่งด้วยความอยาก.

ทานที่ ๒ ชื่อว่า วิตฺตีการทาน ให้ด้วยความยำเกรง

ทานที่ ๓ ชื่อว่า หิโรตฺตปฺปทาน ให้ด้วยละอายและเกรงกลัว

ทานที่ ๔ ชื่อว่า นิรวเสสทาน ให้ด้วยไม่ให้เหลือเศษ

ทานที่ ๕ ชื่อว่า ทกฺขิเณยฺยทาน ให้แก่พระทักขิเณยยบุคคล

ทานที่ ๖ ชื่อว่า โสมนสฺสูปวิจารทาน ให้ด้วยอิงอาศัยโสมนัส

ทานที่ ๗ ชื่อว่า อลงฺการปริวารทาน ให้เป็นเครื่องประดับ

และเป็นบริวาร (แห่งจิต)

จบ อรรถกถาทานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 146

๑๐. มาตาสูตร

[๕๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านมหาโมคคัลลานะ

จาริกไปในทักษิณาคีรีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็สมัย

นั้นแล นันทมารดา อุบาสิกา ชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ ลุกขึ้นในเวลา

มหาราชมีกรณียกิจบางอย่าง เสด็จจากทิศอุดรไปยังทิศทักษิณ

ได้ทรงสดับนันทมารดาอุบาสิกาสวดปารายนสูตรทำนองสรภัญญะ

ประทับรอฟังจนจบ ขณะนั้น นันทมารดาอุบาสิกา สวดปารายนสูตร

ทำนองสรภัญญะจบแล้วนิ่งอยู่ ท้าวเวสสวัณมหาราชทรงทราบว่า

กถาของนันทมารดาอุบาสิกาจบแล้ว จึงทรงอนุโมทนาว่า สาธุ

น้องหญิง สาธุ น้องหญิง นันทมารดาอุบาสิกาถามว่า ก่อนท่าน

ผู้มีพักตร์อันเจริญ ท่านนี้คือใครเล่า.

เว. ดูก่อนน้องหญิง เราคือท้าวเวสสวัณมหาราช ภาดาของเธอ.

น. ดูก่อนท่านผู้มีพักตร์อันเจริญ ดีละ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรม

บรรยายที่ดิฉันสวดแล้วนี้เป็นเครื่องต้อนรับแด่ท่าน.

เว. ดูก่อนน้องหญิง ดีแล้ว นั่นจงเป็นเครื่องต้อนรับแก่ฉัน

พรุ่งนี้ ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านมหาโมคคัลลานะ

เป็นประมุข ยังไม่ได้ฉันเช้า จักมาถึงเวฬุกัณฏกนคร เธอพึง

อังคาสภิกษุสงฆ์หมู่นั้น แล้วพึงอุทิศทักษิณาทานให้ฉันด้วย ก็การ

ทำอย่างนี้ จักเป็นเครื่องต้อนรับฉัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 147

ลำดับนั้น ครั้นล่วงราตรีนั้นไป นันทมารดาอุบาสิกาสั่งบุรุษ

ผู้หนึ่ง ให้จัดแจงขาทนียโภชนียาหารอันประณีตไว้ในนิเวศน์ของตน

ครั้งนั้น ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็น

ประมุข ยังไม่ได้ฉันเช้า เดินทางมาถึงเวฬุกัณฏกนคร นันทมารดา

อุบาสิกกาจึงเรียกบุรุษผู้หนึ่งมาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ มาเถิดท่าน

จงไปยังอาราม บอกภัตตกาลแด่ภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

กาลนี้เป็นเป็นภัตตกาล ภัตตาหารในนิเวศน์ของแม่เจ้า นันทมารดา

สำเร็จแล้ว บุรุษนั้นรับคำนันทมารดาอุบาสิกาแล้ว ไปยังอาราม

บอกภัตตกาลแก่ภิกษุสงฆ์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กาลนี้เป็นภัตตกาล

ภัตตหารในนิเวศน์ของแม่เจ้านันทมารดาสำเร็จแล้ว ครั้งนั้น

เวลาเช้า ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ

เป็นประมุข นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของนันท-

มารดาอุบาสิกา นั่งเหนืออาสนะที่เขาจัดไว้ ลำดับนั้น นันทมารดา

อุบาสิกา อังคาสภิกษุสงฆ์ มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระ

โมคคัลลานะเป็นประมุข ให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียโภชนียาหาร

อันประณีต ด้วยมือของตน ครั้นทราบว่าท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จ

ลงมือลงจากบาตรแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ท่านพระสารีบุตรได้ถามว่า ดูก่อนนันทมารดา ใครบอกกาลมาถึง

ของภิกษุสงฆ์แก่ท่านเล่า นันทมารดาอุบาสิกากราบเรียนว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ขอโอกาสเจ้าค่ะ ดิฉันลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง สวด

ปารายนสูตรทำนองสรภัญญะจบ แล้วนั่งอยู่ ลำดับนั้น ท้าว-

เวสสวัณมหาราชทราบถึงการจบคาถาของดิฉันแล้ว ทรงอนุโมทนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 148

ว่า สาธุ น้องหญิง สาธุ น้องหญิง ดิฉันถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีพักตร์

อันเจริญ ท่านนี้คือใครเล่า ท้าวเวสสวัณตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง

เราคือท้าวเวสสวัณมหาราช ภาดาของเธอ ดิฉันกล่าวว่า ดูก่อน

ท่านผู้มีพักตร์อันเจริญ ดีละ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรมบรรยายที่ดิฉัน

สวดแล้วนี้ จงเป็นเครื่องต้อนรับแด่ท่าน ท้าวเวสสวัณกล่าวว่า

ดูก่อนน้องหญิง ดีแล้ว นั่นจงเป็นเครื่องต้อนรับฉันด้วย พรุ่งนี้

ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นประมุข

ยังไม่ได้ฉันเช้า จักมาถึงเวฬุกัณฏกนคร เธอพึงอังคาสภิกษุสงฆ์

หมู่นั้น แล้วพึงอุทิศทักษิณาทานให้ฉันด้วย ก็การทำอย่างนี้ จงเป็น

ไปเพื่อความสุขแด่ท้าวเวสสวัณมหราชเถิด.

สา. ดูก่อนนันทมารดา น่าอัศจรรย์ ดูก่อนนันทมารดา

ไม่เคยมีมาแล้ว ที่ท่านเจรจากันต่อหน้าได้กับท้าวเวสสวัณมหาราช

ซึ่งเป็นเทพบุตรผู้มีฤทธิ์มีศักดิ์มากอย่างนี้.

น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมของดิฉันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี

มาแล้ว มิใช่เพียงเท่านี้ ธรรมของดิฉันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว

แม้ข้ออื่นยังมีอีก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันมีบุตรน้อยอยู่คนหนึ่ง

ชื่อนันทะ เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ พระราชาได้ข่มขี่ปลงเธอเสียจาก

ชีวิตในเพราะเหตุเพียงนิดเดียว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อบุตรของ

ดิฉันนั้น ถูกจับแล้วก็ดี ถูกประหารแล้วก็ดี กำลังถูกจับก็ดี ถูกฆ่า

แล้วก็ดี กำลังจะถูกฆ่าก็ดี ถูกประหารแล้วก็ดี กำลังถูกประหาร

ก็ดี ดิฉันไม่รู้สึกความเปลี่ยนแปลงแห่งจิตเลย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 149

สา. ก่อนนันทมารดา น่าอัศจรรย์ ดูก่อนนันทมารดา

ไม่เคยมีมาแล้ว ที่ท่านชำระแม้เพียงจิตตุปบาทนี้บริสุทธิ์.

น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมของดิฉันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี

มาแล้ว มิใช่เพียงเท่านี้ ธรรมของดิฉันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว

แม้ข้ออื่นยังมีอีก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สามีของดิฉันกระทำกาละแล้ว

เกิดเป็นยักษ์ตนหนึ่ง มาแสดงตนแก่ดิฉันด้วยรูปร่างอย่างครั้งก่อน

ทีเดียว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันไม่รู้สึกความเปลี่ยนแปลงแห่งจิต

เพราะข้อนั้นเป็นเหตุเลย.

สา. ดูก่อนนันทมารดา น่าอัศจรรย์ ดูก่อนนันทมารดา

ไม่เคยมีมาแล้ว ที่ท่านชำระแม้เพียงจิตตุปบาทให้บริสุทธิ์.

น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมของดิฉันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี

มาแล้ว มิใช่เพียงเท่านี้ ธรรมของดิฉันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว

แม้ข้ออื่นยังมีอีก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันยังสาวถูกส่งตัวมาให้แก่

สามีหนุ่ม ไม่เคยคิดที่จะนอกใจเลย ไฉนจะประพฤตินอกใจด้วยกาย

เล่า.

สา. ดูก่อนนันทมารดา น่าอัศจรรย์ ดูก่อนนันทมารดา

ไม่เคยมีมาแล้ว ที่ท่านชำระแม้เพียงจิตตุปบาทให้บริสุทธิ์.

น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมของดิฉันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี

มาแล้ว มิใช่เพียงเท่านี้ ธรรมของดิฉันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว

แม้ข้ออื่นยังมีอีก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อดิฉันแสดงตนเป็นอุบาสิกา

แล้ว ไม่รู้สึกว่าได้แกล้งล่วงสิกขาบทอะไร ๆ เลย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 150

สา. ดูก่อนนันทมารดา น่าอัศจรรย์ ดูก่อนนันทมารดา

ไม่เคยมีมาแล้ว ที่ท่านชำระแม้เพียงจิตตุปบาทให้บริสุทธิ์.

น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมของดิฉันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี

มาแล้ว มิใช่เพียงเท่านี้ ธรรมของดิฉันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว

แม้ข้ออื่นยังมีอีก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันหวังอยู่เพียงใด ดิฉันสงัด

จากกาม สงัดอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข

เกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น

ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป

มีปิติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข

ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เข้า

จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส

โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่เพียงนั้น.

สา. ดูก่อนนันทมารดา น่าอัศจรรย์ ดูก่อนนันทมารดา

ไม่เคยมีมาแล้ว

น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมของดิฉันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว

มิใช่เพียงเท่านี้ ธรรมของดิฉันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว แม้ข้อ

อื่นยังมีอีก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันไม่พิจารณาเห็นโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ ๕ ข้อใดข้อหนึ่ง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว

บางข้อ ที่ยังละไม่ได้ในตน.

สา. ดูก่อนนันทมารดา น่าอัศจรรย์ ดูก่อนนันทมารดา

ไม่เคยมีมาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 151

ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้นันทมารดาอุบาสิกา

เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถา แล้วลุกจาก

อาสนะหลีกไป.

จบ มาตาสูตรที่ ๑๐

อรรถกถามาตาสูตรที่ ๑๐

มาตาสูตรที่ ๑๐ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงด้วยอัตถุป-

ปัตติเหตุเกิดแห่งเรื่อง ดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า พระศาสดา ทรงจำพรรษาปวารณาแล้ว ทรงละ

พระอัครสาวกทั้งปวงไว้ เสด็จออกไปด้วยหมายจะเสด็จจาริกใน

ทักขิณาคิรีชนบท. พระเจ้าปเสนทิโกศล ท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี

วิสาขามหาอุบาสิขา และชนอื่นเป็นอันมาก ไม่สามารถจะให้

พระศาสดาเสด็จกลับได้. ท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี. ลำดับนั้น

นางทาสีชื่อปุณณา เห็นเข้าแล้วจึงถามว่า นายท่านมีอินทรีย์ไม่

ผ่องใสเหมือนแต่ก่อน เป็นเพราะเหตุไรเจ้าคะ ท่านคฤหบดีตอบว่า

จริงสิ ปุณณา พระศาสดาเสด็จออกไปสู่ที่จาริกแล้ว ข้าไม่อาจ

ทำให้พระองค์เสด็จกลับได้ ทั้งก็ไม่ทราบว่า พระองค์จะเสด็จกลับมา

เร็วหรือไม่ เพราะเหตุนั้นข้าจึงนั่งครุ่นคิดอยู่. นางทาสีถามว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 152

ถ้าดิฉันให้พระทศพลเสด็จกลับได้เล่า ท่านเศรษฐีจะทำอย่างไร

แก่ดิฉันเจ้าคะ ท่านคฤหบดี ตอบว่า ข้าจะทำให้เจ้าเป็นไทสิ. นางทาสี

ไปถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ของพระองค์โปรดเสด็จกลับเถิดพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า

เพราะเหตุที่เรากลับเจ้าจักกระทำอะไรเล่า ? นางทาสีทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดทรงทราบว่าข้าพระองค์เป็นคน

อาศัยผู้อื่นเขา หม่อนฉันไม่อาจทำอะไรอื่นได้ แต่หม่อมฉันจักตั้งอยู่

ในสรณะ รักษาศีล ๕. พระศาสดาตรัสไว้ว่า ดีละ ดีละ ปุณณา แล้ว

เสด็จกลับเพียงย่างพระบาทไปก้าวเดียวเท่านั้น เพราะความเคารพ

ในธรรม. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตถาคต เคารพในธรรม มีธรรมเป็นที่เคารพ. พระศาสดาเสด็จกลับ

เข้าไปยังพระเชตวันมหาวิหาร. มหาชนได้ให้สาธุการพันหนึ่ง

แก่นางปุณณา. พระศาสดาทรงแสดงธรรมในสมาคมนั้น. สัตว์

๘๔,๐๐๐ ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ฝ่ายนางปุณณา อันเศรษฐีอนุญาต

ได้ไปสู่สำนักของนางภิกษุณีแล้วบรรพชา. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ให้ตรัสเรียกพระสารีบุตรและมหาโมคคัลลานะมาแล้วตรัสว่า เรา

ออกจาริกไป ณ ทิศใด เราจะไม่ไปในทิศนั้น พวกเธอพร้อมบริษัท

ของเธอ จงไปจาริก ณ ทิศนั้น ดังนี้แล้วจึงส่งไป. คำอาทิว่า เอก

สมย ยายฺสมา สารีปุตฺโต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพราะอัตถุป-

ปัตติเหตุเกิดขึ้นแห่งเรื่องนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุกณฺฏกี ได้แก่ผู้อยู่เมือง

เวฬุกัณฏกะ. ได้ยินว่า ชาวเมืองเหล่านั้นพากันปลูกต้นไผ่รอบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 153

กำแพง เพื่อจะรักษากำแพงเมืองนั้น. เพราะเหตุนั้น เมืองนั้นจึงมีชื่อว่า

เวฬุกัณฏกะนั่นแล. บทว่า ปารายน ความว่า ซึ่งธรรม อันได้โวหารว่า

ปารายนะ. เพราะเป็นที่ดำเนินไปถึงฝั่งคือพระนิพพาน. บทว่า

สเรน ภาสติ ความว่า นันทมารดาอริยสาวิกา นั่งในที่มีอารักขา

อันเขาจัดแจงไว้ดีแล้ว บนพื้นชั้นบนแห่งปราสาท ๗ ชั้น ให้ครึ่งราตี

ผ่านล่วงไปด้วยกำลังแห่งสมาบัติ ครั้นออกจากสมาบัติแล้วคิดว่า

เราจักให้ราตรีที่เหลือเพียงเท่านี้ ผ่านล่วงไปด้วยความยินดีเพียงไหน ?

แล้วกระทำความตกลงว่า จะให้ผ่านล่วงไปด้วยความยินดีในธรรม

ดังนี้แล้วนั่งบรรลุผล ๓ จึงกล่าวปารายนสูตร ประมาณ ๒๕๐ คาถา

โดยทำนองสรภัญญะอันไพเราะ

บทว่า อสฺโสสิ โข ความว่า ท้าวเวสสวัณมหาราชทรงตรวจ

ดูวิมานอันตั้งอยู่ในอากาศแล้ว ขึ้นสู่ยานนาริวาหนะ เสด็จออกไป

โดยทางอันผ่านส่วนเบื้องบนปราสาทนั้น ได้ยินเสียง (ปารายนสูตร)

แล้ว. บทว่า กถาปริโยสาน อาคมยมาโน อฏฺาสิ ความว่า ท้าว-

เวสวัณมหาราชนั้น ครั้นตรัสถามว่า พนาย นั่นเสียงอะไร เมื่อ

ยักขบริษัททูลว่า นั่นคือเสียงสวดโดยทำนองสรภัญญะ ของนันท-

มารดาอุบาสิกา ดังนี้แล้ว เสด็จลงรอคอยการจบเทศนานี้ว่า อิทมโวจ

แล้วประทับยืนบนอากาศในที่ไม่ไกลนัก. บทว่า สาธุ ภคินิ สาธุ

ภคินิ ความว่า ท้าวเวสวัณมหาราช ตรัสว่า พี่ท่าน พระธรรม-

เทศนาท่านรับมาดีแล้ว กล่าวดีแล้ว เราไม่เห็นอะไรที่จะต่างกัน

ระหว่างวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับที่ปาสาณกเจดีย์ ตรัสแก่

ปารายนิกพราหมณ์ ๑๖ คน และที่นี้ท่านกล่าววันนี้ คำที่นี่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 154

ท่านกล่าวแล้ว เป็นเสมือนกับพระดำรัสที่พระศาสดาตรัสแล้วนั่นแล.

เหมือนกับทองที่ขาดตรงกลาง เมื่อจะให้สาธุการจึงตรัสอย่างนั้น.

บทว่า โก ปเนโส ภทฺรมุข ความว่า เพราะเสียงที่ดังถึง

เพียงนี้ ก้องไปในที่ ๆ มีอารักขาไว้ดังนี้ นันทมารดาอริยสาวิกา

ผู้บรรลุผล ๓ แล้ว ปราศจากความเกรงกลัว ปิดหน้าต่าง มีสีเหมือน

แผ่นทองคำ กล่าวว่า พ่อปากดี พ่อปากงาม ท่านนี้เป็นใคร เป็นนาค

หรือครุฑ เป็นเทวดา เป็นมาร หรือเป็นพรหม ดังนี้แล้ว เมื่อจะกล่าว

กับท้าวเวสวัณ จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อหนฺเต ภคนิ ภาตา ความว่า

ท้าวเวสวัณ ทรงสำคัญพระอริยสาวิกาผู้เป็นพระอนาคามีว่าพี่

เพราะพระองค์เองเป็นพระโสดาบัน จึงตรัสว่าภคินิพี่ท่าน แล้วจึง

สำคัญพระอริยสาวิกาผู้เป็นพระอนาคามีนั้นนั้นว่าเป็นน้องของ

พระองค์อีก เพราะนางยังอยู่ในปฐมวัย แต่พระองค์แก่กว่า เพราะ

ทรงมีพระชนมายุ ๙ ล้านปีแล้ว จึงตรัสเรียกพระองค์เองว่า ภาตา

พี่ชาย.

บทว่า สาธุ ภฺทรมุข ความว่า ท่านผู้มีภักตร์อันเจริญ การมาของ

ท่านเป็นประโยชน์ เป็นความดี เป็นการมาดี อธิบายว่า มาในฐานะ

ที่เหมาะที่จะมาจริง ๆ . บทว่า อิท เต โหตุ อาติเถยฺย อธิบายว่า

ขอการกล่าวธรรมนี้แหละ จงเป็นบรรณาการอย่างดียิ่งสำหรับท่าน

เพราะข้าพเจ้ามองไม่เห็นสิ่งอื่นที่ควรให้แก่ท่านที่อันยวดยิ่งไปกว่า

นี้. คำว่า เอวญฺจ เม ภวิสฺสติ อาติเถยฺย ความว่า ท้าวเวสวัณเมื่อ

ครั้นขอปัตติทานเพื่อตนอย่างนี้แล้วกล่าวว่า นี้เป็นสักการะเพื่อ

ความเป็นพระธรรมถึกของท่านแล้ว ทำยุ้ง ๑๒๕๐ ยุ้งเต็มด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 155

ข้าวสาลีแดงแล้วอธิษฐานว่า ขอข้าวสาลีเหล่านี้อย่าได้สิ้นไปตลอด

เวลาที่ บาสิกายังเที่ยวไปอยู่แล้วก็หลีกไป. ชนทั้งหลายไม่สามารถ

จะเห็น พื้นชั้นล่างของยุ้งตลอดเวลาอุบาสิกายังดำรงอยู่. ตั้งแต่นั้นมา

จึงเกิดโวหารสำนวนขึ้นว่า เหมือนเรือนยุ้งของนันทมารดา. บทว่า

อกตปาตราโส ได้แก่ ผู้ยังไม่บริโภคอาหารเข้า.

บทว่า ปุญฺ ได้แก่ บุพพเจตนา เจตนาก่อนแต่ให้ทาน

และ มุญจนเจรนา เจตนาขณะให้ทานแล้ว. บทว่า ปุญฺมหี ได้แก่

อปรเจตนา เจตนาภายหลังไห้ทานแล้ว. บทว่า สาขาย โหติ ความว่า

จงเพื่อประโยชน์แก่ความสุข เพื่อประโยชน์แก่ความเกื้อกูล.

นันทมารดาอริยสาวิกา ได้ให้ปัตติทานแก่ท้าวเวสวัณ ในทานของตน

ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปกรเณ ได้แก่ในเหตุ. บทว่า โอกฺสกฺส

ปสยฺห ได้แก่ คร่ามา ครอบงำแล้ว. บทว่า ยกฺขโยนิ ได้แก่ ความ

เป็นภุมมเทวดา. บทว่า เตเนว ปุริเมน อตฺตภาเวน อุทฺทสฺเสสิ

ความว่า ภุมมเทพนั้น เนรมิตร่างกายให้เหมือนกับร่างกายเก่า

นั่นแล ประดับตกแต่งแล้ว แสดงตนบนพื้นที่นอน ในห้องอันประกอบ

ด้วยศิริ. บทว่า อุปาสิกา ปฏิเทสิตา ความว่า แสดงความที่ตนเป็น

อุบาสิกา อย่างนี้ว่า ฉันเป็นอุบาสิกานะดังนี้. บทว่า ยาวเทว แปลว่า

เพียงใดนั่นแล. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถานันทมาตาสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 156

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จิตตสูตร ๒. ปริกขารสูตร ๓. ปฐมอัคคิสูตร ๔. ทุติย-

อัคคสูตร ๕. ปฐมสัญญาสูตร ๖. ทุติยสัญญาสูตร ๗. เมถุนสูตร

๘. สังโยคสูตร ๙. ทานสูตร ๑๐. มาตาสูตร.

จบ มหายัญญวรรคที่ ๕

จบ ปฐมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 157

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

อัพยากตวรรคที่ ๑

๑. อัพยากตสูตร

[๕๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ

เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความสงสัยในวัตถุที่พระองค์ไม่ทรง

พยากรณ์ ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เพราะทิฏฐิดับ

ความสงสัยในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์ จึงไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวก

ผู้ได้สดับแล้ว ดูก่อนภิกษุ ทิฏฐินี้ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

ย่อมเป็นอีก สัตว์เป็นหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย

แล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ดูก่อนภิกษุ

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้ชัดทิฏฐิ ความดับทิฏฐิปฏิปทาเครื่อง

ให้ถึงความดับทิฏฐิ ทิฏฐินั้นเจริญแก่ปุถุชนนั้น เขาย่อมไม่พ้นไป

จากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ย่อมทุกข์ โทมนัสและอุปายาส

เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อม

รู้ชัดทิฏฐิ เหตุเกิดทิฏฐิ ความดับทิฏฐิ ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ

ทิฏฐิ ทิฏฐิของอริยสาวกนั้นย่อมดับ อริยสาวกนั้นย่อมพ้นจากชาติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 158

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า

ย่อมพ้นไปจากทุกข์ ดูก่อนภิกษุอริยสาวกได้สดับ รู้เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมไม่พยากรณ์ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ... สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้

ดูก่อนภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่

พยากรณ์ในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์เป็นธรรมดาอย่างนี้ อริยสาวก

ผู้ได้สดับ รู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่พรั่น ไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่ถึงความ

สะดุ้งในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์.

ดูก่อนภิกษุ ความทะยานอยาก ความหมายรู้ ความสำคัญ

ความซึมซาบ ความถือมั่นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก...

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก

ก็หามิได้ นี้เป็นความเดือดร้อน ดูก่อนภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

ย่อมไม่รู้ชัดความเดือดร้อน เหตุเกิดความเดือดร้อน ความดับ

ความเดือดร้อน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ ความเดือดร้อน

ความเดือดร้อนย่อมเจริญแก่เขา เขาย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อม

ไม่พ้นไปจากทุกข์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมรู้ชัดความเดือดร้อน

เหตุเกิดความเดือดร้อน ความดับความเดือดร้อน ปฏิปทาเครื่อง

ให้ถึงความดับความเดือดร้อน ความเดือดร้อนของอริยสาวกนั้น

ย่อมดับ ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้เห็นอยู่อย่างนี้แล ย่อมไม่พรั่น

ไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่ถึงความสะดุ้งในวัตถุที่เราไม่พยากรณ์ ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 159

ภิกษุนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ถึงความสงสัยในวัตถุที่เรา

ไม่พยากรณ์ ไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ.

จบ อัพยากตสูตรที่ ๑

อัพยากตวรรคที่ ๑

อรรถกถาอัพยากตสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๖ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อพฺยากตวคฺถูสุ ความว่า ในวัตถุที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

มิได้ตรัส โดยพยากรณ์มีเอกังสพยากรณ์เป็นต้น. บทว่า สตฺโต

ได้แก่ ตถาคต. บทว่า ทิฏฺฐฺคตเมต นี้ เป็นเพียงมิจฉาทิฏฐิ. ชื่อว่า

สัตว์ผู้ไม่ถูกทิฏฐินั้นยึดไว้ ย่อมไม่มี. บทว่า ปฏิปท ได้แก่ อริยมรรค.

บทว่า น ฉมฺภติ ความว่า ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจทิฏฐิ. แม้ใน

บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ตณฺหาคต ความว่า ตัณหาอัน

สัมปยุตด้วยทิฏฐิ. แม้ในบทมีอาทิว่า สญฺาคต ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ด้วยว่าบรรดาบทเหล่านั้น สัญญาที่สัมปยุตด้วยทิฏฐินั่นแหละ พึง

ทราบว่า สัญญาคตะ ความหมายรู้ มานะที่อิงอาศัยทิฏฐินั้นนั่นแหละ

หรือความสำคัญหมายรู้ที่อิงอาศัยทิฏฐินั่นแหละ พึงทราบว่า มัญญิตะ

ความสำคัญหมายรู้ ธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ซึ่งอิงอาศัยทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 160

นั่นแหละ พึงทราบว่า ปปัญจิตะ ธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า อุปาทาน

ความยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐินั่นเอง พึงทราบว่าอุปาทานความยึดมั่น

ภาวะคือความหวนระลึกผิดด้วยทิฏฐินั่นเอง พึงทราบว่า ชื่อว่า

วิปปฏิสาร ความร้อนใจ ก็ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงถือเอาทิฏฐิ ๖๒ ด้วยทิฏฐิศัพท์ และทรงถือเอา

โสดาปัตติมรรคนั่นแหละ ด้วยทิฏฐินิโรธคามินีปฏิปทาศัพท์

จบ อรรถกถาอัพยากตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 161

๒. ปุริสคติสูตร

[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปุริสคติ ๗ ประการและ

อนุปาทาปรินิพพาน เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปุริสคติ ๗ ประการเป็นไฉน ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรม

ในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตภาพในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้า

กรรมในปัจจุบันไม่มีไซร้ อัตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจ-

ขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาด้วย เราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัด

ในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ไม่ข้องในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อม

พิจารณาเห็นบทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ

ก็บทนั้นแล ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัย

คือมานะ อนุสัยคือภวราคะ อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้

โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ภิกษุนั้น

ย่อมปรินิพพานในระหว่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ ได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีต

ไม่มีแล้วไซร้...เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็นมาแล้ว เราย่อมละได้

เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต ... ย่อมพิจารณาเห็น

บทอันสงบระงับอย่างยิ่งซึ่งมีอยู่ ด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล

ภิกษุนั้นยังทำให้แจ้งไม่ได้โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ...

อนุสัยคืออวิชชา เธอก็ยังละไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะโอรัม-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 162

ภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพานในระหว่าง เปรียบ

เหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน ละเก็ดร่อนออก

แล้วดับไป ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ

อย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพาน

ในระหว่าง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กถูกเผาอยู่ตลอดวัน

สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกยังไม่พึงพื้นก็ดับ ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ

อย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพาน

ในเมื่ออายุเลยกึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็กที่ถูกเผา

อยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป ตกถึงพื้นแล้วก็ดับ ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้บฏิบัติ

อย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพาน

โดยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างตีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผ่าอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนขึ้นไปแล้วตกลงที่กองหญ้าหรือ

กองไม้เล็ก ๆ สะเก็ดนั้นพึงให้ไฟและควันเกิดขึ้นได้ที่หญ้าหรือกอง

ไม้เล็ก ๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควัน เผ่ากองหญ้าหรือกองไม้เล็ก ๆ

นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ

อย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอย่อมปรินิพพาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 163

โดยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง เปรียบเหมือนเมื่อนายช่างดีแผ่นเหล็ก

ที่ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไป แล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ย่อม ๆ สะเก็ดนั้นพึงไห้เกิดไฟและควันที่กองหญ้า

หรือกองไม้ย่อม ๆ นั้น ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้า

หรือกองไม้ย่อม ๆ นั้นให้หมดไป ไม่มีเชื้อแล้วดับ ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติ

อย่างนี้ ฯลฯ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เธอเป็นผู้มีกระแส

ในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ เปรียบเหมือนนายช่างตีแผ่นเหล็กที่

ถูกเผาอยู่ตลอดวัน สะเก็ดร่อนลอยขึ้นไปแล้วพึงตกลงที่กองหญ้า

หรือกองไม้ใหญ่ ๆ ครั้นให้เกิดไฟและควันแล้ว เผากองหญ้าหรือ

กองไม้ใหญ่ ๆ นั้น ให้หมดไป แล้วพึงลามไปไหม้ไม้กอและป่าไม้

ครั้นไหม้ไม้กอและป่าไม้แล้ว ลามมาถึงที่สุดหญ้าเขียว ที่สุดภูเขา

ที่สุดชายน้ำ หรือภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ หมดเชื้อแล้วก็ดับ ฉะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอนุปาทาปรินิพพานเป็นอย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ คือ

ย่อมได้ความวางเฉยว่า ถ้ากรรมในอดีตไม่ได้มีแล้วไซร้ อัตตภาพ

ในปัจจุบันก็ไม่พึงมีแก่เรา ถ้ากรรมในปัจจุบันย่อมมีแล้วไซร้

อัตตภาพในอนาคตก็จักไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์ที่กำลังเป็นอยู่ ที่เป็น

มาแล้วเราย่อมละได้ เธอย่อมไม่กำหนัดในเบญจขันธ์อันเป็นอดีต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 164

ไม่ข้องอยู่ในเบญจขันธ์อันเป็นอนาคต ย่อมพิจารณาเห็นบทอันสงบ

ระงับอย่างยิ่งด้วยปัญญาอันชอบ ก็บทนั้นแล อันภิกษุนั้นทำให้แจ้ง

แล้ว โดยอาการทั้งปวง อนุสัยคือมานะ...อนุสัยคืออวิชชา เธอยังละ

ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา

วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญา

อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

อนุปาทาปรินิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสคติ ๗ ประการนี้

และอนุปาทาปรินิพพาน.

จบ ปุริสคติสูตรที่ ๒

อรรถกถาปุริสคติสูตรที่ ๒

ปุริสคติสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปุริสคติโย ได้แก่ ญาณคติของบุรุษ, บทว่า อนุปาทา

ปรินิพฺพาน ได้แก่ ปรนิพพานอันหาปัจจัยมิได้. บทว่า โน จสฺส

ความว่า ถ้ากรรมอันบังเกิดในอัตตภาพอันเป็นอดีต จักไม่ได้มีแล้ว

ไซร้. บทว่า โน จ เม สิยา ความว่า ในอัตตภาพนี้ ในกาลบัดนี้

กรรมก็ไม่พึงมีแก่เรา. บทว่า น ภวิสฺสติ ความว่า บัดนี้กรรมอัน

จะยังอัตตภาพอันเป็นอนาคตของเราให้บังเกิด จักไม่มี. บทว่า

น เม ภวิสฺสติ ความว่า อัตตภาพของเราในอนาคตจักไม่มี. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 165

ยทตฺถิ ย ภูต ความว่า เบ็ญจขันธ์ที่กำลังมีอยู่ ที่มีแล้ว ที่เป็นปัจจุบัน

เกิดขึ้นเฉพาะหน้า. บทว่า ต ปชหามีติ อุเปกฺข ปฏิลภติ ความว่า

ย่อมได้อุเบกขาอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาญาณ ว่า เราจะละเบ็ญจขันธ์

นั้น ด้วยการละฉันราคะในเบ็ญจขันธ์นั้นเสีย. บทว่า ภเว น รชฺชติ

ความว่าย่อมไม่กำหนัดในเบ็ญจขันธ์ที่เป็นอดีต ด้วยตัณหาและ

ทิฏฐิ. บทว่า สมฺภเว น รชฺชติ ความว่า ย่อมไม่กำหนัดในเบ็ญจขันธ์

แม้ที่เป็นอนาคต ก็เหมือนกันนั่นแหละ. บทว่า อตฺถุตฺตริ ปท สนฺต

ความว่า ชื่อว่า บทคือพระนิพพาน เป็นบทสงบอย่างยิ่งมีอยู่. บทว่า

สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสติ ความว่า ย่อมเห็นโดยชอบ ซึ่งบทคือพระ-

นิพพานนั้นด้วยมรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า น สพฺเพน

สพฺพ ความว่า บททั้งปวงอันภิกษุไม่ทำให้แจ้งแล้ว โดยอาการ

ทั้งปวง เพราะละกิเลสบางเหล่ายังไม่ได้ เพราะความมืดอันเป็น

ตัวปกปิดสัจจะยังกำจัดไม่ได้โดยประการทั้งปวง. บทว่า หญฺมาเน

ความว่า ดังแผ่นเหล็กที่ลุกโชน อันนายช่างเอาคีมจับแล้วเอาฆ้อนทุบ.

บทว่า อนฺตราปรินิพฺพายี ความว่า จำเดิมแต่กาลอันเป็น

ลำดับจากเหตุเกิดขึ้น พระอนาคามีบุคคล ไม่ล่วงเลยท่ามกลางอายุ

แล้ว ปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพานในระหว่างนี้. บทว่า อนุปหจฺจ

ตล ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอันตราปรินิพพายี

บุคคลไว้ ๓ จำพวก ด้วยอุปมา ๓ ข้อ เหล่านี้คือ สะเก็ดลูกไฟเหล็ก

ไม่กระทบพื้น, ไม่ล่วงไปถึงพื้น, พึงดับเสียในอากาศนั่นแล.

บทว่า อุปหจฺจปรินิพฺพายี ความว่า พระอนาคามีบุคคล

ล่วงกลางอายุ จดที่สุดแห่งจิตดวงหลัง แล้วปรินิพพาน. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 166

อุปหจฺจ ตล ความว่า สะเก็ดลูกไฟเหล็กติดไฟโพลงอยู่ ไม่ล่วง

เลยพื้นอากาศ หรือเข้ากระทบพื้นดิน เพียงตกไปที่ดินเท่านั้น

แล้วก็ดับไป.

พระอนาคามีบุคคล ผู้ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป โดยไม่มี

สังขารอื่นกระตุ้นเตือน คือโดยไม่มีความพยายาม แล้วปรินิพพาน

เพราะเหตุนั้น พระอนาคามีนั้น จึงชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี

ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องมีสังขารอื่นช่วยกระตุ้นเตือน.

พระอนาคามีบุคคล ผู้ทำกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไปโดยมีสังขาร

อื่นช่วยกระตุ้นเตือนคือต้องประกอบด้วยความเพียรแล้วปรินิพพาน

เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สังขารปรินิพพายี ผู้ปรินิพพาน โดยต้อง

มีสังขารอื่นช่วยกระตุ้นเตือน.

บทว่า คจฺฉ ความว่า ป่าอันปราศจากอารักขา. บทว่า

ทาย ความว่า ป่าอันมีอารักขา คืออันท่านให้เพื่อประโยชน์แก่การ

อภัยแล้ว. คำที่เหลือในบทเหล่านี้มีอรรถง่านทั้งนั้น. ในพระสูตร

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงพระอริยบุคคลทั้งหลาย ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาอุริสคติสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 167

๓. ติสสสูตร

[๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา

คิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไป เทวดา

๒ ตน มีรัศมีงาม ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วเทวดาตนหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว

เทวดาอีกตนหนึ่งกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้

หลุดพ้นด้วยดีแล้ว เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ เทวดาเหล่านั้น

ได้กราบทูลดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น เทวดา

เหล่านั้นทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัย จึงถวายอภิวาท

กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น ครั้นล่วงราตรีนั้นไป

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามล่วงไป มีเทวดา ๒ ตนมีรัศมีงาม ยังภูเขา

คิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ได้ยืน

อยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้ว เทวดาตนหนึ่งได้กล่าวกะเราว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นแล้ว เทวดาอีกตนหนึ่ง

กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุณีเหล่านี้หลุดพ้นด้วยดีแล้ว

เพราะไม่มีอุปาทานขันธ์เหลืออยู่ เทวดาเหล่านั้นครั้นกล่าวแล้ว

อภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้นนั่นแล ก็สมัยนั้นแล

ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 168

ท่านคิดเห็นว่า เทวดาเหล่าไหนหนอ มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคล

ผู้ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือหรือในบุคคล

ผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ก็ในสมัย

นั้นแล ภิกษุชื่อตสสะมรณภาพแล้วไม่นาน เข้าถึงพรหมโลก

ชั้นหนึ่ง แม้ในพรหมโลกนั้นก็รู้กันอย่างนี้ว่า ท้าวติสสพรหม

เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

หายจากภูเขาคิชฌกูฏไปปรากฏ ณ พรหมโลกนั้น เหมือนบุรุษ

ผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ท้าวติสสพรพม

ได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะกำลังมาแต่ไกล จึงกล่าวกะท่านว่า

ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์นิมนต์มาเถิด ท่านมาดีแล้วนานแล้ว

ที่ท่านกระทำปริยายเพื่อมาที่นี้ ขอนิมนต์ท่าน นั่งเถิด นี่อาสนะปูไว้

แล้ว.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว

แม้ติสสพรหม อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามว่า ดูก่อน

ติสสะ เทวดาเหล่าไหนหนอ มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมี

อุปาทานขันธ์เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มี

อุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ.

ติสสพรหมกล่าวว่า ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดา

ชั้นพรหม ย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ยังมีอุปาทานขันธ์

เหลือ ว่ายังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์

เหลือว่าไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 169

ม. เทวดาชั้นพรหมทั้งหมดหรือ ที่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ใน

บุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือใน

บุคคลผู่ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ.

ต. ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นพรหมไม่ใช่

ทั้งหมด ที่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้... ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์

เทวดาชั้นพรหมเหล่าใด ผู้ยินดีด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และความ

เป็นอธิบดี อันเป็นของพรหม แต่ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่ง

อุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปอย่างยิ่งแห่งอายุเป็นต้นนั้น เทวดา

ชั้นพรหมเหล่านั้น ไม่มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์

เหลือว่า ยังมีอุปาทานขันธ์เหลือ หรือในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์

เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ส่วนเทวดาชั้นพรหมเหล่าใด

ไม่ยินดีด้วยอายะ วรรณะ สุข ยศ และความเป็นอธิบดี อันเป็นของ

พรหม และรู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไป

อย่างยิ่งแห่งอายุเป็นต้นนั้น เทวดาชั้นพรหมเหล่านั้น ย่อมมีญาณ

หยั่งรู้อย่างนี้... ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ เป็นอุภโตภาควิมุติ เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า

ท่านผู้นี้ เป็นอุภโตภาควิมุติ กายของท่านจักตั้งอยู่เพียงใด

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นท่านเพียงนั้น เพราะกายสลายไป

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นท่าน ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ

ผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้ไม่มี

อุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะ

ผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นปัญญาวิมุติ เทวดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 170

เหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ทานผู้นี้แลเป็นปัญญาวิมุติ

กายของท่านจักตั้งอยู่เพียงใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็น

ท่านเพียงนั้น เพราะกายสลายไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่

เห็นท่าน. ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อม

มีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ ในบุคคลผู้ไม่มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า ไม่มี

อุปาทานขันธ์เหลือ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เป็นกายสักขี (ผู้บรรลุฌานแล้วกระทำให้แจ้ง

ซึ่งนิพพาน) เทวดาเหล่านั้น ย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นั้นแล

เป็นกายสักขีแม้ไฉน ท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณ-

มิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์

อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ

ตามต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งยง ในทิฏฐธรรม เข้าอยู่ ข้าแต่ท่าน

โมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาเหล่านั้นย่อมมีญาณหยังรู้อย่างนี้

ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า มีอุปาทานขันธ์เหลือ ข้าแต่ท่าน

โมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นทิฏฐิปัตตะ

(ผู้ถึงที่สุดทิฐิ) ฯลฯ เป็นสัทธาวิมุติ (ผู้หลุดพ้นเพราะศรัทธา) ฯลฯ

ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น

ธัมมานุสารี (ผู้ดำเนินตามกระแสธรรม) เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้

ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้และเป็นธัมมานุสารี แม้ไฉน ท่านผู้นี้

เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์ พึงกระทำ

ให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย

ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบตามต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 171

ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดา

เหล่านั้นย่อมมีญาณหยั่ง อย่างนี้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า

มีอุปาทานขันธ์เหลือ.

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะชื่นชมยินดีภาษิตของ

ท้าวติสสพรหมแล้ว หายจากพรหมโลกไปปรากฏที่เขาคิชฌกูฏ

เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น

แล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลถ้อยคำสนทนาปราศรัยกับท้าวติสสพรหมทั้งหมด

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ ก็ท้าว-

ติสสพรหมไม่ได้แสดงบุคคลอนิมิตตวิหารี (ผู้มีปกติบรรลุเจโต -

สมาธิอันหานิมิตมิได้อยู่) ที่ ๗ แก่เธอหรือ.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าผู้สุคต บัดนี้เป็นการควรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า จะพึงทรงแสดง

ถึงบุคคลอนิมิตวิหารีที่ ๗ ข้าแต่พระสุคต ภิกษุทั้งหลายได้ฟัง

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจำไว้.

พ. ดูก่อนโมคคัลลานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี

เราจักกล่าว.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะ รับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมบรรลุเจโตสมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 172

เทวดาเหล่านั้นย่อมรู้ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้แล บรรลุเจโต-

สมาธิอันหานิมิตมิได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ แม้ไฉน

ท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควรอยู่ คบกัลยาณมิตร อบรมอินทรีย์

พึงกระทำให้แจ้งซึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตร

ทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบตามต้องการนั้น ด้วยปัญญา

อันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ ดูก่อนโมคคัลลานะ เทวดาเหล่านั้น

ย่อมมีญาณหยั่งรู้อย่างนี้ในบุคคลผู้มีอุปาทานขันธ์เหลือว่า มี

อุปาทานขันธ์เหลือ.

จบ สูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 173

๔. สหสูตร

[๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร

ศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระองค์อาจทรงบัญญัติผลแห่งทานที่ประจักษ์ในปัจจุบัน

ได้หรือไม่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสีหะ ถ้าอย่างนั้น จักย้อน

ถามท่านในปัญหาข้อนี้ก่อน ท่านพึงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นตาม

ชอบใจท่าน ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใน

เมืองเวสาลีนี้ มีบุรุษอยู่ ๒ คน คนหนึ่งไม่มีศรัทธา ตระหนี่ ถี่เหนียว

พูดเสียดสี คนหนึ่งมีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน

ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์ทั้งหลาย

เมื่อจะอนุเคราะห์พึงอนุเคราะห์คนไหนก่อน จะเป็นคนไม่มีศรัทธา

ตระหนี่ ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดี

ให้ความสนับสนุน.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว

พูดเสียดสี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่ออนุเคราะห์ จักอนุเคราะห์

คนนั้นก่อนอย่างไรได้ ส่วนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความ

สนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่ออนุเคราะห์ พึงอนุเคราะห์คนนั้น

ก่อนเทียว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 174

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระ-

อรหันต์ทั้งหลาย เมื่อเข้าไป พึงเข้าไปหาใครก่อน จะเป็นคนที่ไม่มี

ศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี

ยินดีให้ความสนับสนุน.

สี. ข้าแต่พระองค์เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว

พูดเสียดสี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าไปหา จักเข้าไปหาคนนั้น

ก่อนอย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความ

สนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าไปหา พึงเข้าไปหาคนนั้น

ก่อนเทียว.

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์

ทั้งหลายเมื่อรับ พึงรับของใครก่อน จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่

ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความ

สนับสนุน.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว

พูดเสียดสี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อรับ จักรับของคนนั้นก่อนอย่างไร

ได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน พระ-

อรหันต์ทั้งหลายเมื่อรับ พึงรับของตนนั้นก่อนเทียว.

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระอรหันต์

ทั้งหลายเมื่อแสดงธรรม พึงแสดงแก่คนไหนก่อน จะเป็นคนที่ไม่มี

ศรัทธา. ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี

ยินดีให้ความสนับสนุน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 175

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว

พูดเสียดสี พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อแสดงธรรม จักแสดงแก่คนนั้น

ก่อนอย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความ

สนับสนุน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อแสดงธรรม พึงแสดงแก่คนนั้น

ก่อนเทียว.

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กิตติศัพท์

อันงามของคนไหน พึงขจรไป จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่

ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความ

สนับสนุน.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว

พูดเสียดสี กิตติศัพท์อันงามของตนนั้น จักขจรไปได้อย่างไร ส่วน

คนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน กิตติศัพท์

อันงามของคนนั้นเทียวพึงขจรไป.

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คนไหนที่

จะพึงเข้าไปสู่บริษัทใด ๆ ก็ตาม เช่น กษัตริย์บริษัท พราหมณ์

บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท พึงเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน

เข้าไป จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนี่ยว. พูดเสียดสี หรือ

คนที่มีศรัทธา ยินดี ให้ความสนับสนุน.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว

พูดเสียดสี จักเข้าไปสู่บริษัทใด ๆ ก็ตาม เช่น กษัตริย์บริษัท

พราหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท จักเป็นผู้แกล้วกล้า

ไม่เก้อเขิน เข้าไปอย่างไรได้ ส่วนคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 176

ยินดีให้ความสนับสนุน เขาผู้นั้นพึงเข้าไปสู่บริษัทใด ๆ ก็ตาม เช่น

กษัตริย์บริษัท พราหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท

พึงเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน เข้าไป.

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คนไหน

เมื่อตายไปจะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ จะเป็นคนที่ไม่มีศรัทธา

ตระหนี่ถี่เหนียว พูดเสียดสี หรือคนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดี

ให้ความสนับสนุน.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนที่ไม่มีศรัทธา ตระหนี่ถี่เหนียว

พูดเสียดสี เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์อย่างไรได้ ส่วน

คนที่มีศรัทธา เป็นทานบดี ยินดีให้ความสนับสนุน เมื่อตายไป

พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในผลแห่งทาน

๖ ประการ ที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

แล้ว ข้าพระองค์มิได้ดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

แม้ข้าพระองค์เองก็รู้ผลแห่งทานเหล่านี้ ข้าพระองค์เป็นทายก

เป็นทานบดีพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่ออนุเคราะห์ ย่อมอนุเคราะห์

ข้าพระองค์ก่อน เมื่อเข้าไปหาย่อมเข้าไปหาข้าพระองค์ก่อน เมื่อรับ

ย่อมรับของข้าพระองค์ก่อน เมื่อแสดงธรรมย่อมแสดงแก่ข้าพระองค์

ก่อน กิตติศัพท์อันงามของข้าพระองค์ขจรไปแล้วว่า สีหเสนาบดี

เป็นทายก เป็นการกบุคคล เป็นผู้อุปัฏฐากพระสงฆ์ ข้าพระองค์

ผู้เป็นทายก เป็นทานบดี. เข้าไปสู่บริษัทใด ๆ ก็ตาม เช่น กษัตริย์-

บริษัท พราหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท ย่อมเป็นผู้

แกล้วกล้า ไม่เก้อเขิน เข้าไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในผลแห่งทาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 177

๖ ประการที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

ข้าพระองค์มิได้ดำเนินไปด้วยความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

แม้ข้าพระองค์เองก็รู้ผลแห่งทานเหล่านี้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสผลแห่งทานใดกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูก่อนสีหะ ทายก

ทานบดี เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพระองค์ยังไม่รู้

ผลแห่งทานนั้น และในผลแห่งทานข้อนี้ ข้าพระองค์ขอดำเนินไปด้วย

ความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พ. อย่างนั้น สีหะ อย่างนั้น สีหะ ดูก่อนสีหะ ทายก ทานบดี

เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

จบ สีหสูตรที่ ๔

อรรถกถาสีหสูตรที่ ๔

สีหสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มจฺฉรี ได้แก่บุคคลผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ ๕

อย่าง. บทว่า กทริโย ความว่า บุคคลผู้มีความตระหนี่จัด ย่อมห้าม

แม้เมื่อชนเหล่าอื่นผู้จะให้ทาน. บทว่า อนุปฺปทานรโต ความว่า

เมื่อจะให้ทานบ่อย ๆ ก็ย่อมยินดี. บทว่า อนุกมฺปนฺตา ความว่า

เมื่อจะให้ทานบ่อย ๆ ก็ย่อมยินดี. บทว่า อนุกมฺปนฺตา ความว่า

ผู้อนุเคราะห์ด้วยคิดอย่างนี้ว่า วันนี้ เราจะอนุเคราะห์ใคร พวกเรา

จะพึงรับไทยธรรมของใคร หรือพวกเราจะพึงแสดงธรรมแก่ใคร.

จบ อรรถกถาสีหสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 178

๕. รักขิตสูตร

[๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้ ตถาคตไม่ต้อง

รักษา และตถาคตไม่พึงถูกติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการ ฐานะ

๔ ประการที่ตถาคตไม่ต้องรักษาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตถาคตมีกายสมาจารบริสุทธิ์ ตถาคตไม่มีการทุจริตที่จะต้อง

รักษาว่า คนอื่นอย่ารู้ข้อนี้ของเราเลย ตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์

ตถาคตไม่มีวจีทุจริตที่จะต้องรักษาว่า คนอื่นอย่ารู้ข้อนี้ของเราเลย

ตถาคตมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ ไม่มีมโนทุจริตที่จะต้องรักษาว่า

คนอื่นอย่ารู้ข้อนี้ของเราเลย ตถาคตมีอาชีวบริสุทธิ์ ไม่มีมิจฉาชีพ

ที่จะต้องรักษาว่า คนอื่นอย่ารู้ข้อนี้ของเราเลย ฐานะ ๔ ประการนี้

ตถาคตไม่ต้องรักษา ตถาคตไม่พึงถูกติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการ

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีธรรมอันกล่าวดีแล้ว สมณะ

ก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทวดาก็ดี มารก็ดี พรหมก็ดี หรือใคร ๆ ในโลก

ก็ดี จักคัดค้านเราในธรรมนั้นโดยชอบธรรมว่า แม้เพราะเหตุนี้

ท่านมิใช่เป็นผู้มีธรรมอันกล่าวดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

ไม่เล็งเห็นนิมิตนั้น เมื่อไม่เห็น ย่อมถึงความเกษม ไม่มีภัย มีความ

แกล้วกล้าอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ปฏิปทาอันเป็นเครื่อง

ยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน ทีสาวกของเราผู้ปฏิบัติตามแล้ว ย่อมกระทำ

ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ

ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ อันเรา

บัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทวดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 179

ก็ดี มารก็ดี พรหมก็ดี หรือใคร ๆ ในโลกก็ดี จักคัดค้านเราใน

ปฏิปทานั้นโดยชอบธธรรมว่า แม้เพราะเหตุนี้ ปฏิปทาอันเป็นเครื่อง

ยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน ที่สาวกของทานปฏิบัติแล้ว ย่อมกระทำ

ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ฯลฯ ไม่เป็นปฏิปทาอันท่านบัญญัติไว้ดีแล้ว

แก่สาวกทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นนิมิตนั้น

ย่อมถึงความเกษม ไม่มีภัย แกล้วกล้าอยู่ อนึ่ง สาวกบริษัทของเรา

เป็นร้อย ๆ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี เทวดาก็ดี มารก็ดี

พรหมก็ดี หรือใคร ๆ ในโลกก็ดี จักคัดค้านเราในข้อนั้นโดยชอบ

ธรรมว่า แม้เพราะเหตุนี้ สาวกบริษัทเป็นร้อย ๆ ไม่ได้กระทำให้แจ้ง

ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย

สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ เราไม่เล็งเห็น

นิมิตนั้น เมื่อไม่เห็น ย่อมถึงความเกษม ไม่มีภัย แกล้วกล้าอยู่

ตถาคตไม่พึงถูกติเตียนเพราะฐานะ ๓ ประการเหล่านี้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้แล ตถาคตไม่จำเป็นต้องรักษา และ

ตถาคต ไม่พึงถูกติเตียนด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.

จบ รักขิตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 180

อรรถกถารักขิตสูตรที่ ๕

รักขิตสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นิมิตฺต ได้แก่ ซึ่งธรรมนิมิตบ้าง บุคคลนิมิตบ้าง.

จริงอยู่พระตถาคตนี้ เมื่อไม่พิจารณาเห็นแม้บทหนึ่ง ในธรรมที่เราแสดง

แล้วด้วยตนเอง ว่าเป็นธรรมที่กล่าวไม่ดี นำสัตว์ออกจากทุกข์ในวัฏฏะ

ไม่ได้ ชื่อว่า ไม่พิจารณาเห็นธรรมนิมิต. พระตถาคต ไม่พิจารณาเห็น

แม้บุคคลผู้หนึ่ง ผู้จะลุกขึ้นโต้ตอบว่า ธรรมที่ท่านกล่าวแล้วผิด

ธรรมที่ท่านกล่าว ไม่ดี ชื่อว่าไม่พิจารณาเห็นบุคคลนิมิต. แม้ใน

บททั้งสองที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบ อรรถกถารักขิตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 181

๖. กิมมิลสูตร

[๕๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

วิหารเวฬุวัน ใกล้เมืองกิมมิลา ครั้งนั้นแล ท่านพระกิมมิละเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้สัทธรรม

ไม่ตั้งอยู่นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกิมมิละ เมื่อตถาคต

ปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา... ในธรรม... ในสงฆ์...

ในสิกขา... ในสมาธิ... ในความไม่ประมาท... ในปฏิสันถาร

ดูก่อนกิมมิละ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้สัทธรรมไม่

ตั้งอยู่นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

กิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่อง

ให้สัทธรรมตั้งอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว.

พ. ดูก่อนกิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเคารพ มีความ

ยำเกรงในพระศาสดา... ในธรรม... ในสงฆ์... ในสิกขา... ในสมาธิ...

ในความไม่ประมาท... ในปฏิสันถาร ดูก่อนกิมมิละ นี้แลเป็นเหตุ

เป็นปัจจัย เครื่องให้สัทธรรมตั้งอยู่นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

จบ กิมมิลสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 182

๗. สัตตธรรมสูตร

[๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗

ประการ ไม่นานนัก พึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็น

ผู้หลีกออกเร้น ๑ ปรารภความเพียร ๑ มีสติ ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล ไม่

นานนักพึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ

มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม

เข้าถึงอยู่.

จบ สัตตธรรมสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 183

๘. โมคคัลลนสูตร

[๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่า-

เภสกลา มิคทายวัน ใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ ก็สมัยนั้นแล

ท่านมหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม

แคว้นมคธ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระ-

มหาโมคคัลลานะนั่งโงกง่วงอยู่ ณ บ้านกัลลวาลมุตตคาม แคว้นมคธ

ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ครั้นแล้วทรงหายจาก

เภสกลามิคทายวัน ใกล้สุงสุมารคีรนคร แคว้นภัคคะ เสด็จไป

ปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระมหาโมคคัลลานะ ณ บ้านกัลลวาล-

มุตตคาม แคว้นมคธ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้

หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะ

ที่ปูลาดแล้ว ครั้นแล้วได้ตรัสถามทานพระมหาโมคคัลลานะว่า

ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ ก่อนโมคคัลลานะ เธอง่วงหรือ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อเธอมีสัญญา

อย่างไรอยู่ ความง่วงนั้นย่อมครอบงำได้ เธอพึงทำไว้ในใจซึ่ง

สัญญานั้นให้มาก ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้า

เธอยังละไม่ได้ แต่นั้นเธอถึงตรึกตรองพิจารณาถึงธรรมตามที่ตน

ได้สดับแล้ว ได้เรียนมาแล้วด้วยใจ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความ

ง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงสาธยายธรรมตามที่ตนได้

สดับมาแล้ว ได้เรียนมาแล้วโดยพิสดาร ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 184

ละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงยอนช่องหูทั้งสองข้าง

เอามือลูบตัว ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละ

ไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงลุกขึ้นยืน เอาน้ำล้างตา เหลียวดูทิศทั้งหลาย

แหงนดูดาวนักษัตรฤกษ์ ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้

ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงทำในใจถึงอาโลกสัญญา ตั้งความ

สำคัญในกลางวันว่า กลางวันอย่างไร กลางคืนอย่างนั้น กลางคืน

อย่างไร กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยอยู่ฉะนี้ ไม่มีอะไรหุ้มห่อ

ทำจิตอันมีแสงสว่างให้เกิด ข้อนี้จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วง

นั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึงอธิษฐานจงกรม กำหนดหมาย

เดินกลับไปกลับมา สำรวมอินทรีย์ มีใจไม่เปิดไปให้ภายนอก ข้อนี้

จะเป็นเหตุให้เธอละความง่วงนั้นได้ ถ้ายังละไม่ได้ แต่นั้นเธอพึง

สำเร็จสีหไสยา คือนอนตะแคงเบื้องหน้าขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ-

สัมปชัญญยะ ทำความหมายในการนอน ความสุขในการเอนข้าง

ความสุขในการเคลิ้มหลับ ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

ดูก่อนโมคคัลลานะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษา

อย่างนี้อีกว่า เราจักไม่ชูงวง (ถือตัว) เข้าไปสู่ตระกูล ดูก่อน

โมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ถ้าภิกษุชูงวงเข้าไปสู่ตระกูล

และในตระกูลมีกรณียกิจหลายอย่าง ซึ่งจะเป็นเหตุให้มนุษย์ไม่ใส่ใจ

ถึงภิกษุผู้มาแล้ว เพราะเหตุนั้น ภิกษุย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า

เดี๋ยวนี้ใครหนอยุยงให้เราแตกในสกุลนี้ เดี๋ยวนี้ดูมนุษย์พวกนี้

มีอาการอิดหนาระอาใจในเรา เพราะไม่ได้อะไร เธอจึงเป็นผู้เก้อเขิน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 185

เมื่อเก้อเขิน ย่อมคิดฟุ้งซ่าน เมื่อคิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สำรวม เมื่อ

ไม่สำรวมจิตย่อมห่างจากสมาธิ.

เพราะฉะนั้นแหละ โมคคัลลานะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เราจักไม่พูดถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน ดูก่อนโมคคัลลานะ

เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล เมื่อมีถ้อยคำซึ่งจะเป็นเหตุให้ทุ่มเถียงกัน

ก็จำต้องหวังการพูดมาก เมื่อมีการพูดมาก ย่อมคิดฟุ้งซ่าน เมื่อ

คิดฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สำรวม เมื่อไม่สำรวม จิตย่อมห่างจากสมาธิ.

ดูก่อนโมคคัลลานะ อนึ่ง เราสรรเสริญความคลุกคลี่ด้วย

ประการทั้งปวงไม่ แต่มิใช่ว่าจะไม่สรรเสริญ ความคลุกคลีด้วย

ประการทั้งปวงก็หามิได้ คือ เราไม่สรรเสริญความคลุกคลีด้วย

หมู่ชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ก็แต่ว่า เสนาสนะอันใดเงียบเสียง

ไม่อื้ออึ่ง ปราศจากการสัญจรของหมู่ชน ควรเป็นที่ประกอบกิจ

ของผู้ต้องการความสงัด ควรเป็นที่หลีกออกเร้น เราสรรเสริญ

ความคลุกคลีด้วยเสนาสนะเห็นปานนั้น.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหา

โมคคัลลานะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

โดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไรหนอ ภิกษุจึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะ

สิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน ประเสริฐกว่า

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

พ. ดูก่อนโมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้สดับว่า

ธรรมทั้งปวงไม่ควรถือมั่น ครั้นได้สดับดังนั้นแล้ว เธอย่อมรู้ชัด

ธรรมทั้งปวงด้วยปัญญาอันยิ่ง ครั้นรู้ชัดธรรมทั้งปวงด้วยปัญญา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 186

อันยิ่งแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง

แล้ว ได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุข

มิใช่ทุกข์ก็ดี ย่อมพิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงในเวทนาเหล่านั้น

พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด พิจารณาเป็นความดับ พิจารณา

เห็นความสละคืน เมื่อเธอพิจารณาเห็นอย่างนั้น ๆ อยู่ ย่อมไม่ยืดมั่น

อะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยืดมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อม

ปรินิพพานเฉพาะตัวทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี ดูก่อนโมคคัลลานะ โดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แล ภิกษุ

จึงเป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วน เป็นผู้

เกษมจากโยคะล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน

ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

จบ โมคคัลลานสูตรที่ ๘

อรรถกถาโมคคัลลานสูตรที่ ๘

โมคคัลลานสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า จปลายมาโน ความว่า พระมหาโมคคัลลนะ เข้าไป

อาศัยหมู่บ้านนั้น กระทำสมณธรรมในไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง มีร่างกาย

ลำบากเพราะถูกความเพียรในการจงกรมตลอด ๗ วัน บีบคั้น จึงนั่ง

โงกง่วงอยู่ในท้ายที่จงกรม. บทว่า จปลายสิ โน แก้เป็น นิทฺทายสิ นุ

แปลว่า เธอง่วงหรือ. บทว่า อนุมชฺชิตฺวา แปลว่า ลูบคลำแล้ว.

บทว่า อาโลกสญฺ ได้แก่ ความสำคัญในความสว่างเพื่อบรรเทา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 187

ความง่วง. บทว่า ทิวาสญฺ ได้แก่ ความสำคัญว่าเป็นกลางวัน

บทว่า ยถา ทิวา ตถา รตฺตึ ความว่า เธอตั้งความสำคัญว่าสว่าง

ในกลางวันฉันใด เธอตั้งความสำคัญว่าสว่างนั้น แม้ในกลางคืน

ก็ฉันนั้น. คำว่า ยถา รตฺตึ ตถา ทิวา เธอตั้งความสำคัญว่า สว่าง

ในกลางคืนฉันใด เธอตั้งความสำคัญว่าสว่างนั้นแม้ในกลางวันฉันนั้น.

บทว่า สปฺปภาส เธอพึงให้จิตเป็นไปพร้อมกับแสงสว่าง เพื่อประโยชน์

แก่ทิพยจักขุญาณ. บทว่า ปจฺฉาปุเรสญฺี ความว่า ผู้มีสัญญา

ด้วยสัญญาอันนำไปทั้งข้างหน้าและข้างหลัง. บทว่า อนฺโตคเตหิ

อินฺทฺริเยหิ ได้แก่ ด้วยอันทรีย์ ๕ อันไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก

อันเข้ามาตั้งอยู่ในภายในเท่านั้น. บทว่า มิทฺธสุข ได้แก่ ความสุข

อันเกิดแต่ความหลับ. พระผู้มีพระภาคเจ้า แสดงกรรมฐานเครื่อง

บรรเทาความง่วงแก่พระเถระ ด้วยฐานะมีประมาณเท่านี้.

บทว่า โสณฺฑ ได้แก่ง่วงคือ มานะ. ในบทว่า กิจฺจกรณียานิ

นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ กรรมที่ตนจะพึงทำแน่แท้ ชื่อว่า กิจฺจานิ

กิจกรรมที่เป็นหน้าที่ทั้งหลาย, ส่วนกิจนอกนี้ ชื่อว่า กรณียานิ

กิจควรทำทั้งหลาย. บทว่า มงฺกุภาโว ได้แก่ ความเป็นผู้ไร้อำนาจ

ความโทมนัส เสียใจ. พระศาสดาตรัสภิกขาจารวัตรแก่พระเถระ

ด้วยฐานะมีประมาณเท่านี้. บัดนี้ เพื่อจะทรงชักจูงกัน ให้สิ้นสุดลง

พระองค์จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตสฺมาติห ดังนี้ซ บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า วิคฺคาหิกกถ ความว่า ถ้อยคำอันเป็นเหตุให้ถือเอาผิด เป็นไป

โดยนัย เป็นต้นว่า ท่านย่อมไม่รู้ธรรมและวินัยนี้ เพื่อจะเว้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 188

การคลุกคลีกับบาปมิตร พระศาสดาจึงตรัสคำมีอาทิว่า นาห

โมคฺคลฺลาน ดังนี้.

บทว่า กิตฺตาวตา นุ โข ความว่า ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไรหนอ.

บทว่า ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺโต โหติ ความว่า ภิกษุชื่อว่าตัณหา-

สังขยวิมุตตะ เพราะเป็นผู้มีจิตน้อมไปในพระนิพพานอันเป็นที่

สิ้นตัณหา ทำพระนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ พระมหาโมคคัลลานะ

ทูลถามว่า โดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่าไร ภิกษุย่อมชื่อว่าตัณหา-

สังขยวิมุตตะ ขอพระองค์โปรดทรงแสดงข้อปฏิบัตินั้นนั่นแล ที่เป็น

ปฏิปทาส่วนเบื้องต้นของภิกษุผู้ขีณาสพ โดยสังเขปเถิดพระเจ้าข้า.

บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺโ ความว่า ชื่อว่า อจฺจนตา เพราะเป็น

ไปล่วงส่วน กล่าวคือความสิ้นไปและความเสื่อมไป. ภิกษุชื่อว่า

อจฺจนฺตนิฏฺโ เพราะมีความสำเร็จล่วงส่วน อธิบายว่า มีความ

สำเร็จโดยส่วนเดียว มีความสำเร็จติดต่อกัน. บทว่า อจฺจนฺตโยคฺคกฺเขมี

ความว่า ผู้มีธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะล่วงส่วนอธิบายว่า

มีธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะเป็นนิจ. บทว่า อจฺจนฺตพฺรหฺมจารี

ความว่า เป็นพรหมจารีล่วงส่วน อธิบายว่า เป็นพรหมจารีเป็นนิจ.

บทว่า อจฺจนตปริโยสาโน ความว่า มีที่สุดล่วงส่วนโดยนัยก่อน

นั่นแหละ. บทว่า เสฏฺโ เทวมนุสฺสาน ความว่า ประเสริฐสุดคือ

สูงสุด กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. พระมหาโมคคัลลานะทูลขอว่า

ภิกษุชื่อว่าเป็นปานนี้ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงไร ข้อพระองค์โปรด

ทรงแสดงสำหรับภิกษุนั้นโดยย่อเถิดพระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 189

ในคำว่า สพฺเพ ธมฺมา นาล อภินิเวสาย นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ชื่อว่า ธรรมทั้งปวงคือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ธรรมทั้งหมด

นั้น ไม่ควรถือไม่ถูก ไม่ชอบ ไม่เหมาะ ที่จะยึดมั่นด้วยอำนาจ

ตัณหาและทิฏฐิ. เพราะเหตุไร ธรรมจึงไม่ควรถือมั่น เพราะธรรม

เหล่านั้น ไม่ตั้งอยู่โดยอาการที่จะยึดถือไว้ จริงอยู่ธรรมเหล่านั้น

แม้ตนจะยึดถือเอาว่า สังขารทั้งหลายเป็นของเที่ยง เป็นสุข และ

เป็นอัตตา ก็ย่อมสำเร็จผลว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็น

อนัตตาอยู่นั่นเอง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ไม่ควรถือมั่นดังนี้. บทว่า อภิชานาติ ความว่า ย่อมรู้ยิ่ง คือรู้

ด้วยญาตปริญญาว่า สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรม

ทั้งปวงเป็นอนัตตา. บทว่า ปริชานาติ ความว่า ย่อมกำหนดรู้

ด้วยติรณปริญญา เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. บทว่า ยกิญฺจิ เวทน

ความว่า ย่อมเสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้มีประมาณน้อย

โดยที่สุดแม้ประกอบด้วยปัญจวิญญาณ. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงยักเยื้องด้วยอำนาจเวทนา จึงแสดงการกำหนดอรูปธรรม

(นามธรรม) เป็นอารมณ์แก่พระเถระ

บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี ได้แก่พิจารณาเห็นโดยความไม่เที่ยง. วิราคะ

ในบทว่า วิราคานุปสฺสีนี้ มี ๒ คือ ขยวิราคะ ความคลายกำหนัด

เพราะสิ้นไป ๑ อัจจันตวิราคะ ความคลายกำหนัดเพราะล่วงส่วน

๑ ในสองอย่างนั้น วิปัสสนาอันเห็นความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลาย

โดยความสิ้นก็ดี มรรคญาณ คือการเห็นความคลายกำหนัดล่วงส่วน

คือพระนิพพาน โดยความคลายกำหนัดก็ดี ชื่อว่า วิราคานุปัสสนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 190

การพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย

วิราคธรรมทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่า วิราคานุปัสสี ผู้ตามเห็นความคลาย

กำหนัด. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายถึงวิราคะนั้น จึงตรัสว่า

วิราคานุปสฺสี อธิบายว่าบุคคลผู้พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด.

แม้ใน นิโรธานุปสสีบุคคล ก็นัยนี้เหมือนกัน. เพราะแม้

นิโรธ ความดับ ก็มี ๒ เหมือนกัน คือ ขยนิโรธ ความดับเพราะ

สิ้นไป อัจจันตนิโรธ ความดับ-ล่วงส่วน. ในบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี

นี้ โวสสัคคะ ความสละ ท่านเรียกว่า ปฏินิสสัคคะ ความสละคืน.

ความสละนั้น ก็มี ๒ อย่าง คือ ปริจจาคโวสสัคคะ ความสละด้วย

การบริจาค ปักขันทนโวสสัคคะ ความสละด้วยการแล่นไป. บรรดา

ความสละทั้ง ๒ นั้น วิปัสสนา ชื่อว่า ปริจจาคโวสสัคคะ ความสละ

ด้วยการละ. จริงอยู่ วิปัสสนานั้น ย่อมละได้ซึ่งกิเลสและขันธ์

ด้วยอำนาจ ตทังคปหาน. มรรค ชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะ ความ

สละด้วยการแล่นไป ด้วยว่า มรรคนั้น ย่อมแล่นไปสู่พระนิพพาน

โดยเป็นอารมณ์. อีกอย่างหนึ่งมรรคนั้น ชื่อว่า โวสสัคคะ เพราะ

เหตุแม้ทั้ง ๒ คือ เพราะขันธ์และกิเลส ด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน

และเพราะการแล่นไปในพระนิพพาน เพราะเหตุนั้น วิปัสสนา

จึงชื่อว่า ปริจจาคโวสสัคคะ สละด้วยการปริจาค เพราะวิปัสสนา

ย่อมละกิเลสและขันธ์ และมรรคที่ชื่อว่า ปักขันทนโวสสัคคะ

ความสละด้วยการแล่นไป เพราะจิตย่อมแล่นไปในความดับสนิท

คือนิพพานธาตุ ก็เพราะเหตุนี้ คำทั้งสองนี้จึงจัดเข้าได้ในมรรค

บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิปัสสนาและมรรคทั้งสองนั้น ย่อมเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 191

ชื่อว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสี ผู้ตามเห็นความสละคืน เพราะประกอบ

ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนานี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึง

บุคคลนั้น จึงตรัสอย่างนี้.

คำว่า น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ความว่า ภิกษุนั้น ย่อม

ไม่ยึด ไม่ถือเอา ไม่จับต้องธรรมชาติอะไร คือสังขารแม้อย่างหนึ่ง

ด้วยอำนาจตัณหา. คำว่า อนุปาทิย น ปริตสฺสติ ความว่า เมื่อไม่

ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เพราะความหวาดสะดุ้งด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า

ปจฺจตฺตเยว ปรินิพฺพายติ ความว่า ย่อมปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพาน

ด้วยตนทีเดียว. ก็ปัจจเวกขณญาณของภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงโดยนัยเป็นต้นว่า ขีณา ชาติ ชาติสิ้นแล้ว ดังนี้. ดังนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกพระมหาโมคคัลลานะ. ทูลถามถึงปฏิปทา

อันเป็นส่วนเบื้องต้น ของพระขีณาสพโดยย่อแล้ว จึงตรัสโดยย่อ

เหมือนกัน. แต่พระสูตรนี้ แห่งพระโอวาท เป็นทั้งวิปัสสนา

สำหรับพระเถระ พระเถระนั้น เจริญวิปัสสนาในพระสูตรนี้

แล้วบรรลุพระอรหันต์ ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาโมคคัลลานะสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 192

๙. ปุญญวิปากสูตร

[๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย

คำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมรู้ชัด

ซึ่งผลแห่งบุญอันนำปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ที่เราเสวยแล้ว

ตลอดกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี ครั้นแล้ว เราไม่ได้

กลับมายังโลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ได้ยินว่า เมื่อโลกถึงความพินาศ (ลุกไฟไหม้) เราเข้าถึงพรหมโลก

ชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกยังไม่ถึงความพินาศ เราย่อมเข้าถึงวิมาน

พรหมอันว่างเปล่า ได้ยินว่า ในวิมานพรหมนั้น เราเป็นพรหม

เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ใคร ๆ ครั้นงำไม่ได้ มีความเห็นแน่นอน

มีอำนาจเต็ม เป็นท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่แห่งทวยเทพ ๓๖ ครั้ง เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิ ตั้งอยู่ในธรรม เป็นธรรมราชามีสมุทรทั้ง ๔

เป็นขอบเขต ผู้ชนะสงคราม มีชนบทถึงความสถาพรตั้งมั่น ประกอบ

ด้วยรัตนะ ๗ ประการ รัตนะ ๗ ประการของเรานั้นคือ จักรแก้ว

ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ขุนพลแก้ว

เป็นที่ ๗ อนึ่ง เราเคยมีบุตรมากกว่าพันคน ล้วนแต่เป็นคนกล้าหาญ

ชาญชัย ย่ำยีข้าศึกได้ เราครอบครองปฐพีมณฑลนี้ อันมีมหาสมุทร

เป็นขอบเขต โดยธรรม ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา.

เชิญดูผลแห่งบุญกุศลของบุคคลผู้แสวงหา

ความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเจริญเมตตาจิต

มาแล้ว ๗ ปี ไม่ต้องกลับมาสู่โลกนี้ ตลอด ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 193

สังวัฏฏวิวัฏฏกัป เมื่อโลกถึงความพินาศ เราเข้า

ถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกยังไม่ถึง

ความพินาศ เราเข้าถึงวิมานอันว่างเปล่า ในกาล

นั้น เราเป็นท้าวมหาพรหมผู้มีอำนาจเต็ม ๗ ครั้ง

เป็นท้าวสักกะจอมเทพ เสวยสมบัติในเทวโลก

๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นใหญ่ในหมู่

ชนชาวชมพูทวีป เป็นกษัตริย์ได้รับมุรธาภิเศก

แล้ว เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์ปกครองปฐมพีมณฑลนี้

โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาตรา สั่งสอน

คนในปฐพีมณฑลนั้นโดยธรรมสม่ำเสมอ ไม่ผลุน

ผลัน ได้เกิดในตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมาก

แล้ว ได้เกิดในตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติมาก

มาย ทั้งบริบูรณ์พร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ อัน

อำนวยความประสงค์ให้ทุกอย่าง ฐานะดังที่กล่าว

มานี้พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้สงเคราะห์ประชาชาว

โลกทรงแสดงไว้ดีแล้ว เหตุที่ท่านเรียกว่าเป็น

พระเจ้าแผ่นดิน เพราะความเป็นใหญ่ เราเป็น

พระราชาผู้เรืองเดช มีอุปกรณ์เครื่องให้ปลื้มใจ

มากมาย มีฤทธิ์ มียศ เป็นใหญ่ ในหมู่ชนชาว

ชมพูทวีป ใครบ้างได้ฟังแล้วจะไม่เลื่อมใสแม้จะ

เป็นคนมีชาติต่ำ เพราะฉะนั้นแหละ ผู้มุ่งประ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 194

โยชน์ จำนงหวังความเป็นใหญ่ ระลึกถึงคำสอน

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพสัทธรรม.

จบ ปุญญวิปากสูตรที่ ๙

อรรถกถาปุญญวิปากสูตรที่ ๙

ปุญญวิปากสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า มา ภิกฺขเว ปุญฺานภายิตถ ความว่า พวกเธอเมื่อจะ

ทำบุญ อย่างได้กลัวต่อบุญเหล่านั้นเลย. ด้วยคำว่า เมตฺตจิตฺต ภาเวสึ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราอบรมจิตทำให้ประณีตประกอบ

เมตตา อันประกอบด้วยฌานหมวด ๓ และหมวด ๔

คำว่า สวฏฺฏมาเน สุทาห ตัดบทเป็น สวฏฺฏมาเน สุท อห.

บทว่า สวฏฺฏมาเน ความว่า เมื่อโลกอันไฟไหม้อยู่ คืออันไฟทำให้

พินาศอยู่. บทว่า ธมฺมิโก ได้แก่ ประกอบด้วยกุศลธรรม ๑๐ ประการ.

บทว่า ธมฺมราชา นี้ เป็นไวพจน์ ของบทว่า ธมฺมราชา นั้น. อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นธรรมราชา เพราะทรงได้ราชสมบัติ

โดยธรรม. บทว่า จาตุรนฺโต ได้แก่มีความเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

ที่ชื่อว่า จาตุรันต์ ด้วยอำนาจมีมหาสมุทรทั้ง ๔ มีในทิศบูรพา

เป็นต้น บทว่า วิชิตาวี แปลว่า ผู้ชนะสงคราม. ชนบทในพระเจ้า-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 195

จักพรรดินั้น ถึงความมั่นคงถาวร เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้ทรง

มีชนบทถึงความมั่นคงถาวร.

บทว่า ปโรสหสฺส แปลว่า มีพระโอรสมากเกิน ๑,๐๐๐

พระองค์. บทว่า สูรา ได้แก่ผู้ไม่ขลาด ในบทว่า วีรงฺครูปา มีรูป

วิเคราะห์ดังต่อไปนี้ องค์ของผู้แกล้วกล้า ชื่อว่า วีรังคะ วีรังคะ

องค์ผู้กล้าหาญเป็นรูปของโอรสเหล่านั้น เหตุนั้นโอรสเหล่านั้น

ชื่อว่า วิรังครูปา ผู้มีองค์แห่งผู้กล้าหาญเป็นรูป. ท่านอธิบายไว้ว่า

โอรสเหล่านั้น ไม่เกียจคร้าน เหมือนผู้มีความเพียรเป็นปกติ มีความ

เพียรเป็นสภาวะ และมีความเพียรมาก. ท่านอธิบายว่าแม้จะรบ

ทั้งวันก็ไม่เหน็ดเหนื่อย. บทว่า สาครปริยนฺต ความว่า มีมหาสมุทร

ตั้งจดขุนเขาจักรวาฬเป็นขอบเขตล้อมรอบ. บทว่า อทณฺเฑน ได้แก่

เว้นจากอาชญา คือการปรับสินไหมด้วยทรัพย์บ้าง ลงอาชญา

ทางตัวบทกฏหมาย โดยสั่งจำคุก ตัดมือเท้าและประหารชีวิตบ้าง

บทว่า อสตฺเถน ได้แก่ เว้นจากใช้ศัสตราเบียดเบียนผู้อื่นมีศัสตรา

มีคมข้างเดียวเป็นต้น บทว่า ธมฺเมน อภิวิชิย ความว่า ทรงชนะ

ตลอดแผ่นดิน มีประการยังกล่าวแล้ว โดยธรรมอย่างเดียว โดยนัย

อาทิว่า ไม่พึงฆ่าปาณะ สัตว์ที่พระราชาผู้เป็นข้าศึก ต้อนรับ

เสด็จอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์โปรดเสด็จมาเถิด.

บทว่า สุเขสิน ความว่า ย่อมเรียกสัตว์ทั้งหลายผู้แสวงหา

ความสุข. บทว่า สุญฺพฺรหฺมูปโค ความว่า ผู้เข้าถึงวิมาพรหม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 196

อันว่างเปล่า. บทว่า ปวึ อิม ความว่า ซึ่งแผ่นดินใหญ่ อันมีสาคร

ล้อมรอบ. บทว่า อสาหเสน แปลว่าด้วยกรรมที่มิได้ตั้งคิด. บทว่า

สเมน สุเทสิต ความว่า พร่ำสอนด้วยกรรมอันสม่ำเสมอ. บทว่า

เตหิ เอต สุเทสิต ความว่า ฐานะนี้ คือมีประมาณเท่านี้ อันพระ

พุทธเจ้าทั้งหลาย แสดงดีแล้ว ตรัสดีแล้ว. บทว่า ปโพฺย แปลว่า

เจ้าเผ่นดิน.

จบ อรรถกถาปุญญวิปากสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 197

๑๐. ภริยาสูตร

[๖๐] ครั้งนั้น เมื่อเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว

ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิก-

เศรษฐี ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว ก็สมัยนั้นมนุษย์ทั้งหลาย

ในนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีส่งเสียงอื้ออึง ท่านอนาถ-

บิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนคฤหบดี เหตุไรหนอ มนุษย์ทั้งหลายในนิเวศน์

ของท่านจึงส่งเสียงอื้ออึง เหมือนชาวประมงแย่งปลากัน อนาถ-

บิณฑิกเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุชาดา

คนนี้ข้าพระองค์นำมาจากตระกูลมั่งคั่งมาเป็นสะใภ้ในเรือน นาง

ไม่เชื่อถือ แม่ผัว พ่อผัว สามี แม้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้านางก็ไม่

สักการะเคารพนับถือบูชา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนว่า มานี่แน่ะนางสุชาดา นางสุชาดา

หญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เขาไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน

นางสุชาดา ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้ ๗ จำพวกเป็นไฉน คือ

ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต ๑ เสมอด้วยโจร ๑ เสมอด้วยนาย ๑

เสมอด้วยแม่ ๑ เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว ๑ เสมอด้วยเพื่อน ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 198

เสมอด้วยทาสี ๑ ก่อนนางสุชาดา ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกแล

เธอเป็นจำพวกไหนใน ๗ จำพวกนั้น

นางสุชาดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน

ยังไม่รู้ทั่วถึงความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

โดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระ-

วโรกาส พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่หม่อมฉัน

โดยที่หม่อนฉันจะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ โดยพิสดารเถิด.

พ. ดูก่อนนางสุชาดา ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใสใจให้ดี

เราจักกล่าว นางสุชาดาหญิงสะใภ้ในเรือนทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

ภริยาผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่อนุเคราะห์

ด้วยประโยชน์เกื้อกูลยินดีในชายอื่น ดูหมิ่นสามี

เป็นผู้อันเขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามจะฆ่าผัว

ภริยาของบุรษเห็นปานนี้เรียกว่า วธกาภริยา

ภริยาเสมอด้วยเพชฌฆาต สามีของหญิงประกอบ

ด้วยศิลปธรรม พาณิชยกรรม และกสิกรรม ได้

ทรัพย์ใดมา ภริยาปรารถนาจะยักยอกทรัพย์ แม้

มีอยู่น้อยนั้นเสีย ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียก

ว่า โจรภริยา ภริยาเสมอด้วยโจร ภริยาที่ไม่สนใจ

การงาน เกียจคร้าน กินมาก ปากร้าย ปากกล้า

ร้ายกาจ กล่าวคำหยาบ ข่มขี่ผัวผู้ขยันขันแข็ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 199

ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า อัยยาภริยา

ภริยาเสมอด้วยนาย ภริยาใดอนุเคราะห์ด้วย

ประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีเหมือน

มารดารักษาบุตร รักษาทรัพย์ที่สามีเหมือน

ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า มาตาภริยา

ภริยาเสมอด้วยมารดา ภริยาที่เป็นเหมือนพี่สาว

น้องสาว มีความเคารพในสามีของตน เป็นคน

ละอายบาป เป็นไปตามอำนาจสามี ภริยาของบุรุษ

เห็นปานนี้เรียกว่า ภคินีภริยา ภริยาเสมอด้วย

พี่สาวน้องสาว ภริยาใดในโลกนี้เห็นสามีแล้ว

ชื่นชมยินดี เหมือนเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับ

มาเป็นหญิงมีตระกูล มีศีล มีวัตรปฏิบัติสามี

ภริยาใดสามีเฆี่ยนตี ขู่ตะคอกก็ไม่โกรธ ไม่คิด

พิโรธโกรธตอบสามี อดทนได้ เป็นไปตามอำนาจ

สามี ภริยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่า ทาสีภริยา

ภริยาเสนอด้วยทาสี ภริยาที่เรียกว่าวธกาภริยา ๑

โจรีภริยา ๑ อัยยาภริยา ๑ ภริยาทั้ง ๓ จำพวกนั้น

ล้วนแต่เป็นคนทุศีลหลาบช้า ไม่เอื้อเฟื้อ เมื่อตาย

ไป ย่อมเข้าถึงนรก ส่วนภริยาที่เรียกว่า มาตา

ภริยา ๑ ภคินีภริยา ๑ สขีภริยา ๑ ทาสีภริยา ๑

ภริยาทั้ง ๔ จำพวกนั้น เพราะตั้งอยู่ในศีล ถนอม

รักไว้ยั่งยืน เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 200

ดูก่อนนางสุชาดา ภริยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้แล เธอ

เป็นภริยาจำพวกไหน ใน ๗ จำพวกนั้น.

ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอพระ-

ผู้มีพระภคเจ้า โปรดทรงจำหม่อมฉันว่า เป็นภริยาของสามีผู้

เสมอด้วยทาสี.

จบ ภริยาสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาภริยาสูตรที่ ๑๐

ภริยาสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เกวฏฺโฏ มญฺฌ มจฺเฉ วิโลเปติ ความว่า ในที่ที่ชาว-

ประมงยืนยกตะกร้าปลาลง พอยกแหอวนขึ้นจากน้ำเท่านั้น คน

จับปลาก็ส่งเสียงดังลั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเสียงนั้น

จึงตรัสคำนั้น. บทว่า สุชาตา ได้แก่ หญิงเป็นน้องสาวมหาอุบาสิกา

ชื่อว่าวิสาขา. บทว่า สา เนว สสฺสุ อาทิยติ ความว่า นางสุชาดา

นั้น ไม่กระทำวัตรปฏิบัติ อันชื่อว่าวัตรอันหญิงสะใภ้จะพึงทำแก่

มารดาของสามี ทั้งไม่ยอมรับนับถือมารดาสามีว่า เป็นมารดา.

บทว่า น สสฺสุร อาทิยติ ความว่า นางสุชาดานั้นไม่ยอมเชื่อฟัง

แม้คำบิดาของสามี. เมื่อเป็นเช่นนี้จึงชื่อว่า นางไม่เชื่อฟัง เพราะ

นางไม่เอื้อเฟื้อบ้าง เพราะนางไม่ยอมรับบ้าง แม้ในบทที่เหลือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 201

ก็นัยนี้เหมือนกัน ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ถือเอามรรยาทของ

หญิงสะใภ้นั่งตรง พระพักตร์ของพระศาสดา. ด้วยประการฉะนี้.

ฝ่ายนางสุชาดานั้น คิดว่า เศรษฐีนี้จักกล่าวสรรเสริญคุณ ของเราใน

สำนักพระทสพล หรือจะกล่าวโทษ ดังนี้แล้ว ได้ไปยืนฟังเสียงใน

ที่ไม่ไกล. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสเรียกเธอมาตรัสว่า มานี่

สุชาดา. บทว่า อหิตานุกมฺปินี แปลว่า ผู้ไม่อนุเคราะห์ ด้วยประโยชน์

เกื้อกูล. บทว่า อญฺเสุ ได้แก่ในชายอื่น. บทว่า อติมญฺเต ความว่า

ย่อมทนงตัว คือ ย่อมดูหมิ่นด้วยอำนาจมานะ. บทว่า ธเนน กีตสฺส

ความเป็นผู้อันเขาซื้อมาด้วยทรัพย์ บทว่า วธาย อุสฺสุกฺกา ความว่า

พยายามจะฆ่า. บทว่า ย อิตฺถิยา วินฺทติ สามิโก ธน ความว่า สามี

ของหญิงได้ทรัพย์ใดมา. บทว่า อปฺปมฺปิสฺส อปหาตุมิจฺฉติ ความว่า

ภรรยาปรารถนาที่จะลักทรัพย์ แม้มีอยู่น้อยหนึ่งนั้น คือพยายาม

ที่จะลักทรัพย์ทีละน้อย แม้จากข้าวสาร ที่ห่อใส่ไว้ในหม้อข้า

อันยกขึ้นตั้งไว้บนเตาไฟ. บทว่า อลสา ความว่า เป็นผู้นั่งแช่

ในที่ตนนั่ง ยืนแช่ ในที่ที่ตนยืน. บทว่า ผรุสา แปลว่ากระด้าง

บทว่า ทุรตฺตวาทินี ความว่า ผู้มีปกติกล่าววาจาเป็นทุพภาษิต

วาจาชั่วหยาบ คือ กล่าวคำหยาบและกระด้างนั่นเอง. ในคำว่า

อุฏฺายกน อภิภุยฺย วตฺตติ นี้ มีวินิจฉัยต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสถึงสามี ผู้สมบูรณ์ด้วยความเพียรเป็นเครื่องลุกขึ้น ด้วยศัพท์

อันเป็นพหุวจนะว่า อุฏฺายกาน ดังนี้. ภรรยา ประพฤติกดขี่สามีผู้

สมบูรณ์ด้วยความหมั่นเพียรนั้น แล้วกระทำสามีนั้นให้อยู่ในภายใต้

อำนาจตน. บทว่า ปโมทติ ความว่า ย่อมเป็นผู้ชื่นชมปราโมทย์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 202

บทว่า โกเลยฺยกา ความว่า เพียบพร้อมด้วยสกุล. บทว่า ปติพฺพตา

ได้แก่ ปติเทวตา เป็นผู้มีสามีดังเทวดา. บทว่า วธทณฺฑตชฺชิตา

ความว่า ภรรยา ผู้อันสามีถือท่อนไม้. ด้วยการฆ่า กล่าวว่า

ข้าจะฆ่าเจ้าเองดังนี้. บทว่า ทาสีสม ความว่า นางสุชาดากราบทูล

ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นทาสี

ผู้บริบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติสามีดังนี้ แล้วตั้งอยู่ในสรณะทั้ง ๓.

จบ อรรถกถาภริยาสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 203

๑๑. โกธนาสูตร

[๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ เป็นความ

มุ่งหมายของตนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็น

ข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ธรรม ๗ ประการ

เป็นไฉน ก่อนภิกษุทั้งหลาย คนผู้เป็นข้าศึกกันในโลกนี้ย่อม

ปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้มีผิวพรรณ

ทรามเถิดหนอ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกันย่อม

ไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีผิวพรรณงาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คนผู้โกรธ ถูกความโกรธ ครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะอาบน้ำ ไล้ทา

ตัดผม โกนหนวด นุ่งผ้าขาวสะอาดแล้วก็ตาม แต่ถูกความโกรธ

ครอบงำแล้ว ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ เป็นผู้ความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็น

ความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชาย

มีความโกรธ.

อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคน

ที่เป็นข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้พึงนอนเป็นทุกข์เถิดหนอ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมไม่ยินดีให้คนที่

เป็นข้าศึกกันอยู่สบาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความ

โกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะนอนบนบัลลังค์อันลาดด้วยผ้า

ขนสัตว์ ลาดด้วยผ้าขาวเนื้ออ่อน ลาดด้วยเครื่องลาดแล้วอย่างดีทำด้วย

หนังชะมด มีผ้าดาดเพดาน มีหมอนหนุนศีรษะหนุนเท้าแดงทั้งสอง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 204

ข้างก็ตาม แต่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมนอนเป็นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ เป็นความมุ่งหมายของ

คนเป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อม

มาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ.

อีกประการหนึ่ง คนเป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็น

ข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามีความเจริญเลย ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็น

ข้าศึกกันมีความเจริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความ

โกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะถือเอาสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ก็สำคัญว่า

เราถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ แม้ถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็

สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ธรรมเหล่านี้อันคนผู้โกรธ

ถูกความโกรธครอบงำถือเอาแล้ว เป็นข้าศึกแก่กันและกัน ย่อม

เป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช้ประโยชน์เกื้อกูล. เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ เป็นความมุ่งหมายของตน

ผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อม

มาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ.

อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้

เป็นข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ข้อให้บุคคลผู้นี้อย่ามีโภคะเลย ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะคนที่เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็น

ข้าศึกกันมีโภคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธถูกความโกรธ

ครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะมีโภคะที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร

สั่งสมได้ด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 205

ได้มาโดยธรรม พระราชาทั้งหลายย่อมริบโภคะของคนขี้โกรธ

เข้าพระคลังหลวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ เป็น

ความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของตน

เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ.

อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคน

ผู้เป็นข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามียศเลย ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกัน

มียศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครองงำย่ำยีแล้ว

แม้จะได้ยศมาเพราะความไม่ประมาท ก็เสื่อมจากยศนั้นได้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ เป็นความมุ่งหมายของตนผู้

เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของตนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึง

หญิงหรือชายผู้มีความโกรธ.

อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคน

ผู้เป็นข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลนี้อย่ามีมิตรเลย ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะคนที่เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกัน

มีมิตร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยี

แล้ว แม้เขาจะมีมิตรอำมาตย์ ญาติสายโลหิต มิตรอำมาตย์ญาติสาย-

โลหิตเหล่านั้น ก็เว้นเขาเสียห่างไกล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

ธรรมข้อที่ ๖ เป็นความมุ่งหมายของตนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความ

ต้องการของตนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ.

อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคน

ผู้เป็นข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลนี้ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 206

ทุคติ วินิบาต นรก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนที่เป็นข้าศึกกัน

ย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันไปสุคติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คนผูโกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว ย่อมประพฤติทุจริต

ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๗ เป็นความ

มุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึก

กัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน

เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชาย

ผู้มีความโกรธ.

คนโกรธมีผิวพรรณทราม ย่อมนอนเป็น

ทุกข์ ถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว กลับปฏิบัติ

สิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ ทำปาณาติบาตด้วยกาย

และวาจา ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์ ผู้มัวเมา

เพราะความโกรธ ย่อมถึงความไม่มียศ ญาติมิตร

และสหาย ย่อมเว้นคนโกรธเสียห่างไกล คนผู้

โกรธย่อมไม่รู้จักความเจริญ ทำจิตให้กำเริบ ภัย

ที่เกิดมาจากภายในนั่น คนผู้โกรธย่อมไม่รู้สึก

คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ ไม่เห็นธรรม ความโกรธ

ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมี

ไม่ขณะนั้น คนผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยาก

เหมือนทำได้ง่าย ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว เขา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 207

ย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้ คนผู้โกรธย่อม

แสดงความแก้อยากก่อน เหมือนไฟแสดงควัน

ก่อน ในกาลใด ความโกรธเกิดขึ้น คนย่อมโกรธ

ในกาลนั้น คนนั้นไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปปะ และไม่

มีความเคารพ คนที่ถูกความโกรธครอบงำย่อม

ไม่มีความสว่างแม้แต่น้อยเลย กรรมใดยังห่าง

ไกลจากธรรม อันให้เกิดความเดือดร้อน เราจัก

บอกกรรมเหล่านั้น เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น

ไปตามลำดับ คนโกรธฆ่าบิดาก็ได้ ฆ่ามารดาของ

ตนก็ได้ ฆ่าพระขีณาสพก็ได้ ฆ่าปุถุชนก็ได้ ลูก

ที่มารดาเลี้ยงไว้จนได้ลืมตาดูโลกนี้ ลูกเช่นนั้น

กิเลสหยาบช้า โกรธขึ้นมาย่อมฆ่าแม้มารดานั้นผู้

ให้ชีวิตความเป็นอยู่ได้ จริงอยู่ สัตว์เหล่านั้นมี

ตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบ เพราะคนเป็นที่รัก

อย่างยิ่ง คนโกรธหมกมุ่นในรูปต่าง ๆ ย่อมฆ่า

ตัวเองได้เพราะเหตุต่าง ๆ ย่อมฆ่าตัวเองด้วยดาบ

บ้าง กินยาพิษบ้าง เอาเชือกผูกคอตายบ้าง โดด

เขาตายบ้าง คนเหล่านั้นเมื่อกระทำกรรมอันมีแต่

ความเสื่อมและทำลายตนก็ไม่รู้สึกความเสื่อม

เกิดแต่โกรธ ตามที่กล่าวมานี้ เป็นบ่วงของมัจจุ-

ราช มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย บุคคลผู้มักโกรธ มีการ

ฝึกตน คือปัญญา ความเพียรและสัมมาทิฏฐิ พึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 208

ตัดความโกรธนั้นขาดได้ บัณฑิตพึงตัดอกุศลธรรม

แต่ละอย่างเสียให้ขาด พึงศึกษาในธรรมเหมือน

อย่างนั้น เธอทั้งหลายปรารถนาอยู่ว่า ขอความ

เป็นผู้ปราศจากความโกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ

ปราศจากความโลภ ไม่มีความริษยา ฝึกฝนตน

แล้ว ละความโกรธได้ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จัก

ปรินิพพาน.

จบ โกธนาสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาโกธนาสูตรที่ ๑๑

โกธนาสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สปตฺตกนฺตา ได้แก่ เป็นที่ชอบใจ คือเป็นที่รัก ของผู้

เป็นข้าศึก ผู้มีเวรต่อกัน คือเป็นผู้ตั้งอยู่ในภาวะที่ข้าศึกเหล่านั้น

ปรารถนาแล้ว. บทว่า สปตฺตการณา ได้แก่ เป็นเหตุแห่งประโยชน์

อำนาจความโกรธ. บทว่า ปจุรตฺถตาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์เป็น

อันมาก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลมาก. บทว่า อนตฺถปิ ได้แก่ แม้ซึ่ง

ความไม่เจริญ. บทว่า อตฺโถ เม คหิโต ความว่า เรายึดเอาแต่

ความเจริญ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 209

บทว่า อโถ อตฺถ คเหตฺวา ความว่า อนึ่ง ครั้นถือเอาความ

เจริญได้แล้ว. บทว่า อนตฺถ ปฏิปชฺชติ ความว่า ย่อมกำหนดว่า

เราถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แล้ว. บทว่า อธ กตฺวาน ความว่า

กระทำกรรมคือปาณาติบาตแล้ว. บทว่า โกธสมฺมทสมฺมตฺโต

ความว่า ผู้เมาแล้วด้วยความเมาคือความโกรธ. อธิบายว่า ผู้มี

ความเมาอันตนยึดถือจับต้องแล้ว. บทว่า อายสกฺย ได้แก่ ซึ่งความ

ไม่มียศ อธิบายว่า เป็นผู้หายศมิได้ คือเป็นผู้ไรยศ บทว่า อนฺตรโต

ชาต ได้แก่ เกิดขึ้นแล้วในภายใน. บทว่า อตฺถ น ชานาติ ความว่า

ไม่รู้จักประโยชน์คือความเจริญ. บทว่า ธมฺม น ปสฺสติ ความว่า

ย่อมไม่เห็นธรรม คือสมถะและวิปัสสนา. บทว่า อนฺธตม ความว่า

ความมืดอันกระทำความบอด. หรือความมืดตื้อ. บทว่า สหเต ได้แก่

ย่อมครอบงำ. บทว่า ทุมฺมงฺกุย ความว่า ซึ่งความเก้อยาก คือ

ซึ่งความเป็นผู้ไม่มีอำนาจ คือ ความเป็นผู้มีหน้าถอดสี. สองบทว่า

ยโต ปตายติ ความว่า บังเกิดเมื่อใด. บาทพระคาถาว่า น วาโจ

โหติ คารโว ความว่า แม้ถ้อยคำก็ไม่น่าเป็นที่เคารพ. บาทพระคาถา

ว่า น ทีป โหติ กิญฺจน ความว่า ขึ้นชื่อว่า ที่พึ่งไร ๆ ย่อมไม่มี.

บทว่า ตปนิยานิ ได้แก่กรรมอันทำความเดือดร้อนให้เกิด. บทว่า

ธมฺเมหิ ได้แก่ ด้วยธรรมคือสมถะและวิปัสสนา. บทว่า อารกา

แปลว่า ในที่ไกล. บทว่า พฺราหฺมณ ได้แก่ซึ่งพราหมณ์ คือพระขีณาสพ.

บทว่า ยาย มาตุ ภโต ความว่า ผู้อันมารดาใดเลี้ยง คือ บำรุง

เลี้ยงแล้ว. บทว่า ปาณททึ สนฺตึ ได้แก่ ผู้ให้ชีวิตอยู่. บทว่า หนฺติ

กุทฺโธ ปุถุตฺตาน ความว่า บุคคลผู้โกรธแล้วย่อมฆ่าตัวเอง ด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 210

เหตุผลต่าง ๆ เป็นอันมาก. บทว่า นานารูเปสุ มุจฺฉิโต ความว่า

เป็นผู้หมกมุ่นแล้วในอารมณ์ต่าง ๆ.บทว่า รชฺชุยา พชฺฌ มียฺยนติ

ความว่า ใช้เชือกผูกคอตาย. บทว่า ปพฺพตามปิ กนฺทเร ความว่า

กระโดดซอกภูเขาตายก็มี. บทว่า ภูตหจฺจานิ ความว่า กำจัด

ความเจริญเสียแล้ว. ศัพท์ว่า อิตาย ตัดบทเป็น อิติ อย. บทว่า

ต ทเมน สมุจฺฉินฺเท ความว่า พึงตัดความโกรธได้ด้วยทมะความฝึก

ตน. ถามว่า ด้วยทมะ ข้อไหน?. ตอบว่า ด้วย ทมะ คือ ปัญญา

วิริยะ และทิฏฐิ. บทว่า ปญฺาวิริเยน ทิฏิยา ความว่า ด้วยปัญญา

อันปยุตด้วยวิปัสสนา และด้วยสัมมาทิฏฐิในมรรคนั่นแหละ. บทว่า

ตเถว ธมฺเม สิกฺเขถ ความว่า บุคคลพึงตัดอกุศลเสียได้ โดยประการ

ใด พึงศึกษาแม้ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา โดยประการนั้น

นั่นแล. บทว่า มาโน ทุมฺมงฺกุย อหุ ความว่า ปรารถนาประโยชน์

นี้ว่า ขอความเป็นผู้เก้อยาก อย่าได้มีแล้วแก่เราทั้งหลาย. ความว่า

อนายาสา ได้แก่ ไม่มีความคับแค้น. บทว่า อนุสฺสุกฺกา ความว่า

ไม่ถึงความขวนขวายในที่ไหน ๆ คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่าย

ทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาโกธนาสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 211

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัพยากตสูตร ๒. ปริสคติสูตร ๓. ติสสสูตร ๔. สหสูตร

๕. รักขิตสูตร ๖. กิมมิลสูตร ๗. สัตตธรรมสูตร ๘. โมคคัลลานะสูตร

๙. ปุญญวิปากสูตร ๑๐. ภริยาสูตร ๑๑. โกธนาสูตร

จบ อัพยากตวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 212

มหาวรรคที่ ๗

๑. หิริสูตร

[๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีหิริและโอตตัปปะ

อินทรีย์สังวรของบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ย่อมมีนิสัยถูก

กำจัด เมื่อไม่มีอินทรีย์สังวร ศีลของบุคคลผู้มีอินทรีย์สังวรวิบัติ

ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด เมื่อไม่มีศีล สัมมาสมาธิของบุคคลผู้มี

ศีลวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด เมื่อไม่มีสัมมาสมาธิ ยถาภูตญาณ-

ทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด

เมื่อไม่มียถาภูตญาณทัสสนะ นิพพิทาและวิราคะ ของบุคคลผู้มี

ยถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด เมื่อไม่มีนิพพิทา

และวิราคะ วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ

ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้

มีกิ่งและใบวิบัติ กะเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ดีของ

ต้นไม้นั้นย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

มีหิริและโอตตัปปะ อินทรีย์สังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริ

และโอตตัปปะ ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เมื่อมีอินทรีย์สังวร ศีล

ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์สังวร ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

เมื่อมีศีล สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมสมบูรณ์

ด้วยอุปนิสัย เมื่อมีสัมมาสมาธิ ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคล

สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เมื่อมียถา-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 213

ภูตญาณทัสสนะ นิพพิทาและวิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย

ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เมื่อมีนิพพิทา

และวิราคะ วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทา

และวิราคะ ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบ

เหมือนต้นไม้สมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบ กะเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้

ก็ดี แก่นก็ดี ของต้นไม้นั้น ย่อมถึงความสมบูรณ์ ฉะนั้น.

จบ หิริสูตรที่ ๑

อรรถกถาหิริสูตรที่ ๑

หิริสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า หตูปนิโส ได้แก่ มีเหตุถูกกำจัดแล้ว มีปัจจัยถูกตัดแล้ว.

บทว่า ยถาภูตาณทสฺสน ได้แก่ วิปัสสนาอย่างอ่อน. บทว่า

นิพฺพิทาวิราโค ได้แก่วิปัสสนามีกำลัง และมรรค. บทว่า วิมุตฺติ-

าณทสฺสน ได้แก่ อรหัตตวิมุติ และปัจจเวกขณญาณ

จบ อรรถกถาหิริสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 214

๒. สุริยสูตร

[๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพ-

ปาลีวัน ใกล้พระนครเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็น

กำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขาร

ทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐

โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐

โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีกาลบางคราว

ที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝน

ไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา

เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง

ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลาย

กำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไป

แห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์

ดวงที่ ๒ ปรากฏ แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ

ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง... ควรหลุดพ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วง

ไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 215

ที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี

สรภู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง... ควรหลุดพ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไป

แห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๔

ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือ

แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ

ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพ

ไม่เที่ยง... ควรหลุดพ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไป

แห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๕

ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี ๒๐๐ โยชน์ก็ดี ๓๐๐

โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐ โยชน์ก็ดี ๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐

โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาล

ก็มี ๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่วต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้นตาลก็มี ๒ ชั่ว

เพียงเอว เพียงเข่า เพียงแต่ข้อเท้า เพียงในรอยเท้าโค ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้น ๆ

เปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่

ในรอยเท้าโคในที่นั้น ๆ ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ

เปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่

ในรอยเท้าโคในที่นั้น ๆ ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 216

น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่มี ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง... ควรหลุดพ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไป

แห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๖

ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น

เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่ง

ขึ้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพ

ไม่เที่ยง... ควรหลุดพ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลนางครั้งบางคราว โดยล่วงไป

แห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๗

ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง

มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขสิเนรุไฟเผา

ลุกโชน ลมหอบเอาเปลวไฟฟุ้งไปจนถึงพรหมโลก เมื่อขุนเขาสิเนรุ

ไฟเผาลุกโชนกำลังทะลาย ถูกกองเพลิงใหญ่เผาท่วมตลอดแล้ว

ยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์

๕๐๐ โยชน์ ย่อมพังทะลาย เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุถูก

ไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า เปรียบเหมือนเมื่อ

เนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า

ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง

ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควร

หลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ใครจะรู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 217

ใครจะเชื่อว่า แผ่นดินนี้และขุนเขาสิเนรุจักถูกไฟไหม้พินาศไม่

เหลืออยู่ นอกจากอริยสาวกผู้มีบทอันเห็นแล้ว (โสดาบัน).

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อสุเนตตะ

เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ศาสดาชื่อสุเนตตะ

นั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย เธอแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อ

ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก และเมื่อสุเนตตศาสดา

แสดงธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก สาวก

เหล่าใดรู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป

ก็เข้าถึงสุคติพรหมโลก ส่วนสาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคำสอน

ได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป บางพวกเข้าถึงความ

เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี บางพวกเข้าถึงความเป็น

แห่งเทวดาชั้นดุสิต บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา

ชั้นยามา บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์

บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช บาง

พวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล บางพวกเข้าถึง

ความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล บางพวกเข้าถึงความเป็น

สหายแห่งคฤหบดีมหาศาล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดามีความคิด

เห็นว่า การที่เราจะพึงเป็นผู้มีสติเสมอกับสาวกทั้งหลายใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 218

สัมปรายภพไม่สมควรเลย ผิฉะนั้น เราควรจะเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้น

ไปอีก ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี

แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป เมื่อโลกวิบัติ

เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เข้าถึงวิมานพรหม

เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มี

อำนาจมาก เกิดเป็ท้าวสักจอมเทวดา ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้า-

จักรพรรดิผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา มีสมุทรทั้ง ๔

เป็นขอบเขต ผู้ได้ชัยชนะสงคราม สถาปนาประชาชนไว้เป็นปึกแผ่น

มั่นคง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง พระราช-

โอรสของพระเจ้าจักรพรรดิ ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัย

ย่ำยีศัตรูได้ พระเจ้าจักรพรรดิ์นั้นทรงปกครองปฐพีมณฑล อันมี

มหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่ต้องใช้อาญา ไม่ต้องใช้ศาตรา ใช้

ธรรมปกครอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุเนตตศาสดานั้นแล มีอายุ

ยืนนานดำรงมั่นอยู่อย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นจาก

ทุกข์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอด

ธรรม ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน คือ อริยศีล ๑ อริยสมาธิ ๑

อริยปัญญา ๑ อริยวิมุติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยศีล อริยสมาธิ

อริยปัญญา อริยวิมุติ เราตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เราถอนตัณหา

ในภพได้แล้ว ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่

ไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 219

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ-

ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและ

วิมุตติอันยิ่ง พระโคดมผู้ทรงพระยศตรัสรู้แล้ว

พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสนา ผู้มีพระจักษุ ทรงรู้ยิ่ง

ด้วยประการดังนี้แล้ว ตรัสบอกธรรม ๔ ประการ

แก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงกระทำที่สุดทุกข์แล้ว

ปรินิพพาน.

จบ สุริยสูตรที่ ๒

อรรถกถาสุริยสูตรที่ ๒

สุริยสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พึงทราบปุเรจาริกกถา ถ้อยคำที่กล่าวนำหน้า แห่งพระสูตร

นี้ ก่อนอื่น เริ่มต้นดังต่อไปนี้ว่า เพราะเหตุที่สัตตสุริยเทศนา

พระอาทิตย์ ๗ ดวง เป็นไปด้วยอำนาจแสดงว่าโลกพินาศด้วย

ไฟกัลป์ ฉะนั้น จึงทรงแสดงว่า สังวัฏฏกัปป์มี ๓, สังวัฏฏสีมามี ๓,

สังวัฏฏมูลมี ๓, โกลหลมี ๓. ปุเรจาริกกถานั้น ได้กล่าวไว้พิสดาร

แล้ว ในปุพเพนิวาสานุสสตินิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. บทว่า

เอตทโวจ ความว่า เพื่อจะทรงแสดงความวิบัติของสังขารทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 220

ทั้งที่มีใจครอง และไม่มีใจครอง ตามอัธยาศัยของภิกษุ ๕๐๐ รูป

ผู้เจริญอนิจจกรรมฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสัตตสุริโยปมสูตร

มีคำเป็นต้นว่า อนิจฺจา ภิกฺขเว สงฺขารา ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจา ความว่า สังขารทั้งหลาย

ชื่อว่า อนิจฺจา ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่ามีแล้ว กลับไม่มี. บทว่า

สงฺขารา ได้แก่ สังขารธรรม ทั้งที่มีใจครองและไม่มีใจครอง

บทว่า อธุวา ความว่า ชื่อว่า ไม่ยั่งยืน เพราะอรรถว่าไม่นาน.

บทว่า อนสฺสาสิกา ความว่า เว้นจากความเบาใจ เพราะมีความ

เป็นของไม่ยั่งยืน. บทว่า อลเมว แปลว่า สมควรแล้ว. บทว่า

อชฺโฌคาฬฺโห ได้แก่ จงลงไปในน้ำ. บทว่า อจฺจุคฺคโต ได้แก่

โผล่ขึ้นแล้วจากหลังน้ำ. บทว่า เทโว น วสฺสติ ความว่า ชื่อว่า

เมฆฝนที่ทำน้ำให้ไหวเป็นอันแรก รวมกันเป็นเมฆฝนกลุ่มก้อนอัน

เดียวกันแล้ว ตกลงในแสนโกฏิจักรวาฬ. ในการนั้น พืชที่งอกออก

มาแล้ว ย่อมไม่กลับเข้าไปยังเรือนพืชอีก. ธรรมกถาที่คาดคะเน

ย่อมถือเป็นประมาณว่า นับตั้งแต่เวลาที่ฝนไม่ตกนั้น น้ำก็งวดลงไป

เหมือนน้ำในธัมมกรกฉะนั้น. ฝนไม่ตกอีกแม้เพียงหยาดเดียว.

ก็เมื่อโลกกำลังพินาศ ตั้งต้นแต่อเวจีมหานรกไป ก็มีแต่ความว่าง

เปล่า. สัตว์ทั้งหลายครั้นขึ้นจากอเวจีมหานรกนั้นแล้ว ก็บังเกิด

ในมนุษย์โลก และในสัตว์ดิรัจฉาน. แม้สัตว์ที่บังเกิดในสัตว์

ดิรัจฉานกลับได้เมตตาในบุตรและพี่น้อง ทำกาละแล้ว บังเกิด

ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. เทวดาทั้งหลายเที่ยวไปทางอากาศ

ร้องบอกกันว่า ที่นี้เป็นที่เที่ยวหามิได้ ทั้งไม่ยั่งยืน พวกท่านจง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 221

เจริญเมตตา เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา กันเถิด ดังนี้. สัตว์

เหล่านั้น ครั้นเจริญเมตตาเป็นต้นแล้ว จุติจากที่นั้นแล้ว ย่อมบังเกิด

ในพรหมโลก.

ในบทว่า พีชคามา มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ พืช ๕ ชนิด ชื่อว่า

พืชคาม. พืชสีเขียว ที่มีรากและใบงอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า

ภูตคาม.

ในบทว่า โอสธติณวนปฺปตโย มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ต้นไม้

ที่เขาใช้ปรุงยารักษาโรค ชื่อว่า โอสธ. ต้นไม้ที่มีแก่นข้างนอก

เช่น ต้นตาล และต้นมะพร้าวเป็นต้น ชื่อว่า ติณะ ต้นไม้ที่เจริญ

ที่สุดในป่า ชื่อว่า วนัปปติ ต้นไม้เจ้าป่า. แม่น้ำน้อยที่เหลือ เว้น

แม่น้ำใหญ่ ๕ สาย ชื่อว่า กุนนที แม่น้ำน้อย. สระเล็ก ๆ มีบึง

เป็นต้น ที่เหลือ เว้นสระใหญ่ ๗ สระ ชื่อว่า กุสุพภะ บ่อน้ำ.

ในบทว่า ทุติโย สุริโย เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ในคราว

ทีมีพระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ดวงหนึ่งขึ้นไป ดวงหนึ่งตก. ในคราวที่มี

พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ดวงหนึ่งขึ้น ดวงหนึ่งตก. ดวงหนึ่งยังอยู่กลาง

(ท้องฟ้า). ในราวที่มีพระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ย่อมตั้งขึ้นเรียงกัน

เป็นลำดับ เหมือนภิกษุ ๔ รูป ผู้เที่ยวไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน

๔ ครอบครัว ยืนอยู่ตามลำดับประตูบ้านฉะนั้น. แม้ที่พระอาทิตย์

ดวงที่ ๕ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ปลุชฺชนฺติ ได้แก่ ขาดตกลง. บทว่า เนว ฉาริกา

ปญฺายติ น มสิ ความว่า เมื่อที่มีประมาณเท่านี้คือ แผ่นดินใหญ่

ในจักรวาฬ ขุนเขาสิเนรุ ภูเขาหิมพานต์ ภูเขาจักรวาฬ กามา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 222

พจรสวรรค์ ๖ ชั้น และพรหมโลกชั้นปฐมฌานภูมิ ที่ถูกไฟไหม้

แล้ว ขี้เถ้าหรือถ่าน แม้เพียงจะหยิบเอาด้วยนิ้วมือ ก็ไม่ปรากฏ.

บทว่า โก มนฺตา โก สทฺธาตา ความว่าใครสามารถจะให้

บุคคลรู้ จะให้เขาเชื่อเรื่องนั้น หรือใครจะเป็นผู้เชื่อเรื่องนั้น. บทว่า

อญฺตร ทิฏฺปเทหิ ความว่า เว้นพระอริยสาวก ผู้โสดาบัน ผู้มีบท

(คือพระนิพพาน) อันตนเห็นแล้วอธิบายว่า ใครเล่าจักเชื่อคนอื่นได้

บทว่า วีตราโค ความว่า ผู้ปราศจากราคะ ด้วยอำนาจวิกขัมภน-

ปหาน (ละได้ด้วยการข่ม) บทว่า สาสน อาชานึสุ ความว่า พระ-

สาวกทั้งหลาย รู้ถึงคำพร่ำสอน คือ ดำเนินตามทาง เพื่อความเป็น

สหายชาวพรหมโลก. บทว่า สมสมคติโย ความว่า ผู้มีคติเสมอกัน

คือมีคติเป็นอันเดียวกัน โดยอาการเป็นอันเดียวกัน ในอัตภาพที่ ๒

บทว่า อุตฺตริ เมตฺต ภเวยฺย ความว่า เราพึงเจริญเมตตาให้ยิ่ง ๆ

ขึ้นไป คือทำใหัประณีต เริ่มต้นแต่ปฐมฌานไปจนถึงฌานหมวด ๓

และฌานหมวด ๔.

บทว่า จกฺขุมา ความว่า พระศาสดา ทรงมีพระจักษุ ๕

ชื่อว่า จักขุมา. บทว่า ปรินิพฺพุโต ความว่า เสด็จปรินิพพาน ด้วย

กิเลสปรินิพพาน ณ โพธิบัลลังก์นั่นเอง. ครั้นพระศาสดาทรงแสดง

อนิจจลักษณะแล้ว ทรงยักเยื้องพระธรรมเทศนาไปอย่างนี้ ภิกษุ

ผู้เจริญอนิจจกรรมฐานทั้ง ๕๐ นั้น ส่งญาณไปตามกระแสเทศนา

บรรลุพระอรหัตแล้ว บนอาสนะที่ตนนั่งนั่นแหละ ดังนี้.

จบอรรถกถาสุริยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 223

๓. นครสูตร

[๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของ

พระราชา ป้องกันไว้ดีด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการ และหาอาหาร

๔ ประการ ได้ตามความปรารถนาโดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ใน

กาลนั้น เรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอกทำอันตราย

ปัจจันตนครของพระราชานั้นไม่ได้ เครื่องป้องกัน ๗ ประการ

เป็นไฉน คือในปัจจันตนครของพระราชา มีเสาระเนียดขุดหลุม

ฝังลึก ไม่หวั่นไหว นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๑ สำหรับ

คุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีคูขุดลึกและกว้าง นี้เป็นเครื่องป้องกัน

นครประการที่ ๒ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันนครประการ

ที่ ๒ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีทางเดินตามคูได้รอบ ทั้งสูงและกว้างนี้

เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๓ สำหรับคุ้มภัยภายในและ

ป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาจ

แหลมยาวและอาวุธคม นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๔

สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง ตั้งกองทัพไว้มาก คือ พลช้าง พลม้า

พลรถ พลธนู กองถือธง กองจัดกระบวนทัพ กองสัมภาระ กอง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 224

เสนาธิการ กองตะลุมบอนเหมือนช้างที่วิ่งเข้าสู่สงคราม กอง

ทหารหาญ กองทหารโลหะ กองเกราะหนัง กองทหารทาส นี้เป็น

เครื่องป้องกันนครประการที่ ๕ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกัน

อันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีทหารยามฉลาดสามารถดี ห้ามไม่ให้

คนที่ไม่รู้จักเข้าอนุญาตให้คนที่รู้จักเข้า นี้เป็นเครื่องป้องกันนคร

ประการที่ ๖ สาหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อม

ก่ออิฐถือปูนดี นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๗ สำหรับ

คุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ปัจจันตนครมีการ

ป้องกันดี ด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้แล.

ปัจจันตนครหาอาหาร ๔ ประการ ได้ตามความปรารถนา

ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก เป็นไฉน คือในปัจจันตนครของพระราชา

มีการสะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้ง

กลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และข้าว-

เหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่ง

ชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก.

อีกประการหนึ่ง มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และ

อปรัณชาติไว้มาก เพื่อความอุ่นไจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุข

แห่งชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 225

อีกประการหนึ่ง มีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น

น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อ

อยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก.

ปัจจันตนคร หาอาหาร ๔ ประการ ได้ตามปรารถนา ได้

โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนคร

ของพระราชาป้องกันไว้ ด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้ และ

อาหาร ๙ ประการได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่

ลำบาก ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรไม่ทำอันตรายได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั้นเหมือนกันแล ในกาลใด อริยสาวก

ประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการ และเป็นผู้มีปกติได้ตาม

ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง

เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เรากล่าวว่ามารผู้มี

บาปทำอันตรายอริยสาวกไม่ได้ สัทธรรม ๗ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นมีศรัทธา เชื่อพระปัญญา

เครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เปรียบเหมือน

ในปัจจันตนครของพระราชา มีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึก ไม่หวั่นไหว

สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีศรัทธาเปรียบเหมือนเสาระเนียด

ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ

บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๑ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 226

อริยสาวกเป็นผู้มีหิริ ละอายต่อกายสุจริต วจีทุจริต มโน-

ทุจริต ละอายต่อการเข้าถึงอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก เปรียบ

เหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีคู (สนามเพลาะ) ทั้งลึกและ

กว้าง สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีหิริเปรียบเหมือน ย่อมละ

อกุศล ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๒.

อริยสาวกมีโอตตัปปะ. สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต

มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการเข้าถึงอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก

เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีทางเดินตามคูได้รอบ

ทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก

ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะ เปรียบเหมือน

ทางเดิน ย่อมละอกุศลธรรม... ย่อมบริหารตนให้บริสุทธิ์นี้เป็น

สัทธรรมประการที่ ๓.

อริยสาวกเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ได้สดับรับฟัง

มาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรม

ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ

พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์

สิ้นเชิง เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสม

อาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาวและอาวุธคม สำหรับคุ้มภัย

ภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้มีสุตะเปรียบเหมือนอาวุธ ย่อมละอกุศลธรรม... บริหาร

ตนให้บริสุทธิ์นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 227

อริยสาวกปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้

กุศลธรรมถึงพร้อม มีกำลังมีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ

ในกุศลธรรม เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา ตั้ง

กองทัพไว้มาก คือพลม้ ฯลฯ กองทหารทาส สำหรับคุ้มภัยภายใน

และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก

มีความเพียร เปรียบเหมือนกองทัพ ย่อมละอกุศลธรรม... บริหาร

ตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๕.

อริยสาวกเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษา

ตนอย่างยิ่ง ย่อมตามระลึกถึงกรรมที่ได้ทำและคำที่ได้พูดแล้ว

แม้นานได้ เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีทหารยาม

ฉลาดสามารถดี ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้า

สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสติเปรียบเหมือนทหารยาม ย่อมละ

อกุศลธรรม... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๖.

อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา

ความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์

โดยชอบ เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกำแพง

ทั้งสูงทั้งกว้างพร้อมด้วยป้อนก่ออิฐถือปูนดี เพื่อคุ้มภัยภายใน

และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก

ผู้มีปัญญาเปรียบเหมือนกำแพงอันพร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี

ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 228

บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๗ อริยสาวก

เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้.

อริยสาวกเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก

ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน

ปัจจุบันเป็นไฉน อริยสาวกสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีสติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เพื่อ

ความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อเป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลง

สู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสม

หญ้า ไม้และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุข

แห่งชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น.

อริยสาวกบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป

มีปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่อ

อยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนใน

ปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และ

ข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจภายใน ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่

เป็นสุขแห่งชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น.

อริยสาวกมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย

นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 229

ความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลง

สู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสม

งา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณณชาติไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้ง

กลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก

ฉะนั้น.

อริยสาวกบรรละจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข

ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ

บริสุทธิ์อยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน

และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา

มีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน

และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น.

อริยสาวกเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก

ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน

ปัจจุบัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วย

สัทธรรม ๗ ประการนี้ และมีปกติได้ตามความปรารถนา ได้

โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่อง

อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้นแล มารผู้มีบาปก็ทำอันตราย

อริยสาวกไม่ได้.

จบ นครสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 230

อรรถกถานคโรปมสูตรที่ ๓

นครสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า ปจฺจนฺติม ได้แก่

นครอันตั้งอยู่ในที่สุดแห่งรัฐ คือปลายเขตรัฐ. ก็การรักษานคร

ในมัชฌิมประเทศ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงไม่ทรงถือเอากิจ

คือรักษานครนั้น. บทว่า นครปริกฺขาเรหิ ปริกฺขิตฺต ความว่า

ประดับตกแต่ง ด้วยเครื่องประดับพระนคร. บทว่า อกรณีย ความว่า

อันข้าศึกภายนอก พึงกระทำไม่ได้ คือ เอาชนะไม่ได้. บทว่า

คมฺภีรเนมา ได้แก่หลุมลึก. บทว่า สุนิขาตา ได้แก่ฝังไว้ดีแล้ว

ก็ชาวพระนคร ย่อมสร้างเสาระเนียดนั้นด้วยอิฐบ้าง ด้วยหินบ้าง

ด้วยไม้แก่นมีไม้ตะเคียนเป็นตนบ้าง เมื่อสร้าง เสาระเนียดนั้น

เพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองพระนคร ก็สร้างไว้ภายนอกพระนคร

เมื่อสร้างเพื่อประโยชน์แก่การตกแต่ง ก็สร้างไว้ภายในพระนคร.

เมื่อทำสาระเนียดนั้นให้สำเร็จด้วยอิฐ ก็ขุดหลุมใหญ่ ฝังลงไป

ในเบื้องบนทำเป็น ๘ เหลี่ยม ฉาบด้วยปูนขาว. เมื่อใดช้างเอางาแทง

ก็ไม่หวั่นไหว เมื่อนั้น เสาระเนียดนั้น ย่อมชื่อว่าฉาบดีแล้ว. เสาระเนียด

แม้จะสำเร็จด้วยเสาหินเป็นต้น เป็นสามีแปดเหลี่ยมเท่านั้น. ถ้าเสา

เหล่านั้นยาว ๘ ศอกไซร้ ก็ฝังลงในหลุมลึกประมาณ ๔ ศอก ข้างนั้น

ประมาณ ๔ ศอก แม้ในเสาระเนียด ยาว ๑๖ ศอก หรือ ๒๐ ศอก

ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็เสาระเนียดทั้งหมด ฝังลงไปข้างล่างครึ่งหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 231

อยู่ข้างบนครึ่งหนึ่ง เสาเหล่านั้น คล้ายเยี่ยวโค เพราะเหตุนั้น

บุคคล ย่อมอาจทำงานได้โดยใช้ไม้เรียบในระหว่างเสาเหล่านั้น

อนึ่งเสาเหล่านั้น เขาทำลวดลายไว้ ยกธงไว้ด้วย. บทว่า ปริกฺขา

ได้แก่ เหมืองที่จัดล้อมไว้. บทว่า อนุปริยายปโต ได้แก่ หนทางใหญ่

ที่เลียบไปกับภายในกำแพง ซึ่งทหารทั้งหลายตั้งอยู่ รบกับเหล่า

ทหารที่ตั้งอยู่ภายนอกกำแพง. บทว่า สลาก ได้แก่อาวุธซัดมีศร

และโตมร เป็นต้น. บทว่า เชวนิก ได้แก่อาวุธที่เหลือ มีอาวุธมีคม

ข้างเดียวเป็นต้น.

บทว่า หตฺถาโรหา ได้แก่ ชนทั้งปวง มีอาจารย์ฝึกช้าง

หมอรักษาช้าง และคนเลี้ยงช้างเป็นต้น. บทว่า อสฺสาโรหา ได้แก่ ชน

ทั้งปวง มีอาจารย์ผู้ฝึกม้า หมอรักษาม้า และคนเลี้ยงม้าเป็นต้น. บทว่า

ธนุคฺคาหา ได้แก่ ทหารยิ่งธนู. บทว่า เจลกา ได้แก่ เหล่าทหาร

ผู้ถือธงชัยนำหน้าไม่สนามรบ. บทว่า จลกา ความว่า ผู้จัดกระบวน

ทัพอย่างนี้ว่า ตำแหน่งพระราชาอยู่ที่นี่ ตำแหน่งมหาอำมาตย์

ชื่อโน้นอยู่ที่นี่. บทว่า ปิณฺฑทายกา ได้แก่ ทหารใหญ่หน่วยจู่โจม

อธิบาย ได้ยินว่า ทหารเหล่านั้นเข้าไปยังกองทัพแห่งปรปักษ์ ติดเอา

เป็นท่อน ๆ แล้วนำไปเหมือนนำก้อนข้าวไปเป็นก้อน ๆ แล้ว

โดดหนีไป อีกนัยหนึ่ง ทหารเหล่าใด ถือเอาข้าวและน้ำดื่มเข้าไป

ให้แก่กองทหารในกลางสงครามได้ คำว่าบิณฑทายกานั่น เป็นชื่อ

ของทหารแม้เหล่านั้น. บทว่า อุคฺคา ราชปุตฺตา ได้แก่ เหล่าทหาร

ผู้เป็นลูกเจ้า มีสกุลสูง ๆ ชำนาญสงคราม. บทว่า ปกฺขนฺทิโน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 232

ได้แก่ เหล่าทหารที่ถามกันว่า พวกเราจะไปนำเอาศีรษะ หรือ

อาวุธของใครมา ได้รับคำตอบว่า ของทหารคนโน้น ดังนี้แล้ว

ก็โลดแล่นเข้าสู่สงครามนำเอาศีรษะหรืออาจนั้นมาได้. ทหาร

เหล่านี้ ย่อมโลดแล่นเข้าไปเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปักขันทีหน่วยกล้าตาย

ทหารเหล่านั้น ชื่อว่า กล้าหาญมากมาก เหมือนพระยาช้างฉะนั้น.

บทว่า ทานาคา นี้ เป็นต่อของทหารผู้ไม่ยอมถอยกลับ ในเมื่อช้าง

เป็นต้น มาเผชิญหน้ากันอยู่.

บทว่า สูรา ได้แก่เหล่าทหารผู้ที่แกล้วกล้าเป็นเอก แม้

สวมตาข่ายก็สามารถข้ามสมุทรไปได้. บทว่า จมฺมโยธิโน ได้แก่

ทหารผู้ที่สวมเกราะหนัง หรือถือโล่หนังทำการรบ. บทว่า

ทาสกปุตฺตา ได้แก่ทหารทาสในเรือนเบี้ย ผู้มีความรักนายอย่าง

รุนแรง. บทว่า โทวาริโก แปลว่าทหารรักษาประตู. บทว่า

วาสนเลปนสมฺปนฺโน ความว่า กำแพงอันประกอบด้วยการก่ออิฐ

ด้วยการ ช่องทั้งปวง ด้วยการฉาบด้วยปูนขาว อีกอย่างหนึ่ง

ประกอบด้วยก่ออิฐกล่าวคือ กำแพงติดขวากหนาม และฉาบด้วย

ปูนขาวเป็นแท่งทึบเกลี้ยง ทำลวดลายแสดงแถวหม้อเต็มน้ำ ยก

ธงขึ้นไว้. บทว่า ติณกฏฺโทก ความว่า หญ้าที่น้ำมาเก็บไว้

ในที่มากแห่งเพื่อประโยชน์ของสัตว์มีช้างม้าเป็นต้น และเพื่อ

ประโยชน์แก่การมุงบ้าน ไม้ที่นำมากองไว้เพื่อประโยชน์ทำบ้าน

และฟืนหุงต้มเป็นต้น น้ำที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์สูบเข้าเก็บไว้

ในสระโบกขรณี. บทว่า สนฺนิจิต ความว่า ย่อมเป็นอันสะสม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 233

ไว้เป็นอย่างดี ในที่หลายแห่ง เตรียมไว้ล่วงหน้าก่อน บทว่า

อพฺภนฺตราน รติยา ความว่า เพื่อประโยชน์แก่ความอุ่นใจของ

พวกผู้คนที่อยู่ในเมือง. บทว่า อปริตสฺสาย ความว่า เพื่อประโยชน์

ไม่ให้ต้องหวาดสะดุ้ง. บทว่า สาลิยวก ได้แก่ ข้าวสาลีและ

ข้าวเหนียวต่าง ๆ. บทว่า ติลมุคฺคมาสาปรณฺณ ได้แก่ งา ถั่วเขียว

ถั่วเหลือง และอปรัณณชาตที่เหลือ.

บัดนี้เพราะเหตุที่กิจกรรมในพระนครของพระตถาคต

ไม่มี แต่อุปมา มาแล้วอย่างนี้ว่า ก็เราจะแสดงพระอริยสาวก

ให้เป็นเสมือน สัทธรรม ๗ เสมือนเครื่องแวดล้อมพระนคร และ

ฌาน ๔ เสมือนอาหาร ๔ แล้วจำเราจักยักเยื้องเทศนาใส่พระอรหัต

เข้าในฐานะ ๑๑ ฉะนั้นเพื่อจะประกาศเทศนานั้น จึงทรงเริ่มคำมี

อาทิว่า เอวเมว โข ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธมฺเมหิ

แปลว่า ด้วยธรรมอันดี.

บทว่า สทฺโธ ได้แก่ประกอบด้วยความปักใจเชื่อ และ

ด้วยการเชื่อโดยผลประจักษ์ ในความเชื่อ ๒ อย่างนั้น การเชื่อ

ผลแห่งทานและศีลเป็นต้นแล้ว เชื่อในการบำเพ็ญบุญ มีทานเป็นต้น

ชื่อว่า โอกัปปนสัทธา ปักใจเชื่อ. ศรัทธาอันมาแล้วโดยมรรค

ชื่อว่า ปัจจักขสัทธา การเชื่อโดยผลประจักษ์ แม้ในบทว่า ปสาทสัทธา

ก็นัยนี้เหมือนกัน. พึงชี้แจงลักษณะเป็นต้นของศรัทธานั้นให้แจ่มแจ้ง

ความเชื่อนี้ ตามบาลีว่า ดูก่อนมหาบพิตร ศรัทธามีการแล่นไป

เป็นลักษณะ และมีการผ่องใสเป็นลักษณะ ชื่อว่าลักษณะของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 234

ศรัทธา แต่ความเชื่อที่ตรัสโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พึงทราบบุคคลผู้มีศรัทธาเลื่อมใสแล้ว โดยฐานะ ๓ ฐานะ ๓ คือ

เป็นผู้ใคร่เห็นบุคคลผู้มีศีลทั้งหลาย ชื่อว่านิมิตของศรัทธา. ก็อาหาร

คืออะไร ? ก็อาหารตามบาลีนี้ว่า พึงเป็นคำที่ควรกล่าวว่า การฟัง

พระสัทธรรม ย่อมมีด้วยศรัทธา ชื่อว่า อาหารของศรัทธานั้น.

บาลีนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจักเป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่าย

ในรูปอยู่อันใด ธรรมนี้ชื่อว่าเป็นธรรมสมควรแก่ภิกษุผู้บวชด้วย

ศรัทธา นี้ชื่อว่า อนุธรรม ธรรมสมควรแก่ภิกษุนั้น ก็ความที่

ศรัทธานั้นมีกิจมากอย่าง โดยภาวะที่จะเห็นสมด้วยห่อข้าวที่มัดรวม

กันไว้เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศไว้แล้วในพระสูตร

ทั้งหลาย มีอาทิว่า ศรัทธาย่อมรวบรวมไว้ซึ่งเสบียง สิริเป็นที่

มานอนของโภคทรัพย์ทั้งหลาย ศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ของบุรุษ

บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ฝนคือ ตปะย่อมทำพืช คือ

ศรัทธาให้งอกงาม. พระยาช้างคือพระอรหันต์ มีศรัทธาเป็นงวง

มีอุเบกขาเป็นงาอันสะอาด แต่ในนคโรปมสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงศรัทธานี้ ให้เป็นเสมือนเสาระเนียด เพราะตั้งอยู่ด้วยดี

ไม่หวั่นไหว. พึงกระทำการเป็นเครื่องประกอบใหม่ ทุกบทโดยนัย

มีอาทิว่า บทว่า สทฺเธสิโก ความว่า พระอริยสาวกกระทำศรัทธา

ให้เป็นดุจเสาระเนียดย่อมละอกุศลได้.

อีกอย่างหนึ่ง ในพระสูตรนี้ สังวร คือความสำรวมในทวาร

ทั้ง ๓ ย่อมสำเร็จผลด้วยหิริและโอตตัปปะ สังวร คือความสำรวมนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 235

จึงจัดเป็นปาริสุทธิศีล ๔. ดังนั้น ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใสพระอรหัตเข้าไว้ในฐานะ ๑๑ แล้ว

ทรงถือเอาเป็นยอดแห่งเทศนา.

จบ อรรถกถานคโรปมสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 236

๔. ธัมมัญญูสูตร

[๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม

๗ ประการ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธัมมัญญู รู้จักธรรม ๑ อัตถัญญู รู้จัก

อรรถ ๑ อัตตัญญู รู้จักตน ๑ มัตตัญยู รู้จักประมาร ๑

กาลัญญู รู้จักกาล ๑ ปริสัญญู รู้จักบริษัท ๑ ปุคคลโรปรัญญู

รู้จักเลือกคบคน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม คือสุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ

คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุ

ไม่พึงรู้จักธรรม คือ สุตตะ... เวทัลละ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น

ธัมมัญญู แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ.... เวทัลละ ฉะนั้นเรา

จึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้.

ก็ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จัก

เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ๆ

หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความ

แห่งภาษิตนี้ ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู แต่เพราะภิกษุ

รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ๆ

ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู

ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 237

ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

รู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ

เพียงเท่านี้ ถ้าภิกษุไม่พึงรู้จักตนว่า เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู

แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ

ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู

ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้.

ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จัก

ประมาณในการรับ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-

เภสัชบริขาร หากภิกษุไม่พึงรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น

มัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต

เสนาสะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า

เป็นมัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู

ด้วยประการฉะนี้.

ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จัก

กาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบ

ความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า

นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นการประกอบความเพียร

นี้เป็นการหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู แต่เพราะ

ภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาล

ประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 238

เป็นกาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู

กาลัญญู ด้วยประการฉะนี้.

ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

รู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ

ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหาอย่างนี้ พึงยืนอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้

พึงนิ่งอย่างนี้ หากภิกษุไม่รู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์... พึง

นิ่งอย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จัก

บริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์... พึงนิ่งอย่างนี้ ฉะนั้น เราเรียกว่า

เป็นปริสัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู

กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้.

ก็ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒ คือ บุคคล ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง

ต้องการเห็นพระอริยะ พวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ บุคคล

ที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคล

ที่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ

บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งต้องการ

จะฟังสัทธรรม พวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลที่ไม่ต้อง

การฟังสัทธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่ต้องการ

ฟังสัทธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่

ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม

พวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังธรรม บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูกติเตียน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 239

ด้วยเหตุนั้น บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรม พึงได้รับความสรรเสริญ

ด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง

ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ บุคคล

ที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคล

ที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ

บุคคลที่ฟ้งแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งพิจารณา

เนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พวกหนึ่งไม่พิจารณาเนื้อความ

แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่

ทรงจำไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความ

แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ

บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก

คือ พวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

พวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่

บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ พึง

ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม

สมควรแก่ธรรม พึงได้รับความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคล

ที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็มี ๒ จำพวก

คือ พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์

ของผู้อื่น พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์

ผู้อื่น บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์

ผู้อื่น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ๆ บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์

ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 240

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒ ฉะนี้แล

ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญู อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ

เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบ ธัมมัญญูสูตรที่ ๔

อรรถกถาธัมมัญญูสูตรที่ ๔

ธัมมัญญูสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กาล ชานาติ ความว่า ย่อมรู้จักกาลอันควรที่มาถึงแล้ว

บทว่า อย กาโล อุทฺเทสสฺส ความว่า นี้เป็นเวลาเรียนพระพุทธ

วจนะ. บทว่า ปริปุจฺฉาย ความว่า เป็นเวลาสงบถามถึงสิ่งที่เป็น

ประโยชน์และไม่เป็นปรโยชน์ เหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า โยคสฺส

ความว่า เพื่อใส่กิจกรรมในการประกอบความเพียร. บทว่า ปฏิสลฺ-

ลานสฺส ความว่า เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่ออยู่ผู้เดียว. บทว่า ธมฺมานุธมฺม-

ปฏิปนฺโน ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น อันเป็น

ธรรมสมควร แก่โลกุตตรธรรม ๙. คำว่า อว โข ภิกฺขุ ปุคฺคล-

ปโรปรญฺญู โหติ ความว่า ภิกษุย่อมเป็นผู้สามารถรู้จักความยิ่ง

และหย่อน คือความกล้าแข็งและอ่อนแอของบุคคลทั้งหลาย ด้วย

ประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาธัมมัญญูสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 241

๕. ปาริฉัตตกสูตร

[๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปาริฉัตตกพฤกณ์แห่ง

เทวดาชั้นดาวดึงส์มีในเหลือง สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์พากัน

ดีใจว่า เวลานี้ต้นปาริฉัตตกพฤกษ์ใบเหลือง ไม่นานเท่าไรก็จัก

ผลัดใบใหม่ สมัยใด ปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลัด

ใบใหม่ สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์พากันดีใจว่า เวลานี้ต้นปาริ-

ฉัตตกพฤกษ์ กำลังผลัดใบใหม่ ไม่นานเท่าไรก็จักผลิดอกออกใบ

สมัยใด ปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลิดอกออกใบแล้ว

สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์พากันดีใจว่า เวลานี้ปาริฉัตตกพฤกษ์

ผลิดอกออกใบแล้ว ไม่นานเท่าไร ก็จักเป็นดอกเป็นใบ สมัยใด

ปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นดอกเป็นใบแล้ว สมัยนั้น

เทวดาชั้นดาวดึงส์พากันดีใจว่า เวลานี้ปาริฉัตตกพฤกษ์เป็นดอก

เป็นใบแล้ว ไม่นานเท่าไรก็จักเป็นดอกตูม สมัยใดปาริฉัตตกพฤกษ์

ของเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นดอกตูมแล้ว สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์

พากันดีใจว่า เวลานี้ ปาริฉัตตกพฤกษ์ออกดอกตูมแล้ว ไม่นาน

เท่าไร จักเริ่มแย้ม สมัยใด ปาริฉัตตกพฤกษ์เริ่มแย้มแล้ว สมัยนั้น

เทวดาชั้นดาวดึงส์พากันดีใจว่า เวลานี้ ปาริฉัตตกพฤกษ์เริ่มแย้ม

แล้ว ไม่นานเท่าไรก็จักบานเต็มที่ สมัยใด ปาริฉัตตกพฤกษ์ของ

เทวดาชั้นดาวดึงส์บานเต็มที่แล้ว สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์พากัน

ดีใจ เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำรุงบำเรออยู่ตลอดระยะ

๕ เดือนทิพย์ ณ ควงแห่งไม้ปาริฉัตตกพฤกษ์ ก็เมื่อปาริฉัตตกพฤกษ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 242

บานเต็มที่แล้ว แผ่รัศมีไปได้ ๕๐ โยชน์ ในบริเวณรอบ ๆ จะส่ง

กลิ่นไปได้ ๑๐๐ โยชน์ตามลม อานุภาพของปาริฉัตตกพฤกษ์

มีดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล สมัยใด อริยสาวก

คิดจะออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือน

ปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์มีใบเหลือง สมัยใด อริย-

สาวกปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็น

บรรพชิต สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือนปาริฉัตตกพฤกษ์ของ

เทวดาชั้นดาวดึงส์ผลัดใบใหม่ สมัยใด อริยสาวกสงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข

เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือนปาริฉัตตกพฤกษ์

ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ผลิดอกออกใบ สมัยใด อริยสาวกบรรลุ

ทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปิติและสุขเกิดแต่

สมาธิอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือนปาริฉัตตกพฤกษ์ของ

เทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นดอกเป็นใบ สมัยใด อริยสาวกมีอุเบกขา

มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ

ตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้

มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือนปาริ-

ฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นดอกตูม สมัยใด อริยสาวก

บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ

โสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสูทธิ์อยู่

สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือนปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 243

ดาวดึงส์เริ่มแย้ม สมัยใด อริยสาวก ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา-

วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา

อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือน

ปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์บานเต็มที่ สมัยนั้น ภุมม-

เทวดาย่อมประกาศให้ได้ยินดีว่า ท่านรูปนี้ มีชื่ออย่างนี้ เป็นสัทธิ-

วิหาริกของท่านชื่อนี้ ออกจากบ้านหรือนิคมชื่อโน้น บวชเป็น

บรรพชิต กระทำให้แจ้งซึ้งเจโตวิมุติ ปัญญวิมุติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ เทวดาชั้นจาตุมหาราช ฟังเสียงแห่งภุมมเทวดา...

เทวดาชั้นดาวดึงส์... เทวดาชั้นดาวดึงส์... เทวดาชั้นดุสิต... เทวดา

ชั้นนิมมานรดี... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี... เทวดาชั้นพรหม

ฟังเสียงแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีแล้ว ย่อมประกาศให้ได้ยินว่า

ทานรูปนี้ มีชื่ออย่างนี้ เป็นสัทธิวิหาริกของท่านผู้นี้ ออกจากบ้าน

หรือนิคมชื่อโน้น บวชเป็นบรรพชิต กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ

ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย

ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยเหตุนี้ เสียงก็ระบือไป

ตลอดพรหมโลกชั่วขณะนั้น ชั่วครู่นั้น อนุภาพของพระขีณาสพ

เป็นดังนี้.

จบ ปาริฉัตตกสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 244

อรรถกถาปาริฉัตตกสูตรที่ ๕

ปาริฉัตตกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปณฺฑุปลาโส ได้แก่ใบไม้แก่ที่หล่น. บทว่า ชาลกชาโต

ได้แก่มีปุ่มใบและดอกเกิดพร้อมกัน ด้วยว่า ปุ่มใบและปุ่มดอก

ของต้นทองหลางนั้น ออกพร้อมกันทีเดียว. บทว่า ขารกชาโต

ความว่า ประกอบแล้วด้วยปุ่มใบอ่อน และปุ่มดอก อันแตกงาม

แต่ตั้งอยู่แยกกันคนละส่วน บทว่า กุฑุมลกชาโต ได้แก่เกิดเป็น

ดอกตูม บทว่า โกกาสกชาโต ความว่า ประกอบด้วยดอกทั้งหลาย

ที่มีหน้าดอกเจือกัน มีท้องดอกใหญ่ ยังไม่บาน (คือแย้ม). บทว่า

สพฺพผาลิผุลฺโล ความว่า บานดีแล้ว โดยอาการทั้งปวง. บทว่า

ทิพฺเพ จตฺตาโร มาเส ความว่า ตลอด ๔ เดือน โดยอายุทิพย์. แต่เมื่อ

นับตามอายุมนุษย์ ย่อมมีอายุถึงเหมือนสองพันปี. บทว่า ปริจาเรนติ

ความว่า เทวดาเหล่านั้น ย่อมบำเรออินทรีย์ทั้งหลายเที่ยวไปข้างโน้น

และข้างนี้ อธิบายว่า ย่อมเด่น ย่อมร่าเริง.

บทว่า อาภาย ผุฏ โหติ ความว่า ถามที่เท่านี้ เป็นอัน

รัศมีต้องแล้ว ก็รัศมีมีของดอกไม้เหล่านั้น ย่อมเป็นเหมือนแสง

แห่งอาทิตย์ทอแสงอ่อน ๆ ใบของดอกไม้เหล่านั้น มีขนาดเท่าร่ม

ใบไม้ ภายในดอกมีละอองเกษรขนาดทนานใบใหญ่. แต่เมื่อต้น

ปาริฉัตตกะดอกบานแล้ว ไม่ต้องมีกิจในการขึ้นต้น ไม่มีกิจเอาไม้

สอยให้ลงมา ไม่ต้องเอาผอบเพื่อนำดอกไม้มา ลมสำหรับจะตัด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 245

ก็เกิดขึ้น ตัดดอกไม้จากขั้ว ลมสำหรับก็จะรับดอกไม้ไว้ ลม

สำหรับส่งก็จะส่งสู่เทวสภา ชื่อสุธรรมา. ลมสำหรับกวาดก็จะนำ

ดอกไม้เก่า ๆ ออกไปเสีย. ลมปูลาด ก็จะโรยใบกลีบและเกษร

ดอกปูลาดไว้ ก็จะมีธรรมาศน์อาสนะแสดงธรรมตรงกลาง. อาสนะ

สำหรับท้าวสักกเทวราช ถูกปูลาดถัดจากธรรมาศน์ มีเศวตฉัตร

ขนาด ๓ โยชน์ กั้นอยู่ข้างขนรัตนบัลลังก์ขนาด ๑ โยชน์ ถัดจากนั้น

ก็เป็นอาสนะของเทวบุตร ๓๓ องค์ ต่อจากนั้น ก็เป็นอาสน์ของ

เทวดาผู้มีศักดาใหญ่เหล่าอื่น ถัดจากนั้น กลีบดอกไม้ก็เป็นอาสนะ

สำหรับเทวดาหมู่หนึ่ง ทวยเทพพากันเข้าไปยังเทวสภาแล้วนั่งลง

ลำดับนั้น เกลียวละอองเกษรจากดอกไม้ ฟุ้งขึ้นกระทบกลีบข้างบน

ตกลงมา กระทำให้อัตภาพ ประมาณ ๓ คาวุต ของเทวดาทั้งหลาย

ดุจตกแต่งรดด้วยน้ำครั่ง หรือดุจเลื่อมเหลืองด้วยละอองทองคำ

ฉะนั้น. แต่เทพบางพวก ต่างถือดอกไม้องค์ละดอก แล่นตีกันและกัน

แม้เวลาที่แล่นตีกันละอองเกษรขนาดเท่าทะนานใหญ่ จะฟุ้งกระจาย

ออกกระทำให้สรีระ เป็นเหมือนย้อมด้วยมโนสิลา น้ำชาดเกิดเอง

ด้วยละอองหอมที่มีรัศมี การเล่นกันนั้น ๙ เดือน จึงสิ้นสุดลง

ด้วยอาการอย่างนั้น. บทว่า อยมานุภาโว ความว่า นี้เป็น

อานุภาพ เพื่อแผ่ไปตามลำดับ.

บัดนี้ เพราะเหตุที่พระศาสดาไม่มีพระประสงค์ด้วยต้นไม้

ปาริฉัตตกะ แต่ทรงประสงค์จะทรงแต่งอริยสาวก ๗ จำพวก

เปรียบเทียบกับต้นไม้ปาริฉัตตกะนั้น ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดง

พระอริยสาวกเหล่านั้น จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เอวเมว โข ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 246

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชฺชาย เจเตติ ความว่า

พระอริยสาวก คิดว่าเราจักบวช ดังนี้. บทว่า เทวาน ความว่า

เหมือนของเหล่าเทพ. บทว่า ยาว พฺรหฺมโลกา สทฺโท อพฺภุคฺคจฺฉติ

ความว่า เสียงสาธุการ นับตั้งแต่พื้นแผ่นดิน จนถึงพรหมโลก

เป็นเสียงเดียวกันหมด. บทว่า อยมานุภาโว ความว่า นี้เป็นอานุภาพ

เพื่อการแผ่ไปตามลำดับของภิกษุผู้ขีณาสพ. แต่ในพระสูตรนี้

จตุปาริสุทธิศีล อิงอาศัยบรรพชา, กสิณบริกรรม อิงอาศัยปฐมฌาน,

มรรค ๓ ผล ๓ พร้อมด้วยวิปัสสนา อิงอาศัยอรหัตตมรรค. เทศนา

ย่อมกำหนดได้ อย่างต่ำบ้าง อย่างสูงบ้าง ทั้ง ๒ อย่างบ้าง.

แต่ในพระสูตรนี้ กำหนดทั้ง ๒ อย่าง เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ไว้. ก็ในพระสูตรนี้พึงทราบว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้แล้วโดยย่อ.

จบ อรรถกถาปาริฉัตตกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 247

๖. สักกัจจสูตร

[๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ

เกิดความ. ปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ภิกษุ สักการะ เคารพ อาศัย

อะไรอยู่หนอ จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ลำดับนั้น ท่านคิดเห็น

ดังนี้ว่าภิกษุ สักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่แล จะพึงละ

อกุศล เจริญกุศล ภิกษุ สักการะ เคารพ อาศัยธรรม... อาศัย

สงฆ์... อาศัยสิกขา... อาศัยสมาธิ... อาศัยความไม่ประมาท...

อาศัยปฏิสันถารอยู่แล... จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ท่านคิดเห็น

อีกว่าธรรมเหล่านี้ข้องเราบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงไปกราบทูล

ธรรมเหล่านี้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมเหล่านี้ของเราจักบริสุทธิ์

ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลได้ทองคำแท่งอันบริสุทธิ์

ผุดผ่องเขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า ทองคำแท่งของเรานี้ บริสุทธิ์

ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงนำเอาทองคำแท่งนี้ ไปแสดงแก่นายช่างทอง

ทองคำแท่งของเรานี้ ไปถึงนายช่างทองเข้าจักบริสุทธิ์ และจัก

นับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น.

ลำดับนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์หลีก

ออกเร้นอยู่ในที่ลับเกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ภิกษุ สักการะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 248

เคารพ อาศัยอะไรอยู่หนอ จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ลำดับนั้น

ข้าพระองค์ได้คิดเห็นดังนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระ-

ศาสดาอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล สักการะ เคารพ อาศัย

ธรรม... อาศัยสงฆ์... อาศัยสิกขา... อาศัยสมาธิ... อาศัยความ

ไม่ประมาท... อาศัยปฏิสันถารอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้คิดเห็นดังนี้อีกว่า ธรรม

เหล่านี้ของเราบริสุทธิ์และจักบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้

เปรียบเหมือนบุคคลได้ทองคำแท่งอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เขาจะพึง

คิดเห็นอย่างนี้ว่า ทองคำแท่งของเรานี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้น

เราพึงนำเอาทองคำแท่งนี้ไปแสดงแก่นายช่างทอง ทองคำแท่ง

ของเรานี้ไปถึงนายช่างทองเข้า จักบริสุทธิ์และนับว่าบริสุทธิ์

ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ดีละ ดีละ

ภิกษุ สักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่แล จะพึงละอกุศล

เจริญกุศล ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุ สักการะ เคารพ อาศัยธรรม...

อาศัยสิกขา... อาศัยสงฆ์... อาศัยสมาธิ... อาศัยความไม่ประมาท...

อาศัยปฏิสันถารอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความ

แห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดาร

อย่างนี้ว่า ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา จักเคารพในธรรม ข้อนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 249

ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ชื่อว่าไม่เคารพ

ในธรรมด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม จักเคารพ

ในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา

ในธรรม ชื่อว่าไม่เคารพในสงฆ์ด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา

ในธรรม ในสงฆ์ จักเคารพในสิกขา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ชื่อว่าไม่เคารพ

ในสิกขาด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์

ในสิกขา จักเคารพในสมาธิ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุ

ไม่เคารพในพระศาสนา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าไม่

เคารพในสมาธิด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์

ในสิกขา ในสมาธิ จักเคารพในความไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็น

ฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์

ในสิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าไม่เคารพในความไม่ประมาทด้วย ภิกษุ

ไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ

ในความไม่ประมาท จักเคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ

ที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา

ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพใน

ธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่า

เคารพในธรรมด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม จักไม่

เคารพในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระ-

ศาสดา ในธรรม ชื่อว่าเคารพในสงฆ์ด้วย ภิกษุเคารพในพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 250

ศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักไม่เคารพในสิกขา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ

ที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ชื่อว่า

เคารพในสิกขาด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์

ในสิกขา จักไม่เคารพในสมาธิ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุ

เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าเคารพใน

สมาธิด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา

ในสมาธิ จักไม่เคารพในความไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ

ที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา

ในสมาธิ ชื่อว่าเคารพในความไม่ประมาท ภิกษุเคารพในพระ-

ศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความ

ไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้.

พ. ดูก่อนสารีบุตร ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้ทั่วเนื้อความ

แห่งคำที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ดีแล้ว ดูก่อน

สารีบุตร ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา จักเคารพในธรรม ข้อนี้

ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ชื่อว่าไม่

เคารพในธรรมด้วย ฯลฯ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม

ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักเคารพใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 251

ปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระ

ศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท

ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย.

ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพ

ในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา

ชื่อว่าเคารพในธรรมด้วย ฯลฯ ภิกษุเคารพในพระคาสดา ในธรรม

ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักไม่เคารพใน

ปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา

ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่า

เคารพในปฏิสันถารด้วย ดูก่อนสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความ

แห่งคำที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้. โดยพิสดารอย่างนี้แล.

จบ สักกัจจสูตรที่ ๖

อรรถกถาสักกัจจสูตรที่ ๖

สักกัจจสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปริสุทฺธา จ ภวิสสนฺติ ความว่า ธรรมเหล่านี้จัก

บริสุทธิ์ ไร้มลทิน โดยประมาณอย่างยิ่ง. อักษร ในบทว่า

สกมฺมารคโต นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ถึงช่างทองแล้ว คือ

ถึงเตาของช่างทองแล้ว.

จบ อรรถกถาสักกัจจสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 252

๗. ภาวนาสูตร

[๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา

แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเรา

พึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้น

ย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร

จะพึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร เพราะ

ไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕

พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ เปรียบเหมือน

แม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่

กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ได้ แม้ไก่นั้น แม้จะพึงเกิดความ

ปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้า

หรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง

แต่ลูกไก่เหล่านั้นไม่สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก

เจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะแม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี ฉะนั้น ก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา แม้จะไม่พึงเกิดความ

ปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพันจากอาสวะ

เพราะไม่ถือมั่น ก็จริง จิตของภิกษุนั้น ย่อมหลุดพันจากอาสวะ

เพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร พึงกล่าวได้ว่า เพราะเจริญ

เพราะเจริญอะไร เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 253

หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี

แม้แม่ไก่นั้นจะไม่พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้ลูกของเรา

พึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมา

โดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถใช้เท้าหรือจะงอยปาก

เจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี ฉะนั้น.

เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ รอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด ย่อม

ปรากฏแก่นายช่างไม้หรือลูกมือนายช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า

วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้ เมื่อวานสึกไปเท่านี้ หรือเมื่อ

วานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไป เขาก็รู้ว่าสึกไป

นั่นเทียว ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา

อยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเรา

สิ้นไปเท่านี้ เมื่อวานซืนไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้

แต่ที่จริง เมื่ออาสวะสิ้นไปภิกษุนั้นก็รู้ว่าสิ้นไปนั่นเทียว.

เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะ

แล้วแล่นไปในน้ำตลอด ๖ เดือน ถึงฤดูหนาว เข็นขึ้นบก เครื่องผูก

ประจำเรือตากลมและแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนชะ ย่อม

ชำรุดเสียหาย เป็นของเปื่อยไปโดยไม่ยาก ฉันใด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์ย่อมระงับไป

โดยไม่ยาก ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล.

จบ ภาวนาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 254

อรรถกถาภาวนาสูตรที่ ๗

ภาวนาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนนุยุตฺตสฺส ความว่า เมื่อภิกษุไม่ประกอบเนือง ๆ

และไม่ประกอบทั่วแล้วอยู่. คำว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว กุกฺกุฏิยา

อณฺฑานิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุปมานี้ ไว้เป็นสอง

ประการ คือ ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาว (อกุศลและกุศล)

บรรดาอุปมา ๒ อย่างนั้น อุปมาแห่งธรรมฝ่ายดำ ไม่ทำ

ประโยชนให้สำเร็จ ธรรมฝ่ายขาวทำประโยชน์ให้สำเร็จ เพราะ

เหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบประโยชน์ด้วยอุปมาแห่งธรรมฝ่ายขาว

นั่นแล. ศัพท์ว่า เสยฺยถา เป็นนิบาตใช้ในอรรถแห่งอุปมา. ศัพท์ว่า

อปิ เป็นนิบาตใช้ในอรรถแห่งสัมภาวนะ ยกย่อง พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงว่า เสยฺยาถา นาม ภิกฺขเว ดังนี้.

ก็ในพระบาลีนี้ว่า กุกฺกุฏิยา อณฺฑานิ อฏฺวา ทสวา ทฺวาทส วา

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. แม่ไก่จะมีไข่ขาดหรือเกินโดยประการที่ตรัส

ไว้แล้วก็จริง ถึงกระนั้น พระองค์ก็ตรัสคำนี้ไว้ ก็เพื่อให้ถ้อยคำ

และสลวย. บทว่า ตานสฺสุ ตัดบทเป็น ตานิ อสฺสุ ความว่า ฟองไข่

เหล่านั้นพึงมี. บทว่า กุกฺกุฏิยา สมฺมา อธิสยิตานิ ความว่า เมื่อ

นางไก่เป็นแม่นั้น เหยียดปีกนอนกกบนฟองไข่เหล่านั้น ชื่อว่ากก

แล้วโดยชอบ. บทว่า สมฺมา ปริสพิตานิ ความว่าเมื่อแม่ไก่มีระดู

ตามกำหนดเวลา เป็นอันชื่อว่าให้สุกแล้วโดยรอบด้วยดี อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 255

กระทำให้อุ่นแล้ว. บทว่า สหมาปริภาวิตานิ ความว่า อบโดยรอบ

ด้วยดีตามกำหนดเวลา อธิบายว่า ฟองไข่ได้รับไออุ่นของแม่ไก่.

คำว่า กิญฺจาปิ ตสฺสา กุกฺกุฏิยา ความว่า เพราะแม่ไก่นั้น กระทำ

ความไม่ประมาท โดยการกระทำกิริยา ๓ อย่างนี้ ไม่พึงเกิดความ

ปรารถนา ต่างนั้นก็จริง. บทว่า อถโข ภพฺพาว เต ความว่า ที่แท้

ลูกไก่เหล่านั้นควรเจาะออกไปโดยสวัสดี โดยนัยที่กล่าวแล้ว ก็

เพราะเหตุที่ฟองไข่เพราะนั้นแม่ไก่นั้น ให้ความคุ้มครองด้วยอาการ

๓ อย่างนี้ จึงไม่เน่าเสีย ฟองไข่เหล่านั้นยังมียางสด ยางสดนั้น

ยึดเกาะกะเปาะไข่ ก็บาง ปลายเล็บเท้าและปลายจะงอยปากเป็น

ของแข็ง ลูกไก่ทั้งหลายย่อมขยับขยายได้เอง เพราะกะเปาะไข่เป็น

ของบาง แสงสว่างภายนอก ย่อมปรากฏเข้าสงภายใน ฉะนั้น ลูกไก่

เหล่านั้น พากันคิดว่า พวกเรานอนงอมืองอเท้า อยู่ในที่แคบเป็น

เวลานานหนอ ก็แสงสว่างนี้ย่อมปรากฏอยู่ข้างนอก บัดนี้ พวกเรา

จักอยู่เป็นสุขในที่นี้ ดังนี้ประสงค์จะออกไป จึงทำลายกะเปาะไข่

ยื่นคอออกไป. แต่นั้น กะเปาะไข่ (เปลือกไข่) นั้น ก็แตกออกเป็น

๒ ซีก. ต่อนั้น ลูกไก่เหล่านั้น สลัดปีกพลางส่งเสียงร้องออกไป

ตามสมควรแก่เวลานั้น และเมื่อออกไปได้ก็เที่ยวทำเขตบ้านให้

สวยงาม

คำว่า เอวเมว โข นี้ ท่านกล่าวไว้เป็นคำอุปมา. คำนั้น

พึงทราบได้ก็เพราะเทียบเคียงข้อความอย่างนี้. จริงอยู่การ

กระทำอนุปัสสนา ๓ ว่า ปัญญจขันธ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 256

อนัตตา ในจิตตสันดานของตน ของภิกษุนี้ เปรียบเหมือนการ

กระทำกิริยา มีการนอนกกฟองไข่เป็นต้น ของแม่ไก่นั้น

การไม่ทำวิปัสสนาญาณให้เสื่อม ด้วยการทำวิปัสสนา ๓ ให้ถึง

พร้อม ของภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งวิปัสสนา เปรียบเหมือน

ความไม่เน่าเสียแห่งฟองไข่ ด้วยการกระทำกิริยา ๓ อย่าง ให้ถึง

พร้อมของแม่ไก่. การยึดยางเหนียวคือความใคร่อันติดตามไป

สู่ภพ ๓ ด้วยการทำอนุปัสสนา ๓ ให้ถึงพร้อมของภิกษุนั้น เปรียบ

เหมือนยึดยางเหนียวสด แห่งฟองไข่ทั้งหลาย ด้วยการทำกิริยา ๓

ของแม่ไก่นั้น. ความว่าที่กะเปาะไข่คืออวิชชาเป็นของบาง เพราะ

การทำอนุปัสสนา ๓ ให้ถึงพร้อมของภิกษุ เปรียบเหมือนความที่

กะเปาะฟองไข่เป็นของบาง ด้วยการกระทำกิริยา ของแม่ไก่

ความที่วิปัสสนาญาณ เป็นธรรมชาติกล้าแข็ง ผ่องใสและกล้าแข็ง

เพราะการทำอนุปัสสนา ๓ ให้ถึงพร้อมของภิกษุ เปรียบเหมือน

ความที่เล็บ จะงอยปากของลูกไก่ เป็นของแข็ง ด้วยการกระทำ

กิริยา ๓ ของแม่ไก่ กาลเวลาที่เปลี่ยนแปลง กาลเจริญเติบโต

กาลที่ถือเอาซึ่งห้องแห่งวิปัสสนาญาณ ด้วยทำอนุปัสสนา ๓ ให้

ถึงพร้อมของภิกษุ เปรียบเหมือนการที่ลูกไก่เปลี่ยนแปลงไป

ด้วยการกระทำกิริยา ๓ ของแม่ไก่ กาลที่ภิกษุนั้น ให้จิตถือเอา

ซึ่งห้องแห่งวิปัสสนาญาณ นั่งบนอาสนะ เที่ยวไปอยู่. ย่อมสิ้น

แล้วจึงเที่ยวไป ได้อุตุสัปปายะ โภชนะสัปปายะ บุคคลสัปปายะ

ธัมมสวนสัปปายะ อันสมควรแก่วิปัสสนาญาณนั้น นั่งบนอาสนะ

เดียว เจริญวิปัสสนา ทำลายกะเปาะฟองไข่ คืออวิชชา ด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 257

อรหัตมรรค ที่ตนบรรลุแล้วโดยลำดับ แล้วปรบปีกคืออภิญญาแล้ว

บรรลุพระอรหัตโดยสวัสดี พึงทราบเปรียบเหมือนกาลที่ลูกไก่

ทั้งหลาย ทำลายกะเปาะฟองไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอย

ปาก แล้วปรบปีกเจาะออกไปโดยสวัสดี ด้วยการกระทำกิริยา ๓

ให้ถึงพร้อมของแม่ไก่. เหมือนอย่างว่า แม่ไก่ทราบว่าลูกไก่ทั้งหลาย

เปลี่ยนแปลงแล้ว ย่อมทำลายกะเปาะฟองไข่ ฉันใด แม้พระศาสดา

ก็ฉันนั้น ทรงทราบว่าภิกษุเห็นปานนั้นมีญาณแก่กล้าแล้ว ทรงแผ่

พระรัศมีทำลายกะเปาะฟองไข่ คืออวิชชา ด้วยคาถาโดยนัยมีอาทิว่า

เธอจงถอนเสียซึ่งความเยื่อใยของตน

เหมือนบุคคลเอามือถอนกอโกมุท ในสารทกาล

ฉะนั้น เธอจงพอกพูนทางอันสงบ ด้วยว่าพระ-

นิพพาน อันพระสุคตแสดงไว้แล้ว.

จบคาถา ภิกษุนั้น ทำลายกะเปาะไข่คืออวิชชาแล้วก็บรรลุ

อรหัต. ตั้งแต่นั้นมา ลูกไก่เหล่านั้นก็ทำเข้าบ้านให้งดงาม เที่ยว

อยู่ในเขตบ้านนั้นฉันใด. พระมหาขีณาสพแม้นั้น ก็ฉันนั้น เข้าผล

สมาบัติ ซึ่งมีพระนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว ทำสังฆารามให้งาม

เที่ยวไปอยู่.

บทว่า ทลภณฺฑสฺส ได้แก่ ช่างไม้ ก็ช่างไม้นั้นทรงไว้ซึ่ง

กำลัง กล่าวคือแรงยกหิ้ว นำเอาเครื่องไม้ไป เพราะเหตุนั้น ท่าน

เรียกว่า พลภัณฑะ. บทว่า วาสิชเฏ ได้แก่ในที่ด้ามมีดสำหรับมือจับ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 258

บทว่า เอตฺตก วา เม อชฺช อาสวาน ขีณ ความว่า ก็อาสวะทั้งหลาย

ของบรรพชิต ย่อมสิ้นไปตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยอุเทส ด้วยปริปุจฉา

ด้วยโยนิโสมนสิการ ด้วยวัตรปฏิบัติ โดยสังเขปว่าบรรพชา

อธิบายว่า ก็เมื่ออาสวะทั้งหลายสิ้นไปอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อม

ไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ (อาสวะ) สิ้นไปเท่านี้วานนี้ (อาสวะ) สิ้นไป

เท่านี้ ดังนี้. อานิสงส์แห่งวิปัสสนา ท่านแสดงด้วยอุปมาอย่างนี้.

บทว่า เทมนฺติเกน ความว่า โดยเหมันตสมัย คือ ฤดูหนาว. บทว่า

ปฏิปฺปสฺสมฺภนฺติ ได้แก่ ย่อมเสื่อมไปอย่างถาวร.

ในบทว่า เอวเนว โข นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. พระศาสดา

(คำสอน) พึงเห็นเหมือนมหาสมุทร พระโยคาวจรเหมือนเรือ การ

เที่ยวไปในสำนักของอาจารย์และอุปัชฌาย์ในเวลาที่ตนมีพรรษา

หย่อน ๕ ของภิกษุนี้ เหมือนเรือแล่นวนอยู่ในมหาสมุทร. ความที่

สังโยชน์ทั้งหลายเบาบางลงด้วยกิจมีอุเทสและปริปุจฉา เป็นต้น

นั่นแล โดยสังเขปว่า บรรพชาของภิกษุ เหมือนเครื่องผูกเรือ

อันนำในมหาสมุทรกัดให้กร่อนเบาบางไปฉะนั้น กาลที่ภิกษุผู้เป็น

นิสสยมุตตกะพ้นนิสัย กำหนดกรรมฐานอยู่ในป่า เหมือนเวลา.

ที่เธอถูกเขายกขึ้นไว้บนบก ใยยางคือตัณหา เหือดแห้งไปด้วย

วิปัสสนาญาณ เหมือนเชือกแห้งเกราะไปด้วยลมและแดด ในกลางวัน

ฉะนั้น การชุ่มชื่นแห่งจิตด้วยปีติและปราโมทย์ ที่อาศัยกรรมฐาน

เกิดขึ้น เหมือนเชือกเปียกชุ่มด้วยหยาดน้ำค้างในกลางคืน ความที่

สังโยชน์ทั้งหลาย มีกำลังอ่อนลงเป็นอย่าง ด้วยปีติและปราโมทย์

อันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาญาณ พึงเห็นเหมือนเครื่องผูกเรือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 259

ที่ถูกแดดแผดเผาในกลางวัน และถูกหยาดน้ำค้างเปียกชุ่มอยู่

ในกลางคืนทำไห้เสื่อมสภาพไป. อรหัตตมรรคญาณ เหมือนเมฆฝน

ที่ตกลงมา. ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา เจริญวิปัสสนาด้วยอำนาจ

แห่งอารมณ์มีรูป ๗ หมดเป็นต้น เมื่อกรรมฐานปรากฏชัดแจ่มแจ้ง

อยู่ ได้อุตุสัปปายะเป็นต้นในวันหนึ่ง นั่งโดยบัลลังค์ก็บรรลุพระ-

อรหัตตผล เหมือนเรือนที่ผุภายใน เพราะน้ำฝนที่ตกลงมาและ

น้ำในมหาสมุทร พระอรหันต์ผู้สิ้นสังโยชน์แล้ว อนุเคราะห์

มหาชนอยู่ ดำรงขันธ์ตลอดอายุขัย เหมือนเรือที่เครื่องผูกตั้งอยู่

ชั่วกาลนิดหน่อย พระขีณาสพผู้ปรินิพพานแล้ว ด้วยอนุปาทิเสส-

นิพพพานธาตุ เพราะการแตกแห่งอุปาทินนขันธ์ สังขารที่มีใจครอง

ก็ถึงความหาบัญญัติมิได้ พึงเห็นเหมือนเรือที่เครื่องผูกผุ ก็สลาย

ไปโดยลำดับ หาบัญญัติมิได้ฉะนั้น. ด้วยอุปมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงความที่สังโยชน์ทั้งหลาย มีกำลังอ่อนลง

จบ อรรถกถาภาวนาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 260

๘. อัคคิขันธูปมสูตร

[๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้น-

โกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดำเนินไปสู่ทางไกล

ได้ทอดพระเนตรเห็นไฟกองใหญ่ กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่

ในที่แห่งหนึ่ง จึงเสด็จแวะจากทางประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ใกล้

โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นไฟกองใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง

อยู่หรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน การเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลัง

ลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ กับการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระ-

ราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้า

อ่อนนุ่ม อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือ

นอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี

ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม นี้ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุคคลเข้าไป

นั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง

อยู่เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ

เดือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 261

สกปรกน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็น

สมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติ

พรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไป

นั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาว

คฤหบดี จะประเสริฐอย่างไร การเข้าไปนั่งกอดนอนกอดกองไฟ

ใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะ

การเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึง

เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาติ นรก เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่

นั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความ

ประพฤติสกปรก น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่

ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่า

ประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ

เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือ

บุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่มนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ

ฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา และ

ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษ

มีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปมา

เชือกหนังพึงบาดผิว บาดผิวแล้ว พึงบาดหนัง บาดหนังแล้ว พึง

บาดเนื้อ บาดเนื้อแล้ว พึงตัดเส้นเอ็น ตัดเส้นเอ็นแล้ว พึงตัดกระดูก

ตัดกระดูกแล้ว หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก กับการยินดีการกราบไหว้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 262

แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล

ไหนจะดีกว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้แห่ง

กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า

การที่บุรุษผู้มีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง

แล้วชักไปชักมา เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อใน

กระดูก นี้เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ

เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี

การกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ

คฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาเชือกหนัง

อันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง แล้วชักไปชักมา เชือกหนัง

พึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้น

เป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

เพราะขอนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดัง

หยากเยื่อ ยินดีกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล

หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์

เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น

เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษที่มีกำลัง

เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก กับการยินดีอัญชลีกรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 263

ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล

ไหนจะดีกว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีอัญชลีกรรมของ

กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมพาศาล นี้ดีกว่า

ส่วนการที่บุรุษมีกำลังเอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก

นี้เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ

เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี

อัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี-

มหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษกำลัง เอาหอกอันคมชะโลม

น้ำมัน พุ่งใส่กลางอก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุ เพราะเขา

จะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้น

เมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้น

เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดี

อัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี-

มหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์

สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลังเอาแผ่น

เหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว กับการบริโภค

จีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล

หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 264

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วย

ศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี

มหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง เอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุก

รุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ

เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลนั้นทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ

บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์

มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล. จะดีอย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง

เอาแผ่นเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้ดีกว่า

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย

มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่เขาเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดัง

หยากเยื่อ บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล

พราหมณ์มหาศาล. หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ

ฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น

และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

การที่บุรุษมีกำลังเอาขอเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง

เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง

เข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น

ไหม้คอ ไหม้อก ไหม้เรื่อยไปถึงไส้ใหญ่ไส้น้อย แล้วออกทางทวาร

เบื้องต่ำ กับการบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 265

กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหน

จะดีกว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคบิณฑบาตที่เขา

ถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ

คฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟ

กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง

ไฟกำลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึง

ไหม้ริมฝีปาก... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ

เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ

บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล

พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่

บุรุษมีกำดัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปาก

อ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้า

ในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก... แล้วออกทางทวาร

เบื้องต่ำ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ นั้นพึงถึงความตาย

หรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้า

ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่

บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวาย

ด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี

มหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์

สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 266

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับที่

ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับนอนทับบนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็กแดง

ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง กับการบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวาย

ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี

มหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวาย

ด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี

มหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอแล้ว

ให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์

โชติช่วง นี้เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ

เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ

บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล

พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษ

ผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับหรือนอนทับเตียง

หรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นั้นดีกว่า ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย

มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ

เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ

กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 267

เป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่

บุคคลผู้ทุศีลนั้น ละบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง

โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูก

ไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น นางครั้งลอยขึ้นข้างบน

บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวาง ๆ กับการบริโภค

วิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์-

มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลไหนจะดีกว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภควิหารที่เขาถวาย

ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี

มหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง

โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูก

ไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน

บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวาง ๆ นี้เป็นทุกข์.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอ

เตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ

บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา การที่บุรุษมีกำลัง จับเอา

เท่านั้น เอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์

โชติช่วง ถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำ ในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้ง

ลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอย ไปขวาง ๆ

นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงเข้าถึงความตายหรือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 268

ทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคล

ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา

ข้องกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล

นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบทายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอด

กาลนาน แก่บุคคลผูทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปแล้ว

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

เหตุนั้นแหล่ะ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายบริโภค

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของ

เหล่าใด ปัจจัยของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มากและ

การบรรพชาของเราทั้งหลายจักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล อนึ่ง เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์นั้น ควรแท้ทีเดียว

ที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท เมื่อพิจารณา

เห็นประโยชน์ผู้อื่น ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จ

ด้วยความไม่ประมาท หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสอง

ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์ทั้งสองนั้นสำเร็จด้วยความไม่

ประมาท.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว

และเมื่อกำลังตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุงออกจากปาก

ของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น) ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 269

ลึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผุ้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำได้

แสนยาก อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.

จบ อัคคิขันธูปสูตรที่ ๘

อรรถกถาอัคคิขันโขปมสูตรที่ ๘

อัคคิกขันโธปมพระสูตรที่ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

แล้ว ในเหตุเกิดแห่งเรือง. ก็การเกิดขึ้นแห่งเรื่อง. ก็การแสดงขึ้น

แห่งเรื่อง แห่งพระสูตรนี้ กล่าวไว้แล้วโดยพิสดาร ในจูฬัจฉรา-

สังฆาตสูตร ในหนหลังนั่นแหละ. บทว่า ปสฺสถ โน ตัดบทเป็น

ปสฺสถ นุ แปลว่า เธอทั้งหลาย เห็นหรือหนอ. บทว่า อาลิงฺคิตฺวา

แปลว่า สวมกอด. บทว่า อุปนิสีเทยฺย แปลว่า พึงเข้าไปนั่งใกล้ว.

บทว่า อาโรจยามิ แปลว่า เราจะบอก. บทว่า ปฏิเวทยามิ ความว่า

เราจะกล่าวประกาศเตือนให้ทราบ. บทว่า วาลรชฺชุยา ความว่า

ด้วยเชือกอันบุคคลฟั่นแล้ว ด้วยขนหางม้าและขนหางโค. บทว่า

ปจฺโจรสฺมึ ได้แก่ที่กลายอก. บทว่า เผณุทฺเททก ความว่า ยังฟอง

๑. ปาลิ. ว่า อัคคิขันธูปม.....

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 270

ให้ผุดขึ้น อธิบายว่าให้ตั้งขึ้น. บทว่า อตฺตตฺถ ได้แก่ ประโยชน์อัน

เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ทั้งที่เป็นไปในภพนี้และภพหน้า. แม้ใน

ประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ทั้งสอง ก็นัยนี้เหมือนกัน. คำที่เหลือ

ในพระสูตรนี้ ที่ควรกล่าวทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้ว ในเหตุเกิดแห่ง

เรื่องของจูฬัจฉราสังฆาตสูตรนั่นแล. ก็แล พระศาสดาครั้นตรัส

สูตรนี้แล้ว จึงตรัสจูฬัจฉราสังฆาตสูตร.

จบ อรถกถาอัคคิชันโธปมสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 271

๙. สุเนตตอนุสาสนีสูตร

[๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อว่า

สุเนตตะ เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็สุเนตต-

ศาสดานั้นมีสาวกอยู่หลายร้อยคน เธอแสดงธรรมให้สาวกฟัง

เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก สาวกเหล่าใด เมื่อ

สุเนตตศาสดากำลังแสดงธรรม เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดา

ชั้นพรหมโลก ไม่ยังจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไปได้เข้า

ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อสุเนตตศาสดา

กำลังแสดงธรรม เพื่อครามเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก ยัง

จิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นเมื่อตายไป ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อว่ามูคปักขะ

ฯลฯ ศาสดาชื่อว่าอรเนมิ ฯลฯ ศาสดาชื่อว่าโชติปาละ ฯลฯ ศาสดาชื่อว่า

ชื่อว่าหัตถิปาละ ฯลฯ ศาสดาชื่อว่าโชติปาละ ฯลฯ ศาสดาชื่อว่า

อรกะ เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็อรกศาสดานั้น

มีสาวกอยู่หลายร้อยคน เธอแสดงธรรมให้สาวกฟัง เพื่อความเป็น

สหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก ไม่ยังจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น

เมื่อตายไป ได้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด

เมื่ออรกศาสดากำลังแสดงธรรม เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น

พรหมโลก ยังจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป ได้เข้าถึง

สุคติโลกสวรรค์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 272

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย พึงด่า พึงบริภาษศาสดาเจ้าลัทธิทั้ง ๗ นี้

ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม มีบริวารหลายร้อยคน

พร้อมด้วยหมู่สาวก ผู้นั้นจะพึงประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมากหรือ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย พึงด่า พึง

บริภาษศาสดาเจ้าลัทธิทั้ง ๗ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความ

กำหนัดในกาม มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมด้วยหมู่สาวก ผู้นั้น

พึงประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก แต่ผู้ใดมีจิตประทุษร้ายด่า

บริภาษบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิคนเดียว ผู้นี้ย่อมประสบความ

มิใช่บุญมากกว่านั้นอีก ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเราไม่กล่าว

ความอดทนเห็นปานนี้ โดยเฉพาะในเพื่อนพรหมจรรย์ภายนอกจาก

ธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งสองจักไม่มีจิตประทุษร้ายในเพื่อน

พรหมจรรย์เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้

แล.

จบ สุเจตตอนุสาสนีสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 273

๑๐. อรกานุสาสนีสูตร

[๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อ

อรกะ เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็อรกศาสดานั้น

มีสาวกหลายร้อยคน เธอแสดงธรรมแก่สาวกอย่างนี้ว่า ดูก่อน

พราพมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อยนิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์

มาก มีครามคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำ

กุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย

ไม่มี ดูก่อนพราหมณ์ หยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่ออาทิตย์ขึ้นมา

ย่อมแห้งหายไปได้เร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตมนุษย์ทั้งหลาย

เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้างฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว

ทุกข์ยาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควร

กระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดแล้วจะ

ไม่ตายไม่มี.

ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อฝนตกหนัก หนาเม็ด ฟองน้ำย่อมแตก

เร็ว ตั้งอยู่ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือน

ฟองน้ำ ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความ

คับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควร

ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี.

ดูก่อนพราหมณ์ รอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ ย่อมกลับเข้าหากัน

เร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือน

รอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำฉันนั้นเหมือนกัน.....

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 274

ดูก่อนพราหมณ์ แม่น้ำไหลลงจากภูเขา ไหลไปไกล กระแส

เชี่ยวพัดไปซึ่งสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ไม่มีระยะเวลาหรือชั่วครู่ที่มัน

จะหยุด แต่ที่แท้แม่น้ำนั้นมีแต่ไหลเรื่อยไปถ่ายเดียว แม้ฉันใด ชีวิต

ของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ฉันนั้น

เหมือนกัน....

ดูก่อนพราหมณ์ บุรุษมีกำลัง อมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้น

แล้วพึงถ่มไปโดยง่ายดาย แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบ

เหมือนก้อนเขฬะ. นั้นเหมือนกัน....

ดูก่อนพราหมณ์ ชิ้นเนื้อที่ใส่ไว้ในกะทะเหล็ก ไฟเผาตลอด

ทั้งวัน ย่อมจะย่อยยับไปรวดเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของ

มนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฉันนั้นเหมือน....

ดูก่อนพราหมณ์ แม่โคที่จะถูกเชือด ที่เขานำไปสู่ที่ฆ่า

ย่อมก้าวเท้าเดินไปใกล้ที่ฆ่า ใกล้ความตาย แม้ฉันใด ชีวิตของ

มนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่โคที่จะถูกเชือด ฉันนั้นเหมือนกัน

นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้อง

ได้ด้วยปัญญา ความกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะ

สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุ

ประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงควรแก่การมีสามี

ก็โดยสมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอาพาธ ๖ อย่างเท่านั้น คือ เย็น ร้อน

หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อรกศาสดานั้น เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนตั้งอยู่นาน มีอาพาธน้อย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 275

อย่างนี้ จักแสดงธรรมให้ สาวกฟังอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์

ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความ

คับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควร

ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งทลาย ในปัจจุบันนี้ เมื่อจะกล่าวโดยชอบ

ก็พึงกล่าวว่า ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว

มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมา จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควร

กระทำกุศล ควรประพฤติ พรหมจรรย์ เพราะสัตว์ เกิดมาแล้ว

จะไม่ตายไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันนี้ คนที่มีอายุอยู่

ได้นาน ก็เพียงร้อยปีหรือน้อยกว่านั้นบ้าง เกินกว่าบ้าง ก็คนที่มี

อายุอยู่ถึงร้อยปี ย่อมอยู่ครบ ๓๐๐ ฤดู คือ ฤดูหนาว ๑๐๐ ฤดูร้อน

๑๐๐ ฤดูฝน ๑๐๐ คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๐๐ ฤดู ย่อมอยู่ครบ ๑,๒๐๐

เดือน คือ ฤดูหนาว ๔๐๐ เดือน ฤดูร้อน ๔๐๐ เดือน ฤดูฝน ๔๐๐

เดือน คนที่มีอายุอยู่ถึง ๑,๒๐๐ เดือน ย่อมอยู่ครบ ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน

คือ ฤดูหนาว ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูร้อน ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูฝน ๘๐๐

กึ่งเดือน คนที่มีอายุอยู่ครบ ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน ย่อมอยู่ครบ ๓๖,๐๐๐

ราตรี คือ ฤดูหนาว ๑,๒๐๐ ราตรี ฤดูร้อน ๑,๒๐๐ ราตรี ฤดูฝน

๑,๒๐๐ ราตรี คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๖,๐๐๐ ราตรี ย่อมบริโภคอาหาร

๗๒,๐๐๐ เวลา คือ ฤดูหนาว ๒๔,๐๐๐ เวลา ฤดูร้อน ๒๔,๐๐๐

ฤดูฝน ๒๔,๐๐๐ เวลา พร้อม ๆ กับดื่มนมมารดาและอันตรายแห่ง

การบริโภคอาหาร ใน ๒ ประการนั้น อันตรายแห่งการบริโภค

อาหาร มีดังนี้ คือ คนโกรธย่อมไม่บริโภคอาหาร คนมีทุกข์ก็

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 276

ไม่บริโภคอาหาร คนป่วยไข้ก็ไม่บริโภคอาหาร คนรักษาอุโบสถ

ก็ไม่บริโภคอาหาร เพราะไม่ได้อาหารจึงไม่บริโภคอาหาร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราได้กำหนดอายุ ประมาณแห่งอายุ ฤดู ปี เดือน

กึ่งเดือน ราตรี วัน การบริโภคอาหาร และอันตรายแห่งการ

บริโภคอาหาร ของมนุษย์ผู้มีอายุร้อยปี ด้วยประการดังนี้แล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงปาประโยชน์เกื้อกูล

ผู้อนุเคราะห์เอื้อเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวก กิจนั้นเรากระทำแล้ว

แต่เธอทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง

ขอเธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าต้องเป็นผู้เดือดร้อนใจ

ในภายหลังเลย นี้คืออนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.

จบ อรกานุสาสนีสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาอรกานุสาสนีสูตรที่ ๑๐

อรกานุสาสนีสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปริตฺต ความว่า น้อย คือ น้อยหนึ่ง. จริงอยู่ ชีวิตนั้น

ชื่อว่ามีอยู่นิดหน่อยเท่านั้น เพราะมีกิจหน้าที่นิดหน่อยบ้าง เพราะ

มีชั่วขณะนิดหน่อยบ้าง เพราะดำรงชั่วขณะนิดหน่อยบ้าง. ชีวิต

นั้นชื่อว่าลหุกะ เพราะเกิดเร็ว ดับเร็ว. บทว่า มนฺตาย โผฏฺพฺพ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 277

ความว่า พึงถูกต้องด้วยความรู้ อธิบายว่า พึงรู้ด้วยปัญญา. บทว่า

ปพฺพเตยฺยา ได้แก่ อันเกิดจากภูเขา. บทว่า หารหารินี ความว่า

สามารถจะพัดพาสิ่งที่จะพึงพัดพาไปได้ เช่นต้นไม้ ต้นอ้อ และ

ไม้ไผ่เป็นต้น. คำว่าเหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรถกถาอรกานุสาสนีสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. หริสูตร ๒. สุริยสูตร ๓. นครสูตร ๔. ธัมมัญญูสูตร

๕. ปารฉัตตกสูตร ๖. สักกัจจสูตร ๗. ภาวนาสูตร ๘. อัคคิ-

ขันธูปมสูตร ๙. สุเนตตอนุสาสนีสูตร ๑๐. อรกานุสาสนีสูตร และ

อรรถกถา.

จบ มหาวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 278

วินัยวรรคที่ ๓

[๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗

ประการ เป็นวินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จัก

อาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ เป็น

ผู้มีศีลสำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและ

โคจร มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก

ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑

ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ

ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล.

เป็นวินัยธรได้.

[๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม

๗ ประการ เป็นวินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการนี้เป็นไฉน คือ รู้จัก

อาบัติ ๑ รู้จักอานาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑

จำปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกดีแล้ว ขยายดี

แล้ว วินิจฉัยดีแล้ว ทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ ๑ มีปกติได้

ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมี

ในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ

ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ

ด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นวินัยธรได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 279

[๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗

ประการ เป็นวินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จัก

อาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ หนักอยู่

ในพระวินัยไม่ง่อนแง่น ๑ มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดย

ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุข

ในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึง

อยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ

นี้แล เป็นวินัยธรได้.

[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗

ประการ เป็นวินัยธรได้ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จัก

อาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ ย่อม

ระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง

ของชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้ง

อาการ พร้อมทั้งอุเทส ด้วยประการฉะนี้ ๑ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่

กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม

ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัด

ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ

ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นวินัยธรได้.

[๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗

ประการ เป็นพระวินัยธรงาม ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ

รู้จักอาบัติ ๑ รู้จักอนาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 280

เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ มีปกติได้

ตามปรารถนา ฯลฯ เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้

แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นวินัยธร

งาม.

[๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗

ประการ เป็นวินัยธรงาม ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จัก

อาบัติ ๑ รู้จักอานาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ จำ

ปาติโมกข์ทั้งสองได้แม่นยำโดยพิสดาร จำแนกดีแล้ว ขยายดีแล้ว

วินิจฉัยดีแล้ว ทั้งโดยสูตรและโดยอนุพยัญชนะ ๑ มีปกติได้ตาม

ความปรารถนา ฯลฯ เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้ง

ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรงาม.

[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗

ประการเป็นพระวินัยธรงาม ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จัก

อาบัติ ๑ รู้จักอานาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติ หนัก ๑ หนัก

อยู่ในพระวินัย ไม่ง่อนแง่น ๑ มีปกติได้ตามความปรารถนา ฯลฯ

เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา

วิมุตติ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรงาม.

[๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗

ประการ เป็นพระวินัยธรงาม ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ รู้จัก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 281

อาบัติ ๑ รู้จักอานาบัติ ๑ รู้จักอาบัติเบา ๑ รู้จักอาบัติหนัก ๑ ย่อม

ระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง

สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้ง

อาการ พร้อมทั้งอุเทส ด้วยประการฉะนี้ ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่

กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง

อุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก

ด้วยประการฉะนี้ ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ

เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗

ประการนี้แล เป็นพระวินัยธรงาม.

[๘๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่

ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว

ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี เธอพึงรู้ธรรม

เหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ

คลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ

ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอพึงทรงธรรมเหล่านั้นไว้

โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่เป็นคำสั่งสอน

ของศาสดา อนึ่ง เธอพึงรู้ธรรมเหล่าใดแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็น

ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 282

ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว เธอ

พึงทรงคำธรรมเหล่านี้ไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย

นี้เป็นคำสั่งสอนของศาสดา.

[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗

ประการนี้ เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดแล้ว ๆ ธรรม ๗ ประการ

เป็นไฉน คือ สงฆ์พึงให้สัมมุขาวินัย (สำหรับระงับต่อหน้า) ๑

พึงให้สติวินัย (สำหรับพระอรหันต์ผู้มีสติไพบูลย์) ๑ พึงให้อมูฬห-

วินัย (สำหรับภิกษุบ้า) ๑ ปฏิญญาตกรณะ (ได้ทำการปรับโทษ

ตามคำปฏิญาณ) ๑ เยภุยยสิกา (ปรับโทษถือข้างมากเป็นประมาณ)

๑ ตัสสปาปิยสิกา (ปรับโทษสมกับความผิดแก่ภิกษุจำเลยนั้น) ๑

ติณวัตถารกะ (ตัดสินทำนองกลบหญ้า คือ ทำการประนีประนอม)

๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์ ๗ ประการนี้แล

เพื่อสงบระงับอธิกรณ์ที่เกิดแล้ว ๆ.

จบ วินัยวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 283

วินัยธรวรรคที่ ๘

อรรถกถาปฐมวินัยธรรมสูตรที่ ๑

วรรค ๘ ปฐมวินัยธรสูตรที่ ๑ (ข้อ ๗๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาปตฺตึ ชานาติ ความว่า ย่อมรู้อาบัตินั่นแหละว่า

เป็นอาบัติ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาปฐมวินัยธรสูตรที่ ๑

อรรถกถาทุติยวินัยธรสูตรที่ ๒

ทุติยวินยธรสูตรที่ ๒ ( ข้อ ๗๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สฺวาคตานิ แปลว่า มาดีแล้ว คือ คล่องดีแล้ว. บทว่า

สุวิภตฺตานิ ความว่า แบ่งเป็นส่วนไว้ด้วยดีแล้ว. บทว่า สุปฺปวตฺตินี

ความว่า เป็นไปด้วยดี ในที่ นึกได้ ๆ คือ สวดได้คล่องแม่นยำ

บทว่า สุวินิจฺฉิตานิ แปลว่า วินิจฉัยดีแล้ว. บทว่า สุตฺตโส ได้แก่

โดยวิภังค์. บทว่า อนุพฺพญฺชนโส ได้แก่ โดยขันธกะ และบริวาร.

จบ อรรถกถาทุติยวินัยธรสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 284

อรรถกถาตติยวินัยธรสูตรที่ ๓

ตติยวินยธรสูตรที่ ๓ (ข้อ ๗๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วินเย โข ปน ิโต โหติ ความว่า ตั้งอยู่แล้วในลักษณะ

แห่งวินัย. บทว่า อสหิโส ความว่า ไม่อาจจะให้สละความยึดมั่น

สิ่งที่ยึดไว้แล้ว

จบ อรรถกถาตติยวินัยธรสูตรที่ ๓

อรรถกถาสัตถุสาสนสูตรที่ ๙

สัตถุสาสนสูตรที่ ๙ (ข้อ ๘๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอโก ได้แก่ ไม่มีเพื่อนสอง. บทว่า วูปกฏฺโ ความว่า

หลีกออกไปแล้ว คือ สงัดแล้ว อยู่ไกลแล้ว ทางกายก็จากคณะ

ทางจิตก็จากกิเลสทั้งหลาย. บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ ตั้งอยู่แล้ว

ในความไม่อยู่ปราศสติ. บทว่า ปหิตตฺโต แปลว่า มีตนส่งไปแล้ว.

บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่เพื่อประโยชน์แก่ ความระอาในวัฏฏะ.

บทว่า วิราคาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่ความคลายกิเลสมีราคะ

เป็นต้น. บทว่า นิโรธาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่อันกระทำไม่ให้

เป็นไปได้. บทว่า วปสมาย ได้แก่เพื่อความระงับกิเลส เพื่อเป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 285

ไม่ได้แห่งกิเลส. บทว่า อภิญฺาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่

ความรู้ยิ่ง การยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์. บทว่า สมฺโพธาย ความว่า

เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้ธรรมกล่าวคือ มรรค. บทว่า นิพฺพาทาย

ความว่า เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน.

จบอรรถกถาสัตถุสาสนสูตรที่ ๙

อรรถกถาอธิการณสมถสูตรที่ ๑๐

อธิกรณสมถสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๘๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ธรรมชื่อว่า อธิกรณสนถะ เพราะอรรถว่า ระงับคือ ยัง

อธิกรณ์ให้เข้าไปสงบระงับ. บทว่า อุปฺปนฺนุปฺปนฺนาน แปลว่า

เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเล่า. บทว่า อธิกรณาน ความว่า อธิกรณ์ ๔ นี้

คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑ อาปัตตา-

ธิกรณ์ ๑. บทว่า สมถาย วูปสมาย ความว่า เพื่อสงบ และเพื่อ

เข้าไประงับ. พึงใช้สมถะ ๗ เหล่านี้ คือ สัมมุขาวินัย ๑ สติวินัย ๑

อมุฬหวินัย ๑ ปฏิญญาตกรณะ ๑ เยภุยเยนสิกา ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑

ติณวัตถารกวินัย ๑.

นัยในการวินิจฉัยสมถะเหล่านั้น พึงถือเอาจากอรรถกถา

พระวินัย. อีกอย่างหนึ่ง ในอรรถกถาแห่งสังตีติสูตรในทีฆนิกาย

ก็ได้กล่าวไว้พิสดารแล้วนั้นแล. ในอรรถกถาสามคามสูตร ใน

มัชฌิมนิกาย ก็ได้กล่าวไว้แล้วเหมือนกันแล.

จบ อรรถกถาอธิกรณสมถสูตรที่ ๑๐

จบ วินัยธรวรรคที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 286

พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์เข้าในวรรค

[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะทำลาย

ธรรม ๗ ประการ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ ๑

วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ มานะ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นภิกษเพราะทำลายธรรม ๗ ประการ

นี้แล.

[๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะสงบ

ธรรม ๗ ประการ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยธรรม ๗

ประการ ชื่อว่าเป็นโสตถิกะ (สวัสดี) เพราะเป็นผู้ไม่ร้อยรัดธรรม

๗ ประการ ว่าเป็นนหาตกะ เพราะอาบธรรม ๗ ประการ

ชื่อว่าเป็นเวทคู เพราะรู้ชัดธรรม ๗ ประการ ชื่อว่าเป็นอรหันต์

เพราะเป็นแก่ธรรม ๗ ประการ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ

สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะ ๑ โทสะ ๑

โมหะ ๑ มานะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นอรหันต์ เพราะ

เป็นผู้ไกลธรรม ๗ ประการนี้แล.

[๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้ ๗

ประการเป็นไฉน คือ อสัตบุรุษเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑

ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มีสุตะน้อย ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ มีสติหลงลืม ๑

มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๗ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๗ ประการนี้ ๗ ประการนี้เป็นไฉน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 287

คือสัตบุรุษเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ เป็นพหูสูต ๑

ปรารภความเพียร ๑ มีสติ ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัทธรรม ๗ ประการนี้แล.

[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควร

ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควร

กระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๗ จำพวก

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณา

เห็นว่าไม่เที่ยง มีความสำคัญว่าไม่เที่ยง ตระหนักชัดว่าไม่เที่ยง

ในจักษุ น้อมไปด้วยใจ หยั่งลงด้วยปัญญา ติดต่อสม่ำเสมอไม่

ขาดสาย เธอกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้บุคคลที่ ๑ เป็นผู้ควรของคำนับ... เป็น

นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า

ไม่เที่ยง มีความสำคัญว่าไม่เที่ยง ตระหนักชัดว่าไม่เที่ยงในจักษุ

น้อมไปด้วยใจ หยั่งลงด้วยปัญญา ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย

บุคคลนั้นมีการสิ้นอาสวะและการสิ้นชีวิต ไม่ก่อนไม่หลังกัน นี้

เป็นบุคคลที่ ๒ เป็นผู้ควรของคำนับ...

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า

ไม่เที่ยง...ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็นอันตราปรินิพพายี

เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นี้เป็นบุคคลนี้ ๓ เป็นผู้ควรของ

คำนับ....

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 288

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า

ไม่เที่ยง... ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็นอุปหัจจ-

ปรินิพพายี เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นี้เป็นบุคคลที่ ๔

เป็นผู้ควรของคำนับ....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า

ไม่เที่ยง.... ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็นอสังขาร

ปรินิพพายี เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นี้เป็นบุคคลที่ ๕

เป็นผู้ควรของคำนับ....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า

ไม่เที่ยง... ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็นสสังขาร-

ปรินิพพายี เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นี้เป็นบุคคลที่ ๖

เป็นผู้ควรของคำนับ....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า

ไม่เที่ยง... ติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดสาย บุคคลนั้นเป็นอุทธังโสโต

อกนิฏฐคามี เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นี้เป็นบุคคลที่ ๗

เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ

เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี

เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

[๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกนี้ เป็นผู้ควร

ของคำนับ... ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๗ จำพวกเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่าเป็นทุกข์ในจักษุ...

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 289

พิจารณาเห็นว่าเป็นอนัตตาในจักษุ... พิจารณาเห็นความสิ้นไป

ในจักษุ ... พิจารณาเห็นความเสื่อมไปในจัก ... พิจารณาเห็น

ความคลายไปในจักษุ ... พิจารณาเป็นความดับในจักษุ ... พิจารณา

เห็นความสละคืนในจักษุ ... พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง พิจารณา

เป็นว่าเป็นทุกข์ พิจารณาเห็นว่าเป็นอนัตตา ... พิจารณาเห็น

ความสิ้นไป... พิจารณาเห็นความเสื่อมไป... พิจารณาเห็นความ

คลายไป พิจารณาเห็นความดับ... พิจารณาเห็นความสละคืน

ความคลายไป พิจารณาเห็นความดับ... พิจารณาเห็นความสละคืน

ในหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

ในจักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ

กายวิญญาณ มโนวิญญาณ ในจักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส

ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส ในจักขุสัมผัสสชาเวทนา

โสตสัมผัสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชา-

เวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสชาเวทนา ในรูปสัญญา

สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา

ในรูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา

โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา ในรูปตัณหา สัททตัณหา

คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ในรูปวิตก

สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก ในรูปวิจาร

สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร

ในรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 290

[๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการ อันภิกษุ

พึงเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๗ ประการเป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้

อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ.

[๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการ ภิกษุพึง

เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๗ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑

อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑

วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ดูก่อน

ประการนี้ ภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ.

[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการ ภิกษุพึง

เจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๗ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑ มรณ-

สัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑

อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ.

[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ภิกษุพึง

เจริญเพื่อกำหนดราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อ

ความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ

เพื่อสละ เพื่อสละคืนราคะ ธรรม ๗ ประการ อันภิกษุพึงเจริญ

เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความ

สิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ เพื่อสละ

เพื่อสละคืนโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา

มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 291

ปมาทะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ อันภิกษุพึง

เจริญ เพื่อรู้ยิ่ง... เพื่อสละคืนโทสสะ....

จบ สัตตกนิบาต

อรรถกถาพระสูตรที่ไม่สงเคราะห์เข้าในวรรค

ต่อจากนี้ อีก ๗ สูตร มีอรรถง่ายทั้งนั้น. เพราะในพระสูตร

นี้ สูตรไรๆ ชื่อว่ามีนัยที่ไม่ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังไม่มีเลย ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาสัตตกนิบาต

มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย

รวมปัณณาสก์ในสัตตกนิบาตินี้

๑. ปฐมปัณณาสก์

๒. วรรคที่ไม่สงเคราะห์ในปัณณาสก์

๓. พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์เข้าในวรรค

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 292

อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาติ

ปัณณาสก์

เมตตาวรรคที่ ๑

๑. เมตตสูตร

[๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี

สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ

อันบุคคลเสพแล้วโดยเอื้อเฟื้อ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว กระทำ

ให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง หมั่นเจริญเนือง ๆ สั่งสมไว้

โดยรอบ ปรารภด้วยดี พึงหวังได้อานิสงส์ ๘ ประการ ประการ

เป็นไฉน คือหลับก็เป็นสุข ๑ ตื่นก็เป็นสุข ๑ ไม่ฝันเห็นสิ่งลามก ๑

เป็นที่รักของมนุษย์ ๑ เป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดาย่อมรักษา ๑

ไฟ ยาพิษ หรือศาตราไม่กล้ำกลายผู้นั้น ๑ เมื่อแทงตลอดคุณธรรม

ที่สูงขึ้นไปยังไม่ได้ ย่อมไปบังเกิดในพรหมโลก ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลเสพแล้วโดยเอื้อเฟื้อ เจริญ

แล้ว ทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง หมั่น

เจริญเนือง ๆ สั่งสมไว้โดยรอบ ปรารภด้วยดี พึงหวังได้อานิสงส์

๘ ประการนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 293

ก็ผู้ใดมีสติมั่นคง เจริญเมตตาอันหา

ประมาณมิได้ สังโยชน์ของผู้นั้น ผู้เห็นธรรมเป็น

ที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส ย่อมเบาบาง หากว่าเขา

ไม่มีจิตคิดประทุษร้ายสัตว์แม้สักตัวเดียว เจริญ

เมตตาจิตอยู่ เพราะเจริญเมตตาจิตนั้น ย่อมเป็น

กุศล เขามีใจอนุเคราะห์หมู่สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้

ประเสริฐ กระทำบุญมาก พระราชาผู้ประกอบ

ด้วยธรรมเช่นกับฤาษี ชนะแผ่นดินอันประกอบ

ด้วยหมู่สัตว์ เจริญรอยตามกัน บูชายัญเหล่านี้

คือ สัสสเมธ ความทรงพระราชาในการบำรุง

พืชพันธุ์ธัญญาหาร ปุริสเมธ ทรงพระปรีชาใน

การเกลี้ยกล่อมประชาชน สัมมาปาสะ มีพระ

อัธยาศัยดุจบ่วงคล้องน้ำใจประชาชน วาชเปยยะ

มีพระวาจาเป็นที่ดูดดื่มน้ำใจคน ซึ่งมีผลคือทำให้

นครไม่ต้องมีลิ่มกลอน มหายัญเหล่านั้นทั้งหมด

ยังไม่เทียบเท่าส่วนที่ ๑๖ แห่งเมตตาจิตที่บุคคล

เจริญดีแล้ว ดุจกลุ่มดวงดาวทั้งหมด ไม่เทียบเท่า

แสงจันทร์ ฉะนั้น ผู้ใดมีเมตตาจิตในสรรพสัตว์

ไม่ฆ่า (สัตว์) เอง ไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง

ไม่ใช่ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นย่อมไม่มีเวรกับใคร ๆ.

จบ เมตตาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 294

มโนรถปูรณี

อรรถกถาอังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต

เมตตาวรรคที่ ๑

อรรถกถาเมตตาสูตรที่ ๑

อัฏฐกนิบาต สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาเสวิตาย แปลว่า เสพโดยเอื้อเฟื้อ. บทว่า ภาวิตาย

แปลว่า เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตาย แปลว่า กระทำบ่อย ๆ.

บทว่า ยานีกตาย แปลว่า กระทำให้เป็นดุจยานอันเทียมแล้ว

(ด้วยม้า). บทว่า วตฺถุกตาย แปลว่า กระทำให้เป็นดุจวัตถุที่ตั้ง

เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งไว้. บทว่า อนุฏฺิตาย แปลว่า เข้าไปตั้ง

ไว้เฉพาะ. (คือปรากฏ). บทว่า ปริจิตาย แปลว่า สั่งสมไว้คือ

เข้าไปสั่งสมไว้โดยรอบ. บทว่า สุสมารทฺธาย แปลว่า เริ่มไว้ดีแล้ว

คือกระทำไว้ดีแล้ว. บทว่า อานิสสา ได้แก่ คุณความดี. คำที่จะ

พึงกล่าวในบทว่า สุข สุปติ ดังนี้เป็นต้น ข้าพเจ้าจักกล่าวใน

เอกาทสกนิบาตข้างหน้า.

บทว่า อปฺปมาณ คือไม่มีประมาณโดยการแผ่ไป. บทว่า

ตนู สโยชนา โหนฺติ ปสฺสโต อุปธิกฺขย ความว่า สังโยชน์ ๑๐

อันผู้บรรลุพระอรหัตกล่าวคือ ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิกิเลสโดยลำดับ

ละได้วด้วยวิปัสสนามีเมตตาเป็นปทัฏฐาน (คือเหตุใกล้ที่สุด). อีก

อย่างหนึ่ง บทว่า ตนู สโยชนา โหนฺติ ความว่า ปฏิฆะ และสังโยชน์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 295

อันสัมปยุตด้วยปฏิฆะ. เป็นกิเลสที่เบาบาง. บทว่า ปสฺสโต อปธกฺขย

ความว่า ผู้เห็นอยู่ซึ่งพระอรหัต กล่าวคือ ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิกิเลส

เหล่านั้นแหละด้วยอำนาจบรรลุ. บทว่า กุสล เตน โหติ แปลว่า

ย่อมเป็นกุศลด้วยการเจริญเมตตานั้น. บทว่า สตฺตสณฺฑ ความว่า

ประกอบด้วยชัฏคือหมู่สัตว์ อธิบายว่า เต็มด้วยหมู่สัตว์. บทว่า

ชินิตฺวา ได้แก่ ชนะโดยไม่ใช้อาญา ไม่ใช้สาตรา ใช้ธรรมอย่าง

เดียว. บทว่า ราชิสฺสโย ได้แก่ พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรมเสมือน

พระฤาษี. บทว่า ยชมานา ได้แก่ ให้ทานทั้งหลาย. บทว่า อนุ-

จริยคา แปลว่า เที่ยวไปแล้ว.

ในบทว่า สสฺสเมธ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ได้ยินว่า

ครั้งพระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรมแต่โบราณ มีสัคหวัตถุ ๔ ที่พระ

ราชาทั้งหลายทรงสงเคราะห์โลก คือ สัสสเมธะ ปรุสเมธะ สัมมา-

ปาสะ วาชเปยยะ.

ในสังคหวัตถุ ๔ ประการนั้น การถือเอาส่วนที่ ๑๐ จาก

ข้าวกล้าที่เผล็ดผลแล้ว ชื่อว่า สัสสเมธะ อธิบายว่า ความเป็น

ผู้ฉลาดในการทะนุบำรุงข้าวกล้า. การเพิ่มให้อาหารและค่าจ้าง

เพียงพอใช้ไป ๖ เดือน แก่นักรบใหญ่ทั้งหลาย ชื่อว่า ปุริสเมธะ

อธิบายว่า ความเป็นผู้ฉลาดในการยึดเหนี่ยว (น้ำใจ) คน. การจด

จำนวนคนจนเป็นรายตัว แล้วให้ทรัพย์ประมาณหนึ่งสองพัน

โดยไม่เอาดอกเบี้ยตลอด ๓ ปี ชื่อว่า สัมมาปาสะ ก็การกระทำ

เช่นนั้นย่อมคล้องคนทั้งหลายไว้ได้ดี คือ ตั้งอยู่เหมือนผูกหัวใจไว้

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาปาสะ. การกล่าววาจาอ่อนหวาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 296

โดยนัยเป็นต้นว่า พ่อ, ลุง ชื่อว่า วาชเปยยะ อธิบายว่า ปิยาวาจา

มีวาจาน่ารัก. รัฐที่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการอย่างนี้

ย่อมเป็นรัฐที่เจริญ มั่งคั่ง มีข้าวน้ำสมบูรณ์ ปลอดโปร่ง ปราศจาก

โจรผู้ร้าย. มนุษย์ทั้งหลายรื่นเริงให้ลูกรำอยู่บนอก ไม่ต้องปิด

ประตูบ้านอยู่. นี้เรียกว่า นิรัคคฬะ เพราะไม่ต้องลงสลักที่ประตู

เรือน. นี้เป็นประเพณีโบราณ.

ก็แหละในกาลต่อมา ในสมัยพระเจ้าโอกกากราช พวก

พราหมณ์เปลี่ยนแปลงสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ และสมบัติของรัฐ

อันนี้เสีย กระทำให้ผิดจากของเดิม ทั้งเป็นยัญทั้ง ๕ มี อัสสเมธะ

เป็นต้น. ในยัญ ๕ ประการนั้น ยัญที่ชื่อว่า อัสสเมธะ เพราะฆ่าม้า

ในยัญนั้น. คำว่าอัสสเมธะนั้นเป็นชื่อของยัญที่พึงบูชาด้วยยัญ

อันเป็นบริวาร ๒ อย่าง มี เสายัญ ๒๑ เสา มีการเบียดเบียนเพราะ

การฆ่าปศุสัตว์ ๕๙๗ ตัว เฉพาะในวันสุดท้ายวันเดียว มีสมบัติ

ทั้งปวงไม่เหลือ เว้นที่ดินและคนเป็นทักษิณา. ยัญชื่อว่า ปุริสเมธะ

เพราะฆ่าคนในยัญนั้น. คำว่าปุริสเมธะนั้น เป็นชื่อของยัญที่จะ

บูชาด้วยยัญอันเป็นบริวาร ๔ อย่าง มีสมบัตเหมือนดังกล่าวใน

อัสสเมธะพร้อมด้วยที่ดินเป็นทักษิณ. ยัญชื่อว่า สัมมาปาสะ เพราะ

มีการสอดสลักไม้ในยัญนั้น. คำว่าสัมมาปาสะนี้ เป็นชื่อของ

สัตรยาคบูชา (การบูชายัญที่มีเสายัญและทำหลายวัน ) ที่ใส่สลัก

คือ ท่านไม้ที่สอดเข้าไปในช่องแอกทุก ๆ วัน แล้วทำภูมิที่บูชา

ณ โอกาสที่ไม้สลักนั้นตก แล้วเดินถอยหลังไปตั้งแต่โอกาสที่ ที่

(พระราชาในครั้งก่อน) ดำลงในแม่น้ำสรัสวดี บูชาด้วยเสายัญ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 297

เป็นต้นที่เคลื่อนที่ได้ (ด้วยพาหนะ). ชื่อว่า วาชเปยยะ เพราะ

ดื่มวาชะ (คือเนยใส และน้ำผึ้งเสก) ในยัญนั้น. คำว่า วาชเปยยะนี้

เป็นชื่อของยัญที่ต้องบูชาด้วยปศุสัตว์ ๑๗ ตัว ด้วยยัญบริวาร

อย่างหนึ่ง มีเสายัญเป็นไม้มะตูม อันให้ของที่ประกอบด้วยของ

๑๗ อย่าง เป็นทักษิณา. ชื่อว่า นิรัคคฬะ เพราะไม่มีลิ่มสลัก

ในยัญนั้น คำว่า นิรัคคฬะนี้ เป็นชื่อของอัสสเมธะอีกชื่อหนึ่ง ซึ่ง

มีชื่อโดยอ้อมว่า สัพพเมธะ ซึ่งต้องบูชาด้วยยัญบริวาร ๙ อย่าง

ให้สมบัติดังกล่าวในอัสสเมธะ พร้อมด้วยที่ดินและคนเป็นทักษิณา.

บทว่า กลมฺปิ เต นานุภวนฺติ โสฬฺสึ ความว่า ด้วยว่า

มหายัญทั้งหมดนั้น มีค่าไม่ถึงส่วนที่ ๑๖ อธิบายว่าไม่ถึงส่วนที่ ๑๖

เพราะเมตตาจิตดวงเดียวมีวิบากคือ ผลมาก.

บทว่า น ชินาติ ได้แก่ ไม่ทำความเสื่อมแก่ผู้อื่นด้วยตนเอง.

บทว่า น ชาปเย ได้แก่ ไม่ใช้ผู้อื่นทำความเสื่อมแก่ผู้อื่น. บทว่า

เมตฺสโส ได้แก่ เป็นผู้มีส่วนแห่งสมาธิจิตที่สัมปยุตด้วยเมตตา.

บทว่า สพฺพภูตาน ได้แก่ ในสรรพสัตว์ทั้งหลาย. บทว่า เวร ตสฺส

น เกนจิ ความว่า เขาย่อมไม่มีอกุศลเวร หรือบุคคลเวรกับใคร ๆ.

จบ อรรถกถาเมตตาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 298

๒. ปัญญาสูตร

[๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘

ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์

ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งปัญญา

ที่ได้แล้วแล้ว ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง

ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว

ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อ

ความบริบูรณ์แห่งปัญญาได้แล้ว.

เธออาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง

ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว

ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้านั้นแล้ว เธอเข้าไปหา

แล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่า ข้าแต่ท่านเจริญ ภาษิตนี้

เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้น

ย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

และบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลาย

ประการแก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๒

ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่

ได้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 299

เธอฟังธรรมนี้แล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือ ความ

สงบกายและความสงบจิต ให้ถึงพร้อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

เหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความ

บริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

เธอเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วย

อาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทาน

ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุ

เป็นปัจจัยข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความ

บริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

เธอเป็นพหูสูต ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก

ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรม

ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ

พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความ

พร้อมมูลแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่

ทอดธุระในกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย

ข้อที่ ๖ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่ง

ปัญญาที่ได้แล้ว.

อนึ่ง เธอเข้าประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องต่าง ๆ ไม่พูดเรื่อง

ไม่เป็นประโยชน์ ย่อมแสดงธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 300

บ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อ

ความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

อนึ่ง เธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมใน

อุปาทานขันธ์ ๕ ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้

ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้... สัญญาเป็นดังนี้...

สังขารทั้งหลายเป็นดังนี้... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง

วิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๘ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา

อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงาม

ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

เพื่อพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ท่าน

ผู้มีอายุนี้ อาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง

ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว

ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อม

รู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็น

ไปเพื่อความรัก ความเคารพ ความสรรเสริญ เพื่อการบำเพ็ญ

สมณธรรม เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน.

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุนี้อาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง

ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว

ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้า ท่านได้เข้าไปหาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 301

ไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่า ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร

เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่

ยังไม่เปิดเผย ย่อมทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ทำให้แจ้ง และย่อมบรรเทา

ความสงสัยในธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการ

แก่ภิกษุนั้น ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น

เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก... เพื่อความเป็น

น้ำหนึ่งใจเดียวกัน.

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ได้ฟังธรรมแล้ว ย่อมยังความสงบ ๒ อย่าง คือ

ความสงบกายและความสงบจิตให้ถึงพร้อม ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้

สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ ก็เป็น

ไปเพื่อความรัก... เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน.

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้น อย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุผู้นี้ เป็นผู้มีศีล... สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น

เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก... เพื่อความเป็น

น้ำหนึ่งใจเดียวกัน.

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุผู้นี้ เป็นพหูสูต... แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ท่านผู้มีอายุ

ผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น เป็นแน่แท้ แม้ธรรม

ข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก... เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 302

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ปรารภความเพียร... ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม

ทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น

เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก... เพื่อความเป็น

น้ำหนึ่งใจเดียวกัน.

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุผู้นี้เข้าประชุมสงฆ์... ไม่ดูหมิ่นความนิ่งอย่างพระ-

อริยเจ้า ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็น

เป็นแน่แท้ แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นไปเพื่อความรัก... เพื่อความเป็น

น้ำหนึ่งใจเดียวกัน.

อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมสรรเสริญภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุผู้นี้ ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป

ในอุปาทานขันธ์ ๕... ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ท่านผู้มีอายุ

ผู้นี้ ย่อมรู้สิ่งที่ควรรู้ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็นเป็นแน่แท้ แม้ธรรม

ข้อนี้ก็ย่อมเป็นไปเพื่อความรัก ความเคารพ ความสรรเสริญ

เพื่อการบำเพ็ญสมณธรรม เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไป

เพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความ

งอกงาม ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

จบ ปัญญาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 303

อรรถกถาปัญญาสูตร ที่ ๒

ปัญญาสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยากาย แปลว่า อันเป็นเบื้องต้นแห่ง

มรรคพรหมจรรย์. บทว่า ปญฺาย ได้แก่ วิปัสสนา ปัญญาอัน

เห็นแจ้ง. บทว่า ครุฏฺานิย แปลว่า ผู้ควรแก่ความเป็นครูอันเป็น

ปัจจัยให้เกิดความเคารพ. บทว่า ติพฺพ แปลว่า หนา. บทว่า

ปริปุจฺฉิ ได้แก่ ถามถึงเงือนเบื้องต้นเบื้องปลายแห่งอรรถะบาลี.

บทว่า ปริปญฺหติ ได้แก่ ตั้งปัญหา คือ นึกว่าเราจักถามข้อนี้และ

ข้อนี้. บทว่า ทฺวเยน แปลว่า ๒ อย่าง. บทว่า อนานากถิโก คือ

เป็นผู้ไม่กล่าวเรื่องต่าง ๆ บทว่า อติรจฺฉานกถิโก คือ ไม่กล่าว

ดิรัจฉานกถามีอย่างต่าง ๆ. บทว่า อริย วา ตุณฺหีภาว ความว่า

จตุตถฌาน ชื่อว่า อริยดุษณีภาพ แม้มนสิการกรรมฐานที่เหลือ

ก็ใช้ได้. บทว่า ชาน ชานาติ แปลว่า รู้สิ่งที่ควรรู้. บทว่า ปสฺส

ปสฺสติ แปลว่า เห็นสิ่งที่ควรเห็น. บทว่า ปิยตาย แปลว่า เพื่อ

ต้องการให้เขารัก. บทว่า ครุตาย แปลว่า เพื่อต้องการให้เขาเคารพ.

บทว่า ภาวนาย แปลว่า เพื่อประโยชน์ในเขาชม หรือเพื่อให้เขา

ยกย่อมคุณ. บทว่า สามญฺาย คือ เพื่อประโยชน์แก่สมณธรรม.

บทว่า เอกีภาวาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความไม่ห่างเหินกัน.

จบ อรรถกถาปัญญาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 304

๓. ปฐมอัปปิยสูตร

[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘

ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่

เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สรรเสริญผู้ไม่เป็น

ที่รัก ๑ ติเตียนผู้เป็นที่รัก ๑ มุ่งลาภ ๑ มุ่งสักการะ ๑ ไม่มีความ

ละอาย ๑ ไม่มีความเกรงกลัว ๑ มีความปรารถนาลามก ๑ มีความ

เห็นผิด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘

ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และ

ไม่เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ

เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของ เพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม

๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ไม่สรรเสริญผู้ที่ไม่เป็นที่รัก ๑ ไม่ติเตียนผู้ไม่เป็นที่รัก ๑

ไม่มุ่งลาภ ๑ ไม่มุ่งสักการะ ๑ มีความละอาย ๑ มีความเกรงกลัว ๑

มักน้อย ๑ มีความเห็นชอบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ

และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์.

จบ ปฐมอัปปิยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 305

อรรถกถาปฐมอัปปิยสูตรที่ ๓

ปฐมอัปปิยสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อปฺปิยปสสี แปลว่า เป็นผู้สรรเสริญ คือ กล่าวชม

คนที่ไม่เป็นที่รัก. บทว่า ปิยครหี ได้แก่ นินทา คือ ติเตียนคนที่เป็น

ที่รัก.

จบ อรรถกถาปฐมอัปปิยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 306

๔. ทุติยอัปปิยสูตร

[๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘

ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่

เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ มุ่ง-

สักการะ ๑ มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ ไม่รู้จักกาล ๑ ไม่รู้จักประมาณ ๑

ไม่สะอาด ๑ ชอบพูดมาก ๑ มักด่ามักบริภาษเพื่อพรหมจรรย์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล

ย่อมไม่เป็นที่รัก ฯลฯ และไม่เป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ย่อม

เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของ

เพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มุ่งลาภ ๑ ไม่เป็นผู้มุ่งสักการะ ๑

ไม่เป็นผู้มุ่งความมีชื่อเสียง ๑ เป็นผู้รู้จักกาล ๑ เป็นผู้รู้จักประมาณ ๑

เป็นคนสะอาด ๑ ไม่ชอบพูดมาก ๑ ไม่ด่าไม่บริภาษเพื่อนพรหมจรรย์

๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล

ย่อมเป็นที่รัก ฯลฯ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อนพรหมจรรย์

จบ ทุติยอัปปิยสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 307

อรรถกถาทุติยอัปปิยสูตร ๔

ทุติยอัปปิยสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนวญฺตฺติกาโม ความว่า ไม่ประสงค์ดูหมิ่นว่า

โอหนอ คนอื่นไม่พึงดูหมิ่นเรา. บทว่า อกาลญฺญู ได้แก่ ไม่รู้กาล

หรือมิใช่กาล คือ คือพูดในเวลามิใช่กาล. บทว่า อสุจี ได้แก่ ผู้ประกอบ

ด้วยกายกรรมอันไม่สะอาดเป็นต้น.

จบ อรรถกถาทุติยอัปปิยสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 308

๕. โลกธรรมสูตร

[๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้ ย่อม

หมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ

๘ ประการเป็นไฉน คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความ

เสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และ

โบกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้.

ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ๑

ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา

๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ เป็นสภาพไม่เที่ยง

ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่

ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้น

แล้ว พิจารณาเห็นว่ามีความแปรปรวนเป็น

ธรรมดา ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของ

ท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมย์

ท่านขจัดความยินดีและความยินร้ายเสียได้จนไม่

เหลือติดอยู่ อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศ-

จากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ

ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง.

จบ โลกธรรมสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 309

อรรถกถาโลกธรรมสูตรที่ ๕

ปฐมโลกธรรมสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- โลกธรรม

เพราะเป็นธรรมของโลก. ชื่อว่าคนผู้พ้นจากโลกธรรมเหล่านี้ไม่มี

แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ยังมี เพราะเหตุนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า

โลก อนุปริวตฺตนฺติ ย่อมหมุนไปตามโลก. ความว่า ย่อมติดตามไป

ไม่ลดละ ได้แก่ ไม่กลับจากโลก. บทว่า โลโก จ อฏฺ โลกธมฺเม

อนุปริวตฺตติ ความว่า และโลกนี้ย่อมติดตาม ไม่ละโลกธรรมเหล่านี้

อธิบายว่าไม่กลับจากธรรมเหล่านั้น.

ในบทว่า ลาโภ อลาโภ พึงทราบว่า เมื่อลาภมาถึง ความ

ไม่มีลาภก็มาถึงเหมือนกัน. แม้ในโลกธรรมมี เสื่อมยศเป็นต้น

ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อเวกฺขติ วิปริณามธมฺเม ได้แก่ พิจารณา

อย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้มีความแปรปรวนไม่เป็นธรรมดา. บทว่า

วิธูปิตา ได้แก่ ขจัดแล้ว คือ กำจัดแล้ว. บทว่า ปทญฺจ ตฺวา ได้แก่

รู้บทคือ พระนิพพาน. บทว่า สมฺมปฺปชานาติ ภวสฺส ปราคู ความว่า

ครั้นรู้บทคือ พระนิพพานแล้วย่อมรู้โดยชอบถึงความที่ตนถึงฝั่ง

นั้นแล้ว ในสูตรนี้ ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

จบ อรรถกถาโลกธรรมสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 310

๖. โลกวิปัตติสูตร

[๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล

ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการ

๘ ประการเป็นไฉน คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความ

เสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และ

โลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ประการนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ลาภก็ดี ความเสื่อมลาภก็ดี ยศก็ดี ความเสื่อมยศก็ดี นินทาก็ดี

สรรเสริญก็ดี สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้

จะมีอะไรแปลกกัน มีอะไรผิดกัน มีอะไรเป็นข้อแตกต่างกัน

ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม

ของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล มีพระผู้มี

พระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึงอาศัย ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้

แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรงจำไว้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น

เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 311

ทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด

ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า

ลาภนั้นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ความเสื่อมลาภ... ยศ... ความเสื่อมยศ... นินทา... สรรเสริญ...

สุข... ทุกข์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัด

ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า

ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แม้ลาภ

ย่อมครอบงำจิตของเขาได้ แม้ความเสื่อมลาภ... แม้ยศ... แม้ความ

เสื่อมยศ... แม้นินทา... แม้สรรเสริญ... แม้สุข... แม้ทุกข์ ย่อม

ครอบงำจิตของเขาได้ เขาย่อมยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้าย

ในความเสื่อมลาภ ย่อมยินดียศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ

ย่อมยินดีสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา ย่อมยินดี

สุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์ เขาประกอบด้วยความยินดี

ยินร้ายอย่างนี้ ย่อมไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ

อริยสาวกนั้น ย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า

ลาภเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่าลาภนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ

แปรปรวนเป็นธรรมดา ความเสื่อมลาภ... ยศ... ความเสื่อมยศ...

นินทา... สรรเสริญ... สุข... ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้

สดับ อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความจริงว่า

ทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 312

แปรปรวนเป็นธรรมดา แม้ลาภย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้ แม้

ความเสื่อมลาภ... แม้ยศ... แม้ความเสื่อมยศ... แม้นินทา... แม้

สรรเสริญ... แม้สุข... แม้ทุกข์ย่อมครอบงำจิตของท่านไม่ได้

ท่านย่อมไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมลาภ

ไม่ยินดียศที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ ไม่ยินดีความ

สรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในนินทา ไม่ยินดีสุขที่เกิดขึ้น

แล้ว ไม่ยินร้ายในทุกข์ ท่านละความยินดียินร้ายได้แล้วเด็ดขาด

อย่างนี้ ย่อมพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน ผิดกัน แตกต่างกัน ระหว่าง

อริยสาวก ผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ.

ธรรมในหมู่เหล่านี้ คือ ลาภ ๑

ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา

๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ เป็นสภาพไม่เที่ยง

ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่

ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่านั้น

แล้ว พิจารณาเห็นว่า มีความแปรปรวนเป็น

ธรรมดา ธรรมอันน่าปรารถนา ย่อมย่ำยีจิตของ

ท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่ออนิฏฐารมย์

ท่านขจัดความยินดีและยินร้ายเสียได้จนไม่เหลือ

อยู่ อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 313

ธุลี ไม่มีความเศร้าโศกเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อม

ทราบได้อย่างถูกต้อง.

จบ โลกวิปัตติสูตรที่ ๖

อรรถกถาโลกวิปัตติสูตรที่ ๖

ทุติยโลกธรรมสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โก วิเสโส ได้แก่ อะไรเป็นเหตุพิเศษ. บทว่า โก

อธิปฺปายโส ได้แก่ อะไรเป็นความประกอบอันยิ่ง. บทว่า ปริยาทาย

ได้แก่ ยึดถือ คือตั้งล้อมรอบ แม้ในสูตรนี้ก็ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

จบ อรรถกถาโลกวิปัตติสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 314

๗. เทวทัตตสูตร

[๙๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา

คิขฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัตหลีกไปแล้วไม่นานนัก

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภถึงพระเทวทัต ตรัสกะ

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุ

พิจารณาความวิบัติของตนโดยกาลอันควร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุพิจารณาความวิบัติของผู้อื่นโดยกาลอันควร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุพิจารณาถึงสมบัติ

ของตนโดยกาลอันควร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นความดีแล้ว

ที่ภิกษุพิจารณาถึงสมบัติของผู้อื่นโดยกาลอันควร ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พระเทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการครอบงำย่ำยี

แล้ว ต้องไปบังเกิดในอบาย ในนรกออยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้อสัทธรรม

๘ ประการเป็นไฉน คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑ ความ

เสื่อมยศ ๑ สักการะ ๑ ความเสื่อมสักการะ ๑ ความปรารถนา

ลามก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัต

มีจิตอันอสัทธรรม ๘ ประการนี้แลครอบงำย่ำยีแล้ว ต้องไปบังเกิด

ในอบาย ในนรกอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม้ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นความดีแล้วที่ภิกษุควรครอบงำย่ำยี

ลาภที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นความดีแล้วที่ภิกษุควรครอบงำย่ำยีความ

เสื่อมลาภ... ยศ... ความเสื่อมยศ... สักการะ... ความเสื่อม

สักการะ... ความเป็นปรารถนาลามก... ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 315

ที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์

อะไร จึงควรครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ภิกษุอาศัยอำนาจ

ประโยชน์อะไร จึงควรครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้น

แล้ว เพราะว่าเมื่อภิกษุไม่ครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดแล้ว อาสวะ

ที่ทำให้เกิดความคับแค้นเดือดร้อน พึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุครอบงำ

ย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว อาสวะที่ทำให้เกิดความคับแค้นเดือดร้อน

เหล่านั้นย่อมไม่เกิด... เพราะว่าเมื่อภิกษุไม่ ครอบงำย่ำยีความ

เป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว อาสวะที่ทำให้เกิดความคับแค้นเดือดร้อน

พึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว

อาสวะที่ทำให้เกิดความคับแค้นเดือดร้อนเหล่านั้น ย่อมไม่เกิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรครอบงำ

ย่ำยีลาภที่เกิดข้นแล้ว... จึงควรครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่ว

ที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว...

จักครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบ เทวทัตตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 316

อรรถกถาเทวทัตตสูตรที่ ๗

เทวทัตตสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อจิรปกฺกนฺเต ได้แก่ เมื่อพระเทวทัตทำลายสงฆ์แล้ว

ออกไปไม่นาน. บทว่า อารพฺภ ได้แก่ อาศัย เจาะจง มุ่งหมาย.

บทว่า อตฺตวิปตฺตึ ได้แก่ ความวิบัติ คือ อาการอันวิบัติของตน.

แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อภิภุยฺย ได้แก่ ครอบงำ

ย่ำยี.

จบ อรรถกถาเทวทัตตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 317

๘. อุตตรสูตร

[๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุตตรอยู่ที่วิหารชื่อว่า วัฏฏชาลิกา

ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ ณ มหิสพัสดุชนบท ณ ที่นั้นแล ท่านพระ-

อุตตระกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เป็น

ความดีแล้ว ที่ภิกษุพิจารณาเห็นความวิบัติของตนโดยกาลอันควร

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุพิจารณาเห็นความ

วิบัติของคนอื่นโดยกาลอันควร ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เป็น

ความดีแล้ว ที่ภิกษุพิจารณาเห็นสมบัติของตนโดยกาลอันควร

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นความดีแล้วที่ภิกษุพิจารณาเห็น

สมบัติของผู้อื่นโดยกาลอันควร.

ก็สมัยนั้นแล ท้าวเวสสวัณมหาราชออกจากทิศเหนือผ่านไป

ทางทิศใต้ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้สดับคำที่ท่านพระอุตตระ

แสดงธรรมแก่ ภิกษุทั้งหลาย ในวัฏฏชาลิกาวิหาร ใกล้ภูเขา

สังเขยยกะ ณ มหิสพสดุชนบท ไม่ปรากฏในเทวดาชั้นดาวดึงส์

เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด

ฉะนั้น แล้วเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอมเทพถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว

จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์โปรดทรงทราบว่า ท่านพระอุตตระ

นี้ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุในวัฏฏะชาลิกาวิหารอย่างนี้... ลำดับนั้น

ท้าวสักกะจอมเทพ ได้ทรงหายจากเทวดาชั้นดาวดึงส์ ไปปรากฏ

ต่อหน้าท่านพระอุตตระ ในวัฏฏชาลิวิหาร ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ

ณ มหิสพัสดุชนบท เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 318

หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น แล้วเสด็จเข้าไปหาท่านพระอุตตระ

ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ตรัสถามท่านพระอุตตระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ท่าน.

พระอุตตระแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้... จริงหรือ ท่าน

พระอุตตระถวายพระพรว่า จริงอย่างนั้น มหาบพิตร.

ส. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คำนี้เป็นปฏิภาณของพระคุณเจ้าเอง

หรือที่เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

อ. ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพจะทำข้ออุปมา

ให้มหาบพิตรทรงสดับ ซึ่งวิญญูชนบางพวกจะรู้เนื้อความแห่ง

ภาษิตได้ด้วยข้ออุปมา ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนข้าวเปลือก

กองใหญ่ซึ่งมีอยู่ไม่ไกลบ้านหรือนิคมนัก ชนหมู่มากขนข้าวเปลือก

ออกจากกองนั้นด้วยกระเช้าบ้าง ด้วยตะกร้าบ้าง ด้วยห่อพกบ้าง

ด้วยกอบมือบ้าง ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลผู้หนึ่งเข้าไปถามชน

หมู่ใหญ่นั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายขนข้าวเปลือกนี้มาจากไหน

ดูก่อนมหาบพิตร มหาชนนั้นจะตอบอย่างไร จึงจะตอบได้อย่างนี้

ถูกต้อง.

ส. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มหาชนนั้นพึงตอบให้ถูกต้องได้อย่างนี้ว่า

พวกเราขนมาจากกองข้าวเปลือกกองใหญ่โน้น.

อุ. ดูก่อนมหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล คำอันเป็นสุภาษิตทั้งหมด

ล้วนเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ดังนั้น อาตมภาพจึงชักเอาข้าวเปลือกมาถวายพระพร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 319

โดยเที่ยบเคียงสุภาษิตอันเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ขอถวายพระพร.

ส. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว

ที่ท่านพระอุตตระได้กล่าวไว้เป็นอย่างดีดังนี้ว่า คำอันเป็นสุภาษิต

ทั้งหมดล้วนเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ดังนั้น อาตมาภาพจึงชัดเอาข้าวเปลือก

มาถวายพระพร โดยเทียบเคียงสุภาษิต อันเป็นพระดำรัสของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ท่านอุตตระผู้เจริญ สมัยหนึ่ง พระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์ เมื่อ

พระเทวทัตหลีกไปแล้วไม่นาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุพิจารณาเห็นความวิบัติของตนโดยกาล

อันควร ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม

๘ ประการครอบงำย่ำยีแล้ว ต้องไปเกิดในอบาย ในนรกอยู่ชั่วกัป

แก้ไขไม่ได้ อสัทธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือลาภ... ความเป็นผู้

มีมิตรชั่ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตมีจิตอันอสัทธรรม ๘

ประการนี้แลครอบงำย่ำยีแล้ว ต้องไปเกิดในอบาย ในนรกอยู่ชั่วกัป

แก้ไขไม่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุครอบงำ

ย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นความดีแล้วที่ภิกษุจะพึงครอบงำย่ำยี

ความเสื่อมลาภ... ยศ... ความเสื่อมยศ... สักการะ... ความเสื่อม

สักการะ... ความเป็นผู้ปรารถนาลามก... ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว

ที่เกิดขึ้นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 320

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร จึงครอบงำ

ย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร

จึงครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะว่าเมื่อ

คับแค้นเดือดร้อน พึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้น

แล้ว อาสวะที่ทำให้เกิดความคับแค้นเดือดร้อนเหล่านั้นย่อมไม่เกิด...

เพราะว่าเมื่อภิกษุไม่ครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว

อาสวะที่ทำให้เกิดความคับแค้นเดือดร้อน พึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุ

ครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว อาสวะที่ทำให้เกิด

ความคับแค้นเดือดร้อนเหล่านั้นย่อมไม่เกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล จึงควรครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้น

แล้ว... จึงควรครอบงำย่ำยีความเป็นผู้มิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้

ว่า เราทั้งหลายจักครอบงำย่ำยีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว... จักครอบงำ

ย่ำยีความเป็นผู้มีมิตรชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

ข้าแต่ท่านพระอุตตระผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ในหมู่

มนุษย์มีบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ธรรม

บรรยายนี้ก็หาได้ตั้งอยู่ในบริษัทหมู่ไหนไม่ ท่านผู้เจริญ ขอพระ-

คุณเจ้าอุตตระจงเล่าเรียนธรรมบรรยายนี้ จงทรงจำธรรมบรรยาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 321

นี้ไว้ด้วยว่า ธรรมบรรยายนี้ชี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้น

แห่งพรหมจรรย์.

จบ อุตตรสูตรที่ ๘

อรรถกถาอุตตรสูตรที่ ๘

อุตตรวิปัตติสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วฏฺฏชาลิกาย คือ ในวิหารอันมีชื่ออย่างนั้น. ได้ยินว่า วิหาร

นั้น ได้ชื่อว่า วัฏฏชาลิกา เพราะตั้งอยู่ในป่าวัฏฏวัน. บทว่า

ปาตุรโหสิ ความว่า ได้เป็นผู้มาปรากฏด้วยตั้งใจว่า จักบอกเรื่องนี้

แก่ท้าวเทวราช. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก แปลว่า เป็นเบื้องต้น

พรหมจรรย์ทั้งสิ้นอันเป็นที่รวบรวมสิกขา ๓ ไว้.

จบ อรรถกถาวิปัตติสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 322

๙. นันทสูตร

[๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุจะเรียกนันทะให้จักต้อง พึง

เรียกว่ากุลบุตร ว่าผู้มีกำลัง ผู้ก่อให้เกิดความเลื่อมใส ผู้มีราคะกล้า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อความนี้ย่อมมีเพราะเหตุไร เพราะว่า นันท-

ภิกษุคุ้มครองทวารอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบ

ความเพียรอันเป็นเหตุให้ตื่นอยู่เสมอ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ

อันเป็นเหตุให้นันทภิกษุสามารถประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาเหตุเหล่านั้น ข้อนี้แลย่อมมีได้เพราะ

นันทภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

หากนันทภิกษุ พึงเหลียวไปทางทิศบูรพาไซร้ นันทภิกษุก็ย่อม

สำรวมจิตทั้งปวงเหลียวดูทิศบูรพา ด้วยคิดว่า เมื่อเราเหลียวดู

ทิศบูรพาอย่างนี้ ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทนนัส

จักไม่ครอบงำจิตเราได้ เธอย่อมเป็นผู้รู้สึกตัวในการเหลียวดูนั้น

ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากนันทภิกษุพึงเหลียว

ไปทางทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องบน

พึงเหลียว ไปตามทิศน้อยทั้งหลายไซร้ นันทภิกษุย่อมสำรวมจิต

ทั้งปวงเหลียวไปทางทิศน้อย ด้วยคิดว่า เมื่อเราเหลียวแลไปตาม

ทิศน้อยอย่างนี้ ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัส

จักไม่ครอบงำจิตเราได้ เธอย่อมรู้สึกตัวในการเหลียวแลนั้นด้วย

ประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลย่อมมีได้ เพราะนันท-

ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 323

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาเหตุเหล่านั้น ข้อนี้ย่อมมีได้เพราะ

นันทภิกษุ เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในธรรมวินัยนี้ นันทภิกษุ พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้ว

จึงบริโภคอาหาร ไม่ใช่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อประดับ

เพื่อตบแต่ง บริโภคเพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อเยียวยาอัตภาพ

เพื่อขจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการ

ว่า เราจักขจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความ

คล่องแคล่ว ความหาโทษมิได้ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เราได้

ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลย่อมมีได้ เพราะ

นันทภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาเหตุเหล่านั้น ข้อนี้ย่อมมีได้ เพราะ

นันทภิกษุเป็นผู้รู้จักประกอบความเพียรอันเป็นเหตุให้ตื่นอยู่ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ในตอนกลางวัน นันทภิกษุย่อม

ชำระจิตให้สะอาดจากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการจงกรม ด้วย

การนั่ง ตอนต้นปฐมยามแห่งราตรี ชำระจิตให้สะอาดจากธรรม

เครื่องกั้นจิตด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ในมัชฌิมยามแห่งราตรี

สำเร็จสีหไสยาสโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ-

สัมปชัญญะ กระทำความหมายในอันลุกขึ้นไว้ในใจ ในปัจฉิมยาม

แห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ทำจิตให้สะอาดจากกรรมเครื่องกั้นจิต

ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลย่อมมีได้

เพราะนันทภิกษุหมั่นประกอบความเพียรอันเป็นเหตุให้ตื่นอยู่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 324

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาเหตุเหล่านั้น ข้อนี้ย่อมมีได้ เพราะ

นันทภิกษุมีสติสัมปชัญญะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้

นันทภิกษุทราบเวทนาที่เกิดขึ้น ที่ตั้งอยู่ ที่ถึงความดับไป นันทภิกษุ

ทราบวิตกที่เกิดขึ้น ที่ตั้งอยู่ ที่ถึงความดับไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข้อนี้แลย่อมมีได้ เพราะนันทภิกษุมีสติสัมปชัญญะ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ข้อความนี้ย่อมมีเพราะเหตุไร เพราะนันทภิกษุคุ้มครอง

ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความ

เพียรอันเป็นเหตุให้ตื่นอยู่ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ อันเป็น

เหตุให้นันทภิกษุสามารถประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้.

จบ นันทสูตรที่ ๙

อรรถกถานันทสูตรที่ ๙

นันทสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กุลปุตฺโต ได้แก่กุลบุตรโดยกำเนิด. บทว่า พลวา แปลว่า

สมบูรณ์ด้วยกำลัง. บทว่า ปาสาทิโก ได้แก่ ทำให้เกิดความเลื่อมใส

ด้วยรูปสมบัติ. บทว่า ติพฺพราโค แปลว่า ผู้มีราคะจัด. ในบทว่า

กิมญฺตฺถ เป็นต้นมีอธิบายดังต่อไปนี้:- ประโยชน์อะไรด้วยเหตุ

อย่างอื่นที่เราจะกล่าว นันทะนี้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 325

รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเครื่องตื่นอยู่

ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ที่นันทะสามารถประพฤติพรหมจรรย์

ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ถ้านันทะจักไม่ประกอบด้วยเหตุเหล่านี้ไซร้

เธอก็ไม่พึงสามารถ. บทว่า อิติห ตตฺร แปลว่าในข้อนั้นอย่างนี้.

ในสูตรนี้ตรัสเฉพาะวัฏฏะอย่างเดียว.

จบ อรรถกถานันทสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 326

๑๐. กรัณฑวสูตร

[๑๐๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งสระโบก-

ขรณี ชื่อคัครา ใกล้นครจัมปา สมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุด้วย

อาบัติ ภิกษุที่ถูกภิกษุทั้งหลายโจทด้วยอาบัตินั้นเอาเรื่องอื่น ๆ

มาพูดกลบเกลื่อน ชักเรื่องไปนอกทางเสีย แสดงความโกรธเคือง

แต่ความไม่ยำเกรงให้ปรากฏ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงกำจัดบุคคลนั้น

ออกไป จงกำจัดบุคคลนั้นออกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนชนิดนี้

ต้องขับออก เป็นลูกนอกดอก กวนใจกระไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลบางตนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ การแล

การเหลียว การดี การเหยียด การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และ

จีวร เหมือนภิกษุผู้เจริญเหล่าอื่น คราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลายยัง

ไม่เป็นอาบัติของเข้า แต่เมื่อใด ภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา

เมื่อนั้นภิกษุทั้งหลาย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้าย

สมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ ครั้นรู้จักอย่างนี้แล้ว

ย่อมนาสนะออกไปให้พัน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่าภิกษุนี้

อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบ

เหมือนหญ้าชนิดหนึ่งที่ทำลายต้นข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มี

เมล็ดเหมือนข้าวตายรวง พึงเกิดขึ้นในนาข้าวที่สมบูรณ์ ราก

ก้าน ใบของมันเหมือนกับข้าวที่ดีเหล่าอื่น ตราบเท่าที่มันยังไม่

ออกรวง แต่เมื่อใด มันออกรวง เมื่อนั้นจึงทราบกันว่า หญ้านี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 327

ทำลายข้าว มีเมล็ดเหมือนข้าวลีบ มีเมล็ดเหมือนข้าวตายรวง ครั้น

ทราบอย่างนี้แล้ว เขาจึงถอนมันเหมือนทั้งราก เอาไปทิ้งให้พ้นที่นา

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า หญ้าชนิดนี้อย่าทำลายข้าวที่ดี

อื่น ๆ เลย ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคล

บางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การลอยกลับ ฯลฯ เพราะ

คิดว่า ภิกษุนี้อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เปรียบเหมือนกองข้าวเปลือกกองใหญ่ที่เขากำลังสาดอยู่

ในข้าวเปลือกกองนั้น ข้าวเปลือกที่เป็นตัว แกร่ง เป็นกองอยู่ส่วน

หนึ่ง ส่วนที่หัก ลีบ ลมย่อมพัดไปไว้ส่วนหนึ่ง เจ้าของย่อมเอา

ไม้กวาดวีข้าวที่หักและลีบออกไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

คิดว่า มันอย่าปนข้าวเปลือกที่ดีอื่น ๆ ฉันใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย

ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การ

ถอยกลับ ฯลฯ เพราะคิดว่าภิกษุนี้อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่น

เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลต้องการกระบอก

ตักน้ำ ถือขวานอันคมเข้าไปในป่า เขาเอาสันขวานเคาะต้นไม้นั้น ๆ

บรรดาต้นเหล่านั้น ต้นไม้ที่แข็ง มีแก่น ซึ่งถูกเคาะด้วยสันขวาน

ย่อมมีเสียงหนัก ส่วนต้นไม้ที่ผุใน น้ำชุ่ม เกิดยุ่ยขึ้น ถูกเคาะด้วย

สันขวาน ย่อมมีเสียก้อง เขาจึงตัดต้นไม้ที่ผุในนั้นที่โคน ครั้นตัด

โคนแล้ว จึงตัดปลาย ครั้นตัดปลายแล้ว จึงคว้านข้างในให้เรียบร้อย

แล้วทำเป็นกระบอกตักน้ำ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือน

กัน และบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ มีการก้าวไป การถอยกลับ

การแล การเหลียว การคู้ การเหยียด การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 328

และจีวร เหมือนของภิกษุที่ดีเหล่าอื่น ตราบเท่าที่ภิกษุทั้งหลาย

ยังไม่เห็นอาบัติของเขา แต่เมื่อใดภิกษุทั้งหลายเห็นอาบัติของเขา

เมื่อนั้นภิกษุทั้งหลายย่อมรู้จักเขาอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นผู้ประทุษร้าย

สมณะ เป็นสมณะแกลบ เป็นสมณะหยากเยื่อ ครั้นรู้จักอย่างนี้แล้ว

ย่อมนาสนะออกไปให้พ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคิดว่า ภิกษุ

อย่าประทุษร้ายภิกษุที่ดีเหล่าอื่นเลย.

พระการอยู่ร่วมกัน พึงรู้ได้ว่า ผู้นี้มี

ความปรารถนาลามก มักโกรธ มักลบหลู่ หัวดื้อ

ตีเสนอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด บางคนในท่าม

กลางประชุมชน พูดไพเราะ ดังพระสมณะ พูด

ปิดบังความชั่วที่ตนทำ มีความเห็นลามกไม่เอื้อ-

เฟื้อ พูดเลอะเลือน พูดเท็จ เธอทั้งหลายทราบ

บุคคลนั้นว่าเป็นอย่างไรแล้ว จงพร้อมใจกัน

ทั้งหมดขับบุคคลนั้นเสีย จงกำจัดบุคคลที่เป็นดัง

หยากเยื่อ จงถอนบุคคลที่เสียในออกเสีย แต่นั้น

จงนำคนแกลบ ผู้มิใช่สมณะแต่ยังนับว่าเป็น

สมณะออกเสีย เธอทั้งหลาย เมื่อต้องการอยู่รวม

กับคนดี และคนไม่ดี ครั้นกำจัดคนที่มีความ

ปรารถนาลามก มีอาจาระและโคจรลามกออก

แล้ว จงเป็นผู้มีสติ แต่นั้น เธอทั้งหลายเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 329

พร้อมเพรียงกัน เป็นผู้มีปัญญารักษาตน จัก

กระทำที่สุดทุกข์ได้.

จบ กัรณฑวสูตรที่ ๑๐

อรรถกถากรัณฑวสูตรที่ ๑๐

กรัณฑวสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อญฺเนาฺฺ ปฏิจรติ ความว่า เอาเหตุหรือคำอื่นมา

กลบเกลื่อนเหตุหรือคำอื่น. บทว่า พหิทฺธา กถ อปนาเมติ ความว่า

ทำถ้อยคำที่แทรกเข้ามาอย่างอื่นให้ออกนอกทาง. บทว่า อปเนยฺโย

ได้แก่บุคคลนี้พึงนำออกไป. บทว่า สมณทูสี ได้แก่ ผู้ประทุษร้าย

สมณะ. บทว่า สมณปลาโป ความว่า ชื่อว่าเป็นสมณะแกลบใน

สมณะทั้งหลาย เพราะไม่มีแก่น เหมือนแกลบข้าวในข้าวทั้งหลาย.

บทว่า สมณกรณฺฑโว ได้แก่ สมณะหยากเยื่อ. บทว่า พหิทฺธา

นาเสนฺติ แปลว่า ขับออกไปภายนอก.

บทว่า ยวกรเณ ได้แก่ในนาข้าวเหนียว. บทว่า ผุสยมานสฺส ได้แก่

อันบุคคลยืนอยู่บนที่สูงแล้วสาดไปในที่มีลมแรง. บทว่า อปสมฺมชฺชนฺติ

ความว่า ปัดออกบ่อย ๆ เพื่อทำข้าวที่ดี ไว้ข้างหนึ่ง ข้าวที่ทราม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 330

ไว้ข้างหนึ่ง คือ เอากะด้งหรือผ้าที่อุ้มลม คือเครื่องฝัดวีฝัดไป.

บทว่า ททฺทร ได้แก่ มีเสียงดัง.

บทว่า สวาสาย แปลว่า เพราะอยู่ร่วมกัน. บทว่า วิชาเนถ

พึงรู้ได้. บทว่า สนฺตวาโจ แปลว่า มีวาจาอ่อนหลาน. บทว่า

ชนวติ แปลว่า ในท่านกลางชน. บทว่า รโห กโรติ กฏณ ความว่า

บาปกรรมเรียกว่า กัฏณะ คือ การทำ (ชั่ว) ได้แก่ เป็นผู้ปกปิด

การทำบาปกรรมนั้นในที่ลับ. บทว่า สสปฺปี จ มุสาวาที ความว่า

เป็นผู้พูดมุสาเลอะเทอะ อธิบายว่า พูดเท็จเลอะเทอะ คือกลับกลอก.

ในสูตรนี้ ตรัสเฉพาะวัฏฏะอย่างเดียว ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ

ในคาถาทั้งหลายแล.

จบ อรรถกถากรัณฑวสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เมตตสูตร ๒. ปัญญาสูตร ๓. อัปปิยสูตรที่ ๑ ๔.อัปปิยสูตรที่ ๒

๕. โลกธรรมสูตร ๖. โลกวิปัตติสูตร ๗. เทวทัตตสูตร ๘. อตตรสูตร

๙. นันทสูตร ๑๐. กรัณฑวสูตรและอรรถกถา

จบ เมตตาวรรคที่ ๑

๑. บาลีว่า กรณ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 331

มหาวรรคที่ ๒

๑. เวรัญชสูตร

[๑๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดา

ที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต ใกล้กรุงเวรัญชา ครั้งนั้น เวรัญชพราหมณ์

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว

จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ท่านพระ-

โคดม ข้าพเจ้าได้ยินมาว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ไม่ลุกรับพวก

พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่

เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ท่านพระโคดมข้อนี้เป็นเช่นนั้นจริง เพราะว่า

ท่านพระโคดมไม่ไหวไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ ได้แก่ ผู้เฒ่า ใหญ่

ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ข้อนี้

ไม่สมควรเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ในโลก พร้อม

ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ

หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ เพราะว่าตถาคตพึงไหว้ พึงลุกรับ

หรือพึงเชื้อเชิญบุคคลใดด้วยอาสนะ แม้ศีรษะของบุคคลนั้นก็จะ

พึงขาดตกไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 332

ว. ท่านพระโคดม ไม่เป็นรสชาติ.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม

ไม่เป็นรู้ชาติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะรสในรูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาด

แล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไป

เป็นธรรมดา นี้แลเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม ไม่

เป็นรสชาติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งหมายกล่าว.

ว. ท่านพระโคดมเป็นคนไม่มีโภคะ.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาว่า พระสมณโคดม

เป็นคนไม่มีโภคะ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะโภคะ

คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว

ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้

เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แลเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณ-

โคดมเป็นคนไม่มีโภคะ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่าน

มุ่งหมายกล่าว.

ว. ท่านพระโคดมเป็นคนกล่าวการไม่ทำ.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณ-

โคดมเป็นคนกล่าวการไม่ทำดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะ

เรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการ

ไม่ทำซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหา

เราว่าพระสมณโคดมเป็นคนกล่าวการไม่ทำ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ

แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งหมายกล่าว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 333

ว. ท่านพระโคดมเป็นคนกล่าวความขาดสูญ.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณะ

โคดมเป็นคนกล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่

เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าว

ความขาดสูญแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเหตุที่

เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม เป็นคนกล่าวความขาดสูญดังนี้

ชื่อว่ากล่าวชอบ ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งหมายกล่าว.

ว. ท่านพระโคดมเป็นคนช่างเกลียด.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณ-

โคดมเป็นคนช่างเกลียด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะ

เรากล่าวการเกลียดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าว

การเกลียดความถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง

นี้แลเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนช่างเกลียด

ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งหมายกล่าว.

ว. ท่านพระโคดมเป็นคนกำจัด.

พ. ดูก่อนพราหมณ์. เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณ-

โคดมเป็นคนกำจัดดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะเราแสดง

ธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัดธรรม

ที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระ-

สมณโคดมเป็นคนกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่

ท่านมุ่งหมายกล่าว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 334

ว. พระโคดมเป็นคนเผาผลาญ.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณ-

โคดมเป็นคนเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะเรา

กล่าวธรรมที่เป็นอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็น

ธรรมควรเผาผลาญ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งควรเผาผลาญ

อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำไห้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน

ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็น

คนเผาผลาญ ก่อนพราหมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศลซึ่ง

เผาผลาญ ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน

ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนเผาผลาญ ดังนี้

ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งหมายกล่าว.

ว. ท่านพระโคดมเป็นคนไม่ผุดเกิด.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณ-

โคดมเป็นคนไม่ผุดเกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะ

การนอนในครรภ์ การเกิดภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดราก

ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีก

ต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้อื่นว่า เป็นคนไม่ผุดเกิด ดูก่อน

พราหมณ์ การนอนในครรภ์ การเกิดภพใหม่ ตถาคตละได้แล้ว

ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้

เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แลเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณ-

โคดมเป็นคนไม่ผุดเกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 335

มุ่งหมายกล่าว ก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไก่ ๘ ฟอง

๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ฟองไก่เหล่านั้น แม่ไก่กกดีแล้ว อบดีแล้ว

ฟักดีแล้ว บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใดทำลายกะเปาะฟอง

ด้วยเล็บเท้าหรือด้วยจะงอยปากออกมาได้โดยสวัสดีก่อนกว่าเขา

ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร จะเรียกว่าพี่หรือน้อง.

ว. ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรดาหมู่สัตว์

ผู้ตกอยู่ในอำนาจอวิชชา เกิดในฟอง อันกะเปาะฟองหุ้มห่อแล้ว

เราผู้เดียวเท่านั้นได้ทำลายกะเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้

อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก เราแลเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐ

ที่สุดของโลก เพราะเราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ดำรงสติ

มั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตดำรงมั่นเป็น

เอกัคคตา เรานั้นแล สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก

มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เราบรรลุทุติยฌานมีความ

ผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี

วิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เรามี

อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ

ปีติสิ้นไป บรรลุตติฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้

ฌานนี้ เป็นผู้มีสติอยู่เป็นสุข เราบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่

มีสุข. เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา

เป็นต้นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์

ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 336

ไม่หวั่นไหวอย่างแล้ว จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ

เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง

สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ

ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง

ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดวัฏฏกัปเป็นอันมาก

บ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัป

เป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น

มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ

มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดใหญ่

โน้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น

เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้น

จุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกชาติก่อนได้

เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ พร้อมทั้งอาการ ด้วยประการฉะนี้

ดูก่อนพราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปฐมยาม

แห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความ

มืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่

บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น

ความชำแรกออกครึ่งหนึ่งของเรานี้แล เป็นเหมือนการทำลาย

ออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.

เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส. อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

อย่างนี้แล้ว จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 337

สัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ

เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็น

ไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต

มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ

ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต

วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ

ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ

กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี

ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด

ซึ่งหมู่สัตว์ซึ่งเป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนพราหมณ์

วิชชาที่สองนี้แล เราได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา

เรากำจัดได้แล้ววิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว

แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มี

ความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้นความชำแรกออก

ครั้งที่สองของเรานี้แล เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟอง

แห่งลูกไก่ ฉะนั้น.

เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

อย่างนี้แล้ว จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นรู้ชัด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 338

ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อ

ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ

นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรารู้เห็น

อย่างนี้ จิตหลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จาก

อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว จึงเกิดญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

และรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนพราหมณ์

วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยานแห่งราตรี อวิชชา

เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว

แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มี

ความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออก

ครั้งที่สามของเรานี้แล เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟอง

แห่งลูกไก่ ฉะนั้น.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์

ได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดมเป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดม

เป้ฯผู้ประเสริฐที่สุด ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระแจ่มแจ้งนัก

พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคล

หงายของของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ

ส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น

ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรมและพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 339

ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า

เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบ เวรัญชสูตรที่ ๑

มหาวรรคที่ ๒

อรรถกถาเวรัญชสูตรที่ ๑

มหาวรรคที่ ๒ เวรัญชสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พึงประกอบบทมีอาทิอย่างนี้ว่า อภิวาเทติ กับ อักษร

ที่กล่าวไว้ในบทนี้ว่า น สมโณ โคตโม แล้วทราบโดยความอย่างนี้ว่า

พระสมณะโคดม ไม่ไหว้ ไม่ลุกขึ้นจากอาสนะ ทั้งไม่เชื้อเชิญ

ด้วยอาสนะอย่างนี้ว่า เชิญท่าน โปรดนั่งตรงนี้. ก็ วา ศัพท์ใน

คำว่า อภิวาเทติ วา เป็นต้น ลงในอรรถชื่อว่า วิภาวนะ ทำให้ชัด

เหมือน วา ศัพท์ในประโยคเป็นต้นว่า รูป นิจฺจ ว่า อนิจฺจ วา

รูปเที่ยง หรือว่า ไม่เที่ยง. เวรัญชพราหมณ์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว

พอเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทำการกราบตน เป็นต้น จึงกล่าวว่า

ตยิท โภ โคตม ตเถว ท่านพระโคดม ข้อนั้นเป็นจริงอย่างนั้น.

อธิบายว่า สิ่งที่ข้าพเจ้าได้ยินมานั้น เป็นอย่างนั้นจริง. การได้ยิน

มาและการได้เห็นนั้นเข้ากันสมกัน โดยความหมาย ก็คือ เป็น

อย่างเดียวกัน. ก็ท่านพระโคดม ฯลฯ ย่อมไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ.

เวรัญชพราหมณ์กล่าวย้ำเรื่องที่ตนได้ฟังกับสิ่งที่เห็น จึงกล่าวติเตียน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 340

ด้วยประการอย่างนั้น. บทว่า ตยิท โภ โคตม น สมฺปนฺนเมว

ความว่า การไม่กระทำอภิวาทเป็นต้นนั้น ไม่สมควรเลย.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทรงอาศัยโทษ คือการ

ยกตนข่มท่านแก่เวรัญชพราหมณะนั้น มีพระทัยเยือกเย็นกอร์ปด้วย

พระกรุณา ทรงประสงค์จะขจัดความไม่รู้นั้นแล้วทรงแสดงแต่ความ

ถูกต้อง จึงตรัสอาทิว่า นาหนฺต พฺราหฺมณ ดังนี้. ในพระดำรัส

นั้นมีความย่อดังต่อไปนี้ :- ดูก่อนพราหมณ์ เราแม้ตรวจดูด้วย

จักษุ คือพระสัพพัญญุตญาณอันไม่ติดขัด ก็ยังมองไม่เห็นบุคคล

ในโลกนี้ อันต่างด้วยเทวโลกเป็นต้น ที่เราจะพึงกราบ ลุกรับ

หรือเชื้อเชิญด้วยอาสนะ. อีกอย่างหนึ่ง ข้อนี้ไม่น่าอัศจรรย์เลย

เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ยังมองไม่เห็นบุคคลผู้ควรแก่การ

นอบน้อมเห็นปานนี้ ในวันนี้นั้น อีกอย่างหนึ่งแล แม้ในกาลใด

เราเกิดในเดี๋ยวนั้น หันหน้าไปทางทิศอุดร เดินไป ๗ ย่างก้าว

แลดูหมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น แม้ในกาลนั้น ในโลกนี้ต่างด้วยเทวโลก

เป็นต้น เราก็ยังมองไม่เห็นบุคคลผู้ที่เราจะพึงกระทำการนอบน้อม

เห็นปานนั้น. ครั้งนั้นแล แม้พระขีณาสพมหาพรหม ผู้มีอายุ

๑๖,๐๐๐ กัป ก็ประคองอัญชลีเกิดความโสมนัสยอมรับนับถือเราว่า

พระองค์เป็นมหาบุรุษในโลกพร้อมทั้งเทวโลก พระองค์เป็นผู้เลิศ

เป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐที่สุดของโลกพร้อมทั้งเทวโลก

ไม่มีผู้ที่จะยิ่งใหญ่กว่าพระองค์. ก็แม้ในกาลนั้น เรามองไม่เห็น

ผู้คนยิ่งใหญ่กว่าเรา จึงเปล่งอาสภิวาจา วาจาอย่างองอาจว่า

เราเป็นผู้เลิศของโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดของโลก เราเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 341

ประเสริฐที่สุดของโลก. เราแม้เกิดได้ครู่เดียวก็ยังไม่มีบุคคล

ที่ควรแก่การกราบไหว้อย่างนี้ บัดนี้ เรานั้นบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ

แล้ว จะพึงกราบใครเล่า เพราะฉะนั้น ท่านอย่าปรารถนาการ

นอบน้อมอย่างยิ่งเห็นปานนี้ จากตถาคตเลย ท่านพราหมณ์. เพราะ

ว่าเราตถาคตพึงกราบบุคคลใด ฯลฯ หรือเชื้อเชิญคนใดด้วยอาสนะ

แม้ศีรษะของบุคคลนั้นก็จะพึงขาดหลุดจากคอตกลง ณ พื้นดินทันที

เหมือนผลตาลหลุดจากขั้วที่ติดอยู่หย่อน ๆ เพราะแก่จัด หลุดขาด

จากขั้วตอนสิ้นคืน ฉะนั้น.

แม้เมื่อตรัสอย่างนี้แล้วพราหมณ์ก็ยังกำหนดไม่ได้ว่า พระ-

ตถาคตเป็นผู้เจริญทีสุดในโลก เพราะความด้วยปัญญา เมื่ออดทน

พระดำรัสนั้นอย่างเดียวไม่ได้ จึงกล่าวว่า ท่านพระโคดมผู้ไม่เป็นรส.

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้น มีความมุ่งหมายดังนี้:- สามีจิกรรม คือ

การกราบ การลุกรับ และการทำอัญชลี ในโลกที่เขาเรียกว่า

สามัคคีรส ท่านพระโคดมไม่มีเลย เพราะฉะนั้น ท่านพระโคดม

จึงไม่มีรส คือไม่มีรสชาติ ไม่มีรสเป็นสภาวะ. ลำดับนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงหลีกเลี่ยงความขัดแย้งโดยตรง เพื่อ

ให้พราหมณ์นั้นเกิดจิตอ่อนโยน เมื่อจะทรงชี้แจงความหมายของ

คำนั้น โดยประการอื่นในพระองค์ จึงตรัสว่า อตฺถิ เขฺวส

พฺราหฺมณ ปริยาโย ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ เขฺวส ตัดบทเป็น อตฺถิ

โข เอส. บทว่า ปริยาโย ได้แก่ เหตุ. ท่านอธิบายว่า ดูก่อนพราหมณ์

มีเหตุอยู่ที่บุคคลเมื่อกล่าวถึงเราว่า ท่านพระโคดมไม่มีรสชาติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 342

ดังนี้ ชื่อว่าพึงกล่าวชอบ คือพึงนับว่ากล่าวความจริง ก็เหตุนั้น

เป็นไฉน ? ดูก่อนพราหมณ์ ความยินดีในรูป ฯลฯ ความยินดีใน

โผฏฐัพพะ. ตถาคตละได้แล้ว. มีอธิบายอย่างไร ? มีอธิบายว่า

ความยินดีในรูป ความยินดีในเสียง ความยินดีในกลิ่น ความยินดี

ในรส ความยินดีในโผฏฐัพพะ อันใด กล่าวคือความพอใจในกามสุข

ย่อมเกิดแก่พวกปุถุชน แม้ที่เขาสมมติกันว่าเป็นผู้ประเสริฐด้วย

ชาติกำเนิด หรือด้วยอุบัติ ผู้พอใจ เพลิดเพลิน กำหนัด

ในรูปารมณ์เป็นต้น รสเหล่าใด ย่อมดึงโลกนี้ไว้เหมือนผูกไว้ที่คอ

หรือเรียกว่าสามัคคีรส เพราะเกิดขึ้นด้วยความพร้อมเพรียงของ

วัตถุและอารมณ์เป็นต้น รสแม้ทั้งหมดนั้น ตถาคตละได้แล้ว. แม้

เมื่อควรจะตรัสว่า เราละเสียแล้ว ก็ไม่ทรงยกพระองค์ด้วยมมังการ

แสดงธรรมอีกอย่างหนึ่ง นั่นเป็นเทศนาวิลาสความเยื้องกลาย

แห่งเทศนาของพระตถาคต.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปหีนา แปลว่า ไปปราศ หรือขาด

จากจิตสันดาน. ก็ในอรรถนี้ พึงเป็นฉัฏฐีวิภัติ ใช้ในอรรถแห่ง

ตติยาวิภัติ. ชื่อว่ามีรากตัดขาดแล้ว เพราะรากล้วนแล้วด้วยตัณหา

และอวิชชาของรสเหล่านั้น อันตถาคตตัดขาดแล้วด้วยตัณหา

คือ อริยมรรค ชื่อว่ากระทำให้เหมือนวัตถุพื้นที่ตั้งของต้นตาล

เพราะกระทำให้เป็นวัตถุที่ตั้งของความยินดีในรูปเป็นต้น เหล่านั้น

เหมือนวัตถุพื้นที่ตั้งของต้นตาล. เหมือนอย่างว่า เมื่อถอนต้นตาล

พร้อมทั้งราก กระทำประเทศคือพื้นที่ตรงนั้นให้เป็นเพียงพื้นที่ตั้ง

ของต้นตาลนั้น ต้นตาลนั้นย่อมไม่ปรากฏว่าเกิดขึ้นอีก ฉันใด เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 343

ถอนความยินดีในรูป เป็นต้น พร้อมทั้งรากด้วยศาตราคืออริยมรรค

กระทำจิตสันดานให้เป็นเพียงวัตถุ เพราะความยินดีในรูปเป็นต้น

เหล่านั้นเคยเกิดขึ้นในกาลก่อน ความยินดีในรูปเป็นต้นเหล่านั้น

แม้ทั้งหมด จึงเรียกว่า ตาลวัตถุกตา กระทำให้เป็นดุจพื้นที่ตั้ง

ของต้นตาล ฉันนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตาลวัตถุกตา เพราะ

กระทำให้เหมือนตาลยอดด้วน เพราะไม่งอกขึ้นเป็นธรรมดา

ก็เพราะเหตุที่ความยินดีในรูปเป็นต้น ถูกกระทำให้เป็นเหมือนพื้นที่

ตั้งของต้นตาลอย่างนี้ คือย่อมเป็นอันทำไม่ให้มีต่อไป เป็นอันถูกทำ

โดยประการที่ความยินดีในรูปเป็นต้น เหล่านั้นจะไม่มีในภายหลัง

ฉะนั้น จึงตรัสว่า อนภาวกตา ทำไม่ให้มี. บทว่า อายตึ

อนุปฺปาทธมฺมา ได้แก่ มีอันไม่เกิดขึ้นในอนาคตเป็นสภาพ.

บทว่า โน จ โข ย ตฺว สนฺธาย วเทสิ ความว่า ท่านกล่าว

เหตุใดหมายถึงเรา เหตุนั้นย่อมไม่มี. ถามว่า เมื่อตรัสอย่างนี้

ย่อมเป็นอันทรงอนุญาตว่า สามัคคีรสที่พราหมณ์กล่าวนั้นมีอยู่

ในพระองค์ มิใช่หรือ ? ตอบว่า ไม่ใช่ทรงอนุญาต. เพราะผู้ใด

เป็นผู้ควรทำสามัคคีรสนั้นแล้วไม่กระทำ ผู้นั้นควรต้องถูกกล่าวว่า

เป็นผู้ไม่มีรสเป็นรูป เพราะไม่มีสามัคคีรสนั้น. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ควรทีเดียวที่จะกระทำสามัคคีรสนั้น เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทรง

ประกาศความไม่ควรในการทำสามัคคีรสนั้น จึงตรัสว่า โน จ

โข ย ตฺว สนฺธาย วเทสิ ดังนี้. อธิบายว่า ท่านกล่าวถึงเราว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 344

ไม่มีรสเป็นรส หมายเอาเหตุใด เหตุนั้นไม่ควรกล่าวในเรา

ทั้งหลายเลย.

พราหมณ์ไม่อาจยกเอาความไม่มีรสชาติที่ตนประสงค์

ด้วยอาการอย่างนี้ จึงกล่าวปริยายอื่นต่อไปภายหลังว่า นิพฺโพโค ภว

เป็นต้น. ก็ในปริยายทั้งปวง พึงทราบลำดับการประกอบความ

โดยนัยดังกล่าวในเหตุนี้ แล้ว ทราบเนื้อความที่หมายกล่าวอย่างนี้:-

พราหมณ์สำคัญกรรมมีการกราบ เป็นต้น ซึ่งบุคคลผู้เจริญวัย

ทั้งหลายนั้นเท่านั้นว่า สามัคคีบริโภคในโลก และกล่าวหา พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า นิพโภคะไม่มีโภคะ เพราะไม่มีสามัคคีบริโภคนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า การบริโภคด้วยฉันทราคะในรูป

เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีในพระองค์จึงทรงอนุญาตปริยาย

อื่นอีก.

พราหมณ์เห็นการไม่กระทำกรรม คือความพระพฤติอัน

เป็นกุศลมีการกราบเป็นต้น ซึ่งคนผู้เจริญวัยในโลก ที่ชาวโลก

กระทำกัน จึงกล่าวหาพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า เป็นอกิริยวาทะ

กล่าวการไม่ทำ. ก็แต่เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการ

ไม่กระทำกายทุจริตเป็นต้น ฉะนั้น เมื่อทรงเห็นความเป็นผู้มีวาทะ

ว่าไม่เป็นอันทำนั้นในพระองค์ จึงทรงอนุญาตปริยายอื่นอีก. ใน

ข้อนั้น เว้นกายทุจริตเป็นต้นเสีย อกุศลธรรมที่เหลือพึงทราบว่า

อกุศลบาปธรรมมากอย่าง.

พราหมณ์ไม่เห็นกรรมมีการกราบเป็นต้น นั้นนั่นในพระผู้-

มีพระภาคเจ้าอีก สำคัญว่าแบบแผนโลก ประเพณีโลกอันนี้ จะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 345

ขาดสูญ เพราะอาศัยข้อนี้ จึงกล่าวหาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

เป็นอุจเฉทวาทะ วาทะว่าขาดสูญ. แต่เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสการขาดสูญแห่งราคะอันเป็นไปในกามคุณ ๕ และโทสะ

อันสัมปยุตด้วยอกุศลจิตทั้งสอง ด้วยอนาคามิมรรค อนึ่ง ตรัส

ความขาดสูญแห่งโมหะอันเป็นแดนเกิดอกุศลทั้งปวง ด้วยอรหัตมรรค

ตรัสความขาดสูญแห่งอกุศลธรรมทั้งหมด เว้นกิเลส ๓ อย่างนั้น

ด้วยมรรคทั้ง ๔ ตามสมควร. ฉะนั้น เมื่อทรงเห็นวาทะว่าขาดสูญนั้น

มีในพระองค์ จึงทรงอนุญาตปริยายอื่นอีก.

พราหมณ์สำคัญว่า พระสมณโคดมชรอยจะเกลียดกรรม

คือความประพฤติอันดีมีการกราบ เป็นต้น ซึ่งคนผู้เจริญวัยนี้

ทีเดียว ด้วยเหตุนั้น จึงไม่กระทำการกราบไหว้เป็นต้นนั้น จึง

กล่าวหาพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกว่า เป็นเชดุจฉี ผู้มักเกลียด. แต่

เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกลียดกายทุจริตเป็นต้น

คือทรงเกลียด ทรงละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และ

การถึงพร้อม กิริยาที่ถึงพร้อม ความพร้อมเพรียงแห่งอกุศลบาป-

ธรรมมากอย่างแม้ทั้งหมด เหมือนบุรุษผู้รักสวยรักงามเกลียดคูถ

ฉะนั้น ชื่อทรงเห็นความเกลียดอันนั้นในพระองค์ จึงทรงอนุญาต

เหตุข้ออื่นอีก. ตติยาวิภัติว่า กายทุจฺจริเตน เป็นต้น ในพระบาลีนั้น

พึงทราบว่าใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัติ (แปลว่าซึ่งกายทุจริตเป็นต้น).

พราหมณ์ไม่เห็นกรรมมีการกราบเป็นต้น อันนั้นแหละ

ในพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก สำคัญว่า พระสมณโคดมนี้กำจัด คือ

ทำกรรมของผู้เจริญที่สุดในโลก ข้อนี้ให้เสียหายไป อีกอย่างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 346

เพราะเหตุที่ไม่ทรงทำสามีจิกรรมไม่นั้น ฉะนั้น พระสมณโคดมนี้

ควรกำจัด ควรข่มขี่ จึงกล่าวหาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เวนยิกะ

ผู้มักกำจัด. ในข้อนั้นมีวจนัตถะ คือความหมายของคำดังต่อไปนี้:-

ชื่อว่าวินัย เพราะกำจัด อธิบายว่า ทำให้พินาศฉิบหาย. วินัย

นั่นแหละเป็นเวนยิกะ (คือความหมายเหมือนกัน). อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า เวนยิกะเพราะควรกำจัด อธิบายว่า ควรข่มขี่. แต่เพราะเหตุ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อกำจัด เพื่อสงบระงับ

ราคะเป็นต้น ฉะนั้น จึงทรงเป็นนักกำจัด. ก็ในบทว่า เวนยิโก นี้

มีความหมายของบทดังต่อไปนี้:- ชื่อว่า เวนยิกะ เพราะทรง

แสดงธรรมเพื่อกำจัด. ก็ประพฤติของตัทธิต ( หลักไวยากรณ์ชนิด

หนึ่ง) มีนัยวิจิตรหลากหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้น ทรงเห็น

ความเป็นนักกำจัด (กิเลส) อันนั้นในพระองค์ จึงทรงอนุญาต

ปริยายอื่นอีก.

เพราะเหตุที่โลกิยชน เมื่อกระทำสามีจิกรรม มีการกราบ

เป็นต้น ย่อมทำคนผู้เจริญวัยให้ยินดีร่าเริง แต่เมื่อไม่ทำ ย่อม

แผดเผา เบียดเบียน ทำความโทมนัสให้เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวัย

เหล่านั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงกระทำสามีจิกรรมเหล่านั้น

ฉะนั้น พราหมณ์จึงสำคัญว่า พระสมณโคดมนี้แผดเผาผู้เจริญวัย

หรือสำคัญว่าพระสมณโคดมนี้เป็นคนกำพร้า (ไร้ที่พึง) เพราะ

เว้นจากการประพฤติความดี จึงกล่าวหาพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก

ว่า เป็นตปัสสี คนเผาผลาญ. ในบทว่า ตปัสสี นั้น ความหมาย

ของบทมีดังนี้:- ชื่อว่า ตบะ เพราะแผดเผา. อธิบายว่า เบียดเบียน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 347

บีบคั้น. คำว่าตบะนี้ เป็นชื่อของการทำสามีจิกรรม. ชื่อว่า

ตปัสสี เพราะมีตบะเครื่องเผาผลาญ. ในอรรถวิกัปที่ ๒ ไม่พิจารณา

พยัญชนะ (คือไม่คำนึงถึงตัวอักษร) เรียกคนกำพร้าในโลกว่า

ตปัสสี คนช่างเผาผลาญ. แต่เพราะทรงละเหล่าอกุศลธรรม

ทรงนับได้ว่า ตปัสสี ผู้มักเผาผลาญ เพราะทรงละเหล่าอกุศลธรรม

ที่เรียกชื่อว่า ตปนียะ เพราะแผดเผาชาวโลกเสียได้ ฉะนั้น

เมื่อทรงเห็นความเป็นผู้มักเผาผลาญข้อนั้นในพระองค์ จึงทรง

อนุญาตปริยายอื่นอีก. ในบทว่าตปัสสีนั้นมีความหมายของคำ

ดังต่อไปนี้:- อกุศลธรรมทั้งหลายชื่อว่า ตบะ เพราะแผดเผา

คำนี้เป็นชื่อของอกุศลธรรมทั้งหลาย. ชื่อว่าตปัสสี เพราะซัดไป

เหวี่ยงไป ละทิ้ง กำจัดตบะคืออกุศลธรรมเหล่านั้น.

พราหมณ์ยังสำคัญอยู่อีกว่า กรรมมีการกราบเป็นต้นนั้น

ย่อมเป็นไปเพื่อคัพภสมบัติในเทวโลก คือเพื่อได้เฉพาะการปฏิสนธิ

ในเทวโลก และเห็นว่าสามีจิกรรมมีการกราบเป็นต้นนั้น ไม่มีใน

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวหาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ไม่มีใน

ผู้ปราศจากครรภ์. อีกอย่างหนึ่ง แม้เมื่อจะแสดงโทษในการถือ

ปฏิสนธิในครรภ์มารดาของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอำนาจความ

โกรธ จึงกล่าวอย่างนั้น. ในบทว่า อปคัพภะ นั้น ความของบท

มีดังนี้:- ชื่อว่า อปคัพภะ เพราะปราศจากครรภ์ อธิบายว่า

ไม่ควรอุบัติในเทวโลก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อปคัพภะ เพราะมี

ครรภ์ที่เกิดเลว อธิบายว่า ชื่อว่ามีส่วนได้ครรภ์ที่เลวต่อไป เพราะ

ห่างไกลครรภ์ในเทวโลก. หรือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 348

การอยู่ในครรภ์ในท้องพระมารดาอย่างเลว. แต่เพราะเหตุที่คัพภไสยา

การนอนในครรภ์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปปราศเสียแล้ว ฉะนั้น

พระองค์เมื่อทรงเห็นความปราศจากครรภ์นั้นในพระองค์ จึงทรง

อนุญาตปริยายอื่นอีก. แม้ในพระบาลีนั้น บทเหล่านี้ว่า ดูก่อน

พราหมณ์ การนอนในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ต่อไป อันผู้ใดแล

ละได้แล้ว ดังนี้ พึงเห็นใจความอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ การ

นอนในครรภ์และการเกิดในภพ ในอนาคตกาล อันบุคคลใดละได้

แล้ว เพราะมีเหตุอันมรรคชั้นเยี่ยมกำจัดแล้ว. ก็ในอธิการนี้ ท่าน

ถือเอาชลาพุชะกำเนิด ด้วย คัพภเสยยะ ศัพท์. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็น

นอกนี้ ด้วย ปุนัพภวาภินิพพัตติ ศัพท์. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็น

เนื้อความในคำนี้อย่างนี้ว่า การนอนของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ชื่อว่า

คัพภไสยา การเกิดคือภพใหม่ ชื่อวา ปุนัพภวาภินิพพัตติ. เหมือน

อย่างว่า แม้เมื่อกล่าวว่าวิญญาณฐิติ ที่ตั้งวิญญาณ ที่ตั้งเป็นอื่น

ไปจากวิญญาณ ย่อมไม่มี ฉันใด แม้ในเรื่องนี้ก็ฉันนั้น ไม่ควร

เข้าใจว่าการนอนเป็นอื่นไปจากครรภ์ (ก็มี). อนึ่ง ชื่อว่าการเกิด

เหตุที่เป็นภพใหม่บ้าง ไม่เป็นภพใหม่บ้าง มีอยู่ และในที่นี้ ประสงค์

เอาการเกิดที่เป็นภพใหม่ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า ปุนพฺภโว เอว

อภินิพฺพตฺติ ปุนพฺภวาภินิพฺพตฺติ การเกิดคือภพใหม่ ชื่อว่าการเกิด

ใหม่ ดังนี้.

พราหมณ์แม้จะด่าด้วยอักโกสวัตถุ เรื่องสำหรับด่ามีความ

เป็นผู้ไม่มีรสชาติเป็นต้น ตั้งแต่เวลาที่มาถึงแล้วด้วยประการอย่างนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธัมมิสสระเป็นใหญ่ในธรรม ธรรมราชา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 349

พระราชาเพราะธรรม ธรรมสวามี เจ้าของธรรมเป็นตถาคต

ทรงสำรวจดูพราหมณ์ด้วยพระจักษุอันเยือกเย็นด้วยความเอ็นดู

ทรงบรรลุธรรมธาตุใดแล้ว ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยความเยื้องกลาย

แห่งเทศนานั้น เพราะธรรมธาตุนั้นทรงรู้แจ้งดีแล้ว เมื่อจะทรงขจัด

ความมืดมนอนธการในดวงใจของพราหมณ์ ดุจพระจันทร์เพ็ญ

ลอยเด่นในท้องฟ้าอันปราศจากเมฆ และดุจพระอาทิตย์ในสรทกาล

ฤดูร้อน จึงทรงแสดงอักโกสวัตถุเหล่านั้นแหละเป็นอย่างอื่น ด้วย

ปริยายนั้น ๆ เมื่อจะทรงประกาศความแผ่ไปแห่งพระกรุณาของ

พระองค์ คุณลักษณะของผู้คงที่ ความเป็นผู่มีจิตเสนอด้วยแผ่นดิน

และความเป็นผู้มีอกุปปธรรมอันไม่กำเริบ ที่ทรงได้แล้ว เพราะ

ไม่ทรงหวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ ซ้ำอีก จึงทรงพระดำริว่า

พราหมณ์ผู้นี้ย่อมกำหนดความที่ตนเป็นผู้เฒ่า ด้วยอาการมีผมหงอก

ฟันหัก และหนังเหี่ยว เป็นต้นอย่างเดียว ทั้งหารู้ไม่ว่าตนถูกชาติ

ติดตาม ถูกชราต้อนไป ถูกพยาธิครอบงำ ถูกมรณะคอยกำจัด

ตายวันนี้แล้ว วันรุ่งขึ้นก็จะต้องกลายเป็นทารกนอนหงายอีก. ก็

(เขา) เขายังสำนักเราด้วยความอุตสาหะเป็นอันมาก ขอการมา

ของเขานั้นจงมีประโยชน์เถิด เมื่อจะทรงแสดงว่าพระองค์เป็นผู้

เกิดก่อนไม่มีคนเทียมในโลกนี้ จึงทรงเพิ่มพระธรรมเทศนาแก่

พราหมณ์โดยนัยว่า เสยฺยถาปิ พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้นไป พึงทราบ

ความโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแหละ. ส่วนความแปลกกัน

มีดังนี้ :- ก็โดยนัยดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ ลูกไก่เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 350

กระพือปีกร้องออกไป พอเหมาะแก่ขณะนั้น และบรรดาลูกไก่

เหล่านั้นซึ่งออกไปอย่างนั้น ลูกไก่ตัวใดออกก่อน ลูกไก่ตัวนั้น

เขาเรียกว่าพี่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะทำ

ความที่พระองค์เป็นพี่ผู้เจริญที่สุดให้สำเร็จด้วยอุปมานั้น จึงตรัส

ถามพราหมณ์ว่า โย นุ โข เตส กุกฺกุฏจฺฉาปกาน ฯเปฯ กินฺติ

สฺวาสฺส วจนีโย บรรดาลูไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใดหนอแลออก

ก่อน ฯลฯ ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่าอย่างไร ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า กุกฺกุฏจฺฉาปกาน แปลว่า บรรดาลูกไก่ทั่งหลาย. บทว่า

กินฺติ สฺวาสฺส วจนีโย ความว่า ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่าอะไร

คือพึงเรียกอย่างไร จะเรียกว่าพี่หรือน้อง.

บทว่า เชฏฺโติสฺส โภ โคตม วจนีโย ความว่า ท่านพระโคดม

ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่าเป็นพี่. หากจะมีผู้ถามว่า เพราะเหตุไร ?

แก้ว่า เพราะบรรดาลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวนั้นแก่กว่าเพื่อน.

อธิบายว่า เพราะลูกไก่ตัวนั้นเป็นตัวแก่กว่าลูกไก่เหล่านั้น. ลำดับ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำความอุปมาให้สำเร็จผลแก่

พราหมณ์นั้น จึงตรัสว่า เอวเมว โข ดังนี้เป็นต้น. (อธิบาย)

แม้เราก็เหมือนลูกไก่ตัวนั้น. บทว่า อวิชฺชาคตาย ปชาย ความว่า

ความไม่รู้ เรียกว่าอวิชชา. หมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในอวิชชา คือความ

ไม่รู้นั้น. บทว่า ปชาย นี้ เป็นชื่อของสัตว์. อธิบายว่า ในสัตว์

ทั้งหลายผู้เข้าไปอยู่ภายในกะเปาะไข่ คืออวิชชา บทว่า อณฺฑภูตาย

ได้แก่ มีแล้ว คือเกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้วในไข่. เหมือนอย่างว่า

สัตว์บางจำพวกเกิดในไข่ เรียกว่า อัณฑภูต ฉันใด หมู่สัตว์แม้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 351

ทั้งหลายนี้ก็ฉันนั้น เรียกว่าอัณฑภูต เพราะเกิดในกะเปาะไข่ คือ

อวิชชา. บทว่า ปริโยนทฺธาย ได้แก่ อันกะเปาะไข่ คืออวิชชา

นั้นหุ้ม คือ ผูกพันไว้โดยรอบ บทว่า อวิชฺชณฺฑโกส ปทาเลตฺวา

ได้แก่ ทำลายกะเปาะไข่อันสำเร็จด้วยอวิชชานั้น.

บทว่า เอโกว โลเก ความว่า เราเท่านั้นเป็นเอก ไม่เป็น

ที่สอง ในโลกสันนิวาสแม้ทั้งสิ้น. บทว่า อนุตฺตร สมฺมาสมฺโพธึ

อภิสมฺพุทฺโธ ได้แก่ พระปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบและโดยพระองค์

เอง ปราศจากผู้ยิ่งกว่า คือประเสริฐสุดกว่าเขาทั้งหมด. อีก

อย่างหนึ่ง พระปัญญาเครื่องตรัสรู้อันประเสริฐและดี. คำว่า โพธิ

นี้เป็นชื่อของอรหัตมรรคญาณ. ทั้งเป็นชื่อของพระสัพพัญญุตญาณ

ด้วย. แม้ชื่อทั้งสองก็เหมาะ ถามว่า อรหัตตมรรคของคนเหล่าอื่น

เป็นปัญญาเครื่องตรัสรู้ยอดเยี่ยมหรือไม่ ? ตอบว่า ไม่เป็น. เพราะ

เหตุไร ? เพราะไม่ให้คุณทุกอย่าง. ก็บรรดาบุคคลเหล่านั้น

อรหัตมรรคย่อมให้เฉพาะอรหัตตลแก่บางคน ให้วิชชา ๓ แก่

บางคน ให้อภิญญา ๖ แก่บางคน ให้ปฏิสัมภิทา ๔ แก่บางคน

ให้สาวกบารมีญาณแก่บางคน สำหรับพระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย

ให้เฉพาะปัจเจกโพธิญาณเท่านั้น ส่วนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ให้คุณสมบัติทุกอย่าง เหมือนการอภิเษกให้ความเป็นใหญ่ในโลก

ทั้งปวงแก่พระราชา เพราะเหตุนั้น ปัญญาเครื่องตรัสรู้อันยอดเยี่ยม

จึงไม่มีแม้แก่ใครอื่น. บทว่า อภิสมฺพุทฺโธ ได้แก่ รู้ทั่วยิ่งแล้ว

แทงตลอดแล้ว อธิบายว่า บรรลุแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 352

บัดนี้ พึงเทียบการสาวกข้ออุปมาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า เอวเมว โข นั้น ด้วยเนื้อความแล้วทราบ

อย่างนี้:- เหมือนอย่างว่า แม่ไก่ตัวนั้นกระทำอริยา ๓ อย่าง

มีการนอนกกไข่ของตน ฉันใด การที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้ง

เป็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งที่โพธิบัลลังก์ กระทำอนุปัสสนาปัญญา

เห็นเนือง ๆ ๓ อย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในสันดานของ

พระองค์ ก็ฉันนั้น การไม่ทำวิปัสสนาญาณให้เสื่อมไป ด้วยการ

ยังอนุปัสสนา ๓ ประการให้สมบูรณ์อยู่แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ เหมือนฟองไข่ไม่ตายโคม ด้วยการทำ

กิริยาทั้ง ๓ ของแม่ไก่ให้สมบูรณ์ การที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้ง

เป็นโพธิสัตว์ ทำลายความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่อันไปตามภพ

ทั้ง ๓ ด้วยการทำอนุปัสสนา ๓ อย่างให้สมบูรณ์ เหมือนแม่ไก่

ทำยางเมือก ของไข่ให้สิ้นไปด้วยการทำกิริยาทั้ง ๓ อย่าง (คือ

กก ทำให้อบอุ่น ฟักให้ได้รับกลิ่นตัวแม่ไก่) ความที่กะเปาะฟองไข่

คืออวิชชาเป็นของเบาบาง ก็ด้วยการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้ง

เป็นพระโพธิสัตว์ทรงทำอนุปัสสนาทั้ง ๓ ให้สมบูรณ์ เหมือนความ

ที่กะเปาะฟองไข่เป็นของบอบบาง ก็เพราะแม่ไก่ทำกิริยาทั้ง ๓

อย่าง ฉะนั้น. ความที่วิปัสสนาญาณเป็นคุณชาติกล้าแข็ง ผ่องใส

และแหลมคม ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์

ทรงทำอนุปัสสนาทั้ง ๓ ให้สมบูรณ์ เปรียบเหมือนความที่เล็บเท้า

และจะงอยปากของลูกไก่เป็นของหยาบและแข็ง ก็ด้วยการที่แม่ไก่

ทำกิริยาทั้ง ๓ ฉะนั้น. เวลาที่วิปัสสนาญาณเปลี่ยนไป เวลาขยายไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 353

เวลาถือเอาห้อง ก็ด้วยการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งเป็นพระ-

โพธิสัตว์ ทรงทำอนุปัสสนาทั้ง ๓ ให้บริบูรณ์ เปรียบเหมือนเวลา

ที่ลูกไก่เปลี่ยนไป ก็ด้วยการที่แม่ไก่ทำกิริยาทั้ง ๓ ฉะนั้น พึงทราบ

เวลาที่ทำวิปัสสนาญาณให้ถือเอาห้อง ทำลายกะเปาะไข่ คืออวิชชา

ด้วยอรหัตมรรคที่บรรลุโดยลำดับ กระพือปีกคือ อภิญญา ๖ ทำ

ให้แจ้งพุทธคุณทั้งสิ้นโดยสวัสดี ด้วยการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบำเพ็ญอนุปัสสนาทั้ง ๓ ให้บริบูรณ์ เหมือนเวลาที่ลูกไก่ทำลาย

กะเปาะฟองไข่ด้วยปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปาก กระพือปีกเจาะ

ออกโดยสวัสดีด้วยการทำกิริยาทั้ง ๓ อย่างของแม่ไก่ ฉะนั้น.

บทว่า อหญฺหิ พฺราหฺมณ เชฏโ เสฏโ โลกสฺส ความว่า

ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวที่ทำลายกะเปาะ

ฟองไข่บังเกิดก่อน เป็นตัวพี่ ฉันใด บรรดาหมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ใน

วิชชา เรานี่แหละ นับว่าเป็นผู้เจริญกว่า คือ เป็นผู้เจริญที่สุด

เพราะทำลายกะเปาะฟองไข่บังเกิดก่อน เป็นตัวพี่ ฉันใด บรรดา

หมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในอวิชชา เรานี่แหละ นับว่าเป็นผู้เจริญกว่า คือ

เป็นผู้เจริญที่สุด เพราะทำลายกะเปาะฟองไข่ คืออวิชชานั้น

เกิดในอริยชาติก่อน ฉันนั้น หนึ่ง นับว่าเป็นผู้ประเสริฐ เพราะ

ไม่มีผู้เทียบได้ด้วยคุณทั้งปวง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศความที่พระองค์เป็น

ผู้เจริญที่สุด ประเสริฐสุดอันยอดเยี่ยมแก่พราหมณ์อย่างนี้แล้ว

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาอันเป็นเหตุให้ทรงบรรลุถึงความเป็น

ผู้เจริญที่สุดและประเสริฐสุดนั้น ตั้งแต่เบื้องต้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 354

อารทฺธ โข ปน เม พฺราหฺมณ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

อารทฺธ โข ปน เม พฺราหฺมณ วีริย อโหสิ ความว่า ดูก่อนพราหมณ์

ความเป็นผู้เจริญที่สุดและประเสริฐสุดอันยอดเยี่ยมนี้ เราบรรลุ

ด้วยความเกียจคร้าน ด้วยความมีสติหลงลืม ด้วยกายอันกระสับ-

กระส่าย ด้วยจิตอันฟุ้งซ่าน ก็หามิได้ ก็อนึ่งแล เราได้มีความเพียร

อันปรารภแล้ว เพื่อบรรลุความเป็นผู้เจริญที่สุดและประเสริฐสุด

อันนั้น. เรานั่งที่โพธิมัณฑสถาน ได้ปรารภ ประคองความเพียร

ต่างโดยสัมมัปปธาน ๔ อันเป็นไปไม่ย่อหย่อน. ความเพียรนั้น

ของเรา ได้เป็นความเพียรไม่ย่อหย่อน เพราะได้ปรารภแล้วทีเดียว.

ก็จะมีแต่ความเพียรอย่างเดียวก็หามิได้ แม้สติก็เป็นอันเราเข้าไป

ตั้งไว้โดยมุ่งตรงต่ออารมณ์ และเป็นสติที่ไม่หลงลืม เพราะเป็น

ธรรมชาติเข้าตั้งมั่นแล้ว. บทว่า ปสฺสทฺโธ กายโย อาสรทฺโธ

ความว่า แม้กายของเราก็เป็นสภาพสงบด้วยอำนาจกายปัสสัทธิ

และจิตตปัสสัทธิ. ในความสงบนั้น เหตุที่เมื่อนามกายสงบ แม้

รูปกายก็ชื่อว่าเป็นอันสงบเหมือนกัน ฉะนั้น จึงไม่ตรัสให้แปลกกัน

เลยว่า นามกาโย รูปกาโย นามกาย รูปกาย แต่ตรัสว่า ปสฺสทฺโธ

กาโย กายสงบ. บทว่า อสารทฺโธ ความว่า ก็กายนั้นแลชื่อว่าสงบแท้

อธิบายว่า ปราศจากความกระวนกระวาย เพราะเป็นกายสงบ

เที่ยว. บทว่า สมาหิต จิตฺต เอกคฺค ความว่า แม้จิต เราก็ตั้งไว้

โดยชอบ คือ ตั้งไว้ด้วยดี เป็นเหมือนแนบแน่น และมีอารมณ์เดียว

คือไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน เพราะเป็นจิตตั้งมั่นที่เดียว. ด้วยลำดับ

แห่งคำ เพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันตรัสปฏิปทา อันเป็นเบื้องต้นของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 355

ฌาน. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงคุณวิเศษ เริ่มต้นแต่ปฐมฌานที่ทรง

บรรลุด้วยปฏิปทานี้จนถึงวิชชา เป็นที่สุด จึงตรัสคำมีอาทิว่า

โส โข อห ดังนี้. ในคำที่ตรัสไว้นั้น เบื้องแรก คำที่มิได้ยกขึ้น

วินิจฉัยนั้น ก็ได้กล่าวไว้ดีแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล.

ก็ในบทว่า อย โข เม พฺรหฺมณ เป็นต้น มิวินิจฉัยต่อไปนี้:-

บทว่า วิชฺชา คือ ที่ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่ากระทำความรู้แจ้ง.

ถามว่า ทำความรู้แจ้งอะไร ? ตอบว่า ทำความรู้แจ้งบุพเพนิวาสญาณ

คือรู้ขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน. บทว่า อวิชฺชา ได้แก่ โมหะ อัน

ปกปิดวิชชานั้น เพราะอรรถว่ากระทำความรู้แจ้ง บุพเพนิวาส-

ญาณนั่นแหละ. บทว่า ตโม ความว่า โมหะ นั้นนั่นเองชื่อว่า ตมะ

ความมืด เพราะอรรถว่าปกปิดวิชชานั้น. บทว่า อาโลโก ความว่า

วิชชานั้นนั่นแล ชื่อว่า อาโลกะ ความสว่าง เพราะอรรถว่า

กระทำความสว่าง. ก็ในบทว่า อาโลโก นี้มีใจความดังนี้ว่า วิชชา

เราบรรลุแล้ว. คำที่เหลือ (จากอาโลโก) เป็นคำสรรเสริญ. ก็ใน

ข้อนี้ประกอบด้วยความดังต่อไปนี้:- วิชชานี้แล เราบรรลุแล้ว

เมื่อเรานั้นบรรลุวิชชาแล้ว อวิชชาก็หายไป อธิบายว่า พินาศไป.

เพราะเหตุไร ? เพราะวิชชาเกิดขึ้น. ในบททั้งสองแม้นอกนี้ ก็นัยนี้

บทว่า ต ในบทว่า ยถา ต นี้ เป็นเพียงนิบาต. ชื่อว่าผู้ไม่ประมาท

เพราะไม่อยู่ปราศจากสติ ชื่อว่ามีความเพียร เพราะมีความเพียร

เครื่องเผากิเลส ชื่อว่าผู้มีตนส่งไป อธิบายว่า ผู้มีจิตส่งไปแล้ว

เพราะไม่อาลัยในกายและชีวิต. ท่านอธิบายไว้ดังต่อไปนี้:- เมื่อ

บุคคลไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ อวิชชา พึงถูกขจัดไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 356

วิชชาพึงเกิดขึ้น ความมืดพึงถูกขจัดไป ความสว่างพึงเกิดขึ้น

ฉันใด อวิชชาอันเราขจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้น ความมืดเราขจัดแล้ว

ความสว่างเกิดขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน. เรานั้นได้ผลอันสมแก่การ

ประกอบความเพียรทีเดียว.

บทว่า อย โข เม พฺราหฺมณ ปมา อภินิพฺภิทา อโหสิ

กุกฺกุฏจฺฉาปกสฺเสว อณฺฑโกสมฺพา ความว่า ดูก่อนพราหมณ์

การทำลายกะเปาะไข่ คืออวิชชาอันปกปิดขันธ์ที่เคยอยู่อาศัย

ในกาลก่อน ด้วยจะงอยปาก คือบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้

ในการระลึกชาติหนหลัง แล้วชำแรกได้ครั้งที่ ๑ ออกไปครั้งที่ ๑

เกิดเป็นอริยะครั้งที่ ๑ นี้แล ได้มีแล้วแก่เรา เหมือนลูกไก่ทำลาย

กะเปาะฟองไข่ ด้วยจะงอยปากหรือปลายเล็บเท้าแล้วชำแรกออกไป

จากกะเปาะฟองไข่นั้น เกิดเติบโตในฝูงไก่ ฉะนั้น. นัยในบุพเพ-

นิวาสกถาว่าด้วยความรู้เรื่องขันธ์เป็นที่อยู่อาศัยในกาลก่อน เพียง

เท่านี้ก่อน.

ส่วนในจุตูปปาตกถา ว่าด้วยความรู้จุติและอุบัติของสัตว์

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วิชฺชา ได้แก่ วิชชา คือ ทิพพจักขุญาณ. บทว่า

อวิชฺชา ได้แก่ อวิชชาอันปกปิดจุตูปปาตญาณ. เหมือนอย่างกล่าวไว้

ในบุพเพนิวาสกถาว่า ทำลายกะเปาะฟองไข่ คืออวิชชาอันปกปิด

ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน ด้วยจะงอยปาก คือบุพเพนิวาสานุสสติญาณ

ดังนี้ ฉันใด ในที่นี้ควรกล่าว ว่าทำลายกะเปาะไข่ คืออวิชชา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 357

อันปกปิดจุติและอุบัติของสัตว์ ด้วยจะงอยปาก คือ จุตูปปาตญาณ

ดังนี้ ฉะนั้น.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการบรรลุอาสวักขย-

ญาณ ซึ่งกำหนดเอาด้วยปัจจเวกขณญาณแก่พราหมณ์ จึงตรัส

คำมีอาทิว่า อย โข เม พฺราหฺมณ ตติยา วิชฺชา ดังนี้. ในบทเหล่านั้น

บทว่า วิชฺชา ได้แก่ วิชชาคืออรหัตมรรคญาณ. บทว่า อวิชฺชา

ได้แก่ อวิชชาที่ปกปิดสัจจะทั้ง ๔ ในบทว่า อย โข เม พฺราหฺมณ

ตติยา ภินิพฺภิทา อโหสิ นี้ มีวินิจฉัยยดังต่อไปนี้. ดูก่อนพราหมณ์

การที่เราทำลายกะเปาะฟองไข่ คืออวิชชาอันปกปิดสัจจะทั้ง ๔

ด้วยจะงอยปาก คืออาสวักขยญาณแล้วชำแรกออกครั้งที่ ๔ ออกไป

ครั้งที่ ๓ เกิดเป็นอริยะครั้งที่ ๓ นี้แล ได้มีแล้วแก่เรา เหมือนลูกไก่

ทำลายกะเปาะฟองไข่ด้วยจะงอยปาก หรือด้วยปลายเล็บเท้าแล้ว

ชำแรกออกจากกะเปาะฟองไข่นั้น เกิดมาเติบโตในฝูงไก่ ฉะนั้น.

ถามว่า ด้วยคำเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไร ?

ตอบว่า ทรงแสดงความนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็ลูกไก่นั้นทำลาย

กะเปาะฟองไข่แล้วออกจากกะเปาะฟองไข่นั้น เกิดครั้งเดียว

เท่านั้น แต่เราทำลายกะเปาะฟองไข่ คืออวิชชาอันปิดขันธ์ที่

อาศัยอยู่ในก่อน เกิดครั้งแรกด้วยวิชชา คือบุพเพนิวาสานุสสติ-

ญาณก่อน จากนั้นก็ทำลายกะเปาะฟองไข่คืออวิชชาอันปิดจุติ

และปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย เกิดครั้งที่ ๒ ด้วยวิชชา คือทิพย-

จักษุญาณ ต่อไปลำลายกะเปาะฟองไข่คืออวิชชาอันปิดสัจจะ

ทั้ง ๔ เกิดครั้งที่ ๓ ด้วยวิชชา คืออาสวักขยญาณ เราเกิด ๓ ครั้ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 358

ด้วยวิชชา ๓ อย่างนี้ และการเกิดของเรานั้น เป็นของประเสริฐ

งาม บริสุทธิ์. ก็เมื่อทรงแสดงอย่างนี้ ได้ประกาศพระสัพพัญญูคุณ

แม้ทั้งหมดด้วยวิชชา ๓ อย่างนี้ คือประกาศอตีตังสญาณด้วย

บุพเพนิวาสญาณ ประกาศปัจจุบันนังสญาณและอนาคตังสญาณ

ด้วยทิพยจักษุญาณ ประกาศโลกิยคุณและโลกุตตรคุณทั้งสิ้นด้วย

อาสวักขยญาณ ทรงแสดงความที่พระองค์ก็เป็นผู้เจริญที่สุด และ

ประเสริฐสุดด้วยอริยชาติ การเกิดอันประเสริฐแก่พราหมณ์.

บทว่า เอว วุตฺเต เวรญฺโช พฺราหฺมโณ ความว่า เมื่อพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงอนุเคราะห์ชาวโลก เมื่อจะทรงอนุเคราะห์

พราหมณ์ ตรัสภาวะที่พระองค์เป็นผู้เจริญที่สุดและประเสริฐที่สุด

ด้วยอริยชาติการเกิดอันประเสริฐแม้ที่ควรปกปิด ด้วยพระธรรม

เทศนาอันประกาศวิชชา ๓ อย่างนี้ เวรัญชพราหมณ์มีกายและ

จิตเต็มด้วยความซาบซ่านแห่งปีติ เข้าใจถึงความที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้า เป็นผู้เจริญที่สุดและประเสริฐที่สุดด้วยการเกิดอันประเสริฐนั้น

ได้ตำหนิตนว่า เราได้กล่าวหาพระสัพพัญญูผู้ประกอบด้วยคุณ

ทั้งปวง ผู้เจริญที่สุดในโลกทั้งปวง เช่นว่า ไม่ทำกรรมมีการกราบ

เป็นต้นแก่คนอื่น น่าติจริงหนอพราหมณ์ ช่างไม่รู้ จึงตกลงใจว่า

บัดนี้ ท่านผู้นี้เป็นผู้เจริญที่สุด เพราะเกิดก่อนด้วยอริยชาติ ความ

เกิดอันประเสริฐในโลก เป็นผู้ประเสริฐที่สุด เพราะไม่มีผู้ทัดเทียม

ด้วยคุณทั้งปวง แล้วได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ท่านพระโคดมเป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดมเป็นผู้ประเสริฐที่สุด

ก็แลครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว เมื่อจะชมเชยพระธรรมเทศนาของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 359

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นต่อไป จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อภิกฺกนฺต โภ

โคดม ไพเราะจริง ท่านพระโคดม. คำนั้นมีเนื้อความดังกล่าวแล้ว

นั่นแล.

จบ อรรถกถาเวรัญชสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 360

๒. สีหสูตร

[๑๐๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฆาคาร-

ศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียง

เป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญ พระพุทธ

พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย.

ก็สมัยนั้นแล สีหเสนาบดี สาวกของนิครนถ์นั่งอยู่ในบริษัทนั้น

ลำดับนั้นสีหเสนาบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย

จริงอย่างนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อจำนวนมากประชุมกันที่สัณฐาคาร

กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดยอเนกปริยาย

ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์นั้นเถิด ลำดับนั้น สีหเสนาบดีเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตร

ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จึงกล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม.

นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวว่า ดูก่อนสีหะ ก็ท่านเป็นกิริยวาท

จักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมเป็นอกิริยวาททำไม เพราะพระ-

สมณโคดมเป็นอกิริยวาท จึงแสดงธรรมเพื่อกิริยวาท และแนะนำ

พวกสาวกด้วยอกิริยวาทนั้น ครั้งนั้น การตระเตรียมที่จะเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าของสีหเสนาบดี ระงับไป.

แม้ครั้งที่สอง เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ได้นั่ง

ประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 361

พระสงฆ์ โดยอเนกปริยา แม้ครั้งที่สอง สีหเสนาบดีก็มีความคิด

ดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย... การตระเตรียมที่จะเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าของสีหเสนาบดีระงับไป,

แม้ครั้งที่สาม เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุม

กันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

โดยอเนกปริยาย แม้ครั้งที่สาม สีหเสนาบดีก็มีความคิดดังนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดยไม่ต้องสงสัย จริงอย่างนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก

นั่งประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม

พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย พวกนิครนถ์ทั้งหลาย เราจะลาหรือ

ไม่ลา จักทำอะไรเราได้ ผิฉะนั้นเราจะไม่ลาละ พึงเข้าเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด.

ลำดับนั้น สีหเสนาบดีออกจากกรุงเวสาลี ในเวลายังวัน

พร้อมด้วยรถประมาณ ๕๐๐ คัน เพื่อเฝ้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นไปด้วยยานเท่าที่ยานจะไปได้ แล้วลงจากยานเดินตรงเข้าไป

ยังอาราม แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมา

ดังนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท

และแนะนำสาวกด้วยอกิริยวาทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ชนเหล่าใด

กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 362

อกิริยวาท และแนะนำสาวกด้วยอกิริยวาทนั้น คนเหล่านั้นจะชื่อว่า

กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว มิใช่กล่าวตู่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม

หรือ การคล้อยตามวาทะอันชอบแก่เหตุไร ๆ จะไม่มาถึงฐานะ

อันสมควรติเตียนแลหรือ เพราะข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสีหะ เหตุที่เขากล่าวหา

เราว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ผู้กล่าวกรรมอันบุคคลทำอยู่ว่า

ไม่เป็นอันทำ แสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกนั้นหลาย

ด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นกิริยวาท ผู้

กล่าวกรรมอันบุคคลทำอยู่ว่า เป็นอันทำ ย่อมแสดงธรรมเพื่อ

กริยวาทและแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ

นั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอุจเฉทวาท

ผู้กล่าวความขาดสูญ ย่อมแสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และแนะนำ

สาวกทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นเชคุจฉี คนช่าง

เกลียด ย่อมแสดงธรรมเพื่อเชคุจฉี และแนะนำสาวกทั้งหลาย

ด้วยเชคุจฉี ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นเวนยิกะ คน

กำจัด ย่อมแสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวกนั้นหลายด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 363

การกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นตปัสสี คน

เผาผลาญ ย่อมแสดงธรรมเพื่อเผาผลาญ และแนะนำสาวก

ทั้งหลายด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอัปปคัพภะ

ไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำ

สาวกทั้งหลายด้วยการไม่ผุดไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น

มีอยู่.

เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอัสสัตถะ

คนใจเบา ย่อมแสดงธรรมเพื่อความใจเบา และแนะนำสาวกทั้งหลาย

ด้วยการใจเบา ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่.

ดูก่อนสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น

อกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวก

ด้วยอกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูก่อนสีหะ

เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรา

กล่าวการไม่ทำซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุ

ที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรม

เพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอกิริยวาท ดังนี้

ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น

กิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่อกิริยวาท และแนะนำสาวก

ด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูก่อนสีหะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 364

เพราะเรากล่าวการทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต กล่าวการ

ทำกุศลธรรมหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากกล่าวหาเราว่า พระ-

สมณโคดมเป็นกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่อกิริยวาท และแนะนำ

สาวกทั้งหลายด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม

เป็นอุจเฉทวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และแนะนำสาวก

ทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูก่อน

สีหะ เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะ โทสะ โมหะ และ

ธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเรา

ว่าพระสมณโคดมเป็นอุจเฉทวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาท

และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ. เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น

เชคุจฉี คนช่างเกลียด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความช่างเกลียด และ

แนะนำสาวกทั้งหลายด้วยความช่างเกลียด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ

นั้นเป็นไฉน ดูก่อนสีหะ เพราะเราเกลียดชังกายทุจริต วจีทุจริต

มโนทุจริต และเกลียดชังการเข้าถึงธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลาย

อย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคน

ช่างเกลียด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความช่างเกลียด และแนะนำสาวก

ด้วยความช่างเกลียด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น

เวนยิกะ คนกำจัด ย่อมแสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวก

ทั้งหลายด้วยการกำหนด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 365

สีหะ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ และธรรม

อันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า

พระสมณโคดมเป็นคนกำจัด ย่อมแสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำ

สาวกทั้งหลายด้วยการกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น

ตปัสสี คนเผาผลาญ ย่อมแสดงธรรมเพื่อความเผาพลาญ และ

แนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น

เป็นไฉน ดูก่อนสีหะ เพราะเรากล่าวธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมควรเผาผลาญ

ดูก่อนสีหะ ผู้ใดแลละธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่ควรเผาผลาญได้แล้ว

ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้

เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่า ตัดรากขาดแล้ว ทำ

ให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็น

ธรรมดา นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น

คนเผาผลาญ ย่อมแสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ และแนะนำ

สาวกทั้งหลายด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม

เป็นอัปปคัพภะ คนไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความไม่ผุด

ไม่เกิด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการไม่ผุดไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่า

กล่าวชอบนั้น. เป็นไฉน ดูก่อนสีหะ ผู้ใดแลละการนอนในครรภ์

การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล

ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 366

ผู้ไม่ผุดไม่เกิด ตถาคตละการนอนในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว

ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด

อีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้ เป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณ-

โคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดไม่เกิด

และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการไม่ผุดไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ดูก่อนสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็น

อัสสัตถะ คนใจเบา ย่อมแสดงธรรมเพื่อใจเบา และแนะนำสาวก

ทั้งหลายด้วยการใจเบา ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ก่อน

สีหะ เพราะเราเป็นคนใจเบา ย่อมแสดงดธรรมเพื่อความใจเบา

ด้วยความใจเบา อย่างยิ่ง และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการใจเบา

นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนใจเบา

ย่อมแสดงธรรมเพื่อความใจเบา และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการ

ใจเบา ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิต

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ

ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

พ. ดูก่อนสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ

การใคร่ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของคนที่มีชื่อเสียง

เช่นท่าน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 367

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พอใจชื่นใจอย่าง

ล้นเหลือต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ด้วยพระดำรัสที่ตรัสกะข้าพระองค์

ว่า ดูก่อนสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การ

ใคร่ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของตนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน

เพราะพวกอัญญเดียรถีย์ได้ข้าพระองค์เป็นสาวกแล้ว พึงยกธง

เที่ยวประกาศทั่วเมืองเวสาลีว่า สีหเสนานดียอมเป็นสาวกพวกเรา

แล้ว แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ากลับตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า

ดูก่อนสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่-

ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของคนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับ

ทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นครั้งที่สอง ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ

ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

พ. ดูก่อนสีหะ ตระกูลของท่านเป็นเสมือนบ่อน้ำของพวก

นิครนถ์มานานแล้ว ท่านควรสำคัญบิณฑบาตที่ท่านจะพึงให้แก่

พวกนิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปแล้ว.

สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พอใจชื่นใจอย่าง

ล้นเหลือต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า มีด้วยพระดำรัสที่ตรัสกะข้าพระองค์

ว่า ดูก่อนสีหะ ตระกูลของท่านเป็นเสมือนบ่อน้ำของพวกนิครนถ์

มานานแล้ว ท่านควรสำคัญบิณฑบาต ที่ท่านจะพึงให้แก่พวกนิครนถ์

เหล่านั้นผู้เข้าไปแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมา

ดังนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ควรให้ทานแก่เราเท่านั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 368

ไม่ควรให้แก่ผู้อื่น ควรให้แก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่

สาวกของพวกอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่พวกอื่น

ไม่มีผลมาก ให้แก่สาวกของเราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่สาวกของ

พวกอื่นไม่มีผลมาก แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ากลับตรัสชักชวนข้า

พระองค์ในการให้ทานแม้ในพวกนิครนถ์ด้วย อนึ่ง ข้าพระองค์

จักรู้กาลอันควร ที่จะให้ทานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่า

เป็นสรณะ เป็นครั้งที่สาม ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำ

ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพพิกถาโปรดสีห-

เสนาบดี คือ ทรงประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกาม

อันต่ำทรามเศร้าหมอง และอานิสงส์ในเนกขัมมะ เมื่อใด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงทราบว่า สีหเสนาบดี มีจิตควร อ่อน ปราศจาก

นิโวรณ์ บันเทิง เลื่อมใสแล้ว เมื่อนั้น จึงทรงประกาศพระธรรม-

เทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงเอง คือ ทุกข์ สมุทัย

นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น

แก่สีหเสนาบดี ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น

ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือน

ผ้าที่สะอาดปราศจากดำ จะพึงย้อมติดดี ฉะนั้น.

ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีผู้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว

รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว

ปราศจากความเคลือบแคลงแล้ว ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้อง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 369

เชื่อผู้อื่น ในพระศาสนาของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์รับนิมนต์ฉันอาหารบิณฑบาตในวันพรุ่งนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ.

ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รับนิมนต์แล้วลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ

ประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดี เรียกชายคนหนึ่ง

มาบอกว่า พ่อมหาจำเริญ พ่อจงไปหาเนื้อ เลือกเอาเฉพาะที่ขาย

ทั่วไป พอล่วงราตรีนั้น สีหเสนาบดีสั่งให้จัดขาทนียโภชนียาหาร

อันประณีตไว้ในนิเวศน์ของตนแล้ว ให้ไปกราบทูลเวลาภัตตาหาร

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผูเจริญ ถึงเวลาแล้ว

พระเจ้าข้า ภัตตาหารในนิเวศน์ของท่านสีหเสนาบดีสำเร็จแล้ว.

ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก

ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของสีหเสนาบดี ประทับ

นั่งบนอาสนะที่ปูไว้พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ก็สมัยนั้น นิครนถ์เป็น

จำนวนมาก พากันประคองแขนคร่ำครวญตามถนนต่าง ๆ ตาม

สีแยกต่าง ๆ ในกรุงเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์อ้วนพี

ปรุงเป็นอาหารถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้ ทรง

ฉันอุทิศมังสะที่เขาอาศัยตนทำ.

ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปหาสีหเสนาบดีกระซิบบอกว่า

พระเดชพระคุณได้โปรดทราบ นิครนถ์เป็นจำนวนมากเหล่านี้

พากันประคองแขนคร่ำครวญตามถนนต่าง ๆ ตามสี่แยกต่าง ๆ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 370

ในกรุงเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์อ้วนพีปรุงเป็นภัตตาหาร

ถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้อยู่ ทรงฉันอุทิศมังสะ

ที่เขาอาศัยตนทำ.

สีหเสนาบดีกล่าวว่า อย่าเลย เพราะเป็นเวลานานมาแล้ว

ที่พระคุณเจ้าเหล่านั้น ใคร่จะกล่าวโทษพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

แต่ท่านเหล่านี้ไม่กระดากอายเสียเลย ย่อมกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยคำอันไม่เป็นจริง แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตไม่ ลำดับนั้น สีหเสนาบดี

ได้อังคาสพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำสำราญ

ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน และเมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าฉันเสร็จแล้ว ชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว สีหเสนาบดี

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง

ชี้แจง สีหเสนาบดีนั่งเรียบร้อยแล้ว ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้

อาจหาญ รื่นเริงด้วยธรรมมีกถา แล้วเสด็จลุกจากที่นั่งหลีกไป.

จบ สีหสูตรที่ ๒

อรรถกถาสีหสูตาที่ ๒

สีหสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิญฺาตา ได้แก่ รู้จักกันแล้ว รู้จักกันแล้ว ปรากฏ

แล้ว. บทว่า สนฺถาคาเร ได้แก่ สันถาคารของมหาชน คือ เรือนที่

สร้างไว้เพื่อต้องการพักผ่อน (ของมหาชน). เล่ากันว่า สันถาคาร-

ศาลานั้น ได้มีอยู่กลางเมือง ปรากฏแก่คนทั้งสองซึ่งอยู่ที่ประตู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 371

ทั้ง ๔ ด้าน พวกมนุษย์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ พักผ่อนที่สันถาคาร

นั้นก่อน ภายหลังจึงไปยังที่อันผาสุกแก่ตน. บางอาจารย์กล่าวว่า

เรือนที่สร้างไว้เพื่อปฏิบัติราชกิจของราชตระกูล ดังนี้บ้าง. จริงอยู่

เจ้าลิจฉวีประทับนั่งที่สันถาคารนั้น ริเริ่มกระทำจัดราชกิจ. บทว่า

สนฺนิสินฺนา ความว่า นั่งประชุมบนอาสนะที่ตกแต่งไว้ มีเครื่อง

ลาดควรค่ามาก ยกเศวตฉัตรขั้นไว้ เพื่อสำหรับเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น

ประทับนั่ง.

บทว่า อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส วณฺณ ภาสนฺติ ความว่า

เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย พิจารณาในราชสกุลและการบำเพ็ญประโยชน์

แก่โลกแล้วกล่าวพูดของคุณของพระพุทธเจ้าด้วยเหตุมิใช่น้อย.

จริงอยู่ เจ้าเหล่านั้นเป็นบัณฑิตมีศรัทธาเสื่อมใส เป็นพระอริยสาวก

ระดับโสดาบันบ้าง สกทาคามีบ้าง อนาคามีบ้าง เจ้าเหล่านั้นทุก

พระองค์ตัดรกชัฏฝ่ายโลกีย์ได้แล้ว สรรเสริญคุณของรัตนะทั้ง ๓

มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. บรรดารัตนะทั้ง ๓ เหล่านั้น ชื่อว่า คุณของ

พระพุทธเจ้ามี อย่าง คือ จริยคุณ สรีรคุณ คุณคุณ. บรรดา

คุณทั้ง ๓ นั้น เจ้าเหล่านี้ ปรารภพระจรรยาคุณ :- คือกล่าวคุณ

ของพระพุทธเจ้าด้วยชาดก ๕๕๐ เรื่องว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศคือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ-

บารมี ๑๐ สิ้นสี่อสงไขยกำไรแสนกัป ทรงทำญาตัตถจริยา โลกัตถ-

จริยา และพุทธัตถจริยาให้ถึงที่สุด แล้วทำบริจาคซึ่งมหาบริจาค

๕ ประการ ทรงทำกิจกรรมที่ทำยากหนอดังนี้ พรรณนาจนถึง

ภพดุสิตแล้วจึงหยุด.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 372

อนึ่ง เมื่อกล่าวคุณของพระธรรม ได้กล่าวพระธรรมคุณ

เป็นส่วน ๆ ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

แสดงแล้ว ว่าโดยนิกายมี ๕ นิกาย ว่าโดยปิฎกมี ๓ ปิฎก ว่าโดย

องค์มี ๙ องค์ ว่าโดยขันธ์มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.

เมื่อกล่าวคุณของพระสงฆ์ ก็กล่าวสังฆคุณโดยสังเขป

แห่งบรรพชาว่า กุลบุตรทั้งหลายได้ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดา

ได้มีศรัทธา ละกองโภคะและวงศ์ญาติ ไม่นำพาถึงเศวตฉัตร

ตำแหน่งอุปราช ตำแหน่งเสนาบดี เศรษฐีและขุนคลังเป็นต้น

ออกบวชในศาสนาอันประเสริฐของพระศาสนา. ในสมัยพุทธกาล

เฉพาะราชบรรพชิต เช่นพระเจ้าภัททิยะ พระเจ้ามหากัปปิยและ

พระเจ้าปุกกุสาติเป็นต้น ผู้ละเศวตฉัตรออกบวชมีจำนวนถึง

๘๐,๐๐๐ พระองค์. ส่วนสำหรับกุบบุตรทั้งหลายมีสกุลบุตร

โสณบุตรเศรษฐี และรัฐปาลกุลบุตรเป็นต้น ผู้ละทรัพย์หลายโกฏิ

ออกบวช กำหนดไม่ได้ กุลบุตรเห็นปานนี้ ๆ ย่อมบวชในพระ-

ศาสนาของพระศาสดา.

บทว่า สีโห เสนาปติ ได้แก่ แม่ทัพผู้มีชื่ออย่างนั้น. ก็ใน

เมืองเวสาลี มีเจ้าถึง ๗,๗๐๗ พระองค์ แม้เจ้าทั้งหมดนั้นประชุม

กัน เจ้าทั้งหมดต่างยึดน้ำใจกัน เลือกเฟ้นกันว่า ท่านทั้งหลาย

จงเลือกเฟ้นเจ้าสักพระองค์หนึ่งผู้สามารถบริหารรัฐแว่นแคว้นได้

เห็นสีหราชกุมาร จึงตกลงกันว่า ผู้มีจักสามารถ จึงได้ถวายฉัตร

ประจำตำแหน่งเสนาบดีสีเหมือนทับทิม บุด้วยผ้ากัมพลแก่สีหราช-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 373

กุมารนั้น. ทรงหมายเอาสีหราชกุมารนั้นจึงตรัสว่า สีโห เสนาปติ

ดังนี้.

บทว่า นิคฺคณฺสาวโก ได้แก่ อุปฐากผู้ให้ปัจจัยแก่นิครนถ์

นาฏบุตร. ก็ในภาคพื้นชมพูทวีป มีชน ๓ คนที่เป็นอัครอุปฐาก

ของพวกนิครนถ์ คือ ในเมืองนาลันทาอุบาลีคหบดี,ในเมืองกบิลพัสดุ์-

วัปปศากยะ, ในเมืองเวสาลีสีหเสนาบดีผู้นี้.

บทว่า นิสินฺโน โหติ ความว่า ปูลาดอาสนะตามริม ๆ สำหรับ

บริษัทของเหล่าเจ้าหอกนั้น ส่วนของสีหเสนาบดี ปูลาดไว้ตรงกลาง

ดังนั้น สีหเสนาบดีจึงประทับนั่งเหนือราชอาสน์อันควรค่ามากที่เขา

บทว่า นิสฺสสย ได้แก่ ไม่สงสัย คือโดยแม้ส่วนเดียว เพราะว่า

เจ้าลิจฉวีเหล่านี้จะไม่กล่าวคุณของเจ้าผู้มีศักดิ์น้อยองค์ไร ๆ ด้วย

เหตุหลายร้อยอย่างนี้.

บทว่า เยน นิคฺคณฺโ นาฏปุตฺโต เตนุปสงฺกมิ ความว่า

เขาเล่าว่า นิครนถ์นาฏบุตรคิดว่า ถ้าสีหเสนาบดีนี้ เมื่อใคร ๆ

กล่าวคุณของพระสมณโคดม ได้ฟังแล้วจักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม

ไซร้ เราก็จักเสื่อม จึงได้กล่าวคำนี้ กะสีหเสนาบดีล่วงหน้าไว้ก่อนว่า

ดูก่อนเสนาบดี ในโลกนี้ คนเป็นอันมากเที่ยวพูดว่า เราเป็น

พระพุทธเจ้า เราเป็นพระพุทธเจ้า ถ้าท่านประสงค์จะเข้าไปพบ

ใคร ๆ ไซร้ ควรจะถามเรา ที่อันสมควร เราจะส่งท่านไปที่ไม่

สมควร เราก็จะห้ามท่านเสีย สีหเสนาบดีนั้นระลึกถึงถ้อยคำนั้น

จึงคิดว่า ถ้าท่านนิครนถ์นาฏบุตรจักส่งเราไปไซร้ เราจักไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 374

ถ้าไม่ส่ง เราจักไม่ไป ดังนี้แล้วเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่.

ครั้งนั้น นิครนถ์ได้ฟังคำของสีหเสนาบดีนั้น ถูกความโศกอย่าง

รุนแรงดุจภูเขาใหญ่ทับ เสียใจว่า เราไม่ปราถนาให้เขาไปที่ใด

เขาก็ประสงค์จะไปที่นั้น เราถูกเขาฆ่าเสียแล้ว จึงคิดว่า เราจัก

ทำอุบายห้ามเขา จึงกล่าวคำ อาทิว่า กึ ปน ตฺว ดังนี้. นิครนถ์

เมื่อกล่าวอย่างนี้ ทำปีติอันเกิดขึ้นแล้วของสีหเสนาบดีให้พินาศไป

เหมือนเอาปากกระแตกโคตัวกำลังเที่ยวไป เหมือนทำประทีปที่

ลุกโพลงให้ดับ เหมือนคว่ำบาตรที่เต็มภัตตาหาร ฉะนั้น. บทว่า

คมิยาภิสงฺขาโร ได้แก่ การตระเตรียมที่เป็นไปโดยการให้เทียมช้าง

ม้า และการถือเอามาลัยและของหอมเป็นต้น. บทว่า โส วูปสนฺโต

ได้แก่ การเตรียมจะไปนั้นถูกระงับแล้ว.

บทว่า ทุติยมฺปิ โข คือ แม้วาระที่ ๒. ในวาระแม้นี้ เมื่อ

เจ้าลิจฉวีสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า ได้กล่าวสรีรคุณ ด้วย

อำนาจมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ พระอนุพยัญชนะ ๘๐

และพระรัศมีข้างละวาแห่งพระทศพล กำหนดเอาเบื้องล่างแต่พื้นเท้า

ขึ้นไป เบื้องบนแต่ปลายผมลงมา ตั้งแต่ภพดุสิตจนถึงมหาโพธิบัลลังก์.

เมื่อจะกล่าวสรรเสริญคุณพระธรรมได้กล่าวคุณของพระธรรม

ด้วยอำนาจธรรมที่ตรัสไว้ดีแล้วเท่านั้นว่า ชื่อว่าความพลั้งพลาด

ในบทหนึ่งก็ดี ในพยัญชนะตัวหนึ่งก็ดี ไม่มีเลย. เมื่อกล่าวสรรเสริญ

คุณของพระสงฆ์ ได้กล่าวคุณของพระสงฆ์ ด้วยอำนาจปฏิปทา

การปฏิบัติว่า กุลบุตรผู้ละยศ สิริ และทรัพย์สมบัติเห็นปานนี้

บวชในศาสนาของพระศาสดา ไม่เป็นผู้เกียจคร้านปกติ แต่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 375

เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในธุดงค์คุณ ๑๓ ประการ กระทำกิจกรรม

ในอนุปัสสนา ๗ ใช้การจำแนกอารมณ์ ๓๘.

ก็ในวาระที่ ๓ เมื่อจะกล่าวสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า

กล่าวพุทธคุณทั้งหลายโดยปริยายแห่งพระสูตรนั่นแลว่า อิติปิ โส

ภควา ดังนี้เป็นต้น. กล่าวสรรเสริญพระธรรมคุณทั้งหลายโดย

ปริยายแห่งพระสูตรนั่นแหละว่า สฺวากฺขาโต ภควาตา ธมฺโม

ดังนี้เป็นต้น. กล่าวสรรเสริญพระสังฆคุณทั้งหลายโดยปริยาย

แห่งพระสูตรนั่นแหละว่า สุปฏิปนฺดน ภควโต สาวกสงฺโฆ

ดังนี้เป็นต้น. ลำดับนั้น สีหเสนาบดีคิดว่า ก็เมื่อบิจฉวีราชกุมาร

เหล่านี้กล่าวพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จำเดิมแต่วันที่ ๓

พระโอฐก็ไม่พอ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงประกอบ

ด้วยพระคุณไม่ต่ำทรามแน่ บัดนี้ เราจะไม่ละปีติที่เกิดขึ้นแล้วนี้

อย่างเด็ดขาด จักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าวันนี้. ลำดับนั้น

สีหเสนาบดีเกิดความวิตกขึ้นว่า พวกนิครนถ์จักกระทำอะไรแก่เรา

เล่า. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ หิ เม กริสฺสนฺติ ความว่า

นิครนถ์ทั้งหลายจักกระทำอไรแก่เรา. บทว่า อปโลกิตา วา

อนปโลกิตา วา ได้แก่ บอกกล่าวหรือจะไม่บอกกล่าว. อธิบายว่า

นิครนถ์เหล่านั้นเราบอกกล่าวแล้ว จักให้สมบัติ. คือยานพาหนะ

(และ) อิศริยยศอันพิเศษก็หาไม่ เราไม่บอกกล่าว เขาจักนำ

อิศริยยศไปเสียก็หามิได้ การบอกกล่าวนิครนถ์เหล่านั้นจึงไม่มีผล.

บทว่า เวสาลิยา นิยฺยาสิ ความว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อฝนตก

ในฤดูร้อน น้ำไหลลงสู่แม่น้ำ ไหลไปได้หน่อยหนึ่งเท่านั้นก็หยุด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 376

ไม่ไหล ฉันใด เวลาที่เมื่อปีติเกิดขึ้นแก่สีหเสนาบดีในวันแรกว่า

เราจักเฝ้าพระทศพล ถูกนิครนถ์ห้ามไว้ก็ฉันนั้น. เหมือนอย่างว่า

เมื่อฝนตกในวันที่ ๒ น้ำไหลลงสู่แม่น้ำ ไหลไปได้หน่อยหนึ่ง ปะทะ

กองทรายเข้า ก็หยุดไหล ฉันใด เวลาที่เมื่อปีติเกิดขึ้นแก่สีหเสนาบดี

ในวันที่ ๒ ว่าเราจักเฝ้าพระทศพล ถูกนิครนถ์ห้ามไว้ ก็ฉันนั้น.

เมือฝนตกในวันที่ ๓ น้ำไหลลงสู่แม่น้ำ พัดพาเอาใบไม้เก่า ท่อนไม้

แห้ง ต้นอ้อ และหยากเยื่อเป็นต้นไป พังกองทราย ไหลลงสมุทร

ไปได้ ฉันใด สีหเสนาบดีก็ฉันนั้น เมื่อความปีติปราโมทย์ เกิดขึ้น

เพราะได้ฟังกถาพรรณนาคุณของวัตถุ (คือสรณะ) ทั้ง ๓ ในวันที่ ๓

จึงคิดว่า พวกนิครนถ์ไม่มีผล พวกนิครนถ์ไร้ผล นิครนถ์เหล่านี้

จักทำอะไรเรา จำเราจักไปเฝ้าพระศาสดา จึงตระเตรียมการ

เสร็จแล้วก็ออกไปจากเมืองเวสาลี. ก็เมื่อจะออกไปคิดว่า เรา

ประสงค์จะไปเฝ้าพระทศพล เป็นเวลานานมาแล้ว ก็การไปด้วย

เพศที่ใคร ๆ ไม่รู้จัก (คือปลอมตัวไป) ไม่ควรแก่เราแล จึงให้

ป่าวร้องว่า คนเหล่าใดเหล่าหนึ่งประสงค์จะไปเฝ้าพระทศพล

คนทั้งหมดจงออกมา แล้วให้เทียมรถ ๕๐๐ คัน และบริษัทหมู่ใหญ่

ห้อมล้อม ถือเอาของหอม ดอกไม้ และจุณณอบ เป็นต้นออกไป.

บทว่า ทิวา ทิวสฺส ได้แก่ ในเวลากลางวัน คือในเวลา

ประมาณเลยเที่ยงไป. บทว่า. เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า

เมื่อเข้าไปยังพระอารามได้เห็นพระรัศมีด้านละวาแห่งอนุพยัญชนะ

๘๐ พระปุริสลักษณะ ๓๒ และพระรัศมีหนาแน่นมีวรรณะ ๖

ประการ แต่ที่ไกลทีเดียว จึงคิดว่า เราไม่ได้พบบุรุษเห็นปานนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 377

ซึ่งอยู่ในที่ใกล้อย่างนี้ เป็นเวลาถึงเท่านี้ เราถูกลวงเสียแล้วหนอ

เราไม้มีลาภหนอ เกิดความปีติปราโมทย์ เหมือนบุรุษเข็ญใจพบ

ขุมทรัพย์ใหญ่ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

บทว่า ปรเมน อสฺสาเทน ความว่า ด้วยความโล่งใจอย่างยิ่ง

กล่าวคือมรรค ผล. บทว่า อสฺสาสาย ธมฺม เทเสมิ ความว่า

จำเราจะแสดงธรรมเพื่อความโล่งใจ เพื่อสนับสนุน. ดังนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงทรงแสดงธรรมแก่สีหเสนาบดี ด้วยองค์ ๘.

บทว่า อนุวิจฺจการ ความว่า ใคร่ครวญแล้ว อธิบายว่า

คิดแล้ว คือพิจารณาแล้วจึงกระทำกิจที่พึงกระทำ. บทว่า สาธุ โหติ

แปลว่า เป็นความดี. จริงอยู่ เมื่อบุคคลเช่นท่าน เห็นเราแล้ว

ก็ถึงเราว่าเป็นที่พึง เห็นนิครนถ์แล้วก็ถึงนิครนถ์ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อม

จะเกิดครหาขึ้นว่า ทำไม สีหเสนาบดีผู้นั้นจึงถึงผู้ที่ตนเห็นแล้ว ๆ

เท่านั้น ว่าเป็นที่พึ่งเพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงว่า

การใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ เป็นความดีสำหรับบุคคลเช่นท่าน.

บทว่า ปฏาก ปริหเรยฺยุ ความว่า ได้ยินว่า นิครนถ์เหล่านั้น

ได้บุคคลเห็นปานนั้นเป็นสาวก ก็ยกป้ายแผ่นผ้าเที่ยวป่าวร้อง

ไปในพระนครว่า พระราชาองค์นั้น ราชมหาอำมาตย์คนโน้น

เศรษฐีคนโน้นถึงสรณะที่พึ่งของเรา. เพราะเหตุไร ? เพราะ

นิครนถ์เหล่านั้นคิดว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเป็นใหญ่ของเราจัก

ปรากฏชัด และคิดว่า ก็ถ้าสีหเสนาบดีนั้น พึงเกิดความร้อนใจขึ้นว่า

เราถึงนิครนถ์เหล่านี้เป็นที่พึ่งทำไม สีหเสนาบดีนั้นจักบรรเทา

ความร้อนใจนั้นว่า ชนเป็นอันมากรู้ว่าเราถึงนิครนถ์เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 378

เป็นที่พึ่ง ก็จักไม่ถอยกลับ เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ปฏาก ปริหเรยฺยุ.

บทว่า โอปานภูต ได้แก่ ตระกูลที่ตั้งอยู่ดุจบ่อน้ำที่เขาจัด

แต่งไว้. บทว่า กุล ได้แก่ นิเวศน์ที่อยู่อาศัยของท่าน. ด้วยบทว่า

ทาตพฺพ มญฺเยฺยาสิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทว่า เมื่อ

ก่อนท่านเห็นชน ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง มาถึงไม่กล่าวว่าไม่มี

แล้วก็ให้ไป บัดนี้ ท่านอย่างตัดไทยธรรมสำหรับนิครนถ์เหล่านี้เสีย

โดยเหตุเพียงถึงเราเป็นที่พึ่งเท่านั้นเลย ความจริงท่านควรให้แก่

นิครนถ์ผู้มาถึงอย่างเดิม. สีหเสนาบดีทูลว่า คำนั้นข้าพระองค์

ได้ฟังมาแล้ว พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ได้ฟัง

มาจากไหน ? สีหเสนาบดีทูลว่า จากสำนักนิครนถ์ พระเจ้าข้า.

ได้ยินว่า นิครนถ์เหล่านั้นประกาศไปในเรือนแห่งตระกูลทั้งหลาย

อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายกล่าวว่า ควรให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งผู้มาถึงเข้า

แต่พระสมณโคดมพูดอย่างนี้ว่า ควรให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควร

ให้ทานแก่คนเหล่อื่น ควรให้แก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควร

ให้แก่สาวกของศาสดาอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ทาน

ที่ให้แก่คนเหล่าอื่นไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น

มีผลมาก ที่ให้แก่สาวกของศาสดาอื่นไม่มีผลมาก. สีหเสนาบดี

กล่าวว่า สุตเมต หมายเอาคำนัน.

บทว่า อนุปุพฺพกถ ได้แก่ ถ้อยคำตามลำดับอย่างนี้ว่า

ศีลในลำดับแห่งทาน สวรรค์ในลำดับแห่งศีล มรรคในลำดับแห่ง

สวรรค์. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานกถ ได้แก่ ถ้อยคำที่

เกี่ยวด้วยคุณของทานมีอาทิอย่างนี้ว่า ชื่อว่าทานนี้เป็นเหตุแห่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 379

ความสุข เป็นมูลแห่งสมบัติ เป็นที่ตั้งแห่งโภคะทั้งหลาย เป็นที่

ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นคติ เป็นที่สำนักของบุคคลผู้เดินทางไม่เรียบ

ที่พึงอาศัย ที่พึ่ง ที่ยึดหน่วง ที่ต้านทาน ที่เร้น ที่ไป ที่พำนัก

เช่นกันทาน ในโลกนี้และโลกหน้า ไม่มี. จริงอยู่ ทานนี้เป็นเช่น

กับอาสนะทองคำอันสำเร็จด้วยรัตนะ เพราะอรรถว่าเป็นที่พึ่ง

อาศัย เป็นเช่นกับมหาปฐวี เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งอาศัย เป็น

เช่นกับเชือกสำหรับยึดเหนี่ยว เพราะอรรถว่าเป็นที่ยึดหน่วง

และทานนี้เป็นดุจนาวา เพราะอรรถว่าเป็นที่ช่วยทุกข์ เป็นดุจนักรบ

ผู้แกล้วกล้าในสงคราม เพราะอรรถว่าเป็นที่โล่งใจ เป็นดุจนคร

ที่จัดแต่งไว้ดีแล้ว เพราะอรรถว่าเป็นที่ต้านภัย เป็นดุจดอกปทุม

เพราะอรรถว่าไม่ถูกมลทินคือ ความตระหนี่เป็นต้น ซึมซาบ เป็น

ดุจเพลิง เพราะอรรถว่าเผามลทินคือ ความตระหนี่เป็นต้นเหล่านั้น

เป็นดุจอสรพิษ เพราะอรรถว่าเข้าใกล้ได้ยาก เป็นดุจสีหะ เพราะ

อรรถว่าไม่หวาดสะดุ้ง เป็นดุจช้าง เพราะอรรถว่ามีกำลัง เป็นดุจ

โคอุสภะขาว เพราะอรรถว่าอันโลกสมบัติว่าเป็นมงคลยิ่ง เป็นดุจ

พระยาม้าวลาหก เพราะอรรถว่าทำบุคคลให้ถึงถิ่นอันเกษมปลอดภัย.

บรรดาว่าทานนี้เป็นหนทางที่เราไป นั่นเป็นวงศ์ของเรา เราเมื่อ

บำเพ็ญบารมี ๑๐ ได้ปฏิบัติมหายัญเป็นอเนกคือ มหายัญครั้งเป็น

เวลามพราหมณ์ มหายัญครั้งเป็นมหาโควินทพราหมณ์ มหายัญ

ครั้งเป็นพระเจ้าจักรพรรดินามว่ามหาสุทัศนะ มหายัญครั้งเป็น

เวสสันดร เราเมื่อครั้งเป็นกระต่ายได้มอบตนในกองเพลิงที่ลุกโชน

แล้วประคับประคองจิตของยาจกที่มาถึงไว้ได้ ด้วยว่าทานในโลก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 380

ย่อมให้สักกสมบัติ มารสมบัติ พรหมสมบัติ จักรพรรดิสมบัติ

สาวกบารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ ให้อภิสัมโพธิญาณ.

ก็เพราะเหตุที่ผู้ให้ทานอาจสมาทานศีลได้ ฉะนั้น จึงตรัส

สีลกถาในลำดับทาน. บทว่า สีลกถ ได้แก่ถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยคุณ

ของศีล มีอาทิอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ศีลนี้เป็นที่พึ่งอาศัย เป็นที่พำนัก

เป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่ต้านทาน เป็นคติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ธรรมดาว่า ศีลนี้เป็นวงศ์ของเรา เราบำเพ็ญศีลในอัตภาพทั้งหลาย

หาที่สุดมิได้ เช่นครั้งเป็นพระยานาค ชื่อว่า สังขบาล ครั้งเป็น

พระยานาค ชื่อว่า จัมเปยยะ ครั้งเป็นพระยานาค ชื่อว่า ศีลวะ

ครั้งเป็นพระยาช้างผู้เลี้ยงมารดา ครั้งเป็นพระยาช้าง ชื่อว่า

ฉัททันตะ เพราะที่พึ่งอาศัย ที่พึ่ง ที่ยึดหน่วง ที่ต้านทาน ที่เร้น

ที่ไป และที่พำนัก แห่งสมบัติในโลกนี้และโลกอื่น เสมือนศีล

ไม่มี. เครื่องประดับเช่นเครื่องประดับต่อศีลไม่มี. ดอกไม้เช่น

ดอกไม้คือศีลไม่มี กลิ่นเช่นกับกลิ่นคือศีลไม่มี เพราะชาวโลก

กับทั้งเทวโลก เมื่อตรวจดูคนผู้ประดับด้วยเครื่องประดับคือศีล

ลูบไล้ด้วยกลิ่นคือศีล ย่อมไม่อิ่มใจ อนึ่ง เพื่อทรงแสดงว่า บุคคล

อาศัยศีลนี้ ย่อมได้สวรรค์นี้จึงตรัสสัคคกถาในลำดับแห่งศีล.

บทว่า สคฺคกถ ได้แก่ ถ้อยคำที่เกี่ยวด้วยคุณแห่งสวรรค์ มีอาทิ

อย่างนี้ว่า ธรรมดาว่า สวรรค์นี้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

ในสวรรค์นี้มีการเล่นเป็นนิตย์ ได้สมบัติเป็นนิตย์ เทพชั้นจาตุ-

มหาราชิกะเสวยสุขสมบัติ ทิพยสมบัติ ๙๐,๐๐๐ ปี เทวดาชั้นดาวดึงษ์

เสวยสุขสมบัติ ทิพยสมบัติ ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ปี. จริงอยู่ พระโอษฐ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 381

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่พอที่จะกล่าวพรรณนาสวรรค์สมบัติ

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราพึงกล่าวสัคคกถา โดยอเนกปริยายแล.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสประเล้าประโลมด้วยสัคคกถา

อย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงว่า สวรรค์แม้นี้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ควร

ทำความยินดีด้วยอำนาจ ความพอใจในสวรรค์นั้น เหมือนบุคคล

ประทับช้างแล้วตัดงวงช้างเสีย จึงทรงแสดงโทษ ความต่ำทราม

ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลาย

มีความอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้

มากยิ่ง บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทีนโว ได้แก่ โทษ.

บทว่า โอกาโร แปลว่า ความต่ำทราม ได้แก่ความเลวทราม.

บทว่า สงฺกิเลโส ได้แก่ ความที่สัตว์ทั้งหลายเศร้าหมองใน

สังสารวัฏฏ์ ก็ด้วยกามเหล่านั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า ดูก่อนผู้เจริญทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงขู่ด้วยโทษแห่งกามอย่างนี้แล้ว

จึงทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ การออกจากกาม. บทว่า

กลฺลจิตฺต ได้แก่ จิตไม่เสีย. บทว่า สามุกฺกสิกา ได้แก่ พระธรรม-

เทศนาที่ทรงยกขึ้นเอง. คือจับยกขึ้นด้วยพระองค์เอง อธิบายว่า

พระธรรมเทศนาที่ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ ไม่สาธาธารณ์

ทั่วไปแก่คนเหล่าอื่น. ถามว่า ก็เทศนาที่ยกขึ้นแสดงเองนั้นคืออะไร ?

ตอบว่า คือ อริยสัจจเทศนา. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า

ทุกข สมุทย นิโรธ มคฺค. บทว่า วิรช วีตมล ความว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 382

ธรรมจักษุ ชื่อว่า ปราศจากธุลี เพราะไม่มีธุลีคือราคะ เป็นต้น.

ชื่อว่า ปราศจากมลทิน เพราะปราศจากมลทิน มีมลทินคือราคะ

เป็นต้น. ในบทว่า ธมฺมจกฺขุ นี้ หมายถึงโสดาปัตติมรรค.

เพื่อจะทรงแสดงอาการเกิดขึ้นของโสดาปัตติมรรคนั้น จึงตรัสว่า

ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺม สพฺพนฺต นิโรธธมฺม สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.

ก็ธรรมจักขุนั้น ทำนิโรธให้เป็นเป็นอารมณ์ รู้แจ้งแทงตลอดธรรม

คือสัจจะด้วยอำนาจกิจนั่นแหละเกิดขึ้น.

อริยสัจจธรรม อันสีหเสนาบดีนั้นเห็นแล้ว เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า ทิฏฐธัมมะ ผู้มีธรรมอันเห็นแล้ว แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้

วิจิกิจฉา อันสีหเสนาบดีนั้น ข้ามได้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ติณฺณวิจิกิจฺฉะ มีวิจิกิจฉา ความสงสัยอันข้ามได้แล้ว. ความ

เคลือบแคลงของสีหเสนาบดีนั้น ไปปราศแล้ว เพราะเหตุนั้น จึง

ชื่อว่า วิคตกถังกถะ ผู้ปราศจากความเคลือบแคลง สีหเสนาบดีนั้น

ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เวสารัชชปัตตะ

ผู้ถึงความแกล้วกล้า. ผู้อื่นไม่เป็นปัจจัยแห่งเสนาบดีนั้นในศาสนา

ของพระศาสดา คือเขาเป็นไปในศาสนานี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่น

เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า อปรปัจจยะ ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย.

บทว่า ปวตฺตมส ได้แก่ เนื้อที่เป็ปกัปปิยะ ที่เป็นไปแล้ว

ตามปกติ. อธิบายว่า เธอจงหาซื้อเอาในร้านตลาด. บทว่า สมฺพหุลา

นิคฺคณฺา ได้แก่ นิครนถ์ประมาณ ๕๐๐. บทว่า ถูล ปสุ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 383

สัตว์ของเลี้ยงกล่าวคือ กวาง กระบือ และสุกรที่อ้วนคือตัวใหญ่.

บทว่า อุทฺทิสฺสกต ความว่า เนื้อที่เขาทำ คือ ฆ่าเจาะจงตน.

บทว่า ปฏิจฺจกมฺม ความว่า พระสมณโคดมนี้นั้น ย่อมถูก

ต้องกรรม คือการฆ่าสัตว์มีชีวิตนั้น เพราะอาศัยเนื้อนี้. นิครนถ์

เหล่านั้นมีลัทธิอย่างนี้ว่า จริงอยู่ กรรมที่เป็นอกุศลนั้นมีแก่ทายก

กึ่งหนึ่ง มีแก่ปฏิคาหกกึ่งหนึ่ง. อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปฏิจฺจกมฺม

ได้แก่ เนื้อที่เขาอาศัยตนทำ. อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปฏิจฺจกมฺม

นี้ เป็นชื่อของนิมิตกรรม. ปฏิจจกรรมมีในเนื้อนี้ เพราะเหตุนั้น

แม้เนื้อก็เรียกว่า ปฏิจจกรรม.

บทว่า อุปกณฺณเก แปลว่า ที่กกหู. ก็คำว่า อล นี้

เป็นคำปฏิเสธ อธิบายว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยเนื้อนี้. บทว่า

น จ ปเนเต ความว่า ท่านเหล่านั้นเป็นผู้จะติเตียนมานาน. แม้

เมื่อจะกล่าวติเตียนก็กล่าวตู่ไม่กระดากปาก อธิบายว่า กล่าวตู่

ไม่รู้จักจบ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชีรนฺติ นี้ พึงเห็นโดยอรรถว่า

ละอาย. อธิบายว่า ย่อมไม่ละอาย.

จบ อรรถกถาสีหสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 384

๓. อาชัญญสูตร

[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวประเสริฐ

ของพระราชา ประกอบด้วยองค์สมบัติ ๘ ประการ สมควรเป็น

ม้าต้นม้าทรง ย่อมถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะได้ทีเดียว องค์

สมบัติ ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย

ตัวประเสริฐของพระราชาในโลกนี้ ย่อมมีกำเนิดดีทั้ง ๒ ฝ่าย

คือฝ่ายมารดาและบิดา เกิดในทิศที่ม้าอาชาไนยตัวอื่นเกิดกัน ๑

ย่อมบริโภคของกินที่เขาให้สดหรือแห้งก็ตาม เรียบร้อย ไม่เรี่ยราด ๑

ย่อมรังเกียจที่จะนั่งหรือนอนทับอุจจาระปัสสาวะ ๑ เป็นสัตว์ยินดี

มีการอยู่ร่วมเป็นสุข ไม่รบกวนม้าเหล่าอื่น ๑ เป็นสัตว์เผยความ

โอ้อวดความพยศคดโกงแก่นายสารถีอย่างเปิดเผย ๑ นายสารถี

พยายามปราบความพยศคดโกงเหล่านั้นของมันได้ ๑ เป็นสัตว์

ลากเข็นภาระ เกิดความคิดว่าม้าอื่นจะเข็นภาระได้หรือไม่ก็ตาม

สำหรับภาระนี้เราเข็นได้ อนึ่ง เมื่อเดินก็เดินตรงตามทาง ๑ เป็น

สัตว์มีกำลังวังชา คือ ทรงกำลังไว้อยู่จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวประเสริฐของพระราชา

ประกอบด้วยองค์สมบัติ ๘ ประการนี้แล สมควรเป็นม้าต้นม้าทรง

ถึงการนับว่าเป็นพระราชพาหนะได้ดีทีเดียว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุประกอบด้วย

ธรรม ๘ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก

ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 385

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อม

ด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน

ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ ฉันโภชนะที่เขาถวายเศร้าหมอง

หรือประณีตก็ตาม โดยเคารพไม่รังเกียจ ๑ เกลียดแต่กายทุจริต

วจีทุจริต มโนทุจริต และการถึงพร้อมด้วยธรรมอันเป็นบาป

อกุศล ๑ เธอยินดีอยู่ มีการอยู่ร่วมเป็นสุข ไม่รบกวนภิกษุเหล่าอื่น

ให้เดือดร้อน ๑ เปิดเผยความโอ้อวด ความพยศคดโกงตามเป็นจริง

ในพระศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์รู้แจ้ง พระศาสดาหรือ

เพื่อนพรหมจรรย์ย่อมพยายามช่วย กำจัดความโอ้อวดเป็นต้น

เหล่านั้นของเธอได้ ๑ อนึ่ง ย่อมเป็นผู้ศึกษาสำเหนียก คือ ใฝ่ใจ

อยู่ว่า ภิกษุเหล่าอื่นจะศึกษาหรือไม่ก็ตาม ข้อนี้เราจักศึกษา

เมื่อปฏิบัติย่อมปฏิบัติตามทางตรงทีเดียว ในข้อนั้นพึงทราบทางตรง

ดังนี้ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นผู้ปรารภความเพียร

อยู่ว่า เลือดเนื้อในร่างกายของเรา จงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่

แต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที เรายังไม่ได้บรรลุอิฐผลที่จะพึงบรรลุ

ได้ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่น

ของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเป็นอันขาด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของ

คำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบ อาชัญญสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 386

อรรถกถาอัสสาชานียสูตรที่ ๓

อัสสาชานียสูตรที่ ๓ วินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า องฺเคหิ ได้แก่ด้วยองค์คือคุณ. บทว่า ตสฺส ทิสาย

ชาโต โหติ ความว่า ม้าสินธพอาชาไนยเกิดในทิศริมฝั่งแม่น้ำสินธุนั้น.

ม้าอาชาไนยชั้นดี แม้เหล่าอื่น ย่อมเกิดในที่นั้นนั่นเอง. บทว่า

อลฺล สุกฺข วา ได้แก่หญ้าสด หรือหญ้าแห้ง. บทว่า น จ อญฺเ

อสฺเส อุพฺเพเชตา ความว่า ม้าอาชาไนยนั้น ไม่รบกวน คือไม่

กระทบกระทั่ง ไม่รังแก ไม่ทะเลาะกะม้าเหล่าอื่น.

บทว่า สาเยฺยานิ แปลว่า อวดดี. บทว่า กูเฏยฺยานิ แปลว่า

โกง. บทว่า ชิมฺเหยฺยานิ แปลว่า ลวง. บทว่า วงฺเกยฺยานิ

แปลว่า คด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ม้าอาชาไนยนั้นยังไม่ได้

ศึกษาด้วยบทแม้ทั้ง ๔ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า วาหี ได้แก่

นำภาระไปเป็นสภาวะ คือ สนองคำสั่งที่เขาไห้. บทว่า ยาว

ชีวิตมรณปริยาทานา ได้แก่ จนจบชีวิตลลงด้วยมรณะ. บทว่า

สกฺกจฺจ ปริภุญฺชติ ความว่า พิจารณาโภชนะ เหมือนน้ำอมฤต

แล้วจึงบริโภคด้วยตนเองนั่นแหละ. ในบทว่า ปุริสถาเมน เป็นต้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงกำลังคือญาณ เป็นต้น. บทว่า สณฺาน

ได้แก่ ย่อหย่อน.

จบ อรรถกถาอาชานียสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 387

๔. ขฬุงคสูตร

[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าโกง ๔ จำพวก

และโทษของม้าโกง ๘ ประการ คนโกง ๘ จำพวก และโทษของ

คนโกง ๘ ประการ เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกง ๘ จำพวก และโทษของม้าโกง

๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้

ที่นายสารถีกล่าวเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่

ย่อมถอยหลัง ดันรถให้กลับทั่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกง

บางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าประการที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า

จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมหกหลงดีธูปหัก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็น

โทษของม้าโกงประการที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า

จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ

ถีบงอนรถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้

ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า

จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเดือนอยู่ ย่อมเดินผิดทาง ทำให้รถคว่ำ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็น

โทษของม้าโกงประการที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 388

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า

จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมเชิดกายด้านหน้า เผ่น

ขึ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี

นี้เป็นโทษของม้าโกงประการที่ ๕.

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า

จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ไม่คำนึงถึงด้ามประตัก

เอาฟันกัดบังเหียน หลีกไปตามประสงค์ของมัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการ

ที่ ๖.

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า

จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ไม่ยอมก้าวไปข้างหน้า ทั้งไม่

ถอยหลัง ยืนเฉยเหมือนเสาเขื่อนอยู่ตรงนั้นนั่นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการ

ที่ ๗.

อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า

จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ คุกเท้าหน้า เท้าหลัง

ลงนอนทับเท้าทั้ง ๔ ที่ตรงนั้นนั่นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกง

บางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการที่ ๘

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าโกง ๘ จำพวก และโทษของม้าโกง ๘

ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คนโกง ๘ จำพวก และโทษของ

คนโกง ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 389

ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็นจำเลยนั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วย

อาบัติ ย่อมอำพรางอาบัติไว้ว่า ผมนึกไม่ได้ ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป

ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมถอยหลัง ดันให้รถกลับหลัง

ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้

ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุเป็น

จำเลยนั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติ กลับโต้ตอบการโจทก์นั่นเองว่า

จะมีประโยชน์อะไรหนอ ด้วยคำที่ท่านซึ่งเป็นคนโง่ไม่ฉลาดกล่าว

ท่านเองควรสำนึกถึงคำที่ควรพูด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว

บุคคลนี้เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทง

ด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมหักหลัง ดีดธูปหัก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกง

ประการที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็น

จำเลยนั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติ กลับโจทก์ตอบแก่ภิกษุโจทก์นั่นเอง

ว่า แม้ท่านก็ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงทำคืนเสียก่อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป

ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ

ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้

ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๓.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 390

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุเป็น

จำเลยนั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติ ย่อม กลบเกลื่อน พูดนอกลู่

นอกทาง แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่ยำเกรงให้

ปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือน

ม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่

ย่อมเดินผิดทาง ทำให้รถคว่ำ ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกง

บางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกง

ประการที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็น

จำเลยนั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติ ยกมือทั้งสองพูดห้ามในท่ามกลางสงฆ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่

นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อม

เชิดกายด้านหน้า เผ่นขึ้นไป ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกง

บางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของตนโกง

ประการที่ ๕.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็น

จำเลยนั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติ ย่อมไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ไม่เอื้อเฟื้อ

ผู้โจทก์ ทั้งที่มีอาบัติติดตัวอยู่ เลี่ยงหลีกไปตามประสงค์ของตน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่

นานสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ไม่คำนึง

ถึงด้ามประตัก เอาฟันกัดบังเหียน หลีกไปตามประสงค์ของมัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 391

ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้

ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๖.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยกัน ภิกษุผู้เป็นจำเลย

นั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติกล่าวว่า ผมไม่ได้ต้องอาบัติเลย ๆ

เธอใช้ความนิ่งให้อึดอัดใจสงฆ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว

บุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทง

ด้วยประตักเตือนอยู่ ไม่ยอมก้าวไปข้างหน้า ทั้งไม่ถอยหลัง ยืนเฉย

เหมือนเสาเขื่อนอยู่ตรงนั้นนั่นเอง ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของตนโกง

ประการที่ ๗.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทก์ภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็นจำเลย

นั้น เมื่อถูกโจทก์ด้วยอาบัติ ย่อมกล่าวว่า ทำไมหนอ ท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลายจึงชอบหาเรื่องในตัวผมนัก บัดนี้ ผมกำหนดบอกคืนสิกขา

ลาเพศแล้ว เธอบอกคืนสิกขาลาเพศแล้ว พูดอย่างนี้ว่า บัดนี้

ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงเบาใจเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว

บุคคลนี้เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทง

ด้วยประตักเตือนอยู่ คุกเท้าหน้า เท้าหลัง ลงนอนทับเท้าทั้ง ๔ ฉะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี

นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๘ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนโกง

๘ จำพวก และโทษของคนโกง ประการนี้แล.

จบ ขฬุงคสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 392

อรรถกถาขฬุงคสูตรที่ ๔

อัสสขฬุงคสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เปหีติ วิตฺโต ความว่า ม้าอาชาไนยนั้น อันสารถี

กล่าวว่า จงไป. บทว่า ปฏฺิโต รถ ปวตฺเตติ ความว่า เอากระดูกคอ

บีบอกแอกแล้วพารถถอยไปทางส่วนทิศเบื้องหลัง. บทว่า ปจฺฉา

ลงฺฆิปติ กุพฺพร หนฺติ ความว่า ยกเท้าหลังทั้ง ๒ ข้างขึ้น แล้วเอาเท้า

ทั้ง ๒ นั้นกระแทกทำลายธูปรถ. บทว่า ติทณฺฑ ความว่า ทำลาย

ไม้ ๓ อันที่อยู่ข้างหน้ารถ. บทว่า รถีสาย สตฺถึ อุสฺสชฺชิตฺวา

ความว่า ค้อมศีรษะลงให้แอกถึงพื้นดิน ใช้ขากระแทกงอนรถ.

บทว่า อชฺโฌมทฺทติ ความว่า ใช้ขาหน้าทั้ง ๒ เหยียบงอนรถยืนอยู่

บทว่า อพฺพฏุม รถ กโรติ ความว่า ยกรถขึ้นโขดดินหรือที่มีหนาม.

บทว่า อนาทิยิตฺวา ได้แก่ ความไม่ใส่ใจ คือไม่นำพา. บทว่า

มุขาธาน ได้แก่ บังเหียนเหล็ก ที่เขาใส่ไว้เพื่อติดกับปาก (ม้า).

บทว่า ขีลฏฺายี ความว่า ม้ายืน ๔ เท้าไม่ไหวติง เหมือนเสา

แล้วหยุดอยู่กับที่เช่นเดียวกับเสาเขื่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

วัฏฏะอย่างเดียวในพระสูตรนี้.

จบ อรรถกถาขฬุงคสูตรที่ ๔

๑. ม.อุพฺพฏม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 393

๕. มลสูตร

[๑๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้ ๘ ประการ

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน ๑

เรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน ๑ ความเกียจคร้านเป็นมลทินของ

ผิวพรรณ ๑ ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา ๑ ความประพฤติ

ชั่วเป็นมลทินของหญิง ๑ ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ๑

อกุศลธรรมที่ลามกเป็นมลทินที่ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ๑ เราจะบอก

มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้น คือ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้แล.

มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน เรือนมี

ความไม่หมั่นเป็นมลทิน ความเกียจคร้านเป็น

เป็นมลทินของผิวพรรณ ความประมาทเป็น

มลทินของผู้รักษา ความประพฤติชั่วเป็นมลทิน

ของหญิง ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ธรรม

อันลามกเป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

เราจะบอกมลทินที่ยิ่งกว่างนั้น คือ อวิชชาเป็น

มลทินอย่างยิ่ง.

จบ มลสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 394

อรรถกถามลสูตรที่ ๕

มลสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อสชฺฌายมลา ความว่า การไม่ทำการสาธยายมนต์

ที่ตนเรียนแล้ว ชื่อว่า เป็นมลทิน. บทว่า อนุฏานมลา ฆรา ความว่า

ความไม่ขยันหมั่นเพียรชื่อว่า เป็นมลทินแห่งเรือน. บทว่า วณฺณสฺส

ได้แก่ ผิวพรรณของกาย. บทว่า รกฺขโต ความว่า. รักษาสิ่งใด

สิ่งหนึ่งอันเป็นสมบัติของตน. บทว่า อวิชฺชา ปรม มล ความว่า

อวิชชาคือความมืดบอดหนาแน่น กล่าวคือ มูลแห่งวัฏฏะอันเป็น

ความไม่รู้ในฐานะ เป็นมลทินอย่างยิ่งกว่ามลทินคืออกุศลธรรม

ที่เหลือนั้น มลทินอื่นที่ชื่อว่ายิ่งกว่าอวิชชานั้นไม่มี. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเฉพาะวัฏฏะอย่างเดียวในพระสูตรแม้นี้.

จบ อรรถกถามลสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 395

๖. ทูตสูตร

[๑๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘

ประการ ควรไปเป็นทูตได้ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รับฟัง ๑ ให้ผู้อื่นรับฟัง ๑

เรียนดี ๑ ทรงจำไว้ดี ๑ รู้เอง ๑ ให้ผู้อื่นรู้ ๑ เป็นผู้ฉลาดต่อสิ่ง

ที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ๑ ไม่ก่อการทะเลา ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรไป

เป็นทูตได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ประการ

ควรไปเป็นทูตได้ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สารีบุตรในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รับฟัง ๑ ให้ผู้อื่นรับฟัง ๑ เรียนดี ๑

ทรงจำไว้ดี ๑ รู้เอง ๑ ให้ผู้อื่นรู้ ๑ เป็นผู้ฉลาดต่อสิ่งที่มีประโยชน์

เป็นไม่มีประโยชน์ ๑ ไม่ก่อการทะเลาะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรไปเป็นทูตได้.

ภิกษุใดแล สอนบริษัทได้เรียนให้อ่าน

ไม่สะทกสะท้าน ไม่ให้เสียคำที่พูด ไม่ให้เสีย

คำสอน ชี้แจงให้เขาหมดสงสัย และเมื่อถูกซัก

ถามก็ไม่โกรธ ภิกษุเช่นนี้นั้นแล ควรไปเป็นทูต

ได้.

จบ ทูตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 396

อรรถกถาทูตสูตรที่ ๖

ทูตสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทูเตยฺย ได้แก่ ทูตกรรม กรรมคือความเป็นทูต. บทว่า

คนฺตุมหรติ ความว่า ภิกษุควรจะทรงสาส์นแสดงความเป็นทูตนั้น

นำไปมอบให้. บทว่า โสตา ได้แก่ รับฟังผู้ที่ตนมอบสาส์นให้.

บทว่า สาเวตา ได้แก่ ภิกษุเรียนสาส์นนั้นแล้วทบทวนว่า ท่าน

อ่านสาส์นชื่อนี้แล้ว. บทว่า อุคฺคเหตา ได้แก่ รับเอาด้วยดี. บทว่า

ธาเรตา ได้แก่ ทรงจำไว้ด้วยดี. บทว่า วิญฺาตา ได้แก่ รู้ความ

หมายแห่งสิ่งที่เป็นประโยชย์และไม่เป็นประโยชน์. บทว่า วิญฺาเปตา

ได้แก่ ให้ผู้อื่นรู้แจ้ง (ความหมายนั้น). บทว่า สหิตาสหิตสฺส

ความว่า เป็นผู้ฉลาดต่อประโยชน์เกื้อกูล และมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล

อย่างนี้ว่า นี้เป็นประโ ชน์เกื้อกูล นี้มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล คือ

เป็นผู้เฉียบแหลมในข้อที่ดำเนินได้และข้อที่ดำเนินไม่ได้ เมื่อจะ

บอกสาส์น กำหนดแต่สิ่งที่มีประโยชน์เกื้อกูลแล้วจึงบอก. บทว่า

น พฺยาธติ ได้แก่ ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่หวาดกลัว. บทว่า อสนฺทิฏฺ

ได้แก่ หมดความสนเท่ห์ ปราศจากความสงสัย. บทว่า ปุจฺฉิโต

ความว่า ถูกเขาซักถามเพื่อต้องการทราบปัญหาว่าเป็นอย่างไร ?

จบ อรรถกถาทูตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 397

๗. ปฐมพันธนาสูตร

[๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมถูกชายไว้ด้วยอาการ

๘ อย่าง ๘ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมถูกชาย

ไว้ด้วยรูป ๑ ด้วยการยิ้มแย้ม ๑ ด้วยคำพูด ๑ ด้วยเพลงขับ ๑

ด้วยการร้องไห้ ๑ ด้วยอากัปกิริยา ๑ ด้วยของกำนัล ๑ ด้วยผัสสะ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมผูกชายไว้ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ถูกผูกด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล ชื่อว่า

ถูกผูกด้วยบ่วง.

จบ ปฐมพันธนสูตร ๗

๘. ทุติยพันธนสูตร

[๑๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมผูกหญิงไว้ด้วยอาการ

๘ อย่าง ๘ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมผูกหญิง

ไว้ด้วยรูป ๑ ด้วยการยิ้มแย้ม ๑ ด้วยคำพูด ๑ ด้วยเพลงขับ ๑

ด้วยการร้องไห้ ๑ ด้วยอากัปปกิริยา ๑ ด้วยของกำนัล ๑ ด้วย

ผัสสะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมผูกหญิงไว้ด้วยอาการ

๘ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ถูกผูกด้วยอาการ ๘ อย่าง

นี้แล ชื่อว่าถูกผูกด้วยบ่วง.

จบ ทุติยพันธนสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 398

อรรถกถาพันธนสูตรที่ ๗-๘

พันธนสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โรณฺเณน ได้แก่ ด้วยการร้องไห้. บทว่า อากปฺเปน

ได้แก่ ด้วยวิธีการมีการนุ่งและการห่มเป็นต้น. บทว่า วนภงฺเคน

ความว่า ด้วยเครื่องบรรณาการ มีดอกไม้และผลไม่ป่าที่ตนหักได้

มาจากป่า.

แม้สูตรที่ ๘ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน

จบ อรรถกถาพันธนสูตรที่ ๗-๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 399

๙. ปหาราทสูตร

[๑๐๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้-

สะเดาที่เนฬรุยักษ์สิงสถิต ใกล้กรุงเวรัญชา ครั้งนั้น ท้าวปหาราทะ

จอมอสูร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสถามท้าวปหาราทะจอมอสูรว่า ดูก่อนปหาราทะ

พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทรบ้างหรือ ท้าวปหาราทะจอมอสูร

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ใน

มหาสมุทร.

พ. ดูก่อนปหาราทะ ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์

อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร ที่พวกอสูรเห็นแล้วย่อมอภิรมย์.

ป. มี ๘ ประการ พระเจ้าข้า ๘ ประการเป็นไฉน ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้

โกรธชันเหมือนเหวไม่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรฉลาด

ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ นี้เป็นธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในมหาสมุทร ที่พวก

อสูรเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเต็มเปี่ยมเสมอ ไม่ล้นฝั่ง

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอไม่ล้นฝั่ง

นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๒ ในมหาสมุทร

ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 400

อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะ

ในมหาสมุทรคลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบกทันที

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรไม่เกลื้อนด้วยซากศพ

และในมหาสมุทรคลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบกทันที

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๓ ในมหาสมุทร

ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

อีกประการหนึ่ง แม่น้ำสายใหญ่ ๆ บางสวย คือ แม่น้ำคงคา

ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว

ย่อมละนามและโคตรเดิมหมด ถึงความนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่แม่น้ำสายใหญ่ ๆ บางสาย คือ แม่น้ำ-

คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทร

แล้ว ย่อมเปลี่ยนนามและโคตรเดิมหมด ถึงความนับว่ามหาสมุทร

นั่นเอง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๔ ใน

มหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

อีกประการหนึ่ง แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวม

ยังมหาสมุทรและสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทร

ก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้น ๆ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้อที่แม่น้ำทุกสายในโลกย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทร

และสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏ

ว่าจะพร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้น ๆ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์

อันไม่เคยมีมาประการที่ ๕ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ

จึงอภิรมย์อยู่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 401

อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม นี้เป็นธรรม.

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๖ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูร

เห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด

ในมหาสมุทรมีรัตนะเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์

สังข์ ติลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหาสมุทรนั้น

มีรัตนะ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้ว.

ประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์

อันไม่เคยมีมาประการที่ ๗ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ

จึงอภิรมย์อยู่.

อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของพวกสิ่งมี

ชีวิตใหญ่ ๆ และสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ

ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มี

ร่ากายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์

๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่

พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ ๆ และสิ่งที่มีชีวิตในมหาสมุทรนั้น

มีดังนี้ คือ ป่าติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค

คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์

๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ นี้เป็นธรรมที่

น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘ ในมหาสมุทรที่พวกอสูร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 402

เห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้แสดงธรรมที่

น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูร

เห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุทั้งหลาย

ย่อมอภิรมย์ในธรรมวินัยนี้บ้างหรือ.

พ. ดูก่อนปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในธรรนวินัยนี้.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่า

อัศจรรย์อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึง

อภิรมย์อยู่.

พ. มี ๘ ประการ ปหาราทะ ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อน

ปหาราทะ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรธชัน

เหมือนเหว ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษา

ไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ

มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่

ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ

มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัย

ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง

ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงสิกขาบท

ที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่สาวก

ทั้งหลายของเราไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 403

ชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๒ ใน

ธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะ

ในมหาสมุทรคลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก ฉันใด

ดูก่อนปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้มีทุศีล มีบาป ธรรม

มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่

ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่า

ประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ

สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที

แม้เขาจะนั่งอยู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงกระนั้น เขาก็ชื่อว่า

ห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา ดูก่อนปหาราทะ

ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปกรรม มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ

ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้

ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน

ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคล

นั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ในท่านกลาง

ภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงกระนั้น เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์

ก็ห่างไกลจากเขา นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการ

ที่ ๓ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ แม่น้ำสายใหญ่ ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา

ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว

ย่อมละนามและโคตรเดิมหมด ถึงความนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 404

ฉันใด ดูก่อนปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัย

ที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่า

ศากยบุตรทั้งนั้น ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรม

วินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงความ.

นับว่าเป็นสมณศากยบุตรทั้งนั้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อัน

ไม่เคยมีมาประการที่ ๔ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ

จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยัง

มหาสมุทร และสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทร

ก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเด่นเพราะน้ำนั้น ๆ ฉันใด ก่อน

ปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพาน

ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่อง

หรือเต็มด้วยภิกษุนั้น ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมาก

จะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้

ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์

อันไม่เคยมีมาประการที่ ๕ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ

จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ฉันใด

ดูก่อนปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ

วิมุตติรส ก่อนปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยมีรสเดียว คือ วิมุตติรส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 405

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๖ ในธรรม

วินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด

รัตนะในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์

สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ฉันใด ดูก่อน

ปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิด

รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔

อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด

รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔

อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘

นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๗ ในธรรมวินัยนี้

ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนปหาราทะ มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มี

ชีวิตใหญ่ ๆ สิ่งที่มีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลา-

ติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกาย

ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์

๕๐๐ โยชน์ มีอยู่ ฉันใด ดูก่อนปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม

วินัยนี้ ก็เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสงมีชีวิตใหญ่ ๆ สิ่งมีชีวิตในธรรม

วินัยนี้ มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง

ซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง

ซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อพระทำให้แจ้ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 406

ซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์

ดูก่อนปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิต

ใหญ่ ๆ สิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้

ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่าน

ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสาทาคามิผล พระอนาคามี ท่าน

ผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอานาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติ

เพื่อความเป็นพระอรหันต์ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา

ประการที่ ๘ ในธรรนวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์

อยู่ ดูก่อนปหาราทะ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่

เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

จบ ปหาราทสูตรที่ ๙

อรรถกถาปหาราทะสูตรที่ ๙

ปทาราทสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปหาราโท ได้แก่ มีชื่ออย่างนี้. บทว่า อสุรินฺโท

แปลว่า หัวหน้าอสูร. จริงอยู่ บรรดาอสูรทั้งหลาย อสุรผู้เป็น

หัวหน้ามี ท่านคือ เวปจิตติ ๑ ราหู ๑ ปหาราทะ ๑ บทว่า

เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า นับตั้งแต่วันที่พระทศพลตรัสรู้แล้ว

ท้าวปหาราทะจอมอสูรคิดว่า วันนี้เราจักไปเฝ้า พรุ่งนี้เราจัก

ไปเฝ้า จนล่วงไป ๑๑ ครั้นถึงปีที่ ๑๒ ในเวลาที่พระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 407

ประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชา เกิดความคิดขึ้นว่า เราจักไปเฝ้า

พระสัมมาสัมพุททธเจ้า จึงติดต่อไปว่า เรามัวแต่ผลัดว่าจะไปวันนี้

จะไปพรุ่งนี้ ล่วงไปถึง ๑๒ ปี เอาเถอะเราจะไปเดี๋ยวนี้แหละ

ในขณะนั้นนั่นเองอันหมู่อสูรแวดล้อมแล้ว ออกจากภพอสูร ตอน

กลางวัน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. บทว่า

เมกมนฺต อฏฺาสิ ความว่า ได้ยินว่า ท้าวปหาราทะ จอมอสูร

นั้นมาด้วยคิดว่า จักถามปัญหากะพระตถาคต แล้วจักฟังธรรมกถา

ตั้งแต่เวลาที่ได้เฝ้าพระตถาคตแล้ว แม้เมื่อไม่อาจถาม เพราะ

ความเคารพในพระพุทธเจ้า ก็ได้ถวายบังคมพระศาสดาแล้วยืนอยู่

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงพระดำริว่า เมื่อเราไม่พูด ปหาราทะ

นี้ก็ไม่อาจพูดก่อนได้ จำเราจักถามปัญหากะเธอสักข้อหนึ่ง เพื่อ

ให้การสนทนาเกิดขึ้นในฐานะที่เธอมีวสีชำนาญอันสั่งสมไว้แล้ว

นั่นแหละ. เมื่อพระองค์จะตรัสถามปัญหาเขา จึงตรัสคำมีอาทิว่า

อปิ ปน ปหาราท ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิรมนฺติ

ความว่า ย่อมประสบความยินดี อธิบายว่า ไม่เอือมระอาอยู่. ท่าน

มีจิตยินดีว่าในฐานะที่เราคุ้นเคยทีเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ถามเรา จึงกราบทูลว่า อภิรมนฺติ ภนฺเต พวกอสูรยังอภิรมย์อยู่

พระเจ้าข้า.

บทว่า อนุปุพฺพนินฺโน เป็นต้นทั้งหมด เป็นไวพจน์แห่งความ

ลุ่มไปตามลำดับ. ด้วยบทว่า น อายตเกเนว ปปาโต พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงว่า มหาสมุทรไม่เป็นเหวชันมาแต่เบื้องต้นเหมือน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 408

บึงใหญ่ที่มีตลิ่งชัน. ก็เริ่มตั้งแต่พื้นที่ที่เป็นตลิ่งไป มหาสมุทรนั้น

จะลึกลงไป ด้วยสามารถแห่งการลึกลงที่ละ ๑ นิ้ว ๒ นิ้ว ๑ คืบ

๑ ศอก ๑ อสุภะ กึ่งคาวุต ๑ คาวุต กึ่งโยชน์ และ ๑ โยชน์

ลึกไป ๆ จนลึกถึง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ณ ที่ใกล้เชิงเขาพระสุเมรุ.

บทว่า ิตธมฺโม ความว่า ตั้งอยู่แล้วเป็นสภาวะ คือตั้งแต่

เฉพาะเป็นสภาวะ. บทว่า กุณเปน ความว่า ด้วยซากศพอย่างใด

อย่างหนึ่ง มีซากช้างและซากม้าเป็นต้น. บทว่า ถล อุสฺสาเทติ

ความว่า ย่อมซัดขึ้นบกด้วยคลื่นซัดนั่นแหละ เหมือนคนเอามือ

จับซัดไปฉะนั้น.

ในบทว่า คงฺคา ยมุนา ควรกล่าวถึงเหตุเกิดแห่งแม่น้ำเหล่านี้

เพราะตั้งอยู่ในที่นี้. ก่อนอื่นชมพูทวีปนี้ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ

๑๐,๐๐๐ โยชน์ ในจำนวนเนื้อที่นั้น ๔,๐๐๐ โยชน์ เป็นภูมิประเทศ

ที่ถูกน้ำท่วม นับได้ว่าเป็นมหาสมุทร ๓,๐๐๐ โยชน์ พวกมนุษย์

อาศัยอยู่ ๓,๐๐๐ โยชน์ ภูเขาหิมวันต์ตั้งอยู่ สูง ๕๐๐ โยชน์

ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด วิจิตรด้วยแม่น้ำใหญ่ ๕ สาย ไหล

มาโดยรอบ เป็นที่สระใหญ่ ๗ สระตั้งอยู่ คือ สระอโนดาด

สระกัณฑมุณฑะ สระรถกาฬะ สระฉัททันตะ สระกุนาละ

สระมันทากินิ สระสีหัปปปาตะ ซึ่งยาว กว้าง และลึก อย่างละ

๕๐ โยชน์ มีปริมณฑล ๑๕๐ โยชน์ บรรดาสระเหล่านั้น สระ-

อโนดาด ล้อมด้วยภูเขา ๕ ลูก เหล่านี้คือ สุทัสสนกูฏ จิตตกูฏ

เทฬกูฏ คันทมาทนกูฏ เกลาสกูฏ. ในภูเขาทั้ง ๕ ลูกนั้น ภูเขา-

สุทัสสนกูฏ สำเร็จไปด้วยทอง สูง ๒๐๐ โยชน์ ภายในคดเคี้ยว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 409

มีสัณฐานดังปากของกา ตั้งปิดสระอโนดาดนั่นแหละ ภูเขาจิตตกู

สำเร็จด้วยรัตนะทั้งปวง ภูเขากาฬกูฏ สำเร็จด้วยแร่พลวง ภูเขา-

คันทมาทนกูฏ สำเร็จด้วยที่ราบเรียบ ภายในมีสีเหมือนเมล็ดถั่วเขียว

หนาแน่นไปด้วยคันธชาติ ๑๐ ชนิด เหล่านี้ คือ ไม้มีกลิ่นที่ราก

ไม้มีกลิ่นที่แก่น. ไม้มีกลิ่นที่กะพี้ ได้แก่กลิ่นที่ใบ ไม้มีกลิ่นที่เปลือก

ไม้มีกลิ่นที่สะเก็ด ไม้มีกลิ่นที่รส ไม้มีกลิ่นที่ดอก ไม้มีกลิ่นที่ผล

ไม้มีกลิ่นที่ลำต้น ปกคลุมไปด้วยเครื่องสมุนไพรมีประการต่าง ๆ

มีแสงเรืองตั้งอยู่ ประหนึ่งถ่านคุไฟ ในวันอุโบสถข้างแรม. ภูเขา-

เกลาสกูฏ สำเร็จด้วยแร่เงิน. ภูเขาทั้งหมดมีสัณฐานสูงเท่ากับ

ภูเขาสุทัสสนะ ตั้งปิดสระอโนดาดนั้นไว้. ภูเขาทั้งหมดนั้นฝนตกราด

ด้วยอานุภาพของเทวดา และของนาค. และแม่น้ำทั้งหลายย่อมไหล

ไปที่ภูเขาเหล่านั้น น้ำทั้งหมดนั้น ก็ไหลเข้าไปสู่สระอโนดาด

แห่งเดียว. พระจันทร์ และพระอาทิตย์ เมื่อโคจรผ่านทางทิศทักษิณ

หรือทิศอุดร ก็โคจรผ่านไปตามระหว่างภูเขา ส่องแสงไปในที่นั้น

แต่เมื่อโคจรไปตรง ๆ ก็ไม่ส่องแสง เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ สระนั้น

จึงเกิดบัญญัติชื่อว่า สระอโนดาด แปลว่า พระอาทิตย์ส่องไปไม่ถึง.

ที่สระอโนดาดนั้น มีท่าสำหรับอาบน้ำ มีแผ่นศิลาเรียบน่ารื่นรมย์ใจ

ไม่มีปลาหรือเต่า มีน้ำใสดังแก้วผลึก เป็นของอันธรรมชาติตกแต่ง

ไว้ดีแล้ว เป็นที่ ๆ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระขีณาสพ พระปัจเจก-

พุทธ และฤๅษีผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายสรงสนาน เทวดาและยักษ์เป็นต้น

ก็พากันเล่นน้ำ ทั้ง ๔ ด้านในสระนั้น มีมุขอยู่ ๔ มุข คือ สีหมุข

หัสดีมุข อัศวมุข พฤษภมุข อันเป็นทางที่แม่น้ำทั้ง ๔ สายไหลไป.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 410

ที่ฝั่งแม่น้ำด้านที่ไหลออกทางสีหมุข มีราชสีห์อยู่มาก. ที่ฝั่งแห่ง

แม่น้ำด้านที่ไหลออกทางหัสดีมุข เป็นต้น มีช้าง ม้า และโคอุสภะ

อยู่มาก. แม่น้ำไหลออกจากทิศตะวันออก ไหลเวียนขวาสระ-

อโนดาด ๓ เลี้ยว แล้วเลี่ยงแม่น้ำอีก ๓ สาย ไหลไปยังถิ่นที่

ไม่มีมนุษย์ ทางป่าหิมวันต์ด้านตะวันออก และทางป่าหิมวันต์

ด้านเหนือ แล้วไหลลงสู่มหาสมุทร. แต่แม่น้ำที่ไหลออกทางทิศ-

ตะวันตก และทิศเหนือ ก็เวียนขวาเช่นนั้นเหมือนกัน ไปยังถิ่น

ที่ไม่มีมนุษย์ ทางป่าหิมวันต์ด้านทิศตะวันตกและป่าหิมวันต์ด้านเหนือ

แล้วไหลลงสู่มหาสมุทร.

แต่แม่น้ำที่ไหลออกทางมุขด้านใต้ เวียนขวาสระอโนดาดนั้น

๓ เลี้ยวแล้วก็ไหลตรงไปทางทิศเหนือ เป็นระยะทาง ๖๐ โยชน์

ไปตามหลังแผ่นหินนั่นแหละ ปะทะภูเขาโลดขึ้นเป็นสายน้ำ โดย

รอบประมาณ ๓ คาวุต ไหลไปทางอากาศ เป็นระยะ ๖๐ โยชน์

แล้วตกลงที่แผ่นหินชื่อว่า ติยัคคฬะ แผ่นหินก็แตกไป เพราะความ

แรงแห่งสายน้ำ. ในที่นั้นเกิดเป็นสระใหญ่ ชื่อว่า ติยัคคฬะ

ขนาด ๕๐ โยชน์ กระแสน้ำพังทำลายฝั่งสระ แล้วไหลเข้าแผ่นหิน

ไประยะ ๖๐ โยชน์. ต่อแต่นั้นก็เซาะแผ่นดินทึบเป็นอุโมงค์ไป

๖๐ โยชน์ แล้วปะทะติรัฐฉานบรรพต ชื่อว่า วิชฌะ แล้วกลายเป็น

๕ สาย ประดุจนิ้วมือ ๕ นิ้ว ที่ฝ่ามือฉะนั้น. ในที่ ๆ สายน้ำนั้น

เลี้ยวขวาสระอโนดาด ๓ เลี้ยวแล้วไหลไป เรียกว่า อาวัตตคงคา.

ในที่ ๆ ไหลตรงไป ๖๐ โยชน์ ทางหลังแผ่นหิน เรียกว่า กัณหคงคา.

ในที่ไหลไปทางอากาศ ๖๐ โยชน์ เรียกว่า อากาสคงคา. ในที่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 411

ที่หยุดอยู่ในโอกาส ๖๐ โยชน์ บนแผ่นหิน ชื่อว่า ติยัคคฬะ เรียกว่า

ติยัคคฬโปกรณี. ในที่ที่เซาะฝั่งเข้าไปสู่แผ่นหิน ๖๐ โยชน์ เรียกว่า

พหลคงคา. ในที่ที่ไหลไป ๖๐ โยชน์ ทางอุโมงค์เรียกว่า อุมมังคคงคา.

ก็ในที่ที่สายน้ำกระทบติรัจฉานบรรพต ชื่อวิชฌะแล้วไหลไปเป็น

สายน้ำ ๕ สาย ก็ถือว่าเป็นแม่น้ำทั้ง ๕ คือ คงคา ยมุนา อจีรวดี

สรภู สหี. พึงทราบว่า แม่น้ำใหญ่ ๕ สาย เหล่านี้ ย่อมไหลมาแต่

ป่าหิมวันต์ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สวนฺติโย ได้แก่ แม่น้ำชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น

แม่น้ำใหญ่หรือแม่น้ำน้อย ซึ่งกำลังไหลไปอยู่. บทว่า อปฺเปนฺติ

แปลว่า ไหลไปรวม คือไหลลง. บทว่า ธารา ได้แก่ สายน้ำฝน.

บทว่า ปูรตฺต แปลว่า ภาวะที่น้ำเต็ม. ความจริง มหาสมุทรมี

ธรรมดานี้ :- ใคร ๆ ไม่อาจกล่าวว่า เวลานี้ฝนตกน้อย พวกเรา

จะพากันเอาแหและลอบเป็นต้น ไปจับปลาและเต่า หรือว่า เวลานี้

ฝนตกมาก เราจักได้ (อาศัย) สถานที่หลังหิน. ตั้งแต่ปฐมกัปมา

น้ำเพียงนิ้วมือหนึ่งจากน้ำที่ขังจรดคอดของขุนเขาสิเนรุ จะไม่

ยุบลงข้างล่างไม่ดันขึ้นข้างบน.

บทว่า เอกรโส แปลว่า มีรสไม่เจือปน. บทว่า มุตฺตา

ความว่า แก้วมุกดามีหลายชนิดต่างโดยชนิดเล็ก ใหญ่ กลม

และยาวเป็นต้น. บทว่า มณี ความว่า มณีหลายชนิดต่างโดยสี

มีสีแดงและสีเขียวเป็นต้น. บทว่า เวฬุริโย ความว่า แก้วไพฑูรย์

มีหลายชนิดต่างโดยสีมีสีดังสีไม้ไผ่และสีดอกซึกเป็นต้น. บทว่า

สงฺโข ความว่า สังข์มีหลายชนิดต่างโดยสังข์ทักษิณวรรต สังข์-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 412

ท้องแดง และสังข์สำหรับเป่าเป็นต้น. บทว่า สิลา ความว่า สิลา

มีหลายอย่างต่างโดยสีมีสีขาว สีดำ และสีดังเมล็ดถั่วเขียวเป็นต้น.

บทว่า ปวาฬ ความว่า แก้วประพาฬมีหลายอย่างต่างโดยชนิดเล็ก

ใหญ่ แดง และแดงทึบเป็นต้น. บทว่า มสารคลฺล ได้แก่ แก้วลาย.

บทว่า นาคา ได้แก่ นาคที่อยู่บนหลังคลื่นก็มี นาคที่อยู่วิมานก็มี.

บทว่า อฏฺ ปหาราท ความว่า พระศาสดาทรงสามารถตรัสธรรม

๘ ประการบ้าง ๑๖ ประการบ้าง ๓๒ ประการบ้าง ๖๔ ประการ

บ้าง ๑๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง แต่ทรงพระดำริว่า ปหาราทะกล่าว

๘ ประการ แม้เราก็จักกล่าวให้เห็นสมกับธรรม ๘ ปหาราทะ

กล่าวนั้นนั่นแหละ จึงได้ตรัสอย่างนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อนุปุพฺพสิกฺขา เป็นต้นต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาสิกขา ๓ ด้วยอนฟุปุพพสิกขา

ทรงถือเอาธุดงค์ ๑๓ ด้วยอนุปุพพกิริยา. ทรงถือเอาอนุปัสสนา ๗

มหาวิปัสสนา ๑๘ การจำแนกอารมณ์ ๓๘ โพธปักขิยธรรม ๓๗

ด้วยปทา. บทว่า อายตเกเนว อญฺปฏิเวโธ ความว่า ชื่อว่า

ภิกษุผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในศีลเป็นต้น ตั้งแต่ต้นแล้วบรรลุ

พระอรหัต เหมือนอย่างกบกระโดดไปไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงอธิบายว่า

ก็ภิกษุบำเพ็ญศีล สมาธิ และปัญญา ตามลำดับเท่านั้น จึงอาจบรรลุ

พระอรหัตได้.

บทว่า อารกาว แปลว่า ในที่ไกลนั่นแล. บทว่า น เตน

นิพฺพานธาตุยา อูนตฺต วา ปูรตฺต วา ความว่า เพื่อพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายไม่เสด็จอุบัติขึ้น แม้ตลอดอสงไขยกัป แม้สัตว์ตนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 413

ก็ไม่อาจปรินิพพานได้ แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า นิพพานธาตุ

ว่างเปล่า แต่ในพุทธกาล ในสมาคมหนึ่ง ๆ สัตว์ทั้งหลายยินดี

อมตธรรมนับไม่ถ้วน แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า นิพพานธาตุ

เต็ม

จบ อรรถกถาปหาราทสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 414

๑๐. อุโปสถสูตร

[๑๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพพาราม

ปราสาทของมิคารมารดา ใกล้กรุงสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งในวันอโบสถ ครั้งนั้น

เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจาก

ที่นั่ง กระทำผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทาง

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้กราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว

ภิกษุสงฆ์นั่งมานานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระกรุณา

โปรดแสดงปาติโมกข์เถิด เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่งอยู่.

แม้วาระที่ ๒ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว

ท่านพระอานนท์ลุกจากที่นั่ง กระทำผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กราบทูลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว มัชฌิมยาม

ผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งมานานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์เถิด แม้วาระที่ ๒ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทรงนิ่งอยู่.

แม้วาระที่ ๓ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว

แสงเงินแสงทองขึ้นแล้ว ราตรีว่างแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจาก

ที่นั่ง กระทำผ้าอุตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประณมอัญชลีไปทาง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 415

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว แสงเงิน

แสงทองขึ้นแล้ว ราตรีสว่างแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งมานานแล้ว ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์เถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์.

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความดำริดังนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่านี้ทรงหมายเอาบุคคลไหนหนอ ลำดับ

นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะกำหนดใจด้วยใจ กระทำจิตภิกษุสงฆ์

ทั้งหมดไว้ในใจแล้ว ได้เห็นบุคคลทุศีล มีบาปธรรม มีสมาจาร

ไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่า

เป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญญาว่าประพฤติ

พรหมจรรย์ เน่าในชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ นั่งอยู่

ในท่านกลางภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วลุกจากอาสนะเข้าไปหาบุคคลนั้น

กล่าวกะบุคคลนั้นว่า อาวุโส จงลุกไป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็น

เธอแล้ว เธอไปมีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านพระมหา-

โมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคลนั้นนิ่งเฉยเสีย แม้วาระที่ ๒

ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า อาวุโส จงลุกไป

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเธอแล้ว เธอไม่มีสังวาสกับภิกษุ

ทั้งหลาย แม้วาระที่ ๒ บุคคลนั้นก็นิ่งเสีย แม้วาระที่ ๓ ท่านพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเธอแล้ว เธอไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย

แม้วาระที่ ๓ บุคคลนั้นก็นิ่งเสีย ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 416

จับแขนบุคคลนั้นฉุดออกมาให้พ้นซุ้มประตูด้านนอกแล้ว ใส่ดาน

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

บุคคลนั้นข้าพระองค์ฉุดออกไปแล้ว บริษัทบริสุทธิ์แล้ว ขอพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย

เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า น่าอัศจรรย์ โมคคัลลานะ

ไม่เคยมีมา โมคคัลลานะ โมฆบุรุษนั้นจักมาร่วม จนต้องฉุดแขน

ออกไป ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายพึงทำอุโบสถเถิด พึง

แสดงปาติโมกข์เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่กาลบัดนี้เป็นต้นไป

เราจักไม่แสดงปาติโมกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่พระตถาคต

จะพึงแสดงปาติโมกข์ในบริษัทที่ไม่บริสุทธิ์ นี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อัน

ไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ ย่อมอภิรมย์

ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลาด

ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชัน

เหมือนเหวไม่ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑

ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯลฯ อีกประการ

หนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ สิ่งมีชีวิต

ในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา

พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 417

๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ

สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลา-

ติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ

๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์

ก็มีอยู่ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘ ใน

มหาสมุทรที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล

ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์

อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ ย่อมอภิรมย์

ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลาด

ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ ฉันใด ใน

ธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการ

กระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามล่าดับ มิใช่ว่าจะมีการ

บรรลุอรหัตผลโดยตรง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้

มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติ

ไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุ

ทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ สิ่งมีชีวิตใน

มหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 418

พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์

๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ ก็เป็นที่พำนัก

อาศัยแห่งสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ สิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้มีดังนี้ คือ

พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล

พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระ

อรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.

ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ ๆ สิ่งมีชีวิต

ในธรรมวินัยนี้ มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ

ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ

ให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ

ให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็น

พระอรหันต์ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑

ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา

๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จึงอภิรมย์อยู่.

จบ อุโปสถสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 419

อรรถกถาอุโปสถสูตรที่ ๑๐

อุโปสถสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นิสินฺโน โหติ ความว่า พระศาสดาประทับนั่งบน

รัตนปราสาทของอุบาสิกา เพื่อกระทำอุโบสถ. ก็พระศาสดา

ครั้นประทับนั่งแล้วทรงตรวจดูจิตของภิกษุทั้งหลาย ทรงเห็นบุคคล

ทุศีลคนหนึ่ง ทรงพระดำริว่า ถ้าเราจัดแสดงปาติโมกข์ทั้งที่บุคคลนี้

นั่งอยู่นั่นแหละ ศีรษะของเขาจักแตก ๗ เสียง ดังนี้แล้ว จึงได้

ดุษณีภาพ เพื่ออนุเคราะห์เขา. บทว่า อภิกฺกนฺตา แปลว่า ล่วงไป

แล้ว สิ้นไปแล้ว. บทว่า อุทฺธเสฺต อรุเณ ได้แก่ เมื่อเริ่มอรุณขึ้น.

บทว่า นนฺทิมุขิยา ได้แก่ ราตีจวนสว่างแล้ว. บทว่า อปริสุทฺธา

อานนฺท ปริสา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า บุคคลโน้น

ไม่บริสุทธิ์ แต่ตรัสว่า บริษัทไม่บริสุทธิ์. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง

ง่ายทั้งสิ้นแล.

จบ อรรถกถาอุโปสถสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เวรัญชสูตร ๒. สีหสูตร ๓. อาชัญญสูตร ๔. ขฬุงคสูตร

๕. มลสูตร ๖. ทูตสูตร ๗. พันธนสูตรที่ ๑ ๘. พันธนสูตรที่ ๒

๙. ปหาราทสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร. และอรรถกถา

จบ มหาวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 420

คหปติวรรคที่ ๓

๑. ปฐมอุคคสูตร

[๑๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-

ศาลา ป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีว่า

เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ครั้นได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว เสด็จ

ลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร.

ครั้งนั้น เวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร

เข้าไปสู่นิเวศน์ของอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี ครั้นแล้วจึงนั่ง

บนอาสนะที่เขาปูไว้ ลำดับนั้น อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีได้

เข้าไปหาภิกษุนั้น ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ภิกษุนั้นได้กล่าวกะอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีว่า ดูก่อนคฤหบดี

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

ที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ดูก่อนคฤหบดี ธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน.

อุคคคฤหบดีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมก็ไม่ทราบ

เลยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์กระผม ว่าเป็นผู้ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 421

ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน แต่ขอ

ท่านได้โปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ

ของกระผมที่มีอยู่ จงใส่ใจให้ดี กระผมจักเรียนถวาย ภิกษุนั้น

รับคำอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้ว อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี

ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในคราวที่กระผมได้เห็นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแต่ไกลเป็นครั้งแรก พร้อมกับการเห็นนั้นเอง จิตของ

กระผมเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์

อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้เข้าไปนั่งใกล้

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถา

โปรดกระผม คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา

โทษของกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง และอานิสงส์ในเนกขัมมะ

ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบกระผมว่า มีจิตควร อ่อน

ปราศจากนิวรณ์ บันเทิง ผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศสามุกังสิกา-

ธรรมเทศนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย. นิโรธ

มรรค เปรียบเหมือนผ้าที่บริสุทธิ์ ไม่หมองดำ จะพึงรับน้ำย้อมได้ดี

แม้ฉันใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแล้ว

แก่กระผม ณ ที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้ง

ธรรมแล้ว หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว

ปราศจากความเคลือบแคลงแล้ว ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ไม่ต้อง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 422

เชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม

และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะแล้ว และสมาทานสิกขาบทอันมีพรหมจรรย์

เป็นที่ ๕ แล้ว ณ ที่นั่งนั้น นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคย

มีมาข้อที่ ๒ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าสู่ท่านผู้เจริญ กระผมมีปชาบดีรุ่นสาวอยู่ ๔ คน กระผม

ได้เข้าไปหาปชาบดีเหล่านั้นแล้ว ได้กล่าวกะเธอเหล่านั้นว่า ดูก่อน

น้องหญิงทั้งหลาย ฉันสมาทานสิกขาบทอันพรหมจรรย์เป็นที่ ๕

ผู้ใดปรารถนา นั้นจงใช้โภคะเหล่านี้และทำบุญได้ หรือจะกลับไป

สู่ตระกูลญาติของตัวก็ได้ หรือประสงค์ชายอื่น ฉันก็จะมอบให้แก่เขา

เมื่อกระผมกล่าวอย่างนี้แล้ว ปชาบดีคนแรกได้พูดกะกระผมว่า

ขอท่านได้กรุณามอบดิฉันให้แก่ชายชื่อนี้เจ้าค่ะ กระผมก็ให้เชิญ

ชายผู้นั้นมา เอามือซ้ายจับปชาบดี มือขวาจับเต้าน้ำ หลั่งน้ำ

มอบให้ชายคนนั้น ก็เมื่อบริจาคปชาบดีสาวเป็นทาน กระผมไม่รูสึก

ว่าจิตแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเลย นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์

อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๓ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในตระกูลของกระผมมีโภคทรัพย์อยู่มาก

และ ทรัพย์เหล่านั้นกระผมแจกจ่ายทั่วไปถึงผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม

นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๔ ของกระผมที่มีอยู่

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมเข้าไปหาภิกษุรูปใด กระผมก็

เข้าไปหาด้วยความเคารพทีเดียว ไม่ใช่เข้าไปหาด้วยความไม่เคารพ

นี้แลเป็นที่น่าอัศจรรย์ฉันไม่เคยมีมาข้อที่ ๕ ของกระผมที่มีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 423

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หากท่านผู้มีอายุนั้นแสดงธรรมแก่กระผม

กระผมก็ฟังโดยความเคารพแท้ ๆ ไม่ใช่ฟังโดยความไม่เคารพ

หากท่านผู้มีอายุนั้นไม่แสดงธรรมแก่กระผม กระผมก็แสดงธรรม

แก่ท่านนั้น นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๖ ของ

กระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่น่าอัศจรรย์ที่เทวดาฟังหลายเข้าไป

หากระผม แล้วบอกว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสดีแล้ว เมื่อเทวดาทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว กระผมจึงพูดกะ

เทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายพึงบอกอย่างนี้หรือไม่พึงบอก

อย่างนี้ก็ตาม แท้ที่จริง ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

แต่กระผมก็ไม่รู้สึกเลยว่า ความฟูใจจะมีมาแต่เหตุนั้น ข้อที่เทวดา

ทั้งหลายมาหากระผม หรือกระผมได้ปราศรัยกับเทวดาทั้งหลาย

นี้ เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๗ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่พิจารณาเห็นสังโยชน์ไร ๆ

ในโอรัมภาคิยพังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนั้นว่า

ยังละไม่ได้ในตน นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๘

ของกระผมที่มีอยู่ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคย

มีมา ๘ ประการ ของกระผมที่ที่มีอยู่นี้แล กระผมก็ไม่รู้ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงพยากรณ์กระผมว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า

อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน.

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคฤหบดี

ชาวเมืองเวสาลีแล้ว ลุกจากที่นั่งหลีกไป ภายหลังภัต กลับจาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 424

บิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล

คำสนทนาปราศรัยกับอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีทั้งหมดแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถูกแล้ว ๆ อุคคคฤหบดี

ชาวเมืองเวสาลี เมื่อจะพยากรณ์ พึงพยากรณ์ตามนั้นโดยชอบ

ดูก่อนภิกษุ เราพยากรณ์อุคคคฤหบดีว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้ และเธอทั้งหลายจง

ทรงจำอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้.

จบ ปฐมอุคคสูตรที่ ๑

คหหดีวรรคที่ ๓

อรรถกถาปฐมอุคคสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๓ ปฐมอุคคสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปญฺตฺเต เอสเน นีสีทิ ความว่า ได้ยินว่า ในเรือน

ของอุคคะคฤหบดีนั้น เขาตกแต่งอาสนะ ๕๐๐ ที่ ไว้สำหรับภิกษุ

๕๐๐ รูป เป็นประจำทีเดียว ภิกษุนั่งเหนืออาสนะเหล่านั้น อาสนะหนึ่ง

บทว่า เต สุณาหิ ความว่า ท่านจงฟังธรรมเหล่านั้น หรือว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 425

จงฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนั้น. บทว่า

จิตฺต ปสีทติ ความว่า แม้เพียงความตรึกว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้า

หรือไม่หนอ ดังนี้ ก็ไม่เกิดขึ้น จิตตุปบาทว่าผู้นี้แหละเป็นพระพุทธเจ้า

เป็นอาการผ่องใส ไม่ขุ่นมัว. บทว่า สกานิ วา ญาติกุลานิ ความว่า

จงถือเอาทรัพย์พอยังอัตภาพ ให้เป็นไปสำหรับตนแล้วไปเรือน

ของพวกญาติ. บทว่า กสฺส โว ทมฺมิ ความว่า เราจะยกท่าน

ทั้งหลายให้แก่บุรุษคนไหน พวกท่านจงบอกความประสงค์ของตน ๆ

แก่เรา.

บทว่า อปฺปฏิวิภตฺตา ความว่า ก็ขึ้นชื่อว่าคนผู้เกิดจิตคิดว่า

เราจักให้เท่านี้ จักไม่ให้เท่านี้ จักให้สิ่งนี้ จักไม่ให้สิ่งนี้ ดังนี้

แล้วแจกจ่ายไป ย่อมมี แต่สำหรับข้าพเจ้าย่อมไม่เป็นอย่างนั้น.

โดยที่แม้แล โภคทรัพย์เหล่านั้น เป็นของสาธารณะกับผู้มีศีลทั้งหลาย

ดุจของสงฆ์และดุจของหมู่คณะ. บทว่า สกฺกจฺจเยว ปยิรุปาสามิ

ความว่า ข้าพเจ้าอุปฐากด้วยมือของตนคือเข้าไปหาด้วยอาการ

ยำเกรง. ด้วยคำว่า อนจฺฉริย โข ปน ม ภนฺเต นี้ คฤหบดีกล่าว่า

ท่านผู้เจริญ ข้อที่เทวดาเข้าไปหาข้าพเจ้าแล้วบอกอย่างนั้น นั่น

ไม่น่าอัศจรรย์ แต่ข้อที่ข้าพเจ้าไม่รู้สึกภูมิใจ อันมีการที่เทวดา

เข้าไปบอกเรื่องนั้นเป็นเหตุ นั้นน่าอัศจรรย์. ในคำว่า สาธุ สาธุ ภิกฺขุ

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุก็จริง แต่ถึงกระนั้น พึงทราบว่า

นี้เป็นการประทานสาธุการในความร่าเริงอันเกิดจากความขวนขวาย

ของอุบาสกเท่านั้น

จบ อรรถกถาปฐมอุคคสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 426

๒. ทุติยอุคคสูตร

[๑๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บ้าน-

หัตถีคาม ในแคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำ

อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า

อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประกรร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต

ครั้นได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร.

ครั้งนั้น เวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร

เข้าไปยังนิเวศน์ของอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม ครั้นแล้วจึงนั่ง

บนอาสนะที่เขาปูไว้ ลำดับนั้น อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม

เข้าไปหาภิกษุนั้น ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ภิกษุนั้นได้กล่าวกะอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามว่า ดูก่อนคฤหบดี

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ดูก่อนคฤหบดี ธรรมที่

น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน.

อุคคคฤหบดีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมไม่ทราบ

เลยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์กระผมว่า เป็นผู้ประกอบ

ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน

แต่ขอท่านได้โปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ

นี้ที่มีอยู่ จงใส่ใจให้ดี กระผมจักเรียนถวาย ภิกษุนั้นรับคำ

อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 427

อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถคามได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ในคราวที่กระผมเที่ยวอยู่ในสวนนาควัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

แต่ไกลเป็นครั้งแรก พร้อมกับการเห็นนั้นเอง จิตของกระผมก็

เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า เมาสุราอยู่ก็หายเมา นี้แลเป็นธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๑ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้เข้าไปนั่งใกล้

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอนุปุพพิกถา

โปรดกระผม คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษ

ของกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง และอานิสงส์ในเนกขัมมะ ในคราว

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบว่า กระผมมีจิตควร อ่อน

ปราศจากนิวรณ์ บันเทิง ผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศสามุกังสิกา

ธรรมเทศนาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ

มรรค เปรียบเหมือนผ้าที่บริสุทธิ์ ไม่หมองดำ จะพึงรับน้ำย้อม

ได้ดี แม้ฉันใด ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น

แล้วแก่กระผม ณ ที่นั่งนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น

ธรรมดา สิ่งนั้นมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมได้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรม

แล้ว รู้ธรรมแจ้งแล้ว หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัย

ได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลงแล้ว ถึงความแกลั้วกล้าแล้ว

ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในสัตถุศาสน์ ได้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และ

พระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ สมาทานสิกขาบท อันมีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 428

แล้ว ณ ที่นั่งนั้นนั่นแล นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา

ข้อที่ ๒ ของกระผมมีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมได้มีปชาบดีรุ่นสาวอยู่ ๔ คน

ได้เข้าไปหาปชาบดีเหล่านั้น แล้วได้กล่าวกะเธอเหล่านั้นว่า ดูก่อน

น้องหญิงทั้งหลาย ฉันสมาทานสิกขาบทอันมีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕

ผู้ใดปรารถนา ผู้นั้นจงใช้โภคะเหล่านี้และทำบุญได้ หรือจะไปสู่

ตระกูลญาติของตัวก็ได้ หรือประสงค์ชายอื่น ฉันก็จะมอบให้แก่เขา

เมื่อกระผมกล่าวอย่างนี้แล้ว ปชาบดีคนแรกได้พูดกะกระผมว่า

ขอท่านได้กรุณามอบดิฉันให้แก่ชายชื่อนี้เจ้าค่ะ กระผมได้เชิญชาย

ผู้นั้นมาเอามือซ้ายจับปชาบดี มือขวาจับเต้าน้ำ หลั่งน้ำมอบให้ชาย

คนนั้น ก็เมื่อบริจาคปชาบดีสาวเป็นทาน กระผมไม่รู้สึกว่าจิต

แปรปรวนเป็นอย่างอื่นเลย นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เฉย

มีมาข้อที่ ๔ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในตระกูลของกระผมมีโภคทรัพย์อยู่มาก

และโภคทรัพย์เหล่านั้นกระผมได้แจกจ่ายทั่วไปกับผู้มีศีล มี

กัลยาณธรรม นี้แล เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๔

ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผู้เข้าไปหาภิกษุรูปใด กระผมก็

เข้าไปด้วยความเคารพทีเดียว ไม่ใช่เข้าไปหาด้วยความไม่เคารพ

หากท่านผู้มีอายุนั้นแสดงธรรมแก่กระผม กระผมก็ฟังโดยเคารพ

แท้ ๆ ไม่ใช่ฟังโดยไม่เคารพ หากท่านผู้มีอายุนั้นไม่แสดงธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 429

แก่กระผม กระผมก็แสดงธรรมแก่ท่านผู้มีอายุนั้น นี้แลเป็นธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๕ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่น่าอัศจรรย์ที่เมื่อกระผมนิมนต์สงฆ์

แล้วเทวดาทั้งหลายเข้ามาบอกว่า ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุรูปโน้น

เป็นอุภโตภาควิมุติ รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุติ รูปโน้นเป็นกายสักขี

รูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุติ รูปโน้นเป็นสัมมานุสารี

รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี รูปโน้นเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้น

เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอังคาสสงฆ์

อยู่ก็ไม่รู้สึกว่า ยังจิตให้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า จะถวายแก่ท่านรูปนี้น้อย

หรือจะถวายแก่ท่านรูปนี้มาก แท้ที่จริง กระผมมีจิตเสมอกัน นี้แล

เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๖ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่น่าอัศจรรย์ที่เทวดาทั้งหลายเข้ามาหา

กระผมแล้วบอกว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสดีแล้ว เมื่อเทวดาทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว กระผมจึงพูดกะ

เทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่านจะพึงบอกอย่างนี้หรือไม่พึงบอก

อย่างนี้ก็ตาม แท้ที่จริง ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

แก่กระผมก็ไม่รู้สึกเลยว่า ความฟูใจจะมีมาแต่เหตุนั้น เทวดา

ทั้งหลายเข้ามาหากระผมหรือกระผมได้ปราศรัยกับเทวดาทั้งหลาย

นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๗ ของกระผม

ที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็หากว่ากระผมจะพึงทำกาละก่อน

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่น่าอัศจรรย์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 430

ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สังโยชน์อันเป็นเครื่องประกอบให้อุคค-

คฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามพึงกลับมาสู่โลกนี้อีกไม่มี นี้แลเป็นธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาข้อที่ ๘ ของกระผมที่มีอยู่.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘

ประการนี้แล ของกระผมที่มีอยู่ แต่กระผมก็ไม่รู้ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงพยากรณ์กระผมว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า

อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการเป็นไฉน.

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคฤหบดี

ชาวบ้านหัตถีคามแล้ว ลุกจากที่นั่งแล้วหลีกไป ภายหลังภัต

กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูล

คำสนทนาปราศรัยกับอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามนั้นทั้งหมด

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถูกแล้ว อุคค-

คฤหบดีชาวบ้านหัตถีคาม เมื่อจะพยากรณ์ พึงพยากรณ์ตามนั้น

โดยชอบ ดูก่อนภิกษุ เราพยากรณ์อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามว่า

เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ

นี้แล และเธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถีคามว่า

เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้.

จบ ทุติยอุคคสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 431

อรรถกถาทุติยอุคคสูตรที่ ๒

ทุติยุคคสูตร ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นาควเน ความว่า ได้ยินว่า เศรษฐีนั้นได้มีสวนชื่อว่า

นาควัน. เศรษฐีนั้นให้คนถือเอาของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น

ในเวลาก่อนอาหาร ประสงค์จะเล่นกีฬาในวันนั้น อันบริวาร

แวดล้อมไป ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาเกิดจิตเลื่อมใสโดยนัย

ก่อนนั่นแหละ พร้อมกับการเห็นความเมาที่เกิดขึ้นเพราะการดื่ม

สุรา ก็สร่างหายไปในขณะนั้นนั่นเอง. อุคคเศรษฐีกล่าวอย่างนั้น

หมายเอาข้อนั้น บทว่า โอโฏเชสึ ความว่า หลั่งน้ำที่พระหัตถ์ถวาย.

บทว่า อสุโก แก้เป็น อมุโก. บทว่า สมจิตฺโตว เทมิ ความว่า

ไม่กระทำความคิดต่าง ๆ อย่างนี้ว่า ให้แก่คนนี้น้อย ให้แก่คนนี้มาก.

ด้วยคำนี้ อุคคเศรษฐีแสดงว่า เราจะไม่ทำคุณของภิกษุเหล่านั้น

ให้เป็นเช่นเดียวกัน แต่เราจะกระทำไทยธรรม ให้เป็นเช่นเดียวกัน.

บทว่า อาโรเจนฺติ ความว่า เทวดาทั้งหลายยืนบอกอยู่ในอากาศ.

อุบาสกได้พยากรณ์อานาคามิผลของตนด้วยคำนี้ว่า นตฺถิ ต สโยชน

สังโยชน์นั้นไม่มี ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาทุติอุคคสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 432

๓. ปฐมหัตถกสูตร

[๑๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬว-

เจดีย์ ใกล้เมืองอาฬวี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายทูลรับพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ว่าเป็นผู้ประกอบ

ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๗ ประการ ๗ ประการ

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี เป็น

ผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ เป็นพหูสูต ๑

มีจาคะ ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำ

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า

อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๗ ประการนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต

ครั้นได้ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร

ครั้งนั้น เวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่ง นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร

เข้าไปยังนิเวศน์ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ชั้นแล้ว จึงนั่ง

บนอาสนะที่ปูไว้ ลำดับนั้น หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี เข้าไป

หาภิกษุนั้น ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ภิกษุ

นั้นได้กล่าวกะหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า ดูก่อนอาวุโส

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม

ที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๗ ประการ ๗ ประการเป็นไฉน ก่อน

ภิกษุทั้งหลาย หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี เป็นผู้มีศรัทธา ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 433

มีศีล ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ เป็นพหูสูต ๑ มีจาคะ ๑ มีปัญญา ๑

ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็นผู้

ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๗ ประการนี้แล

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คฤหัสถ์ไร ๆ

ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์

นี้หรือ.

ภิ. ดูก่อนอาวุโส ไม่มี.

ห. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีแล้ว ที่คฤหัสถ์ไร ๆ ผู้นุ่งผ้าขาว

ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์นี้.

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของหัตถกอุบาสก

ชาวเมืองอาฬวีแล้ว ลุกจากที่นั่งแล้ว หลีกไป ภายหลงภัต กลับจาก

บิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ขอประทานพระวโรกาส

ในเวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังนิเวศน์

ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี นั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ ลำดับนั้น

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี เข้ามาหาข้าพระองค์ไหว้แล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะหัตถกอุบาสก

ชาวเมืองอาฬวีว่า ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์

ท่าน ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๗

ประการ ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หัตถกอุบาสก

ชาวเมืองอาฬวีเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 434

เป็นพหูสูต ๑ มีจาคะ ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อัน

ไม่เคยมีมา ๗ ประการนี้ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ได้ถามข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

คฤหัสถ์ไร ๆ ผู้นุ่งผ้าขาวไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพยากรณ์นั้นหรือ ข้าพระองค์ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ไม่มี

เขาตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีแล้วที่คฤหัสถ์ไร ๆ ผู้นุ่งผ้าขาว

ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์นี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถูกแล้ว ๆ กุลบุตร

นั้นมีความปรารถนาน้อย ไม่ปรารถนาให้คนอื่นรู้กุศลธรรมที่

มีอยู่ในตน ดูก่อนภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงทรงจำหัตถกอุบาสก

ชาวเมืองอาฬวีไว้ ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อัน

ไม่เคยมีมานี้ คือ ความเป็นไม่ปรารถนาให้คนอื่นรู้กุศลธรรม

ที่มีอยู่ในตน.

จบ ปฐมหัตถกสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 435

อรรถกถาปฐมหัตถกสูตรที่ ๓

ปฐมหัตถกสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า หตฺถโก อาฬวโก ความว่า พระราชกุมารผู้ได้

พระนามว่า หัตถกะ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับจากมือ

ของอาฬวกยักษ์ด้วยพระหัตถ์. บทว่า สีลวา ได้แก่ ผู้มีศีล

ด้วยศีล ๕ และศีล ๑๐. บทว่า จาควา แปลว่า ถึงพร้อมด้วยการ

บริจาค. บทว่า กจฺจิตฺถ ภนฺเต ความว่า ในที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพยากรณ์นี้แล หรือขอรับ. บทว่า อปฺปิจฺโฉ ได้แก่ ผู้ชื่อว่า

มักน้อย เพราะเป็นผู้มักน้อยในอธิคม.

จบ อรรถกถาหัตถกสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 436

๔. ทุติยหัตถกสูตร

[๑๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัค-

คาฬวเจดีย์ ใกล้เมืองอาฬวี ครั้งนั้นแล หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า

ดูก่อนหัตถกะ บริษัทของท่านนี้ใหญ่ ก็ท่านสงเคราะห์บริษัทใหญ่

นี้อย่างไร

หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงสังคหวัตถุ ๔ ประการไว้

ข้าพระองค์สงเคราะห์บริษัทใหญ่นี้ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ

เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ว่าผู้นี้ควรสงเคราะห์

ด้วยทาน ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยทาน ผู้นี้ควรสงเคราะห์

ด้วยวาจาอ่อนหวาน ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยวาจาอ่อนหวาน

ผู้นี้ควรสงเคราะห์ด้วยการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ข้าพระองค์

ก็สงเคราะห์ด้วยการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ผู้นี้ควรสงเคราะห์

ด้วยการวางตัวเสมอ ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยการวางตัวเสมอ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็โภคทรัพย์ในตระกูลของข้าพระองค์มีอยู่

ชนทั้งหลายจึงสำคัญถ้อยคำของข้าพระองค์ว่าควรฟัง ไม่เหมือน

ของคนจน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 437

พ. ถูกแล้ว ๆ หัตถกะ นี้แลเป็นอุบายที่ท่านสงเคราะห์บริษัท

ใหญ่ ดูก่อนหัตถกะ จริงอยู่ ใคร ๆ ก็ตามที่สงเคราะห์บริษัทใหญ่

ในอดีตกาล ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ และ

ใคร ๆ ก็ตามที่จักสงเคราะห์บริษัทในอนาคตกาล ก็ล้วนแต่จัก

สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล ใคร ๆ ก็ตามย่อม

สงเคราะห์บริษัทใหญ่ในปัจจุบัน ก็ล้วนแต่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ

๔ ประการนี้แล ลำดับนั้น หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี อันพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มี-

พระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป.

ลำดับนั้น เมื่อหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี หลีกไปแล้ว

ไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี

ว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ

๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หัตถกอุบาสกชาวเมือง

อาฬวี เป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ เป็นพหูสูต ๑

มีจาคะ ๑ มีปัญญา ๑ มีความปรารถนาน้อย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ว่าเป็นผู้ประกอบ

ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล.

จบ ทุติยหัตถกสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 438

อรรถกถาทุติยหัตถกสูตรที่ ๔

ทุติยหัตถกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปญฺจมตฺเตหิ อุปาสกหเตหิ ความว่า หัตถกอุบาสก

อันอริยสาวกอุบาสกผู้เป็นโสดาบัน สกทาคามิ และอนาคามีเท่านั้น

แวดล้อมแล้ว บริโภคอาหารเช้าแล้วถือเอาของหอม ดอกไม้ และ

จุณเครื่องลูบไล้เป็นต้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

บทว่า สงฺคหวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุแห่งการสงเคราะห์. บทว่า เตหาห

ตัดบทเป็น เตหิ อห.

บทว่า ต ทาเนน สงฺคณฺหามิ ความว่า ข้าพเจ้าจะให้ไถ

โคงาน อาหาร และพืช เป็นต้น และของหอม ดอกไม้ และจุณ

สำหรับไล้ทา เป็นต้น ให้สงเคราะห์. บทว่า เปยฺยวาเจน ความว่า

ข้าพเจ้าสงเคราะห์ด้วยปิยวาจาอันนุ่มนวล เสนาะหู มีอาทิว่า พ่อ

แม่ พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว. บทว่า อตฺถจริยาย ความว่า

เราจะสงเคราะห์ด้วยการประพฤติประโยชน์กล่าวคือ รู้ว่าผู้นี้

ไม่มีกิจด้วยการให้หรือด้วยปิยวาจา ผู้นี้ควรจะพึงสงเคราะห์

ด้วยการประพฤติประโยชน์ ดังนี้แล้ว จึงช่วยกิจที่เกิดขึ้น. บทว่า

สมานตฺตตาย ความว่า เราสงเคราะห์โดยทำให้เสมอกับคนด้วย

การกิน การดื่ม และการนั่งเป็นต้นร่วมกัน เพราะรู้ว่าผู้นี้ไม่มีกิจ

ด้วยการให้เป็นต้น ผู้มีเราควรสงเคราะห์ ด้วยความเป็นผู้มีตน

เสมอกัน. บทว่า ทลิทฺทสฺส โข โน ตถา โสตพฺพ มญฺนฺติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 439

ความว่า เมื่อคนผู้ขัดสน ไม่สามารถให้หรือทำอะไร ๆ ได้ ชน

ทั้งหลายย่อมไม่สำคัญว่าจะต้องฟังเหมือนคำของคนขัดสน แต่คำ

ของข้าพระองค์ ชนทั้งหลายย่อมสำคัญว่าควรฟัง คือ ย่อมตั้งอยู่

ในโอวาทที่ให้ไว้ อธิบายว่า ย่อมไม่สำคัญที่จะล่วงละเมิดอนุศาสนี

ของข้าพระองค์. บทว่า โยนิ โข ตฺยาย แก้เป็น อุปาโย โข เต อย

แปลว่า นี้เป็นอุบายของท่านแล. ก็ในสูตรแม้ทั้งสองนี้ พึงทราบว่า

ตรัส ศรัทธา ศีล จาคะและปัญญาคละกัน.

จบ อรรถกถาทุติยหัตถกสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 440

๕. มหานามสูตร

[๑๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโคร-

ธารามใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ ในแคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะ

พระนามว่ามหานาม เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทบ

ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแล บุคคลถึง

พระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ด้วยเหตุมี

ประมาณเท่านี้ ชื่อว่าเป็นอุบาสก.

ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร

อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.

พ. ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแล อุบาสกงดเว้นจากปาณาติบาต

งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจาก

มุสาวาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นทั้ง

แห่งความประมาท ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ อุบาสกชื่อว่า เป็น

ผู้มีศีล.

ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร

อุบาสกชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์นั้น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์

ผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 441

พ. ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

ศรัทธาด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑

ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย

ศีล ๑ ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึง

พร้อมด้วยจาคะ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม แต่ไม่ชักชวน

ผู้อื่นในการฟังสัทธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนฟังแล้วได้

แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณา

อรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการพิจารณา

อรรถแห่งธรรม ๑ ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรม แล้วปฏิบัติ

ธรรมควรแก่ธรรม แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรม

อันสมควรแก่ธรรม ๑ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ อุบาสกชื่อว่า

เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสก

ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

พ. ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

ศรัทธาด้วยตนเอง ละชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑

ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑

ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย

จาคะ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นในการเห็น

ภิกษุ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่นในการ

ฟังสัทธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนฟังแล้ว และชักชวน

ผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณาอรรถแห่งธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 442

ที่ตนฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นในการพิจารณาอรรถแห่งธรรม ๑

ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

และชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ด้วยเหตุมี

ประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และ

เพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

จบ มหานามสูตรที่ ๕

อรรถกถามหานามสูตรที่ ๕

มหานามสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อตฺถูปปริกฺขึ โหติ ความว่า ย่อมเป็นผู้ใคร่ครวญ

ถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ คือ เหตุและมิใช่เหตุ.

จบ มหานามสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 443

๖. ชีวกสูตร

[๑๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวน-

มะม่วงของหมอชีวก ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น หมอชีวกโกมารภัจจ์

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณ

เท่าไรหนอ บุคคลชื่อว่าเป็นอุบาสก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนชีวก เมื่อใดแลบุคคลถึงพระพุทธเจ้า ถึงพระธรรม ถึงพระสงฆ์

ว่าเป็นสรณะ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ชื่อว่าเป็นอุบาสก.

ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร อุบาสก

ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.

พ. ดูก่อนชีวก เมื่อใดแล อุบาสกงดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ

งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้มีศีล.

ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร

อุบาสกชื่อว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

พ. ดูก่อนชีวก เมื่อใดแล อุบาสกถึงพร้อมด้วยศรัทธาด้วย

ตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ฯลฯ ตนเอง

เป็นผู้รู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ด้วยเหตุมี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 444

ประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

ช. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร

อุบาสกชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์

ผู้อื่น.

พ. ดูก่อนชีวก เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา

ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ ตนเอง

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑

ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ และชักชวนผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วย

จาคะ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อเห็นภิกษุ และชักชวนผู้อื่นในการ

เห็นภิกษุ ๑ ตนเองเป็นผู้ใคร่เพื่อฟังสัทธรรม และชักชวนผู้อื่น

ในการฟังสัทธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้ทรงจำธรรมที่ตนเองฟังแล้ว

และชักชวนผู้อื่นเพื่อการทรงจำธรรม ๑ ตนเองเป็นผู้พิจารณา

อรรถแห่งธรรมที่ตนฟังแล้ว และชักชวนผู้อื่นในการพิจารณา

อรรถแห่งธรรม ๑ ตนเองรู้ทั่วถึงอรรถรู้ทั่วถึงธรรมแล้วปฏิบัติ

ธรรมสมควรแก่ธรรม และชักชวนผู้อื่นในการปฏิบัติธรรมสมควร

แก่ธรรม ๑ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล อุบาสกชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

จบ ชีวกสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 445

อรรถกถาชีวกสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศรัทธา ศีล และจาคะ

คละกัน.

จบ อรรถกถาชีวกสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 446

๗. ปฐมพลสูตร

[๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๘ ประการนี้ ๘ ประการ

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทารกทั้งหลายมีการร้องไห้เป็นกำลัง ๑

มาตุคามทั้งหลายมีความโกรธเป็นกำลัง ๑ โจรทั้งหลายมีอาวุธเป็น

กำลัง ๑ พระราชาทั้งหลายมีอิสริยยศเป็นกำลัง ๑ คนพาลทั้งหลาย

มีการเพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง ๑ บัณฑิตทั้งหลายมีการไม่เพ่งโทษ

เป็นกำลัง ๑ พหูสูตบุคคลทั้งหลายมีการพิจารณาเป็นกำลัง ๑

สมณพราหมณ์ทั้งหลายมีขันติเป็นกำลัง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กำลัง ๘ ประการนี้แล.

จบ ปฐมพลสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมพลสูตรที่ ๗

ปฐมพลสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุชฺฌตฺติพลา แปลว่า มีการเพ่งโทษเป็นกำลัง

จริงอยู่ พวกคนพาลมีกำลังเฉพาะแต่การเพ่งโทษอย่างนี้ว่า คนโน้น

บอกเรื่องนี้ ๆ กะผู้ใด ผู้นั้นได้บอกกะเรา ไม่บอกกะคนอื่น. บทว่า

นิชฺฌตฺติพลา ความว่า มีการไม่เพ่งประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์

เท่านั้นว่า นี้ไม่ใช่ นี้ชื่อว่าอย่างนี้เป็นกำลัง. บทว่า ปฏิสงฺขานพลา

แปลว่า มีการพิจารณาเป็นกำลัง. บทว่า ขนฺติพลา ได้แก่ มีความ

อดทนด้วยความยับยั้งเป็นกำลัง.

จบ อรรถกถาปฐมพลสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 447

๘. ทุติยพลสูตร

[๑๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า

ดูก่อนสารีบุตร กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพมีเท่าไร ที่เป็นเหตุให้

เธอผู้ประกอบแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า

อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว.

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลัง

ของภิกษุผู้ขีณาสพ ๘ ประการ ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้ว

ปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลาย

ของเราสิ้นแล้ว.

ท่านพระสารีบุตรกราบทูบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลัง

ของภิกษุผู้ขีณาสพ ๘ ประการ ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้ว

ปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลาย

ของเราสิ้นแล้ว ๘ ประการเป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ

ผู้ขีณาสพในธรรมวินัยนี้ เห็นสังขารทั้งปวงแจ่มแจ้ง โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพ

เห็นสังขารทั้งปวงแจ่มแจ้ง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญา

อันชอบตามเป็นจริงนี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัย

แล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลาย

ของเราสิ้นแล้ว ๑.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 448

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นกามทั้งหลายว่าเปรียบ

ด้วยหลุมถ่านเพลิง แจ่มแจ้งด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง ข้อที่

ภิกษุขีณาสพเห็นกามทั้งหลายว่าเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง แจ่มแจ้ง

ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง นี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ

ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า

อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิตน้อมไป โน้มไป โอน

ไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีแล้วในเนกขัมมะ ปราศจาก

อาสวัฏฐานิยธรรมโดยประการทั้งปวง ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพมีจิต

น้อมไป ฯลฯ ปราศจากอาสวัฏนิยธรรมโดยประการทั้งปวง นี้เป็น

กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญสติปัฏฐาน ๔ อบรม

ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญสติปัฏฐาน ๔ อบรมดีแล้ว นี้เป็น

กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอิทธิบาท ๔ อบรม

ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอิทธิบาท ๔ อบรมดีแล้ว นี้เป็น

กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอินทรีย์ ๕ อบรม

ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอินทรีย์ ๕ อบรมดีแล้ว นี้เป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 449

กำลงของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญโพชฌงค์ ๗ อบรม

ดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญโพชฌงค์ ๗ อบรมดีแล้ว นี้เป็น

กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอริยมรรคประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อบรมดีแล้ว ข้อที่ภิกษุผู้ขีณาสพเจริญอริยมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘ อบรมดีแล้วนี้เป็นกำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ

ที่ท่านอาศัยแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะ

ทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว ๑.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กำลังของภิกษุผู้ขีณาสพ ๘ ประการ

นี้แล ที่เป็นเหตุให้ท่านผู้ประกอบแล้วปฏิญาณความสิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลายได้ว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว.

จบ ทุติยพลสูตรที่ ๘

อรรถกถาทุติยพลสูตรที่ ๘

ทุติยพบสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า พลานิ ได้แก่ กำลังคือพระญาณ. บทว่า อาสวาน

ขย ปฏิชานาติ ความว่า ย่อมปฏิญาณพระอรหัต. บทว่า อนิจฺจโต

แปลว่า โดยอาการมีแล้วหามีไม่. บทว่า ยถาภูต แปลว่า ตามที่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 450

เป็นจริง. บทว่า สมฺมปฺปญฺาย ได้แก่ ด้วยสัมมาวิปัสสนาและ

มรรคปัญญา. บทว่า องฺคารกาสูปมา ความว่า กามเหล่านี้ท่าน

เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าทำให้เร่าร้อน. บทว่า

วิเวกนินฺน ได้แก่ น้อมไปในพระนิพพาน ด้วยอำนาจผลสมาบัติ.

บทว่า วิเวกฏฺ ได้แก่ เว้นหรือห่างไกลจากกิเลสทั้งหลาย. บทว่า

เนกฺขมฺมาภิรต ได้แก่ ยินดียิ่งในบรรพชา. บทว่า พยนฺตีภูต แปลว่า

มีที่สุด (คือตัณหา) ไปปราศแล้ว คือ แม้โดยเอกเทศก็ไม่ติดอยู่

ไม่ประกอบไว้ ไม่เกี่ยวข้อง. บทว่า อาสวฏฺานิเยหิ ได้แก่ จากธรรม

อันเป็นเหตุแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยอำนาจการประกอบไว้ อธิบาย

ว่า จากกิเลลธรรมทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พยนฺตีภูต แปลว่า

ปราศจากตัณหาอันชื่ออันชื่อตันตี อธิบายว่า ปราศจากตัณหา. บทว่า

สพฺพโส อาสวฏฺานิเยหิ ธมฺเมหิ ความว่า จากธรรมอันเป็นไป

ในภูมิ ๓ ทั้งหมด. ในสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงอริยมรรคทั้งที่เป็น

โลกิยะและโลกุตตระ.

จบ อรรถกถาทุติพลสูตรที่ ๘

๑. ตันตี เป็นชื่อของตัณหา เพราะเป็นสายดุจเส้นเชือกผูกโยงสัตว์ใช้ในวัฏฏสงสาร ฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 451

๙. อักขณสูตร

[๑๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมกล่าวว่า

โลกได้ขณะจึงทำกิจ ๆ แต่เขาไม่รู้ขณะหรือมิใช่ขณะ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย กาลมิใช่ขณะมิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต

อุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อม

ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก

บุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นจำแนกธรรม และธรรมอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง นำความสงบมาให้ เป็นไป

เพื่อปรินิพพาน ให้ถึงการตรัสรู้ อันพระสุคตเจ้าประกาศแล้ว

แต่บุคคลผู้นี้เข้าถึงนรกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่

สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติขึ้นในโลก ฯลฯ เป็นผู้จำแนก

ธรรม และธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง... แต่บุคคล

ผู้นี้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ

มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้เข้าถึงปิตติวิสัยแล้ว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ข้อที่ ๓.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 452

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้เข้าถึงเทพนิกายผู้มีอายุยืน

ชั้นใดชั้นหนึ่งเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการ

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในปัจจันตชนบท

และอยู่ในพวกมิลักขะ ไม่รู้ดีรู้ชอบ อันเป็นสถานที่ไม่มีภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก อุบาสิกาไปมา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัย

ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๕.

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท

แต่เขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล

ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมดี

กรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี

สัตว์ทั้งหลายที่ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสั่งสอน

ประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ

มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๖

อีกประการหนึ่ง ฯลฯ แต่บุคคลนี้กลับมาเกิดในมัชฌิมชนบท

แต่เขามีปัญญาทราม บ้าใบ้ ไม่สามารถรู้อรรถแห่งสุภาษิตและ

ทุพภาษิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๗.

อีกประการหนึ่ง ตถาคตอุบัติแล้วในโลก เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว

ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 453

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น

ผู้จำแนกธรรม ธรรมอันนำความสงบมาให้ เป็นไปเพื่อปรินิพพาน

ให้ถึงการตรัสรู้ อันพระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว พระตถาคต

มิได้แสดง ถึงบุคคลผู้นี้จะเกิดในมัชฌิมชนบทและมีปัญหา ไม่บ้าใบ้

ทั้งสามารถจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้มิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่ ๘ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กาลอันมิใช่ขณะ มิใช่สมัยในการอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนขณะและสมัยในการอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ มีประการเดียว ประการเดียวเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง

โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก

เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของ

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

และธรรมอันตถาคตทรงแสดง เป็นธรรมนำความสงบมาให้ เป็น

ไปเพื่อปรินิพพานให้ถึงการตรัสรู้ พระสุคตเจ้าทรงประกาศแล้ว

และบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท ตั้งมีปัญญา ไม่บ้าใบ้ สามารถ

เพื่อจะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นขณะและสมัย ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ประการเดียว.

ชนเหล่าใด เกิดในมนุษยโลกแล้ว เมื่อ

พระตถาคตทรงประกาศสัทธรรม ไม่เข้าถึงขณะ

ชนเหล่านั้นเชื่อว่าล่วงขณะ ชนเป็นอันมาก กล่าว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 454

เวลาที่เสียไปว่า กระทำอันตรายแก่ตน พระ-

ตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในกาลบางครั้ง

บางคราว การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นใน

โลก ๑ การได้กำเนิดเป็นมนุษย์ ๑ การแสดง

สัทธรรม ๑ ที่จะพร้อมกันเข้าได้ หาได้ยากใน

โลก ชนผู้ใคร่ประโยชน์ จึงควรพยายามในกาล

ดังกล่าวมานั้น ที่ตนพอจะรู้จะเข้าใจสัทธรรมได้

ขณะอย่าล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย เพราะ

บุคคลที่ปล่อยเวลาให้ล่วงไปพากันยัดเยียดใน

นรก ก็ย่อมเศร้าโศก หากเขาจะไม่สำเร็จอริย-

มรรค อันเป็นธรรมตรงต่อสัทธรรมในโลกนี้ได้

เขาผู้มีประโยชน์อันล่วงเสียแล้ว จักเดือดร้อน

สิ้นกาลนาน เหมือนพ่อค้าผู้ปล่อยให้ประโยชน์

ล่วงไป เดือดร้อนอยู่ ฉะนั้น คนผู้ถูกอวิชชา

หุ้มห่อไว้ พรากจากสัทธรรม จักเสวยแต่สงสาร

คือ ชาติและมรณะสิ้นกาลนาน ส่วนชนเหล่าใด

ได้อัตภาพเป็นมนุษย์แล้ว เมื่อพระตถาคตประ-

กาศสัทธรรม ได้กระทำแล้ว จักกระทำ หรือ

กระทำอยู่ ตามพระดำรัสของพระศาสดา ชน

เหล่านั้นชื่อว่าได้ประสบขณะ คือ การประพฤติ

พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมในโลก ชนเหล่าใด

ดำเนินไปตามมรรคา ที่พระตถาคตเจ้าทรงประ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 455

กาศแล้ว สำรวมในศีลสังวรที่พระตถาคตเจ้า

ผู้มีจักษุเป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดง

แล้ว คุ้มครองอินทรีย์ มีสติทุกเมื่อ ไม่ชุ่มด้วย

กิเลส ตัดอนุสัยทั้งปวงอันแล่นไปตามกระแส

บ่วงมาร ชนเหล่านั้นแล บรรลุความสิ้นอาสวะ

ถึงฝั่ง คือ นิพพานในโลกแล้ว.

จบ อักขณสูตรที่ ๙

อรรถกถาอักขณสูตรที่ ๙

อักขณสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ชาวโลกย่อมทำกิจทั้งหลายในขณะ เพราะเหตุนั้นชาวโลก

นั้นชื่อว่า ขณกิจจะ ผู้ทำกิจในขณะ อธิบาย พอได้โอกาศทำกิจ

ทั้งหลาย บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมคือสัจจะทั้ง ๔. บทว่า อุปสมิโก

ได้แก่ นำความสงบกิเลสมาให้. บทว่า ปรินิพฺพานิโก ได้แก่ กระทำ

การดับกิเลสได้สิ้นเชิง. ชื่อว่า สมฺโพธคามี เพราะถึงคือบรรลุ

สัมโพธิญาณ กล่าวคือ มรรคญาณ ๔. คำว่า ทีฆายุก เทวนิกาย นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงเหล่าอสัญญีเทพ. บทว่า อวิญฺา-

ตาเรสุ ความว่า ในพวกมิลักขะ ผู้ไม่รู้อย่างยิ่ง.

บทว่า สุปฺปเวทิเต ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

บทว่า อนฺตรายิกา แปลว่า อันกระทำอันตราย. บทว่า ขโณ โว มา

อุปจฺจคา ความว่า ขณะที่ท่านได้แล้วนี้ อย่าล่วงเลยท่านทั้งหลาย

ไปเสีย. บทว่า อิธ เจ น วิราเธติ ความว่า ถ้าใคร ๆ มีปกติพฤติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 456

ประมาท ถึงได้ขณะนี้ในโลกนี้แล้วก็ไม่สำเร็จ คือ ไม่บรรลุความ

ที่พระสัทธรรมเป็นของแน่นอน คือ อริยมรรค. บทว่า อดีตตฺโถ

ได้แก่ เป็นผู้เสื่อมประโยชน์แล้ว. บทว่า จิรตฺตนุตปิสฺสติ ความว่า

จักเศร้าโศกสิ้นกาลนาน. เหมือนอย่างว่าพ่อค้าผู้หนึ่ง ได้ฟังข่าวว่า

ในที่ชื่อโน้น สินค้ามีราคาเท่ากัน ก็ไม่พึงไป พ่อค้าเหล่าอื่นพึงไป

ซื้อเขามา สินค้าเหล่านั้น ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นเป็น ๘ เท่าบ้าง.

๑๐ เท่าบ้าง เมื่อเป็นเช่นนั้น พ่อค้าอีกฝ่ายหนึ่งพึงเดือดร้อนด้วย

คิดว่า ประโยชน์ของเราล่วงเลยไปแล้วดังนี้ฉันใด บุคคลใดได้

ขณะในโลกนี้แล้ว ไม่ปฏิบัติ ไม่ยินดีการกำหนดแน่นอนแห่งพระ-

สัทธรรม บุคคลนั้นชื่อว่ามีประโยชน์อันล่วงแล้วเหมือนพ่อค้านี้

จักเดือดร้อนจักเศร้าโศกสิ้นกาลนานยิ่งกว่าใคร ๆ ฉันนั้น. บทว่า

อวิชฺชานิวุโต พึงทราบความเหมือนอย่างนั้น. บทว่า ปจฺจวิทุ

แปลว่า ได้ตรัสรู้แล้ว. บทว่า สวรา ได้แก่ผู้สำรวมในศีล. บทว่า

มารเธยฺยสรานุเค ความว่า อันแล่นตามสังสารวัฏแก่งมาร

บทว่า ปารคตา ได้แก่ถึงซึ่งพระนิพพาน. บทว่า เย ปตฺตา

อาสวกฺขย/B> ความว่า ชนเหล่าใดบรรลุพระอรหัตเเล้ว. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้ในพระคาถาทั้งหลายใน

พระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้

จบ อรรถกถาอักขณสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 457

๑๐. อนุรุทธสูตร

[๑๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่า-

เภสกลามิคทายวัน แขวงเมืองสุงสุมารคิยะ แคว้นภัคคชนบท

ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน

แคว้นเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ

เกิดความปริวิตกทางใจอย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคล

ผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก

ของบุคคลสันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ของบุคคลผู้สงัด

มิใช่ของบุคคลผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ของบุคคลผู้ปรารภ

ความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น

มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคล

ผู้มีจิตไม่มั่นคง ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่บุคคลผู้มีปัญญาทราม.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกทางใจ

ของท่านพระอนุรุทธะแล้ว เสด็จจากเภสกลามิคทายวัน แขวง

สุงสุมารคิระ แคว้นภัคคชนบท ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะ

ที่วิหารปาจีนวังสทายวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขน

ที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง

บนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว แม้ท่านพระอนุรุทธะถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะว่า ดีแล้ว ๆ อนุรุทธะถูกละ

ที่เธอตรึกมหาปุริสวิตกว่าธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้มีความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 458

ปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก... ของบุคคล

ผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ก่อนอนุรุทธะ ถ้า

อย่างนั้น เธอจงตรึกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ นี้ว่า ธรรมนี้เป็นของ

บุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่ทำ

ให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ผู้ยินดี

ในธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า ดูก่อนอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึก

มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า

จักสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร

มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก

๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียวว่า จักบรรลุทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร

เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ในกาลใดแล

เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในการนั้น เธอจักหวังได้

ทีเดียวว่า จักมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย

เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า

ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ในกาลใดแล เธอจัก

ตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ ในกาลนั้น เธอจักหวังได้ทีเดียว

จักบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ

โสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ในกาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็น

ผู้มีปกติได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔

นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ผ้า-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 459

บังสุกุลจีวรจักปรากฏแก่เธอ ผู้สันโดษ อยู่ด้วยความยินดี ด้วยความ

ไม่หวาดเสียว ด้วยความอยู่เป็นสุข ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน

เปรียบเหมือนหีบใส่ผ้าของคฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดี อันเต็ม

ไปด้วยผ้าสีต่าง ๆ ฉะนั้น ดูก่อนอนุรุทธะ ในกาลใดแล เธอจักตรึก

มหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา

ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้

ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมี

ในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น โภชนะ คือ

คำข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ... ด้วยการ

ก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนข้าวสุก (หุงจาก) ข้าวสาลี คัดเอา

คำออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ของคฤหบดีและบุตรแห่งคฤหบดี

ฉะนั้น ดูก่อนอนุรุทธะ ในกาลในแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก

๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก

ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน

ปัจจุบัน ในกาลนั้น เสนาสนะ คือ โคนไม้ จักปรากฏแก่เธอผู้

สันโดษ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนเรือนยอดของ

คฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉาบทาไว้ดีแล้ว ปราศจากลม เธอ

จักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นได้ตามความ

ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก. ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง

เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ที่นอน ที่นั่งอันลาด

ด้วยหญ้า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน

เปรียบเหมือนบัลลังก์ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี อันลาด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 460

ด้วยผ้าโกเชาว์ขนยาว ลาดด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยผ้าสัณฐาน

เป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเครื่องลาด

เพดานแดง มีหมอนข้างแดงสองข้าง ฉะนั้น ดูก่อนอนุรุทธะ ใน

กาลใดแล เธอจักตรึกมหาปุริสวิตก ๘ ประการนี้ และจักเป็นผู้ได้

ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมี

ในจิตยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น ยาดองด้วย

น้ำมูตรเน่า จักปรากฏแก่เธอผู้สันโดษ... ด้วยการก้าวลงสู่นิพพาน

เปรียบเหมือนเภสัชต่าง ๆ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง

น้ำอ้อย ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี ฉะนั้น.

ดูก่อนอนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เธอพึงอยู่จำพรรษาที่วิหาร

ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นี้แหละ ต่อไปอีกเถิด ท่านพระอนุรุทธะ

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสสอนท่านพระอนุรุทธะด้วยพระโอวาทนี้แล้ว เสด็จจากวิหาร

ปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจดีย์นคร ไปปรากฏที่ป่าเภสกลามิคทายวัน

แขวงเมืองสุงสุมารคิระ แคว้นภัคคะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง

เหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ถวายแล้ว ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก ๘

ประการ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ฯลฯ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็มหาปุริสวิตก ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคล

ผู้มีความปรารถนามาก ๑ ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 461

ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคล

ผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร

มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่

ของผู้มีสติหลงลืม ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มิใจของบุคคล

มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคล

ผู้มีปัญญาทราม ๑ ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุ

ให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคล

ผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุ

ให้เนิ่นช้า ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความ

ปรารถนามาก เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า

ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ

ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษ

เป็นผู้สงัดย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด

เป็นปรารภความเพียรย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้

เราว่า ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า

ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคงย่อมไม่

ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็น

ผู้มีปัญญาย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีปัญญา

เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 462

ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้

เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้

เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ตามมีตามได้

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ

มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัย

อะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก

อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวก

แห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุมีจิตน้อมไป โอนไป เงื้อมไป

ในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ย่อมกล่าวกถาอันปฏิ-

สังยุตด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้ ข้อที่กล่าวว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคล

ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไร

กล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 463

ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม

มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ข้อที่เรา

กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภคราม

เพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้มีสิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วย

สติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงกิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติ

ตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล

มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ

บรรลุจตุตถฌาน ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้

ของบุคคลมีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้ เราอาศัย

ข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบ

ด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรก

กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 464

ทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มีใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม

ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคล

ผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็น

เหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส

ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น ข้อที่เรา

กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรม

ที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่

ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรม

ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวัง-

สทายวัน แคว้นเจดีย์นครนนั้นนั่นแล ต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระ-

อนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร

มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์

อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายยออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ

ตามต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ได้ว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น

เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์

รูปหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะ

บรรลุอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ไว้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 465

พระศาสดาผู้เป็นเยี่ยมในโลก ทรงทราบ

ความดำริของเราแล้ว ได้เข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์

ทางพระกายอันสำเร็จแต่พระหฤทัย พระองค์ได้

ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่าความดำริของเราเท่าที่

ดำริไว้ พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรมอันไม่เป็น

เหตุให้เนิ่นช้า ได้ทรงแสดงซึ่งธรรนอันเป็นเหตุ

ให้เนิ่นช้า เราได้รู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว

ยินดีในศาสนาอยู่ เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้วโดย

ลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำแล้ว

จบ อนุรทธะสูตรที่ ๑๐

จบ คหปติวรรคที่ ๓

อรรถกถาอนุรุทธสูตรที่ ๑๐

อนุรุทธสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เจตีสุ ความว่า ในรัฐอันได้ชื่ออย่างนั้น เพราะรัฐนั้น

เป็นที่ประทับอยู่ของเจ้าทั้งหลาย พระนามว่าเจตี. บทว่า ปาจีนวสทาเย

ความว่า ที่ป่าวังสทายะ อันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก แต่ที่ประทับ

อยู่ของพระทศพล อันเป็นราวป่าดารดาดไปด้วยไม้ไผ่มีสีเขียว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 466

บทว่า เอว เจตโส ปริวิตกฺโก อุทปาทิ ความว่า ได้ยินว่า

พระเถระบวชแล้ว เป็นผู้ได้สมาบัติในภายในพรรษาก่อนเพื่อน

ให้เกิดทิพยจักษุที่สามารถให้เห็นพ้นโลกธาตุได้. ท่านได้ไปยังสำนัก

ของพระสารีบุตรเถระ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตร

ในที่นี้ ข้าพเจ้าเห็นพ้นโลก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์.

ก็ความเพียรอันข้าพเจ้าปรารภแล ไม่ย่อหย่อน สติอันข้าพเจ้าตั้งมั่น

แล้ว ไม่หลงลืม กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์

เดียว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของข้าพเจ้า ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ

ทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นดังนี้. ลำดับนั้น พระสารีบุตรเถระกล่าว

กะท่านว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะความคิดอันใดแล ที่มีอยู่แก่ท่าน

อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ามองเห็น ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุดังนี้ ความคิดของ

ท่านนี้เป็นมานะ. ดูก่อนท่านอนุรุทธะ ความคิดแม้ใดของท่านที่มี

อยู่อย่างนี้ว่า ก็ความเพียร อันข้าพเจ้าปรารภแล้ว ฯลฯ มีอารมณ์

เดียว ความคิดอันนี้ของท่านก็เป็นอุทธัจจะ ความคิดแม้ใด ของท่าน

ที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ก็แลเมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของข้าพเจ้ายังไม่หลุดพ้น

จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ความคิดของท่านก็เป็นกุกกุจจะ

ดีละ ท่านอนุรุทธะ จงละธรรม ประการเหล่านี้เสีย ไม่ใส่ใจ

ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ จงน้อมจิตเข้าไปเพื่อสมณธรรม ดังนี้

พระเถระบอกกรรมฐานแก่ท่านด้วยประการฉะนี้. ท่านรับกรรมฐาน

แล้ว ทูลลาพระศาสดาไปยังเจดีย์รัฐกระทำสมณธรรม ยับยั้งอยู่

ด้วยการจงกรมเป็นเวลาครึ่งเดือน. ท่านลำบากกาย เพราะกรากกรำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 467

ด้วยกำลังความเพียร นั่งอยู่ภายใต้พุ่มไผ่พุ่มหนึ่ง. บทว่า อถสฺสาย

เอว เจตโส ปริวิตกฺโก อุทปาทิ ความว่า มหาปุริสวิตกนี้เกิดขึ้น.

ในบทว่า อปฺปิจฺฉสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนื้ :- บุคคลผู้

มักน้อย ๔ จำพวก คือ มักน้อยในปัจจัย มักน้อยในอธิคม มักน้อย

ในปริยัติ มักน้อยในธุดงค์ ในบรรดาผู้มักน้อย ๔ จำพวกนั้น

ภิกษุผู้มักน้อยในปัจจัย เมื่อเขาให้มากย่อมรับแต่น้อย หรือเมื่อเขา

ให้น้อยย่อมรับให้น้อยลง ย่อมไม่รีดเอาจนไม่เหลือ. ผู้มักน้อย

ในอธิคม ย่อมไม่ให้ผู้อื่นรู้มรรคผลที่บรรลุของตน เหมือนพระ-

มัชฌันติกเถระฉะนั้น. ผู้มักน้อยในปริยัติ แม้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก

ก็ไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นรู้ความเป็นพหูสูต เหมือนพระสาเกตก-

เถระ. ผู้มักน้อยในธุดงค์ ย่อมไม่ให้ผู้อื่นรู้ว่าตนรักษาธุดงค์ เหมือน

พระเถระผู้เป็นพี่ชายในพระเถระสองพี่น้อง. เรื่องกล่าวไว้แล้ว

ในวิสุทธิมรรค.

บทว่า อย ธมฺโม ความว่า ธรรมนี้คือโลกุตตรธรรม ๙

ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ชื่อว่ามีความมักน้อย เพราะปกปิดคุณที่ตนได้

อย่างนี้ และเพราะรู้จักประมาณในการรับ ไม่เกิดแก่บุคคลผู้

มักมาก. ในบททุกบท พึงประกอบความอย่างนี้. บทว่า สนฺตุฏฺสฺส

ได้แก่ ผู้สันโดษด้วยสันโดษ ๓ ในปัจจัย ๔.

บทว่า ปวิวิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้สงัดด้วยกายวิเวก จิตวิเวก

และอุปธิวิเวก. ในวิเวก ๓ อย่างนั้น ความบันเทาความคลุกคลีด้วย

หมู่คณะแล้วเป็นผู้มีกายโดดเดี่ยว ด้วยอำนาจอารัมภวัตถุ เรื่อง

ปรารภความเพียร ชื่อว่ากายวิเวก. แต่กรรมฐานย่อมไม่สำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 468

ด้วยอาการเพียงอยู่ผู้เดียว เพราะฉะนั้น พระโยคีกระทำบริกรรม-

กสิณแล้วยังสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด นี้ชื่อว่าจิตวิเวก. กรรมฐาน

ย่อมไม่สำเร็จด้วยเหตุเพียงสมาบัติเท่านั้น เพราะเหตุนั้น พระโยคี

กระทำฌานให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย แล้วบรรลุ

พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก สงัดกิเลส

โดยอาการทั้งปวง. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

กายวิเวกสำหรับบุคคลผู้มีกายสงัด ผู้ยินดียิ่งในเนกขัมมะ จิตวิเวก

สำหรับบุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ผู้ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง ละอุปธิวิเวก

สำหรับบุคคลผู้ปราศจากอุปธิกิเลส ถึงพระนิพพานอันปราศจาก

สังขาร ดังนี้.

บทว่า สงฺคณิการามสฺส ได้แก่ ผู้ยินดีด้วยการคลุกคลีในหมู่

และคลุกคลีด้วยกิเลส. บทว่า อารทฺธวีริยสฺส ได้แก่ ผู้ปรารภ

ความเพียรด้วยอำนาจความเพียรทางกายและทางจิต. บทว่า

อุปฏฺิตสฺสติสฺส ได้แก่ ผู้มีสติตั้งมั่นด้วยอำนาจสติปัฏฐาน ๔.

บทว่า สมาหิตสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่าปญฺวโต

ได้แก่ ผู้มีปัญญาด้วยปัญญาเป็นเหตุรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของของตน.

บทว่า สาธุ สาธุ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรง

ยังจิตของพระเถระให้ร่าเริง จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อิม อฏฺม

ความว่า เมื่อจะตรัสบอกมหาปุริสวิตกข้อที่ ๘ แก่พระอนุรุทธะ

ผู้ตรึกมหาปุริสวิตก ๗ ประการอยู่ จึงตรัสอย่างนั้น เหมือนให้

ขุมทรัพย์ที่ ๘ แก่บุรุษผู้ได้ขุมทรัพย์ ๗ ขุม และเหมือนให้ขุมทรัพย์

ที่ ๘ แก่บุรุษผู้ได้แก้วมณี ๗ ช้างแก้ว ๗ ม้าแก้ว ๗. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 469

นิปฺปปญฺจารามสฺส ความว่า ผู้ยินดียิ่งในบท คือนิพพาน กล่าว

คือธรรมที่ปราศจากความเนิ่นช้า เพราะเว้นจากธรรมเครื่องเนิ่นช้า

คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ. คำนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า

นิปฺปปญฺจารามสฺส นั้นนั่นแหละ. บทว่า ปญฺจารามสฺส ได้แก่

ผู้ยินดียิ่งในธรรมเครื่องเนิ่นช้าตามที่กล่าวแล้ว. คำนอกนี้เป็น

ไวพจน์ของบทว่า ปปญฺจารามสฺส นั้นนั่นแหละ.

บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า ตโต แปลว่า

ในกาลนั้น. บทว่า นานารตฺตาน ความว่า ย้อมแล้วด้วยเครื่องย้อม

ต่าง ๆ อันมีสีเขียง สีเหลือง สีแดง และสีขาว. บทว่า ปสุกูลจีวร

ได้แก่ ผ้าบังสุกุลที่ (ตั้ง) อยู่ใน ๒๓ เขต. บทว่า ยายิสฺสติ ความว่า

เมื่อคฤหบดีนั้นห่มผ้าที่ตนเปรารถนาในสมัยมีเวลาเช้าเป็นต้น หีบ

ใส่ผ้านั้นย่อมปรากฏเป็นของน่าพอใจ ฉันใด แม้เมื่อเธอยินดีอยู่

ด้วยมหาอริยวงศ์ คือสันโดษด้วยจีวร ผ้าบังสุกุลจีวรจักปรากฏ

คือ จักเข้าไปปรากฏ ฉันนั้น. บทว่า รติยา แปลว่า เพื่อประโยชน์

แก่ความยินดี. บทว่า อปริตสฺสาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความ

ได้สะดุ้งเพราะตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ผาสุวิหาราย ได้แก่ เพื่อ

ความอยู่เป็นสุข. บทว่า โอกฺกมนาย นิพฺพานสฺส ได้แก่ เพื่อต้องการ

หยั่งลงสู่อมตนิพพาน.

บทว่า ปิณฺฑิยาโลปโภชน ได้แก่ โภชนะ คือคำข้าวที่ตน

อาศัยกำลังแข้งเที่ยวไปตามลำดับ เรือน ในคาม นิคม และราชธานี

ได้มา. บทว่า ขายิสฺสติ ความว่า จักปรากฏเหมือนโภชนะมีรสเลิศ

ต่าง ๆ ของคฤหบดีนั้น. บทว่า สนฺตุฏฺสฺส วิหรโต ความว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 470

ผู้สันโดษอยู่ด้วยมหาอริยวงศ์ คือความสันโดษด้วยบิณฑบาต. บทว่า

รุกฺขมูลเสนาสน ขายิสฺสติ ความว่า เสนาสนะ คือโคนไม้ ย่อม

ปรากฏเหมือนเรือนยอดที่หอมตลบไปด้วยธูปหอมและเครื่องอบ

กลิ่นดอกไม้บนปราสาท ๓ ชั้น ของคฤหบดีนั้น. บทว่า สนฺตุฏฺสฺส

ได้แก่ สันโดษด้วยมหาอริยวงค์ คือ ความสันโดษด้วยเสนาสนะ.

บทว่า ติณสนฺถรโก ได้แก่ เครื่องลาดที่ลาดด้วยหญ้าหรือไม้

ที่พื้นดินหรือที่แผ่นกระดานและแผ่นหินอย่างหนึ่ง.

บทว่า ปูติมุตฺต ความว่า มูตรอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ที่ถือเอา

ในขณะนั้น ท่านก็เรียกว่า มูตรเน่าเหมือนกัน เพราะมีกลิ่นเหม็น.

บทว่า สนฺตุฏฺสฺส วิหรโต ได้แก่ ผู้สันโดษด้วยความสันโดษด้วย

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

ตรัสพระกรรมฐานใส่ไว้ในพระอรหัตในฐานะ ๔ เมื่อทรงรำพึงว่า

กรรมฐานจักเป็นสัปปายะแก่อนุรุทธะผู้อยู่ในเสนาสนะไหนหนอ

ทรงทราบว่า อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ จึงตรัสคำมีอาทิว่า เตนหิ ตฺว

อนุรุทฺธ ดังนี้.

บทว่า ปวิวิตฺตสฺส วิหรโต ความว่า ผู้สงัดด้วยวิเวก ๓ อยู่

บทว่า อุยฺโยชนิกปฏิสยุตฺต ความว่า อันเกี่ยวด้วยถ้อยคำอันควรแก่

การส่งกลับไป. อธิบายว่า กิริยาที่ลุกขึ้นและกิริยาที่เดินไปของคน

เหล่านั้นนั่นแหละ. บทว่า ปปญฺจนิโรเธ ได้แก่ ในบทคือพระนิพพาน.

บทว่า ปกฺขนฺทติ ความว่า ย่อมแล่นไปด้วยสามารถแห่งการทำ

ให้เป็นอารมณ์. แม้ในบทว่า ปสีทติ เป็นต้น พึงทราบความเลื่อมใส

ความตั้งมั่น และความหลุดพ้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์นั่นแหละ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 471

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสมหาปุริสวิตก ๘ ข้อ แก่ท่าน

พระอนุรุทธะ ณ ปาจีนวังสทายวันในเจติรัฐ ประทับนั่งที่เภสกฬาวัน-

มหาวิหาร จึงตรัสโดยพิสดารอีกแก่ภิกษุสงฆ์.

บทว่า มโนมเยน ความว่า กายที่บังเกิดด้วยใจก็ดี ที่ไป

ด้วยใจก็ดี เรียกว่า มโนมยะ สำเร็จแล้วด้วยใจ. แต่ในที่นี้ทรง

หมายเอากายที่ไปด้วยใจ จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า ยถา เม อหุ

สงฺกปฺโป ความว่า เราได้มีความตรึกโดยประการใด. บทว่า

ตโต อุตฺตริ ความว่า พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงมหาปุริสวิตก

๘ ประการ จึงแสดงให้ยิ่งกว่านั้น. คำที่เหลือทั้งหมดมีอรรถง่าย

ดังนั้นแล.

จบ อรรถกถาอนุรุทธสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุคคสูตรที่ ๑ ๒. อุคคสูตรที่ ๒ ๓. หัตถสูตรที่ ๑

๔. หัตถสูตรที่ ๒ ๕. มหานามสูตร ๖. ชีวกสูตร ๗. พลสูตรที่ ๑

๘. พลสูตรที่ ๒ ๙. อักขณสูตร ๑๐. อนุรุทธาสูตร. และอรรถกถา

จบ คหปติวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 472

ทานวรรคที่ ๔

๑. ปฐมทานสูตร

[๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้ ๘ ประการ

เป็นไฉน คือ บางคนหวังได้จึงให้ทาน ๑ บางคนให้ทานเพราะกลัว ๑

บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เขาให้แก่เราแล้ว ๑ บางคนให้ทาน

เพราะนึกว่า เขาจักให้ตอบแทน ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า

ทานเป็นการดี ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เราหุงหากิน ชน

เหล่านี้หุงหากินไม่ได้ ๑ เราหุงหากินได้ จะไม่ให้ทานแก่ชนเหล่านี้

ผู้ไม่หุงหากินไม่สมควร ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเราให้ทาน

กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่

จิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๘ ประการนี้แล.

จบ ปฐมทานสูตรที่ ๑

อรรถกถาปฐมทานสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๔ ปฐมทานสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาสชฺช ทาน เทติ ความว่า บุคคลบางคน ให้ทาน

เพราะประจวบเข้า คือพอเห็นปฏิคาหกมาถึง นิมนต์ให้ท่านนั่งครู่หนึ่ง

กระทำสักการะแล้วจึงให้ทาน ย่อมไม่ลำบากใจว่า จักให้. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 473

ภยา ได้แก่ เพราะกลัวครหาว่าเป็นผู้ไม่ให้เป็นผู้ไม่ทำ หรือ

เพราะกลัวอบายภูมิ. บทว่า อทาสิ เม ความว่า ให้ด้วยคิดว่า

ผู้นี้ได้ให้สิ่งชื่อนี้แก่เราในกาลก่อน. บทว่า ทสฺสติ เม ความว่า

ให้ด้วยคิดว่า ผู้นี้จักให้สิ่งชื่อนี้แก่เราในอนาคต. บทว่า สาหุ ทาน

ความว่า ให้ด้วยคิดว่า ขึ้นชื่อว่าทานยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือดี

ได้แก่อันบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว. บทว่า

จิตฺตาลงฺการจิตฺตปริกฺขารตฺถ ทาน เทต ความว่า ให้เพื่อประดับ

และตกแต่งจิตในสมถะและวิปัสสนา. เพราะว่าทานย่อมทำจิตให้

อ่อนโยน บุคคลผู้ได้รับทาน ย่อมมีจิตอ่อนโยนดีว่าเราได้แล้ว

แม้บุคคลให้ทานนั้น ก็ย่อมมีจิตอ่อนโยนว่า เราให้ทานแล้ว.

เพราะฉะนั้น ทานนั้นชื่อว่า ย่อมทำจิตของบุคคลทั้ง ๒ ฝ่ายให้

อ่อนโยน เพราะเหตุนั้นนั่นแล. ท่านจึงตรัสว่า อทนฺตทมน การฝึกจิต

ที่ยังไม่ได้ฝึก ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า.

อทนฺตทมน ทาน อทาน ทนฺตทูสก

อเนน ปิยวาเจน โอณมนฺติ มนมฺติ จ.

การให้ทานเป็นเครื่องฝึกจิตที่ยังไม่ได้ฝึก

การไม่ให้ทานเป็นเครื่องประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว

ชนทั้งหลายมีจิตโอนอ่อน และน้อมลงด้วยปิย-

วาจานี้.

ก็บรรดาการให้ทาน ๘ ประการนี้ การให้เพื่อประดับจิต

เท่านั้น เป็นสูงสุดแล.

จบ อรรถกถาปฐมทานสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 474

๒. ทุติยทานสูตร

[๑๒๒] ธรรม ๓ ประการนี้ คือ การให้ทานด้วย

ศรัทธา ๑ การให้ทานด้วยหิริ ๑ การให้ทานอันหา

โทษมิได้ ๑ เป็นไปตามสัปบุรุษ บัณฑิตกล่าว

ธรรม ๓ ประการนี้ว่า เป็นทางไปสู่ไตรทิพย์ ชน

ทั้งหลายย่อมไปสู่เทวโลกด้วยทางนี้แล.

จบ ทานสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยทานสูตรที่ ๒

ทุติยทานสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บุคคลย่อมให้ทานด้วยศรัทธาใด ศรัทธานั้นท่านประสงค์

เอาว่าศรัทธา. บุคคลย่อมให้ทานด้วยหิริใด หิรินั้นท่านประสงค์

เอาว่า หิริ. บทว่า กุสลญฺจ ทาน ได้แก่ ทานที่หาโทษมิได้. บทว่า

ทิวิย ได้แก่ เป็นทางไปสู่สวรรค์.

จบ อรรถกถาทุติยทานสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 475

๓. ทานวัตถุสูตร

[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานวัตถุ ๘ ประการนี้ ๘

ประการเป็นไฉน คือ บางคนให้ทานเพราะชอบพอกัน ๑ บางคน

ให้ทานเพราะโกรธ ๑ บางคนให้ทานเพราะหลง ๑ บางคนให้ทาน

เพราะกลัว ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่าบิดา มารดา ปู่ ย่า

ตา ยาย เคยให้มา เคยทำมา เราไม่ควรให้เสียวงค์ตระกูล

ดั้งเดิม ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เราให้ทานแล้ว เมื่อตายไป

จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ บางคนให้ทานเพราะนึกว่า เมื่อเรา

ให้ทานนี้ จิตใจย่อมเลื่อมใส ความเบิกบานใจ ความดีใจ ย่อมเกิด

ตามลำดับ ๑ บางคนให้ทานเพื่อประดับปรุงแต่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ทานวัตถุ ๘ ประการนี้แล.

จบ ทานสูตรที่ ๓

อรรถกถาทานวัตถุสูตรที่ ๓

ทานวัตถุสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทานวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุแห่งการให้ทาน. บทว่า

ฉนฺทา ทาน เทติ ความว่า บุคคลไห้ทานเพราะความรัก. บทว่า

โทสา ความว่า เป็นผู้โกรธแล้ว สิ่งใดมีอยู่รีบหยิบเอาสิ่งนั้นให้ไป

เพราะโทสะ. บทว่า โมเหน ความว่า เป็นผู้หลงให้ไปเพราะโมหะ.

บทว่า ภยา ความว่า เพราะกลัวครหา หรือเพราะกลัวอบายภูมิ

ก็หรือว่าเพราะกลัวครหาและอบายภูมินั้นนั่นแหละจึงให้ไป. บทว่า

กุลวส แก่เป็นประเพณีของตระกูล.

จบ อรรถกถาทานวัตถุสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 476

๔. เขตตสูตร

[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการ ไม่มีผลมาก ไม่มีความดีใจมาก ไม่มีความ

เจริญมาก นาประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างไร ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นาในโลกนี้ เป็นที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ๑ เป็นที่ปนหินปนกรวด ๑

เป็นที่ดินเค็ม ๑ เป็นที่ไถลงลึกไม่ได้ ๑ เป็นที่ไม่มีทางน้ำเข้า ๑

เป็นที่ไม่มีทางน้ำออก ๑ เป็นที่ไม่มีเหมือง ๑ เป็นที่ไม่มีคันนา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาอันประกอบด้วยองค์ ๘

ประการอย่างนี้ ไม่มีผลมาก ไม่มีความดีใจมาก ไม่มีความเจริญ

มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ทานที่บุคคลให้ใน

สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ไม่มีผลมาก ไม่มี

อานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรื่องมาก ไม่เจริญแพร่หลายมาก สมณพราหมณ์

ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณ-

พราหมณ์ในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ๑ เป็นมิจฉาสังกัปปะ ๑ เป็น

มิจฉาวาจา ๑ เป็นมิจฉากัมมัมตะ ๑ เป็นมิจฉาอาชีวะ ๑ เป็นมิจฉา

วายามะ ๑ เป็นมิจฉาสติ ๑ เป็นมิจฉาสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

อย่างนี้ ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่รุ่งเรืองมาก ไม่เจริญ

แพร่หลายมาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนพืชที่บุคคลหว่านลงในนาอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการ มีผลมาก มีความดีใจมาก มีความเจริญมาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 477

นาประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นาในโลกนี้ไม่เป็นที่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ๑ ไม่เป็นที่ปนหินปนกรวด ๑

ไม่เป็นที่ดินเค็ม ๑ เป็นที่ไถลงลึกได้ ๑ เป็นที่มีทางน้ำเข้าได้ ๑

เป็นที่มีทางน้ำออกได้ ๑ เป็นที่มีเหมือง ๑ เป็นที่มีคันนา ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พืชที่หว่านลงในนาอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

อย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีความดีใจมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้น

เหมือนกัน ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘

ประการ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความ

เจริญแพร่หลายมาก สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์ในโลกนี้ เป็นสัมมา-

ทิฏฐิ ๑ เป็นสัมมาสังกัปปะ ๑ เป็นสัมมาวาจา ๑ เป็นสัมมากัมมันตะ ๑

เป็นสัมมาอาชีวะ ๑ เป็นสัมมาวายามะ ๑ เป็นสัมมาสติ ๑ เป็น

สัมมาสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานที่บุคคลให้ในสมณพราหมณ์

ผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์

มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความเจริญแพร่หลายมาก ฉะนี้.

พืชอันหว่านลงในนาที่สมบูรณ์ เมื่อฝนตก

ต้องตามฤดูกาล ธัญชาติย่อมงอกงาม ไม่มีศัตรู

พืช ย่อมแตกงอกงาม ถึงความไพบูลย์ให้ผลเต็ม

ที่ ฉันใด โภชนะที่บุคคลถวายในสมณพราหมณ์

ผู้มีศีลสมบูรณ์ ก็ฉันนั้น ย่อมนำมาซึ่งบุคคลอัน

สมบูรณ์ เพราะกรรมที่เขาทำนั้นสมบูรณ์แล้ว

เพราะฉะนั้นบุคคลในโลกนี้ผู้หวังกุศลสัมปทา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 478

จงเป็นผู้มีประโยชน์ถึงพร้อม พึงคบหาท่านผู้มี

ปัญญาสมบูรณ์ บุญสัมปทา ย่อมสำเร็จได้

อย่างนี้ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ได้

จิตสัมปทาแล้ว กระทำกรรมให้สมบูรณ์ ย่อมได้

ผลบริบูรณ์ รู้โลกนี้ตามเป็นจริงแล้ว พึงถึงทิฏฐิ

สัมปทา อาศัยมรรคสัมปทา มีใจบริบูรณ์ ย่อม

บรรลุอรหัต เพราะกำจัดมลทินทั้งปวงได้แล้ว

บรรลุนิพพานสัมปทาได้แล้ว ย่อมหลุดพ้นจาก

ทุกข์ทั้งปวง การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น

จัดเป็นสรรพสัมปทา.

จบ เขตตสูตรที่ ๔

อรรถกถาเขตตสูตรที่ ๔

เขตตสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า น มหปฺผล โหติ ความว่า ไม่มีผลมากด้วยผลแห่ง

ธัญพืช. บทว่า น มหาสฺสาท ความว่า ความยินดีต่อผลธัญพืชนั้น

มีไม่มาก คือมีความยินดีน้อยไม่อร่อย. บทว่า น ผาติเสยฺย ความว่า

ธัญพืชนั้นย่อมไม่เจริญงอกงาม อธิบายว่า ธัญพืชนั้นจะเจริญคือ

มีลำต้นคอยค้ำรองเข้าที่ใหญ่ก็หามิได้. บทว่า อนฺนามินินฺนามิ

ได้แก่ พื้นที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะดอนและลุ่ม. ในที่เหล่านั้น ที่ดอน

ไม่มีน้ำขังอยู่ที่ลุ่มมีน้ำขังมากเกินไป. บทว่า ปาสาณสกฺขริลฺล

ความว่า ประกอบด้วยหลังแผ่นหินลาดตั้งอยู่ และกรวดก้อนเล็ก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 479

ก้อนใหญ่. บทว่า อูสร ได้แก่ น้ำเค็ม. บทว่า น จ คมฺภีรสิต

ความว่า ไม่สามารถจะไถให้คลองไถลงไปลึกได้เพราะพื้นที่แข็ง

คือเป็นคลองไถตื้น ๆ เท่านั้น. บทว่า น อายสมฺปนฺน ได้แก่

ไม่สมบูรณ์ด้วยทางน้ำไหลออกในด้านหลัง. บทว่า น มาติกา-

สมฺปนฺน ความว่า ไม่สมบูรณ์ด้วยเหมืองน้ำขาดเล็กและขนาดใหญ่.

บทว่า น มริยาทสมฺปนฺน ความว่า ไม่สมบูรณ์ด้วยคันนา. บท

ทั้งหมดมีอาทิว่า น มหปฺผล พึงทราบด้วยสามารถเผล็ดผลนั่นเอง.

บทว่า สมฺปนฺเน ได้แก่ บริบูรณ์ คือประกอบด้วยคุณสมบัติ

บทว่า ปวุตฺตา พีชสมฺปทา ได้แก่ พืชที่ปลูกสมบูรณ์. บทว่า

เทเว สมฺปาทยนฺตมฺหิ ความว่า เมื่อฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล

บทว่า อนีติสมฺปทา โหติ ความว่า ความไม่มีภัยจากสัตว์เล็ก ๆ

มีตั๊กแตนและหนอนเป็นต้น เป็นความสมบูรณ์เป็นเอก. บทว่า

วิรุฬฺหิ ความว่า ความงอกงามเป็นความสมบูรณ์อันดับ ๒ บทว่า

เวปุลฺล ความว่า ความไพบูลย์เป็นความสมบูรณ์อันดับ ๓ บทว่า

ผล ความว่า ผลแห่งธัญพืชที่บริบูรณ์ เป็นความสมบูรณ์อันดับ ๔.

บทว่า สมฺปนฺนสีเลสุ ได้แก่ สมณพราหมณ์ผู้มีศีลบริบูรณ์

บทว่า โภชนสมฺปทา ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่างที่สมบูรณ์. บทว่า

สมฺปทาน ได้แก่ กุศลสัมปทา ๓ อย่าง. บทว่า อุปเนติ ได้แก่

โภชนสัมปทานั้นนำเข้าไป. เพราะเหตุไร ? เพราะกิจกรรมที่ผู้นั้น

ทำแล้วสมบูรณ์ อธิบายว่า เพราะกิจกรรมที่เขาทำแล้วนั้นสมบูรณ์

คือบริบูรณ์. บทว่า สมฺปนฺนตฺถูธ ตัดบทเป็น สมฺปนฺโน อตฺถุ อิธ,

แปลว่า จงเป็นผู้สมบูรณ์ในกุศลสัมปทานี้. บทว่า วิชฺชาจรณ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 480

สมฺปนฺโน ความว่า ประกอบด้วยวิชชา ๓ และจรณะธรรม ๑๕.

บทว่า ลทฺธา ความว่า บุคคลเห็นปานนี้ ได้ความสมบูรณ์ คือความ

ไม่บกพร่อง ได้แก่ความบริบูรณ์แห่งจิต. บทว่า กโรติ กมฺมสมฺปท

ได้แก่ ทำกรรมให้บริบูรณ์. บทว่า ลภติ จตฺถสมฺปท ได้แก่

ได้ประโยชน์บริบูรณ์. บทว่า ทิฏฺิสมปท ได้แก่ ทิฏฐิในวิปัสสนา.

บทว่า มคฺคสมฺปท ได้แก่ โสดาปัตติมรรค. บทว่า ยาติ สมฺปนฺน-

มานโส ความว่า เป็นผู้มีจิตบริบูรณ์ถึงพระอรหัต. บทว่า สา โหติ

สพฺพสมฺปทา ความว่า ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น ชื่อว่า

เป็นความถึงพร้อมทุกอย่าง.

จบ อรรถกถาเขตตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 481

๕. ทานูปปัตติสูตร

[๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๘ ประการ

นี้ ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน

ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด

ย่อมหวั่งสิ่งนั้น เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ

คฤหบดีมหาศาล ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕

เขามีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึง

ความเป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือ-

คฤหบดีมหาศาล เขาตั้งจิตอธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขานึก

น้อมไปในทางเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เข้าย่อมเข้าถึงความ

เป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี-

มหาศาล แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็นของมีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาแห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อม

สำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน

คือ ข้าว น้ำ... เครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้ส่งใด

ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้สดับมาว่า เทวดาชั้นจาตุมมหาราชมีอายุยืน

มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า

โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น

จาตุมมหาราช เขาตั้งจิตอธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขานึก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 482

น้อมไปในทางที่เลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความ

เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็น

ของมีศีล ไม่ใช่ของทุศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนา

แห่งใจของบุคคลผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ทาน

คือ ข้าว น้ำ... เครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด

ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้สดับมาว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์... ชั้นยามา...

ชั้นดุสิต... ชั้นนิมนานรดี... ชั้นปรนิมมิตววัตตี มีอายุยืน มี

ผิวพรรณงาม มีความสุขมาก เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า

โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้น

ปรนิมมิตวสวัตตี เขาตั้งจิตอธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขา

นึกน้อมไปในทางเลว ไม่เจริญยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความ

เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แต่ข้อนั้นเรากล่าวว่าเป็น

ของผู้มีศีล ไม่ใช่ของผู้ทุศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนา

แห่งใจของคนผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตบริสุทธิ์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทาน คือ

ข้าว น้ำ... เครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด

ย่อมหวังสิ่งนั้น เขาได้สดับมาว่า เทวดาชั้นพรหม มีอายุยืน มี

ผิวพรรณงาม มีสุขมาก เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ

เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม เขาตั้งจิต

อธิษฐาน นึกภาวนาอยู่ จิตของเขานึกน้อมไปในทางที่เลว ไม่เจริญ

ยิ่งขึ้น เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม แต่ข้อนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 483

เรากล่าวว่า เป็นของผู้มีศีล มิใช่ของผู้ทุศีล ของผู้ปราศจากราคะ

ไม่ใช่ของผู้มีราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาแห่งใจ

ของบุคคลผู้ศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะจิตปราศจากราคะ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดขึ้นแห่งทาน ๘ ประการนี้แล.

จบ ทานูปปัตติสูตรที่ ๕

อรรถกถาทานูปปัตติสูตรที่ ๕

ทานูปปัตติสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทานูปปฺติโย ได้แก่ อุปบัติมีทานเป็นปัจจัย. บทว่า

ปทหติ แปลว่า ตั้งไว้. บทว่า อธิฏฺาติ เป็นไวพจน์ของคำว่า

ปทหติ นั่นเอง. บทว่า ภาเวติ แปลว่า ให้เจริญ. บทว่า หีเนธิมุตฺต

ได้แก่ น้อมไปในฝ่ายต่ำคือกามคุณ ๕. บทว่า อุตฺตรึ อภาวิต ได้แก่

มิได้อบรมเพื่อประโยชน์แก่มรรคและผลชั้นสูงกว่านั้น. บทว่า

ตตฺถูปปตฺติยา สวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อต้องการบังเกิด

ในฐานะที่ตนปรารถนาแล้วทำกุศล.

บทว่า วีตราคสฺส ได้แก่ ผู้ถอนราคะด้วยมรรค หรือผู้ข่ม

ราคะด้วยสมาบัติ. จริงอยู่ เพียงทานเท่านั้นไม่สามารถจะบังเกิด

ในพรหมโลกได้ แต่ทานย่อมเป็นเครื่องประดับแวดล้อมของจิต

ประกอบด้วยสมาธิและวิปัสสนา แต่นั้นบุคคลผู้มีจิตอ่อนด้วย

การให้ทาน เจริญพรหมวิหารบังเกิดในพรหมโลก ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วีตราคสฺส โน สราคสฺส ดังนี้.

จบ อรรถกถาทานูปปัตติสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 484

๖. บุญกิริยาวัตถุสูตร

[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้

๓ ประการเป็นไฉน คือ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จแล้วทาน ๑ บุญกิริยา

วัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑ บุญกิริยาวัตถุสำาเร็จด้วยภาวนา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย

ทานนิดหน่อย ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย ไม่เจริญ

บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความ

เป็นผู้มีส่วนชั่วในมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุ

ที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ ทำบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลพอ

ประมาณ ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป

เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนดีในมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย

ศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย

เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่

สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็น

อดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมมหาราชโดยฐานะ ๑๐ ประการ

คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์

เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 485

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จ

ด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา

เลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพในชั้นดาวดึงส์นั้น กระทำ

บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่

สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์โดย

ฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล

มีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อ

ตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ท้าวสุยามเทพบุตรในชั้นยามานั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่

สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก

ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นยามาโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ ฯลฯ

โผฏฐัพพทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย

ศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย

เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดุสิต ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสันดุสิตเทพบุตรในชั้นดุสิตนั้น ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 486

เป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นดุสิตโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ

อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุ

ที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็น

อดิเรก ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป

เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ท้าวสุนิมมิตเทพบุตรไม่ชั้นนิมมานรดีนั้น ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล

เป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นนิมมานรดีโดยฐานะ ๑๐ ประการ

คือ อายุทิพย์ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยา

วัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จ

ด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย

เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตสวัตตี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวปรมิมมิตวสวัตตีเทพบุตรในชั้นปรนิม-

มิตวสวัตตีนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญ

กิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นปรนิม-

มิตวสวัตตีนั้นโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์

ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เตียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์

โผฏฐัพพทิพย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้แล.

จบ บุญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 487

อรรถกถาบุญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๖

บุญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๖ มิวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

การทำบุญนั้นด้วย เป็นที่ตั้งแห่งอานิสงส์นั้น ๆ ด้วย เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายตั้งจิตไว้

ในลักษณะแห่งทานเป็นต้น แล้วคิดว่า ชื่อว่า ทานเห็นปานนี้พวกเรา

ควรให้ ควรรักษาศีล ควรเจริญภาวนา ดังนี้แล้วจึงทำบุญ. ทาน

นั้นแหละ ชื่อว่า ทานมัย อีกอย่างหนึ่ง บรรดาทานเจตนา สันนิฏ-

ฐาปกเจตนา อันสำเร็จมาแต่เจตนาที่ตกลงใจ เจตนาดวงแรกชื่อว่า

ทานมัย เหมือนวัตถุที่สำเร็จมาแต่แป้งเป็นต้นก็สำเร็จด้วยแป้ง

เป็นต้นฉะนั้น. แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ปริตฺต กต โหติ ความว่า เป็นอันเขากระทำน้อย

คือนิดหน่อย. บทว่า นาภิสมฺโภติ แปลว่า ย่อมไม่สำเร็จผล. บทว่า

อกต โหติ ความว่า ไม่ได้เริ่มความเพียรในภาวนาเลย. บทว่า

มนุสฺสโทภคฺย ได้แก่ ตระกูลต่ำ ๕ ตระกูลอันเว้นจากสมบัติใน

มนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า อุปฺปชฺชติ ได้แก่ ย่อมเข้าถึงด้วยอำนาจ

ปฏิสนธิ อธิบายว่า เกิดในตระกูลต่ำนั้น. บทว่า มตฺตโส กต ได้แก่

กระทำ คือไม่น้อยไม่มาก. บทว่า มนุสฺสโสภคฺย ได้แก่ สมบัติ

แห่งตระกูล ๓ ตระกูล อันงามเลิศในมนุษย์. บทว่า อธิมตฺต ได้แก่

ให้มีประมาณยิ่งหรือให้เข็มแข็ง. บทว่า อธิคณฺหนฺติ ได้แก่ ยึดถือ

อธิบายว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่า คือเจริญกว่า.

จบ อรรถกถากิริยาวัตถุสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 488

๗. ปฐมสัปปุริสสูตร

[๑๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้

๘ ประการเป็นไฉน คือ ให้ของสะอาด ๑ ให้ของประณีต ๑ ให้

ตามกาล ๑ ให้ของสมควร ๑ เลือกให้ ๑ ให้เนืองนิตย์ ๑ เมื่อให้

จิตผ่องใส ๑ ให้แล้วดีใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘

ประการนี้แล.

สัปบุรุษย่อมให้ทาน คือ ข้าวและน้ำที่

สะอาด ประณีตตามกาล สมควร เนืองนิตย์ ใน

ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นเขตดี บริจาคของ

มากแล้วก็ไม่รู้สึกเสียดาย ทานผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง

ย่อมสรรเสริญทานที่สัปบุรุษให้แล้วอย่างนี้

เมธาวีบัณฑิตผู้มีศรัทธา มีใจอันสละแล้ว บริจาค

ทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความ

เบียดเบียนเป็นสุข.

จบ สัปปุริสสูตรที่ ๗

อรรถกถาสัปปุริสทานสูตรที่ ๗

สัปปุริสทานสูตรนี้ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สุจึ ได้แก่ ให้ของที่สะอาดคือที่บริสุทธิ์สดใส บทว่า

ปณีต ได้แก่ สมบูรณ์ดี. บทว่า กาเลน ได้แก่ สมควรแก่การประกอบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 489

ขวนขวาย. บทว่า กปฺปิย ได้แก่ ให้แต่ของที่เป็นกัปปิยะ. บทว่า

วิเจยฺย เทติ ความว่า เลือกปฏิคคาหก หรือทานโดยตั้งใจให้อย่างนี้ว่า

ทานที่ให้แล้วแก่ผู้นี้ จักมีผลมาก ที่ให้แก่ผู้นี้ไม่มีผลมาก ดังนี้แล้วให้.

จบ อรรถกถาปฐมสัปปุริสทานสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 490

๘. ทุติยสัปปุริสสูตร

[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล

ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก

คือ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่มารดาบิดา ๑

แก่บุตรภรรยา ๑ แก่หมู่คนผู้เป็นทาสกรรมกร ๑ แก่มิตรอำมาตย์ ๑

แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ๑ แก่พระราชา ๑ แก่เทวดาทั้งหลาย ๑

แก่สมณพราหมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาเมฆเมื่อตกให้ข้าวกล้า

เจริญงอกงาม ย่อมตกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชน

เป็นอันมาก ฉันใด สัปบุรุษก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเกิดในตระกูล

ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมา

คือ ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่มารดา

บิดา... แก่สมณพราหมณ์.

สัปบุรุษผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน เป็นผู้

ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน บำเพ็ญตน

เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ในชั้นต้นระลึก

ถึงอุปการะที่ท่านทำไว้ก่อน ย่อมบูชามารดา

บิดาโดยชอบธรรม สัปบุรุษผู้มีศรัทธาตั้งมั่น

แล้ว มีศีลเป็นที่รัก ทราบธรรมเล้ว ย่อมบูชา

บรรพชิตไม่ครองเรือน ไม่มีบาปประพฤติ

พรหมจรรย์ สัปบุรุษนั้นเป็นผู้เกื้อกูลต่อพระ-

ราชา ต่อเทวดา ต่อญาติและสหายทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 491

ตั้งมั่นแล้วในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง

สัปบุรุษนั้น กำจัดมลทินคือความตระหนี่ได้แล้ว

ย่อมประสบโลกอันเกษม.

จบ สัปปุริสสูตรที่ ๘

อรรถกถาสัปปุริสสูตรที่ ๘

สัปปุริสสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อตฺถาย ได้แก่ เพื่อต้องการประโยชน์. บทว่า หิตา

สุขาย ได้แก่ เพื่อต้องการเกื้อกูล เพื่อต้องการสุข. บทว่า ปุพฺพเปตาน

ได้แก่ พวกญาติผู้ไปสู่ปรโลก. ในพระสูตรนี้ เมื่อพระพุทธเจ้ายัง

ไม่อุบัติ ย่อมได้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ์ พระโพธิสัตว์ พระปัจเจก-

พุทธเจ้า ในครั้งพุทธกาล ย่อมได้แก่พระพุทธเจ้า และสาวกของ

พระพุทธเจ้า. ก็ท่านเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล

เพื่อสุขแก่ญาติเหล่านั้นตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า พหนุน วต อตฺถาย

สปฺปฺ ฆรมาวส ได้แก่ บุคคลผู้มีปัญญา เมื่ออยู่ครองเรือน

ย่อมอยู่เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มากเท่านั้น. บทว่า ปุพฺเพ แปลว่า

ก่อนทีเดียว. บทว่า ปุพฺเพกตมนุสฺสร ได้แก่ เมื่อหวลระลึกถึง

อุปการคุณที่กระทำไว้ก่อนของบิดามารดา. บทว่า สหธมฺเมน

ความว่า บูชาด้วยการบูชาด้วยปัจจัยพร้อมทั้งเหตุ. บทว่า อปาเป

พฺรหฺมจาริโน ความว่า นอบน้อม คือถึงความประพฤติอ่อนน้อม

แก่ท่านเหล่านั้น. บทว่า เปสโล แปลว่า ผู้มีศีลเป็นที่รัก.

จบ อรรถกถาปัปปุริสสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 492

๙. ปุญญาภิสันทสูตร

[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการนี้ นำ

ความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศ. มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์

เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อความสุข ห้วงบุญห้วงกุศล ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๑ นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์

เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา

น่าใคร่ นำพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระธรรมเป็น

สรณะ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๒ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ถึงพระสงฆ์

เป็นสรณะ. นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๓ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๕ ประการนี้. เป็นมหาทาน อัน

บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็น

ของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่

รังเกียจอยู่ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ ผู้เป็นวิญญูไม่เกลียด

ทาน ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม.

วินัยนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย

ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน แก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 493

ให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หา

ประมาณมิได้แล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร

ความไม่เบียดเบียน ประมาณมิได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

ทานประการที่ ๑ ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน

เป็นเชื้อสายแห่งพระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคย

กระจัดกระจาย อันบัณฑิตไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็น

วิญญูไม่เกลียด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการ

ที่ ๔ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละอทินนาทาน งดเว้นจาก

อทินนาทาน ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๒ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญ

ห้วงกุศลประการที่ ๕ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจาก

กาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๓ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญ

ห้วงกุศลประการที่ ๖ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท

ฯลฯ นี้เป็นทานประการที่ ๔ ฯลฯ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการ

ที่ ๗ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา

และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้ง

แห่งความประมาทแล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 494

ไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้ ครั้นให้ความไม่มีภัย ความ

ไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนแก่สัตว์หาประมาณมิได้แล้ว ย่อม

เป็นผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียน

หาประมาณมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นทานประการที่ ๕

ที่เป็นมหาทาน บัณฑิตพึงรู้ว่าเป็นเลิศ มีมานาน เป็นเชื้อสายแห่ง

พระอริยะ เป็นของเก่า ไม่กระจัดกระจาย ไม่เคยกระจัดกระจาย

อันบัณฑิตไม่รังเกียจ จักไม่รังเกียจ อันสมณพราหมณ์ผู้เป็นวิญญู

ไม่เกลียด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลประการที่ ๘

นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์

ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล ๘

ประการนี้แล นำสุขมาให้ ให้อารมณ์อันเลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไป

เพื่อสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข.

จบ ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙

อรรถกถาปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙

ปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทานานิ ได้แก่ เจตนาทาน. ความของบทมีอาทิว่า

อคฺคญฺานิ ดังนี้ กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

จบ อรรถกถาปุญญาภิสันทสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 495

๑๐. สัพพลหุสสูตร

[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ใน

กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบา

ที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์

ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อม

ยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้ว

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ใน

กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจาร

อย่างเบาที่สุด ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก กำเนิดสัตว์

ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ย่อม

ยังการกล่าวด้วยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปิสุณาวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์

ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อม

ยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 496

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผรุสวาจาอันบุคคลแล้ว เจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์

ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อม

ยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมผัปปลาปะอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์

ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด

ย่อมยังคำไม่ควรเชื่อถือให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน

บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำไห้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็น

ไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่ม

สุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่

ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์.

จบ สัพพลหุสสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาสัพพลหุสสูตรที่ ๑๐

สัพพลุหุสสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปาณาติปาโต ได้แก่ เจตนาเป็นเหตุทำสัตว์มีปราณ

ให้ล่วงไป. บทว่า สพฺพลหุโส แปลว่า เพลากว่าวิบากทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 497

บทว่า อปฺจายุกสวตฺตนิโก ความว่า เป็นผู้มีอายุน้อยเพราะกรรม-

วิบากนิดหน่อยนั้น หรือเมื่อพอให้ปฏิสนธิ สัตว์ที่อยู่ในท้องมารดา

หรือสัตว์ผู้พอออกจากท้องมารดาแล้วย่อมย่อยยับ, ความจริง

วิบากเห็นปานนี้ ไม่ใช่เป็นวิบากเครื่องใหลออกจากกรรมอะไร ๆ

อื่น นี้เป็นทางไปเฉพาะปาณาติบาตเท่านั้น. บทว่า โภคพฺยสนส-

วตฺตนิโก ความว่า ทรัพย์เพียงกากนิกหนึ่ง ไม่ตั้งอยู่ในมือโดยประการใด

อทินนาทานย่อมยังความวอดวายแห่งโภคสมบัติให้เป็นไปโดยประการนั้น.

บทว่า สปตฺตเวรสวตฺตนิโก โหติ ความว่า ย่อมสร้างเวรพร้อมกับ

ศัตรู. จริงอยู่ ผู้นั้นมีศัตรูมาก อนึ่ง ผู้ใดเห็นเขาเข้าย่อมยังเวร

ให้เกิดในผู้นั้น ไม่ดับไปด้วยว่าวิบากเห็นปานนี้ เป็นวิบากเครื่อง

ให้ออกแห่งความผิดในภัณฑะของคนอื่นที่เขารักษาคุ้มครองไว้.

บทว่า อภตพฺภกฺขานสวตฺตนิโก โหติ ความว่า ทำการกล่าวตู่

ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริงให้เป็นไป. กรรมที่ผู้หนึ่งผู้ใดทำแล้ว ย่อม

ไปตกบนกระหม่อมของผู้นั้นนั่นแล. บทว่า มิตฺเตหิ เภทนสวตฺตนิโก

ความว่า ย่อมยังความแตกจากมิตรให้เป็นไป เขาทำบุคคลใด ๆ

ให้เป็นมิตร บุคคลนั้น ๆ ย่อมแตกไป. บทว่า อมนาปสทฺทสวตฺตนิโก

ความว่า ย่อมยังเสียงที่ไม่พอใจให้เป็นไป วาจาใด ๆ เป็นคำเสียดแทง

หยาบคาย เผ็ดร้อน ขัดข้อง ตัดเสียซึ่งความรัก เขาได้ฟังแต่วาจานั้น

เท่านั้นในที่ ๆ ไปแล้วไปเล่า. หาได้ฟังเสียงที่น่าชอบใจไม่ เพราะ

วิบากเห็นปานนี้ ชื่อว่าเป็นทางไปแห่งผรุสวาจา. บทว่า อนาเทยฺย-

วาจาสวตฺตนิโก ความว่า ย่อมยังคำที่ไม่ควรยึดถือให้เป็นไป ถึง

ความเป็นผู้ที่จะถูกค้านว่า เพราะเหตุไรท่านจึง ใครจะเชื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 498

คำท่าน นี้ชื่อว่าเป็นทางไปแห่งสัมผัปปลาปะ. บทว่า อมฺมตฺตกส-

วตฺตนิโก โหติ ความว่า ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไป จริงอยู่

มนุษย์เป็นบ้ามีจิตฟุ้งซ่านหรือเป็นใบ้ เพราะการดื่มสุรานั้น นี้

เป็นวิบากเครื่องใหลออกแห่งสุราปานะ. สูตรนี้ ตรัสเฉพาะวัฏฏะ

เท่านั้นแล.

จบ อรรถกถาสัพพลหุสสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทานสูตรที่ ๑ ๒. ทานสูตรที่ ๒ ๓. ทานวัตถุสูตร ๔. เขตต-

สูตร ๕. ทานูปปัตติสูตร ๖. บุญกิริยาวัตถุสูตร ๗. สัปปุริสสูตรที่ ๑

๘. สัปปุริสสูตรที่ ๒ ๙. ปญญาภิสันทสูตร ๑๐. สัพพลหุสสูตร.

จบ ทานวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 499

อุโปสถวรรคที่ ๕

๑. สังขิตตสูตร

[๑๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

อันบุคคลเข้าอยู่แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรือง

มาก มีความแพร่หลายมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุโบสถประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการ อันบุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก

มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรื่องมาก มีความแพร่หลายมาก อริยสาวก

ในธรรมวินัยนี้ ตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลายละ

ปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา

มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต

ในวันนี้ แม้เราก็ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้

วางศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลสรรพสัตว์

อยู่ ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์แม้ด้วยองค์นี้

และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วย

องค์ที่ ๑ นี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 500

ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายละทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน

ถือเอาแต่สิ่งของที่เขาให้ หวังแต่สิ่งของที่เขาให้ มีตนไม่เป็นขโมย

สะอาดอยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละอทินนาทาน งดเว้นจาก

อทินนาทาน ถือเอาแต่สิ่งของที่เขาให้ หวังแต่สิ่งของที่เขาให้ มีตน

ไม่เป็นขโมย สะอาดอยู่ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตาม

พระอรหันต์แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว

อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๒ นี้.

ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายละอพรหมจรรย์ ประพฤติพรหม-

จรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน

ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละอพรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์

ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้านอยู่

ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ด้วย

องค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบ

ด้วยองค์ที่ ๓ นี้.

ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท

พูดแต่คำสัตย์ ส่งเสริมคำจริง มั่นคง ควรเชื่อถือได้ ไม่กล่าวให้

คลาดจากความจริงแก่โลกตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละมุสาวาท

งดเว้นจากมุสาวาท พูดแต่คำสัตย์ ส่งเสริมคำจริง มั่นคง ควร

เชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริงแก่โลก ตลอดคืน

และวันนี้ เราชื่อว่าทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้

และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วย

องค์ที่ ๔ นี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 501

ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นการดื่มน้ำเมา คือ สุราและ

เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็

ละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาทตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย

แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถ

ประกอบด้วยองค์ที่ ๕ นี้.

ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้บริโภคอาหารครั้งเดียว

งดบริโภคอาหารในกลางคืน เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลา

วิกาลอยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็บริโภคอาหารครั้งเดียว

งดการบริโภคอาหารในกลางคืน เว้นจากการบริโภคอาหาร

ในเวลาวิกาล ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์

ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว

อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๖ นี้.

ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายงดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง

การประโคม ดูการเล่นอันเป็นข้าศึก และการทัดทรง ประดับ

ตกแต่งด้วยดอกไม้ ของหอมและเครื่องลูบไล้อันเป็นฐานแห่งการ

แต่งตัวตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็งดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง

การประโคม ดูการเล่นอันเป็นข้าศึก และงดเว้นการทัดทรง ประดับ

ตกแต่งด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ อันเป็นฐานแห่งการ

แต่งตัว ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 502

ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว

อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๗ นี้.

ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอน

สูงใหญ่ งดเว้นจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จ

การนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่องลาด

ด้วยหญ้า ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละการนั่งการนอนบนที่นั่ง

ที่นอนสูงใหญ่ งดเว้นจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่

สำเร็จการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่องลาด

ด้วยหญ้าตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย

ด้วยองค์นี้ และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถ

ประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วย

องค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้วอย่าง . จึงมีผลมาก มีอานิสงส์

มาก มีความรุ่งเรื่องมาก มีความแพร่หลายมาก.

จบ สังขิตตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 503

๒. วิตถตสูตร

[๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘

ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความ

รุ่งเรื่องมาก มีความแพร่หลายมาก และอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘

ประการบุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

มีความแพร่หลายมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม.

วินัยนี้ ตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลายละปาณาติบาต

งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย

เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้

แม้เราก็ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วาง

ศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์

ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้

ด้วยองค์นี้ และอุโบสถจักชื่อว่าเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถ

ประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้ ฯลฯ

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์

ทั้งหลาย ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ งดเว้น

จากการนั่งการนอนนั้นที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการ

นอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่องลาด้วยหญ้า ตลอด

ชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่

สำเร็จการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่องลาด

ด้วยหญ้า ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 504

ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถจักชื่อว่าเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว

อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุโบสถ

ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่อย่างนี้แล จึงมีผลมาก

มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรื่องมาก มีความแพร่หลายมาก.

อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว

มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรื่องมาก มีความแพร่หลายมาก

เพียงไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระราชาเสวยราชย์

ดำรงอิสรภาพและอธิปไตยในชนบทใหญ่ ๆ ๑๖ รัฐ มีรัตนะ ๗

ประการมากมาย เหล่านี้ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี

มัลละ เจดีย์ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ

อวันตี คันธาระ กัมโพชะ การเสวยราชย์ดำรงอิสรภาพและ

อธิปไตยของพระราชานั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถที่

ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะราชสมบัติ

มนุษย์เป็นเหมือนของตนกำพร้า เมื่อเทียบสุขอันเป็นทิพย์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ๕๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้น

จาตุมมหาราช ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือน

โดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุ

ของเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล

บางคนในโลกนี้จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย

แห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 505

ทั้งหลาย เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือน

ของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๑๐๐ ปี มนุษย์เป็นคืนหนึ่งของเทวดา

ชั้นดาวดึงส์ ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดย

เดือนนั้นเป็นหนึ่ง พันปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของ

เทวดาชั้นดาวดึงส์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลบางคนในโลกนี้

จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘

ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา

ชั้นดาวดึงส์นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอา

ข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อ

เทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒๐๐ มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่ง

ของเทวดาชั้นยามา ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือน

โดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๒,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณ

ของอายุเทวดาชั้นยามา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลบางคน

ในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย

แห่งเทวดาชั้นยามานี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

หมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคน

กำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔๐๐ มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของ

เทวดาชั้นดุสิต ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 506

โดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๔,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณ

อายุของเทวดาชั้นดุสิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลบางคน

ในโลกนี้จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหาย

แห่งเทวดาชั้นดุสิตนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

หมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคน

กำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๘๐๐ มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่ง

ของเทวดาชั้นนิมมานรดี ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง

๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๘,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็น

ประมาณอายุของเทวดาชันนิมมานรดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่

บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถ

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความ

เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์

เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๑,๖๐๐ มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่ง

ของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ๓๐ ราตรีโดยราตรีอันเป็นเดือน

หนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น

เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข้อที่บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถ

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 507

เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติ

มนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

บุคคลไม่พึงฆ่าสตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของ

ที่เจ้าของไม่ให้ พึงเว้นจากเมถุนธรรม อันมิใช่

ความประพฤติของพรหม ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึง

ดื่มน้ำเมา ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ใน

ราตรี ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และของหอม พึงนอน

บนเตียง บนแผ่นดิน หรือบนเครื่องลาดด้วยหญ้า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวอุโบสถ ๘ ประการนี้แล

ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ทรงประกาศ

แล้ว พระจันทร์เเละพระอาทิตย์ทั้งสองส่องสว่าง

ไสว ย่อมโคจรไปตามวิถีเพียงไร พระจันทร์และ

พระอาทิตย์นั้นก็ขจัดมืดได้เพียงนั้น ลอยอยู่บน

อากาศ ส่องแสงสว่างทั่วทุกทิศในท้องฟ้า ทรัพย์

ใดอันมีอยู่ในระหว่างนี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี

แก้วไพฑูรย์ อย่างดี หรือทองมีสีสุกใส ที่เรียก

กันว่า หตกะ พระจันทร์ พระอาทิตย์และทรัพย์

นั้น ๆ ก็ยังไม่ได้แม้เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เปรียบเหมือนรัศมี

พระจันทร์ ข่มหมู่ดวงดาวทั้งหมด ฉะนั้น เพราะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 508

ฉะนั้นแหละ หญิงหรือชายผู้มีศีล เข้าอยู่ในอุโบสถ

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว กระทำบุญ

ทั้งหลายอันมีสุขเป็นกำไร ไม่มีใครติเตียน ย่อม

เข้าถึงสวรรค์.

จบ วิตถตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 509

๓. วิสาขสูตร

[๑๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพพาราม

ประสาทของมิคารมารดา ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล นางวิสาขา

มิคารมารดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้งนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนวิสาขา อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้า

อยู่แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความ

แพร่หลายมาก ดูก่อนวิสาขา ก็อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘

ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก ดูก่อนวิสาขา อริยสาวก

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย

ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา

มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอด

ชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละปาณาติบาติ งดเว้นจากปาณาติบาต ว่าง

ท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลต่อ

สรรพสัตว์อยู่ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์

ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถจักเป็นอันชื่อว่าเราข้าอยู่แล้ว

อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้ ฯลฯ

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่า พระ-

อรหันต์ทั้งหลาย ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ งดเว้น

จากนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการนอน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 510

บนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ นอนบนเตียงหรือเครื่องลาดด้วยหญ้าอยู่

ตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอน

สูงใหญ่ เว้นจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จ

การนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ นอนบนเตียงหรือเครื่องลาด

ด้วยหญ้าอยู่ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์

ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถจัดเป็นอันชื่อว่าเราเข้าอยู่แล้ว

อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้ ดูก่อนวิสาขา อุโบสถประกอบด้วย

องค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์

มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก.

อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว

มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรื่องมาก มีความแพร่หลายมาก

เพียงไร ก่อนวิสาขา เปรียบเหมือนพระราชาที่เสวยราชย์

ดำรงอิสรภาพและอธิปไตยในชนบทใหญ่ ๆ ๑๖ รัฐ รัตนะ ๗

ประการมากมายเหล่านื้ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ

เจดีย์ วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี

คันธาระ กัมโพชะ การเสวยราชดำรงอิสรภาพและอธิปไตย

ของพระราชานั้น ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอุโบสถอันประกอบด้วย

องค์ ๘ ประการ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนวิสาขา เพราะราช

สมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์

ดูก่อนวิสาขา ๕๐ มนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้น

จาตุมมราช ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดย

เดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๕๐๐ ปีโดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 511

ชั้นจาตุมมหาราช ดูก่อนวิสาขา ข้อที่บุคคล บางคนในโลกนี้ จะเป็น

หญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

แล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุม-

มหาราชนี้เป็นฐานะที่นะมีได้ เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ดูก่อน

วิสาขา ราชสมบัติมนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับ

สุขอันเป็นทิพย์.

ดูก่อนวิสาขา ๑๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ

ดูก่อนวิสาขา ๒๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ

ดูก่อนวิสาขา ๔๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ

ดูก่อนวิสาขา ๘๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ

ดูก่อนวิสาขา ๑,๖๐๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของ

เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง

๒ เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง ๑๖,๐๐๐ ทิพย์โดยปีนั้น เป็น

ประมาณอายุของเทวดาชนปรนิมมิตวสวัตตี ดูก่อนวิสาขา ข้อที่

บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถ

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความ

เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนินมิตวสวัตตี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูก่อนวิสาขา เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์

เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของ

ที่เจ้าของไม่ให้ พึงเว้นจากเมถุนธรรม อันมิใช่

ความประพฤติของพรหม ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 512

ดื่มน้ำเมา ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ใน

ราตรี ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และของหอม พึงนอน

บนเตียง บนแผ่นดิน หรือบนเครื่องลาดด้วยหญ้า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวอุโบสถ ๘ ประการนี้แล

ที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทรงประกาศ

แล้ว พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองส่องแสง

สว่างไสว ย่อมโคจรไปตามวิถีเพียงไร พระ

จันทร์และพระอาทิตย์นั้น ก็ขจัดมืดได้เพียงนั้น

ลอยอยู่บนอากาศ ส่องแสงสว่างทั่วทุกทิศใน

ท้องฟ้า ทรัพย์ใดอันมีอยู่ในระหว่างนี้ คือ แก้ว

มุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ อย่างดีหรือทองมี

สีสุกใส ที่เรียกกันว่า หตกะ พระจันทร์ พระ-

อาทิตย์และทรัพย์นั้น ๆ ก็ยังไม่ได้เที่ยวที่ ๑๖

แห่งอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

เปรียบเหมือนรัศมีพระจันทร์ ข่มหมู่ดวงดาวทั้ง

หมด ฉะนั้น เพราะฉะนั้นแหละ หญิงหรือชายผู้

มีศีล เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประ

การแล้ว กระทำบุญมีสุขเป็นกำไร ไม่มีใครติ-

เตียน ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

จบ วิสาขสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 513

๔. เวเสฏฐสูตร

[๑๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-

ศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล วาเสฏฐอุบาสก

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ

อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว ย่อมมี

ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก

ฯลฯ ไม่มีใครติเตียน ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างแล้ว วาเสฏฐะอุบาสก

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ญาติสาย-

โลหิตเป็นที่รักของข้าพระองค์ พึงเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วย

องค์ ๘ ประการ การเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ประการ

นั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน

แม้แก่ญาติและสายโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพระองค์ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ถ้าแม้กษัตริย์ ทั้งปวงพึงเข้าอยู่อุโบสถ อันประกอบด้วย

องค์ ๘ ประการ การเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

นั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน

แม้แก่กษัตริย์ทั้งปวง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าแม้พราหมณ์ทั้งปวง

ฯลฯ แพศย์ทั้งปวง ฯลฯ ศูทรทั้งปวง พึงเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการ การเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 514

ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาล

แม้แก่ศูทรทั้งปวง.

พ. ดูก่อนวาเสฏฐะ ถ้าแม้กษัตริย์ทั้งปวงพึงเข้าอยู่อุโบสถ

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วย

องค์ ๘ ประการ พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

ตลอดกาล แม้แก่กษัตริย์ทั้งปวง ถ้าแม้พราหมณ์ทั้งปวง ฯลฯ

แพศย์ทั้งปวง ฯลฯ ศูทรทั้งปวง พึงเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วย

องค์ ๘ ประการ การเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

นั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน

แม้แก่ศูทรทั้งปวง ดูก่อนวาเสฏฐะ ถ้าแม้โลก พร้อมด้วยเทวโลก

มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและ

มนุษย์ พึงเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น

พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน แม้

แก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แก่หมู่สัตว์ พร้อม

ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ถ้าแม่ท่านผู้มหาศาลเหล่านี้

พึงเข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ การเข้าอยู่

อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน แม้แก่ท่านผู้มหาศาลเหล่านี้

ถ้าหากว่าตั้งใจ จะป่วยกล่าวไปไยถึงมนุษย์เล่า.

จบ วารเสฏฐสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 515

อุโบสถวรรคที่ ๕

อรรถกถาวาเสฏฐสูตรที่ ๔

วรรคที่ ๕ วาเสฏฐสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า อิเม เจปิ วาเสฏฺฐ มหาสาลา ดังนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงต้นสาละ ๒ ต้นที่ยืนอยู่ตรงพระพักตร์

จึงตรัสเปรียบเทียบโดยปริกัป ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ก่อนอื่น

ต้นมหาสาละเหล่านี้ไม่มีใจ ถ้าต้นไม้เหล่านี้มีใจพึงเข้าจำอุโบสถ

ที่ประกอบด้วยองค์ ๘ ได้ไซร้ การเข้าจำอุโบสถนั้นของต้น-

มหาสาละแม้เหล่านั้น ก็พึงมี เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขตลอด

กาลนาน ก็ในหมู่มนุษย์ ก็ไม่จำต้องกล่าว.

จบ อรรถกถาเวสาฏฐสูตรที่ ๔

๑. ในอัฏฐนิปาตวณฺณนา ว่า "ปญฺจมสฺส ปฐเม....วรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑....แต่ในที่นี้ต้องแปลว่า

....สูตรที่ ๔ เพราะเก็บความในสูตรที่ ๔ มาแก้ทั้งนั้นฯ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 516

๕. โพชฌาสูตร

[๑๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

วิหารเขตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร

สาวัตถี ครั้งนั้นแล โพชฌาอุบาสิกาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนโพชฌา อุโบสถอันประกอบด้วย

องค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

มีความรุ่งเรืองมาก ความแพร่หลายมาก ดูก่อนโพชฌา ก็อุโบสถ

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างไร จึงมี

ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรื่องมาก มีความแพร่หลายมาก

ดูก่อนโพชฌา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่า

พระอรหันต์ทั้งหลาย และปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต

วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์

เกื้อกูล ต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิตในวันนี้ แม้เราก็ละปาณาติบาต

งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรามีความละอาย

เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูล ต่อสรรพสัตว์อยู่ตลอดคืน และวันนี้

เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายแม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถ

จักเป็นอันชื่อว่าเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๑ นี้ ฯลฯ

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์

ทั้งหลายละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ งดเว้นจากการนั่ง

การนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 517

คือ นอนบนเตียงหรือเครื่องลาดด้วยหญ้าอยู่ตลอดชีวิต ในวันนี้

แม้เราก็ละการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ เว้นจากการนั่ง

การนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการนอนบนที่นั่ง

ที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่องลาดด้วยหญ้าตลอดคืนและวันนี้

เราคือว่ากระทำตามพระอรหันต์ทั้งหลายด้วยองค์ และอุโบสถ

จักเป็นอันชื่อว่าเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้

ดูก่อนโพชฌา อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคล

เข้าอยู่แล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรื่อง

มาก มีความแพร่หลายมาก.

อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ บุคคลเข้าอยู่แล้ว มี

ผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรื่องมาก มีความแพร่หลายมาก

เพียงไร ดูก่อนโพชฌา เปรียบเหมือนพระราชาที่เสวยราชย์ดำรง

อิสรภาพและอธิปไตยในชนบทใหญ่ ๑๖ รัฐ มีรัตนะ ๗ ประการ

มากมายเหล่านี้ คือ อังคะ มคธะ กาสี โกศล วัชชี มัลละ เจดีย์

วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุระเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ

กัมโพชะ การเสวยราชย์ดำรงอิสรภาพและอธิปไตยของ พระราชา

นั้น ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ และอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนโพชฌา เพราะราชสมบัติมนุษย์ เป็น

เหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์ ดูก่อนโพชฌา

๕๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ๓๐

ราตรี โดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒ เดือนโดยเดือนนั้น เป็น

ปีหนึ่ง ๕๐๐ ปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 518

จาตุมมหาราช ดูก่อนโพชฌา ข้อที่บุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็น

หญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ

แล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงด้วยความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช

นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนโพชฌา เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า

ราชสมบัติ มนุษย์เป็นเหมือนของคนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอัน

เป็นทิพย์.

ดูก่อนโพชฌา ๑๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ

ดูก่อนโพชฌา ๒๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ

ดูก่อนโพชฌา ๔๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ

ดูก่อนโพชฌา ๘๐๐ ปีมนุษย์ ฯลฯ

ดูก่อนโพชฌา ๑,๖๐๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนวันหนึ่งของเทวดา

ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง ๑๒

เดือนโดยเดือนนั้นเป็นหนึ่ง ๑๖,๐๐๐ ทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณ

อายุของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ดูก่อนโพชฌา ข้อที่บุคคล

บางคนในโลกนี้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม เข้าอยู่อุโบสถอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการแล้ว เมื่อตายไป พึงเข้าถึงความ

เป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตตี นี้เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูก่อนโพชฌา เราหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า ราชสมบัติมนุษย์เป็น.

เหมือน ของตนกำพร้า เมื่อเทียบกับสุขอันเป็นทิพย์.

บุคคลไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของ

ที่เจ้าของไม่ให้ พึงเว้นจากเมถุนธรรม อันมิใช่

ความประพฤติของพรหม ไม่พึงพูดเท็จ ไม่พึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 519

ดื่มน้ำเมา ไม่พึงบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

ในราตรี ไม่พึงทัดทรงดอกไม้และของหอม พึง

นอนบนเตียงบนแผ่นดิน หรือบนเครื่องลาดด้วย

หญ้า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวอุโบสถ ๘ ประการนี้

แลที่พระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ทรงประกาศ

แล้ว พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองส่องแสง

สว่างไสว ย่อมโคจรไปตามวิถีเพียงไร ลอยอยู่

บนอากาศ ส่องแสงสว่างทั่วทุกทิศในท้องฟ้า

ทรัพย์ใดอันมีอยู่ในระหว่างนี้ คือ แก้วมุกดา

แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ อย่างดี หรือทองมีสีสุกใส

ที่เรียกกันว่า หตถะ พระจันทร์พระอาทิตย์และ

ทรัพย์นั้น ๆ ก็ยังไม่ถึงแม้เสี้ยวที่ ๑๖ แห่ง

อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ เปรียบ

เหมือนรัศมีพระจันทร์ข่มหมู่ดวงดาวทั้งหมด

ฉะนั้น เพราะฉะนั้นแหละ หญิงหรือชายผู้มีศีล

เข้าอยู่อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

แล้ว กระทำบุญมีสุขเป็นกำไร ไม่มีใครติเตียน

ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

จบ โพชฌาสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 520

๖. อนุรุทธสูตร

[๑๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิ-

ตารามใกล้พระนครโกสัมพี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะไปยัง

วิหารที่พักกลางวัน หลีกเร้นอยู่ ลำดับนั้น มีเทวดาเหล่ามนาปกายิกา

มากมายพากันเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ภิวาทแล้วยืนอยู่

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระ-

อนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดาชื่อมนาปกายิกา มี

อิสระและอำนาจในฐานะ ๓ ประการ คือ ข้าพเจ้าทั้งหลายหวัง

วรรณะเช่นใด ก็ได้ความสุขเช่นนั้นโดยพลัน ๑ ข้าแต่พระอนุรุทธะ

ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดาชื่อว่านาปกานิกา มีอิสระและ

อำนาจใน ๓ ประการนี้.

ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะดำริว่า โอหนอ ขอให้เทวดา

ทั้งปวงนี้ พึงมีร่างเขียว นุ่งผ้าเขียว มีผิวพรรณเขียว มีเครื่อง

ประดับเขียว.

ท่านพระอนุรุทธะจึงดำริต่อไปว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวง

นี้ มีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว

นุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว.

เทวดาเหล่านั้นทราบความดำริของท่านพระอนุรุทธะแล้ว

ล้วนมีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว

เทวดาเหล่านั้น ตนหนึ่งขับร้อง ตนหนึ่งฟ้อนรำ ตนหนึ่งปรบมือ

เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่เขาปรับดีแล้ว ตีดังไพเราะ ทั้ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 521

บรรเลงโดยนักดนตรีผู้เชี่ยวชาญ มีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวนให้

เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ ฉันใด เสียงแห่งเครื่องประดับ

ของเทวดาเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. มีเสียงไพเราะ เร้าใจ ชวน

ให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์.

ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะทอดอินทรีย์ลง เทวดาเหล่านั้น

ทราบว่า พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธะไม่ได้ยินดี จึงอันตรธานไป ณ ที่นั้น.

ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระอนุรุทธออกจากที่เร้น

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญขอประทานวโรกาส วันนี้ ข้าพระองค์ไปยังวิหาร

ที่พักกลางวันหลีกเร้นอยู่ ครั้งนั้นแล เทวดาเหล่ามนาปกายิกา

มากมายเข้ามาหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืน ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วกล่าวกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านพระ

อนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดาชื่อว่ามนาปกายิกา

มีอิสระและอำนาจในฐานะ ๓ ประการ คือ ข้าพเจ้าทั้งหลายหวัง

วรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน ๑ หวังเสียงเช่นใด

ก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน ๑ หวังความสุขเช่นใด ก็ได้ความสุข

เช่นนั้นโดยพลัน ๑ ข้าแต่พระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย

เป็นเทวดาชื่อว่ามนาปายิกา มีอิสระและอำนาจในฐานะ ๓ ประการ

นี้ ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า โอหนอ

ขอให้เทวดาทั้งปวงนี้พึงมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว นุ่งผ้าเขียว

มีเครื่องประดับเขียว เทวดาเหล่านั้นทราบความดำริของข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 522

แล้ว ล้วนมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว นุ่งผ้าเขียว มีเครื่องประดับ

เขียว แล้วข้าพระองค์จึงดำริต่อไปว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวง

นี้ พึงมีร่างเหลือง ฯลฯ มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาว

นุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว เทวดาเหล่านั้นก็ทราบความดำริ

ของข้าพระองค์แล้วล้วนมีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาว

มีเครื่องประดับขาว เทวดาเหล่าอื่น ตนหนึ่งขับร้อง ตนหนึ่งฟ้อนรำ

ตนหนึ่งปรบมือ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่เขาปรับดีแล้ว

ตีดังไพเราะ ทั้งบรรเลงโดยนักดนตรีผู้เชี่ยวชาญ มีเสียไพเราะ

เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ ฉันใด เสียงแห่ง

เครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีเสียงไพเราะ

เร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ ข้าพระองค์จึง

ทอดอินทรีย์ลง เทวดาเหล่านั้นทราบว่าข้าพระองค์ไม่ยินดี จึง

อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามประกอบ

ด้วยธรรมเท่าไร เมื่อตายไป จึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา

เหล่ามนาปกายิกา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามประกอบ

ด้วยธรรม ๘ ประการ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย

ของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อน

อนุรุทธะ มาตุคามในโลกนี้ ที่มารดาบิดาผู้มุ่งประโยชน์ แสวงหา

ความเกื้อกูล อนุเคราะห์ เอื้อเอ็นดู ยอมยกให้แก่ชายใดผู้เป็นสามี

สำหรับชายนั้น เธอต้องตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติ

ให้ถูกใจ กล่าวถ้อยคำเป็นที่รัก ๑ ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพของสามี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 523

คือ มารดา บิดา หรือสมณพราหมณ์ เธอสักการะเคารพนับถือบูชา

เหล่านั้น และต้อนรับท่านเหล่านั้นผู้มาถึงแล้วด้วยอาสนะและน้ำ ๑

การงานใดเป็นงานในบ้านของสามี คือ การทำผ้าขนสัตว์หรือผ้าฝ้าย

เธอเป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญา

อันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถจัดทำ ๑ ชนเหล่าใดเป็นคน

ภายในบ้านของสามี คือ ทาส คนใช้ หรือกรรมกร ย่อมรู้ว่าการงาน

ที่เขาเหล่านั้นทำแล้วและยังไม่ได้ทำ ๑ ย่อมรู้อาการของคนภายใน

ผู้เป็นไข้ว่า ดีขึ้นหรือทรุดลง ๑ ย่อมแบ่งปันของกินของบริโภค

ให้แก่เขาตามควร ๑ สิ่งใดที่สามีหามาได้ จะเป็นทรัพย์ ข้าว เงิน

หรือทอง ย่อมรักษาคุ้มครองสิ่งนั้นไว้ และไม่เป็นนักเลงการพนัน

ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักดื่ม ไม่ผลาญทรัพย์ให้พินาศ ๑ เป็นอุบาสิกา

ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นผู้มีศีล

งดเว้นจากปาณาติบาติ อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และ

การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑

เป็นผู้มีการบริจาค มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่

เครื่องเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ

ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคาม

ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ

เป็นสหายของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา.

สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี

ผู้หมั่นเพียรขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุก

เมื่อ ให้ความปรารถนาทั้งปวง ไม่ยังสามีให้ขุ่น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 524

เคือง ด้วยถ้อยคำ แสดงความหึงหวง และย่อม

บูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยันไม่เกียจ

คร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ประพฤติ

เป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้

นารีใดย่อมประพฤติตามความพอใจของสามี

อย่างนี้ นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่า

มนาปกายิกา.

จบ อนุรุทสูตรที่ ๖

อรรถกถาอนุรุทธสูตรที่ ๖

อนุรุทธสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เยนายสฺมา อนุรุทธ ความว่า ได้ยินว่า เทวาดาเหล่านั้น

ตรวจดูสมบัติของตนแล้วรำพึงว่า เราได้สมบัตินี้เพราะอาศัยอะไร

หนอแล ดังนี้ เห็นพระเถระคิดว่า เราเป็นผู้ปรนนิบัติพระผู้เป็นเจ้า

ของพวกเราผู้ครองสมบัติจักรพรรดิราชในชาติก่อน ได้สมบัตินี้

ก็เพราะตั้งอยู่ในโอวาทที่ท่านประทานไว้ จึงได้สมบัตินี้ พวกเรา

ไปกันเถิดจะหาพระเถระมาเสวยสมบัตินี้ ดังนี้แล้ว ในเวลากลางวัน

นั่นเอง จึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ

บทว่า ตีสุ าเนสุ ได้แก่ ในเหตุ ๓ อย่าง. บทว่า านโส

ปฏิลภาม ได้แก่ ย่อมได้ทันทีนั่นเอง. บทว่า สทฺท ได้แก่ เสียงพูด

เสียงเพลงขับ หรือเสียงเครื่องประดับ. จะกล่าวบทว่า ปีตา อสสุ

เป็นต้น. พระอนุรุทธะคิดตรึก โดยนัยมีอาทิว่า ชั้นแรกเทวดาเป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 525

ผู้มีสีเขียว ไม่สามารถจะเป็นผู้มีสีเหลืองได้ ดังนี้. เทวดาแม้เหล่านั้น

รู้ว่า บัดนี้พระผู้เป็นเจ้าย่อมปรารถนาให้เรามีสีเหลือ บัดนี้ปรารถนา

ให้เรามีสีแดง จึงได้เป็นเช่นนั้น. บทว่า อจฺฉริก วาเทสิ ความว่า

ปรบฝ่ามือแล้ว.

บทว่า ปญฺจงฺติกสฺส ความว่า ดนดรีประกอบด้วยองค์ ๕

เหล่านี้ คือ อาตตะ ๑ วิตตะ ๑ อาตตะวิตตะ ๑ สุสิระ ๑ ฆน ๑

บรรดาเครื่องดนตรีเหล่านั้น ดนตรีที่หุ้มหนังหน้าเดียว ในจำพวก

กลองเป็นต้นที่หุ้มหนัง. ชื่อว่า อาตตะ. ดนตรีที่หุ้มหนังสองด้าน

ชื่อว่า วิตตะ. ดนตรีที่หุ้มหนังทั้งหมด ชื่อว่า อาตตะวิตตะ. ดนตรี

มีปี่เป็นต้น ชื่อว่า สุสิระ. ดนตรีมีสัมมตาลทำด้วยไม้ตาลเป็นต้น

ชื่อว่า ฆนะ บทว่า สุวินีตสฺส ได้แก่ ที่บรรเลงดีแล้ว เพื่อให้รู้ว่า

ขึ้นพอดีแล้ว บทว่า กุสเลหิ สุสมนฺนาหตสฺส ได้แก่ ที่นักดนตรี

ผู้ฉลาดเชี่ยวชาญบรรเลงแล้ว บทว่า วคฺคู ได้แก่ ไพเราะ คือเพราะดี

บทว่า รชนีโย แปลว่า สามารถทำให้เกิดรัก. บทว่า กมนีโย

แปลว่า ชวนให้น่าใคร่. ปาฐะว่า ขมนีโย ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า

เมื่อคนฟังตลอดวันก็ชอบใจ ไม่เบื่อ. บทว่า รมณีโย ได้แก่ ให้เกิด

ความมัวเมาด้วยมานะและมัวเมาในบุรุษ.

บทว่า อินฺทฺริยานิ โอกิขิปี ความว่า พระเถระคิดว่า เทวดา

เหล่านี้ทำสิ่งที่ไม่สมควร จึงทอดอินทรีย์ลงเบื้องต่ำ คือลืมตาไม่

มองดู. บทว่า น ขฺวยฺโย อนุรุทฺโธ สาทิยติ ความว่า เทวดาคิดว่า

เราฟ้อนเราขับ แต่พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธะไม่ยินดีลืมตาไม่มองดู.

เราจะฟ้อนจะขับกระทำไปทำไม ดังนี้แล้วจึงหายไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 526

บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระเถระครั้นเห็นอานุภาพ

ของเทวดาเหล่านั้นแล้วเข้าไปถามความนี้ว่า ผู้หญิงประกอบธรรม

เท่าไรหนอแล จึงมาบังเกิดในเทวโลกที่มีเรือนร่างน่าชอบใจ.

จบ อรรถกถานนุรุทธสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 527

๗. วิสาขสูตร

[๑๓๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพ-

พาราม ปราสาทของมิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล

นางวิสาขามิคารมารดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนวิสาขา มาตุคามประกอบด้วย

ธรรม ๘ ประการนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง

เทวดาเหล่ามนาปกายิกา ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนวิสาขา

มาตุคามในโลกนี้ ที่มารดาบิดาผู้มุ่งประโยชน์ แสวงหาความ

เกื้อกูล อนุเคราะห์ เอื้อเอ็นดู ยอมยกให้แก่ชายใดผู้เป็นสามี

สำหรับชายนั้น เธอต้องตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังรับใช้

ประพฤติให้ถูกใจ กล่าวถ้อยคำเป็นที่รัก ฯลฯ เป็นผู้มีการบริจาค

มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอัน

ปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดี

ในการจำแนกทาน ดูก่อนวิสาขา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘

ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา

เหล่ามนาปกายิกา.

สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี

ผู้หมั่นเพียรขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุก

เมื่อ ให้ความปรารถนาทั้งปวง ไม่ยังสามีให้ขุ่น

เคือง ด้วยถ้อยคำแสดงความหึงหวง และย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 528

บูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยันไม่เกียจ

คร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ประพฤติ

เป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้

นารีใดย่อมประพฤติตามความชอบใจของสามี

อย่างนี้ นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดา

เหล่ามนาปกายิกา.

จบ วิสาขสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 529

๘. นกุลสูตร

[๑๓๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกลา-

มิคทายวัน แขวงเมืองสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคชนบท ครั้งนั้นแล

คหปตานีชื่อนกุลมารดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนกุลมารดา มาตุคามประกอบ

ด้วยธรรม ๘ ประการนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย

แห่งเทวดาเหล่ามนาปกายิกา ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อน

กุลมารดา มาตุคามในโลกนี้ ที่มารดาบิดามุ่งประโยชน์ แสวงหา

ความเกื้อกูล อนุเคราะห์ เอื้อเอ็นดู ย่อมยกให้แก่ชายได้เป็นสามี

สำหรับชายนั้น เธอต้องตื่นก่อน นอนภายหลัง คอยฟังรับใช้

ประพฤติให้ถูกใจ กล่าวถ้อยคำเป็นที่รัก ฯลฯ เป็นผู้มีการบริจาค

มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอัน

ปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดี

ในการจำแนกทาน ดูก่อนนกุลมารดา มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘

ประการนี้แล เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่า

มนาปกายิกา.

สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี

ผู้หมั่นเพียรขวนขวายอยู่เป็นนิตย์ เลี้ยงตนอยู่ทุก

เมื่อ ให้ความปรารถนาทั้งปวง ไม่ยังสามีให้ขุ่น

เคือง ด้วยถ้อยคำแสดงความหึงหวง และย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 530

บูชาผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยันไม่เกียจ

คร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ประพฤติ

เป็นที่พอใจของสามี รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้

นารีใดย่อมประพฤติตามความชอบใจของสามี

อย่างนี้ นารีนั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดา เหล่า

มนาปกายิกา.

จบ นกุลสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 531

๙. ปฐมอิธโลกสูตร

[๑๓๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาท

ของมิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล นาง-

วิสาขามิคารมารดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสกะนางวิสาขามิคารมารดาว่า ดูก่อนนางวิสาขา มาตุคามผู้

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะใน

โลกนี้ ชื่อว่าปรารภโลกนี้แล้ว ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อน

วิสาขา มาตุคามในโลกนี้ เป็นผู้จัดการงานดี ๑ สงเคราะห์คน

ข้างเคียงของสามีดี ๑ ประพฤติเป็นที่พอใจสามี ๑ รักษาทรัพย์ที่

สามีหามาได้ ๑ ดูก่อนวิสาขา มาตุคามเป็นผู้จัดการงานดีอย่างไร

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามในโลกนี้ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการ

งานภายในบ้านของสามี คือ การทำผ้าขนสัตว์หรือการทำผ้าฝ้าย

ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานนั้น

อาจทำ อาจจัดได้ ดูก่อนวิสาขา มาตุคามเป็นผู้จัดการงานดี อย่างนี้แล.

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามเป็นผู้สงเคราะห์คนข้างเคียงของ

สามีอย่างไร ดูก่อนวิสาขา มาตุคามในโลกนี้ ย่อมรู้การงาน

ที่อันโตชนภายในบ้านของสามี คือ ทาส คนใช้หรือกรรมกร

ทำแล้วว่าทำแล้ว ที่ยังไม่ได้ทำว่ายังไม่ได้ทำ รู้คนที่ป่วยไข้ว่า

ขึ้นหรือทรุดลง และแบ่งของเคี้ยวของบริโภคให้ตามเหตุที่ควร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 532

ดูก่อนวิสาขา มาตุตามเป็นผู้สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีดี

อย่างนี้แล.

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามเป็นผู้ประพฤติเป็นที่พอใจสามีอย่างไร

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามในโลกนี้ ไม่ละเมิดสิ่งอันไม่เป็นที่พอใจของ

สามีเพราะเหตุแห่งชีวิต ดูก่อนวิสาขา มาตุตามประพฤติเป็นที่พอใจ

ของสามีอย่างนี้แล.

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้อย่างไร

ดูก่อนวิสาขา มาตคามในโลกนี้ จัดการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือ

ทอง ที่สามีหามาได้ให้คงอยู่ ด้วยการรักษา คุ้มครอง และไม่เป็น

นักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็นนักดื่ม ไม่ผลาญทรัพย์ให้

พินาศ ดูก่อนวิสาขา มาตุตามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้อย่างนี้แล

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่า

ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ชื่อว่าปรารภโลกนี้แล้ว.

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้า ชื่อว่าปรารภโลกหน้าแล้ว

ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนวิสาขา มาตุคามในโลกนี้ เป็น

ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ เป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยจาคะ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ๑.

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาอย่างไร

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญา

เครื่องตรัสของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 533

ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี

ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนวิสาขา

มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาอย่างนี้แล.

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างไร ดูก่อน

วิสาขา มาตุคามในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต จาก

อทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท และจากการดื่ม

น้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อน

วิสาขา มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล.

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอย่างไร

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามในโลกนี้ มีจิตปราศจากมลทิน คือ ความ

ตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดี

ในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูก่อนวิสาขา

มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอย่างนี้แล.

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอย่างไร

ดูก่อนวิสาขา มาตุคามในโลกนี้ เป็นผู้มี ๆ คือ ประกอบด้วย

ปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรก

กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนวิสาขา มาตุคามเป็นผู้

ถึงพร้อมด้วยปัญญาอย่างนี้แล ดูก่อนวิสาขา มาตุคามประกอบ

ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล. ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลก

หน้า ชื่อว่าปรารภโลกหน้าแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 534

มาตุคามผู้จัดการงานดี สงเคราะห์คนข้าง

เคียงมาของสามีดี ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี

รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ มาตุคามนั้นเป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยศรัทธาและศีล ปราศจากความตระหนี่

รู้ความประสงค์ ชำระทางสัมปรายิกัตถประโยชน์

อยู่เป็นนิตย์ นารีใดมีธรรม ๘ ประการนี้ ดังกล่าว

มานี้ ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญนารีแม้นั้น

ว่า เป็นผู้มีศีล ตั้งอยู่ในธรรม พูดคำสัตย์ อุบาสิกา

ผู้มีศีลเช่นนั้น ถึงพร้อมด้วยอาการ ๑๖ อย่าง

ประกอบด้วยองคคุณ ๘ ประการ ย่อมเข้าถึง

เทวโลกประเภทมนาปกายิกา.

จบ ปฐมอิธโลกสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมอิธโลกสูตรที่ ๙

ปฐมอิธโลกสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อยส โลโก อารทฺโธ โหติ ความว่า โลกนี้ชื่อว่า

อันเขาปรารภแล้วคือบริบูรณ์แล้ว เพราะปรารภความเพียร คือ

ถึงพร้อมด้วยความเพียร เพื่อประโยชน์แก่กรรมที่ทำในโลกนี้.

บทว่า โสฬสาการสมฺปนฺนา ความว่า ประกอบด้วยอาการ ๑๖ คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 535

ด้วยการอาการ ๘ ที่กล่าวไว้ในพระสูตรและด้วยอาการ ๘ ที่กล่าวไว้

ในอรรถกถา. อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ประกอบ

ด้วยอาการ ๑๖ แม้อย่างนี้ว่า องค์ ๘ เหล่าใดมีอยู่ บุคคลชักชวน

ผู้อื่นในองค์ ๘ เหล่านั้น. ก็ศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสคละกันในพระสูตรนี้.

จบ อรรถกถาปฐมอิธโลกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 536

๑๐. ทุติยอิธโลกสูตร

[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม

๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ชื่อว่าปรารภ

โลกนี้แล้ว ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม

ในโลกนี้ เป็นจัดการงานดี. สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีดี ๑

ประพฤติเป็นที่พอใจสามี. รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้จัดการงานดีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มาตุคามในโลกนี้ เป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานภายในบ้าน

ของสามี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้จัดการงานดี

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้สงเคราะห์คนข้างเคียง

ของสามีดีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ ย่อมรู้

การงานที่อันโตชนภายในบ้านของสามี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มาตุคามเป็นผู้สงเคราะห์คนข้างเคียงของสามีดีอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประพฤติเป็นที่พอใจของสามี

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ ไม่ละเมิดสิ่งอันเป็น

ที่ไม่พอใจของสามีเพราะเหตุแห่งชีวิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม

ประพฤติเป็นที่พอใจของสามีอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มามุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ จัดการทรัพย์ คือ

ข้าวเปลือก เงินหรือทอง ที่สามีหามาได้ให้คงอยู่ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 537

ทั้งหลาย มาตุคามรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้อย่างนี้แล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่า

ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกนี้ ชื่อว่าปรารภโลกนี้แล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้า ชื่อว่าปรารภโลกหน้าแล้ว

ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยจาคะ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นถึงพร้อมด้วยศรัทธา

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุตามในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต

ฯลฯ และจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ

อย่างไร ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ มีจิตปราศจาก

มลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน ฯลฯ มาตุคามเป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยจาคะอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามในโลกนี้ มีปัญญา ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 538

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอย่างนี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล

ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อชัยชนะในโลกหน้า ชื่อว่าปรารภโลกหน้าแล้ว.

มาตุคามผู้จัดการงานดี สงเคราะห์คนข้าง

เคียงของสามีดี ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี

รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ มาตุคามนั้นเป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยศรัทธาและศีล ปราศจากความตระหนี่

รู้ความประสงค์ ชำระทางสัมปรายิกัตถประโยชน์

อยู่เป็นนิตย์ นารีใดมีธรรม ๘ ประการนี้ ดังกล่าว

มานี้ ปราชญ์ทั้งหลายเรียกนารีแม้นั้นว่า เป็นผู้

มีศีล ตั้งอยู่ในธรรม พูดคำสัตย์ อุบาสิกาผู้มีศีล

เช่นนั้น ถึงพร้อมด้วยอาการ ๑๖ อย่าง ประกอบ

ด้วยองค์คุณ ๘ ประการ ย่อมเข้าถึงเทวดาโลก

ประเภทมนาปกายิกา.

จบ ทุติยอิธโลกสูตรที่ ๑๐

จบ อุโปสถวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 539

อรรถกถาทุติยอิธโลกสูตรที่ ๑๐

ทุติยอิธโลก สูตรที่ ๑๐ ตรัสแก่ภิกษุสงฆ์

ก็คำที่ไม่ได้ตรัสไว้ในพระสูตรทุกสูตร มีอรรถง่ายทั้งนั้น

เพราะมีนัยที่มาในหนหลังแล้ว.

จบ อรรถกถาทุติยอิธโลกสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถตสูตร ๓. วิสาขาสูตร ๔. วาเสฏฐกสูตร

๕. โพชฌาสูตร ๖. อนุรุทธสูตร ๗. วิสาขสูตร ๘. นกุลสูตร

๙. อิธโลกสูตรที่ ๑ ๑๐. อิธโลกสูตรที่ ๒. และอรรถกถา

จบ อุโปสถวรรคที่ ๕

รวมวรรคในปัณณาสก์นี้ คือ

๑. เมตตาวรรค ๒. มหาวรรค ๓. คหปติวรรค ๔. ทานวรรค

๕. อุโปสถวรรค

จบ ปฐมปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 540

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

สันธานวรรคที่ ๑

๑. โคตมีสูตร

[๑๔๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโคร-

ธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล พระนางมหา-

ปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ทรงถวายบังคมแล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

ประทานวโรกาส ขอให้มาตุคามพึงได้การออกบวชเป็นบรรพชิต

ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วเกิด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนพระนางโคตมี อย่าเลย พระนางอย่าชอบใจการ

ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วของ

มาตุคามเลย.

แม้ครั้งที่ ๒ พระนางปชาบดีโคตมีก็กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าอีกว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอให้

มาตุคามพึงได้การออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระ

ตถาคตทรงประกาศแล้วเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

พระนางโคตมี อย่าเลย พระนางอย่าชอบใจการออกบวชเป็น

บรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วของมาตุคามเลย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 541

แม้ครั้งที่ ๓ พระนางปชาบดีโคตมีก็กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอให้

มาตคามพึงได้การออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย ที่พระตถาคต

ทรงประกาศแล้วเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพระนาง-

โคตมี อย่าเลย พระนางอย่าชอบใจการออกบวชเป็นบรรพชิต

ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วของมาตุคามเลย.

ลำดับนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีทรงพระดำริว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต

ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว เป็นผู้มีทุกข์ เสีย

พระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่ ถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์

ตามพระประสงค์แล้วเสด็จจาริกไปทางพรพะนครเวสาลี เมื่อเสด็จ

จาริกไปโดยลำดับ เสด็จไปถึงพระนครเวสาลี ได้ยินว่า ณ ที่นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้

พระนครเวสาลี ครั้งนั้น พระนางปชาบดีโคตมีทรงปลงพระเกสา

แล้ว ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จไปทางพระนครเวสาลี พร้อม

กับเจ้าหญิงสากิยะหลายพระองค์ เสด็จเข้าไปยังกูฏาคารศาลา

ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลีโดยลำดับ พระนางปชาบดีโคตมี

ทรงมีพระบาทระบม มีพระกายเต็มด้วยละออง มีทุกข์ เสียพระทัย

พระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่ ประทับยืนอยู่

ณ ซุ้มประตูด้านนอก ท่านพระอานนท์ได้แลเห็นพระนางปชาบดี-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 542

โคตมีทรงมีพระบาทระบม มีพระกายเต็มด้วยละออง มีทุกข์ เสีย

พระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ประทับยืน

อยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก ครั้นเห็นแล้ว จึงกล่าวความข้อนี้กะ

พระนางว่า ดูก่อนพระนางโคตมี เพราะเหตุอะไรหนอ พระนาง

จึงมีพระบาทระบม มีพระกายเต็มด้วยละออง มีทุกข์ เสียพระทัย

มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง ประทับยืนอยู่ ณ

ซุ้มประตูด้านนอก พระนางมหาปชาบดีโคตมีตรัสตอบว่า ข้าแต่

ท่านพระอานนท์ ความจริงก็เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ทรงอนุญาตให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่

พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ท่านพระอานนท์ก็กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น

ขอเชิญพระนางรออยู่ที่นี้แหละ ตราบเท่าที่อาตมภาพทูลขอพระผู้-

มีพระภาคเจ้าให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้.

ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนาง-

มหาปชาบดีโคตมีนี้ ทรงมีพระบาทระบม มีพระกายเต็มด้วยละออง

มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง

ประทับยืนอยู่ ณ ซุ้มประตูด้านนอก เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัย

ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน

วโรกาส ขอให้มาตุคามพึงได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัย

ที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 543

ดูก่อนอานนท์ อย่าเลย เธออย่าชอบใจให้มาตุคามออกบวชเป็น

บรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย.

แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอให้มาตุคาม

พึงออกบวชเป็น บรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศ

แล้วเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ อย่าเลย เธอ

อย่าชอบใจให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่

ตถาคตประกาศแล้วเลย.

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ใน

ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ผิฉะนั้น เราพึงทูลขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าให้มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรม

วินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วโดยปริยายแม้อื่น ลำดับนั้น

ท่านพระอานนท์ตรัสทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคต

ทรงประกาศแล้ว ควรจะทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล

อนาคามิผล หรืออรหัตผลได้หรือไม่ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ มาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัย

ที่ตถาคตประกาศแล้ว ควรทำให้แจ้งแม้โสดาปัตติผล สกทาคามิผล

อนาคามิผล อรหัตผลได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 544

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต

ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว ทำให้แจ้งแม้โสดาปัตติผล

สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผลได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระนางปชาบดีโคตมีทรงมีอุปการะมาก เป็นพระมาตุจฉาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทะนุถนอมเลี้ยงดูให้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงดื่มน้ำนม ในเมื่อพระชนนีทิวงคตแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอประทานวโรกาส ขอให้มาตุคามพึงได้ออกบวชเป็นบรรพชิต

ในธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วเถิด.

พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงรับ

ครุธรรม ๘ ประการ นั่นแหละ เป็นอุปสมบทของพระนาง คือ

ภิกษุณี แม้อุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี พึงทำการกราบไหว้ ลุกรับ

ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุแม้อุปสมบทในวันนั้น แม้

ธรรมข้อนี้ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วง

ตลอดชีวิต.

ภิกษุณีไม่พึงเข้าจำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ แม้ธรรม

ข้อนี้ ภิกษุณี ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วง

ตลอดชีวิต.

ภิกษุณีต้องแสวงหาภิกษุถามถึงการทำอุโบสถ และการ

เข้าไปรับโอวาทจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณี

ต้องสักการะ เคารพนับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 545

ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในอุภโตสงฆ์ด้วย

ฐานะ ๓ ประการ คือ ด้วยได้เห็น ได้ฟัง และรังเกียจ แม้ธรรม

ข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วง

ตลอดชีวิต.

ภิกษุณีต้องครุธรรมแล้ว พึงประพฤติมานัตปักษ์หนึ่ง ใน

อุภโตสงฆ์ แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ

ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต.

ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในอุภโตสงฆ์ เพื่อนางสิกขมานา

ผู้มีสิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการ ครบ ๒ ปี แม้ธรรม

ข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วง

ตลอดชีวิต.

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ห้ามภิกษุณีว่ากล่าวตักเตือนภิกษุ

ไม่ห้ามภิกษุว่ากล่าวตักเตือนภิกษุณี แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้อง

สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต.

ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมีรับครุธรรม

๘ ประการนี้ได้นั้นแลเป็นอุปสัมปทาของพระนาง.

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ ประการนี้

ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาพระนางปชาบดีโคตมี

แล้วกล่าวข้อด้วยความนี้กะพระนางว่า ดูก่อนพระนางโคตมี ถ้าแล

พระนางพึงยอมรับครุธรรม ๘ ประการได้นั้นแลเป็นอุปสัมปทา

ของพระนาง คือ ภิกษุณีแม้อุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกระทำ

การกราบไหว้ ลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุแม้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 546

อุปสมบทในวันนั้น แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ

นับถือ บูชา ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ฯลฯ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ห้ามภิกษุณีว่ากล่าวตักเตือนภิกษุ ไม่ห้ามภิกษุว่ากล่าวตักเตือน

ภิกษุณี แม้ธรรมข้อนี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

ไม่พึงก้าวล่วงตลอดชีวิต ดูก่อนพระนางโคตมี ถ้าแลพระนาง

พึงยอมรับธรรม ๘ ประการนี้ได้ นั้นแลจักเป็นอุปสัมปทา

ของพระนาง.

พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์

หญิงหรือชายแรกรุ่นหนุ่มสาว ชอบประดับ ตกแต่ง อาบน้ำชำระ

ร่างกายแล้ว ได้พวงดอกอุบล พวงมะลิ หรือพวงลำดวนแล้ว

เอามือทั้งสองประคองวางไว้บนศีรษะ ฉันใด ดิฉันก็ยอมรับครุธรรม

๘ ประการนี้ ไม่ก้าวล่วงตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกัน.

ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนาง

มหาปชาบดีโคตมีทรงยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ไม่ก้าวล่วง

จนตลอดชีวิต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ หากมาตุคาม

จักไม่ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว

พรหมจรรย์ก็ยังจะตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมพึงดำรงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี

แต่เพราะมาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคต

ประกาศแล้ว พรหมจรรย์จะไม่ตั้งอยู่นาน ทั้งสัทธรรมก็จักดำรง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 547

อยู่เพียง ๕๐๐ ปี ดูก่อนอานนท์ ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ที่มีหญิงมาก

ชายน้อย ตระกูลนั้นถูกพวกโจรกำจัดได้ง่าย แม้ฉันใด มาตุคาม

ได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัย

นั้นจักไม่ตั้งอยู่นาน ฉันนั้นเหมือนกัน อนึ่ง ขยอกลงในนาข้าวที่

สมบูรณ์ นาข้าวนั้นก็ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด... เพลี้ยลงใน

ไร่อ้อยนั้นก็ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด มาตุคามได้ออกบวชเป็น

บรรพชิตในธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้น ย่อมไม่ตั้ง

อยู่นาน ฉันนั้นเหมือนกัน อนึ่ง บุรุษกั้นคันสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อ

ไม่ให้น้ำไหลออก ฉันใด เราบัญญัติ ครุธรรม ๘ ประการ

ไม่ให้ภิกษุณีก้าวล่วงตลอดชีวิตเสียก่อน ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบ โคตมีสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 548

วรรคที่ไม่จัดเข้าในปัณณาสก์

สันธานวรรคที่ ๑

อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๖ โคตมีสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สกฺเกสุ วิหรติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จ

ไปประทับอยู่โดยการเสด็จครั้งแรก. บทว่า มหาปชาปตี ได้แก่

ผู้ได้พระนามอย่างนี้ เพราะเป็นใหญ่ ประชาคือพระโอรสและใน

ประชาคือพระธิดา. บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ให้นันทกุมารบวชก่อน

ทีเดียว ในวันที่ ๗ จึงให้ราหุลกุมารบวช. เมื่อชาวพระนครทั้ง ๒

ฝ่ายออกไปเพื่อเตรียมรบในเพราะเหตุทะเลาะกันเรื่องมงกุฎ พระ-

ศาสดาเสด็จไปทำพระเจ้าเหล่านั้นให้เข้าใจกันแล้วตรัสอัตตทัณท-

สูตร. เจ้าทั้งหลายทรงเลื่อมใสแล้วได้มอบถวายพระกุมารฝ่ายละ

๒๕๐ องค์. พระกุมาร ๕๐๐ องค์เหล่านั้นบวชในสำนักพระศาสดา.

ลำดับนั้นพระชายาของท่านเหล่านั้นส่งข่าวไป ทำให้เกิดความ

ไม่ยินดี (ในการบวช). พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้น

เกิดความไม่ยินดี จึงนำภิกษุหนุ่ม ๕๐๐ รูปเหล่านั้นไปสู่สระชื่อว่า

กุณาละ ประทับนั่งบนแผ่นหินที่ทรงเคยประทับนั่งในครั้งที่พระองค์

เสวยพระชาติเป็นนกดุเหว่า. บันเทาความไม่ยินดีของภิกษุเหล่านั้น

ด้วยเรื่องกุณาชาดก แล้วให้ท่านทั้งหมดนั้นดำรงอยู่ในโสดา-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 549

ปัตติผล แล้วนำกลับมาสู่ป่ามหาวันอีกครั้งหนึ่ง ให้ดำรงอยู่ใน

พระอรหัตตผลแล. เพื่อจะทราบจิตของภิกษุเหล่านั้น พระชายา

ทั้งหลายจึงส่งข่าวไปอีกครั้ง. ภิกษุเหล่านั้นส่งสานตอบไปว่า

พวกเราไม่ควรอยู่ครองเรือน พระนางเหล่านั้นทรงดำริว่า บัดนี้

ไม่ควรที่พวกเราจะกลับไปยังเรือน เราจะไปสำนักพระนางมหา-

ปชาบดีขออนุญาตบรรพชาแล้วจักบวช. ทั้ง ๕๐๐ เข้าไปเฝ้า

พระนางมหาปชาบดีทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ขอพระแม่เจ้าโปรด

อนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวชเถิด. พระนางมหาปชาบดี พา

สตรีเหล่านั้นไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

เข้าไปเฝ้าในเวลาที่พระราชาปรินิพพานภายในเศวตฉัตร ดังนี้

ก็มี. ถามว่า เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงห้ามว่า อย่าเลย

โคตมี ท่านอย่าชอบใจไปเลย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ย่อมมีบริษัท

๔ มิใช่หรือ มีก็จริง แต่พระองค์มีพระประสงค์จะทำให้หนักแน่น

แล้วค่อยอนุญาตจึงทรงห้ามเสีย ด้วยทรงพระดำริว่า สตรีเหล่านี้

จักรักษาไว้โดยชอบซึ่งบรรพชาที่เราถูกอ้อนวอนหลายครั้งอนุญาต

ให้ยาก ๆ ด้วยคิดว่า เราได้บรรพชามาด้วยความลำบาก. บทว่า

ปกฺกามิ ความว่า เสด็จเข้าไปยังกรุงกบิลพัสดุ์นั้นแหละอีกครั้งหนึ่ง

บทว่า ยถาภิรนฺต วิหริตฺวา ความว่า ทรงตรวจดูอุปนิสัยแห่งสัตว์

ผู้จะตรัสรู้ จึงประทับอยู่ตามพระอัธยาศัย. บทว่า จาริก ปกฺกามิ

ความว่า เมื่อจะทรงกระทำการสงเคราะห์มหาชน จึงเสด็จจาริก

แบบไม่รีบด่วนด้วยพุทธศิริอันสูงสุด ด้วยพุทธวิลาสอันหาที่เปรียบ

มิได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 550

บทว่า สมฺพหุลาหิ สากิยานีหิ สทฺธึ ความว่า พระนาง

มหาปชาบดี ทรงถือเพศบรรพชาอุทิศพระทศพลภายในพระนิเวศน์

นั่นเอง แล้วให้นางศากิยานีทั้ง ๕๐ นั้น ถือเพศบรรพชาเหมือนกัน

แล้วเสด็จหลีกไปพร้อมกับนางศากิยานีเป็นอันมากแม้ทั้งหมดนั้น.

บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ทรงพระดำเนินไป. ในเวลาที่นางมหาปชาบดี

นั้นทรงดำเนินไป เจ้าหญิงทั้งหลาย ผู้สุขุมาลชาติจักไม่สามารถ

เดินไปด้วยพระบาทได้ เพราะเหตุนั้น เจ้าศากยะและเจ้าโกลิยะ

จึงได้จัดวอทองส่งไป. ก็นางศากิยาณีเหล่านั้นคิดว่า เราเมื่อขึ้นยาน

ไป เป็นอันชื่อว่าไม่กระทำความเคารพในพระศาสดา ดังนี้แล้ว

จึงได้ใช้พระบาทดำเนินไปตลอดทาง ๕๑ โยชน์. ฝ่ายเจ้าทั้งหลาย

ให้จัดอารักขาทั้งข้างหน้าข้างหลัง บรรทุกข้าวสาร เนยใส และ

น้ำมันเป็นต้นเต็มเกวียน แล้วส่งบุรุษทั้งหลายไปด้วยสั่งว่า พวก

ท่านจงตระเตรียมอาหารในที่ที่นางศากิยานีเหล่านั้นไป ๆ กัน.

บทว่า สูเนหิ ปาเทหิ ความว่า เพราะนางศากิยานีเหล่านั้นเป็น

สุขุมาลชาติ ตุ่มพองเม็ดหนึ่งผุดขึ้นที่พระบาททั้งสอง เม็ดหนึ่ง

แตกไป พระบาททั้งสองพองขึ้นเป็นประหนึ่งเมล็ดผลตุ่มกา.

เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลว่า สูเนหิ ปาเทหิ ดังนี้.

บทว่า พหิทฺวารโกฏฺเก ได้แก่ ภายนอกซุ้มประตู. ถามว่า ก็เพราะ

เหตุไร พระนางมหาปชาบดีจึงยืนอยู่อย่างนั้น ? ตอบว่า ได้ยินว่า

พระนางมหาปชาดีได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราพระตถาคตไม่

ทรงอนุญาตแล้ว ก็ถือเพศบรรพชาด้วยตนเองทีเดียว ก็แลความ

ที่เราถือเพศบรรพชาอย่างนี้ เกิดปรากฏไปทั่วชมพูทวีป ถ้าพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 551

ศาสดาทรงอนุญาตบรรพชาไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี แต่ถ้าพระองค์

จักไม่ทรงอนุญาตไซร้ จักมีความครหาอย่างใหญ่หลวง จึงไม่

อาจจะเข้าไปยังวิหาร ได้ยินทรงกรรแสงอยู่.

บทว่า กึ นุ ตว โคตมิ ความว่า ความวิบัติแห่งราชตระกูล

เกิดขึ้นแล้วหรือหนอ เพราะเหตุไรหนอ พระองค์ทรงภาวะ

แปลกไปอย่างนี้ คือมีเท้าบวม ฯลฯ ประทับยืนอยู่แล้ว ฯลฯ บทว่า

อญฺเนปิ ปริยาเยน ได้แก่ แม้โดยเหตุอื่น. พระอานนท์กล่าว

พระคุณของพระนางมหาปชาบดีนั้นด้วยคำมีอาทิว่า พระนาง-

มหาปชาบดีนั้นด้วยคำมีอาทิว่า พระนางมหาปชาบดีมีอุปการะมาก

พระเจ้าข้า ดังนี้ เมื่อจะทูลขอบรรพชาอีกครั้ง จึงได้ทูลอย่างนั้น.

แม้พระศาสดาก็ทรงพระดำริว่า ธรรมดาว่าสตรีทั้งหลาย

มีปัญญาน้อย เมื่อเราอนุญาตการบรรพชาด้วยเหตุเพียงถูกขอ

ครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะไม่ถือเอาคำสั่งสอนของเราให้หนักแน่น

ดังนี้แล้ว จึงทรงห้าม ๓ ครั้ง บัดนี้ เพราะเหตุที่เธอประสงค์จะ

ถือเอาคำสอนของเราให้หนักแน่น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์

ถ้ามหาปชาบดีโคตมีจะยอมรับครุธรรม ๘ ประการไซร้ การรับ

ครุธรรมนั้นแหละ จงเป็นอุปสมบทของเธอ. บรรดาเหล่านั้น

บทว่า สาวสฺสา ความว่า การรับครุธรรมนั้นแหละเป็นทั้งบรรพชา

เป็นทั้งอุปสมบทของเธอ.

บทว่า ตทหุปสมฺปนฺนสฺส แปลว่าผู้อุปสมบทในวันนั้น. บทว่า

อภิวาทน ปจฺจุฏฺาน อญฺชลิกมฺม สามีจิกมฺม กาตพฺพ ความ

ภิกษุณีไม่กระทำการดูถูกตนเองและดูหมิ่นผู้อื่น กระทำการกราบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 552

ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กระทำการลุกขึ้นด้วยอำนาจลุกขึ้นจาก

อาสนะออกไปต้อนรับ รวมนิ้วทั้ง ๑๐ แล้วไหว้. การกระทำสามี-

จิกรรม กล่าวคือกรรมอันสมควร มีการปูอาสนะ และการพัดวี

เป็นต้น ๑. บทว่า อภิกฺขเก อาวาเส ความว่า ไม่มีอาจารย์ให้

โอวาท โดยไม่มีอันตราย สำหรับนางภิกษุณีผู้อยู่ในอาวาสใด

อาวาสนะชื่อว่าอาวาสไม่มีภิกษุ. ภิกษุณีไม่ควรเข้าจำพรรษา

ในอาวาสเห็นปานนี้. บทว่า อนฺวฑฺฒมาส แปลว่า ทุกอุโบสถ.

บทว่า โอวาทูปสงฺกมน แปลว่า เข้าไปเพื่อต้องการโอวาท. บทว่า

ทิฏฺเน แปลว่า โดยเห็นด้วยตา. บทว่า สุเตน แปลว่า โดยได้ฟัง

ด้วยหู. บทว่า ปริสงฺกาย แปลว่า โดยรังเกียจด้วยการเห็นและ

การฟัง. บทว่า ครุธมฺม ได้แก่ อาบัติหนัก คือ อาบัติสังฆาทิเลส

บทว่า ปกฺขมานตฺต ได้แก่ ภิกษุณีพึงประพฤติมานัต ๑๕ วันเต็ม.

บทว่า ฉสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ในสิกขาบททั้งหลาย มีวิกาลโภชน-

สิกขาบทเป็นที่ ๖. บทว่า สิกฺขิตสิกฺขาย ได้แก่ บำเพ็ญสิกขาโดย

ไม่ให้ขาดแม้สิกขาบทเดียว. บทว่า อกฺโกสิตพฺโพ ปริภาสิตพฺโพ

ความว่า ภิกษุณีไม่พึงด่าภิกษุด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ ประการ

อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่พึงบริภาษด้วยการบริภาษอย่างใดอย่างหนึ่ง

อันอ้างถึงสิ่งที่น่ากลัว. บทว่า โอวโฏ ภิกฺขุนีน ภิกขูสุ วจนปโถ

ความว่า คลองแห่งถ้อยคำกล่าวคือ โอวาทิ อนุศาสนี และธรรมกถา

อันภิกษุณี ห้ามปิดในภิกษุทั้งหลาย คือภิกษุณีไม่ควรโอวาท

ไม่ควรอนุศาสน์ภิกษุไร ๆ แต่ภิกษุณีควรจะกล่าวตามประเพณี

อย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า พระเถระในปางก่อนได้บำเพ็ญวัตรเช่นนี้ ๆ มา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 553

บทว่า อโนวโฏ ภิกฺขูน ภิกฺขุนีส วจนปโถ ความว่า ภิกษุทั้งหลาย

ไม่ห้ามคำอันเป็นคลองในภิกษุณีทั้งหลายคือ ภิกษุทั้งหลายจง

โอวาท จงอนุศาสน์ จงกล่าวธรรมกถาตามชอบใจ ความสังเขป

ในข้อนี้มีดังว่ามานี้. แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร กถาว่าด้วยครุธรรมนี้

พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาพระวินัย ชื่อว่าสมันต-

ปาสาทิกานั้นแล.

โทมนัสอย่างใหญ่หลวงของพระนางปชาบดี สงบลงทันที

เพราะได้ฟังครุธรรม ๘ ประการนี้ที่พระเถระเรียนในสำนัก

พระศาสดาแล้วมาทูลแก่พระนาง พระนางปราศจากความกระวน

กระวาย มีใจชื่นชมยินดี ประหนึ่งว่าโสรจสรงลงบนกระหม่อม

ด้วยน้ำเย็น ๑๐๐ หม้อ ที่นำมาจากสระอโนดาด เมื่อจะทำให้แจ้ง

ซึ่งปิติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะรับครุธรรม จึงได้เปล่งอุทาน

มีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ภนฺเต ดังนี้

บทว่า กุมฺภตฺเถนเภหิ ความว่า อันโจรผู้จุดไฟในหม้อแล้ว

เลือกเอาสิ่งของในเรือนของผู้ชื่นด้วยแสงสว่างนั้นขโมยไป. บทว่า

เสตฏฐิกา นาม โรคชาติ ความว่า รวงข้าวแม้ออกจากต้นข้าว

ที่ถูกหนอนตัวเล็ก ๆ เจาะถึงกลางก้านก็ไม่อาจถือเอาน้ำนม (คือ

ให้น้ำนม) ได้. บทว่า มญฺเชฏฺกา นามโรคชาติ ได้แก่ ภายใน

ลำต้นอ้อยมีสีแดง.

ก็ด้วยบทว่า มหโต ตฬากสฺส ปฏิกจฺเจว ปาลึ นี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อเขาไม่

พูนคันกั้นสระใหญ่ น้ำสักหน่อยหนึ่งก็ไม่ขังอยู่เลย แต่เมื่อเขา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 554

ปิดไว้ครั้งแรกนั่นแหละ น้ำใดที่ไม่ขังอยู่ เพราะไม่ปิดกั้นเป็นปัจจัย

น้ำแม้นั้นก็พึงขังอยู่ได้ฉันใด. ครุธรรมเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เราบัญญัติเสียก่อน เพื่อประโยชน์จะไม่ให้นางภิกษุณีจงใจล่วง

ละเมิดในเมื่อเรื่องยังไม่เกิดขึ้น เพราะเมื่อเราไม่บัญญัติครุธรรม

เหล่านั้น เพราะมาตุคามบวช พระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้ ๕๐๐ ปี

แต่ครุธรรมที่เราบัญญัติไว้เสียก่อน พระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้

อีก ๕๐๐ ปี รวมความว่าพระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้เพียง ๑,๐๐๐ ปี

ซึ่งได้ตรัสไว้ก่อนดังกล่าวมาฉะนี้.

ก็คำว่า วสฺสสหสฺส นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุ

ปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่ง

ถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี

๑,๐๐๐ โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน

ปฏิเวธสัทธรรมถูกดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้

แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะ

เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรม

ไม่มี ปฏิเวธธรรมไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้ว

เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.

จบ อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 555

๒. โอวาทสูตร

[๑๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ

กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล ท่าน-

พระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประกอบด้วยธรรม

เท่าไรหนอแล สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สอนนางภิกษุณี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุประกอบ

ด้วยธรรม ๘ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้ทูลถามพระผู้มี-

ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็น

พหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ๑ จำปาติโมกข์ทั้ง ๒ ได้โดย

พิสดาร จำแนกแจกแจงวินิจฉัยได้ถูกต้อง ทั้งโดยสูตรและโดย

พยัญชนะ ๑ เป็นผู้มีวาจางามกล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วย

วาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็น

ผู้สามารถเพื่อชี้แจงภิกษุณีสงฆ์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญ

ร่าเริงด้วยธรรมมีกถา ๑ เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของภิกษุณีทั้งหลาย

โดยมาก ๑ ไม่เคยต้องอาบัติหนัก กับนางภิกษุณีผู้บวชอุทิศเฉพาะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ๑ เป็นผู้มีพรรษา ๒๐

หรือเกินกว่า ๑ ดูก่อนอานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ

นี้แล สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้สอนนางภิกษุณี.

จบ โอวาทสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 556

อรรถกถาโอวาทสูตรที่ ๒

โอวาทสูตรที่ ๒ มีวิจฉัยดังต่อไปนี้.

ในบทว่า พหุสฺสุโต นี้ พึงทราบความที่ภิกษุเป็นพหูสูต

ด้วยอำนาจพุทธพจน์แม้ทั้งหมด บทว่า ครุธมฺม ได้ กายสังสัคคะ

การจับต้องกาย. ความสังเขปในสูตรนี้มีเพียงเท่านี้ ส่วนวินิจฉัย

ถึงภิกษุผู้โอวาทนางภิกษุณี พึงทราบโดยนัยดังกล่าวในอรรถกถา

วินัยชื่อว่า สมันตปาสาทิกานั่นแล.

จบอรรถกถาโอวาทสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 557

๓. สังขิตตสูตร

[๑๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏา-

คารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล พระนาง-

ปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน

พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่

หม่อมฉัน ซึ่งหม่อมฉันได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่

อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้ธรรม

เหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อความกำหนด ไม่เป็นไปเพื่อ

ความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อ

พรากสัตว์ออก เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อไม่สั่งสม

กิเลส เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้

มักน้อย เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ

เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นไปเพื่อความสงัด

เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ดูก่อนโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดยส่วนหนึ่งว่า นี้ไม่ใช่ธรรม

ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 558

ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไป

เพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความกำหนัด เป็นไปเพื่อไม่

ประกอบสัตว์ไว้ ไม่เป็นไปเพื่อประกอบสัตว์ไว้ เป็นไปเพื่อไม่

สั่งสมกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อสั่งสมกิเลส เป็นไปเพื่อความเป็นผู้

มักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก เป็นไปเพื่อสันโดษ

ไม่เป็นไปเพื่อไม่สันโดษ เป็นไปเพื่อความสงัด ไม่เป็นไปเพื่อ

ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ไม่เป็น

ไปเพื่อความเกียจคร้าน เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย ไม่เป็น

ไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงยาก ดูก่อนโคตมี ท่านพึงทรงจำไว้โดย

ส่วนหนึ่งว่า นี้เป็นธรรมเป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา.

จบ สังขิตตสูตรที่ ๓

อรรถกถาสัขิตตสูตรที่ ๓

สังขิตตสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สราคาย แปลว่า เพื่อความมีความกำหนัด. บทว่า

วิราคาย แปลว่า เพื่อความคลายกำหนัด. บทว่า สโยคาย ได้แก่

เพื่อประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ. บทว่า วิสโยคาย ความว่า เพื่อ

ความไม่ประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ. บทว่า อาจยาย ได้แก่ เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 559

ความขยายวัฏฏะ. บทว่า โน อปจยาย ได้แก่ ไม่ใช่ เพื่อความ

ขยายวัฏฏะ. บทว่า ทุพฺภรตาย แปลว่า เพื่อความเลี้ยงยาก.

บทว่า โน ทุพฺภรตาย แปลว่า ไม่ใช่เพื่อความเลี้ยงง่าย. ในพระสูตร

นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะด้วยปฐมวาร แต่ในทุติยวาร

ตรัสวิวัฏฏะ. ก็แลพระนางโคตมีบรรลุพระอรหัต ด้วยพระโอวาท

นี้แล.

จบ อรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 560

๔. ทีฆชาณุสูตร

[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคม

แห่งชาวโกลิยะ ชื่อ กักกรปัตตะ ใกล้เมืองโกลิยะ ครั้งนั้นแล

โกลิยบุตร ชื่อทีฆชาณุ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็น

คฤหัสถ์ ยังบริโภคกาม อยู่ครั้งเรือน นอนเบียดบุตร ใช้จันทร์

ในแคว้นกาสี ยังทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดี

เงินและทองอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

โปรดแสดงธรรมที่เหมาะแก่ข้าพระองค์ อันจะพึงเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุข

ในภายหน้าเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔

ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน

แก่กุลบุตร ๔ ประการเป็นไฉนคือ อุฏฐานสัมปทา ๑ อารักขา

สัมปทา ๑ กัลยาณมิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตร

ในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน คือ กสิกรรม

พาณิชยกรรม โครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการ

ฝ่ายพลเรือ หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน

ในการงานนั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 561

ในการงานนั้น สามารถจัดทำได้ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า

อุฏฐานสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็อารักขสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตร

ในโลกนี้ โภคทรัพย์หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสม

ด้วยกำลังแขน เหงื่อโทรมตัว ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เขา

รักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว พร้อมมูล ด้วยทำไว้ในใจว่า

ไฉนหนอ พระราชาไม่พึงริบโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่

พึงลัก ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไม่ ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่

พึงลักไป ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าอารักขสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน กุลบุตร

ในโลกนี้ อยู่อาศัยในฐานหรือนิคมใด ย่อมดำรงตน หรือบุตร

สนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นคฤหบดี หรือบุตร

คฤหบดี เป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ ผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อม

ด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ศึกษาศรัทธาสัมปทาตามผู้ถึง

พร้อมด้วยจาคะ ศึกษาปัญญาสัมปทาตามผู้พึงพร้อมด้วยปัญญา

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่ากัลยาณมิตตตา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็สมชีวิตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

ทางเจริญแห่งทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพ

พอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้

ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือ

รายได้ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่งหรือลูกมือ

คนชั่งตราชั่ง ยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมลดออกเท่านี้ หรือต้องเพิ่ม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 562

เข้าเท่านี้ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญและทาง

เสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ. ไม่ให้ฟูมฟายนัก

ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย

และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ

ถ้ากุลบุตรผู้นี้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างโอ่อ่า จะมีผู้ว่าเขา

ว่า กุลบุตรผู้นี้ใช้โภคทรัพย์เหมือนคนเคี้ยวกินผลมะเดื่อฉะนั้น

ก็ถ้ากุลบุตรผู้ที่มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง จะมีผู้ว่าเขาว่า

กุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างอนาถา แต่เพราะกุลบุตรผู้นี้รู้ทางเจริญ

และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟาย

นัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือ

รายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูก่อน

พยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสมชีวิตา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว

ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลง

สุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง

ทางไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงปิดทางไหลเข้า เปิดทางไหลออก

ของสระนั้น ฝนก็มิตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้ สระน้ำ

ใหญ่นั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียว ไม่มีความเจริญเลย ฉันใด

โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทาง

เสื่อม ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็น

นักเลงการพนัน ๑ มีมิตรชั่ว หลายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 563

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว

ย่อมมีความเจริญ ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็น

นักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลงการพนั้น ๑ มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง

ไหลออก ๔ ทาง บุรุษพึงเปิดทางไหลเข้า ปิดทางไหลออกของสระ

นั้น ทั้งฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้ สระน้ำใหญ่นั้น

พึงหวังความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม ฉันใด โภคทรัพย์ที่เกิด

โดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ

คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลง

การพนัน ๑ มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ

ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุข

ในปัจจุบันแก่กุลบุตร.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์ เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร ธรรม ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ สัทธาสัมปทา ๑ สีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑

ปัญญาสัมปทา ๑.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรใน

โลกนี้มีศรัทธาคือ เพื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้

เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบาน

แล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุพยัคฆปัชชะ สีลสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจาการดื่มน้ำเมา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 564

คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนพยัคฆปัชชะ

นี้เรียกว่าสีลสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

มีจิตปราศจากมลทินคือความตระหนี้ อยู่ครองเรือน มีจาคะอัน

ปล่อยแล้ว มีฝ่ามือชุ่มยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการ

จำแนกทาน ก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าจาคสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรใน

โลกนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิด

และความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทา ดูก่อนพยัคฆปัชชะ

ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุข

ในภายหน้าแก่กุลบุตร.

คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัด

การงานเหมาะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ รักษาทรัพย์

ที่หามาได้ มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ถ้อยคำ

ปราศจากความตระหนี้ ชำระทางสัมปรายิก

ประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้

ของผู้คอบเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้าผู้มี

พระนามอันแท้จริงตรัสว่า นำสุขมาให้ในโลกทั้ง

สอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้และความสุขใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 565

ภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์

ด้วยประการฉะนี้.

จบ ทีฆชาณุสูตรที่ ๔

อรรถกถาทีฆชาณุสูตรที่ ๔

ทีฆชาณุสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า พฺยคฺฆปชฺช นี้ เป็นคำร้องเรียกโกลิยบุตรชื่อทีฆชาณุ

นั้น ด้วยอำนาจประเพณีตั้งชื่อ. จริงอยู่ พรรพบุรุษของโกลิยบุตร

ชื่อทีฆชาณุนั้นเกิดในทางเสือผ่าน เพราะฉะนั้น คนในตระกูลนั้น

เขาจึงเรียกกันว่า พยัคฆปัชชะ บทว่า อิสฺสตฺเถน แปลว่า ด้วยงาน

ของนักรบแม่นธนู. บทว่า ตตฺรุปายาย ความว่า อันเป็นอุบายใน

การงานนั้น เพราะรู้ว่า เวลานี้ควรทำสิ่งนี้. บทว่า วุฑฺฒสีลิโน

แปลว่า ผู้มีศีลอันสมบูรณ์ ผู้มีสมาจารอันหมดจด. บทว่า อาย

แปลว่า การมา. บทว่า นาจฺโจคาฬฺห แปลว่า ไม่เบียดกรอนัก

บทว่า ปริยาทาย ได้แก่. รับมาแล้วใช้จ่ายไป ในข้อนั้น ผู้ใดมีรายได้

เพิ่มขึ้นกว่ารายจ่ายเป็น ๒ เท่า รายจ่ายของผู้นั้นไม่สามารถ

ที่จะทำรายได้ให้หมดไป. (สมดังที่ตรัสไว้ในสิงคาลสูตรว่า)

จตุธา วิภเช โภเค ปณฺฑิโต ฆรมาวส

เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย ทฺวีหิ กมฺม ปโยชเย

จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย อาปทาสุ ภวิสฺสติ

บัณฑิตบุคคลผู้ครองเรือน พึงแบ่งโภค-

ทรัพย์ออกเป็น ๔ ส่วน คือ ส่วนหนึ่งใช้สอย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 566

สองส่วนประกอบการงาน ส่วนที่ ๔ เก็บไว้ ใน

เมื่อมีอันตราย.

ก็เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างนี้ รายจ่ายย่อมไม่อาจจะเหนือรายได้

ไปได้เลย. บทว่า อุทุมฺพรขาทิก ความว่า เมื่อบุคคลประสงค์จะกิน

ผลมะเดื่อ เขย่าต้นมะเดื่อที่มีผลสุก ผลเป็นอันมากหล่นลงมาด้วย

การเขย่าคราวเดียวเท่านั้น เขากินผลที่ควรจะกิน ทิ้งผลเป็นอันมาก

นอกนี้ไปเสีย ฉันใด บุคคลใดสุรุ่ยสุร่าย กระทำรายจ่ายให้มากกว่า

รายได้ บริโภคโภคะ บุคคลนั้นเขาเรียกว่า กินทิ้งกินขว้าง เหมือน

กุลบุตรผู้กินผลมะเดื่อคนนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า อทฺธมาริก

แปลว่า ตายน่าอนาถ. บทว่า สมชีวิก กปฺเปติ แปลว่า เลี้ยงชีพ

อย่างพอดี. บทว่า สมชีวิตา ความว่า เป็นอยู่ด้วยความเป็นอยู่

อันพอดี. บทว่า อปายมุขานิ ได้แก่ ฐานที่ตั้งแห่งความพินาศ.

บทว่า อุฏฺาตา กมฺมเธยฺเยสุ ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยความขยัน

หมั่นเพียร ในฐานะที่กระทำการงาน. บทว่า วิธานวา แปลว่า

ผู้จัดงานเป็น. บทว่า โสตฺถาน สมฺปรายิก ได้แก่ ความสวัสดีอัน

เป็นไปในภายภาคหน้า บทว่า สจฺจนาเมน ความว่า โดยพระนาม

ที่แท้จริงอย่างนี้ว่า เป็นพุทธะ เพราะตรัสรู้นั่นเอง. บทว่า จาโค

ปุญฺ ปวฑฺฒติ ความว่า จาคะและบุญที่เหลือย่อมเจริญ. ในสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศรัทธาเป็นต้นคละกัน.

จบ อรรถกถาทีฆชาณุสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 567

๕. อุชชยสูตร

[๑๔๕] ครั้งนั้นแล อุชชยพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกันพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่าน

การปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ใคร่

จะไปอยู่ต่างถิ่น ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไป

เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุข

ในภายหน้า แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรม ๔

ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในปัจจุบัน

ประการเป็นไฉน คือ อุฏฐานสัมปทา ๑ อารักขสัมปทา ๑ กัลยาณ-

มิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑.

ดูก่อนพราหมณ์ ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

เลี้ยงชีพด้วยความหมั่นประกอบการงาน... ดูก่อนพราหมณ์ นี้

เรียกว่าอุฏฐานสัมปทา.

ดูก่อนพราหมณ์ ก็อารักขสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

มีโภคทรัพย์ที่หามาด้วยความหมั่นเพียร สั่งสมด้วยกำลังแขน...

ดูก่อนพราหมณ์ เรียกว่าอารักขสัมปทา.

ดูก่อนพราหมณ์ ก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด ย่อมดำรงตน เจรจาสนทนากับบุคคล

ในบ้านหรือนิคมนั้น... ดูก่อนพราหมณ์ นี้เรียกว่ากัลยาณมิตตตา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 568

ดูก่อนพราหมณ์ ก็สมชีวิตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

รู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีพ

พอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก... ดูก่อนพราหมณ์

นี้เรียกว่าสมชีวิตา.

ดูก่อนพราหมณ์ โภคทรัพย์ที่เกิดขึ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว

ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง ๑ เป็นนักเลงสุรา ๑

เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑...

ดูก่อนพราหมณ์ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ย่อมมีทาง

เจริญอยู่ ๔ ประการ คือ ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑

ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑... ดูก่อน

พราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อ

ความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร.

ดูก่อนพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร ธรรม ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ ศรัทธาสัมปทา ๑ ศีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑

ปัญญาสัมปทา ๑ ดูก่อนพราหมณ์ ก็ศรัทธาสัมปทาเป็นไฉน

กุลบุตรในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา... นี้เรียกว่าศรัทธาสัมปทา.

ดูก่อนพราหมณ์ ศีลสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา

และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนพราหมณ์ นี้เรียกว่า

ศีลสัมปทา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 569

ดูก่อนพราหมณ์ ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

มีจิตปราศจากความตระหนี่ อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว

มีฝ่ามือชุม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน

ดูก่อนพราหมณ์ นี้เรียกว่าจาคสัมปทา.

ดูก่อนพราหมณ์ ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทา ดูก่อนพราหมณ์

ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข

ในภายหน้าแก่กุลบุตร.

คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัด

การงานเหมาะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ ตามรักษา

ทรัพย์ที่หามาได้ มีศรัทธาถึงพร้อมด้วยศีล รู้ถ้อย

คำ ปราศจากความตระหนี่ ชำระทางสัมปรายิก-

ประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวมา

นี้ ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้า

ผู้มีพระนามอันแท้จริง ตรัสว่า นำสุขมาให้ใน

โลกทั้งสอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้ และสุข

ในภายหน้า บุญคือจาคะนี้ ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์

ด้วยประการฉะนี้.

จบ อุชชยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 570

๖. ภยสูตร

[๑๔๖] ดูก่อภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัย เป็นชื่อของกาม

คำว่า ทุกข์ เป็นชื่อของกาม คำว่า โรค เป็นชื่อของกาม คำว่า

หัวฝี เป็นชื่อของกาม คำว่า ลูกศร เป็นชื่อของกาม คำว่า ความข้อง

เป็นชื่อของกาม คำว่า เปือกตม เป็นชื่อของกาม คำว่า การอยู่

ในครรภ์ เป็นชื่อของกาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไร คำว่า ภัย จึงเป็นชื่อ

ของกาม เพราะบุคคลผู้นี้ยินดีในกามราคะ. พัวพันในฉันทราคะ

ย่อมไม่พ้นไปจากภัยทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายหน้า ฉะนั้น คำว่า

ภัย จึงเป็นชื่อของกาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไรคำว่า ทุกข์ ฯลฯ โรค ฯลฯ

หัวฝี ฯลฯ ลูกศร ฯลฯ ความข้อง ฯลฯ เปือกตม จึงเป็นชื่อของกาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุไรคำว่า การอยู่ในครรภ์

จึงเป็นชื่อของกาม เพราะบุคคลนี้ยินดีในกามราคะ พัวพันใน

ฉันทราคะ ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากการอยู่ในครรภ์ทั้งในปัจจุบัน

ทั้งในภายหน้า ฉะนั้น คำว่า การอยู่ในครรภ์ จึงเป็นชื่อของกาม.

ภัย ทุกข์ โรค หัวฝี ลูกศร ความข้อง

เปือกตม และการอยู่ในครรภ์ นี้เรียกว่ากามที่

ปุถุชนข้องอยู่แล้ว อันกามสุขครอบงำแล้ว ย่อม

ไปเพื่อเกิดในครรภ์อีก ก็เพราะภิกษุมีความเพียร

ยินดีด้วยสัมปชัญญะ ภิกษุเห็นปานนี้นั้น ก้าวล่วง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 571

ทางหมุนเวียนที่ข้ามได้ยากนี้ได้แล้ว ย่อมพิจาร-

ณาเห็นหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงชาติและและชรา ดิ้นรนอยู่

จบ ภยสูตรที่ ๖

อรรถกถาภยสูตรที่ ๖

ภยสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า คพฺโภ ได้แก่ การอยู่ในครรภ์. บทว่า ทิฏฺธมฺมิกาปิ

ได้แก่ ย่อมไม่หลุดพ้น จากครรภ์มนุษย์แม้อีก เช่นการอยู่ในครรภ์

ซึ่งเห็นกันในปัจจุบัน. บทว่า สมฺปรายิกาปิ ได้แก่ จากครรภ์ที่เหลือ

เว้นครรภ์ของพวกมนุษย์.

บทว่า อุภย เอเต กามา ปวุจฺจนฺติ ความว่า ท่านกล่าว

กามเหล่านี้ เป็นคู่กันอย่างนี้ คือ ภัยกับทุกข์ ๑ ภัยกับโรค ๑

ภัยกับหัวฝี ๑ ภัยกับลูกศร ๑ ภัยกับความข้อง ๑ ภัยกับเปือกตม ๑

ภัยกับการอยู่ในครรภ์ ๑. บทว่า สาตรูเป็น ได้แก่ กามสุข. บทว่า

ปลิปถ ได้แก่ ก้าวล่วงทางหมุนเวียนคือวัฏฏะ. ในฐานะนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวิปัสสนา ทรงถือเอาว่า ภิกษุนั้นบรรลุพระ-

อรหัต. จริงอยู่ ทรงพิจารณาหมู่สัตว์เห็นปานนี้ผู้เข้าถึงชาติและ

ชรา ดิ้นรนอยู่ในภพทั้ง ๓ แล. ตรัสวัฏฏะไว้ในพระสูตร ตรัส

วิวัฏฏะไว้ในคาถาทั้งหลายแล.

จบ อรรถกถาภยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 572

๗. ปฐมอาหุเนยยสูตร

[๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม

๘ ประการ เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้

ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ๑ เป็นผู้มี

มิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ๑ เป็นสัมมาทิฏฐิ ประกอบด้วยความ

เห็นชอบ ๑ มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก

ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ย่อม

ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมากคือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ

ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทส

ด้วยประการฉะนี้ ๑ ย่อมเห็นสัตว์ ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์

ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ๑

กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ

อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล

เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบ ปฐมอาหุเนยยสูตร ที่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 573

๘. ทุติยอาหุเนยยสูตร

[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘

ประการ เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ

อื่นยิ่งกว่า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ๑ เป็นผู้

ปรารภความเพียร มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระ

ในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะ

อันสงัด ๑ เป็นผู้อดกลั้นความไม่ยินดีและความยินดี ระงับความ

ไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เป็นผู้อดกลั้นความกลัวต่อภัยเสียได้ ระงับ

ความกลัวต่อภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ มีปกติได้ตามความปรารถนา

ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่อง

อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ฯลฯ เข้าถึงอยู่ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล

เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

จบ ทุติอาหุเนยยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 574

๙. ปฐมอัฏฐปุคคลสูตร

[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ เป็นผู้

ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

๘ จำพวกเป็นไฉน คือ พระโสดาบัน ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ

ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๑ พระสกทาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ

กระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ๑ พระอนาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติ

เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ๑ พระอรหันต์ ๑ ท่านผู้ปฏิบัติ

เพื่ออรหัตผล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล เป็น

ผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

บุคคลผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔

จำพวกนี้เป็นสงฆ์ ผู้ปฏิบัติตรง มีปัญญา มีศีล

และจิตมั่นคง ย่อมกระทำบุญของมนุษย์ผู้เพ่งบุญ

บูชาอยู่ให้มีผลมาก ท่านที่ให้ในสงฆ์ ย่อมมี

ผลมาก.

จบ อัฏฐปุคคลสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมอัฏฐปุคคลสูตรที่ ๙

ปฐมอัฏฐปุคคลสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุชุภูโต ความว่า ชื่อว่าตรง เพราะไม่มีการคด

ทางกายเป็นต้น. บทว่า ปญฺาสีลสมาหิโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 575

ปัญญาและศีล. บทว่า ยชมานาน ได้แก่ ผู้ให้ทาน. บทว่า

ปุเปกฺขาน ได้แก่ ตรวจดู คือแสวงหาบุญ. บทว่า โอปธิก

ได้แก่ มีอุปธิเป็นวิบากอันยิ่งหรือหาประมาณมิได้.

จบอรรถกถาปฐมอัฏฐปุคคลสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 576

๑๐. ทุติยอัฏฐปุคคลสูตร

[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้ เป็นผู้ควร

ของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๘ จำพวก

เป็นไฉน คือ พระโสดาบัน ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง

โสดาปัตติผล ๑ พระสกทาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง

สกทาคามิผล ๑ พระอนาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง

อนาคามิผล ๑ พระอรหันต์ ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตผล ๑ บุคคล

๘ จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งกว่า.

ผู้ปฏิบัติ ๔ จำพวก ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔

จำพวก สงฆ์นี้คือ บุคคล ๘ จำพวก เป็นผู้สูงสุด

กว่าสัตว์ทั้งหลาย ย่อมกระทำบุญของมนุษย์ผู้

เพ่งบุญบูชาอยู่ให้มีผลมาก ทานที่ให้ในสงฆ์นี้

ย่อมมีผลมาก.

จบ อังฏฐปุคคลสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาทุติยอัฏฐปุคคลสูตร

ทุติยอัฏฐปุคคลสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมุกฺกฏฺโ แปลว่า อุตกฤษฏ์ คือสูงสุด. บทว่า

สตฺตาน ได้แก่ แห่งสัตว์ทั้งปวง. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ง่าย

ทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาทุติยอัฏฐกปุคคลสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 577

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โคตมีสูตร ๒. โอวาทสูตร ๓. สังขิตตสูตร ๔. ทีฆชาณุ-

สูตร ๕. อุชชยสูตร ๖. ภยสูตร ๗. ปฐมอาหุเยยสูตร ๘. ทุติย-

อาหุเนยยสูตร ๙. ปฐมอัฏฐปุคคลสูตร ๑๐. ทุติอัฏฐปุคคลสูตร.

จบ สันธานวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 578

จาลวรรคที่ ๒

๑. อิจฉาสูตร

[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกมีปรากฏ

อยู่ในโลก ๘ จำพวกเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้ติดต่อเนื่องกันไป ย่อม

เกิดความปรารถนาลาภ เธอย่อมหมั่นเพียร พยายามเพื่อจะได้ลาภ

เมื่อเชื่อหมั่นเพียรพยายามเพื่อที่จะได้ลาภ ลาภไม่เกิดขึ้น เธอ

ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไรทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล

เพราะไม่ได้ลาภนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้ปรารถนา

ลาภ หมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้ลาภ แต่ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก

ร่ำไร และเคลื่อนจากสัทธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐาน

ให้ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาลาภ เธอย่อมหมั่น

เพียรพยายามเพื่อจะได้ลาภ เมื่อเธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้

ลาภ ลาภเกิดขึ้น เธอย่อมหัวเมาถึงความประมาทเพราะลาภนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ ย่อม

หมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้ลาภ ได้ลาภแล้ว มัวเมา ประมาท

และเคลื่อนจากสัทธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐาน

ให้ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาลาภ เธอไม่หมั่นเพียร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 579

พยายามเพื่อจะได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้ลาภ

ลาภไม่เกิดขึ้น เธอย่อมเศร้าโศก ลำบากร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ

ถึงความหลงใหลเพราะไม่ได้ลาภนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้

เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้ลาภ

ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก ร่ำไร และเคลื่อนจากสัทธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐาน

ให้ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาลาภ เธอไม่หมั่นเพียร

พยายามเพื่อจะได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้ลาภ

ลาภเกิดขึ้น เธอย่อมมัวเมาถึงประมาทเพราะลาภนั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียร

พยายามเพื่อจะได้ลาภ ได้ลาภแล้ว มัวเมา ประมาท และเคลื่อนจาก

สัทธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐาน

ให้ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาลาภ เธอหมั่นเพียร

พยายามเพื่อจะได้ลาภ เมื่อเธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้ลาภ

ลาภไม่เกิดขึ้น เธอไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก

คร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลเพราะไม่ได้ลาภนั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ หมั่นเพียรพยายาม

เพื่อจะได้ลาภ ไม่ได้ลาภแล้ว ไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อน

จากสัทธรรม.

อนึ่ง ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชองสงัด ไม่เจริญกรรมฐาน

ให้ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาลาภ เธอหมั่นเพียร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 580

พยายามเพื่อจะได้ลาภ เมื่อเธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้ลาภ

ลาภเกิดขึ้น เธอไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาทเพราะได้ลาภนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ ย่อม

หมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้ลาภ ได้ลาภแล้ว ก็ไม่มัวเมาประมาท

และไม่เคลื่อนจากสัทธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐาน

ให้ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาลาภ เธอไม่หมั่นเพียร

พยายามเพื่อจะได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้ลาภ

ลาภไม่เกิดขึ้น เธอไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำเพียร

ไม่ถึงความหลงใหลเพราะไม่ได้ลาภนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

นี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้

ลาภ ไม่ได้ลาภแล้ว ไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อนจาก

สัทธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐาน

ให้ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาลาภ เธอไม่หมั่นเพียร

พยายามเพื่อจะได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อจะได้ลาภ

ลาภเกิดขึ้น เธอไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาทเพราะได้ลาภนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ ไม่

หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ได้ลาภแล้ว ไม่มัวเมาประมาท

และไม่เคลื่อนจากสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวก

นี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบ อิจฉาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 581

จาลวรรคที่ ๒

อรรถกถาอิจฉาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๗ อิจฉาสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปวิวิตฺตสฺส ได้แก่ สงัดแล้วด้วยกายวิเวก. บทว่า

นิรายตฺตวุตฺติโน ได้แก่ ผู้มีวิปัสสนากรรมไม่เป็นไปเนื่องกันใน

อารมณ์ไหน ๆ . บทว่า ลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ปัจจัย ๔. บทว่า

โสจิ จ ปริเทวิ จ แปลว่า ความเศร้าโศกและความรำพัน. บาลีว่า

โสจิจฺจ ปริเทวิจฺจ ดังนี้ก็มี. บทว่า จุโต จ สทฺธมฺมา ได้แก่ เคลื่อน

จากพระสัทธรรมคือวิปัสสนาในขณะนั้นนั่นเอง. ในพระสูตรนี้ตรัส

ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

จบ อรรถกถาอิจฉาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 582

๒. ปฐมอลังสูตร

[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖

ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตน

และผู้อื่น ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑

เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม

ที่ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของ

ชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจ้ง

สพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้

สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น.

จบ ปฐมอลังสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 583

๓. ทุติยอลังสูตร

[๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตน

และผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีความเข้าใจได้เร็วในอกุศลธรรมทั้งหลาย

แต่เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม

ที่ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของ

ชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชีแจง

สพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้

สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น.

จบ ทุติยอลังสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 584

๔. ตติยอลังสูาตร

[๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน

แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๔

ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น

ผู้มีความเข้าใจได้เร็วในอกุลศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรม

ที่ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถ

รู้ธรรมตัวปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็นผู้มีวาจางาม

กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย

ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ หาชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้

สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

แก่ผู้อื่น.

จบ อลังสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 585

๕. จตุตถอลังสูตร

[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ เป็นผู้สมารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น

แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม

๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น

ผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรม

ที่ได้ฟังแล้ว ๑ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ฟังแล้ว

และหารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้

มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง

อันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารี

ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้สมารถในอัน

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอัน

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน.

จบ จตุตถอลังสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 586

๖. ปัญจมอลังสูตร

[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓

ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน

แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น

ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เป็นผู้

ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำ

แล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็น

ผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง

อันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ และหาชี้แจงสพรหมจารี

ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สมารถในอัน

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่เป็นผู้สมารถในอันปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น.

จบ ปัญจมอลังสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 587

๗. ฉัฏฐอลังสูตร

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓

ประการ เป็นผู้สมารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น

แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม

๓ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เป็นผู้ทรงจำ

ธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว

หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจา

งาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน

สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้

ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สมารถในอันปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน.

จบ ฉักกอลังสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 588

๘. สัตตมอลังสูตร

[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒

ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน

แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น

ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็น

ผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรง

จำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

หาเป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของ

ชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ ไม่ชี้แจง

สพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็น

ผู้สมารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถ

ในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น.

จบ สัตตกอลังสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 589

๙. อัฏฐมอลังสูตร

[๑๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒

ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น

แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม

๒ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ไม่เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ทรงจำ

ธรรมที่ได้ฟังแล้ว ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว

หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ แต่เป็นผู้มี

วาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน

สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ

ด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลแก่ตน.

จบ อัฏฐมอลังสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 590

อรรถกถาอลังสูตรที่ ๒

อลังคสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อล อตฺตโน อล ปเรส ความว่า ภิกษุเป็นผู้สามารถ

คืออาจ ได้แก่ ผู้สมควรในการปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลทั้งแก่ตน

และแก่คนอื่น. บทว่า ขิปฺปนิสนฺติ ความว่า ภิกษุย่อมทรงจำได้เร็ว

อธิบายว่า เมื่อเขากล่าวถึงขันธ์ ธาตุ และอายตนะเป็นต้น ย่อมรู้

ธรรมเหล่านั้นได้ฉับพลัน. ในพระสูตรนี้ตรัสสมถะและวิปัสสนา.

แต่คำนี้ตรัสตั้งแต่เบื้องสูงลงมาเบื้องต่ำ ด้วยอัธยาศัยของบุคคล

และด้วยความงดงามแห่งเทศนาแล.

จบ อรรถกถาอลังสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 591

๑๐ สังขิตตสูตร

[๑๖๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์

ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มี

ความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้

ย่อมเชื้อเชิญเราโดยหาเหตุมิได้ เมื่อเรากล่าวธรรมแล้ว ย่อมสำคัญ

เราว่าควรติดตาม ด้วยคิดว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้-

มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคต

โปรดแสดงธรรมโดยย่อ ไฉนหนอเราพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไฉนหนอเราพึงเป็นทายาทแห่งภาษิต

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้นแหละภิกษุ เธอพึงศึกษา

อย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และธรรม

อันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้วจักไม่ครอบงำจิตได้ ดูก่อนภิกษุ

เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น

ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้น

๑. อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 592

แล้วไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ

กระทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง

ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว ดูก่อนภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล

ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญกระทำให้มากซึ่งสมาธินี้อย่างนี้แล้ว

เมื่อนั้น เธอพึงเจริญสมาธินี้แม้มีวิตกวิจาร พึงเจริญสมาธินี้แม้มี

ปีติ พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีปีติ พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วย

ความสำราญ พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยอุเบกขา ดูก่อนภิกษุ

เมื่อใด เธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น เธอพึงศึกษา

อย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทำให้มากซึ่งกรุณาเจโตวิมุติ ฯลฯ

มุทิตาเจโตวิมุติ ฯลฯ เราจักเจริญกระทำให้มาซึ่งอุเบกขาเจโต-

วิมุติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภ

ดีแล้ว ดูก่อนภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด

เธอเจริญกระทำให้มากซึ่งสมาธินี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอพึง

เจริญสมาธินี้แม้มีวิตก มีวิจาร... พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วย

อุเบกขา ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว

เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักพิจารณากายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก

เสีย ดูก่อนภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอ

เจริญกระทำให้มากซึ่งสมาธินี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอพึงเจริญ

สมาธินี้แม้มีวิตก มีวิจาร... เธอพึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วย

อุเบกขา ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้เจริญดีแล้ว

เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักพิจารณาเวทนาในเวทนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 593

ทั้งหลายอยู่ ฯลฯ พิจารณาจิตในจิต ฯลฯ พิจารณาธรรมในธรรม

ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ

เมื่อใด เธอเจริญกระทำให้มากซึ่งสมาธินี้อย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เธอ

พึงเจริญสมาธินี้แม้มีวิตก ไม่มีวิจาร พึงเจริญสมาธินี้แม้มีปีติ

พึงเจริญสมาธินี้แม้ไม่มีปีติ พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยความ

สำราญ พึงเจริญสมาธินี้แม้สหรคตด้วยอุเบกขา ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด

เธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น เธอจักเดินไปทางใด ๆ

ก็จักเดินเป็นสุขในทางนั้น ๆ ยืนอยู่ในที่ใด ๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้น ๆ

นั่งอยู่ในที่ใด ๆ ก็จักนั่งอยู่เป็นสุขในที่นั้น ๆ นอนอยู่ในที่ใด ๆ

ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้น ๆ.

ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วย

พระโอวาทนี้แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีระภาคเจ้า

กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ภิกษุนั้นหลีกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่

ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้ง

ซึ่งที่สุด แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรออกบวชเป็น

บรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้า

ถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ละภิกษุรูปนั้น

ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ สังขิตตสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 594

อรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๓

สังขิตตสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอวเมว ได้แก่ โดยไม่มีเหตุเลย. อีกอย่างหนึ่ง โดย

ประการที่ภิกษุนี้อ้อนวอนนั่นแหละ. บทว่า โมฆปริสา ได้แก่

บุรุษผู้หลง บุรุษเปล่า. บทว่า อชฺเฌสนฺติ แปลว่า ย่อมอ้อนวอน

บทว่า อนุพนฺธิตพฺพ ได้แก่ พึงติดตามด้วยการติดตาม อิริยาบท.

บทว่า มญฺนฺติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขู่ เพื่อให้เกิด

ความเอื้อเฟื้อ จึงตรัสอย่างนั้น.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้น แม้เมื่อประทานโอวาทให้แล้ว ก็ประกอบ

เนื่อง ๆ แต่ความประมาทเท่านั้น ฟังธรรมแล้วก็อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ

ไม่ปรารถนาจะบำเพ็ญสมณธรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงขู่เธออย่างนี้แล้ว แต่เพราะเหตุที่เธอสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย

แห่งพระอรหัต ฉะนั้น เมื่อจะทรงโอวาทเธออีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า

เพราะเหตุนั้นแหละ. ภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ ดังนี้. ในคำนั้น

ตรัสมูลสมาธิอันพอที่จิตเป็นเอกัคคตา ด้วยอำนาจจิตที่เป็นไป

ในภายในแก่เธอด้วยพระโอวาทนี้ก่อนว่า จิตของเราตั้งมั่นแล้ว

ในภายใน จักเป็นจิตตั้งมั่นด้วยดี และอกุศลบาปธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

จักไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ แต่นั้น เพื่อจะทรงแสดงว่า เธอยังไม่ควร

พอใจด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พึงเจริญสมาธินั้นอย่างนี้ จึงให้ภิกษุนั้น

เจริญภาวนาด้วยอำนาจเมตตาอย่างนี้ว่า เมื่อใดแลภิกษุ จิตของเธอ

ตั้งมั่นแล้วในภายใน เป็นจิตดำรงมั่นด้วยดีแล้ว และอกุศลบาปธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 595

ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เมื่อนั้นภิกษุ เธอพึงศึกษา

อย่างนี้ว่า เมตตาเจโตวิมุติจักเป็นอันเราอบรมแล้ว ฯลฯ ปรารภดีแล้ว

ดังนี้ตัวจึงตรัสอีกเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อใดสมาธินี้เป็นอันเธอ

อบรมแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธอพึงเจริญ

สมาธินี้ ทั้งที่มีวิตก ทั้งที่มีวิจาร. พึงทราบความแห่งคำนั้นดังต่อไป

นี้:- ดูก่อนภิกษุ เมื่อใดมูลสมาธินี้เป็นอันเธออบรมแล้วด้วยอำนาจ

เมตตาอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอเมื่อไม่ยินดีแม้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้น

เมื่อจะทำมูลสมาธินั้นให้ถึงฌานหมวด ๔ ฌานหมวด ๕ ในอารมณ์

แม้เหล่าอื่น พึงเจริญโดยนัยมีอาทิว่า สวิตกฺก์ สวิจาร ดังนี้.

ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงแม้พรหมวิหาร

ที่เหลือเป็นเบื้องหน้าแก่เธอว่า เธอพึงกระทำการอบรมฌานหมวด

๔ หมวด ๕ ในอารมณ์เหล่าอื่น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ

เมื่อใดแล สมาธินี้เป็นอันเธออบรมแล้ว อบรมดีแล้วอย่างนี้ ก่อน

ภิกษุ เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กรุณาเจโตวิมุติจักเป็นอันเรา

เจริญแล้ว. ครั้นแล้วทรงแสดงการเจริญฌานหมวด ๔ หมวด ๕ ซึ่งมี

เมตตาเป็นต้น เป็นหัวหน้าอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงกายานุปัสสนา

เป็นต้นเป็นตัวนำอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ เนื้อใดแล

สมาธินี้เป็นอันเธออบรมแล้ว อบรมดีแล้วอย่างนี้ ดูก่อนเมื่อนั้นภิกษุ

เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราพิจารณาเนือง ๆ เห็นกายในกายอยู่ดังนี้แล้ว

จึงตรัสคำมีอาทิว่า เมื่อใดแลภิกษุ สมาธินี้เป็นอันเธออบรมแล้ว

อบรมดีแล้วอย่างนี้ ภิกษุเมื่อนั้น เธอจักเดินไปโดยอิริยาบถใด ๆ

เธอก็จักเดินไปอย่างผาสุก โดยอิริยาบถนั้น ๆ นั่นแล. บรรดาบท

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 596

เหล่านั้น บทว่า ตคฺฆสิ แปลว่า จักไป. ด้วยบทว่า ผาสุเยว นี้ทรง

แสดงพระอรหัต. จริงอยู่ ท่านผู้บรรลุพระอรหัต ชื่อว่าย่อมอยู่ผาสุก

ในทุกอิริยาบถ.

จบ อรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๓

๑.นับอิจฉาสูตรเป็น ๑ นับอลังสูตรทั้งหมดเป็น ๒ จึงนับสังขิตตสูตรเป็นที่ ๓ นี้โดยอรรถกถานัย

ส่วนปาลินัย นับเรียงลำดับ สังขิตตสูตรจึงเป็นที่ ๑๐.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 597

๑๑. คยาสูตร

[๑๖๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ คยาสีส-

ประเทศ ใกล้ฝั่งแม่น้ำคยา ณ ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังมิได้ตรัสรู้ ยังเป็น

พระโพธิสัตว์อยู่ เราจำได้แม้ซึ่งโอภาส แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย เรา

จึงมีความคิดดังนี้ว่า ถ้าเราพึงจำได้แม้ซึ่งโอภาส และพึงเห็นรูป

ทั้งหลายด้วยอาการนี้ว่า ญาณทัสสนะนี้ของเราก็จะพึงบริสุทธิ์

กว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มี

ความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมจำได้ซึ่งโอภาส และเห็นรูปทั้งหลาย

แต่เราไม่ได้ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น เราจึงมีความคิด

ดังนี้ว่า ถ้าเราจำโอภาสได้ เห็นรูปทั้งหลาย และยืนเจรจาปราศรัย

กับเทวดาเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะนี้ ของเราก็

จะพึงบริสุทธิ์ดีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้

ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ย่อมจำได้ซึ่งโอภาส

เห็นรูปทั้งหลาย และได้ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น แต่

ไม่รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายชั้นโน้น

หรือชั้นโน้น เรานั้นจึงคิดเห็นต่อไปว่า หากเราพึงจำโอภาส เห็นรูป

ทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดา

เหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกายชั้นโน้นหรือชั้นโน้น

ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะนี้ของเราก็จะพึงบริสุทธิ์ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 598

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ย่อมจำได้ซึ่งโอภาส เห็นรูปทั้งหลายยืนเจรจา

ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น และรู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า เทวดา

เหล่านั้นมาจากเทพนิกายชั้นโน้นหรือชั้นโน้น แต่ก็ยังไม่รู้เทวดา

เหล่านั้นว่า ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้เคลื่อนจากชั้นนี้แล้ว

ไปเกิดในชั้นนั้น ถึงจะรู้เทวดาเหล่านั้นว่า ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้

เทวดาเหล่านี้เคลื่อนจากชั้นนี้แล้วไปเกิดในชั้นนั้น แต่ก็ไม่รู้เทวดา

เหล่านั้นว่า ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้

เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ ถึงจะรู้เทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านั้น

มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ ตั้งอยู่นานอย่างนี้ แต่ก็

ว่า เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ตั้งอยู่นานอย่างนี้ ถึงจะรู้เทวดา

เหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ตั้งอยู่นานอย่างนี้ แต่ว่า

ไม่รู้เทวดาเหล่านั้นว่า เราเคยอยู่ร่วมหรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดา

เหล่านี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงคิดเห็นดังนี้ว่า หากเราพึงจำ

โอภาส เห็นรูปทั้งหลาย ยืนเจรจาปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น พึงรู้จัก

เทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มาจากเทพนิกาชั้นโน้นหรือชั้นโน้น

พึงรู้เทวดาเหล่านั้นว่า ด้วยวิบากแห่งกรรมนี้ เทวดาเหล่านี้เคลื่อน

จากชั้นนี้แล้วไปเกิดในชั้นนั้น พึงรู้เทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้

มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้ พึงรู้เทวดาเหล่านั้นว่า

เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ตั้งอยู่นานอย่างนี้ และพึงรู้เทวดา

เหล่านั้นว่า เราเคยอยู่ร่วมหรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่านี้

ด้วยอาการอย่างนี้ ญาณทัสสนะนี้ของเรา พึงบริสุทธิ์ดีกว่า ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 599

ภิกษุทั้งหลาย สมัยต่อมา เรานั้นเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีใจเด็ดเดี่ยว. ย่อมจำโอภาสได้ เห็นรูปทั้งหลายยืนเจรจาปราศรัย

กับเทวดาเหล่านั้น รู้จักเทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มาจาก

เทพนิกายชั้นโน้นหรือชั้นโน้น รู้เทวดาเหล่านั้นว่าด้วยวิบากแห่ง

กรรมนี้ เทวดาเหล่านี้เคลื่อนจากชั้นนี้แล้วไปเกิดในชั้นนั้น รู้เทวดา

เหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนี้

รู้เทวดาเหล่านั้นว่า เทวดาเหล่านี้มีอายุยืนอย่างนี้ ตั้งอยู่นานอย่างนี้

และรู้เทวดาเหล่านั้นว่า เราเคยอยู่ร่วมหรือไม่เคยอยู่ร่วมกับเทวดา

เหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะอันประเสริฐยิ่ง เวียน ๘

รอบอย่างนี้ของเรายังไม่บริสุทธิ์ เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า

ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

เพียงนั้น แต่เมื่อใด ญาณทัสสนะอันประเสริฐยิ่ง เวียน ๘ รอบ

อย่างนี้ขจองเราบริสุทธิ์ดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้

อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แลญาณ-

ทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มี

ในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ต่อไปไม่มี.

จบ คยาสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 600

อรรถกถาคยาสูตรที่ ๔

คยาสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า เพื่อจะตรัสบอกวิตกที่เกิดขึ้น ณ

ที่ทำความเพียรของตนแก่ภิกษุสงฆ์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุพฺพาห

ภิกฺขเว. บทว่า โอกาส ได้แก่ แสงสว่างแหงทิพยจักขุญาณ. บทว่า

ญาณทสฺสน ได้แก่ ทัสสนะกล่าวคือ ญาณอันเป็นทิพยจักษุ.

บทว่า สนฺนิวุฏฺปุพฺพ แปลว่า เคยอยู่ร่วมกัน. แต่ในพระสูตรนี้

ญาณ ๘ นี้เท่านั้นมาเฉพาะในพระบาลีก่อน คือ ทิพยจักขุญาณ

อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ

ปัจจุปปันนังสญาณ อตีตังสญาณ ปุพเพนิวาสญาณ. แต่ตรัสรวม

ญาณ ๘ นั้น ย่อมเป็นอันชื่อว่าตรัสพระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาคยาสีสสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 601

๑๒. อภิภายตนสูตร

[๑๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็นเครื่องครอบงำ ๘

ประการนี้ ประการเป็นไฉน คือ คนหนึ่งมีรูปสัญญาในภายใน

เห็นรูปในภายนอกเล็กน้อย ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม

ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น

นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำประการที่ ๑ คนหนึ่งมีรูปสัญญาในภายใน

เห็นรูปในภายนอกได้ไม่มีประมาณ ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณ

ทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว

จึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเครื่องครอบงำประการที่ ๒ คนหนึ่งมีอรูปสัญญา

ในภายใน เป็นรูปในภายนอกได้เล็กน้อย ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมี

ผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูป

เหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำประการที่ ๓

คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกได้ไม่มีประมาณ

ทั้งมีผิวพรรณดี ทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า

เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำ

ประการที่ ๔ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกเขียว

มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า

เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรูจึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำ

ประการที่ ๕ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอก

เหลือง มีสีเหลือง รัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ย่อมมีความสำคัญ

อย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 602

ครอบงำประการที่ ๖ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปใน

ภายนอกแดง มีสีแดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง ย่อมมีความสำคัญ

อย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่อง

ครอบงำประการที่ ๗ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปใน

ภายนอกขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่างขาว ย่อมมีความสำคัญว่า

เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น นี้เป็นเหตุเครื่องครอบงำ

ประการที่ ๘ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็นเครื่องครอบงำ ๘

ประการนี้แล.

จบ อภิภายตนสูตรที่ ๑๒

อรรถกถาอภิภายตนสูตรที่ ๕

อภิภายตสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิภายตนานิ แปลว่า เหตุแห่งการครอบงำ. ครอบงำ

อะไร ? ครอบงำธรรมอันเป็นข้าศึกบ้าง อารมณ์บ้าง. จริงอยู่

เหตุแห่งการครอบงำเหล่านั้น ย่อมครอบงำธรรมอันเป็นข้าศึก

โดยภาวะเป็นปฏิปักษ์ ครอบงำอารมณ์โดยภาระที่บุคคลมีญาณ

สูงยิ่งขึ้นไป. ก็ในคำว่า อชฺฌตฺต รูปสญฺี ดังนี้เป็นต้น

ย่อมชื่อว่าเป็นผู้กำหนดรูปภายใน ด้วยอำนาจบริกรรมรูปภายใน.

จริงอยู่ ภิกษุเมื่อกระทำบริกรรมนีลกสิณในภายใน ย่อมกระทำ

ที่ผมที่ดี หรือที่ดวงตา. เมื่อกระทำบริกรรมปีตกสิณ ย่อมกระทำ

ที่มันข้น ที่ผิวหนัง ที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า หรือที่ตำแหน่งสีเหลืองของ

ดวงตา. เมื่อจะกระทำบริกรรมโลหิตกสิณ ย่อมกระทำที่เนื้อ ที่โลหิต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 603

ที่ลิ้น หรือที่ตำแหน่งที่มีสีแดงของดวงตา. เมื่อจะกระทำบริกรรม

โอทาตกสิณ ย่อมกระทำที่กระดูก ที่ฟัน ที่เล็บ หรือที่ตำแหน่ง

ที่มีสีขาวแห่งดวงตา. ก็สีนั้นเขียวสนิท เหลืองสนิท แดงสนิท

ขาวสนิท ก็หาไม่ เป็นสีไม่บริสุทธิ์ทั้งนั้น.

บทว่า เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า บริกรรมอัน

หนึ่งของภิกษุใด เกิดขึ้นในภายใน แต่นิมิตเกิดภายนอก ภิกษุ

นั้นชื่อว่ากำหนดรูปภายใน ด้วยอำนาจบริกรรมภายใน และอัปปนา

ภายนอก เรียกว่า เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ แปลว่า รูปีบุคคล

ผู้ได้รูปฌานผู้หนึ่ง ย่อมเห็นรูปภายนอก. บทว่า ปริตฺตานิ ได้แก่

ไม่ขยาย. บทว่า สุวณฺณานิ ทุพฺพณฺณานิ แปลว่า มีวรรณะดีหรือ

วรรณะเลว. พึงทราบว่าตรัสอภิภายตนะนี้ ด้วยอำนาจปริตตารมณ์

นั่นเอง. บทว่า ตานิ อภิภุยฺย ความว่า คนผู้มีไฟธาตุดี ได้อาหาร

เพียงทัพพีเดียว คิดว่าจะมีประโยชน์อะไรที่จะพึงกินในอาหารนี้

จึงรวบมาทำให้เป็นคำเดียวกัน ฉันใด บุคคลมีญาณสูง มีญาณ

แก่กล้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นด้วยคิดว่า จะมี

ประโยชน์อะไรที่ เราจะพึงเข้าสมบัติในปริตตารมณ์นี้ นี้ไม่เป็น

ความหนักใจสำหรับเรา ดังนี้แล้วจึงเข้าสมาบัติ อธิบายว่า ภิกษุ

นั้นย่อมถึงอัปปนาในอารมณ์นี้ พร้อมกับทำนิมิตให้เกิดขึ้นนั่นแหละ.

ก็ด้วยบทว่า ชานานิ ปสฺสานิ นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึง

ความผูกใจของภิกษุ ก็แหละความผูกใจนั้นแล ย่อมมีแก่ภิกษุผู้

ออกจากสมบัติ ไม่ใช่มีในภายในสมาบัติ. บทว่า เอวสญฺี โหติ

ความว่า เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ ด้วยอาโภคสัญญาบ้าง ด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 604

ฌานสัญญาบ้าง. เพราะอภิภวนสัญญา สัญญาในการครอบงำ

ย่อมมีแก่เธอแม้ในภายในสมาบัติ แต่อาโภคสัญญา สัญญาในการ

ผูกใจ ย่อมมีแก่เธอผู้ออกจากสมาบัติเท่านั้น.

อปฺปมาณานิ ได้แก่ ขยายขนาดออกไปไม่จำกัด อธิบายว่า

ใหญ่. ก็ในคำว่า อภิภุยฺย นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- บุคคลกินจุได้

อาหารเพิ่มขึ้นอย่างหนึ่ง จึงกล่าวว่า แม้สิ่งอื่น ๆ ก็เอามาเถิด ๆ

นั่นจักทำอะไรแก่เราได้ ไม่เห็นอาหารนั้นเป็นของมาก ฉันใด

บุคคลผู้มีญาณสูง มีญาณแก่กล้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูป

เหล่านั้นด้วยคิดว่า ประโยชน์อะไรที่เราจะพึงเข้าสมาบัติในอารมณ์

นี้ นี้ไม่เป็นประมาณ. ในการทำจิตให้เป็นเอกัคคตา ไม่หนักใจแก่

เราเลย ดังนี้แล้ว จึงเข้าสมาบัติ อธิบายว่า ทำจิตให้ถึงอัปปนาใน

อารมณ์นี้ พร้อมกับทำนิมิตให้เกิดขึ้นนั่นแหละ. บทว่า อชฺฌตฺต

อรูปสญฺี ความว่า เว้นจากบริกรรมสัญญาในรูปภายใน เพราะ

ไม่ได้รูปหรือเพราะไม่ต้องการรูป

บทว่า เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปฺสฺสติ ความว่า บริกรรมก็ดี

นิมิทก็ดี ของผู้ได้เกิดในภายนอก ผู้นั้นมีความกำหนดอรูปภายใน

ด้วยอำนาจบริกรรม และอัปปนาในภายนอกอย่างนี้ ตรัสเรียกว่า

เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ผู้หนึ่ง ย่อมเห็นรูปภายนอก. คำที่เหลือ

ในพระสูตรนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในอภิภายตนะที่ ๔ นั่นแหละ.

ก็ในอารมณ์ทั้ง ๔ นี้ ปริตตารมณ์ มาแล้วด้วยอำนาจวิตกจริต

อัปปมาณารมณ์ มาแล้วด้วยอำนาจโมหจริต อารมณ์ที่มีพรรณะดี

มาแล้วด้วยอำนาจโทสจริต อารมณ์ที่มีพรรณะทรามมาแล้วด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 605

อำนาจราคจริต. เพราะอารมณ์เหล่านี้ เป็นสัปปายะของจริต

เหล่านั้น. ก็ความที่อารมณ์เหล่านั้นเป็นสัปปายะนั้น ได้กล่าวแล้ว

ในตริยนิเทศในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

ในอภิภายตนะที่ ๕ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า นีลานิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำจาจ รวม

เอาสีทั้งหมด. บทว่า นีลวณฺณานิ ตรัสด้วยอำนาจวรรณะ (คือสี).

บทว่า นีลนิทสฺสนานิ ตรัสด้วยอำจาจเห็นรูปสีเขียว. ท่านอธิบาย

ไว้ว่า รูปมีสีไม่เจือกัน ไม่ปรากฏช่อง ปรากฏมีสีเขียวเป็นอันเดียวกัน

ก็บทว่า นีลนิภาสานิ นี้ ตรัสด้วยโอภาสแสง อธิบายว่า แสงมีสีเขียว

คือประกอบด้วยแสงสีเขียว. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงว่าสีเหล่านั้นเป็นสีบริสุทธิ์ด้วยดี. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอภิภายตนะทั้ง ๔ นี้ ด้วยอำนาจสีที่บริสุทธิ์เท่านั้น. ก็ในกสิณ

เหล่านี้ การกสิณ การบริกรรม และวิธีอัปปนา มีอาทิว่า พระ-

โยคีเมื่อกำหนดนีลกสิณ ย่อมกำหนดนิมิตในสีเขียว ที่ดอกไม้

ที่ผ้า หรือที่วรรณธาตุ ธาตุสี ดังนี้ ทั้งหมดได้กล่าวไว้พิสดารแล้ว

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล.

จบ อรรถกถาอภิภายตนสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 606

๑๓. วิโมกขสูตร

[๑๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ประการนี้ ๘ ประการ

เป็นไฉน คือ บุคคลผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์

ประการนี้ ๑ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย

ในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๒ คนที่น้อมใจว่า งาม นี้เป็น

วิโมกข์ประการที่ ๓ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง

เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ

อากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด นี้เป็น

วิโมกข์ประการที่ ๔ เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนะโดย

ประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณ

ไม่มีที่สุด นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๕ เพราะล่วงวิญญาสัญจายตนะ

โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญาตนะ โดยมนสิการว่า

ไม่มีอะไรหน่อยหนึ่ง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๖ เพราะล่วงอากิญ-

จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ

นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ ๗ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ นี้เป็นวิโมกข์ประการ

ที่ ๘ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ประการนี้แล.

จบ วิโมกขสูตรที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 607

อรรถกถาวิโมกขสูตรที่ ๖

วิโมกขสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า วิโมกฺขา ความว่า ชื่อว่าวิโมกข์เพราะสภาวะอะไร

เพราะสภาวะที่พ้นยิ่ง. ก็คือว่า สภาวะที่พ้นยิ่ง นี้คืออะไร ? คือ

สภาวะที่พ้นยิ่ง ด้วยดีจากธรรมอันเป็นข้าศึก และสภาวะที่พ้นยิ่ง

ด้วยดี จากอำนาจความยินดียิ่งในอารมณ์. ท่านอธิบายไว้ว่า ความ

เป็นไปในอารมณ์ เพราะสภาวะที่ปราศจากความระแวงสงสัย โดย

ความไม่ยึดมั่น เหมือนทารกนอนปล่อยตัวบนตักบิดา ฉะนั้น. แต่

ความหมายนี้ ไม่มีในวิโมกข์หลัง มีในวิโมกข์ก่อนทั้งหมด.

ในบทว่า รูปี รูปนานิ ปสฺสติ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- รูปคือ

รูปฌานที่ให้เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจ นีลกสิณเป็นต้น ในอารมณ์

ทั้งหลายมีผมเป็นต้นในภายใน รูปฌานนั้นมีแก่ภิกษุนั้น เหตุนั้น

ภิกษุนั้น ชื่อว่ารูปี ผู้มีรูปฌาน. บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ

ความว่า ภิกษุผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป มีนิลกสิณเป็นต้น แม้ที่มี

ในภายนอกด้วยฌานจักษุ ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

รูปาวจรฌานทั้ง ๔ ของบุคคลผู้ให้ฌานเกิดในกสิณทั้งหลาย อัน

มีที่ตั้งทั้งภายในและภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺต อรูปสญฺี ความว่า

ผู้ไม่กำหนดรูปในภายใน อธิบายว่า ไม่ให้รูปาวจรฌานเกิดขึ้น

ในอารมณ์มีผมเป็นต้นของตน. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงรูปาวจรฌานของบุคคลผู้กระทำบริกรรมในภายนอกแล้ว

ให้ฌานเกิดขึ้นในภายนอกนั่นเอง. ด้วยคำว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต โหติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 608

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงฌานในวรรณกสิณมีนีลกสิณเป็นต้น

อันบริสุทธิ์ด้วยดี. ในคำว่า สุภนฺเตว "งาม" ความผูกใจว่า "งาม"

ย่อมไม่มีในภายในอัปปนาก็จริง ถึงอย่างนั้น ภิกษุใดกระทำสุภกสิณ

ที่บริสุทธิ์ดีให้เป็นอารมณ์อยู่ เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นจะต้องถูกท่าน

พูดว่าเป็นผู้น้อมใจไปว่า "งาม" ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงทำ

เทศนาไว้อย่างนั้น

แต่ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ

เป็นผู้น้อมใจไปว่างามนั้นอย่างไร ? ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะภิกษุ

ในศาสนานี้ มีจิตสหรคตด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง ฯลฯ

อยู่. เพราะความที่ตนเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่

น่าเกลียด. มีจิตสหรคตกับกรุณา มุทิตา และอุเบกขา แผ่ไป

ตลอดทิศหนึ่ง ฯลฯ อยู่. เพราะความที่ตนเจริญ (กรุณา มุทิตาและ)

อุเบกขา สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่น่าเกลียด. ท่านเป็นผู้ชื่อว่าน้อมใจ

ไปว่า งาม ด้วยอาการอย่างนี้

คำใดที่จะพึงกล่าวในคำว่า สพฺพโส รูปสญฺาน ดังนี้เป็นต้น

คำนั้นทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล. บทว่า

อย อฏฺโม วิโมกฺโข ความว่า นี้ ชื่อว่าเป็นวิโมกข์ที่ ๘ เพราะสละ

คือ เพราะปล่อยขันธ์ทั้ง โดยประการทั้งปวง.

จบ อรรถกถาวิโมกขสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 609

๑๔. ปฐมโวหารสูตร

[๑๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๘ ประการนี้ ๘

ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้พูดในสิ่งไม่ได้เห็นว่าได้เห็น ๑

ในสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๑ ในสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๑ ในสิ่ง

ที่ไม่ได้รู้ว่าได้รู้ ๑ ในสิ่งที่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๑ ในสิ่งที่ได้ฟังว่า

ไม่ได้ฟัง ๑ ในสิ่งที่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๑ ในสิ่งที่ได้รู้ว่าไม่ได้

รู้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๘ ประการนี้แล.

จบโวหารสูตรที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 610

๑๕. ทุติยโวหารสูตร

[๑๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๘ ประการนี้ ๘

ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้พูดในสิ่งที่ไม่ได้เห็นว่าไม่ได้เห็น ๑

ในสิ่งที่ไม่ได้ฟังว่าไม่ได้ฟัง ๑ ในสิ่งที่ไม่ได้ทราบว่าไม่ได้ทราบ ๑

ในสิ่งที่ไม่ได้รู้ว่าไม่ได้รู้ ๑ ในสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น ๑ ในสิ่งที่ได้ฟัง

ว่าได้ฟัง ๑ ในสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๑ ในสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๘ ประการนี้แล.

จบ โวหารสูตรที่ ๑๕

อรรถกถาโวหารสูตรที่ ๗-๘

วิหารสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนริยโวหารา ได้แก่ ถ้อยคำที่ไม่ใช่ของพระอริยะ คือ

ถ้อยคำที่มีโทษ. บุคคละย่อมกล่าวโวหารถ้อยคำเหล่านั้น ด้วยเจตนา

เหล่าใด คำว่า อนริยโวหารา นั้น เป็นชื่อของเจตนาเหล่านั้น.

สูตรที่ ๘ พึงทราบความโดยนัยตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว

จบ อรรถกาโวหารสูตรที่ ๗-๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 611

๑๖. ปริสสูตร

[๑๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๘ จำพวกนี้ ๘ จำพวก

เป็นไฉน คือ บริษัทกษัตริย์ ๑ บริษัทพราหมณ์ ๑ บริษัทคฤหบดี ๑

บริษัทสมณะ ๑ บริษัทเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ๑ บริษัทเทวดา

ชั้นดาวดึงส์ ๑ บริษัทมาร ๑ บริษัทพรหม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราเข้าไปหาบริษัทกษัตริย์หลายร้อยบริษัท ย่อมรู้ดีว่า แม้ในบริษัท

นั้นเราเคยนั่งประชุมด้วย เคยสนทนาปราศรัยด้วย เคยสนทนาธรรม

ด้วย ในบริษัทกษัตริย์นั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีวรรณเช่นใด เราก็มี

วรรณเช่นนั้น กษัตริย์เหล่านั้นมีเพียงเช่นใด เราก็มีเสียงเช่นนั้น

เราชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหารร่าเริงด้วยธรรมีกถา

และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ บริษัทกษัตริย์เหล่านั้นย่อมไม่รู้ ใครหนอนี่

เป็นเทวดาหรือมนุษย์พูดอยู่ ครั้นเราชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วหายไป เมื่อเราหายไปแล้ว

กษัตริย์เหล่านั้นก็ไม่รู้ว่า ใครหนอนี้ เป็นเทวดาหรือมนุษย์

หายไปแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเข้าไปหาบริษัทพราหมณ์

หลายร้อยบริษัท ฯลฯ บริษัทคฤหบดี ฯลฯ บริษัทสมณะ ฯลฯ

บริษัทเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ฯลฯ บริษัทเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ

บริษัทมาร ฯลฯ บริษัทพรหมหลายร้อย บริษัท ย่อมรู้ดีว่า แม้

ในนริษัทพรหมนั้น เราเคยนั่งประชุมด้วย เคยสนทนาปราศรัย

ด้วย เคยสนทนาธรรมด้วย ในบริษัทพรหมนั้น พรหมเหล่านั้น

มีวรรณเช่นใด เราก็มีวรรณเช่นนั้น พรหมเหล่านั้นมีเสียงเช่นใด

เราก็มีเพียงเช่นนั้น เราชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 612

อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา และเมื่อเรากำลังพูดอยู่ พรหมเหล่านั้น

ก็ไม่รู้ว่า ใครหนอนี่ เป็นเทวดาหรือมนุษย์พูดอยู่ ครั้นเราชี้แจงให้

เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วหายไป

และเมื่อเราหายไปแล้ว พรหมเหล่านั้นก็ไม่รู้ว่า ใครหนอนี่ เป็น

เทวดาหรือมนุษย์หายไปแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๘ จำพวก

นี้แล.

จบ ปริสสูตรที่ ๑๖

อรรถกถาปริสาสูตรที่ ๙

ปริสาสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ขตฺติยปริสา ได้แก่ ชุมนุม คือสมาคมแห่งขัตติยบริษัท.

ในบททั้งปวงก็นัยนี้. บทว่า อเนกสต ขตฺติยปริส ความว่า ขัตติย-

บริษัทเช่น สมาคมแห่งพระเจ้าพิมพิสาร สมาคมแห่งพระญาติ และ

สมาคมแห่งเจ้าลิจฉวีเป็นต้น การที่พระศาสดาเสด็จเข้าหาขัตติย-

บริษัทเป็นต้น แม้ในจักรวาลอื่น ก็ย่อมมีได้เหมือนกัน. บทว่า

สลฺลปิตปุพฺพ ได้แก่ เคยทำการเจรจาปราศรัย. บทว่า สากจฺฉา

ความว่า แม้ธรรมสากัจฉาเราก็เคยเข้าสนทนา.

บทว่า ยาทิโก เต วณฺโณ ความว่า กษัตริย์เหล่านั้น เป็น

คนผิวขาวก็มี เป็นคนผิวดำก็มี เป็นคนผิวสองสีก็มี พระศาสดามี

พระฉวีวรรณดังทองอย่างเดียว. แต่คำนั้นตรัสอาศัยทรวดทรง.

อนึ่ง เขาย่อมรู้จักกันว่าเป็นกษัตริย์ พราหมณ์เป็นต้น ก็ตรงทรวด

ทรงของชนเหล่านั้นอย่างเดียวเท่านั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิใช่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 613

เป็นเช่นกับพวกมิลักขะ ทั้งไม่ได้ทรงสรวมใส่กุณฑลแก้วมณี

ประทับนั่งด้วยเพศแห่งพระพุทธเจ้านั่นแหละ. แต่ชนแม้เหล่านั้น

ย่อมเห็นทรวดทรงว่าเหมือนตนไปทั้งนั้น บทว่า ยาทิสโก เตส สโร

ความว่า ชนเหล่านั้น เป็นผู้มีเสียงห้วนก็มี เป็นผู้มีเสียงเหมือน

เสียงแมวก็มี เป็นผู้มีเสียงเหมือนเสียงกาก็ดี (แต่) พระศาสดามี

พระสุรเสียงดังเสียงพรหมอย่างเดียว. ก็คำนี้ตรัสหมายเอาภาษา

อื่น. ก็แม้ถ้าพระศาสดาจะประทับนั่งตรัสอยู่บนราชอาสน์ใน

ขัตติยบริษัทนั้นไซร้ กษัตริย์เหล่านั้น ก็จะมีความคิดว่า วันนี้

พระราชาตรัสด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ. เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสแล้วเสด็จหลีกไปแล้ว กษัตริย์เหล่านั้นเห็นพระราชา

เสด็จมาอีก จึงเกิดพิจารณาทบทวนขึ้นว่า ผู้นี้เป็นใครหนอ. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า โก นุ โข อย ความว่า กษัตริย์เหล่านั้นแม้

พิจารณาทบทวนอยู่อย่างนี้ว่า พระราชาพระองค์นี้คือใครหนอ

เมื่อตรัส ๆ โดยอาการอันนุ่มนวล ด้วยภาษามคธ ภาษาสีหฬในที่นี้

ในบัดนี้แหละก็หายตัวไปเสียแล้ว พระราชาพระองค์นี้ เป็นเทวดา

หรือมนุษย์ดังนี้ ก็ไม่รู้จัก. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ธรรมแก่ผู้ไม่รู้จักอย่างนี้ เพื่อประโยชน์อะไร ? แก้ว่า เพื่อต้องการ

ให้เป็นวาสนา (อปรมบารมี). พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดย

หวังผลอนาคตอย่างนี้ว่า ก็ธรรมที่เขาสดับแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็น

ปัจจัยในอนาคตทีเดียว. พึงทราบกำเนิดแห่งคำมีอาทิว่า อเนกสต

พฺราหฺมณปริส ดังนี้. ด้วยอำนาจสมาคมแห่งโสณทัณฑพราหมณ์

เป็นต้น และด้วยอำนาจจักรวาลอื่น.

จบ อรรถกถาปริสสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 614

๑๗. ภูมิจาลสูตร

[๑๕๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-

ศาลา ป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลี ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตร์และจีวร เสด็จ

เข้าไปบิณฑบาตยังนครเวสาลี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในนครเวสาลี

แล้ว ในเวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสกะท่าน

พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ จงถือผ้านิสีทนะ เราจะเข้าไปยัง

ปาวาลเจดีย์ เพื่อพักกลางวัน ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว ถือผ้านิสีทนะตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างหลัง.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์

ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ แล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน

อานนท์ นครเวสาลีเป็นที่น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็น่ารื่นรมย์

โคตมกเจดีย์ พหุปุตตกเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ สารันททเจดีย์ ปาวาล-

เจดีย์ ล้วนน่ารื่นรมย์ ดูก่อนอานนท์ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญทำให้มาก

ซึ่งอิทธิบาท ๔ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม

ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นหวังอยู่ พึงดำรงอยู่ได้กับหนึ่ง หรือเกินกว่ากัป

ดูก่อนอานนท์ ตถาคตเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ ทำให้

เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว ตถาคต

หวังอยู่ พึงดำรงอยู่ได้กัปหนึ่งหรือเกินกว่ากัป เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงกระทำนิมิตรแจ้งชัด ทรงกระทำโอภาสแจ้งชัดแม้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 615

อย่างนี้ ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่ทูลอาราธนาพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพึง

ทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตพึงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์

โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เพราะถูกมารเข้าดลใจ แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ นครเวสาลี

เป็นนครที่น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์ พหุ-

ปุตตกเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ สารันททเจดีย์ ปาวาลเจดีย์ ล้วนน่า

รื่นรมย์ ดูก่อนอานนท์ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญ กระทำให้มากถึงอิทธิบาท

๔ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว ฯลฯ

ตถาคตหวังอยู่ พึงดำรงอยู่ได้รูปหนึ่งหรือเกินกว่ากัป เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงกระทำนิมิตแจ้งชัด ทรงกระทำโอภาสแจ้งชัดแม้

อย่างนี้ ท่านพระอานนท์ก็ไม่อาจจะรู้ทัน จึงไม่ทูลอาราธนาพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

พึงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตพึงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อ

อนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แกเทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย เพราะถูกมารเข้าดลใจ ครั้งนั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงไปเถิด

บัดนี้เธอย่อมสำคัญกาลที่สมควร ท่านพระอานนท์ทูลรับพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 616

กระทำประทักษิณแล้วไปนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกล

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน มารผู้

ลามกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

บัดนี้เป็นกาลปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูก่อนมาร

ผู้ลามก เราจักยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่พวกภิกษุสาวกของเรา

ยังไม่ฉลาด ไม่ได้รับแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ยังไม่บรรลุธรรมอัน

เกษมจากโยคะ ยังไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรม

สมควรแก่ธรรม ยังไม่ปฏิบัติชอบ ยังไม่ประพฤติตามธรรม ไม่

เรียนอาจาริยวาทของตนแล้วบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย

จำแนก กระทำได้ง่าย ไม่แสดงธรรมมีปฏิหาริย์ย่ำยีด้วยศีล

ปรัปปวาทที่เกิดขึ้นแล้วโดยชอบธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

บัดนี้ ภิกษุสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ฉลาด ได้รับแนะนำ

แกล้วกล้า บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ เป็นหูสูต ทรงธรรม

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม

เรียนอาจาริยวาทของตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย

จำแนก กระทำให้ง่าย แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ย่ำยีด้วยดีซึ่งปรัปปวาท

ที่เกิดขึ้นแล้วโดยชอบธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจงเสด็จปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตจงเสด็จปรินิพพาน

เถิด บัดนี้ เป็นกาลปรินิพพานแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูก่อนมารผู้ลามก เราจักยังไม่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 617

ปรินิพพาน ตราบเท่าที่ภิกษุณีสาวิกาของเรา ฯลฯ อุบาสกสาวก

ของเรา ฯลฯ อุบาสิกาสาวิกาของเรา ยังไม่ฉลาด ยังไม่ได้รับแน่นำ

ยังไม่แกล้วกล้า ยังไม่บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ยังไม่เป็น

พหูสูต ยังทรงจำธรรมไม่ได้ ยังปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ได้

ยังไม่ปฏิบัติชอบ ยังไม่ประพฤติตามธรรม ไม่เรียนอาจาริยวาท

ของตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำ

ให้ง่าย ไม่แสดงธรรมมีปฏิหาริย์ย่ำยีด้วยดีซึ่งปรัปปวาทที่เกิดขึ้น

แล้วโดยชอบธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ อุบาสิกาสาวิกา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ฉลาด ได้รับแนะนำ แกล้วกล้า

บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรม

สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนอาจาริยวาท

ของตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

ทำให้ง่าย แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ย่ำยีด้วยดีซึ่งปรัปปวาทที่เกิดขึ้น

แล้วโดยชอบธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจงเสด็จปรินิพพานเถิด ข้อพระสุคตจงเสด็จปรินิพพานเถิด

บัดนี้เป็นกาลปรินิพพานแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูก่อนมารผู้ลามก เราจักยังไม่

ปรินิพพานตราบเท่าที่พรหมจรรย์ของเรานี้ยังไม่เจริญแพร่หลาย

กว้างขวาง ชนเป็นอันมาก ยังไม่รู้ทั่ว ยังไม่แน่นหนา เทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายยังไม่ประกาศดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้

พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเจริญแพร่หลายกว้างขวาง

ชนเป็นอันมากรู้ทั่ว แน่นหนา เทวดาและมนุษย์ประกาศดีแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 618

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จปรินิพพาน

เถิด ของพระสุคตจงเสด็จปรินิพพานเถิด บัดนี้ เป็นกาลปรินิพพาน

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมารผู้ลามก ท่านจงเป็น

ผู้ขวนขวายน้อยเถิด ไม่นานนักตถาคตจักปรินิพพาน แต่นี้ล่วงไป

๓ เดือน ตถาคตจักปรินิพพาน ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงมีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงปลงอายุสังขารแล้ว แผ่นดินไหวใหญ่ น่าสะพึงกลัว

โลมชาติชูชัน กลองทิพย์ก็บันลือลั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ

เนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งพระอุทานในเวลานั้นว่า

มุนีได้ปลงเครื่องปรุงแต่งภพ อันเป็นเหตุ

สมภพทั้งชั่งได้ ทั้งที่ชั่งไม่ได้ ยินดีในภายใน

มีจิตตั้งมั่น ได้ทำลายกิเลสที่เกิดในตนเหมือน

ทหารทำลายเกราะ ฉะนั้น.

ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดดังนี้ว่า แผ่นดินนี้

ไหวใหญ่หนอ แผ่นดินนี้ไหวใหญ่จริงหนอ น่าสะพึงกลัว โลมชาติ

ชูชัน ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่ง

ความปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่ ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินนี้ไหวใหญ่หนอ แผ่นดินนี้ไหวใหญ่จริงหนอ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 619

น่าสะพึงกลัว โลมชาติชูชัน ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น อะไรหนอ

เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุปัจจัย ๘

ประการนี้เเห่งความปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่ ๘ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนอานนท์ แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้ง

อยู่บนอากาศ สมัยนั้นลมพายุพัดจัด ลมพายุพัดให้น้ำไหว น้ำ

ไหวแล้วทำให้แผ่นดินไหว ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย

ประการที่ ๑ แห่งความปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่.

อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์มีฤทธิ์ บรรลุความ

ชำนาญทางจิตหรือเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เจริญ

ปฐวีสัญญานิดหน่อย เจริญอาโปสัญญาหาประมาณมิได้ ย่อมยัง

แผ่นดินนี้ให้สะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว. ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นเหตุ

เป็นปัจจัยประการที่ ๒ แห่งความปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่.

อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต มี

สติสัมปชัญญะ ลงสู่พระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อม

สะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการ

ที่ ๓ แห่งความปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่.

อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ

ประสูติจากพระครรภ์มารดา เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทื้อนสะท้าน

หวั่นไหว ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๔ แห่ง

ความปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 620

อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมา-

สัมโพธิญาณ เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว ดูก่อน

อานนท์ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๕ แห่งความปรากฏแผ่นดิน

ไหวใหญ่.

อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตทรงประกาศอนุตตร-

ธรรมจักร เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว ดูก่อน

อานนท์ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๖ แห่งความปรากฏแผ่นดิน

ไหวใหญ่.

อีกประการหนึ่ง เมื่อใด ตถาคตทรงมีสติสัมปชัญญะ ปลง

อายุสังขาร เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว ดูก่อน

อานนท์ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๗ แห่งความปรากฏแผ่นดิน

ไหวใหญ่.

อีกประการหนึ่ง เมื่อใด ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-

นิพพานธาตุ เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว ดูก่อน

อานนท์ นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยประการที่ ๘ แห่งความปรากฏแผ่นดิน

ไหวใหญ่ ดูก่อนอานนท์ เหตุปัจจัย ๘ ประการนี้แล แห่งความ

ปรากฏแผ่นดินไหวใหญ่.

จบ ภูมิจาลสูตรที่ ๑๗

จบ จาลวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 621

อรรถกถาภมิจาลสูตรที่ ๑๐

ภูมิจาลสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

ในบทว่า นิสีทน นี้ ท่านประสงค์เอาท่อนหนัง. บทว่า

อุทฺเทนเจติย ท่านกล่าวหารที่เขาสร้างไว้ในที่อยู่ของอุทเทนยักษ์.

แม้ในโคตมกเจดีย์เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ภาวิตา แปลว่า

เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตา แปลว่า. กระทำให้มาก. บทว่า ยานีกตา

แปลว่า ทำให้เป็นดุจยานที่เทียมแล้ว. บทว่า วตฺถุกตา แปลว่า

ทำให้เป็นดุจที่ตั้ง เพราะอรรถว่าเป็นที่พึงอาศัย. บทว่า อนุฏฺิตา

แปลว่า ตั้งไว้แล้ว. บทว่า ปริจิตา แปลว่า สั่งสมแล้ว โดยรอบ คือ

เจริญดีแล้ว. บทว่า สุสมารทฺธา แปลว่า เริ่มไว้เป็นอย่างดีแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสโดยมิได้กำหนดอย่างนี้แล้ว

เมื่อจะทรงแสดงโดยกำหนดแน่นอนอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตถาคตสฺส

โข ดังนี้. ก็ในที่นี้บทว่า กปฺป ได้แก่ อายุกัป (คือกำหนดอายุอย่าง

สูงของคนในยุคนั้น ๆ). พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงดำรงพระชนม์อยู่

ตลอดกำหนดอายุของคนทั้งหลายในสมัยนั้น ๆ อย่างเต็มที่. บทว่า

กปฺปาวเสส วา ได้แก่ หรือเกิน ๑๐๐ ปีซึ่งได้ตรัสไว้ว่า "น้อย

หรือยิ่งกว่า". แต่พระมหาสิวเถระกล่าวว่า ธรรมดาว่าพระพุทธะ

ทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงบันลือในที่มิใช่ฐานะ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเข้าสมาบัติบ่อย ๆ ทรงข่มเวทนาใกล้ตายได้ พึงดำรงอยู่ได้

ตลอดภัทรกัปทีเดียว. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ดำรง

อยู่ตลอดภัทรกัป ? ตอบว่า ขึ้นชื่อว่าสรีระที่มีใจครอง ถูกชรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 622

ลักษณะมีฟันหักเป็นต้นครอบงำ แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีฟันหัก

เป็นต้น ย่อมเสด็จปรินิพพานในอายุส่วนที่ ๕ (คือ ๒๐ ปี ที่ ๕)

ในเวลาเป็นที่รักที่ชอบใจของมหาชนทีเดียว. ก็บรรดาพระมหาสาวก

ผู้ตรัสรู้ตามเสด็จพระพุทธเจ้า พระมหาสาวกองค์หนึ่งปรินิพพาน

แล้ว ย่อมพึงตั้งอยู่เหมือนตอไม้ หรือว่า พึงตั้งอยู่โดยมีภิกษุหนุ่ม

และสามเณรห้อมล้อม แต่นั้นก็จะพึงถูกดูแคลนว่า โธ่เอ๋ย บริษัท

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ทรงดำรงอยู่.

แม้เมื่อกล่าวไว้อย่างนี้ ข้อที่เรียกกาลว่าอายุกัปนี้นั่นแหละ ก็กำหนด

ไว้ในอรรถกถาแล้ว.

บทว่า ต ในคำว่า ยถาต มาเรน ปริยุฏฺิตจิตฺโต นี้ เป็นเพียง

นิบาต. อธิบายว่า ปุถุชนบางคนแม้อื่น มีจิตถูกมารดลใจ มีจิต

ถูกมารครอบงำ ไม่สามารถจะรู้แจ้งได้ ฉันใด พระอานนท์ก็ไม่

สามารถจะรู้แจ้งได้ ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะมารย่อมครอบงำจิต

ของท่านผู้ยังละวิปัลสาส ๑๒ ไม่ได้โดยประการทั้งปวง. พระเถระ

ยังละวิปัลสาส ๔ ไม่ได้ ด้วยเหตุนั้น มารจึงครอบงำจิตของท่าน.

ถามว่า ก็มารนั้นเมื่อทำการดลจิตทำอย่างไร ? ตอบว่า ย่อมแสดง

รูปารมณ์ที่น่ากลัวบ้าง ให้ได้ยินสัททารมณ์ที่น่ากลัวบ้าง แต่นั้น

สัตว์ทั้งหลายได้เห็นภาพเช่นนั้น หรือได้ฟังเสียงเช่นนั้น ก็หมดสติ

อ้าปาก มารก็สอดมือเข้าไปทางปากของสัตว์เหล่านั้นแล้วบีบหัวใจ

แต่นั้น สัตว์ทั้งหลายก็หมดความรู้สึกตั้งอยู่ แต่มารนี้จักสามารถ

หรือที่จะสอดมือเข้าทางปากของพระเถระ ก็ได้แต่แสดงอารมณ์ที่

น่ากลัว พระเถระได้เห็นอารมณ์นั้นเข้า จึงไม่รู้แจ้งนิมิตโอภาส.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 623

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้ง ๆ ที่ทรงทราบอยู่ เพราะเหตุไร ?

จึงตรัสเรียกถึง ๓ ครั้ง ? ตอบว่า เพราะเพื่อทรงทำความโศก

ให้เบาบาง ด้วยการยกโทษขึ้นว่า นั่นเป็นการทำไม่ดีของท่าน นั่น

เป็นการผิดพลาดของท่าน ในเมื่อท่านพระอานนท์ทูลอาราธนาว่า

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงดำรงพระชนมายุอยู่ก่อนเถิด

พระเจ้าข้า.

ในบทว่า มาโร ปาปิมา นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่ามาร

เพราะประกอบสัตว์ไว้ในความพินาศให้ตายไป. บทว่า ปาปิมา นี้

เป็นไวพจน์ของบทว่า มาโร นั้นนั่นแล. จริงอยู่ มารนั้นเขาเรียกว่า

ปาปิมา เพราะประกอบด้วยปาปธรรม. บทว่า ภาสิตา โข ปเนส

ภนฺเต ความว่า จริงอยู่ มารนี้มาที่โพธิมัณฑสถาน ในสัปดาห์

ที่ ๘ ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสรู้สัมโพธิญาณแล้วทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย

เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นพระองค์ทรงบรรลุตามพระประสงค์

แล้ว สัพพัญญุตญาณพระองค์ทรงแทงตลอดแล้ว ประโยชน์อะไร

ที่พระองค์จะต้องทรงตรวจดูสัตว์โลกเล่า แล้วทูลอาราธนาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดเสด็จปรินิพพาน

ในบัดนี้เหมือนในวันนี้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามมารนั้นว่า

น ตาวาห เรายังไม่ปรินิพพานก่อนนะมาร ดังนี้เป็นต้น. มารกล่าว

คำมีอาทิว่า ภาสิตา โข ปเนสา ภนฺเต ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้แล้วแล ดังนี้ หมายเอาคำว่า น ตาวาห นั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 624

ในบทเหล่านี้ บทว่า วิยตฺตา ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดด้วยอำนาจ

มรรค. เป็นผู้อันท่านแนะนำแล้ว เหมือนอย่างนั้น. เป็นผู้แกล้วกล้า

เหมือนอย่างนั้น. บทว่า พหุสฺสุตา ได้แก่ ชื่อว่าเป็นพหูสูต เพราะมี

พุทธพจน์อันดับแล้วมากด้วยอำนาจปิฎก ๓. ชื่อว่า ธรรมธร

เพราะทรงธรรมนั้นแหละไว้. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในที่นี้

อย่างนี้ว่า ผู้เป็นพหูสูตทางปริยัติ และผู้เป็นพหูสูตทางปฏิเวธ

ชื่อว่า ผู้ทรงธรรมเพราะทรงปริยัติธรรมและปฏิเวธธรรมนั่นแล.

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนา ได้แก่ ปฏิบัติทางวิปัสสนาอันเป็น

ธรรมสมควรแก่อริยธรรม. บทว่า สามีจิปฏิปนฺนา ได้แก่ ปฏิบัติ

ปฏิปทาอันเหมาะสม. บทว่า อนุธมฺมจาริโน แปลว่า ผู้มีปกติ

ประพฤติธรรมอันสมควร. บทว่า สก อาจริยก ได้แก่ วาทะแห่ง

อาจารย์ของตน. บทว่า อาจิกฺขิสฺสนฺติ เป็นต้นทั้งหมด เป็นไวพจน์

ของกันแลกัน. บทว่า สหธมฺเมน ได้แก่ ด้วยคำอันมีเหตุ คือ มีการณ์.

บทว่า สปฺปาฏิหาริย ความว่า พระอริยสาวกเหล่านั้นย่อมแสดง

ธรรมให้เป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์.

บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่ ศาสนพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ที่สงเคราะห์

ด้วยสิกขาทั้ง ๓. บทว่า อิทฺธ ได้แก่ สำเร็จด้วยอำนาจยินดีในฌาน.

บทว่า ผีต ได้แก่ ถึงความเจริญด้วยอำนาจอภิญญาสมาบัติ เหมือน

ดอกไม้บานเต็มที่. บทว่า วิตฺถาริก ได้แก่ แผ่ไปด้วยอำนาจ

ประดิษฐานอยู่ในทิศาภาคนั้น ๆ. บทว่า พาหุชญฺ ได้แก่ ชนเป็น

อันมากรู้แล้ว คือ แทงตลอดแล้วด้วยอำนาจการตรัสรู้ของชนเป็น

อันมาก บทว่าปุถุภูต แปลว่า ถึงความแน่นหนาโดยอาการทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 625

ถึงความแน่นหนาอย่างไร ? ถึงความแน่นหนาตราบเท่าที่เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลายประกาศดีแล้ว. อธิบายว่า เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชน มีประมาณเท่าใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหมด

มีประมาณเท่านั้น ประกาศด้วยดีแล้ว.

บทว่า อปฺโปสฺสุกฺโก ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีความอาลัย. พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ตั้งแต่สัปดาห์ที่ ๘ ท่าน

เที่ยวร่ำร้องอยู่ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดปรินิพพานบัดนี้เถิด

พระเจ้าข้า ขอพระสุคตโปรดปรินิพพานบัดนี้เถิดพระเจ้าข้า ดังนี้

บัดนี้ ตั้งแต่วันนี้ไป ท่านเลิกความอุตสาหะเถิด อย่าทำความ

พยายามเพื่อให้เราปรินิพพานเลย. บทว่า สโต สมฺปชาโน อายุสฺขาร

โอสชฺชิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งสติมั่น กำหนดด้วย

ฌาณ ทรงปลงคือละอายุสังขาร. ในการปลงอายุสังขารนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าหาได้ทรงปลงอายุสังขาร เหมือนเอามือปล่อยก้อนดินไม่.

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดพระดำริขึ้นว่า ก็เราจะเข้าผล

สมาบัติเพียง ๓ เดือนเท่านั้น ต่อนั้นจักไม่เข้า. บทว่า โอสฺสชฺชิ

ตรัสหมายเอาคำนั้น. ปาฐะว่า อวสฺสชฺชิ ดังนี้ก็มี.

บทว่า มหาภูมิจาโล ได้แก่ แผ่นดินไหวใหญ่. ได้ยินว่า

ในกาลนั้น หมื่นโลกธาตุไหวแล้ว. บทว่า ภึสนโก แปลว่า น่าสะพึง

กลัว. บทว่า เทวทุนฺทุภิโย จ ผลึสุ ได้แก่ กลองทิพย์บันลือลั่น ฝน

คำรามกระหึ่ม สายฟ้าแลบแปลบปลาบผิดฤดูกาล ท่านอธิบายว่า

ฝนตกชั่วขณะหนึ่ง. บทว่า อุทาน อุทาเนสิ ความว่า เพราะเหตุไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเปล่งอุทาน ? เพราะทรงพระดำริว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 626

ชื่อว่าใคร ๆ จะพึงพูดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกมารติดตามไป

ข้างหลัง ๆ พูดรบกวนว่า จงปรินิพพานเถิดพระเจ้าข้า จึงทรงปลง

อายุสังขารเพราะความกลัว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจงอย่ามีโอกาส

เลย ดังนี้แล้วจึงทรงเปล่งพระอุทานอันหลั่งออกมาด้วยกำลังพระปีติ.

พึงทราบวินิจฉัยในพระอุทานนั้นดังต่อไปนี้:- (เครื่องปรุง

แต่งงาน) ชื่อว่าตุละ เพราะบุคคลชั่งได้ คือ กำหนดได้ เพราะเป็น

ของประจักษ์แก่สัตว์ทั้งปวงมีสุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอก เป็นต้น.

ที่ชื่อว่า ตุละ นั้น คืออะไร ? คือกรรมฝ่ายกามาวจร. เครื่องปรุง

แต่งภพที่ชั่งได้ไม่มี หรือที่ชั่งได้ของบุคคลนั้นไม่มี คือ ไม่มีโลกิยกรรม

อย่างอื่นที่แม้นเหมือน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อตุละชั่งไม่ได้.

เครื่องปรุงแต่งภพที่ชื่ออตุละนั้นคืออะไร ? คือ กรรมฝ่ายมหัคคตะ.

อีกอย่างหนึ่ง กามาวจรกรรม รูปาวจรกรรม ชื่อว่า ตุละชั่งได้.

อรูปาวจรกรรม ชื่อว่า อตุละ ชั่งไม่ได้. อีกอย่างหนึ่ง วิบากน้อย

ชื่อตุละ วิบากมาก ชื่ออตุละ. บทว่า สมฺภว ได้แก่ เป็นเหตุแห่ง

สมภพ. บทว่า ภวสงฺขาร ได้แก่ เครื่องปรุงแต่งงานใหม่ อธิบายว่า

กรรมที่ทำให้เป็นกอง ทำให้เป็นก้อน. บทว่า อวสฺสชฺชิ แปลว่า

ปลงแล้ว. บทว่า มุนี ได้แก่มุนีคือพระพุทธเจ้า. บทว่า อชฺฌตฺตรโต

ได้แก่ ยินดีแล้วภายในตน. บทว่า สมาหิโต ได้แก่ มีจิตตั้งมั่นแล้ว

ด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ. บทว่า อภินฺทิ กวจมิว ได้แก่

ทำลายแล้ว ดุจนักรบทำลายเกราะ. บทว่า อตฺตสมฺภว ได้แก่

กิเลสที่เกิดในตน. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า มุนีสละ โลกิยกรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 627

กล่าวคือ ตุละและอตุละซึ่งได้ชื่อว่า สัมภวะ เพราะอรรถว่ามีวิบาก

และได้ชื่อว่า ภวสังขาร เพราะอรรถว่าปรุงแต่งภพ และเป็นผู้

ยินดีภายในตน มีจิตตั้งมั่น ทำลายกิเลสที่เกิดในตน เหมือนนักรบ

ใหญ่ในสงครามสำคัญ ทำลายเกราะฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

อตุลญฺจ สมฺภว ได้แก่ พระนิพพานและภพ. บทว่า ภวสงฺขาร

ได้แก่ กรรมอันนำสัตว์ไปสู่ภพ. บทว่า อวสฺสชฺชิ มุนิ ความว่า

พระมุนี คือพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาโดยนัยเป็นต้นว่า ขันธ์ ๕

ไม่เที่ยง การดับขันธ์ ๕ คือพระนิพพาน เที่ยง ทรงเห็นเป็นโทษ

ในภพ และอานิสงส์ในพระนิพพานแล้ว ทรงและกรรมเครื่องปรุง

แต่งภพอันเป็นมูลแห่งขันธ์ทั้งหลายนั้น ด้วยอริยมรรคอันกระทำ

ความสิ้นกรรม ดังกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม

ดังนี้. พระองค์ทรงยินดีในภายใน มีพระหฤทัยตั้งมั่น ทำลายแดนเกิด

แห่งตนอันเป็นดุจเกราะได้อย่างไร ? ความจริงพระองค์ทรงยินดี

ในภายในด้วยอำนาจวิปัสสนา มีพระหทัยตั้งมั่นด้วยอำนาจสมถะ

ทรงทำลายกิเลสชาติทั้งหมดที่ได้นามว่า อัตตสัมภวะ เพราะเกิด

ในตน ที่หุ้มห่ออัตภาพตั้งอยู่ดุจเกราะด้วยกำลังสมถะและวิปัสสนา

จำเดิมแต่เบื้องต้นด้วยอาการอย่างนี้ และกรรมที่ทรงทำโดยไม่มี

กิเลส ชื่อว่าทรงสละแล้ว เพราะไม่มีปฏิสนธิ พระองค์ทรงละกรรม

ด้วยละกิเลสได้ ดังกล่าวมาฉะนี้ และธรรมดาผู้ละกิเลสได้แล้ว

ย่อมไม่มีความกลัว เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า พระองค์ไม่ทรงกลัว

ทรงปลงอายุสังขาร และทรงเปล่งอุทานเพื่อให้โลกรู้ว่าพระองค์

ไม่ทรงกลัว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 628

บทว่า ย มหาวาตา ความว่า โดยสมัยใด หรือในสมัยใด

ลมพายุพัด ลมชื่ออุกเขปกวาต ก็ตั้งขึ้น. ลมอุกเขปกวาตนั้นก็พัด

ตัดลมที่รองรับน้ำอันมีความหนาเก้าแสนหกหมื่นโยชน์. แต่นั้น

น้ำในอากาศก็ตก เมื่อน้ำตก แผ่นดินก็ตก ลม(ที่รองรับน้ำ) ก็จะอุ้ม

เอาน้ำไว้อีก ด้วยกำลังของตน เหมือนอุ้มน้ำไว้ในธนกรก หม้อ

กรองน้ำ ฉะนั้น แต่นั้น น้ำก็สูงขึ้น เมื่อน้ำสูงขึ้น แผ่นดินก็สูงขึ้น.

น้ำไหลแล้วอย่างนี้ก็ทำให้แผ่นดินไหว. ก็การไหวอย่างนี้ ย่อมมีมา

จนถึงทุกวันนี้. ก็การยุบลงและการนูนขึ้น ย่อมไม่ปรากฏเพราะ

แผ่นดินมาก บทว่า มหิทฺธิกา มหานุภาวา ความว่า ชื่อว่ามีฤทธิ์มาก

เพราะมีความสำเร็จมาก ชื่อว่ามีอานุภาพมาก เพราะมีสิ่งที่จะพึง

เสวยมาก. บทว่า ปริตฺตา ได้แก่ มีกำลังเพลา. บทว่า อปฺปมาณา

ได้แก่ มีกำลัง. บทว่า โส อิม ปวึ กมฺเปติ ความว่า สมณะหรือ

พราหมณ์นั้นทำฤทธิ์ให้บังเกิดแล้ว เมื่อจะให้สลดใจ จึงทำแผ่นดิน

ให้ไหว เหมือนพระมหาโมคคัลลานะ หรือเมื่อจะทดลองฤทธิ์ก็ทำ

แผ่นดินให้ไหว เหมือนสังฆรักขิตสามเณรผู้เป็นหลานของพระ-

มหานาคเถระ. บทว่า สงฺกมฺเปติ ได้แก่ ไหวโดยรอบ. บทว่า

สมฺปกมฺเปติ นี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า สงฺกมฺเปติ นั้นนั่นแล. ดังนั้น

บรรดาเหตุปัจจัยทำแผ่นดินไหว ๘ ประการเหล่านี้ เหตุปัจจัย ๑

เพราะธาตุกำเริบ ที่ ๒ เพราะอานุภาพของผู้มีฤทธิ์ ที่ ๓ ที่ ๔

เพราะเดชแห่งบุญ ที่ ๕ เพราะเดชแห่งญาณ ที่ ๓ เพราะอำนาจ

ให้สาธุการ ที่ ๗ เพราะความการุณย์เป็นสภาวะ ที่ ๘ เพราะ

ร้องห่มร้องไห้. เมื่อพระมหาสัตว์ลงสู่ครรภ์พระมารดา และประสูติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 629

จากครรภ์พระมารดา แผ่นดินไหวเพราะเดชแห่งบุญของพระ

มหาสัตว์นั้น. ในสมัยตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณ แผ่นดินถูกเดชของ

พระญาณชักนำแล้ว จึงได้ไหว. ในสมัยประกาศพระธรรมจักร

แผ่นดินดำรงนิ่งอยู่ในภาวะแห่งสาธุการ เมื่อไห้สาธุการก็ไหว.

ในสมัยทรงปลงอายุสังขาร แผ่นดินดำรงนิ่งอยู่ในความเป็นผู้มีกรุณา

เป็นสภาวะ แต่ทนจิตสังขาร (สัคทาเวทนา) ไม่ได้ ก็ไหว. ในสมัย

ปรินิพพาน แผ่นดินอาดูรด้วยแรงการร้องห่มร้องไห้ จึงได้ไหว.

ก็ความนี้ พึงทราบด้วยอำนาจเทวดาประจำปฐวี. ก็การให้สาธุการ

เป็นต้นนั้นย่อมไม่มีแก่แผ่นดินที่เป็นมหาภูต เพราะแต่ดินที่เป็น

มหาภูต ไม่มีเจตนา. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล

จบ อรรถกถาภูมิจาลสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตร มีในวรรคนี้ คือ

๑. อิจฉาสูตร ๒. อลังสูตร ๘ สูตร ๓. สังขิตตสูตร ๔. คยา-

สูตร ๕. อภิภายตนสูตร ๖. วิโมกขสูตร ๗. โวหารสูตรที่ ๑

๘. โวหารสูตรที่ ๒ ๙. ปริสสูตร ๑๐. ภูมิจาบสูตร. และอรรถกถา

จบ จาลวรรคที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 630

ยกมวรรคที่ ๓

๑. ปฐมปฏิปทาสูตร

[๑๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา ไม่มีศีล

อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์

นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธาและ

มีศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล

เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ก็ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต อย่างนี้ เธอชื้อว่าเป็น

ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า

อย่างไรหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีลและเป็นพหูสูต เมื่อใด

ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีลและเป็นพหูสูต เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็น

ผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา

มีศีลและเป็นพหูสูต แต่ไม่เป็นธรรมกถึก ฯลฯ และเป็นธรรมกถึก

แต่ไม่เข้าสู่บริษัท ฯลฯ และเข้าสู่บริษัทได้ แต่ไม่แกล้วกล้าแสดง

ธรรมแก่บริษัท ฯลฯ และแกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท แต่ไม่ได้

ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีใน

จิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ฯลฯ เป็นผู้ได้ตามความ

ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็น

เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน แต่ไม่ได้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา-

วิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา

อันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 631

ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ

เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าสู่บริษัท

ได้ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา

ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่

เป็นสุขในปัจจุบัน พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน

ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มี

ศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก เข้าสู่บริษัทได้ แกล้วกล้า

แสดงธรรมแก่บริษัท เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก

ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ

ทั้งหลานสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เมื่อนั้น

เธอชื่อว่า เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้

ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ก่อให้เกิดความ

เลื่อมใสโดยรอบ และเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง.

จบ ปฐมปฏิปทาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 632

ยมกวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาปฐมปฏิปทาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๘ ปฏิปทาสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า โน จ สีลวา ได้แก่ ผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในศีล. บทว่า

สมนฺตปาสาทิโก แปลว่า ให้เกิดความเลื่อมใสรอบด้าน. บทว่า

สพฺพาการปริปูโร ได้แก่ บริบูรณ์ด้วยอาการของสมณะ คือด้วย

ส่วนแห่งสมณธรรมทุกอย่าง.

จบ อรรถกถาปฐมปฏิปทาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 633

๒. ทุติยปฏิปทาสูตร

[๑๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล

อย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญ

องค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราพึงเป็นผู้มีศรัทธา

และมีศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและ

ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล แต่ไม่เป็นพหูสูต ฯลฯ เป็นพหูสูต แต่ไม่

เป็นธรรมกถึก ฯลฯ เป็นธรรมกถึก แต่ไม่เข้าสู่บริษัท ฯลฯ เข้าสู่

บริษัทได้ แต่ไม่แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท ฯลฯ แกล้วกล้า

แสดงธรรมแก่บริษัท และถูกต้องวิโมกข์อันสงบ ไม่มีรูป เพราะ

ล่วงรูปเสียได้ ด้วยนามกาย แต่ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ

ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย

ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ อย่างนี้ เธอชื่อว่ายังเป็น

ผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า

อย่างไรหนอ เราพึงมีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก

เข้าสู่บริษัทได้ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท และพึงถูกต้อง

วิโมกข์อันสงบ ไม่มีรูป เพราะล่วงรูปเสียได้ด้วยนามกาย พึงกระทำ

ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราอาสวะ

ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต

เป็นธรรมกถึกเข้าสู่บริษัทได้ แกล้วกล้าแสดงธรรมแก่บริษัท

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 634

และถูกต้องวิโมกข์อันสงบ ไม่มีรูป เพราะล่วงรูปเสียได้ ด้วย

นามกาย ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้า

ถึงอยู่ เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล เป็นผู้ให้ก่อเกิด

ความเลื่อมใสโดยรอบ และบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง.

จบ ทุติยปฏิปทาสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยปฏิปทาสูตรที่ ๒

ทุติยปฏิปทาสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า สนฺตา ความว่า ชื่อว่าสงบ เพราะสงบจากธรรม

อันเป็นข้าศึก. บทว่า วิโมกฺขา ความว่า และชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ

หลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึก.

จบ อรรถกถาทุติยปฏิปทาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 635

๓. ตติยปฏิปทาสูตร

[๑๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่พัก

ก่อด้วยอิฐ ชื่อนาทิกะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มรณสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มี

อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เธอทั้งหลายย่อม

เจริญมรณสติหรือหนอ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งกราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อม

เจริญมรณสติ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเจริญสมณสติอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสติ นี้ ข้าพระองค์

มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่คืนหนึ่งวันหนึ่ง พึงมนสิการ

ถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้กระทำคำสอนของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า-

พระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล.

ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 636

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร.

ภิก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์

มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ตลอดวันหนึ่ง พึงมนสิการ

ถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้กระทำคำสอนของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า-

พระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล.

ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์

มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่เพียงครึ่งวัน พึงมนสิการ

ถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้กระทำคำสอนของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า-

พระองค์ผู้เจริญมรณสตินี้แล.

ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์

มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่เพียงชั่วเวลาบริโภค

บิณฑบาตมื้อหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนอขงพระผู้มีพระภาคเจ้า

เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมากหนอ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 637

ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์

มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาบริโภคบิณฑบาต

ครึ่งหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้

กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมากหนอ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล.

ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์

มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าว ๔-๕ คำ

แล้วกลืนกิน พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้

กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมากหนอ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล.

ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์

มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาเคี้ยวข้าวได้

คำหนึ่งแล้วกลืนกิน พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 638

เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมากหนอ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล.

ภิกษุแม้อีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในการเจริญมรณสตินี้ ข้าพระองค์

มีความคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาหายใจออกแล้ว

หายใจเข้า หรือหายใจเข้าแล้วหายใจออก พึงมนสิการถึงคำสอน

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นอันมากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติ

อย่างนี้แล.

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเจริญ

มรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง

พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้กระทำคำสอน

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมากหนอ ภิกษุผู้เจริญมรณสติ

อย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ตลอดคืนหนึ่ง พึงมนสิการถึง

คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้กระทำคำสอนของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมากหนอ ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า

โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ครั้งวัน พึงมนสิการคำสอนของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมาก

หนอ ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 639

เวลาบริโภคบิณฑบาตมื้อหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมาก

หนอ ภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่ว

เวลาบริโภคบิณฑบาตครึ่งหนึ่ง พึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมาก

หนอ และภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่

ชั่วเวลาเคี้ยวข้าวได้ ๔-๕ คำแล้วกลืนกิน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ประมาทอยู่ เจริญมรณสติเพื่อความ

สิ้นอาสวะช้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า

โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วว่าเคี้ยวข้าวคำหนึ่งกลืนกิน พึงมนสิการ

ถึงคำสอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เราได้กระทำคำสอนของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเป็นอันมากหนอ และภิกษุใดเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า

โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ชั่วเวลาหายใจออกแล้วหายใจเข้าหรือหายใจ

เข้าแล้วหายใจออก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวไม่

ประมาทอยู่ ย่อมเจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เรา

ทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ประมาทอยู่ ก็เจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบ ตติยปฏิปทาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 640

อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ ๓

ตติยปฏิปทาสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภาเวถ โน แก้เป็น ภาเวถ นุ แปลว่า ท่านจงเจริญ

มรณัสสติสิหนอ. บทว่า สาสน ได้แก่ การพร่ำสอน. บทว่า

อาสวาน ขยาย ได้แก่ เพื่อพระอรหัตผล.

จบ อรรถกถาตติยปฏิปทาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 641

๔. จตุตถปฏิปทาสูตร

[๑๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่พัก

ก่อด้วยอิฐชื่อนาทิกะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มรณสติอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มี

อานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็มรณสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร

จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันสิ้นไป กลางคืน

เวียนมาย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมากหนอ

คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมลงป่องพึงต่อยเราก็ได้ ตะขาบพึงกัดเราก็ได้

เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึง

พลาดล้มลงก็ได้ อาหารที่เราบริโภคแล้วไม่ย่อยเสียก็ได้ ดีของเรา

พึงซ่านก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบก็ได้ ลมมีพิษดังศาตราของเรา

พึงกำเริบก็ได้ มนุษย์ทั้งหลายพึงเบียดเบียนเราก็ได้ พวกอมนุษย์

พึงเบียดเบียนเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอัน

เป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำ

กาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า

ธรรมอันเป็นอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้

ทำกาละในกลางคืน มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงกระทำความพอใจ ความ

พยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 642

สัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นเสีย

เปรียบเหมือนคนที่มีผ้าไฟไหม้ หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำ

ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่

ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะนั้น

ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแหละภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า

ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละไม่ได้ ที่จะเป็นอันตรายแก่เรา

ผู้ทำกาละในกลางคืน ไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์

หมั่นศึกษาทั้งกลางวันและกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวัน

สิ้นไป กลางวันเวียนมาถึง ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ปัจจัยแห่งความ

ตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเราก็ได้ แมลงป่องพึงต่อยเรา

ก็ได้ ตะขาบพึงกัดเราก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราพึงทำกาลกิริยา

อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลงก็ได้ อาหารที่เราบริโภค

แล้วไม่ย่อยเสียก็ได้ ดีของเราพึงซ่านก็ได้ เสมหะของเราพึงกำเริบ

ก็ได้ ลมมีพิษดังศาตราของเราพึงกำเริบก็ได้ มนุษย์หลายพึง

เบียดเบียนเราก็ได้ พวกอมนุษย์พึงเบียดเบียนเราก็ได้ เพราะเหตุนั้น

เราพึงทำกาลกิริยา อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรายังละ

ไม่ได้ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางวัน มีอยู่หรือ

หนอแล ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศล

อันเรายังละไม่ได้ที่จะพึงทำอันตรายแก่เราผู้ทำกาละในกลางวัน

มีอยู่ ภิกษุนั้นพึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 643

ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้ยิ่ง เพื่อละธรรม

อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นเสีย เปรียบเหมือนบุคคลมีผ้าถูกไฟไหม้

หรือศีรษะถูกไฟไหม้ พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความ

อุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้ยิ่ง

เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า

แหละภิกษุพิจารณาอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลอันเรา

ยังละไม่ได้ที่จะพึงเป็นอันตรายแก่เรา ผู้ทำกาละในกลางวันไม่มี

ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ หมั่นศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน

ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันภิกษุ

เจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ จึงมีผลมาก มีอานิสงส์

มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.

จบ ปฏิทาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 644

๕. ปัญจมปฏิปทาสูตร

[๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้ ๘

ประการเป็นไฉน คือ อุฏฐานสัมปทา ๑ อารักขสัมปทา ๑ กัลยาณ-

มิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑ สัทธาสัมปทา ๑ ศีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑

ปัญญาสัมปทา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้แล.

คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัด

การงานเหมะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ รักษาทรัพย์

ที่หามาได้ มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ถ้อยคำ

ปราศจากความตระหนี่ ชำระทางสัมปรายิกัตถ-

ประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้

ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระพุทธเจ้า

ผู้มีพระนามอันแท้จริง ตรัสว่านำสุขมาให้ใน

โลกทั้งสอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้และความ

สุขในภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้ ย่อมเจริญแก่

คฤหัสถ์ ด้วยประการฉะนี้.

จบ ปฏิปทาสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 645

๖. ฉัฏฐปฏิปทาสูตร

[๑๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการนี้ ๘

ประการเป็นไฉน คือ อุฏฐานสัปทา ๑ อารักขสัมปทา ๑ กัลยาณ-

มิตตตา ๑ สมชีวิตา ๑ สัทธาสัมปทา ๑ สีลสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑

ปัญญาสัมปทา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลก

นี้ เลี้ยงชีพด้วยความหมั่นประกอบการงาน คือ กสิกรรม พาณิชย-

กรรม โครักขกรรม รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการฝ่ายพลเรือน

หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น

ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่อง อันเป็นอุบายในการงานนั้น

สามารถจัดทำได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอุฏฐานสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อารักขสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลก

นี้ มีโภคะที่หามาได้ด้วยความเพียร สั่งสมด้วยกำลังแขน มี

เหงื่อไหลโทรมตัว ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เขารักษาคุ้มครอง

โภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล ด้วยทำไว้ในใจว่า ไฉนหนอ

พระราชาไม่พึงริบโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่พึงลัก ไฟไม่

พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักไม่พึงลักไป ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอารักขสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้ อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด ย่อมดำรง

ตนเจรจาสั่งสนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นคฤหบดี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 646

หรือบุตรคฤหบดี เป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ ผู้มีสมาจารบริสุทธิ์

ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ศึกษาสัทธาสัมปทา

ตามผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศึกษาศีลสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วย

ศีล ศึกษาจาคสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ ศึกษาปัญญาสัมปทา

ตามผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

กัลยาณมิตตตา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมชีวิตาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กุลบุตรในโลกนี้ รู้ทางเจริญแห่งโภคะ และรู้ทางเสื่อมแห่งโภคะ

แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนักด้วยคิดว่า

รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้อง

ไม่เหนือรายได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนชั่งตาชั่ง

หรือลูกมือชั่งตาชั่ง ยกตาชั่งขึ้นแล้วย่อมรู้ว่า ต้องลดออกเท่านี้

หรือต้องเพิ่มเข้าเท่านี้ ฉันใด กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญ

แห่งโภคะ และรู้ทางเสื่อมแห่งโภคะแล้ว เลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้

ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้อง

เหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุลบุตรผู้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างโอ่โถง

จะมีผู้มีว่าเขาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้ ใช้โภคะเหมือนคนเคี้ยวกินผลมะเดื่อ

ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ากุลบุตรผู้มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีพ

อย่างฝืดเคือง จะมีผู้ว่าเขาว่ากุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างอนาถา แต่

เพราะกุลบุตรผู้นี้รู้ทางเจริญแห่งโภคะ และรู้ทางเสื่อมแห่งโภคะ

แล้ว เลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 647

รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้อง

ไม่เหนือรายได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสมชีวิตา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

มีศรัทธาคือ เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะ

เหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น

ผู้จำแนกธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ศีลสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาติ ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจาการดื่มนำเมา

คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เรียกว่าศีลสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

มีจิตปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ อยู่ครองเรือน ฯลฯ ควรแก่

การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

จาคสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้

เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๘ ประการ

นี้แล.

คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัด

การงานเหมาะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ ตามรักษา

ทรัพย์ที่หามาได้ มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล รู้

ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่ ชำระทางสัม-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 648

ปรายิกัตถประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการ

ดังกล่าวนี้ ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา อันพระ-

พุทธเจ้าผู้มีพระนามอันแท้จริง ตรัสว่านำสุขมา

ให้ในโลกทั้งสอง คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้และ

ความสุขในภายหน้า บุญ คือ จาคะนี้ ย่อมเจริญ

แก่คฤหัสถ์ด้วยประการฉะนี้.

จบ ฉัฏฐปฏิปทาสูตรที่ ๖

อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ ๔-๖

จตุตถปฏิปทาสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า ปฏิหิตาย ได้แก่ เมื่อราตรีดำเนินไป บทว่า โส

มมสฺสนฺตาโย ความว่า อันตรายแห่งชีวิตนั้นพึงมีแก่เรา คือ ทั้ง

อันตรายต่อสวรรค์ ทั้งอันตรายต่อมรรค พึงมีแก่เราผู้ทำกาลกิริยา

เยี่ยงปุถุชน. บทว่า สตฺถกา วา เม วาตา ความว่า ลมชื่อว่า มีพิษ

ดังศาตรา เพราะตัดอวัยวะน้อยใหญ่เหมือนศาตรา. สูตรที่ ๕

เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาปฏิปทาสูตรที่ ๔-๕-๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 649

๗. อิจฉาสูตร

[๑๗๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคล ๘

จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๘ จำพวกเป็นไฉน.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่

เจริญกรรมฐานให้ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อ

ได้ลาภ เธอย่อมหมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอหมั่นเพียร

พยายามเพื่อให้ได้ลาภ ลาภไม่เกิดขึ้น เธอย่อมเศร้าโศก ลำบาก

ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล เพราะไม่ได้ลาภนั้น

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ

หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภอยู่ แต่ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก ร่ำไร

และเคลื่อนจากพระสัทธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมทวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้

ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอย่อมหมั่น

เพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ

ลาภเกิดขึ้น เธอย่อมมัวเมาถึงความประมาทเพราะลาภนั้น ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ หมั่นเพียร

พยายามเพื่อได้ลาภ ได้ลาภแล้ว มัวเมาประมาท และเคลื่อนจาก

พระสัทธรรม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 650

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้

ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอไม่หมั่น

เพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ

ลาภไม่เกิดขึ้น เธอย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญ

ถึงความหลงใหล ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความ

ปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ไม่ได้ลาภ เศร้าโศก

ร่ำไร และเคลื่อนจากพระสัทธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้

ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอไม่หมั่น

เพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ

ลาภเกิดขึ้น เธอย่อมมัวเมาถึงความประมาทเพราะลาภนั้น ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียร

พยายามเพื่อจะได้ลาภ ได้ลาภแล้ว มัวเมาประมาท และเคลื่อนจาก

พระสัทธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐาน

ให้ต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอหมั่น

เพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ

ลาภไม่เกิดขึ้น เธอไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก

คร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลเพราะไม่ได้ลาภ นั้น ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ หมั่นเพียรพยายาม

เพื่อได้ลาภ ไม่ได้ลาภแล้ว ไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร และไม่เคลื่อน

จากพระสัทธรรม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 651

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้

ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอหมั่นเพียร

พยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอหมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ลาภ

เกิดขึ้น เธอไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาทเพราะได้ลาภนั้น ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ หมั่นเพียร

พยายามเพื่อได้ลาภ ได้ลาภแล้วไม่มัวเมาประมาท และไม่เคลื่อน

จากพระสัทธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้

ติดต่อเนื่องกันไป ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอไม่หมั่น

เพียรพยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ

ลาภไม่เกิดขึ้น เธอไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก

คร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหลเพราะไม่ได้ลาภนั้น ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียร

พยายามเพื่อได้ลาภอยู่ ไม่ได้ลาภแล้ว ไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร และ

ไม่เคลื่อนจากพระสัทธรรม.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบสงัด ไม่เจริญกรรมฐานให้

ติดต่อเนื่องกัน ย่อมเกิดความปรารถนาเพื่อได้ลาภ เธอไม่หมั่นเพียร

พยายามเพื่อได้ลาภ เมื่อเธอไม่หมั่นเพียรพยายามเพื่อได้ลาภ ลาภ

เกิดขึ้น เธอไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาทเพราะได้ลาภนั้น ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่าผู้มีความปรารถนาลาภ ไม่หมั่นเพียร

พยายามเพื่อได้ลาภ ได้ลาภแล้ว ไม่มัวเมาประมาท และไม่เคลื่อน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 652

จากพระสัทธรรม ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคล ๘ จำพวกนี้แล

มีปรากฏอยู่ในโลกนี้.

จบ อิจฉาสูตรที่ ๗

๘. ปฐมลัจฉาสูตร

[๑๗๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ เป็นผู้มีความเข้าใจเร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรง

จำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว

รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ เป็นผู้มีวาจางาม

กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย

ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชีแจงพรหมจารีให้เห็นแจ้งแล้ว

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ

ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น.

จบ ลัจฉาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 653

๙. ทุติยลัจฉาสูตร

[๑๗๖] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน

และผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย

เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้

ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของ

ชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รูปประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจง

สพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๒ ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็น

ผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น.

จบ ลัจฉาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 654

๑๐. ตติยลัจฉาสูตร

[๑๗๗] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม

๔ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน

แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๔

ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น

ผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรม

ที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว ๑

รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็นผู้มีวาจา

งามกล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละ-

สลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ หาชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงไม่ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลแก่ผู้อื่น.

จบ ตติยลัจฉาสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 655

๑๑. จตุตถลัจฉาสูตร

[๑๗๘] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น

แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๔

ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น

ผู้มีความเข้าใจเร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรมที่

ได้ฟังแล้ว ๑ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำไว้

หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจา

งามกล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน

สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารี

ให้เห็นแจ้ง ให้สมทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอัน

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน.

จบ จตุตถลลัจฉาสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 656

๑๒. ปัญจมลัจฉาสูตร

[๑๗๙] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม

๓ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน

แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๓

ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็น

ผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ทรงจำธรรม

ที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำไว้แล้ว ๑

รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ หาเป็นผู้มีวาจา

งาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน

สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ไม่ และหาชี้แจงสพรหมจารี

ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงไม่ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลแก่ผู้อื่น.

จบ ปัญจมลัจฉาสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 657

๑๓. ฉัฏฐลัจฉาสูตร

[๑๘๐] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓

ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น

แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๓

ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่

เป็นผู้มีความเข้าใจเร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้ทรงจำธรรม

ที่ได้ฟังแล้ว ๑ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำไว้แล้ว

หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจา

งามกล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน

สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน.

จบ ฉัฏฐลัจฉาสูตรที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 658

๑๔. สัตตมลัจฉาสูตร

[๑๘๑] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม

๒ ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน

แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ธรรม ๒

ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่

เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ทรงจำ

ธรรมที่ได้ฟังแล้ว แต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำแล้ว

รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ไม่เป็นผู้มี

วาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน

สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ไม่ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุประกอบ

ด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลแก่ตน แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

แก่ผู้อื่น.

จบ สัตตมลัจฉาสูตรที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 659

๑๕. อัฏฐมลัจฉาสูตร

[๑๘๒] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒

ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเธอประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น

แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ธรรม ๒

ประการเป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่

เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นผู้ทรงจำ

ธรรมที่ได้ฟังแล้ว ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ได้ทรงจำไว้แล้ว

หารู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ เป็นผู้มีวาจา

งาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอัน

สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็น

แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ๑ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถในอัน

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น แต่ไม่สามารถในอันปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน.

จบ อัฏฐมลัจฉาสูตรที่ ๑๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 660

๑๖. ปริหานสูตร

[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็น

ไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน. คือ

ความเป็นผู้ยินดีการงาน ๑ ความเป็นผู้ยินดีในการคุย ๑ ความเป็น

ผู้ยินดีในความหลับ ๑ ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑

ความเป็นไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่

รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ความเป็นผู้ยินดีในธรรมเครื่องข้อง ๑

ความเป็นผู้ยินดีในธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

จบ ปริหานสูตรที่ ๑๖

อรรถกถาปริหานสูตรที่ ๙

ปริหานสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า สสคฺคารามตา ได้แก่ ความเป็นผู้ยินดีในธรรมเครื่อง

ข้อง ๕ ประการ.

จบ อรรถกถาปริหานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 661

๑๗. อปริหานสูตร

[๑๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมเป็น

ไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน

คือ ความเป็นผู้ไม่ยินดีการงาน ๑ ความเป็นผู้ไม่ยินดีในการคุย ๑

ความเป็นผู้ไม่ยินดีในความหลับ ๑ ความเป็นผู้ไม่ยินดีในการ

คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑

ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ความเป็นผู้ไม่ยินดีในธรรม

เครื่องข้อง ๑ ความเป็นผู้ไม่ยินดีในธรรมเครื่องเนิ่นช้า ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม

แก่ภิกษุผู้เสขะ.

จบ อปริหานสูตรที่ ๑๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 662

๑๘. กุสีตวัตถุสูตร

[๑๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุสีตวัตถุ ๘ ประการนี้ ๘

ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ต้อง

ทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงาน ก็เมื่อ

เราทำการงานอยู่ กายจักลำบาก ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอนอนเสีย

ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่

ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุ

ประการที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้

ว่า เราแลทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ กายลำบากแล้ว

ผิฉะนั้น เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรม

ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรม

ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายจักลำบาก ผิฉะนั้น

เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงทางที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุทางที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งทางที่ยังไม่ทำให้แจ้ง

นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

เราได้เดินทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ กายลำบากแล้ว ผิฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 663

เราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงทางที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุทางที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งทางที่ยังไม่ทำให้แจ้ง

นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม

ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ เธอ

มีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวเดินบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม

ไม่ได้โภชนะอันเศร้าหมองหรือประณีตพอแก่ความต้องการ กาย

ของเรานั้นลำบากแล้ว ไม่ความแก่การงาน ผิฉะนั้น เราจะนอน

เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุประการ

ที่ ๕.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม

ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความตามต้องการ เธอ

มีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ได้

โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการแล้ว กายของ

เรานั้นหนัก ไม่ควรแก่การงาน เหมือนถั่วชุ่มด้วยน้ำ ผิฉะนั้นเรา

จะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็นกุสีตวัตถุ

ประการที่ ๖.

อีกประการหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความ

คิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดแก่เราแล้ว มีข้ออ้างเพื่อจะนอน

ผิฉะนั้นเราจะนอน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้เป็น

กุสีตวัตถุประการที่ ๗.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 664

อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน

กายของเรายังอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน ผิฉะนั้นเราจักนอนเสีย

ก่อน เธอนอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงการงานที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุการงานที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง การงานที่ยังไม่ได้

ทำให้แจ้ง นี้เป็นกุสีตวัตถุประการที่ ๘ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุสีตวัตถุ

๘ ประการนี้แล.

จบ กุสีตวัตถุสูตรที่ ๑๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 665

๑๙. อารัพภวัตถุสูตร

[๑๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารัพภวัตถุ ๘ ประการนี้

๘ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ต้องทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงานแล

ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่พึงทำมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายได้ง่าย ผิฉะนั้น เราจะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน

เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง

ธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง

นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำการงานแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

เราได้ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงานอยู่ ไม่สามารถมนสิการ

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความ

เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อ

ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง เธอปรารภความเพียร เพื่อถึง

ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม

ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุต้องเดินทาง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ไม่พึงกระทำมนสิการ

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ง่าย ผิฉะนั้น เราจะปรารภ

ความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๓.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 666

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเดินทางแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

เราได้เดินทางแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ไม่สามารถมนสิการ

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภความ

เพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม

ไม่ได้โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ เธอมี

ความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตตามบ้านหรือนิคม ไม่ได้

โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต พอแก่ความต้องการ กายของเรา

นั้นเบาควรแก่การงาน ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ

นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๖.

อีกประการหนึ่ง อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความ

คิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เรา การที่อาพาธของเรา

จะพึงกลับกำเริบนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ผิฉะนั้น เราจะปรารภ

ความเพียร ฯลฯ นี้เป็นอารัพภวัตถุประการที่ ๗.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากอาพาธแล้ว แต่ยังหายไม่นาน

การที่อาการของเราจะพึงกลับกำเริบนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ผิฉะนั้น

จะรีบปรารภความเพียรเสียก่อน เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ

ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง

เธอปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 667

ยังไม่บรรลุ. เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้เเจ้ง นี้เป็นอารัพภวัตถุ

ประการที่ ๘ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอารัพภวัตถุ ประการนี้แล.

จบ อารัพภวัตถุสูตรที่ ๑๙

อรรถกถากุสีตารพภวัถุสูตรที่ ๑๐

กุสีตารัพภวัตถุสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า กุสีตวตฺถูนิ ได้แก่ วัตถุคือที่ตั้งแห่งคนเกียจคร้าน คือ

คนขี้เกียจ อธิบายว่า เหตุแห่งความเกียจคร้าน. บทว่า กมฺม

กตฺตพฺพ โหติ ได้แก่ จำต้องทำงานมีการกะจีวรเป็นต้น. บทว่า

น วีริย อารภติ ได้แก่ ไม่ปรารภความเพียรทั้ง ๒ อย่าง. บทว่า

อปฺปตฺตสฺส ได้แก่ เพื่อถึงธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล

ที่ยังไม่ถึง. บทว่า อนธิคตสฺส ได้แก่ เพื่อบรรลุธรรม คือฌาน

เป็นต้น นั้นนั่นแหละที่ยังไม่บรรลุ. บทว่า อสจฺฉิกตสฺส ได้แก่

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม คือฌานเป็นต้นนั้นนั่นแหละ ที่ยังไม่ได้ทำ

ให้แจ้ง บทว่า อิท ปน ความว่า การท้อถอยอย่างนี้ว่า เอาเถิด

เราจะนอน นี้เป็นกุสีตวัตถุเหตุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ ๑. พึง

ทราบความในทุกบทโดยนัยนี้. ก็ในบทว่า มาสาจิต มญฺเ นี้มี

วินิจฉัยต่อไปนี้. ชื่อว่าจิตที่หลง เปรียบเหมือนถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำ

อธิบายว่า ถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำเป็นของหนักฉันใด ภิกษุก็เป็น

ผู้หนักฉันนั้น. บทว่า คิลานา วฏฺิโต โหติ ความว่า ภิกษุเป็นไข้

ภายหลังหายไข้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 668

บทว่า อารพฺภวตฺภูนิ ได้แก่ เหตุแห่งความเพียร. พึงทราบ

ความแห่งเหตุของความเพียรแม้นั้นโดยนัยนี้. คำที่เหลือในทุกบท

ง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถากุสีตวัตถุสูตรที่ ๑๘ อารัพภวัตถุสูตรที่ ๑๙

จบ อรรถกถากุสีตารัพภวตถุสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฏิปทาสูตร ๖ สูตร ๒. อิจฉาสูตร ๓. ลัจฉาสูตร ๘ สูตร

๔. ปริหานสูตร ๕. อปริหานสูตร ๖. กุสีตวตถุสูตร ๗. อารัพภวัตถุสูตร

และอรรถกถา

จบ ยมวรรคที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 669

สติวรรคที่ ๔

๑. สติสูตร

[๑๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริ

และโอตตัปปะ ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีสติและสัมปชัญญะวิบัติ

กำจัดเสียแล้ว เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรีย์สังวรชื่อว่ามีเหตุ

อันบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่ออินทรียสังวร

ไม่มี ศีลชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติกำจัดเสียแล้ว

เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีศีลวิบัติกำจัดเสีย

แล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล

ผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี

นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ

กำจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะ ชื่อว่ามีเหตุ

อันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้

มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์

แม้เปลือก แม้กะพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ หิริและโอตตัปปะ

ชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ

เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อม

มีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่

ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 670

เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้

สมบูรณ์ด้วยศีล เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะชื่อว่า

มีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลสมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ เมื่อยถา-

ภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่

บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนนะ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่

วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์ ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์

ด้วยนิพพิทาวิราคะ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์

แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กะพี้ แม้แก่น

ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ฉะนั้น.

จบ สติสูตรที่ ๑

สติวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาสติสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๙ สติสูตรที่ ๑ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.

จบ อรรถกถาสติสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 671

๒. ปุณณิยสูตร

[๑๘๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณิยะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่บางครั้งพระธรรมเทศนาแจ่มแจ้ง

กะพระตถาคต บางครั้งไม่แจ่มแจ้ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มี

ศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหาเพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่

แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา

เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ

ภิกษุผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้เพียงใด ธรรม

เทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้

มีศรัทธา...และเข้าไปนั่งใกล้ เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อม

แจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และเข้าไปนั่งใกล้

แต่ไม่สอบถามเพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้ง

เพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และสอบถาม เมื่อนั้น

ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มี

ศรัทธา... และสอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตลงสดับธรรมเพียงใด ธรรม-

เทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้

มีศรัทธา... และเงี่ยโสตลงสดับธรรม แต่ฟังธรรมแล้วไม่ทรงจำไว้

เพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 672

ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และฟังแล้วทรงจำไว้ เมื่อนั้น ธรรมเทศนา

ของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา...

และฟังแล้วทรงจำไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้

เพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด

ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้

เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุ

เป็นผู้มีศรัทธา... และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้

แต่ไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเพียงใด

ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุ

เป็นผู้มีศรัทธา... และรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่

ธรรม เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ

ธรรมเทศนาของตถาคต มีปฏิญาณโดยส่วนเดียว อันประกอบด้วย

ธรรมเหล่านี้แล ย่อมแจ่มแจ้ง.

จบ ปุณณิยสูตรที่ ๒

อรรถกถาปุณณิยสูตรที่ ๒

ปุณณิยสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า สทฺโธ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศรัทธา ๒ อย่าง. บทว่า

โน จ ปยิรุปาสิตา แปลว่า ไม่เข้าไปบำรุง. บทว่า โน จ ปริปุจฺฉิตา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 673

แปลว่า ไปสอบถามประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ เหตุและมิใช่เหตุ.

บทว่า สมนฺนาคโต เป็นปฐมาวิภัติลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัติ.

อธิบายว่า สมนฺนาคตสฺส ผู้ประกอบแล้ว. บทว่า เอกนฺตปฏิภาณ

ตถาคต ธมฺมเทสนา โหติ ความว่า ธรรมเทศนาการแสดงธรรมของ

พระตถาคต แจ่มแจ้งโดยส่วนเดียว อธิบายว่า ย่อมแจ่มแจ้ง ย่อม

ปรากฏโดยส่วนเดียว.

จบ อรรถกถาปุณณิยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 674

๓. มูลสูตร

[๑๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

พึงถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล

มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็นสมุทัย มีอะไรเป็นที่ประชุมลง

มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไรยิ่งกว่า มีอะไรเป็นแก่น

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์-

ปริพาชกเหล่านั้นว่าอย่างไร.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมแห่ง

ข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล มีพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้ง

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

จักทรงจำไว้.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นเธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ

ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า พวกอัญญ-

เดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ธรรม

ทั้งปวง มีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นแดนเกิด มีอะไรเป็นสมุทัย มี

อะไรเป็นที่ประชุมลง มีอะไรเป็นประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไร

ยิ่งกว่า มีอะไรเป็นแก่น เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์

แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 675

ทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นทูล มีมนสิการเป็นแดนเกิด มี

ผัสสะเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง มีสมาธิเป็นประมุข

มีสติเป็นใหญ่ มีปัญญาเป็นยิ่ง มีวิมุตติเป็นแก่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายถูกถามอย่างแล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์-

ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

จบ มูลสูตรที่ ๓

อรรถกถามูลสูตรที่ ๓

มูลสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา ได้แก่ ขันธ์ ๕. บทว่า ฉนฺทมูลกา

ความว่า ชื่อว่า มีฉันทะเป็นมูล เพราะมีฉันทะคืออัธยาศัยและฉันทะ

คือความเป็นสู่ใคร่จะทำเป็นมูลของขันธ์ ๕ นั้น. ชื่อว่ามีมนสิการเป็น

แดนเกิด เพราะเกิดแต่มนสิการ. ชื่อว่ามีผัสสะเป็นสมุทัย เพราะ

เกิด คือรวมเป็นกลุ่มผัสสะ ชื่อว่า มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง

เพราะประชุมลงในเวทนา. ชื่อว่ามีสมาธิเป็นประมุข เพราะมี

สมาธิเป็นประธาน. ชื่อว่ามีสติเป็นใหญ่ เพราะมีสติเป็นอธิบดี

ด้วยอรรถว่าเจริญที่สุด อธิบายว่า มีสติเป็นหัวหน้า. ชื่อว่ามีปัญญา

เป็นยอด เพราะอรรถว่ามีปัญญาสูงสุด. ชื่อว่ามีวิมุตติเป็นแก่น

เพราะมีวิมุตติเป็นสาระ. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโลกิยธรรม

ทั้ง ๔ มีฉันทะเป็นมูล เป็นต้น ที่เหลือตรัสคละกันทั้งโลกิยะและ

โลกุตตระแล.

จบ อรรถกถามูลสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 676

๔. โจรสูตร

[๑๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘

ประการ ย่อมพลันเสื่อม ตั้งอยู่ไม่นาน องค์ ๘ ประการเป็นไฉน

คือ ประหารคนที่ไม่ประหารตอบ ๑ ถือเอาสิ่งของไม่เหลือ ๑

ลักพาสตรี ๑ ประทุษร้ายกุมารี ๑ ปล้นบรรพชิต ๑ ปล้นราชทรัพย์ ๑

ทำงานใกล้ถิ่นเกินไป ๑ ไม่ฉลาดในการเก็บ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล ย่อมพลันเสื่อม ตั้งอยู่

ไม่นาน.

[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘

ประการ ย่อมไม่เสื่อมเร็ว ตั้งอยู่ได้นาน ๘ ประการเป็นไฉน คือ

ไม่ประหารคนที่ประหาร ๑ ไม่ถือเอาของจนไม่เหลือ ๑ ไม่ลักพา

สตรี ๑ ไม่ประทุษร้ายกุมารี ๑ ไม่ปล้นบรรพชิต ๑ ไม่ปล้น

ราชทรัพย์ ๑ ไม่ทำงานใกล้ถิ่นเกินไป ๑ ฉลาดในการเก็บ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล

ไม่เสื่อมเร็ว ตั้งอยู่ได้นาน

จบ โจรสูตรที่ ๔

อรรถกถาโจรสูตรที่ ๔

โจรสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า มหาโจโร ได้แก่ มหาโจรผู้สามารถประทุษร้าย

ราชสมบัติได้. บทว่า ปริยาปชฺชติ ได้แก่ ถึงการยึดครอง บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 677

น จิรฏฺิติโก โหติ ได้แก่ ไม่สามารถจะรักษาให้ดำรงอยู่ได้นาน

บทว่า อปฺปหรนฺตสฺส ปหรติ ความว่า ประหารบุคคลผู้ไม่มีเวร

แก่ตน ผู้ไม่ประหารตน ได้แก่ บุคคลผู้มีคุณความดี คนแก่ และ

คนหนุ่มผู้ไม่ควรประหาร. บทว่า อนวเสส อาทิยติ ได้แก่ ยึดเอา

ไม่ให้เหลือ. จริงอยู่ ธรรมเนียมของโจรผู้ฉลาดมีดังนี้ :- ในผ้า ๒

ผืน ของคนอื่น ถือเอาแต่ ๑ ผืน เมื่อมี ๑ ผืน ให้ส่วนที่ชำรุด ถือเอา

แต่ที่ดี บรรดาห่อข้าวสุกและข้าวสารเป็นต้น ให้ส่วนหนึ่ง ถือเอา

ส่วนหนึ่ง. บทว่า อจฺจาสนฺเน กมฺม กโติ ความว่า กระทำโจรกรรม

ในที่ใกล้ชิดคามนิคม และราชธานี. บทว่า น จ นิธานกุสโล โหติ

ความว่า ย่อมไม่เป็นผู้ฉลาด จะเก็บฝังทรัพย์ที่ได้มาลงไว้ใน

ทักขิไณยบุคคล คือ ไม่ชำระทางไปสู่ปรโลก.

จบ อรรถกถาโจรสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 678

๕. สมณสูตร

[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สมณะ เป็นชื่อของ

พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่า พราหมณ์ คำว่า

ผู้ถึงเวท คำว่า ศัลยแพทย์ คำว่า ไม่มีมลทิน คำว่า ผู้ปราศจาก

มลทิน คำว่า ผู้มีญาณ คำว่า หลุดพ้น เป็นชื่อของพระตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

คุณชาติใด อันเราผู้เป็นสมณะ เป็น

พราหมณ์ อยู่จบพรหมจรรย์ พึงกระทำ คุณชาติ

ใด อันเราผู้ถึงเวท ผู้เป็นศัลยแพทย์อย่างยอด

เยี่ยม พึงบรรลุ คุณชาติใด อันเราผู้ไม่มีมลทิน

ผู้ปราศจากมลทิน อยู่จบพรหมจรรย์ พึงบรรลุ

และคุณชาติใด อันเราผู้มีญาณ ผู้หลุดพ้นแล้ว

อย่างยอดเยี่ยม พึงบรรลุ คุณชาตินั้น ๆ เราบรรลุ

แล้ว เรานั้นชนะสงครามแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว

พ้นจากเครื่องผูกคือมาร เราเป็นผู้ประเสริฐ เป็น

ผู้ฝึกตนชั้นเยี่ยม เป็นเสขบุคคลปรินิพพานแล้ว.

จบ สมณสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 679

อรรถกถาสมณสูตรที่ ๕

สมณสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ย สมเณน ความว่า คุณชาติใดอันสมณะพึงถึง.

บทว่า วุสีมตา ได้แก่ อยู่จบพรหมจรรย์. บทว่า มุตฺโต โมเจมิ

พนฺธนา ความว่า เราเป็นผู้พ้นจากเครื่องผูกทั้งปวงด้วยตนเองแล้ว

ยังทำมหาชนให้พ้นจากเครื่องผูกมีราคะเป็นต้นด้วย. บทว่า

ปรมทนฺโต ความว่า เป็นผู้อันใคร ๆ อื่นไม่ได้ให้ศึกษา ไม่ได้ให้

โอวาท รู้แจ้งสยัมภูญาณ ชื่อว่า เป็นผู้ฝึกแล้วอย่างเยี่ยม เพราะฝึก

แล้วด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ ปรินิพพาน

แล้วด้วยกิเลสปรินิพพาน.

จบ อรรถกถาสมณสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 680

๖. ยสสูตร

[๑๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้น-

โกสัมพีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงพราหมณคาม

แห่งชนชาวโกศล ชื่ออิจฉานังคละ. ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้พราหมณคาม

ชื่ออิจฉานังคละ.

พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ ได้สดับข่าวว่า

พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยะตระกูล เสด็จถึง

บ้านอิจฉานังคละ ประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้

พราหมณคามชื่ออิจฉานังคละ ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดม

พระองค์นั้นขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ ก็การได้เห็น

พระอรหันต์ เห็นปานฉะนี้ เป็นการดีแล ครั้งนั้น พวกพราหมณ์

และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ. เมื่อล่วงราตรีนั้นไป พากันถือ

ของเคี้ยวของกินเป็นจำนวนมาก เข้าไปทางไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ

ครั้นแล้วได้ยืนชุมนุมกันส่งเสียงอื้ออึงอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอก.

สมัยนั้น ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระนาคิตะว่า ดูก่อนนาคิตะ

ก็พวกใครที่ส่งเสียงอื้ออึงอยู่นั้นคล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน

ท่านพระนาคิตะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และ

คฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละเหล่านี้ พากันถือของเคี้ยวของกิน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 681

เป็นจำนวนมาก มายืนชุมนุมกันอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอก เพื่อถวาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุสงฆ์.

พ. ดูก่อนนาคิตะ เธออย่าติดยศ และยศก็อย่าติดเรา ดูก่อน

นาติตะ ผู้ใดแลไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก

ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่

วิเวก สุขอันเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้ ที่เราพึงได้

ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ผู้นั้นชื่อว่าพึงยินดี

สุขอันไม่สะอาด สุขในการหลับนอน และสุขที่อาศัยลาภสักการะ

และการสรรเสริญ.

น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรับ ขอพระสุคตจงทรงรับ บัดนี้เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

จะทรงรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จไปทางใด ๆ พราหมณ์

คฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท ก็จักหลั่งไหลไปทางนั้น ๆ เปรียบ

เหมือนฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำก็ย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีศีลและปัญญา.

พ. ดูก่อนนาคิตะ เธออย่าติดยศ และยศอย่าติดเรา ดูก่อน

นาคิตะ ผู้ใดแลไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก

ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่

วิเวก สุขอันเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้ ที่เราพึงได้

ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ผู้นั้นชื่อว่าพึงยินดี

ความสุขที่ไม่สะอาด สุขในการหลับนอน และสุขที่อาศัยลาภ

สักการะและการสรรเสริญ ดูก่อนนาคิตะ แม้เทวดาบางพวกก็ไม่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 682

พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่

ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก สุขอันเกิด

แต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่การตรัส ที่เราพึงได้ตามปรารถนา

ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ดูก่อนนาคิตะ แม้เธอทั้งหลายมาประชุม

พร้อมหน้ากัน ประกอบการอยู่ด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อม

มีความเห็นอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา

ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่

เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้ ที่เราพึงได้ตามความปรารถนา

ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก แน่นอน ก็ความจริงเป็นอย่างนั้น เพราะ

ท่านเหล่านี้มาประชุมพร้อมหน้ากัน ประกอบการอยู่ด้วยการ

คลุกคลีด้วยหมู่คณะอยู่ ดูก่อนนาคิตะ เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรม

วินัยนี้ ใช้นิ้วจี้เล่นกระซิกกระซี้กันและกันอยู่ เรานั้นมีความคิด

อย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดย

ไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอัน

เกิดแต่วิเวก สุขขึ้นเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้ ที่เรา

พึงได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก แน่นอน ความ

จริงเป็นอย่างนั้น เพราะท่านเหล่านี้มัวใช้นิ้วจี้เล่นกระซิกกระซี้

กันและกันอยู่.

ดูก่อนนาคิตะ ก็เราเห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ฉัน

อาหารเต็มท้องพอความต้องการแล้ว มัวประกอบด้วยความสุขใน

การนอน สุขในการเอน สุขในการหลับอยู่ เรานั้นมีความคิดอย่างนี้

ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พึงได้ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 683

ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่

วิเวก สุขอันเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่การตรัสรู้ ที่เราพึงได้

ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก แน่นอน

ความจริงเป็นอย่างนั้น เพราะท่านเหล่านี้ฉันอาหารเต็มท้องพอความ

ต้องการแล้ว มัวประกอบความสุขในการนอน สุขในการเอน

สุขในการหลับอยู่.

ดูก่อนนาคิตะ เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ นั่งสมาธิอยู่ที่

วิหารใกล้บ้าน เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ คนวัดหรือสมณุเทส

จักบำรุงท่านผู้นี้ ทำให้เธอไปจากสมาธินั้นเสีย เพราะเหตุนั้น เรา

จึงไม่พอใจแล้ว การอยู่ใกล้บ้านของภิกษุนั้น.

ดูก่อนนาคิตะ ก็เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ นั่งโงกง่วงอยู่

ในป่า เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้นี้พอบรรเทาความ

ลำบากในการนอนหลับนี้ได้แล้ว จักกระทำความสำคัญว่าอยู่ในป่า

ไว้ในไจได้ประมาณเท่านี้ เพราะเหตุนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่

ในป่าของภิกษุนั้น.

ดูก่อนนาคิตะ ก็เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ นั่งไม่เป็นสมาธิ

อยู่ในป่า เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้นี้จักตั้งมั่นจิต

ที่ยังไม่ตั้งมั่น หรือจักตามรักษาจิตที่ตั้งมั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น เรา

จึงพอใจด้วยการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น.

ดูก่อนนาคิตะ ก็เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถือการอยู่ป่า

นั่งสมาธิอยู่ เรานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้นี้จักเปลื้องจิต

ที่ยังไม่หลุดพ้น หรือจักตามรักษาจิตที่หลุดพ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 684

เราจึงพอใจด้วยการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น.

ดูก่อนนาคิตะ สมัยใด เราเดินทางไกลไม่เห็นอะไร ๆ ข้างหน้า

ข้างหลังสมัยนั้น เรามีความผาสุก โดยที่สุดการถ่ายอุจาระปัสสาวะ.

จบ สมณสูตรที่ ๖

อรรถกถายสสูตรที่ ๖

ยสสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มา จ มยา ยโส ความว่า ยศอย่าไปกับเราเลย. บทว่า

อกสิราลาภี ได้แก่ ได้อย่างไพบูลย์. บทว่า สีลปญฺาณ ได้แก่ ศีล

และความรู้ทั่วไป. บทว่า สงฺคมฺม แปลว่า ประชุมแล้ว. บทว่า

สมาคมมฺ แปลว่า มาประชุมกันแล้ว. บทว่า สงฺคณิกวิหาร แปลว่า

การอยู่คลุกคลีด้วยหมู่. บทว่า นห นูนเม ตัดเป็น น หิ นูน อิเม

บทว่า ตถา หิ ปนเม ตัดบทเป็น ตถา หิ ปน อิเม. บทว่า

องฺคุลิปโฏทเกน ได้แก่ ด้วยเอานิ้วมือทำต่างด้ามปฏักแล้วจี้.

บทว่า สชคฺฆนฺเต ได้แก่ หัวเราะกันดัง. บทว่า สงฺกีฬนฺเต ได้แก่

ทำการแหย่เย้ากัน.

จบ อรรถกถายสสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 685

๗. ปัตตสูตร

[๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์หวังอยู่ พึงคว่ำบาตรแก่

อุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ องค์ ๘ ประการเป็นไฉน

คือ อุบาสกพยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่ภิกษุทั้งหลาย ๑ พยายาม

เพื่อความฉิบหายแก่ภิกษุทั้งหลาย ๑ พยายามเพื่อความอยู่ไม่ได้แก่

ภิกษุทั้งหลาย ๑ ย่อมด่าย่อมบริภาษภิกษุทั้งหลาย ๑ ยุยงภิกษุ

ทั้งหลายให้แตกจากภิกษุทั้งหลาย ๑ ติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ ติเตียน

พระธรรม ๑ ติเตียนพระสงฆ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์หวังอยู่

พึงคว่ำบาตรแก่อุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล.

[๑๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์หวังอยู่ พึงหงายบาตรแก่

อุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ องค์ ๘ ประการเป็นไฉน คือ

อุบาสกไม่พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่ภิกษุทั้งหลาย ๑ ไม่พยายาม

เพื่อความฉิบหายแก่ภิกษุทั้งหลาย ๑ ไม่พยายามเพื่อความอยู่ไม่ได้

แก่ภิกษุทั้งหลาย ๑ ไม่ด่าไม่บริภาษภิกษุทั้งหลาย ๑ ไม่ยุยงภิกษุ

ทั้งหลายให้แตกจากภิกษุทั้งหลาย ๑ สรรเสริญพระพุทธเจ้า ๑

สรรเสริญพระธรรม ๑ สรรเสริญพระสงฆ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สงฆ์หวังอยู่ พึงหงายบาตรแก่อุบาสกผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

นี้แล.

จบ ปัตตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 686

อรรถกถาปัตตสูตรที่ ๗

ปัตตสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า นิกฺกุชฺเชยฺย ได้แก่ พึงคว่ำบาตรด้วยกรรมวาจา

ที่สวดในนิกกุชชนกรรมคว่ำบาตร เพื่อไม่ให้รับไทยธรรมที่อุบาสก

นั้นถวาย ไม่ใช่คว่ำบาตรโดยคว่ำปากบาตรลง. บทว่า อลาภาย

ได้แก่ เพื่อไม่ให้ได้ปัจจัย ๔. บทว่า อนตฺถาย ได้แก่ เพื่ออันตราย

คือ เพื่อความไม่เจริญ. บทว่า อุกฺกุชฺเชยฺย ได้แก่ พึงหงายบาตร

ด้วยกรรมวาจาที่สวดในอุกกุชชนกรรมหงายบาตร.

จบ อรรถกถาปัตตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 687

๘. อัปปสาทสูตร

[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศ

ความไม่เลื่อมใสแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ธรรม

๘ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุพยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่

คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ พยายามเพื่อความฉิบหายแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑

ด่าบริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกจาก

คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ ติเตียนพระธรรม ๑

ติเตียนพระสงฆ์ ๑ และเทวดาย่อมเห็นภิกษุนั้นโดยประการนั้น ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศความไม่เลื่อมใส

แก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล.

[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกหวังอยู่ พึงประกาศ

ความเลื่อมใสแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ธรรม ๘

ประการไฉน คือ ภิกษุไม่พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่

คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ไม่ยายามเพื่อความฉิบหายแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑

ไม่ด่าไม่บริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ไม่ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้

แตกจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ สรรเสริญพระพุทธเจ้า ๑ สรรเสริญ

พระธรรม ๑ สรรเสริญพระสงฆ์ ๑ และเพราะเหตุนี้ เทวดา

ทั้งหลายย่อมสรรเสริญอุบาสกนั้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสก

หวังอยู่ พึงประกาศความเลื่อมใสแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘

ประการนี้แล.

จบ ปสาทสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 688

อรรถกถาอัปปสาทสูตรที่ ๘

อัปปสาทสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปฺปสาท ปเวเทยฺยุ ได้แก่ พึงทำให้เขาเข้าใจถึง

ความเป็นผู้ไม่เลื่อมใส. ถามว่า ก็เมื่อจะประกาศความไม่เลื่อมใส

จะต้องทำอย่างไร ? ตอบว่า ไม่ลุกจากอาสนะที่ตนนั่ง ไม่ไหว้

ไม่ออกไปทำการต้อนรับ ไม่ถวายไทยธรรม. บทว่า อโคจเร

ได้แก่ อโคจร ๕ อย่าง.

จบ อรรถกถาอัปปสาทสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 689

๙. ปฏิสารณียสูตร

[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์หวังอยู่ พึงพระทำ

ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ธรรม ๘

ประการเป็นไฉน คือ พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่คฤหัสถ์

ทั้งหลาย ๑ พยายามเพื่อความฉิบหายแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ด่า

บริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้แตกจากคฤหัสถ์

ทั้งหลาย ๑ ติเตียนพระพุทธเจ้า ๑ ติเตียนพระธรรม ๑ ติเตียน

พระสงฆ์ ๑ ไม่ยังคำรับต่อคฤหัสถ์ที่ชอบธรรมให้เป็นจริง ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์หวังอยู่ พึงกระทำปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุ

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล.

[๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์หวังอยู่พึงระงับปฏิสารณีย-

กรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ธรรม ๘ ประการ

เป็นไฉน คือ ภิกษุไม่พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแก่คฤหัสถ์

ทั้งหลาย ๑ ไม่พยายามเพื่อความฉิบหายแก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑

ไม่ด่าไม่บริภาษคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ ไม่ยุยงคฤหัสถ์ทั้งหลายให้

แตกจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย ๑ สรรเสริญพระพุทธเจ้า ๑ สรรเสริญ

พระธรรม ๑ สรรเสริญพระสงฆ์ ๑ และยังคำรับต่อคฤหัสถ์ที่ชอบ

ธรรมให้เป็นจริง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงฆ์หวังอยู่ พึงระงับ

ปฏิสารณียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล.

จบ ปฏิสารณียสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 690

อรรถกถาปฏิสารณียสูตรที่ ๙

ปฏิสารณียสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ธมฺมิกญฺจ คิหิปฏิสฺสว ความว่า เมื่อคฤหัสถ์

อาราธนาว่า ท่านอยู่เสียในที่นี้แหละตลอดไตรมาสนี้ ก็รับคำ

โดยนัยเป็นต้นว่า จบเป็นอย่างนั้นเถิด ชื่อว่าปฏิสวะรับคำ. บทว่า

น สจฺจาเปติ ได้แก่ ไม่กระทำคำสัตย์ คือกล่าวให้คลาดเคลื่อน.

จบ อรรถกถาปฏิสารณียสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 691

๑๐. วัตตสูตร

[๒๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อันสงฆ์ลงตัสสปา-

ปิยสิกากรรม ต้องประพฤติชอบในธรรม ๘ ประการ คือ ไม่พึงให้

อุปสมบท ๑ ไม่พึงให้นิสัย ๑ ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก ๑ ไม่พึง

ยินดีการสมมติตนเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี ๑ แม้ได้รับสมมติแล้ว

ก็ไม่พึงโอวาทภิกษุณี ๑ ไม่พึงยินดีการได้รับสมมติจากสงฆ์ไร ๆ ๑

ไม่พึงนิยมในตำแหน่งหัวหน้าตำแหน่งไร ๑ ไม่พึงให้ประพฤติ

วุฏฐานวพิธีเพราะตำแหน่งเดิมนั้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ผู้อันสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแล้ว พึงประพฤติชอบในธรรม

๘ ประการนื้.

จบ วัตตสูตรที่ ๑๓

อรรถกถาวัตตสูตรที่ ๑๐

วัตตสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปจฺเจกฏฺาเน ได้แก่ ในตำแหน่งอธิบดีสงฆ์ คือ

ในตำแหน่งหัวหน้า. จริงอยู่ (ไม่) ควรทำผู้นั้นให้เป็นหัวหน้าแล้ว

ทำสังฆกรรมอะไร ๆ. บทว่า น จ เตน มูเลน วุฏฺาเปตพฺพ ความว่า

จะทำกรรม คืออัพภาน เรียกเข้าหมู่สงฆ์และวุฏฐานออกจากครุกาบัติ

ทำผู้นั้นให้เป็นมูล คือหัวหน้าไม่ได้ คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถ

ง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาวัตตสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 692

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สติสูตร ๒. ปุณณิยสูตร ๓. มูลสูตร ๔. โจรสูตร

๕. สมณสูตร ๖. ยสสูตร ๗. ปัตตสูตร ๘. อัปปสาทสูตร

๙. ปฏิสารณียสูตร ๑๐. วัตตสูตร.

จบ สติวรรคที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 693

สามัญญวรรคที่ ๕

นางโพชฌา นางสิริมา นางปทุมา นาง

มนุชา นางอุตตรา นางมุตตา นางเขมา นางรุจี

นางจุนที นางพิมพี นางสุมนา นางมัลลิกา นาง

ติสสมาตา นางโสณมาตา นางกาณมาตา นาง

อุตตรมาตา นางวิสาขามิคารมาตา นางขุชชุตตรา-

อุปาสิกา สามาวตีอุปาสิกา นางสุปปวาสาโกฬิน-

ธีตา นางสุปปิยาอุปาสิกา นางนกุลมาตาคหปตานี.

จบ สามัญญวรรคที่ ๕

[๒๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘

ประการ เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ

สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑

สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้

เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘

ประการเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ

ผู้มีรูปสัญญาในภายใน ย่อมเธอรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย

ทั้งมีผิวพรรณดีทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า

เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีรูปสัญญาในภายใน

เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกหาประมาณมิได้ ทั้งมีผิวพรรณดีทั้งมี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 694

ผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้น

แล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายใน

ภายนอกเล็กน้อย ทั้งมีผิวพรรณดีทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมี

ความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑

ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกหาประมาณ

มิได้ ทั้งมีผิวพรรณดีทั้งมีผิวพรรณทราม ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้

ว่า เราครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาใน

ภายในเห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสง

สว่างเขียว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปทั้งหลาย

แล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายใน

ภายนอกเหลือง มีสีเหลือง รัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ย่อมมี

ความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปทั้งหลายแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑

ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดง

รัศมีแดง แสงสว่างแดง ย่อมมีความสำคัญ อย่างนี้ว่า เราครอบงำ

รูปทั้งหลายแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูป

ทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่างขาว ย่อม

มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราครอบงำรูปทั้งหลายแล้วจึงรู้จึงเห็น ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้

เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘

ประการ เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ

ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ๑ ผู้มีอรูปสัญญาในภายใน ย่อมเห็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 695

รูปทั้งหลายในภายนอก ๑ ย่อมน้อมใจเชื่อว่างาม ๑ เพราะล่วงรูป

สัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการ

ถึงนานัตตสัญญา ย่อมเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า

อากาศหาที่สุดมิได้ ๑ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการ

ทั้งปวง ย่อมเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณ

หาที่สุดมิได้ ๑ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง

ย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่าอะไร ๆ ย่อมไม่มี ๑

เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึง

เนวสัญญานาสัญญาตนะ ๑ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

โดยประการทั้งปวง ย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘ ประการนี้ เพื่อความรู้ยิ่ง

ซึ่งราคะ.

[๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘

ประการนี้ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป

เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ เพื่อสละ เพื่อ

สละคืนซึ่งราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๘

ประการเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ

เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ

เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ

ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถยยะ ถัมภะ สารัมภะ

มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ.

จบ อัฏฐกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 696

เบื้องหน้าแต่นี้ไป ในคำว่า อถโข โพชฺฌา อุบาสิกา ดังนี้

เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะอุโบสถกรรมอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เท่านั้น สำหรับอุบาสิกามีจำนวนเท่านี้ คือ โพชฌา-

อุบาสิกา สิริมาอุบาสิกา ปทุมาอุบาสิกา สุธรรมาอุบาสิกา

มนุชาอุบาสิกา อุตราอุบาสิกา มุตตาอุบาสิกา เขมาอุบาสิกา

รุจีอุบาสิกา จุนทีราชกุมารี พิมพีอุบาสิกา สุมนาราชกุมารี

มัลลิกาเทวี ติสสมาตาอุบาสิกา โสณาอุบาสิกา โสณามาตาอุบาสิกา

กาณามาตาอุบาสิกา อุตตรานันทมารดา วิสาขามิคารมารดา

ขุชชุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา สุปปวาสาโกลิยธิดา

สุปปิยาอุบาสิกา นกุลมาตาคหปตานี. อันผู้ปรารถนาพึงกล่าว

ให้พิสดารเถิด. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบ มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต

รวมวรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสถ์

๑. สันธานวรรค ๒. วาลวรรค ๓. ยมกวรรค ๔. สติวรรค

๕. สามัญญวรรค

จบ อัฏฐกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 697

อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต

ปัณณาสก์

สัมโพธวรรคที่ ๑

๑. สัมโพธิสูตร

ว่าด้วยเหตุเจริญแห่งโพธิปักขิยธรรม

[๒๐๕] ข้าพเจ้าสดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

พึงถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเป็นเหตุ ให้ธรรม

อันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้เจริญ เธอทั้งหลายถูกถาม

อย่างนี้แล้วพึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่าอย่างไร

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้า-

พระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย

ได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจ

ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 698

เดียรถีย์ปริพาชกพึงถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อะไร

เป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้เจริญ เธอ

ทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชก

เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีมิตร มีสหายดี มีเพื่อนดี ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นี้เป็นเหตุ

ข้อที่ ๑ ให้ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้เจริญ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์

ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย

สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

นี้เป็นเหตุข้อที่ ๒ ให้ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้เจริญ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดย

ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาเห็นปานนี้ อันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส

เป็นที่สบายในการเปิดจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา

อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา

วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นี้เป็นเหตุ

ข้อที่ ๓ ให้ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้เจริญ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม

เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น

มั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่น

ข้อที่ ๔ ให้ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้เจริญ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา

เครื่องพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 699

กิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นี้เป็นเหตุ

ข้อที่ ๕ ให้ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้เจริญ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้

ได้คือ ตนจักเป็นผู้มีศีล จักสำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อม

ด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน

ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

จักเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่ง

กถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายในการเปิดจิต คือ

อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา

สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา.

จักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความ

ถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอด

ธุระในกุศลธรรม.

จักเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา

เห็นความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความ

สิ้นทุกข์โดยชอบ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แหละภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรม ๕

ประการนี้แล้ว พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ พึงเจริญ

อสุภะเพื่อละราคะ พึงเจริญเมตตาเพื่อละความพยาบาท พึงเจริญ

อานาปานสติเพื่อเข้าไปตัดวิตก พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอน

อัสมิมานะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 700

ผู้ได้อนิจจสัญญา ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพาน อันถอน

เสียได้ซึ่งอัสมิมานะในปัจจุบันทีเดียว.

จบ สัมโพธิสูตรที่ ๑

มโนรถปูรณี

อรรถกถาอังคุตตรนิกาย นวกนิบาต

สัมโพธวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาสัมโพธิสูตรที่ ๑

สัมโพธวรรคที่ ๑ แห่งนวกนิบาต สัมโพธิสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้.

บทว่า สมฺโพธิกาน ได้แก่ เจริญในฝ่ายแห่งธรรมเครื่อง

ตรัสรู้กล่าวคือ มรรค ๔ อธิบายว่า เป็นอุปการะ ย่อมถามมุ่งถึง

ธรรม ๙ ประการ ซึ่งมาแล้วในบาลี. บทว่า กา อุปนิสา ได้แก่

อะไรเป็นเหตุคือเป็นปัจจัย. กถาชื่อว่า อภิสลฺเลขิกา เพราะย่อม

ขัดเกลากิเลส. ชื่อว่า เจโตวิวรณสปฺปยา เพราะเป็นที่สบายและ

มีอุปการะในการเปิดจิตด้วยสมณะและวิปัสสนา. ถ้อยคำที่เป็นไป

ปรารภถึงความมักน้อย ชื่อว่าอัปปิจฉกถา แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้

เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 701

บทว่า อสุภา ภาเวตพฺพา ราคสฺส ปหานาย เนื้อความพึงอธิบาย

ให้แจ่มแจ้ง ด้วยการเปรียบเทียบกับคนผู้เกี่ยวข้าวสาลีดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า บุรุษคนหนึ่งถือเคียวแล้วเกี่ยวข้าวสาลีทั้งหลาย ในนา

ข้าวสาลีตั้งแต่ปลาย. ต่อมา โคทั้งหลายทำลายรั้วนาข้าสาลีนั้น

แล้วเข้าไป เขาวางเคียวถือไม้ไล่โคทั้งหลายออกไปตามทางนั้นแล

ทำรั้วให้เป็นปกติแล้ว จึงถือเคียวเกี่ยวข้าวสาลีอีก. ในข้อเปรียบ

เทียบนั้น พึงเห็นพระพุทธศาสนา เปรียบเหมือนนาข้าวสาลี พระโย-

คาวจรเปรียบเหมือนคนผู้เกี่ยวข้าวสาลี ปัญญาเปรียบเหมือนเคียว

เวลาทำวิปัสสนาเปรียบเหมือนเวลาเกี่ยว อสุภกัมมัฏฐานเปรียบ

เหมือนไม้ ความสำรวมระวังเปรียบเหมือนรั้ว ความเลินเล่อยัง

ไม่ทันพิจารณาราคะเกิดขึ้นฉับพลัน เปรียบเหมือนโคทั้งหลาย

ทำลายรั้วแล้วเข้าไป เวลาที่ข่มราคะไว้ได้ด้วยอสุภกัมมัฏฐานแล้ว

เริ่มทำวปัสสนาอีก เปรียบเหมือนการวางเคียวถือไม้ไล่โค ออกไป

ตามทางที่เข้ามานั้นแล ทำรั้วให้กลับเป็นปกติแล้ว จึงเกี่ยวข้าว

สาลีอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงเนื้อความนี้ จึงตรัสว่า

อสุภา ภาเวตพฺพา ราคสฺส ปหานาย ดังนี้ ในบทเหล่านั้น บทว่า

ราคสฺส ได้แก่ ราคะประกอบด้วยเบญจกามคุณ.

เมตตากัมมัฏฐาน ชื่อว่าเมตตา. บทว่า พฺยาปาทสฺส

ปหานาย ได้แก่ เพื่อละความโกรธที่เกิดขึ้นโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

บทว่า อานาปานสติ ได้แก่ อานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจ

เข้าออก) มีอารมณ์ ๑๖. บทว่า วิตกฺกูปจฺเฉทาย ได้แก่ เพื่อเข้าไป

ตัดวิตกทั้งหลายที่เกิดขึ้นโดยนัยที่กล่าวนั้น. บทว่า อสฺมิมาน-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 702

สมุคฺฆาตาย ได้แก่ เพื่อถอนมานะ ๙ อย่างที่เกิดขึ้นว่า เรา ดังนี้.

บทว่า อนตฺตสฺญฺา สณฺาติ ได้แก่ เมื่อบุคคลเห็นอนิจจลักขณะแล้ว

อนัตตลักขณะก็ได้เห็นแล้วเหมือนกัน. ด้วยว่า ในลักขณะสาม

เหล่านั้น เมื่อเห็นลักขณะหนึ่งแล้ว สองสักขณะนอกนี้ก็ได้เห็นแล้ว

เหมือนกัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อนิจฺจสญฺิโน

ภิกฺขเว อนตฺตสญฺา สณฺาติ ดังนี้. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม นิพฺพาน

ความว่า ผู้ที่ได้อนัตตสัญญา ย่อมถึงการดับสนิทโดยไม่มีปัจจัย

ในปัจจุบันทีเดียว. ในสูตรนี้ท่านกล่าวไว้ ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

จบ อรรถกถาสัมโพธิสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 703

๒. นิสสยสูตร

ว่าด้วยนิสัยและอุปนิสัย

[๒๐๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า

ผู้ถึงพร้อมด้วยที่อาศัย ๆ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุ

เพียงไรหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยที่อาศัย พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ถ้าภิกษุอาศัยศรัทธาแล้ว ละอกุศล เจริญ

กุศล อกุศลนั้นเป็นอันเธอละได้แล้ว ถ้าอาศัยหิริ... ถ้าอาศัย

โอตตัปปะ.... ถ้าอาศัยวิริยะ.... ถ้าภิกษุอาศัยปัญญาแล้ว ละอกุศล

เจริญกุศล อกุศลนั้นเป็นอันเธอละได้แล้ว ภิกษุใดละอกุศลได้แล้ว

ด้วยปัญญาอันเป็นอริยะ ภิกษุนั้นเป็นอันละอกุศลนั้นแล้ว ละดีแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แหละภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ

นี้แล้ว พึงอบรมอุปนิสัย ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง

พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง

พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุ

อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยที่อาศัย.

จบ นิสสยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 704

อรรถกถานิสสยสูตรที่ ๒

นิสสยสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นิสฺสยสมฺปนฺโน ได้แก่ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

ที่พึ่ง. บทว่า สทฺธ ได้แก่ ศรัทธาเหตุสำเร็จ. บทว่า วิริย ได้แก่

ความเพียรทางกายและทางใจ. บทว่า ยส ตัดบทเป็น ย อสฺส.

บทว่า อริยาย ปญฺาย ได้แก่ มรรคปัญญากับวิปัสสนา. บทว่า

สงฺขาย ได้แก่ รู้แล้ว. บทว่า เอก ปฏิเสวติ ได้แก่ ย่อมเสพของที่

ควรเสพ. บทว่า อธิวาเสติ ได้แก่ ย่อมอดกลั้นของที่ควรอดกลั้น.

บทว่า ปริวชฺเชติ ได้แก่ ย่อมเว้นของที่ควรเว้น. บทว่า วิโนเทติ

ได้แก่ ย่อมนำของที่ควรนำออกไป. บทว่า เอว โข ภิกฺขุ ความว่า

ดูก่อนภิกษุ ด้วยเหตุอย่างนี้แล ภิกษุทำการเสพให้เข้าใจตลอด

ประจักษ์ชัดดีได้ก็ด้วยอำนาจการเรียนและการสอบถาม. และ

ด้วยอำนาจการกำหนดธรรม เสพ อดกลั้น เว้น และบรรเทาอยู่

ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยที่พึ่ง ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถานิสสยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 705

๓. เมฆิยสูตร

ว่าด้วยอกุศลวิตกและธรรมสำหรับแก้

[๒๐๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ จาลิก-

บรรพต ใกล้เมืองจาลิกา ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเป็น

อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแลท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าแต่พระองค์ปรารถนาจะเข้าไปบิณฑบาตในชันตุคาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมฆิยะ เธอจะสำคัญกาลที่ควร

ในบัดนี้.

ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะครองอันตรวาสก

แล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังชันตุคาม ครั้นเที่ยว

บิณฑิบาตในชันตุคามเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาภาย

หลังภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ท่านพระเมฆิยะเดินเที่ยว

พักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวันอันน่าเลื่อมใส น่า

รื่นรมย์ ครั้นเห็นแล้ว ได้มีความคิดดังนี้ว่า อัมพวันนี้ช่างน่าเลื่อมใส

น่ารื่นรมย์หนอ ควรเพื่อบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการความ

เพียร ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงอนุญาตเรา เราพึงมายังอัมพวันนี้

เพื่อบำเพ็ญเพียร ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 706

ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก

แล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบืณฑบาตในชันตุคาม ครั้นเที่ยว

บิณฑบาตในชันตุคามเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลัง

ภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้า

พระองค์เดินเที่ยวพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวันอันน่า

เลื่อมใส น่ารื่นรมย์ ครั้นเห็นแล้ว ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

อัมพวันนี้น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์หนอ ควรเพื่อบำเพ็ญเพียรของ

กุลบุตรผู้ต้องการความเพียร ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาต

เรา เราพึงมายังอัมพวันนี้เพื่อบำเพ็ญเพียร ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

พึงทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์พึงไปยังอัมพวันนั้นเพื่อ

บำเพ็ญเพียร เมื่อท่านพระเมฆิยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระเมฆิยะว่า ดูก่อนเมฆิยะจงรออยู่ก่อน

เราอยู่คนเดียว เธอจงรออยู่จนกว่าภิกษุรูปอื่นมาแทนตัว

แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเมฆิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีกิจอะไรที่จะทำ

ให้ยิ่ง ไม่มีการสั่งสมอริยมรรคที่ทรงทำแล้ว ข้าพระองค์ยังมีกิจ

ที่จะพึงทำให้ยิ่ง ยังมีการสังสมอริยมรรคที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์พึงไปยังอัมพวัน

เพื่อบำเพ็ญความเพียร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมฆิยะ

จงรออยู่ก่อน เราอยู่คนเดียว เธอจงรออยู่จนกว่าภิกษุรูปอื่นมา

แทนตัว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 707

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระเมฆิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีกิจอะไรที่จะ

พึงทำให้ยิ่ง ไม่มีการสั่งสมอริยมรรคที่ทรงทำแล้ว ส่วนข้าพระองค์

ยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่ง ยังมีการสั่งสมอริยมรรคที่ทำแล้ว ถ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์พึงไปยัง

อัมพวันนั้นเพื่อบำเพ็ญความเพียร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนเมฆิยะ เราจะพึงวาอะไรเธอผู้กล่าวอยู่ว่า บำเพ็ญเพียร

ดูก่อนเมฆิยะ เธอจงสำคัญกาลที่ควรในบัดนี้.

ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปยังอัมพวัน อาศัย

อัมพวันนั้น นั่งพักกลางวันอยู่ ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้งนั้นแล เมื่อ

ท่านพระเมฆิยะพักอยู่ ณ อัมพวันนั้น อกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการ

คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก

ลำดับนั้น ท่านพระเมฆิยะได้มีความคิดดังนี้ว่า ท่านผู้เจริญ น่า

อัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิต

ด้วยศรัทธา ก็ยังถูกอกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการ คือ กามวิตก

พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกครอบงำ.

ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

ประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์อยู่ในอัมพวันนั้น อกุศล

วิตกอันลามก ๓ ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 708

ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก ข้าพระองค์นั้นได้มีความคิดเห็นดังนี้ว่า

ท่านผู้เจริญน่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ กุลบุตรออกบวช

เป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ก็ยังถูกอกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการ

คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ครอบงำ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความ

แก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า ๕ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนเมฆิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี

มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้า

แห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์

ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณ

น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาทั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการ

ที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดย

ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบาย

ในการเปิดจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคค-

กถา วิริยารัมภกถา นี้เป็นธรรมประการที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศล-

ธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความ

บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม นี้เป็นธรรมประการที่ ๔

ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 709

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา

เครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส

ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไป

เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า.

ดูก่อนเมฆิยะ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวัง

ข้อนี้ได้ คือ ตนจักเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลาย ตนจักได้ตามด้วยความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก

ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายในการเปิดจิต คือ

อัปปิจฉกถา ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนกถา ตนจักปรารภความ

เพียร ฯลฯ ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม ตนจักมีปัญญา ฯลฯ ให้

ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนเมฆิยะ ก็แหละภิกษุนั้นตั้งอยู่ใน

ธรรม ๕ ประการนี้แล พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้น คือ

พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ พึงเจริญเมตตาเพื่อละความพยาบาท

พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอน

อัสมิมานะ ดุก่อนเมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้

อนิจจสัญญา ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพาน อันถอนเสีย

ได้ซึ่งอัสมิมานะในปัจจุบันทีเดียว.

จบ เมฆิยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 710

อรรถกถาเมฆิยสูตรที่ ๓

เมฆิยสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า จาลิกาย ได้แก่ ในเมืองที่มีชื่ออย่างนั้น. นัยว่าเมืองนั้น

ย่อมปรากฏคล้ายเคลื่อนไหว แก่บุคคลทั้งหลายที่กำลังแลดู เพราะ

เขาได้อาศัยดินเหลวสร้างไว้แล้ว เพราะฉะนั้น. จึงเรียกว่า เมือง

จาลิกา. บทว่า จาลิกาปพฺพเต ได้แก่ ภูเขาแม้นั้น ย่อมปรากฏคล้าย

เคลื่อนไหวแก่บุคคลกำลังแลดูในวันอุโบสถข้างแรม เพราะขาวปลอด

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า จาลิกบรรพต. บุคคลทั้งหลายสร้างวิหาร

ใหญ่ไว้บนจาลิกบรรพตนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมืองนั้น

ประทับอยู่ในจาลิกบรรพตมหาวิหาร ด้วยประการฉะนี้. บทว่า

ชนฺตุคาม ได้แก่ โคจรคามแม้อีกแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่ออย่างนั้นของวิหาร

นั้นเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า ชนฺคุคาม ดังนี้บ้าง.

บทว่า ปธานตฺถิกสฺส ได้แก่ ผู้ทำความเพียร. บทว่า

ปธานาย ได้แก่ เพื่อทำสมณธรรม. บทว่า อาคเมหิ ตาว ความว่า

พระศาสดาสดับคำของพระเถระแล้ว ทรงใคร่ครวญอยู่ ทรงรู้ว่า

ญาณของพระเถระนั้น ยังไม่แก่กล้าก่อนดังนี้ จึงได้ตรัสห้ามอย่างนี้.

ส่วนบทนี้ว่า เอกกมฺหิ ตาว ได้ตรัสแก่พระเมฆิยะนั้น เพื่อให้เกิด

จิตอ่อนด้วยทรงดำริว่า พระเมฆิยะนี้ แม้ไปแล้วอย่างนี้ เมื่อ

กัมมัฏฐานยังไม่เสร็จ หมดความสงสัยจักกลับมาอีกด้วยอำนาจ

ความรักดังนี้. บทว่า นตฺถิ กิญฺจิ อุตฺตรึ กรณีย ความว่า ชื่อว่า

กิจที่จะพึงทำอื่นให้ยิ่ง ย่อมไม่มี เพราะพระองค์ทรงทำกิจ ๔ ใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 711

สัจจะ ๔ เสร็จแล้ว. บทว่า กตสฺส วา ปฏิจโย ความว่า อนึ่ง ย่อม

ไม่มีการสั่งสมอริยมรรคที่ทรงทำแล้วอีก ก็มรรคที่ทรงเจริญแล้ว

พระองค์ก็ไม่เจริญอีก กิเลสที่ทรงละได้แล้ว ไม่มีการละอีก. บทว่า

ปธานนฺติ โข เมฆิย วทมาน กินฺติ วเทยฺยาม ความว่า เราจะพึงกล่าว

ชื่ออะไรอื่นเล่ากะเธอ ผู้กล่าวอยู่ว่าเราจักทำสมณธรรมดังนี้.

บทว่า ทิวาวิหาร นิสีทิ ได้แก่ นั่งเพื่อต้องพักในกลางวัน

บุคคลเป็นพระราชามาตลอด ๕๐๐ ชาติตามลำดับในกาลก่อน เมื่อ

เล่นในอุทยาน มีนักฟ้อนรำ ๓ พวกเป็นบริวาร นั่งแล้วบนแผ่นมงคล

ศิลาใด ท่านเมฆิยะ ได้เป็นเหมือนท่านทอดทิ้งไป นับแต่เวลาที่ท่าน

นั่งแล้ว. บุคคลถือเอาเพศพระราชา ซึ่งมีนักฟ้อนรำแวดล้อมแล้ว

เป็นเหมือนนั่ง ณ บังลังก์ใหญ่ที่สมควรในภายใต้เศวตฉัตร เมื่อ

เป็นเช่นนั้น กามวิตกเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้นผู้ยินดีสมบัตินั้นอยู่.

ในขณะนั้นนั่นเอง เขาได้เห็นโจรสองคนถูกแม่ทัพจับแล้วเหมือน

นำมาไว้ข้างหน้า. พยาบาทวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นด้วย

อำนาจการออกคำสั่งฆ่าโจรคนหนึ่งในโจรเหล่านั้น วิหิงสาวิตก

ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจการออกคำสั่งจองจำโจรคนหนึ่ง. บุคคลนั้น

ถูกอกุศลวิตกแวดล้อมยุ่งยากแล้วด้วยอกุศล จึงได้เป็นเหมือนต้นไม้

ที่ถูกย่านเถาวัลย์ปกคลุมหุ้มห่อ และเหมือนคนฆ่าแมลงผึ้ง เอาน้ำผึ้ง

ถูกแมลงผึ้งรุมล้อมไว้ฉะนั้น. ท่านหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวคำ

เป็นต้นว่า อถโข อายสฺมโต เมฆิยสฺส ดังนี้. บทว่า อนฺวาสตฺตา

ได้แก่ เป็นผู้ถูกอกุศลวิตกติดตามแวดล้อมแล้ว. บทว่า เยน ภควา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 712

เตนุปสงฺกมิ ความว่า ท่านเมฆิยะยุ่งยากแล้วด้วยอกุศลอันลามก

อย่างนี้ ไม่สามารถจะทำกัมมัฏฐานให้เป็นที่สบายได้ จึงได้กำหนด

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นกาลอันยาวนาน ทรงเห็นเหตุนี้หนอ

จึงทรงห้ามไว้ คิดว่า เราจักกราบทูลเหตุนี้แก่พระทศพลดังนี้

จงลุกจากอาสนะที่นั่งแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

จบ อรรถกถาเมฆิยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 713

๔. นันทกสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรบำเพ็ญให้บริบูรณ์และอานิสงส์การแสดงธรรม

[๒๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

วิหารเชตวัน อารามของท่านอานาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร

สาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระนันทกะชี้แจงภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถา ในอุปัฏฐานศาลา.

ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่

หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับยืนรอจนจบกถาอยู่

ณ ซุ้มประตูด้านนอก ครั้นทางทราบว่ากถาจบแล้ว ทรงกระแอม

และเคาะที่ลิ่มประตู ภิกษุเหล่านั้นเปิดประตูให้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับ

นั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระนันทกะว่า ดูก่อน

นันทกะ ธรรมบรรยายของเธอนี่ยาวมาก แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ เรายืน

รอฟังจนจบกถาอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกย่อมเมื่อยหลัง.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระนันทกะ

รู้สึกเสียใจ สะดุ้งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอก ถ้าข้าพระองค์พึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตูด้านนอกแล้ว แม้คำ

ประมาณเท่านี้ ก็ไม่พึงแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์เลย ลำดับนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ท่านพระนันทกะเสียใจ จึงตรัสกะท่าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 714

พระนันทกะว่า ดีแล้ว ๆ นันทกะ ข้อที่เธอทั้งหลายพึงสนทนาด้วย

ธรรมีกถานี้ สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็น

บรรพชิตด้วยศรัทธา ดูก่อนนันทกะ เธอทั้งหลายผู้ประชุมกันพึง

ทำกิจ ๒ อย่าง คือ ธรรมีกถาหรือดุษณีภาพของพระอริยะ ดูก่อน

นันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล. อย่างนี้เธอชื่อว่ายังไม่

บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า

อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้

มีศรัทธาและมีศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

ดูก่อนนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและมีศีล แต่ยังไม่ได้เจโตสมาธิ

ในภายใน อย่างนี้เธอชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญ

องค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงเป็นผู้มีศรัทธา

มีศีล และได้เจโตสมาธิในภายใน เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา

มีศีล แต่ได้เจโตสมาธิในภายใน เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์

ด้วยองค์นั้น ดูก่อนนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา มีศีล ได้เจโต-

สมาธิในภายใน แต่ยังไม่ได้การเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง

อย่างนี้เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนนันทกะ

เปรียบเหมือนสัตว์ ๒ เท้าหรือ ๔ เท้า แต่เท้าข้างหนึ่งของมันเสีย

พิการไป อย่างนี้มันชื่อว่า เป็นผู้ไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ฉันใด

ดูก่อนนันทกะ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้มีศรัทธา มีศีล และ

ได้เจโตสมาธิในภายใน แต่ยังไม่ได้การเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วยปัญญา

อันยิ่ง อย่างนี้เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึง

บำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงมี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 715

ศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน และได้การเห็นแจ้งซึ่งธรรม

ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูก่อนนันทกะ เมื่อใดแล ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา

มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน และได้การเห็นแจ้งซึ่งธรรมด้วย

ปัญญาอันยิ่ง เมื่อนั้น เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น พระผู้-

มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจาก

อาสนะเข้าไปยังพระวิหาร.

ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน

ท่านพระนันทกะกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์

สิ้นเชิงด้วยบท ๔ แล้ว เสด็จลุจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร

ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา แต่ไม่มีศีล

อย่างนี้เธอชื่อว่าเป็นผู้ยังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญ

องค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า อย่างไรหนอ เราจะพึงเป็นผู้มีศรัทธา

และมีศีล เมื่อใดแลภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา และมีศีล เมื่อนั้น เธอชื่อว่า

เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ดูก่อนนันทกะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและ

มีศีล แต่ยังไม่ได้เจโตสมาธิในภายใน ฯลฯ อย่างนี้เธอชื่อว่ายังไม่

บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น เธอพึงบำเพ็ญองค์นั้นให้บริบูรณ์ด้วยคิดว่า

อย่างไรหนอ เราจะพึงเป็นผู้มีศรัทธา ได้เจโตสมาธิในภายใน และ

ได้การเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูก่อนนันทกะ ภิกษุเป็นผู้

มีศรัทธา มีศีล ได้เจโตสมาธิในภายใน และได้การเห็นแจ้งธรรม

ด้วยปัญญาอันยิ่ง อย่างนี้เธอชื่อว่าเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 716

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาล

ในการสนทนาธรรมตามกาล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์

พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่

ภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม... แก่

ภิกษุทั้งหลายด้วยประการใด ๆ เธอย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของ

พระศาสดานั้น ๆ เป็นที่เคารพสรรเสริญ ด้วยประการนั้นแล นี้เป็น

อานิสงส์ประการที่ ๑ ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรม

ตามกาล.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม ... แก่ภิกษุทั้งหลาย

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลาย

ด้วยประการใด ๆ เธอย่อมซาบซึ้งอรรถ และซาบซึ้งธรรมในธรรม

นั้นด้วยประการนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ในการฟังธรรม

ตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม ... แก่ภิกษุทั้งหลาย

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมแสดงธรรม ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลาย

ด้วยประการใด ๆ เธอย่อมแทงตลอดบทแห่งอรรถอันลึกซึ้งในธรรม

นั้น เห็นด้วยปัญญา ด้วยประการนั้น ๆ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓

ในการฟังธรรมตามกาลในการสนทนาธรรมตามกาล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 717

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรม .... แก่ภิกษุทั้งหลาย

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรม ฯลฯ แก่ภิกษุทั้งหลาย

ด้วยประการใด ๆ เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญด้วย

ประการนั้น ๆ ยิ่งขึ้นไปว่า ท่านผู้นี้บรรลุ แล้วหรือ กำลังบรรลุ

เป็นแน่ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ในการฟังธรรมตามกาล ใน

การสนทนาธรรมตามกาล.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประการพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ

พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ภิกษุทั้งหลาย ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน

ท่านกลาง งามในที่สุด ประการพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อม

ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการ

ใด ๆ ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดเป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัต

ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้น

ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ทำ

ให้แจ้ง ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์

ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ของตน

แล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นสุดแล้ว หลุดพ้นแล้ว

เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมประกอบธรรม

เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ในการฟัง

ธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 718

อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ๕

ประการนี้.

จบ นันทกสูตรที่ ๔

อรรถกถานันทกสูตรที่ ๔

นันทกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุปฏฺานสาลาย ได้แก่ หอฉัน. บทว่า เยนุปฏฺานสาลา

ความว่า พระศาสดาสดับเสียงการแสดงธรรมอันพระนันทกเถระ

เริ่มแล้วด้วยเสียงอันไพเราะ จึงตรัสถามว่า อานนท์ นั่นใครแสดง

ธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ ในอุปัฏฐานศาลา ทรงสดับว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญวันนี้เป็นวาระของพวกนันทกเถระผู้เป็นธรรมกถึก

ได้ตรัสว่า อานนท์ ภิกษุนั่นแสดงธรรมไพเราะยิ่งนัก แม้เราจักไป

ฟังดังนี้ จึงเสด็จเข้าไปยังอุฏฐานศาลา. บทว่า อุปสงฺกมิตฺวา

พหิทฺวารโกฏฺเก อฏฺาสิ ได้แก่ ทรงปิดบังฉัพพัณณรังสีไว้ในกลีบ

จีวรแล้ว ประทับยืนด้วยเพศที่ควรไม่รู้จัก. บทว่า กถาปริโยสาน

อาคมยมาโน ความว่า ประทับยืนฟังธรรมกถาอยู่ถึงกถาสุดท้ายนี้ว่า

อิทมโวจ ดังนี้. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ได้ทูลถวายสัญญาแด่

พระศาสดาเมื่อเลยปฐมยามไปแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฐม-

ยามล่วงไปแล้ว พระองค์ทรงพักผ่อนสักหน่อย ดังนี้. พระศาสดา

ประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแล ครั้นต่อมา เมื่อเลยมัชฌิมยามไปแล้ว

ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์

ทรงเป็นขัตติยสุขุมาลชาติโดยปกติ ทรงเป็นพุทธสุขุมาลชาติ ทรงเป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 719

สุขุมาลชาติอยางยิ่ง แม้มัชฌิมยามก็ล่วงไปแล้ว ขอจงทรงพักผ่อน

สักครู่เถิดดังนี้. พระศาสดาประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง. รุ่งอรุณ

ปรากฏแล้วแก่พระศาสดาพระองค์นั้น ผู้ทรงประทับยืนอยู่นั่นแล.

อรุณขึ้นก็ดี การจบกถาถึงบทว่า อิทมโวจ ของพระกถาก็ดี การ

เปล่งฉัพพรรณรังสีของพระทศพลก็ดี ได้มีคราวเดียวกันนั่นเอง.

บทว่า อคฺคฬ อาโกเฏสิ ได้แก่ ทรงเอาปลายพระนขา เคาะ

บานประตู.

บทว่า สารขฺชายมานรูโป ได้แก่ ระอา เกรงกลัว หวาดหวั่น

ส่วนพระนันทกเถระนั้น ไม่มีความหวาดสะดุ้งด้วยความเสียใจ.

บทว่า เอตฺตกปิ โน นปฺปฏิภาเสยฺย ความว่า ผู้ได้ปฏิสัมภิทา ชื่อว่า

หมดปฏิภาณ ย่อมไม่มี. แต่ท่านแสดงว่า เราไม่พึงกล่าวคำประมาณ

เท่านี้. บทว่า สาธุ สาธุ ได้แก่ ทรงร่าเริงกับการแสดงธรรมของ

พระเถระ จึงได้ตรัสแล้ว. ก็ในข้อนี้มีความหมายดังนี้ว่า ธรรมเทศนา

ท่านถือเอาความได้ดี และแสดงได้ดีแล้วดังนี้. บทว่า กุลปุตฺตาน

ได้แก่ กุลบุตรมีมรรยาท และกุลบุตรมีชาติตระกูล. บทว่า อรโย วา

ตุณฺหีภาโว ได้แก่ ตรัสหมายเอาสมาบัติในทุติยฌาน.

บทว่า อธิปญฺญธมฺมวิปสฺสนาย ได้แก่ วิปัสสนาญาณ

กำหนดสังขาร. บทว่า จุตปฺปาทโก ได้แก่เปรียบเหมือนสัตว์มี ม้า

โค และลาเป็นต้น. บทว่า อิท วตฺวา ได้แก่ ตรัสธรรมนี้ประกอบ

ด้วยองค์ ๔. บทว่า วิหาร ปาวิสิ ได้แก่ เสด็จเข้าไปสู่พระคันธกุฏี.

บทว่า กาเลน ธมฺมสฺสวเน ได้แก่ ในการฟังธรรมตามกาละ.

บทว่า ธมฺมสากจฺฉาย ได้แก่ ในการกล่าวถามกัน. บทว่า คมฺภีร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 720

อตฺถปท ได้แก่ อรรถที่ลุ่มลึก คือ ลี้ลับ. บทว่า ปญฺาย ได้แก่

มรรคปัญญาพร้อมด้วยวิปัสสนา ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดด้วยการ

พิจารณาก็ดี ปัญญาที่เกิดแต่การเยนและการสอบถามก็ดี ย่อม

ควรทั้งนั้น. บทว่า ปตฺโต วา คจฺฉติ วา ความว่า เขาย่อมสรรเสริญ

ด้วยความสรรเสริญคุณอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้บรรลุแล้วหรือจักบรรลุ

อรหัตดังนี้. บทว่า อปฺปตฺตมานสา ได้แก่ ชื่อว่า อปฺปตฺตมานสา

เพราะยังไม่บรรลุอรหัต หรือพวกภิกษุเหล่านั้นมีใจยังไม่บรรลุ

อรหัตดังนี้ก็มี. ในบทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาร นี้ ได้แก่ ธรรมเป็น

เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ทั้งโลกิยะ ทั้งโลกุตตระ ย่อมควร.

จบ อรรถกถานันทกสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 721

๕. พลสูตร

ว่าด้วยกำลัง ๔ กับภัย ๕

[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้ ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ กำลัง คือ ปัญญา ๑ กำลัง คือ ความเพียร ๑ กำลัง

คือ การงามอันไม่มีโทษ ๑ กำลัง คือ การสงเคราะห์ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ปัญญาเป็นไฉน ธรรม

เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น

อกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ

นับว่าไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดดำ นับว่าดำ ธรรมเหล่าใดขาว

นับว่าขาว ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ธรรม

เหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความ

เป็นพระอริยะ นับว่าไม่สามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใด

สามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นพระอริยะ

ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลเห็นแจ้ง ประพฤติได้ด้วยปัญญา

นี้เรียกว่ากำลัง คือ ปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ความเพียรเป็นไฉน ธรรม

เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ

ธรรมเหล่าใดดำ นับว่าดำ ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ

ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่าไม่สามารถ

ทำความเป็นพระอริยะ บุคคลยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภ

ความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 722

เป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ

ธรรมเหล่าใดขาว นับว่าขาว ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ

ธรรมเหล่าใดสามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่าสามารถทำ

ความเป็นพระอริยะ บุคคลย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ

ความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อได้ธรรมเหล่านั้น นี้เรียกว่า

กำลัง คือ ความเพียร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษเป็นไฉน

อริยสาวกใน ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม

มโนกรรม อันหาโทษมิได้ นี้เรียกว่ากำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นไฉน

สังควัตถุ ๔ ประการนี้ คือ ทาน ๑ เปยยวัชชะ ๑ อัตถจริยา ๑

สมานัตตตา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย

การแสดงธรรมบ่อย ๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศ

กว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้

ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่

ในศีลสัมปทา ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา

ชักชวนผู้มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา นี้เลิศ

กว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย พระโสดาบันมีตนเสมอกับ

พระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี พระ-

อานาคามีมีตนเสมอกับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระ-

อรหันต์ นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย นี้เรียกว่ากำลัง คือ

การสงเคราะห์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 723

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔

ประการนี้แล ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการ ภัย ๕ ประการเป็นไฉน

คือ อาชีวิตภัย ๑ อสิโลกภัย ๑ ปริสสารัชภัย ๑ มรณภัย ๑

ทุคติภัย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นแล พิจารณาเห็น

ดังนี้ว่า เราไม่กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต ไฉนเราจักกลัวต่อภัย

อันเนื่องด้วยชีวิตเล่า เรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลังปัญญา

กำลังความเพียร กำลังการงานอันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์

คนที่มีปัญญาทรามแล จึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต คนเกียจคร้าน

จึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต คือ กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิตเพราะ

การงานทางกาย ทางวาจาและทางใจที่มีโทษ คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร

ก็กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต เราไม่กลัวต่อภัย คือ การติเตียน ฯลฯ

เราไม่กลัวต่อภัยคือการสะทกสะท้อนในบริษัท... เราไม่กลัวต่อภัย

คือความตาย... เราไม่กลัวต่อภัยคือทุคติ ไฉนเราจักกลัวต่อภัย คือ

ทุคติเล่า เพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลังปัญญา กำลัง

ความเพียร กำลังการงานอันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์ คนที่มี

ปัญญาทรามแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ คนเกียจคร้านแล จึงกลัวต่อ

ภัยคือทุคติ คือ กลัวต่อภัยคือทุคติเพราะการงานทางกาย ทางวาจา

และทางใจที่มีโทษ คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร ก็กลัวภัยคือทุคติ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล

ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการนี้.

จบ พลสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 724

อรรถกถาพลสูตรที่ ๕

พลสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พึงเห็นปัญญาพละเป็นต้น เพราะไม่หวั่นไหวในเพราะ

อวิชชา ความเกียจคร้าน การกล่าวโทษ และความไม่เชื่อ. บทว่า

อกุสลสงฺขาตา ได้แก่ รู้ว่าเป็นอกุศล. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า

นาลมริยา ได้แก่ ธรรมที่ไม่สามารถทำความเป็นพระอริยา หรือ

ไม่สมควรแก่พระอริยะ. บทว่า โวทิฏฺา ได้แก่ ธรรมที่บุคคล

เห็นแล้วด้วยดี. บทว่า โวจริตา ได้แก่ ธรรมที่ปรากฏอยู่ในมโนทวาร.

บทว่า อตฺถิกสฺส ได้แก่ ผู้ต้องการด้วยการแสดงธรรม. บทว่า

อาชีวิตภย ได้แก่ ภัยที่เป็นไปในชีวิต. บทว่า อสิโลกภย ได้แก่

ภัยแต่การติเตียน. บทว่า ปริสสารชฺชภย ได้แก่ ภัยที่ถึงบริษัท

แล้วเกิดการสะทกสะท้าน. ในสูตรนี้ท่านกล่าวทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้.

จบ อรรถกถาพลสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 725

๖. เสวนาสูตร

ว่าด้วยการมอง ๒ ฝ่าย

[๒๑๐] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้บุคคลก็พึง

ทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี แม้จีวรก็ควรทราบ

โดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี แม้บิณฑบาตก็ควร

ทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี แม้เสนาสนะ

ก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี แม้คามนิคม

ก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี แม้ชนบท

และประเทศก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้บุคคลก็พึงทราบ

โดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยอะไร

กล่าวแล้ว ในบุคคล ๒ จำพวก พึงรู้บุคคลใดว่า เมื่อเราเสพบุคคลนี้

อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม บริขารแห่งชีวิตเหล่าใด

แล คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

อันเราผู้เป็นบรรพชิตพึงรวบรวมไว้ บริขารแห่งชีวิตเหล่านั้น

ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก และเราออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์

แห่งความเป็นสมณะใด ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะของเรานั้น

ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคล

นั้นรู้ในกลางคืน ก็ไม่ต้องลา พึงหลีกไปเสียในกลางวัน ไม่พึงติดตาม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 726

บุคคลนั้น พึงรู้บุคคลใดว่า เมื่อเราเสพบุคคลผู้นี้ อกุศลธรรมย่อม

เสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ก็แลบริขารแห่งชีวิตเหล่าใด คือ จีวร

บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อันเราผู้เป็น

บรรพชิตพึงรวบรวมไว้ บริขารแห่งชีวิตเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นโดย

ไม่ยาก และเราออกบวชเป็นบรรพชิต เพื่อประโยชน์แห่งความเป็น

สมณะใด ประโยชน์แห่งความเป็นสมณะของเรานั้น ย่อมถึงความ

ปริบูรณ์ด้วยภาวนา ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลนั้นรู้แล้ว พึง

ติดตามไปจนตลอดชีวิต ไม่พึงหลีกเลี่ยงไปเสีย พึงรู้บุคคลใดว่า

เมื่อเราเสพบุคคลนี้ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ

และบริขารแห่งชีวิตเหล่าใด คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร อันเราผู้เป็นบรรพชิตพึงรวบรวมไว้

บริขารแห่งชีวิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ยาก และเราออกบวช

เป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์แห่งความเป็นสมณะใด ประโยชน์แห่ง

ความเป็นสมณะของเรานั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลนั้นแม้ถูกขับไล่ก็พึงติดตามบุคคลนั้น

ไปจนตลอดชีวิต ไม่พึงหลีกเลี่ยงไปเสีย คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย แม้บุคคลก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี

ไม่ควรก็มี นั้นเราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้จีวรก็พึงทราบ

โดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยอะไรกล่าว

แล้ว ในจีวร ๒ อย่าง พึงรู้จีวรใดว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้ อกุศลธรรม

ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม จีวรเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ พึงรู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 727

จีวรใดว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อม

เจริญ จีวรเห็นปานนี้ควรเสพ คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

แม้จีวรก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี

เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า แม้บิณฑบาตก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ

ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ใน

บิณฑบาต ๒ อย่างนี้ พึงรู้บิณฑบาตใดว่า เมื่อเราเสพบิณฑบาตนี้

อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม บิณฑบาตเห็นปานนี้

ไม่ควรเสพ พึงรู้บิณฑบาตใดว่า เมื่อเราเสพบิณฑบาตนี้ อกุศลธรรม

ย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ บิณฑบาตเห็นปานนี้ควรเสพ

คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้บิณฑบาตก็พึงทราบ

โดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยข้อนี้

กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวว่า แม้เสนาสนะก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ

ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในเสนาสนะ

๒ อย่างนั้น พึงรู้เสนาสนะใดว่า เมื่อเราเสพเสนาสนะนี้ อกุศลธรรม

ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม เสนาสนะเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ

พึงรู้เสนาสนะใดว่า เมื่อเราเสพเสนาสนะนี้ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม

กุศลธรรมย่อมเจริญ เสนาสนะเห็นปานนี้ควรเสพ คำที่เรากล่าวว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้เสนาสนะก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ

ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 728

ก็คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้คามนิคมก็พึง

ทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี นั้นเราอาศัย

อะไรกล่าวแล้ว ในคามนิคม ๒ อย่างนั้น พึงรู้คามนิคมใดว่า เมื่อ

เราเสพคามนิคมนี้ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม

คามนิคมเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ พึงรู้คามนิคมใดว่า เมื่อเราเสพ

คามนิคมนี้ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ คามนิคม

เห็นปานนี้ควรเสพ คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้

คามนิคมก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี

นั้นเราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้ชนบท

และประเทศพึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควรเสพก็มี

นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้วในชนบทและประเทศ ๒ อย่างนั้น

พึงรู้ชนบทและประเทศใดว่า เมื่อเราเสพชนบทและประเทศนี้

อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ชนบทและประเทศ

เห็นปานนี้ควรเสพ คำที่เรากล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย แม้

ชนบทและประเทศก็พึงทราบโดยส่วน ๒ คือ ควรเสพก็มี ไม่ควร

เสพก็มี นั้นเราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

จบ เสวนาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 729

อรรถกถาเสวนาสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในเสวนาสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชีวิตปริกฺขารา ได้แก่ เป็นสิ่งเกื้อกูลแก่ชีวิต. บทว่า

สมุทาเนตพฺพา ได้แก่ บรรพชิต พึงรวบรวมไว้. บทว่า กสิเรน

สมุทาหรนฺติ ได้แก่ ย่อมเกิดขึ้นได้โดยความลำบาก. ในบทว่า

รตฺติภาค วา ทิวสภาค วา นี้ บุคคลนั้นรู้ในกลางคืน พึงหลีกไปเสีย

ในกลางคืนทีเดียว เมื่ออันตรายมีสัตว์ร้ายเป็นต้นมีอยู่ในกลางคืน

พึงรอถึงดวงอาทิตย์ขึ้น รู้ในกลางวัน พึงหลีกไปเสียในกลางวัน

เมื่ออันตรายมีอยู่ในกลางวัน พึงรอถึงดวงอาทิตย์ตก. บทว่า สงฺขาปิ

ได้แก่ รู้เหตุร้ายความเต็มด้วยภาวนาของความเป็นสมณะ. ส่วน

บท โส ปุคฺคโล พึงสัมพันธ์ด้วยบทนี้ว่า นานุพนฺธิตพฺโพ บทว่า

อนาปุจฺฉา ความว่า แต่ในที่นี้ พึงหลีกไปไม่ต้องลาบุคคลนั้น.

บทว่า อปิ ปนุชฺชมาเนน ได้แก่ ถูกคร่าออกไป. ก็บุคคลเห็นปานนี้

ลงโทษให้ยกมัดฟืนหนึ่งร้อย หม้อน้ำหนึ่งร้อย หรือหม้อทรายหนึ่งร้อย

หรือให้ไล่ออกไปด้วยกล่าวว่า ท่านอย่าอยู่ในที่นี้ แม้ให้ผู้นั้นขอโทษ

แล้ว พึงติดตามคือไม่พึงทอดทิ้งบุคคลนั้นไปตลอดชีวิต

จบ อรรถกถาเสวนาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 730

๗. สุตวาสูตร

ว่าด้วยฐานะที่พระอรหันต์ไม่ล่วงละเมิด

[๒๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา

คิชฌกูฏ ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล สุตวาปริพาชกเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งข้าพระองค์และพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่

ที่เมืองคิริพชะ ใกล้กรุงราชคฤห์นี่แหละ ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์

ได้สดับรับฟังเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนสุตวะ

ภิกษุใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำ

เสร็จแล้ว ปลงภาระแล้วมีประโยชน์แห่งตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ

มีกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้

โดยชอบ ภิกษุนั้นไม่ควรเพื่อประพฤติล่วงฐานะ ๕ ประการ คือ

ภิกษุผู้ขีณาสพไม่ควรแกล้งฆ่าสัตว์ ๑ ไม่ควรถือเอาสิ่งของที่

เจ้าของไม่ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย ๑ ไม่ควรเสพเมถุน

ธรรม ๑ ไม่ควรกล่าวเท็จทั้งรู้ ๑ ไม่ควรทำการสั่งสมบริโภค

กามคุณเหมือนเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

คำนี้ข้าพระองค์ฟังมาดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงทำไว้

ดีแล้ว และหรือ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 731

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จริงละ คำนี้ท่านสดับมาดีแล้ว

รับเอามาดีแล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูก่อนสุตวะ ครั้ง

ก่อนและบัดนี้ เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุใดเป็นอรหันตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว มี

ประโยชน์แห่งตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องประกอบ

สัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการ คือภิกษุผู้ขีณาสพ

ไม่ควรแกล้งฆ่าสัตว์ ๑ ไม่ควรถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อันเป็น

ส่วนแห่งความเป็นขโมย ๑ ไม่ควรเสพเมถุนธรรม ๑ ไม่ควรกล่าว

เท็จทั้งรู้ ๑ ไม่ควรทำการสั่งสมบริโภคกามคุณเหมือนคฤหัสถ์

ในกาลก่อน ๑ ไม่ควรลุอำนาจฉันทาคติ ๑ ไม่ควรลุอำนาจโทสา-

คติ ๑ ไม่ควรลุอำนาจโมหาคติ ๑ ไม่ควรลุอำนาจภยาคติ ๑ ดูก่อน

สุตวะ ครั้งก่อนและบัดนี้ เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุใดเป็นพระ-

อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง

ภาระแล้ว มีประโยชน์แห่งตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่อง

ประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการนี้.

จบ สุตวาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 732

อรรถกถาสุตวาสูตร

สุตวาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปญฺจ านานิ อชฺฌาจริตุ ได้แก่ ภิกษุไม่ควรล่วงเหตุ ๕.

บทว่า ปาณ ได้แก่ โดยที่สุดมดดำมดแดง. บทว่า อทินฺน ได้แก่

ของผู้อื่นโดยที่สุดแม้เส้นหญ้า. บทว่า เถยฺยสงฺขาต ได้แก่ แม้มี

จิตขโมย. บทว่า สนฺนิธิการก กาเม ปริภุญฺชิตุ ได้แก่ ไม่ควรทำการ

สั่งสอนคือ เว้นบริโภควัตถุกามและกิเลสกาม. ข้อนั้น ท่านกล่าว

หมายเอากามคุณซึ่งเป็นอกัปปิยะ (ไม่ควร). บทว่า พุทฺธ ปจฺจกฺขาตุ

ได้แก่ เพื่อห้ามอย่างนี้ว่า คนนี้มิใช่เป็นพุทธะดังนี้. แม้ในธรรม

เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ข้อนั้นมาแล้วในอรรถกถาก่อนอย่างนี้

ส่วนในสูตรนี้กล่าวถึงความไม่ลำเอียง.

จบ อรรถกถาสุตวาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 733

๘. สัชฌสูตร

ว่าด้วยฐานะที่พระอรหันต์ไม่ล่วงละเมิด

[๒๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา

คิชฌกูฏใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล สัชฌปริพาชกเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระองค์และพระผู้มีพระภาคเจ้า

อยู่เมืองคิริพชะ ใกล้กรุงราชคฤห์นี้แหละ ณ ที่นั้นแล ข้าพระองค์

ได้สดับรับฟังเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดูก่อน

สัชฌะ ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจ

ที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระแล้ว มีประโยชน์แห่งตนอันบรรลุแล้ว

โดยลำดับ มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้น

แล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อประพฤติล่วงฐานะ

๕ ประการ คือ ภิกษุผู้ขีณาสพไม่ควรแกล้งฆ่าสัตว์ ๑ ไม่ควรถือ

เอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้อันเป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย ๑ ไม่

ควรเสพเมถุนธรรม ๑ ไม่ควรกล่าวเท็จทั้งรู้ ๑ ไม่ควรทำการ

สั่งสมบริโภคกามคุณเหมือนเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน ๑ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ คำนี้ข้าพระองค์ฟังมาดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว

ทรงจำไว้ดีแล้วแลหรือ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 734

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จริงละ คำนี้ท่านฟังมาดีแล้ว

รับมาดีแล้ว ใส่ใจไว้ดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ครั้งก่อนและบัดนี้

เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ อยู่จบพรหม

จรรย์... หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้ที่ไม่ควรเพื่อ

ประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการ คือ ภิกษุผู้ขีณาสพไม่ควรแกล้ง

ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ไม่ควรกล่าวคือพระพุทธเจ้า ไม่ควรกล่าวคืน

พระธรรม ไม่ควรกล่าวคืนพระสงฆ์ ไม่ควรกล่าวคืนสิกขา ดูก่อน

สัชฌะ ครั้งก่อนและบัดนี้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุใดเป็นพระ-

อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง

ภาระแล้วมีประโยชน์แห่งตนอันบรรลุแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่อง

ประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อประพฤติล่วงฐานะ ๙ ประการนี้.

จบ อัชฌสูตรที่ ๘

อรรถกถาสัชฌสูตรที่ ๘

ในสัชฌสูตรที่ ๘ ท่านกล่าวจำเพาะพระพุทธเจ้าเป็นต้น.

จบ อรรถกถาสัชฌสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 735

๙. ปุคคลสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๙ จำพวก

[๒๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ มีปรากฏ

อยู่ในโลก ๙ จำพวกเป็นไฉน คือ พระอรหันต์ ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ

ความเป็นพระอรหันต์ ๑ พระอนาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ

ให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ๑ พระสกทาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ

ให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ๑ พระโสดาบัน ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ

ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๑ ปุถุชน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙

จำพวกเหล่านี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบ ปุคคลสูตรที่ ๙

อรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๙

ใน ปุคคลสูตรที่ ๙ ท่านกล่าวว่า อาหุเนยฺยา เป็นผู้ควร

ของคำนับ

จบ อรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 736

๑๐. อาหุเนยยสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นนาบุญ ๙ จำพวก

[๒๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙ จำพวกนี้ เป็นผู้ควร

ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้

ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๙

จำพวกเป็นไฉน คือ พระอรหันต์ ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็น

พระอรหันต์ ๑ พระอนาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง

อนาคามิผล ๑ พระสกทาคามี ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง

ซึ่งสกทาคามิผล ๑ พระโสดาบัน ๑ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง

ซึ่งโสดาปัตติผล ๑ โคตรภูบุคคล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๙

จำพวกนี้แล เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบ สูตรที่ ๑๐

อรรถกถาอหุเนยยสูตร

อาหุเนยยสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โคตฺรภู ได้แก่เป็นผู้ประกอบด้วยวิปัสสนาจิตที่มี

กำลังถึงที่สุด โดยอนันตรปัจจัยแห่งโสดาปัตติมรรค. บทที่เหลือ

ในวาระทั้งปวง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาอาหุเนยยสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 737

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัมโพธิสูตร ๒. นิสสยสูตร ๓. เมฆิยสูตร ๔. นันทกสูตร

๕. พลสูตร ๖. เสวนาสูตร ๗. สุตวาสูตร ๘. สัชฌสูตร ๙. ปุคคล-

สูตร ๑๐. อาหุเนยยสูตรและอรรถกถา.

จบ สัมโพธวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 738

สีหนาทวรรคที่ ๒

๑. วุฏฐิสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้เจริญกายคตาสติ

[๒๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร

สาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้า-

พระองค์จำพรรษาอยู่ในพระนครสาวัตถีแล้ว ข้าพระองค์ปรารถนา

จะหลีกจาริกไปในชนบท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร

เธอจงสำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตร

ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณ

แล้วหลีกไป.

ครั้งนั้นแล เมื่อท่านพระสารีบุตรหลีกไปแล้วไม่นาน ภิกษุ

รูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ท่านพระสารีบุตรกระทบข้าพระองค์แล้ว ไม่ขอโทษ หลีกจาริกไป

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งว่า ดูก่อน

ภิกษุ เธอจงมานี่ จงไปเรียกสารีบุตรตามคำของเราว่า ดูก่อนอาวุโส

สารีบุตร พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 739

กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร พระศาสดารับสั่ง

ให้หาท่าน ท่านพระสารีบุตรรับคำของภิกษุนั้นแล้ว ก็สมัยนั้นแล

ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระอานนท์ ถือลูกดานเที่ยว

ประกาศไปตามวิหารว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงรีบออกเถิด ๆ

บัดนี้ท่านพระสารีบุตรจะบันลือสีหนาทเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี-

พระภาคเจ้า.

ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร

เพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้ กล่าวหาเธอว่า ข้าแต่

พระองค์เจริญ ท่านพระสารีบุตรกระทบข้าพระองค์แล้ว ไม่

ขอโทษหลีกจาริกไปแล้ว.

ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไป

ตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง

ในธรรมวินัยนี้ ไม่ขอโทษแล้ว พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ชนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง

คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง โลหิตบ้าง ลงบน

แผ่นดิน แผ่นดินก็ไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วยสิ่งนั้น แม้ฉันใด

ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยแผ่นดินอันไพบูลย์

กว้างใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 740

ภิกษุนั้น กระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้.

แล้วไม่ขอโทษ พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์เจริญ ชนทั้งหลายย่อมล้างของสะอาดบ้าง

ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง โลหิต

บ้าง ลงในน้ำ น้ำก็ไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วยสิ่งนั้น แม้ฉันใด

ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยน้ำอันไพบูลย์กว้าง

ใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้น

กระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ

พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฟย่อมเผาของสะอาดบ้าง ไม่สะอาด

บ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง โลหิตบ้าง

ไฟย่อมไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วยสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์

ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยไฟอันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่

มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบ

เพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึง

หลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลมย่อมพัดซึ่งของสะอาดบ้าง ไม่

สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง โลหิตบ้าง

ลมย่อมไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วยสิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์

ก็เหมือนกันฉันนั้นแล มีใจเสมอด้วยลมอันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 741

ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบ

เพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ

พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าสำหรับเช็ดธุลี ย่อมชำระของ

สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง สูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนอง

บ้าง โลหิตบ้าง ผ้าเช็ดธุลีย่อมไม่อึดอัดระอาหรือเกลียดชังด้วย

สิ่งนั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วยผ้า

สำหรับเช็ดธุลีอันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร

ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อัน

ภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์

รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุมารหรือกุมาริกาของคนจัณฑาล

ถือตะกร้า นุ่งผ้าเก่า ๆ เข้าไปยังบ้านหรือนิคม ย่อมตั้งจิตนอบน้อม

เข้าไป แม้ฉันใด เข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีใจเสมอด้วย

กุมารหรือกุมาริกาของคนจัณฑาล อันไพบูลย์กว้างใหญ่ ไม่มี

ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบ

เพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งในธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ

พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคเขาขาด สงบเสงี่ยม ได้รับฝึกดีแล้ว

ศึกษาดีแล้ว เดินไปตามถนนหนทาง ตามตรอกเล็กซอกน้อย ก็ไม่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 742

เอาเท้าหรือเขากระทบอะไร ๆ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น

เพื่อนกันแล มีใจเสมอด้วยโคเขาขาด อันไพบูลย์ กว้างใหญ่ ไม่มี

ประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบ

เพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึง

หลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มสาว เป็นคน

ชอบประดับตบแต่ง พึงอึดอัดระอาเกลียดชังด้วยซากศพงู หรือ

ซากศพสุนัขที่เขาผูกไว้ที่คอแม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

แล ย่อมอึดอัดระอาและเกลียดชังด้วยกายอันเปื่อยเน่านี้ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อันภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย

ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว

ไม่ขอโทษ พึงหลีกจาริกไปเป็นแน่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนประคองภาชนะมันข้น มีรูทะลุ

เป็นช่องเล็กช่องใหญ่ ไหลเข้าไหลออกอยู่ แม้ฉันใด ข้าพระองค์

ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมบริหารกายนี้มีรูทะลุเป็นช่องเล็กช่องน้อย

ใหญ่ ไหลเข้าไหลออกอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายคตาสติ อัน

ภิกษุใดไม่เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย ภิกษุนั้นกระทบเพื่อนพรหมจรรย์

รูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้แล้ว ไม่ขอโทษ พึงหลีกไปเป็นแน่.

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นลุกจากอาสนะ กระทำผ้าอุตราสงค์

เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 743

ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง

เป็นคนไม่ฉลาดอย่างไร ที่ข้าพระองค์ได้กล่าวตู่ท่านพระสารีบุตร

ด้วยคำอันไม่มี เปล่า เท็จ ไม่เป็นจริง ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงโปรดรับโทษของข้าพระองค์นั้น โดยความเป็นโทษ เพื่อความ

สำรวมต่อไปเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ โทษได้

ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล คนหลง ไม่ฉลาดอย่างไร ที่เธอได้กล่าวตู่

สารีบุตรด้วยคำอันไม่มี เปล่า เท็จ ไม่เป็นจริง แต่เพราะเธอ

เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว กระทำคืนตามธรรม เราย่อมรับ

โทษของเธอนั้น ดูก่อนภิกษุ ข้อที่ภิกษุเห็นโทษโดยความเป็นโทษ

แล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญ

ในวินัยของพระอริยเจ้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะ

ท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร เธอจงอดโทษต่อโมฆบุรุษ

ผู้นี้ มิฉะนั้น เพราะโทษนั้นนั่นแล ศีรษะของโมฆบุรุษนี้จักแตก

๗ เสี่ยง.

ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมอดโทษต่อท่าน

ผู้มีอายุนั้น ถ้าผู้มีอายุนั้น กล่าวกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ขอท่าน

ผู้มีอายุนั้นจงอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วย.

จบ วุฏฐิสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 744

สีหนาทวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาวุฏิสูตร

วุฏฐกิสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า ท่านพระสารีบุตร

คิดว่า ถ้าพระศาสดา ทรงประสงค์จะหลีกไปสู่ที่จาริก พึงทรง

หลีกไปในกาลนี้. เอาเถิดเราจะทูลลาพระศาสดาเพื่อไปสู่ที่จาริก

ดังนี้ เป็นผู้อันหมู่ภิกษุห้อมล้อมเข้าไปเฝ้าแล้ว. บทว่า อายสฺมา

น ภนฺเต ความว่า. นัยว่าภิกษุนั้น เห็นพระเถระมาด้วยภิกษุบริวาร

เป็นอันมาก คิดว่า พวกภิกษุเหล่านี้ทิ้งพระตถาคตแล้ว ออกไป

แวดล้อมพระสารีบุตร เราจักทูลห้ามการไปของพระเถระนั้นเสีย

ดังนี้ ผูกความโกรธโดยมิใช่ฐานะ จึงได้กราบทูลแล้วอย่างนั้น.

บทว่า ตตฺถ อาสชฺช ได้แก่ กระทบ. บทว่า อปฺปฏินิสฺสชฺช ได้แก่

ไม่ขอโทษ คือไม่แสดงความผิด. ถามว่า ก็ภิกษุนั้น ผูกอาฆาต

ในเพราะเหตุอะไร ? ตอบว่า ชายจีวรของพระเถระผู้กำลังลุกขึ้น

ไปไหว้พระทศพลถูกตัวของภิกษุนั้นเข้า. บางท่านกล่าวว่า ลมพัด

ไปถูกเอาดังนี้ก็มี. ท่านผูกอาฆาตด้วยเหตุประมาณเท่านี้แล้ว

เมื่อได้เห็นพระเถระไปด้วยบริวารเป็นอันมากเกิดริษยา จึงได้

กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทูลห้ามการไปของพระเถระนั้นเสียดังนี้.

บทว่า เอห ตฺว ภิกฺขุ ความว่า พระศาสดาสดับคำของ

ภิกษุนั้นแล้ว ทรงรู้ว่า เมื่อใครพูดค้านว่า พระสารีบุตรมิได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 745

ประหารภิกษุนั้น เธอจะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์

เข้าข้างฝ่ายของพระอัครสาวกของพระองค์อย่างเดียว มิได้เข้าข้าง

ข้าพระองค์ดังนี้ พึงเจ็บใจในเราแล้วเกิดในอบายดังนี้ ได้ตรัส

สั่งกะภิกษุรูปหนึ่งว่า ให้เรียกสารีบุตรมา เราจักถามเรื่องนี้ ดังนี้

จึงได้ตรัสแล้วอย่างนี้.

บทว่า อปาปุรณ อาทาย ได้แก่ ถือกุญแจ. บทว่า สีหนาท

ได้แก่ บันลือประเสริฐเฉพาะพระพักตร์ ไม่เปลี่ยนแปลง ภิกษุสงฆ์

อันพระมหาเถระทั้งสองรูปประกาศแล้วอย่างนี้ ก็พากันลา ทิ้งที่พัก

กลางคืนและที่พักกลางวัน ได้ไปยังสำนักของพระศาสดา. บทว่า

ขียธมฺม ได้แก่ ธรรมกถา. บทว่า คูถคต คือ คูถ. ถึงในบทที่เหลือ

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ปฐวีสเมน ได้แก่ ชื่อว่ามีใจเสมอด้วยแผ่นดิน เพราะ

ไม่โกรธ เพราะไม่ประทุษร้าย. แท้จริง แผ่นดิน จะไม่ทำความ

ทุกข์ใจว่า ชนทั้งหลายทิ้งของสะอาดลงบนเราดังนี้ จะไม่ทำความ

ทุกข์ใจว่า ชนทั้งหลายทิ้งของไม่สะอาดลงดังนี้ ท่านแสดงว่า ถึง

จิตของข้าพระองค์ ก็เห็นปานนั้น. บทว่า วิปูเลน ได้แก่ ไม่น้อย.

บทว่า มหคฺคตน ได้แก่ ถึงความกว้างใหญ่. บทว่า อปฺปมาเณน

ได้แก่ ขยายออกไปได้ไม่มีประมาณ. บทว่า อเวเรน ได้แก่ เว้น

แล้วจากเวรต่ออกุศลและเวรต่อบุคคล. บทว่า อพฺยาปชฺเฌน ได้แก่

ไม่มีทุกข์ คือ ปราศจากโทมนัส. บทว่า โส อิธ ได้แก่ ภิกษุนั้น

เป็นผู้มีกายานุปัสนาสติปัฏฐาน ไม่เข้าไปตั้งไว้แล้ว พึงกระทำ

อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลผู้เป็นเช่นข้าพระองค์ จักทำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 746

กรรมเห็นปานนั้นได้อย่างไรดังนั้น ท่านจึงบันลือแล้วซึ่งสีหนาท

เป็นครั้งแรก. พึงทราบการประกอบในบททั้งปวงอย่างนี้.

บทว่า รโชหรณ ได้แก่ ราชตระกูลพวกเขาไม่กวาดด้วย

ไม้กวาด แต่พวกเขาเช็ดด้วยท่อนผ้า. นั่นเป็นชื่อของรโชหรณะ

(ผ้าเช็ดธุลี). บทว่า กโฬปิหตฺโถ ได้แก่ เป็นผู้มีมือถือตะกร้า หรือ

ถือหม้อข้าว. บทว่า นนฺติกวาสี ได้แก่ เป็นผู้นุ่งผ้าเก่าชายขาด.

บทว่า สุรโต ได้แก่ เป็นผู้มีปกติแจ่มใสประกอบด้วยความสงบ

เสงี่ยม. บทว่า สุทนฺโต ได้แก่ ได้รับการฝึกดีแล้ว. บทว่า สุสิกฺขิโต

ได้แก่ เป็นผู้ศึกษาดีแล้ว. บทว่า น กญฺจิ หึสติ ได้แก่ ไม่เบียดเบียน

ใคร ๆ แม้จะจับที่เขาเป็นต้น แม้จะลูบคลำหลัง. บทว่า อุสภจฺ-

ฉินฺนวิสาณสาเมน ได้แก่ เช่นกับจิตของโคุสภะเขาขาด.

บทว่า อฏฺฏิเยยฺย ได้แก่ พึงเป็นผู้มีอาการคือ ถูกเบียดเบียน

บทว่า หราเยยฺย ได้แก่ ละอาย. บทว่า ชิคุจฺเฉยฺย ได้แก่ ถึงความ

เกลียดชัง. บทว่า เมทกถาลิก ได้แก่ ภาชนะที่บุคคลทำไว้สำหรับ

สุนัขเจาะเป็นรูไว้ในที่นั้น ๆ เพื่อการไหลออกของน้ำแกง เรียก

ภาชนะมันข้น. บทว่า ปริหเรยฺย ได้เก่ คนพึงบรรจุให้เต็มด้วยเนื้อ

แล้วยกขึ้นเดินไป. บทว่า ฉิทฺทาวฉิทฺท ได้แก่ ประกอบด้วยช่องน้อย

ช่องใหญ่. บทว่า อคุฆรนฺต ได้แก่ น้ำแกงไหลลงทางรูที่เป็นช่อง

ข้างบน. บทว่า ปคฺฆรนฺต ได้แก่ น้ำแกงไหลออกทางรูที่เป็นช่อง

ข้างล่าง. ร่างกายทั้งสิ้นของเขาพึงเปื้อนด้วยน้ำแกงด้วยอาการ

อย่างนี้. บทว่า ฉิทฺทาวฉิทฺท ได้แก่ เป็นช่องน้อยช่องใหญ่จาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 747

ปากแผลทั้ง ๙. ในข้อนี้ พระเถระกล่าวแล้วซึ่งความที่ตนไม่มี

ฉันทราคะในร่างกาย ด้วยองค์ที่แปดหรือที่เก้าด้วยอาการอย่างนี้

บทว่า อถ โข โส ภิกฺขุ ความว่า ลำดับนั้นแล ภิกษุนั้น

เมื่อพระเถระบันลือสีหนาทด้วยเหตุเก้าอย่างนี้แล้ว. บทว่า อจฺจโย

ได้แก่ ความผิด. บทว่า ม อจฺจคมา ได้แก่ ข้าพเจ้ายอมรับ (โทษ)

ที่ได้เป็นไปแล้ว. บทว่า ปฏิคฺคณฺหาตุ ได้แก่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงโปรดอดโทษด้วยเถิด. บทว่า อายตึ สวราย ได้แก่ เพื่อความ

สำรวมในอนาคต คือเพื่อไม่ทำความผิดเห็นปานนี้อีก.

บทว่า ตคฺฆ คือ โดยแน่นอน. บทว่า ยถาธมฺม ปฏิกโรสิ

ได้แก่เธอได้ทำตามธรรมที่ตั้งอยู่แล้ว ท่านอธิบายว่า ให้เราอดโทษ

ดังนี้. บทว่า ตนฺเต มย ปฏิคฺหคณฺหาม ความว่า เราจะไม่เอาความ

ผิดนั้นกับเธอ. บทว่า วุฑฺฒิ เหสา ภิกฺขุ อริยสฺส วินเย ความว่า

ดูก่อนภิกษุ นี้ชื่อว่าความเจริญในวินัยของพระอริยะ. คือในศาสนา

ข้องพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถามว่า ความเจริญเป็นไฉน ?. ตอบว่า

การเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรมถึงความ

สำรวมต่อไป. ก็เมื่อพระเถระจะทำเทศนาให้เป็นปุคคลาธิฏฐาน

จึงกล่าวว่า โย อจฺจย อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺม ปฏิกโรติ อายตึ

สวร อาปชฺชติ ดังนี้.

บทว่า ผลติ ความว่า ก็ถ้าพระเถระไม่พึงอดโทษไซร้

ศีรษะของภิกษุนั้นพึงแตกเจ็ดเสียงในเพราะโทษนั้นแล เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสอย่างนั้น. บทว่า สเจ ม โส ความว่า

ถ้าภิกษุนี้กล่าวกะข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ท่านอดโทษเถิด ดังนี้. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 748

ขมตฺ จ เม โส ความว่า พระเถระยกโทษแก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ด้วย

คิดว่า ก็ท่านผู้มีอายุนี้อดโทษแก่ข้าพเจ้าดังนี้ ให้ภิกษุนั้นขอโทษ

เฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดาแม้ด้วยตนเองดังนี้.

จบ อรรถกถาวุฏฐิสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 749

๒. สอุปาทิเสสสูตร

ว่าด้วยสอุปาทิเสสบุคคล ๙ จำพวก

[๒๑๖] สมัยหนึ่ง พระผุ้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร

สาวัตถี.

ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและ

จีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ท่านพระสารีบุตรมีความ

คิดดังนี้ว่า การเที่ยวไปบิณฑบาติในพระนครสาวัตถียังเช้าเกินไป

ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปยังอารามของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อนเถิด

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปยังอารามของอัญญเดียรถีย์

ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้น อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกำลังนั่ง

ประชุมสนทนากันในระหว่างว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง

ที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ ผู้นั้นล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่

พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่พ้นจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย

ทุคติ และวินิบาต.

ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไม่ยินดีไม่คันค้านถ้อยคำที่

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าว ครั้นแล้วลุกจาอาสนะ

หลีกไปด้วยคิดว่า เราจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรเที่ยวบิณฑบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 750

ในพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์

นุ่งแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ข้า

พระองค์ผู้มีความคิดอย่างนี้ว่า การเที่ยวบิณฑบาตในพระนคร

สาวัตถี ยังเช้าเกินไป ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปยังอารามของพวก

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกก่อนเถิด ลำดับนั้น ข้าพระองค์เข้าไปยัง

อารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญ-

เดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง

กันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรสวนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้นแล พวกอัญญ-

เดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นกำลังนั่งประชุมสนทนากันอยู่ในระหว่าง

ว่า ก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งที่ยังเป็นสอุปาทิเสสะ กระทำ

กาละ นั้นล้วนไม่พ้นจากนรก ไม่พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไม่

พันจากเปรตวิสัย ไม่พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ข้าพระองค์

ไม่ยินดีไม่คัดค้านถ้อยคำที่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น

กล่าวแล้ว ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยคิดว่า เราจักรู้ทั่ว

ถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร อัญญเดียรถีย์

ปริพาชกบ้างพวกโงเขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้ผู้ที่เป็นสอุปาทิเสสะ

ว่า เป็นสอุปาทิเสสะ หรือจักรู้ผู้ที่เป็นอนุปาทิเสสะว่า เป็นอนุปา-

ทิเสสะ ดูก่อนสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้ ที่เป็นสอุปาทิเสสะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 751

กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจาก

เปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ๙ จำพวกเป็นไฉน.

ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์

ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้นเป็น

อันตราปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูก่อน

สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๑ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำกาละ

พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย พ้น

จากอบาย ทุคติ และวินิบาต.

อีกประการหนึ่ง บุคคลคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำได้

บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้น

เป็นอุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ดูก่อน

สารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๒....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้

บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้น

เป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๓....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้

บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้น

เป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๔....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้

บริบูรณ์ในศีล ในสมาธิ กระทำพอประมาณในปัญญา บุคคลนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 752

เป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๕....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้

บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้น

เป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เพราะราคะ โทสะและ

โมหะเบาบาง กลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์

ได้ ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๖....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้

บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคล

นั้นเป็นเอกพีชี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป บังเกิดยังภพมนุษย์นี้

ครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๗...

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้

บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้น

เป็นโกลังโกละ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่ ๒-๓ ตระกูล

แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๘....

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำให้

บริบูรณ์ในศีล กระทำพอประมาณในสมาธิ ในปัญญา บุคคลนั้น

เป็นสัตตักขัตตุปรมโสดา เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ท่องเที่ยวอยู่

ในเทวดาและมนุษย์ ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ดูก่อนสารีบุตร นี้บุคคลจำพวกที่ ๙ ผู้เป็นสอุปาทิเสสะ กระทำ

กาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน พ้นจากเปรตวิสัย

พ้นจากอบาย ทุคติ และวินิบาต ดูก่อนสารีบุตร อัญญเดียรถีย์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 753

ปริพาชกบางคน โง่เขลา ไม่ฉลาด อย่างไรจักรู้บุคคลผู้เป็นสอุปา-

ทิเสสะว่า เป็นสอุปาทิเสสะ หรือจักรู้บุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสะว่า

เป็นอนุปาทิเสสะ ดูก่อนสารีบุตร บุคคล ๙ จำพวกนี้แล เป็น

สุปาทิเสสะ กระทำกาละ พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิด สัตว์.

ดิรัจฉานพ้นจากเปรตวิสัย พ้นจากอบาย ทุคติและวินิบาต.

ดูก่อนสารีบุตร ธรรมปริยายนี้ ยังไม่แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ

ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกาก่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ฟัง

ธรรมปริยายที่เรากล่าวด้วยความอธิบายปัญหานี้แล้ว อย่าถึง

ความประมาท.

จบ สอุปาทิเสสสูตรที่ ๒

อรรถกถาสอุปาทิเสสสูตร

สอุปาทิเสสสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สอุปาทิเสส ได้แก่ เป็นผู้ยังมีเบญจขันธ์เหลือ. บทว่า

อนุปาทิเสส ได้แก่ เป็นผู้มีเหลืออุปาทาน คือหมดความยึดถือ.

บทว่า มตฺตโสการี ได้แก่ เป็นผู้ทำพอประมาณ คือไม่ทำใหับริบูรณ์.

บทว่า น ตาวาย สาริปุตฺต ธมฺมปริยาโย ปฏิภาสิ ความว่า ก็ใน

ข้อนี้ได้ความหมายดังนี้ว่า ธรรมดาความไม่แจ่มแจ้ง ย่อมไม่มี

แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เราจักไม่กล่าวธรรมปริยายนี้ก่อน. บทว่า

มายิม ธมฺมปริยาย สุตฺวา ปมาท อาหรึสุ ความว่า บุคคลทั้งหลาย

เมื่อไม่ทำความเพียรเพื่ออรหัตในเบื้องบน อย่างความประมาท

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 754

ด้วยเข้าใจว่า นัยว่าเราทั้งหลาย พ้นแล้วจากอบาย ๔ ดังนี้.

บทว่า ปญฺหาธิปฺปาเยน ภาสิโต ท่านแสดงว่า เรากล่าวว่า เรา

กล่าวตามปัญหาที่ท่านถามแล้วดังนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำเหตุนั้นเท่านั้นให้เกิด เพื่อ

บรรเทาฉันทราคะในภพทั้งหลายของบุคคล ๙ จำพวกเหล่านี้แล้ว

จึงได้ตรัสพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คูถแม้มีประมาณน้อย

ย่อมมีกลิ่นเหม็นแม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวซึ่ง

ภพแม้มีประมาณน้อยโดยที่สุด แม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือฉันนั้นเหมือนกัน.

มิใช่อย่างเดียว มิเป็นที่ไปของบุคคล ๙ จำพวกเหล่านั้นก็ติดต่อกัน.

สรณะ ๓ ศีล ๕ สลากภัตหนึ่ง ปักขิกภัตหนึ่ง วัสสาวาสิกะหนึ่ง

สระโบกขรณีหนึ่ง อาวาสหนึ่ง บุญที่เนื่องกันเห็นปานนี้ มีอยู่

แก่ตระกูลทั้งหลายเหล่าใด ทางดำเนินแม้ของตระกูลทั้งหลาย

เหล่านั้นก็เนื่องกัน ตระกูลทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเช่นกับโสดาบัน

บุคคลนั่นเอง.

จบ อรรถกถาสอุปาทิเสสสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 755

๓. โกฏฐิตสูตร

ว่าด้วยกรรมและการให้ผลของกรรม

[๒๑๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะเข้าไปหาท่าน

พระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่าน

การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันได้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร

บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์

นี้ว่า กรรมในที่ให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้นจงให้ผลในสัมปรายภพ

แก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ.

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้.

ม. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ก็บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดที่ให้ผลใน

สัมปรายภพ ขอกรรมนั้นจงให้ผลในปัจจุบันแก่เรา ดังนี้ ได้หรือ

หนอ.

สา. ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้.

ม. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ก็บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลเป็นสุข

ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นทุกข์แก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ.

สา. ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้.

ม. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ก็บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 756

ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุขแก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ.

สา. ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้.

ม. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลเสร็จแล้ว

ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลเสร็จแล้วแก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ.

สา. ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้.

ม. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ก็บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดยังไม่ให้ผล

เสร็จแล้ว ขอกรรมนั้นจงให้ผลเสร็จแล้วแก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ.

สา. ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้.

ม. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร แก่บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลมาก

ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อยแก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ.

สา. ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้.

ม. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ก็บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลน้อย

ขอกรรมนั้นจงให้ผลมากแก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ.

สา. ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้.

ม. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ก็บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดยังให้ผล ขอ

กรรมนั้นจงไม้ให้ผลแก่เราดังนี้ ได้หรือหนอ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 757

สา. ดูก่อนอาวุโส ไมใช่อย่างนี้.

ม. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ก็บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในกรรมผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดไม่ให้ผล ขอ

กรรมนั้นจงให้ผลแก่เราดังนี้ ได้หรือหนอ.

สา. ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้.

ม. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร เมื่อเราถามท่านว่า ดูก่อนอาวุโส

สารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลในปัจจุบัน ขอกรรมนั้นจงให้ผล

ในสัมปรายภพแก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ ท่านตอบว่า ดูก่อนอาวุโส

ไม่ใช่อย่างนี้ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ก็บุคคลอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นี้ว่า

กรรมใดให้ผลในสัมปรายภพ ขอกรรมนั้นจงให้ผลในปัจจุบันแก่เรา

ดังนี้ ได้หรือหนอ ท่านก็ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้

เมื่อเราถามว่า บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลเป็นสุข ขอกรรมนั้นจงให้ผล

เป็นทุกข์แก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ ท่านตอบว่า ดูก่อนอาวุโส

ไม่ใช่อย่างนี้ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร บุคคลอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นี้ว่า

กรรมใดให้ผลเป็นทุกข์ ขอกรรมนั้นจงให้ผลเป็นสุขแก่เรา ดังนี้

ได้หรือหนอ ท่านก็ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้ เมื่อเรา

ถามว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 758

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลเสร็จแล้ว

ขอกรรมนั้นจงไม่ให้ผลเสร็จแล้วแก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ ท่านก็

ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนอาวุโส

สารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดไม่ให้ผลเสร็จแล้ว ขอกรรมนั้นจงให้

ผลเสร็จแล้วแก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ ท่านก็ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส

ไม่ใช่อย่างนี้ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร บุคคลอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นี้ว่า

กรรมใดให้ผลมาก ขอกรรมนั้นจงให้ผลน้อยแก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ

ท่านก็ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้ เมื่อเราถามว่า ดูก่อน

อาวุโสสารีบุตร บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดให้ผลน้อย ขอกรรมนั้นจงให้ผลมาก

แก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ ท่านก็ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้

เมื่อเราถามว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร บุคคลออยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประโยชน์นี้ว่า กรรมใดยังให้ผล ขอ

กรรมนั้นจงไม่ให้ผลแก่เรา ดังนี้ ได้หรือหน ท่านก็ตอบว่า ดูก่อน

อาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร

บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์

นี้ว่า กรรมใดไม่ให้ผล ขอกรรมนั้นจงให้ผลแก่เรา ดังนี้ ได้หรือหนอ

ท่านก็ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนี้ ดูก่อนอาวุโส ก็เมื่อเป็น

เช่นนั้น บุคคลจะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพื่อประโยชน์อะไร.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 759

ส. ดูก่อนอาวุโส สิ่งใดแล ที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่บรรลุ

ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่ตรัสรู้ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อบรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้ง

เพื่อตรัสรู้สิ่งนั้น ดูก่อนอาวุโส สิ่งที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่บรรลุ

ไม่กระทำให้แจ้ง ได้ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อบรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้ง เพื่อ

ตรัสรู้สิ่งนั้น ดูก่อนอาวุโส สิ่งนี้แลที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่บรรลุ

ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่ตรัสรู้ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อบรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้ง

เพื่อตรัสรู้ สิ่งนั้น.

จบ โกฏฐิตสูตรที่ ๓

อรรถกถาโกฏฐิตสูตร

โกฏฐิตสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทิฏฺธมฺมเวทนิย ได้แก่ กรรมที่ให้ผลในอัตภาพนี้

เท่านั้น. บทว่า สมฺปรายเวทนิย ได้แก่ กรรมที่ให้ผลในอัตภาพ

ที่สอง บทว่า สุขเวทนิย ได้แก่ กรรมแต่งให้เกิดสุขเวทนา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 760

บทว่า ทุกฺขเวทนิย ได้แก่ กรรมแต่งให้เกิดทุกขเวทนา. บทว่า

ปริปกฺกเวทนิย ได้แก่ กรรมให้ผลสำเร็จแล้วคราวหนึ่ง. บทว่า

อปริปกฺกเวทนิย ได้แก่ กรรมให้ผลยังไม่สำเร็จแล้วคราวหนึ่ง.

บทว่า พหุเวทนิย ได้แก่ กรมให้ผลมาก. บทว่า อปฺปเวทนิย

ได้แก่ กรรมให้ผลไม่มาก. บทว่า เวทนิย ได้แก่ กรรมยังให้ผล.

บทว่า อเวทนิย ได้แก่ กรรมยังไม่ให้ผล. วัฏฏและวิวัฏฏะตรัสแล้ว

ในพระสูตรนี้.

จบ อรรถกถาโกฏฐิตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 761

๔. สมิทธิสูตร

ว่าด้วยวิตก

[๒๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปหาท่านพระ-

สารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระ-

สารีบุตรได้ถามท่านพระสมิทธิว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ วิตกอันเป็น

ความดำริของบุรุษ มีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ท่านพระสมิทธิ

ตอบว่า วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ มีนามรูปเป็นอารมณ์

เกิดขึ้น ท่านผู้เจริญ.

สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น ย่อมถึง

ความต่างกันในอะไร.

ส. ในธาตุทั้งหลาย ท่านผู้เจริญ

สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไร

เป็นสมุทัย.

ส. มีผัสสะเป็นสมุทัย ท่านผู้เจริญ.

สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไร

เป็นที่ประชุมลง.

ส. มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง ท่านผู้เจริญ.

สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไร

เป็นประมุข.

ส. มีสมาธิเป็นประมุข ท่านผู้เจริญ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 762

สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไร

เป็นใหญ่.

ส. มีสติเป็นใหญ่ ท่านผู้เจริญ.

สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไร

เป็นยิ่ง.

ส. มีปัญญาเป็นยิ่ง ท่านผู้เจริญ.

สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไร

เป็นแก่น.

ส. มีวิมุตติเป็นแก่น ท่านผู้เจริญ.

สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไร

เป็นที่หยั่งลง.

ส. มีอมตะเป็นที่หยั่งลง ท่านผู้เจริญ.

สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ เมื่อเราถามท่านว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ

วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ มีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ท่าน

ตอบว่า มีนามรูปเป็นอารมณ์ ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูก่อน

ท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้นถึงความต่างกันในอะไร

ท่านตอบว่า ในธาตุทั้งหลาย ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูก่อน

ท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นสมุทัย ท่านตอบ

ว่า มีผัสสะเป็นสมุทัย ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ

ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นที่ประชุมลง ท่านตอบว่า

มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนท่าน

สมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นประมุข ท่านตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 763

มีสมาธิเป็นประมุข ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ

ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นใหญ่ ท่านตอบว่า มีสติ

เป็นใหญ่ ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ วิตก

อันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นยิ่ง ท่านตอบว่า มีปัญญาเป็นยิ่ง

ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความ

ดำรินั้น มีอะไรเป็นแก่น ท่านตอบว่า มีวิมุตติเป็นแก่น ท่านผู้เจริญ

เมื่อเราถามว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มี

อะไรเป็นที่หยั่งลง ท่านตอบว่า มีอมตะเป็นที่หยั่งลง ท่านผู้เจริญ

ดูก่อนท่านพระสมิทธิ ดีละ ดีละ เป็นการดีแล้ว ท่านอันเราถาม

ปัญหาก็แก้ได้ แต่ท่านอย่าทะนงตน ด้วยการแก้ปัญหานั้น.

จบ สมิทธิสูตรที่ ๔

อรรถกถาสมิทธิสูตร

สมิทธิสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมิทฺธิ ได้แก่ พระเถระมีพระเถระผู้เป็นสัทธิวิหาริก

ได้ชื่อว่าอย่างนี้ เพราะความสำเร็จของอัตภาพ. บทว่า กิมารมฺมณา

ได้แก่ มีอะไรเป็นปัจจัย. บทว่า สงฺกมฺปวิตกฺกา ได้แก่ วิตกเป็น

ความดำริ. บทว่า นามรูปารมฺมณา ได้แก่ มีนามรูปเป็นปัจจัย.

ท่านแสดงว่า ด้วยบทนี้ อรูปขันธิ ๔ รูปและอุปาทายรูป เป็น

ปัจจัยของวิตกทั้งหลาย. บทว่า กวฺนานตฺต คจฺฉนฺติ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 764

ย่อมถึงความต่าง ๆ กันเป็นสภาพ คือความแปลกในที่ไหน. บทว่า

ธาตูสุ คือ ในรูปธาตุเป็นต้น. ด้วยว่า ความตรึกในรูปเป็นอย่างหนึ่ง

ความตรึกในเสียงเป็นต้น เป็นอย่างหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้. บทว่า

ผสฺสสมุทยา ได้แก่ เป็นปัจจัยแก่ผู้สละประกอบกัน. บทว่า

เวทนาสโมสรณา ได้แก่ มีเวทนา ๓ เป็นที่รวม. ท่านกล่าวกุศล

และอกุศลรามกันแล้วด้วยเหตุประมาณเท่านี้. ส่วนธรรมเป็นต้น

ว่า สมาธิปฺปมุขา พึงทราบว่าเป็นธรรมฝ่ายกำจัดกิเลสให้สิ้นไป.

ในบทนั้น วิตกชื่อว่า สมาธิปฺปมุขา เพราะอรรถว่า มีสมาธิเป็น

ประมุขด้วยอรรถว่าเป็นประธาน หรือด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่.

ชื่อว่า สตาธิปเตยฺยา เพราะอรรถว่ามีสติเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่า

เป็นเหตุของผู้เป็นใหญ่. ชื่อว่า ปญฺญุตฺตรา เพราะมีมรรคปัญญา

เป็นยอดเยี่ยม. ชื่อว่า วิมุตฺติสารา เพราะอรรถว่า มีการบรรลุผล

วิมุตติเป็นแก่น. ชื่อว่า อมโตคธา เพราะอรรถว่า หยั่งลงสู่อมต-

นิพพาน คือตั้งอยู่ในอมตนิพพานนั้นแล้วด้วยอำนาจอารมณ์. บทว่า

เตน วา มา มญฺิ ความว่า ท่านอย่าทำความเย่อหยิ่ง หรือความ

โอ้อวดด้วยการแก้นั้นว่า อัครสาวกถามปัญหาแล้ว เราแก้ได้แล้ว

ดังนี้.

จบ อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 765

๕. คัณฑสูตร

ว่าด้วยปากแผล ๙ แห่ง

[๒๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝีที่เกิดขึ้นหลายปี

ฝีนั้นพึงมีปากแผล ๙ แห่ง มีปากแผลที่ยังไม่แตก ๙ แห่ง สิ่งใด

สิ่งหนึ่งจะพึงไหลออกจากปากแผลนั้น สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาด

มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดทั้งนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งพึงไหลเข้า สิ่งนั้นเป็น

ของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดทั้งนั้น ฉันใด คำว่าฝีนี้แล

เป็นชื่อของกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ มีมารดาบิดา

เป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง

ต้องลูบไล้นวดฟั้น มีความกระจัดกระจายเป็นธรรมดา กายนั้น

มีปากแผล ๙ แห่ง มีปากแผลที่ยังไม่แตก ๙ แห่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ย่อมไหลออกจากปากแผลนั้น สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น

น่าเกลียดทั้งนั้น ฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ

เธอทั้งหลายจงเบื่อหน่ายในกายนี้.

จบ คัณฑสูตรที่ ๕

อรรถกถาคัณฑสูตร

คัณฑสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

สามปี สี่ปี ชื่อการนับปี. ชื่ออเนกวสฺสคณิโก เพราะอรรถ

ว่า นั้นเกิดขึ้นแล้วนับได้หลายปี. บทว่า ตสฺสสฺส ตัดบทเป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 766

ตสฺส ภเวยฺยุ แปลว่า พึงมีแก่ฝีนั้น. บทว่า อเภทนมุขานิ ความว่า

มิใช่แตกเพราะถูกคนใดคนหนึ่งทำแล้ว แต่เป็นปากแผลที่เกิดแต่

กรรมอย่างเดียวแท้ ๆ. บทว่า เชคุจฺฉิยเยว ได้แก่ น่าเกลียดคือ

เป็นของปฏิกูลทั้งนั้น. บทว่า จาตุมฺมหาภูติกสฺส ได้แก่ กายสำเร็จ

ด้วยมหาภูตรูป ๔. บทว่า โอทนกุมฺมาสุปจยสฺส ได้แก่ กายสะสม

คือเจริญเติบโตแล้วด้วยข้าวสุกและขนมสด.

บทว่า อนิจฺจุจฺ ฉาทนปริมทฺทนเภทนวิทฺธสนธมฺมสฺส ความว่า

มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ด้วยอรรถว่ามีแล้วไม่มี. มีการปกปิด

เป็นธรรมดาด้วยการลูบไล้ เพื่อกำจัดกลิ่นเหม็น มีการนวดฟั้นเป็น

ธรรมดา ด้วยแขนเพื่อบรรเทาความเจ็บไข้ที่อังคาพยพน้อยใหญ่.

อีกอย่างหนึ่ง ไม่เวลาเป็นหนุ่มมีการนวดฟั้นเป็นธรรมดา ด้วยการ

ทายาและบีบเป็นต้น เพื่อให้อวัยวะน้อยใหญ่เหล่านั้น ๆ ที่ตั้งอยู่

ไม่ดีสมบูรณ์ด้วยการให้นอนบนขาทั้งสองอยู่ในห้อง ก็มีความแตก

ทำลายเป็นธรรมดา แม้บริหารแล้วอย่างนี้ อธิบายว่า มีความแตก

กระจัดกระจายเป็นสภาพ ก็ในข้อนี้ ท่านกล่าวความดับแห่งกาย

นั้น ด้วยบทว่าไม่เที่ยง และด้วยบทว่าแตกและทำลาย ท่านกล่าว

ความเกิดด้วยบทที่เหลือ. บทว่า นิพฺพินทถ ท่านแสดงว่า เธอ

ทั้งหลาย จงระอา คือละทิ้งกายนี้เสียเถิดดังนี้. ในสูตรนี้ ท่านกล่าว

ถึงวิปัสสนามีกำลังด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาคัณฑสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 767

๖. สัญญาสูตร

ว่าด้วยสัญญา ๙ อย่าง

[๒๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙ ประการนี้ อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่ง

ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ๙ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา ๑

มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑

อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑

ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๙

ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก

มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.

จบ สัญญาสูตรที่ ๖

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๖

สัญญาสูตรที่ ๖ มีนัยอันท่านกล่าวแล้ว. แต่ในสูตรนี้ ท่าน

กล่าวญาณเท่านั้น โดยมีสัญญาเป็นใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 768

๗. กุลสูตร

ว่าด้วยตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ

[๒๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙

ประการ ภิกษุยังไม่เข้าไปก็ไม่ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้วก็ไม่

ควรนั่ง องค์ ๙ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ต้อนรับด้วยความพอใจ ๑

ไม่ไหว้ด้วยความพอใจ ๑ ไม่ให้อาสนะด้วยความพอใจ ๑ ปิดบัง

ของที่มีอยู่ ๑ ของมีมากให้น้อย ๑ มีของประณีตก็ให้ของเลว ๑

ให้ด้วยความไม่เคารพ ไม่ให้ด้วยความเคารพ ๑ ไม่นั่งใกล้เพื่อ

ฟังธรรม ๑ ไม่ยินดีภาษิตของภิกษุนั้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙ ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เข้าไปก็ไม่

ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้วก็ไม่ควรนั่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ

ภิกษุยังไม่เข้าไปก็ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้วควรนั่ง องค์ ๙

ประการเป็นไฉน คือ ต้อนรับด้วยความพอใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พอใจ ๑ ให้อาสนะด้วยความพอใจ ๑ ไม่ปิดบังของที่มีอยู่ ๑ ของ

มีมากก็ให้มาก ๑ มีของประณีตก็ให้ของประณีต ๑ ให้ด้วยความ

เคารพ ไม่ให้ด้วยไม่เคารพ ๑ นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม ๑ ยินดีภาษิต

ของภิกษุนั้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลประกอบด้วยองค์ ๙

ประการนี้แล ภิกษุยังไม่เข้าไปก็ควรเข้าไป หรือเข้าไปแล้วควรนั่ง.

จบ กุลสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 769

อรรถกถากุลสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในกุลสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า น มนาเปน ปจฺจุปฏฺเนฺติ ความว่า ลุกจากอาสนะแล้ว

ย่อมไม่ทำการต้อนรับด้วยความเจริญใจ คือโดยอาการติดใจ.

บทว่า น มนาเปน อภิวาเทนฺติ ความว่า ย่อมไม่ไหว้ด้วยเบญจางค-

ประดิษฐ์. บทว่า อสกฺกจฺจ เทนฺติ ความว่า ย่อมให้ด้วยความ

ไม่นับถือ. บทว่า โน สกฺกจฺจ ความว่า ย่อมไม่ให้ด้วยมือของตน.

บทว่า น อุปนิสีทนฺติ ธมฺมสฺสวนาย ความว่า ย่อมไม่นั่งในที่ใกล้

ด้วยคิดว่า เราทั้งหลายจักฟังธรรม. บทว่า น รสิยนติ ความว่า

ย่อมไม่ยินดี คือย่อมไปไม่กลับเหมือนน้ำทีรดบนหลังตุ่มใหญ่ฉะนั้น.

จบ อรรถกถากุลสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 770

๘. สัตตสูตร

ว่าด้วยการรักษาอุโบสถที่มีผลานิสงส์มาก

[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ

อันบุคคลเข้าอยู่แล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรือง

มาก มีความแพร่หลายมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุโบสถประกอบ

ด้วยองค์ ๙ ประการ อันบุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างไร จึงมีผลมาก

มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแพร่หลายมาก อริยสาวก

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมตระหนักชัดดังนี้ว่า พระอรหันต์ทั้งหลายละ

ปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศาตรา มี

ความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่ตลอดชีวิต

ในวันนี้ แม้เราก็ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้

วางศาตรา มีความละอาย เอื้อเอ็นดู อนุเคราะห์เกื้อกูลสรรพสัตว์

อยู่ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำตามพระอรหันต์แม้ด้วยองค์นี้

และอุโบสถชื่อว่าจักเป็นอันเราเข้าอยู่แล้ว อุโบสถประกอบด้วย

องค์ที่ ๑ นี้ ฯลฯ พระอรหันต์ทั้งหลายละการนั่งการนอนบนที่นั่ง

ที่นอนสูงใหญ่ งดเว้นจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่

สำเร็จการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียงหรือเครื่อง

ปูลาดด้วยหญ้าตลอดชีวิต ในวันนี้ แม้เราก็ละการนั่งการนอน

บนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ งดเว้นจากการส่งการนอนบนที่นั่งที่นอน

สูงใหญ่ สำเร็จการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนต่ำ คือ บนเตียง

หรือเครื่องปูลาดด้วยหญ้า ตลอดคืนและวันนี้ เราชื่อว่ากระทำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 771

ตามพระอรหันต์แม้ด้วยองค์นี้ และอุโบสถจักเป็นของเราเข้าอยู่

แล้ว อุโบสถประกอบด้วยองค์ที่ ๘ นี้ บุคคลมีใจประกอบด้วย

เมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ ก็เหมือนกัน

โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่ว

สัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์

ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน

อยู่ อุโบสถชื่อว่า ประกอบด้วยองค์ที่ ๙ นี้ ด้วยประการดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๙ ประการ อัน

บุคคลเข้าอยู่แล้วอย่างนี้จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความ

รุ่งเรื่องมาก มีความแพร่หลายมมาก.

จบ สัตตสูตรที่ ๘

อรรถกถาสัตตสูตรที่ ๘

ในสัตตสูตรที่ ๘ ท่านกล่าวว่าอุโบสถประกอบด้วยองค์

เพิ่มเมตตาภาวนาด้วยอำนาจอัธยาศัยของเวไนยบุคคล

จบ อรรถกถาสัตตสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 772

๙. เทวตาสูตร

ว่าด้วยผลแห่งการต้อนรับพระสงฆ์

[๒๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในราตรีนี้ เมื่อปฐมยาม

ล่วงไปแล้ว เทวดาเป็นอันมาก มีผิวพรรณงดงาม ยังวิหารเชตวัน

ทั้งสิ้น ให้สว่างไสว เข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

บรรพชิตทั้งหลายเข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายเมื่อเป็น

มนุษย์อยู่ในกาลก่อน ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ แต่ไม่กราบไหว้

ข้าพระองค์เหล่านั้นมีการงานยังไม่บริบูรณ์ มีความกินแหนงใจ

มีความเดือดร้อนตามในภายหลัง เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นเลว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาอีกพวกหนึ่งเป็นอันมาก เข้า

มาหาเราแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลาย

เข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายเมื่อเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน

ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ กราบไหว้ แต่ไม่ให้อาสนะ ข้าพระองค์

เหล่านั้นมีการงานไม่สมบูรณ์ มีความกินแหนงใจ มีความเดือดร้อน

ตามในภายหลัง เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นเลว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาอีกพวกหนึ่งเป็นอันมาก เข้า

มาหาเราแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลาย

เข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลาย เมื่อเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน

ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ กราบไหว้และให้อาสนะ แต่ไม่แบ่งปัน

ของให้ตามสามารถ ตามกำลัง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 773

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาอีกพวกหนึ่งเป็นอันมาก เข้า

มาหาเราแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลาย

เข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายเมื่อยังเป็นมนุษย์ในกาลก่อน

ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะ และแบ่งปันของให้

ตามสามารถ ตามกำลัง แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม ฯลฯ

... ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะ แบ่งปัน

ของให้ตามสามารถ ตามกำลัง และเข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม แต่

ไม่เงี่ยโสตลงสดับธรรม ฯลฯ

... ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะ แบ่งปัน

ของให้ตามสามารถ ตามกำลัง และเงี่ยโสตลงสดับธรรม แต่ฟังแล้ว

ไม่ทรงจำธรรมไว้ ฯลฯ

... ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะ. แบ่งปัน

ของให้ตามสามารถ ตามกำลัง เงี่ยโสตลงฟังธรรม และฟังแล้ว

ทรงจำธรรมไว้ ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ฯลฯ

... ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะ แบ่งปัน

ของให้ตามสามารถ ตามกำลัง เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม และ

พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ แต่หารู้อรรถรู้ธรรม

แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ ข้าพระองค์เหล่านั้นมีการงาน

ไม่บริบูรณ์ มีความกินแหนงใจ มีความเดือดร้อนตามในภายหลัง

เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นเลว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาอีกพวกหนึ่งเป็นอันมาก เข้า

มาหาเราแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรพชิตทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 774

เข้ามายังเรือนของข้าพระองค์ทั้งหลายเมื่อยังเป็นมนุษย์ในกาลก่อน

ข้าพระองค์เหล่านั้นลุกรับ กราบไหว้ ให้อาสนะ แบ่งปันสิ่งของ

ให้ตามสามารถ ตามกำลัง เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม เงี่ยโสตลง

สดับธรรม ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม

ที่ทรงจำไว้ และรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ข้าพระองค์เหล่านั้นมีการงานบริบูรณ์ ไม่มีความกินแหนงใจ

ไม่มีความเดือดร้อนตามในภายหลัง เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นประณีต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่ง

อย่าประมาทเลย อย่ามีความเดือดร้อนใจในภายหลัง เหมือนเทวดา

พวกต้น ๆ เหล่านั้น.

จบ เทวตาสูตรที่ ๙

อรรถกถาเทวตาสูตรที่ ๙

เทวตาสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วิปฺปฏิสารินิโย ความว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ถึง

ความเดือดร้อนคือ ความเป็นผู้เก้อเขิน. บทที่ หีน กาย ความว่า

หมู่เทวดาชั้นต่ำ ท่านเรียกว่าเลว ก็เพราะอาศัยเทวโลกชั้นสูง.

บทว่า โน จ โข ยถาสตฺติยถาพล สวิภชิมฺหา ความว่า ข้าพระองค์

ทั้งหลาย ยังไม่แบ่งของให้แก่ท่านผู้มีศีลทั้งหลายตามสามารถ คือ

ตามสมควรแก่กำลังของตน บริโภคเสียแล้ว.

จบ อรรถกถาเทวตาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 775

๑๐. เวลามสูตร

ว่าด้วยการให้ทานที่มีผลมาก

[๒๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเครษฐี ใกล้ประนคร

สาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อน

คฤหบดีในตระกูลของท่าน ยังให้ทานอยู่บ้างหรือหนอ.

ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ในตระกูลของข้าพระองค์ยังให้ทานอยู่ แต่ทานนั้นเป็นของเศร้าหมอง

เป็นปลายข้าว มีน้ำผักดองเป็นที่สอง.

พ. ดูก่อนคฤหบดี บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม

แต่ให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ ไม่ให้ด้วยมือ

ตนเอง ให้ของที่เหลือ ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน ทาน

นั้น ๆ ย่อมบังเกิดผลในตระกูลใด ๆ ในตระกูลนั้น ๆ จิตของผู้ให้

ทานย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อ

บริโภคผ้าอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมไม่

น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทาน

นั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็ไม่เชื่อฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง

ส่งจิตไปที่อื่นเสีย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะผลแห่งกรรม

ที่ตนกระทำโดยไม่เคารพ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 776

ดูก่อนคฤหบดี บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม

แต่ให้ทานนั้นโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ ให้ด้วยมือตนเอง

ให้ของที่ไม่เหลือ เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน ทานนั้น ๆ

บังเกิดผลในตระกูลใด ๆ ในตระกูลนั้น ๆ จิตของให้ทานย่อม

น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี

ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ

๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส

คนใช้ คนทำงาน ก็เชื่อฟังดี เงี่ยหูฟัง ไม่ส่งจิตไปที่อื่น ข้อนั้น

เพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะผลของกรรมที่ตนกระทำโดยเคารพ.

ดูก่อนคฤหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ

พราหมณ์ผู้นั้นได้ให้ทานเป็นมหาทานอย่างนี้ คือ ได้ให้ถาดทอง

เต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยเต็มด้วยทอง ๘๔,๐๐๐ ถาด

ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐๐ เชือก

มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง ให้รถ

๘๔,๐๐๐ คัน หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง

ผ้ากัมพลเหลือง มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คุมด้วย

ข่ายทอง ให้แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงิน

รองน้ำนม ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คน ประดับด้วยแก้วมณีและ

แก้วกุณฑล ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วย

ขนแกะสีขาว เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาด

อย่างดีทำด้วยหนังชมด มีเครื่องลาดเพดาน มีหมอนข้างแดงทั้งสอง

ให้ผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้าย เนื้อละเอียด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 777

จะป่วยกล่าวไปไยถึงข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้

ที่นอน ไหลไปเหมือนแม่น้ำ ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านพึงมีความคิด

อย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่นไม่ใช่เวลามพราหมณ์ที่ให้ทานเป็น

มหาทานนั้น ดูก่อนคฤหบดี แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างดี สมัยนั้น

เราเป็นเวลาพราหมณ์ เราไปให้ทานนั้นเป็นมหาทาน ก็ในทาน

นั้น ไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคล ใคร ๆ ไม่ชำระทักขิณานั้น

ให้หมดจด ก่อนคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญท่านผู้ถึงพร้อมด้วย

ทิฏฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่เวลาพราหมณ์ให้แล้ว

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิร้อยท่านบริโภค มี

ผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิร้อยท่าน

บริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วย

ทิฏฐิผู้เดียวบริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีเดียว

บริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วย

ทิฏฐิร้อยท่านบริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่าน

บริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีเดียว

บริโภค ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค มีผล

มากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่า

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีเดียวบริโภค ทานที่บุคคลถวาย

ให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญ

ให้พระอนาคามีร้อยท่านบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์

ร้อยท่านบริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 778

ผู้เดียวบริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธิเจ้ารูปเดียว

บริโภค ผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยรูป

บริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค

มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียว

บริโภค ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค

มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูป

บริโภค ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

บริโภค มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าบริโภค การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ

มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุขบริโภค การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม

และพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหาร

ถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทาน

สิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ จากการดื่มน้ำเมาคือ

สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีผลมากกว่าการที่

บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็น

สรณะ การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดย ที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดม

ของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท

คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ ดูก่อนคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญ

ให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิผู้เดียวบริโภค มีผลมากกว่ามหาทานที่

เวลามพราหมณ์ให้แล้ว ... การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุด

แม้เพียงเวลาสูดดมของหอม มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 779

สมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต... และการที่บุคคล

เจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ มีผลมากกว่าการที่บุคคล

เจริญเมตตาจิตโดยที่สุด แม้เพียงเวลาสูดดมของหอม.

จบ เวลามสูตรที่๑๐

อรรถกถาเวลามสูตร

เวลามสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อปิ นุ เต คหปติ กุเล ทาน ทิยฺยติ ความว่า นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสถามถึงทานที่ท่านถวายแก่ภิกษุสงฆ์

แท้จริง ในเรือนของเศรษฐียังให้ทานอันประณีตเป็นประจำแก่

ภิกษุสงฆ์ พระศาสดาจะไม่ทรงรู้ถึงข้อนั้น ก็หามิได้ ส่วนทานที่

ให้แก่โลกิยมหาชน ทานนั้นเศร้าหมอง เศรษฐีไม่เอิบอิ่มใจ จึงตรัส

ถามทานนั้น. บทว่า กาณาชก ความว่า ข้าวสารปนกับรำ คือ

หุงแล้วด้วยข้าวสารกากนิดหนึ่งปนกับรำ. บทว่า พิลงฺคทุติย คือ

มีน้ำผักดองเป็นที่สอง.

บทว่า อสกฺกจฺจ เทติ ได้แก่ จะให้ไม่ทำการเคารพ. บทว่า

อปจิตฺตึ กตฺวา เทติ ความว่า ให้โดยไม่นับถือ คือโดยไม่เคารพ

ในทักขิไณยบุคคล. บทว่า อสหตฺถา เทติ ความว่า ไม่ให้ด้วยมือ

ของตน ให้ด้วยมือของคนอื่น อธิบายว่า ย่อมกระทำเพียงสั่งเท่านั้น

เอง. บทว่า อปวิฏฺ เทติ ความว่า ย่อมไม่ให้ติดต่อกัน คือให้เป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 780

เหมือนคนใคร่จะทิ้งเสีย เหมือนคนจับเหี้ยใส่ในจอมปลวก เหมือน

เครื่องเซ่นของนักเลงเหล้าประจำปีฉะนั้น. บทว่า ทานมทาสิฏฺิโก

เทติ ความว่า ไม่เชื่อกรรมและผลให้ทาน.

บทว่า ยตฺถ ยตฺถ ได้แก่ บรรดากุลสัมปทาทั้งสาม ในตระกูล

ใด ๆ. ในบทเป็นต้นว่า น อุฬาราย ภตฺตโคคาย มีวินิจฉัยดังนี้ เมื่อ

เขาน้อมโภชนะแห่งข้าวสาลีหอม ซึ่งมีรสอร่อยต่าง ๆ เข้าไปแล้ว

เขาจะไม่น้อมจิตไป (เพื่อจะบริโภค) ยังกล่าวว่า ท่านจงนำไปเถิด

นั่นโรคกำเริบ ดังนี้ ชอบบริโภคข้าวปนรำกับผักดอง เหมือนอมตะ.

เมื่อเขาน้อมผ้าอย่างดี มีผ้ากาสีเป็นต้นเข้าไปแล้ว ก็กล่าวว่า

ท่านจงนำไปเถิด ผ้าเหล่านี้ ย่อมไม่สามารถแม้ปิดบังได้ ย่อมไม่

ติดอยู่แม้ที่ร่างกายของบุคคลผู้หนึ่งอยู่ดังนี้ ชอบนุ่งผ้าเนื้อหยาบ

เช่นกับเปลือกของมะพร้าวทำเป็นผ้าด้วยคิดว่า ผู้นุ่งผ้าเหล่านี้

ย่อมรู้สึกว่านุ่งห่มแล้ว ผ้าเหล่านั้นย่อมปกปิดแม้สิ่งที่ควรปกปิด

ดังนี้ เมื่อเขาน้อมยานช้าง ยานม้า ยานรถหรือวอทองเป็นต้น เข้า

ไปให้ก็กล่าวว่า ท่านจงนำไปเถิด ยานเหล่านั้น ใคร ๆ ไม่อาจ

เพื่อจะนั่งเป็นสุขในยานนี้ได้ ดังนี้ เมื่อเขาน้อมรถเก่าคร่ำคร่า

เข้าไปให้ก็กล่าวว่า รถนี้เป็นรถไม่กระเทือน ในรถนี้นั่งได้เป็นสุข

ดังนี้ ย่อมยินดีรถนั้น. บทว่า น อุฬาเรสุ ปญฺจสุ กามคุเณสุ

ความว่า เขาได้เห็นหญิงทั้งหลาย เป็นผู้มีรูปซึ่งประดับตกแต่ง

แล้วคิดว่า เห็นจะเป็นนางยักษิณี นางยักษิณีเหล่านั้น เป็นผู้ใคร่

จะกิน ประโยชน์อะไรด้วยหญิงทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้ ย่อมให้

เวลาล่วงไปตามความผาสุก. บทว่า น สุสฺสูสนติ ความว่า บริวาร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 781

ชนทั้งหลาย ย่อมไม่ปรารถนาเพื่อจะฟัง อธิบายว่า ย่อมไม่เชื่อดังนี้

ก็มี. บทว่า น โสต โอทหนฺติ ความว่า ย่อมไม่เงี่ยโสตประสาทลง

เพื่อฟังคำที่เขากล่าวแล้ว. บทว่าต้นว่า สกฺกจฺจ พึงทราบโดย

ปริยายตรงข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

บทว่า เวลาโม ความว่า เป็นนามที่ได้แล้วอย่างนี้ เพราะ

ประกอบด้วยคุณทั้งหลายอันยิ่งใหญ่ล่วงเขตแดน ชาติ โคตร รูป

โภคะ ศรัทธาและปัญญาเป็นต้น. ในบทว่า โส เอวรูป ทานมทาสิ

มหาทาน นี้ มีอนุปุพพิกถาดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า ในอดีต เวลามพราหมณ์นั้น ได้ถือปฏิสนธิแล้ว

ในเรือนของปุโรหิต ( พราหมณ์ที่ปรึกษาในทางขนบธรรมเนียม

ประเพณี ) กรุงพาราณสี พวกญาติได้ตั้งชื่อให้เขาว่า เวลามกุมาร

กรุงพาราณสี ในเวลาอายุ ๑๖ ปี. คนแม้ทั้งสองนั้น ปรารถนาแล้ว

ซึ่งศิลปะในสำนักของอาจารย์ทิสาปาโมกข์. พวกเขาปรารถนา

แล้วฉันใด ส่วนราชกุมารแปดหมื่นสี่พันคนแม้เหล่าอื่นในชมพูทวีป

ก็ปรารถนาแล้วฉันนั้น. พระโพธิสัตว์ ว่าที่ตำแหน่งที่ตนได้รับ

ก็เป็นอาจารย์คนหลัง จึงให้กุมารแปดหมื่นสี่พันศึกษาอยู่ ตนเอง

เรียนศีลปะ ๓ ปีจบ ซึ่งเขาเรียนกัน ๑๖ ปี. อาจารย์รู้ว่าศิลปะของ

เวลามกุมารคล่องแคล่วแล้ว จึงกล่าวว่า ดูก่อนลูกทั้งหลาย เวลามะ

ย่อมรู้ศิลปะทั้งหมดที่เราได้รู้แล้ว พวกเจ้าทุกคนพร้อมใจกันไป

เรียนศิลปะในสำนักของเวลามะ ดังนี้จึงมอบกุมารแปดหมื่นสีพันคน

ให้แก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ ไหว้อาจารย์แล้ว เป็นผู้มีกุมาร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 782

แปดหมื่นสี่พันแวดล้อมออกไปแล้ว ถึงเมืองซึ่งอยู่ใกล้แห่งหนึ่ง

จึงให้ราชกุมารผู้เป็นเจ้าของเมืองนั้นเรียน เมื่อเขาชำนาญในศิลปะ

แล้ว จึงให้เขากลับไปอยู่ในเมืองนั้นแหละ พระโพธิสัตว์ไปยังเมือง

แปดหมื่นสี่พันเมืองโดยอุบายนั้นแล้ว ให้ฝึกศิลปะของราชกุมาร

แปดหมื่นสี่พันคนชำนาญแล้ว จึงให้ราชกุมารนั้น ๆ กลับไปอยู่ใน

เมืองนั้น ๆ แล้วก็พาเอาราชกุมารกรุงพาราณสีกลับมายังกรุง-

พาราณสี. คนทั้งหลายในกรุงพาราณสีนั้น จึงได้อภิเษกราชกุมาร

กรุงพาราณสีผู้เรียนจบศิลปะแล้วไว้ในราชสมบัติ ได้ให้ตำแหน่ง

ปุโรหิตแก่เวลามะ. ราชกุมารแปดหมื่นสี่พันแม้เหล่านั้น ได้อภิเษก

แล้วในราชสมบัติทั้งหลายของตน ก็ยังพากันมาบำรุงพระเจ้ากรุง-

พาราณสีทุกปี. พระราชกุมารเหล่านั้น เฝ้าพระราชาแล้ว ได้ไปยัง

สำนักของเวลามะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ เมื่อข้าพเจ้าทั้งหลาย

ดำรงอยู่แล้วในราชสมบัติ ท่านประสงค์ด้วยสิ่งใด พึงบอกแล้วก็

พากันไป เมื่อราชกะมารเหล่านั้น พาเอาเกวียน รถ แม่โค โคผู้ ไก่

และสุกรเป็นต้น ในเวลาไปและเวลามา ชนบทก็ถูกเบียดเบียนอย่าง

หนัก. มหาชนประชุมพร้อมกันแล้ว เรียกร้องอยู่ที่พระลานหลวง.

พระราชารับสั่งให้เรียกเวลามะมาแล้ว ตรัสว่าข้าแต่ท่านอาจารย์

ชนบทถูกเบียดเบียน พระราชาทั้งหลาย ย่อมกระทำการปล้นใหญ่

ในเวลาไปและเวลามา คนทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถเพื่อดำรงอยู่

สงบได้ ท่านทำอุบายอย่างหนึ่งเพื่อให้ชนบทสงบจากความเบียด-

เบียนดังนี้. เวลามะ กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชศิละ ข้าพระองค์

จักทำอุบาย พระองค์มีความต้องการด้วยชนบทมีประมาณเท่าใด พระองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 783

ทรงกำหนดซึ่งชนบทนั้นแล้วถือเอา. พระราชาได้ทรงกระทำ

อย่างนั้นแล้ว. เวลามะ เที่ยวตรวจดูในชนบทของพระราชาแปดหมื่น

สี่พันแล้ว จึงให้รวมเข้ามาอยู่ในชนบทของพระราชา เหมือน

รวบรวมซี่ล้อไว้ที่ดุมล้อฉะนั้น. จำเดิมแต่นั้น พระราชาทั้งหลาย

เหล่านั้น เสด็จมาก็ดี เสด็จไปก็ดี ย่อมท่องเที่ยวไปตามชนบท

ของพระองค์ ๆ เท่านั้น ไม่ทรงทำการปล้นด้วยทรงดำริว่า ชนบท

ของเราทั้งหลายดังนี้ ไม่ทรงเบียดเบียนแม้ชนบทของพระราชา

ด้วยความเคารพต่อพระราชา. ชนบททั้งหลายก็สงบเงียบไม่มีเสียง

ขอร้อง. พระราชาทั้งปวงทรงร่าเริงยินดี ทรงปวารนาว่า ข้าแต่

ท่านอาจารย์ ท่านต้องการด้วยสิ่งใด ท่านจงบอกสิ่งนั้นแก่ข้าพเจ้า

ทั้งหลายดังนี้. เวลามะสนานศีรษะแล้ว ให้เปิดประตูห้องเต็มด้วย

รัตนะ ๗ ในนิเวศน์ของตน ตรวจดูทรัพย์ที่เก็บไว้ถึง ๗ ชั่วแห่ง

ตระกูล พิจารณาแล้วซึ่งความเจริญและความเสื่อม คิดว่าเราควร

ให้ทานให้กระฉ่อนไปทั่วทั้งชมพูทวีปดังนี้แล้ว ได้กราบทูลแด่

พระราชาให้สร้างเตาแถวไว้ประมาณ ๑๒ โยชน์ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา

ให้สร้างเรือนคลังใหญ่ไว้แล้วเพื่อต้องการเก็บเนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

น้ำมัน งา และข้าวสารเป็นต้นในที่นั้น ๆ ได้จัดคนทั้งหลายไว้ว่า

ในที่นั้น ๆ ใช้คนประมาณเท่านี้ ๆ ช่วยจัดแจงของอย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่ชื่อว่าพวกมนุษย์จะพึงได้มีอยู่ แม้เมื่อของอย่างหนึ่งไม่มีจากของนั้น

ท่านทั้งหลายพึงบอกแก่เราดังนี้ จึงให้คนตีกลองเดินไปในเมือง

ว่า ขอชนทั้งหลาย จงบริโภคทานของเวลาพราหมณ์ เริ่มแต่วันโน้น

ดังนี้ เมื่อบุคคลผู้จัดการท่านบอกว่า โรงทานสำเร็จแล้ว นุ่งผ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 784

ราคาหนึ่งพัน ผ้าเฉวียงบ่าราคาห้าร้อยแต่งแล้วด้วยเครื่องประดับ

ทุกอย่าง ใส่น้ำซึ่งมีสีแก้วผลึกให้เต็มสุวรรณภิงคาร (เต้าน้ำทอง)

แล้วเพื่อทดลองทานน้ำสุจจกิริยาว่า ถ้าในโลกนี้ ยังมีทักขิเณยยบุคคล

ผู้สมควรรับทานนี้ ขอน้ำนี้ไหลออกแล้ว จงซึมแผ่นดิน ถ้าไม่มี

จงตั้งอยู่อย่างนี้ ได้เอียงปากสุวรรณภิงคารลงแล้ว. น้ำได้เป็นแล้ว

เหมือนกับธมกรกถูกอุดไว้แล้ว. พระโพธิสัตว์มิได้เดือดร้อนว่า

โอท่านผู้เจริญ ชมพูทวีปว่างเปล่า ย่อมไม่มีแม้บุคคลคนเดียวที่ควร

รับทักษิณาดังนี้ คิดแล้วว่า ถ้าทักขิณาจักบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ขอ

น้ำไหลออกแล้ว จึงซึมแผ่นดินไปดังนี้. น้ำคล้ายสีแก้วผลึกไหล

ออกแล้ว ซึมแผ่นดินไปแล้ว. คราวนี้เขาไปแล้วยังโรงทานด้วย

คิดว่า จักให้ทาน ตรวจดูทานแล้ว ใช้ให้คนให้ข้าวต้มในเวลา

ข้าวต้ม ให้ของเคี้ยวในเวลาของเคี้ยว ให้อาหารในเวลาอาหาร

แล้ว. พระโพธิสัตว์ได้ให้ทานทุก ๆ วันโดยทำนองนี้นั่นแล. ก็แล

ในโรงทานนี้ ไม่มีคำที่จะพึงพูดว่า ชื่อสิ่งนี้มี ชื่อสิ่งนี้ไม่มี. ทานนี้

จักไม่จบด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ดังนั้นจึงให้นำทองแดงออกไปทำ

ถาดทองแล้ว ส่งข่าวสาส์นไปแก่พระราชา ๘๔,๐๐๐ ถาดเป็นต้น.

พระราชาทั้งหลาย ทรงดำริว่า เราทั้งหลายอันอาจารย์ได้อนุเคราะห์

มานานแล้วดังนี้ จึงเมื่อให้ทานอยู่นั่นล่วงไปแล้ว ๗ ปี ๗ เดือน.

ต่อมาพราหมณ์คิดว่า เราจักแบ่งเงินออกให้ทานดังนี้แล้ว จึงให้จัด

ทานเตรียมไว้ในโอกาสอันสำคัญ ครั้นเตรียมเสร็จแล้ว ได้ให้แล้ว

จากปลายถึงถาดทอง ๘๔,๐๐๐ ถาดเป็นเบื้องต้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 785

ในบทนั้น บทว่า รูปยปูรานิ ได้แก่ เต็มด้วยถาดเงิน ภาชนะเงิน

และมาสกเงิน ก็ถาดทั้งหลาย ใคร ๆ ไม่ควรกำหนดว่าเล็ก. ถาด

๔ ใบ ตั้งอยู่แล้วในภูมิภาคกำหนดได้หนึ่งกรีส. พุ่มถาดเป็นรัตนะแท้.

ตั้งแต่ขอบปากเป็นรัตนะ ๘ รถม้าอาชาไนย ซึ่งประกอบไว้พร้อม

แล้วเพื่อขอบปากถาด ย่อมวิ่งวนไปรอบ. ได้ให้ถาด ๘๔,๐๐๐

ถาดอย่างนี้ว่า เมื่อให้ตามปกติจัดปฏิคคาหกไว้เป็นหมู่ ๆ มีท้ายสุด

อยู่ข้างนอก ใส่ในถาดเสร็จแล้ว ยกส่งให้ต่อกันไปปลายแถว แม้

ในบทเป็นต้นว่า รูปิยปาติ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน ก็แม้ในบทนี้ บทว่า

สุวณฺณปูรานิ ได้แก่ เต็มด้วยถาดทองภาชนะทองและมากทอง

บทว่า หิรญฺปูรานิ ได้แก่ เต็มด้วยรัตนะ ๗ อย่าง. บทว่า

โสวณฺณาลงฺการานิ ได้แก่ เครื่องประดับเป็นทอง. บทว่า กสุปธารณานิ

ได้แก่ ภาชนะทำด้วยเงินรับน้ำนม. ส่วนเขาทั้งหลายของแม่โคนม

ทั้งหลายเหล่านั้น ได้สวมแล้วด้วยปลอกทอง ที่คอได้ประดับซึ่ง

พวงมะลิ ที่เท้าทั้ง ๔ ได้ประดับซึ่งเครื่องประดับเท้า ที่หลังคลุม

ด้วยผ้าเนื้อดีอย่างประเสริฐ ที่คอผูกระฆังทอง. บทว่า วตฺถโกฏิ-

สหสฺสานิ ได้แก่ ผ้า ๒๐ คู่ ชาวโลกเรียก เอกโกฏิ แต่ในที่นี้

ผ้า ๒๐ เรียกว่าเอกโกฏิ. ในบทเป็นต้นว่า โขมสุขุมาน พึงทราบ

วินิจฉัยดังนี้ บรรดาผ้าเปลือกไม้เป็นต้น ผ้าใด ๆ เป็นผ้ามีเนื้อ

ละเอียด ได้ให้แล้วซึ่งผ้านั้น ๆ เท่านั้น. ส่วนทานเหล่าใด ที่เห็น

แล้วว่า มิใช่ทานคืออิตถีทาน (การให้สตรีเป็นทาน) อุสภทาน

(การให้โคอุสภะเป็นทาน) มัชชทาน (การให้น้ำเมาเป็นทาน)

สมัชชทาน (การให้การเล่นมหรสพเป็นทาน) เวลามะนี้ได้ให้ทาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 786

แม้เหล่านั้น เพื่อเป็นบริวารเพื่อตัดคำพูดว่า ชื่อว่าสิ่งนี้ ให้เหตุ

แห่งทานของเวลามะย่อมไม่มี. บทว่า นชฺโช มญฺเ วิสฺสนฺทนฺติ

ได้แก่ ย่อมไหลไปเหมือนแม่น้ำ.

พระศาสดาตรัสทานของเวลามะด้วยเหตุประมาณเท่านี้แล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี คนอื่นมิได้ให้แล้วซึ่งมหาทานนั้น เราได้

ให้แล้ว ก็เราแม้เมื่อให้ทานเห็นปานนั้น หาได้บุคคลสมควรเพื่อ

จะรับไม่ ท่านได้ให้ทานเมื่อพระพุทธเจ้าผู้เช่นเราปรากฏอยู่ในโลก

เพราะเหตุไร จึงคิดเล่าดังนี้ เมื่อทรงเทศนาออกให้กว้างแก่เศรษฐี

จึงได้ตรัสคำเป็นต้นว่า สิยา โข ปน เต ดังนี้. ถามว่า ก็รูป เวทนา

สัญญา สังขาร ละวิญญาณเหล่าใด ได้มีแล้วในกาลนั้น รูปเป็นต้น

เหล่านั้น ดับแล้วมิใช่หรือ เพราะเหตุไร. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง

ตรัสว่า สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อเวลามะดังนี้. ตอบว่า เพราะ

ตัดประเพณีไม่ขาด. ด้วยว่ารูปเป็นต้นเหล่านั้น เมื่อดับ ให้ปัจจัยแก่

ธรรมมีเวทนา เป็นต้นเหล่านี้แล้ว จึงดับ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส

อย่างนี้หมายถึงประเพณี (คือธรรม ) ที่สืบต่อกันไม่ขาด. บทว่า

น ต โกจิ ทกฺขิณ โสเธติ ความว่า ไม่มีใคร ๆ พึงกล่าวว่าใคร

เป็นสมณะ. หรือพราหมณ์ เทวดาหรือมาร ลุกขึ้นแล้ว ย่อมชำระ

ทักษิณาให้บริสุทธิ์. ก็โดยสูงสุดพระพุทธเจ้าพึงชำระทักษิณานั้น

ให้บริสุทธิ์. บทว่า ทิฏฺสมฺปนฺน ได้แก่ ทานผู้เป็นโสดาบัน ถึง

พร้อมทัสนะ (โสดาปัตติมรรค). ว่า อิท ตโต มหปุผลตร ความว่า ทานที่

ให้แล้วแก่ท่านผู้เป็นโสดาบันนี้ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลบริจาค

เงินและทองประมาณเท่านี้ให้แล้วแก่โลกียมหาชนสิ้น ๗ ปี ๗ เดือน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 787

ในบทนี้ว่า โย จ สต ทิฏฺสมฺปนฺนาน ความว่า พึงพราบ

การนับโสดาบันถึงท่านผู้เป็นโสดาบันเกินร้อยไปคนหนึ่ง ด้วย

อำนาจท่านผู้เป็นสกทาคามีคนหนึ่ง. โดยอุบายนี้ พึงทราบการนับ

บุคคลถึงจะคูณด้วยร้อยโดยลำดับที่บนแล้วในหนหลังในวาระทั้งปวง.

ในบทว่า พุทฺธปฺปมุข นี้ สงฆ์ทำพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เป็นพระสังฆเถระนั่งแล้ว พึงทราบว่า สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข ดังนี้. ในบทนี้ว่า จาตุทฺทิส สงฺฆ อุทฺทิสฺส ความว่า

เจดีย์ย่อมประดิษฐานอยู่ การฟังธรรมพวกเขาย่อมกระทำกันในที่

ซึ่งมีวิหารที่บุคคลสร้างถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ ภิกษุทั้งหลาย

มาจากทิศทั้ง ๔ และจากทิศน้อยแล้ว ไม่ต้องถูกถาม ล้างเท้าแล้ว

เอากุญแจเปิดประตู ทำความสะอาดเสนาสนะเสร็จอยู่แล้ว ย่อม

ได้ซึ่งความผาสุก วิหารนั้น โดยที่สุดแม้เป็นบรรณศาลา ที่เกิด

แก่ตนอยู่ใน ๔ ทิศ เขาก็เรียกว่า วิหารที่บุคคลสร้างถวายสงฆ์

ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ เหมือนกัน.

ในบทนี้ว่า สรณ คจฺเฉยฺย ท่านหมายถึงสรณะอันไม่หัน

กลับมาแล้วโดยมรรค. ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่ง กล่าว ชื่อ

สรณคมน์ เพราะมอบตนให้แล้ว ท่านอธิบายว่ามีผลมากกว่าทานนั้น.

บทว่า สิกฺขาปท สมาทิเยยฺย ได้แก่ พึงรับเบญจศีล. แม้ศีล ท่าน

กล่าวหมายเอาศีลอันไม่หันกลับเท่านั้น ซึ่งมาแล้วในมรรค. ส่วน

อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ชื่อว่าศีล เพราะตนให้อภัยทานแล้ว

แก่สัตว์ทั้งปวง ท่านอธิบายว่า มีผลมากกว่าสรณคมน์นั้น. บทว่า

คนฺธูหนมตฺต ได้แก่ เป็นเพียงดำริในของหอม คือเป็นเพียงเอานิ้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 788

ทั้งสองจับก้อนข้าวหอมเข้ามาสูดดม. ส่วนอาหารอีกพวกหนึ่ง กล่าว

พระบาลีว่า โคโทหนมตฺต แล้ว จึงได้กล่าวความหมายว่า เพียง

น้ำนมหยาดเดียวของแม่โคนม.

บทว่า เมตฺตจิตฺต ได้แก่จิตที่แผ่ตามไปเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง.

แต่จิตนั้นท่านถือเอาแล้วด้วยอำนาจอัปปนาเท่านั้น. บทว่า อจิจฺจสญฺ

ได้แก่ วิปัสสนาที่มีกำลังถึงที่สุดโดยความเป็นอนันตรปัจจัยแก่

มรรค. ส่วนบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้นเหล่านี้ พึงทราบโดยอุปมา

อย่างนี้. ก็แม้ถ้าว่า เขาทำชมพูทวีปให้เป็นพื้นเสมอกัน เช่นกับ

หน้ากลองปูลาดบัลลังก์ตั้งแต่ต้นแล้ว พึงให้พระอริยบุคคลนั่ง ณ ที่นั้น

มีโสดาบันบุคคล ๑๐ แถว, สกทาคามีบุคคล ๕ แถว, อนาคามี

บุคคล สองแถวครึ่ง, พระขีณาสพ หนึ่งแถวครึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้า

พึงมีหนึ่งแถว, พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ทานที่

บุคคลถวายจำเพาะแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีผลมากกว่าทาน

ที่ถวายแล้วแก่ชนประมาณเท่านี้. ส่วนทานนอกนี้.

คือวิหารทาน บิณฑบาต สิกขา การเจริญ

เมตตา ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของท่านผู้พิจารณา

โดยความสิ้นไป.

ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสไว้ในสมัย

จะปรินิพพานว่า การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นการบูชา

สูงสุด. บทที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการ

ฉะนี้.

จบ อรรถกถาเวลามสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 789

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วุฏฐสูตร ๒. สอุปาทิเสสสูตร ๓. โกฏฐิตสูตร ๔. สมัทธิ-

สูตร ๕. คัณฑสูตร ๖. สัญญาสูตร ๗. กุลสูตร ๘. สัตตสูตร

๙. เทวตาสูตร ๑๐. เวลามสูตร. และอรรถกถา.

จบ สีหนาทวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 790

สัตตาวาสวรรคที่ ๓

๑. ฐานสูตร

ว่าด้วยฐานะที่เทวดามนุษย์ประเสริฐกว่ากัน

[๒๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป ประเสริฐ

กว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ ๓

ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือไม่มีทุกข์ ๑ ไม่มีความหวงแหน ๑

มีอายุแน่นอน ๓ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป

ประเสริฐกว่าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ และพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป

ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่าพวก

มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ด้วยฐานะ

๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ อายุทิพย์ ๑ วรรณทิพย์ ๑

สุขทิพย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาชั้นดาวดึงส์ ประเสริฐกว่า

พวกมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและพวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปด้วยฐานะ

๓ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีป ประเสริฐกว่าพวก

มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและเทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ

๓ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้กล้า ๑ เป็นผู้มีสติ ๑ เป็นผู้อยู่

ประพฤติพรหมจรรย์อันเยี่ยม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาว-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 791

ชมพูทวีปประเสริฐกว่าพวกมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและพวกเทวดา

ชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล.

จบ ฐานสูตรที่ ๑

สัตตาวาสรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาฐานสูตร

สัตตาวาสวรรคที่ ๓ ฐานสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุตฺตรกุรุกา ได้แก่ คนทั้งหลาย ชาวอุตตรกุรุทวีป

บทว่า อธิคณฺหนฺติ ได้แก่ ย่อมเป็นใหญ่ คือเป็นผู้ยิ่ง เป็นผู้ประเสริฐ

ผู้เจริญที่สุด. บทว่า อมฺมา ได้แก่ ไม่มีตัณหา. ส่วนในอรรถกถาท่าน

กล่าวว่า ไม่มีทุกข์. บทว่า อปริคฺคหา ได้แก่ เว้นความหวงแหนว่า

สิ่งนี้ของเรา. บทว่า นิยตายุกา ความว่า ก็คนทั้งหลายเหล่านั้น

มีอายุพันปีเท่ากันทั้งนั้น แม้คติก็เท่ากัน คนเหล่านั้น ตายจากนั้น

แล้ว ย่อมเกิดในสวรรค์เท่านั้น. บทว่า สติมนฺโต ความว่า ก็พวก

เทวดาย่อมมีสติไม่แน่นอน เพราะมีความสุขโดยส่วนเดียว. พวก

สัตว์นรก ก็ไม่แน่นอน เพราะมีความทุกข์โดยส่วนเดียว. ส่วนคน

เหล่านี้ชื่อว่ามีสติมั่นคงเพราะมีทั้งสุขทั้งทุกข์ปนกันแล้ว. บทว่า

อิธ พฺรหฺมจริยวาโส ความว่า แม้การอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์

ประกอบด้วยองค์แปด ย่อมมีในที่นี้เท่านั้น เพราะพระพุทธเจ้าและ

พระปัจเจกพุทธเจ้า อุบัติขึ้นในชมพูทวีป.

จบ อรรถกถาฐานสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 792

๒. ขฬุงคสูตร

ว่าด้วยม้าดีม้ากระจอก คนดีคนกระจอก

[๒๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓

ประเภท คนกระจอก ๓ ประเภท ม้าดี ๓ ประเภท คนดี ๓ ประเภท

ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๓ ประเภท และบุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓

ประเภท เธอทั้งหลายจงฟัง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ม้ากระจอก ๓ ประเภทเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอกในโลกนี้บางตัวมีฝีเท้าดี สีไม่ดี

ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ บางตัวมีฝีเท้าดี สีดี และใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ และบางตัว

มีฝีเท่าดี สีดี ทั้งใช้ขับขี่ได้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้ากระจอก

๓ ประเภทนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คนกระจอก ๓ ประเภทเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนกระจอกในโลกนี้ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ดี

ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่ได้ ๑ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์

สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ ๑ และบางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์

สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ไม่ได้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน

กระจอก ๓ ประเภทนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คนกระจอกที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์

ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ใช้ไม่ได้อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 793

ของเธอ และเมื่อเธอถูกถาม หาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้

แต่ให้สำเร็จประโยชน์ไม่ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าไม่เป็นคุณสมบัติ

ของเธอ และเธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย-

เภสัชบริขาร นี้เรากล่าวว่าใช้ไม่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก

สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ไม่ได้

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คนกระจอกที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์

สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัย ย่อมรู้ ตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์

ของเธอ และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัยก็แก้ได้

และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ

แต่เธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

ข้อนี้เรากล่าวว่า ใช้ไม่ได้ของเธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก

สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คนกระจอกที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์

สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติและใช้ได้อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็น

เชาวน์ของเธอ และเธอเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรม ใน

อภิวินัย ก็แก้ได้ และให้สำเร็จประโยชน์ได้ ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็น

คุณสมบัติของเธอและเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 794

ปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าใช้ได้ของเธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คนกระจอกสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ม้าดี ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูก่อภิกษุ

ทั้งหลาย ม้าดีในโลกนี้ บางตัวมีฝีเท้าดี สีไม่ดี ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑

บางตัวมีฝีเท้าดี สีดี แต่ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ และบางตัวฝีเท้าดี สีดี

ทั้งใช้ขับขี่ได้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าดี ๓ ประเภทนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ ประเภทเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย คนในโลกนี้บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ไม่สมบูรณ์ด้วย

คุณสมบัติ ใช้ไม่ได้ ๑ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วย

คุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ ๑ และบางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์

ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คนดีที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์

ด้วยคุณสมบัติและใช้ได้อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะ จัก

ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อนี้

เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ และเมื่อเธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม

ในอภิวินัย ก็แก้ได้ และยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ข้อนี้เรากล่าวว่า

เป็นคุณสมบัติของเธอ และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นการใช้ได้ของเธอ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนดีที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 795

คุณสมบัติและใช้ได้ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ ประเภท

นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๓ ประเภท

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญในโลกนี้ บางตัว

มีฝีเท้าดี สีไม่ดี ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑ บางตัวมีฝีเท้าดี สีดี แต่ใช้ขับขี่

ไม่ได้ ๑ บางตัวฝีเท้าดี สีดี และใช้ขับขี่ได้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๓ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ ประเภท

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้

บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้

ไม่ได้ ๑ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้

ไม่ได้ ๑ บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติและ

ใช้ได้ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่สมบูรณ์ด้วย

เชาวน์ แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ไม่ได้ อย่างไร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ปันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย

สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เรากล่าวว่า

เป็นเชาวน์ของเธอ เธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้

แต่ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ข้อนี้เรากล่าวว่าไม่เป็นคุณสมบัติ

ของเธอและเธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-

เภสัชบริขาร ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นการใช้ไม่ได้ของเธอ ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 796

ภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ แต่ไม่

สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ไม่ได้ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วย

เชาวน์ และสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้อย่างไร ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้...ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็น

คุณสมบัติของเธอ แต่เธอไม่ได้จีวร... ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นการใช้

ไม่ได้ของเธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยสมบูรณ์ด้วย

เชาวน์และสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ สมบูรณ์

ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้อย่างไร ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย

ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์

ของเธอ เธอเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้

ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ

และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นการใช้ได้ของเธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษ

อาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และ

ใช้ได้อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓

ประเภทนี้แล.

จบ ขฬุงคสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 797

อรรถกถาขฬุงคสูตร

ขฬุงคสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ชวสมฺปนฺโน ได้แก่ถึงพร้อมด้วยเท้าเร็ว. บทว่า

นวณฺณสมฺปนฺโน ได้แก่ไม่สมบูรณ์ด้วยผิวกาย. ในบุรุษกระจอก

มีเนื้อความดังต่อไปนี้ บทว่า ชวสทฺปนฺโน ได้แก่บุรุษกระจอก

ถึงพร้อมด้วยเชาวน์ คือญาณ. บทว่า น คุณวณฺณสมฺปนฺโน ได้แก่

ไม่ถึงพร้อมด้วยวรรณ คือคุณ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยแห่งบาลี

นั้นเถิด. ก็ในสูตรนี้ควรจะกล่าวถึงข้อใด ข้อนั้น ท่านอธิบายไว้แล้ว

ในอรรถกถาติกนิบาตหมดแล้ว.

จบ อรรถกถาขฬุงคสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 798

๓. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยธรรมมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการ

[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันมีตัณหา

เป็น ๙ ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการเป็นไฉน การแสวงหาเพราะ

อาศัยตัณหา ๑ การได้เพราะอาศัยการแสวงหา ๑ การวินิจฉัย

เพราะอาศัยการได้ ๑ ฉันทราคะเพราะอาศัยการวินิจฉัย ๑ ความ

หมกมุ่นเพราะอาศัยฉันทราคะ ๑ ความหวงแหนเพราะอาศัยความ

หมกมุ่น ๑ ความตระหนี่เพราะอาศัยความหวงแหน ๑ การจัดการ

อารักขาเพราะอาศัยความตระหนี่ ๑ ธรรมอันเป็นบาปอกุศล

หลายประการ คือ การจับท่อนไม้ จับศาตรา การทะเลาะ การ

แก่งแย่ง การวิวาท กล่าววาจาส่อเสียว่ามึง ๆ และพูดเท็จ ย่อม

เกิดขึ้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูล ๙ ประการ

นี้แล.

จบ ตัณหาสูตรที่ ๓

อรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๓

ตัณหาสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ตณฺห ปฏิจฺจ ได้แก่ตัณหา ๒ อย่าง คือ เอสนตัณหา

(ตัณหาในการแสวงหา) ๑ เอสิตตัณณหา (ตัณหาในการแสวงหาได้แล้ว)

๑. บุคคลเดินไปตามทางแพะและทางที่มีตอไม้เป็นต้น เสาะแสวง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 799

หาโภคะด้วยตัณหาใด ตัณหานี้ชื่อว่า เอสนตัณหา. ตัณหาใดเมื่อ

บุคคลเสาะแสวงหาได้โภคะแล้ว ตัณหานี้ชื่อว่า เอสิตตัณหา. แต่

ในสูตรนี้พึงเห็นว่า ได้แก่ เอสนตัณหา. บทว่า ปริเยสนา ได้แก่

การแสวงหาอารมณ์มีรูปเป็นต้น ก็เมื่อ เอสนตัณหา มีอยู่การแสวง

หานั้นก็ย่อมมี. บทว่า ลาโภ ได้แก่การได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น

ก็เมื่อการแสวงหามีอยู่ การได้ก็ย่อมมี.

ก็วินิจฉัย (การไตร่ตรอง) มี ๔ อย่าง คือ ญาณวินิจฉัย ๑

ตัณหาวินิจฉัย ๑ ทิฏฐิวินิจฉัย ๑ วิตักกวินิจฉัย ๑. ในวินิจฉัย ๔

อย่างนั้น บุคคลรู้ถึงสุขวินิจฉัยในข้อที่ท่านกล่าวว่า พึงรู้ถึงสุขวินิจฉัย

ดังนี้แล้ว พึงบำเพ็ญให้ถึงความสุขในภายใน นี้ชื่อว่า ญาณวินิจฉัย.

บทว่า วินิจฺฉยา ได้แก่ วินิจฉัยสองอย่าง คือ ตัณหาวินิจฉัย และ

ทิฏฐิวินิจฉัย. ตัณหาวิจริต ๑๐๘ ชื่อว่า ตัณหาวินิจฉัย. ทิฏฐิ ๖๒

ชื่อว่า ทิฏฐิวินิจฉัย. แต่ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงวินิจฉัยได้แก่ วิตก

เท่านั้น ดังที่มาในสูตรว่า ฉนฺโท โข เทวานมินฺท วิตกฺกนิทาโน

ความว่า ดูก่อนจอมเทพ ฉันทะแลมีวิตกเป็นที่เกิด ดังนี้. บุคคล

แม่ได้ลาภแล้ว ก็ยังไตร่ตรองถึงสิ่งที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจ ถึง

สิ่งดีและไม่ดีด้วยวิตกว่า เท่านี้จักมีเพื่อรูปารมณ์แก่เรา เท่านี้

จักมีเพื่อสัททารมณ์ เท่านี้จักมีแก่เรา เท่านี้จักมีแก่ผู้อื่น เราจัก

บริโภคเท่านี้ เราจักเก็บไว้เท่านี้ ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ลาภ ปฏิจฺจ วินิจฺฉโย ไตร่ตรองอาศัยลาภดังนี้.

บทว่า ฉนฺทราโค ความว่า ราคะอย่างอ่อนและราคะอย่าง

แรง ย่อมเกิดขึ้นในวัตถุที่ตรึกด้วยอกุศลวิตกอย่างนี้ จริงอยู่บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 800

ฉนฺโท ในสูตรนี้เป็นชื่อของราคะอย่างอ่อน. บทว่า ปริคฺคโห ได้แก่

ทำการยึดถือด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า มจฺฉริย ได้แก่

ทนต่อความเป็นของทั่วไปแก่ผู้อื่นไม่ได้. ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง ท่าน

โบราณาจารย์จึงกล่าวความแห่งถ้อยคำอย่างนี้ของ มัจฉริยะนั้นว่า

ความอัศจรรย์นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มัจฉริยะ เพราะเป็น

ไปแล้วในความว่า ขอความอัศจรรย์จงมีแก่เราเท่านั้น ขอจงอย่า

มีแก่คนอื่นเลยดังนี้. บทว่า อารกฺขา ได้แก่ การรักษาไว้ด้วยดี

โดยปิดประตูและเก็บรักษาไว้ในหีบเป็นต้น. ชื่ออธิกรณะเพราะ

ทำให้ยิ่ง บทนั้นเป็นชื่อของเหตุ. บทว่า อารกฺขาธิกรณ เป็นนปุงสก-

ลิงค์ภาวสาธนะ อธิบายว่า เหตุแห่งการอารักขา. ในบทว่า ทณฺฑาทาน

เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ การถือท่อนไม้เพื่อกั้นผู้อื่น ชื่อว่า

ทณฺฑาทาน การถือศัตรามีคมข้างเดียวเป็นต้น ชื่อว่า สตฺถาทาน.

การทะะเลาะกันด้วยกายก็ดี การทะเลาะกันด้วยวาจาก็ดี ชื่อว่า

กลโห. ตอนแรกเป็นวิคคหะ ตอนหลังเป็นวิวาท. บทว่า ตุวตุว

ได้แก่ พูดขึ้นมึงขึ้นกู โดยไม่เคารพกัน.

จบ อรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 801

๔. ววัตถสัญญาสูตร

ว่าด้วยสัตตาวาส ๙ ประการ

[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตตาวาส ๙ ชั้น ๙ ชั้นเป็น

ไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญา

ต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวกและวินิปาติกสัตว์บางพวก

นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๑.

สัตว์พวกหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือน

เทวดาผู้อยู่ในชั้นพรหม ผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน นี้เป็นสัตตาวาส

ชั้นที่ ๒.

สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือน

เทวดาชั้นอาภัสสระ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๓.

สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน

เหมือนเทวดาชั้นสุภกิณหะ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๔.

สัตว์พวกหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมือนเทวดาผู้เป็น

อสัญญีสัตว์ นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๕.

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยคำนึง

เป็นอารมณ์ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดย

ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตต-

สัญญา นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๖.

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ โดยคำนึง

เป็นอารมณ์ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 802

โดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๗.

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ โดยคำนึง

เป็นอารมณ์ว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ

โดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๘.

สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญยตนะ เพราะ

ล่วงอากัญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นสัตตาวาสชั้นที่ ๙

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัตตาวาส ๙ ชั้นนี้แล.

จบ ววัตถสัญญาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสัตตสัญญาสูตรที่ ๔

สัตตสัญญาสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สตฺตาวาสา ได้แก่ที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า

ที่เป็นที่อยู่. ในบทนั้นแม้สุทธาวาสก็เป็นสัตตาวาสเหมือนกัน แต่

ท่านมิได้จัดไว้ เพราะสุทธาวาสมิได้มีตลอดกาลทั้งหมด. ด้วยว่า

สุทธาวาสเป็นเช่นกับที่พักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อพระ-

พุทธเจ้ามิได้ทรงอุบัติตลอดอสงไขยกัป ที่นั้นก็ว่างเปล่า เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงไม่จัดไว้เพราะสุทธาวาสมิได้มีตลอดกาลทั้งหมด.

บทที่เหลือในสูตรนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว ในวิญญาณฐิติ

นั้นแล.

จบ อรรถกถาสัตตสัญญาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 803

๕. สิลายูปสูตร

ว่าด้วย (ปฐม) ผู้จบพรหมจรรย์

[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิต

ให้ดีด้วยปัญญา ในกาลนั้น ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจ

อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอบรมจิตใหญ่ด้วยปัญญาอย่างไร

ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า จิตของเราปราศจาก

ราคะแล้ว จิตของเราปราศจากโทสะเเล้ว จิตของเราปราศจาก

โมหะแล้ว จิตของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่มีโทสะ

เป็นธรรมดา จิตของเราไม่มีโมหะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียน

มาเพื่อรูปราคะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียนมาเพื่อรูปราคะ

เป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิต

ให้ดีด้วยปัญญาแล้ว ในกาลนั้น ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

จบ ปฐมสิลายูปสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 804

อรรถกถาปฐมสิลายูปสูตรที่ ๕

ปฐมสิลายูปสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า สปริจิต โหติ ได้แก่

อบรมดีแล้วคือ เจริญดีแล้ว. บทว่า กลฺล วจนาย ได้แก่ควรเพื่อ

จะกล่าว. บทว่า วีตราค ได้แก่ปราศจากราคะ. บทว่า อสคาคธมฺน

ได้แก่หมดสภาพที่จะให้ยินดีด้วยราคะ. บทว่า อนาวตฺติธมฺม

ได้แก่หมดสภาพที่จะกลับมา คือไม่ควรเกิดต่อไป อธิบายว่า มี

สภาพดับสนิท โดยไม่มีปฏิสนธิอีกต่อไปนั่นเอง. ในสูตรนี้ท่าน

กล่าวถึงพระขีณาสพเท่านั้น.

จบ ปฐมสิลายูปสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 805

๖. ทุติยสิลายูปสูตร

ว่าด้วยผู้จบพรหมจรรย์

[๒๓๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรแหละท่านพระจันทิกาบุตร

อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์

ณ ที่นั้นแล ท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย

อย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดี

ด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้น

แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

เมื่อท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กล่าวกะท่านพระจันทิกาบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสจันทิกาบุตร

พระเทวทัตมิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุอบรมจิตให้ด้วยจิต ในกาลนั้น

ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี ดูก่อนอาวุโสจันทิกาบุตร แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่

ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุ

อบรมจิตให้ดีด้วยจิต ในกาลนั้นควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัด

ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 806

แม้ครั้งที่ ๒...

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย

อย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดี

ด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้น

แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะ

ท่านพระจันทิกาบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสจันทิกาบุตร พระเทวทัตมิได้

แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย.

ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์

ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นไปแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อน

อาวุโสจันทิกาบุตร แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย

อย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดี

ด้วยจิต ในกาลนั้นควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้น

แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ดูก่อนอาวุโสแก่ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยจิตอย่างไร คือ อบรม

จิตให้ดีด้วยจิตอย่างนี้ว่า จิตของเราปราศจากราคะแล้ว จิตของเรา

ปราศจากโทสะแล้ว จิตของเราปราศจากโมหะแล้ว จิตของเราไม่มี

ราคะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่มีโทสะเป็นธรรมดา จิตของเรา

ไม่มีโมหะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียนมาในกามภพเป็นธรรมดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 807

จิตของเราได้เวียนมาในรูปภพเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียนมา

ในอรูปภพเป็นธรรมดา ดูก่อนอาวุโส ถึงแม้รูปที่จะพึงรู้แจ้ง

ด้วยจักษุอย่างหยาบ ๆ ผ่านมาทางคลองจักษุแห่งภิกษุผู้มีจิต

หลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ รูปเหล่านั้นก็ครอบงำจิตเธอไม่ได้ จิต

ของเธอไม่เจือด้วยรูปเหล่านั้น เป็นจิตมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว

และเธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปนั้น ถึงแม้เสียงที่จะ

พึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่พึงจะ

แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ฯลฯ ธรรมารมณ์

ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอย่างหยาบ ๆ ผ่านมาทางคลองใจแห่งภิกษุ

ผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ ธรรมารมณ์นั้นก็ครอบงำจิตของ

เธอไม่ได้ จิตของเธอไม่เจือด้วยธรรมารมณ์นั้น เป็นจิตมั่น ถึง

ความไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่ง

ธรรมารมณ์นั้น ดูก่อนอาวุโส เปรียบเหมือนเสาหิน ยาว ๑๖ ศอก

หยั่งลงไปในหลุม ๘ ศอก ข้างบนหลุม ๘ ศอก ถึงแม้ลมพายุ

อย่างแรงพัดมาทางทิศบูรพา เสาหินนั้นไม่พึงสะเทือนสะท้านหวั่นไหว

ถึงแม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศประจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ

เสาหินนั้นก็ไม่พึงสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะหลุมลึกและเพราะเสาหินฝังลึก ฉันใด ดูก่อนอาวุโสฉันนั้น

เหมือนกันแล ถึงแม้รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอย่างหยาบ ๆ ผ่าน

มาทางคลองจักษุแห่งภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ครอบงำ

จิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอไม่เจือด้วยรูปเหล่านั้น เป็นจิตมั่นถึง

ความไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 808

นั้น ถึงแม้เที่ยงที่จะพึงรู้แจ้งด้วย ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วย

จมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้ง

ด้วยกาย ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอย่างหยาบ ๆ ผ่าน

มาทางคลองใจแห่งภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ครอบงำ

จิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอไม่เจือด้วยธรรมารมณ์นั้น เป็นจิตมั่น

ถึงความไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมแห่ง

ธรรมารมณ์นั้น.

จบ ทุติยสิลายูปสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุติยสิลายูปสูตรที่ ๖

ทุติยสิลายูปสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า จนฺทิกาปุตฺโต ได้แก่พระเถระชื่อจันทิกาปุตตะ ปรากฏ

ชื่อตามมารดา. บทว่า เจตสา จิต สุปริจิต โหติ ความว่า ระเบียบ

ความประพฤติของจิตอันภิกษุอบรมดีแล้ว คือ เจริญดีแล้ว ให้สูง ๆ

ขึ้นไป ด้วยระเบียบความประพฤติของจิต. บทว่า เนวสฺสจิตฺต

ปริยาทิยนฺติ ได้แก่อารมณ์เหล่านั้นไม่สามารถเพื่อหน่วงเหนี่ยว.

จิตตุบาทของพระขีณาสพนั่นให้สิ้นไป แล้วตั้งอยู่ได้. บทว่า อมิสฺสีกต

ได้แก่จิตไม่คลุกเคล้าด้วยอารมณ์เหล่านั้น เพราะอารมณ์เหล่านั้น

ไม่ติดอยู่. บทว่า อาเนญฺชปฺปตฺต ได้แก่ถึงความไม่หวั่นไหว คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 809

ความไม่ดิ้นรน. บทว่า สิลายูโป ได้แก่ เสาหิน. บทว่า โสนัสกุกฺกุโก

ได้แก่ ยาว ๑๖ ศอก. บทว่า เหฏฐาเนมงฺคมา ได้แก่ หยั่งลงไป

ใต้หลุม. บทว่า อุปริเนมสฺส ได้แก่ บนหลุม. บทว่า สุนิขาตตฺตา

ได้แก่ เอาสากเหล็กตอก ฝังจนลึก. ในบทว่า เอวเมวโข นี้ พึงเห็น

พระขีณาสพดุจเสาหิน กิเลสอันเกิดขึ้นในทวาร ๖ ดุจลมพายุ

พึงทราบความที่กิเลสอันเกิดขึ้นในทวาร ๖ ไม่สามารถยังจิต

ของพระขีณาสพให้หวั่นไหวได้ ดุจความที่ลมอันพัดมาจาก ๔ ทิศ

ไม่สมารถให้เสาหินหวั่นไหวได้ฉะนั้น. แม้ในสูตรนี้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าก็ตรัสพึงพระขีณาสพเท่านั้น.

จบ อรรถกถาทุติยสิลายูปสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 810

๗. ปฐมเวรสูตร

ว่าด้วยองค์คุณของผู้สิ้นอบาย

[๒๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า

ดูก่อนคฤหบดี ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการ

และประกอบด้วย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ ในกาลนั้น อริยสาวก

นั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว

มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ

และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนคฤหบดี

บุคคลผู้มักฆ่าสัตว์ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ

และย่อมได้เสวยทุกขโทมนัสทางใจ เพราะปาณาฑิบาตเป็นปัจจัย

อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ใน

ปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ

อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมสงบระงับภัยเวรนั้นด้วย

ประการอย่างนี้ ดูก่อนคฤหบดี บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ

เขาไม่ให้ ฯลฯ ผู้มักประพฤติผิดในกาม ฯลฯ ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ

ผู้มักดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมเสวย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 811

ทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะผู้ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็น

ที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย อริยสาวกผู้งดเว้นจากการ

ดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อม

ไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมไม่ได้

เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ

สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมสงบระงับภัยเวร

นั้นด้วยอาการอย่างนี้ อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้.

อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ

เป็นไฉน ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนก

ธรรม ๑ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม

ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว... อันวิญญูชน

จะพึงรู้ได้เฉพาะตน ๑ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว... เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๑

ย่อมประกอบด้วยศีลอันพระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ต่าง

ไม่พร้อม เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่

ถูกต้อง เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตา-

ปัตติยังคะ ๔ ประการนี้.

ดูก่อนคฤหบดี ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕

ประการนี้ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ อริย-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 812

สาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรก

สิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย

มีทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบ ปฐมสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมเวรสูตรที่ ๗

ปฐมเวรสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ภย เวร ปสวติ ได้แก่ประสบภัยเกิดจากจิตสะดุ้ง

และเวรเกิดจากบุคคล. บทว่า เจตสิก ได้แก่อาศัยจิต. บทว่า

ทุกฺข ได้แก่ มีกายเป็นที่ตั้ง. บทว่า โทมนสฺส ได้แก่ ทุกข์อันสัมปยุต

ด้วยความแค้น. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงโสดาปัตติมรรค.

จบ อรรถกถาปฐมเวรสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 813

๘. ทุติเวรสูตร

ว่าด้วยองค์คุณของผู้สิ้นอบาย

[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลในแล อริยสาวกสงบ

ระงับภัยเวร ๕ ประการ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔

ประการ ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วย

ตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มี

เปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นพระ-

โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะตรัสรู้

ในเบื้องหน้า.

ก็อริยสาวกระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มักฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน

แม้ในสัมปรายภพ และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะ

ปาณาติบาติเป็นปัจจัย อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อม

ไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และไม่ได้เสวย

ทุกข์โทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมสงบ

ระงับภัยเวรด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มัก

ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ ผู้มักประพฤติในกาม ฯลฯ

ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ ผู้มักดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง

แห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัม-

ปรายภพ และย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะดื่มน้ำเมา คือ

สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อริยสาวกผู้งดเว้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 814

จากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อม

ไม่ได้เสวยทุกข์โทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา

คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมสงบระงับ

ภัยเวรด้วยประการอย่างนี้ อริยสาวกย่อมสงบระงับภัยเวร ๕

ประการนี้.

อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้

เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบาน

แล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑ ประกอบด้วยความ

เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญ

อื่นยิ่งไปกว่า ผู้เป็นประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด

ไม่ทะลุ ไม่ต่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อัน

ตัณหาและทิฏฐิไม่ถูกต้อง เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ อริยสาวกสงบระงับ

ด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับ

ภัยเวร ๕ ประการนี้ และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ

นี้ ในกาลนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเอง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 815

ได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มี

เปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นพระ-

โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็น

เบื้องหน้า.

จบ ทุติยเวรสูตรที่ ๘

อรรถกถาทุติยเวรสูตรที่ ๘

ทุติเวรสูตรที่ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่หมู่ภิกษุ

แต่ในสูตรนี้ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงพระโสดาบัน

เท่านั้น.

จบ อรรถกถาทุติยเวรสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 816

๙. ปฐมอาฆาตสูตร

ว่าด้วยอาฆาตวัตถุ ๙ ประการ

[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๙ ประการเป็น

ไฉน คือ บุคคลย่อมผูกความอาฆาตว่า คนโน้นได้ประพฤติสิ่งมิใช่

ประโยชน์แก่เราแล้ว ๑ คนโน้นย่อมประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์

แก่เรา ๑ คนโน้นจักประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่เรา ๑ ย่อมผูก

ความอาฆาตว่า คนโน้นได้ประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่คนที่รัก

ที่ชอบใจของเราแล้ว ๑ คนโน้นย่อมประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์

แก่คนที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ คนโน้นจักประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์

แก่คนที่รักที่ชอบใจของเรา ๑ ย่อมผูกความอาฆาตว่า คนโน้น

ได้ประพฤติประโยชน์แก่คนไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว ๑

คนโน้นย่อมประพฤติประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของ

เรา ๑ คนโน้นจักประพฤติประโยชน์แก่คนไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ

ของเรา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฆาตวัตถุ ๙ ประการนี้แล.

จบ ปฐมอาฆาตสูตรที่ ๙

อรรถกกถาปฐมอาฆาตสูตรที่ ๙

ปฐมอาฆาตสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาฆาตวัตฺถูนิ ได้แก่ เหตุแห่งความอาฆาต.

บทว่า อาฆาต พนฺธติ ได้แก่ผูกความโกรธ คือทำความโกรธให้

เกิดขึ้น.

จบ อรถรกถาปฐมอาฆาตสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 817

๑๐. ทุติยอาฆาตสูตร

ว่าด้วยเหตุกำจัดความอาฆาต ๙ ประการ

[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องกำจัดความอาฆาต ๙

ประการนี้ ๑ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาต

ได้ด้วยคิดว่า คนโน้นได้ประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่เราแล้ว

เพราะเหตุนั้น ที่ไหนเราจะพึงได้การประพฤติประโยชน์ในบุคคล

นี้เล่า ๑ คนโน้นย่อมประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่เรา เพราะ

เหตุนั้น ที่ไหนเราจะพึงได้การประพฤติประโยชนในบุคคลนี้เล่า ๑

คนโน้นจักประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น ที่ไหน

เราจะพึงได้การประพฤติประโยชน์ในบุคคลนี้เล่า ๑ บุคคลย่อม

กำจัดความอาฆาต ด้วยคิดว่าคนโน้นได้ประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์

แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น ที่ไหน

เราจะพึงได้การประพฤติประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ

ของเราในบุคคลนี้ ๑ คนโน้นย่อมประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์

แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น ที่ไหนเรา

จะพึงได้การประพฤติประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ

ของเราในบุคคลนี้เล่า ๑ คนโน้นจักประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์

แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น ไหนเราจะ

พึงได้การประพฤติประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา

ในกาลนี้เล่า ๑ บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตด้วยคิดว่า คนโน้น

ได้ประพฤติประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 818

แล้ว เพราะเหตุนั้น ที่ไหนเราจะพึงได้การประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์

แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราในบุคคลนี้เล่า ๑ คนโน้น

ย่อมประพฤติประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา

เพราะเหตุนั้น ที่ไหนเราจะพึงได้การประพฤติสิ่งที่มิใช่ประโยชน์

แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราในบุคคลนี้เล่า ๑ คนโน้น

จักประพฤติประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา

เพราะเหตุนั้น ที่ไหนเราจะพึงได้การประพฤติสิ่งมิใช่ประโยชน์

แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราในบุคคลนี้เล่า ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องกำจัดความอาฆาต ๙ ประการนี้แล.

จบ ทุติยอาฆาตสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาทุติยอาฆาตสูตรที่ ๑๐

ทุติยอาฆาตสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาฆาตปฏิวินยา ได้แก่เหตุแห่งการกำจัดความอาฆาต.

บทว่า ต กุเตตฺถ ลพฺภา ความว่า เราจะพึงได้ในบุคคลนี้แต่ไหน คือ

เราสามารถจะได้ด้วยเหตุไรว่า การประพฤติไม่เป็นประโยชน์นั้น

อย่าได้มีแล้วดังนี้. อธิบายว่า บุคคลคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาคนอื่น

จะทำความฉิบหายแก่คนอื่นตามความชอบใจของตน ดังนี้แล้วกำจัด

ความอาฆาตเสียได้. อีกอย่างหนึ่ง หากเราพึงทำความโกรธตอบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 819

การทำความโกรธนั้นเราจะพึงได้ในบุคคลนี้แต่ไหน อธิบายว่า

เราสามารถจะได้ด้วยเหตุไร. ปาฐะว่า ต กุโต ลาภา ดังนี้ก็มี.

ความว่า หากเราพึงทำความโกรธในบุคคลนี้ ในการทำความโกรธ

ของเรานั้น จะพึงได้อะไรแต่ไหน อธิบายว่า ชื่อว่า จะพึงได้อะไร

มา. บทว่า ต ในอรรถนี้ เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น.

จบ อรรถกถาทุติยอาฆาตสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 820

๑๑. อนุปุพพนิโรธสูตร

ว่าด้วยอนุปุพพนิโรธ ๙ ประการ

[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙ ประการ

นี้ ๙ ประการเป็นไฉน คือ อามิสสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานย่อม

ดับไป ๑ วิตกวิจารของ ผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป ๑ ปีติของผู้เข้า

ตติยฌานย่อมดับไป ๑ ลมอัสสาสปัสสานะของผู้เจ้าจตุตถฌาน

ย่อมดับไป ๑ รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานย่อมดับ

ไป ๑ อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน

ย่อมดับไป ๑ วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญาย-

ตนฌานย่อมดับไป ๑ อากิญจัญญายตนสัญญาข้องผู้เข้าเนวสัญญา-

นาสัญญายตนฌานย่อมดับไป ๑ สัญญาและเวทนาของผู้เข้าสัญญา-

เวทยิตนิโรธย่อมดับไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพนิโรธ ๙

ประการนี้แล.

จบ อนุปุพพนิโรธสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาอนุปุพพนิโรธสูตรที่ ๑๑

อนุปุพพนิโรธสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนุปุพฺพนิโรธา ได้แก่ดับไปตามลำดับ. คำที่เหลือ

ในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอนุปุพพนิโรธสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 821

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ฐานสูตร ๒. ขฬุงคสูตร ๓. ตัณหาสูตร ๔. ววัตถ-

สัญญาสูตร ๕. ปฐมสิลายูปสูตร ๖. ทุติยสิลายูปสูตร ๗. ปฐม-

เวรสูตร ๘. ทุติยเวรสูตร ๙. ปฐมอาฆาตสูตร ๑๐. ทุติยอาฆาตสูตร

๑๑. อนุปุพพนิโรธสูตร และอรรถกถา

จบ สัตตาวาสวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 822

มหาวรรคที่ ๔

๑. ปฐมวิหารสูตร

ว่าด้วยอนุปุพพวิหาร ๙ ประการ

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหาร (ธรรมเป็น

เครื่องอยู่ตามลำดับ) ๙ ประการนี้ ๙ ประการเป็นไฉน คือ

ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตถฌาน ๑ อากาสานัญ-

จายตนฌาน ๑ วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑

เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหาร ๙ ประการนี้แล.

จบ ปฐมวิหารสูตรที่ ๑

มหาวรรควารณนาที่ ๔

อรรถกถาปฐมวิหารสูตรที่ ๑

มหาวรรคที่ ๔ ปฐมวิหารสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนุปุพฺพวิหารา ได้วิหารธรรมอันควรเข้าถึงตามลำดับ

จบ อรรถกถาปฐมวิหารสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 823

๒. ทุติยวิหารสูตร

วิหารอนุปุพพวิหารสมบัติ ๙ ประการ

[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอนุปุพพวิหาร

สมาบัติ ๙ ประการนี้ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการเป็นไฉน เรากล่าวว่า กาม

ทั้งหลายย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับกามทั้งหลายได้แล้ว ๆ

อยู่ ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึง

ฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า กามทั้งหลาย

ย่อมดับในที่ไหน และใครดับกามทั้งหลายได้แล้ว ๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้

เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ

ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแก่วิเวกอยู่ กามทั้งหลาย

ย่อมดับในปฐมฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับกามได้แล้ว ๆ อยู่ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอไม่เป็นผู้โอ้อวดไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชม

ยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ดีแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไป

นั่งใกล้.

เรากล่าวว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใด

ดับวิตกวิจารได้แล้ว ๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับ

สนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใด

พึงถามอย่างนี้ว่า วิตกและวิจารย่อมดับในที่ไหน และใครดับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 824

วิตกวิจารแล้ว ๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลาย

พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ

ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มี

วิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่สมาธิอยู่

วิตกวิจารย่อมดับในองค์ฌาน และท่านเหล่านั้นดับวิตกวิจาร

ได้แล้ว ๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา

เป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงนมัสการ กระทำ

อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้.

เรากล่าวว่า ปีติย่อมดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับปีติได้

แล้ว ๆ อยู่ ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว

ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า ก็ปีติ

ดับในที่ไหน และใครดับปีติได้แล้ว ๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ ไม่เห็นผู้นี้

เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ

สิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้

ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ปีติย่อมดับในองค์ฌานนี้

และท่านเหล่านั้นดับปีติได้แล้ว ๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็น

ผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว

ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้.

เรากล่าวว่า อุเบกขาและสุขดับในที่ใด และท่านเหล่าใด

ดับอุเบกขาและสุขได้แล้ว ๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 825

ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใด

พึงถามอย่างนี้ว่า ก็อุเบกขาและสุขย่อมดับในที่ไหน และใครดับ

อุเบกขาและสุขได้แล้ว ๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลาย

พึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ

จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส

โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อุเบกขา

และสุขดับในองค์ฌานนี้แล ท่านเหล่านั้นดับอุเบกขาและสุขได้

แล้ว ๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา

เป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำ

อัญชลีเข้าไปนั่งใกล้.

เรากล่าวว่า รูปสัญญาดับในที่ใด และท่านเหล่าใดดับรูป

สัญญาได้แล้ว ๆ อยู่ในที่นั้น ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิท

แล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถาม

อย่างนี้ว่า รูปสัญญาดับในที่ไหนและใครดับรูปสัญญาได้แล้ว ๆ อยู่

เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า

ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการ

ทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา

บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน เพราะคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศ

ไม่มีที่สุด รูปสัญญาย่อมดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับ

รูปสัญญาได้แล้ว ๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด

ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึง

นมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 826

เรากล่าวว่า อากาสานัญจายตนสัญญาดับในที่สุด และท่าน

เหล่าใดดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้แล้ว ๆ อยู่ในที่นั้น ท่าน

เหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วย

องค์ฌานนั้นเป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า อากาสานัญจายตนสัญญา

ดับในที่ไหน และใครดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้แล้ว ๆ อยู่

เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า

ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน

โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็น

อารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด อากาสานญจายตนสัญญาดับในองค์

ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากาสานัญจายตนสัญญาได้แล้ว ๆ อยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึง

ชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลี

เข้าไปนั่งใกล้.

เรากล่าวว่า วิญญาณัญจายตนสัญญาดับในที่ใด และท่าน

เหล่าใดดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้ว ๆ อยู่ในที่นั้น ท่าน

เหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วย

องค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า วิญญาณัญจายตนสัญญา

ดับในที่ไหน และใครดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้ว ๆ อยู่

เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ

ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า

อะไร ๆ หน่อยหนึ่งไม่มี วิญญาณัฌจายตนสัญญาย่อมดับในองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 827

ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับวิญญาณัญจายตนสัญญาได้แล้ว ๆ อยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึง

ชื่นชมยินดีภาษติว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลี

เข้าไปนั่งใกล้.

เรากล่าวว่า อากิญจัญญายตนสัญญาดับในที่ใด และท่าน

เหล่าใดดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้ว ๆ อยู่ในที่นั้น ท่าน

เหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามได้แล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วย

องค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า อากิญจัญญายตนสัญญา

ดับในที่ไหน และใครดับอากิญจัญญายตนสัญญาได้แล้ว ๆ อยู่ เรา

ไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบผู้นั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อน

อาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌาน

โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญ-

จัญญายตนสัญญาดับในองค์ฌานนี้ และท่านเหล่านั้นดับอากิญ-

จัญญายตนสัญญาได้แล้ว ๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้

ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึงชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้น

แล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลีเข้าไปนั่งใกล้.

เรากล่าวว่า เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาดับในที่ใด

และท่านเหล่าใดดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้ว ๆ อยู่

ท่านเหล่านั้นไม่มีความหิว ดับสนิทแล้ว ข้ามใดแล้ว ถึงฝั่งแล้ว

ด้วยองค์ฌานนี้เป็นแน่ ผู้ใดพึงถามอย่างนี้ว่า เนวสัญญานา-

สัญญายตนสัญญาดับในที่ไหน และใครดับเนวสัญญานาสัญญายตน-

สัญญาได้แล้ว ๆ อยู่ เราไม่รู้ผู้นี้ เราไม่เห็นผู้นี้ เธอทั้งหลายพึงตอบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 828

ผู้นั้นอย่างนี้ว่า ก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วง

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญา-

เวทยิตนิโรธ เนวสัญญานาสัญญาตนสัญญา ดับในนิโรธนี้

และท่านเหล่านั้นดับเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาได้แล้ว อยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาเป็นแน่ พึง

ชื่นชมยินดีภาษิตว่า ดีแล้ว ครั้นแล้ว พึงนมัสการกระทำอัญชลี

เข้าไปนั่งใกล้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙

ประการนี้แล.

จบ ทุติยวิหารสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยวิหารสูตรที่ ๒

ทุติยวิหารสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยตฺถ กามา นิรุชฺฌนฺติ ได้แก่ กามทั้งหลายย่อมสงบ

ไปในที่ใด. บทว่า นิโรเธตฺวา ได้แก่ ไม่กลับมาอีกแล้ว. บทว่า

นิจฺฉาตา ได้แก่หมดอยาก เพราะไม่มีความอยากคือ ตัณหาและ

ทิฏฐิต่อไป. บทว่า นิพฺพุตา ความว่า ดับสนิทแล้ว เพราะไม่มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 829

กิเลส เครื่องทำให้เร่าร้อนในภายใน. บทว่า ติณฺโณ ได้แก่ ข้ามพ้น

กามทั้งหลาย. บทว่า ปารคตา ได้แก่ไปเลยฝั่งแห่งกาม. บทว่า

ตทงฺเคน ได้แก่ด้วยองค์ฌานนั้น. บทว่า เอตฺถ กามา นิรุชฺฌนฺติ

ได้แก่ กามทั้งหลายย่อมดับในปฐมฌานนี้. บทว่า เต จ ได้แก่

ผู้ใดเข้าถึงปฐมฌาน นั้นชื่อว่าดับกามอยู่. บทว่า ปญฺชลโก

ได้แก่ ประคองอัญชลี. บทว่า ปยิรูปาเสยฺย แปลว่า พึงเข้าไปหา.

พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยทำนองนี้.

จบ อรรถกถาทุติยวิหารสุตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 830

๓. นิพพานสูตร

ว่าด้วยนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

[๒๓๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล ท่านพระ-

สารีบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นิพพาน

นี้เป็นสุข ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นิพพานนี้เป็นสุข เมื่อท่านพระ-

สารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะท่านพระ-

สารีบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็น

สุขได้อย่างไร.

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส นิพพานนี้ไม่มี

เวทนานั่นแหละเป็นสุข ดูก่อนอาวุโส กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕

ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึง

รู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้ง

ด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด กามคุณ ๕

ประการนี้แล ดูก่อนอาวุโส สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัย

กามคุณ ๕ ประการนี้ นี้เรียกว่ากามสุข.

ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ

ปฐมฌานอยู่ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 831

อันสหรคตด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบ

เหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียด

เบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกามเหล่านั้น ย่อม

ฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน

ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์

ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านจะพึงทราบได้โดย

ปริยายแม้นี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตกวิจาร

สงบไป ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการ

อันสหรคตด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบ

เหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อ

เบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิตกเหล่านั้น

ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธนั้นว่าเป็นทุกข์ ดูก่อน

อาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น

อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยปีติย่อม

ฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิด

ขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียนฉันใด สัญญามนสิการ

อันสหรคตด้วยปีติ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธ

ของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธ

นั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 832

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตฌาน ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้น

อยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขา

ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ เปรียบเหมือนความทุกข์

พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉันใด

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขา ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น

ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุข

อย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้.

อีกประการหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ฯลฯ

ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า

อากาศไม่มีที่สุด ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญา-

มนสิการอันหรคตด้วยรูปย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ

เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียง

เพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยรูปย่อม

ฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ ฉันนั้นเหมือนกัน

ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้นว่าเป็นความทุกข์

ดูก่อนอาวุโส นิพพานสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยาย

แม้นี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ

เมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอันสหรคต

ด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ

เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 833

พึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้.

เพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสา-

ณัญจายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ

ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้น

ว่าเป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่าน

พึงทราบโดยปริยายแม้นี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ

ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอัน

สหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ

เปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียง

เพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยวิญญา-

ณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ

ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า

เป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบ

ได้ปริยายแม้นี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

ฯลฯ ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อนี้ สัญญามนสิการอัน

สหรคตด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของ

เธอเปรียบเหมือนความทุกข์พึงเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีความสุข เพียง

เพื่อเบียดเบียน ฉันใด สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญ-

ญายตนะ ย่อมฟุ้งซ่านแก่ภิกษุนั้น ข้อนั้นเป็นอาพาธของเธอ

ฉันนั้นเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอาพาธนั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 834

เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ได้ ในเมื่อ

เหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ

คนเดียวเป็นหลายคนได้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน

เป็นความทุกข์ ดูก่อนอาวุโส นิพพานเป็นสุขอย่างไร ท่านพึง

ทราบได้โดยปริยายแม้นี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วง

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง อาสวะทั้งหลาย

ของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส นิพพาน

เป็นสุขอย่างไร ท่านพึงทราบได้โดยปริยายแม้นี้.

จบ นิพพานสูตรที่ ๓

อรรถกถานิพพานสูตร

นิพพานสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุทายี ได้แก่ พระโลฬุทายีเถระ. บทว่า เอตเทว

เขฺวตฺถ ตัดบทเป็น เอตเทว โข เอตฺถ ได้แก่ ไม่มีความสุขนั้นแล

ในที่นี้. บทว่า กามสหคตา คืออาศัยกาม. บทว่า สมุทาจรนฺติ

ได้แก่ ท่องเที่ยวไปในมโนทวาร. บทว่า อาพาธาย ได้แก่ เพื่อ

เบียดเบียนคือเพื่อบีบคั้น. บทว่า ปริยาเยน แปลว่า โดยเหตุ.

พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งหมดอย่างนี้. ในสูตรนี้พระสารีบุตร

กล่าวถึง อเวทยิตสุข.

จบ อรรถกถานิพพานสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 835

๔. คาวีสูตร

ว่าด้วยอุปมาการหาอาหารของแม่โคกับการปฏิบัติของภิกษุ

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุนั้นหลาย แม้โคเที่ยวไปตามภูเขา เป็น

โคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะไปเที่ยวบนเขา

อันขรุขระ แม้โคนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่

เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม

แม่โคนั้นยันเท้าหน้าก็ไม่ดีเสียแล้ว พึงยกเท้าหลังอีก ก็คงจะไป

ยังทิศที่ยังไม่เคยไปไม่ได้ กินหญ้าที่ยังไม่เคยกินไม่ได้ และดื่มน้ำ

ที่ยังไม่เคยดื่มไม่ได้ แม่โคนั้นยืนอยู่ในที่ใดพึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น

เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน และพึงดื่ม

น้ำที่ยังไม่เคยดื่ม มันกลับมายังที่นั้นอีกโดยสวัสดีไม่ได้ ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะแม่โคนั้นเที่ยวไปบนภูเขา เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด

ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย

นี้เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขต ไม่เข้าใจเพื่อสงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลกรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติอันและสุขอัน

เกิดแต่วิเวกอยู่ เธอไม่เสพโดยมาก ไม่เจริญ ไม่กระทำให้มาก

ซึ่งนิมิตนั้น ไม่อธิษฐานนิมิตนั้นให้ดี เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า

ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุทุติฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น

ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 836

มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอไม่อาจเพื่อบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงสงัดจากกาม สงัด

จากอกุศล บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่

วิเวกอยู่ เธอย่อมไม่อาจเพื่อสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า มีชื่อเสียงปรากฏพลาด

เสื่อมจากผลทั้งสอง ๒ แล้ว เปรียบเหมือนแม่โคเที่ยวไปบนภูเขา

เป็นโคโง่ ไม่ฉลาด ไม่รู้จักเขตที่หากิน ไม่เข้าใจที่จะเที่ยวไปบน

เขาอันขรุขระ ฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่เที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคฉลาด

เฉียบแหลม รู้จักที่เที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ. แม่โคนั้นพึงมีความคิด

อย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยัง

ไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม แม่โคนั้นยังเท้าหน้าไว้ดีแล้ว

พึงยกเท้าหลัง แม่โคนั้นพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยัง

ไม่เคยกิน และพึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม เมื่อยืนอยู่ในที่ใด พึงคิดอย่างนี้

ว่า ผิฉะนั้น เราพึงไปยังทิศที่ไม่เคยไป พึงกินหญ้าที่ยังไม่เคยกิน

พึงดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม และพึงกลับมายังที่นั้นโดยสวัสดี ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะแม่โคเที่ยวไปบนภูเขา เป็นโคฉลาด เฉียบแหลม

รู้จักเขตที่หากิน เข้าใจที่จะเที่ยวไปบนภูเขาอันขรุขระ ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้

เป็นบัณฑิต ฉลาด รู้จักเขต เข้าใจที่จะสงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน... เสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มาก

ซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี,

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 837

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอเสพโดยมากซึ่งนิมิตนั้น เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น

อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี.

เธอมีความคิดดังนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ

เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติฌานที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข

เธอยังไม่ยินดีเพียงตติฌานที่ได้บรรลุ ฯลฯ เธอเสพโดยมาก

เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้ด้วยดี.

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราพึงบรรลุจตุตถฌาน

ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส

ก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอยังไม่ยินดี

เพียงจตุตถฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำ

ให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี,

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงรูปสัญญา

โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง

นานัตตสัญญา พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็น

อารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอยังไม่ยินดีเพียงอากาสานัญ-

จายตนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มาก

ซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 838

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงอากาสา-

นัญจาญตนฌาน โดยประการทั้งปวง พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน

โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เธอยังไม่ยินดีเพียง

วิญญาณัญจายนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ

กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี.

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงวิญญาณัญ-

จายตนฌานโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน

โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไร ๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอไม่ยินดีเพียง

อากิญจัญญายตนะที่ได้บรรลุนั้น เธอเสพโดยมาก เจริญ กระทำ

ให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้นให้มั่นด้วยดี,

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เรา เพราะล่วงอากิญ-

จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญาตนะ

เธอไม่ยินดีเพียงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานที่ได้บรรลุนั้น เธอ

เสพโดยมาก เจริญ กระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้น อธิษฐานนิมิตนั้น

ให้มั่นด้วยดี.

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราล่วงเนวสัญญานา-

สัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ

เธอไม่ยินดีเพียงสัญญาเวทยิตนิโรธที่ได้บรรลุนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุเข้าก็ดี ออกก็ดี

ซึ่งสมาบัตินั้น ๆ ในกาลนั้น จิตของเธอเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน

เธอมีสมาธิอันหาประมาณมิได้ เจริญดีแล้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไป

เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยอภิญญา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 839

ในธรรมนั้น ๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึง

ฟังเสียงสองอย่าง คือ เสียงทิพย์ เสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและใกล้

ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ ฯลฯ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังว่า

เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ

ก็พึงรู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจาก

ราคะ จิตมีโทสะก็พึงรู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็พึง

รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็พึงรู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิต

ปราศจากโมหะก็พึงรู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็พึงรู้ว่า

จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็พึงรู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคต

ก็พึงรู้ว่า จิตเป็นมหัคคตหรือจิตไม่เป็นมหัคคตก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็น

มหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่า จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิต

ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็พึงรู้ว่า จิไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็พึง

รู้ว่า จิตเป็นฯสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็พึงรู้ว่า จิตไม่เป็นสมาธิ

จิตหลุดพ้นก็พึงรู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็พึงรู้ว่า จิต

ไม่หลุดพ้น เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ได้

ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น

อันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ พึงระลึกถึง

ชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย

ประการดังนี้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ

ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ

ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 840

ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน

ในธรรมนั้น ๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ ถ้าเธอหวังว่า เราพึงกระทำ

ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ

ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอ

ย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ๆ.

จบ คาวีสูตรที่ ๔

อรรถกถาคาวีสูตรที่ ๔

คาวีสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปพฺพเตยฺยา ได้แก่ แม่โคมักเที่ยวไปบนภูเขา. บทว่า

น สุปติฏฺิต ปติฏฺาเปตฺวา ได้แก่ ไม่ยันเท้าหน้าไว้ให้ดี. บทว่า

ต นิมิตฺต ได้แก่นิมิต กล่าวคือปฐมฌานนั้น. บทว่า น สฺวาธิฏฺิต

อธิฏฺาติ ได้แก่ ไม่ตั้งใจไว้ด้วยดี. บทว่า อนภิหิสมาโน ได้แก่

ให้สำเร็จ. บทว่า มุทุ จิตฺต โหติ กมฺมนิย ความว่า วิปัสสนาจิต

อ่อนในขณะแห่งโลกกุตตรมรรค เป็นจิตทนต่อการงาน คือควรประกอบ

การงานฉันใด จิตในจตุตถฌานมีอภิญญาเป็นบาทของภิกษุนั้น

ย่อมเป็นจิตอ่อนควรแก่การงานฉันนั้น. บทว่า อปฺปมาโณ สมาธิ

ความว่า สมาธิในพรหมวิหาร ๔ ก็ดี สมาธิในมรรคผลก็ดี ชื่อว่า

สมาธิ หาประมาณมิได้ แต่ในสูตรนี้ หมายถึงอารมณ์อันหาประมาณ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 841

มิได้ เพราะเหตุนั้น พึงเห็นว่า สมาธิคล่องแคล่วด้วยดี เป็นอัปปมาณ-

สมาธิ โดยปริยายนี้. บทว่า โส อปฺปมาเณน สมาธินา สุภาวิเตน

ความว่า ภิกษุนี้เจริญวิปัสสนาในฐานะนี้แล้วจึงบรรลุพระอรหัต.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงลำดับแห่งอภิญญาของ

พระขีณาสพจึงตรัสคำมีอาทิว่า ย ยสฺเสว ดังนี้.

จบ อรรถกถาคาวีสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 842

๕. ฌานสูตร

ว่าด้วยฌานสมาบัติและสัญญาเวทนิตนิโรธ

[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติฌานบ้าง ตติยฌาน

บ้าง จตุตฌานบ้าง อากาสนัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัย

อะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัด

จากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย

คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่ง

ปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็น

ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของ

ชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรม

เหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ

นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละ

คืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ

นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 843

ทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อม

เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น

เป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดี

เพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน

นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วย

หญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และ

ทำลายร่างใหญ่ ๆ ได้แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น

เหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณา

เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี

อยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์...

ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น

ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ

ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌาน

นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน

ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ ข้อที่

เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลายเพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราอาศัย

ตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 844

อะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ

จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส

โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อม

พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่

ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ

นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง... นิพพาน

เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปติกะ

จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน

ในธรรมนั้น ๆ ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู

หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้า

หรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลาย

ร่างใหญ่ ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน

กันแล บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย

คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อ

ที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นแห่งอาสวะ

ทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้

กล่าวแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 845

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้

นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับ

ปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากา-

สานัญจายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด

เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสานัญจายตนฌานนั้น โดยความ

เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิต

ให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ

ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง...

นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจายตนฌานนั้น ย่อมถึงความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน

ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิง

ธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล

ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ ๆ ได้ แม่ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง

เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ

อากาสานัญจายตนฌาน... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 846

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะ

อาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌาน

บ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว

แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงวิญญา-

ณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน

โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไร ๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อม

พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่

ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่น

สงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง... นิพพาน

เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อม

เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้น

เป็นธรรมดา เพราโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความ

ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน

นายขมังธนูหรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่น

ที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด

และทำลายร่างใหญ่ ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 847

ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ

ทั้งปวง บรรลุกิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า

อะไร ๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย

คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญ-

จัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์... ว่างเปล่า

เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว

ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรม

เป็นที่สงบสังขารทั้งปวง... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตน-

ฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน

ในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัม-

ภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น ๆ

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น

เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล

สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีเท่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ๑

สัญญาเวทยิตนโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว

ว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้า

สมาบัติ และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึง

กล่าวได้โดยชอบ.

จบ ฌานสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 848

อรรถกถาฌานสูตรที่ ๕

ฌานสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาสวาน ขย ได้แก่ พระอรหัต. บทว่า ยเทว ตตฺถ

โหติ รูปคต ความว่า ธรรมดารูปใดย่อมเป็นไปในขณะปฐมฌาน

นั้นด้วยวัตถุก็ดี ด้วยมีจิตเป็นสมุฏฐานก็ดี. พึงทราบเวทนาเป็นต้น

ด้วยสามารถสังยุตตเวทนา (เวทนาที่ประกอบกัน เป็นต้น). บทว่า

เต ธมฺเม ได้แก่ ธรรม คือ เบญจขันธ์ มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น.

ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อนิจฺจโต พึงทราบความต่อไปนี้

ชื่อว่า โดยเป็นของไม่เที่ยง เพราอาการมีแล้วไม่มี ชื่อว่า โดย

เป็นทุกข์เพราะอาการบีบคั้น ชื่อว่า โดยเป็นโรคเพราะอาการ

เสียดแทง ชื่อว่า โดยเป็นฝีเพราะเจ็บปวดภายใน ชื่อว่า โดยเป็น

ลูกศร เพราะเสียบเข้าไปและเพราะเชือดเข้าไป ชื่อว่า โดยเป็น

ความลำบากเพราะทนได้ยาก ชื่อว่า โดยอาพาธเพราะถูกเบียด-

เบียน ชื่อว่า โดยเป็นอื่นเพราะไม่ใช่เป็นของตน ชื่อว่า โดยเป็น

ของทำลายเพราะผุพังไป ชื่อว่า โดยเป็นของสูญเพราะไม่เป็น

เจ้าของ ชื่อว่า โดยเป็นอนัตตาเพราะไม่อยู่ในอำนาจ. บทว่า

สมนุปสฺสติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า. บทว่า

เตหิ ธมฺเมหิ ได้แก้ด้วยธรรมคือ เบญจขันธ์เหล่านั้น. บทว่า

ปติฏฺาเปติ ได้แก่กลับไปด้วยความเบื่อหน่าย. บทว่า อมตาย ธาตุยา

ได้แก่ นิพพานธาตุ. บทว่า จิตฺต อุปสหรติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนา-

ญาณอันแก่กล้า คือเห็นอานิสงส์ด้วยญาณแล้วหยั่งลง. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 849

สนฺต ได้แก่ ชื่อว่า สงบเพราะสงบจากกิเลสอันเป็นข้าศึก.

บทว่า ปณีต ได้แก่ ไม่เดือดร้อน. บทว่า โส ตตฺถ ิโต อาสวาน

ขย ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น เจริญ

วิปัสสนาแก่กล้า ย่อมบรรลุพระอรหัต.

พึงทราบอีกนัยหนึ่ง. บทว่า โส เตหิ ธมฺเมหิ ความว่า

เพราะในบทว่า อนิจฺจโต เป็นต้น ท่านกล่าวถึงอนิจจลักษณะ

ด้วยสองบท คือ อนิจจโต ปโลกโต กล่าวถึงทุกขลักษณะด้วย

หกบท มีบทว่า ทุกฺขโต เป็นต้น กล่าวถึงอนัตตลักษณะด้วย

สามบท คือ ปรโต สุญฺโต อนตฺตโต ฉะนั้น ภิกษุนั้นยกขึ้นสู่

พระไตรลักษณ์อย่างนี้ด้วยธรรม คือเบญจขันธ์ในภายในสมาบัติ

ที่ตนเห็นแล้วเหล่านั้น บทว่า จิตฺต ปติฏาเปติ ได้แก่ รวบรวม

น้อมนำจิตเข้าไป. บทว่า อุปสหรติ ความว่า ภิกษุน้อมเข้าไป

ซึ่งวิปัสสนาจิตโดยอสังขตธาตุ อมตธาตุอย่างนี้ว่า นิพพานสงบ

ด้วยที่อยู่ ด้วยการสรรเสริญ ด้วยปริยัติ และด้วยบัญญัติ ภิกษุ

ย่อมกล่าวถึงนิพพานอันเป็นมรรคจิตอย่างนี้ว่า นี้สงบนี้ประณีต

ด้วยทำให้เป็นอารมณ์เท่านั้น อธิบายว่า โดยประการนี้ภิกษุแทง

ตลอดธรรมนั้น น้อมจิตเข้าไปในธรรมนั้นดังนี้. บทว่า โสตตฺถ ิโต

ความว่า ภิกษุตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น.

บทว่า อาสวาน ขย ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุเจริญมรรค ๔ ตาม

ลำดับแล้วบรรลุพระอรหัต.

บทว่า เตเนว ธมฺมราเคน ได้แก่ ฉันทราคะในธรรม คือสมถะ

และวิปัสสนา. บทว่า ธมฺมนนฺทิยา เป็นไวพจน์ของบทว่า ธมฺมราเคน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 850

นั้นนั่นเอง. จริงอยู่ ภิกษุเมื่อสามารถจะครอบงำฉันทราคะใน

สมถะและวิปัสสนาได้โดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุพระอรหัตได้

เมื่อไม่สามารถ ก็เป็นพระอานาคามี. บทว่า ติณปุริสรูปเก วา ได้แก่

มัดหญ้าเป็นรูปคน. ชื่อว่า ทูเรปาติ เพราะยิงลูกศรให้ตกไปไกล.

ชื่อว่า อกฺขณเวธี เพราะยิงไม่พลาด.

ในบทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ เวทนาคต นี้ ไม่ถือเอารูป

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะเลยไปแล้ว. จริงอยู่ ภิกษุนี้

เข้าถึงรูปาวจรฌานในภายหลัง ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว แม้เข้าถึง

อรูปาวจรสมาบัติ ภายหลังพิจารณารูปอันล่วงเลยรูปไปแล้ว

ด้วยอรูปาวจรสมาบัตินั้นด้วยสมถะ ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว ใน

บัดนี้ย่อมพิจารณาอรูป ด้วยเหตุนั้นรูปจึงล่วงเลยไปแล้วด้วยอรูป

นั้น แม้ด้วยวิปัสนา ก็ในอรูปย่อมไม่มีรูปแม้โดยประการทั้งปวง

เพราะฉะนั้นแม้ท่านหมายถึงรูปนั้น แต่ในที่นี้ไม่ถือเอารูป. ถามว่า

เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนะ

เล่า. ตอบว่า เพราะเป็นของสุขุม. จริงอยู่ในเนวสัญญานาสัญญย-

ตนะนั้น แม้อรูปขันธ์ ๔ ก็สุขุม ไม่เหมาะที่จะพิจารณา สมดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อิติ โข ภิกฺขเว ฯเปฯ อญฺาปฏิเวโธ.

ข้อนี้มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า สจิตตกสมาบัติมีอยู่ประมาณเท่าใด

การแทงตลอดถึงพระอรหัต ย่อมมีแก่ผู้พิจารณาธรรมอันยิ่ง

ประมาณเท่านั้น เขาย่อมถึงพระอรหัต แต่ เนวสัญญานา-

สัญญายตนะท่านไม่กล่าวว่า เป็นสัญญาสมาบัติ เพราะความ

เป็นของสุขุม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 851

บทว่า ฌายี เหเต ความว่า อายตนะสองเหล่านี้อันผู้เพ่ง

คือผู้ยินดีในฌานควรกล่าวถึงโดยชอบ บทว่า วุฏฺหิตฺวา ได้แก่

ออกจากสมาบัตินั้น. บทว่า สมฺมทกฺขาตพฺพานิ ได้แก่ พึงกล่าว

โดยชอบ. บุคคลพึงกล่าว พึงชม พึงสรรเสริญเนวสัญญายตน

สมาบัติ และสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอย่างเดียวว่า สงบ

ประณีตดังนี้.

จบ อรรถกถาฌานสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 852

๖. อานันทสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่เสวยอายตนะ

[๒๔๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม

ใกล้กรุงโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ก่อนอาวุโสทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ ไม่

เคยมีมาแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้การบรรลุโอกาส เพื่อ

ความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกความร่ำไร

เพื่อดับเสียซึ่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำ

ให้แจ้งซึ่งนิพพาน จักษุชื่อว่าจักเป็นจักษุนั้นแล คือ รูปเหล่านั้น

จักไม่เสวยอายตนะนั้น และอายตนะนั้นจักไม่เสวยรูปเหล่านั้น หู

ชื่อว่าจักเป็นหูนั้นแล คือ เสียงเหล่านั้นจักไม่เสวยอายตนะนั้น

และอายตนะนั้นจักไม่เสวยเสียงเหล่านั้น จมูกชื่อว่าจักเป็นจมูก

นั้นแล คือกลิ่นเหล่านั้นจักไม่เสวยอายตนะนั้น และอายตนะนั้น

จักไม่เสวยกลิ่นเหล่านั้น ลิ้นชื่อว่าจักเป็นลิ้นนั้นแล คือ รสเหล่านั้น

จักไม่เสวยอายตนะนั้น และอายตนะนั้นจักไม่เสวยรสเหล่านั้น

กายชื่อว่าจักเป็นกายนั้นแล คือ โผฏฐัพพะเหล่านั้น จักไม่เสวย

อายตนะนั้น และอายตนะนั้นจักไม่เสวยโผฏฐัพพะเหล่านั้น เมื่อ

ท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ถามท่าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 853

พระอานนท์ว่า ดูก่อนอาวุโสอานนท์ ผู้มีสัญญาหรือไม่มีสัญญาหนอ

ย่อมไม่เสวยอายตนะนั้น ท่านพะอานนท์ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ผู้

มีสัญญาแล ย่อมไม่เสวยอายตนะนั้น ผู้มีสัญญาไม่เสวย

อายตนะนั้น.

อุ. ดูก่อนอาวุโส ก็ผู้มีสัญญาอย่างไร จึงไม่เสวยอายตนะนั้น.

อา. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา

โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง

นานัตตสัยญา บรรลุอากาสานัญจายจนฌาน โดยคำนึงเป็น

อารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด ดูก่อนอาวุโส แม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้

ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน

โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็น

อารมณ์ว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มี ดูก่อนอาวุโส แม้ผู้มีสัญญา

อย่างนี้ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น.

ดูก่อนอาวุโส สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ อัญชนมิคทายวัน ใกล้

เมืองสาเกต ครั้งนั้นแล ภิกษุณีชื่อชฏิลภาคิกา เข้าไปหาผมถึง

ที่อยู่ ไหว้แล้วยืนแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามผมว่า

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ สมาธิใดอันบุคคลยังไม่น้อมไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 854

แล้ว ไม่นำไปปราศแล้ว มีการข่มการห้ามซึ่งธรรมอันเป็นไป

กับสังขารไม่ได้ ตั้งมั่นแล้วเพราะหลุดพ้นจากกิเลส เป็นสันโดษ

เพราะตั้งมั่น ไม่สะดุ้งเพราะเป็นสันโดษ สมาธินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า มีอะไรเป็นผล เมื่อชฏิลภาคิกาภิกษุณีกล่าวอย่างนี้แล้ว

ผมได้กล่าวกะภิกษุณีนั้นว่า ดูก่อนน้องหญิง สมาธิใดอันบุคคล

ไม่น้อมไปแล้ว ไม่นำไปปราศแล้ว มีการข่มการห้ามซึ่งธรรม

อันเป็นไปกับสังขารไม่ได้ ตั้งมั่นแล้วเพราะหลุดพ้นจากกิเลส

เป็นสันโดษเพราะตั้งมั่น ไม่สะดุ้งเพราะเป็นสันโดษ สมาธินี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีอรหัตเป็นผล ดูก่อนอาวุโส แม้ผู้ที่

มีสัญญาอย่างนี้แล ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น.

จบ อนันทสูตรที่ ๖

๖. อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๖

อานันทสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมฺพาเธ ได้แก่ในที่คับแคบ คือกามคุณ ๕. บทว่า

โอกาสาธิคโม ได้แก่ ถึงโอกาส. บทว่า สตฺตาน วิสุทฺธิยา

ได้แก่ เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายถึงความบริสุทธิ์. บทว่า สมติกฺกมาย

ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การล่วงไป. บทว่า อตฺถงฺคมาย ได้แก่

เพื่อประโยชน์แก่การดับไป. บทว่า ายสฺส อธิคมาย ได้แก่

เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุมรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า

นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การทำนิพพาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 855

อันหาปัจจัยมิได้ให้ประจักษ์. บทว่า ตเทว นาม จกฺขุ ภวิสฺสติ

ได้แก่ จักษุนั่นเอง คือปสาทจักษุ จักแตกต่างกันไปก็หามิได้.

บทว่า เต รูปา ได้แก่รูปารมณ์นั้นเอง จักมาสู่คลอง (ปสาทจักษุ).

บทว่า ตญฺจายตน โน ปฏิสเวทิสฺสติ ได้แก่ บุคคลผู้ไม่มีสัญญา

จักไม่รู้รูปายตนนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อุทายี ได้แก่พระกาฬุทายิเถระ. บทว่า สญฺเมว นุ โข

ได้แก่ เป็นผู้มีจิตหรอืหนอ. ม อักษรเป็นเพียงบทสนธิ. บทว่า

กึ สญฺี ได้แก่ เป็นผู้มีสัญญาด้วยสัญญาชนิดใหน บทว่า สพฺพโส

รูปสญฺาน เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ความว่า

ถามว่า เพราเหตุไร พระอานนท์จึงถือเอารูปัญญานี้ การเสวย

อารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ย่อมมีแก่ท่านผู้พร้อมเพรียงด้วย

ปฐมฌานเป็นต้นหรือ. ตอบว่า ไม่มี ก็กสิณรูปยังเป็นอารมณ์อยู่

เพียงใด รูปชื่อว่า ยังไม่ล่วงไปอยู่เพียงนั้น รูปนั้นจักอาจเพื่อเป็น

ปัจจัย เพราะยังไม่ล่วงไป แต่ก็รูปนั้น เพราะยังไม่ล่วงไปจึงชื่อว่า

ไม่มี พระอานนท์ถือเอาคำนี้นั่นแลเพื่อแสดงว่า เพราะรูปไม่มี

จึงไม่อาจเป็นปัจจัยได้.

บทว่า ชฏิลคาหิยา ได้แก่ ภิกษุณีผู้อยู่ในเมืองชฏิลคหะ.

ในบทว่า น จาภิณโต เป็นต้น พึงทราบเนื้อความต่อไปนี้ สมาธิ

ชื่อว่า ข่มห้ามด้วยการชักชวนไม่ได้ เพราะไม่น้อมไปด้วยอำนาจ

ของราคะ ไม่นำออกไปด้วยอำนาจของโทสะ ข่มห้ามกิเลสทั้งหลาย

แล้วตั้งอยู่ด้วยการชักชวน ด้วยการประกอบไม่ได้ แต่เกิดขึ้นได้

ในเมื่อตัดกิเลสได้แล้ว. บทว่า วิมุตฺตตฺตา ิโต ได้แก่ชื่อว่าตั้ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 856

อยู่แล้ว เพราะพ้นจากกิเลสทั้งหลาย. บทว่า ิตตฺตา สนฺตุสิโต

ได้แก่ ชื่อว่า สันโดษ เพราะตั้งมั่นแล้วนั่นเอง. บทว่า สนฺตุสิตตฺตา

โน ปริตสฺสติ ได้แก่ ไม่ถึงความสะดุ้งเพราะเป็นผู้สันโดษแล้ว.

ด้วยบทว่า อย ภนฺเต อานนฺท สมาธิ กึผโล นี้ พระเถรีถือเอา

สมาธิในอรหัตผลแล้วถามว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ สมาธินี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นผู้ของอะไร ดุจถือเอาผลตาล

แล้วถามว่า ผลนี้ชื่อผลอะไรดังนี้. บทว่า อญฺา ผโล วุตฺโต

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอรหัตว่า อญฺา

ชื่อว่า สมาธิในอรหัตผลนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว. บทว่า

เอวสญฺีปิ ความว่า แม้มีสัญญาด้วยสัญญาในอรหัตผลนี้ ก็ไม่

เสวยอายตนะนั้น เพราะเหตุนั้นในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสถึงสมาธิในอรหัตผลด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 857

๗. พราหมณสูตร

ว่าด้วยโลกและผู้ถึงที่สุดโลก

[๒๔๒] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ

๒ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

ไปแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปูรณกัสสปเป็นผู้รู้

สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญาณการรู้การเห็นอันไม่มีส่วนเหลือ

ว่า เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสสนะปรากฏติดต่อ

เนื่องกันไป ปูรณกัสสปนั้นกล่าวอยางนี้ว่า เรารู้เราเห็นโลกอันไม่มี

ที่สุด ด้วยญาณอันไม่มีที่สุด ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้นิครณฐ-

นาฏบุตรก็เป็นผู้รู้สิ่งทั้งปวง เห็นสิ่งทั้งปวง ปฏิญาณการรู้การเห็น

ไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดิน ยืน หลับ และตื่นอยู่ ญาณทัสนะ

ปรากฏติดต่อเนื่องกันไป นิครณฐนาฏบุตรนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า

เรารู้เราเห็นโลกอันไม่มีที่สุด ด้วยญาณอันไม่มีที่สุด ข้าแต่พระโคดม

ผู้เจริญคนทั้ง ๒ ต่างก็พูดอวดรู้กัน มีวาทะเป็นข้าศึกกัน ใครจริง

ใครเท็จ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ อย่าเลย ข้อ

ที่คนทั้ง ๒ นี้ต่างพูดอวดรู้กัน มีวาทะเป็นข้าศึกกัน ใครจริง ใคร

เท็จนั้น พักไว้ก่อนเถิด ดูก่อนพราหมณ์ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 858

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว พราหมณ์

เหล่านั้น รับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนชาย ๔ คน ยืนอยู่ใน ๔ ทิศ ต่าง

ก็มีฝีเท้าในการเดินและมีฝีเท้าในการวิ่งเป็นเยี่ยมพอ ๆ กัน เปรียบ

เหมือนนายขมังธนูถือธนูไว้อย่างมั่น ศึกษามาเจนฝีมือแล้ว ผ่าน

การประลองฝีมือแล้ว จะพึงใช้ลูกธนูอย่างเบายิงต้นตาลที่เรียงแถว

ให้ทะลุโดยง่าย และยิงได้เร็วกว่าการวิ่งดังกล่าวมานั้น เปรียบ

เหมือนมหาสมุทรในทิศประจิม ตรงข้ามมหาสมุทรทิศบูรพา ถ้า

คน ๆ หนึ่ง ยืนอยู่ทางทิศบูรพาจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจะเดิน

ไปให้ถึงที่สุดโลก เขาเว้นการดื่ม การกิน การลิ้ม เว้นการถ่าย

อุจจาระปัสสาวะ และเว้นจากการหลับและการพัก เขามีอายุ

๑๐๐ ปี เป็นอยู่ ๑๐๐ ปี เดินไปตลอด ๑๐๐ ปี ยังไม่ทันถึงที่สุด

โลกเลย ก็พึงกระทำกาละลงในระหว่าง ถ้าคน ๆ หนึ่ง ยืนอยู่ใน

ทิศประจิม ฯลฯ ถ้าคน ๆ หนึ่งยืนอยู่ในทิศทักษิณ จะพึงกล่าว

อย่างนี้ว่า เราจะเดินไปให้ถึงที่สุดโลก เขาเว้นจากการดื่ม การกิน

การลิ้ม เว้นจากการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ และเว้นจากการหลับ

และการพัก เขามีอายุ ๑๐๐ ปี เป็นอยู่ ๑๐๐ ปี เดินไปตลอด ๑๐๐ ปี

ยังไม่ถึงที่สุดโลกเลย พึงกระทำกาละในระหว่าง ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะเราไม่กล่าวว่า บุคคลจะพึงรู้จะพึงเห็น จะพึงถึงที่สุด

ของโลกด้วยการวิ่งเห็นปานนั้น และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลก

ก็ไม่กล่าวการกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 859

ดูก่อนพราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้ เรียกว่าโลกในวินัย

ของพระอริยเจ้า กามคุณ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้ง

ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน

ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้ง

ด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้ง

ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอไจ เป็นที่รัก ยั่วยวน

ชวนให้กำหนัด ดูก่อนพราหมณ์ กามคุณ ๕ ประการนี้แล เรียกว่า

โลกในวินัยของพระอริยเจ้า.

ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่

วิเวกอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุด

แห่งโลก คนเหล่าอื่นกล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่อง

อยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก ดูก่อนพราหมณ์ เป็นความ

จริง แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก

ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติย-

ณาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่ง

โลก และอยู่ในที่สุดแห่งโลก แต่ชนเหล่าอื่นกล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้

ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พันไปจากโลก

ดูก่อนพราหมณ์ เป็นความจริง แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุ

นี้ก็ยังนับเนืองอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไปจากโลก.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 860

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการ

ทั้งปวง... บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน... ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถึง

ที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลก แต่ชนเหล่าอื่นกล่าว

ภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ก็ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตน

ไม่พ้นไปจากโลก ดูก่อนพราหมณ์ เป็นความจริง แม้เราก็กล่าว

อย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไป

จากโลก.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน

โดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ เพราะล่วง

วิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญ-

ญายตนฌาน ฯลฯ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการ

ทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญาตนฌาน ฯลฯ ภิกษุนี้เรียกว่า

ได้ถึงที่สุดโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดโลกแห่งโลก แต่ชนเหล่าอื่น

กล่าวภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตน

ไม่พ้นไปจากโลก ดูก่อนพราหมณ์ เป็นความจริง แม้เราก็กล่าว

อย่างนี้ว่า แม้ภิกษุนี้ยังนับเนื่องอยู่ในโลก ยังสลัดตนไม่พ้นไป

จากโลก.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน-

ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะของเธอ

สิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุนี้

เรียกว่า ได้ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว และอยู่ในที่สุดแห่งโลก ข้ามพ้น

ตัณหาเครื่องข้องในโลกนี้แล้ว.

จบ พราหมณสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 861

อรรถกถาพรหมณสูตรที่ ๗

พราหมณสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โลกายติกา ได้แก่ หพราหมณ์ผู้สอนคัมภร์โลกายตะ

(คัมภีร์ที่ไม่น่าเชื่อถือ). บทว่า สตต คือในกาลทุกเมื่อ. บทว่า

สมิต ได้แก่ ไม่มีระหว่างคั่น. บทว่า ติฏฺฐเตต ตัดบทเป็น ติฏฺฐุ เอต

แปลว่า ข้อนี้ยกไว้ก่อน คือ พวกท่านอย่าเริ่มถึงเรื่องนี้เลย ไม่มี

ประโยชน์อะไรแก่พวกท่านดอก. บทว่า ธมฺม โว พราหมณา

เทเสสฺสามิ ความว่า เราจักแสดงจตุสัจธรรมแก่พวกท่าน. บทว่า

ทฬฺหธมฺโม ได้แก่ นายธนถือธนูหนักยืนอยู่. บทว่า ธนุคฺคโห

ได้แก่นายธนู. ชื่อว่าธนูหนัก ท่านกล่าวว่าต้องใช้กำลังคนถึง

สองพันคนยก. ชื่อว่าใช้กำลังคนถึงสองพันคนก็ถือสายธนูเป็น

โลหะ เมื่อจะยกก็จับคัน ยกขึ้นจนถึงคอ จึงจะพ้นแผ่นดิน. บทว่า

สิกฺขิโต ได้แก่เรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ตลอด ๒๒. ปี.

บทว่า คตหตฺโถ ได้แก่นายธนูผู้หนึ่งศึกษาศิลปะเท่านั้น

ยังมิได้ประลองฝีมือ แต่นายธนูผู้นี้ได้ประลองฝีมือแล้ว คือมีความ

ชำนาญมาก. บทว่า กตุปาสโน ได้แก่ ได้แสดงฝีมือในราชตระกูล

มาแล้ว. บท ลหุเกน อสเนน ได้แก่ด้วยลูกศรที่เบา ทำข้างใน

ให้เป็นโพรง เอานุ่นเป็นต้น ยัดจนเต็ม ทำเป็นเครื่องหมายไว้.

จริงอยู่ ลูกศรธรรมดาที่ทำกันยิงแล่นไปเพียง ๑ อุสภะ แต่ลูกศร

ของนายธนูแล่นไปได้ ๒ อุสภะ ฯลฯ ลูกศรธรรมดาแล่นไป ๘ อุสภะ

แต่ของนายธนูแล่นไปได้ ๑๖ อุสภะ. บทว่า อปฺปกสิเรน คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 862

โดยไม่ลำบาก. บทว่า อติปาเตยฺย คือ ล่วงเลยไปได้ (ทะลุ)

ท่านอธิบายว่า นายธนูนั้นก้าวข้ามเงาประมาณ ๑ คืบ ๔ นิ้ว ได้

ฉับพลันทันที ฉันใด บุคคลมีฝีเท้าเร็วสามารถก้าวเลยสกลจักรวาล

ได้ฉับพลันฉันนั้น. บทว่า สนฺธาวนิกาย ได้แก่ วิ่งไปด้วยเท้า.

บทว่า เอวมาหสุ แปลว่า ได้กล่าวแล้วอย่างนี้.

จบ อรรถกถาพราหมณสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 863

๘. เทวสูตร

ว่าด้วยเทวาสุรสงครามกับการผจญมาร

[๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงคราม

ระหว่างเทวดากับอสูรได้ประชิดกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

สงครามครั้งนั้น พวกอสูรชนะ พวกเทวดาแพ้ และพวกเทวดาที่แพ้

ได้พากันหนีไป พวกอสูรลุกไล่ติดตามมุ่งไปทางทิศอุดร ครั้งนั้น

แล พวกเทวดาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกอสูรลุกไล่ติดตามมา

จำเราจะทำสงครามกับพวกอสูรครั้งที่ ๒ อีก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ พวกเทวดาก็ทำสงคราม

กับพวกอสูรอีก พวกอสูรชนะ พวกเทวดาแพ้ และพวกเทวดา

ที่แพ้ได้พากันหนีไป พวกอสูรลุกไล่ติดตามมุ่งไปทางทิศอุดร

ครั้งนั้นแล พวกเทวดาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกอสูรลุกไล่

ติดตามมา จำเราจะทำสงครามกับอสูรครั้งที่ ๓ อีก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ พวกเทวดาทำสงคราม

กับพวกอสูรอีก พวกอสูรชนะ พวกเทวดาแพ้ และพวกเทวดา

ที่แพ้กลัวพากันหนีเข้าไปในเทพบุรี ก็แหละพวกเทวดาที่หนีเข้าไป

ยังเทพบุรี ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ พวกเรามีตนได้ที่พึ่งแล้ว

พวกอสูรจะทำอะไรเราไม่ได้ แม้พวกอสูรก็มีความคิดอย่างนี้ว่า

บัดนี้ พวกเทวดามีตนได้ที่พึ่งแล้ว พวกเราจะทำอะไรไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 864

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่าง

เทวดากับพวกอสูรได้ประชิดกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงคราม

ครั้งนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ และพวกอสูรที่แพ้ได้พากัน

หนีไป พวกเทวดาลุกไล่ติดตามมุ่งไปทางทิศทักษิณ ครั้งนั้นแล

พวกอสูรได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเทวดาลุกไล่ติดตามมา จำ

เราจะทำสงครามกับพวกเทวดาแม้ครั้งที่ ๒ อีก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ พวกอสูรก็ทำสงครามกับ

พวกเทวดาอีก พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ และพวกอสูรที่แพ้

ได้พากันหนีไป พวกเทวดาลุกไล่ติดตามมุ่งไปทางทิศทักษิณ

ครั้งนั้นแล พวกอสูรได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเทวดาลุกไล่

ติดตามมา จำเราจะทำสงครามกับพวกเทวดาแม้ครั้งที่ ๓ อีก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ พวกอสูรก็แพ้ได้พากันหนี

เข้าไปยังอสูรบุรี ก็แหละพวกอสูรที่พากันหนีเข้าไปในอสูรบุรี

ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ พวกเรามีตนได้ที่พึ่งแล้ว พวกเทวดา

จะทำอะไรเราไม่ได้ แม้พวกเทวดาก็มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้

พวกอสูรมีตนเป็นที่พึ่งแล้ว พวกเราทำอะไรไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล สมัยใด ภิกษุ

สงัดจากกาม... บรรลุปฐมฌาน... สมัยนั้น ภิกษุมีความคิดอย่างนี้

ว่า บัดนี้ เรามีตนได้ที่พึ่งแล้ว มารจะทำอะไรเราไม่ได้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม้มารผู้ลามกก็มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ภิกษุ

มีตนได้ที่พึ่งแล้ว เราจะทำอะไรไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 865

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ สมัยนั้น ภิกษุมีความคิดอย่าง

นี้ว่า บัดนี้ เรามีตนได้ที่พึ่งแล้ว มารจะทำอะไรเราไม่ได้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม้มารผู้ลามก็มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ภิกษุ

มีตนได้ที่พึ่งแล้ว เราจะทำอะไรไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ เพราะล่วงรูปสัญญา

โดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน... สมัยนั้น ภิกษุ

นี้เรียกว่า ได้ทำมารให้เป็นที่สุด ให้ติดตามไม่ได้ ปิดตามารสนิท

มารมองไม่เห็น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ เพราล่วงอากาสานัญ-

จายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ

บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ บรรลุเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌาน ฯลฯ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะของเธอสิ้นรอบ

แล้วเพราะเห็นด้วยปัญญา สมัยนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ได้กระทำ

มารให้เป็นที่สุด ให้ติดตามไม่ได้ ปิดตามารสนิท มารมองไม่เห็น

จบ เทวสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 866

อรรถกถาเทวสูตรที่ ๘

เทวสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห อโหสิ คือได้ประจัญหน้ากันแล้ว.

บทว่า สงฺคาเมยฺยาม ได้แก่ ทำสงครามคือรบกัน. บทว่า อปสฺสึเสวฺว

ได้แก่ พวกเทวดาพากันหนีไป. บทว่า อุตฺตราภิมุขา คือบ่ายหน้า

ไปทางทิศอุดร. บทว่า อภิภยนฺเตว ได้แก่ รุกไล่ตามไป. บทว่า

ภีรุตฺตาณคเตน ได้แก่ ไปหาที่พึ่งต่อต้านความกล้า คือห้ามความ

กลัว. บทว่า อกรณิยา ได้แก่ พวกอสูรทำการรบไม่ได้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พวกเทวดาและอสูรจึงรบกัน ตอบว่า

เพราะพวกอสูรเคยอยู่ในภพดาวดึงส์มาก่อน ครั้นถึงเวลาดอก-

จิตตปาตลิบาน พวกอสูรระลึกถึงดอกปาริฉันตตกะอันเป็นทิพย์

แต่นั้นพวกอสูรเกิดโกรธขึ้นมากล่าวว่า พวกท่านจงจับเทวดา

ก็พากันออกมา. การรบของเทวดาและอสูรเหล่านั้น เป็นเหมือน

กับเด็กเลี้ยงโค เอาท่อนไม้ทุบตีกันและกัน. ท้าวสักกเทวราช

ตั้งอารักขาไว้ในที่ ๕ แห่งเบื้องล่าง ส่วนในเบื้องบนทรงตั้งรูป

เปรียบเหมือนพระองค์ พระหัตถ์ทรงวชิราวุธ แวดล้อมเทวบุรีไว้.

พวกอสูรผ่านขึ้นไปถึงที่ ๕ แห่ง เบื้องล่าง เห็นอินทปฏิมา (รูป

พระอินทรีย์) จึงพากันกลับไปอสูรบุรีทันที.

บทว่า ทกฺขิเณน มุขา ได้แก่ บ่ายหน้าไปทางทิศทักษิณ.

บทว่า อปท พนฺธิตฺวา ได้แก่ ไม่ให้เหลือรอยเท้าไว้. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 867

อทสฺสน คโต ความว่า แม้มารก็รู้จิตของภิกษุผู้เข้ารูปาวจร-

จตุตถฌานอันมีวัฏฏะเป็นบาท รู้จิตของภิกษุผู้เข้าสมาบัติ อันมี

วิปัสสนาเป็นบาทนั่นเอง มารย่อมไม่รู้จิตของภิกษุผู้เข้ารูปาวจร-

สมาบัติ อันมีวัฏฏะเป็นบาท หรือมีวิปัสสนาเป็นบาท ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อทสฺสน คโต ปาปิมโต ดังนี้.

จบ อรรถกถาเทวสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 868

๙. นาคสูตร

ว่าด้วยอุปมาการหาความสงบของพญาช้างกับการปฏิบัติของภิกษุ

[๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อช้างตัวประเสริฐ

อยู่ในป่าเที่ยวหากิน ช้างพลายบ้าง ช้างพังบ้าง ช้างสะเทิ้นบ้าง

ลูกช้างบ้าง เดินไปข้างหน้า กัดปลายหญ้าไว้ด้วน ช้างตัวประเสริฐ

นั้น ย่อมอิดหนาระอาใจรังเกียจเพราะการกระทำนั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สมัยใด เมื่อช้างตัวประเสริฐอยู่ในป่าเที่ยวหากิน ช้างพลาย

บ้าง ช้างพังบ้าง ช้างสะเทิ้นบ้าง ลูกช้างบ้าง กัดกินกิ่งไม้ที่ช้าง

ตัวประเสริฐหักลงไว้ ช้างตัวประเสริฐนั้น ย่อมอิดหนาระอาใจ

รังเกียจเพราะการกระทำนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อช้าง

ตัวประเสริฐอยู่ในป่าลงสู่สระ ช้างพลายบ้าง ช้างพังบ้าง ช้าง-

สะเทิ้นบ้าง ลูกช้างบ้าง เดินออกหน้า เอางวงสูบน้ำให้ขุ่น ช้าง

ตัวประเสริฐนั้นย่อมอิดหนาระอาใจรังเกียจเพราะการกระทำนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อช้างตัวประเสริฐอยู่ในป่าขึ้นจาก

สระ ช้างพลายทั้งหลายย่อมเดินเสียดสีกายไป ช้างตัวประเสริฐ

ย่อมอิดหนาระอาใจ รังเกียจเพราะการกระทำนั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สมัยนั้น ช้างตัวประเสริฐนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า

บัดนี้ เราเกลื่อนกล่นไปด้วยช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้นและ

ลูกช้าง เรากินหญ้ายอดด้วน กินกิ่งไม้ที่ช้างทั้งหลายกินแล้ว ๆ

ดื่มน้ำที่ขุ่นมัว และเมื่อเราขึ้นจากสระ ช้างพังทั้งหลายย่อมเดิน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 869

เสียดสีกายไป ผิฉะนั้น เราพึงหลีกออกจากโขลงอยู่ตัวเดียวเถิด

สมัยต่อมา ช้างตัวประเสริฐนั้น หลีกออกจากโขลงอยู่ตัวเดียว

กินหญ้ายอดไม่ด้วน กินกิ่งไม้ที่ไม่มีช้างอื่นเล็ม ดื่มน้ำที่ไม่ขุ่นมัว

เมื่อขึ้นจากสระ ช้างพังก็ไม่เดินเสียดสีกาย สมัยนั้น ช้างตัวประเสริฐ

ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเกลื่อนกล่นไปด้วยช้างพลาย

ช้างพัง ช้างสะเทิ้น และลูกช้าง กินหญ้ายอดด้วน กินกิ่งไม้ที่ช้าง

อื่นเล็มแล้ว ๆ ดื่มน้ำขุ่นมัว และเมื่อเราขึ้นจากสระ ช้างพังยังเดิน

เสียดสีกายเราไป บัดนี้ เราหลีกออกจากโขลงอยู่ตัวเดียว กินหญ้า

ยอดไม่ด้วน กินกิ่งไม้ที่ช้างอื่นไม่เล็ม ดื่มน้ำที่ไม่ขุ่นมัว และเมื่อ

ขึ้นจากสระ ช้างพังก็ไม่เดินเสียดสีกายเราไป ดังนี้ ช้างตัว

ประเสริฐนั้นเอางวงหักกิ่งไม้มาปัดกาย มีใจชื่นชม บำบัดโรค-

ต่อมคัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด ภิกษุเกลื่อน

กล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์

ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ สมัยนั้น ภิกษุนั้น ย่อม

มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราเกลื่อนกล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์

สาวกของเดียรถีย์ ผิฉะนั้น เราพึงหลีกออกจากหมู่ไปอยู่ผู้เดียว

เธอเสพเสนาสนะที่สงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า

ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธออยู่ป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง นั่งคู้บัลลังก์

ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เบื้องหน้า ละอภิชฌาในโลกเสีย มีใจ

ปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิจากอภิชฌา ละความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 870

ประทุษร้าย คือ พยาบาท มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์เกื้อกูลแก่

สรรพสัตว์ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือพยาบาท

ละถีนมิทธะ ปราศจากความง่วงเหงาหาวนอน มีความสำคัญใน

แสงสว่างอยู่ มีสติสัปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ

ลุอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบในภายใน ชำระจิตให้

บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉา ไม่

เคลือบแคลงสงสัยในกุศลทั้งหลาย ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา

เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นอุปกิเลสแห่งใจทำปัญญาให้

ทุรพลแล้ว สงัดจากกาม... บรรลุปฐมฌาน... เธอมีใจชื่นชม

บำบัดความระคายใจได้ เธอบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ

จตุตถฌาน มีใจชื่นชม บำบัดความระคายใจได้ เพราล่วงรูปสัญญา

โดยประการทั้งปวง ฯลฯ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ฯลฯ

บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ฯลฯ บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ฯลฯ

บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ฯลฯ บรรลุสัยญาเวทยิตนิโรธ

อาสวะของเธอสิ้นรอบแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา เธอมีใจชื่นชม

บำบัดความระคายใจได้.

จบ นาคสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 871

อรรถกถานาคสูตรที่ ๙

นาคสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อารญฺกสฺส ได้แก่ ช้างอยู่ในป่า. บทว่า โคจรปสุตสฺส

ได้แก่ ไปหาอาหาร. บทว่า หตฺถีกุลภาปิ ได้แก่ ลูกช้างรุ่นใหญ่ ๆ.

บทว่า หตฺถิจฺฉาปา ได้แก่ ลูกช้างรุ่น. บทว่า โอภคฺโคภคฺค ได้แก่

เหนี่ยวโน้มลงมาตั้งไว้. บทว่า โอคาห โอติณฺณสฺส ได้แก่ ช้าง

หยั่งลงสู่ท่าน้ำอันได้ชื่อว่า โอคาหะ เพราะเป็นที่อันช้างพึงดำลง

ไปได้. บทว่า โอคาหา อุตฺติณฺณสฺส ได้แก่ ช้างขึ้นจากท่าน้ำ.

บทว่า วูปกฏโฐ ได้แก่ หลีกออกไปตัวเดียว. บัดนี้เพราะไม่มีกิจ

ด้วยช้างตัวประเสริฐของพระทศพล แต่พระองค์ทรงนำพระดำรัส

นี้มา เพื่อแสดงถึงบุคคลเปรียบด้วยช้างนั้นในพระศาสนา ฉะนั้น

เมื่อพระองค์จะทรงแสดงถึงบุคคลนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เอวเมว โข

ดังนี้.

จบ อรรถกถานาคสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 872

๑๐. ตปุสสสูตร

ว่าด้วยอนุปุพพวิหาร

[๒๔๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคม

ของชนชาวมัลละ ชื่ออุรุเวลกัปปะ ในแคว้นมัลละ ครั้งนั้น เวลาเช้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร

เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอุรุเวลกัปปนิคม ครั้นแล้ว เสด็จกลับ

จากบัณฑบาต ภายหลังภัต ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน

อานนท์ เธอจงอยู่ในที่นี้ก่อน จนกว่าเราจะไปถึงป่ามหาวันต์เพื่อ

พักผ่อนในกลางวัน ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงป่ามหาวัน ประทับพักผ่อน

กลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง.

ครั้งนั้นแล ตปุสสคฤหบดี เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่

อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่าน

พระอานนท์ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นคฤหัสถ์

บริโภคกาม เพลิดเพลินยินดีหมกมุ่นอยู่ในกาม เนกขัมมะไม่ปรากฏ

แก่ข้าพเจ้าเหล่านั้นเหมือนดังเหว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า

ทั้งหลายได้สดับมาดังนี้ว่า จิตของภิกษุหนุ่ม ๆ ในธรรมวินัยนี้

ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ย่อมหลุดพ้นในเพราะ

เนกขัมมะ เมื่อเธอเหล่านั้นพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล้วนแต่เป็นวิสภาคกับชนเป็นอันมาก

นั้นก็ คือ เนกขัมมะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 873

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี เหตุแห่งถ้อยคำนี้

มีอยู่มาเราไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วจักกราบทูลเนื้อความนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร เราจักกระทำ

อย่างนั้น ตปุสสคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ตปุสสคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ พวก

ข้าพเจ้าเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม เพลิดเพลินยินดีหมกมุ่นอยู่ในกาม

เนกขัมมะไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้าเหล่านั้นเหมือนดังเหว ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายได้สดับมาดังนี้ว่า จิตของพวกภิกษุหนุ่ม ๆ

ในธรรมวินัยนี้ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ หลุดพ้น

ในเพราะเนกขัมนะ เมื่อเธอเหล่านั้นพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล้วนแต่เป็นวิสภาคกับชน

เป็นอันมาก นั่นก็ลือ เนกขัมมะ ดังนี้ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์

ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ดูก่อนอานนท์ แม้เมื่อเราเองก่อนแต่

การตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

เนกขัมมะเป็นความดี วิเวกเป็นความดี จิตของเรานั้นยังไม่แล่นไป

ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่นในเนกขัมมะ ยังไม่หลุดพ้นใน เพราะ

เนกขัมมะ เพราะเราพิจารณาเห็นว่า นี้สงบ เรานั้นได้มีความคิด

ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเรา ไม่แล่นไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 874

ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้น ใน เพราะเนกขัมมะ

เพราะเราเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นจึงคิดต่อไปว่าโทษในกามทั้งหลาย

ที่เรายังไม่เห็น และไม่ได้กระทำให้มาก อานิสงส์ในเนกขัมมะ

เรายังไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เสพโดยมาก เพราะฉะนั้น จิตของเรา

จึงไม่สิ้นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ ไม่หลุดพ้นใน

เพราะเนกขัมมะ เพราะเราพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้

มีความคิดว่า ถ้าว่าเราเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้ว พึงกระทำ

ให้มาก บรรลุอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้ว พึงเสพอานิสงส์นั้นโดย

มาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราจะพึงแล่นไป พึง

เลื่อมใส พึงตั้งอยู่ในเนกขัมมะ พึงหลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ

เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา เรา

นั้นเห็นโทษในกามแล้ว ได้กระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ใน

เนกขัมมะแล้วเสพโดยมาก จิตของเรานั้นจึงแล่นไป เลื่อมใส

ตั้งอยู่ในเนกขัมมะ หลุดพ้นในเพราะเนกขัมมะ เพราะเราพิจารณา

เห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปิติและสุขเกิดจากวิเวกอยู่ เมื่อ

เรานั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยกาม

ย่อมฟุ้งซ่าน ข้อนั้นเป็นอาพาธของเรา เปรียบเหมือนความทุกข์

พึงบังเกิดขึ้นแก่คนผู้มีความสุข เพียงเพื่อเบียดเบียน ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นมีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุ

ทุติยฌาน ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส

ไม่ตั้งอยู่ในทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร ไม่หลุดพ้นในเพราะทุติยฌาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 875

อันไม่มีวิตกวิจาร เพื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรา

นั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้จิต

ของเราไม่แล่นไป... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร เพราะ

พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า

โทษในวิตก เราไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในทุติยฌาน

อันไม่มีวิตกวิจาร เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น

จิตของเราจึงไม่แล่นไป... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาร

เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเรา

เห็นโทษในวิตกแล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในทุติยฌาน

อันไม่มีวิตกวิจาร แล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

คือ จิตของเราพึงแล่นไป... ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นแล

เห็นโทษในวิตก... เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้น

จึงแล่นไป... ในเพราะทุติยฌานอันไม่มีวิตกวิจาระ... เรานั้นบรรลุ

ทุติยฌาน ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา.

มนสิการอันสหรคตด้วยวิตก... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราจะพึง

มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ

สิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้

ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูก่อนอานนท์ จิตของเรา

นั้นย่อมไม่แล่นไป... ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไร

หนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป... ใน

เพราะตติยฌานอันไม่มีปีติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 876

อานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในปีติ เราไม่เห็นและไม่ได้

ทำให้มาก อานิสงส์ในทุติยฌานอันไม่มีปีติ เราไม่ได้บรรลุและ

ไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป... ในเพราะ

ทุติยฌานอันไม่มีปีติ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้

มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในปีติแล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุ

อานิสงส์ในตติยฌาน อันไม่มีปีติแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็น

ฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา

เรานั้นเห็นโทษในปีติ... เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้น

จึงแล่นไป... ในเพราะตติยฌานอันไม่มีปีติ... เรานั้นบรรลุตติย-

ฌาน ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-

มนสิการอันสหรคตด้วยปีติ... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุ

จตุตถฌาน... ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้น ย่อมไม่แล่นไป... ใน

จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นไม่มีความคิดว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็น

ปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป... ในเพราะจตุตถฌาน อัน

ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์

เรานั้นมีความคิดว่า โทษในอุเบกขาและสุข เราไม่เห็นและไม่ได้

ทำให้มาก อานิสงส์ในจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เราไม่ได้

บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป...

ในเพราะจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะพิจารณาเห็นว่า

นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในอุเบกขา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 877

และสุขแล้ว พึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในจตุตถฌานอัน

ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

คือ จิตของเราพึงแล่นไป... ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็น

โทษในอุเบกขาและสุข... เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้น

จึงแล่นไป... ในเพราะจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข... เรานั้น

บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้

สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอุเบกขา... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา... พึง

บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน... ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้น ย่อม

ไม่แล่นไป... ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน เพราะพิจารณา

เห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นมีความคิดว่า อะไรหนอ

เป็นเหตุเป็นปัจจัยเรื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป... ในเพราะอากา-

สานัญจายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์

เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในรูปฌานทั้งหลาย เราไม่เห็นและ

ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌาน เราไม่ได้

บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป...

ในเพราะอากาสานัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ

เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในรูปฌานทั้งหลายแล้ว

พึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในอากาสานัญจายตนฌานแล้ว

พึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่น

ไป... ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา เราเห็นโทษในรูปฌานทั้งหลาย...

เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป... ในเพราะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 878

อากาสานัญจายตนฌาน... เรานั้นแล... บรรลุอากาสานัญจายตน-

ฌาน ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา

มนสิกาอันสหรคตด้วยรูปฌานทั้งหลาย... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา...

พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน... ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้น

ย่อมไม่แล่นไป... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เพราะพิจารณา

เห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอ

แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป... ในเพราะ

วิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์

เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในอากาสาณัญจายตนฌาน เราไม่เห็น

และไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนฌาน เราไม่ได้

บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป...

ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่านั่นสงบ

เรา นั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในอากาสาณัญจายตน-

ฌานแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเรา

พึงแล่นไป... ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในอากา-

สานัญจายตนฌาน... เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรา

จึงแล่นไป... ในเพราะวิญญาณัญจายตนฌาน... เรานั้นแล... บรรลุ

วิญญาณัญจายตนฌาน... ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม

นี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากาสาณัญจายตนฌาน... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุ

อากิญจัญญายตนฌาน... ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 879

ไป... ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า

นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอแล เป็น

เหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป... ในเพราะอากิญ-

จัญญายตนฌาน เพื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้น

ได้มีความคิดว่า โทษในวิญญาณัญจายตนฌาน เราไม่ได้เห็นและ

ไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในอากิญจัญญาตนฌาน เราไม่ได้

บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้นจิตของเราจึงไม่แล่นไป...

ในเพราะอากิญจัญญายตนฌาน เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ

เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌาน

แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนฌาน

แล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเห็นโทษในวิญญาณัญจายตนฌาน...

เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป... ในเพราะ

อากิญจัญจายตนฌาน... เรานั้นแล... บรรลุอากิญจัญญายตน-

ฌาน... ดูก่อนอานนท์ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการ

อันสหรคตด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอเรา...

พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จิตของเรานั้นย่อมไม่

แล่นไป... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะพิจารณา

เห็นว่านั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า อะไรหนอ

แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป... ในเพราะ

เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เมื่อพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อน

อานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในอากิญจัญญายตนฌาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 880

เราไม่ได้เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌาน เราไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเรา

จึงไม่แล่นไป... ในเพราะเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะ

พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษ

ในอากิญจัญญายตนฌานแล้วกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ใน

เนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนั้นเป็น

ฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราพึงแล่นไป... ดูก่อนอานนท์ สมัยต่อมา

เรานั้นเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌาน... เสพโดยมาก ดูก่อน

อานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในอากิญจัญญายตนฌาน...

เสพโดยมาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเราจึงแล่นไป... ในเพราะ

เนวสัญญานาสัยญายตนฌาน... เรานั้นแล... บรรลุเนวสัญญา-

นาสัยญายตนฌาน... ดูก่อนอานนท์ เมื่อเรานั้นอยู่ด้วยวิหารธรรม

นี้ สัญญามนสิการอันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนฌาน... ฉะนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า ไฉนหนอ เรา เพราะ

ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ

จิตของเรานั้นย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญา-

เวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะ

พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นได้มีความคิดว่า

อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้จิตของเราไม่แล่นไป

ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะ

สัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์

เรานั้นได้มีความคิดว่า โทษในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 881

ไม่เห็นและไม่ได้ทำให้มาก อานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ เรา

ไม่ได้บรรลุและไม่ได้เสพโดยมาก เหตุนั้น จิตของเราจึงไม่แล่นไป

ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ ไม่หลุดพ้นในเพราะ

สัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์

เรานั้นได้มีความคิดว่า ถ้าแลเราเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌาน แล้วพึงกระทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธ

แล้วพึงเสพโดยมาก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ จิตของเราจะ

พึงแล่นไป พึงเลื่อมใส พึงตั้งมั่นในสัญญาเวทยิตนิโรธ พึงหลุดพ้น

ในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะพิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อน

อานนท์ สมัยต่อมา เรานั้นเห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตฌาน

แล้วทำให้มาก บรรลุอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วเสพโดย

มาก ดูก่อนอานนท์ จิตของเรานั้นจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นใน

สัญญาเวทยิตนิโรธ หลุดพ้นในเพราะสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะ

พิจารณาเห็นว่า นั่นสงบ ดูก่อนอานนท์ เรานั้นแล บรรลุสัญญา-

เวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการ

ทั้งปวง และอาสวะทั้งหลายของเราได้ถึงความสิ้นไป เพราะเห็น

ด้วยปัญญา.

ดูก่อนอานนท์ ก็เรายังเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหาร

สมาบัติ ๙ ประการนี้ โดยอนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้ไม่ได้เพียงใด

เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ-

พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ดูก่อนอานนท์ ก็เมื่อใดแล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 882

เราเข้าบ้าง ออกบ้าง ซึ่งอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙ ประการนี้ โดย

อนุโลมและปฏิโลมอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้

แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

ก็แหละญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ

ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบ ตปุสฺสสูตรที่ ๑๐

จบ มหาวรรคที่ ๔

อรรถกถาตปุสสสูตรที่ ๑๐

ตปุสสสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มลฺลเกสุ ได้แก่ ในแคว้นของมัลลกษัตริย์. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงรู้ จักมีการสนทนากันระหว่างตปุสสคฤหบดี

กับพระอานนท์ ผู้ตั้งอยู่ในที่นี้ เราจักแสดงธรรมปริยายมากมีเรื่องนั้น

เป็นเหตุ จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงอยู่ ณ ที่นี้

ดูก่อนเถิดดังนี้. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินดี ตปุสสคฤหบดี

นั้นบริโภคอาหารเช้าแล้วคิดว่า เราจักไปเฝ้าพระทศพล ดังนี้

จึงออกไปเห็นพระเถระแต่ไกล จึงเข้าไปหาพระอานนท์.

บทว่า ปปาโต วิย ขายติ ยทิท เนกฺขมฺม ความว่า เนกขัมมะ

กล่าวคือ บรรพชานี้ปรากฏด้วยดีคือ ปรากฏชัดแก่เราเหมือน

เหวใหญ่. บทว่า เนกฺขมฺเม จิตฺต ปกฺขนฺทติ ความว่า จิตย่อมแล่น

ไปในบรรพชาด้วยทำให้เป็น คือจิตทำบรรพชานั้นให้เป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 883

อารมณ์ ย่อมเลื่อมใส ย่อมดำรงมั่นในบรรพชานั้น ย่อมพ้นจาก

ธรรมอันเป็นข้าศึก. บทว่า เอต สนฺตนฺติ ปสฺสโต ได้แก่ ของภิกษุ

ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า เนกขัมมะนี้ สงบ คือ ปราศจากความกระวน

กระวาย และความเร่าร้อน. บทว่า พหุนา ชเนน วิสภาโค ความว่า

เนกขัมมะนั้น ของภิกษุทั้งหลายเป็นวิสภาค คือ ไม่เหมือนกับ

มหาชน.

บทว่า กถาปาภต คือเหตุที่พูดจากัน. บทว่า ตสฺส มยฺห

อานนฺท เนกฺขมฺเม จิตฺต น ปกฺขนฺทติ ความว่า จิตของเราแม้ตรึก

อยู่อย่างนี้นั้น ก็ยังไม่หยั่งลงในบรรพชา บทว่า เอต สนฺตนฺติ

ปสฺสโต ความว่า แม้เห็นอยู่ว่า เนกขัมมะนี้สงบด้วยการตรึกอย่าง

รอบคอบว่า เนกขัมมะดีแน่ดังนี้. บทว่า อนาเสวิโต ได้แก่ ไม่เสพ

คือไม่ถูกต้องไม่ทำให้แจ้ง. บทว่า อธิคมฺม ได้แก่ ถึงคือบรรลุ

ทำให้แจ้ง. บทว่า ตเมเสเวยฺย ได้แก่ พึงเสพ คือพึงพบอานิสงส์นั้น

บทว่า ยมฺเม ได้แก่ ของเราด้วยเหตุใด. บทว่า อธิคมฺม แปลว่า

บรรลุแล้ว. บทว่า สฺวาสฺส เม โหติ อาพาโธ ได้แก่ ชื่อว่าอาพาธ

เพราะอรรถว่า เบียดเบียนเรา. บทว่า อวิตกฺเก จิตฺตต น ปกฺขนฺทติ

ความว่า จิตย่อมไม่แล่นไปในทุติยฌานอันไม่มีวิตกและวิจารด้วย

สามารถอารมณ์. บทว่า วิตกฺเกสุ ได้แก่ วิตกและวิจาร. คำที่เหลือ

ในบททั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาตปุสสสูตรที่ ๑๐

จบ มหาวรรควรรณนาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 884

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวิหารสูตร ๒. ทุติยวิหารสูตร ๓. นิพพานสูตร

๔. คาวีสูตร ๕. ฌานสูตร ๖. อานันทสูตร ๗. พราหมณสูตร

๘. เทวสูตร ๙. นาคสูตร ๑๐. ตปุสสสูตร และอรรถกถา

จบ มหาวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 885

ปัญจาลวรรคที่ ๕

๑. ปัญจาลสูตร

ว่าด้วยที่แคบและการบรรลุในโอกาสในที่แคบ

[๒๔๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม

ใกล้พระนครโกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระอุทายีเข้าไปหาท่าน

พระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอาวุโส เทพบุตร

ชื่อปัญจาลจัณฑะได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า

พระพุทธองค์ใดหลีกออกเร้น ทรงเป็น

มุนีผู้ประเสริฐ ได้ตรัสรู้ฌานแล้ว พระพุทธองค์

นั้นเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ได้ทรงรู้แล้วซึ่ง

โอกาสอันไปแล้วในที่แคบ.

ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสที่แคบเป็นไฉน ตรัส

การบรรลุโอกาสในที่แคบเป็นไฉน.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกามคุณ ๕ ประการนี้ว่าเป็นที่แคบ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 886

กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ

โผฏฐัพพะที่จะพึง รู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกามคุณ ๕ ประการนี้แล ว่าเป็นที่แคบ.

ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการบรรลุโอกาสในที่แคบ แม้เมื่อปฐมฌาน

นั้นมีอยู่ ที่แคบก็มีอยู่ อะไรชื่อว่าที่แคบในปฐมฌานนั้น วิตกวิจาร

ยังไม่ดับไปในปฐมฌานนั้น นี้ชื่อว่าที่แคบในปฐมฌานนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ....บรรลุทุติยฌาน ดูก่อนอาวุโส

โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการบรรลุ

โอกาสในที่แคบ แม้เมื่อทุติยฌานนั้นมีอยู่ ที่แคบก็มีอยู่ อะไรชื่อว่า

ที่สดับในทุติยฌานนั้น ปีติยังไม่ดับไปในทุติยฌานนี้ นี้ชื่อว่าที่แคบ

ในทุติยฌานนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน... ดูก่อนอาวุโส

โดยปริยายแม้เพียงเหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการบรรลุ

โอกาสในที่แคบ แม้เมื่อทุติยฌานนั้นมีอยู่ ที่แคบก็มีอยู่ อะไรชื่อว่า

ที่สดับในทุติยฌานนั้น อุเบกขาและสุขยังไม่ดับไปในตติยฌานนั้น

นี้ชื่อว่าที่แคบในตติยฌานนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ดูก่อนอาวุโส

โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการบรรลุ

โอกาสในที่แคบ แม้เมื่อจตุตถฌานนั้นมีอยู่ ที่แคบก็มีอยู่ อะไร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 887

ชื่อว่าที่แคบในจตตุถฌานนั้น รูปสัญญายังไม่ดับไปในจตุตถฌาน

นั้น นี้ชื่อว่าที่แคบในจตุตถฌานนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ...บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน...

ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสการบรรลุโอกาสในที่สดับ เมื่ออากาสานัญจายตนฌานนั้นมีอยู่

ที่แคบก็มีอยู่ อะไรชื่อว่าที่แคบในอากาสานัญจายตนฌาน อากา-

สานัญจายตนสัญญายังไม่ดับไปในอากาสานัญจายตนฌานนั้น

นี้ชื่อว่า แคบในอากาสานัญจายตนฌานนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ... บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน...

ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

การบรรลุโอกาสในที่แคบ แม้เมื่อวิญญาณัญจายตนฌานนั้นมีอยู่

ที่แคบก็มีอยู่ อะไรชื่อว่าที่แคบในวิญญาณัญจายตนฌานนั้น

วิญญาณัญจายตนสัญญา ยังไม่ดับไปในวิญญาณัญจายตนฌาน

นั้น นี้ชื่อว่าที่แคบในวิญญาสัญจายตนฌานนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ... บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน...

ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสการบรรลุโอกาสในที่แคบ แม้เมื่ออากิญจัญญายตนฌานนั้น

มีอยู่ ที่แคบก็มีอยู่ อะใรชื่อว่าที่แคบในอากิญจัญญายตนฌานนั้น

อากิญจัญญายตนสัญญา ยังไม่ดับไปในอากิญจัญญายตนฌานนั้น

นี้ชื่อว่าที่แคบในอากิญจัญญายตนฌานนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ... บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตน-

ฌาน... ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายนี้แม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 888

ภาคเจ้าตรัสการบรรลุโอกาสในที่แคบ แม้เมื่อเนวสัญญานาสัญ-

ญายตนฌานนั้นมีอยู่ ที่แคบก็มีอยู่ อะไรชื่อว่าที่แคบในเนวสัญญา-

นาสัญญายตนฌานนั้น เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญายังไม่ดับ

ไปในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น นี้ชื่อว่าที่สดับในเนวสัญญา-

นาสัญญายตนฌานนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ... เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะ

ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส

โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการ

บรรลุโอกาสในที่แคบ.

จบ ปัญจาลสูตรที่ ๑

ปัญจาลวรรควรรณาที่ ๕

อรรถกถาปัญจาลสูตรที่ ๑

ปัญจาลสูตรที่ ๕ ปัญจาลสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุทายี ได้แก่ พระเถระชื่อกาฬุทายี. บทว่า อวิทา

แปลว่า ได้รู้แล้ว. บทว่า ภูริเมธโส แปลว่ามีปัญญามาก บทว่า

โย ฌานมนุพุชฺฌิ พุทฺโธ คือ พระพุทธเจ้า พระองค์ใดได้ตรัสรู้ฌาน.

บทว่า ปฏิลีนนิสโภ ได้แก่ หลีกเร้นอยู่ผู้เดียว และเป็นผู้ประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 889

สูงสุด. บทว่า มุนิ ได้แก่พระพุทธมุนี. บทว่า ปริยาเยน คือโดยเหตุ

อันหนึ่ง. ปฐมฌาน ชื่อว่าบรรลุตามโอกาสโดยเพียงไม่มีความ

คับแคบทางกามเท่านั้น ไม่ทั่วไปทั้งหมด. บทว่า ตตฺรปตฺถิ สมฺพาโธ

ได้แก่ แม้เมื่อยังมีปฐมฌานนั้น ความคับแคบ คือความบีบคั้น

ก็ยังมีอยู่นั่นเอง. บาลีว่า ตตฺถปตฺถิ ดังนี้ก็มี. บทว่า กิญฺจ ตตฺถ

สมฺพาโธ ได้แก่ ก็ในฌานนั้น ชื่อว่าคับแคบอย่างไร. บทว่า

อยเมตฺถ สมฺพาโธ ได้แก่ ความที่วิตกและวิจารยังไม่ดับไปนี้

ชื่อว่า เป็นความคับแคบ คือบีบคั้นอยู่เสมอ. พึงทราบเนื้อความ

ในวาระทั้งหมดโดยอุบายนี้. บทว่า นิปฺปริยาเยน คือไม่ใช่โดย

อาการเดียว อธิบายว่า โดยแท้จริงชื่อว่า ความสิ้นอาสวะ ชื่อว่า

เป็นการบรรลุตามโอกาสเดียวด้วยประการทั้งปวง เพราะละ

ความคับแคบทั้งหมดได้.

จบ อรรถกถาปัญจาลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 890

๒. ปฐมกามเหสสูตร

ว่าด้วยกายสักขีบุคคล

[๒๔๗] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

กายสักขี ๆ ดังนี้ โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอ ๆ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสกายสักขี ?

อา. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใด ๆ เธอย่อม

ถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้น ๆ ก่อนอาวุโส โดย

ปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกายสักขี.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ... บรรลุทุติยฌาน... ตติยฌาน

จตุตถฌาน... และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใด ๆ เธอย่อมถูกต้อง

อายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้น ๆ ดูก่อนอาวุโส โดยปริยาย

แม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกายสักขี.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ... บรรลุอากาสานัญจายตนะ...

และอายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใด ๆ เธอย่อมถูกต้องอาตนะนั้น

ด้วยกายด้วยอาการนั้น ๆ ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้

แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกายสักขี ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ... เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะ

ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา และอายตนะนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 891

มีอยู่ด้วยอาการใด ๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้นด้วยกายด้วย

ด้วยอาการนั้น ๆ ดูก่อนอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกายสักขี.

จบ ปฐมกามเหสสูตรที่ ๒

อรรถกถาปฐมกามเหสสูตรที่ ๒

ปฐมกามเหสสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยถา ยถา จ ตทายตน ความว่า อายตนะ คือ ปฐมฌาน

นั้น ย่อมมีด้วยเหตุใด ๆ คือ ด้วยอาการใด ๆ. บทว่า ตถา ตถา น

กาเลน ผสิตฺวา วิหรติ ความว่า ภิกษุถูกต้องสมาบัตินั้น ด้วย

สหชาตนามกายอยู่ด้วยเหตุนั้น ๆ คือด้วยอาการนั้น ๆ อรรถว่า

เข้าถึง. บทว่า กายสกฺขิวุตฺโต ภควตา ปริยาเยน ความว่า เพราะ

ท่านทำปฐมฌานให้แจ้งด้วยนามกายนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสกายสักขีโดยปริยายนี้. บทว่า นิปฺปริยาเยน ได้แก่ ควรทำ

ให้เป็นสักขีด้วยกายเท่าใด นี้ชื่อว่า กายสักขีโดยนิปปริยาย

(โดยตรง) เพราะทำได้หมดแล้ว.

จบ อรรถกถาปฐมกามเหสสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 892

๓. ทุติยกามเหสสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา

[๒๔๘] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคล

หลุดพ้นด้วยปัญญา ๆ ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไร

หนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส บุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา ?

อา. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ละเธอย่อมทราบชัดด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส

โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุคคลหลุดพ้น

ด้วยปัญญา ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌาน โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะ

ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา และเธอย่อม

ทราบชัดด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุคคลหลุดพ้นด้วยปัญญา.

จบ ทุติยกามเหสสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 893

อรรถกถาทุติยกามเหสสูตรที่ ๓

ทุติยกามหสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปญฺาย ปน ปชานาติ ได้แก่ รู้อายตนะนั้น ๆ ด้วย

ปฐมฌานและวิปัสสนาปัญญา. แม้ในพระสูตรนี้ พึงทราบความ

เป็นปริยายและนิปปริยาย โดยนัยก่อนนั้นแล. ก็ในพระสูตรนี้

เป็นอย่างใด แม้ในสูตรเหล่าอื่นจากนี้ก็เป็นอย่างนั้น.

จบ อรรถกถาทุติกามเหสสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 894

๔. ตติกามเหสสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้หลุดพ้นโดยส่วนสอง

[๒๔๙] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคล

ผู้หลุดพ้นโดยส่วนสอง ๆ ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไร

หนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ?

อา. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน อายตนะนั้นมีอยู่ด้วยอาการใด ๆ เธอย่อมถูกต้อง

อายตนะนั้นด้วยกายด้วยอาการนั้น ๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา

ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสบุคคลหลุดพ้นโดยส่วนสอง ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ อาสวะ

ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อายตนะนั้น

มีอยู่ด้วยอาการใด ๆ เธอย่อมถูกต้องอายตนะนั้น ด้วยกายด้วย

อาการนั้น ๆ และย่อมทราบชัดด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส โดย

นิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุคคลหลุดพ้น

โดยส่วนสอง.

จบ ตติยกามเหสสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 895

อรรถกถาตติยกามเหสสูตรที่ ๔

ตติยกามเหสสูตรที่ ๔ พึงทราบโดยนัยแห่งสูตรทั้งสอง

นั้นแล. ก็บทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต ในสูตรนี้ ได้แก่พ้นแล้วจาก

กิเลสอันเป็นข้าศึกแห่งสมถะและวิปัสสนา โดยส่วนทั้งสอง. ใน

ที่สุดพึงทราบว่า ชื่อว่าอุภโตภาควิมุติ เพราะพ้นจากรูปกายด้วย

สมบัติ จากนามกายด้วยอริยมรรค.

จบ อรรถกถาตติยกามเหสสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 896

๕. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ผู้บรรลุพึงเห็นเอง

[๒๕๐] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ธรรม

อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ๆ ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายเพียง

เท่าไรหนอ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมอันผู้บรรลุจะพึง

เห็นเอง ?

อา. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะ.

ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส

โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรม

อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง.

จบ ปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 897

อรรถกถาปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ ๕

ปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สนฺทิฏิโก แปลว่า อันบุคคลพึงเห็นเอง. บทว่า

นิพฺพาน ได้แก่ ดับกิเลส. บทว่า ปรินิพพาน เป็นไวพจน์ของบทว่า

นิพพาน นั้น. บทว่า ตทงฺคนิพฺพาน ได้แก่ นิพพานด้วยองค์นั้น

มีปฐมฌานเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺธมฺมนิพฺพาน ได้แก่ นิพพานใน

อัตภาพนี้นั่นเอง. คำที่เหลือในบททั้งหมดมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น

ด้วยประการฉะนี้.

จบ ปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ ๕

จบ อรรถกถาวรรคที่ ๑๐

จบ ทุติยปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 898

๖. ทุติยสันทิฏฐิกสูตร

ว่าด้วยนิพพานที่ผู้บรรลุพึงเห็นเอง

[๒๕๑] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิพพาน

อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ๆ ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไร

หนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิพพานอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง.

อา. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระ-

ผูมีพระภาคเจ้าตรัสนิพพานอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะ

ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส

โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิพพาน

อันบรรลุจะพึงเห็นเอง.

จบ ทุติยสันทิฏฐิกสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 899

๗. นิพพานสูตร

ว่าด้วยนิพพาน

[๒๕๒] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

นิพพาน ๆ ดังนี้ ฯลฯ

จบ นิพพานสูตรที่ ๗

๘. ปรินิพพานสูตร

ว่าด้วยปรินิพพาน

[๒๕๓] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ปรินิพพาน ๆ ดังนี้ ฯลฯ

จบ ปรินิพพานสูตรที่ ๘

๙. ตทังคสูตร

ว่าด้วยตทังคนิพพาน

[๒๕๔] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ตทังคนิพพาน ๆ ดังนี้ ฯลฯ

จบ ตทังคสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 900

๑๐. ทิฏฐธัมมิกสูตร

ว่าด้วยทิฏฐธรรมนิพพาน

[๒๕๕] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ทิฏฐธรรมนิพพาน ๆ ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไร

หนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทิฏฐธรรมนิพพาน.

อา. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระ-

ผู้มีพระภาคตรัสทิฏฐธรรมนิพพาน ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะ

ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส

โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทิฏฐธรรม-

นิพพาน.

จบ ทิฏฐธัมมิกสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปัญจาลสูตร ๒. ปฐมกามเหสสูตร ๓. ทติยกามเหสสูตร

๔. ตติยกามเหสสูตร ๕. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร ๖. ทุติยสันทิฏฐิกสูตร

๗. นิพพานสูตร ๘. ปรินิพพานสูตร ๙. ตทังคสูตร ๑๐. ทิฏฐธัม-

มิกสูตร. และอรรถกถา

จบ ปัญจาลวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 901

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

เขมวรรคที่ ๑

๑. เขมสูตร

[๒๕๖] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เขมะ ๆ

ดังนี้ ก่อนอาวุโส โดยปริยายเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเขมะ.

อา. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเขมะ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะ

ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส

โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเขมะ.

จบ เขมสูตรที่ ๑

๒. เขมปัตตสูตร

[๒๕๗] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เขมปัตตะ ๆ (ผู้บรรลุธรรมอันเกษม) ดังนี้ ฯลฯ

จบ เขมปัตตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 902

๓. อมตสูตร

[๒๕๘] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อมตะ ๆ

ดังนี้ ฯลฯ

จบ อมตสูตรที่ ๓

๔. อมตปัตตสูตร

[๒๕๙] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

อมตปัตตะ ๆ (ผู้บรรลุอมตธรรม) ดังนี้ ฯลฯ

จบ อมตปัตตสูตรที่ ๔

๕. อภยสูตร

[๒๖๐] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อภยะ ๆ

ดังนี้ ฯลฯ

จบ อภยสูตรที่ ๕

๖. อภยปัตตสูตร

[๒๖๑] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

อภยปัตตะ ๆ (ผู้บรรลุธรรมอันไม่มีภัย) ดังนี้ ฯลฯ

จบ อภยปัตตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 903

๗. ปัสสัทธิสูตร

[๒๖๒] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ปัสสัทธิ ๆ ดังนี้ ฯลฯ

จบ ปัสสัทธิสูตรที่ ๗

๘. อนุปุพพปัสสัทธิสูตร

[๒๖๓] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

อนุปุพพปัสสัทธิ ๆ ดังนี้ ฯลฯ

จบ อนุปุพพปัสสัทธิสูตรที่ ๘

๙. นิโรธสูตร

[๒๖๔] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

นิโรธ ๆ ดังนี้ ฯลฯ

จบ นิโรธสูตรที่ ๙

๑๐. อนุปุพพนิโรธสูตร

[๒๖๕] อุ. ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

อนุปุพพนิโรธ ๆ ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายเพียงไรหนอแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพพนิโรธ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 904

อา. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ

บรรลุปฐมฌาน ดูก่อนอาวุโส โดยปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพพนิโรธ ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ และอาสวะ

ทั้งหลายของเธอย่อมสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา ดูก่อนอาวุโส

โดยนิปปริยายแม้เพียงเท่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพพนิโรธ.

จบ อนุปุพพนิโรธสูตรที่ ๑๐

๑๑. ธรรมปหายภัพพสูตร

[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๙ ประการ

ไม่ได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะกระทำให้แจ้งอรหัต ธรรม ๙ ประการ

เป็นไฉน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ โกธะ ๑ อุปนาหะ ๑

มักขะ ๑ ปลาสะ ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุยังละธรรม ๙ ประการนี้แลไม่ได้แล้ว ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะ

กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๙ ประการได้แล้ว

เป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ธรรม ๙ ประการเป็นไฉน

คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ โกธะ ๑ อุปนาหะ ๑ มักขะ ๑

ปลาสะ ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม

๙ ประการนี้แลได้แล้ว ก็เป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต.

จบ ธรรมปหายภัพพสูตรที่ ๑๑

จบ เขมวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 905

อรรถกถาวรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าไปปัณณาสก์

ในสูตรทั้งหลายอื่นจากนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เขม ได้แก่ ไม่มีอันตราย. บทว่า เขมปุตฺโต ได้แก่

ถึงความเป็นผู้ไม่มีอันตราย. บทว่า สิกฺขาทุพฺพลฺยานิ ได้แก่ เหตุ

แห่งความหมดกำลังของสิกขา. คำที่เหลือในบททั้งหมดมีเนื้อความ

ง่ายทั้งนั้น. ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถานวกนิบาต แห่งอังตุตตรนิกาย ชื่อว่ามโนรถปูรณี

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เขมสูตร ๒. เขมปัตตสูตร ๓. อมตสูตร ๔. อมตปัตตสูตร

๕. อภยสูตร ๖. อภยปัตตสูตร ๗. ปัสสัทธิสูตร ๘. อนุปุพพ-

ปหายภัพพสูตร และอรรถกถา

จบ เขมวรรควรรณนาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 906

สติปัฏฐานวรรคที่ ๒

๑. สิกขาสูตร

[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล

๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑

กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔

เพื่อละเหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล ๕ ประการนี้แล สติปัฏฐาน ๔

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น

กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย

อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔

นี้ เพื่อละเหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล ๕ ประการนี้แล.

จบ สิกขาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 907

๒. นิวรณสูตร

[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ ๑ พยาปาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑

อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔

เพื่อละนิวรณ์ ๕ ประการนี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละนิวรณ์ ๕

ประการนี้แล.

จบ นิวรณสูตรที่ ๒

๓. กามคุณสูตร

[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕

ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้

แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้ง

ด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

เพื่อละกามคุณ ๕ ประการนี้แล.

จบ กามคุณสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 908

๔. อุปาทานขันธสูตร

[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปูปาทานักขันธ์ ๑ เวทนาปาทานักขันธ์ ๑

สัญญูปาทานักขันธ์ ๑ สังขารูปาทานักขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทา-

นักขันธ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

เพื่อละอุปาทานักขันธ์ ๕ ประการนี้แล.

จบ อุปาทานขันธสูตรที่ ๔

๕. โอรัมภาคิยสูตร

[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาติยสังโยชน์ ๕ ประการ

นี้แล ๕ ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพต-

ปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอรัม

ภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล.

จบ โอรัมภาคิยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 909

๖. คติสูตร

[๒๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คติ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ นรก ๑ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ๑ เปรตวิสัย ๑ มนุษย์ ๑

เทวดา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คติ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

เพื่อละคติ ๕ ประการนี้แล.

จบ คติสูตรที่ ๖

๗. มัจฉริยสูตร

[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ อาวาสมัจฉริยะ (ตระหนี่ที่อยู่) ๑ กุลมัจฉริยะ(ตระหนี่ตระกูล) ๑

ลาภมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) ๑ วรรณมัจฉริยะ (ตระหนี่วรรณะ ) ๑

ธรรมมัจฉริยะ (ตระหนี่ลาภ) ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มัจฉริยะ

๕ ประการนี้แล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

เพื่อละมัจฉริยะ ๕ ประการนี้แล.

จบ มัจฉริยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 910

๘. อุทธัมภาคิยสูตร

[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ

นี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑

อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์

๕ ประการนี้แล ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้แล.

จบ อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๘

๙. เจโตขีลสูตร

[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเคลือบแคลงสังสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ

ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อ

ความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม

จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อ

ความสืบต่อ เพื่อความพยายาม นี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ

ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ฯลฯ นี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๒ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 911

ในพระสงฆ์ ฯลฯ นี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๓ ในสิกขา ฯลฯ

เป็นเป็นตะปูตรึงในประการที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุโกรธ ไม่พอใจ มีจิตขัดเคือง ผูกใจ

เจ็บ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโกรธ

ไม่พอใจ มีจิตขัดเคือง ผูกใจเจ็บในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย

จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ

เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ

ความเพียร เพื่อประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม

นี้เป็นตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้

เพื่อละตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้.

จบ เจโตขีลสูตรที่ ๙

๑๐. วินิพันธสูตร

[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องผูกจิต ๕ ประการ

นี้ ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่

ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจาก

ความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากตัณหา ในการทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุใด ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจาก

ความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย

อังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากตัณหา ในกาม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 912

ทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ

ประกอบ เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม จิตของภิกษุย่อม

ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ เพื่อความสืบต่อ

เพื่อความพยายาม นี้เป็นธรรมเครื่องผูกจิตประการที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยัง

ไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจาก

ความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจาก

ตัณหาในการ... นี้เป็นธรรมเครื่องผูกจิตประการที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่

ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจาก

ความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจาก

ตัณหาในรูป... นี้เป็นธรรมเครื่องผูกมัดจิตประการที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารเต็มท้องพอแก่ความต้อง

การแล้ว ประกอบความสุขในการนอน ในการเอน ในการหลับ

อยู่... นี้เป็นธรรมเครื่องผูกมัดจิตประการที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ด้วยตั้งความ

ปรารถนาเป็นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งว่า ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ

พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยตั้งความปรารถนา

เป็นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งว่า ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือ

พรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นเทพเจ้าหรือเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง จิต

ของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 913

เพื่อความสืบต่อ เพื่อความพยายาม นี้เป็นธรรมเครื่องผูกมัดจิต

ประการที่ ๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕

ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถึงเจริญสติปัฏฐาน ๔

เพื่อละธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล สติปัฏฐาน ๔

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น

กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสีย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔

นี้ เพื่อละธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล.

จบ วินิพันธสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สิกขาสูตร ๒. นิวรณสูตร ๓. กามคุณสูตร ๔. อุปา-

ทานขันธสูตร ๕. โอรัมภาคิยสูตร ๖. คติสูตร ๗. มัจฉริยสูตร

๘. อุทธัมภาคิยสูตร ๙. เจโตขีลสูตร ๑๐. วินิพันธสูตร.

จบ สติปัฏฐานวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 914

สัมมัปปธานวรรคที่ ๓

[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล ๕

ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ปาณาติบาต ฯลฯ สุราเมรย-

มัชชปมาทัฏฐาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล

๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสัมมัปธาน ๔

เพื่อละเหตุเครื่องให้สิขาทุรพล ๕ ประการนี้แล สัมมัปปธาน ๔

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมปลูกฉันทะ

พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้ธรรม

อันเป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑... เพื่อละธรรมอันเป็น

บาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๑... เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด

ขึ้น ๑... เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อ

ความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสัม-

มัปปธาน ๔ นี้ เพื่อละเหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล ๕ ประการนี้แล ฯลฯ

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕

ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ฯลฯ ในกามทั้งหลาย ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 915

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสัมมัปปธาน ๔

เพื่อละธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล สัมมัปปธาน ๔

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมปลูก

ฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้

ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑... เพื่อละธรรม

อันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๑... เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

ให้เกิดขึ้น ๑... เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความเจริญยิ่ง

เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสัม-

มัปปธาน ๔ นี้ เพื่อละธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล.

จบ สัมมัปปธานวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 916

อิทธิปาทวรรคที่ ๔

[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล ๕

ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ปาณาติบาต ฯลฯ สุราเมรย-

มัชชปทัฏฐาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล

๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอิทธิบาท ๔

เพื่อละเหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล ๕ ประการนี้แล อิทธิบาท ๔

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ๑ วิริย-

สมาธิและปธานสังขาร ๑ จิตตสมาธิและปธานสังขาร ๑ วิมังสา

สมาธิและปธานสังขาร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง

เจริญอิทธิบาท ๔ นี้ เพื่อละเหตุเครื่องให้สิกขาทุรพล ๕ ประการ

นี้แล ฯลฯ

[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕

ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ยังไม่ปราศจากความกำหนัด...ในการทั้งหลาย ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอิทธิบาท ๔

เพื่อละธรรมเครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 917

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบ

ด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร วิริยสมาธิและปธานสังขาร

จิตตสมาธิและปธานสังขาร วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญอิทธิบาท ๔ นี้ เพื่อละธรรม

เครื่องผูกมัดจิต ๕ ประการนี้แล.

จบ อิทธิปาทวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 918

วรรคที่ ๕

[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม

๙ ประการ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ๙ ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัยญา ๑

มรณสัญญา ๑ อาหารปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑

อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกขอนัตตสัญญา ๑

ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

พึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ.

[๒๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม

๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ ๙ ประการเป็นไฉน คือ ปฐมฌาน ๑

ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตถฌาน ๑ อากาสานัญจายตนฌาน ๑

วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑ เนวสัญญา-

นาสัญญายตนฌาน ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่งราคะ.

[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม

๙ ประการ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความ

สิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อความดับ เพื่อสละ

เพื่อสลัดคืนซึ่งราคะ เธอทั้งหลายพึงเจริญธรรม ๙ ประการนี้

เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้น

เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสลัดสิ้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 919

ซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ

มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว

ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ วรรคที่ ๕

จบนวกนิบาต