พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๓
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปฐมปัณณาสก์
พาลวรรคที่ ๑
๑. ภยสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นภัยและไม่เป็นภัย
[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกะ คฤหบดี พระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายในที่นั้นแล ด้วยพระพุทธพจน์ว่า ภิกฺขโว (แน่ะภิกษุทั้งหลาย)
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลขานรับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำว่า ภทนฺเต
(พระพุทธเจ้าข้า) แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ภัยทั้งปวงนั้น
ย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแต่บัณฑิตไม่ อุปัทวะอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
อุปัทวะทั้งปวงนั้น ย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแต่บัณฑิตไม่ อุปสรรคอย่างใด
อย่างหนึ่งเกิดขึ้น อุปสรรคทั้งปวงนั้น ย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแต่บัณฑิตไม่.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 2
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไฟลุกจากเรือนที่มุงบังด้วยต้นอ้อ
หรือจากเรือนที่มุงบังด้วยหญ้าแล้ว ย่อมไหม้กระทั่งเรือนยอดที่ฉาบปูนทั้ง
ภายในทั้งภายนอกจนลมลอดไม่ได้ มีประตูอันลงกลอนสนิท มีหน้าต่างปิดได้
ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย. . .อุปัทวะ. . .อุปสรรคอย่างใดอย่างหนึ่ง
เกิดขึ้น ย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแต่บัณฑิตไม่ ฉันนั้น
ดังนี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีภัย บัณฑิตไม่มีภัย คนพาลมี
อุปัทวะ บัณฑิตไม่มีอุปัทวะ คนพาลมีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค
ภิกษุทั้งหลาย ภัย. . .อุปัทวะ. . .อุปสรรคแต่บัณฑิตหามีไม่.
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เหล่าใด พึงรู้ว่าเป็นพาล เราทั้งหลายจักละเสีย
ซึ่งธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เหล่าใด พึงรู้
ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือธรรมนั้นประพฤติ ภิกษุทั้งหลาย ท่าน
ทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบภยสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 3
อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ชื่อ มโนรถปูรณี
ติกนิปาตวรรณนา
พาลวรรควรรณนาที่ ๑
อรรถกถาภยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในภยสูตรที่ ๑ แห่งติกนิบาต ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า ภยานิ เป็นต้น ความที่จิตสะดุ้งกลัว ชื่อว่า ภัย. อาการ
ที่จิตไม่เป็นสมาธิ ชื่อว่า อุปัทวะ. อาการที่จิตติดขัด คืออาการที่จิตข้องอยู่
ในอารมณ์นั้น ๆ ชื่อว่า อุปสรรค.
พึงทราบความแตกต่างกันแห่งภัย อุปัทวะ และอุปสรรคเหล่านั้น
ดังต่อไปนี้
พวกโจรอาศัยอยู่ตามภูเขา และถิ่นทุรกันดาร ส่งข่าวไปถึงชาวชนบท
ว่า พวกเราจักเข้าปล้นหมู่บ้านของพวกท่านในวันโน้น ตั้งแต่เวลาที่ได้สดับ
ข่าวนั้น ชาวชนบทเหล่านั้นก็พากันหวาดกลัว. อาการอย่างนี้ ชื่อว่า อาการ
ที่จิตสะดุ้งกลัว.
ชาวชนบทก็พากันคิดว่า ทำอย่างไรดีเล่า พวกโจรโกรธพวกเราแล้ว
จะพึงนำความฉิบหายมาให้เราเป็นแน่ ดังนี้แล้ว ฉวยคว้าทรัพย์สมบัติที่พอ
หยิบฉวยติดมือไปได้ เข้าป่าพร้อมกับฝูงสัตว์ทวิบทจตุบาท นอนตามพื้นดิน
อยู่ในป่านั้น ๆ ถูกแมลงมีเหลือบและยุงเป็นต้นกัด ก็พากันหลบเข้าไปยัง
ระหว่างพุ่มไม้ เหยียบตอไม้และหนาม. ความฟุ้งซ่านของชาวชนบทเหล่านั้น
ผู้ท่องเที่ยวไปอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า อาการที่จิตไม่เป็นสมาธิ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 4
หลังจากนั้น เมื่อพวกโจรไม่มาตามวันที่ได้บอกไว้ ชาวชนบทก็คิด
กันว่า ชะรอยจักเป็นข่าวลวง พวกเราจักกลับเข้าหมู่บ้าน ดังนี้แล้ว พากัน
ขนข้าวของกลับเข้าหมู่บ้าน. ครั้งนั้น พวกโจรทราบว่า ชาวชนบทเหล่านั้น
พากันกลับเข้าหมู่บ้านแล้ว จึงพากันมาล้อมหมู่บ้านไว้ จุดไฟเผาที่ประตู
สังหารผู้คนจำนวนมาก ปล้นเอาทรัพย์สมบัติทั้งหมดไป. บรรดาชาวชนบท
เหล่านั้น พวกที่เหลือจากถูกโจรสังหาร ก็พากันดับไฟ แล้วนั่งจับเจ่าอยู่ใน
ที่นั้น ๆ มีร่มเงาซุ้มประตู และเงาฝาเรือนเป็นต้น หวนโศกเศร้าถึงสิ่งที่
สูญเสียไป. อาการที่จิตข้องอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า อาการที่จิตเกี่ยวข้องอยู่ใน
อารมณ์นั้น.
บทว่า นฬาคารา ได้แก่ เรือนที่มุงและบังด้วยไม้อ้อ ส่วนเครื่อง
เรือนที่เหลือในเรือนไม้อ้อนี้ ทำจากไม้. แม้ในเรือนหญ้าก็มีนัย นี้แล. บทว่า
กูฏาคารานิ ได้แก่ เรือนที่ยกยอด. บทว่า อุลฺลิตฺตาวลิตฺตานิ ได้แก่
ฉาบทั้งข้างในและข้างนอก. บทว่า นิวาตานิ ได้แก่ ลมเข้าไปไม่ได้. บทว่า
ผุสิตคฺคฬานิ ได้แก่ บานประตูที่ติดเข้าสนิทที่กรอบเช็ดหน้า เพราะเป็น
ของที่นายช่างผู้ฉลาดทำไว้. บทว่า ปิหิตกวาฏานิ ได้แก่ ติดบานประตูแล้ว.
ด้วยสองบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ตรัสหมายถึงบานประตูและหน้าต่าง
ที่ปิดไว้ประจำ แต่ตรัสคุณสมบัติเท่านั้น. ก็บานประตูและหน้าต่างเหล่านั้น
ย่อมปิดและเปิดได้ทุกขณะที่ต้องการ.
บทว่า พาลโต อุปฺปชฺชนฺติ ความว่า อุปสรรคทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น
เพราะอาศัยคนพาลทั้งนั้น. เป็นความจริง คนที่ไม่เป็นบัณฑิตเป็นพาล เมื่อ
ปรารถนาความเป็นพระราชา ความเป็นอุปราช หรือปรารถนาตำแหน่งใหญ่
อย่างอื่น ก็จะชักชวนเอาลูกกำพร้าพ่อ ผู้โง่เง่าเหมือนตน จำนวนเล็กน้อย
แล้วเกลี้ยกล่อมว่า มาเถิดเธอทั้งหลาย ฉันจักทำพวกเธอให้เป็นใหญ่ ซ่องสุม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 5
อยู่ตามภูเขาและป่าทึบเป็นต้น แล้วบุกเข้าที่หมู่บ้านแถวชายแดน ทำหมู่บ้าน
ให้เสียหายแล้ว ตีทั้งนิคม ทั้งชนบทตามลำดับ.
ผู้คนปรารถนาสถานที่ ๆ ปลอดภัย จึงพากันทิ้งบ้านเรือนหลีกหนีไป.
ทั้งภิกษุ ภิกษุณี ที่อาศัยคนเหล่านั้นอยู่ ก็พากันละทิ้งสถานที่อยู่ของตน ๆ
หลีกไป. ในสถานที่ที่ท่านเหล่านั้นไปแล้ว ทั้งภิกษา ทั้งเสนาสนะก็หาได้ยาก.
ภัยย่อมมาถึงบริษัททั้ง ๔ อย่างนี้แล.
แม้ในบรรพชิตทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นพาล ๒ รูป วิวาทกันแล้วต่างเริ่ม
โจทกันและกัน จึงเกิดความวุ่นวายใหญ่หลวงขึ้น เหมือนพวกภิกษุชาวเมือง
โกสัมพี ฉะนั้น. ภัยย่อมมาถึงบริษัท ๔ เหมือนกัน ก็ภัยเหล่าใดเกิดขึ้น
ดังว่ามานี้ ภัยเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเกิดขึ้นมาจากคนพาล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยังเทศนาให้จบลงตามอนุสนธิ ดังว่ามานี้แล.
จบอรรถกถาภยสูตรที่ ๑
๒. ลักขณสูตร
ว่าด้วยลักษณะของพาลและบัณฑิต
[๔๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ บัณฑิตก็มี
กรรมเป็นลักษณะ ปัญญาปรากฏในอปทาน (ความประพฤติ)
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบได้
ว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ กายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นพาล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 6
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบได้ว่า
เป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโน-
สุจริต ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด พึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล เราทั้งหลาย
จักละเสียซึ่งธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่า
ใดพึงทราบได้ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือธรรม ๓ ประการนั้นประพฤติ
ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบลักขณสูตรที่ ๒
อรรถกถาลักขณสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในลักขณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-
กรรมที่เป็นไปทางกายทวารเป็นต้น เป็นลักษณะ คือเป็นเหตุให้
หมายรู้บุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า มีกรรมเป็นลักษณะ.
ปัญญาที่งามด้วยความประพฤติ (จริต) ชื่อว่า อปทานโสภนีปัญญา.
อธิบายว่า พาลและบัณฑิตย่อมปรากฏด้วยกรรมที่ตนประพฤติมาแล้วนั่นแล.
จริงอยู่ ทางที่คนพาลไปแล้ว ย่อมเป็นเหมือนทางไปของไฟป่าซึ่งลาม
ไปเผาไหม้ต้นไม้ กอไม้ คามนิคมเป็นต้นฉะนั้น. ปรากฏเหลือก็แต่เพียงสถานที่
ที่ปลูกบ้านเท่านั้น ซึ่งเต็มไปด้วย ถ่าน เขม่า และเถ้า. ส่วน ทางที่บัณฑิต
ไป เหมือนทางที่เมฆฝน ซึ่งตั้งเค้าขึ้นทั้ง ๔ ทิศ แล้วตกลงมา เต็มหลุมและ
บ่อเป็นต้น นำความงอกงามของรวงข้าวกล้าชนิดต่าง ๆ มาให้ฉะนั้น. สถาน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 7
ที่ที่มีน้ำเต็ม และมีผลาผลของข้าวกล้าชนิดต่าง ๆ งอกงาม ปรากฏอยู่ในทาง
ที่เมฆฝน ซึ่งตั้งเค้าขึ้นฉันใด ในทางที่บัณฑิตดำเนินไป ก็มีสมบัติอย่าง
เดียวเท่านั้น ไม่มีวิบัติเลยฉันนั้น. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีความหมายง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาลักขณสูตร
๓. จินตสูตร
ว่าด้วยลักษณะแตกต่างระหว่างบัณฑิตกับคนพาล
[๔๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่ลักษณะ นิมิต อปทานของคนพาล
มี ๓ อย่าง ๓ อย่างคืออะไรบ้าง คือ คนพาลในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดอารมณ์
ชั่วโดยปกติ พูดคำชั่วโดยปกติ และทำการชั่วโดยปกติ ก็ถ้าคนพาลจักไม่เป็น
ผู้คิดอารมณ์ชั่วโดยปกติ พูดคำชั่วโดยปกติ และทำการชั่วโดยปกติแล้วไซร้
คนฉลาดทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาได้อย่างไรว่า อสัตบุรุษผู้นี้เป็นคนพาล ก็เพราะ
เหตุที่คนพาลย่อมเป็นผู้คิดอารมณ์ชั่วโดยปกติ คำชั่วโดยปกติ และทำการ
ชั่วโดยปกตินั่นแล คนฉลาดทั้งหลายจึงรู้จักเขาได้ว่า อสัตบุรุษผู้นี้เป็นคนพาล
นี่แล ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ นิมิต อปทาน ๓ อย่างของคนพาล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่ลักษณะ นิมิต อปทาน ของบัณฑิตมี ๓ อย่าง
๓ อย่าง คืออะไรบ้าง คือ บัณฑิตในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดอารมณ์ดีโดยปกติ
พูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกติ ก็ถ้าบัณฑิตจักไม่เป็นผู้คิดอารมณ์ดีโดย
ปกติพูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกติแล้วไซร้ คนฉลาดทั้งหลายจะพึงรู้จัก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 8
เขาได้อย่างไรว่า สัตบุรุษผู้นี้เป็นบัณฑิต ก็เพราะเหตุที่บัณฑิตย่อมเป็นผู้คิด
อารมณ์ดีโดยปกติ พูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกตินั่นแล คนฉลาด
ทั้งหลายจึงรู้จักเขาได้ว่า สัตบุรุษผู้นี้เป็นบัณฑิต นี่แล ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ
นิมิต อปทาน ๓ อย่างของบัณฑิต
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด พึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล เราทั้งหลาย
จักละเสียซึ่งธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด
พึงทราบได้ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือธรรม ๓ ประการนั้น ประพฤติ
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบจินตสูตรที่ ๓
อรรถกถาจินตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในจินตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า พาลลกฺขณานิ ได้แก่ ที่ชื่อว่า พาลลักษณะ (ลักษณะ
ของคนพาล) เพราะเป็นเครื่องให้คนทั้งหลายกำหนด คือรู้ได้ว่าผู้นี้เป็นพาล.
ลักษณะเหล่านั้นแล เป็นเหตุให้หมายรู้คนพาลนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
เครื่องหมายของคนพาล. บทว่า พาลาปทานนิ ได้แก่ ความประพฤติของ
คนพาล. บทว่า ทฺจฺจินฺติตจินฺตี ความว่า คนพาลเมื่อคิด ย่อมคิดแต่เรื่องที่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 9
ไม่ดี ด้วยอำนาจ อภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ. บทว่า ทุพฺภาสิ-
ตภาสี ความว่า แม้เมื่อจะพูด ก็ย่อมพูดแต่คำพูดที่ไม่ดี แยกประเภทเป็น
มุสาวาทเป็นต้น. บทว่า ทุกฺกฏกมฺมารี ความว่า แม้เมื่อทำย่อมทำแต่
สิ่งที่ไม่ดี ด้วยอำนาจปาณาติบาตเป็นต้น. บทมีอาทิว่า ปณฺฑิตลกฺขณานิ
พึงทราบตามทำนองลักษณะที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ส่วนบททั้งหลายมีบทว่า สุจินฺติตจินฺตี เป็นต้น ในสูตรนี้ พึง
ประกอบด้วยอำนาจแห่งสุจริตทั้งหลาย มีมโนสุจริตเป็นต้น.
จบอรรถกถาจินตสูตรที่ ๓
๔. อัจจยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บ่งบอกว่าเป็นพาลหรือบัณฑิต
[๔๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
พึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ ไม่เห็นความล่วง
เกินโดยเป็นความล่วงเกิน เห็นความล่วงเกินแล้ว ไม่ทำคืนตามวิธีที่ชอบ
อนึ่ง เมื่อคนอื่นแสดงโทษที่ล่วงเกิน ก็ไม่รับตามวิธีที่ชอบ บุคคลประกอบ
ด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่าเป็นคนพาล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบ
ได้ว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ เห็นความล่วงเกินโดย
เป็นความล่วงเกิน เห็นความล่วงเกินโดยเป็นความล่วงเกินแล้วทำคืนตามวิธี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 10
ที่ชอบ อนึ่ง เมื่อคนอื่นแสดงโทษที่ล่วงเกินก็รับตามวิธีที่ชอบ บุคคลประกอบ
ด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นบัณฑิต.
จบอัจจยสูตรที่ ๔
อรรถกถาอัจจยสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในอัจจยสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อจฺจย อจฺจยโต น ปสฺสติ ความว่า คนพาลย่อมไม่
เห็นความผิดของตนว่า เป็นความผิด. บทว่า อจฺจยโต ทิสฺวา ยถาธมฺม
น ปฏิกโรติ ความว่า คนพาลแม้ทราบแล้วว่า เราทำผิด ก็ไม่ยอมทำตามธรรม
คือรับทัณฑกรรมมาแล้ว ก็ไม่ยอมแสดงโทษ คือไม่ยอมขอโทษคนอื่น.* บท
ว่า อจฺจย เทเสนฺตสฺส ยถาธมฺม ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า เมื่อคน
อื่นทราบว่า เราทำผิด รับทัณฑกรรมมาแล้วให้ขอขมา คนพาลก็จะไม่ยอม
ยกโทษให้.
ธรรมฝ่ายขาว ( ของบัณฑิต ) พึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าว
แล้ว.
จบอรรถกถาอัจจยสูตรที่
* ปาฐะว่า อจฺจย น เทเสติ ฉบับพม่าเป็น อจฺจย น เทเสติ นกฺขมาเปติ แปลตามฉบับพม่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 11
๕. อโยนิโสสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บ่งบอกว่าเป็นพาลหรือบัณฑิต
[๔๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
พึงทราบได้ว่าเป็นพาล ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ ตั้งปัญหาโดยไม่
แยบคาย แก้ปัญหาโดยไม่แยบคาย อนึ่ง คนอื่นแก้ปัญหาได้แยบคาย ด้วย
ถ้อยคำอันกลมกล่อมสละสลวยได้เหตุผลแล้ว ไม่อนุโมทนา บุคคลประกอบ
ด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่าเป็นคนพาล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบ
ได้ว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ ตั้งปัญหาโดยแยบคาย
แก้ปัญหาโดยแยบคาย อนึ่ง คนอื่นแก้ปัญหาได้แยบคาย ด้วยถ้อยคำอัน
กลมกล่อมสละสลวยได้เหตุผลแล้วอนุโมทนา บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓
ประการนี้แล ภิกษุทั้งหลาย พึงทราบเถิดว่าเป็นบัณฑิต.
จบอโยนิโสสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 12
อรรถกถาอโยนิโสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอโยนิโสสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อโยนิโส ปญฺห กตฺตา โหติ ความว่า คนพาลย่อมทำ
สิ่งที่ไม่เป็นปัญหานั่นแลให้เป็นปัญหา เพราะคิดไม่ถูกวิธี เหมือนพระโลฬุ-
ทายีเถระ เมื่อถูกถามว่า อุทายี ที่ตั้งของอนุสติมีเท่าไรหนอแล ก็คิดว่า
ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในภพก่อน จักเป็นที่ตั้งของอนุสติ ดังนี้แล้ว ทำสิ่งที่ไม่
เป็นปัญหาให้เป็นปัญหาฉะนั้น.
บทว่า อโยนิโส ปญฺห วิสชฺเชตา โหติ ความว่า ก็คนพาล
แม้เมื่อจะวิสัชนาปัญหาที่คิดได้อย่างนี้* ก็กลับวิสัชนาโดยไม่แยบคาย คล้าย
พระเถระนั้นนั่นแล โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในธรรม-
วินัยนี้ ย่อมระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในภพก่อนได้มากมาย คือ ระลึกได้ชาติ
หนึ่งบ้าง คือย่อมกล่าวสิ่งที่ไม่เป็นปัญหานั่นแล ว่าเป็นปัญหา.
ในบทว่า ปริมณฺฑเลหิ ปทพฺยญฺชเนหิ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดัง
ต่อไปนี้
บทนั่นแล ชื่อว่า บทพยัญชนะ เพราะทำความหมายให้ปรากฏ บท
พยัญชนะนั้นที่กล่าวทำอักษรให้บริบูรณ์ ไม่ให้เสียความหมายของพยัญชนะ
๑๐ อย่าง ชื่อว่า เป็นปริมณฑล (กลมกลืน). อธิบายว่า ด้วยบทพยัญชนะ
เห็นปานนี้.
บทว่า สิลิฏฺเหิ ได้แก่ ที่ชื่อว่า สละสลวย เพราะมีบทอันสละสลวย.
บทว่า อุปคเตหิ ได้แก่ เข้าถึงผลและเหตุ.
* ปาฐะว่า จินฺติต ปุน ฉบับพม่าเป็น เอว จินฺติต ปน แปลตามฉบับพม่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 13
บทว่า นาพฺภนุโมทิตา* ความว่า คนพาลย่อมไม่อนุโมทนา คือ
ไม่ยินดีปัญหาของบุคคลอื่นที่วิสัชนาโดยแยบคายอย่างนี้ คือ ที่วิสัชนาทำให้
สมบูรณ์ ด้วยอาการทุกอย่าง. เหมือนพระโลฬุทายีเถระ ไม่อนุโมทนาปัญหา
ของพระสารีบุตร ฉะนั้น. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
อาวุโสสารีบุตร ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลยที่พระอนาคามีนั้น
ล่วงเลยความเป็นสหายของเหล่าเทพผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา เข้าถึงหมู่
เทพที่เป็นมโนมยะหมู่ใดหมู่หนึ่งแล้ว จะพึงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ จะ
พึงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธก็ได้ ฐานะนี้ไม่มีเลย.
ในคำว่า โยนิโส ปญฺห กตฺตา เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดัง
ต่อไปนี้
บัณฑิตคิดปัญหาโดยแยบคายแล้ว ย่อมวิสัชนาปัญหาโดยแยบคาย
เหมือนพระอานนทเถระฉะนั้น. เป็นความจริง พระเถระถูกพระศาสดาตรัส
ถามว่า ดูก่อนอานนท์ ที่ตั้งของอนุสติมีเท่าไรหนอแล ก็คิดโดยแยบคาย
ก่อนว่า นี้จักเป็นปัญหา เมื่อจะวิสัชนาโดยแยบคาย จึงทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุในศาสนานี้ สงัดแล้วเทียวจากกามทั้งหลาย ฯลฯ แล้ว
เข้าจตุตถฌานอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ตั้งของอนุสตินี้ที่เจริญแล้วอย่างนี้
ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน.
บทว่า อพฺภานุโมทิตา โหติ ความว่า บัณฑิตย่อมอนุโมทนา
โดยแยบคาย เหมือนพระตถาคตอนุโมทนาฉะนั้น. เป็นความจริง พระตถาคต
เมื่อพระอานนท์เถระวิสัชนาปัญหาแล้ว ก็ตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ดีแล้ว
* ปาฐะว่า นาพฺภนุโมทิตา เป็นบาลีเดิม แต่ในอรรถกถาเป็น นาภินุโมทติ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 14
ดีแล้ว อานนท์ ถ้าอย่างนั้น อานนท์ เธอจงทรงจำที่ตั้งแห่งอนุสติที่ ๖ นี้
ไว้เถิด อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีสติก้าวไปข้างหน้า มีสติถอยหลังกลับ.
จบอรรถกถาอโยนิโสสูตรที่ ๕
๖. อกุสลสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บ่งบอกว่าพาลหรือบัณฑิต
[๔๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
พึงทราบได้ว่าเป็นพาล ธรรม ๓ ประการ คืออะไรบ้าง คือกายกรรมเป็น
อกุศล วจีกรรมเป็นอกุศล มโนกรรมเป็นอกุศล บุคคลประกอบด้วย
ธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่าเป็นคนพาล.
จบอกุสลสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๖-๗-๘ ความหมายง่ายทั้งนั้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 15
๗. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บ่งบอกว่าเป็นพาลหรือบัณฑิต
[๔๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมที่เป็น
โทษ ๑ วจีกรรมที่เป็นโทษ ๑ มโนกรรมที่เป็นโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมที่ไม่เป็นโทษ ๑ วจีกรรมที่ไม่
เป็นโทษ ๑ มโนกรรมที่ไม่เป็นโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต.
จบสาวัชชสูตรที่ ๗
๘. สัพยาปัชชสูตร
ว่าด้วยธรรมที่บ่งบอกว่าเป็นพาลหรือบัณฑิต
[๔๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมที่เป็น
การเบียดเบียน ๑ วจีกรรมที่เป็นการเบียดเบียน ๑ มโนกรรมที่เป็นการ
เบียดเบียน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
นี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 16
๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรม
ที่ไม่เป็นการเบียดเบียน ๑ วจีกรรมที่ไม่เป็นการเบียดเบียน ๑ มโนกรรมที่
ไม่เป็นการเบียดเบียน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
แหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เหล่าใด อันเราพึงรู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้น
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต เรา
จักประพฤติสมาทานธรรม ๓ ประการนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบสัพยาปัชชสูตรที่ ๘
๙. ขตสูตร
ว่าด้วยการบริหารตนแบบพาลและบัณฑิต
[๔๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เป็นคนพาล ไม่ฉลาด เป็นอสัตบุรุษ ครองตนอันขาด (แก่นสาร) ถูก
ประหาร (เสียจากคุณธรรม) แล้วอยู่ เป็นคนประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน
และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ
กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล
เป็นคนพาล ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 17
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็น
บัณฑิต ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ครองตนอันไม่ขาด (แก่นสาร) ไม่ถูกประหาร
(จากคุณธรรม) อยู่ เป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และได้บุญมากด้วย
ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต บุคคล
ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นบัณฑิต ฯลฯ
จบขตสูตรที่ ๙
อรรถกถาขตสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-
ธรรมฝ่ายขาว ในส่วนเบื้องต้น กำหนดด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ใน
ส่วนเบื้องสูงย่อมได้ จนถึงอรหัตมรรค.
ในบทว่า พหุญฺจ ปุญฺ ปสวติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถึงบุญที่คละกันไป ทั้งโลกิยะ และโลกุตระ.
จบอรรถกถาขตสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 18
๑๐. มลสูตร
ว่าด้วยมลทิน ๓ ประการ
[๔๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ไม่ละมล-
ทิน ๓ ย่อมเป็นผู้อุบัติในนรก เหมือนถูกนำตัวไปเก็บไว้ฉะนั้น ธรรม ๓
ประการคืออะไรบ้าง คือ เป็นผู้ทุศีลและไม่ละมลทินคือความทุศีลด้วย เป็นผู้
ริษยาและไม่ละมลทินคือความริษยาด้วย เป็นผู้ตระหนี่และไม่ละมลทินคือความ
ตระหนี่ด้วย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ นี้ไม่ละมลทิน ๓ นี้แล ย่อมอุบัติ
ในนรก เหมือนถูกนำตัวไปเก็บไว้ ฉะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ละมลทิน ๓ ย่อม
อุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการ
คืออะไรบ้าง คือ เป็นผู้มีศีลและมลทินคือความทุศีลก็ละได้แล้วด้วย เป็นผู้ไม่
ริษยาและมลทินคือความริษยาก็ละได้แล้วด้วย เป็นผู้ไม่ตระหนี่และมลทิน
คือความตระหนี่ก็ละได้แล้วด้วย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ นี้ ละมลทิน
๓ นี้แล ย่อมอุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้ฉะนั้น.
จบมลสูตรที่ ๑๐
จบพาลวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 19
อรรถกถามลสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในมลสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-
ภาวะของบุคคลทุศีล ชื่อว่า ทุสสียะ. ทุสสีลยะนั้นแหละเป็น
มลทิน จึงชื่อว่า ทุสสีลยมละ.
ความหมายของมลทิน
ถามว่า ที่ชื่อว่ามลทิน เพราะหมายความว่าอย่างไร.
ตอบว่า เพราะหมายความว่าตามเผาไหม้ ๑ เพราะหมายความว่า มี
กลิ่นเหม็น ๑ เพราะหมายความว่า ทำให้เศร้าหมอง ๑.
อธิบายว่า มลทินนั้น ย่อมตามเผาไหม้สัตว์ ในอบายทั้งหลาย
มีนรกเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นมลทิน เพราะหมายความว่า ตาม
เผาไหม้บ้าง.
บุคคลเกลือกกลั้วด้วยมลทินนั้น เป็นที่น่ารังเกียจ ทั้งในสำนักมารดา
บิดา ทั้งภายในภิกษุสงฆ์ ทั้งในโพธิสถาน และเจดียสถาน และกลิ่นอันเกิด
จากความไม่ดีของเขา ย่อมฟุ้งไปในทุกทิศว่า ผู้นั้นทำบาปกรรมเห็นปานนี้
เหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นมลทิน เพราะหมายความว่า มีกลิ่นเหม็นบ้าง.
บุคคลผู้เกลือกกลั้วด้วยมลทินนั้น ย่อมได้รับความเดือดร้อนในที่ที่ไป
ถึง และกายกรรมเป็นต้นของเขาก็ไม่สะอาด ไม่ผ่องใส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
เป็นมลทิน เพราะหมายความว่า ทำให้เศร้าหมองบ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง มลทินนั้น ย่อมทำเทวสมบัติ มนุษยสมบัติ และ
นิพพานสมบัติให้เหี่ยวแห้งไป เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าเป็นมลทิน เพราะ
หมายความว่า ทำให้เหี่ยวแห้งบ้าง.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 20
แม้ในมลทิน คือริษยา และมลทินคือความตระหนี่ ก็มีนัย อย่างนี้
เหมือนกัน.
จบอรรถกถามลสูตรที่ ๑๐
จบพาลวรรควรรณนาที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในพาลวรรคนี้ คือ
๑. ภยสูตร ๒. ลักขณสูตร ๓. จินตสูตร ๔. อัจจยสูตร ๕.
อโยนิโสสูตร ๖. อกุสลสูตร ๗. สาวัชชสูตร ๘. สัพยาปัชชสูตร ๙.
ขตสูตร ๑๐. มลสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 21
รถการวรรคที่ ๒
๑. ญาตกสูตร
ว่าด้วยปฏิบัติเพื่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
[๔๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม
๓ ประการ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อสิ่งอันมิใช่ความ
สุขแก่ชนมาก เพื่อความเสื่อม เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์แก่ชนมากทั้ง
เทวดาทั้งมนุษย์ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ชักชวนในกายกรรมอันไม่
สมควร ชักชวนในวจีกรรมอันไม่สมควร ชักชวนในธรรมทั้งหลายอันไม่สมควร
ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสิ่งอัน
ไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีชื่อเสียง ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความเจริญ
เพื่อประโยชน์ เพื่อสุขแก่ชนมากทั้งเทวดาทั้งมนุษย์ ธรรม ๓ ประการเป็น
ไฉน คือ ชักชวนในกายกรรมอันสมควร ชักชวนในวจีกรรมอันสมควร
ชักชวนในธรรมอันสมควร ภิกษุผู้มีชื่อเสียงประกอบด้วยธรรม ๓ประการนี้แล
ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก ฯลฯ
จบญาตกสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 22
รถการวรรควรรณนาที่ ๒
อรรถกถาญาตกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในญาตกสูตร แห่งรถการวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-
กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม
บทว่า าตโก ได้แก่ ภิกษุผู้มีชื่อเสียง คือ ประชาชนรู้จักกันทั่ว
แล้ว ได้แก่ ปรากฏแล้ว. บทว่า อนนุโลมิเก ความว่า กายกรรม ชื่อ
ว่า อนนุโลมิกะ เพราะหมายความว่า ไม่เหมาะสมแก่ศาสนา. ในกายกรรม
อันไม่เหมาะสมนั้น. บทว่า กายกมฺเม ได้แก่ ในกายทุจริต มีปาณาติบาต
เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง กายทุจริตนั้นเป็นของหยาบ แก่ภิกษุสามารถจะชักชวน
ให้สมาทาน ในกายทุจริตเป็นต้นนี้ได้ คือชักชวนให้สมาทานคือให้ยึดถือใน
กรรมเห็นปานนี้ว่า การนอบน้อมทิศทั้งหลายสมควร การทำพลีกรรมให้ภูต
ย่อมควร แม้ในวจีกรรม มุสาวาทเป็นต้น เป็นของหยาบ แต่ภิกษุนั้น จะ
ชักชวนให้สมาทานในวจีกรรมเห็นปานนี้ ว่า ขึ้นชื่อว่า การพูดเท็จแก่คนโง่
นี้ว่าไม่มี เพราะไม่ประสงค์จะให้* ของ ๆ ตนแก่ผู้อื่น ก็ควรพูดได้. แม้ใน
มโนกรรม อภิชฌาเป็นต้นก็เป็นของหยาบ แต่ภิกษุเมื่อบอกกัมมัฏฐานผิด
พลาดไป ก็ไม่ชื่อว่าชักชวนให้สมาทานในมโนกรรมอันสมควร เหมือนพระ-
เถระชาวทักษิณวิหาร ฉะนั้น.
* ปาฐะว่า อทาตุกาโม ฉบับพม่าเป็น อทาตุกาเมน แปลตามฉบับพม่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 23
พระเถระชาวทักษิณวิหาร
เล่ากันมาว่า บุตรขุนนางคนหนึ่งเข้าไปหาพระเถระนั้นแล้วถามว่า
บุคคลเมื่อจะเจริญเมตตา ควรเจริญเมตตาในบุคคลเช่นไรก่อน. พระเถระไม่
ยอมบอกถึงบุคคลผู้เป็นสภาคและวิสภาคกัน แต่กลับบอกว่าในบุคคลผู้เป็น
ที่รัก. บุตรขุนนางนั้น มีภรรยาเป็นที่รักใคร่. เขาจึงแผ่เมตตาไปหานาง
พลางถึงความคลุ้มคลั่ง.
ถามว่า ก็ภิกษุ ผู้บอกกัมมัฏฐาน นี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อมิใช่ประโยชน์
เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากอย่างไร.
ตอบว่า ก็เพราะ บริวารชนของภิกษุเห็นปานนี้มีสัทธิวิหาริกเป็น
ต้น และมีอุปัฏฐากเป็นต้น รวมทั้งเทวดาที่เหลือ ผู้เป็นมิตรของเทวดาเหล่า
นั้น ๆ เริ่มต้นตั้งแต่อารักขเทวดาของบริวารชนเหล่านั้นจนกระทั่งถึงพรหมโลก
ต่างจะพากันทำตามที่ภิกษุนั้นทำแล้วเทียว ด้วยคิดว่า ภิกษุนี้ไม่รู้แล้วจักไม่
ทำ ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก ด้วย
ประการดังพรรณนามาฉะนี้.
ในธรรมฝ่ายขาว พึงทราบกายกรรมและวจีกรรม ด้วยสามารถแห่ง
เจตนาทั้งหลาย มีเจตนาเป็นเครื่องงดเว้น จากปาณาติบาตเป็นต้นนั่นแล. ฝ่าย
ภิกษุผู้บอกกัมมัฏฐานมิให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่าสมาทานให้ดำรงอยู่ในธรรมที่
เหมาะสม เหมือนพระติสสเถระผู้ชำนาญใน ๔ นิกาย ชาวโกลิตวิหารฉะนั้น.
พระติสสเถระ
เล่ากันว่า พระทัตตาภยเถระ ผู้เป็นพี่ชายคนโตของพระติสสเถระนั้น
อยู่ในเจติยวิหาร เมื่อโรคชนิดหนึ่งเกิดขึ้น ให้เรียกพระน้องชายมาแล้วบอก
ว่า คุณ คุณช่วยบอกกัมมัฏฐานสักข้อหนึ่งที่เบา ๆ แก่ผมทีเถิด.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 24
พระน้องชายเรียนว่า หลวงพี่ขอรับ ประโยชน์อะไรด้วยกัมมัฏฐาน
ข้ออื่น หลวงพี่ควรกำหนดกวฬิงการาหาร.
พระพี่ชายถามว่า คุณ กวฬิงการาหารนี้มีประโยชน์อย่างไร.
พระน้องชายตอบว่า หลวงพี่ขอรับ กวฬิงการาหารเป็นอุปาทายรูป
และเมื่อเห็นอุปาทายรูปอย่างหนึ่งแล้ว อุปาทายรูป ๒๓ ก็ย่อมปรากฏชัดด้วย.
พระพี่ชายนั้น ได้ฟังดังนี้นั้นแล้ว ตอบว่า คุณ กัมมัฏฐานเท่านี้ก็เห็น
จะพอเหมาะแหละนะ ดังนี้แล้ว ส่งพระน้องชายนั้นกลับไป กำหนดกวฬิง-
การาหาร แล้วกำหนดอุปาทายรูป กลับไปกลับมา ก็ได้สำเร็จเป็นพระ
อรหันต์. ทันใดนั้น พระพี่ชายก็เรียกพระเถระ น้องชายนั้น ผู้ซึ่งยังไม่ทัน
ออกไปพ้นนอกวิหารเลย มาบอกว่า คุณ คุณเป็นที่พึ่งอย่างใหญ่หลวงของ
ผมแล้วนะ ดังนี้แล้ว บอกคุณที่ตนได้แล้วแก่พระเถระน้องชาย.
บทว่า พหุชนหิตาย ความว่า ก็บริวารชนของภิกษุแม้นี้ มีสัทธิ-
วิหาริกเป็นต้น ต่างพากันทำตามสิ่งที่ภิกษุนั้นทำแล้วเทียวด้วยคิดว่า ภิกษุนี้
ไม่รู้แล้วจักไม่ทำ อุปัฏฐากเป็นต้นก็เหมือนกัน เทวดาทั้งหลาย คือ อารักข-
เทวดาของบริวารชนเหล่านั้น ภุมมเทวดาผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดาเหล่านั้น
และอากาศเทวดาผู้เป็นมิตรของภุมมเทวดาเหล่านั้น รวมถึงเทวดาที่บังเกิด
ในพรหมโลก ก็พากันทำตามสิ่งที่ภิกษุนั้นทำแล้วเหมือนกัน ภิกษุชื่อว่าเป็น
ผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาญาตกสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 25
๒. สรณียสูตร
ว่าด้วยสถานที่ที่กษัตริย์และภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต
[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ ตำบลนี้ย่อมเป็นที่ระลึก
ตลอดชีพแห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก สถานที่ ๓ ตำบลไหนบ้าง ?
พระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษกประสูติ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึก
ตลอดชีพแห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เป็นตำบลที่ ๑
อีกข้อหนึ่ง พระราชาได้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก ณ ตำบลใด ตำบล
นี้เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เป็นตำบลที่ ๒
อีกข้อหนึ่ง พระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก ทรงผจญสงครามได้
ชัยชนะแล้วยึดสนามรบนั้นไว้ได้ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีพ
แห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เป็นตำบลที่ ๓ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย
สถานที่ ๓ ตำบล เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ ตำบลนี้ก็เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่ง
ภิกษุฉันนั้นเหมือนกัน สถานที่ ๓ ตำบลไหนบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน บวชเป็นอนคาริยะ ณ
ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งภิกษุ เป็นตำบลที่ ๑
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุรู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ... นี่เหตุเกิดทุกข์ ... นี่ความ
ดับทุกข์ ... นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึก
ตลอดชีพแห่งภิกษุ เป็นตำบลที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 26
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเอง
อยู่ในปัจจุบันนี้ ณ ตำบลใด ตำบลนี้เป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งภิกษุ เป็นตำบล
ที่ ๓ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ ตำบลเป็นที่ระลึกตลอดชีพแห่งภิกษุ.
จบสรณียสูตรที่ ๒
อรรถกถาสรณียสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสารณียสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
สิ่งประทับใจ ๓ ประการ
บทว่า ขตฺติยสฺส ได้แก่ เป็นกษัตริย์โดยกำเนิด. บทว่า มุทฺธา
ภิสิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้ได้รับมุรธาภิเษกแล้ว ด้วยการอภิเษกเป็นพระราชา.
บทว่า สรณียานิ โหนฺติ ความว่า ไม่ถูกลืม. บทว่า ชาโต แปลว่า
บังเกิดแล้ว. บทว่า ยาวชีว สรณีย ความว่า ในเวลาที่ยังทรงพระเยาว์อยู่
พระมหากษัตริย์ไม่สามารถจะทรงทราบอะไร ๆ ที่เกี่ยวกับพระองค์ได้เลย
(ก็จริง) แต่ว่าในเวลาต่อมา ทรงสดับเรื่องราวที่เหล่าพระประยูรญาติ มี
พระชนกชนนีเป็นต้น หรือผู้ที่อยู่ด้วยกันทูลว่า พระองค์ทรงพระราชสมภพ
ในชนบทโน้น ในนครโน้น ในวันโน้น ในนักษัตรโน้น ตั้งแต่วันนั้นมา
(เรื่องราวที่พระประยูรญาติตรัสเล่าให้ฟัง) เป็นเรื่องราวที่พระองค์จะต้อง
ระลึกไว้ คือไม่ทรงลืมตลอดพระชนม์ชีพทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 27
ความจริง พระเจ้าปากิตนันทะ ไม่มีกิจที่จะต้องกระทำด้วย
ชาติ และฐานะเป็นต้นเลย. แต่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำเหตุการณ์นี้มา
ก็เพื่อทรงแสดงบุคคล ๓ จำพวก ซึ่งเปรียบด้วยพระราชานั้น เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงบุคคลเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า เอวเมว
โข ภิกขเว เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า อนคาริย ปพฺพชิโต โหติ นี้
พึงทราบว่า จตุปาริสุทธิศีล อาศัยบรรพชานั่นแล. บทว่า สรณีย โหติ
ความว่า (สถานที่ที่ภิกษุปลงผมและหนวดแล้ว ครองผ้ากาสาวพัสตร์ ออก
จากเรือนบวชเป็นผู้ไม่มีเรือนนี้) เป็นสถานที่ที่ภิกษุจะต้องระลึกไว้ คือไม่ลืม
ตลอดชีวิตเลยทีเดียว อย่างนี้ว่า เราบวชแล้วที่โคนต้นไม้โน้น ในที่จงกรม
โน้น ในโรงอุปสมบทโน้น ในวิหารโน้น ในชนบทโน้น ในรัฐโน้น.
บทว่า อิท ทุกข ความว่า ทุกข์มีเพียงเท่านี้ ไม่มีทุกข์นอกเหนือ
ไปจากนี้. บทว่า อย ทุกฺขสมุทโย ความว่า เหตุเกิดทุกข์มีเพียงเท่านี้
ไม่มีเหตุเกิดทุกข์นอกเหนือไปจากนี้. แม้ในสองบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโสดาปัตติมรรคไว้ด้วยสัจจะ ๔ ในสูตรนี้
ดังพรรณนามาฉะนี้. ส่วนกสิณบริกรรม และวิปัสสนาญาณ อาศัยมรรคทั้งนั้น.
บทว่า สรณีย โหติ ความว่า (สถานที่ที่ภิกษุได้สำเร็จเป็นพระ-
โสดาบัน) เป็นสถานที่ที่ภิกษุจะต้องระลึกไว้ คือ ไม่ลืมตลอดชีวิตว่า เรา
สำเร็จเป็นพระโสดาบัน ที่ควงต้นไม้โน้น ฯลฯ ในรัฐโน้น. บทว่า อาสวาน
ขยา แปลว่า เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. บทว่า อนาสว เจโต
วิมุตฺตึ ได้แก่ ผลสมาธิ. บทว่า ปญฺาวิมุตฺตึ ได้แก่ผลปัญญา. บทว่า
สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ความว่า การทำให้ประจักษ์ด้วยปัญญาอัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 28
วิเศษยิ่ง ด้วยตนเองทีเดียว. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหรติ ได้แก่ ได้อยู่.
บทว่า สรณีย ความว่า ธรรมดาว่า สถานที่ที่ตนเองได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เป็นสถานที่ที่ภิกษุจะต้องระลึกไว้ คือ ไม่ลืมตลอดชีวิตว่า เราได้สำเร็จเป็น
พระอรหันต์ ที่ควงต้นไม้โน้น ฯลฯ ในรัฐโน้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบพระธรรมเทศนาตามอนุสนธิ ดังว่า
มานี้แล.
จบอรรถกถาสรณียสูตรที่ ๒
๓. ภิกขุสูตร
ว่าด้วยบุคลล ๓ จำพวกในทางโลกและทางธรรม
[๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก บุคคล
๓ จำพวกไหน คือ บุคคลผู้ไร้ความหวัง บุคคลผู้มีส่วนแห่งความหวัง บุคคล
ผู้สิ้นความหวังแล้ว
ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้ไร้ความหวัง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
บางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาลก็ดี ตระกูลคนดีดพิณก็ดี
ตระกูลพรานก็ดี ตระกูลช่างทำรถก็ดี ตระกูลคนรับจ้างเทขยะก็ดี ทั้งยากจน
ขัดสนข้าวน้ำโภชนะ เป็นอยู่อย่างแร้นแค้น หาอาหารและเครื่องนุ่งห่มได้
โดยฝืดเคือง ซ้ำเป็นคนขี้ริ้วขี้เหร่ เตี้ยแคระ มากไปด้วยโรค คือ ตาบอดบ้าง
เป็นง่อยบ้าง กระจอกบ้าง เปลี้ยบ้าง ไม่ใคร่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 29
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป บุคคล
ผู้นั้นได้ยินข่าวว่า เจ้าผู้มีพระนามอย่างนี้ อันเจ้าทั้งหลายอภิเษกให้เป็น
กษัตริย์แล้ว ความหวังอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้นว่า เมื่อไรหนา เจ้าทั้งหลาย
จักอภิเษกเราให้เป็นกษัตริย์บ้าง นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้ไร้
ความหวัง
ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้มีส่วนแห่งความหวัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระโอรสองค์ใหญ่ของพระราชาผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก ยังมิได้รับอภิเษก
ด้วยน้ำอภิเษก เป็นผู้มั่นคงแล้ว พระโอรสนั้นได้สดับข่าวว่า เจ้าผู้มี
พระนามอย่างนี้ อันเจ้าทั้งหลายอภิเษกให้เป็นกษัตริย์แล้ว ความหวังอย่างนี้
ย่อมมีได้แก่พระโอรสนั้นว่า เมื่อไรหนา เจ้าทั้งหลายจักอภิเษกเราให้เป็น
กษัตริย์บ้าง นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้มีส่วนแห่งความหวัง
ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้สิ้นความหวังแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระราชาได้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษกแล้ว พระราชานั้นทรงสดับข่าวว่า เจ้าผู้มี
พระนามอย่างนี้ อันเจ้าทั้งหลายอภิเษกให้เป็นกษัตริย์แล้ว ความหวังอย่างนี้
ไม่มีแก่พระราชานั้นว่า เมื่อไรหนา เจ้าทั้งหลายจักอภิเษกให้เราเป็นกษัตริย์
บ้าง นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะความหวังในการอภิเษกของพระองค์เมื่อครั้ง
ยังมิได้อภิเษกนั้นรำงับไปแล้ว นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่าบุคคลผู้สิ้น
ความหวังแล้ว
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกมีอยู่ในโลก
ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกก็มีอยู่ในหมู่
ภิกษุ บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง คือ บุคคลผู้ไร้ความหวัง บุคคลผู้มีส่วน
แห่งความหวัง บุคคลผู้สิ้นความหวังแล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 30
ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้ไร้ความหวัง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ลางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก (มีการกระทำ) ไม่สะอาด
มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานอันปกปิด ไม่เป็นสมณะ แต่ปฏิญญา
ว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เป็นคนเน่าใน
เปียกชื้นรกเรื้อ (ด้วยกิเลสโทษ) บุคคลนั้นได้ยินข่าวว่า ภิกษุชื่อนี้กระทำ
ให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
สิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบันนี่ ความหวังอย่างนี้
ย่อมไม่มีแก่บุคคลนั้นว่า เมื่อไรเล่า เราจักกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ในปัจจุบันนี้บ้าง นี่ ภิกษุทั้งหลาย เรา
เรียกว่า บุคคลผู้ไร้ความหวัง
ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้มีส่วนแห่งความหวัง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ภิกษุนั้นได้ยินข่าวว่า ภิกษุ
ชื่อนี้ กระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ใน
ปัจจุบันนี้ ความหวังอย่างนี้ย่อมมีได้แก่ภิกษุนั้นว่า เมื่อไรเล่า เราจักกระทำ
ให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ในปัจจุบันนี้บ้าง นี่
ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้มีส่วนแห่งความหวัง
ก็บุคคลอย่างไร ชื่อว่าผู้สิ้นความหวังแล้ว ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว เธอได้ยินข่าวว่า ภิกษุ
ชื่อนี้ การทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ใน
ปัจจุบันนี่ ความหวังอย่างนี้ย่อมไม่มีแก่เธอว่า เมื่อไรเล่า เราจักกระทำให้
แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ อยู่ในปัจจุบันนี้บ้าง นั่น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 31
เพราะเหตุอะไร เพราะความหวังในวิมุตติของเธอ เมื่อครั้งยังไม่วิมุตตินั้น
รำงับไปแล้ว นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลผู้สิ้นความหวังแล้ว
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกมีอยู่ในหมู่ภิกษุ.
จบภิกขุสูตรที่ ๓
อรรถกถาภิกขุสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในภิกขุสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า สนฺโต แปลว่า มีอยู่ คือหาได้อยู่. บทว่า สวิชฺชมานา
เป็นไวพจน์ของบทว่า สนฺโต นั้นนั่นแล. บทว่า โลกสฺมึ ได้แก่ ใน
สัตว์โลก. บทว่า นิราโส ได้แก่บุคคลผู้ไม่มีความหวัง คือ ไม่มีความ
ปรารถนา.
อธิบายบทว่า อาสโส - วิคตาโส
บทว่า อาสโส ได้แก่ บุคคลยังหวังอยู่ คือยังปรารถนาอยู่. บทว่า
วิคตาโส ได้แก่ บุคคลผู้เลิกหวังแล้ว. บทว่า จณฺฑาลกุเล ได้แก่ ใน
ตระกูลของคนจัณฑาลทั้งหลาย. บทว่า เวณกุเล ได้แก่ ในตระกูลของช่าง
สาน.๑ บทว่า เนสาทกุเล ได้แก่ ในตระกูลของนายพราน มีนายพราน
เนื้อเป็นต้น. บทว่า รถการกุเล ได้แก่ในตระกูลช่างหนัง. บทว่า ปุกฺกุสกุเล
ได้แก่ ในตระกูลของคนเทขยะ.
ครั้นทรงแสดงความวิบัติของตระกูลด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้
เพราะเหตุที่บุคคลลางคน แม้เกิดในตระกูลต่ำก็ยังมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก แต่บุคคล
๑. ปาฐะว่า วิวินฺนการกุเล ฉบับพม่าเป็น วิลีวการกุเล แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 32
ผู้ไม่มีหวังนี้ หาเป็นเช่นนั้นไม่ ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงถึงความวิบัติแห่งโภคะ
ของเขา จึงตรัสคำว่า ทลิทฺเท เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทลิทฺเท ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความ
เป็นผู้ยากจน. บทว่า อปฺปนฺนปานโภชเน ได้แก่ ตระกูล ที่มีข้าวน้ำ
และของบริโภคอยู่น้อย. บทว่า กสิรวุตฺติเก ได้แก่ ตระกูล ที่มีการเลี้ยง
ชีพลำบาก อธิบายว่า ในตระกูลที่คนทั้งหลาย ใช้ความพยายาม พากเพียร
อย่างยิ่ง สำเร็จการเลี้ยงชีวิต. บทว่า ยตฺถ กสิเรน ฆาสจฺฉาโท ลพฺภติ
ความว่า คนในตระกูลใด ทำมาหากิน ได้ของกิน คือ ข้าวยาคูและภัตร
และเครื่องนุ่งห่มที่พอปกปิดอวัยวะที่น่าละอายโดยยาก.
บัดนี้ เพราะเหตุที่บุคคลลางคนแม้เกิดในตระกูลต่ำมีอุปธิสมบัติ
คือดำรงอยู่ในการที่มีร่างกายสมประกอบ แต่ว่าบุคคลนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ฉะนั้น
เพื่อจะทรงแสดงความวิบัติแห่งร่างกายของเขา พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส
คำว่า โส จ โหติ ทุพฺพณฺโณ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺโณ ความว่า มีผิวพรรณดัง
ตอถูกไฟไหม้ คล้ายปีศาจคลุกฝุ่น.
บทว่า ทุทฺทสิโก ได้แก่ ไม่เป็นที่เจริญตา แม้ของมารดา บังเกิด
เกล้า. บทว่า โอโกฏิมโก ได้แก่คนเตี้ย. บทว่า กาโณ ได้แก่คนตาบอด
ข้างเดียวบ้าง คนตาบอดสองข้างบ้าง. บทว่า กุณิ ได้แก่ คนมือเป็นง่อย
ข้างเดียวบ้าง ง่อยทั้งสองข้างบ้าง. บทว่า ขญฺโช ได้แก่ คนขาเขยกข้าง
เดียวบ้าง คนขาเขยกทั้งสองข้างบ้าง. บทว่า ปกฺขหโต ได้แก่ คนเปลี้ย
คือคนง่อย.
บทว่า ปทีเปยฺยสฺส ได้แก่ อุปกรณ์แสงสว่าง มีน้ำมันและกระเบื้อง
เป็นต้น. บทว่า ตสฺส น เอว โหติ ความว่า คนนั้นย่อมไม่มีความคิดอย่างนี้.
ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 33
ตอบว่า เพราะเขาเกิดในตระกูลต่ำ.
บทว่า เชฏฺโ ความว่า เมื่อพระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่งที่เป็น
องค์โตยังมีอยู่ พระราชโอรสองค์เล็ก ก็ไม่ทรงทำความหวัง เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เชฏฺโ ดังนี้. บทว่า อภิเสโก ความว่า
แม้พระราชโอรสองค์โตก็ยังไม่ควรอภิเษก จึงไม่ทรงทำความหวัง เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อภิเสโก ดังนี้. บทว่า อนภิสิตฺโต
ความว่า แม้พระราชโอรสที่ควรแก่การอภิเษกซึ่งเว้นจากโทษ มีพระเนตรบอด
และพระหัตถ์หงิกง่อยเป็นต้น ได้รับอภิเษกครั้งเดียวแล้ว ก็ไม่ทรงทำความ
หวังในการอภิเษกอีก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
อนภิสิตฺโต ดังนี้. บทว่า มจลปฺปตฺโต๑ ความว่า ฝ่ายพระราชโอรส
องค์โตก็ยังเป็นเด็กอ่อนนอนแบเบาะ มิได้รับการอภิเษก พระราชโอรสแม้นั้น
มิได้ทำความหวังในการอภิเษก แต่ต่อมา ทรงมีพระชนมายุ ได้ ๑๖ พรรษาเริ่ม
มีพระมัสสุปรากฏ ชื่อว่าทรงบรรลุนิติภาวะ สามารถจะว่าราชการใหญ่ได้
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า มจลปฺปตฺโต ดังนี้. บทว่า
ตสฺส เอว โหติ ได้แก่ ถามว่า เพราะเหตุไร พระราชโอรสนั้น จึงมีพระ-
ดำริอย่างนี้. ตอบว่า เพราะพระองค์มีพระชาติสูง.
บทว่า ทุสฺสีโล ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล. บทว่า ปาปธมฺโม ได้แก่ ผู้มี
ธรรมอันลามก. บทว่า อสุจิ ได้แก่ผู้ประกอบด้วยกรรมทั้งหลาย มีกายกรรม
เป็นต้นอันไม่สะอาด. บทว่า สงฺกสฺสรสมาจาโร ความว่า ผู้มีสมาจารอัน
บุคคลอื่น พึงระลึกถึงด้วยความรังเกียจ คือมีสมาจารเป็นที่ตั้งแห่งความรังเกียจ
ของคนอื่นอย่างนี้ว่า ผู้นี้ชะรอยจักทำบาปกรรมนี้ เพราะเขาได้เห็นบาปกรรม
๑. ในพระบาลี เป็น อจลปฺปตฺโต.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 34
บางอย่างที่ไม่เหมาะสม. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า มีสมาจารที่ตนนั่นแล พึง
ระลึกถึงด้วยความระแวง ชื่อว่า สงฺกสฺสรสมาจาโร. จริงอยู่ ภิกษุนั้น
เห็นภิกษุทั้งหลายประชุมปรึกษากันถึงเรื่องบางเรื่องในที่ทั้งหลายมีที่พักกลางวัน
เป็นต้น แล้วก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้จับกลุ่มกันปรึกษา พวกเธอ
รู้กรรมที่เราทำแล้วจึงปรึกษากัน หรือหนอแล อย่างนี้ เธอชื่อว่า มีสมาจาร
ที่ตนเองพึงระลึกถึงด้วยความระแวง. บทว่า ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺโต ความว่า
ผู้ประกอบด้วยบาปกรรมที่ต้องปิดบัง. บทว่า อสฺสมโณ สมณปฏิฺโ
ความว่า บุคคลไม่เป็นสมณะเลย แต่กลับปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นสมณะ
เพราะเขาเป็นสมณะเทียม.
บทว่า อพฺรหฺมจารี พฺรหฺมจารีปฏิญฺโ ความว่า บุคคลไม่เป็น
พรหมจารีเลย แต่เห็นผู้อื่นที่เป็นพรหมจารีนุ่งห่มเรียบร้อย ครองผ้าสีดอกโกสุม
เที่ยวบิณฑบาต เลี้ยงชีวิตอยู่ในคามนิคมราชธานี ก็ทำเป็นเหมือนให้ปฏิญญา
ว่า เราเป็นพรหมจารี เพราะแม้ตนเองก็ปฏิบัติด้วยอาการเช่นนั้น คืออย่าง
นั้น. แต่เมื่อกล่าวว่า เราเป็นภิกษุ แล้วเข้าไปยังโรงอุโบสถเป็นต้น ชื่อว่า
ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี แท้ทีเดียว. เมื่อจะรับลาภของสงฆ์ก็ทำนองเดียวกัน
คือปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี.
บทว่า อนฺโตปูติ ได้แก่ มีภายในหมักหมมด้วยกรรมเสีย. บทว่า
อวสฺสุโต ได้แก่ ผู้เปียกชุ่มด้วยกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ที่เกิดอยู่เสมอ
บทว่า ตสฺส น เอว โหติ ความว่า บุคคลนั้น ไม่มีความคิดอย่างนี้
เพราะเหตุไร เพราะเขาไม่มีอุปนิสัยแห่งโลกุตรธรรม. บทว่า ตสฺส เอว
โหติ ความว่า เพราะเหตุไร เธอจึงมีความคิดอย่างนี้ เพราะเธอเป็นผู้มี
ปกติทำให้บริบูรณ์ในมหาศีล.
จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 35
๔. จักกวัตติสูตร
ว่าด้วยราชาของพระเจ้าจักรพรรดิและของพระพุทธองค์
[๔๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา ย่อมไม่ยังจักรอันไม่มีพระราชาให้เป็นไป ครั้นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ใครเป็นพระราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม
เป็นธรรมราชา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรม เป็นพระราชา
ของพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ... ทรงอาศัยธรรมนั่นแล ทรง
สักการะ ... เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มี
ธรรมเป็นอธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างยุติธรรม ในอันโตชน๑
... ในกษัตริย์ ... ในอนุยนต์๒... ในทหาร ... ในพราหมณคฤหบดี ... ใน
ชาวนิคมชนบท ... ในสมณพราหมณ์ ... ในเนื้อและนกทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ
พระเจ้าจักรพรรดิ ... นั้นแล ครั้นทรงอาศัยธรรม ทรงสักการะ ... เคารพ ...
นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นอธิปไตย จัดการ
รักษาป้องกันคุ้มครองอย่างยุติธรรม ในอันโตชน ... ในกษัตริย์ ... ใน
อนุยนต์ ... ในทหาร ... ในพราหมณคฤหบดี ... ในชาวนิคมชนบท ... ใน
สมณพราหมณ์ ... ในเนื้อและนกทั้งหลายแล้ว ทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรม
นั้นเทียว จักรนั้นจึงเป็นจักรอันข้าศึกผู้เป็นมนุษย์ไร ๆ ให้เป็นไปตอบไม่ได้
(คือต้านทานคัดค้านไม่ได้)
ดูก่อนภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะก็อย่างนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น ทรงสักการะ ...
๑. คนในครัวเรือน คือ ในราชสำนัก ๒. ราชบริพาร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 36
เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็น
อธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองที่เป็นธรรมในกายกรรม ด้วยโอวาทว่า
กายกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ กายกรรมอย่างนี้ไม่ควรประพฤติ ... ในวจีกรรม
ด้วยโอวาทว่า วจีกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ วจีกรรมอย่างนี้ไม่ควรพระพฤติ
... ในมโนกรรม ด้วยโอวาทว่า มโนกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ มโนกรรม
อย่างนี้ไม่ควรพระพฤติ ดูก่อนภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะผู้ทรง
ธรรมเป็นพระธรรมราชานั้นแล ครั้นทรงอาศัยธรรม ทรงสักการะ ...
เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็น
อธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองที่เป็นธรรมในกายกรรม ... ในวจีกรรม
... ในมโนกรรมแล้ว ทรงยังพระธรรมจักรอย่างยอดเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรม
นั่นเทียว พระธรรมจักรนั้นจึงเป็นจักรอันสมณะหรือพราหมณ์หรือเทวดา
หรือมารหรือพรหมหรือใคร ๆ ในโลก ให้เป็นไปตอบไม่ได้.
จบจักกวัตติสูตรที่ ๔
อรรถกถาจักกวัตติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในจักกวัตติสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-
ความหมายของคำว่า ราชา
ที่ชื่อว่า ราชา เพราะหมายความว่า ทำให้ประชาชนรักด้วยสังคห-
วัตถุ ๔. ที่ชื่อว่า จักรพรรดิ เพราะหมายความว่า ทำจักรให้หมุนไป.
ที่ชื่อว่า ธัมมิกะ เพราะหมายความว่า มีธรรม. ที่ชื่อว่า ธรรมราชา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 37
เพราะหมายความว่า ทรงเป็นพระราชาด้วยธรรมนั่นเอง คือ ด้วยจักรพรรดิ
วัตร ๑๐ ประการ. บทว่า โสปิ น อราชก ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้น
เมื่อไม่ได้พระราชาอื่นเป็นที่อาศัย๑ ก็ไม่ทรงสามารถจะปล่อยจักรไปได้.
พระศาสดาทรงเริ่มเทศนาไว้อย่างนี้แล้ว ได้ทรงนิ่งเสีย. ถามว่า เพราะ
เหตุไร. ตอบว่า เพราะพระองค์ทรงดำริว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดในอนุสนธิ
จักลุกขึ้นถามอนุสนธิ. เนื่องจากว่า ในที่นี้มีภิกษุทำนองนั้นมากอยู่มาก ครั้นแล้ว
เราตถาคตอันภิกษุเหล่านั้น ถามแล้ว จึงจักขยายเทศนา. ทันใดนั้น ภิกษุ
ผู้ฉลาดในอนุสนธิรูปหนึ่ง เมื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูลคำว่า
โก ปน ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพยากรณ์
แก่ภิกษุนั้น จึงตรัสคำว่า ธมฺโม ภิกขุ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ธรรม คือ กุศลกรรมบถ
๑๐ ประการ. บทว่า ธมฺม ได้แก่ ธรรมมีประการดังกล่าวแล้วนั้นแล. บทว่า
นิสฺสาย ได้แก่ ทำธรรมนั้นแลให้เป็นที่อาศัยด้วยใจ ซึ่งเป็นที่ตั้งของธรรม
นั้น. บทว่า ธมฺม สกุกโรนฺโต ความว่า ธรรมที่ตนสักการะแล้วนั่นแล
ย่อมเป็นอันทำด้วยดีด้วยประการใด ก็กระทำโดยประการนั้นทีเดียว. บทว่า
ธมฺม ครุกโรนฺโต ความว่า เคารพธรรมนั้นด้วยการเกิดความเคารพใน
ธรรมนั้น. บทว่า ธมฺม อปจายมาโน ความว่า ทำความอ่อนน้อมถ่อมตน
ด้วยสามีจิกรรม มีการประคองอัญชลีเป็นต้น แก่ธรรมนั้นนั่นแล.
บทว่า ธมฺมทฺธโช ธมฺมเกตุ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมเป็นธงชัย
และชื่อว่า เป็นผู้มีธรรมเป็นตรา เพราะทำธรรมนั้นไว้ข้างหน้า เหมือนนัก
รบยกธงไว้ข้างหน้า และยกธรรมนั้นขึ้น เหมือนนักรบยกทวนขึ้นเป็นไป.
บทว่า ธมฺมาธิปเตยฺโย ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมเป็นใหญ่ เพราะความ
๑. ปาฐะว่า นิสฺสาย ราชาน ลภิตฺวา ฉบับพม่าเป็น นิสฺสยราชาน อลภิตฺวา แปลตามฉบับพม่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 38
เป็นผู้มีธรรมเป็นอธิบดี และเพราะทำกิริยาทั้งปวง (ราชกิจทุกอย่าง) ด้วย
อำนาจธรรมนั่นแล. ในบทว่า ธมฺมิก รกฺขาวรณคุตฺตึ สวิทหติ พึงทราบ
อธิบายว่า การรักษาเป็นต้น ชื่อว่า ประกอบด้วยธรรม เพราะหมายความว่า
มีธรรม. การรักษาการป้องกัน และการคุ้มครอง ชื่อว่า รักขาวรณคุตติ.
บรรดาการรักษา การป้องกัน และการคุ้มครองเหล่านั้น คุณธรรมมีขันติ
เป็นต้น ชื่อว่าการรักษา ตามพระพุทธพจน์ที่ว่า บุคคลเมื่อรักษาคนอื่น ชื่อว่า
รักษาตน. สมจริงดังพระพุทธดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็บุคคลรักษาคนอื่น ด้วยวิธีอย่างไร จึงชื่อว่า รักษาตน
บุคคลรักษาคนอื่นด้วยขันติ ด้วยอวิหิงสา ด้วยเมตตาจิต (และ) ด้วย
ความเป็นผู้มีความเอ็นดู จึงชื่อว่า รักษาตนด้วย ดังนี้. การป้องกัน
สมบัติ มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม และเรือนเป็นต้น ชื่อว่าอาวรณะ. การคุ้มครองเพื่อ
ป้องกันอุปัทวันตรายจากโจรเป็นต้น ชื่อว่า คุตติ. อธิบายว่า พระเจ้าจักร-
พรรดิ ทรงจัดคือทรงวาง การรักษา การป้องกัน และการคุ้มครองที่ชอบ
ธรรมนั้นทั้งหมดด้วยดี.
ผู้ที่ต้องจัดอารักขาให้
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงบุคคลที่จะต้องจัดการรักษา ป้องกันและ
คุ้มครอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อนฺโตชนสฺมึ ดังนี้เป็นต้น. ใน
บทว่า อนฺโตชนสฺมึ เป็นต้นนั้น มีความย่อดังต่อไปนี้
พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงให้พระราชโอรส และพระมเหสี ที่เรียกว่า
คนภายใน ดำรงอยู่ในศีลสังวร พระราชทานผ้า ของหอม และพวงมาลา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 39
เป็นต้น แก่พระราชโอรส และพระมเหสี พร้อมทั้งป้องกันอุปัทวันตราย
ทั้งปวง ให้แก่พระราชโอรส และพระมเหสีนั้น ชื่อ ว่า จัดแจง การรักษา
การป้องกัน และการคุ้มครองที่เป็นธรรมให้. แม้ในกษัตริย์เป็นต้น ก็มีนัย
(ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้แล. ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้.
กษัตริย์ผู้ได้รับอภิเษกแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทรงอุปเคราะห์
แม้ด้วยการพระราชทานรัตนะ มีม้าอาชาไนยตัวที่มีลักษณะดีเป็นต้นให้.
กษัตริย์ที่ตามเสด็จ พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องให้พอพระทัยแม้ด้วยการพระ-
ราชทานยานพาหนะที่คู่ควรให้. พลนิกาย พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องอนุเคราะห์
แม้ด้วยการพระราชทาน อาหาร บำเหน็จให้ โดยไม่ให้ล่วงเวลา.
พราหมณ์ทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องอนุเคราะห์ด้วยไทยธรรม
มีข้าว น้ำ และผ้าเป็นต้น. คฤหบดีทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทรง
อนุเคราะห์ด้วยการพระราชทานภัตร พืช ไถ และโคพลิพัทเป็นต้นให้.
ประชาชน ผู้อยู่ในนิคม ชื่อว่า เนคมะ ประชาชนที่อยู่ในชนบท ชื่อว่า
ชานปทะ ประชาชนเหล่านั้นทั้งหมด ก็เหมือนกัน คือ พระเจ้าจักรพรรดิ
ก็ต้องทรงอนุเคราะห์ด้วย.
ส่วนสมณพราหมณ์ ผู้มีบาปอันสงบแล้ว ลอยบาปได้แล้ว พระเจ้า
จักรพรรดิ ก็ต้องทรงสักการะ ด้วยการพระราชทานสมณบริขารให้ เนื้อและ
นก พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทำให้ปลอดโปร่งใจด้วยการพระราชทานอภัยให้.
พระเจ้าจักรพรรดิใครขัดขวางไม่ได้
บทว่า ธมฺเมเนว จกฺก วตฺเตติ ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิทรง
หมุนจักรให้เป็นไปโดยธรรม คือกุศลกรรมบถ ๑๐ นั่นเอง. บทว่า ต โหติ
จกฺก อปฺปฏิวตฺติย ความว่า จักร คือ อาญาสิทธิ์ นั้น คือ ที่พระเจ้า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 40
จักรพรรดินั้นให้หมุนไปแล้วอย่างนั้น เป็นของอันมนุษย์คนไหน ให้หมุนกลับ
ไม่ได้. บทว่า เกนจิ มนุสฺสภูเตน ความว่า ธรรมดาเทวดาทั้งหลายย่อม
ทำสิ่งที่คนปรารถนา ๆ ได้ สำเร็จสมปรารถนา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า มนุสฺสภูเตน ดังนี้ โดยไม่ทรงรวมถึงเทวดาเหล่านั้นด้วย.
บทว่า ปจฺจตฺถเกน ได้แก่ ข้าศึก อธิบายว่า เป็นศัตรูเฉพาะหน้า.
บทว่า ธมฺมิโก ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นธัมมิกะ ด้วย
อำนาจกุศลธรรมบถ ๑๐ ส่วนพระตถาคตทรงเป็นธัมมิกะด้วยอำนาจโลกุตร
ธรรม ๙. บทว่า ธมฺมราชา ความว่า พระตถาคตชื่อว่าเป็นธรรมราชาเพราะ
หมายความว่า ทำมหาชนให้ยินดี ด้วยโลกุตรธรรม ๙. บทว่า ธมฺมเยว
ความว่า พระตถาคตทรงอาศัยโลกุตรธรรม ๙ นั่นแล สักการะธรรมนั้น
เคารพธรรมนั้น นอบน้อมธรรมนั้น. ธรรมของพระตถาคตนั้นแลชื่อว่าเป็น
ธงชัย เพราะหมายความว่าอยู่สูง เพราะเหตุนั้น พระตถาคตนั้น จึงชื่อว่ามี
ธรรมเป็นธงชัย. ธรรมนั้นแล ของพระตถาคตนั้น เป็นตรา เพราะ
เหตุนั้น พระตถาคตนั้น จึงชื่อว่า มีธรรมเป็นตรา. พระตถาคตชื่อว่า
ธัมมาธิปเตยยะ เพราะหมายความว่า ทรงทำธรรมให้เป็นอธิบดี คือให้เป็น
ใหญ่อยู่. บทว่า ธมฺมิก รกฺขาวรณคุตฺตึ ความว่า การรักษา การป้องกัน
และการคุ้มครองที่ให้ โลกิยธรรม และ โลกุตรธรรม. บทว่า สวิทหติ
ได้แก่ทรงวาง คือ ทรงบัญญัติ. บทว่า เอวรูป ความว่า บุคคลไม่ควรเสพ
ทุจริต ๓ อย่าง แต่ควรเสพ สุจริต.* ในทุกบท ก็พึงทราบ อรรถาธิบาย
อย่างนี้.
บทว่า สวิทหิตฺวา ได้แก่ ทรงวางไว้ คือ ตรัสบอก. บทว่า
ธมฺเมเนว อนุตฺตร ธมฺมจกฺก ปวตฺเตติ ความว่า พระตถาคตทรงหมุน
* ปาฐะว่า อจฺจนฺต น เสวิตพฺพ ฉบับพม่าเป็น สฺจริต เสวิตพฺพ แปลตามฉบับพม่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 41
ธรรมจักร ที่ไม่มีจักรใดเสมอเหมือนให้เป็นไปโดยโลกุตรธรรม ๙ นั่นแล.
บทว่า ต โหติ จกฺก อปฺปฏิวตฺติย ความว่า จักรคือธรรมนั้น ที่พระตถาคต-
เจ้าให้หมุนไปแล้วอย่างนั้น อันใคร ๆ แม้สักคนหนึ่ง ในบรรดาบุคคลเหล่านี้
มีสมณะเป็นต้น ไม่สามารถจะให้หมุนกลับคือขัดขวางได้. บทที่เหลือในที่
ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาจักกวัตติสูตรที่ ๔
๕. ปเจตนสูตร
ว่าด้วยความคดของไม้กับคน
[๔๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อิสิปตน-
มิคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้ง
หลายในที่นั้นแล ด้วยพระพุทธพจน์ว่า ภิกฺขโว แน่ะภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นกราบทูลขานรับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำว่า ภทนฺเต พระพุทธ-
เจ้าข้า แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ยังมีพระราชานามว่า
ปเจตนะ ครั้งนั้น พระเจ้าปเจตนะ ตรัสเรียกช่างทำรถมารับสั่งว่าแน่ะ
สหายช่างทำรถ แต่นี้ล่วงไป ๖ เดือน สงความจักมีแก่ข้า เจ้าอาจทำล้อรถ
ใหม่คู่หนึ่งให้ข้าได้หรือไม่ ช่างทำรถทูลรับต่อพระเจ้าปเจตนะว่า ได้พระเจ้า
ข้า ครั้งนั้น ช่างทำรถทำล้อได้ข้างเดียวสิ้นเวลาถึง ๖ เดือนหย่อนอยู่ ๖ วัน
พระเจ้าปเจตนะจึงตรัสเรียกช่างทำรถมารับสั่งถามว่า แน่ะสหายช่างทำรถ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 42
แต่นี้ล่วงไป ๖ วัน สงครามจักเกิดละ ล้อรถคู่ใหม่สำเร็จแล้วหรือ ช่างทำ
รถทูลว่า ขอเดชะ โดยเวลา ๖ เดือนหย่อนอยู่ ๖ วันนี้ ล้อสำเร็จได้ข้างเดียว
พระราชารับสั่งว่า ก็เจ้าจะทำล้อข้างที่ ๒ ให้สำเร็จโดยเวลา ๖ วันนี้ได้หรือไม่
ช่างทำรถทูลรับว่า ได้ แล้วก็ทำล้อข้างที่ ๒ สำเร็จโดยเวลา ๖ วัน แล้วนำล้อคู่
ใหม่ไปเฝ้าพระเจ้าปเจตนะ ครั้นเข้าไปถึงแล้วกราบทูลว่า นี่พระเจ้าข้า ล้อ
รถคู่ใหม่ของพระองค์สำเร็จแล้ว พระราชารับสั่งว่า สหายช่างทำรถ ล้อข้าง
ที่ทำแล้ว ๖ เดือนหย่อน ๖ วัน กับล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ วันนี้ ต่างกันอย่างไร
ข้าไม่เห็นความต่างกันสักหน่อย ช่างทูลว่า มีอยู่ พระเจ้าข้า ความต่างกัน
ของล้อทั้งสองนั้น ขอเชิญพระองค์ทอดพระเนตรความต่างกัน ว่าแล้วช่างทำ
รถก็หมุนล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ วัน มันกลิ้งไปพอสุดกำลังหมุนแล้วก็ตะแคงล้มลง
ดิน แล้วก็หมุนข้างที่ทำ ๖ เดือนหย่อน ๖ วัน มันกลิ้งไปสุดกำลังหมุน
แล้วก็ตั้งอยู่ราวกะติดอยู่กับเพลา.
พระเจ้าปเจตนะตรัสถามว่า เหตุอะไร ปัจจัยอะไร สหายช่างทำรถ
ล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ วันนี้ กลิ้งไปสุดกำลังหมุนแล้วจึงตะแคงล้มลงดิน ... ล้อ
ข้างที่ทำแล้ว ๖ เดือนหย่อน ๖ วันนั้น กลิ้งไปสุดกำลังหมุนแล้วจึงตั้งอยู่ราว
กะติดอยู่กับเพลา ช่างทูลชี้แจงว่า ข้าแต่สมมติเทพ ล้อข้างที่ทำแล้ว ๖ วัน
นี้ กงของมันก็ประกอบด้วยไม้ที่คด ที่มีโทษ ที่มีกสาวะ กำ ... ดุมก็ประกอบ
ด้วยไม้ที่คด ที่มีโทษที่มีกสาวะ เพราะความที่กง ... กำ ... ดุมประกอบด้วย
ไม้ที่คด ที่มีโทษที่มีกสาวะ มันกลิ้งไปสุดกำลังหมุนแล้วจึงตะแคงล้มลงดิน
ไม้มีกสาวะ กำ... ดุม ก็ไม่มีคด ไม่มีโทษ ไม่มีกสาวะ เพราะความที่กง
... กำ ... ดุม ไม่มีคด ไม่มีโทษ ไม่มีกสาวะ มันกลิ้งไปสุดกำลังหมุนแล้ว
จึงตั้งอยู่ได้ราวกะติดอยู่กับเพลา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 43
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายคงนึกอย่างนี้ว่า ช่างทำรถคราวนั้น
เป็นคนอื่นเป็นแน่ แต่ท่านทั้งหลายอย่าเข้าใจอย่างนั้น เราเองเป็นช่างทำรถ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อครั้งนั้น เราเป็นผู้ฉลาดต่อความคดของไม้ โทษ
ของไม้ กสาวะของไม้ แต่กาลบัดนี้ เราเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ เป็น
ผู้ฉลาดต่อความคดทางกาย ... ทางวาจา ... ทางใจ ต่อโทษ ... ต่อกสาวะทางกาย
... ทางวาจา ... ทางใจ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความคด ... โทษ ... กสาวะทางกาย ... ทางวาจา
..ทางใจ ของผู้ใดผู้หนึ่ง ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว ภิกษุ
ภิกษุณีเหล่านั้นก็ตกไปจากพระธรรมวินัยนี้เหมือนล้อรถที่ทำแล้ว ๖ วันฉะนั้น
ความคด ... โทษ ... กสาวะทางกาย ... ทางวาจา ... ทางใจ ของผู้ใดผู้หนึ่ง
ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว ภิกษุภิกษุณีเหล่านั้นก็ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรม
วินัยนี้ได้ เหมือนล้อรถที่ทำแล้ว ๖ เดือนหย่อน ๖ วันฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย พึงสำเหนียกในข้อนี้
อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละความคดทางกาย โทษทางกาย กสาวะทางกาย
จักละความคดทางวาจา โทษทางวาจา กสาวะทางวาจา จักละความคดทางใจ
โทษทางใจ กสาวะทางใจ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบปเจตนสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 44
อรรถกถาปเจตนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปเจตนสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-
ความหมายของคำว่า อิสิปตนะ
บทว่า อิสิปตเน ความว่า อันเป็นที่ที่พวกฤาษี กล่าวคือพระ-
พุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้ามาพัก เพื่อประกาศธรรมจักร และเพื่อต้อง
การทำอุโบสถ อธิบายว่า สถานที่ประชุม. ปาฐะว่า ปทเน ดังนี้ ก็มี.
ความหมายก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า มิคทาเย ความว่า ในป่าที่พระราชทาน
เพื่อต้องการให้เป็นสถานที่ที่ไม่มีภัย สำหรับเนื้อทั้งหลาย.
บทว่า ฉหิ มาเสหิ ฉารตฺตูเนหิ ความว่า ได้ยินว่า ช่างรถนั้น
จัดแจงอุปกรณ์ทุกชนิด แล้วเข้าป่าพร้อมด้วยอันเตวาสิก ในวันที่ได้รับกระแส
พระบรมราชโองการเลยทีเดียว เว้นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามประตูหมู่บ้าน กลาง
หมู่บ้าน เทวสถาน และสุสานเป็นต้น และต้นไม้ที่ถูกไฟไหม้ ต้นไม้ล้ม
และต้นไม้แห้ง เลือกเอาต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในภูมิประเทศที่ดี ปราศจากโทษทั้ง
หมด สมควรใช้ทำดุม ซี่ กำและกงได้ มาทำเป็นล้อรถนั้น เมื่อช่างไม้
เลือกเอาต้นไม้มาทำเป็นล้อรถอยู่นั้น เวลาเท่านี้ ๖ เดือนหย่อน ๖ ราตรี ก็
ล่วงเลยไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ฉหิ มาเสหิ
ฉารตฺตูเนหิ ดังนี้.
บทว่า นานากรณ ได้แก่ ความแตกต่างกัน. บทว่า เนส ตัด
บทเป็น น เอส แปลว่า เรามองไม่เห็นความแตกต่างของล้อเหล่านั้น. บทว่า
อตฺเถส ตัดบทเป็น อตฺถิ เอส แปลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ล้อทั้ง ๒ นั้น
มีความแตกต่างกันอยู่. บทว่า อภิสงฺขารสฺส คติ ได้แก่ การหมุนไป.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 45
บทว่า จิงฺคุลายิตฺวา แปลว่า ตะแคงไป. บทว่า อกฺขาหต มญฺเ
ความว่า เหมือนวางสอดเข้าไปในเพลา.๑ บทว่า สโทสา ความว่า มีปม
คือประกอบด้วยที่สูง ๆ ต่ำ ๆ. บทว่า สกสาวา ความว่า ติดแก่นที่เน่าและ
กระพี้.
บทว่า กายวงฺกา เป็นต้น เป็นชื่อของทุจริตทั้งหลาย มีกายทุจริตเป็น
ต้น. บทว่า เอว ปปติตา ความว่า ตกไปโดยพลาดจากคุณความดีอย่างนี้.
บทว่า เอว ปติฏฺิตา ความว่า ดำรงอยู่โดยคุณธรรมอย่างนี้. ในคน ๖
ประเภทนั้น โลกิยมหาชน ชื่อว่าตกไปแล้ว จากคุณความดี. ส่วนพระอริย
บุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น ชื่อว่า ตั้งมั่นอยู่แล้ว ในคุณความดี. แม้ใน
จำนวนของพระอริยบุคคล ๔ ประเภทเหล่านั้น พระอริยบุคคล ๓ ประเภทข้าง
ต้น ชื่อว่าตกไปแล้วจากคุณงามความดี ในขณะที่กิเลสทั้งหลายฟุ้งขึ้น. ส่วน
พระขีณาสพ ชื่อว่าตั้งมั่น อยู่แล้วโดยส่วนเดียวโดยแท้. บทว่า ตสฺมา ความ
ว่า เพราะเหตุที่พระอริยเจ้า ๓ ประเภทข้างต้น ผู้ยังละความคดทางกายไม่ได้
เป็นต้นจึงตกไป ส่วนพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้ละความคดทางกายเป็นต้นได้
แล้ว ย่อมตั้งมั่นอยู่ ในคุณความดี.
อนึ่ง พึงทราบการละความคดทางกายเป็นต้น ดังต่อไปนี้ ก่อนอื่น
อกุศลกรรมบถ ๖ ข้อเหล่านั้น คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน มิจฉาจาร
มุสาวาท ปิสุณาวาจา มิจฉาทิฏฐิ พระอริยบุคคล ย่อมละได้ด้วยโสดา-
ปัตติมรรค. สองอย่างคือ ผรุสวาจา พยาบาท จะละได้ด้วยอนาคามิมรรค-
สองอย่างคือ อภิชฌา สัมผัปปลาปะ จะละได้ด้วยอรหัตมรรค.
จบอรรถกถาปเจตนสูตรที่ ๕
๑. ปาฐะว่า อกฺเข ปเวเสตฺวา ปิตมิว มญฺามิ ฉบับพม่าเป็น อกฺเขปเวเสตฺวา ปิตมิว
แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 46
๖. อปัณณกสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติไม่ผิด
[๔๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติอปัณณกปฏิปทา๑ และเหตุแห่งความสิ้นอาสวะทั้งหลายชื่อว่า
เป็นอันภิกษุนั้นได้เริ่มแล้วด้วยธรรม ๓ ประการ คืออะไรบ้าง คือภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแท้ในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้จัก
ประมาณในโภชนะ เป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอน
๑. ก็ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่าง-
ไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว . .ฟังเสียงด้วยหูแล้ว
ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ... ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว
..รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาโดยนิมิต๒ ไม่ถือเอาโดยอนุ-
พยัญชนะ อภิชฌา โทมนัส ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปเป็นอกุศล จะพึงไหล
ไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ... กาย ...
ใจอยู่ เพราะเหตุความไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ...
กาย...ใจ อันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นเสียซึ่งอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก
... ลิ้น ... กาย ... ใจนั้น รักษาอินทรีย์ คือ ตา ... หู ... จมูก ... ลิ้น ...
กาย ... ใจ ถึงความสำรวมในอินทรีย์ คือ ตา ... หู ...จมูก ... ลิ้น ...
กาย ... ใจ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วใน
อินทรีย์ทั้งหลาย
๑. ข้อปฏิบัติไม่ผิด
๒. ถือโดยนิมิต ได้แก่รวบถือเอาทั้งหมดในรูปที่ได้เห็น ฯลฯ ว่างาม ท่านเปรียบด้วยกิริยาที่
จระเข้ฮุบเหยื่อ ถือโดยพยัญชนะ ได้แก่เลือกถือเอาเป็นอย่าง ๆ ในรูป ฯลฯ นั้นว่า
คิ้วงาม นัยน์ตางาม จมูกงาม เป็นต้น ท่านเปรียบด้วยกิริยาที่เป็ดไซ้หาเหยื่อ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 47
๒. ก็ภิกษุเป็นผู้รู้จักบ่ระมาณในโภชนะอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัย
นี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงกลืนกินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อเมา
มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อบ่ระเทืองผิว เพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อ
ยังชีวิตให้เป็นไป เพื่อหายความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์๑ ด้วยคิดว่า
ด้วยการกินอาหารนี้ เราจักระงับเวทนาเก่า๒ เสียได้ด้วย เราจักไม่ยังเวทน.
ใหม่๓ ให้เกิดขึ้นด้วย ความสมประกอบ ความไม่มีโทษและความอยู่ผาสุก
จักมีแก่เรา อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
๓. ก็ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอนอย่างไร ภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้เวลากลางวัน ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม๔ ด้วยการจงกรม๕
ด้วยการนั่ง เวลากลางคืน ตอนยามต้น ก็ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการ
จงกรม ด้วยการนั่ง ตอนยามกลาง สำเร็จสีหไสยา โดยข้างเบื้องขวา
ซ้อนเท้าให้เหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ทำอุฏฐานสัญญา ไว้ในใจ ตอน
ยามปลาย กลับลุกขึ้นชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่นอน
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่า
เป็นผู้ปฏิบัติอปัณณกปฏิปทา และเหตุแห่งความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ชื่อว่า
เป็นอันภิกษุนั้นได้เริ่มแล้วด้วย.
จบอปัณณกสูตรที่ ๖
๑. คือเพื่อให้มีกำลังบำเพ็ญพรหมจรรย์ต่อไป ๒. ความหิว ๓. ความอึดอัดเพราะกินเกิน
ประมาณหรือโทษต่าง ๆ ที่เกิดเพราะกินไม่รู้จักประมาณ ๔. ธรรมคือเครื่องกั้นจิตไม่ให้
บรรลุความดี คือ นิวรณ์นั่นเอง ๕. เดินทำกัมมัฏฐาน เพื่อเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถไป
ในตัว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 48
อรรถกถาอปัณณกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยใน อปัณณกสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อปณฺณกปฏิปท ความว่า พระอริยบุคคลเป็นผู้ปฏิบัติ
ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดพลาด คือข้อปฏิบัติที่ดีโดยส่วนเดียว ข้อปฏิบัติที่นำสัตว์
ออกจากกาม ข้อปฏิบัติที่ประกอบด้วยเหตุ ข้อปฏิบัติที่มีสาระ ข้อปฏิบัติ
ที่เป็นหลัก (มัณฑปฏิปทา) ข้อปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก ข้อปฏิบัติที่เหมาะสม
ข้อปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ใช่ปฏิบัติโดยการคาดคะเน (ตักกวิทยา)
หรือโดยถือเอาตามนัย. เพราะว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ อุบาสิกา
ผู้ก่อปฏิบัติอย่างนี้ (ถือโดยตักกะ ถือโดยนัย)จะเสื่อมจากมนุษยสมบัติ เทวสมบัติ
และนิพพานสมบัติ. ส่วนผู้ปฏิบัติอปัณณกปฏิปทา จะไม่เสื่อมจากสมบัติเหล่านั้น.
นายกองเกวียน ๒ พวก
เหมือนในอดีตสมัย เมื่อนายกองเกวียน ๒ พวก เดินทางไปสู่ที่
กันดาร นายกองเกวียนผู้โง่เขลา เชื่อคำของยักษ์ ถึงความฉิบหายพร้อมกับ
พวกพ่อค้า (ส่วน) นายกองเกวียนผู้ฉลาด ไม่เชื่อฟังคำของยักษ์ คิดว่า
เราจักทิ้งน้ำในที่เราได้พบน้ำ ดังนี้แล้ว ให้สัญญาณกับพวกพ่อค้า๑ แล้วจึง
เดินทางไป ซึ่งท่านหมายเอา กล่าว คาถานี้ ว่า
คนพวกหนึ่งได้กล่าว ฐานะ ที่ไม่
ผิด นักคาดคะเน กล่าวฐานะที่สอง (ผิด)
นักปราชญ์รู้ฐานะถูกผิดนี้แล้ว ควรถือเอา
แต่ฐานะที่ไม่ผิด.
๑. ปาฐะว่า สตฺถวาเหน สทฺธึ สตฺเถ อนยพฺสน ปตเต ฉบับพม่าเป็น พาลสตฺถวาโห สทฺธึ
สตฺเถน อพฺยสน ปตฺเต แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 49
บทว่า โยนิ ในคำว่า โยนิ จสฺส อารทฺธา โหติ นี้ เป็นชื่อ
ของส่วนแห่งขันธ์บ้าง เหตุบ้าง ปัสสาวมรรคบ้าง. จริงอยู่ ส่วนแห่งขันธ์ชื่อว่า
โยนิ มีมาในคำมีอาทิว่า จตสฺโส โข สาริปุตฺต โยนิโย แปลว่า ดูก่อน
สารีบุตร กำเนิดเหล่านี้มี ๔ อย่างแล. เหตุ ชื่อว่า โยนิ ในบทเป็นต้น ว่า โยนิ
เทหา ภูมิช ผลสฺส อธิคมาย แปลว่า ดูก่อน ภูมิชะ ก็นั้นเป็นเหตุ เพื่อ
บรรลุผล. ปัสสาวมรรค ชื่อว่า โยนิ มีมาในคำมีอาทิว่า น จาห พฺราหฺมณ
พฺรูมิ โยนิช มตฺติสมฺภว แปลว่า เราตถาคตไม่กล่าวผู้ที่เกิดจากช่องคลอด
(คือ) เกิดจากมารดา ว่าเป็นพราหมณ์เลย และในคำมีอาทิว่า ตเมน
กมฺมชวาตา นิวตฺติตฺวา อุทฺธปาท อโรสิร สมฺปริวตฺเตตฺวา มาตุ
โยนิมุเข สมฺปฏิปาเทนฺติ แปลว่า ลมกัมมชวาต พัดสัตว์นี้นั้น ให้มี
เท้าขึ้นข้างบนศีรษะกลับลงข้างล่าง แล้วไปจดอยู่ที่ปากช่องคลอดของมารดา.
แต่ในที่นี้ ทรงประสงค์เอาเหตุว่าเป็น โยนิ. บทว่า อารทฺธา ได้แก่
ประคองไว้ คือ ทำให้บริบูรณ์.
พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า อาสวาน ขยาย ดังต่อไปนี้ กิเลส
ชื่อว่า อาสวะ. เพราะอรรถว่าไหลมา. มีอธิบายว่า ไหลมาจากตาบ้าง ฯลฯ
จากใจบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสวะ เพราะไหลมาจากธรรม จนถึง
โคตรภู จากโอกาสโลก จนถึง ภวัคคพรหม. อธิบายว่า ทำธรรมเหล่านี้
และโอกาสโลกนั้นไว้ในภายใน เป็นไป. แท้จริง ความหมายว่า ทำไว้ใน
ภายในนี้ เป็นอาการ (ของอาสวะ). ชื่อว่า อาสวะ เพราะเป็นเหมือน
เครื่องหมักดองทั้งหลาย มีเหล้าดองเป็นต้น. โดยความหมายว่าหมักไว้นานบ้าง
ด้วยว่า แม้ในทางโลก เขาก็เรียกของที่หมักไว้นาน มีเหล้าดองเป็นต้นว่า
อาสวะ. ก็ถ้าเครื่องหมักดองทั้งหลาย มีเหล้าดองเป็นต้น ชื่อว่า อาสวะ
เพราะอรรถว่าหมักไว้นานแล้วไชร้ กิเลสเหล่านั้น ก็ควรเป็นอาสวะเหมือนกัน.
สมจริง ดังพระพุทธดำรัส ที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ปุริมา ภิกฺขเว โกฏิ น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 50
ปญฺายติ อวิชฺชาย อิโต ปุพฺเพ อวิชฺชา นาโหสิห แปลว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นของอวิชชา ไม่ปรากฏ ก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่มี.
อีกอย่างหนึ่ง กิเลสชื่อว่า อาสวะ เพราะไหลไป คือประสบสังสารทุกข์ต่อไป
ดังนี้บ้าง. ก็ในจำนวนวิเคราะห์ทั้ง ๔ นี้ วิเคราะห์ต้น ๆ (วิเคราะห์ ๓ อย่าง
ใช้ได้) ในที่ที่กิเลสทั้งหลายมา (โดยชื่อว่า) อาสวะ แต่วิเคราะห์หลังใช้ได้
เฉพาะในกรรม. ก็กรรมกิเลสอย่างเดียวเท่านั้น เป็นอาสวะก็หามิได้ โดย
ที่แท้แล้ว ถึงอุปัทวนานัปการ ก็เป็นอาสวะได้. เพราะในพระสูตรทั้งหลาย
กิเลสที่มีการวิวาทเป็นมูล มาแล้ว (โดยชื่อว่า) อาสวะ เช่นในประโยคนี้ว่า
นาห จุนฺท ทิฏฺฐฺธมฺมิกานเอว อาสวาน สวราย ธมฺม เทเสมิ
แปลว่า แน่ะจุนทะ เราตถาคตจะไม่แสดงธรรมเพื่อปิดกั้น อาสวะทั้งหลาย
ในปัจจุบันเท่านั้น.
ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในภูมิ ๓ และอกุศลธรรมที่เหลือมาแล้ว (โดย
ชื่อว่า) อาสวะ เช่นในประโยคนี้ว่า
อาสวะทั้งหลายที่เป็นเหตุให้เข้าถึง
ความเป็นเทวดา หรือเป็นเหตุให้เป็นคน-
ธรรพ์ เหาะไปในอากาศ เป็นเหตุให้ถึง-
ความเป็นยักษ์ เป็นมนุษย์และเป็นสัตว์เถิด
ในน้ำ ของเราสิ้นแล้ว อาสวะเหล่านั้น
เรากำจัดแล้ว ทำให้รากขาดแล้ว.
อุปัทวนานัปการ มีการว่าร้ายผู้อื่น ก่อความวิปฏิสาร การฆ่า
การจองจำเป็นต้นก็ดี เป็นเหตุให้ได้รับทุกข์ในอบายก็ดี มาแล้ว โดย
ชื่อว่า อาสวะ. เช่นในประโยคนี้ว่า ทิฏฺธมฺมิกาน อาสวาน สวราย
สมฺปรายิกาน อาสวน ปฏิฆาตาย แปลว่า เราตถาคตแสดงธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 51
เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลาย ในปัจจุบัน เพื่อขจัดอาสวะทั้งหลาย ในภายหน้า.
ก็อาสวะทั้งหลายเหล่านี้นั้น ในที่ใดมาแล้วอย่างใด ในที่นั้น พึงทราบอย่างนั้น.
เพราะว่า อาสวะเหล่านี้ ในพระวินัย มีมา ๒ อย่างว่า เพื่อปิดกั้นอาสวะใน
ปัจจุบัน ๑ เพื่อขจัดอาสวะในภายหน้า ๑. ในสฬายตนวรรค มีมา ๓ อย่าง
ว่าดูก่อนท่านผู้มีอายุ อาสวะมี ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑
อวิชชาสวะ ๑ แต่ ในพระสูตรอื่น ๆ และในอภิธรรม มีมา ๔ อย่าง
พร้อมกับทิฏฐาสวะ. โดยบรรยายที่แยกออกไป อาสวะทั้งหลายมี ๕ อย่าง
ดังนี้ มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย อาสวะเป็นเหตุให้ไปสู่นรก ๑ อาสวะเป็นเหตุให้ไป
สู่กำเนิดดิรัจฉาน ๑ อาสวะเป็นเหตุให้ไปสู่ปิตติวิสัย ๑ อาสวะเป็นเหตุ
ให้ไปสู่มนุษยโลก ๑ อาสวะเป็นเหตุให้ไปสู่เทวโลก ๑. แต่ในที่นี้
กรรมนั่นเอง ตรัสว่าเป็นอาสวะ. ในฉักกนิบาต อาสวะทั้งหลายมาแล้ว ๖
อย่าง โดยนัยมีอาทิว่า มีอยู่ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละด้วยสังวร. ใน
สัพพาสวปริยายสูตร อาสวะ ๖ อย่าง เหล่านั้นแหละ มีมาเป็น ๗ อย่าง
พร้อมด้วยอาสวะทั้งหลาย ที่จะพึงละด้วยทัสสนะ. แต่ในที่นี่ พึงเข้าใจว่า
ทรงประสงค์เอาอาสวะทั้ง ๔ ตามนัยแห่งพระอภิธรรม.
การทำลายอาสวะได้ชั่วขณะก็ดี อาการที่อาสวะสิ้นไปโดยไม่เหลือก็ดี
มรรคผล พระนิพพานก็ดี ตรัสเรียกว่า อาสวักขยะ ในบทว่า ขยาย นี้.
จริงอยู่ การทำลายอาสวะได้ชั่วขณะ ตรัสเรียกว่า อาสวักขยะ ดังใน
ประโยคนี้ว่า โย อาสวาน ขโย วโย เภโท อนิจฺจตา อนฺตรธาน
แปลว่า ความสิ้นไป ความเสื่อมไป การทำลาย ความไม่เที่ยง ความ
อันตรธานแห่งอาสวะทั้งหลาย (ชื่อว่า อาสวักขยะ).
การละอาสวะ ความสิ้นไปแห่งอาสวะโดยส่วนเดียว การไม่เกิดขึ้น
แห่งอาสวะ อาการที่อาสวะสิ้นไป ความไม่มีแห่งอาสวะทั้งหลาย ตรัสเรียกว่า
อาสวักขยะ ดังในประโยคนี้ว่า ชานโต อห ภิกฺขเว ปสฺสโต อาสวาน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 52
ขย วทามิ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวความสิ้นไปแห่ง
อาสวะทั้งหลายไว้ สำหรับภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่.
มรรค ตรัสเรียกว่า อาสวักขยะ ดังในคาถานี้ว่า
เสกฺขสฺส สิกฺขมานสฺส อุชุมคฺคานุสาริโน
ขยสฺมึ ปม าณ ตโต อญฺา อนนฺตรา
เมื่อเราผู้ศึกษาอยู่ ดำเนินไปตาม
ทางอันตรงในขณะสิ้นอาสวะ ญาณจะเกิด
ขึ้นก่อน ต่อจากนั้น อรหัตผลจึงจะเกิด.
ผล ตรัสเรียกว่า อาสวักขยะ ดังในประโยคนี้ว่า ชื่อว่า เป็นสมณะ
เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย.
นิพพาน เรียกว่า อาสวักขยะ ในคาถานี้ว่า
ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจ อุชฺฌานสญฺญิโน
อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา.
อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่ผู้
เพ่งเล็งโทษผู้อื่น ชอบยกโทษอยู่เป็นนิตย์
เขาย่อมอยู่ไกลจากพระนิพพาน.
แต่ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อาสวาน ขยาย โดย
ทรงหมายถึงผล อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล.
บทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร ความว่า มีทวารอันปิดแล้วใน
อินทรีย์ทั้งหลาย มีใจเป็นที่ ๖. บทว่า โภชเน มตฺตญฺญู ความว่า รู้
ประมาณในโภชนะ อธิบายว่า รู้ประมาณในการรับ การฉัน และการ
พิจารณา. บทว่า ชาคริย อนุยุตฺโต ความว่า เป็นผู้แบ่งกลางคืนกลางวัน
ออกเป็น ๖ ส่วน แล้วประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นใน ๕ ส่วน
อธิบายว่า ขมักเขม้นในการตื่นอยู่นั่นเอง.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 53
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงวางมาติกาไว้อย่างนี้แล้ว เมื่อจะแจก
มาติกานั่นแหละ ตามลำดับที่ทรงวางไว้แล้ว จึงตรัสคำมีอาทิว่า กตญฺจ
ภิกฺขเว ภิกฺขุ. ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น เนื้อความของบทว่า จกฺขุนา
รูป ทิสฺวา เป็นต้น ได้ให้พิสดารแล้วในปกรณ์พิเศษชื่อว่า วิสุทธิมรรค.
เนื้อความแห่งบททั้งหลายมีอาทิว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อาหาร อาหาเรติ เนว
ทวาย (ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงจะนำอาหารมา (ฉัน) มิใช่เพื่อ
จะเล่น) ได้ให้พิสดารแล้วในปกรณ์พิเศษ ชื่อว่า วิสุทธิมรรคนั้นเหมือนกัน.
บทว่า อาวรณิเยหิ ธมฺเมหิ ความว่า จากนิวรณ์ธรรม ๕ ประการ
เพราะนิวรณ์จะกางกั้นจิตไว้ เพราะฉะนั้น นิวรณ์เหล่านั้น จึงตรัสเรียกว่า
อาวรณิยธรรม. บทว่า สีหเสยฺย กปฺเปติ ความว่า สำเร็จการนอนเหมือน
ราชสีห์ บทว่า ปาเทน ปาท อจฺจาธาย ได้แก่ วางเท้าซ้ายเหลื่อมเท้าขวา.
เพราะว่าเมื่อวางเท้าไว้เสมอกัน เข่าจะกระทบเข่า ข้อเท้าก็จะกระทบข้อเท้า
ทุกขเวทนาจะเกิดเพราะการกระทบกันนั้น เพราะฉะนั้น เพื่อจะเว้นโทษนั้น
เธอจะวางเท้าให้เหลื่อมกันหน่อยหนึ่ง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ปาเทน ปาท
อจฺจาธาย ดังนี้.
บทว่า สโต สมฺปชาโน ความว่า ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ.
ถามว่า ภิกษุนั้น เมื่อหลับจะชื่อว่า มีสติสัมปชัญญะได้อย่างไร. ตอบว่า
ด้วยสามารถแห่งความเป็นไป (ของกัมมัฏฐานก่อนหลับ). เพราะว่า
ภิกษุนี้ เมื่อจงกรมในที่จงกรม รู้ตัวว่าง่วงนอน จึงพักกัมมัฏฐานที่
กำลังบำเพ็ญอยู่ แล้วนั่งบนเตียง หรือบนแผ่นกระดานหลับไป เมื่อตื่น
ก็ตื่นมาบำเพ็ญกัมมัฏฐานในที่ที่พักไว้นั่นแหละอีก เพราะฉะนั้น
ถึงเธอจะหลับ ก็ยังชื่อว่า มีสติสัมปชัญญะอยู่. นี้เป็นนัยในมูลกัมมัฏฐาน
ก่อน. ส่วนภิกษุนี้ชื่อว่า มีสติสัมปชัญญะ แม้ด้วยกัมมัฏฐานตามที่กำหนด.
ถือเอาข้อนี้อย่างไร. อธิบายว่า ภิกษุนี้เมื่อจงกรม รู้ตัวว่าง่วงนอน ก็นอน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 54
ตะแคงขวาบนแผ่นหินหรือบนเตียง พิจารณาว่า กายไม่มีใจนอนอยู่บนเตียง
ที่ไม่มีใจ เตียงที่ไม่มีใจ ก็วางอยู่บนปฐพีที่ไม่มีใจ ปฐพีที่ไม่มีใจ ก็อยู่
เหมือน้ำที่ไม่มีใจ น้ำที่ไม่มีใจ ก็อยู่เหนือลมที่ไม่มีใจ ลมที่ไม่มีใจ ก็อยู่
บนอากาศที่ไม่มีใจ บรรดาสิ่งเหล่านั้น แม้อากาศก็ไม่รู้ว่า เราอุ้มลมไว้
ถึงลมก็ไม่รู้ว่า เราสถิตอยู่บนอากาศ ถึงลมก็เช่นนั้นไม่รู้ว่า เราอุ้มน้ำไว้
ฯลฯ เตียงก็ไม่รู้ว่า เรายกกายไว้ กายก็ไม่รู้ว่า เราอยู่บนเตียง เป็นอันว่า
สิ่งเหล่านั้น ต่างฝ่ายต่างไม่มีการคำนึงถึงกัน ไม่มีการสนใจกัน ไม่มีการ
ใส่ใจกัน ไม่มีเจตนา หรือไม่มีความปรารถนาต่อกันเลย ดังนี้ เมื่อภิกษุนั้น
พิจารณาอยู่อย่างนี้ ปัจจเวกขณจิตนั้น ย่อมหยั่งลงสู่ภวังค์. เธอแม้เมื่อหลับ
อยู่อย่างนี้ ก็ย่อมชื่อว่า มีสติสัมปชัญญะอยู่.
บทว่า อุฏฺานสญฺ มนสิกริตฺวา ความว่า ใส่ใจถึงสัญญาที่
กำหนดเวลาลุกขึ้นว่า เมื่อดวงจันทร์หรือดวงดาว ขึ้นถึงตรงนี้ เราจักลุกขึ้น
อธิบายว่า วางสัญญาไว้ในใจ. เพราะว่า เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติอย่างนี้แล้วนอน
ก็จะลุกขึ้นได้ตรง ในเวลาตามที่กำหนดไว้แล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาอปัณณกสูตรที่ ๖
๗. อัตตสูตร
ธรรมที่อำนวยให้เบียดเบียนและไม่เบียดเบียนตน
[๔๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปทั้ง
เพื่อเบียดเบียนตน ... ทั้งเพื่อเบียดเบียนคนอื่น ... ทั้งเพื่อเบียดเบียนด้วยกัน
ทั้ง ๒ ฝ่าย ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือกายทุจริต วจีทุจริต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 55
มโนทุจริต นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ ย่อมเป็นไปทั้งเพื่อ
เบียดเบียนตน ... ทั้งเพื่อเบียดเบียนคนอื่น ... ทั้งเพื่อเบียดเบียนด้วยกันทั้ง
๒ ฝ่าย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียด-
เบียนตน ... เพื่อเบียดเบียนคนอื่น ... เพื่อเบียดเบียนด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย ธรรม
๓ ประการคืออะไรบ้าง คือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต นี้แล ภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ... เพื่อเบียดเบียน
คนอื่น ... เพื่อเบียดเบียนด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่าย.
จบอัตตสูตรที่ ๗
อรรถกถาอัตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัตตสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อตฺตพฺยาพาธาย ได้แก่ เพื่อให้ตนเองลำบาก. บทว่า
ปรพฺยาพาธาย ได้แก่ เพื่อให้บุคคลอื่นลำบาก. บทว่า กายสุจริต เป็นต้น
มาในตอนต้นด้วยอำนาจกุศลกรรมบถ ๑๐. แต่ว่า ในขั้นสูงขึ้นไป จนกระทั่ง
ถึงอรหัตผล ท่านก็ไม่ได้ห้ามไว้เลย.
จบอรรถกถาอัตตสูตรที่ ๗
๘. เทวสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ควรรังเกียจ
[๔๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชกเดียรถีย์อื่นจะพึงถาม
ท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า แน่ะอาวุโสทั้งหลาย พระสมณโคดม ประพฤติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 56
พรหมจรรย์เพื่อเกิดในเทวโลกหรือ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้
พึงระอา พึงละอาย พึงรังเกียจมิใช่หรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลรับว่า อย่างนั้น
พระพุทธเจ้าข้า ตรัสต่อไปว่า นั่นสิ ภิกษุทั้งหลาย นัยว่าท่านทั้งหลายระอา
ละอาย รังเกียจอายุทิพย์ ... วัณณทิพย์ ... สุขทิพย์ ... ยศทิพย์ ... อธิปไตยทิพย์
จะป่วยกล่าวไปไยถึงการที่ท่านทั้งหลาย ระอา ละอาย รังเกียจกายทุจริต ...
วจีทุจริต ... มโนทุจริต.
จบเทวสูตรที่ ๘
อรรถกถาเทวสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเทวสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อฏฺฏิเยยฺยาถ ความว่า เธอทั้งหลายพึงเป็นผู้ถูกความระอา
บีบคั้น. บทว่า หราเยยฺยาถ ความว่า พึงละอาย. บทว่า ชิคุจเฉยฺยาถ
ความว่า พึงเกิดความรังเกียจ ในคำพูดนั้น เหมือนเกิดความรังเกียจในคูถ
ฉะนั้น. บทว่า อิติ ในคำว่า อิติ กิร นี้ พึงเห็นว่าเป็นความสละสลวย
แห่งพยัญชนะด้วยการเชื่อมบท. บทว่า กิร เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า
ได้ฟังต่อ ๆ กันมา. บทว่า กิร นั้นพึงทราบการเชื่อมความอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า
เธอทั้งหลาย พึงอึดอัดด้วยอายุทิพย์. บทว่า ปเคว โข ปน มีความหมาย
เท่ากับ ปมตร แปลว่า ก่อนกว่า (หรืออันดับแรก).
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 57
๙. ปฐมปาปณิกสูตร
องค์คุณของพ่อค้ากับของภิกษุ
[๔๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ย่อมเป็น
ผู้อภัพ เพื่อจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ก็ดี เพื่อจะทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้
ทวีขึ้นก็ดี องค์ ๓ คืออะไร คือ พ่อค้าไม่ตั้งการงานอย่างดีในตอนเช้า ไม่
ตั้งการงานอย่างดีในตอนกลางวัน ไม่ตั้งการงานอย่างดีในตอนเย็น พ่อค้าผู้
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้อาภัพเพื่อจะได้โภคทรัพย์
ที่ยังไม่ได้ก็ดี เพื่อจะทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้นก็ดี
ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ย่อม
เป็นผู้อาภัพ เพื่อจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุก็ดี เพื่อทำกุศลธรรมที่บรรลุ
แล้วให้เจริญขึ้นก็ดี ธรรม ๓ คืออะไร คือ ภิกษุไม่ตั้งสมาธินิมิตอย่างดีใน
ตอนเช้า ไม่ตั้งสมาธินิมิตอย่างดีในตอนกลางวัน ไม่ตั้งสมาธินิมิตอย่างดีในตอน
เย็น ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ นี้แล ย่อมเป็นผู้อาภัพ เพื่อจะบรรลุกุศล-
ธรรมที่ยังไม่บรรลุก็ดี เพื่อทำกุศลธรรมที่บรรลุแล้วให้เจริญขึ้นก็ดี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ย่อมเป็นผู้อาจเพื่อ
จะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ก็ดี เพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้นก็ดี องค์ ๓
คืออะไร คือ พ่อค้าตั้งการงานอย่างดีในตอนเช้า ตั้งการงานอย่างดีในตอน
กลางวัน ตั้งการงานอย่างดีในตอนเย็น พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล ย่อม
เป็นผู้อาจเพื่อจะได้บริโภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ก็ดี เพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้
ทวีขึ้นก็ดี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 58
ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ย่อม
เป็นผู้อาจเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุก็ดี เพื่อทำกุศลธรรมที่บรรลุแล้ว
ให้เจริญก็ดี ธรรม ๓ คืออะไร คือ ภิกษุตั้งสมาธินิมิตอย่างดีในตอนเช้า ตั้ง
สมาธินิมิตอย่างดีในตอนกลางวัน ตั้งสมาธินิมิตอย่างดีในตอนเย็น ภิกษุผู้
ประกอบด้วยธรรม ๓ นี้แล ย่อมเป็นผู้อาจเพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุก็ดี
เพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญขึ้นก็ดี.
จบปฐมปาปณิกสูตรที่ ๙
อรรถกถาปฐมปาปณิกสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมปาปณิกสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-
พ่อค้าผู้ไม่ตั้งใจทำการงาน
บทว่า ปาปณิโก แปลว่า พ่อค้าในตลาด เจ้าของร้าน. คำว่า
ปาปณิโก นั่น เป็นชื่อของพ่อค้า ผู้เปิดร้านขายของ. บทว่า อภพฺโพ
แปลว่า เป็นบุคคลไม่เหมาะสม.
บทว่า น สกฺกจฺจ กมฺมนฺต อธิฏฺาติ ความว่า การงานที่ตั้งใจ
ทำอย่างใด จึงจะนับว่า มั่นคง งานที่ตั้งใจไว้ ย่อมสำเร็จสมความตั้งใจ ด้วย
ประการใด เขาไม่ตั้งใจทำให้สำเร็จด้วยตนเองอย่างนั้น. ในบทว่า น
สกฺกจฺจ กมฺมนฺต อธิฏฺาติ นั้น พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้
เวลาเช้ามืด พ่อค้าลุกขึ้นตามประทีป แต่ ไม่นั่งจัดสินค้า ชื่อว่า ไม่
ตั้งใจทำงานโดยเคารพ ในเวลาเช้า. ด้วยว่า พ่อค้าผู้นี้ จะไม่ได้เป็นเจ้าของ
พลาดโอกาส สิ่งของที่ควรจะได้ ที่มีโอกาสทั้ง ๓ เป็นปัจจัย คือ สิ่งของที่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 59
พวกโจรลักในตอนกลางคืน รีบมาตลาดด้วยคิดว่า เราจักปล่อยของนี้ ให้พ้น
มือของเราแล้ว ขายให้โดยราคาย่อมเยา ๑ ของที่คนจำนวนมากผู้เป็นคู่แข่ง แย่ง
ซื้อแย่งขาย เวลากลางคืนอยู่ในเมือง เช้ามืดไปตลาดซื้อเอา ๑ หรือของที่ผู้คน
ประสงค์จะไปยังชนบท จะรีบไปตลาดแต่เช้าแล้วซื้อเอา ๑ ในเวลาที่คนอื่น
พักรับประทานอาหารกัน เขาก็กลับมารับประทานอาหารบ้าง คือ เก็บสินค้า
แต่เช้าตรู่ แล้วกลับไปบ้าน รับประทานอาหารแล้วนอนหลับ ตอนเย็นจึงกลับ
มายังร้านตลาดอีกครั้งหนึ่ง อย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ตั้งใจทำการงานโดยเคารพ ใน
เวลาเที่ยงวัน.
ด้วยพ่อค้านั้น จะไม่ได้เป็นเจ้าของ หมดโอกาส สิ่งของที่ควรจะได้
อันมีโอกาสทั้งสองเป็นปัจจัย คือ สิ่งที่พวกโจรมาปล่อยไม่ทันในตอนเช้าตรู่
แต่เวลากลางวัน ขณะที่คนอื่น ๆ ยังไม่สัญจรไปมา พวกโจรก็จะไปยังร้าน
ตลาด แล้วขายให้ด้วยราคาถูก ๑ สิ่งใดที่พวกอิสรชนผู้มีบุญใช้คนไปให้นำมา
ในเวลารับประทานอาหาร ด้วยสั่งว่า ควรจะได้สิ่งนี้ ๆ มาจากร้านตลาด ๑.
ส่วนเวลาเย็น จนกระทั่งถึงเวลาที่เขาตีบอกยาม เขาก็ไม่ตามประทีป
แล้วนั่ง ภายในร้านตลาด อย่างนี้ ชื่อว่า ไม่ตั้งใจทำงานโดยเคารพในเวลา
เย็น.
ด้วยว่า พ่อค้านั้น จะไม่ได้เป็นเจ้าของ สิ่งของที่ควรได้ ที่มี
โอกาสนั้นเป็นปัจจัย คือ สิ่งของที่พวกโจรมาปล่อยมาทัน ทั้งเวลาเช้าและ
เวลากลางวัน แต่กลับไปยังร้านตลาดในตอนเย็น แล้วขายให้ด้วยราคาถูก.
ภิกษุไม่ตั้งใจฝึกสมาธิ
บทว่า น สกฺกจฺจ สมาธินิมิตฺต อธิฏฺาติ ความว่า ภิกษุไม่เข้า
สมาธิโดยกิริยาที่เคารพ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 60
ก็ในบทว่า น สกฺกจฺจ สมาธินิมิตฺต นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไป
นี้
ภิกษุทำวัตรที่ลานเจดีย์ และลานโพธิ์แล้ว เข้าไปสู่เสนาสนะ แต่ว่า
ไม่ยอมนั่งเข้าสมาบัติ จนถึงเวลาภิกษาจาร ชื่อว่า ไม่ตั้งใจกำหนดนิมิต
โดยเคารพ. ส่วนเวลาภายหลังฉันภัตตาหาร เธอกลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไป
ยังที่พักกลางคืน และที่พักกลางวัน แต่ว่า ไม่นั่งเข้าสมาบัติจนถึงเวลาเย็น
ชื่อว่า ไม่ตั้งใจกำหนดสมาธินิมิตโดยเคารพ ในเวลาเที่ยงวัน.
อนึ่ง เวลาเย็น เธอไหว้เจดีย์ ทำการบำรุงพระเถระ แล้วเข้าไปสู่
เสนาสนะ แต่ว่า ไม่ยอมนั่งเข้าสมาบัติตลอดปฐมยาม ชื่อว่าไม่ตั้งใจกำหนด
สมาธินิมิตโดยเคารพในเวลาเย็น.
ส่วนความหมาย พึงทราบตามนัย ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้วใน
สุกปักษ์.
อนึ่ง ในบทนี้ ในที่ที่ท่านกล่าวไว้ว่า สมาปตฺตึ อปฺเปตฺวา เข้า
สมาบัติ เมื่อไม่มีสมาบัติ แม้วิปัสสนาก็ควร และในบทว่า สมาธินิมิตฺต
แม้อารมณ์ของสมาธิก็ควรเช่นกัน. สมจริง ดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ดังนี้ว่า แม้สมาธิก็ชื่อว่าสมาธินิมิต แม้อารมณ์ของสมาธิ
ก็ชื่อว่า สมาธินิมิต.
จบอรรถกถาปฐมปาปณิกสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 61
๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร
คุณสมบัติของพ่อค้ากับของภิกษุ
[๔๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ ย่อมถึง
ความใหญ่ความไพบูลย์ในโภคทรัพย์ไม่นานเลย องค์ ๓ คืออะไร คือพ่อค้า
เป็นผู้มีดวงตา ๑ ฉลาด ๑ ถึงพร้อมด้วยที่พึ่งอาศัย ๑
ก็พ่อค้าเป็นผู้มีดวงตาอย่างไร พ่อค้ารู้สินค้าว่า สินค้าสิ่งนี้ซื้ออย่างนี้
ขายอย่างนี้ เป็นต้นทุนเท่านี้ กำไรเท่านี้ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้า
ชื่อว่า เป็นผู้มีดวงตา
พ่อค้าเป็นผู้ฉลาดอย่างไร พ่อค้าเป็นผู้เข้าใจที่จะซื้อและที่จะขาย
อย่างนี้แล พ่อค้า ชื่อว่า ฉลาด
พ่อค้าถึงพร้อมด้วยที่พึ่งอาศัยอย่างไร คฤหบดีทั้งหลายก็ดี บุตรของ
คฤหบดีทั้งหลายก็ดี ที่มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ย่อมรู้จักพ่อค้านั้น
อย่างนี้ว่า พ่อค้าผู้เจริญผู้นี้แหละเป็นคนมีดวงตาด้วย ฉลาดด้วย มีกำลัง
พอที่จะเลี้ยงบุตรภริยาและแถมพกให้เราบ้างตามเวลาอันควร คฤหบดีและ
บุตรของคฤหบดีเหล่านั้นย่อมรับรองพ่อค้านั้นด้วยโภคะทั้งหลายว่า แน่ะ
สหายพ่อค้า แต่นี้ไป เชิญท่านนำโภคะไปเลี้ยงบุตรภริยา และจงแถมพกให้
เราบ้างตามเวลาอันควรเถิด อย่างนี้แล พ่อค้า ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยที่พึ่งอาศัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล ย่อมถึง
ความใหญ่ความไพบูลย์ในโภคทรัพย์ไม่นานเลย
ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ย่อมถึง
ความใหญ่ความไพบูลย์ในกุศลธรรมทั้งหลายไม่นานเลย. ธรรม ๓ คืออะไร
คือ ภิกษุเป็นผู้มีดวงตา ๑ มีเพียร ๑ ถึงพร้อมด้วยที่พึ่งอาศัย ๑.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 62
ก็ภิกษุเป็นผู้มีดวงตาอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ตามจริง
ว่า นี่ทุกข์ ... นี่ทุกขสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) ... นี่ทุกขนิโรธ (ความดับ
ทุกข์) ... นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ชื่อว่า เป็นผู้มีดวงตา.
ภิกษุเป็นผู้มีเพียรอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ปรารภความ
เพียรเพื่อละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อยังกุศลธรรมทั้งหลายให้ถึงพร้อม
แข็งขันบากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ อย่างนี้แล ภิกษุ
ชื่อว่า เป็นผู้มีเพียร.
ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยที่พึ่งอาศัยอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต คล่องอาคม ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
เธอเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นตามกาลอันควร ไต่ถามปัญหาว่า ท่านเจ้าข้า
ข้อนี้อย่างไร อะไรเป็นความหมายแห่งธรรมนี้. ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผย
ข้อที่ลี้ลับ ทำข้อที่ลึกให้ตื้น และบรรเทาความเคลือบแคลงในธรรมทั้งหลาย
ที่น่าเคลือบแคลงแก่เธอได้ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า ถึงพร้อม
ด้วยที่พึ่งอาศัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ นี้แล ย่อมถึง
ความใหญ่ความไพบูลย์ในกุศลธรรมทั้งหลายไม่นานเลย.
จบทุติยปาปณิกสูตรที่ ๑๐
จบรถการวรรคที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 63
อรรถกถาทุติยปาปณิกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-
พ่อค้าผู้มีปัญญา
บทว่า จกฺขุมา ความว่า พ่อค้าเป็นผู้มีปัญญาจักษุ. บทว่า วิธุโร
ความว่า เป็นผู้มีธุระอันสำคัญ คือมีธุระอันสูงสุด ได้แก่ประกอบด้วยวิริยะ
ที่สัมปยุตด้วยญาณ. บทว่า นิสฺสยสมฺปนฺโน คือถึงพร้อมด้วยที่พึ่ง ได้แก่
ถึงพร้อมด้วยที่พำนัก.
บทว่า ปณิย ได้แก่สินค้าที่ขาย. ในบทนั้นว่า เอตฺตก มูล ภวิสฺสติ
เอตฺตโก อุทฺรโย มีอธิบายว่า สินค้าที่ซื้อมานั้น โดยการซื้อมีปริยายดังที่
ตรัสไว้ว่า ซื้ออย่างนี้ ขายอย่างนี้. สินค้านั้นจัดเป็นทุน คือจำนวนที่ซื้อมา
เท่านี้ ฉะนั้น เมื่อจำหน่ายสินค้านั้นไป ในการจำหน่ายสินค้าจักมีกำไรเท่านี้
คือเพิ่มขึ้นเท่านี้.
บทว่า กุสโล โหติ ปณิย เกตุญฺจ วิกเกตุญฺจ ความว่า พ่อค้า
ผู้ฉลาด ไปหาซื้อยังที่ที่สินค้าหาได้ง่าย และไปขายยังที่ที่สินค้าหาได้ยาก ชื่อว่า
เป็นผู้ฉลาดในที่นี้ เขาย่อมได้ลาภเพิ่มขึ้น ๑๐ เท่าบ้าง ๒๐ เท่าบ้าง.
บทว่า อทฺธา ได้แก่ อิสรชน คือผู้ถึงพร้อมด้วยทรัพย์ที่เก็บไว้
จำนวนมาก. บทว่า มหทฺธนา ได้แก่ ผู้มีทรัพย์มาก ด้วยอำนาจเครื่อง
ใช้สอย บทว่า มหาโภคา ได้แก่ ผู้มีโภคะมาก ด้วยสิ่งของที่เป็นเครื่อง
อุปโภคและบริโภค บทว่า ปฏิพโล ได้แก่ ชื่อว่า เป็นผู้สามารถ เพราะ
ถึงพร้อมด้วยกำลังกาย และกำลังความรู้. บทว่า อมฺหากญฺจ กาเลน กาล
อนุปฺปาเทตุ ความว่า เพื่อเพิ่มให้ดอกเบี้ยอันเกิดจากทรัพย์ที่เขาหยิบยืมไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 64
เป็นต้นทุน แก่เราทั้งหลายตามกาลอันสมควร. บทว่า นิปตนฺติ แปลว่า
เชื้อเชิญ. บาลีเป็น นิปทนฺติ ก็มี. ความหมายก็ทำนองนี้แหละ.
บทว่า กุสลาน ธมฺมาน อุปสมฺปทาย ความว่า เพื่อความ
สมบูรณ์ คือเพื่อได้เฉพาะ ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า ถามวา ความว่า
ประกอบด้วยความรู้. บทว่า ทฬฺหปรกฺกโม ความว่า ประกอบด้วยความ
บากบั่น ด้วยความรู้อันมั่นคง. บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร ความว่า ไม่ทอดทิ้ง
ธุระอย่างนี้ว่า เรายังไม่ถึงจุดหมายปลายทาง จักไม่วางธุระ คือความเพียรนี้.
บทว่า พหุสฺสุตา ความว่า ชื่อว่าเป็นพหูสูต เพราะมีพระพุทธพจน์
อันได้สดับตรับฟังมามาก ด้วยสามารถแห่งนิกาย ๑ หรือ ๒ นิกายเป็นต้น.
บทว่า อาคตาคมา ความว่า นิกาย ๑ ชื่อว่าอาคม ๑. ๒ นิกาย ชื่อว่า
๒ อาคม. ๕ นิกาย ชื่อว่า ๕ อาคม. ในอาคมทั้ง ๕ เหล่านั้น ผู้ใดมีมาแม้
อาคมเดียว คือมีความช่ำชอง ได้แก่ได้รับยกย่อง (เพียงอาคมเดียว) คน
เหล่านั้น ชื่อว่า อาคตาคมา.
บทว่า ธมฺมธรา ได้แก่ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสุตตันตปิฎก. บทว่า
วินยธรา ได้แก่ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระวินัยปิฎก. บทว่า มาติกาธรา ได้แก่
ผู้ทรงไว้ซึ่งมาติกาทั้งสอง. บทว่า ปริปุจฺฉติ ได้แก่ ซักถามถึงประโยชน์
และสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ ถึงเหตุและสิ่งที่ไม่ใช่เหตุ. บทว่า ปริปญฺหติ ได้แก่
รู้ คือไตร่ตรอง กำหนด๑ เอาว่า เราจักถามธรรมวินัย ชื่อนี้. ข้อความที่เหลือ
ในพระสูตรง่ายทั้งนั้น.
ก็ในพระสูตรนี้ ปัญญามีมาก่อน ความเพียรและการคบหากัลยาณมิตร
มาภายหลัง. ในข้อนั้น ไม่พึงเข้าใจความอย่างนี้ว่า บรรลุพระอรหัตก่อนแล้ว
๑. ปาาวา อญฺาตุ ลภติ ปริคฺคณฺหติ ฉบับพม่าเป็น อญฺาติ ตุเลติ ปริคฺคณฺหาติ แปลตาม
ฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 65
จึงบำเพ็ญเพียร แล้วคบหากัลยาณมิตรภายหลัง. ธรรมดาพระธรรมเทศนา
จะมีการกำหนดโดยปริยายเบื้องต่ำ ปริยายเบื้องสูง หรือโดยส่วนทั้ง ๒ บ้าง.
แต่ในพระสูตรนั้น พึงทราบกำหนดโดยปริยายเบื้องสูงเท่านั้น. เพราะฉะนั้น
เมื่อจะตรัสก็ทรงแสดงการอาศัย คบหากัลยาณมิตรไว้ก่อน แล้วทรงแสดง
ความเพียรไว้ท่ามกลาง แล้วจึงตรัสบอกพระอรหัต ในภายหลัง.
จบทุติยปาปณิกสูตรที่ ๑๐
จบรถการวรรควรรณนาที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ญาตกสูตร ๒. สรณียสูตร ๓. ภิกขุสูตร ๔. จักกวัตติสูตร
๕. ปเจตนสูตร ๖. อปัณณกสูตร ๗. อัตตสูตร ๘. เทวสูตร ๙. ปฐม-
ปาปณิกสูตร ๑๐. ทุติยปาปณิกสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 66
ปุคคลวรรคที่ ๓
๑. สวิฏฐสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๓ พวก ที่พยากรณ์ยาก
[๔๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถปิณฑิกะ ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านสวิฏฐะ และท่าน
มหาโกฏฐิตะ เข้าไปหาท่านสารีบุตร ครั้นเข้าไปถึงแล้วก็ชื่นชมกับท่าน
สารีบุตร กล่าวถ้อยคำที่ทำให้เกิดความยินดีต่อกัน เป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่งลง
ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ท่านสารีบุตรได้กล่าวคำนี้กะท่านสวิฏฐะผู้นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนหนึ่งแล้วว่า อาวุโส สวิฏฐะ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก บุคคล
๓ คือใคร คือ กายสักขิ ทิฏฐิปัตตะ สัทธาวิมุตตะ นี้แล อาวุโส
บุคคล ๓ จำพวกมีอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ นี้ บุคคลไหนชอบใจท่านว่า
ดีกว่าและประณีตกว่า.
ท่านสวิฏฐะตอบว่า อาวุโส สารีบุตร บุคคล ๓ จำพวกนี้มีอยู่
ในโลก ฯลฯ บรรดาบุคคล ๓ นี้ บุคคลผู้สัทธาวิมุตตะ ชอบใจข้าพเจ้าว่า
ดีกว่าประณีตกว่า นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะสัทธินทรีย์ ของบุคคลนี้มี
ประมาณยิ่ง.
ลำดับนั้น ท่านสารีบุตรถามท่านมหาโกฏฐิตะว่า อาวุโส โกฏฐิตะ
บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีอยู่ในโลก ฯลฯ บรรดาบุคคล ๓ นี้ บุคคลไหนชอบใจ
ท่านว่า ดีกว่าประณีตกว่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 67
ท่านมหาโกฏฐิตะตอบว่า อาวุโส สารีบุตร บุคคล ๓ จำพวกนี้
มีอยู่ในโลก ฯลฯ บรรดาบุคคล ๓ นี้ บุคคลผู้กายสักขิชอบใจข้าพเจ้าว่า
ดีกว่าประณีตกว่า นั่นเพราะอะไร เพราะสมาธินทรีย์ของบุคคลนี้มีประมาณ
ยิ่ง.
คราวนี้ท่านมหาโกฏฐิตะถามท่านสารีบุตรว่า อาวุโส สารีบุตร
บุคคล ๓ จำพวกนี้มีอยู่ในโลก ฯลฯ บรรดาบุคคล ๓ นี้ บุคคลไหนชอบใจ
ท่านว่า ดีกว่าประณีตกว่า.
ท่านสารีบุตรตอบว่า อาวุโส โกฏฐิตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีอยู่
ในโลก ฯลฯ บรรดาบุคคล ๓ นี้ บุคคลผู้ทิฏฐิปัตตะชอบใจข้าพเจ้าว่า
ดีกว่าประณีตกว่า นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะปัญญินทรีย์ของบุคคลนี้มี
ประมาณยิ่ง.
ครั้นแล้วท่านสารีบุตรได้กล่าวกะท่านสวิฏฐะและท่านมหาโกฏ-
ฐิตะว่า เราทุกรูปได้แก้ปัญหาตามปฏิภาณของตนแล้ว มาเถิด อาวุโส เรา
จักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลเล่าความอันนี้แด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงพยากรณ์แก่เราอย่างใด เราจัก
ทรงจำพระพุทธพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น ท่านสวิฏฐะและท่านมหาโกฏฐิตะ
รับคำท่านสารีบุตรแล้ว ท่านสารีบุตรท่านสวิฏฐะและท่านมหาโกฏฐิตะ
ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ท่านสารีบุตรผู้นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลเล่าถ้อยคำที่ปราศรัยกับท่านสวิฏฐะและท่านมหา
โกฏฐิตะทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 68
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ในเรื่องนี้ ไม่ง่ายเลย สารีบุตร ที่จะ
พยากรณ์โดยส่วนเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓นี้ บุคคลผู้นี้ดีกว่าประณีตกว่า เพราะ
ว่านี่เป็นฐานะมีอยู่ สารีบุตร คือว่า บุคคลผู้สัทธาวิมุตตะ พึงเป็นผู้ปฏิบัติ
เพื่อพระอรหัตผล* บุคคลผู้กายสักขิ พึงเป็นพระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามี
บ้าง แม้บุคคลผู้ทิฏฐิปัตตะ ก็พึงเป็นพระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง
ในเรื่องนี้ ไม่ง่ายเลย สารีบุตร ที่จะพยากรณ์โดยส่วนเดียวว่า
บรรดาบุคคล ๓ นี้ บุคคลผู้นี้ดีกว่าประณีตกว่า เพราะว่า ที่เป็นฐานะมีอยู่
สารีบุตร คือว่า บุคคลผู้กายสักขิ พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหัตผล บุคคล
ผู้สัทธาวิมุตตะ พึงเป็นพระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง แม้บุคคลผู้
ทิฏฐิปัตตะ ก็พึงเป็นพระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง
ในเรื่องนี้ ไม่ง่ายเลย สารีบุตร ที่จะพยากรณ์โดยส่วนเดียวว่า
บรรดาบุคคล ๓ นี้ บุคคลผู้นี้ดีกว่าประณีตกว่า เพราะว่า นี่เป็นฐานะมีอยู่
สารีบุตร คือว่า บุคคลผู้ทิฏฐิปัตตะ พึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหัตผล
บุคคลผู้สัทธาวิมุตตะ พึงเป็นพระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง แม้
บุคคลผู้กายสักขิ ก็พึงเป็นพระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง
ในเรื่องนี้ ไม่ง่ายเลย สารีบุตร ที่จะพยากรณ์โดยส่วนเดียวว่า
บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลผู้นี้ดีกว่าประณีตกว่า.
จบสวิฏฐสูตรที่ ๓
* หมายความว่า ตั้งอยู่ในพระอรหัตมรรคแล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 69
ปุคคลวรรควรรณนาที่ ๓
อรรถกา สวิฏฐสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในสวิฎฐสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-
พระอริยบุคคล ชื่อว่า กายสกฺขี๑ เพราะสัมผัสฌานผัสสะมาก่อน
ภายหลังจึงกระทำให้แจ้ง ซึ่งนิโรธ คือพระนิพพาน.
ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ เพราะบรรลุธรรมนั้นที่ตนเห็นแล้ว.
ชื่อว่า สัทธาวิมุตตะ เพราะเชื่ออยู่ (มีศรัทธา) จึงได้หลุดพ้น.
บทว่า ขมติ แปลว่า ชอบใจ. บทว่า อภิกฺกนฺนตตโร แปลว่า
ดียิ่งกว่า.๒ บทว่า ปณีตตโร แปลว่า ประณีตยิ่งกว่า.
บทว่า สทฺธินทริย อธิมตฺต โหติ ความว่า พระสวิฏฐเถระ
ในขณะแห่งอรหัตมรรค ได้มีสัทธินทรีย์เป็นธุระ (เป็นใหญ่) อินทรีย์ ๔
ที่เหลือ เป็นบริวาร. ดังนั้น พระเถระเมื่อจะกล่าวถึงมรรคที่ตนได้บรรลุแล้ว
จึงได้กล่าวอย่างนี้. (ส่วน) ท่านมหาโกฏฐิตเถระ ในขณะแห่งอรหัตมรรค
ได้มีสมาธินทรีย์เป็นธุระ (เป็นใหญ่) อินทรีย์ ๔ อย่างที่เหลือได้เป็นบริวาร
ของสมาธินั่นเอง. เพราะฉะนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิตเถระแม้นั้นเมื่อจะบอกว่า
สมาธินทรีย์ มีประมาณยิ่ง (เป็นใหญ่) จึงได้กล่าวถึงมรรคที่ตนได้บรรลุ
นั่นแหละ. ส่วนพระสารีบุตรเถระ ในขณะแห่งอรหัตมรรค ได้มีปัญญิน-
ทรีย์ เป็นธุระ (เป็นใหญ่) อินทรีย์ ๔ อย่างที่เหลือ ได้เป็นบริวารของ
ปัญญินทรีย์ นั้นนั่นเอง. เพราะฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรเถระแม้นั้น เมื่อจะ
๑. พระสูตรเป็น กายสกฺขิ
๒. ปาฐะว่า สุนฺทรตโร ฉบับพม่าเป็น อติสุนฺทรตโร แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 70
บอกว่า ปัญญินทรีย์ มีประมาณยิ่ง (เป็นใหญ่) จึงได้บอกมรรคที่ตนได้บรรลุ
แล้วนั่นแหละ.
บทว่า น เขฺวตฺถ ตัดบทเป็น น โข เอตฺถ. บทว่า เอกเสน
พฺยากาตุ ความว่า เพื่อพยากรณ์โดยส่วนเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
แสดงความพร้อมเพรียงแห่งอรหัตมรรค ด้วยบทว่า อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน.
ในพระสูตรนี้ พระเถระแม้ทั้ง ๓ ได้กล่าวเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้ว
ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. แต่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส โดยผู้ดำรง
อยู่ในภูมิธรรมอื่น.
จบอรรถกถาสวิฎฐสูตรที่ ๑
๒. คิลานสูตร
ว่าด้วยคนไข้และผู้เปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำพวก
[๔๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนไข้ ๓ ประเภทนี้ มีอยู่ในโลก
คนไข้ ๓ ประเภทคืออะไรบ้าง คือ คนไข้บางประเภทในโลกนี้ จะได้อาหาร
ที่เหมาะ หรือไม่ได้อาหารที่เหมาะก็ตาม ได้ยาที่เหมาะหรือไม่ได้ยาที่เหมาะ
ก็ตาม ได้คนพยาบาลที่สมควรหรือไม่ได้คนพยาบาลที่สมควรก็ตาม ก็คงไม่หาย
จากอาพาธนั้น
คนไข้บางประเภทในโลกนี้ จะได้อาหารที่เหมาะหรือไม่ได้อาหาร
ที่เหมาะก็ตาม ได้ยาที่เหมาะหรือไม่ได้ยาที่เหมาะก็ตาม ได้คนพยาบาลที่สมควร
หรือไม่ได้คนพยาบาลที่สมควรก็ตาม ก็คงหายจากอาพาธนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 71
คนไข้บางประเภทในโลกนี้ ได้อาหารที่เหมาะ ได้ยาที่เหมาะ ได้คน
พยาบาลที่สมควร จึงหายจากอาพาธนั้น ไม่ได้อาหารที่เหมาะ ... ยาที่เหมาะ
... คนพยาบาลที่สมควร ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคนไข้ ๓ ประเภทนั้น คนไข้ประเภทที่ได้
อาหารที่เหมาะ ได้ยาที่เหมาะ ได้คนพยาบาลที่สมควร จึงหายจากอาพาธนั้น
ไม่ได้อาหารที่เหมาะ ... ยาที่เหมาะ ... คนพยาบาลที่สมควร ย่อมไม่หายจาก
อาพาธนั้น เราอาศัยคนไข้ประเภทนี้แล จึงอนุญาตคิลานภัต (อาหารคนไข้)
... คิลานเภสัช (ยาแก้ไข้) ... คิลานุปัฏฐาก (ผู้พยาบาลคนไข้) แลก็เพราะ
อาศัยคนไข้ประเภทนี้ คนไข้ประเภทอื่น ๆ ก็จำต้องพยาบาลด้วย
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนไข้ ๓ ประเภท มีอยู่ในโลก
ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยคนไข้ ๓ ประเภทนี้
มีอยู่ในโลก บุคคล ๓ ไหนบ้าง คือบุคคลบางคนในโลกนี้ จะได้เห็นตถาคต
หรือไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วหรือไม่ได้
ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็ตาม ก็คงไม่เข้าทางคือความถูกทำนองใน
กุศลธรรมทั้งหลาย*
บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้เห็นตถาคตหรือไม่ได้เห็นตถาคตก็ตาม
ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วหรือไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศ
แล้วก็ตาม ก็คงเข้าทาง ...ได้
บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้เห็นตถาคต ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคต
ประกาศแล้วจึงเข้าทาง ... ไม่ได้เห็น ... ไม่ได้ฟัง ... ย่อมไม่เข้าทาง ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบุคคล ๓ ประเภทนั้น บุคคลประเภทที่
ได้เห็นตถาคต ได้ฟังธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว จึงเข้าทาง ... ไม่ได้
* พระบาลีว่า "เนว โอกฺกมติ นิยาม กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺต" หมายความว่า ไม่ได้ปัญญา
รู้ธรรมตามจริง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 72
เห็น ... ไม่ได้ฟัง ... ย่อมไม่เข้าทาง ...นั้นใด เราอาศัยบุคคลประเภทนี้
จึงอำนวยการแสดงธรรม แลก็เพราะอาศัยบุคคลประเภทนี้ จึงจำต้องแสดงธรรม
แก่บุคคลประเภทอื่นด้วย
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยคนไข้ ๓ ประเภท มีอยู่ในโลก.
จบคิลานสูตรที่ ๓
อรรถกถาคิลานสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในคิลานสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า สปฺปายานิ ได้แก่ เป็นประโยชน์เกื้อกูล คือทำความเจริญ
ให้สูงขึ้นไป. บทว่า ปฏิรูป แปลว่า สมควร. ด้วยบทว่า เนว วุฏฺาติ
ตมฺหา อาพาธา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึง คนไข้ ที่เข้าขั้นตรีทูตแล้ว
ประกอบด้วยโรคลม และโรคลมบ้าหมูเป็นต้น ที่รักษาไม่ได้. ด้วยบทว่า
วุฏฺาติ ตมฺหา อาพาธา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอาพาธเล็ก ๆ น้อยๆ
แยกประเภทเป็น โรคอาเจียน หิตด้าน และไข้เปลี่ยนฤดูเป็นต้น.
ก็ด้วยบทว่า ลภนฺโต สปฺปายานิ โภชนานิ โน อลภนฺโต นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงอาพาธทุกชนิดที่จะหายได้ด้วยการรักษา. ก็ในสูตรนี้
ที่ชื่อว่า อุปัฏฐาก (ผู้พยาบาล) ที่เหมาะสมนั้น พึงทราบว่า ได้แก่ผู้ที่ฉลาด
ขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยองค์คุณของผู้พยาบาลไข้.
บทว่า คิลานุปฏฺาโก อนุญฺาโต ได้แก่ คิลานุปัฏฐากที่ทรง
อนุญาตไว้ว่า ภิกษุสงฆ์พึงให้. อธิบายว่า เมื่อภิกษุไข้นั้นไม่สามารถ จะพยาบาล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 73
ตามธรรมดาของตนได้ ภิกษุสงฆ์ต้องมอบหมายภิกษุรูปหนึ่ง และสามเณรรูป
หนึ่ง ให้แก่เธอว่า จงปฏิบัติภิกษุนี้. ก็ตลอดเวลาที่ภิกษุและสามเณรผู้อุปัฏฐาก
ทั้งสองนั้น ปฏิบัติภิกษุไข้นั้นอยู่ ภิกษุไข้ก็ดี ผู้ปฏิบัติทั้งสองนั้นก็ดี มีความ
ต้องการสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นภาระของภิกษุสงฆ์ทั้งนั้น.
บทว่า อญฺเปิ คิลานา อุปฏฺาตพฺพา ความว่า ผู้ป่วยไข้
แม้นอกนี้ สงฆ์ก็ควรอุปัฏฐาก. ถามว่า เพราะเหตุไร. แก้ว่า เพราะผู้ที่
อาพาธถึงขั้นตรีทูต เมื่อสงฆ์ไม่อุปัฏฐากจะทำความขุ่นเคืองใจว่า ถ้าหากภิกษุ
ทั้งหลายพยาบาล เราก็จักหาย แต่ภิกษุทั้งหลายไม่พยาบาลเราเลย แล้วจะ
พึงไปเกิดในอบาย. แต่เมื่อสงฆ์พยาบาลอยู่ เธอจะมีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุ
สงฆ์ได้กระทำกรรมที่ควรทำแล้ว แต่อาพาธเช่นนี้เป็นกรรมวิบากของเราเอง
เธอจะเจริญเมตตาไปในภิกษุสงฆ์ แล้วจักเกิดในสวรรค์. ส่วนภิกษุใด
ประกอบด้วยอาพาธเล็กน้อย ถึงจะได้อุปัฏฐากก็หายไม่ได้ก็หายทั้งนั้น อาพาธ
ของภิกษุนั้น แม้จะเว้นจากยาก็หายได้ แต่เมื่อปรุงยาถวายจะหายได้เร็วกว่า.
ต่อจากนั้น เธอก็สามารถจะเรียนพระพุทธพจน์ หรือบำเพ็ญสมณธรรมได้
ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า แม้ภิกษุผู้อาพาธเหล่าอื่น สงฆ์ก็ควร
อุปัฏฐาก.
บทว่า เนว โอกฺกมติ ได้แก่ไม่เข้าไปสู่ทาง (ไม่ถูกทาง). บทว่า
นิยาม กุสเลสุ ธมฺเมสุ สมฺมตฺต ได้แก่ความถูกกล่าว คือ ถูกครรลอง
ในกุศลธรรมทั้งหลาย (ถูกต้องทำนองคลองธรรม). ด้วยบทนี้ เป็นอันตรัส
หมายถึง บุคคลผู้เป็นปทปรมะ. โดยวาะที่ ๒ ทรงหมายเอา อุคฆฏิตัญญู
บุคคล เช่นพระนาลกเถระในพระศาสนา ได้รับโอวาทในสำนักของพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเพียงครั้งเดียว ก็ได้แทงตลอดปัจเจกโพธิญาณทันทีใน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 74
พุทธันดร. โดยวาระที่ ๓ ตรัสหมายถึง วิปจิตัญญูบุคคล. ส่วนเนยยบุคคล
ก็ต้องอาศัยนัยนั่นแหละ (จึงจะได้ตรัสรู้).
บทว่า ธมฺมเทสนา อนุญฺาตา ได้แก่ธรรมกถาที่ทรงอนุญาตไว้
เดือนละ ๘ ครั้ง. บทว่า อญฺเสมฺปิ ธมฺโม เทเสตพฺโพ ความว่า
พระธรรมที่จะพึงตรัสแก่บุคคลแม้นอกนี้. เพราะเหตุไร. เพราะว่าปทปรม
บุคคล ถึงจะไม่สามารถบรรลุธรรมในอัตภาพนี้ได้ แต่ก็จักได้เป็นปัจจัยใน
อนาคต. ส่วนผู้ใด เมื่อได้เห็นพระรูป พระโฉม ของพระตถาคตเจ้า จึงได้
บรรลุก็ดี เมื่อไม่ได้เห็นก็ได้บรรลุก็ดี อนึ่ง เมื่อได้ฟังพระธรรมวินัย จึงได้
บรรลุก็ดี ไม่ได้ฟังก็ได้บรรลุก็ดี บุคคลนั้นจะได้บรรลุทั้ง ๆ ที่ ไม่ได้เห็น
ไม่ได้ฟัง. แต่เมื่อได้เห็น เมื่อได้ฟัง ก็จักได้บรรลุเร็วขึ้น ด้วยเหตุดังว่ามานี้
จึงควรแสดงธรรมแก่คนเหล่านั้น. ส่วนบุคคลจำพวกที่ ๓ (ปทปรมะ) จำต้อง
แสดงธรรมซ้ำ ๆ ซาก ๆ.
จบคิลานสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 75
๓. สังขารสูตร
ว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรม
[๔๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีอยู่ในโลก
บุคคล ๓ จำพวกไหนบ้าง บุคคลลางจำพวกในโลกนี้ ปรุงกายสังขาร...
วจีสังขาร ... มโนสังขาร อันประกอบด้วยความเบียดเบียน๑ บุคคลนั้นครั้น
ปรุงกายสังขาร ... วจีสังขาร ... มโนสังขาร อันประกอบด้วยความเบียดเบียน
แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันประกอบด้วยความเบียดเบียน ผัสสะทั้งหลายที่
ประกอบด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกอันประกอบด้วย
ความเบียดเบียนนั้น บุคคลนั้นอันผัสสะทั้งหลายที่ประกอบด้วยความเบียดเบียน
ถูกต้องอยู่ ย่อมได้เสวยเวทนาที่ประกอบด้วยความเบียดเบียนคือเป็นทุกข์
ส่วนเดียว เหมือนเช่นพวกสัตว์นรกฉะนั้น.
อนึ่ง บุคคลลางพวก ปรุงกายสังขาร ... วจีสังขาร ... มโนสังขาร
อันไม่มีความเบียดเบียน บุคคลนั้นครั้นปรุงกายสังขาร ... วจีสังขาร ...
มโนสังขารอัน ไม่มีความเบียดเบียนแล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียน
ผัสสะทั้งหลาย อันไม่มีความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกอัน
๑. กายสังขาร แปลว่า เครื่องปรุงแต่งกาย วจีสังขาร เครื่องปรุงแต่งวาจา มโนสังขาร
เครื่องปรุงแต่งใจ ในที่อื่นโดยมาก กายสังขาร ท่านหมายเอาลมหายใจ เพราะลมหายใจ
ปรนปรือกายให้เป็นไป วจีสังขาร หมายเอาวิตกวิจาร เพราะคนเราตรึกตรองก่อนแล้วจึงพูด
มโนสังขาร หมายเอาสัญญาเวทนา เพราะใจจะเป็นกุศลอกุศลก็ด้วยสัญญากับเวทนาปรุงให้
เป็นไป แต่ในที่นี้พระอรรถกถาอธิบายว่า กองเจตนาที่เป็นไปในทวารนั้น ๆ เรียกว่าสังขาร
ที่เป็นไปทางกายเรียกกายสังขาร ฯลฯ แต่คงหมายความว่า ประพฤติทุจริตนั่นเอง เพราะทุจริต
เป็นเรื่องความเบียดเบียนทั้งนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 76
ไม่มีความเบียดเบียนนั้น บุคคลนั้นอันผัสสะทั้งหลายที่ไม่มีความเบียดเบียน
ถูกต้องอยู่ ย่อมได้เสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน คือเป็นสุขส่วนเดียว
ดังเช่นเหล่าเทวดาสุภกิณหะ.
อนึ่ง บุคคลลางพวก ปรุงกายสังขาร ... วจีสังขาร ... มโนสังขาร
อันประกอบด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง บุคคลนั้นครั้น
ปรุงกายสังขาร ... วจีสังขาร ... มโนสังขาร อันประกอบด้วยความเบียดเบียน
บ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างแล้ว. ย่อมเข้าถึงโลกอันประกอบด้วยความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะทั้งหลายที่ประกอบด้วยความ
เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกอัน
ประกอบด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างนั่น บุคคลนั่น
อันผัสสะทั้งหลายที่ประกอบด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง
ถูกต้องอยู่ ย่อมได้เสวยเวทนาที่ประกอบด้วยความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ
เบียดเบียนบ้าง คือเป็นสุขบ้างทุกข์บ้างเจือกัน เช่นดังพวกมนุษย์เทวดาลาง-
เหล่า และวินิปาติกา ลางประเภท
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวก มีอยู่ในโลก.
จบสังขารสูตรที่ ๓
อรรถกถาสังขารสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสังขารสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สพฺยาปชฺฌ แปลว่า มีทุกข์.๑ บทว่า กายสงฺขาร ได้แก่
กองเจตนาในกายทวาร. บทว่า อภิสงฺขโรติ ความว่า ประมวลมา คือ
๑. ปาฐะว่า สพฺยาปชฺชนฺติ สทุกฺข ฉบับพม่าเป็น สพฺยาพชฺฌนฺติ สทุกฺข ตามแนวของฉบับ
พม่า บาลีและอรรถสมกัน เพราะคำว่า พฺยาพชฺช ฏีกาขยายว่า พฺยาพาโธว พยาพชฺฌ และ
ปาฐะว่า พยาปชฺฌ ในฉบับพม่าเป็น พฺยาพชฺฌ ทั้งหมด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 77
ทำให้เป็นกอง ได้แก่ทำให้เป็นก้อน. แม้ในวจีทวาร และมโนทวาร ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. บทว่า สพฺยาปชฺฌ โลก ได้แก่ สัตว์โลกผู้มีทุกข์. บทว่า
สพฺยาปชฺฌา ผสฺสา ผุสนฺติ ความว่า ผัสสะที่เป็นผลมีทุกข์ ย่อมถูกต้อง.
บทว่า สพฺยาปชฺฌ เวทน. เวทิยติ ความว่า เสวยเวทนาที่เป็นผลมีทุกข์
อธิบายว่า เสวยความเจ็บไข้และอาพาธ คือหมดความสดชื่น.
บทว่า เสยฺยถาปิ สตฺตา เนรยิกา มีอธิบายว่า เขาย่อมเสวย
เวทนาเหมือนสัตว์ทั้งหลาย ผู้เกิดในนรก เสวยแต่เวทนาที่เป็นทุกข์โดยส่วน
เดียว ฉะนั้น. ถามว่า ก็นรกนั้น ไม่มีอุเบกขาเวทนาหรือ. ตอบว่า มี แต่
เวทนานั้นอยู่ในฐานะเป็นอัพโพหาริก เพราะทุกขเวทนามีพลังมาก. ด้วยเหตุ
ดังพรรณนามานี้ เป็นอันพระองค์ทรงนำนรกนั่นแหละมาเปรียบเทียบกับนรก.
ได้ยินว่า นี้ชื่อ ปฏิภาคอุปมา ในข้อนั้น.
แม้ในบทว่า เสยฺยถาปิ เทวา สุภกิณฺหา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงนำเอาเทวโลกนั้นแหละ มาเปรียบเทียบกับเทวโลก. ก็เพราะวิบากของ
ฌานที่มีปีติ ย่อมเป็นไป ในพรหมโลกชั้นต่ำ ส่วนวิบากของฌานที่ไม่มีปีติ
มีแต่สุขอย่างเดียวจะเป็นไป ในพรหมชั้นสุภกิณหะ ฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จึงตรัสสุภกิณหพรหม ไม่ทรงถือพรหมชั้นต่ำเหล่านั้น. ด้วยประการ
ดังพรรณนามานี้ แม้อุปมานี้ในข้อนั้น ก็พึงทราบว่า เป็นปฏิภาคอุปมา.
บทว่า โวกิณฺณสุขทุกฺข ได้แก่ เวทนาที่มีสุขและทุกข์คลุกเคล้า
กันไป. บทว่า เสยฺยถาปิ มนุสฺสา ความว่า แท้จริง มนุษย์ทั้งหลาย ย่อม
มีสุข มีทุกข์ ตามกาลตามเวลา. บทว่า เอกจฺเจ จ เทวา ได้แก่ เทวดา
ชั้นกามาวจร. แม้เทวดาชั้นกามาวจรเหล่านั้น ก็มีสุขมีทุกข์ ตามกาลเวลา.
เพราะเทวดาชั้นกามาวจรผู้ต่ำศักดิ์กว่าเหล่านั้น จะต้องลุกจากอาสนะ จะต้อง
หลีกออกจากทาง จะต้องเปลื้องผ้าห่มออก จะต้องทำอัญชลีกรรม เพราะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 78
เห็นเทวดาที่มีศักดิ์สูงกว่า กิจกรรมแม้ทั้งหมดนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นทุกข์. บทว่า
เอกจฺเจ จ วินิปาติกา ได้แก่ เวมานิกเปรต. ก็เปรตเหล่านั้น ย่อมเสวย
สมบัติตามกาลเวลา เสวยกรรมตามกาลเวลา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีสุข
มีทุกข์คลุกเคล้ากันไปทีเดียว. ด้วยประการดังพรรณนามานี้ สุจริต ๓ อย่าง
ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า พระองค์ตรัสให้เจือกัน ไป ทั้งที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตระ.
จบอรรถกถาสังขารสูตรที่ ๓
๔. พหุการสูตร
ว่าด้วยผู้มีอุปการะมาก ๓ จำพวก
[๔๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล (อาจารย์) ๓ นี้ เป็นผู้มี
อุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) บุคคล (อาจารย์) ๓ นี้คือใคร คือ บุคคล
(ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด จึงได้ถึงพระพุทธเจ้า ... พระธรรม ...
พระสงฆ์เป็นสรณะ บุคคล (อาจารย์) นี้ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล
(ศิษย์) นี้
อนึ่งอีก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล (ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด
จึงรู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ... นี่เหตุเกิดทุกข์ ... นี่ความดับทุกข์ ... นี่ข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับทุกข์ บุคคล (อาจารย์) นี่ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล
(ศิษย์) นี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 79
อนึ่งอีก ภิกษุทั้งหลาย บุคคล (ศิษย์) อาศัยบุคคล (อาจารย์) ใด
จึงกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะ
สิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบันนี่ บุคคล (อาจารย์)
นี่เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล (ศิษย์) นี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าบุคคลอื่นจะมีอุปการะมากแก่บุคคล
(ศิษย์) นี้ ยิ่งกว่าบุคคล ๓ นี่ไม่มี อนึ่ง เรากล่าวว่า บุคคล (ศิษย์) นี้
จะทำการสนองคุณแก่บุคคล (อาจารย์) ๓ นี้ไม่ได้ง่ายเลย แต่เพียงด้วยการ
กราบ ลุกรับ ทำอัญชลี สามีจิกรรม และคอยให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และยาแก้ไข้.
จบพหุการสูตรที่ ๔
อรรถกถาพหุการสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในพหุการสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตโยเม ภิกฺขเว ปุคฺคลา ได้แก่บุคคลผู้เป็นอาจารย์ ๓
จำพวก. บทว่า ปุคฺคลสฺส พพุการา ได้แก่ ผู้มีอุปการะมากแก่คนผู้เป็น
อันเตวาสิก บทว่า พุทฺธ ได้แก่ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า. บทว่า สรณ
คโต โหติ ความว่า ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง. บทว่า ธมฺม ได้แก่
นวโลกุตรธรรม พร้อมทั้งแบบแผน (พระปริยัติธรรม). บทว่า สฆ ได้แก่
ชุมนุมพระอริยบุคคล ๘ จำพวก.
ก็การถึงสรณะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยสามารถแห่งบุคคล
ผู้ไม่เคยถึงสรณะ คือผู้ไม่เคยทำความเชื่อมั่น. เป็นอันว่า อาจารย์ ๓ จำพวก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 80
คือ ผู้ให้สรณะ ๑ ผู้ให้ถึงโสดาปัตติมรรค ๑ ผู้ให้ถึงพระอรหัตมรรค ๑
มาแล้วในพระสูตรนี้ ว่ามีอุปการะมาก. อาจารย์ ๕ จำพวกคือ อาจารย์ผู้ให้
บรรพชา ๑ อาจารย์ผู้ให้ (บอก) พุทธพจน์ ๑ กรรมวาจาจาริย์ ๑ อาจารย์
ผู้ให้บรรลุสกทาคามิมรรค ๑ อาจารย์ผู้ให้บรรลุอนาคามิมรรค ๑ ไม่ได้มา
แล้วในสูตรนี้.
ถามว่า อาจารย์เหล่านั้นไม่มีอุปการะมากหรือ.
ตอบว่า ไม่ใช่ไม่มีอุปการะมาก แต่พระธรรมเทศนานี้กำหนดไว้
๒ ส่วน เพราะฉะนั้น อาจารย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่ามีอุปการะมาก. ในบรรดา
คุณธรรมเหล่านั้น ผู้ไม่ได้ทำอภินิเวส (บุญญาธิการ) ไว้ ย่อมเหมาะใน
การถึงสรณคมน์เท่านั้น. ส่วนจตุปาริสุทธิศีล กสิณบริกรรม และวิปัสสนา-
ญาณ เป็นคุณธรรมที่อาศัยปฐมมรรค. (ส่วน) มรรคและผลเบื้องสูงทั้ง ๒
อย่าง พึงทราบว่า อาศัยอรหัตมรรค.
บทว่า อิมินา ปุคฺคเลน ได้แก่บุคคลผู้เป็นอันเตวาสิกนี้. บทว่า
น สุปฺปฏิการ วทามิ ความว่า เราตถาคตกล่าว การทำการตอบแทนว่า
ไม่ใช่เป็นของที่ทำได้ง่าย. พึงทราบอธิบายอย่างนี้ว่า จริงอยู่ บรรดาอภิวาทน
กรรมเป็นต้น อันเตวาสิก เมื่อหมอบลงไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ หลายร้อย
ครั้ง หลายพันครั้ง ลุกจากอาสนะไปต้อนรับ (อาจารย์) ในขณะที่เห็นทุกครั้ง
ประนมมือ ทำสามีจิกรรมที่สมควร ถวายจีวร ๑๐๐ ผืน ๑,๐๐๐ ผืน ถวาย
บิณฑบาต ๑๐๐ ครั้ง ๑,๐๐๐ ครั้ง ทุกวัน สร้างที่อยู่ล้วนไปด้วยแก้ว ๗ ประการ
โดยมีจักรวาลเป็นขอบเขต (และ) ถวายเภสัชนานัปการ มีเนยใส เนยข้น
เป็นต้นเป็นประจำ ชื่อว่า ยังไม่สามารถจะทำการตอบแทนอุปการะที่อาจารย์
ทำแล้ว (ให้หมด) ได้.
จบอรรถกถาพหุการสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 81
๕. วชิรสูตร
ว่าด้วยผู้มีจิตเหมือนแผลเก่า - ฟ้าแลบ - เพชร
[๔๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล ๓
เป็นไฉน คือ บุคคลที่มีจิตเหมือนแผล บุคคลมีจิตเหมือนสายฟ้า
บุคคลมีจิตเหมือนเพชร
ก็บุคคลมีจิตเหมือนแผลเป็นอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ลางคนในโลกนี้ เป็นคนขี้โกรธมีความแค้นมาก ถูกเขาว่าหน่อยก็ขัดเคือง
ขึ้งเคียด เง้างอด ทำความกำเริบ ความร้าย และความเดือดดาลให้ปรากฏ
เหมือนอย่างแผลร้าย ถูกไม้หรือกระเบื้องเข้าก็ยิ่งมีหนองไหลฉันใด บุคคล
ลางคนในโลกนี้ เป็นคนขี้โกรธ มีความแค้นมาก ถูกเขาว่าหน่อยก็ขัดเคือง
ขึ้งเคียด เง้างอด ทำความกำเริบ ความร้ายและความเดือดดาลให้ปรากฏฉันนั้น
นี่ เราเรียกว่าบุคคลผู้มีจิตเหมือนแผล
ก็บุคคลมีจิตเหมือนสายฟ้าเป็นอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ลางคนในโลกนี้ รู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ... นี่เหตุเกิดทุกข์ ... นี่ความดับทุกข์
... นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหมือนอย่างคนตาดี พึงเห็นรูปทั้งหลาย
ได้ในระหว่างฟ้าแลบในกลางคืนมืดตื้อฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ รู้ตามจริง
ว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ฉันนั้น นี่ เราเรียกว่าบุคคล
มีจิตเหมือนสายฟ้า
ก็บุคคลมีจิตเหมือนเพชรอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลลางคน
ในโลกนี้ กระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะ
มิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบันนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 82
เหมือนอย่างแก้วหรือหินที่ไม่ถูกเพชรเจาะเสียเลยย่อมไม่มีฉันใด บุคคลลางคน
ในโลกนี้กระทำให้แจ้ง ฯลฯ ในปัจจุบันนี่ฉันนั้น นี้เราเรียกว่าบุคคลมีจิต
เหมือนเพซร
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ มีอยู่ในโลก.
จบวชิรสูตรที่ ๕
อรรถกถาวชิรสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในวชิรสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อรุกูปมจิตฺโต ได้แก่ มีจิต เช่นกับแผลเรื้อรัง. บทว่า
วิชฺชูปมจิตฺโต ได้เเก่ มีจิตเช่นกับสายฟ้า เพราะส่องสว่างชั่วเวลาเล็กน้อย.
บทว่า วชิรูปมจิตฺโต ได้แก่มีจิตเช่นกับเพชร เพราะสามารถทำการโค่น
รากเง่าของกิเลสทั้งหลายได้. บทว่า อภิสชฺชติ แปลว่า ข้องอยู่. บทว่า
กุปฺปติ แปลว่า ย่อมกำเริบ ด้วยสามารถแห่งความโกรธ. บทว่า พฺยาปชฺชติ
ความว่า ละสภาพปกติ คือเป็นของเน่า. บทว่า ปติตฺถิยติ ได้แก่ย่อมถึง
ความหงุดหงิด คือความกระด้าง. บทว่า โกป ได้แก่ ความโกรธมีกำลังทราม.
บทว่า โทส ได้แก่ โทษะ ที่มีกำลังมากกว่าความหงุดหงิดนั้นด้วยสามารถ
แห่งความประทุษร้าย. บทว่า อปฺปจฺจย ได้แก่โทมนัส ที่เป็นอาการแห่ง
ความไม่พอใจ.
บทว่า ทุฏฺารุโก ได้แก่แผลเรื้อรัง. บทว่า กฏเน ได้แก่
ปลายไม้เท้า. บทว่า กถเลน ได้แก่ กระเบื้อง. บทว่า อาสว เนติ ได้แก่
ไหลติดต่อกันไป. อธิบายว่า แผลเรื้อรังจะหลั่งออกซึ่งของ ๓ อย่างนี้คือ
หนอง เลือด และเยื่อ ตามธรรมดาของตนอยู่แล้ว แต่เมื่อถูกกระทบเข้า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 83
จะหลั่งสิ่งเหล่านั้นออกยิ่งขึ้น. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีข้อเปรียบเทียบ
ดังต่อไปนี้ ก็คนมักโกรธ พึงเห็นเหมือนแผลร้าย. จรณะ (พฤติกรรม) ของ
คนมักโกรธ พึงเห็นเหมือนการหลั่ง (ของไม่สะอาด) ของแผลร้ายนั้นออกไป
ตามธรรมดาของตนบ้าง จรณะ (พฤติกรรม) ของเขาผู้ดุร้าย พึงเห็นเหมือน
การหลั่ง (ของไม่สะอาด) ของซากศพที่ขึ้นพองออกไปตามธรรมดาของตนบ้าง
คำพูดเล็กน้อย ก็พึงเห็นเหมือนถูกกระทบด้วยไม้หรือกระเบื้อง ภาวะที่เขาจะ
ลำพองมากยิ่งขึ้นว่า คนผู้นี้ (กล้า) พูดเช่นนี้ กับคนเช่นเรา พึงเห็นเหมือน
การไหลออกมากยิ่งขึ้นแห่งแผลเรื้อรัง.
บทว่า รตฺตนฺธการติมิสฺสาย ความว่า ในยามราตรี คือในเวลาที่
มืดสนิท เพราะกระทำความมืด โดยห้ามไม่ให้จักษุวิญญาณเกิดขึ้น. บทว่า
วิชฺชนฺตริกาย ได้แก่ในขณะที่ฟ้าแลบ. แม้ในข้อนี้ ก็มีข้อเปรียบเทียบดัง
ต่อไปนี้ ก็พระโยคาวจร พึงเห็นเหมือน บุรุษผู้มีตาดี. กิเลสที่โสดาปัตติมรรค
ฆ่า พึงเห็นเหมือนความมืด กาลเวลาที่พระโสดาปัตติมรรคเกิดขึ้น พึงเห็น
เหมือนการแลบของสายฟ้า การเห็นพระนิพพานในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค
พึงเห็นเหมือนการเห็นรูปได้รอบด้านของบุรุษผู้มีจักษุในระหว่างฟ้าแลบ กิเลส
ที่สกทาคามิมรรคฆ่า พึงเห็นเหมือนการกำจัดความมืดได้อีกครั้ง การบังเกิด
ขึ้นแห่งสกทาคามิมัคคญาณ พึงเห็นเหมือนการแลบของสายฟ้าอีกครั้งหนึ่ง
การเห็นพระนิพพาน ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค พึงเห็นเหมือนการเห็นรูป
ได้โดยรอบ แห่งบุรุษผู้มีตาดี ในระหว่างฟ้าแลบ กิเลสที่อนาคามิมรรคฆ่า
เหมือนการกำจัดความมืดมนอันธการอีกครั้ง ความเกิดขึ้น แห่งอนาคามิมัคค-
ญาณ. พึงเห็นเหมือนการแลบของสายฟ้าอีกครั้ง. การเห็นพระนิพพาน
ในขณะแห่งอนาคามิมรรค พึงเห็นเหมือนการเห็นรูปโดยรอบด้าน แห่งบุรุษ
ผู้มีตาดี ในระหว่างฟ้าแลบ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 84
แม้ในภาวะที่บุคคลมีจิตเปรียบด้วยเพชร ก็มีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้
จริงอยู่ อรหัตมัคคญาณ พึงเห็นเหมือนเพชร. กิเลสทั้งหลายที่พระอรหัตมัคค-
ญาณตัดแล้ว พึงเห็นเหมือนกระเปาะแก้วมณี หรือกระเปาะหิน ภาวะที่กิเลส
ทั้งหลาย ที่พระอรหัตมัคคญาณจะตัดไม่ขาดไม่มี พึงเห็นเหมือนภาวะที่เพชร
จะไม่ตัดกระเปาะแก้ว หรือกระเปาะหินไปไม่มี การที่กิเลสที่พระอรหัตมัคค-
ญาณตัดได้แล้ว จะไม่กลับเกิดขึ้นอีก พึงเห็นเหมือนการที่กระเปาะแก้ว หรือ
กระเปาะหิน ที่ถูกเพชรตัดแล้ว จะไม่กลับเต็มขึ้นมาอีก ฉะนั้นแล.
จบอรรถกถาวชิรสูตรที่ ๕
๖. เสวิตัพพสูตร
ว่าด้วยผู้ควรคบและไม่ควรคบ
[๔๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล ๓
คือใคร คือ บุคคลที่ไม่ควรเสพไม่ควรคบไม่ควรเข้าใกล้ก็มี บุคคลที่ควรเสพ
ควรคบควรเข้าใกล้ก็มี บุคคลที่ควรสักการะเคารพแล้ว จึงเสพ จึงคบ จึง
เข้าใกล้ก็มี
บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร ? บุคคล
ลางคนในโลกนี้ เป็นผู้ด้อย โดยศีลโดยสมาธิโดยปัญญา บุคคลเช่นนี้ ไม่
ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ เว้นแต่เอ็นดู เว้นแต่อนุเคราะห์
บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร ? บุคคล
ลางคนในโลกนี้เป็นผู้เช่นเดียวกัน โดยศีลโดยสมาธิโดยปัญญา บุคคลเช่นนี้
ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้ นั่นเพราะเหตุอะไร ? เพราะเมื่อเราเป็นผู้
เสมอกันโดยศีล ... โดยสมาธิ ... โดยปัญญาแล้ว สีลกถา (การพูดกันถึง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 85
เรื่องศีล) ... สมาธิกถา (การพูดกันถึงเรื่องสมาธิ) ... ปัญญากถา (การพูด
ถึงเรื่องปัญญา) ก็จักมีด้วย การพูดกันของเรานั้นจักไปกันได้ด้วย การพูดกัน
ของเรานั้นจักเป็นความผาสุกด้วย เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้ จึงควรเสพ
ควรคบ ควรเข้าใกล้
บุคคลที่ควรสักการะเคารพแล้วจึงเสพจึงคบจึงเข้าใกล้ เป็นอย่างไร
บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยิ่งโดยศีล โดยสมาธิ โดยปัญญา บุคคลเช่นนี้
ควรสักการะเคารพแล้วจึงเสพ จึงคบ จึงเข้าใกล้ นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะ
เราจะได้ทำกองศีล ... กองสมาธิ ... กองปัญญาที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์บ้าง
จะได้ประคับประคอง กองศีล ... กองสมาธิ ... กองปัญญาที่บริบูรณ์แล้วไว้
ได้ด้วยความฉลาดในธรรมนั้น ๆ บ้าง เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนี้ จึงควร
สักการะเคารพแล้ว จึงเสพ จึงคบ จึงเข้าใกล้
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ มีอยู่ในโลก
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ได้ตรัสพระธรรมเทศนา
ไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ครั้นแล้วจึงตรัสนิคมคาถาประพันธ์ นี้อีกว่า
คนผู้คบคนทราม ย่อมเสื่อม ส่วน
คนผู้คบคนเสมอกัน ไม่เสื่อมในกาลไหนๆ
ผู้คบคนที่ประเสริฐกว่า ย่อมเจริญเร็ว
เพราะฉะนั้น จึงควรคบคนที่ยิ่งกว่าตน.
จบเสวิตัพพสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 86
อรรถกถาเสวิตัพพสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเสวิตัพพสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า เสวิตพฺโพ ได้แก่ พึงเข้าไปหา. บทว่า ภชิตพฺโพ ได้แก่
พึงสนิทสนม. บทว่า ปยิรูปาสิตพฺโพ ได้แก่ พึงเข้าไปบ่อย ๆ ด้วยการ
นั่งในที่ใกล้. บทว่า สกฺกตฺวา ครุกตฺวา ความว่า ทำทั้งสักการะและ
ความเคารพ.
ในบทว่า หีโน โหติ สีเลน เป็นต้น พึงทราบความต่ำ (กว่ากัน )
โดยเทียบเคียงกัน. อธิบายว่า ในบรรดาคนเหล่านั้น ผู้รักษาศีล ๑๐ ไม่ควร
คบคนรักษาศีล ๕. ผู้รักษาจาตุปาริสุทธิศีล ไม่ควรคบคนรักษาศีล ๑๐. บทว่า
อญฺตฺร อนุทยา อิตร อนุกมฺปา ความว่า นอกจากจะเอ็นดู
จะอนุเคราะห์. เพราะว่า เพื่อประโยชน์ตนแล้ว ก็ไม่ควรคบคนเช่นนี้. แต่จะ
เข้าไปหาเขา โดยความเอ็นดู โดยอนุเคราะห์ก็ควร.
บทว่า สีลสามญฺคตาน สต ความว่า แก่เราทั้งหลายผู้ถึงความ
เป็นผู้มีศีลเสมอกันมีอยู่. บทว่า สีลกกา จ โน ภวิสฺสติ ความว่า กถา
ปรารภศีลนั่นแหละจักมีแก่เราทั้งหลาย ผู้มีศีลเสมอกันอย่างนี้. บทว่า สา จ
โน ปวตฺตนี ภวิสฺสติ ความว่า กถาของพวกเราทั้งหลาย ที่พูดกันแม้
ตลอดวันนั้น จักดำเนินไป คือไม่ขาดระยะ. บทว่า สา จ โน ผาสุ ภวิสฺสติ
ความว่า และสีลกถาที่ดำเนินไปตลอดทั้งวันนั้น จักเป็นการอยู่อย่างสำราญ
ของเราทั้งหลาย. แม้ในสมาธิปัญญากถา ก็มีนัยเหมือนกันนี้แหละ.
บทว่า สีลกฺขนธ ได้แก่กองศีล. บุคคลเว้นธรรมที่ไม่เป็นสัปปายะ
ของศีล คือไม่เป็นอุปการะแก่ศีล ซ่องเสพ (ประพฤติ) ธรรมที่เป็นสัปปายะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 87
คือธรรมที่เป็นอุปการะแก่ศีล ชื่อว่า อนุเคราะห์สีลขันธ์ ด้วยปัญญา
ในที่นั้น ๆ ในบทว่า ตตฺถ ตตฺถ ปญฺาย อนุคฺคเหสฺสามิ นี้. แม้
ในสมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า นิหียติ ความว่า บุคคลเมื่อคบหาคนที่เลวกว่าตนย่อมเสื่อม
คือย่อมเสียหาย ติดต่อกันเรื่อยไป เหมือนน้ำที่เทไป ในหม้อกรองน้ำด่าง.
บทว่า ตุลฺยเสวี ได้แก่คบคนที่เสมอกับตน. บทว่า เสฏฺมุปนม ได้แก่
น้อมเข้าไปหาผู้ประเสริฐ. บทว่า อุเทติ ขิปฺป ความว่า ย่อมเจริญ
เร็วทีเดียว. บทว่า ตสฺมา อตฺตโน อุตฺตรึ ภเชถ ความว่า เพราะเหตุ
ที่บุคคลผู้น้อมตนเข้าไปหาบุคคลผู้ประเสริฐ ย่อมเจริญเร็ว ฉะนั้น จึงควรคบ
คนที่ยิ่งกว่า คือคนที่สูงกว่า ได้แก่คนที่ประเสริฐกว่าตน.
จบอรรถกถาเสวิตัพพสูตรที่ ๖
๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบและไม่ควรคบ
[๔๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล ๓
คือใคร คือ บุคคลที่ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ก็มี
บุคคลที่ควรเฉย ๆ เสีย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ก็มี บุคคล
ที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้ก็มี
บุคคลที่ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เป็น
อย่างไร ? บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันลามก (มีการกระทำ)
ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานอันปกปิดไม่เป็นสมณะ แต่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 88
ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เป็น
คนเน่าใน เปียกชื้น รกเรื้อ (ด้วยกิเลสโทษ) บุคคลเช่นนี้ควรเกลียด ไม่
ควรเสพไม่ควรคบไม่ควรเข้าใกล้ นั่นเพราะเหตุอะไร ? เพราะถึงแม้ผู้คบจะ
ไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า เป็นคนมี
มิตรชั่ว มีสหายเลว มีเพื่อนทราม งูที่จมคูถย่อมไม่กัดก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น
มันก็ทำผู้จับให้เปื้อน ฉันใดก็ดี ถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น
แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว มีเพื่อนทราม
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น บุคคลเช่นนั้น จึงควรเกลียด ไม่ควรเสพ
ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้
บุคคลที่ควรเฉย ๆ เสีย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เป็น
อย่างไร บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นคนขี้โกรธ มีความแค้นมาก ถูกเขาว่า
หน่อย ก็ขัดเคืองขึ้งเคียดเง้างอด. ทำความกำเริบความร้ายและความเดือดดาล
ให้ปรากฏ เหมือนแผลร้ายถูกไม้หรือกระเบื้องเข้ายิ่งหนองไหล ... เหมือนฟืน
ไม้ติณฑุกะถูกครูดด้วยไม้หรือกระเบื้อง ยิ่งส่งเสียงจิจิฏะๆ ... เหมือนหลุมคูถ
ถูกรันด้วยไม้หรือกระเบื้องยิ่งเหม็นฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นคน
ขี้โกรธ มีความแค้นมาก ถูกเขาว่าหน่อย ก็ขัดเคืองขึ้งเคียดเง้างอด ทำความ
กำเริบความร้าย และความเดือดดาลให้ปรากฏฉันนั้น บุคคลเช่นนี้ ภิกษุ
ทั้งหลาย ควรเฉย ๆ เสีย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกส้ นั่นเพราะ
เหตุอะไร เพราะ (เกรงว่า) เขาจะด่าเราบ้าง จะตะเพิดเราบ้าง จะทำเราให้
เสื่อมเสียบ้าง เพราะเหตุนั้น บุคคลชนิดนี้ จึงควรเฉย ๆ เสีย ฯลฯ
ก็บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร ? บุคคลลางคน
ในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม บุคคลอย่างนี้ ควรเสพ ควรคบ ควร
เข้าใกล้ นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงบุคคลเช่นนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 89
แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปว่า เป็นคนมีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
เพราะเหตุนั้น บุคคลอย่างนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ มีอยู่ในโลก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิคมคาถาว่า
คนผู้คบคนทราม ย่อมเสื่อม ส่วน
คนผู้คบคนเสมอกัน ไม่เลื่อมในกาลไหนๆ
ผู้คบคนที่ประเสริฐกว่า ย่อมเจริญเร็ว
เพราะฉะนั้น จึงควรคบคนที่ยิ่งกว่าตน.
จบชิคุจฉิตัพพสูตรที่ ๗
อรรถกถาชิคุจฉิตัพพสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในชิคุจฉิตัพพสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชิคุจฺฉิตพฺโพ ความว่า บุคคลที่ใคร ๆ พึงรังเกียจเหมือน
คูถฉะนั้น. บทว่า อถโข น เท่ากับ อถโข อสฺส. บทว่า กิตฺติสทฺโท
คือ เสียงที่กล่าวขานกัน. ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบข้อเปรียบเทียบ
ดังต่อไปนี้
ความเป็นผู้ทุศีล พึงเห็นเหมือนหลุมคูถ. บุคคลผู้ทุศีล พึงเห็น
เหมือนงูเรือน ตัวตกลงไปในหลุมคูถฉะนั้น ภาวะที่บุคคลพึงจะคบหาบุคคล
ผู้ทุศีล (แต่) ไม่ทำตามบุคคลผู้ทุศีลนั้น พึงเห็นเหมือนภาวะที่บุคคลถูกงูที่
เขายกขึ้นจากหลุมคูถไต่ขึ้นสู่ร่างกาย แต่ไม่กัดฉะนั้น เวลาที่บุคคลคบหาผู้
ทุศีล จนชื่อเสียงที่ไม่ดีระบือไปทั่ว พึงทราบเหมือนเวลาที่เขาถูกงูตัวเปื้อน
คูถแล้ว กัดเอาฉะนั้น. บทว่า ติณฑุกาลาต ได้แก่ ดุ้นฟืนไม้มะพลับ.
บทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย จิจิฏายติ ความว่า ก็ดุ้นฟืนไม้มะพลับนั้น เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 90
ถูกเผาตามปกติสะเก็ดจะกระเด็นหลุดออกส่งเสียงดัง จิจิฏะ จิจิฏะ. อธิบายว่า
แต่ดุ้นฟืนที่ถูกเคาะจะส่งเสียงดังกว่ามาก.
บทว่า เอวเมว โข ความว่า บุคคลผู้มักโกรธก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
คือ แม้ตามธรรมดาของตนก็เป็นผู้ไม่สงบ ดุร้ายเที่ยวไป. แต่ในเวลาที่ได้ฟัง
คำพูด (ว่ากล่าว) แม้เพียงเล็กน้อย ก็กลับเที่ยวเกรี้ยวกราดดุร้ายยิ่งขึ้นไปอีกว่า
คนนี้ พูดอย่างนี้ ๆ กับ คนเช่นเราได้.๑ บทว่า คูถกูโป ได้แก่ หลุมที่
เต็มไปด้วยคูถ หรือหลุมคูถนั่นแล. ก็ในที่นี้ พึงทราบการเปรียบเทียบโดยนัย
ก่อนนั้นแล.
บทว่า ตสฺมา เอวรูโป ปุคฺคโล อชณุเปกฺ ขิตพฺโพ น เสวิ-
ตพฺโพ ความว่า เพราะเหตุที่บุคคลผู้มักโกรธ เมื่อใครคบหาใกล้ชิดก็โกรธ
(เขา) เหมือนกัน ย่อมโกรธ แม้กะบุคคลที่ด่าย้อนให้ว่า คนผู้นี้มี
ประโยชน์อะไร ฉะนั้น เขาจึงเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง ที่ทุกคนควรวางเฉย
ไม่ควรเข้าไปคบหาสมาคม. ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านกล่าวอธิบาย
ไว้ว่า บุคคลที่เข้าไปใกล้ไฟไหม้ฟางจนเกินไปจะร้อน ร่างกายของเขาจะพลอย
ถูกไหม้ไปด้วย บุคคลที่ถอยออกห่างมากเกินไปจะ (ไม่) ร้อน ความหนาว
ของเขาก็ยังไม่หาย ส่วนบุคคลที่ผิงไฟอยู่ในระยะพอดี ไม่เข้าใกล้จนเกินไป
(และ) ไม่ถอยออกห่างจนเกินไป ความหนาวก็จะหาย เพราะฉะนั้น บุคคล
ผู้มักโกรธเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง จึงควรถูกวางเฉยเสีย โดยการวางตัวเป็น
กลาง ไม่ควรที่ใคร ๆ จะเสพ ไม่ควรที่ใคร ๆ จะคบหา ไม่ควรที่ใคร ๆ
จะเข้าไปนั่งใกล้
๑. ปาฐะว่า เอวเมว โกธโนติ อตฺคโน ธมฺมตายปิ อุฏิโต จณฺฑิกโต หุตฺวา จรติ.
อปฺปมตฺคก ปน วจน วุตฺตกาเล มาทิส นาม เอว วทติ เอว วทติติ อิตเรกตร อุฏฺิโต
จณฺฑิกโต หุตฺวา กุชฺฌติ. ฉบับพม่าเป็น เอวเมว โกธโน อตฺตโน ธมฺมตายปิ อุทฺธโต
จณฺฑิกโต หุตวา จรติ อปฺปมตฺตก ปน วจน สุตกาเล มาทิส นาม เอว วทติ เอว
วทตีติ อติเรกตร อุทฺธโต จณฺฑิกโต หุตวา จรติ แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 91
บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ได้แก่ มิตรผู้สะอาด. บทว่า กลฺยาณ-
สหาโย ได้แก่ สหายผู้สะอาด. ที่ชื่อว่า สหาย ได้แก่ผู้มีปกติไปร่วมกัน
และเที่ยวไปร่วมกัน. บทว่า กลฺยาณสมฺปวงฺโก ได้แก่ ผู้โอนไปใน
กัลยาณมิตรทั้งหลาย คือ ในบุคคลผู้สะอาด อธิบายว่า ผู้มีใจน้อมโน้ม
เหนี่ยวนำไปในกัลยาณมิตรนั้น.
จบอรรถกถาชิคุจฉิตัพพสูตรที่ ๗
๘. คูถภาณีสูตร
ว่าด้วยผู้พูด ๓ จำพวก
[๔๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล ๓
คือใคร คือ คูถภาณี (คนพูดเหม็น) ปุปผภาณี (คนพูดหอม) มธุภาณี
(คนพูดหวาน)
บุคคลคูถภาณีเป็นอย่างไร บุคคลลางคนในโลกนี้ เข้าสภาก็ดี เข้า
ชุมนุมชนก็ดี เข้าหมู่ญาติก็ดี เข้าหมู่ข้าราชการก็ดี เข้าหมู่เจ้าก็ดี ถูกนำตัว
ไปซักถามเป็นพยานว่า "มา บุรุษผู้เจริญ ท่านรู้อันใดจงบอกอันนั้น" บุคคล
นั้น ไม่รู้ กล่าวว่ารู้บ้าง รู้ กล่าวว่าไม่รู้บ้าง ไม่เห็น กล่าวว่าเห็นบ้าง เห็น
กล่าวว่าไม่เห็นบ้าง เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเห็นแก่ตนบ้าง เพราะเห็น
แก่คนอื่นบ้าง เพราะเห็นแก่ลาภผลเล็กน้อยบ้าง ดังนี้ นี่ ภิกษุทั้งหลาย
เราเรียกว่า บุคคลคูถภาณี
ก็บุคคลปุปผภาณีเป็นอย่างไร บุคคลลางคนในโลกนี้ เข้าสภาก็ดีฯลฯ
ถูกนำตัวไปซักถามเป็นพยาน ฯลฯ บุคคลนั้นไม่รู้ ก็กล่าวว่าไม่รู้ รู้ ก็กล่าว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 92
ว่ารู้ ไม่เห็น ก็กล่าวว่าไม่เห็น เห็น ก็กล่าวว่าเห็น ไม่เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้
เพราะเห็นแก่ตนบ้างฯลฯ ดังนี้ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลปุปผภาณี
ก็บุคคลมธุภาณีเป็นอย่างไร บุคคลลางตนในโลกนี้ เป็นผู้ละวาจา
หยาบ เว้นจากวาจาหยาบแล้ว วาจาใดไม่มีโทษ สบายหู น่าดูดดื่มจับใจ
เป็นคำชาวเมือง เป็นที่ใคร่ ... ที่พอใจแห่งชนมาก เป็นผู้กล่าววาจาอย่างนั้น
นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลมธุภาณี
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ มีอยู่ในโลก.
จบคูถภาณีสูตรที่ ๘
อรรถกถาคูถภาณีสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในคูถภาณีสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บุคคลใด กล่าวถ้อยคำส่งกลิ่นเหม็นเหมือนคูถ บุคคลนั้น ชื่อว่า
คูถภาณี. บุคคลใด กล่าวถ้อยคำส่งกลิ่นหอมเหมือนดอกไม้ บุคคลนั้น
ชื่อว่า ปุปผภาณี. บุคคลใด กล่าวถ้อยคำอ่อนหวานเหมือนน้ำผึ้ง บุคคลนั้น
ชื่อว่า มธุภาณี.
บทว่า สภาคโต คืออยู่ในสภา. บทว่า ปริสคโต คืออยู่ในหมู่
ชาวบ้าน. บทว่า าติมชฺฌคโต คืออยู่ในท่ามกลางทายาททั้งหลาย. บทว่า
ปูคมชฺฌคโต คืออยู่ในท่ามกลางเสนาทั้งหลาย. บทว่า ราชกุลมชฺฌคโต
คืออยู่ในท่ามกลางราชตระกูล คือ ในท้องพระโรง สำหรับวินิจฉัยของหลวง.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 93
บทว่า อภินีโต คือ ถูกนำไปเพื่อต้องการจะซักถาม. บทว่า สกฺขิปุฏฺโ
คือถูกเขาอ้างให้เป็นพยาน แล้วซัก. บทว่า เอว โภ ปุริส นี้ เป็นอาลปนะ.
บทว่า อตฺตเหตุ วา ปรเหตุ วา ได้แก่ เพราะเหตุแห่งอวัยวะ มีมือ
และเท้าเป็นต้น ของตนหรือของบุคคลอื่น. ลาภ ท่านประสงค์เอาว่า อามิส
ในบทว่า อามิสกิญฺจิกฺขเหตุ วา นี้. บทว่า กิญฺจิกฺข ได้แก่ สิ่งของ
นิด ๆ หน่อย ๆ คือของเล็กน้อย อธิบายว่า เหตุแห่งอามิส โดยที่สุดแม้
เพียงนกกระทา นกคุ่ม ก้อนเนยใส และก้อนเนยข้น เป็นต้น. บทว่า
สมุปชานมุสา ภาสิตา โหติ ความว่า กล่าวมุสาวาททั้งที่รู้ ๆ.
โทษเรียกว่า เอละ ในบทว่า เนลา. วาจา ชื่อว่า เนลา
เพราะหมายความว่า ไม่มีโทษ อธิบายว่า หมดโทษ. วาจาไม่มีโทษเหมือนศีล
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในคาถานี้ว่า. เนลงฺโค เสตปจฺฉาโท.
วาจา ชื่อว่า กัณณสุขา ได้แก่วาจาที่สบายหู เพราะมีพยัญชนะ
ไพเราะ. วาจานั้น ไม่ให้เกิดการเสียดแทงหู เหมือนใช้เข็มแทงฉะนั้น.
วาจา ชื่อว่า เปมนียา เพราะหมายความว่า ให้เกิดความรัก ไม่ให้
เกิดความโกรธ ทั่วทั้งร่างกาย เพราะมีอรรถไพเราะฉะนั้น.
วาจา ชื่อว่า หทยังคมา เพราะหมายความว่า ถึงใจคือไม่กระทบ
กระทั่ง เข้าไปสู่จิตโดยสะดวก
วาจา ชื่อว่า โปรี เพราะหมายความว่า มีในเมือง เพราะบริบูรณ์
ด้วยคุณ. อนึ่ง วาจา ชื่อว่า โปรี เพราะหมายความว่า ละเอียดอ่อนดี
เหมือนนารีที่เจริญเติบโตในเมือง ฉะนั้น. อนึ่ง วาจา ชื่อว่า โปรี เพราะ
หมายความว่า เป็นวาจาของชาวเมือง อธิบายว่า เป็นวาจาของคนที่อยู่ในเมือง.
จริงอยู่ ชาวเมืองย่อมมีถ้อยคำเหมาะสม คือเรียกคนวัยปูนพ่อว่า คุณพ่อ
เรียกคนวัยปูนพี่ชายหรือน้องชายว่า พี่ชาย น้องชาย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 94
ด้วยว่า ถ้อยคำชนิดนี้ ชื่อว่า พหุชนกันตา เพราะหมายความว่า
เป็นวาจาที่ชนเป็นอันมากรักใคร่.
วาจา ชื่อว่า พหุชนมนาปา เพราะหมายความว่า เป็นที่ชอบใจ
คือทำความเจริญใจให้แก่ชนเป็นอันมาก เพราะเป็นวาจาที่ชนเป็นอันมาก
รักใคร่นั่นเอง.
จบอรรถกถาคูถภาณีสูตรที่ ๘
๙. อันธสูตร
ว่าด้วยคนตาบอด - ตาเดียว - สองตา
[๔๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ มีอยู่ในโลก บุคคล ๓
คือใคร ? คือ (อนฺธ) คนบอด (เอกจกฺขุ) คนตาเดียว (ทฺวิจกฺขุ) คนสองตา
ก็บุคคลบอดเป็นอย่างไร ? บุคคลลางคนในโลกนี้ ไม่มีดวงตา
(คือปัญญา) ที่เป็นเหตุจะให้ได้โภคทรัพย์อันยังไม่ได้ก็ดี เป็นเหตุจะที่
โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้นก็ดี ทั้งไม่มีดวงตา (คือปัญญา) ที่เป็นเหตุจะ
ให้รู้ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลและอกุศล ... อันมีโทษและไม่มีโทษ ... อัน
หยาบและละเอียด ... อันเป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า
บุคคลบอด.
ก็บุคคลตาเดียวเป็นอย่างไร ? บุคคลลางคนในโลกนี้ มีดวงตาที่
เป็นเหตุจะให้ได้โภคทรัพย์อันยังไม่ได้ก็ดี เป็นเหตุจะทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้ว
ให้ทวีขึ้นก็ดี แต่ไม่มีดวงตาที่เป็นเหตุจะให้รู้ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลและ
อกุศล ฯลฯ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลตาเดียว.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 95
ก็บุคคลสองตาเป็นอย่างไร บุคคลลางคนในโลกนี้ มีดวงตาที่เป็น
เหตุจะให้ได้โภคทรัพย์ ฯลฯ ทั้งมีดวงตาที่เป็นเหตุจะให้รู้ธรรมทั้งหลาย ฯลฯ
นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลสองตา.
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ มีอยู่ในโลก.
(นิคมคาถา)
คนตาบอดมืด เคราะห์ร้ายทั้ง ๒ ทาง
คือ โภคทรัพย์อย่างที่ว่าก็ไม่มี ความดีก็
ไม่ทำ.
ส่วนอีกคนหนึ่งนี้ เรียกว่า บุคคล
ตาเดียว ไม่เกี่ยวในเรื่องธรรม และ
อธรรม แสวงหาแต่โภคทรัพย์ เป็นคน
ครองกามที่ฉลาดรวบรวมทรัพย์ ด้วยการ
ขโมย การโกงและการปลิ้นปล้อน บุคคล
ตาเดียวนั้นจากโลกนี้ ไปนรก ย่อมเดือด-
ร้อน.
ส่วนผู้ที่เรียกว่า คนสองตา เป็น
บุคคลประเสริฐ ให้ทรัพย์ที่ได้ด้วยความ
ขยัน จากกองโภคะที่ตนหาได้โดยชอบ
(เป็นทาน) มีความคิดสูง มีใจไม่เคลือบ-
แคลง ย่อมเข้าถึงฐานะอันเจริญ ซึ่งเป็น
ฐานะที่ถึงแล้วไม่เศร้าใจ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 96
ควรหลีกคนบอดและคนตาเดียวเสีย
ให้ไกล ควรคบแต่คนสองตาซึ่งเป็นบุคคล
ประเสริฐ.
จบอันธสูตรที่ ๙
อรรถกถาอันธสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอันธสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จกฺขุ น โหติ ได้แก่ไม่มีปัญญาจักษุ. บทว่า ผาตึ
กเรยฺย ความว่า พึงทำโภคะ (ที่ได้มาแล้ว) ให้คงอยู่ คือ ให้เจริญ
บทว่า สาวชฺชานวชฺเช ได้แก่ ธรรมที่มีโทษ และไม่มีโทษ บทว่า
หีนปฺปณีเต ได้แก่ ธรรมขั้นต่ำ และขั้นสูง. บทว่า กณฺหสุกฺกสปฺปฏิภาเค
ความว่า ธรรมดำและธรรมขาวนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความ
เป็นปฏิภาคกัน โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เพราะขัดขวางกันและกัน. ก็ในบทนี้
มีความย่อดังต่อไปนี้ บุคคลพึงรู้จักกุศลธรรมว่า เป็นกุศลธรรม. พึงรู้จัก
อกุศลธรรมว่า เป็นอกุศลธรรม. แม้ในบทมีอาทิว่า ธรรมที่มีโทษเป็นต้น
ก็มีนัย นี้แล. ส่วนในธรรมที่มีความเป็นปฏิภาคกัน ทั้งธรรมดำและธรรมขาว
ธรรมดำ บุคคลพึงรู้ว่า มีความเป็นปฏิภาคกับธรรมขาว ธรรมขาว บุคคล
พึงรู้ว่า เป็นปฏิภาคกับธรรมดำ ด้วยปัญญาจักษุใด จักษุแม้เห็นปานนั้นของ
บุคคลนั้นไม่มี นักศึกษาพึงทราบความหมาย แม้ในวาระที่เหลือโดยนัย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 97
ดังกล่าวมานี้แล.
บทว่า น เจว โภคา ตถารูปา ความว่า แม้โภคะชนิดนั้น ย่อม
ไม่มีแก่บุคคลนั้น. บทว่า น จ ปุญฺานิ กุพฺพติ ความว่า และเขา
ย่อมไม่ทำบุญ. ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันตรัสถึงความไม่มีแห่งจักษุที่
เป็นเหตุให้โภคะเกิดขึ้น และจักษุที่ทำให้เกิดญาณ (ปัญญาจักษุ). บทว่า
อุภยตฺถ กลิคฺคโห ได้แก่ ถือผิด อธิบายว่า ถือพลาดในโลกทั้ง ๒ คือ
ในโลกนี้ และในโลกหน้า. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุภยตฺถ กลิคฺคโห คือ
ถือประโยชน์ทั้ง ๒ คือที่เป็นไปในทิฎฐธรรม และสัมปรายภพว่าเป็นโทษ
อธิบายว่า ถือเป็นความผิด. บทว่า ธมฺมามฺเมน ได้แก่ ด้วยธรรมคือ
กุศลกรรมบถ ๑๐ บ้าง ด้วยธรรมคือ อกุศลกรรมบถ ๑๐ บ้าง. บทว่า
สโ ได้แก่ มักโอ่. บทว่า โภคานิ ปริเยสติ คือ แสวงหาโภคะทั้งหลาย.
บทว่า เถยฺเยน กูฏกมฺเมน มุสาวาเทน จูภย ความว่า แสวงหา
โภคะทั้งหลายด้วยกรรมทั้งสอง ในบรรดากรรมมีไถยกรรมเป็นต้น. ถามว่า
แสวงหาด้วยกรรมทั้งสองอย่างไร. ตอบว่า อย่างนี้คือ แสวงหาโภคะทั้งหลาย
ด้วยไถยกรรม (การลักขโมย) และกูฏกรรม (การฉ้อโกง) ได้แก่ แสวงหา
ด้วยไถยกรรมและมุสาวาท และแสวงหาด้วยกูฏกรรม และมุสาวาท. บทว่า
สงฺฆาตุ แปลว่า เพื่อรวบรวม. บทว่า ธมฺมลทฺเธหิ ได้แก่ ที่ได้มาโดย
ไม่ให้เสียธรรม คือกุศลกรรมบถสิบ. บทว่า อุฏฺานาธิคต คือ ที่ได้มา
ด้วยความเพียร. บทว่า อพฺยคฺคมานโส คือมีจิตปราศจากวิจิกิจฉา. บทว่า
ภทฺทก าน คือ สถานที่ที่ดีที่สุด ได้แก่ เทวสถาน. บทว่า น โสจติ
คือไม่เศร้าโศกด้วยความเศร้าโศกภายใน ในที่ใด.
จบอรรถกถาอันธสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 98
๑๐. อวกุชชิตสูตร
ว่าด้วยผู้มีปัญญา ๓ จำพวก
[๔๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ นี้ มีอยู่ในโลก บุคคล ๓
คือใคร คือ บุคคลปัญญาดังหม้อคว่ำ บุคคลปัญญาดังหน้าตัก บุคคล
ปัญญามาก
บุคคลปัญญาดังหม้อคว่ำเป็นอย่างไร. บุคคลลางคนในโลกนี้ไปวัด
เพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมอันงามใน
เบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถทั้งพยัญชนะแจ่มแจ้งเต็มที่แก่บุคคลนั้น เขานั่ง ณ ที่นั่งนั้นไม่ใส่ใจถึง
เบื้องต้น ... ท่ามกลาง ... ที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้นเลย แม้ลุกไปจาก
ที่นั่งนั้นแล้ว ก็ไม่ใส่ใจถึง... เปรียบเหมือนหม้อคว่ำ น้ำที่บุคคลราดลงไป
บนหม้อนั้น ย่อมไหลไปไม่ขังอยู่ ฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อ
ฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ฯลฯ ก็ไม่ใส่ใจถึง ... ฉันนั้น นี่ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลปัญญาดังหม้อคว่ำ
ก็บุคคลปัญญาดังหน้าตักเป็นอย่างไร. บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัด
เพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมอันงามใน
เบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถทั้งพยัญชนะแจ่มแจ้งเต็มที่แก่บุคคลนั้น เขานั่ง ณ ที่นั่งนั้น ใส่ใจทั้ง
เบื้องต้น ... ทั้งท่ามกลาง ... ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้น ลุกจากที่นั่งนั้น
แล้วไม่ใส่ใจ ... เปรียบเหมือนของเคี้ยวต่าง ๆ วางรายอยู่บนหน้าตักของคน
เช่น งา ข้าวสาร แป้ง พุทรา คนนั้นเผลอตัวลุกขึ้นจากที่นั่งนั้น ( ของ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 99
เคี้ยวนั้น) ก็ตกเกลื่อนไป ฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อฟังธรรม
ในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ฯลฯ ลุกจากที่นั่งนั้น แล้วไม่ใส่ใจ ... ฉันนั้น
นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลปัญญาดังหน้าตัก
ก็แล บุคคลปัญญามากเป็นอย่างไร. บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อ
ฟังธรรมในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ ฯลฯ เขานั่ง ณ ที่นั่งนั้น ใส่ใจทั้ง
เบื้องต้น ... ทั้งท่ามกลาง ... ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้น แม้ลุกไปจาก
ที่นั่งนั้นแล้ว ก็ใส่ใจไว้ทั้งเบื้องต้น ... ทั้งท่ามกลาง ... ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม)
กถานั้น เปรียบเหมือนหม้อหงาย น้ำที่บุคคลเทลงไปในหม้อนั้น ย่อมขังอยู่
ไม่ไหลไป ฉันใด บุคคลลางคนในโลกนี้ ไปวัดเพื่อฟังธรรมในสำนักภิกษุ
ทั้งหลายเนือง ๆ ฯลฯ ทั้งที่สุดแห่ง (ธรรม) กถานั้น ฉันนั้น นี่ ภิกษุ
ทั้งหลาย เราเรียกว่า บุคคลปัญญามาก
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ มีอยู่ในโลก.
คนปัญญาดังหม้อคว่ำ โง่ ทึบ แม้
หากไป (ฟังธรรม) ในสำนักภิกษุทั้งหลาย
เนือง ๆ คนชนิดนั้น ก็ไม่อาจเรียนเอา
เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่ง (ธรรม)
กถาได้ เพราะปัญญาของเขาไม่มี.
คนปัญญาดังหน้าตัก เรากล่าวว่า
ดีกว่าคนปัญญาดังหม้อคว่ำนั่น ถ้าแม้ไป
(ฟังธรรม) ในสำนักภิกษุทั้งหลายเนืองๆ
คนเช่นนั้นนั่ง ณ ที่นั่งนั้น เรียนพยัญชนะ
ได้ทั้งเบื้องต้น ทั้งท่ามกลาง ทั้งที่สุดแห่ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 100
(ธรรม) กถานั้น ลุกไปแล้วไม่รู้ เพราะ
ความจำของเขาฟั่นเฟือน.
ส่วนบุคคลปัญญามาก เรากล่าวว่า
ดีกว่าคนปัญญาดังหน้าตักนั่น ถ้าแม้ไป
(ฟังธรรม) ในสำนักภิกษุทั้งหลายเนือง ๆ
คนเช่นนั้นนั่ง ณ ที่นั่งนั้น เรียนพยัญชนะ
ได้ทั้งเบื้องต้น ทั้งท่ามกลาง ทั้งที่สุดแห่ง
(ธรรม) กถาแล้วทรงจำไว้ได้ เป็นคนมี
ความคิดประเสริฐ มีใจไม่เคลือบแคลง
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงกระทำ
ที่สุดทุกข์ได้.
จบอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐
จบปุคคลวรรคที่ ๓
อรรถกถาอวกุชชิตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อวกุชฺชปญฺโญฺ ได้แก่ มีปัญญาเหมือนกับหม้อคว่ำปากลง.
บทว่า อุจฺฉงฺคปญฺโ ได้แก่ มีปัญญาเหมือนกับตัก. บทว่า ปุถุปญฺโ
ได้แก่ มีปัญญากว้างขวาง.
ในบทว่า อาทิกลฺยาณ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ การ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 101
ตั้งต้น (เทศนา) ชื่อว่า เบื้องต้น ท่ามกลางแห่งกถา ชื่อว่า ท่ามกลาง ตอน
จบ ชื่อว่า ที่สุด. ภิกษุเหล่านั้น เมื่อกล่าวธรรมแก่บุคคลนั้นอย่างนี้ ชื่อว่า
กล่าวทำให้งาม คือให้เจริญ ได้แก่ไม่มีโทษเลย ทั้งในวาระเริ่มต้น ทั้งใน
วาระท่ามกลาง ทั้งในวาระที่สุด. อนึ่ง ในสูตรนี้มีเบื้องต้น ท่ามกลาง และ
ที่สุดแห่งเทศนา และมีเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดแห่งสาสนธรรม.
บรรดาเทศนาและสาสนธรรมทั้งสองนั้น (จะกล่าว) เทศนาก่อน บท
แรก ของคาถา ๔ บทเป็นเบื้องต้น บททั้งสองเป็นท่ามกลาง (และ) บทสุดท้าย
เป็นที่สุด
สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิเดียว นิทานเป็นเบื้องต้น อนุสนธิเป็น
ท่ามกลาง ตอนจบพระสูตรที่ว่า อิทมโวจ เป็นที่สุด.
สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิหลายอนุสนธิ อนุสนธิที่ ๑ เป็นเบื้องต้น
มากกว่านั้นไป หนึ่งหรือหลายอนุสนธิเป็นท่ามกลาง อนุสนธิสุดท้ายเป็น
ที่สุด. นี้เป็นนัยแห่งเทศนาก่อน.
ส่วนสาสนธรรม ศีลเป็นเบื้องต้น สมาธิเป็นท่ามกลาง วิปัสสนา
เป็นทีสุด. อีกอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนาเป็นท่ามกลาง มรรค
เป็นที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาเป็นเบื้องต้น มรรคเป็นท่ามกลาง ผลเป็น
ที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง มรรคเป็นเบื้องต้น ผลเป็นท่ามกลาง นิพพานเป็นที่สุด.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อทำธรรมให้เป็นคู่ ๆ กัน ศีลกับสมาธิเป็นเบื้องต้น วิปัสสนา
กับมรรค เป็นท่ามกลาง ผลกับนิพพาน เป็นที่สุด.
บทว่า สาตฺถ ความว่า ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรมให้มีประโยชน์.
บทว่า สพฺยญฺชน ความว่า แสดงธรรมให้อักษรบริบูรณ์. บทว่า เกวล-
ปริปุณฺณ ความว่า แสดงธรรมให้บริบูรณ์ทั้งหมด คือไม่ขาด. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 102
ปริสุทฺธ ความว่า แสดงธรรมให้บริสุทธิ์ คือไม่ให้ยุ่งเหยิงไม่มีเงื่อนงำ.
บทว่า พฺรหฺมจริย ปกาเสนฺติ ความว่า และเมื่อแสดงอย่างนั้น ชื่อว่า
ประกาศอริยมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งสงเคราะห์ด้วยไตรสิกขา อันเป็นจริยาที่
ประเสริฐที่สุด. บทว่า เนวาทึ มนสิกโรติ ความว่า เริ่มต้นเทศน์ก็ไม่ใส่ใจ.
บทว่า กุมฺโภ แปลว่าหม้อ. บทว่า นิกุชฺโช คือ วางคว่ำปากลง.
ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บุคคลผู้มีปัญญาต่ำ
พึงเห็นเหมือนหม้อคว่ำปากลง. เวลาที่ได้ (ฟัง) พระธรรมเทศนา พึงเห็น
เหมือนเวลาที่เทน้ำ (บนก้นหม้อ). เวลาที่บุคคลนั่งอยู่บนอาสนะนั้น ยังไม่
สามารถเรียนเอาได้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่น้ำไหลออกไปหมด. เวลาที่บุคคล
ผู้นั้นลุกขึ้นแล้ว จำไม่ได้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่น้ำไม่ขังอยู่ (บนก้นหม้อ).
บทว่า อากิณฺณานิ แปลว่า ที่เก็บไว้. บทว่า สติสมฺโมสาย ปกิเรยฺย
ความว่า (ของควรเคี้ยวนั้น) พึงตกเกลื่อนไป เพราะความเป็นผู้เผลอตัว.
ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บุคคลผู้มี
ปัญญาดังตัก พึงเห็นเหมือนตัก. พระพุทธพจน์มีประการต่าง ๆ พึงเห็น
เหมือนของกินชนิดต่าง ๆ. เวลาที่บุคคลนั่งเรียนอยู่บนอาสนะนั้น พึงเห็น
เหมือนเวลาที่บุคคลนั่งเคี้ยว ของเคี้ยวชนิดต่าง ๆ (ที่อยู่) บนตัก. เวลาที่
บุคคลลุกจากอาสนะนั้นมาแล้ว จำไม่ได้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่บุคคลลุกขึ้น
ทำของหกเรี่ยราด เพราะเผลอตัว.
บทว่า อุกฺกุชฺโช ได้แก่(หม้อ) วางหงายปากขึ้น. บทว่า สณฺาติ
คือ น้ำย่อมขังอยู่.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 103
ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บุคคลผู้มี
ปัญญามาก พึงเห็นเหมือนหม้อที่วางหงายปากขึ้น. เวลาที่ได้ฟังเทศนา พึง
เห็นเหมือนเวลาที่เทน้ำลง. เวลาที่บุคคลนั่งเรียนอยู่บนอาสนะนั้น พึงเห็น
เหมือนเวลาที่น้ำขังอยู่. เวลาที่บุคคลลุกขึ้นเดินไป ยังจำได้พึงเห็นเหมือนเวลา
ที่น้ำไม่ไหลออกไป.
บทว่า ทุมฺเมโธ ได้แก่ ไม่มีปัญญา. บทว่า อวิจกฺขโณ ได้แก่
ขาดปัญญาเครื่องจัดการ. บทว่า คนฺตา ได้แก่ มีการไปเป็นปกติ. บทว่า
เสยฺโย เอเตน วุจฺจติ ความว่า (บุคคลผู้มีปัญญาดังตัก) พระพุทธเจ้า
ตรัสว่า ยอดเยี่ยมกว่าบุคคลนั้น (คือ คนปัญญาดังหม้อคว่ำ).
บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ความว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่
โลกุตรธรรม ๙ คือบ่ฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล. บทว่า ทุกฺขสฺส
ได้แก่ วัฏทุกข์. บทว่า อนฺตกโร สิยา ความว่า บุคคลพึงเป็นผู้ทำที่สุด
คือพึงเป็นผู้ทำให้ขาดตอน ได้แก่พึงเป็นผู้ทำให้สุดทาง (ทุกข์).
จบอรรถกภาอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐
จบปุคคลวรรควรรณนาที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 104
รวมพระสูตรที่มีในปุคคลวรรคนี้ คือ
๑. สวิฏฐสูตร ๒. คิลานสูตร ๓. สังขารสูตร ๔. พหุการสูตร
๕. วชิรสูตร ๖. เสวิตัพพสูตร ๗. ชิคุจฉิตัพพสูตร ๘. คูถภาณีสูตร
๙. อันธสูตร ๑๐. อวกุชชิตสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 105
เทวทูตวรรคที่ ๔
๑.พรหมสูตร
ว่าด้วยพรหมของบุตร
[๔๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา อันบุตรแห่งตระกูล
ทั้งหลายใด บูชาอยู่ในเรือนของตน ตระกูลทั้งหลายนั้น ชื่อว่ามีพรหม ...
มีบุรพาจารย์ ... มีอาหุไนย คำว่าพรหม ... บุรพาจารย์ ... อาหุไนย นี่ เป็น
คำเรียกมารดาบิดาทั้งหลา นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะมารดาบิดาทั้งหลาย
เป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ฟูมฟักเลี้ยงดู แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย.
(นิคมคาถา)
มารดาบิดาทั้งหลายผู้เอ็นดูประชา
ชื่อว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ และเป็น
อาหุไนยของบุตรทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแหละ บุตรผู้มีปัญญา
พึงนอบน้อมสักการะท่าน ด้วยข้าว ด้วย
น้ำ ด้วยผ้า ด้วยที่นอน ด้วยเครื่องอบ
ด้วยน้ำสนานกาย และด้วยการล้างเท้า
เพราะการบำรุงมารดาบิดานั้น บัณ-
ฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุตรนั้น ใน
โลกนี้เทียว บุตรนั้นละ (โลกนี้) ไปแล้ว
ย่อมบันเทิงในสวรรค์.
จบพรหมสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 106
เทวทูตวรรควรรณนาที่ ๔
อรรถกถาพรหมสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในพรหมสูตรที่ ๑ แห่งเทวทูตวรรคที่ ๔ ดังต่อ
ไปนี้ :-
บทว่า อชฺฌาคาเร ได้แก่ในเรือนของตน. บทว่า ปูชิตา โหนฺติ
ความว่า มารดาบิดาเป็นผู้อันบุตรปฏิบัติบำรุง ด้วยสิ่งของที่อยู่ในเรือน.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศตระกูลที่บูชามารดาบิดา ว่าเป็น
ตระกูลมีพรหม (ประจำบ้าน) โดยมีมารดาบิดา (เป็นพรหม) อย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงข้อที่มารดาบิดาเหล่านั้น เป็นบุรพาจารย์เป็นต้น
จึงตรัสคำมีอาทิว่า สปุพฺพาจริยกานิ (มีบุรพาจารย์) ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อให้สำเร็จ
ความเป็นพรหมเป็นต้น แก่ตระกูลเหล่านั้น. บทว่า พหุการา ได้แก่
มีอุปการะมากแก่บุตรทั้งหลาย. บทว่า อาปาทกา ได้แก่ ถนอมชีวิตไว้.
อธิบายว่า มารดาบิดาถนอมชีวิตบุตร คือเลี้ยงดู ประคบประหงม ได้แก่
ให้เป็นไปโดยต่อเนื่องกัน. บทว่า โปสกา ความว่า เลี้ยงดูให้มือเท้าเติบโต
ให้ดื่มเลือดในอก. บทว่า อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร ความว่า เพราะ
ชื่อว่า การที่บุตรทั้งหลายได้เห็นอิฎฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ในโลกนี้เกิด
มีขึ้น เพราะได้อาศัยมารดาบิดา เพราะฉะนั้น มารดาบิดาจึงชื่อว่า เป็นผู้แสดง
โลกนี้.
คำว่า พรหม ในบทคาถาว่า พฺรหมาติ มาตาปิตโร นี้ เป็นชื่อของ
ท่านผู้ประเสริฐสุด. พระพรหมจะไม่ละภาวหา ๔ อย่าง คือ เมตตา กรุณา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 107
มุทิตา อุเบกขา ฉันใด มารดาบิดาทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะไม่ละ
ภาวนา ๔ ในบุตรทั้งหลาย ภาวนา ๔ เหล่านั้น พึงทราบตามระยะกาล
ดังต่อไปนี้.
อธิบายว่า ในเวลาที่บุตรยังอยู่ในท้อง มารดาบิดาจะเกิดเมตตาจิต
อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจะได้เห็นบุตรน้อยปลอดภัย มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบ
บริบูรณ์. แต่เมื่อใดบุตรน้อยนั้นยังเยาว์ นอนแบเบาะ มีเลือดไรไต่ตอมหรือ
นอนกระสับกระส่าย ส่งเสียงร้องจ้า เมื่อนั้น มารดาบิดาครั้นได้ยินเสียงบุตรนั้น
จะเกิดความกรุณา. แต่ในเวลาที่บุตรวิ่งเล่นไปมา หรือในเวลาที่บุตรตั้งอยู่ใน
วัยหนุ่มวัยสาว มารดาบิดามองดูแล้ว จะมีจิตอ่อนไหว บันเทิง เริงใจ
เหมือนกับสำลี และปุยนุ่นที่เขายีตั้ง ๑๐๐ ครั้ง หย่อนลงในฟองเนยใส
เมื่อนั้น มารดาบิดาจะมีมุทิตา (จิต). แต่เมื่อใด บุตรเริ่มมีครอบครัว แยก-
เรือนออกไป เมื่อนั้น มารดาบิดาจะเกิดความวางใจ ว่าบัดนี้ บุตรของเราจะ
สามารถ จะเป็นอยู่ได้ตามลำพัง เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เวลานั้น มารดาบิดา
จะมีอุเบกขา. ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พฺรหฺมาติ
มาตาปิตโร ดังนี้.
บทว่า ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร ความว่า แท้จริง มารดาบิดาทั้งหลาย
จำเดิมแต่บุตรเกิดแล้ว ย่อมให้บุตรเรียน ให้บุตรสำเหนียกว่า จงนั่งอย่างนี้
จงยืนอย่างนี้ จงเดินอย่างนี้ จงนอนอย่างนี้ จงเคี้ยวอย่างนี้ จงกินอย่างนี้
คนนี้บุตรควรเรียกพ่อ คนนี้ควรเรียกพี่ คนนี้ควรเรียกน้อง บุตรควรทำสิ่งนี้
ไม่ควรทำสิ่งนี้ ควรเข้าไปหาคนชื่อโน้น คนชื่อโน้นไม่ควรเข้าไปหา. ในเวลา
ต่อมา อาจารย์เหล่าอื่นจึงให้ศึกษาศิลปะเรื่องช้าง ศิลปะเรื่องม้า ศิลปะเรื่อง
รถ ศิลปะเรื่องธนู และการนับด้วยนิ้วมือเป็นต้น. อาจารย์เหล่าอื่นให้สรณะ
อาจารย์อื่นให้ตั้งอยู่ในศีล อาจารย์อื่นให้บรรพชา อาจารย์อื่นให้เรียนพุทธพจน์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 108
อาจารย์อื่นให้อุปสมบท อาจารย์อื่นให้บรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. ดังนั้น
อาจารย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นปัจฉาจารย์ ส่วนมารดาบิดาเป็น
อาจารย์ก่อนกว่าทุกอาจารย์ (บุรพาจารย์) ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุจฺจเร
แปลว่า เรียก คือ กล่าว.
บทว่า อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตาน ความว่า ย่อมควรได้รับ ข้าว
น้ำ เป็นต้น ที่บุตรจัดมาเพื่อบูชา เพื่อต้อนรับ คือเป็นผู้เหมาะสมเพื่อจะรับ
ข้าวและน้ำเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อาหุ
เนยฺยา จ ปุตฺตาน ดังนี้. บทว่า ปชาย อนุกมฺปกา ความว่า มารดา
บิดาย่อมฟูมฟักรักษาบุตรของตน แม้โดยการฆ่าชีวิตของสัตว์เหล่าอื่น เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปชาย อนุกมฺปกา ดังนี้. บทว่า
นมสฺเสยฺย แปลว่า ทำความนอบน้อม. บทว่า สกฺกเรยฺย ความว่า พึง
นับถือโดยสักการะ.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงสักการะนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อนฺเนน
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเนน ได้แก่ ข้าวยาคู ภัตร และ
ของควรเคี้ยว. บทว่า ปาเนน ได้แก่ปานะ ๘ อย่าง. บทว่า วตฺเถน ได้แก่
ผ้าสำหรับนุ่ง และผ้าสำหรับห่ม. บทว่า สยเนน ได้แก่ เครื่องรองรับ คือ
เตียงและตั่ง. บทว่า อุจฺฉาทเนน ได้แก่ เครื่องลูบไล้ สำหรับกำจัด
กลิ่นเหม็น ทำให้มีกลิ่นหอม. บทว่า นหาปเนน ความว่า ด้วยการให้อาบ
รดตัวด้วยน้ำอุ่นในหน้าหนาว ด้วยน้ำเย็นในหน้าร้อน. บทว่า ปาทาน
โธวเนน ความว่า ด้วยการให้ล้างเท้าด้วยน้ำอุ่นและน้ำเย็น และด้วยการทา
ด้วยน้ำมัน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 109
บทว่า เปจฺจ คือไปสู่ปรโลก. บทว่า สคฺเค ปโมทติ ความว่า
ก่อนอื่นในโลกนี้ มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิต เห็นการปรนนิบัติในมารดาบิดา
(ของเขา) แล้ว ก็สรรเสริญเขาในโลกนี้แหละ. เพราะมีการปรนนิบัติเป็นเหตุ.
ก็บุคคลผู้บำรุงมารดาบิดานั้น ไปสู่ปรโลกแล้ว สถิตอยู่ในสวรรค์ ย่อมร่าเริง
บันเทิงใจ ด้วยทิพย์สมบัติดังนี้.
จบอรรถกถาพรหมสูตรที่ ๑
๒. อานันทสูตร
ว่าด้วยการเข้าเจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ
[๔๗๑] ครั้งนั้นแล ท่านอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นเข้าไปถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
ท่านอานนท์ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า จะพึงมีหรือ พระพุทธเจ้าข้า การได้สมาธิแห่งภิกษุอย่างที่เป็น
เหตุให้อหังการ มมังการ และ มานานุสัย ไม่พึงมีในกายอันมีวิญญาณนี้
และ ... ในสรรพนิมิตภายนอก อนึ่ง เมื่อภิกษุเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันให้อยู่ อหังการ มมังการ และมานานุสัยย่อมไม่มี ภิกษุพึงเข้าถึงเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันนั้นอยู่ (มีหรือ).
"มีได้ อานนท์ การได้สมาธิอย่างนั้น..."
"มีอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า ..."
อานนท์ ความตรึกอย่างนี้ย่อมมีแก่ภิกษุในศาสนานี้ว่า นั่นละเอียด
นั่นประณีต นี่คืออะไร นี่คือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 110
สละอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่หมดกำหนัด เป็นที่ดับ คือ นิพพาน
มีอย่างนี้แล อานนท์ การได้สมาธิอย่างนั้น...
ก็แล คำที่เราหมายเอาความที่กล่าวมานี้ ได้กล่าวในปุณณกปัญหาใน
ปารายนวรรคว่า
ความหวั่นไหวในโลกไหน ๆ ของ
ผู้ใดไม่มี เพราะพิจารณาเห็นอารมณ์
อันยิ่งและหย่อนในโลก เรากล่าวว่า ผู้นั้น
ซึ่งเป็นคนสงบไม่มีโทษดุจควัน ไม่มี
ทุกข์ใจ ไม่มีความหวัง ข้ามชาติและชรา
ได้ ดังนี้.
จบอานันทสูตรที่ ๒
อรรถกถาอานันทสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอานันทสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตถารูโป แปลว่า ชนิดนั้น. บทว่า สมาธิปฏิลาโภ
แปลว่า การได้เอกัคคตาแห่งจิต. ในบทว่า อิมสฺมึ จ สวิญฺาณเก นี้
พึงทราบอธิบายว่า ในร่างกายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งของตน และของคนอื่น
ที่พระอานันทเถระเจ้ากล่าวไว้ว่า อิมสฺมึ (นี้) โดยรวม (ร่างกายทั้งสอง)
เข้าด้วยกัน เพราะมีความหมายว่า เป็นสวิญญาณกะ (มีวิญญาน) เหมือนกัน.
บทว่า อหงฺการมมงฺการมานานุสยา ได้แก่ กิเลสเหล่านี้ คือ ทิฏฐิ คือ
อหังการ ๑ ตัณหา คือ มมังการ ๑ อนุสัย คือ มานะ ๑. บทว่า นาสฺสุ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 111
แปลว่า ไม่พึงมี. บทว่า พหิทฺธา จ สพฺพนิมิตฺเตสุ ได้แก่ ในนิมิตทั้งหมด
ในภายนอกเห็นปานนี้ คือ รูปนิมิต ๑ สัททนิมิต ๑ คันธนิมิต ๑
รสนิมิต ๑ โผฏฐัพพนิมิต ๑ สัสสตาทินิมิต (นิมิตว่า เที่ยงเป็นต้น) ๑
ปุคคลนิมิต ๑ ธรรมนิมิต ๑.
บทว่า เจโตวิมุตฺตึ ปญฺาวิมุตฺตึ ได้แก่ ผลสมาธิ และผลญาณ.
บทว่า สิยา แปลว่า พึงมี. บทว่า อิธานนฺท ภิกฺขุโน ความว่า
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในศาสนานี้.
ลักษณะของนิพพาน
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงพระนิพพานจึงตรัสว่า เอต สนฺต
เอต ปณีต ดังนี้. ก็นิพพาน ชื่อว่า สันตะ เพราะกิเลสทั้งหลายสงบ. นิพพาน
ชื่อว่า สันตะ เพราะจิตตุปบาทของผู้แอบอิงสมาบัติ โดยคำนึงว่า พระ-
นิพพานเป็นแดนสงบ แล้วนั่งตลอดทั้งวัน เป็นไปว่า สงบแล้วนั่น
แหละ ดังนี้บ้าง.
บทว่า ปณีต ความว่า นิพพานชื่อว่าประณีต เพราะจิตตุปบาท
ของบุคคลที่นั่งเข้าสมาบัติ ย่อมเป็นไปว่า ประณีต". แม้บทว่า สพฺพสงฺขาร-
สมโถ เป็นต้น ก็เป็นไวพจน์ของนิพพานนั้นเหมือนกัน.
ก็จิตตุปบาท ของบุคคลผู้นั่งเข้าสมาบัติทั้งวัน โดยคำนึงว่า ความสงบ
แห่งสังขารทั้งหมดดังนี้ ย่อมเป็นไปว่า "ระงับสังขารทั้งปวง" ฯลฯ อนึ่ง
เพราะความไม่มีแห่งตัณหากล่าว คือ เครื่องร้อยรัดไว้ในภพ ๓ อันได้นามว่า
นิพพาน จิตตุปบาทของบุคคลผู้นั่งเข้าสมาบัติในนิพพานนั้นย่อมเป็นไปว่า
นิพพาน เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงได้นามว่า สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นต้น.
ก็ในการพิจารณา คือ การคำนึง ทั้งแปดอย่างนี้ ในที่นี้จะคำนึงอย่างเดียว
ก็ได้ ๒ อย่างก็ได้ ทั้งหมดก็ได้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 112
บทว่า สงฺขาย คือรู้ด้วยญาณ. บทว่า ปโรปรานิ ตัดบทเป็น
ปรานิ จ โอปรานิ จ อธิบาย อัตภาพของบุคคลอื่น และอัตภาพ
ของตนเป็นต้น ชื่อว่า ประ (คือ อัตภาพของบุคคลอื่น) และชื่อว่า โอประ
(คือ อัตภาพของตน.) บทว่า ยสฺส คือของพระอรหันต์ใด. บทว่า อิญฺชิต
คือความหวั่นไหว ได้แก่ ความกวัดแกว่ง คือ ความดิ้นรน ๗ อย่างเหล่านี้*
คือ ความหวั่นไหวเพราะราคะ ความหวั่นไหวเพราะโทสะ ความหวั่นไหว
เพราะโมหะ ความหวั่นไหวเพราะมานะ ความหวั่นไหวเพราะทิฏฐิ ความ
หวั่นไหวเพราะกิเลส และความหวั่นไหวเพราะทุจริต. บทว่า นตฺถิ กุหิญฺจิ
คือไม่มีในอารมณ์ไหน ๆ คือ แม้ในอารมณ์อย่างหนึ่ง.
บทว่า สนฺโต ได้แก่ (บุคคลนั้น) ชื่อว่า สงบเพราะกิเลสที่เป็น
ข้าศึกสงบ. บทว่า วิธูโม ได้แก่ ปราศจากควัน มีกายทุจริตเป็นต้น. บทว่า
อนีโฆ ได้แก่ปราศจากเครื่องคับแค้นมีราคะเป็นต้น. บทว่า นิราโส ได้แก่
ไม่มีตัณหา. บทว่า อตาริ ได้แก่ ข้าม คือ ข้ามพ้น ได้แก่ ล่วงเลย. บทว่า
โส ได้แก่พระอรหันตขีณาสพนั้น. ในบทว่า ชาติชร นี้ แม้พยาธิ และ
มรณะ ก็พึงทราบว่าทรงหมายเอาแล้วเหมือนกันด้วยศัพท์ว่า ชาติ ชรา
นั่นเอง. อรหันตผลสมาบัตินั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วทั้งในพระสูตร
ทั้งในคาถา ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอนันทสูตรที่ ๒
* ความหวั่นไหว ๗ อย่างคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และทุจริต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 113
๓. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยผู้ตัดตัณหาได้
[๔๗๒] ครั้งนั้น ท่านสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นเข้าไปถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านสารีบุตรผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วว่า
สารีบุตร เราพึงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง ... โดยพิสดารบ้าง ... ทั้งโดยย่อ
ทั้งโดยพิสดารบ้าง แต่ผู้รู้ทั่วถึงธรรมหาได้ยาก
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นกาละ ข้าแต่พระสุคต เป็นกาละ
ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงแสดงธรรมโดยย่อบ้าง ... โดยพิสดารบ้าง
... ทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดารบ้าง ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี
เพราะเหตุนั้น สารีบุตร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า
อหังการ มมังการ และมานานุสัย จักไม่มีในกายอันมีวิญญาณนี้ และ
ในสรรพนิมิตภายนอก อนึ่ง เมื่อภิกษุเข้าถึงเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันใดอยู่
อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มี เราทั้งหลายจักเข้าถึง
เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตตินั้นอยู่ สารีบุตร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล
สารีบุตร เมื่ออหังการ มมังการ และมานานุสัย ไม่มีในกาย
อันมีวิญญาณนี้ของภิกษุ และในสรรพนิมิตภายนอก อนึ่ง เมื่อเข้าถึง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันใดอยู่ อหังการ มมังการ และมานานุสัย
ย่อมไม่มี ภิกษุเข้าถึงเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันนั้นอยู่ สารีบุตร เรากล่าวว่า
ภิกษุนี้ตัดตัณหาแล้ว รื้อสังโยชน์แล้ว กระทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะละมานะได้
โดยชอบแล้ว ก็แล เราหมายเอาข้อนี้ได้กล่าวในอุทยปัญหา ในปารายนวรรคว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 114
เรากล่าวการละกามสัญญา (ความ-
หมายในกาม) และโทมนัส (ความเสียใจ)
ทั้ง ๒ เสียได้ การบรรเทาถีนะ (ความ
ท้อแท้ใจ) เสียได้ การสกัดกั้น กุกกุจจะ
(ความรำคาญใจ) เสียได้ ว่าเป็นอัญญา-
วิโมกข์ (ความพ้นด้วยความรู้) อันหมดจด
ดีด้วยอุเบกขาและสติ มีความตรึกในธรรม
นำหน้า เป็นเครื่องทำลายอวิชชา ดังนี้.
จบสารีปุตตสูตรที่ ๓
อรรถกถาสารีปุตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สงฺขิตฺเตน ได้แก่ ด้วยการตั้งเป็นบทมาติกาไว้. บทว่า
วิตฺถาเรน ได้แก่ การจำแนกมาติกาที่ตั้งไว้แล้วออกไป. บทว่า สงฺขิตฺตวิตฺ-
ถาเรน ได้แก่บางครั้งก็ย่อ บางครั้งก็พิสดาร. บทว่า อญฺาตาโร จ ทุลฺ-
ลภา ความว่า ก็บุคคลผู้จะแทงตลอดหาได้ยาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ กะพระสารีบุตรเถระ โดยมีพระพุทธ
ประสงค์ว่า เราตถาคตจะต่อญาณให้พระสารีบุตร. พระเถระครั้นได้สดับ
พระพุทธดำรัสนั้นแล้ว ถึงแม้จะไม่กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์
จักเข้าใจเองก็จริง แต่โดยมีประสงค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 115
จงทรงวางพระทัย (แสดงธรรมเถิด) ข้าพระองค์จักแทงตลอดธรรมที่พระองค์
ทรงแสดงแล้วได้โดยร้อยนัย พันนัย ข้อนั้นขอให้เป็นภาระของข้าพระองค์เถิด
ดังนี้ เมื่อจะยังพระศาสดาให้อุตสาหะในการแสดงธรรม จึงได้ทูลคำมีอาทิว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเวลาที่พระองค์จะทรงแสดงธรรมแล้ว. ลำดับนั้น
พระศาสดาจึงทรงเริ่มเทศนา แก่พระสารีบุตรว่า ตสฺมาติห ดังนี้. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า อิมสฺมิญฺจ สวิญฺาณเก เป็นต้น มีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.
บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตฺณห ได้แก่ตัดตัณหา ด้วยศาสตรา คือ มัคค-
ญาณ. บทว่า วิวฏฺฏยิ สโยชน ได้แก่ถอนสัญโญชน์ทั้ง ๑๐ อย่าง
พร้อมทั้งรากทิ้งไป. บทว่า สมฺมามานาภิสมยา อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส
ความว่า ได้กระทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ โดยการตรัสรู้เพราะละมานะ ๙ อย่าง
ได้ด้วยอุบายอันชอบ ด้วยข้อปฏิบัติชอบ. บทว่า อิทญฺจ ปน เมต
สารีปุตฺต สนฺธาย ภาสิต ความว่า ดูก่อนสารีบุตร เราตถาคตกล่าวคำนั้น
ไว้หมายเอา ผลสมาบัตินี้แหละในอุทยปัญหา ในปารายนวรรค.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว
จึงปรารภคำมีอาทิว่า ปหาน กามสญฺาน ดังนี้. ก็บทว่าปหาน กามจฺฉนฺ-
ทาน นี้มีมาแล้วในอุทยปัญหา. แต่ในพระสูตรนี้ พระอาจารย์ผู้รจนาอังคุตตร
นิกาย ยกขึ้นตั้งไว้ว่า กามสญฺาน ดังนี้. ในสองบทนั้น ต่างกันเพียง
พยัญชนะ ส่วนเนื้อความก็เป็นอย่างเดียวกันนั่นแหละ. บทว่า กามสญฺาน
ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นปรารภกาม หรือได้แก่สัญญาที่เกิดกับจิตที่สหรคตด้วย
โลภะ ๘ ดวง. บทว่า โทมนสฺสาน จูภย ความว่า เราตถาคตกล่าวการ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 116
ละอกุศลเจตสิกแม้ทั้งสอง คือ กามสัญญาเหล่านี้ ๑ โทมนัสสเจตสิก ๑ คือ
อรหัตผล กล่าวคือการละด้วยปฏิปัสสัทธิ (วิมุตติ) ว่าเป็นอัญญาวิโมกข์.
ส่วนในนิทเทส พระองค์ตรัสไว้ว่า (เราตถาคตกล่าว) การละ ความ
สงบ การสละคืน ความสงบระงับ อกุศลเจตสิกทั้งสองอย่าง คือ กามฉันทะ
และโทมนัส ว่าเป็นอมตมหานิพพาน. คำนั้นพระองค์ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่ง
การยกเอาผล. ด้วยว่า ความสงบระงับ กล่าวคือ อาการที่กิเลสสิ้นไป เรียกว่า
ปหานะบ้าง มรรคที่สละคืนกิเลสอยู่ ก็เรียกว่าปหานะบ้าง ผลกล่าวคือ
ความสงบระงับกิเลสได้ ก็เรียกว่าปหานะบ้าง. กิเลสทั้งหลายอันพระโยคาวจร
ละได้ เพราะมาถึงพระนิพพานใด พระนิพพานนั้นชื่อว่า อมตนิพพาน.
เพราะฉะนั้น บทเหล่านี้ จึงมาแล้วในนิทเทสนั้น.
เพราะพระพุทธพจน์ว่า อญฺาวิโมกฺข ปพฺรูมิ จึงเป็นอันทรง
พระประสงค์เอาเฉพาะพระอรหัตผล. และเพราะพระพุทธพจน์ว่า ถีนสฺส
จ ปนูทน เป็นอันพระองค์ทรงประสงค์เอาเฉพาะพระอรหัตผล เพราะถีนะ
(นิวรณ์) เกิดขึ้น ในตอนท้ายของการบรรเทา. เพราะพระพุทธพจน์ว่า
กุกฺกุจฺจาน นิวารณ เป็นอันทรงประสงค์เอาผลเท่านั้น เพราะผลเกิดขึ้น
ในลำดับแห่งมรรคที่เป็นเหตุห้ามกุกกุจจนิวรณ์. บทว่า อุเปกฺขาสติสสุทฺธ
ความว่า หมดจดดีด้วยอุเบกขา และสติที่เกิดขึ้นในผลที่เป็นไปในฌาณที่ ๔.
สัมมาสังกัปปะ ท่านเรียกว่า ธัมมตักกะ ในบทว่า ธมฺมตกฺกปุเรชว.
สัมมาสังกัปปะ นั้น ชื่อว่า ธัมมตักกปุเรชวะ เพราะมีมาแต่ต้น
คือมีมาก่อน ได้แก่ถึงก่อนแห่งอัญญาวิโมกข์. เราตถาคตกล่าว ซึ่งอัญญา
วิโมกข์นั้นที่มีความตรึกในธรรมนำหน้า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 117
วิโมกข์ที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งอัญญินทรีย์ ชื่อว่า อัญญาวิโมกข์
หรือวิโมกข์ที่เกิดขึ้นแก่พระอรหัตผล ชื่อว่า อัญญาวิโมกข์ อธิบายว่า
ได้แก่ ปัญญาวิมุตติ.๑ บทว่า อวิชฺชาย ปเภทน ความว่า เป็นเครื่อง
ทำลายอวิชชา เพราะเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการทำลายอวิชชา อีกอย่างหนึ่ง
อรหัตผลนั่นแหละ ที่ได้นามอย่างนี้ เพราะปรารภพระนิพพาน ที่สงบแล้ว
เกิดขึ้น. พระอรหัตผลนั้น แหละพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศ
แล้วด้วยบททั้งหลายเหล่านี้ แม้ทั้งหมด มีบทว่า ปหาน เป็นต้น ด้วย-
ประการดังพรรณนามาฉะนี้.
จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๓
๑. ปาฐะว่า อญฺาย วา วิโมกฺข อญฺาวิมุตฺตนฺติ อตฺโถ ฉบับพม่าเป็น อญฺาย วา วิโมกฺข
ปญฺาวิมุตฺตนฺติ อตฺโถ แปลตามฉบับพม่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 118
๔. นิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม
[๔๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมต้นเหตุ ๓ นี้ เพื่อความเกิดขึ้น
พร้อมมูลแห่งกรรม ต้นเหตุ ๓ คืออะไร คือ โลภะ ... โทสะ ... โมหะ ...
เป็นต้นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
กรรมที่บุคคลทำเพราะโลภะ ... โทสะ ... โมหะ เกิดแต่โลภะ ....
โทสะ ... โมหะ ... มีโลภะ ... โทสะ ... โมหะเป็นต้นเหตุ มีโลภะ ... โทสะ ...
โมหะเป็นแดนเกิดอันใด กรรมอันนั้นย่อมให้ผลในที่ ๆ อัตภาพของบุคคล
นั้นเกิด กรรมนั้นให้ผลในอัตภาพใด บุคคลนั้นย่อมได้เสวยผลของกรรมนั้น
ในอัตภาพนั้น เป็นทิฏฐิธรรม (คืออัตภาพปัจจุบัน) บ้าง เป็นอุปปัชชะ
(คืออัตภาพหน้า) บ้าง เป็นอปรปริยาย (คืออัตภาพต่อ ๆ ไป) บ้าง เปรียบ
เหมือนพืชทั้งหลายอันไม่ขาด ไม่เน่า ไม่เฉา ให้แก่นได้ มีรากฝังอยู่ดี
บุคคลปลูกไว้ในแผ่นดินที่ทำไว้ดีแล้ว ในไร่นาที่ดี ฝนเล่าก็หลั่งดี เมื่อเป็น
เช่นนี้ พืชเหล่านั้น ก็พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ฉันใด กรรมที่
บุคคลทำเพราะโลภะ ... โทสะ ... โมหะ ฯลฯ เป็นอปรปริยาย (คืออัตภาพ
ต่อ ๆ ไป) บ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ ๓ เพื่อ
ความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ ๓ นี้ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่ง
กรรม ต้นเหตุ ๓ คืออะไร คือ อโลภะ ... อโทสะ ... อโมหะ ... เป็น
ต้นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 119
กรรมที่บุคคลทำเพราะอโลภะ ... อโทสะ ... อโมหะ มีอโลภะ ...
อโทสะ ... อโมหะเป็นต้นเหตุ มีอโลภะ ... อโทสะ... อโมหะเป็นแดนเกิด
อันใด เมื่อโลภะ ... โทสะ ... โมหะสิ้นไปแล้ว กรรมนั้นก็เป็นอันเขาละแล้ว
มีมูลขาดแล้ว ถูกทำให้เหมือนตอตาล (คือตาลยอดด้วน) แล้ว ถูกทำให้ไม่มี
ในภายหลังแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนพืช
ทั้งหลาย อันไม่ขาด ไม่เน่า ไม่เฉา ให้แก่นได้ มีรากฝังอยู่ดี บุรุษเอาไฟ
เผาพืชเหล่านั้นเสียจนเป็นผุยผงแล้ว พึงโปรยเสียในลมแรงหรือสาดเสียใน
กระแสอันเชี่ยวในแม่น้ำ เมื่อเป็นอย่างนี้ พืชเหล่านั้นก็เป็นอันรากขาดแล้ว
ถูกทำให้เหมือนตอตาลแล้ว ถูกทำให้ไม่มีในภายหลังแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีก
ต่อไปเป็นธรรมดา ฉันใด กรรมที่บุคคลทำเพราะอโลภะ ... อโทสะ ...
อโมหะ ฯลฯ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ ๓ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
(นิคมคาถา)
คนเขลา (ย่อมทำ) กรรมที่เกิด
เพราะโลภะ โทสะและโมหะ กรรมใด
ที่คนเขลานั้นทำแล้ว น้อยหรือมากก็ตาม
กรรมนั้น ให้ผลในอัตภาพ (ของผู้ทำ)
นี้แหละ วัตถุอื่น (ซึ่งจะเป็นที่รับผลของ
กรรมนั้น) ไม่มี เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้รู้
(ละ) โลภะ โทสะ โมหะ เสียแล้ว ยัง
วิชชาให้เกิดขึ้น ก็พึงละทุคติทั้งปวงได้.
จบนิทานสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 120
อรรถกถานิทานสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนิทานสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า นิทานานิ ได้แก่ เหตุทั้งหลาย. บทว่า กมฺมาน ได้แก่
กรรมที่ให้สัตว์ถึงวัฏฏะ. บทว่า โลโภ นิทาน กมฺมาน สมุทยาย ความว่า
ความโลภที่มีความอยากได้ และความละโมบ เป็นสภาพ เป็นต้นเหตุ คือ
เป็นเหตุ อธิบายว่า เป็นปัจจัย เพื่อการเกิดขึ้นแห่งกรรมที่ทำให้ถึงวัฏฏะ
คือทำการประมวลกรรม ที่จะให้ถึงวัฏฏะมา. โทษะที่มีความดุร้าย และความ
ประทุษร้ายเป็นสภาพ ชื่อว่า โทสะ. โมหะที่มีความหลง และความงมงาย
เป็นสภาพ ชื่อว่า โมหะ.
บทว่า โลภปกต แปลว่า กรรมที่บุคคลทำแล้ว ด้วยโลภจิต
อธิบายว่า ได้แก่ กรรมที่บุคคลผู้ถูกความโลภครอบงำ เกิดละโมบแล้วทำ.
กรรม ชื่อว่า โลภช เพราะเกิดจากความโลภ. กรรม ชื่อว่า โลภนิทาน
เพราะมีความโลภเป็นต้นเหตุ. กรรม ชื่อว่า โลภสมุทย เพราะมีความโลภ
เป็นสมุทัย. ปัจจัย ชื่อว่า สมุทัย อธิบายว่า มีโลภะเป็นปัจจัย. บทว่า
ยตฺถสฺส อตฺตภาโว นิพฺพตฺตติ ความว่า ในที่ใดอัตภาพของบุคคลนั้น
ผู้มีกรรมเกิดแต่ความโลภเกิดขึ้น คือ ขันธ์ทั้งหลายย่อมปรากฏขึ้น.
บทว่า ตตฺถ ต กมฺม วิปจฺจติ ความว่า กรรมนั้นย่อมเผล็ดผลใน
ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น. บทว่า ทิฏเ วา ธมฺเม เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงถึงประเภทกรรมนั้น เพราะกรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 121
เวทนียกรรม (ให้ผลในชาตินี้) ก็มี เป็นอุปปัชชเวทนียกรรม (ให้ผลใน
ชาติหน้า) ก็มี หรือเป็น อปรปริยายเวทนียกรรม (ให้ผลในภพต่อ ๆ ไป)
ก็มี แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อขณฺฑานิ แปลว่า ไม่ถูกทำลาย. บทว่า อปูตีนิ ความว่า
ไม่ถึงความเป็นของไม่ใช่พืชพันธ์ เพราะเสีย. บทว่า อวาตาตปหตานิ
ความว่า ทั้งไม่ถูกลมโกรกและแดดเผา. บทว่า สาราทานิ ความว่า มีสาระ
ที่ถือเอาได้ คือมีสาระ ไม่ใช่ไม่มีสาระ. บทว่า สุขสยิตานิ ความว่า
อยู่อย่างปลอดภัย เพราะเก็บไว้ดี.
บทว่า สุกฺเขตเต ได้แก่ ในนาเตียน. บทว่า สุปริกมฺมกตาย
ภูมิยา ได้แก่ พื้นที่นา ที่บริกรรมแล้วด้วยดี ด้วยการไถด้วยไถ และด้วย
คราด. บทว่า นิกฺขิตฺตานิ ได้แก่ ปลูกไว้แล้ว. บทว่า อนุปฺปเวจฺเฉยฺย
ได้แก่ ตกเนือง ๆ. ในบทว่า วุฑฺฒึ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า
เจริญ เพราะสูงขึ้นไป. ชื่อว่า งอกงาม เพราะมีรากยึดมั่นอยู่เบื้องล่าง.
ชื่อว่า ไพบูลย์ เพราะขยายออกไปโดยรอบ.
ก็ในสูตรนี้ คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ มีอาทิว่า ทิฏเ วา
ธมฺเม เพื่อไม่ให้ฟั่นเฟือนในคำนั้น ในที่นี้ ควรกล่าวจำแนกกรรม (ออกไป).
อธิบายว่า โดยปริยายแห่งพระสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำแนกกรรม
ไว้ ๑๑ อย่าง. คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ๑ อุปปัชชเวทนียกรรม ๑
อปรปริยายเวทนียกรรม ๑ ครุกกรรม ๑ พหุลกรรม ๑ ยทาสันนกรรม ๑
กฏัตตวาปนกรรม ๑ ชนกกรรม ๑ อุปัตถัมภกกรรม ๑ อุปปีฬก
กรรม ๑ อุปฆาตกกรรม ๑.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 122
อธิบายทิฏฐิธรรมเวทนียกรรม
บรรดากรรม ๑๑ อย่างนั้น ในบรรดา (ชวนะ) จิต ๗ ชวนะ
ชวนเจตนาดวงแรก ที่เป็นกุศลหรืออกุศล ในชวนวิถีแรก ชื่อว่า ทิฏฐธรรม
เวทนียกรรม.
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้น ให้วิบากในอัตภาพนี้เท่านั้น ที่เป็นกุศล
อำนวยวิบากในอัตภาพนี้ เหมือนกรรมของกากวฬิยเศรษฐีและปุณณกเศรษฐี
เป็นต้น ส่วน ที่เป็นอกุศล (อำนวยผลในอัตภาพนี้) เหมือนกรรมของ
นันทยักษ์ นันทมาณพ นันทโคฆาต ภิกษุโกกาลิกะ พระเจ้าสุปปพุทธะ
พระเทวทัต และนางจิญจมาณวิกา เป็นต้น. แต่เมื่อไม่สามารถให้ผล
อย่างนั้น จะเป็นอโหสิกรรมไป คือ ถึงความเป็นกรรมที่ไม่มีผล กรรมนั้น
พึงสาธกด้วยข้อเปรียบกับพรานเนื้อ.
อุปมาด้วยนายพรานเสือ
เปรียบเหมือนลูกศรที่นายพรานเนื้อ เห็นเนื้อแล้วโก่งธนูยิงไป ถ้า
ไม่พลาด ก็จะทำให้เนื้อนั้นล้มลงในที่นั้นเอง ลำดับนั้น นายพรานเนื้อก็จะ
ถลกหนังเนื้อนั้นออก เฉือนให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่ ถือเอาเนื้อไปเลี้ยงลูกเมีย
แต่ถ้าพลาด เนื้อจะหนีไป ไม่หันกลับมาดูทิศนั้นอีก ฉันใด ข้ออุปไมยนี้
ก็พึงทราบฉันนั้น. อธิบายว่า การกลับได้วาระแห่งวิบากของทิฏฐิธรรม
เวทนียกรรม เหมือนกับลูกศรที่ยิงถูกเนื้อโดยไม่พลาด การกลับกลายเป็น
กรรมที่ไม่มีผล เหมือนลูกศรที่ยิงพลาดฉะนั้น ฉะนี้แล.
อธิบายอุปปัชชเวทนียกรรม
ส่วนชวนเจตนาดวงที่ ๗ ที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ชื่อว่า อุปปัชช
เวทนียกรรม. อุปปัชชเวทนียกรรมนั้น อำนวยผลในอัตภาพต่อไป แต่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 123
ในบรรดากุศลอกุศลทั้งสองฝ่ายนี้ อุปปัชชเวทนียกรรมในฝ่ายที่เป็นกุศล พึง
ทราบด้วยสามารถแห่งสมาบัติ ๘ ในฝ่ายที่เป็นอกุศล พึงทราบด้วยสามารถ
แห่งอนันตริยกรรม ๕. บรรดากรรมทั้งสองฝ่ายนั้น ผู้ที่ได้สมาบัติ ๘ จะเกิด
ในพรหมโลก ด้วยสมาบัติอย่างหนึ่ง. ฝ่ายผู้กระทำอนันตริยกรรม ๕ จะบังเกิด
ในนรกด้วยกรรมอย่างหนึ่ง. สมาบัติที่เหลือ และกรรม (ที่เหลือ) จะถึงความ
เป็นอโหสิกรรมไปหนด คือเป็นกรรมที่ไม่มีวิบาก. แม้ความข้อนี้ พึงทราบ
ตามข้อเปรียบเทียบข้อแรกเทอญ.
อธิบายอปรปริยายเวทนียกรรม
ก็ชวนเจตนา ๕ ดวง ที่เกิดขึ้นในระหว่าง แห่งชวนะ ๒ ดวง (ชวน
เจตนาดวงที่ ๑ และชวนเจตนาดวงที่ ๗) ชื่อว่า อปรปริยายเวทนียกรรม.
อปรปริยายเวทนียกรรมนั้น ได้โอกาสเมื่อใดในอนาคตกาล เมื่อนั้น จะให้ผล
เมื่อความเป็นไปแห่งสังสารวัฏฏะยังมีอยู่ กรรมนั้นจะชื่อว่า เป็นอโหสิกรรม
ย่อมไม่มี. กรรมทั้งหมดนั้นควรแสดงด้วย (เรื่อง) พรานสุนัข. เปรียบเหมือน
สุนัขที่นายพรานเนื้อปล่อยไป เพราะเห็นเนื้อ จึงวิ่งตามเนื้อไป ทันเข้าในที่ใด
ก็จะกัดเอาในที่นั้นแหละ ฉันใด กรรมนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้โอกาสในที่ใด
ก็จะอำนวยผลในที่นั้นทันที. ขึ้นชื่อว่าสัตว์ จะรอดพ้นไปจากกรรมนั้น เป็น
ไม่มี.
อธิบายครุกกรรม
ส่วนในบรรดากรรมหนักและกรรมไม่หนัก ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
กรรมใดหนัก กรรมนั้นชื่อว่า ครุกกรรม. ครุกกรรมนี้นั้น ในฝ่ายกุศล
พึงทราบว่าได้แก่ มหัคคตกรรม ในฝ่ายอกุศล พึงทราบว่าได้แก่ อนันตริย-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 124
กรรม ๕. เมื่อครุกรรมนั้นมีอยู่ กุศลกรรม หรืออกุศลกรรมที่เหลือจะไม่
สามารถให้ผลได้. ครุกรรมแม้ทั้งสองอย่างนั้นแหละ จะให้ปฏิสนธิ. อุปมา
เสมือนหนึ่งว่า ก้อนกรวดหรือก้อนเหล็ก แม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ที่โยนลงห้วงน้ำ ย่อมไม่สามารถจะลอยขึ้นเหนือน้ำได้ จะจมลงใต้น้ำอย่างเดียว
ฉันใด ในกุศลกรรมก็ดี อกุศลกรรมก็ดี ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กรรมฝ่ายใดหนัก
เขาจะถือเอากรรมฝ่ายนั้นแหละไป.
อธิบายพหุลกรรม
ส่วนในกุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลาย กรรมใดมาก กรรมนั้น
ชื่อว่าพหุลกรรม. พหุลกรรมนั้น พึงทราบด้วยอำนาจอาเสวนะที่ได้แล้ว ตลอด
กาลนาน อีกอย่างหนึ่ง ในฝ่ายกุศลกรรม กรรมใดที่มีกำลังสร้างโสมนัสให้
ในฝ่ายอกุศลกรรม สร้างความเดือดร้อนให้ กรรมนั้นชื่อว่า พหุลกรรม อุปมา
เสมือนหนึ่งว่า เมื่อนักมวยปล้ำ ๒ คนขึ้นเวที คนใดมีกำลังมาก คนนั้นจะ
ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งล้ม (แพ้) ไป ฉันใด พหุลกรรมนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จะทับถมกรรมพวกนี้ที่มีกำลังน้อย (ชนะ) ไป. กรรมใดมากโดยการเสพจนคุ้น
หรือมีกำลังโดยอำนาจทำให้เดือนร้อนมาก กรรมนั้นจะให้ผล เหมือนกรรม
ของพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย ฉะนั้น.
เรื่องพระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย
เล่ากัน มาว่า พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัยนั้น รบพ่ายแพ้ในจูฬังคณิยยุทธ์
ทรงควบม้าหนีไป. มหาดเล็กชื่อว่า ติสสอมาตย์ ของพระองค์๑ ตามเสด็จไป
ได้คนเดียวเท่านั้น. ท้าวเธอเสด็จเข้าสู่ดงแห่งหนึ่ง ประทับนั่งแล้ว เมื่อถูก
ความหิวเบียดเบียน จึงรับสั่งว่า พี่ติสสะ เราสองคนหิวเหลือเกิน จะทำ
อย่างไร ? มีอาหารพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้นำพระกระยาหารใส่ขันทอง
๑. ปาฐะว่า ตตฺถ ฉบับพม่าเป็น ตสฺส แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 125
ใบหนึ่ง ช่อนไว้ในระหว่างผ้าสาฎกมาด้วยพระเจ้าข้า. ถ้าอย่างนั้น จงนำมา.
เขาจึงนำพระกระยาหารออกมาวางตรงพระพักตร์พระราชา. ท้าวเธอทรงเห็น
แล้วตรัสสั่งว่า จงแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ซิพ่อคุณ. เขาทูลถามว่า พวกเรามี
๓ คน เหตุไฉน พระองค์จึงให้จัดเป็น ๔ ส่วน. พี่ติสสะ เวลาที่เรานึกถึงตัว
เราไม่เคยบริโภคอาหารที่ยังไม่ได้ถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าก่อนเลย ถึงวันนี้ เราก็
จักไม่ยอมบริโภค โดยยังไม่ได้ถวายอาหารแก่พระผู้เป็นเจ้า. เขาจึงจัดแบ่ง
อาหารออกเป็น ๔ ส่วน. พระราชาทรงรับสั่งว่า ท่านจงประกาศเวลา. ในป่า
ร้าง เราจักได้พระคุณเจ้าที่ไหน พระพุทธเจ้าข้า. ข้อนี้ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน
ถ้าศรัทธาของเรายังมี เราจักได้พระคุณเจ้าเอง ท่านจงวางใจ แล้วประกาศ
เวลาเถิด. เขาจึงประกาศถึง ๓ ครั้งว่า ได้เวลาอาหารแล้ว ขอรับพระคุณเจ้า
ได้เวลาอาหารแล้ว ขอรับพระคุณเจ้า.
ลำดับนั้น พระโพธิยมาลกมหาติสสเถระ ได้ยินเสียงนั้นด้วยทิพยโสต-
ธาตุ รำพึงว่า เสียงนี้ที่ไหน ? จึงรู้ว่า วันนี้พระเจ้าทุฏฐคามณีอภัย แพ้สงคราม
เสด็จเข้าสู่ดงดิบ ประทับนั่งแล้ว ให้แบ่งข้าวขันเดียวออกเป็น ๔ ส่วน ทรง
รำพึงว่า เราจักบริโภคเพียงส่วนเดียว จึงให้ประกาศเวลา (ภัตร) คิดว่า วันนี้
เราควรทำการสงเคราะห์พระราชา แล้วมาโดยมโนคติ ได้ยืนอยู่ตรงพระพักตร์
พระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นแล้ว ทรงมีพระทัยเลื่อมใส รับสั่งว่า
เห็นไหมเล่า พี่ติสสะ ดังนี้ ไหว้พระเถระแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอ
ท่านจงให้บาตร. พระเถระนำบาตรออกแล้ว พระราชาทรงเทอาหารส่วนของ
พระเถระ พร้อมกับส่วนของพระองค์ลงในบาตรแล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ขึ้นชื่อว่า ความลำบากด้วยอาหาร จงอย่ามีในกาลไหนๆ ทรงไหว้แล้วประทับ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 126
ยืนอยู่. ฝ่ายติสสอมาตย์ คิดว่า เมื่อพระลูกเจ้าของเราทอดพระเนตรอยู่ เรา
จักไม่สามารถบริโภคได้ จึงได้เทส่วนของตนลงไปในบาตรพระเถระเหมือนกัน.
ถึงม้าก็คิดว่า ถึงเราก็ควรถวายส่วนของเราแก่พระเถระ. พระราชาทอด-
พระเนตรดูม้า แล้วทรงทราบว่า ถึงม้านี้ ก็ประสงค์จะใส่ส่วนของตนลงใน
บาตรของพระเถระเหมือนกัน จึงได้เทส่วนแม้นั้นลงในบาตรนั้นเหมือนกัน
ไหว้แล้วส่งพระเถระไป พระเถระถือเอาภัตรนั้นไป แล้วได้ถวายแด่ภิกษุสงฆ์
ตั้งแต่ต้น โดยแบ่งปั้นเป็นคำ ๆ.
แม้พระราชาทรงพระดำริว่า พวกเราหิวเหลือเกินแล้ว จะพึงเป็น
การดีมาก ถ้าหากพระเถระจะส่งอาหารที่เหลือมาให้. พระเถระรู้พระราชดำริ
ของพระราชาแล้ว จึงทำภัตรที่เหลือให้พอเพียงแก่คนเหล่านั้น จะดำรงชีวิต
อยู่ได้ จึงโยนบาตรไปในอากาศ. บาตรมาวางอยู่ที่พระหัตถ์ของพระราชาแล้ว.
แม้อาหารก็พอที่คนทั้ง ๓ จะดำรงชีพอยู่ได้. ลำดับนั้น พระราชาทรงล้างบาตร
แล้ว ทรงดำริว่า เราจักไม่ส่งบาตรเปล่าไป จึงทรงเปลื้องพระภูษาชุบน้ำ
แล้ววางผ้าไว้ในบาตร ทรงอธิษฐานว่า ขอบาตรจงประดิษฐานอยู่ในมือ แห่ง
พระผู้เป็นเจ้าของเรา แล้วทรงโยนบาตรไปในอากาศ. บาตรไปประดิษฐานอยู่
ในมือของพระเถระแล้ว.
ในเวลาต่อมา เมื่อพระราชาให้ทรงสร้างมหาเจดีย์ สูง ๑๒๐ ศอก
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่ ๘ แห่งพระตถาคตเจ้าไว้ เมื่อพระเจดีย์
ยังไม่ทันเสร็จ ก็ได้เวลาใกล้สวรรคต. ลำดับนั้น เมื่อพระภิกษุสงฆ์สาธยาย
โดยนิกายทั้ง ๕ ถวายพระองค์ผู้บรรทมอยู่ข้างด้านทิศใต้แห่งมหาเจดีย์ รถ
๖ คัน จากเทวโลก ๖ ชั้น จอดเรียงรายอยู่ในอากาศ เบื้องพระพักตร์ของ
พระราชา พระราชาทรงรับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงนำสมุดบันทึกการทำบุญมา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 127
แล้วรับสั่งให้อ่านสมุดนั้นมาแต่ต้น. ครั้นไม่มีกรรมอะไรที่จะให้พระองค์
ประทับพระทัย จึงตรัสสั่งว่า จงอ่านต่อไปอีก. คนอ่าน อ่านต่อไปว่า ข้าแต่
สมมติเทพ๑ พระองค์ผู้ปราชัยในจุลลังคณิยยุทธสงความ เสด็จเข้าดงประทับ
นั่ง ถวายภิกษาแก่ท่านพระโพธิมาลกมหาติสสเถระ โดยทรงแบ่งพระ-
กระยาหารขันเดียวออกเป็น ๔ ส่วน. พระราชารับสั่งให้หยุดอ่าน แล้วซักถาม
ภิกษุสงฆ์ว่า พระคุณเจ้าข้า เทวโลกชั้นไหนเป็นรมณียสถาน. ภิกษุสงฆ์
ถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร ดุสิตพิภพเป็นที่ประทับของ
พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์. พระราชาสวรรคตแล้ว ประทับนั่งบนราชรถที่มา
แล้วจากดุสิตพิภพนั่นแหละ ได้เสด็จถึงดุสิตพิภพแล้ว. นี้เป็นเรื่อง (แสดง
ให้เห็น) ในการให้วิบากของกรรมที่มีกำลัง.
อธิบายยทาสันนกรรม
ส่วนในบรรดากุศลกรรมและอกุศลกรรมทั้งหลาย กรรมใดสามารถ
เพื่อจะให้ระลึกถึงในเวลาใกล้ตาย กรรมนั้น ชื่อว่า ยทาสันนกรรม.๒
ยทาสันนกรรมนั่นแหละ เมื่อกุศลกรรมและอกุศลกรรมเหล่าอื่น ถึงจะ
มีอยู่ก็ให้ผล (ก่อน) เพราะอยู่ใกล้มรณกาล เหมือนเมื่อเปิดประตูคอก ที่มี
ฝูงโคเต็มคอก บรรดาโคฝึกและโคมีกำลัง ถึงจะอยู่ในส่วนอื่น (ไกลปากคอก)
โคตัวใดอยู่ใกล้ประตูคอก โดยที่สุดจะเป็นโคแก่ถอยกำลังก็ตาม โคตัวนั้น
ก็ย่อมออกได้ก่อนอยู่นั่นเอง ฉะนั้น. ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง
เรื่องคนเฝ้าประตูชาวทมิฬ
เล่ากันมาว่า ในบ้านมธุอังคณะ. มีนายประตูชาวทมิฬคนหนึ่งถือเอา
เบ็ดไปแต่เช้า ตกปลาได้แล้วแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนหนึ่งเอาแลกข้าวสาร
๑. ปาฐะว่า ตเทว ฉบับพม่าเป็น เต เทว แปลตามฉบับพม่า
๒. คำว่า ยทาสันนกรรม ก็คือ อาสันนกรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 128
ส่วนหนึ่งแลกนม ส่วนหนึ่งต้มแกงกิน. โดยทำนองนี้ เขาทำปาณาติบาตอยู่ถึง
๕๐ ปี ต่อมาแก่ตัวลง ล้มหมอนนอนเสื่อ ในขณะนั้น พระจุลลปิณฑปา-
ติกติสสเถระ ชาวคิรีวิหาร รำพึงว่า คนผู้นี้ เมื่อเรายังเห็นอยู่อย่าพินาศ
เสียเลย แล้วไปยืนอยู่ที่ประตูเรือนของเขา. ขณะนั้นภริยาของเขาจึงบอกว่า
นี่ ! พระเถระมาโปรดแล้ว เขาตอบว่า ตลอดเวลา ๕๐ ปี เราไม่เคยไป
สำนักของพระเถระเลย ด้วยคุณความดีอะไรของเรา ท่านจึงต้องมา เธอจง
ไปนิมนต์ให้ท่านไปเสียเถิด. นางบอกพระเถระว่า นิมนต์ไปโปรดสัตว์
ข้างหน้าเถิดเจ้าข้า พระเถระถามว่า อุบาสกมีพฤติการทางร่างกายอย่างไร.
นางตอบว่า อ่อนแรงแล้ว เจ้าข้า. พระเถระเข้าไปยังเรือนให้สติ แล้วกล่าวว่า
โยมรับศีล (ไหม). เขาตอบว่า รับ ขอรับพระคุณเจ้า นิมนต์ให้ศีลเถิด.
พระเถระให้สรณะ ๓ แล้ว เริ่มจะให้ศีล ๕. ในขณะที่อุบาสกนั้น ว่า ปญฺจ
สีลานิ นั่นแหละ ลิ้นแข็งเสียแล้ว. พระเถระคิดว่า เท่านี้ก็พอควร แล้ว
ออกไป. ส่วนเขาตายแล้วไปเกิดในภพจาตุมหาราชิกะ. ก็ในขณะที่เขาเกิด
นั่นแหละ รำลึกว่า เราทำกรรมอะไรหนอ จึงได้สมบัตินี้ รู้ว่าได้เพราะอาศัย
พระเถระ จึงมาจากเทวโลก ไหว้พระเถระแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง
เมื่อพระเถระถามว่า นั่นใคร ตอบว่า กระผม (คือ) คนเฝ้าประตูชาวทมิฬครับ
พระคุณเจ้า. พระเถระถามว่า ท่านไปเกิดที่ไหน ตอบว่า ผมเกิดที่ชั้น
จาตุมหาราชิกภพ ครับพระคุณเจ้า ถ้าหากพระคุณเจ้าได้ให้ศีล ๕ แล้วไซร้
ผมคงได้เกิดในชั้นสูงขึ้นไป ผมจักทำอย่างไร พระเถระตอบว่า ดูก่อน (เทพ)
บุตร ท่านไม่สามารถจะรับเอาได้เอง เทพบุตรไหว้พระเถระแล้ว กลับไปยัง
เทวโลก. นี้เป็นเรื่อง (ตัวอย่าง) ในกุศลกรรมก่อน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 129
เรื่องมหาวาตกาลอุบาสก
ก็ในระหว่างแม่น้ำคงคา ได้มีอุบาสกชื่อว่า มหาวาตกาละ. เขาสาธยาย
อาการ ๓๒ เพื่อมุ่งโสดาปัตติมรรคถึง ๓๐ ปี ถึงทิฏฐิวิปลาสว่า เราสาธยาย
อาการ ๓๒ อยู่อย่างนี้ ก็ไม่อาจให้เกิดแม้เพียงโอภาสได้ ชะรอยพระพุทธศาสนา
จักไม่เป็นศาสนาเครื่องนำสัตว์ออกจากภพ (เป็นแน่) กระทำกาลกิริยาแล้ว
ได้ไปเกิดเป็นลูกจรเข้ยาว ๙ อุสภะ ที่แม่น้ำมหาคงคา. คราวหนึ่ง เกวียนบรรทุก
เสาหิน ๖๐ เล่ม เดินทางไปตามท่ากัจฉปะ. จรเข้นั้นฮุบกินทั้งโคทั้งหินเหล่านั้น
จนหมดสิ้น. นี้เป็นเรื่อง (ตัวอย่าง) ในอกุศลกรรม.
อธิบายกฏัตตาวาปนกรรม
ส่วนกรรมนอกเหนือจากกรรม ๓ ดังกล่าวมาแล้วนี้ ทำไปโดยไม่รู้
ชื่อว่า กฏัตตาวาปนกรรม. กฏัตตาวาปนกรรมนั้น อำนวยวิบากได้ใน
กาลบางครั้ง เพราะไม่มีกรรม ๓ อย่างเหล่านั้น เหมือนท่อนไม้๑ ที่คนบ้า
ขว้างไป จะตกไปในที่ ๆ ไม่มีจุดหมายฉะนั้น.
อธิบายชนกกรรม
กรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิอย่างเดียว ไม่ให้เกิดปวัตติกาล๒ กรรมอื่น
ย่อมให้เกิดวิบากในปวัตติกาล ชื่อว่า ชนกกรรม. อุปมาเสมือนหนึ่งว่า
มารดาให้กำเนิดอย่างเดียว ส่วนพี่เลี้ยง นางนม ประคบประหงมฉันใด ชนก
กรรมก็เช่นนั้นเหมือนกัน ให้เกิดปฏิสนธิเหมือนมารดา (ส่วน) กรรมที่มา
ประจวบเข้าในปวัตติกาล๓ เหมือนพี่เลี้ยงนางนม.
๑. ปาฐะว่า ขิตฺต กณฺฑ ฉบับพม่าเป็น ขิตตทณฺฑ แปลตามฉบับพม่า.
๒. ปาฐะว่า ปวตฺต ชเนติ ฉบับพม่าเป็น ปวตฺตึ น ชเนติ แปลตามฉบับพม่า.
๓. ปาฐะว่า ปวตฺเต ปวตฺติก ฉบับพม่าเป็น ปวตเต สปฺปตฺกมฺม แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 130
อธิบายอุปัตถัมภกกรรม
ธรรมดาอุปัตถัมภกกรรม มีได้ทั้งในกุศล ทั้งในอกุศล เพราะว่า
ลางคนกระทำกุศลกรรมแล้วเกิดในสุคติภพ เขาดำรงอยู่ในสุคติภพนั้นแล้ว
บำเพ็ญกุศลบ่อย ๆ สนับสนุนกรรมนั้น ย่อมท่องเที่ยวไปในสุคติภพนั่นแหละ
ตลอดเวลาหลายพันปี. ลางคนกระทำอกุศลกรรมแล้วเกิดในทุคติภพ เขา
ดำรงอยู่ในทุคตินั้น กระทำอกุศลกรรมบ่อย ๆ สนับสนุนกรรมนั้นแล้ว จะ
ท่องเที่ยวไปในทุคติภพนั้นแหละ สิ้นเวลาหลายพันปี.
อีกนัยหนึ่งควรทราบดังนี้ ทั้งกุศลกรรม ทั้งอกุศลกรรม ชื่อว่าเป็น
ชนกกรรม. ชนกกรรมนั้นให้เกิดวิบากขันธ์ทั้งที่เป็นรูปและอรูป ทั้งใน
ปฏิสนธิกาล ทั้งในปวัตติกาล. ส่วนอุปัตถัมภกกรรม ไม่สามารถให้เกิดวิบาก
ได้ แต่จะสนับสนุนสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นในเพราะวิบาก ที่ให้เกิดปฏิสนธิที่กรรม
อื่นให้ผลแล้ว ย่อมเป็นไปตลอดกาลนาน.
อธิบายอุปปีฬกกรรม
กรรมที่เบียดเบียน บีบคั้นสุขทุกข์ที่เกิดขึ้นในเพราะวิบากที่ให้เกิด
ปฏิสนธิ ที่กรรมอื่นให้ผลแล้ว จะไม่ให้ (สุขหรือทุกข์นั้น ) เป็นไปตลอด
กาลนาน ชื่อว่า อุปปีฬกกรรม.
ในอุปปีฬกกรรมนั้น มีนัยดังต่อไปนี้. เมื่อกุศลกรรมกำลังให้ผล
อกุศลกรรมจะเป็นอุปปีฬกกรรมไม่ให้ (โอกาส) กุศลกรรมนั้นให้ผล. แม้เมื่อ
อกุศลกรรมนั้นกำลังให้ผลอยู่ กุศลกรรมจะเป็นอุปปีฬกกรรมไม่ให้ (โอกาส)
อกุศลกรรมนั้นให้ผล. ต้นไม้ กอไม้ หรือเถาวัลย์ ที่กำลังเจริญงอกงาม
ใครคนใดคนหนึ่งเอาไม้มาทุบ หรือเอาศาสตรามาตัด เมื่อเป็นเช่นนั้น๑
๑. ปาฐะว่า อถโข ฉบับพม่าเป็น อถ โส แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 131
ต้นไม้กอไม้หรือเถาวัลย์นั้นจะต้องไม่เจริญงอกงามขึ้นฉันใด กุศลกรรมก็
ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกำลังให้ผล (แต่ถูก) อกุศลกรรมเบียดเบียน หรือว่า
อกุศลกรรมกำลังให้ผล (แต่ถูก) กุศลกรรมบีบคั้นจะไม่สามารถให้ผลได้
ในสองอย่างนั้น สำหรับนายสุนักขัตตะ อกุศลกรรม (ชื่อว่า) เบียดเบียน
กุศลกรรม สำหรับนายโจรฆาตกะ กุศลกรรม (ชื่อว่า) เบียดเบียนอกุศลกรรม.
เรื่องเพชฌฆาต ชื่อตาวกาฬกะ
เล่ากันว่า ในกรุงราชคฤห์ นายตาวกาฬกะ กระทำโจรฆาตกรรม
(ประหารชีวิตโจร) มาเป็นเวลา ๕๐ ปี. ลำดับนั้น ราชบุรุษทั้งหลายได้
กราบทูลเขาต่อพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ นายตาวกาฬกะแก่แล้ว
ไม่สามารถจะประหารชีวิตโจรได้ พระราชารับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงปลดเขา
ออกจากตำแหน่งนั้น. อำมาตย์ทั้งหลายปลดเขาออกแล้ว แต่งตั้งคนอื่นแทน.
ฝ่ายนายตาวกาฬกะ ตลอดเวลาที่ทำงานนั้น (เป็นเพชฌฆาต) ไม่เคยนุ่ง
ผ้าใหม่ ไม่ได้ทัดทรงของหอมและดอกไม้ ไม่ได้บริโภคข้าวปายาส ไม่ได้
รับการอบอาบ. เขาคิดว่า เราอยู่โดยเพศของผู้เศร้าหมองมานานแล้ว จึงสั่ง
ภรรยาให้หุงข้าวปายาส ให้นำเครื่องสัมภาระสำหรับอาบไปยังท่าน้ำ ดำเกล้า
และนุ่งผ้าใหม่ ลูบไล้ของหอม ทัดดอกไม้ กำลังเดินมาบ้าน เห็นพระสารี-
บุตรเถระ ดีใจว่า เราจะได้พ้นจากกรรมที่เศร้าหมอง และได้พบพระผู้เป็นเจ้า
ของเราด้วย จึงนำพระเถระไปยังเรือน แล้วอังคาสด้วยข้าวปายาสที่ปรุงด้วย
เนยใส เนยข้น และผงน้ำตาลกรวด. พระเถระได้อนุโมทนาทานของเขา.
เขาได้ฟังอนุโมทนาแล้ว กลับได้อนุโลมิกขันติ ตามส่งพระเถระแล้วเดินกลับ
ในระหว่างทางถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิด ให้ถึงความสิ้นชีวิต แล้วไปเกิดในดาว-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 132
ดึงสพิภพ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามพระตถาคตว่า พระพุทธเจ้าข้า วันนี้
เอง นายโจรฆาตอันพระสารีบุตรเถระช่วยนำออกจากกรรมที่เศร้าหมอง ถึงแก่
กรรมแล้วในวันนี้เหมือนกัน เขาเกิดในที่ไหนหนอ.
พ. ในดาวดึงสพิภพ ภิกษุทั้งหลาย.
ภิ. พระพุทธเจ้าข้า นายโจรฆาตฆ่าคนมาเป็นเวลานานและพระองค์
ก็ตรัสสอนไว้อย่างนี้ บาปกรรมไม่มีผลหรืออย่างไรหนอ.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากล่าวเช่นนั้น นายโจรฆาตได้
กัลยาณมิตรผู้มีกำลังเป็นอุปนิสสยปัจจัย ถวายบิณฑบาตแก่พระธรรมเสนาบดี
ฟังอนุโมทนากถาแล้ว กลับได้อนุโลมิกขันติ จึงได้บังเกิดในที่นั้น.
นายโจรฆาต ได้ฟังคำเป็นสุภาษิต
ในเมืองแล้ว ได้อนุโลมขันติบันเทิงใจ
ไปเกิดในไตรเทพ.
อธิบายอุปฆาตกกรรม
ส่วนอุปฆาตกกรรม ที่เป็นกุศลบ้าง ที่เป็นอกุศลบ้าง มีอยู่เอง จะ
ตัดรอนกรรมอื่น ที่มีกำลังเพลากว่า ห้ามวิบากของกรรมนั้นไว้แล้วทำโอกาส
แก่วิบากของตน. ก็เมื่อกรรมทำ (ให้) โอกาสอย่างนี้แล้ว กรรมนั้นเรียกว่า
เผล็ดผลแล้ว. อุปฆาตกกรรมนี้นั่นแหละ มีซึ่งว่าอุปัจเฉทกกรรมบ้าง.
อธิบายอุปัจเฉทกกรรม
ในอุปัจเฉทกกรรมนั้น มีนัยดังต่อไปนี้ ในเวลาที่กุศลกรรมให้ผล
อกุศลกรรมอย่างหนึ่งจะตั้งขึ้นตัดรอนกรรมนั้นให้ตกไป ถึงในเวลาที่อกุศล-
กรรมให้ผล กุศลกรรมอย่างหนึ่งก็จะตั้งขึ้น ตัดรอนกรรมนั้นแล้วให้ตกไป.
นี้ชื่อว่า อุปัจเฉทกกรรม. บรรดาอุปัจเฉทกกรรมที่เป็นกุศล และอกุศล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 133
ทั้งสองอย่างนั้น กรรมของพระเจ้าอชาตศัตรู ได้เป็นกรรมที่ตัดรอนกุศล
ส่วนกรรมของพระองคุลิมาลเถระได้เป็นกรรมตัดรอนอกุศล. ด้วยประการ
ดังกล่าวมานี้ เป็นอันท่านจำแนกกรรม ๑๑ อย่าง ตามสุตตันติกปริยาย.
กรรม ๑๖ อย่างตามแนวพระอภิธรรม
ส่วนพระอภิธรรมปริยาย ท่านจำแนกกรรมไว้ ๑๖ อย่าง. คือ
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง ห้ามคติสมบัติ ยังไม่ให้ผล ๑
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง ห้ามอุปสมบัติ ยังไม่ให้ผล ๑
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง ห้ามกาลสมบัติ ยังไม่ให้ผล ๑
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง ห้ามปโยคสมบัติ ยังไม่ให้ผล ๑
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง อาศัยคติวิบัติ ให้ผล ๑
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง อาศัยอุปธิวิบัติ ให้ผล ๑
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง อาศัยกาลวิบัติ ให้ผล ๑
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง อาศัยปโยควิบัติ ให้ผล ๑
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง ห้ามคติวิบัติ ยังไม่ให้ผล ๑
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง ห้ามอุปธิวิบัติ ยังไม่ให้ผล ๑
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง ห้ามกาลวิบัติ ยังไม่ให้ผล ๑
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง ห้ามปโยควิบัติ ยังไม่ให้ผล ๑
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง อาศัยคติสมบัติ ให้ผล ๑
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง อาศัยอุปธิสมบัติ ให้ผล ๑
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง อาศัยกาลสมบัติ ให้ผล ๑
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง อาศัยปโยคสมบัติ ให้ผล ๑.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 134
อธิบายกรรม ๑๖ อย่างตามแนวพระอภิธรรม
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปกานิ แปลว่า ลามก. บทว่า
กมฺมสมาทานานิ ได้แก่การยึดถือกรรม. คำว่า กมฺมสมาทานานิ นี้
เป็นชื่อของกรรมทั้งหลาย ที่บุคคลสมาทานถือเอาแล้ว. พึงทราบวินิจฉัย
ในบทว่า คติสมฺปตฺตึ ปฏิพาฬฺหานิ น วิปจฺจนฺติ เป็นต้น ดังต่อไปนี้
เมื่อกรรมที่มีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นกิจ ยังมีอยู่นั่นแหละ กรรมนั้น
ของสัตว์ผู้เกิดในสุคติภพ ชื่อว่าห้ามคติสมบัติไว้ ยังไม่ให้ผล. อธิบายว่า
เป็นกรรมถูกคติสมบัติห้ามไว้ ยิ่งไม่ให้ผล.
ก็ผู้ใด เกิดในท้องของหญิงทาสี หรือหญิงกรรมกร เพราะบาปกรรม
(แต่) เป็นผู้มีอุปธิสมบัติ ตั้งอยู่ในความสำเร็จ คือความงดงามแห่งอัตภาพ.
ครั้นนายของเขาเห็นรูปสมบัติของเขาแล้ว เกิดความคิดว่า ผู้นี้ไม่สมควร
ทำงานที่ต่ำต้อย แต่งตั้งเขาไว้ในตำแหน่งภัณฑาคาริกเป็นต้น มอบสมบัติให้
แล้วเลี้ยงดูอย่างลูกของตน. กรรมของคนเห็นปานนี้ ชื่อว่าห้ามอุปธิสมบัติ
ให้ผลก็หามิได้.
ส่วนผู้ใด เกิดในเวลาที่มีโภชนาหารหาได้ง่ายและมีรสอร่อยเช่นกับ
กาลของคนในปฐมกัป บาปกรรมของเขาถึงมีอยู่ จะชื่อว่า ห้ามกาลสมบัติ
ให้ผลก็หามิได้.
ส่วนผู้ใดอาศัยการประกอบโดยชอบ เลี้ยงชีพอยู่ แต่เข้าหาใน
เวลาที่ควรจะต้องเข้าหา ถอยกลับในเวลาที่ควรจะต้องถอยกลับ หนีในเวลา
ที่ควรจะต้องหนี ให้สินบนในเวลาที่ควรให้สินบน ทำโจรกรรมในเวลาที่ควร
ทำโจรกรรม บาปกรรมของคนเช่นนี้ ชื่อว่า ห้ามปโยคสมบัติ ให้ผลก็หา
มิได้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 135
ส่วนบาปกรรมของบุคคลผู้เกิดในทุคติภพ ชื่อว่า อาศัยคติวิบัติให้
ผลอยู่.
ส่วนผู้ใดเกิดในท้องของหญิงทาสี หรือหญิงกรรมกร มีผิวพรรณ
ไม่งดงาม รูปร่างไม่สวย ชวนให้เกิดสงสัยว่า เป็นยักษ์หรือเป็นมนุษย์ ถ้า
เขาเป็นชาย คนทั้งหลายจะคิดว่า คนผู้นี้ไม่สมควรแก่งานอย่างอื่น แล้วจะ
ให้เขาเลี้ยงช้าง เลี้ยงม้า เลี้ยงโค หรือให้หาหญ้าหาฟืน ให้เทกระโถน
ถ้าเป็นหญิง คนทั้งหลายจะใช้ให้ต้มข้าวต้มถั่ว๑ ให้ช้างให้ม้าเป็นต้น ให้เท
หยากเยื่อ หรือใช้ให้ทำงานที่น่ารังเกียจอย่างอื่น. บาปกรรมของผู้เห็นปานนี้
ชื่อว่า อาศัยอุปธิวิบัติให้ผล.
ส่วนผู้ใดเกิดในเวลาข้าวยากหมากแพง ในเวลาตระกูลเสื่อมสิ้นสมบัติ
หรือในอันตรกัป บาปกรรมของผู้นั้น ชื่อว่าอาศัยกาลวิบัติให้ผล.
ส่วนผู้ใดไม่รู้จักประกอบความเพียร ไม่รู้เพื่อจะเข้าไปหาในเวลา
ที่ควรเข้าไปหา ฯลฯ ไม่รู้เพื่อจะทำโจรกรรม ในเวลาที่ควรทำโจรกรรม
บาปกรรมของผู้นั้น ชื่อว่า อาศัยปโยควิบัติให้ผล.
ส่วนผู้ใด เมื่อกรรมที่สมควรแก่การเสวยอิฏฐารมณ์เป็นกิจ ยังมีอยู่
นั่นแลไปเกิดในทุคติภพ กรรมของเขานั้น ชื่อว่า ห้ามคติวิบัติ ให้ผลก็หามิได้.
ส่วนผู้ใดเกิดในพระราชวัง หรือในเรือนของราชมหาอำมาตย์เป็นต้น
ด้วยอานุภาพแห่งบุญกรรมเป็นคนบอด เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก หรือว่า
เป็นคนเปลี้ย คนทั้งหลายไม่ยอมให้ตำแหน่งแก่เขา เพราะเห็นว่า เขาไม่
เหมาะสมแก่ตำแหน่งอุปราชเสนาบดี และขุนคลังเป็นต้น บุญของเขาตามที่
กล่าวมานี้ ชื่อว่า ห้ามอุปธิวิบัติ ให้ผลก็หามิได้.
๑. ปาฐะว่า ภตฺตมสาทีนิ ฉบับพม่าเป็น ภตฺตมาสาทีนิ แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 136
ส่วนผู้ใดเกิดในหมู่มนุษย์ ในเวลาข้าวยากหมากแพง ในเวลาที่
(ตระกูล) เสื่อมสิ้นสมบัติแล้ว หรือในอันตรกัป กรรมดีของเขานั้น ชื่อว่า
ห้ามกาลวิบัติ ให้ผลก็หามิได้.
ส่วนผู้ใด ไม่รู้เพื่อจะยังความเพียรให้เกิดขึ้น ตามนัยที่ได้กล่าวแล้ว
ในหนหลังนั่นแหละ กรรมดีของเขานั้นชื่อว่า ห้ามปโยควิบัติ ให้ผลก็หามิได้.
แต่กรรมของผู้เกิดในสุคติภพ ด้วยกัลยาณกรรมนั้น ชื่อว่า อาศัย
คติสมบัติให้ผล. คนทั้งหลายเห็นอัตภาพของผู้ที่เกิดในราชตระกูล หรือ
ตระกูลของราชมหาอำมาตย์เป็นต้น ถึงอุปธิสมบัติ คือดำรงอยู่ในความ
เพรียบพรอ้มแห่งอัตภาพ เช่นเดียวกับ รัตนโดรณ (เสาระเนียดแก้ว) ที่
เขาตั้งไว้ที่เทพนคร เห็นว่า คนผู้นี้เหมาะสมกับตำแหน่งอุปราช เสนาบดี
หรือตำแหน่งขุนคลังเป็นต้น ถึงเขาจะยังหนุ่ม ก็ยอมให้ตำแหน่งเหล่านั้น.
กัลยาณธรรมของคนเห็นปานนี้ ชื่อว่า อาศัยอุปธิสมบัติให้ผล.
ผู้ใดเกิดในปฐมกัปก็ดี ในเวลาที่ข้าวน้ำหาได้ง่ายก็ดี กัลยาณกรรม
ของเขา ชื่อว่า อาศัยกาลสมบัติให้ผล.
ผู้ใดไม่รู้ เพื่อการประกอบความเพียร โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นและ
กรรมของผู้นั้นชื่อว่า อาศัยปโยคสมบัติให้ผล.
ท่านจำแนกกรรม ๑๖ อย่าง ตามปริยายแห่งพระอภิธรรม ด้วย
ประการดังพรรณนามาฉะนี้.
กรรม ๑๒ อย่าง ตามแนวแห่งปฏิสัมภิทามรรค
โดยปริยายแห่งปฏิสัมภิทามรรค ท่านจำแนกกรรม ๑๒ อย่างไว้
อีกอย่างหนึ่ง คือ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 137
กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ได้มีมาแล้ว ๑
กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ไม่ได้มีมาแล้ว ๑
กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ยังมีอยู่ ๑
กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ไม่มีอยู่ ๑
กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม จักมีมา ๑
กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม จักไม่มีมา ๑
กรรมมีอยู่ กรรมวิบากมีอยู่ ๑
กรรมมีอยู่ แต่กรรมวิบากไม่มี ๑
กรรมมีอยู่ กรรมวิบากจักมีมา ๑
กรรมมีอยู่ แต่กรรมวิบากจักไม่มีมา ๑
กรรมก็จักมี กรรมวิบากก็จักมี ๑
กรรมจักมีมา แต่วิบากกรรมจักไม่มี ๑
อธิบายกรรม ๑๒ อย่าง ตามแนวแห่งปฏิสัมภิทามรรค
บรรดากรรม ๑๒ อย่างนั้น กรรมที่บ่ระมวลมาในอดีต ได้วาระ
แห่งผลในอดีตนั่นเอง ที่จะให้เกิดปฏิสนธิก็ให้เกิดปฏิสนธิแล้ว ส่วนที่จะให้
เกิดรูป ก็สามารถให้เกิดรูปขึ้น ท่านกล่าวว่า กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม
ได้มีมาแล้ว.
ส่วนกรรมที่ไม่ได้วาระแห่งวิบาก ที่จะให้ปฏิสนธิ ก็ไม่สามารถจะ
ให้เกิดปฏิสนธิได้ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็ไม่สามารถจะให้เกิดรูปได้ ท่าน
กล่าวว่า กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ไม่ได้มีมาแล้ว.
ส่วนกรรมที่ประมวลมาแล้วในอดีต ได้วาระแห่งผลในปัจจุบันแล้ว
ที่จะให้เกิดปฏิสนธิ ก็ให้เกิดปฏิสนธิแล้ว หรือที่จะให้เกิดรูป ก็ให้เกิดรูปแล้ว
ตั้งอยู่ ท่านกล่าวว่า กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ยังมีอยู่.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 138
ส่วนกรรมที่ไม่ได้วาระแห่งวิบาก ที่จะให้เกิดปฏิสนธิ ก็ไม่สามารถ
จะให้เกิดปฏิสนธิได้ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็ไม่สามารถให้เกิดรูปได้ ท่าน
กล่าวว่า กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม ไม่มีอยู่.
ส่วนกรรมที่ประมวลมาในอดีตกาล จักได้วาระแห่งวิบากในอนาคต
ที่ให้เกิดปฏิสนธิ ก็จักสามารถให้ปฏิสนธิ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็จักสามารถ
ให้เกิดรูป ท่านกล่าวว่า กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม จักมีมา.
ส่วนกรรมที่จักไม่ได้วาระแห่งวิบากในอนาคต ที่ให้เกิดปฏิสนธิ
ก็จักไม่สามารถให้เกิดปฏิสนธิได้ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็จักไม่สามารถให้เกิด
รูปได้ ท่านกล่าวว่า กรรมวิบากที่เป็นอโหสิกรรม จักไม่มีมา.
ส่วนกรรมที่ประมวลมาในปัจจุบัน และจะได้วาระแห่งวิบากใน
ปัจจุบันเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า กรรมมีอยู่ กรรมวิบากก็มีอยู่.
ส่วนกรรมที่ไม่ได้วาระแห่งวิบากในปัจจุบัน ท่านกล่าวว่า กรรมมี
แต่กรรมวิบากไม่มี.
ส่วนกรรมที่ประมวลมาในปัจจุบัน แต่จักได้วาระแห่งวิบากในอนาคต
ที่จะให้เกิดปฏิสนธิ ก็จักสามารถให้เกิดปฏิสนธิ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็จักให้
เกิดรูป (ในอนาคต ) ได้ ท่านกล่าวว่า กรรมมีอยู่ กรรมวิบากก็จักมีมา.
ส่วนกรรมที่จักไม่ได้วาระแห่งวิบาก ที่จะให้เกิดปฏิสนธิ ก็จักไม่
สามารถให้เกิดปฏิสนธิได้ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็จักไม่สามารถให้เกิดรูป
(ในอนาคต) ได้ ท่านกล่าวว่า กรรมมีอยู่ แต่ผลกรรมจักไม่มีมา.
ส่วนกรรมที่จักประมวลมาในอนาคต จักได้วาระแห่งวิบากในอนาคต
เหมือนกัน ที่จะให้เกิดปฏิสนธิ ก็จักให้เกิดปฏิสนธิ หรือที่จะให้เกิดรูป
ก็จักให้เกิดรูป ท่านกล่าวว่า กรรมก็จักมี กรรมวิบากก็จักมี.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 139
ส่วนกรรมที่จักไม่ได้วาระแห่งวิบาก ที่จะให้เกิดปฏิสนธิ ก็จักไม่
สามารถให้เกิดปฏิสนธิ หรือที่จะให้เกิดรูป ก็จักไม่สามารถให้เกิดรูปได้ ท่าน
กล่าวว่า กรรมจักมีมา แต่กรรมวิบากจักไม่มี.
ตามปริยายแห่งปฏิสัมภิทามรรค ท่านจำแนกกรรมไว้ ๑๒ อย่าง
ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
กรรม ๑๒ อย่างเหล่านี้ก็ดี กรรม ๑๖ อย่างข้างต้นก็ดี ที่จำแนก
ไว้แล้ว ย่อจากฐานะของตนลงมา กล่าวโดยปริยายแห่งสุตตันตะ จะมี ๑๑
อย่างเท่านั้น. ถึงกรรมเหล่านั้น ย่อจากกรรม ๑๑ อย่างนั้นแล้ว จะเหลือเพียง
๓ อย่างเท่านั้น คือ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ๑ อุปปัชเวทนียกรรม ๑
อปรปริยายเวทนียกรรม ๑ กรรมเหล่านี้ไม่มีการก้าวก่ายกัน ย่อมตั้งอยู่
ในฐานะของตนอย่างเดียว.
เพราะว่า ถ้าหากทิฏิธรรมเวทนียกรรม กลายเป็นอุปปัชช-
เวทนียกรรม หรืออปรปริยายเวทนียกรรมไปไชร้ พระศาสดาคงไม่ตรัสว่า
ทิฏฺเว ธมฺเม (ในปัจจุบันนี้เท่านั้น). แม้ถ้าว่า อุปปัชชเวทนียกรรม
จักกลายเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หรืออปรปริยายเวทนียกรรมไปไซร้
พระศาสดาคงไม่ตรัสว่า อุปปชฺเช วา (ในภพที่จะเกิดขึ้น). อนึ่ง หาก
อปรปริยายเวทนียกรรม จะกลายเป็นทิฏิธรรมเวทนียกรรม หรือ
อุปปัชชเวทนียกรรมไป พระศาสดาก็คงไม่ตรัสว่า อปเร วา ปริยาเย
(หรือในปริยายภพต่อไป). แม้ในสุกปักษ์ (กุศลกรรม) พึงทราบความโดยนัย
นี้เหมือนกัน.
และพึงทราบวินิจฉัยในธรรมที่เป็นสุกปักษ์ ดังต่อไปนี้ บทว่า โลเภ
วิคเต ความว่า เมื่อความโลภปราศไปแล้ว คือ ดับแล้ว. บทว่า ตาลวตฺถุกต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 140
ความว่า ทำให้เป็นเหมือนต้นตาล. อธิบายว่า ทำให้ไม่งอกขึ้นมาอีก เหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดยอดแล้ว. บทว่า อนภาว กต ความว่า กระทำไม่ให้มีใน
ภายหลัง อธิบายว่า กระทำโดยไม่ให้เกิดขึ้นอีก. บทว่า เอวสฺสุ ความว่า
พึงเป็นอย่างนั้น.
พึงทราบข้อเปรียบเทียบ ในบทว่า เอวเมว โข ดังต่อไปนี้
กุศลกรรม และอกุศลกรรม พึงเห็นเหมือนพืช พระโยคาวจร พึงเห็นเหมือน
บุรุษเอาไฟเผาพืชเหล่านั้น. มัคคญาณ พึงเห็นเหมือนไฟ. เวลาที่กิเลสถูก
มัคคญาณเผาไหม้ พึงเห็นเหมือนเวลาที่จุดไฟเผาพืช. เวลาที่พระโยคาวจร
ทำรากของขันธ์ ๕ ให้ขาดแล้วดำรงอยู่ พึงเห็นเหมือนเวลาที่บุรุษเผาพืช
ให้เป็นเขม่า. เวลาที่พระขีณาสพ ไม่ถือปฏิสนธิในภพใหม่ เพราะดับขันธ์
โดยที่ขันธ์ ๕ ซึ่งมีรากขาดแล้ว ไม่ปฏิสนธิต่อไป เพราะดับความสืบต่อแห่ง
อุปาทินนกสังขารได้แล้ว พึงทราบเหมือนเวลาที่พืชถูกเขาโปรยไปที่ลมแรง
หรือลอยไปในแม่น้ำ ทำให้ไม่หวนกลับมาได้อีก.
บทว่า โมหช วาปิ วิทฺทสุ๑ ความว่า ผู้ไม่รู้ (ทำกรรม) แม้ที่
เกิดแต่โมหะ มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ ดังนี้ว่า เขาไม่รู้ คือ เป็นอันธพาล
ทำกรรมที่เกิดแต่โลภบ้าง เกิดแต่โทสะบ้าง เกิดแต่โมหะบ้าง กรรมใดที่เขา
กระทำอยู่เช่นนี้ กระทำแล้ว น้อยก็ตาม มากก็ตาม. บทว่า อิเธว ต เวทนีย
ความว่า กรรมนั้นเป็นกรรมที่คนพาลนั้น จะพึงได้เสวยในโลกนี้ คือ ใน
อัตภาพของตนนี้แหละ อธิบายว่า กรรมนั้นจะให้ผลในอัตภาพของเขานั่น
แหละ.๒
๑. ปาฐะว่า โมหช วาปิ วิทฺทสุ ในบาลีและฉบับพม่าเป็น โมหชญฺจาปิวิทฺทสุ.
๒. ปาฐะว่า ตสฺเสว อตฺตภาเว จ วิปจฺจติ ฉบับพม่าเป็น ตสฺเสว ต อตฺตภาเว วิปจฺจติ
แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 141
บทว่า วตฺถุ อญฺ น วิชฺชติ ความว่า ไม่มีสิ่งอื่นเพื่อประโยชน์
แก่การรับผลของกรรมนั้น. เพราะกรรมที่คนหนึ่งทำไว้ จะให้ผลในอัตภาพ
ของอีกคนหนึ่งไม่ได้.๑
บทว่า ตสฺมา โลภญฺจ โทสญฺจ โมหญฺจาปิ วิทฺทสุ ความว่า
เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเป็นผู้รู้ คือเป็นผู้มีปัญญา ได้แก่เป็นบัณฑิต ย่อมไม่
ทำกรรมนั้นแยกประเภท มีกรรมเกิดแต่ความโลภเป็นต้น ภิกษุนั้น ผู้ยังวิชชา
ให้เกิดขึ้นอยู่ พึงละทุคติทุกอย่างได้ คือ เมื่อทำวิชชาคือพระอรหัตมรรค
ให้เกิดขึ้น จะละทุคติทุกอย่างได้. นี้เป็นหัวข้อ (ตัวอย่าง) แห่งเทศนาเท่านั้น
ส่วนพระขีณาสพนั้น แม้สุคติก็ละได้ทั้งนั้น. แม้ในคำที่ตรัสไว้ว่า ตสฺมา
โลภญฺจ โทสญฺจ ดังนี้ พึงทราบว่า ทรงแสดงถึงกรรมที่เกิดแต่โลภะ
และเกิดแต่โทสะเหมือนกัน โดยหัวข้อ คือ โลภะ และโทสะ ทั้งในพระสูตร
ทั้งในพระคาถา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะไว้ โดย
ประการดังกล่าวมาแล้วนี้แล.
จบอรรถกถานิทานสูตรที่ ๔
๑. ปาฐะว่า น หิ อญฺเน กต กมฺม น อญฺส อตฺตภาเว วิปจฺจติ ฉบับพม่าเป็น น หิ
อญฺเน กต กมฺม อญฺสฺส อตฺตภาเว วิปจฺจติ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 142
๕. หัตถกสูตร
ว่าด้วยผู้มีความสุขแท้
[๔๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับบนลาดใบไม้ใน
ป่าสิงสปาวัน ใกล้ทางโค ในแคว้นอาฬวี ครั้งนั้น เจ้าชายหัตถกะ
อาฬวกะ ทรงดำเนินด้วยพระบาทเที่ยวมา ทอดพระเนตรเห็นพระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับนั่งบนลาดใบไม้ ในป่าสิงสปาวัน ใกล้ทางโค ครั้นแล้ว
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง เจ้าชายหัตถกะ อาฬวกะ ผู้ประทับนั่ง
ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าบรรทมเป็นสุขอยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า ?
พ. อย่างนั้น เจ้าชาย ตถาคตนอนเป็นสุข บรรดาคนที่นอนเป็นสุข
ในโลก ตถาคตเป็นคนหนึ่ง
หัตถกะ. พระพุทธเจ้าข้า ราตรีฤดูเหมันต์ (นี่ก็) หนาว หน้าอันต
รัฏฐกะ (นี่ก็) เป็นคราวหิมะตก พื้นดินก็เป็นรอยโคขรุขระ ลาดใบไม้ก็บาง
(ร่ม)ใบต้นไม้ก็โปร่ง ผ้ากาสายะก็เย็น ทั้งลมเวรัมพวาตอันเย็นก็พัดมา กระนี้
แล้วพระผู้มีพระภาคเจ้ายังรับสั่งว่า อย่างนั้นเจ้าชาย ตถาคตนอนเป็นสุข
บรรดาคนที่นอนเป็นสุขในโลก ตถาคตเป็นคนหนึ่ง.
พ. เจ้าชาย ถ้ากระนั้น ตถาคตจักย้อนถามท่านในข้อนี้ พอพระทัย
อย่างใด พึงทรงตอบอย่างนั้น ท่านจะทรงสำคัญว่ากระไร ? เจ้าชายมีเรือน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 143
ยอดอันฉาบปูนทั้งภายในทั้งภายนอกจนลมลอดไม่ได้ มีประตูอันลงกลอนสนิท
มีหน้าต่างปิดได้ ของคฤหบดีก็ดี ของบุตรคฤหบดีก็ดี ในเรือนยอดนั้น
มีเตียงอันลาดด้วยผ้าโคณกะ ลาดด้วยผ้าปฏิกะ ลาดด้วยผ้าปฏลิกะ มีฟูก
อันโอ่โถงหุ้มด้วยหนังกทลิมฤค ประกอบด้วยผ้าคาดเบื้องบน มีหมอนสีแดง
สองข้าง อนึ่ง ในนั้นประทีปน้ำมันส่องสว่าง มีภริยา ๔ นาง เฝ้าปรนนิบัติ
อยู่ด้วยอาการเป็นที่พึงพอใจ ท่านทรงสำคัญข้อนี้ว่ากระไร เจ้าชาย เขานอน
เป็นสุขหรือไม่ หรือว่าท่านทรงเห็นอย่างไรในข้อนี้.
หัตถกะ. เขาคงนอนเป็นสุข พระพุทธเจ้าข้า บรรดาคนที่นอนเป็นสุข
ในโลกเขาก็เป็นคนหนึ่ง.
พ. ท่านจะทรงสำคัญข้อนี้ว่ากระไร เจ้าชาย ความเร่าร้อนทางกายก็ดี
ทางใจก็ดี ที่เกิดเพราะราคะ...โทสะ...โมหะ ซึ่งเป็นเหตุจะให้เขาเร่าร้อน
นอนเป็นทุกข์ จะพึงเกิดขึ้นแก่คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นบ้างหรือไม่หนอ.
หัตถกะ. เกิด พระพุทธเจ้าข้า.
พ. คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นเร่าร้อน ด้วยความเร่าร้อนที่เกิด
เพราะราคะ...โทสะ...โมหะใด จึงนอนเป็นทุกข์ ราคะ...โทสะ...โมหะนั้น
ตถาคตละเสียแล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เหมือนตอตาลแล้ว ทำให้ไม่มีใน
ภายหลังแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ตถาคต
จึงนอนเป็นสุข.
นิคมคาถา
พราหมณ์ผู้ดับ (เครื่องร้อน) สนิท
แล้ว นอนเป็นสุขในกาลทั้งปวงแล ผู้ใด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 144
ไม่ติดในกามทั้งหลาย ผู้นั้นเป็นคนเย็น
หาอุปธิ มิได้ ตัดเครื่องข้องทั้งปวง
กำจัดความกระวนกระวายในหทัย เข้า
ไปสงบแล้ว ถึงความสงบใจ นอน
เป็นสุข.
จบหัตถกสูตรที่ ๕
อรรถกถาหัตถกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในหัตถกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
หัตถกราชบุตร
บทว่า อาฬวิย แปลว่า ในแคว้นอาฬวี. บทว่า โคมคฺเค แปลว่า
ทางไปของฝูงโค. บทว่า ปณฺณสนฺตเร ได้แก่ บนเครื่องลาดด้วยใบไม้ที่
หล่นเอง.
บทว่า อถ๑ ความว่า เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงปูลาดจีวรผืนใหญ่ของ
พระสุคต ลงบนเครื่องลาดที่กวาดเอาใบไม้ที่หล่นเองมากองไว้ ในป่าประดู่-
ลาย ชิดทางหลวงสายตรง ที่เป็นทางโคเดิน (แยกออกไป) อย่างนี้แล้ว
ประทับนั่งขัดสมาธิ.
บทว่า หตฺถโก อาฬวโก ได้แก่ ราชบุตรชาวเมืองอาฬวี ทรงได้
พระนามว่า (หัตถกะ) อย่างนั้น เพราะเสด็จจากมือ (ของอาฬวกยักษ์) ไปสู่
พระหัตถ์ (ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า).
๑. ปาฐะว่า อถาปิ ฉบับพม่าเป็น อถาติ (เป็นบทตั้ง) แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 145
เหตุเกิดเทศนา
บทว่า เอตทโวจ ความว่า หัตถกราชบุตร ได้กราบทูลคำนั้น
คือคำมีอาทิว่า กจฺจิ ภนฺเต ภควา.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จไปประทับนั่ง
ยังที่นั้นเล่า (และ) เพราะเหตุไร พระราชกุมารจึงเสด็จไปในที่นั้น ?
ตอบว่า อันดับแรก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นเหตุเกิดพระธรรม
เทศนา ซึ่งมีเรื่องเป็นต้นเหตุให้เกิดอยู่แล้ว จึง (เสด็จไป) ประทับนั่งในที่นั้น
ฝ่ายพระราชกุมารเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ มีอุบาสก ๕๐๐ คนห้อมล้อม กำลัง
เสด็จดำเนินไปยังที่ที่พระพุทธเจ้า (ประทับอยู่) แยกออกจากทางใหญ่ ยึด
ทางโคเดิน เสด็จไปด้วยพระประสงค์ว่า เราจะเลือกเก็บดอกไม้คละกันไป เพื่อ
ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า ดังนี้แล้ว ทอดพระเนตรเห็นพระ-
ศาสดา จึงเข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง-
พระราชกุมารนั้น เสด็จไปที่นั้น ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้.
หัตถกกุมารทูลถามพระพุทธเจ้า
บทว่า สุขมสยิตฺถ ความว่า (หัตถกกุมาร ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า)
พระผู้มีพระภาคเจ้า บรรทมเป็นสุขดีหรือ. บทว่า อนฺตรฏฺโก ความว่า
ในระหว่างเดือน ๓ กับเดือน ๔ เป็นกาลเวลา (ที่หิมะตก) อยู่ ๘ วัน.
อธิบายว่า กาลเวลาที่หิมะตก เรียกว่า อันตรัฏฐกะ (อยู่ในระหว่าง) เพราะ
ในช่วงปลายเดือน ๓ มีอยู่ ๔ วัน (และ) ในช่วงต้นเดือน ๔ มีอยู่อีก ๔ วัน.
บทว่า หิมปาตสมโย แปลว่า สมัยที่หิมะตก. บทว่า ขรา ได้แก่
หยาบ หรือแข็ง. บทว่า โคกณฺฎกหตา ความว่า ตรงที่ที่โคเหยียบย่ำซึ่ง
มีฝนตกใหม่ ๆ โคลนทะลักขึ้นจากช่องกีบเท้าโคไปตั้งอยู่. โคลนนั้นแห้ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 146
เพราะลมและแดด เป็นเหมือนฟันเลื่อยกระทบเข้าแล้วเจ็บ หัตถกกุมารหมาย
เอาโคลนนั้น จึงกล่าวว่า โคกัณฏกหตาภูมิ. อนึ่ง มีความหมายว่า แผ่นดิน
ที่แยกออกเพราะช่องกีบเท้าโค.
บทว่า เวรมฺโพ วาโต วายติ ความว่า ลมย่อมพัดมาจากทิศทั้ง
๔. ก็ลมที่พัดมาจากทิศเดียว ๒ ทิศ หรือ ๓ ทิศ ไม่เรียกว่า ลมเวรัมพา.
พระศาสดาทรงดำริว่า พระราชกุมารนี้ไม่รู้จักบุคคลที่อยู่เป็นสุข ไม่
รู้จักบุคคลที่อยู่เป็นทุกข์ในโลก เราจักทำให้พระราชกุมารนั้นรู้จักให้ได้ เมื่อ
จะทรงขยายพระธรรมเทศนาให้สูงขึ้น จึงตรัสคำนี้ว่า เตนหิ ราชกุมาร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา เต ขเมยฺย ความว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามพระราชกุมารว่า) พึงชอบใจแก่พระองค์โดยประการใด. บทว่า
อิธสฺส ได้แก่ พึงมีโลกนี้.
บทว่า โคณกตฺถโต ความว่า แท่น (บัลลังก์) ที่ปูลาดด้วยผ้า
โกเชาว์สีดำที่มีขนยาว ๔ นิ้ว. บทว่า ปฏิกตฺถโต ความว่า ปูลาดด้วยเครื่อง
ปูลาดสีขาวทำด้วยขนแกะ. บทว่า ปฏลิกตฺถโต ความว่า ปูลาดด้วยเครื่อง
ปูลาดที่ทำด้วยดอกไม้และขนแกะที่หนา. บทว่า กทฺทลิมิคปวร ปจฺจตฺถรโณ
ความว่า ปูลาดด้วยเครื่องปูลาดชั้นดีทำด้วยหนังกวาง. เล่ากันมาว่า เครื่องปูลาด
ชนิดนั้น เขาทำโดยลาดหนังกวางไว้บน ผ้าขาวแล้วเย็บ. บทว่า สอุตฺตรจฺฉโท
ได้แก่ (แท่น) พร้อมทั้งเครื่องมุงบังข้างบน อธิบายว่า พร้อมทั้งเพดานแดง
ซึ่งผูกไว้ข้างบน. บทว่า อุภโต โลหิตกูปธาโน ได้แก่ หมอนสีแดงที่
วางไว้ทั้งสองด้านของแท่น.
บทว่า ปชาปติโย ได้แก่ ภริยาทั้งหลาย. บทว่า มนาเปน
ปจฺจุปฏฺิตา อสฺสุ ความว่า พึงได้รับการปรนนิบัติ ด้วยวิธีปรนนิบัติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 147
ที่น่าชอบใจ. บทว่า กายิกา วา ความว่า ความเร่าร้อนที่ยังกายอัน
ประกอบด้วยทวาร ๕ ให้กำเริบ. บทว่า เจตสิกา วา ได้แก่ ทำมโนทวาร
ให้กำเริบ.
บทว่า โส ราโค ตถาคตสฺส ปหีโน ความว่า ราคะเห็นปานนั้น
พระตถาคตละได้แล้ว. ส่วนราคะที่เขามีอยู่ไม่ชื่อว่า พระตถาคตละ. แม้ใน
โทสะและโมหะ ก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้แล.
บทว่า พฺราหฺมโณ คือ บุคคลผู้ลอยบาปได้แล้ว ได้แก่พราหมณ์
คือพระขีณาสพ ชื่อว่าดับสนิท เพราะดับกิเลสได้สนิท. บทว่า น ลิปฺปติ
กาเมสุ ความว่า ไม่ติดอยู่ในวัตถุกาม และกิเลสกาม ด้วยเครื่องฉาบทา คือ
ตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า สีติภูโต ความว่า ชื่อว่า เย็น เพราะไม่มีกิเลส
เป็นเหตุให้เร่าร้อนในภายใน. บทว่า นิรูปธิ ความว่า ชื่อว่า ไม่มีอุปธิ
เพราะไม่มีอุปธิคือกิเลส.
บทว่า สพฺพา อาสตฺติโย เฉตฺวา ความว่า กิเลสทั้งหลายมี
ตัณหาเป็นต้น เรียกว่าเครื่องข้อง. (พราหมณ์) ตัดกิเลสเครื่องข้องเหล่านั้น
ทั้งหมด ซึ่งแผ่ซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูป เป็นต้น. บทว่า วิเนยฺย
หทเย ทร ความว่า กำจัดคือระงับความกระวนกระวายที่อยู่ในใจ. บทว่า
สนฺตึ ปปฺปุยฺย เจตโส ความว่า ถึงการดับกิเลสแห่งจิต. อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า เจตโส นั่นเป็นกรณะ (ตติยาวิภัติ). อธิบายว่า บรรลุนิพพานด้วยจิต
เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า สพฺพ เจตสา สมนฺนาหริตฺวา แปลว่า
ประมวลทุกสิ่งมาด้วยใจ.
จบอรรถกถาหัตถกสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 148
๖. ทูตสูตร
ว่าด้วยเทวทูต ๓ จำพวก
[๔๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทูต ๓ นี้ ๓ คืออะไรบ้าง คือ
บุคคลลางคนในโลกน ประพฤติทุจริตด้วยกาย... ด้วยวาจา... ด้วยใจ บุคคล
นั้น ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ... ด้วยวาจา... ด้วยใจแล้ว เพราะกายแตก
ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นิรยบาลทั้งหลาย ต่างก็จับบุคคล
นั้นที่แขนไปแสดงแก่พญายมว่า ข้าแต่เทวะ บุรุษผู้นี้เป็นคนไม่เกื้อกูล
มารดา... บิดา... สมณะ.. พราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอ
พระองค์จงลงทัณฑ์แก่บุรุษนี้เถิด.
พญายมซักไซ้ไล่เลียง เทวทูตที่หนึ่ง กะบุรุษนั้นว่า ดูก่อนพ่อ เจ้า
ไม่ได้เห็นเทวทูตที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ.
บุรุษนั้นตอบว่า ไม่ได้เห็น เจ้าข้า.
พญายม. เจ้าไม่ได้เห็นหรือ ในหมู่มนุษย์ หญิงหรือชายที่แก่แล้ว
มีอายุ ๘๐ ปีบ้าง ๙๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง เป็นคนชราหลังโกง ค่อม กราน
ไม้เท้าเดินงกเงิ่น กระสับกระส่าย สิ้นความเป็นหนุ่มสาวแล้ว ฟันหัก ผมหงอก
เกรียน หัวล้าน ตัวเป็นเกลียวตกกระ.
บุรุษนั้น. ได้เห็น เจ้าข้า.
พญายม. เจ้าน่ะ เป็นผู้ใหญ่รู้เดียงสาแล้ว ไม่ได้คำนึงบ้างหรือว่า
ถึงตัวเราก็มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงความแก่ไปได้ มาเราจะทำความดี
ด้วยกายวาจาใจเถิด.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 149
บุรุษนั้น . เปล่าเลย เจ้าข้า มัวประมาทเสีย.
พญายม. เจ้าไม่ได้ทำความดีด้วยกายวาจาใจ เพราะมีความประมาท
แน่ละ เขาจะต้องทำกะเจ้าตามฐานที่ประมาท ก็แต่ว่า บาปกรรมนั่นน่ะ
มารดา ...บิดาก็มิได้ทำให้เลย พี่น้องชาย ...พี่น้องหญิง ก็มิได้ทำให้ มิตร
อำมาตย์... ญาติสายโลหิตก็มิได้ทำให้ เทวดาก็มิได้ทำให้ สมณพราหมณ์ก็
มิได้ทำให้ เจ้าทำเองแท้ๆ เจ้าก็จะต้องรับผลของบาปกรรมนั่นเอง
พญายม ครั้นซักไซ้ไล่เลียงเทวทูตหนึ่งแล้ว จึงซักไซ้ไล่เลียงเทวทูต
ที่สองว่า เจ้าไม่ได้เห็นเทวทูตที่สองอันปรากฏอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ.
บุรุษนั้น ตอบว่า ไม่ได้เห็น เจ้าข้า.
พญายม. เจ้าไม่ได้เห็นหรือ ในหมู่มนุษย์ หญิงหรือชาย ที่ป่วย
เจ็บไข้หนัก นอนเกลือกมูตรและกรีสของตน มีคนพยุงให้ลุก... ให้นอน.
บุรุษนั้น. ได้เห็น เจ้าข้า.
พญายม. เจ้าเป็นผู้ใหญ่รู้เดียงสาแล้ว ไม่ได้คำนึงบ้างหรือว่า ถึง
ตัวเราก็มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงความเจ็บไข้ไปได้ มาเราจะทำ
ความดีด้วยกายวาจาใจเถิด.
บุรุษนั้น. เปล่าเลย เจ้าข้า มัวประมาทเสีย.
พญายม. เจ้าไม่ได้ทำความดีด้วยกายวาจาใจ เพราะมีความประมาท
แน่ละ เขาจะต้องทำกะเจ้าตามฐานที่ประมาท ก็แต่ว่าบาปกรรมนั้นนั่น มารดา
... บิดาก็มิได้ทำให้เลย ฯลฯ เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้าก็จะต้องรับผลของบาปกรรม
นั้นเอง.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 150
พญายม ครั้นซักไซ้ไล่เลียงเทวทูตที่สองแล้ว จึงซักไซ้ไล่เลียงเทวทูต
ที่สามว่า เจ้าไม่ได้เห็นเทวทูตที่สามอันปรากฏอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ.
บุรุษนั้น ตอบว่า ไม่ได้เห็น เจ้าข้า.
พญายม. เจ้าไม่ได้เห็นหรือ ในหมู่มนุษย์ หญิงหรือชายที่ตาย
แล้วหนึ่งวันบ้าง...สองวันบ้าง... สามวันบ้าง ขึ้นพอง เขียว น้ำเหลืองไหล.
บุรุษนั้น. ได้เห็น เจ้าข้า.
พญายม. เจ้าเป็นผู้ใหญ่รู้เดียงสาแล้ว ไม่ได้คำนึงบ้างหรือว่า ถึง
ตัวเราก็มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงความตายไปได้ มาเราจะทำความดี
ด้วยกายวาจาใจเถิด.
บุรุษนั้น. เปล่าเลย เจ้าข้า มัวประมาทเสีย.
พญายม. เจ้าไม่ได้ทำความดีด้วยกายวาจาใจ เพราะมีความประมาท
แน่ละ เขาจะต้องทำกะเจ้าตามฐานที่ประมาท ก็แต่ว่าบาปกรรมนั้นนั่น
มารดา... บิดาก็มิได้ทำให้เลย ฯลฯ เจ้าทำเองแท้ ๆ เจ้าก็จะต้องรับผลของ
บาปกรรมนั่นเอง.
พญายม ครั้นซักไซ้ไล่เลียงเทวทูตที่สามกะบุรุษนั้นแล้วก็นิ่งอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนิรยบาลทำกรรมกรณ์ ชื่อ เบญจพิธ-
พันธนะกะบุรุษนั้น คือ เอาตาปูเหล็กแดงตรึงมือ ๒ ข้าง เท้า ๒ ข้างและ
กลางอก บุรุษนั้นเสวยทุกขเวทนาอันกล้า หนัก เผ็ดร้อนอยู่ ณ ที่นั้น และ
ไม่ตายตลอดเวลาที่บาปกรรมยิ่งไม่สิ้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 151
พวกนิรยบาล จับบุรุษนั้นนอนลงแล้วถากด้วยขวานผึ่ง... ตั้งเอา
เท้าขึ้นศีรษะลงแล้วถากด้วยพร้า...จับเอาเทียมรถให้แล่นไปแล่นมาบนพื้นอัน
ร้อนลุกเป็นเปลวช่วงโชติ... บังคับให้ขึ้นลงภูเขาเถ้าถ่านอันร้อนลุกโชน..
จับเอาเท้าขึ้นศีรษะลง ทุ่มลงไปในโลหกุมภี อันร้อนแดงลุกเป็นแสง บุรุษ
นั้นถูกต้มอยู่ในนั้นจนตัวพอง เมื่อถูกต้มจนตัวพองอยู่ในนั้น ลางทีก็โผล่
ขึ้นม้า ลางทีก็จมลงไป ลางทีก็ลอยขวางไป บุรุษนั้นเสวยทุกขเวทนาอันกล้า
หนัก เผ็ดร้อนอยู่ ณ ที่นั้น และไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนิรยบาลจับบุรุษนั้นไปลงมหานรก ก็
มหานรกนั้น
มีสี่มุม สี่ประตู แบ่งออกเป็นส่วนๆ
มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วย (ฝา)
เหล็ก พื้นก็ล้วนไปด้วยเหล็ก ร้อนลุกโชน
แผ่ (ความร้อน) ไปถึง ๑๐๐ โยชน์โดยรอบ
ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว ความปริวิตกนี้ได้มีแก่พญายม
ว่า ได้ยินว่า ชนเหล่าใดทำกรรมทั้งหลายที่เป็นบาปในโลก ชนเหล่านั้นย่อม
ถูกทำกรรมกรต่าง ๆ เช่นอย่างนี้ เจ้าประคุณ ขอให้ข้า ฯ ได้เป็นมนุษย์
เถิด กับขอพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงบังเกิดในโลก ขอให้ข้า ฯ
ได้เข้าใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพึงทรงแสดงธรรม
และขอให้ข้า ฯ พึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเถิด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 152
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ฟังเรื่องนั้นต่อผู้อื่น เป็นสมณะหรือ
พราหมณ์ก็ตาม จึงมากล่าวอย่างนี้ หามิได้ ที่จริง เรากล่าวเรื่องที่เราได้รู้เอง
ได้เห็นเอง แจ่มแจ้งเองทีเดียว.
คนเหล่าใดถูกเทวทูตเตือนแล้วยัง
ประมาทอยู่ คนเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงกาย
อันเลว โศกเศร้าสิ้นกาลนาน
ฝ่ายคนเหล่าใด เป็นสัตบุรุษผู้สงบ
ในโลกนี้ ถูกเทวทูตเตือนแล้วไม่ประมาท
ในธรรมของพระอริยเจ้าเสมอไป เห็นภัย
ในเพราะอุปาทานอันเป็นแดนเกิดแห่งชาติ
และมรณะ เลิกยึดถือ หลุดพ้นไปเพราะ
สิ้นชาติและมรณะ คนเหล่านั้น ถึงความ
เกษมเป็นสุข ดับทุกข์ได้ในชาติปัจจุบัน
พ้นเวรภัยทั้งปวง ล่วงทุกข์ทั้งหมด.
จบทูตสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 153
อรรถกถาทูตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทูตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
เทวทูต
บทว่า เทวทูตานิ ได้แก่ เทวทูตทั้งหลาย. ก็ในบทว่า เทวทูตานิ
นี้มีความหมายของคำดังต่อไปนี้ มัจจุชื่อว่า เทวะ ทูตของเทวะนั้น ชื่อว่า
เทวทูต อธิบายว่า คนแก่ คนเจ็บ และคนตาย เรียกว่า เทวทูต เพราะ
เป็นเหมือนเตือนอยู่ว่า บัดนี้ ท่านกำลังเข้าไปใกล้ความตาย โดยมุ่งหมาย
จะให้เกิดความสังเวช.
อนึ่ง ชื่อว่า เทวทูต เพราะหมายความว่า เป็นทูตเหมือนเทวดาบ้าง.
อธิบายว่า เมื่อเทวดาตกแต่งประดับประดา แล้วยืนพูดอยู่ในอากาศว่า ท่าน
จักตายในวันโน้น คำพูดของเทวดานั้นคนต้องเชื่อ ฉันใด แม้คนแก่ คนเจ็บ
และคนตาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อปรากฏก็เป็นเหมือนเตือนอยู่ว่า แม้ท่าน
ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา และคำพูดนั้นของคนแก่ คนเจ็บ และคนตายเหล่านั้น
ก็เป็นเหมือนคำพยากรณ์ของเทวดา เพราะไม่เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่นเลย
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตเหมือนเทวดา.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นเทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพก็ได้
อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทุกองค์ เห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช
เท่านั้น ก็ถึงความสังเวชแล้วออกบวช. คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช
ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพทั้งหลายบ้าง ดังพรรณนามานี้.
แต่ในสูตรนี้ ท่านกล่าวว่า เทวทูตานิ เพราะลิงควิปัลลาส.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 154
พญายมถามเทวทูต
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มคำว่า กาเยน
ทุจฺจริต เป็นต้นไว้ ?
ตอบว่า เพื่อทรงแสดงถึงกรรมของผู้เข้าถึงฐานะที่เป็นเหตุ (ให้พญา
ยม) ซักถามถึงฐานะของเทวทูตทั้งหลาย.
จริงอยู่ สัตว์นี้ย่อมบังเกิดในนรกด้วยกรรมนี้. พญายมราช ย่อม
ซักถามเทวทูตทั้งหลาย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน ทุจฺจริต จรติ
ความว่า ประพฤติทุจริต ๓ อย่างทางกายทวาร. บทว่า วาจาย ความว่า
ประพฤติทุจริต ๔ อย่างทางวจีทวาร. บทว่า มนสา ความว่า ประพฤติ
ทุจริต ๓ อย่างทางมโนทวาร.
นายนิรยบาลมีจริงหรือไม่ ?
ในบทว่า ตเมน ภิกฺขเว นิรยปาลา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
พระเถระบางพวกกล่าวว่า นายนิรยบาลไม่มีหรอก กรรมต่างหากเป็นเหมือน
หุ่นยนต์สร้างเหตุการณ์ขึ้น. คำนั้น ถูกคัดค้านไว้ในคัมภีร์อภิธรรมแล้วแล
โดยนัยเป็นต้นว่า ในนรกมีนายนิรยบาล และว่า ใช่แล้ว ผู้สร้างเหตุการณ์
ก็มีอยู่ เปรียบเหมือนในมนุษยโลก ผู้สร้างเหตุการณ์ คือ กรรม มีอยู่ฉันใด
ในนรก นายนิรยบาล ก็มีอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน.
พญายมคือเวมานิกเปรต
บทว่า ยมสฺส รญฺโ ความว่า พญาเวมานิกเปรต ชื่อว่า พญายม
เวลาหนึ่ง เสวยสมบัติมีต้นกัลปพฤกษ์ทิพย์ อุทยานทิพย์ และเหล่านางฟ้อน
ทิพย์ เป็นต้น ในวิมานทิพย์ เวลาหนึ่ง เสวยผลของกรรม. พญายมผู้ตั้ง
๑. ปาฐะว่า เทวตานุยฺญฺชนฏ านุปกฺกมทสฺสนตฺถ ฉบับพม่าเป็น เทวทูตานุยุญฺชนฏฺ านุปกฺกม
กมฺมทสฺสนฺตว แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 155
อยู่ในธรรม มีอยู่. และพญายมอย่างนั้น ก็มิได้มีอยู่แต่พระองค์เดียว แต่ว่า
มีอยู่ถึง ๔ พระองค์ ที่ ๔ ประตู.
อธิบายศัพท์ อมัตเตยยะ อพรหมัญญะ
บทว่า อมตฺเตยฺโย ความว่า บุคคลผู้เกื้อกูลแก่มารดา ชื่อว่า
มัตเตยยะ อธิบายว่า เป็นผู้ปฏิบัติชอบในมารดา ผู้ไม่เกื้อกูลแก่มารดา ชื่อว่า
อมัตเตยยะ อธิบายว่า ผู้ปฏิบัติผิดในมารดา. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
ในบทว่า อพฺรหฺมญฺโ นี้ มีอธิบายว่า พระขีณาสพชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า อพรหมัญญะ.
บทว่า สมนุยุญฺชติ ความว่า พญายมให้นำระเบียบในการซักถาม
มาซักถาม. แต่เมื่อให้ยืนยันลัทธิ ชื่อว่า ซักไซ้. เมื่อถามถึงเหตุ ชื่อว่า
ซักฟอก. ด้วยบทว่า นาทฺทส (ข้าพเจ้ามิได้เห็น) สัตว์นรกกล่าวอย่างนั้น
หมายถึงว่าไม่มีเทวทูตอะไร ๆ ที่ถูกส่งไปในสำนักของตน.
พญายมเตือน
ครั้งนั้น พญายมทราบว่า ผู้นี้ยังกำหนดความหมายของคำพูดไม่ได้
ต้องการจะให้เขากำหนด จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อมฺโภ ดังนี้กะเขา. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺณ ได้แก่ ทรุดโทรมเพราะชรา. บทว่า
โคปานสิวงฺก ได้แก่ โกง เหมือนกลอนเรือน. บทว่า โภคฺค ได้แก่
งุ้มลง. พญายมแสดงถึงภาวะที่บุคคลนั้น (มีหลัง) โกงนั่นแล ด้วยบทว่า
โภคฺค แม้นี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 156
บทว่า ทณฺฑปรายน คือ มีไม้เท้าเป็นที่พึ่ง ได้แก่ มีไม้เท้า
เป็นเพื่อน. บทว่า ปเวธมาน แปลว่า สั่นอยู่. บทว่า อาตุร ได้แก่
อาดูรเพราะชรา. บทว่า ขณฺฑทนฺต ได้แก่ ชื่อว่ามีฟันหัก เพราะอานุภาพ
ของชรา. บทว่า ปลิตเกส แปลว่า มีผมขาว (หงอก). บทว่า วิลูน ได้แก่
ศีรษะล้าน เหมือนถูกใครถอนเอาผมไป. บทว่า ขลิตสิร ได้แก่ ศีรษะ
ล้านมาก. บทว่า วลิต ได้แก่ เกิดริ้วรอย. บทว่า ติลกาหตคตฺต ได้แก่
มีตัวลายพร้อยไปด้วยจุดขาวจุดดำ. บทว่า ชราธมฺโม ความว่า มีชราเป็น
สภาพคือไม่พ้นจากชราไปได้ ธรรมดาว่าชราย่อมเป็นไปในภายในตัวเรามีเอง
แม้ในสองบทต่อมาว่า พฺยาธิธมฺโม มรณธมฺโม ก็มีนัยความหมายอย่าง
เดียวกันนี้แล.
เทวทูตที่ ๑
ในบทว่า ปม เทวทูต สมนุยุญฺชิตฺวา นี้ พึงทราบอธิบาย
ดังต่อไปนี้ ธรรมดาว่า สัตว์ผู้ทรุดโทรมเพราะชราย่อมกล่าวโดยใจความอย่างนี้
ว่า ดูเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้ข้าพเจ้าก็ได้เป็นหนุ่มสมบูรณ์ด้วยพลังขา
พลังแขน และความว่องไวเหมือนท่านมาแล้ว (แต่ว่า) ความสมบูรณ์ด้วยพลัง
และความว่องไวเหล่านั้นของข้าพเจ้านั้น หายไปหมดแล้ว แม้มือและเท้าของ
ข้าพเจ้าก็ไม่ทำหน้าที่ของมือและเท้า ข้าพเจ้ากลายมาเป็นคนอย่างนี้ก็เพราะ
ไม่พ้นจากชรา ก็แลไม่ใช่แต่เฉพาะข้าพเจ้าเท่านั้น ถึงพวกท่านก็ไม่พ้นจาก
ชราไปได้เหมือนกัน เหมือนอย่างว่า ชรามาแก่ข้าพเจ้าฉันใด ชราก็จักมา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 157
แม้แก่พวกท่านฉันนั้น เพราะชรานั้นมาอย่างที่กล่าวมานี้ ในวันข้างหน้านั่นแล
ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำแต่ความดีเถิด. ด้วยเหตุนั้น สัตว์ผู้ทรุดโทรมเพราะ
ชรานั้น จึงชื่อว่า เป็นเทวทูต.
เทวทูตที่ ๒
บทว่า อาพาธิก แปลว่า คนเจ็บ. บทว่า ทุกขิต แปลว่า
มีทุกข์. บทว่า พาฬฺหคิลาน แปลว่า เป็นไข้หนักเหลือประมาณ. แม้ใน
ที่นี้ ธรรมดาว่าสัตว์ผู้เจ็บป่วยย่อมกล่าวโดยใจความอย่างนี้ว่า ดูเถิด ท่าน
ผู้เจริญทั้งหลาย แม้ข้าพเจ้าก็เป็นคนไม่มีโรคะเหมือนพวกท่านมาแล้ว แต่ว่า
บัดนี้ ข้าพเจ้านั้นถูกความเจ็บป่วยครอบงำ จมอยู่กับปัสสาวะอุจจาระของตน
แม้แต่จะ (ยันกาย) ลุกขึ้นก็ยังไม่สามารถ มือเท้าของข้าพเจ้าแม้จะมีอยู่
ก็ทำหน้าที่ของมือเท้าไม่ได้ ข้าพเจ้ากลายเป็นคนเช่นนี้ก็เพราะไม่พ้นไปจาก
พยาธิ (ความเจ็บไข้) ก็แลไม่ใช่แต่เฉพาะข้าพเจ้าเท่านั้น แม้พวกท่านก็ไม่
พ้นจากพยาธิเหมือนกัน เหมือนอย่างว่า พยาธิมาแก่ข้าพเจ้า ฉันใด พยาธิ
ก็จักมาแม้แก่พวกท่าน ฉันนั้น เพราะพยาธินั้นมาอย่างที่กล่าวมานี้ในวันข้าง
หน้าแน่ ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำแต่ความดีเถิด. เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เจ็บ
ป่วยนั้น จึงชื่อว่า เป็นเทวทูต.
เทวทูตที่ ๓
ในบทว่า เอกาหมต เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
สัตว์นั้นตายได้วันเดียว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกาหมตะ. (ท่านไม่เห็น)
สัตว์ตายในวันเดียวนั้น (หรือ). แม้ในสองบทต่อมา (คือทฺวีหมต วา ตีหมต
วา) ก็มีนัย นี้แล. ซากศพ ชื่อว่า อุทธุมาตกะ เพราะขึ้นพองโดย
ภาวะที่อืด สูงขึ้นตามลำดับนับตั้งแต่สิ้นชีวิตไป เหมือนสูบที่เต็มด้วยลมฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 158
ซากศพที่มีสี (เขียว) ขึ้นปริไปทั่ว เรียกว่า วินีละ วินีละนั้นเอง
ชื่อว่า วินีลกะ. (ท่านไม่เห็น) ซากศพที่เขียวคล้ำนั้น (หรือ). อีกอย่างหนึ่ง
ซากศพที่เขียวคล้ำนั้น นับว่าน่ารังเกียจเพราะเป็นของน่าเกลียด. บทว่า
วิปุพฺพก ได้แก่ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม. อธิบายว่า ซากศพที่
เปรอะเปื้อนไปด้วยน้ำเหลืองที่ไหลออกจากที่ที่แตกปริ.
ในบทว่า ตติย เทวทูต นี้ มีอธิบายว่า ธรรมดาว่าสัตว์ตายย่อม
บอกเป็นความหมาย อย่างนี้ว่า ดูเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย (จงดู) ข้าพเจ้า
ถูกทอดทิ้งไว้ในป่าช้าผีดิบ ถึงความเป็นสภาพที่พองอืดเป็นต้น ก็ข้าพเจ้า
กลายเป็นเช่นนี้ก็เพราะไม่พ้นจากความตาย ก็แลไม่ใช่แต่เฉพาะข้าพเจ้าเท่านั้น
แม้พวกท่านก็ไม่พ้นจากความตายเหมือนกัน เหมือนอย่างว่า ความตายมา
แก่ข้าพเจ้า ฉันใด ก็จักมาแก่พวกท่าน ฉันนั้น เพราะความตายนั้นจะมา
อย่างที่กล่าวมานี้ในวันข้างหน้าแน่ ขอให้ท่านทั้งหลายจงทำแต่ความดีเถิด.
ด้วยเหตุนั้น สัตว์ตายนั้นจึงจัด เป็นเทวทูต.
ใครถูกถามถึงเทวทูต - ใครไม่ถูกถาม
ถามว่า ก็การถามถึงเทวทูตนี้ ใครได้ ใครไม่ได้ (ใครถูกถาม
ใครไม่ถูกถาม). ตอบว่า บุคคลใดทำบาปไว้มาก บุคคลนั้น (ตายแล้ว) ไปเกิด
ในนรกทันที. แต่บุคคลใดทำบาปไว้นิดหน่อย บุคคลนั้นย่อมได้ (ถูกถาม).
อุปมาเหมือน ราชบุรุษจับโจรได้พร้อมของกลาง ย่อมทำโทษที่
ควรทำทันที ไม่ต้องวินิจฉัยละ แต่ผู้ที่เขาสงสัยจับได้ เขาจะนำไปยังที่สำหรับ
วินิจฉัย. บุคคลนั้นย่อมได้รับการวินิจฉัย ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น.
เพราะผู้ที่มีบาปกรรมนิดหน่อยย่อมระลึกได้ตามธรรมดาของตนเองบ้าง ถูกเตือน
ให้ระลึกจึงระลึกได้บ้าง.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 159
ตัวอย่างผู้ที่ระลึกได้ตามธรรมดาของตน
ในการระลึกได้เองและถูกเตือนให้ระลึกนั้น มีตัวอย่างดังต่อไปนี้
ทมิฬชื่อทีฆชยันตะระลึกได้เองตามธรรมดาของตน. เล่ากันว่า ทมิฬ
นั้นเอาผ้าแดงบูชาอากาสเจดีย์ (เจดีย์ระฟ้า) ที่สุมนคิริมหาวิหาร ต่อมา (ตายไป)
บังเกิดในที่ใกล้อุสสุทนรก ได้ฟังเสียงเปลวไฟ๑ จึงหวนระลึกถึงผ้า (แดง)
ที่ตนเอาบูชา (อากาสเจดีย์) เขาจึง (จุติ) ไปบังเกิดในสวรรค์.
มีอีกคนหนึ่ง ถวายผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยงแก่ภิกษุหนุ่มผู้เป็นบุตร เวลา
ที่ทอดผ้าไว้แทบเท้า (พระลูกชาย) ก็ถือเอานิมิตในเสียง ว่าแผ่นผ้า ๆ ได้.
ต่อมา บุรุษนั้น (ก็ตายไป) บังเกิดในที่ใกล้อุสสุทนรก หวนระลึกถึง
ผ้าสาฎกนั้นได้ เพราะ (ได้ยิน) เสียงเปลวไฟ จึง (จุติ) ไปบังเกิดในสวรรค์.
ชนทั้งหลาย ผู้เกิดในนรกระลึกถึงกุศลกรรมได้ตามธรรมดาของตน
แล้ว (จุติไป) บังเกิดในสวรรค์ ดังพรรณนามานี้ก่อน.
ส่วนสัตว์ผู้ระลึกไม่ได้ตามธรรมดาของตน พญายมย่อมถามถึง
เทวทูต ๓. บรรดาสัตว์เหล่านั้น ลางตนระลึกได้เพียงเทวทูตที่ ๑ เท่านั้น
(แต่) ลางคนระลึกได้ถึงเทวทูตที่ ๒ และที่ ๓. สัตว์ใดระลึกไม่ได้ด้วย
เทวทูตทั้ง ๓ พญายมจะเตือนสัตว์นั้นให้ระลึกได้เอง.
ตัวอย่างผู้ถูกเตือน
เล่ากันมาว่า อำมาตย์คนหนึ่งบูชาพระมหาเจดีย์ ด้วยดอกมะลิ ๑ หม้อ
แล้วได้แบ่งส่วนบุญให้แก่พญายม. นายนิรยบาลทั้งหลายได้นำเขาผู้บังเกิดใน
นรกด้วยอกุศลกรรมไปยังสำนักพญายม. เมื่อเขาระลึกถึงกุศลไม่ได้ด้วยเทวทูต
ทั้ง ๓ พญายมจึงตรวจดูเอง พลางเตือนเขาให้ระลึกว่า ท่านได้บูชาพระ-
มหาเจดีย์ด้วยดอกมะลิ ๑ หม้อ แล้วได้แบ่งส่วนบุญให้เรามิใช่หรือ ?
๑. ปาฐะว่า ชาลสทฺท ฉบับพม่าเป็น อคฺคิชาลสทฺท แปลตามฉบับพม่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 160
เวลานั้น เขาก็ระลึกได้ (ขึ้นมาทันทีจึงจุติ) ไปบังเกิดยังเทวโลก
ฝ่ายพญายม แม้ตรวจดูด้วยพระองค์เองแล้ว เมื่อไม่เห็นก็จะทรงนิ่งเสียด้วย
ทรงดำริว่า สัตว์นี้จักเสวยทุกข์มหันต์.
การลงโทษในนรก
บทว่า ตตฺต อโยขีล ความว่า นายนิรยบาลทั้งหลายจับอัตภาพ
(สูงใหญ่) ประมาณ ๓ คาวุต ให้นอนหงายบนพื้นโลหะที่ไฟลุกโชนแล้ว
เอาหลาวเหล็กขนาดเท่าต้นตาลแทงเข้าไปที่มือขวา ที่มือซ้ายเป็นต้น (ก็ทำ)
เหมือนกัน. นายนิรยบาลจะจับสัตว์นรกนั้นให้นอนคว่ำหน้าบ้าง ตะแคงซ้าย
บ้าง ตะแคงขวาบ้าง เหมือนให้นอนหงายแล้วลงโทษฉันนั้นเหมือนกัน.
บทว่า สเวเสตฺวา ความว่า (นายนิรยบาล) จับอัตภาพประมาณ
๓ คาวุตให้นอนบนพื้นโลหะที่ไฟลุกโชน. บทว่า กุารีหิ ความว่า
ถากด้วยผึ่งใหญ่ขนาดเท่าหลังคาเรือนด้านหนึ่ง. เลือดไหลนองเป็นแม่น้ำ
เปลวไฟลุกโชนจากพื้นโลหะไปติดที่ที่ถูกถาก. ทุกข์มหันต์เกิดขึ้น (แก่สัตว์
นรก) ส่วนนายนิรยบาลทั้งหลาย เมื่อถากก็ถากให้เป็น ๘ เหลี่ยมบ้าง ๖
เหลี่ยมบ้าง เหมือนตีเส้นบันทัดถากไม้. บทว่า วาสีหิ คือ ด้วยมีดทั้งหลาย
มีขนาดเท่ากระด้งใหญ่.
บทว่า รเถ โยเชตฺวา ความว่า (นายนิรยบาลทั้งหลาย) เทียม
สัตว์นรกนั้นให้ลากรถพร้อมกับแอก เชือก แปรก ล้อรถ ทูบ และปฏักซึ่ง
มีไฟลุกโพลงรอบด้าน. บทว่า มหนฺต คือ มีประมาณเท่าเรือนยอดขนาดใหญ่.
บทว่า อาโรเปนฺติ ความว่า ตีด้วยฆ้อนเหล็กที่ไฟลุกโชติช่วง แล้วบังคับให้
ขึ้น (ภูเขาไฟ). บทว่า สกึปิ อุทฺธ ความว่า สัตว์นรกนั้น (ถูกไฟเผาไหม้)
พล่านขึ้นข้างบน จมลงข้างล่าง และลอยขวาง คล้ายกับข้าวสารที่ใส่ลงไปใน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 161
หม้อที่เดือดพล่าน ฉะนั้น. บทว่า มหานิรเย คือ ในอเวจีมหานรก.
บทว่า ภาคโส มิโต คือ (มหานรก) แบ่งไว้เป็นส่วนๆ. บทว่า
ปริยนฺโต คือ ถูกล้อมไว้. บทว่า อยสา คือ ถูกปิดข้างบนด้วยแผ่นเหล็ก.
บทว่า สมนฺตา โยชนสต ผริตฺวา ติฏฺติ ความว่า เปลวไฟ พวยพุ่ง
ไปอยู่อย่างนั้น. เมื่อสัตว์นรกนั้นยืนดูอยู่ในที่ ๑๐๐ โยชน์ โดยรอบ นัยน์ตา
ก็จะถลนออกมาเหมือนก้อนเนื้อ ๒ ก้อนฉะนั้น.
บทว่า หีนกายูปคา ความว่า เข้าถึงกำเนิดที่ต่ำ. บทว่า อุปาทาเน
ได้แก่ในป่าชัฎคือตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ชาติมรณสมฺภเว ได้แก่ เป็นเหตุ
แห่งชาติและมรณะ. บทว่า อนุปาทา ได้แก่เพราะไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ๔.
บทว่า ชาติมรณสงฺขเย ความว่า หลุดพ้นในเพราะนิพพาน อันเป็นแดนสิ้น
ไปของชาติและมรณะ.
บทว่า ทิฎฺธมฺมาภินิพฺพุตา ความว่า ดับสนิทแล้ว ในเพราะ
ดับกิเลสทั้งหมดในทิฏฐธรรม คือ ในอัตภาพนี้นั่นแล. บทว่า สพฺพ ทุกฺข
อุปจฺจคุ ความว่า ล่วงเลยวัฏทุกข์ทั้งหมด.
จบอรรถกถาทูตสวรรค์ที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 162
๗. ปฐมราชสูตร
ว่าด้วยท้าวโลกบาลตรวจโลก
[๔๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์ พวกอำมาตย์
บริวารของมหาราชทั้งสี่เที่ยวดูโลกนี้ ดิถีที่ ๑๔ แห่งปักษ์ พวกบุตรของ
มหาราชทั้งสี่ เที่ยวดูโลกนี้ วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น มหาราชทั้งสี่ เที่ยวดู
โลกนี้ด้วยตนเอง (เพื่อสำรวจ) ว่า ในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดา
บำรุงสมณพราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ถือ
ปฎิชาครอุโบสถ ทำบุญมีจำนวนมากอยู่หรือ ถ้าในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูล
มารดาบิดา ฯลฯ ทำบุญมีจำนวนน้อย มหาราชทั้งสี่ก็บอกแก่คณะเทวดา
ดาวดึงส์ผู้นั่งประชุมในสุธัมมาสภาว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่
มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดา ฯลฯ ทำบุญมีจำนวนน้อย เพราะข้อที่บอกนั้น
คณะเทวดาดาวดึงส์ก็เสียใจ (บ่นกัน ) ว่า ทิพย์กายจักเบาบางเสียละหนอ
อสุรกายจักเต็มไป แต่ถ้าในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดา ฯลฯ ทำบุญ
มีจำนวนมาก มหาราชทั้งสี่ก็บอกแก่คณะเทวดาดาวดึงส์ ณ สุธรรมสภาว่า
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ คนที่เกื้อกูลมารดาบิดา ฯลฯ
ทำบุญมีจำนวนมาก เพราะข้อที่บอกนั้น คณะเทวดาดาวดึงส์ก็ชื่นชม (แสดง
ความยินดี) ว่า ทิพย์กายจักบริบูรณ์ละพ่อคุณ อสุรกายจักเบาบาง.
จบปฐมราชสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 163
อรรถกถาปฐมราชสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมราชสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้:-
เทวดาตรวจดูโลกมนุษย์
บทว่า อมจฺจา ปาริสชฺชา ได้แก่ปาริจาริกเทวดา (เทวดารับใช้).
บทว่า อิม โลก อนุวิจรนฺติ ความว่า ได้ยินว่า ในวัน ๘ ค่ำ ท้าวสักก
เทวราชทรงบัญชาท้าวมหาราชาทั้ง ๔ ว่า ท่านทั้งหลาย วันนี้เป็นวัน ๘ ค่ำ
ท่านทั้งหลายจงท่องเที่ยวไปยังมนุษยโลก แล้วจดเอาชื่อและโคตรของมนุษย์
ที่ทำบุญมา. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ก็กลับไปบัญชาบริวารของตนว่า ไปเถิด
ท่านทั้งหลาย ท่านจงท่องเที่ยวไปยังมนุษยโลก เขียนชื่อและโคตรของมนุษย์ที่
ทำบุญลงในแผ่นทองแล้วนำมาเถิด. บริวารเหล่านั้นทำตามคำบัญชานั้น
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิม โลก อนุวิจรนฺติ ดังนี้.
บทว่า กจฺจิ พหู เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงอาการ
ตรวจตราดูของเทวดาเหล่านั้น. จริงอยู่ เทวดาทั้งหลายท่องเที่ยวไปตรวจตรา
ดูโดยอาการดังกล่าวมานี้.
การรักษาอุโบสถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโปสถ อุปวสนฺติ ความว่า มนุษย์
ทั้งหลายอธิษฐานองค์อุโบสถเดือนละ ๘ ครั้ง. บทว่า ปฏิชาคโรนฺติ ความว่า
ทำการ (รักษา) ปฏิชาครอุโบสถ. ชนทั้งหลายเมื่อทำการ (รักษา) ปฏิชาคร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 164
อุโบสถนั้น ย่อมทำด้วยการรับและการส่งวันอุโบสถ ๔ วันในกึ่งเดือนหนึ่ง
(คือ) เมื่อจะรับอุโบสถวัน ๕ ค่ำ ก็ต้องเป็นผู้รักษาอุโบสถในวัน ๔ ค่ำ
เมื่อจะส่งอุโบสถก็ส่งในวัน ๖ ค่ำ. เมื่อจะรับอุโบสถวัน ๘ ค่ำ ก็ต้องเป็น
ผู้รักษาอุโบสถในวัน ๗ ค่ำ เมื่อจะส่งอุโบสถก็ส่งในวัน ๙ ค่ำ. เมื่อจะรับ
อุโบสถวัน ๑๔ ค่ำ ก็ต้องเป็นผู้รักษาอุโบสถในวัน ๑๓ ค่ำ เมื่อจะส่งอุโบสถ
ก็ส่งในวัน ๑๕ ค่ำ. เมื่อจะรับอุโบสถวัน ๑๕ ค่ำ ก็ต้องเป็นผู้รักษาอุโบสถ
ในวัน ๑๔ ค่ำ เมื่อจะส่งอุโบสถก็ส่งในวันแรม ๑ ค่ำ.
บทว่า ปุญฺานิ กโรนฺติ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายทำบุญ มี
ประการต่าง ๆ มีการถึงสรณะ รับนิจศีล บูชาด้วยดอกไม้ ฟังธรรม ตาม
ประทีปพันดวง และสร้างวิหารเป็นต้น . เทวดาเหล่านั้น ท่องเที่ยวไปอย่างนี้
แล้ว เขียนชื่อและโคตรของมนุษย์ผู้ทำบุญลงบนแผ่นทอง แล้วนำมาถวายท้าว
มหาราชทั้ง ๔. บทว่า ปุตฺตา อิม โลก อนุวิจรนฺติ ความว่า (โอรส
ของท้าวมหาราชทั้ง ๔) ท่องเที่ยวไป (ตรวจดู) เพราะถูกท้าวมหาราชทั้ง ๔
ส่งไปตามนัยก่อนนั้นและ บทว่า ตทหุ แปลว่า ในวันนั้น. บทว่า อุโปสเถ
แปลว่า ในวันอุโบสถ.
บทว่า สเจ ภิกฺขเว อปฺปกา โหนฺติ ความว่า บริษัท
อำมาตย์ของท้าวนหาราชทั้ง ๔ เข้าไปยังคาม นิคม และราชธานีเหล่านั้นๆ. ก็
เทวดาที่อาศัยอยู่ตามคาม นิคม และราชธานีเหล่านั้น ๆ ทราบว่า อำมาตย์
ของท้าวมหาราชทั้งหลายมาแล้ว ต่างก็พากันถือเครื่องบรรณาการไปยังสำนัก
ของเทวดาเหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 165
เทวดาอำมาตย์เหล่านั้น รับเครื่องบรรณาการแล้ว ก็ถามถึงการ
ทำบุญของมนุษย์ทั้งหลาย ตามนัยที่กล่าวไว้ว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย มนุษย์
จำนวนมากยังเกื้อกูลมารดาอยู่หรือ ? เมื่อเทวดาประจำคาม นิคม และราชธานี
รายงานว่า ใช่แล้ว ท่านผู้นิรทุกข์ ในหมู่บ้านนี้ คนโน้น และคนโน้น ยังทำบุญ
อยู่ ก็จดชื่อและโคตรของมนุษย์เหล่านั้นไว้แล้วไปในที่อื่น.
ต่อมาในวัน ๑๔ ค่ำ แม้บุตรของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็ถือเอาแผ่นทอง
นั้นแล้วท่องเที่ยวไป จดชื่อและโคตรตามนัยนั้นนั่นแล. ในวัน ๑๕ ค่ำ อัน
เป็นวันอุโบสถนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็จดชื่อและโคตรลงไปในแผ่นทองนั้น
นั่นแล้วตามนัยนั้น. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้นทราบว่า เวลานี้มีมนุษย์น้อย
เวลานี้มีมนุษย์มาก ตามจำนวนแผ่นทอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา
ข้อนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สเจ ภิกฺขเว อปฺปกา โหนฺติ มนุสฺสา ดังนี้.
เทวดาชั้นดาวดึงส์
บทว่า เทวาน ตาวตึสาน ความว่า เทวดาทั้งหลายได้นามอย่างนี้
ว่า (ดาวดึงส์) เพราะอาศัยเทพบุตร ๓๓ องค์ ผู้เกิดครั้งแรก. ส่วนกถาว่า
ด้วยการอุบัติของเทวดาเหล่านั้น ได้อธิบายไว้แล้วอย่างพิสดารในอรรถกถา
สักกปัญหสูตรในทีฆนิกาย. บทว่า เตน คือ เพราะการบอกนั้น หรือเพราะ
มนุษย์ผู้ทำบุญมีน้อยนั้น. บทว่า ทิพฺพา วต โภ กายา ปริหายิสฺสนฺติ
ความว่า เพราะเทพบุตรใหม่ๆไม่ปรากฏ หมู่เทวดาก็จักเสื่อมสิ้นไป เทวนคร
กว้างยาวประมาณหนึ่งหมื่นโยชน์ อันน่ารื่นรมย์ ก็จักว่างเปล่า. บทว่า
ปริปูริสฺสนฺติ อสุรกายา ความว่า อบาย ๔ จักเต็มแน่น. ด้วยเหตุนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 166
เทวดาชั้นดาวดึงส์ จึงเสียใจว่า พวกเราจักไม่ได้เล่นนักษัตร ท่ามกลางหมู่
เทวดาในเทวนครที่เคยเต็มแน่น. แม้ในสุกปักษ์ก็พึงทราบความหมายโดยอุบาย
นี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท
ดังนี้ ทรงหมายถึงเวลาที่พระองค์เป็นท้าวสักกเทวราช. อีกอย่างหนึ่ง ท่าน
กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง อัธยาศัยของท้าวสักกะพระองค์หนึ่ง
บทว่า อนุนยมาโน แปลว่า เตือนให้รู้สึก. บทว่า ตาย เวลาย คือ
ในกาลนั้น.
นิพัทธอุโบสถ
ในบทว่า ปาฏิหาริย ปกฺ ขญฺจ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
อุโบสถที่รักษาติดต่อกันตลอดไตรมาสภายในพรรษา ชื่อว่า ปาฏิหาริยปักข
อุโบสถ. เมื่อไม่สามารถ (จะรักษา) อุโบสถตลอดไตรมาสนั้นได้ อุโบสถ
ที่รักษาประจำตลอดเดือนหนึ่งในระหว่างวันปวารณาทั้ง ๒ บ้าง เมื่อไม่สามารถ
(จะรักษา) อุโบสถประจำตลอดเดือนหนึ่งนั้นได้ (อุโบสถ) กึ่งเดือนหนึ่ง
ตั้งแต่วันปวารณาแรกบ้าง ก็ชื่อว่า ปาฎิหาริยปักขอุโบสถเหมือนกัน. บทว่า
อฏฺงฺคสุสมาคต แปลว่า ประกอบด้วยองคคุณ ๘. บทว่า โยปสฺส
มาทิโส นโร ความว่า สัตว์แม้ใดพึงเป็นเช่นเรา. เล่ากันว่า ท้าวสักกะ
ทราบคุณของอุโบสถมีประการดังกล่าวแล้ว จึงละสมบัติในเทวโลกไปเข้าจำ
อุโบสถเดือนละ ๘ วัน.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า โยปสฺส มาทิโส นโร ความว่า สัตว์แม้ใด
พึงเป็นเช่นเรา. อธิบายว่า พึงปรารถนาเพื่อได้รับมหาสมบัติ. ในข้อนี้มี
อธิบายดังนี้ว่า ก็บุคคลสามารถที่จะได้รับสมบัติของท้าวสักกะด้วยอุโบสถกรรม.
เห็นปานนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 167
อธิบายบทว่า วุสิตวา เป็นต้น
บทว่า วุสิตวา ได้แก่ มีการอยู่จบแล้ว. บทว่า กตกรณีโย
ได้แก่ ทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค ๔ อยู่. บทว่า โอหิตภาโร ได้แก่
ปลงขันธภาระ กิเลสภาระและอภิสังขารภาระอยู่. บทว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ
ความว่า อรหัตผลเรียกว่า ประโยชน์ของตน บรรลุประโยชน์ของตนนั้น.
บทว่า ปริกฺขีณภวสโยชโน ความว่า ชื่อว่ามีสังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ใน
ภพหมดสิ้นแล้ว เพราะสังโยชน์ที่เป็นเหตุให้ผูกสัตว์ แล้วฉุดคร่าไปในภพ
ทั้งหลายสิ้นแล้ว. บทว่า สมฺมทญฺาวิมุตฺโต ความว่า หลุดพ้นเพราะรู้
โดยเหตุ โดยนัย โดยการณะ.
บทว่า กลฺล วจนาย แปลว่า ควรเพื่อจะกล่าว. บทว่า โยปสฺส
มาทิโส นโร ความว่า แม้บุคคลใดจะพึงเป็นพระขีณาสพเช่นกับเรา บุคคล
แม้นั้นพึงเข้าจำอุโบสถเห็นปานนี้ คือ เมื่อรู้คุณของอุโบสถกรรมพึงอยู่อย่างนี้.
อีกนัยหนึ่ง บทว่า โยปสฺส มาทิโส นโร ความว่า สัตว์แม้ใดพึงเป็น
เช่นกับเรา. อธิบายว่า พึงปรารถนาเพื่อได้รับมหาสมบัติ. ในบทนี้มีอธิบาย
ดังนี้ว่า ก็บุคคลสามารถที่จะได้รับสมบัติของพระขีณาสพ ด้วยอุโบสถกรรม
เห็นปานนี้.
จบอรรถกถาราชสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 168
๘. ทุติยราชสูตร*
ว่าด้วยการกล่าวคาถาผิดฐาน และถูกฐาน
[๔๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดา
เมื่อจะปลุกใจเหล่าเทวดาดาวดึงส์ จึงภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า
แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้น
ก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถี
ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ และถือ
อุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลคาถานั้นนั่น ท้าวสักกะจอมเทวดาขับไม่
เข้าที ไม่เป็นการขับดีแล้ว กล่าวไม่เหมาะ ไม่เป็นสุภาษิต นั่นเพราะเหตุอะไร
เพราะท้าวสักกะจอมเทวดายังไม่ปราศจากราคะ...โทสะ...โมหะ ส่วนภิกษุ
ผู้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว สำเร็จแล้ว ทำกิจที่ควรทำแล้ว ปลงภาระ
แล้ว เสร็จประโยชน์ตนแล้ว สิ้นเครื่องร้อยรัดไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วย
ความรู้ชอบแล้ว จึงควรกล่าวคาถานั่นว่า
แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้น
ก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถี
ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ และถือ
อุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.
นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุนั้น ปราศจากราคะ...โทสะ...โมหะแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดา เมื่อจะ
ปลุกใจเหล่าเทวดาดาวดึงส์ จึงภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า
* สูตรที่ ๘ ง่ายทั้งนั้น ข้อความบางส่วนขยายความไว้ในอรรถกถาสูตรที่ ๗ แล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 169
แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นข้าพเจ้า ฯลฯ และ
ถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.
ก็แลคาถานั้นนั่นท้าวสักกะจอมเทวดาขับไม่เข้าที ไม่เป็นการขับดีแล้ว
กล่าวไม่เหมาะ ไม่เป็นสุภาษิต นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะท้าวสักกะจอมเทวดา
ยังไม่พ้นจาก (ชาติ) ความเกิด (ชรา) ความแก่ (มรณะ) ความตาย (โสกะ)
ความโศก (ปริเทวะ) ความคร่ำครวญ (ทุกขะ) ความทุกข์กาย (โทมนัสสะ)
ความทุกข์ใจ (อุปายาสะ) ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่ายังไม่พ้นทุกข์ ส่วน
ภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว ฯลฯ หลุดพ้นด้วยความรู้ชอบแล้ว จึง
ควรกล่าวคาถานั่นว่า
แม้ผู้ใดพึงเป็นเซ่นดังข้าพเจ้า ฯลฯ
และถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด.
นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุนั้นพ้นแล้วจาก (ชาติ) ความเกิด ฯลฯ
(อุปายาสะ) ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่าพ้นแล้วจากทุกข์.
จบทุติยราชสูตรที่ ๘
๙.สุขุมาลสูตร
ว่าด้วยสุขุมาลชาติ และความเมา ๓ ประการ
[๔๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นสุขุมาล สุขุมาลยิ่ง สุขุมาล
โดยส่วนเดียว เราจะเล่าให้ฟัง ในพระราชนิเวศน์ พระบิดาของเรา โปรด
ให้สร้างสระโบกขรณี สระหนึ่งปลูกอุบล สระหนึ่งปลูกปทุม สระหนึ่งปลูก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 170
บุณฑริก๑ เพื่อเราโดยเฉพาะ อนึ่ง เรามิใช่ใช้แต่จันทน์กาสี ผ้าโพกของเรา
ก็เป็นผ้ากาสี เสื้อก็กาสี ผ้านุ่งก็กาสี ผ้าห่มก็กาสี๒ อนึ่ง เศวตฉัตร เขากั้น
ให้เราทั้งกลางคืน ทั้งกลางวัน เพื่อว่ามิให้ต้องหนาว ร้อน ละออง หญ้า
น้ำค้าง เรามีปราสาท ๓ หลัง หลังหนึ่งสำหรับอยู่ฤดูหนาว หลังหนึ่งสำหรับ
อยู่ฤดูร้อน หลังหนึ่งสำหรับอยู่ฤดูฝน๓ เรานั้น อันนางนักดนตรีไม่มีบุรุษ
ปนบำเรออยู่ในปราสาทฤดูฝนตลอด ๔ เดือนฤดูฝน มิได้ลงไปภายล่างปราสาท
เลย ในพระราชนิเวศน์แห่งพระบิดาเรา ให้ข้าวสาลีกับเนื้อแก่ทาส กรรมกร
และคนอาศัย เท่ากับในนิเวศน์ผู้อื่น ๆ ที่ให้ข้าวปลายเป็นสองกับน้ำผักดอง
แก่ทาส กรรมกร และคนอาศัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้น เพียบพร้อมไปด้วยฤทธิ์เห็นปานนี้
และความสุขุมาลเหลือเกินถึงเช่นนี้ ก็ยังได้คิดว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ตัวเอง
ก็มีอันจะต้องแก่ ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ แต่เห็นคนอื่นแก่แล้วอึดอัด ระอา
ชิงชัง ลืมตัวเสียทีเดียว ถึงตัวเราเล่าก็มีอันจะต้องแก่ ไม่ล่วงพ้นความแก่
ไปได้ ก็แต่ว่าข้อซึ่งเราเองก็เป็นคนมีอันจะต้องแก่ ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
อยู่เหมือนกัน เห็นคนอื่นแก่แล้วจะพึงอึดอัด ระอา ชิงชัง นั่นไม่สมควร
แก่เราเลย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่เช่นนี้ ความเมาในความหนุ่ม
ได้หายไปหมด
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ตัวเองก็มีอันจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้
ไปได้ แต่เห็นคนอื่นเจ็บไข้แล้ว อึดอัด ระอา ชิงชัง ลืมตัวเสียทีเดียว
๑. อุบล บัวสายหลากสี ปทุม บัวก้านสีแดง (บัวหลวง) บุณฑริก บัวก้านสีขาว
๒. กาสี เป็นชื่อแคว้น ซึ่งมีเมืองพาราณสีเป็นเมืองหลวง สินค้าของแคว้นนี้ มีหลายอย่าง
ขึ้นชื่อและราคาสูงในสมัยนั้น ซึ่งคนชั้นสุขุมาลนิยมใช้ ๓. ตามนี้แสดงว่าครั้งนั้นนับฤดูหนาว
เป็นต้นปี ฤดูฝนเป็นปลายปี เพราะฉะนั้นพรรษา (ฝนหรือฤดูฝน) จึงแปลว่าปี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 171
ถึงตัวเราเล่า ก็มีอันจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไบ่ได้ ก็แต่ว่าข้อ
ซึ่งเราเองก็เป็นคนมีอันจะต้องเจ็บไข้ ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้อยู่เหมือน-
กัน เห็นคนอื่นเจ็บไข้แล้วจะพึงอึดอัด ระอา ชิงชัง นั่นไม่สมควรแก่
เราเลย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่เช่นนี้ ความเมาในความไม่มี
โรคได้หายไปหมด
ปุถุชนผู้มีได้สดับ ตัวเองก็มีอันจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
แต่เห็นคนอื่นตายแล้วอึดอัด ระอา ชิงชัง ลืมตัวเสียทีเดียว ถึงตัวเราเล่า
ก็มีอันละต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ก็แต่ว่าข้อซึ่งเราเองก็เป็นคน
มีอันจะต้องตาย ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้อยู่เหมือนกัน เห็นคนอื่นตายแล้ว
จะพึงอึดอัด ระอา ชิงชัง นั่นไม่สมควรแก่เราเลย ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรา
พิจารณาเห็นอยู่เช่นนี้ ความเมาในชีวิต (ความเป็นอยู่) ได้หายไปหมด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเมา ๓ นี้ ๓ คืออะไร คือ ความเมาใน
ความหนุ่ม ๑ ความเมาในความไม่มีโรค ๑ ความเมาในชีวิต ๑.
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ที่เมาในความหนุ่มก็ดี เมาในความไม่มีโรคก็ดี
และเมาในชีวิตก็ดี ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจาและด้วยใจ ปุถุชนนั้น
ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจาและด้วยใจแล้ว เพราะกายแตกตายไป
ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก
ภิกษุผู้เมาในความหนุ่มก็ดี เมาในความไม่มีโรคก็ดีและเมาในชีวิต
ก็ดี ย่อมลาสิกขากลับเป็นหีนเพศ*
* เพศทราม เพศต่ำ คือเพศฆราวาส.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 172
ปุถุชนทั้งหลายก็เป็นตามธรรมดาคือ
มีอันจะต้องเจ็บ มีอันจะต้องแก่และมีอัน
จะต้องตาย แต่เกลียดชัง (คนอื่น) ที่
เป็นตามธรรมดานั้น
ข้อซึ่งเราจะพึงเกลียดชัง สภาพอัน-
นั้นในสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอันจะต้องเป็น
อย่างนั้น นั่นไม่สมควรแก่เราผู้ซึ่งมีอัน
เป็นอยู่อย่างนั้นเหมือนกัน
เมื่อเราเห็นอยู่อย่างนั้น ได้รู้ธรรมอัน
ไม่มีอุปธิแล้ว ความเมาอันใดในความ
ไม่มีโรค ในความหนุ่ม และในชีวิต
เราครอบงำความเมาทั้งปวงนั้นเสีย ได้เห็น
เนกขัมมะ ( การออกจากกาม) ว่าเป็น
ความเกษม (ปลอดโปร่ง) ความอุตสาหะ
(ในเนกขัมมะ) จึงได้มีแก่เราผู้เห็นพระ-
นิพพานอยู่จำเพาะหน้า
เดี๋ยวนี้เราเป็นคนไม่ควรจะเสพกาม
ทั้งหลายแล้ว เราจักเป็นผู้ไม่ถอยกลับ มี
พรหมจรรย์เป็นเบื้องหน้า.
จบสุขุมาลสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 173
อรรถกถาสุขุมาลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาสุขุมาลสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-
สุขุมาลชาติ
บทว่า สุขุมาโล คือ (เราตถาคต) เป็นผู้ไม่มีทุกข์. บทว่า
ปรมสุขุมาโล คือ เป็นผู้ไม่มีทุกข์อย่างยิ่ง. บทว่า อจฺจนฺตสุขุมาโล
คือ เป็นผู้ไม่มีทุกข์ตลอดกาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ เพราะทรง
หมายถึงว่า พระองค์ไม่มีทุกข์ นับตั้งแต่เสด็จอุบัติในเมืองกบิลพัสดุ์. แต่ใน
เวลาที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทุกข์ที่พระองค์เสวยไม่มีที่สุด.
บทว่า เอถตฺถา คือ ในสระโบกขรณีแห่งหนึ่ง. บทว่า อุปฺปล
วปฺปติ ความว่า เขาปลูกอุบลเขียวไว้. สระโบกขรณีนั้น ดาดาษด้วย
ป่าดอกอุบลเขียว. บทว่า ปทุม ได้แก่ บัวขาว. บทว่า ปุณฑริก*
ได้แก่ บัวแดง. สระโบกขรณีทั้งสองสระนอกนี้ ดาดาษไปด้วยบัวขาว
และบัวแดงดังพรรณนามานี้.
วิสสุกรรมเทพบุตรสร้างสระโบกขรณี
ดังได้สดับมา ในเวลาที่พระโพธิสัตว์มีพระชนมายุได้ ๗-๘ พรรษา
พระราชา (สุทโธทนะ) ตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวกเด็กเล็ก ๆ ชอบเล่น
กีฬาประเภทไหน. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ชอบเล่นน้ำ พระเจ้าข้า.
จากนั้น พระราชารับสั่งให้ประชุมกรรมกรขุดดินแล้วให้เลือกเอาที่สำหรับ
สร้างสระโบกขรณี.
* บาลีว่า ปทุม ได้แก่ บัวแดง ปุณฑริก ได้แก่ บัวขาว.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 174
เวลานั้น ท้าวสักกเทวราชทรงใคร่ครวญดูทรงทราบความเป็นไปนั้น
แล้ว ทรงดำริว่า เครื่องใช้ของมนุษย์ไม่สมควรแก่พระโพธิสัตว์เลย เครื่องใช้
ทิพย์ (ต่างหาก) จึงสมควร ดังนี้ แล้วตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาตรัสว่า
ไปเถิดพ่อ พ่อจงสร้างสระโบกขรณีในสนามเล่นของพระมหาสัตว์. วิสสุกรรม
เทพบุตรทูลถามว่า จะให้มีลักษณะอย่างไร พระเจ้าข้า.
ท้าวสักกะรับสั่งว่า สระโบกขรณีต้องไม่มีโคลนเลน เกลื่อนกล่นด้วย
แก้วมณี แก้วมุกดา และแก้วประพาฬ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ๗ ประการ
พร้อมมูลด้วยบันไดที่มีขั้นบันไดทำด้วยทอง เงิน และแก้วมณี มีราวบันได
ทำด้วยแก้วมณี มีซุ้มบันไดทำด้วยแก้วประพาฬ และในสระนี้ต้องมีเรือทำด้วย
ทอง เงิน แก้ว มณี และแก้วประพาฬ ในเรือทองต้องมีบัลลังก์เงิน ในเรือเงิน
ต้องมีบัลลังก์ทอง ในเรือแก้วมณีต้องมีบัลลังก์แก้วประพาฬ ในเรือแก้วประพาฬ
ต้องมีบัลลังก์แก้วมณี ต้องมีทะนานตักน้ำทำด้วยทอง เงิน แก้ว มณี และ
แก้วประพาฬ และสระโบกขรณีต้องดาดาษด้วยปทุม ๕ ชนิด. วิสสุกรรม
เทพบุตรรับพระบัญชาท้าวสักกเทวราชว่า ได้ พระเจ้าข้า ดังนี้ แล้ว ลงมา
ตอนกลางคืนสร้างสระโบกขรณีโดยทำนองนั้นนั่นแล ในที่ที่พระราชารับสั่ง
ให้เลือกเอา.
ถามว่า ก็สระโบกขรณีเหล่านั้น ไม่มีโคลนเลนมิใช่หรือ แล้วปทุม
ทั้งหลายบานในสระนี้ได้อย่างไร. ตอบว่า ได้ยินว่า วิสสุกรรมเทพบุตรนั้น
สร้างเรือลำเล็ก ๆ ที่ทำด้วยทอง เงิน แก้ว มณี และแก้วประพาฬไว้ตามที่ต่าง ๆ
ในสระโบกขรณีเหล่านั้น แล้วอธิษฐานว่า เรือเหล่านี้จงเต็มด้วยโคลนเลนเถิด
และขอบัว ๕ ชนิด จงบานในเรือนี้เถิด. บัว ๕ ชนิด ก็บานแล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 175
ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. ละอองเกษรก็ฟุ้ง. หมู่ภมร ๕ ชนิดก็พากัน
บินเคล้าคลึง. วิสสุกรรมเทพบุตรสร้างสระโบกขรณีเหล่านั้นเสร็จอย่างนี้แล้ว
ก็กลับไปยังเทวบุรีตามเดิม.
ครั้นราตรีสว่าง มหาชนเห็นแล้วก็คิดกันว่า สระโบกขรณีคงจักมีใคร
นิรมิตถวายพระมหาบุรุษเป็นแน่ จึงพากันไปกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ.
พระราชามีมหาชนห้อมล้อม เสด็จไปทอดพระเนตรดูสระโบกขรณีก็ทรง
โสมนัสว่า สระโบกขรณีเหล่านี้ เทวดาคงจักนิรมิตขึ้นด้วยบุญฤทธิ์แห่ง
โอรสของเรา. ตั้งแต่นั้นมา พระมหาบุรุษก็เสด็จไปทรงเล่นน้ำ.
บทว่า ยาวเทว ในบทว่า ยาวเทว มมฺตถาย นี้ เป็นคำกำหนด
ถึงเขตแดนแห่งการประกอบ อธิบายว่า เพียงเพื่อประโยชน์แก่เราเท่านั้น
ไม่มีเหตุอย่างอื่นในเรื่องนี้. บทว่า น โข ปนสฺสาห ตัดบทเป็น น โข
ปนสฺส อห. บทว่า กาสิก จนฺทน ได้แก่ไม้จันทน์แคว้นกาสี เนื้อ
ละเอียดอ่อน. บทว่า กาสิก สุ เม ต ภิกฺขเว เวน ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ผ้าโพกศีรษะของเรา ก็เป็นผ้าแคว้นกาสี. ก็คำว่า
สุ และ ต ในบทว่า กาสิก สุ เม ต เวน นี้เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า เม เป็นฉัฎฐีวิภัติ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ผ้าโพกศีรษะ
ของเราตถาคตเนื้อละเอียดแท้. บทว่า กาสิกา กญฺจุกา ได้แก่ แม้ฉลอง
พระองค์ ก็เป็นฉลองพระองค์ชนิดละเอียดอ่อน.๑ บทว่า เสตจฺฉตฺต ธาริยติ
ความว่า ตั้งเศวตฉัตรของมนุษย์ ทั้งเศวตฉัตรทิพย์ ก็กั้นอยู่เหนือศีรษะ
ด้วยเหมือนกัน. บทว่า มา น สิต วา ความว่า ขอความหนาวหรือ
ความร้อนเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่าได้สัมผัสพระโพธิสัตว์นั่นเลย.
๑. ปาฐะว่า ปารุปนกญฺจุโก จ สีสกญฺจุโก จ ฉบับพม่าเป็น ปารุปนกญฺจุโกปิ สณฺนกญจโก
จ แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 176
การสร้างปราสาท ๓ ฤดู
บทว่า ตโย ปาสาทา อเหส ความว่า ได้ยินว่า เมื่อพระ-
โพธิสัตว์ประสูติแล้วมีพระขนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระเจ้าสุทโธทนะทรงดำริว่า
จักให้สร้างปราสาทสำหรับพระราชโอรสประทับอยู่ จึงรับสั่งให้ช่างไม้มา
ประชุมพร้อมกัน แล้วรับสั่งให้ทำโครงร่างปราสาท ๙ ชั้น ตามฤกษ์ยามดีแล้ว
ให้สร้างปราสาท ๓ หลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาปราสาททั้ง ๓ หลัง
นั้น จึงตรัสคำนี้ว่า ตโย ปาสาทา อเหสุ.
ในบทว่า เหมนฺติโก เป็นต้น มีอธิบายว่า ปราสาทหลังที่ทรง
ประทับอยู่ได้อย่างสำราญในฤดูเหมันต์ ชื่อว่า เหมันติกปราสาท (ปราสาท
หลังที่ประทับอยู่ในฤดูเหมันต์). แม้ในสองบทนอกนี้ก็มีนัย นี้แล. ก็ในบท
เหล่านี้ มีความหมายของคำดังนี้ การอยู่ในฤดูเหมันต์ ชื่อว่า เหมันตะ
ปราสาทชื่อว่า เหมันติกะ เพราะเหมาะสมกับฤดูเหมันต์. แม้ในสองบทนอกนี้
ก็มีนัย นี้แล.
ปราสาทฤดูหนาว
บรรดาปราสาททั้ง ๓ หลังนั้น ปราสาทในฤดูเหมันต์มี ๙ ชั้น ก็แลชั้น
(แต่ละชั้น) ของปราสาทนั้น ได้ต่ำลงต่ำลง (ตามลำดับ) ก็เพื่อให้รับไออุ่น
ประตูและหน้าต่างที่ปราสาทหลังนั้นก็มีบานติดสนิทดีไม่มีช่อง ช่างไม้ทั้งหลาย
แม้เมื่อทำจิตรกรรมก็เขียนเป็นกองไฟลุกสว่างอยู่ในชั้นนั้น ๆ ก็เครื่องลาดพื้น
ในปราสาทนี้ทำจากผ้ากัมพล. ผ้าม่าน เพดาน ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และ
ผ้าโพกศีรษะก็เหมือนกัน (คือทำจากผ้ากัมพล). หน้าต่างก็เปิดในตอนกลางวัน
แล้วปิดในตอนกลางคืน เพื่อให้รับความร้อน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 177
ปราสาทฤดูร้อน
ปราสาทฤดูร้อนมี ๕ ชั้น. ก็ชั้น (แต่ละชั้น) ในปราสาทนี้ (ยก)
สูง ไม่คับแคบเพื่อให้รับไอความเย็น. ประตูและหน้าต่างปิดไม่สนิทนัก
มีช่อง และติดตาข่าย. ในงานจิตรกรรม เขาได้เขียนเป็นดอกอุบล ดอกปทุม
และดอกบุณฑริกไว้. ก็เครื่องลาดพื้นในปราสาทนี้ทำจากผ้าเปลือกไม้ ผ้าม่าน
เพดาน ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และผ้าโพกศีรษะ (ก็ทำจากเปลือกไม้) เหมือนกัน.
และตรงที่ใกล้หน้าต่างในปราสาทนี้ พวกช่างไม้ก็ตั้งตุ่มไว้๙ ตุ่ม ใส่น้ำจนเต็ม
แล้ว เอาดอกบัวเขียวเป็นต้นคลุมไว้. เขาทำน้ำตกไว้ตามที่เหล่านั้น เป็นเหตุให้
สายน้ำไหลออกมาเหมือนเมื่อฝนตก ภายปราสาทเขาวางรางไม้ที่มีโคลนใส่อยู่
เต็มไว้ในที่นั้น ๆ แล้วปลูกบัวเบญจวรรณไว้. บนยอดปราสาทก็ผูกเชือก
หนังกระบือแห้งไว้ ใช้เครื่องยนต์ยกก้อนหินขึ้นสูงจนกระทั่งถึงหลังคาแล้ว
เป็นเหตุให้สายน้ำไหลออกเหมือนเมื่อคราวฝนตก เสียงน้ำไหลจะเป็นเหมือน
เสียงฟ้าร้อง ก็ประตูและหน้าต่างในปราสาทหลังนี้ปิดไว้ในเวลากลางวันแล้ว
เปิดในเวลากลางคืน.
ปราสาทฤดูฝน
ปราสาทฤดูฝนมี ๗ ชั้น. ก็ชั้น (แต่ละชั้น) ในปราสาทหลังนี้ไม่สูง
เกินไปและไม่ต่ำเกินไป เพื่อต้องการให้ได้รับอากาศทั้ง ๒ ฤดู (เย็นและร้อน)
ประตูกับหน้าต่างลางบานก็ปิดสนิทดี ลางบานก็ห่าง. แม้จิตรกรรมในปราสาท
นั้น ในที่ลางแห่งก็ทำเป็นกองไฟลุกโชน ในที่ลางแห่งก็ทำเป็นสระธรรมชาติ.
ก็ผ้ามีผ้าลาดพื้นเป็นต้นในปราสาทหลังนี้ ก็ปนกันทั้งสองชนิด คือ ทั้งผ้า
กัมพลและผ้าเปลือกไม้. ประตูกับหน้าต่างลางบานก็เปิดตอนกลางคืนแล้วปิด
ตอนกลางวัน ลางบานก็เปิดตอนกลางวัน แล้วปิดตอนกลางคืน. ปราสาททั้ง
๓ หลัง ส่วนสูงมีขนาดเท่ากัน. แต่มีความแตกต่างกันในเรื่องชั้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 178
พระโพธิสัตว์แสดงศิลปะ
เมื่อสร้างปราสาทสำเร็จลงอย่างนี้แล้ว พระราชาทรงดำริว่า โอรส
ของเราเจริญวัยแล้ว เราจักให้ยกเศวตฉัตรขึ้นเพื่อเขา แล้วคอยดูสิริราชสมบัติ.
พระองค์จึงทรงส่งพระราชสาส์น ไปถึงเจ้าศากยะทั้งหลายว่า โอรสของหม่อม
ฉันเจริญวัยแล้ว หม่อมฉันจักสถาปนาเขาไว้ในราชสมบัติ ขอเจ้าศากยะทั้งปวง
จงส่งเจ้าหญิงผู้เจริญวัยในวังของตน ๆ ไปยังราชมณเฑียรนี้เถิด.
เจ้าศากยะเหล่านั้นได้สดับพระราชสาส์นแล้ว ต่างทรงดำริว่า พระ-
กุมารสมบูรณ์ด้วยพระรูปน่าทัศนาเท่านั้น (แต่ว่า) ไม่ทรงรู้ศิลปะอะไร ๆ เลย
จักไม่สามารถเลี้ยงดูพระวรชายาได้หรอก พวกเราจักไม่ยอมยกลูกสาวให้.
พระราชาทรงสดับข่าวนั้น แล้วได้เสด็จไปยังสำนักพระราชโอรส
แล้วตรัสบอก. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันควรจะ
แสดงศิลปะอะไร
พระราชาตรัสว่า ลูกควรยกสหัสสถามธนู (ธนูที่หนักต้องใช้แรงคน
๑,๐๐๐) ขึ้นนะลูก. ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงทรงให้นำมา. พระราชารับสั่ง
ให้นำธนูมาให้พระราชโอรส. ธนูนั้นใช้คน ๑,๐๐๐ คนยกขึ้น ใช้คน ๑,๐๐๐
คนยกลง. พระมหาบุรุษให้นำธนูมาแล้ว ประทับนั่งบนบัลลังก์ ทรงเกี่ยว
สายไว้ที่พระปาทังคุฏฐะ (นิ้วโป้งพระบาท) แล้วดึงมา ทรงเอาพระปาทังคุฎฐะ
(นิ้วโป้งพระบาท) นั่นเองนำธนูมาแล้ว จับคันธนูด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรง
เหนี่ยวสายมาด้วยพระหัตถ์ขวา ทั่วทั้งพระนครถึงอาการตกตะลึง. และเมื่อมีใคร
ถามว่า เสียงอะไร ? เจ้าศากยะทั้งหลายก็ตอบกันว่า ฟ้าฝนคำราม. ทีนั้น
คนอีกพวกหนึ่งก็ตอบว่า พวกท่านไม่รู้หรือ ไม่ใช่ฟ้าฝนคำรามหรอก นั่นเป็น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 179
เสียงปล่อยสายธนูของพระราชกุมาร เผ่าอังคีรสผู้ทรงยกธนูที่ต้องใช้แรงคนถึง
๑,๐๐๐ คน แล้วทรงขึ้นสาย. เจ้าศากยะทั้งหลาย ต่างก็มีพระทัยชื่นชมด้วยการ
แสดงศิลปะเพียงเท่านั้น.
พระมหาบุรุษกราบทูลพระราชบิดาว่า หม่อมฉันควรจะทำอะไร
อย่างอื่นอีกไหม ?
พระราชาตรัสตอบว่า ลูกควรเอาลูกศรยิงแผ่นเหล็กหนาประมาณ
๘ นิ้วให้ทะลุ.
พระมหาบุรุษยิงทะลุแผ่นเหล็กนั้น แล้วกราบทูลว่า หม่อมฉันควรจะ
ทำอะไรอย่างอื่นอีกไหม ?
พระราชาตรัสตอบว่า ลูกควรยิงแผ่นกระดานไม้ประดู่หนา ๔ นิ้ว
ให้ทะลุ.
พระมหาบุรุษยิงทะลุแผ่นกระดานนั้น แล้วกราบทูลว่า หม่อมฉันควร
จะทำอะไรอย่างอื่นอีกไหม ?
พระราชาตรัสตอบว่า ลูกควรยิงแผ่นกระดานไม้มะเดื่อหนา ๑ คืบ
ให้ทะลุ.
พระมหาบุรุษยิงแผ่นกระดานไม้มะเดื่อนั้นแล้ว กราบทูลว่าหม่อมฉัน
ควรจะทำอะไรอย่างอื่นอีกไหม ?
พระราชาตรัสตอบว่า ลูกควรยิงแผ่นกระดานที่ผูกติดไว้ที่เครื่องยนต์
๑๐๐ แผ่นให้ทะลุ.
พระมหาบุรุษยิงทะลุแผ่นกระดาน ๑๐๐ แผ่นนั้นแล้ว กราบทูลว่า
หม่อมฉันควรจะทำอะไรอย่างอื่นอีกไหม ?
พระราชาตรัสตอบว่า ลูกควรยิงหนังกระบือแห้งหนา ๖๐ ชั้นให้ทะลุ.
พระมหาบุรุษยิงทะลุหนังกระบือแห้งแม้นั้นแล้ว กราบทูลว่าหม่อมฉัน
ควรทำอะไรอย่างอื่นอีกไหม ?
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 180
ลำดับนั้น เจ้าศากยะทั้งหลาย ก็บอก (ให้ยิง) เกวียนบรรทุกทราย
เป็นต้น.
พระมหาสัตว์ยิงทะลุทั้งเกวียนบรรทุกทรายทั้งเกวียนบรรทุกฟางแล้ว
ยิงลูกศรลงไปในน้ำลึกประมาณ ๑ อุสภะ (และ) ยิงขึ้นไปบนบกไกลประมาณ
๘ อุสภะ.
ทีนั้น เจ้าศากยะทั้งหลาย ก็กราบทูลพระมหาสัตว์นั้นว่า บัดนี้
พระองค์ควรยิงขนทรายให้ทะลุ โดยมีมะเขือเป็นเครื่องหมาย.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงให้ผูก (ขนทราย).
เจ้าศากยะทั้งหลายก็สั่งว่า พ่อทั้งหลาย พวกพ่อจงมาช่วยกันให้ผูก๑
(ขนทราย) คือพวกหนึ่ง จงผูกไว้๒ในระยะทางระหว่างเสียงกึกก้อง คือ
พวกหนึ่งจงเดินทางล่วงหน้าไป ผูกไว้๓ในระยะทางคาวุตหนึ่ง พวกหนึ่งจงเดิน
ทางล่วงหน้าไป ผูกไว้ในระยะทางกึ่งโยชน์ พวกหนึ่งจงเดินทางล่วงหน้าไป
ผูกไว้๔ในระยะทาง ๑ โยชน์.
พระมหาสัตว์ให้ผูกขนทรายในระยะทางไกลประมาณ ๑ โยชน์ โดยมี
มะเขือเป็นเครื่องหมาย แล้วยิงลูกศรไปในทิศทั้งหลาย ซึ่งหนาแน่นด้วยแผ่น
เมฆ ในยามราตรีที่มืดสนิท. ลูกศรวิ่งไปผ่าขนทรายในระยะทางไกลประมาณ
๑ โยชน์ แล้ว (ตกลง) แทงทะลุแผ่นดินไป และไม่ใช่ว่ามีแต่ยิงลูกศรเพียง
เท่านี้ อย่างเดียวเท่านั้น.
ก็วันนั้น พระมหาสัตว์ทรงแสดงศิลปะที่มีอยู่ในโลกครบทุกชนิด.๕
เจ้าศากยะทั้งหลาย ตกแต่งพระธิดาของตน ๆแล้ว ส่งไปถวาย. นางระบำได้มี
จำนวนถึง ๔๐,๐๐๐ นาง. พระมหาบุรุษประทับอยู่ในปราสาททั้ง ๓ หลัง ดุจ
ดังเทพบุตร.
๑. ปาฐะว่า วิชฺฌตุ ฉบันพม่าเป็น พชฺฌตุ แปลตามฉบับพม่า.
๒. ๓. ๔. ปาฐะว่า วิชฺฌตุ ฉบับพม่าเป็น พนฺธนฺตุ แปลตามฉบับพม่า.
๕. ปาฐะว่า โลเก วตฺตมานิ สิปฺป ฉบับพม่าเป็น โลเก วตฺตมานสิปฺป.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 181
ในปราสาทไม่มีผู้ชายเลย
บทว่า นิปฺปุริเสหิ ตุริเยหิ ความว่า ดนตรีที่ปราศจากบุรุษ.
และในปราสาทนี้ ไม่ใช่ว่าการดนตรีเท่านั้นที่ไม่มีบุรุษ (เล่น) ก็หามิได้.
แม้ว่าสถานที่ทุกแห่งก็ไม่มีบุรุษประจำด้วยเหมือนกัน. แม้คนเฝ้าประตูก็เป็น
สตรีอีกเช่นกัน. พวกที่ทำงานในคราวถวายการสรงสนานเป็นต้น ก็เป็นสตรี
ด้วยเหมือนกัน
เล่ากันว่า พระราชาทรงดำริว่า ความรังเกียจ จะเกิดขึ้น แก่
ลูกชายของเราผู้เสวยสุขสมบัติจากอิสริยยศเห็นปานนั้นอยู่ เพราะได้เห็นบุรุษ
ขอความรังเกียจนั้นอย่าได้มีแก่ลูกของเราเลย ดังนี้แล้ว จึงทรงแต่งตั้งสตรีไว้
ในทุกหน้าที่. บทว่า ปริจารยมาโน ความว่า บันเทิงใจอยู่.
พระโพธิสัตว์มิได้เสด็จลงชั้นล่างเลย
บทว่า น เหฏฺาปาสาท โอโรหามิ ความว่า เราตถาคตมิได้
ลงจากปราสาทไปข้างล่างเลย เพราะเหตุนั้น บุรุษสักคนหนึ่ง (แม้กระทั่งเด็ก)
ไว้ผมจุกก็ไม่ได้เห็นเราตถาคตเลยตลอด ๔ เดือน. บทว่า ยถา คือ โดย
นิยามใด. บทว่า ทาสกมฺมกรโปริสสฺส ได้แก่ ทาส กรรมกรที่ได้รับ
การเลี้ยงด้วยค่าอาหารประจำวัน และคนที่อาศัยอยู่กิน (ตลอดไป). บทว่า
กณาชก ได้แก่ข้าวปนปลายข้าว. บทว่า วิลงฺคทุติย ได้แก่ มีน้ำผักดอง
เป็นที่ ๒. บทว่า เอวรูปาย อิทฺธิยา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยบุญฤทธิ์ มีกำเนิด
อย่างนี้. บทว่า เอวรูเปน จ สุขุมาเลน ได้แก่ และผู้ประกอบด้วยความ
เป็นผู้ไม่มีทุกข์มีกำเนิดอย่างนี้. ปาฐะเป็น สุขุมาเลน ดังนี้ก็มี.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 182
เหตุผลที่ตรัสสุขสมบัติของพระองค์
พระตถาคตตรัสเล่าถึงสิริสมบัติของพระองค์ ด้วยฐานะเพียงเท่านี้
ดังพรรณนามานี้ และเมื่อตรัสเล่า ก็หาได้ตรัสเล่าเพื่อความลำพองพระทัยไม่.
แต่ตรัสเล่าเพื่อทรงแสดงถึงลักษณะของความไม่ประมาทนั่นเองว่า เราตถาคต
สถิตอยู่ในสมบัติ แม้เห็นปานนี้ ก็ยังไม่ประมาทเลย. ด้วยเหตุนั้นแล พระองค์
จึงตรัสคำว่า อสฺสุตวา โข ปุถุชฺชโน เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปร ได้แก่ บุคคลอื่น. บทว่า ชิณฺณ ได้แก่ทรุดโทรมเพราะชรา.
บทว่า อฎฺฎิยติ ได้แก่ เป็นผู้เอือมระอา. บทว่า หรายติ ได้แก่ ทำความ
ละอาย คือ ละอายใจ. บทว่า ชิคุจฺฉติ ได้แก่ เกิดความรังเกียจขึ้นเหมือน
ได้เห็นของไม่สะอาด. บทว่า อตฺตานเยว อติสิตฺวา ความว่า อึดอัด ระอา
ลืมตนว่ามีชราเป็นธรรมดา. บทว่า ชราธมฺโม ได้แก่ มีชราเป็นสภาพ.
บทว่า ชร อนตีโต ความว่า เราตถาคตไม่พ้นชราไปได้ ยังคงเป็นไปอยู่.
ภายในชรา. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขโต ได้แก่ ผู้พิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้.
ความเมา ๓ อย่าง
ความเมาเพราะมานะที่อาศัยความเป็นหนุ่มเกิดขึ้น ชื่อว่าโยพพนมทะ.
บทว่า สพฺพโส ปหียิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเมาที่ละ
ได้แล้ว โดยอาการทั้งปวงให้เป็นเหมือนว่าละได้แล้วด้วยมรรค. แต่นักศึกษา
พึงทราบว่า ความเมานี้ไม่ใช่ละได้ด้วยมรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ละ
ได้ด้วยการพิจารณา (วิปัสสนา). เพราะว่าเทวดาทั้งหลายแสดงบุคคลผู้ประสบ
กับชรา แก่พระโพธิสัตว์. ตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งได้เป็นพระอรหันต์ ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 183
ความเมาในความเป็นหนุ่ม ไม่เกิดขึ้นแก่พระมหาสัตว์เลยในระหว่าง. แม้ใน
สองบทที่เหลือก็มีนัย นี้แล. อนึ่ง ในสองบทที่เหลือนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้
ความเมาด้วยอำนาจมานะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยความไม่มีโรคว่า เราเป็นคน
ไม่มีโรค ชื่อว่า อโรคยมทะ. ความเมาด้วยอำนาจมานะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
ชีวิตว่า เราเป็นอยู่มาได้นาน ชื่อว่า ชีวิตมทะ. บทว่า สิกฺข ปจฺจกฺขาย
ได้แก่ บอกคืนสิกขา. บทว่า หีนายาวตฺตติ ได้แก่ เวียนมาเพื่อภาวะที่เลว
คือ เพื่อเป็นคฤหัสถ์อันเป็นภาวะที่ต่ำ.
บทว่า ยถาธมฺมา ได้แก่ มีสภาวะเป็นอย่างใดด้วยสภาวะทั้งหลาย
มีความเจ็บป่วยเป็นต้น . บทว่า ตถาสนฺตา มีอธิบายว่า เป็นผู้มีความ
เจ็บป่วยเป็นต้น เป็นสภาวะที่ไม่แปรผันเหมือนที่มีอยู่นั่นแหละ. บทว่า
ชิคุจฺฉนฺติ ได้แก่ รังเกียจบุคคลอื่น. บทว่า มม เอววิหาริโน ความว่า
เมื่อเราตถาคตอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ คือ ด้วยการอยู่อย่างน่ารังเกียจ ความ
รังเกียจอย่างนี้ พึงเป็นของไม่เหมาะสมคือไม่สมควร.
บทว่า โสห เอว วิหรนฺโต ความว่า เราตถาคตนั้นอยู่อย่างนี้
คือ (อยู่อย่าง) ไม่รังเกียจบุคคลอื่น. อีกอย่างหนึ่ง (เราตถาคตนั้น) อยู่
อย่างนี้ คือ อยู่โดยมีการพิจารณาเป็นธรรมเครื่องอยู่นี้. บทว่า ตฺวา
ธมฺม นิรูปธึ ความว่า ทราบธรรมคือพระนิพพานซึ่งเว้นจากอุปธิทั้งปวง.
บทว่า สพฺเพ มเท อภิโภสฺมิ ความว่า เราตถาคตครอบงำ คือ ก้าวล่วง
ความเมาหมดทั้ง ๓ อย่าง.
บทว่า เนกฺขมฺเม ทฏฺฐุ เขมต ความว่า เห็นภาวะที่เกษมใน
พระนิพพาน. ปาฐะเป็น เนกฺขมฺม ทฏฺฐุ เขมโต ก็มี. ความหมายก็
คือว่า เห็นเนกขัมมะโดยความเป็นสภาวะที่เกษม.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 184
บทว่า ตสฺส เม อหุ อุสฺสาโห ความว่า เมื่อเรานั้นเห็น
พระนิพพาน กล่าวคือเนกขัมมะนั้นอย่างแจ่มแจ้ง จึงได้มีความอุตสาหะ
หมายความว่า ได้มีความพยายาม.
บทว่า นาห ภพฺโพ เอตรหิ กามานิ ปฏิเสวิตุ ความว่า
บัดนี้ เราตถาคตไม่ควรที่จะเสพกามทั้งสองอย่าง. บทว่า อนิวตฺติ ภวิสฺสามิ
ความว่า เราตถาคตจักไม่หวนกลับ คือ จักไม่ถอยกลับจากบรรพชาและจาก
สัพพัญญุตญาณ. บทว่า พฺรหฺมจริยปรายโน ความว่า เราตถาคตกลายเป็น
ผู้มีมรรคพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้าแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงความเพียรที่เป็นเหตุให้พระองค์ได้บรรลุ
ณ บัลลังก์ใต้ต้นมหาโพธิด้วยคาถาเหล่านี้ดังว่ามานี้.
จบอรรถกถาสุขุมาลสูตรที่ ๙
๑๐. อธิปไตยสูตร
ว่าด้วยอธิปไตย ๓
[๔๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ นี้ ๓ คืออะไร คือ
อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย ธรรมาธิปไตย.
ก็อัตตาธิปไตย เป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ป่าก็ดี
อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า ก็เราออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต มิใช่เพื่อจีวร มิใช่เพื่อบิณฑบาต มิใช่เพื่อเสนาสนะ
เป็นเหตุมิใช่เพื่อความมีและไม่มีอย่างนั้น ที่แท้ เราเป็นผู้อันความเกิด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 185
ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย
ความเสียใจ ความคับแค้นใจครอบงำแล้ว ตกอยู่ในกองทุกข์ มีความทุกข์
ท่วมทับแล้ว คิดว่า (ด้วยการบวชนี้) ลางทีความทำที่สุดแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏได้ ก็แลเราละทิ้งกามอย่างใด ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตแล้ว จะมาแสวงหากามอย่างนั้นหรือกามที่เลวยิ่งกว่านั้น
นั่นไม่สมควรแก่เราเลย ภิกษุนั้นจึงตกลงอย่างนี้ว่า ความเพียร เราต้อง
ทำไม่ย่อหย่อน สติต้องตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายต้องระงับไม่กระสับกระส่าย
จิตต้องเป็นสมาธิแน่วแน่ ดังนี้ เธอทำตนเองให้เป็นอธิปไตย ละอกุศล
บำเพ็ญกุศล ละธรรมที่มีโทษ บำเพ็ญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจด
ได้ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า อัตตาธิปไตย.
ก็โลกาธิปไตย เป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ป่าก็ดี ฯลฯ
คิดว่า (ด้วยการบวชนี้) ลางทีความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึง
ปรากฏได้ ก็แลเราบวชอยู่อย่างนี้. จะมาตรึกกามวิตก พยาบาทวิตกและ
วิหิงสาวิตก โลกสันนิวาสนี้ใหญ่นะ ก็ในโลกสันนิวาสอันใหญ่นี้ สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มีทิพยจักษุรู้จิตคนอื่นได้ มีอยู่ สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เห็นไปได้ไกลด้วย ท่านเข้ามาใกล้ก็ไม่เห็นตัว ท่านรู้จิต (ของผู้อื่น)
ด้วยจิต (ของท่าน) ด้วย ท่านเหล่านั้นจะพึงรู้จักเราอย่างนี้ว่า ดูกุลบุตร
ผู้นี้ชิ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เขาลุกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาแล้ว
ยังวุ่นด้วยธรรมอันเป็นบาปอกุศลอยู่ แม้เทวดาทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ
รู้จิตผู้อื่นได้ก็มี เทวดาเหล่านั้น เห็นไปได้ไกลด้วย เข้ามาใกล้ก็ไม่เห็นตัว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 186
ด้วย รู้จิต (ของผู้อื่น) ด้วยจิต (ของตน) ด้วย แม้เทวดาเหล่านั้น ก็จะ
พึงรู้จักเราอย่างนี้ว่า ดูกุลบุตรผู้นี้ซิ ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เธอออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แล้วยังวุ่นด้วยธรรมอันเป็นบาปอกุศลอยู่
ภิกษุนั้นจึงตกลงใจอย่างนี้ว่า ความเพียร เราต้องทำไม่ย่อหย่อน สติต้อง
ตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายต้องระงับไม่กระสับกระส่าย จิตต้องเป็นสมาธิแน่วแน่
ดังนี้ เธอทำโลก (คือผู้อื่น) นั่นแลให้เป็นอธิปไตย ละอกุศลบำเพ็ญกุศล
ละธรรมที่มีโทษ บำเพ็ญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดได้ นี่ภิกษุ
ทั้งหลาย เราเรียกว่า โลกาธิปไตย.
ก็ธรรมาธิปไตย เป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ป่าก็ดี
ฯลฯ คิดว่า (ด้วยการบวชนี้) ลางทีความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้จะ
พึงปรากฏได้ (สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม) พระธรรมอันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสดีแล้ว (สนฺทิฏิโก) อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง (อกาลิโก)
ไม่ประกอบด้วยกาล (เอหิปสฺสิโก) ควรเรียกให้มาดู (โอปนยิโก)
ควรน้อมเข้ามา (ปจฺจตฺต เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ) อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน
เพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ผู้เห็น (พระธรรมนั้น) อยู่ก็มี ก็แลเราบวชในพระ-
ธรรมวินัยนี้อันเป็นสวากขาตะอย่างนี้แล้ว จะมาเกียจคร้านประมาทเสีย นั่นไม่
สมควรแก่เราเลย ภิกษุนั้นจึงตกลงใจอย่างนี้ว่า ความเพียร เราต้องทำ
ไม่ย่อหย่อน สติต้องตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายต้องระงับไม่กระสับกระส่าย จิต
ต้องเป็นสมาธิแน่วแน่ ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแลให้เป็นอธิปไตย ละอกุศล
บำเพ็ญกุศล ละธรรมที่มีโทษ บำเพ็ญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้
หมดจดได้ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า ธรรมาธิปไตย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 187
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓
ชื่อว่าความลับ ย่อมไม่มีในโลก
สำหรับผู้ทำการบาป แน่ะบุรุษ ตัวของ
ท่านย่อมรู้ว่าจริงหรือเปล่า ผู้เจริญ ท่านดู
หมิ่นตัวเอง ซึ่งเป็นพยานอย่างดีเสียแล้ว
เมื่อบาปมีอยู่ในตัว ไฉนท่านจะปิดซ่อนมัน
(ไม่ให้ตัวเองรู้) ได้
เทวดาทั้งหลายและตถาคตทั้งหลาย
ย่อมเห็นคนเขลาที่ประพฤติไม่สมควรอยู่
ในโลก เพราะเหตุนั้นแหละ บุคคลควร
ประพฤติเป็นผู้มีตนเป็นใหญ่ควรมีสติเป็น
ผู้มีโลกเป็นใหญ่ควรมีปัญญารักษาตน มี
ความพินิจ เป็นผู้มีธรรมเป็นใหญ่ ควร
ประพฤติตามธรรม
พระมุนีผู้บากบั่นจริง ย่อมไม่เสื่อม
ผู้ใดมีความเพียร กำราบมารลามกเสียได้
ถึงธรรมที่สิ้นชาติแล้ว ผู้เช่นนั้นนั่นเป็น
พระมุนี รู้แจ้งโลกมีปัญญาดี ไม่มีความ
ทะเยอทะยานในธรรมทั้งปวง.
จบอธิปไตยสูตรที่ ๑๐
จบเทวทูตวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 188
อรรถกถาอธิปไตยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอธิปไตยสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-
อธิบายอธิปไตย ๓
อธิปไตยที่เกิดจากเหตุที่สำคัญที่สุด ชื่อว่า อธิปไตย. ในบทว่า
อตฺตาธิปเตยฺย เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ คุณชาตที่เกิดโดยทำ
ตนให้เป็นใหญ่ ชื่อว่า อัตตาธิปไตย. คุณชาติที่เกิดโดยทำชาวโลกให้เป็น
ใหญ่ ชื่อว่า โลกาธิปไตย. คุณชาติที่เกิดโดยทำโลกุตรธรรม ๙ ให้เป็นใหญ่
ชื่อว่า ธัมมาธิปไตย.
บทว่า อิติภโว ในคำว่า น อิติภวาภวเหตุ หมายถึงภายใน
อนาคตอย่างนี้ (เราตถาคตออกบวชเป็นอนาคาริก) ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งภพ
ในอนาคตนั้น ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งปัจจุบันภพนั้น. บทว่า โอติณฺโณ คือ
แทรกซ้อน. ก็ชาติแทรกซ้อนอยู่ข้างในของบุคคลใด บุคคลนั้นชื่อว่า ถูกชาติ
ครอบงำ. แม้ในชราเป็นต้น ก็มีนัย นี้แล. บทว่า เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส
ได้แก่ กองวัฏทุกข์ทั้งหมด. บทว่า อนฺตกิริยา ปญฺาเยถ ความว่า
การทำที่สุด คือ การทำทาง รอบด้านให้ขาดตอน พึงปรากฏ. ทำ
โอหาย แปลว่า ละ. บทว่า ปาปิฏฺตเร แปลว่า ต่ำช้ากว่า.
บทว่า อารทฺธ ความว่า (ความเพียร) ที่ประคองไว้แล้ว คือให้
บริบูรณ์แล้ว และชื่อว่า ไม่ย่อหย่อน เพราะเริ่มแล้ว. บทว่า อุปฏฺิตา
ความว่า สติ ชื่อว่า ตั้งมั่นและไม่หลงลืม เพราะตั้งมั่นด้วยอำนาจสติปัฏฐาน ๔.
บทว่า ปสฺสทฺโธ กาโย ความว่า นามกายและกรชกายสงบ คือ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 189
มีความกระวนกระวายระงับแล้ว และเพราะระงับแล้ว จึงชื่อว่า ไม่กระสับ
กระส่าย. บทว่า สมาหิต จิตฺต ความว่า จิตที่ตั้งมั่นโดยชอบ คือ ตั้งไว้
ด้วยดีในอารมณ์ (และ) เพราะตั้งไว้โดยชอบนั่นเอง จึงชื่อว่า มีอารมณ์
เดียวเป็นเลิศ.
บทว่า อธิปตึ กริตฺวา ได้แก่ ทำธรรมให้เป็นใหญ่ (สำคัญ).
บทว่า สุทฺธมตฺตาน ปริหรติ ได้แก่ ปริหาร ความว่า ปฏิบัติ คือ
คุ้มครองคนให้บริสุทธิ์ คือ ให้หมดมลทิน. และภิกษุนี้ชื่อว่า บริหารตน
ให้บริสุทธิ์โดยอ้อมจนกระทั่งถึงอรหัตมรรค. ส่วนท่านผู้บรรลุผลแล้ว ชื่อว่า
บริหารตนให้บริสุทธิ์โดยตรง. บททั้งหลายมีบทว่า สฺวากฺขาโต เป็นต้น
ได้อธิบายไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.
บทว่า ชาน ปสฺส วิหรนฺติ ความว่า เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย
รู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งธรรมนั้นอยู่. ก็ในบทว่า อิมานิ โข ภกฺขเว ตีณิ อธิปเตยฺยานิ
นี้มีความว่า อธิปไตย ๓ อย่างเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้คละกัน
ทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
บทว่า ปกุพฺพโต ความว่า การทำอยู่. บทว่า อตฺตา เต ปุริส
ชานาติ สจฺจ วา ยทิ วา มุสา ความว่า เธอทำสิ่งใดไว้ สิ่งนั้นจะมี
สภาพเป็นจริง หรือมีสภาพไม่จริงก็ตาม ตัวของเธอเองย่อมรู้สิ่งนั้น นักศึกษา
พึงทราบตามเหตุ. ชื่อว่า สถานที่ปิดบังสำหรับผู้ทำบาปกรรมไม่มีในโลก.
บทว่า กลฺยาณ แปลว่า ดี. บทว่า อติมญฺสิ คือ เธอสำคัญล่วงเลย
(ลืมตัว). บทว่า อถ น ปริคุยฺหสิ ความว่า เธอพยายามอยู่ว่า เราจะ
ปิดบังไว้โดยประการที่แม้ตัวของเราก็ไม่รู้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 190
บทว่า อตฺตาธิปโก ได้แก่ มีตนเป็นอธิบดี คือ มีตนเป็นใหญ่.
บทว่า โลกาธิโป ได้แก่มีโลกเป็นใหญ่. บทว่า นิปโก แปลว่า มีปัญญา.
บทว่า ฌายี แปลว่า เพ่งอยู่. บทว่า ธมฺมาธิโป ได้แก่มีธรรมเป็นใหญ่.
บทว่า สจฺจปรกฺกโม ได้แก่ มีความบากบั่นอย่างมั่นคง คือ มีความ
บากบั่นอย่างแท้จริง. บทว่า ปสยฺห มาร แปลว่า ข่มมาร. บทว่า
อภิยฺย อนฺตก นี้เป็นไวพจน์ของบทว่า ปสยฺห มาร นั้นนั่นเอง.
บทว่า โย จ ผุสี ชาติกฺขย ปธานวา ความว่า บุคคลใดมี
ปกติเพ่ง มีความเพียรครอบงำมาร แล้วสัมผัสอรหัตผลอันเป็นสภาวะที่สิ้นไป
แห่งชาติ. บทว่า โส ตาทิโส ได้แก่ บุคคลนั้น ชนิดนั้น คือ ดำรงอยู่
โดยอาการอย่างนั้น. บทว่า โลกวิทู คือ ทำโลก ๓ ให้เป็นอันรู้แจ้ง คือ
ให้ปรากฏอยู่แล้ว. บทว่า สุเมโธ แปลว่า ผู้มีปัญญาดี. บทว่า สพฺเพสุ
ธมฺเมสุ อตมฺมโย มุนิ ความว่า มุนี คือ พระขีณาสพ ชื่อว่า อตัมมยะ
เพราะไม่มีตัมมยะ กล่าวคือตัณหาในธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด. มีคำ
อธิบายว่า ท่านไม่เสื่อม ไม่สูญไป ในกาลไหน ๆ ในที่ไหน ๆ.
จบอรรถกถาอธิปไตยสูตรที่ ๑๐
จบเทวทูตวรรควรรณนาที่ ๔
รวมพระสูตรที่มีในเทวทูตวรรคนี้ คือ
๑. พรหมสูตร ๒. อานันทสูตร ๓. สารีปุตตสูตร ๔. นิพพานสูตร
๕. หัตถกสูตร ๖. ทูตสูตร ๗. ปฐมราชสูตร ๘. ทุติยราชสูตร ๙. สุ-
ขุมาลสูตร ๑๐. อธิปไตยสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 191
จูฬวรรคที่ ๕
๑. สัมมุขีสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ประสบบุญมาก ๓ ประการ
[๔๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความพร้อมหน้าแห่งวัตถุ ๓
กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมได้บุญมาก วัตถุ ๓ คืออะไร คือ ศรัทธาไทยธรรม
และทักษิไณย เพราะความพร้อมหน้าแห่งวัตถุ ๓ นี้แล กุลบุตรผู้มีศรัทธา
ย่อมได้บุญมาก.
จบสัมมุขีสูตรที่ ๑
จูฬวรรควรรณนาที่ ๕
อรรถกถาสัมมุขีสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสัมมุขีสูตรที่ ๑ แห่งจูฬวรรคที่ ๕ ดังต่อ
ไปนี้:-
บทว่า สมฺมุขีภาวา ความว่า เพราะความพร้อมหน้า อธิบายว่า
เพราะความมีอยู่. บทว่า ปสวติ แปลว่า ย่อมกลับได้. บทว่า สทฺธาย
สมฺมุขีภาโว ความว่า เพราะถ้าไม่มีศรัทธา ไม่มีไทยธรรม (และ) ไม่มี
บุคคลผู้เป็นปฏิคาหก กล่าวคือพระทักขิไณยบุคคลแล้วไซร้ จะพึงกระทำ
บุญกรรมได้อย่างไร ? แต่เพราะปัจจัย ๓ อย่างนั้นมีพร้อมหน้ากัน จึงสามารถ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 192
กระทำบุญกรรมได้ เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสดำมีอาทิว่า
สทฺธาย สมฺมุขีภาวา ดังนี้. และใน ๓ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง คือ
ไทยธรรม ๑ ทักขิไณยบุคคล ๑ หาได้ง่าย แต่ศรัทธาหาได้ยาก. เพราะ
ปุถุชนมีศรัทธาไม่มั่นคง แตกต่างกันไปตามบทตามบาท. ด้วยเหตุนั้นแล
แม้พระอัครสาวกเช่นกับ พระมหาโมคคัลลานะ ไม่อาจรับรองศรัทธานั้นได้
จึงกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เรารับรองธรรมของท่านได้ ๒ อย่าง คือ โภคะ ๑
ชีวิต ๑ แต่ตัวท่านเองต้องรับรองศรัทธา ดังนี้.
จบอรรถกถาสัมมุขีสูตรที่ ๑
๒. ฐานสูตร
ว่าด้วยลักษณะผู้มีศรัทธา ๓ ประการ
[๔๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส พึงรู้ได้ด้วยสถาน
๓ สถาน ๓ คืออะไร คือ เป็นผู้ใคร่ในการเห็นผู้มีศีลทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ใคร่
เพื่อจะฟังธรรม ๑ มีใจปราศจากมลทิน คือความตระหนี่อยู่ครองเรือน มี
การบริจาคอันปล่อยแล้ว มีมืออันล้างไว้ (คอยจะหยิบของให้ทาน) ยินดีในการ
สละ ควรแก่การขอ พอใจในการให้และการแบ่งปัน ๑ ผู้มีศรัทธาเลื่อมใส
พึงรู้ได้ด้วยสถาน ๓ นี้แล
ผู้ใดใคร่ในการเห็นผู้มีศีล ปรารถนา
จะฟังพระสัทธรรม กำจัดมลทินคือความ
ตระหนี่เสียได้ ผู้นั้นชื่อว่า ผู้มีศรัทธา.
จบฐานสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 193
อรรถกถาฐานสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า วิคตมลมจฺเฉเรน ความว่า ปราศจากมลทินคือความตระหนี่.
บทว่า มุตฺตจาโค ความว่า มีการสละโดยไม่ข้องใจ. บทว่า ปยตปาณี
ความว่า มีมืออันล้างแล้ว อธิบายว่า ผู้ไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง ๗ ครั้ง
ก็จัดว่า ยังมีมือเปื้อนอยู่นั่นแล แต่คนมีศรัทธา ชื่อว่ามีมืออันล้างสะอาดแล้ว
ทีเดียว เพราะเป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในทาน. บทว่า โวสฺสคฺครโต ความว่า
ยินดีแล้วในทาน กล่าวคือการเสียสละ. บทว่า ยาจโยโค ความว่า สมควร
ให้ขอ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ยาจโยโค เพราะมีความเหมาะสมกับด้วยยาจก
ทั้งหลายบ้าง. บทว่า ทานสวิราครโต ความว่า เมื่อจะให้ทานก็ดี เมื่อจะ
ทำการจัดแบ่งก็ดี ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า ยินดีในทานและการจัดแบ่ง.
บทว่า ทสฺสนกาโม สีลวต ความว่า มีความประสงค์จะพบท่าน
ผู้ทรงศีล ๑๐ โยชน์ก็ไป ๒๐ โยชน์ก็ไป ๓๐ โยชน์ก็ไป ๑๐๐ โยชน์ก็ไป ดุจ
ปาฏลีปุตตกพราหมณ์และพระเจ้าสัทธาติสสมหาราช.
เรื่องปาฏลีปุตตกพราหมณ์
เล่ากันมาว่า ใกล้ประตูพระนครปาฏลีบุตร มีพราหมณ์ ๒ คน ได้
ทราบเกียรติคุณ ของพระมหานาคเถระผู้อยู่ในกาฬวัลลิมณฑป คิดกันว่า
เรา ๒ คนควรจะไปหาภิกษุนั้น ดังนี้ ทั้งสองคนจึงออกจากพระนคร. คนหนึ่ง
ถึงแก่กรรมในระหว่างทาง. คนหนึ่งไปถึงฝั่งทะเล ลงเรือที่ท่ามหาดิตถ์มายัง
อนุราธบุรี ถามว่า กาฬวัลลิมณฑปอยู่ที่ไหน ได้รับคำตอบว่า ที่โรหณชนบท
เขาไปถึงที่อยู่ของพระเถระตามลำดับ ยึดเอาที่พักในเรือนประกอบธุรกิจ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 194
ใกล้จุลลนครคาม ได้ปรุงอาหารถวายพระเถระ ถามถึงที่อยู่ของพระเถระ
เพื่อจะเข้าหาแต่เช้า ๆ แล้วไปยืนอยู่ท้ายประชาชน เห็นพระเถระเดินมาแต่
ไกลทีเดียว ยืนอยู่ตรงนั้นแหละครู่หนึ่ง ไหว้แล้วเข้าไปหาอีก จับข้อเท้า
(ของพระเถระ) ไว้แน่น แล้วเรียนว่า พระคุณเจ้าสูงมากขอรับ. ก็พระเถระ
ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป พอได้ขนาดเท่านั้น ด้วยเหตุนั้น เขาจึงเรียนท่าน
อีกว่า พระคุณเจ้าไม่ได้สูงเกินหรอก แต่คุณความดีของพระคุณเจ้า แผ่ไป
ตามน้ำทะเลสีคราม ท่วมท้นถึงพื้นชมพูทวีปทั้งหมด แม้ผมนั่งอยู่ใกล้ประตู.
พระนครปาฏลีบุตร ก็ได้ยินเกียรติคุณของพระคุณเจ้า. เขาได้ถวายภิกษาหาร
แด่พระเถระ มอบไตรจีวรของตนบวชในสำนักของพระเถระ. ดำรงอยู่ใน
โอวาทของท่านแล้ว ได้บรรลุอรหัตผลโดย ๒-๓ วันเท่านั้น.
เรื่องพระเจ้าสัทธาติสสมหาราช
แม้พระเจ้าสัทธาติสสมหาราช ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอ
พระคุณเจ้าจงบอกพระผู้เป็นเจ้ารูปหนึ่ง ที่สมควรโยมจะกราบไหว้. ภิกษุ
ทั้งหลายถวายพระพรว่า ท่านกุชชติสสเถระ ผู้อยู่ในมังคลาราม. พระราชา
พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก ได้เสด็จไปสิ้นระยะทาง ๕ โยชน์. พระเถระ
ถามภิกษุสงฆ์ว่า นั่นเสียงอะไร. ภิกษุสงฆ์เรียนว่า พระราชาเสด็จมาเพื่อจะ
นมัสการพระคุณท่านขอรับ พระเถระคิดว่า จะมีงานอะไรในพระราชวัง ใน
เวลาที่เราแก่เฒ่า จึงนอนบนเตียง ณ ที่พักกลางวัน (แล้วลุกขึ้น) ไปขีดรอย
(ลากไปมา) บนแผ่นดิน. พระราชาตรัสถามว่า พระเถระไปไหน ? ทรงสดับ
ว่า พระเถระจำวัดอยู่ในที่พักกลางวัน จึงเสด็จไปที่นั้น เห็นพระเถระกำลังขีด
แผ่นดินอยู่ ทรงพระดำริว่า ธรรมดาพระขีณาสพจะไม่คะนองมือ ท่านผู้นี้
ไม่ใช่พระขีณาสพ จึงไม่ทรงไหว้เลย แล้วเสด็จกลับไป. ภิกษุสงฆ์เรียนพระเถระ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 195
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เหตุไฉน ใต้เท้าจึงก่อความเดือดร้อนพระทัย แก่พระ-
ราชาผู้มีพระราชศรัทธา ทรงเลื่อมใสอย่างนี้. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส
ทั้งหลาย การรักษาพระราชศรัทธา ไม่ใช่หน้าที่ของท่านทั้งหลาย (แต่) เป็น
หน้าที่ของพระเถระผู้เฒ่า แล้วเมื่อจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ในกาลต่อมา จึงกล่าวกะภิกษุสงฆ์ว่า ท่านทั้งหลายจงลาดบัลลังก์แม้อื่นไว้บน
กูฏาคารสำหรับเรา เมื่อภิกษุสงฆ์ปูลาดบัลลังก์แล้ว พระเถระอธิษฐานว่า ใน
ระหว่างนี้ ขอกูฏาคารนี้อย่าเพิ่งประดิษฐาน เฉพาะในเวลาที่พระราชาทรงเห็น
แล้ว จึงค่อยประดิษฐานอยู่ที่พื้นดิน แล้วปรินิพพาน. กูฏาคารได้ลอยไปทาง
อากาศสิ้นระยะทาง ๕ โยชน์. ต้นไม้ที่พอจะปักธงได้ ก็ได้ถูกปักธงไว้ ตลอด
ระยะทาง ๕ โยชน์ ทั้งกอไม้ ทั้งพุ่มไม้ ก็ได้เอนไปหากูฏาคารทั้งหมด.
ภิกษุทั้งหลาย ส่งข่าวไปทูลพระราชาว่า พระเถระปรินิพพาน
เสียแล้ว กูฏาคารกำลังลอยมาทางอากาศ. พระราชาไม่ทรงเชื่อ. กูฎาคาร
ลอยมาทางอากาศ กระทำประทักษิณถูปาราม แล้วได้ไปถึงศิลาเจดียสถาน.
พระเจดีย์พร้อมทั้งสิ่งของ ได้ลอยขึ้นไปประดิษฐานอยู่เหนือยอดกูฏาคาร.
เสียงสาธุการตั้งพัน ก็ดังกระหึ่มขึ้น. ในขณะนั้น ท่านมหาพยัคฆเถระนั่งอยู่
บนกูฏาคารชั้น ๗ ใกล้โลหปราสาท กำลังทำวินัยกรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่๑
ฟังเสียง (สาธุการ) นั้น แล้ว ซักถามว่า นั่นเสียงอะไร ? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระกุชชติสสเถระ ผู้อยู่ในมังคลารามปรินิพพานแล้ว.
กูฏาคารลอยมาทางอากาศสิ้นระยะทาง ๕ โยชน์ นั่นเป็นเสียงสาธุการ ใน
เพราะกูฏาคาร (ที่ลอยมา) นั้น. พระเถระกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย เราจัก
อาศัยท่านผู้มีบุญ แล้ว (พลอย) ได้รับสักการะ ให้อันเตวาสิกขมาโทษแล้ว๒
๑. ปาฐะว่า นิสินฺโน ต สทฺท สุตฺวา ฉบับพม่าเป็น นิสินฺโน ภิกขูน วินยกมฺม กโรนฺโต ต
สทฺท สุตฺวา แปลตามฉบับพม่า.
๒. ปาฐะว่า ปรินิพฺพุโต กูฏาคาร ฉบับพม่าเป็น ปรินิพฺพุโต อนฺเตวาสิเก ขมาเปตฺวา
กูฏาคาร...แปลตามฉบับพม่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 196
เหาะมาทางอากาศนั่นแล เข้าไปสู่กูฏาคาร นั่งบนเตียงที่สองแล้วปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. พระราชาทรงถือเอาของหอม ดอกไม้ และ
จุณจันทน์ แล้วเสด็จไปบูชากูฏาคารที่สถิตอยู่ในอากาศ. ในขณะนั้น กูฏาคาร
ได้ลอยมาประดิษฐานที่พื้นดิน. พระราชารับสั่งให้ทำสรีรกิจด้วยสักการะเป็น
อันมาก แล้วทรงรับเอาพระธาตุไปสร้างเจดีย์. ท่านผู้ทรงศีลเห็นปานนี้ มีผู้
ประสงค์จะพบเห็นเป็นธรรมดา. พระเจ้าสัทธาติสสมหาราชจักเป็นอัครสาวก
รูปที่ ๒ ของพระศรีอาริยเมตไตรย (ต่อไปในอนาคต).
บทว่า สทฺธมฺม โสตุมิจฺฉติ ความว่า เป็นผู้ประสงค์จะสดับ
พระสัทธรรม ที่พระคถาคตเจ้าทรงประกาศแล้ว ดุจพระปิณฑปาติกเถระ
เป็นต้น
เรื่องพระปิณฑปาติกเถระ
เล่ากันมาว่า ภิกษุ ๓๐ รูป เข้าจำพรรษาบนเนิน ชื่อว่า ควรวาฬะ
ทุก ๆ กึ่งเดือน ในวันอุโบสถ จะพูดกันถึงมหาอริยวงศ์ ที่พรรณนาถึงการ
สันโดษด้วยปัจจัย ๔ และการยินดีในภาวนา. พระเถระผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร
รูปหนึ่ง มาภายหลังนั่งในที่กำบัง ลำดับนั้น งูขว้างฆ้อนตัวหนึ่งได้กัดท่าน
(จนเนื้อหลุด) เหมือนเอาคีมคีบเนื้อออกจากปลีแข้ง. พระเถระมองดูเห็นงู
ขว้างฆ้อน คิดว่า วันนี้ เราจักไม่ทำอันตรายแก่การฟังธรรม จับงูใส่ลงใน
ย่าม ผูกปากย่ามไว้ แล้ววางไว้ในที่ไม่ไกล นั่งฟังธรรมอยู่. อรุณขึ้นไป ๑
พิษงูสงบ พระเถระได้บรรลุผลทั้งสาม ๑ พิษงูไหลออกจากปากแผลลงดินไป ๑
พระเถระผู้แสดงธรรม จบธรรมกถา ๑ (อย่างนี้) ได้มีในขณะเดียวกัน
นั่นแหละ. ต่อนั้นพระเถระได้พูดว่า อาวุโสทั้งหลาย เราจับ โจรได้ตัวหนึ่ง
แล้วแก้ถุงย่ามออก ปล่อยงูขว้างฆ้อนไป. ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วจึงถามว่า
มัน กัดท่านเวลาไหนขอรับ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 197
พระเถระ. อาวุโสทั้งหลาย เราถูกมันกัดตอนเย็นวันวาน.
ภิ. ท่านขอรับ เพราะเหตุไร ท่านถึงทำกรรมหนักอย่างนี้.
พระเถระ. อาวุโสทั้งหลาย ถ้าเราจะพึงบอกว่า เราถูกงูกัดไซร้
เราจะไม่พึงได้อานิสงส์ มีประมาณเท่านี้. นี้เป็นเรื่อง (ตัวอย่าง) ของพระ-
ปิณฑปาติกเถระก่อน.
เรื่องภิกษุหนุ่มชาวติสสมหาวิหาร
แม้ในเมืองทีฆวาปี มีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง อยู่ประจำที่ติสสมหาวิหาร
ใกล้บ้านหมู่ใหญ่ ได้ทราบว่า พระเถระผู้เทศน์มหาชาดก จักเทศน์คาถาพัน
มหาเวสสันดร จึงออกจากวัดมาสิ้นระยะทาง ๑ โยชน์ โดย (เดิน) วันเดียว
เท่านั้น. ในขณะนั้นเอง พระเถระ เริ่มแสดงธรรมแล้ว. ภิกษุหนุ่มกำหนด
ได้เฉพาะคาถาสุดท้ายกับคาถาเริ่มต้น เพราะเกิดความกระวนกระวายทางกาย
โดยการเดินทางไกล. ต่อจากนั้น ในเวลาที่พระเถระกล่าวคำว่า อิทมโวจ
(จบ) แล้วลุกออกไป ภิกษุหนุ่มได้ยืนร้องไห้เสียใจว่า การเดินทางมาของเรา
กลายเป็นของไร้ประโยชน์ไปแล้ว. ชายคนหนึ่งได้ยินถ้อยคำนั้นแล้วได้ไปบอก
พระเถระว่า ท่านขอรับ ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมาจากติสสมหาวิหารด้วยหวังใจว่า
จักฟังธรรมกถาของพระคุณเจ้า เธอได้ยืนร้องไห้ เสียใจว่า การมาของเรา
กลายเป็นไร้ประโยชน์ไป เพราะมีความกระวนกระวายทางกาย. พระเถระ
ตอบว่า ไปเถิด ไปให้สัญญากับเธอว่า พรุ่งนี้ เราจักแสดงธรรมนั้นซ้ำอีก.
ในวันรุ่งขึ้น เธอได้ฟังธรรมกถาของพระเถระแล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล.
เรื่องหญิงชาวเมืองอุลลังคโกลิกัณณิ
ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง หญิงชาวอุลลังคโกลิกัณณิชนบทคนหนึ่ง กำลังให้
ลูกดูดนม ได้ฟังข่าวว่า พระมหาอภัยเถระผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกาย จะแสดงอริย-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 198
วังสปฏิปทาสูตร จึงเดินทางไปสิ้นระยะทาง ๕ โยชน์ เข้าไปยังวิหาร ในเวลา
ที่พระเถระผู้เทศน์ตอนกลางวันนั่งเทศน์อยู่ ให้ลูกนอนบนพื้นดิน ยืนฟังธรรม
ของพระเถระผู้เทศน์ในกลางวัน. แม้พระเถระแสดงบทภาณ ก็ยืนฟังเหมือนกัน
เมื่อพระเถระผู้เทศน์บทภาณลุกขึ้นแล้ว พระมหาเถระผู้กล่าวทีฆนิกาย ก็เริ่ม
แสดงมหาอริยวงศ์พรรณนาถึงการสันโดษด้วยปัจจัย ๔ และการยินดีด้วยภาวนา.
นางยืนประณมมือฟัง พระเถระแสดงปัจจัย ๓ แล้ว ทำอาการจะลุกขึ้น
นางจึงเรียนว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายคิดว่า จักเทศน์อริยวงศ์แล้ว ฉันโภชนะที่
อร่อย ดื่มน้ำที่มีรสหวาน ปรุงยาด้วยชะเอมเครือ และน้ำมันเป็นต้น แล้ว
จึงขึ้นที่ที่ควรจะแสดง (ธรรมาสน์) พระเถระกล่าวว่า ดีแล้ว น้องหญิง
แล้วเริ่มธรรมอันเป็นความยินดีในภาวนาต่อไป. อรุณขึ้นไป ๑ พระเถระ
กล่าวคำว่า อิทมโวจ ๑ อุบาสิกาได้บรรลุโสดาปัตติผล ๑ (๓ อย่างนี้) ได้มี
ในขณะเดียวกัน.
เรื่องหญิงชาวบ้านกาฬุมพระ
หญิงอีกคนหนึ่ง เป็นชาวบ้านกาฬุมพระ อุ้มลูกไปยังจิตตลบรรพต
ด้วยคิดว่า จักฟังธรรม ให้ลูกนอนพิงต้นไม้ต้นหนึ่ง ตนเองยืนฟังธรรม.
ในระหว่างรัตติภาค งูตัวหนึ่งกัดเด็กที่นอนอยู่ใกล้ ๆ นาง ทั้ง ๆ ที่ดูอยู่
เข้าสี่เขี้ยว แล้วหนีไป. นางคิดว่า ถ้าเราจักบอกว่า ลูกของเราถูกงูกัดไซร้
จักเป็นอันตรายแก่การฟังธรรม เมื่อเรายังเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ เด็กคนนี้
ได้เป็นลูกของเรามาหลายครั้งแล้ว เราจักประพฤติธรรมเท่านั้น แล้วยืนอยู่
ตลอดทั้ง ๓ ยาม ประคองธรรมไว้ ได้บรรลุโสดาปัตติผล เมื่ออรุณขึ้นแล้ว
ทำลายพิษ (งู) ในบุตรด้วยการทำสัจกิริยา แล้วอุ้มบุตรไป คนเห็นปานนี้
ย่อมชื่อว่า เป็นผู้ใคร่การฟังธรรม.
จบอรรถกถาฐานสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 199
๓. ปัจจยวัตตสูตร
ว่าด้วยประโยชน์ ๓ ที่ผู้แสดงธรรมสมควรพิจารณา
[๔๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเห็นอำนาจประโยชน์ ๓ ก็ควร
เทียวที่จะแสดงธรรมแก่คนอื่น ประโยชน์ คืออะไร คือ ผู้ใดแสดงธรรม
ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถได้รสธรรม ผู้ใดฟังธรรมผู้นั้นย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถ
ได้รสธรรม ผู้แสดงธรรมและผู้ฟังธรรมย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถได้รสธรรม
ด้วยกัน ทั้งสองฝ่าย ภิกษุทั้งหลายเมื่อเห็นอำนาจประโยชน์ ๓ นี้แล ควรเทียวที่
จะแสดงธรรมแก่คนอื่น.
จบปัจจยวัตตสูตรที่ ๓
อรรถกถาปัจจยวัตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปัจจยวัตตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ตโย ภิกฺขเว อตฺถวเส สปฺปสฺสมาเนน ความว่า
เห็นประโยชน์ ๓ อย่าง คือเหตุ ๓ อย่าง. บทว่า อลเมว แปลว่า ควรแล้ว
ทีเดียว. บทว่า โย ธมฺม เทเสติ ความว่า บุคคลใดประกาศสัจธรรม
ทั้ง ๔. บทว่า อตฺถปฏิสเวที ความว่า แตกฉานอรรถกถาด้วยญาณ.
บทว่า ธมฺมปฏิสเวที ความว่า แตกฉานธรรมที่เป็นบาลี.
จบอรรถกถาปัจจยวัตตสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 200
๔. ปเรสสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดการเจรจาธรรม
[๔๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (ธรรม) กถา ย่อมเป็นไปได้ด้วย
สถาน ๓ สถาน ๓ คืออะไร คือ ผู้ใดแสดงธรรม ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถ
ได้รสธรรม ผู้ใดฟังธรรม ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถ ได้รสธรรม ผู้
แสดงธรรมและผู้ฟังธรรม ย่อมเป็นผู้ได้รสอรรถได้รสธรรมด้วยกันทั้งสองฝ่าย
ภิกษุทั้งหลาย (ธรรม) กถา ย่อมเป็นไปได้ด้วยสถาน ๓ นี้แล.
จบปเรสสูตรที่ ๔
อรรถกถาปเรสสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในปเรสสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า าเนหิ แปลว่า โดยเหตุทั้งหลาย. บทว่า ปวตฺตนี ความว่า
ไม่ถูกคัดค้าน คือนำไปได้.
จบอรรถกถาปเรสสูตรที่ ๔
๕. ปัณฑิตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่บัณฑิตบัญญัติไว้ ๓ ประการ
[๔๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ บัณฑิตได้บัญญัติไว้
สัตบุรุษได้บัญญัติไว้ ธรรม ๓ ประการ คืออะไร คือ ทาน ๑ บรรพชา ๑
มาตาปิตุอุปัฏฐาน ๑ นี่แล ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตบัญญัติ สัปปุริสบัญญัติ
๓ ประการ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 201
ทาน อหิงสา สัญญมะ ทมะ การ
บำรุงมารดาและบิดา เป็นข้อที่สัตบุรุษ
ทั้งหลายตั้งขึ้นไว้ ข้อเหล่านั้นเป็นฐานะแห่ง
สัตบุรุษผู้สงบระงับเป็นพรหมจารี ซึ่งเป็น
ฐานะที่บัณฑิตพึงเสพ บัณฑิต (ผู้เสพ
ฐานะเหล่านั้น) เป็นอริยะ ถึงพร้อมด้วย
ความเห็น ย่อมไปสู่โลกอันเกษม.
จบปัณฑิตสูตรที่ ๕
อรรถกถาปัณฑิตสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในปัณฑิตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปณฺฑิตปญฺตฺตานิ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายบัญญัติไว้
คือกล่าวไว้ ได้แก่สรรเสริญแล้ว. บทว่า สปฺปุริสปญฺตฺตานิ ความว่า
อันสัตบุรุษทั้งหลาย คือ มหาบุรุษทั้งหลาย บัญญัติไว้แล้ว คือกล่าวไว้แล้ว
ได้แก่สรรเสริญแล้ว.
ทั้งกรุณา ทั้งธรรมที่เป็นเบื้องต้นของกรุณา ชื่อว่า อหิงสา. การ
สำรวมในศีล ชื่อว่า สังยมะ. การสำรวมอินทรีย์ หรือการฝึกตนด้วยอุโบสถ
ชื่อว่า ทมะ. ส่วนในปุณโณวาทสูตร พระองค์ตรัสเรียกขันตว่า ทมะ.
แม้ปัญญาที่ตรัสไว้ ในอาฬวกสูตร ก็เหมาะสมในพระสูตรนี้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 202
การรักษาคุ้มครองปรนนิบัติมารดาบิดา ชื่อว่า การบำรุงมารดาบิดา.
บทว่า สนฺตาน ความว่า ในสูตรอื่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระอริยสาวกทั้งหลาย ชื่อว่า สัตบุรุษ แต่ในพระสูตรนี้ ทรงประสงค์เอา
ผู้บำรุงเลี้ยงมารดาบิดา. เพราะเหตุนั้น บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า สัตบุรุษ เพราะ
หมายความว่า สูงสุด ชื่อว่า พรหมจารี เพราะหมายความว่า ประพฤติ
ประเสริฐที่สุด. การบำรุงมารดาบิดานี้ สัตบุรุษทั้งหลาย บัญญัติไว้แล้ว
พึงทราบเนื้อความในเรื่องนี้ ดังพรรณนามานี้แล.
บทว่า สต เอตานิ านานิ ความว่า ข้อเหล่านี้เป็นฐานะ คือ
เป็นเหตุของสัตบุรุษทั้งหลาย. บุคคลผู้ทั้งประเสริฐ ทั้งถึงพร้อมด้วยทัศนะ
(ความเห็น) เพราะเหตุ ๓ สถานเหล่านี้แหละ พึงทราบว่าเป็น อริยะและถึง
พร้อมด้วยความเห็น ในพระสูตรนี้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าเป็นต้น และไม่ใช่
พระโสดาบัน.
อีกนัยหนึ่ง พึงทราบอรรถาธิบาย แห่งพระคาถานี้ ด้วยสามารถ
แห่งการบำรุงมารดาบิดาอย่างนี้ว่า เหตุของสัตบุรุษทั้งหลาย ได้แก่อุดมบุรุษ
ทั้งหลายเหล่านี้ คือ การบำรุงมารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑ ชื่อว่า ฐานะเหล่านี้
ของสัตบุรุษทั้งหลาย จริงอยู่ ผู้บำรุงมารดาบิดาเท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า เป็นอริยะและถึงพร้อมด้วยทัศนะ ในพระสูตรนี้. บทว่า ส
โลก ภชเต สิว ความว่า ผู้นั้นย่อมไปสู่เทวโลกอันเป็นแดนเกษม.
จบอรรถกถาปัณฑิตสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 203
๖. ศีลสูตร
ว่าด้วยบ่อเกิดของบุญ
[๔๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีล เข้าอาศัยหมู่บ้าน
หรือตำบลใดอยู่ คนโนหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมได้บุญมาก ด้วยสถาน ๓
สถาน ๓ คืออะไร คือ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ บรรพชิตผู้มีศีล
เข้าอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ คนในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมได้บุญ
มากด้วยสถาน ๓ นี้แล.
จบศีลสูตรที่ ๖
อรรถกถาศีลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในศีลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ตีหิ าเนหิ ความว่า ด้วยเหตุ ๓ อย่าง. ในบทว่า กาเยน
เป็นต้น มีอธิบายว่า คนทั้งหลายเห็นภิกษุทั้งหลายเดินมาจะทำการต้อนรับ
เมื่อไปก็ตามส่ง กระทำการนวดและชโลม (ด้วยน้ำมัน ) เป็นต้น ปูอาสนะ
ไว้บนอาสนศาลา ตั้งน้ำดื่มไว้ ชื่อว่า ย่อมได้บุญด้วยกาย.
คนทั้งหลายเห็นภิกษุสงฆ์กำลังเดินบิณฑบาต เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า
ท่านทั้งหลายจงถวายข้าวยาคู ข้าวสวย เนยใสและเนยข้นเป็นต้น จงบูชาด้วย
ของหอมและดอกไม้เป็นต้น จงรักษาอุโบสถ จงฟังธรรม และจงไหว้พระ-
เจดีย์เถิด ดังนี้ ชื่อว่า ได้บุญด้วยวาจา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 204
คนทั้งหลายเห็นภิกษุทั้งหลายกำลังเที่ยวบิณฑบาต เมื่อคิดว่า ขอให้
ชาวบ้านจงถวายทานเถิดดังนี้ ชื่อว่า ได้บุญด้วยใจ.
บทว่า ปสวนฺติ แปลว่า ได้เฉพาะ. ก็ในพระสูตรนี้ พระองค์
ตรัสบุญที่เจือด้วยโลกิยะและโลกุตระ.
จบอรรถกถาศีลสูตรที่ ๖
๗. สังขตสูตร
ว่าด้วยลักษณะแห่งสังขตธรรม ๓ ประการ
[๔๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ นี้
๓ คืออะไร คือ ความเกิดขึ้น ( ในเบื้องต้น ) ย่อมปรากฏ ความเสื่อมสิ้นไป
(ในที่สุด) ย่อมปรากฏ เมื่อยังตั้งอยู่ ความแปรไปย่อมปรากฏ ภิกษุทั้งหลาย
สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล.
จบสังขตสูตรที่ ๗
อรรถกถาสังขตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสังขตสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า สขตสฺส ความว่า อันปัจจัยทั้งหลายมารวมกันสร้าง
(ปรุงแต่ง). เครื่องหมายที่เป็นเหตุให้หมายรู้ว่า สิ่งนี้ อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ชื่อว่า สังขตลักษณะ. บทว่า อุปฺปาโท ได้แก่ ความเกิด. ความแตกดับ
ชื่อว่า ความเสื่อม ความแก่ ชื่อว่า ความแปรไปของผู้ที่ดำรงอยู่แล้ว
ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า สังขตะ ในบทว่า สงฺขตสฺส นั้น
แต่มรรคผลพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสไว้ในพระสูตรนี้ เพราะไม่เข้าถึงการ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 205
พิจารณา. การเกิดขึ้นเป็นต้น ชื่อว่า สังขตลักษณะ บรรดาลักษณะทั้ง ๓
นั้น ความเกิดขึ้น มีในอุปปาทขณะ. ความแก่มีในขณะที่ตั้งอยู่ (ฐิติขณะ).
ความเสื่อมมีในภังคขณะ. ลักษณะเครื่องหมายไม่ใช่สังขตะ (สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง)
สังขตะ (สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง) ก็ไม่ใช่ลักษณะ (เครื่องหมาย). แต่สิ่งที่เป็นสังขตะ
ถูกกำหนดด้วยลักษณะ. ลักษณะของ ช้าง ม้า โค และกระบือ เป็นต้น
ที่เป็นเหตุให้จำได้หมายรู้เช่น หอก หลาว เป็นต้น ไม่ใช่ (ตัว) ช้างเป็นต้น
ถึง (ตัว) ช้างเป็นต้น ก็ไม่ใช่ลักษณะเหมือนกัน แต่ช้าง ม้า โค และกระบือ
เป็นต้น เหล่านั้น (เรา) รู้กันว่า เป็นช้างของคนโน้น ม้าของคนโน้น หรือ
ช้างชื่อโน้น ม้าชื่อโน้น ก็ด้วยลักษณะทั้งหลายฉันใด ข้ออุปไมยนี้ ก็พึงทราบ
ฉันนั้น.
จบอรรถกถาสังขตสูตรที่ ๗
๘. อสังขตสูตร
ว่าด้วยลักษณะแห่งอสังขตธรรม ๓ ประการ
[๘๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ นี้
๓ คืออะไร คือ ความเกิดขึ้น ไม่ปรากฏ ความเสื่อมสิ้น ก็ไม่ปรากฏ เมื่อ
ตั้งอยู่ความแปรไปก็ไม่ปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของ
อสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล.
จบอสังขตสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 206
อรรถกถาอสังขตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอสังขตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อสงฺขตสฺส ได้แก่ ที่ปัจจัยทั้งหลายไม่ได้ประมวลมาสร้าง
(ไม่ได้ปรุงแต่ง). เครื่องหมายที่เป็นเหตุให้รู้กันได้ว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ปัจจัยปรุงแต่ง
ชื่อว่า อสังขตลักษณะ. ด้วยบทว่า น อุปฺปาโท ปญฺายติ เป็นต้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึง ความไม่มีแห่งความเกิดขึ้น ทั้งความแก่ และความ
แตกดับ. ก็เพราะไม่มีลักขณะ มีการเกิดขึ้นเป็นต้น จึงปรากฏเป็นอสังขตะ.
จบอรรถกถาอสังขตสูตรที่ ๘
๙. ปัพพตสูตร
ว่าด้วยการพึ่งพาอาศัยเป็นเหตุให้เจริญ
[๔๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ทั้งหลาย ได้อาศัยขุนเขา
หิมพานต์ ย่อมเจริญด้วยความเจริญ ๓ ประการ ด้วยความเจริญ ๓ คืออะไร
คือ เจริญด้วยกิ่ง ใบอ่อน ใบแก่ เจริญด้วยเปลือกและกะเทาะ เจริญด้วยกระพี้
และแก่น ภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ทั้งหลายได้อาศัยขุนเขาหิมพานต์ ย่อม
เจริญด้วยความเจริญ ๓ นี้
ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย อันโตชนได้อาศัยกุลบดีบุคคลผู้มี
ศรัทธา ย่อมเจริญด้วยความเจริญ ๓ ประการ ด้วยความเจริญ ๓ คืออะไร
คือ เจริญด้วยศรัทธา เจริญด้วยศีล เจริญด้วยปัญญา ภิกษุทั้งหลาย อันโตชน
ได้อาศัยกุลบดีบุคคลผู้มีศรัทธา ย่อมเจริญด้วยความเจริญ ๓ นี้แล.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 207
ต้นไม้ใหญ่ ๆ ได้อาศัยภูเขาหินใน
ป่าสูง ย่อมเจริญ แม้ฉันใด บุตรภริยา
พวกพ้อง เพื่อน หมู่ญาติ และบ่าวไพร่
ได้อาศัยกุลบดีบุคคลผู้มีศรัทธาถึงพร้อม
ด้วยศีลย่อมเจริญในโลกนี้ ฉันนั้นแล
ชนเหล่านั้น ผู้ที่มีสติปัญญาเห็นอยู่
ซึ่งศีล การบริจาค และสุจริตของกุลบดี
บุคคลนั้น ย่อมประพฤติตาม
ชนผู้ใคร่กาม (เหล่านั้น) ครั้น
ประพฤติธรรมอันเป็นบรรดาไปสู่สุคติใน
โลกนี้แล้ว (ละโลกนี้ไปแล้ว) ย่อมเป็น
ผู้มีความยินดีบันเทิงอยู่ในเทวโลก.
จบปัพพตสูตรที่ ๙
อรรถกถาปัพพสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในปัพพทสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-
ต้นไม้ใหญ่ ๆ ชื่อว่า มหาสาลา. ผู้เจริญที่สุดในตระกูล ชื่อว่า
กุลปติบุคคล. ภูเขาศิลา ชื่อว่า เสโล. บทว่า อรญฺสฺมึ ได้แก่ในสถานที่
ไม่ใช่บ้าน. บทว่า พฺรหา แปลว่าใหญ่. บทว่า วเน ได้แก่ ดง. ต้นไม้
ที่ใหญ่ที่สุดในป่า ชื่อว่า วนัปปัตติ (เจ้า ไพร). บทว่า อิธ ธมฺม จริตฺวาน
มคฺค สุคติคามิน ความว่า ประพฤติธรรมกล่าวคือ มรรคที่จะให้ดำเนิน
ไปสู่สุคติ.
จบอรรถกถาปัพพตสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 208
๑๐. อาตัปปสูตร
ว่าด้วยความเพียร ๓ ประการ
[๔๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเพียรพึงกระทำโดยสถาน ๓
สถาน ๓ คืออะไร คือ ความเพียรพึงกระทำเพื่อยังธรรมที่เป็นบาปอกุศลอันยิ่ง
ไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๑ เพื่อยังธรรมที่เป็นกุศลอันยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๑ เพื่ออด
กลั้นซึ่งเวทนาที่เกิดในกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขื่นไม่เจริญใจพอ
จะคร่าชีวิตได้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุทำความเพียรเพื่อยังธรรมที่เป็น
บาปอกุศลอันยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อยังธรรมที่เป็นกุศลอันยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น เพื่ออดกลั้นซึ่งเวทนาที่เกิดในกายอันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อน ขม
ขึ้นไม่เจริญใจพอจะคร่าชีวิตได้ ภิกษุนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้มีความเพียร มี
ปัญญา มีสติ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.
จบอาตัปปสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาอาตัปปสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในอาตัปปสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อาตปฺป กรณีย ความว่า ควรประกอบความเพียร. บทว่า
อนุปฺปาทาย ความว่า เพื่อต้องการไม่ให้เกิดขึ้น อธิบายว่า ต้องทำด้วย
เหตุนี้ คือ ด้วยคิดว่า เราจักตรวจตราไม่ให้กิเลสเกิดขึ้น. แม้ต่อจากนี้ไป
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 209
บทว่า สารีริกาน ได้แก่ ที่เกิดในสรีระ. บทว่า ทุกฺขาน ความว่า
(เวทนาทั้งหลาย) ที่เป็นทุกข์. บทว่า ติปฺปาน ได้แก่หนาแน่น หรือกล้า
ด้วยสามารถแห่งการแผดเผา. บทว่า ขราน ได้แก่หยาบ. บทว่า กฏฺกาน
ได้แก่เผ็ดร้อน. บทว่า อสาตาน ได้แก่ไม่หวาน. บทว่า อมนาปาน
ได้แก่ไม่สามารถให้เจริญใจได้. บทว่า ปาณหราน ได้แก่ ตัดชีวิต. บทว่า
อธิวาสนาย ได้แก่เพื่อต้องการยับยั้ง คือเพื่อต้องการอดทน ได้แก่เพื่อ
ต้องการอดกลั้น.
พระศาสดาครั้นทรงบังคับ คือทรงยังอาณัติสงฆ์ให้เป็นไปในฐานะ
มีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงชักชวน (ภิกษุทั้งหลาย) จึงตรัสคำ
มีอาทิว่า ยโต โข ภิกฺขเว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต ได้แก่ ยทา แปลว่าเมื่อใด.
บทว่า อาตาปี ได้แก่มีความเพียร. บทว่า นิปโก ได้แก่มีปัญญา. บทว่า
สโต ได้แก่ประกอบด้วยสติ. บทว่า ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย ได้แก่เพื่อ
ทำทางรอบด้านแห่งวัฏทุกข์ให้ขาดตอน. คุณธรรม ๓ อย่างมีความเพียรเป็นต้น
เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคละกันทั้งโลกิยะ และโลกุตระ.
จบอรรถกถาอาตัปปสูตรที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 210
๑๑. มหาโจรสูตร
ว่าด้วยองค์ของโจรและของภิกษุอลัชชี
[๔๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรได้องค์ ๓ ย่อมตัดช่องย่องเบา
บ้าง ปล้นสะดมบ้าง ทำการล้อมบ้านหลังเดียวแล้วปล้นบ้าง คอยดักชิงเอาที่
ทางเปลี่ยวบ้าง องค์ ๓ คืออะไร คือ มหาโจรได้อาศัยที่อันขรุขระ ๑ ได้อาศัย
ป่าชัฏ ๑ ได้พึ่งพิงผู้มีอำนาจ.
มหาโจรอาศัยที่อันขรุขระอย่างไร มหาโจรอาศัยแม่น้ำเขินหรือหุบเขา
อย่างนี้ มหาโจร ชื่อว่า อาศัยที่อันขรุขระ
มหาโจรอาศัยที่ป่าชัฏอย่างไร มหาโจรอาศัยพงหญ้าหรือดงไม้หรือตลิ่ง
หรือราวป่าใหญ่ อย่างนี้ มหาโจร ชื่อว่า อาศัยที่ป่าชัฏ
มหาโจรได้พึ่งพิงผู้มีอำนาจอย่างไร มหาโจรได้พึ่งพิงท้าวพญา หรือ
ราชมหาอำมาตย์ มันมั่นใจอย่างนี้ว่า ถ้าใคร ๆ จักว่าอะไร ๆ มัน ท้าวพญา
หรือราชมหาอำมาตย์ก็จักช่วยกลบเกลื่อนคดีให้มัน ถ้าใคร ๆ ว่าอะไร ๆ มัน
ท้าวพญาหรือราชมหาอำมาตย์เหล่านั้นก็ช่วยกลบเกลื่อนคดีให้มัน อย่างนี้ มหา-
โจร ชื่อว่า ได้พึ่งพิงผู้มีอำนาจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรได้องค์ ๓ นี้แล ย่อมตัดช่องย่องเบา
ปล้นสะดมและตีชิง
ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๓
ชื่อว่าครองตนอันถูกก่น (ขุดรากคือความดี) ถูกประหาร (ตายจากคุณธรรม)
แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญ
มากด้วย ธรรม ๓ คืออะไร คือ ภิกษุชั่วอาศัยที่อันขรุขระ ๑ อาศัยที่ป่าชัฏ ๑
พึ่งพิงผู้มีอำนาจ ๑.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 211
ภิกษุชั่วอาศัยที่อันขรุขระเป็นอย่างไร ภิกษุชั่วประกอบด้วยกายกรรม...
วจีกรรม ... มโนกรรมอันไม่สมควร อย่างนี้แล ภิกษุชั่วชื่อว่าอาศัยที่อันขรุขระ
ภิกษุชั่วอาศัยที่ป่าชัฏเป็นอย่างไร ภิกษุชั่วเป็นผู้มีความเห็นผิดประกอบ
ด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ (ความเห็นอันแล่นเข้าถึงที่สุด) อย่างนี้แล ภิกษุชั่ว
ชื่อว่าอาศัยที่ป่าชัฏ
ภิกษุชั่วพึ่งพิงผู้มีอำนาจอย่างไร ภิกษุชั่วได้พึ่งพิงท้าวพญา หรือราช-
มหาอำมาตย์ ภิกษุชั่วนั้นมั่นใจอย่างนี้ว่า ถ้าใคร ๆ จักว่าอะไร ๆ เรา
ท้าวพญาหรือราชมหาอำมาตย์เหล่านี้ ก็จักช่วยกลบเกลื่อนความให้เรา ถ้า
ใคร ๆ ว่าอะไร ๆ ภิกษุชั่วนั้น ท้าวพญาหรือราชมหาอำมาตย์เหล่านั้น ก็ช่วย
กลบเกลื่อนความให้ภิกษุชั่วนั้น อย่างนี้แล ภิกษุชั่วชื่อว่าพึ่งพิงผู้มีอำนาจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชั่วประกอบด้วยธรรม ๓ นี้แล ชื่อว่า
ครองตนอันถูกก่น (รากคือความดี) ถูกประหาร (ตายจากคุณธรรม) แล้ว
เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย.
จบมหาโจรสูตรที่ ๑๑
จบจุฬวรรคที่ ๕
อรรถกถามหาโจรสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในมหาโจรสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้:-
โจรที่มีกำลัง มีพวกมาก ชื่อว่า มหาโจร. บทว่า สนฺธึ ได้แก่
ที่ต่อแห่งเรือน. บทว่า นลฺโลป ได้แก่ปล้นแบบมหาวินาศ. บทว่า
เอกาคาริก ได้แก่ปิดล้อมปล้นเรือนหลังเดียวเท่านั้น. บทว่า ปริปนฺเถปิ
ติฏฺติ ได้แก่ดักจี้ตามทาง.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 212
บทว่า นทีวิทุคฺค ได้แก่สถานที่ที่แม่น้ำไหลไปไม่สะดวก คือ เกาะ
แก่งที่พวกโจรสามารถจะซุ่มซ่อนอยู่ได้พร้อมด้วยบริวาร ๒,๐๐๐ บ้าง ๓,๐๐๐
บ้าง. บทว่า ปพฺพตวิสม ได้แก่ที่ที่ภูเขาไม่เสมอกัน คือช่องเขาที่พวกโจร
สามารถจะซุ่มซ่อนอยู่ได้ พร้อมกับบริวารเจ็ดพันหรือแปดพันคน.
บทว่า ติณคหน ได้แก่สถานที่ประมาณ ๑ โยชน์ ซึ่งหญ้าขึ้น
คลุมไว้. บทว่า เคห แปลว่า เรือน. ไพรสณฑ์ที่กิ่งไม้ประสานกันติดเนื่อง
กันไป ชื่อว่า ไพรสณฑ์ใหญ่.
บทว่า ปริโยธาย อตฺถ ภณิสฺสนฺติ ความว่า (พระราชาหรือ
มหาอำมาตย์) จักกล่าวข้อความบิดเบือน คือเพิ่มเหตุนั้น ๆ เข้าไป. บทว่า
ตฺยาสฺส ตัดบทเป็น เต อสฺส. บทว่า ปริโยธาย อตฺถ ภณนฺติ
ความว่า เมื่อใคร ๆ เริ่มกล่าวตำหนิ (เขา) (พระราชาหรือมหาอำมาตย์)
จะบิดเบือนเหตุการณ์นั้น ๆ หลีกเลี่ยงแม้โทษหนัก กล่าวข้อความนี้ว่า
พวกท่านทั้งหลายอย่าพูดอย่างนี้ พวกเรารู้จักคนผู้นี้มาหลายชั่วตระกูล คนผู้นี้
จักไม่ทำอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า บทว่า ปริโยธาย แปลว่าปกปิด.
เพราะพระราชา หรือมหาอำมาตย์เหล่านั้น กล่าวถ้อยคำปกปิดโทษให้เขา.
บทว่า ขต อุปหต ความว่า ชื่อว่า ถูกเขาก่น เพราะถูกขุด
คุณงามความดีทิ้งไป ชื่อว่า ถูกประหาร เพราะเข้าไปทำลายคุณความดีเสีย
บทว่า วิสเมน กายกมฺเมน ความว่า ด้วยกรรมที่ทำทางกายทวาร ที่ชื่อว่า
ไม่เหมาะสม เพราะหมายความว่าพลาดพลั้ง. แม้ในวจีกรรม และมโนกรรม
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนฺตคาหิกาย ความว่า ด้วยทิฏฐิที่ยึดเอาที่สุด
มีวัตถุ ๑๐. ข้อความที่เหลือในบททั้งปวง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามหาโจรสูตรที่ ๑๑
จบจูฬวรรควรรณนาที่ ๕
จบปฐมปัณณาสก์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 213
รวมพระสูตรที่มีในจูฬวรรคนี้ คือ
๑. สัมมุขีสูตร ๒. ฐานสูตร ๓. ปัจจยวัตตสูตร ๔. ปเรสสูตร
๕. บัณฑิตสูตร ๖. ศีลสูตร ๗. สังขตสูตร ๘. อสังขตสูตร ๙. ปัพพตสูตร
๑๐. อาตัปปสูตร ๑๑. มหาโจรสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 214
ทุติยปัณณาสก์
พราหมณวรรคที่ ๑
๑. ปฐมชนสูตร
ว่าด้วยที่พึ่งในภายหน้า
[๔๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์
๒ คน เป็นคนชรา แก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ มีอายุได้ ๑๒๐ ปี
แต่กำเนิด ได้ชวนกันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พวกข้า
พระองค์เป็นพราหมณ์ชรา แก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ มีอายุได้
๑๒๐ ปีแต่กำเนิด แต่มิได้สร้างความดี มิได้ทำกุศล มิได้ทำกรรมอันเป็น
ที่ต้านทานความขลาดไว้ ขอพระโคดมผู้เจริญ ทรงโอวาทสั่งสอนพวกข้า
พระองค์ถึงข้อที่จะพึงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกข้าพระองค์สิ้น
กาลนานเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ที่แท้ พวกท่านเป็น
คนชรา แก่เฒ่า ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ มีอายุได้ ๑๒๐ ปีแต่กำเนิด
แต่มิได้สร้างความดี มิได้ทำกุศล มิได้ทำกรรมอันเป็นที่ต้านทานความขลาด
ไว้ ดูก่อนพราหมณ์ โลกนี้ถูกชรา พยาธิ มรณะ นำเข้าไปอยู่แล เมื่อโลก
ถูกชรา พยาธิ มรณะ นำเข้าไปอยู่เช่นนี้ ความสำรวมทางกาย ความสำรวม
ทางวาจา ความสำรวมทางใจในโลกนี้ ย่อมเป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็น
เกาะ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ยึดหน่วงของเขาผู้ละไปแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 215
ชีวิตถูกชรานำเข้าไปใกล้ความมีอายุ
สั้น ผู้ที่ถูกชรานำเข้าไปใกล้แล้ว ย่อมไม่
มีที่ต้านทาน เมื่อบุคคลเล็งเห็นภัยในความ
ตายนี้ ควรทำบุญทั้งหลายอันนำความสุข
มาให้ ความสำรวมทางกาย ทางวาจาและ
ทางใจ ในโลกนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสุข
ไว้ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว ผู้ซึ่งสร้างสมบุญ
ไว้แต่เมื่อยังมีชีวิตอยู่.
จบปฐมชนสูตรที่ ๑
ทุติยปัณณาสก์
พราหมณวรรควรรณนาที่ ๑
อรรถกถาปฐมชนสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมชนสูตรที่ ๑ แห่งพราหมณวรรคดังต่อไปนี้:-
บทว่า ชณฺณา ได้แก่ แก่คร่ำคร่าเพราะชรา. บทว่า วุฑฺฒา ได้แก่
เจริญวัย. บทว่า มหลฺลกา ได้แก่ แก่เพราะเกิด (มานาน). บทว่า
อฑฺฒคตา ได้แก่ ผ่านวัยครึ่งไปแล้ว. บทว่า วโย อนุปฺปตฺตา ได้แก่
ย่างเข้าปัจฉิมวัย. บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า พราหมณ์
เห็นลูกเมียไม่ปฏิบัติตามคำของตน คิดว่า เราจะไปเฝ้าพระสมณโคดมแสวงหา
ทางที่จะนำออกจากทุกข์ ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้า.
บทว่า มยมสฺสุ โภ โคตม พฺราหฺมณ ความว่า พราหมณ์ทั้งสอง
ประกาศข้อที่ตนเป็นพราหมณ์ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งสอง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 216
เป็นพราหมณ์ ไม่ใช่กษัตริย์ ไม่ใช่อมาตย์ ไม่ใช่คฤหบดี ดังนี้แล้ว กราบทูล
คำเป็นต้นว่า ชิณฺณา (ข้าพระองค์แก่แล้ว) ดังนี้. ด้วยบทว่า อกตภีรุตฺตาณา
พราหมณ์ทั้งสองแสดงว่า ข้าพระองค์ทั้งสอง ยังไม่ได้ทำการป้องกันภัย คือ
การงานอันเป็นที่พึ่ง เป็นที่พำนัก. บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า
โดยส่วนเดียวกัน หรือลงในอรรถว่า รับรอง. และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงไว้ โดยที่สุดอย่างเดียวกันว่า ท่านทั้งหลายเป็นอย่างนี้ ถึงเราตถาคต
ก็รับรองอย่างเดียวกัน. บทว่า อุปนียติ ได้แก่ ถูกนำเข้าไป อธิบายว่า
สัตวโลกนี้ ถูกชาตินำไปสู่ชรา ถูกชรานำไปสู่พยาธิ ถูกพยาธินำไปสู่มรณะ
ถูกมรณะนำไปสู่ชาติอีก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อุปนียติ
ดังนี้.
เรื่องพราหมณ์รักษาศีล
บัดนี้ เพราะเหตุที่พราหมณ์เหล่านั้น แม้บวชแล้วก็ไม่สามารถจะ
บำเพ็ญวัตรให้บริบูรณ์ได้ เพราะเป็นคนแก่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะใหัพราหมณ์ทั้งสองนั้น ดำรงอยู่ในศีล ๕ จึงตรัสว่า โยธ กาเยน
สญฺโม. บรรดาบทเหล่านั้น การสำรวมทางกายทวาร ชื่อว่า กายสัญญมะ
แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยนั้นเหมือนกัน. ด้วยบทว่า ต ตสฺส เปตสฺส นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุญนั้น ชื่อว่า ตาณะ เพราะหมายความว่า
เป็นที่ต้านทานของผู้ไปสู่ปรโลก ชื่อว่า เลณะ เพื่อหมายความว่า เป็นที่
ซ่อนเร้น ชื่อว่า ทีปะ เพราะหมายความว่า เป็นที่พำนัก ชื่อว่า สรณะ
เพราะหมายความว่า เป็นที่พึ่งอาศัย และชื่อว่า ปรายนะ เพราะสามารถจะให้
คติที่สูงได้. พระคาถา มีเนื้อความ ง่ายทั้งนั้น. พราหมณ์เหล่านั้น อัน
พระตถาคตเจ้าให้สมาทานศีล ๕ อย่างนี้แล้ว รักษาศีล ๕ ตลอดชีวิต เกิด
แล้วในสวรรค์.
จบอรรถกถาปฐมชนสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 217
๒. ทุติยชนสูตร
ว่าด้วยที่พึ่งในภพหน้า
[๔๙๒] ครั้งนั้น พราหมณ์ ๒ คน แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงมัชฌิมวัย
ถึงปัจฉิมวัยอายุไค้ ๑๒๐ ปีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้า
ไปถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พราหมณ์ทั้ง ๒ นั้น นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ ข้าพระเจ้าเป็นพราหมณ์ แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วง
มัชฌิมวัยถึงปัจฉิมวัยอายุได้ ๑๒๐ ปีแล้ว ยังมิได้ทำความดี ยังไม่ได้สร้างกุศล
ยังไม่ทำที่ป้องกันภัย ขอพระโคดมผู้เจริญทรงโอวาทข้าพระเจ้า ขอพระโคดม
ผู้เจริญทรงพร่ำสอนข้าพระเจ้า ซึ่งจะพึงเป็นเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
แก่ข้าพระเจ้า สิ้นกาลนานเถิด.
จริงแล้ว พราหมณ์ ท่านแก่เฒ่า ฯลฯ ยังไม่ทำที่ป้องกันภัย แน่ะ
พราหมณ์ โลกนี้อันชราพยาธิมรณะไหม้แล้ว เมื่อโลกอันชราพยาธิมรณะไหม้
อยู่อย่างนี้ ความสำรวมทางกาย ทางวาจา ทางใจ อันใดในโลกนี้ ความสำรวม
อันนั้นเป็นที่ต้านทาน ที่เร้น (ภัย) เป็นที่เกาะที่อาศัย เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ของบุคคล (ผู้สำรวม) ผู้ละ (โลกนี้) ไปแล้ว.
ครั้นเมื่อเรือนถูกไฟไหม้ เจ้าของ
ขนของสิ่งใดออกได้ ของสิ่งนั้นก็เป็น
ประโยชน์แก่เจ้าของ ส่วนของที่ไม่ได้ขน
ออกก็ไหม้อยู่ในนั้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 218
ฉันเดียวกัน ครั้นเมื่อโลกอันชรา-
มรณะไหม้อยู่อย่างนี้แล้ว ชาวโลกพึงขน
ออกด้วยการให้ทานเถิด สิ่งที่ให้เป็นทาน
ไปแล้ว จัดว่าได้ขนออกอย่างดีแล้ว
ความสำรวมทางกายทางวาจาทางใจ
อันใดในโลกนี้ คือเมื่อยังเป็นอยู่บุคคลอยู่ได้
ทำบุญอันใดไว้ บุญอันนั้นย่อมเป็นไปเพื่อ
ความสุขแก่เขาผู้ละ (โลกนี้) ไป.
จบทุติยชนสูตรที่ ๒
อรรถกถาทุติยชนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยชนสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ภาชน ได้แก่ ภัณฑะอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทที่เหลือพึงทราบ
ตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในสูตรที่ ๑.
จบอรรถกถาทุติยชนสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 219
๓. พราหมณสูตร
ว่าด้วยธรรมคุณ
[๔๙๓] ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นเข้าไปถึงแล้วชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พราหมณ์นั้นนั่ง ณ ที่
ควรส่วนหนึ่งแล้ว กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ที่ว่า พระธรรมเป็นสนฺทิฏฺิโก สนฺทิฏฺิโก ด้วยเหตุเท่าไร พระธรรมจึงเป็น
สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺต เวทิตพฺโพ วิญญูหิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า พราหมณ์ คนที่เกิดราคะแล้ว อัน
ราคะครอบงำแล้ว มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อทำตนให้ลำบาก
บ้าง เพื่อทำคนอื่นให้ลำบากบ้าง เพื่อทำให้ลำบากด้วยกันทั้ง ๒ ฝ่ายบ้าง
ย่อมรู้สึกทุกข์โทมนัสในใจบ้าง ครั้นละราคะเสียได้แล้ว เขาก็ไม่คิดเพื่อทำตน
ให้ลำบาก ฯลฯ ไม่รู้สึกทุกข์โทมนัสในใจ อย่างนี้แล พราหมณ์ พระธรรม
เป็นสนฺทิฏฺิริโก...
คนที่เกิดโทสะแล้ว อันโทสะครอบงำแล้ว มีจิตอันโทสะกลุ้มรุม
แล้ว ...คนที่เกิดโมหะแล้ว อันโมหะครอบงำแล้ว มีจิตอันโมหะกลุ้มรุม
แล้ว ย่อมคิดเพื่อทำตนให้ลำบากบ้าง ฯลฯ ย่อมรู้สึกทุกข์โทมนัสในใจบ้าง
ครั้นละโทสะ...โมหะเสียได้แล้ว เขาก็ไม่คิดเพื่อทำตนให้ลำบาก ฯลฯ ไม่
รู้สึกทุกข์โทมนัสในใจ แม้อย่างนี้ พราหมณ์ พระธรรมเป็นสนฺทิฏฺิโก...
พราหมณ์นั้นกราบทูล (สรรเสริญพระธรรมเทศนาและแสดงตนเป็น
อุบาสก) ว่า ดีจริง ๆ พระโคดมผู้เจริญ พระโคคมผู้เจริญบอกพระธรรม
หลายปริยาย เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปกปิด บอกทางแก่คนหลง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 220
ส่องตะเกียงในที่มืดเพื่อให้คนตาดีเห็นรูปต่าง ๆ ฉะนั้น ข้าพระเจ้าถึงพระ-
โคดมผู้เจริญและพระธรรมพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญทรงจำ
ข้าพระเจ้าไว้ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะแล้ว ตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ไป.
จบพราหมณสูตรที่ ๓
อรรถกถาพราหมณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในพราหมณสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า สมฺโมทนีย ได้แก่ ให้เกิดการบันเทิงใจ. บทว่า สาราณีย
ได้แก่ ที่สมควรให้ระลึกถึงกัน. บทว่า วีติสาเรตฺวา แปลว่า ครั้น (ให้
ระลึกถึงกัน ) เรียบร้อยแล้ว. บทว่า กิตฺตาวตา แปลว่า โดยเหตุกี่อย่าง.
บทว่า สนฺทิฏฺิโก ธมฺโม โหติ ความว่า เป็นธรรมที่จะพึง
เห็นได้ด้วยตนเอง. บทว่า อกาลิโก ความว่า ไม่ให้ผลในกาลอื่น ด้วย
บทว่า เอหิปสฺสิโก นี้ พราหมณ์ทูลถามถึงอาคมนียปฏิปทาว่า พระธรรม
อันผู้ปฏิบัติสามารถ เพื่อจะชี้ได้อย่างนี้ว่า เอหิ ปสฺส (ท่านจงมาดูเถิด) ดังนี้
บทว่า โอปนยิโก ความว่า พึงน้อมจิตของตนเข้าไปหา. บทว่า ปจฺจตฺต
เวทิตพฺโพ ความว่า พึงทราบได้ด้วยตนเองนั่นแหละ. บทว่า วิฺญูหิ
ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลาย. บทว่า ปริยาทินฺนจิตโต ได้แก่ เป็นผู้มีจิตอัน
ราคะถือเอาแล้ว จับแล้ว และลูบคลำแล้ว. บทว่า เจเตติ แปลว่า คิด.
คำที่เหลือในพระสูตรง่ายทั้งนั้นแล. แต่ในพระสูตรนี้ พราหมณ์ทูลถามถึง
โลกุตรมรรค แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสโลกุตรมรรคนั้นเหมือนกัน ด้วยว่า
โลกุตรมรรคนั้น ชื่อว่า สันทิฏฐิกะ. เพราะจะต้องเห็นด้วยตนเอง ฉะนี้แล
จบอรรถกถาพราหมณสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 221
๔. ปริพาชกสูตร
ว่าด้วยธรรมคุณ
[๔๙๔] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ปริพาชกคนหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
พระองค์ย่อมตรัสว่า ธรรมอันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้ได้บรรลุจะ
พึงเห็นเอง ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ธรรม
จึงเป็นคุณชาติ อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก
ให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัด ถูก
ราคะครอบงำ มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนคนอื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองและคนอื่น
ทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง เมื่อละราคะ
ได้แล้วย่อมไม่คิด แม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองเลย ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะ
เบียดเบียนคนอื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองและคนอื่นทั้งสองฝ่าย
ย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต. ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัด
ถูกราคะครอบงำ มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมพระพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อม
ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ เมื่อละราคะได้เด็ดขาด
แล้ว ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อม
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้กำหนัด ถูกราคะครอบงำ
มีจิตอันราคะกลุ้มรุมแล้ว แม้ประโยชน์ของตนก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง
แม้ประโยชน์ของคนอื่นก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
ก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง เมื่อละราคะได้เด็ดขาดแล้ว แม้ประโยชน์ของตน
ก็ร้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ของคนอื่นก็รู้ชัดตามความเป็นจริง
แม้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็รู้ชัดตามความเป็นจริง ดูก่อนพราหมณ์ แม้ด้วย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 222
เหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล ธรรมย่อมเป็นคุณชาติอันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง...
ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลที่โกรธ ฯลฯ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้หลง
ถูกโมหะครอบงำ มีจิตอันโมหะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง
ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนคนอื่นบ้าง ย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตนเองและคนอื่น
ทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิตบ้าง เมื่อละโมหะได้
เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองเลย ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะ
เบียดเบียนคนอื่น ย่อมไม่คิดแม้เพื่อจะเบียดเบียนตนเองและคนอื่นทั้งสองฝ่าย
ย่อมไม่เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางจิต ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้หลง ถูก
โมหะครอบงำ มีจิตอันโมหะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมพระพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อม
พระพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อมประพฤติทุจริตด้วยใจ เมื่อละโมหะได้เด็ดขาด
แล้ว ย่อมไม่พระพฤติทุจริตด้วยกาย ย่อมไม่ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ย่อม
ไม่ประพฤติทุจริตด้วยใจ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลผู้หลง ถูกโมหะครอบงำ
มีจิตอันโมหะกลุ้มรุมแล้ว แม้ประโยชน์ของตนก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง
แม้ประโยชน์ของคนอื่นก็ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็
ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง เมื่อละโมหะได้เด็ดขาดแล้ว แม้ประโยชน์ของตน
ก็รู้ชัดตามความเป็นจริง แม้ประโยชน์ของคนอื่นก็รู้ชัดตามความเป็นจริง
แม้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็รู้ชัดตามความเป็นจริง ดูก่อนพราหมณ์ แม้ด้วยเหตุ
ดังกล่าวมาฉะนี้แล ธรรมย่อมเป็นคุณชาติอันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่
ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.
พราหมณ์ปริพาชกนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบปริพาชกสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 223
อรรถกถาปริพาชกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปริพาชกสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า พฺราหฺมณปริพฺพาชโก ได้แก่ ปริพาชกผู้เป็นพราหมณ์
โดยกำเนิด ไม่ใช่กษัตริย์เป็นต้น โดยกำเนิด. บทว่า อตฺตตฺถมปิ ความว่า
ประโยชน์ของตน ทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพ ที่เจือด้วยโลกิยะและโลกุตระ.
จบอรรถกถาปริพาชกสูตรที่ ๔
๕. นิพพุตสูตร*
ว่าด้วยพระนิพพาน
[๔๙๕] ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อชานุสโสณี เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ฯลฯ พราหมณ์ชานุสโสณีนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วกราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ที่ว่าพระนิพานเป็นสนฺทิฏฺิก
สนฺทิฏฺิก ด้วยเหตุเท่าไร พระนิพพานจึงเป็นสนฺทิฏฺิก อกาลิก
เอหิปสฺสิก โอปนยิก ปจฺจตฺต เวทิตพฺพ วิญฺญูหิ.
พราหมณ์ คนที่เกิดราคะ โทสะ โมหะแล้ว ย่อมคิดเพื่อทำตัว
ให้ลำบากบ้าง ฯลฯ ย่อมรู้สึกทุกข์โทมนัสในใจบ้าง ครั้นละราคะ โทสะ
โมหะเสียได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อทำตนให้ลำบาก ฯลฯ ไม่รู้สึกทุกข์
โทมนัสในใจเลย อย่างนี้แล พราหมณ์ พระนิพพานเป็นสนฺทิฏฺิก...
พราหมณ์ เมื่อบุคคลได้รสความสิ้นราคะ โทสะ โมหะไม่มีเหลือ
นั่นแล พระนิพพานจึงเป็นสนฺทิฏฺก...
* ความพิสดาร เหมือนข้อ ๔๙๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 224
ดีจริง ๆ พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญทรงจำข้าพระเจ้า
ไว้ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะแล้ว ตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ไป.
จบนิพพุตสูตรที่ ๕
อรรถกถานิพพุตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยใน นิพพุตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อกาลิก ความว่า ไม่ใช่จะพึงบรรลุในเวลาอื่น. บทว่า
โอปนยิก ได้แก่ ควรเข้าถึงด้วยข้อปฏิบัติ.
จบอรรถกถานิพพุตสูตรที่ ๕
๖. ปโลภสูตร
ว่าด้วยเหตุที่ทำให้มนุษย์มีจำนวนน้อยลง
[๔๙๖] ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลผู้หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ฯลฯ พราหมณ์มหาศาลนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง แล้วกราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระเจ้าได้ยินพราหมณ์
ผู้เฒ่าผู้ใหญ่แต่ก่อน ๆ ซึ่งเป็นอาจารย์สืบ ๆ กันมา เล่าว่า แต่ก่อน โลกนี้เต็มไป
ด้วยคน ราวกะอเวจีมหานรก คามนิคมชนบทและราชธานี มีหลังคาเรือนตั้ง
(เรียงรายกัน) อยู่ชั่วระยะไก่บินตก ดังนี้ เหตุอะไรปัจจัยอะไรเล่าหนอ
พระโคดมผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ คนจึงดูหมดไปเมาบางไป ที่เคยเป็นคาม นิคม
นคร ชนบท ก็ไม่เป็นคาม นิคม นคร ชนบท.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 225
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า พราหมณ์ คนเดี๋ยวนี้กำหนัด ยินดี
ไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม เขาทั้งหลายกำหนัด
ยินดีไม่เป็นธรรม โลภเกินสมควร มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรมแล้วก็จับศาสตรา
อันคมฆ่ากันและกัน คนเป็นอันมากตายไป เพราะเหตุนั้น นี่เป็นเหตุเป็นปัจจัย
อันหนึ่ง ซึ่งทำให้คนเดี๋ยวนี้ดูหมดไปเบาบางไป ที่เคยเป็นคาม นิคม
นคร ชนบท จึงไม่เป็นคาม นิคม นคร ชนบท.
อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ คนเดี๋ยวนี้ กำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม โลภ
เกินสมควร มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม เมื่อเขาทั้งหลายกำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม
โลภเกินสมควร มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม ฝนจึงไม่ตกตามฤดูกาล ด้วยเหตุ
นั้นจึงเกิดทุพภิกขภัย ข้าวเสีย เป็นขยอก ตายฝอย คนเป็นอันมากตายไป
เพราะเหตุนั้น นี่ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยอันหนึ่ง ซึ่งทำให้คนเดี๋ยวนี้ดูหมดไป
เบาบ้างไป ที่เคยเป็นคาม นิคม นคร ชนบท จึงไม่เป็นคาม นิคม
นคร ชนบท.
อีกข้อหนึ่ง พราหมณ์ คนเดี๋ยวนี้กำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม โลภ
เกินสมควร มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม เมื่อเขาทั้งหลายกำหนัดยินดีไม่เป็นธรรม
โลภเกินสมควร มุ่งไปแต่ทางมิจฉาธรรม ยักษ์ทั้งหลายจึงปล่อยอมนุษย์ร้าย
คนเป็นอันมากตายไปเพราะเหตุนั้น นี่ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยอันหนึ่ง ซึ่งทำให้คน
เดี๋ยวนี้ดูหมดไปเบาบางไป ที่เคยเป็นคาม นิคม นคร ชนบท จึงไม่เป็นคาม
นิคม นคร ชนบท.
ดีจริง ๆ พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ ขอพระโคคมผู้เจริญทรงจำข้าพระ-
องค์ไว้ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะแล้ว จนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ไป.
จบปโลภสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 226
อรรถกถาปโลภสูตร
พึงทราบวินิจฉัยใน ปโลภสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อาจริยปาจริยาน ความว่า ทั้งอาจารย์ทั้งหลาย ทั้งอาจารย์
ของอาจารย์ทั้งหลาย. บทว่า อวีจิ มญฺเ ผุฏโ โหติ ความว่า
เต็มเปี่ยมไปด้วยมนุษย์ทั้งหลาย เหมือนอเวจีมหานรกที่สัตว์สัมผัสแล้ว คือ
เต็มเปี่ยมไปด้วยเหล่าสัตว์นรกชั่วนิรันดร. บทว่า กุกฺกุฏสมฺปาติกา ความว่า
การบินตกของไก่ กล่าวคือ การที่ไก่บินไปจากหลังคาของหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
ไปตกลงที่หลังคาหมู่บ้านอีกหมู่หนึ่ง มีอยู่ในหมู่บ้านเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น
หมู่บ้านเหล่านี้ จึงชื่อว่า กุกกุฏสัมปาติกะ (มีอยู่ชั่วไก่บินตก) ปาฐะว่า
กุกฺกุฏสมฺปาทิกา ก็มี. มีอธิบายว่า การตกของไก่ กล่าวคือการย่างเดินไป
ของไก่จากละแวกหมู่บ้าน สู่ละแวกหมู่บ้าน มีอยู่ในหมู่บ้านเหล่านี้. แม้ทั้ง
สองบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการอยู่กันอย่างหนาแน่นทั้งนั้น.
บทว่า อธมฺมราครตฺตา ความว่า ราคะเป็นอธรรมโดยส่วนเดียว
เท่านั้น แต่ราคะที่เกิดขึ้นในบริขารของตน ไม่ทรงหมายเอาว่าเป็นอธรรมราคะ
ราคะที่เกิดขึ้นในบริขารของคนอื่น จึงทรงประสงค์เอาความเป็นอธรรมราคะ.
บทว่า วิสมโลภาภิภูตา ความว่า ขึ้นชื่อว่าโลภะ จะมีเวลาสม่ำเสมอ
ไม่มี. โลภะนี้ไม่สม่ำเสมอโดยส่วนเดียวเท่านั้น แต่ว่าเมื่อเกิดขึ้นในวัตถุที่ตน
หวงแหน ชื่อว่า สมโลภะ ที่เกิดขึ้นในวัตถุที่ผู้อื่นหวงแหนเท่านั้น ทรงประสงค์
เอาว่า วิสมโลภะ. บทว่า มิจฺฉาธมฺมปเรตา ความว่า ประกอบด้วยธรรม
ฝ่ายผิด กล่าวคือการซ่องเสพสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 227
บทว่า เทโว น สมฺมา ธาร อนุปฺปเวจฺฉติ ความว่า ฝนไม่ตก
ในเวลาที่ควรจะตก. บทว่า ทุพฺภิกฺข ได้แก่ภิกษาที่หาได้ยาก. บทว่า
ทุสฺสสฺส ความว่า ชื่อว่า ข้าวกล้าเสียหาย เพราะข้าวกล้านานาชนิดไม่เผล็ดผล.
บทว่า เสตฏฺิก ความว่า เมื่อข้าวกล้ากำลังออกรวง หมู่หนอนจะลงกิน
รวงข้าวที่ออกแล้ว จะมีสีขาว ไม่มีเนื้อ เพราะถูกหนอนเหล่านั้นชอนไช.
ทรงหมายเอาข้าวลีบนั้นตรัสว่า เสตฏฺิก ดังนี้. บทว่า สลากวุตฺต
ความว่า ข้าวกล้าที่หว่านแล้ว ๆ งอกงามเพียงตั้งลำต้นเท่านั้น อธิบายว่า
ไม่ออกรวง. บทว่า ยกฺขา ได้แก่ยักษ์ผู้เป็นอธิบดี. บทว่า วาเฬ อมนุสฺเส
โอสฺสชฺชนฺติ ความว่า ปล่อยยักษ์ร้ายไปในถิ่นมนุษย์. ยักษ์เหล่านั้น
ได้โอกาส ย่อมทำให้มหาชนถึงความสิ้นชีวิต.
จบอรรถกถาปโลภสูตรที่ ๖
๗. ชัปปสูตร
ว่าด้วยผู้รับที่ทำให้ทานมีผลมาก
[๔๙๗] ครั้งนั้น ปริพาชกวัจฉโคตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ฯลฯ ปริพาชกวัจฉโคตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วกราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระเจ้าได้ยินเขาว่า พระ-
สมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ทานควรให้แก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่คนอื่น ๆ
ควรให้แก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่สาวกของคนอื่น ๆ ทานที่ให้แก่
เราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่คนอื่น ๆ ไม่มีผลมาก ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น
มีผลมาก ให้แก่สาวกของคนอื่น ๆ ไม่มีผลมาก ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 228
ชนเหล่าที่กล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสว่า ทานควรให้แก่เราเท่านั้น ฯลฯ
ให้แก่สาวกของคนอื่น ๆ ไม่มีผลมาก ดังนี้ ชนเหล่านั้นกล่าวตามคำที่พระ-
โคดมผู้เจริญได้ตรัสไว้จริงละหรือ เขาไม่ใส่ความพระโคดมผู้เจริญด้วยเรื่อง
อันไม่จริงละหรือ เขากล่าวแก้ธรรมสมควรแก่ธรรมละหรือ การถือตามถ้อยคำ
ที่ชอบแก่เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง จะไม่ตกอยู่ในฐานที่น่าตำหนิละหรือความจริง
พวกข้าพระเจ้าไม่ประสงค์จะใส่ความพระโคดมผู้เจริญเลย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า วัจฉะ ชนเหล่าที่กล่าวว่า พระ-
สมณโคดมตรัสว่า ทานควรให้แก่เราเท่านั้น ฯลฯ ให้แก่สาวกของคนอื่น ๆ
ไม่มีผลมาก ดังนี้ ชนเหล่านั้นมิได้กล่าวตามคำที่เรากล่าว อนึ่ง ชนเหล่านั้น
ใส่ความเราด้วยเรื่องอันไม่มีไม่เป็นจริง วัจฉะ ผู้ใดห้ามคนอื่นที่ให้ทาน ผู้นั้น
ชื่อว่าทำอันตรายต่อคน ๓ คน ทำร้ายต่อคน ๓ คน ๓ คนคือใคร คือทำ
อันตรายต่อบุญของทายก ทำอันตรายต่อลาภของปฏิคาหก อนึ่ง ตัวของผู้นั้น
ชื่อว่าถูกก่น (ขุดรากคือความดี) และถูกประหาร (ตายไปจากความดี) เสียก่อน
แล้ว วัจฉะ ผู้ใดห้ามคนอื่นที่ให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายต่อคน ๓ คน
ทำร้ายต่อคน ๓ คนนี้
เราตถาคตกล่าวอย่างนี้ต่างหาก วัจฉะ ว่า แม้สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ใน
หลุมโสโครกหรือท่อโสโครก ผู้ใดเทน้ำล้างหม้อก็ดี น้ำล้างชามก็ดี ลงไปใน
หลุมและท่อโสโครกนั้น ด้วยเจตนาให้สัตว์ในนั้นได้เลี้ยงชีพ อย่างนี้เราตถาคต
ยังกล่าวการได้บุญอันมีกิริยาที่ทำอย่างนั้นเป็นมูล จะกล่าวอะไร (ถึงการให้ทาน)
ในผู้ที่เป็นมนุษย์เล่า
แต่นั่นแหละ วัจฉะ เราตถาคตกล่าวว่า ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก
หาได้กล่าวอย่างนั้นในผู้ทุศีลไม่ และผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ ประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 229
องค์ ๕ ละองค์ ๕ คืออะไร คือ ละกามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ
อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ นี้ ประกอบด้วยองค์
๕ คืออะไร คือ ประกอบด้วยสีลขันธ์ (กองศีล) สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ)
ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา) วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนขันธ์
(กองวิมุตติญาณทัสนะ) อันเป็นอเสขะ ผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์
เราตถาคตกล่าวว่า ทานที่ให้ในผู้มีศีล ที่ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕
อย่างนี้ มีผลมาก
ในโคเมียทั้งหลาย เช่น แม่โคสีดำ
สีขาว สีแดง สีเขียว สีด่าง สีปกติ หรือ
สีนกพิราบก็ตาม โคผู้ ซึ่งฝึกแล้วเป็นโค
ทนงาน มีกำลัง ฝีเท้าดี ย่อมเกิดในแม่โค
เหล่านั้นได้ทุกเหล่า คนทั้งหลายใช้มันใน
การหนักเท่านั้น หาได้พิถีพิถันสีของมันไม่
ฉันเดียวกันนั่นแล ในหมู่มนุษย์
ในชนชาติใดชาติหนึ่ง จะเป็นชาติกษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล หรือ
ปุกกุสะ บุคคลผู้ซึ่งฝึกตนแล้ว มีพรต
อันดี ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีลพูด
เป็นสัจ มีใจประกอบด้วยหิริ ละชาติและ
มรณะแล้ว จบพรหมจรรย์แล้ว ปลงของ
หนักแล้ว ปลอดโปร่งแล้ว เสร็จกิจ ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 230
อาสวะ ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ดับกิเลส
ได้เพราะไม่ยึดถือแล้ว ย่อมเกิดในชาติ
เหล่านั้นได้ทุกชาติ ทักษิณาทานที่ให้ใน
บุคคลนั้นอันเป็นเนื้อนาที่ปราศจากโทษ
ย่อมมีผลไพบูลย์
ส่วนคนเขลาทรามปัญญา มิได้สดับ
ไม่รู้จัก (บุญเขต) ให้ทานไปภายนอก
(เขต) ไม่เข้าใกล้สัตบุรุษทั้งหลายเลย
ฝ่ายคนเหล่าใดเข้าใกล้สัตบุรุษผู้มี
ปัญญานับว่าเป็นปราชญ์ และศรัทธาของ
เขามีรากฐานมั่นคงในองค์พระสุคต คน
เหล่านั้นย่อมไปเทวโลก มิฉะนั้น เกิดใน
สกุล ณ โลกนี้ ก็จะเป็นบัณฑิตได้บรรลุ
พระนิพพานโดยลำดับ.
จบชัปปสูตรที่ ๗
อรรถกถาชัปปสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในชัปปสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า มหปฺผล แปลว่า มีผลมาก. ในบทว่า ธมฺมสฺส จ
อนุธมฺม พฺยากโรนฺติ นี้ พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ ถ้อยคำที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ชื่อว่า พระธรรม. การตรัสทบทวนซึ่งข้อความที่ตรัส
แล้ว ชื่อว่า อนุธรรม.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 231
บทว่า สหธมฺมิโก ได้แก่ พร้อมด้วยการณ์ พร้อมด้วยเหตุ. การ
ถือตาม คือการคล้อยตาม อธิบายว่า การประพฤติตามถ้อยคำ ชื่อว่า
วาทานุปาตะ. บทว่า คารยฺห าน ได้แก่เหตุที่ควรตำหนิ. ท่านกล่าว
อธิบายไว้ว่า การคล้อยตามถ้อยคำที่มีเหตุผล อันพระโคดมผู้เจริญตรัสไว้แล้ว
ไม่น่าจะถึงเหตุที่ควรตำหนิไร ๆ เลย. อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์ถามว่า การ
คล้อยตามพฤติการณ์ของวาทะที่มีเหตุ ซึ่งคนเหล่านั้นกล่าวแล้ว จะถึงเหตุที่
น่าตำหนิอะไร ๆ ไหม.
บทว่า อนฺตรายกโร โหติ ความว่า กระทำอันตราย คือความ
พินาศ คือให้ได้รับความลำบาก ได้แก่ให้เกิดความเดือดร้อน. บทว่า
ปาริปนฺถิโก ได้แก่ โจรที่ดักจี้ปล้นคนเดินทาง. บทว่า ขโต จ โหติ
ได้แก่ถูกขุด โดยขุดคุณความดีทิ้งไป. บทว่า อุปหโต ได้แก่ ถูกขจัด
โดยการทำลายคุณงามความดี. บทว่า จนฺทนิกาย ได้แก่ ในบ่อน้ำโคลน
ที่ไม่สะอาด. บทว่า โอฬิคลฺเล ได้แก่ (ท่อ) ที่ยังไม่ได้ล้างโคลน. บทว่า
โส จ ได้แก่ พระขีณาสพที่ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านผู้มีศีลนั้น. บทว่า สีลกฺ-
ขนฺเธน แปลว่า ด้วยกองศีล. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็
ปัจจเวกขณญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนะ ในคำว่า
วิมุตฺติาณทสฺสกนกฺขนฺเธน นี้. ปัจจเวกขณญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า อเสขะ เพราะเป็นไปแล้วแก่พระอเสขะ. ญาณนอกนี้ แม้ตัวเองก็
เป็นอเสกขะอยู่แล้ว เพราะบรรลุแล้วในที่สุดแห่งสิกขา. อีกทั้งญาณเหล่านั้น
ก็เป็นโลกุตระ ปัจจเวกขณญาณเป็นโลกิยะ.
บทว่า โรหิณึสุ ได้แก่มีสีแดง. บทว่า สรูปาสุ ได้แก่ มีสีเสมอ
ด้วยลูกโคของตน. บทว่า ปเรวตาสุ ได้แก่ มีสีเหมือนนกพิราบ. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 232
ทนฺโต ได้แก่ หมดพยศแล้ว. โคตัวผู้ ชื่อว่า ปุงฺคโว. บทว่า โธรยฺโห
ได้แก่ โคใช้งาน. บทว่า กลฺยาณชวนิกฺกโม ได้แก่ ประกอบด้วยเชาว์ไว
ไหวพริบดี คือซื่อตรง. บทว่า นาสฺส วณฺณ ปริกฺขเร ความว่า ไม่สนใจ
ถึงสีร่างกายของโคนั้น แต่สนใจเฉพาะงาน คือการประกอบธุระของมันเท่านั้น.
บทว่า ยสฺมึ กิสฺมิญฺจิ ชาติเย ความว่า เกิดแล้วในตระกูลใด ๆ
บทว่า ยาสุ กาสุจิปิ เอตาสุ ได้แก่ ในกำเนิดอย่างใดอย่างหนึ่ง แยก
ประเภทเป็นกษัตริย์เป็นต้นเหล่านี้. บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส เกวลี ความว่า
ประกอบด้วยการอยู่จบพรหมจรรย์ อธิบายว่า ประกอบด้วยความเป็นผู้
บริบูรณ์ด้วยพรหมจรรย์. เพราะว่า พระขีณาสพ ชื่อว่า เป็นผู้ประพฤติ
พรหมจรรย์ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้.
บทว่า ปนฺนภาโร ได้แก่ วางภาระแล้ว อธิบายว่า วางภาระคือขันธ์
ภาระคือกิเลส และภาระคือกามคุณลงได้แล้ว. บทว่า กตกิจฺโจ คือ กระทำ
กิจด้วยมรรคทั้ง ๔ เสร็จแล้ว. บทว่า ปารคู สพฺพธมฺมาน ความว่า
เบญจขันธ์ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ตรัสเรียกว่า สรรพธรรม. ชื่อว่า ปารคู
เพราะถึงฝั่ง. ๖ อย่าง คือ ฝั่งคืออภิญญูา ๑ ฝั่งคือปหานะ ๑ ฝั่งคือ
ฌาน ๑ ฝั่งคือภาวนา ๑ ฝั่งคือสัจฉิกิริยา ๑ ฝั่งคือสมาบัติ ๑ แห่ง
สรรพธรรมนั้น. บทว่า อนุปาทาย ได้แก่ไม่ยึดถือ. บทว่า นิพฺพุโต
ได้แก่ เว้นจากความเร่าร้อนเพราะกิเลส. บทว่า วิรเช ได้แก่ เว้นจากธุลี
คือ ราคะ โทสะ และโมหะ.
บทว่า อวิชานนฺตา ได้แก่ ไม่รู้จักบุญเขต. บทว่า ทุมฺเมธา
ได้แก่ไม่มีปัญญา. บทว่า อสฺสุตาวิโน ได้แก่ เว้นจากการได้ยินข้อวินิจฉัย
เกี่ยวกับบุญเขต. บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ ภายนอกจากพระศาสนานี้. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 233
น หิ สนฺเต อุปาสเร ความว่า ไม่เข้าไปหาพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้เป็นบุรุษสูงสุด. บทว่า ธีรสมฺมเต ได้แก่
บัณฑิตยกย่องแล้ว ชมเชยแล้ว. ด้วยบทว่า มูลชาตา ปติฏฺิตา นี้ ทรง
แสดงถึงศรัทธาของพระโสดาบัน. บทว่า กุเล วา อิธ ชายเร ความว่า
หรือเกิดในตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ในมนุษยโลกนี้.
บุคุคลนี้นี่แหละชื่อว่า มีกุลสมบัติ ๓ ประการ. บทว่า อนุปุพฺเพน นิพฺพาน
อธิคจฺฉนฺติ ความว่า บำเพ็ญคุณธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ให้สมบูรณ์แล้วบรรลุพระนิพพาน ตามลำดับฉะนี้แล.
จบอรรถกาชัปปสูตรที่ ๗
๘. ติกัณณสูตร
ว่าด้วยวิชชา ๓ ของพราหมณ์และของพุทธ์
[๔๙๘] ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อติกัณณะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ฯลฯ พราหมณ์ติกัณณะนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว กล่าวสรรเสริญ
พวกพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พราหมณ์
ผู้ได้วิชชา ๓ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ อย่างไรกัน.
พราหมณ์ติกัณณะกราบทูลตอบว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
พราหมณ์เป็นผู้ได้กำเนิดดีทั้ง ๒ ฝ่าย คือทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดามีครรภ์ที่
ถือปฏิสนธิหมดจดดี ไม่ถูกคัดค้านติเตียนเพราะเรื่องกำเนิดถึง ๗ ชั่วปู่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 234
เล่าเรียนจำมนต์ได้ เจนจบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ และเกฏุภศาสตร์
กับอักษรประเภท เป็นห้าทั้งคัมภีร์อิติหาส รู้ตัวบท รู้คำแก้ (ในไตรเพทนั้น)
ปราดเปรื่องในโลกายตศาสตร์ และมหาบุรุษลักษณศาสตร์๑ ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ อย่างนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ
พราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ อย่างหนึ่ง แต่ผู้ได้วิชชา ๓ ในวินัยของพระอริยะเป็น
อย่างหนึ่ง.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ผู้ได้วิชชา ๓ ในวินัยของพระอริยะเป็น
อย่างไร สาธุ ผู้ได้วิชชา ๓ ในวินัยของพระอริยะเป็นอย่างใด ขอพระโคดม
ผู้เจริญทรงแสดงธรรมอย่างนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
พราหมณ์ ถ้ากระนั้นท่านจงฟัง ทำในใจให้ดี เราตถาคตจักกล่าว.
พราหมณ์ติกัณณะรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
พระธรรมเทศนานี้ว่า
พราหมณ์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม จากอกุศลธรรม
ทั้งหลาย เข้าปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่
วิเวกอยู่
๑. ไตรเพท พระเวททั้ง ๓ (ความรู้ ๓ อย่าง) เป็นชื่อคัมภีร์แสดงลัทธิไสยศาสตร์ดั้งเดิมของ
พราหมณ์ คือ อิรุพเพท (ฤคเวท) ๑ ยชุพเพท (ยชุรเวท) ๑ สามเพท (สามเวท) ๑
นิฆัณฑุศาสตร์ ว่าด้วยชื่อสิ่งของมีต้นไม้เป็นต้น. เกฏุภศาสตร์ว่าด้วยกิริยาเป็นประโยชน์
แก่กวี, อักษรประเภท ท่านว่าได้แก่ "ศึกษา" และ "นิรุกฺติ" (ภาค ๑ ๆ แห่งเวทางค์ ๖
เวทางค์ ตำราประกอบพระเวท สำหรับช่วยให้เข้าใจพระเวทชัดเจนขึ้น แบ่งเป็น ๖ ภาค คือ
กัลป, วฺยากรณ (ไวยากรณ์), โชฺยติศาสตร์ (ตำราดาว), ศึกษา, นิรุกฺติ (อธิบายคำที่ยาก),
ฉันโทวิจิติ (ตำราฉันท์)
อิติหาส ว่าด้วยพงศาวดารยืดยาว มีภารตยุทธ์เป็นต้น อันกล่าวประพันธ์ไว้แต่กาลก่อน,
ที่ว่า "เป็นห้าทั้งคัมภีร์อิติหาส" นั้น ท่านว่า พระเวท ๓ เติมอาถรรพณเวทเป็น ๔ กับอิติหาส
เป็น ๕
โลกายตศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องราวอันไม่น่าเชื่อ ถ้าบุคคลอุปกรณ์นี้ไม่คิดทำบุญ มหา
บุรุษลักษณศาสตร์ ว่าด้วยลักษณะของมหาบุรุษ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 235
เพราะวิตกวิจารสงบไป เข้าทุติยฌานอันเป็นเครื่องผ่องใสในภายใน
ประกอบด้วยความใจเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอัน
เกิดแต่สมาธิอยู่
เพราะปีติคลายไปด้วย ภิกษุเพ่งอยู่ด้วย มีสติสัมปชัญญะด้วย เสวยสุข
ทางกายด้วย เข้าตติยฌานซึ่งพระอริยะกล่าว (ผู้ได้ตติยฌานนี้) ว่า ผู้มีสติ
เพ่งอยู่เป็นสุข
เพราะละสุข (กาย) ได้ด้วย เพราะละทุกข์ (กาย) ได้ด้วยเพราะ
โสมนัส (สุขใจ) และโทมนัส (ทุกข์ใจ) ดับไปก่อน เข้าจตุตถฌาน ไม่ทุกข์
ไม่สุข มีความบริสุทธิ์ ด้วยสติอันเกิดเพราะอุเบกขาอยู่*
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์สะอาดไม่มีมลทิน ปราศจาก
อุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่งาน ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว น้อมจิต
ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ (วิชชาระลึกชาติได้) เธอก็ระลึกชาติได้
อย่างอเนก คืออย่างไร คือแต่ ๑ ชาติ ๒ ชาติ ๓ ชาติ ๔ ชาติ ๕ ชาติ
ถึง ๑๐ ชาติ ๒๐ ชาติ ๓๐ ชาติ ๔๐ ชาติ ๕๐ ชาติ กระทั่ง ๑๐๐ ชาติ ๑,๐๐๐
ชาติ ๑๐,๐๐๐ ชาติ จนหลายสังวัฏฏกัป หลายวิวัฏฏกัป และหลาย
สังวัฏฏวิวัฏฏกัป ว่า ในชาติโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีนามสกุลอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น มีกำหนด
อายุเท่านั้น จุติจากชาตินั้นเกิดในชาติโน้น ในชาตินั้นเรามีชื่อมีนามสกุลมี
ผิวพรรณมีอาหารอย่างนั้น ๆ ได้เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเท่านั้น
จุติจากชาตินั้นมาเกิดในชาตินี้ เธอระลึกชาติได้อย่างอเนกพร้อมทั้งอาการ
(คือรูปร่างท่าทางและความเป็นไปที่ต่าง ๆ กัน มีผิวพรรณต่างกันเป็นต้น)
พร้อมทั้งอุทเทส (คือสิ่งสำหรับอ้างสำหรับเรียก ได้แก่ชื่อและโคตร) อย่างนี้
* ฌาน ๔ นี้ ถ้าอ่านตามพระบาลีนี้ ยังไม่พอจะให้เข้าใจชัด จงดูอธิบายในหนังสือวิสุทธิมรรค
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 236
นี่วิชชาที่ ๑ อันภิกษุนั้นได้บรรลุ อวิชชาหายไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืด
หายไป ความสว่างเกิดขึ้น (เป็นผล) สมแก่ที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาทมีความ
เพียร มีตนอันส่งไปอยู่๑ (เด็ดเดี่ยว)
ภิกษุนั้น ครั้นจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์สะอาด ไม่มีมลทิน ปราศจาก
อุปกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่งาน ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว น้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ๒ (วิชชากำหนดรู้ความตายความเกิด) แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เธอก็เห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ดี ผิวพรรณงาม
ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยจักษุทิพย์อันแจ่มใสเกินจักษุมนุษย์สามัญ
รู้ชัดว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นตามกรรม (ชี้ได้) ว่า สัตว์เหล่านี้ เจ้าข้า ประกอบ
ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า มีความเห็นผิด
กระทำกรรมไปตามความเห็นผิด สัตว์เหล่านั้นเพราะกายแตกตายไปก็ไปอบาย
ทุคิติ วินิบาต นรก หรือว่า สัตว์เหล่านี้ เจ้าข้า ประกอบด้วยกายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ มีความเห็นชอบ กระทำกรรม
ไปตามความเห็นชอบ สัตว์เหล่านั้น เพราะกายแตกตายไป ก็ไปสู่สุคติโลก
สวรรค์ เธอเห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ดี ผิวพรรณงาม
ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยจักษุทิพย์อันแจ่มใสเกินจักษุมนุษย์สามัญ
รู้ชัดว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นตามกรรม อย่างนี้ นี่วิชชาที่ ๒ อันภิกษุนั้นได้บรรลุ
อวิชชาหายไป วิชชาเกิดขึ้น ความมืดหายไป ความสว่างเกิดขึ้น (เป็นผล)
สมแก่ที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีตนอันส่งไปอยู่
ภิกษุนั้น ครั้นจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์สะอาดไม่มีมลทินปราศจาก
อุปกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่งาน ตั้งอยู่ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว น้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ (วิชชาทำอาสวะให้สิ้น) เธอรู้ชัดตามจริงว่า นี้ทุกข์
๑. เป็นสำนวนอย่างหนึ่ง หมายความว่า อุทิศร่างกายและชีวิตเพื่อทำการอันนั้นให้สำเร็จจงได้
๒. ทิพจักษุญาณ ก็เรียก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 237
นี้ทุกข์สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา รู้ชัดตามจริงว่า
เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย (เหตุเกิดอาสวะ) นี้อาสวนิโรธ (ความ
ดับอาสวะ) นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา (ทางไปถึงความดับอาสวะ) เมื่อ
เธอรู้อย่างนี้เห็นอย่างนี้ จิตก็พันทั้งกามาสวะ ทั้งภวาสวะ ทั้งอวิชชา
สวะ ครั้นพ้นแล้วก็มีญาณ (รู้) ว่าพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-
จรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำแล้ว กิจอื่น (อันจะต้องทำ) เพื่อความ
เป็นอย่างนี้ไม่มีอีก นี่วิชชาที่ ๓ อันภิกษุนั้นได้บรรลุ อวิชชาหายไป วิชชา
เกิดขึ้น ความมืดหายไป ความสว่างเกิดขึ้น (เป็นผล) สมแก่ที่ภิกษุเป็นผู้
ไม่ประมาทมีความเพียรมีตนอันส่งไปอยู่
จิตของพระโคดมองค์ใด ผู้มีศีลไม่
ขึ้นลง* มีปัญญา เพ่งพินิจ เป็นจิตตั้งมั่น
แน่วแน่เป็นวสี บัณฑิตทั้งหลายกล่าวพระ
โคดมนั้นผู้เป็นปราชญ์ขจัดความมืดเสียผู้
ได้วิชชา ๓ ละมฤตยูละเลิกบาปธรรม
ทั้งปวงเสียได้ว่าเป็นผู้มีประโยชน์สำหรับ
เทวดา มนุษย์ทั้งหลาย
* ศัพท์นี้ข้าพเจ้าแปลตามอรรถกถา ด้วยเห็นว่ามีบท "นิปกสฺส" แสดงปัญญา"ฌายิโน" แสดง
สมาธิอยู่ในลำดับ พอครบไตรสิกขา และที่ว่า "มีศีลไม่ขึ้นลง" นั้น ท่านอธิบายว่า มีศีล
เต็มบริบูรณ์เสมอ อันเป็นคุณของพระขีณาสพ ไม่เดี๋ยวเต็มเดี๋ยวพร่องอย่างปุถุชน
ถ้าไม่มุ่งความอย่างนี้ จะแปลศัพท์นี้ว่า "ผู้มีปกติไม่ขึ้นลง" ก็ได้ และอธิบายว่า เป็นผู้คงที่
แสดงอาการฟูขึ้นด้วยความยินดีและห่อเหี่ยวลงด้วยความยินร้าย ในเมื่อประสบอิฎฐารมณ์
และอนิฏฐารมณ์ ดังพระบาลีในธรรมบทว่า" น อุจฺจาวจ ปณฺฑิตา ทสฺสยนติ บัณฑิตทั้งหลาย
ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง" เป็นคุณของพระขีณาสพเหมือนกัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 238
บัณฑิตทั้งหลายย่อม นอบน้อมพระ-
โคดมผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา๓ไม่ลุ่มหลงอยู่
เป็นพระพุทธะมีพระสรีระเป็นครั้งที่สุด
ผู้ใดรู้ (ระลึก) ชาติได้ เห็นสวรรค์
และอบาย และถึงธรรมที่สิ้นชาติแล้ว
เป็นมุนีสำเร็จด้วยความรู้ยิ่ง โดยวิชชา ๓
นี้ พราหมณ์จึงเป็นเตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา ๓)
เรากล่าวผู้เช่นนั้นว่า ผู้ได้วิชชา ๓ หา
กล่าวตามคำที่พูดกันอย่างอื่นไม่.
พราหมณ์ ผู้ได้วิชชา ๓ ในวินัยของพระอริยะเป็นอย่างนี้แล.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวกพราหมณ์เป็นอย่างหนึ่ง
ส่วนผู้ได้วิชชา ๓ ในวินัยของพระอริยะเป็นอย่างหนึ่ง แต่ผู้ได้วิชชา ๓ ของ
พวกพราหมณ์ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งผู้ได้วิชชา ๓ ในวินัยของพระอริยะ ดีจริง ๆ
พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ ขอพระโคคมผู้เจริญทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า เป็นอุบาสก
ถึงสรณะแล้ว จนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ไป.
จบติกัณณสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 239
อรรถกถาติกัณณสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในติกัณณสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้:-
คำว่า ติกณฺโณ เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น. บทว่า อุปสงฺกมิ
ความว่า พราหมณ์คิดว่า ได้ข่าวว่า พระสมณโคดมเป็นบัณฑิต เราจักไปยัง
สำนักของท่าน ดังนี้ รับประทานอาหารเช้าแล้ว มีมหาชนห้อมล้อม เข้าไป
เฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ภควโต สมฺมุขา ความว่า นั่งเบื้องหน้า
พระทศพล.
บทว่า วณฺณ ภาสติ ความว่า ถามว่า เพราะเหตุไร จึงกล่าว-
สรรเสริญ. ตอบว่า ได้ทราบว่า ก่อนแต่นี้ พราหมณ์นั้นไม่เคยไปสำนัก
ของพระตถาคตเลย พราหมณ์จึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเข้าเฝ้าได้ยาก เราทูลก่อนแล้ว จักตรัสหรือไม่ตรัสก็ได้ ถ้าพระองค์
จักไม่ตรัสคราวนั้น คนทั้งหลายจักต่อว่า เราผู้พูดในที่สมาคมอย่างนี้ว่า เหตุไร
ท่านจึงพูดในที่นี้ เพราะว่าท่านไปยังสำนักของพระสมณโคดมแล้ว ก็ยังไม่ได้
แม้เพียงการดำรัสด้วย เพราะเหตุนั้น พราหมณ์ เมื่อสำคัญอยู่ว่า เราจักพ้น
ข้อครหาไปได้ด้วยอุบายอย่างนี้ จึงทูลขึ้น พราหมณ์พูดสรรเสริญพราหมณ์
ทั้งหลายก็จริง แต่พูดถึงวิชชาสามด้วยความประสงค์อย่างเดียวว่า เราจักต่อ
(ลองเชิง) พระญาณของพระตถาคต.
บทว่า เอวมฺปิ เตวิชฺชา พฺราหฺมณา ความว่า พราหมณ์ผู้ทรง
วิชชา ๓ เป็นบัณฑิตอย่างนี้ คือเป็นนักปราชญ์อย่างนี้ คือเป็นผู้ฉลาดอย่างนี้
คือเป็นพหูสูตอย่างนี้ หมายความว่าเป็นผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ อธิบายว่า เป็นผู้
ได้รับสมมติอย่างนี้. ด้วยบทว่า อิติปิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการกำหนด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 240
อาการของบัณฑิตเป็นต้น แห่งพราหมณ์เหล่านั้น. ก็ในข้อนี้มีอธิบายอย่างนี้ว่า
เป็นบัณฑิต ด้วยเหตุเท่านี้ ฯลฯ เป็นผู้ได้รับสมมติด้วยเหตุเท่านี้.
บทว่า ยถา นบทว่า ยถา กถ ปน พฺราหฺมณา นี้ เป็นคำ
แสดงเหตุ. บทว่า กถ ปน เป็นคำถาม. ข้อนี้สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓
ไว้อย่างไร. ท่านจงบอกเหตุที่จะให้รู้จักพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ นั้น.
พราหมณ์ครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว ดีใจว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถาม
ในธรรมที่มีฐานะพอรู้ได้ ไม่ใช่มีฐานะที่รู้ไม่ได้ จึงทูลคำเป็นต้นว่า อิธ โภ
โคตม ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภโต ได้แก่ทั้งสองฝ่าย. บทว่า
มาติโต จ ปิติโต จ ความว่า ผู้ใดมีมารดาเป็นพราหมณี มียายเป็น
พราหมณี แม้ยายชวดก็เป็นพราหมณี มีบิดาเป็นพราหมณ์ มีปู่เป็นพราหมณ์
แม้ปู่ชวดก็เป็นพราหมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าเกิดดีแล้ว ทั้งสองฝ่าย คือทั้งฝ่ายมารดา
และฝ่ายบิดา.
บทว่า สสุทฺธคหณิโก ความว่า ผู้ใดมีที่ถือกำเนิด คือท้องของ
มารดาบริสุทธิ์แล้ว ผู้นั้นชื่อว่า สังสุทธเคราหณี. แต่ในคำว่า สมเวปากินิยา
คหณิยา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า การถือเอาเตโชธาตุที่เกิดแต่
กรรม. ในคำว่า ยาว สตฺตมา ปิตามหยุคา นี้ มีความว่า บิดาของ
บิดาชื่อว่า ปิตามหะ. ยุค (ชั้น) แห่งปู่ ชื่อว่า ปิตามหยุค (ชั้นปู่). ประมาณ
แห่งอายุ ท่านเรียกว่า ยุค. ก็คำว่า ยุค นี้ เป็นเพียงคำเรียกกันเท่านั้น.
แต่โดยความหมายแล้วปิตามหะนั่นเอง ชื่อว่า ปิตามหยุค. บรรพบุรุษแม้
ทั้งหมด ต่อจากปิตามหยุคลงไป ก็เป็นอันหมายเอาด้วยศัพท์ว่า ปิตามหะนั่นเอง
เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่ชื่อว่า สังสุทธเคราหณี จะมีเพียง ๗ ชั่วคน (เป็นอย่างต่ำ).
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 241
อีกอย่างหนึ่ง ทรงแสดงว่า พราหมณ์ผู้อุภโตสุชาตนั้น จะไม่ถูก
คัดค้าน ถูกตำหนิ ด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ. บทว่า อกฺขิตฺโต ความว่า
ไม่ถูกตามคัดค้านอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงนำคนผู้นี้ออกไป คนผู้นี้จะมี
ประโยชน์อะไร. บทว่า อนุปกฺกุฏฺโ ความว่า จะไม่ถูกติเตียน ไม่เคย
ถูกด่า หรือไม่เคยถูกนินทา. ถามว่า ด้วยเหตุไร. ตอบว่า ด้วยการกล่าว
อ้างถึงชาติ. อธิบายว่า ด้วยการกล่าวเห็นปานนี้ว่า คนนี้ชาติเลว แม้ด้วย
ประการนี้.
บทว่า อชฺฌายโก นี้ พึงทราบความดังต่อไปนี้ คำครหาเกิดขึ้น
แก่พราหมณ์ผู้เว้นจากฌาน๑ ในกาลแห่งปฐมกัป อย่างนี้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ
และภารทวาชะ บัดนี้ชนเหล่านี้ไม่เพ่งอยู่ บัดนี้พวกชนเหล่านี้ ไม่เพ่งอยู่
อย่างนี้แล อักขระว่า อชฺฌายกา อชฺฌายกา (ผู้ไม่เพ่ง หมายถึง ผู้แต่ง
และสอนคัมภีร์) จึงอุบัติขึ้นเป็นครั้งที่ ๓.๒ แต่ในปัจจุบันนี้ พราหมณ์ชื่อว่า
อชฺฌายโก เพราะศึกษาพระเวทนั้น. คนทั้งหลายกล่าวคำสรรเสริญ ด้วย
อรรถาธิบายนี้ว่า พราหมณ์ร่ายมนต์ (พระเวท). พราหมณ์ชื่อว่า มนฺตธโร
เพราะทรงจำมนต์ (พระเวท) ไว้ได้. บทว่า ติณฺณ เวทาน ได้แก่
อิรุพเพท ยชุพเพท และสามเพท. พราหมณ์ ชื่อว่า ปารคู เพราะถึงฝั่ง
ด้วยสามารถแห่งการเลิกท่องบ่น (คือทรงจำได้แล้ว).
(ไตรเพท) พร้อมด้วยนิฆัณฺศาสตร์ และเกฏฺภศาสตร์ ชื่อว่า
สนิฆัณฑุเกฏุภะ. บทว่า นิฆัณฑุ ได้แก่ศาสตร์ที่จำแนกชื่อ (สิ่งของต่าง ๆ)
คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยชื่อของต้นไม้เป็นต้น. บทว่า เกฏุภ ได้แก่ศาสตร์ที่
กำหนดอากัปกิริยา คือศาสตร์ที่เป็นอุปการะแก่กวี. พระเวท พร้อมด้วย
ประเภทของอักษร ชื่อว่าสากขรปเภท. สิกขา และนิรุตติ ชื่อว่า อักขรัปป-
๑. ปาฐะว่า ฐานวิรหิตาน ฉบับพม่าเป็น ฌานวิรหิตน แปลตามฉบับพม่า
๒. อักขระที่ ๑ ว่า พราหมณาที่ ๒ ว่า ฌายิกา ฌายิกา ที่ ๓ ว่า อชฺฌายิกา อชฺฌายิกา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 242
เภทะ. บทว่า อิติหาสปญฺจมาน ความว่า พระเวท ชื่อว่ามีอิติหาส
เป็นที่ ๕ เพราะมีอิติหาสที่ประกอบด้วยคำเช่นนี้ ว่า อิติ-ห-อาส, อิติ-ห-
อาส กล่าวคือ คัมภีร์ปุราณะ หรือกล่าวคือ คัมภีร์ว่าด้วยวิชาของกษัตริย์
(นักรบ) เป็นที่ ๕. โดยนับเอาอาถัพพนเวทเป็นที่ ๔ แห่งพระเวทเหล่านั้น
ซึ่งมีอิติหาสเป็นที่ ๕. ชื่อว่า รู้บท รู้ไวยากรณ์ เพราะจำทรง คือ รู้ทั้งตัวบท
ทั้งพยากรณ์ (คำอธิบาย) ตัวบทที่เหลือนั้น.
วิตัณฑวาทศาสตร์ (พูดกันเล่นสนุกๆ) ท่านเรียกว่า โลกายตะ
บทว่า มหาปิริสลกฺขณ ได้แก่ศาสตร์ที่มีบทร้อยกรองประมาณ ๑๒,๐๐๐
คัมภีร์ ที่แสดงลักษณะของมหาบุรุษ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่า พุทธมนต์
ประมาณ ๑๖,๐๐๐ บทคาถา มีความสามารถเป็นเหตุให้รู้ความแตกต่างกัน
ดังนี้ว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะนี้ ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยลักษณะนี้
ชื่อว่าเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยลักษณะนี้ชื่อว่าเป็นพระอัครสาวกทั้งสอง
ด้วยลักษณะนี้ชื่อว่า เป็นพระอสีติมหาสาวก ด้วยลักษณะนี้ชื่อว่า เป็นพระ-
พุทธมารดา ด้วยลักษณะนี้ ชื่อว่าเป็นพระพุทธบิดา ด้วยลักษณะนี้ชื่อว่า
เป็นอรรคอุปัฏฐาก ด้วยลักษณะนี้ ชื่อว่าเป็นอรรคอุปัฏฐายิกา และด้วย
ลักษณะนี้ ชื่อว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.
บทว่า อนวโย ได้แก่ เป็นผู้ไม่บกพร่อง คือเป็นผู้บริบูรณ์ใน
คัมภีร์โลกายตะ และคัมภีร์มหาปุริสลักษณะเหล่านี้ มีคำอธิบายว่า ไม่ใช่เป็น
ผู้ย่อหย่อน. คนผู้ไม่สามารถจะจำทรงศาสตร์เหล่านั้นไว้ได้ ทั้งโดยอรรถาธิบาย
และโดยคัมภีร์ ผู้นั้น ชื่อว่า ย่อหย่อน. อย่างหนึ่ง บทว่า อนวโย ตัดบท
เป็น อนุ อวโย ด้วยอำนาจสนธิ ลบอุอักษรออก (ฉะนั้น) อนุ - อวโย
จึงเป็นอนวโย อธิบายว่า มีศิลปบริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 243
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นพราหมณ์นั้นทูลอาราธนาอยู่ ทรงรู้ว่า
บัดนี้ เป็นเวลาสมควรที่เราจะกล่าวแก้ปัญหาของพราหมณ์นั้น จึงตรัสคำนี้ว่า
เตนหิ ดังนี้. บทว่า เตนหิ นั้น มีความหมายว่า เพราะเหตุที่ท่านขอร้อง
เราไว้ ฉะนั้น ท่านจงฟัง. บทว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ เป็นต้น ได้อธิบายไว้
อย่างพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วทีเดียว. แต่ในที่นี้ คำว่า วิวิจฺเจว
กาเมหิ เป็นต้นนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว เพื่อทรง
แสดงถึงข้อปฏิบัติที่เป็นบุพภาคของวิชชาทั้ง ๒. บรรดาวิชชาทั้ง ๓ นั้น การ
พรรณนาวิชชาทั้ง ๒ ไปตามลำดับบทก็ดี นัยแห่งการเจริญวิชชาทั้ง ๒ ก็ดี
ได้ให้พิสดารแล้ว ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเหมือนกัน.
กถาพรรณนาปุพเพนิวาสานุสติญาณ
บทว่า ปมา วิชฺชา ความว่า วิชชา ชื่อว่า ปฐมา เพราะเกิดขึ้น
ครั้งแรก. ที่ชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า กระทำให้แจ่มแจ้งแล้ว. ถามว่า
กระทำอะไรให้แจ่มแจ้ง. ตอบว่า กระทำขันธ์ที่เคยอาศัยในชาติก่อนให้
แจ่มแจ้ง. โมหะที่ปิดบังปุพเพนิวาสานุสติญาณนั้น เพราะความหมายว่า
ทำปุพเพนิวาสานุสติญาณนั้นนั่นแหละไม่ให้แจ่มชัด ตรัสเรียกว่า อวิชชา.
บทว่า ตโม ความว่า โมหะนั้นแล เรียกว่า ตมะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ
ปกปิด. บทว่า อาโลโก ความว่า วิชชานั่นแหละตรัสเรียกว่า อาโลกะ
เพราะหมายความว่า ทำความสว่างไสว. ก็ในพระสูตรนี้มุ่งความว่า ได้บรรลุ
วิชชา ๓ แล้ว. คำที่เหลือ เป็นคำกล่าวสรรเสริญ. ก็ในข้อนี้ ประกอบความว่า
เธอได้บรรลุวิชชานี้แล้ว ลำดับนั้น อวิชชาก็เป็นอันเธอผู้บรรลุวิชชาแล้ว
กำจัดแล้ว อธิบายว่า ให้พินาศแล้ว. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะ
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว. ในบททั้ง ๒ แม้นอกนี้ ก็มีนัยอย่างนี้แหละ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 244
บทว่า ยถา ในคำว่า ยถา ต นี้ เป็นอุปมา. บทว่า ต เป็นเพียง
นิบาต. ชื่อว่าไม่ประมาทแล้ว เพราะไม่ขาดสติ. ชื่อว่า มีความเพียร เพราะ
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส. ชื่อว่า มีตนอันส่งไปแล้ว เพราะไม่อาลัยใยดีใน
ร่างกายและชีวิต. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งใจไปแล้ว
อยู่ อวิชชา จะจางหายไป วิชชา จะเกิดขึ้น ความมืดจะจางหายไป ความ
สว่างจะพึงเกิดขึ้น ฉันใด อวิชชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นอันพราหมณ์นี้
ขจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเป็นอันถูกขจัดแล้ว ความสว่างเกิดขึ้น
แล้ว. พราหมณ์นั้นจึงได้รับผลอันสมควรแก่การประกอบความเพียรนั้นแล้ว
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาพรรณนาปุพเพนิวาสานุสติญาณ
กถาพรรณนาจุตูปปาตญาณ
พึงทราบวินิจฉัยในกถาพรรณนาจุตูปปาตญาณ ดังต่อไปนี้
วิชชาคือ ทิพจักขุญาณ ชื่อว่า วิชชา. ความไม่รู้ที่ปกปิดจุติและ
ปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้ว
นั่นแล.
จบกถาพรรณนาจุตูปปาตญาณ
กถาพรรณนาอาสวักขญาณ
พึงทราบวินิจฉัยในวิชชาที่ ๓ ดังต่อไปนี้
ในบทว่า โส เอว สมาหิเต จิตฺเต พึงทราบว่า ได้แก่จตุตถ-
ฌานจิต อันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา. บทว่า อาสวาน ขยาณาย ความว่า
เพื่อประโยชน์แก่อรหัตมัคคญาณ เพราะอรหัตมรรค ท่านเรียกว่า ชื่อว่า
ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะยังอาสวะทั้งหลายให้พินาศ. และ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 245
อรหัตมัคคญาณ ในบทว่า อาสวาน ขยาณาย นั้นเรียกว่า ชื่อว่า ญาณ
เพราะนับเนื่องในพระอรหัตมรรคนั้น. บทว่า จิตฺต อภินินฺนาเมติ ความว่า
น้อมจิตไปในวิปัสสนา. ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า โส อิท ทุกข พึงทราบความ
อย่างนี้ว่า เขาย่อมรู้ คือ ย่อมแทงตลอดทุกขสัจแม้ทั้งหมด ตามเป็นจริง
โดยการแทงตลอดลักษณะพร้อมด้วยกิจ ว่า ทุกข์มีเพียงเท่านี้ ไม่มากไปกว่านี้
และรู้คือแทงตลอดตัณหา. อันให้เกิดทุกข์นั้น ว่า นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้น
ตามความเป็นจริง โดยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งกิจ รู้คือแทงตลอด
สถานที่ใดถึงแล้ว ทุกข์และสมุทัยทั้งสองนั้นดับไปที่นั้น คือ นิพพานที่ทุกข์และ
สมุทัยทั้งสองนั้นไม่เป็นไปตามความจริง โดยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้ง
กิจ ว่า นี้เป็นความดับทุกข์ และรู้คือแทงตลอดอริยมรรค ที่ให้ถึงนิพพานนั้น
ตามความจริง โดยการแทงตลอดลักษณะพร้อมทั้งกิจว่า นี้เป็นข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับทุกข์.
จบอรรถกถาพรรณนาอาสวักขยญาณ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสัจจะทั้งหลายโดยสรุปอย่างนี้แล้ว
ต่อนี้ เมื่อจะทรงแสดงสัจจะทั้งหลายโดยอ้อม ด้วยสามารถแห่งกิเลส จึงตรัส
คำมีอาทิว่า อิเม อาสวา ดังนี้.
บทว่า ตสฺส เอว ชานโต เอว ปสฺสโต ความว่า ของภิกษุ
นั้นผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมรรคอันถึงที่สุด พร้อมด้วย
วิปัสสนาไว้ (ในที่นี้). บทว่า กามาสวา แปลว่า จากกามาสวะ. ด้วย
บทว่า จิตฺต วิมุจฺจติ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงมัคคขณะ (ขณะจิต
ที่สัมปยุตด้วยมรรค) อธิบายว่า ในขณะแห่งมรรคจิต จิตกำลังหลุดพ้น. ใน
ขณะแห่งจิตผล จิตเป็นอันหลุดพ้นแล้ว. ด้วยบทว่า วิมตตสมึ วิมตตมิติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 246
าณ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงปัจจเวกขณญาณ. ด้วยคำทั้งหลาย
มีอาทิว่า ขีณา ชาติ ทรงแสดงภูมิของพระขีณาสพนั้น. เพราะว่า พระ-
ขีณาสพนั้น เมื่อพิจารณาด้วยญาณนั้น ย่อมทราบข้อความเป็นต้นว่า ชาติ
สิ้นแล้วดังนี้.
ถามว่า ก็ชาติชนิดไหนของพระขีณาสพนั้นสิ้นไปแล้ว และท่านจะรู้
ว่า ชาตินั้นสิ้นไปได้อย่างไร.
ตอบว่า ก่อนอื่นอดีตชาติของท่านไม่ได้สิ้นไปแล้ว เพราะอดีตชาติ
นั้นสิ้นไปก่อนแล้ว ชาติอนาคตก็ไม่สิ้น เพราะไม่มีการพยายามในอนาคต.
ชาติปัจจุบันก็ยังไม่สิ้น เพราะชาติปัจจุบันนั้นยังมีอยู่ แต่ชาติใดที่แยกประเภท
เป็นขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕ จะพึงเกิดขึ้น ในเอกโวการภพ จตุโวการภพ
และปัญจโวการภพ เพราะไม่ได้อบรมมรรค ชาตินั้นชื่อว่า สิ้นไปแล้ว โดย
การถึงความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา เพราะได้อบรมมรรคแล้ว. ท่านครั้น
พิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว ด้วยมัคคภาวนา เมื่อรู้ว่า กรรมถึงจะมีอยู่ ก็ไม่
แต่งปฏิสนธิต่อไป เพราะไม่มีกิเลสดังนี้ ชื่อว่า รู้ชาตินั้น.
บทว่า วุสิต ได้แก่อยู่จบแล้ว คืออยู่เสร็จสิ้นแล้ว อธิบายว่า ทำ
สำเร็จเสร็จสิ้นไปแล้ว. บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่ มัคคพรหมจรรย์ พระเสขะ
๗ จำพวก พร้อมด้วยกัลยา ปุถุชนทั้งหลาย ชื่อว่า ยังประพฤติพรหมจรรย์อยู่
(ส่วน) พระขีณาสพ ชื่อว่า อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านเมื่อ
พิจารณาการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของตน ย่อมรู้ชัดว่า พรหมจรรย์เราอยู่
จบแล้ว. บทว่า กต กรณีย มีอธิบายว่า กิจทั้ง ๑๖ อย่าง ด้วยสามารถ
แห่งการบรรลุ โดยปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิกิริยากิจ และภาวนากิจ
ด้วยมรรคทั้ง ๔ ในสัจจะทั้ง ๔ อันท่านให้สำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว. เพราะว่า
กัลยาณปุถุชนเป็นต้น กำลังกระทำกิจนั้นอยู่ ส่วนพระขีณาสพกระทำกิจเสร็จ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 247
แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านเมื่อพิจารณากิจที่ตนจะต้องทำ ย่อมรู้ชัดว่า กิจที่
ควรทำเราทำเสร็จแล้ว. บทว่า นาปร อิตฺถตฺตาย ความว่า ท่านย่อมรู้
ชัดว่า กิจคือการบำเพ็ญมรรค เพื่อความเป็นอย่างนี้อีก คือเพื่อความเป็นกิจ
๑๖ อย่าง หรือเพื่อความสิ้นกิเลสอย่างนี้ ไม่มีแก่เรา.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิตฺถตฺตาย ความว่า รู้ชัดว่า การสืบต่อ
แห่งขันธ์ อื่นจากความเป็นอย่างนี้ คือจากการสืบต่อแห่งขันธ์ ที่มีอยู่ใน
ปัจจุบันมีประการอย่างนี้ นี้ไม่มีแก่เรา เบญจขันธ์เหล่านี้ ที่เรากำหนดรู้แล้ว
ยังดำรงอยู่ (แต่เป็น) เหมือนต้นไม้ที่มีรากขาดแล้ว เบญจขันธ์เหล่านั้น
จักดับไปเพราะวิญญาณดวงสุดท้ายดับ เหมือนเปลวไฟที่หมดเชื้อแล้วดับไป
ฉะนั้น. วิชชา คือ อรหัตมัคคญาณ ชื่อว่า วิชชาในที่นี้. อวิชชา ที่
ปิดบังอริยสัจ ๔ ไว้ ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว.
บทว่า อนุจฺจาวจสีลสฺส ความว่า ผู้ที่มีศีล บางเวลาเสื่อม บาง
เวลาเจริญ ชื่อว่า มีศีลลุ่ม ๆ ดอน ๆ. ส่วนพระขีณาสพมีศีลเจริญ โดย
ส่วนเดียวเท่านั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า มีศีลไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ บทว่า
วสีภูต ได้แก่ ถึงความชำนาญ. บทว่า สุสมาหิต ได้แก่ตั้งไว้ด้วยดี คือ
ตั้งไว้ดีแล้วในอารมณ์. บทว่า ธีร ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาที่จำทรง.
บทว่า มจฺจุหายิน ได้แก่ละทิ้งมัจจุราชแล้วดำรงอยู่. บทว่า สพฺพปฺปหายิน
ได้แก่ ละบาปธรรมทั้งหมดแล้วดำรงอยู่. บทว่า พุทฺธ ได้แก่ ตรัสรู้สัจจะ
ทั้ง ๔. บทว่า อนฺติมเทหธาร ความว่า ทรงไว้ซึ่งร่างกายครั้งหลังสุด.
บทว่า ต นมสฺสนติ โคตม ความว่า สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
นมัสการพระองค์ผู้โคตมโคตร. อีกอย่างหนึ่ง มีอธิบายว่า แม้สาวกของ
พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า โคตมะ ก็ชื่อว่า โคตมะ เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย นมัสการสาวกผู้ชื่อว่า โคตมะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 248
บทว่า ปุพฺเพนิวาส ได้แก่ ขันธ์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนสืบต่อกันมา
บทว่า โยเวติ ความว่า ผู้ใดไม่เสื่อม คือไม่ตกต่ำ. ปาฐะว่า โยเวทิ ดังนี้
ก็มี อธิบายว่า ผู้ใดได้รู้แล้ว คือทำสิ่งที่รู้แล้วให้ปรากฏดำรงอยู่ บทว่า
สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ ความว่า ผู้นั้นเห็นสวรรค์ชั้นกามาวจร ๖ ชั้น
พรหมโลก ๙ ชั้น และอบายทั้ง ๔. บทว่า ชาติกฺขย ปตฺโต ความว่า
บรรลุอรหัตผล. บทว่า อภิญฺาโวสิโต ความว่า อยู่ด้วยการสิ้นสุดกิจ
เพราะรู้. มุนี คือพระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้รู้ ชื่อว่า มุนี.
บทว่า เอตาหิ ความว่า ด้วยญาณทั้งหลาย มีปุพเพนิวาสานุสติญาณเป็นต้น
ที่ทรงแสดงไว้แล้ว ในหนหลัง. บทว่า นาญฺ ลปิตลาปน ความว่า
แต่เราตถาคตไม่เรียกคนอื่น ที่เรียกเอาอย่าง ที่คนอื่นเรียกว่า เตวิชฺโช (ผู้มี
วิชชา ๓) ว่าเป็น เตวิชฺโช. อธิบายว่า เราตถาคตเรียกผู้รู้ โดยประจักษ์
แก่ตนแล้วบอกวิชชา ๓ แก่ผู้อื่นด้วย ว่าเป็นผู้มีวิชชา ๓. บทว่า กล แปลว่า
ส่วน. บทว่า นาคฺฆติ แปลว่า ไม่ถึง. บัดนี้ พราหมณ์เลื่อมใสพระพุทธพจน์
แล้ว เมื่อจะแสดงอาการของผู้เลื่อมใส จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า อภิกฺกนฺต
ดังนี้.
จบอรรถกถาติกัณณสูตรที่ ๘.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 249
๙. ชานุสโสณีสูตร
ว่าด้วยวิชชา ๓ ของพราหมณ์และพุทธะ
[๔๙๙] ครั้งนั้นแล ชานุสโสณีพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ผู้ใดมียัญสิ่งที่พึงให้ด้วยศรัทธา อาหารที่จะพึงให้แก่คนอื่น หรือไทยธรรม
ผู้นั้นควรให้ทานในพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ก็พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติพราหมณ์ว่าได้วิชชา ๓ อย่างไร.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ในโลกนี้ เป็นอุภโตสุชาต
ทั้งข้างฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิ สะอาดดีตลอด ๗
ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านติเตียนได้ด้วยอ้างถึงชาติ เป็นผู้เล่าเรียน
ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกฏุภะ พร้อมทั้ง
ประเภทอักษรมีคัมภีร์อิติหาสเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์
ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ ข้าแต่พระโคดม-
ผู้เจริญ ก็พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติพราหมณ์ว่าได้วิชชา ๓ อย่างนี้แล.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติพราหมณ์ว่าได้
วิชชา ๓ อย่างหนึ่ง ก็แหละผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอย่างหนึ่ง.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัย ย่อมมี
อย่างไร ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้า
พระองค์ตามที่ผู้ได้วิชชา ๓ มีในอริยวินัย.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้ากระนั้นจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ชานุสโสณีพราหมณ์ทูลรับพนระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 250
ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌานอยู่ ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้
เป็นอันมาก ฯลฯ วิชชาข้อแรกเป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้ อวิชชาสูญไป
วิชชาเกิดขึ้น ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น เช่นเดียวกันกับของภิกษุผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น.
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุป
กิเลส อ่อน ควรแก่การงาน มั่นคงไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุ
อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ วิชชาข้อที่สองย่อมเป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว
ดังนี้ อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้นความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น เช่นเดียวกัน
กับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น.
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา-
มินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอ
รู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้กามาสวะ. แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-
จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
วิชชาข้อที่สาม ย่อมเป็นอันเธอได้บรรลุแล้ว ดังนี้ อวิชชาสูญไป วิชชาเกิดขึ้น
ความมืดสูญไป แสงสว่างเกิดขึ้น เช่นเดียวกันกับของที่ภิกษุผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 251
ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีลวัตร ส่งตนไป
แล้ว มีจิตเป็นสมาธิ ผู้ใดมีจิตมีความชำ-
นาญ เป็นเอกัคคตา ตั้งมั่นดีแล้ว ผู้ใดตรัสรู้
ปุพเพนิวาสญาณ เห็นสวรรค์และอบาย
บรรลุถึงธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งชาติเป็นมุนี
ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ เพราะรู้ด้วยปัญญา
อันยิ่ง และเป็นพราหมณ์ผู้ได้วิชชา ๓
เราย่อมกล่าวผู้เช่นนั้นว่า ผู้ได้วิชชา ๓
หากล่าวตามคำที่พูดกันอย่างอื่นไม่.
ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอย่างนี้แล.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวกพราหมณ์เป็น
อย่างหนึ่ง ก็แหละผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยเป็นอย่างหนึ่ง ข้าแต่พระโคดม
ผู้เจริญ ผู้ได้วิชชา ๓ ของพวกพราหมณ์ไม่ถึงส่วนที่ ๑๖ ซึ่งจำแนกเป็น ๑๖
ครั้ง ของผู้ได้วิชชา ๓ ในอริยวินัยนี้ ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯสฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็น
อุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบชานุโสณีสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 252
อรรถกถาชานุสโสณีสูตร
พึงทราบวินิจฉัยใน ชานุสโสณีสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ยสฺสสฺสุ เท่ากับ ยสฺส ภเวยฺยุ (ของผู้ใดพึงมี). ในบทว่า
ยญฺโ เป็นต้น มีอธิบายว่า ไทยธรรมชื่อว่ายัญ เพราะต้องบูชา. คำว่า
ยัญนี้เป็นชื่อของไทยธรรม. บทว่า สทฺธ ได้แก่ภัตตาหารที่อุทิศเพื่อผู้ตาย.
บทว่า ถาลิปาโก ได้แก่ ภัตตาหารที่จะพึงให้แก่บริษัทอื่น. ขึ้นชื่อว่า
ไทยธรรมทุกอย่าง ที่เหลือจากที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า ไทยธรรม.
บทว่า เตวิชฺเชสุ พฺราหฺมเณสุ ทาน ทเทยฺย ความว่า
ทานทั้งหมดนี้ ควรให้ในผู้มีวิชชา ๓. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าพราหมณ์
ผู้มีวิชชา ๓ เท่านั้น ควรได้รับ (ทาน). บทที่เหลือในพระสูตรนี้ มีนัยดังกล่าว
แล้วในหนหลัง.
จบอรรถกถาชานุสโสณีสูตรที่ ๙
๑๐. สังคารวสูตร
ว่าด้วยบุญปฏิปทาที่มีผลมาก
[๕๐๐] ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ชื่อว่าพราหมณ์ ย่อมบูชายัญเองบ้าง
ให้คนอื่นบูชาบ้าง ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น ผู้ที่บูชา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 253
ยัญเองและผู้ที่ใช้ให้คนอื่นบูชาทุกคน ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาเป็นเหตุให้
เกิดบุญ อันมียัญเป็นเหตุ ซึ่งมีกำเนิดแต่สรีระเป็นอันมาก อนึ่ง ผู้ใดออกจาก
สกุลใด บวชเป็นบรรพชิตฝึกแต่คนเดียว ทำตนให้สงบแต่คนเดียว ทำตน
ให้ดับไปแต่คนเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้นั้นชื่อว่ามีปฏิปทาเป็นเหตุให้เกิดบุญ
อันมีบรรพชาเป็นเหตุ ซึ่งมีกำเนิดแต่สรีระอันเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้ากระนั้นเราจักขอถาม
ท่านในข้อนี้ ท่านจงเฉลยปัญหานั้นตามที่ท่านเห็นควร ดูก่อนพราหมณ์ ท่าน
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายทรงเบิกบานแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคตอรหัตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เราดำเนินไปแล้วตามมรรคนี้ ตามปฏิปทานี้
ทำธรรมอันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง
เองแล้ว สอนประชาชนให้รู้ตาม มาเถิด ถึงท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามอาการ
ที่ท่านทั้งหลายปฏิบัติได้แล้ว ก็จักทำธรรมอันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหม-
จรรย์ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งของตนแล้ว เข้าถึงอยู่ พระศาสดาพระองค์นี้
ทรงแสดงธรรมไว้ดังนี้ ทั้งผู้อื่นต่างปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็ผู้แสดง
และผู้ปฏิบัตินั้น มีมากกว่าร้อย มีมากกว่าพัน มีมากกว่าแสน ดูก่อนพราหมณ์
ท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ บุญปฏิปทา
ซึ่งมีบรรพชาเป็นเหตุนั้น ย่อมจะมีกำเนิดแต่สรีระเดียว หรือมีกำเนิดแต่สรีระ
เป็นอันมาก.
สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นดังตรัสมาฉะนี้ บุญปฏิปทา
ที่มีบรรพชาเป็นเหตุนี้ ย่อมมีกำเนิดแต่สรีระเป็นอันมาก.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 254
เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถาม
สังคารวพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบใจ
ปฏิปทาอย่างไหนซึ่งมีความต้องการน้อยกว่า มีความริเริ่มน้อยกว่า แต่ว่ามีผล
และอานิสงส์มากมาย เมื่อท่านพระอานนท์ถามอย่างนี้ สังคารวพราหมณ์ได้
กล่าวว่า ท่านพระโคดมฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้
เราควรบูชา เราควรสรรเสริญ แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ได้ถามว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เรามิได้ถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านควรบูชาใคร หรือว่าท่าน
ควรสรรเสริญใคร แต่เราถามท่านอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาปฏิปทา
๒ อย่างนี้ ท่านชอบปฏิปทาอย่างไหน ซึ่งมีความต้องการน้อยกว่า มีความ
ริเริ่มน้อยกว่า แต่ว่ามีผลและอานิสงส์มากมาย ถึงครั้งที่ ๒ สังคารวพราหมณ์
ก็ได้กล่าวว่า ท่านพระโคดมฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้
เราควรบูชา เราควรสรรเสริญ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เรามิได้ถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านควรบูชาใคร ท่านควร
สรรเสริญใคร แต่เราถามท่านอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาปฏิปทา ๒
อย่างนี้ ท่านชอบปฏิปทาอย่างไหน ซึ่งมีความต้องการน้อยกว่า มีความริเริ่ม
น้อยกว่า แต่ว่ามีผลและอานิสงส์มากมาย ถึงครั้งที่ ๓ สังคารวพราหมณ์ก็ได้
กล่าวว่า ท่านพระโคดมฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้ เรา
ควรบูชา เราควรสรรเสริญ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดำริว่า สังคารวพราหมณ์
ถูกอานนท์ถามปัญหาที่ชอบแล้ว นิ่งเสีย ไม่เฉลยถึง ๓ ครั้งแล ถ้ากระไร
เราควรจะช่วยเหลือ จึงได้ตรัสถามสังคารวพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ วันนี้
พวกที่มานั่งประชุมกันในราชบริษัทในราชสำนัก ได้พูดสนทนากันขึ้นใน
ระหว่างว่าอย่างไร สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 255
พวกที่มานั่งประชุมกันในราชบริษัทในราชสำนัก ได้พูดสนทนากันขึ้นใน
ระหว่างว่า เขาว่าเมื่อก่อนภิกษุที่แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้มีน้อยมาก และอุตริ-
มนุษยธรรมมีมากมาย ทุกวันนี้ ภิกษุที่แสดงปาฏิหาริย์ได้มีมากมาย และอุตริ-
มนุษยธรรมมีน้อยมาก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ทุกวันนี้ พวกที่มานั่งประชุม
กันในราชบริษัทในราชสำนักได้พูดสนทนากันขึ้นในระหว่างว่าดังนี้แล.
ว่าด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ
อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์๑ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์๑
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์๑ ดูก่อนพราหมณ์ ก็อิทธิปาฏิหาริย์
เป็นไฉน ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็น
อันมาก คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้
ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปใน
ที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตก
เหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์
พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด
พรหมโลกก็ได้ ดูก่อนพราหมณ์ นี้เรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์.
ดูก่อนพราหมณ์ ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจได้โดยนิมิตว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง
ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง จิตของท่านเป็นด้วยประการฉะนี้บ้าง ถึงหาก
เธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็น
อย่างอื่นไปไม่ ดูก่อนพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดย
นิมิตไม่ได้เลย ก็แต่ว่าพอได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว
ย่อมพูดดักใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 256
จิตของท่านเป็นด้วยประการฉะนี้บ้าง ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมาก
ก็จริง คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไม่ ดูก่อนพราหมณ์ ก็ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ถึงได้ยินเสียงมนุษย์
อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้เลย แต่ว่าพอได้ยินเสียงวิตก
วิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ย่อมพูดดักใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้
บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง จิตของท่านเป็นด้วยประการฉะนี้บ้าง ถึง
หากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็จริง คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็น
อย่างอื่นไปไม่ ดูก่อนพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิต
ไม่ได้เลย ถึงได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้
ถึงได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้ ก็แต่ว่า
กำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้าสมาธิ อันไม่มีวิตกวิจาร ด้วยใจของตนว่า ท่านผู้นี้ตั้ง
มโนสังขารไว้ด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น
ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็จริง คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น
หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ ดูก่อนพราหมณ์ นี้เรียกว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์
ดูก่อนพราหมณ์ ก็อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้
จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่ ดูก่อน
พราหมณ์ นี้เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ดูก่อนพราหมณ์ ปาฎิหาริย์ ๓ อย่างนี้แล ดูก่อนพราหมณ์ บรรดา
ปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้ ท่านชอบปาฏิหาริย์อย่างไหนซึ่งดีกว่าและประณีตกว่า
สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนั้น ปาฏิหาริย์
ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 257
ดังนี้นั้น ผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นี้ได้ แสดงฤทธิ์เป็นอันมาก ผู้นั้นย่อมชอบใจ
ปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์ที่ผู้ใดแสดงได้ และเป็นของผู้นั้นนี้ ย่อมปรากฏแก่
ข้าพระองค์ เหมือนกับรูปลวง ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พูดดักใจ
ได้ยินโดยนิมิตว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง
จิตของท่านเป็นด้วยประการฉะนี้บ้าง ถึงเธอจะพูดดักใจกะชนเป็นอันมากก็ดี
คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้นหาเป็นอย่างอื่นไม่ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ภิกษุ
บางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ... แต่ว่าพอได้ยินเสียง
มนุษย์ อมนุษย์หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูดดักใจได้ ... แม้ว่าได้ยินเสียงมนุษย์
อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว พูดดักใจไม่ได้ แต่ว่าได้ยินเสียงวิตกวิจารของ
บุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ก็พูดดักใจได้ ... ถึงได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคล
ผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้ แต่ว่ากำหนดรู้ใจของผู้อื่นที่เข้าสมาธิ
อันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของตนว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารด้วยประการใด จัก
ตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคน
เป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ ผู้ใด
แสดงปาฎิหาริย์นี้ได้ ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฎิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์ที่ผู้ใดแสดงได้
และเป็นของผู้นั้นนี้ ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับรูปลวง ข้าแต่พระ-
โคดมผู้เจริญ บรรดาปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้ ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จง
มนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่
ควรแก่ข้าพระองค์ ทั้งดีกว่าและประณีตกว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ที่ท่านพระโคดมตรัสดีแล้ว และข้าพระองค์จะจำไว้ว่า
ท่านพระโคดมประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เพราะท่านพระโคดมแสดง
ฤทธิ์ได้เป็นอันมาก ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 258
ท่านพระโคดมกำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้าสมาธิ อันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของ
พระองค์ว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้ด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นใน
ลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น เพราะท่านพระโคดมทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า
จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนี้
จงละสิ่งนี้เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านได้กล่าววาจาที่ควรนำไปใกล้เราแน่แท้
เทียวแล เออก็เราจักพยากรณ์แก่ท่านว่า เพราะเราแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก
ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเรา
กำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้าสมาธิ อันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของตนว่า ท่านผู้นี้ตั้ง
มโนสังขารไว้ด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น
เพราะเราพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนี้ จงมนสิการ
อย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่.
สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็แม้ภิกษุอื่นรูปหนึ่งผู้ประกอบด้วย
ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ นอกจากท่านพระโคดม มีอยู่หรือ.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ไม่ใช่มีร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย
ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้ภิกษุผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ มีอยู่
มากมายทีเดียว.
สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นอยู่ไหน.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ อยู่ในหมู่ภิกษุนี้เองแหละ.
สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม
โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 259
แก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักมองเห็นรูป
ฉะนั้น ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้ง
พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้า
พระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบสังคารวสูตรที่ ๑๐
จบพราหมณวรรคที่ ๓
อรรถกถาสังคารวสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสังคารวสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า สงฺคารโว ได้แก่ พราหมณ์ผู้ดูแล ผู้ทำการปฏิ-
สังขรณ์ของเก่าในกรุงราชคฤห์ มีชื่ออย่างนี้. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า
พราหมณ์รับประทานอาหารเช้าแล้ว มีมหาชนห้อมล้อม เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า. บทว่า อสฺสุ ในคำว่า มยมสฺสุ นี้ เป็นเพียงนิบาต คือเป็น
บทแสดงความนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ชื่อว่า
พราหมณ์.
บทว่า ยญฺ ยชาม ความว่า ขึ้นชื่อว่า ยัญประกอบไปด้วยการ
ฆ่าสัตว์อย่างนี้ ชุดละ ๔ ตัว ชุดละ ๘ ตัว ชุดละ ๑๖ ตัว ชุดละ ๓๒ ตัว
ชุดละ ๖๔ตัว ชุดละ ๑๐๐ ตัว และชุดละ ๕๐๐ ตัว มีอยู่ในลัทธิภายนอก
(พระพุทธศาสนา). พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอายัญนั้นนั่นแหละ. บทว่า
อเนกสารีริก ได้แก่ เนื่องด้วยคนมาก. บทว่า ยทิท เท่ากับ ยา เอสา
แปลว่า นี้ใด. บทว่า ยญฺาธิกรณ ความว่า มีการบูชายัญเป็นเหตุ และ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 260
มีการให้ผู้อื่นบูชาเป็นเหตุ ความจริง บุญปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเนื่องด้วยบุญ)
ในไทยธรรมอย่างเดียว ที่บุคคลให้เองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นให้ก็ดี แก่คนจำนวนมาก
ถึงในไทยธรรมมากอย่าง ที่บุคคลให้เองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นให้ก็ดี แก่คนจำนวน
มาก ชื่อว่า เป็นปฏิปทาเนื่องด้วยคนมาก. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
หมายเอา บุญปฏิปทานั้น. และบุญปฏิปทา ของผู้กล่าวอยู่ว่า เราบูชาท่าน
เราบูชาท่าน ดังนี้ก็ดี ผู้บังคับผู้อื่นว่า ท่านจงบูชา ท่านจงบูชา ดังนี้ก็ดี ชื่อว่า
เป็นปฏิปทาเนื่องด้วยคนหมู่มากเหมือนกัน. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
หมายเอา บุญปฏิปทาแม้นั้น.
บทว่า ยสฺส วา ตสฺส วา เท่ากับ ยสฺมา วา ตสฺมา วา
แปลว่า จากตระกูลใดๆ ก็ตาม. บทว่า เอกมตฺตาน ทเมติ ความว่า ฝึกตน
คนเดียว ด้วยสามารถแห่งการฝึกอินทรีย์ของตน. บทว่า เอกมตฺตาน สเมติ
ความว่า สงบตนคนเดียวนั่นแหละ ด้วยการสงบราคะเป็นต้นของตน. บทว่า
ปรินิพฺพาเปติ ความว่า ปรินิพพานด้วยการดับสนิท ซึ่งราคะเป็นต้น
นั่นแหละ. บทว่า เอวมสฺสาย ความว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เรื่องการบรรพชา
นี้ ก็เท่ากับบุญปฏิปทานี้.
พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพราหมณ์ อย่างนี้แล้ว ทรงดำริว่า
พราหมณ์นี้ กล่าวถึงมหายัญที่ประกอบด้วยการฆ่าสัตว์ ว่าเป็นบุญปฏิปทาที่
เนื่องด้วยคนหมู่มาก แต่กล่าวถึงปฏิปทาที่เป็นเหตุให้เกิดบุญ มีบรรพชาเป็น
พื้นฐานว่า เป็นบุญปฏิปทาเนื่องด้วยคน ๆ เดียว พราหมณ์นี้ไม่รู้จักปฏิปทา
ที่เนื่องด้วยคน ๆ เดียวเลย ไม่รู้จักปฏิปทาที่เนื่องด้วยคนจำนวนมากด้วย
เอาเถิด เราจักแสดงปฏิปทาที่เนื่องด้วยคน ๆ เดียว ทั้งที่เนื่องด้วยคนจำนวน
มากแก่เขา ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงขยายพระธรรมเทศนาออกไปอีก จึงตรัสคำ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 261
มีอาทิว่า เตนหิ พฺราหฺมณ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา เต
ขเมยฺย ความว่า ท่านชอบใจอย่างไร. บทว่า อิธ ตถาคโต โลเก
อุปฺปชฺชติ ได้ให้พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า เอถาย๑ มคฺโค ความว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย เราตถาคต
จักพร่ำสอน นี้เป็นทาง. บทว่า อย ปฏิปทา นี้ เป็นไวพจน์ของ มคฺโค
นั้น. บทว่า ยถา ปฏิปนฺโน ความว่า ดำเนินไปแล้ว โดยมรรคใด. บทว่า
อนุตฺตร พฺรหฺมจริโยคธ ความว่า ธรรมอันถึงที่สุด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า
คือพระนิพพาน อันเป็นที่พึ่งสูงสุดของพรหมจรรย์ กล่าวคือ อรหัตมรรค.
บทว่า อิจฺจาย ตัดบทเป็น อิติ อย.
บทว่า อปฺปตฺถตรา ความว่า เป็นปฏิปทาที่ไม่ต้องการความช่วย-
เหลือหรือไม่ต้องการอุปกรณ์จำนวนมาก. บทว่า อปฺปสมารมฺภตรา ความว่า
เป็นปฏิปทาที่ไม่มีการแข่งดี กล่าวคือ การกดโดยตัดรอนกรรม (ความดี)
ของคนเป็นอันมาก.
บทว่า เสยฺยถาปิ ภว โคตโม ภวญฺจ อานนฺโท เอเต เม
ปุชฺชา ความว่า พราหมณ์กล่าวคำนั้น หมายถึงความข้อนี้ว่า บุคคลเช่น
พระโคดมผู้เจริญ และพระอานนท์ผู้เจริญ เป็นผู้อันข้าพเจ้าบูชาแล้ว ได้แก่
พวกท่านนั่นแหละ คือทั้งสองคนเป็นผู้อันข้าพเจ้าบูชาและสรรเสริญ. ได้ยินว่า
พราหมณ์นั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า พระอานนทเถระต้องการให้เราเท่านั้น
ตอบปัญหานี้ แต่เมื่อเรากล่าวสรรเสริญคุณของตน ชื่อว่า ผู้จะไม่ยินดีไม่มี.
เพราะฉะนั้น พราหมณ์เมื่อไม่ประสงค์จะตอบปัญหา จึงกล่าวอย่างนี้ ให้
เพี้ยนไป ด้วยสามารถแห่งการกล่าวสรรเสริญ. บทว่า น โข ตฺยาห ตัด
บทเป็น น โข เต อห.
๑. ปาฐะว่า เอตฺถาย ฉบับพม่าเป็น เอถาย แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 262
ได้ยินว่า แม้พระเถระก็คิดว่า พราหมณ์นี้ไม่ประสงค์จะตอบปัญหา
จึงเสความ เราจักให้พราหมณ์นี้ ตอบปัญหานี้ให้จงได้ เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวอย่างนี้ กะพราหมณ์นั้น. บทว่า สหธมฺมิก แปลว่า มีเหตุ. บทว่า
สสาเทติ แปลว่า ขยาด. บทว่า โน วิสชฺเชติ แปลว่า จะไม่ตอบ.
บทว่า ยนฺนูนาห ปริโมจย ความว่า อย่ากระนั้นเลย เราจะ
ปลดเปลื้องคนทั้งสองให้พ้นจากความลำบากใจ. เพราะว่าพราหมณ์เมื่อไม่
ตอบปัญหาที่พระอานนท์ถาม ย่อมลำบากใจ ฝ่ายพระอานนท์ เมื่อจะให้
พราหมณ์ผู้ไม่ยอมตอบ ตอบให้ได้ ก็ลำบากใจ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระดำริว่า เราจักปลดเปลื้องคนทั้งสองนี้ จากความลำบากใจ จึงตรัส
อย่างนี้. บทว่า กานฺวชฺช ตัดบทเป็น กา นุ อชฺช. บทว่า อนฺตรากถา
อุทปาทิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ในระหว่างที่สนทนากันถึง
เรื่องอื่น มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นบ้าง. พระศาสดาตรัสอย่างนี้ โดยมีพุทธประสงค์
ว่า ได้ยินว่า ครั้งนั้นในพระราชวัง มีกถาปรารภปาฏิหาริย์ ๓ เกิดขึ้น เรา
จะถามความข้อนั้น.
ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า บัดนี้ เราสามารถจะพูดได้ เมื่อจะกราบ
ทูลข้อความที่เกิดขึ้นในพระราชวัง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อย ขฺวชฺช โภ
โคตม ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อย ขวฺชฺช ตัดบทเป็น อย
โข อชฺช. บทว่า สุท ในคำว่า ปุพฺเพ สุท เป็นเพียงนิบาต. บทว่า
อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา ได้แก่มนุษยธรรมชั้นสูง กล่าวคือ กุศลกรรมบถ ๑๐.
ด้วยบทว่า อิทฺธิปาฏิหาริย ทสฺเสสุ พราหมณ์กล่าวหมายเอาการเหาะขึ้น
ไปบนอากาศ ที่เป็นไปแล้วในสมัยก่อนอย่างนี้ คือ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 263
ภิกษาจาร ทั้งไปทั้งกลับ จะเหาะไปโดยทางอากาศทั้งนั้น. ด้วยบทว่า เอตรหิ
ปน พหุตรา จ ภิกฺขุ นี้ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ตามลัทธิว่า เมื่อก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ชะรอยจะคิดว่า พวกเราจักยังปัจจัย ๔ ให้เกิดขึ้น จึงกระทำ
อย่างนี้ แต่บัดนี้ รู้ว่าปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว จึงปล่อยเวลาให้ล่วงไป ด้วยโมหะ
และความประมาท.
บทว่า ปาฏิหาริยานิ ได้แก่ ปาฏิหาริย์ โดยมุ่งขจัดลัทธิที่เป็น
ปฏิปักษ์. บทว่า อิทฺธิปาฏิหาริย ความว่า ปาฏิหาริย์ด้วยอำนาจการ
แสดงฤทธิ์ ชื่อว่า อิทธิปาฏิหาริย์. แม้ในปาฏิหาริย์นอกนี้ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
อรรถาธิบาย วิชชา ๘ ประการ มีอิทธิวิธิต่าง ๆ วิธีก็ดี นัยแห่งการเจริญ
(วิชชา ๘ ประการนั้น) ก็ดี ได้ให้พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วทีเดียว.
บทว่า นิมิตฺเตน อาทิสติ ความว่า ทำนายว่า ชื่อว่า สิ่งนี้จักมีโดยนิมิต
ที่ผ่านมาแล้ว โดยนิมิตที่ผ่านไปแล้ว หรือโดยนิมิตที่ยังคงอยู่. ในข้อนี้มีเรื่อง
ดังต่อไปนี้
เล่ากันมาว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงกำแก้วมุกดา ๓ ดวงไว้
แล้วตรัสถามปุโรหิตว่า ท่านอาจารย์อะไรอยู่ในมือของเรา. ปุโรหิตตรวจดู
ข้างโน้น ข้างนี้ และเวลานั้น มีตุ๊กแกตัวหนึ่ง วิ่งไปโดยตั้งใจว่าจักจับแมลงวัน
ในเวลาจับ แมลงวันหนีไปได้. เขาจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช แก้วมุกดา
พระเจ้าข้า เพราะความที่ (ถือนิมิต) แมลงวันหนีรอดไปได้. พระราชาตรัสถาม-
ต่อไปว่า ถูกละ แก้วมุกดา แต่ว่า มีกี่ดวง. ปุโรหิตตรวจดูนิมิตอีก เวลานั้น
ไก่ขันขึ้น ๓ ครั้ง ในที่ไม่ไกล. พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชมี ๓ ดวง
พระเจ้าข้า. บางคนทำนายนิมิตที่ผ่านมาแล้ว ดังพรรณมานี้. แม้โดยนิมิต
ที่ผ่านไปแล้ว และยังคงอยู่ ก็พึงทราบการทำนายโดยอุบายนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 264
บทว่า เอวมฺปิ เต มโน ความว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้คือ
อาศัยโสมนัส อาศัยโทมนัส หรือประกอบด้วยกามวิตกเป็นต้น. คำที่ ๒
(อิตฺถมฺปิ เต มโน) เป็นไวพจน์ของคำว่า เอวมฺปิ เต มโน นั้นนั่นเอง
บทว่า อิติปิ เต จิตฺต ความว่า จิตของท่านเป็นไปด้วยประการนี้ อธิบายว่า
ท่านกำลังคิดถึงความข้อนี้ และข้อนี้อยู่ จิตเป็นไปแล้ว. บทว่า พหุญฺเจปิ
อาทิสติ ความว่า หากเขาจะพยากรณ์แม้มากไซร้. บทว่า ตเถว ต โหติ
ความว่า(เรื่องต่างๆ) จะเป็นเหมือนที่ทำนายไว้นั่นแหละ. บทว่า อมนุสฺสาน
ได้แก่ อมนุษย์มียักษ์และปีศาจเป็นต้น. บทว่า เทวตาน ได้แก่เทวดาทั้งหลาย
มีเทวดาชั้นจาตุมมหาราชเป็นต้น. บทว่า สทฺท สุตฺวา ความว่า ได้ยินเสียง
ของเขาผู้กำลังกล่าวอยู่จึงทำนาย เพราะรู้จิตของผู้อื่น. บทว่า วิตกฺกวิจารสทฺท
ความว่า เสียงของคนที่หลับและประมาทเป็นต้น ละเมอถึงสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย
สามารถแห่งวิตก และวิจาร. บทว่า สุตฺวา ได้แก่ได้ยินเสียงนั้น. อธิบายว่า
ทำนายเสียงที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจอารมณ์เธอกำลังตรึกนั้น ว่าใจของท่านเป็น
อย่างนี้.ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้
เล่ากัน ว่า ชายผู้หนึ่ง คิดว่า เราจะไปแก้คดี ออกจากบ้านไปสู่นคร
นับแต่ที่ ๆ ออกเดินทางไป ก็ครุ่นคิดอยู่ว่า ในศาล เราจักทำสิ่งนี้ จักพูดคำนี้
แด่พระราชา ราชมหาอมาตย์ ได้เป็นเสมือนว่า ไปสู่ราชสกุลแล้ว เหมือนกับ
ได้ยืนต่อพระพักตร์ของพระราชาแล้ว และเหมือนกับกำลังให้การอยู่กับผู้-
พิพากษา. บุรุษผู้หนึ่งได้ยินเสียงนั้นของเขาที่เปล่งออกไป ด้วยสามารถแห่ง
วิตกและวิจาร จึงถามว่า ท่านจะไปด้วยเรื่องอะไร. เขาตอบว่า จะไปแก้คดี.
บุรุษนั้นจึงพูดว่า ไปเถิด ท่านจะมีชัยชนะ. เขาไปแก้คดีแล้ว ประสบชัยชนะ.
แม้พระเถระชาวโปลิยคาม อีกรูปหนึ่ง ได้เข้าไปบิณฑบาตในบ้าน.
ขณะนั้น เด็กหญิงคนหนึ่งส่งใจไปที่อื่นจึงไม่เห็นท่านผู้เดินออกไป. ท่านยืนอยู่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 265
ที่ประตูบ้านแล้วกลับออกไปมองดู เห็นเด็กหญิงนั้นแล้ว ได้เดินตรึกไป และ
เมื่อเดินไปก็ได้กล่าวว่า แม่หนูทำอะไรอยู่หรือ จึงไม่เห็นเรา. ชายคนหนึ่ง
ยืนอยู่ข้าง ๆ ได้ยินแล้ว ก็พูดขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านไปบ้าน
โปลิยคามเถิด.
บทว่า มโนสงฺขารา ปณิหิตา ความว่า จิตสังขารที่ตั้งไว้ดีแล้ว.
บทว่า วิตกฺเกสฺสติ ความว่า รู้ชัดว่า จักตรึก คือจักยังจิตให้เป็นไป.
ก็เมื่อเธอรู้ชัดอยู่ ชื่อว่า ย่อมรู้ชัด โดยนิมิตผ่านมานั่นแหละ. ย่อมรู้โดยนิมิต
อันเป็นส่วนเบื้องต้น. ย่อมรู้โดยยกจิตขึ้นภายในสมาบัติ.
ในเวลาบริกรรมกสิณเหล่านั้นแหละ ภิกษุรู้ว่า พระโยคาวจรนี้
ปรารภการเจริญกสิณโดยอาการใด จักยังปฐมฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน หรือ
สมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้นโดยอาการนั้น ชื่อว่า รู้โดยนิมิตผ่านมา.
เมื่อปรารภสมถวิปัสสนาแล้ว ภิกษุรู้อยู่ คือรู้ว่า พระโยคาวจรนี้
ปรารภวิปัสสนาแล้ว โดยอาการใด จักยังโสดาปัตติมรรคฯลฯ หรืออรหัตมรรค
ให้เกิดขึ้น โดยอาการนั้น ชื่อว่า รู้นิมิตโดยส่วนเบื้องต้น.
ภิกษุรู้ว่า มโนสังขารของพระโยคาวจรนี้ ตั้งไว้ดีแล้ว เธอจะตรึก-
วิตกชื่อนี้ ในลำดับแห่งจิตชื่อนี้ โดยอาการใด สมาธิของพระโยคาวจรนี้
ผู้ออกจากสมาบัตินี้แล้ว ที่เป็นหานภาคิยะ (เป็นส่วนแห่งการละ) ที่เป็น
ฐิติภาคิยะ (เป็นส่วนแห่งความดำรงอยู่) ที่เป็นวิเสสภาคิยะ (เป็นส่วนแห่ง
คุณธรรมพิเศษ) หรือเป็นนิพเพธภาคิยะ (เป็นส่วนแห่งการแทงตลอด) จักมี
หรือการทำให้แจ้งด้วยอภิญญา จักเกิดขึ้นแก่เธอ โดยอาการนั้น ชื่อว่า
รู้โดยตรวจดูจิตในภายในสมาบัติ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 266
บรรดาบทเหล่านั้น ปุถุชนผู้ได้เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตของปุถุชน
ด้วยกัน แต่ไม่รู้จิตของพระอริยเจ้า. ถึงในพระอริยเจ้าทั้งหลาย พระอริยบุคคล
ชั้นต่ำ ย่อมไม่รู้จิตของพระอริยบุคคลชั้นสูง แต่พระอริยบุคคลชั้นสูง รู้จิต
ของพระอริยบุคคลชั้นต่ำ. อนึ่ง บรรดาพระอริยเจ้าเหล่านี้ พระโสดาบัน
เข้าโสดาปัตติผลสมาบัติ พระสกทาคามี...พระอนาคามี... พระอรหันต์
เข้าอรหัตผลสมาบัติ. พระอริยบุคคลชั้นสูง จะไม่เข้าสมาบัติชั้นต่ำ. เพราะว่า
สมาบัติชั้นต่ำๆของพระอริยบุคคลชั้นต่ำเหล่านั้น จะเป็นไปในพระอริยบุคคล
ชั้นต่ำเหล่านั้น. บทว่า ตเถว ต โหติ ความว่า คำทำนายนั้น ย่อมเป็น
อย่างนั้นนั่นแหละโดยส่วนเดียว เพราะคำพยากรณ์ที่ท่านรู้ด้วยสามารถแห่ง
เจโตปริยญาณ ชื่อว่า จะเป็นอื่นไปไม่มี (คือไม่ผิดพลาด).
บทว่า เอว วิตกฺเกถ ความว่า เธอทั้งหลายจงตรึก ให้เนกขัมม-
วิตกเป็นต้นเป็นไปอย่างนี้. บทว่า มา เอว วิตกฺกยิตฺถ ความว่า เธอ
ทั้งหลายอย่าตรึกให้กามวิตกเป็นต้นเป็นไปอย่างนี้. บทว่า เอว มนสิกโรถ
ความว่า เธอทั้งหลาย มนสิการถึงอนิจสัญญานั่นแหละ หรือสัญญาอย่างอื่น
ในบรรดาทุกขสัญญาเป็นต้นอย่างนี้. บทว่า มา เอว ความว่า เธอทั้งหลาย
อย่าใส่ใจ โดยนัยเป็นต้นว่า เที่ยง ดังนี้. บทว่า อิท ความว่า เธอทั้งหลาย
จงละความกำหนัดในเบญจกามคุณนี้. บทว่า อิท ปน อุปสมฺปชฺช ความว่า
(แต่) ท่านทั้งหลายจงเข้าถึง คือบรรลุโลกุตรธรรม แยกประเภทเป็นมรรค
๔ ผล ๔ นี้นั่นแหละ ได้แก่ให้สำเร็จแล้วอยู่.
บทว่า มายาสหธมฺมรูป วิย ขายติ ความว่า ย่อมปรากฏเป็น
เหมือนรูปที่เกิดจากเหตุอันเสมอด้วยมายา. จริงอยู่ นักแสดงกล ย่อมแสดงกล
ได้หลายแบบอย่างนี้คือ หยิบน้ำมา ทำให้เป็นน้ำมันก็ได้ หยิบน้ำมันมาทำให้
เป็นน้ำก็ได้ ถึงปาฏิหาริย์นี้ก็เป็นแบบนั้นเหมือนกัน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 267
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้ปาฏิหาริย์นี้
ปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนเล่นกล หมายเอาความที่ปาฏิหาริย์คล้ายกับวิชชา-
จินดามณีมนต์. เพราะผู้ที่รู้วิชชาจินดามณีมนต์นี้ เห็นคนกำลังเดินมานั่นแหละ
ย่อมรู้ว่า คนผู้นี้เดินตรึกเรื่องนี้มา อนึ่ง ย่อมรู้ว่า คนผู้นี้ยืนตรึกเรื่องชื่อนี้
นั่งตรึกเรื่องชื่อนี้ นอนตรึกเรื่องชื่อนี้ ดังนี้.
บทว่า อภิกฺกนฺตตร ได้แก่ดีกว่า. บทว่า ปณีตตร ได้แก่สูงกว่า.
ในบทว่า ภวญฺหิ โคตโม อวิตกฺก อวิจาร นี้ พราหมณ์มิได้ถือเอา
อาเทสนาปาฏิหาริย์ที่เหลือว่า เป็นลัทธิภายนอก (พระพุทธศาสนา) ก็แล
พราหมณ์นั้น เมื่อจะกล่าวสรรเสริญพระตถาคต จึงกล่าวข้อความนี้ทั้งหมด.
บทว่า อทฺธา โข ตฺยาห ความว่า วาจานี้ ท่านกล่าวถูกต้องแล้ว
โดยส่วนเดียวแท้. บทว่า อาสชฺช อุปนิยฺย วาจา ภาสิตา ความว่า
วาจาที่ท่านกล่าวพาดพิงถึงเรา ท่านกล่าวถูกต้องแล้ว. บทว่า อปิจ ตฺยาห
พฺยากริสฺสามิ ความว่า อีกทั้งเราแหละจักพยากรณ์แก่ท่าน. บทที่เหลือมี
เนื้อความตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสังคารวรสูตรที่ ๑๐
จบพราหมณวรรควรรณนาที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในพราหมวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมชนสูตร ๒. ทุติยชนสูตร ๓. พราหมณสูตร ๔. ปริพาชกสูตร
๕. นิพพุตสูตร ๖. ปโลภสูตร ๗. ชัปปสูตร ๘. ติกัณณสูตร ๙. ชา-
นุสโสณีสูตร ๑๐. สังคารวสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 268
มหาวรรคที่ ๒
๑. ติตถสูตร
ว่าด้วยอกิริยาทิฏฐิ - ลัทธิเดียรถีย์ ๓ อย่าง
[๕๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลัทธิของเดียรถีย์๓นี้ ซึ่งบัณฑิตทั้งหลาย
ซักไซ้ไล่เลียงสืบไป (เท่าไร ๆ) ก็คงยืนตัวอยู่ใน หลักอกิริยา ลัทธิของ
เดียรถีย์ ๓ คืออะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข อย่างใดอย่างหนึ่ง
ได้รับ เพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนทั้งสิ้นเป็นเหตุ
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคล
ได้รับ สุขหรือทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขอย่างใดอย่างหนึ่งเพราะพระผู้เป็นเจ้า
(พระอิศวร) สร้างสรรค์ให้ทั้งสิ้นเป็นเหตุ
สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ได้รับสุข
หรือทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยทั้งสิ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมณพราหมณ์ ๓ พวกนั้น พวกที่มีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุข อย่างใด
อย่างหนึ่ง ได้รับเพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อนทั้งสิ้น เราเข้าไปถามสมณ-
พราหมณ์พวกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลได้รับสุข ฯลฯ ได้รับเพราะกรรมที่ทำไว้ ในปางก่อน
ทั้งสิ้น จริงหรือ เราถามอย่างนี้แล้ว หากเขายังยืนยันอยู่ เราก็กล่าวกะเขาว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 269
ถ้ากระนั้น คนฆ่าสัตว์ คนลักทรัพย์ และคนเสพกาม ก็ต้องเป็นเพราะกรรมที่ทำ
ไว้ในปางก่อน คนพูดเท็จ คนพูดส่อเสียด คนพูดคำหยาบ คนพูดสำราก
ก็ต้องเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อน คนมักได้ คนมีใจพยาบาท คนมี
ความเห็นผิด ก็ต้องเป็นเพราะกรรมที่ทำไว้ในปางก่อน เมื่อถือเอาบุรพกรรม
มาเป็นสาระ (คือ เป็นข้อสำคัญ) ฉันทะ (ความพอใจคือความใคร่ที่จะทำ)
หรือความพยายาม (เพื่อจะทำ) กรณียกิจ หรือ อกรณียกิจ
ก็ไม่มี เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ ไม่มีเป็นล่ำเป็นสัน เช่นนี้ การอ้างตน
ว่าเป็นสมณะอย่างชอบแก่เหตุย่อมมีไม่ได้ สำหรับบุคคลทั้งหลายผู้ขาดความ
สำนึกตน ปล่อยปละตนอยู่ (ด้วยสุดแต่บุรพกรรม) นี้ ภิกษุทั้งหลาย
เป็นนิเคราะห์ (การข่ม การลบล้าง) อย่างชอบแก่เหตุข้อแรกของเรา ใน
สมณพราหมณ์เหล่าที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ
อย่างนี้ว่า บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้รับ
เพราะพระเป็นเจ้าสร้างสรรค์ให้ทั้งสิ้น เราเข้าไปถามสมณพราหมณ์เหล่านั้น
อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านทั้งหลาย มีวาทะอย่างนี้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
บุคคลได้รับสุข ฯลฯ ได้รับเพราะพระเป็นเจ้าสร้างสรรค์ให้ทั้งสิ้น จริงหรือ
เราถามอย่างนี้แล้วหากเขายังยืนยันอยู่ เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้ากระนั้น คนฆ่า
สัตว์ ฯลฯ คนมีความเห็นผิด ก็ต้องเป็นเพราะพระเป็นเจ้าสร้างสรรค์ให้ทั้งสิ้น
เมื่อถือเอาการสร้างสรรค์แห่งพระเป็นเจ้ามาเป็นสาระ ฉันทะ หรือความพยายาม
(เพื่อจะทำ) กรณียกิจ หรือ อกรณียกิจก็ไม่มี เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 270
ไม่มีเป็นล่ำเป็นสันเช่นนี้ การอ้างตนว่าเป็นสมณะอย่างชอบแก่เหตุย่อมมีไม่ได้
สำหรับบุคคลทั้งหลายผู้ขาดความสำนึกตน ปล่อยปละตน (ด้วยถือว่าสุดแต่
พระเป็นเจ้าจะสร้างสรรคให้) นี้ ภิกษุทั้งหลาย เป็นการลบล้างอย่างชอบแก่เหตุ
ข้อสองของเรา ในสมณพราหมณ์เหล่าที่มีวาทะอย่างนี้มีทิฏฐิอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์เหล่าที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้.
ว่า บุคคลได้รับสุขหรือทุกข์หรือไม่ทุกข์ไม่สุขอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้รับโดย
ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยทั้งสิ้น เราเข้าไปถามสมณพราหมณ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
ทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายมีวาทะอย่างนี้มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลได้รับสุข
ฯลฯ โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยทั้งสิ้น จริงหรือ เราถามอย่างนี้ หากเขายัง
ยืนยันอยู่ เราก็กล่าวกะเขาว่า ถ้ากระนั้น คนฆ่าสัตว์ ฯลฯ คนมีความเห็นผิด
ก็ต้องเป็นโดยไม่มีเหตุปัจจัย เมื่อถือเอาความไม่มีเหตุมาเป็นสาระ ฉันทะ
หรือความพยายาม (เพื่อจะทำ) กรณียกิจ หรือ อกรณียกิจก็ไม่มี
เมื่อกรณียกิจและอกรณียกิจไม่มีเป็นล่ำเป็นสันเช่นนี้ การอ้างตนว่าเป็นสมณะ
อย่างชอบแก่เหตุ ก็มีไม่ได้สำหรับบุคคลทั้งหลายผู้ขาดความสำนึกตน ปล่อย
ปละตนอยู่ (ด้วยถือว่าสุดแต่คราวเคราะห์ดีหรือร้าย) นี้ ภิกษุทั้งหลาย เป็น
การลบล้างอย่างชอบแก่เหตุข้อสามของเรา ในสมณพราหมณ์เหล่าที่มีวาทะ
อย่างนี้มีทิฏฐิอย่างนี้.
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิของเดียรถีย์ ๓ ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายซักไซ้
ไล่เลียงสืบไป (เท่าไร ๆ) ก็คงยืนตัวอยู่ในหลักอกิริยา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่าธรรมที่เราแสดงนี้ ใคร ๆ ลบล้างไม่ได้
เป็นธรรมไม่หมองมัว สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่ติไม่ค้าน ธรรมที่เราแสดง ฯลฯ
ไม่ค้านคืออะไร คือ ธาตุ ๖ ผัสสายตนะ ๖ มโนปวิจาร ๑๘ อริยสัจ ๔
เหล่านี้...
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 271
ก็แลคำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง ฯลฯ ไม่ค้าน คือ ธาตุ ๖
ดังนี้นี่ เราอาศัยอะไรกล่าว ภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๖ นี้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ
เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เรา
แสดง ฯลฯ ไม่ค้าน คือ ธาตุ ๖ ดังนี้นี่ เราอาศัยธาตุมีปฐวีธาตุเป็นต้นนี้
แลกล่าว.
อนึ่ง คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง ฯลฯ ไม่ค้าน คือ ผัสสายตนะ ๖
ดังนี้นี่ เราอาศัยอะไรกล่าว ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ นี้ คือ ตา
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง ฯลฯ ไม่ค้าน
คือผัสสายตนะ ๖ ดังนี้นี่ เราอาศัยผัสสายตนะคือตาเป็นต้นนี้แลกล่าว.
อนึ่ง คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง ฯลฯ ไม่ค้าน คือมโน-
ปวิจาร ๑๘ ดังนี้นี่ เราอาศัยอะไรกล่าว บุคคลเห็นรูปด้วยตา ฟังเสียง
ด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย
รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว (ใจของบุคคลนั้น) ย่อมเคล้ารูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ๑ เป็นที่ตั้ง
แห่งโทมนัส ๑ เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ๑ คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เรา
แสดง ฯลฯ ไม่ค้าน คือมโนปวิจาร ๑๘ ดังนี้นี่ เราอาศัยมโนปวิจารมีรูป
อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสเป็นต้นนี้แลกล่าว.
อนึ่ง คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง ฯลฯ ไม่ค้าน คือ อริยสัจ ๔
ดังนี้นี่ เราอาศัยอะไรกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยธาตุ ๖ (ประกอบ
พร้อมกันเข้า) ความตั้งครรภ์ย่อมมี เมื่อความตั้งครรภ์มี นามรูปย่อมมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะย่อมมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ
ย่อมมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาย่อมมี ภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติ
(อริยสัจคือ) ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้ สำหรับ
บุคคลผู้เสวยเวทนานั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 272
ก็ทุกขอริยสัจเป็นอย่างไร (ชาติปิ ทุกฺขา) แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์
(ชราปิ ทุกฺขา) แม้ความแก่ ก้เป็นทุกข์ (มรณมฺปิ ทุกฺข) แม้ความตาย
ก็เป็นทุกข์ (โลกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา) แม้ความโศก
ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย ความเสียใจ และความตรอมใจ ก็เป็นทุกข์
(อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข) ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รัก ก็เป็นทุกข์
(ปิเยหิ วปฺปโยโค ทุกฺโข) ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์
(ยมฺปิจฺฉ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺข) แม้ความไม่ได้สมปรารถนา ก็เป็นทุกข์
(สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺ ขนฺธา ทุกฺขา) ย่อเข้าแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕
เป็นทุกข์ นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า ทุกขอริยสัจ.
ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นอย่างไร.
อวิชฺชาปจฺจขา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี สังขาร
สงฺขารปจฺจยา วิญฺาณ เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
วิญฺาณปจฺจยา นามรูป เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
นามรูปปจฺจยา สฬายตน เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
สฬายตนปจฺจยา ผสฺโส เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
ผสฺสปจฺจยา เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เวทนาปจฺจยา ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
ตณฺหาปจฺจยา อุปาทาน เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
อุปาทานปจฺจยา ภโว เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมี ภพ
ภวปจฺจยา ชาติ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
ชาติปจฺจยา ชรามรณ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี ชรามรณะ
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุ- โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาล
ปายาสา สมฺภวนฺติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 273
เอวเมตสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกขนฺธสฺส สมุทโย โหติ เป็นอันว่า
กองทุกข์ทั้งมวลนั่นเกิดขึ้น ด้วยประการอย่างนี้
นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.
ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นอย่างไร.
อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา
สงฺขารนิโรโธ เพราะอวิชชาดับไม่เหลือ สังขารก็ดับ
สงฺขารนิโรธา วิญฺาณนิโรโธ เพราะสังขารดับ วิญญาณก็ดับ
วิญฺาณนิโรธา นามรูปนิโรโธ เพราะวิญญาณดับ นามรูปก็ดับ
นามรูปนิโรธา สฬายตนนิโรโธ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ
สฬายตนนิโรธา ผสฺสนิโรโธ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ
ผสฺสนิโรธา เวทนานิโรโธ เพราะผัสสะดับ เวทนาก็ดับ
เวทนานิโรธา ตณฺหานิโรโธ เพราะเวทนาดับ ตัณหาก็ดับ
ตณฺหานิโรธา อุปาทานนิโรโธ เพราะตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ
อุปาทานนิโรธา ภวนิโรโธ เพราะอุปาทานดับ ภพก็ดับ
ภวนิโรธา ชาตินิโรโธ เพราะภพดับ ชาติก็ดับ
ชาตินิโรธา ชรามรณ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ
โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุ- โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส
ปายาสา นิรุชฺฌนติ อุปายาส ก็ดับ
เอวเมตสฺส เกวลสฺส กองทุกข์ทั้งมวลนั่นดับไป
ทุกฺขกขนฺธสฺส นิโรธ โหติ ด้วยประการอย่างนี้
นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นอย่างไร ? อริยมรรคมีองค์ ๘
นี้เท่านั้น คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 274
สัมมาวาจา (วาจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การงานชอบ) สัมมาอาชีวะ
(เลี้ยงชีพชอบ) สัมมาวายามะ (เพียรชอบ) สัมมาสติ (สติชอบ) สัมมาสมาธิ
(สมาธิชอบ) นี่ ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
คำที่เรากล่าวว่า ธรรมที่เราแสดง ฯลฯ ไม่ค้าน คือ อริยสัจ ๔
ดังนี้นี่ เราอาศัยความจริง อย่างมีทุกข์เป็นต้นนี้แลกล่าว.
จบติตถสูตรที่ ๑
อรรถกถามหาวรรคที่ ๒
อรรถกถาติตถายตนสูตร*
พึงทราบวินิจฉัยในติตถายตนสูตรที่ ๑ แห่งมหาวรรคที่๒ ดังต่อไปนี้ :-
ผู้ได้ชื่อว่าเป็นเดียรถีย์
บ่อเกิด (อายตนะ) ที่เป็นเหมือนติตถะ (ท่า) หรือ บ่อเกิดของ
เดียรถีย์ทั้งหลาย ชื่อว่า ติตถายตนะ แปลว่า ลัทธิเดียรถีย์.
ในบทว่า ติตฺถายตนานิ นั้น นักศึกษาควรรู้จักติตถะ ควรรู้จัก
ติตถกร (เจ้าลัทธิ) ควรรู้จักเดียรถีย์ (และ) ควรรู้จักสาวกของเดียรถีย์ (ก่อน).
ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า ติตถะ (ลัทธิ). บุคคลผู้ให้เกิดทิฏฐิ ๖๒ เหล่านั้น
ชื่อว่า ติตถกร. บุคคลผู้พอใจ ชอบใจ ทิฏฐิ ๖๒ เหล่านั้น ชื่อว่า เดียรถีย์
บุคคลผู้ถวายปัจจัยแก่เดียรถีย์เหล่านั้น ชื่อว่า สาวกของเดียรถีย์.
* พระสูตรเป็น ติตถสูตร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 275
อธิบายศัพท์ว่า อายตนะ
บทว่า อายตน ความว่า ถิ่นเกิดชื่อว่า อายตนะ (ดุจดัง) ใน
ประโยคนี้ว่า แคว้นกัมโพชะเป็นถิ่นเกิดของม้าทั้งหลาย ทักขิณาปถชนบท
เป็นถิ่นเกิดของโคทั้งหลาย.
สถานที่สโมสร ชื่อว่า อายตนะ เช่น ในประโยคนี้ว่า
ในอายตนะ (สโมสร) ที่น่าเริงใจ
นกทั้งหลาย ย่อมใช่อายตนะนั้น ฝูงนก
ที่ต้องการร่มเงา ก็พากันไป ฝูงนกที่
ต้องการผลไม้ก็กินผลไม้.
เหตุ ชื่อว่า อายตนะ (เช่น) ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิมุตตายตนะ (เหตุแห่งวิมุตติ) ๕ ประการเหล่านี้.
อายตนะทั้งหมดนั้น (มีความหมาย) ใช้ได้ในที่นี้. เพราะว่า มิจฉา-
ทิฏฐิกบุคคลทั้งหมด เมื่อเกิดก็เกิดในฐานะ ๓ นี้เท่านั้น แม้เมื่อรวมลง ย่อม
รวมลง คือ ประชุมลง ตกลงในฐานะ ๓ นี้เช่นกัน. ก็เมื่อบุคคลเหล่านั้น
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เหตุทั้ง ๓ เหล่านี้นั่นแล ชื่อว่า อายตนะ เพราะความหมาย
มีอาทิว่า เป็นเสมือนท่าน้ำ คือเป็นถิ่นที่เกิดขึ้น (แห่งลัทธิทั้งหลาย) แม้
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ติตถายตนะ. อนึ่ง ชื่อว่า ติตถายตนะ เพราะ
อรรถว่าเป็นบ่อเกิดของเดียรถีย์ทั้งหลาย ด้วยความหมายนั้นนั่นแล.
บทว่า สมนุยุญฺชิยมานานิ ได้แก่ ถูกบัณฑิตถามอย่างนี้ว่า ทิฏฐิ
เหล่านั้นคืออะไร. บทว่า สมนุคฺคาหิยมานานิ ความว่า ถูกถามด้วยดี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 276
อย่างนี้ว่า ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุไร. บทว่า สมนุภาสิยมานานิ
ความว่า ถูกบอกด้วยดีอย่างนี้ว่า เธอทั้งหลายจงสละคืนทิฏฐิอันลามกเหล่านั้น
เสีย. อนึ่ง บททั้ง ๓ เหล่านี้ (สมนุยุญฺชิยมานานิ สมนุคฺคาหิยมานานิ
สมนุภาสิยมานานิ) เป็นไวพจน์ของการซักถาม และการถามเหมือนกัน.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า บทว่า สมนุยุญฺชติ ก็ดี บทว่า
สมนุคฺคาหติ ก็ดี บทว่า สมนุภาสติ ก็ดี นี้เป็นอันเดียวกัน มีความหมาย
อย่างเดียวกัน เท่ากัน มีส่วนเท่ากัน เกิดจากสิ่งนั้น (เหมือนกัน) เป็นอย่าง
เดียวกันนั่นแหละ.
บทว่า ปรมฺปิ คนฺตฺวา ความว่า ถึงการสืบต่ออย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาการสืบต่อทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ อาจริยปรัมปรา (การสืบต่ออาจารย์)
ลัทธิปรัมปรา (การสืบต่อลัทธิ) อัตตภาวปรัมปรา (การสืบต่ออัตภาพ).
บทว่า อกิริยาย สณฺหนฺติ คือ ดำรงอยู่ในฐานะมาตรว่าเป็นอกิริยทิฏฐิ.
ปรัมปรา ๓ อย่าง
ก็ ติตถายตนะเหล่านี้ ที่ดำเนินไปอยู่อย่างนี้คือ อาจารย์ของเรา
ทั้งหลาย เป็นปุพเพกตวาที (เป็นผู้มีวาทะว่า กรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็น
เหตุ) ปาจารย์ (อาจารย์ของอาจารย์) ของเราทั้งหลายเป็นปุพเพกตวาที (ลัทธิ
ที่ถือว่า สุดแต่กรรมเก่า) อาจริยปาจารย์ (ปาจารย์ของอาจารย์) ของเรา
ทั้งหลายเป็นปุพเพกตวาที. อาจารย์ของเราทั้งหลายเป็นอิสสรนิมมานวาที
(เป็นผู้มีวาทะว่า การนิรมิตของพระอิศวรเป็นเหตุ) ปาจารย์ของเราทั้งหลาย
เป็นอิสสรนิมมานวาที อาจริยปาจารย์ของเราทั้งหลายเป็นอิสสรนิมมานวาที,
อาจารย์ของเราทั้งหลาย เป็นอเหตุกอปัจจยวาที (เป็นผู้มีวาทะว่า ไม่มีเหตุ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 277
ไม่มีปัจจัย) ปาจารย์ของเราทั้งหลายเป็นอเหตุกอปัจจยวาที ปาจารย์ของ
อาจารย์ของเราทั้งหลายเป็นอเหตุกอปัจจยวาที ชื่อว่า ดำเนินไปตามการสืบ
ต่ออาจารย์.
ติตถายตนะที่ดำเนินไปอย่างนี้ คือ อาจารย์ของเราทั้งหลาย เป็น
ปุพเพกตลัทธิกบุคคล (บุคคลผู้มีลัทธิว่า กรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุ)
ปาจารย์ของเราทั้งหลาย ฯ ล ฯ ปาจารย์ของอาจารย์ของเราทั้งหลาย เป็นอเหตุก-
อปัจจยลัทธิกบุคคล (บุคคลผู้มีลัทธิว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย) ชื่อว่า ดำเนิน
ไปตามการสืบต่อลัทธิ.
ติตถายตนะที่ดำเนินไปอย่างนี้ คือ อัตภาพของอาจารย์เราทั้งหลาย
มีกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุ อัตภาพของปาจารย์เราทั้งหลาย ฯลฯ
อัตภาพของปาจารย์ของอาจารย์ของเราทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ชื่อว่า
ดำเนินไปตามความสืบต่ออัตภาพ.
ก็ ติตถายตนะเหล่านั้น ย่อมดำเนินไปแม้สุดแสนไกลอย่างนี้ ย่อม
ดำรงอยู่ในฐานะมาตรว่า เป็นอกิริยทิฏฐินั่นเอง. ผู้สร้างหรือผู้ให้สร้าง
ของมิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้น ก็ไม่ปรากฏแม้แต่คนเดียว.
สัตว์ - บุรุษ - บุคคล
บทว่า ปุริสปุคฺคโล ได้แก่ สัตว์. อันที่จริง เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า บุรุษบ้าง ตรัสว่า บุคคลบ้าง ก็เป็นอันตรัส (หมายถึง) สัตว์
นั่นแหละ. แต่กถานี้จัดเป็นสมมติกถา. บุคุคลใดจะเข้าใจได้อย่างใด ก็ตรัส
แก่บุคคลนั้นอย่างนั้น. บทว่า ปฏิสเวเทติ ความว่า ย่อมรู้จักสุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นในสันดานของตน คือ ทำ
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุเวทนา ให้เป็นอันตนรู้แจ้ง
แล้วหรือย่อมเสวย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 278
อธิบายปุพเพกตเหตุวาทะ
บทว่า ปุพฺเพกตเหตุ แปลว่า เพราะกรรมที่คนทำไว้ในชาติก่อน
เป็นเหตุ อธิบายว่า บุรุษบุคคลเสวย (สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขม-
สุขเวทนา) เพราะกรรมที่คนทำไว้ในชาติก่อนเป็นปัจจัยเท่านั้น. ด้วยบทว่า
ปุพฺเพกตเหตุ นี้ มิจฉาทิฏฐิกบุคคลทั้งหลายปฏิเสธ กรรมเวทนา (เวทนา
เกิดแต่กรรม) และกิริยเวทนา (เวทนาเกิดแต่กิริยา) ยอมรับแต่เฉพาะวิปาก
เวทนา (เวทนาที่เกิดจากวิบาก) อย่างเดียวเท่านั้น.
ว่าด้วยโรค ๘ อย่างเป็นต้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโรคไว้๘อย่างเหล่านี้ คืออาพาธมีน้ำดี(กำเริบ)
เป็นสมุฏฐาน ๑ อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน ๑ อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน ๑
อาพาธที่เกิดจากโรคดี โรคเสมหะ โรคลม มาประชุมกัน ๑ อาพาธที่เกิดจาก
เปลี่ยนฤดู ๑ อาพาธที่เกิดจากการบริหาร (ร่างกาย) ไม่ถูกต้อง ๑ อาพาธ
ที่เกิดจากการพยายาม (ทำให้เกิดขึ้น) ๑ อาพาธที่เกิดจากวิบากกรรม ๑. ใน
โรคทั้ง ๘ อย่างนั้น. มิจฉาทิฏฐิกบุคคลปฏิเสธโรค ๗ อย่างข้างต้นแล้วยอมรับ
แต่เฉพาะโรคชนิดที่ ๘ เท่านั้น.
ในบรรดากองแห่งกรรม ๓ ชนิด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ คือ
ทิฏฐธรรมเวรทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพปัจจุบัน) ๑ อุปปัชชเวทนีย-
กรรม (กรรมให้ผลในภพถัดไป) ๑ อปรปริยายเวทนียกรรม (กรรมให้
ผลในภพต่อ ๆ ไป) ๑ มิจฉาทิฏฐิกบุคคลปฏิเสธกรรม ๒ ชนิด (ข้างต้น )
ยอมรับแต่เฉพาะอปรปริยายกรรม อย่างเดียวเท่านั้น. แม้ในกองวิบาก ๓ ชนิด
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ คือ ทิฏฐธรรม เวทนียวิบาก (วิบากของกรรม
ที่ให้ผลในปัจจุบัน) ๑ อุปปัชชเวทนียวิบาก (วิบากของกรรมที่ให้ผลในภพ
ถัดไป) ๑ อปรปริยายเวทนียวิบาก (วิบากของกรรมที่ให้ผลในภพต่อๆไป)๑.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 279
มิจฉาทิฏฐิกบุคคลปฏิเสธวิบาก ๒ อย่าง (ข้างต้น) ยอมรับแต่เฉพาะอปร-
ปริยายวิบากอย่างเดียวเท่านั้น.
แม้ในกองเจตนา ๔ ชนิด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ คือ กุศล
เจตนา ๑ อกุศลเจตนา ๑ วิปากเจตนา ๑ กิริยเจตนา ๑ มิจฉาทิฏฐิก
บุคคลปฏิเสธเจตนา ๓ ชนิด ยอมรับแต่เฉพาะวิปากเจตนาอย่างเดียวเท่านั้น.
อธิบายอิสสรนิมมานเหตุ
บทว่า อิสฺสรนิมฺมานเหตุ แปลว่า เพราะการนิรมิตของพระอิศวร
เป็นเหตุ. อธิบายว่า บุรุษบุคคลเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขม-
สุขเวทนา ก็เพราะถูกพระอิศวรนิรมิต (บันดาล). ด้วยว่า มิจฉาทิฏฐิกบุคคล
เหล่านั้นมีความเข้าใจดังนี้ว่า เวทนาทั้ง ๓ นี้ บุรุษบุคคลไม่สามารถเสวยได้
เพราะมีกรรมที่ตนทำไว้ในปัจจุบัน เป็นมูลบ้าง เพราะสั่งบังคับ (ของคนอื่น)
เป็นมูลบ้าง เพราะกรรมที่ตนทำไว้ในชาติก่อนบ้าง เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย
(คือ โดยบังเอิญ) บ้าง แต่บุรุษบุคคลเสวยเวทนาเหล่านี้ได้ เพราะการนิรมิต
ของพระอิศวรเป็นเหตุอย่างเดียว.
ก็มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านี้มีวาทะอย่างนี้ จึงไม่ยอมรับโรคแม้ชนิด
หนึ่งในบรรดาโรค อย่างที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น ปฏิเสธทั้งหมด และไม่
ยอมรับกรรมชนิดหนึ่งในบรรดากองกรรม ๓ ชนิด วิบากชนิดหนึ่งในบรรดา
กองวิบาก ๓ ชนิด และเจตนาชนิดหนึ่งในบรรดากองเจตนา ๔ ชนิด ที่กล่าว
ไว้แล้วในตอนต้น ปฏิเสธทั้งหมด.
อธิบายอเหตุปัจจยา
บทว่า อเหตุอปจฺจยา ได้แก่ เว้นจากเหตุและปัจจัย. อธิบายว่า
บุรุษบุคคลเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา โดย
ไม่มีเหตุเลย. ด้วยว่า มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้นมีความเข้าใจดังนี้ว่า เวทนา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 280
ทั้ง ๓ นี้ ใครๆ ไม่สามารถจะเสวยได้ เพราะกรรมที่ตนทำไว้ในปัจจุบันเป็น
มูลบ้าง เพราะการสั่งบังคับ (ของคนอื่น) เป็นมูลบ้าง เพราะกรรมที่ทำไว้
ในชาติก่อนบ้าง เพราะการนิรมิตของพระอิศวรเป็นเหตุบ้าง บุรุษบุคคลเสวย
เวทนาเหล่านี้ โดยไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเลย. ก็มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้นมีวาทะ
อย่างนี้ จึงไม่ยอมรับเหตุทั้งหลายที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น มีโรคเป็นต้น
แม้สักอย่างหนึ่ง ปฏิเสธทั้งหมด.
พระพุทธเจ้าทรงตั้งลัทธิ
พระศาสดา ครั้นทรงยกมาติกาอย่างนี้ขึ้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนก
แสดงมาติกานั้น จึงตรัสคำว่า ตตฺร ภิกฺขเว เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
ด้วยบทว่า เอว วทามิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า เราตถาคตกล่าว
อย่างนี้ ก็เพื่อตั้งลัทธิ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตั้งลัทธิแล้ว ย่อมก้าว
เข้าสู่ลัทธิจากลัทธิที่ถูกข่มไว้. มิจฉาทิฏฐิกบุคคลทั้งหลายจะกล่าวคำเป็นต้นได้
ว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายกล่าวปุพเพกตวาทะหรือ. แต่เมื่อตั้ง
ลัทธิแล้ว มิจฉาทิฏฐิกบุคคลทั้งหลายก้าวเข้าหาลัทธิไม่ได้ ก็จะถูกข่มได้โดยง่าย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า เอว วทามิ ดังนี้. แก่มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้น
ก็เพื่อยังลัทธิให้ตั้งไว้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า เตนหายสฺมนฺโต ติดบทเป็น เตนหิ อายสฺมนฺโต. มีคำ
อธิบายอย่างไร. มีคำอธิบายว่า ถ้าข้อนั้นเป็นจริง เมื่อเป็นอย่างนั้น ตาม
วาทะของท่านทั้งหลายนั้น. บทว่า ปาณาติปาติโนภวิสฺสนฺติปุพฺเพ กตเหตุ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 281
ความว่า บุรุษบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกฆ่าสัตว์ บุรุษบุคคลเหล่านั้น
ทั้งหมดจักเป็นปาณาติบาต เพราะกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุ. เพราะ
เหตุไร เพราะท่านทั้งหลายมีลัทธิดังนี้ว่า เขาสามารถเสวยกรรม คือ ปาณา-
ติบาต เพราะกรรมที่ตนทำไว้เป็นมูลก็หามิได้ เพราะการสั่งบังคับ (ของผู้อื่น)
เป็นมูลก็หามิได้ เพราะการนิรมิตของพระอิศวรเป็นเหตุก็หามิได้ เพราะไม่มี
เหตุไม่มีปัจจัยก็หามิได้ เขาเสวยเพราะกรรมที่ทำไว้ในภพก่อนเป็นเหตุเท่านั้น.
ก็บุรุษบุคคลเป็นปาณาติบาต โดยอาการใด แม้เมื่องดเว้นจากปาณาติบาต
ก็จักงดเว้นโดยอาการนั้น คือ เพราะกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุเหมือนกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจับลัทธิของมิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้นนั่นแลได้แล้ว
จึงทรงข่มมิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้น ด้วยประการดังพรรณนามา ฉะนี้.
พึงทราบถ้อยคำขยายความ แม้ในบทว่า อทินฺนาทายิโน เป็นต้นโดยนัยนี้.
บทว่า สารโต ปจฺจาคจฺฉต ได้แก่ ยึดถือโดยความเป็นสาระ.
บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ กัตตุกัมยตาฉันทะ (ความพอใจความเป็นผู้ใคร่
เพื่อจะทำ). ในบทว่า อิท วา กรณีย อิท วา อกรณีย นี้ มีอธิบาย
ดังนี้ ว่า ไม่มีความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ หรือความบากบั่นของบุรุษเฉพาะตัว
เพื่อต้องการทำสิ่งที่ควรทำ ด้วยคิดว่า สิ่งนี้ควรทำ หรือเพื่อไม่ต้องการทำสิ่ง
ที่ไม่ควรทำ ด้วยคิดว่า สิ่งนี้ไม่ควรทำ. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อฉันทะและวายามะ
ไม่มี ก็ไม่มีความคิดว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ. บทว่า อิติ กรณียา
กรณีเย โข ปน สจฺจโต เถตโต อนุปลพฺภิยมาเน ความว่า เมื่อ
สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ไม่ปรากฏ คือ ไม่ได้โดยความเป็นจริง โดยเป็น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 282
ของถ่องแท้อย่างนี้. ก็ถ้าบุคคลจะพึงได้ที่สิ่งที่ควรทำ จะพึงได้เว้นจากสิ่งที่
ไม่ควรทำไซร้ สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ เขาก็จะพึงได้โดยความเป็นของ
จริง โดยเป็นของแท้. แต่เพราะเหตุที่ไม่ได้ทั้ง ๒ อย่าง อย่างนี้ ฉะนั้น กิจที่
ควรทำและไม่ควรทำนั้น เขาจึงไม่ได้โดยความเป็นของจริง โดยเป็นของแท้
คือว่าไม่ได้สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำนั้นด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า มุฏฺสฺสตีน ได้แก่ มีสติเลือนหายไป คือ ปล่อยสติไป.
บทว่า อนารกฺขาน วิหรต ได้แก่ปราศจากอารักขา (ในทวารทั้ง ๖) อยู่
บทว่า น โหติ ปจฺจตฺต สหธมฺมิโก สมณวาโท ความว่า วาทะว่า
เป็นสมณะ พร้อมทั้งเหตุเฉพาะตัว ว่าเราทั้งหลายเป็นสมณะ ย่อมไม่มี คือ
ไม่สำเร็จ แก่ท่านทั้งหลายหรือบุคคลเหล่าอื่น ผู้เป็นอย่างนี้. เพราะว่า แม้
สมณะทั้งหลายก็เป็นผู้มีกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุเหมือนกัน แม้ผู้มิใช่
สมณะก็เป็นผู้มีกรรมที่ทำไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุเหมือนกันแล. บทว่า สหธมฺ-
มิโก ได้แก่ พร้อมทั้งเหตุ. บทว่า นิคฺคโห โหติ ได้แก่ การข่มของเรา
ตถาคตมีอยู่. ก็มิจฉาทิฏฐิกบุคคลเหล่านั้นเป็นอันถูกข่มแล้วแล. ครั้นทรงข่ม
ปุพเพกทวาทีบุคคลอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงข่มอิสสรนิมมานวาทีบุคคล
จึงตรัสคำว่า ตตฺร ภิกฺขเว เป็นต้น. ความหมายของคำนั้น พึงทราบ
ตามนัยที่กล่าวแล้วในปุพเพกตวาทะ ในอเหตุวาทะก็เหมือนกัน.
กระต่ายตื่นตูม
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง ความที่ลัทธิเดียรถีย์เหล่านี้ว่าง
เปล่าแล้วอย่างนี้ เพราะถึงการสืบต่อกันมาดำรงอยู่ในฐานะเป็น อกิริยทิฏฐิ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 283
ก็ดี ความที่ลัทธิเดียรถีย์เหล่านี้ไม่ใช่คุณธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ก็ดี
ความที่บุคคลผู้เธอถือในลัทธิเดียรถีย์ เป็นเหมือนกับแมลงค่อมทอง
ที่ส่งเสียงร้อง ด้วยความสำคัญในไฟ เพราะถึงความเป็นสภาพเหมือนกับการ
ตำแกลบ เนื่องจากไม่มีแก่นสารก็ดี ความที่บุคคลผู้มีลัทธิเดียรถีย์นั้น
เป็นทิฏฐิอุปมาเหมือนช่างสานตาบอด เพราะไม่มีการมองเห็นควานหมายของ
ลัทธิเดียรถีย์ ทั้งเบื้องต้น ทั้งท่ามกลาง ทั้งสุดท้ายก็ดี ความที่บุคคลผู้ยึดถือ
ลัทธิเดียรถีย์เหล่านั้น ด้วยเหตุเพียงเสียงเท่านั้น แล้วมีความเห็นว่าเป็นแก่นสาร
มีสภาพคล้ายกับกระต่ายที่ได้ฟังเสียงน่ากลัวของผลตาลสุกที่หล่นลงบนพื้นดิน
แล้วหนีไปด้วยสำคัญว่า แผ่นดินถล่มก็ดี บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงความที่ธรรม
ที่พระองค์แสดงเป็นธรรมมีแก่นสาร และความเป็นธรรมเครื่องนำออก
จากทุกข์ จึงตรัสคำว่า อย โข ปน ภิกฺขเว แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ส่วนว่าธรรมที่เราแสดงนี้ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิคฺคหิโต คือ ไม่ถูกคนอื่นข่ม ได้แก่
ไม่มีใครสามารถจะข่มได้. บทว่า อสกิลิฏฺโ คือ เป็นธรรมไม่หมองมัว ได้แก่
บริสุทธิ์ คือ อันบุคคลแม้คิดว่า จักทำธรรมนั้นให้เศร้าหมอง แล้วประพฤติ
ก็ไม่สามารถจะทำให้เป็นอย่างนั้นได้. บทว่า อนูปวชฺโช ได้แก่พ้นจากการ
ถูกว่าร้าย. บทว่า อปฺปฏิกุฏโ ความว่า ไม่ถูกปฏิเสธหรือไม่ถูกคัดค้าน
อย่างนี้ว่า ประโยชน์อะไรด้วยธรรมนี้ ท่านทั้งหลายจงนำธรรมนั้นไปเสีย.
บทว่า วิญฺญูหิ ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลาย. เพราะคำพูดของคนที่ไม่ใช่บัณฑิต
พูดโดยไม่รู้ ไม่เป็นประมาณ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิญฺญูหิ
ดังนี้.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงธรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตั้งปัญหาถามว่า
กตโม จ ภิกขเว แล้วตั้งมาติกาโดยนัยเป็นต้นว่า อิมา ฉ ธาตุโย เมื่อจะ
ทรงจำแนกแสดงตามลำดับ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อิมา ฉ ธาตุโย อีก.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 284
อธิบายธาตุ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธาตุโย ได้แก่ สภาวะทั้งหลาย
ความหมายว่า สภาวะที่ประกาศถึงความไม่ใช่ชีวะไม่ใช่สัตว์ ชื่อว่า ความหมาย
ของธาตุ. บทว่า ผสฺสายตนานิ ได้แก่ ชื่อว่า อายตนะ เพราะหมายความ
ว่าเป็นบ่อเกิดของวิปากผัสสะทั้งหลาย. บทว่า มโนปวิจารา ได้แก่ การ
ท่องเที่ยวไปของใจในฐานะ ๑๘ ด้วยเท้า คือ วิตกและวิจาร. บทว่า ปฐวีธาตุ
ได้แก่ ธาตุที่ตั้งมั่น. บทว่า อาโปธาตุ ได้แก่ ธาตุทำหน้าที่เชื่อมประสาน
บทว่า เตโชธาตุ ได้แก่ ธาตุทำหน้าที่ให้อบอุ่น. บทว่า วาโยธาตุ
ได้แก่ ธาตุทำหน้าที่ให้เคลื่อนไหว. บทว่า อากาสธาตุ ได้แก่ ธาตุที่
ถูกต้องไม่ได้. บทว่า วิญฺาณธาตุ ได้แก่ ธาตุทำหน้าที่รู้แจ้ง.
ธาตุกัมมัฏฐาน
ธาตุกัมมัฏฐานนี้มาแล้วอย่างนี้. ก็แลกัมมัฏฐานนี้นั้น ในที่มาโดยย่อ
ควรกล่าวทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดาร แต่ในที่มาโดยพิสดาร จะกล่าวโดยย่อ
ไม่ควร ควรกล่าวแต่โดยพิสดารอย่างเดียว. ส่วนในติตถายตนสูตรนี้ กัม-
มัฏฐานนี้มาแล้ว ด้วยอำนาจธาตุ ๖โดยย่อ. จะกล่าวกัมมัฏฐานนั้นทั้งสองอย่าง
(ทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดาร) ก็ควร.
กำหนดโดยย่อ
พระโยคาวจรแม้เมื่อกำหนดกัมมัฏฐานด้วยอำนาจธาตุ ๖ โดยย่อก็ย่อม
กำหนดอย่างนี้. รูป ๕ เหล่านี้คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ
จัดเป็นมหาภูตรูป อากาสธาตุ จัดเป็นอุปาทารูป และเมื่อเห็นอุปาทารูป
ประเภทเดียว อุปาทารูป ๒๓ ที่เหลือ พึงกำหนดว่า ถูกเห็นด้วยเหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 285
บทว่า วิญฺาณธาตุ ได้แก่ จิต. จิตนั้นได้แก่ วิญญาณขันธ์
เวทนาที่เกิดร่วมกับวิญญาณขันธ์นั้น ชื่อว่า เวทนาขันธ์ สัญญาที่เกิดร่วมกับ
วิญญาณขันธ์นั้น ชื่อว่า สัญญาขันธ์ ผัสสะและเจตนาที่เกิดร่วมกับวิญญาณ
ขันธ์นั้น ชื่อว่า สังขารขันธ์ ขันธ์ทั้ง ๔ ดังว่ามานี้ ชื่อว่า อรูปขันธ์. อนึ่ง
มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ชื่อว่า รูปขันธ์. บรรดารูปขันธ์
และอรูปขันธ์นั้น อรูปขันธ์ ๔ เป็นนาม รูปขันธ์เป็นรูป. มีธรรมอยู่ ๒ อย่าง
เท่านั้นคือ นาม ๑ รูป ๑. ไม่มีสัตว์หรือชีวะนอกจากธรรม ๒ อย่างนั้น.
พึงทราบกัมมัฏฐานที่ทำให้บรรลุอรหัตผลตัวอำนาจธาตุ ๖ โดยย่อของภิกษุ
รูปหนึ่ง ดังว่ามานี้.
กำหนดโดยพิสดาร
แต่พระโยคาวจร เมื่อจะกำหนดโดยพิสดาร ครั้นกำหนดมหาภูตรูป ๔
แล้วจึงกำหนดอุปาทารูป ๒๓ ตามแนวแห่งการกำหนดอากาสธาตุ. ต่อมา
เมื่อจะกำหนดปัจจัยของรูปเหล่านั้น ก็พิจารณาดูมหาภูตรูป ๔ นั่นแลอีก
แล้วประมวลลงเป็นโกฏฐาสะ. (ส่วน) คือ บรรดามหาภูตรูป ๔ นั้น ปฐวีธาตุ
มี ๒๐ ส่วน อาโปธาตุมี ๑๒ ส่วน เตโชธาตุมี ๔ ส่วน วาโยธาตุมี ๖ ส่วน
(รวมเป็น) กำหนดมหาภูตรูป ๔๒ ส่วน. เพิ่มอุปาทารูป ๒๓ เข้าไป (รวม
เป็น) กำหนดรูป ๖๕ พระโยคาวจร พิจารณาเห็นรูป ๖๕ เหล่านั้น และ
รวมวัตถุรูปเข้าด้วยเป็นรูป ๖๖.
ส่วน วิญญาณธาตุ ได้แก่ จิต ๘๑ โดยเป็นโลกิยจิต จิต ๘๑
ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ แม้เวทนาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับจิต ๘๑
นั้น ก็มีจำนวนเท่านั้นเหมือนกัน รวมความว่า เวทนา ๘๑ ชื่อว่า เวทนาขันธ์
สัญญา ๘๑ ชื่อว่า สัญญาขันธ์ เจตนา ๘๑ ชื่อว่า สังขารขันธ์ รวมความว่า
อรูปขันธ์ทั้ง ๔ เหล่านี้ เมื่อกำหนดด้วยอำนาจธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ก็ได้แก่
ธัมมายตนะ ๓๒๔.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 286
ไม่มีสัตว์หรือชีวะมีแต่ธรรม ๒
ธรรมทั้งหมด คือ อรูปธรรมเหล่านี้ และรูปธรรม ๖๖ ดังว่ามานี้
ครั้นประมวลแล้ว ก็มีธรรมอยู่ ๒ อย่าง คือ นาม ๑ รูป ๑ ไม่มีสัตว์หรือ
ชีวะนอกไปจากธรรม ๒ อย่างนั้น.
กำหนดปัจจัยของนาม - รูป
พระโยคาวจรครั้นกำหนดเบญจขันธ์ โดยเป็นนามรูป ดังว่ามานี้
เมื่อแสวงหาปัจจัยของนามรูปเหล่านั้น ก็เห็นปัจจัยอย่างนี้ คือ เพราะมีอวิชชา
เป็นปัจจัย เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย เพราะมีกรรมเป็นปัจจัย เพราะมีอาหาร
เป็นปัจจัย แล้วข้ามพ้นความสงสัยในกาลทั้ง ๓ ได้คือ แม้ในอดีต นามรูปนี้
ก็เป็นไปแล้วด้วยปัจจัยเหล่านี้ แม้ในอนาคตก็จักเป็นไปด้วยปัจจัยเหล่านี้
แม้ในปัจจุบันก็เป็นไปอยู่ด้วยปัจจัยเหล่านี้เหมือนกัน (จากนั้น) ก็ปฏิบัติไป
ตามลำดับ (จนกระทั่ง) ได้บรรลุอรหัตผล. พึงทราบกัมมัฏฐานที่เป็นเหตุให้
บรรลุอรหัตผลด้วยอำนาจธาตุ ๖ แม้โดยพิสดาร ดังว่ามานี้.
ผัสสายตนะ ๖
บทว่า จกฺขุ ผสฺสายตน ความว่า จักษุ ชื่อว่า อายตนะ เพราะ
หมายความว่า เป็นบ่อเกิด โดยอรรถว่าเป็นสมุฏฐานแห่งผัสสะ ๗ ที่เกิด
พร้อมกับวิญญาณ ๗ เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ ๒ สัมปฏิจฉันนวิญญาณ ๒
สันตีรณวิญญาณ ๓ เปรียบเหมือนทองคำเป็นต้นเป็นบ่อเกิดของทองคำเป็นต้น.
แม้ในบทว่า โสต ผสฺสายตน เป็นต้นก็มีนัย นี้แล.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 287
ส่วนในบทว่า มโน ผสฺสายตน นี้ พึงทราบว่าได้แก่วิบากผัสสะ ๒๒
กัมมัฏฐานนี้มาด้วยอำนาจผัสสายตนะ ๖ ดังว่ามานี้. กัมมัฎฐานนั้นควรกล่าว
ทั้งโดยย่อ ทั้งโดยพิสดาร. ว่าโดยย่อก่อน ก็ในอายตนะ ๖ นี้ อายตนะ ๕
ข้อแรก ชื่อว่า อุปาทารูป เมื่อเห็นอายตนะ ๕ นั้นแล้วก็เป็นอันเห็นอุปาทารูป
ที่เหลือด้วย. อายตนะที่ ๖ คือ จิต เป็นวิญญาณขันธ์. ธรรม ๓ ที่เหลือมี
เวทนาเป็นต้น ที่เกิดพร้อมกับวิญญาณขันธ์นั่น เป็นอรูปขันธ์. พึงทราบ
กัมมัฏฐานที่เป็นเหตุให้บรรลุอรหัตผล ทั้งโดยย่อ ทั้งโดยพิสดาร ตามนัยที่
กล่าวมาแล้วในตอนต้นนั่นแล.
มโนปวิจาร ๑๘
บทว่า จกฺขุนา รูป ทิสฺวา ความว่า เห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ.
บทว่า โสมนสฺสฏานิย ได้แก่ เป็นเหตุแห่งโสมนัส. ภิกษุเมื่อส่งใจ
เที่ยวไป ชื่อว่า เที่ยวไปอย่างใกล้ชิด ในบทว่า อุปวิจรติ นี้. แม้ใน
บทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. ในบทว่า จกฺขุนา รูป ทิสฺวา นี้ พึงทราบว่า
รูปจะเป็นที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนาก็ตาม เห็นรูปใดแล้วโสมนัสเกิดขึ้น
รูปนั้นชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส. เห็นรูปใดแล้วโทมนัสเกิดขึ้น รูปนั้น
ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เห็นรูปใดแล้วอุเบกขาเกิดขึ้น รูปนั้น ชื่อว่า
เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา. แม้ในเสียงเป็นต้นก็นัยนี้ นี้แล. กัมมัฏฐานนี้
มาแล้วโดยย่อ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้. ส่วนกัมมัฏฐานนั้น ในที่ที่
มาแล้วโดยย่อ ควรกล่าวทั้งโดยย่อ ทั้งโดยพิสดาร. ในที่มาแล้วโดยพิสดาร.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 288
ไม่ควรกล่าวโดยย่อ. แต่ในติตถายนสูตรนี้ กัมมัฏฐานนี้มาแล้วด้วยอำนาจ
มโนปวิจาร ๑๘ โดยย่อ. กัมมัฏฐานนั้นควรกล่าวทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดาร.
ในกัมมัฏฐานนั้น ว่าโดยย่อก่อน รูป ๙ เหล่านี้คือ จักขุ โสตะ
ฆานะ ชิวหา กาย รูป เสียง กลิ่น รส เป็นอุปาทารูป เมื่อเห็นอุปาทารูป
ทั้ง ๙ เหล่านั้นแล้ว อุปาทารูปที่เหลือก็เป็นอันเห็นด้วยเหมือนกัน. โผฏ-
ฐัพพะ คือ มหาภูตรูป ๓ เมื่อเห็นมหาภูตรูปทั้ง ๓ เหล่านั้นแล้ว มหา
ภูตรูปที่ ๔ ก็เป็นอันเห็นด้วยเหมือนกัน. มโน เป็นวิญญาณขันธ์.
ธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นที่เกิดพร้อมกับวิญญาณขันธ์นั้นเป็น อรูปขันธ์.
พึงทราบกัมมัฏฐานที่เป็นเหตุให้บรรลุอรหัตผล ทั้งโดยย่อ ทั้งโดยพิสดาร
ตามนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล. บทว่า อริยสจฺจานิ ได้แก่ สัจจะ
ทั้งหลายที่ทำให้เป็นพระอริยะ หรือที่พระอริยเจ้าแทงตลอดแล้ว. ในที่นี้มี
ความย่อเพียงเท่านี้. แต่เมื่อว่าโดยพิสดารแล้ว บทนี้ได้ประกาศไว้แล้วใน
วิสุทธิมรรค.
ธาตุ ๖
ถามว่า บทว่า ฉนฺน ภิกฺขเว ธาตูน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เริ่มไว้เพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย. จริงอยู่ พระตถาคตเจ้า
ประสงค์จะตรัสปัจจยวัฏฏกะ ๑๒ บทแก่บุคคลใด ก็ทรงแสดงวัฏฏะคือ การ
ก้าวลงสู่ครรภ์แก่บุคคลนั้น. เพราะว่า เมื่อทรงแสดงวัฏฏะคือ ก้าวลงสู่
ครรภ์แล้ว ก็ทรงมีความสะดวกที่จะตรัสเองทั้งที่จะสอนผู้อื่นให้รู้. (ฉะนั้น)
จึงควรทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มบทนี้ไว้ ก็เพื่อสอนผู้อื่นให้
รู้ได้ง่าย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 289
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺน ธาตูน ได้แก่ ปฐวีธาตุเป็นต้น
ที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล. บทว่า อุปาทาย แปลว่า อาศัย. ด้วยบทว่า
อุปาทาย นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแต่เพียงปัจจัย. มีคำอธิบายดังนี้
ว่า การก้าวลงสู่ครรภ์มารดา มีเพราะธาตุ ๖ เป็นปัจจัย. เพราะธาตุ ๖ ของ
สัตว์ผู้เกิดในครรภ์นั้นเป็นปัจจัย. ถามว่า ของมารดาหรือว่าของบิดา ตอบว่า
ไม่ใช่ของมารดา ไม่ใช่ของบิดา เพราะธาตุ ๖ ของสัตว์ผู้ถือปฏิสนธินั่นแล
เป็นปัจจัย จึงมีการก้าวลง (สู่ครรภ์มารดา) ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ก็ขึ้น
ชื่อว่า คัพภสัตว์ (สัตว์ผู้เกิดในครรภ์) นี้มีประการต่าง ๆ คือ คัพภสัตว์ใน
นรก คัพภสัตว์ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน คัพภสัตว์ในปิตติวิสัย คัพภสัตว์ใน
กำเนิดมนุษย์ คัพภสัตว์ในกำเนิดเทวดา. แต่ในที่นี้ประสงค์เอาคัพภสัตว์ใน
กำเนิดมนุษย์.
บทว่า อวกฺกนติ โหติ ความว่า มีการก้าวลง การบังเกิด
ความปรากฏ. ถามว่า มีได้อย่างไร ? ตอบว่า มีเพราะการประชุมพร้อม
แห่งองค์ ๓ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะการประชุมพร้อมแห่งองค์ ๓ แล จึงมีการก้าวลง
(สู่ครรภ์มารดา) ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์
องค์ประกอบ ๓ ประการ คือ อะไรบ้าง ?
คือ มารดาบิดาในโลกนี้อยู่ร่วมกัน ๑ มารดาไม่ใช่หญิงอยู่ในวัยที่มีรอบ
เดือน ๑ คันธัพพสัตว์ยังไม่ปรากฏ ๑ การก้าวลง (สู่ครรภ์มารดา) ของ
สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ยังไม่มีก่อน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 290
มารดาบิดาในโลกนี้อยู่ร่วมกัน และมารดาเป็นหญิงที่อยู่ในวัยที่มีรอบ
เดือน แต่ว่าคันธัพพสัตว์ไม่ปรากฏ (อย่างนี้) การก้าวลง (สู่ครรภ์มารดา)
ของสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ก็ยังไม่มีก่อน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แต่ว่า เมื่อใดแล มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน ๑
มารดาเป็นหญิงอยู่ในวัยที่มีรอบเดือน ๑ คันธัพพสัตว์ปรากฏ ๑ เพราะความ
ประชุมพร้อมแห่งองค์ ๓ ดังว่ามานี้ การก้าวลง (สู่ครรภ์มารดา) ของสัตว์
ผู้เกิดในครรภ์จึงมี.
บทว่า โอกฺกนติยา สติ นามรูป ความว่า ในที่ที่ตรัสไว้ว่า
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมุ่งถึงธรรม
๓๓ ประการ คือ วัตถุทสกะ กายทสกะ ภาวทสกะ (และ) อรูปขันธ์ ๓.
แต่ในที่ที่ตรัสไว้ว่า เมื่อมีการก้าวลง นามรูปจึงมี นี้ พึงทราบว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงมุ่งถึงธรรม ๓๔ ประการ (ที่เกิด) ในขณะปฏิสนธิของคัพภ-
เสยยกสัตว์โดยทรงเพิ่มวิญญาณขันธ์เข้าด้วย. ความที่สฬายตนะปรากฏในเมื่อ
มีนามรูป ความที่ผัสสะปรากฏในเมื่อมีสฬายตนะ ความที่เวทนาปรากฏในเมื่อ
มีผัสสะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยบททั้งหลายมีอาทิว่า นามรูปป-
จฺจยา สฬายตน เหมือนทรงแสดงความที่นามรูปปรากฏในเมื่อมีการก้าวลง
(สู่ครรภ์มารดา) ด้วยบทว่า โอกฺกนฺติยา สติ นามรูป ฉะนั้น.
เสวยเวทนา
ในบทว่า เวทิยมานสฺส นี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ ผู้เสวยเวทนาอยู่ก็ดี
ผู้รู้เวทนาอยู่ก็ดี เรียกว่า ผู้เสวย (ทั้งนั้น) อธิบายว่า ผู้กำลังเสวยอยู่
ชื่อว่า ผู้เสวย (ดัง) ในประโยคนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ากำลังเสวยอยู่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 291
ขอสงฆ์จงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า กำลังเสวยอยู่ ผู้รู้อยู่ ชื่อว่า ผู้เสวย (ดัง) ใน
ประโยคนี้ว่า บุคคลเมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เรากำลังเสวยสุขเวทนา.
แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงประสงค์เอาผู้ที่รู้อยู่นั่นแลว่าผู้เสวย.
บทว่า อิท ทุกฺขนฺติ ปญฺาเปมิ ความว่า เราตถาคตบัญญัติว่า
นี้ทุกข์ ทุกข์มีเท่านี้ ไม่มีทุกข์นอกเหนือไปจากนี้ แก่สัตว์ผู้รู้อยู่อย่างนี้ คือ
สอนให้เขารู้ ได้แก่ สอนให้เขาทราบ. แม้ในบทว่า อย ทุกฺขสมุทโย
เป็นต้น ก็มีนัย นี้แล. บรรดาสัจจะมีทุกข์เป็นต้นในสูตรนั้น สันนิฏฐานกถา
ดังนี้ ก็เว้นตัณหาเสียแล้ว ขันธ์ ๕ ที่เป็นไปภูมิ ๓ ชื่อว่า ทุกข์ ตัณหา
ในกาลก่อนที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นนั่นแล ชื่อว่า ทุกขสมุทัย การดับสัจจะ
ทั้งสองนั้นโดยไม่ให้เกิดขึ้นอีก ชื่อว่า ทุกขนิโรธ อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
ตรัสปฏิจจสมุปบาทแก่ใคร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อจะตรัสว่า เมื่อมีการก้าวลง (สู่ครรภ์มารดา)
นามรูปจึงมี ก็ตรัสแก่บุคคลผู้เสวยอยู่ ผู้รู้อยู่เท่านั้น แม้เมื่อจะตรัสว่า เพราะ
มีนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะ จึงมี ก็ตรัสแก่บุคคลผู้เสวยอยู่ผู้รู้อยู่เท่านั้น
แม้เมื่อจะตรัสว่า เพราะมีีสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะ จึงมี ก็ตรัสแก่
บุคคลผู้เสวยอยู่ผู้รู้อยู่เท่านั้น แม้เมื่อจะตรัสว่า เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย
เวทนาจึงมี ก็ตรัสแก่บุคคลผู้เสวยอยู่ ผู้รู้อยู่เท่านั้น แม้เมื่อจะตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็แล เราตถาคตบัญญัติว่า นี้ทุกข์ แก่บุคคลผู้เสวยอยู่ ก็ตรัส
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 292
แก่ผู้เสวยอยู่ ผู้รู้อยู่เท่านั้น แม้เมื่อจะตรัสว่า เราตถาคตบัญญัติว่า นี้ทุกข์
สมุทัย ก็ตรัสแก่ผู้เสวยอยู่ ผู้รู้อยู่เท่านั้น แม้เมื่อจะตรัสว่า เราตถาคตบัญญัติว่า
นี้ ทุกขนิโรธ ก็ตรัสแก่ผู้เสวยอยู่ ผู้รู้อยู่เท่านั้น แม้เมื่อจะตรัสว่า เราตถาคต
บัญญัติว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็ตรัสแก่ผู้เสวยอยู่ ผู้รู้อยู่เท่านั้น
ด้วยประการดังพรรณนามานี้.
บัดนี้ เมื่อจะทรงขยายสัจจะเหล่านั้นที่วางไว้ตามลำดับให้พิสดาร
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า กตมญฺจ ภิกฺขเว เป็นต้น. ทุกข์ทั้งหมด
นั้นในคำนั้น ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆสาจารย์) ได้อธิบายไว้แล้วอย่างละเอียด
ทุกแง่ทุกมุมในวิสุทธิมรรคทีเดียว. พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค
นั้นเถิด. ส่วนที่แปลกกันมีดังต่อไปนี้. บรรดาอริยสัจเหล่านั้น อริยสัจคือ
ทุกขสมุทัยมาแล้ว ตามแบบนี้คือ ยาย ตณฺหา โปโนพฺภวิกา ในที่นี้มาแล้ว
ด้วยอำนาจปัจจยาการว่า อวิชฺชาปจฺจยา สขารา เป็นต้น. อนึ่ง บรรดา
อริยสัจเหล่านั้น อริยสัจคือทุกขนิโรธมาแล้ว ตามแบบนี้ คือ โย ตสฺสาเยว
ตณฺหาย อเสสวิราคนิโรโธ ในที่นี้มาแล้วด้วอำนาจการดับปัจจยาการ
คือ อวิชฺชายเตฺวว อเสสวิราคนิโรธา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อเสสวิราคนิโรธา ความว่า บททั้ง ๒ นั้น (วิราคะกับนิโรธะ)
เป็นไวพจน์ของกันและกันนั่นเอง เพราะสำรอกไม่เหลือและเพราะดับไม่เหลือ
(เหมือนกัน ).
บทว่า สขารนิโรโธ ได้แก่ มีการดับสังขารทั้งหลายโดยไม่
เกิดขึ้นอีก. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัย นี้แล. อนึ่ง กิเลสทั้งหลายมีอวิชชา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 293
เป็นต้น มาถึงฐานะใดย่อมดับไป ฐานะนั้น เมื่อว่าโดยความหมายก็คือ
นิพพาน เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วด้วย บทเหล่านี้. จริงอยู่
นิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนามว่า ความดับสนิทแห่งธรรม
เหล่านั้นอย่างนี้คือ อวิชฺชานิโรโธ (ความดับสนิทแห่งอวิชชา) บ้าง
สขารนิโรโธ (ความดับสนิทแห่งสังขาร) บ้าง.
บทว่า เกวลสฺส แปลว่า ทั้งหมด. บทว่า ทุกฺขกฺขนธสฺส คือ
กองแห่งวัฏทุกข์. บทว่า นิโรโธ โหติ คือ มีความไม่เป็นไป. ในบทว่า
นิโรโธ โหติ นั้น พึงทราบว่า เพราะเหตุที่ดับสนิทแห่งกิเลสทั้งหลายมี
อวิชชาเป็นต้น เรียกว่า อาการที่สิ้นไปแห่งกิเลสทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้นบ้าง
ว่า อรหัตผลบ้าง ว่า นิพพานบ้าง ฉะนั้น ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสอรหัตผลไว้ในฐานะ ๑๒ ด้วยอำนาจการเห็นอาการที่กิเลสมีอวิชชาเป็นต้น
สิ้นไปแล้ว (และ) ตรัสนิพพานไว้ในฐานะ ๑๒ เช่นกัน.
ในบทว่า อิท วุจฺจติ นี้ มีอธิบายว่า บทว่า อิท พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสหมายเอานิพพาน อย่างเดียวหามิได้. บทว่า อฏฺงฺคิโก
ความว่า ชื่อว่า มรรคอื่นที่พ้นไปจากองค์ ๘ ไม่มี. เปรียบเหมือนว่า เมื่อ
กล่าวว่า ดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ ก็เป็นอันกล่าวว่า ดนตรีมีเพียงองค์ ๕
เท่านั้น ฉันใด แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ก็พึงทราบว่า เป็นอันตรัสว่า มรรคมี
องค์ ๘ เท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 294
บทว่า อินคฺคิโต คือ ไม่ถูกข่ม. อธิบายว่า บุคคลเมื่อข่ม ธรรม
ย่อมแสดงอริยสัจ ลดจำนวนลงบ้าง เพิ่มจำนวนขึ้นบ้าง เปลี่ยนแปลงอริยสัจ
นั้นบ้าง. ข้อนั้น ๆ อันใคร ๆ ไม่สามารถจะแสดงอริยสัจ ๔ ลดจำนวน
ลงอย่างนี้คือ อริยสัจ ๔ เหล่านั้น ไม่มี มีเพียง ๒ หรือ ๓ เท่านั้นบ้าง
ไม่สามารถจะแสดงเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างนี้คือ อริยสัจมี ๕ หรือ อริยสัจมี ๖
บ้าง ไม่สามารถจะแสดงเปลี่ยนแปลงว่า อริยสัจไม่ใช่ ๔ ข้อนี้ อริยสัจ ๔
เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่า ไม่ถูกข่ม. บทที่เหลือในที่ทุกแห่ง
ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาติตถายตนสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 295
๒. ภยสูตร
ว่าด้วยอมาตาปุตติกภัย ๓ อย่าง
[๕๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมกล่าวภัย ๓
อย่างนี้ว่าเป็น อมาตาปุตติกภัย ๓ อย่าง คืออะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สมัยที่เกิดไฟไหม้ใหญ่มีอยู่ เมื่อเกิดไฟไหม้ใหญ่ หมู่บ้านบ้าง ตำบลบ้าง
นครบ้าง ก็ถูกไฟนั้นไหม้ เมื่อหมู่บ้านบ้าง ตำบลบ้าง นครบ้างไหม้อยู่
มารดาย่อมพลัดบุตรบ้าง บุตรพลัดมารดาบ้าง ในเพราะอัคคีภัยนั้น อัคคีภัยนี่
ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับกล่าวว่าเป็น อมาตาปุตติกภัยข้อหนึ่ง.
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่เกิดฝนตกใหญ่มีอยู่. เมื่อเกิด
ฝนตกใหญ่ ก็เกิดน้ำบ่าใหญ่ เมื่อเกิดน้ำบ่าใหญ่ หมู่บ้านบ้าง ตำบลบ้าง
นครบ้าง ถูกน้ำนั้นพัดไป เมื่อหมู่บ้านบ้าง ตำบลบ้าง นครบ้างถูกพัดไป
มารดาย่อมพลัดบุตรบ้าง บุตรย่อมพลัดมารดาบ้าง ในเพราะอุทกภัยนั้น
อุทกภัยนี่ ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับกล่าวว่า เป็นอมาตาปุตติกภัย
ข้อสอง.
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่เกิดภัยมีอยู่. คือโจรป่ากำเริบ
(ยกเข้าปล้นบ้านเมือง) ชาวชนบทผู้ขึ้นอยู่ใน (อาณา) จักร แตกกระจัด
กระจายกันไป เมื่อเกิดภัยคือโจรป่ากำเริบ ชาวชนบทผู้ขึ้นอยู่ใน (อาณา)
จักร แตกกระจัดกระจายกันไปนั่นแล มารดาย่อมพลัดบุตรบ้าง บุตรพลัด
มารดาบ้าง ในเพราะโจรภัยนั้น โจรภัยนี่ ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ
กล่าวว่า เป็นอมาตาปุตติกภัยข้อสาม.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 296
ภัย ๓ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับกล่าวว่าเป็น
อมาตาปุตติกภัย
แต่ว่า ภัย ๓ อย่างนี้ ยังเป็นสมาตาปุตติกภัยแท้ ๆ ปุถุชนผู้มีได้
สดับกล่าวว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย ภัย ๓ อย่างคืออะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มีอยู่สมัยที่เกิดไฟไหม้ใหญ่ ฯลฯ เมื่อหมู่บ้านบ้าง ตำบลบ้าง นครบ้างไหม้อยู่
ยังมีคราวที่ลางทีลางหน มารดากลับพบบุตรบ้าง บุตรกลับพบมารดาบ้าง
อัคคีภัยนี้ ภิกษุทั้งหลาย ยังเป็นสมาตาปุตติกภัยแท้ ๆ ข้อหนึ่ง ปุถุชน
ผู้มิได้สดับกล่าวว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ สมัยที่เกิดฝนตกใหญ่ ฯ เมื่อ
หมู่บ้านบ้าง ตำบลบ้าง นครบ้างถูกพัดไป ยังมีคราวที่ลางทีลางหน
มารดากลับพบบุตรบ้าง บุตรกลับพบมารดาบ้าง อุทกภัยนี้ ภิกษุทั้งหลาย
ยังเป็นสมาตาปุตติกภัยแท้ ๆข้อสอง ปุถุชนผู้มิได้สดับกล่าวว่าเป็น
อมาตาปุตติกภัย
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ สมัยที่เกิดภัย คือโจรป่ากำเริบ ฯลฯ
ชาวชนบทผู้ขึ้นอยู่ใน (อาณา) จักร แตกกระจัดกระจายกันไป ยังมีคราวที่
ลางทีลางหน มารดากลับพบบุตรบ้าง บุตรกลับพบมารดาบ้าง โจรภัยนี้
ภิกษุทั้งหลาย ยังเป็นสมาตาปุตติกภัยแท้ ๆ ข้อสาม ปุถุชนผู้มิได้สดับ
กล่าวว่าเป็นอมาตาปุตติกภัย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๓ นี้เป็นอมาตาปุตติกภัยแท้ อมาตาปุตติก
ภัย ๓ คืออะไร คือ ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุตรแก่ มารดาก็ขอร้องไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าจะ
แก่เอง ขอข้าพเจ้าอย่าแก่เลย หรือเมื่อมารดาแก่ บุตรก็ขอร้องไม่ได้ว่า
ข้าพเจ้าจะแก่เอง ขอมารดาข้าพเจ้าอย่าแก่เลย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 297
เมื่อบุตรเจ็บ มารดาก็ขอร้องไม่ได้ว่า ข้า ฯ จะเจ็บเอง ขอบุตรข้า ฯ
อย่าเจ็บเลย หรือเมื่อมารดาเจ็บ บุตรก็ขอร้องว่า ข้า ฯ จะเจ็บเอง
ขอมารดาข้า ฯ อย่าเจ็บเลย
เมื่อบุตรตาย มารดาก็ขอร้องไม่ได้ว่า ข้า ฯ จะตายเอง ขอบุตรข้า ฯ
อย่าตายเลย หรือเมื่อมารดาตาย บุตรก็ขอร้องไม่ได้ว่า ข้า ฯ จะตาย
ขอมารดาข้า ฯ อย่าตายเลย
ภัย ๓ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เป็นอมาตาปุตติกภัยแท้
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย มรรคา มีอยู่ปฏิปทา เป็นไปเพื่อละเสีย เพื่อ
ล่วงเสียซึ่งสมาปุตติกภัย ๓ นี้ และอมาตาปุตติกภัย ๓ นี้ด้วย ก็มรรคาไหน
ปฏิปทาอะไร เป็นไปเพื่อละเสีย เพื่อล่วงเสียซึ่งสมาตาปุตติกภัย ๓ นี้ และ
อมาตาปุตติกภัย ๓ นี้ด้วย. อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย มรรคา นี้ปฏิปทา เป็นไปเพื่อละเสีย เพื่อ
ล่วงเสียซึ่งสมาตาปุตติกภัย ๓ นี้ และอมาตาปุตติกภัย ๓ นี้ด้วย.
จบภยสูตรที่ ๒
อรรถกถาภยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในภยสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
ภัยที่มารดาและบุตรช่วยกันไม่ได้
บทว่า อมาตาปุตฺติกานิ ความว่า มารดาและบุตร ชื่อว่า มาตา-
ปุตตะ มารดาและบุตร ชื่อว่า ไม่มีในภัยเหล่านี้ โดยสามารถจะ
ป้องกันซึ่งกันและกันได้ เหตุนั้น ภัยเหล่านี้ จึงชื่อว่า ไม่มีมารดาและบุตร.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 298
บทว่า ย คือในสมัยใด. บทว่า ตตฺถ มาตาปิ ปุตฺต น ปฏิลภติ
ความว่า เมื่ออัคคีภัยนั้นเกิดขึ้นแล้ว แม้มารดาก็ไม่ได้เห็นบุตร แม้บุตรก็
ไม่ได้เห็นมารดา.
บทว่า ภย โหติ ความว่า มีภัยคือความหวาดสะดุ้งแห่งจิต. บทว่า
อฏวีสงฺโกโป ได้แก่ ความกำเริบของโจรผู้ซุ่มซ่อนอยู่ในดง. ก็ในบทว่า
อฏวี นี้ พึงทราบว่า ได้แก่โจรที่ซุ่มซ่อนอยู่ในดง. อธิบายว่า เมื่อใด
โจรเหล่านั้นออกจากดงลงสู่ชนบท เที่ยวปล้นทำลาย คาม นิคม และราชธานี
เมื่อนั้น ชื่อว่า มีความกำเริบของโจรอยู่ในดง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมาย
ถึงความกำเริบของโจรที่อยู่ในดงนั้น จึงตรัสคำนี้ว่า อฏวีสงฺโกโป.
คนขึ้นล้อ
ในบทว่า จกฺกสมารุฬฺหา นี้ มีอธิบายว่า หมุนไปทั้งจักร คือ
อิริยาบถ ทั้งจักรคือยาน. เพราะว่าเมื่อภัยมาถึง คนเหล่าใดมียาน คนเหล่านั้น
ก็ยกสิ่งของบริขารของตนขึ้นยานเหล่านั้น แล้วขับหนีไป คนเหล่าใดไม่มี
คนเหล่านั้นก็ใช้หาบ หรือใช้ศีรษะเทินหนีไปจนได้. คนเหล่านั้นชื่อว่า ขึ้นล้อ.
บทว่า ปริยายนฺติ ได้แก่ ไปข้างโน้น ข้างนี้.
บทว่า กทาจิ คือในกาลบางครั้งนั่นแล. บทว่า กรหจิ เป็น
ไวพจน์ของบทว่า กทาจิ นั่นเอง. บทว่า มาตาปิ ปุตฺต ปฏิลภติ
ความว่า (แม้มารดา) ย่อมได้เห็นบุตรผู้มาอยู่ ผู้ไปอยู่ หรือผู้หลบแอบอยู่
ในที่แห่งหนึ่ง. บทว่า อุทกวาหโก คือ เต็มแม่น้ำ. บทว่า มาตาปิ ปุตฺต
ปฏิลภติ ความว่า บุตรลอยน้ำติดอยู่บนทุ่นหรือแพ ในภาชนะดินหรือบน
ท่อนไม้ มารดาก็ได้เห็น. ก็หรือว่า มารดาได้เห็นบุตรว่ายข้ามไปโดยปลอด
ภัยแล้ว ยืนอยู่ในหมู่บ้านหรือในป่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 299
ภัย ๓ อย่าง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงภัยที่มารดาและบุตรไม่ได้พบกัน
ที่ทรงประสงค์เอาอันมาโดยอ้อมอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงภัยโดยตรง
จึงตรัสคำว่า ติณีมานิ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชราภย
ได้แก่ ภัยที่อาศัยชราเกิดขึ้น. แม้ในภัย ๒ อย่างนอกนี้ ก็มีนัย นี้แล.
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ภัย สิ่งที่น่ากลัว ความหวาด
เสียว ขนชูชัน ความสะดุ้งกลัวแห่งจิตเกิดขึ้น เพราะอาศัยชรา. . . เพราะ
อาศัยพยาธิ ภัย สิ่งที่น่ากลัว ความหวาดเสียว ขนชูชัน ความสะดุ้งกลัวแห่ง
จิตเกิดขึ้นเพราะอาศัยมรณะ. บทที่เหลือในทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาภยสูตรที่ ๒
๓. เวนาคสูตร
ว่าด้วยพระพุทธองค์ได้ที่นั่งที่นอนสูงใหญ่ ๓ อย่าง
[๕๐๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในประเทศ
โกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ถึงหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อเวนาคปุระ
พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านเวนาคปุระได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดม
พระโอรสกษัตริย์สักยะ ทรงผนวชจากตระกูลกษัตริย์สักยะ เสด็จถึงหมู่บ้าน
เวนาคปุระแล้ว ก็แลพระโคคมผู้เจริญนั้นมีพระเกียรติศัพท์อันดีฟุ้งเฟื่องไป
อย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 300
อิติปิ โส ภควา แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อรห เป็นพระอรหันต์
สมฺมาสมฺพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
โลกวิทู เป็นผู้รู้โลก
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่พึงฝึกได้ ไม่มีผู้อื่น
ยิ่งกว่า
สตฺถา เทวมนุสฺสาน เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย
พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว
ภควา เป็นผู้มีโชค
โส อิม โลก สเทวก สมารก พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงกระทำ
สพฺรหฺมก สสฺสมณพฺราหฺมณึ ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระ-
ปช สเทวมนุสฺส สย อภิญฺา องค์แล้ว ทรงประกาศให้โลกนี้กับทั้ง
สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ เทวโลกมารโลกพรหมโลก คือประ-
ชาชนรวมทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งเทวดา
และมนุษย์ให้รู้ทั่ว
โส ธมฺม เทเสติ อาทิกลฺยาณ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงธรรม
มชฺเฌกลฺยาณ ปริโยสานกลฺยาณ อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด
สาตฺถ สพฺยญฺชน ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ
เกวลปริปุณฺณ ปริสุทฺธ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 301
พฺรหฺมจริย ปกาเสติ
สาธุ โข ตถารูปาน อรหต ก็แลการได้พบเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย
ทสฺสน โหติ ผู้ทรงคุณวิเศษเห็นปานนั้น ย่อมเป็น
การดีแล
ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านเวนาคปุระ พากันไปเฝ้า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นไปถึงแล้ว บางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
บางพวกแสดงความยินดีกับพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวถ้อยคำที่ทำให้เกิด
ความชื่นชมต่อกันให้ระลึกถึงกัน บางพวกประคองอัญชลีไปทางพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า บางพวกร้องทูลชื่อและนามสกุล บางพวกนิ่ง (ไม่ทำอะไรทั้งนั้น) ต่าง
นั่งลง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พราหมณ์วัจฉโคตรชาวบ้านเวนาคปุระ นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์พระโคดม
ผู้เจริญไม่เคยมี พระอินทรีย์ของพระโคดมผู้เจริญแจ่มใสยิ่งนัก พระฉวีวรรณ
บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ดังพุทราสุกในฤดูสารท ... ดังผลตาลสุก ที่เพิ่งหลุดจากขั้ว๑ ...
ดังทองชมพูนท๒ ที่บุตรช่างทองผู้มีฝีมือตกแต่งดีแล้ว ขัดอย่างดีแล้ว วางไว้บน
ผ้าบัณฑุกัมพลสุกปลั่งอร่ามจ้าอยู่ฉะนั้น ... ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ อุจจาสยนะ
(ที่นั่งที่นอนสูง) และมหาสยนะ (ที่นั่งที่นอนใหญ่) ทั้งหลาย คือ
อาสนฺทิ ม้าหรือเก้าอี้สำหรับนั่ง
ปลฺลงฺโก แท่นหรือเตียงมีรูปสัตว์ร้ายที่เท้า
๑. เห็นจะหมายเอาตรงบริเวณขั้วเท่านั้น หรือมิฉะนั้นก็เนื้อใน
๒. ชมพูนท ทองที่เกิดอยู่ตามแม่น้ำชมพูในอินเดีย แต่ครั้งกระโน้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 302
โคณโก เครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีดำขนยาวมาก
จิตฺติกา " " " ปักหรือทอเป็นลาย
ปฏิกา " " " สีขาว
ปฎลิกา " " " ปักเป็นสัณฐานพวงดอกไม้
ตูลิกา ฟูกยัดนุ่นหรือสำลี
วิกติกา เครื่องลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยรูปสีห์และเสือเป็นต้น
อุทฺธโลมิ " " " มีขนตั้ง
เอกนฺตโลมิ " " " มีขนล้มไปข้างเดียวกัน
กฏฺิสฺส เครื่องลาดทอด้วยด้ายทองแกมไหม
โกเสยฺย เครื่องลาดทอด้วยไหมล้วน
กุตฺตก เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ กว้างพอนางระบำยืนฟ้อนรำได้
๑๖ คน
หตฺถตฺถร เครื่องลาดหลังช้าง
อสฺสตฺถร " หลังม้า
รถตฺถร " บนรถ
อชินปฺปเวณิ เครื่องลาดทำด้วยหนังอชิน๑
กาทลิมิคปวรปจฺจตฺถรณ ที่นอนอย่างดีหุ้มด้วยหนังกทลิมฤค๒
สอุตฺตรจฺฉท ประกอบด้วยผ้าดาดเบื้องบน
อุภโตโลหิตกุปธาน๓ มีหมอนสีแดงสองข้าง
๑. อชิน เคยแปลกันว่าเสือ ในคำมณิกัณฐนาคราชพ้อดาบสว่า กินฺเต อชินสาฎิยา แปลกันว่า
" ประโยชน์อะไรของท่านด้วยผ้าหนังเสือ "
๒. กทลิมฤค แปลว่า กวาง หรือชะมด
๓. สองบทนี้ลางทีท่านแยกออกเป็นประเภทหนึ่ง ๆ สอุตฺตรจฺฉท ได้แก่ที่นอนมีเพดาน อุภโต-
โลหิตถุปธาน ได้แก่หมอนข้าง
เครื่องลาดเหล่านี้เกี่ยวด้วยวินัย ลางอย่างแก้ไขแล้วใช้ได้ก็มี ที่อนุญาตให้ใช้ในภายหลังก็มี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 303
อุจจาสยนมหาสยนะชนิดนี้ ๆ พระโคดมผู้เจริญ เห็นจะมีอยู่พอการ หาได้
ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคืองเป็นแน่
พราหมณ์ อุจจาสยนมหาสยนะทั้งหลาย คือม้านั่ง ฯ ลฯ หมอนสีแดง
สองข้าง อุจจาสยนมหาสยนะเหล่านั้น เป็นของหาได้ยากสำหรับบรรพชิต
และได้มาก็ไม่ควร อุจจาสยนมหาสยนะ ๓ นี้สิ ที่เรามีพอการ หาได้ไม่ยาก
ได้อย่างไม่ฝืดเคือง อุจจาสยนมหาสยนะ ๓ คืออะไร คืออุจจาสยนมหาสยนะ
ทิพย์ อุจจาสยนมหาสยนะพรหม อุจจาสยนมหาสยนะอริยะ นี้แล พราหมณ์
อุจจาสยนมหาสยนะ ๓ ที่เรามีพอการ หาได้ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคือง
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อุจจาสยนมหาสยนะทิพย์ ที่พระโคดมผู้เจริญ
มีพอการ หาได้ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคือง เป็นไฉน.
พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใด (เป็นที่โคจรบิณฑบาต)
อยู่ ตอนเช้าเราครองสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าสู่หมู่บ้าน หรือตำบลนั้น
เพื่อบิณฑบาต เวลาหลังอาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้วก็เข้าป่า สิ่งใดมีอยู่
ในที่นั้น หญ้าหรือใบไม้ก็ตาม กวาดมันมารวมกันเข้า นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า เราสงัดจากกาม จากอกุศลกรรม
ทั้งหลาย เข้าปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่
วิเวกอยู่ ฯลฯ เข้าจตุตถฌานไม่ทุกข์ไม่สุข มีความบริสุทธิ์ด้วยสติอันเกิดเพราะ
อุเบกขาอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ เราเป็น (ผู้เข้าฌาน) อย่างนี้แล้ว ถ้าเราจงกรม
ที่จงกรมในสมัยนั้น นั่น เป็นที่จงกรมทิพย์ของเรา ถ้าเรายืน ที่ยืนในคราว
นั้นนั่น เป็นที่ยืนทิพย์ของเรา ถ้าเรานั่ง ที่นั่งในครั้งนั้น นั่น เป็นอาสนะทิพย์
ของเรา ถ้าเรานอน ที่นอนในคราวนั้น นั่น เป็นอุจจาสยนมหาสยนะทิพย์
ของเรา นี้แล พราหมณ์ อุจจาสยนมหาสยนะทิพย์ ซึ่งเรามีพอการ หาได้
ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคืองในบัดนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 304
น่าอัศจรรย์ พระโคดมผู้เจริญ ไม่เคยมี... อันอุจจาสยนมหาสยนะ-
ทิพย์เช่นนี้ คนอื่นใครเล่าจักมีพอการ หาได้ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคือง
เว้นแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อุจจาสยนมหาสยนะพรหม ซึ่งพระโคดมผู้เจริญ
มีพอการ ฯลฯ ในบัดนี้เป็นไฉน.
พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใด (เป็นที่โคจรบิณฑบาต)
อยู่ ฯลฯ ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า เรามีใจไปกับเมตตา. . .กรุณา. . .มุทิตา
. . .อุเบกขา แผ่ไปตลอด ๑ ทิศ ทิศที่ ๒. . .ทิศที่ ๓. . .ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น
โดยวิธีนี้ เรามีใจไปกับเมตตา เป็นใจกว้างใหญ่ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศขวาง ทุกทิศ
เสมอทั่วหน้ากันหมดทั้งโลก ดูก่อนพราหมณ์ เราเป็น (ผู้มีใจอยู่ในพรหม-
วิหารภาวนา) อย่างนี้แล้ว ถ้าเราจงกรมที่จงกรมในสมัยนั้น นั่น เป็นที่จงกรม-
พรหมของเรา ถ้าเรายืน ที่ยืนในคราวนั้น นั่น เป็นที่ยืนพรหมของเรา
ถ้าเรานั่ง ที่นั่งในครั้งนั้นนั่น เป็นอาสนะพรหมของเรา ถ้าเรานอน ที่นอน
ในคราวนั้น นั่น เป็นอุจจาสยนมหาสยนะพรหมของเรา นี้แล พราหมณ์
อุจจาสยนมหาสยนะพรหม ซึ่งเรามีพอการ หาได้ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคือง
ในบัดนี้
น่าอัศจรรย์ พระโคคมผู้เจริญ ไม่เคยมี... อันอุจจาสยนมหาสยนะ-
พรหมเช่นนี้ คนอื่นใครเล่าจักมีพอการ หาได้ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคือง
เว้นแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อุจจาสยนมหาสนะอริยะ ซึ่งพระโคดมผู้เจริญ
มีพอการ ฯลฯ ในบัดนี้เป็นไฉน.
พราหมณ์ เราอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใด (เป็นที่โคจรบิณฑบาต)
อยู่ ฯลฯ ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า เรารู้ทั่วอย่างนี้ว่า ราคะเราละแล้ว
มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เหมือนตอตาลแล้ว ทำให้ไม่มีในภายหลังแล้ว มีอัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 305
ไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา โทสะ. เราละแล้ว ฯลฯ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
เป็นธรรมดา โมหะ เราละแล้ว ฯลฯ มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา
ดูก่อนพราหมณ์ เราเป็น (ผู้รู้ทั่วถึง) อย่างนี้แล้ว ถ้าเราจงกรม ที่จงกรม
ในสมัยนั้น นั่น เป็นที่จงกรมอริยะของเรา ถ้าเรายืน ที่ยืนในคราวนั้น นั่น
เป็นที่ยืนอริยะของเรา ถ้าเรานั่ง ที่นั่งในครั้งนั้น นั่น เป็นอาสนะอริยะ
ของเรา ถ้าเรานอน ที่นอนในคราวนั้น นั่น เป็นอุจจาสยนมหาสยนะของเรา
นี้แลพราหมณ์ อุจจาสยนมหาสยนะอริยะ ซึ่งเรามีพอการ หาได้ไม่ยาก
ได้อย่างไม่ฝืดเคืองในบัดนี้
น่าอัศจรรย์ พระโคดมผู้เจริญ ไม่เคยมี. . .อันอุจจาสยนมหาสยนะ
อริยะเช่นนี้ คนอื่นใครเล่าจักมีพอการ หาได้ไม่ยาก ได้อย่างไม่ฝืดเคือง เว้น
แต่พระโคดมผู้เจริญ ดีจริงๆ พระโคดมผู้เจริญ ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญ ทรง
จำข้าพระองค์ทั้งหลายไว้ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะแล้ว ตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ไป.
จบเวนาคสูตรที่ ๓
อรรถกถาเวนาคสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเวนาคสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
จาริกมี ๒ อย่าง
บทว่า โกสเลสุ ได้แก่ ในชนบทที่มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า จาริก
จรมาโน ได้แก่ (พระผู้มีพระภาคเจ้า ) เสด็จพุทธะดำเนินไปสู่ทางไกล.
ธรรมดาว่า การเสด็จจาริกของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่ ๒ อย่างคือ การเสด็จ
จาริกอย่างรีบด่วน ๑ การเสด็จจาริกอย่างไม่รีบด่วน ๑. บรรดาการ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 306
เสด็จจาริก ๒ อย่างนั้น การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นบุคคลผู้ควรจะ
แนะนำให้รู้ได้แม้ในที่ไกลแล้ว ด่วนเสด็จไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะสอน
บุคคลนั้นให้รู้ ชื่อว่า การเสด็จจาริกอย่างรีบด่วน. การเสด็จจาริก
อย่างรีบด่วนนั้น พึงเห็นในเวลาที่เสด็จไปต้อนรับพระมหากัสสปะเป็นต้น.
ส่วนการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงอนุเคราะห์โลกด้วยพุทธกิจ มีการ
เที่ยวบิณฑบาตเป็นต้น เสด็จไปตามลำดับหมู่บ้านวันละหนึ่งโยชน์ สองโยชน์
ชื่อว่า การเสด็จจาริกอย่างไม่รีบด่วน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอา
การเสด็จจาริกอย่างไม่รีบด่วนนี้จึงตรัสคำนี้ว่า จาริกญฺจรมาโน. ก็กถาว่า
ด้วยการเสด็จจาริก ได้กล่าวไว้แล้วโดยพิสดารในอัมพัฏฐสุตตวรรณนา ใน
อรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ สุมังคลวิลาสินี.
บ้านพราหมณ์
บทว่า พฺราหฺมณคาโม ความว่า หมู่บ้านที่พราหมณ์ทั้งหลายมาสโมสร
กันก็ดี หมู่บ้านที่พราหมณ์ทั้งหลายมาบริโภคก็ดี เรียกว่า หมู่บ้านพราหมณ์
(ทั้งนั้น). ในที่นี้ หมู่บ้านที่พราหมณ์ทั้งหลายมาสโมสรกัน ประสงค์เอาว่า
เป็นหมู่บ้านพราหมณ์. บทว่า ตทวสริ คือ เสด็จไปในหมู่บ้านพราหมณ์นั้น
อธิบายว่า เสด็จถึงแล้ว. ส่วนการประทับอยู่มิได้กำหนดไว้ในที่นี้. เหตุนั้น จึง
ควรทราบว่า ในที่ไม่ไกลหมู่บ้านพราหมณ์นั้น มีไพรสณฑ์แห่งหนึ่งซึ่งสมควร
แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระศาสดาเสด็จไปยังไพรสณฑ์นั้น.
บทว่า อสฺโสสุ ความว่า (พราหมณคหบดีทั้งหลาย) ฟัง คือ ได้
เข้าไป ได้แก่ทราบตามกระแสเสียงที่เปล่งออกเป็นคำพูดที่ถึงโสตทวาร. ศัพท์
ว่า โข เป็นนิบาต ใช้ในความหมายแห่งอวธารณะ (ห้ามความอื่น) หรือใน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 307
ความหมายเพียงทำบทให้เต็ม. บรรดาความหมาย ๒ อย่างนั้น ด้วยความหมาย
แห่งอวธารณะ พึงทราบเนื้อความดังนี้ว่า พราหมณคหบดีทั้งหลายได้ยินแล้ว
ทีเดียว พราหมณคหบดีเหล่านั้นมิได้มีอันตรายแห่งการฟังอะไรเลย. และ
ในการทำบทให้เต็ม (ปทปูรณะ) พึงทราบแต่เพียงว่าเป็นความสละสลวยแห่ง
พยัญชนะเท่านั้น.
ความหมายของสมณะ
บัดนี้ เพื่อจะประกาศเนื้อความที่พราหมณคหบดีทั้งหลายได้ฟังแล้ว
พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวคำว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม เป็นต้นไว้.
ในบทเหล่านั้น พึงทราบความว่า บุคคลชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะมีบาปอัน
สงบแล้ว. ศัพท์ว่า ขลุ เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่า ได้ฟังสืบ ๆ มา.
บทว่า โภ เป็นเพียงพราหมณคหบดีเหล่านั้นร้องเรียกกันและกัน. บทว่า
โคตโม เป็นบทแสดงถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอำนาจโคตร. เหตุนั้น
ในบทว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม นี้ พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า
ผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณะผู้โคตมโคตร. ส่วนบทว่า สกฺยปุตฺโต นี้
เป็นบทแสดงถึงตระกูลอันสูงส่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า สกฺยกุลา
ปพฺพชิโต เป็นบทแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผนวชด้วยศรัทธา. มีคำ
อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ถูกความเสื่อมอะไรเลยครอบงำ ทรงละตระกูล
นั้นที่ยังไม่เสื่อมสิ้นเลย ทรงผนวชด้วยศรัทธา.
บทว่า ต โข ปน เป็นทุติยาวิภัติใช้ในความหมายบ่งบอกว่าเป็น
อย่างนี้. อธิบายว่า ก็ของพระโคดมผู้เจริญนั้นแล. บทว่า กลฺยาโณ
ได้แก่ ประกอบด้วยคุณอันงาม มีคำอธิบายว่า ประเสริฐที่สุด. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 308
กิตฺติสทฺโท ได้แก่ เกียรตินั่นเองหรือเสียงชมเชย. บทว่า อพฺภุคฺคโต
ได้แก่ ระบือไปถึงเทวโลก. ถามว่า กิตติศัพท์ระบือไปอย่างไร. ตอบว่า
ระบือไปว่า อิติปิ โส ภควา ฯ เป ฯ พุทฺโธ ภควา. ในพระบาลีนั้น
มีบทสัมพันธ์ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระอรหันต์ แม้เพราะเหตุนี้
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เพราะเหตุนี้ ฯลฯ เป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้
เพราะเหตุนี้. มีคำอธิบายว่า เพราะเหตุนี้ด้วย เพราะเหตุนี้ด้วย. ในพระ-
พุทธคุณนั้น ท่านตั้งมาติกาไว้โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพึง
ทราบว่า เป็นพระอรหันต์ ด้วยเหตุเหล่านี้คือ
๑. เพราะเป็นผู้ไกล (จากกิเลส)
๒. เพราะทรงทำลายข้าศึกทั้งหลาย
๓. เพราะทรงหักซี่กำทั้งหลาย
๔. เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น
๕. เพราะไม่มีความลับในการทำบาป
ดังนี้ แล้วขยายบทเหล่านี้ทุกบททีเดียว ให้พิสดารในพุทธานุสตินิเทศ
ในปกรณ์พิเศษชื่อวิสุทธิมรรค. นักศึกษาพึงถือเอาความพิสดารของบท
เหล่านั้นจากปกรณ์พิเศษ ชื่อวิสุทธิมรรคนั้นเทอญ.
บทว่า โส อิม โลก ความว่า พระโคดมผู้เจริญนั้น ... โลกนี้.
ต่อไปนี้ จะแสดงคำที่จะพึงกล่าว. บทว่า สเทวก ได้แก่ (สัตว์โลก)
พร้อมทั้งเทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า สเทวกะ (สัตว์โลก) พร้อมทั้งมารอย่างนี้
ชื่อว่า สมารกะ (สัตว์โลก) พร้อมทั้งพรหม ชื่อว่า สพรหมกะ หมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ ชื่อว่า สัสสมณพราหมณี หมู่สัตว์ที่ชื่อว่า ปชา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 309
เพราะมีตัวตนเกิดจากน้ำ ซึ่งปชานั้น ปชาพร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ชื่อว่า สเทวมนุสสะ. บรรดาคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า สเทวกะ พึงทราบว่า
มุ่งถึงเทวดาชั้นกามาจร ๕ ชั้น ด้วยคำว่า สมารกะ พึงทราบว่า มุ่งถึงเทวดา
ชั้นกามาวจรชั้นที่ ๖. ด้วยคำว่า สพรหมกะ พึงทราบว่า มุ่งถึงพรหม. ด้วย
คำว่า สัสสมณพรามณี พึงทราบว่า มุ่งถึงสมณพราหมณ์ผู้เป็นข้าศึกศัตรู
ต่อพระศาสนา และมุ่งถึงสมณพราหมณ์ผู้มีบาปอันสงบแล้ว ผู้ลอยบาปแล้ว.
ด้วยคำว่า ปชา พึงทราบว่า มุ่งถึงสัตว์โลก. ด้วยคำว่า สเทวมนุสสะ
พึงทราบว่า มุ่งถึงสมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือ. ในที่นี้ สัตว์โลกพร้อมทั้ง
โอกาสโลก พึงทราบว่าท่านถือเอาแล้วด้วย ๓ บท สัตว์โลกคือหมู่สัตว์ พึง
ทราบว่าท่านถือเอาแล้วด้วย ๒ บท ดังพรรณนามาฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง โลกชั้นอรูปาวจร ท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า สเทวกะ
เทวโลกชั้นกามาวจร ๖ ชั้น ท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า สมารกะ โลกของ
รูปพรหม ท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า สพรหมกะ มนุษยโลกพร้อมทั้งบริษัท
๔ หรือสมมติเทพ หรือสัตว์โลกทั้งหมดที่เหลือ ท่านถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า
สัสมณพราหมณะ เป็นต้น. ฝ่ายพระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า บทว่า
สเทวก ได้แก่ โลกที่เหลือพร้อมทั้งเทวดาทั้งหลาย. บทว่า สมารก ได้แก่
โลกที่เหลือพร้อมทั้งมาร. บทว่า สพฺรหฺมก ได้แก่ โลกที่เหลือพร้อมทั้ง
พรหม. เพื่อจะประมวลสัตว์ที่เข้าถึงภพ ๓ ทั้งหมดไว้ใน ๓ บท ด้วยอาการ
๓ แล้วกำหนดถือเอาอีกด้วย ๒ บท ท่านจึงกล่าวว่า สสฺสมณพฺราหฺมณึ
ปช สเทวมนุสฺส ดังพรรณนามานี้. ท่านกำหนดถือเอาธาตุ ๓ นั่นแล
โดยอาการนั้น ๆ ด้วยบท ๕ อย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 310
บทว่า สย ในคำว่า สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทติ มี
ความว่า ด้วยพระองค์เอง คือ ไม่มีคนอื่นแนะนำ. บทว่า อภิญฺา แปลว่า
ด้วยอภิญญา อธิบายว่า ทรงรู้ด้วยพระญาณอันยิ่ง. บทว่า สฺจฉิกตฺวา คือ
ทรงทำให้ประจักษ์ชัด. ท่านทำการปฎิเสธการคาดคะเนเป็นต้น ด้วยบทว่า
สจฺฉิกตฺวา นั้น. บทว่า ปเวเทติ คือ ทรงให้รู้ ได้แก่ทรงให้ทราบ คือ
ทรงประกาศ.
เบื้องต้น - ท่ามกลาง - ที่สุด
บทว่า โส ธมฺม เทเสติ อาทิกลฺยาณ ฯ ล ฯ ปริโยสานกลฺยาณ
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงอาศัยพระกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ถึงจะ
ทรงงด (พระธรรมเทศนาไว้ชั่วคราว) แล้วทรงแสดงความสุขอันเกิดจากวิเวก
อย่างยอดเยี่ยม.๑ ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความสุขอันเกิด
จากวิเวกนั้นน้อยบ้าง มากบ้าง ก็ทรงแสดงเฉพาะประการที่มีความงามใน
เบื้องต้น เป็นต้นเท่านั้น มีคำอธิบายว่า ทรงแสดงทำให้งามคือดี ได้แก่
ไม่ให้มีโทษเลย ทั้งในเบื้องต้น ทรงแสดงทำให้งามคือดี ได้แก่ไม่ให้มีโทษเลย
ทั้งในท่ามกลางทั้งในที่สุด. ในข้อนั้นมีอธิบายว่า เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
ของเทศนามีอยู่ เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของศาสนา (คำสอน) ก็มีอยู่.
สำหรับเทศนาก่อน ในคาถา ๔ บท บทที่ ๑ ชื่อว่า เป็นเบื้องต้น
สองบทจากนั้นชื่อว่า เป็นท่ามกลาง บาทเดียวในตอนท้ายชื่อว่า เป็นที่สุด.
๑. ปาฐะว่า หิตฺวาปิ อนุตฺตร วิเวกสุข เทเสติ ฏิกาจารย์ได้ขยายความออกไปว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า กำลังทรงแสดงธรรม ขณะที่บริษัทให้สาธุการ หรือพิจารณาธรรม ตามที่ได้ฟังแล้ว
จะทรงงดแสดงธรรม ชั้นต้นไว้ชั่วคราวก่อน ทรงเข้าผลสมาบัติ และทรงออกจากสมาบัติ ตาม
ที่ทรงกำหนดไว้แล้ว จึงจะทรงแสดงธรรม ต่อจากที่ได้หยุดพักไว้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 311
สำหรับพระสูตรที่มีอนุสนธิเดียว คำขึ้นต้นเป็นเบื้องต้น คำลงท้ายว่า อิทมโวจ
เป็นที่สุด ระหว่างคำขึ้นต้นและคำลงท้ายทั้งสองเป็นท่ามกลาง. สำหรับ
พระสูตรหลายอนุสนธิ อนุสนธิแรกเป็นเบื้องต้น อนุสนธิสุดท้ายเป็นที่สุด
อนุสนธิเดียวบ้าง สองอนุสนธิบ้าง อนุสนธิมาก (กว่า ๑ หรือ ๒) บ้าง
ในตอนกลางเป็นท่ามกลางทั้งหมด.
สำหรับศาสนา (คำสอน) ศีล สมาธิ และวิปัสสนา ชื่อว่า เป็น
เบื้องต้น. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็อะไรเป็น
เบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ศีลที่บริสุทธิ์ดี และทิฏฐิที่ตรง (สัมมา-
ทิฎฐิ) เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายเป็นต้นดังนี้. ส่วนอริยมรรคที่ตรัส
ไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้วมีอยู่ ดังนี้
ชื่อว่า เป็นท่ามกลาง ผลและนิพพาน ชื่อว่า เป็นที่สุด. ผล ท่านกล่าวว่า
เป็นที่สุด ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุนั้นแล ท่านจง
ประพฤติพรหมจรรย์ นั่นเป็นฝั่ง นั่นเป็นที่สุด. นิพพาน ท่านกล่าวว่าเป็นที่สุด
ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่หยั่งลง
ในนิพพาน มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด.
ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดของเทศนา.
เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม ก็ทรงแสดงศีลในเบื้องต้น
ทรงแสดงมรรคในท่ามกลาง แล้วทรงแสดงนิพพานในที่สุด. ด้วยเหตุนั้น
พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงธรรมงามใน
เบื้องต้น งามในท่ามกลาง (และ) งามในที่สุด. เพราะเหตุนั้น พระธรรม
กถึกแม้รูปอื่น ๆ เมื่อจะกล่าวธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 312
ก็พึงแสดงศีลในเบื้องต้น พึงแสดง
มรรคในท่ามกลาง พึงแสดงนิพพานใน
ที่สุด นี้ ชื่อว่า เป็นหลักที่ดีของ
พระธรรมกถึก.
บทว่า สาตฺถ สพฺยญฺชน ความว่า ก็เทศนาของพระธรรมกถึก
รูปใด อาศัยการพรรณนาถึงข้าวต้ม ข้าวสวย หญิงและชายเป็นต้น (อาศัย
สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุจูงใจจึงแสดง) พระธรรมกถึกนั้น ไม่ชื่อว่าแสดงธรรมที่
พรั่งพร้อมไปด้วยอรรถ (ประโยชน์) แต่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเทศนา
เห็นปานนั้นเสีย ทรงแสดงเทศนาที่อาศัยสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น เพราะเหตุนั้น
พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ทรงแสดงธรรมที่พรั่งพร้อมด้วยอรรถ(ประโยชน์).
ส่วนเทศนาของพระธรรมกถึกรูปใด ประกอบไปด้วยพยัญชนะประการ
เดียวเป็นต้นบ้าง มีพยัญชนะหายไปทุกตัวบ้าง ทิ้งพยัญชนะทั้งหมดและ
นิคหิตเป็นพยัญชนะไปหมดบ้าง เทศนาพระธรรมกถึกรูปนั้น ชื่อว่า
ไม่มีพยัญชนะ เพราะมีพยัญชนะไม่ครบเหมือนภาษาของพวกชาวป่า มีชาว
ทมิฬ ชาวกิรายตกะ และชาวโยนกเป็นต้น. แต่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงธรรม การทำพยัญชนะให้บริบูรณ์ ไม่ทรงลบล้างพยัญชนะทั้ง ๑๐
ชนิดที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ความรู้เรื่องพยัญชนะมี ๑๐ ประการ
คือ สิถิล ๑ ธนิต ๑ ทีฆะ ๑ รัสสะ ๑
ลหุ ๑ ครุ ๑ นิคหิต ๑ สัมพันธ์ ๑
ววัฎิตะ ๑ วิมุตตะ ๑
เพราะเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ทรงแสดงธรรมพรั่งพร้อมไป
ด้วยพยัญชนะ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 313
คำว่า เกวล ในบทว่า เกวลปริปุณฺณ นี้ เป็นคำใช้แทนคำว่า
สกล หมายถึงทั้งหมด. บทว่า ปริปุณฺณ หมายถึงไม่ขาดไม่เกิน. มีคำอธิบาย
ดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมบริบูรณ์ทั้งหมดทีเดียว แม้เทศนา
เรื่องเดียวที่ไม่บริบูรณ์ก็ไม่มี. บทว่า ปริสุทฺธ ได้แก่ ไม่มีอุปกิเลส.
อธิบายว่า พระธรรมกถึกรูปใดแสดงธรรมด้วยหวังว่า เราจักได้ลาภหรือ
สักการะเพราะอาลัยธรรมเทศนานี้ เทศนาของพระธรรมกถึกรูปนั้น ชื่อว่า
ไม่บริสุทธิ์. แต่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงมุ่งหวังโลกามิส ทรงมีพระทัย
อ่อนโยนด้วยการแผ่ประโยชน์เกื้อกูลด้วยการเจริญเมตตา ทรงแสดงธรรมด้วย
พระทัยที่ดำรงอยู่ในการยกย่อง เพราะเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า
ทรงแสดงธรรมบริสุทธิ์. บทว่า พฺรหฺมจริย. ในคำว่า พฺรหฺมจริย ปกาเสติ
นี้ ได้แก่ ศาสนา (คำสอน) ทั้งหมดที่สงเคราะห์ลงในไตรสิกขา เพราะ
เหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ทรงประกาศพรหมจรรย์.
พึงเห็นเนื้อความในบทนี้อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น ฯลฯ บริสุทธิ์ และเมื่อทรงแสดงอย่างนี้ ชื่อว่า
ทรงประกาศศาสนพรหมจรรย์ทั้งสิ้นที่สงเคราะห์ลงในไตรสิกขา. บทว่า
พฺรหฺมจริย ความว่า จริยาที่ชื่อว่า เป็นพรหม เพราะหมายความว่า
ประเสริฐที่สุด อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายว่า จริยาของท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย
มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่า พรหมจรรย์.
บทว่า สาธุ โข ปน ความว่า ก็แล การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย
เป็นของดี. มีคำอธิบายว่า นำประโยชน์มาให้ นำความสุขมาให้. บทว่า
ตถารูปาน อรหต ความว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย เช่น พระโคดมผู้เจริญ
เป็นบุคคลที่เห็นได้ยาก โดยใช้เวลานานถึงหลายแสนโกฏิกัป (จึงจะได้
เห็น) มีสรีระดึงดูดใจแพรวพราวด้วยมหาปุริสลักษณะอันงามเลิศ ๓๒ ประการ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 314
ประดับประดาด้วยรัตนะ คือ อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ แวดวงด้วยพระรัศมี
ที่แผ่ซ่านออกไปประมาณหนึ่งวา น่าทัศนาไม่น้อย มีกระแสเสียงแสดงธรรม
ไพเราะยิ่งนัก ได้เสียงเรียกขาน (นาม) ว่า เป็นพระอรหันต์ในโลก เพราะ
ได้บรรลุคุณตามเป็นจริง. บทว่า ทสฺสน โหติ ความว่า แม้เพียงลืมนัยน์ตา
ที่เป็นประกายด้วยความเลื่อมใสเป็นต้นขึ้นดูก็ยังเป็นการดี เพราะทำอัธยาศัย
อย่างนี้ว่า ก็ถ้าว่า เมื่อพระพุทธเจ้า เช่น พระโคดมผู้เจริญแสดงธรรมอยู่. ด้วย
พระสุรเสียงดุจเสียงพรหมซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ เราทั้งหลายจักได้ฟังสักบท
หนึ่งไซร้ ก็จักเป็นการดียิ่งขึ้นไปอีกทีเดียว.
บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า ชาวเวนาคปุระ
ทั้งหลายละทิ้งการงานทุกอย่างมีใจยินดี. ในบทว่า อญฺชลิมฺปณาเมตฺวา นี้
มีอธิบายว่า ชนเหล่าใดเข้ากันได้กับทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายสัมมาทิฏฐิและ
มิจฉาทิฏฐิ ชนเหล่านั้นคิดอย่างนี้ว่า ถ้าพวกมิจฉาทิฏฐิจักทักท้วงพวกเราว่า
เพราะเหตุไร ท่านทั้งหลาย จึงกราบพระสมณโคดม เราทั้งหลายจักตอบพวก
มิจฉาทิฏฐินั้นว่า แม้ด้วยเหตุเพียงทำอัญชลี ก็จัดเป็นการกราบด้วยหรือ ? ถ้า
พวกสัมมาทิฏฐิจักท้วงพวกเราว่า เพราะเหตุไร ท่านทั้งหลายจึงไม่กราบ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เราทั้งหลายจักตอบว่า เพราะศีรษะกระทบพื้นดินเท่านั้น
หรือจึงจัดเป็นการกราบ แม้การประนมมือก็ถือเป็นการกราบเหมือนกันมิใช่
หรือ ?
ประกาศชื่อและโคตร
บทว่า นามโคตฺต ความว่า ชาวเวนาคปุระทั้งหลายเมื่อกล่าวว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าชื่อทัตตะเป็นบุตรของคนโน้น ชื่อมิตตะ เป็น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 315
บุตรของคนโน้น มาในที่นี้ดังนี้ ชื่อว่า ประกาศชื่อ เมื่อกล่าวว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าชื่อ วาเสฏฐะ ข้าพเจ้าชื่อ กัจจายนะ มาในที่นี้ ดังนี้
ชื่อว่า ประกาศโคตร.
เล่ากันว่า ชาวเวนาคปุระเหล่านั้นยากจน เป็นคนแก่ ทำอย่างนั้นก็
ด้วยหวังว่า เราทั้งหลายจักปรากฏด้วยอำนาจชื่อและโคตรในท่ามกลางบริษัท.
ก็แล ชาวเวนาคปุระเหล่าใดนั่งนิ่ง ชาวเวนาคปุระเหล่านั้นเป็นคนตระหนี่
เป็นคนโง่. บรรดาชนเหล่านั้น พวกที่ตระหนี่คิดว่า เมื่อเราทำการสนทนา
ปราศัยคำหนึ่ง สองคำ พระสมณโคดมก็จะคุ้นเคยด้วย เมื่อมีความคุ้นเคยจะ
ไม่ให้ภิกษาหนึ่ง สองทัพพี ก็จะไม่เหมาะ ดังนี้ เมื่อจะปลีกตัวจากการสนทนา
ปราศัยนั้นจึงนั่งนิ่ง. พวกคนโง่นั่งนิ่งอยู่ในที่แห่งหนึ่งเหมือนก้อนดินที่ขว้างลง
เพราะความที่ตนเป็นคนไม่รู้. บทว่า เวนาคปุริโก ได้แก่ชาวเมืองเวนาคบุรี.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า ชาวเมืองเวนาคบุรีมองดูพระสรีระของพระ-
ตถาคตเจ้า ตั้งแต่ปลายพระบาทขึ้นไปจนถึงปลายพระเกศา ก็เห็นพระสรีระ
ของพระตถาคตเจ้าประดับประดาด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ซึ่งรุ่งเรือง
ด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ แวดล้อมด้วยพระพุทธรัศมีสีเข้ม ๖ สี ซึ่งเปล่งออกจาก
พระสรีระไปครอบคลุมประเทศ โดยรอบได้ ๘๐ ศอก จึงเกิดความพิศวง
งงงวย เมื่อจะกล่าวสรรเสริญคุณจึงได้กล่าวอย่างนี้ คือ ได้กล่าวคำมี อาทิว่า
อจฺฉริย โภ โคตม.
จิตผ่องใสทำให้อินทรีย์ ๕ ผ่องใส
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวญฺจิท นี้ เป็นคำบ่งถึงการกำหนด
ประมาณยิ่ง. บทว่า ยาวญฺจิท นั้น สัมพันธ์เข้ากับบทว่า วิปฺปสนฺน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 316
และ(อินทรีย์ทั้งหลาย) ผ่องใสเพียงใด ชื่อว่า ผ่องใสอย่างยิ่ง อธิบายว่า ผ่องใส
ยิ่งนัก. บทว่า อินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์ ๖ มีจักษุเป็นต้น ก็ความที่
อินทรีย์ ๖ นั้นผ่องใสได้ปรากฏแล้วแก่พราหมณ์วัจฉโคตร เพราะได้เห็น
ความที่โอกาสที่อินทรีย์ ๕ ตั้งอยู่ผ่องใส. ก็เพราะเหตุที่ความผ่องใสนั้นย่อม
ผ่องใสที่ใจนั่นเอง เพราะสำหรับบุคคลผู้มีจิตไม่ผ่องใส ก็จะมีอินทรีย์ไม่ผ่องใส
ฉะนั้น แม้ความผ่องใสแห่งมนินทรีย์ก็ได้ปรากฏแก่พราหมณ์วัจฉโคตรนั้น.
พราหมณ์วัจฉโคตรมุ่งเอาความที่อินทรีย์ ๖ ผ่องใส อย่างนี้นั้น จึงกล่าวว่า
วิปฺปสนฺนานิ อินฺทฺริยานิ.
บทว่า ปริสุทธฺโธ ได้แก่ ไม่มีมลทิน. บทว่า ปริโยทาโต ได้แก่
ผุดผ่อง. บทว่า สารท พทรปณฺฑฺ ได้แก่ ผลพุทราสุกเต็มที่ซึ่งเกิดใน
สรทกาล. แท้จริง ผลพุทราสุกจัดนั้น มีทั้งใสทั้งผุดผ่อง. บทว่า
ตาลปกฺก ได้แก่ ผลตาลสุกจัด. บทว่า สมฺปติ พนฺธนา ปมุตฺต
ได้แก่ หลุดจากขั้วในขณะนั้นนั่นเอง. อธิบายว่า เนื้อที่เพียง ๔ องคุลีของ
ผลตาลสุกนั้นที่บุคคลปลิดออกจากขั้วทะลาย แล้วหงายหน้าขึ้นวางไว้บนแผ่น-
กระดาน ย่อมปรากฏเป็นสีสดใสผุดผ่องแก่บุคคลผู้แลดู. พราหมณ์วัจฉโคตร
หมายเอาผลตาลสุกนั้นแล จึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า เนกฺข ชมฺโพนท ได้แก่ แท่งทองชมพูนุทซึ่งมีสีแดงกล่ำ.
บทว่า ทกฺขกมฺมารปุตฺตสุปริกมฺมกต ได้แก่ อันบุตรนายช่างทองผู้ฉลาด
ตกแต่งไว้ดีแล้ว. บทว่า อุกฺกามุเข สุกุลสมฺปหฏฺ ความว่า ทองชมพูนุท
อันนายช่างทองผู้มีฝีมือ หลอมในเตาของนายช่างทองแล้วขัดอย่างดี ด้วยการ
ตี การรีด และการบุนวด อธิบายว่า ขัดให้นวดได้ที่. บทว่า ปณฺฑุกมฺพเล
นิกฺขิตฺต ความว่า อันนายช่างทองผู้มีฝีมือ ใช้ไฟลน ขัดถูด้วยเขี้ยวเสือ-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 317
เหลือง เอายางไม้ทาแล้ววางไว้บนผ้ากัมพลสีแดง. บทว่า ภาลเต ได้แก่
เปล่งแสงเพราะมีแสงเกิดเอง. บทว่า ตปเต ได้แก่ ส่องสว่าง เพราะกำจัด
ความมืด. บทว่า วิโรจติ ได้แก่ แผ่ไพโรจน์โชติช่วง อธิบายว่า สง่างาม.
ในบทว่า อุจฺจาสยนมหาสยนานิ นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ ที่นอน
(สูง) เกินขนาด ชื่อว่า ที่นอนสูง. ที่นอนที่เป็นอกัปปิยภัณฑ์ (ของที่ไม่ควร
แก่สมณะ) ทั้งยาวและกว้าง ชื่อว่า ที่นอนใหญ่. บัดนี้ เมื่อจะแสดง
ที่นอนสูง และที่นอนใหญ่นั้น พราหมณ์วัจฉโคตรจึงกล่าวคำว่า เสยฺยถีท
อาสนฺทิ เป็นต้น.
อธิบายเรื่องอาสนะเป็นต้น
ในคำว่า อาสนฺทิ เป็นต้นนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ ที่ชื่อว่า
อาสันทิ ได้แก่ อาสนะ (ที่นั่ง ) เกินขนาด ที่ชื่อว่า บัลลังก์ ได้แก่
บัลลังก์ (เตียงหรือแท่น) ที่เขาทำโดยติดรูปสัตว์ร้ายไว้ที่เท้า. ที่ชื่อว่า
โคณกะ ได้แก่ ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่ที่มีขนยาว. เล่ากันว่า ขนของผ้า
โกเชาว์ผืนใหญ่นั้น (ยาว) เกิน ๔ นิ้ว. ที่ชื่อว่า จิตติกา ได้แก่ เครื่อง
ลาดขนแกะวิจิตรด้วยรัตนะ. ที่ชื่อว่า ปฏิกา ได้แก่ เครื่องลาดสีขาว
ทำจากขนแกะ. ที่ชื่อว่า ปฏลิกา ได้แก่ เครื่องลาดขนแกะมีดอกหนา ซึ่ง
เรียกว่า แผ่นมะขามป้อม บ้าง. ที่ชื่อว่า ตูลิกา ได้แก่ เครื่องลาดทำจาก-
สำลี ซึ่งยัดเต็มด้วยสำลีชนิดใดชนิดหนึ่งในสำลี ๓ ชนิด. ที่ชื่อว่า วิกติกา
ได้แก่เครื่องลาดขนแกะซึ่งวิจิตรด้วยรูปราชสีห์ และเสือโคร่งเป็นต้น . ที่ชื่อว่า
อุทธโลมี ได้แก่ เครื่องลาดขนแกะที่มีชายทั้งสองข้าง. อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า เครื่องลาดขนแกะที่มีดอกนูนขึ้นข้างเดียว. ที่ชื่อว่า เอกันตโลมี
ได้แก่ เครื่องลาดขนแกะที่มีชายข้างเดียว. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เครื่อง-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 318
ลาดขนแกะที่มีดอกนูนขึ้นทั้งสองข้าง. ที่ชื่อว่า กัฏฐิสสะ ได้แก่ เครื่องลาด
ทำจากไหม เย็บติดด้วยรัตนะ. ที่ชื่อว่า โกเสยยะ ได้แก่ เครื่องลาดคทำจาก
เส้นไหม เย็บติดด้วยรัตนะเหมือนกัน. ที่ชื่อว่า กุตตกะ ได้แก่ เครื่องลาด
ขนแกะขนาด ที่นางระบำ ๑๖ นางใช้ยืนร่ายรำได้. ที่ชื่อว่า เครื่องลาดช้าง
เป็นต้น ได้แก่เครื่องลาดที่ลาดบนหลังช้างเป็นต้น และเครื่องลาดที่ทำแสดง
เป็นรูปช้างเป็นต้น. ที่ชื่อว่า อชินัปปเวณิ ได้แก่ เครื่องลาดที่เอาหนังเสือ
ดาวมาเย็บทำโดยขนาดเท่าเตียง. บทที่เหลือมีความหมายดังกล่าวแล้วในตอน
ต้นนั่นเอง.
บทว่า นิกามลาภี แปลว่า (พระสมณโคดมผู้เจริญ) มีปกติได้
ตามปรารถนา คือ มีปกติได้ที่นอนสูงและใหญ่ตามที่ต้องการ ๆ. บทว่า
อกิจฺฉลาภี แปลว่า มีปกติได้โดยไม่ยาก. บทว่า อกสิรลาภี แปลว่า
มีปกติได้ที่นอนอันไพบูลย์ คือ มีปกติได้ที่นอนใหญ่ พราหมณ์วัจฉโคตร
กล่าวหมายเอาว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เห็นจะได้ที่นอนที่โอฬารทีเดียว.
เล่ากันว่า พราหมณ์นี้ตระหนักในการนอน (ชอบนอน). เขาเห็นว่า อินทรีย์
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผ่องใสเป็นต้นสำคัญอยู่ว่า พระสมณโคดมนี้ นั่งและ
นอนบนที่นอนสูง และที่นอนใหญ่เห็นปานนี้เป็นแน่แท้ ด้วยเหตุนั้น อินทรีย์
ทั้งหลายของท่านจึงผ่องใส ผิวพรรณจึงบริสุทธิ์ผุดผ่อง จึงได้กล่าวสรรเสริญ
คุณของเสนาสนะนี้.
ในบทว่า ลทฺธา จ ปน น กปฺปนฺติ นี้ มีอธิบายว่า
เพราะพระบาลีว่า เครื่องลาดบางอย่างใช้ได้ อธิบายว่า เครื่องลาดแกมไหมล้วน
จะปูลาดแม้บนเตียงก็ใช้ได้ เครื่องลาดทำด้วยผ้าขนสัตว์เป็นต้น จะปูลาดโดย
ใช้เป็นเครื่องปูพื้นก็ใช้ได้ จะตัดเท้าของอาสันทิ (แล้วนั่ง) ก็ได้ จะทำลาย
รูปสัตว์ร้ายของแท่น (แล้วนั่ง) ก็ได้ จะฉีกอาสนะยัดนุ่นเอามาทำเป็นหมอน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 319
ก็ได้ ดังนี้ เครื่องลาดแม้เหล่านี้จึงควรโดยวิธีเดียวกัน แต่เพราะอาศัยสิ่งที่
เป็นอกัปปิยะ เครื่องลาดทั้งหมดนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไม่สนควร.
บทว่า วนนฺตเยว ปจารยามิ ความว่า เราตถาคตเข้าไปสู่ป่าทีเดียว. บทว่า
ยเทว คือ ยานิเยว (แปลว่า เหล่าใด). บทว่า ปลฺลงฺก อาภุชิตฺวา คือ
นั่งให้อาสนะติดกับขาอ่อนชิดกันไปโดยชอบ. บทว่า อุชุ กาย ปณิธาย
คือ ทั้งกายให้ตรง ให้กระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อ เอาปลายจรดปลายกัน. บทว่า
ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวา ความว่า ตั้งสติมุ่งตรงต่อพระกัมมัฏฐาน หรือ
ทำการกำหนดและการนำออก (จากทุกข์) ให้ปรากฏชัด. สมจริงดังคำที่ท่าน
กล่าวไว้ดังนี้ ว่า ศัพท์ว่า ปริ มีความหมายว่า กำหนด ศัพท์ว่า มุข
มีความหมายว่า นำออก ศัพท์ว่า สติ มีความหมายว่า ตั้งมั่น ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า. บทว่า อุปสมฺปชฺช
วิหรามิ ความว่า เราตถาคตได้ คือ ทำให้ประจักษ์อยู่.
พระพุทธเจ้าเข้าฌานเดินจงกรม
บทว่า เอวมฺภูโต ความว่า (เราตถาคต) เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย
ฌานใดฌานหนึ่งในบรรดาฌานมีปฐมฌานเป็นต้นอย่างนี้. บทว่า ทิพฺโพ
เม เอโส ตสฺมึ สมเย จงฺกโม โหติ ความว่า ก็การจงกรมของเรา
ตถาคตผู้เข้ารูปฌาน ๔ เดินจงกรมอยู่ ชื่อว่า เป็นการจงกรมทิพย์ แม้เมื่อ
เราตถาคตออกจากสมาบัติเดินจงกรม การจงกรม (นั้น) ชื่อว่า เป็นการ
จงกรมทิพย์เหมือนกัน. แม้ในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนเป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.
ในการอยู่ ๒ อย่างนอกนี้ก็เหมือนกัน. บทว่า โส เอว ปชานามิ ราโค
เม ปหีโน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงราคะที่ละได้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 320
ด้วยอรหัตมรรค ณ มหาโพธิบัลลังก์นั่นเอง จึงตรัสว่า โส เอว ปชานามิ
ราโค เม ปหีโน ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัย นี้แล. อนึ่ง ถามว่า
ด้วยบทนี้เป็นอันตรัสถึงอะไร (ตอบว่า) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงการพิจารณา
(ปัจจเวกขณญาณ). พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงผลสมาบัติด้วยการพิจารณา
แท้จริง อิริยาบถมีการจงกรมเป็นต้น ของพระอริยะผู้เข้าผลสมาบัติก็ดี ผู้ออก
จากสมาบัติก็ดี ชื่อว่า เป็นการจงกรมของพระอริยะเป็นต้น. บทที่เหลือ
ในสูตรนี้ ง่ายทั้งหมดแล.
จบอรรถกถาเวนาคสูตรที่ ๓
๔. สรภสูตร
ว่าด้วยอฐานะ ๓ อย่าง
[๕๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ
ใกล้กรุงราชคฤห์ สมัยนั้นปริพาชกชื่อสรภะ เป็นผู้เลี่ยงไปจากพระธรรม-
วินัยนี้ไม่นาน เขากล่าววาจาอย่างนี้ในประชุมชนในกรุงราชคฤห์ว่า ธรรม
ของพวกสมณสักยบุตร เรารู้ทั่วแล้วละ ก็เพราะเรารู้ทั่วธรรมของพวก
สมณสักยบุตร เราจึงเลี่ยงมาเสียจากธรรมวินัยนั้นอย่างนี้
ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเวลาเช้าครองสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าสู่
กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ภิกษุเหล่านั้นได้ยินสรภปริพาชกกล่าววาจา
อย่างนี้ในประชุมชนในกรุงราชคฤห์ว่า ธรรมของพวกสมณสักยบุตร เรารู้
ทั่วแล้วละ ก็เพราะเรารู้ทั่วธรรมของพวกสมณสักยบุตร เราจึงเลี่ยงมา
เสียจากธรรมวินัยนั้นอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้น ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 321
ราชคฤห์แล้ว ภายหลังอาหารกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วกราบทูลพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปริพาชกชื่อสรภะ เลี่ยงไปจาก
พระธรรมวินัยนี้ไม่นาน เขากล่าววาจาอย่างนี้ในประชุมชนในกรุงราชคฤห์ว่า
ธรรมของพวกสมณสักยบุตร ฯลฯ จากธรรมวินัยนั้นอย่างนี้ สาธุ ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระกรุณาโปรดเสด็จไปอารามปริพาชกแทบฝั่งแม่น้ำ
สัปปินีที่สรภปริพาชกอยู่เถิด
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ ครั้นเวลาเย็น เสด็จ
ออกจากที่เร้นไปอารามปริพาชกแทบฝั่งแม่น้ำสัปปินี ที่สรภปริพาชกอยู่ ครั้น
ถึงแล้วประทับบนอาสนะที่เขาจัดไว้แล้ว ครั้นประทับแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามสรภปริพาชกว่า สรภะ ได้ยินว่า ท่านกล่าวอย่างนี้จริงหรือว่า
ธรรมของพวกสมณสักยบุตร ฯลฯ จากธรรมวินัยนั้นอย่างนี้
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว สรภปริพาชกนิ่งเสีย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามสรภปริพาชกครั้งที่ ๒ ว่า พูดเถิดสรภะ
ธรรมของสมณสักยบุตร ท่านรู้ทั่วว่าอย่างไร ? ถ้าคำของท่านจักไม่บริบูรณ์
เราจักช่วยให้บริบูรณ์ แต่ถ้าคำของท่านจักบริบูรณ์ไซร้ เราก็จักอนุโมทนา
แม้ครั้งที่ ๒ สรภปริพาชกก็คงนิ่งอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม. . .เป็นครั้งที่ ๓ ว่า สรภะ ธรรมของ
สมณสักยบุตร เราบัญญัติเอง พูดเถิด สรภะ ธรรมของสมณสักยบุตร
ท่านรู้ทั่วว่าอย่างไร ถ้าคำของท่านจักไม่บริบูรณ์ เราจักช่วยให้บริบูรณ์ แต่
ถ้าคำของท่านจักบริบูรณ์ไซร้ เราก็จักอนุโมทนา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 322
แม้ครั้งที่ ๓ สรภปริพาชกก็คงนิ่ง
ทีนี้ ปริพาชกทั้งหลายกล่าวกะสรภปริพาชกว่า อาวุโสสรภะ ท่าน
จะพึงขอร้องข้อใดกะพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ยอมให้ข้อนั้นแก่ท่าน
พูดเถิด อาวุโสสรภะ ธรรมของพวกสมณสักยบุตร ท่านรู้ทั่วว่าอย่างไร
ถ้าคำของท่านจักไม่บริบูรณ์ พระสมณโคดมจักช่วยให้บริบูรณ์ แต่ถ้าคำของ
ท่านจักบริบูรณ์ไซร้ พระสมณโคดมก็จักอนุโมทนา
เมื่อปริพาชกทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว สรภปริพาชกนิ่งอั้นหมดสง่า
คอตกก้มหน้าซบเซาไม่มีปฏิภาณ นั่งอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแจ้งว่า สรภปริพาชกนิ่งอั้น
หมดสง่า คอตกก้มหน้าซบเซาไม่มีปฏิภาณแล้ว จึงตรัสกะปริพาชกเหล่านั้นว่า
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงว่าเราว่า ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ
แต่ธรรมเหล่านี้ท่านยังมิได้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้ เราจะพึงซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นใน
ข้อนั้นอย่างดี ผู้นั้นแลถูกเราซักไซ้ไล่เลียงอย่างดีเข้า ย่อมเป็นไปไม่ได้
ไม่มีทางเลยที่เขาจะไม่ตกอยู่ในฐานะ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ จะต้องพูด
กลบเกลื่อนหรือออกนอกเรื่องนอกทางไปบ้าง จะต้องแสดงความขุ่นเคือง ความ
โกรธแค้น ความน้อยใจให้ปรากฏบ้าง จะต้องนิ่งอั้นหมดสง่า คอตกก้มหน้า
ซบเซาไม่มีปฏิภาณเหมือนอย่างสรภปริพาชกบ้าง
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงว่าเราว่า ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ
แต่อาสวะเหล่านั้นของท่านยังไม่สิ้นแล้ว ดังนี้ เราจะพึงซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นใน
ข้อนั้นอย่างดี ฯลฯ เหมือนอย่างสรภปริพาชกบ้าง
ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงว่าเราว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์
อันใด ประโยชน์อันนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม ดังนี้
เราจะพึงซักไซ้ไล่เลียงผู้นั้นในข้อนั้นอย่างดี ฯลฯ เหมือนอย่างสรภปริพาชก
บ้าง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 323
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงเปล่งพระสิงหนาท ๓ วาระแล้ว เสด็จ
กลับไปทางอากาศ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วไม่ช้า ปริพาชกเหล่านั้นก็รุมกัน
ถากถางสรภปริพาชกว่า แน่ะอาวุโสสรภะ สุนัขจิ้งจอกแก่ในป่าใหญ่ทะยานใจ
ว่าจักร้องให้เหมือนเสียงราชสีห์ ก็ร้องเป็นเสียงสุนัขจิ้งจอกนั่นแหละ ร้องเป็น
เสียงสุนัขป่าอยู่นั่นเองฉันใด ท่านก็ฉันนั้นแหละ อาวุโสสรภะ ลับหลังพระ-
สมณโคดมคุยว่า ข้าจักบันลือสิงหนาท ก็...เสียงสุนัขจิ้งจอกนั่นแหละ...
เสียงสุนัขป่านั่นเอง ไก่ตัวเมียกระหยิ่มใจว่า จักขันให้เหมือนเสียงไก่ตัวผู้
ก็ ...เสียงไก่ตัวเมียอยู่นั่นฉันใด ท่านก็ฉันนั้นแหละ อาวุโสสรภะ ลับหลัง
พระสมณโคดมคุยว่า ข้าจักขัน ก็กะต๊ากนั่นเอง โค ในโรงว่าง ย่อมสำคัญว่า
เสียง ลึก ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นแหละ. อาวุโสสรภะ ลับหลังพระสมณโคดม
ก็สำคัญว่าเสียง (ของตัว) ลึก. ครั้งนั้นแล ปริพาชกเหล่านั้นต่างช่วยกันเอา
ปฏัก คือวาจาทิ่มแทงสรภปริพาชกรอบข้าง.
จบสรภสูตรที่ ๔
อรรถกถาสรภสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสรภสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ราชคเห ได้แก่ ในพระนครอันมีชื่ออย่างนี้. บทว่า คิชฺฌกูเฏ
ปพฺพเต ความว่า ภูเขานั้นมียอดเหมือนนกแร้ง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
คิชฌกูฏ เพราะนกแร้งอยู่บนยอดของภูเขานั้น. ณ ภูเขาคิชฌกูฏนั้น. ด้วย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 324
บทว่า คิชฺฌกูเฏ นี้ ท่านแสดงถึงที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรง
ประทับอยู่ โดยเอากรุงราชคฤหเป็นโคจรคาม. อธิบายว่า เขาสร้างวิหาร
ถวายพระตถาคตเจ้าบนภูเขาคิชฌกูฏ. ฉะนั้น คำว่า คิชฺฌกูฏวิหาโร จึงเป็น
ชื่อของวิหารนั้น. ในสมัยนั้น ปริพาชกชื่อว่า สรภะ นี้ อยู่ ณ ที่นั้น ฉะนี้แล.
บทว่า สรโภ นาม ปริพฺพาชโก อจิรปกฺกนฺโต โหติ ความว่า
ปริพาชกผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า สรภะ บวชแล้วในศาสนานี้ ไม่นานก็เลี่ยงออกไป.
อธิบายว่า ไม่นานก็สึก.
แท้จริง เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เหล่าเดียรถีย์
พากันเสื่อมลาภ สักการะ. ลาภสักการะมากมายเกิดขึ้นแก่พระรัตนตรัย ดัง
เช่นที่พระธรรมสังคาหกาจารย์เจ้ากล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าเป็นผู้อันชนทั้งหลาย สักการะ เคารพนบนอบ บูชา
ยำเกรงแล้ว เป็นผู้ได้รับบริขาร คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจยเภสัช ส่วนอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย (และ) ปริพาชก
ทั้งหลาย ไม่มีผู้สักการะ เคารพ นับถือ บูชา และยำเกรง ไม่ได้
รับบริขาร คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัช ดังนีฺ้
อัญญเดียรถีย์ ประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น ผู้เสื่อมลาภและสักการะ
อย่างนี้ นัดประชุมในอารามของปริพาชกแห่งหนึ่ง หารือกันว่า ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย จำเดิมแต่เวลาที่พระสมณโคดมอุบัติขึ้นแล้ว พวกเรากลายเป็นผู้
เสื่อมจากลาภสักการะ ท่านทั้งหลายจงใคร่ครวญหาโทษของพระสมณโคดม
และสาวกของพระสมณโคดมสักข้อหนึ่ง กระจายโทษออกไป ติเตียนคำสอน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 325
ของพระสมณโคดมนั้น แล้วจักยังลาภสักการะให้เกิดขึ้น แก่พวกเราทั้งหลาย
อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อตรวจดูโทษ ได้พูดกันว่า พวกเราไม่สามารถจะ
มองเห็นโทษของพระสมณโคดม ในที่ ๔ สถาน คือในทวาร ๓ และอาชีวะ
๑ ได้ ท่านทั้งหลายจงละฐานะทั้ง ๔ ไว้ก่อน แล้วตรวจดูในฐานะอื่น.
ลำดับนั้น ในระหว่างพวกเดียรถีย์เหล่านั้น เดียรถีย์คนหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าไม่เห็นอุบายอย่างอื่น ก็แต่ว่า สมณะเหล่านี้ ลงประชุมกันทุกกึ่งเดือน
ปิดประตูหน้าต่าง ไม่ให้แม้แต่สามเณรเข้าไป ถึงอุปัฏฐากผู้ใกล้ชิด ก็ไม่
ได้เห็น สมณะเหล่านี้ ร่ายมายามนต์ที่ทำให้คนหลงใหล แล้วทำให้คนกลับใจ
เข้าเป็นพวก. ถ้าเราทั้งหลาย จักสามารถนำเอามายามนต์ที่ทำให้คนหลงใหล
นั้นมาได้ด้วยอุบายนี้ ลาภสักการะอันโอฬาร จักมีแก่พวกเรา. เดียรถีย์แม้
อีกคนหนึ่ง ได้ลุกขึ้นกล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน. เดียรถีย์ทั้งหมด ได้มีวาทะ
เป็นอย่างเดียวกัน. ต่อแต่นั้น เดียรถีย์ทั้งหมดพูดว่า ผู้ใดจักสามารถนำ
มายามนต์นั้นมาได้ พวกเราจักแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้า ในลัทธิของพวกเรา
ทั้งหลาย.
ลำดับนั้น พวกเดียรถีย์ถามกันตั้งแต่คนสุดท้ายขึ้นไปว่า ท่านสามารถ
ไหม ? ท่านสามารถไหม ? เมื่อส่วนมากตอบว่า ผมไม่สามารถ ผมไม่
สามารถ จึงพากันถามสรภปริพาชกว่า อาจารย์ครับ ท่านอาจารย์จักสามารถ
ไหม ? เขาตอบว่า การนำมายามนต์นี้มาไม่ใช่เรื่องหนักหนา ถ้าพวกท่าน
จักยืนยันตามถ้อยคำของตน แต่งตั้งเราเป็นหัวหน้า พวกเดียรถีย์กล่าวว่า
อย่าหนักใจเลยท่านอาจารย์ ท่านจงนำมายามนต์มาเถิด ท่านทำสำเร็จแล้ว
พวกผมแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแน่. เขาพูดว่า ผู้จะนำมายามนต์นั้นมาได้ ไม่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 326
ใช่จะสามารถนำมาได้โดยการขโมย หรือปล้นเอา แต่ต้องทำเป็นพวกเดียวกับ
สาวกของพระสมณโคดม. คือต้องไหว้สาวกของพระสมณโคดม ทำวัตรปฏิบัติ
ฉันอาหารในบาตรของสาวกแห่งพระสมณโคดมเหล่านั้น จึงจะสามารถนำมาได้
กิริยาของคนเช่นนี้นั้น พวกท่านพอใจหรือ เดียรถีย์ทั้งหลายตอบว่า ท่าน
จงทำอย่างใดอย่างหนึ่ง นำมามอบให้พวกเรา. สรภปริพาชกได้ให้สัญญา
แก่ปริพาชกทั้งหลายว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายเห็นผมแล้ว ต้องทำเป็น
เหมือนไม่เห็น แล้วในวันที่สองจึงลุกขึ้นแต่เช้า เข้าไปยังมหาวิหาร ชื่อว่า
คิชฌกูฏ กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย ที่ตนเห็นแล้ว ๆ ด้วยเบญจางคประดิษฐ์
ภิกษุทั้งหลายพูดกันว่า เดียรถีย์เหล่าอื่น กระด้าง หยาบคาย แต่ชะรอย
เดียรถีย์คนนี้ จักเป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใสแล้ว. เขากล่าวว่า ท่านเจ้าข้า
ท่านทั้งหลายบวชแล้วในสำนัก ที่เหมาะสมทีเดียว เพราะรู้ (ดี) แล้ว ส่วนผม
ไม่ได้ใคร่ครวญ เมื่อแล่นไปผิดท่า จึงเที่ยวไปผิดในทิศทาง ที่ไม่ได้นำสัตว์
ออกจากทุกข์. ก็ครั้นเขากล่าวอย่างนี้แล้ว ไหว้ภิกษุทุกรูปที่ตนเห็นแล้ว ๆ
เตรียมน้ำสำหรับอาบเป็นต้นไว้ ทำไม้ชำระฟันให้เป็นกัปปิยะ ล้างเท้า ทา-
น้ำมันให้ได้ภัตรที่เหลือแล้วบริโภค.
พระมหาเถระรูปหนึ่ง เห็นเขาอยู่โดยทำนองนี้ จึงพูดว่า ท่านมี
ศรัทธาเลื่อมใสแล้ว จะไม่บวชหรือ เขาตอบว่า ท่านผู้เจริญใครจักให้
ผมบวช เพราะพวกผมประพฤติตนเป็นข้าศึกต่อพระคุณท่านทั้งหลายมาตลอด
กาลนาน. พระเถระกล่าวว่า ถ้าท่านประสงค์จะบวช เราก็จะบวชให้ แล้วให้
เขาบรรพชา. นับแต่วาระที่บวชแล้ว เขาได้ทำวัตรปฏิบัติเป็นนิตย์ พระเถระ
พอใจในวัตรปฏิบัติของเขา ไม่นานก็ให้เขาอุปสมบท. ในวันอุปสมบทท่าน
เข้าไปในโรงอุโบสถ พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย เห็นภิกษุทั้งหลายยกย่องพระ
ปาฏิโมกข์ด้วยอุตสาหะมาก จึงคิดว่า ภิกษุเหล่านี้ ร่ายมายามนต์ที่ทำให้คน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 327
หลงใหล แล้วทำให้กลับใจเข้าเป็นพวก. อีก ๒-๓ วัน เท่านั้น เราก็จักสวดได้
เธอไปสู่บริเวณไหว้พระอุปัชฌาย์แล้วเรียนถามว่า ท่านขอรับ ธรรมนี้ชื่อ
อะไร ? พระอุปัชฌาย์ตอบว่า ชื่อว่า ปาฏิโมกข์. ท่านขอรับ ปาฎิโมกข์นี้
เป็นธรรมอันสูงสุดหรือ ? ถูกแล้วคุณ สิกขานี้จะทรงไว้ได้ ซึ่งสาสนธรรม
ทั้งหมด.
ท่านขอรับ ถ้าสิกขาธรรมนี้ เป็นธรรมสูงสุดแล้วไซร้ ผมจะเรียน
เอาสิกขาธรรมนี่แหละเสียก่อน. พระเถระรับคำว่า เรียนเถิดคุณ เธอกำลัง
เรียนอยู่ พบปริพาชกทั้งหลาย ถูกเขาถามว่า เป็นอย่างไรอาจารย์ จึงบอกว่า
พวกท่านอย่าคิดอะไรเลย อีก ๒-๓ วัน ผมจักนำไปให้. ไม่ช้าก็เรียนจนจบ
แล้วพูดกับอุปัชฌาย์ว่า มีเพียงเท่านี้หรือขอรับ หรือแม้อย่างอื่นก็ยังมี.
พระเถระตอบว่า มีเท่านี้เท่านั้นแหละคุณ. ในวันรุ่งขึ้น เธอนุ่งห่มตามปกติ
ถือบาตรตามทำนองที่เคยถือ แล้วออกจากอาราม ชื่อว่า คิชฌกูฏ ไปยังอาราม
ของปริพาชก ปริพาชกทั้งหลายเห็นเธอแล้ว พากันห้อมล้อมเธอ ถามว่า
เป็นอย่างไรท่านอาจารย์ ชะรอยจะไม่สามารถนำเอามายามนต์ที่ทำให้คน
หลงใหลมาได้กระมัง ? เธอตอบว่า อย่าหนักใจเลยอาวุโสทั้งหลาย มายามนต์
ที่ทำให้คนหลงใหลเรานำมาได้แล้ว ตั้งแต่นี้ไป เราทั้งหลายจักมีลาภสักการะ
มาก ท่านทั้งหลายจงสมัครสมานสามัคคีกัน อย่าทะเลาะวิวาทกัน ปริพาชก
ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ถ้าท่านเรียนได้มาแล้ว ก็จงบอกมายามนต์
ที่ทำให้คนหลงใหลนั้นแก่พวกผมบ้าง. เธอสวดปาฏิโมกข์เริ่มแต่ต้น (จนจบ).
ลำดับนั้น ปริพาชกทั้งหมดเหล่านั้น พูดกันว่า มาเถิดท่านผู้เจริญทั้งหลาย
พวกเราจะเข้าไปในพระนคร กล่าวโทษของพระสมณโคดม. เมื่อประตูเมือง
ยังไม่ทันเปิด พากันไปใกล้ประตู เข้าไปก่อนใคร ๆ ทั้งหมดทางประตูที่เปิด
แล้ว. คำว่า สรโภ นาม ปริพฺพาชโก อจิรปกฺกนฺโต โหติ (ปริพาชก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 328
ชื่อว่า สรภะ หลีกไปแล้วไม่นาน) ดังนี้ ท่านกล่าวหมายถึงปริพาชกนั้น
ผู้หลบหลีกไปด้วยทั้งเพศของตน อย่างนี้.
ก็ในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาย่ำรุ่ง
ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า วันนี้ สรภปริพาชกจักเที่ยวไปในพระนคร แล้วทำ
ประกาศนียกรรม (ประกาศเป่าร้อง) เมื่อเธอกล่าวคำตำหนิพระรัตนตรัย ชื่อว่า
โปรยยาพิษลง แล้วไปสู่อารามแห่งปริพาชก ถึงเราตถาคตก็จักไป ณ ที่นั้น
เหมือนกัน บริษัทแม้ทั้ง ๔ จักประชุมกันในอารามของปริพาชกนั้นแล ใน
สมาคมนั้นจักมีคน ๘๔,๐๐๐ ได้ดื่มน้ำอมฤต. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระดำริว่า สรภปริพาชกจงมีโอกาส จงประกาศโทษตามชอบใจ แล้ว
ตรัสเรียกพระอานันทเถระมา รับสั่งว่า อานนท์ เธอจงไปบอกภิกษุสงฆ์ใน
มหาวิหาร ๑๘ แห่ง ให้ไปบิณฑบาตพร้อมกับเราตถาคต. พระเถระได้ปฏิบัติ
ดังนั้นแล้ว. ภิกษุทั้งหลายต่างถือบาตรจีวร ห้อมล้อมพระตถาคตแล้วเทียว.
พระศาสดาทรงพาภิกษุสงฆ์ไปบิณฑบาต ที่บ้านใกล้ประตูพระนคร ฝ่ายสรภ
ปริพาชกก็เข้าไปสู่พระนคร พร้อมด้วยปริพาชกทั้งหลาย ครั้นถึงท่ามกลาง
หมู่บริษัท ประตูพระราชวัง ประตูบ้านอำมาตย์ และที่ถนน ๔ แยกเป็นต้น
ได้ประกาศว่า ธรรมของพวกสมณศากยบุตรทั้งหลาย เรารู้หมดแล้ว ดังนี้
เป็นต้น ในที่นั้น ๆ. คำมีอาทิว่า โส ราชคเห ปริสติ เอว วาจ ภาสติ
(สรภปริพาชกนั้น กล่าวคำอย่างนี้ ในบริษัท ในกรุงราชคฤห์) นี้ ท่านกล่าว
หมายถึง การกล่าวโทษนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อญฺาโต
สรภปปริพาชกแสดงว่า (ธรรมของพวกสมณศากยบุตร) เรารู้แล้ว คือเข้าใจ
แล้ว ได้แก่เรียนให้แจ่มแจ้งแล้ว. บทว่า อญฺาย แปลว่า รู้แล้ว. บทว่า
อปกฺกนโต ได้แก่หลีกไป ทั้งๆ ที่ยังทรงเพศนั่นแหละ. สรภปริพาชกนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 329
เมื่อจะแสดงความนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ถ้าหากศาสนาของพระสมณโคคม
จักมีสาระอะไรอยู่บ้างแล้วไซร้ เราก็จะไม่หลีกออกไป แต่ศาสนาของ
พระสมณโคดมนั้นไร้สาระ ไม่มีแก่นสาร สมณะทั้งหลายร่ายมายามนต์ที่
ทำให้คนหลงใหล จึงลวงชาวโลกอยู่ได้.๑
บทว่า อถโข สมฺพหุลา ภิกฺขู ความว่า ครั้งนั้นเมื่อปริพาชกนั้น
กล่าวอยู่อย่างนี้ ภิกษุฝ่ายอรัญญวาสี ๕๐๐ รูป ไม่รู้ว่าพระศาสดาเสด็จไป
บิณฑบาต ณ ที่ชื่อโน้น จึงเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ในเวลาภิกษาจาร
คำว่า อถโข สพฺพหุลา ภิกฺขู นี้ ท่านกล่าวหมายถึงภิกษุเหล่านั้น. บทว่า
อสฺโสุ แปลว่า ได้ยินแล้ว. บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า
เข้าไปด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักกราบทูลเรื่องนี้ แด่พระทศพล บทว่า สิปฺปิ-
นิยา ตีร ได้แก่ฝั่งแม่น้ำที่มีชื่ออย่างนี้ว่า สิปปินิกา.
บทว่า อธิวาเสสิ ภควา ตุณฺหีภาเวน มีอรรถาธิบายว่า ทรงไว้
ซึ่งขันติในภายใน ทรงรับรู้ไว้ด้วยจิตอย่างเดียว โดยไม่ทรงไหวองค์คือกาย
และองค์คือวาจา. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงรับทราบ (โดยดุษณีภาพ)
อย่างนี้แล้ว ทรงพระดำริต่อไปว่า วันนี้ เราตถาคตเมื่อจะไปหักล้างวาทะของ
สรภปริพาชกควรจะไปเพียงผู้เดียว หรือมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมไปด้วย. ลำดับนั้น
พระองค์ทรงตกลงพระทัยดังนี้ว่า ถ้าเราจักมีภิกษุสงฆ์แวดล้อมไป มหาชนจัก
คิดอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเมื่อจะเข้าไปสู่ที่โต้วาทะ. ก็ต้องยกพวกไป ใช้พลัง
ของบริษัท หักล้างวาทะที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยอมให้ฝ่ายตรงข้ามโงหัวขึ้นได้เลย
ก็เมื่อวาทะเกิดขึ้นแก่เราแล้ว กิจคือการโต้วาทะ โดยพาผู้อื่นไปด้วย จะไม่มี
แก่เราเลย เราผู้เดียวนี่แหละจะไปหักล้างวาทะนั้น. และการที่เราเป็นพระ-
พุทธเจ้าหักล้างวาทะที่เกิดขึ้นแก่ตนในปัจจุบันนี้ ไม่เป็นของอัศจรรย์ เพราะ
๑. ปาฐะว่า ลาภ ขาทนฺติ ฉบับพม่าเป็น โลก ขาทนฺติ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 330
ในเวลาที่เราบำเพ็ญพุทธจริยา ผู้อื่นที่จะสามารถนำพาธุระแทนเรา แม้เมื่อเกิด
ในอเหตุกปฏิสนธิ ไม่เคยมีแล้ว. ก็เพื่อจะยังความข้อนี้ให้ชัดเจน ควรนำ
กัณหชาดก (มาแสดงประกอบ) ด้วยดังนี้
เมื่อใด มีงานหนัก เมื่อใด การเดิน
ทางลำบาก เมื่อนั้น เจ้าของก็จะเทียมโค
ชื่อกัณหะ โคกัณหะนั้น จะต้องนำธุระ
นั้นไปโดยแท้.
เรื่องโคกาฬกะ
เล่ากันมาว่า ในอดีตสมัย พ่อค้าเกวียนผู้หนึ่ง พำนักอยู่ในเรือนของ
หญิงแก่คนหนึ่ง. ครั้งนั้นแม่โคนมตัวหนึ่งของเขาได้ตกลูกในเวลากลางคืน.
มันตกลูกเป็นโคผู้ตัวหนึ่ง. จำเดิมแต่หญิงแก่เห็นลูกโคแล้ว เกิดความสิเนหา
อย่างลูก. ในวันรุ่งขึ้น บุตรของพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า ท่านจงรับค่าเช่าบ้าน
ของท่าน. หญิงแก่ พูดว่า เราไม่ต้องการสิ่งแลกเปลี่ยนอย่างอื่น ท่านจงให้
ลูกวัวตัวนี้ แก่เราเถิด. บุตรพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า ท่านจงรับมันไว้เถิด แม่.
หญิงแก่รับลูกโคนั้นไว้แล้ว ให้ดื่มนม ให้ข้าวยาคู ภัตรและหญ้าเป็นต้น
เลี้ยงดูแล้ว. มันเจริญเติบโตขึ้น มีรูปร่างอ้วนพี สมบูรณ์ด้วยกำลังและความเพียร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระ มีชื่อว่า กาฬกะ. ครั้นต่อมาเมื่อพ่อค้าเกวียนคนหนึ่ง
เดินทางมาพร้อมด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม ล้อเกวียนติดหล่มอยู่ในที่น้ำเซาะ.
เขาพยายามเทียมวัว ๑๐ ตัว บ้าง ๒๐ ตัวบ้าง ก็ไม่สามารถจะฉุดเกวียนขึ้น
(จากหล่ม) ได้ จึงเข้าไปหาโคกาฬกะ กล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ เราจักให้
รางวัลแก่เจ้า ขอให้เจ้าช่วยยกเกวียนของเราขึ้นด้วยเถิด ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
ก็พาโคกาฬกะนั้นไป คิดว่า โคอื่นจะสามารถลากแอกไป พร้อมกับเกวียนนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 331
ไม่มี จึงผูกเชือกเข้าที่แอกเกวียน แล้วเทียมโคกาฬกะนั้นแต่เพียงตัวเดียว
โคกาฬกะลากเกวียนนั้นขึ้นไปจอดไว้บนบก. นำเกวียนทั้ง ๕๐๐ เล่มขึ้นไปได้
โดยทำนองนี้แหละ. มันนำเกวียนเล่มสุดท้ายขึ้นได้แล้ว (พอเขาปลดออกจาก
แอก) ก็ยกศีรษะขึ้นแสดงอาการเมื่อยล้า. พ่อค้าเกวียนคิดว่า โคกาฬกะนี้
เมื่อฉุดเกวียนมีประมาณเท่านี้ ขึ้นได้ไม่เคยทำอย่างนี้ ชะรอยมันจะทวงค่าจ้าง
ดังนี้แล้ว จึงหยิบกหาปณะเท่าจำนวนเกวียน ผูกห่อเงิน ๕๐๐ กหาปณะไว้
ที่คอของมัน. มันไม่ยอมให้ผู้อื่นเข้าใกล้ตัวมัน เดินตรงไปยังบ้านทีเดียว.
หญิงแก่เห็นแล้ว ก็แก้ออก รู้ว่าเป็นกหาปณะ จึงพูดว่า ลูกเอ๋ย เหตุไฉน
เจ้าจึงทำอย่างนี้ เจ้าอย่าเข้าใจว่า แม่นี้จักดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยทรัพย์ที่เราทำงาน
แล้วนำมามอบให้ ดังนี้แล้ว ให้โคอาบน้ำด้วยน้ำอุ่น ชโลมตัวด้วยน้ำมัน
แล้วกล่าวสอนว่า ต่อนี้ไป เจ้าอย่าได้ทำอย่างนี้อีก. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระดำริว่า เพราะว่า ในเวลาที่เราบำเพ็ญพุทธจริยา ผู้อื่นชื่อว่าสามารถ
นำธุระแทนเราแม้ผู้บังเกิดแล้ว ในอเหตุกปฏิสนธิ ไม่เคยมีแล้วดังนี้ ทรง
หมายถึงเรื่องที่เล่ามานี้แหละ จึงเสด็จไปตามลำพังพระองค์เดียว.
เพื่อจะแสดงเรื่องนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อถโข ภควา
สายณฺหสมย ปฏิสลฺลนา วุฏฺิโต (ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จหลีกออกจากที่เร้น ในเวลาเย็นแล้ว) ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ปฏิสลฺลานา ความว่า ทรงสำรวมจิตจากอารมณ์หยาบทั้งหลาย อธิบายว่า
ออกจากผลสมาบัติ. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า เมื่อปริพาชกทั้งหลาย
ทำประกาศนียกรรม ทั่วพระนคร แล้วออกจากพระนครไปประชุมกันที่อาราม
ของปริพาชก นั่งสนทนากันถึงสีหนาทกถาอย่างนี้ว่า ปริพาชกทั้งหลายถามว่า
ท่านสรภะ ถ้าพระสมณโคดมจักเสด็จมาแล้วไซร้ ท่านจักทำอย่างไร สรภ-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 332
ปริพาชกตอบว่า ( ข้าพเจ้าจะทำอย่างนี้คือ) เมื่อพระสมณโคดม บันลือ
สีหนาทอย่างหนึ่ง ข้าพเจ้าจักบันลือ ๒ อย่าง เมื่อพระสมณโคดม บันลือ
๒ อย่าง ข้าพเจ้าจักบันลือ ๔ อย่าง เมื่อพระสมณโคดม บันลือ ๔ อย่าง
ข้าพเจ้าจักบันลือ ๕ อย่าง เมื่อพระสมณโคดม บันลือ ๕ อย่าง ข้าพเจ้า
จักบันลือ ๑๐ อย่าง เมื่อพระสมณโคดม บันลือ ๑๐ อย่าง ข้าพเจ้าจักบันลือ
๒๐ อย่าง เมื่อพระสมณโคดม บันลือ ๒๐ อย่าง ข้าพเจ้าจักบันลือ ๓๐ อย่าง
เมื่อพระสมณโคดม บันลือ ๓๐ อย่าง ข้าพเจ้าจักบันลือ ๔๐ อย่าง เมื่อ
พระสมณโคดม บันลือ ๔๐ อย่าง ข้าพเจ้าจักบันลือ ๕๐ อย่าง เมื่อพระ-
สมณโคดม บันลือ ๕๐ อย่าง ข้าพเจ้าจักบันลือ ๑๐๐ อย่าง เมื่อพระสมณ-
โคดม บันลือ ๑๐๐ อย่าง ข้าพเจ้าจักบันลือ ๑,๐๐๐ อย่างดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จเข้าไปแล้ว.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จเข้าไป ทรงนุ่งผ้าสองชั้นที่เขาย้อม
ดีแล้ว ทรงห่มสุคตมหาจีวร ได้เสด็จเข้าไปลำพังพระองค์เดียวโดยท่ามกลาง
พระนคร เหมือนพระราชาผู้ปราศจากพลนิกร เพราะทางไปอารามของปริ-
พาชก อยู่กลางพระนคร มิจฉาทิฏฐิกบุคคลทั้งหลาย เห็นแล้ว พากันตามไป
ด้วยคิดว่า ปริพาชกทั้งหลาย กระทำประกาศนียกรรม ระบุโทษของพระสมณ-
โคดม ชะรอยพระองค์จะเสด็จไป เพื่อให้ปริพาชกเหล่านั้น ยินยอมคล้อยตาม.
ฝ่ายพวกสัมมาทิฏฐิกบุคคล ก็พากันติดตามไปด้วยคิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงถือเอาบาตร และจีวรเสด็จไปลำพังพระองค์เดียวเท่านั้น (ชะรอย) วันนี้
จักมี มหาธรรมสงความ กับสรภปริพาชก แม้พวกเราทั้งหลาย ก็จักร่วมกัน
เป็นพยาน ในสมาคมนั้น. เมื่อมหาชนกำลังดูอยู่นั่นแหละ พระบรมศาสดา
เสด็จเข้าไปสู่อาราม ของปริพาชกแล้ว.
ปริพาชกทั้งหลาย เห็นพระฉัพพรรณรังสีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นช่อ พวยพุ่งผ่านลำต้น คาคบ และกิ่งของต้นไม้ทั้งหลาย จึงพากัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 333
แหงนดูด้วยคิดว่า ในวันอื่น๑ ๆ ไม่เคยมีโอภาสเช่นนี้เลย นี่อะไรกันหนอ.
สรภปริพาชกฟังดังนั้นแล้ว ก็นั่งก้มหน้า ซบหัวลงระหว่างเข่า. ในสมัยนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเสด็จเข้าไปยังอารามนั้นอย่างนี้แล้ว เสด็จประทับนั่ง
บนอาสนะที่เขาปูแล้ว. แท้จริง พระตถาคตทรงเป็นผู้ควรแก่อาสนะ เพราะ
เสด็จอุบัติในตระกูลอันเลิศ บนพื้นชมพูทวีป. ในที่ทั่ว ๆ ไป เขาจะจัดอาสนะ
ไว้สำหรับพระองค์โดยเฉพาะ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนพุทธาอาสน์
มีค่ามาก ที่เขาปูลาดแล้ว๒ อย่างนี้.
บทว่า เต ปริพฺพาชกา สรภ ปริพฺพาชก เอตทโวจุ ความว่า
ได้ยินว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสคำเพียงเท่านี้ กับสรภปริพาชก
อยู่นั่นแหละ ภิกษุสงฆ์ผู้ตามพระยุคลบาทของพระศาสดา ก็มาถึงอารามของ
ปริพาชก บริษัทแม้ทั้ง ๔ ประชุมกันแล้วในปริพาชการามนั่นแล. ลำดับนั้น
ปริพาชกเหล่านั้นคิดว่า น่าอัศจรรย์ที่พระสมณโคดม ได้เสด็จมายังสำนัก
ของพวกเรา ผู้เที่ยวไปแพร่โทษ ทำประกาศนียกรรม ตลอดทั่วทั้งพระนคร
มาแล้ว ผู้เป็นคู่เวร เป็นศัตรู เป็นข้าศึก ไม่ตรัสคำที่ก่อให้เกิดการทะเลาะ
วิวาทแม้น้อยหนึ่ง แต่กลับตรัสมธุรกถา ประหนึ่งว่า ชโลมด้วยน้ำมันที่
หุงสุกแล้วตั้ง ๑๐๐ ครั้ง ประหนึ่งให้ดื่มน้ำอมฤต จำเดิมแต่เวลาที่ได้เสด็จ
มาแล้ว ดังนี้แล้ว ทุกคนจึงได้ทูลคำนี้ คล้อยตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
บทว่า อาเจยฺยาสิ ความว่า ท่านพึงขอ คือ พึงปรารถนา ได้แก่
ต้องการ. บทว่า ตุณฺหีภูโต ได้แก่ ถึงความเป็นผู้ดุษณีภาพ. บทว่า
มงฺกุภูโต ได้แก่ ถึงความสิ้นเดช. บทว่า ปตฺตกฺขนฺโธ ได้แก่ มีคอ
โน้มลง. บทว่า อโธมุโข ได้แก่ (นั่ง) ก้มหน้า.
๑. ปาฐะว่า อญฺโ ฉบับพม่าเป็น อญฺทา.
๒. ปาฐะว่า ปญฺตฺเต อาสเน ฉบับพม่าเป็น ปญฺตฺเต มหารเห พุทฺธาสเน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 334
บทว่า สมฺมาสมฺพุทธฺสฺส เต ปฏิชานโต ความว่า ท่านปฏิญาณ
อย่างนี้ว่า เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมทั้งปวง เราตถาคตตรัสรู้แล้ว.
บทว่า อนภิสมฺพุทฺธา ความว่า ชื่อว่า ธรรมเหล่านี้ อันท่านไม่ได้
ตรัสรู้แล้ว. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้เหล่านั้น
อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้ตรัสรู้แล้ว.
บทว่า อญฺเญฺน วา อญฺ ปฏิจริสฺสติ ความว่า หรือจัก
กลบเกลื่อนด้วยคำอย่างหนึ่ง ด้วยถ้อยคำอีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ถูกถาม
อย่างหนึ่ง จักตอบอีกอย่างหนึ่ง. บทว่า พหิทฺธา กถ อปนาเมสฺสติ
ความว่า นำถ้อยคำนอกประเด็นอย่างอื่น มากลบเกลื่อนด้วยคำเดิม. บทว่า
อปฺปจฺจย ได้แก่ความไม่ยินดียิ่งคืออาการที่ไม่พอใจ. บทว่า ปาตุกริสฺสติ
ได้แก่ จักกระทำให้ปรากฏ. ก็ในบรรดาฐานะ ๓ อย่างนั้น ตรัสโทมนัส
ด้วยอปัจจยศัพท์ ตรัสความโกรธนั่นแหละ แยกประเภทเป็นความโกรธ
อย่างอ่อน และความโกรธอย่างแรง ด้วยบททั้งสองข้างต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงบันลือสีหนาท ด้วยเวสารัชกรณธรรม
ข้อแรกอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงบันลือสีหนาทด้วยเวสารัชกรณธรรมข้อ ๒
เป็นต้นต่อไปอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า โย โข ม ปริพฺพาชก ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส โข ปน เต อตฺถาย ธมฺโม
เทสิโต ความว่า จตุราริยสัจธรรม. อันพระองค์ทรงแสดงแล้ว เพื่อประ-
โยชน์แก่มรรคหรือผลใด. บทว่า โส น นิยฺยาติ ความว่า ธรรมนั้นไม่
นำไป คือไม่เข้าถึง (ความสุข) ท่านกล่าวอธิบายว่า ไม่ยังประโยชน์ให้
สำเร็จ. บทว่า ตกฺกรสฺส มีอธิบายว่า แห่งบุคคลผู้ทำตาม คือผู้บำเพ็ญ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 335
ข้อปฏิบัติ. บทว่า สมฺมา ทุกฺขกฺขยาย ความว่า เพื่อความสิ้นไปแห่ง
วัฏทุกข์ทั้งสิ้น โดยเหตุ โดยนัย โดยการณะ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยสฺส
โข ปน เต อตฺถาย ธมฺโม เทสิโต ความว่า ธรรมอันพระองค์ทรง
แสดงเพื่อประโยชน์ใด คือ
อสุภกัมมัฏฐาน เพื่อประโยชน์แก่การบำบัดราคะ
เมตตาภาวนา เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดโทษะ
สัจธรรม คือ มรณะ เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดโมหะ
อานาปานสติ เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดวิตก
ในบทว่า โส น นิยฺยาติ ตกฺกรสฺส สมฺมา ทุกฺขกฺขยาย
มีอธิบายดังนี้ ธรรมนั้นไม่นำไป คือไม่เข้าถึง ได้แก่ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ
เพื่อความสิ้นไปแห่งวัฏทุกข์ โดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย โดยการณะ
แก่ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ตามที่ทรงแสดงไว้. บทว่า เสยฺยถาปิ สรโภ
ปริพฺพาชโก ความว่า เขาจักนั่งเหมือนสรภปริพาชก ผู้นั่งซบเซา หมด
ปฏิภาณฉะนั้น.
เมื่อพระตถาคตเจ้า ทรงบันลือสีหนาทด้วยบททั้ง ๓ อย่างนี้แล้ว ทรง
วกกลับแสดงธรรม บริษัทประมาณ ๘๔,๐๐๐ ที่ประชุมกัน ณ สถานที่นั้นได้ดื่ม
น้ำอมฤต. พระศาสดาทรงทราบว่า บริษัทดื่มน้ำอมฤตแล้ว จึงเหาะขึ้นสู่เวหาส
เสด็จหลีกไป. เพื่อแสดงเนื้อความนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อถโข ภควา
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีหนาท ได้แก่ การบันลืออย่างประเสริฐ
คือการบันลืออย่างไม่เกรงขาม ได้แก่ การบันลืออย่างหาผู้เปรียบมิได้ บทว่า
เวหาส ปกฺกามิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าจตุตถฌาน มี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 336
อภิญญาเป็นบาท ออกจากฌานแล้ว ทรงอธิฏฐานแล้วทะยานขึ้นสู่อากาศ
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ก็แลครั้นเสด็จไปอย่างนี้แล้ว ทันใดนั้น ก็ได้เสด็จ
ประทับอยู่ที่คิชฌกูฏมหาวิหาร.
บทว่า วาจาย สนฺนิโตทเกน ได้แก่ทิ่มแทงด้วยวาจา. บทว่า
สญฺชมฺภรึ อกสุ ความว่า ปริพาชกทั้งหลายได้ทำการถากถาง คือ
พูดกระทบไม่หยุดหย่อน อธิบายว่า (พูด) ทิ่มแทงหนักขึ้น. บทว่า
พฺรหารญฺเ แปลว่า ในป่าใหญ่. บทว่า สีหนาท นทิสฺสามิ ความว่า
สุนัขจิ้งจอกแก่เห็นอาการของราชสีห์ บันลือสีหนาท ก็คิดว่า ราชสีห์นี้ก็เป็น
สัตว์เดียรัจฉาน แม้เราก็เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ราชสีห์มี ๔ เท้า ถึงเราก็มี
๔ เท้า แม้เราก็จักบันลือสีหนาทได้เหมือนกัน. มันไม่อาจบันลือสีหนาท
ต่อหน้าราชสีห์ได้ พอราชสีห์หลีกออกไปหาอาหาร มันตัวเดียว ก็เริ่มบันลือ
สีหนาท. คราวนั้น มันก็เปล่งเสียงสุนัขจิ้งจอกนั่นเองออกไป. ด้วยเหตุนั้น
ปริพาชกจึงกล่าวว่า ก็ร้องออกมาเป็นเสียงสุนัขจิ้งจอกนั่นแหละ. บทว่า
เภรณฺฑก เป็นไวพจน์ของบทว่า สิงคาลกะ นั่นเอง อีกอย่างหนึ่ง ท่าน
อธิบายว่า ร้องเสียงแตก ได้แก่ร้องออกมาเป็นเสียงไม่น่าพอใจ. ด้วยข้ออุปมา
นี้ว่า เอวเมว โข ตฺว ปริพาชกทั้งหลาย เปรียบพระตถาคตเจ้าเหมือน
ราชสีห์ เปรียบสรภปริพาชกเหมือนสุนัขจิ้งจอก.
บทว่า อมฺพกมทฺทรี ได้แก่ลูกไก่ตัวเมีย ๆ. บทว่า ปุริสกรวิก
รวิสฺสามิ ความว่า มันเห็นไก่ใหญ่ขัน ก็คิดว่า แม้ไก่ตัวนี้ ก็มีสองขา สองปีก
ถึงเราก็สีเหมือนกัน แม้เราก็จักขันอย่างนั้นบ้าง ดังนี้ (แต่) มันไม่กล้าขัน
ต่อหน้าไก่ใหญ่ เมื่อไก่ใหญ่นั้นหลีกไปแล้ว จึงขัน (แต่) ก็ขันเป็นเสียงไก่
ตัวเมียนั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อมฺพกมทฺทริรวิกเยว รวติ
ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 337
บทว่า อุสโภ ได้แก่โคผู้. บทว่า สุญฺาย ความว่า ว่าง คือ
เว้นจากโคผู้ ตัวเจริญที่สุด. บทว่า คมฺภึร นทิตพฺพ มญฺติ ความว่า
ย่อมสำคัญเสียงร้องของตัวว่าลึก เหมือนเสียงร้องของโคผู้ ตัวประเสริฐที่สุด.
บทที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสรภสูตรที่ ๔
๕. กาลามสูตร*
ว่าด้วยมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงแปล
[๕๐๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า (ผู้มีคุณควรคบ หรือมี
คุณควรนับถือ) พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จจาริกไปในโกศลชนบท
(เมืองขึ้นในแว่นแควนโกศล) บรรลุถึงเกสปุตตนิคม (เมืองชื่อเกสปุตตะ)
ซึ่งเป็นที่อยู่แห่งหมู่ชนกาลามโคตร (วงศ์กาลาม) ชาวเกสปุตตนิคมได้
ทราบว่า พระสมณโคดมสักยบุตร (โอรสของกษัตริย์ชาติสักย) เสด็จออกผนวช
จากสักยสกุล เสด็จมาถึงเกสปุตตนิคมแล้ว จึงดำริว่า กิตติศัพท์อันงามของ
พระสมณโคดม ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็น
ผู้ไกลกิเลส (สิ่งที่เกิดขึ้นในใจแล้วทำใจให้เศร้าหมอง มีโลภเป็นต้น ) แลเป็น
ผู้ควรไหว้ควรบูชา เป็นผู้รู้ชอบเอง เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชา และข้อปฏิบัติ
เครื่องดำเนินถึงวิชชา เป็นผู้ไปแล้วดี เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควร
ฝึก ไม่มีผู้อื่นจะยิ่งไปกว่า เป็นผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
* บาลีเป็น เกสปุตตสูตร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 338
เบิกบานแล้ว ในคุณทั้งปวงเต็มที่ เป็นผู้จำแนกแจกธรรมสั่งสอนประชุมชน
ท่านทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้กับทั้งเทวดามารพรหมและ
หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์และเทวดามนุษย์ให้รู้ตาม ท่านแสดงธรรม
ไพเราะ ทั้งในเบื้องต้นท่ามกลางที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ (ศาสนาคือคำ
สั่งสอน) บริบูรณ์บริสุทธิ์สิ้นเชิง การได้เห็นท่านผู้ไกลกิเลส แลควรไหว้
ควรบูชาอันทรงคุณเช่นนี้ ย่อมเป็นคุณความดี ให้ประโยชน์สำเร็จได้ ครั้น
ดำริอย่างนี้แล้ว พร้อมกันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า บางพวกกราบไหว้ตาม
อาการของผู้เลื่อมใส บางพวกเป็นแต่กล่าววาจาปราศรัยแสดงความยินดี
บางพวกเป็นแต่ประคองอัญชลีประณมมือ บางพวกร้องประกาศชื่อแลโคตร
ของตน ๆ ต่างคน นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง บางพวกนิ่งเฉยอยู่ ครั้นหมู่
กาลามชนชาวเกสปุตตนิคมนั้นนั่งเป็นปกติแล้ว จึงทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มาถึงเกสปุตตนิคมนี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น
พูดแสดงแต่ถ้อยคำของตนเชิดชูให้เห็นว่า ดีชอบควรจะถือตามถ่ายเดียว พูด
คัดค้านข่มถ้อยคำของผู้อื่น ดูหมิ่นเสียว่าไม่ดีไม่ชอบ ไม่ควรจะถือตาม ทำ
ถ้อยคำของตนให้เป็นปฏิปักษ์แก่ถ้อยคำของผู้อื่น ครั้นสมณพราหม์พวกหนึ่งอื่น
มาถึงเกสปุตตนิคมนี้อีก ก็เป็นเหมือนพวกก่อน เป็นอย่างนี้ทุก ๆ หมู่ จน
ข้าพระองค์มีความสงสัย ไม่รู้ว่าท่านสมณะเหล่านี้ ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า ควรแล้วท่านจะสงสัย ความสงสัย
ของท่านเกิดขึ้นแล้วในเหตุควรสงสัยจริง ท่านอย่าได้ถือโดยได้ฟังตาม
กันมา อย่าได้ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่า
ได้ยินอย่างนี้ๆ อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา
อย่าได้ถือโดยนัยคือคาดคะเน อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 339
อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันลัทธิของตน อย่าได้ถือโดยเชื่อ
ว่า ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือโดยความนับถือว่า สมณะผู้นี้
เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล
ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใครประพฤติให้
เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้ ท่านควร
ละธรรมเหล่านั้นเสีย เมื่อนั้น
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามไม่ให้ถือ โดยอาการสิบอย่าง มีถือ
โดยได้ฟังตามกันมาเป็นต้น ให้พิจารณารู้ด้วยตนเองแล้ว เว้นสิ่งที่ควรเว้นเสีย
อย่างนี้แล้ว จะทรงแนะนำ ให้กาลามชนได้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งที่ควรเว้น
นั้นด้วยตนเอง จึงตรัสปุจฉา ยกโลภะ (ความละโมบอยากได้เหลือเกิน) โทษะ
(ความมีใจโกรธขัดเคืองแล้ว ประทุษร้ายใจตัวเองแลผู้อื่น) โมหะ (ความหลง)
ขึ้นถาม ให้กาลามชนทูลตอบตามความเห็นโดยลำดับ อย่างนี้
พ. ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน โลภความอยากได้เมื่อเกิดขึ้น
ในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือ หรือเพื่อสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์
กา. โลภนั้นย่อมเกิดขึ้นเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุรุษผู้โลภแล้ว อันความโลภครอบงำแล้ว มีใจอันความโลภ
ยึดไว้รอบแล้ว ฆ่าสัตว์มีชีวิตบ้าง ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้แล้วบ้าง ถึง
ภรรยาผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นบ้าง สิ่งใดเป็นไป
เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น สิ้นกาลนาน ผู้โลภแล้ว
ชักชวนผู้อื่นในสิ่งนั้น อันจริงหรือไม่.
กา. ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 340
พ. ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน โทษะความประทุษร้ายเมื่อเกิด
ขึ้นภายในของบุรุษ เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์.
กา. โทษะนั้น เกิดขึ้นเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุรุษอันโทษะประทุษร้ายแล้ว อันโทษะครอบงำแล้ว มีใจอัน
โทษะยึดไว้รอบแล้ว ฆ่าสัตว์มีชีวิตบ้าง ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้แล้วบ้าง
ผิดในภรรยาผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นบ้าง สิ่งใดเป็น
ไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น สิ้นกาลนาน ผู้ที่
โทษะประทุษร้ายแล้ว ชักชวนผู้อื่นในสิ่งนั้น ข้อนี้จริงหรือไม่.
กา. ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน โมหะความหลงเมื่อเกิดขึ้นภาย
ในของบุรุษ เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์.
กา. โมหะนั้นเกิดขึ้นเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุรุษผู้หลงแล้ว อันความหลงครอบงำแล้ว มีใจอันความหลง
ยึดไว้รอบแล้ว ฆ่าสัตว์มีชีวิตบ้าง ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้แล้วบ้าง ผิดใน
ภรรยาผู้อื่นบ้าง พูดเท็จบ้าง ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นบ้าง สิ่งใดเป็นไป
เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์แก่ผู้อื่นนั้น สิ้นกาลนาน ผู้หลง
แล้วชักชวนผู้อื่นในสิ่งนั้น ข้อนี้จริงหรือไม่.
กา. ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือ
เป็นอกุศล
กา. เป็นอกุศล พระพุทธเจ้าข้า
พ. มีโทษ หรือไม่มีโทษ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 341
กา. มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ท่านผู้รู้ติเตียน หรือท่านผู้รู้สรรเสริญ.
กา. ท่านผู้รู้ติเตียน พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เป็นไปเพื่อทุกข์หรือไม่ ความเห็นของท่านในข้อนี้เป็นอย่างไร.
กา. ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เป็นไปเพื่อทุกข์ ความเห็นของข้าพระพุทธเจ้า ในข้อนี้อย่างนี้.
พ. เราได้กล่าวคำใดว่า ท่านอย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา อย่าได้
ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่าได้ยินว่าอย่างนี้ ๆ อย่าได้
ถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา อย่าได้ถือโดยนัยคือคาดคะเน
อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับลัทธิ
ของตน อย่าได้ถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือโดยความนับถือ
ว่าสมณะผู้นี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็น
อกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ ใคร
ประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้
ท่านควรละธรรมเหล่านั้นเสีย เมื่อนั้น ดังนี้ คำนั้นเราได้อาศัยความข้อนี้แล
กล่าวแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแนะนำให้กาลามชนได้ปัญญาพิจารณาเห็น
สิ่งที่ควรเว้นนั้นด้วยตนเองอย่างนี้แล้ว ตรัสสอนให้พิจารณาให้รู้ด้วยตนเองแล้ว
ทำสิ่งที่ควรทำต่อไปว่า ท่านอย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา อย่าได้ถือโดยลำดับ
สืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่าได้ยินว่าอย่างนี้ ๆ อย่าได้ถือโดยอ้าง
ตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา อย่าได้ถือโดยนัย คือคาดคะเน อย่าได้-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 342
ถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับลัทธิของตน
อย่าได้ถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือโดยความนับถือว่า สมณะ
ผู้นี้เป็นครูของเรา เมื่อใดท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรม
เหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครประพฤติ
ให้เต็มที่แล้วเป็นไปเพื่อประโยชน์ เป็นไปเพื่อสุข ดังนี้ ท่านควรถึงพร้อม
ธรรมเหล่านั้นอยู่ เมื่อนั้น.
ครั้นตรัสสอนอย่างนี้แล้ว ตรัสปุจฉายก อโลภะ (ความไม่โลภ)
อโทษะ (ความมีใจไม่ขัดเคือง ไม่ประทุษร้ายใจตัวเองแลผู้อื่น) อโมหะ
(ความไม่หลง) ขึ้นถาม ให้กาลามชนทูลตอบตามความเห็นโดยลำดับดุจหน-
หลัง ดังนี้
พ. ท่านจะสำคัญ ความนั้นเป็นไฉน อโลภะความไม่อยาก เมื่อเกิดขึ้น
ภายในแห่งบุรุษ เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์.
กา. อโลภะนั้นย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุรุษผู้ไม่โลภแล้ว อันโลภไม่ครอบงำแล้ว มีใจอันโลภะ
ไม่ยึดไว้รอบแล้ว ไม่ฆ่าสัตว์มีชีวิต ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าไม่ให้แล้ว ไม่ผิดใน
ภรรยาผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้น สิ่งใดเป็นไปเพื่อประ-
โยชน์ เพื่อสุขแก่ผู้อื่นนั้นสิ้นกาลนาน ผู้ไม่โลภแล้ว ชักชวนผู้อื่นในสิ่งนั้น
ข้อนี้จริงหรือไม่.
กา. ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน อโทษะความไม่ประทุษร้าย
เมื่อเกิดขึ้นภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อไม่เป็น
ประโยชน์.
กา. อโทษะนั้น เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 343
พ. บุรุษอันโทษะไม่ประทุษร้ายแล้ว อันโทษะไม่ครอบงำ มีใจ
อันโทษะไม่ยึดไว้รอบแล้ว ไม่ฆ่าสัตว์มีชีวิต ไม่เองสิ่งที่เจ้าของเขาไม่ให้แล้ว
ไม่ผิดในภรรยาผู้อื่น ไม่พูดชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้น สิ่งใดเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เพื่อสุขแก่ผู้อื่นนั้น สิ้นกาลนาน ผู้อันโทษะไม่ประทุษร้าย ชักชวน
ผู้อื่นในสิ่งนั้น ข้อนี้จริงหรือไม่.
กา. ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ท่านจะสำคัญความนี้เป็นไฉน อโมหะความไม่หลง เมื่อเกิดขึ้น
ภายในแห่งบุรุษ เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์.
กา. อโมหะนั้น เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. บุรุษผู้ไม่หลงแล้ว อันความหลงไม่ครอบงำแล้ว มีใจอัน
ความหลงไม่ยึดไว้รอบแล้ว ไม่ฆ่าสัตว์มีชีวิต ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้
แล้ว ไม่ผิดในภรรยาผู้อื่น ไม่พูดเท็จ ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้น สิ่งใด
เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขแก่ผู้อื่นนั้น สิ้นกาลนาน ผู้ไม่หลงแล้ว ชักชวน
ผู้อื่นในสิ่งนั้น ข้อนี้จริงหรือไม่.
กา. ข้อนี้จริงอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ท่านจะสำคัญความนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือเป็น
อกุศล.
กา. เป็นกุศล พระพุทธเจ้าข้า.
พ. มีโทษ หรือไม่มีโทษ.
กา. ไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ท่านผู้รู้ติเตียน หรือท่านผู้รู้สรรเสริญ.
กา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ พระพุทธเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 344
พ. ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขหรือไม่
ความเห็นของท่านในข้อนี้ เป็นอย่างไร.
กา. ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข
ความเห็นของข้าพระพุทธเจ้าในข้อนี้เป็นอย่างนี้.
พ. เราได้กล่าวคำใดว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้ถือโดยได้ฟังตามกันมา
อย่าได้ถือโดยลำดับสืบ ๆ กันมา อย่าได้ถือโดยความตื่นว่า ได้ยินว่าอย่างนี้ ๆ
อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ถือโดยเหตุนึกเดาเอา อย่าได้ถือโดยนัย คือ
คาดคะเน อย่าได้ถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ถือโดยชอบใจว่าต้องกัน
กับลัทธิของตน อย่าได้ถือโดยเชื่อว่า ผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ อย่าได้ถือ
โดยความนับถือว่า สมณะผู้นี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านรู้ด้วยตนนั่นแลว่า
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ธรรมเหล่านี้ ใครประพฤติให้เต็มที่แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์ เป็นไปเพื่อสุข
ดังนี้ ท่านควรถึงพร้อมธรรมเหล่านั้นอยู่เมื่อนั้น ดังนี้ คำนั้นเราได้อาศัย
ความข้อนี้แลกล่าวแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแนะนำให้กาลามชนได้ปัญญา พิจารณาเห็น
ด้วยตนเองแล้ว ทำสิ่งที่ควรทำอย่างนี้แล้ว ทรงแสดงอานิสงส์อันชนผู้ปฏิบัติ
อย่างนั้น จะพึงได้จะพึงถึงดังนี้ว่า อริยสาวกนั้นปราศจากความโลภ ปราศจาก
พยาบาทแล้ว ไม่หลงแล้ว อย่างนี้ มีสติรู้รอบคอบ ใจประกอบด้วยเมตตา
คือ ปรารถนาให้หมู่สัตว์ได้ความสุขทั่วหน้า มีใจประกอบด้วยกรุณา คือ
ปรารถนาให้หมู่สัตว์พ้นจากทุกข์ทั่วหน้า มีใจประกอบด้วยมุทิตา คือ ร่าเริง-
บันเทิงต่อสมบัติที่สัตว์อื่นได้ แลมีใจประกอบด้วยอุเบกขา คือ ตั้งใจเป็นกลาง
ไม่ลำเอียงเข้าข้างไหน แผ่อัปปมัญญา (ภาวนาที่แผ่ไปในหมู่สัตว์ไม่มี
ประมาณ) พรหมวิหาร (ธรรมเป็นที่อยู่ของผู้ประเสริฐ) สี่ประการนี้ไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 345
ตลอดทิศที่หนึ่ง ที่สอง ที่สาม ที่สี่ มีใจประกอบด้วยเมตตา (ความปรารถนา
ให้เป็นสุข) กรุณา (ความปรารถนาให้พ้นจากทุกข์) มุทิตา (ความร่าเริง
ยินดีต่อสมบัติที่ผู้อื่นได้) อุเบกขา (ความเฉยเป็นกลาง) ไพบูลย์เต็มที่ เป็น
จิตใหญ่มีสัตว์หาประมาณมิได้เป็นอารมณ์ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน
แผ่อัปปมัญญาพรหมวิหารตลอดโลกอันมีสัตว์ทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ด้วยความ
เป็นผู้มีใจในสัตว์ทั้งปวง ทั้งทิศเบื้องบนเบื้องต่ำเบื้องขวาง ดังนี้ อยู่เสมอ
อริยสาวกนั้นมีจิตหาเวรมิได้ อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้ อย่างนี้
มีจิตไม่เศร้าหมองแล้ว อย่างนี้ มีจิตหมดจดแล้ว อย่างนี้ เธอได้ความอุ่นใจ
สี่ประการในชาตินี้ ความอุ่นใจที่หนึ่งว่า ถ้าโลกเบื้องหน้ามีอยู่. ผลแห่งกรรม
ที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ข้อนี้เป็นสถานที่ตั้งซึ่งจะเป็นได้ คือเบื้องหน้าแต่กาย
แตกตายไปแล้ว เราจะเข้าไปถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวก
ได้แล้วเป็นที่หนึ่ง ความอุ่นใจที่สองว่า ถ้าโลกเบื้องหน้าไม่มี ผลแห่งกรรมที่
สัตว์ทำดีทำชั่วก็ไม่มี เราก็จะรักษาตนให้เป็นคนไม่มีเวร ไม่มีความลำบาก
ไม่มีทุกข์ มีแต่สุขในชาตินี้ ดังนี้ ความอุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สอง
ความอุ่นใจที่สามว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป บาปชื่อว่าเป็นอันทำ เราไม่ได้
คิดบาปให้แก่ใคร ๆ ไหนเลยทุกข์จักมาถูกต้องเราผู้ไม่ได้ทำบาปดังนี้ ความ-
อุ่นใจนี้ อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สาม ความอุ่นใจที่สี่ว่า ถ้าเมื่อบุคคลทำบาป
บาปไม่ชื่อว่าเป็นอันทำ เราก็ได้พิจารณาเห็นตนเป็นคนบริสุทธิ์ แล้วทั้งสองส่วน
ดังนี้ ความอุ่นใจนี้อริยสาวกได้แล้วเป็นที่สี่ อริยสาวกนั้นมีจิตหาเวรมิได้
อย่างนี้ มีจิตหาความเบียดเบียนมิได้ อย่างนี้ ทีจิตไม่เศร้าหมองแล้วอย่างนี้
มีจิตหมดจดแล้วอย่างนี้ เธอได้ความอุ่นใจสี่ประการเหล่านี้แล ในชาตินี้.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระธรรมเทศนาจบแล้ว กาลามชน
ทูลรับว่า ข้อนั้นเป็นจริงอย่างนั้น ๆ แล้ว ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 346
และแสดงตนเป็นอุบาสกว่า ภาษิตของพระองค์ไพเราะยิ่งนัก ๆ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมเทศนาโดยบรรยาย (เหตุหรือกระแสความ)
หลายอย่าง ให้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นทางที่จะปฏิบัติแจ้งชัดแก่ปัญญา อุปมา
ดุจบุคคลหงายของที่คว่ำ หรือเช่นเปิดของที่มีสิ่งกำบังไว้ หรือเหมือนบอกทาง
ให้แก่คนหลงทาง หรือเปรียบอย่างตามตะเกียงไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีนัยน์ตา
จักได้เห็นรูป ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรม
และพระสงฆ์เป็นที่พึ่งพำนัก ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้า
ไว้ว่าเป็นอุบาสก ถึงสรณะ (สิ่งที่ควรถึงว่าเป็นที่พึ่งพำนัก) จนตลอดชีวิต
จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้.
จบกาลามสูตรที่ ๕
อรรถกถากาลามสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกาลามสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กาลามาน นิคโม ได้แก่ นิคมของพวกกษัตริย์ ชื่อว่า
กาลามะ. บทว่า เกสปุตฺติยา ได้แก่ผู้อยู่ในนิคม ชื่อว่า เกสปุตตะ. บทว่า
อุปสงฺกมึสุ ความว่า ให้ถือเอาเภสัช มีเนยใส เนยข้น เป็นต้น และน้ำปานะ
๘ อย่าง เข้าไปเฝ้า.
บทว่า สกเยว วาท ทีเปนฺติ ความว่า กล่าวลัทธิของตนนั่นแหละ.
บทว่า โชเตนฺติ ได้แก่ประกาศ. บทว่า ขุเสนฺติ ได้แก่ พูดกระทบ
กระเทียบ. บทว่า วมฺเภนฺติ ได้แก่พูดดูหมิ่น. บทว่า ปริภวนฺติ ได้แก่
กระทำให้ลามก. บทว่า โอปปกฺขี กโรนฺติ ได้แก่ทำการลบล้าง คือยก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 347
ทิ้งไป. บทว่า อปเรปิ ภนฺเต ความว่า เล่ากันมาว่า บ้านนั้นตั้งอยู่ที่
ปากดง เพราะฉะนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ข้ามดงมาก็ดี จะถอยกลับก็ดี
ต้องพักอยู่ในบ้านนั้น. แม้บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกที่มาถึงก่อน
จะแสดงลัทธิของตนแล้วหลีกไป พวกที่มาภายหลัง ก็แสดงลัทธิของตนว่า
สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะรู้อะไร เขาเหล่านั้นเป็นอันเตวาสิกของพวกเรา
เล่าเรียนศิลปะบางอยู่ในสำนักของเรา ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป. ชาวกาลามะ
ทั้งหลายไม่สามารถ เพื่อจะยืนหยัดอยู่แม้ในลัทธิเดียวได้.
ชาวกาลามะเหล่านั้น แสดงความนี้แล้ว จึงกราบพูลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าอย่างนี้ แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า เตส โน ภนฺเต ดังนี้. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า โหเตว กงฺขา ความว่า (ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย) มีความ
เคลือบแคลงจริง ๆ. บทว่า วิจิกิจฺฉา เป็นไวพจน์ของ กงฺขา นั่นแหละ.
บทว่า อล แปลว่า ควรแล้ว.
บทว่า มา อนุสฺสเวน ได้แก่อย่าเชื่อถือ แม้โดยถ้อยคำตามที่ได้
ฟังมา. บทว่า มา ปรมฺปราย ได้แก่อย่าเชื่อถือ แม้โดยถ้อยคำที่นำสืบๆ
กันมา. บทว่า มา อิติกิริยาย ได้แก่อย่าเชื่อถือว่า ได้ยินว่าข้อนี้เป็น
อย่างนี้. บทว่า มา ปิฏกสมฺปทาเนน ได้แก่อย่าเชื่อถือว่า ข้อความนี้
สมกับตำราของเราบ้าง. บทว่า มา ตกฺกเหตุ ได้แก่อย่าเชื่อถือ แม้โดย
การถือเอาตามที่ตรึกไว้. บทว่า มา นยเหตุ ได้แก่อย่าเชื่อถือ แม้โดยการถือ
เอาตามนัย. บทว่า มา อาการปริวิตกฺเกน ได้แก่อย่าเชื่อถือ แม้โดยการตรึก
ตามเหตุการณ์อย่างนี้ว่า เหตุนี้ดี. บทว่า ทิฏฺินิชฺฌานกฺขนฺติยา ได้แก่
อย่าเชื่อถือว่า ข้อนี้สมกับความเห็น ที่พวกเราพินิจพิจารณา ทนต่อการ
พิสูจน์ จึงถือเอา. บทว่า มา ภพฺพรูปตาย ได้แก่อย่าเชื่อถือ โดยคิดว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 348
ภิกษุนี้เหมาะสม ควรเธอถือถ้อยคำของภิกษุนี้ได้. บทว่า มา สมโณ โน
ครุ ได้แก่อย่าเชื่อถือว่า พระสมณะรูปนี้ เป็นครูของเรา ควรเธอถือถ้อยคำ
ของพระสมณะรูปนี้ได้.
บทว่า สมตฺตา ได้แก่บริบูรณ์. บทว่า สมาทินฺนา ได้แก่ที่เรา
ถือเอาแล้ว คือลูบคลำแล้ว. บทว่า ย ตสฺส โหติ ความว่า เหตุใดมีแก่
บุคคลนั้น. กุศลมูลทั้งหลาย มีอโลภะเป็นต้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งธรรม
ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบุพภาคแห่งเมตตา
ด้วยบทมีอาทิว่า วิคตาภิชฺโฌ ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสกัมมัฏฐาน มีเมตตาเป็นต้น
จึงตรัสคำมีอาทิว่า เมตฺตาสหคเตน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทใด
พึงกล่าวโดยนัยแห่ง กัมมัฏฐานกถา และภาวนาปธาน หรือโดยอรรถกถา
แห่งบาลี คำทั้งหมดนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล้ว
บทว่า เอว อเวรจิตฺโต ความว่า ชื่อว่า มีจิตหาเวรมิได้เพราะ
ไม่มี ทั้งเวรที่เป็นอกุศล ทั้งบุคคลผู้เป็นคู่เวร. บทว่า อพฺยาปชฺฌจิตฺโต
ความว่า ชื่อว่า มีจิตหาทุกข์มิได้ เพราะไม่มีจิตโกรธเคือง. บทว่า อสงฺ-
กิลิฏฺ จิตฺโต ความว่า ชื่อว่า ผู้มีจิตไม่เศร้าหมอง เพราะไม่มีกิเลส. บทว่า
วิสุทฺธจิตฺโต มีอธิบายว่า ชื่อว่ามีจิตบริสุทธิ์ เพราะไม่มีมลทิน คือ กิเลส.
บทว่า ตสฺส ได้แก่พระอริยสาวกนั้น คือ เห็นปานนั้น. บทว่า อสฺสาสา
ได้แก่เป็นที่อาศัย คือเป็นที่พึ่ง.
บทว่า สเจ โข ปน อตฺถิ ปโร โลโก ความว่า ถ้าชื่อว่า
โลกอื่น นอกจากโลกนี้ มีอยู่ไซร้. บทว่า านเมต เยนาห กายสฺส
เภทา ฯ เป ฯ อุปปชฺชิสฺสามิ ความว่า ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 349
หลังจากตายแล้ว เพราะกายแตกสลายไป เป็นเหตุที่มีได้ ฉะนั้น ในทุก ๆ บท
พึงทราบนัยดังที่พรรณนามานี้. บทว่า อนีฆ แปลว่า ไม่มีทุกข์. บทว่า
สุขึ แปลว่า ถึงแล้วซึ่งความสุข. บทว่า อุภเยเนว วิสุทฺธ อตฺตาน
สมนุปสฺสามิ ความว่า เราจะพิจารณาเห็นตัวเอง เป็นผู้บริสุทธิ์ ด้วยเหตุ
ทั้งสองนี้ คือ (ถ้าบาปเป็นอันบุคคลต้องทำ) เราก็ไม่ได้ทำบาป แม้เมื่อ
บุคคลทำบาปมีอยู่ เราก็ไม่ได้ทำ ๑. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถากาลามสูตรที่ ๕
๖. สาฬหสูตร
ว่าด้วยมิให้เชื่อโดยอาการ ๑๐ อย่าง
[๕๐๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระนันทกะ อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา
มิคารมาตา ในปุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล นายสาฬหะ
หลานชายของมิคารเศรษฐี กับนายโรหนะหลานชายของเปขุณิยเศรษฐี ได้
ชวนกันเข้าไปหาท่านพระนันทกะจนถึงที่อยู่ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระนันทกะได้กล่าวว่า ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ
มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา...
อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา ดูก่อนสาพหะและ
โรหนะ เมื่อใด ท่านพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้
มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น ท่าน
ทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 350
สำคัญความในข้อนั้นเป็นไฉน ความโลภมีอยู่หรือ นายสาฬหะและนายโรหนะ
รับรองว่ามี ขอรับ.
น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อภิชฌาบุคคล
ผู้โลภ มากด้วยความอยากได้นี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้
พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์
สิ้นกาลนาน บุคคลผู้โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ
น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน ความโกรธมีอยู่หรือ
สา. มี ขอรับ
น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า ความพยาบาท
บุคคลผู้ดุร้ายมีจิตพยาบาทนี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้
พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ สิ้น-
กาลนาน บุคคลผู้โกรธย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็ได้
สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ
น. ดูก่อนสาพหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน ความหลงมีอยู่หรือ
สา. มี ขอรับ
น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อวิชชา บุคคล
ผู้หลงตกอยู่ในอำนาจอวิชชานี้ ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้
พูดเท็จก็ได้ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ สิ้น
กาลนาน บุคคลผู้หลงย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้
สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 351
น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
สา. เป็นอกุศล ขอรับ
น. มีโทษหรือไม่มีโทษ
สา. มีโทษ ขอรับ
น. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ
สา. ท่านผู้รู้ติเตียน ขอรับ
น. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อส่งไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อทุกข์หรือหาไม่ ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร
สา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ในข้อนี้ ผมมีความเห็นอย่างนี้
น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูก่อนสาฬหะ
และโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยิน
ได้ฟังมา... อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด
ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ
ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย
ควรละธรรมเหล่านี้เสีย ดังนี้ เพราะอาศัยคำที่ได้กล่าวไว้แล้ว ฉะนั้น เราจึง
ได้กล่าวไว้ดังนี้ ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
อย่ายึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา... อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่า
สมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้
เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้
ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 352
เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่ ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ
ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความไม่โลภมีอยู่หรือ
สา. มี ขอรับ
น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า อนภิชฌาบุคคล
ผู้ไม่โลภไม่มากด้วยความอยากได้นี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้
ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน
บุคคลผู้ไม่โลภย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น
สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ
น. ดูก่อนสาพหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน ความไม่โกรธมีอยู่หรือ
สา. มี ขอรับ
น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่าความไม่พยาบาท
บุคคลผู้ไม่โกรธมีจิตใจไม่พยาบาทนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้
ไม่พูดเท็จ สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน
บุคคลผู้ไม่โกรธย่อมชักซวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น
สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ
น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน ความไม่หลงมีอยู่หรือ
สา. มี ขอรับ
น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ความข้อนี้เรากล่าวว่า วิชชา บุคคล
ผู้ไม่หลงถึงความรู้แจ้งนี้ ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ
สิ่งใดย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน บุคคลผู้
ไม่หลง ย่อมชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 353
สา. จริงอย่างนั้น ขอรับ.
น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรืออกุศล.
สา. เป็นกุศล ขอรับ.
น. มีโทษหรือไม่มีโทษ.
สา. ไม่มีโทษ ขอรับ.
น. ท่านผู้รู้ติเตียนหรือท่านผู้รู้สรรเสริญ.
สา. ท่านผู้รู้สรรเสริญ ขอรับ.
น. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข หรือไม่เล่า ในข้อนี้ ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไร.
สา. ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความสุข ขอรับ ในข้อนี้ ผมมีความเห็นเช่นนี้.
น. ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ เราได้กล่าวคำใดไว้ว่า ดูก่อนสาฬหะ
และโรหนะ มาเถอะท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยิน
ได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบ ๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า
เขาว่าอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง
อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเนอย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการอย่าได้ยึดถือ
โดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฏฐิของตัว อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะ
เชื่อได้ อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา เมื่อใด ท่าน
ทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ
ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ผู้ใดสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรม
เหล่านั้นอยู่ ดังนี้ เพราะอาศัยคำที่กล่าวไว้แล้วนั้น ฉะนั้น เราจึงได้กล่าว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 354
ไว้ดังนี้ ดูก่อนสาฬหะและโรหนะ อริยสาวกนั้นปราศจากความโลภ ปราศจาก
ความพยาบาท ไม่หลงแล้วอย่างนี้ มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นคง มีใจประกอบ
ด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า
ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่
หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา...
มีใจประกอบด้วยมุทิตา... มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่
ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอัน
ประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ขันธ์ ๕ นี้มีอยู่
ธรรมชาติชนิดทรามมีอยู่ ธรรมชาติชนิดประณีตมีอยู่ การที่สัญญานี้สลัด
สังขารทุกข์เสียได้อย่างสูงมีอยู่ เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จาก
การมาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณ
หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่
ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อนเรามีโลภะ ข้อนั้นเป็นการไม่ดี บัดนี้ โลภะนั้นไม่มี ความไม่มีโลภะ
เป็นความดี เมื่อก่อนเรามีโทสะ... เมื่อก่อนเรามีโมหะ ข้อนั้นเป็นการไม่ดี
บัดนี้ โมหะนั้นไม่มี ความไม่มีโมหะนั้นเป็นความดี เธอย่อมเป็นผู้ไม่มี
ความทะยานอยาก ดับสนิท เยือกเย็น เสวยสุข มีตนเป็นประหนึ่งพรหม
อยู่ในปัจจุบัน.
จบสาฬหสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 355
อรรถกถาสาฬหสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสาฬหสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มิคารนตฺตา แปลว่า เป็นหลานของมิคารเศรษฐี. บทว่า
เขณิยนตฺตา๑ แปลว่า เป็นหลานของเขณิยเศรษฐี. บทว่า อุปสงฺกมึสุ
ความว่า หลานทั้งสอง รับประทานอาหารเช้าแล้ว มีทาสและกรรมกรห้อมล้อม
เข้าไปหาแล้ว. ได้ยินว่า เวลาเช้า ก่อนอาหาร ที่เรือนของหลานเศรษฐี
ทั้งสองนั้น ตั้งปัญหาข้อหนึ่ง แต่ไม่มีโอกาสที่จะแก้ปัญหานั้นได้. เขาทั้งสอง
คิดว่า เราจักฟังปัญหานั้น จึงไปยังสำนักของพระเถระไหว้แล้ว นั่งดุษณี-
ภาพอยู่.
พระเถระรู้ใจของเขาเหล่านั้นว่า เขาจักมาพึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในบ้าน
นั้น๒ ดังนี้แล้ว เมื่อจะเริ่มพูดกันถึงปัญหานั้นแหละ๓ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
เอถ ตุมฺเห สาฬฺหา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ โลโภ
ความว่า พระนันทกเถระ ถามว่า ชื่อว่า ความโลภ มีความอยากได้เป็น
สภาพ มีอยู่หรือ. บทว่า อภิชฺฌาติ โข อห สาฬฺหา เอตมตฺถ วทามิ
ความว่า พระนันทกเถระ เมื่อจะแสดงความแห่งปัญหาที่ตั้งขึ้น จึงกล่าวว่า
เรากล่าวความข้อนี้ กล่าวคือความโลภ ว่าเป็นอภิชฌา ว่าเป็นตัณหา
ดังนี้. ควรนำนัยนี้ ไปใช้ในทุก ๆ วาระอย่างนี้.
บทว่า โส เอว ปชานาติ ความว่า พระอริยสาวกนั้น เจริญ-
พรหมวิหาร ๔ ดำรงอยู่แล้ว ออกจากสมาบัติแล้ว เมื่อเริ่มวิปัสสนา ย่อมรู้ชัด
๑. บาลีเป็น เปขุณิยนตฺตา ม. เสขุณิยตฺตา
๒. ปาฐะว่า คามนฺตรสมุฏฺิต ฉบับพม่าเป็น คาเม ต สมุฏฺิต แปลตามฉบับพม่า.
๓. ปาฐะว่า ตเถว ฉบับพม่าเป็น ตเม บญฺห แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 356
อย่างนี้. บทว่า อตฺถิ อิท ความว่า พระอริยสาวกนี้ เมื่อกำหนดรู้ขันธ-
ปัญจก กล่าวคือทุกขสัจ ด้วยสามารถแห่งนามรูปว่า ทุกขสัจมีอยู่ ท่านเรียกว่า
รู้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้มีอยู่. บทว่า หีน ได้แก่สมุทยสัจ. บทว่า ปณีต ได้แก่
มัคคสัจ. บทว่า อิมสฺส สญฺาคตสฺส อุตฺตริ นิสฺสรณ ความว่า
พระนันทกเถระ แสดงนิโรธสัจด้วยคำนี้ว่า ธรรมดาการแล่นออกไปอย่างยิ่ง
แห่งสัญญา กล่าวคือ วิปัสสนาสัญญานี้ ชื่อว่า นิพพาน นิพพานนั้นมีอยู่.
บทว่า วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺติมิติ าณ ความว่า ปัจจเวกขณญาณ
๑๙ อย่าง ท่านกล่าวไว้แล้ว. บทว่า อหุ ปุพฺเพ โลโภ ความว่า
ความโลภของเราได้มีแล้วในกาลก่อน. บทว่า ตทหุ อกุสล ความว่า
นั้นได้ชื่อว่าเป็นอกุศล อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อกุศล ได้มีแล้วในกาลนั้น.
บทว่า อิจฺเจต กุสล ตัดบทเป็น อิติ เอต กุสล แปลว่า อย่างนี้เป็น
กุศล. พระนันทกเถระกล่าวหมายเอา ความไม่มีแห่งอกุศลนั่นแหละ ว่าเป็นกุศล
คือเป็นแดนเกษม.
บทว่า นิจฺฉาโต แปลว่า หมดตัณหา. บทว่า นิพฺพุโต ความว่า
ชื่อว่าดับแล้ว เพราะไม่มีกิเลสที่กระทำควานเร่าร้อนในภายใน. บทว่า สีติภูโต
แปลว่า เป็นผู้เยือกเย็นแล้ว. บทว่า สุขปฏิสเวที ได้แก่ เป็นผู้เสวยสุข
ทางกายและทางใจ. บทว่า พฺรหฺมภูเตน ได้แก่เป็นผู้ประเสริฐสุด. คำที่เหลือ
ในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสาฬหสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 357
๗. กถาวัตถุสูตร
ว่าด้วยถ้อยคำที่ควรพูด ๓ อย่าง
[๕๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กถาวัตถุ ๓ นี้ กถาวัตถุ ๓ คืออะไร
คือบุคคลพึงพูดเรื่องราวปรารภเวลาที่เป็นอดีตว่า กาลที่ล่วงแล้วได้เป็นอย่างนี้
อย่าง ๑ พูดเรื่องราวปรารภเวลาที่เป็นอนาคตว่า กาลภายหน้าจักเป็นอย่างนี้
อย่าง ๑ พูดเรื่องราวปรารภเวลาที่เป็นปัจจุบันบัดนี้ว่า กาลที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า
บัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้ อย่าง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล พึงรู้กันได้ด้วยกถาสัมปโยค ว่าจะเป็น
บุคคลควรสนทนา หรือว่าเป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหา
แล้ว ไม่แก้ตรงซึ่งเอกังสพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ต้องแก้ตรง) ไม่แก้
จำแนกซึ่งวิภัชชพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ต้องแก้จำแนก) ไม่ย้อนถาม
แล้วจึงแก้ซึ่งปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา (ปัญหาที่ต้องย้อนถามแล้วจึงแก้)
ไม่ยกเลิกซึ่งฐปนียปัญหา (ปัญหาที่ต้องยกเลิก) เช่นนี้ บุคคลนี้เป็น
บุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหาแล้ว แก้ตรงซึ่ง เอกังสพ-
ยากรณียปัญหา แก้จำแนกซึ่งวิภัชชพยากรณียปัญหา ย้อนถามแล้วจึงแก้
ซึ่งปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ยกเลิกซึ่งฐปนียปัญหา เช่นนี้ บุคคลนี้เป็น
บุคคลควรสนทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล พึงรู้กันได้ด้วยกถาสัมปโยค ว่าจะเป็น
บุคคลควรสนทนา หรือว่าเป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหา
แล้ว ไม่มั่นอยู่ในฐานะ (ข้อที่เป็นได้) และอฐานะ (ข้อที่เป็นไม่ได้)
ไม่มั่น อยู่ในข้อที่กำหนดไว้ ไม่มั่น อยู่ในวาทะของผู้อื่น ไม่มั่นอยู่ในข้อปฏิบัติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 358
บุคคลเช่นนี้ เป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหา มั่นอยู่ใน
ฐานะและอฐานะ มั่นอยู่ในข้อที่กำหนดไว้ มั่นอยู่ในวาทะของผู้อื่น มั่นอยู่ใน
ข้อปฏิบัติ บุคคลเช่นนี้ เป็นบุคคลควรสนทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล พึงรู้กันได้ด้วยกถาสัมปโยค ว่าจะเป็น
บุคคลควรสนทนา หรือว่าเป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหา
แล้ว พูดกลบเกลื่อนนอกเรื่องนอกทาง แสดงความขุ่นเคืองความโกรธแค้น
ความน้อยใจให้ปรากฏ บุคคลอย่างนี้ เป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่
ถูกถามปัญหาแล้วไม่พูดกลบเกลื่อน ไม่นอกเรื่องไม่นอกทาง ไม่แสดงความ
ขุ่นเคืองความโกรธแค้น ความน้อยใจให้ปรากฏ บุคคลอย่างนี้ เป็นบุคคลควร
สนทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล พึงรู้กันได้ด้วยกถาสัมปโยค ว่าจะเป็น
บุคคลควรสนทนา หรือว่าเป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหา
แล้ว พูดพล่าม พูดเหยียบย่ำ พร่ำหัวเราะ คอยจับคำพลาด บุคคลชนิดนี้
เป็นบุคคลไม่ควรสนทนา ถ้าบุคคลที่ถูกถามปัญหาแล้ว ไม่พูดพล่าม ไม่พูด
เหยียบย่ำ ไม่พร่ำหัวเราะ ไม่คอยจับคำพลาด บุคคลอย่างนี้ เป็นบุคคล
ควรสนทนา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล พึงรู้กันได้ด้วยกถาสัมปโยค ว่าจะเป็น
บุคคลมีอุปนิสัยปัจจัย หรือเป็นบุคคลไม่มีอุปนิสัยปัจจัย ผู้ไม่เงี่ยโสต
(คอยฟัง) เป็นบุคคลไม่มีอุปนิสัยปัจจัย ผู้เงี่ยโสต (คอยฟัง) เป็นบุคคลมี
อุปนิสัยปัจจัย
บุคคลนั้นเป็นผู้มีอุปนิสัยปัจจัย ย่อมรู้ยิ่งเห็นจริงซึ่งธรรมอันหนึ่ง
ย่อมกำหนดรู้ซึ่งธรรมอันหนึ่ง ย่อมละซึ่งธรรมอันหนึ่ง ย่อมทำให้แจ้งซึ่งธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 359
อันหนึ่ง เมื่อรู้ยิ่งเห็นจริงซึ่งธรรมอันหนึ่ง กำหนดรู้ซึ่งธรรมอันหนึ่ง ละซึ่ง
ธรรมอันหนึ่ง ทำให้แจ้งซึ่งธรรมอันหนึ่ง ย่อมถึงวิมุตติโดยชอบ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพูดกันมีอันนี้เป็นประโยชน์ การปรึกษากัน
มีอันนี้เป็นประโยชน์ อุปนิสัยปัจจัยมีอันนี้เป็นประโยชน์ การเงี่ยโสตมีอันนี้
เป็นประโยชน์ อันนี้คืออะไร คือความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ยึดถือ
ชนเหล่าใดพูดกันอยู่ ผิดใจกัน มั่น
มุ่งไปคนละทาง ต่างยกตัวกระทบกระ-
เทียบกันอย่างอนารยชน จ้องหาช่องผิด
ของกันและกัน ชนเหล่านั้นย่อมยินดีคำผิด
คำพลาด ความเผลอ ความเพ้อของกัน
และกัน อารยชนไม่ประพฤติการพูดกัน
อย่างนั้น.
ถ้าอารยชนใคร่จะพูด ก็เป็นผู้ฉลาด
รู้จักกาล พูดแต่ถ้อยคำที่ประกอบด้วยเหตุ
ผล ที่อารยชนประพฤติกัน ไม่โกรธ ไม่
ยกตัว มีใจสงบ ไม่ตีเสมอ ไม่รุนแรง
ไม่เอาหน้า รู้ชอบแล้วจึงกล่าว ที่เขาพูดถูก
ก็อนุโมทนา เมื่อเขาพูดผิด ก็ไม่รุกราน
ไม่ใฝ่เอาเปรียบ เขาพูดพลั้งไปบ้างก็ไม่
ถือ ไม่พูดพล่าม ไม่พูดเหยียบย่ำเขา ไม่
พูดคำสบถสาบาน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 360
การพูดของสัตบุรุษทั้งหลาย เป็น
การพูดเพื่อให้เกิดความรู้ ความเลื่อมใส
อารยชนทั้งหลายย่อมพูดกันอย่างนี้ นี่เป็น
การสนทนากันแห่งอารยชน ผู้มีปัญญา
รู้ความข้อนี้แล้ว พึงพูดจาอย่ายกตัว.
จบกถาวัตถุสูตรที่ ๗
อรรถกถาวัตถุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกถาวัตถุสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กถาวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุที่ให้เกิดกถา อธิบายว่าเป็นพื้นฐาน
คือเป็นที่ตั้งแห่งกถา. บทว่า อตีต วา ภิกฺขเว อทฺธาน ความว่า กาลก็ดี
ขันธ์ก็ดี ชื่อว่า อตีตัทธา (ระยะกาลอันยืนยาวนานที่ผ่านมาแล้ว) ก็ควร.
แม้ในอนาคตและปัจจุบัน ก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้.
ในบรรดากาลทั้ง ๓ นั้น เมื่อพูดโดยนัยนี้ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่า กัสสปะ ที่มาแล้วในอดีต พระเจ้ากรุงกาสีทรงพระนามว่า กิงกิ
ได้เป็นอรรคอุปัฏฐากของพระองค์ พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนนานถึง
๒๐,๐๐๐ ปี ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวคาถาปรารภอดีต.
เมื่อกล่าวโดยนัยนี้ว่า พระพุทธเจ้าพระนามว่า เมตไตรย จักมีมาใน
อนาคต พระราชาพระนามว่า สังขะ. จักเป็นอรรคอุปัฏฐากของพระองค์
พระองค์จะมีพระชนมายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวคาถาปรารภอนาคต.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 361
เมื่อกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า ในปัจจุบันนี้ พระราชาพระนามอย่างโน้น
เป็นธรรมิกราช พระองค์โน้นก็เป็นธรรมิกราช ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวกถาปรารภ
ปัจจุบัน.
บทว่า กถาสมฺปโยเคน ได้แก่ ประคารมกัน. บทว่า กจฺโฉ
แปลว่า ควรเพื่อจะกล่าว. บทว่า อกจฺโฉ ความว่า ไม่ควรเพื่อจะกล่าว.
พึงทราบวินิจฉัย ในคำมีอาทิว่า เอกสพฺยากรณีย ปญฺห ดังต่อไปนี้
ผู้ถูกถามว่า จักษุไม่เที่ยงหรือ ควรตอบโดยส่วนเดียวว่า ถูกแล้ว
จักษุไม่เที่ยง. ในอินทรีย์ทั้งหลายมีโสตะเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. นี้
ชื่อว่า เป็นปัญหาที่พึงตอบโดยส่วนเดียว (คือตอบประเด็นเดียว).
แต่ผู้ถูกถามว่า จักษุ ชื่อว่า ไม่เที่ยงหรือ ก็ควรแยกตอบอย่างนี้ว่า
ไม่ใช่จักษุอย่างเดียวที่ไม่เที่ยง ถึงโสตะก็ไม่เที่ยง ถึงฆานะก็ไม่เที่ยง นี้ ชื่อว่า
เป็นปัญหาที่ต้องแยกตอบ.
ผู้ถูกถามว่า โสตะเหมือนกับจักษุ จักษุเหมือนกับโสตะหรือ ควร
ย้อนถามว่า ท่านถามโดยหมายความอย่างไร ? เมื่อเขาตอบว่า เราถามหมาย
ถึงการเห็น แล้วจึงตอบว่า ไม่เหมือนกัน แต่เมื่อเขาตอบว่า ผมถามหมายถึง
ความไม่เที่ยง ก็ควรตอบว่า ถูกแล้ว นี้ชื่อว่า เป็นปัญหาที่ต้องย้อนถาม
แล้วจึงตอบ.
แต่ผู้ถูกถามปัญหา เป็นต้นว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นหรือ ?
ควรงดตอบ โดยพูดว่า ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาแบบนี้
เป็นปัญหาที่ไม่ควรพยากรณ์ นี้ชื่อว่า เป็นปัญหาที่ควรงดตอบ.
บทว่า านฏฺาเน น สณฺาติ ความว่า ไม่ตั้งอยู่ในเหตุหรือ
ในสิ่งที่ไม่ใช่เหตุ. ในข้อนั้นมีนัยดังต่อไปนี้ ก็สัสสตวาทีบุคคล (ผู้ถือลัทธิว่า
ยั่งยืน) สามารถเพื่อจะข่มอุจเฉทวาทีบุคคล (ผู้ถือลัทธิว่าขาดสูญ) ด้วยเหตุ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 362
ที่สมควรได้ อุจเฉทวาทีบุคคลเมื่อถูกข่มขู่ จะแสดงความเป็นสัสสตวาทีบุคคล
ออกมาว่า ก็ผมพูดความขาดสูญหรือ ? เขาชื่อว่าไม่สามารถยืนหยัดอยู่ในวาทะ
ของตนได้ เมื่ออุจเฉทวาทีบุคคลสามารถ (ข่มเขาอยู่) อย่างนี้ เขาจะกลาย
เป็นสัสสตวาทีบุคคลไป เมื่อปุคคลวาทีบุคคล (ผู้ถือลัทธิว่ามีบุคคล) สามารถ
(ข่มเขาอยู่) เขาก็จะกลายเป็นสุญญตวาทีบุคคล (ผู้ถือลัทธิว่าสูญ) ไป เมื่อ
สุญญตวาทีบุคคลสามารถ (ข่มเขาอยู่) เขาก็จะกลายเป็น ปุคคลวาทีบุคคลไป
ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ย่อมชื่อว่า ไม่ยืนหยัดอยู่ ทั้งในฐานะและอฐานะ.
คำว่า ปริกปฺเป น สณฺาติ นี้ ได้ทั้งในการถามปัญหาและการ
ตอบปัญหา. ถามว่า ข้อนี้อย่างไร ตอบว่า ก็คนบางคน ชูคอหมายจะถาม
ปัญหาว่า เราจักถามปัญหาเขาดู อีกฝ่ายหนึ่งพูดว่า ท่านจะถามปัญหานี้หรือ
รู้ว่าเขารู้แล้วก็พูดว่า ไม่ใช่ข้อนี้ ผมจะถามข้ออื่น. แม้เธอถูกถามปัญหาก็เชย
คางหมายจะตอบปัญหาว่า เราจักตอบปัญหา. เธอถูกอีกฝ่ายหนึ่งพูดว่า ท่าน
จักตอบปัญหานี้หรือ รู้ว่าเขารู้แล้ว ก็พูดว่า ไม่ใช่ข้อนี้ เราจะตอบข้ออื่น
อย่างนี้ ชื่อว่าไม่ตั้งมั่นอยู่ในข้อที่กำหนดไว้.
บทว่า อญฺวาเท น สณฺาติ ความว่า ไม่ตั้งมั่นในวาทะที่
รู้แล้ว คือในวาทะที่ทราบแล้ว. ถามว่า ข้อนี้อย่างไร ตอบว่า คนลางคน
ถามปัญหาอยู่ อีกฝ่ายหนึ่งพูดกะเขาว่า ท่านถามปัญหาถูกใจ ปัญหานี้ ท่าน
เรียนมาจากไหน ? ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งถามปัญหา ตามแนวที่จะต้องถามนั่นแหละ
ก่อให้เกิดความฉงนในถ้อยคำแก่ผู้นั้นว่า ที่เราถามแล้วไม่ตรงประเด็นหรือ
อย่างไร ? ฝ่ายหนึ่งที่ถูกถามปัญหาแล้ว ตอบปัญหาอยู่. คนอื่นพูดกะเขาว่า
ท่านตอบปัญหาดีแล้ว ท่านเรียนปัญหามาจากไหน ธรรมดาผู้จะตอบปัญหา
ต้องตอบอย่างนี้ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง แม้แก้ปัญหาตามแนวที่จะต้องแก้นั่นแหละ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 363
แต่ก่อให้เกิดความฉงนในถ้อยคำแก่ผู้นั้นว่า ที่เราตอบไปแล้ว ไม่ตรงประเด็น
หรืออย่างไร ?
บทว่า ปฏิปทาย น สณฺาติ ความว่า ไม่ตั้งอยู่ในข้อปฏิบัติ
อธิบายว่า ถามในสิ่งที่ไม่ควรถาม โดยไม่รู้ธรรมเนียม. ก็ธรรมดาปัญหานี้
ผู้ที่ถูกเขาถามที่ลานเจดีย์ ไม่ควรตอบ. ในทางภิกษาจารก็ดี ในเวลาเที่ยวไป
บิณฑบาตในบ้านก็ดี ในเวลานั่งบนอาสนศาลาก็ดี ในเวลานั่งรับข้าวยาคูและ
ภัตรก็ดี ในเวลานั่งฉันก็ดี แม้ในเวลาเดินทางไปสู่ที่พักกลางวันก็ดี ก็ไม่ควร
ตอบเหมือนกัน. แต่ในเวลานั่งในที่พักกลางวัน เมื่อเขาขอโอกาสก่อนถาม
ก็ควรตอบ เมื่อไม่ขอโอกาสแล้วถาม ก็ไม่ควรตอบ. ผู้ถามโดยไม่รู้ธรรมเนียม
นี้ ชื่อว่า ไม่ตั้งมั่น อยู่ในปฏิปทา. บทว่า เอว สนฺตาย ภิกฺขเว ปุคฺคโล
อกจฺโฉ โหติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเหตุนี้มีอยู่ บุคคลนี้
ชื่อว่า ไม่ควรตอบปัญหานี้.
บทว่า านฏฺาเน สณฺาติ ความว่า สัสสตวาทีบุคคลมีพอที่จะ
ข่มอุจเฉทวาทีบุคคล. อุจเฉทวาทีบุคคล แม้ถูกสัสสตวาทีบุคคลข่มอยู่ ก็กล่าว
(ยืนยัน ) ว่า เราแม้จะถูกท่านข่มขู่อยู่ ๗ ครั้ง ก็ยังคงเป็นอุจเฉทวาทีอยู่นั่นเอง
แม้ในสัสสตวาทีบุคคล ปุคคลวาทีบุคคลและสุญญตวาทีบุคคล ก็พึงนำนัย
ไปโดยนัยนี้แหละ อย่างนี้ ชื่อว่า ตั้งมั่นอยู่ในฐานะและอฐานะ.
บทว่า ปริปฺเป สณฺาติ ความว่า คนบางคนชูคอหมายจะถาม
ปัญหาว่า เราจะถามปัญหา เมื่อถูกเขาพูดว่า ท่านจักถามปัญหาชื่อนี้หรือ ?
ก็ตอบว่า ถูกละ เราจะถามปัญหาข้อนี้แหละ (ถึงเธอถูกถามปัญหา) ก็เชยคาง
หมายจะตอบปัญหาว่า เราจะตอบปัญหา เมื่อถูกถามว่า ท่านจักตอบปัญหา
ข้อนี้หรือ ? ก็พูดยืนยันว่า ถูกละ เราจะตอบปัญหาข้อนี้แหละ อย่างนี้ ชื่อว่า
ตั้งมั่น อยู่ในข้อที่กำหนด.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 364
บทว่า อญฺวาเท สณฺาติ ความว่า บุคคลบางคนถามปัญหาแล้ว
มีผู้กล่าวว่า ท่านถามปัญหาดีแล้ว ธรรมดาผู้ถามปัญหาควรถามอย่างนี้ ดังนี้
แล้ว ก็รับรองไม่ให้เกิดความฉงน (แก่ผู้อื่น). แม้ตอบปัญหาแล้ว เมื่อมีผู้
พูดว่า ท่านตอบปัญหาดีแล้ว ธรรมดาผู้ตอบปัญหา ควรตอบอย่างนี้ ก็รับรอง
ไม่ให้เกิดความฉงนขึ้น (อย่างนี้ชื่อว่า ตั้งมั่นอยู่ในเพราะวาทะของผู้อื่น)
บทว่า ปฏิปทาย สณฺาติ ความว่า ภิกษุบางรูปเขานิมนต์ให้นั่ง
ในเรือน ถวายข้าวยาคูและของควรเคี้ยวเป็นต้น นั่งอยู่ในระหว่างจนกว่าจะ
เสร็จภัตกิจ จึงจะถามปัญหา ถือ เอาเภสัช มีเนยใส เป็นต้น น้ำปานะ ๘
อย่าง หรือผ้าเครื่องปกปิด ระเบียบ และของหอมเป็นต้น เดินไปวิหาร
ให้ของเหล่านั้นแล้ว เข้าสู่ที่พักกลางวัน ขอโอกาสแล้วจึงถามปัญหา จริงอยู่
ผู้ถามปัญหาโดยรู้ธรรมเนียมอย่างนี้ ชื่อว่าตั้งมั่นอยู่ในปฏิปทา เธอจะตอบ
ปัญหาของเขาก็ควร.
บทว่า อญฺเนญฺ ปฏิจรติ ความว่า กลบเกลื่อนถ้อยคำอย่าง
หนึ่ง ด้วยถ้อยคำอีกอย่างหนึ่ง หรือถูกถามปัญหาอย่างหนึ่ง ตอบไปอีก
อย่างหนึ่ง. บทว่า พหิทฺธา กถ อปนาเมติ ความว่า เมื่อข้ามเรื่องแรก
เสีย ชื่อว่าพูดถลากไถล (ไม่ตรงไปตรงมา). ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้
เรื่องพระพูดถลากไถลนอกเรื่อง
เล่ากันมาว่า ภิกษุทั้งหลายประชุมกันแล้ว กล่าวกะภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง
ว่า อาวุโส ท่านต้องอาบัติชื่อนี้ และชื่อนี้. ภิกษุหนุ่มตอบว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ ผมเดินทางไปนาคทวีป. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส พวกเราไม่
สนใจเรื่องที่ท่านไปนาคทวีป แต่พวกเราถามท่านว่า ท่านต้องอาบัติหรือ.
ภิกษุหนุ่ม. ท่านขอรับ ผมไปนาคทวีป แล้วฉันปลา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 365
ภิกษุทั้งหลาย. อาวุโส เรื่องฉันปลาของคุณ พวกเราไม่เกี่ยว เขาว่า
คุณต้องอาบัติ.
ภิกษุหนุ่ม. ครับผม ปลาไม่ค่อยสุก ทำให้ผมไม่สบาย.
ภิกษุทั้งหลาย. อาวุโส คุณจะสบาย หรือไม่สบาย พวกเราไม่เกี่ยว
(แต่) คุณต้องอาบัติ.
ภิกษุหนุ่ม. ขอรับ กระผมเกิดไม่สบาย ตลอดเวลาที่อยู่ในนาคทวีป
นั้น.
ด้วยเรื่องตามที่เล่ามานี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมพูดถลากไถลไป
นอกเรื่อง โดยการเอาเรื่องอื่นเข้ามาพูดแทรก.
บทว่า อภิหรติ ความว่า พูดพล่าม โดยนำเอาพระสูตรโน้นบ้าง
นี้บ้าง ดุจพระเตปิฎกติสสเถระ. เล่ากันมาว่า เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายประชุม
กันที่ลานมหาเจดีย์ กระทำกิจของสงฆ์แล้ว ให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้ว
สนทนาได้ถามปัญหากัน. ในที่ประชุมนั้น พระเถระรูปนี้ ชักพระสูตรมาจาก
คัมภีร์นั้น ๆ จากพระไตรปิฎก ตลอดทั้งวัน แม้ปัญหาข้อเดียวก็จบไม่ได้.
บทว่า อภิมทฺทติ ความว่า ชักเหตุมาพูดย่ำยี. บทว่า อนูปชคฺฆติ
ความว่า เมื่อภิกษุรูปอื่นถามปัญหาก็ดี ตอบปัญหาก็ดี ปรบมือ หัวเราะเฮฮา
อันเป็นเหตุให้เกิดความฉงนสนเท่ห์ว่า เราถามปัญหาที่ผู้อื่นเขาไม่ถาม หรือ
ตอบปัญหาที่เขาไม่ตอบกัน. บทว่า ขลิต คณฺหาติ ความว่า จับเอาข้อความ
ที่กล่าวพลาดไปเล็กน้อย คือเที่ยวยกโทษว่า ข้อนี้ต้องตอบอย่างนี้ในเมื่อพูด
พลาดไปอักขระ ๑ บท ๑ หรือพยัญชนะ ๑.
บทว่า สอุปนิโส ได้แก่มีอุปนิสัย. คือมีปัจจัย. บทว่า โอหิตโสโต
ได้แก่ตั้งใจฟัง. บทว่า อภิชานาติ เอก ธมฺม ความว่า รู้ยิ่งซึ่งกุศลธรรม
อย่างหนึ่ง คือรู้อริยมรรค. บทว่า ปริชานาติ เอก ธมฺม ความว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 366
กำหนดรู้ทุกขสัจธรรมอย่างหนึ่ง ด้วยตีรณปริญญา (การกำหนดรู้ด้วยการ
พิจารณา). บทว่า ปชหติ เอก ธมฺม ความว่า ละธรรมอย่างหนึ่ง คือ
อกุศลธรรมทั้งหมด. บทว่า สจฺฉิกโรติ เอก ธมฺม ความว่า กระทำ
ธรรมอย่างหนึ่ง คืออรหัตผลธรรม หรือนิโรธนั่นแหละให้ประจักษ์. บทว่า
สมฺมา วิมุตตึ ผุสติ ความว่า ถูกต้องวิโมกข์ คืออรหัตผล ด้วยการถูกต้อง
ด้วยญาณ โดยชอบ คือโดยเหตุ โดยนัย โดยการณะ.
บทว่า เอตทตฺถา ภิกฺขเว กถา ความว่า ภิกษุทั้งหลาย กถา
ที่เราแสดงไว้ว่า ด้วยการพูดสนทนาปราศรัยกัน มีวิมุตตินี้เป็นประโยชน์
ได้แก่มีความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ยึดมั่นนี้ เป็นพื้นฐาน คือ เป็นที่ตั้ง
เป็นวัตถุ แห่งกถานั้น พึงทราบการประกอบความในทุก ๆ บท ดังพรรณนา
มานี้. บทว่า เอตทตฺถา มนฺตนา ความว่า ในบรรดาบุคคลผู้สมควรและ
ไม่สมควร การปรึกษากับบุคคลผู้สมควรแม้นี้ มีวิมุตตินี้เป็นประโยชน์เหมือน
กัน. บทว่า เอตทตฺถา อุปนิสา ความว่า แม้อุปนิสัยที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า
ผู้เงี่ยโสตลงสดับ ผู้มีอุปนิสัย มีวิมุตตินี้เป็นประโยชน์เหมือนกัน. บทว่า
เอตทตฺถ โสตาวธาน ความว่า แม้การเงี่ยโสตลงพร้อมทั้งอุปนิสัย ของผู้นั้น
มีวิมุตตินี้เป็นประโยชน์เหมือนกัน. บทว่า อนุปาทา แปลว่า เพราะไม่ยึดมั่น
ด้วยอุปาทานทั้ง ๔. ความหลุดพ้นคือพระอรหัตผล ชื่อว่า ความหลุดพ้น
แห่งจิต.
เพราะว่าคำทั้งหมดนี้ ตรัสไว้เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล เพราะฉะนั้น
เมื่อพระองค์จะทรงสรุปพระสูตร รวมยอดด้วยพระคาถาต่อไป จึงตรัสคำมี
อาทิว่า เย วิรุทฺธา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิรุทฺธา ความว่า
ผิดใจกันเพราะโกรธ กล่าวคือพิโรธ. บทว่า สลฺลปนฺติ ได้แก่การเจรจา
ปราศรัยกัน. บทว่า วินิวิฏฺา ได้แก่เป็นผู้หมายมั่น. บทว่า สมุสฺสิตตา
ความว่า ยกขึ้นสูงโดยการยกด้วยอำนาจมานะ. บทว่า อนริยคุณมาสชฺช
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 367
ความว่า กล่าวคุณกถาที่ไม่ใช่แบบอย่างพระอริยะ กระทบกระเทือนคุณความดี
อธิบายว่า กล่าวกถากระทบกระทั่งคุณความดี ที่ชื่อว่า อนริยกถา ไม่ใช่
อริยกถา บทว่า อญฺโญญฺวิวเรสิโน ความว่า จ้องหาช่อง คือความผิด
ของกันแลกัน. บทว่า ทุพฺาสิต ได้แก่พูดไม่ดี. บทว่า วิกฺขลต ได้แก่
พูดพลั้งปากไปเล็กน้อย. บทว่า สมฺปโมห ปราชย ความว่า ยินดีข้อ
พลาดพลั้ง และความพ่ายแพ้ของกันและกัน เพราะปากร้าย ไปเล็กน้อย.
บทว่า อภินนฺทนฺติ แปลว่า ยินดี. บทว่า นาจเร ความว่า ไม่ประพฤติ
คือไม่พูด.
บทว่า ธมฺมฏฺปฏิสยุตฺตา ความว่า กถาที่ผู้ตั้งอยู่ในธรรมสนทนา
กันชื่อว่า ธัมมัฏฐปฏิสังยุตตา เพราะตั้งอยู่ในธรรมด้วย ประกอบด้วย
ธรรมนั้นด้วย. บทว่า อนุตฺติณฺเณน มนสา ได้แก่ มีใจไม่ฟุ้งซ่าน.
บทว่า อปฬาโส ความว่า ไม่ตีเสมอ ด้วยการตีเสมอ โดยถือเป็นคู่แข่ง*.
บทว่า อสาหโส ความว่า ไม่รุนแรง ด้วยสามารถแห่งความรุนแรง คือ
ราคะ โทสะ และโมหะ.
บทว่า อนุสฺสุยฺยายมาโน ได้แก่ไม่ริษยา. บทว่า ทุพฺภฏเ
นาปสาทเย ความว่า ไม่รุกราน ในเพราะถ้อยคำที่พลั้งพลาด. บทว่า
อุปารมฺภ น สิกฺเขยฺย ความว่า ไม่สนใจคำติเตียนที่มีลักษณะเกินกว่าเหตุ.
บทว่า ขลิตญฺจ น คาหเย ความว่า คำพูดที่พลั้งปากไปเล็กน้อยก็ไม่
ถือว่า นี้เป็นความผิดของท่าน. บทว่า นาภิหเร ได้แก่ไม่พูดทับถม. บทว่า
นาภิมทฺเท ได้แก่ไม่พูดย่ำยี โดยอ้างเหตุอีกอย่างหนึ่ง.
จบอรรถกถากถาวัตถุสูตรที่ ๗
๑. ปาฐะว่า อปฬาโส หุตฺวา ฉบับพม่าเป็น ยุคคฺคาหปฬาสวเสน อปฬาโส หุตฺวา แปลตาม
ฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 368
๘. ติตถิยสูตร
ว่าด้วยความแตกต่างเเห่งอกุศลมูล ๓
[๕๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชก๑ ผู้ถือลัทธิอื่น จะพึง
ถามอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ธรรม ๓ นี้ ธรรม ๓ คืออะไร คือ ราคะ
โทสะ โมหะ นี้แล อาวุโสทั้งหลาย ธรรม ๓. ธรรม ๓ นี้ วิเศษแปลกต่าง
กันอย่างไร ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงแก้ว่ากระไร แก่พวกปริพาชก
ผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ธรรม
ทั้งหลายของข้าพระพุทธเจ้ามีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเค้ามูล มีพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเป็นแบบฉบับ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย สาธุ ขอเนื้อความ
แห่งภาษิตนั้น จงแจ่มแจ้งแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าเองเถิด๒ ภิกษุทั้งหลายฟัง
จากพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้.
ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง ทำในใจให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุ-
ทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชกผู้นับถือลัทธิอื่นจะพึงถามอย่างนี้ว่า
อาวุโสทั้งหลาย ธรรม ๓ นี้ ฯลฯ วิเศษแปลกต่างกันอย่างไร ท่านทั้งหลาย
ถูกถามอย่างนี้ พึงแก้อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ราคะมีโทษน้อย แต่
คลายช้า โทสะมีโทษมาก แต่คลายเร็ว โมหะมีโทษมากด้วย คลายช้าด้วย.
๑. นักบวชนอกพระพุทธศาสนา ถ้าเพศหญิงเรียกว่า ปริพาชิกา
๒. เป็นสำนวน หมายความว่า ขอพระองค์ประทานคำตอบเองเถิด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 369
ถ้าเขาถามต่อไปว่า ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำราคะที่ยังไม่เกิดให้เกิด
ขึ้นก็ดี ทำราคะที่เกิดแล้วให้มากยิ่งขึ้นก็ดี ? พึงแก้ว่า สุภนิมิต (อารมณ์ที่
สวยงาม) เมื่อบุคคลทำในใจ โดยไม่แยบคายซึ่งสุภนิมิต ราคะที่ยังไม่เกิดย่อม
เกิดขึ้นด้วย ราคะที่เกิดแล้วย่อมมากยิ่งขึ้นด้วย นี้แล อาวุโสทั้งหลาย เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยซึ่งทำราคะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นบ้าง ทำราคะที่เกิดแล้วให้มากยิ่งขึ้นบ้าง
ถ้าถามว่า ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำโทสะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นก็ดี
ทำโทสะที่เกิดแล้วให้มากยิ่งขึ้นก็ดี พึงแก้ว่า ปฏิฆนิมิต (อารมณ์ที่ไม่พอใจ)
เมื่อบุคคลทำในใจโดยไม่แยบคายซึ่งปฏิฆนิมิต โทสะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
ด้วย โทสะที่เกิดแล้วย่อมมากยิ่งขึ้นด้วย นี้แล อาวุโสทั้งหลาย เป็นเหตุเป็น
ปัจจัย ซึ่งทำโทสะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นบ้าง ทำโทสะที่เกิดแล้วให้มากยิ่งขึ้นบ้าง
ถ้าถามว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำโมหะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นก็ดี
ทำโมหะที่เกิดแล้วให้มากยิ่งขึ้นก็ดี พึงแก้ว่า อโยนิโสมนสิการ (ความทำใน
ใจโดยไม่แยบคาย ความใส่ใจอย่างไม่ฉลาด) เมื่อบุคคลทำในใจโดยไม่แยบคาย
โมหะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นด้วย โมหะที่เกิดแล้วย่อมมากยิ่งขึ้นด้วย นี้แล
อาวุโสทั้งหลาย เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งทำโมหะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นบ้าง ทำโมหะ
ที่เกิดแล้วให้มากยิ่งขึ้นบ้าง
ถ้าถามว่า ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นก็ดี ที่เกิดแล้วย่อมเสื่อมไป
ก็ดี เพราะอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย พึงแก้ว่า เพราะอสุภนิมิต (อารมณ์ที่ไม่สวย
ไม่งาม) เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคายซึ่งอสุภนิมิต ราคะที่ยังไม่เกิดย่อม
ไม่เกิดขึ้นด้วย ที่เกิดแล้วย่อมเสื่อมไปด้วย นี้แล อาวุโสทั้งหลาย เป็นเหตุเป็น
ปัจจัย ซึ่งทำราคะที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้นบ้าง ทำราคะที่เกิดแล้วให้เสื่อมไปบ้าง
ถ้าถามว่า โทสะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นก็ดี ที่เกิดแล้วย่อมเสื่อมไป
ก็ดี เพราะอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย พึงแก้ว่า เพราะเมตตาเจโตวิมุตติ (ความ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 370
หลุดพ้นแห่งใจ [จากปฏิฆะ] ด้วยเมตตา) เมื่อบุคคลที่ทำในใจโดยแยบคาย
ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ โทสะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย โทสะที่เกิดแล้วย่อม
เสื่อมไปด้วย นี้แล อาวุโสทั้งหลาย เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งทำโทสะที่ยังไม่เกิด
มิให้เกิดขึ้นบ้าง ทำโทสะที่เกิดแล้วให้เสื่อมไปบ้าง
ถ้าถามว่า โมหะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นก็ดี ที่เกิดแล้วย่อมเสื่อมไป
ก็ดี เพราะอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย พึงแก้ว่า เพราะโยนิโสมนสิการ (ความทำ
ในใจโดยแยบคาย) เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิดย่อม
ไม่เกิดขึ้นด้วย โมหะที่เกิดแล้วย่อมเสื่อมไปด้วย นี้แล อาวุโสทั้งหลาย เป็น
เหตุเป็นปัจจัยซึ่งทำโมหะที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้นบ้าง ทำโมหะที่เกิดแล้วให้
เสื่อมไปบ้าง.
จบติตถิยสูตรที่ ๘
อรรถกถาติตถิยสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในติตถิยสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ภควมูลกา ความว่า ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ภควมูลกา
เพราะมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเค้ามูล. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังต่อไปนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของพวกข้าพระองค์
เหล่านี้ อันพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้บังเกิดแล้วในกาลก่อน เมื่อ
พระองค์ปรินิพพานแล้ว ขึ้นชื่อว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ๆ จะสามารถ
ยังธรรมเหล่านี้ให้เกิดขึ้น ชั่วพุทธันดรหนึ่งไม่มีเลย แต่ธรรมเหล่านี้ของ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 371
ข้าพระองค์ทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้บังเกิดขึ้นแล้ว ข้าพระองค์-
ทั้งหลายจะรู้ทั่วถึง คือ ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ได้ โดยอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า
เพราะฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย ชื่อว่ามี
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเค้ามูล ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ภควเนตฺติกา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแนะคือ
ทรงนำออก คือตามแนะนำซึ่งธรรมทั้งหลาย ได้เเก่การตั้งชื่อธรรมแต่ละอย่างๆ
แล้วทรงแสดงตามสภาพ เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายจึงชื่อว่า มีพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นผู้นำ.
บทว่า ภควปฏิสรณา ความว่า ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ เมื่อมา
สู่คลองแห่งพระสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่าย่อมแฝงอยู่ในพระผู้มีพระภาคเจ้า
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควปฏิสรณา (มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย).
บทว่า ปฏิสรนฺติ๑ ได้แก่รวมอยู่ คือชุมนุมอยู่. อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อจะทรงตั้งชื่อธรรมที่เป็นไปในภูมิ๔ แต่ละข้อ ๆ ตามความเป็นจริง
จึงทรงหวนระลึกถึงธรรมทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดของพระองค์
ผู้ประทับนั่ง ณ ควงต้นไม้มหาโพธิ์ อย่างนี้ว่า ผัสสะ (เสมือน) มาทูลถามว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ชื่ออะไร. ตรัสตอบว่า เจ้าชื่อว่าผัสสะ
เพราะอรรถว่าถูกต้อง. เวทนา...สัญญา...สังขาร... วิญญาณ (เสมือน)
มาทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์มีชื่ออย่างไร. ตรัสตอบว่า
เจ้าชื่อว่า วิญญาณ เพราะอรรถว่ารู้แจ้ง เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า
ภควปฏิสรณา. บทว่า ภควนฺตเยว ปฏิภาตุ ความว่า ความแห่งภาษิต
นี้จงปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวเถิด อธิบายว่า ขอพระองค์
นั่นแหละ. จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย.
๑. ปาฐะว่า ปฏิสรนฺติ ฉบัมพม่าเป็น ปฏิสรนฺตีติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 372
บทว่า ราโค โข ได้แก่ ราคะที่เป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่ง
ความยินดี. บทว่า อปฺปสาวชฺโช ความว่า มีข้อที่ควรตำหนิน้อย อธิบายว่า
มีโทษน้อย โดยโทษทั้ง ๒ สถาน คือด้วยสามารถแห่งโทษที่เป็นโลกวัชชะ
(โทษในปัจจุบัน) บ้าง ด้วยสามารถแห่งโทษที่เป็นวิปากวัชชะ (โทษใน
อนาคต) บ้าง. ข้อนี้อย่างไร. คือมารดาบิดาให้ที่กับน้องเป็นต้น แต่งงานกัน ๑
ให้พวกลูกจัดแต่งงานให้กับพี่น้องของลูกเขา ๑. ราคะนี้มีโทษน้อย โดยที่
เป็นโลกวัชชะเท่านี้ก่อน. ส่วนราคะที่มีโทษน้อย โดยที่เป็นวิปากวัชชะ
อย่างนี้คือ ชื่อว่าปฏิสนธิในอบาย ที่มีสทารสันโดษเป็นมูลหามีไม่.
บทว่า ทนฺธวิราคี ความว่า ก็ราคะนี้เมื่อจะคลาย ก็จะค่อย ๆ คลาย
ไม่หลุดพ้นไปเร็ว จะติดตามอยู่นาน เหมือน (ผ้า) ที่ย้อมด้วยเขม่าเจือด้วย
น้ำมัน ถึงจะไปสู่ภพอื่น ๒-๓ ภพ ก็ยังไม่จากไป๑ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ทันธวิราคี (คลายออกช้า ๆ) ในข้อนั้นมีเรื่องดังต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง
เรื่องหญิงฆ่าผัว
เล่ากันมาว่า บุรุษผู้หนึ่งประพฤติมิจฉาจาร ต่อภรรยาของพี่ชาย
เขาเองได้เป็นที่รักของหญิงนั้น ยิ่งกว่าสามีของตน. นางพูดกับเขาว่า เมื่อเหตุนี้
ปรากฏแล้ว ข้อครหาอย่างใหญ่หลวงจักมี ท่านจงฆ่าพี่ชายของท่านเสีย เขาข่มขู่
หญิงนั้นว่า ฉิบหายเถิด อีถ่อย มึงอย่าพูดอย่างนี้อีก. นางก็นิ่ง ล่วงไป
๒-๓ วัน ก็พูดอีก จิตของเขาถึงความลังเล ต่อแต่นั้น ถูกนางรบเร้าถึง
๓ ครั้ง จึงพูดว่า เราจะทำอย่างไร ถึงจะได้โอกาส. ลำดับนั้นนางได้บอก
อุบายแก่เขาว่า ท่านจงทำตามที่ข้าพเจ้าบอกเท่านั้น ใกล้บ้านมหากกุธะ
๑. ปาฐะว่า คนฺตวาปิ นาคจฺฉตีติ ทนฺธวิราคี เทฺว ติณิ ภวนฺตรานิ อาคจฺฉตีติ ทนฺธวิราคี
ฉบับพม่าเป็น เทฺว ตีณิ ภวนฺตรานิ คนฺตวาปิ นาปคจฺฉตีติ ทนฺธวิราคี เเปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 373
ตรงที่โน้น มีท่าน้ำอยู่ ท่านจงถือเอามีดโต้อันคมไปดักอยู่ที่ตรงนั้น เขาได้ทำ
อย่างนั้นแล้ว. ฝ่ายพี่ชายของเขาทำงานในป่าเสร็จแล้ว กลับบ้าน. นางทำเป็น-
เหมือนมีจิตอ่อนโยนในเขา พูดว่า มาเถิดนาย ฉันจะล้างศีรษะให้ แล้วดูศีรษะ
ให้เขา พูดว่า ศีรษะของนายสกปรก แล้วส่งก้อนมะขามป้อมให้เขาไปด้วย
สั่งว่าท่านจงไปล้างศีรษะที่ท่าชื่อโน้น แล้วกลับมา. เขาไปสู่ท่าตามที่นาง
บอกนั่นแหละ สระผมด้วยฟองมะขามป้อม ลงอาบน้ำดำหัวแล้ว. ครั้งนั้น
น้องชายออกมาจากระหว่างต้นไม้ ฟันเขาที่ก้านคอให้ตายแล้ว กลับเข้าบ้าน.
พี่ชายเมื่อไม่อาจสละความสิเนหาในภรรยาได้ จึงไปเกิดเป็นงูเขียว
ใหญ่ ในเรือนหลังนั้นแหละ. แม้เมื่อนาง (ผู้เป็นภรรยาเก่า) จะยืนก็ตาม
นั่งก็ตาม มันจะตกลงที่ตัว (ของนาง). ต่อมา นางจึงให้ฆ่างูนั้นด้วยเข้าใจว่า
ชะรอยผัวเราจะเป็นงูตัวนี้. เพราะความรักนางผู้เป็นภรรยา มันจึงไปเกิดเป็น
ลูกสุนัข ในเรือนหลังนั้นอีก. นับแต่เวลาที่มันเดินได้ มันจะวิ่งตามหลังนางไป
แม้นางเข้าป่า มันก็ติดตามไปด้วย คนทั้งหลายเห็นนางแล้วก็พูดเย้ยหยันว่า
พรานสุนัขออกแล้ว จักไปไหน. นางสั่งให้ฆ่ามันอีก.
แม้มัน (ตายแล้ว) ก็ไปเกิดเป็นลูกวัวในเรือนหลังนั้นอีก แล้วเดิน
ตามหลังนางไปอย่างนั้นเหมือนกัน. แม้ในคราวนั้น คนทั้งหลายเห็นมันแล้ว
ก็พากัน พูดเย้ยหยันว่า โคบาลออกแล้ว โคทั้งหลายจักไปไหน. นางก็สั่งให้
ฆ่ามันเสียในที่ตรงนั้น. แม้คราวนั้น มันก็ไม่สามารถตัดความสิเนหานาง
ต่อไปได้ ในวาระที่ ๔ มันเกิดในท้องของนางแล้วระลึกชาติได้. มันเห็นว่า
ตัวถูกนางฆ่ามา ๔ อัตภาพ ตามลำดับแล้ว คิดว่า เราเกิดในท้องของหญิง
ผู้เป็นศัตรู เห็นปานนี้. นับแต่นั้นมา ก็ไม่ยอมให้นางเอามือถูกต้องตัวได้.
ถ้านางถูกต้องตัว เขาจะสะอึกสะอื้นร้องไห้. เวลานั้น ผู้เป็นตาเท่านั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 374
จะอุ้มชูเขาได้. ต่อมา เขาเจริญเติบโตแล้ว ตาจึงพูดว่า หลานเอ๋ย เหตุไฉน
เจ้าจึงไม่ยอมให้แม่เอามือถูกตัว ถ้าแม้แม่ถูกตัวเจ้า เจ้าจะร้องไห้สะอึกสะอื้น
ด้วยเสียงอันดัง. เขาได้บอกความเป็นไปทั้งหมดนั้น (แก่ตา) ว่า คุณตาครับ
ผู้นี้ไม่ใช่แม่ของผม แต่เป็นศัตรู. ผู้เป็นตา สวมกอดเขาไว้ แล้วร้องไห้
พูดว่า มาเถิดหลานเอ๋ย เรื่องอะไรพวกเราจะต้องมาอาศัยอยู่ในที่เช่นนี้ดังนี้แล้ว
พาเขาออกจากบ้านไปสู่วิหารแห่งหนึ่ง พากันบวชอยู่ในวิหารนั้น บรรลุ
พระอรหัตทั้งสองคน.
บทว่า มหาสาวชฺโช ความว่า ชื่อว่ามีโทษมาก ด้วยเหตุ ๒ สถาน
คือ ด้วยอำนาจโลกวัชชะ ๑ ด้วยอำนาจวิปากวัชชะ ๑. ข้อนี้เป็นอย่างไร. คือ
ผู้อันโทสะประทุษร้ายแล้ว ย่อมประพฤติผิดในมารดาก็ได้ ในบิดาก็ได้ ใน
พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาวก็ได้ ในบรรพชิตก็ได้ ในที่ทุกแห่งที่ผ่านไป
เขาจะได้คำครหาอย่างใหญ่หลวงว่า ผู้นี้ประพฤติผิด แม้ในมารดาบิดา แม้ใน
พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว แม้ในบรรพชิต. โทสะ ชื่อว่ามีโทษมาก
ด้วยสามารถแห่งโทษที่เป็นโลกวัชชะ ดังพรรณนามานี้ก่อน แต่เขาจะได้
เสวยผลในนรก ตลอดกัปด้วยอนันตริยกรรมที่ตนทำไว้ ด้วยอำนาจโทสะ.
โทสะชื่อว่า มีโทษมาก ด้วยอำนาจแห่งโทษที่เป็นวิปากวัชชะ ดังพรรณนา
มานี้แล.
บทว่า ขิปฺปวิราคี แปลว่า คลายเร็ว. อธิบายว่า ผู้ที่ถูกโทสะ
ประทุษร้ายแล้ว ประพฤติผิดในมารดาบิดาบ้าง ในเจดีย์บ้าง ในโพธิพฤกษ์
บ้าง ในบรรพชิตทั้งหลายบ้าง เขาขอลุแก่โทษว่า ท่านทั้งหลายจงอดโทษแก่
ข้าพเจ้า. พร้อมด้วยการขอขมาของเขา กรรมนั้นจะกลับกลายเป็นปกติไป
ทันที.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 375
ส่วนโมหะชื่อว่า มีโทษมาก เพราะเหตุ ๒ สถานเหมือนกัน ข้อนี้
อย่างไร. คือ คนที่หลงแล้วเพราะโมหะ จะประพฤติผิดในมารดาบิดาบ้าง ใน
พระเจดีย์บ้าง ในโพธิพฤกษ์บ้าง ในบรรพชิตบ้าง แล้วได้รับการติเตียนใน
ที่ ๆ ตนไปแล้ว ๆ. โมหะชื่อว่ามีโทษมากด้วยสามารถแห่งโทษที่เป็นโลกวัชชะ
อย่างนี้ก่อน. แต่เขาจะต้องเสวยผลในนรกตลอดกัลป์ เพราะอนันตริยกรรม
ที่เขาทำไว้ด้วยอำนาจโมหะ. โมหะชื่อว่ามีโทษมาก แม้ด้วยสามารถแห่งโทษ
ที่เป็นวิปากวัชชะ ดังพรรณนามานี้แล.
บทว่า ทนฺธวิราคี แปลว่า ค่อย ๆ คลายไป อธิบายว่า กรรมที่
ผู้หลงเพราะโมหะทำไว้ จะค่อย ๆ พ้นไป. อุปมาเสมือนหนึ่งว่า หนังหมีที่
เขาฟอกอยู่ถึง ๗ ครั้ง ก็ไม่ขาวฉันใด กรรมที่ผู้หลงแล้วเพราะโมหะทำแล้ว
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะไม่พ้นไปเร็ว คือจะค่อย ๆ พ้นไปฉะนี้แล. คำที่เหลือ
ในพระสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาติตถิยสูตรที่ ๘
๙. มูลสูตร
ว่าด้วยกุศลมูลและอกุศลมูล
[๕๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล (รากเง่าของอกุศล) ๓ นี้.
๓ คืออะไร คือโลภะ โทสะ โมหะ
ภิกษุทั้งหลาย แม้ตัวโลภะ โทสะ โมหะเอง ก็เป็นอกุศล
แม้กรรมที่บุคคลผู้เกิดโลภะ โทสะ โมหะแล้วสร้างขึ้นด้วยกาย ด้วย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 376
วาจา ด้วยใจ ก็เป็นอกุศล บุคคลเกิดโลภะ โทสะ โมหะแล้ว อัน
โลภะ โทสะ โมหะครอบงำแล้ว มีจิตอันโลภะ โทสะ โมหะ จับเสีย
รอบแล้ว หาเรื่องก่อทุกข์อันใดให้ผู้อื่น โดยฆ่าเสียบ้าง จองจำเสียบ้าง
ทำให้เสียทรัพย์บ้าง ตำหนิโทษบ้าง ขับไล่บ้าง ด้วยถือว่า ข้า ฯ เป็นคน
มีกำลังอำนาจบ้าง ข้า ฯ อยู่ในพรรคพวกบ้าง แม้อันนั้น ก็เป็นอกุศลธรรม
ทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศลมิใช่น้อย ซึ่งเกิดเพราะโลภะ โทสะ โมหะ มีโลภะ
โทสะ โมหะเป็นต้นเหตุ เป็นแดนเกิด เป็นปัจจัยเหล่านี้ ย่อมเกิด
พร้อมด้วยประการอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นนี้นี่ เรียกว่า อกาลวาที (พูดใน
เวลาไม่ควร หรือไม่พูดในเวลาที่ควร) บ้าง อภูตวาที (พูดสิ่งที่ไม่จริง
หรือไม่พูดสิ่งที่จริง) บ้าง อนัตถวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ หรือไม่
พูดสิ่งที่เป็นประโยชน์) บ้าง อธรรมวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่
พูดสิ่งที่เป็นธรรม) บ้าง อวินัยวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นวินัย หรือไม่พูดสิ่ง
ที่เป็นวินัย) บ้าง เพราะเหตุอะไร บุคคลเช่นนี้ จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง
ฯลฯ อวินัยวาทีบ้าง เพราะว่า บุคคลนี้หาเรื่องก่อทุกข์ให้ผู้อื่น โดยฆ่า
เสียบ้าง ฯลฯ ด้วยถือว่า ข้า ฯ เป็นคนมีกำลังอำนาจบ้าง ข้า ฯ อยู่ใน
พรรคพวกบ้าง แต่เมื่อผู้อื่นว่าโดยความจริงก็ปัดเสีย ไม่ยอมรับ เมื่อเขา
ว่าโดยความไม่จริง ก็ไม่เพียรที่จะแก้ความไม่จริงนั้น ว่าสิ่งนี้ไม่จริง สิ่งนั้น
ไม่เป็น ด้วยเหตุนี้ ๆ เพราะฉะนั้น บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง ฯลฯ
อวินัยวาทีบ้าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นนี้ อันอกุศลบาปธรรมที่เกิดเพราะ
โลภะ โทสะ โมหะครอบงำแล้ว มีจิตอันอกุศลบาปธรรมเหล่านั้นจับ
เสียรอบแล้ว ในปัจจุบันนี้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ประกอบไปด้วยความคับแค้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 377
เร่าร้อน เพราะกายแตกตายไป ทุคติเป็นหวังได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนต้นรัง หรือต้นตะแบก หรือต้นตะคร้อก็ตาม ถูกเถาย่านทราย
๓ เถาขึ้นปกคลุมรึงรัดแล้ว ย่อมถึงความไม่เจริญ ย่อมถึงความพินาศ ย่อม
ถึงทั้งความไม่เจริญทั้งความพินาศฉันใด บุคคลเช่นนี้ก็ฉันนั้นนั่นแล อัน
อกุศลบาปธรรมที่เกิดเพราะโลภะ โทสะ โมหะครอบงำแล้ว มีจิตอัน
อกุศลบาปธรรมเหล่านั้นจับเสียรอบแล้ว ในปัจจุบันนี่ย่อมอยู่เป็นทุกข์
ประกอบไปด้วยความคับแค้นเร่าร้อน เพราะกายแตกตายไป ทุคติเป็นหวังได้
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล (รากเง่าของกุศล) ๓ นี้ ๓ คืออะไร
คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
ภิกษุทั้งหลาย แม้ตัวอโลภะ อโทสะ อโมหะเองก็เป็นกุศล แม้
กรรมที่บุคคลผู้ไม่เกิดโลภะ โทสะ โมหะ ทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ก็เป็นกุศล บุคคลผู้ไม่เกิดโลภะ โทสะ โมหะ อันโลภะ โทสะ โมหะ
ไม่ครอบงำแล้ว มีจิตอันโลภะ โทสะ โมหะไม่จับรอบแล้ว ไม่หาเรื่อง
ก่อทุกข์อันใดให้ผู้อื่น โดยฆ่าเสียบ้าง ฯลฯ ข้า ฯ อยู่ในพรรคพวกบ้าง
แม้อันนั้นก็เป็นกุศล ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลมิใช่น้อย ซึ่งเกิดเพราะ
อโลภะ อโทสะ อโมหะ มีอโลภะ อโทสะ อโมหะเป็นต้นเหตุ เป็นแดนเกิด
เป็นปัจจัย เหล่านี้ ย่อมเกิดพร้อมด้วยประการอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นนี้นี่ เรียกว่า กาลวาที (พูดใน
เวลาที่ควร) บ้าง ภูตวาที (พูดสิ่งที่จริง) บ้าง อัตถวาที (พูดสิ่งที่เป็น
ประโยชน์) บ้าง ธรรมวาที (พูดสิ่งที่เป็นธรรม) บ้าง วินัยวาที (พูด
สิ่งที่เป็นวินัย) บ้าง เพราะเหตุอะไร บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า กาลวาที
บ้าง ฯลฯ วินัยวาทีบ้าง เพราะว่าบุคคลนี้ไม่หาเรื่องก่อทุกข์ให้ผู้อื่น โดย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 378
ฆ่าเสียบ้าง ฯลฯ ข้า ฯ อยู่ในพรรคพวกบ้าง เมื่อผู้อื่นว่าโดยความจริง
ก็ยอมรับ ไม่ปัดเสีย เมื่อเขาว่าโดยความไม่จริง ก็เพียรแก้ความไม่จริงนั้น
ว่าสิ่งนี้ไม่จริง สิ่งนั้นไม่เป็นด้วยเหตุนี้ ๆ เพราะฉะนั้น บุคคลเช่นนี้ จึง
เรียกว่า กาลวาทีบ้าง ฯ ล ฯ วินัยวาทีบ้าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่เกิดเพราะโลภะ
โทสะ โมหะ ของบุคคลเช่นนี้ อันเขาละเสียแล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทำ
ให้เหมือนตอตาลแล้ว ทำให้ไม่มีในภายหลังแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
เป็นธรรมดา บุคคลเช่นนี้ ย่อมอยู่เป็นสุขไม่มีความคับแค้น เร่าร้อนใน
ปัจจุบันนี้ ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้แหละ เปรียบเหมือนต้นรังหรือต้น
ตะแบกหรือต้นตะคร้อก็ตาม ถูกเถาย่านทราย ๓ เถา ขึ้นปกคลุมรึงรัดแล้ว มี
บุรุษผู้หนึ่งถือจอบเสียมและตะกร้ามา ตัดโคนเถาย่านทรายแล้วขุดคุ้ยเอาราก
ขึ้น ที่สุดแม้เท่าก้านแฝก (ก็ไม่ให้เหลือ) แล้วสับผ่าให้เป็นชิ้นละเอียด
ผึ่งแดดและลมจนแห้ง แล้วเผาด้วยไฟจนเป็นผุยผง แล้วโปรยเสียในลมแรง
หรือสาดเสียในกระแสอันเชี่ยวในแม่น้ำ เมื่อเช่นนี้ เถาย่านทรายนั้นก็เป็นอัน
รากขาดแล้ว. ถูกทำให้เหมือนตอตาลแล้ว ถูกทำให้ไม่มีในภายหลังแล้ว มีอัน
ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ฉันใด ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย
อกุศลบาปธรรมที่เกิดเพราะโลภะ โทสะ โมหะ ของบุคคลเช่นนี้ อัน
เขาละเสียแล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ฯลฯ ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้แหละ
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล ๓.
จบมูลสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 379
อรรถกถามูลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในมูลสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
ธรรมที่เป็นมูลแห่งอกุศล ชื่อว่า อกุศลมูล. อีกอย่างหนึ่ง ธรรม
นั้นด้วยเป็นมูลด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล. บทว่า ยทปิ ภิกฺขเว
โลโภ เท่ากับ โยปิ ภิกฺขเว โลโภ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความโลภ
แม้ใด. บทว่า ตทปิ อกุสลมูล ความว่า แม้ความโลภนั้น เป็นรากเง่าแห่ง
อกุศล หรือเป็น (ตัว) อกุศลก็ได้ อธิบายว่า ในที่นี้แม้อกุศลนั้นหมายถึง
อกุศลมูลนั้นก็ควรเหมือนกัน. ในบททั้งปวง พึงนำนัยนี้ (ไป) โดยอุบายนี้.
บทว่า อภิสงฺขโรติ ความว่า ย่อมประมวล คือรวบรวมมาได้แก่
ทำให้เป็นกอง. บทว่า อสตา ทุกฺข อุปทหติ ความว่า ก่อทุกข์โดย
กล่าวโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ไม่เป็นจริงแก่เขา ด้วยเรื่องที่ไม่เป็นจริง คือ
ไม่มีอยู่. บทว่า วเธน วา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรง
แสดงอาการ ที่เขาก่อทุกข์ขึ้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานิยา ได้แก่ความเสื่อมทรัพย์. บทว่า
ปพฺพาชนาย ความว่า ได้แก่การขับออกจากบ้าน ออกจากป่า หรือจากรัฐ.
บทว่า พลวมฺหิ ความว่า เราเป็นผู้มีกำลัง. บทว่า พลตฺโถ อิติปิ ความว่า
พูดว่า เราต้องการกำลังบ้าง เราอยู่ในกำลังบ้าง.
บทว่า อกาลวาที ความว่า ไม่พูดในเวลาที่ควรพูด ชื่อว่าพูดใน
เวลาอันไม่ควร. ว่า อภูตวาที ความว่า ไม่พูดเรื่องจริง ชื่อว่าพูดเรื่อง
ไม่จริง. บทว่า อนตฺวาที ความว่า ไม่พูดเรื่องที่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า
พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์. บทว่า อธมฺมวาที ความว่า ไม่พูดสิ่งที่เป็นธรรม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 380
ชื่อว่า พูดสิ่งที่ไม่เป็นธรรม. บทว่า อวินยวาที ความว่า ไม่พูดสิ่งที่เป็นวินัย
ชื่อว่า พูดสิ่งที่มิใช่วินัย.
บทว่า ตถาหย ตัดบทเป็น ตถา หิ อย. บทว่า น อาตปฺป
กโรติ ตสฺส นิพฺเพธนาย ความว่า ไม่ทำความเพียร เพื่อประโยชน์แก่
การแก้เรื่องที่ไม่เป็นจริงนั้น. บทว่า อิติเปต อตจฺฉ ความว่า สิ่งนี้ไม่แท้
ด้วยเหตุแม้นี้. บทนอกนี้ (อภูต) เป็นไวพจน์ของบทว่า อตจฺฉ นั้น
นั่นแหละ.
บทว่า ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา ความว่า ทุคติที่แยกประเภทเป็นนรก
เป็นต้น พึงหวังได้ อธิบายว่า ทุคติจะต้องเป็นส่วนของเขาแน่นอน คือ
เขาจะต้องบังเกิดในทุคตินั้น.๑ บทว่า อุทฺธสฺสโต ความว่า ถูกเถาย่านทราย
ขึ้นปกคลุมแล้วในเบื้องบน. บทว่า ปริโยนทฺโธ ความว่า ถูกเถาย่านทราย
ขึ้นปกคลุมแล้วโดยรอบ.
บทว่า อนย อาปชฺชติ แปลว่า ถึงความไม่เจริญเติบโต. บทว่า
พฺยสน อาปชฺชติ แปลว่า ย่อมถึงความพินาศ อธิบายว่า ในฤดูร้อน
เมื่อผลย่านทรายสุกแตกออกแล้ว เมล็ดทั้งหลายจะกระเด็นไปตก ที่โคน
ต้นไทรเป็นต้น ในต้นไม้เหล่านั้น ที่โคนต้นไม้ต้นใดมีเมล็ดตกไป ๓ เมล็ด
ในทิศทั้ง ๓ เมื่อต้นไม้นั้นถูกฝนในฤดูฝนโชยหน่อ ๓ หน่อ จากเมล็ดทั้ง ๓
จะงอกขึ้นแนบติดต้นไม้นั้น ต่อแต่นั้นรุกขเทวดาเป็นต้น ก็ไม่สามารถจะ
อาศัยอยู่ตามทางของตนได้ หน่อแม้ทั้ง ๓ เหล่านั้น งอกงามขึ้น กลายเป็นเถา
เลื้อยเกาะต้นไม้นั้น เกี่ยวพัน คาคบ กิ่งน้อย กิ่งใหญ่ทั้งหมด คลุมต้นไม้
นั้นจนมิด. ต้นไม้นั้นถูกเถาย่านทรายเกี่ยวพันไว้ ดาดาษไปด้วยเถาย่านทราย
หนา (และ) ใหญ่ เมื่อฝนตกลงมา หรือลมพัด ก็จะหักล้มลงในที่นั้นๆ
๑. ปาฐะว่า ตตฺถ เนน ฉบับพม่าเป็น ตตฺถาเนน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 381
เหลือแต่ตอเท่านั้น. บทว่า พฺยสน อาปชฺชติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายถึงต้นไม้นั้น.
ก็ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ ก็สัตว์โลก
พึงเห็นเหมือนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ในบรรดาต้นรังเป็นต้น อกุศลมูล ๓
พึงเห็นเหมือนเถาย่านทราย ๓ เถา. เวลาที่ความโลภเป็นต้น ยังไม่ประจวบ
ทวาร พึงเห็นเหมือนการที่เถาวัลย์เหล่านั้น โอบต้นไม้ขึ้นไปตรง ๆ ยังไม่
ถึงกิ่งไม้. เวลาที่ความโลภเป็นต้น ดำเนินไปด้วยอำนาจแห่งทวาร พึงเห็น
เหมือนเวลาที่เถาวัลย์เลื้อยไปตามแนวกิ่งไม้. เวลาที่ความโลภเป็นต้น
กลุ้มรุมจิตใจ พึงเห็นเหมือนเวลาที่เถาวัลย์คลุมต้นไม้. เวลาที่ภิกษุต้อง
อาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยอำนาจแห่งกิเลสทั้งหลายที่มาประจวบทวารแล้ว
พึงเห็นเหมือนเวลาที่กิ่งเล็ก ๆ หลุดลงมา. เวลาที่ภิกษุต้องครุกาบัติ พึง
เห็นเหมือนเวลาที่กิ่งไม้ใหญ่หักลงมา. เวลาที่ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก แล้ว
ตกลงไปในอบายทั้ง ๔ ตามลำดับ พึงเห็นเหมือนเวลาที่ต้นไม้ล้มลงที่พื้นดิน
ในเมื่อโคนชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ ที่ไหลลงมาตามแนวเถาวัลย์.
ธรรมฝ่ายขาว (กุศลธรรม) พึงทราบโดยตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.
แต่ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงทราบข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ สัตว์โลกนี้
พึงเห็นเหมือนต้นไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาต้นรังเป็นต้น. อกุศลมูล
ทั้ง ๓ พึงเห็นเหมือนเถาย่านทราย ๓. พระโยคาวจร พึงเห็นเหมือนบุรุษผู้
มาทำเถาวัลย์เหล่านั้นให้เป็นไป (ขุดเถาวัลย์ทิ้ง). ปัญญาพึงเห็นเหมือนจอบ.
พลังแห่งศรัทธา พึงเห็นเหมือนพลังแห่งจอบ. การขุดด้วยวิปัสสนา พึงเห็น
เหมือนการขุดด้วยจอบ. เวลาที่พระโยคาวจร ใช้วิปัสสนาญาณ ตัดรากของ
อวิชชา พึงเห็นเหมือนการตัดรากของเถาวัลย์ โดยการขุด. เวลาที่พระโยคา-
วจรเห็น (รูปนาม) ด้วยสามารถแห่งขันธ์ พึงเห็นเหมือนเวลาที่ตัดเถาวัลย์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 382
ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่. เวลาที่พระโยคาวจรถอนกิเลสขึ้นได้ด้วยมัคคญาณ
พึงเห็นเหมือนเวลาที่ผ่าเถาวัลย์. เวลาที่เบญจขันธ์ยังดำรงอยู่ พึงเห็น
เหมือนเวลาทำเถาวัลย์ให้เป็นขี้เถ้า. เวลาที่พระโยคาวจร ดับอุปาทินนกขันธ์
โดยการดับไม่ให้มีปฏิสนธิ แล้วไม่ถือปฏิสนธิในภพใหม่ พึงเห็นเหมือนเวลา
ที่เขาโปรยขี้เถ้าลงไปที่พายุใหญ่ ทำให้ไม่ไห้เกิดอีกฉะนั้นแล. ในพระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทั้งวัฏฏะ และ วิวัฏฏะ.
จบอรรถกถามูลสูตรที่ ๙
๑๐. อุโปสถสูตร
ว่าด้วยอุโบสถ ๓ อย่าง
[๕๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ บุพพาราม
ปราสาทของ (นางวิสาขา) มิคารมารดา กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นวันอุโบสถ
นางวิสาขา มิคารมารดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ารับสั่งทักนางวิสาขา มิคารมารดา ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วว่า
เชิญ วิสาขา มาจากไหนแต่เช้า.
นางกราบทูลว่า วันนี้ข้าพระพุทธเจ้ารักษาอุโบสถ พระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสพระธรรมเทศนาว่า วิสาขา อุโบสถ ๓ นี้ ๓ คืออะไร คือ
โคปาลกอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงโคบาล) นิคัณฐอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยง
นิครนถ์) อริยอุโบสถ (อุโบสถเยี่ยงอริยะ).
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 383
โคปาลกอุโบสถเป็นอย่างไร. โคบาลมอบโคทั้งหลายให้เจ้าของ
ทั้งหลายในเวลาเย็นแล้ว คำนึงอย่างนี้ว่า วันนี้ โคเที่ยวหากินในที่โน้น ๆ
ดื่มน้ำในที่โน้น ๆ ทีนี้ พรุ่งนี้ โคจักเที่ยวหากินในที่โน้น ๆ จักดื่มน้ำใน
ที่โน้น ๆ ฉันใด คนรักษาอุโบสถบางคนก็ฉันนั้นเหมือนกัน คำนึงไป
อย่างนี้ว่า วันนี้นะ เราเคี้ยวกินขาทนียะสิ่งนี้ ๆ บริโภคโภชนียะสิ่งนี้ ๆ ทีนี้
พรุ่งนี้ เราจักเคี้ยวกินขาทนียะสิ่งนี้ ๆ จักบริโภคโภชนียะสิ่งนี้ ๆ คนรักษา
อุโบสถผู้นั้นมีใจไปกับความอยาก ใช้วันให้หมดไปด้วยความอยากนั้น วิสาขา
โคปาลกอุโบสถเป็นอย่างนี้แล อุโบสถที่รักษาอย่างนี้ เป็นอุโบสถที่ไม่มีผลมาก
ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่เรื่องผลมาก ไม่แผ่ผลมาก
นิคัณฐอุโบสถเป็นอย่างไร. มีอยู่ วิสาขา สมณะจำพวกหนึ่งชื่อ
นิครนถ์ เขาสอนสาวกให้ถืออย่างนี้ว่า มา บุรุษผู้เจริญ สัตว์เหล่าใด ใน
ทิศตะวันออก ตะวันตก เหนือ ใต้ อยู่เกินเขต ๑๐๐ โยชน์ออกไป
สูเจ้าจงลงทัณฑ์ (คือทำร้าย ฆ่า ตี ฯลฯ) ในสัตว์เหล่านั้นได้ เขาสอนให้
เอ็นดูกรุณาสัตว์บางเหล่า ไม่เอ็นดู กรุณาสัตว์บางเหล่าอย่างนี้ ในวันอุโบสถ
เขาสอนสาวกอย่างนี้ว่า มา บุรุษผู้เจริญ สูเจ้าจงเปลื้องผ้าออกให้หมดแล้ว
พูดอย่างนี้ว่า ข้า ฯ ไม่เกี่ยวข้องต่อใคร ๆ ที่ไหน ๆ และความกังวลในสิ่ง
อะไร ๆ ที่ไหน ๆ ก็ไม่มี แต่มารดาบิดาของเขาก็รู้อยู่ว่า นี่บุตรของข้า ฯ
ตัวเขาเองก็รู้อยู่ว่า นี่มารดาบิดาของข้า ฯ อนึ่ง บุตรภริยาของเขาก็รู้ว่า
นี่สามีของข้า เขาก็รู้ว่า นี่บุตรภริยาของข้า. ทาสกรรมกรและคนอาศัยของเขา
ก็รู้ว่า นี่นายของพวกข้า. เขาก็รู้ว่า นี่ทาสกรรมกรและคนอาศัยของข้า.
ด้วยประการนี้ เขาสอนคนอื่นให้ถือความจริงในเวลาใด ก็ชื่อว่าเขาสอน
ให้ถือมุสาวาทในเวลานั้น เรากล่าวการสอนของเขานี้ในฐานมุสาวาท ล่วง
ราตรีนั้นแล้ว เขาชื่อว่าบริโภค (กินอยู่ใช้สอย) โภคะ เป็นอย่างของที่เจ้าของ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 384
ไม่ให้นั่นเอง เรากล่าวการบริโภคของเขานี้ในฐานอทินนาทาน วิสาขา
นิคัณฐอฺโบสถ เป็นอย่างนี้แล อุโบสถที่รักษาอย่างนี้ เป็นอุโบสถที่ไม่มี
ผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก ไม่เรืองผลมาก ไม่แผ่ผลมาก.
อริยอุโบสถเป็นอย่างไร. วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้ว
ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วย
ความพยายามอย่างไร. อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ระลึกถึงตถาคตว่า
อิติปิ โส ภควา ฯ เป ฯ ภควา. เมื่อเธอระลึกถึงตถาคตอยู่ จิตย่อม
ผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) แห่งจิตเหล่าใด
มีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา การทำศีรษะที่สกปรกให้
สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำศีรษะที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วย
ความพยายามอย่างไร. ใช้ตะกรัน (น้ำผลไม้) ดินเหนียว และน้ำ กับความ
พยายามที่สมกับกิจอันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำศีรษะที่สกปรกให้
สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่อง
แผ้ว ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม ฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่า
นั้น เธอย่อมละได้ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ ชื่อว่ารักษาพรหมอุโบสถ
(อุโบสถเนื่องด้วยพระพรหม) อยู่ร่วมกับพระพรหม แลจิตของเธอปรารภ
พระพรหม ย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลส
เหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความ
พยายามอย่างนี้แล
วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม
(อีกทางหนึ่ง) การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร.
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระธรรมว่า สฺวากขาโต ฯ เป ฯ
วิญฺญูหิ เมื่อเธอระลึกถึงพระธรรมอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 385
อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา
การทำกายที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำกาย ฯลฯ ด้วย
ความพยายามอย่างไร. ใช้ฝุ่นหิน จุณ และน้ำ กับความพยายามที่สมกับกิจ
อันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำกายที่สกปรกให้สะอาดย่อมมีได้ด้วยความ
พยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความ
พยายาม ฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้
ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ชื่อว่ารักษาธัมมอุโบสถ (อุโบสถเนื่องด้วย
พระธรรม) อยู่ร่วมกับพระธรรม และจิตของเธอปรารภพระธรรม ย่อมผ่องใส
ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อม
ละเสียได้ การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม (อีก
ทางหนึ่ง) อย่างนี้แล
วิสาขา การทำจิตที่เศร้าหมองให้ผ่องแผ้วย่อมมีได้ด้วยความพยายาม
(อีกทางหนึ่ง) การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร.
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
เป็นผู้ปฏิบัติสมควร นี้คือใคร คู่แห่งบุรุษสี่ บุรุษบุคคลแปด นี่พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญ
อื่นยิ่งกว่า.
เมื่อเธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น
อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา
การทำผ้าที่สกปรกให้สะอาด ย่อมมีได้ด้วยความพยายาม การทำผ้า ฯลฯ
ด้วยความพยายามอย่างไร. ใช้ดินเค็ม ขี้เถ้า โคมัย และน้ำ กับความพยายาม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 386
ที่สมกับกิจอันนั้นของตน (ประกอบกัน) การทำผ้า ฯลฯ ด้วยความพยายาม
อย่างนี้ฉันใด การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) ฯลฯ อุปกิเลส
แห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านี้เธอย่อมละเสียได้ฉันนั้นเหมือนกัน
อริยสาวกนี้ ชื่อว่ารักษาสังฆอุโบสถ อยู่ร่วมกับพระสงฆ์ และจิตของเธอ
ปรารภพระสงฆ์ ย่อมผ่องใส ฯลฯ การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีก
ทางหนึ่ง) อย่างนี้แล.
วิสาขา การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) การ-
ทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร. อริยสาวกในพระธรรม
วินัยนี้ระลึกถึงศีลของตน (อขณฺฑ) อันไม่ขาด (อจฺฉิทฺท) ไม่ทะลุ (อสพล)
ไม่ต่าง (อกมฺมาส) ไม่พร้อย (ภุชิสฺส) เป็นไท (วิญฺญุปฺปสฏฺ)
ผู้รู้สรรเสริญ (อปรามฏฺ) ไม่ถูกปรามาส (สมาธิสวตฺตนิก) เป็นทางสมาธิ
เมื่อเธอระลึกถึงศีลอยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิต
เหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้น เธอย่อมละเสียได้ วิสาขา การทำแว่นที่มัว
ให้ใส ย่อมมีได้ความพยายาม การทำแว่น ฯลฯ ด้วยความพยายาม
อย่างไร. ใช้น้ำมัน ขี้เถ้า และแปรง กับความพยายามที่สมกับกิจอันนั้น
ของตน (ประกอบกัน) การทำแว่น ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด
การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) ฯลฯ อุปกิเลสเหล่านั้น
เธอย่อมละเสียได้ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกนี้ชื่อว่ารักษาศีลอุโบสถ อยู่กับ
ศีล จิตของเธอปรารภศีลย่อมผ่องใส ฯลฯ การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม
(อีกทางหนึ่ง) อย่างนี้แล.
วิสาขา การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) การ
ทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม (อีกทางหนึ่ง) อย่างไร. อริยสาวกใน
พระธรรมวินัยนี้ระลึกถึงเทวดา (และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา) ว่า มีอยู่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 387
เทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา... เหล่าดาวดึงส์... เหล่ายามา... เหล่าดุสิต...
เหล่านิมมานรดี... เหล่าปรนิมมิตวสวัตดี... เหล่าพรหมกายิก... เหล่าที่
สูงขึ้นไปกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ
ปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้จึงได้เกิดในภพนั้น ๆ ศรัทธา ศีล สุตะ
จาคะ ปัญญาเช่นนั้น ของเราก็มีอยู่พร้อมเหมือนกัน เมื่อเธอระลึกถึง
ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ของตนกับของเทวดาเหล่านั้น
อยู่ จิตย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่
อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ วิสาขา การทำทองที่หมองให้ผ่อง ย่อมมี
ได้ด้วยความพยายาม การทำทอง ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างไร ใช้เตา
ดินเค็ม ดินเหลือง* สูบและคีม กับความพยายามที่สมกับกิจอันนั้นของช่าง
(ประกอบกัน) การทำทอง ฯลฯ ด้วยความพยายามอย่างนี้ฉันใด การทำจิต
ฯลฯ อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใดมีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ฉันนั้น
เหมือนกัน อริยสาวกนี้ ชื่อว่ารักษาเทวดาอุโบสถ อยู่กับเทวดา จิตของเธอ
ปรารภเทวดา ย่อมผ่องใส ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้น อุปกิเลสแห่งจิตเหล่าใด
มีอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเธอย่อมละเสียได้ การทำจิต ฯลฯ ด้วยความพยายาม
อย่างนี้แล.
วิสาขา อริยสาวกนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นด้วยตนเองอย่างนี้ว่า
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อน
ไม้ วางศรัทธา มีความละอายบาป มีความเอ็นดูเกื้อกูลอนุเคราะห์สรรพสัตว์
อยู่ตลอดชีพ
แม้เราในวันนี้ ก็ละปาณาติบาต เว้นจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วาง
ศัสตรา มีความละอายบาป มีความเอ็นดูเกื้อกูลอนุเคราะห์สรรพสัตว์ตลอดคืน
* เครุ ดินสอแดง ยางไม้ ก็ว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 388
และวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง
และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละอทินนาทานแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากอทิน-
นาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนอันไม่เป็นขโมย
เป็นผู้เป็นอยู่สะอาดตลอดชีพ
แม้เราในวันนี้ก็ละอทินนาทาน เว้นจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของ
ที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนอันไม่เป็นขโมย เป็นผู้เป็นอยู่สะอาด
ตลอดคืนและวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง
และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละอพรหมจรรย์แล้ว เป็นพรหมจารี มีความ
ประพฤติห่างไกล (จากอพรหมจรรย์) เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน
ตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ก็ละอพรหมจรรย์เป็นพรหมจารี มีความประพฤติ
ห่างไกล (จากอพรหมจรรย์) เว้นจากเมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้านตลอด
คืนและวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง
และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลายละมุสาวาทแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท พูด
แต่คำจริง พูดจริงเสมอ มีถ้อยคำมั่นคง เป็นที่วางใจได้ ไม่ลวงโลกตลอดชีพ
แม้เราในวันนี้ ก็ละมุสาวาท เว้นจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง พูด
จริงเสมอ มีถ้อยคำมั่นคง เป็นที่วางใจได้ ไม่ลวงโลก ตลอดคืนและวันนี้
ด้วยองค์นี้ เราชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จัก
เป็นอันเรารักษาแล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 389
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละการดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยอันเป็นฐานแห่ง
ความประมาทแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาตลอดชีพ แม้เราใน
วันนี้ก็ละการดื่มน้ำเมา เป็นผู้เว้นจากการดื่มน้ำเมาตลอดคืนและวันนี้
ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็
จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย บริโภคอาหารครั้งเดียว งดอาหารในราตรี เว้น
จากการบริโภคผิดเวลาตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ก็บริโภคอาหารครั้งเดียว งด-
อาหารในราตรี เว้นจากการบริโภคผิดเวลา ตลอดคืนแต่วันนี้ ด้วยองค์นี้
เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จักเป็นอัน
เรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย เว้นขาดจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การ
ประโคมดนตรีและดูการเล่น จากการประดับตกแต่งกายด้วยดอกไม้ ของหอม
และเครื่องทาผิว อันเป็นฐานแต่งตัวตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ก็เว้นจากการ
ฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคมดนตรี และดูการเล่น จากการประดับ
ตกแต่งกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องทาผิวอันเป็นฐานแต่งตัว ตลอดคืน
และวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลายอย่างหนึ่ง และ
อุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว
พระอรหันต์ทั้งหลาย ละที่นอนสูงที่นอนใหญ่แล้ว เป็นผู้เว้นขาด
จากที่นอนสูงที่นอนใหญ่ ใช้ที่นอนต่ำ บนเตียงบ้าง บนเครื่องลาดทำด้วยหญ้า
บ้าง ตลอดชีพ แม้เราในวันนี้ ก็ละที่นอนสูงที่นอนใหญ่แล้ว เป็นผู้เว้นจาก
ที่นอนสูงที่นอนใหญ่ ใช้ที่นอนต่ำ บนเตียงบ้าง บนเครื่องลาดทำด้วยหญ้า
บ้าง ตลอดคืนและวันนี้ ด้วยองค์นี้ เราได้ชื่อว่าปฏิบัติตามพระอรหันต์ทั้งหลาย
อย่างหนึ่ง และอุโบสถก็จักเป็นอันเรารักษาแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 390
วิสาขา อริยอุโบสถเป็นอย่างนี้แล อุโบสถที่รักษาอย่างนี้ย่อมมีผล
มาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรืองมาก มีความแผ่ไพศาลมาก
มีผลมากเพียงไร มีอานิสงส์มากเพียงไร มีความรุ่งเรืองมากเพียงไร
มีความแผ่ไพศาลมากเพียงไร.
วิสาขา ต่างว่า ใครคนหนึ่ง จะพึงได้ครอบครองราชัยไอศวรรยา-
ธิปัตย์แห่งมหาชนบททั้ง ๑๖ อันมีรัตนะ ๗ ประการ เหลือหลายนี้ มหา-
ชนบท ๑๖ คืออะไรบ้าง คือ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ
เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ
กัมโพชะ ราชสมบัติของผู้นั้นก็หามีค่าเท่าส่วนที่ ๑๖ แห่งอุโบสถประกอบด้วย
องค์ ๘ ไม่ นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะราชสมบัติของมนุษย์ เทียบกับทิพยสุข
เข้าแล้ว เป็นของนิดหน่อย
วิสาขา ๕๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่าจาตุ-
มหาราชิกาโดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นปี
โดยปีนั้น ๕๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าจาตุมหาราชิกา ดูก่อน
วิสาขา ที่บุคคลลางคนในโลกนี้ สตรีหรือบุรุษก็ตาม รักษาอุโบสถประกอบด้วย
องค์ ๘ แล้ว เพราะกายแตกตายไปจะพึงไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าจาตุ-
มหาราซิกา ที่ว่า ราชสมบัติของมนุษย์เทียบกับทิพยสุขเข้าแล้ว เป็นของนิด
หน่อย นั้นเรากล่าวหมายเอาข้อนี้แล
วิสาขา ๑๐๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่าดาวดึงส์
โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒เดือนเป็นปี โดยปีนั้น ๑,๐๐๐
ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าดาวดึงส์ ดูก่อนวิสาขา ที่บุคคล
ลางคนในโลกนี้ สตรีหรือบุรุษก็ตาม รักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ แล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 391
เพราะกายแตกตายไปจะพึงไปเกิดอยู่รวมกับเทวดาเหล่าดาวดึงส์ ที่ว่า ราช-
สมบัติของมนุษย์ เทียบกับทิพยสุขเข้าแล้ว เป็นของนิดหน่อย นั้น เรากล่าว
หมายเอาข้อนี้แล
วิสาขา ๒๐๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่ายามา
โดยราตรีนั้น ๓๐ ราตรีเป็นเดือน โดยเดือนนั้น ๑๒ เดือนเป็นปี โดยปีนั้น
๒,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่ายามา ดูก่อนวิสาขา
ที่บุคคล ฯลฯ ร่วมกับเทวดาเหล่ายามา ที่ว่า ราชสมบัติของมนุษย์ ฯลฯ
หมายเอาข้อนี้แล
วิสาขา ๔๐๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่าดุสิต
ฯลฯ ๔,๐๐๐ ปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าดุสิต ดูก่อนวิสาขา
ที่บุคคล ฯลฯ ร่วมกับเทวดาเหล่าดุสิต ที่ว่า ราชสมบัติของมนุษย์ ฯลฯ
หมายเอาข้อนี้แล.
วิสาขา ๘๐๐ ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่งของเทวดาเหล่านิมมา-
นรดี ฯลฯ ๘,๐๐๐ ปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่านิมมานรดี ดูก่อน
วิสาขา ที่บุคคล ฯลฯ ร่วมกับเทวดาเหล่านิมมานรดี ที่ว่า ราชสมบัติของ
มนุษย์ ฯลฯ หมายเอาข้อนี้แล.
วิสาขา ๑,๖๐๐ ปีมนุษย์ เป็นคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง ของเทวดาเหล่า
ปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ ๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่า
ปรนิมมิตวสวัตดี ดูก่อนวิสาขา ที่บุคคล ฯลฯ ร่วมกับเทวดาเหล่าปรนิมมิต-
วสวัตดี ที่ว่าราชสมบัติของมนุษย์ ฯลฯ หมายเอาข้อนี้แล.
ไม่ฆ่าสัตว์ ๑ ไม่ถือเอาของที่เจ้าของ
มิได้ให้ ๑ ไม่พูดมุสา ๑ ไม่ดื่มน้ำเมา ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 392
เว้นจากเมถุนอันมิใช่ความประพฤติดัง-
พรหม ๑ ไม่บริโภคอาหารในราตรีและ
อาหารผิดเวลา ๑ ไม่ประดับดอกไม้ ไม่ใช่
ของหอม ๑ นอนบนเตียง (ที่ได้ประมาณ)
หรือเครื่องลาดบนพื้น ๑ บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวอุโบสถมีองค์ ๘ นี้ ซึ่งพระพุทธเจ้า
ผู้ถึงที่สุดทุกข์ทรงประกาศไว้.
พระจันทร์และพระอาทิตย์ที่น่าดูทั้ง
สอง โคจรส่องแสงไปตลอดที่มีประมาณ
เท่าใด อนึ่ง พระจันทร์และพระอาทิตย์
ขจัดมืดในอากาศส่องอยู่บนฟ้า ทำให้รุ่ง-
โรจน์ไปทั่วทิศ(ตลอดที่เพียงใด)ทรัพย์อัน
ใดมีอยู่ในระหว่าง (ที่ๆ แสงส่องถึง) นั้น
เช่นแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์อัน
งาม ทองสิงคี ทั้งทองกาญจนะ ทองที่
เรียกว่าชาตรูปะ ทองหฏกะทรัพย์เหล่านั้น
(มีค่า) ไม่ถึงแม้ส่วนที่ ๑๖ แห่งอุโบสถ
อันประกอบด้วยองค์ ๘ ดุจหมู่ดาวทั้งหมด
(สว่าง) ไม่ถึงส่วนที่ ๑๖ แห่งแสงจันทร์
ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 393
เพราะเหตุนั้นแล หญิงและชายผู้มี
ศีล พึงรักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์
๘ ทำบุญทั้งหลายอันมีสุขเป็นผลเถิด จะ
เป็นผู้ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงฐานะอัน
เป็นแดนสุข.
จบอุโปสถสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๒
อรรถกถาอุโปสถสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอุโปสถสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทหุโปสเถ เท่ากับ ตสฺมึ อหุ อุโปสเถ คือ ตทิวส
อุโปสเถ แปลว่า อุโบสถในวันนั้น มีอธิบายว่า ในวันนั้น เป็นวันปัณณรสี
อุโบสถ บทว่า อุปสงฺกมติ ความว่า นางวิสาขาอธิฏฐานองค์อุโบสถแล้ว
ถือของหอมและระเบียบเป็นต้น เข้าไปเฝ้าแล้ว. บทว่า หนฺท เป็นนิบาต
ใช้ในอรรถว่าเชื้อเชิญ.๑ บทว่า ทิวา ทิวสฺส ความว่า เวลาเที่ยงวันชื่อว่า
ยังวันอยู่ ได้แก่ในเวลาที่มีพระอาทิตย์ตั้งอยู่ในท่ามกลาง. บทว่า กุโต นุ ตฺว
อาคจฺฉสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า เธอจะไปทำอะไร.
อุโบสถที่เปรียบด้วยจ้างเลี้ยงโค เพราะมีความวิตกว่าจะไม่บริสุทธิ์
ชื่อว่า โคปาลกอุโบสถ. อุโบสถ คือการเข้าจำ ของนิครนถ์ทั้งหลาย ชื่อว่า
๑. ปาฐะว่า อุปสคฺคตฺเถ ฉบับพม่าเป็น วงสฺสคฺคตฺเถ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 394
นิคัณฐอุโบสถ. อุโบสถคือการเข้าจำ ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า
อริยอุโบสถ ฉะนี้แล.
บทว่า เสยฺยถาปิ วิสาเข ความว่า ดูก่อนวิสาขา เปรียบเหมือน
บทว่า สายณฺหสมเย สามิกาน คาโว นิยฺยาเทตฺวา ความว่า แท้จริง
ลูกจ้างเลี้ยงโค รับโคมาเลี้ยง เพราะค่าจ้างรายวัน โดยกำหนดไว้ว่า ๕ วัน
๑๐ วัน ครึ่งเดือน หนึ่งเดือน ๖ เดือน หรือ ๑ ปี (จึงจะจ่าย) แต่ใน
พระสูตรนี้ ตรัสคำว่า โคปาลกุโปสโถ นี้ ทรงหมายถึง ผู้เลี้ยงวัวเพราะ
ค่าจ้างรายวัน. บทว่า นิยฺยาเทตฺวา ความว่า มอบให้คือพูดว่า โคของท่าน
มีจำนวนเท่านี้. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ ความว่า ไปถึงเรือนของตน
รับประทานอาหารแล้ว นอนบนเตียง พิจารณาอย่างนี้. บทว่า อภิชฺฌา-
สหคเตน ความว่า สัมปยุตด้วยตัณหา.
บทว่า เอว โข วิสาเข โคปาลกุโปสโถ โหติ ความว่า
นี้เป็นอริยอุโบสถเหมือนกัน แต่เพราะมีวิตกไม่บริสุทธิ์ จึงอยู่ในฐานะแห่ง
โคปาลกอุโบสถเท่านั้น. บทว่า น มหปฺผโล ความว่า ไม่มีผลมาก เพราะ
ผลคือวิบาก. บทว่า น มหานิสโส ความว่า ชื่อว่า ไม่มีอานิสงส์มาก
เพราะอานิสงส์คือวิบาก. บทว่า น มหาชุติโก ความว่า ไม่มีแสงสว่างมาก
เพราะแสงสว่างคือวิบาก. บทว่า น มหาวิปฺผาโร ความว่า ชื่อว่าไม่แผ่
ไปมาก เพราะการแผ่ไปแห่งวิบากมีไม่มาก.
บทว่า สมณชาติกา ได้แก่ หมู่สมณะ. บทว่า ปร โยชนสต
ความว่า ไกลเกินกว่า ๑๐๐โยชน์ คือเลยนั้นไป. บทว่า เตสุ ทณฺฑ นิกฺขิปาหิ
ความว่า วางอาชญา คือเป็นผู้วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ที่อยู่เกิน
๑๐๐ โยชน์ไป.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 395
บทว่า นาห กฺวจินิ กสฺสจิ กิญฺจน ตสฺมึ ความว่าเราไม่มีความกังวล
ต่อใครคนอื่นในที่ไหน ๆ อธิบายว่า ปลิโพธ พระองค์ตรัสเรียกว่าความกังวล
เราเป็นผู้ไม่มีความกังวล. บทว่า น จ มม กฺวจินิ กิสฺมิญฺจิ กิญฺจน นตฺถิ
ความว่า เราไม่มีความกังวล คือไม่มีปลิโพธ ในสิ่งไร ๆ คือแม้ในบริขาร
อย่างหนึ่งในที่ไหน ๆ คือทั้งภายในและภายนอก มีอธิบายว่า เราตัดความ
กังวลได้ขาดแล้ว. บทว่า โภเค ได้แก่ เครื่องอุปโภคและบริโภค มี เตียง
ตั่ง ข้าวยาคู และภัตรเป็นต้น. บทว่า อทินฺนเยว ปริภุญฺชติ ความว่า
ในวันรุ่งขึ้น เขาเมื่อนอนบนเตียงก็ดี นั่งบนตั่งก็ดี ดื่มข้าวยาคูก็ดี ฉันอาหาร
ก็ดี ชื่อว่า บริโภคโภคเหล่านั้น ที่เขาไม่ได้ให้เลย.
บทว่า น มหปฺผโล แปลว่า ไร้ผล. ก็ในบทว่า น มหปฺผโล นี้
มีแต่พยัญชนะเท่านั้นที่เหลืออยู่ ส่วนเนื้อความไม่มีเหลือเลย. เพราะว่าอุโบสถ
ของผู้เข้าจำอย่างนี้ ไม่มีวิบากผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แม้เพียง
เล็กน้อย เพราะฉะนั้น นิคัณอุโบสถ พึงทราบว่าไม่มีผลเลย. แม้ในบทที่
เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำนี้ไว้ว่า จิต
เศร้าหมองแล้ว ?
ตอบว่า เพราะว่า ความที่อุโบสถที่ผู้มีจิตบริสุทธิ์ เข้าจำแล้วมีผลมาก
เป็นอันพระองค์ทรงอนุญาตแล้ว เพราะทรงแสดงไว้ว่า อุโบสถที่ผู้มีจิตเศร้า
หมองเข้าจำแล้ว ย่อมไม่มีผลมาก. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส
คำนี้ไว้เพื่อทรงแสดงกัมมัฏฐานที่เป็นเหตุให้จิตบริสุทธิ์ คือ กรรมฐาน
ที่เป็นเหตุชำระจิต. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปกฺกเมน ความว่า
ด้วยความเพียรของบุรุษเฉพาะตน หรือด้วยอุบาย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 396
บทว่า ตถาคต อนุสฺสรติ ความว่า ระลึกถึงพระคุณของพระ
ตถาคตด้วยเหตุ ๘ ประการ. ก็ในบทว่า ตถาคต อนุสฺสรติ นี้ ท่านสงเคราะห์
เอาพระพุทธคุณทั้งหมด ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระไว้ด้วยคำว่า อิติปิ โส
ภควา ซึ่งขยายความออกไปว่า เพราะศีลแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เพราะสมาธิแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงพระคุณที่เป็น
ส่วนพระองค์เท่านั้น ด้วยมีอาทิว่า อรห ดังนี้. บทว่า ตถาคต
อนุสฺสรโต จิตฺต ปสีทติ ความว่า เมื่อเขาระลึกถึงพระคุณของพระตถาคต-
เจ้า ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ จิตตุปบาทย่อมผ่องใส.
นิวรณ์ทั้ง ๕ ชื่อว่า อุปกิเลสแห่งจิต. น้ำคั้นมะขามป้อม ชื่อว่า
กักกะ. บทว่า ตชฺช วายาม ความว่า ความพยายามเพื่อชโลม ขัดสี
และล้างด้วยตะกอนที่เกิดจากน้ำคั้นมะขามป้อมนั้น อันสมควรแก่น้ำคั้นมะขาม
ป้อมนั้น. บทว่า ปริโยทปนา โหติ ความว่า ย่อมเป็นการทำความสะอาด
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ด้วยพระพุทธประสงค์ว่า ถ้าประดับเครื่อง
ประดับไว้บนศีรษะที่สกปรก เล่นนักษัตร ก็ไม่งาม แต่ถ้าประดับเครื่องประดับ
บนศีรษะที่สะอาดเล่นนักษัตร ย่อมงดงาม (ฉันใด) ก็อุโบสถผู้มีจิตเศร้าหมอง
อธิฏฐาน๑ องค์อุโบสถแล้วเข้าจำ จะไม่มีผลมาก แต่อุโบสถที่ผู้มีจิตสะอาด๒
อธิฏฐานองค์อุโบสถแล้วเข้าจำ ย่อมมีผลมาก. ฉันนั้นเหมือนกันดังนี้.
บทว่า พฺรหฺมุโปสถ อุปวสติ ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เขาเรียกกันว่า พระพรหม อุโบสถนี้ ชื่อว่า พรหมอุโบสถ ด้วยสมาทานแห่ง
การระลึกถึงคุณของพระพรหมนั้นเข้าจำ พรหมอุโบสถนั้น. บทว่า พฺรหฺมุนา
๑. ปาฐะว่า กิลิฏฺจิตฺโต ฉบับพม่าเป็น กิลิฏฺจิตฺเตน.
๒. ปาฐะว่า ปริสุทฺเธ ปน จิตฺเต ฉบับพม่าเป็น ปริสุทฺเธน ปน จิตฺเตน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 397
สทฺธึ สวสติ ความว่า คบหากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. บทว่า พฺรหฺมญฺจสฺส
อารพฺภ ความว่า ปรารภสัมมาสัมพุทธเจ้า.
บทว่า ธมฺม อนุสฺสรติ ความว่า ระลึกถึงโลกุตรธรรม พร้อม
กับพุทธพจน์. บทว่า โสตฺตึ ได้แก่ฝุ่นหินที่ค้นพบในแคว้นกุรุ. ก็คนทั้งหลาย
ผสมคลั่งเข้ากับฝุ่นหินที่ค้นพบในแคว้นกุรุ ปั้นเป็นลูกประคำ เจาะรูแล้วเอา
ด้ายร้อย จับสายพวงลูกประคำทั้งสองข้างแล้วถูหลัง. บทว่า โสตฺติญฺจ ปฏิจฺจ
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพวงลูกประคำนั้น. บทว่า จุณฺณ ได้แก่
จุณที่ใช้เวลาอาบน้ำ. บทว่า ตชฺช วายาม ได้แก่ความพยายามที่สมกับกิจ
นั้น มีการไล้ทา ขัดสี และชำระล้างเป็นต้น. บทว่า ธมฺมุโปสถ ความว่า
อุโบสถนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ธัมมอุโบสถ เพราะปรารภ
นวโลกุตรธรรม พร้อมกับพุทธพจน์แล้วเข้าจำ. นักศึกษาควรวางบทว่า
ปริโยทปนา แม้นี้ไว้เป็นหลัก แล้วประกอบความโดยนัยก่อนนั่นแหละ.
บทว่า สฆ อนุสฺสรติ ความว่า ระลึกถึงคุณของพระอริยบุคคล
๘ จำพวก. บทว่า อูสญฺจ ปฏิจฺจ ความว่า อาศัยไออบที่ให้จับ โดยยก
ขึ้นเตาต้ม ๒-๓ ครั้ง. ปาฐะว่า อุสฺส ดังนี้ก็มี. ความหมายก็อย่างเดียวกัน
นี้แหละ. บทว่า ขีร ได้แก่ ขี้เถ้า. บทว่า โคมย ได้แก่ เยี่ยววัว หรือ
ขี้แพะ. แม้ในบทว่า ปริโยทปนา นี้ ก็พึงประกอบความ โดยนัยก่อน
นั่นแหละ. บทว่า สงฺฆุโปสถ ความว่า อุโบสถนี้ตรัสเรียกว่า สังฆอุโบสถ
เพราะปรารภคุณของพระอริยบุคคล ๘ จำพวกแล้ว จึงเข้าจำ. บทว่า สีลานิ
ความว่า เป็นคฤหัสถ์ที่ระลึกถึงศีลของคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต ก็ระลึกถึงศีลของ
บรรพชิต. อรรถาธิบายของบทว่า อขณฺฑานิ เป็นต้น ข้าพเจ้าได้ให้พิสดาร
แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 398
บทว่า วาลณฺฑุก ได้แก่ แปรงที่เขาทำด้วยขนหางม้า หรือขนปอ
เป็นต้น. บทว่า ตชฺช วายาม ได้แก่ การที่เอาน้ำมันทา คะเนว่า
สนิมเปียกทั่วแล้ว เทขี้เถ้าลงไป แล้วพยายามเอาแปรงขัด. ผู้ศึกษาควรประกอบ
ความอย่างนี้ โดยยึดบทว่า ปริโยทปนา นี้เป็นหลักดังต่อไปนี้.
เหมือนอย่างว่า ร่างกาย ถึงจะตกแต่งประดับประดาแล้ว (แต่)
เมื่อแว่น (สำหรับส่อง) สกปรก มองดูก็ไม่งาม เมื่อแว่นสะอาดจึงจะงาม
ฉันใด อุโบสถที่เข้าจำแล้ว ก็เช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อจิตเศร้าหมอง ก็ไม่มี
ผลมาก เมื่อจิตบริสุทธิ์จึงจะมีผลมาก ฉะนี้แล. บทว่า สีลุโปสถ ความว่า
อุโบสถที่เข้าจำ ด้วยอำนาจแห่งการระลึกถึงศีลของตน ชื่อว่า ศีลอุโบสถ.
บทว่า สีเลน สทฺธึ ความว่า พร้อมกับศีล ๕ ศีล ๑๐ ของตน. บทว่า
สีล อารพฺภ ความว่า ปรารภทั้งศีล ๕ ทั้งศีล ๑๐.
บทว่า เทวตา อนฺสฺสรติ ความว่า ระลึกถึงคุณมีศรัทธาเป็นต้น
ของตน โดยตั้งเทวดาไว้ในฐานะเป็นพยาน. บทว่า อุกฺก แปลว่า เตา.
บทว่า โลณ ได้แก่ดินเค็ม. บทว่า เครุก ได้แก่ ผงดินสอพอง. บทว่า
นาฬิกสณฺฑาส ได้แก่สูบที่ทำด้วยไม้อ้อ และคีมสำหรับคีบ. บทว่า ตชฺช
วายาม ได้แก่ความพยายามอันเหมาะสม มีการใส่ลงในเตา การสูบ และ
การใช้คีมเขี่ยเป็นต้น. นักศึกษาควรวาง บทว่า ปริโยทปนา นี้ไว้เป็น
หลักแล้ว ประกอบความโดยนัยก่อนนั่นแหละ เพราะว่าผู้ตกแต่งตัวด้วย
เครื่องประดับซึ่งทำด้วยทองคำที่หมอง เล่นนักษัตร ย่อมไม่งาม (แต่ถ้า
แต่งตัวด้วยเครื่องประดับ) ซึ่งทำด้วยทองที่ไม่หมอง เล่นนักษัตรจึงจะงาม
ฉันใด ผู้มีจิตเศร้าหมองก็ฉันนั้นเหมือนกัน อุโบสถย่อมไม่มีผลมาก ส่วนผู้
มีจิตบริสุทธิ์ จึงจะมีผลมาก. บทว่า เทวตูโปสถ ความว่า อุโบสถที่บุคคล
ระลึกถึงคุณธรรมของตน โดยตั้งเทวดาไว้ในฐานะเป็นพยาน แล้วเข้าจำ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 399
ชื่อว่า เทวดาอุโบสถ. คำใดที่เหลืออยู่อันควรจะกล่าวถึงในกัมมัฏฐาน
มีพุทธานุสติเป็นต้นเหล่านี้ ทั้งหมด ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
แล้วเทียว.
บทว่า ปาณาติปาต ได้แก่การฆ่าสัตว์. บทว่า ปหาย ความว่า
ละความทุศีล กล่าวคือ เจตนาเป็นเหตุฆ่าสัตว์นั้น. บทว่า ปฏิวิรตา ความว่า
งดคือเว้นจากความเป็นผู้ทุศีลนั้นตั้งแต่เวลาที่ละได้แล้ว.
บทว่า นิหิตทณฺฑา นิหิตสตฺถา มีอธิบายว่า ชื่อว่า ทั้งทิ้งท่อนไม้
ทั้งทิ้งศาตรา เพราะไม่ถือท่อนไม้ หรือศาสตรา เป็นไปเพื่อฆ่าผู้อื่น. เว้น
ท่อนไม้เสียแล้ว อุปกรณ์ที่เหลือทั้งหมด พึงทราบว่า ชื่อว่า ศาสตรา ในบทว่า
นิหิตทณฺฑา นิหิตสตฺถา นี้ เพราะยังสัตว์ทั้งหลายให้พินาศ. ส่วนการที่
ภิกษุถือไม้เท้าคนแก่ มีดเหลาไม้ชำระฟัน หรือตะไกร มิใช่เพื่อต้องการฆ่า
ผู้อื่น เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นจัดว่า วางท่อนไม้แล้ว วางศาสตราแล้ว
เหมือนกัน. บทว่า ลชฺชี ความว่า ประกอบด้วยความละอาย มีการรังเกียจ
บาปเป็นลักษณะ. บทว่า ทฺยาปนฺนา ความว่า ถึงความเอ็นดูคือความเป็น
ผู้มีเมตตาจิต. บทว่า สพฺพปาณภูตหิตานุกกมฺปี ความว่า อนุเคราะห์สัตว์
มีชีวิตทั้งปวง ด้วยประโยชน์เกื้อกูล อธิบายว่า มีจิตเกื้อกูลเหล่าสัตว์มีชีวิต
ทั้งปวง เพราะความเป็นผู้มีใจเอ็นดูนั่นเอง.๑
บทว่า อหมฺปชฺช ตัดบทเป็น อหปิ อชฺช. บทว่า อิมินาปิ
องฺเคน ได้แก่ด้วยองคคุณแม้นี้. บทว่า อรหต อนุกโรมิ ความว่า เมื่อเดิน
ตามหลังผู้ที่เดินไปข้างหน้า ชื่อว่า เดินตามฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น เมื่อบำเพ็ญ
คุณความดีนี้ภายหลังที่พระอรหันต์ทั้งหลายบำเพ็ญมาก่อน ชื่อว่า เจริญรอย
ตามพระอรหันต์เหล่านั้น. บทว่า อุโปสโถ จ เม อุปวุตฺโถ ภวิสฺสติ
๑. ปาฐะว่า สพฺพปาณภูเต หิเตน อนุกมฺปิตาย ทฺยาปนฺนาย ฉบับพม่าเป็น สพฺพปาณภูเต
หิเตน อนุกมฺปกา ตาย เอว ทฺยาปนฺนตาย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 400
ความว่า การที่เรากระทำอย่างนี้ จักเป็นอันชื่อว่า เจริญรอยตามพระอรหันต์
ด้วย จักชื่อว่า เป็นอันเข้าจำอุโบสถด้วย.
การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ คือที่ผู้อื่นหวงแหน ชื่อว่า
อทินนาทาน อธิบายว่า ได้แก่การขโมย คืองานของโจร. ชื่อว่า ทินฺนาทายี
เพราะถือเฉพาะแต่ของที่เขาให้. ชื่อว่า ทินฺนปาฏิกงฺขี เพราะจำนงหวัง
แม้ด้วยจิต เฉพาะของที่เขาให้. ชื่อว่า เถนะ เพราะลักขโมย ชื่อว่า อเถนะ
เพราะไม่ลักขโมย ชื่อว่าเป็นผู้สะอาด เพราะไม่ลักขโมยนั่นเอง. บทว่า
อตฺตนา ได้แก่มีอัตภาพ ท่านอธิบายว่า ทำอัตภาพที่ไม่ลักขโมยให้
สะอาดอยู่.
บทว่า อพฺรหฺมจริย ได้แก่ การประพฤติที่ไม่ประเสริฐ. ชื่อว่า
พฺรหฺมจารี เพราะประพฤติธรรมอันประเสริฐ คืออาจาระอันสูงสุด. บทว่า
อาจารี ความว่า ชื่อว่า มีอาจาระชั่ว เพราะไม่ประพฤตติธรรมอันประเสริฐ.
บทว่า เมถุนา ได้แก่อสัทธรรมที่ถึงการนับว่าเมถุน เพราะซ่องเสพด้วยธรรม
อันได้นามว่า เมถุน เพราะคล้ายกันโดยเป็นกิเลสที่กลุ้มรุมจิต คือ ราคะ.
บทว่า คามธมฺมา ได้แก่ธรรมของชาวบ้าน.
บทว่า มุสาวาทา ความว่า จากการพูดเหลาะแหละ คือ พูดคำ
ไร้ประโยชน์. ชื่อว่า สจฺจวาที เพราะพูดความจริง. ชื่อว่า สจฺจสนฺธา
เพราะสืบต่อสัจจะ ด้วยสัจจะ อธิบายว่า ไม่พูดเท็จในระหว่าง ๆ. เพราะว่า
ผู้ใดบางครั้งก็พูดเท็จ บางครั้งก็พูดจริง ผู้นั้นชื่อว่าไม่สืบต่อสัจจะด้วยสัจจะ
เพราะมีมุสาวาทมาขีดคั่น. เพราะฉะนั้น เขาจึงไม่ชื่อว่า มีสัจจะต่อเนื่อง.
แต่คนเหล่านี้ไม่เป็นเช่นนั้น สืบต่อคำสัตย์ด้วยคำสัตย์อย่างเดียว โดยไม่ยอม
พูดเท็จ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีสัจจะต่อเนื่อง.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 401
บทว่า เถตา แปลว่า มั่นคง อธิบายว่า มีถ้อยคำมั่นคง. คนผู้หนึ่งเป็นผู้
ไม่มีถ้อยคำมั่นคง เหมือนการย้อมผ้าด้วยขมิ้น เหมือนหลักที่ปักไว้บนกอง-
แกลบ และเหมือนลูกฟักที่วางไว้บนหลังม้า แต่อีกผู้หนึ่ง มีถ้อยคำมั่นคง
เหมือนรอยจารึกบนแผ่นดิน และเหมือนเสาอินทขีละ ถึงจะเอาดาบตัดศีรษะ
ก็ไม่ยอมพูดเป็นคำสอง. คนผู้นี้ ชื่อว่า เถตะ. มีถ้อยคำมั่นคง. บทว่า
ปจฺจยิกา ได้แก่วางใจได้ อธิบายว่า. เชื่อถือได้. เพราะคนบางคน เชื่อถือ
ไม่ได้ คือเมื่อถูกเขาถามว่า คำนี้ใครพูด พอตอบว่า คนโน้นพูด ก็จะถึง
ความเป็นผู้อันเขาพึงพูดว่า อย่าเชื่อคำพูดของมัน แต่คนผู้หนึ่ง พูดเชื่อถือได้
คือเมื่อถูกถามว่า คำนี้ใครพูด พอตอบว่า คนโน้นพูด ก็จะถึงการรับรองว่า
ถ้าคนนั้นพูด ข้อนี้ก็ถือเป็นประมาณได้ บัดนี้ไม่มีข้อที่จะต้องทักท้วง คำนี้
เป็นอย่างนี้ อย่างนี้. คนผู้นี้ เรียกว่า เป็นที่วางใจได้. บทว่า อวิสวาทกา
โลกสฺส มีอธิบายว่า ไม่พูดลวงโลก เพราะพูดแต่ความจริงเท่านั้น.
เหตุแห่งความประมาทกล่าวคือ เจตนา ที่จะดื่มน้ำเมาคือ สุราและเมรัย
ชื่อว่า สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน.
บทว่า เอกภตฺติกา ความว่า อาหารมี ๒ เวลา คือ อาหารที่จะต้อง
รับประทานในเวลาเช้า ๑ อาหารที่จะต้องรับประทานในเวลาเย็น ๑ บรรดา
อาหารทั้งสองอย่างนั้น อาหารที่จะรับประทานในเวลาเช้า กำหนดโดยเวลา
ภายในเที่ยงวัน (ส่วน) อาหารที่จะรับประทานในเวลาเย็น นอกนี้กำหนดโดย
เวลาแต่เลยเที่ยงไป จนถึงเวลาอรุณขึ้น. เพราะฉะนั้นในเวลาภายในเที่ยง
ถึงจะรับประทาน ๑๐ ครั้ง ก็ชื่อว่า มีการรับประทานอาหารเวลาเดียว. พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอกภตฺติกา ทรงหมายถึงการรับประทานอาหารภายใน
เวลาเที่ยงวัน. การรับประทานอาหารในเวลากลางคืน ชื่อว่า รตฺติ ผู้เว้น
จากการรับประทานอาหารในเวลากลางคืนนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 402
รตฺตูปรตา. การรับประทานอาหารในเวลาเลยเที่ยงวันไป จนถึงเวลาพระ-
อาทิตย์ตกดิน ชื่อว่า การรับประทานอาหารในเวลาวิกาล ผู้ชื่อว่าเว้นจาก
วิกาลโภชน์ เพราะเว้นจากการรับประทานอาหารในเวลาวิกาลนั้น.
การดูที่ชื่อว่า เป็นข้าศึก คือเป็นศัตรู เพราะอนุโลมตามคำสอนไม่ได้
(ขัดต่อศาสนา) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วิสูกทัสสนะ การฟ้อนรำ การขับร้อง
การดีดสีตีเป่า แม้ด้วยสามารถแห่งการฟ้อนด้วยตนเอง และการให้ผู้อื่นฟ้อน
เป็นต้น และการดูการร่ายรำเป็นต้น ที่เป็นไปแล้วโดยที่สุด แม้ด้วยสามารถ
แห่งการรำแพนของนกยูงเป็นต้น ที่เป็นข้าศึก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นัจจ-
คีตวาทิตวิสูกทัสสนะ. ก็การประกอบการฟ้อนเป็นต้น ด้วยตนเองก็ดี การให้
ผู้อื่นประกอบก็ดี การดูการฟ้อนเป็นต้น ที่เขาประกอบแล้วก็ดี ไม่ควรแก่ภิกษุ
ภิกษุณีเลย.
ในบรรดามาลาเป็นต้น ดอกไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มาลา.
คันธชาต อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ของหอม. เครื่องประเทืองผิว ชื่อว่า
วิเลปนะ. ในบรรดาสิ่งเหล่านั้น เมื่อประดับประดา ชื่อว่า ทัดทรง. เมื่อ
เสริมส่วนที่บกพร่อง ชื่อว่า ตกแต่ง. เมื่อยินดี ด้วยของหอมก็ดี ด้วย
เครื่องประเทืองผิวก็ดี ชื่อว่า ประดับประดา. เหตุ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ฐานะ. อธิบายว่า เพราะฉะนั้น มหาชนกระทำการทัดทรง
ดอกไม้เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยเจตนาคือความเป็นผู้ทุศีลอันใด พระอรหันต์
ทั้งหลายเป็นผู้เว้นจากทุศีลเจตนานั้น.
ที่นั่งที่นอนเกินขนาด ตรัสเรียกว่า อุจจาสยนะ. เครื่องปูลาดที่
เป็นอกัปปิยะ (ไม่สมควร) ชื่อว่า มหาสยนะ อธิบายว่า พระอรหันต์
ทั้งหลายเป็นผู้เว้นจากที่นั่งที่นอนสูง และที่นั่งที่นอนใหญ่นั้น. บทว่า กีว-
มหปฺผโล ความว่า มีผลมากขนาดไหน. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 403
บทว่า ปหุตฺสตฺตรตนาน ความว่า ประกอบด้วยรตนะกล่าวคือแก้วมาก
มาย อธิบายว่า ปราบพื้นชมพูทวีปทั้งสิ้นให้เป็นเหมือนหน้ากลอง แล้วเทรตนะ
ทั้ง ๗ ลงสูงเท่าสะเอว. บทว่า อิสฺสริยาธิปจฺจ ความว่า (เสวยราชสมบัติ)
ที่เป็นใหญ่หรือเป็นอธิบดี ทั้งโดยความเป็นอิสระ ทั้งโดยความเป็นอธิบดี
ไม่ใช่เป็นใหญ่ หรือเป็นอธิบดี โดยความเป็นพระราชาที่หนักพระทัย ชื่อว่า
เสวยไอศวรรยาธิปัตย์ เพราะไม่มีอาชญากรรมที่ร้ายแรง (คดีอุกฉกรรจ์)
ดังนี้บ้าง. บทว่า รชฺช กา รยฺย ได้แก่ เสวยจักรพรรดิราชสมบัติเห็น
ปานนี้.
คำว่า องฺคาน เป็นต้น เป็นชื่อของชนบทเหล่านั้น. บทว่า กล
นาคฺฆติ โสฬสึ ความว่า แบ่งบุญในการอยู่จำอุโบสถ ตลอดวันและคืนหนึ่ง
ออกเป็น ๑๖ ส่วนแล้ว จักรพรรดิราชสมบัติ ยังมีค่าไม่ถึงส่วนเดียว จาก
๑๖ ส่วนนั้น. อธิบายว่า ผลวิบากของส่วนที่ ๑๖ ของอุโบสถคืนหนึ่งมากกว่า
จักรพรรดิราชสมบัติ ของพระเจ้าจักรพรรดินั้น. บทว่า กปณ ได้แก่เล็กน้อย.
บทว่า อพฺรหฺมจริยา ได้แก่ จากความประพฤติอันไม่ประเสริฐ.
บทว่า รตฺตึ น ภุญฺเชถ วิกาลโภชน ความว่า เมื่อเข้าจำอุโบสถไม่
ควรบริโภคอาหารในเวลากลางคืน และอาหารในเวลากลางวัน อันเป็นเวลา
วิกาล. บทว่า มญฺเจ ฉมาย ว สเยถ สนฺถเต มีอธิบายว่า
ควรนอนบนเตียงที่เป็นกัปปิยะ. มีเท้าสูงศอกกำ หรือพื้นที่ ๆ เขาเทไว้ด้วย
ปูนขาวเป็นต้น หรือบนสันถัด ที่เขาปูลาดด้วยหญ้า ใบไม้หรือฟางเป็นต้น.
บทว่า เอต หิ อฏฺงฺคิกมาหุโปสถ ความว่า นักปราชญ์เรียกอุโบสถ
ที่ผู้ไม่ละเมิดปาณาติบาตเป็นต้น เข้าจำแล้วอย่างนี้ ว่าเป็นอุโบสถประกอบ
ด้วยองค์ ๘ เพราะประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ.
ส่วนผู้ที่เข้าจำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ นั้น คิดว่า พรุ่งนี้เราจัก
รักษาอุโบสถ แล้วควรตรวจสอบสิ่งที่ต้องจัด มีอาหารเป็นต้นว่า เราต้อง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 404
กระทำอย่างนี้ อย่างนี้ ในวันนี้ทีเดียว. ในวันอุโบสถควรเปล่งวาจาสมาทาน
องค์อุโบสถ ในสำนักของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้รู้ลักษณะ
ของศีล ๑๐ แต่เช้า ๆ.
ส่วนผู้ไม่รู้บาลี ควรอธิษฐานว่า พุทฺธปญฺตฺต อุโปสถ อธิฏฺามิ
(ข้าพเจ้าขออธิษฐาน องค์อุโบสถที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติไว้แล้ว). เมื่อหา
คนอื่นไม่ได้ ก็ควรอธิษฐานด้วยตนเอง. ส่วนการเปล่งวาจา ควรทำโดยแท้
ผู้เข้าจำอุโบสถ ไม่พึงวิจารการงาน อันเนื่องด้วยความบกพร่องของ
คนอื่น ผู้คำนึงถึงผลได้ผลเสียไม่ควรปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป. ส่วนผู้ได้อาหาร
ในเรือนแล้ว ควรบริโภคเหมือนภิกษุผู้ได้อาหารประจำ แล้วตรงไปวิหาร
ฟังธรรม หรือมนสิการอารมณ์ (กัมมัฏฐาน) ๓๘ ประการ อย่างใด
อย่างหนึ่ง.
บทว่า สุทสฺสนา ได้แก่ เห็นได้ชัดดี. บทว่า โอภาสย ได้แก่
ส่องสว่างอยู่. บทว่า อนฺปริยนฺติ แปลว่า โคจรไป. บทว่า ยาวตา ได้แก่
สู่ที่มีประมาณเท่าใด. บทว่า อนฺตลิกฺขคา ได้แก่ลอยไปสู่อากาศ. บทว่า
ปภาสนฺติ แปลว่า ส่องแสงสว่าง คือเปล่งรัศมี. บทว่า ทิสา วิโรจนา
ได้แก่ ส่องแสงสว่างไปในทิศทั้งปวง. อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปภาสนฺติ แปลว่า
สว่างจ้าไปทั่วทุกทิศ.๑ บทว่า วิโรจนา เท่ากับ วิโรจมานา แปลว่า
ส่องสว่าง.
บทว่า เวฬุริย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงจะตรัสบทว่า
มณีไว้แล้ว (แต่) ก็ทรงแสดงถึงความเป็นแก้วมณี โดยกำเนิดไว้ด้วยบทว่า
เวฬุริย นี้. ด้วยว่า แก้วไพฑูรย์ ที่มีสีเหมือนไม้ไผ่ ที่เกิดได้ ๑ ปี ชื่อว่า
๑. ปาฐะว่า อถวา ปภาสนฺติ ทิสา วิทิสา โอภาสนฺตีติ วิโรจมานา ฉบับพม่าเป็น อถวา
ปภาสนฺตีติ ทิสาหิ ทิสา โอภาสนฺติ วิโรจนาติ วิโรจมานา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 405
แก้วมณีโดยกำเนิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ทรงหมายถึงแก้วมณี
โดยกำเนิดนั้น. บทว่า ภทฺทก เท่ากับ ลทฺธก แปลว่า งดงาม. บทว่า
สงฺคิสุวณฺณ ได้แก่ทองที่งอกขึ้นมีสัณฐานดังเขาโค. บทว่า กาญฺจน ได้แก่
ทองที่เกิดจากเขา คือทองคำที่เกิดบนภูเขา. บทว่า ชาตรูป ได้แก่ทองที่มีสี
เหมือนพระฉวีวรรณของพระศาสดา. บทว่า หฏก ได้แก่ทองที่มดแดงคาบมา
บทว่า นานุภวนฺติ แปลว่า ยังไม่ถึง. บทว่า จนฺทปฺปภา เป็นปฐมาวิภัติ
ลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัติ. อธิบายว่า (ไม่ถึงส่วนที่ ๑๖) แห่งแสงจันทร์.
บทว่า อุปวสฺสุโปสถ ได้แก่เข้าจำอุโบสถ. บทว่า สุขุทฺริยานิ ได้แก่
มีสุขเป็นผล คือเสวยความสุข. บทว่า สคฺคมฺเปนฺติ าน ได้แก่เข้าถึง
ฐานะ กล่าวคือสวรรค์ อธิบายว่า ไม่มีใครตำหนิ ย่อมเกิดในเทวโลก. คำ
ที่เหลือที่มิได้กล่าวไว้ในระหว่าง ๆ ในพระสูตรนี้นั้น พึงทราบโดยทำนองที่
กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาอุโปสถสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรควรรณนาที่ ๒
รวมสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ติตถสูตร ๒. ภยสูตร ๓. เวนาคสูตร ๔. สรภสูตร ๕.
กาลามสูตร ๖. สาฬหสูตร ๗. กถาวัตถุสูตร ๘. ติตถิยสูตร ๙. มูลสูตร
๑๐. อุโปสถสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 406
อานันทวรรคที่ ๓
๑. ฉันนสูตร
ว่าด้วยโทษแห่งกุศลมูล
[๕๑๑] ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อฉันนะ เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ฯลฯ
กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า อาวุโสอานนท์ แม้พวกท่านก็บัญญัติการละราคะ
โทสะ โมหะหรือ.
ท่านพระอานนท์ตอบว่า อาวุโส พวกข้าพเจ้านะสิ บัญญัติการละราคะ
โทสะ โมหะ.
ฉ. ก็พวกท่านเห็นโทษในราคะ โทสะ โมหะอย่างไร จึงบัญญัติ
การละราคะ โทสะ โมหะ.
อา. คนที่เกิดราคะ โทสะ โมหะแล้ว อันราคะ โทสะ โมหะ
ครอบงำแล้ว มีจิตอันราคะ โทสะ โมหะจับเสียรอบแล้ว ย่อมคิดเพื่อ
ทำตนให้ลำบากบ้าง เพื่อทำผู้อื่นให้ลำบากบ้าง เพื่อทำให้ลำบากด้วยกัน
ทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมรู้สึกทุกข์โทมนัสในใจบ้าง ครั้นละราคะ โทสะ โมหะ
เสียได้แล้ว เขาย่อมไม่คิดเพื่อทำตนให้ลำบาก ฯลฯ ไม่รู้สึกทุกข์โทมนัส
ในใจ.
คนที่เกิดราคะ โทสะ โมหะแล้ว ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย
ทางวาจา ทางใจ ครั้นละราคะ โทสะ โมหะเสียได้แล้ว เขาย่อมไม่ประพฤติ
ทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจเลย.
* เป็นทีว่าพวกเขาบัญญัติอยู่แล้วเหมือนกัน หรือบัญญัติมาก่อน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 407
คนที่เกิดราคะ โทสะ โมหะแล้ว ย่อมไม่รู้ประโยชน์ตนบ้าง
ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายบ้างตามจริง ครั้นละราคะ โทสะ
โมหะเสียได้แล้ว เขาย่อมรู้ประโยชน์ตนบ้าง ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง ประโยชน์
ทั้งสองฝ่ายบ้างตามจริง.
ราคะ โทสะ โมหะเป็นเครื่องทำให้มืด ทำให้บอด ทำให้เขลา
ปิดปัญญา เป็นฝ่ายขัดขวาง ไม่เป็นทางนิพพาน พวกข้าพเจ้าเห็นโทษใน
ราคะ โทสะ โมหะนี้แล อาวุโส จึงบัญญัติการละราคะ โทสะ โมหะ
ฉ. มีหรือ อาวุโส มรรคา มีหรือ ปฏิปทา เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ
นั่น.
อา. มี อาวุโส.
ฉ. คืออะไร.
อา. คืออริยมรรคที่องค์๘นี้เท่านั้น อะไรบ้าง สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมา-
สมาธิ นี้แล อาวุโส มรรคา นี้ปฏิปทา เพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั่น.
ฉ. ดีอยู่ อาวุโส มรรคา ดีอยู่ ปฏิปทา เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ
นั่น ก็ควรแล้ว อาวุโสอานนท์ ที่พวกท่านจะไม่ประมาท.
จบฉันนสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 408
อานันทวรรควรรณนาที่ ๓
อรรถกถาฉันนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในฉันนสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ฉนฺโน ได้แก่ ปริพาชกผู้มีผ้าปกปิด (ร่างกาย) ผู้มีชื่อ
อย่างนี้. บทว่า ตุมฺเหปิ อาวุโส ความว่า ฉันนปริพาชกถามว่า ดูก่อน
อาวุโส พวกเราบัญญัติการละกิเลส มีราคะเป็นต้นอย่างใด แม้ท่านทั้งหลาย
ก็บัญญัติอย่างนั้นหรือ ? ลำดับนั้น พระเถระคิดว่า ปริพาชกนี้กล่าวกะพวก
เราว่า เราทั้งหลายบัญญัติการละราคะเป็นต้น แต่การบัญญัติการละราคะ
เป็นต้นนี้ ไม่มีในลัทธิภายนอก ดังนี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มย โข อาวุโส
ดังนี้. ศัพท์ว่า โข ในคำว่า มย โข อาวุโส นั้น เป็นนิบาตใช้ใน
ความหมายว่าห้าม อธิบายว่า พวกเราเท่านั้นบัญญัติไว้. ลำดับนั้น ปริพาชก
คิดว่า พระเถระนี้ เมื่อจะคัดลัทธิภายนอกออกไป จึงกล่าวว่า พวกเราเท่านั้น
สมณะเหล่านี้เห็นโทษอะไรหนอ จึงบัญญัติการละราคะเป็นต้นเหล่านี้ไว้.
ลำดับนั้น ฉันนปริพาชก เมื่อจะเรียนถามพระเถระ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า กึ
ปน ตุมฺเห ดังนี้.
พระเถระเมื่อจะพยากรณ์แก่เขา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า รตฺโต โข
อาวุโส ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตตฺถ ความว่า ประโยชน์
ของตนทั้งในปัจจุบัน และสัมปรายภพ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. แม้ใน
ประโยชน์ของผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสอง ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบ
วินิจฉัยในบทว่า อนฺธกรโณ เป็นต้น ดังต่อไปนี้. ราคะชื่อว่า อนฺธกรโณ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 409
เพราะทำผู้ที่มีราคะเกิดขึ้นให้มืดบอด โดยห้ามการรู้ การเห็นตามความ
เป็นจริง. ชื่อว่า อจกฺขุกรโณ เพราะไม่ทำให้เกิดปัญญาจักษุ. ชื่อว่า
อญฺาณกรโณ เพราะไม่กระทำให้เกิดญาณ. ชื่อว่า ปญฺานิโรธิโก
เพราะปัญญาทั้ง ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กัมมัสสกตปัญญา (ปัญญาที่รู้ว่าสัตว์มี
กรรมเป็นของตน) ฌานปัญญา (ปัญญาที่เกิดจากการเพ่ง) และวิปัสสนา
ปัญญา (ปัญญาพิจารณาเห็นแจ้ง) ดับไป โดยไม่ทำให้เป็นไป. ชื่อว่า
วิฆาตปกฺขิโก เพราะเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความเดือดร้อน กล่าวคือทุกข์
เพราะอำนวยผลที่ไม่น่าปรารถนาเท่านั้น. ชื่อว่า อนิพฺพานสวตฺตนิโก
เพราะไม่ยังการดับกิเลสให้เป็นไป. บทว่า อล จ ปนาวุโส อานนฺท
อปฺปมาทาย ความว่า ฉันนปริพาชก อนุโมทนาถ้อยคำของพระเถระว่า
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้มีอายุ ถ้าหากปฏิปทาแบบนี้มีอยู่ไซร้ ก็เพียงพอ
เหมาะสม เพื่อท่านทั้งหลายจะไม่ประมาท ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญความไม่
ประมาทเถิด ดังนี้แล้ว หลีกไป. ในพระสูตรนี้ พระอานนทเถระเจ้ากล่าวถึง
อริยมรรค ที่เจือด้วยโลกุตระไว้แล้ว. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ มีใจความง่าย
ทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาฉันนสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 410
๒. อาชีวกสูตร
ว่าด้วยความดี ๓ อย่าง
[๕๑๒] สมัยหนึ่งท่านพระอานนท์อยู่ที่วัดโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี
ครั้งนั้น คฤหบดีสาวกของอาชีวกผู้หนึ่งเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ครั้นเข้าไปถึง
แล้วอภิวาทท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง คฤหบดีนั้นแลนั่ง ณ
ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ เราสอง
พวก ธรรมของพวกใครเป็นสวากขาตะ (กล่าวดี) พวกใครเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
ในโลก พวกใครเป็นผู้ดำเนินดีแล้วในโลก
ท่านคฤหบดี ถ้าเช่นนั้น อาตมาจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพอใจ
อย่างใด พึงตอบอย่างนั้น ท่านสำคัญข้อนี้ว่ากระไร บุคคลเหล่าใดแสดงธรรม
เพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ธรรมของบุคคลเหล่านั้นเป็นสวากขาตะหรือไม่
หรือว่าท่านมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้.
ท่านผู้เจริญ บุคคลเหล่าใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ
ธรรมของบุคคลเหล่านั้นเป็นสวากขาตะ ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ในข้อนี้.
ท่านสำคัญข้อนี้ว่ากระไร ท่านคฤหบดี บุคคลเหล่าใดปฏิบัติเพื่อ
ละราคะ โทสะ โมหะ บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วในโลกหรือไม่
หรือว่าท่านมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้.
ท่านผู้เจริญ บุคคลเหล่าใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ
บุคคลเหล่านั้น เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วในโลก ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ในข้อนี้.
ท่านสำคัญข้อนี้ว่ากระไร ท่านคฤหบดี ราคะ โทสะ โมหะ
บุคคลเหล่าใดละได้แล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 411
ทำไม่ให้มีในภายหลังแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา บุคคลเหล่านั้น
เป็นผู้ดำเนินดีแล้วในโลกหรือไม่ หรือว่าท่านมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้.
ท่านผู้เจริญ ราคะ โทสะ โมหะ บุคคลเหล่าใดละได้แล้ว...
บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ดำเนินดีแล้วในโลก ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ในข้อนี้.
นี่แหละ ท่านคฤหบดี ข้อนี้ท่านก็ตอบเองแล้วว่า ท่านผู้เจริญ
บุคคลเหล่าใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ ธรรมของของบุคคล
เหล่านั้น เป็นสวากขาตะ ข้อนี้ท่านก็ตอบเองแล้วว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด
ปฎิบัติเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วในโลก
ข้อนี้ท่านก็ตอบเองแล้วว่า ราคะ โทสะ โมหะ บุคคลเหล่าใดละได้แล้ว
... บุคคลเหล่านั้นเป็นผู้ดำเนินดีแล้วในโลก.
ประหลาดจริง ๆ ท่านผู้เจริญ (การแสดงธรรมอย่างนี้) ไม่ชื่อว่า
เป็นการยกธรรมฝ่ายตนและไม่เป็นการรุกรานธรรมฝ่ายอื่นเลย เป็นการแสดง
อยู่ในเขตแดนแท้ กล่าวแต่เนื้อความ ไม่นำตนเข้าไป (ปะปน) ด้วย ท่าน-
อานนท์ผู้เจริญ ท่านทั้งหลายแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ
ธรรมของท่านทั้งหลายเป็นสวากขาตะ ท่านทั้งหลายปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ
โมหะ ท่านทั้งหลายเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วในโลก ราคะ โทสะ โมหะ
ท่านทั้งหลายละได้แล้ว... ท่านทั้งหลายเป็นผู้ดำเนินดีแล้วในโลก ดีจริง ๆ
ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าอานนท์บอกพระธรรมหลายปริยาย เหมือนหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปกปิด บอกทางแกคนหลง ส่องตะเกียงในที่มืดเพื่อให้คน
ตาดีเห็นรูปต่าง ๆ ฉะนั้น ข้าพเจ้าถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับ พระธรรมและ
พระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้เป็นเจ้าอานนท์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสก
ถึงสรณะแล้วตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้ไป.
จบอาชีวกสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 412
อรรถกถาอาชีวกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอาชีวกสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เตนหิ คหปติ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า อาชีวก
นี้เมื่อมาในที่นี้ ก็มิได้ประสงค์จะมาเพื่ออยากจะรู้ แต่มาเพื่อจะพิสูจน์ เราจะ
ตอบปัญหาที่พราหมณ์นี้ถามแล้ว ด้วยการย้อนถามนี้แหละ พระเถระประสงค์
จะให้พราหมณ์นั้น ตอบปัญหานั้นเสียเอง ด้วยอุบายนี้จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เตนหิ
ดังนี้.
ในคำว่า เตนหิ เป็นต้นนั้น ศัพท์ว่า เตนหิ เป็นการอ้างถึงเหตุ.
อธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านถามอย่างนี้ ข้าพเจ้าจึงขอย้อนถามท่านในข้อนี้.
บทว่า เกส โน ความว่า แก่ใครหนอแล. บทว่า สธมฺมุกฺกสนา ความว่า
ยกลัทธิของตนขึ้นตั้งไว้. บทว่า ปรธมฺมาปสาทนา ความว่า ไม่กระทบ-
กระเทียบ ข่มขู่ เสียดสี ลัทธิของผู้อื่น. บทว่า อายตเนว ธมฺมเทสนา
ความว่า แสดงธรรมมีเหตุ. บทว่า อตฺโถ จ วุตฺโต ความว่า และชี้แจง
เนื้อความแห่งปัญหาที่เราถามแล้ว. บทว่า อตฺตา จ อนุปนีโต ความว่า
และไม่อวดอ้างตนอย่างนี้ว่า พวกเราเป็นอย่างนี้ ปาฐะว่า นุปนีโต ดังนี้ก็มี.
จบอรรถกถาอาชีวกสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 413
๓. สักกสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขาของพระเสขะและพระอเสขะ
[๕๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ วัดนิโครธาราม
กรุงกบิลพัสดุ์ ประเทศสักกะ คราวนั้น พระองค์ทรงพระประชวรไข้
เพิ่งหาย เจ้ามหานาม สักกะ เข้าไปเฝ้า ฯลฯ กราบทูลว่า นานมาแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเข้าใจพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง-
แสดงว่า ญาณ (ความรู้) ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ หาเกิดแก่บุคคล
ผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิไม่ ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบทูลถาม สมาธิเกิดก่อน
ญาณเกิดทีหลังหรือ หรือว่าญาณเกิดก่อน สมาธิเกิดทีหลัง พระพุทธเจ้าข้า.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ปริวิตกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประ-
ชวรไข้ เพิ่งหาย ก็แลเจ้ามหานามมากราบทูลถามปัญหาอันลึกยิ่ง อย่ากระนั้นเลย
เราจะเชิญเจ้ามหานามไปเสียทางหนึ่งแล้วแสดงธรรม (แทน) เถิด จึงจับพระ
พาหาเชิญเจ้ามหานามไป ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแสดงธรรมนี้ว่า
มหานาม ศีลเป็นเสขะก็มี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เป็นอเสขะ
ก็มี ตรัสสมาธิเป็นเสขะก็มี ตรัสเป็นอเสขะก็มี ตรัสปัญญาเป็นเสขะก็มี
ตรัสเป็นอเสขะก็มี...
ศีลเสขะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล สำรวม
ในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมาตรว่า
น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่า ศีลเสขะ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 414
สมาธิเสขะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
. . . จากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าปฐมฌาน ฯลฯ เข้าจตุตถฌาน . . . นี้เรียกว่า
สมาธิเสขะ.
ปัญญาเสขะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ตามจริงว่า
นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่าปัญญาเสขะ.
มหานาม อริยสาวกนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ สมาธิอย่างนี้
ปัญญาอย่างนี้แล้ว ย่อมกระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเอง
ในปัจจุบันนี่.
อย่างนี้แล มหานาม ศีลเป็นเสขะก็มี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
เป็นอเสขะก็มี ตรัสสมาธิเป็นเสขะก็มี ตรัสเป็นอเสขะก็มี ตรัสปัญญา
เป็นเสขะก็มี ตรัสเป็นอเสขะก็มี ด้วยประการฉะนี้แล.
จบสักกสูตรที่ ๓
อรรถกถาสักกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสักกสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า คิลานา วุฏฺิโต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหาย
ประชวร. บทว่า เคลญฺา ความว่า จากความเป็นไข้. บทว่า อุปสงฺกมิ
ความว่า พระเจ้ามหานามศากยะ เสร็จเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ทรงถือเอา
ระเบียบและของหอมเป็นต้น มีบริวารเป็นอันมากห้อมล้อมแล้ว เข้าไปเฝ้า
(พระผู้มีพระภาคเจ้า).
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 415
ด้วยบทว่า พาทาย คเหตฺวา พึงทราบความว่า พระอานนทเถระ
เจ้า ไม่ได้จับพระพาหา (ของเจ้ามหานาม) ดึงมา (แต่) ลุกขึ้นจากอาสนะ
ที่นั่งแล้ว ตรงไปยังเจ้ามหานาม ใช้นิ้วมือสะกิดที่พระพาหาเบื้องขวา แล้ว
นำออกไป ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระอานนท์เถระเจ้า ครั้นบอกศีลสมาธิและ
ปัญญา อันเป็นของพระเสขะทั้ง ๗ จำพวก โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนมหานาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศีลที่เป็นเสขะไว้ก็มี ดังนี้ แล้วเมื่อจะบอก ศีล สมาธิ
ปัญญา ของพระอเสขะ ด้วยสามารถแห่งอรหัตผลเบื้องสูง จึงแสดงว่า
วิปัสสนาญาณที่เป็นเสขะ และผลญาณที่เป็นอเสขะ เกิดขึ้นภายหลังสมาธิ
ที่เป็นเสขะ และผลสมาธิที่เป็นอเสขะเกิดขึ้นภายหลังวิปัสสนาที่เป็นเสขะดังนี้
ส่วนสมาธิที่เป็นสัมปยุตธรรม พึงทราบว่า เกิดขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกัน.
จบอรรถกถาสักกสูตรที่ ๓
๔. นิคัณฐสูตร
ว่าด้วยความบริสุทธิ์ ๓ อย่าง
[๕๑๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน
ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้น เจ้าอภัยลิจฉวี และเจ้าบัณฑิตกุมารกลิจฉวี
เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ครั้นเข้าไปถึงแล้วอภิวาทท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนหนึ่ง เจ้าอภัยลิจฉวี นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว กล่าวกะท่านพระอานนท์
ว่าท่านผู้เจริญ นิครนถ์ นาฏบุตร อ้างตนว่าเป็นสัพพัญญู (รู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งปวง)
เป็นสัพพทัสสาวี (เห็นสิ่งที่ควรเห็นทั้งสิ้น) ยืนยันญาณทัสนะ (ความรู้เห็น)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 416
อย่างไม่หลงเหลือว่า ทั้งเดินทั้งยืน ทั้งหลับทั้งตื่น ข้าพเจ้ามีญาณทัสนะประจำ
อยู่เสมอไม่ขาดสาย เขาบัญญัติความสิ้นสุดแห่งกรรมเก่าด้วยตบะ ความขาดตอน
แห่งกรรมใหม่ด้วยความไม่ทำ โดยนัยนี้เพราะกรรมสิ้น ทุกข์ก็สิ้น เพราะ
ทุกข์สิ้น เวทนาก็สิ้น เพราะเวทนาสิ้น ทุกข์ทั้งปวงก็ต้องโทรมสิ้นไปหมด
ความล่วงพ้นทุกข์ ย่อมมีด้วยนิชชราวิสุทธิ (ความหมดจดอันเป็นเครื่อง
ทำทุกข์ให้โทรมหมด) เป็นสันทิฏฐิกะ (พึงเห็นได้เอง หรือเห็นในปัจจุบัน)
นี่อย่างนี้ท่านผู้เจริญ ในพระธรรมวินัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างไร.
ท่านอานนท์ตอบว่า ท่านอภัย นิชชราวิสุทธิ ๓ นี้ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าผู้รู้ผู้เห็นผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ตรัสไว้ดีแล้ว เพื่อความ
หมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงลับแห่งความโศกความคร่ำครวญ เพื่อ
ดับหายแห่งความทุกข์กายทุกข์ใจ เพื่อบรรลุธรรมอันถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งพระนิพพาน นิชชราวิสุทธิ ๓ คืออะไร.
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ทำกรรมใหม่ และรับ ๆ ผลกรรมเก่าให้สิ้นไป นิชชรา-
วิสุทธิ (สนฺทิฏฺิกา) พึงเห็นได้เอง (อกาลิกา) ไม่ประกอบด้วยกาล
(เอหิปสฺสิกา) ควรเรียกให้มาดู (โอปนยิกา) ควรน้อมเข้ามา (ปจฺจตฺต
เวทิตพฺพา วิญฺญูหิ) อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้.
ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้แล้ว สงัดจากกาม ... จาก
อกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าปฐมฌาน ฯลฯ เข้าจตุตถฌาน ... เธอไม่ทำกรรม-
ใหม่ และรับ ๆ ผลกรรมเก่าให้สิ้นไป นิชชราวิสุทธิ พึงเห็นได้เอง ฯลฯ
อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้.
ภิกษุนั้นแล ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วยสมาธิอย่างนี้
แล้ว กระทำให้แจ้งเข้าถึงพร้อมซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 417
เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันนี้ เธอไม่
ทำกรรมใหม่ และรับ ๆ ผลกรรมเก่าให้สิ้นไป นิชชราวิสุทธิพึงเห็นได้เอง
ฯลฯ อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้.
นี้แล ท่านอภัย นิชชราวิสุทธิ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ผู้เห็นผู้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะนั้น ตรัสไว้ดีแล้ว เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์
ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน.
เมื่อท่านอานนท์แสดงธรรมอย่างนี้แล้ว เจ้าบัณฑิตกุมารกลิจฉวีกล่าว
กะเจ้าอภัยลิจฉวีว่า สหายอภัย ท่านไม่อนุโมทนาสุภาษิตของท่านพระอานนท์
ว่า ท่านแสดงดีดอกหรือ.
เจ้าอภัยลิจฉวีตอบว่า สหาย ข้าฯ จักไม่อนุโมทนาสุภาษิตของท่าน
พระอานนท์อย่างไรได้ ผู้ใดไม่อนุโมทนาสุภาษิตของท่านพระอานนท์โดย
ความเป็นสุภาษิต ศีรษะของผู้นั้นจะแตก.
จบนิคัณฐสูตรที่ ๔
อรรถกถานิคัณฐสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนิคัณฐสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กูฏาคารสาลาย ได้แก่พระคันธกุฏีที่เขาติดช่อฟ้า ๒ ด้าน
มีหลังคา เหมือนหงส์รำแพน. บทว่า อปริเสล าณทสฺสน ปฏิชานาติ
ความว่า รู้ชัดญาณทัสนะทุกอย่าง ไม่เหลือแม้แต่นิดเดียว. บทว่า สตฺต
สมิต ความว่า ตลอดทุกกาล คือชั่วนิรันดร. ด้วยบทว่า าณทสฺสน
ปจฺจุปฏฺิต นี้ นิครนถนาฏบุตร แสดงว่าสัพพัญญุตญาณ ปรากฏแล้วแก่เรา.
บทว่า ปุราณาน กมฺมาน ได้แก่กรรมที่ประมวลมา. บทว่า ตปสา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 418
พฺยนฺตีภาว ได้แก่กระทำให้กิเลสสิ้นไปด้วยตบะที่ทำได้โดยยาก. บทว่า
นวาน กมฺมาน ได้แก่กรรมที่พึงประมวลมาในปัจจุบัน. บทว่า อกรณา
ความว่า เพราะไม่ประมวลมา. ด้วยบทว่า เสตุ ฆาต นิครนถนาฏบุตร
กล่าวถึงการตัดทางเดิน คือทำลายปัจจัย. บทว่า กมฺมกขยา ทุกฺขกฺขโย
ได้แก่ความสิ้นวัฏทุกข์ เพราะกัมมวัฏสิ้นไป. บทว่า ทุกฺขกฺขยา เวทนากฺขโย
ได้แก่ความสิ้นเวทนา เพราะวัฏทุกข์สิ้นไป อธิบายว่า เมื่อวัฏทุกข์สิ้นไป
แม้การหมุนเวียนแห่งเวทนา ก็เป็นอันสิ้นไปแล้วเหมือนกัน. บทว่า เวทนา-
กฺขยา สพฺพ ทุกฺข นิชฺชณฺณ ภวิสฺสติ ความว่า ก็วัฏทุกข์ทั้งสิ้น
จักเสื่อมไปโดยไม่เหลือ เพราะเวทนาหมดสิ้นไป. บทว่า สนฺทิฏิกาย
ความว่า ที่จะพึงเห็นเอง คือ (เห็น) ประจักษ์. บทว่า นิชฺชราย วิสุทฺธิยา
ความว่า ชื่อว่า นิชฺชราย เพราะเป็นปฏิปทาแห่งความเสื่อมไปของกิเลส
หรือเพราะกิเลสทั้งหลายเสื่อมโทรมไปโดยไม่เหลือ ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะ
ยังสัตว์ทั้งหลายให้ถึงความบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชฺชราวิสุทธิ์.
บทว่า สมติกฺกโม โหติ ความว่า ความสงบระงับแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้นจะมีได้.
บทว่า อิธ ภนฺเต ภควา กิมาห ความว่า นิครนถนาฏบุตร ถามว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สำหรับข้อปฏิบัตินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างไร
คือทรงบัญญัติปฏิปทาแห่งความสิ้นไปของกิเลสนี้ไว้อย่างไร หรือบัญญัติไว้
เป็นอย่างอื่น.
บทว่า ชานตา ความว่า รู้ด้วยอนาวรณญาณ. บทว่า ปสฺสตา
ความว่า เห็นด้วยสมันตจักษุ. บทว่า วิสุทฺธิยา ความว่า เพื่อต้องการให้
ถึงความบริสุทธิ์. บทว่า สมติกฺกมาย ความว่า เพื่อต้องการให้ถึงความ
ล่วงพ้น. บทว่า อตฺถงฺคมาย ความว่า เพื่อต้องการให้ถึงความดับสูญ.
บทว่า ายสฺส อธิคมาย ความว่า เพื่อประโยชน์การบรรลุมรรคพร้อมด้วย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 419
วิปัสสนา. บทว่า นิพฺพานสฺส สจฺฉกิริยาย ความว่า เพื่อต้องการทำให้แจ้ง
ซึ่งพระนิพพาน ที่หาปัจจัยมิได้.
บทว่า นวญฺจ กมฺม น กโรติ ความว่า ไม่ประมวลกรรมใหม่มา.
บทว่า ปุราณญฺจ กมฺม ได้แก่กรรมที่ประมวลมาแล้วในกาลก่อน. บทว่า
ผุสฺส ผุสฺส พยนฺตีกโรติ ความว่า เผชิญ (กรรมเก่าเข้าแล้ว) ก็ทำให้
สิ้นไป อธิบายว่า สัมผัส ผัสสะอันเป็นวิบากเเล้วทำกรรมนั้นให้สิ้นไป.
บทว่า สนฺทิฏฺิกา ความว่า อันบุคคลพึงเห็นเอง. บทว่า อกาลิกา
ความว่า ไม่ทำหน้าที่ในเวลาอื่น. บทว่า เอหิปสฺสิกา ความว่า ควรเพื่อ
ชี้ให้เห็นอย่างนี้ว่า ท่านจงมาดูเถิด. บทว่า โอปนยิกา ความว่า ควรในการ
น้อมเข้ามา คือเหมาะแก่ธรรมที่ตนควรข้องอยู่. บทว่า ปจฺจตฺต เวทิตพฺโพ
วิญฺญูหิ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายพึงรู้ได้ในสันดานของตน ๆ นั่นเอง
แต่พาลชนทั้งหลายรู้ได้ยาก ดังนั้น มรรค ๒ ผล ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้แล้ว ด้วยสามารถแห่งศีล เพราะว่า พระโสดาบัน พระสกทาคามี
เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล. ส่วนมรรค ๓ ผล ๓ ตรัสไว้แล้วด้วยสมาธิสมบัติ
มีอาทิว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ (เพราะสงัดแล้วจากกามทั้งหลายนั่นเทียว)
เพราะพระอริยสาวกชั้นอนาคามีบุคคล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นผู้
ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ.
ด้วยคำมีอาทิว่า อาสวาน ขยา พระองค์ตรัส (หมายถึง) พระ-
อรหัตผล. ก็ศีลและสมาธิบางประเภท อันสัมปยุตด้วยพระอรหัตผลทรงประสงค์
เอาแล้วในพระสูตรนี้ แต่เพื่อจะทรงแสดงถึงข้อปฏิบัติด้วยสามารถแห่งศีลเเละ
สมาธิ แต่ละประเภท จึงทรงยกแบบอย่างขึ้นไว้ เป็นแผนก ๆ กันฉะนี้แล.
จบอรรถกถานิคัณฐสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 420
๕. สมาทปกสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๓ อย่าง
[๕๑๕] ครั้งนั้น ท่านอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านอานนท์ว่า อานนท์ ท่านทั้งหลายจะพึง
เอ็นดูบุคคลใด และบุคคลเหล่าใดจะพึงเชื่อฟัง เป็นมิตรอมาตย์ ญาติหรือ
สาโลหิตก็ตาม บุคคลเหล่านั้น ท่านทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่นอยู่ในสถาน
๓ เถิด ในสถาน ๓ คืออะไร คือ ในความเลื่อมใสอันหยั่งลงด้วยรู้พระคุณ
ในพระพุทธเจ้าว่า อิติปิ โส ภควา ฯลฯ ภควา ในความเลื่อมใสอัน
หยั่งลงด้วยรู้พระคุณในพระธรรมว่า สฺวากฺขาโต ... ฯลฯ วิญฺญูหิ ในความ
เลื่อมใสอันหยั่งลงด้วยรู้พระคุณในพระสงฆ์ว่า สุปฏิปนฺโน ฯลฯ โลกสฺส.
อานนท์ ความแปรแห่งมหาภูต ๔ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม
ธาตุไฟ พึงมีได้ แต่ความแปรแห่งอริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน
หยั่งลงด้วยรู้พระคุณในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ไม่พึงมีเลย
นี้ความแปรในข้อนั้น คือ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลง
ด้วยรู้พระคุณในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์นั้นน่ะ จักไปนรกหรือ
กำเนิดดิรัจฉานหรือเปตติวิสัย ดังนี้ นี่มิใช่ฐานะจะมีได้เลย
อานนท์ ท่านทั้งหลายจะพึงเอ็นดูบุคคลใด และบุคคลเหล่าใดจะพึง
เชื่อฟัง เป็นมิตร อมาตย์ ญาติ หรือสายโลหิตก็ตาม บุคคลเหล่านั้น ท่าน
ทั้งหลายพึงชักชวนให้ตั้งมั่นอยู่ในสถาน ๓ นี้เถิด.
จบสมาทปกสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 421
อรรถกถาสมาทปกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสมาทปกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อมจฺจา ได้แก่ อำมาตย์ผู้มีใจดี. บทว่า าติ ได้แก่ญาติ
ฝ่ายปู่ ย่า ตา ยาย. บทว่า สาโลหิตา ได้แก่ญาติผู้ร่วมสายโลหิต มีพี่ชาย
น้องชาย พี่สาว น้องสาวเป็นต้น. บทว่า อเวจฺจปฺปสาเท ความว่า มีความ
เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ที่เกิดขึ้นโดยหยั่งรู้ถึงคุณทั้งหลาย.
บทว่า อญฺถตฺต ได้แก่ความเป็นอย่างอื่นจากความเป็นจริง. พึง
ทราบวินิจฉัยในบทว่า ปฐวีธาตุยา เป็นต้นดังต่อไปนี้ ปฐวีธาตุที่เป็นธาตุ
มีอาการเข้มแข็ง ในโกฏฐาส ๒๐ อย่าง (พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้)
อาโปธาตุที่เป็นน้ำ เป็นธาตุเกาะกุม ในโกฏฐาส ๑๒ อย่าง (พึงมีความ
เป็นอย่างอื่นไปได้) เตโชธาตุ ที่เป็นธาตุแผดเผาในโกฏฐาส ๔ อย่าง (พึงมี
ความเป็นอย่างอื่นไปได้) วาโยธาตุ ที่เป็นธาตุพัดผัน ในโกฏฐาส ๖ อย่าง
(พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้).
ด้วยบทว่า สิยา อญฺถตฺต น เตฺวว พระอานนท์เถระเจ้า
แสดงว่า จริงอยู่ มหาภูตรูปทั้ง ๔ เหล่านี้ พึงมีความเป็นอย่างอื่นไปได้
เพราะเข้าถึงความเป็นอัญญมัญญปัจจัย แต่สำหรับพระอริยสาวกไม่มีความเป็น
อย่างอื่นไปได้เลย.
ก็ในพระสูตรนี้ บทว่า อญฺถตฺต ได้แก่ความเป็นอย่างอื่น โดย
ความเลื่อมใส และความเป็นอย่างอื่นโดยคติ เพราะว่าทั้ง ๒ อย่างนั้น ไม่มีแก่
พระอริยสาวก มีแต่ความเป็นอย่างอื่นโดยสภาพ อธิบายว่า พระอริยสาวกที่
เป็นมนุษย์ ไปเป็นเทวดาก็มี ไปเป็นพรหมก็มี แต่ความเลื่อมใสของพระ-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 422
อริยสาวกนั้น จะไม่ขาดตอน (เปลี่ยนแปลง) ในระหว่างภพ ทั้งจะไม่ถึง
ความเป็นอย่างอื่นโดยคติ กล่าวคืออบายคติ แม้พระบรมศาสดาเมื่อจะทรง
แสดงความข้อนั้นแหละ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตตฺธิท อญฺถตฺต ดังนี้.
คำที่เหลือในพระสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสมาทปกสูตรที่ ๕
๖. นวสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพทั้ง ๓
[๕๑๖] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า
ภพ ภพ ดังนี้ ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุจักไม่มีแล้ว
กามภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ.
อา. ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณ
ชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุ
อย่างเลวของสัตว์ พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ
ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูก่อนอานนท์ ก็กรรมที่
อำนวยผลให้ในรูปธาตุ ก็ไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ.
อา. ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 423
พ. ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณจึง
ชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้ว เพราะธาตุ
อย่างกลางของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ
ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูก่อนอานนท์ ก็กรรมที่
อำนวยผลให้ในอรูปธาตุจักไม่มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ.
อา. ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณ
ชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง วิญญาณประดิษฐานแล้วเพราะธาตุอย่าง
ประณีต ของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกใจ
ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูก่อนอานนท์ ภพย่อมมี
ได้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนั้นแล.
จบนวสูตรที่ ๖
อรรถกถานวสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนวสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กามธาตุเวปกฺก ได้แก่กรรมที่เผล็ดผลจากกามธาตุ. บทว่า
กามภโว ได้แก่อุปัตติภพในกามธาตุ. บทว่า กมฺม เขตฺต ความว่า
กุศลกรรมและอกุศลกรรม ชื่อว่าเป็นเสมือนนา เพราะอรรถว่าเป็นสถานที่
งอกขึ้น (แห่งวิบากขันธ์). บทว่า วิญฺาณ พีช ความว่า วิญญาณที่มี
อภิสังขารเป็นปัจจัยที่เกิดพร้อมกัน ชื่อว่าเป็นพืช เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ
งอกขึ้น. บทว่า ตณฺหา เสฺนโห ความว่า ตัณหาชื่อว่าน้ำ เพราะด้วย
สามารถแห่งการสงเคราะห์และเพิ่มพูน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 424
บทว่า อวิชฺชา นีวรณาน ความว่า ผู้อันอวิชชากางกั้นแล้ว. บทว่า
ตณฺหาสญฺโชนาน ความว่า ผู้ถูกเครื่องผูกพันธ์ คือตัณหาผูกพันธ์ไว้.
บทว่า หีนาย ธาตุยา ได้แก่ในกามธาตุ. บทว่า วิญฺาณ ปติฏฺิต
ความว่า วิญญาณที่มีอภิสังขารเป็นปัจจัยตั้งมั่นแล้ว. บทว่า มชฺฌิมาย
ธาตุยา ได้แก่ในรูปธาตุ. บทว่า ปณีตาย ธาตุยา ได้แก่ ในอรูปธาตุ.
คำที่เหลือในพระสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถานวสูตรที่ ๖
๗. ภวสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งภพทั้ง ๓
[๕๑๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ตรัสว่า ภพ ภพ ดังนี้ ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในกามธาตุ
จักไม่มีแล้ว กามภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ ท่านพระอานนท์ทูลว่า ไม่พึง
ปรากฏเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณ
ชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง เจตนา ความปรารถนาประดิษฐานแล้ว
เพราะธาตุอย่างเลวของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็น
เครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูก่อนอานนท์
ก็กรรมที่อำนวยผลให้ในรูปธาตุจักไม่มีแล้ว รูปภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 425
อา. ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณ
ชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง เจตนา ความปรารถนาประดิษฐานแล้ว
เพราะธาตุอย่างกลางของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหาเป็น
เครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูก่อนอานนท์
ก็กรรมที่อำนวยผลให้อรูปธาตุจักไม่มีแล้ว อรูปภพพึงปรากฏบ้างหรือหนอ.
อา. ไม่พึงปรากฏเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ เหตุนี้แล กรรมจึงชื่อว่าเป็นไร่นา วิญญาณ
ชื่อว่าเป็นพืช ตัณหาชื่อว่าเป็นยาง เจตนา ความปรารถนาประดิษฐานแล้ว
เพราะธาตุอย่างประณีตของสัตว์พวกที่มีอวิชชาเป็นเครื่องสกัดกั้น มีตัณหา
เป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ จึงมีการเกิดในภพใหม่ต่อไปอีก ดูก่อน
อานนท์ ภพย่อมมีได้ด้วยเหตุดังกล่าวมาฉะนี้แล.
จบภวสูตรที่ ๗
อรรถกถาภวสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในภวสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
เจตนาเป็นเหตุทำกรรม ชื่อว่า เจตนา. ความปรารถนาที่จะทำ
กรรม ชื่อว่า ความปรารถนา. คำที่เหลือมีเนื้อความเช่นเดียวกับสูตรก่อน
ทั้งนั้นฉะนี้แล.
จบอรรถกถาภวสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 426
๘. สีลัพพตสูตร
ว่าด้วยผลแห่งศีลพรต
[๕๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ
ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ ศีลพรต ชีวิต พรหมจรรย์ ที่ปฏิบัติ
บำรุงกันเป็นหลักฐาน มีผลไปทั้งหมดหรือ.
อา. ข้อนี้ จะพยากรณ์โดยส่วนเดียวมิได้ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ถ้าเช่นนั้น จงจำแนกไป.
อา. บุคคลเสพ (คือประพฤติให้เป็นไป) ซึ่งศีลพรต ชีวิต พรหมจรรย์
ที่ปฏิบัติบำรุงกันเป็นหลักฐานอันใด อกุศลธรรมเจริญ กุศลธรรมเสื่อม
ศีลพรต ชีวิต พรหมจรรย์ ที่ปฏิบัติบำรุงกันเป็นหลักฐานอย่างนี้ เป็นการ
ไม่มีผล ส่วนว่าบุคคลเสพศีลพรต ชีวิต พรหมจรรย์ ที่ปฏิบัติบำรุงกันเป็น
หลักฐานอันใด อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรมเจริญ ศีลพรต ชีวิต พรหม-
จรรย์ ที่ปฏิบัติบำรุงกันเป็นหลักฐานอย่างนี้ เป็นการมีผล พระพุทธเจ้าข้า.
ท่านพระอานนท์กราบทูลตอบอย่างนี้ พระศาสดาทรงพอพระหฤทัย
ทราบว่าทรงพอพระหฤทัยแล้ว ท่านพระอานนท์ก็ลุกจากที่นั่งถวายอภิวาท ทำ
ประทักษิณแล้วออกไป พอท่านพระอานนท์ออกไปไม่นาน ตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมา (ทรงชมท่านพระอานนท์) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์ยังเป็น
พระเสขะว่าในทางปัญญาละก็หาผู้เสมอได้ยาก.
จบสีลัพพตสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 427
อรรถกถาสีลัพพตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสีลัพพตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีลพฺพต ได้แก่ศีลและพรต. บทว่า ชีวิต ได้แก่ความเพียร
ของผู้ทำกรรม ที่ทำได้โดยยาก. บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่การอยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์. บทว่า อุปฏฺานสาร ความว่า ศีลเป็นต้นนี้ ชื่อว่าเป็นสาระ
เพราะเป็นธรรมเครื่องปรากฏ อธิบายว่า ปรากฏอย่างนี้ว่า ศีลเป็นต้นนี้
เป็นแก่นสาร ศีลเป็นต้นนี้เป็นของประเสริฐ ศีลเป็นต้นนี้ เป็นเหตุให้สำเร็จ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ศีลเป็นต้นนี้ เป็นของมีกำไร คือมีความเจริญ
ด้วยบทว่า สผล ดังนี้. บทว่า น เขฺวตฺถ ภนฺเต เอกเสน ความว่า
(พระอานนท์ตอบว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ ไม่ควรพยากรณ์โดย
ส่วนเดียวเลย. บทว่า อุปฏฺานสาร เสวโต ความว่า เมื่อเสพศีลเป็นต้น
ที่เป็นสาระ คือเป็นเครื่องปรากฏอย่างนี้ว่า ศีลเป็นต้นนี้ เป็นสาระ เป็นสิ่ง
ประเสริฐ เป็นเหตุให้สำเร็จ.
บทว่า อผล ความว่า ไม่มีผล โดยผลที่ต้องการ. ด้วยคำโต้ตอบ
เพียงเท่านี้ เป็นอันถือเอาลัทธิภายนอกแม้ทั้งหมดที่เหลือ เว้นการบรรพชา
ของกรรมวาทีบุคคล และกิริยวาทีบุคคล. บทว่า สผล ได้แก่มีผล คือมีกำไร
โดยผลที่ต้องประสงค์ ด้วยคำโต้ตอบเพียงเท่านี้ เป็นอันถือเอาบรรพชาของ
กรรมวาทีบุคคล และกิริยวาทีบุคคล แม้ทั้งหมด ตั้งต้นแต่ (พุทธ) ศาสนานี้.
ด้วยบทว่า น จ ปนสฺส สุลภรูโป สมสโม ปญฺาย นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ผู้ที่ตั้งอยู่ในเสขภูมิตอบปัญหาได้อย่างนี้ ที่จะเสมอ
ด้วยปัญญาของพระอานนท์นั้น หาไม่ได้ง่าย. ธรรมชื่อว่า เสขภูมิ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในพระสูตรนี้.
จบอรรถกถาสีลัพพตสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 428
๙. คันธสูตร
ว่าด้วยกลิ่นหอม ๓ อย่าง
[๕๑๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คันธชาต ๓ นี้ กลิ่นไปได้แต่ตามลม
หาทวนลมได้ไม่ คันธชาต ๓ คืออะไร คือ (มูลคันธะ) รากไม้หอม (สาร-
คันธะ) แก่นไม้หอม (ปุปผคันธะ) ดอกไม้หอม นี้แล พระพุทธเจ้าข้า
คันธชาต ๓ ซึ่งกลิ่นไปได้แต่ตามลม หาทวนลมได้ไม่ มีหรือไม่ พระพุทธ-
เจ้าข้า คันธชาตอะไร ๆ ที่กลิ่นไปตามลมก็ได้ ทวนลมก็ได้ ทั้งตามลม
ทั้งทวนลมก็ได้.
พ. มี อานนท์...
อา. มีอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า ...
พ. อานนท์ สตรีหรือบุรุษก็ตาม ในหมู่บ้านหรือตำบลใด เป็นผู้ถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นจากปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท และสุราเมรัย เป็นผู้มีศีล
มีธรรมงาม มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีการบริจาค
ปล่อยแล้ว มีมืออันล้างไว้ (คอยจะหยิบของให้ทาน) ยินดีในการสละ
ควรแก่การขอ พอใจในการให้และการแบ่งปัน สมณพราหมณ์ในทิศทั้งหลาย
ย่อมสรรเสริญเขาว่า หญิงหรือชาย ในหมู่บ้านหรือตำบลโน้น เป็นผู้ถึง
พระพุทธเจ้า ฯลฯ พอใจในการให้และการแบ่งปัน แม้เทวดาก็สรรเสริญว่า
หญิงหรือชาย ในหมู่บ้านหรือตำบลโน้น เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า ฯลฯ พอใจ
ในการให้และการแบ่งปัน นี้แล อานนท์ คันธชาต ซึ่งมีกลิ่นไปตามลมก็ได้
ทวนลมก็ได้ ทั้งตามลมทั้งทวนลมก็ได้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 429
กลิ่นดอกไม้หาไปทวนลมได้ไม่ กลิ่น
จันทน์ กฤษณาและกระลำพักก็ไปทวน
ลมไม่ได้ ส่วนกลิ่นสัตบุรุษ ไปทวนลมได้
สัตบุรุษย่อมขจรไปทุกทิศ.
จบคันธสูตรที่ ๙
อรรถกถาคันธสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในคันธสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอตทโวจ ความว่า ในเวลาหลังภัตตาหาร พระอานนท์
เถรเจ้ากลับจากบิณฑบาต แสดงวัตรต่อพระทศพลแล้ว ไปยังที่พักกลางวัน
ของตน แล้วคิดว่า ในโลกนี้ ต้นไม้ที่มีรากหอมมีอยู่ ต้นไม้ที่มีแก่นหอม
มีอยู่ ต้นไม้ที่มีดอกหอมมีอยู่ แต่กลิ่นทั้ง ๓ อย่างนี้ ย่อมฟุ้งไปตามลมเท่านั้น
ไม่ฟุ้งไปทวนลม มีกลิ่นอะไรที่ฟุ้งไปทวนลมได้บ้างหรือหนอ ดังนี้แล้ว
เพราะเหตุที่ท่านรับพร คือการเข้าไปเฝ้าในเวลาที่เกิดความสงสัย๑ ในกาลเป็น
ที่รับพร ๘ ประการนั่นเอง ทันใดนั้น จึงออกจากที่พักกลางวันไปยังสำนัก
ของพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เพื่อจะบรรเทาความ
สงสัยที่เกิดขึ้น จึงได้กราบทูลคำนี้ คือคำมีอาทิว่า ตีณิมานิ ภนฺเต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺธชาตานิ ได้แก่ ของหอมโดยกำเนิดทั้งหลาย.
บทว่า มูลคนฺโธ ได้แก่กลิ่นที่ตั้งอยู่ในราก. หรือรากที่สมบูรณ์ด้วยกลิ่น
นั่นเอง ชื่อว่า มูลคนฺโธ เพราะว่ากลิ่นของรากนั้น ย่อมฟุ้งไปตามลม.
แต่กลิ่นของกลิ่น (นั้น) ไม่มี. แม้ในกลิ่นที่แก่น และกลิ่นที่ราก ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
๑. ปาฐะว่า อุปสงฺกมนสฺส คหิตฺตา ฉบับพม่าเป็น อุปสงฺกมนวรสฺส คหิตตฺตา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 430
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อตฺถานนฺท คนฺธชาต นี้ ดังต่อไปนี้
การถึงสรณะเป็นต้น ชื่อว่า เป็นกลิ่น เพราะคล้ายกับกลิ่น โดยฟุ้งขจรไป
ทุกทิศ ด้วยสามารถแห่งการกล่าวสรรเสริญคุณความดีกลิ่นเหล่านั้น
มีบุคคลเป็นที่ตั้ง จึงชื่อว่า คันธชาต. บทว่า คนฺโธ คจฺฉติ
ความว่า ฟุ้งไปด้วยสามารถแห่งการกล่าวสรรเสริญ. บทว่า สีลวา ได้แก่
มีศีล โดยเป็นศีล ๕ หรือศีล ๑๐. บทว่า กลฺยาณธมฺโม ความว่า
มีกัลยาณธรรม คือมีธรรมอันดีงาม โดยศีลธรรมนั่นเอง. อธิบายของคำมี
อาทิว่า วิคตมลมจฺเฉเรน เป็นต้น ได้ให้พิสดารไว้แล้ว ในคัมภีร์
วิสุทธิมรรคนั้นแล. บทว่า ทิสาสุ ได้แก่ ในทิศใหญ่ ๔ ในทิศน้อย ๔.
บทว่า สมณพฺราหฺมณา ได้แก่สมณพราหมณ์ผู้สงบบาป และลอยบาปแล้ว.
บทว่า น ปุปฺผคนฺโธ ปฏิวาตเมติ ความว่า กลิ่นของดอกมะลิ
เป็นต้น จะไม่ฟุ้งขจรไปทวนลม. บทว่า น จนฺทน ตครมลฺลิกา วา
มีอรรถาธิบายว่า ถึงกลิ่นของจันทน์ กฤษณา และกระลำพัก ก็ฟุ้งไปทวนลม
ไม่ได้. จริงอยู่ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า แม้ในเทวโลก ก็ยังมีดอกมะลิ
ที่บานแล้วเหมือนกัน ในวันที่ดอกมะลินั้นบานแล้ว กลิ่นก็จะฟุ้งไปได้ตั้ง ๑๐๐
โยชน์ แต่กลิ่นนั้นก็ไม่สามารถจะฟุ้งไปทวนลมได้ แม้เพียงคืบเดียว หรือ
เพียงศอกเดียว. บทว่า สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ ความว่า ส่วนกลิ่น
คือคุณมีศีลเป็นต้น ของสัตบุรุษทั้งหลาย คือบัณฑิตทั้งหลาย ได้แก่พระ-
พุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธสาวกทั้งหลาย ย่อมฟุ้งไปทวนลมได้.
บทว่า สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ ความว่า สัตบุรุษคือบัณฑิต
ย่อมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ด้วยกลิ่นคือคุณความดี มีศีลเป็นต้น. อธิบายว่า มีกลิ่น
ตระหลบไปทั่วทุกทิศ.
จบอรรถกถาคันธสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 431
๑๐. จูฬนีสูตร
ว่าด้วยแสนโกฏิจักรวาล
[๕๒๐] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ฯลฯ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับได้
รับมาต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อานนท์ สาวกชื่ออภิภู ของพระ-
สิขีพุทธเจ้า ยืนอยู่บนพรหมโลก ย่อมให้ ๑,๐๐๐ โลกธาตุได้ยินเสียงได้ ดังนี้
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ทรงสามารถตรัสให้
โลกธาตุได้ยินพระสุรเสียงได้เท่าไร.
พ. พระอภิภูนั้นเป็นสาวก อานนท์ พระตถาคตทั้งหลาย ใครจะ
เปรียบประมาณมิได้.
ท่านพระอานนท์กราบทูลครั้งที่ ๒ เหมือนครั้งแรก พระองค์ก็คงตรัส
ตอบอย่างนั้น ท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนั้นอีกเป็นครั้งที่ ๓ พระองค์จึงตรัส
ถามว่า เธอเคยได้ฟังหรือไม่ อานนท์ สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุ
น้อย ๑,๐๐๐).
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นกาละ ข้าแต่พระสุคตเจ้า เป็นกาละ
ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงตรัส ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วจักทรงจำไว้.
ถ้าเช่นนั้น เธอจงพึงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว.
ท่านพระอานนท์รับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
(เรื่องโลกธาตุ) ว่า อานนท์ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์แผ่รัศมี ส่องแสงทำ
ให้สว่างไปทั่วทิศตลอดที่มีประมาณเท่าใด โลกมีเนื้อที่เท่านั้นจำนวน ๑,๐๐๐
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 432
ใน ๑,๐๐๐ โลกนั้น มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ภูเขาสิเนรุ อย่างละ ๑,๐๐๐
มีชมพูทวีป อปรโคยานทวีป อุตตรกุรุทวีป ปุพพวิเทหทวีปอย่างละ ๑,๐๐๐
มีมหาสมุทร มีมหาราช อย่างละ ๔,๐๐๐ มีสวรรค์ ๖ ชั้น และพรหมโลก
ชั้นละ ๑,๐๐๐ นี้เรียกว่า สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ (โลกธาตุอย่างเล็กมีพัน
จักรวาล).
สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุเท่าใด โลกเท่านั้นคูณโดยส่วน ๑,๐๐๐
นี้เรียกว่า ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุ (โลกธาตุกลางมีล้านจักรวาล).
ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุเท่าใด โลกเท่านั้นคูณโดยส่วน ๑,๐๐๐
นี้เรียกว่า ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ (โลกธาตุใหญ่มีแสนโกฏิจักรวาล).
อานนท์ ตถาคตเมื่อมีความจำนง จะพูดให้ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ *
ได้ยินเสียงได้ หรือจำนงเท่าใดก็ได้.
อา. ...ด้วยวิธีอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ตถาคตอยู่ในที่นี้ จะพึงแผ่รัศมีไปทั่วติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ
พอสัตว์ทั้งหลาย (ในโลกธาตุ) เหล่านั้นรู้จักแสงสว่างนั้น ตถาคตก็บันลือเสียง
ให้สัตว์เหล่านั้นได้ยิน . . .ด้วยวิธีอย่างนี้แล อานนท์.
พอจบพระกระแสพุทธดำรัส ท่านพระอานนท์อุทานออกมาว่า เป็นลาภ
ของเราหนอ เราได้ดีหนอ ซึ่งเราได้พระศาสดามีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพ
ใหญ่อย่างนี้.
พระอุทายีกล่าวขัดขึ้นว่า ท่านได้ประโยชน์อะไรในเรื่องนี้ อาวุโส
อานนท์ หากว่าพระศาสดาของท่านมีฤทธิ์มากมีอานุภาพใหญ่อย่างนั้น.
* คำว่า โลก ก็ดี โลกธาตุ ก็ดี ในที่นี้ ท่านหมายความเป็นอันเดียวกันกับคำว่า จักรวาล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 433
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระอุทายีว่า อย่าพูดเช่นนั้น อุทายี
ถ้าอานนท์จะพึงเป็นผู้ยังไม่สิ้นราคะอย่างนี้มรณภาพไป ด้วยความที่จิตเลื่อมใส
นั้น เธอจะพึงได้เป็นเทวราชาในเทวโลก ๗ ชาติ เป็นมหาราชาในชมพูทวีป
นี้ ๗ ชาติ แต่แท้นั้น อานนท์จักปรินิพพานในชาติปัจจุบันนี้.
จบจูฬนีสูตรที่ ๑๐
จบอานันทวรรคที่ ๓
อรรถกถาจูฬนีสูตร
ในสูตรที่ ๑๐ มีข้อความที่ยกขึ้นไว้ ๒ อย่าง คือ การยกข้อความที่
เกี่ยวกับเหตุเกิดของเรื่อง ๑ ที่เกี่ยวกับอำนาจการถาม ๑. ถ้าจะมีคำถามว่า
ในการเกิดขึ้นแห่งข้อความอย่างไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบคำถามของ
ใคร. ตอบว่า ในการเกิดขึ้นแห่งข้อความของอรุณวดีสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสตอบคำถามของพระอานนทเถระเจ้า. ถามว่า อรุณวดีสูตร ใครกล่าวไว้.
ตอบว่า พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าสิขี
และพระศาสดาของเราตรัสไว้.
การอุบัติแห่งอรุณวดีสูตรสมัยพระสิขีพุทธเจ้า
ขยายความว่า นับแต่กัปนี้ถอยหลังไป ในกัปที่ ๓๑ ที่อรุณวดีนคร พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี ทรงถือปฏิสนธิในคัพโภทรของพระมเหสี พระ-
นามว่า ปภาวดี ของพระเจ้าอรุณวัต เมื่อพระญาณแก่กล้าแล้ว เสด็จออก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 434
มหาภิเนษกรมณ์ ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณที่ควงไม้มหาโพธิ์ ประกาศพระ
ธรรมจักรอันประเสริฐ ทรงอาศัยอรุณวดีนครประทับอยู่. วันหนึ่งเวลาเช้าตรู่
ทรงปฏิบัติสรีรกิจแล้ว มีภิกษุสงฆ์จำนวนมากเป็นบริวาร ทรงพระดำริว่า
เราจักเข้าไปบิณฑบาตยังอรุณวดีนคร แล้วเสด็จออกไปประทับยืน ใกล้ซุ้ม
ประตูพระวิหาร ทรงเรียกพระอรรคสาวกนามว่า อภิภู มาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ยังเป็นในเวลาเช้านัก ที่จะเข้าไปบิณฑบาตยังอรุณวดีนคร เราทั้งหลายจะไปยัง
พรหมโลก ชั้นใดชั้นหนึ่งเสียก่อน ดังนี้.
สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสเรียกอภิภูภิกษุมา
รับสั่งว่า มาเถิดพราหมณ์ เราทั้งสองจักไปยังพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่ง เวลา
ภัตตาหาร จักยังไม่มีก่อน ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อภิภูภิกษุรับพระพุทธ-
ดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าสิขีแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่า สิขี และพระอภิภูภิกษุได้เข้าไปยังพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว.
มหาพรหมในพรหมโลกนั้น ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ดีใจ จึงทำการ
ต้อนรับ ได้ปูอาสนะพรหมถวาย. ส่วนพระเถระ พรหมทั้งหลายก็ช่วยกัน
ปูอาสนะที่เหมาะสมถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย
แล้ว แม้พระเถระก็นั่งบนอาสนะที่เขาปูถวายตน. ส่วนท้าวมหาพรหมก็ถวาย
บังคมพระทศพล แล้วประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าสิขี ได้ตรัสเรียกภิกษุ
ชื่อว่า อภิภู มาตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมีกถาจงแจ่มแจ้งแก่เธอ (เธอ
จงแสดงธรรมีกถา) เพื่อพรหม เพื่อบริษัทของพรหม และเพื่อพรหมชั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 435
ปาริสัชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อภิภูภิกษุรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระ
ภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขีแล้ว แสดงธรรมีกถาแก่พรหม
พรหมบริษัท และพรหมชั้นปาริสัชชาแล้ว เมื่อพระเถระแสดงธรรมอยู่
พรหมทั้งหลาย ยกโทษว่า นาน ๆ พวกเราจักได้เห็นพระบรมศาสดาเสด็จมา
ยังพรหมโลก แต่ภิกษุนี้กีดกันพระศาสดา เตรียมจะแสดงธรรมกถาเสียเอง.
พระศาสดาทรงทราบว่า พวกพรหมเหล่านั้นไม่พอใจ จึงได้ตรัส
กะอภิภูภิกษุดังนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ พรหม พรหมบริษัท และพรหมชั้น
ปาริสัชชาพากันโทษเธอ ถ้าอย่างนั้น เธอจงทำให้พรหมเหล่านั้นสลดใจ เกิน
ประมาณเถิด พราหมณ์. พระเถระรับพระพุทธดำรัสแล้ว ทำการแผลงฤทธิ์
หลายอย่างหลายประการ เมื่อจะยังโลกธาตุพันหนึ่งให้ทราบชัดด้วยเสียง จึง
ได้กล่าว ๒ คาถาว่า อารมฺภถ นิกฺขมถ แปลว่า จงเริ่มเถิด จงเพียร
พยายามเถิด ท่านทั้งหลายดังนี้เป็นต้น.
ถามว่า ก็พระเถระทำอย่างไร จึงให้โลกธาตุตั้งพันหนึ่งทราบชัดได้.
ตอบว่า พระเถระเจ้าเข้านีลกสิณก่อนแล้ว แผ่ความมืดมนอันธการ
ไปทั่วทิศทั้งปวง แต่นั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดความคำนึงขึ้นว่า นี้เป็นความมืด
มนอันธการอะไร จึงแสดงแสงสว่าง. เมื่อพวกเขาคิดว่า นี้แสงสว่างอะไร จึง
แสดงตนให้เห็น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในพันจักรวาลจึงได้พากันยืนประคอง
อัญชลี นมัสการพระเถระอยู่ทีเดียว. พระเถระอธิษฐานว่า ขอมหาชน จงได้ยิน
เสียงของเราผู้แสดงธรรมอยู่ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ไว้ เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายทั้งปวงได้ยินเสียงของพระเถระ เสมือนนั่งแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลาง
บริษัทที่พรั่งพร้อมแล้ว แม้ข้อความ (ที่แสดง) ก็ปรากชัดแก่เทวดาและมนุษย์
เหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 436
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จกลับมายัง อรุณวดีนคร
พร้อมกับพระเถระ เสด็จบิณฑบาตเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตรแล้ว
ตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายได้ยินหรือไม่๑ ซึ่งเสียง
ขิงอภิภูภิกษุ ผู้ยืนกล่าวคาถาอยู่บนพรหมโลก ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า ได้ยิน
พระพุทธเจ้าข้า. เมื่อจะประกาศข้อที่ตนได้ยิน จึงได้ยกเอาคาถาทั้งสองขึ้นมา
อ้าง. พระศาสดาทรงประทานสาธุการว่า สาธุ สาธุ แล้วเริ่ม๒ แสดงพระ-
ธรรมเทศนา. พระสูตรนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิขี ได้ตรัสไว้
ในกัปที่ ๓๑ นับแต่ภัตรกัปนี้ถอยหลังไป ด้วยประการดังพรรณนามานี้ก่อน.
การอุบัติแห่งอรุณวดีสูตรแห่งพระพุทธเจ้าของเรา
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณ
แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร เข้าไปอาศัยพระนครสาวัตถี แล้ว
ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ในวันกลางเดือน ๗ ต้น ได้ตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายมา แล้วทรงเริ่มแสดงพระสูตรชื่อว่า อรุณวดี นี้. พระอานนท-
เถระเจ้า ยืนถวายงานพัดอยู่นั่นแหละ เรียนพระสูตรทั้งหมดแต่ต้นจนจบ
ไม่ให้ตกหล่นแม้แต่พยัญชนะเดียว. ในวันรุ่งขึ้น ท่านกลับจากบิณฑบาต
แสดงวัตรต่อพระทศพลแล้ว กลับไปยังที่พักกลางวันของตน เมื่อสัทธิวิหาริก
และอันเตวาสิกทั้งหลาย แสดงวัตรแล้วหลีกไป นั่งรำพึงถึงอรุณวดีสูตร
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในวันวาน. ครั้งนั้นพระสูตรทั้งหมด ได้ปรากฏ
แจ่มเเจ้งแก่ท่าน ( พระอานนท์).
ท่านพระอานนทเถระคิดว่า อรรคสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่าสิขียืนอยู่บนพรหมโลก เปล่งรัศมีออกจากร่างกาย กำจัดความ
๑. ปาฐะว่า ปสฺสถ ฉบับพม่าเป็น อสฺสุตถ
๒. ปาฐะว่า นิฏฺ เปสิ บางฉบับเป็น ปฏฺเปสิ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 437
มืดมนอันธการในจักรวาลพันหนึ่ง แล้วแสดงธรรมกถาให้เทวดาและมนุษย์
ได้ยินเสียงของตน คำดังที่ว่ามานี้ พระบรมศาสดาตรัสไว้แล้วเมื่อวันวาน
วิสัยของพระสาวก (มีอานุภาพ) เห็นปานนี้ก่อน ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ทัศ แล้วบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ จะเปล่งพระสุร-
เสียงไปได้ไกลเท่าไร. เพื่อจะบรรเทาความสงสัยอันบังเกิดแล้วอย่างนี้ ทันใด
นั้นเอง ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามความนั้น. เพื่อจะแสดง
ข้อความนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำว่า อถโข อายสฺมา อานนฺโท
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมุขา ความว่า พระสูตรนี้ ข้าพเจ้า
(พระอานนท์) ยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์ฟังแล้ว ไม่ใช่ฟังโดยได้ยินตามกันมา
คือไม่ได้ฟังโดยสืบต่อจากทูต๑ พระอานนทเถระเจ้ากล่าวอย่างนี้ โดยมีความ-
มุ่งหมายดังอธิบายมานี้แล.
บทว่า กีวตก ปโหติ สเรน วิญฺาเปตุ ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า จะทรงกำจัดความมืดมนอันธการ ด้วยพระรัศมีที่เปล่งออกจาก
พระวรกายแล้วเปล่งพระสุรเสียงไปได้ไกลเท่าไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำนี้ว่า สาวโก โส อานนฺท
อปฺปเมยฺยา ตถาคตา โดยมีพระพุทธประสงค์ดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์
เธอพูดอะไร (อย่างนี้) พระสาวกดำรงอยู่ในญาณเฉพาะส่วน แต่พระตถาคตเจ้า
ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ แล้วทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ มีพระญาณ
หาประมาณมิได้. เธอนั้น พูดอะไรอย่างนี้ เหมือนเอาปลายเล็บช้อนฝุ่นขึ้นมา
เปรียบกับฝุ่นในพื้นมหาปฐพี เพราะวิสัยของพระสาวกทั้งหลายก็เป็นอย่างหนึ่ง
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นอย่างหนึ่ง ธรรมเป็นโคจรของพระสาวกทั้งหลาย
ก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นอย่างหนึ่ง พลังของพระสาวก
๑. ปาฐะว่า น อนุสฺสาเสน สุตปรมปรมตาว น อนุสฺสเวน น ทูตปรมฺปราย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 438
ทั้งหลายก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นอย่างหนึ่ง. พระผู้มี
พระภาคเจ้านั้นตรัสความที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีอานุภาพหาประมาณมิได้
ด้วยมีพระพุทธประสงค์ดังพรรณนามานี้ แล้วทรงดุษณีภาพ. แม้พระเถระ
ก็ทูลถามเป็นครั้งที่ ๒. พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงแสดงว่า อานนท์ เธอพูด
อะไรอย่างนี้ เหมือนกับเอาโพรงของต้นตาล ไปเทียบกับ อากาศที่เวิ้งว้างหา
ที่สุดมิได้ เหมือนกับเอานกนางแอ่นไปเทียบกับพญาครุฑตัวผู้บินได้วันละ
๑๕๐ โยชน์ เหมือนกับเอาน้ำในงวงช้าง ไปเทียบกับน้ำในแม่น้ำมหาคงคา
เหมือนกับเอาน้ำในหลุมกว้างยาว ๘ ศอก ไปเทียบกับสระทั้ง ๗ เหมือนกับ
เอาคนที่มีรายได้เพียงข้าว ๑ ทะนาน ไปเทียบกับพระเจ้าจักรพรรดิ เหมือนกับ
เอาปีศาจคลุกฝุ่น ไปเทียบกับท้าวสักกเทวราช และเหมือนกับเอาแสงสว่าง
ของหิ่งห้อย ไปเทียบกับแสงสว่างพระอาทิตย์ ดังนี้แล้ว ตรัสความที่พระ
พุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพหาประมาณมิได้ เป็นครั้งที่ ๒ แล้วทรงดุษณีภาพ.
ลำดับนั้น พระเถระคิดว่า พระศาสดาอันเราทูลถามแล้ว ไม่ตรัสตอบเลย เรา
จะขอ (โอกาสทูลถาม) ถึง ๓ ครั้ง แล้วจักให้พระศาสดาบันลือพุทธสีหนาท
ดังนี้ จึงทูลขอเป็นครั้งที่ ๓. เพื่อแสดงถึงการทูลขอเป็นครั้งที่ ๓ นั้น ท่าน
จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตติยมฺปิ โข ไว้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงตอบปัญหาของพระอานนท์
เถระจึงตรัสคำมีอาทิว่า สุตา เม อานนฺท ดังนี้ พระเถระคิดว่า พระ-
บรมศาสดาตรัสคำมีประมาณเท่านี้ เท่านั้น แก่เราว่า อานนท์ โลกธาตุพันหนึ่ง
จำนวนเล็กน้อย เธอได้ฟังแล้ว (มิใช่หรือ) แล้วทรงดุษณีภาพ ต่อไปนี้
พระพุทธเจ้า จักทรงบันลือพุทธสีหนาท ดังนี้. เมื่อจะทูลขอพระบรมศาสดา
จึงได้กราบทูลคำมีอาทิว่า เอตสฺส ภควา กาโล ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 439
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำมีอาทิว่า เตนหานนฺท ดังนี้
เพื่อจะตรัสกถาอย่างพิสดาร แก่พระอานนท์. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ยาวตา ความว่า ตลอดที่มีประมาณเท่าใด. ทั้งพระจันทร์ ทั้งพระอาทิตย์
ชื่อว่า จนฺทิมสุริยา. บทว่า ปริหรนฺติ แปลว่า โคจรไป. บทว่า ทิสา
ภนฺติ ได้แก่ส่องสว่างไปทั่วทิศ. บทว่า วิโรจนา แปลว่า รุ่งโรจน์อยู่.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ เป็นอันทรงแสดงจักรวาล โดยกำหนดจักรวาลเดียว. บัดนี้
เมื่อจะทรงแสดงจักรวาลพันคูณด้วยพัน จึงตรัสว่า ตาว สหสฺสา โลโก
ดังนี้. บทว่า ตสฺมึ สหสฺสธา โลเก ความว่า ในพันแห่งจักรวาลนั้น.
บทว่า สหสฺส จาตุมฺมหาราชิกาน ได้แก่เทวโลกชั้นจาตุมมหาราชิกาพันหนึ่ง.
ก็เพราะเหตุที่ในแต่ละจักรวาล มีท้าวมหาราชประจำอยู่จักรวาลละ ๔ ๆ ฉะนั้น
จึงตรัสว่า จตฺตาริ มหาราชสหสฺสานิ ดังนี้. ในทุก ๆ บท พึงทราบ
เนื้อความโดยอุบายนี้. บทว่า จูฬนิกา แปลว่า โลกธาตุขนาดเล็ก. นี้เป็น
วิสัยของพระสาวกทั้งหลาย. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงนำโลกธาตุขนาดเล็กนี้มา (แสดงไว้). ตอบว่า เพื่อทรงแสดงถึงการ
กำหนดโลกธาตุขนาดกลาง. บทว่า ยาวตา แปลว่า มีประมาณเท่าใด. บทว่า
ตาว สหสฺสธา ความว่า โดยส่วนแห่งพันเพียงนั้น.
ด้วยบทว่า ทวิสหสฺสี มชฺฌิมิกา โลกธาตุ นี้ ทรงแสดงว่า
โลกธาตุนี้มีจำนวนพันกำลังสอง มีจักรวาลแสนหนึ่งเป็นประมาณ โดยเอา
พันส่วนคูณจักรวาลพันหนึ่ง ชื่อว่าโลกธาตุขนาดกลาง. นี้มิใช่วิสัยของพระ-
สาวกทั้งหลาย เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้น. เพราะว่า ในที่เท่านี้
พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย สามารถจะทรงเปล่งพระรัศมีจากพระพุทธสรีระ ขจัด
ความมืดมนอันธการ แล้วให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ได้ยินพระสุรเสียงได้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 440
ขึ้นชื่อว่า ชาติเขต ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงแสดงไว้แล้วด้วยคำมี
ประมาณเท่านี้. อธิบายว่า ในภพสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ในวันที่
พระองค์เสด็จจุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในคัพโภทรของพระพุทธมารดา ๑
ในวันประสูติจากพระครรภ์ ๑ ในวันเสด็จออกผนวช ๑ ในวันตรัสรู้ ๑
ในวันทรงแสดงธรรมจักร ๑ ในวันทรงปลงอายุสังขาร ๑ และในวัน
ปรินิพพาน ๑ สถานที่มีประมาณเท่านี้ (โลกธาตุขนาดกลาง) ย่อมหวั่นไหว.
บทว่า ติสหสฺสี มหาสหสฺสี ความว่า ชื่อว่า ติสหสฺสี เพราะ
ตั้งแต่จำนวนหนึ่งพันไป เอาพันคูณ ๓ ครั้ง (พันกำลัง ๓). โลกธาตุที่
คูณด้วยหลาย ๆ พัน เพราะตั้งพันไว้ เอาพันคูณ ตั้งโลกธาตุขนาดกลางไว้
เอาพันคูณเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มหาสหสฺสี. ด้วยคำเพียงเท่านี้ เป็นอัน
ทรงแสดงโลก มีแสนโกฏิจักรวาลเป็นประมาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อมี
พุทธประสงค์ จะทรงเปล่งพระรัศมีออกจากพระพุทธสรีระ. ขจัดความมืดมน
อันธการ ให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายได้ยินพระสุรเสียง ในสถานที่เท่านี้.
ส่วนพระคณกปุตตติสสเถระกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ติสหัสสีโลกธาตุ และมหา-
สหัสสีโลกธาตุมีประมาณอย่างนี้ เพราะปริมาณนี้เป็นที่ตั้งแห่งการบริหารด้วย
วาจา (พูดกันติดปาก) เป็นเค้ามูล แห่งการสาธยายของพระอาจารย์ทั้งหลาย
แต่สถานที่ที่ชื่อว่า ติสหสฺสีโลกธาตุ และมหาสหสฺสีโลกธาตุ มีปริมาณ-
ล้านโกฏิจักรวาล. ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงเขต ที่ชื่อว่า อาณาเขต แล้ว เพราะในระหว่างนี้ อาณา (อำนาจ)
ของ อาฏานาติยปริต อิสิคิลิปริต ธชัคคปริต โพชฌังคปริต ขันธ-
ปริต โมรปริต เมตตาปริต และรตนปริต ย่อมแผ่ไปถึง.
บทว่า ยาวตา ปน อากงฺเขยฺย ความว่า ทรงปรารถนาสถานที่
มีประมาณเท่าใด. ด้วยคำนี้พระองค์ทรงแสดงถึง วิสัยเขต เพราะตามธรรมดา
วิสัยเขตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีกำหนดประมาณ. ในข้อที่ วิสยเขต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 441
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีกำหนดประมาณนั่นแหละ พระโบราณาจารย์
ทั้งหลาย นำข้ออุปมามาอ้างไว้ดังต่อไปนี้ ก็ถ้าจะมีใคร ๆ เอาเมล็ดพันธุ์
ผักกาดไปกองให้เต็มแสนโกฏิจักรวาล จนถึงพรหมโลก ใส่เมล็ดพันธุ์ผักกาด
ลงไปในจักรวาล จักรวาลละหนึ่งเมล็ดทางทิศบูรพาไซร้ เมล็ดพันธุ์ผักกาด
แม้ทั้งหมดเหล่านั้น พึงถึงความสิ้นไปก่อน แต่จักรวาลในด้านทิศบูรพา จะ
ยังไม่ถึงความสิ้นไป. แม้ในจักรวาลด้านทิศทักษิณเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ในวิสัยเช่นนี้ ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ไม่เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ไม่มีเลย. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระเถระคิดว่า พระศาสดา
ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ตถาคตเมื่อจำนงอยู่ ก็พึงยังโลกธาตุ
ชื่อว่าติสหัสสี (และ) มหาสหัสสี ให้ได้ยินสุรเสียง ตามที่จำนงหมาย
ดังนี้ ก็แล โลกนี้ไม่เสมอกัน จักรวาลไม่มีที่สิ้นสุด พระอาทิตย์ขึ้น
ที่หนึ่ง เที่ยงที่หนึ่ง ตกที่หนึ่ง ปฐมยามมีในที่หนึ่ง มัชฌิมยามมีในที่หนึ่ง
ปัจฉิมยามก็มีในที่หนึ่ง. แม้สัตว์ทั้งหลาย ขวนขวายในการงาน สนใจใน
การเล่น แสวงหาอาหาร เพราะฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย ย่อมฟุ้งซ่าน และประมาท
ด้วยเหตุนั้น ๆ อย่างนี้ พระบรมศาสดาจักยังสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ให้ได้ยิน
พระสุรเสียงได้อย่างไรหนอแล ดังนี้. พระอานนทเถระ ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว
เมื่อจะทูลถามพระตถาคตเจ้า เพื่อบรรเทาความสงสัย จึงกราบทูลคำเป็นต้นว่า
ยถา กถ ปน ดังนี้.
ลำดับนั้น พระบรมศาสดาเมื่อจะทรงพยากรณ์ แก่พระอานนทเถระ
จึงตรัสคำมีอาทิว่า อิธานนฺท ตถาคโต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
โอภาเสน ผเรยฺย ความว่า แผ่ไปด้วยรัศมีแห่งพระสรีระ. ถามว่า โอภาส
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 442
นั้น เมื่อแผ่ไปพึงทำอาการอย่างใด. ตอบว่า ที่ใดมีพระอาทิตย์ปรากฏ ที่นั้น
พระองค์ก็ทำให้พระอาทิตย์ตกด้วยอานุภาพ องพระองค์ แต่ที่ใดพระอาทิตย์
ไม่ปรากฏ ที่นั้น พระองค์จะทำให้พระอาทิตย์ปรากฏ เห็นสถิตอยู่ท่ามกลาง
(ท้องฟ้า) แต่นั้น ในที่ใดพระอาทิตย์ปรากฏ ในที่นั้นมนุษย์ทั้งหลาย ก็พึงเกิด
ความวิตกว่า พระอาทิตย์ (เพิ่ง) ปรากฏเมื่อไม่นานนี้เอง แต่พระอาทิตย์นั้น
ก็ตกไปเดี๋ยวนี้เอง ข้อนี้คงจะเป็นการบันดาลของนาค หรือการบันดาลของภูต
การบันดาลของยักษ์ หรือการบันดาลของเทวดาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ในที่ใด
พระอาทิตย์ไม่ปรากฏในที่นั้น มนุษย์ทั้งหลายจะเกิดความวิตกว่า พระอาทิตย์
เพิ่งตกไปเดี๋ยวนี้เอง พระอาทิตย์ดวงเดียวกันนี้ ก็กลับขึ้นเดี๋ยวนี้อีก นี้จะเป็น
การบันดาลของนาค การบันดาลของภูต การบันดาลของยักษ์ และการบันดาล
ของเทวดาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออย่างไรหนอแล ? แต่นั้น เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย
เหล่านั้น รำพึงถึงความสว่าง และความมืดอยู่ แล้วพากันแสวงหา (เหตุผล)
ด้วยคิดว่า นี้มีอะไรเป็นปัจจัยหนอแล พระบรมศาสดาทรงเข้านีลกสิณ พึง
แผ่ความมืดทึบไป.
ถามว่า เพราะเหตุใด. ตอบว่า เพราะทรงแผ่ไปเพื่อให้สัตว์ทั้งหลาย
ผู้ขวนขวายการงานเป็นต้นเหล่านั้น เกิดความสะดุ้ง. ลำดับนั้น พระบรม
ศาสดาทรงทราบว่า สัตว์เหล่านั้นถึงความสะดุ้งแล้ว ก็ทรงเข้าโอภาสกสิณ-
สมาบัติ ทรงเปล่งพระพุทธรัศมีออกเป็นลำขาว ทรงบันดาลให้ที่ทุกแห่งมี
แสงสว่างเป็นอันเดียวกัน โดยการเปล่งพระรัศมีอย่างเดียวเท่านั้น เหมือน
เวลาที่พระจันทร์และพระอาทิตย์ขึ้นพร้อมกันเป็นพัน ๆ ดวง และทรงเปล่ง
พระโอภาสนั้น ออกโดยส่วนแห่งพระวรกาย มีประมาณเท่าเมล็ดงา. ก็ถ้า
ผู้ใดบันดาลแผ่นดินทั่วทั้งจักรวาล ให้เป็นตะเกียง บันดาลน้ำในมหาสมุทร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 443
ให้เป็นน้ำมัน บันดาลเขาสิเนรุให้เป็นไส้ตะเกียง จุดวางไว้บนยอดเขา
สิเนรุลูกอื่นได้ ผู้นั้นคงจะทำให้สว่าง ในจักรวาลเดียวเท่านั้น ไม่สามารถ
จะทำพื้นที่แม้เพียงคืบเดียว นอกไปจากนั้นให้สว่างไสวได้. ส่วนพระตถาคตเจ้า
ทรงเปล่งพระโอภาส ด้วยประเทศแห่งพระสรีระประมาณเท่าเมล็ดงา พึง
การทำให้โลกธาตุติสหัสสี และมหาสหัสสีหรือยิ่งกว่านั้น ให้มีแสงสว่างเป็น
อันเดียวกันได้. เพราะว่า คุณของพระพุทธเจ้ามี (อานุภาพ) มากมาย
อย่างนี้ ฉะนี้แล.
บทว่า ต อาโลก สญฺชาเนยฺยุ ความว่า คนทั้งหลายเห็น
แสงสว่างนั้นแล้ว คิดว่า พระอาทิตย์ตกแล้วขึ้นรูปด้วย ความมืดทึบก็หายไป
ด้วย เพราะผู้ใด บัดนี้ ผู้นี้นั้นยืนบันดาลให้เกิดแสงสว่างไสวขึ้นแล้ว โอ
อัศจรรย์จริง อัจฉริยบุรุษ ดังนี้ แล้วยืนประคองอัญชลีอยู่.
บทว่า สทฺทมนุสฺสาเวยฺย ความว่า พระตถาคตยังเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ให้สนใจฟังเสียงพระธรรมกถา. จริงอยู่ ผู้ใดบันดาลเขาจักรวาล
บรรพตลูกหนึ่งให้เป็นกลอง บันดาลมหาปฐพีให้เป็นหนังหุ้มกลอง บันดาล
เขาสิเนรุให้เป็นฆ้อนตีกลอง แล้ววางไว้บนยอดเขาสิเนรุลูกอื่น แล้วตี
ผู้นั้น จะให้คนทั้งหลายได้ยินเสียงนั้น เฉพาะในจักรวาลเดียวเท่านั้น ไม่
สามารถจะให้เสียงนั้นดังเลยไปข้างหน้า แม้เพียงคืบเดียวได้. ส่วนพระตถาคต
ประทับนั่งบนบัลลังก์ หรือตั่ง ทรงยังโลกธาตุสหัสสี และมหาสหัสสีหรือ
ยิ่งไปกว่านั้น ให้ได้ยินพระสุรเสียงได้ พระตถาคตเจ้า ทรงมีอานุภาพมาก
อย่างนี้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงวิสัยเขตนั่นแหละ
โดยที่มีประมาณเท่านี้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 444
ก็และเพราะได้สดับพุทธสีหนาทนี้ พระเถระได้เกิดปีติ มีกำลังขึ้น
ในภายใน ท่านเมื่อจะเปล่งอุทานด้วยสามารถแห่งปีติ จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า
ลาภา วต เม (เป็นลาภของเราหนอ) ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ยสฺส เม สตฺตา เอว มหิทฺธิโก ความว่า การได้พระศาสดาผู้มีฤทธิ์
มากอย่างนี้ ของเราผู้มีศาสดาผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ เป็นทั้งลาภ เป็นทั้งสิ่งที่ได้
มาด้วยดี อีกอย่างหนึ่ง พระอานนท์เถระเจ้ากล่าวอย่างนี้ หมายถึงว่า
ข้อที่เราได้มีโอกาสถือบาตรและจีวรของพระศาสดาเห็นปานนี้ แล้วเที่ยวไป
(ก็ดี) มีโอกาสนวดเฟ้นพระบาท (ก็ดี) มีโอกาสถวายน้ำสรงพระพักตร์
และน้ำสรงสนาน (ก็ดี) มีโอกาสปัดกวาดบริเวณพระคันธกุฏี (ก็ดี) มี
โอกาสทูลถามปัญหาตามข้อสงสัยที่เกิดขึ้นแล้ว (ก็ดี) ได้ฟังธรรมกถาอัน
ไพเราะ (ก็ดี) เหล่านี้แม้ทั้งหมด จัดเป็นทั้งลาภ เป็นทั้งสิ่งที่ได้มาด้วยดี
ดังนี้บ้าง. ก็ในพระสูตรนี้ นักศึกษาพึงทราบความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น
ผู้มีฤทธิ์มาก เพราะทรงมีฤทธิ์กล่าวคือ การทำความมืด ให้สว่าง การทำเทวดา
และมนุษย์ให้ได้ยินพระสุรเสียง มีมาก. (และพึงทราบ) ความที่พระผู้มี
พระภาคเจ้า มีอานุภาพมาก โดยที่ฤทธิ์เหล่านั้นนั่นแหละแผ่ไปเนือง ๆ.
บทว่า อุทายี ได้แก่ โลฬุทายีเถระ. เล่ากันมาว่า ท่านพระโลฬุ-
ทายีเถระ เที่ยวผูกพยาบาทในพระเถระ ด้วยความปรารถนาที่ตั้งไว้ครั้งก่อน
เพราะฉะนั้น บัดนี้ พอได้โอกาสจึงทำการหักหาญความเลื่อมใสของพระเถระ
กล่าวอย่างนี้เหมือนดับเปลวประทีปที่ลุกโพลงอยู่ ในเวลาจบพุทธสีหนาทนี้
เหมือนเอาไม้ตีโคตัวกำลังเดินไป และเหมือนคว่ำถาดที่มีอาหารเต็มฉะนั้น.
บทว่า เอว วุตตฺเต ภควา ความว่า เมื่อพระอุทายีเถระ กล่าว
อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงห้ามพระอุทายีเถระจากคำนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 445
จึงตรัสคำว่า มา เหว อุทายิ (อย่าพูดอย่างนั้นเลย อุทายี) ดังนี้. เหมือน
บุรุษผู้มุ่งประโยชน์ยืนอยู่ ส่วนข้างหนึ่ง พึงพูดแล้ว ๆ เล่า ๆ กับชายผู้ยืน
สั่น อยู่ที่ปากเหวว่า จงมาทางนี้ จงมาทางนี้ ฉะนั้น.
บทว่า มหาราชฺช ได้แก่ จักรพรรดิราชสมบัติ. ถามว่า ก็พระ
ศาสดาได้ทรงกระทำอานิสงส์อันใหญ่หลวงแห่งความเลื่อมใสที่เกิดขึ้น เพราะ
พระธรรมเทศนาแก่สาวกรูปหนึ่ง ไม่มีกำหนดมิใช่หรือ เหตุไฉน พระองค์
จึงทรงกำหนดอานิสงส์ แห่งความเลื่อมใสที่บังเกิดขึ้นแก่พระอานนท์นี้ เพราะ
ปรารภพุทธสีหนาท. ตอบว่า เพราะพระอริยสาวกมีอัตภาพเพียงเท่านี้เป็นประ-
มาณ. เพราะว่า พระโสดาบัน แม้มีปัญญาเชื่องช้า จะได้อัตภาพในเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ๗ ครั้ง (เท่านั้น) เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรง
กำหนดคติของพระอานนท์นั้น จึงได้ตรัสอย่างนี้. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม
ความว่า ดำรงอยู่ในอัตภาพนี้เท่านั้น. บทว่า ปรินิพฺพายสฺสติ ความว่า
จักปรินิพพานด้วยปรินิพพานอันหาปัจจัยมิได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอายอด ด้วยพระนิพพาน แล้วทรงยัง
สีหนาทสูตรนี้ให้จบลง ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้แล.
จบอรรถกถาจูฬนีสูตรที่ ๑๐
จบอานันทวรรควรรณนาที่ ๓
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ฉันนสูตร ๒. อาชีวกสูตร ๓. สักกสูตร ๔. นิคันฐสูตร
๕. สมาทปกสูตร ๖. นวสูตร ๗. ภวสูตร ๘. สีลัพพตสูตร ๙. คันธสูตร
๑๐. จูฬนีสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 446
สมณวรรคที่ ๔
๑. สมณสูตร
ว่าด้วยกิจของสมณะ ๓ อย่าง
[๕๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณกรณียะ (กิจที่สมณะต้องทำ)
ของสมณะ ๓ นี้ สมณกรณียะ ๓ คืออะไรบ้าง คือ การสมาทานอธิสีลสิกขา
การสมาทานอธิจิตตสิกขา การสมาทานอธิปัญญาสิกขา นี้แล ภิกษุทั้งหลาย
สมณกรณียะของสมณะ ๓
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า ฉันทะของเรา
ต้องแรงกล้าในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบสมณสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 447
สมณวรรควรรณนาที่ ๔
อรรถกถาสมณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสมณสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมณสฺส แปลว่า อันเป็นของสมณะ. บทว่า สมณกรณียานิ
แปลว่า กิจอันสมณะพึงทำ. ในบทว่า อธิสีลสิกฺขาสมาทาน เป็นต้นมี
อธิบายว่า การถือ เรียกว่า สมาทาน การสมาทาน การถือ การ
บำเพ็ญอธิสีลสิกขา ชื่อว่า อธิสีลสิกขาสมาทาน. แม้ในสองบทที่เหลือ
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
อธิศีล - อธิจิต - อธิปัญญา
อนึ่ง ในที่นี้ พึงทราบการจำแนกดังนี้ว่า ศีล อธิศีล จิต อธิจิต
ปัญญา อธิปัญญา ในการจำแนกนั้น ศีล ๕ ชื่อว่า ศีล ศีล ๑๐ ชื่อว่า
อธิศีล เพราะเทียบเคียงกับศีล ๕ นั้น ปาริสุทธิศีล ๔ ชื่อว่า อธิศีล เพราะ
เทียบเคียงกับศีล ๑๐ นั้น อนึ่ง โลกิยศีลทั้งหมด จัดเป็นศีล โลกุตรศีล
จัดเป็นอธิศีล อธิศีลนั้นแหละเรียกว่า สิกขา เพราะต้องศึกษา. ส่วน
กามาวจรจิต ชื่อว่า จิต รูปาวจรจิต ชื่อว่า อธิจิต เพราะเทียบเคียง
กับกามาวจรจิตนั้น อรูปาวจรจิต ชื่อว่า อธิจิต เพราะเทียบเคียงกับ
รูปาวจรจิตนั้น. อนึ่ง โลกิยจิตทั้งหมดจัดเป็นจิต โลกุตรจิตจัดเป็นอธิจิต.
แม้ในปัญญาก็มีนัยเดียวกันนี้แล. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่กิจ
อันสมณะพึงทำทั้ง ๓ เหล่านี้. บทว่า ติพฺโพ ได้แก่หนา. บทว่า ฉนฺโท
ได้แก่ ความพอใจในกุศล คือ ความเป็นผู้ต้องการจะทำ.
สิกขา ๓ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
สูตรนี้ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสมณสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 448
๒. คัภรสูตร
ภิกษุไร้ไตรสิกขาเปรียบเหมือนลาในฝูงโค
[๕๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาเดินตามฝูงโคไป แม้จะร้องว่า
ข้ า ฯ เป็นโค ข้า ฯ เป็นโค แต่สีของมันไม่เหมือนโค. เสียงก็ไม่เหมือน
รอยเท้าก็ไม่เหมือน มันได้แต่เดินตามฝูงโค ร้องไปว่า ข้า ฯ เป็นโค ข้า ฯ
เป็นโค เท่านั้น ฉันใดก็ดี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้
เดินตามหมู่ภิกษุ แม้ประกาศไปว่า ข้า ฯ เป็นภิกษุ ข้า ฯ เป็นภิกษุ
แต่ฉันทะในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ของ
ภิกษุรูปนั้น ไม่มีเหมือนภิกษุอื่น ๆ ภิกษุนั้นก็ได้แต่เดินตามหมู่ภิกษุประกาศ
ไปว่า ข้า ฯ เป็นภิกษุ ข้า ฯ เป็นภิกษุ เท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า ฉันทะของเรา
จักมีอย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบคัทรภสูตรที่ ๒
อรรถกถาคัทรภสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในคัทรภสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต แปลว่า ข้างหลัง ๆ. บทว่า อหมฺปิ
อมฺหา อหมฺปิ อมฺหา ความว่า แม่วัวร้องอยู่ว่า อหมฺปิ อมฺหา (ฉันใด)
(ฬาก็ร้องว่า) อหมฺปิ คาวี (แม้เราก็เป็นแม่วัว) (ฉันนั้น). บทว่า เสยฺยถาปิ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 449
คุนฺน ความว่า ของแม่โคทั้งหลายเป็นฉันใด จริงอยู่ โคทั้งหลายมีสีคำบ้าง
มีสีแดงบ้าง มีสีขาวเป็นต้นบ้าง แต่ว่า ลาไม่มีสีเช่นนั้น และสีเป็นฉันใด
เสียงก็ดี รอยเท้าก็ดี ก็เหมือนกันฉันนั้นนั่นแหละ.
บทที่เหลือมีความหมายง่ายทั้งนั้น แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ตรัสสิกขา ๓ ไว้คละกันแล.
จบอรรถกถาคัทรภสูตรที่ ๒
๓. เขตตสูตร
กิจเบื้องต้นของชาวนาและภิกษุ
[๕๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุพกรณียะ (กิจที่ต้องทำก่อน)
ของคฤหบดีชาวนา ๓ นี้ บุพกรณียะ ๓ คืออะไร คือ คฤหบดีชาวนา
ไถคราดพื้นที่นาให้ดีก่อน ครั้นแล้ว ปลูกพืชลงในเวลาอันควร ครั้นแล้ว
ไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้างตามคราว นี้แล บุพกรณียะของคฤหบดี
ชาวนา ๓
ฉันเดียวกันนั่นเทียว ภิกษุทั้งหลาย บุพกรณียะของภิกษุ ๓ นี้
๓ คืออะไร คือการสมาทานอธิสีลสิกขา การสมาทานอธิจิตตสิกขา การสมา-
ทานอธิปัญญาสิกขา นี้ บุพกรณียะของภิกษุ ๓
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า ฉันทะของเรา
อย่างแรงกล้าในการสมาทานอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบเขตตสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 450
อรรถกถาเขตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเขตตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปฏิกจฺเจว แปลว่า ก่อนทีเดียว. บทว่า สุกฏฺ กโรติ
ความว่า ชาวนาทำนาให้เป็นอันไถดีแล้วด้วยไถ. บทว่า สุมติกต ความว่า
(ทำนา) ให้มีพื้นที่เรียบร้อย คือ ราบเรียบ. บทว่า กาเลน ได้แก่
ตามกาลที่ควรหว่าน.
บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสสิกขา ๓
ไว้คละกันทีเดียว.
จบอรรถกถาเขตตสูตรที่ ๓
๔. วัชชีปุตตสูตร
ว่าด้วยการเจริญไตรสิกขาเพื่อละอกุศลมูล
[๕๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ กูฏาคาร-
ศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่ง
เข้าไปเฝ้า ฯลฯ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบทที่สำคัญ ๑๕๐ นี้
ย่อมมาสู่อุทเทส (คือสวดในท่ามกลางสงฆ์) ทุกกึ่งเดือน ข้าพระพุทธเจ้า
ไม่อาจศึกษา (คือปฏิบัติรักษา) ในสิกขาบทมากนี้ได้พระเจ้าข้า.
พ. ก็ท่านอาจหรือไม่ ภิกษุ ที่จะศึกษาในสิกขา ๓ คืออธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 451
ภ. อาจอยู่ พระพุทธเจ้าข้า...
พ. เพราะเหตุดังนั้น ท่านจงศึกษาในสิกขา ๓ นี้เถิด ภิกษุ เมื่อใด
ท่านจักศึกษา ทั้งอธิศีล ทั้งอธิจิต ทั้งอธิปัญญา เมื่อนั้น ท่านศึกษา
อธิสีลสิกขาอยู่ก็ดี...จักละราคะ โทสะ โมหะได้ เพราะละราคะ โทสะ. โมหะได้
กรรมใดเป็นอกุศล ท่านก็จักไม่ทำกรรมนั้น กรรมใดเป็นบาป ท่านก็จัก
ไม่เสพกรรมนั้น.
ต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาอธิศีลอยู่ก็ดี อธิจิตอยู่ก็ดี อธิปัญญาอยู่ก็ดี เมื่อ
เธอศึกษาอธิสีลสิกขาอยู่ก็ดี. . . จักละราคะ โทสะ โมหะได้ เพราะละราคะ
โทสะ โมหะได้ กรรมใดเป็นอกุศล เธอก็ไม่ทำกรรมนนั้น กรรมใดเป็นบาป
เธอก็ไม่เสพกรรมนั้น.
จบวัชชีปุตตสูตรที่ ๔
อรรกถาวัชชีปุตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในวัชชีปุตตสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วชฺชีปุตฺตโก ได้แก่ บุตรของราชตระกูลวัชชี. บทว่า
ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสต ได้แก่ สิกขาบท ๑๕๐. ภิกษุวัชชีบุตรหมายเอา
สิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในสมัยนั้นจึงกล่าวคำนี้ว่า ทิยทฺฒสิกฺขาปทสต.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้นถึงพร้อมด้วยอาชวธรรมเป็นผู้มีนิสัยซื่อตรง ไม่คดโกง
ฉะนั้น ท่านจึงคิดว่า เราจะสามารถรักษาสิกขาบทจำนวนเท่านี้ได้หรือไม่
ดังนี้ แล้วกราบทูลให้พระศาสดาทรงทราบ. บทว่า สกฺโกมห ตัดบทเป็น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 452
สกฺโกมิ อห (เราสามารถ) ได้ยินว่า ภิกษุนั้นสำคัญอยู่ว่า เมื่อเราศึกษา
อยู่ในสิกขาบทจำนวนเท่านี้ได้ ก็ไม่หนักใจที่จะศึกษาในไตรสิกขา จึงกราบทูล
อย่างนั้น. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยกสิกขาอีก ๒ สิกขา ขึ้นไว้
ในลำดับที่สูงขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สามารถจะศึกษาในสิกขาข้อเดียว จึงตรัสคำว่า
ตสฺมาติห ตฺว ภิกฺขุ เป็นต้น เปรียบเหมือนบุคคลผูกกำหญ้า ๑๐๐ กำ
วางไว้บนศีรษะของบุคคลผู้ไม่สามารถจะยกกำหญ้า ๕๐ กำขึ้นได้ฉะนั้น.
ตัวอย่าง
ได้ยินว่า ในโรหณชนบท ชาวชนบทคนหนึ่งชื่ออุตตระ อยู่ใน
เภรปาสาณวิหาร. อยู่มา ภิกษุหนุ่มทั้งหลายได้พูดกะเขาว่า อุตตระ โรงไฟถูก
ฝนรั่วรด ขอเธอจงทำหญ้าให้เหมาะสมแล้วให้เถิดดังนี้แล้ว พาเขาเข้าไปป่า
มัดหญ้าที่อุตตระนั้นเกี่ยวแล้วให้เป็นฟ่อน ๆ แล้วกล่าวว่า อุตตระ เธอจัก
สามารถแบกหญ้า ๕๐ ฟ่อนไปได้ไหม ? อุตตระนั้นกล่าวว่า จักไม่สามารถ
หรอกครับ. แต่ (ถ้า) ๘๐ ฟ่อนเล่า เธอจักสามารถไหม ? จักไม่สามารถ
หรอกครับ. ๑๐๐ ฟ่อน (ที่มัดรวมเป็นฟ่อนเดียวกัน) เล่า เธอจักสามารถ
ไหม ?. (ถ้าอย่างนั้น) ได้ขอรับ ผมแบกไปได้. ภิกษุหนุ่มทั้งหลายจึงมัดหญ้า
๑๐๐ ฟ่อน รวมกันเข้าแล้ววางไว้บนศีรษะเขา. นายอุตตระนั้นยกขึ้นแล้ว
ทอดถอนใจไปโยนทิ้งไว้ใกล้โรงไฟ. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวว่า
เหนื่อยละซี่อุตตระ. นายอุตตระตอบว่า เหนื่อยครับท่าน พวกพระหนุ่มลวงผม
(อันที่จริง) ผมไม่สามารถแบกกำหญ้า ๑๐๐ กำนี้ได้หรอก (แต่) ท่านบอกว่า
เธอจงแบกไป ๕๐ กำ ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ใช่อุตตระ พวกพระหนุ่มลวงเธอ
พึงทราบข้ออุปไมยนี้เป็นอย่างนั้น.
แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสสิกขา ๓ ไว้ปนกัน.
จบอรรถกถาวัชชีปุตตสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 453
๕. ปฐมเสขสูตร
ว่าด้วยเสขบุคคล
[๕๒๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้า ฯลฯ กราบทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่ว่า พระเสขะ พระเสขะ. ดังนี้ ด้วยเหตุอย่างไร
จึงชื่อว่า เป็นพระเสขะ.
พ. ดูก่อนภิกษุ เพราะยังต้องศึกษาอยู่ จึงเรียกว่า เสขะ ศึกษาอะไร
ศึกษาอธิศีลบ้าง ศึกษาอธิจิตบ้าง ศึกษาอธิปัญญาบ้าง เพราะยังต้องศึกษา
อยู่ นี่แลภิกษุ จึงเรียกว่า เสขะ.
(นิคมคาถา)
เมื่อพระเสขะศึกษาอยู่ เป็นผู้ดำเนิน
ในทางตรง ขยญาณเกิดขึ้นก่อน พระ-
อรหัตผลจึงเกิดในลำดับนั้น ต่อนั้น เมื่อ
พ้นด้วยพระอรหัตผลแล้ว เธอก็มีญาณ
(หยั่งรู้) ว่า ความพ้นของเราไม่กำเริบ
เพราะสิ้นเครื่องผูกไว้ในภพ.
จบปฐมเสขสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 454
อรรถกถาปฐมเสขสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมเสขสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุชุมคฺคานุสาริโน ความว่า อริยมรรคเรียกว่า ทางตรง
เสขบุคคลผู้ระลึกถึง คือดำเนินไปสู่ทางตรงนั้น. บทว่า ขยสฺมึ ปม าณ
ความว่า มรรคญาณนั้นแลเกิดขึ้นก่อน. จริงอยู่ มรรคชื่อว่า ขยะ
(ความสิ้นไป) แห่งกิเลสทั้งหลาย เพราะปลอดภัยจากกิเลส ญาณที่สัมปยุต
ด้วยมรรคนั้น ชื่อว่า ขยญาณ. บทว่า ตโต อญฺา อนนฺตรา ความว่า
ปัญญาเครื่องรู้ทั่วย่อมเกิดขึ้นต่อจากมรรคญาณที่ ๔ นั้น อธิบายว่า อรหัตผล
ย่อมเกิดขึ้น. บทว่า อญฺาวิมุตฺตสฺส ได้แก่ หลุดพ้นแล้วด้วยวิมุตติ คือ
อรหัตผล. บทว่า าณ เว โหติ ได้แก่ มีปัจจเวกขณญาณแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสขบุคคล ๗ จำพวก ไว้ทั้งในพระสูตรทั้งใน
คาถาทั้งหลาย แต่ทรงแสดงพระขีณาสพไว้ในตอนสุดท้ายแล.
จบอรรถกถาปฐมเสขสูตรที่ ๕
๖. ทุติยเสขสูตร
ว่าด้วยเสขบุคคล
[๕๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขาบทที่สำคัญ ๑๕๐ นี้ ย่อมมาสู่
อุทเทสทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์ ศึกษากันอยู่
ภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบททั้งปวงนั่นรวมกันอยู่ สิกขา ๓ คือ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 455
อะไรบ้าง คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา นี้แล สิกขา ๓
ที่สิกขาบททั้งปวงนั่นรวมกันอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทำพอประมาณในสมาธิ ...ในปัญญา เธอก็ย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง
ย่อมออกจากอาบัติ (คือแสดงอาบัติ) บ้าง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุอะไร
เหตุว่าไม่มีใครกล่าวความอภัพ (คือไม่อาจบรรลุโลกุตรธรรม) เพราะการล่วง
สิกขาบทเล็กน้อย และการออกจากอาบัตินี้ แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใดเป็นเบื้องต้น
แห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์ เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน มีศีลมั่นคง
ในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้น เพราะ
สิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้แน่
ที่จะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ฯลฯ สมาทานศึกษา
อยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นเพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ ราคะ โทสะเบาบาง
เป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้หนเดียวเท่านั้น ย่อมทำที่สุดทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์
ในศีล...ในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา เธอก็ย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อย
บ้าง ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์
เบื้องต่ำ ๕ เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลก (ที่เกิด) นั้น มีอันไม่กลับ
จากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์
ทั้งในศีล ทั้งในสมาธิ ทั้งในปัญญา เธอก็ย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้น ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 456
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงเอกเทศ ย่อมได้ดี
เพียงเอกเทศ ผู้ทำได้บริบูรณ์ย่อมทำได้ดีบริบูรณ์ เราจึงกล่าวว่าสิกขาบท
ทั้งหลายหาเป็นหมันไม่.
จบทุติยเสขสูตรที่ ๖
อรรถกถาทุติยเสขสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยเสขสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตฺตกามา ได้แก่ กุลบุตรทั้งหลายผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล
แก่ตน. บทว่า ยตฺเถต สพฺพ สโมธาน คจฺฉติ ความว่า สิกขาบท ๑๕๐
ทั้งหมดนี้ถึงการสงเคราะห์เข้าในสิกขาแม้เหล่าใด. บทว่า ปริปูริการี โหติ
ความว่า ภิกษุเป็นผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์. บทว่า มตฺตโสการี ความว่า
เป็นผู้มีปกติทำพอประมาณ อธิบายว่า ไม่สามารถจะทำได้ทั้งหมด. บทว่า
ขุทฺทานุขุทฺทกานิ ได้แก่ สิกขาบทที่เหลือเว้นปาราชิก ๔. อนึ่ง ในบทว่า
ขุทฺทานุขุทฺทกานิ นั้น มีอธิบายว่า สังฆาทิเสส ชื่อว่า ขุททกสิกขาบท
ถุลลัจจัย ชื่อว่า อนุขุททกสิกขาบท อนึ่ง ถุลลัจจัย ชื่อว่า ขุททกสิกขาบท
ปาจิตตีย์ ชื่อว่า อนุขุททกสิกขาบท.อนึ่งปาจิตตีย์ ชื่อว่า ขุททกสิกขาบท
ปาฏิเทสนียะทุกกฏและทุพภาสิต ชื่อว่า อนุขุททุกสิกขาบท. แต่อาจารย์
ผู้ใช้อังคุตตรมหานิกายนี้กล่าวว่า สิกขาบทที่เหลือทั้งหมดยกเว้นปาราชิก ๔
ชื่อว่า ขุททานุขุททกสิกขาบท.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 457
พระขีณาสพต้องอาบัติ
ก็ในบทว่า ตานิ อาปชฺชติปิ วุฏฺาติปิ นี้ มีอธิบายว่า พระ-
ขีณาสพไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะเลย จะต้องก็แต่อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะ
เท่านั้น และเมื่อต้องก็ต้องทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง คือ เมื่อ
ต้องทางกาย ก็ต้องกุฏิการสิกขาบทและสหไสยลิกขาบทเป็นต้น เมื่อต้องทาง
วาจา ก็ต้องสัญจริตตสิกขาบท และปทโสธัมมสิกขาบทเป็นต้น เมื่อต้องทางใจ
ก็ต้อง (เพราะ) รับรูปิยะ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. บทว่า น หิ
เมตฺถ ภิกฺขเว อภพฺพตา วุตฺตา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหสาย ก็ในที่นี้
เราตถาคตมิได้กล่าวว่า พระอริยบุคคลไม่ควรทั้งในการต้องและการออกจาก
อาบัติเห็นปานนี้.
บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกานิ ความว่า สิกขาบทที่เป็นมหาศีล ๔
ซึ่งเป็นเบื้องต้นของมรรคพรหมจรรย์. บทว่า พฺรหฺมจริยสารุปฺปานิ
ความว่า สิกขาบทที่เป็นมหาศีลเหล่านั้นแล เหมาะสม คือ สมควรแก่
มรรคพรหมจรรย์ที่ ๔. บทว่า ตฺตฺถ ได้แก่ ในสิกขาบทเหล่านั้น.
ลักษณะพระโสดาบัน
บทว่า ธุวสีโล แปลว่า ผู้มีศีลประจำ. บทว่า ิตสีโล แปลว่า
ผู้มีศีลมั่นคง. บทว่า โสตาปนฺโน ได้เเก่ ผู้เข้าถึงผล ด้วยมรรคที่
เรียกว่า โสตะ. บทว่า อวินิปาตธมฺโม ได้แก่ มีอันไม่ตกไปในอบาย ๔
เป็นสภาพ. บทว่า นิยโต ได้แก่ ผู้เที่ยงด้วยคุณธรรมเครื่องกำหนด คือ
โสดาปัตติมรรค. บทว่า สมฺโพธิปรายโน ได้แก่มีปัญญาเครื่องตรัสรู้พร้อม
คือ มรรค ๓ เบื้องสูง ที่เป็นไปในเบื้องหน้า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 458
ลักษณะพระสกทาคามี
บทว่า ตนุตฺตา แปลว่า เพราะ (กิเลสทั้งหลาย) เบาบาง. อธิบายว่า
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ของพระสกทาคามีเบาบางไม่แน่นหนา เปรียบ-
เหมือนชั้นแผ่นเมฆและเปรียบเหมือนปีกแมลงวัน.
ลักษณะของพระอนาคามี
บทว่า โอรมฺภาคิยาน ได้แก่ เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า
สโยชนาน ได้แก่ สังโยชน์ (เครื่องผูกทั้งหลาย).บทว่า ปริกฺขยา แปลว่า
เพราะความสิ้นไป. บทว่า โอปปาติโก โหติ ได้แก่ เป็นผู้อุบัติขึ้น.
บทว่า ตตฺถ ปรินิพฺพายี ได้แก่ มีอันไม่ลงมาเกิดในภพชั้นต่ำ ๆ จะ
ปรินิพพานในภพชั้นสูงนั้นแล. บทว่า อนาวตฺติธมฺโม ได้แก่ มีอันไม่
หวนกลับมาอีกเป็นธรรมดา ด้วยอำนาจกำเนิดและคติ.
ผู้ทำได้เป็นบางส่วน - ผู้ทำได้สมบูรณ์
ในบทว่า ปเทส ปเทสฺการี เป็นต้น มีอธิบายว่า พระโสดาบัน
พระสกทาคามี และพระอนาคามี ชื่อว่าเป็นบุคคลผู้มีปกติทำได้เป็นบางส่วน
คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามีนั้นทำไตรสิกขาให้สมบูรณ์
ได้เป็นบางส่วนเท่านั้น (ส่วน) พระอรหันต์ ชื่อว่า เป็นผู้มีปกติทำให้บริบูรณ์
คือ พระอรหันต์นั้นทำไตรสิกขาให้สมบูรณ์ได้บริบูรณ์ทีเดียว. บทว่า
อวญฺฌานิ คือ ไม่เปล่า อธิบายว่า มีผล มีกำไร. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าก็ตรัสสิกขา ๓ ไว้คละกัน.
จบอรรถกถาทุติยเสขสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 459
๗. ตติยเสขสูตร
ว่าด้วยเสขบุคคล
[๕๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขาบทที่สำคัญ ๑๕๐ นี้ ย่อมมาสู่
อุทเทสทุกกึ่งเดือน ฯลฯ* นี้แล สิกขา ๓ ที่สิกขาบททั้งปวงนั่นรวมกันอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทำพอประมาณในสมาธิและในปัญญา ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ภิกษุนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นสัตตักขัตตุปรมะ เวียนว่าย
ตายเกิดไปในเทวโลกและมนุษยโลก ๗ ชาติเป็นอย่างมาก ก็ทำที่สุดทุกข์
(คือทำทุกข์ให้สิ้น. สำเร็จพระอรหัต) ได้ เป็น โกลังโกละ เวียนว่าย
ตายเกิดไป ๒ หรือ ๓ ชาติ ก็ทำที่สุดทุกข์ได้ เป็นเอกพีชี เกิดเป็นมนุษย์
อีกชาติเดียว ก็ทำที่สุดทุกข์ได้
ภิกษุนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ ราคะโทสะโมหะเบาบาง เป็น
สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวก็ทำที่สุดทุกข์ได้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์
ในศีลและในสมาธิ ทำพอประมาณในปัญญา ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้น เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ เป็น อุทธังโสโต-
อกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปถึงอกนิฏฐภพ) เป็น สสังขาร-
ปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง) เป็น อสังขาร-
ปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก) เป็น อุปหัจจ-
ปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด) เป็น อันตรา-
ปรินิพพายี (ผู้ปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง)
* ความพิสดารเหมือน ทุติยเสขสูตร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 460
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์
ทั้งในศีล ทั้งในสมาธิ ทั้งในปัญญา ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้
เพราะสิ้นอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ทำได้เพียงเอกเทศ ย่อมทำได้ดีเพียง
เอกเทศ ผู้ทำได้บริบูรณ์ ย่อมทำได้ดีบริบูรณ์ เราจึงกล่าวว่าสิกขาบททั้งหลาย
หาเป็นหมันไม่.
จบตติยเสขสูตรที่ ๓
อรรถกถาตติยเสขสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในตติยเสขสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
พระโสดาบัน
บทว่า โกลโกโล ได้แก่ (พระโสดาบัน) ไปจากตระกูลสู่ตระกูล.
ก็ในบทว่า. ตระกูล นี้ ท่านประสงค์เอา ภพ เพราะเหตุนั้น แม้ในบทว่า
๒ หรือ ๓ ตระกูล นี้ พึงทราบความหมายว่า ๒ หรือ ๓ ภพ. จริงอยู่
พระโสดาบันนี้ย่อมท่องเที่ยวไป ๒ ภพบ้าง ๓ ภพบ้าง หรืออย่างสูงที่สุดก็ ๖
ภพ เพราะเหตุนั้น พึงเห็นวิกัป (ข้อกำหนด) ในบทนี้อย่างนี้ว่า ๒ ภพบ้าง
๓ ภพบ้าง ๔ ภพบ้าง ๕ ภพบ้าง ๖ ภพบ้าง.
พระสกทาคามี
บทว่า เอกวีชี มีรูปวิเคราะห์ว่า พืชของภพหนึ่งเท่านั้น ของพระ-
อริยะนี้มีอยู่ เหตุนั้น พระอริยะนี้จึงชื่อว่า เอกวีชี (ผู้มีพืชครั้งเดียว).
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 461
พระอนาคามี
ในบทว่า อุทฺธโสโต เป็นต้น อธิบายว่า พระอนาคามีประเภท
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี มีกระแสในเบื้องบนและไปถึงอกนิฏฐภพก็มี ๑
พระอนาคามีประเภทอุทธังโสโตนอกนิฏฐคามี มีกระแสในเบื้องบนแต่ไป
ไม่ถึงอกนิฏฐภพ ก็มี ๑ พระอนาคามีประเภทนอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
ไม่มีกระแสในเบื้องบนแต่ไปถึงอกนิฏฐภพ ก็มี ๑ พระอนาคามีประเภท
นอุทธังโสโตนอกนิฏฐคามี ไม่มีกระแสในเบื้องบนและไปไม่ถึงอกนิฏฐภพ
ก็มี ๑.
บรรดาพระอนาคามี ๔ จำพวกนั้น พระอนาคามีใดได้บรรลุอนาคา-
มิผลในโลกนี้แล้ว บังเกิดในชั้นสุทธาวาสมีชั้นอวิหาเป็นต้น ดำรงอยู่ในชั้นอวิหา
นั้น จนตราบสิ้นอายุแล้ว ก็บังเกิดในชั้นสุทธาวาสชั้นสูงๆขึ้นไปถึงสุทธาวาสชั้น
อกนิฏฐะ พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อุทธังโสโตอนิฏฐคามี.
ส่วนพระอนาคามีใดบังเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหาเป็นต้น (แต่) ไม่
ปรินิพพานในสุทธาวาสชั้นนั้น ไปปรินิพพานในพรหมโลกชั้นสูง ๆ ขึ้นไป
โดยยังไม่ถึงสุทธาวาสชั้นอกนิฏฐะ พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อุทธังโสโตนอก-
นิฏฐคามี.
พระอนาคามีใดจุติจากโลกนี้แล้วไปบังเกิดในสุทธาวาสชั้นอกนิฏฐะ
เลยทีเดียว พระอนาคามีนี้ชื่อว่า นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี.
ส่วนพระอนาคามีใดบังเกิดในสุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่งในบรรดาสุทธา-
วาส ๔ มีอวิหาเป็นต้น แล้วปรินิพพานในสุทธาวาสชั้นนั้นแล พระอนาคามี
นี้ชื่อว่า นอุทธังโสโตนอลนิฏฐคามี.
ส่วนพระอนาคามีผู้อุบัติในพรหมโลกชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว บรรลุ-
อรหัตผลด้วยจิตที่เป็นสสังขารและเป็นสัปปโยค พระอนาคามีนี้ชื่อว่า สสัง
ขารปรินิพพายี.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 462
พระอนาคามีผู้บรรลุอรหัตผล ด้วยจิตที่เป็นอสังขารเป็นอสัปปโยค
พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี.
พระอนาคามีใดบังเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหา ซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัป
ผ่านพ้นไปได้ ๑๐๐ กัปแรก ก็บรรลุอรหัตผล พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อุปหัจจ
ปรินิพพายี.
แม้ในสุทธาวาสชั้นอตัปปาเป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.
บทว่า อนฺตราปรินพฺพายี ความว่า พระอนาคามีใด อายุยังไม่
ทันเลยครึ่งไปก็ปรินิพพาน พระอนาคามีนั้นมี ๓ ประเภท คือ อันดับแรก
พระอนาคามีท่านหนึ่ง บังเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหาซึ่งมีอายุ ๑,๐๐๐ กัปเเล้ว
ก็บรรลุอรหัตผลในวันที่บังเกิดนั้นเอง หากว่ามิได้บรรลุอรหัตผลในวันที่ตน
บังเกิด แต่ว่าได้บรรลุในที่สุด ๑๐๐ กัปแรก พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อันตรา
ปรินิพพายี ประเภทที่ ๑.
พระอนาคามีอีกท่านหนึ่ง ไม่สามารถบรรลุอรหัตผลได้อย่างนั้น
(แต่ว่า) ได้บรรลุในที่สุด ๒๐๐ กัป พระอนาคามีนี้ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี
ประเภทที่ ๒.
พระอนาคามีอีกท่านหนึ่ง แม้ในที่สุด ๒๐๐ กัป อย่างนั้นก็ไม่สามารถ
(บรรลุอรหัตผล) ได้ (แต่ว่า) ได้บรรลุในที่สุด ๔๐๐ กัป พระอนาคามีนี้
ชื่อว่า อันตราปรินิพพายี ประเภทที่ ๓. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
พระโสดาบัน ๒๔ เป็นต้น
อนึ่ง นักศึกษาพึงดำรงอยู่ในฐานะนี้ แล้วกล่าวถึงพระโสดาบัน ๒๔
จำพวก พระสกทาคามี ๑๒ จำพวก พระอนาคามี ๔๘ จำพวก และพระ-
อรหันต์ ๑๒ จำพวก. อธิบายว่า ในศาสนานี้ มีธุระ ๒ คือ สัทธาธุระ ๑
ปัญญาธุระ ๑ มีปฏิปทา ๔ มีทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 463
ในสัทธาธุระ กับปัญญาธุระนั้น พระโสดาบันบุคคลท่านหนึ่ง
ยึดมั่นด้วยสัทธาธุระจนได้บรรสุโสดาปัตติผล บังเกิดในภพหนึ่ง แล้วทำที่สุด
ทุกข์ได้ พระโสดาบันบุคคลท่านนี้จัดเป็นเอกพีชีประเภทหนึ่ง พระโสดาบัน
บุคคลประเภทเอกพีชีนั้น มี ๔ ประเภทด้วยอำนาจปฏิปทา. พระโสดาบันบุคคล
ประเภทเอกพีชีผู้ยึดมั่น ด้วยสัทธาธุระนี้เป็นฉันใด แม้ท่านที่ยึดมั่นด้วย
ปัญญาธุระก็เป็นฉันนั้น รวมเป็นว่าพระโสดาบันบุคคลประเภทเอกพีชีมี ๘
ประเภท. พระโสดาบันประเภท โกลโกละ และพระโสดาบันประเภท
สัตตักขัตตุปรมะ ก็เหมือนกัน คือมีประเภทละ ๘ รวมเป็นว่า พระโสดาบัน
เหล่านี้มี ๒๔ ประเภท.
ในวิโมกข์ทั้ง ๓ พระสกทาคามีบุคคลผู้บรรลุภูมิ ของพระสกทาคามี
ก็มี ๔ ด้วยอำนาจปฏิปทา ๔ อนึ่ง พระสกทาคามีบุคคลผู้บรรลุภูมิของพระ
สกทาคามี ด้วยอนิมิตวิโมกข์ก็มี ๔ ผู้บรรลุภูมิของพระสกทาคามี ด้วย
อัปปณิหิตวิโมกข์ก็มี ๔ รวมเป็นว่า พระสกทาคามีเหล่านี้ มี ๑๒ ประเภท.
ส่วนในพรหมโลกชั้นอวิหา พระอนาคามีมีอยู่ ๕ คือ พระอนาคามี
ประเภทอันตราปรินิพพายีมี ๓ พระอนาคามีประเภทอุปหัจจปรินิพพายี
มี ๑ พระอนาคามีประเภทอุทธังโสโตอกนิฏฐคามีมี ๑. พระอนาคามี
เหล่านั้นแยกเป็น ๑๐ คือ พระอนาคามีประเภท อสังขารปรินิพพายีมี ๕
พระอนาคามีประเภทสสังขารปรินิพพายีอีก ๕. ในสุทธาวาสชั้นอตัปปา
เป็นต้น ก็มีจำนวนเท่ากัน แต่ในสุทธาวาสชั้นอกนิฏฐะ พระอนาคามีประเภท
อุทธังโสโตไม่มี. เพราะฉะนั้น ในสุทธาวาส ชั้นอกนิฏฐะนั้น จึงมีพระ
อนาคามี ๘ คือ พระอนาคามีประเภท สสังขารปรินิพพายีมี ๔ พระ-
อนาคามีประเภทอสังขารปรินิพพายีมี ๔ (เหมือนกัน ) รวมเป็นว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 464
พระอนาคามีเหลานี้มีทั้งหมด ๔๘. แม้พระอรหันต์ ก็พึงทราบว่า มี ๑๒
เหมือนพระสกทาคามี. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภารเจ้า ก็ตรัสสิกขา ๓
ไว้คละกัน.
จบอรรถกถาตติยาเสขสูตรที่ ๗
๘. จตุตถเสขสุตร
ว่าด้วยเสขบุคคล
[๕๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขาบทที่สำคัญ ๑๕๐ นี้ ย่อมมาสู่
อุทเทสทุกกึ่งเดือน ฯลฯ นี้แล สิกขา ๓ ที่สิกขาบททั้งปวงนั่นรวมกันอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ที่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ทั้ง
ในศีล ทั้งในสมาธิ ทั้งในปัญญา ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ ฯลฯ ในปัจจุบันนี้
หรือไม่เป็นพระอรหันต์ เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เธอเป็นอันตรา
ปรินิพพายี.. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี หรือไม่เป็นถึงนั่น เพราะสิ้น
สังโยชน์ ๓ ราคะโทสะโมหะเบาบาง เธอเป็นสกทาคามี... หรือไม่เป็นถึง
นั่น เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ เธอเป็นเอกพีชี โกลังโกละ สัตตักขัตตุปรมะ.
อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ได้เพียงเอกเทศ ฯลฯ หาเป็น
หมันไม่.
จบจตุตถเสขาสูตรที่ ๘
ี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 465
อรรถกถาจตุตถเสขสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในจตุตถเสขสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ต วา ปน อนภิสมฺภว อปฺปฏิวิชฺฌ ความว่า
พระอนาคามียังไม่บรรลุ ยังไม่แทงตลอดอรหัตผลนั้น. นักศึกษาพึงทราบ
ความหมายในที่ทุกแห่ง (ที่มีคำว่า ต วา ปน อนภิสมฺภว อปฺปฏิวิชฺฌ)
โดยนัยนี้. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสิกขา ๓ อย่างไว้คละกัน
ทีเดียว.
จบอรรถกถาจตุตถเสขสูตรที่ ๘
๙. ปฐมสิกขาสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา
[๕๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ สิกขา ๓ คืออะไรบ้าง
คืออธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา
อธิสีลสิกขานี้อย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิสีลสิกขา
อธิจิตตสิกขาเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจาก
กาม...จากอกุศลกรรมทั้งหลาย เข้าปฐมฌาน ฯลฯ เข้าจตุตถฌาน... นี้
เรียกอธิจิตตสิกขา
อธิปัญญาสิกขาเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ตามจริงว่า
นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล สิกขา ๓.
จบปฐมสิกขาสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 466
อรรถกถาปฐมสิกขาสูตร
ในสูตรที่ ๙ มีความหมายง่ายทั้งนั้น. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสสิกขา ๓ ไว้ปนกันแล.
จบอรรถกถาปฐมสิกขาสูตรที่ ๙
๑๐. ทุติยสิกขาสูตร
ว่าด้วยไตรสิกขา
[๕๓๐] (สูตรนี้ ตอนต้นเหมือนสูตรก่อน ต่างกันแต่ตอนแก้ อธิ-
ปัญญาสิกขา คือสูตรก่อนแสดงอริยสัจเป็นอธิปัญญาสิกขา ส่วนสูตรนี้
แสดงพระอรหัต เป็นอธิปัญญาสิกขา และมีนิคมคาถาดังนี้)
อธิปัญญาสิกขาเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ กระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ นี้เรียกว่าอธิปัญญา-
สิกขา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลสิกขา ๓
ผู้มีความเพียร มีกำลัง มีปัญญา มี
ความพินิจ มีสติ รักษาอันทรีย์ พึงประพฤติ
อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ก่อนอย่างใด
ภายหลังก็อย่างนั้น ภายหลังอย่างใด
ก่อนก็อย่างนั้น ต่ำอย่างใด สูงก็อย่างนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 467
สูงอย่างใด ต่ำก็อย่างนั้น กลางวันอย่าง
ใด กลางคืนก็อย่างนั้น กลางคืนอย่างใด
กลางวันก็อย่างนั้น ครอบงำทิศทั้งปวง
ด้วยสมาธิอันหาประมาณมิได้.
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าผู้นั้นดำเนิน
เสขปฏิปทา มีความประพฤติหมดจดดี
กล่าวว่าผู้นั้นเป็นผู้ตรัสรู้ เป็นปราชญ์
ปฏิบัติสำเร็จในโลก เพราะวิญญาณดับ
ความพ้นแห่งใจของผู้วิมุต เพราะสิ้น
ตัณหา ย่อมมีเหมือนความดับแห่งตะเกียง
(เพราะสิ้นเชื้อเพลิง) ฉะนั้น.
จบทุติยสิกขาสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาทุติยสิกขาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสิกขาสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า อาสวาน ขยา นี้ มีอธิบายว่า อรหัตมรรค ชื่อว่า
อธิปัญญาสิกขา. ส่วนผลไม่ควรกล่าวว่า สิกขา เพราะเกิดขึ้นแก่บุคคล
ผู้ได้ศึกษาสิกขาแล้ว.
บทว่า ยถา ปุเร ตถา ปจฺฉา ความว่า ในตอนต้น ท่านศึกษา
ในสิกขา ๓ อย่าง ภายหลังก็ศึกษาอย่างนั้นเหมือนกัน. แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัย
นี้แล. บทว่า ยถา อโธ ตถา อุทฺธ ความว่า ท่านพิจารณาเห็นกาย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 468
เบื้องต่ำ ด้วยสามารถแห่งอสุภะอย่างใด ก็พิจารณาเห็นกายเบื้องสูงอย่างนั้น
เหมือนกัน. แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ยถา ทิวา ตถา
รตฺตึ ความว่า ในเวลากลางวันท่านศึกษาสิขา ๓ อย่าง แม้ในเวลากลางคืน
ก็ศึกษาอย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่1 อภิภุยฺย ทิสา สพฺพา ความว่า
ครอบงำทิศทั้งปวง คือ ครอบงำ ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์. บทว่า อปฺปมาณ-
สมาธินา คือ ด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยอรหัตมรรค. บทว่า เสกฺข ได้แก่
ผู้ยังศึกษาอยู่ คือผู้ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่. บทว่า ปฏิปท ได้แก่ผู้ปฏิบัติ.
บทว่า สสุทฺธจาริน ได้แก่ ผู้มีจรณะบริสุทธิ์ดี คือ ผู้มีศีลบริสุทธิ์. บทว่า
สมฺพุทฺธ ได้แก่ผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔. บทว่า ธีร ปฏิปทนฺตคุ. ความว่า
เป็นปราชญ์ คือผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ ด้วยอำนาจแห่งปัญญา
เครื่องทรงจำ ในขันธ์ธาตุ และอายตนะ เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งวัตรปฏิบัติ.
บทว่า วิญฺาณสฺส ได้แก่ แห่งจริมกวิญญาณ (จิตดวงสุดท้าย).
บทว่า ตณฺหกฺขยวิมุตฺติโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย อรหัตผลวิมุตติ กล่าวคือ
ความหลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา. บทว่า ปชฺโชตสฺเสว นิพฺพาน หมายความว่า
เปรียบเหมือนการดับไปของดวงประทีป. บทว่า วิโมกฺโข โหติ เจตโส
ความว่า ความหลุด คือ ความพ้น ได้แก่ ภาวะคือความไม่เป็นไปแห่งจิต
มีอยู่. อธิบายว่า ก็ความหลุดพ้นไปแห่งจิตที่เปรียบเหมือนการดับไปของ
ดวงประทีปย่อมมี แก่พระขีณาสพผู้หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา เพราะจริมก-
วิญญาณดับไป สถานที่ที่พระขีณาสพไปก็ไม่ปรากฏ ท่านเป็นผู้เข้าถึงความ
เป็นผู้หาบัญญัติมิได้เลย.
จบอรรถกถาทุติยสิกขาสูตรที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 469
๑๑. ปังกธาสูตร
ว่าด้วยผู้สรรเสริญและไม่สรรเสริญ
[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในประเทศ-
โกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ถึงตำบลปังกธา ประทับพักที่นั่น
คราวนั้น ภิกษุกัสสปโคตรเป็นเจ้าอาวาสในตำบลนั้น ที่นั่น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งให้สมาทานให้อาจหาญร่าเริง ด้วย
ธรรมมีกถาประกอบด้วยสิกขาบท เมื่อพระองค์ทรงสอนภิกษุให้เห็นแจ้ง ...อยู่
ภิกษุกัสสปโคตรเกิดความไม่พอใจขึ้นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับสำราญพระอิริยาบถ ณ ตำบลปังกธา
ตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปโดยลำดับถึงกรุงราชคฤห์ ประทับ ณ
ภูเขาคิชกูฏ
ฝ่ายภิกษุกัสสปโคตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วไม่นาน
เกิดร้อนรำคาญใจได้คิดขึ้นว่า เราเสีย ๆ แล้ว เราได้ชั่วแล้ว ซึ่งเมื่อพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรม-
มีกถาประกอบด้วยสิกขาบท เราเกิดความไม่พอใจขึ้นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก
อย่ากระนั้นเลย เราไปเฝ้าสารภาพโทษเถิด ครั้นตกลงใจแล้ว จึงเก็บงำเสนาสนะ
ถือบาตรจีวรไปกรุงราชคฤห์ ถึงภูเขาคิชฌกูฏ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวาย
อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ
ครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับพัก ณ ตำบลปังกธา ประเทศโกศล ที่นั่น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญร่าเริง
ด้วยธรรมีกถาประกอบด้วยสิกขาบท เมื่อทรงสอนภิกษุ...อยู่ ข้าพระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 470
เกิดความไม่พอใจขึ้นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก คราวนั้นพระองค์ประทับสำราญ
พระอิริยาบถ ณ ตำบลปังกธาตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกมากรุงราชคฤห์
พอเสด็จแล้วไม่นานข้าพระพุทธเจ้าก็รู้สึกร้อนรำคาญใจได้คิดว่า เราเสียๆ แล้ว
เราได้ชั่วแล้ว ซึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง
สมาทานอาจหาญร่าเริงด้วยธรรมีกถาประกอบด้วยสิกขาบทอยู่ เราเกิดความไม่
พอใจขึ้นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก อย่ากระนั้นเลย เราไปเฝ้าสารภาพโทษเถิด
ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความผิด (ฐานนึกล่วงเกิน) ได้เกิดแก่ข้าพระ-
พุทธเจ้าแล้ว โดยที่เขลา โดยที่หลง โดยที่ไม่ฉลาด ซึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสอน...อยู่ ข้าพระพุทธเจ้าเกิดความไม่พอใจขึ้นว่า สมณะนี้ขัดเกลายิ่งนัก
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโทษโดยความเป็นโทษ เพื่อข้าพระพุทธเจ้าจะ
สังวรต่อไปเถิด.
พ. ตรัสว่า จริงละ กัสสป ความผิดได้เกิดแก่ท่านแล้ว โดยที่เขลา
โดยที่หลง โดยที่ไม่ฉลาด ซึ่งเมื่อเราสอน ...อยู่ ท่านได้เกิดความไม่พอใจ
ขึ้นว่า สมณะนี้เคร่งเกินไป เมื่อท่านเห็นความผิดแล้วทำคืนตามวิธีที่ชอบ
เรารับโทษโดยความเป็นโทษ อันการที่เห็นความผิดแล้วทำคืนตามวิธีที่ชอบ
ถึงความสังวรต่อไป นั่นเป็นความเจริญในวินัยของพระอริย.
แน่ะกัสสป ถ้าภิกษุเถระก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี ภิกษุนวกะก็ดี
เป็นผู้ไม่ใคร่ศึกษา ไม่กล่าวคุณแห่งการบำเพ็ญสิกขา ไม่ชักชวนภิกษุอื่น ๆ
ที่ไม่ใคร่ศึกษาให้ศึกษา ไม่ยกย่องภิกษุอื่น ๆ ที่ใคร่ศึกษา โดยที่จริงที่แท้
ตามเวลาอันควร กัสสป เราไม่สรรเสริญภิกษุเถระ ภิกษุมัชฌิมะและ
ภิกษุนวกะรูปนี้เลย เพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า (ถ้าเราสรรเสริญ) ภิกษุ
อื่น ๆ รู้ว่าพระศาสดาสรรเสริญภิกษุรูปนั้น ก็จะพากันคบภิกษุรูปนั้น ภิกษุ
เหล่าใดคบภิกษุรูปนั้น ภิกษุเหล่านั้นก็จะถึงทิฏฐานุคติ (ได้เยี่ยงอย่าง) ของ
ภิกษุรูปนั้น ซึ่งจะเป็นทางเกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ เกิดทุกข์แก่ภิกษุผู้คบ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 471
ตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญภิกษุรูปนั้น จะเป็นเถระ
มัชฌิมะ นวกะก็ตาม
แต่ถ้าภิกษุเถระก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี ภิกษุนวกะก็ดี เป็นผู้ใคร่
ศึกษา กล่าวคุณแห่งการบำเพ็ญสิกขา ชักชวนภิกษุอื่น ๆ ที่ไม่ใคร่ศึกษาให้
ศึกษา ยกย่องภิกษุอื่น ๆ ที่ใคร่ศึกษา โดยที่จริงที่แท้ตามเวลาอันควร
เราสรรเสริญภิกษุเถระ ภิกษุมัชฌิมะ และภิกษุนวกะ เช่นนี้ เพราะเหตุอะไร
เพราะเหตุว่า ภิกษุอื่น ๆ รู้ว่าพระศาสดาสรรเสริญเธอ ก็จะพึงคบเธอ ภิกษุ
เหล่าใดคบเธอ ภิกษุเหล่านั้นก็จะพึงได้เยี่ยงอย่างของเธอ ซึ่งจะพึงเป็นทาง
เกิดประโยชน์ เกิดสุขแก่ภิกษุผู้คบตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น เราจึง
สรรเสริญภิกษุเช่นนั้นจะเป็นเถระ มัชฌิมะ นวกะก็ตาม.
จบปังกธาสูตรที่ ๑๑
จบสมณวรรคที่ ๔
อรรถกถาปังกธาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปังกธาสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปกธา นาม โกสลาน นิคโม ความว่า นิคมในโกสลรัฐ
ที่มีชื่ออย่างนี้ว่า ปังกธา. บทว่า อาวาสิโก ความว่า ภิกษุเจ้าอาวาสร้าง
อาวาสหลังใหม่ ๆ ขึ้น บำรุงรักษาอาวาสหลังเก่าๆ. บทว่า สิกฺขาปทปฏิส-
ยุตฺตาย ได้แก่ ปฏิสังยุตด้วยบทกล่าวคือสิกขา อธิบายว่า ประกอบด้วย
สิกขา ๓. บทว่า สนฺทสฺเสติ ได้แก่ ทรงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นเหมือนอยู่
พร้อมหน้า. บทว่า สมาทเปติ ได้แก่ให้ภิกษุทั้งหลายถือเอา. บทว่า สมุตฺเต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 472
เชติ คือ ให้ภิกษุทั้งหลายอาจหาญ. บทว่า สมฺปหเสติ คือ ตรัสสรรเสริญ
ทำภิกษุทั้งหลายให้ผ่องใส ด้วยคุณที่ตนได้แล้ว. บทว่า อธิสลฺเลขติ ได้แก่
สมณะนี้ย่อมขัดเกลาเหลือเกิน อธิบายว่า สมณะนี้ย่อมกล่าวธรรมที่ละเอียดๆ
ทำให้ละเมียดละไมเหลือเกิน.
บทว่า อจฺจโย คือ ความผิด. บทว่า ม อจฺจคฺคมา คือ ล่วงเกินเรา
ได้แก่ข่มเรา เป็นไป. บทว่า อหุเทว อกฺขนฺติ ความว่า ความไม่อดกลั้น
ได้มีแล้วทีเดียว. บทว่า อหุ อปฺปจฺจโย ความว่า อาการไม่ยินดีได้มีแล้ว.
บทว่า ปฏิคฺคณฺหาตุ ความว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงอดโทษ. บทว่า
อายตึ สวราย คือ เพื่อประโยชน์แก่ความสำรวมในอนาคต อธิบายว่า เพื่อ
ต้องการจะไม่ทำความผิด คือโทษ ได้แก่ ความพลั้งพลาด เห็นปานนี้อีก.
บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาตโดยส่วนเดียว.
บทว่า ยถาธมฺม ปฏิกโรสิ คือ ธรรมดำรงอยู่โดยประการใด
เธอก็ทำโดยประการนั้น มีคำอธิบายว่า ให้อดโทษ. บทว่า ต เต มย
ปฏิคฺคณฺหาม ความว่า เราทั้งหลายยอมยกโทษนั้นให้เธอ. บทว่า วุฑฒิ
เหสา กสฺสป อริยสฺส วินเย ความว่า ดูก่อนกัสสปะ นี้ชื่อว่า เป็น
ความเจริญในศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า. ถามว่า ความเจริญเป็น
ไฉน ? ตอบว่า การเห็นโทษว่าเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรมถึงความสำรวม
ต่อไป. ก็ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำเทศนาให้เป็นปุคคลาธิษฐาน จึง
ตรัสว่า โย อจฺจย อริยสฺส ทิสฺวา ยถาธมฺม ปฏิกโรติ อายตึ สวร
อาปชฺชติ แปลว่า ผู้ใดเห็นโทษโดยความเป็นโทษ กระทำคืนตามธรรมเนียม
ย่อมถึงความสำรวมต่อไป ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 473
บทว่า น สิกฺขากาโม ความว่า ภิกษุไม่ต้องการ คือ ไม่ปรารถนา
ได้แก่ ไม่กระหยิ่มใจต่อสิกขา ๓. บทว่า สิกขาสมาทานสฺส คือ แห่งการ
บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์. บทว่า น วณฺณวาที คือ ไม่กล่าวคุณ. บทว่า
กาเลน คือ โดยกาลอันเหมาะสม. บทที่เหลือในสูตรนี้มีความหมาย ง่าย
ทั้งนั้น แล.
จบอรรถกถาปังกธาสูตรที่ ๑๐
จบสมณวรรควรรณนาที่ ๔
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สมณสูตร ๒. คัทรภสูตร ๓. เขตตสูตร ๔. วัชชีปุตตสูตร
๕. ปฐมเสขสูตร ๖. ทุติยเสขสูตร ๗. ตติยเสขสูตร ๘. จตุตถเสขสูตร
๙. ปฐมสิกขาสูตร ๑๐. ทุติยสิกขาสูตร ๑๑. ปังกธาสูตร และอรรถกถา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 474
โลณผลวรรคที่ ๕
๑.อัจจายิกสูตร
ว่าด้วยกิจรีบด่วนของชาวนาและภิกษุ
[๕๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัจจายิกกรณียะ (กิจที่ต้องรีบทำ)
ของคฤหบดีชาวนา ๓ นี้ อัจจายิกกรณียะ ๓ คืออะไรบ้าง คือ คฤหบดี
ชาวนารีบ ๆ ไถคราดพื้นที่นาให้ดี ครั้นแล้วรีบ ๆ ปลูกพืช ครั้นแล้วรีบ ๆ
ไขน้ำเข้าบ้าง ไขน้ำออกบ้าง นี้แล อัจจายิกกรณียะ ของคฤหบดีชาวนา ๓
แต่ว่าคฤหบดีชาวนานั้นไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพที่จะบันดาลให้ข้าวงอกในวันนี้
ตั้งท้องพรุ่งนี้ สุกมะรืนนี้ ที่ถูกย่อมมีสมัย ที่ข้าวนั้นเปลี่ยนสภาพไปตามฤดู
ย่อมจะงอกบ้าง ตั้งท้องบ้าง สุกบ้าง
ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย อัจจายิกกรณียะของภิกษุ ๓ นี้
คืออะไรบ้าง คือการบำเพ็ญอธิสีลสิกขา การบำเพ็ญอธิจิตตสิกขา การบำเพ็ญ
อธิปัญญาสิกขา นี้แล อัจจายิกกรณียะของภิกษุ ๓ แต่ภิกษุนั้นไม่มีฤทธิ์หรือ
อานุภาพที่จะบันดาลให้จิตของตนเลิกยึดถือหลุดพ้นจากอาสวะ ในวันนี้ หรือ
พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ได้ ที่ถูก ย่อมมีสมัย ที่เมื่อภิกษุนั้นศึกษาอธิศีลไป
ศึกษาอธิจิตไป ศึกษาอธิปัญญาไป จิตย่อมจะเลิกยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะได้
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า ฉันทะของเรา
ในการบำเพ็ญอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาต้องกล้าแข็ง
ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบอัจจายิกสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 475
โลณผลวรรควรรณนาที่ ๕
อรรถกถาอัจจายิกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัจจายิกสูตรที่ ๑ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อจฺจายิกานิ แปลว่า รีบด่วน. บทว่า กรณียานิ แปลว่า
กิจที่ต้องทำอย่างแน่แท้ ก็ธุระใดไม่ต้องทำเป็นการแน่แท้ ธุระนั้นเรียกว่ากิจ
(งานอดิเรก) ธุระที่ต้องทำเป็นการแน่แท้ชื่อว่า กรณียะ (งานประจำ). บทว่า
สีฆสีฆ แปลว่า โดยเร็ว ๆ. บทว่า ต ในคำว่า ตสฺส โข ต นี้ เป็น
เพียงนิบาต. บทว่า นตฺถิ สา อิทฺธิ วา อานุภาโว วา ความว่า
ฤทธิ์นั้นหรืออานุภาพนั้นไม่มี.
บทว่า อุตฺตรเสฺว ได้แก่ ในวันที่ ๓ (วันมะรืน). บทว่า อุตุ-
ปริณามีนิ ได้แก่ ธัญชาติทั้งหลายได้ความเปลี่ยนแปลงฤดู. บทว่า ชายนฺติปิ
ได้แก่ มีหน่อสีขาวงอกออกในวันที่ ๓ เมื่อครบ ๗ วัน หน่อก็กลับเป็นสีเขียว.
บทว่า คพฺภินีปิ โหนฺติ ความว่า ถึงเวลาเดือนครึ่งก็ตั้งท้อง. บทว่า
ปจนฺติปิ ความว่า ถึงเวลา ๓ เดือนก็สุก.
บัดนี้ เพราะเหตุที่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีความต้องการด้วย
คฤหบดีหรือด้วยข้าวกล้า แต่ที่ทรงนำอุปมานั้น ๆ มาก็เพื่อจะทรงแสดง
บุคคลหรืออรรถที่เหมาะสมกับเทศนานั้นในศาสนา ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดง
ความหมายที่พระองค์ทรงประสงค์จะแสดง (ซึ่งเป็นเหตุให้) นำอุปมานั้นมา
จึงตรัสคำว่า เอวเมว โข เป็นต้น. สูตรนั้น เมื่อว่าโดยอรรถ ง่ายทั้งนั้นแล.
ก็ สิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้คละกัน แม้ในสูตรนี้.
จบอรรถกถาอัจจายิกสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 476
๒. วิวิตตสูตร
ว่าด้วยความสงัดจากกิเลส ๓ อย่าง
[๕๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริพาชกทั้งหลายผู้ถือลัทธิอื่น ย่อม
บัญญัติปวิเวก (ความสงบสงัด) ๓ นี้ ปวิเวก ๓ คืออะไร คือ จีวรปวิเวก
(ความสงบสงัดเนื่องด้วยผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาตปวิเวก (ความสงบสงัดเนื่อง
ด้วยอาหาร) เสนาสนปวิเวก (ความสงบสงัดเนื่องด้วยที่อยู่อาศัย)
บรรดาปวิเวก ๓ นั้น ในจีวรปวิเวก พวกปริพาชกบัญญัติผ้า ดังนี้
คือ เขาใช้ (สาณ) ผ้าทำด้วยเปลือกป่านบ้าง (มสาณ) ผ้าทำด้วยเปลือกป่าน
แกมด้ายบ้าง (ฉวทุสฺส) ผ้าห่อศพบ้าง (ปสุกูล) ผ้าที่เขาทิ้งแล้วบ้าง
(ติรีฏก) เปลือกไม้บ้าง (อชิน) หนังสัตว์บ้าง (อชินกฺขิปา) หนังสัตว์
มีเล็บติดบ้าง (กุสจีร) คากรองบ้าง (วากจีร) เปลือกไม้กรองบ้าง (ผลกจีร)
ผลไม้กรองบ้าง (เกสกมฺพล) ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง (วาลกมฺพล)
ผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์บ้าง (อุลูกปกฺข) ปีกนกเค้าบ้าง
ในบิณฑบาตปวิเวก เขาบัญญัติอาหารดังนี้ คือ (สากภกฺขา)
กินผักบ้าง (สามากภกฺขา) กินข้าวฟ่างบ้าง (นิวารภกฺขา) กินลูกเดือยบ้าง
(ททฺทุลภกฺขา) กินกากหนัง (ที่ช่างหนังขูดทิ้ง) บ้าง (หฏภกฺขา)
กินยางไม้บ้าง (กณภกฺขา) กินรำข้าวบ้าง (อาจามภกฺขา) กินข้าวตังบ้าง
(ปิญฺากภกฺขา) กินงาป่นบ้าง (ติณภกฺขา) กินหญ้าบ้าง (โคมยภกฺขา)
กินมูลโคบ้าง (วนมูลผลาหาร) กินเง่าและผลไม้ป่าบ้าง (ปวตฺตผลโภชี)
กินผลไม้ที่มีอยู่ (ในพื้นเมือง) บ้าง ยังชีพให้เป็นไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 477
ในเสนาสนปวิเวก เขาบัญญัติที่อยู่ดังนี้ คือ (อรญฺ) ป่า(รุกฺขมูล)
โคนไม้ (สุสาน) ป่าช้า (วนปตฺถ) ป่าสูง (อพโภกาส) กลางแจ้ง
(ปลาลปุญฺช) กองฟาง (ภุสาคาร) โรงแกลบ
ภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น บัญญัติปวิเวก ๓ นี้แล
ส่วนปวิเวก ๓ ต่อไปนี้ เป็นปวิเวกของภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
ปวิเวกของภิกษุ ๓ คืออะไรบ้าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล
ละความทุศีล และสงบสงัดจากความทุศีลนั้น ๑ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ละ-
ความเห็นผิด และสงบสงัดจากความเห็นผิดนั้น ๑ เป็นขีณาสพ ละอาสวะ
ทั้งหลาย และสงบสงัดจากอาสวะทั้งหลายเหล่านั้น ๑ เมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ
และสงบสงัดจากอาสวะทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว ภิกษุนี้เราเรียกว่าเป็นผู้ถึงยอด
ถึงแก่น บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในสาระ
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนาข้าวสาลีของคฤหบดีชาวนามีผลได้ที่
แล้ว คฤหบดีชาวนาก็รีบ ๆ เกี่ยวข้าวนั้น ครั้นแล้วก็รีบ ๆ เก็บขนมาขึ้นลาน
ตั้งนวด สงฟาง ปัดข้าวลีบ สาดแล้ว สี ซ้อม ฝัด เมื่อเช่นนี้ ข้าวเปลือก
ของคฤหบดีชาวนานั้นก็เป็นถึงที่สุด ถึงแก่น สะอาด เป็นข้าวสาร ฉันใดก็ดี
ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ และสงบสงัดจากอาสวะทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว ภิกษุนี้
เราเรียกว่าเป็นผู้ถึงยอด ถึงแก่น บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในสาระ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบวิวิตตสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 478
อรรถกถาวิวิตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในวิวิตตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จีวรปวิเวก ได้แก่ ความสงัดจากกิเลสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย
จีวร. แม้ในสองบทที่เหลือ ก็มีนัย อย่างเดียวกันนี้แล. บทว่า
สาณานิ ได้แก่ผ้าที่ทอด้วยป่าน. บทว่า มสาณานิ ได้แก่ ผ้ามีเนื้อปนกัน.
บทว่า ฉวทุสฺสานิ ได้แก่ ผ้าที่ทิ้งจากร่างของคนตาย. หรือผ้านุ่งที่ทำโดย
กรองหญ้าเอรกะเป็นต้น. บทว่า ปสุกูลานิ ได้แก่ ผ้าไม่มีชายที่ทิ้งไว้
บนแผ่นดิน. บทว่า ติรีฏกานิ ได้แก่ผ้าเปลือกไม้. บทว่า อชินจมฺมานิ
ได้แก่ หนังเสือเหลือง. บทว่า อชินกฺขิป ได้แก่ หนังเสือเหลืองนั้นแล
ที่ผ่ากลาง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สหขุรก หนังเสือที่มีเล็บติด ดังนี้บ้าง.
บทว่า กุสจีร ได้แก่ จีวรที่ถักหญ้าคาทำ. แม้ในผ้าคากรองและผ้าเปลือกไม้
ก็มีนัย นี้แล. บทว่า เกสกมฺพล ได้แก่ ผ้ากัมพลที่ทำด้วยผมมนุษย์.
บทว่า วาลกมฺพล ได้แก่ ผ้ากัมพลที่ทำด้วยหางม้าเป็นต้น. บทว่า
อุลูกปกฺขิก ได้แก่ ผ้านุ่งที่ทำโดยปีกนกฮูก.
บทว่า สากภกฺขา ได้แก่มี ผักสดเป็นภักษา. บทว่า สามากภกฺขา
ได้แก่ มีข้าวฟ่างเป็นภักษา. ในบทว่า นิวาระ เป็นต้น วีหิชาติที่งอกขึ้นเอง
ในป่า ชื่อว่า นิวาระ (ลูกเดือย). บทว่า ททฺทุล ได้แก่ เศษเนื้อที่พวก
ช่างหนังแล่หนังแล้วทิ้งไว้. ยางเหนียวก็ดี สาหร่ายก็ดี ยางไม้มีต้นกรรณิการ์
เป็นต้นก็ดี เรียกว่า หฏะ. บทว่า กณ แปลว่า รำข้าว. บทว่า อาจาโม
ได้แก่ ข้าวตังที่ติดหม้อข้าว เดียรถีย์ทั้งหลายเก็บเอาข้าวตังนั้นในที่ที่เขา
ทิ้งไว้แล้วเคี้ยวกิน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โอทนกญฺชิย ดังนี้บ้าง. งาป่น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 479
เป็นต้น ก็ปรากฏชัดแล้วแล. บทว่า ปวตฺตผลโภชี ได้แก่ มีปกติบริโภค
ผลไม้ที่หล่นเอง. บทว่า ภุสาคาร ได้แก่ โรงแกลบ.
บทว่า สีลวา ได้แก่ ประกอบด้วยปาริสุทธิศีล ๔. บทว่า
ทุสฺสีลญฺจสฺส ปหีน โหติ ความว่า ทุศีล ๕ เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว.
บทว่า สมฺมาทิฏฺิโก ได้แก่เป็นผู้มีทิฏฐิ (ความเห็น) ตามความเป็นจริง.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ ได้แก่ เป็นผู้มีทิฏฐิไม่เป็นไปตามความเป็นจริง. บทว่า
อาสวา ได้แก่ อาสวะ ๔. บทว่า อคฺคปฺปตโต ได้แก่ ถึงยอดศีล. บทว่า
สารปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงสีลสาระ (แก่นคือศีล). บทว่า สุทฺโธ แปลว่า
บริสุทธิ์. บทว่า สาเร ปติฏฺิโต ได้แก่ตั้งมั่นอยู่ในสารธรรม คือ ศีลสมาธิ
และปัญญา.
บทว่า เสยฺยถาปิห เท่ากับ ยถา นาม (ชื่อฉันใด). บทว่า สมฺปนฺน
คือ บริบูรณ์ ได้แก่ เต็มด้วยข้าวสาลีสุก. บทว่า สฆราเปยฺย ได้แก่
ชาวนาพึงให้ขนมา. บทว่า อุพฺพหาเปยฺย ได้แก่ พึงให้นำมาสู่ลาน.
บทว่า ภุสิก แปลว่า แกลบ. บทว่า โกฏฺฏาเปยฺย ได้แก่ พึงให้เทลง
ไปในครก แล้วเอาสากตำ. บทว่า อคฺคปฺปตฺตานิ ได้แก่ (ธัญชาติทั้งหลาย)
ถึงความเป็นข้าวงาม. แม้ในบทว่า สารปฺปตฺตานิ เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.
ส่วนบทที่เหลือมีความหมายง่ายทั้งนั้น.
ส่วนคำใดที่ตรัสไว้ในสูตรนี้ว่า ความทุศีลภิกษุนั้นละได้แล้ว และ
มิจฉาทิฏฐิภิกษุนั้นก็ละได้แล้ว ดังนี้ คำนั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายเอาความทุศีล และมิจฉาทิฏฐิอันภิกษุละได้แล้วด้วยโสดาปัตติ-
มรรค.
จบอรรถกถาวิวิตตสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 480
๓. สรทสูตร
ว่าด้วยการละสังโยชน์ ๓ ด้วยธรรมจักษุ
[๕๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในหน้าสารท ท้องฟ้าแจ่ม ปราศจากเมฆ
ดวงอาทิตย์ส่องฟ้า ขจัดความมืดในอากาศสิ้น ทั้งสว่าง ทั้งสุกใส ทั้งรุ่งเรือง
ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมจักษุ (ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม) อัน-
ปราศจากธุลีไม่มีมลทิน (คือกิเลส) เกิดขึ้นแก่อริยสาวก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
พร้อมกับเกิดความเห็นขึ้นนั้น สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาส อริยสาวกย่อมละได้ ต่อไป เธอออกจากธรรมอีก ๒
ประการ คืออภิชฌา และพยาบาท. เธอสงัดจากกาม...จากอกุศลธรรมทั้งหลาย
เข้าปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก. ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าอริยสาวกทำกาลกิริยา (ตาย) ในสมัยนั้น สังโยชน์ซึ่งเป็นเหตุทำให้
อริยสาวกผู้ติดอยู่มาสู่โลกนี้อีก ย่อมไม่มี...
จบสรทสูตรที่ ๓
อรรถกถาสรทสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสรทสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิทฺเธ คือ ปลอดโปร่งเพราะปราศจากเมฆ. บทว่า เทเว
คือ อากาศ. บทว่า อภิวิหจฺจ คือ กำจัด. บทว่า ยโต คือ ในกาลใด.
บทว่า วิรช คือ ปราศจากธุลีมีธุลีคือราคะเป็นต้น ที่ชื่อว่า ปราศจากมลทิน
เพราะมลทินเหล่านั้นแล ปราศจากไปแล้ว. บทว่า ธมฺมจกฺขุ ได้แก่ จักษุ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 481
คือ โสดาปัตติมรรค ซึ่งกำหนดธรรมคือสัจจะ ๔. บทว่า นตฺถิ ต สโยชน
ความว่า พระอริยสาวกนั้นไม่มีสังโยชน์ ๒ อย่างแล (อภิชฌา และพยาบาท).
อนึ่ง ในสูตรนอกนี้ท่านกล่าวว่า ไม่มี ก็เพราะไม่สามารถจะนำมาสู่โลกนี้ได้อีก.
แท้จริง ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงพระอนาคามี.
จบอรรถกถาสรทสูตรที่ ๓
๔. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท ๓ จำพวก
[๕๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ นี้ บริษัท ๓ คืออะไร คือ
(อคฺควตี ปริสา) บริษัทที่มีแต่คนดี (วคฺคา ปริสา) บริษัทที่เป็นพรรค
(คือแตกกัน) (สมคฺคา ปริสา) บริษัทที่สามัคคีกัน
บริษัทที่มีแต่คนดี เป็นอย่างไร ? ในบริษัทใด ภิกษุผู้ใหญ่ ๆ
ไม่เป็นผู้สะสมบริขาร ไม่ย่อหย่อน (ในการบำเพ็ญสิกขา) ทอดธุระในทาง
ต่ำทราม มุ่งไปในทางปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง ปัจฉิมา-
ชนตา (ประชุมชนผู้เกิดมาภายหลัง) ได้เยี่ยงอย่างภิกษุผู้ใหญ่เหล่านั้น ก็พา
กันเป็นผู้ไม่สะสมบริขาร ไม่ย่อหย่อน (ในการบำเพ็ญสิกขา) ฯลฯ เพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่มีแต่คนดี
บริษัทที่เป็นพรรค เป็นอย่างไร ? ในบริษัทใด ภิกษุทั้งหลาย
เกิดแก่งแย่งทะเลาะวิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก บริษัทนี้
เรียกว่า บริษัทที่เป็นพรรค
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 482
บริษัทที่สามัคคีกัน เป็นอย่างไร ? ในบริษัทใด ภิกษุทั้งหลาย
พร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน (กลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน) เป็นประหนึ่งว่านมประสมกับน้ำ มองดูกันและกันด้วยปิยจักษุ
(คือสายตาของคนที่รักใคร่กัน) บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่สามัคคีกัน
ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ฯลฯ มองดู
กันและกันด้วยปิยจักษุ ในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมได้บุญมาก ในสมัยนั้น
ภิกษุทั้งหลายชื่อว่าอยู่อย่างพรหม คืออยู่ด้วยมุทิตา (พรหมวิหาร) อันเป็น
เครื่องพ้นแห่งใจ (จากริษยา) ปีติย่อมเกิดแก่ผู้ปราโมทย์ยินดี กายของผู้มี
ใจปีติย่อมระงับ ผู้มีกายรำงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมเป็นสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหนาตกบนภูเขา น้ำนั้นไหล
ไปตามที่ลุ่ม ยังซอกเขาและลำรางทางน้ำให้เต็ม ซอกเขาและลำรางทางน้ำ
เต็มแล้ว ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้ว ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงเต็มแล้ว
ย่อมยังคลองให้เต็ม คลองเต็มแล้ว ย่อมยังแม่น้ำให้เต็ม แม่น้ำเต็มแล้ว
ย่อมยังทะเลให้เต็มฉันใดก็ดี ในสมัยใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ฯลฯ
มองดูกันและกันด้วยปิยจักษุ ในสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมได้บุญมาก ฯลฯ
จิตของผู้มีสุขย่อมเป็นสมาธิ ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บริษัท ๓.
จบปริสาสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 483
อรรถกถาปริสาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปริสาสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พาหุลฺลิกา น โหนฺติ ความว่า ไม่เป็นผู้มักมากด้วย
ปัจจัย. บทว่า น สาถลิกา คือ ไม่รับสิกขา ๓ ทำให้ย่อหย่อน. บทว่า
โอกฺกมเน นิกฺขิตตฺธุรา ความว่า นิวรณ์ ๕ เรียกว่า โอกกมนะ เพราะ
หมายความว่า ทำให้ตกต่ำ (ภิกษุผู้เถระ) เป็นผู้ทอดทิ้งธุระในนิวรณ์ซึ่งทำ
ให้ตกต่ำเหล่านั้น. บทว่า ปวิเวเก ปุพฺพงฺคมา ความว่า เป็นหัวหน้าใน
วิเวก ๓ อย่าง กล่าวคือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก. บทว่า
วิริย อารภนฺติ ได้แก่ เริ่มความเพียรทั้ง ๒ อย่าง. บทว่า อปฺปตฺตสฺส
ได้แก่ ไม่บรรลุคุณวิเศษ กล่าวคือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล. แม้
ในสองบทที่เหลือก็มีนัย นี้แล.
บทว่า ปจฺฉิมา ชนตา ได้แก่ ประชุมชนภายหลังมีสัทธิวิหาริก
และอันเตวาสิกเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺานุคตึ อาปชฺชติ ความว่า ทำตาม
ที่อุปัชฌาย์และอาจารย์ได้ทำมาแล้ว. ประชุมชนภายหลังนี้ชื่อว่า ถึงการดำเนิน
ไปตามสิ่งที่ประชุมชนนั้นได้เห็นมาแล้ว ในอุปัชฌาย์อาจารย์. บทว่า อย
วุจฺจติ ภิกฺขเว อคฺควตี ปริสา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้
เรียกว่า บริษัทที่มีแต่คนดี.
บทว่า ภณฺฑนชาตา แปลว่า เกิดการบาดหมางกัน. บทว่า
กลหชาตา แปลว่า เกิดการทะเลาะกัน ก็ส่วนเบื้องต้นของการทะเลาะกัน
ชื่อว่า การบาดหมางในสูตรนี้. การล่วงเกินกันด้วยอำนาจ (ถึงขนาด) จับมือ
กันเป็นต้น ชื่อว่า การทะเลาะกัน. บทว่า วิวาทาปนฺนา ได้แก่ ถึงการ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 484
ทุ่มเถียงกัน. บทว่า มุขสตฺตีหิ ความว่า วาจาที่หยาบคายเรียกว่า หอก
คือปาก เพราะหมายความว่าทิ่มแทงคุณ (ภิกษุทั้งหลายทิ่มแทงกันและกัน)
ด้วยหอกคือปากเหล่านั้น บทว่า วิตฺทนฺตา วิหรนฺติ คือ เที่ยวทิ่มแทงกัน.
บทว่า สมคฺคา แปลว่า พร้อมเพรียงกัน. บทว่า สมฺโมทมานา
ได้แก่มีความบันเทิงเป็นไปพร้อม. บทว่า ขีโรทกีภูตา ได้แก่ (เข้ากันได้)
เป็นเหมือนน้ำกับน้ำนม. บทว่า ปิยจกฺขูหิ ได้แก่ ด้วยจักษุอันเจือด้วย
เมตตาที่สงบเย็น.
บทว่า ปีติ ชายติ ได้แก่ ปีติ ๕ ชนิด เกิดขึ้น. บทว่า กาโย
ปสฺสมฺภติ ความว่า ทั้งนามกาย ทั้งรูปกาย เป็นอันปราศจากความกระวน
กระวาย. บทว่า ปสฺสทฺธกาโย ได้แก่ มีกายไม่กระสับกระส่าย. บทว่า
สุข เวทิยติ ได้แก่ เสวยสุขทั้งทางกายและทางใจ. บทว่า สมาธิยติ
ความว่า ก็จิต (ของภิกษุผู้มีความสุข) ย่อมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์.
บทว่า ถุลฺลผุสิตเก ได้แก่ ฝนเม็ดใหญ่. ในบทว่า ปพฺพต-
กนฺทรปทรสาขา นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ที่ชื่อว่า กันทระ ได้แก่ ส่วน
(หนึ่ง) ของภูเขาที่ถูกน้ำซึ่งได้นามว่า ก เซาะแล้ว คือทำลายแล้ว ที่ชาวโลก
เรียกว่า นิตัมพะ (ไหล่เขา) บ้าง นทีนิกุญชะ (โตรกแม่น้ำ) บ้าง. ที่ชื่อว่า
ปทระ ได้แก่ ภูมิประเทศที่แตกระแหงในเมื่อฝนไม่ตกเป็นเวลาครึ่งเดือน.
ที่ชื่อว่า สาขา ได้แก่ ลำรางเล็กทางสำหรับน้ำไหลไปสู่หนอง. ที่ชื่อว่า
กุสุพฺภา ได้แก่ หนอง. ที่ชื่อว่า มหาโสพฺภา ได้แก่ บึง. ที่ชื่อว่า
กุนฺนที ได้แก่ แม่น้ำน้อย. ที่ชื่อว่า มหานที ได้แก่ แม่น้ำใหญ่ มี
แม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น.
จบอรรถกถาปริสาสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 485
๕. ปฐมอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ ๓ ของม้าต้นและของภิกษุ
[๕๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย ตัวประเสริฐของพระ-
ราชา ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๓ จึงเป็นพาหนะคู่ควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น
เท่ากับว่า เป็นองคาพยพของพระราชาทีเดียว องค์ ๓ คืออะไร คือสีงาม ๑
กำลังดี ๑ มีฝีเท้า ๑ ม้าอาชาไนยตัวประเสริฐของพระราชา ประกอบพร้อม
ด้วยองค์ ๓ นี้แล จึงเป็นพาหนะคู่ควรแก่พระราชาเป็นม้าต้น เท่ากับว่าเป็น
องคาพยพของพระราชาทีเดียว
ฉันเดียวกันนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๓
จึงเป็น (อาหุเนยฺโย) ผู้ควรของคำนับ (ปาหุเนยฺโย) ผู้ควรของต้อนรับ
(ทกฺขิเณยฺโย) ผู้ควรของทำบุญ (อญฺชลิกฺรณีโย) ผู้ควรทำอัญชลี (อนุตฺตร
ปุญฺญกฺเขตฺต โลกสฺส) เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า องค์ ๓
คืออะไร คือวรรณะงาม ๑ เข้มแข็ง ๑ มีเชาว์ ๑
ภิกษุวรรณะงาม เป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล
สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร เห็นภัยในโทษ
มาตรว่าน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย อย่างนี้เรียกว่า ภิกษุ
วรรณะงาม
ภิกษุเข้มแข็ง เป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ทำความเพียร
เพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม แข็งขันบากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระใน
กุศลธรรมทั้งหลาย อย่างนี้เรียกว่า ภิกษุเข้มแข็ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 486
ภิกษุมีเชาว์ เป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ทั่วถึงตาม
จริงว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้ เรียกว่า ภิกษุมีเชาว์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบพร้อมด้วยองค์ ๓ นี้แล จึงเป็นผู้ควร
ของคำนับ ฯลฯ ไม่มีนาบุญอันยิ่งกว่า.
จบปฐมอาชานียสูตรที่ ๕
อรรถกถาปฐมอาชานียสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอาชานียสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้;-
บทว่า องฺเคหิ คือ ด้วยองค์คุณทั้งหลาย. บทว่า ราชารโห
คือ (ม้าอาชาไนย) สมควร คือ เหมาะสมแก่พระราชา. บทว่า ราชโภคฺโค
คือ เป็นม้าต้นของพระราชา. บทว่า รญฺโ องฺค ได้แก่ ถึงการนับว่า
เป็นอังคาพยพของพระราชา เพราะมีเท้าหน้าและเท้าหลังเป็นต้น สมส่วน.
บทว่า วณฺณสมปนฺโน ได้แก่ถึงพร้อมด้วยสีร่างกาย. บทว่า พลสมฺปนฺโน
ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยกำลังกาย. บทว่า ชวสมฺปนฺโน ได้แก่ เพียบพร้อม
ด้วยพลังความเร็ว.
บทว่า อาหุเนยฺโย ได้แก่ เป็นผู้สมควรรับบิณฑบาต กล่าวคือ
ของที่เขานำมาบูชา. บทว่า ปาหุเนยฺโย ได้แก่ เป็นผู้สมควร (ที่จะรับ)
ภัตรที่จัดไว้ต้อนรับแขก. บทว่า ทกฺขิเณยฺโย ได้แก่ เป็นผู้สมควรแก่
ทักษิณา กล่าวคือของที่เขาถวายด้วยศรัทธา ด้วยอำนาจสละทานวัตถุ ๑๐ อย่าง.
บทว่า อญฺชลิกรณีโย ได้แก่ เป็นผู้สมควรแก่การประคองอัญชลี. บทว่า
อนุตฺตร ปุญฺกฺเขตฺต โลกสฺส ได้แก่ เป็นสถานที่งอกงามแห่งบุญของ
ชาวโลกทั้งหมด ไม่มีที่ใดเสมอเหมือน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 487
บทว่า วณฺณสมฺปนฺโน ได้แก่ถึงพร้อมด้วยวรรณะคือคุณ. บทว่า
พลสมฺปนฺโน ได้แก่สมบูรณ์ด้วยพลังวิริยะ. บทว่า ชวสมฺปนฺโน ได้แก่
เพียบพร้อมด้วยกำลังญาณ. บทว่า ถามวา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยกำลัง
แห่งญาณ. บทว่า ทฬฺหปรกฺกโม ได้แก่ มีความบากบั่นมั่นคง. บทว่า
อนิกฺขิตฺตธุโร ได้แก่ ไม่วางธุระ คือ ปฏิบัติไปด้วยคิดอย่างนี้ว่า เราไม่
บรรลุอรหัตผลซึ่งเป็นผลอันเลิศแล้ว จักไม่ทอดทิ้งธุระ คือ ความเพียร.
ในสูตรนี้ โสดาปัตติมรรคพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยอำนาจสัจจะ
๔ และความเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความเร็วแห่งญาณ ตรัสไว้แล้วด้วยโสดา-
ปัตติมรรคแล.
จบอรรถกถาปฐมอาชานียสูตรที่ ๕
๖. ทุติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ ๓ ของม้าต้นและของภิกษุ
[๕๓๗] (เหมือนสูตรก่อน ต่างกันแต่ตอนแก้ ภิกษุมีเชาว์ สูตรก่อน
แก้เป็นภิกษุรู้อริยสัจ ซึ่งท่านว่าเป็นพระโสดาบัน สูตรนี้แก้เป็นพระอนาคามี
ดังนี้ ) ฯลฯ
ภิกษุมีเชาว์เป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้น
โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานใน
โลกที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา อย่างนี้เรียกว่า ภิกษุมีเชาว์.
จบทุติยอาชานียสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 488
อรรถกถาอาชานียสูตร
ในสูตรที่ ๖ มรรค ๓ ผล ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว และ
ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความเร็วแห่งญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้แล้ว
ด้วยมรรค ๓ ผล ๓.
จบอรรถกถาทุติยอาชานียสูตรที่ ๖
๗. ตติยอาชานียสูตร
ว่าด้วยองค์ ๓ ของม้าต้นและของภิกษุ
[๕๓๘] (สูตรนี้ก็เหมือนกัน ต่างกันแต่แก่ภิกษุมีเชาว์ เป็นพระ-
อรหันต์ ดังนี้) ฯลฯ
ภิกษุมีเชาว์เป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้กระทำให้แจ้งซึ่ง
เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ ฯล ฯ ในปัจจุบันนี้ อย่างนี้เรียกว่า ภิกษุมีเชาว์.
จบตติยอาชานียสูตรที่ ๗
อรรถกถาตติยอาชานียสูตร
ในสูตรที่ ๗ อรหัตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว มรรคกิจ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วด้วยอรหัตผลนั่นเอง. ส่วนผลไม่ควรเรียกว่า
เชาว์ เพราะเกิดขึ้นได้ด้วยเชาว์ ที่แล่นไปแล้ว.
จบอรรถกถาตติยอาชานียสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 489
๘. นวสูตร
ว่าด้วยบุคคลที่เปรียบได้กับผ้าเปลือกไม้ ๓ ชนิด
[๕๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าเปลือกไม้ แม้ใหม่ก็สีทราม สัมผัส-
หยาบ และราคาถูก แม้กลางใหม่กลางเก่าก็สีทราม สัมผัสหยาบ และราคาถูก
แม้เก่าแล้วก็สีทราม สัมผัสหยาบ และราคาถูก ผ้าเปลือกไม้ที่คร่ำคร่าแล้ว
เขาก็ทำเป็นผ้าเช็ดหม้อข้าวบ้าง ทิ้งเสียที่กองขยะบ้างฉันใด
ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี
ภิกษุเถระก็ดี ถ้าเป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันเลว เรากล่าวความทุศีลมีธรรมเลวนี้
ในความมีสีทรามของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้าเปลือกไม้มีสีทรามฉะนั้น
อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคม ทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น ข้อนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่ชนเหล่านั้น ตลอดกาลนาน เรากล่าว
การคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดสิ่งอันไม่เกื้อกูลเกิดทุกข์นี้
ในความมีสัมผัสหยาบของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้าเปลือกไม้มีสัมผัสหยาบ
ฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย ... ของ
ชนเหล่าใด ข้อนั้น ย่อมไม่เป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น เรากล่าว
การรับปัจจัยอันไม่เป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายกนี้ ในความมีราคาถูกของ
ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเป็นดังผ้าเปลือกไม้มีราคาถูกฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุเถระชนิดนั้น กล่าวอะไรในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลาย
ก็กล่าวเอาว่า ประโยชน์อะไรด้วยถ้อยคำของท่านผู้โง่เขลาอย่างท่านก็เผยอจะ
พูดด้วย ภิกษุเถระนั้นโกรธน้อยใจ ก็จะใช้ถ้อยคำชนิดที่เป็นเหตุให้สงฆ์ลงอุก-
เขปนียกรรม (คือห้ามไม่ให้ติดต่อเกี่ยวข้องกับภิกษุทั้งหลาย) เหมือนเขาทิ้ง
ผ้าเปลือกไม้เก่าเสียที่กองขยะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 490
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้ากาสี แม้ใหม่ก็สีงาม สัมผัสนิ่ม และราคาแพง
แม้กลางใหม่กลางเก่าก็สีงาม สัมผัสนิ่มและราคาแพง แม้เก่าแล้วก็สีงาม
สัมผัสนิ่มและราคาแพง ผ้ากาสี ถึงคร่ำคร่าแล้ว เขายังใช้เป็นผ้าห่อตคนะ (คือ
เงินทองเพชรพลอย่อมมีค่า) บ้าง เก็บไว้ในคันธกรณฑ์ (หีบอบของหอม)
บ้าง ฉันใด.
ฉะนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี
ภิกษุเถระก็ดี ถ้าเป็นผู้มีศีลมีธรรมอันดี เรากล่าวความมีศีลมีธรรมดีนี้
ในความมีสีงามของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้ากาสีมีสีงามฉะนั้น
อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น ข้อนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวการคบ-
หาสมาคมทำตามอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์สุขนี้ ในความมีสัมผัสนิ่มของ
ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้ากาสีมีสัมผัสนิ่มฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย...ของ
ชนเหล่าใด ข้อนั้นย่อมเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น เรากล่าว
การรับปัจจัยอันเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายกนี้ ในความมีราคาแพงของ
ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า เสมือนผ้ากาสีมีราคาแพงฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุเถระผู้มีคุณธรรมอย่างนี้ กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลายก็พากันว่า ท่านทั้งหลาย จงสงบเสียงเถิด ภิกษุผู้ใหญ่จะกล่าว
ธรรมกล่าววินัยนี้ ดังนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นอย่างผ้ากาสี ไม่เป็นอย่างผ้าเปลือกไม้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
พึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบนวสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 491
อรรถกถานวสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนวสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
ผ้าที่ตรัสว่าใหม่ เพราะอาศัยการกระทำ. ผ้าที่ทำจากปอ ชื่อว่า
โปตถกะ. ผ้าที่ชื่อว่า ปานกลาง ได้แก่ ผ้ากลางเก่ากลางใหม่เพราะใช้.
ผ้าที่ชื่อว่า เก่า ได้แก่ ผ้าเก่าเพราะใช้. บทว่า อุกฺขลิปริมชฺชน ได้แก่
เป็นผ้าเช็ดหม้อข้าว. บทว่า ทุสฺสีโล ได้เเก่ ไม่มีศีล. บทว่า ทุพฺพณฺณตาย
ได้แก่ เพราะเป็นผู้มีผิวพรรณทราม เนื่องจากไม่มีสี คือคุณ. บทว่า
ทิฏฺานุคตึ อาปชฺชนฺติ ได้แก่ ภิกษุทั้งหลายพากันทำตามอย่างที่ภิกษุนั้น
ทำไว้แล้ว. บทว่า น มหปฺผล โหติ ความว่า ไม่มีผลมาก โดยผลคือ
วิบาก. บทว่า น มหานิสส ความว่า ไม่มีอานิสงส์มาก โดยอานิสงส์คือ
วิบาก. บทว่า อปฺปคฺฆตาย ได้แก่ เพราะการรับนั้นมีค่าน้อย โดยค่าคือ
วิบาก. บทว่า กาสิก วตฺถ ได้แก่ ผ้าที่ทอโดยปั่นด้ายจากฝ้าย. ก็แลผ้า
ชนิดนั้นเกิดขึ้นเฉพาะในแคว้นกาสี.
บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น. ส่วนศีลในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ปนกันแล.
จบอรรถกถานวสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 492
๙. โลณกสูตร
ว่าด้วยการให้ผลของกรรม
[๕๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครพึงกล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใดๆ
ย่อมเสวยกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนั้น การอยู่ประพฤติพรหม-
จรรย์ก็มีไม่ได้ ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่า
คนทำกรรมอันจะพึงให้ผลอย่างใด ๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ
ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทำ
ที่สุดทุกข์โดยชอบก็ย่อมปรากฏ.
ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อย ที่บุคคลลางคนทำแล้ว
บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้ บาปกรรมประมาณน้อย อย่างเดียวกันนั้น
ลางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (ให้ผลในภพปัจจุบัน)
ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย
บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคลชนิดไรทำแล้ว บาปกรรมนั้นจึง
นำเขาไปนรกได้ ? บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีกายมิได้อบรม มีศีลมิได้
อบรม มีจิตมิได้อบรม มีปัญญามิได้อบรม มีคุณความดีน้อย เป็นอัปปาตุมะ
(ผู้มีใจคับแคบ ใจหยาบ ใจต่ำทราม) เป็นอัปปทุกขวิหารี (มีปกติอยู่เป็น
ทุกข์ด้วยเหตุเล็กน้อย คือเป็นคนเจ้าทุกข์) บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคล
ชนิดนี้ทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้
บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกัน บุคคลชนิดไรทำแล้ว กรรม
นั้นจึงเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย ? บุคคลลางคน
ในโลกนี้ เป็นผู้มีกายได้อบรมแล้ว มีศีลได้อบรมแล้ว มีจิตได้อบรมแล้ว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 493
มีปัญญาได้อบรมแล้ว มีคุณความดีมาก เป็นมหาตมะ (ผู้มีใจกว้างขวาง
ใจบุญ ใจสูง) เป็นอัปปมาณวิหารี (มีปกติอยู่ด้วยธรรมอันหาประมาณมิได้
คือเป็นคนไม่มีหรือไม่แสดงกิเลส ซึ่งจะเป็นเหตุให้เขาประมาณได้ว่าเป็นคน
แค่ไหน) บาปกรรมประมาณน้อยอย่างเดียวกันนั้น บุคคลชนิดนี้ทำแล้ว
กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่างว่าคนใส่เกลือลงไปในถ้วยน้ำเล็กๆหนึ่งก้อน
ท่านทั้งหลายจะสำคัญว่ากระไร น้ำอันน้อยในถ้วยน้ำนั้นจะกลายเป็นน้ำเค็ม
ไม่น่าดื่มไปเพราะเกลือก้อนนั้นใช่ไหม.
ภิ. เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุไร.
ภิ. เพราะเหตุว่า น้ำในถ้วยน้ำนั้นมีน้อย มันจึงเค็มได้...เพราะเกลือ
ก้อนนั้น.
พ. ต่างว่า คนใส่เกลือก้อนขนาดเดียวกันนั้น ลงไปในแม่น้ำคงคา
ท่านทั้งหลายจะสำคัญว่ากระไร น้ำในแม่น้ำคงคานั้นจะกลายเป็นน้ำเค็ม ดื่ม
ไม่ได้เพราะเกลือก้อนนั้นหรือ.
ภิ. หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. เพราะเหตุอะไร.
ภิ. เพราะเหตุว่า น้ำในแม่น้ำคงคามีมาก น้ำนั้นจึงไม่เค็ม...เพราะ
เกลือก้อนนั้น.
พ. ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคล
ลางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อย
อย่างเดียวกันนั้น ลางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่
ปรากฏผลมากต่อไปเลย...
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 494
ภิกษุทั้งหลาย คนลางคนย่อมผูกพันเพราะทรัพย์ แม้กึ่งกหาปณะ...
แม้ ๑ กหาปณะ... แม้ ๑๐๐ กหาปณะ ส่วนลางคนไม่ผูกพันเพราะทรัพย์
เพียงเท่านั้น
คนอย่างไร จึงผูกพันเพราะทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ ฯลฯ คนลางคน
ในโลกนี้เป็นคนจน มีสมบัติน้อย มีโภคะน้อย คนอย่างนี้ย่อมผูกพันเพราะ
ทรัพย์แม้กึ่งกหาปณะ. ฯลฯ
คนอย่างไร ไม่ผูกพันเพราะทรัพย์เพียงเท่านั้น ? คนลางคนในโลกนี้
เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก คนอย่างนี้ ย่อมไม่ผูกพันเพราะทรัพย์
เพียงเท่านั้น
ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคล
ลางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นย่อมนำเขาไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณ
น้อยอย่างเดียวกันนั้น บุคคลลางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนีย-
กรรม ไม่ปรากฏผลมากต่อไปเลย...
ภิกษุทั้งหลาย พรานแกะหรือคนฆ่าแกะลางคน อาจฆ่า มัด ย่าง
หรือทำตามประสงค์ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้ ลางคนไม่อาจทำอย่างนั้น
พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร จึงอาจฆ่า มัด ย่าง หรือทำตาม
ประสงค์ ซึ่งแกะที่ขโมยเขามาได้ ? ลางคนเป็นคนยากจน มีสมบัติน้อย
มีโภคะน้อย พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ อาจฆ่า ฯลฯ ซึ่งแกะที่ขโมย
เขามาได้
พรานแกะหรือคนฆ่าแกะเช่นไร ไม่อาจทำอย่างนั้น ? ลางคนเป็นผู้
มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เป็นพระราชาหรือราชมหาอำมาตย์ พรานแกะ
หรือคนฆ่าแกะเช่นนี้ไม่อาจทำอย่างนั้น มีแต่ว่าคนอื่นจะประณมมือขอกะเขาว่า
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านโปรดให้แกะหรือทรัพย์ค่าซื้อแกะแก่ข้าพเจ้าบ้าง ดังนี้
ฉันใด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 495
ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมแม้ประมาณน้อย บุคคล
ลางคนทำแล้ว บาปกรรมนั้นนำเขาไปนรกได้ ส่วนบาปกรรมประมาณน้อย
อย่างเดียวกันนั้น ลางคนทำแล้ว กรรมนั้นเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม ไม่
ปรากฏผลมากต่อไปเลย. . .
ภิกษุทั้งหลาย ใครกล่าวว่า คนทำกรรมอย่างใด ๆ ย่อมเสวยกรรม
นั้นอย่างนั้นๆ ดังนี้ เมื่อเป็นอย่างนั้น ๆ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีไม่ได้
ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบก็ไม่ปรากฏ ส่วนใครกล่าวว่า คนทำกรรม
อันจะพึงให้ผลอย่างใด ๆ ย่อมเสวยผลของกรรมนั้นอย่างนั้น ๆ ดังนี้ เมื่อเป็น
อย่างนี้ การอยู่พระพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้ ช่องทางที่จะทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
ก็ย่อมปรากฏ.
จบโลณกสูตรที่ ๙
อรรถกถาโลณกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในโลณกสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยถา ยถาย ตัดบทเป็น ยถา ยถา อย. บทว่า ตถา
ตถา ต ได้แก่ ตถา ตถา ต กมฺม. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ผู้ใดพึงกล่าว
ไว้อย่างนี้ว่า บุคคลทำกรรมไว้โดยประการใด ๆ ก็จะเสวยวิบาก (ผล) ของ
กรรมนั้นโดยประการนั้นๆ เพราะว่าใครๆไม่สามารถที่จะไม่เสวยวิบากของกรรม
ที่ทำไว้แล้ว เพราะฉะนั้น บุคคลทำกรรมไว้เท่าใด ก็จะเสวยวิบากของกรรม
เท่านั้นทีเดียว. บทว่า เอว สนฺต คือ เอว สนฺเต แปลว่า เมื่อเป็น
อย่างนี้. บทว่า พฺรหฺมจริยวาโส น โหติ ความว่า อุปปัชชเวทนียกรรมใด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 496
ที่ทำไว้ก่อนการทำมรรคให้เกิดมี เพราะอุปปัชชเวทนียกรรมนั้นอันตนจะต้อง
เสวยเป็นแน่แท้ พรหมจรรย์แม้อยู่จบแล้ว ก็ไม่เป็นอันอยู่เลย. บทว่า
โอกาโส น ปญฺายติ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย ความว่า ก็
เพราะเหตุที่เมื่อเป็นเช่นนี้ การประมวลกรรม และการเสวยผลของกรรม
ยังคงมีอยู่ ฉะนั้น โอกาสแห่งการทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ โดยเหตุโดยนัยชื่อว่า
ไม่ปรากฏ. บทว่า ยถา ยถา เวทนิย ได้แก่ อันตนพึงเสวยโดยอาการ
ใด ๆ. บทว่า ตถา ตถาสฺส วิปาก ปฏิสเวทิยติ ความว่า เสวยวิบาก
ของกรรมนั้นโดยอาการนั้น ๆ.
มีคำอธิบายดังนี้ว่า ในชวนจิตทั้ง ๗ กรรมในชวนจิตที่ ๑ นั้นใด
เมื่อมีปัจจัย ก็ได้วาระที่จะให้ผลทันที กรรมนั้นจัดเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
เมื่อไม่มีปัจจัย ก็จะชื่อว่าเป็นอโหสิกรรม ส่วนกรรมในชวนจิตที่ ๗ อันใด
กรรมนั้นเมื่อมีปัจจัย ก็จะเป็นอุปปัชชเวทนียกรรม เมื่อไม่มีปัจจัย ก็จะชื่อว่า
เป็นอโหสิกรรม และกรรมในชวนจิตทั้ง ๕ ในท่ามกลางอันใด กรรมนั้น
ชื่อว่า อปราปริยเวทนียกรรม ตราบเท่าที่ยังท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ บุรุษ
(บุคคล) นี้ทำกรรมนั้นไว้จะพึงเสวยได้ โดยอาการใด ๆ ในบรรดาอาการ
เหล่านี้ ก็จะเสวยวิบากของกรรมนั้นโดยอาการนั้น ๆ ทีเดียว. แท้จริง ท่าน
กล่าวไว้ในอรรถกถาว่า กรรมที่ได้วาระให้ผลแล้วเท่านั้น ชื่อว่า ยถาเวทนิย-
กรรม. บทว่า เอว สนต ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยวาโส โหติ ความว่า
คำที่กล่าวไว้ว่า ชื่อว่ามีการอยู่พรหมจรรย์ที่ทำกรรมให้สิ้นไป เพราะกรรมที่
จะต้องทำให้สิ้นไป ยังมีอยู่ดังนี้ เป็นอันกล่าวไว้ดีแล้วทีเดียว.
บทว่า โอกาโส ปญฺายติ สมฺมา ทุกฺขสฺส อนฺตกิริยาย
ความว่า เพราะเหตุที่เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จะไม่เกิดวัฏทุกข์ต่อไปในภพนั้น ๆ
เพราะอภิสัขารวิญญาณดับไปด้วยมรรคนั้น ๆ ฉะนั้น โอกาสแห่งการทำที่สุด
แห่งทุกข์ด้วยดีจึงปรากฏ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 497
ยถาเวทนิยกรรม
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสภาพแห่งยถาเวทนิยกรรมนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อิธ ภิกฺขเว เอกจฺจสฺส เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อปฺปมตฺตก ได้แก่ ปริตตกรรม คือ กรรมนิดหน่อย กรรมเบา
กรรมเล็กน้อย กรรมลามก. บทว่า ตาทิสเยว ได้แก่ วิบากที่เห็นสมด้วย
กับกรรมนั้นแล. บทว่า ทิฏฺธมฺมเวทนิย ความว่า ในกรรมนั้นแล มี
อธิบายว่า กรรมที่จะพึงให้ผล เมื่อได้วาระที่จะให้ผลในปัจจุบัน ก็จะกลาย
เป็นทิฏฐธรรมเวทนิยกรรม. บทว่า นาณุปิ ขายติ ความว่า (กรรมเล็กน้อย
นั้น) ไม่ปรากฏแม้ (เพียง) เล็กน้อยในอัตภาพที่ ๒ อธิบายว่า ไม่ให้ผล
แม้เพียงเล็กน้อยในอัตภาพที่ ๒. บทว่า พหุเทว ความว่า ส่วนกรรมที่มาก
จักให้ผลได้อย่างไรเล่า ?๑
ปุถุชนผู้เว้นจากภาวนา (เจริญสติปัฏฐาน) ในกาย เป็นผู้มีปกติไป
สู่วัฏฏะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยบทว่า อภาวิตกาโย เป็นต้น.
บทว่า ปริตฺโต ได้แก่ มีคุณนิดหน่อย. บทว่า อปฺปาตุโม ความว่า
อัตภาพเรียกว่า อาตุมะ ปุถุชนชื่อว่ามีอัตภาพเล็กน้อยโดยแท้ เพราะแม้เมื่อ
อัตภาพนั้นจะใหญ่ แต่ก็มีคุณเล็กน้อย. บทว่า อปฺปทุกฺขวิหารี ความว่า
มีปกติอยู่เป็นทุกข์ด้วยวิบากเล็กน้อย. พระขีณาสพ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงด้วยบทว่า ภาวิตกาโย เป็นต้น. อธิบายว่า พระขีณาสพนั้น ชื่อว่า
มีกายอบรมแล้ว ด้วยภาวนากล่าวคือกายานุปัสสนา หรือชื่อว่า มีกายอบรมแล้ว
เพราะเจริญกายานุปัสสนา. บทว่า ภาวิตสีโล แปลว่า เจริญศีล. แม้ใน
สองบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
๑. ปาฐะว่า พหุก ปน วิปากเมว ทสฺเสติ ฉบับพม่าเป็น พหุก ปน วิปาก กิเมว ทสฺสติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 498
อีกอย่างหนึ่ง พระขีณาสพ ชื่อว่า มีกายอบรมแล้ว ด้วยอบรม
ปัญจทวาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอินทรียสังวรศีล ด้วยบทว่า ภาวิตกาโย
นี้ ตรัสศีล ๓ ที่เหลือด้วยบทว่า ภาวิตสีโล นี้. บทว่า อปริตฺโต คือ
มีคุณมิใช่เล็กน้อย. บทว่า มหตฺตา คือ พระขีณาสพชื่อว่า มีอัตภาพใหญ่
เพราะแม้จะมีอัตภาพเล็กน้อย แต่ก็มีคุณมาก. ก็บทว่า อปฺปมาณวิหารี นี้
เป็นชื่อของพระขีณาสพโดยแท้ อธิบายว่า พระขีณาสพนั้นชื่อว่า อัปปมาณ-
วิหารี (มีปกติอยู่ด้วยคุณธรรมอันหาประมาณมิได้) เพราะไม่มีกิเลสมีราคะ
เป็นต้นที่ทำให้มีประมาณ (คือจำกัดขอบเขตของคุณธรรม). บทว่า ปริตฺเต
แปลว่า เล็กน้อย. บทว่า อุทกมลฺลเก แปลว่า ในขันน้ำ.
บทว่า โอรพฺภิโก แปลว่า เจ้าของแกะ. บทว่า โอรพฺภฆาตโก
แปลว่า คนฆ่าแกะ. บทว่า ชาเปตุ วา ได้แก่ เพื่อทำให้เสื่อมด้วยความ
เสื่อมทรัพย์. ปาฐะว่า ฌาเปตุ ดังนี้ก็มี ความหมายก็อย่างเดียวกันนี้แล.
บทว่า ยถาปจฺจย วา กาตุ ความว่า เพื่อทำได้ตามปรารถนา. บทว่า
อุรพฺภธน ได้แก่ ราคาค่าตัวแกะ. ก็เจ้าของแกะหรือคนฆ่าแกะนั้น ถ้า
ปรารถนาก็จะให้ราคาแกะนั้น ถ้าไม่ปรารถนาก็จะให้จับคอลากออกไป.
บทที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะ (นิพพาน) ไว้ในสูตรนี้แล.
จบอรรถกถาโลณกสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 499
๑๐. สังฆสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลส ๓ อย่าง
[๕๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ อุปกิเลส (เครื่องทำให้หมอง)
อย่างหยาบ ของทอง คือทรายปนดิน หินกรวด คนล้างดินหรือลูกมือเอาทอง
นั้นใส่ลงในรางแล้ว ล้างซาวเอาเครื่องมัวหมองอย่างหยาบนั้นออก เมื่อสิ้น
เครื่องมัวหมองอย่างหยาบแล้ว ยังมีเครื่องมัวหมองอย่างกลาง คือกรวดละเอียด
ทรายหยาบ คนล้างดินหรือลูกมือก็ล้างซาวเอาเครื่องมัวหมองอย่างกลางนั้นออก
ครั้นหมดเครื่องมัวหมองอย่างกลางแล้ว ยังมีเครื่องมัวหมองอย่างละเอียด
คือทรายละเอียด ผงดำ คนล้างดินหรือลูกมือ ก็ล้างซาวเอาเครื่องมัวหมอง
อย่างละเอียดนั้นออกอีก เมื่อเครื่องมัวหมองอย่างละเอียดสิ้นไปแล้ว ทีนี้
ก็เหลืออยู่แต่แร่ทอง
ช่างทองหรือลูกมือ เอาแร่ทองนั้นใส่เบ้าสูบเป่าไล่ขี้ ทองนั้นยังมิได้
สูบเป่าไล่ขี้ ยังไม่ละลาย ยังไม่หมดราคี ก็ยังไม่อ่อน ยังแต่งไม่ได้ สียัง
ไม่สุก ยังแตกได้ และใช้การยังไม่ได้ดี ต่อเมื่อช่างทองหรือลูกมือสูบเป่า
ไล่ขี้ไป จนได้ที่หมดราคีแล้ว ทองนั้นจึงอ่อนแต่งได้ สีสุก ไม่แตก และใช้
การได้ดี จะประสงค์ทำเป็นเครื่องประดับชนิดใด ๆ เช่นเข็มขัด ตุ้มหู
สร้อยคอ สังวาล ก็ได้ตามต้องการ
ฉันนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสอย่างหยาบของภิกษุผู้ประกอบ
อธิจิตมีอยู่ คือกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ภิกษุชาติบัณฑิตมีจิตสมบูรณ์
ละ ถ่ายถอน อุปกิเลสอย่างหยาบนั้น ให้สิ้นไป ให้ไม่มีต่อไป ครั้นละ
อุปกิเลสอย่างหยาบให้สิ้นไปแล้ว ยังมีอุปกิเลสอย่างกลาง คือกามวิตก
พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ภิกษุชาติบัณฑิตมีจิตสมบูรณ์ ละ ถ่ายถอน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 500
อุปกิเลสอย่างกลางนั้น ให้สิ้นไป ครั้นละอุปกิเลสอย่างกลางให้สิ้นไปแล้ว
ยังมีอุปกิเลสอย่างละเอียด คือ ชาติวิตก (ความตรึกถึงชาติ) ชนบทวิตก
(ความตรึกถึงชนบท) อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตก (ความตรึกเกี่ยวด้วยการจะ
ไม่ให้คนอื่นดูหมิ่น) ภิกษุชาติบัณฑิตมีจิตสมบูรณ์ ละเลิกอุปกิเลสอย่าง
ละเอียดนั้นให้สิ้นไปให้ไม่มีต่อไป ครั้นละอุปกิเลสอย่างละเอียดให้สิ้นไปแล้ว
ทีนี้เหลืออยู่แต่ธรรมวิตก (ความตรึกในธรรม) นั่นเป็นสมาธิที่ยังไม่ละเอียด
ไม่ประณีต ไม่ได้ความรำงับ ไม่ถึงความเด่นเป็นหนึ่ง เป็นพรตที่ยังต้องใช้
ความเพียรข่มห้ามไว้ (ซึ่งอกุศลวิตก) มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย คราวที่จิตแน่วแน่
ตั้งมั่นเด่นเป็นหนึ่งในภายใน นั่นเป็นสมาธิละเอียดประณีตได้ความระงับถึง
ความเด่นเป็นหนึ่ง ไม่เป็นพรตที่ต้องใช้ความเพียรข่มห้าม
ภิกษุน้อมจิต (ที่เป็นสมาธิอย่างนั้น) ไปเพื่อกระทำให้แจ้งด้วย
อภิญญา (ความรู้ยิ่ง ความรู้เกินวิสัยคนสามัญ) ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรม
(ธรรมอันพึงกระทำให้แจ้งด้วยอภิญญา) ใด ๆ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอ
ย่อมถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้น ๆ (คือ)
(๑) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างต่างวิธี คือ
คนเดียว (นิรมิต) ให้เป็นคนมากก็ได้ เป็นคนมากแล้ว (กลับ) เป็นคน
เดียวก็ได้ ทำสิ่งที่กำบังให้แลเห็น (ก็ได้) ทำสิ่งที่แลเห็นให้กำบัง (ก็ได้)
ผ่านฝาผ่านกำแพงผ่านภูเขาไปได้ไม่ติดขัด ดุจไปในที่ว่าง (ก็ได้) ดำลงไป
ในแผ่นดินและผุดขึ้น (ในที่ๆต้องการ) ดุจดำและผุดในน้ำก็ได้ ไปบนพื้นน้ำ
อันไม่แตก ดุจเดินบนพื้นดินก็ได้ นั่งไปในอากาศดุจนกบินก็ได้ แตะต้อง
ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มีอานุภาพมากปานนี้ด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจด้วยกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดังนี้ ในเมื่อความพยายามมีอยู่
เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้น ๆ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 501
(๒) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงมีหูทิพย์อันหมดจดเกินหูมนุษย์สามัญ
ฟังเสียง ๒ อย่างได้ คือ ทั้งเสียงทิพย์ ทั้งเสียงมนุษย์ ทั้งเสียงไกล ทั้ง
เสียงใกล้ ดังนี้ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจทำให้
ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้น ๆ
(๓) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงกำหนดใจของสัตว์อื่นบุคคลอื่นด้วยใจ
(ของตน) แล้วรู้จิตของเขาได้ว่าเป็นจิตมีราคะหรือจิตปราศจากราคะแล้ว จิตมี
โทสะหรือปราศจากโทสะแล้ว จิตมีโมหะหรือปราศจากโมหะแล้ว จิตหดหู่หรือ
จิตฟุ้งซ่าน จิตกว้างใหญ่ (ด้วยพรหมวิหาร) หรือจิตไม่กว้างใหญ่ จิตมีธรรม
อันยิ่งหรือจิตไม่มีธรรมอันยิ่ง จิตเป็นสมาธิหรือจิตไม่เป็นสมาธิ จิตวิมุต
(หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว) หรือจิตยังไม่วิมุต ดังนี้ ในเมื่อความพยายามมีอยู่
เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้น ๆ
(๔) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงระลึกชาติได้อย่างอเนก คืออย่างไร
คือแต่ ๑ ชาติ ๒ ชาติ ๓ ชาติ ๔ ชาติ ๕ ชาติ ๑๐ ชาติ ๒๐ ชาติ ๓๐ ชาติ
๔๐ ชาติ ๕๐ ชาติ กระทั่ง ๑๐๐ ชาติ ๑,๐๐๐ ชาติ ๑๐๐,๐๐๐ ชาติ จนหลาย
สังวัฏฏกัป หลายวิวัฏฏกัป และหลายสังวิฏฏวิวัฏฏกัป ว่า ในชาติโน้น เรามี
ชื่ออย่างนั้น มีนามสกุลอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
ได้เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเท่านั้น จุติจากชาตินั้นเกิดในชาติโน้น
ในชาตินั้น เรามีชื่อ มีนามสกุล มีผิวพรรณ มีอาหารอย่างนั้น ๆ ได้เสวย
สุขทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเท่านั้น จุติจากชาตินั้น มาเกิดในชาตินี้ ขอ
เราพึงระลึกชาติได้อย่างอเนกพร้อมทั้งอาการ (คือรูปร่างท่าทางและความเป็น
ไปที่ต่าง ๆ กัน มีผิวพรรณต่างกันเป็นต้น ) พร้อมทั้งอุทเทส (คือสิ่งสำหรับอ้าง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 502
สำหรับเรียก ได้แก่ชื่อและโคตร) อย่างนี้ ดังนี้ ในเมื่อความพยายามมีอยู่
เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้นๆ
(๕) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงมีจักษุทิพย์ อันแจ่มใส เกินจักษุ
มนุษย์สามัญ เห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังจุติ (ตาย) กำลังอุปบัติ (เกิด) เลว ดี
ผิวพรรณงาม ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก รู้ชัดว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นตาม
กรรม (ชี้ได้) ว่า สัตว์เหล่านี้ เจ้าข้า ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ว่าร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด กระทำกรรมไปตามเห็นผิด
สัตว์เหล่านั้น เพราะกายแตกตายไป ก็ไปอบายทุคติวินิบาตนรก หรือว่าสัตว์
เหล่านี้ เจ้าข้า ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ว่าร้าย
พระอริยะ มีความเห็นชอบ กระทำกรรมไปตามความเห็นชอบ สัตว์เหล่านั้น
เพราะกายแตกตายไป ก็ไปสุคติโลกสวรรค์ ขอเราพึงมีจักษุทิพย์อันแจ่มใส
เกินจักษุมนุษย์สามัญ เห็นสัตว์ทั้งหลายกำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ดี ผิว-
พรรณงาม ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก รู้ชัดว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นตามกรรม
อย่างนี้ ดังนี้ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอก็ถึงความเป็นผู้อาจทำให้ประจักษ์
ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้น ๆ
(๖) ถ้าเธอจำนงว่า เราพึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้ ดังนี้ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอก็ถึงความเป็น
ผู้อาจทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้น ๆ.
จบสังฆสูตรที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 503
อรรถกถาสังฆสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสังฆสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โธวติ แปลว่า ล้าง. บทว่า สนฺโธวติ แปลว่า ล้างด้วยดี
คือ ล้างแล้วล้างอีก. บทว่า นิทฺโธวติ แปลว่า ล้างโดยไม่มีมลทินเหลือ.
บทว่า อนิทฺธนฺต คือ ยังไม่ได้ถลุง. บทว่า อนินฺนีตกาสาว คือ ยัง
ไม่ได้ไล่ขี้. บทว่า ปภงฺคุ ได้แก่ มีการแตกสลายไปเป็นสภาพ. เว้นทองคำ
ที่หลอมแล้ว (ที่เหลือ) เพียงเอากำปั้นทุบก็แตก. บทว่า ปฏฺฏกาย ได้แก่
เพื่อต้องการให้เป็นแผ่นทองคำ. บทว่า คีเวยฺยเก ได้แก่ เครื่องประดับคอ.
บทว่า อธิจิตฺต ได้แก่ จิตที่อบรมด้วยสมถะและวิปัสสนา. บทว่า อนุยุตฺ
ตสฺส ได้แก่ เจริญ. บทว่า สเจตโส ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยจิต.
บทว่า ทพฺพชาติโก ได้แก่ เป็นบัณฑิตโดยกำเนิด. ในวิตก
ทั้งหลายมีกามวิตกเป็นต้นมีอธิบายว่า วิตกที่ปรารภกามเกิดขึ้น ชื่อว่า กาม-
วิตก. วิตกที่สัมปยุตด้วยพยาบาท ชื่อว่า พยาปาทวิตก ที่สัมปยุตด้วยวิหิงสา
ชื่อว่า วิหิงสาวิตก.
ในวิตกทั้งหลายมีญาติวิตกเป็นต้น มีอธิบายว่า วิตกที่ปรารภญาติ
เกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ญาติของเราทั้งหลายจำนวนมากมีบุญ ชื่อว่า ญาติ
วิตก. วิตกที่อาศัยเรือนซึ่งปรารภชนบทเกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ชนบทโน้น
ปลอดภัย หาภิกษาได้ง่าย ชื่อว่า ชนปทวิตก. บทว่า น ปณีโต คือ
ไม่เอิบอิ่ม. บทว่า น ปฏิปฺปสฺสทฺธลทฺโธ คือ ไม่ได้ความสงบระงับกิเลส.
บทว่า น เอโกทิภาวาธิคโต คือ ไม่ถึงความเป็นสมาธิ. บทว่า สสขาร-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 504
นิคฺคยฺหวาริตวโต ได้แก่ข่ม คือห้ามกันกิเลสทั้งหลายไว้ด้วยสสังขารอันเป็น
สัปปโยคะ ไม่ใช่เกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไป แต่เกิดขึ้นห้าม
กิเลสทั้งหลาย.
ในบทว่า โหติ โส ภิกฺขเว สมโย นี้ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่า
สมัยได้แก่ เวลาที่ได้สัปปายะ ๕ เหล่านี้ คือ ฤดูสัปปายะ อาหารสัปปายะ
เสนาสนสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ ธัมมัสสวนสัปปายะ.. บทว่า ยนฺต จิตฺต
ได้แก่ ในสมัยใด วิปัสสนาจิตนั้น. บทว่า อชฺฌตฺตเยว สนฺติฏฺติ ได้แก่
ดำรงอยู่ในตนนั่นเอง ก็วิสัยแห่งอารมณ์ที่เที่ยง ชื่อว่า อัชฌัตตะ ในที่นี้
แม้อารมณ์ภายในก็ควร. มีคำอธิบายว่า วิปัสสนาจิตละอารมณ์จำนวนมาก
แล้วตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ทีละอย่าง คือ ในอารมณ์ คือพระนิพพานเท่านั้น.
บทว่า สนฺนิสีทติ ได้แก่ สงบนิ่งด้วยดี. บทว่า เอโกทิภาโว โหติ
ได้แก่ เป็นจิตมีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ. บทว่า สมาธิยติ ได้แก่ตั้งมั่นด้วยดี.
ในบทว่า สนฺโต เป็นต้น มีอธิบายว่า สมาธิ ชื่อว่า สงบ
เพราะสงบระงับกิเลสที่เป็นข้าศึก. สมาธิ ชื่อว่า ประณีต เพราะหมายความว่า
เอิบอิ่ม. สมาธิ ชื่อว่า ได้ความสงบระงับ เพราะได้ความระงับกิเลส. สมาธิ
ชื่อว่า ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะถึงความเป็นธรรมชาติมีอารณ์เดียว
เป็นเลิศ. สมาธิ ที่ชื่อว่า ไม่ต้องข่ม คือ กันกิเลสทั้งหลาย แล้วถูกห้ามไว้ด้วย
สัปปโยคะ เพราะเกิดขึ้นในที่สุดที่กิเลสทั้งหลายถูกตัดขาดไป เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า ไม่ถูกสสังขารข่มกันห้ามไว้. ภิกษุนี้ ชื่อว่า ทำจิตให้หมุนกลับ
แล้วบรรลุพระอรหัตผล ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงการแทงตลอดด้วยอภิญญาของภิกษุนั้น ผู้เป็น
พระขีณาสพ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ยสฺส ยสฺส จ เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 505
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิญฺาสจฺฉิกรณียสฺส ได้แก่ ที่ควรทำให้
ประจักษ์ด้วยรู้ยิ่ง. บทว่า สติ สติ อายตเน ความว่า เมื่ออายตนะกล่าว
คือ บุรพเหตุ และประเภทแห่งฌานเป็นต้นที่จะพึงได้ในบัดนี้ มีอยู่ คือ
เมื่อเหตุมีอยู่ ก็กถาพรรณนาเรื่องอภิญญานี้ ของพระขีณาสพนั้น พึงทราบ
โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล. ส่วนบทว่า อาสวาน
ขยา เป็นต้น ในสูตรนี้พึงทราบว่า ตรัสไว้แล้วด้วยอำนาจผลสมาบัติ.
จบอรรถกถาสังฆสูตรที่ ๑๐
๑๑. สมุคคตสูตร
ว่าด้วยนิมิต ๓
[๕๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ควรมนสิการ
นิมิต ๓ ตามกาลอันควร คือ มนสิการสมาธินิมิต (ข่มจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ใน
อารมณ์เดียว) ตามกาลอันควร มนสิการปัคคาหนิมิต (ทำความเพียรยกจิต
ให้อาจหาญแช่มชื่นขึ้น) ตามกาลอันควร มนสิการอุเบกขานิมิต (เพ่งดูเฉย
อยู่ไม่ข่มไม่ยก เมื่อจิตเรียบร้อยแล้ว) ตามกาลอันควร
ถ้าภิกษุผู้ประกอบอธิจิตจะพึงมนสิการแต่สมาธินิมิตส่วนเดียวไซร้ เป็น
ฐานะอยู่ ที่จิตจะพึงเป็นไปทางโกสัชชะ (ความเกียจคร้านความซึมเซื่อง) ถ้า
จะพึงมนสิการแต่ปัคคาหนิมิตส่วนเดียวเล่า ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะเป็นไปทาง
อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ถ้าจะพึงมนสิการแต่อุเบกขานิมิตโดยส่วนเดียวไซร้
ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะไม่พึงตั้งมั่นเพื่อความสิ้นอาสวะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 506
เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต มนสิการสมาธินิมิตตามกาลอันควร
มนสิการปัคคาหนิมิตตามกาลอันควร มนสิการอุเบกขานิมิตตามกาลอันควร
เมื่อนั้นจิตนั้นจึงจะเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน เป็นจิตผุดผ่อง และมั่น
แน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือช่างทอง เตรียมเบ้าติดไฟ เกลี่ยถ่าน
เอาคีมจับทองวางบนถ่านแล้ว สูบไปตามกาลอันควร พรมน้ำตามกาลอันควร
(หยุดสูบและพรหมน้ำ) เพ่งพิจารณาดู (ว่าสุกหรือยัง) ตามกาลอันควร
ถ้าช่างทองหรือลูกมือสูบเผาทองไปส่วนเดียว ก็เป็นได้อยู่ ที่ทองนั้นจะพึง
แก่ไฟ ถ้าพรมน้ำไปอย่างเดียว ก็เป็นได้อยู่ ที่ทองนั้นจะพึงอ่อนไฟ ถ้าหยุด
เพ่งพิจารณาดูอยู่อย่างเดียว ก็เป็นได้อยู่ ที่ทองนั้นจะไม่สุกดี เมื่อใด ช่างทอง
หรือลูกมือสูบเผาทองไปตามกาลอันควร พรมน้ำตามกาลอันควร หยุดเพ่ง
พิจารณาดูตามกาลอันควร เมื่อนั้น ทองนั้นจึงจะอ่อน ควรแต่งได้ สีสุก
และไม่แตก ใช้การได้ดี จะประสงค์ทำเป็นเครื่องประดับชนิดใด ๆ เช่น
เข็มขัด ตุ้มหู สร้อยคอ สังวาล ก็ได้ตามต้องการ ฉันใด
ฉันนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ควรมนสิการ
นิมิต ๓ ตามกาลอันควร คือ มนสิการสมาธินิมิตตามกำลังอันควร มนสิการ
ปัคคาหนิมิตตามกาลอันควร มนสิการอุเบกขานิมิตตามกาลอันควร ถ้าภิกษุ
ผู้ประกอบอธิจิตจะพึงมนสิการแต่สมาธินิมิตส่วนเดียวไซร้ เป็นฐานะอยู่
ที่จิตจะเป็นไปทางโกสัชชะ. ถ้าจะพึงมนสิการแต่ปัคคาหนิมิตส่วนเดียวเล่า
ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะเป็นไปทางอุทธัจจะ ถ้าจะพึงมนสิการแต่อุเบกขานิมิต
โดยส่วนเดียวไซร้ ก็เป็นฐานะอยู่ ที่จิตจะไม่พึงแน่วแน่เป็นอย่างดีเพื่อความ
สิ้นอาสวะ เมื่อใด ภิกษุผู้ประกอบอธิจิต มนสิการสมาธินิมิตตามกาลอันควร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 507
มนสิการปัคคาหนิมิตตามกาลอันควร มนสิการอุเบกขานิมิตตามกาลอันควร
เมื่อนั้น จิตนั้นจึงเป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน เป็นจิตผุดผ่องและมั่น แน่วแน่
เป็นอย่างดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
เธอน้อมจิต (อย่างนั้น) ไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งอภิญญา
สัจฉิกรณียธรรมใด ๆ ในเมื่อความพยายามมีอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้อาจ
ทำให้ประจักษ์ได้ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้น ๆ (คือ)
(๑) ถ้าเธอจำนงว่า ขอเราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างต่างวิธี ฯลฯ
(เหมือนสูตรก่อนจนจบ).
จบสมุคคตสูตรที่ ๑๑
จบโลณผลวรรคที่ ๕
อรรถกถาสมุคคตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสมุคคตสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-
อธิจิต ได้แก่จิตในสมถะและวิปัสสนานั่นแล. บทว่า ตีณิ นิมิตฺ-
ตานิ ได้แก่ เหตุ ๓. บทว่า กาเลน กาล ได้แก่ ในกาลอันสมควร
อธิบายว่า ตลอดกาลอันเหมาะสม. ในบทว่า กาเลน กาล สมาธินิมิตฺต
มนสิกาตพฺพ เป็นต้น มีอธิบายว่า ภิกษุพึงกำหนดกาลนั้น ๆ แล้ว มนสิการ
ถึงเอกัคคตา (ความที่จิตมีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ) ในเวลาที่จิตประกอบด้วย
เอกัคคตา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 508
เพราะว่า ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเอกัคคตาว่าเป็น
สมาธินิมิต. ในบทว่า สมาธินิมิตฺต นั้น มีความหมายของคำดังนี้ นิมิต
คือ สมาธิ ชื่อว่า สมาธินิมิต. แม้ในสองบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้แล. บทว่า
ปคฺคาโห (การประคองจิต) เป็นชื่อของวิริยะ. บทว่า อุเปกขา เป็นชื่อ
ของมัชฌัตตภาวะ (ความที่จิตเป็นกลาง). เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงมนสิการถึง
วิริยะในเวลาที่เหมาะสมแก่วิริยะ. พึงดำรงอยู่ในมัชฌัตตภาวะในเวลาที่เหมาะ-
สมแก่มัชฌัตตภาวะแล. บทว่า านนฺต จิตฺต โกสชฺชาย สวตฺเตยฺย
ความว่า เหตุที่ทำให้จิตนั้นดำรงอยู่ในภาวะ คือ ความเกียจคร้านมีอยู่. แม้ใน
เหตุนอกนี้ ก็มีนัยนี้แล. และในบทว่า อุเปกขานิมิตฺตเยว มนสิกเรยฺย
นี้มีเนื้อความดังนี้ว่า ภิกษุพึงเพ่งดูความว่องไวแห่งญาณเฉย ๆ. บทว่า อาส-
วาน ขยาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล.
บทว่า อุกฺก พนฺเธยฺย ได้แก่ พึงเตรียมกระเบื้องใส่ถ่าน. บทว่า
อาลิมฺเปยฺย ความว่า พึงใส่ถ่านไปในกระเบื้องใส่ถ่านนั้น แล้วจุดไฟใช้
สูบเป่าให้ไฟติด. บทว่า อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ความว่า พึงคุ้ยเขี่ย
ถ่านเพลิง แล้ววางไว้บนถ่าน หรือใส่ไว้ในเบ้า. บทว่า อชฺฌุเปกฺขติ
ได้แก่ ใคร่ครวญดูว่า ร้อนได้ที่แล้ว.
บทว่า สมฺมา สมาธิยติ อาสวาน ขยาย ได้แก่(จิต) ตั้งมั่น
อยู่โดยชอบ เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล. ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุ
อรหัตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 509
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเป็นเหตุให้บรรลุอภิญญาของพระขีณา-
สพนั้น จึงตรัสคำว่า ยสฺส ยสฺส จ เป็นต้น. คำนั้น พึงทราบตามนัย
ที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล.
อรรถกถาสมุคคตสูตรที่ ๑๑
จบโลณผลวรรควรรณนาที่ ๕
จบทุติยปัณณาสก
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อัจจายิกสูตร ๒. วิวิตตสูตร ๓. สรทสูตร ๔. ปริสาสูตร
๕. ปฐมอาชานียสูตร ๖. ทุติยอาชานียสูตร ๗. ตติยอาชานียสูตร ๘. นวสูตร
๙. โลณกสูตร ๑๐. สังฆสูตร ๑๑.สมุคคตสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 510
ตติยปัณณาสก์
สัมโพธิวรรคที่ ๑
๑. ปุพพสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้
[๕๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยัง
ไม่ได้อภิสัมโพธิญาณ ได้คิดคำนึงว่า ในโลกอะไรหนอเป็นอัสสาทะ (ความ
ยินดี ความเพลิดเพลิน) อะไรหนอเป็นอาทีนพ (โทษที่ไม่น่ายินดี ความ
ขมขื่น) อะไรหนอเป็นนิสสรณะ (ความออกไป ความไม่ติด) เราได้กำหนด
เห็นว่า สุขโสมนัสอาศัยสิ่งใดในโลกเกิดขึ้น นี่เป็นอัสสาทะในโลก ความที่
โลกไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี่เป็นอาทีนพในโลก
การบำบัดเสียซึ่งฉันทราคะ การละเสียซึ่งฉันทราคะ (ความรักใคร่ พอใจ)
ในโลก นี่เป็นนิสสรณะในโลก.
ภิกษุทั้งหลาย เรายังมิได้รู้แจ้งซึ่งอัสสาทะ อาทีนพ และนิสสรณะ
ของโลกอย่างถูกต้องแท้จริงตราบใด เราก็ยังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้อนุตร-
สัมมาสัมโพธิญาณในโลกนี้ ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์ทั้งที่เป็นเทวดาและมนุษย์ทราบนั้น เมื่อใด เรารู้แจ้งชัด
ซึ่งอัสสาทะ อาทีนพ และนิสสรณะของโลกถูกต้องตามเป็นจริงแล้ว เมื่อนั้น
เราจึงปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกนี้ ทั้งเทวโลก มาร-
โลก พรหมโลก ในประชาชนรวมทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งที่เป็นเทวดาและมนุษย์
ก็แลญาณทัสนะ (ความรู้เห็น) ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเรา
ไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี.
จบปุพพสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 511
ตติยปัณณาสก์
สัมโพธิวรรควรรณนาที่ ๑
อรรถกถาปุพพสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปุพพสูตรที่ ๑ แห่งปัณณาสก์ที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปุพฺเพว สมฺโพธา ได้แก่ในกาลก่อนแต่ตรัสรู้ ท่านกล่าว
อธิบายไว้ว่า ในเวลาอื่น (ก่อน) แต่พระอริยมรรคเกิดขึ้นนั่นเอง. บทว่า
อนภิสมฺพุทฺธสฺส ได้แก่ผู้ยังไม่แทงตลอดอริยสัจ ๔. บทว่า โพธิสตฺตสฺ-
เสว สโต ความว่า เมื่อสัตว์ผู้ตรัสรู้นั่นแหละ คือ ผู้เริ่มเพื่อจะบรรลุ
สัมมาสัมโพธิญาณ มีอยู่ หรือว่าผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณ มีอยู่. เพราะว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ของเรา) จำเดิมแต่ มีอภินิหารสำเร็จแล้วด้วยการ
ประมวลธรรม ๘ ประการ แทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ทีปังกร เป็นผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้นเป็นผู้ติด คือข้องอยู่ในโพธิญาณ ทรงพระ
ดำริว่า เราต้องบรรลุพระโพธิญาณนี้ แล้วไม่ทรงละความพยายามเพื่อบรรลุ
พระโพธิญาณนั่นแล เสด็จมาแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า พระโพธิสัตว์.
บทว่า โก นุ โข คือ กตโม นุ โข แปลว่าอะไรหนอแล.
สังขารโลก ชื่อว่า โลก. บทว่า อสฺสาโท ได้แก่ มีอาการชุ่มชื่น. บทว่า
อาทีนโว ได้แก่ มีอาการไม่น่าสดชื่น. บทว่า ตสฺส มยฺห ความว่า
เมื่อเรานั้น คือ ผู้ข้องอยู่ในพระโพธิญาณอย่างนี้ มีอยู่. บทว่า ฉนฺทราค-
ปฏิวินโย ฉนฺทราคปฺปหาน ความว่า เพราะว่า ฉันทราคะ ถึงความ
ปราศไป คือ ละได้ เพราะปรารภ คืออาศัยพระนิพพาน เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 512
พระนิพพาน ท่านจึงเรียกว่า ฉนฺทราควินโย (นำฉันทราคะออกไป)
ฉนฺทราคปฺปหาน (ละฉันทราคะเสียได้). บทว่า อิท โลกนิสฺสรณ
ความว่า พระนิพพานนี้ ท่านเรียกว่า โลกนิสฺสรณ (เป็นแดนแล่นออกไป
จากโลก) เพราะสลัดออกไปแล้วจากโลก. บทว่า ยาวกีว ความว่า ตลอดกาล
มีประมาณเท่าใด. บทว่า อพฺภญฺาสึ ความว่า ได้รู้แล้ว ด้วยอริยมรรค
ญาณ อันประเสริฐยิ่ง. แม้ด้วยบททั้งสองนี้ว่า าณญฺจ ปน เม ทสฺสน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงปัจจเวกขณญาณ. บทที่เหลือในพระสูตรนี้
ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาปุพพสูตรที่ ๑
๒. มนุสสสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้
[๕๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ตรวจค้นอัสสาทะของโลกแล้ว
อันใดเป็นอัสสาทะในโลก เราได้ประสบอันนั้นแล้ว อัสสาทะในโลกมีเท่าใด
อัสสาทะนั้นเราได้เห็นอย่างดีด้วยปัญญาแล้ว เราได้ตรวจค้นอาทีนพของโลก
แล้ว อันใดเป็นอาทีนพในโลก เราได้ประสบอันนั้นแล้ว อาทีนพในโลก
มีเท่าใด อาทีนพนั้นเราได้เห็นอย่างดีด้วยปัญญาแล้ว เราได้ตรวจค้นนิสสรณะ
ของโลกแล้ว อันใดเป็นนิสสรณะในโลก เราได้ประสบอันนั้นแล้ว นิสสรณะ
ในโลกมีอย่างไร นิสสรณะนั้นเราได้เห็นอย่างดีด้วยปัญญาแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย เรายังมิได้รู้แจ้งชัดซึ่งอัสสาทะอาทีนพและนิสสรณะของ
โลกอย่างถูกต้องแท้จริงตราบใด ฯลฯ* บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี.
จบมนุสสสูตรที่ ๒
* ดูปุพพสูตรที่ ๑ ประกอบ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 513
อรรถกถามนุสสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในมนุสสสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสฺสาทปริเยสน อจรึ ความว่า ได้ท่องเที่ยวไป เพื่อ
ประโยชน์แก่การแสวงหาอัสสาทะ. ถามว่า ได้ท่องเที่ยวไป จำเดิมแต่ไหน ?
ตอบว่า ได้ท่องเที่ยวไป ตั้งแต่เป็นสุเมธดาบส*. บทว่า ปญฺาย ได้แก่
มรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า สุทิฏฺโฐ ได้แก่แทงตลอดแล้ว
ด้วยดี. พึงทราบความในทุก ๆ บท โดยอุบายนี้.
จบอรรถกถามนุสสสูตรที่ ๒
๓. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยเหตุให้หลุดพ้นจากโลก
[๕๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอัสสาทะในโลกจักไม่มีแล้วไซร้
สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงติดใจในโลก เพราะเหตุที่อัสสาทะในโลกมีอยู่ เพราะ
เหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงติดใจในโลก
ถ้าอาทีนพในโลกจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่าย
ในโลก เพราะเหตุที่อาทีนพในโลกมีอยู่ เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
เบื่อหน่ายในโลก
ถ้านิสสรณะในโลกจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงออกจาก
โลกได้ ก็เพราะเหตุที่นิสสรณะในโลกมีอยู่ เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
ออกจากโลกได้
* ปาฐะว่า ปฏฺาย ฉบับพม่าเป็น ปฏฺายาติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 514
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ชัดซึ่งอัสสาทะ อาทีนพ และ
นิสสรณะของโลกอย่างถูกต้องตามจริงตราบใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังมีใจถูกกักขัง
ยังติด ยังไม่หลุด ยังไม่พ้น จากโลกนี้ ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จาก
หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ทั้งที่เป็นเทวดาและมนุษย์อยู่ตราบนั้น เมื่อใด
สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งชัดซึ่งอัสสาทะ อาทีนพ และนิสสรณะของโลกอย่างถูกต้อง
ตามจริงแล้ว เมื่อนั้นสัตว์ทั้งหลายจึงมีใจไม่ถูกกักขัง ออกได้หลุดพ้นไปจาก
โลกนี้ ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพรหมณ์
ทั้งที่เป็นเทวดาและมนุษย์.
จบอัสสาทสูตรที่ ๓
ข้อความในบททั้งปวง ในสูตรที่ ๓ ง่ายทั้งนั้น.
๔. สมณสูตร
ว่าด้วยผู้ควรยกย่องเป็นสมณะและพราหมณ์
[๕๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ๆ ไม่รู้
แจ้งชัดซึ่งอัสสาทะ อาทีนพ และนิสสรณะของโลกอย่างถูกต้องตามจริง
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในสมณะทั้งหลาย ไม่
นับว่าเป็นพราหมณ์ในพราหมณ์ทั้งหลาย อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่านั้น หาทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณพราหมณ์
ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง สำเร็จอยู่ปัจจุบันนี้ได้ไม่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 515
ส่วนสมณะ หรือพราหมณ์เหล่าใด ๆ รู้แจ้งชัดซึ่งอัสสาทะ อาทีนพ
และนิสสรณะของโลก อย่างถูกต้องตามจริง สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น
เรานับว่าเป็นสมณะในสมณะทั้งหลาย นับว่าเป็นพราหมณ์ในพราหมณ์ทั้งหลาย
อนึ่ง เธอเหล่านั้นย่อมทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ซึ่งประโยชน์
แห่งความเป็นสมณพราหมณ์สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้ได้.
จบสมณสูตรที่ ๔
อรรถกถาสมณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสมณสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สามญฺตฺถ ได้แก่อริยผลทั้ง ๔ อย่าง. บทนอกนี้เป็น
ไวพจน์ของบทว่า สามญฺตฺถ ทั้งนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามรรค ๔ เพราะ
อรรถว่า ความเป็นสมณะ ชื่อว่า ผล ๔ เพราะอรรถว่า ความเป็นพรหม.
ก็ในพระสูตรทั้ง ๔ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงขันธโลกอย่างเดียว.
จบอรรถกถาสมณสูตรที่ ๔
๕. โรณสูตร
ว่าด้วยความร่าเริงและความเบิกบานในธรรม
[๕๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การร้องไห้ในวินัยของพระอริยะ คือ
การขับร้อง ความเป็นบ้าในวินัยของพระอริยะ คือการฟ้อนรำ ความเป็น
เด็กในวินัยของพระอริยะ คือการหัวเราะจนเห็นฟันอย่างพร่ำเพรื่อ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 516
เหตุนั้น ในเรื่องนี้ พึงชักสะพานเสีย ในส่วนการขับร้อง การฟ้อนรำ
(ส่วนการหัวเราะนั้น) เมื่อท่านทั้งหลายเกิดธรรมปราโมทย์ (ความยินดีร่าเริง
ในธรรม) ก็ควรแต่เพียงยิ้มแย้ม.
จบโรณสูตรที่ ๕
อรรถกถาโรสูตร
สูตรที่ ๕ ข้าพเจ้าจะยกเรื่องขึ้นแสดง ตามอัตถุปปัตติ (เรื่องราวที่
เกิดขึ้น). ถามว่า เรื่องราวเกิดขึ้นอย่างไร. ตอบว่า เรื่องเกิดขึ้นในเพราะ
อนาจาร (การประพฤตินอกรีดนอกรอย) ของพระฉัพพัคคีย์ทั้งหลาย. เล่ากัน
มาว่า พระฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ขับร้อง ฟ้อนรำ หัวเราะ เที่ยวไป. ภิกษุ
ทั้งหลาย พากันกราบทูลพระทศพล พระบรมศาสดาตรัสเรียกภิกษุฉัพพัคคีย์
เหล่านั้นมา แล้วทรงปรารภพระสูตรนี้ เพื่อพุทธประสงค์ จะทรงสั่งสอน
ภิกษุเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณ แปลว่า การร้องไห้. บทว่า
อุมฺมตฺตก ได้แก่ กิริยาของคนบ้า. บทว่า โกมาริก ได้แก่ เรื่องที่เด็ก ๆ
จะต้องกระทำ. บทว่า ทนฺตวิทสกหสิต ได้แก่ การหัวเราะด้วยเสียงอันดัง
ของผู้ยิงฟัน ปรบมือ. ด้วยบทว่า เสตุฆาโต คีเต พระผู้มีด้วยเสียงอันดัง
ทรงแสดงว่า การตัดปัจจัย ในการขับร้องของเธอทั้งหลาย จงยกไว้ก่อน
เธอทั้งหลาย จะละการขับร้อง พร้อมทั้งเหตุ. แม้ในการฟ้อนรำ ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 517
บทว่า อล แปลว่า ควรแล้ว. เหตุตรัสเรียกว่า ธรรม ในบทนี้ว่า
ธมฺมปฺปโมทิตาน สต เมื่อคนทั้งหลาย รื่นเริง บันเทิงอยู่ด้วยเหตุบางอย่าง
บทว่า สิต สิตมตฺตาย มีคำอธิบายว่า เมื่อมีเหตุที่ต้องหัวเราะ การหัวเราะ
ที่เธอจะกระทำเพียงเพื่อยิ้ม คือเพื่อแสดงเพียงอาการเบิกบาน ให้เห็นปลายฟัน
เท่านั้น ก็พอแล้ว สำหรับเธอทั้งหลาย.
จบอรรถกถาโรณสูตรที่ ๕
๖. อติตตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เสพไม่รู้อิ่ม ๓ อย่าง
[๕๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอิ่มหนำในการเสพสิ่งทั้ง ๓ ไม่มี
สิ่งทั้ง ๓ คืออะไร คือความหลับ การดื่มสุราเมรัย การประกอบเมถุนธรรม
ความอิ่มหนำในการเสพสิ่งทั้ง ๓ นี้แล ไม่มี.
จบอติตตสูตรที่ ๖
อรรถกถาอติตตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอติตตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุปฺปสฺส ได้แก่ความหลับ. บทว่า ปฏิเสวนาย นตฺถิ
ติตฺติ ความว่า จะเสพไปเท่าไร ๆ ก็ยังพอใจอยู่เท่านั้น ๆ เพราะฉะนั้น
ขึ้นชื่อว่า ความอิ่มจึงยังไม่มี. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ก็ถ้าหากน้ำในมหาสมุทรจะกลายเป็นสุราไป และนักเลงสุราจะเกิดเป็นปลา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 518
เมื่อเขาแหวกว่ายอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ในน้ำนั้น ขึ้นชื่อว่า ความอิ่มก็ไม่พึงมี.
ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงวัฏฏะอย่างเดียว.
จบอรรถกถาอติตตสูตรที่ ๖
๗. ปฐมกูฏสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เกิดจากการรักษาและไม่รักษาจิต
[๕๔๙] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาว่า
คฤหบดี เมื่อจิตอันบุคคลไม่รักษาแล้ว กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม. ก็เป็นอันไม่ได้รักษาด้วย เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ไม่ได้รักษาแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมก็เปียก (ด้วยน้ำ คือ
กิเลสโทษ) เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เปียกแล้ว กายกรรม
วจีกรรม มโนกรรมก็เสีย บุคคลผู้มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมเสีย
การตายย่อมไม่เป็นการตายดี
เปรียบเหมือนเรือนยอด เมื่อมุงไม่ดี ทั้งยอด ทั้งกลอน ทั้งฝา
เป็นอันไม่ได้รักษา ก็เปียก ก็ผุ ฉันใด เมื่อจิตอันบุคคลไม่รักษา
แล้ว ฯลฯ การตายย่อมไม่เป็นการตายดี ฉันนั้น
คฤหบดี เมื่อจิตอันบุคคลรักษาแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ก็เป็นอันได้รักษาด้วย เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมได้รักษาแล้ว
กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมก็ไม่เปียก เมื่อกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
ไม่เปียกแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมก็ไม่เสีย บุคคลผู้มีกายกรรม
วจีกรรม มโนกรรมไม่เสีย การตายย่อมเป็นการตายดี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 519
เปรียบเหมือนเรือนยอด เมื่อมุงดีแล้ว ทั้งยอด ทั้งกลอน ทั้งฝา
เป็นอันได้รักษา ก็ไม่เปียก ไม่ผุ ฉันใด เมื่อจิตอันบุคคลรักษาแล้ว ฯลฯ
การตายย่อมเป็นการตายดี ฉันนั้น.
จบปฐมกูฏสูตรที่ ๗
อรรถกถาปฐมสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมกูฏสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อวสฺสุต โหติ แปลว่า ย่อมเปียก. บทว่า น ภทฺทก
มรณ โหติ ความว่า การตายดี เธอก็ไม่ได้เพราะกรรมทั้ง ๓ เป็นปัจจัย
แห่งปฏิสนธิในอบาย. บทว่า กาลกิริยา เป็นไวพจน์ของบทว่า มรณ นั่นเอง.
พึงทราบวินิจฉัย ในธรรมฝ่ายสุกปักษ์ (ธรรมฝ่ายขาว) ดังต่อไปนี้ การตายดี
เป็นอันเธอได้แล้ว เพราะกรรมทั้ง ๓ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในสวรรค์ แต่
การตายนั้น ใช้ได้สำหรับพระอริยสาวกทั้งหลาย ๓ จำพวก มีพระโสดาบัน
เป็นต้น โดยส่วนเดียวเท่านั้น. บทที่เหลือ ในพระสูตรนี้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปฐมกูฏสูตรที่ ๗
๘. ทุติยกูฏสูตร
ว่าด้วยกรรมพินาศและไม่พินาศเพราะจิต
[๕๕๐] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนาว่า
คฤหบดี เมื่อจิตร้ายแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมก็ร้ายด้วย
การตายของบุคคลผู้มีกายกรรมวจีกรรมมโนกรรมร้าย ย่อมไม่เป็นการตายดี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 520
เปรียบเหมือนเรือนยอดเมื่อมุงไม่ดี ยอด กลอน ฝา ก็เสียด้วย ฉันใด
เมื่อจิตร้ายแล้ว ฯลฯ ย่อมไม่เป็นการตายดี ฉันนั้น
คฤหบดี เมื่อจิตไม่ร้ายแล้ว กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ก็ไม่ร้าย
การตายของบุคคลผู้มีกายกรรมวจีกรรมมโนกรรมไม่ร้าย ย่อมเป็นการตายดี
เปรียบเหมือนเรือนยอดเมื่อมุงดี ยอด กลอน ฝา ก็ไม่เสียฉันใด เมื่อจิต
ไม่ร้ายแล้ว ฯลฯ ย่อมเป็นการตายดี ฉันนั้น.
จบทุติยกูฏสูตรที่ ๘
อรรถกถาทุติยกูฏสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยกูฏสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พฺยาปนฺน ได้แก่จิตที่ละปกติภาพแล้วตั้งอยู่ บทที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วในสูตรก่อนนั่นแล.
จบอรรถกถาทุติยกูฏสูตรที่ ๘
๙. ปฐมนิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งธรรม ๓ อย่าง
[๕๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุอกุศลมูล ๓ นี้ เพื่อความเกิด
ขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม ต้นเหตุ ๓ คืออะไร คือ โลภะ โทสะ โมหะ
เป็นต้นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
กรรมที่บุคคลทำด้วยโลภะ โทสะ โมหะ เกิดแต่โลภะ
โทสะ โมหะ มีโลภะ โทสะ โมหะเป็นต้นเหตุ มีโลภะ โทสะ
โมหะเป็นแดนเกิดอันใด กรรมนั้นเป็นอกุศล กรรมนั้นมีโทษ กรรมนั้นมี
ทุกข์เป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อกรรมสมุทัย (ความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่ง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 521
กรรม) กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อกรรมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม) นี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ ๓ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ ๓ นี้ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
ต้นเหตุ ๓ คืออะไร คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นต้นเหตุเพื่อ
ความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
กรรมที่บุคคลทำเพราะอโลภะ อโทสะ อโมหะ เกิดแต่อโลภะ
อโทสะ อโมหะ มีอโลภะ อโทสะ อโมหะเป็นต้นเหตุ มีอโลภะ
อโทสะ อโมหะ เป็นแดนเกิดอันใด กรรมนั้นเป็นกุศล กรรมนั้นหา
โทษมิได้ กรรมนั้นมีสุขเป็นผล กรรมนั้นเป็นไปเพื่อกรรมนิโรธ กรรมนั้น
ไม่เป็นไปเพื่อกรรมสมุทัย นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ ๓ เพื่อความเกิดขึ้น
พร้อมมูลแห่งกรรม.
จบปฐมนิทานสูตรที่ ๙
อรรถกถาปฐมนิทานสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมนิทานสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นิทานานิ ได้แก่เหตุทั้งหลาย. บทว่า กมฺมาน สมุทยาย
ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การทำการประมวลมาซึ่งกรรมที่เป็นวัฏฏคามี (กรรม
ที่ทำให้สัตว์เวียนว่ายตายเกิด). บทว่า โลภปกต ความว่า ทำด้วยความโลภ.
บทว่า สาวชฺช แปลว่า มีโทษ. บทว่า ต กมฺม กมฺมสมุทยาย สวตฺตติ
ความว่า กรรมนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การทำการประมวล ซึ่งกรรม
สมุทัย (เหตุที่จะให้เกิดกรรม) แม้เหล่าอื่นที่เป็นวัฏฏคามี. บทว่า น ต กมฺม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 522
กมฺมนิโรธาย ความว่า แต่กรรมนั้นไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การดับ
วัฏฏคามีกรรม. พึงทราบวินิจฉัย ในกรรมฝ่ายขาวดังต่อไปนี้ บทว่า กมฺมาน
สมุทยาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การเกิดขึ้นแห่งวัฏฏคามีกรรม. บททั้งปวง
พึงทราบความโดยนัยนี้.
จบอรรถกถาปฐมนิทานสูตรที่ ๙
๑๐. ทุติยนิทานสูตร
ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งกรรม ๓ อย่าง
[๕๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ ๓ นี้ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อม
มูลแห่งกรรม ต้นเหตุ ๓ คืออะไรบ้าง คือความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรม
ทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ (ความรักใคร่ พอใจ) ที่เป็นอดีต ๑
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็น
อนาคต ๑ ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันท-
ราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ
ที่เป็นอดีตอย่างไร ? คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ
ที่ล่วงไปแล้ว เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความพอใจแล้ว
ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็นสังโยชน์
(เครื่องผูก) ความพอใจเกิด เพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่ง
ฉันทราคะที่เป็นอดีตอย่างนี้แล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 523
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ
ที่เป็นอนาคตอย่างไร ? คือบุคคลตรึกตรองไปถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันท-
ราคะที่ยังไม่มาถึง เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความ
พอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็น
สังโยชน์ ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะ
ที่เป็นอนาคตอย่างนี้แล
ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็น
ปัจจุบันอย่างไร คือบุคคลตรึกตรองถึงธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่
เกิดขึ้นจำเพาะหน้า เมื่อตรึกตรองตามไป ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้เกิดความ
พอใจแล้ว ก็ชื่อว่าถูกธรรมเหล่านั้นผูกไว้แล้ว เรากล่าวความติดใจนั้น ว่าเป็น
สังโยชน์ ความพอใจเกิดเพราะปรารภธรรมอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็น
ปัจจุบันอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ ๓ นี้แล เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นเหตุ ๓ นี้ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมแห่ง
กรรม ต้นเหตุ ๓ คืออะไร คือความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย
อันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอดีต ๑ ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรม
ทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นอนาคต ๑ ความพอใจไม่เกิดเพราะ
ปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็นปัจจุบัน ๑
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันท-
ราคะที่เป็นอดีตอย่างไร ? คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรมอันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่ล่วงแล้ว ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว กลับใจเสียจาก
เรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 524
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็น
อดีตอย่างนี้แล
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลาย อันเป็นฐานแห่งฉันท-
ราคะที่เป็นอนาคตอย่างไร ? คือบุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรมอันเป็น
ฐานแห่งฉันทราคะที่ยังไม่มาถึง ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอัน ยืดยาวแล้ว กลับใจเสีย
จากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เป็น
อนาคตอย่างนี้แล
ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันท-
ราคะที่เป็นปัจจุบันอย่างไร คือ บุคคลรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวของธรรมอัน
เป็นฐานแห่งฉันทราคะที่เกิดขึ้นจำเพาะหน้า ครั้นรู้ชัดซึ่งวิบากอันยืดยาวแล้ว
กลับใจเสียจากเรื่องนั้น ครั้นกลับใจได้แล้ว คลายใจออก ก็เห็นแจ้งแทงตลอด
ด้วยปัญญา ความพอใจไม่เกิดเพราะปรารภธรรมทั้งหลายอันเป็นฐานแห่งฉันท-
ราคะที่เป็นปัจจุบันอย่างนี้แล.
ภิกษุทั้งหลาย นี้ต้นเหตุ ๓ เพื่อความเกิดขึ้นพร้อมมูลแห่งกรรม.
จบทุติยนิทานสูตรที่ ๑๐
จบสัมโพธิวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 525
อรรถกถาทุติยนิทานสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยนิทานสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า กมฺมาน ได้แก่ กรรมที่เป็นวัฏฏคามีนั่นเอง. บทว่า
ฉนฺทราคฏฺานิเย ความว่า เป็นเหตุแห่งฉันทราคะ. บทว่า อารพฺภ
ได้แก่อาศัย คือหมายเอา เจาะจง. บทว่า ฉนฺโท ได้แก่ความพอใจด้วย
อำนาจแห่งตัณหา. บทว่า โย เจตโส สาราโค ความว่า ความกำหนัด
ความยินดีแห่งจิต ความที่จิตกำหนัดแล้ว อันใด ความกำหนัดแห่งจิตนี้
เราตถาคตกล่าวว่า เป็นสังโยชน์ คือเป็นเครื่องผูก.
พึงทราบวินิจฉัยในธรรมฝ่ายขาว ดังต่อไปนี้ บทว่า กมฺมาน
ได้แก่กรรมที่เป็นวิวัฏฏคามี (กรรมที่เลิกหมุนเวียน). บทว่า ตทภินิวตฺเตติ
ความว่า ให้ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะเป็นต้น และวิบากของธรรมนั้น
หมุนกลับเฉพาะ คือว่า เมื่อใดเขารู้ คือ เข้าใจวิบาก โดยเป็นที่ตั้ง
(แห่งฉันทราคะเป็นต้น) เมื่อนั้น เขาจะยังธรรมเหล่านั้นด้วย วิบากนั้นด้วย
ให้หมุนกลับเฉพาะ. อนึ่ง ด้วยบทนี้ พระองค์ตรัสวิปัสสนาไว้แล้ว. ด้วยบทว่า
ตทภินิวฏฺเฏตฺวา นี้ ตรัสมรรคไว้. แต่ด้วยบทว่า เจตสา อภิวิราเชตฺวา
นี้ ตรัสมรรคไว้อย่างเดียว. บทว่า ปญฺาย อติวิชฺฌ ปสฺสติ ความว่า
เห็นทะลุ ปรุโปร่ง ด้วยมรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา. ในทุก ๆ บท
พึงทราบความอย่างนี้ ก็ในพระสูตรนี้ ตรัสไว้ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะฉะนี้แล.
จบทุติยนิทานสูตรที่ ๑๐
จบสัมโพธิวรรควรรณนาที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 526
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปุพพสูตร ๒. มนุสสสูตร ๓. อัสสาทสูตร ๔. สมณสูตร
๕. โรณสูตร ๖. อติตตสูตร ๗. ปฐมกูฏสูตร ๘. ทุติยกูฏสูตร ๙. ปฐม-
นิทานสูตร ๑๐. ทุติยนิทานสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 527
อาปายิกวรรคที่ ๒
๑. อาปายิกสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวกที่ต้องไปอบายภูมิ
[๕๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ นี้ ไม่ละโทษนี้ เป็นคนอบาย
เป็นคนนรก บุคคล ๓ คือใคร คือบุคคลไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญาณตน
ว่าเป็นพรหมจารี ๑ บุคคลกำจัดท่านผู้เป็นพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ประพฤติ
พรหมจรรย์หมดจดอยู่ ด้วยอพรหมจรรย์ อันไม่มีมูล ๑ บุคคลผู้พูดอย่างนี้
โดยปกติ เห็นอย่างนี้โดยปกติว่า โทษในกามทั้งหลายไม่มี จมอยู่ในกาม
ทั้งหลาย ๑ นี้แล บุคคล ๓ ไม่ละโทษนี้ เป็นคนอบาย เป็นคนนรก.
จบอาปายิกสูตรที่ ๑
อาปายิกวรรควรรณนาที่ ๒
อรรถกถาอาปายิกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอาปายิกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อาปายิกา เพราะจะไปสู่อบาย. สัตว์ทั้งหลาย
ชื่อว่า เนรยิกา เพราะจะไปสู่นรก. บทว่า อิทมปฺปหาย นี้ ความว่า
ไม่ละกรรมชั่วทั้ง ๓ มีการปฏิญาณตนว่า เป็นพรหมจารี เป็นต้นนี้. บทว่า
พฺรหฺมจารีปฏิญฺโ ได้แก่ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์เทียม. อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่ผู้มีปฏิญาณอย่างนี้ว่า แม้เราก็เป็นพรหมจารี โดยไม่ละอากัปกิริยาของ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 528
พวกเขา. บทว่า อนุทฺธเสติ ความว่า ด่า คือบริภาษ ได้แก่ติเตียน.
บทว่า นตฺถิ กาเมสุ โทโส ความว่า ผู้ซ่องเสพกิเลสกามและวัตถุกาม
ไม่มีโทษ. บทว่า ปาตพฺยต ความว่า ความเป็นผู้จะต้องดื่ม คือความเป็นผู้
จะต้องบริโภค ได้แก่ความเป็นผู้จะต้องดื่มกิน เหมือนการดื่มน้ำของผู้กระ-
หายน้ำ ด้วยจิตปราศจากความรังเกียจ. ในพระสูตรนี้ ตรัสวัฏฏะไว้อย่างเดียว.
จบอรรถกถาอาปายิกสูตรที่ ๑
๒. ทุลลภสูตร
ว่าด้วยบุคคลหาได้ยาก ๓ จำพวก
[๕๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความมีปรากฏแห่งบุคคล ๓ หาได้ยาก
ในโลก บุคคล ๓ คือใคร คือ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ๑ บุคคล
ผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บุคคลผู้กตัญญูกตเวที ๑ ความมี
ปรากฏแห่งบุคคล ๓ นี้แล หาได้ยากในโลก
จบทุลลภสูตรที่ ๒
อรรถกถาทุลลภสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุลลภสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กตญฺญู กตเวที ได้แก่ บุคคลผู้รู้กรรมที่เขาทำแล้ว (แก่ตน)
ว่า ผู้นี้ทำคุณแก่เรา ดังนี้แล้ว ทำการตอบแทนให้ผู้อื่นรู้ คือให้ปรากฏ.
จบอรรถกถาทุลลภสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 529
๓. อัปปเมยยสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวก
[๕๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่
ในโลก บุคคล ๓ คือใคร คือ (สุปฺปเมยฺย) คนประมาณง่าย (ทุปฺปเมยฺย)
คนประมาณยาก (อปฺปเมยฺย) คนประมาณไม่ได้
คนประมาณง่ายเป็นอย่างไร ? บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นคนหยิ่ง
ยกตัวเอง หลุกหลิก ปากกล้า พูดพล่าม ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ใจไม่
มั่นคง วอกแวก มีอินทรีย์อันเปิดเผย (คือ ไม่สำรวมอินทรีย์) นี่เรียกว่า
คนประมาณง่าย
คนประมาณยากเป็นอย่างไร ? บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นคนไม่หยิ่ง
ไม่ยกตัว ไม่หลุกหลิก ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม ตั้งสติ มีสัมปชัญญะ
ใจมั่นคง แน่วแน่ มีอินทรีย์อันสำรวม นี่เรียกว่า คนประมาณยาก.
คนประมาณไม่ได้เป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นพระ
อรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว นี่เรียกว่า คนประมาณไม่ได้.
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบอัปปเมยยสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 530
อรรถกถาอัปปเมยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัปปเมยยสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-
บุคคล ชื่อว่า สุปฺปเมยฺโย เพราะประมาณได้โดยง่าย. ชื่อว่า
ทุปฺปเมยฺโย เพราะประมาณได้โดยยาก. ชื่อว่า อปฺปเมยฺโย เพราะไม่อาจ
ประมาณได้. บทว่า อุนฺนโฬ ได้แก่ บุคคลผู้เป็นเหมือนไม้อ้อที่พุ่งขึ้น
อธิบายว่า ยกมานะที่ว่างเปล่าขึ้นตั้งไว้. บทว่า จปโล ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย
ความหลุกหลิก มีการตกแต่งบาตรเป็นต้น. บทว่า มุขโร ได้แก่ คนปากจัด.
บทว่า วิกิณฺณวาโจ ได้แก่ คนผู้ไม่สำรวมถ้อยคำ. บทว่า อสมาหิโต
ได้แก่ ผู้ไม่มีจิตเป็นสมาธิ. บทว่า วิพฺภนฺตจิตฺโต ได้แก่ ผู้มีจิตเปลี่ยว
เปรียบเหมือนแม่โค และเนื้อป่า ตัวตื่นเตลิด. บทว่า ปากตินทฺริโย ได้แก่
ผู้มีอินทรีย์อันเปิดเผย. บทที่เหลือในพระสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอัปปเมยยสูตรที่ ๓
๔. อาเนญชสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญอรูปฌาน ๓ จำพวก
[๕๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่
ในโลก บุคคล ๓ คือใคร คือบุคคลลางคนในโลกนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา
(ความกำหนดในรูปธรรม อันเป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน) หมด ดับปฏิฆสัญญา
(ความกำหนดในปฏิฆะ) หมด ไม่ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา (ความกำหนด
มีอาการต่าง ๆ กัน ) หมด (ถืออากาศเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (อนนฺโต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 531
อากาโส) อากาศหาที่สุดมิได้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานอยู่ บุคคลนั้นติดใจ
ยินดีปลื้มใจด้วยฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่
ด้วยฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น ) จนกระทำกาลกิริยา
ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าอากาสานัญจายตนะ
ภิกษุทั้งหลาย ๒๐,๐๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอากา-
สานัญจายตนะ (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น ) ที่เป็นปุถุชน อยู่จนตลอดกำหนด
อายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิด
ดิรัจฉานก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น ) ที่เป็น
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้วย่อม
บ่รินิพพานในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้
สดับกับปุถุชนผู้มีได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่ (คือยังต้องเวียนเกิดอยู่)
อีกข้อหนึ่ง บุคคลลางคนในโลกนี้ล่วงอากาสานัญจายตนะหมด (ถือ
วิญญาณเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (อนนฺต วิญฺาณ) วิญญาณหาที่สุดมิได้
เข้าวิญญาณัญจายตนฌานอยู่ บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วยฌานนั้น ยับยั้ง
อยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่ด้วยฌานนั้น มากด้วยฌานนั้นอยู่
ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น) จนกระทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่า
วิญญาณัญจายตนะ.
ภิกษุทั้งหลาย ๔๐,๐๐๐ กัป เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าวิญญา-
ณัญจายตนะ. (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นปุถุชน อยู่ตลอดกำหนดอายุ
ในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิดดิรัจฉาน
ก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นสาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพาน
ในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้สดับกับ
ปุถุชนมิได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 532
อีกข้อหนึ่งบุคคลลางคนในโลกนี้ ล่วงวิญญาณัญจายตนะหมด (ถือ
เอาความไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่งเป็นอารมณ์) บริกรรมว่า (นตฺถิ กิญฺจิ)
ไม่มีอะไร ๆ เข้าอากิญจัญญายตนฌาน อยู่บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วย
ฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในฌานนั้น ปักใจในฌานนั้น น้อมใจอยู่ด้วยฌานนั้น
มากด้วยฌานนั้น อยู่ไม่เสื่อม (จากฌานนั้น) จนกระทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิด
อยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าอากิญจัญญายตนะ.
ภิกษุทั้งหลาย ๖๐,๐๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอากิญ
จัญญายตนะ (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นปุถุชนอยู่ตลอดกำหนดอายุใน
เทวโลกชั้นนั้นแล้ว (จุติจากเทวโลกนั้น) ไปนรกก็ได้ ไปกำเนิดดิรัจฉาน
ก็ได้ ไปกำเนิดเปรตก็ได้ ส่วน (บุคคลผู้สำเร็จฌานนั้น) ที่เป็นสาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่ตลอดกำหนดอายุในเทวโลกชั้นนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพาน
ในภพนั้นนั่นเอง นี่เป็นความพิเศษแปลกต่างกันแห่งอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
กับปุถุชนผู้มีได้สดับ เฉพาะในเมื่อคติอุปบัติมีอยู่.
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก.
จบอาเนญชสูตรที่ ๔
อรรถกถาอาเนญชสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอาเนญชสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตทสฺสาเทติ ได้แก่ ชอบใจฌานนั้นน. บทว่า ต นิกาเมฺติ
ได้แก่ ปรารถนาฌานนั้นแหละ. บทว่า เตน จ วิตฺตึ อาปชฺชติ ได้แก่
ถึงความยินดีด้วยฌานนั้น. บทว่า ตตฺถ ิโต ได้แก่ ตั้งอยู่ในฌานนั้น.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 533
บทว่า ตทฺธิมุตฺโต ได้แก่น้อมใจไปในฌานนั้นแหละ. บทว่า ตพฺพหุลวิ หารี
ได้แก่ อยู่กับฌานนั้นเป็นส่วนมาก. บทว่า สหพฺยต อุปปชฺชติ ได้แก่
เข้าถึงความเป็นสหาย อธิบายว่า ย่อมบังเกิดในเทวโลกนั้น.
คำมีอาทิว่า นิรยมฺปิ คจฺฉติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงการ
ไปนรกนั้น ด้วยสามารถแห่งปริยายอื่น เพราะไม่พ้นจากนรกเป็นต้นไปได้
เพราะว่า เขาไม่มีอกุศลกรรมที่มีกำลังมากกว่าอุปจารฌาน ซึ่งจะเป็นเหตุให้
เกิดในอบายติดต่อกัน. บทว่า ภควโต ปน สาวโก ได้แก่พระสาวก
องค์ใดองค์หนึ่ง บรรดาพระสาวกผู้เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และ
พระอนาคามีทั้งหลาย. บทว่า ตสฺมึเยว ภเว ได้แก่ ในอรูปภพนั่นเอง.
บทว่า ปรินิพฺพายติ ความว่า จะปรินิพพาน ด้วยปรินิพพานที่หาปัจจัยมิได้.
ความเพียรเป็นเครื่องประกอบอย่างยิ่ง ชื่อว่า อธิปฺปายาโส คำที่เหลือใน
พระสูตรนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว นั่นแล. อนึ่ง ในพระสูตรนี้ ฌาน
ที่จะเป็นเหตุให้อุปบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้สำหรับปุถุชน สำหรับ
พระอริยสาวก ตรัสทั้งความที่เป็นเหตุให้อุปบัตินั่นเอง ทั้งฌานที่เป็นบาท
แห่งวิปัสสนาด้วย.
จบอรรถกถาอาเนญชสูตรที่ ๔
๕. อยสูตร
ว่าด้วยวิบัติ ๓ และสัมปทา ๓
[๕๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิบัติ (ความเสีย) ๓ นี้ วิบัติ ๓ คือ
อะไร คือ สีลวิบัติ (ความเสียทางศีล) จิตตวิบัติ (ความเสียทางจิต) ทิฏฐิ-
วิบัติ (ความเสียทางทิฏฐิ)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 534
สีลวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้ เป็นคนมักทำปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มักพูดมุสาวาท ปิสุณาวาจา (คำส่อเสียด)
ผรุสวาจา (คำหยาบ) สัมผัปปลาป (คำเหลวไหล) นี่เรียกว่าสีลวิบัติ
จิตตวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้ เป็นคนมีอภิชฌา
(เห็นแก่ได้) มีใจพยาบาท นี่เรียกว่าจิตตวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้ เป็นมิจฉาทิฎฐิ
มีความเห็นวิปริต (ผิดจากคลองธรรม) ว่า (๑) ทานไม่มีผล (๒) การบูชา
ไม่มีผล (๓) การบวงสรวงไม่มีผล (๔) ผลวิบากของกรรมดีและชั่วไม่มี (๕)
โลกนี้ไม่มี (๖) โลกอื่นไม่มี (๗) มารดาไม่มี (๘) บิดาไม่มี (๙) สัตว์
ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี (๑๐) สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินถูกทางผู้ปฏิบัติชอบ
ที่กระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองแล้วสอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้
ไม่มีในโลก นี่เรียกว่าทิฏฐิวิบัติ
สัตว์ทั้งหลายเพราะกายแตกไปย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก เหตุ-
สีลวิบัติบ้าง เหตุจิตตวิบัติบ้าง เหตุทิฏฐิวิบัติบ้าง
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา (ความถึงพร้อม) ๓ นี้ สัมปทา ๓
คืออะไร คือ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา
สีลสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นจากปาณา-
ติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากมุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา
สัมผัปปลาป นี้เรียกว่าสีลสัมปทา
จิตตสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้ไม่มีอภิชฌา ไม่มี
ใจพยาบาท นี่เรียกว่าจิตตสัมปทา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 535
ทิฏฐิสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้ เป็นสัมมาทิฏฐิ
มีความเห็นไม่วิปริตว่า (๑) ทานมีผล (๒) การบูชามีผล (๓) การบวงสรวง
มีผล (๔) ผลวิบากของกรรมดีและชั่วมี (๕) โลกนี้มี (๖) โลกอื่นมี (๗)
มารดามี (๘) บิดามี (๙) สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะมี (๑๐) สมณพราหมณ์
ผู้ดำเนินถูกทาง ผู้ปฏิบัติชอบ ที่กระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
แล้วสอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้มีอยู่ในโลก นี่เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา
สัตว์ทั้งหลายเพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เหตุ-
สีลสัมปทาบ้าง เหตุจิตตสัมปทาบ้าง เหตุทิฏฐิสัมปทาบ้าง
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓.
จบอยสูตรที่ ๕
อรรถกถาอยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอยสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สีลวิปตฺติ ได้แก่ อาการที่ศีลวิบัติ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัย
นี้แหละ. ด้วยบทว่า นตฺถิ ทินฺน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาความที่
ทานที่ให้แล้วไม่มีผล. การบูชาใหญ่ เรียกว่า ยิฏะ. ลาภสักการะที่เพียงพอ
ทรงประสงค์เอาว่า หุตะ. มิจฉาทิฏฐิบุคคล ห้ามยิฏะ และหุตะ ทั้งสอง
นั้น ว่าไม่มีผลเลย. บทว่า สุกฏทุกฺกฏาน ได้แก่ กรรมที่ทำดีและทำชั่ว
อธิบายว่า ได้แก่กุศลกรรม และอกุศลกรรม. ด้วยบทว่า ผล วิปาโก
มิจฉาทิฏฐิบุคคลกล่าวสิ่งที่เรียกว่า ผล หรือ วิบาก ว่าไม่มี.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 536
บทว่า นตฺถิ อย โลโก ความว่า โลกนี้ไม่มีสำหรับผู้ที่ตั้งอยู่
ในโลกหน้า. บทว่า นตฺถิ ปโร โลโก ความว่า โลกหน้าไม่มีแม้สำหรับ
ผู้ตั้งอยู่ในโลกนี้. มิจฉาทิฏฐิบุคคล แสดงว่า สัตว์ทั้งหมด (ตายแล้ว) ย่อม
ขาดสูญ ในโลกนั้น ๆ นั่นเอง. ด้วยบทว่า นตฺถิ มาตา นตฺถิ ปิตา
มิจฉาทิฏฐิบุคคล กล่าวโดยสามารถแห่งการปฏิบัติชอบ และการปฏิบัติผิดใน
มารดา บิดา เหล่านั้นว่าไม่มีผล. บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา
ความว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์ ที่จะจุติแล้วเกิดไม่มี. ความบริบูรณ์ ชื่อว่า สมฺปทา
ความที่ศีลบริบูรณ์ไม่บกพร่อง ชื่อว่า สีลสัมปทา. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อตฺถิ ทินฺน เป็นต้น นักศึกษาพึงถือเอาโดย
นัยที่ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.
จบอรรถกถาอยสูตรที่ ๕
๖. อปัณณกสูตร
ว่าด้วยวิบัติ ๓ และสัมปทา ๓
[๕๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ นี้ วิบัติ ๓ คืออะไร คือ
สีลวิบัติ จิตตวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ
สีลวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำปาณาติบาต
ฯลฯ สัมผัปปลาป นี้เรียกว่า สีลวิบัติ
จิตตวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้มีอภิชฌา มีใจ
พยาบาท นี่เรียกว่า จิตตวิบัติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 537
ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความ
เห็นวิปริตว่า (๑) ทานไม่มีผล ฯลฯ สอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้ไม่มีในโลก
นี่เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ
สัตว์ทั้งหลายเพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก
เหตุสีลวิบัติบ้าง เหตุจิตตวิบัติบ้าง เหตุทิฏฐิวิบัติบ้าง เปรียบเหมือนลูกบาศก์
ซัดขึ้นแล้ว ย่อมกลับมาตั้งอยู่โดยที่ใด ๆ ก็กลับมาตั้งอยู่อย่างดี ฉันใด สัตว์
ทั้งหลายเพราะกายแตกตายไป ฯลฯ เหตุทิฏฐิวิบัติบ้าง ฉันนั้น เหมือนกัน
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ นี้ สัมปทา ๓ คืออะไรบ้าง คือ
สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา
สีลสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นจากปาณา-
ติบาต ฯลฯ สัมผัปปลาป นี่เรียกว่า สีลสัมปทา
จิตตสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา
ไม่มีใจพยาบาท นี่เรียกว่า จิตตสัมปทา
ทิฏฐิสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ มี
ความเห็นไม่วิปริตว่า (๑) ทานมีผล ฯลฯ สอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้ มีอยู่
ในโลก นี่เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา
สัตว์ทั้งหลายเพราะกายแตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เหตุ
สีลสัมปทาบ้าง เหตุจิตตสัมปทาบ้าง เหตุทิฏฐิสัมปทาบ้าง เปรียบเหมือน
ลูกบาศก์ ซัดขึ้นแล้ว ย่อมกลับมาตั้งอยู่โดยที่ใด ๆ ก็กลับมาตั้งอยู่อย่างดี
ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเพราะกายแตกตายไป ฯลฯ เหตุทิฏฐิสัมปทาบ้าง ฉันนั้น
เหมือนกัน นี้แล ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓
จบอปัณณกสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 538
อรรถกถาอปัณณกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอปัณณกสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปณฺณโก มณิ ได้แก่ลูกบาศก์ (ลูกสะกา) อันประกอบ
แล้วด้วย เหลี่ยม ๖ เหลี่ยม. บทว่า สุคตึ สคฺค ได้แก่ โลกคือสวรรค์
ในบรรดาสวรรค์ ๖ ชั้น มีชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.
ในพระสูตรนี้ ตรัสธรรมทั้งสองประการ คือศีลและสัมมาทิฏฐิ คลุกเคล้ากันไป
จบอรรถกถาอปัณณกสูตรที่ ๖
๗. กัมมันตสูตร
ว่าด้วยเรื่องวิบัติ ๓ และสัมปทา ๓
[๕๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓ นี้ วิบัติ ๓ คืออะไรบ้าง
คือ กัมมันตวิบัติ (ความเสียทางการงาน) อาชีววิบัติ (ความเสียทางอาชีพ)
ทิฏฐิวิบัติ (ความเสียทางความเห็น)
กัมมันตวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้มักทำปาณา-
ติบาต ฯลฯ สัมผัปปลาป นี่เรียกว่า กัมมันตวิบัติ
อาชีววิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้หาเลี้ยงชีพในทาง
ผิด สำเร็จความเป็นอยู่โดยมิจฉาอาชีวะ นี่เรียกว่า อาชีววิบัติ
ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความ
เห็นวิปริตว่า ฯลฯ (๑) ทานไม่มีผล ฯลฯ สอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้ ไม่มี
ในโลก นี่เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 539
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย วิบัติ ๓
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓ นี้ สัมปทา ๓ คืออะไรบ้าง คือ
กัมมันตสัมปทา (ความดีทางการงาน) อาชีวสัมปทา (ความดีทางอาชีพ)
ทิฏฐิสัมปทา (ความดีทางความเห็น)
กัมมันตสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นจาก
ปาณาติบาต ฯลฯ สัมผัปปลาป นี่เรียกว่า กัมมันตสัมปทา
อาชีวสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้หาเลี้ยงชีพ
ในทางชอบ สำเร็จความเป็นอยู่โดยสัมมาอาชีวะ นี่เรียกว่า อาชีวสัมปทา
ทิฏฐิสัมปทาเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นสัมมาทิฏฐิ มี
ความเห็นไม่วิปริตว่า ทานมีผล ฯลฯ สอนโลกนี้และโลกอื่นให้รู้มี อยู่ในโลก
นี่เรียกว่า ทิฏฐิสัมปทา.
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๓
จบกัมมันตสูตรที่ ๗*
๘. ปฐมโสเจยยสูตร
ว่าด้วยความสะอาด ๓ อย่าง
[๕๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โสไจยะ(ความสะอาด) ๓ นี้ โสไจยะ
๓ คืออะไรบ้าง คือ กายโสไจยะ (ความสะอาดทางกาย) วจีโสไจยะ
(ความสะอาดทางวาจา) มโนโสไจยะ (ความสะอาดทางใจ)
กายโสไจยะเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นจากปาณา-
ติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร นี่เรียกว่า กายโสไจยะ
* กัมมันตสูตรที่ ๗. มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 540
วจีโสไจยะเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นจากมุสาวาท
ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาป นี่เรียกว่า วจีโสไจยะ
มโนโสไจยะเป็นอย่างไร ? คนลางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มีอภิชฌา
ไม่มีใจพยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ นี่เรียกว่า มโนโสไจยะ
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย โสไจยะ ๓.
จบปฐมโสเจยยสูตรที่ ๘
อรรถกถาโสเจยยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโสเจยยสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
ความสะอาด ชื่อว่า โสเจยฺย. ความสะอาดใน กายทวาร ชื่อว่า
กายโสเจยฺย. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็มีนัยนี้แหละ. ก็ในพระสูตร ๔ สูตร
เหล่านี้ ตามลำดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสข้อปฏิบัติสำหรับผู้ครองเรือน
ไว้แล้ว. ถึงพระอริยบุคคลผู้เป็นโสดาบัน และพระสกทาคามี ก็ใช้ได้.
จบอรรถกถาปฐมโสเจยยสูตรที่ ๘
๙. ทุติยโสเจยยสูตร
ว่าด้วยความสะอาด ๓ อย่าง
[๕๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โสไจยะ ๓นี้ โสไจยะ ๓ คืออะไรบ้าง
คือ กายโสไจยะ วจีโสไจยะ มโนโสไจยะ
กายโสไจยะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นจาก
ปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากอพรหมจรรย์ (เมถุน) นี่เรียกว่า
กายโสไจยะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 541
วจีโสไจยะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นจาก
มุสาวาท เว้นจากปิสุณาวาจา เว้นจากผรุสวาจา เว้นจากสัมผัปปลาป นี่เรียกว่า
วจีโสไจยะ
มโนโสไจยะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ (นิวรณ์ ๕
คือ) กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ก็ดี พยาบาท (ความปองร้าย) ก็ดี
ถีนมิทธะ (ความท้อแท้และความง่วง) ก็ดี อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน
และความรำคาญใจ) ก็ดี วิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลง ลังเล) ก็ดี
มีอยู่ในใจ ก็รู้ว่า กามฉันทะ ฯลฯ วิจิกิจฉา มีอยู่ในใจของตน กามฉันทะ
ฯลฯ วิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ในใจ ก็รู้ว่า กามฉันทะ ฯลฯ วิจิกิจฉา ไม่มีอยู่ใน
ใจของตน ย่อมรู้ทางเกิดแห่งกามฉันทะ ฯลฯ วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด รู้วิธีละกาม
ฉันทะ ฯลฯ วิจิกิจฉาที่เกิดแล้ว และรู้อุบายทำกามฉันทะ ฯลฯ วิจิกิจฉาที่
ละได้แล้วมิให้เกิดต่อไปด้วย นี่เรียกว่า มโนโสไจยะ.
เหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย โสไจยะ คือความสะอาด ๓ อย่าง.
บุคคลผู้สะอาดทางกาย สะอาดทาง
วาจา สะอาดทางใจ ไม่มีอาสวะ เป็นคน
สะอาดพร้อมด้วยคุณธรรมของคนสะอาด
ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ล้าง-
บาปแล้ว.
จบทุติยโสเจยยสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 542
อรรถกถาทุติยโสเจยยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยโสเจยยสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อชฺฌตฺต ได้แก่ที่เป็นไปในภายในแน่นอน. นิวรณ์ คือ
กามฉันทะ ชื่อว่า กามฉันทะ. แม้ในนิวรณ์มีพยาบาทเป็นต้น ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. ส่วน
ในคาถา บทว่า กายสุจึ ได้แก่ความสะอาดในกายทวาร หรือความสะอาด
ทางกาย. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า นินฺหาตปาปก
ความว่า ล้างคือชำระบาปทั้งหมดแล้วดำรงอยู่. ทั้งโดยพระสูตรนี้ ทั้งโดย
พระคาถา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงพระขีณาสพอย่างเดียว ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาโสเจยยสูตรที่ ๙
๑๐. โมเนยยสูตร
ว่าด้วยความเป็นมุนี ๓ อย่าง
[๕๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายโมไนยะ (ความเป็นมุนี คือนักปราชญ์)
๓นี้ โมไนยะ ๓ คืออะไรบ้าง คือกายโมไนยะ (ความเป็นปราชญ์ทางกาย)
วจีโมไนยะ (ความเป็นปราชญ์ทางวาจา) มโนโมไนยะ (ความเป็น
ปราชญ์ทางใจ)
กายโมไนยะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นจาก
ปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากอพรหมจรรย์ นี้เรียกว่า กาย-
โมไนยะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 543
วจีโมไนยะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นจาก
มุสาวาท เว้นจากปิสุณาวาจา เว้นจากผรุสวาจา เว้นจากสัมผัปปลาป นี้เรียกว่า
วจีโมไนยะ
มโนโมไนยะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้กระทำให้แจ้ง
ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ด้วย
ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ นี้เรียกว่ามโนโมไนยะ
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย โมไนยะ ๓.
นิคมคาถา
บุคคลผู้เป็นปราชญ์ทางกาย เป็น
ปราชญ์ทางวาจา เป็นปราชญ์ทางใจ หา
อาสวะมิได้ เป็นปราชญ์พร้อมด้วยคุณ
ธรรมของปราชญ์ บัณฑิตกล่าวบุคคลนั้น
ว่า ผู้ละบาปหมด.
จบโมเนยยสูตรที่ ๑๐
จบอาปายิกวรรคที่ ๑
อรรถกถาโมเนยยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในโมเนยยสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
ความเป็นมุนี ชื่อว่า โมเนยยะ. ความเป็นมุนี คือความเป็นสาธุชน
ได้แก่ความเป็นบัณฑิต ในกายทวาร ชื่อว่า กายโมเนยยะ. แม้ในบททั้งสอง
ที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อิท วุจฺจติ ภิกฺขเว กายโมเนยฺย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 544
ความว่า จริงอยู่ การละกายทุจริต ๓ อย่างนี้ ชื่อว่า กายโมเนยยะ. อนึ่ง
แม้กายสุจริต ๓ อย่าง ก็ชื่อว่า กายโมเนยยะ. ญาณที่มีกายเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่า
กายโมเนยยะเหมือนกัน. การกำหนดรู้กาย ก็ชื่อว่า กายโมเนยยะ. มรรค
ที่สหรคตด้วยปริญญา ก็ชื่อว่า กายโมเนยยะ. การละฉันทราคะทางกาย
ก็ชื่อว่า กายโมเนยยะ. การดับกายสังขาร และการเข้าจตุตถฌาน ก็ชื่อว่า
กายโมเนยยะ แม้ในวจีโมเนยยะ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ส่วนในวจีโมเนยยะ และมโนโมเนยยะ นี้มีความแตกต่างกัน
ดังต่อไปนี้ ในที่นั้น พึงทราบการเข้าทุติยฌาน คือการดับวจีสังขารว่า ชื่อว่า
วจีโมเนยยะ เหมือนการเข้าจตุตถฌานในที่นี้. ครั้นทราบเนื้อความในมโน-
โมเนยยะ โดยนัยแม้นี้แล้วก็ควรทราบ การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ คือการ
ดับจิตสังขารว่า ชื่อว่า มโนโมเนยยะ.
บทว่า กายมุนึ ได้แก่ผู้รู้ คือ ผู้สูงสุด ได้แก่ผู้บริสุทธิ์ในกายทวาร
หรือผู้รู้ทางกาย. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
สพฺพปฺปหายิน ได้แก่พระขีณาสพ. เพราะว่า พระขีณาสพชื่อว่า สัพพปหายี
(ผู้ละได้ทั้งหมด) ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาโมเนยยสูตรที่ ๑๐
จบอาปายิกวรรควรรณนาที่ ๒
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อาปายิกสูตร ๒. ทุลลภสูตร ๓. อัปปเมยยสูตร ๔. อาเนญช-
สูตร ๕. อยสูตร ๖. อปัณณกสูตร ๗. กัมมันตสูตร ๘. ปฐมโสเจยยสูตร
๙. ทุติยโสเจยยสูตร ๑๐. โมเนยยสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 545
กุสินาวรรคที่ ๓
๑. กุสินารสูตร
ว่าด้วยบิณฑบาตที่มีผลมาก
[๕๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ ราวป่า
ชื่อพลิหรณะ ใกล้พระนครกุสินารา ฯลฯ ตรัสพระธรรมเทศนาว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้าน
หรือตำบลแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น
นิมนต์รับอาหารเช้า ภิกษุจำนงอยู่รับนิมนต์ เมื่อล่วงราตรีนั้น เวลาเช้าเธอ
ครองสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรไปเรือนของคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น
ถึงแล้วนั่ง ณ อาสนะที่เขาจัดไว้ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี อังคาสเธอด้วย
ขาทนียะ (ของเคี้ยว) โภชนียะ (ของกิน) อันประณีตด้วยมือตน จนอิ่มหนำ
พอเพียง เธอนึกชมว่า ดีจริง คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ เลี้ยงเราด้วย
ขาทนียะโภชนียะอันประณีต ด้วยมือตน จนอิ่มหนำพอเพียง นึกหวังต่อไปว่า
โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนี้ แม้ต่อไปพึงเลี้ยงเราด้วยขาทนียะโภชนียะ
อันประณีตอย่างนี้ ด้วยมือตน จนอิ่มหนำพอเพียงเถิด เธอติดใจหมกมุ่นพัวพัน
ไม่เห็นส่วนที่เป็นโทษ ไม่มีปัญญาสลัดออก ฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกกามวิตก
บ้าง ตรึกพยาบาทวิตกบ้าง ตรึกวิหิงสาวิตกบ้าง ณ อาสนะที่นั่งฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ให้แก่ภิกษุชนิดนี้ เราหากล่าวว่ามีผลมากไม่ เพราะเหตุ
อะไร เพราะภิกษุเป็นผู้มัวเมาอยู่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 546
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยหมู่บ้าน
หรือตำบลแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุนั้น
นิมนต์รับอาหารเช้า ฯลฯ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้นอังคาสเธอด้วยขาทนียะ
โภชนียะอันประณีต ด้วยมือตน จนอิ่มหนำพอเพียง เธอไม่นึกชมว่า ดีจริง
ฯลฯ จนอิ่มหนำพอเพียง ไม่นึกหวังต่อไปว่า โอหนอ ฯลฯ จนอิ่มหนำ พอ
เพียงเถิด เธอไม่ติดใจหมกมุ่นพัวพัน เห็นส่วนที่เป็นโทษ มีปัญญาสลัดออกได้
ฉันบิณฑบาตนั้น เธอตรึกเนกขัมมวิตก (ตรึกในทางพรากจากกาม) บ้าง
อพยาบาทวิตก (ตรึกในทางไม่พยาบาท) บ้าง อวิหิงสาวิตก (ตรึกในทางไม่
เบียดเบียน) บ้าง ณ อาสนะที่นั่งฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ให้แก่ภิกษุ
เช่นนี้ เรากล่าวว่ามีผลมาก เพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุเป็นผู้ไม่มัวเมาอยู่.
จบกุสินารสูตรที่ ๑
กุสินารวรรควรรณนาที่ ๓
อรรถกถากุสินารสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกุสินารสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุสินารย ได้แก่ในพระนครที่มีชื่ออย่างนี้. บทว่า พลิหร-
เณ วนสณฺเฑ ได้แก่ในไพรสณฑ์ที่มีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า คนทั้งหลายนำ
พลีกรรมไป เพื่อทำพลีกรรมแก่ภูตที่ไพรสณฑ์นั้น เพราะฉะนั้นไพรสณฑ์นั้น
ชนทั้งหลายจึงเรียกว่า พลิหรณะ. บทว่า อากงฺขมาโน ได้แก่ปรารถนาอยู่.
บทว่า สหตฺถา ได้แก่ ด้วยมือของตน. บทว่า สมฺปวาเรติ ความว่า
ห้ามด้วยวาจาว่า พอแล้ว พอแล้ว และด้วยการไหวมือ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 547
บทว่า สาธุ วต มาย ความว่า ดีจริงหนอ (คหบดีหรือบุตร
แห่งคหบดี) นี้ เลี้ยงเราให้อิ่มหนำสำราญ. บทว่า คธิโต ความว่า ติดใจ
ด้วยความยินดีด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า มุจฉิโต ได้แก่ สยบแล้วด้วย
ความสยบด้วยอำนาจแห่งตัณหานั้นเอง. บทว่า อชฺโฌปนฺโน ความว่า
กลืนลงไปให้เสร็จสิ้นด้วยอำนาจแห่งตัณหา. บทว่า อนิสฺสรณปญฺโ
ความว่า ภิกษุผู้ละฉันทราคะแล้ว ฉันภัตโดยฉุดตนออกจากความติดในรส
จึงจะชื่อว่า ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ภิกษุนี้ไม่เป็นเช่นนั้น เธอยังมี
ฉันทราคะอยู่ ฉันอาหาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนิสฺสรณปญฺโ
(ผู้ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก). ธรรมฝ่ายขาวบัณฑิตพึงทราบ โดยผิดจาก
ปริยายดังกล่าวแล้ว. อนึ่ง ในพระสูตรนี้พึงทราบว่า พระองค์ตรัสเนกขัมม-
วิตกเป็นต้น คละกันไปฉะนี้แล.
จบอรรถกถากุสินารสูตรที่ ๑
๒. ภัณฑนสูตร
ว่าด้วยเหตุแห่งความบาดหมาง ๓ อย่าง
[๕๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในทิศใด เกิดแก่งแย่งทะเลาะ
วิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก แม้แต่นึกถึงทิศนั้นก็ไม่เป็นที่
ผาสุกแก่เรา ไม่ต้องกล่าวไปถึงการที่ภิกษุเป็นเช่นนั้น เราแน่ใจว่า
เธอเหล่านั้นละทิ้งธรรม ๓ ประการ มัวประกอบธรรม ๓ ประการ ละทิ้งธรรม
๓ ประการคืออะไร คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก มัว-
ประกอบธรรม ๓ ประการคืออะไร คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
ภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุเกิดแก่งแย่งทะเลาะวิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกัน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 548
ด้วยหอกคือปาก แม้แต่นึกถึงทิศนั้นก็ไม่เป็นที่ผาสุกแก่เรา ไม่ต้องกล่าวไปถึง
ในการที่ภิกษุเป็นเช่นนั้น เราแน่ใจว่า เธอเหล่านั้นละทิ้งธรรม ๓ ประการนี้
มัวประกอบธรรม ๓ ประการนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทิศใด ภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน
ไม่วิวาทกัน (กลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) เป็นประหนึ่งว่านมประสม
กับน้ำ มองดูกันและกันด้วยปิยจักษุ (คือสายตาของคนที่รักใคร่กัน ) แม้เรา
ไปทางทิศนั้นก็เป็นที่ผาสุกแก่เรา ไม่ต้องกล่าวเพียงนึก ในการที่ภิกษุเป็น
เช่นนั้น เราแน่ใจว่าเธอเหล่านั้นละธรรม ๓ ประการเสียได้ ประกอบธรรม
๓ ประการอยู่มาก ละธรรม ๓ ประการคืออะไร คือ กามวิตก พยาบาทวิตก
วิหิงสาวิตก ประกอบธรรม ๓ ประการคืออะไร คือ เนกขัมมวิตก อพยาบาท-
วิตก อวิหิงสาวิตก ภิกษุทั้งหลา ในทิศใด ภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นบาน
ต่อกัน ไม่วิวาทกัน (กลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน) เป็นประหนึ่งว่า
นมประสมกับน้ำ มองดูกันและกันด้วยปิยจักษุ แม้เราไปทางทิศนั้นก็เป็นที่
ผาสุกแก่เรา ไม่ต้องกล่าวเพียงนึก ในการที่ภิกษุเป็นเช่นนั้น เราแน่ใจว่า
เธอเหล่านั้นละธรรม ๓ ประการนี้เสียได้ ประกอบธรรม ๓ ประการนี้อยู่มาก.
จบภัณฑนสูตรที่ ๒
อรรถกถาภัณฑนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในภัณฑนสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปชหึสุ แปลว่า ย่อมละได้. บทว่า พหุลมกสุ ได้แก่
กระทำบ่อย ๆ. แม้ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิตก ๓ แม้เหล่านี้
คละกันไป.
จบอรรถกถาภัณฑสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 549
๓. โคตมสูตร
ว่าด้วยอาการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ๓ อย่าง
[๕๖๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ โคตมกเจดีย์
ใกล้พระนครเวสาลี ฯลฯ ตรัสพระธรรมเทศนาว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑) เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง มิใช่
เพื่อความไม่รู้ยิ่งเห็นจริง (๒) เราแสดงธรรมประกอบด้วยเหตุ มิใช่ไร้เหตุ
(๓) เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ (คือความอัศจรรย์ที่ผู้ปฏิบัติตาม ย่อมได้
รับผลสมแก่ความปฏิบัติ) มิใช่ไม่มีปาฏิหาริย์ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราแสดง
ธรรมเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง มิใช่เพื่อความไม่รู้ยิ่งเห็นจริง แสดงธรรม
ประกอบด้วยเหตุ มิใช่ไร้เหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ไม่มีปาฏิหาริย์
(เช่นนั้น) โอวาทานุศาสนีของเรา จึงควรที่บุคคลจะพึงประพฤติกระทำตาม
และควรที่ท่านทั้งหลาย จะยินดี จะมีใจเป็นของตน จะโสมนัสว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม
ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งนัก ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไวยากรณเทศนานี้อยู่ สหัสสีโลกธาตุ ได้หวั่นไหวแล้ว.
จบโคตมสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 550
อรรถกถาโคตมกเจติยสูตร*
พึงทราบวินิจฉัยในโคตมกเจติยสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า โคตมเก เจติเย ได้แก่ในที่อาศัย (เทวสถาน) ของโคตมก-
ยักษ์. อธิบายว่า ในปฐมโพธิกาล โดยมาก พระตถาคตเจ้าประทับอยู่ที่
เทวาลัยเท่านั้น เป็นเวลาถึง ๒๐ พรรษาอย่างนี้ คือ บางครั้งที่จาปาลเจดีย์
บางครั้งที่สารันททเจดีย์ บางครั้งที่พหุปุตตเจดีย์ บางครั้งที่สัตตัมพเจดีย์
แต่ในเวลานี้ พระองค์ทรงอาศัยเมืองเวสาลี ประทับอยู่แล้วในเทวสถานของ
โคตมกยักษ์. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า โคตมเก
เจติเย ดังนี้.
บทว่า เอตทโวจ นี้ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสคำนี้
คือพระสูตร มีอาทิว่า อภิญฺายาห ดังนี้. ก็แลในการบังเกิดขึ้นแห่ง
เนื้อความ พระสูตรนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว. ถามว่า
ในการบังเกิดขึ้นแต่เนื้อความไหน. ตอบว่า ในการบังเกิดขึ้นแห่งเนื้อความ
ในมูลปริยายสูตร.
ได้ทราบว่า พราหมณ์บรรพชิต จำนวนมาก เกิดเมาความรู้ขึ้น
เพราะอาศัยพระพุทธพจน์ที่ตนเคยเรียนแล้ว ไม่ยอมไปโรงฟังธรรมด้วยคิดว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะตรัส ก็ตรัสคำที่พวกเรารู้แล้วเท่านั้น ไม่ตรัส
คำที่พวกเรายังไม่รู้ ดังนี้. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล (ความนั้น) แก่พระตถาคตเจ้า
แล้ว พระศาสดาตรัสให้เรียกภิกษุเหล่านั้นมา ทรงถือเอามุขปฏิญญา (การ
รับปากของภิกษุเหล่านั้น) แล้วทรงแสดงมูลปริยายสูตร ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้
เห็นที่มาที่ไป ของพระธรรมเทศนาเลย เมื่อไม่เห็นก็พากันคิดว่า พระสัมมา-
* พระสูตรเป็น โคตมสูตร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 551
สัมพุทธเจ้า คงเข้าพระทัยว่า ธรรมกถาของเราตถาคต ย่อมนำสัตว์ออกไป
จากทุกข์ จึงตรัสพระธรรมเทศนาที่คล่องพระโอฐเท่านั้น. พระศาสดาทรงรู้
ใจของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงทรงเริ่มพระสูตรนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิญฺาย ความว่า รู้ คือแทงตลอด
ได้แก่กระทำให้ประจักษ์ ว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒
ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ เหตุ ๙ ผัสสะ ๗ เวทนา ๗ เจตนา ๗
สัญญา ๗ จิต ๗. อนึ่ง อธิบายว่า รู้ คือแทงตลอด ได้แก่กระทำให้แจ้ง
นั่นแหละซึ่งธรรมเหล่านั้น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ดังนี้.
บทว่า สนิทาน ความว่า เราตถาคตกล่าวธรรมพร้อมทั้งปัจจัยนั่นแล ไม่ใช่
ไม่มีปัจจัย. บทว่า สปฺปาฏิหาริย ความว่า เราตถาคตกล่าวธรรมมีปาฏิหาริย์
นั่นแหละ เพราะขจัดข้าศึกได้ ไม่ใช่ไม่มีปาฏิหาริย์. บทว่า อลญฺจ ปน โว
ความว่า ก็แล (โอวาทานุสาสนี) ควรแก่เธอทั้งหลาย. บทว่า ตุฏฺิยา
มีอรรถาธิบายว่า ควรทีเดียว เพื่อจะทำความยินดีแก่เธอทั้งหลาย ผู้ระลึกถึง
เนือง ๆ ซึ่งรตนะทั้ง ๓ โดยพระคุณว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ
ด้วยพระองค์เอง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์
เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้ แม้ในบททั้งสองที่เหลือ ก็มีนัยนี้แหละ.
บทว่า อกมฺปิตฺถ ได้แก่ ได้หวั่นไหวแล้วด้วยอาการ ๖ อย่าง
อธิบายว่า ความหวั่นไหวแห่งปฐพีเห็นปานนี้ ได้มีแล้วที่โพธิมณฑล ได้ยินว่า
เมื่อพระโพธิสัตว์ เสด็จขึ้นสู่โพธิมณฑล ทางด้านทิศใต้ ด้านทิศใต้เบื้องล่าง
ก็ได้เป็นเหมือนลงไปถึงอเวจีมหานรก ด้านทิศเหนือ ได้เป็นเหมือนจะยกขึ้น
จดภวัคคพรหม ด้านทิศตะวันตกเบื้องล่าง ได้เป็นเหมือนลงไปถึงอเวจี
มหานรก ด้านทิศตะวันออกก็ได้เป็นเหมือนจะยกขึ้นจดภวัคคพรหม ทิศเหนือ
ด้านล่าง ก็ได้เป็นเหมือนลงไปถึงอเวจีมหานรก ด้านทิศใต้ ก็ได้เป็น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 552
เหมือนจะยกขึ้นจดภวัคคพรหม ทิศตะวันออกเบื้องล่าง ได้เป็นเหมือน
ลงไปถึงอเวจีมหานรก ด้านทิศตะวันตก ได้เป็นเหมือนจะยกขึ้นจดภวัคคพรหม
แม้โพธิพฤกษ์เบื้องล่าง ก็ได้เป็นเหมือนจมลงไปถึงเวจีมหานรกคราวเดียวกัน
(ด้านบน) ได้เป็นเหมือนพุ่งขึ้นไปจดภวัคคพรหมคราวเดียวกัน. แม้ในวันนั้น
มหาปฐพี ในพันแห่งจักรวาลได้หวั่นไหวแล้ว ด้วยอาการ ๖ อย่าง ดังพรรณนา
มาฉะนี้.
จบอรรถกถาโคตมกเจติยสูตรที่ ๓
๔. ภรัณฑุสูตร
ว่าด้วยศาสดา ๓ จำพวก
[๕๖๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในประเทศ
โกศล ถึงกรุงกบิลพัสดุ์ เจ้ามหานาม ศากยะ ได้ทรงทราบว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เสด็จไปเฝ้า ถวายอภิวาทแล้วประทับ
ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเจ้ามหานาม ศากยะ
ว่า มหานาม เธอจงไปหาเรือนที่พักในกรุงกบิลพัสดุ์ ที่พอพวกเรา จะพัก
ในวันนี้สักคืนหนึ่ง.
เจ้ามหานาม ศากยะ รับพระดำรัสแล้วเสด็จเข้ากรุงกบิลพัสดุ์เที่ยว
เสาะหาทั่วกรุง ไม่เห็นเรือนที่พอจะเป็นที่ประทับพักได้สักแห่ง จึงเสด็จกลับไป
กราบทูลว่า ไม่มี พระพุทธเจ้าข้า เรือนในกรุงกบิลพัสดุ์ ที่พอจะเป็นที่
ประทับพัก ในวันนี้ พระพุทธเจ้าข้า ท่านภรัณฑุกาลามะ เพื่อนประพฤติ
พรหมจรรย์เก่าแก่ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงประทับ
พักในอาศรมของท่านสักคืนเถิด.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 553
พ. เธอจงไปจัดการปูลาด.
เจ้ามหานาม ศากยะ รับพระดำรัสแล้วเสด็จไปอาศรมของภรัณฑุกาลามะ
จัดการปูลาด ตั้งน้ำชำระพระยุคลบาทแล้วไปกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
ข้าพระพุทธเจ้าได้จัดการปูลาด ตั้งน้ำชำระพระยุคลบาทแล้ว แล้วแต่จะโปรด.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปอาศรมของภรัณฑุ กาลามะ
ประทับ ณ อาสนะที่จัดไว้ ครั้นประทับนั่งแล้วทรงล้างพระบาท
เจ้ามหานาม ศากยะ ทรงดำริว่า วันนี้ไม่ใช่เวลาอันควรที่จะเฝ้า
สนทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเมื่อยล้า พรุ่งนี้จึงค่อยเฝ้าเถิด จึงถวายอภิวาท
ทำประทักษิณเสด็จกลับไป
ล่วงราตรีนั้นแล้ว เจ้ามหานาม ศากยะ เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเจ้ามหานาม ศากยะ ว่า มหานาม ศาสดา
๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ศาสดา ๓ จำพวก เป็นไฉน ศาสดา
ลางพวกบัญญัติกามปริญญา (ความกำหนดรู้เรื่องกามทั้งหลาย) แต่ไม่บัญญัติ
รูปปริญญา (ความกำหนดรู้เรื่องรูปทั้งหลาย) ไม่บัญญัติเวทนาปริญญา
(ความกำหนดรู้เรื่องเวทนาทั้งหลาย) ศาสดาพวกหนึ่งบัญญัติกามปริญญา และ
รูปปริญญา ไม่บัญญัติเวทนาปริญญา ศาสดาพวกหนึ่งบัญญัติทั้งกามปริญญา
ทั้งรูปปริญญาทั้งเวทนาปริญญา นี้แล ศาสดา ๓ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก
ดูก่อนมหานาม ความสำเร็จของศาสดา ๓ นี้เป็นอย่างเดียวกัน หรือต่างกัน.
พอสิ้นกระแสพระพุทธดำรัส ภรัณฑุ กาลามะ บอกเจ้ามหานาม ศากยะ
ว่า ท่านมหานาม ท่านจงกราบทูลว่า เป็นอย่างเดียวกัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหานาม เธอจงตอบว่าต่างกัน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 554
ภรัณฑุ กาลามะ และพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่างก็พูดและรับสั่งยืนคำ
อยู่อย่างนั้นถึง ๓ ครั้ง ภรัณฑุ กาลามะ สำนึกขึ้นว่า เราหนอถูกพระ-
สมณโคดมรุกรานเอาถึง ๓ ครั้ง ต่อหน้าเจ้ามหานาม ศากยะ ผู้มเหสักข์
ไฉนหนอ เราพึงไปจากกรุงกบิลพัสดุ์เถิด ไม่ช้า ภรัณฑุ กาลามะ ก็หลีกไป
จากกรุงกบิลพัสดุ์ เขาได้หลีกไปเหมือนอย่างนั้นทีเดียว ไม่กลับมาอีก.
จบภรัณฑุสูตรที่ ๔
อรรถกถาภรัณฑุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในภรัณฑุสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า เกวลกปฺป ได้แก่ รอบด้านทั้งสิ้น. บทว่า อาหิณฺฑนฺโต
ได้แก่เสด็จเที่ยวไป. บทว่า น อทฺทสา ความว่า เพราะเหตุใด เจ้ามหานาม
ศากยะ จึงไม่ทรงพบ. ได้ยินว่า ภรัณฑุ กาลามดาบสนี้ ขบฉันบิณฑบาต
อันเลิศของเจ้าศากยะทั้งหลาย ท่องเที่ยวไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า
ในเวลาที่พระองค์เสด็จถึงที่อยู่ของดาบสนั้น พระธรรมเทศนา กัณฑ์หนึ่งจะ
เกิดขึ้น จึงได้ทรงอธิฏฐานไว้ โดยไม่ให้ที่พักแห่งอื่นปรากฏเห็น เพราะฉะนั้น
เจ้ามหานามศากยะ จึงไม่เห็น.
บทว่า ปุราณสพฺรหฺมจารี ได้แก่ เคยเป็นผู้ร่วมประพฤติพรหม-
จรรย์กันมาก่อน. ได้ยินว่า ภรัณฑุกาลามดาบสนั้น ได้อยู่ในอาศรมนั้น
ในสมัยอาฬารดาบสกาลามโคตร. พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวหมายถึงดาบส
นั้นนั่นเอง. บทว่า สนฺถร ปญฺาเปหิ มีอธิบายว่า เธอจงปูอาสนะ
ที่จะต้องปู. บทว่า สนฺถร ปญฺาเปตฺวา ความว่า ปูผ้าสำหรับปูนอน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 555
บนเตียง อันเป็นกัปปิยะ การก้าวล่วง ชื่อว่า ปริญญา ในบทว่า กามาน
ปริญฺ ปญฺาเปติ นี้ เพราะฉะนั้น ศาสดาบางพวก จึงบัญญัติการ
ก้าวล่วงกามทั้งหลายว่า เป็นปฐมฌาน. บทว่า น รูปาน ปริญฺ ความว่า
ไม่บัญญัติธรรมที่เป็นเหตุก้าวล่วงรูปว่า เป็นอรูปาวจรสมาบัติ. บทว่า
น เวทนาน ปริญฺ ความว่า ไม่บัญญัติการก้าวล่วงเวทนาว่า เป็นนิพพาน
คติ คือความสำเร็จ ชื่อว่า นิฏฺา. บทว่า อุทาหุ ปุถุ ความว่า หรือ
ต่างกัน.
จบอรรถกถาภรัณฑุสูตรที่ ๔
๕. หัตถกสูตร
ว่าด้วยหัตถกเทพบุตรไม่อิ่มธรรม ๓ อย่าง
[๕๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ พระเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นเทวบุตรชื่อ
หัตถกะ เมื่อราตรีล่วง (ปฐมยาม) แล้ว มีผิวพรรณงดงาม (เปล่งรัศมี)
ทำให้สว่างไปทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปถึงที่
ประทับแล้ว หมายใจว่าจักยืนเฝ้าต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ตัวย่อม
จมลงและจมลง ไม่ดำรงอยู่ได้ เปรียบเหมือนเนยใสหรือน้ำมัน ที่คนราดลง
บนทราย ย่อมซึมหายไปภายใต้ไม่ค้างอยู่ฉันใด หัตถกเทวบุตรหมายใจว่า
จักยืนเฝ้าต่อพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ตัวย่อมจมลงและจมลง ไม่ดำรง
อยู่ได้ฉันนั้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 556
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะหัตถกเทวบุตรว่า หัตถกะ
ท่านจงนิรมิตตัวให้หยาบ
หัตถกเทวบุตรรับพระพุทธพจน์แล้วนิรมิตตัวให้หยาบ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามว่า หัตถกะ ธรรมเหล่าใดที่ท่านเคย
ประพฤติเมื่อครั้งท่านเป็นมนุษย์ ธรรมเหล่านั้น บัดนี้ท่านยังประพฤติอยู่หรือ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเหล่าใด ที่ข้าพระพุทธเจ้าเคยประพฤติ
เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ธรรมเหล่านั้น บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้ายังประพฤติอยู่
และยังประพฤติธรรมที่ไม่เคยประพฤติเมื่อครั้งเป็นมนุษย์อีกด้วย เดี๋ยวนี้ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า อาเกียรณ์อยู่ ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา
ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ฉันใด ข้าพระพุทธเจ้าก็อาเกียรณ์
อยู่ด้วยเทวบุตรทั้งหลาย ฉันนั้น เทวบุตรทั้งหลายมาแม้ไกล ๆ ตั้งใจจัก
ฟังธรรมในสำนักหัตถกเทวบุตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่อิ่ม
ยังไม่เบื่อธรรม ๓ อย่าง ก็ทำกาละแล้ว ธรรม ๓ อย่างคืออะไร คือ การเห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้า การฟังพระสัทธรรม การอุปัฏฐากพระสงฆ์
ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่อิ่มไม่เบื่อธรรม ๓ อย่างนี้แล ได้ทำกาละแล้ว.
แน่ละ ความอิ่มต่อการเห็นพระผู้มี-
พระภาคเจ้า การอุปัฏฐากพระสงฆ์ และ
การฟังพระสัทธรรม จักมี ในกาลไหนๆ
หัตถกอุบาสก ผู้รักษาอธิศีล ยินดีใน
การฟังพระสัทธรรมไม่ทันอิ่มธรรม ๓
ประการ ก็ไปอวิหาพรหมโลกแล้ว.
จบหัตถกสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 557
อรรถกถาหัตถกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในหัตถกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-
อภิกฺกนฺต ศัพท์ ในบทว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา นี้ ปรากฏ
ในความว่า สิ้นไป ดี รูปงาม และน่าอนุโมทนายิ่ง เป็นต้น. ในอรรถ ๔
อย่างนั้น อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในความสิ้นไป เช่นในประโยคทั้งหลาย
มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีสิ้นไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว
ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรง
แสดงปาฏิโมกข์ แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. ปรากฏในความว่าดี เช่นใน
ประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ผู้นี้ทั้งงาม ทั้งประณีตกว่าบุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้.
ปรากฏ ในความว่า รูปงาม เช่นในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า
ใครรุ่งโรจน์อยู่ด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ มี
ผิวพรรณงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งปวงให้สว่าง-
ไสว ไหว้เท้าทั้งสองของเราอยู่ ดังนี้.
ปรากฏ ในความว่า อนุโมทนาอย่างยิ่ง เช่นในประโยคทั้งหลาย
มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอนุโมทนายิ่งนัก. แต่ในบทว่า
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา นี้ อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในความดี. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวขยายความไว้ว่า บทว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา ความว่า
ในราตรีที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ. อภิกฺกนฺตาย ศัพท์ ในบทว่า
อภิกฺกนฺตวณฺณา นี้ ปรากฏในความว่า รูปงาม.
ส่วน วณฺณ ศัพท์ ปรากฏใน ฉวิ (ผิวพรรณ) ถุติ (การชมเชย)
กุลวรรค (ชนชั้น) การณะ (เหตุ) สัณฐาน (รูปร่าง) ปมาณ (ขนาด)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 558
และในรูปายตนะเป็นต้น. ในบรรดาอรรถ ๖ อย่างนั้น วณฺณ ศัพท์ ปรากฏ
ในผิว เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทรงมีพระฉวี
เพียงดังวรรณะแห่งทอง. ปรากฏในความชมเชย เช่นในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ก็การสรรเสริญคุณของพระสมณโคดม ท่านได้
ผูกพันไว้ แต่เมื่อไร. ปรากฏใน กุลวรรค (ชนชั้น) เช่นในประโยคมี
อาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วรรณะของข้าพระองค์มี ๔ อย่าง.
ปรากฏใน การณะ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า อนึ่ง ด้วยเหตุเพียง
เท่าไรหนอ เขาเรียกว่า คนฺธตฺเถโน (ขโมยกลิ่น). ปรากฏในสัณฐาน
เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า เนรมิต สัณฐาน (รูปร่าง) เป็นพญาช้างใหญ่.
ปรากฏในประมาณ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ประมาณ (ขนาด)
ของบาตรมี ๓ อย่าง. ปรากฏใน รูปายตนะ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า
รูป (วรรณะ) คันธะ รสะ โอชา. วัณณ ศัพท์นั้น ในที่นี้ พึงทราบว่า
ได้แก่ผิว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวขยายความไว้ว่า บทว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา
ความว่า มีผิวพรรณงาม คือมีผิวพรรณน่าปรารถนา มีผิวพรรณน่าพอใจ.
เกวล ศัพท์ ในบทว่า เกวลกปฺป นี้ มีอรรถมิใช่น้อย เช่น
อนวเสส (ไม่มีส่วนเหลือ) เยภุยฺย (โดยมาก) อพยามิสฺส (ไม่เจือปนกัน)
นาติเรก (ไม่มาก) ทฬฺหตฺถ (มุ่งมั่น) วิสโยคะ (พรากจากกัน)
จริงอย่างนั้น เกวล ศัพท์นั้น มีเนื้อความไม่มีส่วนเหลือในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง. ความที่เกวลศัพท์ใช้ความ-
หมายว่า โดยมาก เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ก็ชาวอังคะและมคธ
จำนวนมากจักพากันถือเอาขาทนียและโภชนียาหาร อันพอเพียง เข้าไปเฝ้า.
ความที่ เกวลศัพท์ มีความหมายว่า ไม่เจือปน ดังในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ล้วน ๆ ย่อมมี. ความที่ เกวลศัพท์
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 559
มีความหมายว่าไม่มาก ดังในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ มีเพียง
ศรัทธาอย่างเดียว (ไม่มาก). ความที่ เกวลศัพท์ มีความหมายว่า มุ่งมั่น
เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สัทธิวิหาริก ของท่าน-
อนุรุทธะ ชื่อว่า พาหิกะ ดังอยู่ในสังฆเภทเห็นแม่นมั่น. เกวลศัพท์ มีความว่า
พรากจากกันเป็นอรรถ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ผู้แยกกันอยู่ท่าน
เรียกว่า อุตตมบุรุษ. แต่ในที่นี้ ทรงประสงค์เอาความไม่มีส่วนเหลือว่า
เป็นความหมายของเกวลศัพท์นั้น
ส่วนกัปปศัพท์ มีความหมายมากอย่าง เช่นเป็นต้น ว่าอภิสัททหนะ
(การปลงใจเธอ) โวหาร (การเรียกร้อง) กาลบัญญัติ เฉทนะ (การตัด)
วิกัปปะ (กำหนด) เลศ (ข้ออ้าง) สมันตภาว (ภาวะใกล้เคียง).
จริงอย่างนั้น กัปปศัพท์นั้น มีความปลงใจเชื่อเป็นอรรถ เช่นในประโยค
มีอาทิอย่างนี้ว่า พระดำรัสนี้ ของพระโคดมผู้เจริญ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า น่าปลงใจเชื่อ. กัปปศัพท์ มีโวหาร (การเรียกร้อง) เป็นอรรถ
เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตให้ฉัน
ผลไม้ ตามสมณโวหาร ๕ อย่าง. กัปปศัพท์ มีกาลเป็นอรรถ เช่นใน
ประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า เราจะอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ โดยอาการใด. กัปปศัพท์
มีบัญญัติเป็นอรรถ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุชื่อว่า กัปปะ
ทูลถามว่า...ดังนี้. กัปปศัพท์ มีการตัดเป็นอรรถ เช่นในประโยคมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ผู้ประดับแล้ว โกนผมและหนวดแล้ว. กัปปศัพท์ มีการกำหนด
เป็นอรรถ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า กำหนด ๒ องคุลี ย่อมควร.
กัปปศัพท์ มีเลศเป็นอรรถ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า เลศเพื่อจะนอน
มีอยู่. กัปปศัพท์ มีภาวะรอบด้านเป็นอรรถ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า
ให้สว่างไสวทั่วทั้งพระเชตวัน. แต่ในที่นี้ ทรงประสงค์เอาความรอบด้าน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 560
เป็นความหมายของกัปปศัพท์นั้น. เพราะฉะนั้น ในบทว่า เกวลกปฺป เชตวน
นี้ จึงมีความหมายว่า ยังพระเชตวัน ให้สว่างไสวรอบด้าน ไม่มีเหลือ.
บทว่า โอภาเสตฺวา ได้แก่แผ่รัศมีไป. บทว่า วาลุกาย ได้แก่
ทรายละเอียด. บทว่า น สณฺาติ ความว่า ไม่ยืนอยู่. บทว่า โอฬาริก
ความว่า เพราะว่า. ในเวลาที่พระพรหม และเทวายืนอยู่ที่แผ่นดิน ควรจะ
เนรมิตอัตภาพให้หยาบ หรือเนรมิตแผ่นดิน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสอย่างนี้. ด้วยบทว่า ธมฺมา นี้ ทรงแสดงถึงพระพุทธพจน์ ที่หัตถก-
เทพบุตร เคยเรียนมาในกาลก่อน. บทว่า นปฺปวตฺติโน อเหสุ ความว่า
ธรรมทั้งหลายได้เสื่อมไป จากการกล่าวของผู้ที่ลืมสาธยาย. บทว่า อปฺปฏิ
ภาโณ ความว่า ไม่วกกลับ คือไม่กระสัน. บทว่า ทสพลสฺส ความว่า
ต่อการเห็นด้วยจักษุวิญญาณ. บทว่า อุปฏฺานสฺส ความว่า ต่อการบำรุง
ด้วยปัจจัย ๔. บทว่า อธิสีล ได้แก่ศีล ๑๐ อย่าง. ด้วยว่าศีล ๑๐ นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า อธิศีล เพราะเทียบกับเบญจศีล. ด้วยบทว่า
อวิห คโต หัตถกเทพบุตร แสดงว่า ข้าพระองค์เกิดแล้ว ในพรหมโลกชั้น
อวิหา.
จบอรรถกถาหัตถกสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 561
๖. กฏุวิยสูตร
ว่าด้วยพระทำตัวเป็นของเน่า
[๕๖๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ อิสิปตน-
มฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เวลาเช้า ทรง
ครองสบงแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้ากรุงพาราณสี เพื่อบิณฑบาต
ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปหนึ่งเทียวบิณฑบาตอยู่ที่โคโยคมิลักขะ เป็น
ภิกษุไร้ความแช่มชื่นทางสมณะ มีความแช่มชื่นนอกทางสมณะ ลืมสติ ไม่มี
สัมปชัญญะใจไม่มั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีอินทรีย์อันเปิด จึงตรัสกะภิกษุนั้นว่า
แน่ะภิกษุ เธออย่าทำตัวให้เป็นของเน่า ตัวที่ถูกทำให้เป็นของเน่าแล้วส่งกลิ่น
เหม็นคาวคลุ้ง แมลงวันจักไม่ไต่ไม่ตอม นั่นเป็นไปไม่ได้.
ภิกษุนั้นได้รับพระโอวาทแล้ว ก็รู้สึกสลดทันที
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงพาราณสีแล้ว ภายหลัง
ภัตตาหาร กลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อเช้านี้ เราครองสบงแล้วถือบาตรจีวร เข้ากรุงพาราณสีเพื่อ
บิณฑบาตเราได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตอยู่ที่โคโยคมิลักขะ เป็นภิกษุ
ไร้ความแช่มชื่นทางสมณะมีความแช่มชื่นนอกทางสมณะ ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ
ใจไม่มั่น มีจิตกวัดแกว่ง มีอินทรีย์เปิด เราจึงกล่าวกะภิกษุนั้นว่า แน่ะภิกษุ
เธออย่าทำตัวให้เป็นของเน่า ตัวที่ถูกทำให้เน่าแล้ว ส่งกลิ่นเหม็นคาวคลุ้ง
แมลงวัน จักไม่ไต่ไม่ตอม นั่นเป็นไปไม่ได้ ภิกษุนั้นได้รับโอวาทแล้ว รู้สึก
สลดทันที.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 562
เมื่อสิ้นกระแสพระพุทธดำรัส ภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นของเน่า อะไรเป็นกลิ่นเหม็นคาว อะไรเป็น
แมลงวัน.
พ. ตรัสตอบว่า อภิชฌาเป็นของเน่า พยาบาทเป็นกลิ่นเหม็นคาว
ความตรึกทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศลเป็นแมลงวัน แน่ะภิกษุ ตัวที่ถูกทำให้เป็น
ของเน่าแล้วส่งกลิ่นเหม็นคาวคลุ้ง แมลงวันจักไม่ไต่ไม่ตอม นั่นเป็นไปไม่ได้.
นิคมคาถา
แมลงวัน คือความดำริที่เกี่ยวด้วย
ราคะ ย่อมไต่ตอมภิกษุผู้ไม่คุ้มครองตาและ
หู ไม่สำรวมอินทรีย์ ภิกษุผู้ทำตัวเป็นของ
เน่า ส่งกลิ่นเหม็นคาวคลุ้ง ย่อมไกลออก
ไปจากพระนิพพาน เป็นผู้มีส่วนรับทุกข์
เท่านั้น คนโง่เขลาไม่ได้ความสงบภายใน
ไปในบ้านหรือในป่าก็ตาม ก็ถูกแมลงวัน
ตอมไป ส่วนคนเหล่าใดถึงพร้อมด้วยศีล
ยินดีในความสงบรำงับด้วยปัญญา คน
เหล่านั้นเป็นคนสงบ อยู่สบาย แมลงวัน
ไม่ไต่ตอม.
จบกฏุวิยสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 563
อรรถกถากฏุวิยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกฏุวิยสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า โคโยคมิลกฺขสฺมึ ความว่า ในสำนักของคนป่า ที่ปรากฏ
ตัวอยู่ ในตลาด ซื้อขายวัว. บทว่า ริตฺตสฺสาท ความว่า ขาดความยินดี
เพราะไม่มีความสุขเกิดแต่ฌาน. บทว่า พาหิรสฺสาท ความว่า มีความยินดี
ในความสุขภายนอก ด้วยอำนาจแห่งความสุขที่เกิดแต่กามคุณ. บทว่า กฏุวิย
ได้แก่ของที่เขาทิ้งแล้ว. บทว่า อามกคนฺเธ ความว่า มีกลิ่นคาว กล่าวคือ
ความโกรธ. บทว่า อวสฺสุต ความว่า เปียกชุ่มแล้ว. แมลงวันกล่าวคือ
กิเลส ชื่อว่า มกฺขิกา. บทว่า นานุปติสฺสนฺติ ความว่า จักไม่บินตามไป.
บทว่า นานฺวาสฺสวิสฺสนฺติ ความว่า จักไม่ตามไปตอม. บทว่า สเวคมา-
ปาทิ ได้แก่ เป็นพระโสดาบัน.
บทว่า กฏุวิยกโต ความว่า ทำให้เป็นของเสีย. บทว่า อารกา โหติ
ความว่า มีในที่ไกล. บทว่า วิฆาตสฺเสว ภาควา ความว่า มีส่วนแห่งทุกข์
นั้นเอง. บทว่า จเร แปลว่า ย่อมเที่ยวไป. บทว่า ทุมฺเมโธ ได้แก่ ผู้มี
ปัญญาทราม. ในพระสูตรนี้ ตรัสวัฏฏะไว้อย่างเดียวเท่านั้น. แต่ในคาถา
ทั้งหลาย ตรัสไว้ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถากฏุวิยสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 564
๗. ปฐมอนุรุทธสูตร
ว่าด้วยธรรม ๓ อย่าง ที่พาหญิงไปอบายภูมิ
[๕๖๙] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ฯลฯ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยจักษุทิพย์อันแจ่มใสเกินจักษุ
มนุษย์สามัญ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นมาตุคามโดยมาก เพราะกายแตกตายไป
เข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
เพราะกายแตกตายไป จึงเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก.
พ. ตรัสตอบว่า อนุรุทธะ มาตุคามประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก ด้วยธรรม ๓ ประการ
คืออะไร คือ มาตุคาม ตอนเช้า มีใจกลุ้มด้วยความตระหนี่ อยู่ครองเรือน
ตอนกลางวัน มีใจกลุ้มด้วยความริษยา อยู่ครองเรือน ตอนเย็น มีใจกลุ้ม
ด้วยกามราคะ อยู่ครองเรือน อนุรุทธะ มาตุตามประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
นี้แล เพราะกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติวินิบาตนรก.
จบปฐมอนุรุธสูตรที่ ๗
ในพระสูตรที่ ๗ ตรัสวัฏฏะไว้อย่างเดียว.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 565
๘. ทุติยอนุรุทธสูตร
ว่าด้วยพระอนุรุทธะสนทนากับพระสารีบุตร
[๕๗๐] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทะ เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ครั้นเข้าไปถึงแล้วก็ชื่นชมกับท่านพระสารีบุตร กล่าวถ้อยคำที่ทำให้เกิด
ความชื่นบานต่อกันเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง แล้วกล่าวกะ
ท่านพระสารีบุตรว่า อาวุโส สารีบุตร ข้าพเจ้า (อยู่) ในที่นี้ตรวจดูสหัสสโลก
(๑,๐๐๐ โลก) ได้ ด้วยจักษุทิพย์อันบริสุทธิ์เกินจักษุมนุษย์สามัญ อนึ่ง ความ
เพียรข้าพเจ้าก็ทำไม่ท้อถอย สติก็ตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน กายก็รำงับไม่กระสับ
กระส่าย จิตก็มั่นคงเป็นหนึ่งแน่วแน่ เออก็เหตุไฉน จิตของข้าพเจ้าจึงยังไม่
สิ้นอุปาทานหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเล่า.
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส อนุรุทธะ ข้อที่ท่านว่า ข้าพเจ้าตรวจดู
สหัสสโลกได้ ด้วยจักษุทิพย์อันบริสุทธิ์เกินจักษุมนุษย์สามัญ นี้เป็นเพราะมานะ
ข้อที่ว่า อนึ่ง ความเพียรข้าพเจ้าก็ทำไม่ท้อถอย สติก็ตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน
กายก็รำงับไม่กระสับกระส่าย จิตก็มั่นคงเป็นหนึ่งแน่วแน่ นี้เป็นเพราะอุทธัจจะ
ข้อที่ว่า เออก็เหตุไฉน จิตของข้าพเจ้าจึงยังไม่สิ้นอุปาทานหลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลายเล่า นี้เป็นเพราะกุกกุจจะ ทางที่ดีนะ ท่านอนุรุทธะจงละธรรม
๓ ประการนี้เสีย อย่าใส่ใจถึงธรรม ๓ ประการนี้ แล้วน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ
(ธาตุไม่ตาย คือ พระนิพพาน) เถิด.
ภายหลัง ท่านอนุรุทธะ ก็ละธรรม ๓ ประการนี้ ไม่ใส่ใจถึงธรรม
๓ ประการนี้ น้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ อยู่มาท่านหลีกจากหมู่อยู่คนเดียว
ไม่ประมาท ทำความเพียร มีตนอันส่งไปอยู่ ไม่ช้าเลย กุลบุตรทั้งหลายออก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 566
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ เพื่อประโยชน์อันใด ท่านก็ทำให้
แจ้งซึ่งประโยชน์อันนั้น ซึ่งเป็นคุณที่สุดแห่งพรหมจรรย์อย่างเยี่ยมยอด ด้วย
ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนั่น ท่านรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำแล้ว กิจอื่น (ที่จะต้องทำ) เพื่อ
ความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก. ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งใน
พระอรหันต์ทั้งหลายแล้ว.
จบทุติยอนุรุทธสูตรที่ ๘
อรรถกถาทุติยอนุรุทธสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอนุรุทธสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิทนฺเต มานสฺมึ ความว่า นี้เป็นมานะอันเจริญแล้วโดย
ส่วน ๙ ของท่าน. บทว่า อิทนฺเต อุทฺธจฺจสฺมึ ความว่า นี้เป็นความฟุ้งซ่าน
ของท่าน คือ ความที่จิตของท่านฟุ้งซ่าน. บทว่า อิทนฺเต กุกฺกุจฺจสฺมึ
ความว่า นี้เป็นความรำคาญของท่าน.
จบอรรถกถาทุติยอนุรุทธสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 567
๙. ปฏิจฉันนสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ปิดดีเปิดไม่ดี ๓ อย่าง
[๕๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์ ๓ อย่างนี้ปกปิดดี เปิดเผย
ไม่ดี ของ ๓ อย่างคืออะไร คือ มาตุคาม ๑ มนต์ของพราหมณ์ ๑ ความ
เห็นผิด ๑ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ของ ๓ อย่างปกปิดดี เปิดเผยไม่ดี
ของ ๓ อย่างนี้เปิดเผยดี ปกปิดไม่ดี ของ ๓ อย่าง คืออะไร
คือ จันทรมณฑล (ดวงจันทร์) ๑ สุริยมณฑล (ดวงอาทิตย์) ๑ พระธรรม
วินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ๑ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย ของ ๓ อย่างเปิดเผยดี
ปกปิดไม่ดี
จบปฏิจฉันนสูตรที่ ๙
อรรถกถาปฏิจฉันนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฏิจฉันนสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วหนฺติ แปลว่า ย่อมนำไป. บทว่า ปฏิจฺฉนฺโน วหติ
ความว่า ปกปิดแล้วจึงออกไป. ในบทว่า วิเฏ วิโรจติ พึงทราบข้อที่จะต้อง
เปิดเผย โดย ๙ อย่างคือ เปิดเผยโดยส่วนเดียว ๑ เปิดเผยโดยส่วนสอง ๑
เปิดเผยโดยส่วนตัว ๑ เปิดเผยโดยทั่วไป ๑. ในบรรดาสิ่งที่จะต้องเปิดเผย
๔ อย่างนั้น สิกขาบทที่ไม่ทั่วไป (แก่ภิกษุและภิกษุณี) ชื่อว่าเปิดเผยโดย
ส่วนเดียว. สิกขาบทที่ทั่วไป (แก่อุภโตสงฆ์) ชื่อว่าเปิดเผยโดยสองส่วน.
คุณธรรมทราได้บรรลุแล้ว ชื่อว่าเปิดเผยเฉพาะตน. (ส่วน) พระพุทธพจน์ คือ
พระไตรปิฎก ชื่อว่า สิ่งที่เปิดเผยโดยทั่วไป.
จบอรรถกถาปฏิจฉันนสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 568
๑๐. เลขสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวก
[๕๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๓ คือใคร คือบุคคลเหมือนรอยขีดในหิน บุคคลเหมือนรอยขีดในดิน
บุคคลเหมือนรอยขีดในน้ำ
บุคคลเหมือนรอยขีดในหินเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้
โกรธเนือง ๆ และความโกรธของเขานั้นติดกรุ่นในใจ ไปนาน ๆ เหมือนรอย
ขีดในหิน ย่อมไม่ลบง่าย ๆ ด้วยลมพัดหรือน้ำเซาะ ย่อมติดอยู่นานฉันใด บุคคล
บางคนในโลกนี้โกรธเนือง ๆ และความโกรธของเขานั้นติดกรุ่นอยู่ในใจไป
นาน ๆ ฉันนั้น นี่เรียกว่าบุคคลเหมือนรอยขีดในหิน
บุคคลเหมือนรอยขีดในดินเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้
โกรธเนือง ๆ แต่ความโกรธของเขานั้น ไม่ติดกรุ่นอยู่ในใจนาน เหมือน
รอยขีดในดิน ย่อมลบง่ายด้วยลมพัดหรือน้ำเซาะ หาติดอยู่นานไม่ ฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้โกรธเนือง ๆ แต่ความโกรธของเขานั้นไม่ติดกรุ่นอยู่ใน
ใจนานฉันนั้น นี่เรียกว่าบุคคลเหมือนรอยขีดในดิน
บุคคลเหมือนรอยขีดในน้ำเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้
ถูกว่าแม้ด้วยคำเลว คำหยาบ คำไม่เจริญใจ ก็ยังสมานไว้ได้ ยังประสานไว้ได้
ยังพูดจาดีอยู่ได้ เหมือนรอยขีดในน้ำย่อมพลันหาย ไม่ติดอยู่นานเลยฉันใด
บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกว่าแม้ด้วยคำเลว คำหยาบ คำไม่เจริญใจ ก็ยังสมาน
ไว้ได้ ยังประสานไว้ได้ ยังพูดจาดีอยู่ได้ฉันนั้น นี่เรียกว่าบุคคลเหมือนรอย
ขีดในน้ำ.
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ นี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก.
จบเลขสูตรที่ ๑๐
จบกุสินารวรรคที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 569
อรรถกถาเลขสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเลขสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิณฺห ความว่า เนืองนิตย์ คือชั่วนิรันดร. บทว่า
อคาฬฺเหน ความว่า ด้วยคำหนัก ๆ คือคำกักขฬะ. บทว่า ผรุเสน
ความว่า ด้วยคำหยาบคาย อธิบายว่า แม้ถูกต่อว่าอย่างหนัก ๆ อย่างหยาบ ๆ
ดังนี้. บทว่า อมนาเปน ความว่า ด้วยคำที่ไม่ชื่นใจ คือไม่เจริญใจ.
บทว่า สนฺธิยติเยว ความว่า ยังสมานไว้ได้. บทว่า สสนฺทติเยว ความว่า
ยังเป็นเช่นเดิมนั่นเอง. บทว่า สมฺโมทติเยว ความว่า ถึงความเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกันนั่นเอง. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาเลขสูตรที่ ๑๐
จบกุสินารวรรควรรณนาที่ ๓
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. กุสินารสูตร ๒. ภัณฑนสูตร ๓. โคตมสูตร ๔. ภรัณฑุสูตร
๕. หัตถกสูตร ๖. กฏุวิยสูตร ๗. ปฐมอนุรุทธสูตร ๘. ทุติยอนุรุทธสูตร
๙. ปฏิจฉันนสูตร ๑๐. เลขสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 570
โยธาชีวรรคที่ ๔
๑. โยธสูตร
ว่าด้วยนักรบที่คู่ควรแก่พระราชา
[๕๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบประกอบด้วยองค์ ๓ จึงคู่ควร
แก่พระราชา เป็นราชเสวก นับว่าเป็นองคาพยพของพระราชาทีเดียว องค์ ๓
คืออะไร คือ ยิงไกล ๑ ยิงเร็ว ๑ ทำลาย (ข้าศึก) หมู่ใหญ่ได้ ๑ นักรบ
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล จึงคู่ควรแก่พระราชา เป็นราชเสวก นับว่าเป็น
องคาพยพของพระราชาทีเดียว
ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ จึงเป็น
(อาหุเนยฺโย) ผู้ควรของคำนับ (ปาหุเนยฺโย) ผู้ควรของต้อนรับ (ทกฺขิณยฺโย)
ผู้ควรของทำบุญ (อญฺชลิกรณีโย) ผู้ควรทำอัญชลี (อนุตฺตร ปุญฺญกฺเขติต
โลกสฺส) เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๓ คืออะไร คือ
ยิงไกล ๑ ยิงเร็ว ๑ ทำลาย (ข้าศึก) หมู่ใหญ่ได้ ๑
ภิกษุยิงไกลเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า (ขันธ์ ๕ คือ) รูป (ร่างกายอันประกอบขึ้น
ด้วยธาตุ ๔) เวทนา (ความเสวยอารมณ์เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์
ไม่สุขบ้าง) สัญญา (ความจำอะไร ๆ ได้) สังขาร (ความคิดอ่านต่าง ๆ
ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง กลาง ๆ บ้าง) วิญญาณ (ความรู้สึกทางทวาร ๖) ทุกอย่าง
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ทั้งภายใน ภายนอก ทั้งหยาบ ละเอียด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 571
ทั้งเลว ประณีต ทั้งอยู่ไกล อยู่ใกล้ ทั้งหมด (เนต มม) นั่นไม่ใช่ของเรา
(เนโสหมสฺมิ) เราไม่ได้เป็นนั่น (น เมโส อตฺตา) นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิงไกลเป็นอย่างนี้
ภิกษุยิงเร็วเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ตามจริงว่า
นี้ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิงเร็วเป็น
อย่างนี้
ภิกษุทำลาย (ข้าศึก) หมู่ใหญ่ได้เป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระ-
ธรรมวินัยนี้ทำลายกองอวิชชาอันใหญ่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำลาย (ข้าศึก)
หมู่ใหญ่ได้เป็นอย่างนี้
ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ นี้แล จึงเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็น
นาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
จบโยธสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 572
โยธาชีวรรควรรณนาที่ ๔
อรรถกถาโยธสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในโยธสูตรที่ ๑ แห่งโยธาชีววรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
ผู้ที่เข้าไปอาศัยการรบเลี้ยงชีพ ชื่อว่า โยธาชีวะ. บทว่า ราชารโห
ความว่า คู่ควรแก่พระราชา บทว่า ราชาโภคฺโค ความว่า เป็นผู้ที่
พระราชาจะพึงใช้สอย. บทว่า องฺคนฺเตว สงฺขย คจฺฉติ ความว่า
ย่อมนับว่าเป็นองค์ประกอบ เพราะจำต้องปรารถนาโดยแท้ เหมือนมือและเท้า.
บทว่า ทูเร ปาตี โหติ ความว่า ยิงลูกศรไปได้ไกลอย่างนี้คือ ในน้ำไกล
ประมาณ ๑ อสุภ บนบกไกลประมาณ ๘ อสุภ หรือเลยนั้นไป. แท้จริง
ทหารของพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย ยิงเกาทัณฑ์ไปได้ไกลประมาณ ๙ อสุภ.
ในภพสุดท้าย พระโพธิสัตว์ ทรงยิงไปได้ไกลประมาณ ๑ โยชน์. บทว่า
อกฺขณเวธี ได้แก่ยิงไม่พลาด อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า สามารถยิงได้เร็ว
ทันสายฟ้าแลบ. บทว่า มหโต กายสฺส ปทาเลตา มีอธิบายว่า สามารถ
ยิงทะลุแผ่นกระดาน ๑๐๐ แผ่น ที่ผูกรวมกันเข้าไว้บ้าง แผ่นหนังกระบือ
๑๐๐ แผ่น ที่ผูกรวมกันไว้บ้าง แผ่นโลหะหนาประมาณเท่าหัวแม่มือบ้าง
กระดานแผ่นเรียบที่ทำด้วยไม้ประดู่ หนา ๔ นิ้วบ้าง. กระดานแผ่นเรียบที่
ทำด้วยไม้มะเดื่อ หนา ๑ คืบบ้าง เกวียนบรรทุกทรายตามยาวบ้าง. บทว่า
ยงฺกิญฺจิ รูป เป็นต้น ได้ให้พิสดารแล้วในคัมภีร์ ชื่อว่า วิสุทธิมรรคนั้นแล.
บทว่า เนต มม เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการ
ห้ามตัณหา มานะ และทิฏฐิ. บทว่า สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสติ ความว่า
พิจารณาเห็นด้วยมรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา โดยชอบ คือ โดยเหตุ
โดยการณ์. บทว่า ปทาเลติ ความว่า ย่อมทำลายด้วยพระอรหัตมรรค.
จบอรรถกถาโยธสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 573
๒. ปริสาสูตร
ว่าด้วยบริษัท ๓ จำพวก
[๕๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ นี้ บริษัท ๓ คืออะไร คือ
(อุกฺกาจิตวินีตา ปริสา) บริษัทที่รับการฝึกอธิบายให้กระจ่างแจ้ง
โดยไม่ได้สอบถาม ๑ (ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา) บริษัทที่รับการฝึกโดย
สอบถาม ๑ (ยาวตชฺฌาวินีตา ปริสา) บริษัทที่รับการฝึกโดยผู้ฝึกเพียง
แนะให้รู้จักเพ่งพิจารณาเอง ๑ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๓ จำพวก.
จบปริสาสูตรที่ ๒
อรรถกถาปริสาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปริสาสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุกฺกาจิตวินีตา ได้แก่ บริษัทที่แนะนำโดยไม่ได้สอบถาม
คือ บริษัทที่ฝึกได้ยาก. บทว่า ปฏิปุจฺฉาวินีตา ได้แก่บริษัทที่แนะนำโดย
สอบถาม คือ บริษัทที่ฝึกได้ง่าย. บทว่า ยาวตา จ วินีตา ได้แก่
บริษัทที่แนะนำด้วยข้อแนะนำพอประมาณ อธิบายว่า ได้แก่ บริษัทที่ถูก
แนะนำ โดยรู้ประมาณ. ก็ความของพระบาลีที่ว่า ยาวตชฺฌา ก็เท่ากับ
ยาว 0ชฺฌาสยา (แปลว่า เพียงพอแก่อัธยาศัย) อธิบายว่า บริษัทที่ได้
รับการฝึกโดยรู้อัธยาศัย.
จบอรรถกถาปริสาสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 574
๓. มิตตสูตร
ว่าด้วยองค์ ๓ ของมิตรแท้
[๕๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิตรประกอบด้วยองค์ ๓ ควรคบ
องค์ ๓ คืออะไร คือ (ทุทฺทท ททาติ) ให้สิ่งที่ให้ยาก ๑ (ทุกฺกร กโรติ)
ทำสิ่งที่ทำยาก (ทุกฺขม์ ขมติ) ทนสิ่งที่ทนยาก ๑ ภิกษุทั้งหลาย มิตร
ประกอบด้วยองค์ ๓ นี้แล ควรคบ.
จบมิตตสูตรที่ ๓
๔. อุปปาทสูตร
ว่าด้วยธรรมนิยาย
[๕๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตทั้งหลาย เกิดขึ้น
หรือไม่เกิดขึ้นก็ตาม ธาตุ คือสิ่งที่ทรงตัวเองอยู่ได้อันนั้น (ธัมมฐิตตา)
ความตั้งอยู่โดยธรรมดาอันนั้น (ธัมมนิยามตา) ความแน่นอนโดยธรรมดา
อันนั้น ตถาคตตรัสรู้บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง
เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ครั้นได้ตรัสรู้แล้ว ได้หยั่งรู้แล้วจึงบอก
แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ว่า สังขารทั้งปวง
ไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา.
จบอุปปาทสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 575
อรรถกถาอุปปาทสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอุปปาทสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ธมฺมฏิตตา ได้แก่ภาวะที่ทรงตัวอยู่ได้เองตามสภาพ. บทว่า
ธมฺมนิยามตา ได้แก่ความแน่นอนโดยสภาพ. บทว่า สพฺเพ สงฺขารา
ได้แก่สังขารอัน เป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า อนิจฺจา ความว่า ชื่อว่า อนิจฺจา
ด้วยอรรถว่า เป็นแล้วกลับไม่เป็น. บทว่า ทุกฺขา ความว่า ชื่อว่าทุกข์
ด้วยอรรถว่า บีบคั้นเสมอ. บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่า อนตฺตา
เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปตามอำนาจ. ในพระสูตรนี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสลักษณะทั้ง ๓ อย่างไว้คละกัน ดังพรรณนามาฉะนี้.
จบอรรถกถาอุปปาทสูตรที่ ๔
๕. เกสกัมพลสูตร
ว่าด้วยโมฆบุรุษเป็นไซดักมนุษย์
[๕๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่ทอด้วยด้ายทุกชนิด ผ้าเกสกัมพล
(ทำด้วยผมคน) ปรากฏว่าเลวกว่าผ้าเหล่านั้นทั้งหมด เพราะผ้าเกสกัมพล
ยามอากาศหนาวก็เย็น คราวอากาศร้อนก็ร้อน สีก็ไม่งาม กลิ่นก็ไม่ดี สัมผัส
ก็หยาบฉันใด สมณประวาท (วาทะของนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาที่เป็น
ปฏิปักษ์คือขัดแย้งกับพระพุทธศาสนา) เป็นอันมากทุกประเภท มักขลิวาท
(วาทะของเจ้าลัทธิชื่อ มักขลิ) ปรากฏว่าเลวกว่าสมณประวาทเหล่านั้นทั้งหมด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 576
มักขลิโมฆบุรุษ (คนเปล่า คนไม่มีแก่นสาร) มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้
ว่า (นตฺถิ กมฺม) กรรมไม่มี (นตฺถิ กิริย) กิริยาไม่มี (นตฺถิ วิริย)
วิริยะไม่มี.
ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะเหล่าใดที่มีแล้วในอดีตกาล
พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เหล่านั้นย่อมเป็นกรรมวาทะ (กล่าวว่า กรรมมี) เป็น
กิริยวาทะ (กล่าวว่า กิริยามี) และเป็นวิริยวาทะ (กล่าวว่า วิริยะมี) มักขลิ
โมฆบุรุษ คัดค้านพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นด้วยวาทะว่า กรรมไม่มี กิริยา
ไม่มี วิริยะไม่มี พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะเหล่าใดที่จักมีในอนาคตกาล
พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เหล่านั้น ก็จักเป็นกรรมวาทะกิริยวาทะ และวิริยวาทะ
มักขลิ โมฆบุรุษ คัดค้านพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เหล่านั้นด้วยวาทะว่า กรรม
ไม่มี กิริยาไม่มี วิริยะไม่มี ถึงตัวเราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะในกาลบัดนี้
ก็เป็นกรรมวาทะ กิริยวาทะ วิริยวาทะ มักขลิ โมฆบุรุษ คัดค้านเราด้วย
เหมือนกัน ด้วยวาทะว่า กรรมไม่มี กิริยาไม่มี วิริยะไม่มี.
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชาวประมง ลงไซไว้ที่ปากแม่น้ำ เพื่อ
ความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อฉิบหาย เพื่อวอดวาย แห่งปลาจำนวนมาก
ฉันใด มักขลิ โมฆบุรุษ ก็เป็นเสมือนไซดักคน เกิดขึ้นในโลก เพื่อความ
ไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศ แห่งคนเป็นอันมาก
ฉันนั้น.
จบเกสกัมพลสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 577
อรรถกถาเกสกัมพลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในเกสกัมพลสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตนิตาวุตาน วตฺถาน เป็นฉัฏฐีวิภัติ ลงในอรรถแห่ง
ปฐมาวิภัติ. อธิบายว่า ได้แก่ผ้าที่ทอด้วยเส้นด้าย. ผ้ากัมพลทีทอด้วยผมมนุษย์
ชื่อว่า เกสกัมพล. แม้บทว่า ปวาทน นี้ ก็เป็นฉัฏฐีวิภัติ ลงในอรรถ
แห่งปฐมาวิภัติ. บทว่า ปฏิกิฏีโ ความว่า ลัทธิหลัง เลว. บทว่า
โมฆปุริโส แปลว่า บุรุษเปล่า คือ บุรุษหลงงมงาย. บทว่า ปฏิพาหติ
แปลว่า ปฏิเสธ. บทว่า ขิปฺป อุฑฺเฑยฺย ได้แก่ ดักไซ.
จบอรรถกถาเกสกัมพลสูตรที่ ๕
๖. สัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา ๓ อย่าง
[๕๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมปทา (สมบัติ) ๓ นี้ สัมปทา ๓
คืออะไร คือสัทธาสัมปทา (สมบัติคือศรัทธา) สีลสัมปทา (สมบัติคือศีล)
ปัญญาสัมปทา (สมบัติคือปัญญา) นี้ สัมปทา ๓.
จบสัมปทาสูตรที่ ๖
๗. วุฑฒิสูตร
ว่าด้วยวุฑฒิ ๓ อย่าง
[๕๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วุฑฒิ (ความเจริญ) ๓ นี้ วุฑฒิ ๓ คือ
อะไร คือ สัทธาวุฑฒิ (ความเจริญแห่งศรัทธา) สีลวุฑฒิ (ความเจริญแห่งศีล)
ปัญญาวุฑฒิ (ความเจริญแห่งปัญญา) นี้วุฑฒิ ๓.
จบวุฑฒิสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 578
๘. ปฐมอัสสสูตร
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก ๓ จำพวก
[๕๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้ากระจอก ๓ และคน
กระจอก ๓ จำพวก ท่านทั้งหลายจงพึง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุทั้งหลายรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ขยายความต่อไปว่า ม้ากระจอก ๓ เป็นอย่างไร คือม้ากระจอกลางตัวเป็นม้า
ฝีเท้าดี แต่สีไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม ลางตัวฝีเท้าดี สีก็งาม แต่ทรวดทรง
ไม่งาม ลางตัวฝีเท้าก็ดี สีก็งาม ทรวดทรงก็งาม นี่ม้ากระจอก ๓
คนกระจอก ๓ เป็นอย่างไร ? คือ คนกระจอกลางคนมีเชาวน์ดี
แต่สีไม่งาม (คือ ไม่องอาจ) ทรวดทรงไม่งาม (คือ ความไม่สูงและใหญ่)
ลางคนมีเชาวน์ดี สีก็งาม แต่ทรวดทรงไม่งาม ลางคนมีเชาวน์ดี สีก็งาม
ทรวดทรงก็งาม
คนกระจอกมีเชาวน์ดี แต่สีไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ รู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนีโรธคานินีปฏิปทา
เรากล่าวความรู้อริยสัจนี้ในความมีเชาวน์ของเธอ แต่ภิกษุนั้นถูกถามปัญหา
ในอภิธรรมอภิวินัย แล้วจนปัญญา แก้ปัญหาไม่ได้ เรากล่าวการที่ถูกถาม
ปัญหาแล้วจนปัญญาไม่แก้ปัญหานี้ ในความมีสีไม่งามของเธอ อนึ่ง
ภิกษุนั้น ไม่ใคร่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย. . . เรากล่าวความ
ที่ไม่ใคร่ได้ปัจจัย ๔ นี้ ในความมีทรวดทรงไม่งามของเธอ คนกระจอก
มีเชาวน์ดี แต่สีไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม อย่างนี้แล
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 579
คนกระจอกมีเชาวน์ดี สีงาม แต่ทรวดทรงไม่งาม เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ ที่ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา
เรากล่าวความรู้อริยสัจนี้ในความมีเชาวน์ของเธอ อนึ่ง ภิกษุนั้นถูกถาม
ปัญหาในอภิธรรมอภิวินัยแล้วแก้ปัญหาได้ไม่จนปัญญา เรากล่าวความที่ถูก
ถามปัญหาแล้วแก้ปัญหาได้ไม่จนปัญญานี้ ในความมีสีงามงามของเธอ แต่ภิกษุ
นั้นไม่ใคร่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย... เรากล่าวความที่
ไม่ใคร่ได้ปัจจัย ๔ นี้ ในความมีทรวดทรงไม่งามของเธอ คนกระจอก
มีเชาวน์ดี สีงาม สีทรวดทรงไม่งามอย่างนี้แล
คนกระจอกมีเชาวน์ดี สีก็งาม ทรวดทรงก็งาม เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้ตามจริงว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
เรากล่าวความรู้อริยสัจนี้ในความมีเชาวน์ของเธอ อนึ่ง ภิกษุนั้นถูกถามใน
อภิธรรมอภิวินัยแล้วแก้ปัญหาได้ไม่จนปัญญา เรากล่าวความที่ถูกถามปัญหา
แล้ว แก้ปัญหาได้ไม่จนปัญญานี้ ในความมีสีงามของเธอ อนึ่ง ภิกษุนั้นได้จีวร
บิณฑบาตเสนาสนะ คิลานปัจจัย... (ไม่ขาดแคลน) เรากล่าวความที่ไม่
ขาดแคลนปัจจัย ๔ นี้ ในความมีทรวดทรงงามของเธอ คนกระจอกมีเชาวน์ดี
สีก็งาม ทรวดทรงก็งาม อย่างนี้แล.
นี้ ภิกษุทั้งหลาย คนกระจอก ๓ จำพวก.
จบปฐมอัสสสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 580
อรรถกถาปฐมอัสสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอัสสสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสฺสขลุโก ได้แก่พันธ์ม้า (กระจอก). บทว่า อิทมสฺส
ชวสฺมึ วทามิ ความว่า เราตถาคตกล่าวว่า นี้เป็นความเร็ว คือ ญาณของ
ภิกษุนั้น. บทว่า อิทมสฺส วณฺณสฺมึ วทามิ ความว่า เราตถาคตกล่าวว่า
นี้เป็นสี คือ คุณความดีของภิกษุนั้น. บทว่า อิทมสฺส อาโรหปริณาหมสฺมึ
ความว่า เราตถาคตกล่าวว่า นี้เป็นความสูง ความสง่างาม ของภิกษุนั้น
ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาปฐมอัสสสูตรที่ ๘
๙. ทุติยอัสสสูตร
ว่าด้วยม้าดี และบุรุษดี ๓ จำพวก
[๕๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าดี ๓ และคนดี ๓
จำพวก ท่านทั้งหลายจงฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุทั้งหลายรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ขยายความต่อไปว่า ม้าดี ๓ เป็นอย่างไร ? คือม้าดี ลางตัวฝีเท้าดี แต่สี
ไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม ลางตัวฝีเท้าดี สีงาม แต่ทรวดทรงไม่งาม ลางตัว
ฝีเท้าก็ดี สีก็งาม ทรวดทรงก็งาม นี่ม้าดี ๓ จำพวก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 581
คนดี ๓ จำพวก เป็นอย่างไร ? คือคนดี ลางคนมีเชาวน์ดี แต่สี
ไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม ลางคนมีเชาวน์ดี สีก็งาม แต่ทรวดทรงไม่งาม
ลางคนมีเชาวน์ดี สีก็งาม ทรวดทรงก็งาม
คนดี มีเชาวน์ดี แต่สีไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม เป็นอย่างไร ?
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เป็นโอปปาติกะ
ปรินิพพานในโลกที่เกิดนั้น เป็นอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เรากล่าว
ความที่เป็นโอปปาติกะ... (คือเป็นพระอนาคามี) นี้ในความมีเชาวน์ดีของเธอ
แต่ภิกษุนั้นถูกถามปัญหาในอภิธรรมอภิวินัยแล้วจนปัญญาแก่ปัญหาไม่ได้ ฯลฯ
นี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนดี ๓ จำพวก.
จบทุติยอัสสสูตรที่ ๙
อรรถกถาทุติยอัสสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอัสสสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสฺสสทสฺเส ความว่า ในม้าดี (ม้าเทศ) ในจำนวนม้า
ทั้งหลาย. บทว่า ปุริสสทสฺเส ความว่า ในบุคคลผู้เช่นกับด้วยม้าดี
ในบุรุษทั้งหลาย อธิบายว่า ได้แก่สุภาพบุรุษ. ในพระสูตรนี้ ตรัสมรรค
ผลไว้ ๓ อย่าง. ในบรรดาบุคคล ๓ ประเภทนั้น บุคคลดีนี้ พึงทราบว่า
ถึงพร้อมด้วยเชาว์ คือญาณ ด้วยมรรค ๓.
จบอรรถกถาทุติยอัสสสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 582
๑๐. ตติยอัสสสูตร
ว่าด้วยม้าอาชาไนย และบุรุษอาชาไนย ๓ จำพวก
[๕๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าอาชาไนยตัวประเสริฐ ๓
และคนอาชาไนยผู้ประเสริฐ ๓ ท่านทั้งหลายจงพึง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุทั้งหลาย รับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ขยายความต่อไปว่า ม้าอาชาไนยตัวประเสริฐ ๓ เป็นอย่างไร ? คือม้าอาชาไนย
ตัวประเสริฐลางตัว ฝีเท้าดี แต่สีไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม ลางตัวฝีเท้าดี
สีก็งาม แต่ทรวดทรงไม่งาม ลางตัวฝีเท้าก็ดี สีก็งาม ทรวดทรงก็งาม นี่ม้า
อาชาไนยตัวประเสริฐ ๓ จำพวก
คนอาชาไนยผู้ประเสริฐ ๓ เป็นอย่างไร คือคนอาชาไนยผู้ประเสริฐ
ลางคนมีเชาวน์ดี แต่สีไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม ลางคนมีเชาวน์ดี สีก็งาม
แต่ทรวดทรงไม่งาม ลางคนมีเชาวน์ก็ดี สีก็งาม ทรวดทรงก็งาม
คนอาชาไนยผู้ประเสริฐ มีเชาวน์ดี แต่สีไม่งาม ทรวดทรงไม่งาม
เป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลายกระทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้ เรากล่าวความกระทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติ (คือเป็นพระ-
อรหันต์) นี้ ในความมีเชาวน์ดีของเธอ แต่ภิกษุนั้นถูกถามปัญหาในอภิธรรม
อภิวินัยแล้วจนปัญญาแก้ปัญหาไม่ได้ ฯลฯ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย คนอาชาไนย
ผู้ประเสริฐ ๓ จำพวก.
จบตติยอัสสสูตรที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 583
อรรถกถาตติยอัสสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในตติยอัสสสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ภเทฺร ได้แก่ ม้าอาชาไนยตัวเจริญ. ม้าตัวที่รู้เหตุที่ควร และ
ไม่ควร ชื่อว่า ม้าอาชาไนย ถึงในบุรุษผู้อาชาไนย ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส อรหัตผลไว้. บรรดาคน ๓ ประเภท
นั้น บุรุษอาชาไนยนี้ พึงทราบว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาว์ คือญาณ เพราะ
พระอรหัตมรรค.
จบอรรถกถาตติยอัสสสูตรที่ ๑๐
๑๑. ปฐมโมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยขันธ์ ๓
[๕๘๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ โมรนิวาปสถาน
(ที่เลี้ยงนกยูง) อันเป็นอารามของปริพาชก ใกล้พระนครราชคฤห์ ฯลฯ
ตรัสพระธรรมเทศนาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓
ประการ เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด ปลอดโปร่งจากเครื่องผูกมัดเสมอไป เป็นพรหม-
จารีเต็มที่ จบกรณียกิจสิ้น เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย ธรรม
๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ ศีลขันธ์เป็นอเสขะ สมาธิขันธ์เป็นอเสขะ
ปัญญาขันธ์เป็นอเสขะ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สำเร็จ
ถึงที่สุด ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย.
จบปฐมโมรนิวาปสูตรที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 584
อรรถกถาปฐมโมรนิวาปสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโมรนิวาปสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺโ ความว่า สำเร็จโดยก้าวล่วงที่สุด (แห่งทุกข์)
อธิบายว่า สำเร็จอกุปปธรรม. คำที่เหลือ เช่นเดียวกัน (กับคำที่กล่าวแล้ว)
ทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปฐมโมรนิวาปสูตรที่ ๑๑
๑๒. ทุติยโมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยปาฏิหาริย์ ๓
[๕๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓
ประการคืออะไรบ้าง คือ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ อนุสาสนี-
ปาฏิหาริย์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด ฯลฯ
เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย.
จบทุติยโมรนิวาปสูตรที่ ๑๒
อรรถกถาทุติยโมรนิวาปสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุติยโมรนิวาปสูตรที่ ๑๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อิทฺธิปาฏิหาริเยน ได้แก่ ด้วยการแสดงฤทธิ์ เป็นอัศจรรย์.
บทว่า อาเทสนาปาฏิหาริเยน ได้แก่ ด้วยการกล่าวชี้ อ้างถึง (ดักใจ)
เป็นอัศจรรย์.
จบอรรถกถาทุติยโมรนิวาปสูตรที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 585
๑๓. ตติยโมรนิวาปสูตร
ว่าด้วยผู้ประเสริฐเพราะมีธรรม ๓ อย่าง
[๕๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓
ประการคืออะไรบ้าง คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาญาณ (ความ
รู้ชอบ) สัมมาวิมุตติ (ความพ้นชอบ) ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
นี้แล เป็นผู้สำเร็จถึงที่สุด ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐแห่งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย
จบตติยโมรนิวาปที่ ๑๓
จบโยธาชีวรรคที่ ๔
อรรถกถาตติยโมรนิวาปสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในตติยโมรนิวาปสูตรที่ ๑๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สมฺมาทิฏฺิยา ได้แก่ด้วยสัมมาทิฏฐิ ที่เกิดแต่วิปัสสนา
เพื่อประโยชน์แก่ผลสมาบัติ. บทว่า สมฺมาาเณน ได้แก่ด้วยผลญาณ
บทว่า สมฺมาวิมุตฺติยา ได้แก่ธรรมคือผลสมาบัติที่เหลือ. ในสูตรแม้ทั้ง ๓
เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง พระขีณาสพอย่างเดียว ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาตติยโมรนิวาปสูตรที่ ๑๓
จบโยธาชีวรรควรรณนาที่ ๔
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โยธสูตร ๒. ปริสาสูตร ๓. มิตตสูตร ๔. อุปปาทสูตร
๕. เกสกัมพลสูตร ๖. สัมปทาสูตร ๗. วุฑฒิสูตร ๘. ปฐมอัสสสูตร
๙. ทุติยอัสสสูตร ๑๐. ตติยอัสสสูตร ๑๑. ปฐมโมรนิวาปสูตร ๑๒. ทุติย-
โมรนิวาปสูตร ๑๓. ตติยโมรนิวาปสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 586
มงคลวรรคที่ ๕
๑. อกุศลสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตกนรกและขึ้นสวรรค์
[๕๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ย่อมอุบัติในนรก เหมือนถูกนำตัวไปเก็บไปฉะนั้น ธรรม ๓ ประการ คือ
อะไรบ้าง ? คือ กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรมเป็นอกุศล มโนกรรมเป็น
อกุศล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลายย่อม
อุบัติในนรก เหมือนถูกนำไปเก็บไว้ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมอุบัติ
ในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปเก็บไว้ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง ?
คือ กายกรรมเป็นกุศล วจีกรรมเป็นกุศล มโนกรรมเป็นกุศล บุคคลประกอบ
ด้วยธรรม ๓ อย่างเหล่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย ย่อมอุบัติในสวรรค์ เหมือนเขา
เชิญตัวไปเก็บไว้ฉะนั้น.
จบอกุศลสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 587
มงคลวรรควรรณนาที่ ๕
อรรถกถาอกุศลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอกุศลสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยถาภต นิกฺขิตฺโต ความว่า ตามที่นำมาเก็บไว้.
จบอรรถกถาอกุศลสูตรที่ ๑
๒. สาวัชชสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตกนรกและขึ้นสวรรค์
[๕๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
คือ กายกรรมมีโทษ วจีกรรมมีโทษ มโนกรรมมีโทษ ฯลฯ คือ กายกรรม
ไม่มีโทษ วจีกรรมไม่มีโทษ มโนกรรมไม่มีโทษ ฯลฯ
จบสาวัชชสูตรที่ ๒
อรรถกถาสาวัชชสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสาวัชชสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สาวชฺเชน ได้แก่ กรรมที่มีโทษ.
จบอรรถกถาสาวัชชสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 588
๓. วิสมสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตกนรกและขึ้นสวรรค์
[๕๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ฯลฯ คือกายกรรมผิด วจีกรรมผิด มโนกรรมผิด ฯลฯ คือกายกรรมชอบ
วจีกรรมชอบ มโนกรรมชอบ ฯลฯ
จบวิสมสูตรที่ ๓
อรรถกถาวิสมสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในวิสมสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า วิสเมน ได้แก่ด้วยกรรมที่มีความพลาดพลั้ง. บทว่า สเมน
ได้แก่ ด้วยกรรมที่ปราศจากความพลาดพลั้ง.
จบอรรถกถาวิสมสูตรที่ ๓
๕. อสุจิสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตกนรกและขึ้นสวรรค์
[๕๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ฯลฯ คือ กายกรรมโสโครก วจีกรรมโสโครก มโนกรรมโสโครก ฯลฯ คือ
กายกรรมสะอาด วจีกรรมสะอาด มโนกรรมสะอาด ฯลฯ
จบอสุจิสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 589
อรรถกถาอสุจิสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอสุจิสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสุจินา ได้แก่ ด้วยกรรมที่ไม่สะอาด เช่นกับด้วยคูถ.
บทว่า สุจินา ได้แก่ ด้วยกรรมที่สะอาด.
จบอรรถกถาอสุจิสูตรที่ ๔
๕. ปฐมขตสูตร*
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลายและไม่ถูกทำลาย
[๕๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
เป็นคนพาล เป็นคนโง่เขลา เป็นอสัตบุรุษครองตน (เป็นเหมือนต้นไม้)
ถูกขุด (ราก) เสียแล้ว ตายไปครึ่งหนึ่งแล้ว (คือตายจากความดี อยู่แต่
ร่างกายอันไร้สาระ) เป็นคนประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน และได้สิ่งอันไม่
เป็นบุญมากด้วย ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง ? คือ กายกรรมเป็นอกุศล
วจีกรรมเป็นอกุศล มโนกรรมเป็นอกุศล บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
นี้แล เป็นคนพาล ฯลฯ และได้สิ่งที่ไม่เป็นบุญมากด้วย.
บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเป็นบัณฑิต ฉลาด เป็นสัตบุรุษ
ครองตนอันไม่ถูกขุด ไม่ตายไปครึ่งหนึ่ง เป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน
และได้บุญมากด้วย ธรรม ๓ ประการ คืออะไรบ้าง ? คือ กายกรรมเป็นกุศล
วจีกรรมเป็นกุศล มโนกรรมเป็นกุศล ฯลฯ
จบปฐมขตสูตรที่ ๕
* สูตรที่ ๕ เป็นต้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 590
๖. ทุติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลายและไม่ถูกทำลาย
[๕๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ฯลฯ คือด้วยกายกรรมที่มีโทษ วจีกรรมที่มีโทษ มโนกรรมที่มีโทษ ฯลฯ
คือด้วยกายกรรมที่ไม่มีโทษ วจีกรรมทีไม่มีโทษ มโนกรรมที่ไม่มีโทษ ฯลฯ
จบทุติยขตสูตรที่ ๖
๗. ตติยขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลายและไม่ถูกทำลาย
[๕๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ฯลฯ คือด้วยกายกรรมผิด วจีกรรมผิด มโนกรรมผิด ฯลฯ คือด้วยกายกรรมชอบ
วจีกรรมชอบ มโนธรรมชอบ ฯลฯ
จบตติยขตสูตรที่ ๗
๘. จตุตถขตสูตร
ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกทำลายและไม่ถูกทำลาย
[๕๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ฯลฯ คือด้วยกายกรรมโสโครก วจีกรรมโสโครก มโนกรรมโสโครก ฯลฯ
คือด้วยกายกรรมสะอาด วจีกรรมสะอาด มโนกรรมสะอาด ฯลฯ
จบจตุตถขตสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 591
๙. วันทนาสูตร
ว่าด้วยการไหว้ ๓ อย่าง
[๕๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การไหว้ ๓ นี้ การไหว้ ๓ คืออะไร
คือไหว้ด้วยกาย ๑ ไหว้ด้วยวาจา ๑ ไหว้ด้วยใจ ๑ นี้แลการไหว้ ๓.
จบวันทนาสูตรที่ ๙
๑๐. สุปุพพัณหสูตร
ว่าด้วยเวลาที่เป็นฤกษ์ดี
[๕๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริต ด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้านั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลากลางวัน เวลา
กลางวันนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดพระพฤติสุจริตด้วยกาย
ด้วยวาจา ด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นนั้น ก็เป็นเวลาดีของสัตว์เหล่านั้น.
(นิคมคาถา)
กายกรรม วาจากรรม มโนกรรม
ความปรารถนาของท่าน เป็นประทักษิณ
เป็นฤกษ์ดี มงคลดี แจ้งดี รุ่งดี
ขณะดี ครู่ดี และเป็นการบูชาอย่างดีใน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 592
พรหมจารีทั้งหลาย คนทำกรรมอันเป็น
ประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์อันเป็น
ประทักษิณ ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้มี
ประโยชน์อันได้แล้ว ถึงซึ่งความสุข งอก
งามในพระพุทธศาสนา เป็นผู้หาโรคมิได้
สำราญกายใจ พร้อมด้วยญาติทั้งปวง
เทอญ.
จบสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐
จบมงคลวรรคที่ ๕
อรรถกถาสุปุพพัณหสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
ในคำเป็นต้นว่า สุนกฺขตฺต วันที่คนทั้งหลายบำเพ็ญสุจริตธรรมทั้ง
๓ ให้บริบูรณ์ ชื่อว่าเป็นวันที่ได้การประกอบฤกษ์ เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วันนั้น มีฤกษ์ดีทุกเมื่อ. วันนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็น
วันทำมงคลแล้ว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วันนั้นมีมงคลดี
ทุกเมื่อ. แม้วันที่มีความสว่างไสวทั้งวัน จึงชื่อว่า สุปฺปภาตเมว มีความ
สว่างไสวเป็นประจำ. แม้การลุกขึ้นจากการนอนของวันนั้น ก็ชื่อว่า สุหุฏฺิต
ลุกขึ้นด้วยดี. แม้ขณะของวันนั้น ก็ชื่อว่า สุกฺขโณ ขณะดี. แม้ยามของ
วันนั้น ก็ชื่อว่า สุมุหุตฺโต ยามดี.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 593
ก็ในบทว่า สุมุหุตฺโต นี้ พึงทราบการแบ่งเวลาดังนี้ เวลาประมาณ
๑๐ นิ้ว ชื่อว่า ขณะ เวลา ๑๐ นิ้ว โดยขณะนั้น ชื่อว่า ลยะ. เวลา ๑๐
ลยะ โดยลยะนั้น ชื่อว่า ขณลยะ. เวลา ๑๐ เท่า โดยขณลยะนั้น ชื่อว่า
มุหุตฺตะ. เวลา ๑๐ เท่า โดยมุหุตตะนั้น ชื่อว่า ขณมุหุตฺตะ.
บทว่า สุยิฏฺ พฺรหฺมจาริสุ ความว่า ทานที่เขาให้ในผู้ประพฤติ
ธรรมอันประเสริฐ ในวันที่บำเพ็ญสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์แล้ว ชื่อว่า สุยิฏฺ
(มีการบูชาดีแล้ว). บทว่า ปทกฺขิณ กายกมฺม ความว่า กายกรรมที่เขา
ทำแล้วในวันนั้น ชื่อว่าเป็นกายกรรม ประกอบด้วยความเจริญ. แม้ในบท
ที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ปทกฺขิณานิ กตฺวาน ความว่า ครั้น
การทำกายกรรมเป็นต้น ที่ประกอบด้วยความเจริญแล้ว. บทว่า ลภนฺตตฺเถ
ปทกฺขิเณ ความว่า จะได้ประโยชน์ที่เป็นประทักษิณ คือประโยชน์ที่ประกอบ
ด้วยความเจริญนั่นเอง. ข้อความที่เหลือในพระสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้เเล.
จบอรรถกถาสุปุพพัณหสูตรที่ ๑๐
จบมงคลวรรควรรณนาที่ ๕
จบตติยปัณณาสก์
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อกุศลสูตร ๒. สาวัชชสูตร ๓. วิสมสูตร ๔. อสุจิสูตร
๕. ปฐมขตสูตร ๖. ทุติยขตสูตร ๗. ตติยขสูตร ๘. จตุตถขตสูตร
๙. วันทนาสูตร ๑๐. สุปุพพัณหสูตร และอรรถกถา.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 594
พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
ว่าด้วยปฏิปทา ๓
[๕๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน ?
คือ อาคาฬหปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างหยาบช้า ๑ นิชฌามปฏิปทา ข้อปฏิบัติ
อย่างเหี้ยมเกรียม ๑ มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอย่างกลาง ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็อาคาฬหปฏิปทาเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมมีวาทะ
อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มี เขาย่อมถึงความเป็นผู้ตกไปในกาม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อาคาฬหปฏิปทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นิชฌามปฏิปทาเป็นไฉน ? อเจลกบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้
หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่
รับภิกษาที่เขานิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปากกะเช้า ไม่รับ
ภิกษาคร่อมธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก
ไม่รับภิกษาที่คนสองคนกำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับ
ภิกษาของหญิงที่กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่
รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่ได้รับเลี้ยงดูลูกสุนัข ไม่รับ
ภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา
ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพ
ด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำ
บ้าง... รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยา
อัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 595
๒ ใบบ้าง... เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อย ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่
เก็บค้างไว้วันเดียวบ้าง ๒ วันบ้าง... ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบด้วยความ
ขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้ อเจลกนั้น เป็นผู้มี
ผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มี
กากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตัง
เป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็น
ภักษาบ้าง มีเง่าและผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง บริโภคผลไม้หล่น เยียวยา
อัตภาพ อเจลกนั้นทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุล
บ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง
ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้า
กำพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด
คือ ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือ
ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่งคือประกอบความเพียรในการกระโหย่งบ้าง
เป็นผู้นอนบนหนาม คือ ความสำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้อาบน้ำ
วันละ ๓ ครั้ง คือประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ประกอบ
ความขวนขวาย ในการทำร่างกายให้เดือดร้อนกระสับกระส่ายหลายวิธีดังกล่าว
มา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า นิชฌามปฏิปทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทาเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมป-
ชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
อยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 596
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ อย่างนี้แล.
[๕๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ?
คือ อาคาฬหปฏิปทา ๑ นิชฌามปฏิปทา ๑ มัชฌิมาปฏิปทา ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็อาคาฬหปฏิปทาเป็นไฉน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
อาคาฬหปฏิปทา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นิชฌามปฏิปทาเป็นไฉน ? ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เรียกว่า นิชฌามปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทา
เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด
พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อยังธรรมอันเป็นบาป
อกุศลที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น ไม่เสื่อมสูญ เพิ่มพูน
ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ... เจริญอิทธิบาทอัน
ประกอบด้วย ฉันทสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย
จิตสมาธิและปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและ
ปธานสังขาร... เจริญสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์... เจริญสัทธาพละ วิริยพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ...
เจริญสติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัม-
โพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์...
เจริญสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
มัชฌิมาปฏิปทา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๓ อย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 597
ว่าด้วยธรรม ๓ อย่างหลายนัย
[๕๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ต้องตกนรก เหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ
ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ต้องตกนรก
เหมือนกับถูกนำเอาไปฝังไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการขึ้นสวรรค์
เหมือนกับเชิญเอาไปสถิตไว้ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ เว้นขาดจาก
การฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจ
ในการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ ... ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นใน
การลักทรัพย์ ๑ พอใจในการลักทรัพย์ ๑... งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วย
ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการงดเว้น
จากการลักทรัพย์ ๑... ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ
ประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการประพฤติผิดในกาม ๑... งดเว้นจากการ
ประพฤติผิดในกาม ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑
พอใจในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑... พูดเท็จด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พอใจในการพูดเท็จ ๑ .... งดเว้นจากการ
พูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ พอใจใน
การงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑... กล่าวคำส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่น
ในคำส่อเสียด ๑ พอใจในคำส่อเสียด ๑... งดเว้นจากคำส่อเสียดด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากคำส่อเสียด ๑ พอใจในการงดเว้นจากคำส่อเสียด
๑... กล่าวคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในคำหยาบ ๑ พอใจในคำ-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 598
หยาบ ๑ ... งดเว้นจากคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจาก
คำหยาบ ๑ พอใจในการงดเว้นจากคำหยาบ ๑ . . . กล่าวคำเพ้อเจ้อด้วย
ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในคำเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในคำเพ้อเจ้อ ๑. . . เว้นขาด
จากคำเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากคำเพ้อเจ้อ ๑
พอใจในการงดเว้นจากคำเพ้อเจ้อ ๑. . . . เป็นผู้ละโมบด้วยตนเอง ๑ ชักชวน
ผู้อื่นในความละโมบ ๑ พอใจในความละโมบ ๑... ไม่มากด้วยความละโมบ
ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในความไม่ละโมบ ๑ พอใจในความไม่ละโมบ ๑...
มีจิตพยาบาทด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในความพยาบาท ๑ พอใจในความ
พยาบาท ๑... มีจิตไม่พยาบาทด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในความไม่
พยาบาท ๑ พอใจในความไม่พยาบาท ๑. .. มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑
ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ๑ พอใจในความเห็นผิด ๑... ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ต้องได้ขึ้นสวรรค์ เหมือนกับ
เชิญเอาไปดำรงไว้ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ มีความเห็นชอบด้วย
ตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ๑ พอใจในความเห็นชอบ ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ต้องได้ขึ้นสวรรค์
เหมือนกับเชิญเอาไปดำรงไว้.
[๕๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ราคะด้วยปัญญาอันยิ่ง จึงควร
เจริญธรรม ๓ ประการ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ สุญญตสมาธิ ๑
อนิมิตตสมาธิ ๑ อัปปณิหิตสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ราคะด้วย
ปัญญาอันยิ่ง จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อ
กำหนดรู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อ
ความเสื่อมไป เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อความสละ เพื่อความ
สละคืนราคะ จึงควรเจริญธรรม ๓ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อความ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 599
รู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความ
เสื่อมไป เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อความสละ เพื่อความสละคืน
โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา
สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ ทมะ ปมาทะ จึงควรเจริญ
ธรรม ๓ ประการนี้ ฉะนี้แล.
จบติกนิบาต
อรรถกถาพระสูตรที่ไม่สงเคราะห์เข้าเป็นปัณณาสก์
ในสูตรทั้งหลายต่อจากนี้ไป พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อาคาฬฺหา ปฏิปทา ได้แก่ปฏิปทาที่ย่อหย่อน คือหละหลวม
ได้แก่ ยึดถือไว้อย่างมั่นคง ด้วยอำนาจโลภะ บทว่า นิชฺฌามา ได้แก่
ปฏิปทาที่ตึงมากไป คือแผดเผาตน ทำตนให้ร้อนรน ด้วยสามารถแห่ง
อัตตกิลมถานุโยค. บทว่า มชฺฌิมา ได้แก่ ปฏิปทาที่ไม่หย่อน ไม่ตึง อยู่
ตรงกลาง.
บทว่า อเจลโก คือไม่มีผ้า ได้แก่เป็นคนเปลือย. บทว่า มุตฺตาจาโร
ได้แก่ปล่อยปละละเลย อาจาระ. เขาเป็นผู้เว้นจากอาจาระของกุลบุตร ในทาง
โลภ ในกิจส่วนตัวทั้งหลายมีการถ่ายอุจจาระเป็นต้น ยืนถ่ายอุจจาระ ยืนถ่าย
ปัสสาวะ ยืนเคี้ยว ยืนกิน. บทว่า หตฺถาวเลขโน ความว่า เนื้อก้อนข้าว
ในมือหมดแล้ว (นักบวชเปลือยมีปฏิปทาตึงนั้น) ก็ใช้ลิ้นเลียมือ หรือไม่ก็
ถ่ายอุจจาระแล้ว เป็นผู้มีความสำคัญในมือนั้นแหละ ว่าเป็นน้ำ เอามือเช็ด
(ทำความสะอาด). นักบวชเปลือย ชื่อว่า น เอหิภทนฺติโก เพราะหมาย-
ความว่า เมื่อประชาชนกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านได้โปรดมาเพื่อรับ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 600
ภิกษาเถิด ดังนี้ ก็ไม่มา. นักบวชเปลือย ชื่อว่า นติฏฺภทนฺติโก เพราะ
หมายความว่า แม้เมือประชาชนกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น นิมนต์หยุดยืนอยู่ก่อน
ท่านผู้เจริญ ก็ไม่ยอมหยุดยืน. เล่ากันว่า นักบวชเปลือยนั้น ไม่ยอมทำทั้ง
การมา และการหยุดยืนทั้งสองนั้น ก็เพราะกลัวว่า จักเป็นการทำตามคำพูด
ของคนนิมนต์นั้น. บทว่า อภิหฏ ได้แก่ ภิกษาที่เขาถือมาให้ก่อน (ที่ตน
จะไปถึง). บทว่า อุทฺทิสฺส กต ได้แก่ ภิกษาที่เขาบอกว่า คนเหล่านี้
ทำเจาะจง (ถวาย) พวกท่าน. บทว่า นิมนฺตน ความว่า นักบวชเปลือย
ถูกเขานิมนต์อย่างนี้ว่า ขอนิมนต์เข้าไป (รับภิกษา) ยังตระกูล ถนนหรือ
หมู่บ้าน ชื่อโน้น ก็ไม่ยินดี คือไม่รับแม้ภิกษา. บทว่า น กุมฺภิมุขา
ได้แก่ ไม่รับภิกษาที่เขาคดจากหม้อมาให้. บทว่า กโฬปิ ในคำว่า น กุมฺภิมุขา
ได้แก่หม้อข้าวหรือกระเช้า. นักบวชเปลือยจะไม่รับภิกษาจากหม้อข้าว หรือ
กระเช้าแม้นั้น . ถามว่า เพราะเหตุไรจึงไม่รับ ตอบว่า เพราะคิดว่า หม้อ
และกระเช้าอาศัยเราจึงได้กระทบกับทัพพี. บทว่า น เอลกมนฺตร ความว่า
ไม่รับภิกษาที่เขายืนคร่อมธรณีประตูถวาย. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า
เพราะคิดว่า บุคคลนี้อาศัยเราแล้วจึงได้การยืนคร่อมธรณีประตู. แม้ในท่อนไม้
และสากก็มีนัยนี้แล.
บทว่า ทฺวินฺน ความว่า เมื่อคนสองคนกำลังบริโภคกันอยู่ เมื่อ
คนหนึ่งลุกขึ้นให้ก็ไม่รับ. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะคิดว่า
มีอันตรายแต่คำข้าว. ส่วนในบทว่า น คพฺภนิยา เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้ สำหรับหญิงมีครรภ์ ทารกที่อยู่ในท้อง จะได้รับการกระทบ-
กระเทือน. สำหรับหญิงที่กำลังให้ลูกดื่มน้ำนม อันตรายเนื่องจากการดื่มน้ำนม
จะมีแก่ทารก. สำหรับหญิง ที่อยู่กับชายอื่น อันตรายแห่งความกำหนัดยินดีจะมี
เพราะเหตุนั้น ดังว่ามานี้ นักบวชเปลือยจึงไม่รับภิกษา (จากหญิงเหล่านี้).
บทว่า น สงฺกิตฺตีสุ ได้แก่ ในภัตรที่เขาระบุให้ทำ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 601
เล่ากันว่า ในสมัยข้าวยากหมากแพง สาวกของอเจลกก็รวบรวมเอา
ข้าวสารเป็นต้น จากที่นั้น ๆ มาหุงเป็นข้าวสวย เพื่อประโยชน์แก่อเจลกทั้งหลาย
อเจลกผู้รังเกียจ ก็ไม่ยอมรับจากภัตรนั้น . บทว่า น ยตฺถ สา ความว่า
ในที่ใด สุนัขปรากฏตัวด้วยหวังว่า จะได้ก้อนข้าว ในที่นั้น อเจลก จะไม่
ยอมรับภิกษาที่ยังไม่ได้ให้แก่สุนัขนั้น แล้วนำมาให้ตน. ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะคิดว่า อันตรายแห่งก้อนข้าว (ที่ไม่ได้ก้อนข้าว) จะมีแก่
สุนัขนั้น. บทว่า สณฺฑสณฺฑจาริณี ได้แก่แมลงวัน บินไปเป็นกลุ่ม ๆ.
อธิบายว่า ถ้าผู้คนทั้งหลายเห็นอเจลกแล้ว เข้าไปสู่โรงครัวด้วยคิดว่า จักถวาย
แก่อเจลกนี้ และเมื่อผู้คนเหล่านั้นเข้าไป แมลงวันที่จับอยู่ตามปากกระเช้า
เป็นต้น ก็จะบินขึ้นไปเป็นกลุ่ม ๆ อเจลกจะไม่รับภิกษาที่นำมาจากที่ที่แมลงวัน
บินขึ้นไปนั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะคิดว่า อันตรายในที่
หากินของแมลงวัน เกิดเพราะอาศัยเรา. บทว่า น ถูโสทก ได้แก่ น้ำดื่ม
ที่ทำด้วยเครื่องปรุง คือข้าวกล้าทุกชนิด. ก็ในที่นี้ การดื่มสุราเท่านั้นมีโทษ.
แต่อเจลกนี่มีความสำคัญในน้ำดื่มทุกชนิดว่า มีโทษ. อเจลกใดรับภิกษาใน
เรือนหลังเดียวแล้วกลับ อเจลกนั้นชื่อว่า เอกาคาริก อเจลกใดเลี้ยงอัตภาพ
ด้วยข้าวคำเดียวเท่านั้น อเจลกนั้นชื่อว่า เอกาโลปิกะ. แม้ในอเจลกประเภท
ทวาคาริกะ เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.
บทว่า เอกิสฺสาปิ ทตฺติยา ได้แก่ในถาดใบเดียว ที่ชื่อว่า ทตฺติ
ได้แก่ ถาดใบเล็ก ๆ ใบเดียว ที่ผู้คนใส่ภิกษาอันเลิศวางไว้. บทว่า เอกาหิต
ได้แก่อาหารที่งดรับประทานมื้อหนึ่ง. บทว่า อฑฺฒมาสิก ได้แก่อาหารที่งด
รับประทานครึ่งเดือน. บทว่า ปริยายภตฺตโภชน ได้แก่การบริโภคภัตร
ที่เขาถวาย ตามวาระ คือการบริโภคภัตรที่เขานำมาให้ตามวาระของกันอย่างนี้
คือ ตามวาระวันเดียว ตามวาระ ๒ วัน ตามวาระ ๗ วัน ตามวาระครึ่งเดือน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 602
บทว่า สากภกฺโข เป็นต้น มีความหมายดังกล่าวแล้วแล. บทว่า อุพฺภฏฺโก
แปลว่า ผู้ยืนอยู่ข้างบน. บทว่า อุกฺกุฏิกปฺปธานมนุยุตฺโต ได้แก่ผู้ประกอบ
ความเพียร ในอิริยาบถกระโหย่ง แม้เมื่อกิน ก็เดินกระโหย่งไป คือกระโดด ๆ
ไป. บทว่า กณฺฏกาปสฺสยิโก ความว่า ตอกหนามเหล็กหรือหนามธรรมดา
ไว้ในพื้นดินแล้ว ลาดหนังบนหนามนั้น ทำการเคลื่อนไหวอิริยาบถมีการยืน
และการจงกรมเป็นต้น. บทว่า เสยฺย ได้แก่ แม้เมื่อนอนก็สำเร็จการนอน
อย่างเดียวกันนั้น . บทว่า เสยฺย ตติยมสฺส ได้แก่ประกอบการพยายาม
ลงอาบน้ำ มีเวลาเย็นเป็นครั้งที่ ๓ คือวันละ ๓ ครั้ง คือ เช้า กลางวัน
เย็น อยู่ ด้วยคิดว่า เราจักลอยบาป.
บทว่า กาเย กายานุปสฺสี เป็นต้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้ว
ในอรรถกถาเอกนิบาต ในหนหลัง. บทว่า อย วุจฺจติ ภิกฺขเว มชฺฌิมา
ปฏิปทา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทานี้ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดโต่ง ๒
อย่าง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค. อีกอย่างหนึ่ง
ปฏิปทาที่พ้นไปจากที่สุดโต่ง คือ สัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ พึงทราบว่า
เป็นมัชฌิมาปฏิปทา. บทว่า สมนุญฺโ ได้แก่ มีอัธยาศัยเสมอกัน.
บทว่า ราคสฺส ได้แก่ ราคะเนื่องในเบญจกามคุณ. บทว่า อภิญฺาย
แปลว่า เพื่อรู้ยิ่ง. วิปัสสนาแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยสมาธิทั้ง ๓
มีบทว่า สุญฺโต สมาธิ เป็นต้น. แท้จริงวิปัสสนาได้ชื่อเหล่านี้ก็เพราะ
ไม่มีการยึดถือ ว่าเที่ยง นิมิตว่าเที่ยง และความปรารถนาว่าเที่ยง. บทว่า
ปริญฺาย แปลว่า เพื่อกำหนดรู้. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้แล.
จบติกนิบาตวรรณนา
ในอรรถกถา อังคุตตรนิกาย ชื่อ มโนรถปูรณี