ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

เล่มที่ ๓

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปฐมปัณณาสก์

เสขพลวรรคที่ ๑

๑. สังขิตตสูตร

ว่าด้วยกำลังของเสขบุคคล ๕

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า คูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กำลังของเสขบุคคล ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ กำลัง คือ ศรัทธา

กำลัง คือ หิริ กำลัง คือ โอตตัปปะ กำลัง คือ วิริยะ กำลัง คือ

ปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของเสขบุคคล ๕ ประการนี้แล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 2

จักเป็นผู้ประกอบด้วยกำลัง คือ ศรัทธา กำลัง คือ หิริ กำลัง คือ โอตตัปปะ

กำลัง คือ วิริยะ กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขบุคคล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบสังขิตตสูตรที่ ๑

มโนรถปูรณี

อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต

เสขพลวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาสังขิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังขิตตสูตรที่ ๑ แห่งปัญจกนิบาต ดังต่อ

ไปนี้ :-

พละของพระเสขะ ๗ พวกเหตุนั้น จึงชื่อว่า เสขพละ. บรรดาสัทธา

พละเป็นต้น ชื่อ สัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความไม่เชื่อ. ชื่อ หิริพละ

เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความไม่มีความละอาย. ชื่อ โอตตัปปพละ เพราะไม่

หวั่นไหวด้วยความไม่กลัว. ชื่อ วิริยพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความ

เกียจคร้าน. ชื่อ ปัญญาพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยอวิชชา. บทว่า ตสฺมา

แปลว่า เพราะเหตุที่พละเหล่านี้เป็นพละของพระเสขาทั้งหลาย ฉะนั้น.

จบอรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 3

๒. วิตถตสูตร

ว่าด้วยกำลังของเสขบุคคล ๕

[๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของเสขบุคคล ๕ ประการนี้ ๕

ประการเป็นไฉน คือ กำลัง คือ ศรัทธา กำลัง คือ หิริ กำลัง คือ

โอตตัปปะ กำลัง คือ วิริยะ กำลัง คือ ปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็กำลัง คือ ศรัทธาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุ

นี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก

บุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นจะยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า กำลัง คือ ศรัทธา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ หิริเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็น

ผู้มีหิริ ย่อมละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมละอายต่อการ

ประกอบธรรมอันเป็นบาปอกุศล นี้เรียกว่า กำลัง คือ หิริ. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็กำลัง คือ โอตตัปปะเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี

โอตตัปปะ ย่อมสะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมสะดุ้งกลัว

ต่อการประกอบธรรมอันเป็นบาปอกุศล นี้เรียกว่า กำลัง คือ โอตตัปปะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ วิริยะเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

ย่อมปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึง

พร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม

นี้เรียกว่า กำลัง คือ วิริยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ปัญญา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 4

เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง

หยั่งถึงความเกิดขึ้นและดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสเป็นเครื่องให้ถึงความ

สิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า กำลัง คือ ปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขบุคคล ๕ ประการนี้แล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเรา

จักเป็นผู้ประกอบด้วยกำลัง คือ ศรัทธา กำลัง คือ หิริ กำลัง คือ โอตตัปปะ

กำลัง คือ วิริยะ กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขบุคคล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบวิตถตสูตรที่ ๒

อรรถกถาวิตถตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิตถตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า กายทฺจฺจริเตน เป็นต้น เป็นตติยาวิภัติลงในอรรถ

ทุติยาวิภัติ. อธิบายว่า ละอาย รังเกียจ ซึ่งกายทุจริตเป็นต้นอันควรละอาย.

ในโอตตัปปนิเทศเป็นตติยาวิภัติลงในอรรถว่า เหตุ. อธิบายว่า เกรงกลัว

เพราะกายทุจริตเป็นต้น อันเป็นเหตุแห่งโอตตัปปะ. บทว่า อารทฺธวิริโย

ได้แก่ ประคองความเพียรไว้ มีใจไม่ท้อถอย. บทว่า ปหานาย แปลว่า

เพื่อละ. บทว่า อุปสมฺปทาย แปลว่า เพื่อได้เฉพาะ. บทว่า ถามวา

ได้แก่ ประกอบด้วยกำลังคือความเพียร. บทว่า ทฬฺหปรกฺกโม ได้แก่

มีความบากบั่นมั่นคง. บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเสสุ ได้แก่

ไม่วางธุระ เพียร ไม่ท้อถอยในกุศลธรรมทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 5

บทว่า อุทยตฺถคามินิยา ได้แก่ อันให้ถึงความเกิด ความดับไป

แห่งขันธ์ทั้ง ๕ สามารถรู้ปรุโปร่งความเกิดและความเสื่อมได้. บทว่า ปญฺาย

สมนฺนาคโต ได้แก่ เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยวิปัสสนาปัญญาและมรรคปัญญา.

บทว่า อริยาย ได้แก่ ตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งหลาย ด้วยการข่มไว้และด้วย

การตัดขาด ชื่อว่าบริสุทธิ์. บทว่า นิพฺเพธิกาย ความว่า ปัญญานั้นท่าน

เรียกว่า นิพเพธิกา เพราะรู้เจาะแทงตลอด อธิบายว่า ประกอบด้วย

นิพเพธิกปัญญานั้น. ในข้อนั้น มรรคปัญญาชื่อว่า นิพเพธิกา เพราะเจาะ

ทำลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะที่ยังไม่เคยเจาะ ยังไม่เคยทำลายด้วยอำนาจ

สมุจเฉทปหาน. วิปัสสนาปัญญา ชื่อว่า นิพเพธิกา ด้วยอำนาจตทังคปหาน.

หรืออีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาควรจะเรียกว่า นิพเพธิกา เพราะเป็นไปเพื่อได้

มรรคปัญญา. แม้ในบทว่า สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา นี้ มรรคปัญญา

ชื่อว่า สัมมาทุกขักขยคามินี เพราะทำวัฏทุกข์และกิเลสทุกข์ให้สิ้นไปโดย

ชอบ โดยเหตุ โดยนัย. วิปัสสนาปัญญา ชื่อว่า ทุกขักขยคามินี เพราะทำ

วัฏทุกข์และกิเลสทุกข์ให้สิ้นไปด้วยอำนาจตทังคปหาน. วิปัสสนาปัญญานั้น

พึงทราบว่า เป็นทุกขักขยคามินี เพราะเป็นไปด้วยการถึงความสิ้นทุกข์ หรือ

ด้วยการได้เฉพาะซึ่งมรรคปัญญา. ในสูตรนี้ท่านกล่าวพละ ๕ ปนกันด้วย

ประการฉะนี้.

จบอรรถกถาวิตถตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 6

๓. ทุกขสูตร*

ว่าด้วยธรรม ๕ ที่ให้เกิดทุกข์และสุข

[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกาย

ตายไป พึงหวังได้ทุคติ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ เกียจคร้าน ๑

มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

นี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อ

แตกกายตายไปพึงหวังได้ทุคติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมอยู่

เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกายตายไป

พึงหวังได้สุคติ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น

ผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ปรารภความเพียร ๑ มีปัญญา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมอยู่

เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อนในปัจจุบัน เมื่อแตกกายตายไป

พึงหวังได้สุคติ.

จบทุกขสูตรที่ ๓

*สูตรที่ ๓-๔ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 7

๔. ภตสูตร

ว่าด้วยธรรม ๕ ที่นำไปนรกและสวรรค์

[๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมถูกนำมาทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทิ้งไว้ฉะนั้น ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มี

หิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ เกียจคร้าน ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมถูกนำมาทิ้งไว้

ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทิ้งไว้ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น

ผู้ได้รับเชิญมาไว้บนสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาวางไว้ฉะนั้น ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มี

โอตตัปปะ ๑ ปรารภความเพียร ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ได้รับเชิญมาไว้บนสวรรค์

เหมือนสิ่งของที่เขานำมาวางไว้ฉะนั้น.

จบภตสูตรที่ ๔

๕. สิกขสูตร

ว่าด้วยฐานะที่น่าติเตียนของภิกษุและภิกษุณีผู้ลาสิกขาแล้ว

[๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป ลาสิกขาสึกออก

มาเป็นคฤหัสถ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าติเตียน ซึ่งถูกกล่าวหาอันชอบแก่เหตุ

๕ ประการในปัจจุบัน ๕ ประการเป็นไฉน คือ ท่านไม่มีแม้ศรัทธาใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 8

กุศลธรรม ๑ ไม่มีแม้หิริในกุศลธรรม ๑ ไม่มีแม้โอตตัปปะใน

กุศลธรรม ๑ ไม่มีแม้ความเพียรในกุศลธรรม ไม่มีแม่ปัญญาใน

กุศลธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป ลาสิกขาสึก

ออกมาเป็นคฤหัสถ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าติเตียน ซึ่งถูกกล่าวหาอันชอบแก่

เหตุ ๕ ประการนี้แลในปัจจุบัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์ โทมนัส

มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์

เธอย่อมถึงฐานะอันน่าสรรเสริญที่ชอบแก่เหตุ ๕ ประการในปัจจุบัน ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ เธอมีศรัทธาในกุศลธรรม ๑ มีหิริในกุศลธรรม ๑ มี

โอตตัปปะในกุศลธรรม ๑ มีความเพียรในกุศลธรรม ๑ มีปัญญา

ในกุศลธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์

โทมนัส มีหน้านองด้วยน้ำตา ร้องไห้อยู่ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์

บริบูรณ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าสรรเสริญที่ชอบแก่เหตุ ๕ ประการนี้แล ใน

ปัจจุบัน.

จบสิกขาสูตรที่ ๕

๖. สมาปัตติสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กัน

[๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถึงอกุศลย่อมไม่มี ตลอดเวลาที่ศรัทธา

ในกุศลธรรมยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด ศรัทธาเสื่อมหายไป อัสสัทธิยะ (ความ

ไม่เชื่อ) ย่อมกลุ้มรุม เมื่อนั้น การถึงอกุศลย่อมมี การถึงอกุศลย่อมไม่มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 9

ตลอดเวลาที่หิริในกุศลธรรมยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด หิริเสื่อมหายไป อหิริกะ

(ความไม่ละอาย) ย่อมกลุ้มรุม เมื่อนั้น การถึงอกุศลย่อมมี การถึงอกุศล

ย่อมไม่มีตลอดเวลาที่โอตตัปปะในกุศลธรรมยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด โอตตัปปะ

เสื่อมหายไป อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัว) ย่อมกลุ้มรุม เมื่อนั้น การ

ถึงอกุศลย่อมมี การถึงอกุศลย่อมไม่มีตลอดเวลาที่วิริยะในกุศลธรรมยังตั้งมั่น

อยู่ แต่เมื่อใด วิริยะเสื่อมหายไป โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน) ย่อมกลุ้มรุม

เมื่อนั้น การถึงอกุศลย่อมมี การถึงอกุศลย่อมไม่มี ตลอดเวลาที่ปัญญายังตั้ง

มั่นอยู่ แต่เมื่อใด ปัญญาเสื่อมหายไป ปัญญาทรามย่อมกลุ้มรุม เมื่อนั้น

การถึงอกุศลย่อมมี.

จบสมาปัตติสูตรที่ ๖

อรรถกถาสมาปัตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสมาปัตติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อกุสลสฺส สมาปตฺติ ได้แก่ ความพรั่งพร้อมด้วยความ

เข้าถึงอกุศลธรรม. บทว่า ปริยุทฺธาย ติฏฺติ ได้แก่ ครอบงำอยู่.

จบอรรถกถาสมาปัตติสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 10

๗. กามสูตร

ว่าด้วยการอนุเคราะห์คนที่ควรอนุเคราะห์

[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยมากสัตว์ทั้งหลาย หมกมุ่นอยู่ในกาม

กุลบุตรผู้ละเคียวและคานหาบหญ้าออกบวชเป็นบรรพชิต ควรเรียกว่าเป็น

กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกบวช ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาควรได้กามด้วย

ความเป็นหนุ่ม และกามเหล่านั้นก็มีอยู่ตามสภาพ คือ เลว ปานกลางและ

ประณีต กามทั้งหมดก็ถึงการนับได้ว่าเป็นกามทั้งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย พึงเอาชิ้นไม้หรือชิ้นกระเบื้องใส่เข้าไปใน

ปาก เพราะความพลั้งเผลอของพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงพึงสนใจในเด็กนั้นทันที แล้ว

รีบนำเอาชิ้นไม้หรือชิ้นกระเบื้องออกโดยเร็ว ถ้าไม่สามารถนำออกโดยเร็วได้

ก็พึงเอามือซ้ายจับ งอนิ้วมือข้างขวา แล้วแยงเข้าไปนำออกมาทั้งที่มีโลหิต

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจะมีความลำบากแก่เด็ก เราไม่กล่าวว่า ไม่มี

ความลำบาก และพี่เลี้ยงผู้หวังประโยชน์ มุ่งความสุข อนุเคราะห์ พึงกระทำ

อย่างนั้นด้วยความอนุเคราะห์ แต่เมื่อใด เด็กนั้นเจริญวัย มีปัญญาสามารถ

เมื่อนั้น พี่เลี้ยงก็วางใจในเด็กนั้นได้ว่า บัดนี้ เด็กมีความสามารถรักษาตนเอง

ได้แล้ว ไม่ควรพลั้งพลาด ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ที่เราต้องรักษาเธอ ตลอดเวลา

ที่เธอยังไม่กระทำด้วยศรัทธาในกุศลธรรม ไม่กระทำด้วยหิริในกุศลธรรม

ไม่กระทำด้วยโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่กระทำด้วยวิริยะในกุศลธรรม ไม่

กระทำด้วยปัญญาในกุศลธรรม แต่เมื่อใด ภิกษุกระทำด้วยศรัทธาในกุศล-

ธรรม กระทำด้วยหิริในกุศลธรรม กระทำด้วยโอตตัปปะในกุศลธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 11

กระทำด้วยวิรยะในกุศลธรรม กระทำด้วยปัญญาในกุศลธรรม เมื่อนั้น เราก็

ย่อมวางใจในเธอได้ว่า บัดนี้ ภิกษุมีความสามารถรักษาตนเองได้แล้ว ไม่ควร

ประมาท.

จบกามสูตรที่ ๗

อรรถกถากามสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกามสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาเมสุ จลฬิตา ได้แก่ สยบยินดียิ่ง ในวัตถุกามและ

กิเลสกาม. บทว่า อสิตพฺยาภงฺคึ ได้แก่ เคียวเกี่ยวหญ้าเละคานหาบหญ้า.

บทว่า กุลปุตฺโต ได้แก่ กุลบุตรผู้มีมารยาท. บทว่า โอหาย แปลว่า

ละแล้ว. บทว่า อล วจนาย ได้แก่ ควรพูด. บทว่า ลพฺภา ได้แก่

ได้ง่าย คือ อาจได้. บทว่า หีนา กามา ได้แก่ กามของสัตว์มีตระกูลต่ำ ๕.

บทว่า มชฺฌิมา กามา ได้แก่ กามของสัตว์ชั้นกลาง. บทว่า ปณีตา กามา

ได้แก่ กามของพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชา. บทว่า กามาเตฺวว

สขฺย คจฺฉนฺติ ความว่า ก็นับได้ว่ากามทั้งนั้น เพราะอำนาจความใคร่ และ

เพราะอำนาจอารมณ์ที่พึงใคร่.

บทว่า วุฑฺโฒ โหติ แปลว่า เบ่นคนแก่. บทว่า อล อญฺโ

คือ มีปัญญาสมควรแล้ว. บทว่า อตฺตคุตฺโต ได้แก่ คุ้มครองรักษาด้วย

ตนเองได้ หรือสามารถคุ้มครองรักษาตนได้. บทว่า นาล ปมาทาย

แปลว่า ไม่ควรประมาท. บทว่า สทฺธาย อกต โหติ ความว่า กิจใดที่

ควรทำในกุศลธรรมทั้งหลายด้วยศรัทธา กิจนั้นยังไม่ได้ทำ. แม้ในบทที่เหลือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 12

ก็นัยนี้เหมือนกัน. ด้วยบทว่า อนเปกฺโข ปนาห ภิกฺขเว ตสฺมึ โหติ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราวางใจในบุคคลนั้นผู้กระทำกิจที่ควรกระทำ

ด้วยศรัทธาเป็นต้นอย่างนี้แล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. ในสูตรนี้ตรัสโสดา-

ปัตติมรรค.

จบอรรถกถากามสูตรที่ ๗

๘. จวนสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้มั่นคงและไม่มั่นคงในศาสนา

[๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธาย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้ไม่มีหิริ. . .

ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ. . . ภิกษุผู้เกียจคร้าน. . . ภิกษุผู้มีปัญญาทราม ย่อม

เคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

ไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุผู้มีศรัทธา ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้มีหิริ. . .

ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ. . . ภิกษุผู้ปรารภความเพียร. . . ภิกษุผู้มีปัญญา ย่อม

ไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม.

จบจวนสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 13

อรรถกถาจวนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจวนสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สทฺธมฺเม ได้แก่ ศาสนาสัทธรรม. บทว่า อสฺสทฺโธ

ได้แก่ เป็นผู้เว้นจากศรัทธาแม้สองอย่าง คือ อกัปปนศรัทธา ศรัทธาแนบแน่น

และปัจจักขศรัทธา ศรัทธาชัดแจ้ง. บทว่า จวติ น ปติฏฺาติ ได้แก่

เคลื่อนจากคุณในศาสนานี้ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้. ในสูตรนี้ตรัสทั้งดำรงอยู่

ไม่ได้ ทั้งดำรงอยู่ได้.

จบอรรถกถาจวนสูตรที่ ๘

๙. ปฐมอคารวสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้มั่นคงและไม่มั่นคงในศาสนา

[๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เป็นผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ไม่มีที่เคารพ

ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้ไม่มีหิริ. . .

ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ. . . ภิกษุผู้เกียจคร้าน. . . ภิกษุผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้

ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นที่ไม่มีที่เคารพ

ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมเคลื่อน ไม่ตั้งมั่นในพระสัทธรรม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 14

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มี

ที่เคารพ มีที่ยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีที่เคารพ มีที่ยำเกรง ย่อม

ไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ภิกษุผู้มีหิริ. . . ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ. . .

ภิกษุผู้ปรารภความเพียร. . . ภิกษุผู้มีปัญญาเป็นผู้มีที่เคารพ มีที่ยำเกรง ย่อม

ไม่เคลื่อน ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้มีที่เคารพ มีที่ยำเกรง ย่อมไม่เคลื่อน

ย่อมตั้งมั่นในพระสัทธรรม.

จบปฐมอคารวสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมอคารวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอคารวสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุชื่อว่า อคารวะ เพราะไม่มีความเคารพ. ชื่อว่า อัปปติสสะ

เพราะไม่มีที่ยำเกรง คือ ไม่มีผู้ใหญ่ ไม่ประพฤติอ่อนน้อม. คำที่เหลือใน

สูตรนี้ เช่นเดียวกับสูตรก่อนนั่นแล.

จบอรรถกถาปฐมอคารวสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 15

๑๐. ทุติยอคารวสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เจริญและไม่เจริญในศาสนา

[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เป็นผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม

ไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้ไม่มีศรัทธา

เป็นผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม

ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุผู้ไม่มีหิริ. . . ภิกษุผู้ไม่มีโอตตัปปะ. . .

ภิกษุผู้เกียจคร้าน. . . ภิกษุผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่มี

ที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์

ในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มี

ที่เคารพ มีที่ยำเกรง เป็นผู้ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ใน

ธรรมวินัยนี้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีที่เคารพ

มีที่ยำเกรง เป็นผู้ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้

ภิกษุผู้มีหิริ. . . ภิกษุผู้มีโอตตัปปะ. . . ภิกษุผู้ปรารภความเพียร. . . ภิกษุ

ผู้มีปัญญา เป็นผู้มีที่เคารพ มีที่ยำเกรง เป็นผู้ควรเพื่อถึงความเจริญ งอกงาม

ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕

ประการนี้แล เป็นผู้มีที่เคารพ มีที่ยำเกรง เป็นผู้ควรเพื่อถึงความเจริญ

งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.

จบทุติอคารวสูตรที่ ๑๐

จบเสขพลวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 16

อรรถกถาทุติยอคารวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอคารวสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภพฺโพ คือ ถือความเป็นผู้อาภัพ. บทว่า วุฑฺฒึ แปลว่า

เจริญ. บทว่า วิรุฬฺหึ ได้แก่ ถึงควานเป็นผู้ไม่หวั่นไหว เพราะความเป็น

ผู้งอกงาม. บทว่า เวปุลฺล ได้แก่ ความเป็นใหญ่. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง

ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาทุติยอคารวสูตรที่ ๑๐

จบเสขพลวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถตสูตร ๓. ทุกขสูตรค ๔. ภตสูตร

๕. สิกขสูตร ๖. สมาปัตติสูตร ๗. กามสูตร ๘. จวนสูตร ๙. ปฐมอคารว-

สูตร ๑๐. ทุติยอคารวสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 17

พลวรรคที่ ๒

๑. อนนุสสุตสูตร

ว่าด้วยกำลัง ๕ ของพระตถาคต

[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราบรรลุถึงบารมีอันเป็นที่สุดเพราะรู้ยิ่ง

ในธรรมที่ไม่ได้สดับแล้วในกาลก่อนจึงปฏิญาณได้ กำลังของตถาคต ๕ ประการ

นี้ ที่เป็นเหตุให้ตถาคตผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือ-

สีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลัง ๕ ประการเป็นไฉน คือ

กำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ หิริ ๑ กำลัง คือ โอตตัปปะ ๑

กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง

ของตถาคต ๕ ประการนี้แล ที่เป็นเหตุให้ตถาคตผู้ประกอบแล้ว ปฏิญาณฐานะ

ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัทประกาศพรหมจักร.

จบอนนุสสุตสูตรที่ ๑

พลวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาอนนุสสุตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนนุสสุตสูตรที่ ๑ แห่งพลวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุพฺพาห ภิกฺขเว อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ ความว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารู้ยิ่งในธรรมทั้งหลายคือสัจธรรม ๔ อันเราไม่เคยฟัง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 18

มาก่อน. ด้วยบทว่า อภิญฺาโวสานปารมิปฺปตฺโต ปฏิชานามิ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงถึงคุณที่พระองค์บรรลุ ณ มหาโพธิบัลลังก์ ว่าเรารู้ยิ่ง

ในสัจธรรม ๔ ด้วยการทำกิจ ๑๖ อย่าง สำเร็จด้วยมรรค ๔ แล้วบรรลุบารมี

สุดท้าย คือ ฝั่งแห่งความเป็นผู้ทำกิจเสร็จแล้ว เพราะกิจทั้งหมดจบสิ้นแล้ว

จึงปฏิญาณ. บทว่า ตถาคตสฺส ได้แก่ ของพระตถาคตด้วยเหตุ ๘ อย่าง.

บทว่า ตถาคตพลานิ ได้แก่ กำลังญาณที่ถึงแล้วคือเป็นไปแล้วโดยอาการ

ที่จะพึงถึงได้ด้วยกำลังเหล่านั้น. บทว่า อาสภณฺาน คือ ฐานะอันประ-

เสริฐสุด. บทว่า สิหนาท คือ บันลืออันแกล้วกล้า. บทว่า พฺรหฺมจกฺก

คือ จักรอันประเสริฐ. บทว่า ปวตฺเตติ คือ กล่าว.

จบอรรถกถาอนนุสสุตสูตรที่ ๑

๒. กูฏสูตร

ว่าด้วยกำลังพระเสขะ ๕

[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ ๕

ประการเป็นไฉน คือ กำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ หิริ ๑ กำลัง

คือ โอตตัปปะ ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑ ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บรรดากำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ กำลัง คือ ปัญญาเป็นเลิศ เป็นยอด

เป็นที่รวบรวม สิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวมแห่งเรือนยอด คือ

ยอด ฉันใด บรรดากำลังของพระเสขะ ๕ ประการนี้ กำลัง คือ ปัญญา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 19

ก็เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม ฉะนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจักประกอบด้วย

กำลังคือศรัทธา. . . กำลัง คือ หิริ. . . กำลัง คือ โอตตัปปะ. . . กำลังคือ

วิริยะ. . . กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบกูฏสูตรที่ ๒

อรรถกถากูฏสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกูฏสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เสกฺขพลานิ ได้แก่ กำลังญาณของพระเสกขะ. บทว่า

อคฺค คือ สูงสุด. เสกขพละ ชื่อว่า สังคาหิกะเป็นที่รวม เพราะรวมพละที่เหลือ

ดุจเรือนยอดรวมไม้จันทันฉะนั้น. เสกขพละ ชื่อว่า สังฆาตนียะ เป็นที่ประชุม

เพราะทำพละเหล่านั้นให้ประชุมกัน.

จบอรรถำกถากูฏสูตรที่ ๒

๓. สังขิตตสูตร

ว่าด้วยกำลัง ๕

[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ กำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ สติ ๑ กำลัง คือ

สมาธิ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล.

จบสังขิตตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 20

อรรถกถาสังขิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังขิตตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

ในพละเหล่านั้น ชื่อสติพละ เพราะไม่หวั่นไหว ด้วยความเป็นผู้

หลงลืมสติ ชื่อว่า สมาธิพละ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยความฟุ้งซ่าน.

จบอรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๓

๔. วิตถตสูตร

ว่าด้วยกำลัง ๕ ประการ

[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ กำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ สติ ๑

กำลัง คือ สมาธิ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง

คือ ศรัทธาเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อ

พระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์. . .เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

นี้เรียกว่า กำลัง คือ ศรัทธา. ก็กำลัง คือ วิริยะ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม

. . .ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า กำลัง คือ วิริยะ. ก็กำลัง

คือ สติเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ

ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวชั้นเยี่ยม ระลึกตามแม้สิ่งที่ทำแม้คำที่พูดไว้นาน

ได้ นี้เรียกว่า กำลัง คือ สติ. ก็กำลัง คือ สมาธิเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 21

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน

มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบไป บรรลุทุติย-

ฌาน อันเป็นความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก-

วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ

มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย

สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน

อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า กำลัง คือ สมาธิ. ก็กำลัง

คือ ปัญญาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี

ปัญญาประกอบด้วยปัญญาที่หยั่งถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรก

กิเลสเป็นเครื่องให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า กำลัง คือ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล.

จบวิตถตสูตรที่ ๔

อรรถกถาวิตถตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิตถสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สติเนปกฺเกน นี้ ปัญญาท่านเรียกว่า เนปักกะ (ปัญญา

รักษาตน). ท่านถือเอาปัญญานั้นโดยความเป็นอุปการะแก่สติ.

จบอรรถกถาวิตถสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 22

๕. ทัฏฐัพพสูตร

ว่าด้วยการที่จะพึงเห็นกำลัง ๕

[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ กำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ สติ ๑

กำลัง คือ สมาธิ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พึง

เห็นกำลัง คือ ศรัทธาในที่ไหน พึงเห็นในโสตาปัตติยังคะ [องค์เป็นเครื่อง

ให้บรรลุความเป็นพระโสดา] ๔ พึงเห็นกำลัง คือ ศรัทธาในที่นี้ พึงเห็น

กำลัง คือ วิริยะในที่ไหน พึงเห็นในสัมมัปปธาน ๔ พึงเห็นกำลัง คือ

วิริยะในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ สติในที่ไหน พึงเห็นในสติปัฏฐาน ๔ พึง-

เห็นกำลัง คือ สติในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ สมาธิในที่ไหน พึงเห็นในฌาน ๔

พึงเห็นกำลัง คือ สมาธิในที่นี้ พึงเห็นกำลัง คือ ปัญญาในที่ไหน พึงเห็น

ในอริยสัจ ๔ พึงเห็นกำลัง คือ ปัญญาในที่นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง

๕ ประการนี้แล.

จบทัฏฐัพพสูตรที่ ๕

อรรถกถาทัฏฐัพพสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทัฏฐัพพสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะตรัสโลกุตรธรรมในที่มิใช่วิสัย จึงตรัส

คำมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสัทธาพละในธรรมไหน ดังนี้.

เหมือนอย่างว่า เมื่อสหายมีพระราชาเป็นที่ ๕ คือบุตรเศรษฐี ๔ คน พระราชา

ลงเดินถนนด้วยคิดว่า เราจักเล่นนักษัตร ในเวลาไปเรือนของบุตรเศรษฐี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 23

คนที่หนึ่ง อีก ๔ คนก็นั่งเฉย เจ้าของเรือนกล่าวว่า พวกท่านจงให้ของเคี้ยว

ของบริโภค ของหอม ดอกไม้และเครื่องประดับเป็นต้น แก่ท่านเหล่านี้ ดังนี้

แล้วตรวจตราในเรือน. ในเวลาไปเรือนของบุตรเศรษฐี คนที่ ๒ คนที่ ๓

คนที่ ๔ อีก ๔ คนก็นั่งเฉย เจ้าของเรือนกล่าวว่า พวกท่านจงให้ของเคี้ยว

ของบริโภค ของหอม ดอกไม้และเครื่องประดับแก่ท่านเหล่านี้ ดังนี้แล้ว

ตรวจตราในเรือน. ครั้นต่อมา ในเวลาไปราชมณเฑียรของพระราชาทีหลังเขา

ทั้งหมด พระราชาแม้จะทรงเป็นใหญ่ในชนทั้งหมดก็จริง ถึงดังนั้นในเวลานี้

ยังตรัสว่า พวกท่านจงให้ของเคี้ยว ของบริโภค ของหอม ดอกไม้และเครื่อง

ประดับเป็นต้นแก่ท่านเหล่านี้ ดังนี้ แล้วทรงตรวจตราในพระราชมณเฑียรของ

พระองค์ ฉันใด เมื่อพละมีศรัทธาเป็นที่ ๕ แม้เกิดขึ้นในอารมณ์เดียวกัน

ก็เหมือนเมื่อสหายเหล่านั้นลงเดินถนนพร้อมกัน สหายอีกสี่คนนั่งเฉยในเรือน

ของคนที่หนึ่ง สหายที่เป็นเจ้าของเรือนย่อมตรวจตรา ฉันใด สัทธาพละมี

ลักษณะน้อมใจเชื่อ เพราะบรรลุโสดาปัตติยังคะ จึงเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า พละ

ที่เหลือก็คล้อยตามสัทธาพละนั้น ฉันนั้น ในเรือนของบุตรเศรษฐีคนที่สอง

สหายอีกสี่คนก็นั่งเฉย สหายเจ้าของเรือนตรวจตรา ฉันใด วิริยพละมีลักษณะ

ประคองไว้ เพราะถึงสัมมัปปธาน พละที่เหลือก็คล้อยตามวิริยพละนั้น ฉันนั้น

ในเรือนของบุตรเศรษฐีคนที่สาม สหายอีกสี่คนก็นั่งเฉย สหายเจ้าของเรือน

ตรวจตรา ฉันใด สติพละมีลักษณะเขาไปตั้งไว้ เพราะถึงสติปัฏฐานจึงเป็นใหญ่

เป็นหัวหน้า พละที่เหลือก็คล้อยตามสติพละนั้น ฉันนั้น ในเรือนของบุตร-

เศรษฐีคนที่สี่ สหายอีกสี่คนก็นั่งเฉย สหายเจ้าของเรือนย่อมตรวจตรา ฉันใด

สมาธิพละมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน เพราะถึงฌานวิโมกข์ พละที่เหลือก็คล้อยตาม

สมาธิพละนั้น ฉันนั้น. แต่ในเวลาไปพระราชมณเฑียรของพระราชาภายหลัง

เขาทั้งหมด สหายอีกสี่คนก็นั่งเฉย พระราชาพระองค์เดียวทรงตรวจตราใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 24

พระราชมณเฑียร ฉันใด ปัญญาพละมีลักษณะรู้ทั่ว เพราะบรรลุอริยสัจสี่

จึงเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า พละที่เหลือก็คล้อยตามปัญญาพละนั้น ฉันนั้น

ท่านกล่าวพละ ๕ ในสูตรนี้เจือกันอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาทัฏฐัพพสูตรที่ ๕

๖. ปุนกูฏสูตร

ว่าด้วยกำลังที่เป็นยอด

[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ กำลัง คือ ศรัทธา ๑ กำลัง คือ วิริยะ ๑ กำลัง คือ สติ ๑

กำลัง คือ สมาธิ ๑ กำลัง คือ ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง

๕ ประการนี้แล บรรดากำลัง ๕ ประการนี้แล กำลัง คือ ปัญญา เป็นเลิศ

เป็นยอด เป็นที่รวบรวม เหมือนสิ่งที่เป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม

แห่งเรือนยอด คือ ยอด ฉันใด บรรดากำลัง ๕ ประการนี้ กำลัง คือ

ปัญฺาเป็นเลิศ เป็นยอด เป็นที่รวบรวม ฉันนั้นเหมือนกันแล.

จบปุนกูฏสูตรที่ ๖

อรรถกถาปุนกูฏสูตร

ปุนกูฏสูตรที่ ๖ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. ตรัสเสกขพละเท่านั้น

๘ สูตร ทั้งในวรรคก่อนและในวรรคนี้. แต่พระมหาทัตตเถระผู้อยู่ในกรัณฑ-

ตรัสอเสกขพละใน ๔ สูตรเป็นเบื้องสูง.

จบอรรถกถาปุนกูฏสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 25

๗. ปฐมหิตสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนเอง

[๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม

๕ ประกาเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้

ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยปัญญา

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติ

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึง

พร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม

ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

จบปฐมหิตสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมหิตสูตร

ปฐมหิตสูตรที่ ๗ ตรัสศีลเป็นต้นเจือกัน. บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่

วิมุตติ คืออรหัตผล. ปัจจเวกขณญาณ อันเป็นวิมุตติญาณทัสนะนั้นเป็น

โลกิยะแท้.

จบอรรถกถาปฐมหิตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 26

๘. ทุติยหิตสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ธรรม

๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยศีล ไม่เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ ไม่

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วย

ปัญญา ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นในการถึง

พร้อมด้วยวิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะด้วยตนเอง แต่

ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม

ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน.

จบทุติยทิตสูตรที่ ๘

ในทุติยหิตสูตรที่ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงภิกษุทุศีลเป็นผู้มี

สุตะมาก.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 27

๙. ตติยหิตสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น

[๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม

๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยศีล ไม่เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ ไม่เป็น

ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยปัญญา

ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วย

วิมุตติ ไม่เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น

ในการถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม

ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

จบตติยหิตสูตรที่ ๙

ในตติยหิตสูตรที่ ๙ ตรัสถึงภิกษุทุศีลเป็นผู้มีสุตะน้อย.

๑๐. จตุตถหิตสูตร

ว่าด้วยผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและผู้อื่น

[๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 28

๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็น

ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วยปัญญา

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการถึงพร้อมด้วย

วิมุตติ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นใน

การถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม

ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และชื่อว่าปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น.

จบจตุตถหิตสูตรที่ ๑๐

จบพลวรรคที่ ๒

อรรถกถาจตุตถหิตสูตร

ในจตุตถหิตสูตรที่ ๑๐ ท่านกล่าวถึงพระขีณาสพเป็นผู้มีสุตะมาก.

จบอรรถกถาจตุตถหิตสูตรที่ ๑๐

จบพลวรรควรรณนาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนนุสสุตสูตร ๒. กูฏสูตร ๓. สังขิตตสูตร ๔. วิตถตสูตร

๕. ทัฏฐัพพสูตร ๖. ปุนกูฏสูตร ๗. ปฐมหิตสูตร ๘. ทุติยหิตสูตร

๙. ตติยหิตสูตร ๑๐. จตุตถหิตสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 29

ปัญจังคิกวรรคที่ ๓

๑. ปฐมคารวสูตร

ว่าด้วยฐานะและไม่ใช่ฐานะ

[๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง

ไม่มีความประพฤติเสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมา-

จาริกวัตร ให้บริบูรณ์นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรม

คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญธรรมของพระเสขะ ให้

บริบูรณ์นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้

บริบูรณ์แล้ว จักรักษาศีลให้บริบูรณ์นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่

รักษาศีลให้บริบูรณ์แล้ว จักอบรมสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะ

มีได้ ข้อที่ภิกษุไม่อบรมสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสัมมาสมาธิให้

บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้มีที่เคารพ มีที่ยำเกรง มีความ

ประพฤติเสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตร

ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมา-

จาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้นั้น

เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์แล้ว จัก

รักษาศีลให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุรักษาศีลให้บริบูรณ์

แล้ว จักอบรมสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุ

อบรมสัมมาทิฏฐิให้บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสัมมาสมาธิให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็น

ฐานะที่จะมีได้.

จบปฐมคารวสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 30

ปัญจังคิกวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาปฐมคารวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมคารวสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อ

ไปนี้ :-

บทว่า อสภาควุตฺตโก ได้แก่ ประกอบด้วยการดำเนินชีวิตที่ไม่

เท่ากันไม่เสมอกัน. บทว่าอภิสมาจารก ธมฺม ได้แก่ ศีลที่บัญญัติเป็นข้อวัตร

อันเป็นอภิสมาจารอย่างสูง. บทว่า เสกฺข ธมฺม ได้แก่ ศีลอันเป็นข้อบัญญัติ

ของพระเสกขะ. บทว่า สีลานิ ได้แก่ มหาศีล ๔. บทว่า สมฺมาทิฏึ

ได้แก่ สัมมาทิฏฐิชั้นวิปัสสนา. บทว่า สมฺมาสมาธึ ได้แก่ มรรคสมาธิ

เละผลสมาธิ. ในสูตรนี้ตรัสศีลเป็นต้นเจือกัน.

จบอรรถกถาปฐมคารวสูตรที่ ๑

๒. ทุติยคารวสูตร

ว่าด้วยฐานะและไม่ใช่ฐานะ

[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง

ไม่มีความประพฤติเสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมา-

จาริกวัตร ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรม

คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 31

ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์

แล้ว จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่

รักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะ

ที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่เจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์

ให้บริบูรณ์ได้นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุมีที่เคารพ มีที่ยำเกรง มีความประพฤติ

เสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้

บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริก-

วัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็น

ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์แล้ว จักรักษา

ศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุรักษาศีลขันธ์ให้

บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่

ภิกษุเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น

เป็นฐานะที่จะมีได้.

จบทุติยคารวสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยคารวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยคารวสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่าสีลกฺขนฺธ ได้แก่กองศีล. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือน

กัน. แต่ตรัสขันธ์แม้ ๓ อย่างเหล่านี้เจือกัน.

จบอรรถกถาทุติยคารวสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 32

๓. อุปกิเลสสูตร

ว่าด้วยเรื่องอุปกิเลส ๕

[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ซึ่งเป็นเหตุให้

ทองมัวหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่อง

ประดับไม่ได้ มี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ เหล็ก ๑ โลหะ ๑ ดีบุก ๑

ตะกั่ว ๑ เงิน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งเศร้าหมองแห่งทอง ๕ ประการ

นี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ทองมัวหมองแล้ว ย่อมไม้อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่สุกใส

เสียเร็ว จะทำเป็นเครื่องประดับไม่ได้ เมื่อใด ทองพ้นจากสิ่งเศร้าหมอง ๕

ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ สุกใส ทนทาน จะทำเป็นเครื่องประดับก็ได้

คือ ช่างทองต้องการเครื่องประดับชนิดใด ๆ เช่น แหวน ต้มหู สร้อยคอ

สังวาล ก็ทำได้ตามต้องการ ฉันใด อุปกิเลสแห่งจิต ซึ่งเป็นเหตุให้จิตเศร้า

หมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องไส เสียเร็ว ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ

เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็มี ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน อุปกิเลส

๕ ประการเป็นไฉน คือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑

อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ อุปกิเลสแห่งจิต ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็น

เหตุให้จิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมไม่อ่อน ใช้การไม่ได้ ไม่ผ่องใส เสียเร็ว

ไม่ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ แต่เมื่อใด จิตพ้นจาก

อุปกิเลส ๕ ประการนี้ ย่อมอ่อน ใช้การได้ ผ่องใส ทนทาน ตั้งมั่นโดยชอบ

เพื่อความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะ และภิกษุ จะน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วย

ปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งได้ด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อธรรม

เครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในธรรมนั้น ๆ โดยแน่

นอน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 33

ถ้าภิกษุหวังอยู่ว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียวเป็น

หลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้

ทะลุฝา กำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงใน

แผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินในแผ่นดินก็ได้ เหาะ

ไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุ-

ภาพมากอย่างนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เมื่อ

ธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในอิทธิวิธีนั้น ๆ

โดยแน่นอน.

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงฟังเสียง ๒ อย่าง คือ เสียงทิพย์และเสียง

มนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์

เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในทิพโสตนั้น ๆ

โดยแน่นอน.

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ

คือ จิตมีราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศ-

จากราคะ จิตมีโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็พึงรู้ว่าจิต

ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็พึง

รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็พึงรู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็พึงรู้ว่า

จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็พึงรู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต

ก็พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าหรือ

จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิต

เป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ ก็พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็พึงรู้ว่า

จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อ

มีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในเจโตปริยญาณนั้น ๆ โดยแน่นอน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 34

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้

ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ

บ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติ

บ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัป

เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่อ

อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุข

เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้

ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มี

ผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี

กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึง

ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในบุพเพนิวาสา-

นุสติญาณนั้น ๆ โดยแน่นอน.

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังเคลื่อน กำลังอุปบัติ เลว

ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้

ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉา-

ทิฏฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต

มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจ

สัมมาทิฏฐิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายไปเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราพึงเห็นหมู่

สัตว์ที่กำลังเคลื่อน กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มิผิวพรรณ-

ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 35

หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาด

สาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จในจุตูปปาตญาณนั้น ๆ โดยแน่นอน.

ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ เมื่อธรรมเครื่องสืบต่อมีอยู่ไม่ขาดสาย เธอก็จะบรรลุผลสำเร็จใน

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตตินั้น ๆ โดยแน่นอน.

จบอุปกิเลสสูตรที่ ๓

อรรถกถาอุปกิเลสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุปกิเลสสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น จ ปภสฺสร คือ ไม่สว่างไสว. บทว่า ปภงฺคุ จ

คือ มีสภาพผุพัง. บทว่า อโย คือ โลหะดำ (เหล็ก). บทว่า โลห ได้แก่

โลหะที่เหลือเว้นโลหะ ๔ ที่ตรัสไว้แล้วในที่นี้. บทว่า สชฺฌุ ได้แก่ เงิน.

บทว่า จิตฺตสฺส ได้แก่ กุศลจิตอันเป็นไปในภูมิ ๔. ถามว่า อุปกิเลส

ย่อมมีแก่กุศลจิตอันเป็นไปในภูมิ ๓ ยกไว้ก่อน แต่จะมีแก่โลกุตรภูมิได้อย่างไร.

ตอบว่า โดยไม่ให้กุศลจิตเกิดขึ้น. อุปกิเลสทั้งหลายไม่ให้กุศลจิตเกิดขึ้นโดย

ส่วนใด ชื่อว่า อุปกิเลสทั้งหลายก็ย่อมมีทั้งแก่โลกิยกุศลจิต ทั้งแก่โลกุตร-

กุศลจิต โดยส่วนนั้นนั่นเอง. บทว่า ปภงฺคุ จ ได้แก่ มีสภาพผุพัง

เพราะแหลกละเอียดไปในอารมณ์. บทว่า สมฺมาสมาธิยติ อาสวาน ขยาย

ได้แก่ ย่อมตั้งมั่นด้วยเหตุการณ์เพื่อประโยชน์แก่พระอรหัตกล่าวคือความสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลาย. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ทรงแสดงถึงพระขีณาสพผู้ชำระจิต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 36

ให้หมดจด แล้วตั้งอยู่ในอรหัตผล. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรง

แสดงอภิญญาปฏิเวธการแทงทลุปรุโปร่งของพระขีณาสพนั้น จึงตรัสคำเป็น

อาทิว่า ยสฺส ยสฺส จ ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอุปกิเลสสูตรที่ ๓

๔. ทุสสีลสูตร

ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีลและคุณแห่งความมีศีล

[๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ

แล้ว ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะ

ของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อ

ยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทา และวิราคะ ของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติ

ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณ-

ทัสนะ ของภิกษุผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น

ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กะพี้ก็ไม่ถึงความ

บริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุ

ทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัย

ขาดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ

ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาและ

วิราคะ ของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 37

เมื่อนิพพิทาและวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะ ของภิกษุผู้มีนิพพิทาและ

วิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล

ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะ

ของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อ

ยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาและวิราคะ ของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยถาภูต-

ญาณทัสนะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อนิพพิทาและวิราคะมีอยู่

วิมุติญาณทัสนะ ของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิพพิทาและวิราคะ ย่อมเป็นธรรม

ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่งและใบบริบูรณ์ แม้

กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้

ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล

ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นธรรม

ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะ ของภิกษุ

ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อยถาภูต-

ญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาและวิราคะของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยยถาภูตญาณทัสนะ

ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อนิพพิทาและวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณ-

ทัสนะของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิพพิทาและวิราคะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วย

อุปนิสัย.

จบทุสสีลสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 38

อรรถกถาทุสสีลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุสสีลสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า หตูปนิโส ได้แก่ ตัดขาดอุปนิสัย คือ กำจัดเหตุ. บทว่า

ยถาภูตาณทสฺสน ได้แก่ วิปัสสนาอ่อน ๆ ตั้งต้นแต่ญาณกำหนดนามรูป

ไป. บทว่า นิพฺพิทา วิราโค ได้แก่ นิพพิทาความหน่ายและวิราคะสำรอก.

ในสองอย่างนั้น นิพพิทา เป็นวิปัสสนามีกำลัง. วิราคะ เป็นมรรค. บทว่า

วิมุตฺติาณทสฺสน ได้แก่ ผลวิมุตติและปัจจเวกขณญาณ.

จบอรรถกถาทุสสีลสูตรที่ ๔

๕. อนุคคหสูตร

ว่าด้วยธรรมที่สนับสนุนสัมมาทิฏฐิ

[๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ ๕ อนุเคราะห์แล้ว

ย่อมเป็นธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และเป็นธรรม

มีปัญญาวิมุตติ เป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ องค์ ๕ เป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ สัมมาทิฏฐิอันศีลอนุเคราะห์แล้ว อันการ

สนทนาธรรมอนุเคราะห์แล้ว อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว อันวิปัสสนาอนุเคราะห์

แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ ๕ เหล่านี้แล อนุเคราะห์แล้ว

ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ และมีปัญญาวิมุตติเป็น

ผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์.

จบอนุคคหสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 39

อรรถกถาอนุคคหสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนุคคหสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺมาทิฏฺิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิขึ้นวิปัสสนา. ในบทว่า

เจโตวิมุตฺติผลา เป็นต้น สมาธิขั้นมรรคผล ชื่อว่า เจโตวิมุตติ. ผลญาณ

ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ. บทว่า สีลานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันศีล

สนับสนุนตามรักษา. บทว่า สุตานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันพาหุสัจจะ

สนับสนุน. บทว่า สากจฺฉานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันธรรมสากัจฉา

สนับสนุน. บทว่า สากจฺฉานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาสมาธิอันเอกัคคตาจิต

สนับสนุน. แต่เพื่อให้ความนี้แจ่มแจ้ง พึงยกตัวอย่างบุรุษปลูกเมล็ดมะม่วง

หวาน ปักเขตไว้โดยรอบรดน้ำตามเวลา ชำระรากตามเวลา นำสัตว์ที่ตกลงไป

ออกตามเวลา ดึงใยแมลงมุมออกตามเวลา แล้วบำรุงมะม่วง. สัมมาทิฏฐิขั้น

วิปัสสนาพึงเห็นดุจการปลูกเมล็ดมะม่วงหวานของบุรุษนั้น. การที่ศีลสนับสนุน

พึงเห็นดุจการปักเขต การที่สุตะสนับสนุนดุจการรดน้ำ การที่การสนทนาธรรม

สนับสนุนก็ดุจการชำระราก การที่สมถะสนับสนุนด้วยการขจัดอันตรายของ

ฌานและวิปัสสนาดุจการนำสัตว์ออก การที่วิปัสสนามีกำลังสนับสนุนก็ดุจ

การดึงใยแมลงมุมออก ความที่สัมมาทิฏฐิ มีมูลอันคุณมีศีลเป็นต้นเหล่านี้

สนับสนุนแล้วจำเริญด้วยทิฏฐิเป็นมรรคแล้ว อำนวยซึ่งเจโตวิมุตติผล และ

ปัญญาวิมุตติผลเร็วพลัน พึงเห็นดุจความที่ต้นไม้อันบุรุษอุดหนุนอย่างนี้เจริญ

งอกงามแล้วให้ผลเร็วพลัน.

จบอรรถกถาอนุคคหสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 40

๖. วิมุตติสูตร

ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ

[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น

เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น

ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม

อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ

ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม

ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่

เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์

แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้

เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ

ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว

ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป

หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม-

จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม

แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ

ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ

ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม

ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . .

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 41

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม-

จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง-

ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า

ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร

เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม

เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม

ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม-

จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม

เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้

ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่า

ภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ

เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญ

ธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจ

ธรรมย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม-

จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม

เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้

สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้

ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า

สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 42

ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมใน

ธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ

ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ

เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ

เกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ

ผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น

อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก

โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้

จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น

ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุ

ธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ.

จบวิมุตติสูตรที่ ๖

อรรถกถาวิมุตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิมุตติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิมุตฺตายตนานิ แปลว่า เหตุแห่งการหลุดพ้น. บทว่า

ยตฺถ ได้แก่ ในวิมุตตายตนะ (เหตุแห่งการหลุดพ้น) ใด. บทว่า สตฺถา

ธมฺม เทเสติ ได้แก่ พระศาสดาทรงแสดงสัจธรรม ๘. บทว่า อตฺถ-

ปฏิสเวทิโน ได้แก่ รู้ความแห่งบาลี. บทว่า ธมฺมปฏิสเวทิโน ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 43

รู้บาลี. บทว่า ปามุชฺช ได้แก่ ปีติอย่างอ่อน. บทว่า ปีติ ได้แก่ ปีติ

มีกำลังอันเป็นอาการยินดี. บทว่า กาโย ได้แก่ นามกาย. บทว่า ปสฺสมฺภติ

คือ สงบนิ่ง. บทว่า สุข เวเทติ ได้แก่ ได้ความสุข. บทว่า จิตฺต สมาธิยติ

ได้แก่ จิตตั้งมั่นด้วยสมาธิชั้นอรหัตผล. จริงอยู่ ภิกษุนี้เมื่อฟังธรรมนั้น

ย่อมรู้จักฌานวิปัสสนา มรรคและผลในที่ฌานเป็นต้นมาแล้ว ๆ เมื่อภิกษุนั้น

รู้อย่างนี้ ปีติก็เกิด ในระหว่างปีตินั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ท้อถอย บำเพ็ญอุปจาร-

กรรมฐาน เจริญวิปัสสนาแล้วย่อมบรรลุพระอรหัต. ทรงหมายถึงพระอรหัตนั้น

จึงตรัสว่า จิตฺต สมาธิยติ ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่นี้

เป็นความต่างกัน. บทว่า สมาธินิมิตฺต ได้แก่ สมาธิในอารมณ์ ๓๘ อย่างใด

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมาธินิมิต. แม้ในบทเป็นต้นว่า สุคฺคหิต โหติ กรรมฐาน

อันผู้เรียนกรรมฐานในสำนักอาจารย์ เป็นอันเรียนแล้วด้วยดี ใส่ใจไว้ด้วยดี

ทรงจำไว้ด้วยดี. บทว่า สุปฺปฏิวิทฺธ ปญฺาย ได้แก่ ทำให้ประจักษ์ดี

ด้วยปัญญา. บทว่า ตสฺมึ ธมฺเม ได้แก่ ในธรรมคือบาลีที่มาแห่งกรรมฐาน

นั้น. ในสูตรนี้ตรัส วิมุตตายตนะแม้ทั้ง ๕ ถึงอรหัต.

จบอรรถกถาวิมุตติสูตรที่ ๖

๗. สมาธิสูตร

ว่าด้วยญาณ ๕ อย่าง

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ

เจริญสมาธิหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิ

หาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ญาณ ๕ อย่าง

เป็นไฉน คือ ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 44

สุขเป็นวิบากต่อไป ๑ สมาธินี้เป็น อริยะ ปราศจากอามิส ๑ สมาธินี้อันคน

เลวเสพไม่ได้ ๑ สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้

ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก

ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสังขาร ๑ ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจาก

สมาธินี้ได้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ

เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้เถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติ

เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน.

จบสมาธิสูตรที่ ๗

อรรถกถาสมาธิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปฺปมาณ ได้แก่ โลกุตรสมาธิอันเว้นจากธรรมที่กำหนด

ประมาณได้. บทว่า นิปกา ปติสฺสตา ได้แก่ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญา

รักษาตนและสติ. บทว่า ปญฺจ าณานิ ได้แก่ ปัจจเวกขณญาณ ๕. บทว่า

ปจฺจตฺตญฺเว อุปฺปชฺชนฺติ แปลว่า ย่อมเกิดขึ้นในตนเท่านั้น. ในบท

เป็นต้นว่า อย สมาธิ ปจฺจุปฺปนฺนสุโข เจว ท่านประสงค์เอาอรหัตผล-

สมาธิ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มคฺคสมาธิ ดังนี้ก็มี. จริงอยู่ สมาธินั้น

ชื่อว่า เป็นสุขในปัจจุบัน เพราะเป็นสุขในขณะที่จิตแน่วสนิท. สมาธิต้น ๆ

มีสุขเป็นวิบากในอนาคต เพราะเป็นปัจจัยแก่สมาธิ สุขหลัง ๆ แล. สมาธิ

ชื่อว่าเป็นอริยะ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า นิรามิส เพราะไม่มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 45

อามิสส่วนกาม อามิสส่วนวัฏฏะ อามิสส่วนโลก. ชื่อว่า มิใช่ธรรมที่คนเลว

เสพ เพราะเป็นสมาธิอันมหาบุรุษมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเสพแล้ว. ชื่อว่า สงบ

เพราะสงบอังคาพยพคือกาย สงบอารมณ์แสะสงบจากความกระวนกระวายด้วย

อำนาจสรรพกิเลส. ชื่อว่า ประณีต เพราะอรรถว่าไม่เดือดร้อน. ชื่อว่า

ได้ความรำงับ เพราะความรำงับกิเลสอันตนได้แล้ว หรือตนได้ความรำงับ

กิเสส บทว่า ปฏิปฺปสฺสทฺธ ปฏิปฺปสฺสทฺธิ นี้ โดยความได้เป็นอันเดียวกัน

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าได้ความรำงับ เพราะผู้มีกิเลสอันรำงับ หรือผู้ไกลจาก

กิเลสได้แล้ว. ชื่อว่าถึงเอโกทิ เพราะถึงด้วยความมีธรรมเอกผุดขึ้น หรือถึง

ความมีธรรมเอกผุดขึ้น. ชื่อว่าไม่ต้องใช้ความเพียรข่มห้าม เพราะไม่ต้องใช้

จิตอันมีสังขารคือความเพียรข่มห้ามกิเลสอันเป็นข้าศึกบรรลุเหมือนอย่างสมาธิ

ของผู้ที่ยังมีอาสวะอันไม่คล่องแคล่ว ภิกษุเมื่อเข้าสมาธินั้นหรือออกจากสมาธิ

นั้น ย่อมมีสติเข้าสติออก หรือว่ามีสติเข้ามีสติออก โดยกาลตามที่กำหนดไว้

เพราะเป็นผู้ไพบูลย์ด้วยสติ เพราะฉะนั้น ปัจจยปัจจเวกขณญาณ ความรู้

พิจารณาเห็นปัจจัยในสมาธินี้อันใด เกิดขึ้นเฉพาะตัวเท่านั้น แก่ภิกษุผู้พิจารณา

เห็นอย่างนี้ว่า สมาธินี้มีสุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นวิบากในอนาคต ปัจจย-

ปัจจเวกขณญาณนั้นก็เป็นญาณอย่างหนึ่ง ในบทที่เหลือก็นัยนี้. ญาณ ๕

เหล่านี้ย่อมเกิดเฉพาะตนเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 46

๘. อังคิกสูตร

ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิมีองค์ ๕

[๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่

ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐเป็นไฉน ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น

เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่ง

กายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือน

พนักงานสรงสนานหรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลง

ในภาชนะสำริดแล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งซึมไปจับ

ติดทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออกฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละ

ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกไม่มีเอกเทศไหนๆ

แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ

ข้อที่ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความ

ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ

วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น

เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่ง

กายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือน

ห้วงน้ำลึกที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 47

ด้านตะวันตก ด้านเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้น

จากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึม

ด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึง

ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม

ซาบซ่าน ด้วยปีติ และสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกาย

ของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๒

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มี

สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระ-

อริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศ

ไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนในกออุบล กอบัวหลวง หรือกอบัวขาว ดอกอุบล

ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่

ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น

ตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง

หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล

ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยสุขอันปราศจากปีติ

ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง

นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๓

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานอันไม่มี

สุขไม่มีทุกข์ เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ ได้มี

อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 48

บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอัน

บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว จะไม่ถูกต้อง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ

จะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายทุก ๆ

ส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไป

ทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกาย

ของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว จะไม่ถูกต้อง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๔

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมถือด้วยดี ทำไว้ใน

ใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา

เปรียบเหมือนคนอื่นพึงเห็นคนอื่น คนยืนพึงเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงเห็น

คนนอน ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี

ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ

ข้อที่ ๕

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อัน

ประเสริฐ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ภิกษุจะโน้มน้อมจิต

ไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง

ใด ๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่

โดยแน่นอน เปรียบเหมือนหม้อน้ำตั้งอยู่บนที่รอง เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปาก

พอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลัง พึงเอียงหม้อน้ำนั้นไปรอบ ๆ น้ำก็พึงกระฉอก

ออกมาได้หรือ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 49

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิ

อันประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว

อย่างนี้ เธอโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึง

ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรม

นั้น ๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ เปรียบเหมือนสระน้ำที่ภูมิภาคอันราบเรียบ กว้าง

สี่เหลี่ยม กั้นด้วยทำนบ เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มี

กำลังพึงเปิดทำนบสระนั้นทุก ๆ ด้าน น้ำก็พึงไหลออกมาได้หรือ. ้

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิ

อันประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้ว

อย่างนี้ เธอโน้มน้อมจิตไป เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึง

ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรม

นั้น ๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ เปรียบเหมือนรถม้าที่เทียมแล้วจอดอยู่ทางใหญ่ ๔

แยก มีพื้นราบเรียบ มีประตกวางไว้ข้างบน คนฝึกม้าผู้ขยันชำนาญในการฝึก

ขึ้นขี่รถนั้นแล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย ถือประตักด้วยมือขวา พึงขับรถให้

เดินหน้าบ้าง ให้ถอยหลังบ้าง ได้ตามต้องการ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ

ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้

แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เธอ

ย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวัง

อยู่ว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ

พึงใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็น

พยานในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงได้ยินเสียง ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 50

ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอัน

บริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ

ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคล

อื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็พึง

รู้ว่าจิตปราศจากราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น เธอ

ย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวัง

ว่า เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สอง-

ชาติบ้าง ฯลฯ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อม

ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ

ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติ

เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ

อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม

ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ในเมื่อ

เหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อัน

หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรม ๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่.

จบอังคิกสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 51

อรรถกถาอังคิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอังคิกสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อริยสฺส ได้แก่ อยู่ไกลจากกิเลสที่ละได้แล้วด้วยวิกขัมภน-

ปหาน (การข่มไว้). บทว่า ภาวน เทเสสฺสามิ ความว่า เราจักประกาศความ

เพิ่มพูนการพัฒนา. บทว่า อิมเมว กาย ได้แก่ กรชกายนี้. บทว่า อภิสนฺเทติ

ได้แก่ ชุ่ม คือ ซึมซาบ คือ ทำปีติและสุขให้เป็นไปทั่วกรชกาย. บทว่า

ปริสนฺเทติ ได้แก่ ไหลไปโดยรอบ. บทว่า ปริปูเรติ ได้แก่ เต็มดุจ

ถุงหนังเต็มด้วยลม. บทว่า ปริปฺผรติ ได้แก่ ซ่านไปโดยรอบ. บทว่า

สพฺพาวโต กายสฺส ได้แก่ ร่างกายทุกส่วนของภิกษุนั้น. ที่ไร ๆ แม้แต่ ่

น้อยแล่นไปตามผิวเนื้อและเลือด ในที่เป็นไปแห่งสันตติของอุปปาทินนกะ

(สิ่งมีใจครอง) ชื่อว่า สุขอันเกิดแต่ปฐมฌาน ไม่สัมผัสไม่มี. บทว่า ทกฺโข

ได้แก่ ฉลาด คือ มีความสามารถทำประกอบและปรุงผงสำหรับอาบน้ำ. บทว่า

กสถาเล ได้แก่ ภาชนะที่ทำด้วยโลหะอย่างใดอย่างหนึ่ง. แต่ภาชนะทำด้วย

ดินไม่ถาวร เมื่อใส่ผงอาบน้ำย่อมแตกได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงไม่ทรงแสดงภาชนะดินนั้น. บทว่า ปริปฺโผสก ปริปฺโผสก ได้แก่

รดแล้วรดเล่า. บทว่า สนฺเนยฺย ได้แก่ ถือถาดสำริดด้วยมือซ้ายรดราด

น้ำพอประมาณด้วยมือขวา แล้วขยำผงทำให้เป็นก้อน. บทว่า สิเนหานุคตา

ได้แก่ ถูกยางน้ำซึมซาบ. บทว่า สิเนหปเรตา ได้แก่ ถูกยางน้ำซึมไปรอบๆ.

บทว่า สนฺตรพาหิรา ความว่า ถูกยางน้ำซึมซาบไปทั่งสรรพางค์กายทั้งที่

ภายในและที่ภายนอก. บทว่า น จ ปคฺฆรติ ความว่า หยาดน้ำแต่ละหยาด

จะไม่ไหลออก อาจจะจับทั้งมือก็ได้ ๒ นิ้วก็ได้ ทำให้เป็นเกลียวก็ได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 52

พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาความสุขในทุติยฌาน. บทว่า อุพฺภิโตทโก ได้แก่

น้ำพุ คือ น้ำที่ไม่ไหลลงข้างล่างแต่ไหลขึ้น อธิบายว่า น้ำเกิดภายในนั่นเอง.

บทว่า อายมุข ได้แก่ ทางน้ำไหลมา. บทว่า เทโว ได้แก่ เมฆ. บทว่า

กาเลน กาล ได้แก่ ทุกกึ่งเดือนหรือทุก ๑๐ วัน. บทว่า ธาร ได้แก่

น้ำฝน. บทว่า นานุปฺปเวจฺเฉยฺย ความว่า ไม่พึงหลั่ง คือ ไม่พึงตก.

บทว่า สีตา วาริธารา อุพฺภิชฺชิตฺวา ความว่า สายน้ำฝนทำห้องน้ำเย็น

ให้เต็ม ก็น้ำที่เกิดขึ้นแล้วไหลลงเบื้องล่าง ย่อมทำน้ำที่พุ่งแตกให้กระเพื่อม

น้ำที่ไหลมาจาก ๔ ทิศ ย่อมทำน้ำให้กระเพื่อมด้วยใบไม้ หญ้า ฟืน ท่อนไม้

เก่า ๆ เป็นต้น น้ำฝนย่อมทำให้น้ำกระเพื่อมด้วยฟองน้ำที่ไหลตกจากสายน้ำฝน

แต่น้ำสงบดุจเนรมิตด้วยฤทธิ์ ไหลไปยังถิ่นนี้ ไม่ไหลไปยังถิ่นนี้ ดังนี้ไม่มี

คือ ชื่อว่าโอกาสที่น้ำมันจะไม่ถูกต้องไม่มี. ในอุปมานั้น กรชกายดุจห้วงน้ำ

ความสุขในทุติยฌานดุจน้ำ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในข้ออุปมา ความสุขในตติยฌาน. ชื่อว่า อุปฺปลินี

เพราะว่า มีดอกอุบล. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ในอุปมานี้

บรรดาบัวขาว บัวแดง บัวขาบ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อ อุบลทั้งนั้น

บัวมีใบเกิดขึ้น ๑๐๐ ใบ ชื่อปุณฑริก บัวมีใบ ๑๐๐ ใบ ชื่อ ปทุม บัวที่

กำหนดใบหรือแม้ไม่มีใบบัวสีขาว ชื่อปทุม สีแดงชื่อปุณฑริก นี้เป็นวินิจฉัย

ในอุปมานี้. บทว่า อุทกานุคฺคตานิ ได้แก่ บัวยังไม่พ้นจากน้ำ. บทว่า

อนฺโตนิมุคฺคโปสินี ได้แก่ บัวที่จมอยู่ภายในพื้นน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้

คือยังเจริญอยู่. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาความสุขในจตุตถฌาน. ในบทว่า ปริสุทฺเธน

เจตสา ปริโยทาเตน นี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะอรรถว่า

ไม่มีอุปกิเลส ชื่อว่า ผ่องแผ้ว เพราะอรรถว่า ผ่องใส. บทว่า โอทาเตน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 53

วตฺเถน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงความแผ่ซ่านไปแห่งอุณหภูมิเพราะ

ผ้าสกปรกจะไม่มีการแผ่ซ่านไปแห่งอุณหภูมิ ผ้าสะอาดที่ซักในขณะนั้น การ

แผ่ซ่านไปแห่งอุณหภูมิย่อมมีกำลัง. ก็ด้วยอุปมานี้ กรชกายดุจผ้า สุขในจตุตถ-

ฌาน ดุจการแผ่ซ่านไปแห่งอุณหภูมิ เพราะฉะนั้น เมื่อบุรุษอาบน้ำชำระ

กายดีแล้ว นั่งคลุมผ้าสะอาดตลอดศีรษะ อุณหภูมิย่อมแผ่ซ่านไปทั่วผ้าจาก

สรีระ ไม่มีช่องว่างไร ๆ ที่ผ้าจะไม่ถูกต้องฉันใด ไม่มีช่องว่างไร ๆ ที่กรชกาย

ของภิกษุจะไม่ถูกต้องด้วยสุขในจตุตถฌาน ฉันนั้น พึงเห็นความในอุปมานี้ด้วย

ประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง จิตในจตุตถฌานเท่านั้น ดุจผ้า รูปอันมีจิตใน

จตุตถฌานนั้นเป็นสมุฏฐาน ดุจการแผ่ซ่านไปแห่งอุณหภูมิ พึงเห็นความใน

อุปมานี้อย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อผ้าขาวแม้ไม่ถูกต้องกายในส่วนไหน ๆ

อุณหภูมิอันมีกายนั้นเป็นสมุฏฐานเป็นอันถูกต้องกายทุกแห่งแล ฉันใด สุขุม-

รูป อันมีจตุตถฌานเป็นสมุฏฐาน เป็นอันถูกต้องกายของภิกษุทุกแห่งฉันนั้นแล.

บทว่า ปจฺจเวกฺขณนิมิตฺต ได้แก่ ปัจจเวกขณญาณนั่นเอง. บทว่า

สุคฺคหิต โหติ ความว่า ฌานวิปัสสนาและมรรคเป็นธรรม อันภิกษุนั้น

ถือเอาแล้วด้วยดี ฉันใด ปัจจเวกขณนิมิตก็เป็นข้ออันภิกษุนั้นถือเอาแล้ว

ด้วยดี ด้วยปัจจเวกขณนิมิตต่อ ๆ นั่นเอง ฉันนั้น. บทว่า อญฺโวา อญฺ

ได้แก่ คนอื่นคนหนึ่ง พิจารณาดูคนอื่นคนหนึ่ง. เพราะตนย่อมไม่ปรากฏแก่

ตนเอง. บทว่า ิโต วา นิสินฺน ได้แก่ คนนั่งย่อมปรากฏแม้แก่คนยืน.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้อย่างนี้. แม้ไนบทที่เหลือก็นัยนี้

เหมือนกัน.

บทว่า อุทกมณิโก ได้แก่ อ่างน้ำมีสายรัด. บทว่า สมติตฺติโก

แปลว่า เต็มเปี่ยม. บทว่า กากเปยฺยา ได้แก่ กาจับที่ชอบปากไม่ต้องก้มคอ

ก็ดื่มได้ บทว่า สุภูมิย ได้แก่ พื้นเรียบ. ก็พื้นที่สะอาด ชื่อว่า พื้นเรียบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 54

มาในบาลีนี้ว่า บุคคลพึงปลูกพืชทั้งหลายที่พื้นที่ดี ที่นาดี ที่ปราศจากคอ.

บทว่า จาตุมฺมหาปเถ ได้แก่ ในที่ทางใหญ่สองสายผ่านแยกกันไป. บทว่า

อาชญฺรโถ ได้แก่ รถเทียมด้วยม้าที่ฝึกแล้ว. บทว่า โอสตปโฏโท

ความว่า ปฏักที่ห้อย ตั้งขวางไว้โดยอาการที่สารถีขึ้นรถยืนอยู่ สามารถถือ

เอาได้. บทว่า โยคฺคาจริโย แปลว่า อาจารย์ฝึกม้า. ชื่อว่า อสฺสทมฺม-

สารถิ (สารถีผู้ฝึกม้า) เพราะอาจารย์ฝึกม้านั้นแหละ ยังม้าที่ฝึกให้วิ่งไป.

บทว่า เยนิจฺฉก ได้แก่ ปรารถนาจะไปโดยทางใด ๆ. บทว่า ยทิจฺฉก

ได้แก่ ประสงค์การไปใด ๆ. บทว่า สาเรยฺย ได้แก่ ขับตรงไปข้างหน้า.

บทว่า ปจฺจาสาเรยย ได้แก่ พึงขับกลับ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัส

สมาปัตติบริกรรมด้วยองค์ ๕ ในภายหลังอย่างนี้แล้วทรงแสดงอานิสงส์แห่ง

สมาบัติอันคล่องแคล่วด้วยอุปมา ๓ เหล่านี้ บัดนี้ เพื่อทรงแสดงลำดับแห่ง

อภิญญาของพระขีณาสพ จึงตรัสคำมีอาทิว่า โส สเจ อากงฺขติ ดังนี้.

คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอังคิกสูตรที่ ๘

๙. จังกมสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการจงกรม ๕ ประการ

[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เดินจงกรมย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล ๑

ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาพาธน้อย ๑ อาหาร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 55

ที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมย่อยไปโดยดี ๑ สมาธิที่ได้เพราะการเดินจงกรม

ย่อมตั้งอยู่ได้นาน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเดินจงกรม ๕ ประการ

นี้แล.

จบจังกมสูตรที่ ๙

อรรถกถาจังกมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจังกมสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อทฺธานกฺขโม โหติ ได้แก่ เมื่อเดินทางไกลก็เดินได้ทน คือ

อดทนได้. บทว่า ปธานกฺขโม ได้แก่ เพียรได้ทน. บทว่า จงฺกมาธิคโต

จ สมาธิ ได้แก่ สมาธิแห่งสมาบัติ ๘ อย่างใดอย่างหนึ่ง อันผู้อธิษฐาน

จงกรมถึงแล้ว. บทว่า จิรฏิติโก โหติ แปลว่า ตั้งอยู่ได้นาน. ด้วยว่า

นิมิตอันผู้ยืนอยู่ถือเอาเมื่อนั่งก็หายไป นิมิตอันผู้นั่งถือเอาเมื่อนอนก็หายไป

ส่วนนิมิตอันผู้อธิษฐานจงกรม ถือเอาในอารมณ์ที่หวั่นไหวแล้วเมื่อยืนก็ดี นั่ง

ก็ดี นอนก็ดี ย่อมไม่หายไป.

จบอรรถกถาจังกมสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 56

๑๐. นาคิตสูตร

ว่าด้วยการไม่ติดยศและไม่ให้ยศติดตน

[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่ออิจฉานัง-

คละ ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ

ใกล้บ้านพราหมณคาม ชื่ออิจฉานังคละ พราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้าน

อิจฉานังคละได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุล

เสด็จถึงบ้านอิจฉานังคละ ประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์ ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้

พราหมณคามชื่ออิจฉานังคละ ก็เกียรติศัพท์อันงามของท่านพระสมณโคดม

พระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็น

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย

พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ-

พราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมไพเราะ ในเบื้องต้น

ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ

พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย

เห็นปานนั้น เป็นการดีแล ดังนี้ ครั้งนั้นพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจ-

ฉานังคละ เมื่อล่วงราตรีไป จึงพากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นจำนวนมาก

เข้าไปทางไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ครั้นแล้ว ได้ยืนชุมนุมกันที่ซุ้มประตูด้าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 57

นอก ส่งเสียงอื้ออึง สมัยนั้น ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระนาคิตะว่า ดูก่อนนาคิตะ ก็พวก

ใครส่งเสียงอื้ออึงอยู่นั้น คล้ายพวกชาวประมงแย่งปลากัน ท่านพระนาคิตะกราบ

ทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละเหล่านั้น

พากันถือของเคี้ยวของฉันเป็นจำนวนมาก มายืนประชุมกันที่ซุ้มประตูด้านนอก

เพื่อถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์.

พ. ดูก่อนนาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่พึงได้

ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิด

แต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก สุขอันเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่

ความตรัสรู้ ที่เราพึงได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบากนี้

ผู้นั้นพึงยินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอน และสุขที่อาศัยลาภ สักการะและ

การสรรเสริญ.

นา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ ขอ

พระสุคตทรงรับ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงรับ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจักเสด็จไปทางใดๆ พราหมณ์และคฤหบดีชาวนิคมและชาวชนบท ก็จัก

หลั่งไหลไปทางนั้น ๆ เหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงมา น้ำก็ย่อมไหลไปตามที่

ลุ่ม ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จไปทางใด ๆ พราหมณ์และคฤหบดีชาว

นิคมและชาวชนบท ก็จักหลั่งไหลไปทางนั้น ๆ ฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะศีลและปัญญาของผู้มีพระภาคเจ้า.

พ. ดูก่อนนาคิตะ เราไม่ติดยศ และยศก็ไม่ติดเรา ผู้ใดแลไม่พึงได้

ตามความปรารถนา ไม่พึงได้โดยไม่ยาก ไม่พึงได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอัน

เกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก สุขอันเกิดแต่ความสงบ สุขอันเกิดแต่

ความตรัสรู้ ที่เราพึงได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 58

นี้ ผู้นั้นพึงยินดีสุขที่ไม่สะอาด สุขในการนอน และสุขที่อาศัยลาภ สักการะ

และการสรรเสริญ ดูก่อนนาคิตะ อาหาร ที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อมมี

อุจจาระและปัสสาวะเป็นผล นี้เป็นผลแห่งอาหารนั้น ความรักมีโสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ที่เกิดขึ้นเพราะสิ่งที่รักแปรปรวนเป็นอื่นเป็นผล

นี้เป็นผลแห่งความรักนั้น ความเป็นของปฏิกูลในอสุภนิมิต ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุ

ผู้ขวนขวายการประกอบตามอสุภนิมิต นี้เป็นผลแห่งการประกอบตามอสุภนิมิต

นั้น ความเป็นของปฏิกูลในผัสสะ ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง

ในผัสสายตนะ ๖ อยู่ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในผัสสายตนะ

นั้น ความเป็นของปฏิกูลในอุปาทาน ย่อมตั้งอยู่แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นความเกิด

และความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้เป็นผลแห่งการพิจารณาเห็นความเกิดและ

ความดับในอุปาทานขันธ์.

จบนาคิตสูตรที่ ๑๐

จบปัญจังคิกวรรคที่ ๓

อรรถกถานาคิตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนาคิตสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่าอุจฺจาสทฺทมหาสทฺทา เพราะชื่อว่ามีเสียงสูงเพราะเสียงขึ้นไป

เบื้องบน และชื่อว่ามีเสียงดังเพราะเสียงเป็นกลุ่มก้อน จริงอยู่เมื่อชนทั้งหลาย

มีกษัตริย์มหาศาลและพราหมณ์มหาศาลเป็นต้น ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ถือสักการะ

เป็นอันมาก พากันเดินมา เมื่อพวกเขาพูดว่า ท่านจงให้โอกาสแก่คนโน้น

จงให้โอกาสแก่คนโน้นดังนี้ เมื่อต่างคนต่างพูดกันอย่างนี้ว่า เราไม่มีโอกาส

ก่อนดังนี้ เสียงก็สูงและดัง. บทว่า เกวฏฺฎา มญฺเ มจฺเฉ วิโลเปนฺติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 59

แปลว่า ชะรอยชาวประมง. จริงอยู่ เมื่อชาวประมงเหล่านั้น ถือกระจาดใส่ปลา

เดินมาในตลาดขายปลา ย่อมจะมีเสียงเช่นนี้ของหมู่ชนผู้ซึ่งต่างพูดกันว่า ขาย

ให้ข้านะ ขายให้ข้านะดังนี้.

บทว่า มิฬฺหสุข ได้แก่สุขไม่สะอาด. บทว่า มิทฺธสุข ได้แก่สุข

ในการหลับ. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกสุข ได้แก่สุขเกิดขึ้นเพราะอาศัยลาภ

สักการะและการสรรเสริญ. บทว่า ตนินฺนาว ภวิสฺสนฺติ ท่านอธิบายว่า

ชนทั้งหลายจักไป คือจักติดตามไปยังที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปแล้วนั่น

แหละ. บทว่า ตถา หิ ภนฺเต ภควโต สีลปญฺาณ ความว่าเพราะเหตุ

ที่ศีลและความมีชื่อเสียงของพระองค์มีอยู่อย่างนั้น.

บทว่า มา จ มยา ยโส ความว่า แม้ยศก็อย่าร่วมไปกับเราเลย. บทว่า

เอโส ตสฺส นิสฺสนฺโท ได้แก่นี้เป็นผลสำเร็จแห่งความเป็นของไม่สะอาด.

บทว่า ปิยาน ได้แก่ที่ให้เกิดน่ารัก. บทว่า เอโส ตสฺส นิสฺสนฺโท

ได้แก่ นี้เป็นผลสำเร็จแห่งความเป็นของน่ารัก. บทว่า อสุภนิมิตฺตานุโยค

ได้แก่ประกอบเนืองๆ ซึ่งอสุภกรรมฐาน. บทว่า สุภนิมิตฺเต ได้แก่อิฏฐารมณ์

อันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ. บทว่า เอโส ตสฺส นิสฺสนฺโท ได้แก่นี้เป็นผล

สำเร็จแห่งการประกอบเนืองๆ ซึ่งอสุภนิมิตนั้น. ในสูตรนี้ตรัสวิปัสสนาในฐานะ

๕ เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถานาคิตสูตรที่ ๑๐

จบปัญจังคิกวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมคารวสูตร ๒. ทุติยคารวสูตร ๓. อุปกิเลสสูตร ๔. ทุส-

สีลสูตร ๕. อนุคคหสูตร ๖. วิมุตติสูตร ๗. สมาธิสูตร ๘. อังคิกสูตร

๙. จังกมสูตร ๑๐. นาคิตสูตร และอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 60

สุมนวรรคที่ ๔

สุมนสูตร

ว่าด้วยเทวดามีความพิเศษต่างกันด้วยเหตุ ๕

[๓๑] ครั้งนั้นแล สุมนาราชกุมารี แวดล้อมด้วยรถ ๕๐๐ คัน

และราชกุมารี ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ๒ คน มีศรัทธา

มีศีล มีปัญญาเท่า ๆ กัน คนหนึ่งเป็นผู้ให้ คนหนึ่งไม่ให้ คนทั้งสองนั้น เมื่อ

ตายไปแล้ว พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นเทวดา

เหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนสุมนา คนทั้งสองนั้นพึงมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้เป็นเทวดา

ย่อมข่มเทวดาผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ

และอธิปไตยที่เป็นทิพย์ ดูก่อนสุมนา ผู้ที่ให้เป็นเทวดา ย่อมข่มเทวดาผู้

ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าเทวดาทั้งสองนั้นจุติจากเทวโลกนั้น

แล้ว มาสู่ความเป็นมนุษย์ แต่คนทั้งสองนั้น ทั้งที่เป็นมนุษย์เหมือนกัน

พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ.

พ. ดูก่อนสุมนา คนทั้งสอง มีความพิเศษแตกต่างกัน คือ ผู้ให้

เป็นมนุษย์ ย่อมข่มคนไม่ให้ได้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ อายุ วรรณะ

สุข ยศ และอธิปไตยที่เป็นของมนุษย์ ดูก่อนสุมนา ผู้ให้เป็นมนุษย์ย่อม

ข่มคนผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 61

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าคนทั้งสองนั้น ออกบวช แต่คนทั้งสอง

นั้น ทั้งที่เป็นบรรพชิตเหมือนกัน พึงมีควานพิเศษแตกต่างกันหรือ.

พ. ดูก่อนสุมนา คนทั้งสองนั้นมีความพิเศษแตกต่างกัน คือ คน

ที่ให้เป็นบรรพชิต ย่อมข่มคนที่ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ เมื่อออกปาก

ขอย่อมได้จีวรมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้

บิณฑบาตมาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้เสนาสนะ

มาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย เมื่อออกปากขอย่อมได้บริขารคือยาที่เป็น

เครื่องบำบัดไข้มาก เมื่อไม่ออกปากขอย่อมได้น้อย และจะอยู่ร่วมกับเพื่อน

พรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อนพรหมจรรย์เหล่านั้นก็ประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรม

วจีกรรม มโนกรรม เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก ไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย

ย่อมนำสิ่งเป็นที่พอใจมาเป็นส่วนมาก ย่อมนำสิ่งไม่เป็นที่พอใจมาเป็นส่วนน้อย

ดูก่อนสุมนา ผู้ให้เป็นบรรพชิต ย่อมข่มผู้ไม่ให้ด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าคนทั้งสองนั้นบรรลุอรหัต แต่คนทั้ง-

สองนั้นทั้งที่ได้บรรลุอรหัตเหมือนกัน พึงมีความพิเศษแตกต่างกันหรือ.

พ. ดูก่อนสุมนา เราไม่กล่าวว่ามีเหตุแตกต่างกันใด ๆ ในวิมุตติ

กับวิมุตติ ข้อนี้.

สุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญไม่เคยมี

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้กำหนดได้ว่า ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะ

บุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต.

พ. อย่างนั้นสุมนา อย่างนั้นสุมนา ควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะ

บุญเป็นอุปการะแม้แก่เทวดา แม้แก่มนุษย์ แม้แก่บรรพชิต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 62

ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไป

ในอากาศย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งปวงใน

โลก ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์

ด้วยศีล มีศรัทธา ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์

กว่าผู้ตระหนี่ทั้งปวงในโลกด้วยจาคะ. เมฆ

ที่ลอยไปตามอากาศ มีสายฟ้าปลาบแปลบ

มีช่อตั้งร้อย ตกรดแผ่นดินเต็มที่ดอนและ

ที่ลุ่ม ฉันใด สาวกของพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะ เป็นบัณฑิต

ก็ฉันนั้น ย่อมข่มผู้ตระหนี่ได้ด้วยฐานะ ๕

ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข ยศ และ

เปี่ยมด้วยโภคะ ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์

ในปรโลก ดังนี้.

จบสุมนสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 63

อรรถกถาสุมนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุมนสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุมนา ราชกุมาร ได้แก่ เจ้าหญิง ผู้ได้พระนามอย่างนั้น

เพราะทรงกระทำมหาสักการะแล้ว ทรงตั้งความปรารถนาไว้. ความพิสดาร

มีว่า ครั้งพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพวกชาวเมืองคิดกันว่า พวกเรา

ทำการรบเสร็จแล้ว จักยึดพระศาสดาของพวกเราไว้ จึงริเริ่มที่จะได้พระสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อาศัยเสนาบดีแล้วทำบุญตามลำดับ ในวันแรก ๆ

แห่งวันทั้งหมดเป็นวาระของเสนาบดี. ในวันนั้นเสนาบดีเตรียมมหาทาน

วางคนรักษาการณ์ไว้โดยรอบสั่งว่า วันนี้ พวกเจ้าจงคอยรักษาการณ์ไว้โดยที่

ใคร ๆ อื่นจะไม่ถวายแม้ภิกษาสักอย่างหนึ่ง. วันนั้นภรรยาเศรษฐีร้องไห้ พูด

กะธิดา ซึ่งเล่นกับพวกหญิงสาว ๕๐๐ คนกลับมาแล้วว่า ลูกเอ๋ย หากว่าบิดา

ของลูกยังมีชีวิตอยู่ วันนี้แม่ต้องนิมนต์พระทศพลฉันเป็นรายแรก. ลูกสาว

พูดกะมารดาว่า แม่จ๋า แม่อย่าคิดเลย ลูกจักทำโดยวิธีที่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุข จักฉันภิกษาของเราเป็นรายแรก ต่อจากนั้น ธิดาจึงบรรจุข้าว-

ปายาสที่ไม่มีน้ำลงในถาดทองคำมีค่าแสนหนึ่งจนเต็ม แล้วปรุงด้วยเนยใส

น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดเป็นต้น เอาถาดอีกถาดหนึ่งครอบ เอาพวงมาลัย

ดอกมะลิล้อมภาชนะนั้น ทำคล้ายพวงดอกไม้ ครั้นได้เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จเข้าไปบ้าน นางยกเองมีหมู่ทาสีแวดล้อมออกจากเรือนไป. ครั้นถึง

ระหว่างทาง พวกคนรับใช้ของเสนาบดีพูดว่า แม่หนูอย่ามาทางนี้. ธรรมดา

ผู้มีบุญมาก ย่อมมีถ้อยคำต้องใจคน ถ้อยคำของคนรับใช้เสนาบดีเหล่านั้น

ซึ่งพูดแล้วพูดเล่า ก็ไม่อาจห้ามไว้ได้. นางกล่าวว่า ท่านอา ท่านลุง ท่านน้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 64

ทำไมท่านไม่ให้เราเข้าไปเล่า. คนรับใช้กล่าวว่า แม่หนู ท่านเสนาบดีตั้งพวก

เราให้คอยรักษาการณ์ โดยสั่งว่า พวกเจ้าจงอยู่ให้ใคร ๆ อื่นนำของเคี้ยว

และของกินเข้ามาเป็นอันขาด. นางกล่าวว่า ก็พวกท่านเห็นของเคี้ยวของกิน

ในมือของฉันหรือ. คนรับใช้พูดว่า เห็นแต่พวงดอกไม้จ้ะ. นางถามว่า ท่าน

เสนาบดีของพวกท่านไม่ให้ทำแม้การบูชาด้วยดอกไม้ด้วยหรือ. คนรับใช้พูดว่า

ให้จ้ะแม่หนู. นางกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพวกท่านหลีกไปสิ แล้วเข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงให้รับ

พวงดอกไม้เถิดพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูคนรับใช้ของเสนาบดี

คนหนึ่ง แล้วให้รับพวงดอกไม้ไว้ นางถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว

ตั้งความปรารถนาว่า เมื่อข้าพระบาทบังเกิดในภพน้อยภพใหญ่ ขออย่าให้มี

ชีวิตอยู่ด้วยความหวาดสะดุ้งเลย ในภพที่ข้าพระบาทเกิด ขอให้เป็นที่รักดุจ

พวงดอกไม้นี้ และขอให้มีชื่อว่า สุมนาเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เจ้า

จงมีความสุขเถิด ดังนี้ นางถวายบังคมแล้วกระทำประทักษิณ กราบทูลลา

กลับไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปยังเรือนของเสนาบดีประทับนั่งเหนือ

อาสนะที่เขาปูไว้ เสนาบดีถือข้าวยาคูน้อมเข้าไปถวาย. พระศาสดาทรงเอา

พระหัตถ์ปิดบาตรไว้. เสนาบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หมู่ภิกษุนั่งแล้ว

พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า เราได้บิณฑบาตหนึ่งในระหว่างทาง. เสนาบดี

นำมาลาออกได้เห็นบิณฑบาต . จูฬุปัฏรากคนรับใช้ใกล้ชิดกล่าวว่า นายขอรับ

ผู้หญิงพูดลวงกระผมว่าดอกไม้. ข้าวปายาสเพียงพอแก่ภิกษุทั้งหมด นับแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้นไป เสนาบดีได้ถวายไทยธรรมของตน. พระศาสดา

เสวยเสร็จแล้ว ตรัสมงคลกถาเสด็จกลับ. เสนาบดีถามว่า หญิงที่ถวายบิณฑบาต

ชื่อไร. ธิดาเศรษฐีขอรับ. เสนาบดีคิดว่า หญิงมีปัญญา เมื่อมาอยู่ในเรือน

ชื่อว่า สวรรค์สมบัติของบุรุษไม่ใช่หาได้ยากเลย ดังนี้ จึงนำนางนั้นมาตั้งไว้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 65

ในตำแหน่งหัวหน้า. นางก็จับจ่ายทรัพย์ในเรือนของมารดาและในเรือนของ

เสนาบดี ถวายทานแด่พระตถาคตบำเพ็ญบุญตลอดอายุ ครั้นจุติจากนั้นก็ไป

บังเกิดในเทวโลกฝ่ายกามาวจร. ในขณะที่นางเกิดนั้นเอง ฝนดอกมะลิตกเต็ม

ทั่วเทวโลกประมาณแค่เข่า. ทวยเทพคิดว่า เทพธิดานี้ถือเอาชื่อของตนด้วย

ตนเองมา จึงตั้งชื่อเทพธิดานั้นว่า สุมนา. เทพธิดานั้นท่องเที่ยวไปในเทวโลก

และมนุษยโลกตลอด ๙๙ กัป ในที่ที่นางเกิดแล้ว ๆ ฝนดอกมะลิก็ตกไม่ขาด

จึงมีชื่อว่า สุมนา อย่างเดิม ก็ครั้งนี้นางได้ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระ-

อัครมเหสีของพระเจ้าโกศล ในวันนั้นเอง กุมาริกา ๕๐๐ ก็ถือปฏิสนธิในตระกูล

นั้น ๆ แล้วคลอดจากครรภ์มารดาในวันเดียวกันหมด. ในขณะนั้นเอง ฝน

ดอกมะลิตกประมาณแค่เข่า.

พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระธิดานั้นทรงปลื้มพระทัยว่า ราชธิดา

นี้จักเป็นผู้สร้างบุญกุศลมาก่อน ทรงดำริว่า ธิดาของเราถือเอาชื่อของตน

ด้วยตนเองมา จึงพระราชทานพระนามของพระธิดานั้นว่า สุมนา แล้วทรงให้

ค้นหาทั่วพระนครด้วยทรงดำริว่า ธิดาของเราคงจะไม่เกิดเพียงผู้เดียวเท่านั้น

ทรงสดับว่า มีทาริกา ๕๐๐ เกิด จึงโปรดเกล้าให้เลี้ยงไว้ทั้งหมดด้วยพระองค์

เอง รับสั่งว่า เมื่อถึงเดือนหนึ่ง ๆ พวกเจ้าจงนำมาแสดงแก่ธิดาของเราดังนี้.

พึงทราบว่า พระธิดาทรงกระทำมหาสักการะ แล้วตั้งความปรารถนาไว้ จึงได้

พระนามอย่างนี้. เวลาพระธิดามีพระชนม์ได้ ๗ พระชันษา เมื่ออนาถปิณฑิก-

เศรษฐี สร้างวิหารเสร็จ จึงส่งทูตไปกราบทูลพระตถาคต พระศาสดามีหมู่

ภิกษุเป็นบริวารได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี.

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ไปกราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ข้าแต่

พระมหาราชเจ้า การเสด็จมา ณ ที่นี้ของพระศาสดา เป็นมงคลทั้งแก่ข้า-

พระองค์ ทั้งแด่พระองค์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ พระสุมนาราชกุมารี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 66

พร้อมด้วยทาริกา ๕๐๐ ถือหม้อน้ำและของหอมและดอกไม้เป็นต้น รับเสด็จ

พระทศพลเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ดีแล้วเศรษฐี แล้วทรงกระทำ

ตามนั้น. พระธิดาก็เสด็จไปตามที่พระราชาทรงแนะนำ ถวายบังคมพระศาสดา

แล้วทรงบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วประทับอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระธิดา. พระธิดาพร้อมด้วยกุมารี ๕๐๐ ตั้งอยู่

ในโสดาปัตติผล. ทาริกา ๕๐๐ มาตุคาม ๕๐๐ และอุบาสก ๕๐๐ แม้เหล่าอื่น

ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลในขณะนั้นเหมือนกัน. ในวันนั้นมีโสดาบัน ๒,๐๐๐

ในระหว่างทางนั้นเอง

บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ถามว่า เพราะเหตุใด จึงเข้าไปเฝ้า.

ตอบว่า เพราะทรงต้องการถามปัญหา. ได้ยินว่า ครั้งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

ได้มีภิกษุสองรูปเป็นสหายกัน. ในภิกษุสองรูปนั้น รูปหนึ่งบำเพ็ญสาราณีย-

ธรรม รูปหนึ่งบำเพ็ญภัตตัคควัตร. รูปที่บำเพ็ญสาราณียธรรม กล่าวกะรูปที่

บำเพ็ญภัตตัคควัตรว่า ผู้มีอายุ ชื่อว่า ทานที่ไม่ให้ผล ย่อมไม่มี การให้

ของที่ตนได้แก่ผู้อื่น แล้วบริโภคจึงควรดังนี้. แต่รูปที่บำเพ็ญภัตตัคควัตร

กล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านไม่รู้หรือการให้ไทยธรรมตกไปไม่ควร ผู้ที่ถือเอาเพียง

อาหารยังชีวิตของตนให้เป็นไปได้เท่านั้น บำเพ็ญวัตรในโรงครัวจึงควร. ใน

ภิกษุสองรูปนั่น แม้รูปหนึ่งก็ไม่อาจจะให้อีกรูปหนึ่งอยู่ในโอวาทของตนได้. แม้

ทั้งสองรูปบำเพ็ญข้อปฏิบัติของตน ครั้นจุติจากภพนั้น ก็บังเกิดในเทวโลก

ฝ่ายกามาพจร บรรดาภิกษุสองรูปนั้น รูปที่บำเพ็ญสาราณียธรรม ล้ำภิกษุ

อีกรูปหนึ่งด้วยธรรม ๕ อย่าง ภิกษุเหล่านั้นเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์สิ้น

ไปพุทธันดรหนึ่ง จึงเกิดในกรุงสาวัตถีในเวลานี้. รูปที่บำเพ็ญสาราณียธรรมถือ

ปฏิสนธิในพระครรภ์ของอัครมเหสีของพระเจ้าโกศล อีกรูปหนึ่งถือปฏิสนธิใน

ท้องของหญิงรับใช้ ของพระอัครมเหสีนั้นเหมือนกัน. คนแม้ทั้งสองเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 67

ก็เกิดในวันเดียวกันนั่นเอง. ในวันตั้งชื่อ มารดาให้คนเหล่านั้นอาบน้ำ แล้วให้

นอนในห้องประกอบด้วยสิริ จัดเตรียมของขวัญในภายนอกไว้ให้แก่คน แม้

ทั้งสอง. บรรดาคนเหล่านั้น คนที่บำเพ็ญสาราณียธรรมพอลืมตาก็เห็นเศวต-

ฉัตรใหญ่ ที่นอนประกอบด้วยสิริที่เขาไว้เป็นอย่างดี และนิเวศน์ประดับ

ด้วยเครื่องอลังการ จึงได้รู้ว่า เราเกิดในราชตระกูลแห่งหนึ่งดังนี้. เขานึก

อยู่ว่า เราทำกรรมอะไรหนอ จึงได้เกิดในที่นี้ดังนี้ ก็รู้ว่า ด้วยผลของการ

บำเพ็ญสาราณียธรรมดังนี้ จึงนึกว่า สหายของเราเกิดที่ไหนหนอ ก็ได้เห็น

เขานอน บนที่นอนต่ำ คิดว่า ผู้นี้บำเพ็ญวัตรในโรงครัว ไม่เชื่อคำของเรา

คราวนี้เราจะข่มเขาในฐานะนี้ก็ควร จึงได้พูดว่า เพื่อน เจ้าไม่เชื่อคำของเรา.

เขาตอบว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น จะเกิดอะไร. เขาได้บอกว่า เจ้าดูสมบัติของเราสิ

เรานอนบนที่นอนมีสิริอยู่ภายใต้เศวตฉัตร เจ้านอนบนเตียงต่ำข้างบนลาดด้วย

ของแข็ง สหายกล่าวว่า ก็ท่านอาศัยสิ่งนั้นแล้วยังทำมานะหรือ ? สิ่งของนั้น

ทั้งหมดเขาเอาซี่ไม้ไผ่นำเอาผ้าขี้ริ้วห่อพันไว้ เป็นเพียงปฐวีธาตุเท่านั้นมิใช่หรือ

ดังนี้.

พระราชธิดาสุมนา ทรงสดับถ้อยคำของคนทั้งสองนั้นแล้ว คิดว่า

ที่ใกล้ ๆ น้องชายทั้งสองของเรา ก็ไม่มีใครดังนี้ เดินเข้าไปใกล้คนเหล่านั้น

ยืนพิงประตู ได้ยินคำว่า ธาตุ แล้วก็คิดว่า คำว่า ธาตุนี้ ในภายนอกก็ไม่มี

น้องชายของเรา จักเป็นสมณเทพบุตร คิดว่าถ้าเราจักบอกแก่มารดาบิดาว่า

คนเหล่านี้ พูดกันอย่างนี้ ท่านก็จักให้นำออกไปด้วยเข้าใจว่า คนเหล่านั้น

เป็นอมนุษย์ดังนี้. เราไม่บอกเหตุนี้แก่คนอื่น จักทูลถามเฉพาะพระทศพล

ผู้เป็นมหาโคตมพุทธบิดาของเรา ซึ่งเป็นเหรัญญิกบุรุษผู้ตัดความสงสัยได้

ดังนี้. เสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จ ก็เข้าไปเฝ้าพระราชาทูลขออนุญาตไปเฝ้า

พระทศพล. พระราชาตรัสสั่งให้จัดรถ ๕๐๐ คัน. ความจริง ในภาคพื้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 68

ชมพูทวีป กุมารีสามคนเท่านั้น ได้รถ ๕๐๐ คัน ในสำนักของบิดาทั้งหลาย

คือ เจ้าหญิงจุนที ราชธิดาของพระเจ้าพิมพิสาร นางวิสาขาธิดาของธนัญชย-

เศรษฐี และเจ้าหญิงสุมนานี้. นางถือเอาของหอมและดอกไม้แล้ว ยืนอยู่ใน

รถซึ่งมีรถ ๕๐๐ เป็นบริวาร จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคิดว่า

เราจักทูลถามปัญหานี้ ดังนี้.

บทว่า อิธสฺสุ แปลว่า พึงมีในที่นี้. บทว่า เอโก ทายโก ความว่า

คนหนึ่งเป็นผู้แบ่งลาภที่ตนได้แล้วให้แก่คนอื่นบริโภคเป็นการบำเพ็ญสาราณีย-

ธรรม. บทว่า เอโก อทายโก ความว่า คนหนึ่งเป็นผู้ไม่แบ่งสิ่งที่ตน

ได้แล้วให้แก่คนอื่นบริโภค เป็นผู้บำเพ็ญวัตรในโรงครัว. บทว่า เทวภูตาน

ปน เนส ได้แก่ คนทั้งสองเหล่านั้น ก็เป็นเทวดา. บทว่า อธิคณฺหาติ

ได้แก่ ถือเอาล้ำหน้า. บทว่า อธิปเตยฺเยน ได้แก่ เหตุของผู้เป็นหัวหน้า.

บทว่า อิเมหิ ปญฺจหิ าเนหิ ความว่า ล้ำหน้าผู้ไม่เป็นทายกด้วยเหตุ

๕ เหล่านี้ เหมือนท้าวสักกเทวราช ล้ำหน้าพวกเทพที่เหลือฉะนั้น.

ในบทเป็นต้นว่า มานุสเกน พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ เป็นหัวหน้า

ล้ำหน้าด้วยเหตุ ๕ เหล่านี้ คือ ด้วยอายุ เหมือนพระมหากัสสปเถระ พระ-

พักกุลเถระและพระอานนทเถระ. ด้วยวรรณะเหมือนพระมหาคติมพอภัยเถระ

และอำมาตย์ผู้เป็นภัณฑาคาริกผู้รักษาเรือนคลัง ด้วยสุข เหมือนรัฏฐปาล-

กุลบุตร โสภณเศรษฐีบุตร และยศกุลบุตร. ด้วยยศทั้งความเป็นใหญ่เหมือน

พระเจ้าธรรมาโศกราช. บทว่า ยาจิโตว พหุล ความว่า เป็นหัวหน้า

ล้ำหน้าด้วยเหตุนี้ว่าเป็นผู้อันเขาวิงวอนจึงบริโภคจีวรเป็นต้น เป็นส่วนมาก

เหมือนพระพักกุลเถระ พระสีวสีลเถระ และพระอานนทเถระเป็นต้น. บทว่า

ยทิท วิมุตฺติยา วิมุตฺต ความว่า เหตุต่าง กันอันใด ที่จะพึงกล่าว

ปรารภวิมุตติของอีกคนหนึ่งกับวิมุตติของคนหนึ่ง เราไม่กล่าวเหตุที่ต่าง ๆ กัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 69

อันนั้น. จริงอยู่ เด็กอายุ ๗ ขวบก็ดี พระเถระอายุ ๑๐๐ ปีก็ดี ไม่ว่าจะเป็น

ภิกษุหรือภิกษุณี อุบาสกหรืออุบาสิกา เทวดาหรือมาร พรหม ก็แทงตลอด

วิมุตติ ในโลกุตรมรรคที่แทงตลอดแล้ว ชื่อว่า ความต่างๆ กันไม่มีเลย.

บทว่า อลเมว แปลว่า ควรแท้. บทว่า ยตฺร หิ นาม เท่ากับ ยานิ

นาม แปลว่า ชื่อเหล่าใด.

บทว่า คจฺฉ อากาสธาตุยา คือ โคจรไปทางอากาศ. บทว่า

สทฺโธ ได้แก่ ผู้เชื่อคุณพระรัตนตรัย. บทว่า ถนย แปลว่า ลอยไป.

บทว่า วิชฺชุมาลี ได้แก่ ประกอบด้วยสายฟ้าแลบอยู่หน้าเมฆเช่นกับมาลา.

บทว่า สตกฺกกุ คือ มียอดตั้งร้อย อธิบายว่า ประกอบด้วยเมฆตั้งร้อยยอด

ที่ตั้งขึ้นทางนี้ทางโน้น. บทว่า ทสฺสนมฺปนฺโน คือ พระโสดาบัน.

บทว่า โภคปริพฺยุฬฺโห ได้แก่ เป็นผู้พรั่งพรูด้วยโภคะที่มีอยู่นำไปให้ด้วย

อำนาจทาน คล้ายห้วงน้ำ. อธิบายว่า ให้ถึงเทวโลก. บทว่า เปจฺจ คือ

ในปรโลก. บทว่า สคฺเค ปโมทติ ความว่า ย่อมปลาบปลื้มปราโมทย์

ในสวรรค์ที่เขาเกิดนั้นนั่นแล.

จบอรรถกถาสุมนสูตรที่ ๑

๒. จุนทิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่อำนวยผลเลิศ

[๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถานใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ราชกุมารีพระนามว่าจุนที แวด

ล้อมด้วยรถ ๕๐๐ คัน และกุมารี ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประ

ทับถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 70

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราชกุมารพระนามว่าจุนทะ พระภาดาของหม่อมฉัน

กล่าวอย่างนี้ว่า หญิงหรือชายเป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรม

เป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจาก

อทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจาก

การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ผู้นั้นตายไปแล้ว

ย่อมเข้าถึงสุคติอย่างเดียว ไม่เข้าถึงทุคติ ดังนี้ หม่อมฉันจึงขอทูลถามว่า

ผู้ที่เลื่อมใสในศาสดาเช่นไร เมื่อตายไปแล้วจึงเข้าถึงสุคติอย่างเดียว ไม่เข้าถึง

ทุคติ ผู้ที่เลื่อมใสในธรรมเช่นไร เมื่อตายไปแล้วจึงเข้าถึงสุคติอย่างเดียว

ไม่เข้าถึงทุคติ ผู้ที่เลื่อมใสในสงฆ์เช่นไร เมื่อตายไปแล้วจึงเข้าถึงสุคติอย่างเดียว

ไม่เข้าถึงทุคติ ผู้ที่ทำให้บริบูรณ์ในศีลเช่นไร เมื่อตายไปแล้ว จึงเข้าถึงสุคติ

อย่างเดียว ไม่เข้าถึงทุคติ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจุนที สัตว์ที่ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้า

ก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มี

สัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคต-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น ชนเหล่าใด

เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศ

ย่อมมีแก่บุคคลที่เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ. ธรรมที่เป็นปัจจัยปรุงแต่งก็ดี ที่ปัจจัย

ไม่ปรุงแต่งก็ดี มีประมาณเท่าใด วิราคะ คือ ธรรมอันย่ำยีความเมา

กำจัดความกระหาย ถอนเสียซึ่งอาลัย เข้าไปตัดวัฏฏะ เป็นที่สิ้นตัณหา

เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ นิพพาน บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น

ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคธรรม ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบาก

อันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ. หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด

สงฆ์สาวกของพระตถาคต คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้สงฆ์สาวก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 71

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้

ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น ชนเหล่าใดเลื่อมใสในสงฆ์

ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ก็วิบากอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้ที่เลื่อมใส

ในสิ่งที่เลิศ. ศีลมีประมาณเท่าใด ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว คือ ศีลที่ไม่ขาด

ไม่ทะลุ ไม่ต่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและ

ทิฏฐิไม่ลูบคลำ เป็นไปเพื่อสมาธิ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าศีลเหล่านั้น ชนเหล่า-

ใดย่อมทำให้บริบูรณ์ในอริยกันตศีล ชนเหล่านั้นชื่อว่าทำให้บริบูรณ์ในสิ่งที่

เลิศ ก็วิบากอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิ่งที่เลิศ.

บุญอันเลิศ คือ อายุ วรรณะ ยศ

เกียรติ สุขและกำลัง ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้

รู้แจ้งธรรมที่เลิศ เลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ คือ

เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักขิ-

ไณยบุคคลชั้นเยี่ยม เลื่อมใสในพระธรรม

ที่เลิศ อันปราศจากราคะ เป็นที่เข้าไปสงบ

เป็นสุข เลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เลิศ เป็น

นาบุญชั้นเยี่ยม ให้ทานในสิ่งที่เลิศ

ปราชญ์ผู้ถือมั่นธรรมที่เลิศ ให้สิ่งที่เลิศ

เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ย่อมถึงสถานที่เลิศ

บันเทิงใจอยู่.

จบจุนทิสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 72

อรรถกถาจุนทิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจุนทิสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปญฺจหิ รถสเตหิ ความว่า เจ้าหญิงจุนทีเสวยพระกระยาหาร

เช้าแล้ว เสด็จเข้าเฝ้าพระชนก ให้จัดรถ ๕๐๐ คัน มีรถเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว.

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า เจ้าหญิงจุนที ดำริว่า เราจักทูลถามข้อสนทนา

ปัญหาที่เราให้เป็นไปกับพระเชษฐภาดา [เจ้าชายจุนทะ] ดังนี้ ถือของหอม

ดอกไม้และจุณเป็นต้น แล้วจึงเข้าไปเฝ้า. บทว่า อเทว โส โหติ ได้แก่

เมื่อใดผู้นั้น. อีกอย่างหนึ่ง ผู้นั้นใด. บทว่า อริยกนฺตานิ สีลานิ ได้แก่

สีลสัมปยุตด้วยมรรคและผล. ก็ศีลเหล่านั้นเป็นศีลอันน่าใคร่ของพระอริยะ

ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงไม่ละแม้ในภพอื่น. บทที่เหลือพึงทราบแม้โดยนัย

ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในอัคคัปปสาทสูตรจตุกนิบาต.

จบอรรถกถาจุนทิสูตรที่ ๒

๓. อุคคหสูตร

ว่าด้วยหน้าที่ของภรรยาที่ดี

[๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ชาติยาวัน

ใกล้เมืองภัททิยะ ครั้งนั้นแล ท่านอุคคหเศรษฐีผู้เป็นหลานท่านเมณฑก-

เศรษฐี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ

ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๓ รูปจงทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 73

ในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ ท่านอุคคหเศรษฐี

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคม

ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไป เป็นเวลาเช้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้วถือบาตรจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของท่าน

อุคคหเศรษฐี ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ ครั้งนั้น ท่านอุคคหเศรษฐี

หลานของเมณฑกเศรษฐี ได้อังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้าให้อิ่มหนำสำราญ ด้วย

ขาทนียโภชนียาหารอย่างประณีตด้วยมือของตนเอง เมื่อทราบว่าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงเสวยเสร็จแล้ว ทรงชักพระหัตถ์จากบาตรแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุมารีเหล่านี้ของข้า-

พระองค์ จักไปอยู่สกุลสามี ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวสอน ทรงพร่ำ

สอนกุมารีเหล่านั้น ซึ่งจะพึงเป็นประโยชน์สุขแก่กุมารีเหล่านั้นตลอดกาลนาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสอนกุมารีเหล่านั้นต่อไปดังนี้ว่า ดูก่อน

กุมารี เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า มารดาบิดาของ

สามีที่เป็นผู้ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูลอนุเคราะห์ด้วยความเอ็นดู

เราทั้งหลายจักตื่นก่อนท่านนอนที่หลังท่าน คอยรับใช้ท่าน ประพฤติ

เป็นที่พอใจท่าน พูดคำเป็นที่รักต่อท่าน ดูก่อนกุมารีทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้

ว่า ชนเหล่าใดเป็นที่เคารพของสามี คือ มารดา บิดา หรือสมณพราหมณ์

เราทั้งหลาย จักสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เมื่อท่านมาถึงที่ก็จักต้อนรับ

ด้วยที่นั่งหรือน้ำ ดูก่อนกุมารีทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล

เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า การงานภายในบ้านของ

สามี คือ การทำขนสัตว์ หรือการทำผ้า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้าน

ในการงานนั้น ๆ จักประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 74

นั้น ๆ อาจทำ อาจจัด ดูก่อนกุมารีทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล

เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักรู้การงาน

ที่อันโตชนภายในบ้านของสามี คือ ทาส คนใช้ หรือกรรมกรทำแล้ว ว่าทำ

แล้ว ที่ยังไม่ได้ทำ ว่ายังไม่ได้ทำ จักรู้คนป่วยไข้ว่ามีกำลังหรือไม่มีกำลัง

และจักแบ่งของเคี้ยวของบริโภคให้ตามเหตุที่ควร ดูก่อนกุมารีทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้

ว่า เราทั้งหลายจักยังทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองที่สามีหามาได้ให้คงอยู่

ด้วยการรักษา คุ้มครอง จักไม่เป็นนักเลงการพนัน ไม่เป็นขโมย ไม่เป็น

นักดื่ม ไม่ผลาญทรัพย์ให้พินาศ ดูก่อนกุมารีทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา

อย่างนี้แล ดูก่อนกุมารีทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

นี้แล เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายเทวดาเหล่ามนาปกายิกา.

สุภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่น

สามีผู้หมั่นเพียร ขวนขวายอยู่เป็นนิตย์

เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ ให้ความปรารถนา

ทั้งปวง ไม่ทำสามีให้ขุ่นเคือง ด้วยประ-

พฤติแสดงความหึงหวงสามี และย่อมบูชา

ผู้ที่เคารพทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยัน ไม่

เกียจคร้าน สงเคราะห์คนข้างเคียงของ

สามี ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี รักษา

ทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใดย่อมประพฤติ

ตามความพอใจของสามีอย่างนี้ นารีนั้น

ย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกา-

ยิกา.

จบอุคคหสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 75

อรรถกถาอุคคหสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุคคหสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภทฺทิเก แปลว่า ใกล้ภัททิกนคร.* บทว่า ชาติยาวเน

ได้แก่ ในป่าชัฏที่เกิดขึ้นเองเขามิได้ปลูกแล้ว เป็นอันเดียวกันกับป่าหิมพานต์.

อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าไปอาศัยนครนั้น ประทับอยู่ในป่านั้น.

บทว่า อตฺตจตุตฺโถ ได้แก่ มีพระองค์เป็นที่ ๔.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร อุคคหเศรษฐีหลานชายเมณฑกเศรษฐีนั้น

จึงนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระองค์เป็นที่ ๔ มีภิกษุไปด้วย ๓ รูป เล่า ?

ตอบว่า ได้ยินว่า ในเรือนของท่านเศรษฐีนั้น ได้มีงานมงคลใหญ่ ด้วยการ

จัดงานใหญ่ ผู้คนเป็นอันมากก็มาชุมนุมกันในเรือนนั้น ท่านคิดว่า ผู้อังคาส

เลี้ยงดูพระภิกษุสงฆ์ คงจักสงเคราะห์ยึดใจผู้คนเหล่านั้นได้ยาก จึงนิมนต์

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระองค์เป็นที่ ๔ เท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านมีความดำริ

อย่างนี้ว่า เมื่อพระศาสดาทรงโอวาทอยู่กลางภิกษุหมู่ใหญ่ สาวรุ่นทั้งหลาย

มัวแต่ดูเสีย ก็ไม่สามารถจะรับเอาพระโอวาทได้. ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ท่าน

จึงนิมนต์เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระองค์เป็นที่ ๔ เท่านั้น.

บทว่า โอวทตุ ตาส ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดโอวาท คือ สั่งสอนสาวรุ่นเหล่านั้น. ที่จริง คำว่า

ตาส เป็นฉัฏฐีวิภัติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัติ. บทว่า ย ตาส ได้แก่

โอวาทานุศาสน์สำหรับสาวรุ่นเหล่านั้น. ก็แลท่านเศรษฐีนั้น ครั้นกราบทูล

แล้วอย่างนี้ คิดว่า สาวรุ่นเหล่านี้เมื่อได้รับโอวาทในสำนักของเรา พึงให้นำ

ไปสกุลสามี ดังนี้ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็หลีกไป.

* บาลีเป็น ภัททิยนคร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 76

บทว่า ภตฺตุ คือ สามี. บทว่า อนุกมฺป อุปาทาย ได้แก่ อาศัย

ความเอ็นดู. บทว่า ปุพฺพุฏฺายินิโย ได้แก่ ปกติตื่นก่อนเขาหมด. บทว่า

ปจฺฉานปาตินิโย ได้แก่ ปกตินอนหลังเขาหมด. ก็หญิงบริโภคแล้วขึ้นที่

นอน นอนก่อนไม่ควร. แต่ให้คนในครัวเรือนทั้งหมดบริโภคแล้ว จัดสิ่งของ

ที่เป็นอุปกรณ์ รู้ว่าโคเป็นต้นที่มาแล้วและยังไม่มา สั่งการงานที่จะพึงทำใน

วันรุ่งขึ้น ถือลูกกุญแจไว้ในมือ ถ้าอาหารมีก็บริโภค ถ้าไม่มีก็ให้คนอื่นหุงหา

แล้วเลี้ยงคนทั้งหมดให้อิ่ม แล้วนอนในภายหลังจึงควร. แม้นอนแล้ว จะนอน

จนตะวันขึ้นก็ไม่ควร แต่ลุกก่อนเขาทั้งหมดแล้ว ให้เรียกทาสและคนงานมา

แล้วสั่งงานว่า ท่านจงทำงานอันนี้ ๆ ให้รีดนมแม่โค ทำกิจที่ควรทำทั้งหมด

ในเรือนไว้เป็นพนักงานของตนจึงควร. พระผู้มีพระภาคเจ้า หมายถึงข้อความ

นั้น จึงตรัสว่า ปุพฺพฺฏฺายินิโย ปจฺฉานิปาตินิโย ตื่นก่อนนอนหลัง

ดังนี้.

บทว่า กึการปฏิสฺสาวินิโย ความว่า มีปกติมองหน้ากันแล้ว

ตรวจดูว่า เราจะทำอะไร เราจะทำอะไรดังนี้. บทว่า มนาปจาริณิโย

ได้แก่ ปกติทำกิริยาแต่ที่น่าพอใจ. บทว่า ปิยวาทินิโย ได้แก่ พูดแต่ถ้อยคำ

ที่น่ารัก. บทว่า ปูชิสฺสาม ได้แก่ บูชาด้วยปัจจัย ๔. บทว่า อพฺภาคเต

ได้แก่ ท่านผู้มาถึงสำนักของตน. บทว่า อาสโนทเกน ปฏิปูเชสฺสาม

ความว่า ต้อนรับด้วยอาสนะและน้ำล้างเท้า. แต่ในข้อนี้ ควรทำสักการะทุกวัน

แก่มารดาบิดา. ส่วนสำหรับสมณพราหมณ์ผู้มาถึงแล้วควรถวายอาสนะน้ำล้าง-

เท้าและควรทำสักการะ.

บทว่า อุณฺณา คือ ขนแกะ. บทว่า ตตฺถ ทกฺขา ภวิสฺสาม

ความว่า จักเป็นผู้ฉลาดในการสางและซัก การย้อมและจัดให้เป็นฟ่อนสำหรับ

ขนแกะทั้งหลาย และในการปั่น แผ่ ยี และกรอเป็นต้นสำหรับฝ่าย. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 77

ตตฺรุปายาย ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นอุบายในการจัดขนสัตว์

และฝ้ายนั้น ที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า เราควรทำงานนี้ในเวลานั้นดังนี้. บทว่า

อล กาตุ อล สวิธาตุ ได้แก่ ตนทำเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นทำก็ดี ก็ควร

ทั้งนั้น อธิบายว่า จักชื่อว่าเป็นผู้สามารถได้ ดังนี้.

บทว่า กตญฺจ กตโต ชานิสฺสาม อกตญฺจ อกตโต ความว่า

เราจักรู้อย่างนี้ว่า เราควรให้สิ่งนี้และทำกิจนี้แก่ผู้มาทำงานชื่อนี้ตลอดทั้งวัน

ผู้มาทำงานชื่อนี้ครึ่งวัน แก่ผู้เสร็จงาน แก่ผู้นั่งอยู่ในเรือน ดังนี้. ด้วยบทว่า

คิลานกานญฺจ พลาพล ท่านแสดงว่า ก็ถ้าว่าเขาให้ยาและอาหารเป็นต้น

แก่คนเหล่านั้นในเวลาเจ็บไข้ไม่ทำให้แสลงแก่โรค คนเหล่านี้ย่อมทำสิ่งที่ตน

ปรารถนาในเวลาเราไม่มีโรค ในเวลาเจ็บไข้ ก็ไม่รู้ว่าเรามีอยู่ ดังนั้นเขาเป็น

ผู้เหนื่อยหน่ายไม่ทำกิจทั้งหลายในภายหลัง หรือทำกิจที่ควรทำ เพราะฉะนั้น

เจ้าทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักรู้ความมีกำลังและไม่มีกำลังของคน

เหล่านั้นแล้ว จักรู้สิ่งที่พึงให้และกิจที่ควรทำ.

บทว่า ขาทนีย โภชนีย จสฺส ได้แก่ จักแจกจ่ายของเคี้ยวและ

ของกินแก่คนภายใน. บทว่า ปจฺจยเสน คือ ตามส่วนที่เขาควรจะได้

อธิบายว่า ตามสมควรแก่ส่วนอันตนพึงได้. บทว่า สวิภชิสฺสาม คือ

จักให้. บทว่า สมฺปาเทสฺสาม คือ จักให้ถึงพร้อม. บทว่า อธุตฺตี ได้แก่

ไม่เป็นหญิงนักเลง โดยเป็นนักเลงผู้ชาย และนักเลงสุรา. บทว่า อเถนี

คือ ไม่เป็นหญิงขโมย ไม่เป็นหญิงโจร. บทว่า อโสณฺฑี คือ ไม่เป็น

นักเลง มีนักเลงสุราเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า จบพระสูตรอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงสรุปด้วย

คาถาทั้งหลาย จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โย น ภชติ สพฺพทา ดังนี้. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า ภรติ ได้แก่ หาเลี้ยง บำรุง. บทว่า สพฺพกามหร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 78

คือ ให้สิ่งน่าใคร่ทั้งปวง. บทว่า โสตฺถี แปลว่า เป็นหญิงที่ดี. บทว่า

เอว วตฺตติ ได้แก่ ประพฤติวัตรประมาณเท่านี้ให้บริบูรณ์. บทว่า มนาปา

นาม เต เทวา ได้แก่ เทวดาชั้นนิมมานรดี. ก็จริงอยู่ เทวดาเหล่านั้น

เรียกกันว่า นิมมานรดีและมนาปา เพราะเนรมิตรูปที่ตนปรารถนา ๆ แล้ว

อภิรมย์.

จบอรรถกถาอุคคหสูตรที่ ๓

๔. สีหสูตร

ว่าด้วยผลแห่งทาน ๕ ประการ

[๓๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่กูฏาคาร-

ศาลาป่ามหาวัน. ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้-

มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

แล้ว ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสามารถ

บัญญัติผลแห่งทานที่จะพึงเห็นได้ในปัจจุบันหรือหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

สามารถ ท่านสีหเสนาบดี แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อนท่านสีหเสนาบดี

ทายกผู้เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก แม้ข้อนี้เป็น

ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง.

อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาทายกผู้เป็นทานบดี แม้ข้อ

นี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง.

อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของทายกผู้เป็นทานบดีย่อมขจร

แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 79

อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดี จะเข้าไปอยู่ที่ประชุมใด ๆ คือ

ที่ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ก็ย่อมเป็นผู้องอาจไม่เก้อเขิน

เข้าไป แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง.

อีกประการหนึ่ง ทายกผู้เป็นทานบดี เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ แม้ข้อนี้ก็เป็นผลแห่งทานที่จะพึงได้ในสัมปรายภพ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว สีหเสนาบดีจึงทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๔ ข้อ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสบอกแล้ว ข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อผู้มีพระภาคเจ้าในผลแห่งทาน ๔ ข้อ

นี้ก็หามิได้ แม้ข้าพระองค์เองก็ทราบดี คือ ข้าพระองค์เป็นทายก เป็นทานบดี

ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของชนเป็นอันมาก สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาข้า

พระองค์ ผู้เป็นทายกเป็นทานบดี กิตติศัพท์อันงามของข้าพระองค์ผู้เป็นทายก

เป็นทานบดี ย่อมขจรทั่วไปว่า สีหเสนาบดีเป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้

บำรุงพระสงฆ์ ข้าพระองค์ผู้เป็นทายก เป็นทานบดี จะเข้าไปสู่ที่ประชุม

ใด ๆ คือที่ประชุมกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ก็ย่อมเป็นผู้แกล้ว

กล้าไม่เก้อเขินเข้าไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง ๔

ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกแล้ว ข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าในผลแห่งทาน ๔ ข้อนี้ ก็หามิได้ แม้ข้าพระองค์เองก็ย่อมทราบดี

ส่วนผลแห่งทานที่จะพึงเห็นเอง (ข้อที่ ๕) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกข้า-

พระองค์ว่า ทายกผู้เป็นทานบดีเมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบ ก็แต่ว่าข้าพระองค์ย่อมเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าใน

ข้อนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสย้ำว่า อย่างนั้นท่านสีหะ อย่างนั้นท่านสีหะ

ทายกผู้เป็นทานบดี เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 80

นรชนผู้ไม่ตระหนี่ให้ทาน ย่อมเป็น

ที่รักของชนเป็นอันมาก ชนเป็นอันมาก

ย่อมคบหานรชนนั้น นรชนนั้นย่อมได้

เกียรติ มียศ เจริญ เป็นผู้ไม่เก้อเขิน

แกล้วกล้าเข้าสู่ที่ประชุมชน เพราะเหตุ

นี้แล บัณฑิตผู้หวังสุข จงขจัดมลทิน คือ

ความตระหนี่แล้วให้ทาน บัณฑิตเหล่านั้น

ย่อมประดิษฐานในไตรทิพย์ ถึงความเป็น

สหายของเทวดา ร่าเริงอยู่ตลอดกาลนาน

บัณฑิตเหล่านั้น ได้ทำสิ่งที่มุ่งหวัง ได้ทำ

กุศลแล้ว จุติจากโลกนี้แล้ว ย่อมมีรัศมี

เปล่งปลั่ง เที่ยวชมไปในอุทยานชื่อนันทนวัน

ย่อมเพรียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เพลิด-

เพลินรื่นเริงบันเทิงใจอยู่ในนันทนวัน

สาวกทั้งปวงของพระสุคตผู้ไม่มีกิเลส ผู้

คงที่ ทำตามพระดำรัสของพระองค์แล้ว

ย่อมร่าเริงทุกเมื่อ.

จบสีหสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 81

อรรถกถาสีหสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสีหสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สนฺทิฏฺิก ได้แก่ ที่พึงเห็นเอง. บทว่า ทายโก คือ

เป็นผู้กล้าในการให้. อธิบายว่า ไม่ใช่หยุดอยู่ด้วยเหตุเพียงเชื่อว่าทานเป็นของดี

เท่านั้น ยังสามารถแม้บริจาคได้ด้วย. บทว่า ทานปติ ได้แก่ ให้ทานใดก็เป็น

เจ้าแห่งทานนั้นให้. ไม่ใช่ทาส และ ไม่ใช่สหายทาน. ก็ผู้ใดตนเองบริโภคของ

อร่อย แต่ให้ของไม่อร่อยแก่บุคคลอื่น ผู้นั้นเป็นทาสแห่งไทยธรรม กล่าวคือ

ทานให้. ผู้ใดตนเองบริโภคสิ่งใด ให้สิ่งนั้นแล ผู้นั้นเป็นสหายแห่งทานให้.

ฝ่ายผู้ใดตนเองยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยของธรรมดา ๆ แต่ให้ของที่อร่อยแก่

พวกคนอื่น ผู้นั้นชื่อว่าเป็นเจ้า เป็นใหญ่ เป็นเจ้าของให้. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสหมายถึง ทายกผู้เป็นเช่นนั้นว่าเป็นทานบดี ดังนี้.

บทว่า อมงฺกุภูโต ได้แก่ ไม่ใช่เป็นผู้ไร้อำนาจ. บทว่า วิสารโท

คือ ได้โสมนัสประกอบด้วยญาณ. บทว่า สหพฺยคตา คือ ถึงความร่วมกัน

เป็นอันเดียวกัน. บทว่า กตาวกาสา ความว่า ชื่อว่ามีโอกาสอันทำแล้ว

เพราะตนกระทำกรรมที่มีโอกาสในไตรทิพย์นั้น แต่เพราะเหตุที่กรรมนั้นเป็น

กุศลอย่างเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า กตกุสลา (สร้างกุศลไว้). บทว่า

โมทเร คือ ร่าเริง บันเทิงอยู่. บทว่า อสิตสฺส ได้แก่ พระตถาคต

ผู้อันกิเลสไม่อาศัยแล้ว. บทว่า ตาทิโน คือ เป็นผู้ถึงลักษณะคงที่.

จบอรรถกถาสีหสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 82

๕. ทานานิสังสสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการ

[๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการให้ทาน ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจของชนหมู่มาก ๑

สัปบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน ๑ กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อนขจร

ทั่วไป ๑ ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์ ๑ ผู้ให้ทานเมื่อตาย

ไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งการ

ให้ทาน ๕ ประการนี้แล.

ผู้ให้ทาน ย่อมเป็นที่รักของชนเป็น

อันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ

สัปบุรุษผู้สงบผู้สำรวมอินทรีย์ ประพฤติ

พรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ

สัปบุรุษเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมเป็นที่

บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบ

ชัดแล้ว ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ปริ-

นิพพานในโลกนี้.

จบทานานิสังสสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 83

อรรถกถาทานานิสังสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทานานิสังสสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า คิหิธมฺมา อนปคโต โหติ คือ เป็นผู้มีศีล ๕ ไม่ขาด.

บทว่า สต ธมฺม อนุกฺกม ได้แก่ ผู้ดำเนินตามธรรมของสัตบุรุษ คือ

มหาบุรุษ. บทว่า สนฺโต น ภชนฺติ ได้แก่ สัตบุรุษทั้งหลาย คือ

พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระตถาคต ย่อมคบหาเขา

จบอรรถกถาทานานิสังสสูตรที่ ๕

๖. กาลทานสูตร

ว่าด้วยกาลทาน ๕

[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๑ ทายกย่อมให้ทานแก่

ผู้เตรียมจะไป ๑ ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๑ ทายกย่อมให้ข้าวใหม่

แก่ผู้มีศีล ๑ ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลทาน

๕ ประการนี้แล.

ผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจาก

ความตระหนี่ ย่อมให้ท่านในกาลที่ควรให้

เพราะผู้ให้ทานตามกาล ในพระอริยเจ้า

ทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่

เป็นผู้มีใจผ่องใส ทักขิณาทานจึงจะมีผล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 84

ไพบูลย์ ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนา หรือ

ช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทาน

นั้นย่อมไม่มีผลบกพร่อง เพราะการอนุ-

โมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น แม้พวกที่

อนุโมทนาหรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วน

แห่งบุญ เพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอย

จึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก บุญทั้ง-

หลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายใน

ปรโลก.

จบกาลทานสูตรที่ ๖

อรรถกถากาลทานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกาลทานสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาลทานานิ คือ ทานที่ควร ทานที่มาถึงแล้ว อธิบายว่า

ทานอันสมควร. บทว่า นวสสฺสานิ คือ ข้าวกล้าดีเลิศ. บทว่า นวผลานิ

ได้แก่ ผลไม้ดีเลิศที่ออกคราวแรกจากสวน. บทว่า ปม สีลวนฺเตสุ

ปติฏฺาเปติ ความว่า เขาถวายแก่ท่านผู้มีศีลก่อนแล้ว ตนก็บริโภคภายหลัง.

บทว่า วทญฺญู คือ เป็นผู้รู้ภาษิต. บทว่า กาเลน ทินฺน ได้แก่ ทาน

ที่เขาให้อันสมควรที่มาถึงเข้า. บทว่า อนุโมทนฺติ ได้แก่ ชนที่ยืนอนุโมทนา

อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. บทว่า เวยฺยาวจฺจ ได้แก่ ทำการที่เป็นงาน

ขวนขวายทางกาย. บทว่า อปฺปฏิวาสนจิตฺโต ได้แก่ เป็นผู้มีจิตไม่เบื่อหน่าย.

บทว่า ยตฺถทินฺน มหปฺผล ได้แก่ พึงให้ในที่ ๆ ทานที่ให้แล้วมีผลมาก.

จบอรรถกถากาลทานสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 85

๗. โภชนทานสูตร

ว่าด้วยทายกผู้ให้โภชนะชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่างแก่ปฏิคาหก

[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะเป็นทาน ชื่อว่าให้ฐานะ

๕ อย่างแก่ปฏิคาหก ๕ อย่างเป็นไฉน คือ ให้อายุ ๑ ให้วรรณะ ๑ ให้สุข ๑

ให้กำลัง ๑ ให้ปฏิภาณ ๑ ครั้นให้อายุแล้วย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุทั้งที่เป็น

ทิพย์ ทั้งที่เป็นมนุษย์ ครั้นให้วรรณะแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวรรณะ

ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นมนุษย์ ครั้นให้สุขแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสุข

ทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์ ครั้นให้กำลังแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งกำลัง

ทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์ ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่ง

ปฏิภาณทั้งที่เป็นทิพย์ทั้งที่เป็นมนุษย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะ

เป็นทานชื่อว่าให้ฐานะ ๕ อย่างนี้แล.

ปราชญ์ผู้มีปัญญา ให้อายุ ย่อมได้

อายุ ให้กำลัง ย่อมได้กำลัง ให้วรรณะ

ย่อมได้วรรณะ ให้ปฏิภาณย่อมได้ปฏิภาณ

ให้สุขย่อมได้สุข ครั้นให้อายุ กำลัง

วรรณะ สุข และปฏิภาณแล้วจะเกิดใน

ที่ใด ๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ.

จบโภชนทานสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 86

อรรถกถาโภชนทานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโภชนทานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อายุ เทติ ได้แก่ ชื่อว่าย่อมให้อายุ. บทว่า วณฺณ คือ

ผิวพรรณแห่งร่างกาย. บทว่า สุข คือ สุขทางกายและทางใจ. บทว่า พล

คือ เรี่ยวแรงแห่งร่างกาย. บทว่า ปฏิภาณ คือ ฉลาดผูกปัญหาและ

แก้ปัญหา.

จบอรรถกถาโภชนาทานสูตรที่ ๗

๘. สัทธานิสังสสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์ของศรัทธา ๕ ประการ

[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมมีอานิสงส์ ๕

ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัปบุรุษผู้สงบในโลกทุก ๆ ท่าน เมื่อจะ

อนุเคราะห์ ย่อมอนุเคราะห์ผู้มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ย่อมไม่อนุเคราะห์ผู้ไม่มี

ศรัทธาก่อนผู้อื่น ๑ เมื่อจะเข้าไปหา ย่อมเข้าไปหาผู้มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ย่อม

ไม่เข้าไปหาผู้ไม่มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ๑ เมื่อจะต้อนรับ ย่อมต้อนรับผู้มีศรัทธา

ก่อนผู้อื่น ย่อมไม่ต้อนรับผู้ไม่มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ๑ เมื่อจะแสดงธรรม ย่อม

แสดงธรรมแก่ผู้มีศรัทธาก่อนผู้อื่น ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน

ผู้อื่น ๑ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเมื่อตายไปแล้ว ย่อมเขาถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 87

ทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่ทางสี่แยก มีพื้นราบเรียบ ย่อมเป็น

ที่พึ่งของพวกนกโดยรอบ ฉันใด กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม

เป็นที่พึ่งของชนเป็นอันมาก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา.

ต้นไม้ใหญ่ สล้างด้วยกิ่ง ใบ และ

ผล มีลำต้นแข็งแรง มีรากมั่นคง สมบูรณ์

ด้วยผล ย่อมเป็นที่พึ่งของนกทั้งหลาย

ฝูงนกย่อมอาศัยต้นไม้นั้น ซึ่งเป็นที่รื่น-

รมย์ใจ ให้เกิดสุข ผู้ต้องการความร่มเย็น

ย่อมเข้าไปอาศัยร่มเงา ผู้ต้องการผลก็ย่อม

บริโภคผลได้ ฉันใด ท่านผู้ปราศจาก

ราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ

ไม่มีอาสวะ เป็นบุญเขตในโลก ย่อม

คบหาบุคคลผู้มีศรัทธา ซึ่งสมบูรณ์ด้วยศีล

ประพฤติถ่อมตน ไม่กระด้าง สุภาพ

อ่อนโยน มีใจมั่นคง ฉันนั้นเหมือนกัน

ท่านเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรมเครื่องบรร-

เทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขาเข้าใจทั่วถึง

ธรรมนั้นแล้ว ย่อมเป็นผู้หมดอาสวกิเลส

ปรินิพพาน.

จบสัทธานิสังสสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 88

อรรถกถาสัทธานิสังสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัทธานิสังสสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุกมฺปนฺติ คือ อนุเคราะห์. บทว่า ขนฺธิมาว มหาทุโม

คือ เหมือนต้นไม้ใหญ่สมบูรณ์ด้วยลำต้น. บทว่า มโนรเม อายตเน ได้แก่

ในสถานที่ชุมนุมอันน่ารื่นรมย์. บทว่า ฉาย ฉายตฺถิกา ยนฺติ ได้แก่

ผู้ต้องการร่มเงา ก็เข้าไปอาศัยร่มเงา. บทว่า นิวาตวุตฺตึ คือ ประพฤติ

อ่อนน้อม. บทว่า อตฺถทฺธ คือ เว้นความเป็นคนกระด้าง เพราะโกธะ

และมานะ. บทว่า โสรต ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความสงบเสงี่ยม มีศีล

สะอาด. บทว่า สขีล คือ น่าบันเทิงใจ.

จบอรรถกถาสัทธานิสังสสูตรที่ ๘

๙. ปุตตสูตร

ว่าด้วยมารดาบิดาต้องการฐานะ ๕ อย่างจากบุตร

[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดา บิดา เล็งเห็นฐานะ ๕ ประการนี้

จึงปรารถนาบุตรเกิดในสกุล ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุตรที่เราเลี้ยง

มาแล้วจักเลี้ยงตอบแทน ๑ จักทำกิจแทนเรา ๑ วงศ์สกุลจักดำรงอยู่ได้นาน ๑

บุตรจักปกครองทรัพย์มรดก ๑ เมื่อเราตายไปแล้ว บุตรจักบำเพ็ญทักษิณาทาน

ให้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดา บิดา เล็งเห็นฐานะ ๕ ประการนี้แล

จึงปรารถนาบุตรเกิดในสกุล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 89

มารดาบิดาผู้ฉลาด เล็งเห็นฐานะ ๕

ประการจึงปรารภนาบุตร ด้วยหวังว่าบุตร

ที่เราเลี้ยงมาแล้ว จักเลี้ยงตอบเรา จักทำ

กิจแทนเรา วงศ์สกุลจักดำรงอยู่ได้นาน

บุตรจักปกครองทรัพย์มรดก และเมื่อเรา

ตายไปแล้ว บุตรจักบำเพ็ญทักษิณาทานให้

มารดาบิดาผู้ฉลาดเล็งเห็นฐานะเหล่านี้ จึง

ปรารถนาบุตร ฉะนั้น บุตรผู้เป็นสัปบุรุษ

ผู้สงบ มีกตัญญูกตเวที เมื่อระลึกถึงบุรพ-

คุณของท่าน จึงเลี้ยงมารดาบิดา ทำกิจ

แทนท่าน เชื่อฟังโอวาท เลี้ยงสนอง

พระคุณท่าน สมดังที่ท่านเป็นบุรพการี

ดำรงวงศ์สกุล บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์

ด้วยศีล ย่อมเป็นที่สรรเสริญทั่วไป.

จบปุตตสูตรที่ ๙

อรรถกถาปุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปุตตสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภโต วา โน ภวิสฺสติ ความว่า บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้ว

ประคบประหงมมาแล้ว ด้วยให้ดื่มน้ำนมและยังมือและเท้าให้เจริญเติบโต

เป็นต้น ในเวลาเราแก่ เขาจักเลี้ยงเรา ด้วยการล้างมือและเท้า ให้อาบน้ำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 90

และให้ข้าวต้มข้าวสวยเป็นต้น. บทว่า กิจฺจ วา โน กริสฺสติ ความว่า

เขาพักการงานของคนไว้แล้ว จักไปช่วยทำกิจของเราซึ่งเกิดในในราชตระกูล

เป็นต้น. บทว่า กฺลวโส จิร สฺสติ ความว่า เมื่อบุตรรักษาไม่ทำสมบัติ

ของเรามีนา สวน เงิน และทองเป็นต้น ให้ฉิบหายไป วงศ์ตระกูลก็จักตั้ง

อยู่นาน. อนึ่ง เขาไม่ทำสลากภัตทานเป็นต้น ที่เราประพฤติกันมาแล้วให้

ขาดสาย คงดำเนินไป วงศ์ตระกูลของเราก็จักตั้งอยู่นาน. บทว่า ทายชฺช

ปฏิปชฺชติ ความว่า บุตรเมื่อประพฤติตนสมควรแก่มรดก ด้วยการปฏิบัติ

อันสมควรแก่วงศ์ตระกูลก็จักปกครองมรดก อันเป็นสมบัติของเราได้. บทว่า

ทกฺขิณ อนุปฺปทสฺสติ ความว่า บุตรจักเพิ่มทานอุทิศส่วนบุญให้ ตั้งแต่

วันที่สาม นับแต่วันตาย. บทว่า สนฺโต สปฺปุริสา ความว่า พึงทราบว่า

เป็นสัตบุรุษ คนดีด้วยการปฏิบัติชอบในมารดาบิดาในฐานะนี้. บทว่า ปุพฺเพ-

กตมนุสฺสร ความว่า เมื่อระลึกถึงคุณอันมารดาบิดากระทำไว้ก่อนแล้ว. บทว่า

โอวาทการี คือ เป็นผู้ทำตามโอวาทที่มารดาบิดาให้ไว้แล้ว. บทว่า ภตโปสึ

ได้แก่ บุตรจักเลี้ยงดูมารดาบิดา ซึ่งท่านเลี้ยงตนมา. บทว่า ปสสิโย ความว่า

เป็นผู้อันมหาชนพึงสรรเสริญในปัจจุบันนั่นแล.

จบอรรถกถาปุตตสูตรที่ ๙

๑๐. สาลสูตร

ว่าด้วยความเจริญ ๕ ประการ

[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นสาละใหญ่อาศัยขุนเขาหิมวันต์ ย่อม

เจริญด้วยความเจริญ ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยถึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 91

และใบ ๑ ย่อมเจริญด้วยเปลือก ๑ ย่อมเจริญด้วยกะเทาะ ๑ ย่อมเจริญด้วย

กระพี้ ๑ ย่อมเจริญด้วยแก่น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นสาละใหญ่อาศัย

ขุนเขาหิมวันต์ ย่อมเจริญด้วยความเจริญ ๕ ประการนี้แล ฉันใด ชนภายใน

อาศัยเจ้าบ้านผู้มีศรัทธา ย่อมเจริญด้วยความเจริญ ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือน

กันแล ความเจริญ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ๑ ย่อม

เจริญด้วยศีล ๑ ย่อมเจริญด้วยสุตะ ๑ ย่อมเจริญด้วยจาคะ ๑ ย่อมเจริญด้วย

ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนภายในอาศัยเจ้าบ้านผู้มีศรัทธา ย่อมเจริญ

ด้วยความเจริญ ๕ ประการนี้แล.

ต้นไม้ทั้งหลาย อาศัยบรรพตศิลา

ล้วนในป่าใหญ่ ย่อมเจริญขึ้นเป็นไม้ใหญ่

ชั้นเจ้าป่า ฉันใด บุตร ภรรยา มิตร

อำมาตย์ หมู่ญาติ และคนที่เข้าไปอาศัย

เลี้ยงชีพทั้งหลายในโลกนี้ ได้อาศัยกุลบุตร

ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีลจึงเจริญได้

ฉันนั้นเหมือนกัน ชนเหล่านั้นเห็นศีล

จาคะและสุจริตทั้งหลาย ของกุลบุตรผู้มี

ศีล จาคะและสุจริตนั้น เมื่อประจักษ์ชัด

แล้ว ย่อมประพฤติตาม ชนเหล่านั้น ครั้น

ประพฤติธรรมอันเป็นที่ไปสู่สวรรค์ สุคติ

ในโลกนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เพลิดเพลิน

เพียบพร้อมด้วยกาม บันเทิงใจในเทวโลก.

จบสาลสูตรที่ ๑๐

จบสุมนวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 92

อรรถกถาสาลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสาลสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มหาสาลา คือต้นไม้ใหญ่. บทว่า สาขาปตฺตปลาเสน

วฑฺฒนฺติ คือเจริญด้วยกิ่งเล็กและใบ ที่เรียกกันว่าปัตตะ. บทว่า อรญฺสฺมึ

คือ ในที่มิใช่บ้าน. บทว่า พฺรหาวเน ได้แก่ ในป่าใหญ่ คือดง. บทที่

เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสาลสูตรที่ ๑๐

จบสุมนวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุมนสูตร ๒. จุนทิสูตร ๓. อุคคหสูตร ๔. สีหสูตร

๕. ทานานิสังสสูตร ๖. กาลทานสูตร ๗. โภชนทานสูตร ๘. สัทธานิสังสสูตร

๙. ปุตตสูตร ๑๐. สาลสูตร และอรรถกถกา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 93

มุณฑราชวรรคที่ ๕

๑. อาทิยสูตร

ว่าด้วยหลักการใช้โภคทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ ๕ อย่าง

[๔๑] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี

ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น

ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา

โดยธรรม เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารตนให้เป็นสุขสำราญ

เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงบุตร

ภรรยา ทาสกรรมกร คนใช้ ให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุข

สำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วย

ความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม

ได้มาโดยธรรม เลี้ยงมิตรสหายให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุข

สำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วย

ความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม

ได้มาโดยธรรม ป้องกันอันตรายที่เกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 94

ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ทำตนให้สวัสดี นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่

โภคทรัพย์ข้อที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วย

ความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม

ได้มาโดยธรรม ทำพลี ๕ อย่าง คือ

๑. ญาติพลี [บำรุงญาติ]

๒. อติถิพลี [ต้อนรับแขก]

๓. ปุพพเปตพลี [ทำบุญอุทิศกุศลให้ผู้ตาย]

๔. ราชพลี [บริจาคทรัพย์ช่วยชาติ]

๕. เทวตาพลี [ทำบุญอุทิศให้เทวดา]

นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วย

ความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม

ได้มาโดยธรรม บำเพ็ญทักษิณา มีผลสูงเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบาก

เป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไปด้วยดีในสมณพราหมณ์ ผู้เว้นจากความ

มัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้มั่นคง ฝึกฝนตนให้สงบระงับ

ดับกิเลสโดยส่วนเดียว นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๕.

ดูก่อนคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล

ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์

หมดสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ถือเอาประโยชน์แต่

โภคทรัพย์นั้นแล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป ด้วยเหตุนี้ อริยสาวก

นั้น ย่อมไม่มีความเดือดร้อน ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 95

มุณฑราชวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาอาทิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาทิยสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โภคาน อาทิยา ได้แก่ เหตุแห่งโภคะทั้งหลายที่พึงถือเอา

ประโยชน์. บทว่า อุฏานวิริยาธิคเตหิ ได้แก่ ที่ได้มาด้วยความขยัน

หมั่นเพียร. บทว่า พาหาพลปริจิเตหิ ได้แก่ ที่สะสมไว้ด้วยกำลังแขน.

บทว่า เสทาวกฺขิตฺเตหิ ได้แก่ ที่อาบเหงื่อได้มา. บทว่า ธมฺมิเกหิ คือ

ประกอบด้วยธรรม. บทว่า ธมฺมลทฺเธหิ ได้แก่ ไม่เสียกุศลธรรม ได้มา

โดยธรรม. บทว่า ปิเณติ ได้แก่ กระทำให้อิ่มหนำสำราญ. บทที่เหลือใน

สูตรนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในจตุกนิบาต.

จบอรรถกถาอาทิยสูตรที่ ๑

๒. สัปปุริสสูตร

ว่าด้วยสัปบุรุษเกิดมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนมาก

[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปบุรุษเมื่อเกิดในสกุล ย่อมเกิดมาเพื่อ

ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก คือ แก่มารดาบิดา

แก่บุตรภริยา แก่ทาส กรรมกร คนรับใช้ แก่มิตรสหาย แก่สมณพราหมณ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาเมฆ ยังข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 96

โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิด

อย่างนี้ว่า เราถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็

เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีความเดือดร้อน อริยสาวกย่อมไม่มีความ

เดือดร้อนด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการฉะนี้แล.

นรชนเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า เราได้

ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงตนแล้ว ได้ใช้จ่าย

โภคทรัพย์เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่าน

พ้นภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ได้ให้ทักษิณาอันมี

ผลสูงเลิศแล้ว ได้ทำพลี ๕ ประการแล้ว

และได้บำรุงท่านผู้มีศีล สำรวมอินทรีย์

ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว บัณฑิตผู้อยู่

ครองเรือน พึงปรารถนาโภคทรัพย์ เพื่อ

ประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น เราก็ได้บรรลุ

แล้ว เราได้ทำสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้ว

ดังนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ดำรงอยู่ในธรรมของพระ-

อริยะ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขา

ในโลกนี้ เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้ว

ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์.

จบอาทิยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 97

ชื่อว่าย่อมมีมาเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก

ฉันใด สัปบุรุษเมื่อเกิดในสกุล ย่อมเกิดมาเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ

ความสุข แก่ชนเป็นอันมาก คือ แก่มารดาบิดา แก่บุตรภริยา แก่ทาส

กรรมกร คนรับใช้ แก่มิตรสหาย แก่สมณพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน.

สัปบุรุษผู้ครอบครองโภคทรัพย์

เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก

เทวดาย่อมรักษาเขาผู้อันธรรมคุ้มครอง

เป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีลและความ

ประพฤติ เกียรติย่อมไม่ละเขาผู้ตั้งอยู่ใน

ธรรม ใครจะสามารถติเตียนเขาผู้ตั้งอยู่

ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล มีวาจาสัจ มีหิริ

ในใจ เปรียบเสมือนแห่งทองชมพูนุท แม้

เทวดาก็ชม แม้พรหมก็สรรเสริญเขา.

จบสัปปุริสสูตรที่ ๒

๓. อิฏฐสูตร

ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนาที่หาได้ยาก ๕ อย่าง

[๔๓] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี

ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก

๕ ประการเป็นไฉน คือ อายุ ๑ วรรณะ ๑ สุข ๑ ยศ ๑ สวรรค์ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 98

ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้แล น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

หาได้โดยยากในโลก.

ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยาก

ในโลก เรามิได้กล่าวว่าจะพึงได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุ

แห่งความปรารถนา ถ้าธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

หาได้โดยยากในโลก จักได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุ

แห่งความปรารถนาแล้วไซร้ ในโลกนี้ ใครจะพึงเสื่อมจากอะไร ดูก่อน

คฤหบดี อริยสาวกผู้ต้องการอายุ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินอายุหรือ

แม้เพราะเหตุแห่งอายุ อริยสาวกผู้ต้องการอายุ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไป

เพื่ออายุ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุที่พระอริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อม

เป็นไปเพื่อให้ได้อายุ อริยสาวกผู้นั้นย่อมได้อายุที่เป็นของทิพย์ หรือเป็นของ

มนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินวรรณะ

หรือแม้เพราะเหตุแห่งวรรณะ อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ พึงปฏิบัติปฏิปทา

อันเป็นไปเพื่อวรรณะ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะ ที่อริยสาวกนั้น

ปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้วรรณะ อริยสาวกนั้นย่อมได้วรรณะที่เป็น

ของทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการสุข ไม่อ้อนวอนหรือ

เพลิดเพลินสุข หรือแม้เพราะเหตุแห่งสุข อริยสาวกผู้ต้องการสุข พึงปฏิบัติ

ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุข เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติ

แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สุข อริยสาวกนั้นย่อมได้สุขที่เป็นของทิพย์หรือ

ของมนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการยศ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินยศ หรือ

แม้เพราะเหตุแห่งยศ อริยสาวกผู้ต้องการยศ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อ

ยศ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไป

เพื่อให้ได้ยศ อริยสาวกนั้นย่อมได้ยศที่เป็นของทิพย์ หรือของมนุษย์ อริย-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 99

สาวกผู้ต้องการสวรรค์ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสวรรค์ หรือแม้

เพราะเหตุแห่งสวรรค์ อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไป

เพื่อสวรรค์ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์ ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สวรรค์ อริยสาวกนั้นย่อมได้สวรรค์.

ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ ยศ

เกียรติ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง

และความเพลินใจ พึงทำความไม่ประมาท

ให้มากยิ่งขึ้น บัณฑิตทั้งหลาย ย่อม

สรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ

บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดถือประ-

โยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ใน

ปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ

ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่าบัณฑิต เพราะ

บรรลุถึงประโยชน์ทั้งสองนั้น.

จบอิฏฐสูตรที่ ๓

อรรถกถาอิฏฐสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอิฏฐสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อายุสวตฺตนิกา ปฏิปทา ได้แก่ ปฏิปทาทางบุญซึ่งมีทาน

และศีลเป็นต้น. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อตฺถาภิสมยา

ได้แก่ บรรลุประโยชน์ ท่านอธิบายว่า เพราะได้ประโยชน์.

จบอรรถกถาอิฏฐสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 100

๔. มนาปทายีสูตร

ว่าด้วยผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ

[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่า

มหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์แห่งอุคคคฤหบดี

ชาวเมืองเวสาลี ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาตกแต่งไว้ ครั้งนั้น อุคคคฤหบดี

ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควร-

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้

ของที่พอใจ ดังนี้ ก็ขาทนียาหารชื่อสาลปุบผกะของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับขาทนียาหารของข้าพระองค์

นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว อุคคคฤหบดี

ได้กราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ

พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้

ก็เนื้อสุกรอย่างดีของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย

ความอนุเคราะห์รับเนื้อสุกรอย่างดีของข้าพระองค์นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว อุคคคฤหบดีได้กราบทูลอีกว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็นาลิยสากะขาทนียาหาร

ซึ่งทอดด้วยน้ำมัน ของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อาศัยความอนุเคราะห์รับนาลิยสากะขาทนียาหารของข้าพระองค์นั้นเกิด พระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 101

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ให้ของที่

พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่ขาวสะอาด มีกับมาก

มีพยัญชนะมาก ของข้าพระองค์ เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย

ความอนุเคราะห์รับข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ของข้าพระองค์นั้นเถิด พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้

ของที่พอใจ ดังนี้ ก็ผ้าที่ทำในแคว้นกาสีของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับผ้าของข้าพระองค์นั้นเถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ให้ของที่

พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ลาดด้วยผ้า

โกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่อง

ลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดใหญ่มีหมอนข้าง

ทั้งสองของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ และข้าพระองค์ก็ย่อมทราบดีว่า สิ่งเหล่านี้

ไม่ควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เตียงไม้จันทน์ของข้าพระองค์นี้มีราคาเกินกว่า

แสนกหาปณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับเตียงของ

ข้าพระองค์นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาด้วยอนุโมทนียกถาดังต่อไปนี้

ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่

พอใจ ผู้ได้ย่อมให้เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน

ข้าว น้ำ และปัจจัยมีประการต่าง ด้วย

ความพอใจ ในท่านผู้ประพฤติตรง สิ่งของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 102

ที่ให้ไปแล้วนั้น ย่อมเป็นของที่บริจาคแล้ว

สละแล้ว ไม่คิดเอาคืน ผู้นั้นเป็นสัปบุรุษ

ทราบชัดว่า พระอรหันต์เปรียบด้วยนาบุญ

บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยากแล้ว ชื่อว่าให้

ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงอนุโมทนาด้วยอนุโมทนีย-

กถากะอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้ว จึงเสด็จลูกจากอาสนะหลีกไป ต่อมา

ไม่นาน อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี ก็ได้ทำกาละ และเมื่อทำกาละแล้ว

เข้าถึงหมู่เทพ ชื่อมโนมยะหมู่หนึ่ง ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนคร

สาวัตถี ครั้งนั้นอุคคเทพบุตรมีวรรณงาม เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ยังพระ

วิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสถามว่า ดูก่อนอุคคะ ตามที่ท่านประสงค์สำเร็จแล้วหรือ อุคคเทพบุตร

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตามที่ข้าพระองค์ประสงค์สำเร็จแล้ว

พระเจ้าข้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะอุคคเทพบุตรด้วย

พระคาถาความว่า

ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่

พอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศ

ผู้ให้ของที่ดีย่อมได้ของที่ดี และผู้ให้ของ

ที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 103

นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดี และ

ให้ของที่ประเสริฐ นรชนนั้นจะบังเกิด

ณ ที่ใด ๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ดังนี้.

จบมนาปทายีสูตรที่ ๔

อรรถกถามนาปทายีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมนาปทายีสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุคฺโค ได้แก่ ผู้ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณทั้งหลาย.

บทว่า สาลปุปฺผก ขาทนีย ได้แก่ ของเคี้ยวคล้ายดอกสาละ ทำด้วยแป้ง

ข้าวสาลี ปรุงด้วยของอร่อย ๔ อร่อย จริงอยู่ ของเคี้ยวชนิดนั้น เขาแต่งให้

มีสีกลีบและเกษรแล้ว ทอดในน้ำมันเนย ซึ่งปรุงด้วยเครื่องเทศมียี่หร่าเป็นต้น

สุกแล้ว ผึ่งให้สะเด็ดน้ำมัน บรรจุภาชนะมีฝาอบกลิ่นไร้ให้หอม. อุคคคฤหบดี

ประสงค์จะถวายในระหว่างอาหาร จึงกราบทูลอย่างนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ผู้ประทับนั่งดื่มข้าวยาคู. บทว่า ปฏิคฺคเหสิ ภควา นั่นเป็น

เพียงเทศนา. ก็อุบาสกได้ถวายขาทนียะนั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุ

๕๐๐ รูป ถวายแม้มังสสุกรเป็นต้น ก็เหมือนขาทนียะนั้น ฉะนั้น. ในบท

เหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนวรสุกรมส ความว่า มังสสุกรที่ปรุงด้วยเครื่อง

เทศมียี่หร่าเป็นต้น กับพุทราที่มีรสดี ทำให้สุกแล้วเก็บไว้ปีหนึ่งกิน. บทว่า

นิพฺพฏฺฏเตลก คือ น้ำมันเดือดพล่านแล้ว. บทว่า นาฬิยาสาก ได้แก่

ฝักนาฬิกะ ที่คลุกกับแป้งสาลี แล้วทอดน้ำมันเนย ปรุงด้วยของอร่อย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 104

๔ ชนิดแล้วอบเก็บไว้. ในบทว่า เนต ภควโต กปฺปติ นี้ ท่านหมายถึง

ของเป็นอกัปปิยะว่า แม้เป็นกัปปิยะก็ไม่ควร.

เศรษฐีให้นำของนั้นแม้ทั้งหมดมาแล้ว ทำให้เป็นกอง สิ่งของใด ๆ

เป็นอกัปปิยะก็ส่งสิ่งของนั้น ๆ ไปร้านตลาดแล้ว จึงถวายสิ่งของเครื่องอุปโภค

และบริโภคที่เป็นกัปปิยะ แผ่นไม้จันทน์ไม่ใหญ่นัก ยาวประมาณ ๒ ศอกคืบ

กว้างประมาณศอกคืบ แต่เป็นของมีราคามาก เพราะเป็นของมีสาระอย่างดี

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแผ่นไม้จันทน์นั้นแล้ว โปรดให้เกรียกเป็นชิ้นเล็ก ๆ

ตรัสสั่งให้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อบดเป็นยาหยอดตา.

บทว่า อุชุภูเตสุ ได้แก่ ในท่านผู้ปฏิบัติตรงด้วยกาย วาจา ใจ.

บทว่า ฉนฺทสา ได้แก่ ความรัก. ในบทว่า จตฺต เป็นต้น ชื่อว่า สละ

แล้วด้วยอำนาจการบริจาค ชื่อว่าปล่อยแล้วด้วยสละปล่อยไปเลย ชื่อว่าอนัค-

คหิตะ เพราะจิตไม่คิดจะเอาคืน เพราะมีจิตไม่เสียดาย. บทว่า เขตฺตูปเม

คือ เสมือนนาเพราะเป็นที่งอกงาม. บทว่า อญฺตร มโนมย ได้แก่

หมู่เทพที่บังเกิดด้วยใจที่อยู่ในฌานอย่างหนึ่ง ในชั้นสุทธาวาส. บทว่า

ยถาธิปฺปาโย คือ ตามอัธยาศัย. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถามอะไร

ด้วยบทนี้. ตอบว่า ได้ยินว่า ท่านมีอัธยาศัยหมายพระอรหัตครั้งเป็นมนุษย์

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสถามว่าเราจะถามข้อนั้น. แม้เทพบุตร

ได้กราบทูลว่า ตคฺฆ เม ภควา ยถาธิปฺปาโย ดังนี้ ก็เพราะท่านบรรลุ

พระอรหัตแล้ว. บทว่า ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชติ ความว่า เขาย่อมเกิดใน

กุลสมบัติ ๓ หรือในสวรรค์ชั้นกามาพจร ๖ ชั้น ณ ภพใด ๆ ก็เป็นผู้มีอายุยืน

มียศ ณ ภพนั้น ๆ.

จบอรรถกถามนาปทายีสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 105

๕. อภิสันทสูตร

ว่าด้วยห้วงบุญห้วงกุศล ๕ ประการ

[๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญมีห้วงกุศล ๕ ประการนี้ เป็น

เหตุนำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป

ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุข ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุบริโภคจีวรของผู้ใด เข้าเจโต-

สมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงบุญ ห้วงกุศลของผู้นั้น หาประมาณมิได้

เป็นเหตุนำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็น

ไป ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุข ภิกษุบริโภคบิณฑบาตของผู้ใด. . .ภิกษุบริโภควิหารของผู้ใด. . .

ภิกษุบริโภคเตียง ตั่งของผู้ใด. . . ภิกษุบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชของผู้ใด เข้า

เจโตสมาธิอันหาประมาณมิได้อยู่ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ของผู้นั้นหาประมาณ

มิได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศ

ให้เป็นไป ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อความสุข.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุ

นำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป ย่อม

เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ

ความสุข ก็การที่จะถือเอาประมาณแห่งบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญ

ห้วงกุศล ๕ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล มีประมาณเท่านี้ เป็นเหตุ

นำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 106

ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุข ดังนี้ พึงทำไม่ได้โดยง่าย โดยที่แท้ ย่อมถึงการนับว่า กอง-

บุญใหญ่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เปรียบเหมือนการถือเอาประมาณน้ำใน

มหาสมุทรว่า น้ำนี้มีประมาณอาฬหกะเท่านี้ มีร้อยอาฬหกะเท่านี้ มีพัน

อาฬหกะเท่านี้ หรือมีแสนอาฬหกะเท่านี้ ไม่ใช่ทำได้โดยง่าย ย่อมถึงการ

นับว่าเป็นห้วงน้ำใหญ่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ฉะนั้น.

แม่น้ำเป็นที่อยู่แห่งฝูงปลา ส่วนมาก

ย่อมหลั่งไหลไปสู่สาครห้วงทะเลหลวง

อันจะประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก

เป็นที่อยู่แห่งรัตนะหลายชนิด. ฉันใด

ห้วงบุญย่อมหลั่งไหลเข้าสู่นรชน ผู้เป็น

บัณฑิต ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน

ที่นั่ง เครื่องปูลาด เหมือนห้วงน้ำหลั่งไหล

เข้าไปสู่สาคร ฉันนั้น.

จบอภิสันทสูตรที่ ๕

อภิสันทสูตรที่ ๕ พึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าวแล้วในจตุกนิบาต.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 107

๖. สัมปทาสูตร

ว่าด้วยสัมปทา ๕ ประการ

[๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ สัทธาสัมปทา ๑ สีลสัมปทา ๑ สุตสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑

ปัญญาสัมปทา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้แล.

จบสัมปทาสูตรที่ ๖

๗. ธนสูตร

ว่าด้วยทรัพย์ ๕ ประการ

[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ ทรัพย์ คือ ศรัทธา ๑ ทรัพย์ คือ ศีล ๑ ทรัพย์ คือ สุตะ ๑

ทรัพย์ คือ จาคะ ๑ ทรัพย์ คือ ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์

คือ ศรัทธาเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อ

พระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า ทรัพย์

คือ ศรัทธา. ก็ทรัพย์ คือ ศีลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ เว้นขาดจากการดื่มสุรา

และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ศีล.

๑.-๒. สูตรที่ ๖-๗ อรรถกถามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 108

ก็ทรัพย์ คือ สุตะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ สุตะ.

ก็ทรัพย์ คือ จาคะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

มีใจปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว

มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการ

จำแนกทาน นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ จาคะ. ก็ทรัพย์ คือ ปัญญาเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วย

ปัญญาอันหยั่งถึงความตั้งขึ้นและความเสื่อมไป เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้

ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ ปัญญา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ทรัพย์ ๕ ประการนี้แล.

ผู้ใดมีความเชื่อในตถาคต ตั้งมั่น

ไม่หวั่นไหว มีศีลอันงาม อันพระอริยะ

ชอบใจ สรรเสริญ มีความเลื่อมใสใน

พระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคนขัดสน

ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะ

เหตุนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อนึกถึงคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงประกอบ

ศรัทธา ศีล ปสาทะ และความเห็นธรรม

เนือง ๆ เถิด.

จบธนสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 109

๘. ฐานสูตร

ว่าด้วยฐานะ ๕ ประการ ที่ใคร ๆ ไม่พึงได้

[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์

เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก ไม่พึงได้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ ฐานะว่า ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑ ขอสิ่งที่มี

ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าเจ็บไข้ ๑ ขอสิ่งที่มีความตายเป็น

ธรรมดา [ของเรา] อย่าตาย ๑ ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา [ของเรา]

อย่าสิ้นไป ๑ ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหาย ๑

อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกไม่พึงได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อม

แก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมไม่เห็นดังนี้ว่า ไม่

ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้น แก่ไป โดยที่แท้ สิ่งที่มี

ความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ

ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว

พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย แม้อาหารเราก็

ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุด

ชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรพึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความ

แก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ

หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ

แทงเข้าแล้ว ย่อมทำตนให้เดือดร้อน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 110

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา

ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้. . . สิ่งมีความตายเป็นธรรมดา ของ

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมตายไป. . . สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ของปุถุชน

ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป. . . สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้

สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว

เขาย่อมไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเรา

ผู้เดียวเท่านั้นฉิบหายไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของ

สัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น

ส่วนเราเองก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว พึงเศร้าโศก

ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยาก

รับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุดชงัก

แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรพึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหาย

เป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ

หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ

แทงเข้าแล้ว ย่อมทำให้คนเดือดร้อน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่าสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ของอริยสาวก

ผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวก

นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียว

เท่านั้นแก่ไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา

การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความ

แก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ

หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม

แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 111

ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก

ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่าอริยสาวก

ผู้ได้สดับ ถอนลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษเป็นเครื่องเสียบแทงปุถุชน

ผู้ไม่ได้สดับ ทำตนให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร

ย่อมดับทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา

ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้. . . สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของ

อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป. . . สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาของ

อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป. . . สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของ

อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา

ฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายไป

เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นฉิบหายไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความฉิบหาย

ไปเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ

ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา

ฉิบหายไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย

แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้

การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้

เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้า-

โศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า

อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ อันเป็นเครื่องเสียบแทง

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ทำตนให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศกปราศจาก

ลูกศร ย่อมดับความทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 112

ประการนี้แล อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ใน

โลกไม่พึงได้.

ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้ อัน

ใคร ๆ ย่อมไม่ได้เพราะการเศร้าโศก

เพราะการคร่ำครวญ พวกอมิตรทราบว่า

เขาเศร้าโศก เป็นทุกข์ ย่อมดีใจ ก็คราวใด

บัณฑิตผู้พิจารณารู้เนื้อความ ไม่หวั่นไหว

ในอันตรายทั้งหมด คราวนั้น พวกอมิตร

เห็นหน้าอันไม่ผิดปกติของบัณฑิตนั้น ยิ้ม-

แย้มตามเคยย่อมเป็นทุกข์ บัณฑิตพึงได้

ประโยชน์ในที่ใด ๆ ด้วยประการใด ๆ

เพราะการสรรเสริญ เพราะความรู้ เพราะ

กล่าวคำสุภาษิต เพราะการบำเพ็ญทาน

หรือเพราะประเพณีของตนก็พึงบากบั่นใน

ที่นั้น ๆ ด้วยประการนั้น ๆ ถ้าพึงทราบว่า

ความต้องการอย่างนี้อันเราหรือผู้อื่นไม่พึง

ได้ไซร้ ก็ไม่ควรเศร้าโศก ควรตั้งใจ

ทำงานโดยเด็ดขาดว่า บัดนี้เราทำอะไรอยู่

ดังนี้.

จบฐานสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 113

อรรถกถาฐานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อลพฺภนียานิ ได้แก่ ฐานะใคร ๆ ไม่พึงได้ คือ ไม่อาจจะได้.

บทว่า านานิ คือ เหตุ. บทว่า ชราธมฺม มา ชิริ ความว่า สิ่งใดของเรา

มีความแก่เป็นสภาพ ขอสิ่งนั้นจงอย่าแก่. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า นจฺฉาเทยฺย คือ ไม่ชอบใจ. บทว่า อพฺพุหิ คือ นำออกไป.

บทว่า ยโต คือ กาลใด. บทว่า อาปทาสุ คือ ในอุปัทวะ

ทั้งหลาย. บทว่า น เวธติ คือ ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศกถึง. บทว่า

อตฺถวินิจฺฉยญฺญู คือ เป็นผู้ฉลาดในการวินิจฉัยเหตุผล. บทว่า ปุราณ

ได้แก่ คงเก่าอยู่นั่นแหละ เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลง. บทว่า ชปฺเปน

คือ ด้วยการสรรเสริญ. บทว่า มนฺเตน คือ ด้วยการร่ายมนต์ซึ่งมีอานุภาพ

มาก. บทว่า สุภาสิเตน คือ ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต. บทว่า อนุปฺปทาเนน

ได้แก่ ด้วยการให้ทรัพย์หนึ่งร้อย หรือหนึ่งพัน. บทว่า ปเวณิยา วา ได้แก่

ด้วยวงศ์ตระกูล อธิบายว่า ด้วยการกล่าวถึงประเพณีอย่างนี้ว่า ข้อนี้ประเพณี

ของเราประพฤติกันมาแล้ว สิ่งนี้มิได้ประพฤติมาแล้วดังนี้. บทว่า ยถา ยถา

ยตฺถ ลเภถ อตฺถ ความว่า จะพึงได้ประโยชน์มีความไม่แก่เป็นต้นแห่งสิ่ง

ทั้งหลายที่มีความแก่เป็นธรรมดาเป็นต้นในที่ใด ๆ ด้วยประการใด ๆ เพราะ

การสรรเสริญเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺย

ได้แก่ พึงทำความบากบั่นในที่นั้น ๆ โดยประการนั้น ๆ. บทว่า กมฺม ทฬฺห

ได้แก่ กรรมอันยังสัตว์ให้เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะเราทำให้มั่นคงสั่งสมไว้. ควร

พิจารณาอย่างนี้ว่า บัดนี้ เรานั้นจะทำอะไรดังนี้แล้วยับยั้งไว้.

จบอรรถกถาฐานสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 114

๙. โกสลสูตร

ว่าด้วยฐานะที่หาไม่ได้ ๕ ประการ

[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระเจ้า

ปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงอภิวาทแล้ว

ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้น พระนางมัลลิกาเทวีได้ทิวงคต

ครั้งนั้นราชบุรุษคนหนึ่งเข้าไปกราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลที่ใกล้พระกรรณว่า

ขอเดชะ พระนางมัลลิกาเทวีได้ทิวงคตแล้ว ครั้นเขากราบทูลดังนี้แล้ว

พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงมีทุกข์โทมนัส ประทับนั่งเหงาหงอย ก้มพระพักตร์

เศร้าสลด อัดอั้น ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดังนั้นแล้ว จึงตรัส

กับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ดูก่อนมหาบพิตร ฐาน. ๕ ประการนี้ อันสมณะ

พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกไม่พึงได้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ฐานะว่า ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑

ฯลฯ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ดังนี้.

จบโกสลสูตรที่ ๙

อรรถกถาโกสลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโกสลสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปกณฺณเก แปลว่า ที่ใกล้พระกรรณ. บทว่า ทุมฺมโน

แปลว่า เสียพระทัย. บทว่า ปตฺตกฺขนฺโธ แปลว่า มีพระศอตก บทว่า

ปชฺฌายนฺโต แปลว่า ทรงครุ่นคิดอยู่. บทว่า อปฺปฏิภาโณ แปลว่า

ทรงคิดไม่ออก. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถาโกสลสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 115

๑๐. นารทสูตร

ว่าด้วยฐานะ ๕ ที่ใคร ๆ ในโลกไม่พึงได้

[๕๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระนารทะอยู่ที่กุกกุฎาราม ใกล้พระนคร

ปาตลีบุตร ก็สมัยนั้น พระนางภัททาราชเทวี ผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอ

พระทัยแห่งพระราชาพระนามว่ามุณฑะ ได้ทิวงคต เมื่อพระนางภัททาราชเทวี

ผู้เป็นที่รักเป็นที่พอพระทัย ทิวงคตไปแล้ว พระราชาก็ไม่สรงสนาน ไม่ทรง

แต่งพระองค์ ไม่เสวย ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทรงซบเซาอยู่ที่

พระศพพระนางตลอดคืนตลอดวัน ครั้งนั้น พระราชาได้ตรัสสั่งมหาอำมาตย์

ชื่อว่าโสการักขะผู้เป็นที่รักว่า ท่านโสการักขะผู้เป็นที่รัก ท่านจงยกพระศพ

พระนางภัททาราชเทวีลงในรางเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมัน แล้วปิดด้วยรางเหล็กอัน

อื่นอีก เพื่อให้เราได้เห็นพระศพพระนางนานได้เท่าไรยิ่งดี โสการักขะมหา-

อำมาตย์รับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ก็ได้จัดการยกพระศพพระนางลง

ในรางเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมัน แล้วปิดด้วยรางเหล็กอันอื่นอีก ครั้งนั้น

โสการักขะมหาอำมาตย์จึงคิดว่า เมื่อพระนางภัททาราชเทวี ผู้เป็นที่รัก ที่พอ

พระทัย แห่งพระเจ้ามุณฑะนี้ ได้ทิวงคตไปแล้ว พระราชาไม่สรงสนาน

ไม่ทรงแต่งพระองค์ ไม่เสวย ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทรงซบเซา

อยู่ที่พระศพพระนางตลอดคืนตลอดวัน พระราชาพึงเสด็จเข้าไปหาสมณะ

หรือพราหมณ์รูปใดหนอ ได้ทรงสดับธรรมแล้ว จะพึงทรงละลูกศร คือ

ความโศกได้ ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์จึงคิดว่า ท่านพระนารทะ

รูปนี้ อยู่ที่กุกกุฏาราม ใกล้พระนครปาตลีบุตร ก็กิตติศัพท์อันงามของท่าน

พระนารทะขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 116

มีถ้อยคำวิจิตร มีปฏิภาณดีงาม เป็นวุฑฒบุคคล และเป็นพระอรหันต์ จึง

ควรที่พระเจ้ามุณฑะจะเสด็จเข้าไปหา เพื่อบางทีได้ทรงสดับธรรมของท่านแล้ว

พึงทรงละลูกศร คือ ความโศกได้.

ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้ามุณฑะ แล้ว

กราบทูลว่า ขอเดชะ ท่านพระนารทะรูปนี้ อยู่ที่กุกกุฎาราม ใกล้พระนคร

ปาตลีบุตร ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระนารทะขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า เป็น

บัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำอันวิจิตร มีปฏิภาณดีงาม

เป็นวุฑฒบุคคล และเป็นพระอรหันต์ ก็ถ้าพระองค์จะพึงเสด็จเข้าไปหาท่าน

แล้วไซร้ บางที่ได้ทรงสดับธรรมของท่านแล้ว พึงทรงละลูกศร คือ ความ

โศกได้ พระเจ้ามุณฑะจึงตรัสสั่งว่า ท่านโลการักขะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไป

บอกท่านพระนารทะให้ทราบ เพราะกษัตริย์เช่นเราพึงเข้าใจว่า สมณะหรือ

พราหมณ์ที่อยู่ในราชอาณาจักร ยังไม่ได้แจ้งให้ทราบก่อนจะพึงเข้าไปหาได้

อย่างไร โสการักขะมหาอำมาตย์รับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ได้เข้าไป

หาท่านพระนารทะอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว กล่าวว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระนางภัททาราชเทวีผู้เป็นที่รัก ที่พอพระทัยแห่งพระเจ้า

มุณฑะนี้ ได้ทิวงคตแล้ว เมื่อพระนางภัททาราชเทวีผู้เป็นที่รัก ที่พอพระทัย

ได้ทิวงคตไปแล้ว พระราชาก็ไม่สรงสนาน ไม่ทรงแต่งพระองค์ ไม่เสวย

ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทรงซบเซาอยู่ที่พระศพแห่งพระนางภัททา-

ราชเทวี ตลอดคืน ตลอดวัน ขอท่านพระนารทะจงแสดงธรรมแก่พระราชา

โดยให้พระราชาพึงทรงละลูกศร คือ ความโศกได้ เพราะได้ทรงสดับธรรม

ของท่านพระนารทะ ท่านพระนารทะจึงกล่าวว่า ดูก่อนมหาอำมาตย์ ขอให้

พระราชาทรงทราบเวลาที่ควร ณ บัดนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 117

ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ลุกจากที่นั่ง อภิวาทท่านพระนารทะ

ทำประทักษิณเสร็จแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้ามุณฑะแล้ว กราบทูลว่า ขอเดชะ

ท่านพระนารทะได้เปิดโอกาสให้เสด็จไปหาได้แล้ว บัดนี้ ขอพระองค์จง

ทรงทราบเวลาที่ควรเถิด พระเจ้าข้า พระเจ้ามุณฑะตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ท่าน

จงให้พนักงานเทียมพาหนะที่ดี ๆ ไว้ โสการักขะมหาอำมาตย์ รับสนอง

พระบรมราชโองการแล้ว ได้ให้พนักงานเทียมพระราชพาหนะที่ดี ๆ ไว้เสร็จ

แล้ว จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้พนักงานเทียมพระราช

พาหนะที่ดี ๆ ไว้เสร็จแล้ว ขอพระองค์จงทรงทราบเวลาที่ควรเถิด พระเจ้าข้า

ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะ เสด็จขึ้นทรงพระราชพาหนะที่ดี ๆ ไปสู่กุกกุฏาราม

เพื่อพบปะกับท่านพระนารทะ ด้วยพระราซานุภาพอย่างใหญ่ยิ่ง เสด็จไปเท่าที่

พระราชพาหนะจะไปได้ เสด็จลงจากพระราชพาหนะแล้ว เสด็จพระราชดำเนิน

เข้าไปสู่อาราม เข้าไปหาท่านพระนารทะทรงอภิวาทแล้ว ประทับ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระนารทะได้ทูลกะพระเจ้ามุณฑะว่า ขอถวาย

พระพร ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

หรือใคร ๆ ในโลกไม่พึงได้ ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ฐานะว่า ขอสิ่ง

ที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑ ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้

เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าเจ็บไข้ ๑ ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา

[ของเรา] อย่าตาย ๑ ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่า

สิ้นไป ๑ ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหาย

ไป ๑ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก

ไม่พึงได้ ขอถวายพระพร สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมไม่พิจารณา

เห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นแก่ไป โดย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 118

ที่แท้ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ

การอุปบัติ ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา

แก่ไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย

แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การ

งานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้

เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร

ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศร คือ

ความโศกที่มีพิษเสียบแทงเข้าแล้ว ย่อมทำตนให้เดือดร้อน ขอถวายพระพร.

อีกประการหนึ่ง สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้

สดับ ย่อมเจ็บไข้. . . สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ

ย่อมตายไป. . .สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อม

สิ้นไป. . . สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อม

ฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมไม่

พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเราผู้เดียว

เท่านั้น ฉิบหายไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง

ที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง

ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก

ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน

แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตร

ก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา

ฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ

หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ

เสียบแทงเข้าแล้ว ย่อมทำตนให้เดือดร้อน ขอถวายพระพร.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 119

ส่วนว่า สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมแก่

ไป เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็น

ดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นแก่ไป โดย

ที่แท้ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ

การอุปบัติ ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา

แก่ไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย

แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้

การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้

เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่

ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่าอริยสาวก

ผู้ได้สดับ ถอนลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษอันเป็นเครื่องเสียบแทงปุถุชน

ผู้ไม่ได้สดับ ทำคนให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร

ย่อมดับทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง ขอถวายพระพร.

อีกประการหนึ่ง สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้

ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้. . .สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ

ย่อมตายไป. . . สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อม

สิ้นไป. . . สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อม

ฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว อริยสาวก

นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเรา

ผู้เดียวเท่านั้นฉิบหายไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของสัตว์

ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น ส่วน

เราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉินหายไปแล้ว พึงเศร้าโศก

ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 120

ประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้

พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหาย

เป็นธรรมดาฉินหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร

ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอน

ลูกศร คือ ความเศร้าโศกที่มีพิษ ซึ่งเสียบแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ทำตน

ให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ร้อน

ได้ด้วยตนเอง ขอถวายพระพร ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันสมณะ พราหมณ์

เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้.

ท่านพระนารทะ ครั้นกล่าวไวยากรภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าว

คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้ อัน

ใคร ๆ ย่อมไม่ได้เพราะการเศร้าโศก

เพราะการคร่ำครวญ พวกอมิตรทราบว่า

เขาเศร้าโศก เป็นทุกข์ ย่อมดีใจ ก็คราวใด

บัณฑิตพิจารณารู้เนื้อความ ไม่หวั่นไหว

ในอันตรายทั้งหลาย คราวนั้น พวก

อมิตรเห็นหน้าอันไม่ผิดปกติของบัณฑิต

นั้น ยิ้มแย้มตามเคย ย่อมเป็นทุกข์ บัณฑิต

พึงได้ประโยชน์ในที่ใด ๆ ด้วยประการ

ใด ๆ เพราะการสรรเสริญ เพราะความรู้

เพราะกล่าวคำสุภาษิต เพราะการบำเพ็ญ-

ทาน หรือเพราะประเพณีของตน ก็พึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 121

บากบั่นในที่นั้น ๆ ด้วยประการนั้น ๆ

ถ้าพึงทราบว่า ความต้องการอย่างนี้อันเรา

หรือผู้อื่นไม่พึงได้ไซร้ ก็ไม่ควรเศร้าโศก

ควรตั้งใจทำงานโดยเด็ดขาดว่า บัดนี้เรา

ทำอะไรอยู่ ดังนี้.

เมื่อท่านพระนารทะทูลจบแล้วอย่างนี้ พระเจ้ามุณฑะได้ตรัสถามว่า

ท่านผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร ท่านพระนารทะตอบว่า ขอถวายพระพร

ธรรมปริยายนี้ชื่อโสกสัลลหรณะ พระเจ้ามุณฑะตรัสชมว่า ท่านผู้เจริญ

โสกสัลลหรณธรรมปริยายดีนัก โสกสัลลหรณธรรมปริยายดีนัก ท่านผู้เจริญ

เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้ ข้าพเจ้าจึงละลูกศร คือ ความโศกได้ ครั้งนั้น

พระเจ้ามุณฑะได้ตรัสสั่งโสการักขะมหาอำมาตย์ว่า ท่านจงถวายพระเพลิง

พระศพพระนางภัททาราชเทวี แล้วจงทำเป็นสถูปไว้ ตั้งแต่วันนี้ไป เราจัก

อาบน้ำ แต่งตัว บริโภคอาหาร และประกอบการงานดังนี้.

จบนารทสูตรที่ ๑๐

จบมุณฑราชวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 122

อรรถกถานาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนารทสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อชฺโฌมุจฺฉิโต แปลว่า ทรงสลบแน่นิ่ง คือทรงประกอบ

ด้วยความรักอันดื่มด่ำยิ่งนัก มีสภาพกล้ำกลืนจนลมจับ. บทว่า มหจฺจราชา-

นุภาเวน มีใจความว่า ทรงมีแม่ทัพ ๑๘ นาย ห้อมล้อมแล้วด้วยพระราชา-

นุภาพยิ่งใหญ่ เสด็จออกไปด้วยพระราชฤทธิ์อันใหญ่ยิ่ง. ศัพท์ว่า ตคฺฆ เป็น

นิบาตลงในอรรถว่า จริงโดยส่วนเดียว (แน่นอน). อธิบายว่า เป็นเครื่อง

นำออกซึ่งความโศกศัลย์โดยส่วนเดียว พระราชาทรงสดับโอวาทนี้แล้ว ทรง

ดำรงอยู่ในโอวาทนั้น ทรงครอบครองราชสมบัติโดยธรรมโดยชอบแล้ว ได้

เป็นผู้มีสวรรค์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถานารทสูตรที่ ๑๐

จบมุณฑราชวรรควรรณนาที่ ๕

จบปฐมปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาทิยสูตร ๒. สัปปุริสสูตร ๓. อิฏฐสูตร ๔. มนาปทายีสูตร

๕. อภิสันทสูตร ๖. สัมปทาสูตร ๗. ธนสูตร ๘. ฐานสูตร ๙. โกสลสูตร

๑๐. นารทสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 123

ทุติยปัณณาสก์

นีวรณวรรคที่ ๑

๑. อาวรณสูตร

ว่าด้วยนิวรณ์ ๕ อย่าง

[๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ ครอบงำจิตแล้ว ทำปัญญา

ให้ทุรพล ประการเป็นไฉน คือ นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ กามฉันทะ ๑

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ พยาบาท ๑ นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ ถีนมิทธะ ๑

นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ อุทธัจจกุกกุจะ ๑ นิวรณ์เครื่องกางกั้น คือ วิจิกิจฉา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้แล ครอบงำจิตแล้ว

ทำปัญญาให้ทุรพล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น

๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว จักรู้จักประโยชน์

ของตน ประโยชน์ของผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่ง

ญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์

ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนแม่น้ำ

ที่ไหลลงจากภูเขา ไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่จะพัดไปได้ บุรุษพึง

เปิดปากเหมืองแห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ กระแสน้ำในท่ามกลาง

แห่งแม่น้ำนั้น ก็ซัด ส่าย ไหลผิดทาง ไม่พึงไหลไปสู่ที่ไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 124

ไม่พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ละ

นิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว

จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้ง

ซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ ลามารถกระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์

ด้วยปัญญาอันไม่มีกำลัง ทุรพล ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นละนิวรณ์ เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้

อันครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น

ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถ

กระทำความเป็นอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันมีกำลัง ข้อนี้

เป็นฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล พัดสิ่งที่

พอจะพัดไปได้ บุรุษพึงปิดปากเหมืองแห่งแม่น้ำนั้นทั้งสองข้าง เมื่อเป็นเช่นนี้

กระแสน้ำในท่ามกลางแม่น้ำนั้น ก็จักไม่มี ไม่ส่าย ไหลไม่ผิดทาง พึงไหล

ไปสู่ที่ไกลได้ มีกระแสเชี่ยว และพัดในสิ่งที่พอพัดไปได้ ฉันใด ภิกษุนั้น

ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ละนิวรณ์เครื่องกางกั้น ๕ ประการนี้ อันครอบงำจิต

ทำปัญญาให้ทุรพลแล้ว จักรู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสอง

ฝ่าย หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะอันวิเศษ สามารถกระทำความเป็นอริยะ

ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยปัญญาอันมีกำลัง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.

จบอาวรณสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 125

ทุติยปัณณาสก์

นีวรณวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถถกถาอาวรณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาวรณสูตรที่ ๑ แห่งทุติยปัณณาสก์ ดังต่อไปนี้:-

กิเลสทั้งหลายชื่อว่า อาวรณะ เพราะอำนาจปิดกั้น. ที่ชื่อว่า นิวารณะ

เพราะมีอำนาจกางกั้น. บทว่า เจตโส อชฺฌารุหา แปลว่า อันท่วมทับจิต

กิเลสชื่อว่า ทำให้ปัญญาหดถอยกำลัง เพราะกระทำวิปัสสนาปัญญาและ

มรรคปัญญาให้เสื่อมกำลัง ด้วยอรรถว่ากางกั้นมิให้เกิดขึ้น. อีกประการหนึ่ง

ชื่อว่า ทำปัญญาให้หดถอยกำลัง เพราะปัญญาที่คลุกเคล้าด้วยกิเลสเหล่านี้

เกิดขึ้น กิเลสเหล่านั้นทำปัญญานั้นเสื่อมกำลัง ดังนี้ก็มี. บทว่า อพลาย

ความว่า ชื่อว่าปราศจากกำลัง เพราะถูกนิวรณ์ ๕ รึงรัดไว้. บทว่า อุตฺตรึ

วา มนุสฺสธมฺมา อลมริยาณทสฺสนวิเสส ความว่า ซึ่งญาณทัสสนะ

วิเศษที่สามารถกระทำความเป็นพระอริยเจ้าให้ได้ยิ่งไปกว่ามนุษยธรรมกล่าว

คือกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง.

บทว่า หารหาริณี คือ สามารถจะพัดพาสิ่งที่พอจะพัดพาไปได้.

บทว่า นงฺคลมุขานิ แปลว่า ปากเหมือง เพราะชนทั้งหลายเรียกปากเหมือง

เหล่านั้นว่า นังคลมุขานิ เพราะเหตุที่เขาเอาไถขุด ไถลงไปทำให้เป็นเหมือน

รอยไถไว้. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ วิปัสสนาญาณพึงเห็นเป็นเหมือน

กระแสน้ำ เวลาที่ภิกษุละเลยสังวรในทวารทั้ง ๖ พึงเห็นเหมือนเวลาเปิดปาก-

เหมืองทั้งสองข้าง เวลาที่ภิกษุถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ รึงรัดไว้ พึงเห็นเหมือนเวลา

ที่เมื่อเขาตอกหลักตันไม้กลางแม่น้ำแล้ว ทำทำนบกั้นด้วยใบไม้แห้ง หญ้าและ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 126

ดินเหนียว น้ำก็ซัดซ่ายสร่านไป เวลาที่ภิกษุไม่สามารถจะกำจัดอกุศลทั้งปวง

ด้วยวิปัสสนาญาณแล้วบรรลุถึงสาคร คือทางนิพพานได้ พึงทราบเหมือนเวลา

ที่เมื่อเขาทำทำนบกั้นไว้อย่างนี้ น้ำที่หมดกำลังเชี่ยวไม่สามารถจะพัดพาเอา

หญ้าและใบไม้แห้งเป็นต้นไปถึงทะเลได้ ในธรรมฝ่ายดีพึงประกอบความเข้า

โดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ทั้งวัฏฏะ

และวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถาอาวรณสูตรที่ ๑

๒. ราสิสูตร

[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อกล่าวว่า กองกุศล ดังนี้

จะกล่าวให้ถูกพึงกล่าวนิวรณ์ ๕ และกองอกุศลทั้งสิ้นนี้ คือ นิวรณ์ ๕ นิวรณ์

๕ เป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนีวรณ์

อุทธัจจกุกกุจจนิวรรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อ

กล่าวว่า กองอกุศล ดังนี้ จะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวนิวรณ์ ๕ และกองอกุศล

ทั้งสิ้นนี้ คือ นิวรณ์ ๕.

จบราสิสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๒ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 127

๓. อังคสูตร

[๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อ

พระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์. . . เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

ดังนี้ ๑

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบ

ด้วยไฟธาตุที่เผาอาหารให้ย่อยสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง

ควรแก่การบำเพ็ญเพียร ๑

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นผู้เปิดเผย

ตนตามเป็นจริง ในพระศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชน ๑

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยัง

กุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระ

ในกุศลธรรม ๑

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา ที่ให้หยั่ง

ถึงความเกิดขึ้นและดับไป อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์

โดยชอบ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล.

จบอังคสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 128

อรรถกถาอังคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอังคสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า ปธานิยงฺคานิ ภาวะคือการตั้งความเพียร ท่านเรียกว่า

ปธานะ. ความเพียรของภิกษุนั้นมีอยู่ เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าผู้มีความเพียร

องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร เพราะเหตุนั้นชื่อว่า ปธานิยังคะ.

บทว่า สทฺโธ แปลว่า ผู้ประกอบด้วยศรัทธา. ก็ศรัทธานั้นมี ๔ อย่าง

คือ อาคมศรัทธา ๑ อธิคมศรัทธา ๑ โอกัปปนศรัทธา ๑ ปสาท-

ศรัทธา ๑. บรรดาศรัทธาทั้ง ๔ นั้น ศรัทธาของพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ ชื่อว่า

อาคมศรัทธา เพราะเริ่มมีมาตั้งแต่การบำเพ็ญบารมี ที่ชื่อว่า อธิคมศรัทธา

เพราะบรรลุด้วยการแทงตลอดของพระอริยสาวกทั้งหลาย. ความเชื่ออย่าง

มั่นคง เพราะไม่หวั่นไหว เมื่อกล่าวว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ดังนี้ ชื่อว่า

โอกัปปนศรัทธา การเกิดขึ้นแห่งความเลื่อมใส ชื่อว่า ปสาทศรัทธา. ใน

พระสูตรนี้ท่านประสงค์เอาโอกัปปนศรัทธา. บทว่า โพธึ ได้แก่ มรรคญาณ ๔.

ภิกษุย่อมเชื่อว่า มรรคญาณ ๔ นั้นอันพระตถาคตแทงตลอดด้วยดีแล้ว. ก็คำ

นั้นเป็นเพียงหัวข้อเทศนาเท่านั้น. ก็ศรัทธาในรัตนะแม้ทั้ง ๓ ท่านประสงค์

เอาด้วยองค์นี้ เพราะภิกษุใดมีความเลื่อมใส มีกำลังแรงในพระพุทธเจ้า

เป็นต้น ความเพียรคือปธานะย่อมสำเร็จแก่ภิกษุนั้น.

บทว่า อปฺปาพาโธ คือ ไม่มีโรค. บทว่า อปฺปาตงฺโก คือ

ไม่มีทุกข์. บทว่า สมเวปากินิยา แปลว่า มีการย่อมสม่ำเสมอ. บทว่า

คหณิยา แปลว่า อันไฟธาตุเกิดแต่กรรม. บทว่า นาติสีตาย นาจฺจุณฺหาย

ความว่า จริงอยู่ ภิกษุผู้มิไฟธาตุเย็นเกินไป ย่อมกลัวหนาว ผู้มีไฟธาตุร้อน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 129

เกินไป ย่อมกลัวร้อน ความเพียรย่อมไม่สำเร็จผลแก่ภิกษุเหล่านั้น (แต่)

ย่อมสำเร็จผลแก่ภิกษุผู้มีไฟธาตุปานกลาง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า เป็นปานกลางเหมาะแก่ความเพียร. บทว่า ยถาภูต อตฺตาน

อาวิกตฺตา คือ ประกาศคุณของตนตามความเป็นจริง. บทว่า อุทยตฺถ-

คามินิยา คือ ที่สามารถจะถึง คือกำหนดรู้ความเกิดและความดับ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสอุทยพยญาณที่กำหนดรู้ลักษณะ ๕๐ ประการ ด้วยบทนี้ . บทว่า

อริยาย คือ บริสุทธิ์. บทว่า นิพฺเพธิกาย คือ ที่สามารถชำแรกกองกิเลส

มีกองโลภเป็นต้น ที่คนยังมิเคยชำแรก. บทว่า สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา

คือ ที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์ซึ่งสิ้นไป เพราะละกิเลสทั้งหลายได้ด้วยอำนาจ

ตทังคปหาน [ละชั่วคราว]. ด้วยบทเหล่านี้แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเฉพาะวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะความเพียรย่อมไม่

สำเร็จผลแก่คนผู้มีปัญญาทราม.

จบอรรถกถาอังคสูตรที่ ๓

๔. สมยสูตร

ว่าด้วยสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕

[๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นคนแก่ ถูกชราครอบงำ

นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๑

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้อาพาธ ถูกพยาธิครอบงำ นี้เป็นสมัยที่

ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 130

อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีข้าวแพง ข้าวเสียหาย มีบิณฑบาตหาได้ยาก

ไม่สะดวกที่จะยังอัตภาพให้เป็นไปได้ด้วยการแสวงหาบิณฑบาต นี้เป็นสมัยที่

ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๓

อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีภัย มีความกำเริบในป่าดง ชาวชนบทพากัน

ขึ้นยานพาหนะอพยพไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๔

อีกประการหนึ่ง สมัยที่สงฆ์แตกกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์

แตกกันแล้ว ย่อมมีการด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน มีการใส่ร้ายกัน

และกัน มีการทอดทิ้งกันและกัน คนผู้ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้นย่อมไม่เลื่อมใส

และคนบางพวกที่เลื่อมใสย่อมเป็นอย่างอื่นไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร

ข้อที่ ๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล.

ว่าด้วยสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบ

ด้วยความเป็นหนุ่ม ตั้งอยู่ในปฐมวัย นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๑

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบ

ด้วยไฟธาตุที่เผาอาหารให้ย่อยสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง

ควรแก่การบำเพ็ญเพียร นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๒

อีกประการหนึ่ง สมัยที่ข้าวถูก ข้าวดี มีบิณฑบาตหาได้ง่าย สะดวก

ที่จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหาบิณฑบาต นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญ

เพียรข้อที่ ๓

อีกประการหนึ่ง สมัยที่พวกมนุษย์พร้อมเพรียงกัน [สามัคคีกัน]

ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันและกันด้วยจักษุ

ที่ประกอบด้วยความรัก นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 131

อีกประการหนึ่ง สมัยที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน

มีอุเทศร่วมกัน ย่อมอยู่เป็นผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์สมัครสมาน

กันย่อมไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการใส่ร้ายกันและกัน

ไม่มีการทอดทิ้งกันและกัน คนผู้ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้น ย่อมเลื่อมใส และ

คนที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๕

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล

จบสมยสูตรที่ ๔

อรรถกถาสมยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสมยสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปธานาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การกระทำความเพียร. บทว่า

น สุกร อุญฺเฉน ปคฺคเหน ยาเปตุ ความว่า ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถที่

จะยังชีพอยู่ได้ ด้วยการอุ้มบาตรไปเที่ยวขอมา. ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถาสมยสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 132

๕. มาตุปุตติกสูตร

ว่าด้วยบ่วงแห่งมาร ๕ ประการ

[๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล มารดา

และบุตรสองคน คือ ภิกษุและภิกษุณี เข้าจำพรรษาในพระนครสาวัตถี

คนทั้งสองนั้นเป็นผู้ใคร่เห็นกันและกันเนือง ๆ แม้มารดาก็เป็นผู้ใคร่เห็นบุตร

เนือง ๆ แม้บุตรก็เป็นผู้ใคร่เห็นมารดาเนือง ๆ เพราะการเห็นกันเนือง ๆ

แห่งคนทั้งสองนั้น จึงมีความคลุกคลีกัน เมื่อมีความคลุกคลีกัน จึงมีการ

วิสาสะคุ้นเคยกัน เมื่อมีการวิสาสะกัน จึงมีช่อง คนทั้งสองนั้นมีจิตได้ช่อง

ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความทุรพล ได้เสพเมถุนธรรม ครั้งนั้นแล

ภิกษุเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระ.ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

มารดาและบุตรสองคน คือ ภิกษุและภิกษุณี เข้าจำพรรษาในพระนครสาวัตถี

นี้ คนสองคนนั้นเป็นผู้ใคร่เห็นกันและกันเนือง ๆ แม้มารดาก็เป็นผู้ใคร่เห็น

บุตรเนือง ๆ แม้บุตรก็เป็นผู้ใคร่เห็นมารดาเนือง ๆ เพราะการเห็นกันเนือง ๆ

แห่งคนทั้งสองนั้น จึงมีความคลุกคลีกัน เมื่อมีความคลุกคลีกัน จึงมีการ

วิสาสะกัน เมื่อมีการวิสาสะกัน จึงมีช่อง คนทั้งสองนั้นมีจิตได้ช่อง ไม่บอก

คืนสิกขา ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความทุรพล ได้เสพเมถุนธรรม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้นย่อม

สำคัญหรือหนอว่า มารดาย่อมไม่กำหนัดในบุตร ก็หรือบุตรย่อมไม่กำหนัด

ในมารดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปอื่นแม้รูปเดียว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 133

ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความ

มัวเมา เป็นที่ตั้งแห่งความผูกพัน เป็นที่ตั้งแห่งความหมกมุ่น กระทำอันตราย

แก่การบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือนรูปหญิงนี้

เลย สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ใฝ่ใจ หมกมุ่น พัวพันในรูปหญิง เป็นผู้

อยู่ใต้อำนาจรูปหญิง ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

ย่อมไม่พิจารณาเห็นเสียงอื่นแม้เสียงเดียว. . . กลิ่นอื่นแท้กลิ่นเดียว. . . รสอื่น

แม้รสเดียว . . . โผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เป็นที่ตั้งแห่งความผูกพัน

เป็นที่ตั้งแห่งความหมกมุ่น กระทำอันตรายแก่การบรรลุธรรม อันเป็นแดน

เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือนโผฏฐัพพะแห่งหญิงนี้เลย สัตว์ทั้งหลาย

กำหนัด ยินดี ใฝ่ใจ หมกมุ่น พัวพัน ในโผฏฐัพพะแห่งหญิง เป็นผู้อยู่

ใต้อำนาจโผฏฐัพพะแห่งหญิง ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

หญิงเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี นอนหลับแล้วก็ดี หัวเราะก็ดี

พูดอยู่ก็ดี ขับร้องอยู่ก็ดี ร้องไห้อยู่ก็ดี บวมขึ้นก็ดี ตายแล้วก็ดี ย่อม

ครอบงำจิตของบุรุษได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวสิ่งใด ๆ พึง

กล่าวโดยชอบว่า บ่วงรวบรัดแห่งมาร ก็พึงกล่าวมาตุคามนั่นแหละว่า เป็น

บ่วงรวบรัดแห่งมาร โดยชอบได้.

บุคคลพึงสนทนาด้วยเพชฌฆาตก็ดี

ด้วยปิศาจก็ดี พึงถูกต้องอสรพิษที่กัดตาย

ก็ดี ก็ไม่ร้ายแรงเหมือนสนทนาสองต่อ

สองด้วยมาตุคามเลย พวกหญิงย่อมผูกพัน

ชายผู้ลุ่มหลงด้วยการมองดู การหัวเราะ

การนุ่งห่มลับล่อ และการพูดอ่อนหวาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 134

มาตุคามนี้ มิใช่ผูกพันเพียงเท่านี้ แม้บวม

ขึ้น ตายไปแล้วก็ยังผูกพันชายได้ กามคุณ

๕ นี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ

โผฏฐัพพะ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อม

ปรากฏในรูปหญิง เหล่าชนผู้ถูกห้วงกาม

พัด ไม่กำหนดรู้กาม มุ่งคติในกาลและ

ภพน้อยภพใหญ่ในสงสาร ส่วนชน

เหล่าใดกำหนดรู้กาม ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ

เที่ยวไป ชนเหล่านั้นบรรลุถึงความสิ้น

อาสวะ ย่อมเข้าฝั่งสงสารในโลกได้.

จบมาตุปุตติกสูตรที่ ๕

อรรถกถามาตุปุตติกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมาตุปุตติกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปริยาทาย ติฏฺติ ความว่า ย่อมคราอบงำคือยึดเอา ได้แก่

ให้ส่ายไปตั้งอยู่. บทว่า อุคฺฆานิตา ได้แก่ พองขึ้น.

บทว่า อสิหตฺเถน ความว่า แม้กับผู้ถือเอาดาบมา หมายตัดศีรษะ.

บทว่า ปิสาเจน ความว่าแม้กับยักษ์ที่มาหมายจะกิน. บทว่า อาสทฺเท แปลว่า

พึงแตะต้อง. บทว่า มญฺชุนา แปลว่า อับอ่อนโยน. บทว่า กาโมฆวุฒฺหาน

คือ อันโอฆะคือกามพัดพาไปคร่าไป. บทว่า กาล คตึ ภวาภว คือ ซึ่งคติ

และการมีบ่อย ๆ ตลอดกาลแห่งวัฏฏะ. บทว่า ปุรกฺขตา คือให้เที่ยวไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 135

ข้างหน้า ได้แก่กระทำไว้เบื้องหน้า. บทว่า เย จ กาเม ปริญฺาย ความว่า

ชนเหล่าใดเป็นบัณฑิตกำหนดรู้กามแม้ทั้งสองอย่าง ด้วยปริญญา ๓. บทว่า

จรนฺติ อกุโตภยา ความว่า ขึ้นชื่อว่าความมีภัยแต่ที่ไหน ๆ ไม่มีแก่พระ-

ขีณาสพทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระขีณาสพเหล่านั้น จึงหาภัยมิได้แต่ที่ไหนๆ

เที่ยวไป. บทว่า ปารคตา ความว่า นิพพานท่านเรียกว่าฝั่ง. อธิบายว่า

เข้าถึงนิพพานนั้น คือการทำให้แจ้งแล้วดำรงอยู่. บทว่า อาสวกฺขย ได้แก่

พระอรหัต. ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะเท่านั้น ในคาถาทั้งหลาย

ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถามาตุปุตติกสูตรที่ ๕

๖. อุปัชฌายสูตร

ว่าด้วยผู้ที่นิวรณ์ครอบงำจิตไม่ได้

[๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาอุปัชฌาย์ของตนถึงที่อยู่

ครั้นแล้ว ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศ-

ทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะ

ย่อมครอบงำจิตของผม ผมได้ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมมีความสงสัย

ในธรรมทั้งหลาย ครั้งนั้น ภิกษุนั้นพาภิกษุสัทธิวิหาริกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ กายของผม

หนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 136

แก่ผม ถีนมิทธะย่อมครอบงำจิตของผม ผมไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์

และผมมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ การที่กายของเธอหนักขึ้น

ทิศทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่แจ่มแจ้งแก่เธอ เธอ

ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และเธอมีความสงสัยในธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมมี

แก่ภิกษุผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่

ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่

ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลายทุกวัน ทุกคืน ดูก่อนภิกษุ เพราะ

เหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่

เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน

ทุกคืน ดังนี้ ดูก่อนภิกษุ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ลุกขึ้นจากที่นั่งถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ภิกษุนั้นหลีกออกจากหมู่อยู่

ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่ ไม่นานเท่าไรได้ทำให้แจ้ง

ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต

โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ก็แลภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวน

พระอรหันต์ทั้งหลาย.

ครั้งนั้น ภิกษุนั้น ได้บรรลุอรหัตแล้ว จึงเข้าไปหาอุปัชฌาย์ของตน

ถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ กายผมไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลาย

ย่อมปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายย่อมแจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะย่อมไม่ครอบ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 137

งำจิตของผม ผมยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และผมไม่มีความสงสัยในธรรม

ทั้งหลาย ครั้งนั้น ภิกษุนั้น พาภิกษุผู้สัทธิวิหาริกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

บัดนี้ กายของผมไม่หนักขึ้น ทิศทั้งหลายย่อมปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลาย

ย่อมแจ่มแจ้งแก่ผม ถีนมิทธะย่อมไม่ครอบงำจิตของผม ผมยินดีประพฤติ

พรหมจรรย์ และผมไม่มีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ การที่กายของเธอไม่หนักขึ้น

ทิศทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอ ธรรมทั้งหลายย่อมแจ่มแจ้งแก่เธอ ถีนมิทธะ

ย่อมไม่ครอบงำจิตของเธอ เธอยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และเธอไม่มีความ

สงสัยในธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมมีได้แก่ภิกษุผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรม

ทั้งหลาย ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย

จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบ

ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ประกอบการเจริญ

โพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบอุปัชฌายสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 138

อรรถกถาอุปัชฌายสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุปัชฌายสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มธุรกชาโต แปลว่า มีความหนักเกิดขึ้น. บทว่า ทิสา จ

เม น ปกฺขายนฺติ ความว่า ภิกษุกล่าวว่า ทิศใหญ่ ๔ ทิศ และทิศน้อย

๔ ทิศ ไม่ปรากฏแก่กระผม. บทว่า ธมฺมา จ ม นปฺปฏิภนฺติ ความว่า

แม้ธรรมคือสมถะและวิปัสสนาก็ไม่ปรากฏแก่กระผม. บทว่า อนภิรโต จ

พฺรหฺมจริย จรามิ ความว่า กระผมเป็นผู้กระสันแล้วอยู่ประพฤติพรหมจรรย์.

บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า อุปัชฌาย์ฟังถ้อยคำของภิกษุ

นั้นแล้ว คิดว่า ภิกษุนี้เป็นพุทธเวไนยบุคคล จึงเข้าไปเฝ้ากราบทูลเหตุการณ์

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อวิปสฺสกสฺส กุสลาน ธมฺมาน ความว่า

ผู้ไม่เห็นแจ้งอยู่ซึ่งธรรมอันเป็นกุศล คือไม่แสวงหา ไม่เสาะหาอยู่. บทว่า

โพธิปกฺขิกาน ได้แก่ ธรรม ๓๗ ประการมีสติปัฏฐานเป็นต้น.

จบอรรถกถาอุปัชฌายสูตรที่ ๖

๗. ฐานสูตร

ว่าด้วยฐานะที่ควรพิจารณาเนือง ๆ ๕ ประการ

[๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ

คฤหัสถ์ หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี

บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 139

ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑ เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความ

เจ็บไข้ไปได้ ๑ เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑ เรา

จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑ เรามีกรรมเป็นของตน เป็น

ทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง

จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ

คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา

ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความเป็นหนุ่ม

สาวมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย

วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในความ

เป็นหนุ่มสาวนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึง

ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราไม่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไป

ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ

คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็น

ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาใน

ความไม่มีโรคมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติทุจริต

ด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมา

ในความไม่มีโรคนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควร

พิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้

พิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้

ไปได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 140

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ

คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา

ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์

ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อ

เขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง

หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล

สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีความ

ตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ

คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจาก

ของรักของชอบใจทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ใน

ของรักมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย

วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละความพอใจ ความรัก

ใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิงหรือทำให้เบาบางลงได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย

อำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา

เนือง ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ

คฤหัสถ์หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน

เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น

ที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขา

พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลง

ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 141

คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน

เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น

ที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เรา

แต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ โดยที่แท้

สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็น

ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่

เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค

นั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย

ย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่

มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้ง

ปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้เป็น

ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่

เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค

นั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย

ย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มี

ความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดา

ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วง

พ้นความตายไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อม

เกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรบ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ

อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 142

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่จะ

ต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มี

การมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบ

ใจทั้งสิ้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น

อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้

มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มี

กรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่า-

พันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับ

ผลของกรรมนั้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดา ที่มีการมา การไป การจุติ

การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด

มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม

จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนือง ๆ

มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่

ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป.

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความแก่เป็น

ธรรมดา มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา มี

ความตายเป็นธรรมดา สัตว์ทั้งหลายย่อม

เป็นไปตามธรรมดา พวกปุถุชนย่อมเกลียด

ถ้าเราพึงเกลียดธรรมนั้น ในพวกสัตว์ผู้มี

อย่างนั้นเป็นธรรมดา ข้อนั้นไม่สมควรแก่

เราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้

ทราบธรรมที่หาอุปธิมิได้ เห็นการออก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 143

บวชโดยเป็นธรรมเกษม ครอบงำความมัว

เมาทั้งปวงในความไม่มีใคร ในความเป็น

หนุ่มสาว และในชีวิต ความอุตสาหะได้

มีแล้วแก่เราผู้เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน บัดนี้

เราไม่ควรเพื่อเสพกามทั้งหลาย จักเป็นผู้

ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติ

พรหมจรรย์.

จบฐานสูตรที่ ๗

อรรถกถาฐานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชราธมฺโมมฺหิ แปลว่า เราเป็นผู้มีความแก่เป็นสภาพ. บทว่า

ชร อนตีโต ความว่า เราไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ย่อมเที่ยวไปในภายใน

ความแก่นั่นเอง. แม้ในบททั้งหลายที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ในบททั้งหลายว่า

กมฺมสฺสโก เป็นต้น กรรมเป็นของเรา คือเป็นของมีอยู่ของตน เพราะฉะนั้น

เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นของตน. บทว่า กมฺมทายาโท แปลว่า เราเป็นทายาท

ของกรรม อธิบายว่า กรรมเป็นมรดก คือเป็นสมบัติของเรา กรรมเป็น

กำเนิดคือเป็นเหตุเกิดของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นกำเนิด.

กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์.

อธิบายว่ามีกรรมเป็นญาติ. กรรมเป็นที่อาศัย คือเป็นที่พึ่งของเรา เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 144

เราจึงชื่อว่ามีกรรมที่อาศัย. บทว่า ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ แปลว่า

เราเป็นทายาทชองกรรมนั้น อธิบายว่า เราจักเป็นผู้รับผลทีกรรมนั้นให้.

บทว่า โยพฺพนมโท ได้แก่ ความเมาเกิดขึ้น ปรารภความเป็น

หนุ่มสาว. แม้ในบททั้งหลายที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มคฺโค สญฺชายติ

ได้แก่ โลกุตรมรรคย่อมเกิดขึ้นพร้อม. บทว่า สโยชนานิ ปหียนฺติ

ความว่า สัญโญชน์ ๑๐ ประการ เธอย่อมละได้โดยประการทั้งปวง. บทว่า

อนุสยา พยนฺตี โหนฺติ ความว่า อนุสัย ๗ ประการ สิ้นสุดแล้ว คือมี

ทางรอบ ๆ ตัดขาดแล้ว ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิปัสสนาในฐานะทั้ง

๕ ในหนหลังไว้แล้ว ด้วยประการฉะนี้ ตรัสโลกุตรมรรคในฐานะทั้ง ๕ เหล่านี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรุปด้วยคาถาทั้งหลาย จึงตรัส

ว่า พฺยาธิธมฺมา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวา ธมฺม นิรูปธึ

ความว่า รู้ธรรมคือพระอรหัตที่ปราศจากอุปธิแล้ว. บทว่า สพฺเพ มเท

อภิโภสฺมิ ความว่า เราครอบงำความเมาแม้ทั้ง ๓ อย่างเหล่านี้ได้ทั้งหมด

อธิบายว่า เราก้าวล่วงเสียแล้วดำรงอยู่. บทว่า เนกฺขมม ทฏฺฐุ เขมโต

ความว่า เห็นการบรรพชาโดยความเป็นของเกษม. บทว่า ตสฺส เม อหุ

อุสฺสาโห นิพฺพาน อภิปสฺสโต ความว่า สำหรับเราผู้เห็นชัด ซึ่งพระนิพพาน

อยู่ได้มีความพยายามแล้ว. บทว่า อนิวตฺติ ภวิสฺสามิ ความว่า เราจักเป็น

ผู้ไม่กลับไปจากการบรรพชา จักไม่กลับไปจากการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

จักไม่กลับไปจากพระสัพพัญญุตญาณ. บทว่า พฺรหฺมจริยปรายโน คือ

จักเป็นผู้มีมรรคพรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ถึงมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นโลกุตระไว้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาฐานสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 145

๘. กุมารลิจฉวีสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ให้ความเจริญอย่างเดียว

[๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา

ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว

ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปสู่เมืองเวสาลี เพื่อบิณฑบาต ครั้นเสด็จ

กลับจากบิณฑบาตแล้ว เวลาปัจฉาภัต เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวัน ประทับนั่ง

พักผ่อนกลางวันที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ก็สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีกุมารหลายคนถือธนู

ที่ขึ้นสาย มีฝูงสุนัขแวดล้อม เดินเที่ยวไปในป่ามหาวัน ได้เห็นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง แล้วจึงวางธนูที่ขึ้นสาย ปล่อย

ฝูงสุนัขไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมแล้ว ต่างนั่งนิ่งประนมอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีนามว่ามหานามะ เดินพักผ่อนอยู่ในป่ามหาวัน ได้เห็น

เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านั้นผู้ต่างนั่งนิ่งประนมอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้เปล่งอุทานว่า เจ้าวัชชีจักเจริญ ๆ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนมหานามะ ก็เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า

เจ้าวัชชีจักเจริญ ๆ.

ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ เป็นผู้ดุร้าย

หยาบคาย กระด้าง ของขวัญต่าง ๆ ที่ส่งไปในตระกูลทั้งหลาย คือ อ้อย

พุทรา ขนม ขนมต้ม หรือขนมแดกงา เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ย่อมแย่งชิงกิน

ย่อมเตะหลังหญิงแห่งตระกูลบ้าง เตะหลังกุมารีแห่งตระกูลบ้าง แต่บัดนี้

เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ต่างนั่งนิ่งประนมอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 146

พ. ดูก่อนมหานามะ ธรรม ๕ ประการมีอยู่แก่กุลบุตรคนใดคนหนึ่ง

เป็นขัตติยราช ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ตาม ผู้ปกครองรัฐ ซึ่งรับมรดกจาก

บิดาก็ตาม เป็นอัครเสนาบดีก็ตาม เป็นผู้ปกครองหมู่บ้านก็ตาม หัวหน้าพวก

ก็ตาม ผู้เป็นใหญ่เฉพาะตระกูลก็ตาม กุลบุตรนั้นพึงหวังได้รับความเจริญ

ส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนมหานามะ กุลบุตรในโลกนี้ ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ

บูชามารดาบิดา ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้น

ด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม

มารดาบิดาผู้ได้รับการสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์

กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตร

ผู้อันมารดาบิดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม.

อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บุตร

ภรรยา ทาส กรรมกร และคนใช้ ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่น

ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ

ชอบธรรม ได้มาโดยชอบธรรม บุตร ภริยา ทาส กรรมกร และคนใช้

ผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้น ด้วย

น้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันบุตร ภริยา

ทาส กรรมกร และคนใช้อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว

ไม่มีเสื่อม.

อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เพื่อน

ชาวนาและคนที่ร่วมงานด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน

สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา

โดยธรรม เพื่อนชาวนา และคนที่ร่วมงานผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 147

บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน

มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันเพื่อนชาวนา และคนที่ร่วมงานอนุเคราะห์แล้ว

พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม.

อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เทวดา

ผู้รับพลีกรรม ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้น

ด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม

เทวดาผู้รับพลีกรรม ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์

กุลบุตรนั้น ด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตร

ผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม.

อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

สมณพราหมณ์ด้วยโภคทรัพย์ที่หาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วย

กำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม

สมณพราหมณ์ผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์

กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตร

อันสมณพราหมณ์อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มี

เสื่อม.

ดูก่อนมหานามะ ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมมีอยู่แก่กุลบุตรคนใด

คนหนึ่ง เป็นขัตติยราช ผู้ได้รับมูรธาภิเษกก็ตาม ผู้ปกครองรัฐซึ่งได้รับมรดก

จากบิดาก็ตาม เป็นอัครเสนาบดีก็ตาม ผู้ปกครองหมู่บ้านก็ตาม หัวหน้าพวก

ก็ตาม ผู้เป็นใหญ่เฉพาะตระกูลก็ตาม พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว

ไม่มีเสื่อม.

กุลบุตรผู้โอบอ้อมอารี มีศีล ย่อม

ทำการงานแทนมารดาบิดา บำเพ็ญประ-

โยชน์แก่บุตร ภริยา แก่ชนภายใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 148

ครอบครัว แก่ผู้อาศัยเลี้ยงชีพ แก่ชน

ทั้งสองประเภท กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิต เมื่อ

อยู่ครองเรือนโดยธรรม ย่อมยังความยินดี

ให้เกิดขึ้นแก่ญาติทั้งที่ล่วงลับไปทั้งที่มีชีวิต

อยู่ในปัจจุบันแก่สมณพราหมณ์ เทวดา

กุลบุตรนั้นครั้นบำเพ็ญกัลยาณธรรมแล้ว

เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ บัณฑิต

ทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้ เขา

ละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์.

จบกุมารลิจฉวีสูตรที่ ๘

อรรถกถากุมารลิจฉวีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุมารลิจฉวีสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สชฺชานิ ธนูนิ ความว่า ถือเอาธนูที่ขึ้นสายแล้ว. บทว่า

ภวิสฺสนฺติ วชฺชี ได้แก่ เจ้าวัชชีจักเจริญ. บทว่า อปาฏฺภา ความว่า

อาศัยความไม่เจริญ เป็นผู้กระด้างเพราะมานะ. บทว่า ปจฺฉาลิย ขิปนฺติ

ความว่า เดินไปข้างหลังแล้วเตะหลัง. ในบททั้งหลายมีบทว่า รฏฺิกสฺส

เป็นต้น ผู้ชื่อว่า รัฏฐิกะ เพราะกิน [ปกครอง] แว่นแคว้น. ผู้ชื่อว่า

เปตตนิกะ เพราะกิน [ปกครอง] ทรัพย์มรดกที่บิดาให้ไว้. ผู้ชื่อว่า เสนาบดี

เพราะเป็นเจ้าเป็นใหญ่แห่งกองทัพ [นายพล]. บทว่า คามคามิกสฺส คือผู้

เป็นหัวหน้าหมู่บ้านของชาวบ้านทั้งหลาย อธิบายว่า ผู้ปกครองหมู่บ้าน. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 149

ปูคคามณิกสฺส คือหัวหน้าหมู่. บทว่า กุเลสุ คือในตระกูลนั้น ๆ. บทว่า

ปจฺเจกาธิปจฺจ กาเรนฺติ คือ ครอบครองอธิปัตย์ความเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว.

บทว่า กลฺยาเณน มนสา อนุกมฺปนฺติ คือ อนุเคราะห์ด้วยจิต

อันดีงาม. บทว่า เขตฺตกมฺมนฺตสามนฺตสโพฺยหาเร ได้แก่ ชนผู้เป็น

เจ้าของที่นาติดกับของตนโดยรอบของชาวนา และพนักงานรังวัดที่ถือเชือก

และไม้วัดพื้นที่. บทว่า พลิปฏิคฺคาทิกา เทวตา ได้แก่ อารักขเทวดาที่

เชื่อถือกันมาตามประเพณีของตระกูล. บทว่า ตา สกฺกโรติ ได้แก่ กระทำ

สักการะเทวดาเหล่านั้น ด้วยข้าวต้มแสะข้าวสวยอย่างดี.

บทว่า กิจฺจกโร คือ เป็นผู้ช่วยกระทำกิจที่เกิดขึ้น. บทว่า เย

จสฺส อุปชีวิโน ได้แก่ ชนผู้เข้าไปอาศัยกิจนั้นเลี้ยงชีพ บทว่า อุภินฺน-

เยว อตฺถาย ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนแม้ทั้งสอง.

บทว่า ปุพฺพเปตาน คือ ผู้ไปสู่ปรโสกแล้ว. บทว่า ทิฏธมฺเม จ ชีวต

คือ ญาติผู้มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงญาติทั้งหลายใน

อดีตและปัจจุบันแม้ด้วยบททั้งสองนี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปีติสญฺชนโน

คือ ให้เกิดความยินดี. บทว่า ฆรามาวส แปลว่า อยู่ครองเรือน. บทว่า

ปุชฺโช โหติ ปสสิโย ความว่า ย่อมเป็นผู้อันเขาพึงบูชา และพึงสรรเสริญ.

จบอรรถกถากุมารลิจฉวีสูตรที่ ๘

๙. ปฐมทุลลภสูตร

ว่าด้วยธรรมที่หาได้ยากสำหรับผู้บวชเมื่อแก่

[๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่ ผู้ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการ หาได้ยาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 150

ภิกษุบวชเมื่อแก่ เป็นคนละเอียด หาได้ยาก เป็นผู้มีมารยาทสมบูรณ์

หาได้ยาก เป็นพหูสูตร หาได้ยาก เป็นธรรมกถึก หาได้ยาก เป็น

วินัยธร หาได้ยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่ ผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล หาได้ยาก.

จบปฐมทุลลภสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมทุลลภสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมทุลลภสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นิปุโณ คือ เป็นผู้ละเอียด รู้เหตุการณ์อันสุขุม. บทว่า

อากปฺปสมฺปนฺโน คือ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยมารยาทของสมณะ.

จบอรรถกถาปฐมทุลลภสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยทุลลภสูตร

ว่าด้วยธรรมที่หาได้ยากสำหรับผู้บวชเมื่อแก่

[๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่ ผู้ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการ หาได้ยาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุบวชเมื่อแก่ เป็นผู้ว่าง่าย หาได้ยาก เป็นผู้คงแก่เรียน หาได้ยาก

เป็นผู้รับโอวาทด้วยความเคารพ หาได้ยาก เป็นธรรมกถึก หาได้ยาก

เป็นวินัยธร หาได้ยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบวชเมื่อแก่ ผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล หาได้ยาก.

จบทุติยทุลลภสูตรที่ ๑๐

จบนีวรณวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 151

อรรถกถาทุติยทุลลภสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยทุลลภสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปทกฺขิณคฺคาหี แปลว่า ผู้รับโอวาทที่ท่านให้แล้ว โดย

ข้างเบื้องขวา (โดยความเคารพ). คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยทุลลภสูตรที่ ๑๐

จบนีวรณวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาวรณสูตร ๒. ราสิสูตร ๓. อังคสูตร ๔. สมยสูตร

๕. มาตุปุตติกสูตร ๖. อปัชฌายสูตร ๗. ฐานสูตร ๘. กุมารลิจฉวีสูตร

๙. ปฐมทุลลภสูตร ๑๐. ทุติยทุลลภสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 152

สัญญาวรรคที่ ๒

๑. ปฐมสัญญาสูตร

ว่าด้วยสัญญาที่มีผลมาก ๕ ประการ

[๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

สัญญา ๕ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา มรณสัญญา

อาหาเรปฏิกูลสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัญญา ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก

มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.

จบปฐมสัญญาสูตรที่ ๑

สัญญาวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาปฐมสัญญาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มหปฺผลา คือ มีผลมากด้วยผลอันเป็นวิบาก. ชื่อว่า มี

อานิสงส์มากด้วยอานิสงส์อันเป็นวิบาก. บทว่า อมโตคธา คือ มีพระนิพพาน

เป็นที่พึ่งพิง. บทว่า สพฺพโลเก อนภิรตสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้น

แก่บุคคลผู้เบื่อระอาในโลกอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งธาตุ ๓ ทั้งหมด.

จบอรรถกถาปฐมสัญญาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 153

๒. ทุติยสัญญาสูตร*

ว่าด้วยสัญญาที่มีผลมาก ๕ ประการ

[๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๕ ประการ อันบุคคลเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด

สัญญา ๕ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา มรณสัญญา

อาหาเรปฏิกูลสัญญา สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัญญา ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก

มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.

จบทุติยสัญญาสูตรที่ ๒

๓. ปฐมวัฑฒิสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ

[๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้เจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ

๕ ประการ ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็น

ผู้ยึดถือสาระ และยึดถือสิ่งประเสริฐแห่งกาย ธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ย่อมเจริญด้วยศีล ย่อมเจริญ

ด้วยสุตะ ย่อมเจริญด้วยจาคะ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้เจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าย่อมเจริญด้วย

ธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ยึดถือสาระ และยึดถือสิ่ง

ประเสริฐแห่งกาย.

* สูตรที่ ๒ อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 154

อริยสาวกผู้ใด ย่อมเจริญด้วยศรัทธา

ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ทั้งสองฝ่าย

อริยสาวกผู้เช่นนั้น เป็นสัปบุรุษ มีปรีชา

เห็นประจักษ์ ชื่อว่าย่อมยึดถือสาระแห่ง

ตนในโลกนี้ไว้ได้ทีเดียว.

จบปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมวัฑฒิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วราทายี คือเป็นผู้ยึดเอาไว้ได้ซึ่งสาระอันสูงสุด. คำที่เหลือ

ในสูตรนี้และสูตรที่ ๔ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปฐมวัฑฒิสูตรที่ ๓

๔. ทุติยวัฑฒิสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ

[๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาผู้เจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ

๕ ประการ ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็น

ผู้ยึดถือสาระ และยึดถือสิ่งประเสริฐแห่งกาย ธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา ย่อมเจริญด้วยศีล ย่อมเจริญ

ด้วยสุตะ ย่อมเจริญด้วยจาคะ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวิกาผู้เจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญ ๕ ประการนี้แล ชื่อว่า

ย่อมเจริญด้วยธรรมเป็นเหตุเจริญอย่างประเสริฐ ชื่อว่าเป็นผู้ยึดถือสาระ และ

ยึดถือสิ่งประเสริฐแห่งกาย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 155

อริยสาวิกาผู้ใด ย่อมเจริญด้วย

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา

ทั้งสองฝ่าย อริยสาวิกาผู้เช่นนั้น เป็นผู้มี

ศีล เป็นอุบาสิกา ชื่อว่าย่อมยึดถือสาระ

แห่งตนในโลกนี้ไว้ได้ทีเดียว.

จบทุติยวัฑฒิสูตรที่ ๔

๕. สากัจฉสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา ๕ ประการ

[๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตน

เอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้

ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภ

สมาธิสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้

พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

วิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทา

ได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้

พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวินุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนา

ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

จบสากัจฉสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 156

อรรถกถาสากัจฉสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสากัจฉสูตที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อลสากจฺโฉ แปลว่า เป็นผู้ควรที่จะสนทนาด้วย. บทว่า

อาคต ปญฺห คือปัญหาที่ถูกถามแล้ว. บทว่า พฺยากตฺตา โหติ คือเป็น

ผู้แก้ปัญหาได้.

จบอรรถกถาสากัจฉสูตรที่ ๕

๖. สาชีวสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ควรอยู่ร่วมกัน ๕ ประการ

[๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นผู้ควรดำรงชีพร่วมกันของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

ศีลด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่ตั้งขึ้นในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑

ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่ตั้งขึ้นใน

กถาปรารภสมาธิสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และ

เป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่ตั้งขึ้นในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยวิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่ตั้งขึ้นในกถาปรารภ

วิมุตติสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง

และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่ตั้งขึ้นในกถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควร

ดำรงชีพร่วมกันของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.

จบสาชีวสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 157

อรรถกถาสาชีวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสาชีวสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อลสาชีโว แปลว่า ควรแก่การมีอาชีวะร่วมกัน. บทว่า

สาชีโว ได้แก่ การถามปัญหาและการแก้ปัญหา. จริงอยู่ เพื่อนสพรหมจารี

แม้ทั้งสิ้น ย่อมดำรงชีวิตร่วมปัญหาด้วยกัน เพราะเหตุนั้น การถามและการ

ตอบปัญหานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สาชีวะ เพราะมีอาชีวะร่วมกัน.

บทว่า กต ปญฺห คือปัญหาที่ตั้งถามแล้ว.

จบอรรถกถาสาชีวสูตรที่ ๖

๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร

ว่าด้วยธรรมที่อำนวยผลให้เป็นอริยบุคคล

[๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ย่อม

เจริญ ย่อมทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น พึงหวัง

ได้ผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผล หรือเมื่อมีอุปาทานขันธ์

เหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ในปัจจุบันนี้เทียว ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและ

ปธานสังขาร ๑ ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ๑

ย่อมเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ๑ ย่อมเจริญ

อิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ๑ ย่อมเจริญวิริยะอย่างยิ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 158

เป็นที่ห้า ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมเจริญ

ย่อมทำให้มาก ซึ่งธรรม ๕ ประการนี้แล ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น พึงหวัง

ได้ผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผล หรือเมื่อมีอุปาทานขันธ์

เหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ในปัจจุบันนี้เทียว.

จบปฐมอิทธิปาทสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมอิทธิปาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอิทธิปาทสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุสฺโสฬฺหึ แปลว่า ความเพียรมีประมาณยิ่ง.

จบอรรถกถาปฐมอิทธิปาทสูตรที่ ๗

๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร

ว่าด้วยธรรมที่อำนวยผลให้เป็นอริยบุคคล

[๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ เราเป็นพระโพธิสัตว์

ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ เราได้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ๑

ได้เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร ๑ ได้เจริญ

อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร ๑ ได้เจริญอิทธิบาทที่

ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ๑ ได้เจริญวิริยะอย่างยิ่งเป็นที่ห้า ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 159

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ทำให้มากซึ่งธรรมมีวิริยะอย่างยิ่งเป็นที่ ๕

นี้ เราได้โน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำ

ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใด ๆ เมื่อเหตุมีอยู่ เราถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน

ได้ในธรรมนั้น ๆ โดยแน่นอน ถ้าเราหวังก็พึงแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ

คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้

เมื่อเหตุมีอยู่ เราถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ได้โดยแน่นอน

ฯลฯ ถ้าเราหวัง ก็พึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

เมื่อเหตุมีอยู่ เราถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ได้โดยแน่นอน.

จบทุติยอิทธิปาทสูตรที่ ๘

อรรถกถาทุติยอิทธิปาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอิทธิปาทสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาคมอิทธิบาทของพระองค์ ที่พระองค์แทง-

ตลอดแล้วที่โคนไม้โพธิ แล้วจึงตรัสอภิญญา ๖ ของพระองค์นั่นแหละไว้ใน

เบื้องสูงต่อไป ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาทุติยอิทธิปาทสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 160

๙. นิพพิทาสูตร

ว่าด้วยธรรมที่อำนวยผลให้บรรลุนิพพาน

[๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญ

แล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ

ดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่

งามในกาย ๑ มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑ มีความสำคัญว่าไม่

น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑ พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ ย่อมเข้า

ไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล

อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ

คลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

จบนิพพิทาสูตรที่ ๙

๑๐. อาสวักขยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่อำนวยผลให้สิ้นอาสวะ

[๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑ มี

ความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑ มีความสำคัญว่าไม่ยินดีในโลกทั้งปวง ๑

พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก

แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

จบอาสวักขยสูตรที่ ๑๐

จบสัญญาวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 161

ในนิพพิทาสูตรที่ ๙ และอาสวักขยสูตรที่ ๑๐ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสวิปัสสนาไว้. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้ง

นั้นแล.

จบอรรถกถานิพพิทาสูตรที่ ๙ อาสวักขยสูตรที่ ๑๐

จบสัญญาวรรควรรณนาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัญญาสูตร ๒. ทุติยสัญญาสูตร ๓. ปฐมวัฑฒิสูตร ๔. ทุติย-

วัฑฒิสูตร ๕. สากัจฉสูตร ๖. สาชีวสูตร ๗. ปฐมอิทธิปาทสูตร

๘. ทุติยอิทธิปาทสูตร ๙. นิพพิทาสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 162

โยธาชีววรรคที่ ๓

๑. ปฐมเจโตวิมุตติสูตร

ว่าด้วยธรรมที่อำนวยผลให้บรรลุวิมุตติ

[๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์

ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑

ย่อมมีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑ ย่อมมีความสำคัญว่าไม่น่า

ยินดีในโลกทั้งปวง ๑ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ ย่อม

เข้าไปตั้งมรณสัญญาไว้ในภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ

นี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมี

เจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็น

ผลานิสงส์ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุ

นี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้

ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก

ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็น

เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 163

ภิกษุเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ละชาติสงสารที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว

ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้แล.

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน

ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสา

ระเนียดขึ้นได้อย่างนี้แล.

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนกลอนออกได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็น

เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุ

ชื่อว่า เป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างนี้แล.

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้

ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะ

เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้

เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธง

ลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะใด ๆ อย่างนี้แล.

จบปฐมเจโตวิมุตติสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 164

โยธาชีววรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาปฐมเจโตวิมุตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมเจโตวิมุตติสูตรที่ ๑ แห่งโยธาชีววรรค

ที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

คำว่า ยโต โข ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่ม

ณ บัดนี้ เพื่อทรงสรรเสริญภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัต ตาม

นัยที่ตรัสไว้แล้ว ณ หนหลัง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต โข แปลว่า

กาลใดแล. บทว่า อุกฺขิตฺตปลีโฆ ได้แก่ ยกลิ่มสลักคืออวิชชาออกไปแล้ว.

บทว่า สงฺกิณฺณปริกฺโข ได้แก่ รื้อคูคือสงสารวัฏให้ย่อยยับแล้ว. บทว่า

อพฺพุเฬฺหสิโก ได้แก่ ถอนเสาระเนียดคือตัณหาออกไปแล้ว. บทว่า

นิรคฺคโฬ ได้แก่ ถอดบานประตูคือนิวรณ์ออกเสียแล้ว. บทว่า ปนฺนทฺธโช

ปนฺนภาโร ได้แก่ ลดธงคือมานะ และภาระคือขันธ์ อภิสังขารและกิเลส

ลงเสียแล้ว. บทว่า วิสยุตฺโต ได้แก่ หลุดพ้นจากวัฏฏะ. คำที่เหลือพึงทราบ

ตามนัยแห่งพระบาลีนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเวลาของพระขีณาสพ ผู้ทำกิเลสให้สิ้นไป

ด้วยมรรคแล้ว ไปยังที่นอนอันดีคือนิโรธ เข้าผลสมาบัติมีพระนิพพานเป็น

อารมณ์อยู่ ด้วยพระดำรัสมีประมาณเท่านี้. เปรียบเหมือนนคร ๒ นคร

นครหนึ่งคือโจรนคร นครหนึ่งคือเขมนคร ครั้งนั้น นักรบใหญ่ท่านหนึ่ง

คิดว่า ตราบใด โจรนครยังตั้งอยู่ ตราบนั้น เขมนครก็ย่อมไม่พ้นภัย จำเรา

จักทำโจรนคร ไม่ให้เป็นนคร แล้วจึงสวมเกราะถือพระขรรค์ [ศัสตราวุธ ๒

คม] เข้าไปยังโจรนคร เอาพระขรรค์ตัดเสาระเนียด ที่เขาตั้งไว้ใกล้ประตูนคร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 165

พังบานประตู พร้อมทั้งกรอบประตู ยกลิ่มสลักทำลายกำแพง รื้อค่ายคู ลดธง

ที่เขายกขึ้นเพื่อความสง่างามแห่งนครลง แล้วเอาไฟเผานครเสีย เข้าไปสู่

เขมนครขึ้นปราสาท มีหมู่ญาติห้อมล้อม บริโภคอาหารอันอเร็จอร่อย ข้อ-

อุปมานี้ฉันใด ข้ออุปมัยก็ฉันนั้น สักกายะเหมือนโจรนคร พระนิพพาน

เหมือนเขมนคร พระโยคาวจรเหมือนนักรบใหญ่ ท่านมีความคิดอย่างนี้ว่า

ตราบใด สักกายะยังเป็นไปอยู่ ตราบนั้น ก็ไม่รอดพ้นจากกรรมกรณ์ ๓๒

โรค ๙๘ และมหาภัย ๒๕ ท่านจึงเป็นเหมือนนักรบใหญ่ สวมเกราะคือศีล

ถือพระขรรค์คือปัญญา เอาพระอรหัตมรรคตัดเสาระเนียดคือตัณหาเหมือน

เอาพระขรรค์ตัดเสาระเนียด ถอดสลักคือสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เหมือนนักรบ

พังบานประตูนครพร้อมทั้งกรอบประตู ยกลิ่มสลักคืออวิชชา เหมือนนักรบ

ยกลิ่มสลัก ทำลายอภิสังขารคือกรรม รื้อคูคือชาติสงสาร เหมือนนักรบทำลาย

กำแพง รื้อค่ายดู ลดธงคือมานะ เหมือนนักรบลดธงที่เขายกขึ้นให้นครโจร

สง่างามเสีย เผานครโจรคือสักกายะ แล้วเข้าสู่นครคือกิเลสปรินิพพาน เป็น

ที่ดับกิเลส เสวยสุขเกิดแต่ผลสมาบัติ อันมีอมตนิโรธเป็นอารมณ์ ยังเวลาให้

ล่วงไป ๆ เหมือนนักรบเข้าไปในเขมนคร ขึ้นปราสาทชั้นบน บริโภคอาหาร

อันอร่อย ฉะนั้น.

จบอรรถกถาปฐมเจโตวิมุตติสูตรที่ ๑

๒. ทุติยเจโตวิมุตติสูตร

ว่าด้วยธรรมมีวิมุตติเป็นผล

[๗๒ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 166

ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ๑ ความสำคัญว่าเป็นทุกข์ในสิ่งไม่เที่ยง ๑

ความสำคัญว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์ ๑ ความสำคัญในการละ ๑

ความสำคัญในความคลายกำหนัด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ

นี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล และมี

เจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล และมีปัญญาวิมุตติเป็น

ผลานิสงส์ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ เมื่อนั้น ภิกษุ

นี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้

ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้

ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ

ด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือน

ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า

เป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ละชาติสงสาร ที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว

ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้แล.

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรม-

วินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน

ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนเสา

ระเนียดขึ้นได้อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 167

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือน

ตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า

เป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างนี้แล.

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่

ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้

ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีก

ต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลง-

ภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างนี้แล.

จบทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยเจโตวิมุตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนิจฺจสฺฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง

โดยอาการคือมีแล้ว ก็ไม่มี. บทว่า อนิจฺเจ ทุกฺขสญฺา ได้แก่ สัญญา

ที่เกิดขึ้นว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยอาการคือบีบคั้น. บทว่า

ทุกฺเข อนตฺตสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็

เป็นอนัตตา โดยอาการคือไม่อยู่ในอำนาจ. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวไว้แล้วใน

หนหลังนั่นแล แต่ในพระสูตรแม้ทั้งสองนี้ ก็ตรัสเรียกชื่อว่า วิปัสสนาผลแล.

จบอรรถกถาทุติยเจโตวิมุตติสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 168

๓. ปฐมธรรมวิหาริกสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอยู่ในธรรม

[๗๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้อยู่ในธรรม ๆ ดังนี้

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ

ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออก

เร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุ

นี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการเรียน ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่

ได้เรียนมาแล้ว แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการ

หลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการแสดงธรรมนั้น

ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม ไม่เชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมกระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา

แล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว โดยพิสดารเธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการ

หลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการสาธยายธรรมนั้น

ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจ ซึ่ง

ธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว เธอย่อมปล่อยให้วันคืน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 169

ล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการ

ตรึกตามธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่ชื่อ

ว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา-

กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอย่อมไม่

ปล่อยให้วันคืนล่วงไป ไม่ละการหลีกออกเร้นอยู่ ประกอบควานสงบใจใน

ภายใน เพราะการเล่าเรียนธรรมนั้น ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม อย่างนี้แล

ดูก่อนภิกษุ เราแสดงภิกษุผู้มากด้วยการเล่าเรียนธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วย

การสาธยายธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการตรึกธรรม แสดงภิกษุผู้อยู่ในธรรม

ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุ กิจใดอันศาสดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูลอนุเคราะห์

อาศัยความเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแก่เธอทั้งหลาย

แล้ว ดูก่อนภิกษุ นั่นโคนต้นไม้ นั่นเรือนว่าง เธอจงเพ่งฌาน อย่าประมาท

อยู่เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย.

จบปฐมธรรมวิหาริกสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมธรรมวิหาริกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมธรรมวิหาริกสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทิวส อตินาเมติ ได้แก่ ทำเวลาวันหนึ่งให้ล่วงไป. บทว่า

ริญฺจติ ปฏิสลฺลาน ได้แก่ ละเลยความอยู่ผู้เดียวเสีย. บทว่า เทเสติ ได้แก่

กล่าวประกาศ. บทว่า ธมฺมปญฺตฺติยา ได้แก่ ด้วยการบัญญัติธรรม. บทว่า

ธมฺม ปริยาปุณาติ ได้แก่ เล่าเรียน ศึกษา กล่าวธรรมคือสัจจะ ๔ โดย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 170

นวังคสัตถุศาสน์ [คำสอนของพระศาสดา ๙ ส่วน]. บทว่า น ริญฺจติ

ปฏิสลฺลาน ได้แก่ ไม่ละเลยความอยู่ผู้เดียว. บทว่า อนุยุญฺชติ อชฺฌตฺต

เจโตสมถ ได้แก่ ส้องเสพ เจริญจิตสมาธิภายในตนเอง คือประกอบ

ขวนขวายในสมถกรรมฐาน. บทว่า หิเตสินา แปลว่า ผู้แสวงประโยชน์

เกื้อกูล. บทว่า อนุกมฺปเกน แปลว่า ผู้เอ็นดู. บทว่า อนุกมฺป อุปาทาย

ได้แก่ กำหนด ท่านอธิบายว่า อาศัย ซึ่งความเอ็นดูด้วยจิตก็มี. บทว่า กต

โว มยา ต ความว่า เราผู้แสดงบุคคล ๕ ประเภทนี้ ก็กระทำกรณียกิจนั้น

แก่ท่านทั้งหลายแล้ว. แท้จริง พระศาสดาผู้เอ็นดู ก็มีกิจหน้าที่ คือการแสดง

ธรรมอันไม่วิปริตเพียงเท่านี้แหละ.

ต่อแต่นี้ไป ชื่อว่า การปฏิบัติเป็นกิจหน้าที่ของสาวกผู้ฟังทั้งหลาย.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ นี้โคนไม้ ฯลฯ เป็น

อนุสาสนีคำพร่ำสอน ดังนี้. ก็ในพระดำรัสนั้น ทรงแสดงเสนาสนะคือโคนไม้

ด้วยบทว่า รุกฺขมูลานิ โคนไม้นี้. ทรงแสดงสถานที่สงัดจากคน ด้วยบทว่า

สุญฺาคารานิ (เรือนว่าง) นี้ อนึ่ง. ทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะแก่การบำเพ็ญ-

เพียรแม้ด้วยบททั้งสอง ชื่อว่า ทรงมอบมรดกให้. บทว่า ณายถ ได้แก่

ท่านทั้งหลายจงเพ่งพินิจอารมณ์ ๓๘ ด้วยการเพ่งพินิจโดยอารมณ์ และเพ่ง

พินิจขันธ์ อายตนะเป็นอาทิ โดยเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วยการเพ่งพินิจ

โดยลักษณะ ท่านอธิบายว่า จงเจริญสมถะและวิปัสสนา. บทว่า มา ปมาทตฺถ

แปลว่า อย่าประมาทเลย. บทว่า มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ

ความว่า เมื่อทรงแสดงความข้อนี้ว่า สาวกเหล่าใด เวลายังเป็นหนุ่ม เวลา

ไม่มีโรค เวลาสมบูรณ์ด้วยสัปปายะ มีข้าวเป็นที่สบายเป็นต้น เวลาที่ยังอยู่

ต่อหน้าพระศาสดา ละเว้นการใส่ใจโดยแยบคาย มัวแต่เพลินสุขในการหลับ

นอน เป็นอาหารของเรือดตลอดทั้งวันทั้งคืน ประมาทมาแต่ก่อน ภายหลัง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 171

สาวกเหล่านั้น เวลาแก่ตัวลง เป็นโรค ใกล้จะตาย เวลาวิบัติ และเวลาที่

พระศาสดาปรินิพพานเสียแล้ว เมื่อรำลึกถึงการอยู่อย่างประมาทมาแต่ก่อนนั้น

มองเห็นการทำกาละ [ตาย] ชนิดมีปฏิสนธิว่าเป็นภาระ ก็ร้อนใจ ส่วนเธอ

ทั้งหลายอย่าได้เป็นกันเช่นนั้นเลย ดังนี้ จึงตรัสว่า พวกเธออย่าได้ร้อนใจ

กันในภายหลังเลย. บทว่า อย โว อมฺหาก อนุสาสนี ความว่า วาจานี้ว่า

พวกเธอจงเพ่งพินิจ จงอย่าประมาท เป็นอนุสาสนี ท่านอธิบายว่า เป็น

โอวาทจากเรา สำหรับเธอทั้งหลาย ดังนี้.

จบอรรถกถาปฐมธรรมวิหาริกสูตรที่ ๓

๔. ทุติยธรรมวิหาริกสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นอยู่ในธรรม

[๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้อยู่ในธรรม ๆ ดังนี้

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เรียนธรรม คือ สุตต. . . เวทัลละ เธอย่อมไม่ทราบเนื้อความของธรรมนั้น

ที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการเรียน ไม่ชื่อว่าเป็น

ผู้อยู่ในธรรม ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 172

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ. . . เวทัลละ

เธอย่อมทราบชัดเนื้อความของธรรมนั้นที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่าเป็น

ผู้อยู่ในธรรมอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ ฯลฯ นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอ

ทั้งหลาย.

จบทุติยธรรมวิหาริกสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยธรรมวิหาริกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยธรรมวิหาริกสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุตฺตรึ จสฺส ปญฺาย อตฺต นปฺปชานาติ ความว่า

ไม่รู้เนื้อความของธรรมนั้น ด้วยมรรคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนา ยิ่งขึ้นไปกว่า

ปริยัตินั้น. อธิบายว่า ไม่เห็นไม่แทงตลอดสัจจะ ๔. ในวาระนอกนั้น ก็นัยนี้

เหมือนกัน. ชน ๖ จำพวก คือ ภิกษุพหูสูต ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน

พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระขีณาสพ พึงทราบว่าเป็น

ธรรมวิหารี (ผู้อยู่โดยธรรม) ในพระสูตรแม้ทั้งสองนี้ ด้วยประการ ฉะนี้.

จบอรรถกถาทุติยธรรมวิหาริกสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 173

๕. ปฐมโยธาชีวสูตร

ว่าด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวก

[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน

โลก ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้น

เท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ นักรบ

อาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็

อดทนได้ แต่พอเห็นยอดธงข้าศึกเข้าเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทก-

สะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ นักรบอาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้

เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อด

ทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของ

ข้าศึกเข้าเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท่าน ไม่สามารถเข้ารบได้

นักรบอาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่

ในโลก.

อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็

อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึก

ก็อดทนได้ แต่ว่าย่อมขลาดสะดุ้งต่อการสัมปหารของข้าศึก นักรบ

อาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็

อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องข้าศึก

ก็อดทนได้ อดทนต่อการสัมปหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามนั้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 174

เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ นักรบอาชีพบางพวกแม้

เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๕ มีปรากฏอยู่ในโลก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยหักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏ

อยู่ในพวกภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกัน ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้นย่อมหยุดนิ่ง สะทก-

สะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้งความเป็นผู้

ทุรพลในสิกขาบอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อหินเพศ. อะไรเป็นฝุ่นฟุ้งขึ้นของเธอ

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมได้ฟังว่า ในบ้านหรือในนิคมโน้น มีหญิงหรือ

กุมารีรูปงามน่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามอย่างยิ่ง เธอได้ฟัง

ดังนั้นแล้วย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้

ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อหินเพศ นี้

ชื่อว่า ฝุ่นฟุ้งขึ้นของเธอ นักรบอาชีพนั้นเห็น ฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้นย่อมหยุดนิ่ง

สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น

บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ มี

ปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่ว่าเธอเห็น

ยอดธงของข้าศึกเข้าเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถ

จะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอก

คืนสิกขาเวียนมาเพื่อหินเพศ อะไรชื่อว่าเป็นยอดธงของข้าศึกของเธอ คือ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ไม่ได้ฟังว่าในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น มีหญิงหรือกุมารีรูปงาม

น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามอย่างยิ่ง แต่ว่าเธอย่อมได้เห็น

ด้วยตนเองซึ่งหญิงหรือกุมารีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 175

งามอย่างยิ่ง เธอเห็นแล้วย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะ

สืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืน

สิกขาเวียนมาเพื่อหินเพศ นี้ชื่อว่ายอดธงของข้าศึกของเธอ นักรบอาชีพ

นั้นเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอเห็นยอดธงของข้าศึกเข้าเท่านั้นย่อมหยุด

นิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบ

ฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ

จำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธง

ของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอเธอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกข้าเท่านั้น

ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้

ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อหินเพศ อะไร

ชื่อว่าเป็นเสียงกึกก้องของข้าศึกของเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ผู้อยู่ในป่า โคนไม้หรือเรือนว่างเปล่า แล้วย่อมยิ้มแย้ม ปราศรัย กระซิก

กระซี้ เย้ยหยัน เธอถูกมาตุคามยิ้มแย้ม ปราศรัย กระซิกกระซี้ เย้ย

หยันอยู่ ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์

ไปได้ ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อหิน-

เพศ นี้ชื่อว่าเสียงกึกก้องของข้าศึกของเธอ นักรบอาชีพนั้นแม้เห็นฝุ่น

ฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้อง

ของข้าศึกเข้าเท่านั้นย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ แม้ฉันใด

เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้คือบุคคล

ผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธง

ของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่ว่าย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 176

ขลาดต่อการสัมปหารของข้าศึก อะไรชื่อว่าเป็นการสัมปหารของข้าศึกของ

เธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้อยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือน

ว่างเปล่า แล้วย่อมนั่งทับ นอนทับ ข่มขืน เธอถูกมาตุคามนั่งทับ นอนทับ

ข่มขืนอยู่ ไม่บอกคืนสิกขา ไม่คำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพล ย่อมเสพเมถุน-

ธรรม นี้ชื่อว่า การสัมปหารของข้าศึกของเธอ นักรบอาชีพนั้นแม้

เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียง

กึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่ว่าย่อมขลาดต่อการสัมปหารของข้าศึก แม้ฉัน

ใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้คือบุคคล

ผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธง

ของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทนการ

สัมปหารของข้าศึก เขาชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดครอง

ค่ายสงครามนั้นไว้ได้ อะไรชื่อว่าชัยชนะในสงครามของเธอ คือมาตุคามเข้า

ไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้อยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่า แล้วย่อมนั่ง

ทับ นอนทับ ข่มขืน เธอถูกมาตุคามนั่งทับ นอนทับข่มขืนอยู่ ไม่พัวพัน

ปลดเปลื้อง หลีกออกได้ แล้วหลีกไปตามประสงค์ เธอย่อมเสพเสนา-

สนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง

ลอมฟาง เธออยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่า ย่อมนั่งคู้บัลลังก์ ตั้ง

กายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอย่อมละอภิชฌาในโลกเสีย มีจิตปราศจาก

อภิชฌาอยู่ ชำระจิติให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา เธอย่อมละความประทุษร้าย คือ

พยาบาท มีจิตไม่พยาบาทอยู่ เป็นผู้มีความเกื้อกูลอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง

ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาท เธอย่อมละถีนมิทธะ

ปราศจากถีนมิทธะอยู่ เป็นผู้มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 177

บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ เธอย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะ มีจิตไม่ฟุ้งซ่านอยู่ เป็น

ผู้มีจิตสงบ ณ ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ เธอย่อมละ

วิจิกิจฉา เป็นผู้ข้ามพ้นวิจิกิจฉาอยู่ หมดความสงสัยในธรรมทั้งหลาย ชำระจิต

ให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง

แห่งใจ ทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน

ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มี

อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มี

กิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวแล้ว

อย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความ

เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ขอปฏิบัติให้ถึงความดับ

อาสวะ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตของเธอย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ

แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้

ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก นี้ชื่อว่า ชัยชนะใน

สงครามของเธอ นักรบอาชีพนั้น แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น

ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทน

ต่อการสัมปหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงครามแล้ว

ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น

บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕

มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล

มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

จบปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 178

อรรถกถาปฐมโยธาชีวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โยธาชีวา ได้แก่ ผู้อาศัยการรบเลี้ยงชีพ [ทหารอาชีพ]

บทว่า รชคฺค ได้แก่ กลุ่มละอองที่ฟุ้งขึ้นจากแผ่นดินที่แตกกระจาย เพราะ

การเหยียบย้ำด้วยเท้าของช้างม้าเป็นต้น. บทว่า น สนฺถมฺภติ ได้แก่ ยืน

ปักหลักอยู่ไม่ได้. บทว่า สหติ รชคฺค ได้แก่ แม้เห็นกลุ่มละอองก็อดกลั้น.

บทว่า ธชคฺค ได้แก่ ยอดธงที่เขายกขึ้นบนหลังช้างม้าเป็นต้น และบนรถ

ทั้งหลาย. บทว่า อุสฺสาทน ได้แก่ เสียงกึกก้องอื้ออึงของช้าง ม้า รถ และ

ของหมู่ทหาร. บทว่า สมฺปหาเร ได้แก่ การประหัตประหารแม้ขนาดเล็กน้อย

ที่มาถึงเข้า. บทว่า หญฺติ ได้แก่ เดือดร้อน คับแค้นใจ. บทว่า พฺยาปชฺ-

ชติ ได้แก่ ถึงวิบัติ ละปกติภาพไป. บทว่า สหติ สมฺปหาร ได้แก่

แม้ประสบการประหาร ๒-๓ ครั้งก็ทน ก็อดกลั้นได้.

บทว่า ตเมว สงฺคามสึส ได้แก่ สถานที่ตั้งค่ายชัยภูมิ [สนามรบ]

นั้นนั่นแหละ. บทว่า อชฺฌาวสติ ได้แก่ ครอบครองอยู่ประมาณ ๗ วัน

[สัปดาห์]. ถามว่า เพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะว่า เพื่ออุปการะบำรุงผู้

ต้องอาวุธบาดเจ็บ เพื่อรู้ความชอบแห่งหน้าที่ที่ปฏิบัติมาแล้ว จะได้ปูนบำเหน็จ

ตำแหน่ง และเพื่อเสวยสุขในความเป็นใหญ่ [ได้ชัยชนะ].

เพราะเหตุที่ พระศาสดาไม่ทรงมีกิจหน้าที่ ด้วยเหล่านักรบทั้งหลาย

แต่ทรงนำข้ออุปมานี้มา เพื่อทรงแสดงบุคคล ๕ จำพวกเห็นปานนั้นในพระ-

ศาสนานี้ ฉะนั้น บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงบุคคลเหล่านั้น จึงตรัสว่า เอวเมว

โข เป็นอาทิ. ในคำนั้น บทว่า สสีทติ ได้แก่ ระทดระทวย เข้าไปใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 179

มิจฉาวิตก. บทว่า น สกฺโกติ พฺรหฺมจริย สนฺตาเนตุ ได้แก่ คุ้มครอง

พรหมจริยวาส การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่ยังไม่ขาดสายไว้ไม่ได้. บทว่า

สิกฺขาทุพฺพลฺย อาวิกตฺวา ได้แก่ ประกาศความถอยกำลังในสิกขา. ด้วย

บทว่า กิมสฺส รชคฺคสฺมึ ตรัสว่า อะไร ชื่อว่า ปลายผงละอองของบุคคลนั้น.

บทว่า อภิรูปา แปลว่า งดงาม. บทว่า ทสฺสนียา ได้แก่ ควร

แก่การชม. บทว่า ปาสาทิกา ได้แก่ นำความแจ่มใสมาให้จิต โดยการเห็น

เท่านั้น. บทว่า ปรมาย ได้แก่ สูงสุด. บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย ได้แก่

ด้วยผิวพรรณแห่งสรีระ และด้วยทรวดทรงแห่งอวัยวะ. บทว่า โอสหติ

แปลว่า ทน. บทว่า อุลฺลปติ แปลว่า กล่าว. บทว่า อุชฺชคฺฆติ ได้แก่

ปรบมือหัวเราะลั่น. บทว่า อุปผณฺเฑติ ได้แก่ เยาะเย้ย. บทว่า อภินิ-

สีทติ ได้แก่ นั่งชิดกัน หรือนั่งร่วมที่นั่งกัน. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อชฺโฌตฺถรติ แปลว่า ทับ. บทว่า วินิเวเตฺวา วินิโม-

เจตฺวา ได้แก่ ปลดและปล่อยมือของหญิงนั้น จากที่ที่จับไว้. คำที่เหลือใน

ข้อนั้น มีความง่ายทั้งนั้นแล. พระสูตรนี้ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถาปฐมโยธาชีวสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 180

๖. ทุติยโยธาชีวสูตร

ว่าด้วยนักรบและภิกษุ ๕ พวก

[๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่

ในโลก ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่

ผูกสอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนาม

รบนั้น พวกข้าศึกย่อมฆ่าเขาตายทำลายเขาได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็

มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ ผูก

สอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบ

นั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมาส่งไป

ถึงหมู่ญาติ เขากำลังถูกนำไปยังไม่ถึงหมู่ญาติ ทำกาละเสียในระหว่างทาง

นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๒

มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ ผูก

สอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบ

นั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมาส่งไป

ถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษาเขา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่

ได้ทำกาละด้วยอาพาธนั้น นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็น

นักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ ผูก

สอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 181

นั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมาส่งไป

ถึงหมู่ญาติ หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษาเขา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่

ก็ได้หายจากอาพาธนั้น นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็น

นักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ ผูก

สอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิต

สงคราม ยึดครองค่ายสงครามไว้ได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ใน

โลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ มีปรากฏอยู่ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ

ฉันนั้นเหมือนกัน ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้าน

หรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลาเช้า เธอนุ่งสบงถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไป

ยังบ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต

มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มลับ ๆ ล่อ ๆ ใน

บ้านหรือในนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มลับ ๆ ล่อ ๆ ราคะย่อมขจัดจิต

ของเธอ เธอมีจิตอันราคะขจัดแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความ

ทุรพล เสพเมถุนธรรม นักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่ง

แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบนั้น พวกข้าศึก

ย่อมฆ่าเขาตาย ทำลายเขาได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น

บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบ

อาชีพจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้น

เวลาเช้า เธอนุ่งสบงถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้านหรือนิคมนั้นเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 182

บิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่

สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มลับ ๆ ล่อ ๆ ในบ้านหรือนิคมนั้น

เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มลับ ๆ ล่อ ๆ ราคะย่อมขจัดจิตของเธอ เธอมีจิต

อันราคะขจัดแล้ว ย่อมเร่าร้อนกาย เร่าร้อนจิต เธอจึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น

เราควรไปอารามนอกพวกภิกษุว่า อาวุโส ข้าพเจ้าถูกราคะย้อมแล้ว ถูกราคะ

ครอบงำแล้ว ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์สืบต่อไปได้ จักทำให้แจ้งซึ่ง

ความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ เธอกำลัง

เดินไปอาราม ยังไม่ทันถึงอาราม ก็ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา

บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ในระหว่างทาง นักรบอาชีพนั้นถือดาบ

และโล่ ผูกสอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายาม

รบในสนามรบนั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำ

เขาออกมาส่งไปถึงหมู่ญาติ เขากำลังถูกนำไปยังไม่ถึงหมู่ญาติ ทำกาละเสียใน

ระหว่างทาง แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้

ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๒ มีปรากฏ

อยู่ในพวกภิกษุ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลา

เช้า เธอนุ่งสบงถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต

ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา. . . บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ เธอ

ไปสู่อารามบอกพวกภิกษุว่า อาวุโส ข้าพเจ้าถูกราคะย้อมแล้ว. . . บอกคืน

สิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ พวกเพื่อนพรหมจรรย์จึงกล่าวสอน พร่ำสอน

เธอว่า อาวุโส กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความยินดีน้อย

มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่าเปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก. . . กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 183

ตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก. . . กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิง มีทุกข์มาก. . . กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก. . . กามทั้งหลายพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก. . .กามทั้งหลายพระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยของขอยืม มีทุกข์มาก. . . กามทั้งหลายพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก. . .กามทั้งหลายพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยดาบและของมีคม มีทุกข์มาก...กามทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยหอกและหลาว มีทุกข์มาก... กาม

ทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยหัวงู มีทุกข์มาก มีความ

คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ขอท่านผู้มีอายุ จงยินดียิ่งในพรหมจรรย์ จงอย่า

ทำให้แจ้งซึ่งควานเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์

เธออันพวกเพื่อนพรหมจรรย์กล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า อาวุโส กาม

ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับ

แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ก็จริง แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์

สืบต่อไปได้ จักทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมา

เพื่อเป็นคฤหัสถ์ นักรบนั้นถือดาบและโล่ ฯ ล ฯ เขาอันหมู่ญาติพยาบาล

รักษาอยู่ก็ได้ตายเพราะอาพาธนั้น แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น

บุคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบ

อาชีพจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลา

เช้า เธอนุ่งสบงถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต

ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา. . . บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ เพื่อ

ไปอารามบอกพวกภิกษุว่า อาวุโส ข้าพเจ้าถูกราคะย้อมแล้ว. . .บอกคืนสิกขา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 184

เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ พวกเพื่อนพรหมจรรย์จึงกล่าวสิ้น พร่ำสอนเธอว่า

อาวุโส กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจาตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์

มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก. . . เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ. . . เปรียบด้วยคบ

เพลิง. . . เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง. . . เปรียบด้วยความฝัน. . . เปรียบ

ด้วยของขอยืม. . . เปรียบด้วยผลไม้. . . เปรียบด้วยดาบและของมีคม . . .

เปรียบด้วยหอกและหลาว. . . เปรียบด้วยหัวงู มีความยินดีน้อย มีทุกข์

มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ขอท่านผู้มีอายุจงยินดียิ่งในพรหม-

จรรย์ จงอย่าทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อ

เป็นคฤหัสถ์ เธออันพวกเพื่อนพรหมจรรย์กล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จึง

กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพเจ้าจักขะมักเขม้น จักทรงไว้ จักยินดียิ่ง จักไม่

กระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อเป็น

คฤหัสถ์ ณ บัดนี้ นักรบนั้นถือดาบและโล่. . . เขาอันหมู่ญาติพยาบาล

รักษาอยู่ ก็ได้หายจากอาพาธนั้น แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น

บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบ

อาชีพจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลา

เช้า เธอนุ่งสบงถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต

รักษากาย รักษาวาจา รักษาจิต มีสติตั้งมั่นสำรวมอินทรีย์ เธอเห็นรูปด้วย

จักษุแล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อ

สำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล

คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมใน

จักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู. . .ดมกลิ่นด้วยจมูก. . . ลิ้มรสด้วยลิ้น. . . ถูก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 185

ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย. . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต

ย่อมไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม

แล้ว พึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำ

ได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอกลับจากบิณฑบาต

ภายหลังภัตแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา

ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธออยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง

ย่อมนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอย่อมละ

อภิชฌาในโลกเสีย ฯ ล ฯ เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้า

หมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม ฯ ล ฯ บรรลุจตุตถฌาน

ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้

อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว

ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวแล้ว

อย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความ

เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก นักรบ

อาชีพนั้นถือดาบและโล่ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว เข้าสนามรบ เขาชนะ

สงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ แม้ฉันใด

เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้

นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล

มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ.

จบทุติยโยธาชีวสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 186

อรรถกถาทุติยโยธาชีวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยโยธาชีวสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อสิจฺมฺม คเหตฺวา ได้แก่ ถือดาบและโล่. บทว่า ธนุกลาป

สนฺนยฺหิตฺวา ได้แก่ สอดธนูและแล่งธนู. บทว่า วิยุฬฺห ได้แก่ ตั้งอยู่

โดยการเผชิญหน้าพร้อมรบ [ประชิด]. บทว่า สงฺคาม โอตรติ ได้แก่

เข้ารบใหญ่. บทว่า อุสฺสหติ วายมติ ได้แก่ ทำความอุตสาหะพยายาม.

บทว่า หนนฺติ แปลว่า ฆ่า บทว่า ปริยาเทนฺติ ได้แก่ ยื้อยุด. บทว่า

อุปลิกขนฺติ ได้แก่ แทง. บทว่า อปเนนฺติ ได้แก่ พาทหารฝ่ายตนไป.

บทว่า อปเนตฺวา ณาตกาน เนนฺติ ได้แก่ นำทหารฝ่ายตนไปส่งให้ญาติ.

บทว่า นียนาโน ได้แก่ นำไปสู่เรือนตน หรือสำนักญาติที่เหลือ. บทว่า

อุปฏหนฺติ ปริจรนฺติ ได้แก่ กระทำความสะอาดเครื่องประหาร และ

สมานแผลเป็นต้น บำรุงคุ้มครอง.

บทว่า อรกฺขิเตเนว กาเยน ได้แก่ มีกายทวารอันมิได้รักษา.

บทว่า อรกฺขิตาย วาจาย ได้แก่ มีวจีทวารอันมิได้รักษา. บทว่า อรกฺขิ-

เตน จิตฺเตน ได้แก่ มีมโนทวารอันมิได้รักษา. บทว่า อนุปฏฺิตาย

สติยา ได้แก่ ไม่ทำสติให้ตั้งด้วยดี. บทว่า อสวุเตหิ อินฺทฺริเยหิ ได้แก่

มีอินทรีย์ที่มีใจเป็นที่ ๖ อันมิได้ระวังมิได้คุ้มครองแล้ว. บทว่า ราโค จิตฺต

อนุทฺธเสติ ได้แก่ ราคะเมื่อเกิดขึ้น ย่อมกำจัดจิตในสมถะและวิปัสสนา คือ

เหวี่ยงไปเสียไกล.

บทว่า ราคายิโตมฺหิ อาวุโส ราคปเรโต ความว่า ผู้มีอายุ

ผมถูกราคะย้อมแล้ว ถูกราคะตามถึงแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 187

ในบทว่า ฃอฏฺิกงฺกสูปมา เป็นต้น กามทั้งหลายเปรียบเหมือน

ท่อนกระดูก เพราะอรรถว่ามีความอร่อยน้อย เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ เพราะ

อรรถว่าทั่วไปแก่คนจำนวนมาก เปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า

ตามเผาผลาญ เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่าทำความเร่าร้อน

มาก เปรียบเหมือนความฝัน เพราะอรรถว่าปรากฏขึ้นนิดหน่อย เปรียบ-

เหมือนของยืมเขามา เพราะอรรถว่าอยู่ได้ชั่วคราว เปรียบเหมือนผลไม้

เพราะอรรถว่าการหักหมดทั้งต้น เปรียบเหมือนเขียงสับเนื้อ เพราะอรรถว่าเป็น

ที่รองมีดสับ เปรียบเหมือนปลายหอก เพราะอรรถว่าทิ่มแทง เปรียบเหมือน

หัวงู เพราะอรรถว่า น่าสงสัยน่ามีภัย.

บทว่า อุสฺสทิสฺสามิ ได้แก่ จักทำอุตสาหะ. บทว่า ธารยิสฺสามิ

ได้แก่ จักทรงความเป็นสมณะไว้. บทว่า อภิรมิสฺสามิ ได้แก่ จักทำความ

ยินดียิ่ง [ในพรหมจรรย์] ให้เกิดขึ้น อธิบายว่า จักไม่กระสันสึก. คำที่เหลือ

ในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น. ในพระสูตรนี้ตรัสทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะแล.

จบอรรถกถาทุติยโยธาชีวสูตรที่ ๖

๗. ปฐมอนาคตสูตร

ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ

[๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคต ๕

ประการนี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรม

ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำ

ให้แจ้ง ภัย ๕ ประการเป็นไฉน คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 188

ภิกษุผู้อยู่ป่าในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่

ในป่าผู้เดียว งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เพราะ

การกัดต่อยแห่งสัตว์เหล่านั้น เราพึงทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น

เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ

เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า

เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว

เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม

ที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่

ในป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพลาดล้มลง ภัตตาหารที่ฉันแล้ว

ไม่ย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะพึงกำเริบ หรือลมมีพิษเพียงดังศัสตราพึง

กำเริบ เพราะเหตุนั้น ๆ เราพึงทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น

เราจะปรารภความเพียร. . . ภิกษุผู้อยู่ป่าเห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ควรเป็น

ผู้ไม่ประมาท. . .

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เรา

อยู่ในป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพบสัตว์ร้าย คือสีหะ เสือโคร่ง

เสือเหลือง หมี หรือเสือดาว สัตว์เหล่านั้นพึงทำร้ายเราถึงตาย เพราะการ

ทำร้ายนั้น เราพึงทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะปรารภ

ความเพียร. . . ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่

ประมาท. . .

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เรา

อยู่ในป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว เราพึงพบคนร้าย ผู้มีกรรมอันทำแล้ว

หรือมีกรรมยังไม่ได้ทำ คนร้ายเหล่านั้นพึงปลงเราจากชีวิต เพราะการปลงนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 189

เราพึงทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร. . .

ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท. . .

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เรา

อยู่ในป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว ในป่าย่อมมีพวกอมนุษย์ดุร้าย

อมนุษย์เหล่านั้นพึงปลงชีวิตเรา เพราะการปลงชีวิตนั้น เราพึงทำกาละ พึงมี

อันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่

ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม

ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล

ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

จบปฐมอนาคตสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมอนาคตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอนาคตสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อารญฺเกน แปลว่า ผู้อยู่ป่า. บทว่า อปตฺตสฺส ได้แก่

เพื่อถึงคุณวิเศษอันต่างโดยฌานวิปัสสนาและมรรคผลที่ยังไม่ถึง. แม้ในบท

ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า โส มมสฺส อนฺตราโย ความว่า อันตราย

แห่งชีวิต และอันตรายแห่งพรหมจรรย์นั้น จะพึงมีแก่เรา. อันตรายแห่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 190

สวรรค์และอันตรายแห่งมรรค จะพึงมีแก่ภิกษุผู้ทำกาลกิริยา [ตาย] เยี่ยงปุถุชน.

คำว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถของตนเอง.

บทว่า วิริย อารภามิ ได้แก่ เราจะทำความเพียร ๒ อย่าง. บทว่า

สตฺถกา ได้แก่ ลมอันตัดที่ต่อและเส้นเอ็น ดุจศัสตรา. บทว่า วาเฬหิ

แปลว่า หยาบช้า. บทว่า มาณเวหิ ได้แก่โจร. ในคำว่า กตกมฺเมหิ วา

อกตกมฺเมหิ วา นี้ โจรทั้งหลายผู้ออกไปทำโจรกรรมแล้ว ชื่อว่า ผู้ทำกรรม

แล้ว ผู้ออกไปเพื่อทำโจรกรรม [พยายาม] ชื่อว่า ผู้ยังไม่ได้ทำกรรม.

บรรดาโจร ๒ พวกนั้น เหล่าโจรถือเอาเลือดในคอของสัตว์ทั้งหลาย กระทำ

การเซ่นเทวดา ชื่อว่ากระทำกรรมแล้ว เพราะกรรมสำเร็จแล้ว. เหล่าโจร

กระทำการเช่นเสียก่อน ด้วยคิดว่า กรรมของเราจักสำเร็จผลด้วยวิธีอย่างนี้

ชื่อว่า ยังไม่กระทำกรรม. ทรงหมายเอาข้อนี้ จึงตรัสว่า โจรเหล่านั้นพึง

ปลิดชีวิตเราเสียดังนี้. บทว่า วาฬาอมนุสฺสา ได้แก่ เหล่าอมนุษย์มียักษ์

เป็นต้น ที่หยาบช้าร้ายกาจ.

จบอรรถกถาปฐมอนาคตสูตรที่ ๗

๘. ทุติยอนาคตสูตร

ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ

[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้

ก็ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภัย

๕ ประการเป็นไฉน คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 191

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรายังเป็น

หนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ ตั้งอยู่ใน

ปฐมวัย ถึงกระนั้น ก็มีสมัยที่ชราย่อมจะถูกต้องกายนี้ได้ ก็ผู้ที่แก่แล้ว ถูกชรา

ครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพ

เสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมอันไม่

น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร

เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม

ที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เสียก่อนทีเดียว ซึ่งเราประกอบแล้ว แม้เป็นผู้ชราก็จักอยู่

สบาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่

ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ

ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรามีอาพาธ

น้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่

เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ขนาดกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร แต่ย่อมมีสมัยที่

พยาธิจะถูกต้องกายนี้ ก็ผู้ที่ป่วยไข้อันความป่วยไข้ครอบงำแล้ว จะมนสิการ

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้ง่าย. . . ซึ่งเราประกอบแล้ว เเม้ป่วยไข้

ก็จักอยู่สบาย ภิกษุเห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท. . .

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แล ข้าวกล้าดี

บิณฑบาตก็หาได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ แต่ก็ย่อมมีสมัยที่มี

ข้าวแพง ข้าวกล้าไม่ดี บิณฑบาตหาได้ยาก ไม่สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ

อนึ่ง ในสมัยข้าวแพง พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปในที่ที่มีอาหารดี ในที่นั้น

ย่อมมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลี

ด้วยหมู่คณะ อยู่พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 192

ทำได้ง่าย. . . ซึ่งเราประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบายแม้ในเวลาทุพภิกขภัย ภิกษุ

ผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท. . .

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แล มนุษย์

ทั้งหลายย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดังน้ำนม

กับน้ำ มองดูกันด้วยนัยน์ตาแสดงความรักอยู่ แต่ย่อมมีสมัยที่มีภัย มีความ

ปั่นป่วนในดง ประชาชนวุ่นวาย และเมื่อมีภัย พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปใน

ที่ซึ่งปลอดภัย ในที่นั้นย่อมมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน

เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย. . . ซึ่งเราประกอบแล้วก็จักอยู่สบายแม้ในสมัย

ที่มีภัย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท. . .

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แล สงฆ์เป็นผู้

พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมกัน อยู่ผาสุก

แต่ก็ย่อมมีสมัยที่สงฆ์แตกกัน ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ

ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้น

จะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ

ธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งเราประกอบ

แล้ว ก็จักอยู่สบายแม้ในเมื่อสงฆ์แตกกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัย

ในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่

เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรม

ที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 193

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควร

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง

เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง.

จบทุติยอนาคตสูตรที่ ๘

อรรถกถาทุติยอนาคตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอนาคตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุรา ม โส ธมฺโม อาคจฺฉติ ความว่า ธรรมนั้นยังไม่

มาถึงเราเพียงใด เราก็จะเริ่มความเพียรก่อนเพียงนั้น. บทว่า ขีโรทกี-

ภูตา ได้แก่ ถึงความเป็นอันเดียวกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ. บทว่า

ปิยจกฺขูหิ ได้แก่ ด้วยดวงตาที่เต็มไปด้วยเมตตา.

จบอรรถกถาทุติยอนาคตสูตรที่ ๘

๙. ตติยอนาคตสูตร

ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ

[๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิด

ในปัจจุบัน แต่จะบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ

ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ภัยในอนาคต ๕ ประการเป็นไฉน

คือ

ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต

ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 194

ศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้น ก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล

ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต

ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้

กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรม

กาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบ

ล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้าง

วินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้

แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง

พยายามเพื่อละภัยนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จักไม่อบรมกาย ไม่

อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล

ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถ

แนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็

จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรม

กาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่า

อื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรม

ปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การ

ลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อ

ที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอ

ทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม

ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 195

จิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิด

ก็จักไม่รู้สึก เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม

การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต

ข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อัน

เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม

ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม

จิต ไม่อบรมปัญญา พระสูตรต่าง ๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง

มีอรรถลึกซึ้งเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม เมื่อพระสูตรเหล่านั้น

อันบุคคลแสดงอยู่ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้

จักไม่ใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน แต่ว่าสูตรต่าง ๆ ที่นักกวี

แต่งไว้ ประพันธ์เป็นบทกวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็น

พาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จัก

ฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักตั้งจิตเพื่อรู้ จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่า

ควรศึกษาเล่าเรียน เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้าง

ธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยใน

อนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อ

นี้เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรม-

ศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต

ไม่อบรมปัญญา ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็น

หัวหน้าในความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 196

ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง

ไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง แม้

ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าใน

ความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรม

ที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้

แจ้ง เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบ

ล้างธรรมย่อมมี เพราะการลบล้างวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต

ข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อัน

เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิด

ในบัดนี้ แต่จะบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ

ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น.

จบตติยอนาคตสูตรที่ ๙

อรรถกถาตติยอนาคตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตติยอนาคตสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ธมฺมสนฺโทสา วินยสนฺโทโส ได้แก่ การเสียวินัยย่อมมี

เพราะเสียธรรม. ถามว่า ก็เมื่อธรรมเสีย วินัยชื่อว่า เสียอย่างไร. ตอบว่า

เมื่อธรรมคือสมถวิปัสสนาไม่ตั้งท้อง วินัย ๕ อย่างก็ไม่มี. เมื่อธรรมเสียอย่างนี้

วินัยก็ชื่อว่าเสีย ส่วนสำหรับภิกษุผู้ทุศีล ชื่อว่าสังวรวินัยไม่มี เมื่อสังวรวินัย

นั้นไม่มี สมถะและวิปัสสนา ก็ไม่ตั้งท้อง. การเสียธรรมแม้เพราะเสียวินัย

ก็พึงทราบโดยนัยอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 197

บทว่า อภิธมฺมกถ ได้แก่ กถาว่าด้วยธรรมสูงสุด มีศีลเป็นต้น.

บทว่า เวทลฺลกถ ได้แก่ กถาเจือด้วยญาณที่ประกอบด้วยความรู้.

บทว่า กณฺห ธมฺม โอกฺกมมนา ได้แก่ ก้าวลงสู่กรรมฝ่ายดำ โดยการ

แสวงหาด้วยการแข่งดี เพราะแส่หาความผิดเขา. อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย กระทบ

บุคคลด้วยจิตคิดร้ายก็ดี สร้างกรรมฝ่ายดำนั้น สำหรับตนก็ดี กล่าวเพื่อลาภ-

สักการะก็ดี. ชื่อว่า ก้าวลงสู่ธรรมฝ่ายดำเหมือนกัน.

บทว่า คมฺภีรา ได้แก่ ลึกโดยบาลี. บทว่า คมฺภีรตฺถา ได้แก่

ลึกโดยอรรถ. บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่ แสดงโลกุตรธรรม. บทว่า

สุญฺตรปฏิสยุตฺตา ได้แก่ ประกอบด้วยขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ.

บทว่า น อญฺาจิตฺต อุปฏฺเปสฺสนฺติ แปลว่า จักไม่ตั้งจิตไว้เพื่อรู้.

บทว่า อุคฺคเหตพฺพ ปริยาปุณิตพฺพ ได้แก่ พึงศึกษา พึงเล่าเรียน.

บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่งโดยผูกเป็นโศลกเป็นต้น. บทว่า กาเวยฺยา

เป็นไวพจน์ของคำว่า กวิกตา นั้นนั่นแหละ. บทว่า พาหิรกา ได้แก่

ที่ตั้งอยู่ภายนอกพระศาสนา. บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่สาวกภายนอก

[พระศาสนา] กล่าวไว้. คำที่เหลือในสูตรนี้ มีความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัย

ที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง และเพราะรู้ได้ง่าย.

จบอรรถกถาตติยอนาคตสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 198

๑๐. จตุตถอนาคตสูตร

ว่าด้วยภัยในอนาคต ๕ ประการ

[๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ซึ่งยังไม่

บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้

เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวรดีงาม

ก็จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและ

ป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหาไม่

สมควร อันไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุจีวร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยใน

อนาคตข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้น

อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาต

ที่ดีงาม เมื่อชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็น

วัตร ละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และ

ราชธานี แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสอันเลิศด้วยปลายลิ้น และจักถึงการแสวงหา

อันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดใน

กาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละ

ภัยนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะ

ดีงาม เมื่อชอบเสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ละ

เสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 199

และจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่ง

เสนาสนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดใน

บัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว

พึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วย

ภิกษุณี นางสิกขมานา และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นาง-

สิกขมานา และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ไม่ยินดี

ประพฤติพรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืนสิกขา

เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่ง

ยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้

ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น.

อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วยอารา-

มิกบุรุษ และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ และสมณุทเทส

พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้มี

ประการต่าง ๆ จักกระทำนิมิตแม้อย่างหยาบที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียว

บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้

แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง

พยายามเพื่อละภัยนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิด

ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ

ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น.

จบจตุตถอนาคตสูตรที่ ๑๐

จบโยธาชีววรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 200

อรรถกถาจตุตถอนาคตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจตุตถอนาคตสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กลฺยาณกามา แปลว่า ผู้มีความต้องการอันดี. บทว่า

รสคฺคานิ ได้แก่ รสยอดเยี่ยม. บทว่า สสฏฺา วิหริสฺสนฺติ ได้แก่

จักอยู่ระคนด้วยสังสัคคะการระคน ๕ อย่าง. บทว่า สนฺธิธิการปริโภค ได้แก่

บริโภคของที่ทำสันนิธิ [สั่งสมไว้ผิดวินัย]. ในบทว่า โอฬาริกปิ นิมิตฺต

นี้ ภิกษุขุดดินเองก็ดี ใช้ให้เขาขุดก็ดี ชื่อว่า ทำนิมิตอย่างหยาบในแผ่นดิน.

ภิกษุตัดเองก็ดี ใช้ให้เขาตัดก็ดี ซึ่งหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ชื่อว่า ทำนิมิตอย่าง

หยาบในของสดเขียว. ภิกษุให้เขาถือเอาใบไม้และผักเป็นต้น เก็บไว้เองก็ดี

ใช้ให้เขาเก็บไว้ก็ดี ซึ่งผลไม้เพื่อเลี้ยงชีพ ก็ไม่จำต้องกล่าวกันละ. ในพระสูตร

ทั้ง ๔ นี้ พระศาสดาตรัสความเจริญและความเสื่อมในพระศาสนาไว้.

จบอรรถกถาจตุตถอนาคตสูตรที่ ๑๐

จบโยธาชีววรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมเจโตวิมุตติสูตร ๒. ทุติยเจโตวิมุตติสูตร ๓. ปฐมธรรม-

วิหาริกสูตร ๔. ทุติยธรรมวิหาริกสูตร ๕. ปฐมโยธาชีวสูตร ๖. ทุติย-

โยธาชีวสูตร ๗. ปฐมอนาคตสูตร ๘. ทุติยอนาคตสูตร ๙. ตติยอนาคตสูตร

๑๐. จตุตถอนาคตสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 201

เถรวรรคที่ ๔

๑. รัชนียสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ

[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของ

เพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระย่อมกำหนัด

ในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ๑ ย่อมขัดเคืองในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ขัดเคือง ๑ ย่อมหลงในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑ ย่อมโกรธในสิ่งอัน

เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ๑ ย่อมมัวเมาในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่

เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อน

พรหมจรรย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นเถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่อมของเพื่อน

พรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระย่อมไม่กำหนัดใน

สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ๑ ย่อมไม่ขัดเคืองในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ขัดเคือง ๑ ย่อมไม่หลงในสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑ ย่อมไม่โกรธใน

สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ๑ ย่อมไม่มัวเมาให้สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

มัวเมา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหม-

จรรย์.

จบรัชนียสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 202

เถรวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถารัชนียสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในรัชนียสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า รชนีเยสุ ได้แก่ ในอารมณ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจัยส่งเสริมราคะ.

แม้ในบทที่เหลือก็ในนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถารัชนียสูตรที่ ๑

๒. วีตราคสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ

[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของ

เพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้ไม่

ปราศจากความกำหนัด ๑ เป็นผู้ไม่ปราศจากความขัดเคือง ๑ เป็นผู้ไม่

ปราศจากความหลง ๑ เป็นผู้ลบหลู่ ๑ เป็นผู้ตีเสมอ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอ

ใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 203

เป็นผู้ปราศจากความหลง ๑ เป็นผู้ไม่ลบหลู่ ๑ เป็นผู้ไม่ตีเสมอ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็น

ที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

จบวีตราคสูตรที่ ๒

อรรถกถาวีตราคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวีตราคสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มกฺขี ได้แก่ เป็นผู้ลบหลู่คุณท่าน. บทว่า ปฬาสิ ได้แก่

เป็นผู้ประกอบด้วยการตีเสมอมีการแข่งขันกันเป็นลักษณะ.

จบอรรถกถาวีตราคสูตรที่ ๒

๓. กุหกสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ

[๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของ

เพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้พูดหลอก

ลวง ๑ เป็นผู้พูดหวังลาภ ๑ เป็นผู้พูดเลียบเคียงหาลาภ ๑ เป็นผู้พูดคาดคั้น

ให้บริจาค ๑ เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระ

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็น

ที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 204

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระไม่เป็นผู้พูดหลอกลวง ๑ ไม่เป็น

ผู้พูดหวังลาภ ๑ ไม่เป็นผู้พูดเลียบเคียงหาลาภ ๑ ไม่เป็นผู้พูดคาดคั้นให้

บริจาค ๑ ไม่เป็นผู้แสวงหาลาภ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และ

เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

จบกุหกสูตรที่ ๓

อรรถกถากุหกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุหกสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า กุหโก ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยกุหกวัตถุ (เรื่องหลอกลวง)

บทว่า ลปโก ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยคำป้อยที่อิงลาภ. บทว่า เนมิตฺติโก

ได้แก่ เป็นผู้ทำท่าทีแห่งนิมิต [บอกใบ้]. บทว่า นิปฺเปสิโก ได้แก่ เป็น

ผู้ประกอบด้วยการพูดบีบบังคับ. บทว่า ลาเภน ลาภ นิชิคึสิตา ได้แก่

เป็นผู้แสวงหาลาภด้วยลาภ. สุกกปักข์ (ธรรมฝ่ายดี) พึงทราบโดยความสดับ

กันกับที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถากุหกสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 205

๔. อสัทธสูตร*

ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ

[๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อน

พรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือภิกษุผู้เถระเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑

เป็นผู้ไม่มีหิริ ๑ เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ เป็นผู้มี

ปัญญาทราม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

นี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่อง

ของเพื่อนพรหมจรรย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีหิริ ๑

เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑ เป็นผู้มีปัญญา ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก

เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

จบอสัทธสูตรที่ ๔

* สูตรที่ ๔ อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 206

๕. อักขมสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้พระเถระน่าเคารพและไม่น่าเคารพ

[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ประการ

ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อน

พรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้ไม่อดทนต่อ

รูปารมณ์ ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อสัททารมณ์ ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อคันธารมณ์ ๑

เป็นผู้ไม่อดทนต่อรสารมณ์ ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่

รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อดทนต่อรูปารมณ์ ๑ เป็นผู้

อดทนต่อสัททารมณ์ ๑ เป็นผู้อดทนต่อคันธารมณ์ ๑ เป็นผู้อดทนต่อรสารมณ์ ๑

เป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และ

เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

จบอักขมสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 207

อรรถกถาอักขมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอักขมสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อกฺขโม โหติ รูปาน ได้แก่ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปารมณ์

คือ ย่อมถูกราคะเป็นต้นซึ่งมีรูปนั้นเป็นอารมณ์ครอบงำเอา. ในบททั้งปวงก็

นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาอักขมสูตรที่ ๕

๖. ปฏิสัมภิทาสูตร

ว่าด้วยธรรม ๕ ที่เป็นเหตุให้พระเถระเป็นที่เคารพ

[๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน

พรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้บรรลุอัตถ-

ปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้บรรลุธรรมปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ๑

เป็นผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกรณียกิจน้อย

ใหญ่ของเพื่อนพรหมจรรย์ที่ควรจัดทำ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง

ใคร่ครวญวิธีการในกิจนั้น เป็นผู้สามารถเพื่อทำ เป็นผู้สามารถเพื่อจัดแจง ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล้ว ย่อม

เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

จบปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 208

อรรถกถาปฏิสัมภิทา

พึงทราบวินิจฉัยในปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺถปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้ญาณแตกฉาน

ในอรรถ ๕. บทว่า ธมฺมปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้ญาณแตกฉาน

ในธรรม ๔ อย่าง. บทว่า นิรุตฺติปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ได้

ญาณแตกฉานในธรรมนิรุกติ. บทว่า ปฏิภาณปฏิสมฺภิทาปฺปตฺโต ได้แก่

เป็นผู้ได้ญาณ อันแตกฉานในญาณเหล่านั้น. แต่ภิกษุผู้บรรลุปฏิภาณปฏิสัมภิทา

นั้น ย่อมรู้ญาณ ๓ เหล่านั้นเท่านั้น หาทำกิจของญาณเหล่านั้นไม่. บทว่า

อุจฺจาวจานิ ได้แก่ ใหญ่น้อย. บทว่า กึกรณียานิ ได้แก่ กิจที่ควรทำ

อย่างนี้.

จบอรรถกถาปฏิสัมภิทาสูตรที่ ๖

๗. สีลสูตร

ว่าด้วยธรรม ๕ ที่เป็นเหตุให้พระเถระเป็นที่เคารพ

[๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน

พรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้มีศีล สำรวม

ในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมี

ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 209

ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทง-

ตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง

งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้มีวาจาไพเราะ พูดวาจาอ่อนหวาน ประกอบด้วย

วาจาของชาวเมืองที่สละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ความหมายได้ ๑ เป็นผู้ได้ตาม

ความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็น

เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน

หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

นี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อน

พรหมจรรย์.

จบสีลสูตรที่ ๗

อรรถกถาสีลสูตร

สีลสูตรที่ ๗ ง่ายทั้งนั้น. ก็ในสูตรนี้ศีลก็ศีลของพระขีณาสพ แม้

พาหุสัจจะก็พาหุสัจจะของพระขีณาสพ. แม้วาจาก็วาจาอันงามของพระขีณาสพ

เหมือนกัน แม้ฌานก็พึงทราบว่าท่านกล่าวว่าเป็นกิริยาฌานเท่านั้น.

จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 210

๘. เถรสูตร

ว่าด้วยธรรมที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์แก่ชนมาก

[๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อมิใช่สุข เพื่อความฉิบหายแก่ชนมาก

เพื่อมิใช่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นรัตตัญญู บวชนาน ๑ เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ

มีชนหมู่มากเป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ๑ เป็นผู้ได้จีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้

ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด

ด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม-

ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต เธอย่อมยังชนหมู่มาก

ให้ห่างเหินจากสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม ชนหมู่มากย่อมยึดถือทิฏฐา-

นุคติของเธอว่า เธอเป็นภิกษุผู้เถระรัตตัญญู บวชนาน ดังนี้บ้าง เธอเป็น

ภิกษุผู้เถระ มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มากเป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์

และบรรพชิต ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ ผู้เป็นพหูสูต

ทรงไว้ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ ดังนี้บ้าง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระ

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อสิ่งที่มิใช่ประโยชน์

เพื่อมิใช่สุข เพื่อความฉิบหายแก่ชนมาก เพื่อมิใช่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 211

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข เพื่อความเจริญ แก่ชนมาก เพื่อ

เกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

คือ ภิกษุผู้เถระย่อมเป็นพระเถระรัตตัญญู บวชนาน ๑ เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศ

มีชนหมู่มากเป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต ๑ เป็นผู้ได้จีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้

ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด

ด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามใน

ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต เธอย่อมยังชนหมู่มาก

ให้ห่างเหินจากอสัทธรรมให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ชนหมู่มากย่อมยึดถือทิฏฐานุคติ

ของเธอว่า เธอเป็นภิกษุผู้เถระ รัตตัญญู บวชนานดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุ

ผู้เถระ มีชื่อเสียง มียศ มีชนหมู่มากเป็นบริวาร ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์และ

บรรพชิต ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ดังนี้บ้าง เธอเป็นภิกษุผู้เถระ ผู้เป็นพหูสูต

ทรงไว้ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ ดังนี้บ้าง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระ

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อ

ความสุข เพื่อความเจริญ แก่ชนมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุข แก่เทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย.

จบเถระสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 212

อรรถกถาเถรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเถรสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เถโร ได้แก่ เป็นผู้ถึงความมั่นคง. บทว่า รตฺตญฺู ได้แก่

เป็นผู้รู้ราตรีเป็นอันมากที่ล่วงแล้วตั้งแต่วันบวช. บทว่า าโต ได้แก่ ที่เขา

รู้จัก คือปรากฏแล้ว. บทว่า ยสสฺสี ได้แก่ เป็นผู้อาศัยยศ. บทว่า มิจฺฉา-

ทิฏฺิโก ได้แก่ เป็นผู้เห็นโดยไม่เห็นตามความเป็นจริง. บทว่า สทฺธมฺมา

วุฏฺาเปตฺวา ได้แก่ ชักชวนให้ออกจากธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า

อสทฺธมฺเม ปติฏฺาเปติ ได้แก่ ให้ตั้งอยู่ในอกุศลกรรมบถ ๑๐.

จบอรรถกถาเถรสูตรที่ ๘

๙. ปฐมเสขสูตร

ว่าด้วยธรรมและไม่เสื่อมของพระเสขะ

[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ยินดี

ในการก่อสร้าง ๑ ความเป็นผู้ยินดีในการเจรจาปราศรัย ๑ ความเป็นผู้ยินดี

ในการนอน ๑ ควานเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ไม่พิจารณาจิต

ตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น

ไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 213

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่

เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ยินดีใน

การก่อสร้าง ๑ ความเป็นผู้ไม่ยินดีในการเจรจาปราศรัย ๑ ความเป็นผู้ไม่

ยินดีในการนอน ๑ ความเป็นผู้ไม่ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ พิจารณา

จิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม

เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

จบปฐมเสขสูตรที่ ๙

อรรถกถาเสขสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมเสขสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า เสกฺขสฺส ได้แก่ ภิกษุผู้ยังต้องศึกษา คือ ยังมีกิจที่จะต้องทำ.

บทว่า ปริหานาย ได้แก่ เพื่อความเสื่อมจากคุณเบื้องสูง. ความยินดีใน

นวกรรมการก่อสร้าง ชื่อ กมฺมารามตา. ความยินดีในการสนทนาปราศรัย

[คุยกัน] ชื่อ ภสฺสารามตา. ความยินดีในการนอนหลับ ชื่อว่านิทฺทารามตา.

ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ชื่อ สงฺคณิการามตา. บทว่า ยถาวิมุตฺต

จิตฺต น ปจฺจเวกฺขติ ความว่า ไม่พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว พิจารณาถึง

โทษที่ตนละได้ และคุณที่ตนได้เหล่านั้นแล้ว ย่อมไม่ทำความพยายาม เพื่อได้

คุณเบื้องสูงอีก. ในสูตรนี้ ตรัสเหตุแห่งความเสื่อม และเหตุแห่งความเจริญ

ด้วยคุณเบื้องสูงของพระเสขะ ๗ จำพวก ด้วยประการอย่างนี้. ก็ข้อใดเป็นเหตุ

เเห่งความเสื่อมของพระเสขะ ข้อนั้นก็เป็นข้อที่หนึ่ง ของปุถุชนเหมือนกัน

ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาปฐมเสขสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 214

๑๐. ทุติยเสขสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นไปเพื่อความเสื่อม และไม่เสื่อมของพระเสขะ

[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีกิจมาก มีกรณียะมาก ไม่ฉลาด

ในกิจน้อยกิจใหญ่ ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมปล่อยให้วันเวลาล่วงไปเพราะการ

งานเล็กน้อย ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต

ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบ

ความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ เป็นไป

เพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมเข้าไปบ้านในเวลาเช้านัก กลับมา

ในเวลาสายนัก ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมไม่เป็นผู้ได้ตามปรารถนา เป็น

ผู้ได้โดยยาก ได้โดยลำบาก ซึงกถาที่เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบาย

แก่ธรรมเครื่องโปร่งจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา

อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 215

วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ละการหลีกออกเร้น ไม่ประกอบความ

สงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ เป็นไปเพื่อความ

เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นไป

เพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่

เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุผู้เสขะในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีกิจมาก ไม่มีกรณียะมาก ฉลาด

ในกิจน้อยกิจใหญ่ ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้

เสขะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมไม่ปล่อยให้วันเวลาล่วงไป เพราะ

การงานเล็กน้อย ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้

เสขะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต

ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบ

ความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ เป็นไปเพื่อ

ความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมไม่เข้าไปบ้านในเวลาเช้านัก ไม่กลับ

ในเวลาสายนัก ไม่ละการหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ

ผู้เสขะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 216

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เสขะย่อมเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่

ยาก โดยไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายแก่ธรรม

เครื่องโปร่งจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา

วิริยารัมภกถา สีลกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ไม่ละ

การหลีกออกเร้น ประกอบความสงบใจ ณ ภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้

เป็นธรรมข้อที่ ๕ เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

จบทุติยเสขสูตรที่ ๑๐

จบเถรวรรคที่ ๔

อรรถกถาทุติยเสขสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยเสขสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิยตฺโต ได้แก่ ผู้สามารถคือฉลาด. บทว่า กึกรณีเยสุ ได้แก่

ในกิจที่ควรทำอย่างนี้. บทว่า เจโตสมถ ได้แก่สมาธิกัมมัฏฐาน. บทว่า

อนนุโลมิเกน ได้แก่อันไม่สมควรแก่ศาสนา. บทว่า อติกาเลน ได้แก่

เช้าเกินไป. บทว่า อติทิวา ได้แก่ เลยเวลาเที่ยงที่เรียกว่ากลางวันไปแล้ว.

บทว่า อภิสลฺเลขิกา ได้แก่ เป็นข้อปฏิบัติขัดเกลากิเลสเหลือเกิน.

บทว่า เจโตวิววรณสปฺปายา ได้แก่ เป็นสัปปายะแก่สมถะและวิปัสสนากล่าว

คือธรรมเครื่องเปิดใจ. บทว่า อปฺปิจฺฉกถา ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวว่า ท่าน

ทั้งหลายเป็นผู้มักน้อย. บทว่า สนฺตุฏฺิกถา ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวว่า

ท่านทั้งหลายเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัย ๔. บทว่า ปวิเวกกถา ได้แก่ ถ้อยคำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 217

ที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้สงัดด้วยวิเวก ๓. บทว่า อสสคฺคกถา ได้แก่

ถ้อยคำที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยความคลุกคลี ๕ อย่าง.

บทว่า วิริยารมฺภกถา ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวว่า ท่านทั้งหลายปรารภความเพียร

๒ อย่าง. ในบทว่า สีลกถา เป็นต้น ได้แก่ ถ้อยคำปรารภศีล สมาธิ

ปัญญา วิมุตติ ๕ อย่าง กถาปรารภวิมุตติญาณทัสสนะ กล่าวคือ

ปัจจเวกขณะ ๑๙ ชื่อวิมุตติญาณทัสสนกถา. ในบทเป็นต้นว่า น นิกาม-

ลาภี ความว่า ไม่ได้ตามที่ตนปรารถนา ได้โดยลำดับ ได้ไม่ไพบูลย์.

บทที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยเสขสูตรที่ ๑๐

จบเถรวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. รัชนียสูตร ๒. วีตราคสูตร ๓. กุหกสูตร ๔. อสัทธสูตร

๕. อักขมสูตร ๖. ปฏิสัมภิทาสูตร ๗. สีลสูตร ๘. เถรสูตร ๙. ปฐมเสข-

สูตร ๑๐. ทุติยเสขสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 218

กกุธวรรคที่ ๕

๑. ปฐมสัมปทาสูตร

ว่าด้วยสัมปทา ๕

[๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ สัทธาสัมปทา สีลสัมปทา สุตสัมปทา จาคสัมปทา ปัญญา-

สัมปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้แล.

จบปฐมสัมปทาสูตรที่ ๑

กกุธวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาปฐมสัมปทาสูตร

วรรคที่ ๕ สัมปทาสูตรที่ ๑ ท่านกล่าวสัมปทา ๕ เจือกัน.

จบอรรถกถาสัมปทาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 219

๒. ทุติยสัมปทาสูตร

ว่าด้วยสัมปทา ๕

[๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ สีลสัมปทา สมาธิสัมปทา ปัญญาสัมปทา วิมุตติสัมปทา วิมุตติ.

ญาณทัสสนสัมปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้แล.

จบทุติยสัมปทาสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยสัมปทาสูตร

ในสัมปทาสูตรที่ ๒ ท่านกล่าวสัมปทา ๔ เบื้องต้นเจือกัน สัมปทา

ที่ ๕ เป็นโลกิยะแท้.

จบอรรถกถาทุติยสัมปทาสูตรที่ ๒

๓. พยากรณสูตร

ว่าด้วยการพยากรณ์อรหัต ๕ ประการ

[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัต ๕ ประการนี้ ๕

ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัต เพราะความเป็นผู้เขลา

เพราะความเป็นผู้หลง ๑ บุคคลผู้มีความอิจฉาลามก ผู้ถูกความอิจฉาครอบงำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 220

ย่อมพยากรณ์อรหัต ๑ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัต เพราะความบ้า เพราะจิต

ฟุ้งซ่าน ๑ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัต เพราะความสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ บุคคล

ย่อมพยากรณ์อรหัตโดยถูกต้อง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัต

๕ ประการนี้แล.

จบพยากรณสูตรที่ ๓

อรรถกถาพยากรณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในพยากรณสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อญฺพฺยากรณานิ ได้แก่ การพยากรณ์พระอรหัต. บทว่า

มนฺทตฺตา ได้แก่ เพราะความโง่ เพราะไม่รู้. บทว่า โมมูหตฺตา ได้แก่

เพราะความลุ่มหลง. บทว่า อญฺ พฺยากโรติ ความว่า เขาพูดว่า เราบรรลุ

อรหัต. บทว่า อิจฺฉาปกโต ได้แก่ ถูกความอยากครอบงำ. บทว่า อธิมาเนน

ได้แก่ ด้วยสำคัญว่าได้บรรลุ. บทว่า สมฺมเทว ได้แก่ โดยเหตุ โดยนัย

โดยการณ์เท่านั้น.

จบอรรถกถาพยากรณสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 221

๔. ผาสุสูตร

ธรรมเครื่องอยู่เป็น ๕ ประการ

[๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-

ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ๑ บรรลุ

ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ๑ ภิกษุมี

อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน

ที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็น

สุข ๑ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับ

โสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ๑ ทำให้แจ้งซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่อง

อยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้แล.

จบผาสุสูตรที่ ๔

อรรถกถาผาสุสูตร

ในผาสุสูตรที่ ๔ บทว่า ผาสุวิหารา ได้แก่ ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข

จบอรรถกถาผาสุสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 222

๕. อกุปปสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้บรรลุมรรคผลได้เร็ว

[๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่นานนัก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้ได้บรรลุธรรม-

ปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้ได้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้ได้บรรลุปฏิภาณ-

ปฏิสัมภิทา ๑ ย่อมพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ

ต่อกาลไม่นานนัก.

จบอกุปปสูตรที่ ๕

อรรถกถาอกุปปสูตร

ในอกุปปสูตรที่ ๕ บทว่า อกุปฺป ได้แก่ พระอรหัต.

จบอรรถกถาอกุปปสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 223

๖. สุตสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้บรรลุมรรคผลได้เร็ว

[๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เสพอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นาน

นัก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีธุระน้อย

มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาหารน้อย

ประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๑ ย่อมเป็นผู้มีความง่วงนอนน้อย

ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ ย่อมเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สะสมสุตะ

เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ

ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ

พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑

ย่อมพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เสพอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ย่อมแทงตลอดธรรม

ที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่นานนัก.

จบสุตสูตรที่ ๖

อรรถกถาสุตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปฺปฏฺโ ได้แก่ เป็นผู้ปรารภถึงการงานน้อย. บทว่า

อปฺปกิจฺโจ ได้แก่ เป็นผู้มีกิจจะต้องทำน้อย. บทว่า สุภโร ได้แก่ เป็นคน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 224

ดี คือ เลี้ยงได้ง่าย. บทว่า สุสนฺโตโส ได้แก่ เป็นผู้สันโดษด้วยดี

ด้วยสันโดษ ๓. บทว่า ชีวิตปริกฺชาเรสุ ได้แก่ ในสิ่งที่จำเป็นแก่ชีวิต.

บทว่า อปฺปาหาโร ได้แก่ เป็นผู้มีอาหารน้อย. บทว่า อโนทริกตฺต ได้แก่

ถึงความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากท้อง คือกินไม่มาก. บทว่า อปฺปมิทฺโธ ได้แก่

เป็นผู้ไม่หลับมาก.

จบอรรถกถาสุตสูตรที่ ๖

๗. กถาสูตร*

ว่าด้วยธรรมทำให้บรรลุมรรคผลได้เร็ว

[๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่

นานนัก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มี

ธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต ๑ ย่อมเป็นผู้มี

อาหารน้อย ประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๑ ย่อมเป็นผู้มีความ

ง่วงนอนน้อยประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ ย่อมเป็นผู้ได้ตามปรารถนา

ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายแก่

ธรรมเครื่องโปร่งจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา

อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา

วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ๑ ย่อมพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เจริญอานา-

ปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่นานนัก.

จบกถาสูตรที่ ๗

* กถาสูตรที่ ๗ อรรถกถามีเนื้อความง่าย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 225

๘. อรัญญสูตร*

ว่าด้วยธรรมทำให้บรรลุมรรคผลได้เร็ว

[๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ทำให้มากซึ่งอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อ

กาลไม่นานนัก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต ๑ ย่อมเป็น

ผู้มีอาหารน้อย ประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๑ ย่อมเป็นผู้มี

ความง่วงนอนน้อย ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ ย่อมเป็นผู้ถือ

การอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด ๑ ย่อมพิจารณาจิตตามที่

หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

นี้แล ทำให้มากซึ่งอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ

ต่อกาลไม่นานนัก.

จบอรัญญสูตรที่ ๘

๙. สีหสูตร

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าแสดงธรรมดุจสีหะจักสัตว์

[๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหมฤคราชออกจากที่อยู่ในเวลาเย็น

แล้วย่อมเยื้องกราย เหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้ว

ออกเที่ยวไปหากิน สีหมฤคราชนั้น ถ้าแม้จะจับช้าง ย่อมจับโดยแม่นยำ

* อรรถกถาว่ามีเนื้อความง่าย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 226

ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับกระบือ ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับโค

ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับเสือเหลือง ย่อมจับโดยแม่นยำ

ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับเหล่าสัตว์เล็ก ๆ โดยที่สุดกระต่ายและแมว ย่อมจับโดย

แม่นยำ ไม่พลาด ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสีหมฤคราชนั้นคิดว่า ทาง

หากินของเราอย่าพินาศเสียเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าสีหะนั้นแล เป็น

ชื่อแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ที่ตถาคตแสดงธรรมแก้บริษัทนี้แล

เป็นสีหนาทของตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ตถาคตจะแสดงธรรมแก่

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะ

แสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ

ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดย

ไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ

ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่ปุถุชนทั้งหลาย ย่อมแสดงโดย

เคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ โดยที่สุดแม้แก่คนขอทานและพรานนก ย่อม

แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตถาคต

เป็นผู้หนักในธรรม เคารพในธรรม.

จบสีหสูตรที่ ๙

อรรถกถาสีหสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสีหสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สกฺกจฺจญฺเว ปหาร เทติ โน อสกฺกจฺจ ความว่า

ให้ไม่ผิดพลาด โดยไม่ดูแคลน คือมิใช่ให้พลาดโดยดูแคลน. บทว่า มา เม

โยคฺคปโถ นสฺส ความว่า ฝีมือจักสัตว์ที่เราชำนาญแล้ว ของเราจงอย่าเสื่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 227

เสียไป. อธิบายว่า คนทั้งหลายจงอย่ากล่าวอย่างนี้ว่า สีหมฤคราชตัวหนึ่ง

เมื่อลุกขึ้นตะปบแมว ก็ตะปบพลาดไปดังนี้. ในบทว่า อนฺนภารเนสาทาน

นี้ ข้าวเหนียวเรียกกันว่า อนฺน (ข้าว) ข้าวเหนียวนั้นเป็นของจำเป็นสำหรับ

คนเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น คนเหล่านั้นจึงชื่อว่า อนฺนภารา (มีข้าวเป็น

ของจำเป็น) คำนั่นเป็นชื่อของคนขอทาน. นายพรานนก เขาเรียกว่า เนสาท

ตถาคตทรงแสดงอย่างตระหนัก แม้แก่คนขอทานหรือนายพรานนกเหล่านั้น

โดยที่สุดอันมีภายหลังคนทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสีหสูตรที่ ๙

๑๐. กกุธสูตร

ว่าด้วยศาสดา ๕ จำพวก

[๑๐๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม

ใกล้เมืองโกสัมพี ก็สมัยนั้นแล บุตรเจ้าโกลิยะนามว่ากกุธะ ผู้อุปัฏฐากท่าน

พระมหาโมคคัลลานะ กระทำกาละไม่นาน ได้บังเกิดในหมู่เทพชื่อว่า อโนมยะ

หมู่หนึ่งเป็นผู้ได้อัตภาพ [ใหญ่] เหมือนคามเขตในแว่นแคว้นมคธสองสามหมู่

เพราะการได้อัตภาพนั้น เขาย่อมไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

ครั้งนั้นแล กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่

อภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้-

เจริญ พระเทวทัต เกิดความปรารภอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ และ

พระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาท ครั้นกกุธเทพบุตรได้

กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทำประทักษิณแล้วหายไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 228

ณ ที่นั้น ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ-

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุตรแห่งเจ้าโกลิยะนามว่า กกุธะ ผู้อุปัฏฐาก

ข้าพระองค์ กระทำกาละไม่นาน ได้บังเกิดในหมู่เทพชื่อว่าอโนมยะหมู่หนึ่ง

เป็นผู้ได้อัตภาพ [ใหญ่] เหมือนคามเขตในแว่นแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะ

การได้อัตภาพนั้น เขาย่อมไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

ครั้งนั้น กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

พระเทวทัตเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ พระเทวทัตได้

เสื่อมจากฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาท กกุธเทพบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว

อภิวาทข้าพระองค์ ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ ก็กกุธเทพบุตร

เธอกำหนดรู้ใจด้วยใจดีแล้วหรือว่า กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งปวง

ย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น.

ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กกุธเทพบุตรข้าพระองค์กำหนดรู้ใจด้วย

ใจดีแล้วว่า กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งปวงย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว

ไม่เป็นอย่างอื่น.

พ. ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้ โมฆบุรุษนั้น

จักทำตนให้ปรากฏด้วยตนเอง ดูก่อนโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มี

ปรากฏอยู่ในโลก ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ

ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็น

ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 229

ทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า

เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวก

เราจักบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าวด้วย

ความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำ

กรรมใด เขาเองจะปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดา

เช่นนี้โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยศีล.

อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์

ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว

ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีอาชีวะ

ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเราบริสุทธิ์

ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่

พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้

อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-

เภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรม

นั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยอาชีวะ และศาสดาเช่นนี้ย่อม

หวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยอาชีวะ.

อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีธรรมเทศนา

ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเรา

บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่าน

ศาสดานี้ เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนา

บริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 230

พึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าวด้วย

ความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ท่านศาสดานี้

จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษา

ศาสดาเช่นนี้โดยธรรมเทศนา และศาสดาเช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจาก

สาวกโดยธรรมเทศนา.

อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์

ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว

ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มี

ไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์

ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกคฤหัสถ์ ก็ไม่

พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจักกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่านนั้น

อย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน-

ปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วย

กรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยไวยากรณ์ และศาสดา

เช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยไวยากรณ์.

อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีญาณทัสสนะ

ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเรา

บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่าน

ศาสดานี้ เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีญาณทัสสนะ

บริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเรา

พึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าวด้วย

ความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 231

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำ

กรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดา

เช่นนี้โดยญาณทัสสนะ และศาสดาเช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวก

โดยญาณทัสสนะ ดูก่อนโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่

ในโลก.

ดูก่อนโมคคัลลานะ เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มี

ศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่

รักษาเราโดยศีล และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยศีล เรา

เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเรา

บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยอาชีวะ และ

เราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยอาชีวะ เราเป็นผู้มีธรรมเทศนา

บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเรา

บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยธรรมเทศนา

และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยธรรมเทศนา เราเป็นผู้มี

ไวยากรณ์บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของ

เราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยไวยากรณ์

และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยไวยากรณ์ เราเป็นผู้มีญาณ-

ทัสสนะบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะ

ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดย

ญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยญาณทัสสนะ.

จบกกุธสูตรที่ ๑๐

จบกกุธวรรคที่ ๕

จบทุติยปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 232

อรรถกถากกุธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกกุธสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺตภาวปฏิลาโภ คือ ได้ร่างกาย. ในบทว่า เทฺว วา

ตีณิ วา มาคธิกานิ คามกฺเขตฺตานิ นี้ เขตหมู่บ้านชาวมคธมีขนาดเล็ก

ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ เขตหมู่บ้านขนาดเล็ก แต่นี้ไป ๔๐ อสุภะ จากโน้นมา

๔๐ อุสภะ รวมเป็นหนึ่งคาวุต ขนาดกลาง แต่นี้ไปหนึ่งคาวุต จากโน้นมา

หนึ่งคาวุต รวมเป็นกึ่งโยชน์ ขนาดใหญ่ แต่นี้ไปคาวุตครึ่ง จากโน้นมา

คาวุตครึ่ง รวมเป็นสามคาวุต. ในเขตหมู่บ้านเหล่านั้น เขตหมู่บ้านขนาดเล็ก

ก็ ๓ เขต เขตหมู่บ้านขนาดกลางก็ ๒ เขต เป็นขนาดอัตภาพของเทพบุตรนั้น

ดังนั้น เทพบุตรนั้นจึงมีร่างกายขนาด ๓ คาวุต.

บทว่า ปริหริสฺสามิ ได้แก่ เราจักบำรุงคุ้มครอง. บทว่า รกฺขสฺเสต

ได้แก่ เธอจงรักษาวาจานั้น. บทว่า โมฆปุริโส ได้แก่ เป็นคนเปล่า ๆ.

บทว่า นาสฺสสฺส ได้แก่ ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน. บทว่า สมุทาจเรยฺ-

ยาม ได้แก่ พึงกล่าว. บทว่า สมฺมนฺนติ ได้แก่ ทำการยกย่อง. บทว่า

ย ตุโม กริสฺสติ ตุโมว เตน ปญฺายิสฺสติ ความว่า ศาสดานี้จักทำ

กรรมใด ท่านก็จักปรากฏด้วยกรรมนั้น. บทที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากกุธสูตรที่ ๑๐

จบกกุธวรรควรรณนาที่ ๕

จบทุติยปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัมปทาสูตร ๒. ทุติยสัมปทาสูตร ๓. พยากรณสูตร

๔. ผาสุสูตร ๕. อกุปปสูตร ๖. สุตสูตร ๗. กถาสูตร ๘. อรัญญสูตร

๙. สีหสูตร ๑๐. กกุธสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 233

ตติยปัณณาสก์

ผาสุวิหารวรรคที่ ๑

๑. เวสารัชชกรณสูตร

ว่าด้วยธรรมให้แกล้วกล้า ๕ ประการ

[๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้

แกล้ากล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นผู้

ปรารภความเพียร ๑ เป็นผู้มีปัญญา ๑ ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้

ไม่มีศรัทธา ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีผู้มีศรัทธา ฉะนั้น ธรรมนี้จึง

ไม่มีศรัทธา ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีศรัทธา ฉะนั้น ธรรมนี้จึง

ชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วแห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้าม

ใดย่อมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้าม

ชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้าม

ใดย่อมมีแก่ผู้ได้ศึกษาน้อย ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่เป็นพหูสูต ฉะนั้น

ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้ากล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ความ

ครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้เกียจคร้าน ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ปรารภ

ความเพียร ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้า

แห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้มีปัญญาทราม ความครั่นคร้าม

นั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มีปัญญา ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็น

ผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่ง

ภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้แล.

จบเวสารัชชกรณสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 234

ตติยปัณณาสก์

ผาสุวิหารวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาเวสารัชชกรณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเวสารัชชกรณสูตรที่ ๑ แห่งตติยปัณณาสก์

ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เวสารชฺชกรณา ได้แก่ เครื่องนำมาซึ่งความแกล้วกล้า.

บทว่า สารชฺช โหติ ความว่า ย่อมมีโทมนัส-

จบอรรถกถาเวสารัชชกรณสูตรที่ ๑

๒. สังกิตสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เป็นที่น่ารังเกียจ

[๑๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นที่รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงแพศยา

ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงหม้าย ย่อมเป็นผู้คบหาสาวเทื้อ ย่อมเป็นผู้คบหา

บัณเฑาะก์ ย่อมเป็นผู้คบหาภิกษุณี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะ

เป็นผู้มีอกุปปธรรม.

จบสังกิตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 235

อรรถกถาสังกิตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังกิตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุสฺสงฺกิตปริสงฺกิโต ได้แก่ ถูกระแวงและถูกสงสัย. บทว่า

อปิ อกุปฺปธมฺโม ความว่า ถึงจะเป็นพระขีณาสพผู้มีธรรมไม่กำเริบก็จริง

ย่อมจะถูกภิกษุชั่วเหล่าอื่นระแวงสงสัยได้.

พวกหญิงที่อาศัยรูปร่างเลี้ยงชีพ ท่านเรียกว่า เวสิยา (หญิงแพศยา)

ในบทว่า เวสิยโคจโร เป็นต้น หญิงเหล่านั้นเป็นโคจรของภิกษุนั้น เหตุนั้น

จึงชื่อว่ามีหญิงแพศยาเป็นโคจร อธิบายว่า ไปเรือนของหญิงเหล่านั้นเนืองๆ.

ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิธวา ได้แก่

หญิงผัวตาย. บทว่า ถุลฺลกุมารี ได้แก่ นางสาวแก่.

จบอรรถกถาสังกิตสูตรที่ ๒

๓. โจรสูตร

ว่าด้วยองค์แห่งมหาโจร ๕ ประการ

[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ

ย่อมตัดที่ต่อบ้าง ย่อมปล้นทำลายบ้าง ย่อมทำการปล้นเฉพาะเรือนหลัง

เดียวบ้าง ตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ มหาโจร

ในโลกนี้เป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบ ๑ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ ๑ เป็นผู้อาศัยคนมี

กำลัง ๑ เป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ๑ เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว ๑.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 236

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบอย่างไร คือ

มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้อาศัยที่ลุ่มแห่งแม่น้ำ หรือที่ไม่ราบเรียบแห่งภูเขา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบอย่างนี้แล ก็มหาโจร

เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏแห่ง

หญ้าบ้าง ที่รกชัฏแห่งต้นไม้บ้าง ฝั่งแม่น้ำบ้าง ป่าใหญ่บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างไร

คือ มหาโจรในโลกนี้ ย่อมอาศัยพระราชาบ้าง มหาอำมาตย์แห่งพระราชาบ้าง

เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจะกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา พระราชา

หรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านี้จักช่วยว่าความให้ ถ้าใครจักกล่าวหา

เรื่องบางอย่างกะเขา พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านั้นก็ช่วย

ว่าความให้แก่เขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างนี้แล

ก็มหาโจรย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้มั่งคั่ง

มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหา

เรื่องบางอย่างกะเรา เราจักจ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น ถ้าใครกล่าวหา

เรื่องบางอย่างกะเขา เขาย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็นผู้

เที่ยวไปคนเดียวอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้ทำโจรกรรมคนเดียว

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาย่อมปรารถนาว่า เรื่องลับของเราอย่าได้

แพร่งพรายไปภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว

อย่างนี้แล มหาโจรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมตัดที่ต่อบ้าง

ย่อมปล้นทำลายบ้าง ย่อมปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง. ตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ ย่อมบริหารคนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ มีข้อที่วิญญูชน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 237

จะพึงติเตียน และย่อมประสบบาปเป็นอันมาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๑ เป็น

ผู้อาศัยที่รกชัฏ ๑ เป็นผู้อาศัยคนมีกำลัง ๑ เป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ๑

เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมออย่างไร

คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโน-

กรรม ที่ไม่สม่ำเสมอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่

สม่ำเสมออย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างไร คือ ปาปภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างไร

คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อาศัยพระราชาบ้าง มหาอำมาตย์แห่ง

พระราชาบ้าง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา

พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านี้ จักช่วยว่าความให้ ถ้าใคร

กล่าวหาเรื่องบางอย่างแก่เธอ พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านั้น

ย่อมช่วยว่าความให้แก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยคนมี

กำลังอย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ ปาปภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย-

เภสัชบริขาร เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่าง

กะเรา เราจักแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่าง

กะเธอ เธอย่อมแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาป-

ภิกษุเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างไร

คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่ชนบทชายแดนรูปเดียว เธอเข้าไปหา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 238

สกุล (บ้านญาติโยม) ในชนบทนั้น ย่อมได้ลาภ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุ

เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

ย่อมบริหารคนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ มีข้อที่วิญญูชนจะพึงติเตียน

และประสบบาปเป็นอันมาก.

จบโจรสูตรที่ ๓

อรรถกถาโจรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยโจรสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อิโต โภเคน ปฏิสนฺถริสฺสามิ ความว่า เราจักถือเอา

โภคะจากสมบัติของเรานี้ ทำปฏิสันถารปกปิดด้วยโภคะนั้น อธิบายว่า จักปิด

ช่องระหว่างเขาและเรา. บทว่า นิคฺคหณานิ ได้แก่ การถือเอาของของผู้อื่น.

บทว่า คุยฺหมนฺตา ได้แก่ มนต์ที่ต้องปกปิด. บทว่า อนฺตคฺคาหิกาย

ความว่า ยึดถือสัสสตทิฏฐิ หรืออุจเฉททิฏฐิ. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความ

ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาโจรสูตรที่ ๓

๔. สุขุมาลสูตร

ว่าด้วยธรรมของสมณะผู้ละเอียดอ่อน

[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้

ย่อมชื่อว่าเป็นสมณะละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 239

๑.ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกขอร้องจึงใช้จีวรมาก ไม่ถูกขอร้องใช้

จีวรน้อย ถูกขอร้องจึงบริโภคบิณฑบาตมาก ไม่ถูกขอร้องบริโภคบิณฑบาต

น้อย ถูกขอร้องจึงใช้เสนาสนะมาก ไม่ถูกขอร้องใช้เสนาสนะน้อย ถูกขอร้อง

จึงใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ไม่ถูกขอร้องใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารน้อย.

๒. อนึ่ง เธอย่อมอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อน

พรหมจรรย์เหล่านั้น ย่อมประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรมอันเป็นที่พอใจเป็น

ส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเธอด้วยวจีกรรม

อันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติ

ต่อเธอด้วยมโนกรรมอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วน

น้อย ย่อมนำสิ่งที่ควรนำเข้าไปอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจ

เป็นส่วนน้อย.

๓. อนึ่ง เวทนามีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ดี มี

ลมเป็นสมุฏฐานก็ดี ที่เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี ที่เกิดเพราะฤดูเปลี่ยนแปรก็ดี

ที่เกิดเพราะการบริหารไม่เสมอก็ดี ที่เกิดเพราะความแก่ก็ดี ที่เกิดเพราะผล-

กรรมก็ดี ย่อมไม่บังเกิดแก่เธอมาก เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย.

๔. เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่ง

ฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน.

๕. เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็น

สมณะละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวผู้ใดว่า

เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 240

กะเรานั่นเทียวว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เพราะว่า เราถูก

ขอร้องจึงใช้จีวรมาก ไม่ถูกขอร้องใช้จีวรน้อย ถูกขอร้องจึงบริโภคบิณฑบาต

มาก ไม่ถูกขอร้องบริโภคบิณฑบาตน้อย ถูกขอร้องจึงใช้เสนาสนะมาก ไม่ถูก

ขอร้องใช้เสนาสนะน้อย ถูกขอร้องจึงใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ไม่ถูก

ขอร้องใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารน้อย และเราย่อมอยู่ร่วมกับภิกษุเหล่าใด

ภิกษุเหล่านั้นย่อมประพฤติต่อเราด้วยกายกรรม อันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก

อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเราด้วยวจีกรรมอันเป็นที่

พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเราด้วย

มโนกรรมอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อม

นำสิ่งที่ควรนำเข้าไปอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วน

น้อย และเวทนามีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ดี มีลมเป็น

สมุฏฐานก็ดี ที่เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี ที่เกิดเพราะฤดูเปลี่ยนแปรก็ดี ที่เกิด

เพราะการบริหารไม่เสมอก็ดี ที่เกิดเพราะความแก่ก็ดี ที่เกิดเพราะผลกรรมก็ดี

ย่อมไม่บังเกิดแก่เรามาก เราเป็นผู้มีอาพาธน้อย เราเป็นผู้ได้ตามความ

ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่อง

อยู่สบายในปัจจุบัน ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวผู้ใดว่า

เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าว

เรานั่นเทียวว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ.

จบสุขุมาลสูตรที่ ๔

สุขุมาลสูตรที่ ๔ ทุกบทมีนัยกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 241

๕. ผาสุวิหารสูตร

ว่าด้วยธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการ

[๑๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบ

ด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑ เข้าไปตั้งวจีกรรม

ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑ เข้าไปตั้ง

มโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑

มีศีลอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ

อันตัณหาและทิฏฐิไม่เกี่ยวเกาะ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์

ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑ ทิฏฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก ย่อมนำออก

เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ แห่งผู้กระทำ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์

ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้แล.

จบผาสุวิหารสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 242

อรรถกถาผาสุวิหารสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในผาสุวิหารสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เมตฺต กายกมฺม ได้แก่ กายกรรมที่ให้เป็นไปด้วยจิต

ประกอบด้วยเมตตา. บทว่า อาวิ เจว รโห จ ได้แก่ ทั้งต่อหน้าและ

ลับหลัง. แม้ในบทนอกนี้ ก็นัยนี้แหละ.

บทว่า ยานิ ตานิ สีลานิ เป็นต้น ตรัสด้วยจตุปาริสุทธิศีล. บทว่า

สมาธิสวตฺตนิกานิ ได้แก่ อันทำให้มรรคสมาธิและผลสมาธิบังเกิด. บทว่า

สีลสามญฺคโต แปลว่า ถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกัน อธิบายว่า เป็นผู้มี

ศีลเช่นเดียวกัน. บทว่า ตกฺกรสฺส ได้แก่ ผู้กระทำตามความเห็นนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความมีศีลเสมอกัน ตรัสทิฏฐิวิปัสสนาและสัมมาทิฏฐิ

ในสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาผาสุวิหารสูตรที่ ๕

๖. อานันทสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้สงฆ์อยู่ผาสุก

[๑๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่โฆสิตาราม ใกล้

เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก เพราะเหตุเท่าไรหนอแล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 243

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

ศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์

พึงอยู่เป็นผาสุก.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึง

อยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.

พ. พึงมีอานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล และเป็นผู้ใส่ใจตนเอง

ไม่ใส่ใจผู้อื่น แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึง

อยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.

พ. พึงมีอานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล เป็นผู้ใส่ใจตนเอง

ไม่ใส่ใจผู้อื่น และเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่มีชื่อเสียงนั้น

แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึงอยู่

เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.

พ. พึงมีอานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล เป็นผู้ใส่ใจตนเอง

ไม่ใส่ใจผู้อื่น เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่มีชื่อเสียงนั้น

แต่เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อัน

มีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึง

อยู่เป็นผาสุก.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 244

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึง

อยู่เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ.

พ. พึงมี อานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้

ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพระอธิศีล ฯ ล ฯ เป็นผู้ได้

ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็น

เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน และย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกล่าวได้ว่า ธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุก

อย่างอื่น ที่ดีกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุกเช่นนี้ ย่อมไม่มี.

จบอานันทสูตรที่ ๖

อรรถกถาอานันทสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอานันทสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า โน จ ปร อธิสีเล สมฺปวตฺตา โหติ ความว่าไม่ติ-

เตียน ไม่กล่าวร้ายผู้อื่น ถึงเรื่องศีล. บทว่า อตฺตานุเปกฺขี ได้แก่ คอยเพ่ง

ดูตน โดยรู้กิจที่ตนทำแล้วและยังไม่ได้ทำ. บทว่า โน ปรานุเปกฺขี ได้แก่

ไม่มัวสนใจในกิจที่ผู้อื่นทำและยังไม่ได้ทำ. บทว่า อปฺปญฺาโต ได้แก่

ไม่ปรากฏ (ไม่มีชื่อเสียง) คือมีบุญน้อย. บทว่า อปฺปญฺาตเกน ได้แก่

เพราะความเป็นผู้ไม่ปรากฏคือไม่มีชื่อเสียง มีบุญน้อย. บทว่า โน ปริตสฺสติ

ได้แก่ ไม่ถึงความสะดุ้ง. ด้วยสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะพระ

ขีณาสพเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล

จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 245

๗. สีลสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของสงฆ์ผู้เป็นนาบุญ

[๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้

ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ เป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยสมาธิ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ ๑

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ

เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น

ยิ่งกว่า.

จบสีลสูตรที่ ๗

อรรถกถาสีลสูตร

สีลสูตรที่ ๗ ตรัสศีล สมาธิ และปัญญาเจือกัน. วิมุตติ คือ อรหัตผล

วิมุตติญาณทัสสนะ คือ ปัจจเวกขณเป็นโลกิยะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 246

๘. อเสขิยสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของสงฆ์ผู้เป็นนาบุญ

[๑๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศีล-

ขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระ-

อเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้

ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุตติญาณ-

ทัสสนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก

ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบอเสขิยสูตรที่ ๘

อรรถกถาอเสขิยสูตร

แม้ในอเสขิยสูตรที่ ๘ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในอเสขิยสูตรที่ ๘ นี้

ตรัสปัจจเวกขณญาณว่าเป็นของพระอเสขะ เพราะพระเสขะประพฤติ.

จบอรรถกถาอเสขิยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 247

๙. จาตุทิสสูตร

ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้เที่ยวไปทั้ง ๔ ทิศ

[๑๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้

ย่อมเป็นผู้ควรเที่ยวไปได้ในทิศทั้ง ๘ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์

ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทาน

ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้

สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรม

ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์

พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้สันโดษ

ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ตามมีตามได้ ๑

เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาณ ๔ อันมีใน

จิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ๑ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา

อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเที่ยวไปได้ในทิศทั้ง ๔.

จบจาตุทิสสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 248

อรรถกถาจาตุทิสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจาตุทิสสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จาตุทฺทิโส ได้แก่ ไปไหนไม่ขัดข้องในทิศทั้ง ๔ แม้ใน

สูตรนี้ ก็ตรัสเฉพาะพระขีณาสพเท่านั้น.

จบอรรถกถาจาตุทิสสูตรที่ ๙

๑๐. อรัญญสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด

[๑๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ควรเพื่อเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าชัฏ ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวม

ในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมี

ประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่ง

สุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด

ด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามใน

ที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์

สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรม

ทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม

ทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 249

อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ๑ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง

เองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล ควรเพื่อเสพอาศัยเสนาสนะที่สงัด คือ ป่าและป่าชัฏ.

จบอรัญญสูตรที่ ๑๐

จบผาสุวิหารวรรคที่ ๑

อรรถกถาอรัญญสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอรัญญสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อล แปลว่า ควร. แม้ในสูตรนี้ก็ตรัสเฉพาะพระขีณาสพ

เท่านั้นแล.

จบอรรถกถาอรัญญสูตรที่ ๑๐

จบผาสุวิหารวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เวสารัชชกรณสูตร ๒. สังกิตสูตร ๓. โจรสูตร ๔. สุขุมาล-

สูตร ๕. ผาสุวิหารสูตร ๖. อานันทสูตร ๗. สีลสูตร ๘. อเสขิยสูตร

๙. จาตุทิสสูตร ๑๐. อรัญญสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 250

อันธกวินทวรรคที่ ๒

๑. กุลุปกสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เป็นที่เคารพและไม่เคารพในสกุล

[๑๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าสู่สกุลประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่

สรรเสริญในสกุล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้วิสาสะกับผู้ไม่คุ้นเคย ๑

เป็นผู้บงการต่าง ๆ ทั้งที่ตนไม่เป็นใหญ่ในสกุล ๑ เป็นผู้คบหาผู้ไม่ถูกกับ

เขา ๑ เป็นผู้พูดกระซิบที่หู ๑ เป็นผู้ขอมากเกินไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้เข้าสู่สกุลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น

ที่พอใจ ไม่เป็นที่เคารพ และไม่เป็นที่สรรเสริญในสกุล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าสู่สกุลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ เป็นที่สรรเสริญในสกุล ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน คือ ไม่เป็นผู้วิสาสะกับผู้ไม่คุ้นเคย ๑ ไม่เป็นผู้บงการต่าง ๆ

ทั้งที่ตนไม่เป็นใหญ่ในสกุล ๑ ไม่เป็นผู้คบหาผู้ไม่ถูกกับเขา ๑ ไม่เป็นผู้พูด

กระซิบที่หู ๑ ไม่เป็นผู้ขอมากเกินไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เข้าสู่

สกุลประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่

เคารพและเป็นสรรเสริญในสกุล.

จบกุลุปกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 251

อันธกวินทวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถากุลุปกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุลูปสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสนฺถววิสฺสาสี ความว่า แสดงความคุ้นเคยในคนที่ไม่

สนิทสนมกับตน คือไม่สนิทสนมคุ้นเคยกันนั่นเอง. บทว่า อนิสฺสรวิกปฺปี

ความว่า มิได้เป็นใหญ่เลย แต่ทำเป็นผู้ใหญ่โดยสั่งว่า พวกท่านจงให้สิ่งนี้

จงรับสิ่งนี้. บทว่า พฺยตฺถุปเสวี ความว่า เข้าไปคบตระกูลที่แตกกัน

ไม่หวังดีต่อกัน เพื่อเสียดสี. บทว่า อุปกณฺณกชปฺปี ความว่า รับมนต์ที่

ใกล้หู (กระซิบ). ธรรมฝ่ายขาว พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถากุลุปกสูตรที่ ๑

๒. ปัจฉาสมณสูตร

ว่าด้วยธรรมของผู้ควรและไม่ควรเป็นปัจฉาสมณะ

[๑๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ไม่ควรพาไปเป็นปัจฉาสมณะ [ผู้ติดตาม] ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะย่อมเดินไปห่างนัก หรือใกล้นัก ๑ ย่อมไม่รับบาตร

ที่ควรรับ ๑ ย่อมไม่ห้ามเมื่อพูดใกล้อาบัติ ๑ ย่อมพูดสอดขึ้นเมื่อกำลังพูดอยู่ ๑

เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่ เขลา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรพาไปเป็นปัจฉาสมณะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 252

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ จึงควร

พาไปเป็นปัจฉาสมณะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้เป็นปัจฉาสมณะ

ย่อมเดินไปไม่ห่างนัก ไม่ใกล้นัก ๑ ย่อมรับบาตรที่ควรรับ ๑ ย่อมห้ามเมื่อ

พูดใกล้อาบัติ ๑ ย่อมไม่พูดสอดขึ้นเมื่อกำลังพูดอยู่ ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่

ไม่เขลา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

ควรพาไปเป็นปัจฉาสมณะ.

จบปัจฉาสมณสูตรที่ ๒

อรรถกถาปัจฉาสมณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัจฉาสมณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปตฺตปริยาปนฺน น คณฺหาติ ความว่า เมื่ออุปัชฌาย์

หันกลับมายืนอยู่ จะถวายบาตรเปล่าของตนแล้วรับบาตรของท่านก็หาไม่ หรือ

ไม่รับถือบาตรอุปัชฌาย์. บทว่า น นิวาเรติ ความว่า ไม่รู้ว่า คำนี้เป็นคำล่วง

อาบัติ ถึงรู้ ก็มิได้ห้ามว่า ท่านขอรับ ควรจะกล่าวคำอย่างนี้. บทว่า กถ

โอปาเตติ ความว่า ตัดคำของท่าน สอดคำของตน. บทว่า ชโฬ แปลว่า

เป็นคนเขลา. บทว่า เอฬมูโค ได้แก่ เป็นใบ้น้ำลายไหล.

จบอรรถกถาปัจฉาสมณสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 253

๓. สมาธิสูตร

ว่าด้วยธรรมของผู้ไม่ควรและผู้ควรบรรลุสัมมาสมาธิ

[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมไม่ควรเพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่อดทนต่อรูปารมณ์ ๑ ไม่อดทนต่อสัททารมณ์ ๑ ไม่

อดทนต่อคันธารมณ์ ๑ ไม่อดทนต่อรสารมณ์ ๑ ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่ควร

เพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมควร

เพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อดทนต่อรูปารมณ์ อดทนต่อสัททารมณ์ อดทนต่อคันธารมณ์ ๑ อดทน

ต่อรสารมณ์ ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมควรเพื่อบรรลุสัมมาสมาธิ.

จบสมาธิสูตรที่ ๓

๔. อันธกวินทสูตร

ว่าด้วยธรรมของภิกษุใหม่ ๕ ประการ

[๑๑ ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อันธกวินทวิหาร

ในแคว้นมคธ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 254

ภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ พวกภิกษุใหม่ บวช

ไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ใหม่ ๆ เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้

ประดิษฐานอยู่ในธรรม ๕ ประการ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้

ประดิษฐานอยู่ในปาติโมกขสังวรดังนี้ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็น

ผู้มีศีล จงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกขสังวร จงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระและ

โคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลาย ๑.

ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้

ประดิษฐานอยู่ในอินทรียสังวร ดังนี้ ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้

คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จงเป็นผู้มีสติเครื่องรักษาทวาร รักษาตน

มีใจที่รักษาดีแล้ว ประกอบด้วยจิตมีสติเป็นเครื่องรักษา ๑.

ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้

ประดิษฐานอยู่ในการทำที่สุดแห่งคำพูด ดังนี้ ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา

จงเป็นผู้มีคำพูดน้อย จงเป็นผู้ทำที่สุดแห่งคำพูด [อย่าพูดมาก] ๑.

ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้

ประดิษฐานอยู่ในการทำความสงบแห่งกาย ดังนี้ ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา

จงเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จงเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและ

ป่าเปลี่ยว ๑.

ภิกษุใหม่เหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมน ให้

ประดิษฐานอยู่ในความเห็นชอบ ดังนี้ ว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงมา จงเป็นผู้

มีสัมมาทิฏฐิ ประกอบด้วยสัมมาทัสสนะ ๑.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 255

ดูก่อนอานนท์ พวกภิกษุใหม่ บวชไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ใหม่ ๆ

เธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในธรรม ๕ ประการ

แล.

จบอันธกวินทสูตรที่ ๔

อรรถกถาอันธกวินทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอันธกวินทสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สีลวา โหถ ความว่า จงเป็นผู้มีศีล. บทว่า อารกฺขสติโน

ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษา. บทว่า นิปกสติโน ความว่า

มีสติประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องรักษานั่นแหละ. บทว่า สตารกฺเขน เจตสา

สมนฺนาคตา ความว่า ประกอบด้วยจิตที่มีเครื่องรักษาคือสติ. บทว่า อปฺป-

ภสฺสา แปลว่า พูดแต่น้อย. บทว่า สมฺมาทิฏฺิกา ความว่า ประกอบ

ด้วยสัมมาทิฏฐิ ๕ อย่าง คือ กัมมัสสกตา ๑ ฌาน ๑ วิปัสสนา ๑

มรรค ๑ ผล ๑. อีกอย่างหนึ่ง แม้ปัจจเวกขณญาณ ก็พึงทราบว่า เป็น

สัมมาทิฏฐิเหมือนกัน.

จบอรรถกถาอันธกวินทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 256

๕. มัจฉริยสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้ภิกษุณีเหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์

[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีเป็นผู้

ตระหนี่ที่อยู่ ๑ ตระหนี่สกุล ๑ ตระหนี่ลาภ ๑ ตระหนี่วรรณะ ๑ ตระหนี่

ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือน

เชิญมาอยู่ในสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีย่อมไม่เป็นผู้

ตระหนี่ทีอยู่ ๑ ไม่ตระหนี่สกุล ๑ ไม่ตระหนี่ลาภ ๑ ไม่ตระหนี่วรรณะ ๑

ไม่ตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

นี้แล เหมือนเชิญมาอยู่ในสวรรค์.

จบมัจฉริยสูตรที่ ๕

อรรถกถามัจฉริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมัจฉริยสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาวาสมจฺฉรินี ความว่า ย่อมตระหนี่อาวาส คือ เห็นผู้อื่น

อยู่ในอาวาสนั้น ทนไม่ได้. บทว่า กุลมจฺฉรินี ความว่า ย่อมตระหนี่ตระกูล

อุปัฏฐาก คือ เห็นผู้อื่นเข้าไปหาตระกูลนั้น ทนไม่ได้. บทว่า ลาภมจฺฉรินี

ความว่า ย่อมตระหนี่ลาภ คือ เห็นลาภเกิดแก่ผู้อื่น ทนไม่ได้. บทว่า วณฺณ-

มจฺฉรินี ความว่า ย่อมตระหนี่คุณความดี คือ เห็นเขากล่าวคุณความดีของ

ผู้อื่น ทนไม่ได้. บทว่า ธมฺมมจฺฉรินี ความว่า ย่อมตระหนี่ปริยัติธรรม คือ

ไม่ปรารถนาจะให้แก่ผู้อื่น.

จบอรรถกถามัจฉริยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 257

๖. วรรณนาสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้ภิกษุณีเหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์

[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีไม่ใคร่ครวญ

ให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ไม่ควรสรรเสริญ ๑ ไม่ใคร่ครวญให้

ตระหนักแน่ก่อนแล้ว ติเตียนผู้ควรสรรเสริญ ๑ ไม่ใคร่ครวญให้ตระหนัก

แน่ก่อนแล้ว เข้าไปกำจัดความเลื่อมใสในฐานะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ

เลื่อมใส ๑ ไม่ใคร่ครวญให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว เข้าไปกำจัดความไม่เลื่อมใส

ในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ทำสัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมา

ไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือน

เชิญมาอยู่ในสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีใคร่ครวญให้

ตระหนักแน่ก่อนแล้ว ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ๑ ใคร่ครวญให้ตระหนักแน่

ก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ ๑ ใคร่ครวญให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว

เข้าไปกำจัดความไม่เลื่อมใสในฐานะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ใคร่-

ครวญให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว เข้าไปกำจัดความเลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้ง

แห่งความเลื่อมใส ๑ ไม่ทำสัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนทั้งหลาย ภิกษุณี

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือนเชิญมาอยู่ในสวรรค์

จบวรรณนาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 258

อรรถกถาวรรณนาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวรรณนาสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สทฺธาเทยฺย วินิปาเตติ ความว่า ไม่ถือเอาของดีจาก

บิณฑบาตที่คนอื่นถวายด้วยศรัทธาก่อนแล้วให้แก่คนอื่น.

จบอรรถกถาวรรณนาสูตรที่ ๖

๗. อิสสาสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์

[๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีไม่

ใคร่ครวญให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ไม่ควรสรรเสริญ ๑ ไม่

ใคร่ครวญให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว ติเตียนผู้ควรสรรเสริญ ๑ เป็นผู้มีความ

ริษยา ๑ เป็นคนตระหนี่ ๑ ทำสัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือน

ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีใคร่ครวญ

ให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ๑ ใคร่ครวญให้ตระหนักแน่

ก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ ๑ ไม่เป็นผู้ริษยา ๑ ไม่ตระหนี่ ๑ ไม่

ทำสัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕

ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์.

จบอิสสาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 259

อรรถกถาอิสสาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอิสสาสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อิสฺสุกินี ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความริษยา.

จบอรรถกถาอิสสาสูตรที่ ๗

๘. ทิฏฐิสูตร*

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์

[๑๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีไม่ใคร่-

ครวญให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ไม่ควรสรรเสริญ ๑ ไม่ใคร่ครวญ

ให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว ติเตียนผู้ควรสรรเสริญ ๑ มีความเห็นผิด ๑ มีความ

ดำริผิด ๑ ทำสัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือน

ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีใคร่ครวญให้

ตระหนักแน่ก่อนแล้ว ติเตียนผู้ควรติเตียน ๑ ใคร่ครวญให้ตระหนักแน่ก่อน

แล้ว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ ๑ มีความเห็นชอบ ๑ มีความดำริชอบ ๑

ไม่ทำสัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์.

จบทิฏฐิสูตรที่ ๘

* สูตรที่ ๘-๙-๑๐ อรรถกถาว่าคำที่เหลือในสูตรทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 260

๙. วาจาสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์

[๑๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีไม่ใคร่-

ครวญให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ไม่ควรสรรเสริญ ๑ ไม่ใคร่ครวญ

ให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว ติเตียนผู้ควรสรรเสริญ ๑ มีวาจาผิด ๑ มีการงาน

ผิด ๑ ทำสัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือน

ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีใคร่ครวญ

ให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว ติเตียนผู้ควรติเตียน ๑ ใคร่ครวญให้ตระหนักแน่

ก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ ๑ มีวาจาชอบ ๑ มีการงานชอบ ๑

ไม่ทำสัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์.

จบวาจาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 261

๑๐. วายามสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์

[๑๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีไม่ใคร่ครวญ

ให้ตระหนักแน่ก่อนแล้ว สรรเสริญผู้ไม่ควรสรรเสริญ ๑ ไม่ใคร่ครวญให้

ตระหนักแน่ก่อนแล้ว ติเตียนผู้ควรสรรเสริญ ๑ มีความพยายามผิด ๑

ระลึกผิด ๑ ทำสัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือน

ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีใคร่ครวญให้

ตระหนักแน่ก่อนแล้ว ติเตียนผู้ควรติเตียน ๑ ใคร่ครวญให้ตระหนักแน่ก่อน

แล้ว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ ๑ มีความพยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑

ไม่ทำศัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์.

จบวายามสูตรที่ ๑๐

จบอันธกวินทวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุลุปกสูตร ๒. ปัจฉาสมณสูตร ๓. สมาธิสูตร ๔. อันธกวินท-

สูตร ๕. มัจฉริยสูตร ๖. วรรณนาสูตร ๗. อิสสาสูตร ๘. ทิฏฐิสูตร

๙. วาจาสูตร ๑๐. วายามสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 262

คิลานวรรคที่ ๓

๑. คิลานสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมสำหรับภิกษุผู้อาพาธ

[๑๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่า

มหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่หลีกเร้นใน

เวลาเย็น เสด็จเข้าไปที่ศาลาภิกษุไข้ ได้ทรงเห็นภิกษุรูปหนึ่งที่ทุรพล เป็นไข้

แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาตกแต่งไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปที่ทุรพล เป็นไข้

เธอนั้นพึงหวังผลนี้ คือ จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑ มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลใน

อาหาร ๑ มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑ พิจารณาเห็นว่าไม่

เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ มีมรณสัญญาปรากฏขึ้นด้วยดี ณ ภายใน ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปที่ทุรพล เป็นไข้

เธอนั้นพึงหวังผลนี้ คือ จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทิ้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย.

จบคิลานสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 263

๒. สติปัฏฐานสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้บรรลุอริยผลในปัจจุบัน

[๑๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ย่อม

เจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการ เธอพึงหวังได้ผล ๒ อย่าง อย่างใด

อย่างหนึ่ง คืออรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ ก็เป็น

พระอนาคามี ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี

สติอันเข้าไปตั้งไว้ด้วยดีเฉพาะตน เพื่อปัญญาอันให้หยั่งถึงความตั้งขึ้นและดับ

ไปแห่งธรรมทั้งหลาย ๑ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑ มีความสำคัญ

ว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑ มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑

พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือ

ภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมเจริญทำให้มากซึ่งธรรม ๕ ประการนี้แล เธอพึง

หวังได้ผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อ

ยังมีความยึดถือเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี.

จบสติปัฏฐานสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 264

๓. ปฐมอุปัฏฐากสูตร

ว่าด้วยธรรมของภิกษุไข้ที่ทำให้พยาบาลและง่าย

[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นผู้พยาบาลยาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุไข้ย่อมไม่ทำ

ความสบาย ๑ ไม่รู้จักประมาณในสิ่งสบาย ๑ ไม่ฉันยา ๑ ไม่บอกอาพาธที่

มีอยู่ตามความเป็นจริง แก่ผู้พยาบาลที่ปรารถนาประโยชน์ เช่นไม่บอกอาพาธ

ที่กำเริบว่ากำเริบ ไม่บอกอาพาธที่ทุเลาว่าทุเลา ไม่บอกอาพาธที่ทรงอยู่ว่า

ยังทรงอยู่ ๑ ไม่อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดมีในร่างกายอันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน

ไม่เป็นที่พอใจสามารถปลิดชีพให้ดับสูญ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้พยาบาลยาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

เป็นผู้พยาบาลง่าย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุไข้ย่อมทำความ

สบาย ๑ รู้จักประมาณในสิ่งสบาย ๑ ฉันยา ๑ บอกอาพาธตามความเป็นจริงแก่

ผู้พยาบาลที่ปรารถนาประโยชน์ เช่นบอกอาพาธที่กำเริบว่ากำเริบ บอกอาพาธ

ที่ทุเลาว่าทุเลา บอกอาพาธที่ทรงอยู่ว่ายังทรงอยู่ ๑ เป็นผู้อดทนต่อทุกขเวทนา

ที่เกิดมีในร่างกายอันกล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่พอใจ สามารถปลิดชีพให้

ดับสูญ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

ย่อมเป็นผู้พยาบาลง่าย.

จบปฐมอุปัฏฐานสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 265

๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร

ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรและไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้

[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเป็นผู้พยาบาลภิกษุไข้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

คือ ภิกษุผู้พยาบาลเป็นผู้ไม่สามารถเพื่อจัดยา ๑ ไม่ทราบสิ่งสบายและไม่สบาย

นำสิ่งไม่สบายเข้าไปให้ นำสิ่งสบายออกไป ๑ เป็นผู้เพ่งอามิสพยาบาล

ไม่เป็นผู้มีเมตตาจิตพยาบาล ๑ เป็นผู้มักรังเกียจเพื่อนำออกซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ

อาเจียน หรือน้ำลาย ๑ ไม่สามารถจะชี้แจงภิกษุไข้ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาโดยกาลอันสมควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรเป็นผู้พยาบาล

ภิกษุไข้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ ควรเป็นผู้พยาบาลภิกษุไข้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ

ผู้พยาบาลย่อมเป็นผู้สามารถเพื่อจัดยา ๑ ทราบสิ่งสบายและไม่สบาย นำสิ่ง

ไม่สบายออกไป นำสิ่งสบายเข้ามาให้ ๑ เป็นผู้มีเมตตาจิตพยาบาล ไม่เป็น

ผู้เพ่งอามิสพยาบาล ๑ ไม่รังเกียจเพื่อนำออกซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน

หรือน้ำลาย ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อชี้แจงภิกษุไข้ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง

ด้วยธรรมมีกถาโดยกาลอันสมควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาล

ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้พยาบาลภิกษุไข้.

จบทุติยอุปัฏฐากสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 266

คิลานวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาทุติยอุปัฏฐากสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอุปัฏฐากสูตรที่ ๔ แห่งวรรค ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น ปฏิพโล ได้แก่ ไม่ประกอบด้วยกำลังกายและกำลังญาณ.

บทว่า อามิสนฺตโร ได้แก่ เป็นผู้เห็นแก่อามิส คือหวังปัจจัยมีจีวรเป็นต้น.

จบอรรถกถาทุติยอุปัฏฐากสูตรที่ ๔

๕. ปฐมอนายุสสสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้อายุสั้น และอายุยืน

[๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุสั้น

๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลไม่เป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑ ไม่รู้จัก

ประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๑ เป็นผู้เที่ยวในกาลไม่

สมควร ๑ ไม่ประพฤติประเสริฐ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕

ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน ๕

ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑ รู้จัก

ประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑ เป็นผู้เที่ยวในกาล

สมควร ๑ เป็นผู้ประพฤติประเสริฐ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม

๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน.

จบปฐมอนายุสสสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 267

อรรถกถาปฐมอนายุสสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอนายุสสสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนายุสฺสา ได้แก่ เข้าไปตัดอายุ คือไม่ทำให้อายุยืน.

จบอรรถกถาปฐมอนายุสสสูตรที่ ๕

๖. ทุติยอนายุสสสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้อายุสั้น และอายุยืน

[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุ

สั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่กระทำความสบายแก่ตนเอง ๑

ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๑ เป็นคนทุศีล ๑

มีมิตรเลวทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุ

ให้อายุสั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน ๕

ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมเป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑ รู้จัก

ประมาณในสิ่งที่สบาย ๑ บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ มีมิตร

ดีงาม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน.

จบทุติยอนายุสสสูตรที่ ๖

แม้ในทุติยอนายุสสสูตรที่ ๖ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 268

๗. อวัปปกาสสูตร

ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรและไม่ควรอยู่ผู้เดียว

[๑๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมไม่ควรเพื่อหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ๑ ไม่สันโดษด้วย

บิณฑบาตตามมีตามได้ ๑ ไม่สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ๑ ไม่สันโดษ

ด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ๑ เป็นผู้มากด้วยความดำริในกาม ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมไม่ควร

เพื่อหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมควร

เพื่อหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ๑ สันโดษด้วยบิณฑบาต

ตามมีตามได้ ๑ สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ๑ สันโดษด้วยคิลาน-

ปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ๑ ย่อมเป็นผู้มากด้วยความดำริในการออกจาก

กาม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

ย่อมควรเพื่อหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว.

จบอวัปปกาสสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 269

อรรถกถาอวัปปกาสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอวัปปกาสสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นาล สฆมฺหาวปกาสิตุ ความว่า ไม่ควรหลีกออกไป

จากหมู่อยู่ผู้เดียว แต่ที่จริง เธอก็ไม่ควรอยู่แม้ในท่ามกลางหมู่เหมือนกัน

ถึงกระนั้นก็ไม่ควรหลีกออกจากหมู่โดยตรง เพราะไม่เป็นการทำหมู่ให้งาม

เพราะเนื่องด้วยโอวาทานุสาสนี. บทว่า อล สฆมฺหาวปกาสิตุ ความว่า

จะหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียวเท่านั้น โดยอยู่ในทิศทั้ง ๔ ก็ควร และจะอยู่

แม้ในหมู่ ก็ควรเหมือนกัน เพราะทำหมู่ให้งาม.

จบอรรถกถาอวัปปกาสสูตรที่ ๗

๘. สมณทุกขสูตร*

ว่าด้วยทุกข์และสุขของสมณะ ๕ ประการ

[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของสมณะมี ๕ ประการ ๕

ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่สันโดษด้วยจีวรตามมี

ตามได้ ๑ ไม่สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ๑ ไม่สันโดษด้วยเสนาสนะ

ตามมีตามได้ ๑ ไม่สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ๑ ไม่ยินดี

ประพฤติพรหมจรรย์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของสมณะ ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขของสมณะ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ๑ เป็นผู้สันโดษ

ด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ๑ เป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ๑

เป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ๑ ยินดีประพฤติพรหม-

จรรย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขของสมณะ ๕ ประการนี้แล.

จบสมณทุกขสูตรที่ ๘

* สูตรที่ ๘ อรรถกถาว่ามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 270

๙. ปริกุปปสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้ต้องไปอบายแก้ไขไม่ได้ ๕ จำพวก

[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ เป็นผู้ต้องไป

อบาย ต้องไปนรก เดือดร้อน แก้ไขไม่ได้ ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคล

ผู้ฆ่ามารดา ๑ ผู้ฆ่าบิดา ๑ ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ๑ ผู้มีจิตประทุษร้ายทำ

โลหิตของพระตถาคตให้ข้อ ๑ ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้แล เป็นผู้ต้องไปอบาย ต้องไปนรก เดือดร้อน

แก้ไขไม่ได้.

จบปริกุปปสูตรที่ ๙

อรรถกถาปริกุปปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปริกุปปสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาปายิกา ได้แก่ เป็นคนต้องไปอบาย. บทว่า เนรยิกา

ได้แก่ ต้องไปนรก. บทว่า ปริกุปฺปา ได้แก่ มีสภาวะกำเริบร้าย เหมือน

แผลเก่า. บทว่า อเตกิจฺฉา ได้แก่ ใคร ๆ จะทำให้กลับคืนไม่ได้.

จบอรรถกถาปริกุปปสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 271

๑๐. สัมปทาสูตร*

ว่าด้วยความเสื่อม ๕ และสมบัติ ๕

[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อม ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ความเสื่อมญาติ ๑ ความเสื่อมเพราะโภคะ ๑ ความเสื่อม

เพราะโรค ๑ ความเสื่อมศีล ๑ ความเสื่อมทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไปแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

เพราะเหตุแห่งความเสื่อมญาติ เพราะเหตุแห่งความเสื่อมโภคะ หรือเพราะ

เหตุแห่งความเสื่อมเพราะโรค (แต่ว่า) สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไปแล้ว ย่อม

เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความเสื่อมศีล หรือเพราะ

เหตุแห่งความเสื่อมทิฏฐิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อม ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

สมบัติ คือญาติ ๑ สมบัติคือโภคะ ๑ สมบัติคือความไม่มีโรค ๑ สมบัติคือ

ศีล ๑ สมบัติคือทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไปแล้ว

ย่อมไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติคือญาติ เพราะเหตุแห่ง

สมบัติคือโภคะ หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติคือความไม่มีโรค (แต่ว่า) สัตว์

ทั้งหลาย เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติคือ

ศีล หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติคือทิฏฐิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๕ ประการ

นี้แล.

จบสัมปทาสูตรที่ ๑๐

จบคิลานวรรคที่ ๓

* อรรถกถาว่า มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 272

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. คิลานสูตร ๒. สติปัฏฐานสูตร ๓. ปฐมอุปัฏฐากสูตร

๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร ๕. ปฐมอนายุสสสูตร ๖. ทุติยอนายุสสสูตร

๗. อวัปปกาสสูตร ๘. สมณทุกขสูตร ๙. ปริกุปปสูตร ๑๐. สัมปทาสูตร

และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 273

ราชวรรคที่ ๔

๑. จักกสูตร

ว่าด้วยองค์คุณของพระพุทธเจ้าและพระเจ้าจักรพรรดิ

[๑๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยองค์

๕ ประการ ย่อมทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรมทีเดียว จักรนั้นย่อมเป็นจักร

อันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใด ๆ จะต้านทานมิได้ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ เป็นผู้ทรงรู้ผล ๑ ทรงรู้เหตุ ๑ ทรงรู้ประมาณ

๑ ทรงรู้จักกาล ๑ ทรงรู้จักบริษัท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้า-

จักรพรรดิทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมทรงยังจักรให้เป็นไป

โดยธรรมทีเดียว จักรนั้นย่อมเป็นจักรอันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใด ๆ จะต้านทาน

มิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมทรงยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมให้

เป็นไปโดยธรรมทีเดียว ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์

เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก จะคัดค้านไม่ได้ ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกนี้ ทรงรู้จักผล ๑

ทรงรู้จักเหตุ ๑ ทรงรู้จักประมาณ ๑ ทรงรู้จักกาล ๑ ทรงรู้จักบริษัท ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมทรงยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรมทีเดียว

ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ

ใคร ๆ ในโลก จะคัดค้านไม่ได้

จบจักกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 274

ราชวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาจักกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจักกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ โดยกุศลธรรม ๑๐. บทว่า จกฺก ได้แก่

อาณาจักร. บทว่า อตฺถญฺญู ได้แก่ รู้ประโยชน์แห่งราชสมบัติ. บทว่า

ธมฺมญฺญู ได้แก่ รู้ธรรมคือประเพณี. บทว่า มตฺตญฺญู ได้แก่ รู้ประมาณ

ในการลงราชอาชญาหรือในการเก็บภาษีอากร. บทว่า กาลญฺญู ได้แก่ รู้เวลา

เสวยสุขในราชสมบัติ เวลากระทำการวินิจฉัย และเวลาเสด็จจาริกไปในชนบท.

บทว่า ปริสญฺญู ได้แก่ รู้ว่า นี้ชุมนุมกษัตริย์ นี้ชุมนุมพราหมณ์ นี้ชุมนุม

แพศย์ นี้ชุมนุมศูทร นี้ชุมนุมสมณะ.

ในตถาคตวาร พึงทราบเนื้อความดังนี้. บทว่า อตฺถญฺญู ได้แก่

รู้อรรถ ๕. บทว่า ธมฺมญฺญู ได้แก่ รู้ธรรม ๔. บทว่า มตฺตญฺญู ได้แก่

รู้ประมาณในการรับและบริโภคปัจจัย ๔. บทว่า กาลญญู ได้แก่ รู้กาล

อย่างนี้ว่า นี้เวลาหลีกเร้น นี้เวลาเข้าสมาบัติ นี้เวลาแสดงธรรม นี้เวลาจาริก

ไปในชนบท. บทว่า ปริสญฺญู ได้แก่ รู้ว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ฯลฯ นี้บริษัท-

สมณะ. บทว่า อนุตฺตร ได้แก่ ยอดเยี่ยมโดยโลกุตรธรรม ๙. บทว่า

ธมฺมจกฺก ได้แก่ จักรอันประเสริฐที่สุด.

จบอรรถกถาจักกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 275

๒. อนุวัตตนสูตร

ว่าด้วยองค์คุณของพระสารีบุตรและโอรสพระเจ้าจักรพรรดิ

[๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้า-

จักรพรรดิทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมทรงยังจักรที่พระราชบิดา

ทรงให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยธรรมทีเดียว จักรนั้นย่อมเป็นจักรอัน

มนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใด ๆ จะต้านทานมิได้ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงรู้จักผล ๑ ทรงรู้จักเหตุ ๑

ทรงรู้จักประมาณ ๑ ทรงรู้จักกาล ๑ ทรงรู้จักบริษัท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ

นี้แล ย่อมทรงยังจักรที่พระราชบิดาทรงให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามโดยธรรม

ทีเดียว จักรนั้นย่อมเป็นจักรอันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใด ๆ จะต้านทานมิได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็น

ไปตามโดยชอบเทียว ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา

มาร พรหม หรือใครในโลก จะคัดค้านไม่ได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

คือ พระสารีบุตรในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักผล ๑ รู้จักเหตุ ๑ รู้จักประมาณ ๑

รู้จักกาล ๑ รู้จักบริษัท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมยังธรรมจักรชั้นเยี่ยม ที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว

ให้เป็นไปตามโดยชอบเทียว ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์

เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก จะคัดค้านไม่ได้.

จบอนุวัตตนสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 276

อรรถกถาอนุวัตตนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนุวัตตนสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปิตรา ปวตฺติต จกฺก ความว่า เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิผนวช

หรือสิ้นพระชนม์ลง จักรรัตนะตั้งอยู่เพียง ๗ วันก็อันตรธานไป. ถามว่า

พระเชษฐโอรสจะหาจักรมาหมุนตามเสด็จได้อย่างไร. แก้ว่า พระเชษฐโอรส

นั้นทรงตั้งอยู่ในประเพณีของพระบิดา บำเพ็ญจักรพรรดิวัตรให้สมบูรณ์

ครอบครองจักรพรรดิราชัยไว้ได้ ก็ชื่อว่าทรงหมุนตามจักรที่พระบิดาให้หมุน

ไปแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาอนุวัตตนสูตรที่ ๒

๓. ราชสูตร

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าและพระเจ้าจักรพรรดิเคารพธรรม

[๑๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้า

จักรพรรดิพระองค์ใดแลผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรน เป็นพระธรรมราชา พระเจ้า

จักรพรรดิแม้พระองค์นั้น ย่อมไม่ทรงยังจักรให้เป็นไป ณ ประเทศที่ไม่มี

พระราชา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ใครเป็นพระราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงดำรงอยู่

ในธรรม เป็นพระธรรมราชา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ธรรมซิ ภิกษุ

แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุ พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 277

เป็นพระธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัยธรรมนั่นแหละ ทรงสักการะ เคารพ

นอบน้อมธรรม ทรงมีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่

ย่อมทรงจัดแจงการรักษา ป้องกัน คุ้มครองที่เป็นธรรมในชนภายใน

อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็น

พระธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ย่อมทรงจัดแจงการรักษา ป้องกัน

คุ้มครองที่เป็นธรรม ในกษัตริย์เหล่าอนุยนต์ [พระราชวงศานุวงศ์] ใน

หมู่ทหาร พราหมณ์ คฤหบดี ชาวนิคมชนบท สมณพราหมณ์ เนื้อ

และนกทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา

พระองค์นั้น ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดแจงการรักษา ป้องกัน คุ้มครอง

ที่เป็นธรรมในชนภายใน ในกษัตริย์เหล่าอนุยนต์ ในหมู่ทหาร พราหมณ์

คฤหบดี ชาวนิคมชนบท สมณพราหมณ์ เนื้อ และนกทั้งหลายแล้ว ย่อม

ทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรมเทียว จักรนั้นย่อมเป็นจักรอันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึก

ใด ๆ จะต้านทานมิได้ ดูก่อนภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา ทรงอาศัย

ธรรมนั่นแหละ ทรงสักการะ เคารพนอบน้อมธรรม ทรงมีธรรมเป็นธง

มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ ย่อมทรงจัดแจงการรักษา ป้องกัน

คุ้มครองที่เป็นธรรมในพวกภิกษุว่า กายกรรมเช่นนี้ควรเสพ กายกรรมเช่นนี้

ไม่ควรเสพ วจีกรรมเช่นนี้ควรเสพ วจีกรรมเช่นนี้ไม่ควรเสพ มโนกรรม

เช่นนี้ควรเสพ มโนกรรมเช่นนี้ไม่ควรเสพ อาชีวะเช่นนี้ควรเสพ อาชีวะ

เช่นนี้ไม่ควรเสพ บ้านนิคมเช่นนี้ควรเสพ บ้านนิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ.

อีกประการหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงดำรง

อยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ย่อมทรงจัดแจงการ

รักษา ป้องกัน คุ้มครองที่เป็นธรรมในพวกภิกษุณี. . .ในพวกอุบาสก. . .

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 278

ในพวกอุบาสิกาว่า กายกรรมเช่นนี้ควรเสพ กายกรรมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ

บ้านนิคมเช่นนี้ควรเสพ บ้านนิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ พระตถาคตอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชาพระองค์นั้น ฯลฯ

มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดแจง การรักษา ป้องกัน คุ้มครองที่เป็นธรรม

ในพวกภิกษุ ในพวกภิกษุณี ในพวกอุบาสกในพวกอุบาสิกาแล้ว ย่อม

ทรงยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรมเทียว ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักร

อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลก จะคัดค้านไม่ได้.

จบราชสูตรที่ ๓

อรรถกถาราชสูตร

ราชสูตรที่ ๓ มีนัยดังกล่าวแล้วในติกนิบาตนั่นแล. แต่ในสูตรนี้

มีต่างกันอยู่ ๒ บทหลังเท่านั้น คือบทที่ว่าควรเสพและไม่ควรเสพ. ใน ๒

บทนั้น สัมมาอาชีวะ ควรเสพ มิจฉาอาชีวะ ไม่ควรเสพ. คามและนิคม

ที่เป็นสัปปายะ ควรเสพ ที่ไม่เป็นสัปปายะ ไม่ควรเสพ.

จบอรรถกถาราชสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 279

๔. ยัสสทิสสูตร

ว่าด้วยองค์คุณของกษัตริย์และของภิกษุ

[๑๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว

ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ จะทรงประทับอยู่ ณ ทิศใด ๆ ก็เหมือนกับ

ประทับอยู่ ณ รัฐของพระองค์เอง องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ พระราชา

ผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ ทรงเป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดา

ทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ

เป็นผู้อันใคร ๆ จะคัดค้านตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติไม่ได้ ๑ ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง

มีพระราชทรัพย์มาก มีพระราชโภคะมาก มีฉางและพระคลังบริบูรณ์ ๑ ทรง

เป็นผู้มีกำลัง ประกอบด้วยจตุรงคินีเสนาผู้เชื่อฟังทำตามรับสั่ง ๑ ทรงมี

ปริณายกเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถ คิดเหตุการณ์ทั้งอดีต อนาคต

และปัจจุบัน ๑ ธรรม ๔ ประการนี้ของพระองค์ ย่อมยังพระยศให้แก่กล้า

พระองค์ทรงประกอบด้วยธรรมที่มีพระยศเป็นที่ ๕ นี้ จะทรงประทับอยู่ ณ

ทิศใด ๆ ก็เหมือนกับประทับอยู่ ณ รัฐของพระองค์เอง ข้อนั้นเพราะเหตุใด

เพราะเหตุว่า ข้อนั้น ย่อมมี สำหรับพระราชาผู้ครองรัฐอย่างนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน จะอยู่ ณ ทิศใด ๆ ก็เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วเทียว ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษา

อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เหมือนพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรง

สมบูรณ์ด้วยพระชาติฉะนั้น ๑ เธอเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ

เหมือนพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงมั่งคั่ง มีพระราชทรัพย์มาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 280

มีพระราชโภคะมาก มีฉางและพระคลังบริบูรณ์ฉะนั้น ๑ เธอเป็นผู้ปรารภ

ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง

มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย เหมือนพระราชาผู้

กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงสมบูรณ์ด้วยกำลังฉะนั้น ๑ เธอเป็นผู้มีปัญญา

คือ ประกอบด้วยปัญญาเครื่องหยั่งเห็นความเกิด และความดับ อันประเสริฐ

ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เหมือนพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธา-

ภิเษกแล้ว ทรงสมบูรณ์ด้วยปริณายก ฉะนั้น ๑ ธรรม ๔ ประการนี้ของเธอ

ย่อมบ่มวิมุตติให้แก่กล้า เธอประกอบด้วยธรรมมีวิมุตติเป็นที่ ๕ นี้ ย่อมอยู่

ณ ทิศใด ๆ ก็เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วเทียว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุ

ว่าข้อนั้น ย่อมมีสำหรับภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนั้น.

จบยัสสทิสสูตรที่ ๔

อรรถกถายัสสทิสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในยัสสทิสสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุภโต ได้แก่ จากทั้ง ๒ ฝ่าย. บทว่า มาติโต จ

ปิติโต จ ความว่า ก็พระราชาพระองค์ใดมีพระมารดาเป็นกษัตริย์ พระ-

มารดาของพระมารดาเป็นกษัตริย์ แม้พระมารดาของพระมารดานั้นก็มีพระ-

มารดาเป็นกษัตริย์ มีพระบิดาเป็นกษัตริย์ พระบิดาของพระบิดาเป็นกษัตริย์

แม้พระบิดาของพระบิดานั้น ก็มีพระบิดาเป็นกษัตริย์ พระราชาพระองค์นั้น

ชื่อว่ามีพระกำเนิดดีจากทั้ง ๒ ฝ่าย คือทั้งฝ่ายพระมารดา ทั้งฝ่ายพระบิดา.

บทว่า สสุทฺธคหณิโก ได้แก่ ประกอบด้วยพระครรภ์ของพระมารดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 281

หมดจดดี. ก็เตโชธาตุซึ่งเกิดแต่กรรม ท่านเรียกว่า คหณี (ครรภ์) ในคำว่า

สมเวปากินิยา คหณิยา (ครรภ์ซึ่งมีวิบากเสมอกัน) นี้. บิดาของบิดาชื่อ

ปิตามหะ ชั้นของปิตามหะ ชื่อปิตามหยุค ในคำว่า ยาว สตฺตมา ปิตามหยุคา

(ถึง ๗ ชั่วปิตามหะ) นี้. ประมาณอายุ ท่านเรียกว่า ยุค. แลคำนี้เป็นเพียง

คำพูดกันเท่านั้น. แต่โดยเนื้อความ ปิตามหะนั่นแหละ เป็นปิตามหยุค

บรรพบุรุษทั้งหมดเลยนั้นขึ้นไป ท่านถือเอาด้วยศัพท์ ปิตามหะทั้งนั้น เป็น

ผู้มีพระครรภ์หมดจดดี ถึง ๗ ชั่วบุรุษอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ท่านแสดงว่า

ไม่ถูกคัดค้าน ไม่ถูกติเตียน เพราะเรื่องพระกำเนิด.

บทว่า อกฺขิตฺโต ความว่า ไม่ถูกคัดค้าน คือ ไม่ถูกเพ่งเล็งว่า

จงนำเขาออกไป ประโยชน์อะไรด้วยผู้นี้. บทว่า อนุปกุฏฺโ ความว่า

ไม่ถูกติเตียน คือไม่เคยถูกด่าหรือนินทา. ถามว่า เพราะเรื่องอะไร. แก้ว่า

เพราะเรื่องพระกำเนิด. อธิบายว่า ด้วยคำเห็นปานนี้ว่า ผู้นี้มีกำเนิดเลว

แม้ด้วยประการฉะนี้. ในบทว่า อทฺโธ เป็นต้น ความว่า คนใดคนหนึ่ง

เป็นผู้มั่งคั่ง เพราะสมบัติซึ่งเป็นของของตน แต่ในที่นี้มิใช่เป็นผู้มั่งคั่ง

อย่างเดียวเท่านั้น เป็นผู้มีทรัพย์มาก อธิบายว่า เป็นผู้ประกอบด้วยทรัพย์มาก

คือนับประมาณไม่ได้. เป็นผู้มีโภคะมาก เพราะพระองค์มีโภคะมาก คือโอฬาร

ด้วยกามคุณ ๕ โกสะ ในคำว่า ปริปุณฺณโกสโกฏฺาคาโร ท่านกล่าว

หมายเอาเรือนคลัง ความว่า มีเรือนคลังบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ที่วางเก็บไว้

และมียุ้งฉางบริบูรณ์ด้วยข้าวเปลือก. อีกอย่างหนึ่ง โกสะมี ๔ อย่าง คือ

ทัพช้าง ทัพม้า ทัพรถ ทัพพลเดินเท้า. โกฏฐาคาร (คลังยุ้งฉาง) มี ๓ อย่าง

คือ คลังทรัพย์ ยุ้งฉางข้าวเปลือก คลังผ้า. พระราชาเป็นผู้มีพระคลังและ

ยุ้งฉางบริบูรณ์ เพราะพระองค์มีพระคลังและยุ้งฉางแม้ทั้งหมดนั้นบริบูรณ์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 282

บทว่า อสฺสวาย ความว่า เมื่อพระราชทานทรัพย์แม้มากแก่ใคร ๆ

เสนาไม่เชื่อฟัง เสนานั้นชื่อว่า เป็นผู้ไม่เชื่อฟัง แม้จะมิได้พระราชทาน

แก่ใคร ๆ เสนาก็เชื่อฟัง เสนานี้ชื่อว่าเป็นผู้เชื่อฟัง. บทว่า โอวาทปฏิการาย

ความว่า ผู้กระทำตามพระโอวาทที่พระราชทานว่า ท่านทั้งหลายพึงทำสิ่งนี้

ไม่พึงทำสิ่งนี้. บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต.

บทว่า พฺยตฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยความเป็นผู้ฉลาดคือปัญญา. บทว่า

เมธาวี ได้แก่ ประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้เกิดตำแหน่ง. บทว่า ปฏิพโล

ได้แก่ สามารถ. บทว่า อตฺเถ จินฺเตตุ ได้แก่ เพื่อคิดเอาประโยชน์คือ

ความเจริญ. ความจริง พระราชานั้นทรงดำริโดยอิงประโยชน์ปัจจุบันนั่นแหละ

ว่า แม้ในอดีตก็ได้มีแล้วอย่างนี้ ถึงในอนาคตก็จักมีอย่างนี้. บทว่า วิชิตาวีน

ได้แก่ ผู้มีชัยชนะที่ทรงชนะวิเศษแล้ว หรือทรงประกอบด้วยชัยชนะอันยิ่งใหญ่.

บทว่า วิมุตฺตจิตฺตาน ได้แก่ ผู้มีใจหลุดพ้นด้วยวิมุตติ ๕.

จบอรรถกถายัสสทิสสูตรที่ ๔

๕. ปฐมปัตถนาสูตร

ว่าด้วยองค์คุณของพระราชโอรสองค์ใหญ่และภิกษุ

[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา

ผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมทรง

ปรารถนาราชสมบัติ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่

ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ ย่อมทรงเป็นอุภโตสุชาติ

ทั้งฝ่ายพระมารดาทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 283

๗ ชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้อันใคร ๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติ

ไม่ได้ ๑ ทรงมีพระรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณ

ผุดผ่องดียิ่ง ๑ ทรงเป็นที่รักเป็นที่พอพระทัยแห่งพระมารดาพระบิดา ๑

ทรงเป็นที่รักเป็นที่พอใจแห่งชาวนิคมชนบท ๑ ทรงศึกษาสำเร็จดีแล้วใน

ศิลปศาสตร์แห่งพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว เช่นในศิลปศาสตร์ใน

เพราะช้าง ม้า รถ หรือธนู ๑ พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้นย่อมทรงดำริ

อย่างนี้ว่า เราแลเป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดาทั้งฝ่ายพระบิดามีพระครรภ์

เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้อันใคร ๆ จะคัดค้าน

ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติไม่ได้ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า

เราแลเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง

ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า เราแลเป็นที่รักเป็นที่พอพระทัยแห่ง

พระมารดาและพระบิดา ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า เราแลเป็น

ที่รักเป็นที่พอใจแห่งชาวนิคมชนบท ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า

เราแลเป็นผู้ได้ศึกษาสำเร็จดีแล้วในศิลปศาสตร์ แห่งพระราชาผู้กษัตริย์ ได้

มูรธาภิเษกแล้ว เช่นในศิลปศาสตร์ในเพราะช้าง ม้า รถ หรือธนู ไฉน

เราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรส

องค์ใหญ่ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๕

ประการนี้แล ย่อมทรงปรารถนาราชสมบัติ ฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

ปรารถนาความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญา เครื่องตรัสรู้ของตถาคต

ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบาน

แล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 284

ไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง

ควรแก่การบำเพ็ญเพียร ๑ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตาม

เป็นจริงในพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้แจ้ง ๑ เป็นผู้ปรารภความ

เพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง

มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ๑ เป็นผู้มีปัญญา คือ

ประกอบด้วยปัญญาเครื่องหยั่งเห็นความเกิดและความดับ อันประเสริฐ ชำแรก

กิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ๑ เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มี

ศรัทธา เชื่อต่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ไฉนเราจะไม่พึง

ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ประกอบ

ด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง

ควรแก่การบำเพ็ญเพียร ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแล

เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงในพระศาสดาหรือเพื่อน

พรหมจรรย์ผู้รู้แจ้ง ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็น

ผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง

มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนา

ความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง

หยั่งเห็นความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์

โดยชอบ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะ.

จบปฐมปัตถนาสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 285

อรรถกถาปฐมปัตถนาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปัตถนาสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เนคมชานปทสฺส ได้แก่ ของชนผู้อยู่ในนิคมและผู้อยู่ใน

แว่นแคว้น. ด้วยบทว่า หตฺถิสฺมี เป็นต้น ทรงแสดงศิลปะสำคัญ ๑๖

ประการ มีศิลปะเกี่ยวกับช้าง ม้า รถ ธนู จารึก และคำนวณเป็นต้น.

บทว่า อนวโย ได้แก่ สำเร็จ บริบูรณ์. คำที่เหลือในสูตรนี้ พึงทราบ

ตามนัยที่กล่าวแล้วแล.

จบอรรถกถาปฐมปัตถนาสูตรที่ ๕

๖. ทุติยปัตถนาสูตร

ว่าด้วยองค์คุณของพระราชโอรสองค์ใหญ่และภิกษุ

[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชาผู้

กษัตริย์ได้มูรธาภิเษก ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมทรงปรารถนา

เป็นอุปราช องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระ-

ราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ เป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดา

ทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ

อันใคร ๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติไม่ได้ ๑ ทรงมีพระรูปสวย

งาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง ๑ ทรงเป็น

ที่รักเป็นที่พอพระทัยแห่งพระมารดาพระบิดา ๑ ทรงเป็นที่รักที่พอใจแห่งกอง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 286

ทหาร ๑ ทรงเฉียบแหลม ฉลาด มีปัญญา สามารถคิดเหตุการณ์ทั้งอดีต

อนาคต และปัจจุบัน ๑ พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้น ย่อมทรงดำริอย่างนี้ว่า

เราแลเป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดาทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือ

ปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ อันใคร ๆ จะคัดค้าน ตำหนิ

โดยอ้างถึงชาติไม่ได้ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นผู้มี

รูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง ไฉนเราจะ

ไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยแห่งพระ

มารดาพระบิดา ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นที่รักที่พอ

ใจแห่งกองทหาร ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นผู้เฉียบ

แหลม ฉลาด มีปัญญา สามารถคิดเหตุการณ์ทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน

ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรส

องค์ใหญ่ของพระราชาผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ

นี้แล ย่อมทรงปรารถนาเป็นอุปราช ฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

ปรารถนาความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑

เป็นพหูสูต ฯ ล ฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ๑ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว

ในสติปัฏฐานทั้งสี่ ๑ เป็นผู้ปรารถนาความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม ฯลฯ

ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ๑ เป็นผู้มีปัญญา ฯ ล ฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์

โดยชอบ ๑ เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า เราแลเป็นผู้มีศีล ฯ ล ฯ สมาทาน

ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เรา

แลเป็นพหูสูต ฯ ล ฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 287

ความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ไฉน

เราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้ปรารภความเพียร ฯ ล ฯ

ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เรา

แลเป็นผู้มีปัญญา ฯ ล ฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ไฉนเราจะไม่พึง

ปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะ.

จบทุติยปัตถนาสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุติยปัตถนาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปัตถนาสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปรชฺช ได้แก่ความเป็นอุปราช.

จบอรรถกถาทุติยปัตถนาสูตรที่ ๖

๗. อัปปสุปติสูตร

ว่าด้วยคนหลับน้อยตื่นมาก ๕ จำพวก

[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๕ จำพวกนี้ ย่อมหลับน้อยตื่น

มากในราตรี ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ สตรีผู้คิดมุ่งถึงบุรุษ ๑ บุรุษผู้คิดมุ่ง

ถึงสตรี ๑ โจรผู้คิดมุ่งลักทรัพย์ ๑ พระราชาผู้ทรงบำเพ็ญพระราช-

กรณีย์ ๑ ภิกษุผู้คิดมุ่งถึงธรรมที่ปราศจากสังโยชน์ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย คน ๕ จำพวก นี้แล ย่อมหลับน้อยตื่นมากในราตรี.

จบอัปปสุปติสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 288

อรรถกถาอัปปสุปติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัปปสุปติสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุริสาธิปฺปายา ความว่า มีความประสงค์ในบุรุษเกิดขึ้น

ด้วยอำนาจอสัทธรรม คือ พอใจผู้ชาย. บทว่า อาทานาธิปฺปาโย ความว่า

โจรมีความประสงค์จะขะโมยเอาอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราจักขะโมยเอาได้ บัดนี้

ขะโมยไม่ได้. บทว่า วิสญฺโคาธิปฺปาโย ความว่า ภิกษุเป็นผู้มุ่งพระ

นิพพานอย่างนี้ว่า เราจักบรรลุพระนิพพานในบัดนี้.

จบอรรถกถาอัปปสุปติสูตรที่ ๗

๘. ภัตตาหกสูตร

ว่าด้วยองค์ของช้างต้นกินจุและของภิกษุฉันมาก

[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์

๕ ประการ เป็นช้างกินจุ ขวางที่ ขี้มาก เป็นที่เต็มจำนวนนับ ถึงความ

นับว่าเป็นช้างทรง องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์

ไม่อดทนต่อรูป ๑ ไม่อดทนต่อเสียง ๑ ไม่อดทนต่อกลิ่น ๑ ไม่อดทน

ต่อรส ๑ ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา

ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นช้างกินจุ ขวางที่ ขี้มาก เป็นที่

เต็มจำนวนนับ ถึงความนับว่าเป็นช้างทรง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 289

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉัน

นั้นเหมือนกัน เป็นผู้ฉันอาหารจุ ขวางที่ นั่งนอนมาก เป็นที่เต็มจำนวนนับ

ถึงความนับว่าเป็นภิกษุ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรม

วินัยนี้เป็นผู้ไม่อดทนต่อรูป ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียง ๑ เป็นผู้ไม่อดทน

ต่อกลิ่น ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อรส ๑ เป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้

ฉันอาหารจุ ขวางที่ นั่งนอนมาก เป็นที่เต็มจำนวนนับ ถึงความนับว่าเป็นภิกษุ.

จบภัตตาหกสูตรที่ ๘

อรรถกถาภัตตาทกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภัตตาทกสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ภตฺตาทโก ได้แก่ คอยแต่จะกิน อธิบายว่า กินจุ. บทว่า

โอกาสผรโณ ความว่า ชื่อว่า โอกาสผรณะ (ขวางที่) เพราะกินเนื้อที่เบียดช้าง

เชือกอื่นๆ. ชื่อว่า ลัณฑสาธนะ (ถ่ายไม่เป็นที่) เพราะเที่ยวถ่ายคูถเรี่ยราดใน

ที่นั้น ๆ. ชื่อว่า สลากัคคาหี (คอยรับคะแนน) เพราะรับคะแนนในเวลา

นับจำนวนว่า ช้างมีจำนวนเท่านี้. ชื่อว่า ปิฐมัททนะ (ย่ำตั่ง) เพราะเหยียบ

ย่ำเตียงตั่งเมื่อจะนั่งจะนอน. ชื่อว่า สลากัคคาหี (คอยรับคะแนน) เพราะรับ

คะแนนในเวลานับภิกษุ.

จบอรรถกถาภัตตาหกสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 290

๙. อักขมสูตร

ว่าด้วยลักษณะของช้างต้นและของภิกษุ

[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕

ประการ ไม่ควรแก่พระราชา ไม่ควรเป็นช้างทรง ไม่ถึงการนับว่าเป็นพระ

ราชพาหนะ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่

อดทนต่อรูป ๑ ไม่อดทนต่อเสียง ๑ ไม่อดทนต่อกลิ่น ๑ ไม่อดทนต่อ

รส ๑ ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูปอย่าง

ไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว เห็นกองพลช้าง กองพลม้า

กองพลรถ หรือกองพลเดินเท้า ย่อมหยุดนิ่งสะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้า

สนามรบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรูปอย่าง

นี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ช้างของพระ

ราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ได้ยินเสียงกองพลช้าง เสียงกองพลม้า เสียงกองพลรถ

เสียงกองพลเดินเท้า หรือเสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึกย่อมหยุดนิ่ง

สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา

เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อเสียงอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อ

กลิ่นอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ได้กลิ่นมูตรและคูถ

แห่งช้างของพระราชา (ฝ่ายข้าศึก) ที่ใหญ่กว่า ซึ่งเข้าสนามรบทั้งหลาย ย่อม

หยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของ

พระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อกลิ่นอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่

อดทนต่อรสอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ไม่ได้กินอาหาร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 291

เพียงคืนหนึ่ง ๒ คืน ๓ คืน ๘ คืน หรือ ๕ คืน ย่อมหยุดนิ่ง

สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนานรบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายช้างของพระราชา

เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อรสอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไม่อดทนต่อ

โผฏฐัพพะอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสงครามแล้ว ถูกเขายิงด้วยลูก

ศรครั้งหนึ่ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง หรือ ๕ ครั้งเข้าแล้ว ย่อมหยุดนิ่ง

สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้าสนามรบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา

เป็นสัตว์ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ไม่ควรแก่ของคำนับ ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควร

แก่ของทำบุญ ไม่ควรแก่การกระทำอัญชลี ไม่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ

อื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่

อดทนต่อรูป ๑ ไม่อดทนต่อเสียง ๑ ไม่อดทนต่อกลิ่น ๑ ไม่อดทนต่อ

รส ๑ ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปอย่างไร คือ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมกำหนัดในรูปที่ชวนให้กำหนัด

ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรูปอย่าง

นี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฟังเสียง

ด้วยหูแล้ว ย่อมกำหนัดในเสียงที่ชวนให้กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อเสียงอย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่

อดทนต่อกลิ่นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อม

กำหนัดในกลิ่นที่ชวนให้กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อกลิ่นอย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อรส

อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมกำหนัดในรสที่ชวนให้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 292

กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อด

ทนต่อรสอย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้ไม่อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างไร คือ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ถูกโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมกำหนัดในโผฏฐัพพะที่ชวนให้

กำหนัด ไม่สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่อด

ทนต่อโผฏฐัพพะอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕

ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรแก่ของคำนับ ไม่ควรแก่ของต้อนรับ ไม่ควร

แก่ของทำบุญ ไม่ควรแก่การกระทำอัญชลี ไม่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนา

บุญอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ

เป็นช้างควรแก่พระราชา. ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ องค์

๕ ประการเป็นไฉน คือ ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูป ๑ อดทน

ต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูปอย่างไร

คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว เห็นกองพลช้าง กองพลม้า กองพล-

รถ หรือกองพลเดินเท้า ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนาม

รบได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อรูปอย่างนี้แล

ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่

สงครามแล้ว ได้ยินเสียงกองพลช้าง เสียงกองพลม้า เสียงกองพลรถ เสียง

กองพลเดินเท้า หรือเสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึกที่กระหึม ย่อม

ไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ช้างของพระราชาอดทนต่อเสียงอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทน

ต่อกลิ่นอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสงครามแล้ว ได้กลิ่นมูตรและคูถ

แห่งช้างของพระราชา (ฝ่ายข้าศึก) ที่ใหญ่กว่า ซึ่งเข้าสนามรบทั้งหลาย ย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 293

ไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนต่อกลิ่นอย่างนี้แล ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์

อดทนต่อรสอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสู่สงครามแล้ว ไม่ได้กินอาหาร

แม้เพียงคืนหนึ่ง ๒ คืน ๓ คืน ๔ คืน ๕ คืน ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทก

สะท้าน สามารถเข้าสนามรบได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาอดทน

ต่อโผฏฐัพพะอย่างไร คือ ช้างของพระราชาเข้าสงครามแล้ว ถูกเขายิงด้วยลูก

ศรครั้งหนึ่ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง ย่อมไม่หยุดนิ่ง ไม่สะทกสะท้าน

สามารถเข้าสนามรบได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทน

ต่อโผฏฐัพพะอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วย

องค์ ๕ ประการนี้แล เป็นช้างควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับ

ว่าเป็นพระราชพาหนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉัน

นั้นเหมือนกัน เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ

ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทนต่อรูป ๑ อดทน

ต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูปอย่างไร คือ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรูปที่ชวนให้กำหนัด

สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรูปอย่างนี้

แล ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียงอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ฟังเสียงด้วย

หูแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในเสียงที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อเสียงอย่างนี้แล ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อ

กลิ่นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ย่อมไม่กำหนัด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 294

ในกลิ่นที่ชวนให้กำหนัด สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

เป็นผู้อดทนต่อกลิ่นอย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้อดทนต่อรสอย่างไร คือ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในรสที่ชวนให้กำหนัด

สามารถตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อรสอย่างนี้

แล ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ย่อมไม่กำหนัดในโผฏฐัพพะที่ชวนให้กำหนัด สามารถ

ตั้งจิตไว้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนต่อโผฏฐัพพะอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็น

ผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การกระทำ

อัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งว่า.

จบอักขมสูตรที่ ๙

อรรถกถาอักขมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอักขมสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า หตฺถีกาย ได้แก่ ทัพช้าง. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้

เหมือนกัน. ชื่อว่า สังคามาวจร (เจนสงคราม) เพราะท่องไปในสงคราม. บทว่า

เอกิสฺสา วา ติโณทกทตฺติยา วิมานิโต ความว่า ไม่ได้รับการทอดหญ้า

และน้ำมื้อหนึ่งในวันหนึ่ง อธิบายว่าไม่ได้หญ้าและน้ำเพียงวันเดียว. แม้ต่อ

จากนี้ไปก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า น สกฺโกติ จิตฺต สมาทหิตุ ความว่า

ไม่อาจตั้งจิตไว้โดยชอบในอารมณ์. คำที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น. แต่ในสูตรนี้

พึงทราบว่า ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถาอักขมสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 295

๑๐. โสตวสูตร

ว่าด้วยองค์คุณของช้างต้นและของภิกษุ

[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕

ประการ ย่อมควรแก่พระราชา ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ

ทีเดียว องค์ ๕ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชา

ในโลกนี้เป็นสัตว์เชื่อฟัง ๑ เป็นสัตว์ฆ่าได้ ๑ เป็นสัตว์รักษาได้ ๑ เป็นสัตว์

อดทนได้ ๑ เป็นสัตว์ไปได้ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟังอย่างไร คือ ช้าง

ของพระราชาในโลกนี้ ย่อมตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตฟังเหตุการณ์

ที่ควาญช้างให้กระทำ คือ เหตุการณ์ที่เคยกระทำหรือไม่เคยกระทำ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์เชื่อฟังอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้าง

ของพระราชาเป็นสัตว์ฆ่าได้อย่างไร คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้เข้าสงคราม

แล้ว ย่อมฆ่าช้างบ้าง ฆ่าควาญช้างบ้าง ฆ่าม้าบ้าง ฆ่าคนขี่ม้าบ้าง ทำลายรถบ้าง

ฆ่าพลรถบ้าง ฆ่าพลเดินเท้าบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็น

สัตว์ฆ่าได้อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์รักษาได้

อย่างไร คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว ย่อมรักษากายเบื้อง

หน้า กายเบื้องหลัง เท้าหน้า เท้าหลัง ศีรษะ หู งา งวง หาง ควาญช้าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์รักษาได้อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้อย่างไร คือ ช้างของพระราชา

ในโลกนี้ เข้าสงครามแล้ว ย่อมอดทนต่อการประหารด้วยหอก ต่อการถูกลูกศร

ต่อการถูกง้าว ต่อเสียงกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ มโหระทึกที่กระหึม ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 296

ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์อดทนได้อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้อย่างไร คือ ช้างของพระราชาในโลกนี้ ย่อมเป็น

สัตว์ไปสู่ทิศที่ควาญช้างไสไป คือ ทิศที่เคยไปหรือทิศที่ยังไม่เคยไปได้โดยเร็ว

พลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาเป็นสัตว์ไปได้อย่างนี้แล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ช้างของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมควร

แก่พระราชา ควรเป็นช้างทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะทีเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควนแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ

ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เชื่อฟัง ๑ เป็นผู้ฆ่าได้ ๑

เป็นผู้รักษาได้ ๑ เป็นผู้อดทนได้ ๑ เป็นผู้ไปได้ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟังอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ ย่อมตั้งใจ ใฝ่ใจ สำรวมใจ เงี่ยโสตลงฟังธรรม ในเมื่อผู้อื่นแสดงธรรมวินัย

ที่ตถาคตประกาศแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เชื่อฟังอย่างนี้แล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอดกลั้น

ละ บรรเทา กำจัด ทำให้สิ้นไป ให้ถึงซึ่งความไม่มีแห่งกามวิตกที่เกิดขึ้น

แล้ว. . . พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว . . . วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมอดกลั้น

ละ บรรเทา กำจัด ทำให้สิ้นไป ให้ถึงซึ่งความไม่มีแห่งอกุศลธรรมที่ลามก

ทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฆ่าได้อย่างนี้แล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รักษาได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็น

รูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ

เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาป

อกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 297

สำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่

ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว

พึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้

ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

เป็นผู้รักษาได้อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนได้อย่างไร คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทนได้ต่อเย็น ร้อน หิว ระหาย สัมผัสแห่ง

เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้อดทนได้ต่อคำหยาบระคาย

เป็นผู้อดทนได้ต่อทุกขเวทนาทางร่างกายที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันกล้า แข็ง เผ็ดร้อน

ไม่เป็นที่ชื่นใจ ไม่เป็นที่ชอบใจ สามารถปลิดชีพเสียได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเป็นผู้อดทนได้อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไปได้อย่างไร

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปตลอดกาลนานนี้ คือ

ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่ง

ตัณหา เป็นที่สำรอก เป็นที่ดับหาเครื่องเสียบแทงมิได้ โดยเร็วพลัน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไปไค้อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม

เป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ความแก่ทักขิณา ควรแก่การทำอัญชลี

เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบโสตวสูตรที่ ๑๐

จบราชวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 298

อรรถกถาโสตวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโสตวสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ทุรุตฺตาน ความว่า ต่อคำหยาบที่เขากล่าวไม่ดี และให้เป็น

ไปด้วยอำนาจโทสะ. บทว่า ทุราคตาน ความว่า ที่มาสู่โสตทวาร โดย

อาการที่ให้เกิดทุกข์. บทว่า วจนปถาน ได้แก่ ต่อคำพูดทั้งหลาย. บทว่า

ทุกฺขาน ได้แก่ ที่ทนได้ยาก. บทว่า ติปฺปาน ได้แก่ กล้า หรือมีสภาพ

ให้เร่าร้อน. บทว่า ขราน ได้แก่ หยาบ. บทว่า กฏุกาน ได้แก่ แข็ง.

บทว่า อสาตาน ได้แก่ ไม่ไพเราะ บทว่า อมนาปาน ได้แก่ ไม่สามารถ

ทำใจให้ดื่มด่ำ คือเจริญใจได้. บทว่า ปาณาหราน ได้แก่ คร่าชีวิตเสียได้.

พระนิพพานพึงทราบว่า ชื่อว่า ทิศ ในคำว่า ยา สา ทิสา เพราะปรากฏ

เห็นชัดในธรรมมีธรรมเป็นที่รำงับสังขารทั้งปวงเป็นต้น แต่เพราะเหตุที่สังขาร

ทั้งปวงอาศัยพระนิพพานนั้น จึงถึงความรำงับ ฉะนั้น จึงตรัสเรียกพระ-

นิพพานนั้นว่า ธรรมเป็นที่รำงับสังขารทั้งปวง. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่าย

ทั้งนั้น. ก็ในสูตรนี้ ตรัสศีล สมาธิ ปัญญา รวมกันแล.

จบอรรถกถาโสตวสูตรที่ ๑๐

จบราชวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จักกสูตร ๒. อนุวัตตนสูตร ๓. ราชสูตร ๔. ยัสสทิสสูตร

๕. ปฐมปัตถนาสูตร ๖. ทุติยปัตถนาสูตร ๗. อัปปสุปติสูตร ๘. ภัตตา-

ทกสูตร ๙. อักขมสูตร ๑๐. โสตวสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 299

ติกัณฑกีวรรคที่ ๕

๑. ทัตวาอวชานาติสูตร

ว่าด้วยคนเลว ๕ จำพวก

[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๕ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลให้แล้วย่อมดูหมิ่น ๑ บุคคลย่อมดูหมิ่น

เพราะอยู่ร่วมกัน ๑ บุคคลเป็นผู้เชื่อง่าย ๑ บุคคลเป็นผู้โลเล ๑ บุคคล

เป็นผู้เขลาหลงงมงาย ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลให้แล้วย่อมดูหมิ่นอย่างไร คือ บุคคลใน

โลกนี้ให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารแก่บุคคล

เขาย่อมคิดอย่างนี้ว่า เราให้ ผู้นี้รับ ดังนี้ ให้แล้วย่อมดูหมิ่นบุคคลนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลให้แล้วย่อมดูหมิ่นอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็บุคคลย่อมดูหมิ่นเพราะอยู่ร่วมกันอย่างไร คือ บุคคลในโลกนี้ อยู่ร่วมกับบุคคล

สองสามปี ย่อมดูหมิ่นผู้นั้นเพราะอยู่ร่วมกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อม

ดูหมิ่นเพราะอยู่ร่วมกันอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้เชื่อง่าย

อย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อเขากล่าวคุณหรือโทษของผู้อื่น ย่อม

น้อมใจเชื่อโดยเร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้เชื่อง่ายอย่างนี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้โลเลอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลก เป็น

ผู้มีศรัทธาเล็กน้อย มีความภักดีเล็กน้อย มีความรักเล็กน้อย มีความเลื่อมใส

เล็กน้อย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นผู้โลเลอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้เขลาหลงงมงายอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้กุศลธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 300

และอกุศลธรรม ย่อมไม่รู้ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ ย่อมไม่รู้ธรรมที่เลวและ

ประณีต ย่อมไม่รู้ธรรมฝ่ายดำและฝ่ายขาว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็น

ผู้เขลาหลงงมงายอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบทัตวาอวชานาติสูตรที่ ๑

ติกัณฑกีวรรควรรณนาที่ ๕

อรรคถกถาทัตวาอวชานาติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทัตวาอวชานาติสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๕ ดัง

ต่อไปนี้ :-

บทว่า สวาเสน ได้แก่ เพราะการอยู่ร่วมกัน. บทว่า อาเทยฺยมุโข

ได้แก่ ตั้งหน้าเชื่อ อธิบายว่า ตั้งหน้ายึดถือ. บทว่า ตเมน ทตฺวา

อวชานาติ ความว่า ย่อมดูแคลนอย่างนี้ว่า ผู้นี้รู้จักแต่จะรับสิ่งที่เราให้เท่านั้น.

บทว่า ตเมน สวาเสน อวชานาติ ความว่า เป็นผู้โกรธในใครๆ เพียง

เล็กน้อยแล้วมักกล่าวคำเป็นต้นว่า เรารู้กรรมที่ท่านทำไว้ เราทำอะไรอยู่

ตลอดกาลนานประมาณเท่านี้ เราพิจารณาทบทวนดูกรรมที่ท่านทำไว้และไม่

ได้ทำไว้มิใช่หรือ ทีนั้นคนนอกนี้คิดว่าโทษไร ๆ ของเราจักมีเป็นแน่ จึงไม่

สามารถจะโต้ตอบอะไร ๆ ได้. บทว่า ต ขิปฺปญฺเว อธิมุจฺจิโต โหติ

ความว่า บุคคลย่อมเชื่อทั้งคุณและโทษนั้นทันทีทันใด. ก็บุคคลนี้ท่านกล่าวว่า

ชื่อว่า อาทิยนมุโข เพราะอรรถว่า เชื่อง่าย. แต่ในบาลีว่า อาธียมุโข

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 301

คือ ตั้งหน้าเชื่อ. อธิบายว่า ตั้งหน้าแต่จะรับทั้งคุณหรือโทษด้วยความเชื่อง่าย

ดุจบ่อที่เขาขุดที่หนทางคอยรับแต่น้ำที่ไหลมา ๆ.

บทว่า อิตฺตรสทฺโธ คือ มีศรัทธานิดหน่อย. ในบทว่า กุสลา-

กุสเล ธมฺเม น ชานาติ ความว่า ไม่รู้ธรรมเป็นกุศลว่า ธรรม

เหล่านี้เป็นกุศล ไม่รู้ธรรมเป็นอกุศลว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล. อนึ่ง ไม่รู้

ธรรมมีโทษ คือธรรมที่เป็นไปกับโทษว่า ธรรมเหล่านี้มีโทษ ไม่รู้ธรรม

ไม่มีโทษ คือธรรมที่ไม่เป็นไปกับโทษว่า ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ไม่รู้ธรรม

เลวว่า เลว ไม่รู้ธรรมประณีตว่า ประณีต. บทว่า กณฺหสุกฺกสปฺปฏิภาเค

ได้แก่ บุคคลย่อมไม่รู้ว่า ธรรมฝ่ายดำเหล่านี้ ชื่อว่า เทียบกันเพราะห้ามกัน

ธรรมฝ่ายขาวตั้งอยู่ และธรรมฝ่ายขาวเหล่านี้ ชื่อว่า เทียบกัน เพราะห้ามกัน

ธรรมฝ่ายดำตั้งอยู่ดังนี้.

จบอรรถกถาหัตวาอวชานาติสูตรที่ ๑

๒. อารภสูตร

ว่าด้วยบุคคลที่ควรตักเตือน ๕ประการ

[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๕ จำพวกเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ปรารภ

จะล่วงอาบัติ ย่อมเดือดร้อน และย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโต-

วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล

ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ๑ บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ปรารภจะล่วงอาบัติ

ย่อมไม่เดือดร้อนและย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 302

วิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดขึ้นแล้ว

แก่เธอ ๑ บุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมเดือดร้อน

และย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่

ดับโดยไม่เหลือ แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ๑ บุคคล

บางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมไม่เดือดร้อน และย่อมไม่

ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่

เหลือ แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ๑ บุคคลบางคนใน

ธรรมวินัยนี้ ไม่ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมไม่เดือดร้อน และย่อมทราบชัดตาม

ความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ แห่งธรรม

ที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบุคคล ๕ จำพวกนั้น บุคคลใดปรารภ

จะล่วงอาบัติ ย่อมเดือดร้อน และย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงซึ่งเจโต-

วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งบาปอกุศลซึ่งเกิดขึ้นแล้ว

แก่เธอ บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ควรกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า อาสวะที่เกิดเพราะ

ปรารภจะล่วงอาบัติของท่านยังมีอยู่ อาสวะที่เกิดเพราะความเดือดร้อนของท่าน

ยังเจริญอยู่ ขอท่านจงละอาสวะที่เกิดเพราะปรารภจะล่วงอาบัติ บรรเทาอาสวะ

ที่เกิดเพราะความเดือดร้อนแล้ว จึงอบรมจิตและปัญญา ท่านจะเป็นผู้เทียมทัน

บุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น เพราะการอบรมอย่างนี้.

บุคคลใด ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมไม่เดือดร้อน และย่อมไม่ทราบชัด

ตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ

แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ บุคคลนั้น พึงเป็นผู้ควร

กล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า อาสวะที่เกิดเพราะปรารภจะล่วงอาบัติของท่านยังมีอยู่

อาสวะที่เกิดเพราะความเดือดร้อนของท่านไม่เจริญ ขอท่านจงละอาสวะที่เกิด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 303

เพราะปรารภจะล่วงอาบัติแล้ว จึงอบรมจิตและปัญญา ท่านจักเป็นผู้เทียมกัน

บุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น เพราะการอบรมอย่างนี้.

บุคคลใด ไม่ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมเดือดร้อน และย่อมไม่ทราบชัด

ตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ

แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดแล้วแก่เธอ บุคคลนั้น พึงเป็นผู้ควรกล่าว

ตักเตือนอย่างนี้ว่า อาสวะที่เกิดเพราะปรารภจะล่วงอาบัติของท่านไม่มี อาสวะ

ที่เกิดเพราะความเดือดร้อนของท่านยังเจริญอยู่ ขอท่านจงบรรเทาอาสวะที่เกิด

เพราะความเดือดร้อนแล้ว จึงอบรมจิตและปัญญา ท่านจักเป็นผู้เทียมทัน

บุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น เพราะการอบรมอย่างนี้.

บุคคลใด ไม่ปรารภจะล่วงอาบัติ ย่อมไม่เดือดร้อน และย่อมไม่

ทราบชัด ตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดย

ไม่เหลือ แห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ บุคคลนั้น พึง

เป็นผู้ควรกล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า อาสวะที่เกิดเพราะปรารภจะล่วงอาบัติของ

ท่านไม่มี อาสวะที่เกิดเพราะความเดือดร้อนของท่านไม่เจริญ ขอท่านจง

อบรมจิตและปัญญา ท่านจักเป็นผู้เทียมทันบุคคลจำพวกที่ ๕ โน้น เพราะ

การอบรมอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ ถูกตักเตือนพร่ำสอนโดย

เทียบกับบุคคลที่ ๕ โน้น ด้วยประการอย่างนี้แล ย่อมบรรลุความสิ้นอาสวะ

โดยลำดับ.

จบอารภสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 304

อรรถกถาอารภสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอารภสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อารภติ จ วิปฺปฏิสารี จ โหติ ความว่า ภิกษุพยายาม

ล่วงอาบัติและเป็นผู้เดือดร้อนเพราะการล่วงอาบัตินั้นเป็นเหตุ. บทว่า เจโต-

วิมุตฺตึ ปญฺาวิมุตตฺตึ ได้แก่ อรหัตสมาธิ และอรหัตผลญาณ. บทว่า

นปฺปชานาติ ได้แก่ ไม่รู้เพราะยังไม่บรรลุ. บทว่า อารภติ น วิปฺปฏิสารี

โหติ ได้แก่ ต้องอาบัติแต่เป็นผู้ไม่เดือดร้อน เพราะออกจากอาบัติแล้ว.

บทว่า น อารภติ วิปฺปฏิสารี โหติ ได้แก่ ต้องอาบัติคราวเดียว แล้ว

ออกจากอาบัตินั้น ภายหลังไม่ต้องอีกก็จริง ถึงดังนั้นก็บรรเทาความเดือดร้อน

ไม่ได้. บทว่า น อารภติ น วิปฺปฏิสารี โหติ ได้แก่ ทั้งไม่ต้อง

อาบัติ ทั้งไม่เป็นผู้เดือดร้อน. บทว่า ตญฺจ เจโตวิมุตตึ ฯ เปฯ นิรุชฺฌ-

นฺติ ได้แก่ ยังไม่บรรลุพระอรหัต. ท่านกล่าวถึงพระขีณาสพโดยนัยที่ ๕.

บทว่า อารภชา ได้แก่ ได้เกิดเพราะล่วงอาบัติ. บทว่า วิปฺปฏิ-

สารชา ได้แก่ เกิดจากความเดือดร้อน. บทว่า ปวฑฺฒนฺติ ได้แก่

อาสวะทั้งหลายพอกพูนเพราะเกิดบ่อย ๆ. บทว่า อาราภเช อาสเว ปหาย

ได้แก่ ละอาสวะทั้งหลายที่เกิดเพราะล่วงอาบัติ. ด้วยการแสดงอาบัติหรือ

ด้วยการออกจากอาบัติ. บทว่า ปฏิวิโนเทตฺวา ได้แก่ นำออกด้วยการ

พิจารณาถึงความเป็นผู้ดำรงอยู่ในความบริสุทธิ์. บทว่า จิตฺต ปญฺญฺจ

ภาเวตุ ได้แก่ จงบำเพ็ญวิปัสสนาจิตและปัญญาอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนาจิตนั่น.

บทที่เหลือพึงทราบโดยอุบายนี้.

จบอรรถกถาอารภสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 305

๓. สารันททสูตร

ว่าด้วยความปรากฏแห่งแก้วที่หาได้ยาก ๕ ประการ

[๑๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา

ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว

ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ณ เมืองเวสาลี สมัยนั้น

เจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ คน นั่งประชุมกันอยู่ที่สารันททเจดีย์ ได้มีการ

สนทนากันว่า ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ เป็นของหาได้ยากในโลก

แก้ว ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความปรากฏแห่งช้างแก้ว ๑ ความปรากฏ

แห่งม้าแก้ว ๑ ความปรากฏแห่งแก้วมณี ๑ ความปรากฏแห่งนางแก้ว ๑

ความปรากฏแห่งคฤหบดีแก้ว ๑ ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้ เป็น

ของหาได้ยากในโลก ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นได้ส่งบุรุษไปคอยดักที่หนทาง

โดยสั่งว่า พ่อผู้เจริญ เมื่อท่านเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา พึงมาบอกแก่

พวกฉัน บุรุษนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงเข้าไปหา

เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น แจ้งให้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าพระองค์นั้นกำลังเสด็จมา ขอท่านทั้งหลายจงทราบกาลที่ควร ณ บัดนี้.

ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงเอ็นดู เสด็จเข้าไปสู่สารันททเจดีย์เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ

โดยดุษณีภาพ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จเข้าไปยังสารันททเจดีย์

แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ตบแต่งไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า

ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย บัดนี้ ท่านทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 306

การสนทนาอะไรซึ่งท่านทั้งหลายยังค้างอยู่ในระหว่าง เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น

ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งประชุมกันอยู่

ณ ที่นี้ ได้มีการสนทนากันว่า ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ เป็นของ

หาได้ยากในโลก แก้ว ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความปรากฏแห่งช้างแก้ว ๑

ความปรากฏแห่งม้าแก้ว ๑ ความปรากฏแห่งแก้วมณี ๑ ความปรากฏแห่ง

นางแก้ว ๑ ความปรากฏแห่งคฤหบดีแก้ว ๑ ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ

นี้ เป็นของหาได้ยากในโลก.

พ. ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเป็นผู้มุ่งไปในกาม จึงได้

มีการสนทนากันปรารภเฉพาะกาม ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่ง

แก้ว ๕ ประการเป็นของหาได้ยาก แก้ว ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความ

ปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ บุคคลผู้แสดงธรรม

วินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ

แล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ซึ่งผู้อื่นแสดง

ให้ฟังแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑

ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้แล เป็นของหา

ได้ยากในโลก.

จบสารันททสูตรที่ ๓

อรรถกถาสารันททสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสารันททสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กามาธิมุตฺตาน ได้แก่ น้อมไปในวัตถุกามและกิเลสกาม.

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ความว่า บุคคลผู้ปฏิบัติปฏิปทาเบื้องต้น

พร้อมกับศีล เพื่อต้องการโลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า ผู้นำปฏิบัติให้บริบูรณ์

เป็นบุคคลหาได้ยากในโลก.

จบอรรถกถาสารันททสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 307

๔. ติกัณฑกีสูตร

ว่าด้วยสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล

[๑๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าติกัณฑกีวัน

ใกล้เมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอภิกษุพึงเป็นผู้มีความสำคัญใน

สิ่งไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูล อยู่ตลอดกาล ขอภิกษุพึงเป็นผู้มีความ

สำคัญในสิ่งปฏิกูล ว่า ไม่เป็นปฏิกูล อยู่ตลอดกาล ขอภิกษุพึงเป็นผู้มี

ความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลว่า เป็นปฏิกูล อยู่ตลอดกาล

ขอภิกษุพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูล และสิ่งไม่ปฏิกูลว่า เป็นสิ่งไม่

ปฏิกูลอยู่ตลอดกาล ขอภิกษุพึงเว้นสิ่งทั้งสอง คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่ง

ปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีความวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดกาล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควร

เป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูล เพราะอาศัยอำนาจ

ประโยชน์นี้ว่า ความกำหนัดในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อย่าเกิดขึ้น

แก่เรา ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะ

อาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็น

สิ่งไม่ปฏิกูล เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า ความขัดเคืองในธรรมอันเป็น

ที่ตั้งแห่งความขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีความสำคัญใน

สิ่งปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึง

ควรเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูล และสิ่งปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 308

เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า ความกำหนัดในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

กำหนัด อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ขัดเคือง อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูล

และสิ่งปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุ

จึงควรเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูล และสิ่งไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่

เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า ความขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ขัดเคืองอย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความกำหนัดในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ภิกษุจึงควรเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล

ว่า เป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ภิกษุจึงควรเว้น

สิ่งทั้งสอง คือ สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีความวางเฉย มีสติ-

สัมปชัญญะอยู่ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า ความกำหนัดในธรรมอันเป็น

ที่ตั้งแห่งความกำหนัดในอารมณ์ไหน ๆ ในส่วนไหน ๆ แม้มีประมาณน้อย

อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองใน

อารมณ์ไหน ๆ ในส่วนไหน ๆ แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ความ

หลงในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงในอารมณ์ไหน ๆ ในส่วนไหน ๆ

แม้มีประมาณน้อย อย่าเกิดขึ้นแก่เรา ภิกษุจึงควรเป็นผู้เว้นสิ่งทั้งสอง คือ

สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลแล้ว เป็นผู้มีความวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่.

จบติกัณฑกีสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 309

อรรถกถาติกัณฑกีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในติกัณฑกีสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปฺปฏิกูเล ได้แก่ ในอารมณ์อันไม่ปฏิกูล. บทว่า

ปฏิกูลสญฺี ได้แก่ มีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้ปฏิกูล. ในบททั้งปวงก็นัยนี้

เหมือนกัน. ถามว่า ก็ภิกษุนี้อยู่อย่างนี้ได้อย่างไร. ตอบว่า ภิกษุขยายไปใน

วัตถุที่น่าปรารถนาโดยความเป็นของไม่งาม หรือน้อมนำเข้าไปโดยความ

เป็นของไม่เที่ยง ชื่อว่ามีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นปฏิกูลด้วยอาการ

อย่างนี้อยู่. ภิกษุขยายไปในวัตถุอันไม่น่าปรารถนาโดยเมตตาหรือน้อมนำ

เข้าไปโดยเป็นธาตุ ชื่อว่ามีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลด้วยอาการ

อย่างนี้อยู่. ก็ในทั้งสองอย่างนี้ท่านกล่าวถึงตติยวารและจตุตถวารโดยนัยต้น

และนัยหลัง. ท่านกล่าวนัยที่ ๕ ด้วยฉฬังคุเบกขา ก็ฉฬังคุอุเบกขานี้ คล้ายกับ

อุเบกขาของพระขีณาสพ แต่ไม่ใช่อุเบกขาของพระขีณาสพ. ในบทเหล่านั้น

บทว่า อุเปกฺขโก วิหเรยฺย ได้แก่ ตั้งอยู่ในความเป็นกลาง. บทว่า

กฺวจินิ ได้แก่ ในอารมณ์ไร ๆ. บทว่า กตฺถจิ ได้แก่ ในถิ่นที่ไร ๆ.

บทว่า กิญฺจินา คือ แม้มีประมาณน้อยไร ๆ. ในสูตรนี้ตรัสวิปัสสนาอย่างเดียว

ในฐาน ๕ ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุรูปหนึ่งผู้ปรารภวิปัสสนาก็บำเพ็ญวิปัสสนา

นั้นได้ แม้สมณะผู้เป็นพหูสูต มีญาณ มีปัญญายิ่งนัก ก็บำเพ็ญได้ พระ-

โสดาบัน พระสกทาคามีและพระอนาคามี ย่อมทำได้ทั้งนั้น พระขีณาสพ

ไม่ต้องพูดแล.

จบอรรถกถาติกัณฑกีสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 310

๕. นิรยสูตร*

ว่าด้วยธรรมทำให้เหมือนตกนรกและเหมือนขึ้นสวรรค์

[๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นผู้เหมือนถูกฝังไว้ในนรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคล

เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ ๑ เป็นผู้มักลักทรัพย์ ๑ เป็นผู้มักประพฤติผิดในกาม ๑

เป็นผู้มักพูดเท็จ ๑ เป็นผู้มักดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

ย่อมเป็นผู้เหมือนถูกฝังไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

เป็นผู้เหมือนถูกเชิญไปอยู่ในสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคล

เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ๑ เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทาน ๑ เป็นผู้งดเว้น

จากกาเมสุมิจฉาจาร ๑ เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท ๑ เป็นผู้งดเว้นจากการ

ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้เหมือนถูกเชิญไปอยู่ใน

สวรรค์.

จบนิรยสูตรที่ ๕

* อรรถกถาว่ามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 311

๖. มิตตสูตร

ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรคบและไม่ควรคบ

[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ไม่ควรคบเป็นมิตร ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุย่อมใช้ให้ทำการงาน ๑

ย่อมก่ออธิกรณ์ ๑ ย่อมเป็นผู้โกรธตอบต่อภิกษุผู้เป็นประธาน ๑ ย่อม

ประกอบการจาริกไปในที่ไม่ควรตลอดกาลนาน ๑ เป็นผู้ไม่สามารถเพื่อยัง

ภิกษุให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมมีกถาโดยกาล

สมควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

ไม่ควรคบเป็นมิตร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรคบ

เป็นมิตร ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุย่อมไม่ใช้ให้ทำการงาน ๑

ไม่ก่ออธิกรณ์ ๑ ไม่โกรธตอบต่อภิกษุผู้เป็นประธาน ๑ ไม่ประกอบการจาริก ๑

ในที่ไม่ควรตลอดกาลนาน ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อยังภิกษุให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาโดยกาลสมควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ควรคบเป็นมิตร.

จบมิตตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 312

อรรถกถามิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมิตตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กมฺมนฺต ได้แก่ ใช้ให้ทำการงานมีทำนาเป็นต้น.

บทว่า อธิกรณ อาทิยติ ได้แก่ ก่ออธิกรณ์ ๔. บทว่า ปาโมกฺเขสุ

ภิกฺขูสุ ได้แก่ ในภิกษุผู้เป็นทิศาปาโมกข์คือหัวหน้า. บทว่า ปฏิวิรุทฺโธ

โหติ ได้แก่ เป็นผู้ขัดแย้งกันเพราะถือว่าเป็นศัตรู. บทว่า อวฏฺานจาริก

ได้แก่ เที่ยวไปไม่มีจุดหมาย.

จบอรรถกถามิตตสูตรที่ ๖

๗. อสัปปุริสทานสูตร

ว่าด้วยทานของอสัตบุรุษและของสัตบุรุษ

[๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ อสัตบุรุษย่อมให้โดยไม่เคารพ ๑ ให้โดยไม่อ่อนน้อม ๑ ไม่ให้

ด้วยมือตนเอง ๑ ให้ของที่เป็นเดน ๑ ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึงให้ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ สัตบุรุษย่อมให้โดยเคารพ ๑ ให้โดยอ่อนน้อม ๑ ให้ด้วยมือตนเอง ๑

ให้ของไม่เป็นเดน ๑ เห็นผลที่จะมาถึงให้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริส-

ทาน ๕ ประการนี้แล.

จบอสัปปุริสทานสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 313

อรรถกถาอสัปปุริสทานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอสัปปุริสทานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสกฺกจฺจ ทาน เทติ ได้แก่ หาเคารพคือทำใจให้สะอาด

ให้ทานไม่. บทว่า อจิตฺตึ กตฺวา เทติ ได้แก่ ให้ด้วยอาการไม่ยำเกรง

โดยความไม่เคารพ. บทว่า อปวิฏฺ เทติ ได้แก่ ไม่ให้ส่ง ๆ ไป. อีกอย่างหนึ่ง

ให้เหมือนประสงค์จะทิ้ง. บทว่า อนาคมนทิฏิโก เทติ ได้แก่ หาทำ

ความเห็นผลกรรมกันมาอย่างนี้ว่า ผลแห่งกรรมที่ทำจักมาถึงดังนี้ให้เกิดขึ้นไม่.

ในฝ่ายขาวพึงทราบวินิจฉัยดังนี้ บทว่า จิตฺตึ กตฺวา เทติ ได้แก่

เข้าไปตั้งความยำเกรงในไทยธรรมและในทักขิไณยบุคคลแล้วให้. ในสองอย่าง

นั้นบุคคลกระทำไทยธรรมให้ประณีต มีรสอร่อยแล้วให้ ชื่อว่า เข้าไปตั้งความ

ยำเกรงในไทยธรรม. บุคคลเลือกบุคคลแล้วให้ ชื่อว่า เข้าไปตั้งความยำเกรง

ในทักขิไณยบุคคล. บทว่า สหตฺถา เทติ ความว่า ไม่ใช้มือของคนอื่น

ให้ตามคำสั่ง ให้ด้วยมือของตนเองเท่านั้น ด้วยคิดว่า ชื่อว่า เวลาที่เรา

ท่องเที่ยวไปในสงสารอันไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลายแล้ว ได้ใช้มือและเท้านั้น

ไม่มีประมาณเลย เราจักทำความหลุดพ้นไปจากวัฏฏะ ความออกไปจากภพ

ดังนี้. บทว่า อาคมนทิฏฺิโก ได้แก่ เชื่อกรรมและวิบากว่าจักเป็นปัจจัย

แห่งภพในอนาคตแล้วให้ ดังนี้.

จบอรรถกถาอสัปปุริสทานสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 314

๘. สัปปุริสทานสูตร

ว่าด้วยทานของสัตบุรุษ ๕ ประการ

[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สัตบุรุษย่อมให้ทานด้วยศรัทธา ๑ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ๑

ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร ๑ เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน ๑ ย่อมให้ทาน

ไม่กระทบตนและผู้อื่น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธา

แล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปสวยงาม

น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

(บังเกิดขึ้น) ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก

มีโภคะมาก และเป็นผู้มีบุตร ภรรยา ทาส คนใช้หรือคนงาน เป็นผู้เชื่อฟัง

เงี่ยโสตลงสดับคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล ครั้นให้ทานโดยกาล

อันควรแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และย่อมเป็นผู้มี

ความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล ครั้นเป็นผู้มี

จิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และ

เป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ สูงยิ่งขึ้น ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

ครั้นให้ทานไม่กระทบคนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มี

โภคะมาก และย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหน ๆ คือ จากไฟ

จากน้ำ จากพระราชา จากโจร จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาท ในที่ที่

ทานนั้นเผล็ดผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล.

จบสัปปุริสทานสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 315

อรรถกถาสัปปุริสทานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัปปุริสทานสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สทฺธาย ได้แก่ เชื่อทานและผลแห่งทาน. บทว่า กาเลน

ได้แก่ ตามกาลที่เหมาะที่ควร. บทว่า อนุคฺคหจิตฺโต ได้แก่ มีจิตไม่เสียดาย

คือ สละขาดไปเลย. บทว่า อนุปหจฺจ ได้แก่ ไม่กระทบ คือ ไม่ลบหลู่

คุณทั้งหลาย. บทว่า กาลาคตา จสฺส อตฺถา ปริปูรา โหนฺติ ความว่า

ประโยชนทั้งหลายเมื่อจะมาถึง มิได้มาเมื่อเจริญวัยแล้ว ย่อมมาในเวลาที่เหมาะ

ที่ควรในปฐมวัยนั่นเอง ทั้งมากด้วย.

จบอรรถกถาสัปปุริสทานสูตรที่ ๘

๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อมและไม่ให้เสื่อม

[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ความเป็นผู้ชอบทำการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบนอน ๑

ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ภิกษุนั้นไม่พิจารณาจิตที่หลุดพ้นแล้ว

อย่างไร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 316

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่

เสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความ

เป็นผู้ไม่ชอบทำการงาน ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบนอน ๑

ความเป็นผู้ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ภิกษุนั้นพิจารณาจิตที่หลุดพ้นแล้ว

อย่างไร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย.

จบปฐมสมยวิมุตตสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมสมยวิมุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสมยวิมุตตสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมยวิมุตฺตสฺส ความว่า ภิกษุชื่อว่ามีจิตพ้นแล้วด้วยโลกิย-

วิมุตติ กล่าวคือ พ้นชั่วสมัย เพราะพ้นจากกิเลสทั้งหลายที่ข่มไว้ได้ในขณะที่

ยังจิตเป็นอัปปนานั่นเอง.

จบอรรถกถาปฐมสมยวิมุตตสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 317

๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร*

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อมและไม่ให้เสื่อม

[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ความเป็นผู้ชอบทำการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบนอน ๑

ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ

ในโภชนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่

เสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความ

เป็นผู้ไม่ชอบทำการงาน ๑ ควานเป็นผู้ไม่ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบ

นอน ๑ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้จัก

ประมาณในโภชนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น

ไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย.

จบทุติยสมยวิมุตตสูตรที่ ๑๐

จบติกัณฑกีวรรคที่ ๕

*อรรถกถาว่ามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 318

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทัตวาอวชานาติสูตร ๒. อารภสูตร ๓. สารันททสูตร

๔. ติกัณฑกีสูตร ๕. นิรยสูตร ๖. มิตตสูตร ๗. อสัปปุริสทานสูตร

๘. สัปปุริสทานสูตร ๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร ๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร

และอรรถกถา.

จบตติยปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 319

จตุตถปัณณาสก์

สัทธัมมวรรคที่ ๑

๑. ปฐมสัทธัมมนิยามสูตร

ว่าด้วยธรรมผู้เข้าถึงกุศลและไม่เข้าถึงกุศล

[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือความถูกในกุศลธรรม

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพูดมาก ๑ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูด

แล้วมาก ๑ พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้มีจิตไม่

แน่วแน่มนสิการโดยอุบายไม่แยบคาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม

คือ ความถูกในกุศลธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟัง

สัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม

๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูด

แล้วมาก ๑ ไม่พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้ไม่มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ เป็น

ผู้มีจิตแน่วแน่มนสิการโดยอุบายแยบคาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ก็เป็นผู้ควรหยั่งลงสู่นิยาม

คือ ความถูกในกุศลธรรม.

จบปฐมสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 320

จตุตถปัณณาสก์

สัทธัมมวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาปฐมสัทธัมมนิยามสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๑ แห่งปัณณาสก์ที่ ๔

ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อภพฺโพ นิยาม โอกฺกมิต กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺต

ความว่า ภิกษุไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่มรรคนิยามอันถูกต้อง ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ในบทว่า กถ ปริโภติ เป็นต้น เมื่อกล่าวว่า เรื่องนี้ชื่อเรื่องอะไรดังนี้

ชื่อว่า ดูหมิ่นเรื่องที่แสดง. เมื่อกล่าวว่า ผู้นั้นพูดเรื่องอะไร ผู้นี้จะรู้อะไร

ดังนี้ ชื่อว่า ดูหมิ่นผู้แสดง. เมื่อกล่าวว่า เราจะรู้กำลังที่จะฟังเรื่องนี้ของเราได้

แต่ไหน ดังนี้ ชื่อว่า ดูหมิ่นตน. พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยตรงกันข้าม.

จบอรรถกถาปฐมสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๑

๒. ทุติยสัมธัมมนิยามสูตร

ว่าด้วยธรรมของผู้เข้าถึงและไม่เข้าถึงกุศล

[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพูดมาก ๑ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้ว

มาก ๑ พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑ เป็นผู้มีความถือตัวว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 321

เข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ

ความถูกในกุศลธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัท-

ธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม

๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้ว

มาก ๑ ไม่พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑ ไม่เป็นผู้มีความถือ

ตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ

ความถูกในกุศลธรรม.

จบทุติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยสัทธัมมนิยามสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนญฺาเต อญฺาตมานี ได้แก่ เป็นผู้ไว้ตัวว่า เรา

รู้แล้วในข้อที่ยังไม่รู้.

จบอรรถกถาทุติยสัทธัมมนิยมสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 322

๓. ตติยสัทธัมมนิยามสูตร

ว่าด้วยธรรมของผู้เข้าถึงและไม่เข้าถึงกุศล

[๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้

อันความลบหลู่ครอบงำ มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑ เป็นผู้แสวงโทษ มีจิตกระทบ

ในผู้แสดงธรรม มีจิตกระด้าง ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑ เป็นผู้มีความ

ถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม

คือ ความถูกในกุศลธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัท-

ธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้อัน

ความลบหลู่ไม่ครอบงำ ไม่มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑ เป็นผู้ไม่แสวงโทษ ไม่มี

จิตกระทบในผู้แสดงธรรม ไม่มีจิตกระด้าง ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑

ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อ

หยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม.

จบตติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 323

อรรถกถาตติยสัทธัมมนิยามสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มกฺขี ธมฺม สุณาติ ได้แก่ เป็นผู้มักลบหลู่ฟังธรรมด้วยจิต

ลบหลู่คุณท่าน. บทว่า สอุปารมฺภจิตฺโต คือ มีจิตยกขึ้นเพื่อข่ม. บทว่า

รนฺธคเวสี คือ หาช่องจับผิด.

จบอรรถกถาตติยสัทธัมมนิยามสูตรที่ ๓

๔. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร

ว่าด้วยเหตุเสื่อมและเหตุเจริญแห่งศาสนา

[๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑

ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้

โดยเคารพ ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดย

เคารพ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น

ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ ๑ เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 324

ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑ ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดย

เคารพ ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น

ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.

จบปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๔

อรรถกถาปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า น สกฺกจฺจ ธมฺม สุณาติ ได้แก่ ไม่เงี่ยหูตั้งใจฟังธรรม.

บทว่า น ปริยาปุณาติ ได้แก่ แม้เมื่อจะปฏิบัติธรรมตามที่ฟังมา ก็ไม่

ปฏิบัติโดยเคารพ.

จบอรรถกถาปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตที่ ๔

๕. ทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตร

ว่าด้วยเหตุเสื่อมและเหตุไม่เสื่อมแห่งศาสนา

[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ

คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้ธรรมเป็นข้อที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 325

ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้ง

หลายย่อมไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร

นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่บอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่า

เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน

เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ทำการสาธยาย

ธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อ

ที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง

ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่ตรึกตรองไม่เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่

ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน

เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็น

ไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้ง

มั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ. . .

อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่

ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมแสดงธรรม

ตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒

ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง

ภิกษุทั้งหลายย่อมบอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดย

พิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อม

สูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมทำการสาธยายธรรมตาม

ที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 326

ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเลื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง

ภิกษุทั้งหลายย่อมตรึกตรอง เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาตามที่ใด

เล่าเรียนหาโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น

ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล

ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.

จบทุติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๔*

๖. ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร

ว่าด้วยเหตุเสื่อมและไม่เสื่อมแห่งศาสนา

[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ

ทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ไม่ดี ด้วยบทและ

พยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ย่อมเป็นเนื้อ

ความมีนัยไม่ดี นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญ

แห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรม

กระทำให้เป็นผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน รับคำพร่ำสอนโดยไม่เคารพ นี้เป็น

ธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการ

หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูต มีการเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย

ทรงมาติกา ย่อมไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับ

ไป พระสูตรย่อมขาดเค้ามูล ไม่มีหลัก นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไป

* อรรถกถา ว่าง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 327

เพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ

เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอด

ธุระในทางวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ

ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ประชุมชนหลัง

ย่อมถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ประชุมชนเหล่านั้นก็เป็นผู้มักมาก มี

ความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก

ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ

เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง สงฆ์เป็นผู้แตกกัน

เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว ย่อมมีการด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน แช่งกันและ

กัน ทอดทิ้งกันและกัน ในเห่ตุการณ์เช่นนั้น คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส

และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเหินห่าง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไป

เพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ

นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น

ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้ง

หลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตร ทรงจำไว้ดี ด้วยบทและพยัญชนะ

ที่ตั้งไว้ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ย่อมเป็นเนื้อความที่มีนัยดี

นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่ง

สัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่

กระทำให้เป็นผู้ว่าง่ายเป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมข้อที่

๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการ

หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูตเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย และทรง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 328

มาติกา ย่อมบอกแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อม

ไม่ขาดเค้ามูล มีหลักฐานอยู่ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น

ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ.

ย่อมไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อหย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิด เป็นหัวหน้า

ในทางวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่

บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อม

เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง

สงฆ์ย่อมเป็นผู้สมัครสมานกันดี ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเป็นอย่าง

เดียวกัน อยู่สบาย ก็เมื่อสงฆ์สมัครสมานกันดี ไม่มีการด่ากันและกัน ไม่

บริภาษกันและกัน ไม่มีการแข่งขันกันและกัน ไม่ทอดทิ้งกันและกัน ใน

เหตุการณ์เช่นนั้น คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใส

แล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น

ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้

แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.

จบตติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๖

อรรถกถาตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตติยสัทธัมสัมโมสสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อปฺปฏิสรโณ ได้แก่ไม่มีที่พึ่งอาศัย จริงอยู่ อาจารย์ทั้งหลาย

ชื่อว่าเป็นที่พำนักแห่งพระสูตร เพราะไม่มีอาจารย์เหล่านั้น พระสูตรจึงไม่มีที่

พึ่งอาศัย. คำที่เหลือในสูตรนี้มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล

จบอรรถกถาตติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 329

๗. ทุกถาสูตร

ว่าด้วยพูดดีเป็นชั่วและพูดดีเป็นดี

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก ย่อมเป็น

ถ้อยคำชั่ว เมื่อเทียนบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวก เป็นไฉน ? คือ

ถ้อยคำปรารภศรัทธาเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ถ้อยคำปรารภศีลเป็น

ถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล ๑ ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ได้สดับน้อย

๑ ถ้อยคำปรารภจาคะเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่ ๑ ถ้อยคำปรารภปัญญาเป็น

ถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อย-

คำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ? เพราะผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ย่อม

ขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้

ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ไม่มีศรัทธานั้น ย่อมไม่เห็นศรัทธา-

สัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น

ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำชั่ว

แก่ผู้ทุศีล ? เพราะผู้ทุศีล เมื่อพูดเรื่องศีลย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท

กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะผู้ทุศีลนั้นย่อมไม่เห็นศีลสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติและปราโมทย์

ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็น

ถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย ? เพราะผู้ได้สดับน้อย เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 330

ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจ

ให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ได้สดับน้อยนั้น ย่อมไม่เห็นสุต-

สัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทาเป็นเหตุ ฉะนั้น

ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภจาคะจึงเป็นถ้อยคำ

ชั่วแก่ผู้ตระหนี่ ? เพราะผู้ตระหนี่ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ย่อมขัดข้อง โกรธ

พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะผู้ตระหนี่นั้นย่อมไม่เห็นจาคสัมปทาในตนและย่อมไม่ได้

ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็น

ถ้อยคำชั่วของผู้ตระหนี่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำ

ชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา ? เพราะผู้ทรามปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ย่อมขัดข้อง

โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ทรามปัญญานั้นย่อมไม่เห็นปัญญาสัมปทาในตน

และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภ

ปัญญาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล ย่อมเป็น

ถ้อยคำชั่ว เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก ย่อมเป็นถ้อยคำดี

เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน ? คือถ้อยคำปรารภ

ศรัทธาเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา ๑ ถ้อยคำปรารภศีลเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล ๑

ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก ๑ ถ้อยคำปรารภจาคะ

เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ ๑ ถ้อยคำปรารภปัญญาเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา ๑.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 331

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำ

ดีแก่ผู้มีศรัทธา ? เพราะผู้มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธาย่อมไม่ขัดข้อง ไม่

โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคืองแสะความขัดใจให้

ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีศรัทธานั้นย่อมเห็นศรัทธาสัมปทาในตน

และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภ

ศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำดี

แก่ผู้มีศีล ? เพราะผู้มีศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่

พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคืองเละความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะผู้มีศีลนั้นย่อมเห็นศีลสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติ

ปราโมทย์ทีมีศีลสัมปทานนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำดี

แก่ผู้มีศีล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็น

ถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก ? เพราะผู้ได้สดับมาก เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ย่อม

ไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคืองและ

ความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ได้สดับมากย่อมเห็นสุต-

สัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น

ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภจาคะจึงเป็นถ้อยคำดี

แก่ผู้มีจาคะ ? เพราะผู้มีจาคะ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ

ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีจาคะนั้นย่อมเห็นจาคสัมปทาในตน และย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 332

ได้ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภจาคะจึงเป็น

ถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำ

ดีแก่ผู้มีปัญญา ? เพราะผู้มีปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่

โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้

ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีปัญญานั้น ย่อมเห็นปัญญาสัมปทาในตน

และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภ

ปัญญาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล ย่อมเป็น

ถ้อยคำดี เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล.

จบทุกถาสูตรที่ ๗

อรรถกถาทุกถาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุกถาสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุคฺคล อุปนิธาย ความว่า อ้างถึงบุคคลนั้นแล้วทำให้

เป็นพยาน. บทว่า กจฺฉมานาย แปลว่า กล่าว คำที่เหลือในสูตรนี้มีเนื้อ

ความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาทุกถาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 333

๘. สารัชชสูตร*

ว่าด้วยธรรมทำให้ครั่นคร้ามและให้กล้าหาญ

[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมถึงความครั่นคร้าม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ได้สดับน้อย ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑

เป็นผู้มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕

ประการนี้แล ย่อมถึงความครั่นคร้าม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ ย่อม

เป็นผู้แกล้วกล้า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ได้สดับมาก ๑ เป็นผู้ปรารภ

ความเพียร ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า.

จบสารัชชสูตรที่ ๘

๙. อุทายิสูตร

ว่าด้วยองค์คุณแห่งพระธรรมกถึก

[๑๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม

ใกล้เมืองโกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระอุทายีอันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม

แล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์

* อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 334

บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่

แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่น

ไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้

ภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า

เราจักแสดงธรรมไปโดยลำดับ ๑ เราจักแสดงอ้างเหตุผล ๑ เราจัก

แสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู ๑ เราจักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม ๑

เราจักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น ๑ แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น

ดูก่อนอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรม

แก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น.

จบอุทายิสูตรที่ ๙

อรรถกถาอุทายิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุทายิสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุปุพฺพิกถ กเถสฺสามิ ความว่า ยกลำดับแห่งเทศนา

อย่างนี้ว่า ศีลในลำดับทาน สวรรค์ในลำดับศีล หรือบทพระสูตร หรือบทคาถา

ใด ๆ หรือพึงตั้งจิตว่า เราจักกล่าวกถาสมควรแก่บทนั้น ๆ แล้วแสดงธรรม

แก่ผู้อื่น. บทว่า ปริยายทสฺสาวี ได้แก่ แสดงถึงเหตุนั้น ๆ แห่งเนื้อความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 335

นั้น ๆ. จริงอยู่ในสูตรนี้ท่านกล่าวเหตุว่าปริยาย. บทว่า อนุทฺทยต ปฏิจฺจ

ได้แก่ อาศัยความเอ็นดูว่า เราจักเปลื้องสัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความยากลำบากมาก

จากความยากลำบาก. บทว่า น อามิสนฺตโร ได้แก่ ไม่เห็นแก่อามิส

อธิบายว่า ไม่หวังลาภคือปัจจัย ๔ เพื่อตน. บทว่า อตฺตานญฺจ ปรญฺจ

อนุปหจฺจ ได้แก่ ไม่กระทบตนและผู้อื่นด้วยการกระทบคุณโดยยกตนข่มผู้อื่น.

จบอรรถกถาอุทายิสูตรที่ ๙

๑๐. ทุพพิโนทยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่บรรเทาได้ยาก

[๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นแล้ว

บรรเทาได้ยาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑

โมหะ ๑ ปฏิภาณ ๑ จิตคิดจะไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕

ประการนี้ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ยาก.

จบทุพพิโนทยสูตรที่ ๑๐

จบสัทธัมมวรรคที่ ๑

อรรถกถาทุพพิโนทยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุพพิโนทยสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทุปฺปฏิวิโนทยา ความว่า ฐานะทั้งหลายใดย่อมมีเพื่อยังกิจ

มีการรื่นเริงเป็นต้นให้เกิดขึ้น เมื่อฐานะนั้น ๆ ยังไม่สิ้นสุดเป็นอันนำออก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 336

ยากข่มได้ยาก. ความเป็นผู้ประสงค์จะกล่าวท่านเรียกว่าปฏิญาณ. ธรรม ๕

อย่างนี้ ระงับยาก ไม่ใช่ระงับได้ง่าย แต่สามารถระงับได้ด้วยปัจจเวกขณะ

(การพิจารณา) และอนุสาสนะ (การสั่งสอน) อันสมควรโดยอุบาย โดยเหตุ

ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาทุพพิโนทยสูตรที่ ๑๐

จบสัทธัมมวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัทธัมมนิยามสูตร ๓ สูตร ๔. สัทธัมมสัมโมสสูตร ๓ สูตร

๗. ทุกถาสูตร ๘. สารัชชสูตร ๙. อุทายิสูตร ๑๐. ทุพพิโนทยสูตร

และอรรถกถา. 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 337

อาฆาตวรรคที่ ๒

๑. ปฐมอาฆาตวินยสูตร

ว่าด้วยธรรมระงับความอาฆาต ๕ ประการ

[๑๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาตซึ่งเกิดขึ้น

แก่ภิกษุโดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ความ

อาฆาตพึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาต

พึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญกรุณาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงบังเกิด

ขึ้นในบุคคลใด พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้นใน

บุคคลใด พึงถึงการไม่นึกไม่ใฝ่ใจในบุคคลนั้น ๑ ความอาฆาตพึงบังเกิดขึ้น

ในบุคคลใด พึงนึกถึงความเป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตนให้มั่นในบุคคลนั้นว่า

ท่านผู้นี้เป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด

มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม

จักเป็นทายาท (ผู้รับผล) ของกรรมนั้น ดังนี้ ๑ ภิกษุพึงระงับความอาฆาต

ในบุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบปฐมอาฆาตวินยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 338

อาฆาตวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาปฐมอาฆาตวินยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอาฆาตวินยสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒

ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า อาฆาตวินยะ เพราะอรรถว่า สงบระงับอาฆาต. บทว่า

ยตฺถ ภิกฺขุโน อุปปนฺโน อาฆาโต สพฺพโส ปฏิเนตพฺโพ ความว่า

ความอาฆาตเกิดขึ้นแก่ภิกษุในอารมณ์ใด พึงระงับความอาฆาตทั้งหมดนั้นใน

อารมณ์นั้นด้วยอาฆาตปฏิวินัย ( ธรรมระงับอาฆาต) ๕ เหล่านี้. บทว่า

เมตฺตา ตสฺมึ ปุคฺคเล ภาเวตพฺพา ความว่า พึงเจริญเมตตาด้วยติกฌาน

(ฌานหมวด ๓) และจตุกฌาน (ฌานหมวด ๔). แม้ในกรุณาก็นัยนี้เหมือนกัน.

แต่อุเบกขาควรเจริญด้วยจตุกฌาน (ฌานหมวด ๔) และปัญจกฌาน (ฌาน

หมวด ๕). ก็เพราะจิต (อาฆาต ) ของผู้ที่เห็นบุคคลใดยังไม่ดับ มุทิตาจึงไม่

ปรากฏในบุคคลนั้น ฉะนั้นท่านจึงไม่กล่าวถึงมุทิตา. บทว่า อสติ อมนสิกาโร

ได้แก่ พึงตัดความระลึกถึงในบุคคลนั้นโดยอาการที่บุคคลนั้นไม่ปรากฏเป็น

เหมือนเอาฝาเป็นต้น กั้นไว้ฉะนั้น. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยกล่าว

ไว้แล้วในหนหลัง.

จบอรรถกถาปฐมอาฆาตวินยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 339

๒. ทุติยอาฆาตวินยสูตร

ว่าด้วยธรรมระงับความอาฆาต ๕ ประการ

[๑๖๒] ครั้งนั้น ท่านพรสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต ซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุโดย

ประการทั้งปวง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลบางคนใน

โลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติ

ทางวาจาบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคล

บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มี

ความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้

อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็น

ผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใส

โดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคล

บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความ

ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสโดย

กาลอันสมควร ภิกษุพึงรู้งับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้ อนึ่ง บุคคลบาง

คนในโลกนี้ เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติ

วาจาบริสุทธิ์ และย่อมได้สงบทางใจ ย่อมได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร

ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลแม้เช่นนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๕ จำพวกนั้น บุคคลใด เป็นผู้ความ

ประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 340

พึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุล

เป็นวัตร เห็นผ้าเก่าที่ถนน เหยียบให้มั่นด้วยเท้าซ้าย เขี่ยออกดูด้วยเท้าขวา

ส่วนใดเป็นสาระ ก็เลือกถือเอาส่วนนั้นแล้วหลีกไป แม้ฉันใด บุคคลใด

เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจา

บริสุทธิ์ ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึงใส่ใจ

ส่วนนั้นในสมัยนั้น ส่วนความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุ

พึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้น

อย่างนี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่

บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ภิกษุพึงระงับความ

อาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร เหมือนอย่างว่า สระน้ำที่ถูกสาหร่ายและแหนคลุมไว้

บุรุษผู้เดินทางร้อนอบอ้าว เหนื่อยอ่อน ระหายน้ำ เขาลงสู่สระน้ำนั้น แหวก

สาหร่ายและแหนด้วยมือทั้งสองแล้ว กอบน้ำขึ้นดื่มแล้วพึงไป แม้ฉันใด

บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ (แต่) เป็นผู้มีความ

ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา

ภิกษุไม่พึงใส่ใจในส่วนนั้นในสมัยนั้น ส่วนความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใด

ของเขา ภิกษุพึงใส่ใจในส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความ

อาฆาตในบุคคลนี้อย่างนี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่

บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจ

ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้น

อย่างไร เหมือนอย่างว่า น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอยโค บุรุษผู้เดินทางร้อนอบอ้าว

เหนื่อยอ่อน ระหายน้ำ เขาพึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า น้ำเล็กน้อยมีอยู่ในรอย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 341

โคนี้ ถ้าเราจะกอบขึ้นดื่มหรือใช้ภาชนะตักขึ้นดื่มไซร้ เราก็จักทำน้ำนั้นให้

ไหวบ้าง ให้ขุ่นบ้าง ให้ไม่เป็นที่ควรดื่มบ้าง ถ้ากระไรเราพึงคุกกเข่าก้มลงดื่ม

น้ำอย่างโคดื่มน้ำแล้วหลีกไปเถิด เขาคุกเข่าก้มลงดื่มน้ำอย่างโคดื่มน้ำแล้วไป

แม้ฉันใด บุคคลใด เป็นผู้มิความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความ

ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ แต่ย่อมได้ทางสงบใจได้ความเลื่อมใสโดยกาล

อันสมควร ความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุไม่พึง

ใส่ใจส่วนนั้นสมัยนั้น แม้ความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์ส่วนใดของเขา

ภิกษุก็ไม่พึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แต่การได้ทางสงบใจได้ความเลื่อมใส

โดยกาลอันสมควรส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น

ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนั้น.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่

บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ

ไม่ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้น

อย่างไร เหมือนอย่างว่า บุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก เดินทางไกล

แม้ข้างหน้าเขาก็มีบ้านอยู่ไกล แม้ข้างหลังเขาก็มีบ้านอยู่ไกล เขาไม่พึงได้

อาหารที่สบาย (ถูกโรค) เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควร และผู้นำทางไป

สู่บ้าน บุรุษบางคนผู้เดินทางไกลพึงเห็นเขา บุรุษนั้นพึงเข้าไปตั้งความกรุณา

ความเอ็นดู ควานอนุเคราะห์ในเขาว่า โอ คน ๆ นี้พึงได้อาหารที่สบาย

เภสัชที่สบาย ผู้พยาบาลที่สมควร และผู้นำทางไปสู่บ้าน ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเหตุว่า คน ๆ นี้อย่าถึงความพินาศฉิบหาย ณ ที่นี้เลย แม้ฉันใด

บุคคลใดเป็นผู้มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทาง

วาจาไม่บริสุทธิ์และย่อมไม่ได้ทางสงบใจ ไม่ได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร

ภิกษุพึงเข้าไปตั้งความกรุณา ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ในบุคคลแม้เห็น

ปานนี้ว่า โอท่านผู้นี้พึงละกายทุจริตแล้ว อบรมกายสุจริต พึงละวจีทุจริตแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 342

อบรมวจีสุจริต พึงละมโนทุจริตแล้ว อบรมมโนสุจริต ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเหตุว่า ท่านผู้นี้เมื่อตายไปแล้ว อย่าเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลใด เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์

เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความ

เลื่อมใสโดยกาลอันสมควร ภิกษุพึงระงับความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างไร

เหมือนอย่างว่า สระน้ำที่มีน้ำใส มีน้ำอร่อยดี มีน้ำเย็น มีน้ำขาว มีท่าน้ำ

ราบเรียบ น่ารื่นรมย์ดาดาษไปด้วยต้นไม้พันธุ์ต่าง ๆ บุคคลผู้เดินทางร้อน

อบอ้าว เหนื่อย อ่อน ระหายน้ำ เขาพึงลงสู่สระน้ำนั้น อาบบ้าง ดื่มบ้าง

แล้วขึ้นมานั่งบ้าง นอนบ้าง ที่ร่มไม้ใกล้สระน้ำนั้น แม้ฉันใด บุคคลใด

เป็นผู้มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์

ย่อมได้ทางสงบใจ และย่อมได้ความเลื่อมใสโดยกาลอันสมควร แม้ความ

ประพฤติทางกายบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น แม้

ความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์ส่วนใดของเขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัย

นั้น แม้การได้ทางสงบใจ ได้ความเลื่อมใสโดยการอันสมควร ส่วนใดของ

เขา ภิกษุพึงใส่ใจส่วนนั้นในสมัยนั้น ฉันนั้น ภิกษุพึงระงับความอาฆาตใน

บุคคลนั้นอย่างนี้. ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เพราะอาศัยบุคคลผู้เป็นที่น่าเลื่อมใส

โดยประการทั้งปวง จิตย่อมเลื่อมใส.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ระงับความอาฆาต ซึ่งเกิดขึ้นแก่

ภิกษุโดยประการทั้งปวง ๕ ประการนี้แล.

จบทุติยอาฆาตวินยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 343

อรรถกถาทุติยอาฆาตวินยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอาฆาตวินยสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า อาฆาตปฏิวินยะ เพราะความระงับอาฆาตในบุคคล ๕ เหล่า

นั้นบ้าง เพราะควรระงับอาฆาตด้วยธรรม ๕ เหล่านั้นบ้าง. จริงอยู่ บทว่า

ปฏิวินยา นี้เป็นชื่อของวัตถุที่ควรระงับบ้าง เหตุที่ควรระงับบ้าง. ทั้งสอง

อย่างนั้นก็ถูกในที่นี้. ก็บุคคลทั้งหลาย ๕ เป็นปฏิวินยวัตถุ (วัตถุที่ควรระงับ)

ข้อปฏิบัติ ๕ ด้วยอุปมา ๕ ข้อ ชื่อปฏิวินยการณะ (เหตุที่ควรระงับ). บทว่า

ลภติ จ กาเลน กาล เจตโต วิวร เจตโส ปสาท ความว่า เขายัง

ได้ช่อง กล่าวคือ โอกาสที่จิตอันเป็นสมถะและวิปัสสนาเกิดได้และความผ่องใส

กล่าวคือความเป็นผู้ผ่องใสด้วยศรัทธาเป็นครั้งคราว.

บทว่า รถิยาย ได้แก่ ระหว่างวิถี. บทว่า นนฺตก ได้แก่ ท่อน

ผ้าขี้ริ้ว. บทว่า นิคฺคหิตฺวา ได้แก่ เหยียบแล้ว. บทว่า โย ตตฺถ สาโร

ได้แก่ ส่วนใดในผ้าผืนนั้นยังดีอยู่. บทว่า ต ปริปาเตตฺวา ได้แก่ ฉีก

ส่วนนั้น. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงเห็นว่าผู้อยู่ด้วยเมตตา ดุจภิกษุ

ผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร บุคคลผู้มีเวรดุจผ้าขี้ริ้วบนถนน ความเป็นผู้มีกาย

สมาจารไม่บริสุทธิ์ดุจท่อนผ้าเปื่อย ความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ดุจท่อนผ้า

ยังดี พึงเห็นว่าเวลาที่ไม่ใส่ใจถึงความเป็นผู้มีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ ใส่ใจถึง

ความเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ ดับจิตตุบาทในคนที่เป็นศัตรูกันแล้วอยู่อย่าง

สบาย ดุจเวลาที่ทิ้งท่อนผ้าเปื่อย ถือเอาผ้าท่อนดี เย็บ ย้อมแล้วห่มจาริกไป.

บทว่า เสวาลปณกปริโยนทฺธ ได้แก่ ถูกสาหร่ายและแหนปกคลุม.

บทว่า มมฺมปเรโต ได้แก่ เหงื่อไหลเพราะร้อน. บทว่า กิลนฺโต ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 344

เดินทางเหนื่อยมา. บทว่า ตสิโต ได้แก่ ถูกความอยากครอบงำ. บทว่า

ปิปาสิโต ได้แก่ ประสงค์จะดื่มน้ำ. บทว่า อปวิยูหิตฺวา ได้แก่ แหวก.

บทว่า ปิวิตฺวา ได้แก่ ดื่มน้ำใส. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ ภิกษุผู้อยู่ด้วย

เมตตา พึงเห็นดุจบุรุษถูกความร้อนเผา ความเป็นผู้มีวจีสมาจารไม่บริสุทธิ์ก็ดุจ

สาหร่ายและแหน ความเป็นผู้มีกายสมาจารบริสุทธิ์ก็ดุจน้ำใส เวลาที่ภิกษุไม่ใส่

ใจถึงความเป็นผู้มีวจีสมาจารไม่บริสุทธิ์ แล้วใส่ใจถึงความเป็นผู้มีกายสมาจาร

บริสุทธิ์ ยังจิตตุบาทในคนมีเวรกันให้ดับไปแล้วอยู่อย่างสบาย พึงเห็นดุจ

บุรุษแหวกสาหร่ายและแหน แล้วดื่มน้ำใสแล้วเดินไป ฉะนั้น.

บทว่า โขเภสฺสามิ คือให้กระเพื่อม. บทว่า โลเฬสฺสามิ คือ

จักทำให้ขุ่น บทว่า อปฺเปยฺยมฺปิ น กริสฺสามิ ได้แก่ จักทำให้ดื่มไม่ได้.

บทว่า จตุคุณฺฑิโก ได้แก่ เอาเข่าทั้งสอง และมือทั้งสองหมอบไปบนแผ่นดิน.

บทว่า โคปิตก ปิวิตฺวา ได้แก่ ก้มลงดื่มอย่างแม่โค. ในบทว่า เอวเมว โข

นี้ ผู้ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตาพึงเห็นดุจบุรุษถูกความร้อนเผา. คนมีเวรก็ดุจรอยโค

คุณเล็กน้อยในภายในของภิกษุนั้นดุจน้ำนิดหน่อยในรอยโค การที่ภิกษุนั้นไม่

ใส่ใจถึงความเป็นผู้มีกายสมาจาร และวจีสมาจารอันไม่บริสุทธิ์ แล้วใส่ใจถึง

การได้ปีติและปราโมทย์ อันเป็นความผ่องใสแห่งจิต เพราะอาศัยการฟังธรรม

ตามกาลอันควร แล้วยังจิตตุบาทให้ดับไป พึงเห็นดุจบุรุษหมอบก้มลงดื่มน้ำ

อย่างแม่โค หลีกไปฉะนั้น.

บทว่า อาพาธิโก ได้แก่ เจ็บป่วยด้วยโรคของแสลง ที่ทำลาย

อิริยาบถ. บทว่า ปุรโตปิสฺส แปลว่า พึงมีอยู่ข้างหน้า. บทว่า อนยพฺพยสน

ได้แก่ ความไม่เจริญคือความพินาศ. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ คนที่ประกอบ

ด้วยธรรมส่วนคำทั้งหมด พึงเห็นดุจคนไข้อนาถา สงสารอันหาที่สุดเบื้องต้น

ไม่ได้ดุจทางไกล ความที่นิพพานไกล ดุจความที่บ้านไกลทั้งข้างหน้าข้างหลัง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 345

การไม่ได้โภชนะคือผลแห่งสมณธรรม ดุจการไม่ได้โภชนะอันเป็นที่สบาย

ความไม่มีสมถะและวิปัสสนาดุจการไม่ได้เภสัชอันเป็นที่สบาย ความไม่มีผู้

เยียวยากิเลสด้วยโอวาทานุสาสนี ดุจการไม่ได้ผู้อุปฏฐากที่เหมาะสม ความไม่ได้

พระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต ผู้ทำให้บรรลุนิพพาน ดุจการไม่ได้

ผู้นำไปให้ถึงเขตบ้าน การที่ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา ทำกรุณาให้เกิดในบุคคลนั้น

แล้ว จิต [อาฆาต ] ดับไป พึงเห็นดุจการที่บุรุษคนใดคนหนึ่งเห็นคนไข้อนาถา

แล้วอุปฐากด้วยความกรุณา ฉะนั้น.

บทว่า อจฺโฉทกา คือน้ำใส. บทว่า สาโตทกา คือน้ำหวาน.

บทว่า สีโตทกา คือน้ำเย็นทั่วตัว. บทว่า เสตกา ได้แก่ มีสีขาวในที่

คลื่นแตก. บทว่า สุปติฏฺา คือมีท่าเรียบ. ในบทว่า เอวเม โข นี้

ผู้อยู่ด้วยเมตตาพึงเห็นดุจบุรุษถูกแดดเผา บุรุษผู้มีทวารทั้งหมดบริสุทธิ์ ดุจ

สระโบกขรณีนั้น การทำสิ่งที่ต้องการในทวารเหล่านั้นให้เป็นอารมณ์แล้ว

[จิตอาฆาตดับ] พึงทราบดุจการอาบ ดื่ม และขึ้นไปนอนที่ร่มไม้แล้วไปตาม

ความต้องการ ฉะนั้น.

จบอรรถกถาอาฆาตวินยสูตรที่ ๒

๓. สากัจฉาสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา

[๑๖๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลาย ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 346

ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อสนทนากับเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ?

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลโดยตนเอง และเป็นผู้แก้

ปัญหาที่มาด้วยศีลสัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิโดยตนเอง และ

เป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยสมาธิสัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาโดย

ตนเองและเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยปัญญาสัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยวิมุตติโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยวิมุตติสัมปทากถาได้ ๑

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วย

วิมุตติญาณทัสสนสัมปทากถาได้ ๑.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

เป็นผู้ควรเพื่อสนทนากันเพื่อนพรหมจรรย์.

จบสากัจฉาสูตรที่ ๓

สูตรที่ ๓-๔ มีนัยอันท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.

๔. สาชีวสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรอยู่ร่วมกัน

[๑๖๔] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

เป็นผู้ควรเป็นอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 347

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่

มาด้วยศีลสัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิโดยตนเอง และเป็นผู้แก้

ปัญหาที่มาด้วยสมาธิสัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาโดยตนเอง

และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยปัญญาสัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ

โดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยวิมุตติสัมปทากถาได้ ๑ เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยวิมุตติ-

ญาณทัสสนสัมปทากถาได้ ๑

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

เป็นผู้ควรเป็นอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์.

จบสาชีวสูตรที่ ๔

๕. ปัญหาปุจฉาสูตร

ว่าด้วยเหตุถามปัญหา ๕ ประการ

[๑๖๕] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหาก็ภิกษุอื่นด้วย

เหตุ ๕ ประการ ทั้งหมดหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหาก็ภิกษุอื่นเพราะโง่เขลา เพราะหลงลืม ๑

ภิกษุบางรูปเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถาม

ปัญหากะภิกษุอื่น ๑ ภิกษุบางรูปดูหมิ่นจึงถามปัญหากะภิกษุอื่น ๑ ภิกษุ

บางรูปประสงค์จะรู้จึงถามปัญหาก็ภิกษุอื่น ๑ อนึ่ง ภิกษุบางรูปคิดอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 348

ภิกษุอื่นถ้าถูกเราถามปัญหาก็จักแก้โดยชอบ ข้อนั้นเป็นความดี แต่ถ้าถูกเรา

ถามปัญหาจักไม่เกิดโดยชอบ เราเองจักแก้โดยชอบแก่เธอ ดังนี้ จึงถามปัญหา

กะภิกษุอื่น ๑.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูปย่อมถามปัญหากะภิกษุอื่น ด้วย

เหตุ ๕ ประการ ทั้งหมดหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนข้าพเจ้าคิดอย่างนี้ว่า

ถ้าภิกษุถูกเราถามปัญหาจักแก้โดยชอบ ข้อนั้นเป็นความดี แต่ถ้าถูกเราความ

ปัญหาจักไม่แก้โดยชอบ เราเองจักแก้โดยชอบแก่เธอ ดังนี้ จึงถามปัญหา

กะภิกษุอื่น.

จบปัญหาปุจฉาสูตรที่ ๕

อรรถกถาปัญหาปุจฉาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัญหาปุจฉาสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปริภว แปลว่า เหยียดหยาม อธิบายว่า ถามเพื่อจะ

เหยียดหยาม ด้วยคิดว่า เราจักเหยียดหยามอย่างนี้ ดังนี้. บทว่า าตุกาโม

ได้แก่ เป็นผู้ใคร่รู้.

จบอรรถกถาปัญหาปุจฉาสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 349

๖. นิโรธสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของพระเถระที่น่าเคารพบูชา

[๑๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง

พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีไค้ ถ้าเธอไม่พึง

บรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มี

กวฬิงการาหารเป็นภิกษุ เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า เข้าถึง

สัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะ

ที่จะมีได้ เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าวกะ

ท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็น

สหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ

บางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง

นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ผู้ถึงพร้อมด้วย

ปัญญา พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง

ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็

ก้าวล่วงความเป็นสหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพ

ผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญา-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 350

เวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายีได้กล่าว

กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็น

สหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ

บางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง

นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระอุทายีคัดค้านเราถึง

๓ ครั้ง และภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนา (ภาษิต) เรา ผิฉะนั้น เราพึงเข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นเเล้วได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงเข้าสัญญา-

เวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้

ถ้าเธอไม่พึงบรรลุอรหัตผลในปัจจุบันไซร้ เธอก็ก้าวล่วงความเป็นสหาย

เหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจบางเหล่า

พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง ข้อนั้นเป็น

ฐานะที่จะมีได้ เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กล่าว

กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร ข้อที่ภิกษุก้าวล่วงความเป็น

สหายเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจ

บางเหล่า พึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง

นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายี. . .ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้คิดว่า ท่านพระ-

อุทายีคัดค้านเราถึง ๓ ครั้ง แม้เฉพาะพระภักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า และ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 351

ภิกษุบางรูปก็ไม่อนุโมทนาต่อเรา ผิฉะนั้น เราพึงนิ่งเสีย ครั้งนั้น ท่าน

พระสารีบุตรได้นิ่งอยู่.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระอุทายีว่า ดูก่อน

อุทายี ก็เธอย่อมหมายถึงเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ทางใจเหล่าไหน ท่านพระอุทายีได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หมายถึงเหล่าเทพชั้นอรูปที่

สำเร็จด้วยสัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนอุทายี ไฉนเธอผู้เป็น

พาล ไม่ฉลาดจึงได้กล่าวอย่างนั้น เธอเองย่อมเข้าใจคำที่เธอควรพูด ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ไฉนพวกเธอ

จึงวางเฉย (ดูดาย) ภิกษุผู้เถระซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่ เพราะว่า แม้ความ

กรุณาจักไม่มีในภิกษุผู้ฉลาดซึ่งถูกเบียดเบียนอยู่. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถึง

พร้อมด้วยศีล. . .ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ครั้น

ตรัสดังนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ครั้นเมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระอุปวาณะ

แล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านอุปวาณะ ภิกษุเหล่าอื่นในพระศาสนานี้ ย่อม

เบียดเบียนภิกษุทั้งหลายผู้เถระ พวกเราจะไม่ถามหาภิกษุเหล่านั้น การที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น จักทรงปรารภเหตุนั้น

ยกขึ้นแสดง เหมือนดังที่จะพึงตรัสกะท่านอุปวาณะโดยเฉพาะในเหตุนั้น ข้อนั้น

ไม่เป็นของอัศจรรย์ บัดนี้ ความน้อยใจได้เกิดขึ้นแก่พวกเรา.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็นแล้ว เสด็จ

เข้าไปนั่งที่อุปัฏฐากศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ตบแต่งไว้ แล้วจึงตรัสถาม

ท่านพระอุปวาณะว่า ดูก่อนอุปวาณะ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรมเท่าไรหนอ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 352

แล ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหม-

จรรย์ ท่านพระอุปวาณะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระ

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ

และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑

เธอเป็นพหูสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เธอเป็นผู้มีวาจาไพเราะ

มีถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้

เนื้อความได้แจ่มแจ้ง ๑ เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก

ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑

เธอย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ

อาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ๑ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก เป็น

ที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์.

พ. ดีละ ๆ อุปวาณะ ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหม-

จรรย์ ถ้าหากว่าธรรม ๕ ประการนี้ ไม่พึงมีแก่ภิกษุผู้เถระไซร้ เพื่อน

พรหมจรรย์พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ โดยความเป็นผู้มีฟันหัก

มีผมหงอก มีหนังย่น อะไรกัน แต่เพราะธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมมีแก่

ภิกษุผู้เถระ ฉะนั้นเพื่อนพรหมจรรย์จึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเธอ.

จบนิโรธสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 353

อรรถกถานิโรธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิโรธสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺเถต าน แปลว่า เหตุนั้นมีอยู่. บทว่า โน เจ

ทิฏฺเว ธมฺเม อญฺ อาราเธยฺย ความว่า หากภิกษุนั้นยังไม่บรรลุ

พระอรหัตในอัตภาพนี้. บทว่า กพฬิงฺการภกฺขาน เทวาน ได้แก่

เทวดาชั้นกามาวจร. บทว่า อญฺตร มโนมย กาย ได้แก่ หมู่พรหม

ชั้นสุทธาวาสหมู่ใดหมู่หนึ่ง ซึ่งเกิดด้วยใจที่ประกอบด้วยฌาน. บทว่า

อุทายี ได้แก่ โลฬุทายี. โลฬุทายีนั้นได้สดับว่า มโนมย ดังนี้จึงค้านว่า

ไม่เป็นการสมควร. เพื่อป้องกันลัทธิของพวกคนพาลที่เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ท่าน

สารีบุตรจะรู้อะไร ซึ่งพวกภิกษุยังพากันคัดค้านถ้อยคำอย่างนี้ต่อหน้าดังนี้

พระเถระไม่หยุดถ้อยคำนั้นเสียเอง จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า บทว่า

อตฺถินาม เป็นนิบาตลงในอรรถว่าอ้างถึง. ด้วยเหตุนั้น บทว่า อชฺฌุเปกฺ-

ขิสฺสถ ในที่นี้ท่านจึงทำให้เป็นศัพท์อนาคตกาล. ในสูตรนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า

ดูก่อนอานนท์ พวกเธอจงเพ่งดูภิกษุผู้เป็นเถระถูกเบียดเบียนอย่างนี้เราจะไม่ทน

ต่อพวกเธอ ไม่อดทน ไม่อดกลั้นละดังนี้. ถามว่า เพราะเหตุใด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้กะพระอานนทเถระเท่านั้น. ตอบว่า เพราะพระ-

อานนทเถระเป็นคลังธรรม. จริงอยู่ พระอุทายีเมื่อกล่าวต่อท่านผู้เป็นคลังธรรม

อย่างนี้ จึงเป็นภาระที่จะห้ามปราม. อีกอย่างหนึ่ง พระอานนทเถระก็เป็นปิยสหาย

ของพระสารีบุตรเถระ ด้วยเหตุนั้นจึงเป็นภาระของพระอานนทเถระ. ในข้อ

นั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงตำหนิพระอานนทเถระจึงตรัสอย่างนี้ก็จริง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 354

ถึงอย่างนั้นก็มิใช่ตำหนิพระอานนทเถระเท่านั้น พึงทราบว่าเป็นการตำหนิภิกษุ

ทั้งหมดที่อยู่กันพร้อมหน้านั่นแล.

บทว่า วิหาร ได้แก่ พระคันธกุฎี. บทว่า อนจฺฉริย ได้แก่

ไม่น่าอัศจรรย์. บทว่า ยถา เป็นคำกล่าวเหตุ. ในบทว่า อายสฺมนฺตญฺ-

เเวตฺถ อุปวาณ ปฏิภาเสยฺย พระอานนทเถระชี้แจงว่าเมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงปรารภเหตุนี้ ทรงยกเรื่องนี้มาอ้างแล้ว คำตอบจงแจ่มแจ้ง

จงปรากฏแก่ท่านอุปวาณะเถิด. บทว่า สารชฺช โอกฺกนฺต ได้แก่ เกิด

โทมนัสใจ. ท่านอุปวาณะกล่าวถึงศีลของพระขีณาสพเป็นต้นด้วยบทมีอาทิว่า

สีลวา ดังนี้. บทว่า ขณฺฑิจฺเจน เป็นต้น ท่านอุปวาณะกล่าว ด้วยถาม

ถึงเหตุแห่งสักการะเป็นต้น ในข้อนี้มีอธิบายว่า สพรหมจารีทั้งหลายพึงสักการะ

เพื่อนพรหมจารีด้วยเหตุมีฟันหักเป็นต้น.

จบอรรถกถานิโรธสูตรที่ ๖

๗. โจทนาสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์

[๑๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการ

ไว้ภายในก่อนแล้วจึงโจทย์ผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ธรรมว่า

เราจักกล่าวโดยกาลควร จักไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร ๑ จักกล่าวด้วยเรื่องจริง

จักไม่กล่าวด้วยเรื่องไม่จริง ๑ จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วย

คำหยาบ ๑ จักกล่าวด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยเรื่อง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 355

ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ จักเป็นผู้มีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้เพ่งโทษ

กล่าว ๑ ดูก่อนอาวุโส ภิกษุผู้โจทย์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕

ประการนี้ไว้ภายในก่อนแล้วจึงโจทผู้อื่น.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ถูกผู้อื่น

โจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่อง

ไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจท

ด้วยคำอ่อนหวาน ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเพ่งโทษ

ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ก็โกรธ.

ดูก่อนอาวุโส ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจท

โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจท

โดยกาลควร ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ถูกโจท

ด้วยเรื่องจริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจท

ด้วยคำอ่อนหวาน ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทย์ด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควร

เดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึง

ไม่ควรเดือดร้อน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้

เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ

ผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจท

โดยกาลควร ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วย

เรื่องจริง ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำอ่อนหวาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 356

ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจท

ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเพ่งโทษ

ไม่โจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรเดือดร้อน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความ

เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕

นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า ภิกษุแม้รูปอื่นไม่พึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วย

เรื่องไม่จริง.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ถูกโจท

โดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเรื่องจริง

ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ก็โกรธ ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วย

คำหยาบ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วย

เรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจท

ด้วยเพ่งโทษ ก็โกรธ.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้

ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ คือ ท่านถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจท

โดยกาลไม่ควร ทำนุ่งควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจท

ด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูก

โจทด้วยคำหยาบ ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วย

ประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือด-

ร้อน ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควร

เดือดร้อน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ

ผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ นี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ

ผู้โจทโดยเป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลควร ไม่โจทโดย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 357

กาลไม่ควร ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่โจทด้วยเรื่อง

ไม่จริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่โจทด้วย

คำหยาบ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์

ไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่าน

โจทด้วยเมตตาจิต ไม่โจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์เป็น

ธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าภิกษุแม้รูปอื่นพึง

เข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องจริง.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อันบุคคลผู้ถูกโจทพึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ

คือ ความจริง และความไม่โกรธ.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย (ถ้า) ผู้อื่นพึงโจท (เรา) ด้วยธรรม ๕ ประการ

คือ พึงโจทโดยกาลควรหรือโดยกาลไม่ควร ๑ ด้วยเรื่องจริงหรือด้วยเรื่อง

ไม่จริง ๑ ด้วยคำอ่อนหวานหรือด้วยคำหยาบ ๑ ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วย

ประโยชน์ หรือด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ด้วยเมตตาจิตหรือ

ด้วยเพ่งโทษ ๑ แม้เราก็พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริงและ

ความไม่โกรธ ถ้าเราพึงทราบว่าธรรมนั้นมีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรม

นั้นว่า มีอยู่ ว่าธรรมนั้นมีอยู่พร้อมในเรา ถ้าเราพึงทราบว่าธรรมนั้นไม่มี

อยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่าไม่มีอยู่ ว่าธรรมนั้นไม่มีอยู่พร้อม

ในเรา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เรื่องก็จะพึงเป็น

เช่นนั้น แต่ว่าโมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับ

โดยเคารพ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 358

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการ

เลี้ยงชีวิต มิใช่ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน

เย่อหยิ่ง เหลาะแหละ ปากกล้า พูดพล่าม ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เพ่งถึงความเป็นสมณะ

ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด

ทอดธุระในวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีสติเลอะเลือน ไม่มี

สัมปชัญญะ ไม่มีจิตมั่นคง มีจิตฟุ้งซ่าน มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย

คนเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่รับโดยเคารพ

ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่เกเร

ไม่ฟุ่งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่เหลาะแหละ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม สำรวม

ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร เพ่งถึง

ความเป็นสมณะ มีความเคารพกล้าในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระ

ในการล่วงละเมิด เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียร อบรมตน มีสติ

ตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิตเป็นหนึ่ง มีปัญญา มิใช่คล้ายคน

บ้าน้ำลาย กุลบุตรเหล่านั้นเมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ย่อมรับโดย

เคารพ.

พ. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต

. . . มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย จงยกไว้ (ยกเว้น) ส่วนกุลบุตร

เหล่าใด มีศรัทธาออกบวช. . .มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย ดูก่อนสารีบุตร

เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอน

เพื่อนพรหมจรรย์ ด้วยหวังว่าเราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้

ตั้งอยู่ในสัทธรรม เธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล สารีบุตร.

จบโจทนาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 359

อรรถกถาโจทนาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาโจทนาสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โจทเกน ความว่า ภิกษุผู้เป็นโจทก์ โจทด้วยโจทนวัตถุ ๔

คือ ชี้วัตถุ ชี้อาบัติ ห้ามสังวาส ห้ามสามีจิกรรม. ในบทว่า กาเลน วกฺขามิ

ใน อกาเลน นี้ พระสารีบุตรเถระกล่าวถึงกาลของภิกษุผู้ถูกโจท [จำเลย]

ไม่ได้กล่าวถึงกาลของโจทก์ [ผู้ฟ้อง]. จริงอยู่ ผู้ที่จะโจทผู้อื่น ไม่ควรโจท

ในท่ามกลางบริษัท หรือในโรงอุโบสถปวารณา หรือที่หอนั่งและหอฉัน

เป็นต้น. ในเวลานั่งในที่พักกลางวัน ควรขอโอกาสอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ

จงให้โอกาส ผมประสงค์จะพูดกะท่านดังนี้ แล้วจึงโจท. เพ่งถึงบุคคล บุคคล

เหลาะแหละใดกล่าวคำไม่จริงยกโทษแก่ภิกษุ บุคคลเหลาะแหละนั้นไม่ต้อง

ขอโอกาสพึงโจทเลย. บทว่า ภูเตน คือ โดยความจริง โดยสภาพ. บทว่า

สณฺเหน คือ โดยสุภาพอ่อนโยน. บทว่า อตฺถสญฺหิเตน ได้แก่

ประกอบด้วยความเป็นผู้หวังดี ใคร่ประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า อวิปฺปฏิสาโร

อุปทหิตพฺโพ ได้แก่ ไม่ให้เกิดความเก้อเขิน. บทว่า อลนฺเต อวิปฺ-

ปฏิสาราย ได้แก่ ท่านควรเป็นผู้ไม่เก้อเขิน. บทที่เหลือในสูรนี้มีเนื้อความ

ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาโจทนาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 360

๘. สีลสูตร

ว่าด้วยโทษของความทุศีลและคุณแห่งความมีศีล

[๑๖๘] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ

ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะของ

ภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อยถาภูตญาณ-

ทัสสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมเป็น

ธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุ

ผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เปรียบเหมือนต้นไม้

ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้

เปลือก กระพี้ แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้ฉันใด

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นธรรม

มีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นธรรม

สมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี

นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัย

ถูกขจัด เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะ

วิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยถูกขจัด ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล

ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะ

ของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อยถา-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 361

ภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะสมบูรณ์

ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณ-

ทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย

เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึง

ความบริบูรณ์ แม้เปลือก กระพี้ แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมถึงความบริบูรณ์

แม้ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล

ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะ

ของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อยถา-

ภูตญาณทัสสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะสมบูรณ์

ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณ-

ทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะสมบูรณ์ ย่อมถึงพร้อมด้วยธรรมเป็นอุปนิสัย

ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบสีลสูตรที่ ๘

สีลสูตรที่ ๘ ชัดดีแล้ว เพราะมีนัยที่ท่านกล่าวไว้ในหนหลัง.

๙. นิสันติสูตร

ว่าด้วยเหตุให้คิดได้เร็วเรียนได้ดี

[๑๖๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึง

ที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 362

ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุจึงจะเป็นผู้ใคร่ครวญ

ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย เรียนได้ดี เรียนได้มาก และสิ่งที่เธอเรียนแล้ว

ย่อมไม่เลือนไป ท่านพระสารีบุตรได้ตอบว่า ท่านอานนท์แลเป็นพหูสูต

ข้อความนั้นจงแจ่มแจ้งแก่ท่านอานนท์ทีเดียว.

อา. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี

เราจักกล่าว ท่านพระสารีบุตรรับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้น อาวุโส

ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดใน

นิรุตติและฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุ

จึงจะเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย เรียนได้ดี เรียนได้มาก

และสิ่งที่เธอเรียนแล้วย่อมไม่เลือนไป.

สา. ดูก่อนอาวุโส น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ตามที่ท่านอานนท์

กล่าวไว้ดีแล้วนี้ และพวกเราย่อมทรงจำท่านอานนท์ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕

ประการนี้ว่า ท่านอานนท์เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดใน

พยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ และฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย.

จบนิสันติสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 363

อรรถกถานิสันติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิสันติสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่าเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว เพราะกำหนดจดจำได้เร็ว. ชื่อว่าเรียนได้

อย่างดี เพราะรับเอาไว้ดีแล้ว. บทว่า อตฺถกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดใน

อรรถกถา. บทว่า ธมฺมกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในบาลี. บทว่า นิรุตฺติ-

กุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในภาษา. บทว่า พฺยญฺชนกุสโล ได้แก่ เป็น

ผู้ฉลาดในประเภทแห่งอักษร. บทว่า ปุพฺพาปรกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาด

ในเบื้องต้นเบื้องปลาย ๕ คือ เบื้องต้นเบื้องปลายของอรรถกถา เบื้องต้น

เบื้องปลายของบาลี เบื้องต้นเบื้องปลายของบท เบื้องต้นเบื้องปลายของอักษร

เบื้องต้นเบื้องปลายของอนุสนธิ. ในเบื้องต้นเบื้องปลายเหล่านั้น รู้อรรถ

เบื้องต้นด้วยอรรถเบื้องปลาย รู้อรรถเบื้องปลายด้วยอรรถเบื้องต้น ชื่อว่า

เป็นผู้ฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอรรถกถา. ถามว่าอย่างไร. ตอบว่า

ก็ภิกษุนั้น เมื่อท่านเว้นอรรถเบื้องต้น กล่าวแต่อรรถเบื้องปลาย ย่อมรู้ว่า

อรรถเบื้องต้นมีอยู่ดังนี้ แม้เมื่อท่านเว้นอรรถเบื้องปลาย กล่าวแต่อรรถเบื้องต้น

ก็รู้ว่าอรรถเบื้องปลายมีอยู่ดังนี้ เมื่อท่านเว้นอรรถทั้งสอง กล่าวแต่อรรถใน

ท่ามกลาง ย่อมรู้ว่าอรรถทั้งสองมีอยู่ดังนี้ เมื่อท่านเว้นอรรถในท่ามกลาง

กล่าวแต่อรรถทั้งสองส่วน ย่อมรู้ว่าอรรถในท่ามกลางมีอยู่ดังนี้. แม้ในเบื้องต้น

และเบื้องปลายแห่งบาลี ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็ในเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอนุสนธิ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ เมื่อ

พระสูตรเริ่มศีลเป็นต้นไป ในที่สุดก็มาถึงอภิญญา ๖ ภิกษุย่อมรู้ว่า พระสูตร

ไปตามอนุสนธิ ตามกำหนดบท ดังนี้ เมื่อพระสูตรเริ่มแต่ทิฏฐิไป เบื้องปลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 364

สัจจะทั้งหลายก็มาถึง ภิกษุย่อมรู้ว่า พระสูตรไปตามอนุสนธิ เมื่อพระสูตรเริ่ม

แต่การทะเลาะบาดหมางกัน เบื้องปลายสาราณียธรรมก็มาถึง เมื่อพระสูตร

เริ่มแต่ดิรัจฉานกถา ๓๒ เบื้องปลายกถาวัตถุ ๑๐ ก็มาถึง ภิกษุย่อมรู้ว่า พระ-

สูตรไปตามอนุสนธิ ดังนี้.

จบอรรถกถานิสันติสูตรที่ ๙

๑๐. ภัททชิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เป็นยอด ๕ ประการ

[๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุง-

โกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททชิได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้

ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว

จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามท่านพระ-

ภัททชิว่า ดูก่อนอาวุโสภัททชิ บรรดาการเห็นทั้งหลาย การเห็นชนิดไหน

เป็นยอด บรรดาการได้ยินทั้งหลาย การได้ยินชนิดไหนเป็นยอด บรรดาสุข

ทั้งหลาย สุขชนิดไหนเป็นยอด บรรดาสัญญาทั้งหลาย สัญญาชนิดไหน

เป็นยอด บรรดาภพทั้งหลาย ภพชนิดไหนเป็นยอด.

ท่านพระภัททชิตอบว่า ดูก่อนอาวุโส พรหมผู้เป็นใหญ่ยิ่ง ไม่มี

ใครครอบงำได้ เห็นสิ่งทั้งปวง ยังผู้อื่นให้เป็นไปในอำนาจ มีอยู่ ผู้ใดเห็น

พรหมนั้น การเห็นของผู้นั้นเป็นยอดของการเห็นทั้งหลาย เทพเหล่าอาภัสสระ

ผู้เพรียบพร้อมด้วยความสุขมีอยู่ เทพเหล่านั้นย่อมเปล่งอุทานในการบางครั้ง

บางคราวว่า สุขหนอ ๆ ผู้ใดได้ยินเสียงนั้น การได้ยินเสียงของผู้นั้นเป็นยอด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 365

ของการได้ยินทั้งหลาย เทพเหล่าสุภกิณหะมีอยู่ เทพเหล่านั้นยินดีเฉพาะสิ่งที่

มีอยู่ ย่อมเสวยสุข การเสวยสุขนี้เป็นยอดของความสุขทั้งหลาย พวกเทพผู้

เข้าถึงอากิญจัญญายตนภพมีอยู่ การเข้าถึงอากิญจัญญายตนภพนี้เป็นยอดของ

สัญญาทั้งหลาย พวกเทพผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพมีอยู่ การเข้าถึง

เนวสัญญานาสัญญายตนภพนี้เป็นยอดของภพทั้งหลาย.

อา. คำพูดของท่านภัททชินี้ย่อมเข้ากับชนเป็นอันมาก.

ภ. ท่านพระอานนท์เป็นพหูสูต ขอความข้อนั้นจงแจ่มแจ้งเฉพาะ

ท่านพระอานนท์เทียว.

อา. ดูก่อนอาวุโสภัททชิ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา

จักกล่าว ท่านพระภัททชิรับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้น อาวุโส ท่าน

พระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมี

ในลำดับแห่งบุคคลผู้เห็นตามเป็นจริง นี้เป็นยอดของการเห็นทั้งหลาย ความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีในลำดับแห่งบุคคลผู่ได้ยินตามเป็นจริง นี้เป็น

ยอดของการได้ยินทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีในลำดับแห่ง

บุคคลผู้ได้รับความสุขตามเป็นจริง นี้เป็นยอดของความสุขทั้งหลาย ความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีในลำดับแห่งบุคคลผู้มีสัญญาตามเป็นจริง

นี้เป็นยอดของสัญญาทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมีในลำดับ

แห่งบุคคลผู้เป็นอยู่แล้วตามเป็นจริง นี้เป็นยอดของภพทั้งหลาย.

จบภัททชิสูตรที่ ๑๐

จบอาฆาตวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 366

อรรถกถาภัททชิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภัททชิสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภิภู ได้แก่ ครอบงำตั้งอยู่ คือ เป็นใหญ่. บทว่า อนภิภูโต

ได้แก่ อันคนอื่นครอบงำมิได้. บทว่า อญฺทตฺถุ เป็นนิบาต ใช้ในคำว่า

ส่วนเดียว. อธิบายว่า เห็นด้วยทัสสนะย่อมเห็นทั้งหมด บทว่า วสวตฺตี ได้แก่

ยังชนทั้งหมดให้อยู่ในอำนาจ. บทว่า ยถา ปสฺสโต ได้แก่ เห็นอาการของ

อารมณ์ไม่ว่าจะเป็นอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์. บทว่า อนนฺตรา อาสวาน

ขโย โหติ ได้แก่ พระอรหัตย่อมเกิดขึ้นในลำดับนั่นเอง. แม้ในบทว่า ยถา

สุณโต นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปอันใดด้วยจักษุแล้ว

เริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุรพระอรหัตในลำดับ ติดต่อกันนั่นแหละพระอรหัตของภิกษุ

นั้น ย่อมชื่อว่ามีในลำดับของจักขุวิญญาณ พระอานนทเถระหมายถึงพระอรหัต

นั้น จึงกล่าวว่า นี้เป็นยอดแห่งการเห็น. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ยถา สุขิตสฺส ได้แก่ ถึงความสุขด้วยมรรคสุขใด. บทว่า

อนนฺตรา อาสวาน ขโย โหติ ได้แก่ พระอรหัตย่อมเกิดขึ้นในลำดับ

แห่งมรรคสุขนั้นนั่นเอง. บทว่า อิท สุขาน อคฺค ได้แก่ มรรคสุขนี้

เป็นยอดแห่งความสุขทั้งหลายะ. แม้ในบทว่า ยถา สญฺิสฺส นี้ ท่านประสงค์

เอามรรคสัญญานั่นเอง. บทว่า ยถาภูตสฺส ได้แก่ ตั้งอยู่แล้วในภพใด คือ

ในอัตภาพใด. บทว่า อนนฺตรา ได้แก่ พระอรหัตเกิดขึ้นแล้วในลำดับ

นั่นเอง. บทว่า อิท ภวาน อคฺค ได้แก่ อัตภาพสุดท้ายนี้ ชื่อว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 367

ยอดของภพทั้งหลาย. อีกนัยหนึ่ง บทว่า ยถาภูตสฺส ได้แก่ เป็น คือ มีอยู่

ในขณะแห่งมรรคจิตด้วยขันธ์ทั้งหลายใด. บทว่า อนนฺตรา อาสวาน ขโย

โหติ ได้แก่ ผลย่อมเกิดขึ้นในลำดับแห่งมรรคนั่นเอง. บทว่า อิท ภวาน

อคฺค ได้แก่ ขันธบัญจกในขณะแห่งมรรคจิตนี้ ชื่อว่าเป็นยอดแห่งภพทั้งหลาย

ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาภัททชิสูตรที่ ๑๐

จบอาฆาตวรรควรรณนาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอาฆาตวินยสูตร ๒. ทุติยอาฆาตวินยสูตร ๓. สากัจฉาสูตร

๔. อาชีวสูตร ๕. ปัญหาปุจฉาสูตร ๖. นิโรธสูตร ๗. โจทนาสูตร

๘. สีลสูตร ๙. นิสันติสูตร ๑๐. ภัททชิสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 368

อุปาสกวรรคที่ ๓

๑. สารัชชสูตร*

ว่าด้วยธรรมทำให้อุบาสกแกล้วกล้าและไม่แกล้วกล้า

[๑๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้หยั่งลงสู่ความครั่นคร้าม

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ อุบาสกเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ เป็นผู้ลักทรัพย์ ๑

เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๑ เป็นผู้กล่าวคำเท็จ ๑ เป็นผู้ดื่มน้ำเมาคือ

สุราและเมรัยอื่นเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสก

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้หยั่งลงสู่ความครั่นคร้าม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น

ผู้แกล้วกล้า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณา-

ติบาต ๑ เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทาน ๑ เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท ๑ เป็น

ผู้งดเว้นจากการดืมน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้

แกล้วกล้า.

จบสารัชชสูตรที่ ๑

* อรรถกถาแก้รวมไว้ท้ายสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 369

๒. วิสารทสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้อุบาสกแกล้วกล้าและไม่แกล้วกล้า

[๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นผู้ไม่แกล้วกล้าครองเรือน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ อุบาสก

เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

ย่อมเป็นผู้ไม่แกล้วกล้าครองเรือน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้มี

ความแกล้วกล้าครองเรือนธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ อุบาสกเป็นผู้งดเว้น

จากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น

ที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้าครองเรือน.

จบวิสารทสูตรที่ ๒

๓. นิรยสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์

[๑๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เหมือนถูกนำมาวางไว้ในนรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ อุบาสกเป็น

ผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ เป็นผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 370

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือนถูก

นำมาวางไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือน

ถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คืออุบาสกเป็นผู้งดเว้น

จากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่

ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕

ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์.

จบนิรยสูตรที่ ๓

อุปาสกวรรควรรณนา ที่ ๓

อรรถกถาสารัชชสูตรที่ ๑ วิสารทสูตรที่ ๒ นิรยสูตรที่ ๓

สูตรที่ ๑-๒-๓ แห่งอุปาสกวรรคที่ ๓ ท่านกล่าวถึง อคาริยปฏิบัติ

(ข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือน.) แม้จะเป็นพระโสดาบัน และพระสกทาคามี

อคาริยปฏิบัติก็ย่อมควรทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑-๒-๓

๔. เวรสูตร

ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ

[๑๗๔] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี อุบาสกไม่ละภัยเวร ๕ ประการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 371

เราเรียกว่าผู้ทุศีลด้วย ย่อมเข้าถึงนรกด้วย ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน ?

คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ การดื่ม

น้ำเมาคือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนคฤหบดี อุบาสกผู้ไม่

ละภัยเวร ๕ ประการนี้แล เราเรียกว่า ผู้ทุศีลด้วย ย่อมเข้าถึงนรกด้วย.

ดูก่อนคฤหบดี อุบาสกผู้ละภัยเวร ๕ ประการ เราเรียกว่าผู้มีศีลด้วย

ย่อมเข้าถึงสุคติด้วย ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ การฆ่าสัตว์ ฯลฯ

การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนคฤหบดี

อุบาสกผู้ละภัยเวร ๕ ประการนี้แล เราเรียกว่า ผู้มีศีลด้วย ย่อมเข้าถึงสุคติด้วย.

ดูก่อนคฤหบดี อุบาสกผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรใด ทั้งในปัจจุบัน

ทั้งในสัมปรายภพ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสใดแม้ทางจิต เพราะเหตุฆ่าสัตว์

อุบาสกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมไม่ประสบภัยเวรนั้น ทั้งในปัจจุบัน

และในสัมปรายภพ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสนั้นแม้ทางจิต ภัยเวรนั้น ของ

อุบาสกผู้งดเว้นจากปาณาติบาตย่อมสงบระงับด้วยประการฉะนี้ อุบาสกผู้ลัก

ทรัพย์ . . . ประพฤติผิดในกาม. . . พูดคำเท็จ . . . ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรใด ทั้งในปัจจุบันและสัม-

ปรายภพ ย่อมเสวยทุกขโทมนัสใดแม้ทางจิต เพราะเหตุแห่งการดื่มน้ำเมาคือ

สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท อุบาสกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา

คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัยเวรนั้น

ทั้งในปัจจุบันและในสัมปรายภพ ย่อมไม่เสวยทุกขโทมนัสแม้ทางจิต ภัยเวร

นั้น ของอุบาสกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ความประมาท ย่อมสงบระงับด้วยประการฉะนี้.

นรชนใดย่อมฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของ

ที่เจ้าของมิได้ให้ในโลก คบชู้ภรรยาของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 372

ผู้อื่น กล่าวคำเท็จ และประกอบการดื่ม

สุราเมรัยเนือง ๆ นรชนนั้นไม่ละเวร ๕

ประการแล้ว เราเรียกว่า เป็นผู้ทุศีล มี

ปัญญาทราม ตายไปแล้วย่อมเข้าถึงนรก.

นรชนใดไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ถือเอาสิ่งของ

ที่เจ้าของมิได้ให้ในโลก ไม่คบชู้ภรรยา

ของผู้อื่น ไม่กล่าวคำเท็จและไม่ประกอบ

การดื่มสุราและเมรัย นรชนนั้นละเวร ๕

ประการแล้ว เราเรียกว่าเป็นผู้มีศีล มี

ปัญญา เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติ.

จบเวรสูตรที่ ๔

อรรถกถาเวรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเวรสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภยานิ ได้แก่ ภัยอันทำให้จิตสะดุ้งแล้ว. บทว่า เวรานิ

ได้แก่ อกุศลเวรบ้าง บุคคลเวรบ้าง. บทว่า เจตสิก ได้แก่ ทุกข์อาศัย

จิต. บทว่า ทุกฺข ได้แก่ทุกข์มีกายประสาทเป็นวัตถุที่ตั้ง. บทว่า โทมนสฺส

ได้แก่ โทมนัสเวทนา. ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละ ด้วยวิรัติ

เจตนางดเว้น.

จบอรรถกถาเวรสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 373

๕. จัณฑาลสูตร

ว่าด้วยธรรมสำหรับอุบาสกดีและอุบาสกชั่ว

[๑๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคล

ตื่นข่าว เชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการ

สนับสนุนในศาสนานั้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ?

คือ อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว

เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการ

สนับสนุนในศาสนานี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕

ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก.

จบจัณฑาลสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 374

อรรถกถาจัณฑาลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจัณฑาลสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปาสกปฏิกิฏฺโ ได้แก่ เป็นอุบาสกชั้นต่ำ. บทว่า

โกตุหลมงฺคลิโก คือ เป็นผู้ประกอบด้วยอารมณ์ที่ได้เห็น ได้ฟัง ได้ลิ้ม

เป็นมงคล ได้แก่ ตื่นข่าว เพราะเป็นไปได้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้จักมีได้ด้วยเหตุนี้

ดังนี้. บทว่า มงฺคล ปจฺเจติ โน กมฺม ได้แก่ มองดูแต่เรื่องมงคล

ไม่มองดูเรื่องกรรม. บทว่า อิโต จ พหิทฺธา ได้แก่ ภายนอกจากศาสนานี้.

บทว่า ปุพฺพการ กโรติ ได้แก่ กระทำกุศลกิจมีทานเป็นต้นก่อน.

จบอรรถกถาจัณฑาลสูตรที่ ๕

๖. ปีติสูตร

ว่าด้วยฐานะที่ไม่มีแก่อริยสาวก

[๑๗๖] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แวดล้อมด้วยอุบาสก

ประมาณ ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน

คฤหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและ

คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ท่านทั้งหลายไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้

ว่า เราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช-

บริขาร เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า พวกเราพึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 375

เข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ตามกาลอันสมควร ด้วยอุบายเช่นไร ท่านทั้งหลาย

พึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว

ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านทั้งหลาย

ได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า พวกเราพึงเข้าถึงปีติ

ที่เกิดแต่วิเวกอยู่ตามกาลอันสมควร ด้วยอุบายเช่นไร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียก

อย่างนี้แล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่

วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น คือ สมัยนั้น

ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วยกาม ๑ สุข โสมนัสอันประกอบด้วยกาม ๑

ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล ๑ สุข โสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล ๑

ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วยกุศล ๑ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ข้าแต่-

พระองค์ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น

ฐานะ ๕ ประการนี้ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น.

พ. ดีละ ๆ สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวก

อยู่. . . ดูก่อนสารีบุตร สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่

สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการนี้ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น.

จบปีติสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 376

อรรถกถาปีติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปีติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กินฺติ มย ได้แก่ เราพึงเข้าถึง (ปวิเวกปีติ) ด้วยอุบายไร.

บทว่า ปวิเวกปีตึ ได้แก่ ปีติที่อาศัยปฐมฌานและทุติยฌานเกิดขึ้น. บทว่า

กามูปสญฺหิติ ได้แก่ ทุกข์อาศัยกาม คือ อาศัยกามสองอย่าง ปรารภกาม

สองอย่างเกิดขึ้น. บทว่า อกุสลูปสญฺหิต ความว่า เมื่อคิดว่าเราจักยิงเนื้อ

สุกรเป็นต้น ดังนี้ ยิงลูกศรพลาดไป ทุกขโทมนัสอาศัยอกุศลอย่างนี้ว่า เรา

ยิงพลาดไปเสียแล้ว ดังนี้ เกิดขึ้น ชื่อว่าประกอบด้วยอกุศล. เมื่อยิงไม่พลาด

ไปในฐานะเช่นนั้น สุขโสมนัสเกิดขึ้นว่า เรายิงดีแล้ว เราประหารดีแล้ว

ดังนี้ ชื่อว่า ประกอบด้วยอกุศล. แต่ทุกขโทมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอุปกรณ์มี

ทานเป็นต้น ยังไม่พร้อม พึงทราบว่า ประกอบด้วยกุศล.

จบอรรถกถาปีติสูตรที่ ๖

๗. วณิชชสูตร

ว่าด้วยการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรประกอบ

[๑๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสก

ไม่พึงกระทำ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ การค้าขายศัสตรา ๑ การค้าขายสัตว์ ๑

การค้าขายเนื้อสัตว์ ๑ การค้าขายน้ำเมา ๑ การค้าขายยาพิษ ๑ ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้แล อันอุบาสกไม่พึงกระทำ.

จบวณิชชสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 377

อรรถกถาวณิชชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวณิชชสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วณิชฺชา ได้แก่ ทำการค้าขาย. บทว่า อุปาสเกน ได้แก่

ผู้ถึงสรณะ ๓. บทว่า สตฺถวณิชฺชา ได้แก่ ให้เขาทำอาวุธแล้วก็ขายอาวุธ

นั้น. บทว่า สตฺตวณิชฺชา ได้แก่ ขายมนุษย์. บทว่า มสวณิชฺชา

ได้แก่ เลี้ยงสุกรและเนื้อเป็นต้นขาย. บทว่า มชฺชวณิชฺชา ได้แก่ ให้เขา

ทำของเมาอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ขายของเมา. บทว่า วิสวณิชฺชา ได้แก่

ให้เขาทำพิษแล้วก็ขายยาพิษนั้น. การทำด้วยตนเอง การชักชวนคนอื่นให้

ทำการค้านี้ทั้งหมด ก็ไม่ควรด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาวณิชชสูตรที่ ๗

๘. ราชสูตร

ว่าด้วยการมีศีลไม่เป็นเหตุให้ได้รับโทษ

[๑๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมเข้าใจความข้อนั้น

เป็นไฉน คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้

เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต พระราชาจับเขาประหาร จองจำ

เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากปาณาติบาต

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า มิได้เห็นหรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็น มิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้

เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต พระราชาจับเขามาประหาร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 378

จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากปาณา-

ติบาต แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ฆ่าหญิง

หรือชายตาย พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตาม

ปัจจัย เพราะเหตุแห่งปาณาติบาต ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรม

เห็นปานนี้บ้างหรือไม่.

ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว

และจักได้ฟังต่อไป.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน

คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละอทิน-

นาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ

หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากอทินนาทาน.

ภิ. มิได้เห็นหรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดีล่ะ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็น มิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้

เป็นผู้ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน พระราชาจับเขามาประหาร

จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากอทินนาทาน

แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ลักทรัพย์เขามา

จากบ้านหรือจากป่า พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำ

ตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งอทินนาทาน ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรม

เห็นปานนี้บ้างหรือไม่.

ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว

และจักได้ฟังต่อไป.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน

คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 379

กาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร พระราชาจับเขามาประหาร

จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร.

ภิ. มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็นมิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้

เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร พระราชาจับเขามาประหาร

จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจาก

กาเมสุมิจฉาจาร แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้

ละเมิดประเพณีในหญิงหรือบุตรีของผู้อื่น พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ

เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งกาเมสุมิจฉาจาร ท่านทั้งหลาย

ได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรมเห็นปานนี้บ้างหรือไม่.

ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว

และจักได้ฟังต่อไป.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน

คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละ

มุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ

หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากมุสาวาท.

ภิ. มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็นมิได้ฟังมาแล้วว่า คนผู้นี้

เป็นผู้ละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ

เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงดเว้นจากมุสาวาท แต่ว่า

บาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ทำลายประโยชน์ของ

คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดีด้วยมุสาวาท พระราชาจังเขามาประหาร จองจำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 380

เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งมุสาวาท ท่านทั้งหลายได้เห็น

หรือได้ฟังบาปกรรมเห็นปานนี้บ้างหรือไม่.

ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว

และจักได้ฟังต่อไป.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย่อมเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน

คือว่า ท่านทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างหรือว่า คนผู้นี้เป็นผู้ละการ

ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท งดเว้นจากการ

ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท พระราชาจับเขา

มาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุแห่งการงด

เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.

ภิ. มิได้เห็น หรือมิได้ฟังมาเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็มิได้เห็นหรือมิได้ฟังมาแล้วว่า

คนผู้นี้เป็นผู้ละการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะ

เหตุแห่งการงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท แต่ว่าบาปกรรมของเขานั่นแหละย่อมบอกให้ทราบว่า คนผู้นี้ประกอบ

การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท แล้วฆ่าหญิง

หรือชายตาย ลักทรัพย์เขามาจากบ้านหรือจากป่า ละเมิดประเพณีในหญิงหรือ

บุตรีของผู้อื่น ทำลายประโยชน์ของคฤหบดี หรือบุตรของคฤหบดีด้วยมุสาวาท

พระราชาจับเขามาประหาร จองจำ เนรเทศ หรือกระทำตามปัจจัย เพราะเหตุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 381

แห่งการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ท่านทั้ง

หลายได้เห็นหรือได้ฟังบาปกรรมเห็นปานนี้บ้างหรือไม่.

ภิ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เห็นมาแล้ว ได้ฟังมาแล้ว

และจักได้ฟังต่อไป.

จบราชสูตรที่ ๘

อรรถกถาราชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในราชสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปพฺพาเชนฺติ คือให้ขับออกจากแว่นแคว้น. บทว่า ยถา

ปจฺจย วา กโรนฺติ ได้แก่ ทำตามความประสงค์ ทำตามอัธยาศัย. บทว่า

ตเถว ปาปกมฺม ปเวเทนฺติ ได้แก่ บอกกล่าวกรรมที่ผู้นั้นทำแก่ผู้อื่น.

จบอรรถกถาราชสูตรที่ ๘

๙. คิหิสูตร

ว่าด้วยผลของการรักษาศีล ๕

[๒๗๙] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแวดล้อมด้วยอุบาสก

ประมาณ ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระ

สารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร ท่านทั้งหลายพึงรู้จักคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่ง ผู้นุ่ง

ห่มผ้าขาว มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ และมีปกติได้ตามความ

ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 382

อันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการ และคฤหัสถ์ผู้นั้น เมื่อหวังอยู่ ก็พึงพยากรณ์ตน

ด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย

อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า คฤหัสถ์ย่อมเป็นผู้มีการงานสำรวมดีใน

สิกขาบท ๕ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนสารีบุตร อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑

การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ คฤหัสถ์

เป็นผู้มีการงานสำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการนี้.

คฤหัสถ์เป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก

ซึ่งธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อน

สารีบุตร อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่น

ไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น

พระอรหันต์. . . เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นธรรมเครื่อง

อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่ง ข้อที่ ๑ อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว

เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่อง

แผ้ว.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระธรรมว่า ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว. . .อันวิญญู-

ชนพึงจะรู้เฉพาะตน. นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่ง

ข้อที่ ๒. . .

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 383

ดีแล้ว. . . เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็น

สุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ข้อที่ ๓. . .

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะใคร่แล้ว

ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท วิญญูชนสรรเสริญ เป็นไป

เพื่อสมาธิ นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันมีในจิตยิ่ง ข้อที่ ๔

อันอริยสาวกนั้นได้ถึงแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งจิตที่ยังไม่หมดจด เพื่อความ

ผ่องแผ้วแห่งจิตที่ยังไม่ผ่องแผ้ว คฤหัสถ์ผู้มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้

โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอันมีในจิตยิ่ง ๔

ประการนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เธอทั้งหลายพึงรู้จักคฤหัสถ์คนใดคนหนึ่ง ผู้นุ่งห่ม

ผ้าขาว มีการงาน สำรวมดีในสิกขาบท ๕ ประการ และมีปกติได้ตามความ

ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

อันมีในจิตยิ่ง ๔ ประการนี้ และคฤหัสถ์นั้น เมื่อหวังอยู่ ก็พึงพยากรณ์ตน

ด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย

อบาย ทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

บัณฑิตเห็นภัยในนรกแล้ว พึงเว้น

บาปเสีย สมาทานอริยธรรมแล้ว พึงเว้น

บาปเสีย ไม่พึงเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย

ในเมื่อความพยายามมีอยู่ ไม่พึงกล่าวคำ

เท็จทั้งที่รู้ ไม่พึงแตะต้องของที่เจ้าของ

ไม่ให้ ยินดีด้วยภริยาของตน ไม่พึงยินดี

ภริยาผู้อื่น และไม่พึงดื่มสุราเมรัยเครื่อง

ยังจิตให้หลงใหล พึงระลึกถึงพระสัม-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 384

พุทธเจ้าเสมอ และพึงตรึกถึงพระธรรม

เสมอ พึงอบรมจิตให้ปราศจากพยาบาท

อันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เทวโลก ทัก-

ษิณาทานที่ผู้ต้องการบุญ แสวงหาบุญให้

แล้ว ในสัตบุรุษก่อน ในเมื่อไทยธรรม

เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นทักษิณามีผลไพบูลย์.

ดูก่อนสารีบุตร เราจักบอกสัตบุรุษ

ให้ จงฟังคำของเรา ในบรรดาโค ดำ

ขาว แดง หมอก พร้อย หม่น หรือ

แดงอ่อน ชนิดใดชนิดหนึ่ง โคที่ฝึกแล้ว

ย่อมเกิดเป็นโคหัวหน้าหมู่ใด หัวหน้าหมู่

ตัวนั้นเป็นโคที่นำธุระไปได้ สมบูรณ์ด้วย

กำลัง เดินได้เรียบร้อยและเร็ว คนทั้งหลาย

ย่อมเทียมโคตัวนั้นในการขนภาระ ไม่

คำนึงถึงสีของมัน ฉันใด ในหมู่มนุษย์

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ในชาติอย่างใดอย่าง-

หนึ่ง คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์

ศูทร จัณฑาล ปุกกฺสะ บรรดามนุษย์

เหล่านั้นทุก ๆ ชาติ คนผู้ที่ฝึกแล้ว ย่อม

เกิดเป็นผู้มีวัตรดี ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์

ด้วยศีล กล่าวคำสัตย์ มีใจประกอบด้วย

หิริ ละชาติและมรณะได้แล้ว อยู่จบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 385

พรหมจรรย์ ปลงภาระลงแล้ว ไม่ประกอบ

ด้วยกิเลส ได้ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ

เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ดับแล้ว

เพราะไม่ถือมั่น ก็ทักษิณาที่บำเพ็ญใน

ผู้นั้น ผู้ปราศจากความกำหนัด เป็น

บุญเขต ย่อมมีผลไพบูลย์.

ส่วนคนพาลผู้ไม่รู้แจ้ง มีปัญญา

ทราม ไม่ได้สดับ ย่อมให้ทานในภายนอก

ไม่คบหาสัตบุรุษ ส่วนชนเหล่าใด ย่อม

คบหาสัตบุรุษผู้มีปัญญาดี ได้รับยกย่อมว่า

เป็นนักปราชญ์ ชนเหล่านั้นตั้งศรัทธาไว้

ในพระสุคตเป็นเค้ามูลแล้ว ย่อมไปสู่

เทวโลก หรือพึงเกิดในตระกูลสูงในโลก

นี้ ชนเหล่านั้นเป็นบัณฑิต ย่อมบรรลุ

นิพพานโดยลำดับ.

จบคิหิสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 386

อรรถกถาคิหิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในคิหิสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สวุตกมฺมนฺต คือ มีการงานที่ป้องกันแล้ว. บทว่า

อาภิเจตสิกาน คือ อาศัยจิตสูง บทว่า ทิฏธมฺมสุขวิหาราน ได้แก่

อยู่เป็นสุขในธรรมอันประจักษ์ คือ ในปัจจุบันนี้เอง. บทว่า อริยกนฺเตหิ

ได้แก่ ศีลในมรรคผลที่พระอริยะทั้งหลายใคร่แล้ว. ท่านกล่าวศีล ๕ ว่า

อรยิธรรม ในบทว่า อริยธมฺม สมาทาย นี้. บทว่า เมรย วารุณึ

ได้แก่ เมรัย ๔ อย่าง และสุรา ๕ อย่าง. บทว่า ธมฺมญฺจานุวิตกฺกเย

ได้แก่ พึงตรึกโดยระลึกถึงโลกุตรธรรม ๙ อย่าง. บทว่า อพฺยาปชฺฌ

หิต จิตฺต ได้แก่ จิตประกอบด้วยพรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้น อันหาทุกข์

มิได้. บทว่า เทวโลกาย ภาวเย ได้แก่ พึงเจริญเพื่อพรหมโลก. บทว่า

ปุญฺตฺถสฺส ชิคึสโต ได้แก่ ผู้ต้องการบุญแสวงหาบุญอยู่. บทว่า สนฺเตสุ

ได้แก่ ในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระตถาคต.

บทว่า วิปุลา โหติ ทกฺขิณา ได้แก่ ทานที่ให้แล้วอย่างนี้ย่อมมีผลมาก.

บทว่า อนุปุพฺเพน ได้แก่ โดยลำดับมีบำเพ็ญศีลเป็นต้น. บทที่เหลือ

มีเนื้อความที่กล่าวไว้แล้วในติกนิบาตนั่นแล.

จบอรรถกถาคิหิสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 387

๑๐. ภเวสิสูตร

ว่าด้วยการทำความดีต้องทำให้ยิ่งขึ้น

[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ขณะที่เสด็จดำเนินไปตามหนทางไกล ได้ทอด

พระเนตรเห็นสาละป่าใหญ่ ณ ประเทศแห่งหนึ่ง จึงทรงแวะลงจากหนทาง

เสด็จเข้าไปสู่ป่าสาละนั้น ครั้นเสด็จถึงแล้วจึงทรงทำการแย้มให้ปรากฏ ณ

ที่แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้คิดว่า อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย

ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำการแย้มให้ปรากฏ พระตถาคตย่อมไม่ทรง

กระทำการแย้มให้ปรากฏด้วยไม่มีเหตุ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์จึงได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำการแย้มให้ปรากฏ พระตถาคตย่อมไม่ทรงทำ

การแย้มให้ปรากฏด้วยไม่มีเหตุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เรื่องเคยได้มีมาแล้ว

คือ ณ ประเทศนี้ ได้เป็นเมืองมั่งคั่ง กว้างขวาง มีชนมาก มีมนุษย์

หนาแน่น ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงอาศัยอยู่ในพระนครนั้น ก็อุบาสกนามว่าภเวสี ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในศีล

อุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน เป็นผู้อันภเวสีอุบาสกชี้แจงชักชวน ก็ไม่กระทำ

ให้บริบูรณ์ในศีล ครั้งนั้น ภเวสีอุบาสกได้คิดว่า ก็เราเป็นผู้มีอุปการะมาก

เป็นหัวหน้า ชักชวนอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนเหล่านี้ และเราก็เป็นผู้ไม่

กระทำให้บริบูรณ์ในศีล แม้อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ก็เป็นผู้ไม่กระทำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 388

ให้บริบูรณ์ในศีล ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งไปกว่ากัน ผิฉะนั้น เราควร

ปฏิบัติให้ยิ่งกว่า.

ครั้งนั้น ภเวสีอุบาสกได้เข้าไปหาอุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น

แล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านทั้งหลาย

จงจำเราไว้ว่า เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ครั้งนั้น อุบาสกประมาณ ๕๐๐

เหล่านั้น ได้คิดว่า ภเวสีอุบาสกผู้เป็นเจ้า เป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า

ชักชวนเราทั้งหลาย ก็ภเวสีอุบาสกผู้เป็นเจ้าจักเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล

ก็ไฉนเราทั้งหลายจะทำให้บริบูรณ์ในศีลไม่ได้เล่า ครั้งนั้น อุบาสกประมาณ

๕๐๐ เหล่านั้น ได้เข้าไปหาภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวว่า ตั้งแต่วันนี้ไปขอภเวสี

อุบาสกผู้เป็นเจ้าจงจำอุบาสก ๕๐๐ แม้เหล่านี้ว่า เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ใน

ศีล ครั้งนั้น ภเวสีอุบาสกได้คิดว่า ก็เราแลเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า

ชักชวนอุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ และเราก็เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล

แม้อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ก็เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ต่างคน

ต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งไปกว่ากัน ผิฉะนั้น เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า.

ครั้งนั้น ภเวสีอุบาสกได้เข้าไปหาอุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น

แล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านทั้งหลาย

จงจำเราไว้ว่า เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติเว้นไกลจากเมถุนอันเป็น

ธรรมของชาวบ้าน ครั้งนั้น อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้นได้คิดว่า ภเวสี-

อุบาสกผู้เป็นเจ้า เป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า ชักชวนเราทั้งหลาย

ภเวสีอุบาสกผู้เป็นเจ้าจักประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติเว้นไกลจากเมถุนอัน

เป็นธรรมของชาวบ้าน ก็ไฉนเราทั้งหลาย จักเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์

ประพฤติเว้นไกลจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้านไม่ได้เล่า ครั้งนั้น อุบาสก

ประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น ได้เข้าไปหาภเวสีอุบาสกแล้วกล่าวว่า ตั้งแต่วันนี้ไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 389

ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นเจ้า จงจำอุบาสก ๕๐๐ แม้เหล่านี้ว่า เป็นผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์ ประพฤติเว้นไกลจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ครั้งนั้น

ภเวสีอุบาสกได้คิดว่า ก็เราแลเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า ชักชวน

อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ และเราก็เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล แม้

อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ก็เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล และเราก็

เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติเว้นไกลจากเมถุนอันเป็นธรรมของ

ชาวบ้าน แม้อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ก็เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์

ประพฤติเว้นไกลจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน

ไม่ยิ่งไปกว่ากัน ผิฉะนั้น เราควรปฏิบัติให้ยิ่งกว่า.

ครั้งนั้น ภเวสีอุบาสกได้เข้าไปหาอุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น

เเล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้ไป ขอท่านทั้งหลายจงจำ

เราไว้ว่า เป็นผู้บริโภคอาหารมื้อเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดเว้นการ

บริโภคอาหารในเวลาวิกาล ครั้งนั้น อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น ได้

คิดว่า ภเวสีอุบาสกผู้เป็นเจ้า เป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า ชักชวนเรา

ทั้งหลาย ภเวสีอุบาสก ผู้เป็นเจ้า จักเป็นผู้บริโภคอาหารมื้อเดียว เว้นการ

บริโภคในราตรี งดเว้นการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ก็ไฉนเราทั้งหลาย

จักเป็นผู้บริโภคมื้อเดียว เว้นการบริโภคในราตรี งดเว้นการบริโภคอาหาร

ในเวลาวิกาลไม่ได้เล่า ครั้งนั้น อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น ได้เข้าไป

หาภพวสีอุบาสกแล้วกล่าวว่า ตั้งแต่วันนี้ไป ขอภเวสีอุบาสกผู้เป็นเจ้า จงจำ

อุบาสก ๕๐๐ แม้เหล่านี้ว่า เป็นผู้บริโภคอาหารมื้อเดียว งดการบริโภคในราตรี

งดเว้นการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล ครั้งนั้น ภเวสีอุบาสกได้คิดว่า ก็เรา

แลเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า ชักชวนอุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ก็

และเราก็เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล แม้อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ก็

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 390

เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล และเราเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติ

เว้นไกลจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน แม้อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้

ก็เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติเว้นไกลจากเมถุนอันเป็นธรรมของ

ชาวบ้าน และเราเป็นผู้บริโภคอาหารมื้อเดียว งดการบริโภคในราตรี งดเว้น

การบริโภคอาหารในเวลาวิกาล แม้อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ก็เป็นผู้

บริโภคอาหารมื้อเดียว งดการบริโภคในราตรี งดเว้นการบริโภคอาหารใน

เวลาวิกาล ต่างคนต่างก็เท่า ๆ กัน ไม่ยิ่งไปกว่ากัน ผิฉะนั้น เราควรปฏิบัติ

ให้ยิ่งกว่า.

ครั้งนั้น ภเวสีอุบาสกได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ภเวสีอุบาสก ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ภเวสีภิกษุอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีก

ออกจากหมู่อยู่ผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็

ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็น

บรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่น

เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี ก็แลภเวสีภิกษุได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งใน

จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น อุบาสกประมาณ ๕๐๐

เหล่านั้น ได้คิดว่า ภเวสีอุบาสกผู้เป็นเจ้า เป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นหัวหน้า

ชักชวนเราทั้งหลาย ก็ภเวสีอุบาสกผู้เป็นเจ้าจักปลงผมหนวดครองผ้ากาสายะ

ออกบวชเป็นบรรพชิต ไฉนเราทั้งหลายจักปลงผมและหนวดครองผ้ากาสายะ

ออกบวชเป็นบรรพชิตไม่ได้เล่า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 391

ครั้งนั้น อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้ว

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายพึงได้บรรพชาอุปสมบท

ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า อุบาสกประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น ได้บรรพชา

อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

แล้ว ครั้งนั้น ภเวสีภิกษุได้คิดว่า เราแลเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้

โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งวิมุตติสุขอันเป็นธรรมชั้นเยี่ยมนี้ โอหนอ ภิกษุ

ประมาณ ๕๐๐ แม้เหล่านี้ ก็พึงเป็นผู้ไดตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก

ไม่ลำบาก ซึ่งวิมุตติสุขอันเป็นธรรมชั้นเยี่ยมนี้ ครั้งนั้น ภิกษุประมาณ ๕๐๐

เหล่านั้น ต่างเป็นผู้หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร

มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม

ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ภิกษุประมาณ

๕๐๐ เหล่านั้น มีภเวสีภิกษุเป็นประมุข พยายามบำเพ็ญธรรมที่สูง ๆ ขึ้นไป

ประณีตขึ้นไป ได้ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันเป็นธรรมชั้นเยี่ยม ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เราทั้งหลายจักพยายามบำเพ็ญธรรมที่สูง ๆ ขึ้นไป ประณีตขึ้นไป จักทำให้

แจ้งซึ่งวิมุตติอันเป็นธรรมชั้นเยี่ยม ดูก่อนอานนท์ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่าง

นี้แล.

จบภเวสีสูตรที่ ๑๐

จบอุปาสกวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 392

อรรถกถาภเวสิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภเวสิสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สิต ปาตฺวากาสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จ-

พระดำเนินไปตามทางใหญ่ ทรงแลดูป่าสาละนั้น ทรงดำริว่า ในที่นี้จะมีเหตุดี

ไร ๆ เคยเกิดขึ้นแล้วหรือหนอ ก็ได้ทรงเห็นเหตุดีที่อุบาสกชื่อภเวสีได้ทำไว้

แล้ว ในครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ได้มีพระดำริต่อไปว่า เหตุดีนี้ปกปิดไม่ปรากฏ

แก่หมู่ภิกษุ เอาเถิดเราจะทำเหตุนั้นให้ปรากฏแก่หมู่ภิกษุ จึงหลีกออกจากทาง

ประทับยืน ณ ที่แห่งหนึ่ง ได้ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ แสดงไรพระทนต์

น้อย ๆ. พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิได้ทรงพระสรวลเหมือนชาวมนุษย์ในโลก

หัวเราะท้องคัดท้องแข็งว่าที่ไหนที่ไหนดังนี้. การทรงพระสรวลของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ก็เป็นเพียงอาการแย้มเท่านั้น. ชื่อว่าการแย้มนี้ย่อมมีด้วยจิตสหรคต

ด้วยโสมนัส ๑๓ ดวง. ชาวโลกหัวเราะด้วยจิต ๘ ดวง คือ จากอกุศล ๔ ดวง

จากกามาวจรกุศล ๔ ดวง. พระเสกขะทั้งหลายนำจิตสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๒ ดวง

ออกจากอกุศลแล้วหัวเราะด้วยจิต ๖ ดวง. พระขีณาสพแย้มด้วยจิต ๕ ดวง

คือ ด้วยกิริยาจิตที่เป็นสเหตุกะ ๔ ดวง ที่เป็นอเหตุกะ ๑ ดวง. แม้ในจิต

เหล่านั้น เมื่ออารมณ์มีกำลังปรากฏ พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมแย้มด้วยจิต

สัมปยุตด้วยญาณ ๒ ดวง. เมื่ออารมณ์ที่มีกำลังอ่อนปรากฏ พระขีณาสพย่อม

แย้มด้วยจิต ๓ ดวง คือ ด้วยทุเหตุกจิต ๒ ดวง และด้วยอเหตุกจิต ๑ ดวง.

แต่ในที่นี้ จิตสหรคต ด้วยโสมนัส อันเป็นกิริยาเหตุกะ และมโนวิญญาณธาตุ

ทำการพระสรวลสักว่าอาการแย้มให้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคจ้า. ก็การแย้ม

นั้นแม้เพียงเล็กน้อยอย่างนี้ก็ได้ปรากฏแก่พระเถระแล้ว. ถามว่า อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 393

ตอบว่า ในกาลเช่นนั้น เกลียวพระรัศมีประมาณเท่าลำตาลใหญ่ รุ่งโรจน์จาก

พระทาฐะ ๔ องค์ ของพระตถาคตดุจสายฟ้าแลบจากหน้ามหาเมฆ ๔ ทิศ

ผุดขึ้น กระทำประทักษิณรอบพระเศียร ๓ ครั้ง แล้วหายไปที่ไรพระทาฐะนั่นเอง

ด้วยสัญญานั้น ท่านพระอานนท์แม้ตามเสด็จไปข้างหลังพระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ย่อมรู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการแย้มให้ปรากฏ.

บทว่า อิทฺธ แปลว่า สมบูรณ์. บทว่า ผีต ได้แก่ สมบูรณ์ยิ่งนัก

ดุจดอกไม้บานสะพรั่งหมดทั้งแถว. บทว่า อากิณฺณมนุสฺส ได้แก่ เกลื่อน-

กลาดไปด้วยหมู่ชน. บทว่า สีเลสุ อปริปูริการี ได้แก่ ไม่ทำความเสมอกัน

ในศีล ๕. บทว่า ปฏิเทสิตานิ ได้แก่ แสดงความเป็นอุบาสก. บทว่า

สมาทปิตานิ ความว่า ให้ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย. บทว่า อิจฺเจต สมสม

ได้แก่ เหตุนั้นเสมอกันด้วยความเสมอโดยอาการทั้งปวง มิได้เสมอโดยเอกเทศ

บางส่วน. บทว่า นตฺถิ กิญฺจิ อติเรก ได้แก่ เราไม่มีเหตุดีไร ๆ ที่เกิน

หน้าคนเหล่านี้. บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเตือน. บทว่า อติเรกาย

ความว่า เราจะปฏิบัติเพื่อเหตุที่ดียิ่งขึ้นไป. บทว่า สีเลสุ ปริปูรการี

ธาเรถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงรู้ว่าเราทำความเท่าเทียมกันในศีล ๕ แล้ว.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันว่าภเวสีอุบาสกนั้น ชื่อว่า สมาทานศีล ๕ แล้ว.

บทว่า กิมงฺค ปน น มย ความว่า ก็ด้วยเหตุไรเล่า เราจึงจักไม่เป็นผู้

ทำให้บริบูรณ์ได้ บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาภเวสิสูตรที่ ๑๐

จบอุปาสกวรรควรรณนาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 394

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สารัชชสูตร ๒. วิสารทสูตร ๓. นิรยสูตร ๔. เวรสูตร

๕. จัณฑาลสูตร ๖. ปีติสูตร ๗. วณิชชสูตร ๘. ราชสูตร ๙. คิหิสูตร

๑๐. ภเวสิสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 395

อรัญญวรรคที่ ๔

๑. อารัญญกสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่า ๕ จำพวก

[๑๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้

๕ จำพวกเป็นไฉน ? คือ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะโง่เขลา เพราะหลง

งมงาย ๑ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ จึงถืออยู่ป่าเป็น

วัตร ๑ ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะเป็นบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑ ถืออยู่ป่าเป็นวัตร

เพราะรู้ว่าเป็นวัตรอันพระพุทธเจ้าและสาวกแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ

๑ ถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ

ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงาม

เช่นนี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้

ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความ

สันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติ

อันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และล้ำเลิศแห่งภิกษุ

ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจาก

นมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยใส

หัวเนยใสชาวโลกย่อมกล่าวว่าเป็นยอดขึ้นจำพวกโครส ๕ เหล่านั้น ฉันใด

บรรดาภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เพราะ

อาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด

ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นเลิศ ประเสริฐ

เป็นประธาน สูงสุด และล้ำเลิศแห่งภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้

ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบอารัญญกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 396

อรัญญวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาอารัญญกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอารัญญกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มนฺทตฺตา โมมูหตฺตา ความว่า ไม่รู้การสมาทาน ไม่รู้

อานิสงส์ แต่อยู่ป่าเป็นวัตรโดยไม่รู้ เพราะตนเขลาเฉาโฉด. บทว่า ปาปิจฺโฉ

อิจฺฉาปกโต ความว่า ภิกษุตั้งอยู่ในความปรารถนาลามกอย่างนี้ว่า เมื่อเรา

อยู่ในป่า ชนทั้งหลายจักทำสักการะด้วยปัจจัย ๔ ด้วยคิดว่า ภิกษุนี้ถืออยู่ป่า

เป็นวัตร และจักยกย่องด้วยคุณทั้งหลายมีอาทิว่า ภิกษุนี้เป็นลัชชี ชอบสงัด

ดังนี้ แล้วถูกความปรารถนาลามกนั้นนั่นแหละครอบงำ จึงเป็นผู้ถืออยู่ป่า

เป็นวัตร. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปอยู่ป่าโดยความบ้า ชื่อว่าถืออยู่ป่าเป็นวัตรเพราะ

ความบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน. บทว่า วณฺณิต ความว่า ชื่อว่าองค์แห่งภิกษุ

ผู้ถือการอยู่ป่าวัตรนี้ พระพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้ายกย่องแล้ว

คือ สรรเสริญแล้ว เพราะฉะนั้น ภิกษุจึงเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร. บทว่า

อิทมตฺถิต ความว่า ชื่อว่า อิทมตฺถิ เพราะมีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติ

อันงามนี้ ความเป็นผู้มีความต้องการ ชื่อว่า อิทมตฺถิตา อธิบายว่า อาศัย

ความเป็นผู้ความต้องการนั้นเท่านั้น มิได้อาศัยโลกามิสไร ๆ อื่น. บทที่เหลือ

ในสูตรนี้แต่และในสูตรนอกจากนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอารัญญกสูตรที่ ๑

จบอรัญญวรรควรรณนาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 397

๒. ปังสุกูลิกสูตร*

[๑๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕

จำพวกนี้ ฯลฯ

จบปังสุกูลิกสูตรที่ ๒

๓. รุกขมูลิกสูตร

[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่โคไม้เป็นวัตร ๕

จำพวกนี้ ฯลฯ

๔. โสสานิกสูตร

[๑๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก

นี้ ฯลฯ

จบโสสานิกสูตรที่ ๔

๕. อัพโภกาสิกสูตร

[๑๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ๕

จำพวกนี้ ฯลฯ

จบอัพโภกาสิกสูตรที่ ๕

* สูตรที่ ๒ ถึงสูตรที่ ๑๐ อรรถกถาว่ามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 398

๖. เนสัชชิกสูตร

[๑๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฯลฯ

จบเนสัชชิกสูตรที่ ๖

๗. ยถาสันถติกสูตร

[๑๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถืออยู่ในเสนาสนะตามที่ท่านจัด

ให้อย่างไรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฯลฯ

จบยถาสันถติกสูตรที่ ๗

๘. เอกาสนิกสูตร

[๑๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการนั่งฉัน ณ อาสนะเดียว

เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฯลฯ

๙. ขลุปัจฉาภัตติกสูตร

[๑๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือห้ามภัตอันนำมาถวาย เมื่อ

ภายหลังเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฯลฯ

จบขลุปัจฉาภัตติกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 399

๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร ๕ จำพวก

[๑๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร

๕ จำพวกนี้ ๕ จำพวกเป็นไฉน ? คือ ภิกษุเป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็น

วัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย ๑ มีความปรารถนาลามก ถูกความ

อยากครอบงำ จึงเป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๑ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะ

ในบาตรเป็นวัตรเพราะเป็นบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะใน

บาตรเป็นวัตร เพราะรู้ว่าเป็นวัตรอันพระพุทธเจ้าและสาวกแห่งพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายสรรเสริญ ๑ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความ

เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความ

เป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕

จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มี

ความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ควานเป็นผู้มี

ความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน

สูงสุด และล้ำเลิศแห่งภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ เปรียบ-

เหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใส

เกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสชาวโลกย่อมกล่าวว่าเป็น

เลิศในจำพวกโครส ๕ เหล่านั้น ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ

ผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 400

เป็นวัตร เพราะอาศัยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความ

ขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้

เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธาน สูงสุด และล้ำเลิศแห่งภิกษุผู้ถือฉัน

เฉพาะในบาตรเป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบปัตตปิณฑิกสูตรที่ ๑๐

จบอรัญญวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อารัญญกสูตร ๒. ปังสุกูกสูตร ๓. รุกขมูลิกสูตร ๔. โสสา-

นิกสูตร ๕. อัพโภกาสิกสูตร ๖. เนสัชชิกสูตร ๗. ยถาสันถติกสูตร

๘. เอกาสนิกสูตร ๙. ขลุปัจฉาภัตติกสูต ๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร และ

อรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 401

พราหมณวรรคที่ ๕

๑. โสณสูตร

ว่าด้วยธรรมเกาแก่ของพราหมณ์

[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ ๕ ประการนี้

บัดนี้ย่อมปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์ ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ได้ทราบว่า เมื่อก่อนพวกพราหมณ์ย่อมสมสู่เฉพาะพราหมณี

ไม่สมสู่กะหญิงที่ไม่ใช่พราหมณี บัดนี้ พวกพราหมณ์ย่อมสมสู่กะพราหมณีบ้าง

ย่อมสมสู่กะหญิงที่ไม่ใช่พราหมณีบ้าง บัดนี้ พวกสุนัขย่อมสมสู่กะสุนัขตัวเมีย

เท่านั้น ไม่สมสู่กะสัตว์ตัวเมียที่ไม่ใช่พวกสุนัข นี้เป็นธรรมของพราหมณ์

ที่เก่าแก่ข้อที่ ๑

บัดนี้ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์ ได้ทราบว่า

เมื่อก่อนพวกพราหมณ์ย่อมสมสู่กะพราหมณีที่มีระดูเท่านั้น ไม่สมสู่กะพราหมณี

ที่ไม่มีระดู บัดนี้ พวกพราหมณ์ย่อมสมสู่กะพราหมณ์ที่มีระดูบ้าง ย่อมสมสู่

กะพราหมณีที่ไม่มีระดูบ้าง บัดนี้ พวกสุนัขย่อมสมสู่กะสุนัขตัวเมียที่มีระดู

เท่านั้น ไม่สมสู่กะสุนัขตัวเมียที่ไม่มีระดู นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่

ข้อที่ ๒

บัดนี้ปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์ ได้ทราบว่า

เมื่อก่อนพวกพราหมณ์ย่อมไม่ซื้อไม่ขายพราหมณี ยังการอยู่ร่วมกันให้เป็นไป

ด้วยความรักความผูกพัน บัดนี้ พวกพราหมณ์ย่อมซื้อบ้าง ย่อมขายบ้างซึ่ง

พราหมณี ยังการอยู่ร่วมกันให้เป็นไปด้วยความรักความผูกพัน บัดนี้ พวก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 402

สุนัขย่อมไม่ซื้อไม่ขายสุนัขตัวเมีย ยังการอยู่ร่วมกันให้เป็นไปด้วยความรัก

ความผูกพัน นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ข้อที่ ๓

บัดนี้ย่อมปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์ ได้ทราบว่า

เมื่อก่อนพวกพราหมณ์ย่อมไม่ทำการสะสมทรัพย์บ้าง ข้าวเปลือกบ้าง เงินบ้าง

ทองบ้าง บัดนี้ พวกพราหมณ์ย่อมทำการสะสมทรัพย์บ้าง ข้าวเปลือกบ้าง

เงินบ้าง ทองบ้าง บัดนี้ พวกสุนัขย่อมไม่ทำการสะสมทรัพย์บ้าง ข้าวเปลือก-

บ้าง เงินบ้าง ทองบ้าง นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ข้อที่ ๔

บัดนี้ ย่อมปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์ได้ทราบว่า

เมื่อก่อนพวกพราหมณ์ย่อมแสวงหาอาหารเย็นเพื่อกินในเวลาเย็น อาหารเช้า

เพื่อกินในเวลาเช้า บัดนี้ พวกพราหมณ์บริโภคอาหารจนอิ่มตามต้องการแล้ว

ย่อมถือเอาส่วนที่เหลือไป บัดนี้ พวกสุนัขย่อมแสวงหาอาหารเย็นเพื่อกินใน

เวลาเย็น อาหารเช้าเพื่อกินในเวลาเช้า นี้เป็นธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่

ข้อที่ ๕

บัดนี้ ย่อมปรากฏในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์ ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมของพราหมณ์ที่เก่าแก่ ๕ ประการนี้แล บัดนี้ ย่อมปรากฏ

ในพวกสุนัข ไม่ปรากฏในพวกพราหมณ์.

จบโสณสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 403

พราหมณวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาโสณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโสณสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พฺราหฺมณธมฺมา ได้แก่ สภาพของพราหมณ์. บทว่า

สุนเขสุ แปลว่า ในสุนัขทั้งหลาย. บทว่า เนว กิณนฺติ น วิกฺกิณนฺติ

ได้แก่ ถือเอาไม่ซื้อ ให้ไปไม่ขาย. บทว่า สมฺปิเยเนว สวาส สมฺพนฺธาย

สมฺปวตฺเตนฺติ ความว่า เข้าไปหาผู้เป็นที่รักและไม่เป็นที่รักแล้วอยู่ร่วมกัน

เพื่อสืบประเวณี. บทว่า อุทราวเทหก ได้แก่ บริโภคจนเต็มท้อง. บทว่า

อวเสส อาทาย ปกฺกมนฺติ ได้แก่ ห่อส่วนที่บริโภคไม่หมดถือเอากลับไป.

ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาโสณสูตรที่ ๑

๒. โทณสูตร

ว่าด้วยพราหมณ์ ๕จำพวก

[๑๙๒] ครั้งนั้นแล โทณพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้

ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมไม่

อภิวาทไม่ลุกรับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ซึ่งพราหมณ์ผู้แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 404

ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ข้อนั้นเห็นจะเป็นเหมือนอย่างนั้น เพราะท่านพระโคดม

ไม่อภิวาท ไม่ลุกรับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ. ซึ่งพราหมณ์ผู้แก่เฒ่าเป็น

ผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ข้อนี้ไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

โทณะ แม้ท่านก็ย่อมปฏิญาณว่าเป็นพราหมณ์มิใช่หรือ.

โท. ข้าแต่พระโคดม ผู้ใดเมื่อกล่าวโดยชอบพึงกล่าวว่าเป็นพราหมณ์

อุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗

ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ เป็นผู้เล่าเรียน

ทรงมนต์รู้จบไตรเทพ พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและเกฏุภะ พร้อมทั้งอักขระ

ประเภท มีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ห้า เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ เป็นผู้

ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ และตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ ผู้นั้นเมื่อกล่าว

โดยชอบ พึงหมายซึ่งข้าพระองค์นั้นเทียว เพราะข้าพระองค์เป็นพราหมณ์

อุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗

ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ เป็นผู้เล่าเรียน

ทรงมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมด้วยคัมภีร์นิฆัณฑุและเกฏุภะ พร้อมทั้งอักขระ

ประเภท มีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ห้า เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ เป็นผู้

ชำนาญในคัมภีร์โลกายะและตำราทายมหาปุริสลักษณะ.

พ. ดูก่อนโทณะ บรรดาฤาษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์คือ

ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทวะ ฤาษีเวสสามิตตะ ฤาษียมทัคคี

ฤาษีอังคีรส ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็น

ผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้ ขับตาม กล่าวตาม ซึ่ง

บทมนต์ของเก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง

บอกได้ถูกต้องตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกไว้ ฤาษีเหล่านั้นย่อมบัญญัติพราหมณ์

ไว้ ๕ จำพวกนี้ คือ พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม ๑ พราหมณ์ผู้เสมอ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 405

ด้วยเทวดา ๑ พราหมณ์เป็นผู้มีความประพฤติดี ๑ พราหมณีผู้มี

ความประพฤติดีและชั่ว ๑ พราหมณ์จัณฑาลเป็นที่ห้า ๑ ดูก่อน

โทณะ ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหนในจำพวกพราหมณ์ ๕ จำพวกนั้น.

โท. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้จักพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้

แต่ข้าพระองค์รู้ว่าเป็นพราหมณ์เท่านั้น ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดแสดงธรรม

แก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงรู้จักพราหมณ์ ๕ จำพวกนี้.

พ. ดูก่อนโทณะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

โทณพราหมณ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนโทณะ ก็พราหมณ์เป็นผู้เสมอด้วยพรหมอย่างไร ?

พราหมณ์ในโลกนี้เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือ

ปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้โดย

อ้างถึงชาติ เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์เรียนมนต์อยู่ตลอด ๔๘ ปี ครั้นแล้ว

ย่อมแสวงหาทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยธรรมอย่างเดียว ไม่-

แสวงหาโดยไม่เป็นธรรม ก็ธรรมในการแสวงหานั้นอย่างไร คือ ไม่ใช่

แสวงหาด้วยกสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม การเป็นนักรบ การรับ-

ราชการ ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว

มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์แก่อาจารย์แล้ว ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า

กาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตา

แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้

ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่

ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 406

มีใจประกอบด้วยกรุณา. . . ประกอบด้วยมุทิตา. . . ประกอบด้วย

อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน

ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า

ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เธอเจริญพรหมวิหาร ๔

ประการนี้แล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติพรหมโลก ดูก่อนโทณะ พราหมณ์

เป็นผู้ชื่อว่าเสมอด้วยพรหม อย่างนี้แล.

ดูก่อนโทณะ ก็พราหมณ์เป็นผู้เสมอด้วยเทวดาอย่างไร ? พราหมณ์

ในโลกนี้เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจด

ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใคร ๆ จะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ

เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนต์อยู่ตลอด ๔๘ ปี ครั้นแล้ว ย่อมแสวง-

หาทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยธรรม ไม่แสวงหาอย่างไม่เป็นธรรม

ก็ธรรมในการแสวงหานั้นอย่างไร คือ ไม่ใช่แสวงหาด้วยกสิกรรม พาณิชยกรรม

โครักขกรรม การเป็นนักรบ การรับราชการ ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือ

กระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์แก่อาจารย์

แล้ว ย่อมแสวงหาภรรยาโดยธรรมอย่างเดียว ไม่แสวงหาโดยไม่เป็นธรรม

ก็ธรรมในการแสวงหานั้นอย่างไร คือ ไม่แสวงหาด้วยการซื้อ ด้วยการขาย

ย่อมแสวงหาพราหมณีเฉพาะที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ เขาย่อมสมสูเฉพาะ

พราหมณี ไม่สมสู่ด้วยสตรีชั้นกษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล เนสาท ช่าง-

จักสาน ช่างทำรถ เทหยากเยื่อ สตรีมีครรภ์ มีลูกอ่อน ไม่มีระดู ดูก่อน

โทณะ เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีมีครรภ์ เพราะเหตุว่า

ถ้าพราหมณ์สมสู่สตรีมีครรภ์ไซร้ มาณพหรือมาณวิกาย่อมเป็นผู้ชื่อว่าเกิดแต่

กองอุจจาระ เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีมีครรภ์ เพราะเหตุไร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 407

พราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีที่ลูกอ่อน เพราะเหตุว่า ถ้าพราหมณ์สมสู่สตรีมีลูกอ่อน

ไซร้ มาณพหรือมาณวิกาย่อมเป็นผู้ชื่อว่าดื่มของไม่ละอาด เพราะฉะนั้น

พราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีมีลูกอ่อน พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์

มิใช่ต้องการความใคร่ ความสนุก ความยินดี ต้องการบุตรอย่างเดียว เขามี

บุตรหรือธิดาแล้ว จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็น

บรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอเจริญฌาณทั้ง ๔ ประการนี้แล้ว เมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนโทณะ พราหมณีเป็นผู้เสมอด้วยเทวดา

อย่างนี้แล.

ดูก่อนโทณะ ก็พราหมณ์เป็นผู้มีความประพฤติอย่างไร ? พราหมณ์

ในโลกนี้ เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ

หมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ

เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์ เรียนมนต์อยู่ตลอด ๔๘ ปี ครั้นแล้ว แสวงหา

ทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยธรรมอย่างเดียว ไม่แสวงหาโดยไม่

เป็นธรรม ก็ธรรมในการแสวงหานั้นอย่างไร คือ ไม่ใช่แสวงหาด้วยกสิกรรม

พาณิชยกรรม โครักขกรรม การเป็นนักรบ การรับราชการ ศิลปะอย่างใดอย่าง-

หนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์

แก่อาจารย์แล้วย่อมแสวงหาภรรยาโดยธรรมอย่างเดียว ไม่แสวงหาโดยไม่เป็น

ธรรม ก็ธรรมในการแสวงหานั้นอย่างไร คือ ไม่แสวงหาด้วยการซื้อ การขาย

ย่อมแสวงหาพราหมณีเฉพาะผู้ที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ เขาย่อมสมสู่เฉพาะ

พราหมณี ไม่สมสู่สตรีชั้นกษัตริย์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล เนสาท ช่างจักสาน

ช่างทำรถ เทหยากเยื่อ สตรีมีครรภ์ มีลูกอ่อน ไม่มีระดู ดูก่อนโทณะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 408

เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีมีครรภ์ เพราะเหตุว่า ถ้าพราหมณ์ย่อม

สมสู่สตรีมีครรภ์ไซร้ มาณพหรือมาณวิกาย่อมเป็นผู้ชื่อว่าเกิดแต่กองอุจจาระ

เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่สมสู่สตรีมีครรภ์ เพราะเหตุไร พราหมณ์จึงไม่สม

สู่สตรีมีลูกอ่อน เพราะเหตุว่า ถ้าพราหมณ์สมสู่สตรีมีลูกอ่อนไซร้ มาณพ

หรือมาณวิกาย่อมเป็นผู้ชื่อว่าดื่มของไม่สะอาด เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงไม่

สมสู่สตรีมีลูกอ่อน พราหมณีนั้นย่อมเป็นพราหมณีของพราหมณ์ มิใช่ต้องการ

ความใคร่ ความสนุก ความยินดี ต้องการบุตรอย่างเดียว เขามีบุตรหรือ

ธิดาแล้ว ปรารถนาความยินดีในบุตรหรือธิดานั้น ครอบครองทรัพย์สมบัติ

ไม่ออกบวชเป็นบรรพชิต เขาดำรงอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปาง

ก่อน ไม่ล่วงละเมิด พราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปาง

ก่อน ไม่ล่วงละเมิด เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่าพราหมณ์ผู้มีความ

ประพฤติดี ดูก่อนโทณะ พราหมณ์เป็นผู้มีความประพฤติดี อย่างนี้แล.

ดูก่อนโทณะ ก็พราหมณ์เป็นผู้มีความประพฤติดีชั่วอย่างไร ? พราหมณ์

ในโลกนี้ เป็นอุภโตสุชาตทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ

หมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ

เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์เรียนมนต์อยู่ ๔๘ ปี ครั้นแล้ว แสวงหาทรัพย์

สำหรับบูชาอาจารย์ เพื่ออาจารย์โดยธรรมอย่างเดียว ไม่แสวงหาโดยไม่เป็น

ธรรม ก็ธรรมในการแสวงหานั้นอย่างไร คือ ไม่แสวงหาด้วยกสิกรรม

พาณิชยกรรม โครักขกรรม การเป็นนักรบ การรับราชการ ศิลปะอย่างใด

อย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว มอบทรัพย์สำหรับบูชา

อาจารย์แก่อาจารย์แล้ว ย่อมแสวงหาภรรยาโดยธรรมบ้าง โดยไม่เป็นธรรม

บ้าง ด้วยการซื้อบ้าง ด้วยการขายบ้าง ย่อมแสวงหาพราหมณีผู้ที่เขายกให้

ด้วยการหลั่งน้ำ เขาย่อมสมสู่พราหมณ์บ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง ชั้นแพศย์บ้าง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 409

ชั้นศูทรบ้าง ชั้นจัณฑาลบ้าง ชั้นเนสาทบ้าง ชั้นจักสานบ้าง ชั้นช่างทำรถบ้าง

ชั้นเทหยากเยื่อบ้าง มีครรภ์บ้าง มีลูกอ่อนบ้าง มีระดูบ้าง ไม่มีระดูบ้าง

พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์ ต้องการความใคร่บ้าง ความสนุก

บ้าง ความยินดีบ้าง ต้องการบุตรบ้าง เขาไม่ตั้งอยู่ในความประพฤติดีของ

พราหมณ์แต่ปางก่อน ล่วงละเมิดความประพฤติดีนั้นเป็นพราหมณ์ไม่ตั้งอยู่ใน

ความประพฤติดีของพราหมณ์แต่ปางก่อน ล่วงละเมิดความประพฤติดีนั้น

เพราะเหตุดังนี้พราหมณ์ชาวโลกจึงเรียกว่าผู้มีความประพฤติดีและชั่ว ดูก่อน

โทณะ พราหมณ์เป็นผู้มีความประพฤติดีและชั่ว อย่างนี้แล.

ดูก่อนโทณะ ก็พราหมณ์ผู้เป็นพราหมณ์จัณฑาลอย่างไร ? พราหมณ์

ในโลกนี้ เป็นอุภโตสุชาตทั้งผ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ

หมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ

เขาประพฤติโกมารพรหมจรรย์เรียนมนต์อยู่ตลอด ๔๘ ปี ครั้นแล้ว แสวงหา

ทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์โดยธรรมบ้าง โดยไม่เป็นธรรมบ้าง

ด้วยกสิกรรมบ้าง ด้วยพาณิชยกรรมบ้าง ด้วยโครักขกรรมบ้าง ด้วยการเป็น

นักรบบ้าง ด้วยการรับราชการบ้าง ด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เขาถือกระเบื้อง

เที่ยวภิกขาจารอย่างเดียว มอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์แก่อาจารย์แล้ว ย่อม

แสวงหาภรรยาโดยธรรมบ้าง โดยไม่เป็นธรรมบ้าง ด้วยการซื้อบ้าง ด้วยการ

ขายบ้าง ย่อมแสวงหาพราหมณ์ที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำ เขาย่อมสมสู่

พราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง ชั้นแพศย์บ้าง ชั้นศูทรบ้าง ชั้นจัณฑาล

บ้าง ชั้นเนสาทบ้าง ชั้นช่างจักสานบ้าง ชั้นช่างทำรถบ้าง ชั้นเทหยากเยื่อ

บ้าง มีครรภ์บ้าง มีลูกอ่อนบ้าง มีระดูคูบ้าง ไม่มีระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็น

พราหมณีของพราหมณ์ ต้องการความใคร่บ้าง ความสนุกบ้าง ความยินดี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 410

บ้าง ต้องการบุตรบ้าง เขาสำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง พวก

พราหมณ์ได้กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านปฏิญาณว่าเป็นพราหมณ์ เพราะเหตุไร

จึงสำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง เขาได้ตอบอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ

เปรียบเหมือนไฟย่อมไหม้สิ่งที่สะอาดบ้าง สิ่งที่ไม่สะอาดบ้าง แต่ไฟย่อมไม่

ติดด้วยสิ่งนั้น แม้ฉันใด ถ้าแม้พราหมณ์สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง

ไซร้ แต่พราหมณ์ย่อมไม่ติดด้วยการงานนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน พราหมณ์

สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง เพราะเหตุดังนี้แล พราหมณ์ชาวโลกจึง

เรียกว่า พราหมณ์จัณฑาล ดูก่อนโทณะ พราหมณ์ผู้เป็นพราหมณ์จัณฑาล

อย่างนี้แล.

ดูก่อนโทณะ บรรดาฤาษีที่เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษี

อัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทวะ ฤาษีเวสสามิตร ฤาษียมทัคคิ ฤาษี

อังคีรส ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูก

มนต์ บอกมนต์ พวกพราหมณ์ในปัจจุบันนี้ขับตาม กล่าวตาม ซึ่งบทมนต์

ของเก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอก

ได้ถูกต้อง ตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกไว้ ฤาษีเหล่านั้นย่อมปัญญัติพราหมณ์ไว้

๕ จำพวก คือ พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม ๑ พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา ๑

พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดี ๑ พราหมณ์ผู้มีความประพฤติดีและชั่ว ๑

พราหมณ์จัณฑาลเป็นที่ห้า ๑ ดูก่อนโทณะ ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน ใน

จำพวกพราหมณ์ ๕ จำพวกนั้น.

โท. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพระองค์ย่อมไม่ยัง

แม้พราหมณ์จัณฑาลให้เต็มได้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 411

ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่

ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุเห็น

รูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรม

และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ. ขอพระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็น

อุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบโทณสูตรที่ ๒

อรรถกถาโทณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยโทณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตฺวปิ โน แก้เป็น ตฺวมฺปิ นุ แปลว่า แม้ท่านหนอ.

บทว่า ปวตฺตาโร คือ ผู้สอน. บทว่า เยส คือ เป็นสมบัติของฤาษี

เหล่าใด. บทว่า มนฺตปท ได้แก่ มนต์ คือ พระเวทนั่นเอง. บทว่า

คีต ได้แก่ พวกโบราณพราหมณ์ ๑๐ คน มีอัฏฐกพราหมณ์เป็นต้นสาธยาย

แล้วด้วยสรภัญญสมบัติ คือ เสียง. บทว่า ปวุตฺต ได้แก่ บอกกล่าว

[สอน] แก่คนอื่น. บทว่า สมิหิต ได้แก่ รวบรวม คือ ทำให้เป็นกอง

อธิบายว่าตั้งไว้เป็นกลุ่มเป็นก้อน. บทว่า ตทนุคายนฺติ ความว่า บัดนี้พราหมณ์

ทั้งหลายก็ขับสาธยายมนต์ตามที่โบราณพราหมณ์เหล่านั้นขับมาก่อน. บทว่า

ตทนุภาสนฺติ ได้แก่ กล่าวมนต์นั้นตาม. บทนี้เป็นไวพจน์ของบทก่อนนั่นแล.

บทว่า ภาสิตมนุภาสนฺติ ได้แก่ กล่าวตามที่พวกโบราณพราหมณ์เหล่านั้น

กล่าวไว้. บทว่า สชฺฌายิตมนุสชฌายนฺติ ได้แก่ สาธยายตามที่พวก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 412

โบราณพราหมณ์เหล่านั้นสาธยาย. บทว่า วาจิตมนุวาเจนฺติ ได้แก่ บอก

ตามที่พวกโบราณพราหมณ์เหล่านั้นบอกแก่ผู้อื่น.

บทว่า เสยฺยถีท ได้แก่ โบราณพราหมณ์เหล่านั้นมีใครบ้าง. บทว่า

อฏฺฐุโก เป็นต้น เป็นชื่อของโบราณพราหมณ์เหล่านั้น. ได้ยินว่า โบราณ-

พราหมณ์เหล่านั้นตรวจดูด้วยทิพยจักษุแล้วไม่ทำการเบียดเบียนผู้อื่น เทียบ

ปาพจน์คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

แล้วเรียบเรียงมนต์ทั้งหลาย. แต่พราหมณ์อีกพวกหนึ่งใส่กรรมมีปาณาติบาต

เป็นต้นเข้าไปทำลายพระเวท ๓ ทำให้ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์เสีย.

บทว่า อสฺสุ ในบทว่า ตฺยาสฺสุเม นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า

พราหมณ์เหล่านั้นบัญญัติพราหมณธรรม ๕เหล่านี้. บทว่า มนฺเต อธิยมาโน

ได้แก. ท่องเรียนพระเวททั้งหลาย. บทว่า อาจริยธน ได้แก่ ทรัพย์บูชา

อาจารย์ คือ ทรัพย์อันเป็นส่วนบูชาอาจารย์. บทว่า น อิสฺสตฺเถน ได้แก่

ไม่ใช่ให้เกิดขึ้นด้วยงานนักรบอาชีพ. บทว่า น ราชโปริเสน ได้แก่

ไม่ใช่ให้เกิดขึ้นด้วยความเป็นข้าราชการ.

บทว่า เกวล ภิกฺขาจริยาย ได้แก่ เกิดขึ้นด้วยภิกขาจาร อันบริสุทธิ์

[ล้วน ๆ] เท่านั้น. บทว่า กปาล อนติมญฺมาโน ได้แก่ ไม่ดูหมิ่น

ภิกขาภาชนะ. ก็โทณพราหมณ์นั้นถือภิกขาภาชนะใส่น้ำเต็มแล้ว สนานศีรษะ

ไปยืนอยู่ที่ประตูของตระกูลทั้งหลายร้องขอว่า ข้าพเจ้าประพฤติโกมารพรหม-

จรรย์ (เป็นชายโสด) มาตลอด ๔๘ ปี ทั้งมนต์ข้าพเจ้าก็เรียนแล้ว ข้าพเจ้า

จักให้ทรัพย์บูชาอาจารย์แก่อาจารย์ ขอท่านทั้งหลายจงให้ทรัพย์แก่ข้าพเจ้าเถิด

ดังนี้. พวกมนุษย์ได้ฟังดังนั้นต่างก็ให้ทรัพย์ ๘ กหาปณะบ้าง ๑๖ กหาปณะ

บ้าง ๑๐๐ กหาปณะบ้าง ตามกำลังสามารถ โทณพราหมณ์เที่ยวไปขอทั่ว

หมู่บ้าน อย่างนี้แล้วมอบทรัพย์ที่ได้ให้แก่อาจารย์. คำนั้นท่านกล่าวหมายถึง

ภิกขาภาชนะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 413

บทว่า เอว โข โทณพฺราหมฺโณ พฺรหฺมสโม โหติ ความว่า

พราหมณ์เป็นผู้ชื่อว่าเสมอด้วยพรหม เพราะประกอบด้วยพรหมวิหารอย่างนี้.

บทว่า เนว กเยน น วิกฺกเยน ได้แก่ ไม่ใช่ตนเองซื้อ ไม่ใช่ผู้อื่น

ขายให้. บทว่า อุทกูปสฏฺ ได้แก่ ที่เขาหลั่งน้ำสละให้. โทณพราหมณ์

นั้นไปยืนอยู่ที่ประตูของตระกูลที่มีหญิงสาววัยรุ่น เมื่อเขาถามว่าเหตุไรท่านจึง

ยืนอยู่ พราหมณ์ตอบว่า ข้าพเจ้าประพฤติโกมารพรหมจรรย์มา ๔๘ ปี

ข้าพเจ้าจะให้ทุกสิ่งทุกอย่างแก่ท่าน ขอท่านจงให้หญิงสาวแก่ข้าพเจ้าเถิด.

พวกเขานำหญิงสาวมาแล้วหลั่งน้ำลงบนมือของพราหมณ์นั้นให้. โทณพราหมณ์

นั้นรับหญิงสาวที่เขาหลั่งน้ำให้เป็นภรรยาก็กลับไป.

บทว่า อติมิฬฺหโช ได้แก่ เกิดในที่สกปรกยิ่ง คือ กองคูถ

ใหญ่. บทว่า ตสฺสสฺส ตัดบทเป็น ตสฺส เอตสฺส บทว่า

ทฺวตฺถา ได้แก่ ไม่ต้องการเล่น. บทว่า น รตตฺถา ได้แก่ ไม่ต้องการ

ความยินดีในกาม. บทว่า เมถุน อุปฺปาเทตฺวา ความว่า พราหมณ์

ให้กำเนิดธิดา หรือบุตร แล้วคิดว่า บัดนี้ประเวณีจักสืบต่อไปจึงออกบวช.

บทว่า สุคตึ สคฺค โลก นี้ ท่านกล่าวหมายถึงพรหมโลกเท่านั้น. บทว่า

เทวสโม โหติ ได้แก่เป็นผู้ชื่อว่าเสมอด้วยเทวดา เพราะประกอบด้วยทิพย-

วิหารธรรม. บทว่า ตเมว ปุตฺตสฺสาท นิกามยมาโน ความว่า พราหมณ์

ปรารถนาคือต้องการความรักในบุตร ความพอใจในบุตรที่เกิดขึ้นเพราะเห็น

ธิดาหรือบุตรเกิด. บทว่า กุฏฺมฺพ อชฺฌาวสติ ได้แก่ อยู่ท่ามกล่าง

ทรัพยสมบัติ. บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโทณสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 414

๓. สังคารวสูตร

ว่าด้วยผลของการมีและไม่มีนิวรณ์ ๕

[๑๙๓] ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

ไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่าข้าแต่ท่านพระโคดม อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้มนต์แม้ที่ทำการ

สาธยายตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้งในกาลบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์

ที่ไม่ทำการสาธยาย และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้มนต์แม้ที่ไม่ได้ทำการ

สาธยายตลอดกาลนาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำ

การสาธยาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจ

อันกามราคะกลุ้มรุม อันกามราคะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามความ

เป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น

บุคคลย่อมไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์

ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่ทำการสาธยายตลอดกาลนาน

ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะ

ที่เต็มด้วยน้ำ ซึ่งระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน บุรุษมีตาดี

มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะอันเต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นตามความ

เป็นจริง แม้ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจอันกามราคะกลุ้มรุม

อันกามราคะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็น

เครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ไม่เห็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 415

ตามความเป็นจริงแม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์

ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่ทำการสาธยายตลอดกาลนานก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าว

ถึงมนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันพยาบาท

กลุ้มรุม อันพยาบาทครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งธรรมเป็น

เครื่องสลัดออกแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยายตลอด

กาลนานก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือน

ภาชนะที่เต็มด้วยน้ำร้อนเพราะไฟ เดือดพล่านเป็นไอ บุรุษมีตาดีมองดูเงาหน้า

ของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นตามเป็นจริง แม้ฉันใด

ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจอันพยาบาทกลุ้มรุม อันพยาบาทครอบงำ

อยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง

พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยายตลอดกาลนานก็ไม่แจ่ม-

แจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันถีนมิทธะ

กลุ้มรุม อันถีนมิทธะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็น

เครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยาย

ตลอดกาลนานก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย เปรียบ-

เหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำอันสาหร่ายและแหนปกคลุมแล้ว บุรุษมีตาดีมองดู

เงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นตามเป็นจริง

แม้ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจอันถีนมิทธะกลุ้มรุมอันถีนมิทธะ

ครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง

ถีนมิทธะเกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยายตลอดกาลนานก็ไม่แจ่มแจ้ง

ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 416

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันอุทธัจจ

กุกกุจจะกลุ้มรุม อันอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริง

ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้

ที่ทำการสาธยายตลอดกาลนานก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ไม่ทำการ

สาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ อันลมพัด ไหว วน เป็นคลื่น

บุรุษมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็น

ตามเป็นจริง แม้ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจอันอุทธัจจกุกกุจจะ

กลุ้มรุม อันอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่ง

ธรรมเป็นเครื่องสลัดอออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่

ทำการสาธยายตลอดกาลนานก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ไม่ทำการ

สาธยาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันวิจิกิจฉา

กลุ้มรุม อันวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็น

เครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยายตลอด

กาลนานก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือน

ภาชนะที่เต็มด้วยน้ำขุ่น มัว เป็นตม ที่เขาวางไว้ในที่มืด บุรุษมีตาดีมองดู

เงาหน้าของคนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามเป็นจริง

แม้ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด บุคคลมีใจอันวิจิกิจฉากลุ้มรุม อันวิจิ-

กิจฉาครอบงำอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง

วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ทำการสาธยายตลอดกาลนานก็ไม่แจ่มแจ้ง

ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ ก็สมัยใดแล บุคคลมีใจอันกามราคะไม่กลุ้มรุม

อันกามราคะไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 417

สลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ย่อมเห็นตามเป็นจริง

แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์

แม้ที่ไม่ทำการสาธยายตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำการ

สาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะอันเต็มด้วยน้ำซึ่งไม่ระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียว

หรือสีเหลืองอ่อน บุรุษมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น

พึงรู้พึงเห็นตามเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีใจอันกามราคะไม่กลุ้มรุม

อันกามราคะไม่ครอบงำอยู่และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัด

ออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ย่อมเห็นตามเป็นจริง

แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์

แม้ที่ไม่ทำการสาธยายตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้ง ไม้ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำการ

สาธยาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันพยาบาท

ไม่กลุ้มรุม อันพยาบาทไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรม

เป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย

ตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำการสาธยาย เปรียบเหมือน

ภาชนะที่เต็มด้วยน้ำไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือดพล่าน ไม่เป็นไอ บุรุษมีตาดี

มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามเป็นจริง

แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีใจอันพยาบาทไม่กลุ้มรุม อันพยาบาทไม่ครอบงำอยู่

และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้น

แล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยายตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าว

ถึงมนต์ที่ทำการสาธยาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันถีนมิทธะ

ไม่กลุ้มรุม อันถีนมิทธะไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 418

เป็นเครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการ

สาธยายตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำการสาธยาย เปรียบ

เหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ อันสาหร่ายและแหนไม่ปกคลุมแล้ว บุรุษมีตาดี

มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้พึงเห็นตามเป็นจริง

แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีใจอันถีนมิทธะไม่กลุ้มรุม อันถีนมิทธะไม่ครอบงำ

อยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะที่

เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยายตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้ง ไม่

ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำการสาธยาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันอุทธัจจ-

กุกกุจจะไม่กลุ้มรุม อันอุทธัจจกุกกุจจะไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตาม

เป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ

มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยายตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำ

การสาธยาย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำอันลมไม่พัด ไม่ไหว ไม่วน

ไม่เป็นคลื่น บุรุษมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้

พึงเห็นตามเป็นจริง แม้ฉันใด บุคคลมีใจอันอุทธัจจกุกกุจจะไม่กลุ้มรุม อัน

อุทธัจจกุกกุจะไม่ครอบงำอยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่อง

สลัดออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย

ตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำการสาธยาย ฉันนั้น

เหมือนกัน. .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจอันวิจิกิจฉา

ไม่กลุ้มรุม อันวิจิกิจฉาไม่ครอบงำ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็น

เครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย

ตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำการสาธยาย เปรียบเสมือน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 419

ภาชนะที่เต็มด้วยน้ำอันใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว ที่เขาวางไว้ในที่สว่าง บุรุษมีตาดี

มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง

แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีใจอันวิจิกิจฉาไม่กลุ้มรุม อันวิจิกิจฉาไม่ครอบงำ

อยู่ และย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งธรรมเป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิด

ขึ้นแล้ว ฯลฯ มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยายตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้อง

กล่าวถึงมนต์ที่ทำการสาธยาย ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้มนต์แม้ที่ทำการ

สาธยายตลอดกาลนานไม่แจ่มแจ้งได้ไนกาลบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ไม่

ทำการสาธยาย และนี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้มนต์แม้ที่ไม่ทำการสาธยาย

ตลอดกาลนานก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ทำการ

สาธยาย.

สังคาวรพราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่

คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วย

หวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ

กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรง

จำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบสังคารวสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 420

อรรถกถาสังคารวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังคารวสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปเคว แปลว่า ก่อนทีเดียว. บทว่า กามราคปริยุฏฺิเตน

ได้แก่ ถูกกามราคะยึดไว้. บทว่า กามราคปเรเตน ได้แก่ ถูกกามราคะ

ติดตาม.

บทว่า นิสฺสรณ ความว่า การออกไปแห่งกามราคะมี ๓ อย่าง คือ

การออกไปด้วยการข่มไว้ ๑ การออกไปชั่วคราว ๑ การออกไปเด็ดขาด ๑.

ใน ๓ อย่างนั้น ปฐมฌานในอสุภกรรมฐาน ชื่อว่า การออกไปด้วยการข่มไว้.

วิปัสสนาชื่อว่า การออกไปชั่วคราว อรหัตมรรคชื่อว่า การออกไปเด็ดขาด.

อธิบายว่า ไม่รู้การออกไปแม้ทั้ง ๓ อย่างนั้น.

ในบทว่า อตฺตตฺถมฺปิ เป็นต้น ประโยชน์ของตนอันได้แก่พระอรหัต

ชื่อว่า ประโยชน์ตน ประโยชน์ของผู้ให้ปัจจัย ชื่อว่า ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์

แม้ทั้งสองนั้นแล ชื่อว่า ประโยชน์ทั้งสอง. พึงทราบเนื้อความในทุกวาระโดย

นัยนี้.

แต่พึงทราบความต่างกันต่อไปนี้. จริงอยู่ ในบทมีอาทิว่า พฺยาปา-

ทสฺส นิสฺสรณ การออกไปมีสองอย่าง คือ การออกไปด้วยการข่มไว้ และ

การออกไปโดยเด็ดขาด. ในสองอย่างนั้นสำหรับพยาบาทก่อน เมตตาปฐมฌาน

ชื่อว่า การออกไปด้วยการข่ม อนาคามิมรรค ชื่อว่า การออกไปโดยเด็ดขาด.

สำหรับถีนมิทธะ อาโลกสัญญา ชื่อว่า การออกไปด้วยการข่มไว้ อรหัตมรรค

ชื่อว่า การออกไปโดยเด็ดขาด. สำหรับอุทธัจจกุกกุจจะ สมถะอย่างใดอย่างหนึ่ง

ชื่อว่าการออกไปด้วยการข่มไว้ แต่ในที่นี้ อรหัตมรรค ชื่อว่าการนำออกไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 421

โดยเด็ดขาดแห่งอุทธัจจะ อนาคามิมรรค ชื่อว่าการนำออกไปโดยเด็ดขาด

แห่งกุกกุจจะ สำหรับวิจิกิจฉา การกำหนดธรรม ชื่อว่าการนำออกไปด้วย

การข่มไว้ ปฐมมรรค ชื่อว่าการนำออกไปโดยเด็ดขาด.

ก็ในสูตรนี้ท่านกล่าวข้ออุปมาเหล่าใดมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ พฺราหฺมณ

อุทปตฺโต สสฏโ ลาขาย วา ดังนี้ ในอุปมาเหล่านั้น บทว่า อุทปตฺโต

ได้แก่ ภาชนะเต็มด้วยน้ำ. บทว่า สสฏฺโ ได้แก่ ผสมสีต่างชนิด. บทว่า

อุกฺกุฏฺิโต ได้แก่ เดือดพล่าน. บทว่า อุสฺสทกชาโต ได้แก่ มีควันตลบ.

บทว่า เสวาลปณกปริโยนทฺโธ ได้แก่ ปกคลุมด้วยสาหร่าย มีประเภท

เป็นพืชงาเป็นต้น หรือแหนมีสีเขียวและสีเหมือนหลังกบซึ่งเกิดปิดผิวน้ำ.

บทว่า วาเตริโต ได้แก่ ถูกลมพัดกระเพื่อม. บทว่า อาวิโล คือไม่ใส.

บทว่า ลุฬิโต คือไม่นิ่ง. บทว่า กลลีภูโต คือมีเปือกตม. บทว่า อนฺธกาเร

นิกฺขิตฺโต ได้แก่ ถูกวางไว้ในที่ไม่มีแสงสว่าง (มืด) เช่น ภายในยุ้งเป็นต้น.

ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยักเยื้องเทศนาด้วยภพ ๓ แล้วทรงจบลงด้วย

ยอดธรรม คือ พระอรหัต. ส่วนพราหมณ์ตั้งอยู่ในคุณเพียงแค่สรณะ.

จบอรรถกถาสังคารวสูตรที่ ๓

๔. การณปาลีสูตร

ว่าด้วยเหตุที่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า

[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา

ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้น การณปาลีพราหมณ์ใช้คนให้ทำการ-

งานของเจ้าลิจฉวีอยู่ ได้เห็นปิงคิยานีพราหมณ์เดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 422

ถามว่า อ้อ ท่านปิงคิยานีมาจากไหนแต่ยังวัน (แต่วันนัก). ปิงคิยานีพราหมณ์

ตอบว่า ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระสมณโคดม.

กา. ท่านปิงคิยานีย่อมเข้าใจพระปรีชา (ความฉลาดด้วยปัญญา) ของ

พระสมณโคดมว่า เห็นจะเป็นบัณฑิตนั้นอย่างไร.

ปิ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นอะไรจึงจักรู้พระปรีชาของ

พระสมณโคดม ผู้ใดพึงรู้พระปรีชาของพระสมณโคดม แม้ผู้นั้นพึงเป็นเช่น

กับพระสมณโคดมนั้นแน่นอน.

กา. ได้ยินว่า ท่านปิงคิยานีสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก.

ปิ. ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นอะไรจึงจะสรรเสริญพระสมณโคดม

และท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสรรเสริญ

แล้ว ๆ ว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

กา. ก็ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงเลื่อมใสยิ่งนักใน

พระสมณโคดมอย่างนี้. .

ปิ. ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่

ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์

นั้น โดยลักษณะใด ๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดย

อัพภูตธรรม ย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่น โดยลักษณะ

นั้น ๆ ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูกความหิว และความอ่อนเพลียครอบงำ

พึงได้รวงผึ้ง เขาพึงลิ้มรสโดยลักษณะใด ๆ ก็ย่อมได้รสดีอันไม่เจือ ฉันใด

บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ คือ โดย

สุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ย่อมได้ความดีใจ

ย่อมได้ความเลื่อมใสแห่งใจ โดยลักษณะนั้น ๆ ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 423

พึงได้ไม้จันทน์แห่งจันทน์เหลืองหรือจันทน์แดง พึงสูดกลิ่นจากที่ใด ๆ เช่น

จากราก จากลำต้น หรือจากยอด ก็ย่อมได้กลิ่นหอมดี กลิ่นแท้ ฉันใด

บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ คือ โดย

สุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ก็ย่อมได้ความ

ปราโมทย์ ย่อมได้โสมนัส โดยลักษณะนั้น ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้

อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว

ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ คือ

โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ความโศก

ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขาย่อมหมด

ไปโดยลักษณะนั้น ๆ ฉันนั้น เปรียบเหมือนสระน้ำมีน้ำใสน่าเพลินใจ น้ำเย็น

น้ำขาว มีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์ บุรุษผู้ร้อนเพราะแดด ถูกแดดเผา

เหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย เดินมาถึง เขาลงไปในสระน้ำนั้น อาบ ดื่ม

พึงระงับ ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง

ฉันใด บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใด ๆ คือ

โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม ความกระวน-

กระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงของเขา ก็ย่อมระงับไป

โดยลักษณะนั้น ๆ ฉันนั้น.

เมื่อปิงคิยานีพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว การณปาลีพราหมณ์ลุกจาก

ที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนมอัญชลี

ไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ เปล่งอุทานสามครั้งว่า ขอความ

นอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ-

องค์นั้น ขอความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 424

พุทธเจ้าพระองค์นั้น แล้วกล่าวต่อไปว่า ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่าน

แจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านปิงคิยานี ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านปิงคิยานี

ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ

ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มี

จักษุเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมพระองค์นั้น กับทั้ง

พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอท่านปิงคิยานีจงจำข้าพเจ้าว่าเป็น

อุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบการณปาลีสูตรที่ ๔

อรรถกถาการณปาลีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในการณปาลีสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า การณปาลี เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น. พราหมณ์ชื่อการณปาลี

เพราะทำราชการในราชสำนัก. บทว่า กมฺมนฺต กาเรติ ความว่า การณปาลี-

พราหมณ์ลุกแต่เช้าตรู่ กระทำประตูป้อม และกำแพงที่ยังไม่ได้ทา ซ่อมส่วน

ที่ชำรุด.

บทว่า ปิงฺคิยานึ พฺราหฺมณ ได้แก่ พราหมณ์ผู้เป็นอริยสาวก

ตั้งอยู่ในอนาคามิผล จึงมีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นลุกแต่เช้าตรู่ ถือ

ของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้ว บูชาด้วยดอกไม้

เป็นต้น แล้วจึงเข้าเมือง. นี้เป็นกิจวัตรประจำวันของพราหมณ์. การณปาลี-

พราหมณ์นั้น ได้เห็นพราหมณ์ปิงคิยานีทำกิจวัตรอย่างนั้นแล้วกำลังเดินมา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 425

บทว่า เอตทโวจ ความว่า การณปาลีพราหมณ์ คิดว่า พราหมณ์

ผู้นี้มีปัญญา ญาณกล้า ไปไหนมาแต่เช้าหนอ รู้สึกว่าพราหมณ์เดินเข้ามาใกล้

โดยลำดับ จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า หนฺท กุโต ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า

ทวา ทิวสฺส ได้แก่ กลางวัน อธิบายว่า เที่ยงวัน.

บทว่า ปณฺฑิโต มญฺติ ในสูตรนี้มีใจความว่า การณปาลีพราหมณ์

คิดว่า ท่านพราหมณ์ปิงคิยานี ย่อมสำคัญพระสมณโคดมว่าเป็นบัณฑิตหรือ

ไม่หนอ. บทว่า โกจาหมฺโก ความว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใครเล่า

ในอันที่จะรู้ถึงความฉลาดปราดเปรื่องแห่งพระปัญญาของพระสมณโคดมได้.

บทว่า โก จ สมณสฺส โคตมสฺส ปญฺา เวยฺยตฺติย ชานิสฺสามิ

ความว่า พราหมณ์ปิงคิยานีแสดงความไม่รู้ของตนด้วยประการทั้งปวงอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าจักรู้ความฉลาดปราดเปรื่องแห่งพระปัญญาของพระสมณะได้แต่ไหน

คือ ข้าพเจ้าจักรู้ได้ด้วยเหตุไรเล่า.

บทว่า โสปิ นูนสฺสตาทิโสว ความว่า พราหมณ์ปิงคิยานีแสดงว่า

ผู้ใดพึงรู้ถึงความฉลาดปราดเปรื่องแห่งพระปัญญาของพระสมณโคดม ผู้นั้น

ก็ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ แล้วบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ก็จะพึงเป็นพุทธะ

เช่นนั้นเท่านั้น. อันผู้ประสงค์จะวัดภูเขาสิเนรุก็ดี แผ่นดินก็ดี อากาศก็ดี

ควรได้ไม้วัด หรือเชือกเท่ากับเขาสิเนรุแผ่นดินและอากาศนั้น แม้ผู้จะรู้ปัญญา

ของพระสมณโคดม ก็ควรจะได้พระสัพพัญญุตญาณเช่นเดียวกับพระญาณของ

พระองค์เหมือนกัน. ก็ในสูตรนี้พราหมณ์ปิงคิยานี กล่าวย้ำด้วยความเอื้อเฟื้อ.

บทว่า อุฬาราย ได้แก่ สูงสุดคือประเสริฐสุด. บทว่า โกจาหมฺโภ

ความว่า ท่านผู้เจริญ เราเป็นใครเล่าในการที่จะสรรเสริญพระสมณโคดม.

บทว่า โก จ สมณ โคตม ปสสิสฺสามิ ความว่า เราจักสรรเสริญได้

ด้วยเหตุไรเล่า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 426

บทว่า ปสฏฺปสฏฺโ ความว่า พราหมณ์ปิงคิยานีสรรเสริญด้วย

พระคุณทั้งหลายของพระองค์ ซึ่งชาวโลกทั้งปวงสรรเสริญแล้ว อันฟุ้งไป

เหนือคุณทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องสรรเสริญพระองค์ด้วยพระคุณอื่น ๆ เหมือน

อย่างว่า ดอกจัมปาก็ดี อุบลขาบก็ดี ปทุมแดงก็ดี จันทน์แดงก็ดี เป็นของ

ผ่องใสและมีกลิ่นหอมด้วยสิริ คือ สีและกลิ่นประจำภายในของมันเอง ไม่จำ

จะต้องชมดอกไม้นั้นด้วยสีและกลิ่นที่จรมาภายนอก. อนึ่ง เหมือนอย่างว่า

แก้วมณีก็ดี ดวงจันทร์ก็ดี ย่อมส่องประกายด้วยแสงของมันเอง แก้วมณี

และดวงจันทร์นั้นก็ไม่จำต้องส่องประกายด้วยแสงอื่น ฉันใด พระสมณโคดม

ก็ฉันนั้น ทรงได้รับสรรเสริญยกย่อง ให้ถึงความเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก

ทั้งปวงด้วยพระคุณของพระองค์เองทีชาวโลกทั้งปวงสรรเสริญแล้ว ก็ไม่จำต้อง

สรรเสริญพระองค์ด้วยพระคุณอื่น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปสฏฺปสฏฺโ

เพราะเป็นผู้ประเสริฐกว่าชนผู้ประเสริฐทั้งหลาย ดังนี้ก็มี. ถามว่า ก็ใครชื่อว่า

เป็นผู้ประเสริฐ. ตอบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นผู้ประเสริฐกว่าชาวกาสีและ

ชาวโกศล พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้ประเสริฐกว่าชาวอังคะและมคธ กษัตริย์

ลิจฉวีกรุงเวสาลีประเสริฐกว่าชาวแคว้นวัชชี มัลลกษัตริย์ เมืองปาวา เมือง

กุสินาราเป็นผู้ประเสริฐ แม้กษัตริย์นั้น ๆ เหล่าอื่นก็ประเสริฐกว่าชาวชนบท

เหล่านั้น ๆ พราหมณ์มีจังกีพราหมณ์เป็นต้น ก็ประเสริฐกว่าหมู่พราหมณ์

ทั้งหลาย อุบาสกมีอนาถบิณฑิกะเป็นต้น ก็ประเสริฐกว่าอุบาสกทั้งหลาย

อุบาสิกามีนางวิสาขาเป็นต้น ก็ประเสริฐกว่าอุบาสิกาหลายร้อย ปริพาชกมี

สุกุลุทายีเป็นต้น ก็ประเสริฐกว่าปริพาชกหลายร้อย มหาสาวิกามีอุบลวัณณา-

เถรีเป็นต้น ก็ประเสริฐกว่าภิกษุณีหลายร้อย พระมหาเถระมีพระสารีบุตรเถระ

เป็นต้น ก็ประเสริฐกว่าภิกษุหลายร้อย เทวดามีท้าวสักกะเป็นต้น ก็ประเสริฐ

กว่าทวยเทพหลายพัน พรหมมีมหาพรหมเป็นต้น ก็ประเสริฐกว่าพรหมหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 427

พัน ชนและเทพแม้เหล่านั้นทั้งหมด ก็ยังยกย่องชมเชยสรรเสริญพระทศพล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านเรียกว่า ปสฏฺปสฏโ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อตฺถวส แปลว่า อำนาจแห่งประโยชน์ทั้งหลาย. ครั้งนั้น

พราหมณ์ปิงคิยานี เมื่อบอกถึงเหตุที่ตนเลื่อมใสแก่การณปาลีพราหมณ์นั้น

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ โภ ปุริส ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า

อคฺครสปริติตฺโต ความว่า ชื่อว่า รสเลิศมีอาทิอย่างนี้ คือ บรรดารส-

โภชนะ ข้าวปายาสเลิศ บรรดาข้น เนยใสจากโคเลิศ บรรดารสฝาด ผึ้งอ่อนเลิศ

บรรดารสหวาน น้ำตาลกรวดเลิศ. อิ่มในรสเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง บริโภค

พอหอมปากหอมคอดำรงอยู่ได้ บทว่า อญฺเส หีนาน ได้แก่ รสเลวอื่น

จากรสเลิศ. บทว่า สุตฺตโส แปลว่า โดยสูตร อธิบายว่า โดยได้สดับมา.

แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ตโต ตโต ได้แก่ จากบรรดา

สัตถุศาสน์มีสุตตะเป็นต้นนั้น ๆ. บทว่า อญฺเส ปุถุสมณพฺราหฺมณ-

ปฺปวาทาน ได้แก่ ไม่ชอบใจ ไม่ปรารถนา คำสอนอันเป็นลัทธิของสมณ-

พราหมณ์เป็นอันมากอื่น ไม่ปรารถนาแม้แต่จะฟังสมณพราหมณ์เหล่านั้นพูด.

บทว่า ชิฆจฺฉาทุพฺพลฺยปเรโต ได้แก่ ถูกความหิวและความอ่อนเพลีย

ครอบงำ.

บทว่า มธุปิณฺฑิก ได้แก่ ข้าวสัตตุก้อนที่เขาคั่วแป้งสาลีแล้ว ปรุง

ด้วยรสหวาน ๔ อย่าง หรือขนมหวานนั่นเอง. บทว่า อธิคจฺเฉยฺย ได้แก่

พึงได้ บทว่า อเสจนก ได้แก่ มีรสประณีตอร่อย ไม่ราดด้วยรสอย่างอื่น

เพื่อทำให้หวาน. บทว่า หริจนฺทนสฺส ได้แก่ ไม้จันทน์สีเหลืองเหมือนทอง.

บทว่า โลหิตจนฺทนสฺส ได้แก่ ไม้จันทร์สีแดง. บทว่า สุรภิคนฺธ ได้แก่

มีกลิ่นหอม. ก็ความกระวนกระวายเป็นต้น ได้แก่กระวนกระวายเพราะวัฏฏะ

ลำบากเพราะวัฏฏะ ชื่อว่า เร่าร้อนเพราะวัฏฏะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 428

บทว่า อุทาน อุทาเนสิ แปลว่า เปล่งอุทาน เหมือนอย่างว่า

น้ำมันอันใดที่ไม่สามารถจะเอามาตวงได้ แต่ไหลไป น้ำมันอันนั้นเรียกว่า

อวเสกะ น้ำใดไม่สามารถจะขังสระได้ไหลท้นไป น้ำนั้นท่านเรียกว่า โอฆะ

ฉันใด. คำใดที่ประกอบด้วยปีติไม่สามารถจะขังใจอยู่ มีเกินไปตั้งอยู่ไม่ได้ใน

ภายใน ก็ออกไปภายนอก คำที่ประกอบด้วยปีตินั้น ท่านเรียกว่า อุทาน

ก็ฉันนั้น. อธิบายว่า พราหมณ์การณปาลีเปล่งคำที่สำเร็จด้วยปีติเห็นปานนี้.

จบอรรถกถาการณปาลีสูตรที่ ๔

๕. ปิงคิยานีสูตร

ว่าด้วยรัตนะที่หายากยิ่ง ๕ ประการ

[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่า

มหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ เฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าอยู่ เจ้าลิจฉวีบางพวกเขียว มีวรรณะเขียว มีผ้าเขียว มีเครื่องประดับ

เขียว บางพวกเหลือง มีวรรณะเหลือง มีผ้าเหลือง มีเครื่องประดับเหลือง

บางพวกแดง มีวรรณะแดง มีผ้าแดง มีเครื่องประดับแดง บางพวกขาว

มีวรรณะขาว มีผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรุ่งเรืองกว่า

เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น โดยพระวรรณะและพระยศ ครั้งนั้น ปิงคิยานีพราหมณ์

ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าประทับอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เนื้อความแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความแจ่มแจ้งกะข้าพระ

องค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนปิงคิยานี จงแจ่มแจ้งกะท่านเถิด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 429

ครั้งนั้น ปิงคิยานีพราหมณ์ได้ชมเชยต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถา

โดยย่อว่า

เชิญท่านดูพระอังคีรสผู้ทรงรุ่งโรจน์

อยู่ เหมือนดอกบัวชื่อโกกนุท มีกลิ่นหอม

ไม่ปราศจากกลิ่น บานอยู่ ณ เวลาเช้า

และเหมือนพระอาทิตย์เปล่งรัศมี อยู่บน

ท้องฟ้า ฉะนั้น.

ครั้งนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ได้ให้ปิงคิยานีพราหมณ์ห่มผ้าอุตราสงค์

๕๐๐ ผืน ปิงคิยานีพราหมณ์ได้ทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงครองผ้าอุตราสงค์

๕๐๐ ผืนเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า ดูก่อนเจ้า

ลิจฉวี ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ หาได้ยากในโลก รัตนะ ๕ เป็นไฉน ?

คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ บุคคลผู้แสดงธรรมวินัย

ที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคต

ประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระ-

ตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่

ธรรม ๑ กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑ ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏ

แห่งรัตนะ ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก.

จบปิงคิยานีสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 430

อรรถกถาปิงคิยานีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยใน ปิงคิยานีสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

คำว่า นีลา นี้รวมสีเขียวไว้ทั้งหมด. คำว่า นีลวณฺณา เป็นต้น

แสดงการจำแนกสีเขียวนั้น. ในบทว่า นีลวณฺณา นั้นตามปกติวรรณของ

กษัตริย์ลิจฉวีเหล่านั้นไม่เขียว แต่ท่านกล่าวคำนั้นเพราะกษัตริย์เหล่านั้นทา

ด้วยเครื่องทาสีเขียว. บทว่า นีลวตฺถา ได้แก่แม้ผ้าเนื้อดีและผ้าไหมเป็นต้น

ของกษัตริย์เหล่านั้นก็เป็นสีเขียวทั้งนั้น. บทว่า นีลาลงฺการา ได้แก่ประดับ

ด้วยแก้วมณีเขียวและดอกไม้เขียว แม้เครื่องประดับช้าง ม้า รถ ม่าน เพดาน

และเสื้อของกษัตริย์เหล่านั้นก็เขียวทั้งหมด. พึงทราบเนื้อความในทุกบทโดย

นัยนี้.

บทว่า ปทุม ยถา ได้แก่ เหมือนดอกปทุมสีแดงมี ๑๐๐ ใบ

ฉะนั้น บทว่า โกกนุท เป็นไวพจน์ของคำว่า ปทุม นั้นนั่นแล. บทว่า

ปาโต ได้แก่ เช้าตรู่คือในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น. บทว่า สิยา แปลว่า พึงมี.

บทว่า อวีตคนฺธ ได้แก่ ไม่หายหอม. บทว่า องฺคีรส ความว่าพระรัศมี

ซ่านจากพระวรกายน้อยใหญ่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะฉะนั้นจึงเรียกพระ

อังคีรส บทว่า ตปนฺตมาทิจฺจมิวนฺตลิกฺเข ความว่า พราหมณ์ปิงคิยานี

กล่าวว่า ท่านจงดูพระอังคีรสผู้รุ่งเรือง ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงในอากาศ

สามารถทำความสว่างในทวีปใหญ่ ๔ ทวีป ซึ่งมีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร

พราหมณ์ปิงคิยานีกล่าวอย่างนี้ หมายถึงตนเองหรือมหาชน.

จบอรรถกถาปิงคิยานีสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 431

๖. สุปินสูตร

ว่าด้วยมหาสุบิน ๕ ประการ

[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสุบิน ๕ ประการ ปรากฏแก่

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์

อยู่ ๕ ประการเป็นไฉน คือ แผ่นดินใหญ่นี้เป็นที่นอนใหญ่ ขุนเขาหิมวันต์

เป็นเขนย มือซ้ายหย่อนลงในสมุทรด้านทิศบูรพา มือขวาหย่อนลงในสมุทร

ด้านทิศประจิม เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทิศทักษิณ นี้เป็น มหาสุบิน

ข้อที่ ๑ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้

ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่.

อีกประการหนึ่ง หญ้าคาได้ขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันตสัมมาสัม-

พุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ จดท้องฟ้า

ตั้งอยู่ นี้เป็น มหาสุบินข้อที่ ๒ ปรากฏแก้ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ

ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่.

อีกประการหนึ่ง หมู่หนอนมีสีขาว ศีรษะดำ ได้ไต่ขึ้นมาจากเท้า

ของพระสัมมาสัมพุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่

ปกปิดตลอดถึงชานุมณฑล นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๓ ปรากฏแก่ตถาคต-

อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่.

อีกประการหนึ่ง นกสี่เหล่ามีสีต่าง ๆ กัน บินมาจากทิศทั้งสี่ ตกลง

แทบเท้าของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้

ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว นี้เป็นมหาสุบิน

ข้อที่ ๔ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้

ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 432

อีกประการหนึ่ง ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ. ก่อนแต่ตรัสรู้ ยัง

ไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่ (แต่)

ไม่แปดเปื้อนคูถ นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๕ ปรากฏแก่ตถาคตอรหันตสัมมา-

สัมพุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แผ่นดินใหญ่นี้ เป็นที่นอนใหญ่ของตถาคต-

อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่

ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย มือซ้ายหย่อนลงในสมุทรด้านทิศบูรพา มือขวา

หย่อนลงในสมุทรด้านทิศประจิม เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทิศทักษิณ

นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๑ ปรากฏเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า ตถาคตอรหันต-

สัมมาสัมพุทธะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

ข้อที่หญ้าคาได้ขึ้นจากนาภีของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก่อนแต่

ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ จดท้องฟ้าตั้งอยู่ นี้เป็นมหา

สุบินข้อที่ ๒ ปรากฏเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า ตถาคตอรหันตสัมมา-

สัมพุทธะได้ตรัสรู้อริยมรรคมีองค์ ๘ แล้วประกาศด้วยดี ตลอดถึง

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

ข้อที่หมู่หนอนมีสีขาว ศีรษะดำ ได้ไต่ขึ้นจากเท้าของตถาคตอรหันต-

สัมมาสัมพุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ปกปิด

ตลอดถึงชานุมณฑล นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๓ ปรากฏเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบ

ว่า คฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวจำนวนมากได้ถึงตถาคตเป็นสรณะตลอด

ชีวิต.

ข้อที่นกสี่เหล่ามีสีต่าง ๆ กัน บินมาจากทิศทั้งสี่ ตกลงแทบเท้าของ

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระ-

โพธิสัตว์อยู่ แล้วกลับกลายเป็นสีขาวทุกตัว นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๔ ปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 433

เพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า วรรณะทั้งสี่เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์

แพศย์ ศูทร ออกบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็ทำให้

แจ้งซึ่งวิมุตติอันยอดเยี่ยม.

ข้อที่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้

ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ เดินไปมาบนภูเขาคูถลูกใหญ่ (แต่) ไม่แปดเปื้อนคูถ

นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๕ ปรากฏเพื่อเป็นนิมิตให้ทราบว่า ตถาคตได้

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แล้วไม่

ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเปลื้องตน

ออกบริโภค.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสุบิน ๕ ประการนี้ ปรากฏแก่ตถาคต-

อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ก่อนแต่ตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่.

จบสุปินสูตรที่ ๖

อรรถกถาสุปินสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุปินสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า มหาสุปินา ความว่า ชื่อว่า มหาสุบิน เพราะบุรุษผู้ใหญ่

พึงฝัน และเพราะความเป็นนิมิตแห่งประโยชน์อันใหญ่. บทว่า ปาตุรเหสุ

แปลว่า ได้ปรากฏแล้ว.

ในบทนั้น ผู้ฝันย่อมฝันด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ เพราะธาตุกำเริบ ๑

เพราะเคยเป็นมาก่อน ๑ เพราะเทวดาดลใจ ๑ เพราะบุรพนิมิต ๑. ในฝัน

เหล่านั้น คนธาตุกำเริบ เพราะดีเป็นต้น เป็นเหตุทำให้กำเริบย่อมฝัน เพราะ

ธาตุกำเริบ และเมื่อฝัน ย่อมฝันหลายอย่าง เช่น ฝันว่าตกจากภูเขา ว่าไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 434

ทางอากาศ ว่าถูกเนื้อร้าย ช้างและโจรเป็นต้นไล่ตาม. เมื่อฝันโดยเคยเป็น

มาก่อน ย่อมฝันถึงอารมณ์เป็นมาแล้วในกาลก่อน. สำหรับผู้ฝันโดยเทวดา

ดลใจ ทวยเทพย่อมบรรดาลอารมณ์หลายอย่าง เพราะประสงค์ดีก็มี เพราะ

ประสงค์ร้ายก็มี ผู้นั้นย่อมฝันเห็นอารมณ์เหล่านั้น ด้วยอานุภาพของทวยเทพ

เหล่านั้น. เมื่อฝันโดยบุรพนิมิต (ลางบอกล่วงหน้า) ย่อมฝัน อันเป็นบุรพ-

นิมิต ของประโยชน์หรือของความพินาศที่ประสงค์จะเกิดด้วยอำนาจบุญและ

บาป ดุจพระชนนีของพระโพธิสัตว์ ได้นิมิตในการได้พระโอรส ดุจพระเจ้า

โกศล ทรงฝันเห็นสุบิน ๑๖ และดุจพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้แล ครั้ง

เป็นพระโพธิสัตว์ ทรงฝันเห็นมหาสุบิน ๕ ประการนี้.

ในฝันเหล่านั้น ฝันเพราะธาตุกำเริบ และเพราะเคยเป็นมาก่อน

ไม่จริง. ฝันเพราะเทวดาดลใจ จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง เพราะว่า เทวดาทั้งหลาย

โกรธขึ้นมา ประสงค์จะให้ถึงความพินาศด้วยอุบาย จึงแสร้งทำให้ผิดปกติ.

แต่ฝันเพราะบุรพนิมิต เป็นจริงโดยส่วนเดียวแท้. แม้เพราะความเกี่ยวข้อง

ของมูลเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ต่างกัน ฝันจึงต่างกันไป ฝันแม้ทั้ง ๔ นั้น

พระเสกขะและปุถุชน ย่อมฝัน เพราะยังละวิปัลลาสไม่ได้ พระอเสกขะไม่ฝัน

เพราะละวิปัลลาสได้แล้ว.

ก็เมื่อฝันนั้น หลับฝัน ตื่นฝัน หรือว่าไม่หลับไม่ตื่นฝัน. ในข้อนี้มี

อธิบายไว้อย่างไร ผิว่าหลับฝันก็ผิดอภิธรรม ด้วยว่าสัตว์ย่อมหลับด้วยภวังคจิต

ภวังคจิตนั้นหามีรูปนิมิตเป็นต้นเป็นอารมณ์ หรือสัมปยุตด้วยราคะเป็นต้นไม่

จิตเช่นนี้ย่อมเกิดแก่ผู้ฝัน หากตื่นฝันก็ผิดวินัย เพราะว่าฝันที่ตื่นฝันด้วยจิต

เป็นอัพโพหาริก (เห็นเหมือนไม่เห็น) จะไม่เป็นอาบัติไม่ได้ เพราะล่วงละเมิด

ด้วยจิตเป็นอัพโพหาริก เพราะแม้ผู้ฝันทำล่วงละเมิดก็ไม่เป็นอาบัติโดยส่วนเดียว

เท่านั้น เมื่อไม่หลับ ไม่ตื่นฝัน ชื่อว่าไม่ฝัน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ จึงไม่มีฝัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 435

และจะไม่มีก็ไม่ใช่. เพราะเหตุไร เพราะผู้ฝันเข้าสู่ความหลับดุจลิง. สมดังที่

พระนาคเสนกล่าวไว้ว่า มหาบพิตรผู้ที่หลับดุจลิงแลย่อมฝัน. บทว่า กปิมิทฺธป

เรโต ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยการหลับของลิง. เหมือนอย่างว่า การหลับของลิง

เป็นไปเร็วฉันใด การหลับที่ชื่อว่า เป็นไปเร็ว เพราะแทรกแซงด้วยจิตมีกุศลจิต

เป็นต้นบ่อย ๆ ก็ฉันนั้น ในความเป็นไปของการหลับใด จิตย่อมขึ้นจากภวังค์

บ่อย ๆ ผู้ประกอบแล้วด้วยการหลับนั้น ย่อมฝัน.

ด้วยเหตุนั้น ฝันนี้ จึงเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง อัพยากฤตบ้าง.

ในฝันนั้นพึงทราบว่า เป็นกุศลแก่ผู้กระทำการไหว้เจดีย์ ฟังธรรม และ

แสดงธรรมเป็นต้น เป็นอกุศลแก่ผู้ทำปาณาติบาตเป็นต้น พ้นจากสองอย่างนั้น

เป็น อัพยากฤตในขณะอาวัชชนจิตนึก และขณะตทาลัมพนจิตยึดฝันนั้นเป็น

อารมณ์. ฝันนี้นั้นเพราะมีวัตถุเป็นทุรพล จึงไม่สามารถจะชักปฏิสนธิของเจตนา

มาได้ ก็เมื่อเป็นไปแล้ว ฝันอันกุศลและอกุศลอื่นอุปถัมภ์ไว้ย่อมให้วิบาก ให้

วิบากก็จริง ถึงอย่างนั้น เจตนาในฝันก็เป็นอัพโพหาริก คือกล่าวอ้างไม่ได้เลย

เพราะเกิดในที่อันมิใช่วิสัย.

ก็สุบินนี้นั้น แม้ว่า โดยเวลาฝันในเวลากลางวัน ย่อมไม่จริง ใน

ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ก็เหมือนกัน. แต่ตอนใกล้รุ่ง เมื่อ

อาหารที่กิน ดื่ม และเคี้ยวย่อยดีแล้ว โอชะอยู่ตามที่ในร่างกาย พออรุณขึ้น

ความฝันย่อมจริง เมื่อฝันอันมีอิฏฐารมณ์เป็นนิมิต ย่อมได้อิฏฐารมณ์ เมื่อ

ฝันมีอนิฏฐารมณ์เป็นนิมิต ย่อมได้อนิฏฐารมณ์. ก็มหาสุบิน ๕ เหล่านี้

โลกิยมหาชนไม่ฝัน มหาราชาทั้งหลายไม่ฝัน พระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลายไม่ฝัน

อัครสาวกทั้งหลายไม่ฝัน พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ฝัน พระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่ฝัน พระสัพพัญญูโพธิสัตว์พระองค์เดียวเท่านั้นย่อมฝัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 436

ถามว่า ก็พระโพธิสัตว์ของเราทรงฝันเห็นสุบินเหล่านี้เมื่อไร. ตอบว่า

ทรงฝันในเวลาราตรีกระจ่างของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ โดยรู้พระองค์ว่า พรุ่งนี้เราจัก

เป็นพระพุทธเจ้า อาจารย์บางพวกก็กล่าวว่า วันขึ้น ๑๓ ค่ำก็มี. พระองค์ทรงฝัน

เห็นสุบินเหล่านี้แล้ว ทรงลุกขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงดำริว่าถ้าเราฝันเห็น

สุบินเหล่านี้ในกรุงกบิลพัสดุ์ จะกราบทูลพระชนก หากพระชนนีของเรายัง

ทรงพระชนม์อยู่ เราก็จะทูลพระชนนี แต่ในที่นี้ไม่มีผู้จะทำนายสุบินเหล่านี้

ได้ จำเราผู้เดียวจักทำนาย. แต่นั้นพระโพธิสัตว์ทรงทำนายสุบินด้วยพระองค์

เองว่า สุบินนี้จักเป็นบุรพนิมิตของสิ่งนี้ สุบินนี้จักเป็นบุรพนิมิตของสิ่งนี้แล้ว

เสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาในอุรุเวลคามถวาย เสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑสถาน

ทรงบรรลุสัมโพธิญาณ ประทับอยู่ ณ พระเชตวันตามลำดับ เพื่อยังมหาสุบิน ๕

ที่พระองค์เห็นแล้วในมกุฬพุทธกาล (เวลาก่อนเป็นพระพุทธเจ้ามกุฏพุทธะ)

ให้พิสดาร จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วทรงเริ่มเทศนานี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มหาปวี ได้แก่ แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่เต็ม

ท้องจักรวาล. บทว่า มหาสยน อโหสิ ได้แก่ เป็นที่สิริไสยาสน์. บทว่า

โอหิโต คือ วางไว้แล้ว. ก็พระหัตถ์นั้นพึงทราบว่ามิได้วางไว้เหนือน้ำที่แท้

พาดไปเบื้องบน ๆ ของมหาสมุทรด้านทิศปราจีนแล้ววางลงที่สุดแห่งจักรวาล

ด้านทิศปราจีน. แม้ในบทเหล่านี้ว่า ปจฺฉิเม สมฺทฺเท ทกฺขิเณ สมุทฺเท

ดังนี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ท่านเรียกว่า ทัพพติณะ (คือหญ้าคา) ในบทว่า ติริยา นาม

ติณชาติ. บทว่า นาภิยา อุคฺคนฺตฺวา นภ อาหจฺจ ิตา อโหสิ

(หญ้าผุดจากพระนาภีตั้งจดฟ้า) ความว่า หญ้าผุดขึ้นจากพระนาภีเป็นท่อนไม้

สีแดงขนาดเท่าคันไถแล้วพุ่งขึ้น ๆ อย่างนี้ คือ คืบหนึ่ง ๓ ศอก วาหนึ่ง

ยัฏฐิ (ไม้เท้า) หนึ่ง คาวุตหนึ่ง กึ่งโยชน์ โยชน์หนึ่งแล้วตั้งจดฟ้าหลายพันโยชน์

ทั้งที่เห็นอยู่นั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 437

บทว่า ปาเทหิ อุสฺสกฺกิตฺวา ได้แก่ หนอนได้พระบาทตั้งแต่

ปลายพระนขา. บทว่า นานาวณฺณา ความว่า นกมีสีต่าง ๆ กันอย่างนี้คือ

ตัวหนึ่งสีเขียว ตัวหนึ่งสีเหลือง ตัวหนึ่งสีแดง ตัวหนึ่งสีเหมือนใบไม้แห้ง.

บทว่า เสตา ได้แก่ สีขาว คือ ขาวปลอด.

บทว่า มหโต มิฬฺหปพฺพตสฺส ได้แก่ ภูเขาเต็มไปด้วยคูถ สูง

ประมาณ ๓ โยชน์. บทว่า อุปริ อุปริ จงฺกมติ ได้แก่ เสด็จจงกรม

แต่บนยอด ๆ ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระชนม์ยืน ปรากฏดุจเสด็จเข้าไป

ประทับนั่งบนภูเขา เต็มไปด้วยคูถประมาณ ๓ โยชน์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงบุรพนิมิตโดยฐานเท่านี้อย่างนี้แล้ว

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงการได้พร้อมด้วยบุรพนิมิตนั้นจึงตรัสคำมีอาทิว่า ยมฺปิ

ภิกฺขเว ดังนี้. ในคำนั้น พระอรหัตมรรคของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า

เป็นสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เพราะให้คุณทุกอย่าง. เพราะฉะนั้น

พระโพธิสัตว์นั้นได้ทรงเห็นแผ่นดินใหญ่แห่งจักรวาลใดเป็นฟูกนอนอันเป็นสิริ

แผ่นดินใหญ่แห่งจักรวาลนั้นเป็นบุรพนิมิตแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า. ได้ทรง

เห็นภูเขาหิมพานต์ใดเป็นหมอน ภูเขาหิมพานต์นั้น เป็นบุรพนิมิต

แห่งพระสัพพัญญุตญาณ ได้ทรงเห็นพระหัตถ์และพระบาททั้ง ๔ ประดิษฐาน

บนยอดจักรวาลอันใด อันนั้นเป็นบุรพนิมิตในการประกาศพระธรรมจักรซึ่งใคร ๆ

ให้เป็นไปไม่ได้ ได้ทรงเห็นพระองค์บรรทมหงายอันใดอันนั้นเป็นบุรพนิมิต

แห่งความที่สัตว์ทั้งหลายผู้คว่ำหน้าอยู่ในภพ ๓ หงายหน้าขึ้น ทรงเป็นดุจ

ลืมพระเนตรเห็นอันใดอันนั้นเป็นบุรพนิมิตแห่งการได้ทิพยจักษุ. แสงสว่าง

ได้ปรากฏเป็นอันเดียวกันตราบเท่าถึงภวัคคพรหมอันใด อันนั้น เป็นบุรพนิมิต

แห่งอนาวรณญาณ (ญาณอันไม่มีเครื่องขัดข้อง). คำที่เหลือพึงทราบโดย

นัยแห่งพระบาลีนั้นแล.

จบอรรถกถาสุปินสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 438

๗. วัสสสูตร

ว่าด้วยอันตรายของฝน ๕ ประการ

[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันตรายของฝน (ฝนแล้ง) ซึ่งพวกหมอ

ดูรู้ไม่ได้สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ

เตโชธาตุเบื้องบน อากาศกำเริบ เมฆที่เกิดขึ้นย่อมกระจายไปเพราะเตโชธาตุ

กำเริบนั้น นี้เป็นอันตรายของฝนข้อที่ ๑ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตา

ของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง อีกประการหนึ่ง วาโยธาตุเบื้องบน อากาศกำเริบ

เมฆที่เกิดขึ้นย่อมกระจายไป เพราะวาโยธาตุกำเริบนั้น นี้เป็นอันตรายของ

ฝนข้อที่ ๒ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง อีก-

ประการหนึ่ง อสุรินทราหูเอาฝ่ามือรับน้ำแล้วทิ้งลงในมหาสมุทร นี้เป็น

อันตรายของฝนข้อที่ ๓ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่ง

ไม่ถึง อีกประการหนึ่ง วัสสวลาหกเทวบุตรประมาทเสีย นี้เป็นอันตราย

ของฝนข้อที่ ๔ ซึ่งพวกหนอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง

อีกประการหนึ่ง พวกมนุษย์ไม่ตั้งอยู่ในธรรม นี้เป็นอันตรายของฝนข้อ

ที่ ๕ ซึ่งพวกหมอดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันตรายของฝน ๕ ประการนี้แล ซึ่งพวกหมอ

ดูรู้ไม่ได้ สายตาของพวกหมอดูหยั่งไม่ถึง.

จบวัสสสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 439

อรรถกถาวัสสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวัสสสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เนมิตฺตา ได้แก่ นักพยากรณ์ [หมอดู]. บทว่า เตโชธาตุ

ปกุปฺปติ ได้แก่ กองของไฟใหญ่เกิดขึ้น. บทว่า ปาณินา อุทก

ปฏิจฺฉิตฺวา ได้แก่ เอามือกว้างประมาณ ๓๐๐ โยชน์ รับน้ำที่ตั้งขึ้นตามฤดู.

บทว่า ปมตฺตา โหนฺติ ได้แก่ เป็นผู้ประมาท คือ ปราศจากสติ เพราะ

มัวเมาในการเล่นของตนเสีย. จริงอยู่ เมื่อพวกเขามีจิตคิดว่า พวกเราจะเริงฤดี

ของตน ฝนย่อมตก แม้มิใช่ฤดูกาล เพราะไม่มีจิตคิดอย่างนั้นฝนจึงตก. ทรง

หมายถึงข้อนั้นจึงตรัสดังนี้ว่า ถึงแม้ในฤดูกาลฝนก็ไม่ตก.

จบอรรถกถาวัลสสูตรที่ ๗

๘. วาจาสูตร*

ว่าด้วยองค์แห่งวาจาสุภาษิต ๕ ประการ

[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ

เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน

องค์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือวาจานั้นย่อมเป็นวาจาที่กล่าวถูกกาล ๑ เป็น

วาจาที่กล่าวเป็นสัจ ๑ เป็นวาจาที่กล่าวอ่อนหวาน ๑ เป็นวาจาที่กล่าว

ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ เป็นวาจาที่กล่าวด้วยเมตตาจิต ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย วาจาประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็น

ทุพภาษิต และเป็นวาจาไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน.

จบวาจาสูตรที่ ๘

* สูตรที่ ๘-๙ อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 440

๙. กุลสูตร

ว่าด้วยการประสบบุญโดยฐานะ ๕ ประการ

[๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีลทั้งหลาย ย่อมเข้าไปหา

สกุลใด พวกมนุษย์ในสกุลนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก โดยฐานะ ๕ ประการ

ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล

จิตของพวกมนุษย์ย่อมเลื่อมใสเพราะเห็นท่าน สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติ

ปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์.

สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ย่อมลุกรับ

(ต้อนรับ) กราบไหว้ ให้อาสนะ (ที่นั่ง) สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทา

ที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อมเพื่อเกิดในสกุลสูง.

สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ย่อมกำจัด

มลทินคือความตระหนี่ สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็น

ไปพร้อม เพื่อความเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่ (เกียรติยศสูง).

สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ย่อมจัดของ

ถวายตามสติกำลัง สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็นไป

พร้อมเพื่อความเป็นผู้มีโภคทรัพย์มาก

สมัยใด เมื่อบรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวกมนุษย์ย่อมไต่ถาม

สอบสวน ย่อมฟังธรรม สมัยนั้น สกุลนั้นชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาที่ยังสัตว์ให้เป็น

ไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด บรรพชิตผู้มีศีลเข้าไปหาสกุล พวก

มนุษย์ในสกุลนั้นย่อมประสบบุญเป็นอันมาก โดยฐานะ ๕ ประการนี้.

จบกุลสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 441

๑๐. นิสสารณียสูตร

ว่าด้วยธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการ

[๒๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่พึงพรากได้ ๕ ประการนี้ ๕

ประการเป็นไฉน ? คือ เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการถึงกามทั้งหลาย

จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปใน

กามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อม

เลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในเนกขัมมะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อม

ดำเนินไปแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว

จากกามทั้งหลาย อาสวะทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะกาม

เป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอ

ย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออก

แห่งกามทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่

แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อ

เธอมนสิการถึงความไม่พยาบาท จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อม

ตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความไม่พยาบาท จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไป

ดีแล้ว อบรมดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากพยาบาท อาสวะ

ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้น

แล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิด

เพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกแห่งพยาบาท.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 442

อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงวิหิงสา จิตของเธอย่อมไม่

แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในวิหิงสา แต่เมื่อเธอ

มนสิการถึงอวิหิงสา จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อม

น้อมไปในอวิหิงสา จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว

ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากวิหิงสา อาสวะ ทุกข์และ

ความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจาก

อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะ

เหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกแห่งวิหิงสา.

อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูปทั้งหลาย จิตของเธอย่อม

ไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในรูปทั้งหลาย

แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอรูป จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่

ย่อมน้อมไปในอรูป จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว

ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากรูปทั้งหลาย อาสวะ ทุกข์

และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะรูปเป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจาก

อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะ

เหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออกแห่งรูปทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง เมื่อภิกษุมนสิการถึงสักกายะ จิตของเธอย่อมไม่

แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่น้อมไปในสักกายะ แต่เมื่อ

เธอมนสิการถึงความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส

ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในความดับแห่งสักกายะ จิตของเธอนั้นชื่อว่าเป็นจิต

ดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้ว

จากสักกายะ อาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่าใด ย่อมเกิดเพราะสักกายะ

เป็นปัจจัย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ทุกข์และความเร่าร้อนเหล่านั้น เธอ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 443

ย่อมไม่เสวยเวทนาที่เกิดเพราะเหตุนั้น นี้เรากล่าวว่า เป็นการพรากออก

แห่งสักกายะ.

ความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินใน

วิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ย่อมไม่บังเกิดขึ้น

แก่เธอเพราะความเพลินในกามก็ดี ความเพลินในพยาบาทก็ดี ความเพลินใน

วิหิงสาก็ดี ความเพลินในรูปก็ดี ความเพลินในสักกายะก็ดี ไม่บังเกิดขึ้น

ภิกษุนี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่มีอาลัย ตัดตัณหาได้แล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว

ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุที่

พึงพรากได้ ๕ ประการนี้แล.

จบนิสสารณียสูตรที่ ๑๐

จบพราหมณวรรควรรณนาที่ ๕

จบจตุตถปัณณาสก์

อรรถกถานิสสารณียสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิสารณียสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :

บทว่า นิสฺสารณิยา ได้แก่ สลัดออกไป คือ พรากออกได้. บทว่า

ธาตุโย ได้แก่ สภาพที่ว่างจากตน. บทว่า กาม มนสิกโรโต ได้แก่

ใส่ใจถึงกาม อธิบายว่า ออกจากอสุภฌานแล้วส่งจิตมุ่งต่อกามเพื่อจะทดสอบ

ดุจหยิบยาทดลองพิษ [ฤทธิ์ยา]. บทว่า น ปกฺขนฺทติ คือ ไม่เข้าไป. บทว่า

น ปสีทติ คือ ไม่ถึงความเลื่อมใส. บทว่า น สนฺติฏฺติ คือ ไม่ตั้งอยู่.

บทว่า น วิมุจฺจติ คือไม่น้อมไป. เหมือนอย่างว่า ปีกไก่ก็ดี เอ็นกบก็ดี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 444

ที่เขาใส่ลงไปในไฟ ย่อมหงิกงอ ม้วนไม่เหยียด ฉันใด จิตก็หดหู่ไม่เหยียดออก

ฉันนั้น. ปฐมฌานในอสุภะชื่อว่า เนกขัมมะ ในบทนี้ว่า เนกฺขมฺม โข ปน

ดังนี้. เมื่อภิกษุนั้นใส่ใจถึงเนกขัมมะนั้น จิตย่อมแล่นไป (ในเนกขัมมะ).

บทว่า ตสฺส ต จิตฺต ได้แก่ จิตในอสุภฌานของภิกษุนั้น. บทว่า สุคต

ได้แก่ ไปแล้วด้วยดี เพราะไปในโคจรคืออารมณ์. บทว่า สุภาวิต ได้แก่

อบรมแล้วด้วยดี เพราะไม่เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม. บทว่า สุวุฏฺิต

ได้แก่ ออกไปแล้วจากกาม. บทว่า สุวิมุตฺต ได้แก่ พ้นแล้วด้วยดีจากกาม

ทั้งหลาย. อาสวะทั้งหลาย ๔ ที่มีกามเป็นเหตุ ชื่อว่าอาสวะ มีกามเป็นปัจจัย.

ความทุกข์ ชื่อว่า วิฆาตะ ความเร่าร้อนเพราะกามราคะชื่อว่า ปริฬาหะ.

บทว่า น โส ต เวทน เวทยติ ความว่า ภิกษุนั้นมิได้เสวยเวทนาเกิดจาก

กามนั้น และเวทนาเกิดจากความทุกข์ และความเร่าร้อน.

บทว่า อิทมกฺขาต กามาน นิสฺสรณ ความว่า อสภฌานนี้ท่าน

กล่าวว่า เป็นเครื่องไหลออกไปแห่งกามทั้งหลาย เพราะสลัดออกจากกาม.

ก็ภิกษุใดทำฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายบรรลุตติยมรรค เห็น

นิพพานด้วยอนาคามิผลแล้วก็รู้ว่า ชื่อว่ากามทั้งหลายจะไม่มีอีกดังนี้ จิตของ

ภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นนิสสรณะ เครื่องไหลออกโดยส่วนเดียว. แม้ในบทที่เหลือ

ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ความต่างกันมีดังนี้ ในวาระที่ ๒ เมตตาฌานชื่อว่า

เป็นเครื่องสลัดออกแห่งพยาบาท ในวาระที่ ๓ กรุณาฌานชื่อว่าเป็นเครื่อง

สลัดออกแห่งวิหิงสา ในวาระที่ ๔ อรูปฌานชื่อว่าเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูป

ทั้งหลาย. อนึ่ง พึงประกอบอรหัตผลเข้าในบทนี้ว่า อจฺจนฺตนิสฺสรณ

ดังนี้. ในวาระที่ ๕ บทว่า สกฺกาย มนสิกโรโต ความว่า เมื่อภิกษุกำหนด

สังขารล้วนเป็นอารมณ์แล้วบรรลุพระอรหัต เป็นสุกขวิปัสสกออกจากผลสมาบัติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 445

แล้วจึงส่งจิตมุ่งต่ออุปาทานขันธ์ ๕ เพื่อทดสอบ. บทว่า อิทมกฺขาต สกฺกา-

ยสฺส นิสฺสรณ ความว่า จิตอันสัมปยุตด้วยอรหัตผลสมาบัติที่เกิดขึ้นว่า

สักกายะจะไม่มีอีกต่อไป ดังนี้ ของภิกษุผู้เห็นพระนิพพานด้วยอรหัตมรรค

และด้วยผลดำรงอยู่นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นเครื่องสลัดออกไปแห่งสักกายะ. ดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสรรเสริญคุณของพระขีณาสพ

ผู้บรรลุสักกายนิสสรณนิโรธอย่างนี้ดำรงอยู่ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตสฺส

กามนนฺทิปิ นานุเสติ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า นานุเสติ คือไม่เกิด.

บทว่า อนนุสยา คือ เพราะความไม่เกิด. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความ

ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถานิสสารณียสูตรที่ ๑๐

จบพราหมณวรรควรรคนาที่ ๕

จบจตุตถปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสณสูตร ๒. โทณสูตร ๓. สังคารวสูตร ๔. การณปาลีสูตร

๕. ปิงคิยานีสูตร ๖. สุปินสูตร ๗. วัสสสูตร ๘. วาจาสูตร ๙. กุลสูตร

๑๐. นิสสารณียสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 446

ปัญจมปัณณาสก์

๑. กิมพิลสูตร

ว่าด้วยเหตุปัจจัยทำให้ศาสนาเสื่อม

[๒๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุ-

วันใกล้เมืองกิมิลา ครั้งนั้น ท่านพระกิมพิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้พระ

สัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงใน

ศาสดา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม เป็นผู้ไม่มีความ

เคารพไม่มีความยำเกรงในสงฆ์ เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง

ในสิกขา เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน ดูก่อน

กิมพิละนี้ แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อ

ตถาคตปรินิพพานแล้ว.

กิม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรม

ดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

พ. ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงใน

ศาสดา เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรมเป็นผู้มีความเคารพ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 447

มาความยำเกรงในสงฆ์ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน ดูก่อนกิมพิละ นี้แลเป็น

เหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพาน

แล้ว.

จบกิมพิลสูตรที่ ๑

ปัญจมปัณณาสก์

กิมพิลวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถากิมพิลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกิมพิลสูตรที่ ๑ แห่งปัณณาสก์ที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กิมฺพิลาย ได้แก่ ในเมืองที่มีชื่ออย่างนี้. บทว่า เวฬุวเน

คือ ในป่ามุขจลินท์. บทว่า เอตทโวจ ได้ยินว่า พระเถระนี้ เป็นบุตร-

เศรษฐีในเมืองนั้น บวชในสำนักของพระศาสดา ได้บุพเพนิวาสญาณ พระเถระ

นั้น เมื่อระลึกถึงขันธสันดานสืบต่อขันธ์อันตนเคยอยู่แล้ว บวชแล้ว ในเวลา

ที่ศาสนาของพระกัสสปทศพลเสื่อม. เมื่อบริษัท ๔ ทำความไม่เคารพใน

ศาสนาอยู่ จึงพาดบันไดขึ้นภูเขา ทำสมณธรรมบนภูเขานั้น ได้เห็นความที่

ตนเคยอยู่แล้ว. ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วหมายจะทูลถามถึงเหตุนั้นดังนี้

แล้วจึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า โก นุ โข ภนฺเต ดังนี้ กะพระศาสดานั้น

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 448

บทว่า สตฺถริ อคารวา วิหรนฺติ อปฺปติสฺสา ความว่า ย่อม

ไม่ตั้งความเคารพและความเป็นใหญ่ไว้ในพระศาสดา. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้

เหมือนกัน.

ในบทเหล่านั้น ภิกษุเมื่อเดินกั้นร่ม สวมรองเท้าที่ลานพระเจดีย์

เป็นต้นก็ดี พูดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์มีประการต่าง ๆ ก็ดี ชื่อว่าไม่เคารพ

ในพระศาสดา. อนึ่ง นั่งหลับในโรงฟังธรรมก็ดี พูดเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์

มีประการต่าง ๆ ก็ดี ชื่อว่าไม่เคารพในพระธรรม. เมื่อพูดถึงเรื่องต่าง ๆ

ยกแขนส่ายในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ทำการยำเกรงในภิกษุผู้เถระ ผู้นวกะ (ผู้ใหม่)

และผู้มัชฌิมะ (ผู้ปานกลาง) ชื่อว่าไม่เคารพในสงฆ์อยู่. เมื่อไม่ทำสิกขาให้

บริบูรณ์ ชื่อว่า ไม่เคารพในสิกขา เมื่อทำการทะเลาะบาดหมางเป็นต้น

กะกันและกัน ชื่อว่าไม่เคารพกันและกัน.

จบอรรถกถากิมพิลสูตรที่ ๑

๒. ธัมมัสสวนสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๕ ประการ

[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ย่อมเข้า

ใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ๑ ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ ๑ ย่อมทำความ

เห็นให้ตรง ๑ จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์

ในการฟังธรรม ๕ ประการนี้แล.

จบธัมมัสสวนสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๒ อรรถกถาว่ามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 449

๓. อาชานิยสูตร

ว่าด้วยองค์ ๕ ของม้าอาชาไนย

[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา

ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าทรง ย่อม

ถึงความนับว่าเป็นราชพาหนะ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ความซื่อ

ตรง ๑ ความวิ่งเร็ว ๑ ความอ่อนโยน ๑ ความอดทน ๑ ความเสงี่ยม ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๕

ประการนี้แล ย่อมควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าทรง ย่อมถึงการนับว่า เป็น

ราชพาหนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำ

บุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน ? คือ ความซื่อตรง ๑ ความเร็ว ๑ ความอ่อนโยน ๑

ความอดทน ๑ ความเสงี่ยม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่

ของทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบอาชานิยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 450

อรรถกถาอาชานิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยใน อาชานิยสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาชฺชเวน ได้แก่ ด้วยความตรง คือด้วยการไปไม่คด.

บทว่า ชเวน คือด้วยฝีเท้าเร็ว. บทว่า มทฺทเวน คือ ด้วยมีสรีระอ่อนโยน.

บทว่า ขนฺติยา คือ ด้วยความอดทนด้วยความอดกลั้น. บทว่า

โสรจฺเจน คือ ด้วยความมีปกติสะอาด ในภิกษุวาระ [วาระว่าด้วยภิกษุ]

พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ บทว่า อาชฺชว ได้แก่ ความไปตรงแห่งญาณ.

บทว่า ชโว ได้แก่ ความดำเนินไปแห่งญาณอันกล้า. บทว่า มทฺทว คือ

ความอ่อนโยนเป็นปกติ. บทว่า ขนฺติ ได้แก่ ความอดทนด้วยความอดกลั้น

นั่นแล. บทว่า โสรจฺจ คือ มีความสะอาดเป็นปกติทีเดียว

จบอรรถกถาอาชานิยสูตรที่ ๓

๔. พลสูตร

ว่าด้วยกำลัง ๕

[๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ กำลังคือศรัทธา ๑ กำลังคือหิริ ๑ กำลังคือโอตตัปปะ ๑ กำลัง

คือวิริยะ ๑ กำลังคือปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๕ ประการนี้แล.

จบพลสูตรที่ ๔

อรรถกถาว่าพลสูตรที่ ๔ ตรัสพละ ๕ ไว้คละกัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 451

๕. เจโตขีลสูตร

ว่าด้วยตะปูตรึงใจ ๕ ประการ

[๒๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ

ไม่เลื่อมใสในศาสดา ภิกษุใด ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่

เลื่อมใสในศาสดา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ

ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่

เลื่อมใสในธรรม ภิกษุใด ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส

ในธรรม จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ

เนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่

เลื่อมใสในพระสงฆ์ ภิกษุใด ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่

เลื่อมใสในพระสงฆ์ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความ

ประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ ๓.

อีกบระการหนึ่ง ภิกษุย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่

เลื่อมใสในสิกขา ภิกษุใด ย่อมเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส

ในสิกขา จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ

เนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมโกรธ มีใจไม่แช่มชื่น มีจิตอันโทสะกระทบ

แล้ว กระด้างในพวกเพื่อนพรหมจรรย์ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมใจ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 452

เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร

นี้เป็นตะปูตรึงใจข้อที่ ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตะปูตรึงใจ ๕ ประการนี้แล.

จบเจโตขีลสูตรที่ ๕

อรรถกถาเจโตขีลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเจโตขีลสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า เจโตขีลา ได้แก่ ความกระด้าง ความเป็นขยะ ความเป็น

หลักตอแห่งจิต. บทว่า สตฺถริ กงฺขติ ความว่า ภิกษุย่อมสงสัยในพระ-

วรกาย หรือในพระคุณของพระศาสดา. เมื่อสงสัยในพระวรกาย ย่อมสงสัยว่า

พระวรกาย ชื่อว่าประดับด้วยปุริสลักษณะ ๓๒ มีอยู่ หรือไม่มีหนอดังนี้

เมื่อสงสัยในคุณ ย่อมสงสัยว่า พระสัพพัญญุตญาณซึ่งสามารถรู้อดีต อนาคต

และปัจจุบันมีอยู่ หรือไม่มีหนอดังนี้. บทว่า วิจิกิจฺฉติ ได้แก่ เลือกเฟ้น

ยาก ย่อมถึงความลำบาก คือไม่สามารถจะตัดสินใจได้. บทว่า นาธิมุจฺจติ

ได้แก่ ย่อมไม่ได้ความน้อมใจเชื่อว่าสิ่งนั้นอย่างนี้. บทว่า น สมฺปสีทติ

ความว่า หยั่งลงในคุณแล้วก็ไม่สามารถจะเลื่อมใส คือมีใจไม่ขุ่นมัว เพราะ

ไม่มีความสงสัยได้. บทว่า อาตปฺปาย ได้แก่ เพื่อทำความเพียรเผาผลาญ

กิเลส. บทว่า อนุโยคาย ได้แก่ เพื่อความประกอบบ่อยๆ. บทว่า สาตจฺจาย

ได้แก่ เพื่อทำติดต่อกัน. บทว่า ปธานาย ได้แก่ เพื่อตั้งความเพียร. บทว่า

อย ปโม เจโตขีโล ความว่า ภาวะนี้เป็นความกระด้างแห่งจิตข้อที่หนึ่ง

คือความสงสัยในพระศาสดานี้ อย่างนี้แล ภิกษุนั้นก็ละยังไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 453

บทว่า ธมฺเม คือในปริยัติธรรม และปฏิเวธธรรม. ก็เมื่อสงสัยใน

ปริยัติธรรม ย่อมสงสัยว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวกันว่า พระไตรปิฎกพุทธพจน์

มีแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ดังนี้ พระพุทธพจน์นั้นมีอยู่ หรือไม่มีหนอดังนี้.

เมื่อสงสัยในปฏิเวธธรรม ย่อมสงสัยว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวกันว่า ผลแห่ง

วิปัสสนา ชื่อว่ามรรค ผลของมรรค ชื่อว่าผล ธรรมที่สละคืนสังขารทั้งปวง

ชื่อว่านิพพาน ดังนี้ นิพพานนั้นมีอยู่ หรือไม่มีหนอ ดังนี้.

บทว่า สงฺเฆ กงฺขติ ความว่า ย่อมสงสัยว่า ชื่อว่าสงฆ์ ผู้ดำเนิน

ตามปฏิปทาเห็นปานนี้ ตามบทเป็นต้นว่า อุชุปฏิปนฺโน ดังนี้ เป็นชุมนุม

แห่งบุคคล ๘ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ มีอยู่ หรือไม่มี

หนอดังนี้.

เมื่อสงสัยในสิกขา ย่อมสงสัยว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวกันว่า อธิสีล-

สิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขาดังนี้ สิกขานั้นมีอยู่ หรือไม่มีหนอดังนี้.

บทว่า อย ปญฺจโม ความว่า ภาวะนี้เป็นความกระด้าง ความเป็น

ขยะ เป็นหลักตอแห่งจิตข้อที่ห้า คือความขัดเคืองในเพื่อนสพรหมจารี.

จบอรรถกถาเจโตขีลสูตรที่ ๕

๖. วินิพันธสูตร

ว่าด้วยเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ

[๒๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด

ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 454

ระหาย ผู้ไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจาก

ความกำหนัด. . .ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาม จิตของภิกษุนั้นย่อม

ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ

บำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกใจข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด. . . ยังไม่

ปราศจากความทะยานอยากในกาย ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด

ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในกาย จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อ

ความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร นี้เป็น

เครื่องผูกพันใจข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด. . . ยังไม่

ปราศจากความทะยานอยากในรูป ภิกษุใด เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด...

ยังไม่ปราศจากความทะยานอยากในรูป จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อ

ความเพียร เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร

นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฉันอาหารจนอิ่มตามต้องการแล้ว ประกอบ

ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่

ภิกษุใด ฉันอาหารจนอิ่มตามความต้องการแล้ว ประกอบความสุขในการนอน

ความสุขในการเอน ความสุขในการหลับอยู่ จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่น้อมไป

เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อบำเพ็ญเพียร

นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุปรารถนาเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง ประพฤติ

พรหมจรรย์ด้วยตั้งใจว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 455

ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ภิกษุใดปรารถนาเทพนิกายหมู่ใด

หมู่หนึ่ง ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยตั้งใจว่า เราจักเป็นเทวดา หรือเป็นเทพ

องค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุนั้น

ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อกระทำติดต่อ เพื่อ

บำเพ็ญเพียร นี้เป็นเครื่องผูกพันใจข้อที่ ๕

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการนี้แล.

จบวินิพันธสูตรที่ ๖

อรรถกถาวินิพันธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวินิพันธสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เจตโส วินิพนฺธา ได้แก่ กิเลสชื่อว่า เจตโสวินิพันธะ

เพราะผูกจิตยึดไว้ ดุจทำไว้ในกำมือ. บทว่า กาเม ได้แก่ ทั้งวัตถุกาม

ทั้งกิเลสกาม. บทว่า กาเย ได้แก่ ในกายของตน. บทว่า รูเป คือในรูป

ภายนอก. บทว่า ยาวทตฺถ ได้แก่ เท่าที่ตนปรารถนา. บทว่า อุทราว-

เทหก ได้แก่ อาหารที่เต็มท้อง อาหารที่เต็มท้องนั้นเรียกกันว่า อุทราวเทหก

เพราะบรรจุเต็มท้องนั้น. บทว่า เสยฺยสุข ได้แก่ ความสุขโดยการนอน

บนเตียงหรือตั่ง หรือความสุขตามอุตุ [อุณหภูมิ]. บทว่า ปสฺสสุข ได้แก่

ความสุขที่เกิดขึ้น เหมือนความสุขของบุคคลผู้นอนพลิกไปรอบ ๆ ทั้งข้างขวา

ทั้งข้างซ้าย ฉะนั้น. บทว่า มิทฺธสุข คือ ความสุขในการหลับ. บทว่า

อนุยุตฺโต ได้แก่ ประกอบขวนขวายอยู่. บทว่า ปณิธาย แปลว่า ปรารถนา

แล้ว. จตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าศีล ในบทเป็นต้นว่า สีเลน. การสมาทานคือถือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 456

วัตร ชื่อว่าวัตร. การประพฤติตบะ ชื่อว่าตบะ การงดเว้นเมถุน ชื่อว่า

พรหมจรรย์. บทว่า เทโว วา ภวิสฺสามิ ความว่า เราจักเป็นเทพผู้ใหญ่

หรือ. บทว่า เทวญฺตโร วา ความว่า หรือจักเป็นเทพผู้น้อยองค์ใด

องค์หนึ่ง.

จบอรรถกถาวินิพันธสูตรที่ ๖

๗. ยาคุสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์ข้าวยาคู

[๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของข้าวยาคู ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ บรรเทาความหิว ๑ ระงับความระหาย ๑ ยังลม

ให้เดินคล่อง ๑ ชำระลำไส้ ๑ เผาอาหารเก่าที่ยังไม่ย่อย ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อานิสงส์ของข้าวยาคู ๕ ประการนี้แล.

จบยาคุสูตรที่ ๗

อรรถกถายาคุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในยาคุสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วาต อนุโลเมติ ได้แก่ ทำลมให้เดินสะดวก. บทว่า วตฺถึ

โสเธติ ได้แก่ ชำระกระเพาะปัสสาวะให้สะอาด. บทว่า อามาวเสส ปาเจติ

ความว่า ถ้าอาหารที่ดิบยังไม่ย่อยมี ก็ช่วยย่อยอาหารนั้น.

จบอรรถกถายาคุสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 457

๘. ทันตกัฏฐสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษการใช้และไม่ใช้ไม่สีฟัน

[๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษเพราะไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ตาฟาง ๑ ปากเหม็น ๑ ประสาทที่นำรสอาหาร

ไม่หมดจดดี ๑ เสมหะย่อมหุ้มห่ออาหาร ๑ อาหารย่อมไม่อร่อยแต่เขา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษเพราะไม่เคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์เพราะเคี้ยวไม้สีฟัน ๕ ประการนี้ ๕

ประการเป็นไฉน ? คือ ตาสว่าง ๑ ปากไม่เหม็น ๑ ประสาทที่นำรสอาหาร

หมดจดดี เสมหะย่อมไม่หุ้มห่ออาหาร อาหารย่อมอร่อยแก่เขา ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์เพราะเคี้ยวไม่สีฟัน ๕ ประการนี้แล.

จบทันตกัฏฐสูตรที่ ๘

อรรถกถาทันตกัฏฐสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทันตกัฏฐสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อจกฺขุสฺส ได้แก่ ไม่ทำการเกื้อกูลแก่จักษุ คือไม่ทำจักษุ

ให้ใส่.

จบอรรถกถาทันตกัฏฐสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 458

๙. คีตสูตร

ว่าด้วยโทษของขับด้วยเสียงยาว

[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับ

ที่ยาว ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ตนเองย่อมกำหนัดในเสียง

นั้นบ้าง ผู้อื่นย่อมกำหนัดในเสียงนั้นบ้าง พวกคฤหบดีย่อมยกโทษว่า พวก

สมณศากยบุตรเหล่านี้ย่อมขับเหมือนพวกเราขับบ้าง เมื่อภิกษุพอใจกระทำเสียง

ความเสื่อมแห่งสมาธิย่อมมีบ้าง ประชุมชนรุ่นหลังย่อมถือเป็นแบบอย่างบ้าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับที่ยาว ๕ ประการ

นี้แล.

จบคีตสูตรที่ ๙

อรรถกถาคีตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในคีตสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อายตเกน ได้แก่ ยาวคือทำให้ระเบียบคาถา [คำร้อยกรอง]

ซึ่งมีบทและพยัญชนะบริบูรณ์เสียไป. บทว่า สรกุตฺติมฺปิ นิกามยมานสฺส

ความว่า เมื่อปรารถนาการแต่งเสียงด้วยคิดว่า เสียงขับเราควรทำอย่างนี้ ดังนี้.

บทว่า สมาธิสฺส ภงฺโค โหติ ความว่า จิตที่ประกอบด้วยสมถะและ

วิปัสสนาก็เสียไป.

จบอรรถกถาคีตสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 459

๑๐. มุฏฐัสสติสูตร

ว่าด้วยโทษและคุณของการนอนหลับ

[๒๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งภิกษุผู้ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ

นอนหลับ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ย่อมหลับเป็นทุกข์ ๑

ย่อมตื่นเป็นทุกข์ ๑ ย่อมฝันลามก ๑ เทวดาย่อมไม่รักษา ๑ น้ำอสุจิย่อมเคลื่อน ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งภิกษุผู้ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ นอนหลับ

๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งภิกษุผู้มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ

นอนหลับ ๕ ประการนี้แล ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ย่อมหลับเป็นสุข ๑

ย่อมตื่นเป็นสุข ๑ ย่อมไม่ฝันลามก ๑ เทวดาย่อมรักษา ๑ น้ำอสุจิย่อมไม่เคลื่อน ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์แห่งภิกษุผู้มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ นอนหลับ

๕ ประการนี้แล.

จบมุฏฐัสสติสูตรที่ ๑๐

จบกิมพิลวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 460

อรรถกถามุฏฐัสสติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมุฏฐัสสติสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทุกฺข สุปติ ความว่า เมื่อฝันเห็นสุบินต่าง ๆ ก็หลับ

ไม่สบาย. บทว่า ทุกฺข ปฏิพุชฺฌติ ความว่า แม้เมื่อตื่น ก็สะดุ้งตื่น

ขนลุก. ในสูตรนี้ตรัสสติสัมปชัญญะคละกัน.

จบอรรถกถามุฏฐัสสติสูตรที่ ๑๐

จบกิมพิลวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิมพิลสูตร ๒. ธัมมัสสวนสูตร ๓. อาชานิยสูตร ๔. พลสูตร

๕. เจโตขีลสูตร ๖. วินิพันธสูตร ๗. ยาคุสูตร ๘. ทันตกัฏฐสูตร

๙. คีตสูตร ๑๐. มุฏฐัสสติสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 461

อักโกสกวรรคที่ ๒

๑. อักโกสกสูตร

ว่าด้วยโทษการด่า ๕ ประการ

[๒๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดชอบด่า ชอบบริภาษเพื่อน

พรหมจรรย์ ชอบติเตียนพระอริยเจ้า ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการ

๕ ประการเป็นไฉน คือ เธอย่อมต้องอาบัติปาราชิก ขาดทางบรรลุโลกุตร.

ธรรม ๑ ย่อมต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างอื่น ๑ ย่อมได้รับโรคเรื้อรังอย่าง

หนัก ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดชอบด่า ชอบบริภาษเพื่อน

พรหมจรรย์ ชอบติเตียนพระอริยเจ้า ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการ

นี้แล.

จบอักโกสกสูตรที่ ๑

อักโกสกวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาอักโกสกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอักโกสกสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อกฺโกสกปริภาสโก ได้แก่ ด่าด้วยอักโกสกวัตถุ ๑๐

บริภาษด้วยแสดงภัย. บทว่า ฉนฺนปริปนฺโถ ได้แก่ ชื่อว่า มีทางอันขาด

เสียแล้ว เพราะความที่โลกุตระถูกตัดขาดแล้วด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า. บทว่า

โรคาตงฺก ได้แก่ โรคนั่นแล ชื่อว่า โรคาตังกะ เพราะจะทำให้ชีวิตยากแค้น.

จบอรรถกถาอักโกสกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 462

๒. ภัณฑนสูตร

ว่าด้วยโทษแห่งการทะเลาะวิวาท

[๒๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดผู้ทำความบาดหมาง ทำการ

ทะเลาะ ทำการอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการ

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ย่อมไม่ได้บรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุ ๑ ย่อม

เสื่อมจากคุณที่ได้บรรลุแล้ว ๑ กิตติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลง

กระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย ภิกษุใดทำความบาดหมาง ทำการทะเลาะ ทำการวิวาท ทำการ

อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการนี้แล.

จบภัณฑนสูตรที่ ๒

อรรถกถาภัณฑนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภัณฑนสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อธิกรณการโก ได้แก่ ก่ออธิกรณ์ ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น.

บทว่า อนธิคต ได้แก่ คุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุมาก่อน

จบอรรถกถาภัณฑนสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 463

๓. สีลสูตร

ว่าด้วยโทษของความทุศีลและคุณของศีล

[๒๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ

๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ในธรรมวินัยนี้

ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์อย่างมากอันมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษ

ข้อที่ ๑ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์ที่ชั่วของ

ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติย่อมฟุ้งไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ

อีกประการหนึ่ง ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ จะเข้าสู่บริษัทใด ๆ คือ ขัตติยบริษัท

พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัทย่อมไม่องอาจ เก้อเขินเข้าไป

นี้เป็นโทษข้อที่ ๓ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ อีกประการหนึ่ง คนทุศีล

มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ นี้เป็นโทษข้อที่ ๔ ของคนทุศีล

เพราะศีลวิบัติ อีกประการหนึ่ง คนทุศีล มีศีลวิบัติ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษ ข้อที่ ๕ ของคนทุศีล เพราะศีล-

วิบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ ๕ ประการ

นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อม

ด้วยศีล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงกองโภคทรัพย์มากมาย อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล อีกประการ-

หนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของคนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมฟุ้งไป นี้เป็น

อานิสงส์ข้อที่ ๒ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล อีกประการหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 464

คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าสู่บริษัทใด ๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณ-

บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท ย่อมองอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็น

อานิสงส์ข้อที่ ๓ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล อีกประการหนึ่ง

คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔

ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล อีกประการหนึ่ง คนมีศีล

ถึงพร้อมด้วยศีล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕

ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของ

คนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ๕ ประการนี้แล.

จบสีลสูตรที่ ๓

อรรถกถาสีลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสีลสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทุสฺสีโล ได้แก่ ไม่มีศีล คือ ไร้ศีล. บทว่า สีลวิปนฺโน

ได้แก่ มีศีลวิบัติ ขาดสังวรระวัง. บทว่า ปมาทาธิกรณ ได้แก่ เพราะ

มีความประมาทเป็นเหตุ.

ก็สูตรนี้ ใช้สำหรับคฤหัสถ์. แม้บรรพชิตก็ใช้ได้เหมือนกัน. จริงอยู่

คฤหัสถ์ ย่อมเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ด้วยหลักศิลปะใด ๆ ไม่ว่าทำนา หรือค้าขาย

ถ้าประมาทโดยทำปาณาติบาตเป็นต้น ศิลปะนั้น ๆ ก็ให้สำเร็จผลตามกาลไม่ได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาก็ขาดทุน. และเมื่อทำปาณาติบาต และอทินนาทาน

เป็นต้น ในเวลาที่เขาไม่ทำกัน โทษก็ถึงความเสื่อมแห่งโภคทรัพย์เป็นอันมาก.

บรรพชิตผู้ทุศีล ย่อมถึงความเสื่อมจากศีล พระพุทธพจน์ ฌาน และจาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 465

อริยทรัพย์ ๗ เพราะมีความประมาทเป็นเหตุ. สำหรับคฤหัสถ์ชื่อเสียงที่เลว

ย่อมฟุ้งไปท่ามกลางบริษัท ๔ ว่า คฤหัสถ์คนโน้น เกิดในตระกูลโน้น เป็น

คนทุศีล มีบาปธรรม สลัดโลกนี้และโลกหน้าเสียแล้ว ไม่ให้ทานแม้แต่อาหาร

ดังนี้. สำหรับบรรพชิตชื่อเสียงที่เสียก็ฟุ้งไปอย่างนี้ว่า บรรพชิตรูปโน้น

รักษาศีลก็ไม่ได้ เรียนพระพุทธพจน์ก็ไม่ได้ เลี้ยงชีพอยู่ด้วยเวชกรรม

เป็นต้น เป็นผู้ประกอบด้วยความไม่เคารพ ๖ ดังนี้. บทว่า อวิสารโท

ความว่า คฤหัสถ์ก่อน เขาคิดว่า คนบางคนจักรู้กรรมของเรา เมื่อเป็นเช่นนั้น

คนทั้งหลายจักจับเรา หรือจักแสดงเราแก่ราชตระกูลดังนี้ จึงเข้าไปหาอย่าง

หวาดกลัว เก้อเขิน คอตก คว่ำหน้า นั่งเอานิ้วหัวแม่มือเขี่ยดิน ไม่กล้าพูด

ในสถานที่ประชุมของคนมาก ๆ แน่แท้. ฝ่ายบรรพชิตคิดว่า ภิกษุประชุมกัน

มาก ๆ ภิกษุบางรูป จักรู้กรรมของเราแน่ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกภิกษุจักห้าม

ทั้งอุโบสถ ทั้งปวารณาแก่เรา ให้เราเคลื่อนจากความเป็นสมณะแล้วจักคร่า

ออกไป ดังนี้ จึงเข้าไปหาอย่างหวาดกลัว ไม่กล้าพูด. ส่วนบางรูปแม้ทุศีล

ถูกทำลายแล้ว ก็ยังเที่ยวไป บรรพชิตรูปนั้น ชื่อว่าเป็นผู้เก้อ หน้าด้านโดย

อัธยาศัยทีเดียว.

บทว่า สมฺมูฬโห กาล กโรติ ความว่า ก็การยึดถือทุศีลกรรม

ประพฤติแล้ว ย่อมปรากฏแก่เธอผู้นอนบนเตียงมรณะ เธอลืมตาขึ้นเห็นโลกนี้

หลับตาก็เห็นโลกหน้า อบาย ๔ ย่อมปรากฏแก่เธอ เธอเป็นดุจถูกหอก ๑๐๐

เล่ม ประหารที่ศีรษะ เขาส่งเสียงร้องมาว่า ท่านทั้งหลายช่วยห้ามที

ท่านทั้งหลายช่วยห้ามที ก็ตาย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า สมฺมูฬฺโห กาล กโรติ.

บทที่ ๕ ง่ายทั้งนั้น อานิสงสกถาพึงทราบโดยปริยาย ตรงกันข้ามกับคำที่กล่าว

มาแล้ว.

จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 466

๔. พหุภาณีสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของการพูด

[๒๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้พูด

มาก ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑

พูดเพ้อเจ้อ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้พูดมาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้พูดพอ

ประมาณ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่พูดเท็จ ๑ ไม่พูดส่อเสียด ๑ ไม่พูด

คำหยาบ ๑ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้พูดพอประมาณ.

จบพหุภาณีสูตรที่ ๔

อรรถกถาพหุภาณีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในพหุภาณีสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พหุภาณิสฺมึ ได้แก่ ไม่กำหนดไว้ด้วยปัญญาก็พูดมาก.

ปัญญา เรียกว่า มันตา ใน บทว่า มนฺตภาณิสฺมึ ได้แก่ กำหนดด้วยปัญญา

ที่เรียกว่ามันตาแล้วจึงพูด.

จบอรรถกถาพหุภาณีสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 467

๕. ปฐมอขันติสูตร

ว่าด้วยโทษของอขันติและคุณของขันติ

[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของ

คนเป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้มากด้วยเวร ๑ ย่อมเป็นผู้มากด้วยโทษ ๑ ย่อม

เป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเขาถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑

ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยเวร ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลง

กระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้แล.

จบปฐมอขันติสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมอขันติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอขันติสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า เวรพหุโล ได้แก่ เป็นผู้มีเวรมากด้วยบุคคลเวรบ้าง ด้วย

อกุศลเวรบ้าง บทว่า วชฺชพหุโล คือ เป็นผู้มากไปด้วยโทษ.

จบอรรถกถาปฐมอขันติสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 468

๖. ทุติยอขันติสูตร

ว่าด้วยโทษของอขันติและคุณของขันติ

[๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของ

คนเป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้โหดร้าย ๑ ย่อมเป็นผู้เดือดร้อน ๑ ย่อมเป็นผู้

หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑

ย่อมเป็นผู้ไม่โหดร้าย ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำ

กาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์

ของความอดทน ๕ ประการนี้แล.

จบทุติยอขันติสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุติยอขันติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอขันติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ลุทฺโท ได้แก่ ทารุณ ดุร้าย. บทว่า วิปฺปฏิสารี คือ

ประกอบด้วยความเก้อเขิน.

จบอรรถกถาทุติยอขันติสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 469

๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของกรรมที่น่าเลื่อมใสและไม่น่าเลื่อมใส

[๒๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้

ถึงพร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ

แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้ว ย่อมติเตียน ๑

กิตติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อม

เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล

มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส.

ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้มีความ

ประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ แม้ตนเองย่อมไม่

ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อมสรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์อันงามย่อม

ฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลก-

สวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้มี

ความประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส.

จบปฐมอปาสาทิกสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 470

อรรถกถาปฐมอปาสาทิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอปาสาทิกสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปาสาทิเก ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้น ที่ไม่

น่าเลื่อมใส. บทว่า ปาสาทิเก ได้แก่ ผู้ประพฤติสม่ำเสมอด้วยบริสุทธิ์

อันนำมาซึ่งความเลื่อมใส.

จบอรรถกถาปฐมอปาสาทิกสูตรที่ ๗

๘. ทุติยอปาสาทิกสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของกรรมที่น่าเลื่อมใสและไม่น่าเลื่อมใส

[๒๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลถึง

พร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ คน

พวกที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส ๑ คนพวกที่เลื่อมใสแล้วบางพวกย่อมคลาย

ความเลื่อมใส ๑ ชื่อว่าย่อมไม่กระทำตามคำสอนของพระศาสดา ๑ ประชุมชน

ชั้นหลังย่อมถือตาม ๑ จิตของเขาย่อมไม่เลื่อมใส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่า-

เลื่อมใส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้มีความ

ประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ คนพวกที่ยังไม่

เลื่อมใส ย่อมเลื่อมใส ๑ คนพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น ๑ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 471

ย่อมกระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา ๑ ประชุมชนชั้นหลังย่อมถือตาม ๑

จิตของเขาย่อมเลื่อมใส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล

มีอยู่ในบุคคลผู้มีความประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส.

จบทุติยปาสาทิกสูตรที่ ๘

๙. อัคคิสูตร

ว่าด้วยโทษของไฟ

[๒๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่เพราะไฟ ๕

ประการเป็นไฉน ? คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ๑ ทำให้ผิวเสีย ๑ ทำให้ทุรพล ๑

ย่อมยังการคลุกคลีหมู่คณะให้เจริญ ๑ ย่อมยังดิรัจฉานกถาให้เป็นไป ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่เพราะไฟ.

จบอัคคิสูตรที่ ๙

๑๐. มธุราสูตร

ว่าด้วยโทษแห่งนครมธุรา

[๒๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในนครมธุรา

๕ ประการเป็นไฉน คือ นครมธุรามีพื้นดินไม่ราบเรียบ ๑ มีฝุ่นมาก ๑

มีสุนัขดุ ๑ มียักษ์ร้าย ๑ หาอาหารได้ยาก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕

ประการนี้แล มีอยู่ในนครมธุรา.

จบมธุราสูตรที่ ๑

จบอักโกสกวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 472

อรรถกถามธุราสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมธุราสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปญฺจิเม ภิกฺขเว อาทีนวา มธุราย ความว่า สมัยหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีหมู่ภิกษุแวดล้อมแล้ว เมื่อเสด็จจาริกไปถึงมธุรานคร

แล้ว จึงปรารภจะเสด็จเข้าไปยังภายในพระนคร. ครั้งนั้น นางยักษิณีคนหนึ่ง

เป็นมิจฉาทิฏฐิเปลือยกาย เหยียดมือทั้งสองออก แลบลิ้น ยืนขวางหน้า

พระทศพล. พระศาสดา ไม่เสด็จเข้าไปภายในพระนครและเสด็จออกจากที่นั้น

แล้ว ได้เสด็จไปยังวิหาร. มหาชนถือเอาของกินของบริโภค และเครื่องสัก-

การะบูชาไปวิหาร ได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

พระศาสดา ทรงปรารภพระสูตรนี้ เพื่อทรงลงนิคคหะนครนั้น. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า วิสมา ได้แก่ มีพื้นดินไม่ราบเรียบ. บทว่า พหุรชา

ได้แก่ ในเวลาลมพัดได้เป็นเหมือนถูกกองฝุ่นฟุ้งขึ้นคลุมไว้. คำที่เหลือในบท

ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามธุราสูตรที่ ๑๐

จบอักโกสกวรรควรรณนาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อักโกสกสูตร ๒. ภัณฑนสูตร ๓. สีลสูตร ๔. พหุภาณีสูตร

๕. ปฐมอขันติสูตร ๖. ทุติยอขันติสูตร ๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร ๘. ทุติย-

อปาสาทิกสูตร ๙. อัคคิสูตร ๑๐. มธุราสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 473

ทีฆจาริกวรรคที่ ๓

๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของการจาริก

[๒๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน

การเที่ยวไปไม่มีกำหนด ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือย่อมไม่ไค้ฟัง

สิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ย่อมไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ๑ ย่อมไม่แกล้วกล้าด้วย

สิ่งที่ได้ฟังแล้วบางประการ ๑ ย่อมได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก ๑ ย่อมไม่มีมิตร ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน การเที่ยว

ไปไม่มีกำหนด ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนไม่พอสมควร ๕

ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ย่อม

เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ๑ ย่อมแกล้วกล้าด้วยสิ่งที่ได้ฟังแล้วบางประการ ๑

ย่อมไม่ได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก ๑ ย่อมมีมิตร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้แล.

จบปฐมทีฆจาริกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 474

ทีฆจาริกวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาปฐมทีฆจาริกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยใน ปฐมทีฆจาริกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อ

ไปนี้ :-

บทว่า อนวฏฺจาริก ได้แก่ เที่ยวไปไม่มีกำหนด. บทว่า สุต

น ปริโยทเปติ ความว่า ข้อใดที่เธอเคยฟังแล้ว ก็ไม่สามารถจะเข้าใจชัด

ข้อนั้นได้. บทว่า สุเตนเนกจฺเจน อวิสารโท โหติ ความว่า ย่อมไม่ถึง

โสมนัสด้วยข้อที่ได้ฟังมาคือความรู้ที่มีอยู่นิดหน่อย. บทว่า สมวฏฺจาเร

ได้แก่ ในการเที่ยวไปมีกำหนด.

จบอรรถกถาปฐมทีฆจาริกสูตรที่ ๑

๒. ทุติยทีฆจาริกสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของการจาริก

[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของภิกษุผู้ประกอบการเที่ยว

ไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ย่อมไม่ได้บรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุ ๑ ย่อมเสื่อมจากคุณวิเศษที่ได้บรรลุ

แล้ว ๑ ย่อมไม่แกล้วกล้าด้วยคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้วบางประการ ๑ ย่อมได้

รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก ๑ ย่อมไม่มีมิตร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของ

ภิกษุผู้ประกอบการเที่ยวไปนาน การเที่ยวไปไม่มีกำหนด ๕ ประการนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 475

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนดพอสมควร ๕

ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมได้บรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุ ๑

ย่อมไม่เสื่อมจากคุณวิเศษที่ได้บรรลุแล้ว ๑ ย่อมแกล้วกล้าด้วยคุณวิเศษที่ได้

บรรลุแล้วบางประการ ๑ ย่อมไม่ได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก ๑ ย่อมมีมิตร ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการเที่ยวไปมีกำหนดพอสมควร ๕ ประการ

นี้แล.

จบทุติยทีฆจาริกสูตรที่ ๒

๓. อภินิวาสสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของการอยู่อาศัย

[๒๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุอยู่ประจำที่ย่อมมีสิ่งของมาก มีการสะสม

สิ่งของมาก ๑ มีเภสัชมาก ๑ มีการสะสมเภสัชมาก ๑ มีกิจมาก มีกรณีย-

มาก ไม่ฉลาดในกิจที่จะต้องทำ ๑ ย่อมอยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต

ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ๑ เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น ย่อม

มีความห่วงใยหลีกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ ๕

ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่มีกำหนดพอสมควร ๕ ประการ

นี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุผู้อยู่มีกำหนดพอสมควร ย่อมไม่มีสิ่งของ

มาก ไม่มีการสะสมสิ่งของมาก ๑ ไม่มีเภสัชมาก ไม่มีการสะสมเภสัชมาก ๑

ไม่มีกิจมาก ไม่มีกรณียมาก ฉลาดในกิจที่จะต้องทำ ๑ ไม่เป็นผู้คลุกคลีด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 476

คฤหัสถ์และบรรพชิต ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร ๑ เมื่อจะหลีก

ไปจากอาวาสนั้น ไม่มีความห่วงใยหลีกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์

ในการอยู่มีกำหนดพอสมควร ๕ ประการนี้แล.

จบอภินิวาสสูตรที่ ๓

อรรถกถาอภินิวาสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอภินิวาสสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พหุภณฺโฑ ได้แก่ เป็นผู้มีบริขารมาก. บทว่า พหุเภสชฺโช

ได้แก่ เป็นผู้มีเภสัชมาก เพราะเนยใสและเนยข้นเป็นต้นมีมาก. บทว่า

อพฺยตฺโต คือ เป็นคนไม่ฉลาด. บทว่า สสฏฺโ คือ เป็นผู้คลุกคลีอยู่ด้วย

การคลุกคลี ๕ อย่าง. บทว่า อนนุโลมิเกน ได้แก่ ไม่สมควรแก่ศาสนา.

จบอรรถกถาอภินิวาสสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 477

๔. มัจฉรสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของการอยู่อาศัย

[๒๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุผู้อยู่ประจำที่เป็นผู้ตระหนี่ที่อยู่ ๑ ตระหนี่

สกุล ๑ ตระหนี่ลาภ ๑ ตระหนี่วรรณะ ๑ ตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่ที่กำหนดพอสมควร ๕ ประการ

นี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุผู้อยู่มีกำหนดพอสมควร เป็นผู้ไม่ตระหนี่

ที่อยู่ ๑ ไม่ตระหนี่สกุล ๑ ไม่ตระหนี่ลาภ ๑ ไม่ตระหนี่วรรณะ ๑ ไม่

ตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่มีกำหนดพอสมควร

๕ ประการนี้แล.

จบมัจฉรสูตรที่ ๔

อรรถกถามัจฉรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมัจฉรสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วณฺณมจฺฉรี คือ เป็นผู้ตระหนี่คุณ. บทว่า ธมฺมมจฺฉรี คือ

เป็นผู้ตระหนี่ปริยัติ.

จบอรรถกถามัจฉรสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 478

๕. ปฐมกุลุปกสูตร

ว่าด้วยโทษแห่งการเข้าไปสู่สกุล

[๒๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในภิกษุผู้เข้า

ไปสู่สกุล ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุลย่อมต้องอาบัติเพราะ

เที่ยวไปโดยไม่บอกลา ๑ ย่อมต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับหูกับมาตุคาม ๑

ย่อมต้องอาบัติเพราะนั่งในที่ลับตากับมาตุคาม ๑ เมื่อแสดงธรรมแก่มาตุคาม

เกินกว่า ๕-๖ คำ ย่อมต้องอาบัติ ๑ ย่อมมากด้วยความดำริในกามอยู่ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล.

จบปฐมกุลุปกสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมกุลุปกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมกุลุปกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อนามนฺตจาเร อาปชฺชติ ความว่า ต้องอาบัติ ที่ตรัสไว้ใน

สิกขาบทว่า ภิกษุรับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว ไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความ

เป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายก่อนอาหาร หรือทีหลังอาหาร ดังนี้. แม้บท

เป็นต้นว่า รโหนิสชฺชาย พึงทราบตามสิกขาบทเหล่านั้น.

จบอรรถกถาปฐมกุลุปกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 479

๖. ทุติยกุลุปกสูตร

ว่าด้วยโทษของการคลุกคลีในสกุลเกินเวลา

[๒๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้

เข้าไปสู่สกุล คลุกคลีอยู่ในสกุลเกินเวลา ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ การเห็น

มาตุคามเนือง ๆ ๑ เมื่อมีการเห็นย่อมมีการเกี่ยวข้อง ๑ เมื่อมีการเกี่ยวข้อง

ย่อมมีการคุ้นเคย ๑ เมื่อมีการคุ้นเคยย่อมมีจิตจดจ่อ ๑ เมื่อมีจิตจดจ่อแล้ว

พึงหวังผลข้อนี้ คือ เธอย่อมไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ จักต้องอาบัติที่

เศร้าหมอง หรือจักบอกคืนสิกขาลาเพศ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕

ประการนี้แล ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล คลุกคลีอยู่ในสกุลเกินเวลา.

จบทุติยกุลปกสูตรที่ ๖

อรรถกถากุลุปกสูตร

ทุติยกุลุปกสูตรที่ ๖ บทว่า อติเวล ได้แก่ เกินเวลาที่กำหนดไว้.

จบอรรถกถาทุติยกุลุปกสูตรที่ ๖

๗. โภคสูตร*

ว่าด้วยคุณและโทษของโภคทรัพย์

[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ โภคทรัพย์เป็นของทั่วไปแก่ไฟ ๑ เป็นของทั่วไป

แก่น้ำ ๑ เป็นของทั่วไปแก่พระราชา ๑ เป็นของทั่วไปแก่โจร ๑ เป็นของ

ทั่วไปแก่ทายาทผู้ไม่เป็นที่รัก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะโภคทรัพย์

๕ ประการนี้แล.

* สูตรที่ ๗ อรรถกถาว่ามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 480

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕

ประการเป็นไฉน ? คือ เพราะอาศัยโภคทรัพย์ บุคคลจึงเลี้ยงตนให้เป็นสุข

เอิบอิ่ม บริหารให้เป็นสุขได้โดยชอบ ๑ เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข เอิบอิ่ม

บริหารให้เป็นสุขได้โดยชอบ ๑ เลี้ยงบุตรภรรยา คนใช้ คนงาน และบริวาร

ให้เป็นสุข เอิบอิ่ม บริหารให้เป็นสุขได้โดยชอบ ๑ เลี้ยงมิตรและอำมาตย์

ให้เป็นสุข เอิบอิ่ม บริหารให้เป็นสุขได้โดยชอบ ๑ ย่อมบำเพ็ญทักษิณาทาน

ที่มีผลเลิศเป็นทางสวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์

ทั้งหลาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะโภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล.

จบโภคสูตรที่ ๗

๘. ภัตตสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของการหุงต้ม

[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในสกุลที่

หุงต้มอาหารในเวลาสาย ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ย่อมไม่ได้ต้อนรับแขก

ที่ควรต้อนรับตามเวลา ๑ ไม่ได้บูชาเทวดาผู้รับพลีตามเวลา ๑ ไม่ได้ต้อนรับ

สมณพราหมณ์ผู้ฉันหนเดียว งดการฉันในเวลากลางคืน เว้นการฉันในเวลา

วิกาลตามเวลา ๑ พวกคนใช้ คนงาน และบริวารหลบหน้าทำการงาน ๑

อาหารที่บริโภคตามเวลาที่ไม่ควรเช่นนั้นไม่มีโอชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในสกุลที่หุงต้มอาหารในเวลาสาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในสกุลที่หุงต้ม

อาหารตามเวลา ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ย่อมได้ต้อนรับแขกที่ควรต้อนรับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 481

ตามเวลา ๑ ย่อมได้บูชาเทวดาผู้รับพลีตามเวลา ๑ ย่อมได้ต้อนรับสมณ-

พราหมณ์ผู้ฉันหนเดียว งดการฉันในเวลากลางคืน เว้นการฉันในเวลาวิกาล

ตามเวลา ๑ คนใช้ คนงาน และบริวารย่อมไม่หลบหน้าทำการงาน ๑ อาหาร

ที่บริโภคตามเวลาที่ควรเช่นนั้นย่อมมีโอชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์

๕ ประการนี้แล มีอยู่ในสกุลที่หุงต้มอาหารตามเวลา.

จบภัตตสูตรที่ ๘

อรรถกถาภัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภัตตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุสฺสูรภตฺเต ได้แก่ ในตระกูลที่หุงต้มอาหารสาย. บทว่า

น กาเลน กฏิปูเชนฺติ ความว่า พวกเขาไม่หุงต้มยาคูในเวลายาคู ของ-

ขบเคี้ยวในเวลาขบเคี้ยว อาหารในเวลาอาหาร จึงไม่บูชาตามเวลา เพราะ

เวลาที่ประกอบขวนขวายล่วงเลยไปแล้ว. ชื่อว่า ให้ด้วยจิตของตนเท่านั้น.

ต่อมา เมื่อพวกชนเหล่านั้น มาสู่เรือนของตน เขาก็ย่อมกระทำอย่างนั้นเหมือน

กัน. แม้เทวดาผู้คอยรับพลีมาแล้ว ตามประเพณีแห่งตระกูล ต่อได้ลาภตามกาล

อันเหมาะอันควรจึงรักษาคุ้มครอง. แต่เมื่อได้รับความบีบคั้นไม่ได้ตามเวลา

ไม่ทำอารักขาด้วยคิดว่า พวกเหล่านี้เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อในพวกเรา ดังนี้. แม้

สมณพราหมณ์ ย่อมไม่ทำกิจที่ควรทำในงานมงคลและอวมงคล ด้วยคิดว่า

ในเรือนของคนเหล่านั้น ไม่มีอาหารในเวลาอาหาร เขาให้ในเวลาเที่ยงตรง

ดังนี้. บทว่า วิมุขา กมฺม กโรนฺติ ความว่า พวกคนใช้เป็นต้น ละงาน

นั่งอยู่ด้วยคิดว่า ในเวลาเช้า พวกเรายังไม่ได้อะไรเลย. พวกเราหิวเหลือเกิน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 482

แล้ว ไม่สามารถจะทำการงานได้ดังนี้. บทว่า อโนชวนฺต โหติ ได้แก่

อาหารที่บริโภคไม่เป็นไปตามเวลา ย่อมไม่สามารถจะแผ่โอชะไปได้. ธรรม

ที่เป็นสุกกปักข์ฝ่ายดี พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาภัตตสูตรที่ ๘

๙. ปฐมสัปปสูตร

ว่าด้วยโทษของงูเห่าและมาตุคาม

[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ เป็นสัตว์ไม่สะอาด ๑ มีกลิ่นเหม็น ๑ มีความน่ากลัวมาก ๑

มีภัยเฉพาะหน้า ๑ มักประทุษร้ายมิตร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า

๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในมาตุคาม ๕ ประการ ฉันนั้นเหมือนกัน

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้ไม่สะอาด ๑ มีกลิ่นเหม็น ๑ มีความ

น่ากลัวมาก ๑ มีภัยเฉพาะหน้า ๑ มักประทุษร้ายมิตร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โทษในมาตุคาม ๕ ประการนี้ แล.

จบปฐมสัปปสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 483

อรรถกถาปฐมสัปปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสัปปสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สภีรุ ได้แก่ เป็นสัตว์ในโพรงนอนหลับสนิทหลับนาน. บทว่า

สปฺปฏิภโย ได้แก่ ภัยย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยงูเห่านั้น. เพราะฉะนั้น มันจึง

ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า. บทว่า มิตฺตทุพฺภี ได้แก่ ประทุษร้าย เบียดเบียนมิตร

แม้เป็นผู้ให้น้ำและข้าวกิน. ถึงในมาตุคาม ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาปฐมสัปปสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยสัปปสูตร

ว่าด้วยโทษของงูเห่าและมาตุคาม

[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ เป็นสัตว์มักโกรธ ๑ มักผูกโกรธ ๑ มีพิษร้าย ๑ มีสองลิ้น ๑

มักประทุษร้ายมิตร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในงูเห่า ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในมาตุคาม ๕ ประการนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้มักโกรธ ๑ มักผูกโกรธ ๑ มีพิษร้าย ๑

มีสองลิ้น ๑ มักประทุษร้ายมิตร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโทษ ๕ ประการ

นั้น ความที่มาตุคามเป็นผู้มีพิษร้าย คือ โดยมากมาตุคามมีราคะจัด ความที่

มาตุคามเป็นผู้มีสองสิ้น คือ โดยมากมาตุคามมีวาจาส่อเสียด ความที่มาตุคาม

เป็นผู้มักประทุษร้ายมิตร คือ โดยมากมาตุคามมักประพฤตินอกใจ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย โทษในมาตุคาม ๕ ประการนี้แล.

จบทุติยสัปปสูตรที่ ๑๐

จบทีฆจาริกวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 484

อรรถกถาทุติยสัปปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสัปปสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โฆรวิโส คือ มีพิษร้ายกาจ. บทว่า ทุชิวฺโห คือ มีลิ้น

สองแฉก. บทว่า โฆรวิสตา คือ เพราะเป็นสัตว์มีพิษร้าย. แม้ในสองบท

ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาทุติยสัปปสูตรที่ ๑๐

จบทีฆจาริกวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมทีฆจาริกสูตร ๒. ทุติยทีฆจาริกสูตร ๓ . อภินิวาสสูตร

๔. มัจฉรสูตร ๕. ปฐมกุลุปกสูตร ๖. ทุติยกุลุปกสูตร ๗. โภคสูตร

๘. ภัตตสูตร ๙. ปฐมสัปปสูตร ๑๐. ทุติยสัปปสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 485

อาวาสกวรรคที่ ๔

๑. อาวาสิกสูตร

ว่าด้วยธรรมของเจ้าอาวาส

[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรยกย่อง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุ

เจ้าอาวาสเป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยมรรยาท ไม่ถึงพร้อมด้วยวัตร ไม่เป็นพหู-

สูต ไม่ทรงจำสุตะ ๑ เป็นผู้ไม่ประพฤติขัดเกลา ไม่ยินดีในการหลีกออกเร้น

ไม่ยินดีในกัลยาณธรรม ๑ เป็นผู้ไม่มีวาจาไพเราะ ไม่กระทำถ้อยคำให้

ไพเราะ ๑ มีปัญญาทราม โง่เขลา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาส

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรยกย่อง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นผู้ควรยกย่อง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุเจ้าอาวาสเป็น

ผู้ถึงพร้อมด้วยมรรยาท ถึงพร้อมด้วยวัตร ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ ๑

เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ยินดีในการหลีกออกเร้น ยินดีในกัลยาณธรรม ๑

มีวาจาไพเราะกระทำถ้อยคำให้ไพเราะ ๑ มีปัญญา เฉลียวฉลาด ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควร

ยกย่อง.

จบอาวาสิกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 486

อาวาสกวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาอาวาสิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาวาสิกสูตรที่ ๑ แห่ง วรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น อากปฺปสมฺปนฺโน ได้แก่เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยกิริยาของ

สมณะ. บทว่า อภาวนิโย โหติ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ควรยกย่อง.

จบอรรถกถาอาวาสิกสูตรที่ ๑

๒. ปิยสูตร*

ว่าด้วยปิยธรรมของเจ้าอาวาส

[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจ ที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของเพื่อน

พรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยความ

สำรวมในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยใน

โทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต

ทรงไว้ซึ่งสุตะ สะสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก จำทรงไว้ ขึ้นปาก คล่องใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง

งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้มีวาจาไพเราะ กระทำถ้อยคำให้ไพเราะ ประกอบ

* สูตรที่ ๒ อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 487

ด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวยไม่มีโทษ ให้ทราบข้อความได้ชัด ๑ เป็น

ผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง

เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕

ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจ ที่เคารพ และเป็นที่สรรเสริญของ

เพื่อนพรหมจรรย์.

จบปิยสูตรที่ ๒

๓. โสภณสูตร

ว่าด้วยโสภณธรรมของเจ้าอาวาส

[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ ย่อมยังอาวาสให้งาม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือเป็นผู้มีศีล สำรวม

ด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์ ฯลฯ ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑

เป็นพหูสูต ฯลฯ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้มีวาจาไพเราะ ฯลฯ ให้

ทราบข้อความได้ชัด ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อให้ผู้เข้าไปหาเห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ๑ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดย

ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ย่อม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม

ยังอาวาสให้งาม.

จบโสภณสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 488

อรรถกถาโสภณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโสภณสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปฏิพโล ได้แก่ ชื่อว่าเป็นผู้สามารถ เพราะเป็นผู้ประกอบ

ด้วยกำลังกายและกำลังญาณ.

จบอรรถกถาโสภณสูตรที่ ๓

๔. พหุปการสูตร

ว่าด้วยอุปการธรรมของเจ้าอาวาส

[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ ย่อมเป็นผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ เป็น

ผู้มีศีล ฯลฯ สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ฯลฯ

บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่หักพัง ๑ ก็ภิกษุสงฆ์หมู่

ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่าง ๆ ย่อมเข้าไปบอกพวกคฤหัสถ์ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้น

ต่าง ๆ ขอเชิญท่านทั้งหลายทำบุญ เป็นสมัยทำบุญ ๑ เป็นผู้ได้ตามความ

ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่อง

อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มีอุปการะมากแก่อาวาส.

จบพหุปการสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 489

อรรถกถาพหุปการสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในพหุปการสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ขณฺฑผุลฺล ได้แก่สถานที่ชำรุดหักพัง. บทว่า ปฏิสงฺขโรติ

ได้แก่ ทำให้เป็นปกติดังเดิม. บทว่า อาโรเจติ นี้ ท่านกล่าวโดยตระกูลที่เขา

ปวารณาไว้แล้ว.

จบอรรถกถาพหุปการสูตรที่ ๔

๕. อนุกัมปกสูตร

ว่าด้วยกรุณาธรรมของเจ้าอาวาส

[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ยังคฤหัสถ์ให้

สมาทานให้อธิศีล ๑ ให้ตั้งอยู่ในธรรมทัศนะ ๑ เข้าไปหาคฤหัสถ์ผู้ป่วยแล้ว

ย่อมให้สติว่า ท่านทั้งหลายจงตั้งสติให้ตรงต่อพระรัตนตรัย ก็ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่าง ๆ ย่อมเข้าไปบอกพวกคฤหัสถ์ว่า ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุหมู่ใหญ่เข้ามาแล้ว มีภิกษุมาจากแคว้นต่าง ๆ

ขอเชิญท่านทั้งหลายทำบุญเป็นสมัยทำบุญ ๑ ย่อมฉันโภชนะที่พวกคฤหัสถ์ถวาย

จะเลวหรือประณีตก็ตามด้วยตนเอง ๑ ไม่ยังศรัทธาไทยให้เสียไป ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมอนุเคราะห์

คฤหัสถ์.

จบอนุกัมปกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 490

อรรถกถาอนุกัมปกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนุกัมปกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อธิสีเลสุ ได้แก่ ในศีล ๕. บทว่า ธมฺมทสฺสเน นิเวเสติ

ได้แก่ ให้ตั้งอยู่ในธัมมทัสสนะคือสัจจะ ๔. บทว่า อรหคฺคต ได้แก่ ตั้งสติ

ดำเนินไปในพระรัตนตรัยอันสมควรแก่สักการะทั้งปวง. อธิบายว่า ท่านเข้าไป

ตั้งความเคารพยำเกรงในพระรัตนตรัยนั่นเอง ดังนี้.

จบอรรถกถาอนุกัมปกสูตรที่ ๕

๖. ยถาภตอวัณณสูตร*

ว่าด้วยธรรมทำให้เจ้าอาวาสเลวและดี

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่ใคร่ครวญ

ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ ๑ ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณา

ก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ ๑ ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้ว

แสดงความเลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันไม่ควรเลื่อมใส ๑ ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจาร-

ณาก่อนแล้วแสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏในที่อันควรเลื่อมใส ๑ ย่อมยัง

ศรัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก.

* สูตรที่ ๖ อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 491

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ใคร่ครวญพิจารณา

ก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ ๑ ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญ

ผู้ควรสรรเสริญ ๑ ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสให้ปรากฏ

ในที่อันไม่ควรเลื่อมใส ๑ ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วแสดงความเลื่อมใสให้

ปรากฏในที่อันควรเลื่อมใส ๑ ย่อมไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ เหมือนถูกเชิญมาอยู่

ในสวรรค์.

จบยถาภตอวัณณสูตรที่ ๖

๗. ยถาภตเคธสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เจ้าอาวาสเลวและดี

[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน ? คือไม่ใคร่ครวญ

ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ ๑ ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณา

ก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ ๑ เป็นผู้ตระหนี่อาวาส หวงแหนอาวาส ๑

เป็นผู้ตระหนี่สกุล หวงแหนสกุล ๑ ย่อมยังศรัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือนถูก

นำมาเก็บไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ใคร่ครวญพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 492

ก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ ๑ ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญ

ผู้ควรสรรเสริญ ๑ เป็นผู้ไม่ตระหนี่อาวาส ไม่หวงแหนอาวาส ๑ เป็นผู้ไม่

ตระหนี่สกุล ไม่หวงแหนสกุล ๑ ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญ

มาอยู่ในสวรรค์.

จบยถาภตเคธสูตรที่ ๗

อรรถกถายถาภตเคธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในยถาภตเคธสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาวาสปลิเคธี ได้แก่ ตั้งอยู่ประหนึ่งกลืนกินอาวาสด้วย

อำนาจแห่งความติดอย่างแรงกล้า. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาภตเคธสูตรที่ ๗

จบอาวาสิกวรรควรรณนาที่ ๔

๘. ปฐมยถาภตมัจเฉรสูตร*

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เจ้าอาวาสตกต่ำและไม่ตกต่ำ

[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่ใคร่ครวญ

ไม่พิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญผู้ควรตำหนิ ๑ ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณา

ก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรสรรเสริญ ๑ เป็นผู้ตระหนี่อาวาส ๑ ตระหนี่สกุล ๑

ตระหนี่ลาภ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕

ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก.

* สูตรที่ ๘-๙-๑๐ ไม่มีอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 493

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ใคร่ครวญพิจารณา

ก่อนแล้วกล่าวตำหนิผู้ควรตำหนิ ๑ ใคร่ครวญพิจารณาก่อนแล้วกล่าวสรรเสริญ

ผู้ควรสรรเสริญ ๑ ไม่เป็นผู้ตระหนี่อาวาส ๑ ไม่ตระหนี่สกุล ๑ ไม่ตระหนี่

ลาภ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

นี้แล เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์.

จบปฐมยถาภตมัจเฉรสูตรที่ ๘

๙. ทุติยยถาภตมัจเฉรสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เจ้าอาวาสตกต่ำและไม่ตกต่ำ

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้

ตระหนี่อาวาส ๑ ตระหนี่สกุล ๑ ตระหนี่ลาภ ๑ ตระหนี่วรรณะ ๑ ย่อมยัง

ศรัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม

๕ ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่เป็นผู้ตระหนี่

อาวาส ๑ ไม่ตระหนี่สกุล ๑ ไม่ตระหนี่ลาภ ๑ ไม่ตระหนี่วรรณะ ๑ ไม่ยัง

ศรัทธาไทยให้ตกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม

๕ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์.

จบทุติยยถาภตมัจเฉรสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 494

๑๐. ตติยยถาภตมัจเฉรสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เจ้าอาวาสตกต่ำและไม่ตกต่ำ

[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้

ตระหนี่อาวาส ๑ ตระหนี่สกุล ๑ ตระหนี่ลาภ ๑ ตระหนี่วรรณะ ๑ ตระหนี่

ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

นี้แล เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เหมือนถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่เป็นผู้ตระหนี่

อาวาส ๑ ไม่ตระหนี่สกุล ๑ ไม่ตระหนี่ลาภ ๑ ไม่ตระหนี่วรรณะ ๑ ไม่ตระหนี่

ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

นี้แล เหมือนถูกเชิญมาอยู่ในสวรรค์.

จบตติยยถามัจเฉรสูตรที่ ๑๐

จบอาวาสิกวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาวาสิกสูตร ๒. ปิยสูตร ๓. โสภณสูตร ๔. พหุปการสูตร

๕. อนุปกัมปกสูตร ๖. ยถาภตอวัณณสูตร ๗. ยถาภตเคธสูตร ๘. ปฐม-

ยถาภตมัจเฉรสูตร ๙. ทุติยยถาภตมัจเฉรสูตร ๑๐. ตติยยถาภตมัจเฉรสูตร

และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 495

ทุจริตวรรคที่ ๕

๑. ทุจริตสูตร

ว่าด้วยโทษแห่งทุจริตและคุณแห่งสุจริต

[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะทุจริต ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณา

แล้วย่อมติเตียนได้ ๑ กิตติศัพท์อันชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑

เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โทษในเพราะทุจริต ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะสุจริต ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ แม้ตนเองย่อมไม่ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อม

สรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมไม่เป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑

เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะ

สุจริต ๕ ประการนี้แล.

จบทุจริตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 496

ทุจริตวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาทุจริตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุจริตสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทุจฺจริเต นี้ท่านกล่าวไม่แยกประเภท. บทเป็นต้นว่า

กายทุจฺจริเต ท่านกล่าวแยกประเภท โดยเป็นกายทวารเป็นต้น. บทว่า

สทฺธมฺมา ได้แก่ จากกรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า อสทฺธมฺเม ได้แก่

ในอสัทธรรมคืออกุศลกรรมบถ.

จบอรรถกถาทุจริตสูตรที่ ๑

๒. กายทุจริตสูตร*

ว่าด้วยโทษของกายสุจริตและคุณของกายสุจริต

[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะกายทุจริต ๕ ประการ

นี้แล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะกายสุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ

จบกายทุจริตสูตรที่ ๒

* สูตรที่ ๒ ถึง ๘ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 497

๓. วจีทุจริตสูตร

ว่าด้วยโทษของวจีทุจริตและคุณของสุจริต

[๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในพระวจีทุจริต ๕ ประการนี้

ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะวจีสุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ

จบวจีทุจริตสูตรที่ ๓

๔. มโนทุจริตสูตร

ว่าด้วยโทษของมโนทุจริตและคุณของมโนสุจริต

[๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะมโนทุจริต ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณา

แล้วย่อมติเตียน ๑ กิตติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑

เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โทษในเพราะมโนทุจริต ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะมโนสุจริต ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ แม้ตนเองย่อมไม่ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณา

แล้วย่อมสรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำ

กาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์

ในเพราะมโนสุจริต ๕ ประการนี้แล.

จบมโนทุจริตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 498

๕. อปรทุจริตสูตร

ว่าด้วยโทษของทุจริตและคุณของสุจริต

[๒๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะทุจริต ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณา

แล้วย่อมติเตียน ๑ กิตติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม ๑

ย่อมตั้งอยู่ในอสัทธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะทุจริต ๕ ประการ

นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะสุจริต ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ แม้ตนเองย่อมไม่ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อม

สรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์อันงามฟุ้งไป ๑ ย่อมเสื่อมจากอสัทธรรม ๑ ย่อมตั้งอยู่

ในสัทธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะสุจริต ๕ ประการนี้แล.

จบอปรทุจริตสูตรที่ ๕

๖. อปรกายทุจริตสูตร

ว่าด้วยโทษของกายสุจริตและคุณของกายสุจริต

[๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะทุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะสุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ

จบอปรกายทุจริตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 499

๗. อปรวจีทุจริตสูตร

ว่าด้วยโทษของวจีทุจริตและคุณของวจีสุจริต

[๒๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะวจีทุจริต ๕ ประการนี้

ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะวจีสุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ

จบอปรวจีทุจริตสูตรที่ ๗

๘. อปรมโนทุจริตสูตร

ว่าด้วยโทษของมโนทุจริตและคุณของมโนสุจริต

[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะมโนทุจริต ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณา

แล้วย่อมติเตียน ๑ กิตติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม ๑

ย่อมตั้งอยู่ในอสัทธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะมโนทุจริต

๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะมโนสุจริต ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อมไม่ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณา

แล้วย่อมสรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม ๑

ย่อมตั้งอยู่ในอสัทธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะมโนสุจริต

๕ ประการนี้แล.

จบอปรมโนทุจริตสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 500

๙. สีวถิกาสูตร

ว่าด้วยโทษของป่าช้าและคนเหมือนป่าช้า

[๒๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในป่าช้า ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ เป็นที่ไม่สะอาด ๑ มีกลิ่นเหม็น ๑ มีภัยเฉพาะหน้า ๑

เป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์ร้าย ๑ เป็นที่รำพันทุกข์ของชนหมู่มาก ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย โทษในป่าช้า ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในบุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้า ๕ ประการนี้

ฉันนั้นเหมือนกัน ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อม

ประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรม

อันไม่สะอาด เรากล่าวข้อนี้เพราะเขาเป็นผู้ไม่สะอาด ป่าช้านั้นเป็นที่ไม่สะอาด

แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

กิตติศัพท์ที่ชั่วของเขาผู้ประกอบด้วยกายกรรม อันไม่สะอาด ด้วยวจี-

กรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด ย่อมฟุ้งไป เรากล่าวข้อนี้

เพราะเขาเป็นผู้มีกลิ่นเหม็น ป่าช้ามีกลิ่นเหม็นแม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้

เปรียบฉันนั้น.

เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก ย่อมเว้นไกลซึ่งบุคคลนั้นผู้ประกอบ

ด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่

สะอาด เรากล่าวข้อนี้เพราะเขามีภัยเฉพาะหน้า ป่าช้ามีภัยเฉพาะหน้า แม้

ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

เขาประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด

ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด ย่อมอยู่ร่วมกับบุคคลผู้เสมอกัน เรากล่าวข้อนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 501

เพราะเขาเป็นที่อยู่ของสิ่งร้าย ป่าช้าเป็นที่อยู่ของมนุษย์ร้าย แม้ฉันใด เรา

กล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก เห็นเขาผู้ประกอบด้วยกายกรรมอัน

ไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด แล้วย่อม

รำพันทุกข์ว่า โอ เป็นทุกข์ของพวกเราผู้อยู่ร่วมกับบุคคลเห็นปานนี้ เรา

กล่าวข้อนี้เพราะเขาเป็นที่รำพันทุกข์ ป่าช้าเป็นที่รำพันทุกข์ของชนหมู่มาก

แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในบุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้า ๕ ประการนี้แล.

จบสีวถิกาสูตรที่ ๙

อรรถกถาสีวถิกาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสีวถิกาสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สีวถิกาย คือ ในป่าช้า. บทว่า อาโรทนา คือสถานที่

ร่ำไห้. บทว่า อสุจินา คือ น่าเกลียดชัง.

จบอรรถกถาสีวถิกาสูตรที่ ๙

๑๐. ปุคคลปสาทสูตร

ว่าด้วยโทษของการเลื่อมในที่เกิดขึ้น

[๒๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคล

๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลใดย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด

บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้

เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์ยกวัตรเสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มีความเลื่อม

ใสมากในพวกภิกษุ เมื่อไม่มีความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ จึงไม่คบหาภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 502

เหล่าอื่น เมื่อไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม

จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติ

อันเป็นเหตุให้สงฆ์บังคับให้เขานั่งที่สุดสงฆ์ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็น

ที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์บังคับให้นั่งในที่สุดสงฆ์เสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้

ไม่มีความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ. . . จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษใน

ความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นหลีกไปสู่

ทิศเสีย เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ หลีกไปสู่ทิศ

เสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มีความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ. . . จึงเสื่อมจาก

สัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นลาสิกขา

เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลรู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ลาสิกขาเสียแล้ว เขา

จึงไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น. . . จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใส

ที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นกระทำ

กาละเสีย เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ กระทำ

กาละเสียแล้ว เขาจึงไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟัง

สัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคล

ข้อที่ ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในความเลื่อมใสที่เกิดในบุคคล ๕

ประการนี้แล.

จบปุคคลปสาทสูตรที่ ๑๐

จบทุจริตวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 503

อรรถกถาปุคคลปสาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลปสาทสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุคฺคลปฺปสาเท ได้แก่ ในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคล

คนหนึ่ง. บทว่า อนฺเต นิสีทาเปติ ได้แก่ ให้เธอนั่งท้ายอาสนะของพวก

ภิกษุ. บทที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปุคคลปสาทสูตรที่ ๑๐

จบทุจริตวรรควรรณนาที่ ๕

จบปัญจมปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทุจริตสูตร ๒. กายทุจริตสูตร ๓. วจีทุจริตสูตร ๔. มโน-

ทุจริตสูตร ๕. อปรทุจริตสูตร ๖. อปรกายทุจริตสูตร ๗. อปรวจีทุจริตสูตร

๘. อปรมโนทุจริตสูตร ๙. สีวถิกาสูตร ๑๐. ปุคคลปสาทสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 504

พระสูตรที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในวรรค*

ว่าด้วยคุณธรรมและประเภทธรรมต่าง ๆ

[๒๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยสมาธิขันธ์

อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑

ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยวิมุตติญาณ-

ทัศนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประกายนี้แล พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้.

[๒๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

พึงให้นิสัยได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยวิมุตติญาณ-

ทัศนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้นิสัยได้.

[๒๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยวิมุตติ-

ญาณทัศนขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้.

* อรรถกถาแก้ไว้ท้ายวรรคนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 505

[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล (อุปัฏฐาก) ๑

ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา

ความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ความตระหนี่ที่น่าเกลียดยิ่ง คือ ความตระหนี่ธรรม.

[๒๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ

เพื่อตัดขาดความตระหนี่ ๕ ประการ ความตระหนี่ ๕ ประการเป็นไฉน ?

คือ ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ที่อยู่ ๑

เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่สกุล ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่

ลาภ ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่วรรณะ ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาด

ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อ

เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ ๕ ประการนี้แล.

[๒๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควร

เพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือความตระหนี่ที่อยู่ ๑

ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความ

ตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่

ควรบรรลุปฐมฌาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อ

บรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑

ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความ

ตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๔ ประการนี้แล ควร

บรรลุปฐมฌาน.

[๒๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควร

เพื่อบรรลุทุติยฌาน. . . ตติยฌาน. . . จตุตถฌาน. . . ไม่ควรเพื่อทำให้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 506

แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. . . สกทาคามิผล. . . อนาคามิผล . . . อรหัตผล ธรรม

๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความ

ตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง

อรหัตผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อกระทำ

ให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่

ฯลฯ ความตระหนี่ธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แล

ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.

[๒๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควร

เพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑

ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความ

เป็นคนอกตัญญูกตเวที ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ

นี้แล ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อบรรลุปฐม-

ฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่

สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความเป็นคนอกตัญญู-

กตเวที ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อ

บรรลุปฐมฌาน.

[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อ

บรรลุทุติยฌาน. . . ตติยฌาน. . . จตุตถฌาน. . . ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง

โสดาปัตติผล. . . สกทาคามิผล. . . อนาคามิผล. . . อรหัตผล ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความ

ตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 507

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้ง

ซึ่งอรหัตผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อทำให้

แจ้งซึ่งอรหัตผล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ฯลฯ

ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ

นี้แล ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.

[๒๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ลำเอียง

เพราะรัก ๑ ลำเอียงเพราะชัง ๑ ลำเอียงเพราะหลง ๑ ลำเอียงเพราะกลัว ๑

ย่อมไม่รู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้ว และยังไม่ได้นิมนต์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึง

สมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่ลำเอียงเพราะ

รัก ๑ ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑

ย่อมรู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้วและยังไม่ได้นิมนต์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์.

[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ แม้สมมติแล้วก็ไม่พึงใช้ให้ทำการ ฯลฯ

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ สมมติ

แล้วก็พึงใช้ให้ทำการ ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม

๕ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ภิกษุภัตตุ-

เทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนนำมาโยนลง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 508

ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือน

เชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑

ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อม

รู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้วและยังไม่ได้นิมนต์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุภัตตุเทสก์

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมา

ประดิษฐานไว้.

[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ผู้ปูลาดเสนาสนะ. . . ไม่รู้เสนาสนะ

ที่ได้ปูลาดแล้วและยังไม่ได้ปูลาด. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ. . . ย่อมรู้เสนาสนะ

ที่ได้ปูลาดแล้วและยังไม่ได้ปูลาด. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง

สมมติให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ผู้ให้ภิกษุถือเสนาสนะ. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ

. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง

สมมติให้เป็นภัณฑาคาริก ผู้รักษาเรือนคลัง. . . ย่อมไม่รู้ภัณฑะที่เก็บแล้ว

และยังไม่ได้เต็ม. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัณฑาคาริก. . .ย่อมรู้ภัณฑะที่ได้เก็บแล้วและยังไม่ได้เก็บ

. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง

สมมติให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ ผู้รับจีวร. . . ย่อมไม่รู้จีวรที่รับแล้วและยังไม่ได้

รับ. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึง

สมมติให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ. . .ย่อมรู้จีวรที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ. . .

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 509

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง

สมมติให้เป็นจีวรภาชกะ ผู้แจกจีวร. . .ไม่รู้จีวรที่ได้แจกแล้วและยังไม่ได้แจก

. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติ

ให้เป็นจีวรภาชกะ. . .ย่อมรู้จีวรที่แจกแล้วและยังไม่ได้แจก. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง

สมมติให้เป็นยาคุภาชกะ ผู้แจกข้าวยาคู. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นยาคุภาชกะ. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง

สมมติให้เป็นผลภาชกะ ผู้แจกผลไม้. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผลภาชกะ. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง

สมมติให้เป็นขัชชกภาชกะ ผู้แจกของขบเคี้ยว. . . ย่อมไม่รู้ของขบเคี้ยวที่แจก

แล้วและยังไม่ได้แจก. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นขัชชกภาชกะ. . .ย่อมรู้ของขบเคี้ยวที่แจกแล้ว

และยังไม่ได้แจก. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง

สมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ ผู้จ่ายของเล็กน้อย. . .ย่อมไม่รู้ของเล็กน้อย

ที่ได้จ่ายแล้วและยังไม่ได้จ่าย. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม

๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ. . .รู้ของเล็กน้อยที่ได้

จ่ายแล้วและยังไม่ได้จ่าย. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง

สมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ ผู้จ่ายของเล็กน้อย. . .ย่อมไม่รู้ของเล็กน้อย

และยังไม่ได้รับ. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 510

สงฆ์พึงสมมติให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ. . . ย่อมรู้ผ้าสาฎกที่ได้รับแล้วและยังไม่ได้

รับ. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง

สมมติให้เป็นปัตตคาหาปกะ ผู้รับบาตร. . .ย่อมไม่รู้บาตรที่รับแล้วและไม่ได้

รับ. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึง

สมมติให้เป็นปัตตคาหาปกะ. . .ย่อมไม่รู้บาตรที่รับแล้วและยังไม่ได้รับ. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง

สมมติให้เป็นอารามิกเปสกะ ผู้ใช้คนวัด. . . ย่อมไม่รู้คนที่ได้ใช้แล้วยังไม่ได้

ใช้. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติ

ให้เป็นอารามิกเปสกะ. . . ย่อมรู้คนที่ได้ใช้แล้วและยังไม่ได้ใช้. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง

สมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม

๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ

แม้สมมติแล้ว ก็ไม่พึงใช้ให้ทำการ. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ สงฆ์พึงสมมติแล้ว

พึงใช้ให้ทำการ. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบด้วยธรรม

๕ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล. . . พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต. . . ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

บริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย

. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณร

ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง. ..คูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณร-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 511

เปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประ-

ดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑ ไม่ลำเอียง

เพราะชัง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อมรู้สามเณร

ที่ใช้แล้วและยังไม่ได้ใช้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เห็นเชิญมาประดิษฐานไว้.

[๒๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ

เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๑ กล่าวเท็จ ๑

ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมา

โยนลง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดใน

สวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้

งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ งดเว้นจากการประพฤติ

ผิดพรหมจรรย์ ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุรา

และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ

ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.

[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี. . .สิกขมานา. . .สามเณร. . .

สามเณรี. . . อุบาสก. . . อุบาสิกา ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดใน

นรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑

ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 512

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม

เกิดในสวรรค์เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ?

คือ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ งดเว้นจากการ

ประพฤติผิดในกาม ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือ

สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกา

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดขึ้นสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษ-

ฐานไว้.

[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ

เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมา

คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาชีวก

ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง.

[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์. . . สาวกนิครนถ์. . .ชฏิล. . .

ปริพาชก. . .เดียรถีย์พวกมาคัณฑิกะ. . .พวกเตทัณฑิกะ. . .พวกอารุทธกะ. . .

พวกโคตมกะ. . .พวกเทวธัมมิกะ. . .ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิด

ในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้ฆ่า

สัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมาคือสุรา

และเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เดียรถีย์พวก

เทวธัมมิกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำ

มาโยนลง.

[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง

ราคะ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาทีนว-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 513

สัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง

ราคะ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑

ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๔ ประการนี้ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง

ราคะ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑

สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ควร

เจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง

ราคะ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือ กำลังคือสัทธา ๑ กำลังคือวิริยะ ๑ กำลัง

คือสติ ๑ กำลังคือสมาธิ ๑ กำลังคือปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม

๕ ประการนี้แล ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ควรเจริญเพื่อกำหนด

รู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเลื่อมไป เพื่อ

คลาย เพื่อดับ เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ ก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ

ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ฯลฯ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป

เพื่อเสื่อมไป เพื่อคลาย เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวางโทสะ โมหะ โกธะ

อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ

มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ.

จบปัญจกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 514

อรรถกถาพระสูตรที่มิได้รวมเข้าในวรรค

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๑ (บาลีข้อ ๒๕๑) วรรคที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปสมฺปาเทตพฺพ ได้แก่ เป็นอุปัชฌาย์ ควรให้อุปสมบท.

สูตรที่ ๒ (บาลีข้อ ๒๕๒) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นิสฺสโย ทาตพฺโพ ได้แก่ เป็นอาจารย์พึงให้นิสัยได้.

สูตรที่ ๓ (บาลีข้อ ๒๕๓) พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้.

บทว่า สามเณโร อุปฏฺาเปตพฺโพ ได้แก่ เป็นอุปัชฌาย์พึงให้

สามเณรอุปัฏฐากได้. สามสูตรนี้ตรัสโดยหมายถึงพระขีณาสพในปฐมโพธิกาล

เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

สูตรที่ ๔ เป็นต้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น โดยพรรณนาตามลำดับ

บท. เรื่องวินิจฉัยภัตตุทเทสก์เป็นต้น พึงทราบโดยนัยนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วใน

อรรถกถาพระวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกาแล.

[๒๖๑] บทว่า สมฺมโต น เปเสตพฺโพ ได้แก่ ภิกษุได้รับ

สมมติตามปกติ ก็ไม่ควรส่งไปด้วยคำสั่งว่า ท่านจงไป จงแสดงภัตทั้งหลาย

ดังนี้. บทว่า สาฏิยคฺคาหาปโก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้แจกจ่ายผ้าอาบน้ำฝน.

บทว่า ปตฺตคฺคาหาปโก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้แจกบาตรที่ท่านกล่าวไว้ในข้อ

นี้ว่า บาตรใดเป็นบาตรสุดท้ายของภิกษุบริษัทนั้น บาตรนั้นควรให้ถึงแก่

ภิกษุนั้น.

* ในบาลีไม่ได้จัดเป็นสูตร อรรถกถาแก้ตั้งแต่ข้อ ๒๕๑ ถึงข้อ ๒๗๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 515

[๒๖๕] บทว่า อาชีวโก ได้แก่ นักบวชเปลือย.

[๒๖๖] บทว่า นิคฺคณฺโ ได้แก่ ปิดกายท่อนบน. บทว่า มุณฺฑ-

สาวโก ได้แก่ สาวกของนิครนถ์. บทว่า ชฏิลโก คือ ดาบส. บทว่า

ปริพฺพาชโก คือ ปริพาชกผู้นุ่งห่มผ้า. แม้นักบวชมีมาคัณฑิกะเป็นต้น

ก็จัดเป็นเดียรถีย์เหมือนกัน. ส่วนสุกกปักข์ มิได้ถือเอา เพราะนักบวช

เหล่านั้น ไม่มีการทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย. บทที่เหลือในที่ทุกแห่งง่าย

ทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ชื่อมโนรถปูรณี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 516

ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

อาหุเนยยวรรคที่ ๑

๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของภิกษุผู้เป็นนาบุญ

[๒๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ

ควรของทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ

มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู. . . สูดกลิ่นด้วยจมูก. . .

ลิ้มรสด้วยลิ้น. . .ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย. . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ

ควรของทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นดีใจ

ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

จบปฐมอาหุเนยยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 517

มโนรถปูรณี

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต

ปฐมปัณณาสก์

อาหุเนยยวรรคที่ ๑

อรรถกถาปฐมอาหุเนยยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาหุเนยยสูตรที่ ๑ แห่งฉักกนิบาตดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในศาสนานี้. บทว่า เนว สุมโน โหติ น ทุมฺมโน ความว่า ย่อมเป็น

ผู้ไม่ดีใจในเพราะอิฏฐารมณ์ ด้วยโสมนัสอันสหรคตด้วยราคะ หรือย่อมเป็น

ผู้ไม่เสียใจในเพราะอนิฏฐารมณ์ ด้วยโทมนัส อันสหรคตด้วยโทสะ. บทว่า

อุเปกฺขโก วิหรติ สโต สมฺปชาโน ความว่า ไม่ถึงความเป็นผู้วางเฉย

ด้วยอุเบกขาที่ไม่มีญาณ โดยไม่พิจารณา ในมัชฌัตตารมณ์ ชื่อว่า เป็นผู้มี

สติสัมปชัญญะ มีใจเป็นกลางอยู่ในอารมณ์. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิจของพระขีณาสพไว้แล้ว.

จบอรรถกถาปฐมอาหุเนยยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 518

๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของภิกษุผู้เป็นนาบุญ

[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมเป็นผู้ควรของต้อนรับ ฯลฯ เป็นหาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียว

เป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไป

ก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ใน

แผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะ

ไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพ

มากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

เธอย่อมได้ยินเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่

ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.

เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ

ก็รู้ว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ

ก็รู้ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ

ก็รู้ว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู

ก็รู้ว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่า จิต

เป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตไม่มีจิตอื่น

ยิ่งกว่าก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 519

ยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่า จิตไม่เป็น

สมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น.

เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง

สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง

สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง

แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง

ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตร

อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ

มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้

ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มี

อาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น

ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก

พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี

มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต

วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ

ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปเขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วน

สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า

เป็นสัมมาทิฏฐิยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึง

สุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มี

ผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วง

จักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 520

เธอย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็น

ผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบทุติยอาหุเนยยสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยอาหุเนยยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอาหุเนยยสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทมีอาทิว่า อเนกวิหิต อิทฺธิวิธ ดังนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วใน

คัมภีร์วิสุทธิมรรค. บทว่า อาสวาน ขยา อนาสว ความว่า ชื่อว่า หา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป มิใช่เพราะเหมือนการไม่มีแห่งจักษุ-

วิญญาณเป็นต้น. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอภิญญาไว้สำหรับ

พระขีณาสพ ตามลำดับ.

จบอรรกถาทุติยอาหุเนยยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 521

๓. อินทริยสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของภิกษุผู้เป็นนาบุญ

[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยอินทรีย์คือสัทธา ๑ อินทรีย์คือ

วิริยะ ๑ อินทรีย์คือสติ ๑ อินทรีย์คือสมาธิ ๑ อินทรีย์คือปัญญา ๑ และ

กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ

ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ

ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบอินทริยสูตรที่ ๓

๔. พลสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของภิกษุผู้เป็นนาบุญ

[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

ภิกษุประกอบด้วยกำลังคือสัทธา ๑ กำลังคือวิริยะ ๑ กำลังคือสติ ๑

กำลังคือสมาธิ ๑ กำลังคือปัญญา ๑ และกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 522

วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม

๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งกว่า

จบพลสูตรที่ ๔

อรรถกถาอินทริยสูตรและอรรถกถาพลสูตร

ในสูตรที่ ๓ และสูตรที่ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระขีณาสพ

ไว้อย่างเดียว.

จบอรรถกถาอินทริยสูตรที่ ๓ และอรรถกถาพลสูตรที่ ๔

๕. ปฐมอาชานิยสูตร

ว่าด้วยองค์ของม้าอาชาไนยและของภิกษุ

[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา

ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ย่อมควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่าเป็น

ราชพาหนะ องค์ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา

ในโลกนี้ ย่อมอดทนต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อ

รส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ และถึงพร้อมด้วยวรรณะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการนี้แล เป็น

ม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 523

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ

อื่นยิ่งกว่า ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอดทน

ต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทนต่อ

โผฏฐัพพะ ๑ อดทนต่อธรรมารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ

ด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก

ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบปฐมอาชานิยสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมอาชานิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอาชานิยสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า องฺเคหิ ได้แก่ ด้วยองค์แห่งคุณทั้งหลาย. บทว่า ขโม

แปลว่า อดกลั้น. บทว่า รูปาน ได้แก่ รูปารมณ์ทั้งหลาย. บทว่า

วณฺณสมฺปนฺโน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยวรรณะแห่งสรีระ.

จบอรรถกถาปฐมอาชานิยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 524

๖. ทุติยอาชานิยสูตร

ว่าด้วยองค์ของม้าอาชาไนยและของภิกษุ

[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา

ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ย่อมควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่าเป็น

ราชพาหนะ องค์ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา

ในโลกนี้ ย่อมอดทนต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทน

ต่อรส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ ย่อมถึงพร้อมด้วยกำลังกาย ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

นี้แล ย่อมควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ

อื่นยิ่งกว่า ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

อดทนต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทน

ต่อโผฏฐัพพะ ๑ อดทนต่อธรรมารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ

ด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก

ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบทุติยอาชานิยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 525

อรรถกถาทุติยอาชานิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอาชานิยสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พลสมฺปนฺโน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยกำลังกาย.

จบอรรถกถาทุติยอาชานิยสูตรที่ ๖

๗. ตติยอาชานิยสูตร

ว่าด้วยองค์ธรรมของม้าอาชาไนยและของภิกษุ

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา

ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ย่อมควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่าเป็น

ราชพาหนะ องค์ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา

ในโลกนี้ ย่อมอดทนต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทน

ต่อรส ๑ อดทนต่อโผฏฐัพพะ ๑ ถึงพร้อมด้วยฝีเท้า ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๖ ประการนี้แล ย่อมควร

แก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ

อื่นยิ่งกว่า ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอดทน

ต่อรูป ๑ อดทนต่อเสียง ๑ อดทนต่อกลิ่น ๑ อดทนต่อรส ๑ อดทนต่อ

โผฏฐัพพะ ๑ อดทนต่อธรรมารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบ

ด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก

ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบตติยอาชานิยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 526

อรรถกถาตติยอาชานิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตติยอาชานิยสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชวสมฺปนฺโน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า.

จบอรรถกถาตติยอาชานิยสูตรที่ ๗

๘. อนุตตริยสูตร

ว่าด้วยอนุตริยะ ๖

[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ (สิ่งยอดเยี่ยม) ๖ นี้ อนุตริยะ

๖ เป็นไฉน ? คือ ทัศนานุตริยะ (การเห็นยอดเยี่ยม) สวนานุตริยะ (การ

ฟังยอดเยี่ยม) ลาภานุตริยะ (การได้ยอดเยี่ยม) สิกขานุตริยะ (การศึกษา

ยอดเยี่ยม) ปาริจริยานุตริยะ (การปรนนิบัติอันยอดเยี่ยม) อนุสตานุตริยะ

(การระลึกยอดเยี่ยม). นี้แล ภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ ๖.

จบอนุตตริยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 527

อรรถกถาอนุตตริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนุตตริยสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุตฺตริยานิ ความว่า (การเห็นเป็นต้น) ที่เว้นจากสิ่งอื่น

ที่ยิ่งกว่า ชื่อว่า นิรุตฺตรานิ. บทว่า ทสฺสนานุตฺตริย ความว่า (การเห็น

พระพุทธเจ้าเป็นต้น) เป็นการเห็นอย่างยอดเยี่ยม ในการเห็นรูปทั้งหลาย.

ในบททั้งปวง ก็มีนัยเช่นนี้. อธิบายว่า การเห็นช้างแก้วเป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็น

ทัศนานุตริยะ ส่วนการเห็น พระทศพลก็ดี ภิกษุสงฆ์ก็ดี ด้วยอำนาจความรัก

ที่มั่นคง การเห็นนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากสิณและอสุภนิมิตเป็นต้น

ก็ดี ของผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ชื่อว่า ทัศนานุตริยะ. การฟังคุณกถาของ

กษัตริย์เป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็นสวนานุตริยะ ส่วนการฟังคุณกถาของพระรัตนตรัย

ด้วยสามารถแห่งความรักที่มั่นคงก็ดี การฟังพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฏก

ก็ดี ของผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว ชื่อว่า สวนานุตริยะ. การได้แก้วมณีเป็น

ต้น ไม่เป็นลาภานุตริยะ ส่วนการได้อริยทรัพย์ ๗ ชื่อว่าลาภานุตริยะ.

การศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างเป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็นสิกขานุตริยะ ส่วนการ

บำเพ็ญสิกขา ๓ ชื่อว่า สิกขนุตริยะ. การบำเรอกษัตริย์เป็นต้น ไม่

ชื่อว่าเป็น ปาริจริยานุตริยะ ส่วนการบำรุงพระรัตนตรัย ชื่อว่า ปาริจริยา-

นุตริยะ. การระลึกถึงคุณของกษัตริย์เป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็นอนุสตานุตริยะ

ส่วนการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ชื่อว่า อนุสตานุตริยะ.

อนุตริยะทั้ง ๖ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ทั้งที่เป็นโลกิยะ

และโลกุตระ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

จบอรรถกถาอนุตตริยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 528

๙. อนุสสติสูตร

ว่าด้วยอนุสติ ๖

[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสติฐานะ ที่ตั้งแห่งความระลึก

๖ นี้ อนุสติฐานะ ๖ เป็นไฉน ? คือ พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ๑

ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม ๑ สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ ๑ สีลา-

นุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๑ จาคานุสติ ระลึกถึงการบริจาคของตน ๑

เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา และธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา ๑ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย

อนุสติฐานะ ๖.

จบอนุสสติสูตรที่ ๙

อรรถกถาอนุสสติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนุสสติสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พุทฺธานุสฺสติ ได้แก่ อนุสติ มีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์

แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาอนุสสติสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 529

๑๐. มหานามสูตร

ว่าด้วยอนุสติของพระอริยสาวก

[๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม

ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะ

ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญอริยสาวกผู้ได้บรรลุ ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม

ชนิดไหนเป็นส่วนมาก พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล

ทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก คือ อริยสาวก

ในพระศาสนานี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนือง ๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึง

พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ

ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้

เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อม

ระลึกถึงพระตถาคตเนือง ๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะ

กลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรง

ทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้

ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบ

ด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ

กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 530

มหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบร้อยอยู่

ในเมื่อหมู่สัตว์ยังไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์

ยังมีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อมเจริญพุทธานุสติ.

ดูก่อนมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม

เนือง ๆ ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึง

เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้ดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชน

จะพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม

เนือง ๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . .ก็อริยสาวก

ผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระธรรม ย่อมได้ความรู้อรรถ. . . เป็นผู้

ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อมเจริญธัมมานุสติ.

ดูก่อนมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสารกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์

เนืองๆว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติ

ตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ นี้คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษ

บุคคล ๘ นั่นคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ ควร

ของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งไปกว่า สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์เนือง ๆ สมัยนั้น

จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . . ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไป

ตรงเพราะปรารภพระสงฆ์ ย่อมได้ความรู้อรรถ . . . เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

กระแสธรรม ย่อมเจริญสังฆานุสติ.

ดูก่อนมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน

เนือง ๆ ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญญูชนสรร-

เสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดูก่อนมหานามะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 531

สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตนเนือง ๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวก

นั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . . ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภ

ศีล. . . ย่อมได้ความรู้อรรถ. . . เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อม

เจริญสีลานุสติ.

ดูก่อนมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงการบริจาค

ของตนเนือง ๆ ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ คือ เมื่อหมู่สัตว์

ถูกมลทิน คือความตระหนี่กลุ้มรุม เรามีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่

อยู่ครองเรือน เป็นผู้มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม (คอยหยิบของบริจาค)

ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูก่อนมหานามะ

สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงการบริจาคเนือง ๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวก

นั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . . ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภ

จาคะ ย่อมได้ความรู้อรรถ. . . เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อม

เจริญจาคานุสติ.

ดูก่อนมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมเจริญเทวตานุสติ

(ความระลึกถึงเทวดาเนือง ๆ) ว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาเหล่า

ดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิม-

มานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัสดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่

เทวดาที่สูงกว่าเหล่าพรหมนั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศรัทธาเช่น

ใด จุติจากโลกนี้แล้วอุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่

เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น

ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจาก

โลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่า

นั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 532

เช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจาก

โลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ดูก่อน

มหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ

ปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้นเมือง ๆ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น

ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม

ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภ

เทวดา ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อัน

ประกอบด้วยธรรม เมื่อได้ความปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจประกอบ

ด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น

ดูก่อนมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบร้อย

อยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่

สัตว์ยังมีความพยาบาทกันอยู่ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อมเจริญ

เทวตานุสติ ดูก่อนมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนา

แล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก.

จบมหานามสูตรที่ ๑๐

จบอาหุเนยยวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 533

อรรถกถามหานามสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมหานามสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มหานาโม ได้แก่เจ้าศากยะองค์หนึ่ง ผู้เป็นพระราชโอรส

แห่งพระเจ้าอาของพระทศพล. บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความ

ว่า ท้าวเธอเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ห้อมล้อมไปด้วยทาสและบริวารชน

ให้คนถือเอาของหอมและระเบียบเป็นต้น แล้วได้เสด็จไปในที่ที่พระบรมศาสดา

ประทับอยู่. (พระอริยสาวก) ชื่อว่า อาคตผโล เพราะมีอริยผลมาถึงแล้ว.

ชื่อว่า วิญฺาตสาสโน เพราะมีคำสอนคือสิกขา ๓ อันท่านรู้แจ้งแล้ว.

พระราชา (เจ้าศากยะพระนามว่า มหานาม) นี้ เมื่อจะทูลถามว่า ข้าพระองค์

ทูลถามถึงวิหารธรรมอันเป็นที่อาศัยของพระโสดาบัน ดังนี้จึงกราบทูลอย่างนี้.

บทว่า เนวสฺส ราคปริยุฏฺิต ความว่า (จิตของพระอริยสาวก-

นั้น) ไม่ถูกราคะที่เกิดขึ้น รุมรึงไว้. บทว่า อุชุคต ความว่า (จิตของพระ-

อริยสาวกนั้น ) ดำเนินตรงไป ในพุทธานุสติกัมมัฏฐาน. บทว่า ตถาคต

อารพฺภ ได้แก่ปรารภพระคุณของพระตถาคตเจ้า.

บทว่า อตฺถเวท ได้แก่ปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้น อาศัยอรรถกถา.

บทว่า ธมฺมเวท ได้แก่ปีติและปราโมทย์ ที่เกิดขึ้นอาศัยบาลี. บทว่า

ธมฺมูปสญฺหิต ได้แก่ปีติและปราโมทย์ ที่เกิดขึ้นอาศัยทั้งพระบาลี และ

อรรถกถา. บทว่า ปมุทิตสฺส ความว่า แก่ผู้ที่ปราโมทย์แล้ว ด้วยความ

ปราโมทย์ ๒ อย่าง. บทว่า ปีติ ชายติ ความว่า ปีติ ๕ อย่าง ย่อม

บังเกิด. บทว่า กาโย ปสฺสมฺภติ ความว่า ทั้งนามกาย ทั้งกรชกายย่อม

สงบระงับ ด้วยธรรมเป็นเครื่องสงบระงับซึ่งความกระวนกระวาย. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 534

สมาธิยติ ความว่า ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ ในอารมณ์. บทว่า วิสมคตาย

ปชาย ความว่า ในสัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความไม่สงบ เพราะราคะ โทสะและ

โมหะ. บทว่า สมปฺปตฺโต ความว่า เป็นผู้ถึงความสงบ สม่ำเสมอ. บทว่า

สพฺยาปชฺฌาย แปลว่า ผู้มีทุกข์ร้อน. บทว่า ธมฺมโสต สมาปนฺโน

ความว่า เป็นผู้ถึงกระแสธรรมกล่าวคือ วิปัสสนา.

บทว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวติ ความว่า ย่อมเพิ่มพูน คือเจริญ

พุทธานุสติกัมมัฏฐาน. ในบททั้งปวง พึงทราบความโดยนัยนี้. เจ้าศากย-

มหานามะทูลถามถึงวิหารธรรม เป็นที่อาศัยของพระโสดาบัน ด้วยประการดัง

พรรณนามาฉะนี้. แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสวิหารธรรมเป็นที่อาศัย ของพระ

โสดาบันนั้นแหละ แก่ท้าวเธอด้วยประการฉะนี้. ในพระสูตรนี้ จึงเป็นอัน

ตรัสถึงพระโสดาบันอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถามหานามสูตรที่ ๑๐

จบอาหุเนยยวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอาหุเนยยสูตร ๒. ทุติยอาหุเนยยสูตร ๓. อินทริยสูตร

๔. พลสูตร ๕. ปฐมอาชีนิยสูตร ๖. ทุติยอาชานิยสูตร ๗. ตติยอาชา-

นิยสูตร ๘. อนุตตริยสูตร ๙. อนุสสติสูตร ๑๐. มหานามสูตร และ

อรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 535

สาราณิยาทิวรรคที่ ๒

๑. ปฐมสาราณียสูตร

ว่าด้วยสาราณียธรรม ๖ ประการ

[๒๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๖ ประการนี้ ๖ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา

ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง. แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณีย-

ธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้ไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน

พรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน

พรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุแบ่งปันลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรมได้มา

โดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์

ทั้งหลายผู้มีศีล แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย

เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือเป็นไปพร้อมเพื่อ

สมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้

ก็เป็นสาราณียธรรม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 536

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำ

ออกไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหม-

จรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สาราณียธรรม ๕ ประการนี้แล.

จบปฐมสาราณียสูตรที่ ๑

สาราณิยาทิวรรคที่ ๒

อรรถกถาปฐมสาราณียสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสาราณียสูตรที่ ๑ แห่งสาราณียาทิวรรค

ที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สาราณียา ได้แก่ ธรรมที่ควรให้ระลึกถึงกัน. บทว่า

เมตฺต กายกมฺม ได้แก่ กายกรรมที่พึงกระทำด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา.

แม้ในวจีกรรม และมโนกรรมทั้งหลาย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ก็แลเมตตากายกรรมเป็นต้นเหล่านี้ ตรัสไว้ ด้วยสามารถแห่งภิกษุ-

ทั้งหลาย. แม้คฤหัสถ์ทั้งหลาย ก็นำไปใช้ได้. อธิบายว่า สำหรับภิกษุทั้งหลาย

การบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตร ด้วยเมตตาจิตชื่อว่า เมตตากายกรรม.

สำหรับคฤหัสถ์ทั้งหลาย กรรมมีอาทิอย่างนี้ว่า การเดินทางไป เพื่อไหว้พระ-

เจดีย์ เพื่อไหว้โพธิพฤกษ์ เพื่อนิมนต์พระสงฆ์ การเห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้เข้า

ไปสู่บ้าน เพื่อบิณฑบาต แล้วลุกขึ้นต้อนรับ การรับบาตร การปูลาดอาสนะ

และการตามส่ง ชื่อว่า เมตตากายกรรม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 537

สำหรับภิกษุทั้งหลาย การบอกสอนอาจารบัญญัติ การบอกกรรม-

ฐาน การแสดงธรรม การบอกพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก (แก่

ภิกษุ สามเณร) ด้วยเมตตาจิต ชื่อว่า เมตตาวจีกรรม. สำหรับคฤหัสถ์

ทั้งหลาย ในเวลาที่กล่าวคำเป็นต้นว่า พวกเราจักไปเพื่อไหว้พระเจดีย์

พวกเราจักไปเพื่อไหว้โพธิพฤกษ์ พวกเราจักกระทำการฟังธรรม พวกเรา

จักกระทำการบูชาด้วยประทีป ระเบียบ และดอกไม้ พวกเราจักสมาทานซึ่ง

สุจริต ๓ พวกเราจักถวายสลากภัตรเป็นต้น พวกเราจักถวายผ้าจำนำพรรษา

วันนี้พวกเราจักถวายปัจจัย ๔ แก่พระสงฆ์ ท่านทั้งหลายจงนิมนต์พระสงฆ์แล้ว

จัดแจงของขบฉันเป็นต้น พวกท่านจงปูลาดอาสนะ พวกท่านจงตั้งน้ำดื่ม

พวกท่านจงต้อนรับนำพระสงฆ์มา พวกท่านจงให้พระสงฆ์นั่งบนอาสนะที่

ปูลาดแล้ว เกิดอุตสาหะ กระทำไวยาวัจกิจ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตาวจีกรรม.

สำหรับภิกษุทั้งหลาย การลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ กระทำการปฏิบัติสรีระก็ดี

กระทำวัตรที่ลานพระเจดีย์ เป็นต้นก็ดี นั่งบนอาสนะที่สงัดแล้วคิดว่า ภิกษุ

ทั้งหลายในวิหารนี้ จงมีความสุข ไม่มีเวร ไม่มีทุกข์ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตามโน-

กรรม. สำหรับคฤหัสถ์ทั้งหลาย การคิดว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงอยู่

เป็นสุข ไม่มีเวร ไม่มีทุกข์ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตามโนกรรม.

บทว่า อาวิ เจว รโห จ ความว่า ทั้งต่อหน้า และลับหลัง

ในสองอย่างนั้น การถึงความเป็นสหาย (การช่วยเหลือ) ในจีวรกรรมเป็นต้น

ของภิกษุใหม่ทั้งหลาย ชื่อว่า กายกรรมต่อหน้า. ส่วนวจีกรรมทุกอย่าง

แม้ต่างโดยการถวายน้ำล้างเท้าแก่พระเถระเป็นต้น ชื่อว่า กายกรรมต่อหน้า.

การช่วยเก็บงำ สิ่งของทั้งหลายมีฟืนเป็นต้น ที่ภิกษุใหม่และพระเถระ

ทั้งสองฝ่ายเก็บไว้ไม่เรียบร้อย ไม่ทำให้เสียหาย ในภัณฑะเหล่านั้น ดุจเก็บงำ

ของที่ตนเก็บไว้ไม่ดีให้เรียบร้อยฉะนั้น ชื่อว่า เมตตากายกรรมลับหลัง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 538

การกล่าวยกย่องอย่างนี้ว่า ท่านเทวเถระ ท่านติสสเถระ ดังนี้ ชื่อว่า

เมตตาวจีกรรมต่อหน้า. ก็และเมื่อจะสอบถามถึงพระเถระผู้ไม่อยู่ในวิหาร

การกล่าวคำน่ารักอย่างนี้ว่า ท่านเทวเถระของเราไปไหน ท่านติสสเถระ

ของเราไปไหน เมื่อไรจักมาหนอ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตาวจีกรรมลับหลัง.

ส่วนการลืมตา อันสนิทสนมด้วยสิเนหา มองดูด้วยใบหน้าอันแจ่มใส

ชื่อว่า เมตตามโนกรรมต่อหน้า. การมุ่งดี (เอาใจช่วย) ว่า ขอท่าน

เทวเถระ ท่านติสสเถระ จงไม่มีโรค ไม่มีอาพาธ ดังนี้ ชื่อว่า เมตตา-

มโนกรรมลับหลัง.

บทว่า ลาภา ได้แก่ ปัจจัยที่ได้มา มีจีวรเป็นต้น. บทว่า ธมฺมิกา

ได้แก่ ลาภที่เกิดขึ้นด้วยภิกขาจริยวัตรโดยธรรม สม่ำเสมอ โดยเว้นมิจฉา-

อาชีวะ ต่างโดยโกหก (หลอกลวง) เป็นต้น. บทว่า อนฺตมโส ปตฺต

ปริยาปนฺนมตฺตมฺปิ ความว่า โดยที่สุดแม้เพียงภิกษา ๒-๓ ทัพพี ที่เนื่อง

แล้วในบาตร คืออยู่ติดกันบาตร.

ในบทว่า อปฺปฏิวิภตฺตโภคี นี้ การแบ่งปันมี ๒ อย่าง คือ

การแบ่งปันอามิส ๑ การแบ่งปันบุคคล ๑. ในสองอย่างนั้น การแบ่งปัน

โดยคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้เท่านี้ ไม่ให้เท่านี้ ดังนี้ ชื่อว่า แบ่งปันอามิส.

การแบ่งปัน โดยคิดอย่างนี้ว่า เราจักให้แก่ภิกษุรูปโน้น ไม่ให้รูปโน้น ดังนี้

ชื่อว่า แบ่งปันบุคคล. ภิกษุผู้ไม่หวงลาภบริโภค โดยไม่กระทำทั้งสอง

อย่างนั้น ชื่อว่า อปฺปฏิวิภตฺตโภคี.

ลักษณะของผู้บริโภคร่วมกัน ในบทว่า สีลวนฺเตหิ สพฺรหฺมจารีหิ

สาธารณโภคี นี้ มีดังนี้ ภิกษุได้อาหารใด ๆ ที่ประณีต ไม่ยอมให้แก่คฤหัสถ์ทั้ง

หลายโดยมุ่งเอาลาภต่อลาภ (ทั้ง) ไม่บริโภคด้วยตนเอง และเมื่อจะรับ ก็รับด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 539

คิดว่า จงเป็นของสาธารณะกับหมู่สงฆ์ ย่อมเห็นเสมือนเป็นของสงฆ์ ที่จะต้อง

ตีระฆังให้มาบริโภคร่วมกัน. ถามว่า ก็ใครบำเพ็ญสาราณียธรรมนี้ให้บริบูรณ์ได้

ใครไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ? ตอบว่า ผู้ทุศีล ย่อมบำเพ็ญให้บริบูรณ์ไม่ได้ ก่อน

เพราะภิกษุผู้มีศีลทั้งหลาย จะไม่ยอมรับสิ่งของของผู้ทุศีลนั้น. ส่วนภิกษุผู้มีศีล

บริสุทธิ์ไม่ยอมให้วัตรด่างพร้อย ย่อมบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้. ในการบำเพ็ญ

สาราณียธรรมให้บริบูรณ์ได้นั้น มีธรรมเนียม ดังนี้.

ก็ภิกษุใดตั้งใจให้ของแก่มารดาก็ดี แก่บิดาก็ดี แก่อาจารย์และ

อุปัชฌาย์เป็นต้นก็ดี ภิกษุนั้น (ชื่อว่า) ย่อมให้สิ่งที่ควรให้ (แก่คนที่ควรให้)

แต่ไม่ชื่อว่า มีสาราณียธรรม มีแต่เพียงการปฏิบัติผู้ที่ควรห่วงใย. เพราะว่า

สาราณียธรรม ย่อมเหมาะแก่ผู้ที่พ้นจากปลิโพธิ (ความห่วงใย) แล้ว.

ก็ผู้ที่จะบำเพ็ญสาราณียธรรมนั้น เมื่อจะให้โดยเจาะจง ควรให้แก่ภิกษุไข้

ผู้พยาบาลภิกษุไข้ ภิกษุอาคันตุกะ และภิกษุผู้เตรียมตัวจะเดินทาง และภิกษุ

ผู้บวชใหม่ ยังไม่รู้การรับสังฆาฏิ และการรับบาตร ครั้นให้แก่ภิกษุเหล่านี้แล้ว

ยังมีของเหลือ นับจำเดิมแต่อาสนะแห่งพระเถระไป ภิกษุใดจะรับเท่าใด

ควรให้ภิกษุนั้น เท่านั้น โดยไม่ให้องค์ละเล็กละน้อย. เมื่อไม่มีของเหลือ

ออกไปบิณฑบาตอีก ควรให้ส่วนที่ประณีตนั้น ๆ จำเดิมแต่อาสนะแห่งพระ-

เถระไป (ตัวเอง) บริโภคส่วนที่เหลือ.

เพราะมีพระบาลีว่า สีลวนฺเตหิ ดังนี้ ถึงจะไม่ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลก็ควร.

ก็สาราณียธรรมนี้ บำเพ็ญได้ง่าย ในบริษัทที่ศึกษาดีแล้ว เพราะในหมู่บริษัท

ที่ศึกษาดีแล้ว ภิกษุใดได้ (อาหาร) มาจากที่อื่น ภิกษุนั้นจะไม่ยอมรับ

ถึงแม้จะไม่ได้มาจากที่อื่น ก็จะรับแต่พอประมาณเท่านั้น ไม่รับจนเหลือเพื่อ.

ก็สาราณียธรรมนี้ เมื่อภิกษุจะให้ของที่ตนไปบิณฑบาตได้มาบ่อย ๆ อย่างนี้

จะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้ ต้องใช้เวลา ๑๒ ปี ต่ำกว่านั้นบริบูรณ์ไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 540

เพราะถ้าเธอบำเพ็ญสาราณียธรรมในปีที่ ๑๒ วางบาตรที่เต็มด้วยอาหาร

ไว้บนอาสนศาลา แล้วไปอาบน้ำ และพระสังฆเถระ มาถามว่า นี่บาตร

ของใคร ? เมื่อเขาตอบว่า บาตรของผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม ก็จะกล่าว

ว่า จงนำเอาบาตรนั้นมา แล้วเลือกฉันบิณฑบาตนั้น จนหมดทุกอย่าง

ตั้งบาตรเปล่าไว้. ครั้นภิกษุนั้นมาเห็นบาตรเปล่า ก็จะเกิดโทมนัสว่า ภิกษุ

ทั้งหลายฉันเสียหมด ไม่เหลือไว้ให้เราเลย. สาราณียธรรมจะแตก ต้องบำเพ็ญ

ใหม่อีก ๑๒ ปี คล้ายกับติตถิยปริวาส. ภิกษุนั้น เมื่อสาราณียธรรมด่างพร้อย

คราวเดียว ต้องบำเพ็ญใหม่อีก. ส่วนภิกษุใด เกิดโสมนัสว่า เป็นลาภของ

เราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เพื่อนสพรหมจารี ไม่สอบถามถึงอาหารที่อยู่ใน

บาตรของเราแล้วฉัน ดังนี้. สาราณียธรรม ของภิกษุนั้น ชื่อว่า สมบูรณ์แล้ว.

ก็ภิกษุผู้มีสาราณียธรรมบริบูรณ์อย่างนี้ ย่อมไม่มีความริษยา ไม่มีความตระหนี่

ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย หาปัจจัยได้ง่าย

แม้ของที่เขาถวายแก่เธอผู้มีสาราณียธรรมสมบูรณ์ ย่อมไม่สิ้นไป. เธอย่อม

ได้สิ่งของมีค่า ในฐานะที่เธอจำแนกแจกสิ่งของ เมื่อประสบภัย หรือความ

หิวโหย เทวดาทั้งหลายย่อมช่วยเหลือ. ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็น

ตัวอย่าง.

เรื่องพระติสสเถระ

เล่ากันมาว่า พระติสสเถระ ชาวเลณคิรีวิหาร อยู่อาศัยบ้านชื่อ

ว่ามหาขีระ. พระมหาเถระ ๕๐ รูป เดินทางไปไหว้นาคทีปเจดีย์ เที่ยว-

บิณฑบาตในขีรคาม ไม่ได้อะไรเลย จึงพากันออกไป. พระติสสเถระเข้าไป

เห็นพระเถระเหล่านั้น จึงถามว่า ท่านขอรับ ท่านได้ (อาหาร) แล้วหรือ ?

พระเถระเหล่านั้นตอบว่า คุณพวกเราไปมาแล้ว. ท่านรู้ว่า พระเถระเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 541

ไม่ได้อาหาร จึงกล่าวว่า ท่านขอรับ ขอพวกท่านจงรออยู่ในที่นี้แหละ

จนกว่าผมจะกลับมา. พระเถระเหล่านั้นกล่าวว่า คุณ ! พวกเรามีถึง ๕๐ รูป

ยังไม่ได้แม้แต่เพียงน้ำล้างบาตร. ท่านพระติสสเถระกล่าวว่า ท่านขอรับ

ขึ้นชื่อว่าภิกษุผู้เป็นเจ้าของถิ่น ย่อมเป็นผู้สามารถ ถึงแม้จะไม่ได้ภิกษา ก็

ย่อมรู้ช่องทางภิกษาจาร. พระเถระทั้งหลายคอยอยู่แล้ว พระติสสเถระเข้าไปสู่

บ้านแล้ว มหาอุบาสิกา จัดขีรภัตร (ไว้คอยท่า) ในหมู่บ้านใกล้ ๆ นั่นเอง

ยืนมองดูพระเถระอยู่แล้ว พอพระเถระมาถึงประตูเท่านั้น ก็ถวายอาหาร

จนเต็มบาตร ท่านถือเอาบาตรนั้น ตรงไปยังสำนักของพระเถระทั้งหลาย

แล้วกล่าวกับพระสังฆเถระว่า นิมนต์รับเถิดขอรับ. พระเถระคิดว่า พวกเรา

จำนวนเท่านี้ ยังไม่ได้อะไรเลย ภิกษุรูปนี้ ถือเอาบาตรไป กลับมาเร็วแท้

นี้อะไรกันหนอ ดังนี้แล้ว มองหน้าพระเถระที่เหลือทั้งหลาย. พระติสสเถระ

รู้โดยอาการที่มองหน้านั่นแหละ กล่าวว่า ท่านขอรับ บิณฑบาต ผมได้มา

โดยชอบธรรม ขอท่านทั้งหลายอย่ารังเกียจเลย นิมนต์รับเถิด แล้วถวาย

บิณฑบาตแก่พระเถระทุกรูป พอแก่ความต้องการ ส่วนตนเองก็ฉันจนอิ่ม.

ครั้นในเวลาเสร็จภัตกิจ พระเถระทั้งหลายถามท่านว่า คุณ ! คุณ

บรรลุโลกุตรธรรมเมื่อไร ? ท่านตอบว่า ท่านขอรับ ผมยังไม่มีโลกุตรธรรม

พระเถระทั้งหลายถามว่า อาวุโส คุณได้ฌานหรือ ? ท่านตอบว่า ท่านขอรับ

ถึงฌานผมก็ยังไม่ได้. พระเถระทั้งหลายถามว่า หรือคุณมีปาฏิหาริย์ ? ท่าน

ตอบว่า ผมบำเพ็ญสาราณียธรรมขอรับ ตั้งแต่เวลาที่ผมบำเพ็ญสาราณียธรรม

บริบูรณ์แล้ว แม้หากจะมีภิกษุทั้ง ๑๐๐,๐๐๐ รูป อาหารที่อยู่ในบาตร

ก็ไม่หมดสิ้น. พระเถระเหล่านั้น กล่าวว่า สาธุ สาธุ ท่านสัตบุรุษ ข้อนี้

สมควรแก่ท่านแล้ว ดังนี้. เท่าที่เล่ามานี้เป็นตัวอย่างในข้อว่า อาหารที่อยู่ใน

บาตรไม่หมดสิ้นไปก่อน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 542

ก็พระติสสเถระองค์เดียวกันนี้แหละ ไปสู่ที่ถวายทาน เพื่อมหาบูชา

ในเจติยบรรพต ชื่อว่า คิริกัณฑะ แล้วถามว่า ในการให้ทานนี้ มีอะไรเป็น

ของประเสริฐที่สุด. คนทั้งหลายตอบว่า มีผ้าสาฏก ๒ ผืนขอรับ. พระเถระ

กล่าวว่า ผ้าสาฏกคู่นี้จักถึงแก่เรา อำมาตย์ได้ยินคำนั้นแล้วไปกราบทูลพระราชา

ว่าภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งกล่าวอย่างนี้. พระราชาตรัสว่า ภิกษุหนุ่มมีความคิดอย่าง

นี้ (แต่) ผ้าสาฏกเนื้อละเอียดเหมาะแก่พระมหาเถระทั้งหลาย แล้วทรงวางคู่

ผ้าสาฏกด้วยทรงดำริว่า เราจักถวายแก่พระมหาเถระทั้งหลาย. เมื่อท้าวเธอ

ถวาย (ผ้า) ในภิกษุสงฆ์ผู้ยืนอยู่ตามลำดับ ผ้าสาฏกที่วางไว้บนก็ไม่ติดพระ-

หัตถ์ ผ้าผืนอื่นกลับติดพระหัตถ์ แต่ในเวลาทรงถวายแก่ภิกษุหนุ่ม ผ้าสาฏก

ทั้งสองผืนนั้น กลับติดพระหัตถ์ ท้าวเธอทรงวางไว้บนมือของภิกษุหนุ่มแล้ว

ทรงมองดูหน้าอำมาตย์ นิมนต์ให้ภิกษุหนุ่มนั่ง ถวายทาน ทรงละภิกษุสงฆ์

แล้ว ประทับในสำนักของภิกษุหนุ่ม ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณท่าน

บรรลุธรรมนี้ เมื่อไร ? เธอไม่ทูลคุณธรรมที่ไม่มีอยู่โดยอ้อมค้อม แต่กลับ

ทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร โลกุตรธรรมของอาตมภาพไม่มี. พระ-

ราชาตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนพระคุณเจ้าก็ได้พูดไว้แล้วมิใช่

หรือ ? ภิกษุหนุ่มตอบว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ถูกแล้ว อาตมภาพ

บำเพ็ญสาราณียธรรม เริ่มแต่เวลาที่อาตมภาพบำเพ็ญสาราณียธรรมบริบูรณ์

แล้ว ในที่ที่เขาแจกสิ่งของ (ทุกแห่ง) ของมีค่ามากจะตก (แก่อาตมภาพ).

พระราชตรัสว่า สาธุ สาธุ พระคุณเจ้า ผ้าสาฏกคู่นี้สมควรแก่พระคุณเจ้า

แล้ว เสด็จหลีกไป. เรื่องที่เล่ามานี้ เป็นตัวอย่างในข้อว่า ในที่ที่เขาแจก

ของกัน ของมีค่าจะตก ( แก่ผู้บำเพ็ญสาราณียธรรม).

ก็ชาวบ้านผู้อาศัยอยู่ในภารตคาม ไม่ทันได้บอกกล่าวแก่พระนาคเถรี

รีบหนีไป ในเพราะพรหมติสสภัย. ในวันรุ่งขึ้น พระเถรีพูดกับภิกษุสาว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 543

ชื่อว่าจัณฑาลติสสะว่า บ้านเงียบเหลือเกิน เธอทั้งหลายจงไปตรวจสอบดูก่อน

ภิกษุณีสาวเหล่านั้นไปแล้ว รู้ข้อที่คนทั้งปวงหนีไป จึงกลับมาบอกแก่

พระเถรี. พระเถรีฟังแล้วจึงพูดว่า พวกเธออย่าคิดถึงข้อที่คนเหล่านั้นหนีไป

เลย จงทำความเพียรในอุเทศ การสอบถาม และโยนิโสมนสิการของตนไว้

เถิด ดังนี้แล้ว ในเวลาภิกขาจาร ห่มจีวรแล้ว (รวม) ๑๒ รูปทั้งตัวเอง

ได้พากันไปยืนอยู่ที่โคนต้นไทร ใกล้ประตูบ้าน. เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้ ได้

ถวายบิณฑบาตแก่ภิกษุทั้ง ๑๒ รูป แล้วกล่าวว่า ข้าแต่คุณแม้เจ้า ขอท่าน

อย่าไปที่อื่นเลย นิมนต์มาที่นี้แห่งเดียวเป็นประจำ. ก็ (ในที่นั้น ) มีพระ

เถระองค์หนึ่ง นามว่า นาคะ เป็นน้องชายของพระเถรี. ท่านคิดว่า

ภัยใหญ่ (เหลือเกิน) เราไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ เราจักไปฝั่งโน้น

รวมเป็น ๑๒ รูปทั้งตัวท่านเองออกจากที่อยู่ของตน ๆ มาสู่ภารตคามด้วยคิด

ว่า เราจักไปเยี่ยมพระเถรี. พระเถรีได้ทราบว่า พระเถระมา จึงไปยังสำนัก

ของพระเถระเหล่านั้น เเล้วถามว่า มีเรื่องอะไรหรือ พระคุณเจ้า ? พระ

เถระแจ้งพฤติการณ์นั้นแล้ว. พระเถรีพูดว่า วันนี้ นิมนต์ที่พวกท่านอยู่ใน

วิหารนี้ (สัก) วันหนึ่ง รุ่งขึ้นค่อยไป. พระเถระทั้งหลาย ได้ไปยังวิหารแล้ว.

ในวันรุ่งขึ้น พระเถรีไปบิณฑบาตที่ควงไม้ แล้วเข้าไปหาพระเถระ

พูดว่า นิมนต์พวกท่านฉันบิณฑบาตนี้. พระเถระไม่พูดว่า จักสมควร ดังนี้

แล้วยืนนิ่งเสีย. พระเถรีกล่าวว่า พระคุณท่าน บิณฑบาตนี้เป็นของชอบ

ธรรม ขอท่านทั้งหลายอย่ารังเกียจเลย จงฉันเถิด ดังนี้. พระเถระกล่าวว่า

จะเหมาะหรือพระเถรี ? พระเถรีนั้นหยิบบาตร (ของพระเถระ) แล้วโยนไปใน

อากาศ. บาตรได้ลอยอยู่บนอากาศ. เพราะเถระกล่าวว่า ดูก่อนพระเถรี ภัตที่

ลอยอยู่บนอากาศสูง ๗ ชั่วลำตาล เป็นภัตตาหารสำหรับภิกษุณีเท่านั้น ดังนี้

แล้ว กล่าวต่อไปว่า ขึ้นชื่อว่าภัย จะไม่มีอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เมื่อภัยสงบแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 544

เราผู้กล่าวอริยวงศ์ ถูกจิตกล่าวเตือนอยู่เนือง ๆ ว่า ท่านผู้ถือบิณฑบาตเป็น

วัตรผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจะฉันภัตตาหารของภิกษุณี แล้วปล่อยให้เวลาล่วง

ไปหรือดังนี้ จักไม่สามารถจะอยู่ต่อไปได้ ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย ขอท่าน

ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด.

ฝ่ายรุกขเทวดาก็คิดว่า ถ้าพระเถระจักฉันบิณฑบาตจากมือของพระ

เถรีแล้วไซร้ เราจักไม่ให้ท่านกลับ ถ้าไม่ฉัน เราจักให้ท่านกลับ ยืนดูการ

เดินไปของพระเถระ แล้วลงจากต้นไม้ กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณ

เจ้าจงให้บาตรแก่ข้าพเจ้า แล้วรับบาตร นำพระเถระไปยังควงไม้นั่นแหละ ปู

อาสนะ ถวายบิณฑบาต ให้พระเถระที่เสร็จภัตกิจแล้ว กระทำปฏิญญา

(รับคำ) บำรุงทั้งภิกษุณี ๒ รูป ทั้งภิกษุ ๑๒ รูป อยู่เป็นเวลาถึง ๗ ปี.

นี้เป็นตัวอย่างในข้อว่า เทวดาทั้งหลาย ย่อมขวนขวาย. เพราะในเรื่อง

(ที่เป็นตัวอย่าง) นั้น พระเถรีได้บำเพ็ญสาราณียธรรมมาจนครบบริบูรณ์.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อขณฺฑานิ เป็นต้น ดังต่อไปนี้

บรรดากองอาบัติทั้ง ๗ กอง ผู้ใดมีสิกขาบทขาดในตอนปลาย หรือ

ตอนต้น ศีลของผู้นั้นชื่อว่าขาด เหมือนผ้าขาดที่ชาย ส่วนผู้ใดมีสิกขาบท

ขาดที่ท่ามกลาง ศีลของผู้นั้น ชื่อว่า ทะลุ เหมือนผ้าที่ทะลุ (ตรงกลาง)

ผู้ใดมีสิกขาบท ๒-๓ สิกขาบทขาดตามลำดับ ศีลของผู้นั้น ชื่อว่า ด่าง

เหมือนแม่โคมีสีดำสีแดงเป็นต้น สีใดสีหนึ่ง โดยมีสีตัดกันปรากฏที่หลังหรือ

ที่ท้อง. ผู้ใดมีสิกขาบทขาดในระหว่าง ๆ ศีลของผู้นั้น ชื่อว่า พร้อย

เหมือนแม่โคที่มีจุดแพรวพราว สลับกันในระว่าง ๆ. ส่วนผู้ใดมีสิกขาบททั้ง

หมดไม่ขาดเลย ผู้นั้น ชื่อว่ามีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย. แต่ว่า

สิกขาบทเหล่านี้นั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่า ภุชิสฺส (เป็นไท) เพราะกระทำ

ความเป็นไท โดยพ้นจากความเป็นทาสของตัณหา. ชื่อว่า วิญญูปสัตถะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 545

(อันวิญญูชนสรรเสริญ) เพราะวิญญูชนทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรง

สรรเสริญ. ชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะตัณหาและทิฏฐิ ไม่ลูบคลำ

(ไม่เกาะเกี่ยว) และเพราะใคร ๆ ไม่สามารถปรามาสได้ว่า ท่านเคยต้องอาบัติ

ชื่อนี้มา และท่านเรียกว่า ชื่อว่า สมาธิสังวัตตนิกา เพราะยังอุปจารสมาธิ

หรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไป.

บทว่า สีลสามญฺคโต วิหรติ ความว่า เป็นผู้มีปกติเข้าถึง

ความเป็นผู้เสมอกันด้วยภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ในทิศาภาคเหล่านั้น ๆ อยู่. เพราะ

ว่า ศีลของพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมเป็นศีลเสมอกันด้วยศีลของพระอริยะ

เหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ผู้อยู่ในระหว่างแห่งมหาสมุทรบ้าง ในเทว-

โลกนั่นแหละบ้าง เพราะฉะนั้นในมรรคศีล (ศีลในองค์มรรค) จึงไม่มีความ

แตกต่างกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า สีลสามญฺคโต วิหรติ นี้ไว้

โดยทรงหมายเอา ศีลของพระโสดาบันเป็นต้นนั้น.

บทว่า ยาย ทิฏฺิ ได้แก่สัมมาทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยมรรค. บทว่า

อริยา คือไม่มีโทษ. ทิฏฐิ ชื่อว่า นิยยานิกา เพราะเป็นเหตุนำสัตว์ออก

ไปจากภพ. บทว่า ตกฺกรสฺส ความว่า ได้แก่ ผู้ที่ทำอย่างนั้น. บทว่า

ทุกฺขกฺขยาย ความว่า เพื่อสิ้นสรรพทุกข์. บทว่า ทิฏฺิสามญฺคโต

ความว่า เป็นผู้เข้าถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิเสมอกันอยู่.

จบอรรถกถาปฐมสาราณียสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 546

๒. ทุติยสาราณียสูตร

ว่าด้วยสาราณียธรรม ๖ ประการ

[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่ง

การให้ระลึกถึง กระทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความ

สงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม

ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้

ธรรมข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งการระลึกถึงกัน กระทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ

ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อม-

เพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อน

พรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง. . .

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าไปตั้งมโนกรรมที่ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อน

พรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง. . .

อีกประการหนึ่ง ภิกษุแบ่งปันลาภทั้งหลายที่ประกอบด้วยธรรมได้มา

โดยธรรม แม้โดยที่สุดบิณฑบาต ย่อมบริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจรรย์

ทั้งหลายผู้มีศีล. . .

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย

เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิไม่ยึดถือ เป็นไปเพื่อสมาธิ

เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง. . .

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 547

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีทิฏฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก นำออกไป

เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย

ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ธรรมข้อนี้ก็เป็นที่ตั้งแห่งการระลึกถึงกัน กระทำ

ให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน เพื่อความ

ไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นที่ตั้งแห่งการระลึก

ถึงกัน กระทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กัน

เพื่อความไม่วิวาทกัน เพื่อความพร้อมเพรียงอันหนึ่งอันเดียวกัน.

จบทุติยสาราณียสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยสาราณียสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสาราณียสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

สาราณียธรรม ชื่อว่า ปิยกรณา เพราะกระทำผู้ที่บำเพ็ญธรรม

เหล่านั้นให้บริบูรณ์ ให้เป็นที่รัก ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย. ชื่อว่า ครุกรณา

เพราะกระทำให้เป็นผู้น่าเคารพ. บทว่า สงฺคหาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์

แก่การสงเคราะห์. บทว่า อวิวาทาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การไม่ทำการ

วิวาทกัน. บทว่า สามคฺคิยา ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความสามัคคี. บทว่า

เอกีภาวาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นอันเดียวกัน. บทว่า สวตฺตนฺติ

ได้แก่ ย่อมเป็นไป คือเป็นไปทั่ว.

จบอรรถกถาทุติยสาราณียสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 548

๓. เมตตาสูตร*

ว่าด้วยธาตุเครื่องสลัดออก ๕ ประการ

[๒๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นเครื่องสลัดออก ๖ ประการนี้

๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมตตา-

เจโตวิมุตติ ข้าพเจ้าเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้

เป็นที่ตั้ง ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าพยาบาทยังครอบงำ

จิตของข้าพเจ้าอยู่ เธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุอย่าได้

กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าไม่ดี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้ ดูก่อนอาวุโส

ข้อนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันภิกษุเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว

ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่า พยาบาทจักครอบงำจิตของเธออยู่ เพราะฉะนั้น

ข้อนั้นจึงไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เพราะเมตตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออก

ซึ่งพยาบาท.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า กรุณา-

เจโตวิมุตติ ข้าพเจ้าเจริญแล้ว. . . ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าวิหิงสายังครอบงำจิต

ของข้าพเจ้าอยู่ เธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุอย่าได้

กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าไม่ดี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้ ดูก่อนอาวุโส ข้อนั้น

มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ เมื่อกรุณาเจโตวิมุตติ อันภิกษุเจริญแล้ว. . .

ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าวิหิงสาจักครอบงำจิตของเธออยู่ เพราะฉะนั้น ข้อนั้น

จึงไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เพราะกรุณาเจโตวิมุตติเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิหิงสา

* พม่าเป็น นิสสารณียสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 549

อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า มุติคาเจโต-

วิมุตติ ข้าพเจ้าเจริญแล้ว. . . ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าอรติ (ความไม่ยินดีด้วย)

ยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่ เธออันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า

ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการ

กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้

ดูก่อนอาวุโส ข้อนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ เมื่อมุทิตาเจโตวิมุตติ

อันภิกษุเจริญแล้ว. . .ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าอรติจักครอบงำจิตของเธออยู่

เพราะฉะนั้น ข้อนั้นจึงไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เพราะมุทิตาเจโตวิมุตตินี้ เป็น

เครื่องสลัดออกซึ่งอรติ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อุเบกขา-

เจโตวิมุตติ ข้าพเจ้าเจริญแล้ว. . .ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าราคะยังครอบงำจิต

ของข้าพเจ้าอยู่ เธออันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุอย่าได้

กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าไม่ดี เพทะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้ ดูก่อนอาวุโส ข้อนั้น

มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ เมื่ออุเบกขาเจโตวิมุตติ อันภิกษุเจริญแล้ว. . .

ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่า ราคะจักครอบงำของเธออยู่ เพราะฉะนั้น ข้อนั้น

จึงไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เพราะอุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่ง

ราคะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อนิมิตตา-

เจโตวิมุตติ (เจโตวิมุตติไม่มีนิมิต ) ข้าพเจ้าเจริญแล้ว. . . ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่า

วิญญาณของข้าพเจ้ายังแส่หานิมิตอยู่ เธออันภิกษุทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า

ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการ

กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 550

ดูก่อนอาวุโส ข้อนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ เมื่ออนิมิตตาเจโตวิมุตติ

อันภิกษุเจริญแล้ว. . .ปรารภดีแล้ว ก็แต่ว่าวิญญาณของเธอจักแส่หานิมิตอยู่

เพราะฉะนั้น ข้อนั้นจึงไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เพราะอนิมิตตาเจโตวิมุตตินี้

เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งนิมิตทั้งปวง.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่าอัสมิมานะ

ของข้าพเจ้าหมดไปแล้ว และข้าพเจ้าย่อมไม่ตามเห็นว่านี่เป็นเรา ก็แต่ว่า

ลูกศรคือ ความสงสัยเคลือบแคลงยังครอบงำจิตของข้าพเจ้าอยู่ เธออันภิกษุ

ทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดี เพราะพระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้ ดูก่อนอาวุโส ข้อนั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คือ

เมื่ออัสมิมานะของภิกษุหมดไปแล้ว และเมื่อภิกษุไม่ตามเห็นอยู่ว่านี้เป็นเรา

ก็แต่ว่า ลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลงจักครอบงำจิตของเธออยู่ เพราะ

ฉะนั้น ข้อนั้นจึงไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เพราะอรหัตมรรคที่ถอนอัสมิมานะ

ได้แล้วนี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นเครื่องสลัดออก ๖ ประการนี้แล.

จบเมตตาสูตรที่ ๓

อรรถกถาเมตตาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเมตตาสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า นิสฺสาราณียา ธาตุโย ได้แก่ ธาตุที่เป็นทางออกไป.

ในบทว่า เมตฺตา หิ โข เม เจโตวิมุตติ นี้ มีอธิบายว่า เมตตานั่นแหละ

ที่เป็นไปในฌาน หมวด ๓ หรือ หมวด ๔ ชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุตติ

เพราะหลุดพ้นจากธรรมที่เป็นข้าศึกทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 551

บทว่า ภาวิตา คือให้เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตา คือ กระทำ

แล้วบ่อย ๆ. บทว่า ยานีกตา ทำให้เป็นเช่นกับยานที่เทียมแล้ว.

บทว่า วตฺถุกตา คือ ทำให้เป็นที่ตั้ง. บทว่า อนุฏฺิตา คือ ตั้งมั่นแล้ว.

บทว่า ปริจิตา ความว่า ก่อตั้ง คือสั่งสม ได้แก่ อบรมแล้วโดยชอบ.

บทว่า สุสมารทฺธา ได้แก่ ปรารภด้วยดี โดยกระทำให้ช่ำชองคล่องแคล่ว

เป็นอย่างดี. บทว่า ปริยาทาย ติฏฺติ ได้แก่ ยึด คือ ถือไว้ ดำรงอยู่.

บทว่า มา เหวนฺติสฺส วจนีโย ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุนั้น พยากรณ์

ข้อพยากรณ์ที่ไม่เป็นจริง ฉะนั้น เธอจึงถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า เธออย่าพูด

อย่างนี้.

บทว่า ยทิท เมตฺตาเจโตวิมุตฺติ ได้แก่ เมตตาเจโตวิมุตติ นี้ใด

คำว่า เมตตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นทางออกไปแห่งพยาบาท อธิบายว่า เป็นการ

สลัดพยาบาทออกไป. ก็ผู้ใดออกจากฌานหมวด ๓ หมวด ๔ ด้วยเมตตา

(ภาวนา) แล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย บรรลุมรรคที่ ๓ รู้ว่า พยาบาท

จะไม่มีอีกดังนี้ ย่อมเห็นพระนิพพานด้วยตติยผล จิตของผู้นั้น เป็นทางออก

ไปโดยส่วนเดียวแห่งพยาบาท. ในทุก ๆ บท พึงทรามอธิบาย โดยอุบายนี้.

บทว่า อนิมิตฺตาเจโตวิมุตฺติ ได้แก่ วิปัสสนาที่มีกำลังส่วนอาจารย์

ผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกายกล่าวว่า ได้แก่สมาบัติที่สัมปยุตด้วยอรหัตผล. อรหัต-

ผลสมาบัตินั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า หานิมิตมิได้ เพราะไม่มีเครื่อง-

หมาย คือ ราคะเป็นต้น เครื่องหมายคือรูปเป็นต้น และเครื่องหมายว่าเที่ยง

เป็นต้น.

บทว่า นิมิตฺตานุสารี ได้แก่ มีการตามระลึกถึงนิมิต. มีประเภท

ดังกล่าวแล้ว เป็นสภาพ. บทว่า อสฺมิ ได้แก่ อัสมิมานะ. บทว่า อยมหมสฺมิ

ความว่า เราชื่อว่าเป็นสิ่งนี้ (อัตตา) ในขันธ์ ๕. ด้วยคำเพียงเท่านี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 552

ชื่อว่าเป็นอันพยากรณ์อรหัตผลแล้ว. บทว่า วิจิกิจฺฉากถกถาสลฺล ได้แก่

ลูกศรคือความสงสัยเคลือบแคลง.

บทว่า มา เทวนฺติสฺส วจนีโย ความว่า ถ้าว่าวิจิกิจฉา

ที่ปฐมมรรคจะพึงฆ่า เกิดขึ้นแก่ท่านไซร้ การพยากรณ์อรหัตผล ย่อมผิดพลาด

เพราะฉะนั้น ท่านต้องถูกห้ามว่า อย่าพูดเรื่องไม่จริง.

บทว่า อสฺมีติ มานสมุคฺฆาโต ได้แก่ อรหัตมรรค. อธิบายว่า

เมื่อเห็นพระนิพพานด้วยอรหัตมรรคแล้ว อัสมิมานะย่อมไม่มีอีก เพราะฉะนั้น

อรหัตมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ถอนขึ้นได้ซึ่งมานะว่าเรามี.

ในพระสูตรนี้ ตรัสให้ชื่อว่า อภูตพยากรณ์ (พยากรณ์เรื่องไม่จริง)

ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

จบอรรถกถาเมตตาสูตรที่ ๓

๔. ภัททกสูตร

ว่าด้วยการอยู่ที่เจริญและไม่เจริญ

[๒๘๕] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระ

สารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการ

ที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ ก็ภิกษุ

ย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่

เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ เป็นอย่างไร ? คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 553

ชอบการงาน (นวกรรม) ยินดีการงาน ขวนขวายความเป็นผู้ชอบการงาน

ชอบการคุย ยินดีการคุย ขวนขวายความเป็นผู้ชอบการคุย ชอบความหลับ

ยินดีความหลับ ขวนขวายความชอบความหลับ ชอบความคลุกคลีหมู่คณะ

ยินดีความคลุกคลีหมู่คณะ ขวนขวายความเป็นผู้ชอบคลุกคลีหมู่คณะ ชอบ

ความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ยินดีความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ขวนขวายความชอบ

ความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุ

ให้เนิ่นช้า ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อสำเร็จการอยู่ ย่อมไม่มีความตายที่

เจริญ ตายแล้วก็ไม่เจริญ อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีสักกายะ (เตภูมิกวัฏ)

ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอ

สำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่

โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ ตายแล้วก็เจริญ

เป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน

ไม่ขวนขวายความชอบการงาน ไม่ชอบการคุย ไม่ยินดีการคุย ไม่ขวนขวาย

ความชอบการคุย ไม่ชอบความหลับ ไม่ยินดีความหลับ ไม่ขวนขวายความ

ชอบความหลับ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่ยินดีความคลุกคลีหมู่

คณะ ไม่ขวนขวายความชอบความคลุกคลีหมู่คณะ ไม่ชอบความคลุกคลีด้วย

คฤหัสถ์ ไม่ยินดีความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ขวนขวายความชอบคลุกคลีด้วย

คฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ

ย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ย่อมมีความตายที่เจริญ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 554

ตายแล้วก็เจริญ อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะเพื่อ

ทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.

ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้

กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่น-

ช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เช่น

ดังมฤค ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษม

จากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ส่วนผู้

ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีใน

บทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้นั้น

ย่อมได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หา

ธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาภัททกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภัททกสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า น ภทฺทก ความว่า ไม่ได้. อธิบายว่า ในสองอย่างนั้นผู้

ใดกลัวมากแล้ว ตาย ผู้นั้นชื่อว่า ตายไม่ดี. (ส่วน) ผู้ใด ถือปฏิสนธิในอบาย

ผู้นั้น (ชื่อว่า) มีกาลกิริยาไม่ดี.

ในบทมีอาทิว่า กมฺมาราโม ดังนี้ สิ่งที่มายินดีชื่อว่า อารามะ

อธิบายว่า ได้แก่ความยินดียิ่ง. บุคคล ชื่อว่า กมฺมาราโม เพราะมีความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 555

ยินดีในนวกรรม มีการสร้างวิหารเป็นต้น. ชื่อว่า กมฺมรโต เพราะยินดีใน

กรรมนั้น ๆ นั่นแหละ ชื่อว่า อนุยุตฺโต เพราะประกอบความที่เป็นผู้มีกรรม

เป็นที่มายินดีนั่นแหละบ่อย ๆ . ในบททั้งปวง ก็มีนัย นี้.

ก็การพูดคุยกัน (เรื่องหญิงเรื่องชาย) ชื่อว่า ภัสสะ ในที่นี้.

บทว่า นิทฺทา ได้แก่ความหลับ. บทว่า สงฺคณิกา ได้แก่ เป็นผู้คลุกคลี

ด้วยหมู่ การคลุกคลีด้วยหมู่นั้น พึงทราบโดยนัยมีอาทิว่า เมื่อมีคนเดียวก็

เพิ่มเป็นสอง เมื่อมีสองคน ก็มีคนที่สาม. บทว่า สสคฺโค ได้แก่ความ

เป็นผู้เกี่ยวข้องกัน อันเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งการเกี่ยวเนื่องกัน ด้วย

การฟัง การเห็น การเจรจา การร่วมกันและการเกี่ยวเนื่องกันทางกาย.

บทว่า ปปญฺโจ ได้แก่ธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือกิเลส อันเป็นไป

แล้วด้วยสามารถแห่งตัณหา ทิฏฐิ และมานะ อันดำรงอยู่ด้วยอาการมึนเมา.

บทว่า สกฺกาย ได้แก่วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า สมฺมาทุกฺขสฺส

อนฺตกิริยาย ความว่า เพื่อกระทำการตัดขาดทางแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้นโดยเหตุ

โดยนัย. บทว่า มโค ได้แก่เช่น มฤค. บทว่า นิปฺปปญฺจปเท ได้แก่

ในธรรมเครื่องถึงซึ่งพระนิพพาน. บทว่า อาธารยิ ความว่า ให้บริบูรณ์

ได้แก่ ยังวัตรปฏิบัตินั้น ให้ถึงพร้อม.

จบอรรถกถาภัททกสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 556

๕. อนุตัปปิยสูตร

ว่าด้วยการอยู่ที่ทำให้เดือดร้อนและไม่เดือดร้อน

[๒๘๖] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการ

อยู่ ตายแล้วย่อมเดือดร้อน ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เธอสำเร็จ

การอยู่ ตายแล้วย่อมเดือดร้อนเป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ชอบการงาน ยินดีการงาน ขวนขวายความชอบการงาน ชอบการคุย. . .

ชอบความหลับ. . . ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ. . . ชอบความคลุกคลี

ด้วยคฤหัสถ์. . . ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมเดือด

ร้อนอย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีสักกายะ ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์

โดยชอบ.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอ

สำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการ

ที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน เป็นอย่างไร ? คือ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน ไม่ขวนขวายความชอบ

การงาน ไม่ชอบการคุย. . . ไม่ชอบความหลับ . . . ไม่ชอบความคลุกคลี

ด้วยหมู่คณะ. . . ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุ

ให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 557

เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการ

ที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า

ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.

ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าว

คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่น-

ช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนินช้า เช่นดัง

มฤค ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษม

จากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ส่วน

ผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนินช้า ยินดีใน

บทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้นั้น

ย่อมได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หา

ธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.

จบอนุตัปปิยสูตรที่ ๕

อรรถกถาอนุตัปปิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนุตัปปิยสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุตปฺปา ความว่า ต้องโศกเศร้าในภายหลัง คือทำความ

เดือดร้อนให้ในภายหลัง. ในพระสูตรแม้ทั้งสองเหล่านี้ก็ดี ในคาถาทั้งหลายก็ดี

พระสารีบุตรกล่าวไว้ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถาอนุตัปปิยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 558

๖. นกุลสูตร

ว่าด้วยคำเตือนของนกุลมารดาคฤหปตานี

[๒๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าเภสกาลามิค-

ทายวัน ใกล้นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ สมัยนั้น นกุลบิดาคฤหบดีอาพาธ

มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น นกุลมารดาคฤหปตานีได้กล่าวเตือนนกุลบิดา

คฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย

เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ทรงติเตียน ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะพึงมีความห่วงใยอย่างนี้ว่า เมื่อเราล่วง

ไปแล้ว นกุลมารดาคฤหปตานี จักไม่สามารถเลี้ยงทารกดำรงการอยู่ครองเรือน

ไว้ได้ แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะดิฉันเป็นคนฉลาดปันฝ้าย

ทำขนสัตว์ เมื่อท่านล่วงไปแล้ว ดิฉันย่อมสามารถเลี้ยงทารก ดำรงการอยู่

ครองเรือนไว้ได้ เพราะฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย

เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ทรงติเตียน.

ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านจะพึงมีความห่วงใยอย่างนี้ว่า เมื่อเราล่วงไปแล้ว

นกุลมารดาคฤหปตานี จักได้คนอื่นเป็นสามี แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้

ทั้งท่านทั้งดิฉันย่อมรู้ว่า ได้อยู่ร่วมกันมาอย่างเคร่งครัดต่อระเบียบประเพณี

ตลอด ๑๖ ปี เพราะฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย

เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงติเตียน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 559

ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านจะพึงมีความห่วงไยอย่างนี้ว่า เมื่อเราล่วงไปแล้ว

นกุลมารดาคฤหปตานี จักไม่ต้องการเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ต้องการเห็น

พระภิกษุสงฆ์ แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะดิฉันต้องการเห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างยิ่ง และต้องการเห็นพระภิกษุสงฆ์อย่างยิ่ง เพราะ-

ฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย เพราะการกระทำกาละ

ของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงติเตียน.

ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านจะพึงมีความห่วงใยอย่างนี้ว่า เมื่อเราล่วงไปแล้ว

นกุลมารดาคฤหปตานี จักไม่เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล แต่ข้อนั้นท่านไม่พึง

เห็นอย่างนี้ เพราะบรรดาสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ที่ยังเป็น

คฤหัสถ์ นุ่งห่มผ้าขาว กระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีประมาณเท่าใด ดิฉันก็เป็น

คนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใดพึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง

ขอผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้า ทูลพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ซึ่งกำลังประทับอยู่ที่ป่าเภสกาลามิคทายวัน ใกล้นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ

แล้วจงทูลถามเถิด เพราะฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย

เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ทรงติเตียน.

ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านจะพึงมีความห่วงใยอย่างนี้ว่า นกุลมารดา-

คฤหปตานี จักไม่ได้ความสงบใจ ณ ภายใน แต่ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้

เพราะพวกสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่ม

ผ้าขาว ได้ความสงบใจ ณ ภายใน มีประมาณเท่าใด ดิฉันเป็นคนหนึ่งใน

จำนวนสาวิกานั้น ก็ผู้ใดพึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง ขอผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งกำลังประทับอยู่ที่

ป่าเภสกาลามิคทายวัน ใกล้นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ แล้วจงทูลถามเถิด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 560

เพราะฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย เพราะการกระทำ

กาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงติเตียน.

ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านจะพึงมีความห่วงใยอย่างนี้ว่า นกุลมารดา-

คฤหปตานียังไม่ถึงการหยั่งลง ยังไม่ถึงที่พึง ยังไม่ถึงความเบาใจ ยังไม่ข้ามพ้น

ความสงสัย ยังไม่ปราศจากความเคลือบแคลง ยังไม่ถึงความแกล้วกล้า

ในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หมดความเชื่อถือต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา แต่

ข้อนั้นท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะพวกสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ถึงการหยั่งลง ได้ถึงที่พึ่ง ถึงความเบาใจ

ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ในธรรม-

วินัยนี้ ไม่มีความเชื่อถือต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา มีประมาณเท่าใด

ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ก็ผู้ใดพึงมีความสงสัยหรือเคลือบ-

แคลง ขอผู้นั้นจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ซึ่งประทับอยู่ที่ป่าเภสกาลามิคทายวัน ใกล้นครสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ

แล้วจงทูลถามเถิด เพราะฉะนั้น ท่านอย่าเป็นผู้มีความห่วงใยกระทำกาละเลย

เพราะการกระทำกาละของผู้มีความห่วงใยเป็นทุกข์ และพระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ทรงติเตียน.

ครั้งนั้นแล เมื่อนกุลบิดาคฤหบดีอันนกุลมารดาคฤหปตานีกล่าวเตือน

นี้ ความเจ็บป่วยนั้นได้สงบระงับโดยพลัน และนกุลบิดาคฤหบดีได้หายจากการ

เจ็บป่วยนั้น ก็และการเจ็บป่วยนั้น อันนกุลบิดาคฤหบดีละได้แล้วโดยประการ

นั้น ครั้งนั้นนกุลบิดาคฤหบดีพอหายจากการเจ็บป่วยไม่นาน ถือไม้เท้าเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะนกุลบิดาคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี

เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่นกุลมารดาคฤหปตานีเป็นผู้อนุเคราะห์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 561

หวังประโยชน์ กล่าวเตือนพร่ำสอนท่าน ดูก่อนคฤหบดี พวกสาวิกาของเรา

ที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว กระทำให้บริบูรณ์ในศีล มีประมาณเท่าใด

นกุลมารดาคฤหปตานีก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น พวกสาวิกา

ของเราที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ความสงบใจ ภายใน มีประมาณ

เท่าใด นกุลมารดาคฤหปตานีก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น พวก

สาวิกาของเราที่ยังเป็นคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว ได้ถึงการหยั่งลงถึงที่พึ่ง ถึงความ

เบาใจ ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า

ในธรรมวินัยนี้ ไม่มีความเชื่อถือต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา มีประมาณ

เท่าใด นกุลมารดาคฤหปตานีก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนสาวิกาเหล่านั้น ดูก่อน

คฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่นกุลมารดาคฤหปตานีเป็นผู้อนุ-

เคราะห์หวังประโยชน์ กล่าวเตือนสั่งสอนท่าน.

จบนกุลสูตรที่ ๖

อรรถกถานกุลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พาฬฺหคิลาโน แปลว่า เป็นไข้หนักมาก. บทว่า เอตทโวจ

ความว่า คหปตานี ผู้เป็นนกุลมารดา เมื่อไม่สามารถจะจัดยาระงับพยาธิของ

สามีได้ บัดนี้เมื่อจะระงับพยาธิ โดยการบันลือสีหนาท ทำสัจกิริยา จึงนั่ง

ใกล้สามี แล้วกล่าวคำนี้มีอาทิว่า มา โข ติว (ท่านอย่ากังวลเลย) ดังนี้.

บทว่า สาเปกฺโข ได้แก่ ยังมีตัณหา. อักษร ในบทว่า น นกุลมาตา

นี้ ต้องประกอบเข้าโดยบทหลังอย่างนี้ว่า น เปกฺขติ. บทว่า สนฺถริตุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 562

ความว่า เพื่อกระทำให้ไม่มีช่อง. อธิบายว่า ปู (ให้เต็ม). บทว่า เวณึ

โอลิขิตุ ความว่า เพื่อเตรียมขนแกะ เอามีสางทำให้เป็นช้อง. บทว่า

อญฺ ภตฺตาร คมิสฺสติ ความว่า เราจักมีสามีใหม่อีก. บทว่า โสฬส

วสฺสานิ คหฏฺพฺรหฺมจริย สมาจิณฺณ ความว่า นับย้อนหลังจากนี้ไป

๑๖ ปี ดิฉันได้ประพฤติพรหมจรรย์ของคฤหัสถ์ อย่างสม่ำเสมอ. บทว่า

ทสฺสนกามตรา ความว่า อยากจะเฝ้า (พระพุทธเจ้า) โดยยิ่ง ๆ ขึ้นไป.

นางได้บันลือสีหนาทโดยองค์ ๓ เหล่านี้แล้ว ได้ทำสัจกิริยาว่า ด้วยความ

สัตย์จริง ขอพยาธิในร่างกายของท่าน (จงเหือดหาย) กลายเป็นความ

สำราญ.

บัดนี้ เพื่อจะอ้างพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสักขีพยาน ทำสัจกิริยา แม้

โดยคุณมีศีลเป็นต้นของตน นางจึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า สิยา โข ปน เต

ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริปูรการินี ได้แก่ กระทำให้สมบูรณ์.

บทว่า เจโตสมถสฺส ได้แก่ สมาธิกัมมัฏฐาน. บทว่า โอคาธปฺปตฺตา

ได้แก่ ถึงการหยั่งลง คือเข้าถึงเนือง ๆ. บทว่า ปฏิคาธปฺปตฺตา ได้แก่

ถึงการหยั่งลงเฉพาะ คือมั่นคง. บทว่า อสฺสาสปฺปตฺตา ได้แก่ ถึงความ

ปลอดโปร่ง คือเอาเป็นที่พึ่งได้. บทว่า เวสารชฺชปฺปตฺตา ได้แก่ถึง

โสมนัสญาณ. บทว่า อปรปฺปจฺจยา ความว่า ศรัทธาเนื่องด้วยผู้อื่น คือ

ปฏิปทาที่ต้องอาศัยผู้อื่น ท่านเรียกว่า ปรปัจจยะ (มีผู้อื่นเป็นปัจจัย)

อธิบายว่า เว้นจากการมีผู้อื่นเป็นปัจจัยนั้น.

นางคฤหปตานี ผู้เป็นมารดาของนกุลมาณพ ได้ทำสัจกิริยา ปรารภ

คุณความดีของตน ด้วยองค์ ๓ เหล่านี้. บทว่า คิลานา วุฏฺิโต ความว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 563

เป็นไข้แล้วหาย. บทว่า ยาวตา ได้แก่ หมู่ของผู้บำเพ็ญเพียร. บทว่า ตาส

อญฺตรา ได้แก่ เป็นคนหนึ่งในระหว่างสาวิกาเหล่านั้น. บทว่า อนุกมฺปิกา

ได้แก่ ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า โอวาทิกา ได้แก่ ผู้ให้โอวาท.

บทว่า อนุสาสิกา ได้แก่ ผู้ให้การพร่ำสอน.

จบอรรถกถานกุลสูตรที่ ๖

๗. กุสลสูตร

ว่าด้วยโทษของการเห็นแก่หลับนอน

[๒๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังศาลาที่เร้นใน

ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว แม้ท่านพระสารีบุตรที่ออกจากที่เร้นใน

เวลาเย็นเข้าไปยังศาลาที่บำรุง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ แม้ท่านพระมหากัสสปะ

แม้ท่านพระมหากัจจายนะ แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะ แม้ท่านพระมหาจุนทะ

แม้ท่านพระมหากัปปินะ แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะ แม้ท่านพระมหาจุนทะ

พระอานนท์ ก็ออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปยังศาลาที่บำรุง ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ด้วยการประทับนั่งสิ้นราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงลุกจาก

อาสนะเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร แม้ท่านเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 564

เสด็จไปไม่นาน ต่างก็ลุกจากอาสนะได้ไปยังวิหารของตน ๆ แต่พวกภิกษุใหม่

บวชไม่นาน มาสู่ธรรมวินัยนี้ไม่นานต่างก็นอนหลับกัดฟันอยู่ ณ ศาลาที่บำรุง

นั้นจนพระอาทิตย์ขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นภิกษุเหล่านั้น ซึ่งต่างก็

นอนหลับกัดฟันอยู่จนพระอาทิตย์ขึ้น ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ

มนุษย์ แล้วเสด็จเข้าไปยังศาลาที่บำรุง ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูลาดไว้แล้ว

ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรไปไหน พระ-

โมคคัลลานะไปไหน พระมหากัสสปะไปไหน พระมหากัจจานะไปไหน

พระมหาโกฏฐิกะไปไหน พระมหาจุนทะไปไหน พระมหากัปปินะไปไหน

พระอนุรุทธะไปไหน พระเรวตะไปไหน พระอานนท์ไปไหน พระสาวก

ชั้นเถระเหล่านั้นไปไหน ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ท่านเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปไม่นาน ต่างก็ลุกจากอาสนะแล้ว

ได้ไปยังวิหารของตน ๆ.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเป็นพระเถระหรือหนอ เธอ

ทั้งหลายเป็นภิกษุใหม่นอนหลับกัดฟันอยู่จนพระอาทิตย์ขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟัง

มาบ้างไหมว่า พระราชาผู้กษัตริย์ได้รับมูรธาภิกเษกแล้ว ทรงประกอบการ

นอนสบาย เอนข้างสบาย บรรทมหลับสบาย ตามพระประสงค์อยู่ เสวยราช-

สมบัติอยู่ตลอดพระชนม์ ย่อมเป็นที่รักเป็นที่พอใจของชาวชนบท.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า หามิได้พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง

มาแล้วว่า พระราชาผู้กษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบการนอนสบาย

เอนข้างสบาย บรรทมหลับสบาย ตามพระประสงค์ เสวยราชสมบัติอยู่ตลอด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 565

พระชนม์ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของชาวชนบท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟัง

มาบ้างไหมว่า ท่านผู้ครองรัฐ ท่านผู้เป็นทายาทแห่งตระกูล ท่านผู้เป็นเสนาบดี

ท่านผู้ปกครองบ้าน ท่านผู้ปกครองหมู่คณะ ประกอบการนอนสบาย เอนข้าง

สบาย นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ปกครองหมู่คณะอยู่ตลอดชีวิต ย่อม

เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของหมู่คณะ.

ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง

มาแล้วว่า ท่านผู้ปกครองหมู่คณะ ประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย

นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ปกครองหมู่คณะอยู่ตลอดชีวิต ย่อมเป็นที่รัก

เป็นที่พอใจของหมู่คณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน เธอทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า สมณะหรือพราหมณ์

ประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ไม่คุ้ม-

ครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร

ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้ง

เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งวันคืน แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-

วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง

มาแล้วว่า สมณะหรือพราหมณ์ ประกอบการนอนสบาย เอนข้างสบาย

นอนหลับสบาย ตามประสงค์ ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 566

ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย

ไม่ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งวันคืน

แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ

ทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้

คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ จักเป็นผู้

ประกอบความเพียร จักเป็นผู้เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย จักประกอบการ

เจริญโพธิปักขิยธรรม ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งวันคืออยู่ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบกุสลสูตรที่ ๗

อรรถกถากุสลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุสลสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต ความว่า ออกจากวิหารธรรม คือ

ผลสมาบัติ ที่ทนต่อการเพ่งธรรม เพื่อความเป็นผู้ ๆ เดียว. บทว่า ยถาวิหาร

ได้แก่ วิหารอันเป็นที่อยู่ของตน ๆ. บทว่า นวา ได้แก่ ยังใหม่ต่อบรรพชา.

ภิกษุเหล่านั้นมีประมาณ ๕๐๐ รูป.

บทว่า กากจฺฉมานา ได้แก่ การทำเสียงกรอด ๆ (คือนอนกัดฟัน).

บทว่า เถรา ได้แก่ ภิกษุผู้ถึงความเป็นผู้มั่นคง. บทว่า เตน โน แปลว่า

เธอทั้งหลายเป็นพระเถระได้อย่างไรหนอ. บทว่า เสยฺยสุขา เป็นต้น

๑. ปาฐะว่า เตน นุ ฉะบับใบลาน เป็น เก นุ โข แปลตามใบลาน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 567

มีใจความดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. ผู้ปกครองรัฐ ชื่อว่า รฏฺิโก.

ผู้ปกครองรัฐ ต่อเนื่องจากที่มารดาบิดาปกครอง ชื่อว่า เปตฺตณิโก. ผู้เป็น

หัวหน้าแห่งเสนา (แม่ทัพ) ชื่อว่า เสนาปติกะ. ผู้ปกครองหมู่บ้าน ชื่อว่า

คามคามณิโก. ผู้เป็นหัวหน้าหมู่ ชื่อว่า ปูคคามณิโก.

บทว่า อวิปสฺสโก กุสลาน ธมฺมาน ความว่า เป็นผู้ไม่แสวงหา

คือไม่แสวงหากุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า โพธิปกฺขิยาน ธมฺมาน ได้แก่

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ.

จบอรรถกถากุสลสูตรที่ ๗

๘. มัจฉสูตร

ว่าด้วยโทษของการฆ่าสัตว์

[๒๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำเนินไปตามหนทางไกล

ได้ทอดพระเนตรเห็นชาวประมงผูกปลา ฆ่าปลาขายอยู่ ณ ท้องถิ่นแห่งหนึ่ง

ได้เสด็จแวะลงจากทาง แล้วประทับนั่งลงบนอาสนะที่ได้ปูลาดไว้ ณ โคนต้นไม้

แห่งหนึ่ง แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

เห็นชาวประมงผูกปลา ฆ่าปลาขายอยู่ที่แห่งโน้นหรือ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า

เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เธอทั้งหลายได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า ชาวประมงผูกปลา ฆ่าปลาขายอยู่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 568

ย่อมขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน เป็นเจ้าของโภคะ หรือครอบครองกองโภคสมบัติ

เป็นอันมากอยู่ เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น.

ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง

มาว่า ชาวประมงผูกปลา ฆ่าปลาขายอยู่ ย่อมขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน เป็น

เจ้าของโภคะ หรือครอบครองกองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่ เพราะกรรมนั้น

เพราะอาชีพนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าเขาย่อมเพ่งดูปลาเหล่านั้นที่พึง

ฆ่า ที่นำมาเพื่อฆ่า ด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ

ขึ้นยาน ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคะ ไม่ได้ครอบครองโภคสมบัติเป็นอันมาก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลาย

ได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า คนฆ่าโค ฆ่าโคขายอยู่ ย่อมขี่ช้าง ขี่ม้า

ขี่รถ ขึ้นยาน เป็นเจ้าของโภคะ หรือครอบครองกองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่

เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น.

ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง

มาว่า คนฆ่าโค ฆ่าโคขายอยู่ ย่อมขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน เป็นเจ้าของ

โภคะ หรือครอบครองกองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่ เพราะกรรมนั้น เพราะ

อาชีพนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าเขาย่อมเพ่งดูโคเหล่านั้นที่พึงฆ่า

ที่นำมาเพื่อฆ่า ด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ

ขึ้นยาน ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคะ ไม่ได้ครอบครองกองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลาย

ได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า คนฆ่าแพะ ฯลฯ คนฆ่าสุกร พรานนก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 569

พรานเนื้อ ฆ่าเนื้อขายอยู่ ย่อมขี่ช้าง ขี่ม้า ขึ้นยาน เป็นเข้าของโภคะ

หรือครอบครองกองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่ เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น.

ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีละ ข้อนั้นแม้เราก็ไม่ได้เห็นไม่ได้ฟังมาว่า

พรานเนื้อ ฆ่าเนื้อขายอยู่ ย่อมขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน เป็นเจ้าของโภคะ

หรือครอบครองกองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่ เพราะกรรมนั้น เพราะอาชีพนั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าเขาย่อมเพ่งดูเนื้อเหล่านั้นที่พึงฆ่า ที่นำมาเพื่อฆ่า

ด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึงไม่ได้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน ไม่ได้เป็น

เจ้าของโภคะ ไม่ได้ครอบครองกองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่ ก็เขาย่อมเพ่งดูสัตว์

ดิรัจฉานเหล่านั้นที่พึงฆ่า ที่นำมาเพื่อฆ่า ด้วยใจที่เป็นบาป ฉะนั้น เขาจึง

ไม่ได้ขี่ช้าง ขี่ม้า ขี่รถ ขึ้นยาน ไม่ได้เป็นเจ้าของโภคะ หรือครอบครอง

กองโภคสมบัติเป็นอันมากอยู่ จะกล่าวอะไร ถึงบุคคลผู้เพ่งดูมนุษย์ที่พึงฆ่า

ที่นำมาเพื่อฆ่า ด้วยใจที่เป็นบาปเล่า เพราะผลข้อนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่

ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา เมื่อตายไปแล้วย่อม

เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯลฯ

จบมัจฉสูตรที่ ๘

อรรถกถามัจฉสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมัจฉสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มจฺฉิก ได้แก่ ผู้ฆ่าปลา. บุคคลชื่อว่า หตฺถียายี เพราะ

ไปด้วยช้าง. แม้ศัพท์ต่อไปข้างหน้า ก็มีนัยนี้. บทว่า วชฺเฌ แปลว่า

ที่จะต้องฆ่า. บทว่า วธายานีเต ความว่า สัตว์ที่เขานำไปเพื่อฆ่า. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 570

ปาปเกน มนสา ความว่า ด้วยจิตคิดจะฆ่าอันลามก. แต่ในพระบาลี

ท่านเขียนไว้ว่า วธายุปนีเต. บทว่า มาควิโก ได้แก่ ผู้ฆ่าเนื้อ.

บทว่า โก ปน วาโท มนุสฺสภูต ความว่า สำหรับผู้ที่มีใจ

ลามก เข้าไปเพ่งเล็งมนุษย์ ไม่มีอะไรที่จะต้องพูดถึง ในความไม่มีสมบัติ.

ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงถึงความที่บาปกรรมมีผลที่ไม่-

ปรารถนา. แต่เมื่อแม้ผู้ใดกระทำบาปกรรมเช่นนั้น ผู้นั้นกลับได้ยศ ข้อนั้น

พึงเข้าใจว่ากุศลให้ผลแก่เขาเหล่านั้น โดยอาศัยอกุศลนั้น แต่วิบากจะไม่ยั่งยืน

ไปตลอดกาลนาน เพราะเขาจะถูกอกุศลกรรมนั้น ตัดรอน. ในพระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลไว้อย่างเดียว.

จบอรรถกถามัจฉสูตรที่ ๘

๙. ปฐมมรณัสสติสูตร

ว่าด้วยการเจริญมรณสติมีผลมาก

[๒๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้าง

ด้วยอิฐ ใกล้บ้านนาทิกคาม ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันภิกษุเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น

ที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเจริญมรณสติหรือ เมื่อพระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 571

พระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

แม้ข้าพระองค์ก็เจริญมรณสติ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอเจริญมรณสติอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึง

เป็นอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญ

มรณสติอย่างนี้แล.

ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์

ก็เจริญมรณสติ.

พ. ดุก่อนภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณสติอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึง

เป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติ

อย่างนี้แล.

ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์

ก็เจริญมรณสติ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณสติอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึง

เป็นอยู่ชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

เจริญมรณสติอย่างนี้แล.

ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์

ก็เจริญมรณสติ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 572

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณสติอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึง

เป็นอยู่ชั่วขณะที่เคี้ยวคำข้าวสี่คำกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

เจริญมรณสติอย่างนี้แล.

ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์

ก็เจริญมรณสติ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณสติอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึง

เป็นอยู่ชั่วขณะที่เคี้ยวข้าวคำหนึ่งกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มี

พระภาคเจ้า เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

เจริญมรณสติอย่างนี้แล.

ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กรรบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์

ก็เจริญมรณสติ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เธอย่อมเจริญมรณสติอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึง

เป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่หายใจข้าแล้วหายใจออก หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้า

เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญมรณสติอย่างนี้แล.

เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึง

เป็นอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 573

โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณสติอย่างนี้

ว่าโอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง เราพึงมนสิการ

คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ และภิกษุใด

ย่อมเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่เคี้ยวคำข้าวสี่คำ

กลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราพึงกระทำกิจ

ให้มากหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ประมาท

เจริญมรณสติเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายช้า ส่วนภิกษุใดย่อมเจริญ

มรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่เคี้ยวข้าวคำหนึ่งกลืนกิน

เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ

และภิกษุใดย่อมเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่

หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้า เราพึงมนสิการคำ

สั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญมรณสติ เพื่อ

ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายแรงกล้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ

นั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ประมาท

จักเจริญมรณสติ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายอย่างแรงกล้า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบปฐมมรณัสสติสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 574

อรรถกถาปฐมมรณัสสติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมามรณัสสติสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นาทิเก ได้แก่ ในบ้านที่มีชื่ออย่างนี้. บทว่า คิญฺชกาวสเถ

ได้แก่ ในปราสาทที่ก่อด้วยอิฐ. บทว่า อมโตคธา ได้แก่ หยั่งลงสู่พระ-

นิพพาน อธิบายว่า เข้าสู่พระนิพพาน. บทว่า อโห วต เป็นนิบาตลงใน

อรรถว่าที่สุด. บทว่า ภาเวถ โน แปลว่า จงเจริญเถิด. บทว่า มรณสฺสตึ

ได้แก่ มรณสติกัมมัฏฐาน. ศัพท์ว่า อโห วต เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า

ปรารถนา. บทว่า อหุ วต เม กต อสฺส ความว่า กิจของข้าพระองค์ใน

ศาสนาของพระองค์ พึงเป็นกิจที่ข้าพระองค์กระทำให้มาก. บทว่า ตทนฺตร

ความว่า ในระหว่างคือขณะ ได้แก่โอกาสนั้น. ในบทว่า อสฺสสิตฺวา วา

ปสฺสสามิ นี้ ลมที่เข้าไปข้างใน ท่านเรียกว่า อัสสาสะ ลมที่ออกมาภายนอก

ท่านเรียกว่า ปัสสาสะ. ภิกษุนี้ปรารถนาจะดำรงชีวิตอยู่ ชั่วเวลาที่ลมเข้าไป

ข้างใน กลับออกมาข้างนอก ลมที่ออกไปข้างนอก กลับเข้ามาข้างใน จึงได้

ทูลอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ว่า ทนฺธ ได้แก่ เป็นไปอ่อน ๆ หนัก คือไม่เร็ว. บทว่า อาสวน

ขยาย ได้แก่ เพื่อพระอรหัตผล. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

มรณสติไปจนถึงพระอรหัตผล.

จบอรรถกถาปฐมมรณัสสติสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 575

๑๐. ทุติยมรณัสสติสูตร

ว่าด้วยการเจริญมรณสติมีผลมาก

[๒๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้าง

ด้วยอิฐ ใกล้บ้านนาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณสติอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ก็มรณสติ

อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไป

กลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมาก

หนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตาย

เพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉัน

แล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษ

เพียงดังศาสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมี

แก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็น

บาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละใน

กลางคืน มีอยู่หรือหนอ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอัน

เป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละใน

กลางคืนยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ-

เพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอัน

เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 576

มีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร

ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับผ้าโพกศีรษะ

หรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบ

อย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตราย

แก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืนไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์

ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนผ่านไป

กลางวันย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามี

มากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เรา

พึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่

เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลม

ที่มีพิษเพียงศาสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึง

มีแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอัน

เป็นบาปอกุศล ที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละใน

กลางวัน มีอยู่หรือหนอ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอัน

เป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละใน

กลางวัน ยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ

ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละ

ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเสมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูก

ไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ

ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับ

ผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณา

อยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 577

อันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวันไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและ

ปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.

จบทุติยมรณัสสติสูตรที่ ๑๐

จบสาราณิยาทิวรรคที่ ๒

อรรถกถาทุติยมรณัสสติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยมรณัสสติสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปฏิหิตาย แปลว่า ดำเนินไปแล้ว. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ

ความว่า ย่อมพิจารณาอย่างนี้. ในบทนี้ว่า โส มมสฺส อนฺตราโย ดังนี้

อันตรายมี ๓ อย่าง คือ อันตรายแห่งชีวิต ๑ อันตรายแห่งสมณธรรม ๑

อันตรายแห่งสวรรค์ อันตรายแห่งมรรคสำหรับผู้ทำกาลกิริยาของปุถุชน ๑

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายถึง อันตรายทั้ง ๓ อย่างนั้นทีเดียว.

บทว่า พฺยาปชฺเชยฺย ความว่า พึงวิบัติไป ด้วยสามารถแห่งการไม่

ย่อยเป็นต้น. บทว่า อธิมตฺโต แปลว่า มีกำลัง. ความพอใจ คือความ

เป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ ชื่อว่า ฉันทะ. ความเพียรในการประกอบกิจ ชื่อว่า

วายามะ. ความเพียรที่เป็นเหตุ แห่งความกระตือรือร้น ชื่อว่า อุตสาหะ

ความเพียรที่เป็นเหตุให้ถึงพร้อม (สำเร็จ) ชื่อว่า อุสโสฬหิ. ความไม่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 578

ท้อถอย คือความไม่หดกลับ ชื่อว่า อัปปฏิวานี. คำที่เหลือในบททั้งปวง

มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาทุติยมรณัสสติสูตรที่ ๑๐

จบสาราณิยาทิวรรควรรณาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสาราณียสูตร ๒. ทุติยสาราณียสูตร ๓. เมตตาสูตร

๔. ภัททกสูตร ๕. อนุตัปปิยสูตร ๖. นกุลสูตร ๗. กุสลสูตร ๘. มัจฉสูตร

๙. ปฐมมรณัสสติสูตร ๑๐. ทุติยมรณัสสติสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 579

อนุตตริยวรรคที่ ๓

๑. สามกสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เสื่อม ๖ ประการ

[๒๙๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหาร ชื่อ

โปกขรณีย์ ใกล้หมู่บ้านสามคาม แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อ

ปฐมยามผ่านไป มีวรรณะงามยิ่งนัก ยังโปกขรณียวิหารทั้งสิ้นให้สว่างไสว

แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็น

ผู้หลับ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อมแก่ภิกษุ เทวดาองค์นั้นได้กล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระ

ทัย ครั้งนั้น เทวดาองค์นั้นทราบว่า พระศาสดาของเราทรงพอพระทัย จึง

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น.

ครั้งนั้น เมื่อราตรีนั้นล่วงไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว

มีวรรณะงามยิ่งนัก ยังโปกขรณียวิหารทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้ามาหาเราถึง

ที่อยู่อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะเราว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ

ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 580

ผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๓

ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ครั้นเทวดาองค์นั้นได้กล่าว

คำนี้แล้ว อภิวาทเราทำประทักษิณแล้วได้หายไป ณ ที่นั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มิใช่ลาภของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ด้วยยาก ที่เธอทั้งหลาย

เสื่อมจากกุศลธรรม แม้เทวดาก็รู้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม

เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๓ ประการแม้เหล่าอื่น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่

ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม

๓ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความ

เป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓

ประการนี้แล เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาลเสื่อม

จากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวง ก็เสื่อมแล้วจากกุศลธรรม เพราะธรรม

๖ ประการนี้แล ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักเสื่อมจากกุศลธรรม

ชนเหล่านั้นทั้งปวง ก็จักเสื่อมจากกุศลธรรม เพราะธรรม ๖ ประการนี้แล

และชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมเสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่า

นั้นทั้งปวง ย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล.

จบสามกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 581

อนุตตริยวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาสามกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสามกสูตรที่ ๑ แห่งอนุตตริยวรรค ที่ ๓

ดังต่อไปนี้:-

บทว่า สามคามเก ความว่า ในหมู่บ้านที่ได้นามอย่างนี้ เพราะมี

หินลับมีดหนาแน่น. บทว่า โปกฺขรณิยาย ได้แก่ ในวิหารมีนามว่า

โปกขรณิย์. บทว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา ความว่า เมื่อผ่านปฐมยาม

แห่งรัตติกาล ย่างเข้า มัชฌิมยาม. บทว่า อภิกฺภนฺตวณฺณา ได้แก่มี

วรรณะงดงามน่าพอใจยิ่ง. บทว่า เกวลกปฺป ได้แก่ทั่วทั้งหมด. บทว่า

โปกฺขรณิย โอกาเสตฺวา ความว่า แผ่รัศมี (โอภาส) ของตนไปตลอด

มหาวิหาร ที่ได้นามว่า โปกขรณิย์. บทว่า สมนุญฺโ ความว่า ทรง

พอพระทัย คือมีจิตสม่ำเสมอ. บทว่า โทวจสฺสตา ได้แก่ความเป็นผู้ว่า

ยาก. บทว่า ปาปมิตฺตตา ได้แก่ความเป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตร. ในพระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ปริหานิยธรรม (ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อม)

ไว้อย่างเดียว.

จบอรรถกถาปฐมสามกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 582

๒. อปริหานิยสูตร

ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๖ ประการ

[๒๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอปริหานิยธรรม ๖

ประการนี้ ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น

กราบทูลรับผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ๑

ความเป็นผู้ไม่ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบหลับ ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบ

คลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อปริหานิยธรรม ๖ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชน

เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ไม่เสื่อมแล้วจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวง

ก็ไม่เสื่อมแล้วจากกุศลธรรม เพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนเหล่าใด

เหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักไม่เสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวง ก็จัก

ไม่เสื่อมจากกุศลธรรมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งใน

ปัจจุบัน ย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรม ชนเหล่านั้นทั้งปวงก็ย่อมไม่เสื่อมจาก

กุศลธรรมเพราะธรรม ๖ ประการนี้แล.

จบอปริหานิยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 583

อรรถกถาอปริหานิยสูตร

ในอปริหานิยสูตรที่ ๒ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส

อปริหานิยธรรม ที่เจือด้วยโลกุตระไว้แล้ว.

จบอรรถกถาอปริหานิยสูตรที่ ๒

๓. ภยสูตร

ว่าด้วยโทษของกาม

[๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัย นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า

ทุกข์ นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า โรค นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า ฝี นี้

เป็นชื่อของกาม คำว่า เครื่องขัดข้อง นี้ เป็นชื่อของกาม คำว่า เปือกตม นี้

เป็นชื่อของกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุไร คำว่า ภัย นี้ จึงเป็นชื่อ

ของกาม เพราะสัตวโลกผู้ยินดีด้วยความกำหนัดในกาม ถูกความกำหนัด

เพราะความชอบพอเกี่ยวพันไว้ จึงไม่พ้นจากภัยแม้ที่มีในปัจจุบัน ไม่พ้นจาก

ภัยแม้ในสัมปรายภพ ฉะนั้น คำว่าภัยนี้ จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็เหตุไร คำว่า ทุกข์. . .โรค. . .ฝี. . .เครื่องขัดข้อง. . .เปือกตมนี้

จึงเป็นชื่อของกาม เพราะสัตวโลกผู้ยินดีด้วยความกำหนัดในกามนี้ ถูกความ

กำหนัดเพราะความชอบพอเกี่ยวพันไว้ จึงไม่พ้นจากเปือกตมแม้ในปัจจุบัน

ไม่พ้นจากเปือกตมแม้ในสัมปรายภพ ฉะนั้น คำว่า เปือกตมนี้ จึงเป็นชื่อ

ของกาม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 584

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

เราเรียก ภัย ทุกข์ โรค และสิ่ง

ทั้ง ๒ คือ เครื่องขัดข้อง เปือกตม ว่า

เป็นกาม เป็นที่ข้องของปุถุชน เพราะ

เห็นภัยในการยึดถือ ซึ่งเป็นแดนเกิดของ

ชาติและมรณะ ชนทั้งหลายจึงหลุดพ้น

เพราะไม่ถือมั่น ดำเนินไปในนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นชาติและมรณะ ชนเหล่านั้น

ถึงแดนเกษม มีสุข ดับสนิทในปัจจุบัน

ผ่านพ้นเวรและภัย ล่วงทุกข์ทั้งปวง.

จบภยสูตรที่ ๓

อรรถกถาภยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภยสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กามราครตฺตาย ตัดบทเป็น กามราครตฺโต อย (แปลว่า

ภิกษุนี้ ถูกกามราคะย้อมแล้ว). บทว่า ฉนฺทราควินิพนฺโธ ความว่า ถูก

ฉันทราคะผูกพันแล้ว. บทว่า ภยา ได้แก่ จากภัยคือความสะดุ้งแห่งจิต. บทว่า

ปงฺกา ได้แก่ จากเปลือกตม คือกิเลส. บทว่า สงฺโค ปงฺโก จ อุภย

ความว่า ทั้งสองอย่างนี้ คือ สังคะ (เครื่องขัดข้อง) และปังกะ (เปลือกตม)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 585

สองบทพระคาถาว่า เอเต กามา ปวุจฺจนฺติ ยตฺถ สตฺโต

ปุถุชฺชโน ความว่า ปุถุชน ติด ข้อง เกี่ยวพัน ผูกพันอยู่ในเครื่องข้อง

และเปลือกตมอันใด.

บทว่า อุปาทาเน ได้แก่ ในอุปาทาน ๔ อย่าง. บทว่า ชาติมรณ-

สมฺภเว ความว่า เป็นที่เกิด คือ เป็นปัจจัยแห่งชรา และมรณะ. บทว่า

อนุปาทา วิมุจฺจนฺติ ได้แก่ หลุดพ้นไปเพราะไม่ยึดมั่น. บทว่า ชาติมรณ-

สงฺขเย ได้แก่ ในพระนิพพาน กล่าวคือความสิ้นไปแห่งชาติ และมรณะ

ทั้งหลาย อธิบายว่า ย่อมพ้นด้วยวิมุตติมีพระนิพพานเป็นอารมณ์. ภิกษุนี้

บรรลุแล้ว ซึ่งพระอรหัตผลนั่นแล โดยไม่หมุนไปในฐานะนี้. บัดนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชมเชยผู้เป็นพระขีณาสพ จึงตรัสคำมีอาทิว่า

เต เขมปตฺตา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขมปตฺตา ได้แก่

ถึงซึ่งความเกษม. บทว่า สุขิโน ได้แก่ ถึงความสุขโดยโลกุตรสุข. บทว่า

ทฏฺธมฺมาภินิพฺพุตา ได้แก่ ดับสนิทแล้ว ในทิฏฐธธรรมนี้แหละ เพราะ

ไม่มีกิเลสในภายใน. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะวัฏฏะแล้ว

ในคาถาจึงตรัส ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถาภยสูตรที่ ๓

๔. หิมวันตสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำลายอวิชชาได้

[๒๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามก ธรรม ๖

ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 586

ในการเข้าสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการ

ออกแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดใน

อารมณ์แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วย

กล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามกเล่า.

จบหิมวันตสูตรที่ ๔

อรรถกถาหิมวันตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในหิมวันตสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ปทาเลยฺย แปลว่า พึงทำลาย. บทว่า ฉวาย ได้แก่

ต่ำทราม. บทว่า สมาธิสฺส สมาปตฺติกุสโล โหติ ความว่า ภิกษุย่อม

เป็นผู้ฉลาด คือเฉียบแหลม ได้แก่มีปรีชาสามารถ เพื่อเข้าสมาธิ โดยกำหนด

เอาอาหารเป็นที่สบาย และฤดูเป็นที่สบาย. บทว่า สมาธิสฺส ิตกุสโล

ความว่า เป็นผู้ฉลาดในการหยุดสมาธิไว้ได้ อธิบายว่า สามารถจะยับยั้งไว้ได้.

บทว่า สมาธิสฺส วุฏานกุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาดในการออกสมาธิ

อธิบายว่า สามารถเพื่อจะออกได้ตามกำหนด. บทว่า สมาธิสฺส กลฺลิต

กุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาดในความที่สมาธิควรแก่กาล อธิบายว่า สามารถ

เพื่อจะทำให้สมควร เพื่อให้สมาธิจิตร่าเริง.

บทว่า สมาธิสฺส โคจรกุสโล ความว่า ภิกษุเมื่อเว้นอสัปปายะ

คือธรรมที่ไม่ได้เป็นอุปการะแก่สมาธิ ส้องเสพสัปปายะ คือธรรมที่เป็นอุปการะ

(แก่สมาธิ) ก็ดี รู้อยู่ว่า สมาธินี้มีนิมิตเป็นอารมณ์ สมาธินี้ มีลักษณะ

เป็นอารมณ์ก็ดี ชื่อว่า เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ของสมาธิ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 587

บทว่า สมาธิสฺส อภินีหารกุสโล ความว่า ภิกษุเมื่อสามารถ

เพื่อจะนำสมาธิมีปฐมฌานเป็นต้น ให้ก้าวหน้าไป เพื่อประโยชน์แก่การ

เข้าสมาบัติสูง ๆ ขึ้นไป ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาด ในความก้าวหน้าของสมาธิ คือ

เธอออกจากปฐมฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว ฯลฯ ออกจาก

ตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาหิมวันตสูตรที่ ๔

๕. อนุสสติฏฐานสูตร

ว่าด้วยอนุสติ ๖ ประการ

[๒๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสติ ๖ ประการนี้ ๖ ประการ

เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึง

พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. . . เป็นผู้

เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก

ย่อมระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของพระอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูก

ราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไป

ตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไปจากความอยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธา-

นุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ ได้ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น จิตของอริยสาวก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 588

นั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . . สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำธัมมานุสตินี้ให้

เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวก ย่อมระลึกถึง

พระสงฆ์ สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . .

สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำสังฆานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วย

ประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ฯลฯ

เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีล

สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . . สัตว์บางพวก

ในโลกนี้ ทำสีลานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของ

เราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฯลฯ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของ

อริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . . สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคา-

นุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุ-

มหาราชมีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์อยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่ เทวดาเหล่าดุสิต

มีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่ เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัตดีมีอยู่ เทวดา

เหล่าพรหมมีอยู่ เทวดาที่สูงกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วย

ศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 589

ของเรามีอยู่ เทวดาเหล่านั้น ประกอบด้วยศีลเช่นใด ด้วยสุตะเช่นใด ด้วย

จาคะเช่นใด ด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น

ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อม

ระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้น

สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม

ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป

หลุดไปจากความอยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ความอยาก นี้ เป็นชื่อ

ของเบญจกามคุณ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวดานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์

ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสติ ๖ ประการนี้แล.

จบอนุสสติฏฐานสูตรที่ ๕

อรรถกถาอนุสสติฏฐานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนุสสติฏฐานสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุสฺสติฏฺานานิ ได้แก่ เป็นเหตุแห่งอนุสิ. บทว่า

อิติปิ โส ภควา เป็นต้น ข้าพเจ้าได้ให้พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

แล้วทั้งนั้น. บทว่า อิทมฺปิ โข ภิกฺขเว อารมฺมณ กริตฺวา ความว่า

กระทำพุทธานุสติกัมมัฏฐานนี้ ให้เป็นอารมณ์. บทว่า วิสุชฺฌนฺติ ความว่า

ถึงพระนิพพานอันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง. ข้อความที่เหลือ ในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.

ก็ในพระสูตรนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอนุสติกัมมัฏฐาน

อย่างไว้คละกัน.

จบอรรถกถาอนุสสติฏฐานสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 590

๖. กัจจานสูตร

ว่าด้วยอนุสติสำหรับพระอริยสาวก

[๒๙๗] ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหากัจจานะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหากัจจานะแล้ว

ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์

ไม่เคยมีมาแล้ว คือ ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ถึงโอกาสได้ในที่คับแคบ เพื่อความบริสุทธิ์

แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงโสกปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อ

บรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน การถึงโอกาสนี้ คือ อนุสติ

๖ ประการ ๖ ประการเป็นไฉน ?

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึง

พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ

เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด

อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคต สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิต

ไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนิน

ไปตรงทีเคียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไบ่จากความอยาก ดูก่อนท่าน

ผู้มีอายุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของเบญจกามคุณ อริยสาวกนั้นแล

ย่อมมีใจเสมอด้วยอากาศ ไพบูลย์เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร

ไม่มีความเบียดเบียน โดยประการทั้งปวงอยู่ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำพุทธา-

นุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 591

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรม สมัยนั้น

จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . . สัตว์บางพวกในโลกนี้

ทำธัมมานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา

ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ

อื่นยิ่งกว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงพระสงฆ์

สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม. . . สัตว์บางพวกใน

โลกนี้ ทำสังฆานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา

ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตน อันไม่ขาด ฯลฯ

เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึง

ศีล สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ฯลฯ สัตว์

บางพวกในโลกนี้ ทำสีลานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์

เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภ

ของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ฯลฯ ยินดีในการจำแนกทาน ดูก่อนท่านผู้มี

อายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงจาคะ สมัยนั้น จิตของอริยสาวก

นั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ฯลฯ สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำจาคานุสติ

แม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความบริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 592

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมระลึกถึงเทวดาว่า เทวดาเหล่าจาตุ-

มหาราชมีอยู่ ฯลฯ เทวดาที่สูงกว่านั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วย

ศรัทธาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้

ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด ฯลฯ สุตะ จาคะ

ด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้น

แม้ของเราก็มีอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึง

ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของคนและของเทวดาเหล่านั้น สมัยนั้น

จิตของอริยสาวกนั้น เป็นจิตไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูก

โมหะกลุ้มรุม เป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว เป็นจิตออกไป พ้นไป หลุดไป

จากความอยาก ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย คำว่าความอยากนี้ เป็นชื่อของ

เบญจกามคุณ อริยสาวกผู้นั้นแล ย่อมมีใจเสมอด้วยอากาศ ไพบูลย์ เป็น

มหรคต ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน โดยประการทั้งปวงอยู่

สัตว์บางพวกในโลกนี้ ทำเทวตานุสติแม้นี้ให้เป็นอารมณ์ ย่อมเป็นผู้มีความ

บริสุทธิ์เป็นธรรมดา ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว คือ ข้อที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า ได้ตรัสรู้การถึงโอกาสได้ ในที่คับแคบ เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อก้าวล่วงโสกปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อ

ทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน การถึงโอกาสนี้ คือ อนุสติ ๖ ประการนี้แล.

จบกัจจานสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 593

อรรถกถากัจจานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกัจจานสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺพาเธ ความว่า ในที่ ๆ แออัดไปด้วยกามคุณทั้ง ๕.

อนุสติ ๖ ท่านเรียกว่า โอกาส ในบทว่า โอกาสาธิคโม นี้. การบรรลุ

เหตุแห่งอนุสติ ๖ เหล่านั้น. บทว่า วิสุทฺธิยา ความว่า เพื่อประโยชน์

แก่ความบริสุทธิ์. บทว่า โสกปริเทวาน สมติกฺกมาย ความว่า เพื่อ

ประโยชน์แก่การก้าวล่วง ซึ่งความเศร้าโศก และความรำพัน. บทว่า

อตฺถงฺคมาย ความว่า เพื่อถึงความดับสูญ. บทว่า ายสฺส อธิคมาย

ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุมรรค พร้อมด้วยวิปัสสนาเบื้องต้น.

บทว่า นิพฺพานาย สจฺฉิกิริยาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การทำให้

ประจักษ์ ซึ่งพระปรินิพพาน อันหาปัจจัยมิได้.

บทว่า สพฺพโส ได้แก่ โดยอาการทั้งปวง. บทว่า อากาสสเมน

ความว่า เช่นกับด้วยอากาศ เพราะหมายความว่า ไม่ติดขัด และเพราะ

หมายความว่า ไม่มีความกังวล.

บทว่า วิปุเลน ความว่า ไม่ใช่นิดหน่อย. บทว่า มหคฺคเตน

ความว่า ถึงความเป็นของใหญ่ อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ถึง คือ ดำเนิน

ไปกับด้วยพระอริยสาวกผู้ใหญ่.

บทว่า อปฺปมาเณน ความว่า ชื่อว่า หาประมาณมิได้ เพราะว่า

จิตนั้นมีการแผ่ไปหาประมาณมิได้. บทว่า อเวเรน ความว่า เว้นจากอกุศล-

ธรรมที่เป็นเวร และบุคคลผู้เป็นเวร. บทว่า อพฺยาปชฺเฌน ความว่า

เว้นจากทุกข์อันเกิดจากความโกรธ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 594

คำทั้งหมดนี้ พระมหากัจจานะ กล่าวหมายถึง จิตที่มีพุทธานุสติ

เป็นอารมณ์เท่านั้น แม้ข้อความต่อไป ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า วิสุทฺธิธมฺมา

ได้แก่ มีความบริสุทธิ์เป็นสภาพ. แม้ในพระสูตรนี้ พระมหากัจจานะก็กล่าว

เหตุแห่งอนุสติ ๖ ไว้คละกันไป เหมือนกัน ฉะนี้แล.

จบอรรถกถากัจจานสูตรที่ ๖

๗. ปฐมสมยสูตร

ว่าด้วยเวลาที่ควรพบผู้เจริญภาวนา ๖

[๒๙๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุ

ผู้เจริญภาวนาทางใจ มีเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการนี้ ๖ ประการ

เป็นไฉน ?

ดูก่อนภิกษุ สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม

ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอบาย

เป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา

ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูก

กามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง

ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุ

จงแสดงธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 595

เพื่อละกามราคะแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควรเข้าไปพบภิกษุ

ผู้เจริญภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาท

ครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่อง

สลัดออกแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญ

ภาวนาทางใจแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกพยาบาทกลุ้มรุม

ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และ.ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่อง

สลัดออกแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อ

ละพยาบาทแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละพยาบาท

แก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นสมัยที่ ๒ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ

ภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะ

ครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่อง

สลัดออกแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญ

ภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกถีนมิทธะ

กลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย

เป็นเครื่องสลัดออกแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดง

ธรรมเพื่อละถีนมิทธะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อละ

ถีนมิทธะแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๓ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ

ภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูก

อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่ง

อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 596

นั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มี-

อายุ ผมมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และ

ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งอุทธัจจกุกกุจจะ

ที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่ผม

ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะแก่เธอ

ดูก่อนภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๔ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุมีใจถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉา

ครอบงำอยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่อง

สลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญ

ภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกวิจิกิจฉา

กลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบาย

เป็นเครื่องสลัดออกแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดง

ธรรมเพื่อละวิจิกิจฉาแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อละ

วิจิกิจฉาแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๕ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ

ภาวนาทางใจ.

อีกประการหนึ่ง สมัยใด ภิกษุไม่รู้ ไม่เห็น ซึ่งนิมิตเป็นที่สิ้นอาสวะ

โดยลำดับ ในเมื่อตนอาศัยกระทำไว้ในใจนั้น สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหา

ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมไม่รู้

ไม่เห็น ซึ่งนิมิตเป็นที่สิ้นอาสวะโดยลำดับ ในเมื่อผมอาศัยกระทำไว้ในใจนั้น

ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญ

ภาวนาทางใจย่อมแสดงธรรมเพื่อความสิ้นอาสวะแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ นี้เป็น

สมัยที่ ๖ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

จบปฐมสมยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 597

อรรถกถาปฐมสมยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า มโนภาวนียสฺส นี้ มีวิเคราะห์ว่า ภิกษุชื่อว่า ผู้เจริญ

ภาวนาทางใจ เพราะอบรมใจ คือยังใจให้เจริญ. บทว่า ทสฺสนาย ได้แก่

เพื่อเห็น. บทว่า นิสฺสรณ ได้แก่ ทางออกคือความสงบระงับ. บทว่า ธมฺม

เทเสติ ความว่า บอกอสุภกัมมัฏฐาน เพื่อต้องการให้ละกามราคะ.

ในทุติยวาร เป็นต้น พึงทราบอธิบายว่า บอกเมตตากัมมัฏฐานเพื่อละ

พยาบาทนิวรณ์ บอกกัมมัฏฐานที่เป็นเหตุบรรเทาถีนมิทธะ คือ อาโลกสัญญา

หรือกัมมัฏฐานอันเป็นที่ตั้งแห่งวิริยารัมภะเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อละ

ถีนมิทธนิวรณ์ แสดงธรรมกล่าวกถาปรารภคุณของพระรัตนตรัย เพื่อละ

วิจิกิจฉานิวรณ์.

บทว่า อาคมฺม แปลว่า ปรารภ. บทว่า มนสิกโรโต ความว่า

ทำไว้ในใจด้วยสามารถให้เป็นอารมณ์. บทว่า อนนฺตรา อาสวาน ขโย

โหติ ความว่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ย่อมมี โดยปราศจากอันตราย.

จบอรรถกถาปฐมสมยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 598

๘. ทุติยสมยสูตร

ว่าด้วยเวลาเข้าพบผู้เจริญภาวนา ๖

[๒๙๙] สมัยหนึ่ง ภิกษุชั้นเถระหลายรูป อยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน

ใกล้เมืองพาราณสี ครั้งนั้นแล เมื่อภิกษุชั้นเถระเหล่านั้นกลับจากบิณฑบาต

ภายหลังภัต นั่งประชุมกันที่โรงฉัน ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยไหนหนอแล ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ

ภาวนาทางใจ.

เมื่อกล่าวกันอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงได้กล่าวกะภิกษุชั้นเถระ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจกลับ

จากบิณฑบาต ภายหลังภัต ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้

เฉพาะหน้า สมัยนั้น ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนา-

ทางใจ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต

ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น

แม้ความเหน็ดเหนื่อยเพราะการเที่ยวไปเพื่อการบิณฑบาต แม้ความเหน็ด

เหนื่อยเพราะฉันอาหาร ของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น ก็ยังไม่สงบระงับ

ฉะนั้น สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ

สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจออกจากที่เร้นในเวลาเย็น นั่งที่ริมเงาวิหาร

ด้านหลัง คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น เป็นสมัย

ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 599

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้นว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนา-

ทางใจ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่เร้นในเวลาเย็น นั่งที่

ร่มเงาวิหารด้านหลัง คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น

สมาธินิมิตใด ที่ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น ได้ทำไว้ในใจในกลางวัน

สมาธินิมิตนั้นก็ยังฟุ้งซ่านอยู่ ฉะนั้น สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไป

พบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นใน

เวลาเช้ามืดแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น

เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่งจึงกล่าวกะภิกษุรูปนั้น

ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญ

ภาวนาทางใจ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจลุกขึ้นในเวลาเช้ามืดแล้ว

นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น กายของภิกษุผู้

เจริญภาวนาทางใจนั้นก็ยังตั้งอยู่ในโอชา (มีโอชารสแห่งอาหารแผ่ซ่านไป-

ทั่วตัว) ความสบายย่อมมีแก่ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น เพื่อทำไว้ในใจซึ่ง

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ฉะนั้น สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควรเพื่อเข้า

ไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล ท่านพระมหากัจจานะได้กล่าวกะภิกษุ

ชั้นเถระทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับมาเฉพาะ

พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุ

ผู้เจริญภาวนาทางใจ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุ

สมัยใด ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำ

อยู่ และเธอย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 600

แห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุผู้เจริญภาวนา-

ทางใจ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม

ถูกถามราคะครอบงำอยู่ และไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งอุบายเป็น

เครื่องสลัดออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ดีแล้ว ขอท่านผู้มีอายุจงแสดง

ธรรมเพื่อละกามราคะแก่ผม ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ย่อมแสดงธรรมเพื่อ

ละกามราคะแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ นี้เป็นสมัยที่ ๑ ที่ควรเพื่อเข้าไปพบภิกษุ

ผู้เจริญภาวนาทางใจ ฯลฯ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนั้นผมได้สดับรับ

มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนภิกษุ สมัยที่ควรเพื่อเข้าไป

พบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ มี ๖ ประการนี้แล.

จบทุติยสมยสูตรที่ ๘

อรรถกถาทุติยสมยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสมยสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า มณฺฑลมาเฬ ได้แก่ในโรงฉัน. บทว่า จาริตฺตกิลมโต ได้แก่

ความลำบากอันเกิดขึ้น จากการเที่ยวบิณฑบาต. บทว่า ภตฺตกิลมโต ได้

แก่ความกระวนกระวายที่เกิดจากภัต. บทว่า วิหารปจฺฉายาย ได้แก่ที่เงาร่ม

ท้ายวิหาร. บทว่า ยเทวสฺส ทิวา สมาธินิมิตฺต มนสิกต โหต

ความว่า ในสมัยนั้น สมถนิมิตนั่นแหละจะสัญจรไปในมโนทวารของภิกษุผู้

นั่งอยู่ในที่พักกลางวัน. บทว่า โอชฏฺายี ความว่า สถิต คือ ประดิษฐาน

อยู่แห่งโอชะ. บทว่า ผาสุกสฺส โหติ ความว่า เธอมีความผาสุก. บทว่า

สมฺมุขา ความว่า ในที่ต่อหน้าผู้บอก. บทว่า สุต ความว่า ได้ฟังด้วย

โสตธาตุ, บทว่า ปฏิคฺคหิต ความว่า ประคองได้ด้วยจิต.

จบอรรถกถาทุติยสมยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 601

๙. อุทายีสูตร

ว่าด้วยอนุสติ ๖

[๓๐๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระอุทายีมา

ถามว่า ดูก่อนอุทายี อนุสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

อย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระ-

อุทายีแม้ครั้งที่ ๒ ว่า ดูก่อนอุทายี อนุสติมีเท่าไรหนอแล เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้นิ่งอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสถามท่านพระอุทายีแม้ครั้งที่ ๓ ว่า ดูก่อนอุทายี อนุสติมีเท่าไรหนอแล

แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุพายีก็ได้นิ่งอยู่.

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ดูก่อนท่าน

อุทายี พระศาสดาตรัสถามท่าน ท่านพระอุทายีได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านอานนท์

ผมได้ยินพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้

เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึก

ถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั่งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสติ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน

อานนท์ เราได้รู้แล้วว่า อุทายีภิกษุนี้เป็นโมฆบุรุษ ไม่เป็นผู้ประกอบอธิจิตอยู่

แล้วตรัสถามท่านพระอานนท์ต่อไปว่า ดูก่อนอานนท์ อนุสติมีเท่าไรหนอ

แล ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสติมี ๕

ประการ ๕ ประการเป็นไฉน ? คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 602

บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มี

อุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสติซึ่งภิกษุเจริญ

แล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมทำอาโลกสัญญาไว้ในใจ ย่อมตั้งสัญญาว่า

เป็นกลางวันอยู่ เธอกระทำอาโลกสัญญาว่ากลางวันไว้ในใจ ฉันใด กลางคืน

ก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจปลอดโปร่ง อันนิวรณ์

ไม่พัวพัน ย่อมเจริญจิตที่มีความสว่างด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

นี้เป็นอนุสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้

ญาณทัสสนะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้า

ขึ้นไป เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มเต็มด้วยสิ่งไม่สะอาดมีประการ

ต่าง ๆ ว่า ในกายนี้ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน

กระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่

อาหารเก่า ดี เสมหะ หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว

น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสติซึ่ง

ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามราคะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุพึงเห็นสรีระเหมือนถูกทั้งไว้ในป่าช้าตายแล้ว

วันหนึ่ง สองวัน หรือสามวัน พองขึ้น มีสีเขียวคล้ำ มีหนองไหลออก

เธอ ย่อมน้อมซึ่งกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แลย่อมมีอย่างนั้นเป็น

ธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็น

สรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า ฝูงกา นกตะกรุม แร้ง สุนัข สุนัขจิ้งจอก

หรือสัตว์ปาณชาติต่างๆ กำลังกัดกิน เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า

กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 603

เป็นอย่างนั้นไปได้ อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกทิ้งไว้ในป่าช้า มีโครงกระดูก

มีเนื้อและเลือด มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีโครงกระดูก ไม่มีเนื้อ และเลือด

มีเอ็นเป็นเครื่องผูก มีโครงกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือด มีเอ็นเป็น

เครื่องผูก เป็นท่อนกระดูก ปราศจากเครื่องผูก เรี่ยราดไปตามทิศต่าง ๆ คือ

กระดูกมือทางหนึ่ง กระดูกเท้าทางหนึ่ง กระดูกแข้งทางหนึ่ง กระดูกขา

ทางหนึ่ง กระดูกเอวทางหนึ่ง กระดูกสันหลังทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะ

ทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมกายนี้แลเข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมี

อย่างนั้นเป็นธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้

อนึ่ง พึงเห็นสรีระเหมือนถูกเขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นกระดูกมีสีขาวเหมือนสีสังข์

เป็นท่อนกระดูก เรี่ยราดเป็นกองเกินหนึ่งปี เป็นท่อนกระดูกผุ เป็นจุณ

เธอย่อมน้อมกายนี้เข้าไปเปรียบอย่างนี้ว่า กายแม้นี้แล ย่อมมีอย่างนั้นเป็น

ธรรมดา ย่อมเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป

เพื่อถอนอัสมิมานะ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ

ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้บริสุทธิ์อยู่

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นอนุสติซึ่งภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้

ย่อมเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธาตุหลายประการ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนุสติ

๕ ประการนี้แล.

พ. ดีละ ดีละ อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงจำอนุสติข้อที่ ๖ แม้นี้

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไป มีสติถอยกลับ มีสติยืนอยู่ มีสตินั่งอยู่

มีสตินอน มีสติประกอบการงาน ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นอนุสติซึ่งภิกษุเจริญ

แล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.

จบอุทายีสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 604

อรรถกถาอุทายีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุทายีสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุทายี ได้แก่ พระโลฬุทายีเถระ. บทว่า สุณามห อาวุโส

ความว่า ดูก่อนอาวุโส เราไม่ใช่คนใบ้ เราได้ยินพระดำรัสของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า แต่เรายังใคร่ครวญปัญหาอยู่. บทว่า อธิจิตฺต ได้แก่ สมาธิจิต

และวิปัสสนาจิต. บทว่า อิท ภนฺเต อนุสฺสติฏฺาน ความว่า เหตุแห่ง

อนุสติ กล่าวคือฌานทั้ง ๓ นี้. บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาราย สวตฺตติ

ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การอยู่เป็นสุข ในอัตภาพนี้เท่านั้น.

บทว่า อาโลกสญฺ ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นในอาโลกนิมิต. บทว่า ทิวา

สญฺ อธิฏฺาติ ได้แก่ ตั้งสัญญาไว้ว้า กลางวัน. บทว่า ยถา ทิวา ตถา

รตฺตึ ความว่า ในเวลากลางวัน เธอมนสิการอาโลกสัญญาโดยประการใด

แม้ในเวลากลางคืน ก็มนสิการอาโลกสัญญานั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า ยถา รตฺตึ ตถา ทิวา ความว่า ในเวลากลางคืน เธอมนสิการ

อาโลกสัญญาอย่างใด แม้ในเวลากลางวัน ก็มนสิการอาโลกสัญญานั้นอย่างนั้น

เหมือนกัน. บทว่า วิวเฏน ได้แก่ ปรากฏแล้ว. บทว่า อปริโยนทฺเธน

ความว่า จะถูกนิวรณ์รึงรัดไว้ก็หาไม่. บทว่า สปฺปภาส จิตฺต ภาเวติ

ความว่า เพิ่มพูนจิตพร้อมด้วยแสงสว่าง คือยังจิตนั้นให้เจริญ เพื่อประโยชน์

แก่ทิพยจักษุญาณ. ก็คำใดที่พระอานนทเถระเจ้ากราบทูลว่า อาโลกสญฺ

มนสิ กโรติ คำนั้นพึงเข้าใจว่า ท่านกล่าวหมายเอาอาโลกสัญญาที่กำจัด

ถีนมิทธะออกไป ไม่ควรเข้าใจว่า หมายเอาอาโลกสัญญา คือทิพยจักษุญาณ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 605

บทว่า าณทสฺสนปฺปฏิลาภาย ความว่า เพื่อการได้เฉพาะซึ่ง

ญาณทัสสนะ กล่าวคือทิพยจักษุ. บรรดาคำมีอาทิว่า อิมเมว กาย คำใด

ที่จะพึงกล่าว คำนั้นทั้งหมดข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว โดยพิสดาร โดยอาการ

ทุกอย่าง ในตอนว่าด้วยกายคตาสติกัมมัฏฐาน ในวิสุทธิมรรค. บทว่า

กามราคสฺส ปหานาย ความว่า เพื่อต้องการละราคะที่เกิดขึ้นจากเบญจ-

กามคุณ. บทว่า เสยฺยถาปิ ปสฺเสยฺย ความว่า พึงเห็นฉันใด. บทว่า

สรีร ได้แก่ สรีระของผู้ที่ตายแล้ว. บทว่า สีวถิกาย ฉทฺฑิต ได้แก่

ร่างกายที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า. ซากศพ ชื่อว่า เอกาหมต เพราะเป็นซากของ

สัตว์ที่ตายแล้ววันเดียว. ชื่อว่า ทฺวีหมต เพราะเป็นซากของสัตว์ที่ตายแล้ว

๒ วัน. ชื่อว่า ตีหมต เพราะเป็นซากของสัตว์ที่ตายแล้ว ๓ วัน. ร่างสัตว์

ชื่อว่า อุทธุมาตะ เพราะหลังจากสิ้นชีวิตแล้ว จะพองขึ้นพองขึ้น โดยอืด

ขึ้นไปตามลำดับเหมือนป่าด้วยลม. อุทธุมาตกะ ก็คืออุทธุมาตะ นั่นเอง.

อีกอย่างหนึ่ง ซากศพที่พองขึ้น ๆ อย่างน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อุทธุมาตกะ. ซากศพที่มีสีเปลี่ยนแปลงไป ท่าน

เรียกว่า วินีละ. วินีละ ก็คือวินีละ นั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง ซากศพที่มี

สีเขียวคล้ำจนน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วินีลกะ

คำว่า วินีลกะนี้ เป็นชื่อของซากศพที่มีสีแดง ในที่ที่มีเนื้อนูนขึ้น มีสีขาว

ในที่ที่กลัดหนอง และโดยมากก็มีสีเขียว เหมือนห่อด้วยผ้าสีเขียว ในที่ที่เขียว.

ซากศพที่มีหนองไหลออกจากปากแผลทั้ง ๙ แห่ง ซึ่งเป็นที่ปะทุออก

ชื่อว่า วิปุพพะบ้าง. วิปุพพกะก็คือวิปุพพะ นั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง ซากศพ

ที่มีหนองไหลออกอย่างน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

วิปุพพกะ. ซากศพที่กลายเป็นศพมีหนองไหลคือถึงความเป็นอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิปุพพกชาตะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 606

บทว่า โส อิมเมว กาย ความว่า ภิกษุนั้นน้อมนำกายของตนนี้

เข้าไปเปรียบเทียบกับกายนั้น ด้วยญาณ. เปรียบเทียบอย่างไร ? เปรียบเทียบ

ว่า ถึงแม้กายนี้แหละ ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา จะเป็นอย่างนี้ ล่วงอย่างนี้ไป

ไม่ได้. มีคำอธิบายว่า เพราะธรรมทั้ง ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อายุ ไออุ่น และ

วิญญาณมีอยู่. กายนี้จึงควรแก่อิริยาบถมีการยืนได้ เดินได้เป็นต้น แต่เพราะ

ปราศจากธรรมทั้ง ๓ อย่างเหล่านี้ แม้ร่างกายนี้ก็จะมีสภาพอย่างนี้เป็นธรรมดา

คือ มีสภาพเปื่อยเน่าอย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า เอว ภาวี ความว่า จักมี

ความแตกต่างโดยเป็นซากศพที่ขึ้นพองเป็นต้น อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า

เอว อนตีโต ความว่า จะไม่ล่วงความเป็นศพขึ้นพองอย่างนี้ไปได้. บทว่า

ขชฺชมาน ความว่า สัตว์ทั้งหลายมีกาเป็นต้น เกาะที่ท้องเป็นต้น แล้วจิกกิน

เนื้อท้อง ริมฝีปาก ลูกตา เป็นต้น. บทว่า สมสโลหิต ได้แก่ ซากศพ

ที่ประกอบด้วยเนื้อและเลือดที่ยังเหลือติดอยู่. บทว่า นิมฺมสโลหิตมกฺขิต

ความว่า ถึงเนื้อจะหมดไปแล้ว โลหิตก็ยังไม่เหือดแห้ง. คำว่า นิมฺมสโลหิต-

มกฺขิต นี้ ท่านกล่าวไว้หมายถึง ซากศพที่หมดเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือดนั้น.

บทว่า อยฺเน ความว่า โดยทิศทางอื่น. บทว่า หตฺถฏฺิก ความว่า

กระดูกมือถึงแยกออกเป็น ๖๔ ชิ้น ก็กระจัดกระจายแยกกันไป. แม้ในกระดูก

เท้าเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า เตโรวสฺสิกานิ ความว่า กระดูกทั้งหลายที่ทั้งไว้เกิน ๑ ปี.

บทว่า ปูตีนิ ความว่า กระดูกที่ตั้งอยู่กลางแจ้งเกิน ๑ ปีนั่นแหละ จะผุ

เพราะถูกลม แดด และฝนชะ แต่กระดูกที่ฝังอยู่ในแผ่นดิน จะอยู่ได้นาน.

บทว่า จุณฺณกชาตานิ ได้แก่ กระจัดกระจายเป็นผุยผงไป. ในทุก ๆ บทต้อง

ทำการประกอบความด้วยสามารถแห่งสัตว์ทั้งหลายมีสัตว์จิกกินเป็นต้น โดยนัย

ที่กล่าวไว้แล้วว่า โส อิมเมว ดังนี้. บทว่า อสฺมิมานสมุคฺฆาตาย ความว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 607

เพื่อต้องการถอนมานะ ๙ อย่าง อันเป็นไปแล้ว ว่าเรามีดังนี้. บทว่า อเนก-

ธาตุปฏิเวธาย ความว่า เพื่อต้องการแทงตลอดธาตุ มีอย่างมิใช่น้อย. บทว่า

สโตว อภิกฺกมติ ความว่า เมื่อจะเดินก็เป็นผู้ประกอบไปด้วยสติปัญญา

เดินไป. บทว่า สโตว ปฏิกฺกมติ ความว่า เมื่อจะถอยกลับ ก็ประกอบ

ไปด้วยสติปัญญา ถอยกลับ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สติสมฺปชญฺาย ความว่า ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความ

ระลึกได้ และความรู้ ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสติและญาณ

คละกันไป ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอุทายีสูตรที่ ๙

๑๐. อนุตตริยสูตร

ว่าด้วยสิ่งยอดเยี่ยม ๖

[๓๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการ

เป็นไฉน คือ ทัสสนานุตริยะ ๑ สวนานุตริยะ ๑ ลาภานุตริยะ ๑

สิกขานุตริยะ ๑ ปาริจริยานุตริยะ ๑ อนุสตานุตริยะ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทัสสนานุตริยะเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อดูช้างแก้วบ้าง ม้าแก้วบ้าง แก้วมณีบ้าง

ของใหญ่ของเล็ก หรือสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ทัสสนะนั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าทัสสนะนี้นั้นแลเป็น

กิจเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 608

เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความ

เลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกพระตถาคต การเห็นนี้ยอดเยี่ยม

กว่าการเห็นทั้งหลาย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อ

ก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อ

บรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล

ผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง

ไปเห็นพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่าทัสสนานุตริยะ.

ทัสสนานุตริยะเป็นดังนี้.

ก็สวนานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน

ในโลกนี้ ย่อมไปเพื่อฟังเสียงกลองบ้าง เสียงพิณบ้าง เสียงเพลงขับบ้าง

หรือเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ย่อมไปเพื่อฟังธรรมของสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด

ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การฟังนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่า

การฟังนี้นั้นเป็นกิจแล้ว. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น

มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมไปฟังธรรม

ของพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต การฟังนี้ยอดเยี่ยมกว่าการฟังทั้งหลาย

ย่อมเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. . . เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา

ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ไปเพื่อฟังธรรมของพระตถาคตหรือสาวกของ

พระตถาคตนี้ เราเรียกว่า สวนานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ

เป็นดังนี้.

ก็ลาภานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน

โลกนี้ ย่อมได้ลาภคือบุตรบ้าง ภรรยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือลาภมากบ้าง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 609

น้อยบ้าง หรือได้ศรัทธาในสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าลาภนี้นั้นเป็น

ของเลว. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น

มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือ

สาวกของพระตถาคต การได้นี้ยอดเยี่ยมกว่าการได้ทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อม

เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. . . เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว

มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้

เราเรียกว่า ลาภานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะเป็น

ดังนี้.

ก็สิกขานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนใน

โลกนี้ ย่อมศึกษาศิลปะเกี่ยวกับช้างบ้าง ม้าบ้าง รถบ้าง ธนูบ้าง ดาบบ้าง

หรือศึกษาศิลปะชั้นสูงชั้นต่ำ ย่อมศึกษาต่อสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด

ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การศึกษานี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี

ก็แต่ว่าการศึกษานั้นเป็นการศึกษาที่เลว. . .ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมี

ศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง

ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรมวินัยที่พระตถาคต

ประกาศแล้ว การศึกษานี้ยอดเยี่ยมกว่าการศึกษาทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อม

เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. . . เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั่งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว

มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง ในธรรม

วินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วนี้ เราเรียกว่า สิกขานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะ

สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ สิกขานุตริยะ เป็นดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 610

ก็ปาริจริยานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน

ในโลกนี้ ย่อมบำรุงกษัตริย์บ้าง สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง คฤหบดีบ้าง บำรุง

คนชั้นสูงชั้นต่ำ บำรุงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลายการบำรุงนี้นั้นมีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการบำรุงนี้นั้นเป็นการ

บำรุงที่เลว. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น

มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของ

พระตถาคต การบำรุงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการบำรุงทั้งหลาย. ย่อมเป็นไปเพื่อความ

บริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย. . . เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความ

เลื่อมใสยิ่ง ย่อมบำรุงพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตนี้ เราเรียกว่า

ปาริจริยานุตริยะ. ทัสสนานุตริยะ สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ สิกขานุตริยะ

ปาริจริยานุตริยะ เป็นดังนี้.

ก็อนุสตานุตริยะเป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน

ในโลกนี้ ย่อมระลึกถึงการได้บุตรบ้าง ภริยาบ้าง ทรัพย์บ้าง หรือการได้

มากน้อย ระลึกถึงสมณะหรือพราหมณ์ผู้เห็นผิด ผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การระลึกนี้มีอยู่ เราไม่กล่าวว่า ไม่มี ก็แต่ว่าการระลึกนี้นั้นเป็นกิจเลว . . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น มีศรัทธา

ไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวกของพระ-

ตถาคต การระลึกถึงนี้ยอดเยี่ยมกว่าการระลึกถึงทั้งหลาย ย่อมเป็นไปพร้อม

เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร

เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง

นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีศรัทธาตั้งมั่น มีความรักตั้งมั่น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 611

มีศรัทธาไม่หวั่นไหว มีความเลื่อมใสยิ่ง ย่อมระลึกถึงพระตถาคตหรือสาวก

ของพระตถาคต นี้เราเรียกว่า อนุสตานุตริยะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุตริยะ

๖ ประการนี้แล.

ภิกษุเหล่าใดได้ ทัสสนานุตริยะ

สวนานุตริยะ ลาภานุตริยะ ยินดีใน

สิกขานุตริยะ เข้าไปตั้งการบำรุง เจริญ

อนุสติที่ประกอบด้วยวิเวกเป็นแดนเกษม

ให้ถึงอมตธรรม ผู้บันเทิงในความไม่ประ-

มาท มีปัญญารักษาตน สำรวมในศีล

ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมรู้ชัดซึ่งที่เป็นที่ดับ-

ทุกข์ โดยกาลอันควร.

จบอนุตตริยสูตรที่ ๑๐

จบอนุตตริยวรรคที่ ๓

อรรถกถาอนุตตริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนุตตริยสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุจฺจาวจ ความว่า อีกอย่างหนึ่ง (ไปเพื่อฟัง) เสียง

ใหญ่น้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ. บทว่า หีน แปลว่า

เลว. บทว่า คมฺม ความว่า เป็นการดูของชาวบ้าน. บทว่า โปถุชฺชนิกาน

ความว่า เป็นของมีอยู่แห่งปุถุชน. บทว่า อนริย ความว่า ไม่ประเสริฐ

คือไม่สูงสุด ได้แก่ ไม่บริสุทธิ์. บทว่า อนตฺถสญฺหิต ความว่า ไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 612

บทว่า น นิพฺพิทาย ความว่า มิใช่เพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อ-

หน่ายในวิฏฏะ. บทว่า น วิราคาย ความว่า มิใช่เป็นไปเพื่อประโยชน์

แก่การสำรอกราคะเป็นต้น. บทว่า น นิโรธาย ความว่า ไม่ใช่เป็นไป

เพื่อดับความไม่เป็นไป แห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า น อุปสมาย คือ

ไม่ใช่เป็นไปเพื่อสงบระงับกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า น อภิญฺาย

ความว่า มิใช่เป็นไป เพื่อต้องการรู้ยิ่ง.

บทว่า น สมฺโพธาย ความว่า มิใช่เพื่อต้องการแทงตลอด

มัคคญาณทั้ง ๔ กล่าวคือ สัมโพธิญาณ. บทว่า น นิพฺพานาย ความว่า

ไม่ใช่เป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน. บทว่า นิวิฏฺสทฺโธ ความว่า

ผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว. บทว่า นิวิฏฺเปโม ความว่า ได้แก่มีความรัก

ตั้งมั่นแล้ว. บทว่า เอกนฺตคโต ความว่า ถึงที่สุดยอด อธิบายว่า มีศรัทธา

ไม่คลอนแคลน. บทว่า อภิปฺปสนฺโน ความว่า เลื่อมใสเหลือเกิน. บทว่า

เอตทานุตฺตริย ความว่า การเห็นนี้ เป็นการเห็นที่ไม่มีการเห็นอย่างอื่น

เยี่ยมกว่า.

บทว่า หตฺถิสฺมิมฺปิ สิกฺขติ ความว่า ศึกษาหัตถิศิลปะที่มีช้าง

เป็นนิมิต ที่จะต้องศึกษา. แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อุจฺจาวจ ได้แก่ ศึกษาศิลปะใหญ่น้อย. บทว่า อุปฏิตา ปาริจริเย

ความว่า บำรุงด้วยการปรนนิบัติ. บทว่า ภาวยนฺติ อนุสฺสตึ ความว่า

เจริญอนุสติอันยอดเยี่ยม. บทว่า วิเวกปฺปฏิสยุตฺต ความว่า กระทำให้

อาศัยพระนิพพาน. บทว่า เขม ได้แก่ ปราศจากอุปัทวันตราย. บทว่า

อมตคามิน ความว่า ให้ถึงพระนิพพาน อธิบายว่า บำเพ็ญอริยมรรค.

บทว่า อปฺปมาเท ปโมทิตา ความว่า บันเทิงทั่วในความ

ไม่ประมาท กล่าวคือการไม่อยู่ปราศจากสติ. บทว่า นิปกา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 613

ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน. บทว่า สีลสวุตา ความว่า สังวร

คือปิดกั้นไว้ด้วยศีล. บทว่า เต เว กาเลน ปจฺจนฺติ ความว่า ภิกษุ-

เหล่านั้นแล ย่อมรู้ (เหตุที่ดับทุกข์) ตามกาลที่เหมาะสม. บทว่า ยตฺถ

ทุกฺข นิรุชฺฌติ มีอธิบายว่า ภิกษุเหล่านั้น ย่อมรู้ฐานะเป็นที่ดับวัฏทุกข์

ทั้งสิ้น คืออมตมหานิพพาน. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอนุตริยะ

๖ คละกันไปฉะนี้แล.

จบอนุตตริยสูตรที่ ๑๐

จบอนุตตริยวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สามกสูตร ๒. อปริหานิยสูตร ๓. ภยสูตร ๔. หิมวันตสูตร

๕. อนุสสติฐานสูตร ๖. กัจจานสูตร ๗. ปฐมสมยสูตร ๘. ทุติยสมยสูตร

๙. อุทายีสูตร ๑๐. อนุตตริยสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 614

เสขปริหานิยวรรคที่ ๔

๑. เสกขสูตร

ว่าด้วยธรรมเสื่อมและไม่เสื่อมของพระเสขะ ๖

[๓๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็น

ผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ความเป็น

ผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑

ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๖ ประการ

นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม

แก่ภิกษุผู้เสขะธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ชอบการงาน ๑

ความเป็นผู้ไม่ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบความหลับ ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบ

การคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความ

เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล

ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

จบเสกขสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 615

เสขปริหานิยวรรควรรณาที่ ๔

อรรถกถาเสกขสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเสกขสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า เสขสฺส ได้แก่ พระเสขบุคคล ๗ จำพวก. สำหรับใน

ปุถุชน ไม่มีอะไรที่จะต้องพูดถึงเลย. บทว่า ปริหานาย ความว่า เพื่อ

เสื่อมจากคุณความดีเบื้องสูง.

จบอรรถกถาเสกขสูตรที่ ๑

๒. ปฐมอปริหานิยสูตร

ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๖

[๓๐๓] ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมี

งามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้

ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม ๑ ความ

เป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพ

ในความไม่ประมาท ๑ ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เทวดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 616

นั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น เทวดาองค์นั้น

ทราบว่า พระศาสดาของเราทรงพอพระทัยแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้น.

ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว มี

รัศมีงามยิ่ง ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้ามาหาเราถึงที่อยู่

อภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ

ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความ

เป็นผู้เคารพในพระธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้

เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท ๑ ความเป็นผู้

เคารพในปฏิสันถาร ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อม

เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาองค์นั้นได้กล่าว

ดังนี้แล้ว อภิวาทเรา ทำประทักษิณแล้ว ได้หายไป ณ ที่นั้น.

ภิกษุผู้เคารพในพระศาสดา เคารพ

ในพระธรรม เคารพอย่างแรงกล้าในพระ

สงฆ์ เคารพในความไม่ประมาท เคารพ

ในปฏิสันถาร ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อเสื่อม

ย่อมมี ณ ที่ใกล้นิพพานทีเดียว.

จบปฐมอปริหานิยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 617

อรรถกถาปฐมอปริหานิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอปริหานิยสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-

ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ชื่อว่า สตฺถุคารวตา. ความเป็นผู้

เคารพในโลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่า ธมฺมคารวตา. ความเป็นผู้

เคารพในพระสงฆ์ ชื่อว่า สงฺฆคารวตา. การกระทำความเคารพใน

สิกขา ๓ ชื่อว่า สิกฺขาคารวตา. ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท

ชื่อว่า อปฺปมาทคารวตา. ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร ๒ อย่าง

ด้วยสามารถแห่งธรรม และอามิส ชื่อว่า ปฏิสณฺารคารวตา.

ภิกษุชื่อว่า สตฺถุครุ เพราะมีความเคารพในพระศาสดา. ภิกษุ

ชื่อว่า ธมฺมครุ เพราะมีความเคารพในพระธรรม. ความเคารพอย่างหนัก

ชื่อว่า ติพฺพคารโว. ภิกษุชื่อว่า ปฏิสณฺารคารโว เพราะมีความเคารพใน

ปฏิสันถาร.

จบอรรถกถาปฐมอปริหานิยสูตรที่ ๒

๓. ทุติยอปริหานิยสูตร

ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๖ ประการ

[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐม-

ยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้า

มาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 618

เพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้

เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม ๑ ความเป็นผู้

เคารพในพระสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพใน

หิริ ๑ ความเป็นผู้เคารพในโอตตัปปะ ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖

ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เทวดานั้น ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทเราทำประทักษิณแล้วหายไป ณ

ที่นั้นแล.

ภิกษุ ผู้เคารพในพระศาสดา เคารพ

ในพระธรรม เคารพอย่างแรงกล้าในพระ

สงฆ์ ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ มี

ความยำเกรง มีความเคารพ ย่อมเป็นผู้

ไม่ควรเพื่อเสื่อม ย่อมมีในที่ใกล้นิพพาน

ทีเดียว.

จบทุติยอปริหานิยสูตรที่ ๓

อรรถกถาทุติยอปริหานิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอปริหานิยสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สปฺปติสฺโส ได้แก่ มีหัวหน้า มีความเคารพ. อนึ่ง ในพระ

สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หิริโอตัปปะ ไว้คละกัน.

จบอรรถกถาทุติยอปริหานิยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 619

๔. โมคคัลลานสูตร

ว่าด้วยพระเถระสนทนากับติสสพรหม

[๓๐๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระ

มหาโมคคัลลานะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า

เทวดาเหล่าไหนหนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่

ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ก็สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าติสสะทำกาละไม่นาน ได้เข้าถึงพรหมโลกชั้น

หนึ่ง ณ พรหมโลกแม้ชั้นนั้น เทวดาทั้งหลายย่อมรู้จักพรหมผู้นั้นอย่างนี้

ว่า ติสสพรหม เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ครั้งนั้นท่านพระมหา-

โมคคัลลานะ ได้หายจากพระวิหารเชตวันไปปรากฏในพรหมโลก เปรียบ

เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ติสส-

พรหมได้เห็นท่านพระโมคคัลลานะมาแต่ไกล ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านว่า

ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ นิมนต์มาเถิด ท่านมาดีแล้ว ท่านได้

ทำปริยายในการมา ณ ที่นี้นานนักแล นิมนต์นั่งขอรับ นี้อาสนะปูลาดไว้

แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ติสสพรหม

อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามว่า ดูก่อนท่านติสสพรหม เทวดาชั้น

ไหนหนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ติสสพรหมได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระ

โมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นจาตุมหาราชแล ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 620

เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็น

เบื้องหน้า.

ม. ดูก่อนติสสพรหม เทวดาชั้นจาตุมหาราชทั้งปวงทีเดียวหรือหนอ

ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ติ. ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นจาตุมหาราชมิใช่ทั้ง

ปวง ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์

เทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่าใด ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว

ในพระพุทธเจ้า ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม

ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ไม่ประกอบด้วยศีล

ที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่านั้น ย่อมไม่มีญาณอย่างนี้ว่า

เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็น

เบื้องหน้า ส่วนเทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่าใด ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน

ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า. . . ในพระธรรม . . . ในพระสงฆ์ ประกอบ

ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่านั้น ย่อมมีญาณอย่าง

นี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ

ตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ม. ดูก่อนท่านติสสพรหม เทวดาชั้นจาตุมหาราชเท่านั้นหรือหนอ

ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า หรือว่าแม้เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ แม้

เทวดาชั้นยามา ฯลฯ แม้เทวดาชั้นดุสิต ฯลฯ แม้เทวดาชั้นนิมมานรดี ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 621

แม้เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ก็มีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มี

ความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า.

ติ. ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ แม้เทวดาชั้นปรนิมมิตว-

สวัตดี ก็ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น

ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ม. ดูก่อนท่านติสสพรหม เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีทั้งปวงทีเดียว

หรือหนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น

ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ติ. ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

มิใช่ทั้งปวง ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น

ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้

นิรทุกข์ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่าใด ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส

อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า. . .ในพระธรรม...ในพระสงฆ์ ไม่ประกอบ

ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่านั้น ย่อมไม่มีญาณ

อย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง

ที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ส่วนเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่าใด ประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า. . . ในพระธรรม... ในพระสงฆ์

ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีเหล่านั้น ย่อม

มีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้

เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของ

ติสสพรหมแล้วหายจากพรหมโลก ไปปรากฏ ณ พระวิหารเชตวัน เปรียบ

เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

จบโมคคัลลานสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 622

อรรถกถาโมคคัลลานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโมคคัลลานสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ติสฺโส นาม ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของ

พระเถระนั่นเอง. บทว่า มหิทฺธิโก มหานุภาโว ความว่า ภิกษุชื่อว่า

มหิทฺธิโก เพราะมีฤทธิ์มาก โดยอรรถว่า ยังกิจให้สำเร็จได้ (ตามประสงค์)

ชื่อว่า มหานุภโว เพราะมีอานุภาพมาก โดยอรรถว่า แผ่ขยายไปเนือง ๆ.

บทว่า จิรสฺส โข มาริส โมคฺคลฺลาน อิม ปริยายมกาสิ นี้

เป็นคำทักทายที่น่ารักตามปกติของชาวโลก อธิบายว่า ชาวโลกเห็นคนที่นานๆ

มาบ้าง เห็นคนที่มีลักษณะน่าพอใจ ผู้ยังไม่เคยมาแล้วบ้าง จะกล่าวคำมีอาทิว่า

พ่อมหาจำเริญ พ่อมาจากไหน ? พ่อมหาจำเริญ นาน ๆ พ่อจึงจะมา พ่อ-

มหาจำเริญ รู้ทางมาที่นี่ได้อย่างไร ? พ่อหลงทางมาหรืออย่างไร ? แต่

ติสสพรหมนี้ กล่าวอย่างนี้ เพราะเคยเห็นท่านมาแล้ว. แท้จริง พระเถระ

ไปพรหมโลกนั่นแหละตามกาลที่สมควร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริยาย-

มกาสิ ความว่า ได้ทำไปตามวาระ. บทว่า ยทิท อิธาคมาย มีอธิบายที่

ท่านกล่าวไว้ว่า นาน ๆ ท่านจะได้ทำวาระ เพื่อจะมายังพรหมโลกนี้.

บทว่า อิทมาสน ปญฺตฺต ความว่า ติสสพรหม ปูลาดพรหม-

บัลลังก์มีค่ามาก แล้วกล่าวอย่างนี้. บทว่า อเวจฺจปฺปสาเทน ความว่า ด้วย

ความเลื่อมใสอันสัมปยุตด้วยมรรค ที่ไม่คลอนแคลน ที่ตนได้บรรลุแล้ว. ใน

พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโสดาปัตติมรรคญาณไว้.

จบอรรถกถาโมคคัลลานสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 623

๕. วิชชาภาคิยสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นส่วนให้เกิดวิชชา

[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปใน

ส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คืออนิจจสัญญา ๑ อนิจเจ-

ทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑

นิโรธสัญญา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปในส่วน

แห่งวิชชา.

จบวิชชาภาคิยสูตรที่ ๕

อรรถกถาวิชชาภาคิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิชชาภาคิยสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า วิชฺชาภาคิยา ความว่า เป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนของวิชชา.

สัญญาที่เกิดขึ้นในอนิจจานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อนิจจสัญญา. สัญญาที่เกิด

ขึ้นในทุกขานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อนิจเจ ทุกขสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้น

ในอนัตตานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า ทุกเข อนัตตสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้นใน

ปหานานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า ปหานสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้นในวิราคา-

นุปัสสนาญาณ ชื่อว่า วิราคสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้นในนิโรธานุปัสสนาญาณ

ชื่อว่า นิโรธสัญญา.

จบอรรถกถาวิชชาภาคิยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 624

๖. วิวาทมูลสูตร

ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการ

[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการนี้

๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ

ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดย่อมเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้น

ย่อมเป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระศาสดา. . . แม้ใน

พระธรรม. . . แม้ในพระสงฆ์ เป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดา. . . ในพระธรรม. . .

ในพระสงฆ์ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์

ซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อสิ่งไม่เป็นสุขแก่ชน

หมู่มาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก

เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพึง

พิจารณาเห็นซึ่งมูลเหตุแห่งการวิวาทเห็นปานนั้น ในภายในหรือภายนอกไซร้

เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้นเสีย ถ้าเธอ

ทั้งหลายไม่พึงพิจารณาเห็นซึ่งมูลเหตุแห่งการวิวาทเห็นปานนั้น ในภายในหรือ

ภายนอกไซร้ เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อไม่ให้มูลเหตุแห่งการวิวาทเห็นปานนั้น

ครอบงำต่อไป การละมูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นปานนั้น (และ) มูลเหตุ

แห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้น ไม่ครอบงำต่อไป ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ เป็นผู้ริษยา มีความ

ตระหนี่ เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด

เป็นผู้มีความถือมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละความเห็นของตนได้ยาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 625

ภิกษุใดเป็นผู้ถือมั่นทิฏฐิของตน ถือรั้น สละความเห็นของทนได้ยาก ภิกษุนั้น

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดา. . .แม้ในพระธรรม. . .

แม้ในพระสงฆ์ ไม่กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาฯลฯ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ย่อม

ก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล

แก่ชนหมู่มาก เพื่อสิ่งที่ไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อสิ่งที่

ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพึงพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการวิวาทเห็น

ปานนั้น ในภายในหรือภายนอกไซร้ เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละเหตุแห่ง

การวิวาทที่เป็นบาปนั้นเสีย ถ้าเธอทั้งหลายไม่พึงพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการ

วิวาทเห็นปานนั้น ในภายในหรือภายนอกไซร้ เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อไม่

ให้มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้นครอบงำต่อไป การละมูลเหตุแห่งการ

วิวาทที่เป็นบาปนั้น (และ) มูลเหตุแห่งการวิวาทที่เป็นบาปนั้นไม่ครอบงำ

ต่อไป ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการนี้แล.

จบวิวาทมูลสูตร ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 626

อรรถกถาวิวาทมูลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิวาทมูลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

มูลเหตุของการวิวาท ชื่อว่า วิวาทมูล. ผู้ที่ประกอบด้วยความโกรธ

มีความเคืองเป็นลักษณะ ชื่อว่า โกธนะ (ผู้มักโกรธ) ผู้ประกอบด้วยการ

ผูกโกรธ มีการไม่สลัดเวรเป็นลักษณะ ชื่อว่า อุปนาหี (ผูกโกรธ). บทว่า

อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสาน ความว่า การวิวาทของภิกษุ ๒ รูป

ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย.

ถามว่า เป็นไปได้อย่างไร ? ตอบว่า (เป็นไปได้อย่างนี้ คือ) เมื่อ

ภิกษุ ๒ รูปวิวาทกัน อันเตวาสิกของท่านทั้งสองนั้น ในวัดนั้นก็จะวิวาทกัน

ภิกษุณีสงฆ์ผู้รับโอวาทของภิกษุเหล่านี้ ก็จะวิวาทกัน เหมือนในคัมภีร์โกสัมพี-

ขันธกะ ต่อจากนั้น อุปัฏฐากของท่านเหล่านั้น ก็จะวิวาทกัน ต่อมาอารักข-

เทวดาของมนุษย์ทั้งหลาย ก็จะแยกกันเป็นสองฝ่าย อารักขเทวดาของฝ่าย

พระธรรมวาที ก็จะเป็นเช่นนั้น คือเป็นข้างฝ่ายพระธรรมวาที ของฝ่ายพวก

อธรรมวาที ก็จะเป็นพวกอธรรมวาที. ต่อจากนั้น ภุมมเทวดาผู้เป็นมิตรของ

อารักขเทวดาทั้งหลาย ก็จะแตกกัน. แต่ (ถ้า) ฝ่ายอธรรมวาที มีจำนวน

มากกว่าฝ่ายธรรมวาที ต่อแต่นั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็จะยึดเอาสิ่งที่

คนจำนวนมากยึดถือ จะพากันละทิ้งธรรมยึดเอาอธรรม เป็นจำนวนมาก

ทีเดียว. เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น เมื่ออยู่อย่างยึดเอาอธรรมเป็นหลัก ก็จัก

เกิดในอบาย การวิวาทของภิกษุทั้งสองรูป ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 627

บทว่า อชฺฌตฺต วา ได้แก่ บริษัทภายในของท่านทั้งหลาย. บทว่า

พหิทฺธา ได้แก่ บริษัทของคนเหล่าอื่น. ผู้ที่ประกอบไปด้วยการลบหลู่ ที่มี

การลบล้างคุณของผู้อื่นเป็นลักษณะ ชื่อว่า มักขี. ผู้ที่ประกอบไปด้วยการ

ตีเสมอ มีการจักคู่เป็นลักษณะ ชื่อว่า ปฬาสี (ตีเสมอ). ผู้ที่ประกอบไป

ด้วยความริษยา ที่มีความริษยาในสักการะเป็นต้นของผู้อื่นเป็นลักษณะ ชื่อว่า

อิสฺสุกี (ริษยา).

ผู้ที่ประกอบไปด้วยความตระหนี่ทั้งหลาย มีความตระหนี่ที่อยู่เป็นต้น

ชื่อว่า มัจฉรี (ผู้ตระหนี่) ผู้ที่โอ้อวด ชื่อว่า สฐะ ผู้ที่ปกปิดสิ่งที่ทำไว้แล้ว

ชื่อว่า มายาวี. ผู้ทุศีล ผู้ปรารถนาความยกย่องที่ไม่มีอยู่ ชื่อว่า ปาปิจฺโฉ

(ปรารถนาลามก ).

บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ นัตถิกวาทีบุคคล อเหตุกวาทีบุคคล

อกิริยวาทีบุคคล. บทว่า สนฺทิฏฺิปรามาสี ได้แก่ ผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน

นั่นแล. บทว่า อาธานคฺคาหี ได้แก่ ผู้ยึดมั่น. บทว่า ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี

ได้แก่ เป็นผู้ไม่อาจจะละทิฏฐิที่ตนยึดแล้ว. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสวัฏฏะไว้อย่างเดียวเท่านั้น.

จบอรรถกถาวิวาทมูลสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 628

๗. ทานสูตร

ว่าด้วยองค์แห่งทักษิณาทาน ๖ ประการ

[๓๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อุบาสิกร

ชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖

ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประมุข พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ทรงเห็นอุบาสิกาชื่อนันทมารดา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะถวาย

ทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและ

พระโมคคัลลานะเป็นประมุข ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาชื่อนันทมารดา

ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้นถวายทักษิณาทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ

ในภิกษุสงฆ์มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประมุข ก็ทักษิณาทาน

อันประกอบด้วยองค์ ๖ ประการเป็นอย่างไร ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหก องค์ ๓

ของทายกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกก่อนให้ทาน เป็นผู้ดีใจ ๑

กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ๑ ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ ๑

นี้องค์ ๓ ของทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปฏิคาหกในศาสนานี้เป็นผู้ปราศจากราคะหรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ ๑

เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ๑ เป็นผู้ปราศจาก

โมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ๑ นี้องค์ ๓ ของปฏิคาหก องค์ ๓ ของ

ทายก องค์ ๓ ของปฏิคาหกย่อมมีประการดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายทักษิณา-

ทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล การถือประมาณ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 629

บุญแห่งทักษิณาทานที่ประกอบด้วยองค์ ๖ ประการอย่างนี้ว่า หวังบุญห้วงกุศล

มีประมาณเท่านี้นำสุขมาให้มีอารมณ์เลิศ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์

ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อสุข ดังนี้ ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้ บุญแห่งทักษิณาทานนั้น ย่อมถึง

การนับว่า เป็นห้วงบุญห้วงกุศลที่จะนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นกองบุญ

ใหญ่ทีเดียว เปรียบเหมือนการถือเอาประมาณแห่งน้ำในมหาสมุทรว่า เท่านี้

อาฬหกะ เท่านี้ร้อยอาฬหกะ เท่านี้พันอาฬหกะ หรือเท่านี้แสนอาฬหกะ

ไม่ใช่ทำได้ง่าย โดยที่แท้ น้ำในมหาสมุทรย่อมถึงการนับว่า เป็นห้วงน้ำที่จะ

นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นห้วงน้ำใหญ่ทีเดียวฉะนั้น.

ทายกก่อนแต่จะให้ทาน เป็นผู้ดีใจ

กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส ครั้น

ให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ นี้เป็นยัญสมบัติ

ปฏิคาหกผู้สำรวมประพฤติพรหมจรรย์ทั้ง-

หลาย คือ ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจาก

โทสะ ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะย่อมเป็น

เขตถึงพร้อมแห่งยัญ ทายกต้อนรับปฏิคาหก

ด้วยตนเองถวายทานด้วยมือตนเอง ยัญนั้น

ย่อมมีผลมากเพราะตน (ทายกผู้ให้ทาน)

และเพราะผู้อื่น (ปฏิคาหก) ทายกผู้มีปัญญา

มีศรัทธาเป็นบัณฑิตมีใจพ้นจากความตระ-

หนี่ ครั้นบำเพ็ญทานอย่างนี้แล้ว ย่อมเข้า

ถึงโลกที่เป็นสุขไม่มีความเบียดเบียน.

จบทานสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 630

อรรถกถาทานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เวฬุกณฺฏกี ได้แก่ เป็นชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ. บทว่า

ฉฬงฺคสมนฺนาคต ความว่า ประกอบไปด้วยองค์คุณ ๖ ประการ. บทว่า

ทกฺขิณ ปติฏาเปติ ความว่า ถวายทาน. บทว่า ปุพฺเพว ทานา สุมโน

ความว่า เป็นผู้ถึงความโสมนัสตั้งเดือนหนึ่งว่า เราจักถวายทาน. อธิบายว่า

บุรพเจตนา ในคำว่า ปุพฺเพว ทานา สฺมโน นี้ ย่อมมีแก่ผู้เริ่มต้นทำนา

โดยคิดอยู่ว่า เราจักถวายทานด้วยข้าวกล้าที่เกิดจากนานี้ จำเดิมแต่กาลที่เกิด

ความคิดขึ้นว่า เราจักถวายทาน. ส่วนมุญจนเจตนา (ความตั้งใจสละ)

ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เมื่อให้ ย่อมยังจิตให้ผ่องใสดังนี้ ย่อมมีได้ในเวลาให้ทาน

เท่านั้น แต่อปรเจตนานี้ ว่า ครั้นให้แล้ว ก็มีจิตปราบปลื้ม ดังนี้ ย่อมมีแก่

ผู้ระลึกถึงในภายหลัง ในกาลต่อ ๆ มา.

บทว่า วีตราคา ได้แก่ พระขีณาสพผู้ปราศจากราคะ. บทว่า

ราควินยาย วา ปฏิปนฺนา ความว่า ดำเนินปฏิปทา ที่เป็นเหตุนำราคะ

ออกไป. และเทศนานี้ เป็นเทศนาอย่างอุกฤษฏ์ แต่มิใช่สำหรับพระขีณาสพ

อย่างเดียวเท่านั้น แม้พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน โดยที่สุด

แม้สามเณรผู้ถือภัณฑะบวชแล้วในวันนั้น ทักษิณาที่ถวายแล้วย่อมชื่อว่าประกอบ

ไปด้วยองค์ ๖ ทั้งนั้น. เพราะว่า แม้สามเณรก็บวชเพื่อโสดาปัตติมรรค

เหมือนกัน.

ความบริบูรณ์แห่งทาน ชื่อว่า ยัญสัมปทา. บทว่า สญฺตา

ความว่า สำรวมแล้ว ด้วยความสำรวมคือศีล. บทว่า สย อาจมยิตฺวาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 631

ความว่า ตนเองล้างมือ ล้างเท้า แล้วล้างหน้า. บทว่า สเกหิ ปาณิภิ

ความว่า ด้วยมือของตน. ปาฐะเป็น สเยหิ ก็มี. บทว่า สทฺโธ ได้แก่

เชื่อคุณพระรัตนตรัย. บทว่า มุตฺเตน เจตสา ความว่า มีจิตหลุดพ้นจาก

ความตระหนี่ในลาภเป็นต้น. บทว่า อพฺยาปชฺฌ สุข โลก ได้แก่

เทวโลกที่ปราศจากทุกข์มีแต่สุขและโสมนัสอันโอฬาร.

จบอรรถกถาทานสูตรที่ ๗

๘. อัตตการีสูตร

ว่าด้วยการทำเพื่อตนและเพื่อคนอื่น

[๓๐๙] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้

ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ข้าพระองค์มีวาทะอย่างนี้

มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า การทำเพื่อตนไม่มี การทำเพื่อผู้อื่นไม่มี พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราอย่าได้เห็นหรือได้ฟังของบุคคลผู้กล่าวว่า

เรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ก็บุคคลเมื่อก้าวไปเองได้ ถอยกลับเองได้

ไฉนเล่าจักกล่าวอย่างนี้ว่า การทำเพื่อตนไม่มี การทำเพื่อผู้อื่นไม่มี ดูก่อน

พราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อารัพภธาตุ (ความเพียรเป็น

เหตุปรารภ) มีอยู่หรือ.

พราหมณ์. อย่างนั้น ท่านพระโคดม.

พ. เมื่ออารัพภธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความปรารภย่อมปรากฏหรือ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 632

พราหมณ์ อย่างนั้น ท่านพระโคดม.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ การที่เมื่ออารัพภธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้มี

ความปรารภย่อมปรากฏนี้แหละเป็นการทำเพื่อตน นี้แหละเป็นการทำเพื่อผู้อื่น

ของสัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นิกกมธาตุ

(ความเพียรเป็นเครื่องก้าวออก) มีอยู่หรือ ฯลฯ ปรักกมธาตุ (ความเพียร

เป็นเครื่องก้าวไปข้างหน้า) มีอยู่หรือ ถามธาตุ (ความเพียรเป็นกำลัง) มีอยู่หรือ

ธิติธาตุ (ความเพียรเป็นเครื่องทรงไว้) มีอยู่หรือ อุปักกมธาตุ (ความพยายาม)

มีอยู่หรือ.

พราหมณ์ อย่างนั้น ท่านพระโคดม.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ เมื่ออุปักกมธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความ

พยายามย่อมปรากฏหรือ.

พราหมณ์. อย่างนั้น ท่านพระโคดม.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ การที่เมื่ออุปักกมธาตุมีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้มี

ความพยายามย่อมปรากฏ นี้แหละเป็นการกระทำเพื่อตน นี้แหละเป็นการทำ

เพื่อผู้อื่นของสัตว์ทั้งหลาย ดูก่อนพราหมณ์ เราอย่าได้เห็นหรือได้ฟังคำของ

บุคคลผู้กล่าวว่า เรามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ก็บุคคลเมื่อก้าวไปเองได้

ถอยกลับเองได้ ไฉนเล่าจักกล่าวอย่างนี้ว่า การทำเพื่อตนไม่มี การทำเพื่อ

ผู้อื่นไม่มี.

พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก

ข้าแต่พระโคมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประ-

กาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 633

รูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ

กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคมผู้เจริญโปรดทรงจำ

ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบอัตตการีสูตรที่ ๘

อรรถกถาอัตตการีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัตตการีสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อทฺทส วา อสฺโสสึ วา ความว่า เราอย่าได้ลืมตาเห็น

อย่าได้ยินว่า เขาอยู่ในที่ชื่อโน้น หรืออย่าได้ยินถ้อยคำที่เขาพูด. บทว่า

กถ หิ นาม ความว่า ด้วยเหตุชื่อไร ?

ความเพียรที่เป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งความริเริ่ม ชื่อว่า

อารพฺภธาตุ. ความเพียรที่มีสภาพก้าวออกไปจากความเกียจคร้าน ชื่อว่า

นิกฺกมตา. สภาวะของความก้าวหน้า ชื่อว่า ปรกฺกกมธาตุ. สภาวะของกำลัง

ชื่อว่า ถามธาตุ. สภาวะของธิติ ชื่อว่า ธิติธาตุ. สภาวะของความพยายาม

ชื่อว่า อุปกฺกมธาตุ. อนึ่ง คำทั้งหมดนี้ เป็นชื่อของความเพียรอย่างเดียว

ที่เป็นไปแล้วโดยอาการนั้น.

จบอรรถกถาอัตตการีสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 634

๙. นิทานสูตร

ว่าด้วยอกุศลมูลและกุศลมูล

[๓๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเพื่อเกิดกรรม (อกุศลกรรม)

๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อโลภะย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะโลภะ โดยที่แท้ โลภะย่อม

เกิดขึ้นเพราะโลภะ อโทสะย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะโทสะ โดยที่แท้ โทสะย่อม

เกิดขึ้นเพราะโทสะ อโมหะย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะโมหะ โดยที่แท้ โมหะย่อม

เกิดขึ้นเพราะโมหะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดา มนุษย์ หรือแม้สุคติ

อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่ปรากฏเพราะกรรมที่เกิดแต่โลภะ แต่โทสะ

แต่โมหะ โดยที่แท้ นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย หรือ แม้ทุคติ

อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏเพราะกรรมที่เกิดแต่โลภะ แต่โทสะ แต่โม ะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเพื่อเกิดกรรม ๓ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเพื่อเกิดกรรม (กุศลกรรม) ๓ ประการนี้

๓ ประการเป็นไฉน ? คือ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑ อโมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โลภะย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอโลภะ โดยที่แท้ อโลภะย่อมเกิดขึ้นเพราะอโลภะ

โทสะย่อมไม่เกิดเพราะอโทสะ โดยที่แท้ อโทสะย่อมเกิดขึ้นเพราะอโมสะ

โมหะย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอโมหะ. โดยที่แท้ อโมหะย่อมเกิดขึ้นเพราะอโมหะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย หรือแม้ทุคติ

อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่ปรากฏเพราะกรรมที่เกิดแต่อโลภะ แต่อโทสะ

แต่อโมหะ โดยที่แท้ เทวดา มนุษย์ หรือแม้สุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อม

ปรากฏเพราะกรรมที่เกิดแต่อโลภะ แต่อโทสะ แต่อโมหะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เหตุเพื่อเกิดกรรม ๓ ประการนี้แล.

จบนิทานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 635

อรรถกถานิทานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิทานสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กมฺมาน ได้แก่ กรรมที่ให้ถึงวัฏฏะ. บทว่า สมุทายาย

ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การประมวล (กรรมมา). บทว่า นิทาน ได้แก่

เป็นปัจจัย. บทว่า โลภเชน ความว่า เกิดจากความโลภ. บทว่า น ปญฺายนฺติ

ความว่า ไม่ปรากฏว่า เกิดแล้ว เพราะกรรมเห็นปานนี้.

ในธรรมฝ่ายขาว บทว่า กมฺมาน ได้แก่ กรรมที่ให้ถึงวิวัฏฏะ.

ดังนั้น ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถานิทานสูตรที่ ๙

๑๐. กิมมิลสูตร

ว่าด้วยเหตุให้ศาสนาเสื่อมและเจริญ

[๓๑๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวัน ใกล้พระนคร-

กิมมิลา ครั้งนั้น ท่านพระกิมมิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่-

พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรม

ไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนกิมมิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 636

อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม

ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในความไม่ประมาท ในปฏิสันถาร ดูก่อนกิมมิละ

นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน ในเมื่อตถาคต

ปรินิพพานแล้ว.

กิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไร เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้

พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว.

พ. ดูก่อนกิมมิละ พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรม-

วินัยนี้ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ใน

พระสงฆ์ ในสิกขา ในความไม่ประมาท ในการปฏิสันถาร ดูก่อนกิมมิละ

นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคต

ปรินิพพานแล้ว.

จบกิมมิลสูตรที่ ๑๐

อรรถกถากิมมิลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกิมมิลสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า เวฬุวเน ได้แก่ ในป่ามุจลินท์. บทว่า สทฺธมฺโม ได้แก่

พระสัทธรรม คือพระศาสนา.

จบอรรถกถากิมมิลสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 637

๑๐. ทารุกขันธสูตร

ว่าด้วยอำนาจของผู้มีฤทธิ์

[๓๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้

พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตร

และจีวรลงจากภูเขาคิชฌกูฏ พร้อมด้วยภิกษุหลายรูป เห็นกองไม้กองใหญ่

ณ ที่แห่งหนึ่งแล้ว ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลายย่อมเห็นกองไม้กองใหญ่โน้นหรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า อย่างนั้น

ท่านผู้มีอายุ.

สา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ

เมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้กองโน้นให้เป็นดินได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะที่กองไม้โน้นมีปฐวีธาตุ ซึ่งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ พึง

อาศัยน้อมใจถึงให้เป็นดินได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึง

ความชำนาญทางใจเมื่อจำนง พึงน้อมใจถึงกองไม้โน้นให้เป็นน้ำได้ ฯลฯ ให้

เป็นไฟได้ ฯลฯ ให้เป็นลมได้ ฯลฯ ให้เป็นของงามได้ ฯลฯ ให้เป็นของ

ไม่งามได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะที่กองไม้โน้นมีอสุภธาตุ ซึ่งภิกษุผู้

มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญทางใจ พึงอาศัยน้อมใจถึงให้เป็นของไม่งามได้.

จบทารุกขันธสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 638

อรรถกถาทารุกขันธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทารุกขันธสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เจโตวสิปฺปตฺโต ได้แก่ ผู้ถึงความเป็นผู้มีอำนาจจิต. บทว่า

ปวีเตฺวว อธิมุจฺเจยฺย ความว่า พึงกำหนดอาการที่แข้นแข็ง ว่าธาตุดิน.

บทว่า ย นิสฺสาย ความว่า อาศัยปฐวีธาตุอันใด ที่มีอาการกระด้างมีอยู่.

(ภิกษุผู้มีฤทธิ์) พึงน้อมใจไปยังท่อนไม้โน้นว่าเป็นดิน ปฐวีธาตุนั้น มีอยู่ใน

ท่อนไม้นี้. เพราะฉะนั้น แม้บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยนี้. อธิบายว่า ใน

ท่อนไม้นั้นมีปฐวีธาตุ ที่มีอาการแข้นแข็งฉันใด อาโปธาตุที่มีอาการเกาะกลุ่ม

เตโชธาตุที่มีอาการอบอุ่น วาโยธาตุที่มีอาการเคลื่อนไหล ก็มีอยู่ในท่อนไม้นั้น

เหมือนกัน. สุภธาตุใดที่มีสีเหมือนดอกปทุม มีอยู่ในแก่นไม้ที่มีสีแดง

(ภิกษุพึงน้อมใจไป คือกำหนดท่อนไม้โน้น โดยอาศัยสุภธาตุนั้น ว่า สุภ

งาม ดังนี้) อสุภธาตุใดที่มีสีไม่น่าพอใจ มีอยู่ในจุณที่เน่า และในกระพี้

และสะเก็ดทั้งหลาย (ของต้นไม้) ภิกษุน้อมใจไป คือกำหนดท่อนไม้ท่อนโน้น

โดยอาศัยอสุภธาตุนั้นนั่นแหละ ว่า อสุภ ไม่งามดังนี้. ในพระสูตรนี้ท่าน

กล่าวชื่อว่า มิสสกวิหาร.

อรรถกถาทารุกขันธสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 639

๑๒. นาคิตสูตร

ว่าด้วยการไม่ติดยศและไม่ให้ยศติดตน

[๓๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่ออิจฉานังคละ

ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ

ใกล้อิจฉานังคลคาม

พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละได้สดับข่าวว่า พระสมณ-

โคดมศากยบุตร เสด็จออกบวชจากศากยสกุล เสด็จถึงบ้านอิจฉานังคละ

ประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลคาม ก็เกียรติศัพท์

อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว

เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น

ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ

ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็น

ปานนั้น ย่อมเป็นการดี ดังนี้ ครั้นนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉา-

นังคละ เมื่อล่วงราตรีนั้นไปแล้ว ถือขาทนียโภชนียาหารเป็นอันมาก ไปยัง

ไพรสณฑ์ชื่ออิจฉานังคละ แล้วได้ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอก ส่งเสียงอื้ออึง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 640

ก็สมัยนั้น ท่านพระนาคิตะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระนาคิตะว่า ดูก่อนนาคิตะ

พวกใครนั่นส่งเสียงอื้ออึงเหมือนชาวประมงแย่งปลากัน.

ท่านพระนาคิตะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่านั้น

คือ พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านอิจฉานังคละ ถือขาทนียโภชนียาหารเป็น

อันมากมาจะถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูภายนอก

พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนนาคิตะ ขอเรา (ตถาคต) อย่าติดยศ และยศอย่าได้ติดเรา

ดูก่อนนาคิตะ ผู้ใดเป็นผู้ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้

โดยไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก สุขอันเกิดแต่

ความสงบ สุขอันเกิดแต่ความตรัสรู้ ซึ่งเราได้ตามความปรารถนา ได้โดย

ไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ผู้นั้นพึงยินดีสุขที่เกิดแต่ของไม่สะอาด สุขที่เกิด

เพราะการหลับ สุขที่เกิดเพราะลาภ สักการะและการสรรเสริญ.

นา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับ ขอ

พระสุคตจงรับ เวลานี้เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าควรรับ เวลานี้เป็นเวลา

ที่พระสุคต ควรรับ บัดนี้ พราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท

จักพากันหลั่งไหลไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป เปรียบเหมือนเมื่อฝน

เม็ดใหญ่ตกลงน้ำย่อมไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีศีลและปัญญา.

พ. ดูก่อนนาคิตะ เราอย่าได้ติดยศ และยศอย่าได้ติดเรา ดูก่อน-

นาคิตะ ผู้ใดเป็นผู้ไม่ได้ตามความปรารถนา ไม่ได้โดยไม่ยาก ไม่ได้โดย

ไม่ลำบาก ซึ่งสุขอันเกิดแต่เนกขัมมะ สุขอันเกิดแต่วิเวก สุขอันเกิดแต่

ความสงบ สุขอันเกิดแต่ความตรัสรู้ ซึ่งเราได้ตามความปรารถนา ได้โดย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 641

ไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ผู้นั้นพึงยินดีสุขอันเกิดแต่ของไม่สะอาด สุขที่เกิด

เพราะการหลับ สุขที่เกิดเพราะลาภสักการะและการสรรเสริญ ดูก่อนนาคิตะ

เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้อยู่ใกล้บ้าน ผู้นั่งเข้าสมาธิอยู่ใกล้บ้าน เราย่อม

มีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ไฉนคนวัดจักยังท่านผู้มีอายุรูปนี้ให้สืบต่อสมาธิ

นั้นได้ หรือสามเณรจักยังท่านผู้มีอายุนั้นให้เคลื่อนจากสมาธิ ฉะนั้น เราจึง

ไม่พอใจด้วยการอยู่ใกล้บ้านของภิกษุนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้

ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตรนั่งโงกง่วงอยู่ในป่า เราย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้

ท่านผู้มีอายุรูปนี้ จักบรรเทาความเหน็ดเหนื่อย เพราะการนอนนี้ แล้วกระทำ

อรัญญสัญญาไว้ในใจเป็นเอกัคคตา ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ในป่าของ

ภิกษุรูปนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ไม่มี

จิตเป็นสมาธินั่งอยู่ในป่า เรามีความคิดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนี้

จักตั้งจิตที่ไม่เป็นสมาธิให้เป็นสมาธิ หรือจักตามรักษาจิตที่เป็นสมาธิไว้

ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ในป่าของภิกษุนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร มีจิตเป็นสมาธินั่งอยู่ในป่า เรามีความคิด

อย่างนี้ว่า บัดนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนี้ จักเปลื้องจิตที่ยังไม่หลุดพ้นให้หลุดพ้น

หรือจักตามรักษาจิตที่หลุดพ้นแล้วไว้ ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ป่าของ

ภิกษุนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ใกล้บ้าน ได้จีวรบิณฑบาต

เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอพอใจลาภ สักการะและ

การสรรเสริญนั้นย่อมละทิ้งการหลีกออกเร้น ย่อมละทิ้งเสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่

ในราวป่า มารวมกันอยู่ยังบ้าน นิคม และราชธานี ฉะนั้น เราจึงไม่พอใจ

ด้วยการอยู่ใกล้บ้านของภิกษุนั้น อนึ่ง เราเห็นภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้ถืออยู่ป่า

เป็นวัตร ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอละลาภ

สักการะและการสรรเสริญนั้น ย่อมไม่ละทิ้งการหลีกออกเร้น ย่อมไม่ละทิ้ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 642

เสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า ฉะนั้น เราจึงพอใจด้วยการอยู่ป่าของภิกษุนั้น

อนึ่ง สมัยใด เราเดินทางไกล ย่อมไม่เห็นใครข้างหน้าหรือข้างหลัง สมัยนั้น

เราย่อมมีความสบาย โดยที่สุดด้วยการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ.

จบนาคิตสูตรที่ ๑๒

จบเสกขปริหานิยวรรคที่ ๔

อรรถกถานาคิตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนาคิตสูตรที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า คามนฺตวิหาร ได้แก่ ผู้อยู่ในเสนาสนะท้ายบ้าน. บทว่า

สมาหิต นิสินฺน ได้แก่ ผู้นั่งเข้าสมาธิในเสนาสนะท้ายบ้านนั้น. บทว่า

อิทานิม ตัดบทเป็น อิทานิ อิม. บทว่า สมาธิมฺหา จาเวสฺสติ ความว่า

จักออกจากสมาธิ. บทว่า น อตฺตมโน โหติ ความว่า ย่อมไม่มีใจเป็น

ของตน (ไม่ดีใจ). บทว่า ปจลายมาน ได้แก่ กำลังหลบอยู่. บทว่า

เอกตฺต มีอธิบายว่า กระทำอรัญญสัญญานั่นแหละไว้ในใจให้ (จิต) มีสภาพ

เป็นเอก คือเป็นจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า อนุรกฺขิสฺสติ ได้แก่ จัก

อนุเคราะห์. บทว่า อธิมุตฺต วา จิตฺต วิโมเจสฺสติ ความว่า จักเปลื้องจิต

ที่ยังไม่พ้นไปในเวลาอื่น ด้วยวิมุตติทั้ง ๕ ในบัดนี้. บทว่า ริญฺจติ ได้แก่

เว้นคือสลัดทิ้ง. บทว่า ปฏิปฺปณาเมตวา ได้แก่บรรเทา คือสลัดออกไป.

บทว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺมาย ได้แก่ เพื่อต้องการถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 643

ด้วยเหตุนี้ คือด้วยสถานะเพียงเท่านี้ พระบรมศาสดาได้ตรัสสรรเสริญ

เสนาสนะป่าไว้. แต่คำใดที่จะกล่าวในส่วนต้นแห่งพระสูตร ข้าพเจ้าได้กล่าว

ไว้แล้วในหนหลัง ฉะนี้แล.

จบอรรถกถานาคิตสูตรที่ ๑๒

จบเสกขปริหานิยวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เสกสูตร ๒. ปฐมอปริหานิยสูตร ๓. ทุติยปริหานิยสูตร

๔. โมคคัลลานสูตร ๕. วิชชาภาคิยสูตร ๖. วิวาทมูลสูตร ๗. ทานสูตร

๘. อัตตการีสูตร ๙. นิทานสูตร ๑๐. กิมมิลสูตร ๑๑. ทารุกขันธสูตร

๑๒. นาคิตสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 644

ธรรมิกวรรคที่ ๕

๑. นาคสูตร

ว่าด้วยผู้ประเสริฐ

[๓๑๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลา

เช้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตใน

พระนครสาวัตถี ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว ตรัสเรียกท่าน

พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ มาเถิด เราจักเข้าไปยังปราสาทของมิคารมารดา

ที่บุพพารามวิหาร เพื่อพักผ่อนกลางวัน ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับท่านพระอานนท์ได้เสด็จ

เข้าไปยังปราสาทของมิคารมารดา ที่บุพพารามวิหาร ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์

มาเถิด เราจักไปยังท่าน้ำชื่อบุพพโกฏฐกะ เพื่อสรงน้ำ ท่านพระอานนท์ทูล

รับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับท่านพระ-

อานนท์ได้เสด็จเข้าไปยังท่าน้ำชื่อบุพพโกฏฐกะ เพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงแล้ว

เสด็จขึ้นมา ทรงนุ่งอันตรวาสกได้ยืนผึ่งพระวรกายอยู่.

ก็สมัยนั้น พระเศวตกุญชรของพระเจ้าปเสนทิโกศล ขึ้นมาจากท่าน้ำ

ชื่อบุพพโกฏฐกะ เพราะเสียงดนตรีใหญ่ที่เขาตีประโคม ก็มหาชนเห็นช้างนั้น

แล้ว กล่าวชมอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ช้างของพระราชางามยิ่งนัก

ช้างของพระราชาน่าดูนัก ช้างของพระราชาน่าเลื่อมใสนัก ช้างของพระราชา

มีอวัยวะสมบูรณ์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 645

เมื่อมหาชนกล่าวชมอย่างนี้แล้ว ท่านพระกาฬุทายีได้ทูลถามพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาชนเห็นช้างเชือกใหญ่ สูง มีอวัยวะ

สมบูรณ์เท่านั้นหรือหนอ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ช้างเป็น

สัตว์ประเสริฐหนอ หรือว่ามหาชนเห็นสัตว์บางอย่างแม้อื่นที่ใหญ่ สูง มี

อวัยวะสมบูรณ์ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ สัตว์นั้นประเสริฐ

หนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกาฬุทายี มหาชนเห็นช้างเชือกใหญ่

สูงมีอวัยวะสมบูรณ์บ้าง จึงได้กล่าวชมอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ช้างเป็น

สัตว์ประเสริฐหนอ มหาชนเห็นม้าตัวใหญ่ สูงบ้าง โคตัวใหญ่ สูงบ้าง

งูตัวใหญ่ ยาวบ้าง ต้นไม้ใหญ่ สูงบ้าง มนุษย์มีร่างกายใหญ่ สูง มีอวัยวะ

สมบูรณ์บ้าง จึงได้กล่าวชมอย่างนี้ว่า ประเสริฐหนอ ดูก่อนกาฬุทายี อนึ่ง

บุคคลใดไม่ทำความชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในโลกนี้กับทั้งเทวโลก

มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

เราเรียกบุคคลนั้นว่าผู้ประเสริฐ.

กา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว คือ พระ

ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยดีดังนี้ว่า ดูก่อนกาฬุทายี อนึ่ง บุคคลใด

ไม่ทำความชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในโลกนี้กับทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เราเรียก

บุคคลนั้นว่าผู้ประเสริฐ.

ท่านพระกาฬุทายีกราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพระ-

องค์ ขออนุโมทนาพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วนี้ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 646

ข้าพระองค์ได้สดับ จากพระองค์ผู้

เป็นพระอรหันต์ ดังนี้ว่า มนุษย์ทั้งหลาย

ย่อมนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า พระองค์ใด

ผู้เป็นมนุษย์ทรงฝึกฝนพระองค์แล้ว มีจิต

ตั้งมั่น ดำเนินไปในทางประเสริฐ ทรง

ยินดีในธรรมที่ยังจิตให้เข้าไปสงบ ทรง

ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง แม้เทวดาทั้งหลาย

ก็ย่อมนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า พระองค์

นั้น ผู้ก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง ทรงออก

จากกิเลสเครื่องร้อยรัด ทรงบรรลุธรรม

ที่ไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ทรงยินดีใน

ธรรมอันเป็นที่ออกไปจากกามทั้งหลาย

คล้ายทองคำที่พ้นแล้วจากหิน ฉะนั้น พระ

องค์เป็นผู้ประเสริฐ รุ่งเรืองล่วงสรรพสัตว์

คล้ายขุนเขาหิมวันต์ สูงกว่าภูเขาศิลาลูก

อื่น ฉะนั้น พระองค์ผู้ทรงนามว่านาคะ

อันเป็นจริงนี้เป็นผู้ยิ่งกว่าเทวดาทั้งปวงผู้มี

นามว่านาคะ ข้าพระองค์จะขี้แจง ซึ่ง

ความที่พระองค์ เป็นผู้เปรียบด้วยช้าง

เพราะพระองค์ไม่ทรงทำความชั่ว มีโสรัจ-

จะและอวิหิงสา เป็นเท้าหน้าทั้งสองของ

พระองค์ ผู้เป็นเพียงดังช้างตัวประเสริฐ

ตบะ และพรหมจรรย์เป็นเท้าหลังทั้งสอง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 647

ของพระองค์ผู้เป็นข้างตัวประเสริฐ พระ

องค์ผู้เป็นช้างตัวประเสริฐ อย่างยอดเยี่ยม

มีศรัทธาเป็นงวง มีอุเบกขาเป็นงาอันขาว

มีสติเป็นคอ มีปัญญาเป็นเศียร มีการ

สอดส่องธรรมเป็นปลายงวง มีธรรมเครื่อง

เผากิเลสเป็นท้อง มีวิเวกเป็นหาง พระ

องค์ทรงมีฌาน ทรงยินดีในผลสมาบัติ

เป็นลมหายใจ ทรงมีจิตเข้าไปตั้งมั่นภายใน

ทรงดำเนินไปก็มีจิตตั้งมั่น ทรงยืนอยู่

ก็มีจิตตั้งมั่น ทรงบรรทมก็มีจิตตั้งมั่น

แม้ประทับนั่งก็มีจิตตั้งมั่น ทรงสำรวมแล้ว

ในทวารทั้งปวง นี้เป็นสมบัติของพระองค์

ผู้เป็นช้างตัวประเสริฐ พระองค์ผู้เป็นช้าง

ตัวประเสริฐย่อมเสวยสิ่งที่ไม่มีโทษ ไม่

เสวยสิ่งที่มีโทษ ได้อาหารและเครื่องนุ่ง

ห่มแล้ว ทรงเว้นการสะสม ทรงตัด

สังโยชน์น้อยใหญ่ ทรงตัดเครื่องผูกพัน

ทั้งปวง จะเสด็จไปทางใด ๆ ก็ไม่มีห่วง

ใยเสด็จไป ดอกบัวชื่อบุณฑริก มีกลิ่น

หอม น่ารื่นรมย์ใจ เกิดในน้ำ เจริญใน

น้ำ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ แม้ฉันใด

พระองค์ผู้เป็นช้างตัวประเสริฐ ก็ฉันนั้น

ทรงอุบัติขึ้นมาดีแล้วในโลก ก็ทรงเบิก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 648

บานอยู่ในโลก อันตัณหา มานะ ทิฏฐิไม่

ฉาบทาพระองค์ให้ติดอยู่กับโลก เหมือน

ดอกปทุมไม่เปียกน้ำ ฉะนั้น ไฟกอง

ใหญ่ลุกรุ่งโรจน์ ย่อมดับเพราะหมดเชื้อ

ฉันใด พระองค์ผู้เป็นช้างตัวประเสริฐ

ก็ฉันนั้น คือ เมื่อสังขารทั้งหลายสงบ

แล้ว ก็เรียกกันว่าเสด็จนิพพานข้ออุปมา

ที่ให้รู้เนื้อความแจ้งชัดนี้ อันวิญญูชนทั้ง

หลายแสดงไว้แล้ว พระอรหันต์ผู้เป็นช้าง

ตัวประเสริฐอย่างยอดเยี่ยมทั้งหลาย ย่อม

รู้แจ้งชัดซึ่งพระองค์ผู้เป็นช้างตัวประเสริฐ

ซึ่งพระกาฬุทายีผู้เป็นช้างตัวประเสริฐ

แสดงไว้แล้ว พระองค์ผู้เป็นช้างตัว

ประเสริฐ ทรงปราศจากราคะ ทรง-

ปราศจากโทสะ ทรงปราศจากโมหะ ทรง

หาอาสวกิเลสมิได้ เมื่อทรงละสรีระ ก็

ทรงหาอาสวกิเลสมิได้ จักเสด็จปรินิพพาน.

จบนาคสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 649

ธรรมิกวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถานาคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนาคสูตรที่ ๑ แห่งธรรมิกวรรคที่ ๕ ดังต่อ

ไปนี้ :-

คำว่า อายสฺมตา อานนฺเทน สทธึ นี้ พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระเถระว่า อานนท์ เรามาไปกันเถิด ดังนี้

แล้วเสด็จไป. ฝ่ายพระศาสดาบัณฑิตพึงทราบว่า อันภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น

นั่นแหละ แวดล้อมแล้วได้เสด็จไปที่บุพพารามนั้น.

บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า) อันภิกษุ

๕๐๐ รูปเหล่านั้นนั่นแล แวดล้อมแล้วเสด็จเข้าไป. บทว่า ปริสิญฺจิตฺวา นี้

เป็นคำโวหาร หมายความว่า ทรงสรงสนานแล้ว.

บทว่า ปุพฺพสทิสานิ กุรุมาโน ความว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า)

ทรงนุ่งผ้าสองชั้นที่ย้อมแล้ว ทรงถือเอาผ้าอุตราสงค์ด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง

ประทับยืนผินพระปฤษฏางค์ให้โลกธาตุด้านทิศตะวันตก ผินพระพักตร์ให้โลก-

ธาตุด้านทิศตะวันออก ทำพระวรกายให้แห้ง เหมือนก่อนโดยปราศจากน้ำ.

ฝ่ายภิกษุสงฆ์ลงตามที่นั้น ๆ อาบน้ำแล้วได้ขึ้นมายืนล้อมพระศาสดา

อย่างพร้อมพรัก สมัยนั้น พระอาทิตย์โคจรคล้อยต่ำลงไปทางโลกธาตุด้าน

ทิศตะวันตก คล้ายตุ้มหูทองแดงผสมทองคำ กำลังจะล่วงหล่นจากอากาศ

ฉะนั้น. ทางด้านโลกธาตุทางทิศตะวันออก พระจันทร์ เหมือนมณฑลแห่ง

เงินที่บริสุทธิ์ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 650

ในที่ตรงกลางโลกธาตุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีภิกษุ ๕๐๐ รูป

เป็นบริวาร ได้ประทับยืนเปล่งฉัพพรรณรังสีฉายแสงสว่าง ณ ริมฝั่งแม่น้ำ

บุพพโกฏฐกะ.

บทว่า เตน โข ปน สมเยน ฯเปฯ เสโต นาม คาโม

ความว่า นาคคือช้างที่ได้นำมอย่างนั้น (นามว่า เสตะ) เพราะมีสีขาว. บทว่า

มหาตุริยตาฬิตวาทิเตน ได้แก่ ด้วยการประโคมดนตรีอย่างมโหฬาร.

ในบทว่า มหาตุริยตาฬิตวาทิเตน มีอธิบายว่า การประโคม

ครั้งแรกชื่อว่า ตาฬิตะ การประโคมครั้งต่อไปต่อจากครั้งแรกนั้น ชื่อว่า

วาทิตะ

บทว่า ชโน ได้แก่ มหาชนผู้ประชุมกันเพื่อดูช้าง. บทว่า ทิสฺวา

เอวมาห ความว่า (มหาชน) เห็นช้างใหญ่นั้น อันนายควาญช้าง ให้อาบน้ำ

ขัดสีอวัยวะน้อยใหญ่แล้ว ขึ้นมาพักไว้นอกฝั่งทำตัวให้สะเด็ดน้ำ แล้วเอา

เครื่องประดับช้างมาประดับให้ จึงกล่าวคำสรรเสริญว่า ผู้เจริญ ช้างนี้งาม

แท้หนอ. บทว่า กายูปปนฺโน ได้แก่ เข้าถึงด้วยความถึงพร้อมแห่งร่างกาย

อธิบายว่า มีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์.

บทว่า อายสฺมา อุทายี ได้แก่ พระกาฬุทายีเถระ ผู้บรรลุ

ปฏิสัมภิทา. บทว่า เอตทโวจ ความว่า (พระกาฬุทายีเถระ) เห็นมหาชน

นั้นกล่าวสรรเสริญคุณของช้าง จึงคิดว่า ชนนี้กล่าวสรรเสริญคุณของช้างซึ่ง

บังเกิดในอเหตุกปฏิสนธิ แต่กลับไม่กล่าวสรรเสริญพระคุณของช้างคือ

พระพุทธเจ้า บัดนี้ เราจักกล่าวสรรเสริญพระคุณของช้างคือพระพุทธเจ้า

เปรียบเทียบกับช้างตัวประเสริฐตัวนี้ ดังนี้ แล้วได้กล่าวคำมีอาทิว่า หตฺถิเมว

นุ โข ภนฺเต.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 651

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหนฺต ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยทรวดทรง.

บทว่า พรฺหนฺต ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยความใหญ่โต. บทว่า เอวมาห ได้แก่

กล่าวอย่างนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุที่นาคศัพท์เป็นไป ใน

ช้างบ้าง ม้าบ้าง โคบ้าง งูบ้าง ต้นไม้บ้าง มนุษย์บ้าง ฉะนั้น จึงตรัสคำว่า

หตฺถิมฺปิ โข เป็นต้น.

บทว่า อาคุ ได้แก่ อกุศลธรรมที่ชั่วช้าลามก. บทว่า ตมห

นาโคติ พฺรูมิ ความว่า เราตถาคตเรียกบุคคลนั้นว่า เป็นนาค เพราะไม่ทำ

อกุศลกรรมบถ ๑๐ และอกุศลจิต ๑๒ ด้วยทวาร ๓ เหล่านี้. ก็บุคคลนี้ชื่อว่า

เป็นนาค ด้วยความหมายนี้ คือไม่ทำความชั่ว.

บทว่า อิมาหิ คาถาหิ อนุโมทามิ ความว่า เราอนุโนทนา คือ

ชื่นชมด้วยคาถา ๑๖ คาถา (แบ่งเป็นบท) ได้ ๖๔ บทเหล่านี้. บทว่า

มนุสฺสภูต คือ เป็นมนุษย์อยู่แท้ ๆ มิได้เข้าถึงความเป็นเทพเป็นต้น.

บทว่า อตฺตทนฺต ได้แก่ ฝึกแล้วด้วยตนเองนั่นแล คือ มิได้ถูกบุคคลอื่น

นำเข้าไปสู่การฝึก.

อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้วในฐานะ ๖ เหล่านี้ คือ

ทรงฝึกทั้งทางตา ทั้งทางหู ทั้งทางจมูก ทั้งทางลิ้น ทั้งทางกาย ทั้งทางใจ

ด้วยการฝึกด้วยมรรคที่พระองค์ให้เกิดขึ้นเอง คือทรงสงบ คือดับ ได้แก่

ดับสนิท เพราะเหตุนั้น พระกาฬุทายีเถระจึงกล่าวว่า อตฺตทนฺต ดังนี้.

บทว่า สมาหิต ได้แก่ ตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิทั้งสองอย่าง. บทว่า

อิริยมาน ได้แก่ อยู่. บทว่า พฺรหฺมปเถ ได้แก่ ในทางอันประเสริฐที่สุด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 652

คือ ในทางคืออมตนิพพาน. บทว่า จิตฺตสฺสูปสเม รต ได้แก่ ผู้ระงับ

นิวรณ์ ๕ ด้วยปฐมฌาน ระงับวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน ระงับปีติด้วยตติยฌาน

ระงับสุขและทุกข์ด้วยจตุตถฌาน แล้วยินดี คือยินดียิ่งในความสงบของจิตนั้น.

บทว่า นมสฺสนฺติ ได้แก่ นมัสการด้วยกาย นมัสการด้วยวาจา

นมัสการด้วยใจ คือ นมัสการ ได้แก่ สักการะ ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควร

แก่ธรรม. บทว่า สพฺพธมฺมาน ปารค ได้แก่ (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ถึงฝั่ง

คือบรรลุถึงความสำเร็จ คือ ถึงที่สุดแห่งธรรมคือขันธ์ อายตนะ ธาตุ

ทั้งหมด ด้วยการถึงฝั่ง ๖ อย่าง คือ ทรงถึงฝั่งแห่งอภิญญา ทรงถึงฝั่งแห่ง

ปริญญา ทรงถึงฝั่งแห่งปหานะ ทรงถึงฝั่งแห่งภาวนา ทรงถึงฝั่งแห่งการทำ

ให้แจ้ง ทรงถึงฝั่งแห่งสมาบัติ.

บทว่า เทวาปิ ต นมสฺสนฺติ ความว่า เทวดาผู้ประสบทุกข์

ทั้งหลายมีสุพรหมเทพบุตรเป็นต้น และเทวดาผู้ประสบสุข ซึ่งสถิตอยู่ใน

หมื่นจักรวาลทั้งหมดทีเดียว ต่างพากันนมัสการพระองค์. ด้วยบทว่า อิติ เม

อรหโต สุต พระกาฬุทายีเถระแสดงว่า ข้าพระองค์ได้สดับในสำนักของ

พระองค์นั่นแล ผู้ได้โวหารว่า เป็นพระอรหันต์ด้วยเหตุ ๔ อย่าง ดังพรรณนา

มาฉะนี้.

บทว่า สพฺพสโยชนาตีต ได้แก่ ผู้ข้ามพ้นสังโยชน์ ๑๐ ทั้งหมด.

บทว่า วนา นิพฺพานมาคต ได้แก่ ผู้ออกจากป่าคือกิเลส มาถึง ได้แก่

บรรลุถึงนิพพาน ซึ่งไม่มีป่า คือเว้นจากป่า คือกิเลส. บทว่า กาเมหิ

เนกฺขมฺมรต ความว่า การบรรพชา ๑ สมาบัติแปด ๑ อริยมรรคสี่ ๑ ชื่อว่า

การออกจากกามทั้งหลาย เพราะออกไปแล้วจากกามทั้งสองอย่าง (เทวดา-

นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า) ผู้ยินดี คือยินดียิ่งในเนกขัมมะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 653

บทว่า มุตฺต เสลาว กาญฺจน ได้แก่ เหมือนกับทองที่พ้นไป

จากธาตุ คือ ศิลา. บทว่า สพฺเพ อจฺจรุจิ ความว่า ผู้มีความงดงาม

เป็นไปเหนือสรรพสัตว์ อธิบายว่า พระโสดาบัน ชื่อว่าผู้มีความงดงามเหนือ

ผู้อื่น เพราะมีความงดงามเหนือปุถุชนผู้เกิดในภพที่ ๘ ไป พระสกทาคามี

ชื่อว่าผู้มีความงามเหนือ เพราะมีความงามเป็นไปเหนือพระโสดาบัน ฯ ล ฯ

พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้มีความงามเหนือ เพราะมีความงามเป็นไปเหนือ

พระขีณาสพ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้มีความงามเหนือ เพราะมีความงาม

เป็นไปเหนือพระปัจเจกพุทธเจ้า.

บทว่า หิมวาญฺเ สิลุจฺจโย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม

งามเหนือ (บุคคลอื่นทั้งเทวดาและมนุษย์) เปรียบเหมือนภูเขาหลวงหิมพานต์

งามเหนือภูเขาอื่น ๆ ฉะนั้น. บทว่า สจฺจนาโม ได้แก่ (พระผู้มีพระภาคเจ้า)

มีพระนามจริง คือมีพระนามตามเป็นจริง ได้แก่มีพระนามแท้อย่างนี้ว่า นาคะ

เพราะไม่ทำความชั่วนั่นเอง.

บทว่า โสรจฺจ ได้แก่ ผู้มีศีลที่สะอาด. บทว่า อวิหึสา ได้แก่

กรุณา และธรรมที่เป็นส่วนเบื้องต้นของกรุณา (เมตตา). บทว่า ปาทา

นาคสฺส เต ทุเว ความว่า ธรรมทั้งสองนั้น เป็นพระบาทเบื้องหน้าของนาคะ

คือพระพุทธเจ้า. บทว่า ตโป ได้แก่ การสมาทานวัตร. บทว่า พฺรหฺมจริย

ได้แก่ ศีลในอริยมรรค.

บทว่า จรณา นาคสฺส ตฺยาปเร ความว่า ตบะและพรหมจรรย์

ทั้งสองนั้น เป็นพระบาทนอกนี้ คือเป็นพระบาทเบื้องหลังของนาคะ คือ

พระพุทธเจ้า. บทว่า สทฺธาหตฺโถ ได้แก่ ประกอบด้วยงวงที่สำเร็จด้วย

ศรัทธา. บทว่า อุเปกฺขาเสตทนฺตวา ได้แก่ ประกอบด้วยงาขาวที่สำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 654

ด้วยอุเบกขา มีองค์ ๖. บทว่า สติ คีวา ความว่า คอเป็นที่ตั้งแห่งกลุ่ม

เส้นเอ็น ในอวัยวะน้อยใหญ่ของช้าง ฉันใด สติก็เป็นที่ตั้งแห่งธรรมมีโสรัจจะ

เป็นต้น ของช้างคือพระพุทธเจ้า ฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น พระกาฬุทายีเถระ

จึงกล่าวว่า สติ คีวา ดังนี้.

บทว่า สิโร ปญฺา ความว่า ศีรษะเป็นอวัยวะอันสูงสุดของนาคะ

คือช้าง ฉันใด พระสัพพัญญุตญาณก็เป็นสิ่งสูงสุดของนาค คือพระพุทธเจ้า

ฉันนั้น ด้วยว่า พระพุทธเจ้านั้นทรงทราบธรรมทั้งปวง ด้วยพระสัพพัญญุต-

ญาณนั้น ด้วยเหตุนั้น พระกาฬุทายีเถระ จึงกล่าวว่า สิโร ปญฺา ดังนี้.

บทว่า วิมสา ธมฺมจินฺตนา ความว่า นาคคือช้าง ชื่อว่า มีปลายงวง

เป็นเครื่องพิจารณา ช้างนั้นพิจารณาถึงสิ่งที่แข็ง อ่อน และสิ่งของที่ควร

เคี้ยวกิน ด้วยปลายงวงนั้น ต่อแต่นั้นก็ละสิ่งของที่ควรละ คว้าเอาสิ่งของที่

ควรคว้า ฉันใด การคิดถึงธรรม กล่าวคือญาณเครื่องกำหนดส่วนแห่งธรรม

ชื่อว่าเป็น วีมสา (ปัญญาเครื่องพิจารณา) ของนาคคือพระพุทธเจ้า ฉันนั้น

เหมือนกัน เพราะว่าพระพุทธเจ้านั้นทรงรู้จัก ภัพพาภัพพบุคคลด้วยญาณนั้น

ด้วยเหตุนั้น พระกาฬุทายีเถระ จึงกล่าวว่า วีมสา ธมฺมจินฺตนา ดังนี้.

บทว่า ธมฺมกุจฺฉิสมาตโป ความว่า สมาธิในจตุตถฌานเรียกว่า

ธรรม. การเผาผลาญกิเลส คือ กุจฺฉิ ชื่อวา กุจฉิสมาตปะ ได้แก่ ที่สำหรับ

เผาผลาญ (กิเลส) ธรรมอันเป็นที่เผาผลาญ (กิเลส) คือท้องของบุคคลนั้น

มีอยู่ เหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า มีธรรมเป็นที่เผาผลาญคือท้อง. เพราะว่า

ธรรมมีอิทธิวิธีเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ในสมาธิ คือ

จตุตถฌาน เพราะเหตุนั้น สมาธิในจตุตถฌานนั้น จึงเรียกว่า ธรรมที่

เผาผลาญ คือ ท้อง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 655

บทว่า วิเวโก ได้แก่ กายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก. ขนหาง

ของช้างย่อมขับไล่แมลงวัน ฉันใด วิเวกของพระตถาคตย่อมขับไล่คฤหัสถ์

และบรรพชิต ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น วิเวกนั้น พระกาฬุทายีเถระจึงกล่าวว่า

ขนหาง.

บทว่า ฌายี แปลว่า ผู้มีปกติเพ่งด้วยฌาน ๒. บทว่า อสฺสาสรโต

ความว่า ก็ผลสมาบัติของนาค คือ พระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนลมหายใจเข้า

และออกของช้าง พระพุทธเจ้าทรงยินดีในผลสมาบัตินั้น อธิบายว่า เว้นจาก

ผลสมาบัตินั้นซึ่งเปรียบเหมือนลมหายใจเข้าลมหายใจออกก็เป็นไปไม่ได้.

บทว่า สพฺพตฺถ สวุโต ได้แก่ สำรวมแล้วในทุกทวาร. บทว่า

อนวชฺชานิ ได้แก่ โภชนะที่เกิดขึ้นจากสัมมาอาชีวะ. บทว่า สาวชฺชานิ

ได้แก่ โภชนะที่เกิดขึ้นด้วยมิจฉาอาชีวะ ๕ อย่าง.

บทว่า อณุถูล ได้แก่ น้อยและมาก. บทว่า สพฺพ เฉตฺวาน

พนฺธน ได้แก่ ตัดสังโยชน์หมดทั้ง ๑๐ อย่าง. บทว่า น อุปลิปฺปติ โลเกน

ความว่า ไม่ติดอยู่กับโลกด้วยเครื่องทำให้ติด คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ.

บทว่า มหคฺคินี ได้แก่ ไฟกองใหญ่. ในบทว่า วิญฺญูหิ เทสิตา

นี้ มีความว่า พระกาฬุทายีเถระบรรลุปฏิสัมภิทา เป็นวิญญูชนเป็นบัณฑิต

(อุปมาทั้งหลาย) อันพระกาฬุทายีเถระนั้นแสดงไว้แล้ว.

บทว่า วิญฺายนฺติ มหานาคา นาค นาเคน เทสิต ความว่า

นาคคือพระขีณาสพนอกนี้ จักรู้แจ้งนาคคือพระพุทะเจ้าที่นาคคือพระอุทายีเถระ

แสดงไว้แล้ว.

บทว่า สรีร วิชห ปรินิพฺพสฺสติ ความว่า นาคคือพระพุทธเจ้า

ทรงดับสนิทด้วยการดับกิเลส ณ โพธิบัลลังก์แล้วจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน

ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ระหว่างนางรังทั้งคู่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 656

พระอุทายีเถระผู้บรรลุปฏิสัมภิทา จบเทศนาโดยกล่าวสรรเสริญคุณ

พระทศพลด้วยคาถา ๑๖ คาถา ด้วยบท ๖๔ บท ด้วยประการดังพรรณนามา

ฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนา. เวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐

ได้ดื่มน้ำอมฤต (บรรลุธรรม) แล.

จบอรรถกถานาคสูตรที่ ๑

๒. มิคสาลาสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๖ จำพวก

[๓๑๕] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้วถือบาตรจีวร

เข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกาชื่อมิคสาลา แล้วนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้ ครั้งนั้น

อุบาสิกาชื่อมิคสาลาเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนี้ ที่เป็นเหตุให้คน ๒ คน คือคนหนึ่ง

ประพฤติพรหมจรรย์ และคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติ

เสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือ บิดาของดิฉัน

ชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ประพฤติห่างไกล งดเว้นจากเมถุนอัน

เป็นธรรมชองชาวบ้าน ท่านทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า

เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต บุรุษชื่ออิสิทัตตะผู้เป็นที่รักของ

บิดาของดิฉัน เป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ (แต่) ยินดีด้วยภรรยาของตน

แม้เขากระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามี-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 657

บุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนี้ ที่เป็นเหตุให้คน ๒ คน คือ คนหนึ่งประพฤติ

พรหมจรรย์ และคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันใน

สัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพยากรณ์ไว้อย่างนั้นแล.

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์รับบิณฑบาตที่นิเวศน์ของอุบาสิกา ชื่อ

มิคสาสาแล้ว ลุกจากอาสนะกลับไป ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต

ภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาเช้า

ข้าพระองค์นุ่งแล้วถือบาตรจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาสิกาชื่อมิคสาลา แล้ว

นั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้ ลำดับนั้น อุบาสิกาชื่อมิคสาลาเข้าไปหาข้าพระองค์ถึง

ที่อยู่ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามข้าพระองค์ว่า

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนี้ ที่เป็นเหตุ

ให้คน ๒ คน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ และคนหนึ่งไม่ประพฤติ

พรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้

อย่างไร คือ บิดาของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติ

ห่างไกล งดเว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต

บุรุษชื่ออิสิทัตตะผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน เป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์

(แต่) ยินดีด้วยภรรยาของตน แม้เขากระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคลเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่ท่าน

พระอานนท์ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วนี้ ที่เป็นเหตุให้คน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 658

๒ คน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ และคนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์

จักเป็นผู้มีคติเสมอกัน อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร เมื่ออุบาสิกาชื่อ

มิคสาลากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะอุบาสิกาชื่อมิคสาลาดังนี้ว่า

ดูก่อนน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้อย่างนั้นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็อุบาสิกาชื่อมิคสาลา

เป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นสตรี รู้ตัวว่าเป็นสตรี เป็นอะไร และพระสัมมา-

สัมพุทธะเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของ

บุคคล ดูก่อนอานนท์ บุคคล ๖ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๖ จำพวก

เป็นไฉน ? ดูก่อนอานนท์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากบาป

มีการอยู่ร่วมเป็นสุข พวกชนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ย่อมยินดียิ่ง

ด้วยการอยู่ร่วมกัน เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย

ความเป็นพหูสูต ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ไม่ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

เขาตายไปแล้วย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็น

ผู้ถึงทางเจริญ.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากบาป

มีการอยู่ร่วมเป็นสุข พวกคนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ย่อมยินดียิ่ง

ด้วยการอยู่ร่วมกัน เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็น

พหูสูต ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย เขาตายไปแล้ว

ย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม

ดูก่อนอานนท์ พวกชนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมของชน

แม้นี้ก็เหล่านั้นแหละ. ธรรมของชนแม้อื่นก็เหล่านั้นแหละ เหตุไฉน บรรดา

คน ๒ คนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณ

เหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 659

อานนท์ ใน ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข

พวกคนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ย่อมยินดีด้วยการอยู่ร่วมกัน เขาได้

กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ได้แทงตลอด

แม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย ดูก่อนอานนท์ บุคคลนี้ดีกว่า

และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแส

แห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่านอกจากตถาคตจะพึงรู้เหตุนั้น เพราะ

เหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือ

ประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน

เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความโกรธและความ

ถือตัวบางครั้งบางคราว โลภธรรมย่อมเกิดแก่เขา เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย

การฟัง ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ

ย่อมไม่ได้วิมุตติ แม้ที่เกิดในสมัย เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม

ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความโกรธและความ

ถือตัว บางครั้งบางคราว โลภธรรมย่อมเกิดแก่เขา เขาได้กระทำกิจแม้ด้วย

การฟัง ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้

วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม

เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ฯลฯ

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความโกรธและความ

ถือตัว บางครั้งบางคราว วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา เขาไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วย

การฟัง ไม่ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ

ย่อมไม่ได้วิมุตติ แม้ที่เกิดในสมัย เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเสื่อม

ไม่ไปทางเจริญ เป็นผู้ถึงทรงเสื่อม ไม่เป็นผู้ถึงทางเจริญ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 660

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความโกรธและความ

ถือตัว บางครั้งบางคราว วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง

ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติ

แม้ที่เกิดในสมัย เมื่อตายไปแล้ว เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม

เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม ดูก่อนอานนท์ พวกคนที่ถือประมาณ

ย่อมประมาณเรื่องนั้นว่า ธรรมของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ เหตุไฉนบรรดาคน

๒ คนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น

ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ดูก่อนอานนท์

ใน ๒ คนนั้น บุคคลใดมีความโกรธและความถือตัว และบางครั้งบางคราว

วจีสังขารย่อมเกิดแก่เขา เขาได้ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ได้ทำกิจแม้ด้วยความเป็น

พหูสูต ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย บุคคลนี้เป็น

ผู้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

กระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้ ใครเล่านอกจากตถาคตจะพึงรู้เหตุนั้น

เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เธอทั้งหลายอย่าเป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล

และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลาย

คุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้ ดูก่อน

อานนท์ ก็อุบาสิกาชื่อมิคสาลาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นสตรี รู้ตัวว่าเป็นสตรี

เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธะ เป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่ง

และหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล ดูก่อนอานนท์ บุคคล ๖ จำพวกนี้แล

มีปรากฏอยู่ในโลก ดูก่อนอานนท์ บุรุษชื่อปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใด

บุรุษชื่ออิสิทัตตะก็เป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อปุราณะได้รู้แม้คติของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 661

บุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หามิได้ อนึ่ง บุรุษชื่ออิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา

เช่นใด บุรุษชื่อปุราณะก็ได้เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น บุรุษชื่ออิสิทัตตะ

ได้รู้แม้คติของบุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้ ดูก่อนอานนท์ คนทั้ง ๒ เลวกว่ากัน

ด้วยองคคุณคนละอย่างด้วยประการฉะนี้.

จบมิคสาลาสูตรที่ ๒

อรรถกถามิคสาลาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมิคสาลาสูตรที่ ๒ ดังต่อไป่นี้ :-

บทว่า กถ กถ นาม ความว่า ด้วยเหตุอะไร ๆ. บทว่า

อญฺเยฺโย แปลว่า (ธรรม) อันบุคคลพึงรู้ให้ทั่วถึง. บทว่า ยตฺร หิ นาม

คือ ในธรรมชื่อใด. บทว่า สมสมคติกา ความว่า พรหมจารีบุคคล

และอพรหมจารีบุคคล (ผู้มิใช่เป็นพรหมจารี) อันชนทั้งหลายรู้แล้วว่า จักเป็น

ผู้มีคติเสมอกันโดยภาวะที่เสมอกันนั่นเอง. บทว่า สกทาคามี สตฺโต ตุสิต

กาย อุปปนฺโน ความว่า บังเกิดเป็นสกทาคามีบุคคลในภพดุสิตนั่นเอง.

บทว่า กถ กถ นาม ความว่า (มิคสาลาอุบาสิกาถามว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพรหมจารีบุคคลและอพรหมจารีบุคคลไว้) ด้วยเหตุ

อะไรหนอแล คือ พระองค์ทรงรู้จักแล้วจึงแสดงไว้หรือว่าไม่ทรงรู้จัก พระเถระ

(อานนท์) ไม่ทราบเหตุจึงกล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง ก็แลข้อนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้.

บทว่า อมฺพกา อมฺพกสญฺา ความว่า (มิคสาลาอุบาสิกา)

เป็นหญิง ยังประกอบด้วยความสำคัญอย่างหญิงอยู่นั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 662

ในบทว่า เก จ ปุริสปุคฺคลปฏรปริยาเณ นี้ มีความย่อดังนี้ว่า

ญาณเป็นเครื่องกำหนดรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของบุรุษบุคคลทั้งหลาย

ว่า แข้งกล้า ว่าอ่อน เรียกว่า ปุริสปุคคลปโรปริยญาณ ในคำว่า เก จ

ปุริสปุคฺคลปโรปริยาเณ นี้. เพราะเหตุนั้น มิคสาลาอุบาสิกาหญิงโง่

คือใคร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีอารมณ์ไม่ถูกขัดขวางในเพราะญาณเป็น

เครื่องรู้ความหย่อนและยิ่งแห่งอินทรีย์ของบุรุษบุคคลทั้งหลาย เป็นใคร การ

เปรียบเทียบ (บุคคล) ทั้งสองนั้นยังอยู่ห่างไกลกันมาก.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า มิคสาลาอุบาสิกากับพระองค์ห่างไกลกันมาก

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ฉ อิเม อานนฺท เป็นต้น. บทว่า โสรโต

โหติ ความว่า (บุคคลบางคน) เป็นผู้งด คือ เว้นด้วยดีจากบาป. ปาฐะเป็น

สูรโต ดังนี้ก็มี.

บทว่า อภินนฺทนฺติ สพฺรหฺมจารี เอกตฺตวาเสน ความว่า

พรหมจารีบุคคลทั้งหลายต่างพากันชื่นชม คือ ยินดี ด้วยการอยู่ร่วมกันกับ

บุคคลนั้น. ปาฐะเป็น เอกนฺตวาเสน ดังนี้ก็มี. หมายความว่า ด้วยการอยู่

ใกล้ชิดกัน.

บทว่า สวเนนปิ อกต โหติ ความว่า มิได้ฟังสิ่งที่ควรฟัง. ใน

บทว่า พาหุสจฺเจนปิ อกติ โหติ นี้มีความว่า วิริยะเรียกว่า พาหุสัจจะ

มิได้ทำสิ่งที่ควรทำด้วยวิริยะ. บทว่า ทิฏฺิยาปิ อปฺปฏิวิทฺธ โหติ ความว่า

มิได้แทงตลอดสิ่งที่ควรแทงตลอดด้วยทิฏฐิ.

บทว่า สามายิกมฺปิ วิมุตฺตึ น ลภติ ความว่า ไม่ได้ปีติและ

ปราโมทย์ (ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยการฟังธรรมตามกาลอันสมควร. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 663

หานคามีเยว โหติ ความว่า ย่อมถึงความเสื่อมถ่ายเดียว. บทว่า ปมาณิกา

คือ เป็นผู้ถือประมาณ (การเปรียบเทียบ) ในบุคคลทั้งหลาย.

บทว่า ปมินนฺติ ได้แก่ เริ่มที่จะเปรียบเทียบ คือ ชั่ง. บทว่า เอโก

หีโน ความว่า คนหนึ่งต่ำกว่าโดยคุณ (มีคุณต่ำกว่า). บทว่า เอโก ปณีโต

ความว่า คนหนึ่งประณีตกว่าโดยคุณ (มีคุณสูงกว่า). บทว่า ตญฺหิ ได้แก่

การทำการเปรียบเทียบนั้น.

บทว่า อภิกฺกนฺตตโร คือ ดีกว่า. บทว่า ปณีตตโร คือ อุดมกว่า.

บทว่า ธมฺมโสโต นิพฺพหติ ความว่า วิปัสสนาญาณเป็นไปอย่างกล้าแข็ง

นำออกไป (จากกิเลส) คือให้ถึงอริยภูมิ. บทว่า ตทนนฺตร โก ชาเนยฺย

ความว่า ช่วงติดต่อนั้น คือ เหตุนั้น นอกจากพระตถาคตแล้ว ใครเล่าจะรู้ ?

บทว่า โกธมาโน ได้แก่ ความโกรธและความถือตัว. บทว่า

โลภธมฺมา ได้แก่ ความโลภนั่นเอง. บทว่า วจีสขารา ได้แก่ การพูด

ด้วยอำนาจการสนทนาปราศรัย.

บทว่า โย วา ปนสฺส มาทิโส ความว่า ก็หรือว่า พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าใดที่เหมือนกับเราตถาคต จะพึงมีอีกพระองค์หนึ่ง พระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็จะพึงถือประมาณ (การเปรียบเทียบ) ในบุคคลทั้งหลาย.

บทว่า ขญฺติ ได้แก่ ถึงการขุดคุณ.

บทว่า อิเม โข อานนฺท ฉ ปุคฺคลา ความว่า บุคคล ๖ บุคคล

เหล่านี้ คือ บุคคลผู้สงบเสงี่ยม ๒ จำพวก บุคคลผู้ข่มความโกรธ ความถือตัว

และธรรมคือความโลภได้ ๒ จำพวก บุคคลผู้ข่มความโกรธ ความถือตัวและ

วจีสังขารได้ ๒ จำพวก.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 664

บทว่า คตึ ได้แก่ ญาณคติ. บทว่า เอกงฺคหีนา ความว่า (บุคคล

ทั้ง ๒ จำพวก คือ ปุราณะกับอิสิทัตตะ) ต่ำกว่ากันโดยองค์คุณคนละอย่าง.

(คือ) ปุราณะวิเศษโดยศีล (สูงกว่าโดยศีล) อิสิทัตตะวิเศษโดยปัญญา (สูงกว่า

โดยปัญญา) ศีลของปุราณะตั้งอยู่ในฐานะเสมอกับปัญญาของอิสิทัตตะ ปัญญา

ของอิสิทัตตะตั้งอยู่ในฐานะเสมอกับศีลของปุราณะแล.

จบอรรถกถามิคสาลาสูตรที่ ๒

๓. อิณสูตร

ว่าด้วยความจนทางโลกกับทางธรรม

[๓๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็น

คนจน เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ย่อมกู้ยืม แม้การกู้ยืม

ก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ กู้ยืมแล้วย่อมรับใช้

ดอกเบี้ย แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของผู้บริโภคกามในโลก.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ รับใช้ดอกเบี้ยแล้ว

ไม่ใช้ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมทวงเขา แม้การทวงก็เป็น

ทุกข์ของบุคลผู้บริโภคกามในโลก.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 665

ภิ อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ทวงไม่ให้

เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมติดตามเขา แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภค

กามในโลก.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ติดตามทัน

ไม่ให้ทรัพย์ เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมจองจำเขา แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคล

ผู้บริโภคกามในโลก.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ความเป็นคนจนก็เป็นทุกข์ของบุคคล

ผู้บริโภคกามในโลก แม้การกู้ยืมก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก

แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การทวงก็

เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคล

ผู้บริโภคกามในโลก แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก

ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริ

ในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มี

ปัญญาในกุศลธรรม บุคคลนี้เรียกว่า เป็นคนเข็ญใจยากไร้ในวินัยของพระ-

อริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล

เมื่อไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม

ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย

วาจา ใจ เรากล่าวการประพฤติทุจริตของเขาว่า เป็นการกู้ยืม เขาย่อมตั้ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 666

วามปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิดกายทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า

ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา ย่อมดำริ ย่อมกล่าววาจา ย่อมพยาบาทด้วยกายว่า

ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการ

ปกปิดวจีทุจริตนั้น ฯลฯ เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการ

ปกปิดมโนทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา. . . ย่อม

พยายามด้วยกายว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา เรากล่าวเหตุการปกปิดทุจริต

ของเขานั้นว่า เป็นการรับใช้ดอกเบี้ย เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รักได้กล่าว

กะเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านผู้มีอายุรูปนี้ เป็นผู้กระทำอย่างนี้ เป็นผู้ประพฤติอย่างนี้

เรากล่าวการถูกว่ากล่าวของเขาว่า เป็นการทวงดอกเบี้ย อกุศลวิตกที่เป็นบาป

ประกอบด้วยความเดือดร้อน ย่อมครอบงำเขา ผู้อยู่ป่า ผู้อยู่โคนไม้ หรือผู้

อยู่ในเรือนว่าง เรากล่าวการถูกอกุศลวิตกครอบงำนี้ของเขาว่า เจ้าหนี้

ติดตามเขา คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ

เมื่อตายไปแล้ว ย่อมถูกจองจำ ในเรือนจำ คือ นรก หรือในเรือนจำ คือ

กำเนิดดิรัจฉาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็นเรือนจำอื่นเพียง

แห่งเดียว ซึ่งร้ายกาจ เป็นทุกข์ กระทำอันตรายแก่การบรรลุนิพพานซึ่งเป็น

ธรรมเกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อย่างนี้ เหมือนเรือนจำ คือ

นรก หรือเรือนจำ คือ กำเนิดดิรัจฉานเลย.

ความเป็นคนจน และการกู้ยืม

เรียกว่าเป็นทุกข์ในโลก คนจนกู้ยืมเลี้ยง

ชีวิตย่อมเดือดร้อน เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อม

ติดตามเขา เพราะไม่ใช่หนี้นั้น เขาย่อม

เข้าถึงแม้การจองจำ ก็การจองจำนั้น เป็น

ทุกข์ของชนทั้งหลายผู้ปรารถนาการได้ถาม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 667

ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้ใดไม่มีศรัทธา

ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ พอกพูนบาปกรรม

กระทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต

ย่อมปรารถนา ย่อมดำริว่า คนเหล่าอื่น

อย่ารู้จักเรา พอกพูนบาปกรรมในที่นั้น ๆ

อยู่ บ่อย ๆ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

เราตถาคตย่อมกล่าวว่า เป็นทุกข์เหมือน

อย่างนั้น เขาผู้บาปกรรม มีปัญญาทราม

ทราบความชั่วของตนอยู่ เป็นคนจน มี

หนี้สิน เลี้ยงชีวิตอยู่ย่อมเดือดร้อน ลำดับ

นั้น ความดำริที่มีในใจ เป็นทุกข์เกิดขึ้น

เพราะความเดือนร้อนของเขา ย่อมติดตาม

เขาที่บ้าน หรือที่ป่า เขาผู้มีบาปกรรม

มีปัญญาทราม ทราบความชั่วของตนอยู่

ย่อมเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉานบางอย่าง หรือ

ถูกจองจำในนรก ก็การจองจำนั้นเป็นทุกข์

ที่นักปราชญ์หลุดพ้นไปได้.

บุคคลผู้ยังใจให้เลื่อมใส ให้ทานด้วย

โภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาโดยชอบธรรม

ย่อมเป็นผู้ยึดถือชัยชนะไว้ได้ในโลกทั้งสอง

ของผู้มีศรัทธาอยู่ครองเรือน คือ เพื่อประ

โยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุข

ในสัมปรายภพ การบริจาคของคฤหัสถ์ดัง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 668

กล่าวมานั้นย่อมเจริญบุญ ผู้ใดมีศรัทธา

ตั้งมั่น มีใจประกอบด้วยหิริ มีโอตตัปปะ

มีปัญญาและสำรวมในศีล ในวินัยของพระ

อริยเจ้าผู้นั้น แลเราเรียกว่ามีชีวิตเป็นสุข

ในวินัยของพระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน

เขาได้ความสุขที่ไม่มีอามิส ยังอุเบกขา

(ในจตุตถฌาน) ให้ดำรงมั่น ละนิวรณ์ ๕

ประการ เป็นผู้ปรารภความเพียรเป็นนิตย์

บรรลุฌานทั้งหลาย มีเอกัคคตาจิตปรากฏ

มีปัญญารักษาตัว มีสติ จิตของเขาย่อม

หลุดพ้นโดยชอบ เพราะทราบเหตุใน

นิพพานเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ตาม

ความเป็นจริง เพราะไม่ถือมั่นโดยประการ

ทั้งปวง หากว่าเขาผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบ

คงที่อยู่ในนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส

เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมมี

ญาณหยั่งรู้ว่า ความหลุดพ้นของเราไม่

กำเริบไซร้ ญาณนั้นแลเป็นญาณชั้นเยี่ยม

ญาณนั้นเป็นสุขไม่มีสุขอื่นยิ่งกว่า ญาณ

นั้นไม่มีโศก หมดมัวหมองเป็นญาณเกษม

สูงสุดกว่าความไม่มีหนี้.

จบอิณสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 669

อรรถกถาอิณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอิณสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทาลิทฺทิย ได้แก่ ความเป็นผู้ยากจน. บทว่า กามโภคิโน

ได้แก่ สัตว์ผู้บริโภคกาม. บทว่า อสฺสโก ได้แก่ ปราศจากทรัพย์ที่เป็น

ของของตน. บทว่า อนทฺธิโก ได้แก่ ไม่มั่งคั่ง. บทว่า อิณ อาทิยติ

ได้แก่ เมื่อไม่สามารถจะเป็นอยู่ได้ก็กู้หนี้ยืมสิน.

บทว่า วฑฺฒึ ปฏิสฺสุณาติ ได้แก่ เมื่อไม่สามารถจะใช้คืนให้

ก็ให้สัญญาว่า จักให้ดอกเบี้ย. บทว่า อนุจรนฺติปิ น ความว่า (เจ้าหนี้

ทั้งหลาย) ไล่ตามหลังลูกหนี้ไป ทำให้เขาได้รับประการอันแปลกประหลาด

ด้วยการกระทำมีการจับตากแดด และโปรยฝุ่นลงเป็นต้น ในท่ามกลางบริษัท

และท่ามกลางคณะเป็นต้น.

บทว่า สทฺธา นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่ศรัทธาคือการปลงใจเชื่อ.

บทว่า หิริ นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่อาการที่จะละอายใจ. บทว่า โอตฺตปฺป

นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่อาการหวาดกลัว.

บทว่า วิริย นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่ความเพียรที่เป็นไปทาง

กาย. บทว่า ปญฺา นตฺถิ ได้แก่ ไม่มีแม้แต่กัมมัสสกตาปัญญา.

บทว่า อิณาทานสฺมึ วทามิ ได้แก่ เรากล่าวถึงการกู้หนี้ยืมสิน. บทว่า

มา ม ชญฺญู ได้แก่ ขอเจ้าหนี้ทั้งหลายอย่าพบตัวเรา.

บทว่า ทาลิทฺทิย ทุกข ได้แก่ ความเป็นผู้จนทรัพย์เป็นเหตุให้เกิด

ทุกข์. บทว่า กามลาภาภิชฺปิน ได้แก่ ผู้ปรารภนาการได้กาม. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 670

ปาปกมฺม วินิพฺพโย ได้แก่ ผู้ก่อบาปกรรม. บทว่า สสปฺปติ ได้แก่

ดิ้นรน. บทว่า ชาน ได้แก่ รู้อยู่.

บทว่า ยสฺส วิปฺปฏิสารชา ความว่า ความดำริเหล่าใดของบุคคล

ผู้ยากจนนั้นเกิดมาจากความเดือดร้อน. บทว่า โยนิมญฺตร ได้แก่ กำเนิด

สัตว์ดิรัจฉานกำเนิดหนึ่ง. บทว่า ทท จิตฺต ปสาทย ความว่า ทำจิตให้

เลื่อมใสให้.

บทว่า กฏคฺคาโห ได้แก่ การได้ชัยชนะ คือการได้ที่ไม่ผิดพลาด

มีอยู่. บทว่า ฆรเมสิโน ได้แก่ ผู้แสวงหา หรือ อยู่ครองเรือน. บทว่า

จาโค ปุญฺ ปวฑฺฒติ ความว่า บุญที่เป็นไปในสงฆ์คือ จาคะย่อมเจริญ.

อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า จาค ปุญฺ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ปติฏิตา ความว่า ศรัทธาของพระโสดาบัน ชื่อว่า

ศรัทธาที่ตั้งมั่น. บทว่า หิริมโน ได้แก่ จิตสัมปยุตด้วยหิริ. บทว่า

นิรามิส สุข ได้แก่ สุขที่อาศัยฌาน ๓ เกิดขึ้น.

บทว่า อุเปกฺข ได้แก่ อุเบกขาในจตุตถฌาน. บทว่า อารทฺธวิริโย

ได้แก่ มีความเพียรประคับประคองไว้เต็มที่. บทว่า ฌานานิ อุปสมฺปชฺช

ได้แก่ บรรลุฌาน ๔. บทว่า เอโกทิ นิปโก สโต ได้แก่ มีจิตเป็น

เอกัคคตา และประกอบด้วยกัมมัสสกตาญาณและสติ.

บทว่า เอต ตฺวา ยถาภูต ความว่า รู้จักเหตุนี้ คือเท่านี้ตาม

สภาพที่เป็นจริง. บทว่า สพฺพสโยชนกฺขเย ได้แก่ ในนิพพาน. บทว่า

สพฺพโส ได้แก่ โดยอาการทั้งปวง. บทว่า อนุปาทาย ได้แก่ ไม่ยึดถือ.

ในบทว่า สมฺมา จิตฺต วิมุจฺจติ มีคำอธิบายดังนี้ว่า เพราะไม่

ยึดถือโดยประการทั้งปวงในนิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์

ทั้งปวง. มรรคจิตจึงหลุดพ้นโดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย. พระสังคีติกา-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 671

จารย์เขียนบาลีเป็น เอว ตฺวา ยถาภูต สพฺพสโยชนกฺขย ดังนี้ก็มี.

บาลีนั้นมีความหมายว่า รู้นิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์

ทั้งหมดนั่นตามเป็นจริง. แต่ว่าความหมายบาลีบทหน้ากับบทหลังไม่เชื่อมต่อ

กันเลย.

บทว่า ตสฺส สมฺมาวิมุตฺตสฺส ความว่า พระขีณาสพนั้น คือ

ผู้หลุดพ้นโดยชอบ. บทว่า าณ เจ โหติ ได้แก่ มีปัจจเวกขณญาณ.

บทว่า ตาทิโน ได้แก่ ผู้ดำรงมั่นอยู่ในนิพพานนั้น. บทว่า อกุปฺปา

ความว่า (วิมุตติ) ชื่อว่า ไม่กำเริบ เพราะมีธรรมไม่กำเริบเป็นอารมณ์ และ

เพราะไม่มีกิเลสเครื่องทำให้กำเริบ.

บทว่า วิมุตฺติ หมายถึง ทั้ง มรรควิมุตติ ทั้ง ผลวิมุตติ. บทว่า

ภวสโยชนกฺขเย ความว่า เพราะเกิดขึ้นในนิพพานกล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้น

ไปแห่งกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ และเพราะเกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสเครื่อง

ผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นไป. บทว่า เอต โข ปรม าณ ความว่า มรรค-

ญาณและผลญาณนั่น ชื่อว่า บรมญาณ (ญาณอันยอดเยี่ยม).

บทว่า สุขมนุตฺตร ความว่า สุขเกิดแต่มรรคและผลนั้นแลชื่อว่า

อนุตรสุข (สุขอันยอดเยี่ยม). บทว่า อานณฺยมุตฺตม ความว่า บรรดา

คนที่ไม่มีหนี้ทั้งหมด พระขีณาสพผู้ไม่มีหนี้เป็นผู้สูงสุด. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรวมยอดใจความสำคัญของเทศนา ด้วยอรหัตผลว่า

อรหัตผล เป็นญาณไม่มีหนี้อันสูงสุด.

และในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะไว้ก่อน แล้วจึงได้ตรัส

ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้ในคาถาทั้งหลายแล.

จบอรรถกถาอิณสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 672

๔. มหาจุนสูตร

ว่าด้วยข้อควรศึกษาของผู้เจริญฌานและประกอบธรรม

[๓๑๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะอยู่ที่นิคมชื่อสัญชาติในแคว้น

เจดี ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้

กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบธรรมในธรรมวินัยนี้

ย่อมรุกรานภิกษุผู้เพ่งฌานว่า ภิกษุผู้เพ่งฌานเหล่านี้ ย่อมเพ่งฌาน ยึดหน่วง

ฌานว่า เราเพ่งฌาน ๆ ดังนี้ ภิกษุเหล่านี้ เพ่งฌานทำไม เพ่งฌานเพื่ออะไร

เพ่งฌานเพราะเหตุไร ภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น

และภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์

เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌานในธรรมวินัยนี้ ย่อม

รุกรานพวกภิกษุผู้ประกอบธรรมว่า ก็ภิกษุผู้ประกอบธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็น

ผู้ฟุ้งเฟ้อ เย่อหยิ่ง วางท่า ปากจัด พูดพล่าม มีสติหลงใหล ไม่มีสัมปชัญญะ

มิใจไม่ตั้งมั่น มิจิตฟุ้งซ่าน มีอินทรีย์ปรากฏว่า เราประกอบธรรม ๆ ดังนี้

ก็ภิกษุเหล่านี้ประกอบธรรมทำไม ประกอบธรรมเพื่ออะไร ประกอบธรรม

เพราะเหตุไร ภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น และ

ภิกษุผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประ-

โยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก. . .

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 673

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้ประกอบธรรมในธรรมวินัยนี้

ย่อมสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรมเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน ภิกษุ

ผู้ประกอบธรรมย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น และภิกษุผู้เพ่งฌานย่อมไม่

เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น ทั้งไม่เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่

ชนหมู่มาก. . .

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุผู้เพ่งฌานในธรรมวินัยนี้ ย่อม

สรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌานเท่านั้น ไม่สรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม ภิกษุผู้

เพ่งฌานย่อมไม่เลื่อมใสในการประกอบธรรมนั้น และภิกษุผู้ประกอบธรรม

ย่อมไม่เลื่อมใสในการเพ่งฌานนั้น ทั้งไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน

หมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก

เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย.

เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย

เป็นผู้ประกอบธรรม จักสรรเสริญภิกษุผู้เพ่งฌาน ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่

ถูกต้องอมตธาตุด้วยกาย เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยากในโลก.

เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย

เป็นผู้เพ่งฌาน จักสรรเสริญภิกษุผู้ประกอบธรรม ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บุคคลผู้ที่

แทงทะลุ เห็นข้ออรรถอันลึกซึ้งด้วยปัญญานั้น เป็นอัจฉริยบุคคล หาได้ยาก

ในโลก.

จบมหาจุนทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 674

อรรถกถามหาจุนทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมหาจุนทสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เจตีสุ ได้แก่ ในเจติรัฐ. บทว่า สญฺชาติย ได้แก่

ในนิคมที่มีชื่ออย่างนี้. บทว่า มหาจุนฺโท ได้แก่ พระน้องชายคนเล็กของ

พระธรรมเสนาบดี.

ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ธัมมโยคะ เพราะมีการประกอบ คือ การทำ

เนือง ๆ ในธรรม. คำว่า ธมฺมโยคา นั่นเป็นชื่อของพระธรรมกถึกทั้งหลาย.

ภิกษุชื่อว่า ฌายี เพราะเพ่ง.

บทว่า อปสาเทนฺติ ได้แก่ กระทบกระทั่ง คือ รุกราน. บทว่า

ฌายนฺติ ได้แก่ คิด. บทว่า ปชฺฌายนฺติ เป็นต้น ขยาย (รูป) ออกไป

ด้วยอำนาจอุปสรรค. บทว่า กิญฺหิเม ฌายนฺติ ความว่า ภิกษุธรรมกถึก

เหล่านี้เพ่งอยู่อย่างไร.

บทว่า กินฺติเม ฌายนฺติ ความว่า ภิกษุธรรมกถึกเหล่านี้ เข้าฌาน

เพื่ออะไร ? บทว่า กถญฺหิเม ฌายนฺติ ความว่า ภิกษุธรรมกถึกเหล่านี้

เข้าฌาน เพราะเหตุไร ?

บทว่า อมต ธาตุ กาเยน ผุสิตฺวา วิหรนฺติ เป็นต้น มีความว่า

ภิกษุทั้งหลายกำหนดกรรมฐานมุ่งถึงนิพพานธาตุที่เว้นจากมรณะอยู่ คือ ถูกต้อง

นิพพานธาตุนั้นด้วยนามกายตามลำดับอยู่.

บทว่า คมฺภีรอตฺถปท ได้แก่ ความหมายของขันธ์ ธาตุ อายตนะ

เป็นต้น ที่ลี้ลับ คือ ถูก (อวิชชา) ปกปิดไว้. บทว่า ปญฺาย อติวิชฺฌ

ปสฺสนฺติ ความว่า เห็นโดยแทงตลอดด้วยมรรคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนาปัญญา.

แต่ในที่นี้ ย่อมควรทั้งปัญญาเครื่องแทงตลอดด้วยการพิจารณา ทั้ง

ปัญญาในการเรียนและการสอบถาม.

จบอรรถกถามหาจุนทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 675

๕. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร

ว่าด้วยการเห็นธรรมด้วยตนเอง

[๓๑] ครั้งนั้นแล โมฬิยสิวกปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้

ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุ

จะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึง

เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชน

พึงรู้เฉพาะตน ย่อมมีด้วยเหตุเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

สิวกะ ถ้าเช่นนั้นเราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพึงพยากรณ์ข้อนั้นตามที่ควร

แก่ท่าน ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? คือ ท่านย่อมทราบชัดโลภะที่มี

อยู่ในภายในว่า โลภะมีอยู่ในภายในของเรา หรือทราบชัดโลภะที่ไม่มีอยู่ใน

ภายในว่า โลภะไม่อยู่ในภายใน.

สิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสิวกะ การที่ท่านทราบชัดโลภะที่มีอยู่ในภายในว่า โลภะ

มีอยู่ในภายในของเรา หรือทราบชัดโลภะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า โลภะไม่มีอยู่

ในภายในของเรา อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯลฯ ดูก่อน

สิวกะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? คือ ท่านทราบชัดโทสะที่มีอยู่ใน

ภายใน ฯลฯ โมหะที่มีอยู่ในภายใน ฯลฯ ธรรมที่ประกอบด้วยโลภะที่มีอยู่

ในภายใน ฯลฯ ธรรมที่ประกอบด้วยโทสะที่มีอยู่ในภายใน ฯลฯ ธรรมที่

ประกอบด้วยโมหะที่มีอยู่ในภายในว่า ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะมีอยู่ในภายใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 676

ของเรา หรือทราบชัดธรรมที่ประกอบด้วยโมหะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า ธรรม

ที่ประกอบด้วยโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา.

สิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสิวกะ การที่ท่านทราบชัดธรรมที่ประกอบด้วยโมหะที่มีอยู่

ในภายในว่า ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือทราบชัด

ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า ธรรมที่ประกอบด้วยโมหะไม่มี

อยู่ในภายในของเรา อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ

ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.

สิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็น

สรณะ. ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ

ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมสันทิฏฐิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า สนฺต วา อชฺฌตฺต ได้แก่ มีอยู่ในภายในตน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอกุศลมูล ๓ ด้วยบทว่า โลโภ เป็นต้น.

ทรงแสดงธรรมที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูล ๓ นั้นด้วยบทว่า โลภธมฺมา เป็นต้น.

จบอรรถกถาปฐมสันทิฏฐิกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 677

๖. ทุติยสันทิฏฐิกสูตร

ว่าด้วยการเห็นธรรมด้วยตนเอง

[๓๑๙] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้

ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะ

พึงเห็นเอง ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง

ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้

เฉพาะตน ย่อมมีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพึงพยากรณ์

ข้อนั้นตามที่ควรแก่ท่าน ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? คือ ท่านทราบ

ชัดราคะที่มีอยู่ในภายในว่า ราคะมีอยู่ในภายในของเรา หรือทราบชัดราคะที่

ไม่มีอยู่ในภายในว่า ราคะไม่มีอยู่ในภายในของเรา.

พราหมณ์. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ การที่ท่านทราบชัดราคะที่มีอยู่ในภายในว่า ราคะ

มีอยู่ในภายในของเรา หรือทราบชัดราคะที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า ราคะไม่มีอยู่

ในภายในของเรา อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ฯลฯ ดูก่อน

พราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? คือ ท่านทราบชัดโทสะที่มี

อยู่ในภายใน ฯลฯ โมหะมีอยู่ในภายใน ฯลฯ เหตุเครื่องประทุษร้ายกายที่มี

อยู่ในภายใน ฯลฯ เหตุเครื่องประทุษร้ายวาจามีอยู่ในภายใน ฯลฯ เหตุเครื่อง

ประทุษร้ายใจที่มีอยู่ในภายในว่า เหตุเครื่องประทุษร้ายใจมีอยู่ในภายในของเรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 678

หรือทราบชัดเหตุเครื่องประทุษร้ายใจที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เหตุเครื่องประทุษ-

ร้ายใจไม่มีอยู่ในภายในของเรา.

พราหมณ์. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ การที่ท่านทราบชัดเหตุเครื่องประทุษร้ายใจที่มี

อยู่ในภายในว่า เหตุเครื่องประทุษร้ายใจมีอยู่ในภายในของเรา หรือทราบชัด

เหตุเครื่องประทุษร้ายใจที่ไม่มีอยู่ในภายในว่า เหตุเครื่องประทุษร้ายใจไม่มีอยู่

ในภายในของเรา อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุเพ่งเห็นเอง ไม่ประกอบ

ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.

พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดม

โปรดทรงจำพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้

เป็นต้นไป.

จบทุติยสันทิฏฐิกสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุติยสันทิฏฐิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสันทิฏฐิกสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กายสโทส ได้แก่ เหตุแห่งการประทุษร้ายกายทวาร.

แม้ในสองบทที่เหลือ ก็มีนัย อย่างเดียวกันนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัจจเวกขณญาณไว้ในสูตรทั้งสอง (สันทิฏฐิก-

สูตรที่ ๕-๖) นี้แล้วแล.

จบอรรถกถาทุติยสันทิฏฐิกสูตร ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 679

๗. เขมสุมนสูตร

ว่าด้วยผู้หมดมานะ

[๓๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน

พระเขมะและท่านพระสุมนะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระเขมะได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุ

ประโยชน์ของตนแล้ว หมดสิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้

โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า คนที่ดีกว่าเรามีอยู่ คนที่

เสมอเรามีอยู่ หรือคนที่เลวกว่าเรามีอยู่ ท่านพระเขมะได้กราบทูลดังนี้แล้ว

พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้นแล ท่านพระเขมะทราบว่า พระศาสดา

ทรงพอพระทัยเรา จึงลุกจากอาสนะถวายบังคม ทำประทักษิณพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้วหลีกไป ครั้นเมื่อท่านเขมะหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระสุมนะได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์

ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว

บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว หมดสิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้

โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า คนที่ดีกว่าเราไม่มี คนที่

เสมอเราไม่มี หรือคนที่เลวกว่าเราไม่มี ท่านพระสุมนะได้กราบทูลดังนี้แล้ว

พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้นแล ท่านพระสุมนะทราบว่าพระศาสดาทรง

พอพระทัยเรา จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคม ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 680

แล้วหลีกไป ครั้นเมื่อท่านเขมะและท่านพระสุมนะหลีกไปแล้วไม่นาน พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลาย

ย่อมพยากรณ์อรหัตผลอย่างนี้แล กล่าวแต่เนื้อความ และไม่น้อมตนเข้าไป

ส่วนว่าโมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เหมือนจะร่าเริงพยากรณ์อรหัตผล

เขาเหล่านั้นย่อมถึงความทุกข์ในภายหลัง.

พระขีณาสพทั้งหลาย ไม่น้อมตน

เข้าไปเปรียบบุคคลที่ดีกว่า ไม่น้อมตน

เข้าไปเปรียบบุคคลที่เลวกว่า ไม่น้อมตน

เข้าไปเปรียบบุคคลที่เสมอกัน มีชาติสิ้น

แล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ประพฤติ

เป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์.

จบเขมสุมนสูตรที่ ๗

อรรถกถาเขมสุมนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเขมสุมนสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วุสิตวา ได้แก่ ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว. บทว่า กตกรณีโย

ได้แก่ ผู้ทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค ๔ แล้วอยู่. บทว่า โอหิตภาโร ได้แก่

ผู้ปลงขันธภาระ กิเลสภาระ และอภิสังขารภาระลงแล้วอยู่.

บทว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ ความว่า พระอรหัตเรียกว่า ประโยชน์

ของตน ผู้บรรลุประโยชน์ของตนนั้น. บทว่า ปริกฺขีณภวสโยชโน ความว่า

ผู้มีกิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว. บทว่า สมฺมทญฺา วิมุตฺโต

ความว่า หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยการณะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 681

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธมานะ ๓ มีมานะว่า เราดีกว่าเป็นต้น

(อันเป็นของมีอยู่) ของปุถุชนผู้ดีกว่า (บุคคลอื่น) แม้ด้วยบทว่า ตสฺส น

เอว โหติ อตฺถิ เม เสยฺโยติ วา เป็นต้น.

เพราะว่า พระขีณาสพไม่มีมานะว่า คนที่ดีกว่าเรายังมีอยู่ คนที่เสมอ

กับเรายังมีอยู่ คนที่เลวกว่าเรายังมีอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธมานะ

๓ เหล่านั้นนั่นแล แม้ด้วยบทว่า นตฺถิ เม เสยฺโย เป็นต้น. เพราะว่า

พระขีณาสพไม่มีมานะอย่างนี้ว่า เรานี่แหละดีกว่าเขา เราเสมอกับเขา เรา

เลวกว่าเขา ไม่มีบุคคลอื่นที่ดีกว่าเป็นต้น.

บทว่า อจิรปกฺกนฺเตสุ ความว่า เมื่อพระเขมะกับพระสุมนะพยากรณ์

อรหัตผล แล้วหลีกไปได้ไม่นาน. บทว่า อญฺ พฺยากโรนฺติ ได้แก่

กล่าวถึงอรหัตผล. บทว่า หสมานกา มญฺเ อญฺ พฺยากโรนฺติ ความว่า

พูดเหมือนหัวเราะ. บทว่า วิฆาต อาปชฺชนฺติ ได้แก่ ประสบทุกข์.

ในบทว่า น อุสฺเสสุ นโอเมสุ สมตฺเต โนปนียฺยเร นี้ มีอธิบายว่า

บทว่า อุสฺสา ได้แก่ บุคคลผู้ที่เขายกย่อง คือ บุคคลผู้ประเสริฐกว่าเขา.

บทว่า โอมา ได้แก่ บุคคลผู้เลวกว่าเขา. บทว่า สมตฺโต ได้แก่

บุคคลผู้เสมอกันกับเขา. บรรดาบุคคลผู้ประเสริฐกว่าเขา เลวกว่าเขา และ

เสมอกับเขาทั้ง ๓ จำพวกนี้ พระขีณาสพ อันมานะย่อมนำเข้าไปไม่ได้ คือ

ไม่เข้าใกล้ อธิบายว่า ไม่เข้าถึงมานะ.

บทว่า ขีณา สญฺชาติ ได้แก่ ชาติของพระขีณาสพเหล่านั้นสิ้นแล้ว.

บทว่า วุสิต พฺรหฺมจริย ได้แก่ มรรคพรหมจรรย์ อันพระขีณาสพอยู่จบ

แล้ว. บทว่า จรนฺติ สญฺโชนวิปฺปมุตฺตา ความว่า พระขีณาสพทั้งหลาย

เป็นผู้หลุดพ้นจากสังโยชน์ทั้งปวงเที่ยวไป. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงพระ-

ขีณาสพทั้งในพระสูตร ทั้งในคาถา.

จบอรรถกถาเขมสุมนสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 682

๘. อินทรียสังวรสูตร

ว่าด้วยการสำรวมอินทรีย์

[๓๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลของภิกษุผู้มี

อินทรีย์สังวรวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิของภิกษุ

ผู้มีศีลวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ

ของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะไม่มี

นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญาณทัสสนะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกขจัด เมื่อ

นิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติ ย่อมมี

อุปนิสัยถูกขจัด เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบวิบัติ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้น

ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ไม่ถึงความ

บริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลของภิกษุผู้มีอินทรีย-

สังวรสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล

สมบูรณ์ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสสนะของ

ภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะ

มีอยู่ นิพพิทาวิราคะของภิกษุผู้มียถาภูตญานทัสสนะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัย

สมบูรณ์ เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทา

วิราคะสมบูรณ์ ย่อมมีอุปนิสัยสมบูรณ์ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบ

สมบูรณ์ แม้สะเก็ดของต้นไม้นั้นก็ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ถึงความ

บริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น.

จบอินทรียสังวรสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 683

อรรถกถาอินทรียสังวรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอินทรียสังวรสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า หตูปนิส โหติ ความว่า ศีลที่มีอาศัย (อุปนิสัย) ถูกขจัด

เสียแล้ว. บทว่า สีลวิปนฺนสฺส ได้แก่ ผู้มีศีลวิบัติ. บทว่า ยถาภูต

าณทสฺสน ได้แก่ วิปัสสนาญาณอย่างอ่อน. ในบทว่า นิพฺพิทา วิราโค

นี้มีอธิบาย ดังต่อไปนี้.

วิปัสสนาที่มีกำลัง ชื่อ นิพพิทา อริยมรรค ชื่อ วิราคะ. ในบทว่า

วิมุตฺติาณทสฺสน นี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ อรหัตผล ชื่อ วิมุตติ ปัจจเวก-

ขณญาณชื่อ ญาณทัสสนะ.

บทว่า อุปนิสฺสยสมฺปนฺน โหติ ความว่า ศีลมีที่อาศัยถึงพร้อมแล้ว.

ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอินทรียสังวร อันเป็นเครื่องช่วยรักษา

ศีลไว้.

จบอรรถกถาอินทรียสังวรสูตรที่ ๘

๙. อานันทสูตร

ว่าด้วยคุณธรรม ๖ ของพระอานนท์

[๓๒๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร

ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง

กันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

ดูก่อนท่านสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุจึงได้ฟังธรรมที่ยังไม่

เคยฟัง ธรรมทั้งหลายที่เธอได้ฟังแล้วย่อมไม่ถึงความหลงลืม ธรรมทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 684

ที่เธอได้เคยถูกต้องด้วยใจในกาลก่อน ย่อมขึ้นใจ และเธอย่อมทราบชัดธรรม

ที่ยังไม่ทราบชัด ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ท่านพระอานนท์แลเป็นพหูสูต

ขอเนื้อความแห่งธรรมข้อนั้นจงแจ่มแจ้งกะท่านพระอานนท์เถิด.

อา. ดูก่อนท่านสารีบุตร ถ้าอย่างนั้นท่านจงฟังธรรม จงทำไว้ในใจ

ให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระสารีบุตรรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์

ได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม

คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม

เวทัลละ เธอย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ย่อม

บอกสอนธรรมที่ได้ฟังมาได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ย่อมทำการสาธยาย

ธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาโดยพิสดาร ย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่ง

ธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา ย่อมจำพรรษาอยู่ในอาวาสที่มีภิกษุผู้เถระเป็น

พหูสูต ชำนาญคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกาอยู่ ย่อมเข้าไปหาภิกษุ

ผู้เถระเหล่านั้นโดยกาลอันควร แล้วไต่ถามสอบสวนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของภาษิตนี้อย่างไร ภิกษุผู้เถระเหล่านั้นย่อม

เปิดเผยภาษิตที่ยังไม่แจ่มแจ้ง ย่อมทำภาษิตที่ยากให้ง่ายแก่เธอ และย่อม

บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมีประการ

ต่าง ๆ ดูก่อนท่านสารีบุตร ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงได้ฟังธรรมที่ยัง

ไม่เคยฟัง ธรรมทั้งหลายที่เธอได้ฟังแล้ว ย่อมไม่ถึงความหลงลืม ธรรม

ทั้งหลายที่เธอได้เคยถูกต้องด้วยใจในกาลก่อน ย่อมขึ้นใจ และเธอย่อมทราบชัด

ธรรมที่ยังไม่ทราบชัด.

สา. ดูก่อนท่านอานนท์ น่าอัศจรรย์ เรื่องไม่เคยมีได้มีแล้ว เรื่องนี้

ท่านอานนท์ได้กล่าวดีแล้ว และพวกผมจะทรงจำท่านพระอานนท์ว่าเป็นผู้

ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้ เพราะว่าท่านอานนท์ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 685

สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม

เวทัลละ ท่านอานนท์ ย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดย

พิสดาร ท่านอานนท์ย่อมบอกสอนธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา แก่ผู้อื่น

โดยพิสดาร ท่านอานนท์ย่อมทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาโดย

พิสดาร ท่านอานนท์ย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้

เรียนมา ท่านอานนท์ย่อมจำพรรษาอยู่ในอาวาสที่มีภิกษุผู้เถระผู้เป็นพหูสูต

ชำนาญคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา อยู่ ท่านอานนท์ย่อมเข้า

ไปหาภิกษุผู้เถระเหล่านั้นโดยกาลอันควร แล้วไต่ถามสอบสวนว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของภาษิตนี้เป็นอย่างไร ภิกษุผู้เถระ

เหล่านั้นย่อมเปิดเผยภาษิตที่ยังไม่แจ่มแจ้ง ย่อมทำภาษิตที่ยากให้ง่ายแก่ท่าน

อานนท์ และย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ

สงสัยมีประการต่าง ๆ.

จบอานันทสูตรที่ ๙

อรรถกถาอานันทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอานันทสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :

บทว่า กิตฺตาวตา ได้แก่ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ? บทว่า

อสฺสุตญฺเจว ความว่า ธรรมที่ไม่เคยฟังมาในกาลอื่น. บทว่า น สมฺโมส

คจฺฉนฺติ ความว่า (ธรรมทั้งหลาย) ย่อมไม่ถึงความเสื่อมสิ้นไป. บทว่า

เจตสา สมฺผุฏฺปุพฺพา ความว่า (ธรรมทั้งหลาย) ที่เคยสัมผัสด้วยจิต.

บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ เที่ยวไปในมโนทวาร. บทว่า อวิญฺาตญฺจ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 686

วิชานาติ ความว่า รู้จักเหตุที่ยังไม่รู้มาในกาลอื่น. บทว่า ปริยาปุณาติ

ได้แก่ ใช้สอย คือ กล่าว. บทว่า เทเสติ คือ ประกาศ. บทว่า ปร

วาเจติ คือ สอนบุคคลอื่นให้เรียบ. บทว่า อาคตาคมา ความว่า พระ

เถระทั้งหลายชื่อว่า ผู้มีอาคมอันตนบรรลุแล้ว เพราะหมายความว่า ผู้บรรลุ

อาคมอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอาคม (นิกาย) ทั้งหลายมีคัมภีร์ทีฆนิกายเป็นต้น.

บทว่า ธมฺมธรา ได้แก่ พระเถระทั้งหลายผู้ทรงพระสุตตันตปิฎก. บทว่า

วินยธรา ได้แก่ พระเถระทั้งหลายผู้ทรงวินัยปิฏก. บทว่า มาติกาธรา

ได้แก่พระเถระทั้งหลายผู้ทรงจำปาฏิโมกข์ทั้งสอง. บทว่า ปริปุจฺฉติ ได้แก่

ถามถึงเบื้องต้นและเบื้องปลายของอนุสนธิ. บทว่า ปริปญฺหติ ได้แก่ ใคร่

ครวญ คือ กำหนดว่า เราจักถามสิ่งนี้และสิ่งนี้.

บทว่า อิท ภนฺเต กถ ความว่า ภิกษุย่อมถามว่า เบื้องต้นและ

เบื้องปลายของอนุสนธินี้เป็นอย่างไร ? บทว่า อิมสฺส กวตฺโถ ความว่า

ภิกษุย่อมถามว่า ภาษิตนี้มีความหมายเป็นอย่างไร บทว่า อวิวฏ ได้แก่

ธรรมที่ยังไม่เปิดเผย. บทว่า วิวรนฺติ ได้แก่ ทำให้เปิดเผย. บทว่า

กงฺขาฏฺานีเยสุ ได้แก่ ในธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นเหตุแห่งความสงสัย. ในบท

ว่า กงฺขาฏฺานีเยสุ นั้นพึงทราบความว่า ความสงสัยเกิดขึ้นในธรรมใด

ธรรมนั้นแหละชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย.

จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 687

๑๐. ขัตติยาธิปปายสูตร

ว่าด้วยความประสงค์ของคน ๖ จำพวก

[๓๒๓] ครั้งนั้น ชาณุสโสณิพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้

ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ กษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมมีความประสงค์

อะไร นิยมอะไร มั่นใจอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมดากษัตริย์ทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภคทรัพย์

นิยมปัญญา มั่นใจในกำลังทหาร ต้องการในการได้แผ่นดิน มีความเป็นใหญ่

เป็นที่สุด.

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมีความ

ประสงค์อะไร นิยมอะไร มั่นใจอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภค-

ทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในมนต์ ต้องการการบูชายัญ มีพรหมโลกเป็นที่สุด.

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็คฤหบดีทั้งหลาย ย่อมมีความประสงค์

อะไร นิยมอะไร มั่นใจในอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมดาคฤหบดีทั้งหลาย ย่อมประสงค์โภค-

ทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในศิลปะ ต้องการการงาน มีการงานที่สำเร็จแล้ว

เป็นที่สุด.

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็สตรีทั้งหลาย ย่อมประสงค์อะไร

นิยมอะไร มั่นใจในอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 688

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมดาสตรีทั้งหลาย ย่อมประสงค์บุรุษ

นิยมเครื่องแต่งตัว มั่นใจใจบุตร ต้องการไม่ให้มีสตรีอื่นร่วมสามี มีความ

เป็นใหญ่ในบ้านเป็นที่สุด.

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็โจรทั้งหลาย ย่อมประสงค์อะไร

นิยมอะไร มั่นใจอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมดาโจรทั้งหลาย ย่อมประสงค์ลักทรัพย์

ของผู้อื่น นิยมที่ลับเร้น มั่นใจในศาสตรา ต้องการที่มืด มีการที่ผู้อื่นไม่เห็น

เขาเป็นที่สุด.

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็สมณะทั้งหลาย ย่อมประสงค์อะไร

นิยมอะไร มั่นใจในอะไร ต้องการอะไร มีอะไรเป็นที่สุด.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ย่อมประสงค์ขันติ-

โสรัจจะ นิยมปัญญา มั่นใจในศีล ต้องการความไม่มีห่วงใย มีพระนิพพาน

เป็นที่สุด.

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ เรื่องไม่เคยมีได้มีแล้ว

คือท่านพระโคดมย่อมทรงทราบความประสงค์ ความนิยม ความมั่นใจ

ความต้องการและสิ่งที่เป็นที่สุด แม้แห่งกษัตริย์ทั้งหลาย ฯลฯ แม้แห่ง

พราหมณ์ทั้งหลาย ฯลฯ แม้แห่งคฤหบดีทั้งหลาย ฯลฯ แม้แห่งสตรีทั้งหลาย

ฯลฯ แม้แห่งโจรทั้งหลาย ฯลฯ ย่อมทรงทราบความประสงค์ ความนิยม

ความมั่นใจ ความต้องการ และสิ่งที่เป็นสี่สุด แม้แห่งสมณะทั้งหลาย ข้าแต่

ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้

เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้า

พระองค์ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบขัตติยาธิปปายสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 689

อรรถกถาขัตติยาธิปปายสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในขัตติยาธิปปายสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โภคาธิปฺปายา ความว่า กษัตริย์ทั้งหลายตั้งพระประสงค์ไว้

คือ มีอัธยาศัยเป็นไปเพื่อรวบรวมโภคะ.

บทว่า ปญฺญูปวิจารา ความว่า กษัตริย์ทั้งหลายมีการพิจารณา

เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ปัญญาอย่างนี้ว่า ขอเราทั้งหลายพึงเป็นผู้มีปัญญา.

การพิจารณานี้แลของกษัตริย์เหล่านั้นย่อมเที่ยวไปในจิต.

บทว่า พลาธิฏฺานา ความว่า กษัตริย์ทั้งหลายมีพระวรกายที่มีกำลัง

เป็นที่ตั้ง. เป็นความจริง กษัตริย์เหล่านั้นได้ร่างกายที่มีกำลังแล้ว ชื่อว่า

ได้ที่พึ่ง.

บทว่า ปวีอภินิเวสา ความว่า กษัตริย์ทั้งหลายทำการตั้งพระทัยมั่น

เพื่อประโยชน์แก่แผ่นดินอย่างนี้ว่า เราจักเป็นเจ้าของแผ่นดิน.

บทว่า อิสฺสริยปริโยสานา ความว่า กษัตริย์ทั้งหลายมีรัชดาภิเษก

(การอภิเษกเป็นพระราชา) เป็นที่สุด เป็นความจริง กษัตริย์เหล่านั้น ได้รับ

การอภิเษกแล้ว ชื่อว่า ถึงที่สุด. พึงทราบความหมายในบททั้งปวง โดย

นัยนี้.

ส่วนในบทที่เหลือในสูตรนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ มีอันดับแรก พราหมณ์

ทั้งหลายได้มนต์แล้ว ชื่อว่า ได้ที่พึ่ง. คฤหบดีทั้งหลายได้ศิลปะอย่างใด

อย่างหนึ่งแล้ว ชื่อว่าได้ที่พึ่ง. หญิงทั้งหลายได้บุตรซึ่งเป็นเจ้าของมรดกใน

ตระกูล ชื่อว่าได้ที่พึ่ง. โจรทั้งหลายได้ศัสตราวุธ ชนิดใดชนิดหนึ่งแล้ว ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 690

ได้ที่พึ่ง. สมณะทั้งหลายมีศีลบริบูรณ์ ชื่อว่า ได้ที่พึ่ง. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบททั้งหลาย มีบทว่า มนฺตาธิฏฺานา เป็นต้นไว้.

อนึ่ง จิตของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมยึดมั่นว่า เราทั้งหลายจักบูชายัญ

ครั้นเมื่อได้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว พราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่า ถึงที่สุด

เพราะเหตุนั้น พราหมณ์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มียัญเป็นที่

ยึดมั่น มีพรหมโลกเป็นที่สุด. คฤหบดีทั้งหลาย ชื่อว่ามีการงานเป็นที่ยึดมั่น

เพราะเหตุที่มีใจยึดมั่น เพื่อต้องการที่จะทำการงาน เมื่อการงานเสร็จแล้ว

คฤหบดีทั้งหลาย ชื่อว่า ถึงที่สุด เพราะเหตุนั้น คฤหบดีทั้งหลาย จึงชื่อว่า

มีการงานที่เสร็จแล้ว เป็นที่สุด.

บทว่า ปุริสาธิปฺปายา ได้แก่ (หญิงทั้งหลาย) มีอัธยาศัยเป็นไปในบุรุษ

ทั้งหลาย. หญิงชื่อว่า มีใจฝักใฝ่ในเครื่องประดับ เพราะเหตุที่มีใจมุ่งหมายเพื่อ

ต้องการเครื่องประดับ. หญิง ชื่อว่า ไม่มีหญิงร่วนผัวเป็นที่ยึดมั่น เพราะ

เหตุที่มีจิตยึดมั่นอย่างนี้ว่า ขอเราอย่าได้เป็นหญิงร่วมผัว (กับหญิงอื่น) ขออยู่

(เป็นใหญ่) แต่ผู้เดียวเท่านั้นในเรือน. หญิง ชื่อว่า มีความเป็นใหญ่เป็นที่สุด

เพราะเหตุที่ เมื่อได้ความเป็นใหญ่ในการครองเรือน ก็นับว่าถึงที่สุดแล้ว.

โจรทั้งหลาย ชื่อว่า มีความช่วงชิงเป็นที่ประสงค์ เพราะเหตุที่มี

ความประสงค์ในการช่วงชิงเอาทรัพย์สิ่งของของบุคคลอื่น. โจรทั้งหลาย ชื่อว่า

สนใจในป่าชัฏ เพราะเหตุที่มีใจท่องเที่ยวไปในป่าชัฏ คือในที่สำหรับหลบซ่อน.

โจรทั้งหลาย ชื่อว่า มีความมืดเป็นที่ยึดมั่น เพราะเหตุที่ มีใจยึดมั่น เพื่อ

ต้องการความมืด. โจรทั้งหลาย ชื่อว่า มีการมองไม่เห็นเป็นที่สุด เพราะเหตุที่

(เมื่อ) ถึงภาวะที่ไม่มีใครมองเห็น ก็นับว่า ถึงที่สุดแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 691

สมณะทั้งหลาย ชื่อว่า มีขันติและโสรัจจะเป็นที่ประสงค์ เพราะเหตุ

ที่มีความประสงค์ในอธิวาสขันติ และในศีลซึ่งมีความสะอาดเป็นภาวะ. สมณะ

ทั้งหลาย ชื่อว่า ไม่มีอะไรเป็นที่ยึดมั่น เพราะเหตุที่ มีใจยึดมั่น ในความ

ไม่มีอะไร คือ ในภาวะที่ไม่มีการยึดถือ. สมณะทั้งหลาย ชื่อว่า มีนิพพาน

เป็นที่สุด เพราะเหตุที่ (เมื่อ) บรรลุนิพพาน ก็นับว่า ถึงที่สุดแล้ว.

จบอรรถกถาขัตติยาธิปปายสูตรที่ ๑๐

๑๑. อัปปมาทสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ให้สำเร็จประโยชน์

[๓๒๔] ครั้งนั้น พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก

ถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือ

ประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ

มีอยู่หรือหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่ง

ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์

ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพมีอยู่.

พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน

และประโยชน์ในสัมปรายภพ เป็นไฉน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 692

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์

ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนรอย

เท้าชนิดใดชนิดหนึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ที่สัญจรไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้น

ทั้งปวงย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกกล่าวว่าเป็นเยี่ยมกว่า

รอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นรอยเท้าใหญ่ ฉันใด ธรรมข้อหนึ่ง

ซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์

ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ฉันนั้น

เหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนกลอนชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งเรือนยอด

กลอนเหล่านั้นทั้งปวงย่อมโน้มน้อมรวมเข้าหายอดเรือน ยอดเรือนชาวโลก

กล่าวว่าเป็นเยี่ยม (ที่รวม) แห่งกลอนเหล่านั้น ฉันใด ธรรมข้อหนึ่งซึ่ง

เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว. . .ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือน

บุรุษผู้เกี่ยวหญ้า เกี่ยวหญ้าแล้ว จับที่ยอด ถือคว่ำลงสลัดฟาดที่ต้นไม้ ฉันใด

ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว. . .ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์

เปรียบเหมือนเมื่อพวงผลมะม่วงถูกตัดที่ต้นขั้ว ผลมะม่วงลูกใดลูกหนึ่งที่ติดอยู่

กับต้นขั้ว ผลมะม่วงเหล่านั้นทั้งปวง ย่อมเป็นของติดไปกับต้นขั้ว ฉันใด

ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว. . .ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์

เปรียบเหมือนพระราชาผู้ครองประเทศเล็ก พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง พระราชา

เหล่านั้นทั้งปวง ย่อมเป็นผู้ขึ้นตรงต่อพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ

ชาวโลกกล่าวว่าเป็นเยี่ยมกว่าพระราชาเหล่านั้น ฉันใด ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญ

แล้ว ทำให้มากแล้ว. . .ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือน

แสงสว่างชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งดาวทั้งหลาย แสงสว่างเหล่านั้นทั้งปวง ย่อมไม่

ถึงส่วนที่สิบหกแห่งแสงสว่างพระจันทร์ แสงสว่างพระจันทร์ชาวโลกกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 693

เป็นเยี่ยมกว่าแสงสว่างแห่งดาวเหล่านั้น ฉันใด ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำ

ให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และ

ประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อน

พราหมณ์ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์

ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ

ความไม่ประมาทนี้แล.

พราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ

ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบอัปปมาทสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาอัปปมาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัปปมาทสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมธิคฺคยฺห แปลว่า ยึดถือไว้ได้ด้วยดี. บทว่า ชงฺคลาน

ปาทาน ไค้แก่ สัตว์มีเท้าที่มีปกติท่องเที่ยวไปบนพื้นปฐพี. บทว่า ปทชาตานิ

ได้แก่ รอยเท้า. บทว่า สโมธาน คจฺฉนฺติ ได้แก่ ถึงการรวมลง คือ

ใส่ลง. บทว่า อคฺคมกฺขายติ ได้แก่ ที่ชาวโลกกล่าวว่าประเสริฐที่สุด.

บทว่า ปพฺพชลายโก ได้แก่ คนเกี่ยวแฝก. บทว่า โอธุนาติ

ได้แก่ จับยอดกระแทกลง. บทว่า นิธุนาติ ได้แก่ แกว่งไปทางข้างทั้งสอง.

บทว่า นิจฺฉาเทติ ได้แก่ ฟาดที่แขนหรือที่ต้นไม้. บทว่า อมฺพปิณฺฑิยา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 694

ได้แก่ พวงผลมะม่วง. บทว่า วณฺโฏปนิพนฺธนานิ ได้แก่ ติดอยู่ที่ขั้ว

หรือห้อยอยู่ที่ขั้ว.

บทว่า ตทนฺวยานิ ภวนฺติ ได้แก่ ย่อม (หล่น) ไปตามขั้ว.

หมายความว่า ย่อม (หล่น) ไปตามขั้วของผลพวงมะม่วง (ที่หล่นไป).

บทว่า ขุทฺทราชาโน ได้แก่ พระราชาเล็ก (น้อยศักดิ์) หรือ พระราชา

ธรรมดา.

จบอรรถกถาอัปปมาทสูตรที่ ๑๑

๑๒. ธรรมิกสูตร

ว่าด้วยธรรมของสมณะและศาสดาทั้ง ๖

[๓๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฎ ใกล้

กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านธรรมิกะเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในอาวาส ๗ แห่ง

ที่มีอยู่ในชาติภูมิชนบททั้งหมด ทราบข่าวว่า ท่านพระธรรมิกะย่อมด่า

บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีซึ่งภิกษุทั้งหลายที่จรมาอาศัยด้วยวาจา

และภิกษุผู้จรมาอาศัยเหล่านั้น ถูกท่านพระธรรมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน

ทิ่มแทง เสียดสีด้วยวาจา ย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป ครั้งนั้น พวก

อุบาสกชาวชาติภูมิชนมทคิดกันว่า พวกเราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ ด้วยจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็แต่ว่า พวกภิกษุที่จร

มาอาศัยย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้

พวกภิกษุผู้จรมาอาศัยหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาว

ชาติภูมิชนบทคิดกันว่า ท่านพระธรรมิกะนี้แลย่อมด่าบริภาษ เบียดเบียน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 695

ทิ่มแทง เสียดสีพวกภิกษุผู้จรมาอาศัยด้วยวาจา และพวกภิกษุที่จรมาอาศัย

เหล่านั้น ถูกท่านพระธรรมิกะด่า บริภาษ เบียดเบียน ทิ่มแทง เสียดสีด้วย

วาจา ย่อมหลีกไป ไม่อยู่ ละอาวาสไป ผิฉะนั้น พวกเราพึงขับไล่ท่านพระ

ธรรมิกะให้หนีไป ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท ได้พากันไปหา

ท่านพระธรรมิกะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธรรมิกะจงหลีกไปจาก

อาวาสนี้ ท่านไม่ควรอยู่ในนี้ต่อไป.

ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้จากอาวาสนั้นไปสู่อาวาสอื่น ทราบข่าว

ว่า แม้ที่อาวาสนั้น ท่านพระธรรมิกะก็ด่า บริภาษ. . . ครั้งนั้น พวกอุบาสก

ชาวชาติภูมิชนบทได้พากันไปหาท่านพระธรรมิกะถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวกะท่าน

พระธรรมิกะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระธรรมิกะจงหลีกไปจากอาวาส

แม้นี้ ท่านไม่ควรอยู่ในอาวาสนี้.

ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้จากอาวาสแม้นั้นไปสู่อาวาสอื่น ทราบ

ข่าวว่า แม้ในอาวาสนั้น ท่าพระธรรมิกะก็ด่า บริภาษ. . . ผิฉะนั้น พวก

เราพึงขับไล่ท่านพระธรรมิกะให้หลีกไปจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิ-

ชนบททั้งหมด ครั้งนั้น พวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบทได้พากันไปหาท่าน

พระธรรมิกะถึงที่อยู่ และได้กล่าวกะท่านพระธรรมิกะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ขอท่านพระธรรมิกะจงหลีกไปจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด.

ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้คิดว่า เราถูกพวกอุบาสกชาวชาติภูมิ-

ชนบทขับไล่ออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด บัดนี้

เราจะไปที่ไหนหนอ ครั้งนั้น ท่านพระธรรมิกะได้คิดว่า ผิฉะนั้น เราพึง

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ลำดับนั้น ท่านพระธรรมิกะถือบาตร

และจีวรหลีกไปทางกรุงราชคฤห์ ไปถึงกรุงราชคฤห์และภูเขาคิชฌกูฏโดยลำดับ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 696

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์

ธรรมิกะ เออ เธอมาจากที่ไหนหนอ ท่านพระธรรมิกะกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์เจริญ ข้าพระองค์ถูกพวกอุบาสกชาวชาติภูมิชนบท ขับไล่ออกจาก

อาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ ควรแล้ว จะมีประโยชน์อะไรแก่เธอ

ด้วยการอยู่ในชาติภูมิชนบทนี้ เธอถูกขับไล่ให้ออกจากอาวาสนั้น ๆ แล้วมาใน

สำนักของเรา.

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกพ่อค้าทางสมุทร

จับนกที่ค้นหาฝั่ง แล้วนำเรือออกเดินทางไปในสมุทร เมื่อเดินเรือไปยังไม่

เห็นฝั่ง พ่อค้าเหล่านั้นจึงปล่อยนกที่ค้นหาฝั่ง มันบินไปทางทิศตะวันออก

บินไปทางทิศตะวันตก บินไปทางทิศเหนือ บินไปทางทิศใต้ บินขึ้นสูง

บินไปตามทิศน้อย ถ้ามันเห็นฝั่งอยู่ใกล้ ก็บินเข้าหาฝั่งไปเลยทีเดียว แต่ถ้า

มันไม่เห็นฝั่งอยู่ใกล้ ก็กลับมาที่เรือนั้น ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ

เธอถูกขับไล่ให้ออกจากอาวาสนั้น ๆ แล้วมาในสำนักของเรา ก็ฉันนั้นเหมือน

กัน.

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ

ของพระเจ้าโกรัพยะมี ๕ กิ่ง ร่มเย็น น่ารื่นเริงใจ ก็ต้นไทรใหญ่ชื่อ

สุปติฏฐะมีปริมณฑลใหญ่สิบสองโยชน์ มีรากแผ่ไป ๕ โยชน์ มีผลใหญ่

เหมือนกะทะหุงข้าวสารได้หนึ่งอาฬหกะ ฉะนั้น มีผลอร่อย เหมือนร่วงผึ้งเล็ก

ซึ่งไม่มีโทษ ฉะนั้นพระราชากับพวกสนมย่อมทรงเสวยและบริโภคผลไทร ชื่อ

สุปติฏฐะเฉพาะกิ่งหนึ่ง เหล่าทหารย่อมบริโภคเฉพาะกึ่งหนึ่ง ชาวนิคมชนบท

ย่อมบริโภคเฉพาะกึ่งหนึ่ง สมณพราหมณ์ทั้งหลายย่อมบริโภคเฉพาะกิ่งหนึ่ง

เนื้อและนกย่อมกินกิ่งหนึ่ง ก็ใคร ๆ ย่อมไม่รักษาผลแห่งต้นไทรใหญ่ชื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 697

สุปติฏฐะ และไม่มีใคร ๆ ทำอันตรายผลของกันและกัน ครั้งนั้น บุรุษคน

หนึ่งบริโภคผลแห่งต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ พอแก่ความต้องการแล้วหักกิ่ง

หลีกไป ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะได้คิดว่า ท่าน

ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ มนุษย์ใจบาปคนนี้ บริโภค

ผลของต้นไทรใหญ่ ชื่อสุปติฏฐะ พอแก่ความต้องการแล้วหักกิ่งหลีกไป ไฉน

หนอ ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะไม่พึงออกผลต่อไป ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ

ทีนั้นแลต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะก็ไม่ให้ผลต่อไป ดูก่อน พราหมณ์ธรรมิกะ

ครั้งนั้นพระเจ้าโกรัพยะ เสด็จเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอมเทพถึงที่ประทับ แล้ว

ทูลถามว่า ขอเดชะ ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์พึงทรงทราบเถิดว่า ต้นไทร

ใหญ่ชื่อสุปติฏฐะไม่ออกผล ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงบันดาลอิทธา-

ภิสังขาร ให้มีลมฝนที่แรงกล้าพัดโค่นต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะล้มลง ทำให้มี

รากอยู่ข้างบน ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ มี

ทุกข์ เสียใจ มีหน้านองด้วยน้ำตา ยืนร้องไห้อยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง ครั้งนั้น

ท้าวสักกะจอมเทพได้เสด็จเข้าไปหาเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ

แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนเทวดา เหตุไรหนอ ท่านจึงมีทุกข์ เสียใจ มีหน้า

นองด้วยน้ำตา ยืนร้องไห้อยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง เทวดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้นิรทุกข์ ลมฝนที่แรงกล้าได้พัดมาโค่นที่อยู่ (ภพ) ของข้าพระองค์ล้มลง

ทำให้มีรากอยู่ข้างบน ดังที่เห็นอยู่นี้ พระเจ้าข้า.

ส. ดูก่อนเทวดา ก็เมื่อท่านดำรงอยู่ในรุกขธรรมแล้ว (ธรรมที่-

เทวดาผู้สิ่งสถิตอยู่ที่ต้นไม้จะต้องประพฤติ) ลมฝนที่แรงกล้า ได้พัดมาโค่นที่

อยู่ของท่านล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบนได้อย่างไร.

ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ย่อมเป็น

ผู้ดำรงอยู่ให้รุกขธรรมอย่างไรฯ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 698

ส. ดูก่อนเทวดา พวกชนที่ต้องการราก ย่อมนำรากต้นไม้ไป พวกชน

ผู้ต้องการเปลือก ย่อมนำเปลือกไป พวกชนผู้ต้องการใบย่อมนำใบไป พวก

ชนผู้ต้องการดอกย่อมนำดอกไป พวกชนผู้ต้องการผลย่อมนำผลไป ก็แต่เทวดา

ไม่พึงกระทำความเสียใจหรือความดีใจเพราะการกระทำนั้น ๆ ดูก่อนเทวดา

เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในรุกขธรรมอย่างนี้แล.

ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ไม่ดำรงอยู่ในรุกขธรรมเป็น

แน่เทียว ลมฝนที่แรงกล้าจึงได้พัดมาโค่นที่อยู่ให้ล้มลง ทำให้มีรากอยู่ข้างบน.

ส. ดูก่อนเทวดา ถ้าว่าท่านพึงดำรงอยู่ในรุกขธรรมไซร้ ที่อยู่ของ

ท่านก็พึงมีเหมือนกาลก่อน.

ท. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์จะพึงดำรงอยู่ในรุกขธรรม

ขอให้ที่อยู่ของข้าพระองค์พึงมีเหมือนกาลก่อนเถิด.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้มีลมฝน

ที่แรงกล้าพัดต้นไทรใหญ่ชื่อสุปติฏฐะ ให้กลับตั้งขึ้นดังเดิม ต้นไทรใหญ่ชื่อ

สุปติฏฐะได้มีรากตั้งอยู่ดังเดิม ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เออก็ พวก

อุบาสกชาวชาติภูมิชนบท ได้ขับไล่เธอผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรมออกจากอาวาส

ทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิชนบททั้งหมด ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านพระธรรมิกะ

ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมณะย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรม

อย่างไร.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ สมณะในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ด่าตอบ

บุคคลผู้ด่า ไม่เสียดสีตอบบุคคลผู้เสียดสี ไม่ประหารตอบบุคคลผู้ประหาร

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ สมณะย่อมเป็นผู้ดำรงอยู่ในสมณธรรมอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 699

ข้าพระองค์ผู้ไม่ดำรงอยู่ในสมณธรรมออกจากอาวาสทั้ง ๗ แห่ง ในชาติภูมิ

ชนบททั้งหมด พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีศาสดาจารย์ชื่อ

สุเนตตะผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลาย

ร้อยคน ได้แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก

ก็สาวกเหล่าใด เมื่อท่านศาสดาจารย์ชื่อสุเนตตะแสดงธรรม เพื่อความเป็นผู้

ไปเกิดในพรหมโลก ไม่ยังจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไปแล้ว

ได้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อท่านศาสดาจารย์

ชื่อสุเนตตะแสดงธรรม เพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก ได้ยังจิตให้

เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นเมื่อตายไปแล้ว ได้เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์.

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เรื่องเคยมีมาแล้ว มีศาสดาจารย์ชื่อมูค-

ปักขะ ฯลฯ มีศาสดาจารย์ชื่ออรเนมิ ฯลฯ มีศาสดาจารย์ชื่อกุททาลกะ ฯลฯ

มีศาสดาจารย์ชื่อหัตถิปาละ ฯลฯ มีศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ

ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีสาวกหลายร้อนคน ได้แสดงธรรม

แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก ก็สาวกเหล่าใด เมื่อ

ท่านศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก

ไม่ยังจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้นเมื่อตายไปแล้ว ได้เข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อท่านศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละแสดงธรรม

เพื่อความเป็นผู้ไปเกิดในพรหมโลก ได้ยังจิติให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น เมื่อ

ตายไปแล้ว ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ผู้ใด

มีจิตประทุษร้าย พึงด่า บริภาษ ท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 700

ผู้ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่

สาวก ผู้นั้นพึงประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญมากหรือ.

ธ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย พึงด่า บริภาษ

ท่านศาสดาจารย์ทั้ง ๖ นั้น ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม

ทั้งหลาย มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมทั้งหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสบสิ่งที่ไม่

เป็นบุญมาก ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย ย่อมด่า บริภาษบุคคลผู้มีทิฏฐิสมบูรณ์

คนเดียว ผู้นี้ย่อมประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญมากกว่าผู้ด่าว่าบริภาษท่านศาสดาจารย์

ทั้ง ๖ นั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราหากล่าวการขุดโค่นคุณความดีของตน

ภายนอกศาสนานี้ เหมือนการด่าว่าบริภาษในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วม

กันนี้ไม่ ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

จิตของเราจักไม่ประทุษร้ายในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันของตน

ดูก่อนพราหมณ์ธรรมิกะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

ได้มีท่านศาสดาจารย์ชื่อสุเนตตะ

ชื่อมูคปักขะ ชื่ออรเนมิ ชื่อกุททาลกะ

ชื่อหัตถิปาละ และไม่มีพราหมณ์ปุโรหิต

ของพระราชาถึง ๗ พระองค์ เป็นเจ้า

แผ่นดินเป็นศาสดาจารย์ชื่อโชติปาละ ท่าน

ศาสดาจารย์ทั้ง ๖ ผู้มียศเป็นผู้ได้รับยกย่อง

ว่าเป็นเจ้าลัทธิในอดีต ท่านเหล่านั้นได้

เป็นผู้หมดกลิ่นสาป คือ ความโกรธ มุ่งมั่น

ในกรุณา ผ่านพ้นกามสังโยชน์ คลาย

กามราคะเสียได้ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 701

สาวกของท่านเหล่านั้นแม้หลายร้อย ได้

เป็นผู้หมดกลิ่นสาป คือ ความโกรธ มุ่งมั่น

ในกรุณา ผ่านพ้นกามสังโยชน์ คลาย

กามราคะเสียได้ ก็เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก

นรชนใดมีความดำรงทางใจประทุษร้าย

ย่อมด่าบริภาษท่านเหล่านั้น ผู้เป็นฤาษี

ผู้เป็นนักบวชนอกศาสนา ปราศจากความ

กำหนัด มีจิตตั้งมั่น ก็นรชนเช่นนั้นย่อม

ประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญมาก ส่วนนรชน

ใดมีความดำริทางใจประทุษร้าย ย่อมด่า

บริภาษภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า

ผู้มีทิฏฐิสมบูรณ์รูปเดียว นรชนผู้นี้ย่อม

ประสบสิ่งที่ไม่เป็นบุญมากกว่าผู้ด่าว่า

บริภาษท่านศาสดาจารย์เหล่านั้น นรชน

ไม่พึงเสียดสีท่านผู้มีความดี ผู้ละทิฏฐิ

บุคคลใดเป็นผู้มีอินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา

สติ วิริยะ สมถะ และวิปัสสนา อ่อน

บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม

เราเรียกว่าเป็นบุคคลที่เจ็ด แห่งพระอริย-

สงฆ์ นรชนใดเบียดเบียน ทำร้ายบุคคล

เช่นนั้นผู้เป็นภิกษุ ในกาลก่อน นรชนนั้น

ชื่อว่าทำร้ายตนเอง ย่อมบั่นรอนอรหัตผล

ในภายหลัง ส่วนนรชนใดย่อมรักษาตน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 702

นรชนนั้นชื่อว่า เป็นผู้รักษาตนที่เป็นส่วน

ภายนอก เพราะเหตุนั้น บัณฑิตไม่ขุด

โค่นคุณความดีของตน ชื่อว่าพึงรักษาตน

ทุกเมื่อ.

จบธรรมิกสูตรที่ ๑๒

จบธรรมิกวรรคที่ ๕

อรรถกถาธรรมิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในธรรมิกสูตรที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สพฺพโส แก้เป็น สพฺเพสุ ทั้งปวง. บทว่า สตฺตสุ อาวาเสสุ

ได้แก่ ในบริเวณ ๗ แห่ง. บทว่า ปริภาสติ ได้แก่ ข่มขู่ คือ ก่อให้เกิด

ความกลัว. บทว่า วิหึสติ แปลว่า เบียดเบียน. บทว่า วิตุทติ แปลว่า

ทิ่มแทง. บทว่า โรเสติ คือ กระทบกระทั่งด้วยวาจา. บทว่า ปกฺกมนฺติ

คือ หลีกไปสู่ทิศทั้งหลาย. บทว่า น สณฺหนฺติ คือ ไม่ดำรงอยู่. บทว่า

ริญฺจนฺติ คือทิ้ง ได้แก่สละ. บทว่า ปพฺพาเชยฺยาม คือ พึงนำออก. ศัพท์ว่า

หนฺท เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่า สละวาง. บทว่า อล มีความหมายว่า

การที่อุบาสกทั้งหลายจะพึงขับไล่ท่านพระธัมมิกะนั้นออกไปเป็นการสมควร.

บทว่า ตีรทสฺสึ สกุณ ได้แก่ กาบอกทิศ. บทว่า มุญฺจนฺติ

ได้แก่ พ่อค้าทั้งหลายเดินทางทะเล ปล่อย (กา) ไปเพื่อดูทิศ. บทว่า สามนฺตา

ได้แก่ ในที่ไม่ไกล. ปาฐะเป็น สมนฺตา ดังนี้ก็มี. หมายความว่าโดยรอบ.

บทว่า อภินิเวโส ได้แก่ การหยุดอยู่ของกิ่งไม้ที่แผ่ออกไปคลุมอยู่. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 703

มูลสนฺตานกาน ได้แก่ การหยุดอยู่ของรากไม้. บทว่า อาฬฺหกถาลิกา

หม้อหุงข้าว (บรรจุ) ข้าวสารได้ ๑ อาฬหกะ. บทว่า ขุทฺทมธุ ได้แก่ น้ำผึ้ง

ติดไม้ที่พวกผึ้งตัวเล็ก ๆ ทำไว้. บทว่า อเนลก ได้แก่ ไม่มีโทษ.

บทว่า น จ สุท อญฺมญฺสฺส ผลานิ หึสนฺตึ ความว่า

ผลไม้ทั้งหลายย่อมไม่เบียดส่วนของกันและกัน. ขึ้นชื่อว่า ต้นไม้ที่จะเอาส่วน

ของมันตัดราก เปลือกหรือใบ (ของต้นอื่น) ไม่มี. มนุษย์ทั้งหลายมีพระราชา

เป็นต้น จะบริโภคกันเฉพาะแต่ผลที่หล่นลงไปภายใต้กิ่งของมัน ๆ เท่านั้น.

แม้ผลที่หล่นจากส่วนของต้นหนึ่ง ไปสลับอยู่กับส่วนของอีกต้นหนึ่ง มนุษย์

ทั้งหลายมีพระราชาเป็นต้น พอทราบว่า ไม่ใช่ผลจากกิ่งของเรา ก็ไม่ยอม

เคี้ยวกิน.

บทว่า ยาวทตฺถ ภกฺขิตฺวา ได้แก่ เคี้ยวกินโดยประมาณถึงคอ

(จนเต็มอิ่ม). บทว่า สาข ภญฺชิตฺวา ความว่า (ชายคนหนึ่ง) ตัดใบไม้

ขนาดเท่าร่ม กั้นให้เกิดร่มเงาพลางหลีกไป. บทว่า ยตฺร หิ นาม ได้แก่

โย หิ นาม (ชายคนใดคนหนึ่ง). บทว่า ปกฺกมิสฺสติ คือ หลีกไปแล้ว.

บทว่า นาทาสิ ความว่า ต้นพญานิโครธก็มิได้ออกผลอีก ด้วยอานุภาพของ

เทวดา. เพราะว่า เทวดานั้นได้อธิษฐานอย่างนี้.

บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า เมื่อชาวชนบทไปกราบทูลว่า ข้าแต่

มหาราช ต้นไม้ไม่ออกผลเลย เป็นความผิดของพวกหม่อมฉันหรือของพระองค์

พระเจ้าโกรัพยะทรงดำริว่า ไม่ใช่ความผิดของเรา ไม่ใช่ความผิดของพวก

ชาวชนบท อธรรมย่อมไม่เป็นไปในแว่นแคว้นของเรา ต้นไม้ไม่ออกผลเพราะ

เหตุอะไรหนอแล เราจักเข้าไปทูลถามท้าวสักกะ ดังนี้แล้ว เข้าไปเฝ้าท้าวสักกะ

จอมเทพจนถึงภพดาวดึงส์. บทว่า ปวตฺเตสิ แปลว่า พัดผัน. บทว่า

อุมมูลมกาสิ ได้แก่ ทำ (ต้นพญานิโครธ) ให้มีรากขึ้นข้างบน. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 704

อปิ นุ ตฺว เท่ากับ อปิ นุ ตว. บทว่า อฏฺิตาเยว คือ อฏฺิตายเอว

ตั้งอยู่ไม่ได้เลย. บทว่า สจฺฉวินี ได้แก่ (รากไม้) กลับมีผิวเหมือนเดิม คือ

ตั้งอยู่ในที่ตามปกติ. บทว่า น ปจฺจกฺโกสติ คือ ไม่ด่าตอบ. บทว่า โรสนฺต

ได้แก่ บุคคลผู้กระทบอยู่. บทว่า ภณฺฑนฺต ได้แก่ บุคคลผู้ประหารอยู่.

บทว่า สุเนตฺโต ควานว่า นัยน์ตา เรียกว่า เนตตะ เพราะนัยน์ตา

คู่นั้นสวยงาม ครูนั้นจึง ชื่อว่า สุเนตตะ. บทว่า ติตฺถกโร ได้แก่

ผู้สร้างท่า (ลัทธิ) เป็นที่หยั่งลงสู่สุคติ. บทว่า วีตราโค ได้แก่ ผู้ปราศจาก

ราคะด้วยอำนาจการข่มไว้. บทว่า ปสวติ ได้แก่ ย่อมได้. บทว่า ทิฏฺสมฺปนฺน

ได้แก่ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ อธิบายว่า คือ พระโสดาบัน. บทว่า

ขนฺต ได้แก่ การขุดคุณของตน. บทว่า ยถา ม สพฺรหฺมจารีสุ ความว่า

เทวดาและการบริภาษในเพื่อนสพรหมจารีนี้เป็นฉันใด เราไม่กล่าวการขุดคุณ

แบบนี้ ว่าเป็นอย่างอื่น (จากการด่าและบริภาษนั้น).

คนของตนเรียกว่า อามชน ในบทว่า น โน อามสพฺรหฺมจารีสุ นี้

เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงมีความหมายดังนี้ว่า เราทั้งหลายจักไม่มีจิตประทุษร้าย

ในเพื่อนสพรหมจารีผู้เสมอกับของตน.

บทว่า โชติปาโล จ โควินฺโท ความว่า (ครูนั้น) ว่าโดยชื่อ

มีชื่อว่า โชติปาละ ว่าโดยตำแหน่ง มีชื่อว่า มหาโควินทะ.

บทว่า สตฺตปุโรหิโต ความว่า เป็นปุโรหิตของพระราชา ๗

พระองค์ มีพระเจ้าเรณุเป็นต้น. บทว่า อภิเสกา อตีตเส ความว่า ครู

ทั้ง ๖ เหล่านี้ (มีครูมูคปักขะเป็นต้น) ได้รับการอภิเษกมาแล้วในส่วนที่เป็น

อดีต.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 705

บทว่า นิรามคนฺธา ได้แก่ ไม่มีกลิ่นดาว ด้วยกลิ่นดาว คือ

ความโกรธ. บทว่า กรุเณ วิมุตฺตา ความว่า หลุดพ้นแล้ว ในเพราะ

กรุณาฌาน คือ ดำรงอยู่ในกรุณาและในธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นของกรุณา.

บทว่า เย เต แก้เป็น เอเต. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะเป็นอย่างนี้ (เอเต)

ก็มีเหมือนกัน. บทว่า น สาธุรูป อาสิเท คือ ไม่พึงกระทบกระทั่งสภาวะ

ที่ดี. บทว่า ทิฏฺิฏฺานปฺปหายิน คือ อันมีปกติละทิฏฐิ ๖๒.

บทว่า สตฺตโม ได้แก่ เป็นบุคคลที่ ๗ นับตั้งแต่พระอรหันต์ลงมา.

บทว่า อวีตราโค คือ ยังไม่ปราศจากราคะ.

ท่านปฏิเสธความเป็นอนาคามี ด้วยบทว่า อวีตราโค นั้น. บทว่า

ปญฺจินฺทฺริยา มุทู ความว่า อินทรีย์ในวิปัสสนา ๕ อ่อน. จริงอยู่ อินทรีย์

เหล่านั้นของพระโสดาบันนั้น เปรียบเทียบกับพระสกทาคามีแล้ว นับว่า อ่อน.

บทว่า วิปสฺสนา ได้แก่ ญาณเป็นเครื่องกำหนดสังขาร. บทว่า

ปุพฺเพว อุปหญฺติ ได้แก่ กระทบก่อนทีเดียว. บทว่า อกฺขโต ได้แก่

ไม่ถูกขุด คือ ไม่ถูกกระทบกระทั่งโดยการขุดคุณ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง

ง่ายทั้งนั้นแล.

จบธรรมิกวรรควรรณนาที่ ๕

จบปฐมปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นาคสูตร ๒. มิคสาลาสูตร ๓. อิณสูตร ๔. มหาจุนทสูตร

๕. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร ๖. ทุติยสันทิฏฐิกสูตร ๗. เขมสุมนสูตร ๘. อินทริย-

สังวรสูตร ๙. อานันทสูตร ๑๐. ขัตติยาธิปปายสูตร ๑๑. อัปปมาทสูตร

๑๒. ธรรมิกสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 706

ทุติยปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๑

๑. โสณสูตร

ว่าด้วยพิณ ๓ สาย

[๓๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ

ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระโสณะอยู่ที่ป่าชื่อ สีตวัน ใกล้กรุงราชคฤห์

ครั้งนั้น ท่านพระโสณะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า

สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่

เราก็เป็นผู้หนึ่งในจำนวนสาวกเหล่านั้น ก็แต่ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้นจาก

อาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็โภคทรัพย์ย่อมมีอยู่ในสกุลของเรา เราอาจเพื่อใช้สอย

โภคทรัพย์และทำบุญได้ ผิฉะนั้น เราพึงบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอย

โภคทรัพย์และพึงทำบุญเถิด.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบปริวิตกแห่งใจของท่านพระโสณะ

ด้วยพระทัย แล้วทรงหายจากภูเขาคิชฌกูฏ ไปปรากฏตรงหน้าท่านพระโสณะ

ที่ป่าสีตวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่

เหยียดฉะนั้น ทรงประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูแล้ว แม้ท่านพระโสณะถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระโสณะว่า ดูก่อนโสณะ เธอหลีกออกเร้นอยู่ใน

ที่ลับ เกิดปริวิตกแห่งใจอย่างนี้มิใช่หรือว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ เราก็เป็นผู้หนึ่งในจำนวนสาวก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 707

เหล่านั้น ก็แต่ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ก็โภคทรัพย์

ย่อมมีอยู่ในสกุลของเรา เราอาจเพื่อใช้สอยโภคทรัพย์และทำบุญได้ ผิฉะนั้น

เราพึงบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ใช้สอยโภคทรัพย์ และพึงทำบุญเถิด.

ท่านพระโสณะทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอเมื่อก่อนยัง

อยู่ครองเรือนเป็นผู้ฉลาดในการดีดพิณมิใช่หรือ ?

โสณะ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก็สมัยใดสายพิณ

ของเธอตึงเกินไป สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะหรือ ย่อมควรแก่การ

ใช้หรือไม่ ?

โสณะ. ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนโสณะ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมัยใดสายพิณ

ของเธอหย่อนเกินไป สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะ หรือย่อมควร

แก่การใช้หรือไม่ ?

โสณะ. ไม่เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนโสณะ ก็สมัยใด สายพิณของเธอไม่พึงเกินไป ไม่หย่อน

เกินไป ตั้งอยู่ในขนาดกลาง สมัยนั้น พิณของเธอย่อมมีเสียงไพเราะ หรือ

ย่อมควรแก่การใช้หรือไม่ ?

โสณะ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนโสณะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความเพียรที่ปรารภมาก

เกินไป ย่อมเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน ความเพียรที่หย่อนเกินไป

ย่อมเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ดูก่อนโสณะ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอ

จงตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ จงตั้งอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และจง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 708

ถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้น ท่านพระโสณะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวสอนท่านพระโสณะด้วยพระโอวาทนี้

แล้วทรงหายจากป่าสีตวันไปปรากฏที่ภูเขาคิชฌกูฏ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มี

กำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

ครั้นสมัยต่อมา ท่านพระโสณะได้ตั้งความเพียรให้สม่ำเสมอ ได้ตั้ง

อินทรีย์ให้สม่ำเสมอ และได้ถือนิมิตในความสม่ำเสมอนั้นต่อมา ท่านพระโสณะ

หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร ตั้งใจแน่วแน่อยู่ ได้

ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวช

เป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลย

ได้ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระโสณะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง

ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุอรหัตแล้ว ได้คิด

อย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วพึง

พยากรณ์อรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ลำดับนั้น ท่านพระโสณะ

ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ภิกษุผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว

ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว หมดสิ้นกิเลสเครื่องประกอบ

ในภพ หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้น้อมไปยังเหตุ ๖ ประการ

คือเป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ ๑ เป็นผู้น้อมไปยังความสงัด ๖ ประการ

ผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน ๑ เป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นตัณหา ๑

เป็นผู้น้อมไปยังความสิ้นอุปาทาน ๑ เป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลง

ไหล ๑.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 709

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความ

คิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ อาศัยคุณเพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่

เป็นผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะว่าภิกษุขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ตน

จะต้องทำ หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่ ย่อมเป็นผู้น้อม

ไปยังเนกขัมมะ เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะสิ้นโทสะ

เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความ

คิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ มุ่งหวังลาภ สักการะและการสรรเสริญ

เป็นแน่จึงน้อมไปยังความสงัด แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะว่าภิกษุ

ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่พิจารณาเห็นกิจที่ตน

จะต้องทำ หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่ ย่อมเป็นผู้น้อมไปยัง

ความสงัด เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ เพราะสิ้นโทสะ

เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมี

ความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ละสีลัพพตปรามาส กลับให้เป็น

แก่นสารเป็นแน่ จึงเป็นผู้นอบน้อมไปยังความไม่เบียดเบียน แต่ข้อนั้นไม่พึง

เห็นอย่างนี้ เพราะว่าภิกษุขีณาสพ ฯลฯ เป็นผู้น้อมไปยังความไม่เบียดเบียน

เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้น้อมไปยังความ

สิ้นตัณหา เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้น้อม

ไปยังความสิ้นอุปาทาน เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโมหะ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านผู้มีอายุบางรูปในธรรมวินัยนี้พึงมีความ

คิดเห็นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ละสีลัพพตปรามาสกลับให้เป็นแก่นสาร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 710

เป็นแน่จึงเป็นผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล แต่ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนี้ เพราะ

ว่าภิกษุขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่พิจารณาเห็น

ในกิจที่ตนจะต้องทำ หรือไม่พิจารณาเห็นการเพิ่มพูนกิจที่ทำแล้วอยู่ ย่อมเป็น

ผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล เพราะสิ้นราคะ เพราะเป็นผู้ปราศจากราคะ

เพราะสิ้นโทสะ เพราะเป็นผู้ปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโมหะ เพราะเป็นผู้

ปราศจากโมหะ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ารูปที่พึงเห็นแจ้งด้วยจักษุแม้ดีเยี่ยมมาสู่คลอง

จักษุของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ไซร้ รูปนั้นไม่ครอบงำจิตของ

ท่านได้ จิตของท่านย่อมเป็นจิตไม่เจือด้วยกิเลส เป็นจิตตั้งมั่น ถึงความไม่

หวั่นไหวและท่านย่อมพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วย

จมูก ฯลฯ รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย ฯลฯ

ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ แม้ดีเยี่ยม มาสู่คลองจักษุแห่งภิกษุ ผู้มีจิต

หลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ไซร้ ธรรมารมณ์นั้นย่อมไม่ครอบงำจิตของท่านได้

จิตของท่านย่อมเป็นจิตไม่เจือด้วยกิเลส เป็นจิตตั้งมั่นถึงความไม่หวั่นไหว

และท่านพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ความเสื่อมไปแห่งจิตนั้น เปรียบเหมือน

ภูเขาศิลาที่ไม่มีช่อง ไม่มีโพรงเป็นแท่งทึบ ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมา

จากทิศบูรพาไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้นให้หวั่นไหว ให้สะเทือนสะท้านได้

ถึงแม้ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศประจิม ฯลฯ พึงพัดมาจากทิศอุดร ฯลฯ

พึงพัดมาจากทิศทักษิณไซร้ ก็ไม่พึงยังภูเขาศิลานั้นให้หวั่นไหว ให้สะเทือน

สะท้านได้ ฉะนั้น.

ท่านพระโสณะครั้น กล่าวดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ดังต่อไป

อีกว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 711

จิตของภิกษุผู้น้อมไปยังเนกขัมมะ

ผู้น้อมไปยังความสงัดแห่งใจ ผู้น้อมไป

ยังความสิ้นตัณหา ผู้น้อมไปยังความสิ้น

อุปาทาน และผู้น้อมไปยังความไม่หลงใหล

แห่งใจ ย่อมหลุดพ้นโดยชอบเพราะเห็น

ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งอายตนะ

ทั้งหลาย กิจที่ควรทำและการเพิ่มพูนกิจ

ที่ทำแล้ว ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้หลุดพ้น

แล้วโดยชอบ มีจิตสงบ ภูเขาศิลาเป็น

แท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยลม ฉันใด

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและธรร-

มารมณ์ทั้งสิ้น ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ และ

อนิฏฐารมณ์ ย่อมยังจิตอันตั้งมั่นหลุดพ้น

วิเศษแล้ว ของภิกษุผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่

ได้ฉันนั้น และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็น

ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งจิต

นั้น ดังนี้.

จบโสณสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 712

ทุติยปัณณาสก์

มหาวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาโสณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโสณสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๑ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โสโณ ได้แก่ พระโสณเถระผู้สุขุมาลชาติ. บทว่า สีตวเน

ได้แก่ ในป่าช้าที่มีชื่ออย่างนี้ (สีตวัน).

เล่ากันว่า ในป่าช้านั้นเขาสร้างที่จงกรมไว้ ๕๐๐ แห่ง (เรียงรายกัน)

ตามลำดับ. บรรดาที่จงกรม ๕๐๐ แห่งนั้น พระเถระเลือกเอาที่จงกรม (แห่ง

หนึ่ง) ซึ่งเป็นที่สัปปายะสำหรับตน แล้วบำเพ็ญสมณธรรม. เมื่อพระเถระนั้น

ปรารภความเพียรเดินจงกรมอยู่ พื้นเท้าก็แตก. เมื่อท่านคุกเข่าเดินจงกรม

ทั้งเข่าทั้งฝ่ามือก็แตกเป็นช่อง ๆ. พระเถระปรารภความเพียรอยู่อย่างนั้น

ก็ไม่สามารถเห็นแม้แต่โอภาสหรือนิมิต. เพื่อแสดงถึงวิตกที่เกิดขึ้นแก่พระโสณะ

นั้น ผู้ลำบากกายด้วยความเพียรแล้วนั่ง (พัก ) อยู่บนแผ่นหิน (ซึ่งตั้งอยู่) ใน

ที่สุดที่จงกรม พระอานนทเถระจึงกล่าวคำว่า อถโข อายสฺมโต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารทฺธวิริยา ได้แก่ ประคองความเพียร

ไว้เต็มที่. บทว่า น อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺต วิมุจฺจติ ความว่า พระ

โสณะปลงใจเชื่อว่า ก็ถ้าว่า เราจะพึงเป็นอุคฆฎิตัญญู วิปจิตัญญู หรือเนยยะ

ไซร้ จิตของเราจะพึงหลุดพ้นได้อย่างแน่นอน แต่นี่เราเป็นปทปรมบุคคล

แท้ทีเดียว จิตของเราจึงไม่หลุดพ้น ดังนี้ แล้วคิดถึงเหตุมีอาทิว่าก็โภคทรัพย์

แลมีอยู่ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โภคา เป็นปฐมาวิภัตติ ใช้ในความหมาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 713

แห่งทุติยาวิภัตติ. บทว่า ปาตุรโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ

วาระจิตของพระเถระแล้วทรงดำริว่า วันนี้ โสณะนี้นั่งอยู่บนพื้นดินที่บำเพ็ญ-

เพียรในป่าสีตวัน ตรึกถึงวิตกเรื่องนี้อยู่ จำเราจักไปถือเอาวิตกที่เบียดเบียน

เธอ แล้วบอกกัมมัฏฐานที่อุปมาด้วยพิณให้ ดังนี้ และได้มาปรากฏอยู่

เฉพาะหน้าพระเถระ. บทว่า ปญฺตฺเต อาสเน ความว่า ภิกษุผู้บำเพ็ญ

เพียร ปูลาดอาสนะตามที่หาได้ไว้เพื่อเป็นที่ประทับนั่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เสด็จมา เพื่อตรัสสอนถึงที่เป็นที่อยู่ของตนก่อนแล้วจึงบำเพ็ญเพียร เมื่อหา

อาสนะอย่างอื่นไม่ได้ก็ปูลาดแม้ใบไม้เก่า ๆ แล้วปูลาดสังฆาฏิทับข้างบน.

ฝ่ายพระเถระ. ปูลาดอาสนะก่อนแล้วจึงได้บำเพ็ญเพียร. พระสังคีติกาจารย์

หมายเอาอาสนะนั้น จึงกล่าวว่า ปญฺตฺเต อาสเน ดังนี้.

บทว่า ต กึ มญฺสิ ความว่า พระศาสดาทรงดำริว่า ภิกษุนี้ไม่มี

ความต้องการด้วยกัมมัฏฐานที่เหลือ ภิกษุนี้ฉลาดเคยชำนาญมาแล้วในศิลปะ

ของนักดนตรี เธอจักกำหนดอุปมาที่เรากล่าวในวิสัยของตนได้เร็วพลัน ดังนี้

แล้ว เพื่อจะตรัสอุปมาด้วยพิณ พระองค์จึงตรัสคำว่า ต กึ มญฺสิ เป็นต้น.

ความเป็นผู้ฉลาดในการดีดพิณ ชื่อว่า ความเป็นผู้ฉลาดในเสียงสายพิณ.

และพระโสณะนั้นก็เป็นผู้ฉลาดในการดีดพิณนั้น เป็นความจริง มารดาบิดา

ของพระโสณะนั้น คิดว่า ลูกชายของเราเมื่อจะศึกษาศิลปะอย่างอื่นก็จัก

ลำบากกาย แต่ว่าศิลปะดีดพิณนี้ ลูกของเรานั่งอยู่บนที่นอน ก็สมารถ

เรียนได้ จึงให้เรียนเฉพาะศิลปะของนักดนตรีเท่านั้น. ศิลปะของนักดนตรี

(คนธรรพ์) มีอาทิคือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 714

เสียงเหล่านี้ คือ เสียง ๗ เสียง หมู่

เสียงผสม ๓ หมู่ ระดับเสียง ๒๑ ระดับ

ฐานเสียง ๔๙ ฐาน จัดเป็นกลุ่มเสียง

เสียงทั้งหมดนั่นแหละ พระโสณะได้ชำนาญมาแล้วทั้งนั้น.

บทว่า อจฺจายตา ได้แก่ (พิณ) ที่ขึงตึงเกินไป คือ มีระดับเสียงแข็ง

(ไม่นุ่มนวล). บทว่า สรวตี ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยเสียง. บทว่า กมฺมญฺา

ได้แก่ เหมาะที่จะใช้งาน คือ ใช้งานได้. บทว่า อติสิถิลา ได้แก่ ระดับ

เสียงอ่อน (ยาน). บทว่า สเม คุเณ ปติฏฺิตา ได้แก่ อยู่ในระดับเสียง

ปานกลาง. บทว่า อจฺจารทฺธ ได้แก่ ความเพียรที่ตึงเกินไป. บทว่า อุทฺธจฺจาย

สวตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน. บทว่า อติลีน ได้แก่

หย่อนเกินไป. บทว่า โกสชฺชาย ได้แก่ เพื่อความเป็นผู้เกียจคร้าน. บทว่า

วิริยสมต อธิฏฺาหิ ความว่า เธอจงดำรงสมถะที่สัมปยุตด้วยวิริยะไว้ให้มั่น

หมายความว่า จงประกอบวิริยะเข้ากับสมถะ. บทว่า อินฺทฺริยานญฺจ สมต

ปฏิวิชฺฌ ความว่า เธอจงดำรงความสม่ำเสมอ คือ ภาวะที่เสมอกันแห่ง

อินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นไว้ให้มั่น.

ในข้อนั้น ภิกษุผู้ประกอบศรัทธาเข้ากับปัญญา ประกอบปัญญาเข้ากับ

ศรัทธา ประกอบวิริยะเข้ากับสมาธิ และประกอบสมาธิเข้ากับวิริยะ ชื่อว่า

เป็นผู้ดำรงภาวะที่เสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้งหลายไว้มั่น. ส่วนสติ มีประโยชน์ต่อ

ธรรมทั้งปวง สตินั้นเฉพาะที่มีกำลังย่อมควรแม้ในกาลทุกเมื่อ. ก็วิธีประกอบ

อินทรีย์เหล่านั้นเข้าด้วยกันนั้น แถลงไว้ชัดเจนแล้วทีเดียวในปกรณ์วิเสส-

วิสุทธิมรรค.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 715

บทว่า ตตฺถ จ นิมิตฺต คณฺหาหิ ความว่า ก็เมื่อภาวะที่เสมอกัน

(แห่งอินทรีย์ทั้งหลาย) นั้นมีอยู่ นิมิตใดจะพึงเกิดขึ้นเหมือนเงาหน้าในกระจก

เธอจงกำหนดถือเอานิมิตนั้นจะเป็นสมถนิมิตก็ดี วิปัสสนานิมิตก็ดี มรรคนิมิต

ก็ดี ผลนิมิตก็ดี คือ จงทำให้นิมิตนั้นบังเกิด. พระศาสดาตรัสกัมมัฏฐาน

แก่พระโสณะนั้น สรุปลงในพระอรหัตผล ด้วยประการดังพรรณนามานี้.

บทว่า ตตฺถ จ นิมิตฺต อคฺคเหสิ ความว่า พระโสณะได้กำหนดถือ

เอาทั้งสมถนิมิตทั้งวิปัสสนานิมิต.

บทว่า ฉฏฺานานิ ได้แก่ เหตุ ๖ อย่าง. บทว่า อธิมุตฺโต โหติ

ได้แก่ เป็นผู้แทงตลอด คือทำให้ประจักษ์ดำรงอยู่. บททั้งหมดมีอาทิว่า

เนกฺขมฺมาธิมุตฺโต พระโสณะกล่าวไว้ด้วยอำนาจอรหัตผลนั่นแล. จริงอยู่

อรหัตผล ชื่อว่า เนกขัมมะ เพราะออกไปจากกิเลสทั้งปวง ชื่อว่า ปวิเวกะ

เพราะสงัดจากกิเลสเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า อัพยาปัชฌะ เพราะไม่มีความ

เบียดเบียน ชื่อว่า ตัณหักขยะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นตัณหา

ชื่อว่า อุปาทานักขยะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นอุปาทาน ชื่อว่า

อสัมโมหะ เพราะไม่มีความงมงาย. บทว่า เกวล สทฺธามตฺตก ได้แก่

เว้นจากปฏิเวธ คือ เพียงศรัทธาล้วน ๆ ที่ไม่เจือปนด้วยปฏิเวธปัญญา. บทว่า

ปฏิจย ได้แก่ การเจริญด้วยการบำเพ็ญบ่อย ๆ. บทว่า วีตราคตฺตา

ได้แก่ เพราะราคะปราศจากไปด้วยการแทงตลอดมรรคนั่นแล. ภิกษุเป็นผู้แทง

ตลอด คือทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล กล่าวคือเนกขัมมะอยู่. บทว่า ผลสมา-

ปตฺติวิหาเรน วิหรติ ความว่า และเป็นผู้มีใจน้อมไปในผลสมาบัตินั้น

นั่นแล. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัย อย่างเดียวกันนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 716

บทว่า ลาภสกฺการสิโลก ได้แก่ ลาภ คือปัจจัย ๔ ความที่ตน

เหล่านั้นนั่นแลทำดีแล้ว และการกล่าวสรรเสริญคุณ. บทว่า นิกามยมาโน

ได้แก่ ต้องการ คือปรารถนาอยู่. บทว่า ปวิเวกาธิมุตฺโต ความว่า พยากรณ์

อรหัตผลอย่างนี้ว่า เราน้อมไปในปวิเวก. บทว่า สีลพฺพตปรามาส ความว่า

เพียงแต่ยึดถือศีลและพรตที่ตนได้ลูบคลำยึดถือมาแล้ว. บทว่า สารโต

ปจฺจาคจฺฉนฺโต ได้แก่ รู้อยู่โดยความเป็นสาระ. บทว่า อพฺยาปชฺฌาธิมุตฺโต

ได้แก่ พยากรณ์ความไม่เบียดเบียนกันว่าเป็นอรหัตผล. พึงเห็นความหมาย

ในที่ทุกแห่งตามนัยนี้แล.

อีกอย่างหนึ่งในตอนนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอรหัตผลไว้เฉพาะในบทนี้ว่า เนกฺขมฺมาธิมุตฺโต ตรัสนิพพานไว้ใน

๕ บทที่เหลือ. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิพพาน

ไว้เฉพาะในบทนี้ว่า อสมฺโมหาธิมุตฺโต ตรัสอรหัตผลไว้ในบทที่เหลือ.

แต่ในที่นี้มีสาระสำคัญดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทั้งอรหัตผลทั้งนิพพาน

ไว้ในบทเหล่านั้นทุกบททีเดียวแล. บทว่า ภูสา ได้แก่ มีกำลัง คือ เหมือน

รูปทิพย์.

บทว่า เนวสฺส จิตฺต ปริยาทิยนฺติ ความว่า (กิเลสทั้งหลาย)

ไม่สามารถจะครอบงำจิตของพระขีณาสพนั้นอยู่ได้. เป็นความจริง กิเลสทั้ง

หลายกำลังเกิดขึ้นชื่อว่า ครอบงำจิต. บทว่า อมิสฺสีกต ความว่า ก็กิเลส

ทั้งหลายย่อมทำจิตกับอารมณ์ให้ผสมกัน เพราะไม่มีกิเลสเหล่านั้น จิต จึง

ชื่อว่าไม่ถูกทำให้ผสมกัน. บทว่า ิต ได้แก่ ตั้งมั่นอยู่. บทว่า อาเนญฺ-

ชปฺปตฺต ได้แก่ ถึงความไม่หวั่นไหว. บทว่า วยญฺจสฺสานุปสฺสติ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 717

ก็ภิกษุนี้ย่อมเห็นทั้งความเกิดขึ้นทั้งความดับของจิตนั้น. บทว่า ภูสา วาตวุฏฺิ

ได้แก่หัวลมแรง. บทว่า เนว สกมฺเปยฺย ได้แก่ ไม่พึงสามารถจะให้หวั่น

ไหวได้โดยส่วนหนึ่ง. บทว่า น สมฺปกมฺเปยฺย ได้แก่ ไม่พึงสามารถจะ

ให้หวั่นไหวได้ทุกส่วน เหมือนไม่สามารถจะให้คุณหวั่นไหวได้ฉะนั้น. บทว่า

น สมฺปเวเธยฺย ได้แก่ ไม่พึงสามารถจะทำให้สะเทือน คือ สั่น จนหวั่น

ไหวได้.

บทว่า เนกฺขมฺมมธิมุตฺตสฺส ความว่า ผู้แทงตลอดอรหัตผล

แล้วดำรงอยู่. แม้ในบทที่เหลือ ก็ตรัสเฉพาะพระอรหัตเหมือนกัน.

บทว่า จ อุปาทานกฺขยสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในความหมายแห่ง

ทุติยาวิภัตติ. บทว่า อสมฺโมหญฺจ เจตโส ได้แก่ และน้อมไปสู่ความไม่

ลุ่มหลงแห่งจิต. บทว่า ทิสฺวา อายตนุปฺปาท ได้แก่ เห็นความเกิดขึ้น

และความดับแห่งอายตนะทั้งหลาย. บทว่า สมฺมา จิตฺต วิมุจฺจติ

ความว่า ย่อมหลุดพ้น คือ ย่อมน้อมไปในอารมณ์ คือ นิพพาน โดย

ชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย ได้แก่ ด้วยอำนาจผลสมาบัติ เพราะการปฏิบัติ

วิปัสสนานี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงปฏิปทาของพระขีณาสพ

ด้วยบทนี้. เพราะว่า จิตของพระขีณาสพนั้นย่อมหลุดพ้นด้วยดีจากกิเลสทั้ง

หมดด้วยอานุภาพอริยมรรคที่ท่านได้เห็นความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ แล้วบรรลุ

ด้วยวิปัสสนานี้ เมื่อพระขีณาสพนั้นหลุดพ้นด้วยดีอย่างนั้น ฯลฯ ย่อมไม่มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ มีจิตดับแล้ว. บทว่า

เหลือในสูตรนี้มีความหมายง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาโสณสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 718

๒. ผัคคุณสูตร

ว่าด้วยพระพุทธองค์เสด็จเยี่ยมพระผัคคุณะอาพาธ

[๓๒๗] ก็สมัยนั้น ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์เป็นไข้หนัก

ครั้งนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ท่านพระผัคคุณะอาพาธมีทุกข์เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จ

เข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่

ท่านพระผัคคุณะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกล แล้วจะลุกจาก

เตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระผัคคุณะว่า อย่าเลย

ผัคคุณะเธออย่าลุกขึ้นจากเตียง อาสนะเหล่านี้ที่ผู้อื่นได้ปูไว้มีอยู่ เราจักนั่งบน

อาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้ปูไว้แล้ว ครั้นแล้ว

ได้ตรัสถามท่านพระผัคคุณะว่า ดูก่อนผัคคุณะ เธอพออดทนได้หรือ พอยัง

อัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาย่อมบรรเทาไม่กำเริบหรือปรากฏว่า

บรรเทา ไม่กำเริบขึ้นหรือ.

ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทน

ไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก

ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้นไม่บรรเทาเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบ

เหมือนบุรุษ มีกำลังพึงเฉือนศีรษะด้วยมีดโกนที่คมฉันใด ล้มกล้าเสียดแทง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 719

ศีรษะของข้าพระองค์ ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้

ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา

ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่บรรเทาเลย เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีกำลังพึงเอาเชือก

ที่เหนี่ยวแน่นพันศีรษะ ฉันใด ความเจ็บปวดที่ศีรษะของข้าพระองค์ก็มี

ประมาณยิ่ง ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ เปรียบ

เหมือนบุรุษฆ่าโค หรือลูกมือของบุรุษฆ่าโค เป็นคนขยันพึงใช้มีดสำหรับ

ชำแหละโคที่คม ชำแหละท้องโค ฉันใด ลมกล้ามีประมาณยิ่งย่อมเสียดแทง

ท้องของข้าพระองค์ ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้. . .

เปรียบบุรุษผู้มีกำลังสองคน จับบุรุษผู้อ่อนกำลังคนเดียวที่แขนคนละข้าง

แล้วพึงลนย่างบนหลุมถ่านไฟ ฉันใด ความเร่าร้อนที่กายของข้าพระองค์ก็มี

ประมาณยิ่ง ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพ

ให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏ

ว่ากำเริบขึ้นไม่บรรเทาเลย ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงด้วย

ธรรมีกถาให้ท่านพระผัคคุณะเห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง แล้ว

เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วไม่นาน

ท่านพระผัคคุณะได้กระทำกาละ และในเวลามรณะอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะ

นั้นผ่องใสยิ่งนัก.

อานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๖

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระมีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจากมาไม่นาน ท่านพระผัคคุณะ

ก็กระทำกาละ และในเวลามรณะอินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะผ่องใสยิ่งนัก พระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 720

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้

อย่างไร จิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้อง

ต่ำ ๕ จิตของผัคคุณภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วน

เบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ในการฟัง

ธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม โดยกาลอันควร

๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน. ดูก่อนอานนท์ จิตของภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้

ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสงธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงาม

ในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ

บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็น

ไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูก่อนอานนท์ นี้เป็น

อานิสงส์ข้อที่ ๑ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปใน

ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวก

ของพระตถาคต สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้ง

พยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจาก

สังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูก่อน

อานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปใน

ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวก

ของตถาคตเลย แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียน

มา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ จิต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 721

ของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ดูก่อนอานนท์

นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร.

ดูก่อนอานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์

อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่

สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อม

ได้เห็นพระตถาคต พระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น. . . แก่

เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหา

ธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูก่อนอานนท์ นี้เป็น

อานิสงส์ข้อที่ ๔ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไป

ในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไป

แห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้

เห็นพระตถาคต แต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระ

ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น . . . แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อม

ไปในนิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะ

ได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ในการฟัง

ธรรมโดยกาลอันควร.

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปใน

ส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่ง

อุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็น

พระตถาคต และย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรอง

เพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่ง

ธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 722

ที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์

ข้อที่ ๖ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร.

ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความ

โดยกาลอันควร ๖ ประการนี้แล.

จบผัคคุณสูตรที่ ๒

อรรถกถาผัคคุณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในผัคคุณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺญฺโจปิ ได้แก่ แสดงอาการลุกขึ้น. บทว่า ปฏิกฺกมนฺติ

ได้แก่ ทุเลาลง. บทว่า โน อภิกฺฏกมนฺติ ได้แก่ ไม่กำเริบ. บทว่า

สีสเวน ทุเทยฺย ได้แก่ พันศีรษะแล้วเอาไม้ขนเวียนรอบ (ศีรษะ).

บทว่า อินฺทฺริยานิ วิปฺปสีทึสุ ความว่า ในเวลาใกล้ตายนั้น อินทรีย์ ๖

ผ่องใส. บทว่า อตฺถุปปริกฺขาย ได้แก่ ด้วยการใคร่ครวญถึงประโยชน์

และมิใช่ประโยชน์ คือ เหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า อนุตฺตเร อุปธิสขเย

ได้แก่ ในนิพพาน. บทว่า อธิมุตฺต โหติ ได้แก่ น้อมไปด้วยอรหัตผล.

จบอรรถกถาผัคคุณสูตรที่ ๒

๓. ฉฬาภิชาติยสูตร

ว่าด้วยบัญญัติชาติ ๖ ประการ

[๓๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 723

ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสป บัญญัติชาติ ๖ ประการ คือ บัญญัติ

ชาติดำ ๑ ชาติเขียว ๑ ชาติแดง ๑ ชาติเหลือง ๑ ชาติขาว ๑ ชาติขาวจัด ๑

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสปบัญญัติคนฆ่าแพะ คนฆ่าสุกร คนฆ่านก

พรานเนื้อ ชาวประมง โจร เพชฌฆาต เจ้าหน้าที่เรือนจำ ก็หรือคนที่

ทำงานหยาบช้าอื่นใด ว่าเป็นชาติดำ บัญญัติพวกภิกษุ พวกผู้เชื่อไปในฝ่ายดำ

หรือพวกกรรมวาท กิริยาวาทอื่นใด ว่าเป็นชาติเขียว บัญญัติพวกนิครนถ์

ใช้ผ้าผืนเดียวว่าเป็นชาติแดง บัญญัติคฤหัสถ์นุ่งห่มผ้าขาว สาวกของอเจลก

(นักบวชเปลือยกาย) ว่าเป็นชาติเหลือง บัญญัติอาชีวก อาชีวีกา ว่าเป็น

ชาติขาว บัญญัติเจ้าลัทธิชื่อนันทวัจฉโคตร ชื่อกัจจสังกิจจโคตร มักขลิโคสาล

ว่าเป็นชาติขาวจัด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปูรณกัสสปบัญญัติชาติ ๖ เหล่านี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ การที่ปูรณกัสสปบัญญัติชาติ

๖ นี้นั้น โลกทั้งปวงเห็นด้วยหรือ.

อา. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนคนทั้งหลายบังคับให้บุรุษผู้ยากจน

ขัดสน เข็ญใจ ผู้ไม่ปรารถนา ให้รับส่วนเนื้อว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่าน

พึงกินเนื้อนี้ และต้องใช้ราคาเนื้อ ฉันใด ปูรณกัสสปก็ฉันนั้นเหมือนกัน

บัญญัติชาติ ๖ แห่งสมณพราหมณ์เหล่านั้น โดยที่โลกไม่รับรอง เหมือนดัง

คนพาลไม่เฉียบแหลม ไม่รู้เขตบัญญัติ ไม่ฉลาด ดูก่อนอานนท์ ก็เราแลจะ

บัญญัติชาติ ๖ ประการ เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์

ก็ชาติ ๖ เป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีชาติดำ ประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 724

ธรรมดำ ๑ บางคนมีชาติดำ ประพฤติธรรมขาว ๑ บางคนมีชาติดำ บรรลุ

นิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว ๑ บางคนมีชาติขาว ประพฤติธรรมดำ ๑ บางคนมี

ชาติขาว ประพฤติธรรมขาว ๑ บางคนมีชาติขาวบรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว ๑.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติดำ ประพฤติธรรมดำเป็นอย่างไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในสกุลต่ำ คือ สกุลจัณฑาล สกุลพรานป่า

สกุลช่างจักสาน สกุลทำรถ สกุลเทหยากเยื่อ ซึ่งยากจน มีข้าวน้ำโภชนะน้อย

เป็นอยู่ฝืดเคือง ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มโดยยาก และเขาผู้นั้นเป็นผู้มี

ผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ ขี้โรค ตาบอด ง่อย กระจอก

เป็นอัมพาต ไม่ได้ข้าวน้ำเครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม

เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ เครื่องประทีป เขายังประพฤติทุจริตด้วยกาย

ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว

เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนอานนท์ บุคคลมี

ชาติดำ ประพฤติธรรมดำอย่างนี้แล.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติดำ ประพฤติธรรมขาวเป็นอย่างไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในสกุลต่ำ คือ สกุลจัณฑาล สกุล

พรานป่า สกุลช่างจักสาน สกุลทำรถ สกุลเทหยากเยื่อ ซึ่งยากจน มีข้าวน้ำ

โภชนะน้อย เป็นผู้ฝืดเคือง ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มโดยยาก และเขาผู้นั้น

เป็นผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ ขี้โรค ตาบอด ง่อย กระจอก

เป็นอัมพาต ไม่ได้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม

เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ เครื่องประทีป แต่เขาประพฤติสุจริตด้วยกาย

ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อ

ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนอานนท์ บุคคลมีชาติดำ ประ-

พฤติธรรมขาว อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 725

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติดำ บรรลุนิพพานที่ไม่ดำไม่ขาว

เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในสกุลต่ำ ฯลฯ มีผิวพรรณ

ทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ เขาปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวช

เป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้ ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่อง

เศร้าหมองใจซึ่งทำปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตตั้งอยู่ด้วยดีในสติปัฏฐานทั้ง ๔

เจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง แล้วได้บรรลุนิพพานอันไม่คำไม่ขาว

ดูก่อนอานนท์ บุคคลมีชาติดำ บรรลุนิพพานอันไม่ดำไม่ขาวอย่างนี้แล.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติขาว ประพฤติธรรมดำเป็นอย่างไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเกิดในสกุลสูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล

สกุลพราหมณ์มหาศาล สกุลคฤหบดี มหาศาล ซึ่งมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก

มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจมาก มีทรัพย์ คือ ข้าวเปลือกมาก

และเขาผู้นั้นเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่ง

ได้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้

ที่นอน ที่อยู่ เครื่องประทีป เขาประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ

ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนอานนท์ บุคคลมีชาติขาว ประพฤติธรรม

ดำ อย่างนี้แล.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติขาว ประพฤติธรรมขาว เป็นอย่างไร

คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในสกุลสูง ฯลฯ เขาประพฤติสุจริตด้วยกาย

ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจแล้ว เมื่อ

ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดูก่อนอานนท์ บุคคลมีชาติขาว ประ-

พฤติธรรมขาว อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 726

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลผู้มีชาติขาว บรรลุนิพพานอันไม่ดำไม่ขาว

เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดในสกุลสูง ฯลฯ เขาปลงผม

และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เขาบวชแล้วอย่างนี้

ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล

เป็นผู้มีจิตตั้งอยู่ด้วยดีในสติปัฏฐานทั้ง ๔ เจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง

แล้วได้บรรลุนิพพานที่ไม่ดำ ไม่ขาว ดูก่อนอานนท์ บุคคลมีชาติขาว

บรรลุนิพพานอันไม่ดำ ไม่ขาว อย่างนี้แล.

ดูก่อนอานนท์ ชาติ ๖ นี้แล.

จบฉฬาภิชาติยสูตรที่ ๓

อรรถกถาฉฬาภิชาติยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในฉฬาภิชาติยสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ฉฬาภิชาติโย ได้แก่ ชาติทั้ง ๖ ประการ ตตฺริท คือ

ตตฺราย บทว่า ลุทฺทา ได้แก่ ต่ำช้า. บทว่า ภิกฺขู กณฺหาธิมุตฺติกา

ความว่า ธรรมดาว่าสมณะเหล่านี้. บทว่า เอกสาฎกา ได้แก่ (นิครนถ์

ทั้งหลาย) ปิดข้างหน้าด้วยผ้าชิ้นเดียวเท่านั้น. บทว่า อกามกสฺส พิล

โอลเภยฺยุ ความว่า เมื่อหมู่เกวียนกำลังเคลื่อนขบวนไป เมื่อโค (ตัวหนึ่ง)

ตายลง ชาวนาทั้งหลายก็พึงชำแหละเนื้อโคกันเพื่อต้องการตั้งราคาแล้วเคี้ยวกิน

พลางจัดสรรปันส่วนให้แก่ชาวนาคนหนึ่ง ผู้ไม่ปรารถนาเนื้อโคเลย พร้อม

กล่าวว่า เธอต้องกินส่วนนี้ และต้องให้ราคาด้วย ดังนี้แล้ว มอบชิ้นเนื้อ

กล่าวคือส่วนนั้นให้ อธิบายว่า พึงวางไว้ในมือโดยพลการ. บทว่า อเขตฺ-

ตญฺญุนา ได้แก่ ผู้ไม่รู้จักเขตด้วยการบัญญัติอภิชาติ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 727

บทว่า ต สุณาหิ ความว่า ขอเธอจงฟังการบัญญัติของเราตถาคตนั้น.

บทว่า กณฺห ธมฺม อภิชายติ ความว่า เกิดคือบังเกิดเป็นสภาพดำ หรือ

เกิดในกำเนิดดำ. บทว่า นิพฺพาน อภิชายติ ได้แก่ บรรลุนิพพานหรือ

เกิดในนิพพานชาติ กล่าวคืออริยภูมิ.

จบอรรถกถาฉฬาภิชาติยสูตรที่ ๓

๔. อาสวสูตร

ว่าด้วยคุณธรรมของภิกษุผู้เป็นนาบุญ

[๓๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็น

ผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๖ ประการ

เป็นไฉน ? คือ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงละด้วยการสำรวม

อาสวะเหล่านั้นเป็นอันภิกษุละได้แล้วด้วยการสำรวม ๑ อาสวะเหล่าใดอันภิกษุ

พึงละด้วยการซ่องเสพ อาสวะเหล่านั้นเป็นอันภิกษุละได้แล้วด้วยการซ่องเสพ ๑

อาสวะเหล่าใดอันภิกษุพึงละด้วยการอดทน อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุละได้

แล้วด้วยการอดทน ๑ อาสวะเหล่าใดอันภิกษุพึงละด้วยการหลีกเลี่ยง อาสวะ

เหล่านั้นเป็นอันภิกษุละได้แล้วด้วยการหลีกเลี่ยง ๑ อาสวะเหล่าใดอันภิกษุพึงละ

ด้วยการบรรเทา อาสวะเหล่านั้นเป็นอันภิกษุละได้แล้วด้วยการบรรเทา ๑

อาสวะเหล่าใด อันภิกษุพึงละด้วยภาวนา อาสวะเหล่านั้นเป็นอันภิกษุละได้แล้ว

ด้วยภาวนา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการสำรวม ที่เป็นอัน

ภิกษุละได้แล้วด้วยการสำรวมเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 728

โดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยการสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อเธอไม่สำรวม

พึงเป็นเหตุให้อาสวะที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวม

อยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วย

ประการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมด้วยการสำรวม

โสตินทรีย์. . .ฆานินทรีย์. . .ชิวหินทรีย์. . .กายินทรีย์. . . ภิกษุพิจารณาโดย

แยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยการสำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อเธอไม่สำรวม

พึงเป็นเหตุให้อาสวะที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนเกิดขึ้น เมื่อเธอ

สำรวมอยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ

ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่สำรวมอยู่ อาสวะที่ทำ

ความคับแค้นและความเร่าร้อนพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวมอยู่ อาสวะเหล่านั้น

ที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้

อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าอันภิกษุพึงละด้วยการสำรวม ที่เป็นอันภิกษุละได้

แล้วด้วยการสำรวม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการซ่องเสพ ที่เป็น

อันภิกษุละได้แล้วด้วยการซ่องเสพเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พิจารณาโดยแยบคาย ย่อมเสพจีวรเพียงเพื่อป้องกันหนาว ร้อน เหลือบ ยุง

ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่น่าละอาย

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเสพบิณฑบาต มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา

มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อความดำรงอยู่ เพื่อความเป็นไป

แห่งกายนี้ เพื่อบรรเทาความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า

เราจะบรรเทาเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่ง

ร่างกายจักมีแก่เรา ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายจักมีแก่เรา ด้วยการเสพ

บิณฑบาตนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะ เพียงเพื่อป้องกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 729

หนาว ร้อน เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน เพียง

เพื่อบรรเทาอันตรายที่เกิดจากฤดู และยินดีในการหลีกออกเร้น พิจารณาโดย

แยบคายแล้ว ย่อมเสพคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพียงเพื่อบรรเทาเวทนาที่

เกิดจากอาพาธต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว เพื่อไม่มีความเจ็บไข้เป็นที่สุด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่เสพอยู่ อาสวะที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อน

พึงเกิดขึ้น เมื่อเธอเสพอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อน

ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้

เรากล่าวว่า อันภิกษุพึงละด้วยการซ่องเสพ ที่เป็นอันภิกษุละได้แล้วด้วยการ

ซ่องเสพ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยความอดกลั้นที่เป็น

อันภิกษุละได้แล้วด้วยความอดกลั้นเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย

เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน ย่อมเป็นผู้อดทนต่อ

ถ้อยคำหยาบ คำเสียดสี ย่อมเป็นผู้อดกลั้นต่อทุกขเวทนาทางกายที่เกิดขึ้นแล้ว

กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่พอใจ สามารถปลิดชีพไปได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่อดทนอยู่ อาสวะที่ทำความคับแค้นและความ

เร่าร้อนพึงเกิดขึ้น เมื่อเธออดทนอยู่ อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและ

ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า อันภิกษุพึงละด้วยการอดทนที่เป็นอันภิกษุละได้

แล้วด้วยการอดทน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะที่ภิกษุพึงละด้วยการหลีกเลี่ยงที่เป็นอัน

ภิกษุละได้แล้วด้วยการหลีกเลี่ยงเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา

โดยแยบคายแล้ว ย่อมหลีกเลี่ยงช้างดุ ม้าดุ โคดุ สุนัขดุ งู หลักตอ ที่มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 730

หนาม หลุม ตลิ่งชัน บ่อโสโครก ท่อโสโครก พวกวิญญูชนที่เป็นสพรหมจารี

พึงลงความเห็นเธอผู้นั่งในที่ไม่ควรนั่ง เที่ยวไปในที่ไม่ควรเที่ยวไป คบ

ปาปมิตรเช่นใด ในฐานะที่เป็นบาป เธอพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อม

หลีกเลี่ยงที่ไม่ควรนั่ง ที่ไม่ควรเที่ยวไป และปาปมิตรเช่นนั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อเธอไม่หลีกเลี่ยงฐานะดังกล่าวแล้วอยู่ อาสวะที่ทำความคับแค้น

และความเร่าร้อนพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอหลีกเลี่ยงอยู่ อาสวะเหล่านั้น ที่ทำความ

คับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า อันภิกษุพึงละด้วยการหลีกเลี่ยง ที่เป็น

อันภิกษุละได้ด้วยการหลีกเลี่ยง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะอันภิกษุพึงละด้วยการบรรเทา ที่เป็นอัน

ภิกษุละได้แล้วด้วยการบรรเทาเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณา

โดยแยบคายแล้ว ย่อมไม่รับไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป

ย่อมทำให้หมดไป ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว

ย่อมไม่รับไว้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป ย่อมทำให้หมดไป

ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว. . . ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว . . . ซึ่งธรรมที่

เป็นบาป อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอไม่บรรเทาอยู่

อาสวะที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อน พึงเกิดขึ้น เมื่อเธอบรรเทาอยู่

อาสวะเหล่านั้นที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วย-

ประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า อันภิกษุ

พึงละด้วยการบรรเทา ที่เป็นอันภิกษุละได้แล้วด้วยการบรรเทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะอันภิกษุพึงละได้ด้วยภาวนา ที่เป็นอัน

ภิกษุละได้แล้วด้วยภาวนาเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดย

แยบคายแล้ว ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 731

นิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเจริญธรรม-

วิจยสัมโพชฌงค์. . . วิริยสัมโพชฌงค์. . . ปีติสัมโพชฌงค์. . . ปัสสัทธิสัม-

โพชฌงค์. . . สมาธิสัมโพชฌงค์. . . อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

ภิกษุไม่เจริญโพชฌงค์อยู่ อาสวะที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อนพึงเกิดขึ้น

เมื่อเธอเจริญโพชฌงค์อยู่ อาสวะที่ทำความคับแค้นและความเร่าร้อน ย่อม

ไม่มีแก่เธอ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรา

กล่าวว่า อันภิกษุพึงละด้วยภาวนาที่เป็นอันภิกษุละได้แล้วด้วยภาวนา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อม

เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควร

กระทำอัญชลีเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบอาสวสูตรที่ ๔

อรรถกถาอาสวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาสวสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สวรา ปหาตพฺพา ได้แก่ (อาสวะทั้งหลาย) พึงละได้ด้วย

สังวร. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัย นี้แล. บทว่า อิธ ได้แก่ ในศาสนานี้. บทว่า

ปฏิสงฺขา คือ ใคร่ครวญ ได้แก่ ทราบ อธิบายว่าพิจารณา. บทว่า โยนิโส

คือ โดยอุบาย ได้แก่ โดยครรลอง. อนึ่ง ในสูตรนี้ การพิจารณาโทษใน

อสังวร พึงทราบว่า เป็นการพิจารณาโดยแยบคาย ก็การพิจารณานี้นั้น

พึงทราบตามอาทิตตปริยายสูตร มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 732

จักขุนทรีย์ถูกซี่เหล็กที่ร้อนไฟติดลุกโชนโชติช่วงทิ่มเอายังดีกว่า แต่การถือนิมิต

ในรูปทั้งหลายที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุโดยอนุพยัญชนะ ไม่ประเสริฐเลย.

ในบทว่า จกฺขุนฺทริยสวรสวุโต วิหรติ นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้

อินทรีย์คือจักษุ ชื่อว่า จักขุนทรีย์. ที่ชื่อว่า สังวร เพราะระวัง

มีคำอธิบายว่า เพราะปิด คือ เพราะกั้น. คำว่า สังวร นั่นเป็นชื่อของสติ.

สังวรในจักขุนทรีย์ ชื่อว่า จักขุนทรีย์สังวร ก็จักขุนทรีย์สังวรนี้ แม้เมื่อ

ชวนจิตเกิดขึ้น ก็เรียกว่า จักขุนทรียสังวร เพราะห้ามกิเลสทั้งหลายมิให้

เกิดขึ้นในทวารนั้น. บทว่า สวุโต ได้แก่ ประกอบด้วยสังวรนั้น ความจริง

เป็นอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิมินา ปาฏิโมกฺขสวเรน

อุเปโต โหติ ฯเปฯ สมนฺนาคโต ดังนี้ ไว้ในวิภังค์นี้ว่า ปาฏิโมกฺข-

สวรสวุโต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สวริ แปลว่า ระวังแล้ว มีคำอธิบายว่า

กั้นแล้ว คือ ปิดแล้ว. บทว่า จกฺขุนฺทฺริยสวรสวุโต ความว่า ระวัง

มีคำอธิบายว่า กั้น คือ ปิด บานประตูคือสติ กล่าวคือจักขุนทรียสังวรที่

จักขุทวาร เหมือนปิดประตูที่ประตูเรือนฉะนั้น.

ความหมายดังว่ามานี้แลในสูตรนี้ดีกว่า. จริงอย่างนั้น ความหมาย

นี้แล ปรากฏในบทเหล่านี้ คือ จกฺขุนฺทฺริยสวร อสวุตสฺส วิหรโต

สวุตสฺส วิหรโต (ผู้ไม่สำรวมซึ่งสังวรอินทรีย์ คือจักษุอยู่ ผู้สำรวมซึ่ง

สังวรอินทรีย์ คือจักษุอยู่) ในบทว่า ยญฺหิสฺส เป็นต้น มีอธิบายว่า

ภิกษุนั้นไม่สำรวม คือ ไม่กั้น ไม่ปิดจักขุนทรียสังวรใดอยู่. อีกอย่างหนึ่ง

เย อักษรอาเทสเป็น ย ก็ได้ ความหมายเท่ากับ เย อสฺส.

บทว่า อาสวา วิฆาตปริฬาหา ความ อาสวะ ๔ อย่าง และ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 733

ความเร่าร้อนเพราะกิเลส หรือความเร่าร้อนเพราะวิบาก ที่ทำความคับแค้น

ให้เหล่าอื่น. อธิบายว่า เมื่อภิกษุยินดี คือเพลิดเพลินอิฏฐารมณ์ที่มาสู่คลอง

ในจักษุทวาร ด้วยอำนาจความพอใจในกาม กามาสวะย่อมเกิดขึ้น เมื่อภิกษุ

ยินดีด้วยความปรารถนาภพว่า เราจักได้อิฏฐารมณ์เช่นนี้ แม้ในสุคติภพอื่น

ภวาสวะย่อมเกิดขึ้น เมื่อภิกษุยึดถือว่า สัตว์หรือว่าของสัตว์ ทิฏฐาสวะ

ย่อมเกิดขึ้น. ความไม่รู้ที่เกิดพร้อมกับอาสวะทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่า อวิชชาสวะ.

อาสวะ ๔ เกิดขึ้น ดังว่ามานี้แล. กิเลสเหล่าอื่นที่สัมปยุตด้วยอาสวะ

เหล่านั้น ซึ่งมีความเร่าร้อนอันเกิดจากความคับแค้น หรือวิบากของกิเลส

เหล่านั้นในอนาคต ท่านกล่าวว่า พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมจากอาสวะ

แม้เหล่านั้นอยู่. บทว่า เอวส เต ตัดบทเป็น เอว อสฺส เต มีคำ

อธิบายว่า ไม่มีโดยอุบายนี้ ไม่มีโดยประการอื่น.

แม้ในบทว่า ปฏิสงฺขาโยนิโส โสตินฺทฺริยสวรสวุโต เป็นต้น

ก็มีนัยความหมายอย่างเดียวกันนี้แล. บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ อาสวา สวรา

ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะ ๒๔ อย่าง โดยแยกเป็นอย่างละ ๔ ในทวาร

ทั้ง ๖ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงละได้ด้วยสังวร คำใดที่จะพึง

กล่าวไว้ในบทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส จีวร เป็นต้น คำนั้นทั้งหมดได้กล่าว

ไว้แล้วแลในศีลกถา ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า ก็เมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง (ไม่เสพปัจจัย)

ในบรรดาปัจจัยมีจีวรและบิณฑบาตเป็นต้นก็ดี. บทว่า อปฺปฏิเสวโต

ได้แก่ ไม่เสพโดยอุบายอันแยบคายอย่างนี้. ในที่นี้ เมื่อภิกษุปรารถนาปัจจัย

มีจีวรเป็นต้นที่ยังไม่ได้ หรือยินดีปัจจัยมีจีวรเป็นต้นนั้นที่ได้แล้ว พึงทราบ

ว่า กามาสวะเกิดขึ้น. เมื่อภิกษุยินดีด้วยการปรารถนาภพว่า เราจักได้ปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 734

เช่นนี้ในสุคติภพแม้อื่น พึงทราบว่า ภวาสวะเกิดขึ้น. เมื่อภิกษุตั้งอัตต-

สัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) ว่าเราได้ เราไม่ได้ หรือว่าจีวรนี้ของเรา

พึงทราบว่า ทิฏฐาสวะเกิดขึ้น. ส่วน อวิชชาสวะ เกิดพร้อมกับอาสวะอื่น

ทั้งหมด การเกิดขึ้นของอาสวะ ๔ เป็นความคับแค้นและความเร่าร้อน ดัง

พรรณนามานี้แล พึงทราบอาสวะแม้โดยการทำเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น.

บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว อาสวา ปฏิเสวนา ปหาตพฺพา

ความว่า อาสวะ ๑๖ อย่างเหล่านี้ โดยแยกออกเป็นอย่างละ ๔ ในแต่ละ

ปัจจัย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงละด้วยการพิจารณาแล้วเสพ ที่เรียกว่า

ญาณสังวรนี้.

บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส ขโม โหติ สีตสฺส ความว่า

ภิกษุพิจารณาโดยอุบาย คือโดยคัลลอง แล้วย่อมเป็นผู้อดทนต่อความหนาว

คือย่อมข่ม ย่อมอดกลั้นซึ่งความหนาว ได้แก่ไม่สั่นสะท้าน คือไม่ละทิ้ง

กัมมัฏฐาน เพราะความหนาวแม้เพียงเล็กน้อย เหมือนคนขี้ขลาด. แม้ใน

ความร้อนเป็นต้น ก็มีนัยนี้แล. ก็ในที่นี้ คำพูดนั่นแล พึงทราบว่า เป็น

ทางแห่งคำพูด.

ในบทว่า ทุกฺขาน เป็นต้น มีอธิบายว่า เวทนา พึงทราบว่าเป็น

ทุกข์ เพราะหมายความว่า ทนได้ยาก เป็นเวทนากล้า เพราะหมายความว่า

มาก เป็นเวทนาแข็ง เพราะหมายความว่าหยาบ เป็นเวทนาเผ็ดร้อน เพราะ

หมายความว่าเจ็บแสบ เป็นเวทนาไม่สำราญ เพราะเว้นจากความน่ายินดี

เป็นเวทนาไม่น่าชอบใจ เพราะไม่ทำใจให้เจริญ เป็นเวทนาคร่าชีวิต

เพราะสามารถคร่าชีวิตได้. บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า (เมื่อภิกษุนั้น ไม่-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 735

อดกลั้น) อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ แม้ธรรมอย่างหนึ่ง ในบรรดาความ

หนาวเป็นต้น. บทว่า อนธิวาสยโต คือ ไม่อดกลั้น ได้แก่ ไม่อดทน.

ส่วนความเกิดขึ้นแห่งอาสวะ ในอธิการนี้ พึงทราบดังต่อไปนี้ เมื่อภิกษุ

กระทบหนาว ปรารถนาความอบอุ่น กามาสวะย่อมเกิดขึ้น ในที่ทุกแห่ง

ก็อย่างนี้. เมื่อภิกษุปรารถนาภพว่า ในสุคติภพ ไม่มีหนาว หรือร้อน

ภวาสวะย่อมเกิดขึ้น. การยึดถือว่า เราหนาว เราร้อน ดังนี้เป็น

ทิฏฐาสวะ (ส่วน) อวิชชาสวะ ประกอบพร้อมกับอาสวะ (ที่กล่าวมา)

ทั้งหมดทีเดียว. บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ ความว่า อาสวะเหล่านี้มีจำนวน

มาก โดยแยกแต่ละอย่าง ในความหนาวเป็นต้นแยกออกเป็นอย่างละ ๔

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงละด้วยความอดกลั้น ที่เรียกว่า ขันติสังวรนี้.

บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส จณฺฑหตฺถึ ปริวชฺเชติ ความว่า

ภิกษุพิจารณาโดยอุบาย คือ โดยคัลลองอย่างนี้ว่า เราไม่ควรยืนในที่ใกล้ช้าง

ตัวดุร้าย เพราะว่าจะพึงมีความตายบ้าง ความทุกข์ปางตายบ้างซึ่งมีเหตุมาจาก

การยืนในที่ใกล้นั้น ดังนี้แล้ว หลบหลีกช้างตัวดุร้าย คือ ถอยหนี. ในทุก

บทก็มีนัย นี้แล. บทว่า จณฺฑ ได้แก่ ร้าย คือ ดุ. บทว่า ขาณุ

ได้แก่ ตอไม้ตะเคียนเป็นต้น. บทว่า กณฺฎกฏฺาน ได้แก่ โอกาสที่หนาม

จะแทง. บทว่า โสพฺภ ได้แก่ ที่ที่ขาดทาง (ขึ้นลง) ทุกด้าน. (โตรก).

บทว่า ปปาต ได้แก่ สถานที่ที่ขาดทาง (ขึ้นลง) ไปข้างหนึ่ง. บทว่า

จณฺฑนิก ได้แก่ สถานที่เป็นที่ทิ้งน้ำเสีย และครรภ์มลทินเป็นต้น.

บทว่า โอฬิคลฺล ได้แก่ สถานที่เป็นที่ไหลไปแห่งโคลน เป็นต้น

เหล่านั้นนั่นแล. สถานที่นั้นถึงจะลึกถึงเข่า ก็เป็นสถานที่เต็มไปด้วยของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 736

ไม่สะอาด. และสถานที่ทั้ง ๒ แห่งนี้เป็นสถานที่ที่มีอมนุษย์ชุกชุม เพราะ

ฉะนั้นจึงต้องเว้น. ในบทว่า อนาสเน นี้มีอธิบายว่า อาสนะที่ไม่เหมาะสม

ชื่อว่า อนาสนะ อาสนะนั้น โดยความหมายพึงทราบว่า ได้แก่ อาสนะที่

เก็บไว้ในที่ลับอันเป็นสิ่งไม่แน่นอน. แม้ในบทนี้ว่า อโคจเร มีความว่า

โคจรที่ไม่เหมาะสม ชื่อว่า อโคจร อโคจรนั้นมี ๕ อย่างแยกออกเป็น

หญิงแพศยาเป็นต้น. บทว่า ปาปเก มิตฺเต ได้แก่ มิตรผู้ลามก คือ

มิตรผู้ทุศีล ได้แก่ บุคคลเทียมมิตร คือ ผู้ไม่ใช่มิตร. บทว่า ปาปเกสุ

ได้แก่ ต่ำช้า. บทว่า โอกปฺเปยฺยุ คือ พึงเชื่อ ได้แก่ พึงน้อมใจเชื่อว่า

ท่านผู้มีอายุรูปนี้ ได้ทำหรือจักทำแน่แท้. บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า

(เมื่อภิกษุนั้นไม่บรรเทา) อันตรายอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแม้อย่าง

หนึ่งในบรรดาอันตรายมีช้างเป็นต้น. ส่วนความเกิดขึ้นแห่งอาสวะในที่นี้ พึง

ทราบดังต่อไปนี้ เมื่อภิกษุเผชิญทุกข์มีช้างเป็นต้นเป็นเหตุ ปรารถนาสุข

กามาสวะย่อมเกิดขึ้น เมื่อภิกษุปรารถนาภพว่า ทุกข์เช่นนี้ไม่มีในสุคติภพ

ภามาสวะ ย่อมเกิดขึ้น การยึดถือว่า ช้างเหยียบเรา ดังนี้เป็น ทิฏฐาสวะ

(ส่วน) อาสวะที่ประกอบพร้อมกับอาสวะ ชื่อว่า อวิชชาสวะทั้งหมดนั่นแหละ.

บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ ความว่า อาสวะเหล่านี้มีมากอย่าง โดยแยกแต่ละ

อย่างในบรรดาอันตรายมีช้างเป็นต้น ด้วยอำนาจแยกออกเป็นอย่างละ ๔ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงละด้วยการหลีกหนี กล่าวคือ ศีลสังวรนี้.

บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อุปฺปนฺน กามวิตกฺก นาธิวาเสติ

ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นโทษในกามวิตก โดยอุบายอันแยบคายโดยนัยเป็น

ต้นว่า วิตกนี้เป็นอกุศลแม้เพราะเหตุนี้ มีโทษแม้เพราะเหตุนี้ มีผลเป็นทุกข์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 737

แม้เพราะเหตุนี้ ก็วิตกนั้นแล ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ดังนี้แล้ว

ไม่ยับยั้งกามวิตกที่เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น ๆ อธิบายว่า ยกอารมณ์ขึ้นสู่จิตแล้ว

บังคับไม่อยู่ หรือบังคับให้อยู่ในภายในไม่ได้. ถามว่า ภิกษุเมื่อยับยั้งไม่ได้

จะทำอย่างไร ? ตอบว่า ละทิ้งเสีย. ถามว่า ละทิ้งเหมือนเอาตะกร้าตักหยาก

เยื่อทิ้งหรือ ? ตอบว่า ไม่ใช่ โดยที่แท้แล้ว บรรเทา คือเจาะแทง นำ

กามวิตกนั้นออก. ถามว่า แทงเหมือนเอาประตักแทงโคพลิพัทหรือ ? ตอบว่า

ไม่ใช่ โดยที่แท้แล้ว ทำมันให้สิ้นสุด คือ ทำมันให้ปราศจากไปเป็นที่สุด

คือ แม้ที่สุดของกามวิตกนั้นจะไม่เหลือ โดยที่สุด แม้เพียงภังคขณะ (ของจิต)

โดยประการใด จะทำกามวิตกนั้นโดยประการนั้น.

ถามว่า ก็ภิกษุจะทำกามวิตกนั้นให้เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ? ตอบว่า

ทำให้ถึงความไม่มีต่อไป คือ ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ได้แก่ ทำโดย

ประการที่มันจะถูกข่มไว้ด้วยดี ด้วยวิกขัมภนปหาน. แม้ในวิตก ๒

อย่างที่เหลือ ก็มีนัยนี้แล. บทว่า อปฺปนฺนุปฺปนฺเน ได้แก่ (วิตก) ที่

เกิดขึ้นแล้ว ๆ มีคำอธิบายว่า ที่เพียงแต่เกิดขึ้นเท่านั้น อีกอย่างหนึ่ง มีคำ

อธิบายว่า บรรเทาวิตกที่เกิดขึ้นคราวเดียวแล้วไม่เพิกเฉยในครั้งที่ ๒ ได้แก่

บรรเทาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ทั้ง ๗ ครั้งนั้นแล. บทว่า ปาปเก อกุสเล

ธมฺเม ได้แก่ วิตกทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแล หรือ วิตก

ใหญ่ทั้งหมด ๙ ชนิด.

บรรดาวิตกทั้ง ๙ ชนิดนั้น วิตก ๓ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้แล้ว (ส่วน) วิตก ๖ อย่างที่เหลือเหล่านี้คือ ญาติวิตก (วิตกถึงญาติ)

ชนบทวิตก (วิตกถึงชนบท) อมรวิตก (วิตกถึงเทวดา) วิตกที่เกี่ยวเนื่อง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 738

ด้วยความเอ็นดูผู้อื่น วิตกที่เกี่ยวเนื่องด้วยลาภ สักการะ และคำสรรเสริญ

วิตกที่เกี่ยวเนื่องด้วยความไม่ดูหมิ่น. บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า (เมื่อภิกษุ

นั้นไม่บรรเทา) วิตกอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาวิตกเหล่านี้. อนึ่ง ในที่นี้

กามวิตกก็คือ กามาสวะนั่นเอง วิตกที่นอกไปจากกามวิตกนั้น จัดเป็นภวาสวะ

วิตกที่สัมปยุตด้วยภวาสวะนั้นจัดเป็นทิฏฐาสวะ อวิชชาในวิตกทั้งหมดจัดเป็น

อวิชชาสุวะ พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งอาสวะดังพรรณนามานี้แล. บทว่า อิเม

วุจฺจนฺติ ความว่า อาสวะเหล่านี้มีประการดังกล่าวแล้วด้วยอำนาจกามวิตก

เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงละด้วยการบรรเทากล่าวคือวิริยะ

ประกอบด้วยการพิจารณาเห็นโทษในวิตกนั้น ๆ นี้.

บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส สติสมฺโพชฺฌงฺค ภาเวติ ความว่า

ภิกษุพิจารณาเห็นโทษในการไม่มีภาวนา และอานิสงส์ในภาวนาโดยอุบาย คือ

โดยคัลลองแล้วเจริญสติสัมโพชฌงค์. ในทุกบท ก็มีนัยนี้. ก็การเจริญโพชฌงค์

ทั้งหลายนี้ได้อธิบายไว้พิสดารแล้วในตอนต้นแล. บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า

เมื่อภิกษุนั้น (ไม่เจริญ) โพชฌงค์ข้อใดข้อหนึ่งในบรรดาโพชฌงค์เหล่านี้.

ก็ในการเกิดอาสวะขึ้นในที่นี้ พึงทราบนัยดังนี้ว่า อาสวะเหล่าใดมีกามาสวะ

เป็นต้นที่จะพึงเกิดขึ้นเพราะไม่ได้เจริญ โพชฌงค์ทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยอริย-

มรรคเหล่านี้ อาสวะเหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เธอผู้เจริญ (โพชฌงค์) อยู่อย่างนี้.

บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ ความว่า อาสวะทั้งหลายมีกามาสวะเป็นต้น เหล่านี้

แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จะละได้ด้วยการเจริญโพชฌงค์ที่เป็น

โลกุตระนี้.

จบอรรถกถาอาสวสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 739

๕. ทารุกัมมิกสูตร

ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญสังฆทาน

[๓๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทสร้างด้วย

อิฐ ใกล้นาทิกคาม ครั้งนั้น คฤหบดีชื่อทารุกันมิกะ (พ่อค้าฟืน) เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่า ดูก่อนคฤหบดี ทานในสกุล ท่าน

ยังให้อยู่หรือ คฤหบดีชื่อทารุกัมมิกะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า

พระองค์ยังให้อยู่ และทานนั้นแล ข้าพระองค์ให้ในภิกษุผู้เป็นอรหันต์ หรือ

ผู้บรรลุอรหัตมรรค ผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้ถือ

ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร.

พ. ดูก่อนคฤหบดี ท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม อยู่ครองเรือน

นอนเบียดเสียดบุตร บริโภคจันทน์แคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอมและ

เครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ พึงรู้ข้อนี้ได้ยากว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นพระ-

อรหันต์ หรือเป็นผู้บรรลุอรหัตมรรค ดูก่อนคฤหบดี ถ้าแม้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่า

เป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว เห่อ ปากกล่า พูดพล่าม มีสติเลอะเลือน

ไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่ตั้งมั่น มีจิตพุ่งพล่าน ไม่สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็น

อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร

เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่เห่อ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม มีสติตั้งมั่น

มีสัมปชัญญะ มีใจตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็น

อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญ ด้วยเหตุนี้ ถ้าแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน

เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงกล่าวติเตียนด้วยเหตุนั้น

ถ้าแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 740

ได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้

ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุ

ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุ

นั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้รับนิมนต์ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ

เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้รับนิมนต์

เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น

ถ้าแม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุ

นั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ไม่

ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้

ภิกษุผู้ทรงคฤหบดีจีวร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว เห่อ ปากกล้า พูดพล่าม

มีสติเลอะเลือน ไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่ตั้งมั่น มีจิตพลุ่งพล่าน ไม่สำรวม

อินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ทรง

คฤหบดีจีวร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว ไม่เห่อ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม

มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีใจตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง สำรวมอินทรีย์

เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ดูก่อนคฤหบดี เชิญ

ท่านให้สังฆทานเถิด เมื่อท่านให้สังฆทานอยู่ จิตจักเลื่อมใส ท่านนั้นผู้มีจิต

เลื่อมใส เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คฤหบดีชื่อทารุกัมมิกะ. ทูล

สนองว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้จักให้สังฆทาน ตั้งแต่วันนี้

เป็นต้นไป.

จบทารุกัมมิกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 741

อรรถกถาทารุกัมมิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทารุกัมมิกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทารุกมฺมิโก ได้แก่ อุบาสกคนหนึ่ง มีอาชีพทางขายไม้.

บทว่า กาสิกจนฺทน ได้แก่ จุณจันทน์ที่ละเอียด. บทว่า องฺเคน ได้แก่

ด้วยองค์ไม่เป็นคุณ คือ ด้วยองค์ที่เป็นคุณ (เฉพาะ) ในฝ่ายสุกธรรม. บทว่า

เนมนฺตนิโก ได้แก่ เป็นผู้รับนิมนต์. บทว่า สเฆ ทานานิ ทสฺสามิ

คือ เราจักถวายแก่ภิกษุสงฆ์. อุบาสกนั้นครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้ว ก็ถวาย

บังคมพระศาสดาแล้วหลีกไป ครั้นแล้วในเวลาต่อมา ภิกษุผู้เป็นกุลุปกะของเขา

จำนวน ๕๐๐ รูป ได้ถึงความเป็นคฤหัสถ์ (สึก). ภิกษุผู้เป็นกุลุปกะนั้น

เมื่ออุบาสกเรียนว่า ภิกษุเหล่านั้นสึกหมดแล้ว ก็พูดว่า พวกอาตมาในที่นี้สึก

หมดหรือ ด้งนี้แล้ว ก็ทำใจให้เป็นกลางไม่ได้. พระศาสดาทรงหมายเอา

เหตุนี้ จึงตรัสว่า เมื่อเธอถวายทานในสงฆ์ จิตจักผ่องใส ดังนี้.

จบอรรถกถาทารุกัมมิกสูตรที่ ๕

๖. จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร

ว่าด้วยเหตุให้ลาสิกขา

[๓๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตน-

มฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ก็สมัยนั้น ภิกษุผู้เถระหลายรูปกลับจากบิณฑ-

บาตภายหลังภัต นั่งประชุมสนทนาอภิธรรมกถากันอยู่ที่โรงกลม ได้ทราบว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 742

ในที่ประชุมนั้น ท่านพระจิตตหัตถิสาริบุตร เมื่อพวกภิกษุผู้เถระกำลังสนทนา

อภิธรรมกถากันอยู่ พูดสอดขึ้นในระหว่าง ลำดับนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตะ

ได้กล่าวกะท่านพระจิตตหัตถิสาริบุตรว่า ท่านพระจิตตหัตถิสาริบุตร เมื่อภิกษุ

ผู้เถระกล่าวสนทนาอภิธรรมกถากันอยู่ พูดสอดขึ้นระหว่าง ขอท่านพระจิตต-

หัตถิสาริบุตรจงรอคอยจนกว่าภิกษุผุ้เถระสนทนากันให้จบเสียก่อน.

เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวอย่างนี้แล พวกภิกษุผู้เป็นสหายของ

ท่านพระจิตตหัตถิสาริบุตร ได้กล่าวกับท่านมหาโกฏฐิตะว่า แม้ท่านพระมหา-

โกฏฐิตะย่อมรุกรานท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร (เพราะว่า) ท่านพระจิตตหัตถิ-

สาริบุตรเป็นบัณฑิต ย่อมสามารถกล่าวสนทนาอภิธรรมกถากับพวกภิกษุผู้เถระ

ได้ ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ทราบ

วาระจิตของผู้อื่นพึงรู้ข้อนี้ได้ยาก.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นดุจสงบเสงี่ยม

เป็นดุจอ่อนน้อม เป็นดุจสงบเรียบร้อย ตลอดเวลาที่อาศัยพระศาสดาหรือ

เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่ว่าเมื่อใด

เขาหลีกออกไปจากพระศาสดา หลีกออกไปจากเพื่อนพรหมจรรย์ผู้ดำรงอยู่ใน

ฐานะเป็นครู เมื่อนั้น เขาย่อมคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

พระราชา มหาอมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์อยู่ เมื่อ

เขาคลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบคุย ราคะย่อมรบกวน

จิตเขา เขามีจิตถูกราคะรบกวน ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย เปรียบเหมือนโคที่เคยกินข้าวกล้า ถูกเขาผูกไว้ด้วยเชือกหรือขังไว้

ในคอก ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า โคเคยกินข้าวกล้าตัวนี้จักไม่ลงกินข้าวกล้าอีก

ณ บัดนี้ ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวตอบว่า ดูก่อน

อาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือโคที่เคยกินข้าวกล้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 743

ตัวนั้น พึงดึงเชือกขาดหรือแหกคอกแล้ว ลงไปกินข้าวกล้าอีกทีเดียว ฉันใด

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นดุจ

สงบเสงี่ยม เป็นดุจอ่อนน้อม เป็นดุจสงบเรียบร้อย ตลอดเวลาที่อาศัยพระ-

ศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้ดำรงอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่ว่า

เมื่อใด เขาหลีกไปจากพระศาสดาหรือหลีกออกไปจากเพื่อนพรหมจรรย์ผู้ดำรง

อยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้น เขาย่อมคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก

อุบาสิกา พระราชา มหาอมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์อยู่

เมื่อเขาคลุกคลีอยู่ด้วยหมู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบคุย ราคะย่อม

รบกวนจิตเขา เขามีจิตถูกราคะรบกวนย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เขากล่าวว่า เราได้ปฐมฌาน (แต่) คลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขา

สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝนเม็ดใหญ่. (ลูกเห็บ)

ตกลงที่ทางใหญ่สี่แพร่ง พึงยังฝุ่นให้หายไป ปรากฏเป็นทางลื่น ผู้ใดพึงกล่าว

อย่างนี้ว่า บัดนี้ ฝุ่นจักไม่ปรากฏที่ทางใหญ่สี่แพร่งโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าว

โดยชอบหรือหนอ ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่

มีได้ คือ มนุษย์หรือโค และสัตว์เลี้ยง พึงเหยียบย่ำที่ทางใหญ่สี่แพร่งแห่งโน้น

หรือลมและแดดพึงแผดเผาให้แห้ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ฝุ่นพึงปรากฏอีกทีเดียว

ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึก

มาเป็นคฤหัสถ์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 744

เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เขาย่อมกล่าวว่า เราเป็นผู้

ได้ทุติยฌาน (แต่) ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝนเม็ดใหญ่ ตกลงที่สระใหญ่ใกล้บ้านหรือ

นิคม พึงยังทั้งหอยกาบและหอยโข่ง ทั้งก้อนกรวดและกระเบื้องให้หายไป

ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้ หอยกาบ หอยโข่ง ก้อนกรวดและกระเบื้อง

จักไม่ปรากฏในสระโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ ดูก่อนอาวุโส

ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ มนุษย์หรือโคและสัตว์เลี้ยง

พึงดื่มที่สระแห่งโน้น หรือลมและแดดพึงแผดเผาให้แห้ง เมื่อเป็นเช่นนั้น

ทั้งหอยกาบและหอยโข่ง ทั้งก้อนกรวดและกระเบื้อง พึงปรากฏได้อีกทีเดียว

ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ ย่อมสาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา

มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ-

อริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

เขาย่อมกล่าวว่า เราไค้ตติยฌาน (แต่) ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ลาสิกขา

สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนอาหารค้างคืน ไม่พึง

ชอบใจแก่บุรุษผู้บริโภคอาหารประณีต ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บัดนี้อาหาร

จักไม่ชอบใจแก่บุรุษชื่อโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ ดูก่อนอาวุโส

ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือ อาหารอื่นจักไม่ชอบใจแก่

บุรุษผู้โน้นผู้บริโภคอาหารประณีต ตลอดเวลาที่โอชารสแห่งอาหารนั้นจัก

ดำรงอยู่ในร่างกายของเขา แต่เมื่อใด โอชารสแห่งอาหารนั้นจักหมดไป เมื่อ

นั้น อาหารนั้นพึงเป็นที่ชอบใจเขาอีก ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 745

ในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันเป็นผู้มีอุเบกขา เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข

ด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌาน

ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มี

อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เขากล่าวว่าเราได้จตุตถฌาน (แต่ว่า) ยัง

คลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำในที่ไม่ถูกลน ปราศจากคลื่น ผู้ใดพึงกล่าว

อย่างนี้ว่า บัดนี้ คลื่นจักไม่มีปรากฏที่ห้วงน้ำแห่งโน้นอีก ผู้นั้นพึงกล่าวโดย

ชอบหรือหนอ ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่มีได้

คือ ลมฝนที่แรงกล้าพึงพัดมาจากทิศตะวันออกก็พึงพัดให้เกิดคลื่นขึ้นที่ห้วงน้ำ

แห่งนั้น ลมฝนที่แรงกล้าพึงพัดมาจากทิศตะวันตก. . . จากทิศเหนือ. . . จาก

ทิศใต้ ก็พึงพัดให้เกิดคลื่นขึ้นที่ห้วงน้ำแห่งนั้น ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ

บริสุทธิ์อยู่ เขากล่าวว่าเราได้จตุตถฌาน (แต่ว่า) ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ฯลฯ

ย่อมลาสิกขามาเป็นคฤหัสถ์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุเจโตสมาธิ

อันไม่มีนิมิต เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เขาย่อมกล่าวว่า เราได้เจโต-

สมาธิอันไม่มีนิมิต แต่ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์ เมื่อเขา

คลุกคลีด้วยหมู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบคุยอยู่ ราคะย่อมรบกวนจิตเขา

เขามีจิตถูกราคะรบกวนแล้ว ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระราชาหรือมหาอมาตย์ของพระราชา มีจตุรงคเสนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 746

เดินทางไกลไปพักแรมคืน อยู่ที่ป่าทึบแห่งหนึ่ง ในป่าทึบแห่งนั้น เสียง

จักจั่นเรไร พึงหายไปเพราะเสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงพลเดินเท้า

เสียงกึกก้องแห่งกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ และพิณ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

บัดนี้ ที่ป่าทึบแห่งโน้น เสียงจักจั่นเรไร จักไม่มีปรากฏอีก ผู้นั้นพึงกล่าว

โดยชอบหรือหนอ ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะ

ที่มีได้ คือ เมื่อใด พระราชาหรือมหาอมาตย์ของพระราชา พ้นไปจากป่าทึบ

แห่งนั้น เมื่อนั้น เสียงจักจั่นเรไร พึงปรากฏได้อีก ฉันใด ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุเจโตสมาธิอัน

ไม่มีนิมิต เพราะไม่ใส่ใจถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ เขากล่าวว่า เราได้เจโตสมาธิอัน

ไม่มีนิมิตแล้ว แต่ยังคลุกคลีด้วยพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระ-

ราชา มหาอมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ พวกสาวกเดียรถีย์อยู่ เมื่อเขา

คลุกคลีด้วยหมู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบคุยอยู่ ราคะย่อมรบกวน

จิตเขา เขามีจิตถูกราคะรบกวนแล้ว ย่อมลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์.

สมัยต่อมา ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร ลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์

ครั้งนั้น พวกภิกษุผู้เป็นสหายของบุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร ได้เข้าไปท่าน

พระมหาโกฏฐิตะถึงที่อยู่ แล้วถามว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้กำหนดรู้ใจบุรุษ

ชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรด้วยใจว่า บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรเป็นผู้ได้วิหารสมาบัติ

เหล่านี้ ๆ และจักลาสิกขามาเป็นคฤหัสถ์ หรือเทวดาทั้งหลายได้แจ้งเนื้อความ

นี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรเป็นผู้ได้วิหารสมาบัติ

เหล่านี้ ๆ และจักลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กำหนดรู้ใจบุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรด้วยใจว่า

เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ ๆ และจักลาสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ แม้เทวดา

ก็บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า ลำดับนั้น พวกภิกษุผู้เป็นสหายของบุรุษชื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 747

จิตตหัตถิสารีบุตร ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย-

บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรเป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ ๆ และได้ลา

สิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่

นานนัก บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรจักระลึกถึงคุณแห่งเนกขัมมะได้.

ครั้งนั้น ไม่นานเท่าไร บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรก็ปลงผมและหนวด

นุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิต ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรหลีกออก

จากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตแน่วแน่ ไม่นานนัก ก็ได้

ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็น

บรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเทียว เข้าถึงอยู่

ได้ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ

เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ก็แหละท่านพระจิตตหัตถิ-

สารีบุตร ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบจิตตหัตถิสาริปุตตสูตรที่ ๖

อรรถกถาจิตตหัตถิสาริปุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจิตตหัตถิสาริปุตตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภิธมฺมกถ ได้แก่ กถาเจือด้วยอภิธรรม. บทว่า กถ

โอปาเตติ ความว่า (พระจิตตหัตถิสารีบุตร) กล่าวถ้อยคำของตนตัดคำพูด

ของภิกษุเหล่านั้น. บทว่า เถราน ภิกฺขูน เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในความหมาย

แห่งตติยาวิภัตติ. มีความหมายว่า กับด้วยภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระ. อนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 748

มีความหมายว่า อภิธรรมกถาของพระเถระทั้งหลาย อันใด แม้พระจิตตหัตถิ-

สารีบุตรนี้ ก็สามารถกล่าวอภิธรรมกถานั้นได้. บทว่า เจโตปริยาย ได้แก่

วาระจิต. บทว่า อิธ คือ ในโลกนี้. บทว่า โสรตโสรโต คือ เป็นผู้สงบ

เสงี่ยมเหมือนบุคคลผู้สงบเสงี่ยม อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลผู้ประกอบ

ด้วยความสงบเสงี่ยม. บทว่า นิวาตนิวาโต คือ เป็นผู้ถ่อมตนเหมือน

บุคคลผู้ถ่อมตน อธิบายว่า เปรียบเหมือนบุคคลผู้ประพฤติถ่อมตน. บทว่า

อุปสนฺตุปสนฺโต คือ เป็นผู้สงบระงับเหมือนบุคคลผู้สงบระงับ.

บทว่า วปกสฺสเตว สตฺถารา ได้แก่ หลีกไปจากสำนักพระศาสดา.

บทว่า สสฏฺสฺส ได้แก่ คลุกคลีด้วยการคลุกคลี ๕ อย่าง. บทว่า วิสฏฺสฺส

ได้แก่ ถูกปล่อย. บทว่า ปากฏสฺส ได้แก่ มีอินทรีย์ปรากฏ. บทว่า

กิฏฺาโท ได้แก่ กินข้าวกล้า. บทว่า อนฺตรธาเปยฺย ได้แก่ พึงให้ฉิบหาย.

บทว่า โคปสู ได้แก่ โคและแพะ. บทว่า สิปฺปิสมฺพุก ได้แก่ หอย-

นางรมและหอยโข่ง. บทว่า สกฺขรกถล ได้แก่ ก้อนกรวดและกระเบื้อง.

บทว่า อาภิโทสิก ได้แก่ ของกินปรุงด้วยหญ้ากับแก้อันมีโทษปรากฏ

แล้ว. บทว่า นจฺฉาเทยฺย คือ ไม่พึงชอบใจ. บททุติยาวิภัตติที่ว่า ปุริส

ภุตฺตาวึ นั้นใดในสูตรนั้น บทนั้นพึงเห็นว่าใช้ในความหมายแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.

บทว่า อมุญฺหาวุโส ปุริส ความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ บุรุษโน้น.

บทว่า สพฺพนิมุตฺตาน ได้แก่ นิมิตว่าเที่ยงทั้งปวง. บทว่า อนิ-

มิตฺต เจโตสมาธึ ได้แก่ สมาธิในวิปัสสนาที่มีพลัง. บทว่า จีริฬิยสทฺโท

ได้แก่ เสียงจิ้งหรีด. บทว่า สริสฺสติ เนกฺขมฺมสฺส ได้แก่ จักระลึกถึงคุณ

ของบรรพชา. บทว่า อรหต อโหสิ ได้แก่ ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง

ในระหว่างพระอรหันต์ผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 749

แท้จริง พระเถระนี้เป็นคฤหัสถ์ ๗ ครั้ง บวช ๗ ครั้ง. เพราะเหตุไร ?

ได้ยินว่า ในสมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ท่านได้กล่าว

สรรเสริญคุณในความเป็นคฤหัสถ์แก่ภิกษุรูปหนึ่ง. เพราะกรรมนั้นนั่นแล

ทั้งที่เมื่ออุปนิสัยของอรหัตผลมีอยู่แท้ ๆ ท่านก็เร่ร่อนไปในความเป็นคฤหัสถ์

และการบรรพชา (บวชแล้วสึก) ถึง ๗ ครั้ง บวชในครั้งที่ ๗ จึงได้บรรลุ

อรหัตผลแล

จบอรรถกถาจิตตหัตถิสาริปุตตสูตรที่ ๖

๗. ปรายนสูตร

ว่าด้วยส่วนสุด ๒ อย่าง

[๓๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤค-

ทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระหลายรูปกลับจาก

บิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมอยู่ที่โรงกลม ได้เกิดการสนทนากันขึ้นใน

ระหว่างว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ในปัญหาของ

เมตเตยยมาณพ ในปรายนสูตรว่า

ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสองด้วยปัญญา

แล้ว ไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรา

กล่าวผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นก้าวล่วง

เครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ส่วนสุดที่ ๑ เป็นไฉนหนอ ส่วนสุดที่ ๒

เป็นไฉน อะไรเป็นส่วนท่ามกลาง อะไรเป็นเครื่องร้อยรัด.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 750

เมื่อสนทนากันอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑ เหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะเป็น

ส่วนสุดที่ ๒ ความดับแห่งผัสสะเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด

เพราะว่า ตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะและเหตุเกิดขึ้นแห่งผัสสะนั้น เพราะเป็นที่

เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่

ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั่นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้ง

หลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อดีตเป็นส่วนที่ ๑ อนาคตเป็นส่วนสุด

ที่ ๒ ปัจจุบันเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่า

ตัณหาย่อมร้อยรัดอดีต อนาคต และปัจจุบันนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง

ภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนด

รู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนด

รู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย สุขเวทนาเป็นส่วนสุดที่ ๑ ทุกขเวทนา

เป็นส่วนสุดที่ ๒ อทุขมสุขเวทนาเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อย

รัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา

นั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งนั้น ๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อม

รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ย่อมกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควร

รู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ใน

ปัจจุบันเทียว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 751

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย นามเป็นส่วนสุดที่ ๑ รูปเป็นส่วนสุด

ที่ ๒ วิญญาณเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหา

ย่อมร้อยรัด นาม รูป และวิญญาณนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ

ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควร

กำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้

ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๑

อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วนสุดที่ ๒ วิญญาณเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหา

เป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัดอายตนะภายใน ๖ อายตนะ

ภายนอก ๖ และวิญญาณนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุ

เท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้

เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุด

แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย สักกายะเป็นส่วนสุดที่ ๑ เหตุเกิดสักกายะ

เป็นส่วนสุดที่ ๒ ความดับสักกายะเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อย

รัด เพราะว่าตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัดสักกายะ เหตุเกิดสักกายะ และความดับ

สักกายะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุชื่อ

ว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่

ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ใน

ปัจจุบันเทียว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 752

เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พวกเราทั้งปวงเทียวได้พยากรณ์ตาม

ปฏิภาณของตน ๆ มาเถิด เราทั้งหลายจักพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ แล้วจักกราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรง

พยากรณ์แก่พวกเรา โดยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำข้อที่ทรงพยากรณ์

นั้นไว้ โดยประการนั้น ภิกษุผู้เถระทั้งหลายรับคำของภิกษุนั้นแล้ว ครั้งนั้น

ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้พากันเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลการที่สนทนา

ปราศรัยทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

คำของใครหนอเป็นสุภาษิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คำของเธอทั้งปวงเป็นสุภาษิตโดยปริยาย อนึ่ง เราหมายเอาข้อความที่กล่าว

ไว้ในปัญหาของเมตเตยยมาณพ ในปรายนสูตรว่า

ผู้ใดทราบส่วนสุดทั้งสองด้วยปัญญา

แล้วไม่ติดอยู่ในส่วนท่ามกลาง เรากล่าว

ผู้นั้นว่า เป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นกล่าวล่วง

เครื่องร้อยรัดในโลกนี้ได้แล้ว ดังนี้.

เธอทั้งหลายจงฟังข้อความนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ

เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ๑ เหตุเกิดผัสสะเป็นส่วนสุดที่ ่ ๒ ความดับ

ผัสสะเป็นส่วนท่ามกลาง ตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะว่าตัณหาย่อมร้อยรัด

ผัสสะ เหตุเกิดผัสสะ และความดับผัสสะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพ

นั้น ๆ ด้วยเหตุเท่านี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าย่อมรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 753

ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้

ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันเทียว.

จบปรายสูตรที่ ๗

อรรถกถาปรายนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาปรายนสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปารายเน เมตฺเตยฺยปญฺเห ได้แก่ ในปัญหาของเมตเตยย-

มาณพที่มาในปารายนวรรค. บทว่า อุภนฺเต วิทิตฺวาน ได้แก่ ทราบที่สุด

๒ อย่าง คือ ส่วน ๒ ส่วน. บทว่า มชฺเฌ มนฺตา น ลิปฺปติ ความว่า

ปัญญาเรียกว่า มันตา (บุคคลใด) ทราบที่สุดทั้งสองด้วยปัญญาที่เรียกว่า มันตา

นั้นแล้วไม่ติดอยู่ในท่ามกลาง คือ ไม่ติดอยู่ในที่ตรงกลาง. บทว่า สิพฺพนิ

มจฺจคา ความว่า (บุคคลนั้น) ผ่านพ้นตัณหาที่เรียกว่า สิพพนี (เครื่อง

ร้อยรัด ) ได้แล้ว.

บทว่า ผสฺโส ความว่า เพราะบังเกิดด้วยอำนาจผัสสะ อัตภาพนี้

จึงมี. บทว่า เอโก อนฺโต ความว่า ผัสสะนี้เป็นส่วนหนึ่ง. บทว่า

ผสฺสสมุทโย มีรูปวิเคราะห์ว่า ผัสสะเป็นเหตุเกิดของอัตภาพนั้น เหตุนั้น

อัตภาพนั้นจึงชื่อว่า มีผัสสะเป็นเหตุเกิด. อัตภาพในอนาคตจักบังเกิดได้

เพราะมีผัสสะ คือกรรมที่ทำไว้ในอัตภาพนี้เป็นปัจจัย. บทว่า ทุติโย อนฺโต

ได้แก่ ส่วนที่ ๒. บทว่า ผสฺสนิโรโธ ได้แก่ นิพพาน. บทว่า มชฺเฌ

ความว่า นิพพานชื่อว่า เป็นท่ามกลาง เพราะ หมายความว่าแยกธรรม

(ผัสสะและเหตุเกิดของผัสสะ) ออกเป็น ๒ ฝ่ายโดย ตัดตัณหาเครื่องร้อยรัด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 754

เสียได้. บทว่า ตณฺหา หิ น สิพฺพติ ความว่า ตัณหาย่อมร้อยรัด คือ

เชื่อมต่อผัสสะ (กล่าวคืออัตภาพทั้งสอง) และเหตุเกิดของผัสสะนั้นเข้าด้วยกัน.

ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะทำภพนั้น ๆ นั่นแลให้บังเกิด อธิบาย

ว่า ถ้าหากตัณหาจะไม่พึงร้อยรัด (ผัสสะกับเหตุเกิดของผัสสะ) ไว้ไซร้ ภพนั้น ๆ

แลก็จะไม่พึงบังเกิด.

ในที่นี้ นักปราชญ์ทั้งหลายได้แสดงข้อเปรียบเทียบระหว่างที่สุดกับ

ท่ามกลางไว้. อธิบายว่า คำว่าที่สุด (ปลาย) และท่ามกลาง ท่านกล่าวไว้

สำหรับไม้ ๒ ท่อน ที่บุคคลรวมเข้าด้วยกันแล้วเอาเชือกมัดตรงกลางไว้. เมื่อ

เชือกขาด ไม้ทั้งสองท่อนก็จะหล่นจากทั้งสองข้าง (ข้างปลายและตรงกลาง).

ในข้อนี้ก็เป็นอย่างนั้น คือ ที่สุด ๒ อย่างซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว

เปรียบเหมือนไม้ ๒ ท่อน. ตัณหาเปรียบเหมือนด้ายที่ร้อยรัด (ไม้) อยู่ เมื่อ

ตัณหาดับ ที่สุดทั้งสองก็เป็นอันดับด้วย เปรียบเหมือนเมื่อด้ายขาด ไม้ทั้ง ๒

อันก็หล่นจากทั้งสองข้าง.

บทว่า เอตฺตาวตา คือ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เพราะรู้ที่สุดทั้งสอง

แล้วไม่ถูกตัณหาฉาบติดไว้ตรงกลางนี้ ภิกษุจึงชื่อว่า รู้ยิ่งธรรม คือสัจจะ ๔

ที่ควรรู้ยิ่ง จึงชื่อว่า กำหนดรู้สัจจะที่เป็นโลกิยะทั้งสอง ที่ควรกำหนดรู้ด้วย

ตีรณปริญญา และปหานปริญญา. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ได้แก่

ในอัตภาพนี้แล. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร โหติ ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้

ทำที่สุด คือ ทำการกำหนดรอบวัฏทุกข์.

ในวาระที่ ๒ มีอธิบายดังต่อไปนี้ พึงทราบอุปมาด้วยอำนาจไม้ ๓

ท่อน จริงอยู่ ไม้ ๓ ท่อน ที่บุคคลเอาเชือกมัดไว้ เมื่อเชือกขาด ไม้ ๓

ท่อนก็จะตกไปในที่ ๓ แห่ง. ในข้อนี้ก็เป็นอย่างนี้ คือ ขันธ์ที่เป็นอดีต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 755

อนาคต และปัจจุบัน เปรียบเหมือนไม้ ๓ ท่อน. ตัณหา เปรียบเหมือนเชือก

เพราะว่าตัณหานั้นร้อยรัดขันธ์ที่เป็นอดีตเข้ากับขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน และร้อย

รัดขันธ์ที่เป็นปัจจุบันเข้ากับขันธ์ที่เป็นอนาคต เมื่อตัณหาดับ ขันธ์ที่เป็นอดีต

อนาคต และปัจจุบันก็เป็นอันดับด้วย เปรียบเหมือนเมื่อเชือกขาดไม้ ๓ ท่อน

ก็ตกไปในที่ ๓ แห่ง.

ในวาระที่ ๓ มีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า อทุกฺขมสุขา มชฺเฌ

ความว่า อทุกขมสุขเวทนา ชื่อว่า ท่ามกลาง เพราะภาวะที่อยู่ในระหว่าง

เวทนาอีก ๒ (สุขเวทนากับทุกขเวทนา). เพราะว่า สุข ชื่อว่าอยู่ในภายใน

แห่งทุกข์ หรือว่า ทุกข์ ชื่อว่าอยู่ในภายในแห่งสุขไม่มี. บทว่า ตณฺหา

สิพฺพินี ได้แก่ ความเพลิดเพลินและความกำหนัด ในเวทนาทั้งหลาย.

บทว่า เวทนาน อุปจฺเฉท นิวาเรติ ความว่า (ตัณหา) ชื่อว่า ร้อยรัดเวทนา

เหล่านั้นไว้.

ในวาระที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า วิญฺาณ มชฺเฌ

ความว่า ทั้งปฏิสนธิวิญญาณ ทั้งวิญญาณที่เหลือ ชื่อว่า เป็นท่ามกลางของ

นามรูปทั้งหลาย เพราะเกิดขึ้นโดยเป็นปัจจัยของนามรูป.

ในวาระที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า วิญฺาณ มชฺเฌ

ความว่า กรรมวิญญาณ ชื่อว่าเป็นท่ามกลาง อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณชนิดใด

ชนิดหนึ่งในที่นี้ ชื่อว่าเป็นท่ามกลาง เพราะในบรรดาอายตนะภายใน (เฉพาะ)

มนายตนะ (อายตนะคือใจ) รับเอากรรมไว้. อีกอย่างหนึ่ง ชวนวิญญาณ

ชื่อว่าเป็นท่ามกลาง เพราะมโนทวาราวัชชนะ (การน้อมนึกในมโนทวาร)

อาศัยอายตนะภายใน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 756

ในวาระที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า สกฺกาโย ได้แก่

วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า สกฺกายสมุทโย ได้แก่ สมุทัยสัจ. บทว่า

สกฺกายนิโรโธ ได้แก่ นิโรธสัจ. บทว่า ปริยาเยน คือ ด้วยเหตุนั้น ๆ.

บทที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในที่ทุกแห่งทีเดียว.

จบอรรถกถาปรายนสูตรที่ ๗

๘. อุทกสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๖ จำพวก

[๓๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของชาวโกศลชื่อทัณฑกัปปกะ

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแวะลงจากหนทาง ประทับนั่งบนอาสนะที่

เขาปูลาดไว้แล้ว ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นได้พากันเข้าไปสู่นิคมชื่อ

ทัณฑกัปปกะ เพื่อแสวงหาที่พัก ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุ

หลายรูป ได้ไปที่แม่น้ำอจิรวดีเพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงน้ำในแม่น้ำอจิรวดีเสร็จแล้ว

ก็ขึ้นมานุ่งอันตรวาสกผืนเดียวยืนผึ่งตัวอยู่.

ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วถามว่า ดูก่อน

อาวุโสอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้เหตุทั้งปวงด้วยพระหฤทัยแล้ว

หรือหนอ จึงพยากรณ์พระเทวทัตว่า พระเทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก

ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ หรือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้โดย

ปริยายบางประการเท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัตดังนี้ ท่านพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 757

อานนท์ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์อย่าง

นั้นแล.

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์กับภิกษุหลายรูปได้ไป

ยังแม่น้ำอจิรวดีเพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงเสร็จแล้ว ก็ขึ้นมานุ่งอันตรวาสกผืนเดียว

ยืนผึ่งตัวอยู่ ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปหาข้าพระองค์ แล้วถามว่า ดูก่อน

อาวุโสอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้เหตุทั้งปวงด้วยพระหฤทัยแล้ว

หรือหนอ จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า พระเทวทัตจะต้องเกิดในอบาย

ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ หรือว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดรู้

โดยปริยายบางประการเท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัตดังนี้ เมื่อภิกษุ

นั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกับภิกษุนั้นว่า ดูก่อนอาวุโส ก็ข้อนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์อย่างนั้นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุรูปนั้นจักเป็น

ภิกษุใหม่บวชไม่นาน หรือว่าเป็นภิกษุเถระ แต่เป็นคนโง่เขลา ไม่ฉลาด

เพราะว่าข้อที่เราพยากรณ์แล้วโดยส่วนเดียว จักเป็นสองได้อย่างไร ดูก่อน

อานนท์ เราย่อมไม่พิจารณาเห็นบุคคลอื่นแม้คนหนึ่ง ที่เราได้กำหนดรู้เหตุ

ทั้งปวงด้วยใจแล้วพยากรณ์อย่างนี้ เหมือนพระเทวทัตเลย ก็เราได้เห็นธรรม

ขาวของพระเทวทัต (ส่วนดี) แม้ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทราย

เพียงใด เราก็ยังไม่พยากรณ์พระเทวทัตเพียงนั้นว่า พระเทวทัตจะต้องเกิด

ในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ แต่ว่าเมื่อใด เราไม่ได้

เห็นธรรมขาวของพระเทวทัต แม้ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทราย

เมื่อนั้น เราจึงได้พยากรณ์พระเทวทัตนั้นว่า พระเทวทัตจะต้องเกิดในอบาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 758

ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนหลุมคูถ

เป็นที่ถ่ายอุจจาระ ลึกชั่วบุรุษ เต็มด้วยคูถเสมอขอบปากหลุมบุรุษพึงตกลง

ไปที่หลุมคูถนั้นจมมิดศีรษะ บุรุษบางคนผู้ใคร่ประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล

ปรารถนาความเกษมจากการตกหลุมคูถของบุรุษนั้น ใคร่จะยกเขาขึ้นจากหลุม

คูถนั้น พึงมา เขาเดินรอบหลุมคูถนั้นอยู่ ก็ไม่พึงเห็นอวัยวะที่ไม่เปื้อนคูถ

ซึ่งพอจะจับเขายกขึ้นมาได้ แม้ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทราย

ของบุรุษนั้น ฉันใด เราก็ไม่ได้เห็นธรรมขาวของพระเทวทัตแม้ประมาณเท่า

น้ำที่สลัดออกจากปลายขนทราย ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อนั้น เราจึงได้พยากรณ์

พระเทวทัตว่า พระเทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป

เยียวยาไม่ได้ ถ้าว่าเธอทั้งหลายจะพึงฟังตถาคตจำแนกญาณเครื่องกำหนดรู้

อินทรีย์ของบุรุษไซร้.

อา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้เป็นกาลควร ข้าแต่พระสุคต

บัดนี้เป็นกาลควร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงจำแนกญาณเครื่องกำหนดรู้

อินทรีย์ของบุรุษ ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักทรง

จำไว้.

พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า

กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เรากำหนดรู้ใจ

บุคคลนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า กุศลธรรมของบุคคลนี้แลหายไป อกุศลธรรมปรากฏ

ขึ้นเฉพาะหน้า กุศลมูลที่บุคคลนั้นยังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะกุศลมูลนั้น กุศล

อย่างอื่นของเขาจักปรากฏ ด้วยประการฉะนี้ บุคคลนี้จักเป็นผู้ไม่เสื่อมต่อไป

เป็นธรรมดา เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ไม่หัก ไม่เน่า ไม่ถูกลมและแดดเผา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 759

เกิดในต้นฤดูหนาว เก็บไว้ดีแล้วอันบุคคลปลูก ณ ที่ดินอันพรวนดีแล้วใน

ที่นาดี เธอพึงทราบไหมว่า เมล็ดพืชเหล่านี้จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.

อา. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนโนโลกนี้ด้วยใจ

อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา

เรากำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป

อกุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะ

กุศลมูลนั้น กุศลอื่นของเขาจักปรากฏ ด้วยประการฉะนี้ บุคคลนี้จักเป็นผู้

ไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนด

รู้ใจบุคคลด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษ

ด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วย

ประการฉะนี้.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ

อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา

เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้

หายไป กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่

เพราะอกุศลมูลนั้น อกุศลอื่นของเขาจักปรากฏ ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้

จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ไม่หัก ไม่เน่า

ไม่ถูกลมและแดดเผา เกิดในต้นฤดูหนาว เก็บไว้ดีแล้ว อันบุคคลปลูก ณ

ที่ศิลาแท่งทึบ เธอพึงทราบไหมว่า เมล็ดพืชเหล่านี้จักไม่ถึงความเจริญงอกงาม

ไพบูลย์.

อา. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 760

พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ

อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา

เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป

กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะ

อกุศลมูลนั้น อกุศลอื่นของเขาจักปรากฏ ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้จักเป็น

ผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนด

รู้ใจบุคคลด้วยใจ กำหนดรู้ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษ กำหนด

รู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ

อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา

เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า ธรรมขาวของบุคคลนี้ แม้

ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทรายไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยอกุศล

ธรรมฝ่ายดำอย่างเดียว เมื่อตายไปจักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่หักเน่า ถูกลมและแดดแผดเผา อันบุคคลปลูก ณ

ที่ดินซึ่งพรวนดีแล้วในนาดี เธอพึงทราบไหมว่า เมล็ดพืชนี้จักไม่ถึงความ

เจริญงอกงามไพบูลย์.

อา. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ

อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา

เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้น ด้วยใจอย่างนี้ว่า ธรรมชาวของบุคคลนี้ แม้

ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทรายไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยอกุศล

ธรรมฝ่ายดำอย่างเดียว เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคลด้วยใจ กำหนดรู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 761

ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษ กำหนดรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไป

ด้วยใจ แม้ด้วยประการอย่างนี้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสามารถบัญญัติบุคคล ๓ จำพวก

นี้ออกเป็นส่วนละ ๓ อีกหรือพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สามารถ

อานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า กุศลธรรม

ก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา เรากำหนดรู้ใจบุคคลนั้น

ด้วยใจอย่างนี้ว่า กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป อกุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะ-

หน้า แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ กุศลมูลนั้นก็ถึงความถอนขึ้นโดยประการ

ทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้จักเป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา เปรียบ

เหมือนถ่านไฟที่ไฟติดทั่วแล้วลุกโพลงสว่างไสว อันบุคคลเก็บไว้บนศิลาทึบ

เธอพึงทราบไหมว่า ถ่านไฟเหล่านี้จักไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อพระอาทิตย์ตกไปในเวลา

เย็น เธอพึงทราบไหมว่า แสงสว่างจักหายไป ความมืดจักปรากฏ.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือนในเวลาเสวยพระกระยาหาร

ของราชสกุลในเวลาเที่ยงคืน เธอพึงทราบไหมว่า แสงสว่างหายไปหมดแล้ว

ความมืดได้ปรากฏแล้ว.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ

อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา

เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า กุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 762

อกุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ กุศลมูล

แม้นั้นก็ถึงความถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้จัก

เป็นผู้เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคต

กำหนดรู้ใจบุคคลด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของ

บุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วย

ประการอย่างนี้.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ

อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา

เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป

กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ อกุศลมูล

แม้นั้นก็ถึงความเพิกถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้ บุคคล

นี้จักไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนถ่านไฟที่ไฟติดทั่วแล้วลุกโพลง

สว่างไสว อันบุคคลเก็บไว้บนกองหญ้าแห้ง หรือบนกองไม้แห้ง เธอพึงทราบ

ไหมว่า ถ่านไฟเหล่านี้จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อพระอาทิตย์กำลังขึ้นมา

ในเวลารุ่งอรุณ เธอพึงทราบไหมว่า ความมืดจักหายไป แสงสว่างจักปรากฏ.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เปรียบเหมือนในเวลาเสวยพระกระยาหาร

ของราชสกุลในเวลาเที่ยงวัน เธอพึงทราบไหมว่า ความมืดหายไปหมดแล้ว

แสงสว่างได้ปรากฏแล้ว.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 763

พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ

อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา

เรากำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้หายไป

กุศลธรรมปรากฏขึ้นเฉพาะหน้า แต่อกุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ อกุศลมูล

แม้นั้นก็ถึงความเพิกถอนขึ้นโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้ บุคคลนี้

จักเป็นผู้ไม่เสื่อมต่อไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคต

กำหนดรู้ใจบุคคลด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของ

บุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วย

ประการฉะนี้.

ดูก่อนอานนท์ อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ

อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา

เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า อกุศลธรรมของบุคคลนี้ แม้

ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทรายไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรม

ที่ไม่มีโทษ เป็นธรรมฝ่ายขาวอย่างเดียว จักปรินิพพานในปัจจุบันทีเดียว

เปรียบเหมือนถ่านไฟที่เย็น มีไฟดับแล้ว อันบุคคลเก็บไว้บนกองหญ้าแห้ง

หรือบนกองไม้แห้ง เธอพึงทราบไหมว่า ถ่านไฟเหล่านี้จักไม่ถึงความเจริญ

งอกงามไพบูลย์.

อา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ

อย่างนี้ว่า กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้มีอยู่ สมัยต่อมา

เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลนั้นด้วยใจอย่างนี้ว่า กุศลธรรมของบุคคลนี้ แม้

ประมาณเท่าน้ำที่สลัดออกจากปลายขนทรายไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรม

ที่ไม่มีโทษ เป็นธรรมฝ่ายขาวอย่างเดียว จักปรินิพพานในปัจจุบันทีเดียว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 764

ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ ตถาคตกำหนดรู้ใจบุคคลด้วยใจแม้อย่างนี้

กำหนดรู้ญาณเป็นเครื่องทราบอินทรีย์ของบุรุษด้วยใจแม้อย่างนี้ กำหนดรู้ธรรม

ที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปด้วยใจ แม้ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนอานนท์ บุคคล ๖ จำพวกนั้น บุคคล ๓ จำพวกข้างต้น

คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่ง

เป็นผู้เกิดในอบาย ตกนรก ในบุคคล ๖ จำพวกนั้น บุคคล ๓ จำพวกข้างหลัง

คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่ง

เป็นผู้จะปรินิพพานเป็นธรรมดา.

จบอุทกสูตรที่ ๘

อรรถกถาอุทกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุทกสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อญฺตโร ได้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัต.

บทว่า สมนฺนาหริตฺวา ได้แก่น้อมนึก. ภิกษุนั้นถามเรื่องนี้ก็ด้วยความ

ประสงค์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเพราะทรงทราบ หรือไม่ทรงทราบ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นเอกังสิกพยากรณ์ (ตรัสตอนโดยส่วนเดียว) หรือ

ว่าตรัสเป็นวิภัชชพยากรณ์ (จำแนกตอบ).

บทว่า อปายิโก ได้แก่ บังเกิดในอบาย. บทว่า เนรยิโก

ได้แก่ ไปสู่นรก. บทว่า กปฺปฏฺโ ได้แก่ จักดำรงอยู่ (ในนรก) ตลอด

กัป เพราะได้ทำกรรมที่เป็นเหตุให้ดำรงอยู่ตลอดกัปไว้. บทว่า อเตกิจฺโฉ

ได้แก่ ไม่สามารถจะแก้ไขได้. บทว่า เทฺวชฺฌ ได้แก่ ภาวะเป็นสอง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 765

บทว่า วาลคฺคโกฏิ นิตฺตุทนมตฺต ได้แก่ ความดีที่พอจะแสดงได้ ด้วย

ปลายขนทราย หรือความดีเพียงที่เอาปลายขนทรายจดลง.

บทว่า ปุริสินฺทฺริยญาณานิ ได้แก่ ญาณเป็นเครื่องรู้ความยิ่งและ

ความหย่อนแห่งอินทรีย์ องบุรุษบุคคลทั้งหลาย อธิบายว่า ญาณเป็นเครื่อง

น้อมนึกถึงความที่อินทรีย์ทั้งหมดแก่กล้าและอ่อน.

บทว่า วิชฺชมานา กุสลาปิ ธมฺมา อกุสลาปิ ธมฺมา ความ

ว่า เราตถาคตรู้อยู่ว่า กุศลธรรม (ของบุคคลนี้) มีอยู่เท่านี้ อกุศลธรรมมี

อยู่เท่านี้. บทว่า อนฺตรหิตา ได้แก่ ถึงการมองไม่เห็น. บทว่า

สมฺมุขีภูตา ได้แก่ เกิดปรากฏด้วยอำนาจความฟุ้งขึ้น. บทว่า กุสลมูล

ได้แก่ อัธยาศัยที่เป็นกุศล. บทว่า กุสลา มูลา กุสล ความว่า กุศลแม้

อย่างอื่นก็จักบังเกิดจากอัธยาศัยที่เป็นกุศลนั้น. บทว่า สาราทานิ ได้แก่

ถือเอาสาระได้ คือ มีสาระบุคคลถือเอาได้ หรือ บังเกิดในเดือนสารท.

บทว่า สุขสยิตานิ ได้แก่ รวมเก็บไว้ดี. บทว่า สุกฺเขตฺเต ได้แก่ ใน

นาที่สมบูรณ์ด้วยปุ๋ย. บทว่า นิกฺขิตฺตานิ ได้แก่ ที่หว่านลง. บทว่า

สปฺปฏิภาคา ได้แก่ ที่เห็นสม. บทว่า อภิโทสอฑฺฒรตฺต ได้แก่ ใน

เวลาใกล้กึ่งราตรี คือ เมื่อเที่ยงคืน ปรากฏเฉพาะหน้า. บทว่า ภตฺตกาลสมเย

ได้แก่ ในสมัย กล่าวคือ เวลาเสวยพระกระยาหารของราชตระกูลทั้งหลาย.

ถามว่า ใครที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอย่างนี้ว่า มีความเสื่อม

เป็นธรรมดา.

ตอบว่า พระเจ้าอชาตศัตรู เพราะว่าพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นทรงเสื่อม

จากมรรคผล เพราะอาศัยบาปมิตร ฝ่ายบุคคลผู้อื่นมีพระเจ้าสุปปพุทธะและ

สุนักขัตตะเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 766

ถามว่า ใครที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอย่างนี้ว่า มีความไม่

เสื่อมเป็นธรรมดา.

ตอบว่า สุสิมะปริพพาชก และบุคคลพวกอื่นที่ (มีอุปนิสัย)

เป็นเช่นนี้.

ถามว่า ใครที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอย่างนี้ว่า จักปรินิพพาน.

ตอบว่า สันตติมหาอำมาตย์ และบุคคลพวกอื่นที่ (มีอุปนิสัย) เป็น

เช่นนี้.

จบอรรถกถาอุทกสูตรที่ ๘

๙. นิพเพธิกสูตร

ว่าด้วยธรรมปริยายชำแรกกิเลส

[๓๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายที่เป็นปริยาย

เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จง

ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมปริยายที่เป็นปริยายเป็นไป

ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลสนั้นเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

พึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับ

แห่งกาม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา เหตุเกิด

แห่งเวทนา ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับเวทนา เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญา

ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 767

ความดับสัญญา เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่าง

แห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ

อาสวะ เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม

วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม เธอทั้งหลาย

พึงทราบทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับ

แห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวนี้ว่า เธอทั้งหลายพึงทราบกาม

เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกาม นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กามคุณ ๕ ประการนี้ คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู. . . กลิ่น

ที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก. . .รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น. . . โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย

อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ชื่อว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณ

ในวินัยของพระอริยเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า

ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่ง

ความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม อารมณ์อัน

วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม ความ

กำหนัดที่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งความ

ดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม อารมณ์อันวิจิตร

ทั้งหลายในโลกย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 768

ตน ส่วนว่า ธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัด

ความพอใจ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดแห่งกามเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุ

เกิดแห่งกามทั้งหลาย ก็ความต่างกันแห่งกามเป็นไฉน คือ กามในรูปเป็น

อย่างหนึ่ง กามในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง กามในรส

เป็นอย่างหนึ่ง กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่าความต่างกันแห่งกาม

วิบากแห่งกามเป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้น

จากความใคร่นั้น ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่า

วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกามเป็นไฉน คือ ความดันแห่งกามเพราะ

ผัสสะดับ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ.

สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม

วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม อย่างนี้ ๆ

เมื่อนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์ อันเป็นไปในส่วนแห่งการ

ชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งกาม ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงทราบกาม ฯลฯ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกาม ดังนี้นั้น

เราอาศัยข้อนี้กล่าว.

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงทราบเวทนา

ฯลฯ ปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งเวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขม-

สุขเวทนา ก็เหตุเกิดแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา

ก็ความต่างกันแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ สุข-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 769

เวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ ทุกขเวทนาที่

ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสมีอยู่ อทุกขมสุขเวทนา

ที่ไม่เจือด้วยอามิสมีอยู่ นี้เรียกว่า ความต่างแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา

เป็นไฉน คือ การที่บุคคลผู้เสวยเวทนาอยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดขึ้นจาก

เวทนานั้น ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบาก

แห่งเวทนา ก็ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ ความดับแห่งเวทนาย่อม

เกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล

คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งเวทนา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา

ความต่างกันแห่งเวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทาที่ให้

ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้ ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์

อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับเวทนานี้ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ

เวทนา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว.

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา

ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๖ ประการนี้ คือ รูปสัญญา สัททสัญญา คันธ-

สัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญาเป็นไฉน

คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา ก็ความต่างแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ

สัญญาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่นเป็น

อย่างหนึ่ง สัญญาในรสเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง

สัญญาในธรรมารมณ์เป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่าความต่างแห่งสัญญา ก็วิบาก

แห่งสัญญาเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าวว่าสัญญาว่ามีคำพูดเป็นผล (เพราะว่า)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 770

บุคคลย่อมรู้สึกโดยประการใด ๆ ก็ย่อมพูดโดยประการนั้น ๆ ว่า เราเป็นผู้มี

ความรู้สึกอย่างนั้น นี้เรียกว่าวิบากแห่งสัญญา ก็ความดับแห่งสัญญาเป็นไฉน

คือ ความดับแห่งสัญญา ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริย-

สาวกย่อมทราบชัดสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญา ความต่างแห่งสัญญา วิบากแห่ง

สัญญา ความดับแห่งสัญญา ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ ๆ

เมื่อนั้นอริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรก

กิเลส ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับสัญญา ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว.

ข้อที่กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ก็เหตุ

เกิดแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ อวิชชาเป็นเหตุเกิดอาสวะ ก็ความต่างแห่งอาสวะ

เป็นไฉน คือ อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่นรกก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่กำเนิด

สัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่เป็นเหตุไปสู่เปรตวิสัยก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่มนุษยโลก

ก็มี ที่เป็นเหตุให้ไปสู่เทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งอาสวะ ก็วิบากแห่ง

อาสวะเป็นไฉน คือ การที่บุคคลมีอวิชชา ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากอวิชชา

นั้น ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่ง

อาสวะ ก็ความดับแห่งอาสวะเป็นไฉน คือ ความดับแห่งอาสวะย่อมเกิดเพราะ

ความดับแห่งอวิชชา อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ

สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 771

ความต่างแห่งอาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ ปฏิปทาที่ให้ถึง

ความดับแห่งอาสวะอย่างนี้ ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์

อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับอาสวะนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับ

แห่งอาสวะ ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว.

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย

ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่ง

กรรม ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี ที่ให้

วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากใน

มนุษยโลกก็มี ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม ก็วิบาก

แห่งกรรมเป็นไฉน คือ เราย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ

กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรมที่ให้ผลในภพที่เกิด ๑ กรรมที่ให้

ผลในภพต่อๆ ไป ๑ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน

คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้น เพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวก

ย่อมทราบชัด กรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม

ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ ๆ เมื่อนั้น

อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลส

เป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบ

กรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 772

ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์

เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์ ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว แม้ชาติก็

เป็นทุกข์ แม้ชราเป็นทุกข์ แม้พยาธิก็เป็นทุกข์ แม้มรณก็เป็นทุกข์ แม้

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่ง

นั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปทานขันข์ ๕ เป็นทุกข์ ก็เหตุเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน

คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ก็ความต่างแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ทุกข์

มากก็มี ทุกข์น้อยก็มี ทุกข์ที่คลายช้าก็มี ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี นี้เรียกว่าความ

ต่างแห่งทุกข์ ก็วิบากแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกทุกข์

อย่างใดครอบงำ มีจิตอันทุกข์อย่างใดกลุ้มรุม ย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน

ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความหลง ก็หรือบางคนถูกทุกข์ใดครอบงำแล้ว มีจิต

อันทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้ว ย่อมแสวงหาเหตุปลดเปลื้องทุกข์ในภายนอกว่าใครจะรู้

ทางเดียวหรือสองทางเพื่อดับทุกข์นี้ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวทุกข์ว่า

มีความหลงใหลเป็นผล หรือว่ามีการแสวงหาเหตุปลดเปลื้องทุกข์ภายนอกเป็น

ผล นี้เรียกว่าวิบากแห่งทุกข์ ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน คือ ความดับ

แห่งทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งตัณหา อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์

๘ ประการนี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับ

แห่งทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด อริยสาวกย่อมทราบชัดทุกข์ เหตุเกิด

แห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาให้ถึง

ความดับแห่งทุกข์ อย่างนี้ ๆ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์

อันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างแห่ง

ทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์

ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 773

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมปริยายที่เป็นปริยาย เป็นไป

ในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส.

จบนิพเพธิกสูตรที่ ๙

อรรถกถานิพเพธิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิพเพธิกสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ธรรมชื่อว่า นิพเพธิกปริยาย เพราะเจาะ คือ ทำลายกองโลภะเป็นต้น ที่

ยังไม่เคยเจาะ ยังไม่เคยทำลายมาก่อน อธิบายว่า ได้แก่เหตุแห่งการเจาะแทง.

บทว่า นิทานสมฺภโว ความว่า ชื่อว่า นิทาน เพราะมอบให้ซึ่งกาม

คือมอบหมายให้ โดยความเป็นเหตุสามารถให้เกิดขึ้น. ธรรมชื่อว่า สัมภวะ

เพราะเป็นแดนเกิดขึ้น. สัมภวะก็คือ นิทานนั่นเอง จึงชื่อว่า นิทานสัมภวะ.

บทว่า เวมตฺตตา ได้แก่ เหตุต่าง ๆ กัน.

บทว่า กามคุณา ความว่า ชื่อว่า กาม เพราะหมายความว่า

ชวนให้ใคร่ ชื่อว่า คุณ เพราะหมายความว่า ผูกมัดไว้ ดังในประโยค

เป็นต้นว่า อนฺตคุณ (สายรัดไส้). บทว่า จกฺขุวิญฺเยฺยา ความว่า

ที่จะพึงเห็นด้วยจักษุวิญญาณ. บทว่า อิฏฺา มีอธิบายว่า จะปรารถนา

หรือไม่ก็ตาม ก็คงเป็นอิฏฐารมณ์อยู่นั่นแหละ. บทว่า กนฺตา ได้แก่ เป็น

ของน่าใคร่. บทว่า มนาปา ได้แก่ เป็นที่เจริญใจ. บทว่า ปิยรูปา

ได้แก่ เป็นที่รัก โดยกำเนิด. บทว่า กามูปสญฺหิตา ความว่า อันกามที่

เกิดขึ้นเพราะทำปิยรูปให้เป็นอารมณ์ ยั่วยวนแล้ว. บทว่า รชนียา ความว่า

เป็นเหตุแห่งการบังเกิดขึ้นของราคะ. บทว่า เนเต กามา ความว่า รูป

เป็นต้นเหล่านี้ ได้ชื่อว่าเป็นกาม เพราะอรรถว่าใคร่ ก็หามิได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 774

บทว่า สงฺกปฺปราโค ได้แก่ราคะที่บังเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง

ความดำริ. บทว่า กาโม ความว่า ราคะที่เกิดขึ้นแล้วนี้ ผู้ปฏิบัติเพื่อละ

กาม จำต้องละ. รูปเป็นต้น ชื่อว่า ถาม ด้วยอรรถว่า เป็นเหตุใคร่.

บทว่า จิตฺรานิ ได้แก่มีอารมณ์ที่วิจิตรงดงาม.

บทว่า ผสฺโส ได้แก่ผัสสะที่เกิดขึ้นพร้อมกัน. บทว่า กามยมาโน

ได้แก่ผู้ใคร่กาม. บทว่า ตชฺช ตชฺช ได้แก่อัตภาพที่เกิดขึ้น ๆ จากกาม

นั้น. บทว่า ปุญฺภาคิย ความว่า อัตภาพของผู้ที่ปรารถนากามอันเป็น

ทิพย์ แล้วเกิดในเทวโลก เพราะสุจริตธรรมบริบูรณ์ ชื่อว่า ปุญญภาคิยะ

(ที่เป็นฝ่ายกุศล) อัตภาพของผู้ที่เกิดในอบาย เพราะทุจริตธรรมบริบูรณ์

ชื่อว่า อปุญญภาคิยะ (ที่เป็นฝ่ายอกุศล).

บทว่า อย วุจฺจติ ภิกฺขเว กามาน วิปาโก ความว่า

อัตภาพทั้งสองอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นวิบากของกาม เพราะ

เกิดขึ้นโดยอาศัยความปรารถนากาม. บทว่า โส อิม นิพฺเพธิก ความว่า

ภิกษุนั้นย่อมรู้จริยาอันประเสริฐนี้ ที่เป็นเครื่องเจาะไชฐาน (อายตนะ)

๓๖ อย่าง. บทว่า กามนิโรธ ความว่า (กามนิโรธ) ที่ได้มาอย่างนี้เพราะ

กามทั้งหลายดับไป. ด้วยว่า ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกมรรค

กล่าวคือ พรหมจรรย์ นั่นแหละว่า เป็น ความดับกาม.

บทว่า สามิสา ความว่า สัมปยุตด้วยอามิสคือกิเลส. ในทุก ๆ

ฐานะ (วาระ) พึงทราบความโดยนัยนี้. อีกประการหนึ่งพึงทราบความในบท

ว่า โวหารปกฺก นี้ว่า ได้แก่ โวหารวิบาก อธิบายว่า โวหารกล่าวคือ

ถ้อยคำ ชื่อว่า วิบากของสัญญา. บทว่า น ในคำว่า ยถา น นี้ เป็น

เพียงนิบาตเท่านั้น. ดังนั้นจึงมีอธิบายว่า เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า บุคคลจำได้อย่างใด ๆ ย่อมพูดไปอย่างนั้น ๆ ด้วยคิดว่า เราจำได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 775

อย่างนี้ ฉะนั้นจึงชื่อว่า โวหารเวปักกะ. บทว่า อวิชฺชา ได้แก่อวิชชา

ที่หนาแน่น ที่เป็นตัวไม่รู้ในฐานะทั้ง ๘. อาสวะทั้งหลาย ชื่อว่า

นิรยคามนิยา เพราะให้สัตว์ไปนรก อธิบายว่า เป็นเหตุให้สัตว์เกิดในนรก.

แม้ไนบทที่เหลือก็มีนัยนี้แหละ.

บทว่า เจตนาท ตัดบทเป็น เจตน อห (เราตถาคต กล่าว-

เจตนาว่าเป็นกรรม). ในบทว่า เจตนาห นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย

เอาเจตนาที่มีการจัดแจง (สัมปยุตธรรม) ที่รวบรวมธรรมทุกอย่าง (กุศล-

ธรรม อกุศลธรรม) ไว้. บทว่า เจตยิตฺวา ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปใน

ทวาร. บทว่า มนสา ได้แก่ จิตที่สัมปยุตด้วยเจตนา. บทว่า นิรยเวทนีย

ได้แก่ อำนวยวิบากในนรก. แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็มีนัยนี้แหละ.

บทว่า อธิมตฺต ได้แก่ ทุกข์มีกำลัง. บทว่า ทนฺธวิราค

ความว่า ทุกข์หนัก คือทุกข์ที่คลายไปได้ไม่เร็ว ได้แก่ค่อย ๆ คลายไป.

บทว่า อฺรตฺตาฬี กนฺทติ ได้แก่ ค่อนอุระคร่ำครวญ. บทว่า ปริเยฏฺิ

ได้แก่ การแสวงหา. บทว่า เอกปท ทฺวิปท ได้แก่ รู้เพียงทางเดียว

หรือเพียงสองทาง อธิบายว่า ใครจะรู้ประมาณการ. บทว่า สมฺมหเวปกฺก

ได้แก่วิบากแห่งสัมโมหะ (ความงมงาย) อธิบายว่า ความลืมเลือน ชื่อว่า

เป็นผลไหลออกแห่งทุกข์. แม้ในบทที่สอง ก็มีนัยนี้แหละ เพราะว่า ถึงการ

แสวงหาก็เป็นผลไหลออกแห่งทุกข์นั้น. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถานิพเพธิกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 776

๑๐. พลสูตร

ว่าด้วยกำลังพระตถาคต ๖ ประการ

[๓๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๖ ประการนี้ ที่พระ

ตถาคตประกอบแล้ว เป็นเหตุให้ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท

ในบริษัท ประกาศพรหมจักร กำลัง ๖ ประการเป็นไฉน คือ ตถาคต

ย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะ

โดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะในโลกนี้ แม้การที่ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็นจริง

ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะ

นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก

บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมทราบชัดตาม

เป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดย

ปัจจัย โดยเหตุ แม้การที่ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรม-

สมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยปัจจัย โดยเหตุ นี้ย่อมเป็น

กำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาท

ในบริษัท ประกาศพรหมจักร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมทราบชัดตาม

เป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์

สมาธิ และสมาบัติ แม้การที่ตถาคตย่อมทราบชัดตามเป็นจริง ซึ่งความ

เศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ

นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก

บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 777

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมระลึกถึงชาติก่อน

ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ตถาคตย่อม

ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ

ฉะนี้ แม้การที่ตถาคตย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่ง

บ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ

พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้

อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมพิจารณาเห็นหมู่สัตว์

ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อม

รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ แม้การที่ตถาคตย่อมพิจารณาเห็น

หมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่ง

ตถาคตได้อาศัยปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ

พรหมจักร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโต-

วิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญา

อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แม้การที่ตถาคตย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่นี้ย่อมเป็นกำลังของตถาคต ซึ่งตถาคตได้อาศัย

ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจกบันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต ๖ ประการนี้แล ที่ตถาคตประกอบ

แล้ว เป็นเหตุให้ปฏิญาณฐานะของผู้โจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศ

พรหมจักร.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 778

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกำลังของตถาคต ๖ ประการเหล่านั้น หาก

ว่าชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่ง

ฐานะโดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะไซร้

ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ. และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความ

เป็นเหตุมิใช่ฐาน ะ อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใด ๆ ตถาคตถูกถามปัญหา

แล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งฐานะโดยความเป็นฐานะ และ

เหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะ แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้น ๆ.

หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตาม

เป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทาน ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน

โดยปัจจัย โดยเหตุไซร้ ความรู้ตามความเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทาน

ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันอันตถาคตทราบชัดด้วยประการใด ๆ ตถาคต

ถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งวิบากแห่งกรรม-

สมาทานที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้น ๆ.

หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตาม

เป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์

สมาธิ และสมาบัติไซร้ ความรู้ตามเป็นจริงซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว

ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ อันตถาคตทราบชัดด้วย

ประการใด ๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง

ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ

และสมาบัติ แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้น ๆ.

หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตาม

เป็นจริง ซึ่งความระลึกชาติก่อนได้ไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึก

ชาติก่อนได้ อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใด ๆ ตถาคตถูกถามปัญหาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 779

ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึกชาติก่อนได้ แก่ชนเหล่า

นั้น ด้วยประการนั้น ๆ.

หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตาม

เป็นจริง ซึ่งจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติ

และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใด ๆ ตถาคตถูก

ถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติและอุบัติของ

สัตว์ทั้งหลาย แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้น ๆ.

หากว่า ชนเหล่าอื่นย่อมเข้ามาถามปัญหากับตถาคต ด้วยความรู้ตาม

เป็นจริง ซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายไซร้ ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่ง

ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย อันตถาคตทราบชัดด้วยประการใด ๆ ตถาคต

ถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์ด้วยความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความสิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลาย แก่ชนเหล่านั้น ด้วยประการนั้น ๆ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งความรู้ตามเป็นจริงซึ่งฐานะ

โดยความเป็นฐานะ และเหตุที่มิใช่ฐานะโดยความเป็นเหตุมิใช่ฐานะนั้นว่า

เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าว เป็นของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น

เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริงซึ่งวิบากแห่งกรรมสมาทาน ที่เป็นอดีต

อนาคต และปัจจุบัน โดยปัจจัยโดยเหตุนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น

ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตาม

เป็นจริง ซึ่งความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์

สมาธิ และสมาบัตินั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็น

ของบุคคลผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความระลึก

ชาติก่อนได้นั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคล

ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริง ซึ่งจุติและอุบัติของสัตว์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 780

ทั้งหลายนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคล

ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น เราย่อมกล่าวแม้ความรู้ตามเป็นจริงซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลายนั้นว่า เป็นของบุคคลผู้มีใจตั้งมั่น ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นของบุคคลผู้มี

ใจไม่ตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจมั่นเป็นทางถูก ความไม่ตั้งใจมั่น

เป็นทางผิด ด้วยประการฉะนี้แล.

จบพลสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาพลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาพลสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาสภ าน ได้แก่ ฐานะอันประเสริฐสุด คือฐานะอันไม่

หวั่นไหว. บทว่า สีหนาท ได้แก่ การบันลืออย่างไม่เกรงกลัว คือบันลือ

ในฐานะเป็นประมุข. บทว่า พฺรหฺมจกฺก ได้แก่ จักรคือญาณอันประเสริฐ

คือปฏิเวธญาณ และญาณที่เหลือ. บทว่า านญฺจ านโต ได้แก่รู้เหตุ

โดยความเป็นเหตุ. บทว่า ยมฺปิ ความว่า ด้วยญาณใด. บทว่า อิทมฺปิ

ตถาคตสฺส ความว่า ฐานาฐานญาณแม้นี้ ชื่อว่า เป็นตถาคตพละของพระ

ตถาคต. แม้ในบททั้งปวงก็พึงทราบความอย่างนี้.

บทว่า กมฺมสมาทานาน ได้แก่กุศลกรรม และอกุศลกรรมที่บุคคล

ตั้งใจกระทำแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง กรรมนั่นเอง ชื่อว่า กรรมสมาทาน. บทว่า

านโส เหตุโส ความว่า ทั้งโดยปัจจัย ทั้งโดยเหตุ. บรรดาฐานะและเหตุ

ทั้งสองอย่างนั้น คติ (กำเนิดมีนรกเป็นต้น) อุปธิ (อัตภาพ) กาล (เวลา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 781

ที่กรรมให้ผล) ปโยค (การประกอบกรรม) เป็นฐานะของวิบาก กรรมเป็น

เหตุของวิบาก. บทว่า ฌานวิโมกฺขสมาธิสมาปตฺตีน ได้แก่ ฌาน ๔

วิโมกข์ ๘ สมาธิ ๓ อนุปุพพสมาบัติ ๙. บทว่า สงฺกิเลส ได้แก่ ธรรม

ที่เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม. บทว่า โวทาน ได้แก่ ธรรมที่เป็นส่วน

แห่งคุณพิเศษ. บทว่า วุฏฺาน ได้แก่ ฌานที่คล่องแคล่วที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า

แม้โวทานะ ก็ชื่อว่า วุฏฐานะ แม้การออกจากสมาธินั้น ๆ ก็ชื่อว่า วุฏฐานะ ๑

ภวังค์และผลสมาบัติ ๑ เพราะว่าฌานที่คล่องแคล่วชั้นต่ำ ๆ เป็นพื้นฐานของ

ฌานชั้นสูง ๆ ขึ้นไป เพราะฉะนั้น แม้โวทานะ จึงตรัสว่าเป็นวุฏฐานะ

ส่วนการออกจากฌานทั้งปวงย่อมมีได้ด้วยภวังค์. การออกจากนิโรธสมาบัติ

มีได้ด้วยผลสมาบัติ. พระพุทธพจน์ว่า แม้การออกจากสมาธินั้น ๆ ก็ชื่อว่า

วุฏฐานะ ดังนี้ ตรัสไว้ทรงหมายการออกจากนิโรธสมาบัตินั้น.

บทว่า อเนกวิหิต เป็นต้น ได้พรรณนาไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

อาสวักขยญาณ ก็มีเนื้อความดังที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแล ผู้ประสงค์

จะทราบข้อความอย่างพิสดาร ของญาณทั้ง ๓ แม้ข้างต้น พึงตรวจดูข้อความ

ที่พรรณนาไว้ในมหาสีหนาทสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย. บทว่า สมาหิ-

ตสฺส แปลว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า สมาธิ มคฺโค ความว่า

สมาธิเป็นอุบายเพื่อบรรลุฌานเหล่านี้. ความไม่มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ชื่อว่า

อสมาธิ. ทางที่ผิดชื่อว่า กุมมัคคะ. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสถึงกำลังพระญาณของพระตถาคต.

จบอรรถกถาพลสูตรที่ ๑๐

จบมหาวรรควรรณนาที่*

* อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 782

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสณสูตร ๒. ผัคคุณสูตร ๓. ฉฬาภิชาติยสูตร ๔. อาสวสูตร

๕. ทารุกัมมิกสูตร ๖. จิตตหัตถิสาริปุตตสูตร ๗. ปรายนสูตร ๘. อุทกสูตร

๙. นิพเพธิกสูตร ๑๐. พลสูตร และอรรถกถา.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้

๑. อนาคามิสูตร ๒. อรหัตตสูตร ๓. มิตตสูตร ๔. ฐานสูตร

๕. เทวตาสูตร ๖. สติสูตร ๗. สักขิสูตร ๘. พลสูตร ๙. ปฐมฌานสูตร

๑๐. ทุติยฌานสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 783

เทวตาวรรคที่ ๒

๑. อนาคามิสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุอนาคามิผล

[๓๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้แล้ว

ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ?

คือ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ความเป็นผู้ไม่มีหิริ ๑ ความเป็นผู้ไม่มี

โอตตัปปะ ๑ ความเป็นผู้เกียจคร้าน ๑ ความเป็นผู้มีสติเลอะเลือน ๑ ความ

เป็นผู้มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้

ไม่ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว ย่อมเป็นผู้ควร

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้

ไม่มีศรัทธา ๑ ความเป็นผู้ไม่มีหิริ ๑ ความเป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๑ ความ

เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ ความเป็นผู้มีสติเลอะเลือน ๑ ความเป็นผู้มีปัญญาทราม ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำ

ให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล.

จบอนาคามิสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 784

เทวตาวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาอนาคามิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนาคามิสูตรที่ ๑ แห่งเทวตาวรรคที่ ๒ ดัง

ต่อไปนี้ :-

บทว่า อสทฺธิย ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา. บทว่า ทุปฺปญฺตฺต

ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่มีปัญญา.

จบอรรถกถาอนาคามิสูตรที่ ๑

๒. อรหัตตสูตร

ว่าด้วยผู้ควรบรรลุและไม่ควรบรรลุอรหัตผล

[๓๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการไม่ได้แล้ว

ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

ถีนะ ๑ มิทธะ ๑ อุทธัจจะ ๑ กุกกุจจะ ๑ ความไม่มีศรัทธา ๑ ความ

ประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม ๖ ประการนี้ไม่ได้แล้ว

ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการได้แล้ว ย่อมเป็นผู้ควร

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ถีนะ ๑ มิทธะ ๑

อุทธัจจะ ๑ กุกกุจจะ ๑ ความไม่มีศรัทธา ๑ ความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง

อรหัต.

จบอรหัตตสูตร ๒

* อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 785

อรรถกถาอรหัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอรหัตตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปมาท ได้แก่ การอยู่อย่างปราศจากสติ.

จบอรรถกถาอรหัตตสูตรที่ ๒

๓. มิตตสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของการมีมิตร

[๓๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรลามก มีสหายลามก มี

เพื่อนฝูงสามก เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้มิตรลามกและประพฤติตามมิตรลามก

เหล่านั้นอยู่ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็น

ฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว

จักบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่บำเพ็ญเสขธรรม

ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ไม่บำเพ็ญศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์แล้ว จักละกามราคะ รูปราคะ หรืออรูปราคะ

ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนฝูงดี เสพ

คบ เข้าไปนั่งใกล้มิตรดี และประพฤติตามมิตรเหล่านั้นอยู่ จักบำเพ็ญธรรม

คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญธรรม

คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ จักบำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 786

เป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญเสขธรรมให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลาย

ให้บริบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์แล้ว จัก

ละกามราคะ รูปราคะ หรืออรูปราคะ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.

จบมิตตสูตรที่ ๓

อรรถกถามิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมิตตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาภิสมาจาริก ได้แก่ ธรรมที่เป็นสมาจารสูงสุด คือศีลที่

เป็นข้อบัญญัติ ด้วยสามารถแห่งวัตร. บทว่า เสขธมฺม ได้แก่ ศีลที่เป็น

ข้อบัญญัติเกี่ยวกับเสขิยวัตร บทว่า สีลานิ ได้แก่ มหาศีล ๔ อย่าง.

จบอรรถกถามิตตสูตรที่ ๓

๔. ฐานสูตร (อารามสูตร)

ว่าด้วยโทษการคลุกคลีคณะและคุณการไม่คลุกคลี

[๓๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชอบคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในการ

คลุกคลีด้วยหมู่ ประกอบความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ชอบคณะ ยินดี

คณะ ประกอบความยินดีในคณะ จักเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก ข้อนี้

ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก จักถือนิมิตแห่งจิต

ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ถือนิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 787

สมบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้สมบูรณ์แล้ว จัก

บำเพ็ญสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่บำเพ็ญสัมมา-

สมาธิให้สมบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ไม่ละ

สังโยชน์แล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีในการ

คลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ประกอบความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ชอบคณะ

ไม่ยินดีคณะ ไม่ประกอบความยินดีคณะ จักเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก

ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อเป็นผู้อยู่รูปเดียว ยินดียิ่งในวิเวก จักถือนิมิต

แห่งจิต ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อถือนิมิตแห่งจิต จักบำเพ็ญสัมมาทิฏฐิ

ให้สมบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญสัมมาทิฏฐิให้สมบูรณ์แล้ว

จักบำเพ็ญสัมมาสมาธิให้สมบูรณ์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ บำเพ็ญสัมมา-

สมาธิให้สมบูรณ์แล้ว จักละสังโยชน์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ ละสังโยชน์

ได้แล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.

จบฐานสูตรที่ ๔

อรรถกถาฐานสูตรหรืออารามสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรหรืออารามสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สงฺคณิการาโม ความว่า รื่นเริงใจด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ

ส่วนภิกษุชื่อว่า คณารามะ เพราะยินดีในคณะ มีคณะศึกษาพระสูตรเป็นต้น

หรือในคณะ กล่าวคือบริษัทของตน. บทว่า ปวิเวเก ได้แก่ กายวิเวก.

บทว่า จิตฺตสฺส นิมิตฺต ความว่า นิมิตของสมาธิจิต และวิปัสสนาจิต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 788

คืออาการของสมาธิและวิปัสสนา. บทว่า สมฺมาทิฏฺึ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิใน

วิปัสสนา. บทว่า สมาธึ ได้แก่ มรรคสมาธิ และผลสมาธิ. บทว่า สโยชนานิ

ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐ อย่าง. บทว่า นิพฺพาน ได้แก่ ปรินิพพานที่หาปัจจัย

มิได้.

จบอรรถกถาฐานสูตรหรืออารามสูตรที่

๕. เทวตาสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อมและไม่ให้เสื่อม

[๓๔๐] ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไป มีรัศมีงาม

ยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสวแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ

ไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑

ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ ๑ ความเป็น

ผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เทวดา

องค์นั้นกล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้น เทวดาองค์นั้น

ได้ทราบว่า พระศาสดาได้ทรงพอพระทัยตนแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น.

ครั้นเมื่อราตรีนั้นล่วงไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 789

มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว แล้วเข้ามาหาเราถึงที่อยู่

อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกับเราว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ

๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้

เคารพในพระธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพใน

สิกขา ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ เทวดาองค์นั้น

ได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาท กระทำประทักษิณเราแล้ว ได้หายไป ณ ที่นั้น. .

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

ย่อมทราบชัดเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสโดยย่อนี้ โดย

พิสดารอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้เคารพในพระศาสดาด้วย

ตนเอง กล่าวสรรเสริญความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ย่อมชักชวนภิกษุ

เหล่าอื่นผู้ไม่เคารพในพระศาสดาให้เคารพในพระศาสดา และกล่าวสรรเสริญ

ภิกษุเหล่าอื่นผู้เคารพในพระศาสดาตามเป็นจริง โดยกาลอันควร เป็นผู้เคารพ

ในพระธรรมด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้

เคารพในสิกขาด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้ว่าง่ายด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้มีมิตรดี

ด้วยตนเอง กล่าวสรรเสริญความเป็นผู้มีมิตรดี ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มี

มิตรดีให้เป็นผู้มีมิตรดี และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้มีมิตรดีตามเป็นจริง

โดยกาลอันควร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบชัดเนื้อความแห่ง

พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ดีละ ดีละ เธอย่อมทราบเนื้อความแห่ง

คำที่เรากล่าวโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้เป็นการดีแล ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 790

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้เคารพในพระศาสดาด้วยตนเอง กล่าวสรรเสริญ

ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่เคารพในพระศาสดา

ให้เคารพในพระศาสดา และกล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้เคารพในพระศาสดา

ตามเป็นจริง โดยกาลอันควร เป็นผู้เคารพในพระธรรมด้วยตนเอง ฯลฯ

เป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้เคารพในสิกขาด้วยตนเอง ฯลฯ

เป็นผู้ว่าง่ายด้วยตนเอง ฯลฯ เป็นผู้มีมิตรดีด้วยตนเอง กล่าวสรรเสริญความ

เป็นผู้มีมิตรดี ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีมิตรดีให้เป็นผู้มีมิตรดี และกล่าว

สรรเสริญภิกษุเหล่าอื่นผู้มีมิตรดีตามเป็นจริง โดยกาลอันควร ดูก่อนสารีบุตร

เนื้อความแห่งคำที่เราได้กล่าวโดยย่อนี้บัณฑิตพึงเห็นโดยพิสดารอย่างนี้.

จบเทวตาสูตรที่ ๕

อรรถกถาเทวตาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเทวตาสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-

ความเป็นผู้ว่าง่าย ชื่อว่า โสวจัสสตา. ความเป็นผู้มีมิตรที่สะอาด

ชื่อว่า กัลยาณมิตตตา. บทว่า สตฺถุคารโว ได้แก่ ผู้ที่ประกอบไปด้วย

ความเคารพในพระศาสดา. ในบททั้งปวง ก็มีนัยนี้.

จบอรรถกถาเทวตาสูตรที่ ๕

๖. สติสูตร

ว่าด้วยฐานะและอฐานะสำหรับผู้มีสมาธิ

[๓๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีสมาธิอันสงบ ไม่มีสมาธิอัน

ประณีต ไม่มีสมาธิที่ได้ด้วยความสงบ ไม่มีสมาธิที่ถึงความเป็นผู้มีอารมณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 791

เป็นหนึ่ง จักแสดงฤทธิ์ได้หลาย ๆ อย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้

หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ข้อนี้

ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอจักฟังเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพและเสียงมนุษย์

ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ข้อนี้ย่อม

ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ จักกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจว่าจิตมี

ราคะ จักรู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตยังไม่หลุดพ้น จักรู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น

ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ จักระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึก

ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ จักระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้ง

อาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ จักเห็น

หมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์

จักรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ จักกระทำ

ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย

สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้ย่อมไม่เป็นฐานะที่จะ

มีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีสมาธิอันสงบ มีสมาธิอันประณีต มีสมาธิ

ที่ได้ด้วยความสงบ มีสมาธิที่ถึงความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง จักแสดงฤทธิ์ได้

หลาย ๆ อย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ

จักใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ จัก

ฟังเสียงสองชนิด คือ เสียงทิพและเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วย

ทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ จักกำหนด

รู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจว่า จิตมีราคะก็จักรู้ว่า จิตมีราคะ ฯลฯ

หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็จักรู้ว่า จิตยังไม่หลุดพ้น ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 792

จักระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ

จักระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย

ประการฉะนี้ ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ จักเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ

ฯลฯ จักรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ข้อนี้ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ จัก

กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ

ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ข้อนี้ย่อมเป็น

ฐานะที่จะมีได้.

จบสติสูตรที่ ๖

อรรถกถาสติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น สนฺเตน ความว่า ไม่สงบไปจากกิเลสที่เป็นข้าศึกทั้งหลาย.

บทว่า น ปุณีเตน ความว่า ไม่ใช่ด้วยสมาธิอันไม่เร่าร้อน. บทว่า

น ปฏิปสฺสทฺธิลทฺเธน ความว่า ด้วยสมาธิที่ไม่ได้ คือ ไม่ได้บรรลุ

เพราะความสงบระงับแห่งกิเลส. บทว่า น เอโกทิภาวาธิคเตน ความว่า

สมาธิที่ไม่เข้าถึงความเป็นผู้มีอารมณ์เป็นเอก.

จบอรรถกถาสติสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 793

๗. สักขิสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเป็นพยานในคุณวิเศษ

[๓๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมไม่เป็นผู้ควรเพื่อถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในคุณวิเศษนั้น ๆ ในเมื่อเหตุ

มีอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ทราบชัด

ตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ๑ ย่อมไม่ทราบชัด

ตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความดำรงอยู่ ๑ ย่อมไม่

ทราบชัดตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ ๑ ย่อมไม่

ทราบชัดตามเป็นจริงว่า ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ๑

เป็นผู้ไม่กระทำความเอื้อเฟื้อ ๑ ไม่กระทำความสบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อถึงความเป็นผู้

ควรเป็นพยานในคุณวิเศษนั้น ๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้

ควรเพื่อถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในคุณวิเศษนั้น ๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ธรรม

๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทราบชัดตามเป็นจริงว่า

ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ๑ ย่อมทราบชัดตามเป็นจริงว่า

ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความดำรงอยู่ ๑ ย่อมทราบชัดตามเป็นจริงว่า

ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ ๑ ย่อมทราบชัดตามเป็นจริงว่า ธรรม

เหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส ๑ เป็นผู้กระทำความเอื้อเฟื้อ ๑

เป็นผู้กระทำความสบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖

ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในคุณวิเศษนั้น ๆ

ในเมื่อเหตุมีอยู่.

จบสักขิสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 794

อรรถกถาสักขิสูตรที่*

พึงทราบวินิจฉัยในสักขิสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ตตฺร ตตฺร เท่ากับ ตสฺมึ ตสฺมึ วิเสเส แปลว่า

ในคุณพิเศษนั้น ๆ. บทว่า สกฺขิภพฺพต ได้แก่ ความแจ้งประจักษ์.

บทว่า อายตเน ได้แก่ ในเมื่อเหตุ. ธรรมทั้งหมดมีหานภาคิยธรรม

เป็นต้น ข้าพเจ้าได้พรรณนาไว้แล้ว ในคัมภีร์ ชื่อว่า วิสุทธิมรรค.

บทว่า อสกฺกจฺจการี ได้แก่ ทำไม่ให้ดี คือ ไม่ทำโดยเอื้อเฟื้อ. บทว่า

อสปฺปายการี ได้แก่ ไม่กระทำให้เป็นที่สบาย คือ ไม่ทำให้เป็นธรรมมี

อุปการะ.

จบอรรถกถาสักขิสูตรที่ ๗

๘. พลสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุพลภาพในสมาธิ

[๓๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุพลภาพในสมาธิ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ?

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ เป็นผู้ไม่ฉลาด

ในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ไม่ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ไม่

กระทำความเอื้อเฟื้อ ๑ ไม่กระทำติดต่อ ๑ ไม่กระทำความสบาย ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควร

เพื่อบรรลุพลภาพในสมาธิ.

* พม่า เป็น สักขิภัพพสูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 795

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็น

ผู้ควรเพื่อบรรลุพลภาพในสมาธิ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่

แห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑ เป็นผู้กระทำความเอื้อ

เฟื้อ ๑ เป็นผู้กระทำติดต่อ ๑ เป็นผู้กระทำความสบาย ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุ

พลภาพในสมาธิ.

จบพลสูตรที่ ๘

อรรถกถาพลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในพลสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า พลต ได้แก่ ความเป็นผู้มีกำลัง คือ ความเป็นผู้มีเรี่ยวแรง

(ในสมาธิ). บทว่า อสาตจฺจการี ความว่า ไม่กระทำให้ติดต่อกัน. คำที่

เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้ว ในหนหลัง.

จบอรรถกถาพลสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 796

๙. ปฐมฌานสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุปฐมฌาน

[๓๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อม

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ กาม-

ฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมีทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑

เธอย่อมไม่เห็นโทษในกามทั้งหลายด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริง ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อ

บรรลุปฐมฌาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อ

บรรลุปฐมฌาน ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑

ถีนมีทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑ เธอย่อมเห็นโทษในกาม

ทั้งหลายด้วยปัญญาโดยชอบ ตามความเป็นจริง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน.

จบปฐมฌามสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมฌานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมณานสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า น ยถาภูต สมฺมปฺปญฺาย สุทิฏฺโ โหติ ความว่า

โทษในวัตถุกาม และกิเลสกามทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นอันเขาเห็นชัดแล้ว ตาม

ความเป็นจริง ด้วยฌานและปัญญา.

อรรถกถาปฐมฌานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 797

๑๐. ทุติยฌานสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุปฐมฌาน

[๓๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อม

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ กาม-

วิตก ๑ พยาบาทวิตก ๑ วิหิงสาวิตก ๑ กามสัญญา ๑ พยาบาทสัญญา ๑

วิหิงสาสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล

ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อ

บรรลุปฐมฌาน ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ กามวิตก ๑ พยาบาท-

วิตก ๑ วิหิสาวิตก ๑ กามสัญญา ๑ พยาบาทสัญญา ๑ วิหิงสาสัญญา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุ

ปฐมฌาน.

จบทุติยฌานสูตรที่ ๑๐

จบเทวตาวรรคที่ ๒

ทุติยฌานสูตรที่ ๑๐ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบเทวตาวรรควรรณนาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 798

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้

๑. อนาคามิสูตร ๒. อรหัตตสูตร ๓. มิตตสูตร ๔. ฐานสูตร

๕. เทวตาสูตร ๖. สติสูตร ๗. สักขิสูตร ๘. พลสูตร ๙. ปฐมฌานสูตร

๑๐. ทุติยฌานสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 799

อรหันตวรรคที่ ๓

๑. ทุกขสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เป็นทุกข์และเป็นสุข

[๓๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว

เมื่อตายไปพึงหวังได้ทุคติ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ กามวิตก ๑

พยาบาทวิตก ๑ วิหิงสาวิตก ๑ กามสัญญา ๑ พยาบาทสัญญา ๑ วิหิงสา-

สัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล

ย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน คับแค้น เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว

เมื่อตายไป พึงหวังได้ทุคติ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมอยู่

เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว เมื่อตายไป

พึงหวังได้สุคติ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ เนกขัมมวิตก ๑ อัพยาบาท-

วิตก ๑ อวิหิงสาวิตก ๑ เนกขัมมสัญญา ๑ อัพยาบาทสัญญา ๑ อวิหิงสา-

สัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล

ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่เดือดร้อน ไม่คับแค้น ไม่เร่าร้อน ในปัจจุบันเทียว

เมื่อตายไป พึงหวังได้สุคติ.

จบทุกขสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 800

อรหันตวรรควรรณนาที่* ๓

อรรถกถาทุกขสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุกขสูตรที่ ๑ แห่งอรหัตตวรรคที่ ๓ ดังต่อ

ไปนี้ :-

บทว่า สวิฆาต ความว่า ประกอบไปด้วยความคับแค้น คือมี

อุปัทวะ. บทว่า สปริฬาห ความว่า มีความกระวนกระวาย ด้วยความ

กระวนกระวายทางกาย และทางจิต. บทว่า ปาฏิกงฺขา ความว่า พึงหวัง

คือมีอยู่แน่นอน.

จบอรรถกถาทุกขสูตรที่ ๑

๒. อรหัตตสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุอรหัตผล

[๓๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อม

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ มานะ

ความถือตัว ๑ โอมานะ ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา ๑ อติมานะ ความ

เย่อหยิ่ง ๑ อธิมานะ ความเข้าใจผิด ๑ ถัมภะ ความหัวดื้อ ๑ อตินิปาตะ

ความดูหมิ่นตนเองว่าเป็นคนเลว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม

๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต.

* อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 801

ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อ

กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ความถือตัว ๑

ความสำคัญว่าเลวกว่าเขา ๑ ความเย่อหยิ่ง ๑ ความเข้าใจผิด ๑ ความหัวดื้อ ๑

ความดูหมิ่นตัวเองว่าเป็นคนเลว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖

ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต.

จบอรหัตตสูตรที่ ๒

อรรถกถาอรหัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอรหัตตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มาน ได้แก่ ความสำคัญ (ตัว) โดยชาติเป็นต้น. บทว่า

โอมาน ได้แก่ สำคัญตัวว่า เราเป็นคนเลว. บทว่า อติมาน ได้แก่

ความถือตัวอย่างหยิ่งผยอง ที่เป็นไปล่วงเกินผู้อื่น. บทว่า อธิมาน ได้แก่

ความสำคัญว่า ได้บรรลุ (อย่างนั้นอย่างนี้). บทว่า ถมฺภ ได้แก่ มีความ

เป็นผู้กระด้าง เพราะโกรธและมานะ. บทว่า อตินิปาต ได้แก่ ความสำคัญ

ตนของคนเลว ว่าเราเป็นคนเลว.

จบอรรถกถาอรหัตตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 802

๓. อุตตริมนุสสธรรมสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุอุตริมนุสธรรม

[๓๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็น

ผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะชั้นวิเศษ อันสามารถกระทำความ

เป็นพระอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

ความเป็นผู้มีสติเลอะเลือน ๑ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความเป็นผู้ไม่

คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑

ความโกหก ๑ การพูดเลียบเคียง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม

๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะชั้นวิเศษ

อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อ

กระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะชั้นวิเศษ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ

ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้มีสติ

เลอะเลือน ๑ ความเป็นผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารใน

อินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ความโกหก ๑

การพูดเลียบเคียง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อม

เป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะชั้นวิเศษ อันสามารถกระทำความ

เป็นพระอริยะ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์.

จบอุตตริมนุสสธรรมสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 803

อรรถกถาอุตตริมนุสสธรรมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุตตริมนุสสธรรมสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา ได้แก่ ธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์.

บทว่า อลมริยาณทสฺสนวิเสส ได้แก่ ญาณทัสสนะพิเศษ ที่สามารถ

ทำคนให้เป็นพระอริยเจ้าได้ อธิบายว่า ได้แก่มรรค ๔ ผล ๔. บทว่า กุหน

ได้แก่ เรื่องโกหก ๓ อย่าง. บทว่า ลปน ได้แก่ การกล่าวยกย่อง หรือกด

เพราะประสงค์จะได้.

จบอรรถกถาอุตตริมนุสสธรรมสูตรที่ ๓

๔. สุขสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้มีสุขโสมนัส

[๓๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมเป็นผู้มากด้วยสุขและโสมนัสอยู่ในปัจจุบันเทียว และย่อมเป็นผู้ปรารภเหตุ

เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุ

ในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ยินดีธรรม ๑ ย่อมเป็นผู้ยินดีภาวนา ๑ ย่อม

เป็นผู้ยินดีการละ ๑ ย่อมเป็นผู้ยินดีปวิเวก ๑ ย่อมเป็นผู้ยินดีความไม่พยาบาท ๑

ย่อมเป็นผู้ยินดีธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มากด้วยสุขและโสมนัสอยู่ในปัจจุบันเทียว

และย่อมเป็นผู้ปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

จบสุขสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 804

อรรถกถาสุขสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุขสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โยนิ จสฺส อารทฺธา โหติ ความว่า อนึ่ง เหตุเป็นอัน

เธอทำให้บริบูรณ์ คือประคองไว้. บทว่า ธมฺมาราโม ความว่า ประสบ

ความยินดีในธรรม. ภิกษุชื่อว่า ภาวนาราโม เพราะยินดีในภาวนา หรือ

เมื่อภาวนาอยู่ก็ยินดี. ชื่อว่า ปหานาราโม เพราะยินดีในการละ หรือเมื่อ

ละอยู่ก็ยินดี. ชื่อว่า ปวิเวการาโม เพราะยินดีในปวิเวก ๓ อย่าง. ชื่อว่า

อพฺยาปชฺฌาราโม เพราะยินดีในความไม่เบียดเบียน คือในความไม่มีทุกข์.

ชื่อว่า นิปฺปญฺจาราโม เพราะยินดีในพระนิพพาน กล่าวคือธรรมที่ไม่มี

ความเนิ่นช้า.

จบอรรถกถาสุขสูตรที่ ๔

๕. อธิคมสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุกุศลธรรม

[๓๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อกระทำกุศล-

ธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ ๑ เป็นผู้ไม่ฉลาดใน

เหตุแห่งความเสื่อม ๑ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอุบาย ๑ ไม่ยังฉันทะให้เกิดขึ้นเพื่อ

บรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ ๑ ไม่รักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ๑ และ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 805

ไม่ยังฉันทะให้ถึงพร้อมเพื่อกระทำติดต่อ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้-

ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยัง

ไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อกระทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็น

ผู้ควรเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อกระทำกุศลธรรมที่ได้

บรรลุแล้วให้เจริญ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ ๑ เป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม ๑

เป็นผู้ฉลาดในอุบาย ๑ ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้นเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้

บรรลุ ๑ ย่อมรักษากุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ๑ และย่อมยังฉันทะให้ถึงพร้อม

เพื่อกระทำติดต่อ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

นี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อกระทำ

กุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญ.ุ

จบอธิคมสูตรที่ ๕

อรรถกถาอธิคมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอธิคมสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น อายกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในเหตุที่จะให้ประสบ.

บทว่า น อปายกุสโล ได้แก่ ไม่ฉลาดในเหตุที่ไม่ให้ประสบ. บทว่า ฉนฺท

ได้แก่ความพอใจ คือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ. บทว่า น อารกฺขติ ได้แก่

ไม่รักษา.

จบอรรถกถาอธิคมสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 806

๒. มหัตตสูตร

ว่าด้วยผู้ควรบรรลุความเป็นใหญ่ในธรรม

[๓๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมบรรลุความเป็นผู้มาก ความเป็นผู้ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ต่อกาลไม่

นานนัก ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้

มากด้วยความสว่างแห่งญาณ ๑ ย่อมเป็นผู้มากด้วยความเพียรเครื่องประกอบ ๑

ย่อมเป็นผู้มากด้วยความบันเทิงใจ (ปีติและปราโมทย์) ๑ ย่อมเป็นผู้มากด้วย

ความไม่ยินดีในอกุศลธรรม ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑

และย่อมพยายามให้ยิ่งขึ้นไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม

๖ ประการนี้แล ย่อมบรรลุความเป็นผู้มาก ความเป็นผู้ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย

ต่อกาลไม่นานนัก.

จบมหัตตสูตรที่ ๖

อรรถกถามหัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมหัตตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาโลกพหุโล ได้แก่ มากไปด้วยแสงสว่างแห่งญาณ. บทว่า

ปโยคพหุโล ได้แก่ กระทำความเพียรให้มาก. บทว่า เวทพหุโล ได้แก่

มากไปด้วยปีติและปราโมทย์. บทว่า อสนฺตุฏฺิพหุโล ได้แก่ ไม่สันโดษ

ในกุสลธรรมทั้งหลาย. บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร ได้แก่ วางธุระ คือประคอง

ความเพียรไว้. บทว่า อุตฺตริญฺจ ปตาเรติ ได้แก่ ทำความเพียรในบัดนี้

และให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป.

จบอรรถกถามหัตตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 807

๗. ปฐมนิรยสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เป็นเหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์

[๓๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ มีความ

ปรารถนาลามก ๑ และมีความเห็นผิด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาเก็บไว้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อม

เกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ๑ จากอทินนาทาน ๑ จากกาเมสุมิจฉาจาร ๑

จากมุสาวาท ๑ ไม่มีความปรารถนาลามก ๑ และมีความเห็นชอบ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์

เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.

จบปฐมนิรยสูตรที่ ๗

ปฐมนิรยสูตรที่ ๗ ง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 808

๘. ทุติยนิรยสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เป็นเหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์

[๓๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

เป็นผู้กล่าวเท็จ ๑ กล่าวส่อเสียด ๑ กล่าวคำหยาบ ๑ กล่าวคำเพ้อเจ้อ ๑

เป็นผู้โลภ ๑ และเป็นผู้คะนอง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาเก็บไว้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเกิด

ในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท ๑ จากปิสุณาวาจา ๑ จากผรุสวาจา ๑ จากสัมผัป-

ปลาปะ ๑ เป็นคนไม่โลภ ๑ และเป็นผู้ไม่คะนอง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมา

ประดิษฐานไว้.

จบทุติยนิรยสูตรที่ ๘

อรรถกถาทุติยนิรยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยนิรยสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปคพฺโภ ความว่า ประกอบด้วยการคะนองทั้งหลาย มีการ

คะนองทางกายเป็นต้น.

จบอรรถกถาทุติยนิรยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 809

๙. อัคคธรรมสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุอัครธรรม

[๓๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตอันเป็นธรรมชั้นเลิศ ธรรม ๖ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ไม่มีหิริ ๑

เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม ๑ และเป็นผู้มี

ห่วงใยในร่างกายและชีวิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖

ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตอันเป็นธรรมชั้นเลิศ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็น

ผู้ควรเพื่อควรกระทำให้แจ้งอรหัตอันเป็นธรรมชั้นเลิศ ธรรม ๖ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีหิริ ๑ เป็นผู้มี

โอตตัปปะ ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑ เป็นผู้มีปัญญา ๑ และเป็นผู้ไม่มี

ความห่วงใยในร่างกายและชีวิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตอันเป็นธรรม

ชั้นเลิศ.

จบอัคคธรรมสูตรที่ ๙

สูตรที่ ๙ ง่ายทั้งนั้นแล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 810

๑๐. รัตติสูตร

ว่าด้วยผู้หวังได้ความเสื่อมและผู้หวังได้ความเจริญ

[๓๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

พึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมอย่างเดียวไม่พึงหวังความเจริญเลย ตลอดคืน

หรือวันที่ผ่านมา ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีความปรารถนามาก มีความคับแค้นใจ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ๑ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑

เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ เป็นผู้มีสติเลอะเลือน ๑ และเป็นผู้มี

ปัญญาทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล

พึงหวังได้ความเสื่อมในกุศลธรรมอย่างเดียว ไม่พึงหวังความเจริญเลยตลอดคืน

หรือวันที่ผ่านมา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ พึงหวังได้

ความเจริญในกุศลธรรมอย่างเดียว ไม่พึงหวังได้ความเสื่อมเลย ตลอดคืน

หรือวันที่ผ่านมา ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเป็นผู้ไม่มีความปรารถนามาก ไม่มีความคับแค้นใจ สันโดษด้วยจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ๑ เป็นผู้มี

ศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑ เป็นผู้มีสติ ๑ และเป็น

ผู้มีปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล

พึงหวังได้ความเจริญ ในกุศลธรรมอย่างเดียว ไม่พึงหวังได้ความเสื่อมเลย

ตลอดคืนหรือวันที่ผ่านมา.

จบรัตติสูตรที่ ๑๐

จบอรหันตวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 811

อรรถกถารัตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในรัตติสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิฆาตวา ความว่า เป็นทุกข์ โดยทุกข์เพราะโลภที่เกิดขึ้น

เพราะอาศัยความมักมาก. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถารัตติสูตรที่ ๑๐

จบอรหัตตวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทุกขสูตร ๒. อรหัตตสูตร ๓. อุตตริมนุสสธรรมสูตร ๔. สุขสูตร

๕. อธิคมสูตร ๖. มหัตตสูตร ๗. ปฐมนิรยสูตร ๘. ทุติยนิรยสูตร

๙. อัคคธรรมสูตร ๑๐. รัตติสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 812

สีติวรรคที่ ๔

๑. สีติสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุความเป็นผู้เย็น

[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ไม่

ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑ ไม่ยังจิตให้ร่าเริง ในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑

ไม่วางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว ๑ และ

เป็นผู้ยินดียิ่งในสักกายะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖

ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็น

ผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ?

คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ย่อมประคองจิตใน

สมัยที่ควรประคอง ๑ ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ย่อมวาง

เฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต ๑ และเป็น

ผู้ยินดียิ่งในนิพพาน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

นี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง.

จบสีติสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 813

สีติวรรคที่*

อรรถกถาสีติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสีติสูตรที่ ๑ แห่งสีติวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า สีติภาว ได้แก่ ความเยือกเย็น. ในบทว่า ยสฺมึ

สมเย จิตฺต นิคฺคณฺหิตพฺพ เป็นต้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมดาจิต

ควรข่มไว้ด้วยสมาธิ ในเวลาที่ฟุ้งซ่าน. ควรข่มด้วยความเพียร ในเวลาที่จิต

ตกไปตามโกสัชชะ (ความเกียจคร้าน). ควรให้ร่าเริงด้วยสมาธิ ในเวลาที่

จิตขาดความแช่มชื่น. ควรเข้าไปเพ่ง ด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ในเวลาที่จิต

เป็นไปสม่ำเสมอ.

จบอรรถกถาสีติสูตรที่ ๑

๒. ภัพพสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเข้าถึงธรรม

[๓๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ

ในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น ๑ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกิเลสเป็น

เครื่องกั้น ๑ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น ๑ เป็นผู้ไม่มี

* อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 814

ศรัทธา ๑ ไม่มีฉันทะ ๑ และมีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่

ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟัง

สัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบใน

กุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ย่อมเป็นผู้ไม่

ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น ๑ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้

มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น ๑ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น ๑

เป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีฉันทะ ๑ และมีปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควร

เพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย.

จบภัพพสูตรที่ ๒

อรรถกถาภัพพสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในภัพพสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า กมฺมาวรณตาย ได้แก่ ด้วยอนันตริยกรรม ทั้ง ๕.

บทว่า กิเลสาวรณตาย ได้แก่ ด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐิ. บทว่า วิปากาวิวรณตาย

ความว่า ด้วยอกุสลวิบากปฏิสนธิ หรือด้วยกุศลวิบากอเหตุกปฏิสนธิ.

จบอรรถกถาภัพพสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 815

๓. อาวรณตาสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเข้าถึงธรรม

[๓๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ

ในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ เป็นผู้ฆ่ามารดา ๑

ฆ่าบิดา ๑ ฆ่าพระอรหันต์ ๑ ยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อขึ้นด้วย

จิตประทุษร้าย ๑ เป็นผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑ และเป็นผู้มีปัญญาทราม

ใบ้ บ้าน้ำลาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

นี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็น

ชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟัง

สัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศล

ธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ไม่เป็นผู้ฆ่ามารดา ๑

ไม่เป็นผู้ฆ่าบิดา ๑ ไม่เป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ ๑ ไม่เป็นผู้ยังพระโลหิตของ

พระตถาคตให้ห้อขึ้นด้วยจิตประทุษร้าย ๑ ไม่ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑ และ

มีปัญญา ไม่ใบ้ไม่บ้าน้ำลาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความ

แน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

จบอาวรณตาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 816

๔. สุสสูสาสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเข้าถึงธรรม

[๓๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ

แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ

ในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ เมื่อธรรมวินัยที่

ตถาคตประกาศแล้ว อันบุคคลอื่นแสดงอยู่ ก็ไม่ฟังด้วยดี ๑ ไม่เงี่ยโสตลง

ฟัง ๑ ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง ๑ ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ๑

ทิ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๑ และเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่ไม่สมควร ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรม

อยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรม

ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้

ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ใน

กุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ เมื่อธรรมวินัยที่

ตถาคตประกาศแล้ว อันบุคคลอื่นแสดงอยู่ ย่อมฟังด้วยดี ๑ ย่อมเงี่ยโสต

ลงฟัง ๑ เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง ๑ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ๑

ละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ๑ และเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่

ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย.

จบสุสสูสาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 817

อรรถกถาสุสสูสาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุสสูสาสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนตฺถ ได้แก่ ความไม่เจริญ. บทว่า อตฺถ ริญฺจติ ความว่า

ทอดทิ้งประโยชน์ คือความเจริญ. บทว่า อนนุโลมิกาย ความว่า (ด้วย

ความชอบใจ) อันไม่เป็นไปโดยอนุโลม ตามคำสอน.

จบอรรถกถาสุสสูสาสูตรที่ ๔

๕. ปหาตัพพสูตร

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุทิฏฐิสัมปทา

[๓๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อม

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑

โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ และโมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้ง

ซึ่งทิฏฐิสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อ

ทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ สักกายทิฏฐิ ๑

วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ โทสะที่เป็นเหตุ

ไปสู่อบาย ๑ โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละ

ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา.

จบปหาตัพพสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 818

อรรถกถาปหาตัพพสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปหาตัพพสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทิฏฺิสมฺปท ได้แก่ โสดาปัตติมรรค.

จบอรรถกถาปหาตัพพสูตรที่ ๕

๖. ปหีนสูตร

ว่าด้วยธรรมที่พระโสดาบันละได้แล้ว

[๓๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ อันบุคคลผู้ถึง

พร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ สักกายทิฏฐิ ๑

วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ โทสะที่เป็นเหตุ

ไปสู่อบาย ๑ โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖

ประการนี้แล อันบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว.

จบปหีนสูตรที่ ๖

อรรถกถาปหีนสูตรที่ ๖ ท่านไม่ได้พรรณนาไว้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 819

๗. อุปปาเทตัพพสูตร

ว่าด้วยธรรมที่พระโสดาบันไม่ทำให้เกิดขึ้น

[๓๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ย่อมเป็นผู้

ไม่ควรเพื่อยังธรรม ๖ ประการให้เกิดขึ้น ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑

โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อยังธรรม ๖ ประการนี้แลให้

เกิดขึ้น.

จบอุปปาเทตัพพสูตรที่ ๗ . .

อรรถกถาอุปปาเทตัพพสูตรที่ ๗ ท่านไม่ได้พรรณนาไว้.

๘. สัตถริสูตร

ว่าด้วยฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการ

[๓๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้

๖ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อ

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 820

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ ๑ และเป็นผู้ไม่ควร

เพื่อเป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ

เข้าถึง ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเกิดในภพที่แปด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่

ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้แล.

จบสัตถริสูตรที่ ๘

๙. กัญจิสังขารสูตร

ว่าด้วยฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการ

[๓๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้

๖ ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อ

ยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นของเที่ยง ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขาร

ไร ๆ โดยความเป็นสุข ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยึดถือสังขารไร ๆ โดยความ

เป็นอัตตา ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำอนันตริยกรรม ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ

เชื่อถือความบริสุทธิ์โดยมงคลตื่นข่าว ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อแสวงหาเขตบุญ

ภายนอกศาสนานี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการ

นี้แล.

จบกัญจิสังขารสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 821

อรรถกถากัญจิสังขารสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกัญจิสังขารสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โกตูหลมงฺคเลน ความว่า ด้วยทิฏฐิมงคล (ถือสิ่งที่ได้เห็น

เป็นมงคล) สุตมงคล (ถือสิ่งที่ได้ฟังเป็นมงคล) มุตมงคล (ถือเอาสิ่งที่

ได้ทราบเป็นมงคล).

จบอรรถกถากัญจิสังขารสูตรที่ ๙

๑๐. มาตริสูตร

ว่าด้วยฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการ

[๓๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้

๖ ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อ

ฆ่ามารดา ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่าบิดา ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่าพระอรหันต์ ๑

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อขึ้นด้วยจิตประทุษร้าย ๑

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถือศาสดาอื่น ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้แล.

จบมาตริสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 822

๑๑. สยกตสูตร

ว่าด้วยฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการ

[๓๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้ ๖

ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อ

เชื่อถือสุขทุกข์ที่ตนเองกระทำแล้ว ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือสุขทุกข์ที่ผู้อื่น

กระทำแล้ว ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือสุขทุกข์ที่ตนเองกระทำแล้ว และที่

ผู้อื่นกระทำแล้ว ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นเอง ที่ตนเองไม่

กระทำไว้ ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นเอง ที่ผู้อื่นไม่กระทำ

ไว้ ๑ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเชื่อถือสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นเอง ที่ตนเองไม่กระทำไว้

และที่ผู้อื่นไม่กระทำไว้ ๑ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า เหตุและธรรม

ทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากเหตุ อันบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐินั้นเห็นแล้วด้วยดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้แล.

จบสยกตสูตรที่ ๑๑

จบสีติวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 823

อรรถกถาสยกตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสยกตสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-

คำเป็นต้นว่า สย กต ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถ

แห่งอัตตทิฏฐิ (ความเห็นเนื่องด้วยอัตตา). บทว่า อธิจฺจสมุปฺปนฺน ความว่า

เกิดขึ้นโดยหาเหตุมิได้. คำที่เหลือ ในสูตรทั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสยกตสูตรที่ ๑๑

จบสีติวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีติสูตร ๒. ภัพพสูตร ๓. อาวรณตาสูตร ๔. สุสสูสาสูตร

๕. ปหาตัพพสูตร ๖. ปหีนสูตร ๗. อุปปาเทตัพพสูตร ๘. สัตถริสูตร

๙. กัญจิสังขารสูตร ๑๐. มาตริสูตร ๑๑. สยกตสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 824

อานิสังสวรรคที่ ๕

๑. ปาตุภาวสูตร

ว่าด้วยความปรากฏขึ้นที่หาได้ยาก ๖ ประการ

[๓๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งเหตุ ๖ ประการ

เป็นของหาได้ยากในโลก เหตุ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความปรากฏขึ้น

แห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระ-

ตถาคตประกาศแล้ว ๑ ความเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศ (ที่มีพระอริยเจ้า) ๑

ความเป็นผู้มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ๑ ความไม่เป็นใบ้บ้าน้ำลาย ๑ ความพอใจ

ในกุศลธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งเหตุ ๖ ประการนี้แล

เป็นของหาได้ยากในโลก.

จบปาตุภาวสูตรที่ ๑

อานิสังสวรรควรรณนาที่

อรรถกถาปาตุภาวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปาตุภาวสูตรที่ ๑ แห่งอานิสังสวรรคที่ ๕

ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อริยายตเน ได้แก่ ในมัชฌิมประเทศ. บทว่า อินฺทฺริยาน

ได้แก่ อินทรีย์ที่มีใจเป็นที่ ๖.

จบอรรถกถาปาตุภาวสูตรที่ ๑

อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 825

๒. อานิสังสสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์แห่งโสดาปัตติผล ๖ ประการ

[๓๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดา-

ปัตติผล ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ บุคคลย่อมเป็นผู้แน่นอน

ในพระสัทธรรม ๑ ย่อมเป็นผู้มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา ๑ เขาผู้กระทำที่สุด

แห่งทุกข์แล้วย่อมไม่มีทุกข์ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ ๑ เขาเห็น

เหตุแล้วด้วยดี ๑ และเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อานิสงส์ในการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๖ ประการนี้แล.

จบอานิสังสสูตรที่ ๒

อรรถกถาอานิสังสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอานิสังสสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สทฺธมฺมนิยโต ความว่า เป็นผู้เที่ยงในศาสนสัทธรรม.

บทว่า อสาธารเณน ความว่า (ประกอบด้วยญาณ) อันไม่ทั่วไปกับปุถุชน

ทั้งหลาย.

จบอรรถกถาอานิสังสสูตรที่ ๒

๓. อนิจจสูตร

ว่าด้วยฐานะที่มีได้และมีไม่ได้

[๓๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารไร ๆ โดย

ความเป็นของเที่ยง จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็น

สูตรที่ ๓ ๔ ๕ และ ๖ ท่านไม่พรรณนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 826

ฐานะที่จะมีได้ ไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่ความเป็นชอบ

และความแน่นอน ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่ความ

เป็นชอบ และความแน่นอน จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล

อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็น

ของให้เที่ยง จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้

เธอประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน

ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน

จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ อรหัตผล

ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.

จบอนิจจสูตรที่ ๓

๔. ทุกขสูตร

ว่าด้วยฐานะที่มีได้และไม่ได้

[๓๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารไร ๆ โดย

ความเป็นสุข ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็น

ทุกข์ ฯลฯ

จบทุกขสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 827

๕. อนัตตสูตร

ว่าด้วยฐานะที่มีได้และมีไม่ได้

[๓๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมไร ๆ โดย

ความเป็นอัตตา ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นธรรมทั้งปวงโดยความเป็น

อนัตตา ฯลฯ

จบอนัตตสูตรที่ ๕

๖. นิพพานสูตร

ว่าด้วยฐานะที่มีได้และมีไม่ได้

[๓๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความ

เป็นทุกข์ จักเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะ

มีได้ เธอไม่ประกอบด้วยขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่ความเป็นชอบและ

ความแน่นอน ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ก้าวลงสู่ความเป็นชอบ

และความแน่นอน จักกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล

หรือ อรหัตผล ข้อนั้นย่อมไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุข จัก

เป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ข้อนั้นย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เธอประกอบ

ด้วยขันติที่สมควรแล้ว จักก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน ข้อนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 828

ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อก้าวลงสู่ความเป็นชอบและความแน่นอน จักกระทำ

ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรือ อรหัตผล ข้อนั้น

ย่อมเป็นฐานะที่จะมีได้.

จบนิพพานสูตรที่ ๖

๗. ปฐมอโนทิสสูตรที่ ๑

ว่าด้วยอานิสงส์ทำให้เกิดอนิจจสัญญา ๖ ประการ

[๓๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ

เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังอนิจจสัญญาให้

ปรากฏ อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า สังขาร

ทั้งปวงจักปรากฏโดยความเป็นของไม่มั่นคง ๑ ใจของเราจักไม่ยินดีในโลก

ทั้งปวง ๑ ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง ๑ ใจของเราจักน้อมไปสู่นิพพาน ๑

สังโยชน์ทั้งหลายของเราจักถึงการละได้ ๑ และเราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญ-

ธรรม ชั้นเยี่ยม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖

ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยัง

อนิจจสัญญาให้ปรากฏ.

จบปฐมอโนทิสสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 829

อรรถกถาปฐมอโนทิสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอโนทิสสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อโนธึ กริตฺวา ความว่า ไม่ทำให้มีขอบเขต คือเขตแดน

อย่างนี้ว่า สังขารมีประมาณเท่านี้แหละไม่เที่ยง นอกจากนี้ไป ไม่ใช่ไม่เที่ยง

(คือเที่ยง). บทว่า อนวฏฺิตโต ความว่า เว้นจากฐานะ (เหตุที่เป็นไปได้)

เพราะความเป็นของไม่มั่นคง อธิบายว่า จักเป็นสภาวธรรมแตกดับไป แล้ว

จึงหยุด. บทว่า สพฺพโลเก ควานว่า ในโลกทั้งสิ้น ได้แก่ในธาตุทั้ง ๓.

บทว่า สามญฺเน ความว่า โดยความเป็นสมณะ อธิบายว่า ได้แก่พระ-

อริยมรรค.

จบอรรถกถาปฐมอโนทิสูตรที่ ๗

๘. ทุติยอโนทิสสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์ที่ทำให้เกิดทุกขสัญญา ๖ ประการ

[๓๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ

เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังทุกขสัญญาให้

ปรากฏ อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า นิพพาน-

สัญญาในสังขารทั้งปวง จักปรากฏแก่เราเหมือนเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบขึ้นอยู่ ๑

ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง ๑ เราจักเป็นผู้มีปกติเห็นสันติในนิพพาน ๑

อนุสัยของเราจักถือการเพิกถอน ๑ เราจักเป็นผู้กระทำตามหน้าที่ ๑ และเรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 830

จักบำรุงพระศาสดาด้วยความบำรุงอันประกอบด้วยเมตตา ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่

กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังทุกขสัญญาให้ปรากฏ.

จบทุติยอโนทิสสูตรที่ ๘

อรรถกถาทุติยอโนทิสสูตร

พึงทราบวินิจในทุติยโนทิสสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เมตฺตาวตาย ความว่า ด้วยการปรนนิบัติ ประกอบด้วยเมตตา

ด้วยว่า พระเสขบุคคล ๗ จำพวก ย่อมปรนนิบัติพระตถาคตเจ้า ด้วยการ

บำรุงประกอบไปด้วยเมตตา. ถึงพระขีณาสพ ก็เป็นผู้ปฏิบัติพระศาสดา

(เหมือนกัน).

จบอรรถกถาทุติยอโนทิสสูตรที่ ๘

๙. ตติยอโนทิสสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์ที่ทำให้เกิดอนัตตสัญญา

[๓๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ

เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรมทั้งปวง แล้วยังอนัตตสัญญาให้

ปรากฏ อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่าเราเป็น

ผู้ไม่มีตัณหาและทิฏฐิในโลกทั้งปวง ๑ ทิฏฐิอันเป็นเหตุให้กระทำความถือตัว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 831

ว่าเราของเราจักดับ ๑ ตัณหาอันเป็นเหตุให้กระทำการยึดถือว่าของเราของเรา

จักดับ ๑ เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ ๑ เราจะเห็นเหตุด้วยดี ๑

และจักเห็นธรรมที่เกิดขึ้นแต่เหตุด้วยดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณา

เห็น อานิสงส์ ๖ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในธรรม

ทั้งปวง แล้วยังอนัตตสัญญาให้ปรากฏ.

จบตติยอโนทิสสูตรที่ ๙

อรรถกถาตติยอโนทิสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตติยอโนทิสสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตมฺมโย ความว่า เป็นผู้เว้นจากตัณหาและทิฏฐิ ที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ตัมมยะ. บทว่า อหการา ได้แก่ ทิฏฐิคืออหังการ

(ความเห็นว่าเป็นเรา). บทว่า มมการา ได้แก่ ตัณหาคือมมังการ (การ

ยึดถือว่าของเรา). คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาตติยอโนทิสสูตรที่ ๙

๑๐. ภาวสูตร

ว่าด้วยไตรภพและไตรสิกขา

[๓๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ นี้ควรละ ควรศึกษาในไตรสิกขา

ภพ ๓ เป็นไฉน ? คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพ ๓ นี้ควรละ ไตรสิกขา

เป็นไฉน ? คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา ควรศึกษาใน

ไตรสิกขานี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภพ ๓ นี้ เป็นสภาพอันภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 832

ละได้แล้ว และเธอเป็นผู้มีสิกขาอันได้ศึกษาแล้วในไตรสิกขานี้ เมื่อนั้นภิกษุนี้

เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุดทุกข์

เพราะละมานะได้โดยชอบ.

จบภาวสูตรที่ ๑๐

๑๑. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยตัณหาและมานะ

[๓๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ และมานะ ๓ ควรละ ตัณหา

๓ เป็นไฉน ? คือ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ตัณหา ๓ นี้

ควรละ มานะ ๓ เป็นไฉน ? คือ ความถือตัวว่าเสมอเขา ๑ ความถือตัวว่า

เลวกว่าเขา ๑ ความถือตัวว่าดีกว่าเขา ๑ มานะ ๓ นี้ควรละ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อใดแล ตัณหา ๓ และมานะ ๓ นี้ย่อมเป็นธรรมชาติอันภิกษุละ

ได้แล้ว เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหาขาดแล้ว คลายสังโยชน์

ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบ.

จบตัณหาสูตรที่ ๑๑

จบอานิสังสวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาตุภาวสูตร ๒. อานิสังสสูตร ๓. อนิจจสูตร ๔. ทุกขสูตร

๕. อนัตตสูตร ๖. นิพพานสูตร ๗. ปฐมอโนทิสสูตร ๘. ทุติยอโนทิสสูตร

๙. ตติยอโนทิสสูตร ๑๐. ภาวสูตร ๑๑. ตัณหาสูตร และอรรถกถา.

จบทุติยปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 833

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

ติกวรรคที่ ๑

๑. วิราคสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ

[๓๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ประการเป็นไฉน ?

คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการอันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละธรรม ๓

ประการเหล่านี้ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ อสุภะ อันภิกษุพึงให้เจริญ

เพื่อละราคะ ๑ เมตตา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละโทสะ ๑ ปัญญา อันภิกษุ

พึงให้เจริญเพื่อละโมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ อันภิกษุ

พึงให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล.

จบราคสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 834

วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

ติกวรรคที่ ๑

อรรถกถาราคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในราคสูตรที่ ๑ แห่งติกวรรคที่ ๑ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสุภา ได้แก่ อสุภกัมมัฏฐาน. บทว่า เมตฺตา ได้แก่

เมตตากัมมัฏฐาน. บทว่า ปญฺา ได้แก่ มรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา.

จบอรรถกถาราคสูตรที่ ๑

๒. ทุจริตสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ

[๓๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๓ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึง

ให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ กายสุจริต

อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละกายทุจริต ๑ วจีสุจริต อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละ

วจีทุจริต ๑ มโนสุจริต อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละมโนทุจริต ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล.

จบทุจริตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 835

๓. วิตักกสูตร

ว่าด้วยอกุศลวิตกและกุศลวิตก

[๓๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ?

คือ กามวิตก ๑ พยาบาทวิตก ๑ วิหิงสาวิตก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม

๓ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ

เพื่อละธรรม ๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ เนกขัมมวิตก

อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละกามวิตก ๑ อัพยาบาทวิตก อันภิกษุพึงให้เจริญ

เพื่อละพยาบาทวิตก ๑ อวิหิงสาวิตก อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละวิหิงสาวิตก ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม

๓ ประการนี้แล.

จบวิตักกสูตรที่ ๓

๔. สัญญาสูตร

ว่าด้วยอกุศลสัญญาและกุศลสัญญา

[๓๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ?

คือ กามสัญญา ๑ พยาบาทสัญญา ๑ วิหิงสาสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๓ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึง

ให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ เนกขัมม-

สัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละกามสัญญา ๑ อัพยาบาทสัญญา อันภิกษุ

พึงให้เจริญเพื่อละพยาบาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 836

ละวิหิงสาสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้

เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล.

จบสัญญาสูตรที่ ๔

๕. ธาตุสูตร

ว่าด้วยธาตุที่ควรละและควรเจริญ

[๓๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ?

คือ กามธาตุ ๑ พยาบาทธาตุ ๑ วิหิงสาธาตุ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม

๓ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ

เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ เนกขัมมธาตุ อัน

ภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละกามธาตุ ๑ อัพยาบาทธาตุ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละ

พยาบาทธาตุ ๑ อวิหิงสาธาตุ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละวิหิงสาธาตุ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการ

นี้แล.

จบธาตุสูตรที่ ๕

๖. อัสสาทสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ

[๓๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน

คือ อัสสาททิฏฐิ (สัสสตทิฐิ) ๑ อัตตานุทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิ) ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓

ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 837

เป็นไฉน ? คือ อนิจจสัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอัสสาททิฏฐิ ๑

อนัตตสัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอัตตานุทิฏฐิ ๑ สัมมาทิฏฐิ อันภิกษุ

พึงให้เจริญเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ อัน

ภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล.

จบอัสสาทสูตรที่ ๖

อรรถกถาอัสสาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัสสาทสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสฺสาททิฏิ ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ. บทว่า อตฺตานุทิฏฺิ

ได้แก่ สักกายทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ที่คล้อยตามอาตมัน. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ

ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ อย่าง. บทว่า สมฺมาทิฏิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในองค์

มรรค. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ชื่อว่า

มิจฉาทิฏฐิ. กัมมสกตาญาณ ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.

จบอรรถกถาอัสสาทสูตรที่ ๖

๗. อรติสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ

[๓๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็น

ไฉน ? คือ อรติ ๑ วิหิงสา ๑ อธรรมจริยา ๑ (อกุศลกรรมบถสิบ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม

๓ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ

มุทิตา ๑ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอรติ ๑ อวิหิงสา อันภิกษุพึงให้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 838

เจริญเพื่อละวิหิงสา ๑ ธรรมจริยา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอธรรมจริยา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม

๓ ประการนี้แล.

จบอรติสูตรที่ ๗

อรรถกถาอรติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอรติสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อธมฺมจริยา ได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐.

จบอรรถกถาอรติสูตรที่ ๗

๘. ตุฏฐิสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ

[๓๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ๑ ความไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความ

เป็นผู้มีความปรารถนามาก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึงได้เจริญเพื่อละธรรม

๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้สันโดษ

อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้ไม่สันโดษ ๑ สัมปชัญญะ อันภิกษุพึง

ให้เจริญเพื่อละความไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยอัน

ภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้มีความปรารถนามาก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๓ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล.

จบตุฏฐิสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 839

๙. ปฐมอุทธัจจสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ

[๓๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ความฟุ้ง

ซ่านแห่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อันภิกษุพึงให้

เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ ความ

เป็นผู้ว่าง่าย อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้ยาก ๑ ความเป็นผู้มี

มิตรดี อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ อานาปานสติ

อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม

๓ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล.

จบปฐมอุทธัจจสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยอุทธัจจสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ

[๓๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือ อุทธัจจะ ๑ อสังวร ๑ ความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ

อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม ๓ ประการเหล่านี้ ๓ ประการเป็นไฉน ?

คือ สมถะ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอุทธัจจะ ๑ สังวร อันภิกษุพึง

ให้เจริญเพื่อละสังวร ๑ ความไม่ประมาท อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 840

ประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญ

เพื่อละธรรม ๓ ประการนี้แล.

จบทุติยอุทธัจจสูตรที่ ๑๐

จบติกวรรคที่ ๑

๑๐. อรรถกถาทุติยอุทธัจจสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุทธัจจสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อสวโร ได้แก่ ความเป็นผู้มีอินทรีย์อันยับยั้งไว้ไม่ได้.

คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาทุติยอุทธัจจสูตรที่ ๑๐

จบติกวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ราคสูตร ๒. ทุจริตสูตร ๓. วิตักกสูตร ๔. สัญญาสูตร

๕. ธาตุสูตร ๖. อัสสาทสูตร ๗. อรติสูตร ๘. ตุฏฐิสูตร ๙. ปฐม-

อุทธัจจสูตร ๑๐. ทุติยอุทธัจจสูตร และอรรถกถา.

พระสูตรที่ไม่รวมเข้าในวรรค

ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเจริญสติปัฏฐานเป็นต้น

[๓๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้

ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 841

ความเป็นผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑

ความเป็นผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.

[๓๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควร

เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็น

ผู้ชอบการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ความเป็น

ผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑

ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖

ประการนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.

[๓๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้

ไม่ควร เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ

เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ

เพื่อพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกอยู่ ฯลฯ

[๓๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้

ไม่ควร เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ฯลฯ

เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ

เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ

เพื่อพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ฯลฯ

[๓๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้

ไม่ควร เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจินอยู่ ฯลฯ

เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายในอยู่ ฯลฯ

เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 842

เพื่อพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งในภายในทั้งในภายนอกอยู่ ฯลฯ

[๓๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้

ไม่ควร เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ฯลฯ

เพื่อพิจารณาเห็นธรรมให้ธรรมทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ

เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ ธรรม

๖ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน. . . ความเป็นผู้ไม่รู้

ประมาณในโภชนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายในอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็น

ธรรมในธรรมทั้งหลายเป็นภายนอกอยู่ ฯลฯ เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

ทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็น

ผู้ชอบการงาน. . . ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่ละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

ทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่.

[๓๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ควร

เพื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่ ธรรม ๖ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้ชอบการงาน ฯลฯ ความเป็นผู้ไม่รู้ประมาณใน

โภชนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อ

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในภายนอกอยู่.

ว่าด้วยบุคคลผู้ปลงใจเชื่อพระพุทธเจ้า

[๓๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดีประกอบด้วยธรรม ๖

ประการ เป็นผู้ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมต-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 843

ธรรมอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระพุทธเจ้า ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ๑ ความเลื่อมใส

อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ๑ อริยศีล ๑ อริยญาณ ๑ อริยวิมุตติ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดีประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้

ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่.

[๓๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัลลิกคฤหบดี อนาถบิณฑิกสุทัตต-

คฤหบดี จิตตคฤหบดีชาวมัจฉิกาสัณฑนคร หัตถกคฤหบดีชาวเมืองอาฬวี

เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี อุคคตคฤหบดี

สูรอัมพัฏฐคฤหบดี ชีวกโกมารภัจ นกุลบิดาคฤหบดี ตวกัณณิกคฤหบดี

ปูรณคฤหบดี อิสิทัตตคฤหบดี สันธานคฤหบดี วิชยคฤหบดี วัชชิยมหิต-

คฤหบดี เมณฑกคฤหบดี วาเสฏฐอุบาสก อริฏฐอุบาสก สาทัตตอุบาสก

ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม

ทำให้แจ้งซึ่งอมตธรรมอยู่ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความเลื่อมใส

อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ๑ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ๑

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ๑ อริยศีล ๑ อริยญาณ ๑ อริยวิมุตติ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาทัตตอุบาสกประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล

เป็นผู้ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่.

ว่าด้วยธรรมที่ควรเจริญ

[๓๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ

เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ทัสสนานุตริยะ ๑ สวนา-

นุตริยะ ๑ ลาภานุตริยะ ๑ สิกขานุตริยะ ๑ ปาริจริยานุตริยะ ๑

อนุสตานุตริยะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ อันภิกษุพึง

ให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 844

[๓๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ

เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ พุทธานุสติ ๑ ธัมมานุสติ ๑

สังฆานุสติ ๑ สีลานุสติ ๑ จาคานุสติ ๑ เทวดานุสติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

[๓๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ

เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจ-

ทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธ-

สัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญ

เพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

[๔๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ

เพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบแห่งราคะ เพื่อละราคะ เพื่อ

สิ้นไปแห่งราคะ เพื่อเสื่อมไปแห่งราคะ เธอความคลายกำหนัดราคะ เพื่อ

ดับราคะ เพื่อสละราคะ เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ

[๔๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ

เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไป

เพื่อคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวาง ซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ

อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ

มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ

นี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อปล่อยวางปมาทะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น

ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบฉักกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 845

อรรถกถาพระสูตรที่ไม่รวมเข้าในวรรค

พึงทราบวินิจฉัยในบทต่อจากนี้ไป ดังนี้ :-

บทว่า ตปุสฺโส ได้แก่ อุบาสกผู้เปล่งวาจา ถึงรัตนะ ๒. บทว่า

ตถาคเต นิฏฺงฺคโต ความว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว คือละความสงสัยใน

พระพุทธคุณได้แล้ว. ภิกษุชื่อว่า เห็นอมตะ เพราะได้เห็นอมตธรรม.

บทว่า อริเยน ได้แก่ โลกุตรศีลที่ไม่มีโทษ. บทว่า าเณน ได้แก่ด้วย

ปัจจเวกขณญาณ. บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ผลวิมุตติของพระเสขะ. บทว่า

ตวกณฺณิโก ได้แก่ คฤหบดีผู้มีชื่ออย่างนี้. บาลีว่า ตปกัณณิกะ ดังนี้ก็มี.

บทว่า ราคสฺส ได้แก่ ราคะอันสัมปยุตด้วยกามคุณ ๕. คำที่เหลือในบท

ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบการพรรณนาความฉักกนิบาต

แห่งอรรถกถา อังคุตตรนิกาย ชื่อว่า มโนรถปูรณี