พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต - ทุกนิบาต
เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เอตทัคคบาลี
วรรคที่ ๕
ว่าด้วยภิกษุณีผู้มีตำแหน่งเลิศ ๑๓ ท่าน
[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณี เลิศ
กว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้รู้ราตรีนาน.
พระเขมาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีปัญญามาก.
พระอุบลวรรณาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาววิกาของเราผู้มีฤทธิ์.
พระปฏาจาราภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ทรงวินัย.
พระธรรมทินนาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้เป็น
ธรรมกถึก.
พระนันทาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ยินดีในฌาน.
พระโสณาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ปรารภความ
เพียร.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 2
พระสกุลาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีจักษุทิพย์.
พระภัททากุณฑลเกสาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเรา
ผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน.
พระภัททกาปิลานีภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ระลึก
ชาติก่อน ๆ ได้.
พระภัททากัจจานาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ได้
บรรลุอภิญญาใหญ่.
พระกีสาโคตมีภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ทรงจีวร
เศร้าหมอง.
พระสิคาลมาตาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้พ้นจาก
กิเลสได้ด้วยศรัทธา.
จบวรรคที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 3
เถริบาลี
อรรถกถาวรรคที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๑
๑. ประวัติพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
ในสูตรที่ ๑ นั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ยทิท มหาปชาปตี โคตมี ท่านแสดงว่า พระมหา
ปชาบดีโคตมีเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้รู้ราตรีนาน ในปัญหา
กรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้:-
ได้ยินว่า พระมหาปชาบดีโคตมีนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในเรือนสกุล กรุงหังสวดี สมัยต่อมา กำลังฟัง
พระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูป
หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้รู้ราตรีนาน
ก็ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางถวายทานรักษาศีล
จนตลอดชีวิต จุติจากภพนั้นแล้วบังเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกใน
พุทธันดรหนึ่งอีก ไปบังเกิดเป็นหัวหน้าทาสี ในจำนวนทาสี ๕๐๐ คน
ในกรุงพาราณสี. ครั้งนั้น สมัยเข้าพรรษา พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐
องค์ ลงจากเงื้อมเขานันทมูลกะ ไปที่ป่าอิสิปตนะ เที่ยวบิณฑบาต
ในกรุงแล้วกลับมาป่าอิสิปตนะดำริว่า ควรเราจักขอหัตถกรรมงานช่าง
ฝีมือ เพื่อทำกุฎีสำหรับเข้าจำพรรษา. เพราะเหตุไร. เพราะผู้จะเข้าอยู่
จำพรรษาในฤดูฝน ทั้งปฏิบัตินาลกปฏิปทา จำต้องเข้าอยู่ในเสนาสนะ
ประจำ ที่มุงบังด้วยเครื่องมุงบัง ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง. สมจริง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 4
ดังพระพุทธดำรัสนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีเสนาสนะไม่พึงเข้า
อยู่จำพรรษา ภิกษุใดฝ่าฝืน ต้องอาบัติทุกกฏ ดังนี้. เพราะเหตุนั้น เมื่อ
ใกล้ฤดูฝน [เข้าพรรษา] ถ้าได้เสนาสนะนั่นก็บุญละ ถ้าไม่ได้ ก็จำต้อง
แสวงหาหัตถกรรมทำ เมื่อไม่ได้หัตถกรรม ก็พึงทำเสียเอง. ภิกษุไม่มี
เสนาสนะไม่ควรเข้าอยู่จำพรรษา. นี้เป็นธรรมดาประเพณี. เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นคิดว่า เราจำจักต้องขอหัตถกรรม จึงห่มจีวร
เข้าไปสู่พระนครเวลาเย็น ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของเศรษฐี. นางทาสี
หัวหน้า ถือหม้อน้ำกำลังเดินไปท่าน้ำ เห็นเหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้าเดิน
เข้าพระนคร เศรษฐีรู้เหตุที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นมาแล้ว ก็กล่าวว่า
ข้าพเจ้าไม่มีเวลา โปรดไปเถิด. ลำดับนั้น ทาสีหัวหน้า ถือหม้อน้ำจะ
เข้าไป เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นกาลังเดินจากพระนคร จึงลด
หม้อน้ำลง ไหวอย่างนอบน้อม เผยปากถามว่า ทำไมหนอ พระผู้เป็น
เจ้าทั้งหลาย พอเข้าไปแล้วก็ออกไป. ท่านตอบว่า เราพากันมา ก็เพื่อ
ขอหัตถกรรมงานสร้างกุฎีสำหรับอยู่จำพรรษา. นางจึงถามว่า ได้ไหมล่ะ
เจ้าข้า. ตอบว่า ไม่ได้ดอก อุบาสิกา. นางถามว่า จำเป็นหรือที่คน
ใหญ่ ๆ เท่านั้นจึงจะทำกุฎีนั้นได้ หรือแม้คนยากจนก็ทำได้. ท่านตอบว่า
ใครๆ ก็ทำได้. นางจึงกล่าวว่า ดีละเจ้าข้า พวกดิฉันจักช่วยกันทำ ขอโปรด
รับอาหารของดิฉันในวันพรุ่งนี้ นิมนต์แล้ว ก็ถือหม้อน้ำพักไว้ที่ทาง
ท่าน้ำที่มาแล้ว กล่าวกับนางทาสีทั้งหลายว่า พวกเจ้าจงอยู่ตรงนี้กันนะ
เวลาที่ทาสีเหล่านั้นมา ก็กล่าวว่า พวกเจ้าทั้งหลาย พวกเราจักทำงานเป็น
ทาสีสำหรับคนอื่นกันตลอดไปหรือ หรือว่า อยากจะพ้นจากการเป็นทาสี
เขา. เหล่าทาสีก็ตอบว่า พวกเราอยากพ้นเสียวันนี้นี่แหละ แม่เจ้า. นาง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 5
จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ที่ยัง
ไม่ได้หัตถกรรม เราก็นิมนต์ให้ฉันในวันพรุ่งนี้แล้ว พวกเจ้าจงให้สามี
ของพวกเจ้า ให้งานหัตถกรรมเสียวันหนึ่ง. เหล่าทาสีก็รับว่า ดีละ แล้ว
บอกพวกสามี เวลาที่เขาออกมาจากดงเวลาเย็น. สามีเหล่านั้นรับปากแล้ว
มาประชุมกัน ที่ประตูเรือนทาสีหัวหน้า ครั้งนั้น ทาสีหัวหน้าจึงกล่าวว่า พ่อ
ทั้งหลาย พรุ่งนี้พวกเจ้าจงถวายหัตถกรรมแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
ด้วย แล้วบอกอานิสงส์ ขู่คนที่ไม่อยากจะทำด้วยโอวาทอันหนักหน่วง
ให้ทุกคนยอมรับ. รุ่งขึ้น นางถวายอาหารแก่เหล่าพระปัจเจกพุทธเจ้า
แล้วให้การนัดหมายแก่ลูกทาสทุกคน. ทันใดนั้นเอง ลูกทาสเหล่านั้น
ก็พากันเข้าป่า รวบรวมทัพพสัมภาระแล้ว สร้างกุฎีทีละหลังเป็นร้อย ๆ
หลัง จัดบริเวณมีที่จงกรมเป็นต้น วางเตียง ตั่ง น้ำฉัน น้ำใช้เป็นต้น
ไว้ ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายรับปฏิญญาที่จะอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น
ตลอดไตรมาส ให้จัดเวรถวายอาหาร. ทาสีผู้ใดไม่อาจถวายในวันเวรของ
ตนได้ ทาสีหัวหน้าก็นำอาหารจากเรือนตนถวายแทนทาสีผู้นั้น. ทาสี
หัวหน้าบำรุงมาตลอดไตรมาสอย่างนี้ ให้ทาสีคนหนึ่ง ๆ จัดผ้าสาฎกคนละ
ผืน. รวนเป็นผ้าสาฎกเนื้อหยาบ ๕๐๐ ผืน. นางให้เปลี่ยนแปสงผ้าสาฎก
เนื้อหยาบเหล่านั้น ทำเป็นไตรจีวรถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์.
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไปสู่เขาคันธมาทน์ทางอากาศทั้งที่ทาสีเหล่านั้น
เห็นอยู่นั่นแล.
ทาสีเหล่านั้นทุกคนทำกุศลจนตลอดชีวิต ก็บังเกิดในเทวโลก.
บรรดาทาสีเหล่านั้น ทาสีหัวหน้าจุติจากภพนั้นแล้ว บังเกิดในเรือนของ
หัวหน้าช่างทอหูก ไม่ไกลกรุงพาราณสี. ต่อมาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธ-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 6
เจ้า ๕๐๐ องค์ บุตรนางปทุมวดี ที่พระเจ้ากรุงพาราณสีนิมนต์ไว้
มาถึงประตูพระราชนิเวศน์ไม่พบคนใด ๆ ที่จะดูแล จึงกลับออกไปทาง
ประตูกรุง ไปยังหมู่บ้านช่างทอหูกนั้น. หญิงผู้นั้นเห็นพระปัจเจกพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย นึกเอ็นดู ก็ไหว้หมดทุกองค์แล้วถวายอาหาร. พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ฉันอาหารเสร็จแล้ว ก็ไปสู่เขาคันธมาทน์อย่าง
เดิม.
แม้หญิงผู้นั้น ทำกุศลจนตลอดชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์
แล้วถือปฏิสนธิในเรือนของเจ้ามหาสุปปพุทธะ กรุงเทวทหะ ก่อนพระ-
ศาสดาของเราบังเกิด. พระประยูรญาติถวายพระนามของท่านว่า โคตมีเป็น
กนิษฐภคินีของพระนางมหามายา [พระพุทธมารดา]. เหล่าพราหมณ์
ผู้ชำนาญมนต์ตรวจดูพระลักษณะแล้วพยากรณ์ว่า ทารกที่อยู่ในพระครรภ์
ของพระนางทั้งสองพระองค์ จักเป็นจักรพรรดิ. พระเจ้าสุทโธทน-
มหาราชทรงมงคลอภิเษกกับพระนางทั้งสองพระองค์ เวลาที่ทรงเจริญวัย
แล้วทรงนำไปอยู่พระราชนิเวศน์ของพระองค์. ต่อมา พระโพธิสัตว์ของเรา
จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางมหามายา-
เทวี. ในวันที่ ๗ ตั้งแต่วันที่พระโพธิสัตว์ประสูติแล้ว พระนางมหามายา-
เทวีก็สวรรคต บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต. พระเจ้าสุทโธทนมหาราชก็
ทรงสถาปนาพระนางมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉา [พระน้านาง]
ของพระมหาสัตว์ไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี. เวลานั้น นันทกุมารก็
ประสูติ. พระมหาปชาบดีนี้ ทรงมอบพระนันทกุมารแก่พระพี่เลี้ยงนางนม
ทรงประคบประหงมบำรุงพระโพธิสัตว์ด้วยพระองค์เอง. สมัยต่อมา พระ-
โพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ทรง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 7
อนุเคราะห์โลก เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร.
ครั้งนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชพุทธบิดา ทรงสดับธรรมกถา ณ
ระหว่างถนน เป็นพระโสดาบัน. ครั้นวันที่ ๒ พระนันทกุมาร ก็ทรง
ผนวช. วันที่ ๗ พระราหุล ก็ทรงผนวช. ต่อมา พระศาสดา ทรงอาศัย
กรุงเวสาลีประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา. สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
ทรงทำให้แจ้งพระอรหัตแล้วปรินิพพาน ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร.
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดี เกิดว้าเหว่พระหฤทัยจะทรงผนวช.
แต่นั้น นางปาทปริจาริกา ของพระกุมาร ๕๐๐ พระองค์ ผู้ซึ่งเสด็จ
ออกทรงผนวชเมื่อจบกลหวิวาทสูตร ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี ทุกคนมีจิตเป็น
อันเดียวกันว่า พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดี แล้วบวชในสำนัก
พระศาสดาหมดทุกคน จึงให้พระนางมหาปชาบดีเป็นหัวหน้า ประสงค์จะไป
เฝ้าพระศาสดา. ก็พระนางมหปชาบดีนี้ทรงทูลขอบรรพชากะพระศาสดา
ครั้งเดียวครั้งแรกเท่านั้น ก็ไม่ได้. เพราะเหตุนั้น พระนางจึงรับสั่งเรียก
ช่างกัลบกมาแล้วให้ตัดพระเกศา ทรงครองผ้ากาสายะ [ผ้าย้อมน้ำฝาด]
ทรงพาเหล่าสากิยานีทั้งหมดนั้น เสด็จถึงกรุงเวสาลี ให้ท่านพระอานนท-
เถระทูลอ้อนวอนพระทศพล ก็ทรงได้บรรพชาอุปสมบทด้วยครุธรรม
๘ ประการ. ส่วนเหล่าสากิยานีทั้งหมด ก็ได้อุปสมบทพร้อมกัน. นี้เป็น
ความสังเขปในเรื่องนี้. ส่วนเรื่องนี้โดยพิสดารมาแล้วในพระบาลี. ก็พระ
นางมหาปชาบดีครั้นทรงอุปสมบทอย่างนี้แล้ว เข้าเฝ้าพระศาสดาถวาย
บังคมแล้ว ประทับ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง เวลานั้นพระศาสดาทรงแสดง
ธรรมโปรดพระนาง พระนางรับกรรมฐานในสำนักพระศาสดาพระองค์
เดียวก็บรรลุพระอรหัต. ภิกษุณี ๕๐๐ รูปนอกนั้น ก็บรรลุพระอรหัต
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 8
เมื่อจบนันทโกวาทสูตร. เรื่องนี้เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้. ต่อมาภายหลัง
พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลาย
ไว้ในตำแหน่งเอคทัคคะหลายตำแหน่ง จึงทรงสถาปนาพระมหาปชาบดีไว้
ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้เป็นรัตตัญญู รู้
ราตรีนาน แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
๒. ประวัติพระเขมาเถรี
ในสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เขมา ได้แก่ ภิกษุณีมีชื่ออย่างนี้. ก็แล ตั้งแต่นี้ไป ข้าพเจ้า
จะกล่าวว่า ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังนี้แล้ว
จะกล่าวข้อนี้ควรจะกล่าวตั้งแต่อภินิหารเป็นต้นไปไว้ทุกแห่ง.
ดังได้สดับมา ในอดีตกาลครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
นางเขมานี้ก็บังเกิดนับเนื่องกับคนอื่น ในกรุงหังสวดี. ต่อมา วันหนึ่ง
นางพบพระสุชาตเถรี อัครสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น กำลังเที่ยว
บิณฑบาต จึงถวายขนมต้ม ๓ ก้อน ในวันนั้นนั่นแล ก็จัดในเรือนของ
คนแล้วถวายทาน แต่พระเถรีทำความปรารถนาว่า ดิฉันพึงมีปัญญามาก
เหมือนท่าน ในพุทธุปบาทกาลในอนาคต. เป็นผู้ไม่ประมาทในกุศล
กรรมทั้งหลายจนลอดชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์แสนกัป-
ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ก็ถือปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์ของ
พระเจ้ากิงกิ เป็นพระธิดาอยู่ระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ ทรง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 9
ประพฤติกุมารีพรหมจรรย์ ในพระราชนิเวศน์ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี ร่วมกับ
พระพี่น้องนางเหล่านั้น สร้างบริเวณที่ประทับอยู่ของพระทศพล เวียนว่าย
อยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิ
ในราชสกุล กรุงสาคละ แคว้นมัททะ พระประยูรญาติเฉลิมพระนามของ
พระนางว่า เขมา พระนางมีพระฉวีวรรณแห่งพระวรกายเลื่อมเรื่อดัง
น้ำทอง พอเจริญพระชันษา ก็เสด็จไปอยู่ในพระราชนิเวศน์ [เป็นพระเทวี]
ของพระเจ้าพิมพิสาร. เมื่อพระตถาคตทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่
ณ พระเวฬุวันวิหาร พระนางทรงสดับว่า เขาว่า พระศาสดาทรงแสดง
โทษในรูป เป็นผู้มัวเมาในรูปโฉม ไม่กล้าไปเฝ้าพระทศพล ด้วยทรง
กลัวว่าพระศาสดาจะทรงแสดงโทษในรูปของเรา. พระราชาทรงพระดำริว่า
เราเป็นอัครอุปฐากของพระศาสดา แต่อัครมเหสีของอริยสาวกเช่นเรา ก็
ยังไม่ไปเฝ้าพระทศพล ข้อนี้เราไม่ชอบใจเลย. จึงทรงให้เหล่ากวีประพันธ์
คุณสมบัติของพระเวฬุวันราชอุทยาน รับสั่งว่า พวกท่านจงขับร้อง
ใกล้ ๆ ที่พระนางเขมาเทวีทรงได้ยิน. พระนางทรงสดับคำพรรณนาคุณ
ของพระราชอุทยาน ก็มีพระประสงค์จะเสด็จไป จึงกราบทูลสอบถามพระ-
ราชา. ท้าวเธอตรัสว่า ไปอุทยานก็ได้ แต่ไม่เฝ้าพระศาสดา อย่าได้
กลับมานะ พระนางไม่ถวายคำตอบแด่พระราชา ก็เสด็จไปตามทาง. พระ-
ราชาตรัสสั่งเหล่าบุรุษที่ไปกับพระนางว่า ถ้าพระเทวีเมื่อจะกลับจากสวน
เฝ้าพระทศพลได้อย่างนี้นั่นก็เป็นบุญ ถ้าไม่เฝ้า พวกท่านก็จงใช้ราชอำนาจ
แสดงกะพระนาง. ครั้งนั้น พระนางเสด็จชมพระราชอุทยานเสียจนสิ้นวัน
เมื่อเสด็จกลับก็ไม่เฝ้าพระทศพล เริ่มจะเสด็จกลับ. แต่เหล่าราชบุรุษนำ
พระนางไปยังสำนักพระศาสดา ทั้งที่พระนางไม่ชอบพระทัย.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 10
พระศาสดาทรงเห็นพระนางกำลังเสด็จมาจึงทรงใช้พุทธฤทธิ์เนรมิต
เทพอัปสรนางหนึ่งซึ่งกำลังถือก้านใบตาลถวายงานพัดอยู่. พระนางเขมาเทวี
เห็นเทพอัปสรนั้น แล้วทรงพระดำริว่า เสียหายแล้วสิเรา เหล่าสตรีที่เทียบ
กับเทพอัปสรเห็นปานนี้ ยังยืนอยู่ไม่ไกลพระทศพล เราแม้จะเป็นปริจาริกา
ของสตรีเหล่านั้น ก็ยังไม่คู่ควรเลย ก็เพราะเหตุไรเล่าเราจึงเป็นผู้เสียหาย
ด้วยอำนาจจิตที่คิดชั่ว เพราะอาศัยความมัวเมา แล้วก็ถือนิมิตนั้น ยืน
ทอดพระเนตรสตรีนั้นอยู่. เมื่อพระนางพิจารณาสตรีนั้นอยู่นั้นแล แต่
ด้วยกำลังพระอธิฐานของพระตถาคต สตรีนั้นล่วงปฐมวัยไป เหมือนตั้ง
อยู่ในมัชฌิมวัยฉะนั้น ล่วงมัชฌิมวัยไป เหมือนตั้งอยู่ในปัจฉิมวัยฉะนั้น
ได้เป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ฟันหักแล้ว. แต่นั้นเมื่อพระนางกำลังแลดู
อยู่นั่นแหละ. สตรีนั้นก็ล้มลงกลิ้งพร้อมกับพัดใบตาล. ลำดับนั้น พระนาง
เขมา เมื่ออารมณ์นั้นมาสู่วิถี เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยบุพเหตุ จึงทรง
พระดำริอย่างนี้ว่า สรีระมีอย่างอย่างนี้ ยังถึงความวิบัติอย่างนี้ได้ แม้สรีระ
ของเรา ก็จักมีคติอย่างนี้เหมือนกัน. ขณะที่พระนางมีพระดำริอย่างนี้
พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาในธรรมบทนี้ว่า
เย ราครตฺตานุปตนฺติ โสต
สย กต มกฺกฏโกว ชาล
เอตมฺปิ เฉตฺวาน ปริพฺพชนฺติ
อนเปกฺขิโน กามสุข ปหาย.
ชนเหล่าใด ถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไป
ตามกระแส เหมือนแมลงมุมตกไปตายใยข่ายที่ตนเอง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 11
ทำไว้ ชนเหล่านั้น ตัดกระแสนั้นได้แล้ว ไม่เยื่อใย
ละกามสุขเสีย ย่อมบวช ดังนี้.
จบพระคาถา พระนางประทับยืนในอิริยาบถที่ยืนอยู่นั่นแล ก็บรรลุพระ
อรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ธรรมดาว่า ผู้อยู่ครองเรือนบรรลุพระอรหัต
จำต้องปรินิพพานหรือบวชเสียในวันนั้นนั่นแหละ. ก็พระนางรู้ว่าอายุ
สังขารของพระองค์ยังเป็นไปได้ ทรงพระดำริว่า เราจักให้พระราชาทรง
อนุญาตการบวชของพระองค์ จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ ไม่ถวายบังคม
พระราชาประทับยืนอยู่. พระราชาก็ทรงทราบโดยสัญญาณคือพระอาการว่า
พระนางคงจักบรรลุอริยธรรมแล้ว. พระราชาจึงตรัสกะพระนางว่า พระ-
เทวีเสด็จไปเฝ้าพระศาสดาหรือ. ทูลว่า พระมหาราชเจ้า หม่อมฉัน
ประพฤติทัศนะอย่างที่พระองค์ทรงเห็นแล้ว หม่อมฉันได้ทำพระทศพล
ให้เป็นผู้อันหม่อมฉันเห็นด้วยดีแล้ว ขอได้โปรดทรงอนุญาตการบรรพชา
แก่หม่อมฉันเถิด. พระราชาตรัสรับว่า ดีละพระเทวี ทรงนำไปยังสำนัก
ภิกษุณีด้วยวอทอง ให้ทรงผนวช. ครั้งนั้น ความที่พระนางมีพระปัญญา
มาก ปรากฏไปว่า ชื่อพระเขมาเถรี บรรลุพระอรหัตทั้งที่อยู่ในเพศคฤหัสถ์
ในข้อนี้มีเรื่องดังนี้ . ต่อมาภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวัน
วิหาร เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ จึงทรง
สถาปนาพระเขมาเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณี-
สาวิกา ผู้มีปัญญามาก แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 12
อรรถกถาสูตรที่ ๓
๓. ประวัติพระอุบลวรรณาเถรี
ในสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุปฺปลวณฺณา ได้แก่พระเถรีมีชื่ออย่างนี้ ก็เพราะประกอบ
ด้วยผิวพรรณเสมือนห้องดอกอุบลขาบ.
ได้ยินว่า พระอุบลวรรณาเถรีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในครอบครัวในกรุงหังสวดี ภายหลังไปสำนักพระ-
ศาสดาพร้อมกับมหาชน กำลังฟังธรรมอยู่ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนา
ภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้มี
ฤทธิ์ จึงถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ๗ วัน
ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดา
และมนุษย์ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ถือปฏิสนธิในราชนิเวศน์
ของพระราชาพระนามว่ากิงกิ กรุงพาราณสี เป็นพระธิดาอยู่ในระหว่างพระ
พี่น้องนาง ๗ พระองค์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี ทำบริเวณ
ถวายภิกษุสงฆ์ บังเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นไปสู่มนุษยโลกอีก
บังเกิดในถิ่นของคนทำงานด้วยมือตนเองเลี้ยงชีพในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง วัน
หนึ่ง นางไปยังกระท่อมในนา ระหว่างทางเห็นดอกปทุมบานแต่เช้าตรู่ใน
สระแห่งหนึ่ง ลงสระนั้นแล้วเก็บดอกปทุมนั้นและใบของปทุมเพื่อใส่ข้าว
ตอก เด็ดรวงข้าวสาลีใกล้คันนา นั่งในกระท่อมคั่วข้าวตอก นับได้
๕๐๐ ดอก. ขณะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งออกจากนิโรธสมาบัติ
ที่เขาคันธมาทน์ มายืนไม่ไกลนาง. นางแลเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ถือ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 13
ดอกปทุมพร้อมทั้งข้าวตอกลงจากกระท่อม ใส่ข้าวตอกในบาตรของพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า ปิดบาตรด้วยดอกปทุมถวาย. ครั้งนั้น เมื่อพระปัจเจก-
พุทธเจ้าไปได้หน่อยหนึ่ง นางก็คิดว่า ธรรมดาเหล่าบรรพชิตไม่ต้องการ
ดอกไม้ จำเราจักไปเอาดอกไม้มาประดับ แล้วไปเอาดอกไม้จากมือพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าแล้วคิดอีกว่า ถ้าพระผู้เป็นเจ้าไม่ต้องการดอกไม้ไซร้ ท่าน
จะไม่ให้วางดอกไม้นั้นไว้บนบาตร พระผู้เป็นเจ้าจักต้องการแน่แท้ แล้ว
ไปวางไว้บนบาตรอีก ขอขมาแล้วทำความปรารถนาว่า พระคุณเจ้าข้า
ด้วยผลานิสงส์ของข้าวตอกเหล่านี้ ขอจงมีบุตรเท่าจำนวนข้าวตอก ด้วย
ผลานิสงส์ของดอกปทุม ขอดอกปทุมจงผุดทุกย่างก้าวของดิฉัน ในสถาน
ที่เกิดแล้ว. ทั้งที่นางเห็นอยู่นั่นแล พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ไปสู่เขาคันธ-
มาทน์ทางอากาศ วางดอกปทุมนั้นไว้สำหรับเช็ดเท้า ใกล้บันไดที่พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเหยียบ ณ เงื้อมเขานันทมูลกะ ด้วยผลทานนั้น
นางถือปฏิสนธิในเทวโลก. จำเดิมแต่เวลาที่นางเกิด. ดอกปทุมขนาดใหญ่
ก็ผุดขึ้นทุก ๆ ย่างก้าวของนาง.
นางจุติจากเทวโลกนั้นแล้ว ก็บังเกิดในห้องของดอกปทุม ในสระ
ปทุมแห่งหนึ่งใกล้เชิงเขาที่ดาบสองค์หนึ่งอาศัยเชิงเขาอยู่. ดาบสนั้นไปสระ
แต่เช้าตรู่ เพื่อล้างหน้า เห็นดอกไม้นั่นแล้วก็คิดว่า ดอกนี้ใหญ่กว่าดอก
อื่น ๆ ดอกอื่น ๆ บาน ดอกนี้ยังตูมอยู่ คงจะมีเหตุในดอกนั้น แล้วจึงลง
น้ำ จับดอกนั้น. พอดาบสนั้นจับเท่านั้น มันก็บาน. ดาบสเห็นเด็กหญิง
นอนอยู่ภายในห้องปทุม ได้ความสิเนหาดังธิดา นับแต่พบเข้า จึงนำไป
บรรณศาลาพร้อมทั้งดอกปทุม ให้นอนบนเตียง. ขณะนั้นด้วยบุญญานุภาพ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 14
ของนาง น้ำนมก็บังเกิดที่นิ้วหัวแม่มือ. ดาบสนั้นเมื่อดอกปทุมนั้นเหี่ยว
ก็นำดอกปทุมดอกอื่นมาแทน ให้เด็กหญิงนั้นหลับนอน. นับตั้งแต่เด็ก
หญิงนั้นสามารถเล่นวิ่งมาวิ่งไปได้ ดอกปทุมก็ผุดทุก ๆ ย่างก้าว. ผิว
พรรณแห่งสรีระของนาง เป็นเหมือนดอกบัวบก. เด็กหญิงนั้น ยังไม่
เจริญวัย ก็ล้ำผิวพรรณเทวดา ล้ำผิวพรรณมนุษย์. เมื่อบิดาไปแสวงหา
ผลาผล เด็กหญิงนั้นก็ถูกทิ้งไว้ที่บรรณศาลา.
เมื่อเวลาเจริญวัยแล้ว อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อบิดาไปแสวงหาผลาผล
พรานป่าคนหนึ่งเห็นนางก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่าเหล่ามนุษย์รูปร่างอย่างนี้ไม่มี
จำเราจักตรวจสอบนาง แล้วนั่งรอการมาของดาบส. เมื่อบิดากลับมา
นางก็เดินสวนทางไปรับสาแหรกจากมือของดาบสนั้นมาด้วยตัวเอง แล้ว
แสดงข้อวัตรที่คนควรทำแก่ดาบสซึ่งนั่งลงแล้ว. ครั้งนั้น นายพรานป่าก็
รู้ว่านางเป็นมนุษย์ จึงกราบดาบสแล้วนั่งลง ดาบสจึงต้อนรับด้วยผล
หมากรากไม้กับน้ำดื่มแล้วถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจักพักอยู่ใน
ที่นี้หรือจักไป. เขาตอบว่า จักไปเจ้าข้า อยู่ในที่นี้จักทำอะไรได้. ดาบส
ขอร้องว่า เหตุที่ท่านเห็นอยู่นี้อย่าได้พูดไปเลยนะ. เขารับว่า ถ้าพระผู้
เป็นเจ้าไม่ประสงค์ก็จะพูดไปเพราะเหตุไรเล่า แล้วไหว้ดาบส ทำกิ่งไม้
รอยเท้า และเครื่องหมายต้นไม้ไว้ในเวลาที่จะมาอีก ก็หลีกไป.
นายพรานป่านั้นไปกรุงพาราณสีเฝ้าพระราชา. พระราชาตรัสถาม
ว่า เหตุไรเจ้าจึงมา. กราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระบาทเป็นพรานป่า
ของพระองค์ พบอิตถีรัตนะอันน่าอัศจรรย์ที่เชิงเขา จึงมาเฝ้าพระเจ้าข้า
แล้วทูลเล่าเรื่องทั้งหมดถวาย. พระราชาสดับคำของนายพรานป่านั้นแล้ว
รีบเสด็จไปเชิงเขา ตั้งค่ายพักในที่ไม่ไกลจึงพร้อมด้วยนายพรานป่า และ
เหล่าราชบุรุษอื่น ๆ เสด็จไปที่นั้น เวลาดาบสนั่งฉันอาหาร ทรงอภิวาท
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 15
ปฏิสันถารแล้วประทับนั่ง พระราชาทรงวางเครื่องบริขารสำหรับนัก
บวชไว้แทบเท้าดาบส ตรัสว่า ท่านเจ้าข้า พวกเราจะทำอะไรสักอย่างก็จะไป
ดาบสทูลว่า โปรดเสด็จไป เถิด มหาบพิตร. ตรัสว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า
จะไป ได้ทราบว่าบริษัทที่เป็นข้าศึกอยู่ใกล้พระผู้เป็นเจ้ามีอยู่ บริษัทนั้น
ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำให้การปฏิบัติเนิ่นช้าสำหรับนักบวชทั้งหลาย ขอบริษัท
นั้นจงไปเสียกับข้าพเจ้าเถิด ท่านเจ้าข้า. ทูลว่า ขึ้นชื่อว่าจิตใจของเหล่า
มนุษย์ร้ายนัก หญิงผู้นี้จักอยู่กลางหมู่ผู้คนมากๆ อย่างไรได้. ตรัสปลอบว่า
ท่านเจ้าข้า นับแต่ข้าพเจ้าชอบใจนางก็จะตั้งนางไว้ในตำแหน่งหัวหน้า
ของคนอื่น ๆ ทะนุบำรุงไว้. ดาบสฟังพระราชดำรัสแล้ว ก็ร้องเรียกธิดา
โดยชื่อที่ตั้งไว้ครั้งยังเล็ก ๆ ว่า ลูกปทุมวดีจ๋า. โดยเรียกคำเดียว นางก็
ออกมาจากบรรณศาลายืนไหว้บิดา. บิดาจึงกล่าวกะนางว่า ลูกเอ๋ย เจ้าเจริญ
วัยแล้วคงจะอยู่ในที่นี้ได้ไม่ผาสุก นับแต่พระราชาทรงพบแล้ว จงไปกับ
พระราชาเสียเถิดนะลูกนะ. นางรับคำบิดาว่า เจ้าค่ะ ท่านพ่อ ไหว้บิดา
แล้วเดินไปร้องไห้ไป. พระราชาทรงพระดำริว่า จำเราจะยึดจิตใจบิดา
ของหญิงผู้นี้ จึงวางนางไว้บนกองกหาปณะแล้วทรงทำอภิเษก.
จำเดิมแต่พระราชาทรงพานางมาถึงนครของพระองค์แล้ว ก็ไม่ทรง
เหลียวแลสตรีอื่น ๆ เลย ทรงอภิรมย์อยู่กับนางเท่านั้น. เหล่าสตรีอื่น ๆ ก็
ริษยา ประสงค์จะทำนางให้แตกกันระหว่างพระราชา จึงพากันกราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หญิงผู้นี้มิใช่ชาติมนุษย์ดอกเพคะ ดอกปทุมทั้ง-
หลายที่ปรากฏอยู่ในที่พวกมนุษย์ท่องเที่ยวไป พระองค์เคยพบแล้วมิใช่
หรือ หญิงผู้นี้ต้องเป็นยักษิณีแน่แล้ว โปรดขับไล่มันไปเถิดเพคะ. พระ-
ราชาทรงสดับคำของสตรีเหล่านั้น ก็ได้แต่ทรงนิ่งอยู่. บังเอิญสมัยนั้น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 16
เมืองทางชายแดน ก่อการกำเริบ พระนางปทุมวดีก็ทรงพระครรภ์แก่
เพราะฉะนั้น พระราชาจึงทรงคงพระนางไว้ในพระนคร เสด็จไปเมือง
ชายแดน. ครั้งนั้น สตรีเหล่านั้นจึงติดสินบนหญิงผู้รับใช้พระนางสั่งว่า
เจ้าจงนำทารกของพระนางที่พอคลอดแล้วออกไป จงเอาท่อนไม้ท่อน
หนึ่งทาเลือดแล้ววางไว้ใกล้ ๆ แทน. ไม่นานนักพระนางปทุมวดีก็ประสูติ
พระมหาปทุมกุมารอยู่ในพระครรภ์พระองค์เดียว. นอกนั้นทารก ๔๙๙
พระองค์ ก็บังเกิดเป็นสังเสทชะ ในขณะที่พระมหาปทุมกุมารออกจาก
ครรภ์ของพระมารดาแล้วบรรทมอยู่ ขณะนั้นหญิงรับใช้พระนางรู้ว่าพระ-
นางปทุมวดีนี้ยังไม่ได้สติก็เอาท่อนไม้ท่อนหนึ่งทาเลือดแล้ววางไว้ใกล้ ๆ
แล้วก็ให้สัญญาณนัดหมายแก่สตรีเหล่านั้น สตรีทั้ง ๕๐๐ คน แต่ละคน
ก็รับทารกคนละองค์ ส่งไปสำนักของเหล่าช่างกลึง ให้นำกล่องทั้งหลาย
มาแล้วให้ทารกที่แต่ละคนรับไว้นอนในกล่องนั้น ทำตราเครื่องหมายไว้
ภายนอกวางไว้. ฝ่ายพระนางปทุมวดีรู้สึกพระองค์แล้วถามหญิงรับใช้นั้น
ว่า ข้าคลอดบุตรหรือจ๊ะแม่นาง หญิงผู้นั้นพูดขู่พระนางว่า พระนางจัก
ได้ทารกแต่ไหนเล่า มีแต่ทารกที่ออกจากพระครรภ์พระนางอันนี้ แล้วก็
วางท่อนไม้ที่เปื้อนเลือดไว้เบื้องพระพักตร์. พระนางทอดพระเนตรเห็น
แล้ว ก็เสียพระหฤทัย ตรัสว่า เจ้าจงรีบผ่าท่อนไม้นั้นเอาออกไปเสีย ถ้า
ใครเขาเห็นจะอับอายขายหน้าเขา. หญิงผู้นั้นฟังพระราชเสาวนีย์ก็ทำเป็น
หวังดี ผ่าท่อนไม้แล้วใส่เตาไฟ.
ฝ่ายพระราชเสด็จกลับจากเมืองชายแดนแล้ว รอพระฤกษ์อยู่ ตั้ง
ค่ายพักอยู่นอกพระนคร ครั้งนั้นสตรี ๕๐๐ คน ก็มาต้อนรับพระราชา
กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์คงจักไม่ทรงเชื่อข้าพระบาท
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 17
ทั้งหลายว่า ที่ข้าพระบาทกราบทูลประหนึ่งไม่มีเหตุ ขอได้โปรดสอบถาม
หญิงรับใช้พระมเหสีดู พระเทวีประสูติเป็นท่อนไม้ พระราชาทรงสอบ
สวนเหตุนั้นแล้วทรงพระดำริว่า พระนางคงจักไม่ใช่ชาติมนุษย์แน่ ดังนี้
แล้วทรงขับไล่พระนางออกไปจากพระนิเวศน์. พอพระนางเสด็จออก
พระราชนิเวศน์เท่านั้น ดอกปทุมทั้งหลายก็อันตรธานไป พระสรีระก็มี
ผิวพรรณแปลกไป พระนางทรงดำเนินไปในท้องถนนพระองค์เดียว
ครั้งนั้นหญิงเจริญวัยผู้หนึ่งแลเห็นพระนางก็เกิดสิเนหาพระนางประดุจว่า
เป็นธิดา จึงพูดว่า แม่คุณจะไปไหนจ๊ะ พระนางตรัสว่า ดิฉันเป็นคนจร
กำลังเที่ยวเดินหาที่อยู่จ้ะ หญิงชราพูดว่า มาอยู่เสียที่นี้ซิจ๊ะ แล้วให้ที่อยู่
จัดแจงอาหารให้เสวย.
เมื่อพระนางอยู่ในที่นั้นโดยทำนองนี้ สตรี ๕๐๐ คนนั้นก็ร่วมใจกัน
กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เมื่อพระองค์ประทับค่าย
พัก พวกข้าพระบาทมีความปรารถนาว่า เมื่อเทวะของพวกข้าพระบาท
ชนะสงครามกลับมา จักทรงเล่นกีฬาทางน้ำ เป็นพลีกรรมแก่เทวดา
ประจำแม่คงคา ขอเทวะโปรดประกาศให้ทราบเรื่องนี้เพคะ พระราชาดี
พระหฤทัย ด้วยคำทูลของสตรีเหล่านั้น เสด็จไปทรงกีฬาทางน้ำในแม่
พระคงคา หญิงเหล่านั้นถือกล่องที่แต่ละคนรับไว้อย่างมิดชิดไปยังแม่น้ำ
ห่มคลุมเพื่อปกปิดกล่องเหล่านั้น ทำเป็นตกน้ำแล้วทิ้งกล่องทั้งหลายเสีย
กล่องเหล่านั้นมารวมกันหมดแล้ว ติดอยู่ในข่ายที่เขาขึงไว้ใต้กระแสน้ำ.
แต่นั้น เวลาที่พระราชาทรงกีฬาทางน้ำเสด็จขึ้นแล้ว ราชบุรุษทั้งหลายก็
ยกตาข่ายขึ้นเห็นกล่องเหล่านั้น จึงนำไปราชสำนัก พระราชาทอดพระ-
เนตรเห็นกล่องทั้งหลาย จึงตรัสถามว่า อะไรในกล่อง พอเขากราบทูลว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 18
ยังไม่ทราบพระเจ้าข้า ท้าวเธอทรงให้เปิดกล่องเหล่านั้นสำรวจดู ทรงให้
เปิดกล่องใส่พระมหาปทุมกุมารเป็นกล่องแรก ในวันนี้พระกุมารเหล่านั้น
ทั้งหมดบรรทมอยู่ในกล่องทั้งหลาย น้ำนมก็บังเกิดที่หัวนิ้วแม่มือ ด้วย
บุญฤทธิ์ ท้าวสักกเทวราชสั่งให้จารึกอักษรไว้ที่ข้างในกล่อง เพื่อพระ-
ราชาจะได้ไม่ทรงสงสัยว่า พระกุมารเหล่านี้ประสูติในพระครรภ์ของพระ-
นางปทุมวดี เป็นโอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสี ครั้งนั้นสตรี ๕๐๐ คน
ซึ่งเป็นศัตรูของพระนางปทุมวดี ใส่พระกุมารเหล่านั้นไว้ในกล่องแล้ว
โยนน้ำ ขอพระราชาโปรดทราบเหตุนี้ พอเปิดกล่องพระราชาทรงอ่าน
อักษรทั้งหลายแล้วทอดพระเนตรเห็นทารกทั้งหลาย ทรงยกพระมหาปทุม-
กุมารขึ้น ตรัสสั่งว่า จงรีบเทียมรถจัดม้าไว้ วันนี้เราจักเข้าไปในพระนคร
ทำให้เป็นที่รักสำหรับแม่บ้านบางจำพวก แล้วเสด็จขึ้นปราสาท ทรงวาง
ถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ ไว้บนคอช้าง โปรดให้ตีกลองป่าวประกาศ
ว่า ผู้ใดพบพระนางปทุมวดี ผู้นั้นจงรับถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะไป.
พระนางปทุมวดี ทรงได้ยินคำประกาศนั้นแล้ว ได้ให้สัญญา
นัดหมายแก่มารดาว่า แม่จ๋า จงรับถุงทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ จาก
คอช้างเถิด. หญิงชรากล่าวว่า ข้าไม่อาจรับทรัพย์ขนาดนั้นได้ดอก.
พระนาง แม้เมื่อมารดาปฏิเสธ ๒ - ๓ ครั้ง ก็ตรัสว่า แม่พูดอะไร รับ
ไว้เถิดแม่. หญิงชราคิดว่า ลูกของเราคงพบพระนางปทุมวดี เพราะ-
ฉะนั้น จึงกล่าวว่า รับไว้เถิด. หญิงชรานั้น จึงจำใจเดินไปรับถุง
ทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ. ขณะนั้น ผู้คนทั้งหลายพากันถามหญิงชรานั้นว่า
คุณแม่ เห็นพระนางปทุมวดีเทวีหรือ. หญิงชราตอบว่า ข้าไม่เห็นดอก
แต่ลูกสาวของข้าเห็น. ผู้คนเหล่านั้นถามว่า ก็ลูกสาวของคุณแม่อยู่ที่ไหน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 19
เล่า แล้วก็เดินไปกับหญิงชรานั้น จำพระนางปทุมวดีได้ก็พากันหมอบอยู่
แทบยุคลบาท. ในเวลานั้น หญิงชรานั้นก็ชี้ว่า นี้พระนางปทุมวดีเทวี
แล้วกล่าวว่า ผู้หญิงทำกรรมหนักหนอ เป็นถึงพระมเหสีของพระราชา
อย่างนี้ ยังอยู่ปราศจากอารักขา ในสถานที่เห็นปานนี้. ราชบุรุษเหล่านั้น
เอาม่านขาววงล้อมเป็นนิเวศน์ของพระนางปทุมวดี ตั้งกองอารักขาไว้ใกล้
ประตู แล้วกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทรงส่งสุวรรณสีวิกา พระ-
วอทองไปรับ. พระนางรับสั่งว่า เราจะไม่ไปอย่างนี้ เมื่อพวกท่านลาด
เครื่องลาดอันวิจิตรด้วยผ้าเปลือกไม้อย่างดี ระหว่างตั้งแต่สถานที่อยู่ของ
เราจนถึงพระราชนิเวศน์ ให้ติดเพดานผ้าอันวิจิตรด้วยดาวทองไว้ข้างบน
แล้วส่งสรรพอาภรณ์เพื่อประดับไป เราจักเดินไปด้วยเท้า ชาวพระนคร
จักเห็นสมบัติของเราอย่างนี้ พระราชาตรัสว่า พวกท่านจงทำตามความ
ชอบใจของปทุมวดี. แต่นั้น พระนางปทุมวดี ทรงพระดำริว่า เรา
จักประดับเครื่องประดับทุกอย่างเดินไปพระราชนิเวศน์แล้วเสด็จเดินทาง.
ครั้งนั้น ดอกปทุมทั้งหลาย ก็ชำแรกเครื่องลาดอันวิจิตรด้วยผ้าเปลือกไม้
อย่างดี ผุดขึ้นในที่ทุกย่างก้าวพระบาทของพระนาง. พระนางครั้นแสดง
สมบัติของพระองค์แก่มหาชนแล้ว เสด็จขึ้นพระราชนิเวศน์ โปรด
ประทานเครื่องลาดอันวิจิตรทั้งหมด เป็นค่าเลี้ยงดูแก่หญิงชรานั้น.
พระราชารับสั่งให้เรียกสตรี ๕๐๐ คนมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนเทวี
เราให้หญิงเหล่านั้นเป็นทาสีของเจ้า. พระนางทูลว่า ดีละเพคะ หม่อมฉัน
ขอให้ทรงประกาศให้ชาวเมืองทั่วไปได้ทราบว่า หญิงเหล่านี้พระราชทาน
แก่หม่อมฉันแล้ว. พระราชาก็โปรดให้ตีกลองบ่าวประกาศว่า หญิง ๕๐๐
คน ผู้ประทุษร้ายพระนางปทุมวดี เราให้เป็นทาสีของพระนางพระองค์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 20
เดียว. พระนางปทุมวดีนั้น ทรงทราบว่า ในนครทั่วไป กำหนดรู้ว่า
หญิงเหล่านั้นเป็นทาสีแล้ว จึงทูลถามพระราชาว่า ข้าแต่เทวะ หม่อมฉัน
จะทำทาสีของหม่อมฉันให้เป็นไท ได้ไหมเพคะ. พระราชารับสั่งว่า
เทวี เจ้าต้องการก็ได้สิ. พระนางกราบทูลว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอได้
ทรงโปรดให้เรียกคนตีกลองป่าวประกาศสั่งให้เขาตีกลองป่าวประกาศอีก
ว่า พวกทาสี ที่พระองค์พระราชทานแก่พระนางปทุมวดี พระนางทำให้
เป็นไทหมดทั้ง ๕๐๐ คนแล้ว. เมื่อสตรีเหล่านั้นเป็นไทแล้ว พระนางก็
มอบพระโอรส ๔๙๙ พระองค์ให้สตรีเหล่านั้นเลี้ยงดู ส่วนพระองค์เอง
ทรงรับเลี้ยงดูเฉพาะพระมหาปทุมกุมารเท่านั้น. เมื่อถึงเวลาพระราชกุมาร
เหล่านั้นทรงเล่นได้ พระราชาก็โปรดให้สร้างสนามเล่นต่าง ๆ ไว้ในพระ-
ราชอุทยาน. พระราชกุมารเหล่านั้น มีพระชันษาได้ ๖ พรรษา ทุก
พระองค์ก็พร้อมกันลงเล่นในมงคลโบกขรณี ที่ปกคลุมด้วยปทุม ใน
พระราชอุทยาน ทรงเห็นปทุมดอกใหม่บาน ดอกเก่ากำลังหล่นจากขั้ว
ก็พิจารณาเห็นว่า ดอกปทุมนี้ไม่มีใจครอง ยังประสบชราเห็นปานนี้ ก็
จะป่วยกล่าวไปไยถึงสรีระของพวกเราเล่า แม้สรีระนี้ก็คงจักมีคติอย่างนี้
เหมือนกัน แล้วทรงยึดเป็นอารมณ์ ทุกพระองค์บังเกิดปัจเจกพุทธญาณ
แล้วพากันลุกขึ้น ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ กลีบดอกปทุม ขณะนั้น พวก
ราชบุรุษที่ไปกันพระราชกุมารเหล่านั้นรู้ว่าสายมากแล้ว จึงทูลว่า พระ-
ลูกเจ้า เจ้าข้า ขอได้โปรดทราบเวลาของพระองค์. พระราชกุมารทั้งหมด
นั้นก็นิ่งเสีย. ราชบุรุษเหล่านั้น ก็พากันไปกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่
เทวะ. พระราชกุมารทั้งหลายประทับนั่งในกลีบดอกปทุม เมื่อพวกข้า-
พระบาทกราบทูล ก็ไม่ทรงเปล่งพระวาจาเลย. พระราชาตรัสว่า พวก
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 21
เจ้าจงให้พวกเขานั่งตามชอบใจเถิด. พระราชกุมารเหล่านั้น ได้รับ
อารักขาตลอดคืนยังรุ่ง ก็ประทับนั่งในกลีบดอกปทุมทำนองนั้นนั่นแหละ
จนอรุณจับฟ้า พวกราชบุรุษก็กลับไป รุ่งขึ้น จึงพากันเข้าไปเฝ้าทูลว่า
ขอเทวะทั้งหลาย โปรดทราบเวลาเถิด พระเจ้าข้า. ทุกพระองค์ตรัสว่า
พวกเราไม่ใช่เทวะ พวกเราชื่อว่า พระปัจเจกพุทธะ. พวกเขากราบทูล
ว่า ข้าแต่พระลูกเจ้าทั้งหลาย พระองค์ตรัสพระดำรัสหนัก พระเจ้าข้า.
ธรรมดาว่า พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย ไม่เป็นเช่นพระองค์ดอก ต้องมี
หนวดเครา ๒ องคุลี มีบริขาร ๘ สวมพระกายสิพระเจ้าข้า. พระราช-
กุมารเหล่านั้นเอาพระหัตถ์ขวาลูบพระเศียร. ทันใดนั้นเอง เพศคฤหัสถ์
ก็อันตรธานหายไป. กลายเป็นผู้มีบริขาร ๘ สวมพระวรกาย แล้วก็เสด็จ
ไปเงื้อมเขานันทมูลกะ ทั้งที่มหาชนกำลังมองดูอยู่นั่นแล.
ฝ่ายพระนางปทุมวดี ก็ทรงเศร้าโศกพระหฤทัยว่า เราก็มีลูกมาก
แต่ก็จำพลัดพรากกันไป. เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคนั้นนั่นแล บังเกิดใน
สถานของคนทำงานด้วยมือตนเองเลี้ยงชีพ ในหมู่บ้านใกล้ประตูกรุงราช-
คฤห์. ต่อมา นางมีเหย้าเรือนแล้ว วันหนึ่ง กำลังนำข้าวยาคูไปให้สามี
ก็แลเห็นพระปัจเจกพุทธะ ๘ องค์ อยู่ในจำนวนบุตรเหล่านั้นของตน
ซึ่งกำลังเหาะไปในเวลาแสวงหาอาหาร จึงรีบไปบอกสามีว่า เชิญดูพระผู้
เป็นเจ้าปัจเจกพุทธะ ช่วยนิมนต์ท่านมา เราจักถวายอาหาร. สามีพูดว่า
ขึ้นชื่อว่าพวกนก ก็บินเที่ยวไปอย่างนั้น นั่นไม่ใช่พระปัจเจกพุทธะดอก.
พระปัจเจกพุทธะเหล่านั้น ก็ลงในที่ไม่ไกลคนทั้ง ๒ นั้น ซึ่งกำลังพูดจา
กันอยู่. หญิงนั้นก็ถวายโภชนะคือข้าวสวยและกับแกล้มสำหรับตนในวันนั้น
แด่พระปัจเจกพุทธะเหล่านั้นแล้วนิมนต์ว่า พรุ่งนี้ ท่านทั้ง ๘ ขอโปรด
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 22
รับอาหารของดิฉันด้วย. พระปัจเจกพุทธะเหล่านั้นกล่าวว่า ดีละท่าน
อุบาสิกา ท่านมีสักการะและมีอาสนะ ๘ ที่เท่านั้น ก็พอ เห็นพระปัจเจก-
พุทธะองค์อื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น ก็จงคงจิตใจของท่านไว้. วันรุ่งขึ้น นาง
ก็ปูอาสนะไว้ ๘ ที่ นั่งจัดสักการะสำหรับพระปัจเจกพุทธะ ๘ องค์.
พระปัจเจกพุทธะทั้งหลายที่รับนิมนต์จึงให้สัญญาณนัดหมายแก่เหล่าพระ-
ปัจเจกพุทธะนอกนั้นว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย วันนี้อย่าไปที่อื่น ทั้งหมด
จงช่วยกันสงเคราะห์โยมมารดาของพวกท่านเถิด. ฟังคำของพระปัจเจก-
พุทธะ ๘ องค์นั้นแล้ว ทุกองค์ก็เหาะไปพร้อมกัน ปรากฏอยู่ที่ประตู
เรือนของมารดา. แม้นางเห็นพระปัจเจกพุทธะจำนวนมากกว่าสัญญาที่ได้
รับคราวแรก ก็มิได้หวั่นไหว. นิมนต์ทุกองค์เข้าไปเรือนให้นั่งเหนือ
อาสนะ. เมื่อพระปัจเจกพุทธะกำลังนั่งตามลำดับ องค์ที่ ๙ ก็เนรมิต
อาสนะเพิ่มขึ้นอีก ๘ ที่ ตนเองนั่งเหนืออาสนะที่ไกล. เรือนก็ขยายตาม
เท่าที่อาสนะเพิ่มขึ้น. เมื่อพระปัจเจกพุทธะทุกองค์นั่งอย่างนั้นแล้ว หญิง
นั้นก็ถวายสักการะที่จัดไว้สำหรับพระปัจเจกพุทธะ ๘ องค์ จนเพียงพอ
เท่าพระปัจเจกพุทธะ ๕๐๐ องค์ แล้วจึงนำเอาดอกอุบลขาบทั้ง ๘ ดอก
ที่อยู่ในมือวางไว้แทบเท้าของพระปัจเจกพุทธะที่นิมนต์มาเท่านั้น กล่าว
อธิฐานว่า ท่านเจ้าข้า ขอผิวกายของดิฉัน จงเป็นประดุจผิวภายในห้อง
ดอกอุบลขาบเหล่านี้ ในสถานที่ที่ดิฉันเกิดแล้วเกิดอีกนะเจ้าข้า. พระ-
ปัจเจกพุทธะทั้งหลาย ท่านอนุโมทนาแก่มารดาแล้วก็ไปสู่เขาคันธมาทน์.
แม้หญิงนั้น ทำกุศลจนตลอดชีวิต จุติจากภพนั้นแล้วบังเกิดใน
เทวโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในครอบครัวเศรษฐี. ก็
เพราะนางมีผิวพรรณเสมอด้วยดอกอุบลขาบ. บิดามารดาจึงขนานนาม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 23
ของนางว่า อุบลวรรณา. เมื่อเวลานางเจริญวัย พระราชาทั่วชมพูทวีป
ก็ส่งคนไปสำนักเศรษฐีขอนาง ไม่มีราชาพระองค์ใดที่ไม่ส่งคนไปขอ.
แต่นั้น เศรษฐีคิดว่า เราไม่อาจยึดเหนี่ยวจิตใจของคนทุกคนได้ แต่
จำเราจะทำอุบายสักอย่างหนึ่ง จึงเรียกธิดามาถามว่า เจ้าบวชได้ไหมลูก.
เพราะเหตุที่นางเกิดในภพสุดท้าย คำของบิดานั้นจึงเป็นเหมือนน้ำมัน
เคี่ยว ๑๐๐ ครั้งราดลงบนศีรษะ. เพราะเหตุนั้น นางจึงกล่าวกะบิดาว่า
บวชได้จ้ะพ่อ. เศรษฐีนั้น จึงทำสักการะแก่นางแล้วนำไปสำนักภิกษุณี
ให้บวช เมื่อนางบวชใหม่ ๆ ถึงเวร [วาระ] ในโรงอุโบสถ. นาง
ตามประทีปกวาดโรงอุโบสถ ถือเอานิมิตที่เปลวประทีป ตรวจดูบ่อย ๆ
ก็ทำฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ให้ฌานบังเกิด แล้วทำฌานนั้นให้เป็น
บาท ก็บรรลุพระอรหัต. พร้อมด้วยพระอรหัตผลนั่นแล ก็เป็นผู้
ช่ำชองชำนาญในการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ต่อมา ในวันที่พระศาสดาทรง
ทำยมกปาฏิหาริย์ ท่านก็บันลือสีหนาทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์ถวาย. พระศาสดาทรงทำเหตุอันนี้ให้เป็น
อัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง ประทับนั่ง ณ พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อ
ทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนา
พระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้มีฤทธิ์
แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 24
อรรถกถาสูตรที่ ๔
๔. ประวัติพระปฏาจาราเถรี
ในสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า วินยธราน ยทิท ปฏาจารา ท่านแสดงว่า พระ-
ปฏาจาราเถรีเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงวินัย.
ดังได้สดับมา พระเถรีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
ถือปฏิสนธิในครอบครัว กรุงหังสวดี ต่อมา กาลังฟังพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ทรงวินัย ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้น
ไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ใน
เทวดาและมนุษย์ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ. ถือปฏิสนธิใน
พระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิงกิ เป็นพระธิดาพระองค์หนึ่งระหว่าง
พระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี
สร้างบริเวณถวายภิกษุสงฆ์ บังเกิดในเทวโลกอีก เสวยสมบัติอยู่พุทธันดร
หนึ่งในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในครอบครัวเศรษฐี กรุงสาวัตถี.
ต่อมา นางเจริญวัยได้ทำการลักลอบกับลูกจ้างคนหนึ่งในบ้าน
ภายหลังกำลังจะมีสามีที่มีชาติเสมอกัน จึงได้ทำการนัดหมายกับบุรุษที่
ลักลอบกันนั้นว่า ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ไป เจ้าจักไม่ได้เห็นเรา แม้จะประหาร
สัก ๑๐๐ ครั้ง ถ้าเจ้ายังรักเรา ก็จงพาเราไปเสียเดี๋ยวนี้. บุรุษผู้นั้น
รับคำว่า ตกลง แล้วก็ถือเอาสิ่งของมีค่าติดมือไปพอสมควร พานาง
ออกไป ๓-๔ โยชน์จากพระนคร อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ต่อมา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 25
ภายหลังนางตั้งครรภ์ เมื่อครรภ์แก่ จึงกล่าวว่า ที่นี้ไม่สมควรแก่เรา
ฉันจะไปเรือนสกุลนะนาย. เขาก็ผัดว่า วันนี้จะไป พรุ่งนี้ค่อยไป แต่ก็
ไม่ได้ไปจนล่วงเวลาไป. นางรู้เหตุของสามีนั้น คิดว่า สามีนี้เขลาจึงไม่
พาเราไป เมื่อสามีนั้นออกไปนอกบ้าน จึงเดินไปลำพังคนเดียว ด้วย
หมายใจจะกลับไปยังครอบครัว. สามีกลับมาไม่เห็นนางในเรือน จึงถาม
คนที่คุ้นเคยกัน รู้ว่า นางกลับไปยังครอบครัว ก็คิดว่า นางเป็นธิดา
ของสกุล อาศัยแต่เราไม่มีที่พึ่งเลย จึงเดินตามรอยเท้าจนทันกัน นางก็
ตลอดบุตรเสียในระหว่างทางนั้นเอง. สองสามีภริยาปรึกษากันว่า ประ-
โยชน์ที่เราจะพึงเดินทางไป ก็สำเร็จแล้วในระหว่างทาง เดี๋ยวนี้เราจักไป
ทำไมเล่าจึงพากันกลับ . นางก็ตั้งครรภ์อีก. พึงทำเรื่องให้พิสดารตามนัย
ก่อนนั้นแล. แต่ในระหว่างทาง พอนางคลอดบุตร เมฆฝนก็ตั้งเค้ามา
ทั้ง ๔ ทิศ. นางจึงกล่าวกะสามีว่า นาย ไม่ใช่เวลาแล้ว เมฆฝนตั้งเค้า
นาทั้ง ๔ ทิศ จงพายามทำที่อยู่สำหรับตัวเราเถิด. สามีรับคำว่า จักทำ
เดี๋ยวนี้ เอาท่อนไม้มาทำกระท่อม คิดว่าจะหาหญ้ามามุงบัง จึงตัดหญ้า
ที่เชิงจอมปลวกใหญ่แห่งหนึ่ง. ทีนั้น งูเห่าที่นอนในจอมปลวกก็กัดเท้าเขา.
บุรุษผู้นั้น ก็ล้มลงที่นั้นนั่นเอง. แม้นางคิดว่าเดี๋ยวเขาคงมา. รอจนตลอด
ทั้งคืน ก็คิดอีกว่า เขาคงจักคิดว่า เรานี้ เป็นหญิงอนาถา พึ่งไม่ได้แล้ว
ทอดทิ้งไว้ในทางหนีไปแล้ว ครั้นเกิดแสงสว่างแวบขึ้น จงมองดูตาม
รอยเท้า เห็นสามีล้มลงที่เชิงจอมปลวก ก็คร่ำครวญว่า เพราะเรา เขา
จึงเสีย แล้วเอาลูกคนเล็กแนบข้าง เอานิ้วมือจูงลูกคนโต เดินไปตานทาง
ระหว่างทางพบแม่น้ำตื้น ๆ สายหนึ่ง คิดว่า เราไม่อาจพาลูกไปคราวเดียว
กันได้ทั้ง ๒ คน จึงวางลูกคนโตไว้ฝั่งนี้ นำลูกคนเล็กไปฝั่งโน้น ให้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 26
นอนบนเบาะเก่า ๆ ลงข้ามแม่น้ำ ด้วยหมายจะพาลูกคนนี้ไป. เวลาที่
นางถึงกลางแม่น้ำ เหยี่ยวตัวหนึ่งก็มาโฉบเด็กไปด้วยสำคัญว่า เป็นก้อน
เนื้อ. นางก็ยกมือไล่เหยี่ยว. ลูกคนโตเห็นนางทำมืออย่างนั้น สำคัญว่า
แม่เรียก ก็ลงข้ามแม่น้ำ ตกไปในกระแสน้ำ ก็ลอยไปตามกระแสน้ำ
เมื่อนางยังข้ามไม่ถึงนั่นเอง เหยี่ยวก็โฉบเอาลูกคนเล็กนั้นไป. นางเศร้า-
โศกเป็นกำลัง ในระหว่างทาง ก็เดินขับเพลงรำพัน ดังนี้ว่า
อุโภ ปุตฺตา กาลกตา ปนฺเถ มยฺห ปตี มโต.
บุตรสองคนก็ตาย สามีเราก็ตายเสียที่หนทาง.
นางรำพันอย่างนี้ จนถึงกรุงสาวัตถี ไปหาคนที่ชอบพอกันของสกุล
ก็กำหนดจำเรือนของตนไม่ได้ ด้วยอำนาจความเศร้าโศก สอบถามว่า
ที่ตรงนี้ มีสกุล ชื่ออย่างนี้ เรือนอยู่ไหนเล่า. ผู้คนทั้งหลายกล่าวว่า
เจ้าสอบถามถึงสกุลนั้นจักทำอะไร เรือนที่อยู่ของคนเหล่านั้น ล้มแล้ว
เพราะลมกระหน่ำ คนเหล่านั้นในเรือนหลังนั้น เสียชีวิตหมด เขาเผา
คนเหล่านั้นบนเชิงตะกอนอันเดียวกัน ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ดูเสียสิ กลุ่ม
ควันไฟยังปรากฏอยู่นั่น. นางฟังคำบอกเล่าแล้ว ก็พูดว่า พวกท่านพูด
อะไร ก็ทรงผ้านุ่งของตนไว้ไม่ได้ ทำนองวันเกิดนั่นแหละ ประคอง
สองแขนร่ำไห้ เดินไปสถานที่เชิงตะกอนเผาเหล่าญาติ คร่ำครวญเพลง
รำพันพิลาปจนครบคาถาว่า
อุโภ ปุตฺตา กาลกตา ปนฺเถ มยฺห ปตี มโต
มาตา ปิตา จ ภาตา จ เอกจิตฺตกสฺมึ ฑยฺหเร.
บุตรสองคนก็ตาย สามีเราก็ตายเสียที่หนทาง
มารดาบิดาและพี่ชาย เขาก็เผาที่เชิงตะกอนเดียวกัน.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 27
ทั้งยังฉีกผ้าที่คนอื่นให้เสียอีก. ครั้งนั้น มหาชนก็เที่ยวห้อมล้อมนาง
ในที่พบเห็นแล้ว. คนทั้งหลายจึงขนานชื่อนี้นางว่า ปฏาจารา เพราะนาง
ปฏาจารานี้ เว้นการนุ่งผ้าเที่ยวไป. อนึ่ง เพราะเหตุที่ปรากฏว่านาง
มีอาจาระที่ไม่มีความละอาย เพราะเป็นผู้เปลือยกาย ฉะนั้น คนทั้งหลาย
จึงขนานชื่อนางว่า ปฏาจารา. เพราะมีอาจาระอันตกไปแล้ว. วันหนึ่ง
เพราะศาสดากำลังทรงแสดงธรรมแก่มหาชน นางก็เข้าไปในพระวิหาร
ยืนอยู่ท้ายบริษัท พระศาสดาทรงแผ่พระเมตตาตรัสว่า น้องหญิง จงกลับ
ได้สติ น้องหญิง จงกลับได้สติเถิด. เพราะสดับพระพุทธดำรัส
หิริโอตตัปปะมีกำลังก็กลับคืนมา. นางก็นั่งลงที่พื้นตรงนั้นนั่นเอง. ชาย
คนที่ยืนอยู่ไม่ไกล ก็โยนผ้านุ่งไปให้. นางนุ่งผ้านั้นแล้วก็ฟังธรรม.
เพราะจริยาของนาง พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาในพระธรรมบท ดังนี้
ว่า
น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย น ปิตา นปิ พนฺธวา
อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิ ญาตีสุ ตาณตา.
ไม่มีบุตรจะช่วยได้ บิดาก็ไม่ได้ พวกพ้องก็ไม่ได้
เมื่อบุคคลถูกความตายครอบงำแล้ว หมู่ญาติก็ช่วย
ไม่ได้เลย.
เอตมตฺถวส ตฺวา ปณฺฑิโต สีลสวุโต
นิพฺพานคมน มคฺค ขิปฺปเมว วิโสธเย.
บัณฑิตรู้ความจริงข้อนี้แล้ว สำรวมในศีล พึง
รีบเร่งชำระทางไปพระนิพพานทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 28
จบพระคาถา นางก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ทั้งที่ยืนอยู่ จึงเข้า
ไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วทูลขอบวช. พระศาสดาทรงรับการบวช
ของนางว่า ไปสำนักภิกษุณีบวชเสีย. นางครั้นบวชแล้ว ไม่นานนัก
ก็บรรลุพระอรหัต เรียนพุทธวจนะ. ท่านเป็นผู้ช่ำชองชำนาญในวินัยปิฎก
ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนา
เหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระปฏาจารา-
เถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ทรงวินัย
แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
๕. ประวัติพระธรรมทินนาเถรี
ในสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ธมฺมกถิกานท่านแสดงว่า พระธรรมทินนาเถรีเป็น
เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้เป็นธรรมกถึก.
ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ท่านบังเกิด
ในสถานของตนที่ต้องอาศัยเขา กรุงหังสวดี ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป
แก่ท่านพระสุชาตเถระ อัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระแล้ว ปรารถนาตำแหน่งนั้น ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต
บังเกิดในสวรรค์. ทุกอย่างพึงทราบ โดยอำนาจอภินิหารของพระเขมา-
เถรี ในหนหลัง. ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปุสสะ นางก็อยู่ในเรือน
ของคนทำงาน ที่ถูกแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเป็นใหญ่ในเรื่องทาน ของ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 29
สามพี่น้องต่างมารดากัน ถูกสั่งว่า จงให้หนึ่ง แต่ก็ให้เสียสอง. นาง
ถวายทานทุกอย่างไม่ลดลงเลยอย่างนี้ ล่วงกัปที่ ๙๒ ครั้งพระพุทธเจ้า
พระนามว่ากัสสปะ ถือปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิงกิ เป็น
ราชธิดาพระองค์หนึ่ง ระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ ประพฤติ
พรหมจรรย์ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี สร้างบริเวณที่อยู่ถวายพระภิกษุสงฆ์ เวียนว่าย
อยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิ
ในครอบครัวหนึ่ง.
ภายหลัง นางมีเรือน เป็นภริยาของวิสาขเศรษฐี. ธรรมดาว่า
วิสาขเศรษฐี เป็นพระสหายของพระเจ้าพิมพิสาร ไปเฝ้าพระทศพล
ครั้งแรกกับพระเจ้าพิมพิสาร ฟังธรรมแล้วดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ต่อมา
ก็กระทำให้แจ้งพระอนาคามิผล. วันนั้น วิสาขเศรษฐีนั้นกลับบ้านแล้ว
เมื่อนางธรรมทินนา ผู้ซึ่งยืนที่หัวบันไดยื่นมือมา ก็ไม่เกาะมือไว้ ขึ้น
ปราสาทเลย แม้กำลังบริโภคก็ไม่สั่งว่า จงให้สิ่งนี้ จงนำสิ่งนี้มา นาง-
ธรรมทินนาถือทัพพีเลี้ยงดูอยู่คิดว่า เศรษฐีนี้เมื่อเรายื่นมือให้เกาะ ก็ไม่
เกาะ. เมื่อบริโภคก็ไม่พูดจาอะไร เรามีโทษผิดอะไรหรือหนอ ครั้น
เศรษฐีบริโภคแล้ว นางจึงถามว่า พ่อลูกเจ้า ฉันมีโทษผิดอะไรหรือ.
เศรษฐีกล่าวว่า ธรรมทินนา เจ้าไม่มีโทษผิดดอก แต่นับแต่วันนี้ไป
ฉันไม่ควรนั่ง ไม่ควรยืน ไม่ควรให้นำอาหารมาเคี้ยว มากินใกล้ ๆ เจ้า
ด้วยความชื่นชมได้ดอก ถ้าเจ้าประสงค์ทรัพย์เท่าใด จงเอาไปเท่านั้น
กลับไปครอบครัวเดิมเสียเถิด. นางกล่าวว่า พ่อลูกเจ้า เมื่อเป็นเช่นนี้
ดิฉันก็จักไม่เอาศีรษะเทินหยากเยื่อ ซึ่งเปรียบเหมือนน้ำลายที่ท่านทิ้งแล้ว
เที่ยวไปได้. ขอได้โปรดอนุญาตให้ดิฉันบวชเถิด. วิสาขเศรษฐีกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 30
ดีละ ธรรมทินนา แล้วกราบทูลพระราชา เอาวอทองส่งนางธรรมทินนา
ไปสำนักภิกษุณี เพื่อบวช. นางบวชแล้วคิดว่า แต่ก่อน เศรษฐีนี้ก็อยู่
กลางเรือน ยังทำที่สุดทุกข์ได้ นับแต่ได้บวชแล้ว แม้เราก็ควรจะทำ
ที่สุดทุกข์ได้ จึงเข้าไปหาอุปัชฌาย์อาจารย์กล่าวว่า พระแม่เจ้า จิตของ
ดิฉันน้อมไปในสถานที่เคยไปบ่อย ๆ ดิฉันจะไปยังอาวาสใกล้บ้าน. พระเถรี
ทั้งหลายไม่อาจห้ามจิตของนางได้ ด้วยความที่นางออกจากสกุลใหญ่
จึงพานางไปยังหมู่บ้าน. เพราะเหตุที่นางย่ำยีสังขารได้ในอดีตกาล ไม่นาน
นัก นางก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ครั้งนั้น พระธรรมทินนาเถรีดำริว่า กิจของเราถึงที่สุดแล้ว อยู่ใน
ที่นี้จักทำอะไร จำเราจะไปกรุงราชคฤห์ หมู่ญาติเป็นอันมากอาศัยเรา
ในที่นั้นจักทำบุญทั้งหลายกัน . แล้วก็พาพระเถรีทั้งหลายกลับสู่พระนคร.
วิสาขอุบาสกรู้ว่านางกลับมา ก็รีบไป สงสัยว่า นางคงจักกระสันกระมัง
เวลาเย็นก็เข้าไปสำนักนาง ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง คิดว่าจะ
ถามถึงภาวะที่นางกระสันไม่สมควร จึงถามปัญหาด้วยอำนาจปัญจขันธ์
เป็นต้น. พระธรรมทินนาเถรีก็วิสัชนาปัญหา ที่วิสาขอุบาสกถามแล้ว
เหมือนเอาพระขรรค์ตัดก้านบัวฉะนั้น. อุบาสกรู้ว่า พระธรรนทินนาเถรี
มีญาณกล้า จึงถามปัญหา โดยอาการทุกอย่างในมรรค ๓ ตามลำดับ
ในฐานะที่ตนบรรลุแล้ว ทั้งยังถามปัญหาในอรหัตมรรค โดยอำนาจ
การเล่าเรียน พระธรรมทินหาเถรีก็รู้ว่า อุบาสกมีวินัยเพียงอนาคามิผล
เท่านั้น คิดว่า บัดนี้ อุบาสกจักแล่นเกิน. วิสัยของตนไป จึงทำให้อุบาสก
นั้นกลับ กล่าวว่า ท่านวิสาขะ ท่านยังไม่อาจกำหนดที่สุดแห่งปัญหา
ทั้งหลายได้ ท่านวิสาขะ ก็ท่านยังจำนงหวังพรหมจรรย์ที่หยั่งลงสู่พระ-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 31
นิพพาน มีพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีพระนิพพานเป็นที่สุด ท่าน
วิสาขะ ท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามความข้อนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงพยากรณ์อย่างไร ก็พึงทรงจำไว้อย่างนั้น. วิสาขอุบาสก
เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ก็กราบทูลนัยแห่งปุจฉาและวิสัชนาถวายทุกประ-
การ. พระศาสดาทรงสดับคำของวิสาขอุบาสกนั้นแล้วตรัสว่า ธิดา
ของเราไม่มีตัณหาในขันธ์ทั้งหลาย ทั้งอดีตปัจจุบันและอนาคต แล้วตรัส
พระคาถาในพระธรรมบท ดังนี้ว่า
ยสฺส ปุเร จ ปจฺฉา จ มชฺเฌ จ นตฺถิ กิญฺจน
อกิญฺจน อนาทาน ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.
ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ทั้งก่อน ทั้งหลัง
ทั้งกลาง เราเรียกผู้นั้นซึ่งไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่
ยึดมั่น ว่าเป็นพราหมณ์ ดังนี้.
แต่นั้น ก็ประทานสาธุการแก่พระธรรมทินนาเถรีแล้วตรัสกะวิสาข-
อุบาสกว่า ดูก่อนวิสาขะ ธรรมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต ธรรมทินนา-
ภิกษุณีมีปัญญามาก ดูก่อนวิสาขะ ถ้าแม้ท่านพึงถามความข้อนั้น ถึงเรา
ก็พึงพยากรณ์ความอย่างนั้น เหมือนอย่างที่ธรรมทินนาภิกษุณีพยากรณ์
ไว้แล้ว ความของข้อนั้นก็เป็นอย่างนั้น ท่านจงทรงจำความข้อนั้นไว้
อย่างนั้นเถิด. เรื่องนี้ตั้งขึ้นด้วยประการฉะนี้. ต่อมา พระศาสดาประทับ
อยู่ ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ
ตามลำดับ ทรงนำจูฬเวทัลลสูตรนี้นี่แล ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง
จึงทรงสถาปนาพระเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณี
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 32
สาวิกา ผู้เป็นธรรมกถึก ในพระศาสนานี้ แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖
๖. ประวัติพระนันทาเถรี
ในสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ฌายีน ยทิท นนฺทา ท่านแสดงว่าพระนันทาเถรี
เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ยินดีในฌาน.
ดังได้สดับมา พระนันทาเถรีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในครอบครัว กรุงหังสวดี ต่อมา กำลังฟังธรรมกถา
เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็น
เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ยินดียิ่งในฌาน จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป
ปรารถนาตำแหน่งนั้น. จากนั้น นางก็เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์
ตลอดแสนกัป ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมหาปชาบดีโคตมี ก่อน
พระศาสดาของเราอุบัติ. พระประยูรญาติได้เฉลิมพระนามพระนางว่า
นันทา เรียกกันว่า รูปนันทา. ต่อมา พระนางได้ชื่อว่า ชนบทกลัยาณี
เพราะทรงมีพระสิริโฉมงามเยี่ยม. เมื่อพระทศพลของเรา ทรงบรรลุ
พระสัพพัญญุตญาณแล้วเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์ ตามลำดับ ทรงให้พระ-
นันทะและพระราหุลผนวชแล้ว เสด็จหลีกไปแล้ว. เวลาพระเจ้าสุทโธทน-
มหาราชปรินิพพานแล้ว พระนางทรงทราบว่า พระนางมหาปชาบดี-
โคตมีและพระมารดาของพระราหุลเสด็จออกทรงผนวชในสำนักพระ-
ศาสดาแล้ว ทรงดำริว่า ตั้งแต่พระมารดามหาปชาบดีโคตมีและพระมารดา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 33
พระราหุลทรงผนวชแล้ว เราก็มีงานอยู่ในที่นี้ จึงไปสำนักพระมหาปชาบดี-
โคตมีทรงผนวชแล้ว. นับตั้งแต่วันที่ทรงผนวช ทรงทราบว่าพระศาสดา
ทรงตำหนิรูป จึงไม่ไปเฝ้าพระศาสดา ถึงวาระรับพระโอวาท ก็สั่งภิกษุณี
รูปอื่นไปแล้วให้นำพระโอวาทมา.
พระศาสดาทรงทราบว่า พระนางหลงมัวเมาพระสิริโฉม จึงตรัสว่า
ภิกษุณีทั้งหลายต้องมารับโอวาทของตนด้วยตนเอง ส่งภิกษุณีรูปอื่นไป
แทนไม่ได้. แต่นั้น พระนางรูปนันทา เมื่อไม่เห็นทางอื่น ก็ไปรับ
พระโอวาท ทั้งที่ไม่ปรารถนา. พระศาสดาทรงเนรมิตรูปหญิงผู้หนึ่ง ด้วย
พุทธฤทธิ์ โดยอำนาจจริตของพระนาง ทรงทำให้เป็นเหมือนหญิงนั้น
จับใบตาลถวายงานพัดอยู่. พระนางรูปนันทาเห็นรูปหญิงนั้นแล้วคิดว่า
เรามัวเมาโดยมิใช่เหตุ จึงไม่มา. หญิงแม้เหล่านี้ เที่ยวไปสนิทสนมใน
สำนักพระศาสดา รูปของเราไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งรูปของหญิงเหล่านี้
เราไม่รู้เลย จึงไม่มาเสียตั้งนาน ถือเอาอิตถีนิมิตนั้นนั่นแหละ ยืนสำรวจ
ดูอยู่. เพราะพระนางสมบูรณ์ด้วยบุพเหตุอย่างนั้น พระศาสดาจึงตรัส
พระคาถาในพระธรรมบทว่า อฏฺีน นคร กต ทำให้เป็นบุตรแห่งกระดูก
ทั้งหลาย เป็นต้น แล้วตรัสพระสูตรว่า
จร วา ยทิวา ติฏฺ นิสินฺโน อุท วา สย
เดินก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี เป็นต้น.
พระนางตั้งความสิ้นความเสื่อมลงในรูปนั้นนั่นแหละ. บรรลุพระ-
อรหัต. เรื่องนี้ในที่นี้ ท่านมิได้ทำให้พิสดาร เพราะเหมือนกับเรื่องของ
พระเขมาเถรี. ตั้งแต่นั้นมา พระรูปนันทาเถรีก็ได้บรรลุธุระระหว่าง
ภิกษุณี ผู้ยินดียิ่งในฌาน. ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระ-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 34
เชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ จึงทรง
สถาปนาพระนันทาเถรี ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณี
สาวิกา ผู้ยินดีในฌาน แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๗
๗. ประวัติพระโสณาเถรี
ในสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า อารทฺธวิริยาน ยทิท โสณา ท่านแสดงว่า พระ-
โสณาเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ปรารภความเพียร.
ได้ยินว่า พระโสณาเถรีนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตะ
ถือปฏิสนธิในครอบครัว กรุงหังสวดี ต่อมา กำลังฟังธรรมของพระศาสดา
เห็นพระศาสดากำลังทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ปรารภความเพียร. ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้น
ไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ตลอด
แสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้ถือปฏิสนธิในครอบครัวกรุงสาวัตถี ต่อมา
อยู่ในฆราวาสวิสัย ได้มีบุตรธิดามาก ก็ให้บุตรทุกคนตั้งอยู่ในฆราวาส-
วิสัยคนละแผนก ๆ จำเดิมแต่นั้น บุตรเหล่านั้นคิดว่า หญิงผู้นี้จักทำอะไร
แก่พวกเรา ต่างไม่สำคัญหญิงที่มาสำนักตนว่าเป็นมารดา. นางโสณาผู้มี
บุตรมากรู้ว่าพวกบุตรไม่เคารพตน คิดว่า เราจะทำอะไรด้วยฆราวาสวิสัย
ดังนี้แล้วจึงออกบวช. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายลงทัณฑกรรมนางว่า ภิกษุณี
รูปนี้ไม่รู้ข้อวัตร ทำกิจที่ไม่สมควร. เหล่าบุตรธิดาพบนางต้องทัณฑกรรม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 35
ก็พากัน พูดเยาะเย้ยในที่พบเห็นว่า หญิงผู้นี้ไม่รู้แม้เพียงสิกขา จนทุกวัน
นี้. นางได้ยินคำพูดของบุตรธิดาเหล่านั้น ก็เกิดความสลดใจ คิดว่า
เราควรทำการชำระคติของตน จึงท่องบ่นอาการ ๓๒ ทั้งในที่ ๆ นั่ง
ทั้งในที่ ๆ ยืน แต่ก่อนปรากฏชื่อว่า พระโสณาเถรี ผู้มีบุตรมาก
ฉันใด ภายหลังก็ปรากฏชื่อว่า พระโสณาเถรี ผู้ปรารภความเพียรมาก
ฉันนั้น. ภายหลังวันหนึ่ง เหล่าภิกษุณีไปวิหารบอกว่า แม่โสณา
ต้มน้ำถวายภิกษุณีสงฆ์นะ. แม่นางก็เดินจงกรมที่โรงไฟก่อนน้ำเดือด
ท่องบ่นอาการ ๓๒ เจริญวิปัสสนา. พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธ-
กุฎี ตรัสพระคาถาพร้อมกับเปล่งโอภาส ดังนี้ว่า
โย จ วสฺสสต ชีเว อปสฺส ธมฺมมุตฺตม
เอกาห ชีวิต เสยฺโย ปสฺสโต ธมฺมมุตฺตม.
ผู้เห็นธรรมสูงสุด มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียว
ประเสริฐกว่า ผู้ไม่เห็นธรรมสูงสุด มีชีวิต
เป็นอยู่ถึง ๑๐๐ ปี.
จบพระคาถา นางก็บรรลุพระอรหัต คิดว่า เราบรรลุพระอรหัต
แล้ว คนจรมรไม่ใคร่ครวญก่อน พูดอะไร ๆ ดูหมิ่นเรา ก็จะพึงประ-
สบบาปเป็นอันมาก เพราะเหตุนั้น เราควรทำเหตุที่เขาจะกำหนดรู้กัน
ได้ นางจึงยกกาน้ำขึ้นตั้งบนเตาไฟ ไม่ใส่ไฟไว้ภายใต้. เหล่าภิกษุณี
มาเห็นแต่เตา ไม่เห็นไฟ ก็กล่าวว่า พวกเราบอกให้หญิงแก่คนนี้ต้มน้ำ
ถวายภิกษุณีสงฆ์ แม้วันนี้ นางก็ยังไม่ใส่ไฟในเตา. นางจึงกล่าวว่า
แม่เข้า พวกท่านต้องการอาบน้ำ ด้วยน้ำร้อนด้วยไฟหรือ โปรดถือเอา
น้ำจากภาชนะแล้วอาบเถิด. ภิกษุณีเหล่านั้นจึงไปด้วยหมายจะรู้ว่า จักมี
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 36
เหตุในเรื่องนี้. เอามือจุ่มลงในน้ำ ก็รู้ว่าน้ำร้อน จึงนำหม้อน้ำหม้อหนึ่งมา
บรรจุน้ำ. ที่บรรจุแล้ว ๆ ก็เต็มน้ำ. ขณะนั้นภิกษุณีทั้งหมดก็รู้ว่า นางตั้งอยู่
ในพระอรหัต ที่อ่อนกว่าก็หมอบลงด้วยเบญจางค์ประดิษฐ์ขอขมาก่อน
ว่า แม่เจ้า พวกเราไม่พิจารณาแล้วกล่าวเสียดสีแม่เจ้า ขอแม่เจ้าโปรด
อดโทษแก่พวกเราด้วยเถิด. ฝ่ายเหล่าพระเถรีที่แก่กว่า ก็นั่งกระหย่ง
ขอขมาว่า โปรดอดโทษด้วยเถิดแม่เจ้า. จำเดิมแต่นั้น คุณของพระเถรี
ก็ปรากฏไปว่า พระเถรีแม้บวชเวลาแก่เฒ่าก็ดำรงอยู่ในผลอันเลิศในเวลา
ไม่นาน เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียร. กำลัง พระศาสดาประทับนั่ง
ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ
ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระโสณาเถรีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็น
เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ปรารภความเพียร แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๘
๘. ประวัติพระสกุลาเถรี
ในสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ทิพฺพจกฺขุกาน ยทิท สกุลา ท่านแสดงว่า พระ-
สกุลาเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้มีจักษุทิพย์.
ได้ยินว่า พระสกุลาเถรีนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
บังเกิดในเรือนสกุล ต่อมากำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระ-
ศาสดากำลังทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศ
กว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้มีทิพยจักษุ ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 37
ตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป ใน
พุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในเรือนสกุล กรุงสาวัตถี ต่อมา ฟังพระ-
ธรรมเทศนาของพระศาสดา. ได้ศรัทธาแล้วก็บวช ไม่นานนัก ก็บรรลุ
พระอรหัต. ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็เป็นผู้ช่ำชองชำนาญในทิพยจักษุ. ภายหลัง
พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณี
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะต่าง ๆ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้มีจักษุทิพย์ แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
๙. ประวัติพระภัททากุณฑลเกสาเถรี
ในสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ขิปฺปาภิญฺาน ท่านแสดงว่า พระภัททากุณฑลเกสาเถรี
เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ตรัสรู้เร็ว
ได้ยินว่า พระภัททากุณฑลเกสานี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ฟังธรรมของพระศาสดา
แล้ว เห็นพระศาสดากำลังทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอต-
ทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้ตรัสรู้เร็ว จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้น
ไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ตลอด
แสนกัป ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เป็นพระธิดาพระองค์หนึ่ง
ระหว่างพระพี่น้องนาง ๗ พระองค์ ในพระราชณิวศน์ของพระเจ้ากิงกิ.
สมาทานศีล ๑๐ ประพฤติกุมารีพรหมจรรย์ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี สร้างบริเวณ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 38
ถวายสงฆ์ เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐี กรุงราชคฤห์. บิดามารดาตั้งชื่อนางว่า
ภัททา.
วันนั้นเหมือนกัน บุตรปุโรหิตก็เกิดในพระนครนั้น. เวลาเขาเกิด
อาวุธทั้งหลายก็ลุกโพลงไปทั่วพระนครตั้งแต่พระราชนิเวศน์เป็นต้นไป.
ปุโรหิตก็ไปราชสกุลแต่เช้าตรู่ ทูลถามพระราชาถึงการบรรทมเป็นสุข
พระราชาตรัสว่า เราจะนอนเป็นสุดได้แต่ที่ไหนเล่า อาจารย์ เราเห็นอาวุธ
ทั้งหลายในราชนิเวศน์ลุกโพลงตลอดคืนยังรุ่ง ในวันนี้ จะต้องประสบภัย
กันหรือ. ปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์โปรดอย่า
ทรงพระดำริเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยเลย อาวุธทั้งหลาย มิใช่ลุกโพลงแต่
ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์เท่านั้น ทั่วพระนครก็เป็นอย่างนี้ พระ-
เจ้าข้า ตรัสถามว่า เพราะเหตุไรเล่า อาจารย์. กราบทูล ในเรือน
ข้าพระองค์ เด็กชายเกิดโดยฤกษ์โจร เขาเกิดเป็นศัตรูทั่วพระนคร.
นั่นเป็นบุพนิมิตของเขา แต่พระองค์ไม่มีอันตรายดอก พระเจ้าข้า แต่ถ้า
จะทรงพระประสงค์ ก็โปรดให้ฆ่าเขาเสีย. ตรัสว่า เมื่อไม่เบียดเบียนเรา
ก็ไม่ต้องฆ่าดอก. ปุโรหิตคิดว่า บุตรเราถือเอาชื่อของตนมาด้วย จึงตั้งชื่อ
เขาว่า สัตตุกะ. ภัททาก็เติบโตในเรือนเศรษฐี. สัตตุกะก็เติบโตในเรือน
ปุโรหิต. ตั้งแต่เขาสามารถเล่นวิ่งมาวิ่งไปได้ เขาจะนำทุกสิ่งที่เขาพบใน
ที่เที่ยวไป มาไว้เต็มเรือนบิดามารดา. บิดาจะพูดกะเขาแม้ตั้ง ๑,๐๐๐ เหตุ
ก็ห้ามปรามเขาไม่ได้. ต่อมา บิดารู้ว่าห้ามเขาไม่ได้โดยอาการทั้งปวง จึง
ให้ผ้าเขียวแก่เขา ๒ ผืน ให้เครื่องอุปกรณ์ตัดช่อง และ สีฆาตกยนต์
[กลไกรูปกระจับ] ไว้ในมือ แล้วสละเขาไป ด้วยกล่าวว่า เจ้าจง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 39
เลี้ยงชีพด้วยงานชนิดนี้ . ตั้งแต่วันนั้นมา เขาก็เหวี่ยงกลไกกระจับ
[พาตัว] ขึ้นไปบนปราสาทของสกุลทั้งหลาย ตัดช่อง [ที่ต่อเรือน ]
ขโมยทรัพย์สิ่งของที่เขาเก็บไว้ในสกุลผู้อื่น เหมือนตัวเองเก็บไว้แล้วก็ไป.
ทั่วพระนคร ขึ้นชื่อว่าเรือนหลังที่เขาไม่ย่องเบาไม่มีเลย. วันหนึ่ง พระ-
ราชาเสด็จเที่ยวไปในพระนครโดยราชรถ จึงตรัสถามสารถีว่า ทำไม
หนอ ในเรือนหลังนั้น ๆ ในพระนครนี้ จึงปรากฏมีช่องทั้งนั้น. สารถี
กราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ในพระนครนี้มีโจรชื่อสัตตุกะ ตัดฝาเรือน
ลักทรัพย์ของสกุลทั้งหลาย พระเจ้าข้า. พระราชาจึงรับสั่งให้หาเจ้าหน้าที่
นครบาลมาแล้ว ตรัสถามว่า เขาว่าในพระนครนี้มีโจรชื่ออย่างนี้ เหตุไร
เจ้าจึงไม่จับมัน. เจ้าหน้าที่นครบาลกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พวกข้าพระ-
องค์ไม่อาจพบโจรนั้นพร้อมทั้งของกลาง พระเจ้าข้า. ตรัสสั่งว่า ถ้าวันนี้
เจ้าพบโจรนั้น จงจับ ถ้าไม่จับ เราจักลงอาชญาเจ้า. เจ้าหน้าที่นครบาล
ทูลรับว่า พระเจ้าข้า เทวะ. เจ้าหน้าที่นครบาลสั่งให้มนุษย์ทั่วพระนคร
เที่ยวสืบสวนจนจับตัวโจรผู้ตัดฝาเรือนลักทรัพย์เขา พร้อมทั้งของกลาง
นั้นได้ นำไปแสดงแก่พระราชา. พระราชตรัสสั่งว่า จงนำโจรนี้ออก
ทางประตูด้านทิศใต้แล้ว ประหารเสีย. เจ้าหน้าที่นครบาลรับสนองพระ-
ราชโองการแล้ว โดยโจรนั้นครั้งละ ๔ ที ๑,๐๐๐ ครั้ง ให้จับตัวพาไป
ทางประตูด้านทิศใต้.
สมัยนั้น ภัททา ธิดาเศรษฐีนี้ เผยสีหบัญชร [หน้าต่าง] ดู
เพราะเสียงโกลาหลของมหาชน เห็นสัตตุกะโจร ถูกเขานำไปฆ่า ก็เอา
มือทั้งสองทาบหัวใจ ไปนอนคว่ำหน้าบนที่นอนอันเป็นสิริ. ก็นางเป็น
ธิดาคนเดียวของสกุลนั้น. ด้วยเหตุนั้น พวกญาติของนางจึงไม่อาจทน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 40
เห็นหน้าอันหม่นหมองแม้เล็กน้อยได้. ครั้งนั้นมารดาเห็นนางนอนบนที่
นอน จึงถามนางว่า ลูกเอ๋ย เจ้าทำอะไร. นางตอบตรง ๆ ว่า แม่จ๋า ดิฉัน
พบโจรที่เขากำลังนำไปฆ่าจ้ะ เมื่อได้เขามาจึงจะเป็นอยู่ได้ เมื่อดิฉันไม่ได้
ตายเสียเท่านั้นประเสริฐ บิดามารดาปลอบโดยประการต่าง ๆ ก็ไม่อาจให้
นางยินยอมได้ จึงกำหนดไว้ว่า เป็นอยู่ดีกว่าตาย. ครั้งนั้นบิดาของนาง
จึงหาเจ้าหน้าที่นครบาล คิดสินบน ๑,๐๐๐ กหาปณะ. แล้วบอกว่า ธิดา
ของเรามีจิตติดพันในโจร โปรดจงปล่อยโจรนี้ ด้วยอุบายวิธีอย่างใด
อย่างหนึ่งเสีย. เจ้าหน้าที่นครบาลรับปากเศรษฐีว่า ได้จ้ะ แล้วพาโจร
หน่วงเหนี่ยวให้ชักช้าไปทางโน้นทางนี้บ้าง จนพระอาทิตย์ตก เมื่อพระ-
อาทิตย์ตกแล้วก็ให้นำเอาโจรคนหนึ่งจากพวกโจรออกมา ทำเป็นโจรขึ้น
แก้สัตตุกะโจรออกจากเครื่องจองจำพาไปส่งยังเรือนเศรษฐีแล้ว เอาเครื่อง
จองจำนั้นพันธนาการโจรอีกคนหนึ่ง นำตัวออกไปทางประตูด้านทิศใต้
ประหารชีวิต (แทน ) เสีย. แม้พวกทาสของเศรษฐีต่างพาตัวสัตตุกะโจร
มายังเรือนของเศรษฐี. เศรษฐีเห็นแล้วคิดว่า เราจักทำใจของธิดาให้
เต็มเสียที จึงให้พวกทาสเอาน้ำหอมอาบสัตตุกะโจร แล้วให้ตกแต่งประ-
ดับประดาด้วยเครื่องอาภรณ์ทุกชนิด พาไปส่งตัวยังปราสาท. นางภัททา
คิดว่า ความดำริของเราเต็มที่แล้ว จึงแต่งตัวให้เพริศพริ้งด้วยเครื่องอลัง-
การนานาชนิดคอยบำเรอเขา.
สัตตุกะโจร พอล่วงมาได้ ๒ - ๓ วันคิดว่า สิ่งของเครื่องประดับ
ของนางจักเป็นของเรา เราควรจะถือเอาเครื่องอาภรณ์นี้ด้วยอุบายบาง
ประการเสีย ดังนี้แล้ว พอถึงเวลานั่งใกล้ชิดกันอย่างมีความสุขจึงพูดกะ
นางภัททาว่า เรามีเรื่องที่จะพูดสักเรื่องหนึ่ง. ธิดาเศรษฐีปลาบปลื้มใจ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 41
ประหนึ่งว่าได้ลาภตั้งพันจึงตอบว่า พี่ท่าน เราสนิทสนมกันแล้ว พี่ท่าน
จงบอกมาเถิด โจรกล่าวว่า เธอคิดว่าโจรนี้ได้ชีวิตมาเพราะอาศัยเรา
แต่เราพอถูกจับเท่านั้น ได้อ้อนวอนเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่เขาทั้งโจรว่า
ถ้าข้าพเจ้าจักได้ชีวิต ข้าพเจ้าจักถวายพลีกรรมแด่ท่าน เราได้ชีวิต
เพราะอาศัยเทวดานั้น ขอเธอจงรีบให้จัดเครื่องพลีกรรมเถิด. นางภัททา
คิดว่า เราจักทำให้เขาเต็มใจเสียที สั่งให้จัดแจงเครื่องพลีกรรม ประดับ
ประดาเครื่องประดับทุกชนิด ขึ้นนั่งในรถคันเดียวกันไปยังเหวทิ้งโจร
พร้อมกับสามี เริ่มไต่ภูเขาขึ้นไปด้วยคิดว่า เราจักทำพลีกรรมแก่เทวดา
ประจำภูเขา. สัตตุกะโจรคิดว่า เมื่อขึ้นไปกันหมดแล้วเราจักไม่มีโอกาส
ถือเอาเครื่องอาภรณ์ของนางได้ จึงให้นางภัททานั้นนั่นแหละถือภาชนะ
เครื่องเซ่นสรวง แล้วขึ้นภูเขาไป. เขาพูดถ้อยคำทำที่เป็นพูดกับ
นางภัททา พูดคุยกันไป ด้วยเหตุนั้นนั่งเองนางจึงไม่รู้ความประสงค์
ของโจร. ที่นั้น โจรจึงพูดกะนางว่า น้องภัททา เธอจงเปลื้องผ้าห่ม
ของเธอออก แล้วเอาเครื่องประดับที่ประดับอยู่รอบกายทำเป็นห่อไว้ ณ
ที่นี้.
นาง. นายจ๋า ดิฉัน มีความผิดอะไรหรือ.
โจร. แน่นางผู้เขลา ก็เธอทำความสำคัญว่า เรามาเพื่อทำพลีกรรม
หรือ ความจริงเราจะตัวกับถวายแก่เทวดานี้ แต่เรามีประสงค์จะถือเอา
เครื่องอาภรณ์ของเธอโดยอ้างพลีกรรมจึงได้มา.
นาง. นายจ๋า เครื่องประดับเป็นของใคร ตัวฉันเป็นของใคร.
โจร. เราไม่รับรู้ ของของเธอก็เป็นส่วนหนึ่ง ของของเราก็เป็น
ส่วนหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 42
นาง. ดีแล้วจ้ะพี่ท่าน แต่ขอให้พี่ท่านจงทำความประสงค์ของ
น้องอย่างหนึ่งให้บริบูรณ์ทีเถิด ขอพี่ท่านให้น้องได้สวมกอดพี่ทั้งด้านหน้า
และด้านหลังโดยทำนองที่แต่งตัวอยู่อย่างนี้นี่แหละ.
โจรก็รับปากว่า ได้สิจ๊ะ.
นางทราบว่า โจรรับปากแล้วก็สวมกอดข้างหน้าแล้วก็ทำเป็นที่สวม
กอดข้างหลัง จึงผลักเขาตกเหวไป. เขาเมื่อตกลงไปก็แหลกละเอียดไปใน
อากาศนั่นแหละ.
เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ภูเขา เห็นความที่นางทำให้โจรเหลกละเอียด
ไป จึงได้กล่าวคาถาด้วยประสงค์จะสรรเสริญ มีดังนี้ว่า
น โส สพฺเพสุ าเนสุ ปุริโส โหติ ปณฺฑิโต
อิตฺถี จ ปณฺฑิตา โหติ ตติถ ตตฺถ วิจกฺขณา
น โส สพฺเพสุ ฐาเนสุ ปุริโส โหติ ปณฺฑิโต
อิตฺถี จ ปณฺฑิตา โหติ มุหุตฺตมปิ จินฺตเย
ผู้ชายนั้นมิใช่จะเป็นบัณฑิตไปเสียในที่ทุกสถาน
แต่ผู้หญิงผู้มีวิจารณญาณในที่นั้นๆ ก็เป็นบัณฑิตได้
ผู้ชายนั้นนะมิใช่จะเป็นบัณฑิตไปเสียในที่ทุกสถาน
แต่ผู้หญิงคิดอ่านแม้ครู่เดียว ก็เป็นบัณฑิตได้.
ลำดับนั้น นางภัททาจึงคิดว่า เราไม่สามารถจะกลับไปบ้านโดย
ทำนองนี้ได้ เราไปจากที่นี้แล้วจักบวชสักอย่างหนึ่ง จึงได้ไปยังอาราม
ของพวกนิครนถ์ขอบรรพชากะพวกนิครนถ์. ทีนั้นพวกนิครนถ์เหล่านั้น
กล่าวกะนางว่า จะบวชโดยทำนองไหน.
สิ่งใดเป็นของสูงสุดในบรรพชาของท่าน ขอท่านจงการทำสิ่งนั้น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 43
นั่นแหละ.
พวกนิครนถ์รับว่าดีแล้ว จึงเอาก้านตาลทิ้งถอนผมของนางแล้วให้
บวช. ผมเมื่อจะงอกขึ้นอีกก็งอกขึ้นเป็นวงกลมคล้ายตุ้มหู โดยเป็นกลุ่ม
ก้อนขึ้นมา. เพราะเหตุนั้นนางจึงเกิดมีชื่อว่า กุณฑลเกสา. นางเรียนศิลปะ
ทุกอย่างในที่ที่คนบวชแล้ว ครั้นทราบว่า คุณวิเศษยิ่งกว่านี้ของพวก
นิครนถ์เหล่านี้ไม่มี จึงเที่ยวไปยังคามนิคมราชธานี บัณฑิตมีในที่ใด ๆ
ก็ไปในที่นั้นๆ แล้วเรียนศิลปะที่บัณฑิตเหล่านั้นรู้ทุกอย่างหมด. ย่อมา
คนทั้งหลายผู้ที่สามารถจะให้คำโต้ตอบแก่นางได้มิได้มี เพราะนางเป็นผู้ได้
ศึกษามาในที่เป็นอันมาก. นางมิได้มองเห็นใครที่สามารถจะกล่าวกับตนได้
เข้าไปสู่บ้านใดก็ดี นิคมใดก็ดี ก็ทำกองทรายไว้ที่ประตูบ้านหรือนิคมนั้น
แล้วปักกิ่งต้นหว้าไว้บนกองทรายนั้นนั่นแหละ ให้สัญญาแก่พวกเด็ก ๆ ที่
ยืนอยู่ในที่ใกล้ด้วยพูดว่า ผู้ใดสามารถที่จะโต้ตอบวาทะของเราได้ ผู้นั้น
จงเหยียบกิ่งไม้นี้. แม้ตลอดตั้งสัปดาห์นั้นก็หามีคนเหยียบไม่. แล้วนางก็
ถือเอากิ่งไม้นั้นหลีกไป.
ในสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรง
อาศัยกรุงสาวัตถี เสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวัน. ฝ่ายนางกุณฑลเกสาก็ไป
ถึงกรุงสาวัตถีตามลำดับ เมื่อเข้าไปภายในนครแล้ว ก็ปักกิ่งไม้ไว้บน
กองทรายทำนองเดินนั่นแหละ แล้วให้สัญญาแก่พวกเด็กแล้วจึงเข้าไป.
ในสมัยนั้น เมื่อภิกษุสงฆ์เข้าไปแล้ว พระธรรมเสนาบดีจึงเข้าไป
สู่นครเพียงรูปเดียวเท่านั้น เห็นกิ่งต้นหว้าที่เนินทรายแล้วถามว่า เพราะ
เหตุไร เขาจึงปักกิ่งต้นหว้านี้ไว้ พวกเด็กบอกเหตุนั้นโดยตลอด. จึง
กล่าวว่า นี่แน่ะ หนูทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนั้นพวกเธอจงจับเอากิ่งต้นหว้า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 44
นี้ออกมาเหยียบย่ำเสีย. บรรดาเด็กเหล่านั้น บางพวกฟังคำพระเถระ
แล้วไม่กล้าที่จะเหยียบย่ำได้ บางพวกเหยียบย่ำทันทีทีเดียว การทำให้
แหลกละเอียดไป. นางกุณฑลเกสาบริโภคอาหารแล้วเดินออกไปเห็น
กิ่งไม้ถูกเหยียบย่ำ จึงถามว่า นี้เป็นการการทำของใคร. ทีนั้นพวกเด็ก
จึงบอกการที่พระธรรมเสนาบดีให้พวกเขากระทำแก่นาง. นางจึงคิดว่า
พระเถระนี้เมื่อไม่รู้กำลังของตน จักไม่กล้าให้เหยียบย่ำกิ่งไม้นี้ พระเถระนี้
จักต้องเป็นผู้ยิ่งให้แน่นอน แต่แม้เรายังเป็นคนเล็ก ๆ อยู่จักให้งาม
ไม่ได้. เราควรจะเข้าไปภายในบ้านทีเดียว แล้วให้สัญญาแก่พวกบริษัท
ดังนี้ แล้วได้กระทำดังนั้น. พึงทราบว่า ในนครอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่ง
ตระกูลถึง ๘๐,๐๐๐ ตระกูล คนทั้งหมดนั่นแหละต่างรู้จักกันด้วยอำนาจ
ที่มีความเท่าเทียมกัน.
ฝ่ายพระเถระกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว จึงนั่งที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง.
ทีนั้น นางกุณฑลเกสานี้ มีมหาชนห้อมล้อมเดินไปยังสำนักของพระเถระ
กระทำปฏิสันถารแล้ว ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ถามว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ พระคุณเจ้าให้เหยียบย่ำกิ่งไม้นี้หรือ.
พระสารีบุตร - ใช่แล้ว เราให้เหยียบย่ำเอง
นาง - เมื่อเป็นเช่นนั้น ขอดิฉันกับพระคุณเจ้ามาโต้
วาทะกันนะพระคุณเจ้า.
พระสารีบุตร - ได้สิน้องนาง.
นาง - ใครจะถาม ใครจะกล่าวแก้ เจ้าข้า.
พระสารีบุตร - ความจริงคำถามตกแก่เรา แต่ท่านจงถามสิ่งที่
ท่านรู้เถิด.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 45
นางถามลัทธิตามที่ตนรู้มาทั้งหมดทีเดียว ตามที่พระเถระยินยอม.
พระเถระก็กล่าวแก้ได้หมด. นางครั้นถามแล้วถามอีกจนหมดจึงได้นิ่ง.
ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะนางว่า ท่านถามเราหมดแล้ว แม้เรา
ก็จะถามท่านข้อหนึ่ง.
นาง - ถามเถิด เจ้าข้า.
พระสารีบุตร - ที่ชื่อว่าหนึ่งคืออะไร.
นางกุณฑลเกสเรียนว่า ดิฉันไม่ทราบ เจ้าข้า.
พระสารีบุตร - เธอไม่ทราบแม้เหตุเพียงเท่านี้ เธอจักทรามอะไร
อย่างอื่นเล่า.
นางหมอบแทบเท้าทั้งสองของพระเถระ เรียนว่า ดิฉันขอถึง
พระคุณเจ้าเป็นสรณะ เจ้าข้า.
พระสารีบุตร - จะทำการถึงเราเป็นสรณะไม่ได้ บุคคลผู้เลิศ
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ประทับอยู่ที่วิหารใกล้ ๆ
นี่เอง ขอเธอจงถึงพระองค์ท่านเป็นสรณะเถิด.
นาง - ดิฉัน จักกระทำเช่นนั้น เจ้าข้า.
พอตอนเย็น ในเวลาที่พระศาสดาทรงแสดงธรรม จึงไปยังสำนัก
ของพระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วได้ยืน ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัสคาถาในธรรมบทตามความเหมาะสม
กับจริยาของนางที่เคยพิจารณาเห็นสังขารอันทุกข์บีบคั้นแล้ว ต่อไปว่า
สหสฺสมปิ เจ คาถา อนตฺถปทสญฺหิตา
เอก คาถาปท เสยฺโย ย สุตฺวา อุปสมฺมติ
หากคาถาไม่ประกอบด้วยบทอันมีประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 46
แม้จะมีตั้ง ๑,๐๐๐ คาถาก็ตาม คาถาเดียวที่บุคคลฟัง
แล้วสงบระงับได้ ยังประเสริฐกว่า ดังนี้.
ในเวลาจบพระคาถา นางทั้งที่ยืนอยู่นั่นเองก็ได้บรรลุพระอรหัต
พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จึงทูลขอบรรพชา. พระศาสดาทรงรับให้นาง
บรรพชาแล้ว. นางไปยังสำนักภิกษุณีบวชแล้ว. ในกาลต่อมาเกิดสนทนา
กันขึ้นในท่ามกลางบริษัท ๔ ว่า นางภัททากุณฑลเกสานี้ใหญ่ยิ่งจริงหนอ
บรรลุพระอรหัตในเวลาจบคาถาเพียง ๘ บท. พระศาสดาทรงกระทำ
เหตุนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องแล้ว ทรงสถาปนาพระเถรีไว้ใน
ตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกา ผู้ตรัสรู้เร็ว ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
๑๐. ประวัติพระภัททกาปิลานีเถรี
ในสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ปุพเพนิวาส อนุสฺสรนฺตีน ท่านแสดงว่า พระ-
ภัททกาปิลานีเถรี เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้มีปุพเพนิวาสญาณ
ตามระลึกขันธสันดานที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้.
ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมมุตตระ นางบังเกิดใน
เรือนแห่งสกุล กรุงหังสวดี ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว
เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศ
กว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้มีบุพเพนิวาสญาณ จึงกระทำกุศลกรรมให้ยิ่งยวด
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 47
ขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายตายเกิดไปในเทวดาและมนุษย ์
ทั้งหลาย เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น ถือเอาปฏิสนธิในเรือนสกุล กรุง
พาราณสี กระทำการทะเลาะกับน้องสาวของตน เมื่อน้องสาวนั้นถวาย
บิณฑบาตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็คิดว่า นางนี้ถวายบิณฑบาตแด่พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว จักให้เราตกอยู่ใน อำนาจของตน ดังนี้แล้วจึงรับบาตร
จากมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า เทอาหารทิ้งเสีย เอาเปือกตมใส่จนเต็ม
แล้วถวายไป. มหาชนต่างติเตียนกันว่า นางนี้เป็นพาล พูดกันว่า เธอ
ทะเลาะกับหญิงผู้ใด ไม่กระทำอะไรแก่หญิงผู้นั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทำผิด
อะไรต่อเธอหรือ. นางละอายด้วยคำพูดของตนเหล่านั้น จึงรับบาตรมา
ใหม่ เทเปือกตมออกล้าง เอาฝุ่นหอมขัดสี ใส่อาหารมีรสอร่อย ๔ อย่าง
จนเต็ม แล้ววางบาตรซึ่งสดใสด้วยเนยใสมีสีประดุจห้องดอกบัวหลวงซึ่ง
เทลาดหน้าไว้บนมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า
บิณฑบาตนี้เกิดมีแสงสุกใส ฉันใด ขอให้สรีระของดิฉันจงมีแสงสุกใส
ฉันนั้นเถิด. เรื่องนี้ทั้งหมดพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องของพระ-
มหากัสสปเถระ.
ส่วนพระมหากัสสปเถระถือเอาทางขวา ไปยังโคนต้นไทรชื่อ
พหุปุตตะอันเป็นสำนักของพระทศพล. นางภัททกาปิลานีถือเอาทางซ้าย
ได้ไปยังอารามของพวกปริพาชก เพราะเหตุที่การบรรพชามาตุคาม
พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงอนุญาต. ต่อเมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมี
ทรงได้บรรพชาแล้ว นางจึงได้บรรพชาและอุปสมบทในสำนักของ
พระเถรี ในกาลต่อมาการทำวิปัสสนากรรมฐานได้บรรลุพระอรหัต จึง
เป็นผู้มีความช่ำของชำนาญในบุพเพนิวาสญาณ. ลำดับนั้น พระศาสดา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 48
ประทับนั่งในพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาภิกษุณีทั่งหลายไว้ในตำแหน่ง
ต่าง ๆ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวก
ภิกษุณีสาวิกา ผู้มีบุพเพนิวาสญาณ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑
๑๑. ประวัติพระภัททากัจจานาเถรี
ในสูตรที่ ๑๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า มหาภิญฺาปฺปตฺตาน ท่านแสดงว่า พระภัททา-
กัจจานาเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้บรรลุอภิญญาใหญ่. ความจริง
สำหรับพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มีผู้ที่สำเร็จอภิญญาใหญ่ได้ ๔ ท่าน สาวก
ที่เหลือหาสำเร็จไม่. เพราะสาวกที่เหลือย่อมสามารถระลึกชาติได้ตลอด
แสนกัปเท่านั้น ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นระลึกไม่ได้. แต่ท่านผู้บรรลุอภิญญาใหญ่
ย่อมระลึกชาติได้อสงไขยหนึ่งยิ่งด้วยแสนกัป. ในศาสนาของพระศาสดา
แม้ของพวกเรา ชน ๔ ท่านเหล่านั้นคือ พระอัครสาวก ๒ รูป พระ-
พากุลเถระ พระนางภัททากัจจานาเถรี สามารถระลึกชาติได้ประมาณ
เท่านี้ เพราะฉะนั้น พระเถรีนี้จึงชื่อว่าเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา
ผู้มีอภิญญาใหญ่. พระนางมีพระนานว่า ภัททากัจจานา. ก็ผิวพรรณ
แห่งสรีระของพระนางนั้นเป็นผิวพรรณเหมือนผิวของทองคำชั้นดีที่สุด.
เพราะฉะนั้น พระนางจึงนับได้ว่าเป็นคนสวยงามโดยแท้ นี้เป็นพระนาม
ของพระมารดาของพระราหุล.
แม้พระนางนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมมุตตระ ถือเอา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 49
ปฏิสนธิในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ในกาลต่อมาฟังธรรมกถาของพระศาสดา
เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศ
ของเหล่าภิกษุณีสาวิกาผู้บรรลุอภิญญาอย่างใหญ่ จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้น
ไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายตายเกิดในเทวดาและมนุษยโลก
ตลอดแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้ถือเอาปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์
พระเจ้าสุปปพุทธะ. เหล่าพระประยูรญาติเฉลิมพระนามว่า ภัททากัจจานา.
พระนางเจริญวัยได้อภิเษกเป็นมเหสีพระโพธิสัตว์. ต่อมาพระนางได้
ประสูติพระโอรสพระนามว่า พระราหุลกุมาร. ในวันที่พระราหุลกุมาร
ประสูติแล้ว พระโพธิสัตว์เสด็จออกทรงผนวช ทรงบรรลุพระสัพพัญญุต-
ญาณที่โคนต้นโพธิ เมื่อจะกระทำการอนุเคราะห์ชาวโลก เสด็จมาถึงกรุง
กบิลพัสดุ์โดยลำดับ ได้ทรงกระทำการสงเคราะห์พระญาติ ต่อมาเมื่อ
พระเจ้าสุทโธทนมหาราชปรินิพพานแล้ว พระนางมหาปชาบดีโคตมี
พร้อมกับมาตุคาม ๕๐๐ นาง ขอบรรพชาในสำนักของพระศาสดา. พระ-
มารดาของพระราหุลก็ดี พระนางรูปนันทาชนบทกัลยาก็ดี ก็พากันไปยัง
สำนักของพระเถรี บวชแล้ว. นางจำเดิมแต่บวชแล้วได้ปรากฏชื่อว่า
ภัททากัจจนาเถรี. ต่อนาพระนางเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้วเป็น
ผู้ช่ำชองชำนาญในอภิญญาทั้งหลาย นั่งขัดสมาธิครั้งเดียว ระลึกชาติได้
ถึงอสงไขยหนึ่งยิ่งด้วยแสนกัปโดยการระลึกถึงครั้งเดียว. เมื่อคุณความดี
นั้นของนางปรากฏชัดแล้ว พระศาสดาประทับนั่งในพระเชตวัน เมื่อ
ทรงสถาปนาภิกษุณีทั้งหลายไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะต่าง ๆ ตามลำดับ จึง
ทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าภิกษุณีสาวิกา
ผู้บรรลุอภิญญาใหญ่ แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 50
อรรถกถาสูตรที่ ๑๒
๑๒. ประวัติพระกีสาโคตมีเถรี
ในสูตรที่ ๑๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ลูขจีวรธราน ท่านแสดงไว้ว่า นางกีสาโคตมีเป็น
ยอดของเหล่าภิกษุสาวิกาผู้ทรงผ้าบังสุกุลอันประกอบด้วยความเศร้าหมอง
ดังนี้ นางมีชื่อว่า โคตมี แต่เขาเรียกกั้นว่า กีสาโคตมี เพราะเป็นผู้
ค่อนข้างจะผอมไปนิดหน่อย.
แม้นางนี้ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล
กรุงหังสวดี ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว เห็นพระศาสดาทรง
สถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณี
สาวิกาผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนา
ตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายไปในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป ใน
พุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในสกุลคนเข็ญใจ กรุงสาวัตถี เวลาเจริญวัยแล้ว
ก็ไปสู่การครองเรือน. พวกชนในสกุลนั้นดูหมิ่นนางว่า เป็นธิดาของ
สกุลคนเข็ญใจ. ต่อนานางได้คลอดบุตรคนหนึ่ง. ทีนั้นชนทั้งหลายจึงได้
ทำความยกย่องนาง. ก็บุตรของนางตั้งอยู่ในวัยพอจะวิ่งไปวิ่งมาเล่นได้ก็
มาตายเสีย ความเศร้าโศกก็เกิดขึ้นแก่นาง. นางคิดว่า เราขาดลาภ
และสักการะในเรือนนี้แล้ว นับแต่เวลาที่บุตรเกิดมาจึงได้สักการะ ชน
เหล่านี้จึงพยายามแม้เพื่อจะทิ้งบุตรของเราไว้ข้างนอก ดังนี้ จึงอุ้มบุตร
ใส่สะเอวเที่ยวเดินไปตามลำดับประตูเรือนด้วยพูดว่า ขอพวกท่านจงให้
ยาแก่บุตรของเราด้วยเถิด ดังนี้. พวกมนุษย์ในที่ที่พบแล้ว ๆ ต่างดีด
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 51
นิ้วมือกระทำการเย้ยหยันว่า ยาสำหรับคนตายแล้วท่านเคยเห็นที่ไหนบ้าง.
นางมิได้เข้าใจความหมายแห่งคำพูดของพวกเขาเลย. ลำดับนั้น คนฉลาด
คนหนึ่ง เห็นนางแล้วคิดว่า นางนี้จักต้องมีจิตฟุ้งซ่าน (บ้า) เพราะ
ความเศร้าโศกถึงบุตร แต่ยาสำหรับบุตรของนางนั้นคนอื่นหารู้ไม่ พระ-
ทศพลเท่านั้นจักทรงทราบ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ว่า แม่เอ๋ย ยา
สำหรับ บุตรของเธอคนอื่นที่จะรู้หามีไม่ พระทศพลผู้เป็นยอดบุคคลในโลก
พร้อมทั้งเทวโลกประทับอยู่ในวิหารใกล้ ๆ นี่เอง ขอเธอจงไปทูลถาม
ดูเถิด. นางคิดว่า คนผู้นี้พูดจริง จึงอุ้มบุตรไปยืนอยู่ในตอนท้ายบริษัท
ในเวลาที่พระตถาคตประทับนั่งบนพุทธอาสน์ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดประทานยาแก่บุตรของข้าพระองค์
ด้วยเถิด ดังนี้ .
พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของนางแล้วตรัสว่า ดูก่อนโคตมี เธอ
มาที่นี้เพื่อต้องการยานับว่าทำดีมาก เธอจงเข้าไปยังนคร เดินเที่ยวไป
ตลอดนครนับแต่ท้ายบ้านไป ในเรือนใดไม่เคยมีคนตาย จงนำเอาเมล็ด
พันธุ์ผักกาดจากเรือนนั้นมา ดังนี้. นางทูลว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า ดังนี้
มีใจยินดีเข้าไปภายในนคร พอถึงเรือนแรกทีเดียวก็พูดว่า พระทศพล
ทรงมีรับสั่งให้หาเมล็ดพันธุ์ผักกาดมา เพื่อประโยชน์ใช้เป็นยาแก่ลูก
ของเรา ขอพวกท่านจงให้เมล็ดพันธุ์ผักกาดแก่เราเถิด ดังนี้. พวก
คนทั้งหลายต่างได้นำมาให้นางด้วยพูดว่า เชิญเถิดโคตมี.
โคตมี. ดิฉันยังไม่อาจรับไว้ได้โดยทำนองนี้ ในเรือนนี้ชื่อว่าไม่
เคยมีคนตายหรือ.
ชาวบ้าน. ดูก่อนนางโคตมี เธอพูดอะไร ใครจะอาจนับคน
ที่ตายแล้วในเรือนนี้ได้เล่า.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 52
โคตมี. ถ้ากระนั้น พอที พระทศพลทรงรับสั่งให้ข้าพเจ้ารับเมล็ด
พันธุ์ผักกาดนั้น จากเรือนที่ไม่เคยมีคนตาย.
นางเดินไปเรือนหลังที่ ๓ โดยทำนองนี้นี่แหละแล้วคิดได้ว่า ใน
นครทั้งสิ้นก็จักมีทำนองนี้เหมือนกัน พระพุทธเจ้าผู้ทรงอนุเคราะห์ด้วย
ประโยชน์เกื้อกูลจักทรงเห็นเหตุนี้แล้ว ดังนี้ ได้ความสังเวชใจ ออกไป
ภายนอกนครนั้นทีเดียว ไปยังป่าช้าผีดิบเอามือจับบุตรแล้วพูดว่า แน่ะ
ลูกน้อย แม่คิดว่า ความตายนี้เกิดขึ้นแก่เจ้าเท่านั้น แต่ว่าความตายนี้
ไม่มีแก่เจ้าคนเดียว นี่เป็นธรรมดามีแก่มหาชนทั่วไป ดังนี้แล้ว จึงทิ้งลูก
ในป่าช้าผีดิบแล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-
น คามธมฺโม โน นิคมสฺส ธมฺโม
น จาปิย เอกกุลสฺส ธมฺโม
สพฺพสฺส โลกสฺส สเทวกสฺส
เอเสว ธมฺโม ยทิท อนิจฺจตา.
ธรรมนี้นี่แหละคือควานไม่เที่ยง มิใช่ธรรมของ
ชาวบ้าน มิใช่ธรรมของนิคม ทั้งมิใช่ธรรมกุศล
เดียวดาย แต่เป็นธรรมของโลกทั้งหมด พร้อมทั้ง
เทวโลก.
ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว นางได้ไปยังสำนักของพระศาสดา.
ทีนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนโคตมี เธอได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดแล้วหรือ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่มีการที่จะใช้เมล็ดพันธุ์ผักกาด
แล้ว แต่ขอพระองค์จงประทานที่พึ่งแก่ข้าพระองค์เถิด.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสคาถาในธรรมบทแก่นางว่า:-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 53
ต ปุตฺตปสุสมฺมตฺต พฺยาสตฺตมนส
สุตฺต คาม มโหโฆว มจฺจุ อาทาย คจฺฉติ.
มฤตยูย่อมพาเอานรชน ผู้มัวเมาในลูกและสัตว์
เลี้ยง ผู้มีใจข้องอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ ไป เหมือนห้วง
น้ำใหญ่พัดพาเอาชาวบ้านที่หลับไหลอยู่ไปฉะนั้น.
จบพระคาถานางทั้งที่ยืนอยู่นั่นเอง ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ทูลขอ
บรรพชาแล้ว. พระศาสดาทรงอนุญาตการบรรพชาให้. นางทำประทักษิณ
พระศาสดา ๓ ครั้ง ถวายบังคมแล้วไปยังสำนักภิกษุณี ได้บรรพชาและ
อุปสมบทแล้ว ไม่นานนักการทำกรรมในโยนิโสมนสิการ เจริญวิปัสสนา
ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสพระคาถาพร้อมด้วยเปล่งโอภาส [รัศมี] แก่
นางว่า :-
โย จ วสฺสสต ชีเว อปสฺส อมต ปท
เอกาห ชีวิต เสยฺโย ปสฺสโต อมต ปท.
ก็ผู้ใดไม่เห็นอมตบท พึงมีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี
ชีวิตของผู้เห็นอมตบทเพียงวันเดียว ยังประเสริฐกว่า
ดังนี้.
จบพระคาถา นางก็บรรลุอรหัต เป็นผู้เคร่งครัดยิ่งในการใช้สอย
บริขาร ห่มจีวรประกอบด้วยความปอน ๓ อย่างเที่ยวไป. ต่อมาพระศาสดา
ประทับนั่งในพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาเหล่าภิกษุณีไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ
ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาพระเถรีนี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่า
พวกภิกษุณีสาวิกา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 54
อรรถกถาสูตรที่ ๑๓
๑๓. ประวัติพระสิง๑คาลมาตาเถรี
ในสูตรที่ ๑๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า สทฺธาธิมุตฺตาน ท่านแสดงว่า พระสิงคาลมาตาเถรี
เป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา.
ดังได้สดับมา ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ นางบังเกิด
ในเรือนสกุล กรุงหังสวดี เมื่อฟังธรรมของพระศาสดา เห็นพระศาสดา
ทรงสถาปนาภิกษุณีรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณี
สาวิกาผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธา จึงกระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนา
ตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายไปในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป ใน
พุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในสกุลเศรษฐีกรุงราชคฤห์ ได้สามีที่มีสกุลมีชาติ
เสมอกัน คลอดบุตรคนหนึ่ง. ชนทั้งหลายตั้งชื่อให้ลูกของนางว่า สิงคาล-
กุมาร. เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ แม้นางก็มีชื่อว่า สิงคาลมารดา. วันหนึ่ง
นางฟังธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว ได้ศรัทธาไปสำนักของพระศาสดา
บรรพชาแล้ว ตั้งแต่บวชแล้ว กลับได้สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง. นางไป
สู่วิหารเพื่อต้องการฟังธรรม กำลังยืนมองดูพระสิริสมบัติของพระทศพลอยู่
นั่นเอง พระศาสดาทรงทราบว่านางเป็นผู้ดำรงมั่นในลักษณะแห่งศรัทธา
แล้ว ทรงแสดงธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ทรงทำให้เป็นที่สบาย
ทีเดียว พระเถรีแม้นั้นก็กระทำศรัทธาลักษณะนั่นแหละให้เป็นธุระ ได้บรรลุ
พระอรหัตแล้ว. ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในพระเชตวัน เมื่อทรง
๑. บาลีเป็น สิคาลมาตาเถรี.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 55
สถาปนาภิกษุณีทั้งหลายในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนา
พระเถรีนี้ในตำแหน่งเป็นเลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกา ผู้พ้นกิเลสด้วย
ศรัทธา ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาเถริบาลี ประดับด้วยสูตร ๑๓ สูตร
จบอรรถกถาวรรคที่ ๕
จบประวัติพระภิกษุณีสาวิกาเอตทัคคะ ๑๓ ท่าน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต
พระสกุลาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีจักษุทิพย์
พระภัททากุณฑลเกสาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเรา
ผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน.
พระภัททากาปิลานีภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ระลึก
ชาติก่อน ๆ ได้.
พระภัททากัจจานาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ได้
บรรลุอภิญญาใหญ่.
พระกีสาโคตมีภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ทรงจีวร
เศร้าหมอง.
พระสิคาลมาตาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้พ้นจาก
กิเลสได้ด้วยศรัทธา.
จบวรรคที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 56
วรรคที่ ๖
ว่าด้วยอุบาสกผู้มีตำแหน่งเลิศ ๑๐ ท่าน
[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อตปุสสะและภัลลิกะ เลิศ
กว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้ถึงสรณะก่อน.
สุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา
ผู้ถวายทาน.
จิตตคฤหบดีชาวเมืองมัจฉิก๑สัณฑะ เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวก
ของเราผู้เป็นธรรมกถึก.
หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา
ผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔.
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของ
เราผู้ถวายรสอันประณีต.
อุคคคฤหบดีชาวเมื่องเวสาลี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา
ผู้ถวายโภชนะเป็นที่ชอบใจ.
อุคคคฤหบดี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก.
สูรัมพัฏเศรษฐีบุตร เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้เลื่อมใส
อย่างแน่นแฟ้น.
หมอชีวกโกมารภัจ เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้เลื่อมใส
ในบุคคล.
นกุลีปิตาคฤหบดี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้คุ้นเคย.
จบวรรคที่ ๖
๑. บางแห่งเป็นมัจฉิกาสัณฑะ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 57
อุบาสกบาลี
อรรถกถาวรรคที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๑
๑. ประวัติตปุสสะและภัลลิกะอุบาสก
สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ปม สรณ คจฺฉนฺตาน ท่านแสดงว่า พ่อค้าสองคน
คือ ตปุสสะ ๑ ภัลลิกะ ๑ เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถึงสรณะก่อนคน
ทั้งปวง.
ได้ยินว่า พ่อค้าทั้งสองนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
ถือเอาปฏิสนธิในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมา ได้ฟังธรรมเทศนาของ
พระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกสองคนไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถึงสรณะเป็นคนแรก จึงกระทำกุศลให้
ยิ่งยวดในรูป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. เขาทั้งสองเวียนว่ายตายเกิดไปใน
เทวดาและมนุษย์สิ้นแสนกัป มาบังเกิดในเรือนกุฎุมพีในอสิตัญชนนคร
ก่อนพระโพธิสัตว์ของเราทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ พี่ชายใหญ่ได้มี
ชื่อว่าตปุสสะ. น้องชาย ชื่อว่าภัลลิกะ. สมัยต่อมาพวกเขาอยู่ครองเรือน
เทียมเกวียน ๕๐๐ เล่ม เที่ยวทำการค้าขายตลอดมาเป็นเวลานาน.
ในสมัยนั้นพระโพธิสัตว์ของพวกเรา ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
ประทับอยู่ที่โคนต้นโพธิ ๗ สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๘ ประทับนั่งที่
โคนต้นเกด. ในสมัยนั้นพ่อค้าทั้งสองนั้น ได้มาถึงสถานที่นั้นพร้อมกับ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 58
เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม. มารดาของสองพ่อค้านั้นเกิดเป็นเทวดาอยู่ใน
ที่แถวนั้นในอัตภาพติดต่อกัน ๕ อัตภาพ. นางคิดว่า บัดนี้พระพุทธเจ้า
ควรที่จะได้รับพระกระยาหาร เพราะต่อแต่นี้ไปพระองค์ปราศจาก
พระกระยาหารจะไม่สามารถทรงพระชนมชีพอยู่ได้. อนึ่ง บุตรของเรา
ทั้งสองนี้ก็ไปตามสถานที่นี้. วันนี้บุตรทั้งสองนั้นควรได้ถวายบิณฑบาตแด่
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังนี้แล้ว จึงได้ทำให้โคที่เทียมเกวียนทั้ง ๕๐๐ เล่ม
หยุดไม่เดินไป. พวกเขาต่างพูดว่า นี่อะไรกัน อะไรกันนี่ จึงพากันตรวจดู
นิมิตต่าง ๆ. ทีนั้น เทพยดานั้นทราบว่าเขาทั้งสองลำบาก จึงเข้าสิงในร่าง
ของบุรุษคนหนึ่งแล้วกล่าวว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึงต้องลำบาก ไม่มี
ยักษ์อื่นกลั่นแกล้ง ไม่มีภูตผีกลั่นแกล้ง ไม่มีนาคกลั่นแกล้งพวกท่าน
ดอก แต่เราเป็นมารดาของพวกท่านในอัตภาพที่ ๕ บังเกิดเป็นภุมเทวดา
อยู่ในที่นี้ นั่นพระทศพลประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นเกด ขอพวกเจ้าจง
ถวายบิณฑบาตเป็นครั้งแรกแด่พระองค์เถิด ดังนี้ . พวกเขาได้ฟังถ้อยคำ
ของนางแล้วมีใจยินดี เอาข้าวสัตตุผงและข้าวสัตตุก้อนใส่ถาดทองนำไป
ยังสำนักของพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า ขอพระองค์โปรดทรงรับโภชนะ
นี้เถิด พระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงตรวจดูอาจิณปฏิบัติของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายในอดีตแล้ว. ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั่ง ๔ องค์ น้อมถวาย
บาตรทำด้วยหิน ๔ ใบแด่พระองค์. พระศาสดาตรัสว่า ขอผลเป็นอันมาก
จงสำเร็จแก่ท่านทั้งสองเถิด แล้วทรงอธิษฐานบาตรแม้ทั้ง ๔ ใบให้เป็น
บาตรใบเดียวเท่านั้น. ในขณะนั้นพ่อค้าทั้งสองนั้น จึงเอาข้าวสัตตุผงและ
ข้าวสัตตุก้อนใส่ในบาตรของพระตถาคต ในเวลาที่พระองค์เสวยเสร็จแล้ว
ถวายน้ำ ในเวลาเสร็จภัตกิจแล้วถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 59
ที่นั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เขาทั้งสอง. ในเวลาจบเทศนา เขา
ทั้งสองตั้งอยู่ในสรณะ. [ทเววาจิกะ] ที่เปล่งวาจาถึงพระพุทธเจ้าและ
พระธรรมทั้งสองเท่านั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว มีประสงค์จะไปสู่
นครของตนจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทาน
เจดีย์สำหรับบูชาแก่พวกข้าพระองค์เถิด. พระศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ขวา
ลูบพระเศียรแล้วประทานเส้นพระเกศธาตุ ๘ เส้น แก่ชนแม้ทั้งสอง ชน
ทั้งสองนั้นวางพระเกศธาตุไว้ในผอบทองคำนำไปสู่นครของตน ให้บรรจุ
พระเกศธาตุของพระพุทธเจ้าที่ยังมีพระชนม์ไว้ที่ประตูอสิตัญชนนคร ใน
วันอุโบสถก็มีรัศมีสีนิลเปล่งออกมาจากพระเจดีย์ เรื่องนี้เกิดขึ้นโดยทำนอง
นี้ ก็ในกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งในพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนา
อุบาสกทั้งหลายไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาชนทั้งสอง
นี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสกทั้งหลาย ผู้ถึงสรณะก่อน
แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
๒. ประวัติสุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี
ในสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ทายกาน ท่านแสดงว่า อนาถบิณฑิกคฤหบดีชื่อสุทัตตะ
เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ยินดียิ่งในทาน.
ดังได้สดับมา ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ คฤหบดีนั้น
บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี เมื่อฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 60
พระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวก
อุบาสกผู้ถวายทาน จึงกระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น.
เขาเวียนว่ายไปในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้มา
บังเกิดในเรือนของสุมนเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ชนทั้งหลายตั้งชื่อให้แก่เขาว่า
สุทัตตะ ต่อมาเขาดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัย เป็นผู้ให้ทาน เป็นทานบดี
จึงได้มีชื่อว่า อนาถปิณฑิกะ อันเป็นชื่อที่เขาได้ปรารถนาไว้ เพราะ
คุณนั้นนั่นแหละ เขาใช้เวียน ๕๐๐ เล่มบรรทุกสินค้า ไปยังเรือนของ
เศรษฐีผู้เป็นสหายรักของตนในกรุงราชคฤห์ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาค-
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแคว้นในที่นั้น ในเวลาจวนจะใกล้รุ่งเข้าไปเฝ้า
พระศาสดาทางประตูที่เปิดไว้ด้วยอำนาจของเทวดา ฟังธรรมแล้วตั้งอยู่ใน
โสดาปัตติผล ในวันที่ ๒ ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข ถือปฏิญญาของพระศาสดา เพื่อเสด็จมาสู่กรุงสาวัตถุ ในทาง
๕๔ โยชน์ ในระหว่างทางให้ทานทรัพย์นับแสน ๆ ให้สร้างวิหารในระยะ
ทุกโยชน์ ปูลาดพระเชตวันด้วยเครื่องปูลาดราคานับโกฏิ ซื้อที่ดินด้วย
ทรัพย์ ๑๘ โกฏิ สร้างวิหารด้วยทรัพย์ ๑๘ โกฏิ เมื่อวิหารเสร็จแล้ว
ให้ทานตามที่ต้องการแก่บริษัท ในเวลาก่อนอาหารและหลังอาหาร
กระทำการฉลองวิหารด้วยทรัพย์ ๑๘ โกฏิ. การฉลองวิหารเสร็จสิ้นใน
เวลา ๙ เดือน. อาจารย์พวกอื่นอีกกล่าวว่า ในเวลา ๕ เดือน. แต่ข้อ
ทุ่มเถียงกันของอาจารย์ทั้งปวงเหล่านั้นไม่มี. เขาสละทรัพย์ ๕๔ โกฏิ โดย
อาการอย่างนี้ ทำทานเห็นปานนี้ให้เป็นไปในเรือนของตนตลอดกาลเป็น
นิตย์. ทุก ๆ วัน มีสลากภัต ๕๐๐ ที่ มีปักขิกภัต ๕๐๐ ที่ มีสลากยาคู
๕๐๐ ที่ มีปักขิยยาคู ๕๐๐ ที่ มีธุวภัต ๕๐๐ ที่ มีสลากภัตสำหรับ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 61
ภิกษุอาคันตุกะ ๕๐๐ ที่ มีภัตสำหรับภิกษุผู้เตรียมตัวจะเดินทาง ๕๐๐ ที่
มีภัตสำหรับภิกษุไข้ ๕๐๐ ที่ มีภัตสำหรับภิกษุผู้คอยดูแลภิกษุไข้ ๕๐๐ ที่
มีอาสนะ ๕๐๐ ที่ ปูไว้ประจำเป็นนิตย์ในเรือนทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนั้น
ในกาลต่อมาพระศาสดาประทับนั่งในพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาอุบาสก
ทั้งหลายในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสกทั้งหลาย ผู้ถวายทาน แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
๓. ประวัติจิตตคฤหบดี
ในสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ธมฺมกถิกาน ท่านแสดงว่า จิตตคฤหบดีเป็นเลิศกว่าพวก
อุบาสกผู้เป็นธรรมกถึก.
ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เขาบังเกิดใน
เรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมาได้ฟังธรรมกถา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนา
อุบาสกคนหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสกผู้เป็นธรรมกถึก
จึงกระทำกุศลยิ่งยวดขึ้นรูป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. เขาเวียนว่ายไปในเทวดา
และมนุษย์ตลอดแสนกัป ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ บังเกิดใน
เรือนแห่งนายพรานเนื้อ ต่อมา ในเวลาที่เขาสามารถจะทำการงานในป่าได้
แล้ว วันหนึ่ง เมื่อฝนตก ถือเอาหอกไปเพื่อจะฆ่าเนื้อ เข้าไปป่ากำลัง
มองดูตัวเนื้ออยู่ เห็นภิกษุรูปหนึ่งห่มผ้าบังสุกุลคลุมศีรษะนั่งอยู่บนหลัง
แผ่นหินที่เงื้อมเขาเกิดเองแห่งหนึ่ง เกิดความสำคัญขึ้นว่า พระผู้เป็นเจ้า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 62
จักนั่งกระทำสมณธรรมอยู่รูปเดียว ดังนี้ รีบไปเรือน ให้ปิ้งเนื้อที่ได้มา
เมื่อวานไว้ที่เตาหนึ่ง หุงข้าวที่เตาหนึ่ง เห็นภิกษุสองรูปเที่ยวบิณฑบาตจึงรับ
บาตรของท่านนิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะที่จัด ไว้ ให้รับอาหารแล้วสั่งคนอื่น
ว่า พวกท่านจงเลี้ยงดูพระผู้เป็นเจ้า ตัวเองก็ใส่ข้าวลงในหม้อ เอาใบไม้ผูก
ปากหม้อแล้วถือหม้อเดินไป ระหว่างทางก็เลือกเก็บดอกไม้นานาชนิด
ถึงที่ที่พระเถระนั่ง ยกหม้อลงวางไว้ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกล่าวว่า
ท่านเจ้าข้า โปรดสงเคราะห์ข้าพเจ้าด้วยเถิด รับบาตรของพระเถระมาแล้ว
บรรจุข้าวจนเต็ม วางไว้ในมือพระเถระ บูชาพระเถระด้วยดอกไม้ที่คละกัน
เหล่านั้น ยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกล่าวว่า ในสถานที่ข้าพเจ้าเกิด
แล้วเกิดแล้ว ขอบรรณาการ ๑,๐๐๐ จงมาถึงข้าพเจ้า ขอฝนดอกไม้ ๕ สี
จงตกลง เหมือนอย่างการบูชาด้วยดอกไม้พร้อมกับบิณฑบาตมีรสอร่อย
ทำจิตให้แช่มชื่นฉะนั้น. พระเถระเห็นอุปนิสัยของเขาแล้ว บอกให้
กรรมฐานมีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์. เขาทำกุศลจนตลอดชีวิตบังเกิดใน
เทวโลก. ในสถานที่เกิด ฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงตามพื้นที่ประมาณแต่หัวเข่า
ทั้งตนเองก็ประกอบด้วยยศยิ่งกว่าเทวดาองค์อื่น ๆ.
เขาเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ ก็บังเกิดในสกุลเศรษฐี ณ นครมัจฉิกาสัณ๑ฑะ แคว้นมคธ. เวลา
เขาเกิด ฝนดอกไม้ ๕ สี ตกลงตามเขตประมาณแค่หัวเข่าทั่วพระนคร.
ครั้งนั้น บิดามารดาของเขาคิดว่า บุตรของเรานำชื่อของตนมาด้วยตนเอง
แม้ในวันเกิด ทั่วพระนครก็วิจิตรด้วยดอกไม้ ๕ สี จึงขนานนามเขาว่า
จิตตกุมาร. ย่อมาเขาดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัย เมื่อบิดาล่วงลับ ไป ก็ได้
ตำแหน่งเศรษฐีในนครนั้น. สมัยนั้น พระเถระชื่อว่ามหานามะ ใน
๑. บาลีเป็น มัจฉิกสันฑะ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 63
จำนวนพระเถระปัญจวัคคีย์ ไปถึงนครมัจฉิกาสัณฑะ จิตตคฤหบดีเลื่อมใส
ในอิริยาบถของท่าน จึงรับบาตรนำมายังเรือน บูชาด้วยบิณฑบาต
ท่านฉันเสร็จแล้ว ก็นำไปยังสวนชื่ออัมพาตการาม สร้างที่อยู่ถวายพระ-
เถระ ณ ที่นั้น ถือปฏิญญาเพื่อท่านอยู่รับบิณฑบาตในเรือนตนเป็นนิตย์.
แม้พระเถระเห็นอุปนิสัยของจิตตคฤหบดีนั้น เมื่อแสดงธรรมจึงแสดง
เฉพาะสฬายตนวิภังค์เท่านั้น. ไม่ช้านัก จิตตคฤหบดีก็บรรลุพระอนาคามิ-
ผล. เพราะตนมีการพิจารณาเห็นสังขารอันทุกข์บีบคั้นแล้วในภพก่อน.
ต่อมาวันหนึ่ง ท่านพระอิสิทัตตเถระมาอยู่ในที่นั้น เมื่อฉันเสร็จในเรือน
ของเศรษฐีแล้ว ถูกท่านพระเถระ [มหานาม] ผู้ไม่อาจแก้ปัญหา
นิมนต์ไว้จึงวิสัชนาปัญหาแก่อุบาสก เมื่อท่านทราบว่าเป็นสหายคฤหัสถ์
กันมาก่อน คิดว่า บัดนี้ ไม่ควรอยู่ในที่นี้ จึงหลีกไปตามสบาย.
วันรุ่งขึ้น เศรษฐีคฤหบดีจึงอ้อนวอนพระมหา๑กัสสปเถระผู้เฒ่า เพื่อทำ
อิทธิปาฏิหาริย์. แม้พระเถระก็แสดงปาฏิหาริย์ที่สำเร็จด้วยเตโชสมาบัติ
คิดว่า บัดนี้ ไม่สมควรอยู่ในที่นี้ แล้วก็หลีกไปตามสบาย.
ต่อมาวันหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสอง มีภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปเป็น
บริวาร ไปยังอัมพาตการาม. เศรษฐีคฤหบดีก็ตระเตรียมสักการะอย่างใหญ่
สำหรับ พระอัครสาวกทั้งสองนั้น. พระสุธัมมเถระ เมื่อระรานจิตตคฤหบดี
นั้น จึงคำว่าเศรษฐีด้วยวาทะว่านายขนมคลุกงา ถูกเศรษฐีนั้นไล่แล้ว
ไปสำนักพระศาสดา ได้โอวาท ดำรงอยู่ในโอวาทพระทศพล ขอขมา
จิตตคฤหบดีแล้วอยู่ในอัมพาตการามนั้นนั่นแหละ เจริญวิปัสสนาแล้ว
บรรลุพระอรหัต. ครั้งนั้น อุบาสกคิดว่า เราไม่พบพระศพลมาล่วง
๑. ม. พ ระมหานามเถระ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 64
เวลานั้นแล้ว แต่เมื่อเราไปเฝ้าพระศาสดา ไม่ควรไปมือเปล่า จึงให้
ตีกลองป่าวประกาศว่า คนเหล่าใดประสงค์จะเฝ้าพระทศพล คนเหล่านั้น
จงเอาเกวียน ๕๐๐ เล่ม บรรทุกน้ำมัน, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อยมากับเรา มี
บริษัท ๒,๐๐๐ คนแวดล้อมพากันไปเฝ้าพระศาสดา. ในหนทางทุก ๆ
โยชน์ เหล่าเทวดาก็พากันตั้งเครื่องบรรณาการไว้. จิตตคฤหบดีนั้นไป
สำนักพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์. ขณะนั้น
ฝนดอกไม้ ๕ สี ก็ตกลงมาจากอากาศ. พระศาสดาตรัสสฬายตนวิภังค์
โปรดคนเหล่านั้น ตามอัธยาศัยของจิตตคฤหบดี. เมื่อจิตตคฤหบดีนั้น
แม้ถวายทานแด่พระทศพลเพียงครึ่งเดือน ข้าวสารน้ำมันน้ำผึ้งและน้ำ
อ้อย เป็นต้น ที่นำมาจากเรือนของตน ก็มิได้หมดสิ้นไป. เครื่อง
บรรณาการที่ชาวกรุงราชคฤห์ส่งไปก็ยังเพียงพอ. แม้จิตตคฤหบดีนั้น
เฝ้าพระศาสดาแล้ว เมื่อจะกลับไปเมืองของตน ก็ได้ถวายทุกสิ่งทุกอย่าง
ที่นำมาด้วยเกวียนทั้งหลายแก่ภิกษุสงฆ์. เหล่าเทวดาก็ช่วยกันทำรัตนะ
๗ เต็มเกวียนที่ว่างเปล่า. ในระหว่างมหาชนเกิดพูดกันขึ้นว่า จิตตคฤหบดี
ช่างมีการทำสักการะและการนับถือจริงหนอ. พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้น
จึงตรัสพระคาถาในพระธรรมบท ดังนี้ว่า
สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน ยโส โภคสนปฺปิโต
ย ย ปเทส ภชติ ตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต.
คนผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล เพียบพร้อมด้วย
ยศและโภคสมบัติ ไปยังประเทศใด ๆ คนเขาก็
บูชาในประเทศนั้น ๆ.
ตั้งแต่นั้นมา จิตตคฤหบดีนั้น ก็มีอุบาสกที่เป็นอริยสาวก ๕๐๐ คน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 65
ห้อมล้อมเที่ยวไป. ย่อมาภายหลัง พระศาสดา เมื่อทรงสถาปนาเหล่า
อุบาสกไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ทรงทำกถาชื่อจิตตสังยุตให้เป็น
อัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้เป็นธรรมกถึก แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๔
๔. ประวัติหัตถกอาฬวกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
ในสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า จตูหิ สงฺคหวตฺถูหิ ท่านแสดงว่า หัตถกอาฬวก-
อุบาสก เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔
อย่าง.
ได้ยินว่า หัตถกอาฬวกอุบาสกนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุส กรุงหังสวดี ต่อมา ฟังธรรมกถาของ
พระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่ง ผู้ประกอบด้วย
สังคหวัตถุ ๔ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป
ปรารถนาตำแหน่งนั้น. เขาเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป
ในพุทธุปบาทกาลนี้ถือปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าอาฬวกะ
กรุงอาฬวี แคว้นอาฬวี รุ่งขึ้นก็ถูกส่งตัวไปให้อาฬวกยักษ์ พร้อมด้วย
ถาดอาหาร. ในเรื่องนั้น มีเรื่องกล่าวตามลำดับ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 66
เล่ากันว่า วันหนึ่ง พระเจ้าอาฬวกะประพาสป่าล่าเนื้อ เสด็จตาม
เนื้อตัวหนึ่ง ฆ่าได้แล้ว ตัดเป็น ๒ ท่อน ผูกคล้องไว้ที่ปลายธนู เสด็จ
กลับมา มีพระวรกายเหน็ดเหนื่อยเพราะลมและแดด จึงเสด็จเข้าไป
ประทับนั่งโคนต้นไทรที่มีร่มเงาสบาย. ขณะนั้น พระราชาบรรเทาความ
เหน็ดเหนื่อยได้ตระหนึ่งแล้วเสด็จออกมา เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไทรก็จับ
พระหัตถ์พร้อมกับกล่าวว่า หยุด หยุด ท่านต้องเป็นอาหารของเรา.
เพราะถูกจับไว้มั่นคง ท้าวเธอก็ไม่ทรงเห็นอุบายอย่างอื่น จึงตรัสว่า
เราจักส่งถาดอาหารพร้อมกับคนหนึ่ง ๆ ให้แก่ท่านทุกวัน เสด็จกลับพระ-
นครแล้ว ตั้งแต่นั้นมา ก็ทรงส่งถาดอาหารพร้อมด้วยมนุษย์คนหนึ่ง ๆ
จากเรือนจำ. โดยทำนองนี้แล เมื่อมนุษย์ในเรือนจำหมดแล้ว พวก
คนแก่ ๆ ก็ถูกจับส่งไป ความพรั่นกลัวก็เกิดขึ้นในบ้านเมือง. พวก
ราชบุรุษจับผู้คนเหล่านั้นไม่ได้แล้ว ก็เริ่มจับพวกเด็กอ่อน. ตั้งแต่นั้นมา
แม่ของเด็กและหญิงมีครรภ์ในพระนครต่างพากันไปรัฐอื่น.
สมัยนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูโลกในระหว่างใกล้รุ่ง ทรงเห็น
อุปนิสัยแห่งมรรคผล ๓ ของอาฬวกกุมาร ทรงพระดำริว่า กุมารผู้นี้
ตั้งความปรารถนาไว้ถึงแสนกัป จุติจากเทวโลกแล้ว บังเกิดในพระ-
ราชนิเวศน์ของพระเจ้าอาฬวกะ พระราชาเมื่อไม่ได้คนอื่น ก็จักจับพระ-
กุมารไปพร้อมด้วยถาดอาหารในวันพรุ่งนี้ ดังนี้แล้ว ในเวลาเย็นจึงเสด็จ
ปลอมพระองค์ไปยังที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ ขอร้องยักษ์มีชื่อคันธัพพะผู้เฝ้า
ประตู เพื่อเสด็จเข้าไปยังที่อยู่ยักษ์. คันธัพพยักษ์นั้นทูลว่า ข้าแต่พระ -
ผู้มีพระภาคเจ้า โปรดเสด็จเข้าไปเถิด ส่วนที่ข้าพระองค์ไม่บอกอาฬวก-
ยักษ์ ไม่ควรแน่ จึงได้ไปสำนักอาฬวกยักษ์ ผู้ไปสู่สมาคมยักษ์ใน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 67
หิมวันตประเทศ. แม้พระศาสดาเสด็จเข้าไปถึงที่อยู่แล้ว ก็ประทับนั่งบน
บัลลังก์ที่นั่งของอาฬวกยักษ์. สมัยนั้น สาตาคิรยักษ์และเหมวตยักษ์
กำลังไปสู่สมาคมยักษ์ผ่านทางเบื้องบนที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ เมื่อยังไปไม่
ถึงก็นึกว่าเหตุอะไรกันหนอ เห็นพระศาสดาประทับนั่งในภพของอาฬวก-
ยักษ์ เข้าไปเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้วจึงไปสู่สมาคมยักษ์ ประกาศ
ความยินดีแก่อาฬวกยักษ์ว่า ท่านอาฬวกะ ท่านมีลาภใหญ่แล้ว ที่พระผู้
เป็นอัครบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ประทับนั่งในที่อยู่ของท่าน จง
ไปฟังธรรมในสำนักพระศาสดาเสีย. อาฬวกยักษ์ฟังคำของยักษ์ทั้งสอง
นั้นแล้ว ก็คิดว่า ยักษ์ทั้งสองนี้พูดว่า พระสมณะโล้นรูปหนึ่ง บังอาจ
นั่งเหนือบัลลังก์ของเรา ก็ไม่พอใจ โกรธเกรี้ยวพูดว่า วันนี้เรากับ
สมณะรูปนี้ จักต้องทำสงครามกัน พวกท่านจงเป็นสหายเราในสงความ
นั้น แล้วก็ยกเท้าข้างขวาเหยียบยอดเขา ระยะประมาณ ๖๐ โยชน์. ยอด
เขานั้นก็แยกออกเป็นสองส่วน. ตั้งแต่นั้น พึงกล่าวเรื่องการรบของ
อาฬวกยักษ์ให้พิสดาร.
ก็อาฬวกยักษ์ แม้รบกับพระตถาคตด้วยอาการต่าง ๆ ตลอดคืน
ยังรุ่ง ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ จึงเข้าไปหาพระศาสดาถามปัญหา ๘ ข้อ
พระศาสดาก็ทรงวิสัชนา. จบเทศนา อาฬวกยักษ์ดำรงอยู่ในโสดาปัตติ-
ผล. ท่านผู้ประสงค์จะกล่าวโดยพิสดารพึงตรวจดูอรรถกถาอาฬวกสูตร.
วันรุ่งขึ้น เมื่ออรุณขึ้น เวลานำถาดอาหารไป พวกราชบุรุษไม่เห็นเด็ก
ที่ควรจะจับทั่วพระนคร จึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาตรัสว่า
พ่อเอ๋ย เด็กมีอยู่ในที่ไม่ควรจะจับได้มิใช่หรือ. พวกเขากราบทูลว่า
อย่างนั้น พระเจ้าข้า วันนี้มีราชโอรสประสูติในราชสกุล พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 68
จึงตรัสว่า พ่อจงเอาไป เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่จักได้ลูกอีก จงส่งเด็กนั้นไป
พร้อมกับถาดอาหาร. เมื่อพระเทวีกันแสงคร่ำครวญอยู่ ราชบุรุษเหล่านั้น
ก็พาเด็กไปถึงที่อยู่ของอาฬวกยักษ์พร้อมด้วยถาดอาหารกล่าวว่า เชิญเถิด
เจ้าจงรับส่วนของเจ้าไป. อาฬวกยักษ์ฟังคำของบุรุษเหล่านั้นแล้ว ก็
รู้สึกละอาย เพราะตนเป็นพระอริยสาวกแล้ว ได้แต่นั่งก้มหน้า. ลำดับนั้น
พระศาสดาตรัสกะเขาว่า อาฬวกะ บัดนี้ ท่านไม่มีกิจที่จะต้องละอาย
แล้ว จงอุ้มเด็กใส่มือเรา. พวกราชบุรุษก็วางอาฬวกกุมารลงในมืออาฬวก-
ยักษ์ ๆ ก็อุ้มเด็กวางไว้ในพระหัตถ์ของพระทศพล. ส่วนพระศาสดาทรงรับ
แล้ว ก็ทรงวางไว้ในมืออาฬวกยักษ์อีก. อาฬวกยักษ์อุ้มเด็กวางไว้ในมือ
ของเหล่าราชบุรุษ. เพราะพระกุมารนั้นจากมือหนึ่งสู่อีกมือหนึ่งดังกล่าวมา
นี้ จึงพากันขนานพระนามกุมารนั้นว่า หัตถกอาฬวกะ. ครั้งนั้น ราชบุรุษ
เหล่านั้นดีใจ พาพระกุมารนั้นไปยังสำนักพระราชา. พระราชาทอดพระ-
เนตรเห็นพระกุมารนั้น ทรงเข้าพระหฤทัยว่า วันนี้อาพวกยักษ์ไม่รับ
ถาดอาหาร จึงตรัสถามว่า เหตุไรพวกเจ้าจึงพากันมาอย่างนี้เล่า พ่อ.
พวกเขากราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ความยินดีและความจำเริญมีแก่ราชสกุล
แล้ว พระศาสดาประทับนั่งในภพของอาฬวกยักษ์ ทรงทรมานอาฬวก-
ยักษ์ ให้เขาดำรงอยู่ในภาวะเป็นอุบาสก โปรดให้อาพวกยักษ์ให้พระกุมาร
แก่พวกข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. แม้พระศาสดาก็ทรงให้อาฬวกยักษ์ถือ
บาตรจีวร เสด็จบ่ายพระพักตร์สู่นครอาฬวี. อาพวกยักษ์นั้น เมื่อจะเข้าสู่
พระนคร ก็รู้สึกละอาย จะถอยกลับ. พระศาสดาทรงแลดูแล้วตรัส
ถามว่า ละอายหรืออาฬวกะ. เขาทูลว่า พระเจ้าข้า ชาวพระนครอาศัย
ข้าพระองค์ ทั้งแม่ ทั้งลูก ทั้งเมีย จึงพากันตาย พวกเขาเห็นข้าพระองค์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 69
แล้ว จักประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ก้อนดินบ้าง ธนูบ้าง เพราะเหตุนั้น
ข้าพระองค์จึงจะถอยกลับ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสปลอบว่า อาฬวกะ
ไม่มีดอก เมื่อท่านไปกับเราก็สิ้นภัย ไปกันเถิด ประทับหยุดยืนอยู่แนว
ป่าไม่ไกลพระนคร. แม้พระเจ้าอาฬวกะก็ทรงพาชาวพระนครออกไป
ต้อนรับเสด็จพระศาสดา. พระศาสดาก็ทรงแสดงธรรมโปรดบริษัทที่มา
ถึง. จบเทศนา เหล่าสัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็พากันดื่มน้ำอมฤต. ชาวเมือง
อาฬวีเหล่านั้น พากันไปที่อยู่ของอาฬวกยักษ ์ ณ แนวป่านั้นนั่นเอง จัด
พลีกรรมกันทุกปี. แม้อาฬวกยักษ์ก็สงเคราะห์ชาวเมืองด้วยการจัดรักษา
อย่างเป็นธรรม.
อาฬวกกุมารแม้นั้น เจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระ-
ศาสดาแล้วก็แทงตลอดมรรคและผล ๓ มีอุบาสกผู้เป็นอริยสาวก ๕๐๐ คน
ห้อมล้อมเที่ยวไปทุกเวลา. ต่อมาวันหนึ่ง เขาเข้าไปเฝ้าพระศาสดา
พร้อมด้วยอุบาสก ๕๐๐ คน ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเขามีวินัยอันดี จึงตรัสถามว่า อาฬวกะ
เธอมีบริษัทมากสงเคราะห์กันอย่างไร. เขากราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เมื่อเขายินดีด้วยการให้ ข้าพระองค์ก็เคราะห์ด้วยการให้ เมื่อ
เขายินดีด้วยการพูดจาน่ารัก ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยการพูดจาน่ารัก
เมื่อเขายินดีให้ช่วยทำกิจที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้น ข้าพระองค์ก็จะสงเคราะห์
ด้วยการช่วยทำกิจทีเกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไป เมื่อเขายินดีด้วยการให้วางตน
เสมอกัน ข้าพระองค์ก็สงเคราะห์ด้วยการวางตนเสมอกัน พระเจ้าข้า.
เรื่องที่เกิดขึ้นอย่างนี้. ต่อมาภายหลังพระศาสดาประทับ ณ พระเชตวัน-
วิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวกอุบาสกไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ จึงทรงสถาปนา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 70
หัตถกอาฬวกอุบาสกไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก
ผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔ แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
๕. ประวัติพระเจ้ามหานามศากยะ
ในสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ปณีตทายกาน ท่านแสดงว่า พระเจ้ามหานามศากยะ
เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถวายท่านอันมีรสประณีต.
ดังได้สดับมา พระเจ้ามหานามศากยะนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระ
นามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี กำลังฟังธรรมกถา
ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถวายทานอันมีรสประณีต. จึงทำกุศล
ให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านเวียนว่ายอยู่ในเทวดา
และมนุษย์ตลอดแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในราชสกุลเจ้าศากยะ
กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงเจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล ด้วยการ
เฝ้าพระทศพลครั้งแรกเท่านั้น. ต่อมาสมัยหนึ่ง พระศาสดาเสด็จจำพรรษา
ณ เมืองเวรัญชาแล้วเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ โดยลำดับ ประทับ ณ นิโครธา-
ราม พระเจ้ามหานามทรงทราบว่า พระศาสดาเสด็จมา จึงเข้าไปเฝ้า
ถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลพระศาสดา
อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า เขาว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 71
ภิกษุสงฆ์ลำบากด้วยการเที่ยวขออาหารในเมืองเวรัญชา ขอพระองค์โปรด
ประทานปฏิญญาทรงรับให้ข้าพระองค์ทะนุบำรุงภิกษุสงฆ์ตลอด ๔ เดือน
เถิด ข้าพระองค์จะประจุโอชะเข้าไปในสรีระของภิกษุสงฆ์นะพระเจ้าข้า.
พระศาสดาทรงรับโดยดุษณีภาพ พระเจ้ามหานามะทรงทราบว่า ทรงรับ
แล้ว ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น ก็บำรุงภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วย
โภชนะอันประณีตและของมีรสอร่อย ๔ ชนิด เป็นต้น รับปฏิญญาบำรุง
อีก ๔ เดือน เป็น ๘ เดือนเต็ม แล้วรับปฏิญญาบำรุงอีก ๔ เดือน ชื่อ
ว่า ทรงบำรุงตลอดทั้งปี. พระศาสดามิได้ประทานปฏิญญารับอาราธนา
เกินไปกว่านั้น. ส่วนพระเจ้ามหานามะทรงทำสักการะแก่ภิกษุสงฆ์ที่มา
ถึงต่อ ๆ มาโดยทำนองนี้นี่แล. พระคุณนั้นของเจ้ามหานามะ ก็ขจรไปทั่ว
ชมพูทวีป. เรื่องเกิดขึ้นอย่างนี้นี่แล. ต่อมา พระศาสดาประทับนั่ง ณ
พระเชตวันวิหาร จึงทรงสถาปนาพระเจ้ามหานามศากยะไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้ถวายทานอันมีรสประณีต แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖
๖. ประวัติอุคคคฤบดีชาวเมืองเวสาลี
ในสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า มนาปทายกาน ท่านแสดงว่า อุคคคฤหบดี ชาว
กรุงเวสาลี เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถวายโภชนะที่ชื่นชอบใจ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 72
ดังได้สดับมา อุคคคฤหบดีนั้น ครั้นพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี กำลังฟังธรรมกถาของ
พระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ถวายโภชนะที่ชื่นชอบใจ ทำกุศลให้
ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์
ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในสกุลเศรษฐี เมืองเวสาลี.
เวลาท่านเกิดมีซึ่งไม่แน่นอน. แต่ต่อมา ร่างกายของท่านสูงขึ้น. สง่างาม
เหมือนเสาระเนียดที่ตกแต่งแล้ว เหมือนแผ่นผ้าที่วิจิตรด้วยลวดลายที่เขา
ยกขึ้น ทั้งคุณทั้งหลายของท่านก็ฟุ้งขจรไป. ท่านจึงชื่อว่า อุคคเศรษฐี
เพราะเรือนร่างและคุณทั้งสองนี้ฟุ้งขจรไป. ก็ท่านอุคคคฤหบดีนี้นั้น
ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยการเฝ้าพระทศพลครั้งแรกเท่านั้น ต่อมา
ก็กระทำให้แจ้งมรรคและผล ๓ เวลาที่ตัวแก่เฒ่า ท่านไปในที่ลับนั่งคิดว่า
สิ่งใด ๆ เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเรา เราจักถวายสิ่งนั้น ๆ นั่นแหละ
แด่พระทศพล เราได้ฟังคำนี้ในที่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดาว่า บุคคล
ผู้ถวายของที่ชอบใจ ย่อมได้ของที่ชอบใจ ดังนี้ . ครั้งนั้น ท่านดำริ
อย่างนี้ว่า พระศาสดาทรงทราบจิตใจของเราบ้างหรือหนอ พึงเสด็จมายัง
ประตูนิเวศน์. แม้พระศาสดาก็ทรงทราบจิตใจของท่าน มีภิกษุสงฆ์
แวดล้อมเสด็จมาปรากฏ ณ ประตูนิเวศน์ทันที. ท่านทราบว่าพระศาสดา
เสด็จมาแล้ว ก็ขะมักเขม้นอย่างเหลือเกิน เดินไปสู่สำนักพระทศพล
กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วรับบาตรของพระศาสดา อาราธนาให้
เสด็จเข้าไปยังเรือนแล้ว ให้พระศาสดาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันดี
ที่จัดไว้แล้ว ให้ภิกษุสงฆ์นั่งเหนืออาสนะที่เหลือ แล้วเลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มี
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 73
พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารรสเลิศต่างๆ ครั้นเสร็จภัตกิจ นั่ง ณ
ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ-
องค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ ชื่อว่ารับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่า บุคคลผู้ถวายของที่ชอบใจ ย่อมได้ของที่ชอบใจ ดังนี้ ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใด ๆ ที่ชอบใจของข้าพระองค์ สิ่งนั้น ๆ ข้าพระ-
องค์ถวายแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. ทำพระศาสดาให้ทรง
ทราบแล้ว นับตั้งแต่นั้นไป ก็ถวายสิ่งที่ชอบใจเขา แก่ภิกษุสงฆ์มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประมุข. ก็เรื่องนั้นทั้งหมดจักมาในอุคคสูตร ปัญจกนิบาตแล.
เรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างนี้. ต่อมาภายหลังพระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวัน-
วิหาร จึงทรงสถาปนาอุบาสกผู้นั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศ
กว่าพวกอุบาสก ผู้ถวายโภชนะที่ชื่นชอบใจ แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๗
๗. ประวัติอุคคตคฤหบดีชาวบ้านหัตถิคาม
ในสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า สงฺฆุปฏฺากาน ท่านแสดงว่า อุคคตคฤหบดีชาวบ้าน
หัตถิคาม เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากภิกษุสงฆ์.
ดังได้สดับมา อุคคตคฤหบดีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมา ฟังพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่ง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 74
เอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก ทำกุศลให้ยิ่งยวด
ขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึง
แสนกัป. ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในสกุลเศรษฐี บ้านหัตถิคาม. พวก
ญาติได้ขนานนามว่า อุคคตกุมาร. ต่อมา ท่านดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัย
บิดาล่วงลับไป ก็ได้ตำแหน่งเศรษฐี. สมัยนั้น พระศาสดาทรงมีภิกษุ
สงฆ์แวดล้อม เสด็จจาริกไปถึงบ้านหัตถิคาม ประทับอยู่ ณ อุทยาน-
นาคภวนะ ครั้งนั้น อุคคตเศรษฐีนี้ เมาน้ำเมาอยู่ถึง ๗ วัน ถูกเหล่า
นักฟ้อนรำห้อมล้อมไปยังอุทยานนาคภวนะบำเรออยู่ ครั้นเห็นพระทศพล
ก็เกิดหิริโอตตัปปะ มีกำลัง. เมื่อเขาเข้าเฝ้าพระศาสดา ความเมาสุรา
ก็เหือดหายไปหมด. เขาถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วน
ข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เขา. จบเทศนา เขา
ก็แทงตลอดมรรคและผล ๓. ตั้งแต่นั้นมา เขาก็สละเหล่านักฟ้อนรำ
ด้วยกล่าวว่า พวกท่านจงไปตามความพอใจเถิด. เป็นผู้ยินดียิ่งนักในทาน
ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์เท่านั้น. เทวดามาหาในระหว่างราตรีแล้วบอกแก่
เศรษฐีว่า ท่านคฤหบดี ภิกษุรูปโน้นมีวิชชา ๓ ภิกษุรูปโน้นมีอภิญญา ๖
รูปโน้นมีศีล รูปโน้นทุศีล. เขาสดับคำของเทวดานั้นแล้ว ก็รู้คุณตาม
เป็นจริงก่อนแล. แต่เขาก็ยังถวายไทยธรรมด้วยจิตสม่ำเสมอทีเดียว แม้
นั่งอยู่ในสำนักพระศาสดา ก็กล่าวแต่คุณนั้นนั่นแหละ. ต่อมา พระศาสดา
ประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร ทรงสถาปนาคฤหบดีผู้นั้นไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้เป็นอุปัฏฐากภิกษุสงฆ์ แล
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 75
อรรถกถาสูตรที่ ๘
๘. ประวัติสูรอัมพัฏฐอุบาสก
ในสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า อเวจฺจปฺสนฺนาน ท่านแสดงว่า ปุรพันธเศรษฐี
อุบาสก [ บาลีว่า สูรอัมพัฏฐะ] เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกอริยสาวกผู้
เลื่อมใสไม่หวั่นไหว.
ดังได้สดับมา อุบาสกผู้นี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็น
พระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่า
พวกอุบาสกผู้เลื่อมใสไม่หวั่นไหว ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนา
ตำแหน่งนั้น. เขาเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุป-
บาทกาลนี้บังเกิดในสกุลเศรษฐี. พวกญาติได้ขนานนามว่า ปุรพันธะ. ต่อ
มาเขาเจริญวัย ดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัย เป็นอุปัฏฐากของเหล่าอัญญเดียรถีย์.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูโลกเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นเหตุแห่ง
โสดาปัตติมรรคของเขา จึงเสด็จไปถึงประตูนิเวศน์ในเวลาเที่ยวแสวงหา
อาหาร. เขาเห็นพระทศพล จึงคิดว่า พระสมณโคดมทรงอุบัติในสกุล
ใหญ่และเป็นผู้อันมหาชนรู้จักกันอย่างดีในโลก ด้วยเหตุนั้น การไม่ไป
สำนักของพระสมณโคดมนั้น ไม่สมควร. เขาจึงไปสู่สำนักพระศาสดา
กราบที่พระยุคลบาท รับบาตรแล้วอาราธนาให้เสด็จเข้าไปเรือน ให้
ประทับนั่งบนบัลลังก์มีค่ามากถวายภิกษา เมื่อเสร็จภัตกิจ จึงนั่ง ณ ที่
สมควรส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาทรงแสดงธรรมตามอำนาจจริยาของเขา.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 76
จบเทศนาเขาก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. แม้พระศาสดาทรงฝึกเขาแล้ว
ก็เสด็จไปพระเชตวันวิหาร. ลำดับนั้น มารคิดว่า ชื่อว่าปุรพันธะนี้เป็น
สมบัติของเรา แต่พระศาสดาเสด็จไปเรือนเขาวันนี้ ได้ทรงทำให้มรรค
ปรากฏ เพราะฟังธรรมของพระศาสดาหรือหนอ เพียงที่เราจะรู้ว่า เขา
พ้นจากวิสัยของเราหรือยังไม่พ้น จึงเนรมิตรูปละม้ายพระทศพล ทั้งทรง
จีวร ทั้งทรงบาตร เสด็จดำเนินโดยอากัปกิริยาของพระพุทธเจ้าทีเดียว
ทรงพระลักษณะ ๓๒ ประการ ได้ประทับยืนใกล้ประตูเรือนของปุรพันธ-
อุบาสก. แม้ปุรพันธอุบาสก ฟังว่า พระทศพลเสด็จมาอีกแล้ว ก็คิด
ว่า ธรรมดาการเสด็จไปชนิดไม่แน่นอนของพระพุทธะทั้งหลายไม่มีเลย
เหตุไรหนอจึงเสด็จมา ดังนี้ แล้วจึงรีบเข้าไปสู่สำนักพระพุทธองค์ด้วย
สำคัญว่าพระทศพล กราบแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้วในเรือนของข้า-
พระองค์ ทรงอาศัยเหตุอะไรจึงเสด็จมาอีก. มารกล่าวว่า ดูก่อนปุรพันธะ
เราเมื่อกล่าวธรรมไม่ทันพิจารณาแล้วกล่าวคำไปข้อหนึ่ง มีอยู่ แท้จริง
เรากล่าวไปว่า ปัญจขันธ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา หมดทุกอย่าง
แต่ความจริงไม่ใช่ทั้งหมดเห็นปานนั้น ด้วยว่า ขันธ์ บางจำพวก ที่เทียง
มั่นคง ยั่งยืน มีอยู่. ทีนั้น ปุรพันธอุบาสกคิดว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องหนัก
อย่างยิ่ง ด้วยธรรมดาว่า พระพุทธะทั้งหลาย ตรัสเป็นคำสองไม่มี. จึง
คิดใคร่ครวญว่า ขึ้นชื่อว่ามารเป็นข้าศึกของพระทศพล ผู้นี้ต้องเป็นมาร
แน่ จึงกล่าวว่า ท่านเป็นมารหรือ. ถ้อยคำที่พระอริยสาวกกล่าวได้เป็น
หนึ่งเอาขวานฟันมารนั้น. เพราะเหตุนั้น มารจะดำรงอยู่โดยภาวะของตน
ไม่ได้ จึงกล่าวว่า ใช่ละ ปุรพันธะ เราเป็นมาร. ปุรพันธอุบาสกจึง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 77
ชี้นิ้วกล่าวว่า มารตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑,๐๐๐ ก็มาทำศรัทธาของเราให้หวั่นไหว
ไม่ได้ดอก. พระทศพลมหาโคดม เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เรา ก็ทรง
แสดงธรรมปลุกให้ตื่นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง. ท่านอย่ายืนใกล้ประตู
เรือนของเรานะ. มารฟังคำของปุรพันธอุบาสกนั้นแล้ว ก็ถอยกรูดไม่อาจ
พูดจา อันตรธานไปในที่นั้นนั่งเอง. แม้ปุรพันธอุบาสก เวลาเย็นก็เข้า
ไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลกิริยาที่มารทำแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
มารพยายามทำศรัทธาของข้าพระองค์ให้หวั่นไหว. พระศาสดาทรงทำ
เหตุนั้นนั่นแลให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาปุรพันธ-
อุบาสกไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้เลื่อมใส ไม่
หวั่นไหว แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
๙. ประวัติหมอชีวกโกมารภัจ
ในสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ปุคฺคลปฺปสนฺนาน ท่านแสดงว่า หมอชีวกโกมารภัจ
เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสในบุคคล.
ดังได้สดับมา หมอชีวกนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี กำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็น
พระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่า
พวกอุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่ง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 78
นั้น. ท่านเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้
บังเกิดในครรภ์ของสตรี ชื่อสาสวดี๑ อาศัยรูปเลี้ยงชีพ อาศัยอภัยราช-
กุมารอยู่ ณ กรุงราชคฤห์. ก็ขึ้นชื่อว่าสตรีผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีพ เวลาตลอด
ถ้าเป็นบุตรชาย ก็ทิ้งเสีย ถ้าเป็นบุตรหญิง ก็เลี้ยงไว้. ดังนั้น นางจึง
เอากระด้งใส่เด็กชายทิ้งเสียที่กองขยะ. ครั้งนั้น อภัยราชกุมารเสด็จไปที่
เข้าเฝ้า ทอดพระเนตรเห็นเด็กชายนั้น จึงตรัสถามว่า พนาย อะไรนั่น
ฝูงกาจึงรุมล้อมเต็มไป ทรงส่งพวกราชบุรุษไป เมื่อเขากราบทูลว่า ทารก
พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า ยังเป็นอยู่หรือ พนาย. ทรงฟังว่า ยังเป็นอยู่
พระเจ้าข้า. จึงโปรดให้นำไปเลี้ยงไว้ภายในบุรีของพระองค์. เขาพากัน
ขนานนามท่านว่า ชีวก. พออายุได้ ๑๖ ปี ก็ไปกรุงตักกศิลา เรียน
แพทย์ศิลปะ ได้ลาภสักการะจากราชสำนักของพระเจ้าพิมพิสาร ได้
กระทำพระโรคของพระเจ้าจัณฑปัชโชตให้หายจนทรงพระสำราญ ท้าวเธอ
ก็ส่งข้าวสาร ๕๐๐ เล่มเกวียน กหาปณะ ๑๖,๐๐๐ และคู่ผ้าแคว้นสีพี
ที่ประมาณค่ามิได้ ทั้งผ้าบริวารนับจำนวน ๑,๐๐๐ พระราชทานแก่หมอ
ชีวกนั้น. สมัยนั้น พระศาสดาทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ที่เขา
คิชฌกูฏ. หมอชีวกประกอบเภสัชทูลถวายการขับถ่ายในพระวรกายที่มีธาตุ
สะสมแล้วแด่พระศาสดา คิดว่า ปัจจัย ๔ เฉพาะเป็นของ ๆ เรามีอยู่
ดังนี้ จึงอาราธนาให้พระศาสดาประทับอยู่ในวิหารของตน ปรุงยาถวาย
น้อมคู่ผ้านั้นถวาย กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรด
ทรงใช้สอยคู้ผ้านี้ แล้วได้ถวายผ้า ๑,๐๐๐ ผืนที่ได้มาพร้อมกับคู่ผ้านั้น
แก่พระภิกษุสงฆ์. นี้เป็นความย่อในเรื่องหมอชีวกโกมารภัจนั้น. ส่วน
๑. ม. สาลวดี.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 79
โดยพิสดาร เรื่องหมอชีวกมาแล้วในขันธกวินัย ต่อมา พระศาสดา
ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร จึงทรงสถาปนาหมอชีวกโกมารภัจไว้ใน
ตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
๑๐. ประวัตินกุลบิดาคฤหบดี
ในสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า วิสฺสาสิกาน ท่านแสดงว่า นกุลบิดาคฤหบดีเป็น
เลิศกว่าพวกอุบาสกผู้กล่าวถ้อยคำแสดงความคุ้นเคย.
ดังได้สดับมา ท่านคฤหบดีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปุทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี กำลังฟังพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้คุ้นเคย ก็ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป
ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป
ในพุทธุปบาทกาลนี้ก็บังเกิดในสกุลเศรษฐี นครสุงสุมารคิรี แคว้น
ภัคคะ. แม้พระศาสดา อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้วเสด็จจาริกไปถึงนครนั้น
ประทับอยู่ที่เภสกลาวัน . ครั้งนั้น นกุลบิดาคฤหบดีนี้ ก็ไปเฝ้าพระศาสดา
พร้อมด้วยเหล่าชาวสุงสุมารคิรีนคร โดยการเฝ้าครั้งแรกเท่านั้น เขาและ
ภริยาก็ตั้งความสำคัญว่า พระทศพลเป็นบุตรของตน จึงหมอบลงที่พระ-
ยุคลบาทของพระศาสดากราบทูลว่า ลูกเอ๋ย เจ้าทิ้งพ่อแม่ไปเสียตลอด
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 80
เวลาเท่านี้ เที่ยวไปอยู่เสียทีไหน. นัยว่า นกุลบิดาคฤหบดีนี้ แม้ใน
ชาติก่อน ๆ ก็ได้เป็นบิดาพระทศพล ๕๐๐ ชาติ เป็นอา ๕๐๐ ชาติ
เป็นปู่ ๕๐๐ ชาติ เป็นลุง ๕๐๐ ชาติ. นกุลมารดาก็ได้เป็นมารดา
๕๐๐ ชาติ เป็นน้า ๕๐๐ ชาติ เป็นย่า ๕๐๐ ชาติ เป็นป้า ๕๐๐ ชาติ.
ดังนั้น เพราะมีความรักที่ติดตามมาตลอดกาลยาวนาน พอเห็นพระทศพล
ก็สำคัญว่าบุตรจึงทนอยู่ไม่ได้. พระศาสดามิได้ตรัสว่า จงหลีกไป
ตราบเท่าที่จิตใจของคนทั้งสองนั้นยังไม่รู้สึกตัว. ครั้งนั้น พอคนทั้งสอง
นั้นกลับได้สติตามเดิมแล้ว พระศาสดาทรงทราบอาสยะ คืออัธยาศัยของ
เหล่าสัตว์ผู้วางใจเป็นกลางแล้ว ทรงแสดงธรรม. เมื่อจบเทศนา แม้
ทั้งสองคนก็ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล.
ต่อมา เวลาทรงพระชรา พระศาสดาได้เสด็จไปยังนครแคว้น
ภัคคะอีก. คนทั้งสองนั้นทราบว่าพระศาสดาเสด็จมา ก็เข้าไปเฝ้าถวาย
บังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ อาราธนาเพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ ในวันรุ่งขึ้น
ก็เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ใน
นิเวศน์ของตน พระศาสดาเสวยเสร็จก็เข้าไปใกล้ ๆ นั่ง ที่สมควรส่วน
ข้างหนึ่ง. ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว นกุลบิดาคฤหบดีจึงได้กราบทูบพระผู้-
มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กับนกุลมารดาคฤห-
ปตานีแต่งงานกันครั้งเป็นหนุ่มเป็นสาว ข้าพระองค์มิได้ล่วงรู้ว่า นกุล-
มารดาคฤหปตานีจะนอกใจแม้ทางใจเลย ดังนั้น นางจะนอกใจทางกาย
ได้แต่ที่ไหน ข้าพระองค์ปรารถนาจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งใน
ภายภาคหน้า พระเจ้าข้า. นกุลมารดาคฤหปตานีก็กราบทูลพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าบ้างว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กับนกุลบิดาคฤหบดี
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 81
แต่งงานกันครั้งยังเป็นหนุ่มเป็นสาว ข้าพระองค์มิได้ล่วงรู้ว่า นกุลบิดา
คฤหบดีจะนอกใจแม้ทางใจ ดังนั้น เขาจะนอกใจทางกายได้แต่ที่ไหน.
ข้าพระองคปรารถนาจะพบกันและกัน ทั้งในปัจจุบัน ทั้งในภายภาคหน้า
พระเจ้าข้า. ต่อมา ภายหลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร
เมื่อทรงสถาปนาเหล่าอุบาสกไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ทรงนำ
เรื่องของคนทั้งสองให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องแล้ว ทรงสถาปนา
นกุลบิดาคฤหบดีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้
คุ้นเคย แล.
จบอรรถกถาอุบาสกบาลีประดับด้วยสูตร ๑๐ สูตร
จบประวัติอุบาสกสาวกเอตทัคคะ ๑๐ ท่าน
จบอรรถกถาวรรคที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 82
วรรคที่ ๗
ว่าด้วยอุบาสิกาผู้มีตำแหน่งเลิศ ๑๐ ท่าน
[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางสุชาดาธิดาของเสนานีกุฎุมพี
เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้ถึงสรณะก่อน.
นางวิสาขามิคารมารดา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้ถวาย
ทาน.
นางขุชชุตตรา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้เป็นพหูสูต.
นางสามาวดี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้มีปรกติอยู่ด้วย
เมตตา.
นางอุตตรานันทมารดา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้ยินดี
ในฌาน.
นางสุปปวาสาโกลิยธิดา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้
ถวายรสอันประณีต.
นางสุปปิยาอุบาสิกา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้เป็น
คิลานุปัฏฐาก.
นางกาติยานี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้เลื่อมใสอย่าง
แน่นแฟ้น.
นางนกุลมารดาคหปตานี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้คุ้น
เคย.
นางกาฬีอุบาสิกาชาวกุรรฆริกา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของ
เราผู้เลื่อมใสโดยได้ยินได้ฟังตาม.
จบวรรคที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 83
อุบาสิกาบาลี
อรรถกถาวรรคที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๑
๑. ประวัตินางสุชาดา เสนียธิดา๑
อุบาสิกาบาลี สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ปม สรณ คจฺฉนฺตีน ท่านแสดงว่า ธิดาของเสนียะ
ชื่อสุชาดา เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ดำรงอยู่ในสรณะก่อนคนอื่นทั้งหมด.
แม้นาง ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดใน
เรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมา นางฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็น
พระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่า
พวกอุบาสิกาผู้ถึงสรณะก่อนอุบาสิกาทั้งปวง จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป
ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป
บังเกิดในครอบครัวของกุฎุมพีชื่อเสนียะ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ก่อน
พระศาสดาของเราบังเกิด เจริญวัยแล้วได้ทำความปรารถนาไว้ ณ ต้นไทร
ต้นหนึ่งว่า ถ้านางไปมีเหย้าเรือนกะคนที่เสมอ ๆ กัน ได้บุตรชายใน
ท้องแรกจักทำพลีกรรมประจำปี. ความปรารถนาของนางก็สำเร็จ.
เมื่อพระมหาสัตว์ทรงทำทุกรกิริยาครบปีที่ ๖ ในวันวิสาขปุณณมี
นางคิดว่า จักทำพลีกรรมแต่เช้าตรู่ จึงตื่นขึ้นเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี
แล้วใช้ให้เขารีดนมโค. เหล่าลูกโคก็ไม่ไป ถือเอาเต้านมของเหล่า
๑. บาลีข้อ ๑๕๒ เป็นเสนานีกุฏุมพี.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 84
แม่โคนม. พอเอาภาชนะใหม่ ๆ เข้าไปรองใกล้นม หยาดน้ำมันก็ไหล
โดยธรรมดาของคน นางสุชาดาเห็นความอัศจรรย์นั้น ก็ถือเอาน้ำนม
ด้วยมือของตนเองใส่ภาชนะใหม่ เริ่มเคี่ยว. เมื่อข้าวมธุปายาสกำลังเคี่ยวอยู่
ฟองใหญ่ ๆ ก็ผุดขึ้นเวียนขวาไปรอบ ๆ. หยาดมธุปายาสสักหยดหนึ่งก็ไม่
กระเด็นออกข้างนอก. ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร. ท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ถือ
พระขรรค์ตั้งการรักษา. ท้าวสักกะรวบรวมฟืนติดไฟ. เหล่าเทวดานำโอชะ
ใน ๔ ทวีปมาใส่ในข้าวมธุปายาสนั้น. ในวันนั้นนั่นเอง นางสุชาดา
เห็นข้ออัศจรรย์เหล่านี้ จึงเรียกนางปุณณทาสีมาสั่งว่า แม่ปุณณะ วันนี้
เทวดาของเราน่าเลื่อมใสเหลือเกิน ตลอดเวลาเท่านี้. ข้าไม่เคยเห็นความ
อัศจรรย์เห็นปานนี้เลย เจ้าจงรีบไปปฏิบัติเทวสถาน. นางปุณณทาสี
รับคำนางว่า ดีละแม่เจ้า ขมีขมันรีบไปยังโคนต้นไม้. ฝ่ายพระโพธิสัตว์
รอเวลาแสวงหาอาหาร ก็เสด็จไปประทับนั่ง ณ โคนต้นไม้แต่เช้าตรู่.
นางปุณณะเดินไปเพื่อจะปัดกวาดโคนต้นไม้ ก็มาบอกนางสุชาดาว่า
เทวดาประทับนั่งอยู่โคนต้นไม้แล้ว. นางสุชาดากล่าวว่า แม่มหาจำเริญ
ถ้าเจ้าพูดจริง เจ้าก็ไม่ต้องเป็นทาสีละ แล้วประดับเครื่องประดับทุกอย่าง
จัดข้าวมธุปายาสอย่างดีลงในถาดทองมีค่าแสนหนึ่ง เอาถาดทองอีกถาด
หนึ่งปิดแล้วหุ้มห่อด้วยผ้าขาว ห้อยพวงของหอมพวงมาลัยไว้รอบ ๆ ยก
ขึ้นเดินไป พบพระมหาบุรุษ ก็เกิดปีติอย่างแรง ก้มตัวลงตั้งแต่สถานที่ ๆ
พบ ปลงถาดลงจากศีรษะ เปิดออกแล้ววางข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดไว้
ในพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษ ไหว้แล้วกล่าวว่า ขอมโนรถของท่านจง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 85
สำเร็จเหมือนมโนรถของดิฉันที่สำเร็จแล้วเถิด แล้วก็หลีกไป.
พระโพธิสัตว์เสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงวางถาดทองไว้
ริมฝั่ง ลงสรงสนานแล้วเสด็จขึ้น ทรงปั้นเป็นก้อนได้ ๔๙ ก้อน เสวยข้าว
มธุปายาสแล้ว ทรงลอยถาดทองลงในแม่น้ำ เสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑสถาน
ตามลำดับ ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ประทับ ณ โพธิมัณฑสถาน
ล่วงไป ๗ สัปดาห์ ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ ณ ป่าอิสิ-
ปตนมิคทายวัน ทรงเห็นอุปนิสัยของเด็กชื่อยสะ บุตรของนางสุชาดา
จึงเสด็จไปประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง. แม้ยสกุลบุตรเห็นนางบำเรอ
นอนเปิดร่างในลำดับต่อจากครึ่งราตรี เกิดความสลดใจพูดว่า วุ่นวาย
หนอ ขัดข้องหนอ แล้วออกจากนิเวศน์เดินไปยังสำนักพระศาสดานอก
พระนคร ฟังธรรมเทศนาแล้วแทงตลอดมรรคผล ๓. ขณะนั้น บิดา
ของเขาเดินตามรอยเขาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามเรื่องของยสกุล-
บุตร. พระศาสดาทรงปกปิดยสกุลบุตรไว้ทรงแสดงธรรม จบเทศนา
เศรษฐีคฤหบดีก็ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ส่วนยสะบรรลุพระอรหัต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเขาว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด. ทันใดนั้นนั่นเอง
เพศคฤหัสถ์ของเขาก็หายไป เขาได้เป็นผู้ทรงบาตรและจีวรสำเร็จด้วย
ฤทธิ์. แม้บิดาของท่านก็นิมนต์พระศาสดา. พระศาสดาทรงมีพระยสกุล-
บุตรเป็นปัจฉาสมณะ ติดตามไปข้างหลัง เสด็จไปเรือนของเศรษฐีนั้น
เสวยภัตตาหารเสร็จแล้ว ก็ทรงแสดงธรรมโปรด. จบเทศนา นางสุชาดา
มารดาและภริยาเก่าของพระยสะ ก็ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. ใน
วันนั้น นางสุชาดากันหญิงสะใภ้ ก็ดำรงอยู่ในเตวาจิกสรณะ คือถึงพระ-
พุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ครบ ๓ เป็นสรณะ. นี้เป็นความย่อใน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 86
เรื่องนั้น. ส่วนโดยพิสดาร เรื่องนี้มาแล้วในคัมภีร์ขันธกะ. ภายหลัง
ต่อมา พระศาสดาเมื่อทรงสถาปนาเหล่าอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ
ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้นี้ไว้ในตำแหน่งเลตทัคคะเป็นเลิศกว่า
พวกอุบาสิกา ผู้ถึงสรณะ แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
๒. ประวัตินางวิสาขามิคารมารดา
ในสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ทายิกาน ท่านแสดงว่า นางวิสาขามิคารมารดา
เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ยินดียิ่งในการถวายทาน.
ดังได้สดับมานางวิสาขานั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปุทุมุตตระ
บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมา กำลังฟังพระธรรมเทศนาของ
พระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ยินดีในการถวายทาน จึงทำกุศลให้ยิ่ง
ยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์
ถึงแสนกัป ครั้งพระพุทธเจ้าพระนานร่า กัสสปะ บังเกิดเป็นราชธิดาองค์
น้องน้อยกว่าเขาทั้งหมด แห่งพระราชธิดาพี่น้อง ๗ พระองค์ ในพระ-
ราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิงกิ. ก็ครั้งนั้น พระราชธิดาพี่น้อง ๗ พระองค์คือ
สมณี สมณคุตตา ภิกขุนี ภิกขุทาสิกา ธัมมา สุธัมมา และสังฆทาสี
ครบ ๗. พระราชธิดาเหล่านั้น ในบัดนี้ [ครั้งพุทธกาล] คือพระเขมา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 87
พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระโคตมี พระธรรมทินนา พระนาง
มหามายา และนางวิสาชา ครบ ๗.
บรรดาพระราชธิดาเหล่านั้น พระนางสังฆทาสีเวียนว่ายอยู่ใน
เทวดาและมนุษย์ถึงพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในครรภ์
ของนางสุมนเทวีภริยาหลวงของธนัญชัยเศรษฐี บุตรของเมณฑกเศรษฐี
ภัททิยนคร แคว้นอังคะ. บิดามารดาได้ตั้งชื่อนางว่าวิสาขา. เวลานาง
มีอายุได้ ๗ ขวบ พระทศพลทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของเสลพราหมณ์
และเหล่าสัตว์พวกจะตรัสรู้อื่น ๆ มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จจาริกไป
ถึงนครนั้น ในแคว้นนั้น.
สมัยนั้น เมณฑกคฤหบดี เป็นหัวหน้าของเหล่าผู้มีบุญมาก ๕ คน
ครองตำแหน่งเศรษฐี. เหล่าผู้มีบุญมาก ๕ คน คือ เมณฑกเศรษฐี ๑
ภริยาแสวงของเขา ชื่อจันทปทุมา ๑ บุตรของเขา ชื่อธนัญชัย ๑ ภริยา
ของธนัญชัยนั้น ชื่อสุมนเทวี ๑ ทาสของเมณฑกเศรษฐี ชื่อปุณณะ ๑.
มิใช่แต่เมณฑกเศรษฐีอย่างเดียวดอก ถึงในราชอาณาจักรของพระเจ้า-
พิมพิสาร ก็มีบุคคลผู้มีโภคสมบัตินับไม่ถ้วนถึง ๕ คน คือ โชติยะ
ชฏิละ เมณฑกะ ปุณณะ และกากพลิยะ. บรรดาคนทั่ง ๕ นั้น
เมณฑกเศรษฐีนี้ ทราบว่าพระทศพลเสด็จมาถึงนครของตน จึงเรียก
เด็กหญิงวิสาขา ธิดาธนัญชัยเศรษฐี ผู้เป็นบุตรมาแล้วสั่งอย่างนี้ว่า
แม่หนู เป็นมงคลทั้งเจ้า ทั้งปู่ เจ้าจงพาเกวียน ๕๐๐ เล่ม พร้อมด้วย
เด็กหญิง ๕๐๐ คน บริวารของเจ้ามีทาสี ๕๐๐ นาง เป็นบริวาร จงทำ
การรับเสด็จพระทศพล. นางฟังคำของปู่ ก็ปฏิบัติตาม. แต่เพราะนาง
เป็นผู้ฉลาดในเหตุและมิใช่เหตุ นางก็ไปด้วยยาน เท่าที่พื้นที่ยานจะไป
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 88
ได้แล้ว ก็ลงจากยานเดินไปเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ยืน ณ ที่
สมควรส่วนหนึ่ง. ครั้งนั้น พระศาสนาทรงแสดงธรรมโปรดด้วยอำนาจ
จริยาของนาง. จบเทศนา นางก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับ
เด็กหญิง ๕๐๐ คน แม้เมณฑกเศรษฐี ก็เข้าไปเฝ้าถวายบังคมพระศาสดา
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรด ด้วย
อำนาจจริยาของเศรษฐีนั้น. จบเทศนา เมณฑกเศรษฐีก็ดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติผล อาราธนาพระศาสดา เพื่อเสวยในวันพรุ่ง. วันรุ่งขึ้น
ก็เลี้ยงดูพระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารอย่างประณีต
ในนิเวศน์ของตน ได้ถวายมหาทานโดยอุบายนั้น ครึ่งเดือน. พระศาสดา
ประทับอยู่ ณ ภัททิยนคร ตามพุทธอัธยาศัยแล้วก็เสด็จหลีกไป. พึง
วิสัชนากถามรรคอื่นต่อจากนี้แล้ว กล่าวเรื่องการเกิดของนางวิสาขา.
จริงอยู่ ในกรุงสาวัตถี พระเจ้าโกศลทรงส่งข่าวสาสน์ไปยังสำนัก
ของพระเจ้าพิมพิสารว่า ในราชอาณาเขตของหม่อมฉัน ชื่อว่า สกุลที่ได้
โภคสมบัตินับไม่ถ้วนไม่มีเลย สกุลที่ได้โภคสมบัตินับไม่ถ้วนของพระองค์
มีอยู่ ขอได้โปรดทรงส่งสกุลที่ได้โภคสมบัตินับไม่ถ้วนไปให้หม่อมฉัน
ด้วยเถิด. พระราชาทรงปรึกษากับเหล่าอำมาตย์. เหล่าอำมาตย์ปรึกษากัน
ว่า ไม่อาจส่งสกุลใหญ่ ๆ ไป แต่เราจะส่งเฉพาะบุตรเศรษฐีคนหนึ่งไป
จึงขอร้องธนัญชัยเศรษฐี บุตรเมณฑกเศรษฐี. พระราชาทรงสดับคำ
ปรึกษาของอำมาตย์เหล่านั้น ก็ทรงส่งธนัญชัยเศรษฐีไป. ครั้งนั้น
พระเจ้าโกศลพระราชทานตำแหน่งเศรษฐีให้เขาอยู่ในนครสาเกต ท้าย
กรุงสาวัตถีไป ๗ โยชน์. ก็ในกรุงสาวัตถี บุตรของมิคารเศรษฐี ชื่อ
ปุณณวัฒนกุมารเจริญวัยแล้ว. ขณะนั้น บิดาของเขารู้ว่า บุตรของเรา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 89
เจริญวัยแล้ว เป็นสมัยที่จะผูกพันด้วยฆราวาสวิสัย จึงส่งคนทั้งหลายผู้ฉลาด
ในเหตุและมิใช่เหตุไป ด้วยสั่งว่า พวกท่านจงเสาะหาเด็กหญิงในสกุล
ที่มีชาติเสมอกับเรา. คนเหล่านั้นไม่พบเด็กหญิงที่ต้องใจตนในกรุงสาวัตถี
จึงพากันไปนครสาเกต.
วันนั้นนั่นเอง วิสาขามีหญิงสาว ๕๐๐ คน ที่มีวัยรุ่นเดียวกัน
แวดล้อม พากันไปยังบึงใหญ่แห่งหนึ่ง เพื่อเล่นนักษัตรฤกษ์ คนแม้
เหล่านั้น เที่ยวไปภายในนคร ก็ไม่พบเด็กหญิงที่ถูกใจคน จึงยืนอยู่
นอกประตูเมือง. ขณะนั้น ฝนเริ่มตก. เหล่าเด็กหญิงที่ออกไปกับ
นางวิสาขาก็รีบเข้าศาลา เพราะกลัวเปียกฝน. คนเหล่านั้นไม่พบเด็กหญิง
ตามที่ปรารถนา ในระหว่างเด็กหญิงเหล่านั้น. แต่นางวิสาขาอยู่ข้างหลัง
เด็กหญิงเหล่านั้นทั้งหมด ไม่นำพาฝนที่กำลังตก เปียกปอนเข้าไปยังศาลา
เพราะไม่รีบเดิน. คนเหล่านั้นเห็นนางแล้วก็คิดว่า เด็กหญิงคนนี้สะสวย
ยิ่งกว่าแม้เด็กหญิงคนอื่น ๆ ก็รูปนี้นั้นเป็นสิ่งที่หญิงบางพวกตกแต่งได้
เหมือนช่างทำรถ ตกแต่งล้อรถได้ฉะนั้น จึงกล่าวต่อไปว่า จำเราจำต้อง
รู้ว่า เด็กหญิงคนนี้พูดไพเราะหรือไม่. ดังนั้นจึงกล่าวกะนางว่า แม่หนู
เจ้าเหมือนกับสตรีที่มีวัยเป็นผู้ใหญ่ฉะนั้น. นางจึงถามว่า พ่อท่าน
พวกท่านเห็นอะไรจึงกล่าว. คนเหล่านั้นตอบว่า หญิงสาวที่เล่นกับเจ้า
คนอื่น ๆ รีบมาเข้าศาลา เพราะกลัวเปียกฝน ส่วนเจ้าเหมือนหญิงแก่
ไม่รีบสาวเท้ามา ไม่นำพาว่าผ้าจะเปียก ถ้าช้างหรือท้าไล่ตามเจ้าอย่างนี้
นี่แล เจ้าจะทำอย่างไร. นางกล่าวว่า พ่อท่าน ขึ้นชื่อว่าผ้าหาได้ไม่ยาก
ในสกุลของฉันหาได้ง่าย ส่วนผู้หญิงเจริญวัยแล้ว ก็เป็นเหมือนสินค้าที่
เขาขาย เมื่อมือหรือเท้าหักไป คนทั้งหลายเห็นผู้หญิงที่เรือนร่างบกพร่อง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 90
ก็รังเกียจ ถ่มน้ำลายหนีไป เพราะเหตุนั้น ฉันจึงค่อย ๆ เดินมา
คนเหล่านั้นคิดว่า ชื่อว่า หญิงในชมพูทวีปนี้ไม่มี จะเทียบกับ
เด็กหญิงคนนี้ ไม่มีที่จะเทียบกัน ทั้งรูปทั้งคำพูด รู้เหตุและมิใช่เหตุ
แล้วจึงพูด ดังนี้แล้วก็เหวี่ยงพวงมาลัยไปบนนาง. ขณะนั้น นางวิสาขา
คิดว่า เราไม่ถูกเขาหวงแหนมาก่อน แต่บัดนี้ เราถูกเขาหวงแหนแล้ว
จึงนั่งลงที่พื้นดินโดยอาการที่จะถูกเขานำไปแล้ว. ครั้งนั้น คนทั้งหลาย
จึงเอาท่านกั้นล้อมนางไว้ตรงนั้นนั่งเอง. นางรู้ว่าเขาปิดกั้นไว้ ก็มีหมู่ทาสี
ห้อมล้อมกลับไปเรือน. คนของมิคารเศรษฐีเหล่านั้น ก็พากันไปสำนัก
ธนัญชัยเศรษฐีพร้อมกับนาง เมื่อเศรษฐีถามว่า พ่อคุณ พวกท่านเป็น
ชาวบ้านไหน ก็ตอบว่า พวกเราเป็นคนของมิคารเศรษฐี กรุงสาวัตถี
ทราบว่า ที่เรือนท่านมีเด็กหญิงเจริญวัยแล้ว ท่านจึงส่งพวกเรามา
ธนัญชัยเศรษฐีกล่าวว่า ดีละ พ่อคุณ เศรษฐีของพวกท่านเทียบกับ
เราไม่ได้ทางโภคสมบัติก็จริง แต่ก็เท่าเทียมกันโดยชาติ. ธรรมดาว่า
คนที่เพียบพร้อมด้วยอาการทุกอย่าง หาได้ยาก. พวกท่านจงไปบอก
เศรษฐีว่า เรายอมรับ. คนเหล่านั้นสดับคำของธนัญชัยเศรษฐีนั้นแล้ว
ก็กลับไปกรุงสาวัตถี แจ้งความยินดีและความเจริญแก่มิคารเศรษฐีแล้ว
กล่าวว่า นายท่าน พวกเราได้เด็กหญิงในเรือนของธนัญชัยเศรษฐีแล้ว
มิคารเศรษฐีฟังดังนั้น ก็ดีใจว่า พวกเราได้เด็กหญิงในเรือนของสกุลใหญ่
จึงส่งข่าวไปบอกธนัญชัยเศรษฐีทันทีว่า บัดนี้เราจักนำเด็กหญิงมา โปรด
กระทำกิจที่ควรทำเสีย. แม้ธนัญชัยเศรษฐีก็ส่งข่าวตอบมิคารเศรษฐีไปว่า
เรื่องนี้ไม่เป็นการหนักสำหรับเราเลย เศรษฐีโปรดการทำกิจที่ควรทำ
สำหรับคนเถิด. มิคารเศรษฐีจึงไปเข้าเฝ้าพระเจ้าโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 91
เทวะ. เด็กหญิงผู้มีกิริยาเป็นมงคลแก่ข้าพระองค์มีอยู่คนหนึ่ง เด็กหญิงนั้น
ชื่อวิสาขา ธิดาของท่านธนัญชัยเศรษฐี ข้าพระองค์จักนำมาให้แก่
ปุณณวัฒนกุมาร ทาสของพระองค์ ขอทรงโปรดอนุญาตให้ข้าพระองค์
ไปนครสาเกตเถิดพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า ดีละท่านเศรษฐี ถึงเรา
ก็ควรจะมาด้วยมิใช่หรือ. เศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระองค์
จะบังอาจให้บุคคลเช่นพระองค์เสด็จได้อย่างไรเล่า. พระราชามีพระราช-
ประสงค์จะทรงสงเคราะห์สกุลใหญ่ ทรงรับว่า อาเถิด ท่านเศรษฐี
เราจักมาด้วย แล้วก็เสด็จไปยังนครสาเกตพร้อมด้วยมิคารเศรษฐี.
ธนัญชัยเศรษฐีรู้ว่า มิคารเศรษฐีพาพระเจ้าโกศลมาด้วย จึงออกไป
รับเสด็จ พาพระราชาไปยังนิเวศน์ของตน. ทันใดนั้นเอง ก็จัดสถาน
ที่อยู่ และมาลัยของหอมเป็นต้น ไว้พร้อมสรรพ สำหรับพระราชา สำหรับ
ทหารของพระราชา และสำหรับมิคารเศรษฐี รู้กิจทุกอย่างด้วยตนเองว่า
สิ่งนี้ควรได้แก่ผู้นี้ สิ่งนี้ควรได้แก่ผู้นี้. ชนนั้น ๆ ก็คิดว่า ท่านเศรษฐี
กระทำสักการะแก่เราเท่านั้น. ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาทรงส่งข่าวไปบอก
ธนัญชัยเศรษฐีว่า ท่านเศรษฐีไม่อาจจะเลี้ยงดูพวกเราได้นาน ๆ ขอท่าน
เศรษฐีจงกำหนดเวลาที่เด็กหญิงจะไปเถิด. แม้ธนัญชัยเศรษฐี ก็ส่งข่าว
ถวายพระราชาว่า บัดนี้ฤดูฝนมาถึงแล้ว ทหารของพระองค์จะเที่ยวไป
ตลอด ๔ เดือนคงไม่ได้ กิจใด ๆ ควรจะได้ กิจนั้นทั้งหมดเป็นภาระ
ของข้าพระองค์ ขอเทวะโปรดเสด็จไปเวลาที่ข้าพระองค์ส่งธิดาไปอย่าง
เดียวเถิด พระเจ้าข้า. นับแต่นั้นมา นครสาเกตก็ได้เป็นเหมือนตำบล
บ้านที่นีงานนักษัตรฤกษ์อยู่เป็นนิตย์. ล่วงไป ๓ เดือนโดยอาการอย่างนี้.
เครื่องประดับชื่อมหาลดาประสาธน์ สำหรับธิดาของธนัญชัยเศรษฐีก็ยัง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 92
ไม่เสร็จ. ครั้งนั้น เหล่าเจ้าหน้าที่ประจำงานก็มาบอกธนัญชัยเศรษฐีว่า
ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ไม่มีสำหรับชนเหล่านั้นไม่มีดอก แต่ฟืนใช้หุงต้มสำหรับ
ทหารไม่เพียงพอ. ธนัญชัยเศรษฐีจึงสั่งว่า พ่อเอ๋ย ไปรื้อโรงช้างโรงม้า
เอาไม้มาใช้หุงต้มอาหารเถิด. เมื่อหุงต้มกันอยู่อย่างนี้ล่วงไปครึ่งเดือน
แต่นั้น เหล่าเจ้าหน้าที่ก็มาบอกอีกว่า ฟืนยังไม่พอ. ธนัญชัยเศรษฐี
ก็สั่งว่า พ่อเอ๋ย ในฤดูนี้เราหาฟืนไม่ได้อีกแล้ว พวกท่านจงเปิดเรือน
คลังผ้า เอาผ้าชนิดหยาบ ๆ มาฟั่นเป็นเกลียวชุบในถังน้ำมัน ใช้หุงต้ม
อาหารเถิด. เมื่อหุงต้มโดยทำนองนี้ก็เต็ม ๔ เดือน . ต่อนั้น ธนัญชัย
เศรษฐีรู้ว่าเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์สำหรับธิดาเสร็จแล้ว จึงสั่งว่า
พรุ่งนี้เราจะส่งธิดาไป จึงเรียกธิดาเข้ามานั่งใกล้ ๆ ได้ให้โอวาทว่า ลูกเอ๋ย
ธรรมดาว่าสตรีจะอยู่ในสกุลสานมี ควรจะศึกษามารยาทอย่างนี้ อย่างนี้.
มิคารเศรษฐีนั่งอยู่ภายในห้องก็ได้ยินโอวาทของธนัญชัยเศรษฐี. แม้
ธนัญชัยเศรษฐีก็โอวาทธิดาอย่างนี้ว่า ลูกเอ๋ย ธรรมดาว่าสตรีผู้จะอยู่ใน
สกุลบิดาของสามี ไฟในก็ไม่พึงนำออก ไฟนอกก็ไม่พึงนำเข้า พึงให้
แก่ผู้ที่ให้ ไม่พึงให้แก่ผู้ที่ไม่ให้ พึงให้ทั้งแก่ผู้ที่ให้ ทั้งแก่ผู้ที่ไม่ให้
พึงนั่งเป็นสุข พึงบริโภคเป็นสุข พึงนอนเป็นสุข พึงบำเรอไฟ พึง
นอบน้อมเทวดาภายใน ครั้นให้โอวาท ๑๐ อย่างนี้ดังนี้แล้ว วันรุ่งขึ้น
ก็ประชุมนายกองทุกกอง จัดกุฎุมพี ๘ นัย ในพวกเสนาของพระราชา
เป็นนายประกัน แล้วกล่าวว่า ถ้าความผิดเกิดแก่ธิดาของเราในที่ ๆ ไป
แล้วไชร้ พวกท่านพึงชำระ แล้วให้ประดับธิดาด้วยเครื่องประดับ
มหาลดาประสาธน์ มีค่า ๙ โกฏิ ให้ทรัพย์ ๕๔ เล่มเกวียน เป็นมูลค่า
สำหรับผงเครื่องหอมสำหรับผสมน้ำอาบ ให้ทาสีรูปสวยคอยปรนนิบัติใน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 93
เวลาเดินทางประจำธิดา ๕๐๐ นาง รถเทียมม้าอาชาไนย ๕๐๐ คัน
สักการะทุกอย่า ๆ ละ ๑๐๐. ชี้แจงให้พระเจ้าโกศล และมิคารเศรษฐี
ทราบแล้ว เวลาธิดาไป เรียกเจ้าหน้าทีควบคุมดอกโคมา สั่งว่า พ่อเอ๋ย
ในที่ ๆ ธิดาเราไปแล้ว ให้เตรียมโคมาไว้ เพื่อธิดาเราต้องการดื่มน้ำนม.
ให้เตรียมโคใช้งานไว้ เพื่อธิดาเราต้องการเทียมยาน เพราะเหตุนั้น
พวกท่านพึงเปิดประตูคอกโค ในหนทางที่ธิดาเราไป เอาโคใช้ฐาน ๘ ตัว
ที่อ้วนพีจัดเป็นด้วยนำฝูงโคถึงซอกเขาชื่อโน้น มีเนื้อที่ประมาณ ๓ คาวุต
เมื่อฝูงโคถึงที่นั้นแล้ว พึงตีกลองเป็นสัญญาณให้เปิดประตูคอกโค.
คนเหล่านั้นรับคำของเศรษฐีว่า ดีละ แล้วปฏิบัติตามคำสั่งนั้น. เมื่อประตู
คอกเปิดออกแล้ว แม่โคทั้งหลายที่อ้วนพีก็ออกไป แต่เมื่อประตูปิด
เหล่าใดที่ฝึก โคมีกำลัง และโคดุ ก็โลดแล่นออกไปข้างนอก แล้วเดิน
ตามทางไป เพราะแรงบุญของนางวิสาขา.
ครั้งนั้น เวลาถึงกรุงสาวัตถี นางวิสาขาคิดว่า เราจะนั่งในยาน
ที่ปกปิดเข้าไปหรือยืนบนรถเข้าไปดีหนอ. ขณะนั้น นางดำริว่า เมื่อเรา
เข้าไปด้วยยานที่ปกปิด ความวิเศษของเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์
จักไม่มีใครรู้กันทั่ว นางแสดงตัวทั่วนคร ยืนบนรถเข้าสู่พระนคร.
ชาวกรุงสาวัตถี เห็นสมบัติของนางวิสาขาแล้ว พากันกล่าวว่า เขาว่า
สตรีผู้นี้ ชื่อนางวิสาขา และสมบัติเห็นปานนี้ ก็สมควรแก่นางทีเดียว
นางเข้าไปเรือนมิคารเศรษฐี ด้วยสมบัติอย่างใหญ่ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ในวันที่นางมาถึง ชาวกรุงทั่วไปต่างก็ส่งเครื่องบรรณาการตามกำลัง
สามารถไปด้วยกล่าวว่า ธนัญชัยเศรษฐีของเราได้กระทำสักการะอย่างใหญ่
แก่ผู้คนที่มาถึงนครของตน. นางวิสาขา สั่งให้ให้เครื่องบรรณาการ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 94
ตอบการที่ชาวกรุงส่งไป ๆ ทั่วไปในสกุลของกันและกันในนครนั้นนั่นเอง.
ขณะนั้น ลำดับอันเป็นส่วนแห่งราตรี แม่ม้าแสนรู้ตัวหนึ่ง ตกลูก.
นางจึงใช้ให้เหล่าทาสีถือคบไฟไปที่นั้น ให้อาบน้ำอุ่นให้แม่ม้า ใช้น้ำมัน
ชโลมตัวให้แม่ม้า แล้วก็กลับไปสถานที่อยู่ของตน. ฝ่ายมิคารเศรษฐี
ทำการฉลองงานอาวาหมงคลแก่บุตร ๗ วัน ไม่สนใจพระตถาคตแม้ประทับ
อยู่วิหารใกล้ ๆ วันที่ครบ ๗ วัน เชิญเหล่าชีเปลือยให้นั่งเต็มไปทั่วทั้ง
นิเวศน์ ส่งข่าวบอกนางวิสาขาว่า ธิดาของเราจงมาไหว้พระอรหันต์
ทั้งหลาย. นางเป็นพระอริยสาวิกาชั้นโสดาบัน ได้ฟังว่า พระอรหันต์
ทั้งหลาย ดังนี้ ก็ร่าเริงยินดี เดินไปยังสถานที่นั่งของชีเปลือยเหล่านั้น
มองดูชีเปลือยเหล่านั้นแล้วคิดว่า ชีเปลือยเหล่านี้ไม่ใช่พระอรหันต์ จึง
ตำหนิว่า เหตุไรท่านพ่อ จึงให้เรียกข้าพเจ้ามายังสำนักของเหล่าคนที่
เว้นจากหิริโอตตัปปะ ดังนี้ แล้วก็กลับไปสถานที่อยู่ของตนเสีย. เหล่า
ชีเปลือยเห็นนางแล้ว ทั้งหมดก็ติเตียนเศรษฐีในทันทีนั่นแหละว่า ท่าน
คฤหบดี ท่านหาหญิงคนอื่นไม่ได้หรือ เหตุไรท่านจึงเชิญหญิงผู้นี้ซึ่งเป็น
สาวิกาของพระสมณโคดม ตัวกาลกิณีใหญ่ให้เข้าไปในเรือน จงรีบนำ
หญิงผู้นั้นออกไปเสียจากเรือนนี้. ลำดับนั้น เศรษฐีคิดว่าเราไม่อาจขับไล่
หญิงผู้นี้ออกไปจากเรือนตามคำของชีเปลือยเหล่านี้ได้ เพราะหญิงผู้นี้เป็น
ธิดาของสกุลใหญ่ จึงกล่าวว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าต้นหนุ่มสาว
ทั้งหลาย พึงทำทั้งที่รู้บ้างทั้งที่ไม่รู้บ้าง ขอพวกท่านจงนิ่ง ๆ ไว้ แล้วก็
ส่งเหล่าชีเปลือยกลับไป นั่งบนแท่นใหญ่ อันนางวิสาขาถือช้อนทอง
เลี้ยงดูอยู่ บริโภคข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อยในถาดทอง.
สมัยนั้น พระเถระผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวไปบิณฑบาตมา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 95
ถึงประตูเรือนของเศรษฐี. นางวิสาขาเห็นพระเถระแล้วคิดว่าไม่ควรบอก
บิดาสามี ดังนี้ ทั้งที่เศรษฐีนั้นก็เห็นพระเถระนั้น ผู้ยังไม่จากไป คง
ยังยืนอยู่อย่างนั้น. แต่เศรษฐีนั้นเป็นคนพาล แม้เห็นพระเถระก็ทำเป็น
เหมือนไม่เห็น ก้มหน้าบริโภคข้าวมธุปายาสเรื่อยไป. นางวิสาขาก็รู้ได้ว่า
บิดาสามีของเราแม้เห็น พระเถระก็ไม่ทำอาการว่าเข้าใจ จึงเข้าไปหา
พระเถระกล่าวว่า โปรดไปข้างหน้าก่อนเถิด เจ้าข้า บิดาสามีของดิฉัน
กำลังกินบุญเก่า. เศรษฐีนั้น เวลาที่เหล่านิครนถ์ว่ากล่าวคราวก่อนก็
อดกลั้นได้ แต่ในขณะที่นางวิสาขากล่าวว่ากินบุญเก่าก็วางมือ สั่งว่า
พวกเจ้าจงนำข้าวปายาสนี้ออกไปจากที่นี้ และจงนำหญิงผู้นี้ออกไป
จากเรือนหลังนี้ ด้วยว่า หญิงผู้นี้ทำให้เราชื่อว่าเป็นผู้กินของไม่สะอาด
ในเรือนมงคลเห็นปานนี้. แต่ว่าในนิเวศน์นั้นแล ทาสและกรรมกรเป็นต้น
ทั้งหมดเป็นสมบัติของนางวิสาขา ไม่มีใคร ๆ สามารถจะจับมือเท้านางได้
ขึ้นชื่อว่าผู้สามารถจะกล่าวด้วยปากก็ไม่มี. เมื่อนางวิสาขาฟังคำของบิดา
สามีแล้วกล่าวว่า ท่านพ่อขา พวกเราจะไม่ออกไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้
ดอก ดิฉันก็ไม่ได้ถูกท่านนำมาจากท่าน้ำเหมือนพวกกุมภทาสี ธรรมดาว่า
เหล่าธิดาของบิดามารดาผู้ยังมีชีวิตอยู่ ย่อมไม่ออกไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้
อนึ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้นี่แหละ ในวันที่ดิฉันมาในที่นี้บิดาของดิฉันก็ให้
เรียกกุฎุมพี ๘ นายมาสั่งว่า ถ้าความผิดเกิดเพราะธิดาของเรา พวกท่าน
จงช่วยกันชำระแล้วก็มอบดิฉันไว้ในมือของกุฎุมพี ๘ นายนั้น ขอท่านพ่อ
โปรดให้เรียกกุฎุมพี ๘ นายนั้นมาให้เขาชำระว่าเป็นความผิด หรือมิใช่
ความผิดของดิฉันสิเจ้าคะ. ลำดับนั้น เศรษฐีคิดว่าเด็กหญิงคนนี้พูดดี
จึงให้เรียกกุฎุมพี ๘ นายมาสั่งว่า เด็กหญิงคนนี้เรียกเราผู้ซึ่งนั่งในเรือน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 96
มงคลในวันที่ครบ ๗ วันว่า เป็นคนกินของไม่สะอาด. กุฎุมพี ๘ นาย
นั้น จึงถามนางว่า เขาว่าอย่างนี้จริงหรือแม่หนู. นางตอบว่า พ่อคุณเอ๋ย
ท่านบิดาสามีของดิฉันจักต้องการกินของไม่สะอาดเอง แต่ดิฉันได้พูด
ให้ทำอย่างนั้น. ส่วนเมื่อพระเถระผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งยืนใกล้
ประตูเรือน ท่านบิดานี้กำลังบริโภคมธุปายาสมีน้ำน้อยอยู่ ไม่สนใจ
พระเถระนั้นเลย ด้วยเหตุนี้ ดิฉันจึงพูดเท่านี้ว่า ไปข้างหน้าก่อนเถิด
เจ้าข้า บิดาสามีของดิฉันไม่ทำบุญในอัตภาพนี้ กำลังกินบุญเก่า ๆ อยู่.
กุฎุมพี ๘ นายจึงกล่าวว่า แม่เจ้าไม่มีความผิดในข้อนี้ ธิดาของเราพูดมี
เหตุ เหตุไรท่านจึงโกรธเล่า. เศรษฐีกล่าวว่า พ่อเจ้าเอ๋ย ความผิดนั้น
ไม่มีก็ช่างเถิด แต่เด็กหญิงคนนี้ในวันที่มากไม่ให้ความเอาใจใส่ในบุตรเรา
ได้ไปยังสถานที่ตนเองปรารถนา. กุฎุมพี ๘ นายถามว่า เขาว่าอย่างนั้น
จริงหรือแม่หนู. นางตอบว่า พ่อคุณเอ๋ย ดิฉันไม่ไปยังที่ ๆ ตนชอบใจ
แต่ในเรือนหลังนี้ เมื่อแม่ม้าแสนรู้ตกลูก ดิฉันคิดว่า ไม่ทำแม้ความ
เอาใจใส่แล้วนั่งเฉย ๆ เสีย ไม่สมควร จึงให้เหล่าทาสีถือคบไฟห้อมล้อม
ไปที่นั่น จึงสั่งให้ดูแลรักษาแม่ม้าที่ตกลูกจ้ะ. กุฎุมพี ๘ นายกล่าวว่า
พ่อเจ้า ธิดาของเราได้กระทำกิจกรรมแม้เหล่าทาสีก็ต้องทำในเรือน ท่าน
เห็นโทษอะไรในข้อนี้. เศรษฐีกล่าวว่า พ่อเจ้าเอ๋ย นั่นเป็นคุณความดี
ก็ช่างเถิด แต่บิดาของเด็กหญิงคนนี้ เมื่อให้โอวาทในวันที่มาในที่นี้ก็
กล่าวว่า ไฟในไม่ควรนำออก. กุฎุมพี ๘ นายถามนางว่า เขาว่าอย่างนั้น
จริงหรือแม่หนู. นางตอบว่า พ่อคุณเอ๋ย บิดาของดิฉันมิได้พูดหมายถึง
ไฟนั่นดอก แต่เรื่องความลับอันใดของผู้หญิงมีมารดาสามีเป็นต้นเถิดขึ้น
ภายในนิเวศน์ เรื่องความลับอันนั้นไม่ควรบอกแก่เหล่าทาสและทาสี
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 97
เพราะว่าเรื่องเห็นปานนั้น มีแต่จะขยายตัวออกไปเป็นการทะเลาะกัน
เพราะฉะนั้น บิดาของดิฉันหมายถึงข้อนี้ จึงพูดจ้ะ พ่อคุณทั้งหลาย.
เศรษฐีกล่าวว่า พ่อคุณเอ๋ย ข้อนั้นเป็นอย่างนั้นก็ช่างเถิด แต่บิดาของ
เด็กหญิงคนนี้กล่าวว่าไฟนอกไม่ควรนำเข้าไปภายใน ก็เมื่อไฟในดับไป
แล้ว เราไม่นำไฟข้างนอกเข้ามาได้หรือ. กุฎุมพี ๘ นายถามนางว่า เขา
ว่าอย่างนั้นจริงหรือแม่หนู. นางตอบว่า บิดาของดิฉันมิได้พูดหมายถึง
ไฟนั้นดอกจ้ะ แต่ความผิดอันใด ที่เหล่าทาสและกรรมกรพูดกัน
ความผิดอันนั้น ไม่ควรบอกเล่าผู้คนภายใน ฯ ล ฯ แม้คำใด ท่านบิดา
กล่าวว่า พึงให้แก่คนที่ให้เท่านั้น คำนั้นท่านก็กล่าวหมายถึงว่า พึงให้
แก่พวกคนที่ยืมเครื่องมือเครื่องใช้แล้วนำมาส่งคืนเท่านั้น. แม้คำที่ว่า
เย น เทนฺติ ท่านก็กล่าวหมายถึงว่า ไม่พึงให้แก่พวกคนที่ยืมเครื่องมือ
เครื่องใช้แล้วไม่นำมาส่งคืน. ส่วนคำนี้ว่า ททนฺตสฺสาปิ อททนฺตสฺ-
สาปิ ทาตพฺพ ท่านกล่าวหมายถึงว่า เมื่อญาติมิตรตกยากมาถึงแล้ว เขา
จะสามารถให้ตอบแทน หรือไม่สามารถให้ตอบแทนได้ก็ตาม ก็ควร
ให้ทั้งนั้น. แม้คำนี้ว่า สุข นิสิทิตพฺพ ท่านกล่าวหมายถึงว่า เมื่อดิฉัน
เห็นมารดาบิดาสามีแล้ว ไม่ควรนั่งเฉยในที่ที่ตนควรลุกยืนขึ้น คำว่า
สุข ภุญฺชิตพฺพ ท่านกล่าวหมายถึงว่า ไม่บริโภคก่อนมารดาบิดาสามี
และสามี ควรจะเลี้ยงดูท่านเหล่านั้นแล้ว รู้ว่าทุกท่านได้แล้วหรือยังไม่ได้
อะไร แล้วตนเองบริโภคทีหลัง. คำว่า สุข นิปชฺชิตพฺพ ท่านกล่าว
หมายถึงข้อนี้ว่า ไม่พึงขึ้นที่นอนแล้วนอนก่อน มารดาบิดาสามีและสามี
ต้องทำวัตรปฏิบัติที่สมควรทำแก่ท่านเหล่านั้น แล้วตนเองจึงควรนอน
ทีหลัง. คำว่า อคฺคิ ปริจริตพฺโพ ท่านกล่าวหมายถึงข้อนี้ว่า ควรจะ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 98
เห็นทั้งบิดามารดาสามีทั้งสามี เป็นเหมือนกองไฟและเหมือนพญางู.
เศรษฐีกล่าวว่า จะเป็นคุณเท่านี้ก็ช่างเถิด แต่บิดาของเด็กหญิงคนนี้
ให้นอบน้อมเทวดาภายใน ประโยชน์อะไรของโอวาทนี้. กุฎุมพี ๘ นาย
ถามนางว่า เขาว่าอย่างนั้นจริงหรือแม่หนู. นางตอบว่า จริงจ้ะ พ่อคุณ
ทั้งหลาย บิดาของดิฉันกล่าวคำนี้หมายอย่างนี้ ตั้งแต่เราอยู่ครองเรือน
ตามประเพณี เห็นนักบวชมาถึงประตูเรือนของตนแล้วถวายของเคี้ยวของ
ตนที่มีอยู่ในเรือน แก่เหล่านักบวชแล้ว ตนเองจึงควรกิน. ครั้งนั้น
กุฎุมพีเหล่านั้น จึงถามเศรษฐีนั้นว่า ท่านมหาเศรษฐี ท่านเห็นเหล่า
นักบวชแล้ว ที่จะชอบใจว่า ไม่ควรให้ทั้งนั้นหรือ. ท่านเศรษฐีมอง
ไม่เห็นคำตอบอย่างอื่น จึงได้แต่นั่งก้มหน้า.
ครั้งนั้น เหล่ากุฎุมพีจึงถามเศรษฐีนั้นว่า ความผิดอย่างอื่นของธิดา
เรา ยังมีอยู่หรือ. ตอบว่า ไม่มีดอกพ่อคุณ ถามว่า ก็เพราะเหตุไร
ท่านจึงขับไล่ธิดา ซึ่งไม่มีความผิดออกไปจากเรือนโดยมิใช่เหตุ. ขณะนั้น
นางวิสาขากล่าวว่า ยังไม่ควรไปตามคำของบิดาสามีเราก่อน แต่วันที่เรา
มา บิดาเรามอบเราไว้ในมือพวกท่านเพื่อชำระความผิดเรา บัดนี้เราไปได้
สะดวกแล้วละ จึงสั่งเหล่าทาสีและทาสให้ทำการตระเตรียมยานเป็นต้น
ไว้. คราวนั้น เศรษฐีพากุฎุมพีเหล่านั้น ไป พูดกะนางว่า แม่หนู พ่อไม่รู้
จึงพูดไป จงยกโทษให้พ่อเสียเถิด. นางกล่าวว่า พ่อคุณทั้งหลาย ดิฉัน
พึงอดโทษแก่พวกท่านได้ จะอดโทษให้ก่อน แต่ดิฉันเป็นธิดาของท่าน
เศรษฐีผู้เลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธศาสนา เราเว้นภิกษุสงฆ์เสียมิได้
ถ้าเราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ตามชอบใจของเรา เราก็จักอยู่. เศรษฐีกล่าวว่า
แม่หนู เจ้าจงบำรุงเหล่าสมณะของเจ้าได้ตามชอบใจ. ดังนั้น นางวิสาขา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 99
จึงให้นิมนต์พระทศพลอาราธนาให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
นั่งเต็มนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น. แม้บริษัทของชีเปลือยรู้ว่าพระศาสดาเสด็จไป
เรือนมิคารเศรษฐี ก็ไปที่นั้นพากันนั่งล้อมเรือนไว้. นางวิสาขาให้น้ำ
ทักษิโณทกแล้วส่งข่าวบอกว่า สักการะทุกอย่างจัดไว้แล้ว ขอท่านบิดา
สามีของเราโปรดจงมาเลี้ยงดูพระทศพล. เศรษฐีนั้นฟังคำของนาง
วิสาขาแล้วก็กล่าวว่า อธิดาของเราจงเลี้ยงดูพระสัมมาสัมพุทธะเถิด
นางวิสาขาครั้นเลี้ยงดูพระทศพลด้วยภัตตาหารเลิศรสต่าง ๆ แล้ว ครั้น
เสร็จภัตกิจแล้วก็ส่งข่าวไปอีกว่า ขอท่านบิดาสามีของเราโปรดมาฟัง
ธรรมกถาของพระทศพล. ลำดับนั้น เศรษฐีนั้นก็ไปเพื่อประสงค์จะฟัง
ธรรมกถาว่า บัดนี้ชื่อว่าการไม่ไป เป็นเหตุไม่สมควรอย่างยิ่ง เหล่า
ชีเปลือยก็กล่าวว่า ท่านเมื่อฟังธรรมของพระสมณโคดมก็จงนั่งฟังนอก
ม่าน แล้วก็พากันไปก่อนกั้นม่านไว้. มิคารเศรษฐีไปนั่งนอกม่าน.
พระตถาคตทรงพระดำริว่า ท่านจะนั่งนอกม่านก็ตาม นอกฝาเรือน
ก็ตาม นอกแผ่นหินก็ตาม หรือนอกจักรวาลก็ตาม เราชื่อว่าพระพุทธเจ้า
สามารถนำท่านให้ได้ยินเสียงของเราได้ จึงตรัสธรรมกถาประหนึ่งว่าจับ
ลำต้นมะม่วงเขย่าให้ผลมีสีดังทองหล่นลงอยู่ฉะนั้น จบเทศนา เศรษฐี
ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ยกม่านขึ้นถวายบังคมพระบาทของพระศาสดา
ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ในสำนักพระศาสดานั่งเอง ก็สถาปนานางวิสาขา
ไว้ในตำแหน่งมารดาของตนว่า แม่หนู จงเป็นมารดาของเราตั้งแต่วันนี้
ไป. ตั้งแต่นั้นมา นางวิสาขาจึงมีชื่อว่ามิคารมารดา.
วันหนึ่ง เมื่อสมัยนักษัตรฤกษ์ดำเนินไปในพระนคร นางวิสาขา
ก็คิดว่า ไม่มีคุณในการอยู่ในพระนคร จึงห้อมล้อมด้วยทาสีเดินไปฟัง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 100
ธรรมกถาของพระศาสดา แต่ฉุกคิดว่าไปสำนักพระศาสดาด้วยทั้งเพศทีมี
เครื่องห่มคลุมไม่บังควร จึงเปลื้องเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์ออก
มอบไว้ในมือทาสี เข้าไปเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ส่วนหนึ่ง. พระศาสดาตรัสธรรมกถา. จบพระธรรมเทศนาของพระศาสดา
นางจึงถวายบังคมพระทศพลแล้วเดินมุ่งหน้าสู่พระนคร. ทาสีแม้นั้นไม่ทัน
กำหนดสถานที่นางวางเครื่องประดับซึ่งตนรับไว้ จึงเดินกลับไป เพื่อ
หาเครื่องประดับ. ขณะนั้น นางวิสาขาจึงสอบถามทาสีนั้นว่า เจ้าวาง
เครื่องประดับไว้ตรงไหน. ทาสีตอบว่า ที่บริเวณพระคันธกุฎีจ้ะแม่เจ้า.
นางวิสาขากล่าวว่า ช่างเถิด เจ้าจงไปนำมา นับตั้งแต่เจ้าวางของไว้
บริเวณพระคันธกุฎีแล้ว ชื่อว่าการให้นำของกลับมาไม่สมควรแก่เรา
เพราะเหตุนั้น เราจำจักสละเครื่องประดับมหาลดาประสาธน์นั้น ทำเป็น
ทัณฑกรรม แต่เมื่อเครื่องประดับนั้นยังวางไว้ พระคุณเจ้าทั้งหลายก็คง
เป็นกังวล. วันรุ่งขึ้น พระศาสดามีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จถึงประตู
นิเวศน์ของนางวิสาขา. ก็ในนิเวศน์จัดอาสนะไว้เป็นประจำ. นางวิสาขา
รับบาตของพระศาสดา อาราธนาให้เสด็จเข้าเรือนให้ประทับนั่งเหนือ
อาสนะที่จัดไว้แล้วนั่นแหละ เมื่อพระศาสดาเสวยเสร็จ ก็นำเครื่องประดับ
นั้นไปวางไว้ใกล้พระบาทของพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถวายเครื่องประดับนี้แด่พระองค์เจ้าค่ะ. พระศาสดา
ตรัสห้ามว่า ขึ้นชื่อว่าเครื่องประดับย่อมไม่สมควรแก่เหล่านักบวช. นาง
วิสาขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ แต่ข้าพระองค์
จะจำหน่ายเครื่องประดับนี้ เอาทรัพย์มาสร้างพระคันธกุฎีเป็นที่อยู่สำหรับ
พระองค์ เจ้าค่ะ ตรงนั้น พระศาสดาก็ทรงรับโดยดุษณี. แม้นางวิสาขา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 101
นั้น. ก็จำหน่ายเครื่องประดับนั้น เอาทรัพย์ ๙ โกฏิมาสร้างพระคันธกุฎี
เป็นที่ประทับอยู่สำหรับพระตถาคตในวิหารชื่อว่าบุพพาราม อันประดับ
ด้วยห้อง ๑,๐๐๐ ห้อง.
ก็นิเวศน์ของนางวิสาขา เวลาเช้าก็มลังเมลืองด้วยผ้ากาสาวะ
คลาคล่ำไปด้วยนักแสวงบุญ. ในเรือนแม้ของนางวิสาขานั้น ก็จัดทานไว้
พร้อมสรรพเหมือนในเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. นางวิสาขานั้น
เวลาเช้าก็ทำอานิสสงเคราะห์แก่พระภิกษุสงฆ์ ภายหลังอาหารก็ให้บ่าวไพร่
ถือเภสัช ยา และน้ำอัฐบานไปยังวิหารถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ ฟังพระธรรม-
เทศนาของพระศาสดาแล้วก็กลับมา. ภายหลังต่อมา พระศาสดาเมื่อทรง
สถาปนาเหล่าอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนา
นางวิสาชามิคารมารดาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกา
ผู้ชายทาน แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓ - ๔
๓ - ๔ ประวัตินางขุชุตตราและนางสามาวดี
ในสูตรที่ ๓ และที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
โดยบทว่า พหุสฺสุตาน ยทิท ขุชฺชุตฺตรา เมตฺตาวิหารีน ยทิท
สามาวตี ท่านแสดงว่า นางขุชชุตตราเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้เป็น
พหูสูต. นางสามาวดีเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา.
ได้ยินว่า แม้นางทั้งสองครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ
ถือปฏิสนธิในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมาคิดกันว่าจักฟังธรรมกถาของ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 102
พระศาสดา จึงพากันไปวิหาร. นางทั้งสองนั้น นางขุชชุตตราเห็นพระ-
ศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวก
อุบาสิกาอริยสาวิกาผู้เป็นพหูสูต จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนา
ตำแหน่งนั้น. นางสามาวดีเห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้
ในตำแหห่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาอริยสาวิกาผู้อยู่ด้วยเมตตา
จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. เมื่อนางทั้งสองทำ
กุศลจนตลอดชีวิตก็บังเกิดในเทวโลกะ เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์
นั่นแล เวลาก็ล่วงไปถึงแสนกัป.
ครั้งนั้น ก่อนพระศาสดาของเราบังเกิด. เถิดอหิวาตกโรคขึ้นใน
แคว้นอัลลกัปปะ ในเรือนหลังหนึ่งๆ คน ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง
๓๐ คนบ้าง ก็ตายพร้อม ๆ กันนั่นแหละ. ส่วนผู้คนที่ไปนอกแคว้น
ก็รอดชีวิต. บุรุษผู้หนึ่งรู้เรื่องนั่นแล้วก็พาบุตรภริยาของตนไปนอกแคว้น
นั้น ด้วยหมายจะไปแคว้นอื่น. คราวนั้นเสบียงเดินทางที่เอามาในเรือน
ของบุรุษนั้นยังไม่ทันข้ามทางกันดารในระหว่างทาง ก็หมดสิ้นไป.
เรี่ยวแรงร่างกายของพวกเขาก็ลดลง. มารดาอุ้มบุตรไปได้ประเดี๋ยวหนึ่ง
บิดาก็บุตรไปได้ประเดี๋ยวหนึ่ง. ครั้งนั้น บิดาของบุตรนั้น จึงคิดว่า
เรี่ยวแรงร่างกายของเราลดลงแล้ว จะแบกบุตรเดินไปคงไม่อาจข้ามทาง
กันดารไปได้. บุรุษนั้นไม่ให้มารดาบุตรรู้ ให้บุตรนั่งที่ทางทำเป็นเหมือน
ละไว้ไปหาน้ำ แล้วก็เดินทางไปลำพังคนเดียว. คราวนั้นภริยาของบุตร
นั้นยืนคอยเขามาไม่เห็นบุตรในมือก็ร้องกล่าวว่า บุตรฉันไปไหนล่ะนาย
เขาพูดปลอบว่า เจ้าต้องการบุตรไปทำไม เรายังมีชีวิตอยู่ก็จักได้บุตรเอง
นางกล่าวว่า ชายผู้นี้ใจร้ายนักหนอ แล้วกล่าวว่า ท่านไปเถิด ฉันไม่ไป
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 103
กับท่านดอก, เขากล่าวว่า แม่นางจ๋า ฉันไม่ทันใคร่ครวญได้ทำไปแล้ว
จงยกโทษข้อนั้นแก่ฉันเสียเถิดแล้วก็พาบุตรไป. คนเหล่านั้นข้ามทาง
กันดารนั้นแล้ว เวลาเย็นก็ถึงบ้านคนเลี้ยงโคตำบลหนึ่ง.
วันนั้น พวกบ้านคนเลี้ยงโค หุงปายาสไม่มีน้ำ เห็นคนเหล่านั้น
ก็คิดว่า คนเหล่านี้คงหิวจัด จึงเอาปายาสใส่เต็มภาชนะใหญ่ ลาดเนยเต็ม
กระบวยให้ไป เมื่อคนเหล่านั้นบริโภคข้าวปายาสนั้น สตรีนั้นก็บริโภค
พอประมาณ ส่วนบุรุษบริโภคเกินประมาณ ไม่อาจให้ไฟธาตุย่อยได้
ก็ทำกาละเสียในเวลาหลังเที่ยงคืน เขาเมื่อทำกาละ เพราะยังมีความอาลัย
ในคนเหล่านั้น จึงถือปฏิสนธิในท้องนางสุนัขในเรือนของพวกคนเลี้ยง
โค. ไม่นานนัก นางสุนัขก็ออกลูก คนเลี้ยงโคเห็นสุนัขนั้น มีลักษณะ
สง่างามก็ปรนเปรอด้วยก้อนข้าว จึงพาสุนัขที่เกิดความรักในตนเที่ยวไป
ด้วยกัน.
ต่อมาวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งมาถึงประตูเรือนของคน
เลี้ยงโค ในเวลาแสวงหาอาหาร คนเลี้ยงโคนั้น เห็นพระปัจเจกพุทธ-
เจ้านั้นแล้ว ก็ถวายอาหาร ถือปฏิญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้าที่จะอยู่
อาศัยตน พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เข้าอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง ไม่ไกลสกุลคน
เลี้ยงโค คนเลี้ยงโคไปสำนักพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็พาสุนัขนั้นไปด้วย
ก็ตีต้นไม้หรือแผ่นหิน เพื่อไล่สัตว์ร้าย ในที่อยู่สัตว์ร้าย ระหว่างทาง
แม้สุนัขนั้นกำหนดวิธีทำของคนเลี้ยงโคนั้นไว้ ต่อมาวันหนึ่งคนเลี้ยงโค
นั่งในสำนักพระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมมาไม่ได้ทุกครั้ง
แต่สุนัขนี้ฉลาด โดยสัญญาจำหมายที่สุนัขนี้มาแล้ว ก็จะพึงมายังประตู
เรือนของกระผมได้ วันหนึ่ง คนเลี้ยงโคนั้น ก็ส่งสุนัขไปด้วยกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 104
เจ้าจงพาพระปัจเจกพุทธเจ้ามา สุนัขนั้นฟังคำของคนเลี้ยงโคนั้น ก็ไปใน
เวลาแสวงหาอาหาร ก็เอาอกหมอบแทบเท้าพระปัจเจกพุทธเจ้า พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้ารู้ว่าสุนัขนี้มาสำนักเราแล้ว ก็ถือบาตรจีวรเดินทาง แต่ท่าน
จะทดลองสุนัขนั้น จึงแยกออกเดินทางอื่น สุนัขก็ยืนข้างหน้า ต้อนให้
ไปทางที่ไปหมู่ม้านคนเลี้ยงโค ก็ในที่ใด คนเลี้ยงโคตีต้นไม้หรือแผ่นหิน
เพื่อขับไล่สัตว์ร้าย สุนัขถึงที่นั้นแล้ว ก็ส่งเสียงเห่าดัง ๆ ด้วยเสียงของ
สุนัขนั้น สัตว์ร้ายทั้งหลายก็หนีไป แม้พระปัจเจกเทพุทธเจ้าก็ให้ก่อนข้าว
ที่เย็น ๆ ก้อนใหญ่แก่มัน เวลาฉันเสร็จแล้ว แม้สุนัขนั้นก็รักอย่างยิ่งใน
พระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยความอยากได้ก้อนข้าว คนเลี้ยงโคถวายผ้าพอแก่
การที่จะทำจีวรได้ ๓ ผืน แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าตลอดไตรมาสแล้วกล่าว
ว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าท่านชอบใจ ก็โปรดอยู่เสียในที่นี้นี่แหละ แต่ถ้าไม่
ชอบใจ ก็โปรดไปได้ตามสบาย พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงอาการว่าจะไป
คนเลี้ยงโคตามไปส่งพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วก็กลับ สุนัขรู้ว่าพระปัจเจก-
พุทธเจ้าไปที่อื่น ก็เกิดความโศกเศร้าอย่างแรง เพราะรัก หัวใจแตกตาย
ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. ก็โดยที่สัตว์ร้ายหนีไป เพราะสุนัขนั้นทำ
เสียงดังเวสาไปกับพระปัจเจกพุทธเจ้า เสียงของเทวบุตรนั้น เมื่อพูดกับ
เหล่าเทวดาจึงกลบเสียงเทวดาเสียสิ้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแล เทวบุตรนั้นจึง
ได้ชื่อว่าโฆสกเทพบุตร ก็เมื่อโฆสกเทพบุตรนั้น เสวยสมบัติในดาวดึงส์
นั้น พระราชาพระนามว่าอุเทนเสวยราชสมบัติ ณ กรุงโกสัมพี ถิ่นมนุษย์
เรื่องพระเจ้าอุเทน พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาโพธิ-
ราชกุมารสูตรนั่นแล.
เมื่อพระเจ้าอุเทนนั้นครองราชย์อยู่ โฆสกเทพบุตร ก็จุติถือปฎิ-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 105
สนธิในครรภ์ของสตรีผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีพผู้หนึ่ง ในกรุงโกสัมพี ล่วงไป
๑๐ เดือน นางก็คลอดบุตร รู้ว่าเป็นชายก็ให้ทิ้งเสียที่กองขยะ. ขณะนั้น
คนทำงานของโกสัมพิกเศรษฐี กำลังเดินไปเรือนเศรษฐีแต่เช้าตรู่ สงสัย
ว่าสิ่งนี้อะไรหนอที่เหล่ากากลุ้มรุมกันอยู่ ก็เข้าไปพบทารก คิดว่าทารกนี้
จักมีบุญ จึงส่งเด็กไว้ในมือบุรุษผู้หนึ่งให้นำไปสู่เรือน (ตน) แล้วก็ไป
เรือนเศรษฐี ฝ่ายเศรษฐีกำลังไปยังราชสกุลในเวลาเข้าเฝ้า พบปุโรหิตใน
ระหว่างทาง ก็ถามว่า วันนี้ ดาวฤกษ์อะไร ปุโรหิตนั้นยืนอยู่ตรงนั้น
นั่นแหละ. ก็คำนวณแล้วกล่าวว่า ดาวฤกษ์ชื่อโน้น ทารกที่เกิดตามดาว
ฤกษ์นี้ในวันนี้ จักได้ตำแหน่งเศรษฐีในนครนี้ เศรษฐีนั้น ฟังคำของ
ปุโรหิตนั้นแล้ว ก็รีบส่งคนไปยังเรือนว่า ท่านปุโรหิตคนนี้ไม่พูดเป็น
คำสอง หญิงแม่เรือนมีครรภ์แก่ของเรามีอยู่ พวกเจ้าจงตรวจดูนางว่า
ตลอดแล้วหรือยัง คนเหล่านั้นไปสำรวจรู้แล้วก็กล่าวว่า นายท่าน หญิง
มีครรภ์แก่นั้นยังไม่คลอด. เศรษฐีจึงสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงไปหา
ทารกที่เกิดในวันนี้ ในนครนี้ คนเหล่านั้นแสวงหาก็พบทารกนั้นในเรือน
ของคนทำงานของเศรษฐีนั้นแล้วบอกแก่เศรษฐี. เศรษฐีกล่าวว่า เจ้า-
พนาย ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงไปเรียกคนทำงานมา คนเหล่านั้นก็เรียก
คนทำงานมา เศรษฐีถามเขาว่า เขาว่า เรือนเจ้ามีทารกหรือ เขาตอบว่า
มีขอรับ นายท่าน เศรษฐีบอกว่า เจ้าให้ทารกนั้นแต่เราเถิด เขาว่า
ให้ไม่ได้ดอกนายท่าน. เศรษฐีกล่าวว่า เจ้ารับทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วให้เถิด.
คนทำงานนั้นคิดว่า ทารกนี้จะเป็นหรือตาย ข้อนี้ก็รู้กันยาก ดังนี้จึงรับ
ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วให้ทารกไป.
ลำดับนั้นเศรษฐีคิดว่า ถ้าภริยาเราตลอดธิดา ก็จักทำทารกนี้ให้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 106
เป็นบุตร ถ้าคลอดบุตร ก็จักทำทารกนี้ให้ตาย ครั้นคิดแล้ว ก็เลี้ยง
ทารกไว้ในเรือน. ครั้งนั้น ภริยาของเศรษฐีนั้นก็คลอดบุตร โดยล่วงไป
๒-๓ วัน แต่นั้น เศรษฐีก็คิดจะให้พวกโคเหยียบทารกนั้นเสียให้ตาย
จึงสั่งว่า พวกเจ้าจงเอาทารกนี้ไปนอนที่ประตูคอก คนทั้งหลายก็ให้ทารก
นั้นนอนที่ประตูคอกนั้น. ครั้งนั้น โคอุสภะจ่าฝูงออกไปก่อน เห็นทารก
นั้นก็ยืนคร่อมไว้ในระหว่างเท้าทั้ง ๔ ด้วยหมายใจว่า โคตัวอื่น ๆ จักไม่
เหยียบทารกนั้น. ด้วยอาการอย่างนี้ ขณะนั้น คนเลี้ยงโคพบทารกนั้น
คิดว่า ทารกนี้แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานยังรู้จักคุณ คงเป็นผู้มีบุญมาก เราจัก
เลี้ยงทารกนั้น แล้วก็นำไปเรือนตน.
ฝ่ายเศรษฐีทราบว่าทารกนั้นยังไม่ตาย ได้ฟังเขาว่า พวกคนเลี้ยงโค
นำไป ก็ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้วให้ทิ้งเสียที่สุสานศพสด. เวลานั้น คน
เลี้ยงแพะในเรือนเศรษฐี อาศัยสุสานนำแม่แพะไปเลี้ยง แพะแม่นมตัวหนึ่ง
เพราะบุญของทารก ขาไป ก็แวะจากทางไปให้นมทารกแล้วก็ไป ขากลับ
จากที่นั้น ก็ไปให้นมทารกที่นั้นนั่นแหละ คนเลี้ยงแพะคิดว่า แม่แพะ
ตัวนี้แวะจากที่นี้ไปแต่เช้า เพราะเหตุอะไรกันหนอ จึงเดินไปตรวจดูก็รู้ถึง
ทารกนั้นว่า ทารกนี้คงมีบุญมาก แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานยังรู้คุณ จำเราจัก
เลี้ยงทารกนั้นไว้ แล้วพาไปเรือน.
ฝ่ายเศรษฐี ก็ให้ตรวจตราดูอีกว่า ทารกนั้นตายหรือไม่ตาย รู้ว่า
คนเลี้ยงแพะรับไว้ ก็ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ สั่งว่า พรุ่งนี้ บุตรนายกองเกวียน
คนหนึ่ง จักเข้าไปยังนครนี้ พวกท่านจงนำทารกนี้ไปวางไว้ที่ทางล้อ
เกวียน ล้อเกวียนนั้นก็จักเฉือนไปอย่างนี้ เหล่าโคในเกวียนเล่มแรกของ
นายกองเกวียน แลเห็นทารกที่เขาวางไว้ที่ทางล้อเกวียนนั้น ก็ยืนเอาเท้า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 107
ทั้ง ๔ คร่อมเหมือนเสาค้ำกันอยู่ฉะนั้น. นายกองเกวียนสงสัยว่านั่นอะไร
กันหนอ ก็รู้เหตุที่โคเหล่านั้นหยุดยืน เห็นทารกแล้วเข้าใจว่าทารกมีบุญ
มาก ควรเลี้ยงไว้ จึงพาไปแล้ว.
ฝ่ายเศรษฐีก็ให้สำรวจว่าเด็กนั้นตายหรือไม่ทายที่ทางเกวียน ทราบ
ว่านายกองเกวียนรับไป ก็ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แม้แต่นายกองเกวียนนั้น
สั่งให้โยนเหวในที่ไม่ไกลพระนคร ทารกนั้น เมื่อตกไปในเหวนั้น ก็ตก
ลงที่โรงช่างสานในที่ทำงานของพวกช่างสาน โรงช่างสานนั้น ได้เป็น
เสมือนสัมผัสด้วยปุยฝ้าย ๑๐๐ ชั้น ด้วยอานุภาพบุญของทารกนั้น. ครั้งนั้น
หัวหน้าช่างสานเข้าใจว่าทารกนี้มีบุญควรเลี้ยงไว้ จึงพาทารกนั้นไปเรือน.
เศรษฐีให้เสาะหาในที่ ๆ ทารกตกเหวว่าตายหรือไม่ตาย ทราบว่า
หัวหน้าช่างสานรับไป ก็ให้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แม้แก่หัวหน้าช่างสานนั้น
ให้นำทารกมา ต่อมา ทั้งบุตรของเศรษฐีเอง ทั้งทารกนั้น ทั้งสองคน
ก็เจริญเติบโต.
เศรษฐีก็ครุ่นคิดแต่อุบายที่จะให้เด็กโฆสกะตาย จึงไปเรือนช่าง
หม้อของตน พูดเป็นความลับว่า พ่อคุณ ที่เรือนฉันมีเด็กสกุลต่ำต้อย
อยู่คนหนึ่ง ควรจะทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้เด็กนั้นตายเสีย ช่างหม้อนั้น
ก็ปิดหูทั้งสองกล่าวว่า ไม่ควรพูดถ้อยคำที่หนักเห็นปานนี้ แต่นั้น เศรษฐี
คิดว่า ช่างหม้อนี้จักไม่ทำโดยไม่ได้อะไร จึงกล่าวว่า เอาเถิดพ่อคุณ
จงเอาทรัพย์ไป ๑,๐๐๐ ทำงานนี้ให้สำเร็จ ขึ้นชื่อว่าสินบน ย่อมทำลายสิ่งที่
ทำลายไม่ได้ง่าย เพราะเหตุนั้น ช่างหม้อนั้นได้ทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้ว ก็รับ
แล้วกล่าวว่า นายท่าน กระผมจักจุดไฟเตาเผาหม้อในวันชื่อโน้น ขอนาย
ท่านจงส่งทารกนั้นไป ในวันโน้น เวลาโน้น. ฝ่ายเศรษฐีรับคำของช่าง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 108
หม้อนั้นแล้ว นับวันตั้งแต่วันนั้น รู้ว่าวันที่ช่างหม้อนัดไว้มาถึงแล้ว ก็
ให้เรียกนายโฆสกะมาสั่งว่า ลูกเอ๋ย พ่อต้องการภาชนะจำนวนมาก ในวัน
ชื่อโน้น เจ้าจงไปหานายช่างหม้อบอกว่า ได้ยินว่า มีงานที่บิดาเราพูดไว้
แก่ท่านอย่างหนึ่ง วันนี้ขอท่านจงทำงานนั้นให้สำเร็จ นายโฆสกะรับคำ
ของเศรษฐีนั้นว่า ดีละ แล้วก็ออกไป. ขณะนั้น ในระหว่างทางลูกตัวของ
เศรษฐีกำลังเล่นกีฬาขลุบ จึงรีบไปพูดว่า พี่จ๋า ฉันกำลังเล่นกับพวกเด็กๆ
ด้วยกัน ถูกเขาเอาชนะเท่านี้ พี่จงกลับเอาชนะเขาให้ฉันนะ. นายโฆสกะ
กล่าวว่า บัดนี้ โอกาสของพี่ไม่มี ท่านบิดาใช้พี่ไปหาช่างหม้อด้วยกิจรีบ
ด่วนจ้ะ. ลูกตัวเศรษฐีพูดว่า พี่จ๋า ฉันจะตกไปแทนเอง พี่จงเล่นกับเด็ก
เหล่านี้ นำโชคกลับมาให้ฉันนะ. นายโฆสกะกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้า
ไปเถิด แล้วบอกล่าวที่บิดาบอกแก่ตน แก่น้องชายนั้น แล้วเล่นเสียกับ
พวกเด็ก ๆ. เด็กแม้นั้น [น้องชาย] ไปหาช่างหม้อแล้วบอกข่าวนั้น.
ช่างหม้อกล่าวว่า ดีละพ่อคุณ เราจักทำงานให้สำเร็จ แล้วให้เด็กนั้นเข้าไป
ในห้อง เอามีดคมกริบตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ใส่หม้อปิดปากหม้อวางไว้
ระหว่างภาชนะ แล้วจุดไฟเตาเผาหม้อ นายโฆสกะเล่นชนะเป็นอันมาก
ก็นั่งคอยน้องมา เขารู้ว่า น้องชักช้า ก็ไปยังส่วนหนึ่งของเรือนช่างหม้อ
ในที่ไหน ๆ ก็ไม่พบ คิดว่า น้องคงจักกลับไปบ้านแล้ว จึงกลับไปเรือน.
เศรษฐีเห็นเขาเดินมาแต่ไกล ก็สงสัยว่า จักมีเหตุอะไรหรือหนอ ก็เรา
สั่งมันไปหาช่างหม้อ เพื่อให้ฆ่ามันให้ตาย บัดนี้ เจ้าเด็กนั้น ยังมาในที่นี้
อีก. เขามาถึงจึงถามเขาว่า เจ้าไม่ไปหาช่างหม้อดอกหรือลูก นายโฆสกะ
จึงบอกเหตุที่ตนกลับ และเหตุที่น้องชายไป เศรษฐีฟังคำเขาแล้ว เป็น
เหมือนถูกแผ่นดินใหญ่ถล่มทับสัก ๑๐๐ ครั้ง จิตหมุนไปว่า เจ้าพูดเรื่อง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 109
อะไรอย่างนี้หรือ แล้วก็รีบไปหาช่างหม้อ พูดโดยถ้อยคำที่ไม่ควรพูดใน
สำนักคนเหล่าอื่นว่า ดูสิพ่อคุณ ดูสิพ่อคุณ ช่างหม้อกล่าวว่า ท่านให้ดู
อะไรเล่า งานนั้นเสร็จไปแล้ว แต่นั้น เศรษฐีนั้นก็กลับไปเรือน.
ตั้งแต่นั้นมา โรคทางใจก็เกิดแก่เศรษฐีนั้น สมัยนั้น เศรษฐีนั้นกินไม่
ได้ด้วยโรคทางใจนั้น ครุ่นคิดว่า ควรจะเห็นความพินาศของศัตรูของบุตรเรา
ด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเขียนหนังสือขึ้นฉบับหนึ่ง เรียกนายโฆสกะ
มาสั่งด้วยปากว่า เจ้าจงถือหนังสือนี้ไปหาคนทำงานของพ่อที่มีอยู่บ้านชื่อ
โน้น จงบอกว่า ได้ยินว่า ท่านจงรีบทำเรื่องที่มีอยู่ในหนังลือ ระหว่างทาง
จงไปเรือนเศรษฐีคนหนึ่ง ชื่อคามิกเศรษฐีสหายของพ่อ กินอาหารแล้ว
พึงไป แล้วได้มอบสาสน์ให้ไป นายโฆสกะนั้นไหว้เศรษฐีแล้ว รับหนังสือ
ออกไป ระหว่างทางไปถึงสถานที่อยู่ของคามิกเศรษฐีแล้ว ถามถึงเรือน
ของเศรษฐี ยืนไหว้คามิกเศรษฐีนั้น ซึ่งนั่งอยู่นอกซุ้มประตูกำลังให้ช่าง
แต่งหนวดอยู่ เมื่อถูกถามว่า พ่อเอ๋ย เข้ามาแต่ไหนล่ะ จึงตอบว่า ท่าน
พ่อ ผมเป็นบุตรโกสัมพิยเศรษฐี ขอรับ. คามิกเศรษฐีนั้นก็ร่าเริงยินดีว่า
บุตรเศรษฐีสหายเรา. ขณะนั้น ทาสีคนหนึ่งของธิดาเศรษฐี นำดอกไม้
มาให้ธิดาเศรษฐี. ลำดับนั้น เศรษฐีจึงกล่าวกะทาสีนั้นว่า พักงานนั้น
ไว้เสีย จงล้างเท้าพ่อโฆสกะ จัดที่นอนให้. ทาสีนั้นก็ทำตามคำสั่งแล้วไป
ตลาด นำดอกไม้มาให้ธิดาเศรษฐี. ธิดาเศรษฐีเห็นทาสีนั้นแล้วก็ดุนางว่า
วันนี้ เจ้าชักช้าอยู่ข้างนอกนานนัก โกรธแล้วจึงกล่าวว่า เจ้ามัวทำอะไรใน
ที่นั้นตลอดเวลาเท่านี้ ทาสีกล่าวว่า แม่เจ้าอย่าพูดเลยเจ้าค่ะ ดิฉันไม่เคยเห็น
ชายหนุ่มรูปงามเห็นปานนี้เลย เขาเป็นชายหนุ่มคนหนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐี
สหายบิดาของแม่เจ้า ดิฉันไม่อาจกล่าวถึงรูปสมบัติของเขาได้ ดิฉันกำลัง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 110
จะไปนำดอกไม้มา ท่านเศรษฐีก็ใช้ให้ดิฉันล้างเท้าชายหนุ่มคนนั้น ให้
จัด ที่นอนให้ ด้วยเหตุนั้น ดิฉันจึงชักช้าอยู่ข้างนอกเสียนาน เจ้าค่ะ. ธิดา
เศรษฐีแม้นั้น ได้เคยเป็นแม่เรือนของชายหนุ่มนั้น ในอัตภาพที่ ๔
เพราะเหตุนั้น ตั้งแต่ได้ฟังคำของทาสีนั้น ก็ไม่รู้สึกตัวว่ายืน ไม่รู้สึกตัวว่า
นั่ง นางก็พาทาสีนั้นไปยังที่นายโฆสกะนั้นนอนอยู่ มองดูเขากำลังหลับ
เห็นหนังสือที่ชายผู้ สงสัยว่านั่นหนังสืออะไร ไม่ปลุกชายหนุ่มให้ตื่น
หยิบหนังสือเอามาอ่าน ก็รู้ว่า ชายหนุ่มผู้นี้ถือหนังสือฆ่าตัวไปด้วยตนเอง
จึงฉีกหนังสือนั้น. เมื่อชายหนุ่มนั้นยังไม่ตื่น ก็เขียนหนังสือ [เปลี่ยน
ความเสียใหม่ ] ว่า ท่านจงส่งสาสน์ของเราไปว่า เราส่งบุตรไปยังสำนัก
ท่าน คามิกเศรษฐีสหายเรามีธิดาเจริญวัยแล้ว ท่านจงรีบรวบรวมทรัพย์
ที่เกิดในที่อาณาบริเวณของเรา ถือเอาธิดาของคามิกเศรษฐี ทำการมงคล
แก่บุตรของเรา ด้วยทรัพย์ทุกอย่าง ๆ ละ ๑๐๐ แล้ว เมื่องานมงคล
เสร็จ ท่านจงส่งสาสน์ให้เราทราบว่า ทำการมงคลแล้วด้วยวิธีนี้ เรา
จักรู้กิจที่พึงทำแก่ท่านในที่นี้ ใส่ตราหนังสือนั้นแล้วก็ผูกไว้ที่ชายผ้าเหมือน
เดิม ชายหนุ่มแม้นั้นอยู่บ้านคามิกเศรษฐีนั้นวันหนึ่งแล้ว รุ่งขึ้นก็อำลา
เศรษฐีไปยังบ้านของคนทำงานมอบหนังสือนั้นให้ คนทำงานอ่านหนังสือ
แล้ว ก็ให้ประชุมชาวบ้านกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย อย่าสนใจเราเลย นาย
ของเราส่งข่าวมายังสำนักเราว่า จงนำเด็กหญิงมาด้วยทรัพย์ทุกอย่าง ๆ
ละ ๑๐๐ แก่บุตรคนโตของตน พวกท่านจงรีบรวบรวมทรัพย์ที่เกิดในที่
นี้มา แล้วก็จัดการพิธีมงคลเครื่องสักการะ. [แต่งงาน] ทุกอย่าง ส่งข่าว
แก่คามิกเศรษฐีให้รับแล้ว ให้ตกลงงานมงคล [สมรส] ด้วยทรัพย์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 111
ทุกอย่าง ๆ ละ ๑๐๐ แล้วส่งหนังสือถึงโกสัมพิก๑เศรษฐีว่า ข้ารู้ข่าวใน
หนังสือที่ท่านส่งไปแล้ว ก็กระทำกิจอย่างนี้ ๆ เสร็จแล้ว.
เศรษฐีฟังข่าวนั้นแล้วเหมือนถูกเผาแล้วในกองไฟฉะนั้น ถึงความ
เป็นโรคลงโลหิต เพราะอำนาจที่คิดว่า บัดนี้เราวอดวายแล้ว ดังนี้ ก็ให้คน
เรียกนายโฆสกะนั้นด้วยคิดจะทำอุบายบางอยู่ หมายใจว่าจักทำมันไม่ให้เป็น
เจ้าของทรัพย์สมบัติของตน ตั้งแต่งานมงคลเสร็จแล้ว ก็ส่งข่าวไปว่า เหตุไร
บุตรของเราจึงอยู่เสียภายนอก จงรีบกลับมาเถิด เมื่อชายหนุ่มฟังข่าวแล้ว
ก็เริ่มจะไป ธิดาเศรษฐีคิดว่า สามีนี้เขลา ไม่รู้ดอกว่า สมบัตินี้อาศัยเราจึง
ได้มา ควรที่เราจะทำบางอย่าง แล้วก็ทำอุบายห้ามแม้การไปของเขาเสีย แต่
นั้นจึงกล่าวกะสามีว่า พ่อหนุ่มอยู่รีบด่วนนักเลย ดิฉันก็จะไปบ้านของ
สกุล ธรรมดาว่าผู้ไปควรจะตระเตรียมการของตนแล้วจึงค่อยไป ฝ่าย
โกสัมพิกเศรษฐีรู้ว่าบุตรนั้นชักช้าอยู่ ก็ส่งข่าวไปอีกว่า เหตุไรบุตรเราจึง
ชักช้าอยู่ เราเป็นโรคลงโลหิต ควรที่เจ้าจะมาพบเราขณะที่ยังเป็นอยู่. เวลา
นั้น ธิดาเศรษฐีก็บอกแก่สามีนั้นว่า เศรษฐีนั้นไม่ใช่บิดาของท่านดอก
ท่านก็ยังเข้าใจว่าเป็นบิดา เศรษฐีนั้นส่งหนังสือแก่คนทำงาน เพื่อให้
เขาฆ่าท่าน ดิฉันจึงเปลี่ยนหนังสือนั้น เขียนข้อความเสียใหม่ ทำสมบัติ
นี้ให้เกิดแก่ท่าน เศรษฐีนั้นเรียกท่านไป หมายใจจะทำท่านไม่ให้เป็น
บุตรต่างหาก ท่านจงรอการตายของเศรษฐีนั้นเถิด.
ครั้งนั้น นายโฆสกะไม่ไปด้วยทั้งที่เศรษฐีนั้นก็เป็นอยู่ ต่อทราบ
ว่าเขาเพียบหนัก จึงไปนครโกสัมพี แม้ธิดาเศรษฐีก็ให้สัญญาจำหมาย
ภายนอกแก่สามีนั้นว่า ท่านเมื่อเข้าไป ก็จัดอารักขาไว้ทั่วบ้านจึงเข้าไป
๑. ม. ๓๒๙ เป็นคนเดียวกันกับโกสัมพิยเศรษฐี.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 112
ตนเองก็ไปพร้อมกับบุตรเศรษฐี ยกแขนทั้งสองขึ้นทำเป็นร่ำไห้ไปใกล้ ๆ
เศรษฐี ซึ่งนอนอยู่ในที่ค่อนข้างมืด เอาศีรษะกระแทกตรงหัวใจ เศรษฐี
นั้นก็ทำกาละด้วยการกระแทกนั้นนั่นแหละ เพราะเขาหมดกำลัง. ชายหนุ่ม
ก็ทำสรีระกิจของบิดา ให้สินบนแก่คนใกล้ชิดว่า พวกท่านจงบอกว่าฉัน
เป็นบุตรตัวของเศรษฐี จากนั้นวันที่ ๗ พระราชาทรงดำริว่าควรจะได้
คน ๆ หนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งเศรษฐี จึงทรงส่งคนไปสำรวจว่า เศรษฐี
มีบุตรหรือไม่มีบุตร. พวกคนใกล้ชิดเศรษฐีก็กราบทูลพระราชาถึงว่า
เศรษฐีมีบุตร พระราชาทรงรับรองแล้ว ก็ได้พระราชทานตำแหน่ง
เศรษฐีแก่เขา เขาก็ชื่อว่าโฆสกเศรษฐี. ครั้งนั้น ภริยาก็กล่าวกะสามีว่า
พ่อเจ้า ท่านก็เกิดมาต่ำ ดิฉันก็บังเกิดในสกุลตกยาก เราได้สมบัติเห็น
ปานนี้ ก็ด้วยอำนาจกุศลที่เราทำกันแต่ปางก่อน แม้บัดนี้เราก็จักทำกุศล.
สามก็รับปากว่า ดีละน้องเอ๋ย ก็สละทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะทุกวัน ตั้ง
ทานไว้เป็นประจำ.
ในสมัยนั้น บรรดาชนทั้งสองนั้น นางขุชชุตตรา จุติจากเทวโลก
ถือปฏิสนธิในครรภ์ของแม่นม ในเรือนของโฆสกเศรษฐี เวลาที่เกิด
นางมีร่างค่อม เพราะฉะนั้น คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อว่า ขุชชุตตรา.
ส่วนนางสามาวดี จุติจากเทวโลกแล้ว ถือปฏิสนธิในเรือนของ
ภัททวติยเศรษฐี แคว้นภัททวติยะ. ต่อมานครนั้นเถิดฉาตกภัยอดอยาก
ผู้คนทั้งหลายกลัวอดอยาก จึงแยกย้ายกันไป. ครั้งนั้น ภัททวติยเศรษฐี
นี้ปรึกษากับภริยาว่า น้องเอ๋ย ฉาตกภัยนี้ยังไม่ปรากฏภายใน จำเราจักไป
หาโฆสกเศรษฐีสหายเราในกรุงโกสัมพี สหายนั้นพบเรา คงจักไม่รู้จัก
นัยว่าเศรษฐีนั้นได้เป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกันของโฆสกเศรษฐีนั้น เพราะ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 113
เหตุนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. ภัททวติยเศรษฐีนั้น ให้คนที่เหลือกลับกันแล้ว
ก็พาภริยาและธิดาเดินทางไปกรุงโกสัมพี ทั้งสามคนประสบทุกข์เป็นอัน
มากในระหว่างทาง ก็บรรลุกรุงโกสัมพีตามลำดับ พักอาศัยอยู่ ณ ศาลาหลัง
หนึ่ง. ฝ่ายโฆสกเศรษฐี ให้เขาจัดมหาทานแก่พวกคนกำพร้า คนเดินทาง
ไกล วณิพก และยาจกใกล้ประตูเรือนของตน. ครั้งนั้น ภัททวติยเศรษฐีนี้
ก็คิดว่า เราไม่อาจแสดงตัวแก่เศรษฐีสหาย ด้วยเพศของตนกำพร้านี้ได้
เมื่อร่างกายเป็นปกติ เรานุ่งห่มดีแล้วจึงจักไปพบเศรษฐี แม้ทั้งสองคน
ก็ส่งธิดาไปโรงทานของโฆสกเศรษฐี เพื่อนำอาหารมาให้ตน ธิดานั้นก็
ถือภาชนะไปโรงทาน ยืนเอียงอายอยู่ ณ โอกาสแห่งหนึ่ง คนจัดการทาน
เห็นนางก็คิดว่า คนอื่น ๆ ทำเสียงดังเหมือนกับชาวประมงแย่งซื้อและขาย
ปลาในที่ประชุมพร้อมหน้ากัน ได้แล้วก็ไป ส่วนเด็กหญิงผู้นี้ คงจักเป็น
กุลธิดา เพราะฉะนั้น อุปธิสัมปทาของนางจึงมีอยู่. แต่นั้นจึงถามนางว่า
แม่หนู เหตุไรเจ้าจึงไม่รับเพื่อนกะคนอื่น ๆ เล่า. นางตอบว่า พ่อท่าน
ดิฉันจักกระทำการเบียดเสียดกันขนาดนี้เข้าไปได้อย่างไร. เขาถามว่า แม่หนู
พวกเจ้ามีกี่คนเล่า. นางตอบว่า ๓ คนจ้ะพ่อท่าน. เขาก็ให้ข้าว ๓ ก้อน
นางก็ให้ข้าวนั้นแก่บิดามารดา บิดาหิวโหยมานานกินเกินประมาณก็เลยตาย.
รุ่งขึ้น นางก็ไปรับข้าวมา ๒ ก้อนเท่านั้น วันนั้นภริยาเศรษฐี ก็ตายเสียต่อ
จากเวลาเที่ยงคืน เพราะลำบากด้วยอาหารและเพราะเศร้าโศกถึงเศรษฐีที่
ตาย. วันรุ่งขึ้น ธิดาเศรษฐีรับก้อนข้าวก้อนเดียวเท่านั้น คนจัดการทาน
ใคร่ครวญดูกิริยาของนาง จึงถามว่า แม่หนู วันแรกเจ้ารับก้อนข้าวไป
๓ ก้อน รุ่งขึ้นรับก้อนข้าวไป ๒ ก้อน วันนี้รับก้อนข้าวก้อนเดียวเท่านั้น
เกิดเหตุอะไรขึ้นหรือ นางจึงบอกเล่าเหตุการณ์นั้น . เขาถามว่า แม่หนู
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 114
เจ้าเป็นชาวบ้านไหนเล่า. นางก็เล่าเหตุการณ์โดยตลอด. เขากล่าวว่า แม่หนู
เมื่อเป็นดังนั้น เจ้าก็เป็นธิดาเศรษฐีของเรา เราไม่มีเด็กหญิงอื่น ๆ เจ้าจง
เป็นธิดาเราเสียตั้งแต่บัดนี้ แล้วก็รับนางไว้เป็นธิดา.
นางได้ยินเสียงดังอื้ออึงในโรงทานก็ถามว่า พ่อท่าน เหตุไรจึง
เสียงดังลั่น ดังนี้ . เขาก็ตอบว่า แม่หนู ในระหว่างคนมาก ๆ ไม่อาจทำ
ให้มีเสียงเบาลงได้ดอก. นางกล่าวว่า พ่อท่าน ฉันรู้อุบายในเรื่องนี้. เขา
ถามว่า ควรจะทำอย่างไรเล่า แม่หนู. นางบอกว่า พ่อท่าน พวกท่าน
จงทำรั้วไว้รอบ ๆ ประกอบประตู ๒ ประตู. ให้ตั้งภาชนะ [แจกทาน]
ไว้ข้างใน ให้คนเข้าไปทางประตูหนึ่ง รับอาหารแล้วให้ออกไปทางประตู
หนึ่ง. เขารับว่า ดีละแม่หนู แล้วก็ให้กระทำอย่างนั้น. ตั้งแต่วันรุ่งขึ้น
นับแต่นั้นมาโรงทานก็มีเสียงเงียบประหนึ่งสงบไป. แต่นั้นโฆสกเศรษฐี
ได้ยินเสียงดังอื้ออึงในโรงทานมาแต่ก่อน. ครั้งนั้น เมื่อไม่ได้ยินเสียงนั้น.
จึงเรียกคนจัดการทานมา ถามว่า วันนี้ท่านให้เขาให้ทานแล้วหรือ เขา
ตอบว่า ให้ทานแล้ว นายท่าน. เศรษฐีถามว่า ถ้าเช่นนั้น เหตุไรจึง
ไม่ได้ยินเสียงในโรงทานเหมือนแต่ก่อน. เขาตอบว่า จริงสิ นายท่าน
ผมมีธิดาอยู่คนหนึ่ง ผมทำคามอุบายที่นางบอก จึงทำโรงทานให้ไม่มีเสียง.
เศรษฐีถามว่า เจ้าไม่มีธิดา เจ้าได้ธิดามาแต่ไหน. คนจัดการทาน
นั้น ก็เล่าเรื่องที่ธิดามาทุกอย่างแก่เศรษฐี เพราะไม่อาจจะหลอกลวงได้.
เศรษฐีกล่าวว่า พ่อมหาจำเริญ เหตุไรเจ้าจึงได้ทำกรรมหนักเห็นปานนี้
ไม่บอกเรื่องธิดาซึ่งอยู่ในสำนักตนแก่เราเสียตั้งนานเพียงนี้ เจ้าจงรีบให้
นำนางมาไว้เรือนเรา. คนจัดการทานนั้นฟังคำเศรษฐีแล้ว ก็ให้นำนางมา
ทั้งที่ตนไม่ประสงค์เช่นนั้น. ตั้งแต่นั้นมา เศรษฐีก็ตั้งนางไว้ในตำแหน่งธิดา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 115
คิดว่าจะรับขวัญธิดา จึงจัดหญิงสาว ๕๐๐ นางที่มีวัยรุ่นเดียวกัน จาก
สกุลที่มีชาติทัดเทียมกับตนมาเป็นบริวารของนาง.
ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าอุเทนเสด็จครวญพระนครทอดพระเนตรเห็น
นางสามาวดีนั้น มีหญิงสาวเหล่านั้นแวดล้อมเล่นอยู่ ตรัสถามว่า เด็กหญิง
นี้ของใคร ทรงสดับว่า ธิดาของโฆสกเศรษฐี ตรัสถามว่า ไม่มีสามีหรือ
เมื่อเขาทูลว่า ไม่มีสามี จึงดำรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงไปบอกเศรษฐีว่าพระ-
ราชามีพระราชประสงค์ธิดาท่าน. เศรษฐีฟังแล้ว บอกเขาว่า เราไม่มีเด็ก
หญิงอื่น ๆ ไม่อาจให้ธิดาคนเดียวอยู่กับสามีได้. พระราชาทรงสดับคำนั้น
แล้วสั่งให้เศรษฐีและภริยาอยู่นอกบ้าน ให้ปิดประตูตีตราทั่วทุกหลังเรือน.
นางสามาวดีไปเล่นเสียนอกบ้านกลับมาเห็นบิดามารดานั่งอยู่นอกบ้าน จึง
ถามว่า แม่จ๋า พ่อจ๋า เหตุไรจึงมานั่งที่นี้. เศรษฐีและภริยาก็แจ้งเหตุนั้น.
นางจึงกล่าวว่า แม่จ๋า พ่อจ๋า อย่าทูลตอบพระราชาอย่างนั้นสิจ๊ะ บัดนี้
จงให้ทูลอย่างนี้นะพ่อนะว่า ธิดาของเราไม่อาจอยู่ผู้เดียวกับสามีได้ ถ้า
พระองค์ทรงให้หญิงสาว ๕๐๐ คน บริวารของนางอยู่ด้วย นางจึงจะอยู่
ด้วย. เศรษฐีกล่าวว่า ดีละลูกเอ๋ย พ่อไม่รู้จิตใจของเจ้านี่ เศรษฐีและภริยา
จึงกราบทูลอย่างนั้น พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป ตรัสว่า ๑,๐๐๐ คน
ก็ช่างเถิด จงนำมาทั้งหมด. ครั้งนั้น เศรษฐีและภริยาจึงนำธิดานั้น มี
หญิง ๕๐๐ คนเป็นบริวารไปยังพระราชนิเวศน์ โดยมงคลนักษัตรฤกษ์
อันเจริญ พระราชาก็ทรงทำหญิง ๕๐๐ คนเป็นบริวารของนางแล้ว ทรง
ทำอภิเษกให้นางอยู่ในปราสาทหลังหนึ่ง.
ก็สมัยนั้น ในกรุงโกสัมพี เศรษฐี ๓ คนคือโฆสกเศรษฐี กุกกุฏ-
เศรษฐี และปาวาริกเศรษฐี เป็นสหายกันและกัน. เศรษฐีแม้ทั้ง ๓ คน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 116
ก็บำรุงดาบส ๕๐๐ รูป แม้เหล่าดาบสก็อยู่ในสำนักเศรษฐีทั้ง ๓ คนนั้น
๔ เดือน อยู่ป่าหิมวันต์ ๘ เดือน. ต่อมาวันหนึ่ง ดาบสเหล่านั้นมาจาก
ป่าหิมวันต์ หิวกระหายลำบากในทางกันดารมาก จึงพากันไปยังต้นไทร
ใหญ่ต้นหนึ่ง มุ่งหวังรับการสงเคราะห์จากสำนักเทวดาที่สถิตอยู่ ณ ต้น
ไทรใหญ่นั้น นั่งกันอยู่. เทวดาก็ยื่นมือที่ประดับด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง
หลั่งถวายน้ำปานะที่ควรแก่การดื่มเป็นต้นแก่ดาบสเหล่านั้น ช่วยบรรเทา
ความลำบากได้. ดาบสเหล่านั้นประหลาดใจ เพราะอานุภาพของเทวดา
จึงถามว่า ท่านเทวดา ท่านทำกรรมอะไรหนอ จึงได้สมบัตินั้น. เทวดา
บอกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า พุทธะ ทรงอุบัติแล้วในโลก
บัดนี้ พระองค์ประทับอยู่กรุงสาวัตถี คฤหบคีชื่ออนาถบิณฑิกะอุปัฎฐาก
พระองค์อยู่ วันอุโบสถ อนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น ให้ค่าอาหารประจำวัน
แก่คนงานของคนแล้วให้ทำอุโบสถ ก็เราเข้าไปเพื่อต้องการอาหารเช้า
ในตอนกลางวันวันหนึ่ง ไม่เห็นคนงานใคร ๆ ทำงานเลย จึงถามว่า
เหตุไรวันนี้คนงานทั้งหลายไม่ทำงานกัน คนทั้งหลายจึงบอกเรื่องนั้น
แก่เรา เมื่อเป็นดังนั้น เราจึงกล่าวว่า บัดนี้ก็ล่วงไปตั้งครึ่งวันแล้ว เรา
จะอาจทำอุโบสถได้ครึ่งวันหรือหนอ. แม่นั้น คนทั้งหลายก็บอกแก่เศรษฐี
แล้ว เศรษฐีกล่าวว่า ทำครึ่งวันก็ได้ เราฟังคำนั้นแล้ว ก็สมาทานอุโบสถ
ครึ่งวันทำกาละเสียในวันนั้นนั่นเองแล้วมาได้สมบัตินี้. ครั้งนั้นดาบสเหล่า
นั้น เกิดปีติปราโมทย์ว่า เขาว่าพระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว ในโลก แม้
ประสงค์จะไปจากที่นั้นสู่กรุงสาวัตถี ก็คิดว่าพวกเศรษฐีผู้อุปัฏฐากเรามีอุป-
การะมาก จำเราจักบอกเรื่องนั้นแก่เศรษฐีเหล่านั้น จึงพากันไปกรุง
โกสัมพี พวกเศรษฐีกระทำสักการะสัมมานะเป็นอันมาก จึงบอกว่า พวก
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 117
เราจะไปกันในวันนี้นี่แหละ. พวกเศรษฐีต่อว่าว่า ท่านเจ้าข้า พวกท่านรีบ
ร้อนนักหรือ เมื่อก่อนท่านอยู่กัน ๔-๕ เดือนแล้วจึงไป จึงบอกเรื่องนั้น.
เมื่อเหล่าเศรษฐีบอกว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าอย่างนั้นพวกเราก็จะไปกันทั้งหมด
ก็บอกว่าพวกเราจะไปกัน พวกท่านก็ค่อย ๆ มากันเถิด แล้วไปถึงกรุง
สาวัตถี บวชในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็บรรลุพระอรหัต.
ฝ่ายเศรษฐีเหล่านั้น มีเกวียน ๕๐๐ เล่มเป็นบริวาร ถึงกรุงสาวัตถี
ในภายหลัง ตั้งค่ายพักในที่ไม่ไกลพระเชตวันวิหาร เข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดา
ทรงแสดงธรรมด้วยอำนาจจริยาของคนเหล่านั้น จบเทศนา เศรษฐีทั้ง ๓
คน ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล นิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น ถวายมหาทาน
แก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุขในวันรุ่งขึ้น นิมนต์เพื่อ
เสวยในวันนี้ โดยทำนองนั้นนั่นแล ถวายขันธวารภัตทาน (ทานของ
คนตั้งค่ายพัก) สิ้นไปครึ่งเดือน จึงทูลอ้อนวอนพระ ศาสดา เพื่อเสด็จ
มาสู่นครของตน. พระศาสดาตรัสว่า พระตถาคตทั้งหลายยินดีนักในเรือน
ว่าง ดังนี้ . เศรษฐีเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทราบกัน
แล้ว แล้วกราบทูลว่า ขอพระองค์โปรดเสด็จมาตามสาสน์ที่พวกข้า-
พระองค์ส่งมานะพระเจ้าข้า ถวายบังคมพระศาสดาทำประทักษิณเวียนขวา
๓ รอบแล้ว กลับไปนครของตนทั้ง ๓ คน ก็ให้สร้างพระวิหารใน
อุทยานของตน วิหารที่โฆสกเศรษฐีสร้าง ชื่อว่า โฆสิตาราม ที่กุกกุฏ-
เศรษฐีสร้าง ชื่อว่ากุกกุฏาราม ที่ปาวาริกเศรษฐีสร้าง ชื่อว่าปาราริกัมพวัน-
วิหาร. เศรษฐีเหล่านั้นให้สร้างวิหารเสร็จแล้วส่งทูตไปทูลพระศาสดาว่า ขอ
พระศาสดาโปรดเสด็จมาพระนครนี้ เพื่อสงเคราะห์พวกข้าพระองค์เถิด.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 118
พระศาสดาทรงพระดำริว่า จักเสด็จไปกรุงโกสัมพี มีภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกจาริก ทรงเห็นอุปนิสัยพระอรหัตของ
มาคัณฑิยพราหมณ์ ในระหว่างทาง จึงงดการเสด็จไปกรุงโกสัมพี เสด็จ
ไปยังนิคม ชื่อว่ากัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ. สมัยนั้น มาคัณฑิยพราหมณ์
บำเรอไฟอยู่นอกบ้านตลอดคืนยังรุ่ง เช้าตรู่ จึงเข้ามาบ้าน วันรุ่งขึ้น
แม้พระศาสดา ก็เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน เดินสวนทางกัน แสดง
พระองค์แก่มาคัณฑิยพราหมณ์. มาคัณฑิยพราหมณ์นั้น เห็นพระทศพล
ก็คิดว่า เราเที่ยวแสวงหาเด็กหนุ่ม ที่ทัดเทียมกันกับรูปสมบัติแห่งธิดา
ของเรา ตลอดเวลาเท่านี้ เมื่อรูปสมบัติแม้มีอยู่ เราก็ปรารถนาการ
บรรพชาที่ผู้นี้ถืออยู่เช่นนี้เหมือนกัน แต่บรรพชิตผู้นี้ งามน่าชม ช่าง
เหมาะสมกับธิดาของเราจริง ๆ จึงรีบกลับไปเรือน. นับว่า พราหมณ์นั้น
เป็นวงศ์บรรพชิตวงศ์หนึ่งมาก่อน ด้วยเหตุนั้น พอเห็นบรรพชิตเท่านั้น
จิตใจของเขาจึงน้อมไป พราหมณ์ปรึกษากะนางพราหมณีว่า น้องเอ๋ย
ฉันปรารถนาการบรรพชาอย่างนี้ ฉันไม่เคยพบบรรพชิตเห็นปานนี้ เป็น
เพศพราหมณ์มีผิวพรรณดั่งทอง ช่างเหมาะสมกับธิดาแท้ ๆ จงรีบแต่ง
ตัวธิดาของเจ้าสิ. เมื่อนางพราหมณีกำลังแต่งตัวธิดาอยู่ พระศาสดาก็ทรง
แสดงพระเจดีย์คือรอยพระบาทไว้ในที่ที่เขาพบพระองค์ เสด็จเข้าไป
ภายในพระนคร. ขณะนั้น พราหมณ์พาธิดาพร้อมกับนางพราหมณี
มายังที่นั้น ตรวจดูรอบ ๆ เพราะเขามาเวลาที่พระศาสดาเสด็จเข้าไปใน
หมู่บ้าน ไม่เห็นพระทศพล ก็บริภาษนางพราหมณีว่า การกระทำของเจ้านี้
ชื่อว่าดีไม่มีเลย เพราะเจ้ามัวทำชักช้าอยู่ บรรพชิตผู้นั้นจึงออกไปเสีย.
พราหมณ์ตรวจดูที่พระศาสดาเสด็จไปว่า บรรพชิตไปแล้ว ช่างก่อนเถิด
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 119
ไปทางทิศไหนหรือไปทางทิศนี้ ก็พบเจดีย์คือรอยพระบาท กล่าวว่า
แม่มหาจำเริญ นี้รอยเท้าบุรุษนั้น เขาคงจักไปทางนี้. ขณะนั้น นาง-
พราหมณีเห็นเจดีย์คือรอยพระบาทของพระศาสดา คิดว่า ตาพราหมณ์
ผู้นี้ช่างโง่จริงหนอ ไม่รู้ความหมายแม้เพียงคัมภีร์ของตน จึงทำการ
เย้ยหยัน พูดกับพราหมณ์นั้นว่า ท่านพราหมณ์ ท่านโง่เพียงนี้แล้ว
ยังจะมาพูดว่า เราจะให้ธิดาแก่บุรุษผู้เห็นปานนั้น. ด้วยว่า ธรรมดา
รอยเท้าของบุรุษผู้ที่ราคะย้อมแล้ว โทสะประทุษร้ายแล้ว โมหะให้ลุ่มหลง
แล้วจะไม่เป็นเช่นนั้น ดูสิพราหมณ์ นั่นเป็นรอยเท้าของพระสัพพัญญู-
พุทธะ ผู้มีหลังคาเปิดแล้วในโลก.
รตฺตสฺส หิ อุกฺกุฏิก ปท ภเว
ทุฏฺฐสฺส โหติ อวกฑฺฒิต ปท
มูฬฺหสฺส โหติ สหสานุปีฬิต
วิวฏจฺฉทสฺส อิทมีทิส ปทนฺติ.
แท้จริง รอยเท้าของผู้ที่ถูกราคะย้อมแล้วพึงเป็น
รอยเท้ากระหย่ง รอยเท้าของผู้ที่ถูกโทสะประทุษ-
ร้ายแล้ว พึงเป็นรอยเท้าจิกปลาย รอยเท้าของผู้ที่ถูก
โมหะให้ลุ่มหลงแล้ว พึงเป็นรอยเท้าที่กดลงส้นเท้า
นี้เป็นรอยเท้าของผู้ที่มีหลังคาเปิดแล้วแล.
เมื่อนางพราหมณีพูดเพียงนั้น พราหมณ์นั้นก็ไม่ฟังคำ กลับหาว่า
เป็นหญิงปากร้ายเสียซ้ำไป. เมื่อสองสามีภริยาพูดทุ่มเถียงกันอยู่นั่นแล
พระศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต พร้อมกับภิกษุสงฆ์ เสวยเสร็จแล้ว
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 120
จึงเสด็จออกไป ใกล้ทางที่พราหมณ์แลเห็นได้. พระแลเห็นพระ-
ศาสดาเสด็จมาแต่ไกล ก็บอกนางพราหมณี ร่าเริงยิ้มแย้มพูดว่า ผู้นี้
คือบุรุษผู้นั้น จึงยืนทรงพระพักตร์ทูลว่า ท่านบรรพชิตผู้เจริญ ข้าพเจ้า
เที่ยวหาท่านตั้งแต่เช้า. ในชมพูทวีปนี้ ไม่มีสตรีผู้ใดมีรูปงามเสมอกับ
ธิดาของข้าพเจ้า แม้บุรุษก็ไม่มีผู้ใดมีรูปงามเสมอกับท่าน ข้าพเจ้าให้ธิดา
ของข้าพเจ้า เพื่อท่านจะได้เลี้ยงดู ท่านรับนางไปเถิด. ครั้งนั้น
พระศาสดาจึงตรัสกะพราหมณ์นั้นว่า พราหมณ์ แม้แต่เหล่าเทพธิดาอยู่
ในสวรรค์ชั้นกามาวจร มีรูปเลอเลิศ มีผิวพรรณต่างๆ กัน มายืนใน
สำนักกล่าวถ้อยคำเพื่อประเล้าประโลมเรา เรายังไม่ปรารถนา จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงธิดาของท่านว่าเราจะรับ ครั้นตรัสแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ทิสฺวาน ตณฺห อรติญฺจ ราค
นาโหสิ ฉนฺโท อปิ เมถุนสฺมึ
กิเมวิท มุตฺตกรีสปุณฺณ
ปาทาปิ น สมฺผุสิตุ น อิจฺเฉ.
เพราะเห็นนางตัณหา นางอรดี นางราคา แม้
ความพอใจในเมถุน ก็ไม่มีเลย สรีระนี้ เต็มไปด้วย
อุจจาระปัสสาวะทั้งนั้นหนอ แม้แต่เท้า เราก็ไม่
ปรารถนาจะแตะต้องนาง.
นางมาคัณฑิยาคิดว่า ธรรมดาคนที่ไม่ต้องการพูดปฏิเสธว่า อย่าเลย
เท่านี้ก็ควร แต่บรรพชิตผู้นี้ ทำสรีระของเราให้เป็นที่เต็มไปด้วย
อุจจาระปัสสาวะ แล้วยังพูดว่า แม้แต่เท้า ก็ไม่ปรารถนาจะแตะต้อง.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 121
เราเมื่อได้ตำแหน่งยิ่งใหญ่ตำแหน่งหนึ่ง จักดูจุดจบของบรรพชิตนั้นแล้ว
ผูกอาฆาตไว้. พระศาสดามิได้ทรงใส่พระทัยนาง ทรงเริ่มพระธรรมเทศนา
โปรดพราหมณ์ ด้วยอำนาจจริยาของเขา. จบเทศนา สองสามีภริยา
ก็ดำรงอยู่ในอนาคามิผลแล้วดำริว่า บัดนี้เราไม่ต้องการครองเรือนแล้ว
จึงให้มาคัณฑิยพราหมณ์ผู้เป็นอารับธิดาไว้ ทั้งสองคนก็บวชแล้วบรรลุ
พระอรหัต. ครั้งนั้น พระเจ้าอุเทนได้ทรงทำการพูดจาทกลงกับมาคัณฑิย-
พราหมณ์ผู้เป็นอา แล้วทรงนำเด็กสาวมาคัณฑิยา มายังพระราชนิเวศน์
ด้วยพระราชานุภาพ ทรงอภิเษกพระราชทานปราสาทต่างหาก เพื่อพระ-
นางมาคัณฑิยากับบริวารสตรี ๕๐๐ ได้อยู่.
ฝ่ายพระศาสดา เสด็จจาริกโดยลำดับ มาถึงกรุงโกสัมพี. ท่าน
พวกเศรษฐี [ ๓ คน] รู้ว่าพระศาสดาเสด็จมา จึงออกไปรับเสด็จ
ถวายบังคนด้วยเบญจางคประดิษฐ์นั่ง ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิหารทั้ง ๓ นี้ ข้าพระองค์
สร้างเจาะจงพระองค์ ขอได้โปรดทรงรับวิหารทั้งหลาย เพื่อสงเคราะห์
สงฆ์ที่จาริกมาแต่ทิศทั้ง ๔ เถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ
วิหารไว้. แม้เศรษฐีเหล่านั้น ก็อาราธนาพระศาสดา เพื่อเสวยอาหาร
ในวันรุ่งขึ้น ถวายบังคมแล้วก็กลับบ้าน. ฝ่ายพระนางมาคัณฑิยา ทรง
ทราบว่า พระศาสดาเสด็จมา จึงให้เรียกเหล่านักเลงผู้ตัดช่องมาแล้ว
ให้สินจ้างแก่นักเลงเหล่านั้น ตรัสว่า พวกเจ้าจงด่าพระสมณโคดมด้วย
ทำนองอย่างนี้ แล้ส่งไป. นักเลงเหล่านั้นก็ด่าพระศาสดาพร้อมทั้งบริวาร
เวลาเสด็จเข้าภายในหมู่บ้าน ด้วยเรื่องสำหรับค่า มีอย่างต่าง ๆ. ท่าน
พระอานนท์กราบทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เราจักไม่อยู่
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 122
ในสถานที่ด่ากันเห็นปานนี้ จักไปนครอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
อานนท์ ธรรมดาพระตถาคตย่อมไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ ประการ
เสียง [ด่า] แม้นี้ก็จักดำเนินไปไม่เกิน ๗ วัน ทัณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
จักตกอยู่เหนือพวกที่ด่านั่นแหละ เธออย่าวิตกไปเลย. ส่วนเศรษฐีของ
นครทั้ง ๓ คนนั้น ทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป ด้วยสักการะ
ยิ่งใหญ่ ถวายมหาทาน. เศรษฐีเหล่านั้นกำลังถวายทานต่อเนื่องกันไป
ก็ล่วงเวลาไปเดือนหนึ่ง. ครั้งนั้น เศรษฐีเหล่านั้น ก็ดำริอย่างนี้ว่า
ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงอุบัติมาอนุเคราะห์โลกทั้งปวง เราจัก
ให้โอกาสแก่คนเหล่าอื่นกันบ้าง. เศรษฐีชาวกรุงโกสัมพีนั้น จึงให้โอกาส
แก่ประชาชนดังแต่นั้นมา ชาวกรุงทั้งหลาย จึงถวายมหาทาน โดยจัด
เป็นสายคนร่วมถนน สายคนร่วมคณะ.
ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดามีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ประทับนั่งในเรือน
ของหัวหน้าช่างทำดอกไม้. ขณะนั้นนางขุชชุตตรา หญิงรับใช้พระนาง
สามาวดี นำกหาปณะ ๘ กหาปณะไปเรือนนั้น เพื่อต้องการดอกไม้
หัวหน้าช่างทำดอกไม้ เห็นนางก็กล่าวว่า แม่อุตตรา ไม่มีเวลาทำดอกไม่
ให้เธอดอก ฉันจักเลี้ยงดูพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้เธอ
ก็จงเป็นสหายในการเลี้ยงดูด้วย. ด้วยอาการอย่างนี้ ตั้งแต่นี้ไป เธอก็
จักพ้นจากการต้องขวนขวายรับใช้คนเหล่าอื่น. แต่นั้น นางขุชชุตตรา
บริโภคอาหารที่คนได้แล้ว ก็ทำการขวนขวายในโรงอาหาร เพื่อพระ-
พุทธะทั้งหลาย. นางเรียนธรรมที่พระศาสดาตรัสด้วยอำนาจอุปนิสันนกถา
ไว้ได้ทั้งหมด แต่ฟังอนุโมทนาแล้วก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. นางให้
๔ กหาปณะในวันอื่น ๆ รับดอกไม้ทั้งหลายแล้วก็ไป แต่ในวันนั้นไม่
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 123
เกิดจิตคิดอยากได้ในทรัพย์ของผู้อื่น เพราะเป็นผู้เห็นสัจจะแล้ว จึงให้
หมดทั้ง ๘ กหาปณะ. แล้วบรรจุดอกไม้เต็มกระเช้า นำดอกไม้ไปสำนัก
พระนางสามาวี. ลำดับนั้น พระนางตรัสถามนางว่า แม่อุตตรา ใน
วันก่อน ๆ เจ้านำดอกไม้มาไม่มากเลย แต่วันนี้ดอกไม้มาก พระราชา
ของเราทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้นหรือ. นางไม่ปิดบังกรรมที่คนทำแต่ก่อน
เพราะเป็นผู้ไม่ควรพูดเท็จ บอกเรื่องทั้งหมดเลย ครั้นถูกถามว่า เพราะ
เหตุไรวันนี้จึงนำมามาก จึงกล่าวอย่างนี้ว่า วันนี้ดิฉันฟังธรรมของพระ-
ทศพล กระทำให้แจ้งอมที่ธรรมแล้ว เพราะเหตุนั้นดิฉันจึงไม่หลอกลวง
พวกท่านเจ้าค่ะ. สตรีทั้งหลายฟังคำนั้นแล้ว กล่าวว่า แม่อุตตรา
เจ้าจงให้อมตธรรมที่เจ้าได้แล้ว แก่พวกเราด้วย แล้วก็พากันเหยียดมือ
ออกขอทุกคน. นางจึงกล่าวว่า แม่เจ้าเอ๋ย ให้อย่างไม่ได้ดอก แต่
ดิฉันจักแสดงธรรมแก่ท่าน ตามทำนองที่พระศาสดาตรัสแล้ว. เมื่อเหตุ
ของคนมีอยู่ พวกท่านจักได้ธรรมนั้น. สตรีทั้งหลายกล่าวว่า ถ้าอย่าง
นั้น จงกล่าวเถิดแม่อุตตรา. นางกล่าวว่า จะกล่าวอย่างนั้นไม่ได้ดอก
จงจัดอาสนะสูง ๆ แก่ดิฉัน พวกท่านจงนั่งอาสนะต่ำ ๆ. สตรีแม้ทั้ง
๕๐๐ นางนั้น ก็ให้อาสนะที่สูงแก่นางขุชชุตตรา ส่วนตงเองนั่งอาสนะ
ที่ต่ำ. แม้นางขุชชุตตรา ตั้งอยู่ในเสกขปฏิสัมภิทา แสดงธรรมแก่สตรี
เหล่านั้น. จบเทศนา สตรีทั้งหมดมีพระนางสามาวดีเป็นพระประมุข
ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ตั้งแต่นั้นมา สตรีเหล่านั้นก็ให้นางขุชชุตตรา
เลิกทำหน้าที่ทำงานรับใช้ แล้วกล่าวว่า ท่านฟังธรรมกถาของพระศาสดา
แล้วนำมาให้พวกเราฟัง. ตั้งแค่นั้นมา แม้นางขุชชุตตรา ก็ได้กระทำ
อย่างนั้น.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 124
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร นางขุชชุตตรานี้ จึงบังเกิดเป็นทาสี.
ตอบว่า ดังได้สดับมา นางขุชชุตตรานี้ ในศาสนาพระพุทธเจ้าพระนาม
ว่า กัสสปะ ได้ให้สามเณรีรูปหนึ่งทำการรับใช้ตน ด้วยกรรมนั้น นาง
จึงบังเกิดเป็นทาสีของคนอื่นถึง ๕๐๐ ชาติ. ถามว่า เพราะเหตุไร จึงเป็น
หญิงค่อม. ตอบว่า เขาเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ นางอยู่ใน
ราชนิเวศน์ของพระเจ้ากรุงพาราณสี เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
ประจำราชสกุลเป็นคนค่อม จึงทำการเย้ยหยันต่อหน้าเหล่าสตรีที่อยู่ด้วย
กันกับตน เที่ยวทำอาการว่าเป็นคนค่อม. เพราะเหตุนั้น นางจึงบังเกิด
เป็นหญิงค่อม. ถามว่า ก็นางทำบุญอะไรจึงเป็นผู้มีปัญญา. ตอบว่า
เขาเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้านั่งในอุบัตินางบังเกิดแล้ว อยู่ในราชนิเวศน์ของ
พระเจ้ากรุงพาราณสี เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ อบรมที่เต็ม
ด้วยข้าวปายาสร้อนจากรพนิเวศน์เดินไป กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า โปรด
หยุดพักตรงนั้น แล้วต่อไป จึงปลดทองปลายแขน ๘ วง ถวายไป.
ด้วยผลของกรรมนั้น นางจึงบังเกิดเป็นผู้มีปัญญา.
ครั้งนั้นแล สตรี ๕๐๐ นาง บริวารของพระนางสามาวดี แม้
แทงตลอดสัจจะแล้ว ก็ไม่ได้ไปสำนักของพระศาสดาเฝ้าพระพุทธเจ้า
คามกาลอันสมควร เพราะพระราชาไม่ทรงมีศรัทธา. เพราะเหตุนั้น
เมื่อพระทศพลเสด็จพระราชดำเนินระหว่างถนน เนื้อหน้าต่างท่งหลาย
มีไม่พอ สตรีเหล่านั้นที่เจ้าช่องในห้องของคนมองดู. [พระศาสดา].
ต่อมาวันหนึ่ง พระนางมาคัณฑิยา เสด็จดำเนินออกจากชั้นปราสาทของ
พระองค์ ไปยังที่อยู่ตรีเหล่านั้น เห็นช่องของห้องจึงทรงถามว่า
นี้อะไร เมื่อสตรีเหล่านั้นไม่รู้เรื่องการผูกอาฆาตในพระศาสดาของพระ-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 125
นางมาคัณฑิยาจึงทูลว่า พระศาสดาเสด็จมาพระนครนี้ พวกเรายืนที่ตรงนั้น
จักเห็นจักบูชาพระศาสดา เจ้าค่ะ ทรงคิดว่า สตรีเหล่านี้เป็นอุปัฏฐายิกา
ของพระสมณโคดมนั้น เราจักรู้กิจที่พึงทำแม้แก่สตรีเหล่านี้ แล้วเสด็จไป
กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า สตรีเหล่านี้ พร้อมกับพระ-
นางสามาวดี ปรารถนาจะออกไปภายนอก มันจะทำชีวิตของพระองค์
ให้ม้วยมรณ์ที่สุด ๒ - ๓ วัน เพคะ. พระราชาไม่ทรงเชื่อว่าสตรีเหล่านั้น
จักกระทำอย่างนั้น. แม้เมื่อพระนางมาคัณฑิยาทูลอีก ก็ไม่ทรงเชื่ออยู่
นั่นเอง. ครั้งนั้น แม้เมื่อพระนางกราบทูลถึง ๓ ครั้ง พระราชาก็มิได้
ทรงเธอ พระนางมาคัณฑิยาจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ถ้า
พระองค์ไม่ทรงเชื่อ ขอพระองค์โปรดเสด็จไปยังที่อยู่ของสตรีเหล่านั้นแล้ว
ทรงสอบสวนดู เพคะ. พระราชาเสด็จไปพบช่องในห้องทั้งหลาย ตรัส
ถามว่า อะไร เมื่อเขากราบทูลความข้อนั้น ก็มิได้ทรงกริ้วสตรีเหล่านั้น
ไม่ตรัสอะไร เพียงรับสั่งให้ปิดช่องเหล่านั้นเสีย. พระนางมาคัณฑิยาตรัสว่า
พระนางสามาวดีกับบริวารไม่ทรงมีความเยื่อใย หรือความรักในพระองค์
เมื่อหน้าต่างมีไม่พอ จึงเจาะช่องเหล่านั้น ทำโอกาสมองดูพระสมณโคดม
เสด็จไประหว่างถนน. ตั้งแต่นั้นมา พระราชาจึงโปรดให้ทำหน้าต่าง
กรุตาข่ายไว้ในปราสาทของสตรีเหล่านั้น.
พระนางมาคัณฑิยานั้น ไม่อาจทำพระราชาให้ทรงกริ้วด้วยเหตุนั้น
ได้ จึงกราบทูลว่า เทวะ สตรีเหล่านั้นมีความรักหรือไม่มีความรักใน
พระองค์ เราจักรู้กัน ขอพระองค์โปรดส่งไก่ ๘ตัวไปให้สตรีเหล่านั้น
ปิ้งถวายพระองค์สิ เพคะ. พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้วรับสั่งว่า จงปิ้ง
ไก่เหล่านี้ส่งไป ทรงส่งไก่ ๘ ตัวแก่พระนางสามาวดี. พระอริยสาวิกา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 126
ผู้เป็นโสดาบัน รู้ว่า ไก่ยังเป็นอยู่ จักปิ้งได้อย่างไร จึงตรัสปฏิเสธว่า
อย่าเลย ไม่ปรารถนาแม้แต่จะเอาพระหัตถ์จับต้อง. พระนางมาคัณฑิยา
กราบทูลว่า ข้อนั้นยกไว้ก็ได้ พระมหาราชเจ้า ขอได้โปรดทรงส่งไก่
เหล่านี้นี่แหละ เพื่อปิ้งถวายพระสมณโคดม. พระราชาก็ทรงทำอย่างนั้น.
พระนางมาคัณฑิยาทรงให้คนฆ่าไก่เสียในระหว่างทางแล้ว ส่งไปด้วยรับสั่ง
ว่า พระนางสามาวดีจงแกงไก่เหล่านี้ถวายพระสมณโคดม. พระนาง
สามาวดีนั้น เพราะทรงเข้าพระทัยอย่างนั้น และเพราะมีพระทัยจดจ่อต่อ
พระทศพล จึงแกงไก่ส่งไปถวายแด่พระทศพล. พระนางมาคัณฑิยา
ทูลว่า ทอดพระเนตรเอาเถิด พระมหาราชเจ้า ดังนี้ ก็ไม่สามารถทำ
พระราชาให้ทรงกริ้วได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ .
ก็พระเจ้าอุเทนนี้ประทับอยู่ในสถานที่อยู่ของบรรดานางเทวีเหล่านั้น
พระองค์หนึ่ง ๆ พระองค์ละ ๗ วัน. ส่วนพระนางมาคัณฑิยานี้ ใช้ให้
คนเอาลูกงูเห่าตัวหนึ่งใส่ไว้ในปล้องไม้ไผ่ วางไว้ สถานที่อยู่ของตน.
พระราชาเสด็จไปที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ก็ทรงถือพิณชื่อหัตถิกันตะ. เวลา
พระราชเสด็จมาหาตน พระนางมาคัณฑิยาก็ใส่ลูกงูนั้นไว้ภายในพิณ ให้
ปิดช่องไว้. กราบทูลว่า พระมหาราชเจ้า เวลาเสด็จไปหานางสามาวคี
ขึ้นชื่อว่านางสามาวดีเข้าข้างพระสม โคดม ไม่นำพาพระองค์เลย ทำการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คิดแต่จะให้โทษพระองค์เท่านั้น ขอพระองค์อย่า
ทรงประมาทนะเพคะ. พระราชาทรงถึงสถานที่อยู่ของพระนางสามาวดี
ประทับอยู่ ๗ วัน ได้เสด็จไปนิเวศน์ของพระนางมาคัณฑิยาอีก ๗ วัน .
เมื่อพระราชากำลังเสด็จมา พระนางมาคัณฑิยาทำเหมือนจะทูลว่า พระ-
มหาราชเจ้า พระนางสามาวีไม่หาความผิดของพระองค์ดอกหรือเพคะ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 127
รับพิณจากพระหัตถ์ของพระราชามาเขย่าตรัสว่า พระมหาราชเจ้า อะไร
อยู่ข้างในนี้เพคะ แล้วทำโอกาสให้งูออกไป ร้องว่า ว้าย งูอยู่ข้างใน
แล้วทิ้งพิณลงหนีไป. เวลานั้น พระราชาทรงตวาดด้วยความเกรี้ยวกราด
เหมือนไฟไหม้ป่าไม้ไผ่ฉะนั้น และเหมือนเตาไฟใส่เม็ดเกลือลงไปฉะนั้น
รับสั่งว่าจงเรียกสานาวดีกับบริวารมา. พวกราชบุรุษก็ไปเรียก. พระนาง
สามาวดีนั้นทรงทราบว่าพระราชาทรงกริ้ว จึงให้สัญญาแก่เหล่าสตรีพวก
นั้น ตรัสว่า พระราชาทรงประสงค์จะฆ่าพวกเราจึงเรียกมา วันนี้พวกเรา
จงแผ่เมตตาเจาะจงพระราชาตลอดวันนะ. พระราชาทรง เรียกหญิงเหล่านั้น
ให้ทุกคนยืนเรียงกัน ทรงจับธนูคันใหญ่ ทรงสอดลูกธนูกำซาบยาพิษ
ประทับยืนเหนี่ยวธนูเต็มที่. ขณะนั้นสตรีทั้งหมดนั้นมีพระนางสามาวดี
เป็นประมุข ก็พากันแผ่เมตตาโดยเจาะจง. พระราชาก็ไม่สามารถยิงลูกธนู
และปลดลูกธนูลงได้. พระเสโทก็หลั่งออกจากพระวรกาย พระวรกาย
สั่นเทิ้ม พระเขฬะไหลออกจากพระโอษฐ์. ไม่ทรงเห็นที่พึ่งที่ควรจะพึ่ง
ได้. ลำดับนั้น พระนางสามาวดีกราบทูลพระราชาว่า พระมหาราชเจ้า
ทรงลำบากหรือเพคะ. พระราชาตรัสว่า จริงจ้ะเทวี พี่ลำบาก. ดีละ
เจ้าจงเป็นที่พึ่งของพี่ด้วย. พระนางสามาวดีกราบทูลว่า ดีละ พระ-
มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงหันลูกธนูลงดินเพคะ. พระราชาก็ทรง
ปฏิบัติตาม. พระนางอธิษฐานว่า ขอลูกธนูจงหลุดจากพระหัตถ์ของ
พระราชา. ขณะนั้นลูกธนูก็หลุด. ในขณะนั้นเอง พระราชาทรงดำลง
ในน้ำ เสด็จมาทั้งที่พระเกศาเปียก พระภูษาเปียก หมอบลงแทบพระบาท
พระนางสามาวดีตรัสว่า ยกโทษให้พี่เถิด เทวี พี่ไม่ทันได้ใคร่ครวญ
ก็ทำกรรมนั้น ตามคำขอพวกคนที่จะให้พี่แตกกัน. พระนางตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 128
เทวะ หย่อมฉันขออดโทษถวายเจ้าพี่เพคะ. พระราชาตรัสว่า ดีละเทวี
ข้อนี้ก็เป็นอันเจ้ายกโทษให้พี่แล้ว. แล้วตรัสอีกว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
พวกเจ้าจงถวายทานแด่พระทศพลได้ตามที่เจ้าจะต้องการ ภายหลังภัต
จะไปวิหารฟังธรรมกถาก็ได้ เราจะให้การรักษาดูแลเอง. พระนาง
กราบทูลว่า เทวะ ถ้าอย่างนั้น ตั้งแต่วันนี้ไป ขอทรงโปรดขอพระภิกษุ
สักองค์หนึ่งมาสอนธรรมแก่พวกหม่อมฉันเพคะ. พระราชาเสด็จไปสำนัก
พระศาสดา เมื่อจะทรงขอ ก็ทรงขอพระอานันทเถระ. จำเดิมแต่นั้น
สตรีเหล่านั้น ให้นิมนต์พระเถระมาแล้วทำสักการะเคารพนับถือ เล่าเรียน
ธรรมในสำนักพระเถระ เมื่อท่านฉันเสร็จแล้ว. วันหนึ่ง สตรีเหล่านั้น
เลื่อมใสในอนุโมทนาของพระเถระ ได้ถวายอุตตราสงค์ ผ้าห่ม ๕๐๐ ผืน
แด่พระเถระ. เขาว่า ในชาติก่อน พระเถระได้ถวายชิ่นผ้าบนฝ่าพระหัตถ์
พร้อมด้วยเข็มเล่มหนึ่งแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งในเวลาเย็บผ้า. ด้วย
ผลของเข็ม พระเถระนั้นได้เป็นผู้มีปัญญามากในอัตภาพนี้ ทั้งได้ผ้า ๕๐๐
ผืน ตามทำนองนี้ด้วยผลแห่งชิ้นผ้า.
แต่นั้น พระนางมาคัณฑิยาไม่เห็นกิจที่จะพึงทำอย่างอื่น จึงกราบทูล
ว่า พระมหาราชเจ้า พวกเราจะไปพระอุทยานกันนะเพคะ พระราชา
ทรงอนุญาตว่า ดีละเทวี ดังนี้แล้ว พระนางจึงให้เรียกอามาสั่งว่า เวลา
พวกฉันไปสวน อาจงไปสถานที่อยู่ของพระนางสามาวดี ขังพระนาง
สามาวดีพร้อมทั้งบริวารไว้ข้างใน บอกว่าเป็นพระรับสั่งของพระราชา
แล้วปิดประตูเสีย ให้เอาฟางมาพันไว้แล้วจงจุดไฟเผานิเวศน์เสีย. นาย
มาคัณฑิยาฟังคำพระนางแล้ว ก็กระทำตามที่พระนางสั่งทุกประการ.
วันนั้นสตรีเหล่านั้น ทั้งหมดไม่อาจเข้าสมาบัติได้ เพราะอานุภาพของอุปปี-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 129
ฬกกรรมที่ทำในชาติก่อน ก็มอดไหม้ประหนึ่งกองขี้เถ้าพร้อมกันหมด.
เหล่าทหารรักษาสตรีเหล่านั้นก็ไปเฝ้ากราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ คนทั้งหลาย
ได้กระทำกรรมชื่อนี้ . พระราชาทรงสืบสวนว่าใครทำ ก็ทรงทราบว่า
พระนามมาคัณฑิยาใช้ให้คนทำ จึงรับสั่งให้เรียกพระนางมาตรัสว่า เจ้า
ทำกรรมได้งดงามแล้ว เจ้ากระทำกรรมที่เรากำลังจะทำ แม่มหาจำเริญ
ความพยายามเพื่อจะฆ่าเราที่ก่อขึ้นและก่อขึ้นแล้ว ถูกทำลายลงแล้ว เจ้า
จะให้สมบัติแก่เจ้า จงเรียกพวกญาติของเจ้ามา. พระนางฟังพระราชดำรัส
แล้ว ก็ให้เรียกคนที่ไม่เป็นญาติทำให้เป็นญาติมาแล้ว. พระราชาทรงทราบ
ว่าคนทั้งหมดประชุมกันพร้อมแล้ว ก็ให้ขุดหลุมฝังคนเหล่านั้นลงเหลือ
แค่คอที่พระลานหลวง แล้วให้ทำลายศีรษะที่โผล่ขึ้นนาโดยให้ไถด้วยไถ
เหล็กขนาดใหญ่ ให้ตัดพระนางมาคัณฑิยาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ให้ทอดใน
กระทะทอดขนม.
ถามว่า กรรมที่พระนางสามาวดีกับบริวารถูกไฟเผาคือกรรมอะไร.
ตอบว่า ดังได้สดับมา พระนางสามาวดีนั้น เมื่อพระพุทธเจ้า
ยังไม่อุบัติ เล่นน้ำในแม่น้ำคงคากับสตรี ๕๐๐ คนนั้นนั่นแหละ ยืน
นอกท่าน้ำ ก็เกิดหนาวเย็น เห็นบรรณศาลาของพระปัจเจกพุทธเจ้าในที่
ไม่ไกล ไม่ตรวจดูข้างในแล้วจุดไฟพากันผิงไฟ ภายในบรรณศาลาพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้านั่งเข้าสมาบัติ. สตรีเหล่านั้น เมื่อเปลวไฟโทรมลงจึงเห็น
พระปัจเจกพุทธเจ้า คิดกันว่า พวกเราทำกรรมอะไรหนอ พระปัจเจก-
พุทธเจ้าองค์นี้เป็นพระประจำราชสกุล พระราชาทรงพบเห็นเหตุนี้แล้ว
จักทรงกริ้วพวกเรา บัดนี้ ควรที่พวกเราจะฌาปนกิจพระองค์ให้เสร็จ
เรียบร้อยไป จึงใส่ฟืนอื่น ๆ จุดไฟ เมื่อเปลวไฟโทรมลงอีก พระปัจเจก-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 130
พุทธเจ้าออกจากสมาบัติ สะบัดจีวรแล้วก็เหาะขึ้นสู่เวหา ทั้งที่สตรีเหล่านั้น
มองเห็นอยู่นั้นแล. สตรีเหล่านั้นไหม้ในนรกด้วยกรรมนั้น แล้วก็ถึงความ
พินาศครั้งนี้ด้วยเศษกรรมที่สุกงอมแล้ว. แต่ในบริษัท ๔ เกิดการสนทนา
กันขึ้นว่า นางขุชชุตตราผู้พหูสูตตั้งอยู่ในอัตภาพเป็นสตรี กล่าวธรรมแก่
สตรี ๕๐๐ คนให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ฝ่ายพระนางสามาวดีแผ่เมตตา
ห้ามลูกธนูที่พระราชาทรงกริ้วตนได้. มหาชนก็กล่าวคุณของพระนาง. เรื่อง
ที่เกิดขึ้นอย่างนี้. ต่อมา พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร ทรง
ทำเหตุนั้นแลให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องแล้วทรงสถาปนานางขุชชุตตรา
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสิกาอริยสาวิกาผู้เป็นพหูสูต
ทรงสถาปนาพระนางสามาวดีไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสิกา
ผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
๕. ประวัตินางอุตตรานันทมารดา
ในสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ณายีน ท่านแสดงว่า นางอุตตรานันทมารดาเป็นเลิศ
กว่าพวกอุบาสิกาผู้ยินดีในฌาน.
ดังได้สดับมา นางอุตตรานั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุ-
มุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ฟังธรรมกถาของพระศาสดา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 131
เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศ
กว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาผู้ยินดีในฌาน ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนา
ตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุป-
บาทกาลนี้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของภริยาปุณณ๑เศรษฐี ผู้อาศัยสุมนเศรษฐี
อยู่ในกรุงราชคฤห์. บิดามารดาตั้งชื่อนางว่า อุตตรา. ในวันงานฉลอง
นักษัตรฤกษ์ครั้งหนึ่ง ราชคหเศรษฐีเรียกนายปุณณะมากล่าวว่า พ่อ
ปุณณะ นักษัตรฤกษ์หรืออุโบสถจักทำอะไรให้แก่คนยากเข็ญได้ เมื่อ
เป็นเช่นนั้น เจ้าจงบอกมาว่า เจ้าจักรับทรัพย์ค่าใช้จ่ายในงานนักษัตร-
ฤกษ์แล้วเล่นนักษัตรฤกษ์ หรือจักพาโคมีกำลัง ผาลและไถไปไถนา
นายปุณณะกล่าวว่า นายท่าน ผมจักปรึกษากับภริยาผมก่อนจึงจะรู้ แล้ว
บอกเรื่องนั้นแก่ภริยา. ภริยาเขากล่าวว่า ธรรมดาเศรษฐีเป็นนายเป็น
อิสรชน คำพูดของเขาที่กล่าวกับท่าน ย่อมงดงาม ส่วนท่านอย่าสละการ
ทำนาของตนเลย. นายปุณณะนั้นฟังคำภริยาแล้ว ก็ไปเพื่อนำเครื่องมือนำ
ไปไถนา. ในวันนั้น พระสารีบุตรเถระออกจากนิโรธสมาบัติ นึกว่าวันนี้
เราควรจะทำการสงเคราะห์ใคร ก็เห็นอุปนิสัยของนายปุณณะนี้ ในเวลา
แสวงหาอาหาร จึงถือบาตรจีวรไปยังที่ ๆ นายปุณณะไถนา แสดงตัว
ในที่ไม่ไกล. นายปุณณะเห็นพระเถระก็หยุดไถนาไปหาพระเถระ ไหว้
ด้วยเบญจางคประดิษฐ์. พระเถระแสดงเขาแล้ว ถามถึงน้ำที่ใช้ได้. เขา
คิดว่า พระผู้เป็นเจ้านี้จักต้องการบ้วนปาก จึงรีบไปจากที่นั้น นำไม้
ชำระฟันมาทำให้เป็นกัปปิยะของสมควรแล้วถวายพระเถระ เมื่อพระเถระ
กำลังเคี้ยวไม้ชำระฟัน ก็นำธมกรก หม้อกรองน้ำกับบาตรออกแล้ว
๑. ม. ปุณฺณสีหสฺส นาม ของบุรุษชื่อว่า ปุณณสีหะ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 132
ใส่น้ำเต็มแล้วนำมา. พระเถระก็บ้วนปาก เดินทางแสวงหาอาหาร.
นายปุณณะคิดว่า พระเถระไม่เดินทางนี้ในวันอื่น ๆ แต่วันนี้ที่จัก
เดินทางเพื่อสงเคราะห์เรา โอหนอ ภริยาของเราพึงวางอาหารที่จะนำมาให้
เราลงในบาตรพระเถระ. ครั้งนั้น ภริยาของเขาคิดว่า วันนี้เป็นวัน
นักษัตรฤกษ์ จึงจัดของเคี้ยวของบริโภค โดยทำนองที่ตนจะได้ ถือไป
แต่เช้าตรู่ มายังสถานที่สามีไถนา ระหว่างทางพบพระเถระจึงคิดว่า เรา
พบพระเถระในวันอื่น ๆ ไทยธรรมไม่มี แม้เมื่อมีไทยธรรมเราก็ไม่พบ
พระเป็นเจ้า แต่วันนี้ ทั้งสองอย่างมีพร้อมหน้าแล้ว จำเราจะจัดแจง
ส่วนของสามีของเรานำมาใหม่ จักถวายอาหารส่วนนี้แด่พระเถระเสียก่อน
ทำทานให้ประกอบด้วยเจตนาทั้ง ๓ แล้ววางโภชนะนั้นลงในบาตรพระ-
สารีบุตรเถระแล้วกล่าวว่า ขอดิฉันจงพ้นจากชีวิตยากเข็ญในโลกนี้ ด้วย
ทานอย่างนี้เถิดเจ้าข้า. แม้พระเถระก็ทำอนุโมทนาแก่นางว่า ขออัธยาศัย
ของนางจงเต็มเทอญ กลับจากที่นั้นแล้วก็ไปวิหาร. แม้นางก็กลับบ้าน
ตนอีก แล้วจัดหาอาหารสำหรับสามีนำไปยังสถานที่สามีไถนา กลัวสามี
จะโกรธ จึงกล่าวว่า นายจ๋า วันนี้ขอนายจงอดกลั้นใจของนายไว้วันหนึ่ง
เถิด. เขาถามว่า เพราะเหตุไร. นางตอบว่า วันนี้ดิฉันกำลังนำอาหารมา
สำหรับนาย ระหว่างทางพบพระเถระ จึงวางอาหารส่วนของนายลงใน
บาตรพระเถระ จึงกลับไปเรือนอีก หุงต้มอาหารแล้วนำมา บัดนี้ . เขา
กล่าวว่า น้องเอ๋ย เจ้าทำถูกใจจริง ๆ ถึงฉันก็ถวายไม้ชำระฟันและน้ำ
บ้วนปากแด่พระเถระแต่เช้าตรู่ วันนี้ช่างเป็นโชคของเราจริง ๆ แม้ของ
ทั้งหมดที่เราถวายพระเถระ ก็เกิดเป็นสมบัติของเราทั้งนั้น . แม้ทั้งสองคน
ก็มีจิตเสมือนเป็นอันเดียวกัน.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 133
ครั้งนั้น นายปุณณะกินอาหารเสร็จแล้ว ก็เอาศีรษะหนุนตักภริยา
นอนครู่หนึ่ง. ขณะนั้นเขาก็หลับไป. เขาหลับไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ตื่นมองดู
ถามที่ไถนา สถานที่มองดูแล้วมองดูอีก ก็ได้เป็นประหนึ่งเต็มไปด้วย
ดอกบวบขมขนาดใหญ่ เขาจึงพูดกะภริยาว่า น้องเอ๋ย นั่นอะไรกัน
วันนี้สถานที่ไถนานี้ปรากฏเป็นทองไปได้. ภริยาพูดว่า นายท่าน วันนี้
เพราะนายท่านเหน็ดเหนื่อยมาทั้งวัน ชะรอยดวงตาจะพร่าไปก็ได้. เขา
ว่า น้องเอ๋ย เจ้าไม่เชื่อพี่ก็มองดูเองสิ. เวลานั้นภริยามองดูแล้วก็พูด
ว่า นายท่านพูดจริง นั่นคงจักเป็นอย่างนั้น. นายปุณณะลุกขึ้นจับไม้
อันหนึ่งตีที่หัวขี้ไถ. ดินหัวขี้ไถก็เป็นเหมือนเม็ดกลมๆ ฝั่งอยู่ในดินหัวขี้ไถ
ฉะนั้น. เขาเรียกภริยามากล่าวว่า น้องเอ๋ย เมื่อคนอื่น ๆ หว่านเมล็ดพืช
พืชก็ให้ผล ๓-๔ เดือน ส่วนผลทานที่ให้ในวันนี้ ก็ด้วยพืช
คือศรัทธาที่เราจะปลูกลงในระหว่างท่านพระสารีบุตรเถระพระผู้เป็นเจ้า
ของเรา. ในพื้นที่ประมาณกรีสหนึ่งนี้ ทองแม้ขนาดเท่าผลมะขามป้อม
ชื่อว่าไม่ใช่ทอง ไม่มีเลย. ภริยาพูดว่า นายท่าน บัดนี้เราจักทำอย่างไร
เล่า. นายปุณณะพูดว่า น้องเอ๋ย เราไม่อาจนำทองเท่านี้ไปกินได้ดอก
แล้วใส่ทองเต็มถาดที่ภริยานำมาวางไว้ในที่นั้น ให้ภริยานำไปกราบทูล
พระราชาว่า มนุษย์ผู้หนึ่งยืนถือถาดใส่ทอง พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่ง
ให้เรียกเขาเข้าไปตรัสถามว่า พ่อเอ๋ย เจ้าได้มาแต่ที่ไหน. เขากราบทูลว่า
ข้าแต่เทวะ. สถานที่ข้าพระองค์ไถนาแห่งหนึ่ง ขอได้โปรดส่งคนไปให้
ขนทองที่เกิดแล้วทั้งหมดมาเสีย พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า เจ้าชื่ออะไร.
ทูลตอบว่า ชื่อว่าปุณณะ พระเจ้าข้า. ตรัสสั่งว่า พนาย พวกเจ้าจงไป
เทียมเกวียนขนทองมาจากสถานที่นายปุณณะไถนา. เหล่าราชบุรุษไปกับ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 134
เหล่าเกวียน กล่าวว่า บุญของพระราชา ถือเอาก้อนทองไป. ก้อนทองที่ถือ
เอานั้น ก็เป็นก้อนดินขี้ไถไป. ราชบุรุษเหล่านั้นไปกราบทูลพระราชา.
พระราชาตรัสว่า พนาย ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงไปกล่าวว่า บุญของนาย
ปุณณะแล้วถือเอาทอง. สิ่งที่เขาถือเอาเป็นทองไปทั้งนั้น . ราชบุรุษ
เหล่านั้นก็นำทองทั้งหมดนั้นมากองไว้ที่พระลานหลวง. กองสูงประมาณ
เท่าต้นตาล. พระราชาโปรดให้เรียกพวกพ่อค้ามาตรัสถามว่า ในเรือนใด
มีทองเท่านี้บ้าง. พวกพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ของใคร ๆ ก็ไม่มี
พระเจ้าข้า. ตรัสปรึกษาว่า เราควรจะทำอะไรแก่เจ้าของทรัพย์เท่านี้เล่า
กราบทูลว่า ควรตั้งเขาเป็นธนเศรษฐีสิ พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า
ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงแต่งตั้งปุณณะชื่อว่าธนเศรษฐีในพระนครนี้. แล้ว
พระราชทานของทั้งหมดนั้นแก่นายปุณณะนั้นเท่านั้น พระราชทาน
ตำแหน่งเศรษฐีแก่เขาในวันนั้นนั่นเอง. เศรษฐีนั้น เมื่อกระทำมงคล
ก็ได้ถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ๗ วัน. ใน
วันที่ ๗ เมื่อพระทศพล ทรงทำการอนุโมทนาในภัตทานของปุณณเศรษฐี
ก็ดี ภริยาก็ดี ธิดาก็ดี ทั้งหมดก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
ภายหลัง ราชคหเศรษฐีทราบว่า ปุณณเศรษฐีมีธิดาสาวกเจริญ
วัยอยู่ จึงส่งสาสน์ไปเรือนของปุณณเศรษฐีนั้นขอธิดาเพื่อบุตรของตน.
ปุณณเศรษฐีนั้น ฟังสาสน์ราชคหเศรษฐีนั้นแล้ว ก็ส่งสาสน์ตอบไปว่า
เราไม่ให้ธิดาดอก. ฝ่ายสุมนเศรษฐี [ราชคหเศรษฐี] ส่งสาสน์ไปอีกว่า
ท่านอาศัยเรือนเราอยู่ บัดนี้ ก็เป็นอิสรชน โดยทันทีทันใด แล้วยังจะ
ไม่ให้ธิดาแก่เราหรือ. แต่นั้น ปุณณเศรษฐี ก็ตอบว่า ท่านพูดถึงแต่
สภาพเศรษฐีของท่านก่อนเท่านั้น ชื่อว่าบุรุษ ท่านไม่ควรกำหนดเอาว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 135
ต้องเป็นอย่างนี้ไปตลอดกาล ความจริงเราสามารถรับเอาพวกบุรุษเช่นนั้น
ทำเป็นทาสก็ได้นะ แต่เราไม่อาจเอื้อมถึงชาติและโคตรของท่านได้ดอก.
อนึ่งเล่า ธิดาของเราก็เป็นพระอริยสาวิกาผู้พระโสดาบัน กระทำการบูชา
ด้วยดอกไม้มีค่าหลายกหาปณะทุก ๆ วัน เราจักไม่ส่งธิดาไปเรือนคน
มิจฉาทิฏฐิเช่นท่าน. ราชคหเศรษฐีรู้ว่า ปุณณเศรษฐีปฏิเสธอย่างนั้น ก็
ส่งสาสน์ไปอีกว่า โปรดอย่าทำลายความสนิทสนมเก่า ๆ เสียเลย เราจัก
ให้จัดดอกไม้มีค่า ๒ กหาปณะทุก ๆ วัน แก่สะใภ้ของเรา. ปุณณเศรษฐี
ก็ตอบรับแล้วส่งธิดาไปเรือนของราชคหเศรษฐีนั้น.
ต่อมาวันหนึ่ง นางอุตตราธิดาของปุณณเศรษฐีนั้น ก็กล่าวกะสามี
ของตนอย่างนี้ว่า ดิฉันทำอุโบสถกรรมประจำเดือนละ ๘ วัน ในเรือน
สกุลของตน แม้บัดนี้ เมื่อท่านรับให้ความยินยอมได้ เราก็จะพึงอธิษฐาน
องค์อุโบสถ. สามีนั้นกล่าวว่า ฉันยินยอมไม่ได้ แล้วก็ไม่รับคำ. นางไม่
อาจทำสามีนั้นให้ยินยอมได้ ก็นิ่งเสีย คิดว่า เราจักอธิฐานองค์อุโบสถ
ภายในพรรษาอีก แม้ครั้งนั้นเมื่อนางขอโอกาส ก็ไม่ได้โอกาสอีกนั่นเอง.
ภายในพรรษา ล่วงไป ๒ เดือนครึ่งยังเหลืออยู่ครึ่งเดือน นางจึงส่งข่าว
ไปบอกบิดามารดาว่า ดิฉันถูกท่านพ่อท่านแม่ส่งไปขังไว้ในที่กักขังตลอด
กาลยาวนานเท่านี้แล้ว จะอธิษฐานองค์อุโบสถแม้ตลอดวันหนึ่งก็ไม่ได้
โปรดส่งกหาปณะ แก่ดิฉัน ๑๕,๐๐๐ กหาปณะเถิด. บิดามารดาฟังข่าวธิดา
แล้วก็ไม่ถามว่า เพราะเหตุไร ส่งเงินไปให้เลย. นางอุตตรารับกหาปณะ
เหล่านั้นแล้ว. มีหญิงโสเภณีชื่อสิริมาอยู่ในนครนั้น จึงให้เรียกนางมา
แล้วกล่าวว่า แม่สิริมาจ๋า ดิฉันจักอธิฐานองค์อุโบสถ ตลอดครึ่งเดือน
นี้ ขอแม่นางจงรับกหาปณะ ๑๕,๐๐๐ กหาปณะเหล่านั้นไว้ แล้วบำเรอ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 136
บุตรเศรษฐีตลอดครึ่งเดือนนี้. นางสิริมาก็รับปากว่า ดีละแม่เจ้า. ตั้งแต่
นั้นมา บุตรเศรษฐีคิดว่า เราจักสำเริงสำราญกับนางสิริมา จึงอนุญาตให้
นางอุตตรารับอุโบสถกรรมตลอดครึ่งเดือน. นางอุตตรารู้ว่าสามีรับปาก
ยินยอมแล้ว มีหมู่ทาสีแวดล้อม จัดแจงของเคี้ยวของฉันด้วยมือเองแต่
เช้าตรู่ทุก ๆ วัน เมื่อพระศาสดาทรงทำภัตกิจเสร็จ เสด็จไปวิหารแล้ว
ก็อธิษฐานองค์อุโบสถ ขึ้นปราสาทอันประเสริฐ นั่งระลึกถึงศีลของตน.
ล่วงเวลาไปครึ่งเดือนด้วยอาการอย่างนี้ ในวันสละอุโบสถ นางจึงเที่ยว
จัดแจงข้าวยาคูและของเคี้ยวเป็นต้นแต่เช้าตรู่.
เวลานั้น บุตรเศรษฐีอยู่บนปราสาทอันประเสริฐกับนางสิริมา เปิด
หน้าต่างกรุตาข่าย ยืนดูสิ่งของไปตามลำดับ นางอุตตราแหงนดูไปทาง
ช่องหน้าต่าง. บุตรเศรษฐีมองดูนางอุตตราคิดว่า หญิงผู้นี้คงถือกำเนิด
แต่สัตว์นรกหนอ ละสมบัติอย่างนี้แล้วเป็นผู้เปรอะเปื้อนด้วยเขม่าหม้อข้าว
วุ่นวายอยู่ระหว่างทาสีทั้งหลายโดยหาควรแก่เหตุไม่ แล้วกระทำการยิ้มแย้ม
นางอุตตราทราบความที่บุตรเศรษฐีนั้นประมาท คิดว่า บุตรเศรษฐีนี้
ชื่อว่าเป็นคนเขลา คงจักสำคัญว่าสมบัติของตนจะอยู่ถาวรทุกเวลา ดังนี้
แล้ว แม้ตนเองก็ทำการยิ้มแย้มบ้าง. แต่นั้นนางสิริมาก็โกรธแล้ว
บริภาษว่า นางทาสีผู้นี้เมื่อเรายืนอยู่ก็ยังทำการยิ้มแย้มกับสามีของเราอย่างนี้
จึงรีบลงจากปราสาท. โดยอากัปกิริยาที่มาของนางสิริมานั้นนั่นแหละ
นางอุตตราก็ทราบว่า หญิงโง่คนนี้อยู่ในเรือนหลังนี้เพียงครึ่งเดือน ก็เกิด
สำคัญว่าเรือนหลังนี้เป็นของเราคนเดียว ดังนี้ ทันใดนั้นนั่งเองก็ยืนเข้า
ฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์. ฝ่ายนางสิริมา ก็มาในระหว่างทาสีทั้งหลาย
จับกระบวยเต็มด้วยน้ำมันที่เดือด ในกระทะทอดขนม ราดลงบนศีรษะ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 137
นางอุตตรา. ด้วยการแผ่เมตตาฌาน น้ำมันเดือดที่นางสิริมาราดลง
บนศีรษะนางอุตตรา ไหลกลับไป เหมือนน้ำที่ราดลงบนใบบัวฉะนั้น.
ขณะนั้นทาสีทั้งหลายที่ยืนใกล้นางสิริมร เห็นเหตุนั้นแล้วก็บริภาษ
นางสิริมานั้น ต่อหน้าว่า ไฮ้ แม่มหาจำเริญ เจ้ารับมูลค่าจากมือแม่นาย
ของเรานาอยู่ในเรือนหลังนี้ ยังพยายามจะมาทำเทียมแม่นายของพวกข้า
หรือ. ขณะนั้น นางสิริมารู้ว่าตัวเป็นอาคันตุกะมาอยู่ชั่วคราว ก็ไปจากที่
นั้นแล้วหมอบลงแทบเท้านางอุตตรา กล่าวว่า แม่นาง ดิฉันไม่ทัน
ใคร่ครวญก็ทำกรรมอย่างนี้ โปรดยกโทษให้ดิฉันเสียเถิด. นางอุตตรา
กล่าวว่า แม่สิริมาจ๋า ฉันยกโทษให้แม่ในฐานะนี้ไม่ได้ดอก ฉันเป็นธิดา
มีบิดา จะยกโทษให้ก็ต่อเมื่อพระทศพลทรงยกโทษให้แม่เท่านั้น.
แม้พระศาสดามีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร ก็เสด็จมาประทับเหนืออาสนะ
ที่จัดไว้ ณ นิเวศน์ของนางอุตตรา. นางสิริมาจึงไปหมอบแทบพระยุคล
บาทพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กระทำ
ความผิดอย่างหนึ่ง ในระหว่างแม่นางอุตตรา นางกล่าวว่า เมื่อพระองค์
ทรงยกโทษประทาน เราก็จักยกโทษให้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอ
พระองค์โปรดทรงยกโทษประทานแก่ข้าพระองค์ซึ่งขมาโทษอยู่ด้วยเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สิริมา เรายกโทษให้เจ้า. เวลานั้น นางสิริมา
นั้นก็ไปขอให้นางอุตตรายกโทษให้. และในวันนั้น นางสิริมาฟังอนุโมทนา
ภัตทานของพระทศพลว่า
อกฺโกเธน ชิเน โกธ อสาธุ สาธุนา ชิเน
ชิเน กทริย พาเนน สจฺเจนาลิกวาทิน.
พึงชำนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชำนะ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 138
คนไม่ดีด้วยความดี พึงชำระคนตระหนี่ด้วยการให้
พึงชำนะคนพูดเท็จด้วยคำจริง.
เมื่อจบพระคาถา ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล นิมนต์พระทศพลถวายมหา-
ทาน ในวันรุ่งขึ้น. เรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างนี้. ภายหลัง พระศาสดาประทับ
อยู่ ณ พระเชตวันวิหารเมื่อทรงสถาปนาพวกอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ
จึงทรงสถาปนานางอุตตรานันทมารดา ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็น
เลิศกว่าพวกอุบาสิกา ผู้เข้าฌานแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖
๖. ประวัติพระนางสุปปวาสา โกลิยธิดา
ในสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ปณีตทายิกาน ท่านแสดงว่า พระนางสุปปวาสา
โกลิยธิดา เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายของมีรสประณีต.
ดังได้สดับมา พระนางสุปปวาสา โกลิยธิดานั้น ครั้งพระพุทธเจ้า
พระนามว่า ปทุมมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี กำลังฟัง
พระ ธรรมทศนาของพระศาสดาเห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่ง
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายของมีรสประณีค
ทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ใน
เทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในสกุลกษัตริย์
พระนครโกลิยะ. พระประยูรญาติจึงขนานพระนามพระนางว่า สุปปวาสา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 139
ทรงเจริญวัยแล้ว อภิเษกกับศากยกุมารพระองค์หนึ่ง ด้วยการเข้าเฝ้า
ครั้งแรกเท่านั้น สดับธรรมกถาของพระศาสดา ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
ต่อมา พระนางประสูติพระโอรส พระนามว่า สีวลี. เรื่องของพระสีวลี
นั้นกล่าวไว้พิสดารแล้วแต่หนหลัง. วันหนึ่ง พระนางถวายโภชนะอัน
ประณีตมีรสเลิศต่าง ๆ แก่พระภิกษุสงฆ์. มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข.
พระศาสดาเสวยเสร็จแล้ว เมื่อทรงกระทำอนุโมทนา ทรงแสดงธรรมนี้
แก่พระนางสุปปวาสาว่า ดูก่อนสุปปวาสา อริยสาวิกาผู้ถวายโภชนะ ชื่อว่า
ให้ฐานะทั้ง ๕ แก่พวกปฏิคาหก คือ ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุข ให้พละ
ให้ปฏิภาณ. ก็แลผู้ให้อายุ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งอายุ ทั้งที่เป็นของทิพย์
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ ฯล ฯ ผู้ให้ปฏิภาณ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งปฏิภาณ
ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างนี้. ต่อมา
ภายหลังพระศาสดาประทับนั่ง พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวก
อุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ จึงทรงสถาปนาพระนางสุปปวาสา ไกลิยธิดา
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกา ผู้ถวายของมีรส
ประณีต แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๗
๗. ประวัตินางสุปปิยาอุบาสิกา
ในสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า คิลานุปฏฺากาน ท่านแสดงว่า นางสุปปิยาอุบาสิกา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 140
เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้.
ดังได้สดับมา นางสุปปิยาอุบาสิกานี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ. บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมากำลังฟังพระ-
ธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่ง
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้ จึงทำ
กุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและ
มนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิดในเรือนสกุล กรุงพาราณสี.
บิดามารดาจึงตั้งชื่อนางว่าสุปปิยา. ต่อมาพระศาสดามีภิกษุสงเป็นบริวาร
ได้เสด็จไปกรุงพาราณสี. ด้วยการเฝ้าครั้งแรกเท่านั้น นางฟังธรรมแล้ว
ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. อยู่มาวันหนึ่ง นางไปพระวิหารเพื่อฟังธรรมเที่ยว
จาริกไปในพระวิหาร พบภิกษุไข้รูปหนึ่งไหว้แล้ว ทำการต้อนรับ ถามว่า
พระผู้เป็นเจ้าควรจะได้อะไร ภิกษุไข้ตอบว่า ท่านอุบาสิกา ควรได้อาหาร
มีรส [เนื้อ] จ้ะ. นางกล่าวว่า เอาเถิด เจ้าข้า ดิฉันจักส่งไปถวาย
ไหว้พระเถระแล้ว เข้าไปในเมือง วันรุ่งขึ้น ก็ส่งทาสีไปตลาดเพื่อต้อง
การปวัตตมังสะ [เนื้อที่ขายกันในตลาด]. ทาสีนั้นหาปวัตตสะทั่วเมือง
ก็ไม่ได้ ก็บอกนางว่าไม่ได้เสียแล้ว. อุบาสิกาคิดว่า เราบอกแก่
พระผู้เป็นเจ้าไว้ว่า จักส่งเนื้อไปถวาย ถ้าเราไม่ส่งไป พระผู้เป็นเจ้า
เมื่อไม่ได้จากที่อื่นก็จะลำบาก ควรที่เราจะทำเนื้ออย่างใดอย่างหนึ่งส่งไป
ถวาย แล้วก็เข้าห้อง เฉือนเนื้อขาให้แก่ทาสี สั่งว่า เจ้าจงเอาเนื้อนี้ปรุง
ด้วยเครื่องปรุง นำไปวิหารถวายพระผู้เป็นเจ้า ถ้าท่านถามถึงเรา ก็จงแจ้ง
ว่าเป็นไข้. ทาสีนั้นก็ได้กระทำอย่างนั้น.
พระศาสดาทรงทราบเหตุนั้น วันรุ่งขึ้น เวลาแสวงหาอาหาร ก็มี
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 141
ภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จไปเรือนของอุบาสิกา. นางทราบว่าพระ-
ตถาคตเสด็จมาจึงปรึกษาสามีว่า ลูกเจ้า ดิฉันไม่อาจไปเฝ้าพระศาสดาได้
พี่ท่านจงไปกราบทูลเชิญพระศาสดาให้เสด็จเข้าเรือนแล้วให้ประทับนั่งเถิด.
สามีนั้นก็ได้กระทำอย่างนั้น. พระศาสดาตรัสถามว่า สุปปิยาไปไหน
เสียเล่า. สามีกราบทูลว่า นางเป็นไข้ พระเจ้าข้า. ตรัสสั่งว่า จงเรียก
นางมาเถิด. นางคิดว่า พระศาสดาทรงสงเคราะห์เกื้อกูลแก่ชาวโลก
ทั้งปวง ทรงทราบเหตุของเรา จึงให้เรียกหา ก็ลุกขึ้นจากเตียงอย่างฉับ
พลัน. ครั้งนั้น ด้วยพุทธานุภาพ แผล [ที่เฉือนเนื้อขา] ของนางก็
งอกขึ้นทันทีทันใด ผิวก็เรียบ ผิวพรรณผ่องใสยิ่งกว่าเดิม. ขณะนั้น
อุบาสิกาก็ยิ้มได้ ถวายบังคมพระทศพลด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่ง ณ ที่
สมควรส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาทรงดำริว่า อุบาสิกาผู้นี้ไม่สบายเพราะ
เหตุไร จึงตรัสถาม นางจึงเล่าเรื่องที่คนทำทุกอย่างถวาย. พระศาสดา
เสวยเสร็จแล้วเสด็จไปพระวิหาร ทรงประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วทรงตำหนิ
ภิกษุนั้นเป็นอย่างมาก ทรงบัญญัติสิกขาบท. เรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างนี้.
กำลัง พระศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนา
พวกอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนานางสุปปิยา
อุบาสิกาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกา ผู้อุปัฏฐาก
ภิกษุไข้ แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 142
อรรถกถาสูตรที่ ๘
๘. ประวัตินางกาติยานี
ในสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า อเวจฺปฺปสนฺนาน ท่านแสดงว่า นางกาติยานี เป็น
เลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นที่ตน
บรรลุแล้ว.
ดังได้สดับมา นางกาติยานีนั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี เห็นพระศาสดาทรงสถาปนา
อุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้เลื่อมใส
อย่างแน่นแฟ้น จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น
นางเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้บังเกิด
ในกุรรฆรนคร. บิดามารดาตั้งชื่อนางว่า กาติยานี.
ต่อมา นางเจริญวัย เป็นสหายเป็นมิตรสนิทของนางกาฬีชาว
กุรรฆรนคร ก็เมื่อใด ท่านพระโกฏิกัณณโสณเถระถูกมารดาวอนขอว่า
ท่านจงกล่าวธรรมแม้แก่โยมแม่ โดยทำนองที่พระทศพลตรัสไว้เถิด ก็นั่ง
เหนืออาสนะที่ตกแต่งแล้วภายในนคร ตอนเที่ยงคืนเริ่มเทศนาทำมารดา
ให้เป็นพระอริยกายสักขี.๑ เมื่อนั้น นางกาติยานีอุบาสิกานี้ไปกับนางกาฬี
ยืนฟังธรรมท้ายบริษัท. สมัยนั้นโจรประมาณ ๙๐๐ คน ขุดอุโมงค์เริ่ม
แต่มุมหนึ่งภายในนคร ตามกำหนดหมายที่ทำไว้ในเวลากลางวันไปทะลุ
ถึงเรือนนางกาติยานีอุบาสิกานี้. บรรดาโจรเหล่านั้น หัวหน้าโจรไม่เช้า
ไปกับโจรเหล่านั้น ไปยังสถานที่กล่าวธรรมของท่านพระโสณเถระ เพื่อ
สืบสวนว่าบริษัทนี้ประชุมกันทำไมหนอ เมื่อยืนท้ายบริษัท ก็ยืนข้างหลัง
๑. พระโสดาปัตติผลถึงพระอรหัตมรรคบุคคล ชื่อว่าพระอาริยกายสุขี บุคคลบัญญัติ หน้า ๔๒.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 143
นางกาติยานีอุบาสิกานี้. เวลานั้น นางกาติยานีเรียกทาสีมาสั่งว่า แม่
นี่เจ้าจงเข้าไปเรือนนำประทีปน้ำมันมา ข้าจักจุดประทีปให้ไฟสว่างแล้ว
ฟังธรรม. ทาสีนั้นไปเรือนจุดประทีปพบพวกโจรขุดอุโมงค์ ก็ไม่ถือเอา
ประทีปน้ำมันมา ไปบอกแม่นายของตนว่า แม่นาย พวกโจรขุดอุโมงค์ใน
เรือนเจ้าค่ะ. หัวหน้าโจรฟังคำทาสีนั้นแล้ว คิดว่า ถ้าหญิงผู้นี้ เชื่อคำทาสี
นี้แล้วไปเรือนไซร้ เราก็จักเอาดาบฟันนางให้ขาดสองท่อนในที่นี้นี่แหละ
ก็ถ้าหญิงผู้นี้จักฟังธรรมโดยนิมิตที่นางถือเอาแล้วนั่นแล เราก็จักให้คืน
ทรัพย์ที่พวกโจรยึดถือไว้. ฝ่ายนางกาติยานีฟังคำทาสีแล้วก็กล่าวว่า แม่คุณ
อย่าทำเสียงดังเลย ขึ้นชื่อว่าพวกโจร เมื่อจะลัก ก็ลักแต่ทรัพย์ที่ตนเห็น
เท่านั้นดอก ส่วนข้าจะฟังธรรมที่หาได้ยากในวันนี้ เจ้าอย่าทำอันตรายแก่
ธรรมเลย. หัวหน้าโจรฟังคำนางก็คิดว่า พวกเรา ซึ่งพากันลักทรัพย์สิ่งของ
ในเรือนของหญิงที่มั่นคงด้วยอัธยาศัยเช่นนี้ก็พึงถูกธรณีสูบแน่. ทันใด
นั่นเอง หัวหน้าโจรนั้นก็ไปสั่งให้คืนทรัพย์สิ่งของที่ลักมาเสีย แล้วพวก
โจรก็พร้อมกันมายืนฟังธรรมท้ายบริษัท. ฝ่ายนางกาติยานีอุบาสิกา จบ
เทศนาของพระเถระ ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ขณะนั้น เมื่ออรุณขึ้น
หัวหน้าโจรก็ไปหมอบแทบเท้าอุบาสิกากล่าวว่า แม่เจ้า โปรดยกโทษให้
แก่พวกข้าทั้งหมดด้วยเถิด. นางถามว่า ก็พวกท่านทำอะไรแก่ฉันไว้หรือ.
หัวหน้าโจรนั้นก็บอกโทษที่ตนทำทั้งหมด. นางกล่าวว่า พ่อเอ๋ย ฉันยก
โทษให้พวกท่านจ้ะ. หัวหน้าโจรกล่าวว่า แม่เจ้า ก็เป็นอันแม่เจ้ายกโทษ
ให้แก่พวกเราแล้ว แต่ขอแม่เจ้าโปรดให้พวกเราทุกคนได้บวชในสำนัก
พระเถระบุตรของแม่เจ้าด้วยเถิด. นางก็พาโจรเหล่านั้นทั้งหมดไปให้บวช
ในสำนักพระโกฏิกัณณโสณเถระ. คนเหล่านั้น บวชในสำนักพระเถระ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 144
แล้ว ก็บรรลุพระอรหัตหมดทุกรูป. เรื่องนี้เกิดขึ้นอย่างนี้. ต่อมาภายหลัง
พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาพวกอุบาสิกา
ไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ จึงทรงสถาปนานางกาติยานีอุบาสิกา ไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาอริยสาวิกา ผู้เลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้น
แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
๙. ประวัตินางนกุลมารดาคหปตานี
ในสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า วิสฺสาสิกาน ท่านแสดงว่า นางนกุลมารดาคหปตานี
เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาอริยสาวิกาผู้กล่าวคำคุ้นเคย. ก็คำที่จะพึงกล่าว
ในเรื่องนี้ทั้งหมด มีนัยที่กล่าวไว้แล้วในอุปาสกปาลิในหนหลังนั้นแล.
พึงทราบเรื่องนางนกุลมารดาเทียบเคียง (ในอุบาสกบาลี ) แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
๑๐. ประวัตินางกาฬีอุบาสิกาชาวกุรรฆรนคร
ในสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า อนุสฺสวปสนฺนาน ท่านแสดงว่า นางกาฬีอุบาสิกา
ชาวกุรรฆรนคร เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส
ที่เกิดขึ้นโดยฟังตาม ๆ กันมา.
ดังได้สดับมา นางกาฬีอุบาสิกานั้น ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 145
ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุล กรุงหังสวดี กำลังฟังธรรมกถาของ
พระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้เลื่อมใสโดยฟังตาม ๆ กันมา จึงทำ
กุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. นางเวียนว่ายอยู่ใน
เทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในพุทธุปบาทกาสน บังเกิดในเรือนสกุล
กรุงราชคฤห์. เหล่าญาติได้ตั้งชื่อนางว่า กาฬี. นางเจริญวัยแล้ว มีสามี
ในกุรรฆรนคร. ครั้งนั้น โดยการอยู่ร่วมกัน นางจึงตั้งครรภ์. นางมี
ครรภ์ครบกำหนดแล้ว คิดว่า การคลอดบุตรในเรือนของตนเหล่าอื่น
ไม่สมควร จึงไปกุรรฆรนครของตน ต่อจากเวลาเที่ยงคืน ฟังคำของ
เหล่าสาตาคิรยักษ์และเหมวตยักษ์ซึ่งยืนในอากาศเหนือปราสาทของตน
กล่าวพรรณนาพระคุณพระรัตนตรัย เกิดความเลื่อนใสที่ได้ยินเสียง
สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล โดยยังไม่ได้เฝ้า
พระศาสดาเลย ต่อมา นางก็คลอดบุตร. เรื่องทั้งหมด กล่าวไว้พิสดาร
แล้วในหนหลัง. ต่อมา พระศาสดาประทับนั่งท่ามกลางภิกษุสงฆ์
ณ พระเชตวันวิหาร เมื่อทรงสถาปนาเหล่าอุบาสิกาไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ
จึงทรงสถาปนาอุบาสิกาผู้นี้ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบา-
สิกา ผู้เสื่อมโดยฟังตาม ๆ กันมา แล.
จบอรรถกถาอุปาสิกาปาลิ ประดับด้วยสูตร ๑๐ สูตร
จบประวัติอุสิกาสาวิกาเอตทัคคะ ๑๐ ท่าน
จบอรรถกถาเอตทัคคปาลิทั้งหมด ในมโนรถปูรณี
อรรถกถาคุตตรนิกาย ด้วยสูตรมีประมาณเท่านี้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 146
อัฏฐานบาลี
วรรคที่ ๑
ว่าด้วยฐานะและอฐานะ
[๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะ
พึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสภาพเที่ยงนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่
โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขาร
อะไร ๆ โดยความเป็นสภาพเที่ยงนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
จะพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดยความเป็นสุขนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่
จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารไร ๆ โดย
ความเป็นสุขนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
จะพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดยความเป็นตนนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่
จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือธรรมไร ๆ โดย
ความเป็นตนนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
จะพึงฆ่ามารดานั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงฆ่ามารดานั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
จะพึงฆ่าบิดานั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 147
แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงฆ่าบิดานั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
จะพึงฆ่าพระอรหันต์นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงฆ่าพระอรหันต์นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
จะพึงเป็นผู้มีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อนั้น มิใช่
ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนพึงเป็น
ผู้มีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อนั้น เป็นฐานะที่จะ
มีได้.
[๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
จะพึงทำลายสงฆ์ให้แตกกันนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นฐานะที่
จะมีได้.
[๑๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
จะพึงถือศาสดาอื่นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงถือศาสดาอื่น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
สองพระองค์ จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่
ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่พระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นในโลกธาตุอันหนึ่งนั้น
เป็นฐานะที่จะมีได้.
จบวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 148
อรรถกถาอัฏฐาน๑บาลี
อรรถกถาวรรคที่ ๑
ในอัฏฐานบาลี พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อฏฺฐาน ได้แก่ การปฏิเสธเหตุ. บทว่า อนวกาโส ได้แก่
การปฏิเสธปัจจัย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธเหตุเท่านั้น แม้ด้วย
เหตุและปัจจัยทั้งสอง. จริงอยู่ เหตุ ตรัสเรียกว่า ฐานะ เป็นเหตุที่ตั้ง
แห่งผลของตน และว่าโอกาส ( ช่องทาง ) เพราะมีความเป็นไปเนื่องด้วย
ผลนั้น. บทว่า ย แปลว่า เพราะเหตุใด. บทว่า ทิฏฺิสมฺปนฺโน
ได้แก่ พระอริยสาวก คือพระโสดาบันผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาในมรรค.
จริงอยู่ พระโสดาบันนั้นมีชื่อมาก เช่นชื่อว่า ทิฏฺิสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิก็มี ทสฺสนสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะก็มี อาคโต
อิม สทฺธมฺม ผู้มาถึงพระสัทธรรมนี้ก็มี ปสฺสตฺ อิม สทฺธมฺม ผู้เห็น
พระสัทธรรมอยู่ก็มี เสกฺขาน าเณน สมนฺนาคโต ผู้ประกอบด้วย
ญาณของพระเสกขะก็มี เสกฺขาย วิชฺชาย สมนฺนาคโค ผู้ประกอบ
ด้วยวิชชาของพระเสกขะก็มี ธมฺมโสตสมาปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยกระแส
ธรรมก็มี อริโย นิพฺเพธิกปญฺโ ผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสอัน
ประเสริฐก็มี อมตทฺวาร อาหจฺจ ติฏฺติ ผู้ตั้งอยู่ใกล้ประตูพระนิพะพาน
ก็มี.
บทว่า กญฺจิ สงฺขาร ความว่า บรรดาสังขารที่เป็นไปในภูมิ ๔
เฉพาะสังขารไร ๆ เพียงสังขารหนึ่ง. บทว่า นิจฺจโต อุปคจฺเฉยฺย
๑. อธิบายบาลีข้อ ๑๕๓-๑๖๒.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 149
ความว่า พึงยึดถือว่าเที่ยง. บทว่า เนต าน วิชฺชติ แปลว่า เหตุนี้
ไม่มี คือหาไม่ได้. บทว่า ย ปุถุชฺชโน แปลว่า ชื่อว่าปุถุชน
เพราะเหตุใด. บทว่า านเมต วิชฺชติ แปลว่า เหตุนี้มีอยู่. อธิบายว่า
จริงอยู่ เพราะปุถุชนนั้นมีความเห็นว่าเที่ยง พึงยึดถือบรรดาสังขารที่เป็น
ไปในภูมิ ๔ เฉพาะสังขารบางอย่าง โดยควานเป็นของเที่ยง.
ก็สังขารที่เป็นไปในภูมิที่๑ ๔ ย่อมไม่เป็นอารมณ์ของทิฏฐิหรืออกุศล
อย่างอื่น เพราะมากด้วยเดช เหมือนก้อนเหล็กที่ร้อนอยู่ทั้งวัน ไม่เป็น
อารมณ์ของฝูงแมลงวัน เพราะเป็นของร้อนมากฉะนั้น. พึงทราบความ
แม้ในคำว่า กญฺจ สงขาร สุขโต เป็นต้น โดยนัยนี้. คำว่า สุขโต
อุปคฺจเฉยฺย นี้ ตรัสหมายถึงการยึดถือโดยความเป็นสุข ด้วยอำนาจ
อัตตทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนมีสุขโดยส่วนเดียว ไม่มีโรค จนกว่าจะตายไป.
ด้วยว่า พระอริยสาวกถูกความเร่าร้อนครอบงำแล้วย่อมเข้าไปยึดถือสังขาร
บางอย่างไว้โดยความเป็นสุข เพื่อระงับความเร่าร้อนโดยจิตปราศจาก
ทิฏฐิ เหมือนเสกขพราหมณ์๒ผู้สะดุ้งกลัวช้างตกมัน ก็ยึดอุจจาระไว้ฉะนั้น.
ในอัตตวาระ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า สงฺขาร แต่ตรัสว่า
กญฺจิ ธมฺม เพื่อทรงรวมเอาบัญญัติมีกสิณเป็นต้น. แต่แม้ในที่นี้
พึงทราบกำหนดสำหรับพระอริยสาวก ด้วยอำนาจสังขารที่เป็นไปในภูมิ
ทั้ง ๔. สำหรับปุถุชน ด้วยอำนาจสังขารที่เป็นไปในภูมิทั้ง ๓. อีก
อย่างหนึ่ง ในวาระทุกวาระกำหนดสำหรับแม้พระอริยสาวก ด้วยอำนาจ
สังขารที่เป็นไปในภูมิ ๓ ก็ควร. ก็ปุถุชนย่อมยึดถือธรรมใด ๆ พระ -
๑. จตุภูมิกสงฺขารา สังขารพึงเป็นไปในภูมิที่ ๔ คือโลกุตรภูมิ ควรเป็น จตุตฺถภูมิกสงฺขารา.
๒. ม. โจกขพราหมณ์.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 150
อริยสาวกย่อมเปลื้องความยึดถือจากธรรมนั้น ๆ. คือปุถุชนเมื่อยึดถือธรรม
นั้น ๆ ว่าเที่ยง ว่าสุข ว่าตน พระอริยสาวกเมื่อยึดถือธรรมนั้น ๆ
ว่าไม่เที่ยง ว่าเป็นทุกข์ ว่าไม่ใช่ตน ย่อมเปลื้องความยึดถือนั้นเสีย.
ในพระสูตรทั้ง ๓ พระสูตรนี้ ข้อ ๑๕๓, ๑๕๔, ๑๕๕ พระองค์ตรัสถึง
ความเปลื้องความยึดถือของปุถุชนไว้ด้วย.
ในคำว่า มาตร เป็นต้น ท่านประสงค์เอาสตรีผู้ให้กำเนิด ชื่อว่า
มารดา บุรุษผู้ให้กำเนิด ชื่อว่าบิดา และพระขีณาสพผู้เป็นมนุษย์เท่านั้น
ชื่อว่า พระอรหันต์. ถามว่า ก็พระอริยสาวกพึงปลงชีวิตผู้อื่นได้หรือ.
ตอบว่า ข้อนั้นไม่เป็นฐานะ. เพราะว่า ถ้าพระอริยสาวกที่เกิดระหว่าง
ภพไม่รู้ว่าตัวเป็นอริยสาวกไซร้ ใคร ๆ ก็จะพึงบังคับอย่างนี้ว่า ท่านจง
ปลงชีวิตมดดำมดแดงนี้เสียแล้วปฏิบัติหน้าที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในห้วง
จักรวาลทั้งสิ้นเถิด. พระอริยสาวกนั้น ก็ไม่พึงปลงชีวิตมดดำมดแดงนั้น
ได้เลย. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น คนทั้งหลายพึงบังคับท่านอย่างนี้ว่า ก็ถ้า
ท่านไม่ฆ่ามดดำมดแดงนั้นไซร้ พวกเราก็จักตัดศีรษะท่านเสีย. คน
ทั้งหลายจะพึงตัดศีรษะของท่าน แต่ท่านก็ไม่พึงฆ่ามดดำมดแดงนั้น. แต่
คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดงความมีโทษมากของความเป็น
ปุถุชน เพื่อทรงแสดงกำลังของพระอริยสาวก. ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า
ความเป็นปุถุชน ชื่อว่ามีโทษตรงที่ปุถุชนจักทำอนันตริยกรรมมีมาตุฆาต
เป็นต้นได้ อริยสาวกชื่อว่ามีกำลังมากตรงที่ไม่ทำกรรมเหล่านั้น.
บทว่า ปทุฏฺจิตฺโต ได้แก่ เป็นผู้มีจิตอันวธกจิต (จิตคิดจะฆ่า)
ประทุษร้ายแล้ว. บทว่า โลหิต อุปฺปาเทยฺย ได้แก่ ทำพระโลหิต
แม้เท่าแมลงวันตัวเล็กดื่มได้ให้ห้อขึ้นในพระสรีระของพระตถาคตผู้ยังทรง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 151
พระชนม์อยู่.
บทว่า สงฺฆ ภินฺเทยฺย ได้แก่ ทำสงฆ์ผู้มีสังวาสธรรมเป็นเครื่อง
อยู่ร่วมเสมอกัน ผู้ตั้งอยู่ในสีมาที่เสมอกัน ให้แตกกันด้วยอาการ ๕
อย่าง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ ไว้ว่า ดูก่อนอุบาลี สงฆ์
ย่อมแตกกันด้วยอาการ ๕ คือ ด้วยกรรม ด้วยอุเทศ ด้วยการชี้แจง
ด้วยประกาศ ด้วยจับสลาก. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺเมน
ได้แก่ ด้วยกรรมทั้ง กรรมใดกรรมหนึ่ง. บทว่า อุทฺเทเสน
ได้แก่ ด้วยปาติโมกขุทเทส ๕ อุเทศอย่างหนึ่ง. บทว่า โวหารนฺโต
ได้แก่ ด้วยการชี้แจง คือแสดงเภทกรวัตถุเรื่องทำให้แตกกัน ๑๘
อย่าง มีแสดงว่าอธรรมเป็นธรรมเป็นต้น ด้วยอุปบัติเหตุเกิดเรื่องนั้น ๆ.
บทว่า อนุสฺสาวเนน ได้แก่ ทำการเปล่งถ้อยคำประกาศโดยนัยเป็นต้นว่า
พวกท่านทราบกันหรือว่า เราบวชมาแต่ตระกูลสูง และเป็นพหูสูต
พวกท่านไม่ควรเกิดจิตคิดว่า คนเช่นเราจะพึงถือสัตถุศาสน์คำสอนของ
พระศาสดานอกธรรม นอกวินัย อเวจีสำหรับเราเป็นของเย็นเหมือนสวน
อุบลขาบหรือ เราไม่กลัวอบายหรือ. บทว่า สลากคาเหน ได้แก่
ด้วยการประกาศอย่างนี้แล้วทำจิตของภิกษุเหล่านั้นให้มั่นคง กระทำให้
เป็นธรรมไม่กลับกลอกแล้ว ได้จับสลากด้วยกล่าวว่า พวกท่านจงจับ
สลากนี้.
ก็บรรดาอาการทั้ง ๕ นั้น กรรมหรืออุเทศเท่านั้น ควรถือเป็น
ประมาณ. ส่วนการกล่าว การประกาศ และการให้จับสลากเป็นส่วน
เบื้องต้น. ด้วยว่า แต่เมื่อสงฆ์กล่าวด้วยอำนาจแสดงเรื่อง ๑๘ ประการ
ประกาศชักชวนเพื่อให้เกิดความชอบใจในเรื่องนั้น จับสลากกันแล้ว ก็
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 152
ยังไม่ชื่อว่าทำสงฆ์ให้แตกกัน . ต่อเมื่อใด ภิกษุ ๙ รูป หรือเกิน ๔ รูป
จับสลากแล้ว กระทำกรรม (สังฆกรรม ) หรืออุเทศแยกกันต่างหาก
เมื่อนั้น จึงชื่อว่า ทำสงฆ์ให้แตกกัน . ข้อว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
อย่างนี้ พึงทำสงฆ์ให้แตกกันนี้มิใช่ฐานะ. ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ก็เป็น
อันทรงแสดงอนันตริยกรรม ๕ มีมาตุฆาตฆ่ามารดาเป็นต้น . ปุถุชนทำ
อนันตริยกรรมเหล่าใดได้ แต่อนันตริยกรรมเหล่านั้นพระอริยสาวกไม่ทำ.
เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งอนันตริยกรรม ๕ นั้น พึงทราบวินิจฉัย โดยกรรม
โดยทวาร โดยการตั้งอยู่ในอเวจีตลอดกัป โดยวิบาก โดยสาธารณะ
เป็นต้น.
ในเหตุเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรมก่อน. แท้จริง ผู้ที่
เป็นมนุษย์ท่านนั้น ปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ ซึ่งยังไม่เปลี่ยน
เพศจากมนุษย์ จึงเป็นอนันตริยกรรม. ผู้ทำอนันตริยกรรม คิดว่า เรา
จักห้ามวิบากของกรามนั้น ดังนี้ จึงสร้างสถูปทองคำขนาดเท่าพระมหา-
เจดีย์ให้เต็มห้วงจักรวาลทั้งสิ้นก็ดี ถวายมหาทานแด่พระภิกษุสงฆ์ที่นั่งเต็ม
สากลจักรวาลก็ดี ไม่ละชายผ้าสังฆาฏิของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเที่ยวไป
ก็ดี เมื่อกายทำลายแตกตายไปก็เข้าถึงนรกเท่านั้น. ส่วนผู้ใด ตนเอง
เป็นมนุษย์ ปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นสัตว์ดิรัจฉานก็ดี ตนเองเป็น
สัตว์ดิรัจฉานปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ก็ดี ตนเองเป็นสัตว์
ดิรัจฉานด้วยกันก็ดี กรรมของผู้นั้นไม่เป็นอนันตริยกรรม แต่เป็นกรรม
หนักตั้งจดอนันตริยกรรมทีเดียว. แต่ปัญหานี้ ท่านกล่าวสำหรับผู้ที่เป็น
มนุษย์. ในปัญหานั้นควรกล่าวเรื่องเอฬกจตุกกะ สังคามาจตุกกะ และโจร-
จตุกกะ ก็บุคคลแม้เข้าใจว่า เราจะฆ่าแล้วฆ่ามารดาหรือบิดาผู้เป็น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 153
มนุษย์ ซึ่งตั้งอยู่ในที่อยู่ของแพะ ชื่อว่าต้องอนันตริยกรรม. บุคคลผู้ฆ่า
แพะด้วยเข้าใจว่าเป็นแพะ หรือด้วยเข้าใจว่าเป็นมรรคหรือบิดา ชื่อว่า
ไม่ต้องอนันตริยกรรม. บุคคลผู้ฆ่ามารดาหรือบิดาโดยเข้าใจว่าเป็นมารดา
หรือบิดา ชื่อว่าต้องอนันตริยกรรมโดยแท้. ใน ๒ จตุกกะนอกนี้ก็นัยนี้
เหมือนกัน. พึงทราบจตุกกะเหล่านี้แม้ในพระอรหันต์ ก็เหมือนในมารดา
หรือบิดา. บุคคลผู้ฆ่าพระอรหันต์ผู้เป็นมนุษย์เท่านั้น ชื่อว่าต้องอนันตริย-
กรรม. ฆ่าพระอรหันต์ผู้เป็นยักษ์ ชื่อว่าไม่ต้องอนันตริยกรรม. แต่เป็น
กรรมหนัก เหมือนอนันตริยกรรมทีเดียว. เมื่อบุคคลใช้ศัสตราประหาร
หรือวางยาพิษพระอรหันต์ผู้เป็นมนุษย์ เวลาที่ท่านยังเป็นปุถุชน ผิว่า
ท่านบรรลุพระอรหัต มรณะลงด้วยการประหารด้วยศัสตราหรือยาพิษนั้น
นั่นแล ผู้นั้นย่อมชื่อว่าฆ่าพระอรหันต์โดยแท้. ทานใดเขาถวายเวลาที่
ท่านเป็นปุถุชน ท่านบรรลุพระอรหัตแล้วบริโภค ทานนั้นก็ยังชื่อว่า
ให้แก่ปุถุชนอยู่นั่นเอง. บุคคลผู้ฆ่าพระอริยบุคคลที่เหลือ (โสดาบัน
สกทาคามี อนาคามี ) ไม่เป็นอนันตริยกรรม แต่เป็นกรรมหนักเหมือน
อนันตริยกรรมทีเดียว.
พึงทราบวินิจฉัยในอนันตริยกรรมข้อโลหิตุปบาท ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่าบุคคลผู้เป็นช้าศึกจะตัดพระจัมมะ (หนัง ) ในพระวรกาย
ที่ยังๆไม่แตกของพระตถาคตให้พระโลหิตไหลออกไม่ได้. เว้นแต่พระโลหิต
จะคั่งค้างอยู่ในที่หนึ่งภายในพระวรกายเท่านั้น. สะเก็ดหินที่กะเทาะจาก
ก้อนหินที่พระเทวทัตยกทุ่มไปกระทบปลายพระบาทของพระตถาคต.
พระบาทเหมือนถูกฟันด้วยขวาน ได้มีโลหิตคั่งอยู่ข้างในเท่านั้น. กรรม
ของพระเทวทัตผู้กระทำอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นอนันตริยกรรม. ส่วนหมอ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 154
ชีวกตัดพระจัมมะด้วยศัสตราตามความชอบพระทัยของพระตถาคต นำ
โลหิตเสียออกจากที่นั้น ได้กระทำให้ทรงผาสุก. กรรมของหมอชีวกผู้
กระทำอย่างนั้น เป็นบุญกรรมโดยแท้.
ถามว่า เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว คนเหล่าใดทำลายพระเจดีย์
ตัดต้นโพธิ์ เหยียบย่ำพระธาตุ กรรมอะไรจะมีแก่บุคคลเหล่านั้น.
ตอบว่า กรรมนั้นเป็นกรรมหนักเช่นเดียวกับอนันตริยกรรม. แต่
กิ่งโพธิ์ที่เบียดสถูปหรือพระปฏิมาที่มีพระธาตุ (บรรจุ ) จะตัดเสียก็ควร.
แม้ถ้าพวกนกจับที่กิ่งโพธิ์นั้น ถ่ายอุจจาระรดพระเจดีคีย์ ก็ควรตัดเสีย.
เพราะพระเจดีย์บรรจุพระสรีรธาตุ สำคัญกว่าบริโภคเจดีย์ที่บรรจุเครื่อง
บริโภค. จะตัดรากโพธิ์ที่ไปทำลายเจดีย์วัตถุออกไปเสียก็ควร. แต่กิ่งโพธิ์
ที่เบียดเรือนโพธิ์ จะตัดกิ่งโพธิ์เพื่อจะรักษาเรือนโพธิ์ไม่ได้ เพราะเรือน
โพธิ์มีไว้เพื่อ ประโยชน์แก่ต้นโพธิ์ (แต่) ต้นโพธิ์หามีไว้เพื่อประโยชน์
แก่เรือนโพธิ์ไม่. แม้ในเรือนเก็บอาสนะ ( พระแท่น) ก็นัยนี้เหมือนกัน.
จะตัดกิ่งโพธิ์เพื่อรักษาเรือนอาสนะ (พระแท่น) ที่เขาบรรจุพระธาตุ
ก็ควร. เพื่อบำรุงคันโพธิ์ จะตัดกิ่งที่แย่งโอชะ. (คืออาหาร) หรือกิ่งผุ
เสีย ก็ควรเหมือนกัน. แม้บุญก็มีเหมือนดังปรนนิบัติพระสรีระพระ-
พุทธเจ้าฉะนั้น.
ในสังฆเภท การทำลายสงฆ์ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
เมื่อสงฆ์ผู้อยู่ในสีมามิได้ประชุมกัน เมื่อภิกษุผู้ซึ่งสงฆ์ทำการชี้แจงๆ
การสวดประกาศและการให้จับสลาก แล้วยังพาบริษัทส่วนหนึ่งแยกไป
ทำสังฆกรรม หรือสวดปาฏิโมกข์ต่างหาก ชื่อว่าสังฆเภทด้วย เป็น
อนันตริยกรรมด้วย. แต่เมื่อภิกษุกระทำด้วยความสำคัญว่าจะสมัครสมาน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 155
กัน (หรือ) ด้วยความสำคัญว่าทำถูก ก็เป็นเพียงการแตกกันเท่านั้น
ยังไม่เป็นอนันตริยกรรม. ทำในบริษัทที่หย่อนกว่า ๙ รูปก็เหมือนกัน
(คือเป็นการแตกกันแต่ไม่เป็นอนันตริยกรรม). โดยกำหนดภิกษุจำนวน
๙ รูป เป็นอย่างต่ำสุด ในหมู่ภิกษุ ๙ รูป ภิกษุใดทำลายสงฆ์ อนัน-
ตริยกรรมย่อมมีแก่ภิกษุนั้น. กรรมของภิกษุพวกอธรรมวาทีผู้ปฏิบัติตาม
ภิกษุนั้น เป็นกรรมมีโทษมาก . สำหรับภิกษุผู้เป็นธรรมวาทีไม่มีโทษ.
ในการทำสังฆเภทสำหรับภิกษุ ๙ รูปนั้น มีพระสูตรอ้างอิงดังนี้ว่า ดูก่อน
อุบาลี ฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป (อีก) ฝ่ายหนึ่งก็มี ๔ รูป รูปที่ ๙ สวด
ประกาศให้จับสลากโดยกล่าวว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่าน
จงถือเอาสลากอันนี้ จงชอบใจสลากนี้แล. ดูก่อนอุบาลี สังฆราชี
(ความร้าวรานแห่งพระสงฆ์ ) ด้วยสังฆเภท ( ความแตกแห่งสงฆ์ ) ด้วย
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ก็ในกรรม ๕ อย่างนี้ สังฆเภทเป็นวจีกรรม
กรรมที่เหลือเป็นกายกรรม. ฉะนั้น พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรม ด้วย
ประการดังนี้.
บทว่า ทฺวารโต มีอธิบายว่า ก็กรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นแล ย่อม
ตั้งขึ้นทางกายทวารบ้าง ทางวจีทวารบ้าง. ในเรื่องที่ว่าด้วยทวารนี้
กรรม ๔ ประการข้างต้น แม้จะตั้งขึ้นทางวจีทวารด้วยอาณัตติกประโยค
(คือประโยคสั่งบังคับ) และวิชชามยประโยค (คือประโยคที่สำเร็จด้วย
วิชาเวทมนตร์) ก็ทำกายทวารให้บริบูรณ์ได้เหมือนกัน. สังฆเภท แม้
จะตั้งขึ้นทางกายทวารซึ่งภิกษุผู้ผู้ทำการยกมือ ก็ทำให้วจีทวารบริบูรณ์ได้
เหมือนกัน. ในเรื่องนี้ พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยทวาร ด้วยประการดังนี้ .
๑. ม. อิท (สลาก) โรเจถ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 156
บทว่า กปฺปฏฺติยโต มีอธิบายว่า ก็ในเรื่องนี้ สังฆเภทเป็นบาป
ตั้งอยู่ชั่วกัป. ทำสังฆเภทใน (ตอนที่) กัปยังตั้งอยู่ หรือในตอน
ระหว่างกลางกัป ก็พ้นบาปต่อเมื่อกัปพินาศนั่นแหละ. ก็ถ้าว่าพรุ่งนี้ กัป
จักพินาศไซร้ ทำสังฆเภทวันนี้ พรุ่งนี้ก็พ้น จะไหม้อยู่ในนรกวันเดียว
เท่านั้น. แต่การกระทำอย่างนี้ ไม่มี. กรรม ๔ ประการที่เหลือเป็น
อนันตริยกรรมเท่านั้น ไม่เป็นกรรมดังอยู่ตลอดกัป. พึงทราบวินิจฉัย
แม้โดยความเป็นกรรมตั้งอยู่ตลอดกัปในเรื่องนี้ ด้วยประการดังนี้.
บทว่า ปากโต มีอธิบายว่า ก็บุคคลใดกระทำกรรมแม้ทั้ง ๕
ประการนี้ สังฆเภทเท่านั้นย่อมให้ผลแก่บุคคลนั้นด้วยอำนาจปฏิสนธิ
กรรมที่เหลือย่อมนับว่าเป็นกรรมที่มี (ทำ) แล้ว แต่วิบากของกรรมยังไม่มี
ดังนี้ เป็นต้น. เมื่อสังฆเภทไม่มี โลหิตุปบาท (คือการทำพระโลหิตให้ห้อ)
ย่อมให้ผล เมื่อโลหิตุปบาทนั้นไม่มี อรหันตฆาต (คือการฆ่าพระอรหันต์)
ย่อมให้ผล เมื่ออรหันตฆาตนั้นไม่มี ถ้าบิดาเป็นผู้มีศีล มารดาทุศีล
หรือไม่มีศีลอย่างบิดานั้น ปิตุฆาต (คือการฆ่าบิดา ) ย่อมให้ผลด้วย
อำนาจปฏิสนธิ. ถ้ามารดาเป็นผู้มีศีล มาตุฆาตย่อมให้ผล. แม้เมื่อบิดา
มารดาทั้งสองท่าน เป็นผู้เสมอกันโดยศีล หรือโดยทุศีล มาตุฆาตเท่านั้น
ย่อมให้ผลด้วยอำนาจปฏิสนธิ เพราะมารดาเป็นผู้ทำสิ่งที่ทำได้ยาก ทั้งเป็น
ผู้มีอุปการะมากแก่บุตรทั้งหลาย. ฉะนั้น พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยวิบาก
คือผลในเรื่องนี้ ด้วยประการดังนี้
บทว่า สาธารณาทีหิ ความว่า กรรม ๔ ประการเบื้องต้น เป็น
กรรมทั่วไปแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งปวง ส่วนสังฆเภทย่อมเป็นเฉพาะ
แก่ภิกษุผู้มีประการดังตรัสไว้ ย่อมไม่เป็นแก่คนอื่น โดยพระบาลีว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 157
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณีทำสายสงฆ์ไม่ได้แล สิกขมานา สามเณร สามเณรี
อุบาสก อุบาสิกา ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้ ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้เป็นปกตัตตะ
มีธรรมเครื่องอยู่ร่วมอันเสมอกัน อยู่ในสีมาเสมอกัน ย่อมทำสังฆเภทได้
เพราะฉะนั้น สังฆเภทจึงเป็นกรรมไม่ทั่วไป. ด้วยอาทิศัพท์ (คือศัพท์ว่า
เป็นต้น ) ชนเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้สหรคตด้วยทุกขเวทนา และ
สัมปยุตด้วยโทสะ โมหะ. พึงทราบวินิจฉัยโดยเป็นกรรมทั่วไปเป็นต้น
ในเรื่องนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อญฺ สตฺถาร ความว่า บุคคลคิดว่า พระศาสดาของ
เรานี้ ไม่สามารถทำกิจของพระศาสดาได้ จึงถือเจ้าลัทธิอื่นอย่างนี้ว่า
ท่านผู้นี้ เป็นศาสดาของเรา ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
บทว่า เอกิสฺสาย โลกธาตุยา คือ ในหมื่นโลกธาตุ. ก็เขตมี ๓
คือ ชาติเขต ๑ อาณาเขต ๑ วิสัยเขต ๑. ในเขตทั้ง ๓ นั้น หมื่น
โลกธาตุ ชื่อว่า ชาติเขต. ด้วยว่า หมื่นโลกธาตุนั้นไหวในเวลาที่
พระตถาคตเสด็จลงสู่ครรภ์พระมารดา เสด็จออก (ผนวช) ตรัสรู้
ประกาศพระธรรมจักร ปลงพระชนนายุสังขาร และปรินิพพาน.
แสนโกฏิจักรวาล ชื่อว่า อาณาเขต. เพราะว่าอาณาเขตของอาฏานาฏิย-
ปริตร โมรปริตร ธชัคคปริตร และรัตนปริตร เป็นต้น ย่อมแผ่ไปในแสน
โกฏิจักรวาลนี้. ส่วนวิสัยเขตไม่มีปริมาณ ( คือนับไม่ได้). ก็ธรรมดา
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าธรรมมิใช่วิสัยหามีไม่ เพราะพระบาลีว่า
พระญาณ (ความรู้) มีประมาณเพียงใด ข้อที่จะพึงรู้ก็มีประมาณเพียง
นั้น ข้อที่จะพึงรู้มีประมาณเพียงใด พระญาณก็มีประมาณเพียงนั้น.
ข้อที่จะพึงรู้มีพระญาณเป็นที่สุด พระญาณก็มีข้อที่จะพึงรู้เป็นที่สุด ดังนี้ .
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 158
ก็ในเขตทั้ง ๓ นี้ ไม่มีพระสูตรที่ว่า เว้นจักรวาลนี้เสีย พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเสด็จอุบัติในจักรวาลอื่น แต่มีพระสูตรว่า ไม่เสด็จ
อุบัติ. ก็พระปิฎกมี ๓ คือพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรม-
ปิฎก. สังคีติ (คือการสังคายนา) ก็มี ๓ ครั้ง คือ สังคีติของพระ-
มหากัสสปเถระ ๑ สังคีติของพระยสเถระ ๑ สังคีติของพระโมคคัลลีบุตร-
เถระ ๑. ในพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎกที่ยกขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๓
ครั้งนี้ ไม่มีพระสูตรที่ว่า พ้นจักรวาลนี้ไป พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง
อุบัติในจักรวาลอื่น แต่มีพระสูตรอยู่ว่าไม่ทรงอุบัติในจักรวาลอื่น.
บทว่า อปุพฺพ อจริม ได้แก่ ในกาลไม่ก่อนไม่หลังกัน ท่าน
อธิบายว่า ไม่ทรงอุบัติพร้อมกัน คือ ทรงอุบัติก่อนกันหรือหลังกัน.
ในคำที่ว่า ไม่ก่อนไม่หลังกัน นั้น ไม่พึงทราบว่า ในกาลก่อน คือ
ตั้งแต่เวลาที่ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์ด้วยตั้งพระทัยว่า ไม่บรรลุพระ-
โพธิญาณจักไม่ลุกขึ้น จนถึงทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา.
ก็ในการถือปฏิสนธิของพระโพธิสัตว์ ท่านกำหนดเขตด้วยหมื่นจักรวาล
ไหวเท่านั้น ก็เป็นอันห้ามการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นในระหว่าง.
ไม่พึงทราบว่าในกาลภายหลัง คือ ตั้งแต่ปรินิพพานจนถึงพระธาตุแม้
เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังทรงดำรงอยู่ เพราะเมื่อพระธาตุยังคงดำรงอยู่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายชื่อว่ายังทรงดำรงอยู่ เพราะเหตุนั้น ในระหว่างกาลนี้
ย่อมเป็นอันห้ามการเสด็จอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น. แต่เมื่อ
พระธาตุปรินิพพานแล้ว ไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์
อื่น.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงไม่ทรงอุบัติ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 159
ไม่ก่อนไม่หลังกัน (คือพร้อมกัน). ตอบว่า เพราะอุบัติพร้อมกัน
ไม่เป็นเหตุอัศจรรย์. เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอัจฉริยะ มนุษย์
อัศจรรย์. สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเอก เป็น
มนุษย์อัศจรรย์ ย่อมอุบัติขึ้น บุคคลเอกเป็นไฉน คือ พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ก็ถ้าพระพุทธเจ้ามี ๒ พระองค์ มี ๔ พระองค์
มี ๘ พระองค์ หรือ ๑๖ พระองค์ พึงอุบัติพร้อมกันไซร้ ก็พึงเป็นผู้
ไม่น่าอัศจรรย์. แม้มีเจดีย์ ๒ เจดีย์ในวิหารเดียวกัน ลาภสักการะย่อมไม่
มโหฬาร. แม้ภิกษุทั้งหลายก็ไม่น่าอัศจรรย์ เพราะมีมาก แม้พระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายก็พึงเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงอุบัติพร้อมกัน.
เมื่อว่าโดยเทศนาก็ไม่แปลกกันดังนี้:- พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
ทรงแสดงธรรมใดมีสติปัฏฐานเป็นต้น พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นแม้อุบัติ
ขึ้น ก็จะทรงแสดงธรรมนั้นนั่นแหละ. เพราะเหตุนั้น จึงไม่น่าอัศจรรย์.
แต่เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวทรงแสดงธรรม แม้การแสดงธรรมก็
เป็นของน่าอัศจรรย์.
เมื่อว่าโดยไม่มีการโต้แย้งกัน อนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลายพระองค์
อุบัติขึ้น พวกพุทธมามกะก็จะพึงวิวาทกันว่า พระพุทธเจ้าของพวกเรา
น่าเลื่อมใส พระพุทธเจ้าของพวกเรามีพระสุรเสียงไพเราะ มีลาภ มีบุญ
ดังนี้ เหมือนพวกศิษย์ของพวกอาจารย์เป็นอันมาก ฉะนั้น แม้เพราะ
เหตุนั้น จึงไม่อุบัติขึ้นอย่างนั้น.
อีกประการหนึ่ง เหตุข้อนี้พระนาคเสนถูกพระเจ้ามิลินท์ถาม ก็ได้
กล่าวไว้พิสดารแล้ว. จริงอยู่ ในมิลินทปัญหานั้น ท่านกล่าวไว้ว่า
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ท่านพระนาคเสนเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 160
ได้ภาษิตข้อนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
จะพึงอุบัติไม่ก่อนไม่หลัง พร้อมกัน ๒ พระองค์ ในโลกธาตุเดียวกัน
นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อที่ว่า นั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้. ท่าน
พระนาคเสนเจ้าข้า ก็พระตถาคตแม้ทุกพระองค์ เมื่อจะทรงแสดง ก็
ทรงแสดงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เมื่อจะตรัสอริยสัจะ ๔
เมื่อจะทรงให้ศึกษา ก็ทรงให้ศึกษาสิกขา ๓ และเมื่อจะทรงพร่ำสอน ก็
ทรงพร่ำสอนข้อปฏิบัติ คือ ความไม่ประมาท. ท่านพระนาคเสนเจ้าข้า
ถ้าว่า พระตถาคตแม้ทุกพระองค์ มีอุเทศเดียวกัน มีกถาเดียวกัน มี
การพร่ำสอนอย่างเดียวกันไซร้ เพราะเหตุไร พระตถาคต ๒ พระองค์
จึงไม่อุบัติในสมัยเดียวกัน. ด้วยการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าพระองค์
เดียว โลกนี้ยังเกิดแสงสว่างถึงเพียงนั้นแล้ว ถ้าจะพึงมีพระพุทธเจ้า
แม้องค์ที่ ๒ โลกนี้ก็จะพึงเกิดแสงสว่าง มีประมาณอย่างยิ่ง ด้วยพระรัศมี
ของพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์. อนึ่ง พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ เมื่อจะ
ทรงสั่งสอน ก็ทรงสั่งสอนสะดวก และเมื่อจะทรงพร่ำสอนก็ทรงพร่ำสอน
สะดวก. ในเรื่องที่พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ไม่อุบัติพร้อมกันนั้น ท่าน
โปรดแสดงเหตุให้ข้าพเจ้าหมดสงสัยทีเถิด.
พระนาคเสนตอบว่า มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ทรงพระพุทธเจ้า
ไว้ได้เพียงพระองค์เดียว ทรงพระคุณของพระตถาคตได้เพียงพระองค์
เดียว ถ้าพระพุทธเจ้าจะพึงเสด็จอุบัติเป็นองค์ที่ ๒ หมื่นโลกธาตุนี้ก็จะ
ทรงไว้ไม่ได้ พึงสั่นสะเทือนทรุดเซซวนเรี่ยรายกระจัดกระจายทำลายไป
ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้. มหาบพิตร เรือรับคนได้คนเดียว เมื่อคน ๆ เดียว
ขึ้น เรือจะเพียบเสมอน้ำ ครั้นคนที่สองซึ่งเป็นคนมีอายุ ผิวพรรณ วัย
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 161
ขนาดประมาณความผอมความอ้วน มีอวัยวะทุกส่วนบริบูรณ์มาถึง เขาพึง
ขึ้นเรือลำนั้น มหาบพิตร เรือลำนั้นจะรองรับคนทั้งสองได้บ้างไหม.
ไม่ได้เลยท่าน เรือจะโคลงเคลงน้อมเอียงตะแคงส่ายล่มจมไป ทรงลำอยู่.
ไม่ได้ พึงจมลงไปในน้ำ ฉันใด มหาบพิตร หมื่นโลกธาตุนี้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมทรงพระคุณของพระตถาคตได้เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
ถ้าพระพุทธเจ้าองค์ที่สองอุบัติขึ้น หมื่นโลกธาตุนี้จะดำรงอยู่ไม่ได้ จะพึง
สั่นสะเทือนโน้มเอียงเอนเรี่ยรายกระจัดกระจายทำลายไป ตั้งอยู่ไม่ได้.
มหาบพิตร หรือเปรียบเหมือนบุรุษพึงบริโภคอาหารพอเกิดความต้องการ
จนล้นปิดคอหอย เขาเอิบอิ่มจากการบริโภคนั้นเต็มที่ไม่ขาดระยะ. ทำให้
เกียจคร้าน ก้มตัวไม่ลงเหมือนท่อนไม้ ยังบริโภคอาหารประมาณเท่านั้น
ซ้ำเข้าไป มหาบพิตร คนผู้นั้นจะพึงมีความสุขบ้างหรือหนอ. ไม่เป็นสุข
เลยท่าน เขาบริโภคอีกตรงเท่านั้นก็จะตาย อุปมานั้นฉันใด มหาบพิตร
หมื่นโลกธาตุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน รองรับพระพุทธเจ้าได้เพียงพระองค์
เดียว ทรงคุณของพระตถาคตได้เพียงพระองค์เดียว ถ้าพระพุทธเจ้า
พระองค์ที่ ๒ จะอุบัติขึ้นหมื่นโลกธาตุนี้จะธำรงอยู่ไม่ได้ จะสั่นสะเทือน
ทรุดเซซวนเรี่ยรายกระจัดกระจายทำลายไปถึงตั้งอยู่ไม่ได้. ท่านพระ-
นาคเสน แผ่นดินไหวเพราะความหนักของธรรมอันยิ่งหรืออย่างไร ?
ถวายพระพร มหาบพิตร ในที่นี้มีเกวียน ๒ เล่ม เติมด้วยรัตนะจนเสมอ
ขอบเกวียน เขาเอารัตนะจากเกวียนเล่มหนึ่ง มาเติมใส่ในเกวียนอีกเล่ม
หนึ่ง มหาบพิตร เกวียนเล่มนั้นจะรองรับรัตนะของเกวียนทั้งสองเล่มได้
บ้างหรือหนอ. ไม่ได้เลยท่าน แม้คุมของเกวียนนั้นก็จะแตก แม้เพลาของ
เกวียนนั้นก็จะทำลาย แม้กงของเกวียนนั้นก็จะหักลงไป แม้เพลาของ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 162
เกวียนนั้นก็จะแตกรูป. มหาบพิตร เกวียนพังเพราะความหนักของรัตนะ
มากเกินไปหรือหนอ. ใช่สิท่าน. มหาบพิตร แผ่นดินสั่นสะเทือนก็เพราะ
ความหนักของธรรมอันยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกันแล.
มหาบพิตร อนึ่งเล่า เหตุนี้ท่านประมวลมาก็เพื่อแสดงพระพละ
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอพระองค์โปรดสดับเหตุแม้อย่างอื่นอีก อัน
เป็นเหตุทำให้พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ไม่อุบัติในสมัยเดียวกัน มหาบพิตร
ผิว่าพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ พึงอุบัติในขณะเดียวกันไซร้ บริษัทก็จะพึง
วิวาทกัน จะพึงเกิดเป็น ๒ ฝ่ายว่า พระพุทธเจ้าของพวกท่าน พระ-
พุทธเจ้าของพวกเรา มหาบพิตร ความวิวาทย่อมเกิดแก่บริษัทของพวก
อำมาตย์ผู้เข้มแข็ง ๒ พวก ย่อมเกิดเป็น ๒ ฝ่ายว่า อำมาตย์ของพวกท่าน
อำมาตย์ของพวกเรา ดังนี้ฉันใด มหาบพิตร ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
แหละ ถ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพึงอุบัติในคราวเดียวกัน ๒ พระองค์ไซร้
บริษัทก็จะพึงเกิดความวิวาทกัน จะพึงเกิดเป็น ๒ ฝ่ายว่า พระพุทธเจ้า
ของพวกท่าน พระพุทธเจ้าของพวกเรา ดังนี้ . ขอพระองค์โปรดทรง
สดับเหตุข้อแรกอัน เป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่อุบัติในคราวเดียว
กัน ๒ พระองค์.
ขอพระองค์โปรดทรงสดับเหตุแม้ข้ออื่นยิ่งขึ้นไป อันเป็นเหตุให้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ไม่อุบัติในคราวเดียวกัน มหาบพิตร
ถ้าว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ จะพึงอุบัติในคราวเดียวกัน
คำที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นเอกอัครบุคคลก็จะพึงผิดไป คำที่ว่า พระพุทธเจ้า
ทรงเจริญที่สุด ฯลฯ พระพุทธเจ้าทรงประเสริฐที่สุด พระพุทธเจ้าทรง
สูงสุด พระพุทธเจ้าทรงล้ำเลิศ พระพุทธเจ้าไม่มีผู้เสมอ พระพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 163
ไม่มีคนเปรียบ พระพุทธเจ้าไม่มีคนเทียบ พระพุทธเจ้าไม่มีบุคคลเทียมถึง
ดังนี้นั้น ก็จะพึงผิดไป. มหาบพิตร ขอพระองค์โปรดทรงทรามเหตุ
อัน เป็นเหตุให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ไม่ทรงอุบัติในคราว
เดียวกันแม้นี้แล โดยใจความเถิด.
มหาบพิตร ก็อีกอย่างหนึ่ง ข้อที่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น
อุบัติขึ้นในโลกนั้นเป็นสภาพปกติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะเหตุไร.
เพราะคุณของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเหตุใหญ่. มหาบพิตร แม้
สิ่งอื่นใดชื่อว่าเป็นของใหญ่ สิ่งนั้นก็มีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น. มหาบพิตร
แผ่นดินเป็นของใหญ่ แผ่นดินนั้นก็มีผืนเดียว สาครใหญ่ก็มีแห่งเดียว
ขุนเขาสิเนรุใหญ่ก็มีลูกเดียว อากาศใหญ่ก็มีห้วงเดียว พระพรหมใหญ่มีองค์
เดียว พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าใหญ่มีพระองค์เดียว พระ-
ตถาคตอรหันตสัมมาพุทธเจ้าเป็นต้นเหล่านั้น อุบัติในที่ใด ในที่นั้น
คนพวกอื่นย่อมไม่มีโอกาส เพราะฉะนั้น พระตถาคตอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น อุบัติขึ้นในโลก. ท่านพระนาคเสน ปัญหา
พร้อมทั้งเหตุอันเป็นข้ออุปมาท่านกล่าวดีแล้วละ.
บทว่า เอติสฺสาย โลกธาตุยา คือในจักรวาลเดียว ในตอนต้น
ท่านถือเอาหมื่นจักรวาลด้วยคำ ( ว่าโลกธาตุหนึ่ง ) นี้. แม้หมื่นจักรวาล
นั้น ก็ควรกำหนดเองเพียงจักรวาลเดียวเท่านั้น. ด้วยว่า พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเมื่อจะอุบัติ ย่อมอุบัติในจักรวาลนี้เท่านั้น ก็เมื่อห้ามสถานที่
อุบัติไว้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงไม่อุบัติในจักรวาลอื่น ๆ นอกจาก
จักรวาลนี้ เพราะเหตุนั้น สถานที่อุบัติอื่น ๆ ย่อมเป็นอันห้ามเด็ดขาด
(คือจะอุบัติที่อื่นไม่ได้).
จบอรรถกถาวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 164
วรรคที่ ๒
ว่าด้วยฐานะและอฐานะ
[๑๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์
จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่
โอกาสจะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์
เดียวจะพึงเสด็จอุบัติขึ้นในโลกธาตุอันหนึ่ง เป็นฐานะที่จะดีได้.
[๑๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สตรีจะพึงเป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แต่ข้อที่บุรุษจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นฐานะที่จะ
มีได้.
[๑๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สตรีจะพึงเป็นพระเจ้าจักร-
พรรดินั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อ
ที่บุรุษจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สตรีจะพึงเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ
จะพึงเป็นมาร ฯลฯ จะพึงเป็นพรหมนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะ
มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุรุษจะพึงเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ จะพึง
เป็นมาร ฯลฯ จะพึงเป็นพรหมนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ แห่งกายทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น มิ ใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะ
มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ แห่งกายทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 165
[๑๖๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ แห่งวจีทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะ
มีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจ แห่งวจีทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ แห่งมโนทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่
จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่า
ใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งมโนทุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
จบวรรคที่ ๑
อรรถกถาวรรคที่ ๒๑
ในบทว่า อปุพฺพ อจริม นี้ กาลก่อนแต่จักรรัตนะปรากฏ ชื่อ
ว่า ปุพฺพ ก่อนภายหลังแต่จักรรัตนะนั้นนั่นแลอันตรธาน ชื่อว่า
จริม ภายหลัง ในคำนั้น จักรรัตนะอันตรธานย่อมมี ๒ ประการ คือ
พระเจ้าจักรพรรดิสวรรคตหรือทรงผนวช. ก็แต่ว่าการอันตรธานนั้น
จะอันตรธานในวันที่ ๗ แต่การสวรรคตหรือแต่การทรงผนวช. เบื้อง
หน้าแต่นั้นไป ไม่ห้ามการปรากฏขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเจ้าจักรพรรดิจึงไม่ทรงอุบัติพร้อมกัน
๒ พระองค์ในจักรวาลเดียวกัน ? ตอบว่า เพราะจะตัดการวิวาท เพราะ
ไม่น่าอัศจรรย์ และเพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก. ด้วยเหตุว่า พระเจ้า
จักรพรรดิ ๒ พระองค์ทรงอุบัติขึ้น ความวิวาทก็จะพึงเกิดขึ้นว่า พระ-
๑. บาลีข้อ ๑๖๓-๑๖๙
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 166
ราชาของพวกเราเป็นใหญ่ พระราชาของเรา (ต่างหาก) เป็นใหญ่
และจะพึงไม่น่าอัศจรรย์ด้วยสำคัญว่า เป็นจักรพรรดิในทวีปเดียว เป็น
จักรพรรดิในทวีปเดียว อนึ่ง ความมีอนุภาพมากของจักรรัตนะที่สามารถ
มอบความเป็นใหญ่ให้ในมหาทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารแม้
นั้นก็จะเสื่อมไป. พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์ ไม่อุบัติในจักรวาลเดียวกัน
ก็เพราะจะตัดความวิวาท ๑ เพราะไม่น่าอัศจรรย์ ๑ และเพราะจักรรัตนะ
มีอานุภาพมาก ๑ ด้วยประการฉะนี้
ในบทเหล่านี้ว่า ย อิตฺถี อรห อสฺส สมฺมาสมฺพุทฺโธ ดังนี้
พุทธภาพความเป็นพระพุทธเจ้าที่สามารถให้สัพพัญญูคุณเกิดแล้วรื้อขึ้น
สัตว์ออกจากโลกจงพักไว้ก่อน. สตรีแม้เพียงตั้งความปรารถนา ก็ย่อม
ไม่สำเร็จพร้อม ( เป็นพระพุทธเจ้า ).
เหตุเป็นเครื่องตั้งความปรารถนาให้สำเร็จเหล่านี้ คือ
มนุสฺสตฺต ลิงฺคสมฺปตฺต เหตุ สตฺถารทสฺสน
ปพฺพชฺขา คุณสมฺราตฺติ อธิการโร จ ฉนฺตตรา
อฏฺธมฺนสโนธานา อภินีหาโร สมิชฺฌติ.
อภินิหารย่อมสำเร็จเพราะประชุมธรรม ๘ ประ-
การ คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วย
เพศ (บุรุษ) ๑ เหตุ (คืออุปนิสัยอันเป็นเหตุ
สร้างกุศลมาก) ๑ การได้พบพระคาสดา ๑ การ
ได้บรรพชา ๑ ครามถึงพร้อมด้วยคุณ (มีฌาน
สมาบัติเป็นต้น) ๑ อธิการ (คือบุญญา-
ภิสมภารอันยิ่งเช่นบำเพ็ญปัญจมหาบริจาค) ๑
ความเป็นผู้มีฉันทะ (ในพระโพธิญาณ) ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 167
สตรีไม่สามารถทำแม้ปณิธาน คือการตั้งความปรารถนาดังกล่าวมานี้
ให้สำเร็จได้ พุทธภาพความเป็นพระพุทธเจ้าจะมีได้แต่ไหน เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สั่งสมบุญ
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส. การสั่งสมบุญ
อันบริบูรณ์โดยอาการทั้งปวงเท่านั้น ย่อมทำอัตภาพอันสมบูรณ์ด้วยอาการ
ทั้งปวงให้บังเกิดเพราะเหตุนั้น บุรุษจึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้.
แม้ในบทที่ว่า น อิตฺถี ราชา อสฺส จกฺกวตฺติ ดังนี้เป็นต้น
มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่ลักษณะทั้งหลายของสตรีไม่ครบถ้วน เพราะสตรี
ไม่มีของลับอันเป็นวัตถุที่ตั้งอยู่ในฝัก รัตนะ ๗ ประการก็ไม่ถึงพร้อม
เพราะไม่มีอิตถีรัตนะ ทั้งอัตภาพอันยิ่งกว่ามนุษย์ทั้งปวงก็ไม่มี ฉะนั้น
จึงตรัสว่า ข้อที่สตรีจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น มิใช่ฐานะ มิใช่
โอกาส ดังนี้ .
อนึ่ง เพราะเหตุฐานะทั้ง ๓ มีความเป็นท้าวสักกะเป็นต้น เป็น
ฐานะสูงส่ง ส่วนเพศสตรีเป็นเพศต่ำ ฉะนั้น สตรีนั้นจึงเป็นท้าวสักกะ
เป็นต้น ไม่สำเร็จเด็ดขาด. ถามว่า แม้เพศบุรุษก็ไม่มีในพรหมโลก
เหมือนเพศสตรีมิใช่หรือ. เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรกล่าวว่า ข้อที่บุรุษ
พึงครอบครองความเป็นพรหมนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ตอบว่า ไม่ควร
กล่าวหามิได้. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะบุรุษในโลกนี้
บังเกิดในพรหมโลกนั้นได้.
ก็ในบทว่า พฺรหฺมตฺต ท่านหมายเอาความเป็นท้าวมหาพรหม.
อนึ่ง สตรีบำเพ็ญฌานโลกนี้ กระทำกาละ (ตาย) ไปแล้ว ย่อม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 168
เข้าถึงความเป็นสหายแห่งพวกพรหมปาริสัชชา (พรหมที่เป็นบริษัท)
ไม่เข้าสงความเป็นท้าวมหาพรหม ส่วนบุรุษไม่พึงกล่าวว่าไม่เกิดในพรหม
โลกนั้นอนึ่ง ในพรหมโลกนั้น แม้เพศทั้งสองจะไม่มี พรหมทั้งหลายก็
มีสัณฐานทรวดทรงเหมือนบุรุษทั้งนั้น ไม่มีสัณฐานทรวดทรงเหมือนสตรี
เลย เพราะฉะนั้น พระดำรัสที่ตรัสไว้นั้น เป็นตน เป็นอันตรัสไว้ดีแล้วนั่นแล.
ในบทว่า กายทุจฺจริตสฺส เป็นต้น มีอธิบายว่า พืชสะเดา
และบวบขม ย่อมไม่ทำผลมีรสหวานให้บังเกิด ได้แต่ทำผลอันมีรสไม่น่า
ชอบใจไม่มีรสหวานให้บังเกิดอย่างเดียว ฉันใด กายทุจริตเป็นต้น ย่อม
ไม่ทำผลอันมีรสอร่อยให้บังเกิด ย่อมทำผลอันไม่อร่อยเท่านั้นให้บังเกิด
ฉันนั้น พืชอ้อยและพืชข้าวสาลีย่อมให้ผลมีรสหวานอร่อยทั้งนั้นให้บังเกิด
ย่อมไม่ทำผลที่ไม่แช่มชื่น ผลเผ็ดร้อนให้บังเกิด ฉันใด กายสุจริต
เป็นต้น ย่อมทำวิบากผลอันอร่อยทั้งนั้นให้บังเกิด ไม่ทำผลที่ไม่อร่อยให้
บังเกิด ฉันนั้น. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
ยาทิส วปเต พีช ตาทิส ลภเต ผล
กลฺยาณการี กลฺยาณ ปาปการี จ ปาปก
คนหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น คน
สาเหตุดี ย่อมได้ผลดี ส่วนคนทำเหตุชั่ว
ย่อมได้ผลชั่ว.
เพราะฉะนั้น จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อฏฺานเมต ภิกฺขเว
อนวกาโส ย กายทุจฺจริตสฺส ดังนี้ .
ความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียง ๕ อย่าง คือ ความเป็นผู้มีความ
พร้อมเพรียงด้วยการสั่งสม ๑ ความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยเจตนา ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 169
ความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยกรรม ๑ ความเป็นผู้มีความพร้อม
เพรียงด้วยวิบาก ๑ ความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยความปรากฏ ๑
ชื่อว่าเป็นผู้มีความพร้อมเพรียง ในบทว่า กายทุจฺจริตสมงฺคี ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียง อย่างนั้น ความเป็นผู้มี
ความพร้อมเพรียงในขณะสั่งสมกุศลกรรมและอกุศลกรรม ท่านเรียกว่า
ความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยการสั่งสม. ความเป็นผู้มีความพร้อมเพรียง
ด้วยเจตนาก็เหมือนกัน. ก็สัตว์ทั้งหลายยังไม่บรรลุพระอรหัตเพียงใด
สัตว์แม้ทั้งหลาย ท่านก็เรียกว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยเจตนา เพราะเป็น
ผู้พร้อมเพรียงด้วยเจตนาที่สะสมเอาไว้ในกาลก่อนเพียงนั้น นี้ชื่อว่าความ
เป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยเจตนา.
สัตว์แม้ทั้งปวง ท่านเรียกว่าเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยธรรม
เพราะหมายเอากรรมที่ควรแก่วิบากซึ่งได้สะสมเอาไว้ในกาลก่อน ตราบ
เท่าที่ยังไม่บรรลุพระอรหัต นี้ชื่อว่าความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยกรรม.
ความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยวิบาก พึงทราบเฉพาะในขณะแห่ง
วิบากเท่านั้น. ก็สำหรับเหล่าสัตว์ที่จุติจากภพนั้น ๆ ไปเกิดในนรกก่อน
นรกย่อมปรากฏโดยอาการปรากฏทั้งหลายมีเปลวไฟและหม้อโลหกุมภีเป็น
ต้น. สำหรับเหล่าสัตว์ผู้จะต้องถึงความเป็นคัพภไสยกสัตว์ ครรภ์ของ
มารดาย่อมปรากฏ. สำหรับเหล่าสัตว์ผู้จะเกิดในเทวโลก เทวโลกย่อม
ปรากฏโดยอาการที่ปรากฏต้นกัลปพฤกษ์และวิมานเป็นต้น อุปบัตินิมิตย่อม
ปรากฏอย่างนี้ ดังกล่าวมาฉะนี้ ตราบเท่าที่เหล่านั้นยังไม่บรรลุพระ-
อรหัต ดังนั้น ความที่สัตว์เหล่านั้นยังไม่พ้นจากความปรากฏแห่งอุปบัติ-
นิมิตนี้ จึงชื่อว่าความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยความปรากฏ ความเป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 170
พร้อมเพรียงด้วยความปรากฏนั้นไม่แน่นอน. ส่วนความเป็นผู้มีความ
พร้อมเพรียงที่เหลือ ( ๔ ประการ) แน่นอน. จริงอยู่ แม้เมื่อนรก
ปรากฏขึ้นแล้ว เทวโลกก็ปรากฏขึ้นได้ แม้เมื่อเทวโลกปรากฏขึ้นแล้ว
นรกก็ปรากฏขึ้นได้ แม้เมื่อมนุษยโลกปรากฏแล้ว เดียรฉานกำเนิดก็
ปรากฏได้ และแม้เมื่อเดียรฉานกำเนิดปรากฏแล้ว มนุษยโลกก็ปรากฏ
ขึ้นได้เหมือนกัน.
ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง :-
ได้ยินว่า มีพระธรรมกถึกรูปหนึ่ง ชื่อว่า โสณเถระ อยู่ใน
เขลวิหาร ใกล้เชิงเขาโสณคีรี. บิดาของท่านชื่อว่า สุนขราชิก. พระ-
เถระแม้จะห้ามบิดาก็ไม่สามารถจะให้อยู่ในความสังวรได้ คิดว่า คนผู้
ยากไร้อย่าฉิบหายเสียเลย ดังนี้ จึงให้ท่านบิดาบวชในตอนแก่ทั้งที่ไม่อยาก
บวช. นรกปรากฏแก่ท่านผู้นอนอยู่บนที่นอนสำหรับคนป่วย. พวกสุนัขตัว
ใหญ่ ๆ มาจากเชิงเขาโสณคีรี รุมล้อมทำทีดังจะกัดกิน. ท่านกลัวต่อ
มรณภัยจึงกล่าวว่า พ่อโสณะ ห้ามที พ่อโสณะ ห้ามที. พระโสณะ
ถามว่า ห้ามอะไร ท่านมหาเถระ. พระเถระผู้บิดาพูดว่า พ่อไม่เห็นหรือ
แล้วบอกเรื่องราวนั้น. พระโสณเถระคิดว่า บิดาของคนเช่นเรา จักเกิด
ในนรกได้อย่างไรเล่า แม้เราก็จักเป็นที่พึ่งของท่าน ดังนี้แล้ว จึงสั่ง
สามเณรทั้งหลายให้นำดอกไม้นานาชนิดมา แล้วทำเครื่องบูชาที่ตั้งกับพื้น
และเครื่องบูชาบนแท่น ที่ลานพระเจดีและลานโพธิ์ แล้วให้บิดานั่งบน
เตียง พูดว่า เครื่องบูชานี้ พระมหาเถระทำเพื่อประโยชน์แก่ท่าน ท่าน
จงกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เครื่องบรรณาการของคนยากนี้
เป็นของข้าพระองค์ ดังนี้ แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำจิตให้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 171
เลื่อมใสเถิด. พระมหาเถระเห็นเครื่องบูชาแล้วจึงกระทำตามนั้น ทำจิต
ให้เลื่อมใสแล้ว ในขณะนั้นเองเทวโลกปรากฏแก่ท่าน สวนนันทวัน
สวนจิตรลดาวัน สวนมิสกวัน และวิมานทั้งหลาย กับทั้งเทพนักฟ้อนรำ
ได้เป็นประหนึ่งว่าห้อมล้อมอยู่. พระมหาเถระพูดว่า หลีกไป พ่อโสณะ.
พระโสณะถามว่า นี้เรื่องอะไรกัน. พระมหาเถระพูดว่า นั่นมารดาของ
ลูกกำลังมา. พระเถระคิดว่า สวรรค์ปรากฏแก่พระมหาเถระแล้ว.
พึงทราบว่า ความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยการปรากฏ ย่อมไม่แน่
นอนตัว ประการอย่างนี้. ในควานเป็นผู้พร้อมเพรียงเหล่านี้ คำว่าความ
เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยกายทุจริต ดังนี้เป็นต้น ตรัสไว้ในที่นี้ ก็ด้วย
อำนาจความพร้อมเพรียงด้วยการสั่งสม เจตนา และกรรม และด้วย
อำนาจความเป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยกายทุจริต. ในคำว่า ความเป็นผู้พร้อม
เพรียงด้วยกายทุจริตเป็นต้นนั้น ท่านอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ในขณะ
ใด เขาสั่งสมเอากรรมไว้ ในขณะนั้นแหละไม่ห้ามสวรรค์สำหรับเขา.
ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ธรรมดากรรนอันเป็นเครื่องประมวลมา
ได้วาระคือคราวให้วิบากบ้าง ไม่ได้บ้าง มีอยู่ ในเรื่องกรรมอันเป็น
เครื่องประมวลมานั้นโนกาลใด กรรมได้วาระไห้วิบากในกาลนั้นเท่านั้น
จึงห้ามสวรรค์สำหรับเขา. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาวรรคที่ ๒
จบอรรถกถาอัฏฐานบาลี
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 172
วรรคที่ ๓๑
ว่าด้วยฐานะและอฐานะ
[๑๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่
น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งกายสุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่
โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งกายสุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งวจีสุจรติจะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ
มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งวจีสุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีไค้.
[๑๗๒ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอัน ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งมโนสุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ
มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งมโนสุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.
[๑๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพียบพร้อม
ด้วยกายทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะ
ความเพียบพร้อมด้วยกายทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ
มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพียบพร้อม
ด้วยกายทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น
เป็นฐานะที่จะมีได้.
๑. วรรคที่ ๓ ไม่มีอรรถกถาแก้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 173
[๑๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพียบพร้อม
ด้วยวจีทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะความ
เพียบพร้อมด้วยวจีทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่
โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วย
วจีทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ
ความเพียบพร้อมด้วยวจีทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น เป็นฐานะที่จะ
มีได้.
[๑๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพียบพร้อม
ด้วยมโนทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะความ
เพียบพร้อมด้วยมโนทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่
โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วย
มโนทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะความเพียบพร้อมด้วยมโนทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น เป็น
ฐานะที่จะมีได้.
[๑๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาบ ข้อที่บุคคลผู้มีความเพียบพร้อม
ด้วยกายสุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเช้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคล
ผู้เพียบพร้อมด้วยกายสุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ เพราะความเพียบพร้อมด้วยกายสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น
เป็นฐานะที่จะมีได้.
จบวรรคที่ ๓
จบอัฏฐานบาลี
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 174
[๑๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพียบพร้อม
ด้วยวจีสุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะความเพียบพร้อมด้วยวจีสุจริตเป็นต้น เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ
มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพรียบพร้อม
ด้วยวจีสุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะ
ความเพียบพร้อมด้วยวจีสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น เป็นฐานะที่จะ
มีได้.
[๑๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพียบพร้อม
ด้วยมโนสุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะความเพียบพร้อมด้วยมโนสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น
มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้
เพียบพร้อมด้วยมโนสุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ เพราะความเพียบพร้อมด้วยมโนสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น
เป็นฐานะที่จะมีได้.
จบวรรคที่ ๓
จบอัฏฐานบาลี
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 175
เอกธัมมาทิบาลี นัยอื่น
วรรคที่ ๑
ว่าด้วยอนุสสติ ๑๐
[๑๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน ธรรมอย่างหนึ่งคืออะไร คือพุทธานุสสติ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ
ความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
[๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน ธรรมอย่างหนึ่งคืออะไร คือธัมมานุสสติ. . . .สังฆานุสสติ...
สีลานุสสติ . . . . จาคานุสสติ. . . เทวตานุสสติ . . . อานาปานสติ. . . .
มรณสติ . . . . กายคตาสติ.. . อุปสมานุสสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
อย่างหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว การทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ
เพื่อความระยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.
จบวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 176
อรรถกถาเอกธัมมาทิบาลี
อรรถกถาวรรคที่๑ ๑
พึงทราบวินิจฉัยในเอกธรรมบาลี ต่อไป.
ความเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเอกธรรม ธรรมอย่างหนึ่ง. บทว่า
เอกนฺตนิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความหน่าย คือ เพื่อประโยชน์
แก่ความเบื่อระอาในวัฏฏะโดยส่วนเดียว. บทว่า วิราคาย ได้แก่ เพื่อ
ประโยชน์แก่การคลายกำหนัดในวัฏฏะ. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อสำรอก คือ
เพื่อความไปปราศแห่งกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น. บทว่า นิโรธาย
ได้แก่ เพื่อความดับกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น คือ เพื่อประโยชน์แก่
การทำกิเลสมีราคะ เป็นต้น มิให้ดำเนินต่อไป. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อประ-
โยชน์แก่ การดับวัฏฏะ. บทว่า อุปสมาย เพื่อประโยชน์แก่การเข้า
ไปสงบกิเลส. บทว่า อภิญญาย คือ เพื่อประโยชน์แก่การยกขึ้นสู่ไตร-
ลักษณ์ มีความไม่เที่ยงเป็นต้นแล้วรู้ยิ่ง. บทว่า สมฺโพธาย ได้แก่
เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔. อีกอย่างหนึ่ง คือ เพื่อประโยชน์
แก่การแทงตลอดญาณในมรรคทั้ง ซึ่งพระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ญาณ
ในมรรคทั้ง ๔ เราเรียกว่า โพธิ การตรัสรู้. บทว่า นิพฺพานาย ได้แก่
เพื่อประโยชน์แก่การทำให้แจ้งพระนิพพานซึ่งหาปัจจัย ( ปรุงแต่ง )
มิได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพรรณนา พุทธธานุสสติกรรมฐาน ด้วย
บททั้ง ๗ นี้ ด้วยประการดังนี้ เพราะเหตุไร. เพราะพระองค์เป็น
๑. บาลีข้อ ๑๗๙-๑๘๐.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 177
บัณฑิต ตรัสพรรณนาไว้เพื่อให้มหาชนเกิดความอุตสาหะ เหมือนพ่อค้า
ชื่อว่าวิสกัณฏกะผู้ค้ำน้ำอ้อยงบฉะนั้น. คุฬวาณิชพ่อค้ำน้ำตาลก้อน ชื่อว่า
วิสกัณฏกวาณิช พ่อค้าน้ำอ้อยงบ.
ได้ยินว่า พ่อค้านั้น ได้บรรทุกสินค้ามีน้ำตาลก้อนและน้ำตาลกรวด
ด้วยเกวียนแล้ว ไปยังหมู่บ้านชายแดงแล้วร้องโฆษณา (ขาย) ว่า
พวกท่านจงมาซื้อเอา วิสกัณฏกะไป พวกท่านจงมาซื้อเอาวิสกัณฏกะไป
ดังนี้. ฝ่ายพวกชาวบ้าน ครั้นฟังคำโฆษณาแล้ว จึงคิดกันว่า ชื่อว่ายาพิษ
เป็นก้อน ก็มีพิษร้ายแรง ผู้ใดเคี้ยวกินก้อนยาพิษนั้น ผู้นั้นย่อมตาย,
แม้หนาม (ที่มีพิษ) แทงแล้ว ก็ย่อมตาย, สินค้าแม้ทั้งสองเหล่านั้น
ก็เป็นก้อนแข็ง ๆ. บรรดาสินค้าที่เป็นก้อนแข็ง ๆ เหล่านั้น จะมีอานิสงส์
อะไร ดังนี้แล้ว ให้ปิดประตูเรือนและไล่ให้เด็ก ๆ หลบหนีไป. พ่อค้า
เห็นเหตุนั้นแล้วคิดว่า พวกชาวบ้านเหล่านี้ ไม่เข้าใจในถ้อยคำ เอาละ
เราจะให้พวกเขาซื้อสินค้าไป ด้วยอุบาย ดังนี้แล้ว จึงร้องโฆษณาว่า
พวกท่านจงมาซื้อสินค้าอร่อยมากไป พวกท่านจงมาซื้อสินค้าดีมากไป
พวกท่านจะได้น้ำตาลงบ น้ำอ้อย น้ำตาลกรวดอันมีราคาแพงไป พวก
ท่านจะซื้อแม้ด้วยทรัพย์มีมาสกเก่าหรือกหาปณะเก่าเป็นต้นก็ได้. พวกชาว
บ้านครั้นฟังคำโฆษณานั้นแล้ว ต่างก็ชื่นชมยินดี จับกลุ่มกันเป็นพวก ๆ
ไปให้ทรัพย์มูลค่าคาสูง ซื้อเอาสินค้ามาแล้ว.
ในเรื่องกรรมฐานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนกรรมฐานมี
พุทธานุสสติเป็นอารมณ์ เปรียบเหมือนพ่อค้าชื่อว่าวิสกัณฏกะโฆษณา
ว่า พวกท่านจงซื้อเอาวิสกัณฏกะไป ดังนี้. การที่ทรงกระทำมหาชนให้
เกิดความอุตสาหะในกรรมฐานนั้น ด้วยการตรัสสรรเสริญคุณของพุทธา-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 178
นุสสติกรรมฐานด้วยบททั้ง ๗ นี้ เปรียบเหมือนพ่อค้ากล่าวสรรเสริญคุณ
วิสกัณฏกะ ทำให้มหาชนเกิดอุตสาหะเพื่อต้องการจะซื้อเอาวิสกัณฏกะนั้น
ฉะนั้น.
ปัญหาว่า กตโม เอกธมฺโม ดังนี้ เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา คำถาม
ที่พระองค์ตรัสถามเพื่อทรงตอบด้วยพระดำรัสว่า พุทฺธานุสฺสติ นี้ เป็นชื่อ
ของอนุสสติซึ่งเกิดขึ้นเพราะปรารภพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์. ก็พุทธา-
นุสสติกรรมฐานนั่นนั้นเป็น ๒ อย่าง คือเป็นประโยชน์แก่การทำจิตให้
ร่าเริง และเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนา.
คำที่กล่าวนั้น เป็นอย่างไร. คือ ในขณะใดภิกษุเจริญอสุภสัญญา
ในอสุภารมณ์ จิตตุปบาทถูกกระทบกระทั่ง เอือมระอา ไม่แช่มชื่น
ไม่ไปตามวิถี ซัดส่ายไปทางโน้นทางนี้ เหมือนโคโกงฉะนั้น ในขณะนี่น
จิตตุปบาทนั้นละกรรมฐานเดิมเสีย แล้วระลึกถึงโลกิยคุณและโลกุตร-
คุณของพระตถาคตโดยนัยว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้เป็นต้น. เมื่อ
ภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่ จิตตุปบาทย่อมผ่องใส ปราศจากนิวรณ์.
ภิกษุนั้นฝึกจิตนั้นอย่างนั้นแล้วจึงมนสิการกรรมฐานเดิมนั่นแหละอีก.
ถามว่า มนสิการกรรมฐานเดิมอีกอย่างไร. ตอบว่า มนสิการกรรม-
ฐานเดิม เหมือนบุรุษกำลังตัดต้นไม้ใหญ่เพื่อต้องการเอาไปทำช่อฟ้าเรือน
ยอด เมื่อคมขวานบิ่นไปเพราะเพียงตัดกิ่งและใบไม้เท่านั้น แม้เมื่อไม่อาจ
ตัดต้นไม้ใหญ่ได้ ก็ไม่ทอดธุระ ไปโรงช่างเหล็กให้ทำขวานให้คม แล้วพึง
ตัดต้นไม้ใหญ่นั้นอีกฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น ภิกษุฝึกจิตด้วย
อำนาจพุทธานุสสติอย่างนี้ได้แล้ว จึงมนสิการถึงกรรมฐานเดิมอีก ทำ
ปฐมฌานมีอสุภเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น พิจารณาองค์ฌานทั้งหลาย ย่อมหยั่ง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 179
ลงสู่อริยภูมิได้อย่างนั้น. พุทธานุสสติกรรมฐานย่อมเป็นประโยชน์แก่การ
ทำจิตให้ร่าเริง ด้วยประการอย่างนี้ก่อน.
ก็ในกาลใด ภิกษุนั้นระลึกถึงพุทธานุสสติแล้ว ตามระลึกถึงโดย
นัยเป็นต้นว่า โก อย อิติปฺ โส ภควา แปลว่า บุคคลผู้นี้คือใคร
แม้เพราะเหตุนี้ บุคคลผู้นั้น คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้เป็นต้น.
กำหนดอยู่ว่าเขาเป็นสตรีหรือเป็นบุรุษ เป็นเทวดา มนุษย์ มาร พรหม
คนใดคนหนึ่งหรือ ก็ได้เห็นว่า ผู้นี้หาใช่ใครอื่นไม่ จิตที่ประกอบด้วย
สติเท่านั้นระลึกได้ ดังนี้ แล้วกำหนดอรูปว่า ก็จิตนี้นั่นแล ว่าโดยขันธ์
เป็นวิญญาณขันธ์ เวทนาที่สัมปยุตด้วยจิตนั้น เป็นเวทนาขันธ์ สัญญา
อันสัมปยุตด้วยจิตนั้น เป็นสัญญาขันธ์ ธรรมมีผัสสะเป็นต้น ที่เกิดพร้อม
กัน เป็นสังขารขันธ์ (รวมความว่า) ขันธ์ ๔ เหล่านี้ เป็นอรูปขันธ์
แล้วค้นหาที่อาศัยของอรูปนั้น ก็ได้พบหทัยวัตถุ จึงพิจารณามหาภูตรูป
ทั้ง ๔ อันเป็นที่อาศัยของอรูปนั้น และอุปาทารูปที่เหลือ ซึ่งอาศัย
มหาภูตรูปนั้นเป็นไป แล้วกำหนดรูปและอรูปโดยสังเขปว่า นี้เป็นรูป
อันก่อนเป็นอรูป และกำหนดทุกขสัจในขันธ์ ๕ โดยเป็นประเภทอีกว่า
โดยย่อขันธ์แม้ทั้ง ๕ เหล่านี้เป็นทุกขสัจ ดังนี้ ในเบื้องต้นกำหนดสัจจะ
ทั้ง ๔ อย่างนี้ว่า ตัณหาเป็นที่เกิดของทุกข์นั้นเป็นสมุทัยสัจ ความดับ
ของทุกข์นั้นเป็นนิโรธสัจ ปฏิปทาเป็นเครื่องรู้ความดับเป็นมรรคสัจ
แล้วก้าวลงสู่อริยภูมิโดยลำดับ. ในกาลนั้น กรรมฐานนี้ทั้งหมดย่อมชื่อว่า
เป็นประโยชน์แก่วิปัสสนา. ในบทว่า อย โข เป็นต้น พึงทราบ
วาระแห่งอัปปนา โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 180
แม้ในธัมมานุสสติเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในข้อที่ว่าด้วย
ธัมมานุสสตินั่น มีความหมายของถ้อยคำดังต่อไปนี้ :- อนุสสติที่เกิด
ขึ้นเพราะปรารภพระธรรม ชื่อว่า ธัมมานุสสติ. คำว่า ธัมมานุสสติ
นี้ เป็นชื่อของสติซึ่งมีพระธรรมคุณที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้นเป็น
อารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่า สังฆานุสสติ.
คำว่า สังฆานุสสติ นี้ เป็นชื่อของสติซึ่งมีพระสังฆคุณมีความเป็นผู้ปฏิบัติ
ดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภศีล ชื่อว่า สีลานุสสติ. คำว่า
สีลานุสสติ นี้ เป็นชื่อของสติอันมีคุณของศีลมีความมีศีลไม่ขาดเป็นต้น
เป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภจาคะการบริจาค ชื่อว่า จาคานุสสุติ.
คำว่า จาคานุสสติ นี้ เป็นชื่อของสติอันมีความเป็นผู้มีทานอันตนบริจาค
แล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภเทวดา ชื่อว่า เทวตานุสสติ.
คำว่า จาคานุสสติ นี้ เป็นชื่อของสติอันมีศรัทธาของตนเป็นอารมณ์
โดยตั้งเทวดาไว้ในฐานะเป็นสักขีพยาน.
สติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภลมหายใจเข้าออก ชื่อว่า อานาปานสติ.
คำว่า อานปานสติ นี้ เป็นชื่อของสติอันมีลมหายใจเข้าและลมหายใจ
ออกเป็นนิมิตเป็นอารมณ์.
สติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภความตาย ชื่อว่า มรณสติ. คำว่า
มรณสติ นี้ เป็นชื่อของสติอันมีการตัดขาดชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 181
เมื่อควรจะกล่าวว่าสติที่เป็นไปสู่รูปกายอันต่างด้วยผมเป็นต้น หรือ
ที่เป็นไปในกาย ชื่อว่า กายคตา, กายคตาด้วย สตินั้นด้วย ชื่อว่า
กายคตสติ แต่ท่านไม่ทำการรัสสะให้สั้น กลับกล่าวว่า กายคตาสติ
ดังนี้ คำว่า กายคตาสติ นี้ เป็นชื่อของสติอันมีส่วนของกายมีผมเป็นต้น
เป็นนิมิตเป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นเพราะปรารภความเข้าไปสงบระงับ ชื่อว่า. อุป-
สมานุสสติ. คำว่า อุปสมานุสสติ นี้ เป็นชื่อของสติอันมีความเข้าไปสงบ
ระงับ ทุกข์ทั้งปวงเป็นอารมณ์. อีกอย่างหนึ่ง ความเข้าไปสงบระงับมี ๒
อย่าง คือ อัจจันตุปสมะ ความเข้าไปสงบระงับโดยสุดยอด และขยูปสมะ
ความเข้าไปสงบระงับโดยความสิ้นกิเลส. ใน ๒ อย่างนั้น พระนิพพาน
ชื่อว่าความสงบระงับโดยสุดยอด มรรคชื่อว่าความสงบระงับโดยความสิ้น
กิเลส. ความหมายในอธิการนี้มีว่า สติอันเกิดขึ้นแก้ผู้ระลึกถึงความสงบ
ระงับแม้ทั้งสองนี้ ด้วยประการอย่างนี้ ชื่อว่า อุปสมานุสสติ.
ในกรรมฐาน ๑๐ เหล่านี้ กรรมฐาน ๓ อย่างนี้ คือ อานาปานสติ
มรณสติ กายคตาสติ ย่อมเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอย่างเดียว กรรมฐาน
ที่เหลือ ๗ อย่าง เป็นประโยชน์แก่การทำจิตให้ร่าเริงด้วย เป็นประโยชน์
แก่วิปัสสนาด้วย ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 182
วรรคที่ ๒
ว่าด้วยมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิ
[๑๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งกลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้
ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เหมือนกับ-
มิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด
อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง.
[๑๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้
ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เหมือนกับสัมมา-
ทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ กุศล-
ธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง.
[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้
ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป เหมือนกับมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่
เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.
[๑๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 183
ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป เหมือนกับสัมมาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อม
ไม่เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.
[๑๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้
ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้นหรือมิจฉาทิฏฐิ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือนกับการทำในใจโดยแยบคายนี้เลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยไม่แยบคาย มิจฉาทิฏฐิที่ยังไม่
เกิด ย่อมเกิดขึ้น และมิจฉาทิฏฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น.
[๑๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้
ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือสัมมาทิฏฐิ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือนการทำในใจโดยแยบคายนี้เลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคาย สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่
เกิด ย่อมเกิดขึ้น และสัมมาทิฏฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดเจริญยิ่งขึ้น.
[๑๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้
ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เหมือนกับมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
[๑๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 184
ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายแตกตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เหมือนกับสัมมาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์
ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์.
[๑๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตาม
ทิฏฐิ ๑ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทาน
ให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑
สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไป
เพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ไม่เป็นประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเลวทราม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดาก็ดี เมล็ดบวบขมก็ดี เมล็ด
น้ำเต้าขมก็ดี บุคคลหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดิน รสน้ำที่มันถือเอา
ทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นของขม เพื่อเผ็ดร้อน เพื่อไม่น่ายินดี
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพืชเลว ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายกรรม
ที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตาม
ทิฏฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ เจตนา ๑ ความ
ปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด
ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า
ชอบใจ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ทิฏฐิเลวทราม ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[๑๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตาม
ทิฏฐิ ๑ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทาน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 185
ให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑
สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นชอบ ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไป
เพื่อผลที่น่าปารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเจริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อยก็ดี พันธุ์ข้าวสาลีก็ดี พันธุ์ผลจันทน์ก็ดี บุคคล
หมกไว้ในดินที่ชุ่มชื่น รสดิน รสน้ำที่มันถือเอาทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นของหวาน น่ายินดี น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
พืชพันธุ์ดี ฉันใด กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ วจีกรรม
ที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฏฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตาม
ทิฏฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของ
บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ. เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเจริญ ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบวรรคที่ ๒
อรรถกถาวรรคที่ ๒๑
ในวรรคที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ นี้ เป็นชื่อของทิฏฐิแม้ทั้ง ๖๒. บทว่า
มิจฺฉาทิฏฺิกสฺส ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้น.
บทว่า สมฺมาทิฏฺิ นี้ เป็นชื่อของสัมมาทิฏฐิแม้ทั้ง ๕ ประการ.
บทว่า สมฺมาทิฏฺิกสฺส ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐินั้น.
๑. บาลีข้อ ๑๘๑ - ๑๙๐
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 186
การทำในใจโดยไม่มีอุบาย ชื่อว่า การทำในใจโดยไม่แยบคาย.
การทำในใจโดยอุบาย ชื่อว่า การทำในใจโดยแยบคาย. ในการทำ
ในใจโดยไม่แยบคายและแยบคายนั้น เมื่อทำในใจโดยไม่แยบคาย มิจฉา-
ทิฏฐิที่ยังไม่เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้น ส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ จนถึง
การปฏิสนธิโดยแน่นอน. เนื้อแน่นอนแล้ว มิจฉาทิฏฐิชื่อว่าเจริญแล้ว.
เมื่อทำในใจโดยแยบคาย สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เคยเกิด ย่อมเกิดขึ้น ส่วน
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญมากขึ้น จนถึงพระอรหัตมรรค. เมื่อบรรลุพระ-
อรหัตผลแล้ว สัมมาทิฏฐิชื่อว่าเป็นอันเจริญมากแล้ว.
ในบทว่า มิจฺฉาทิฏฺิยา ภิกฺขเว สมนฺนาคตา สตฺตา นี้
พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ :-
มิจฉาทิฏฐิบางอย่างห้ามสวรรคด้วย ห้ามมรรคด้วย.
บางอย่างห้ามมรรคเท่านั้น ไม่ห้ามสวรรค์.
บางอย่างไม่ห้ามทั้งสวรรค์ ไม่ห้ามทั้งมรรค.
บรรดามิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น มิจฉาทิฏฐิ ๓ อย่างนี้ คือ อเหตุกทิฏฐิ
อกิริยทิฏฐิ นัตถิกทิฏฐิ ห้ามสวรรค์ และห้ามมรรค.
อันตคาหิกมิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ ๑๐ ห้ามมรรค แต่ไม่ห้ามสวรรค์.
สักกายทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ไม่ห้ามสวรรค์ ไม่ห้ามมรรค. แต่ปฏิเสธ
วิธีนี้แล้วว่า ธรรมดาทิฏฐิโดยที่สุดกำหนดเอาสักกายทิฏฐิซึ่งมีวัตถุ ๒๐
ประการ ชื่อว่าสามารถนำไปสู่สวรรค์ ไม่มี ย่อมทำให้จมลงในนรกโดย
ส่วนเดียวเท่านั้น โดยพระบาลีในพระสูตรนี้ว่า มิจฺฉาทิฏฺิยา ภิกฺขเว
สมนฺนาคตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 187
เป็นต้น เหมือนอย่างว่า ก้อนหินแม้ขนาดเท่าถั่วเขียวและถั่วเหลือง
โยนลงไปในน้ำ ชื่อว่าจะลอยอยู่ข้างบน ย่อมไม่มี ย่อมจมลงไปข้างล่าง
อย่างเดียว ฉันใด โดยที่สุด แม้แต่สักกายทิฏฐิ ชื่อว่าสามารถนำไปสู่
สวรรค์ ย่อมไม่มี ย่อมให้จมลงในอบายทั้งหลายโดยส่วนเดียวเท่านั้น
ก็ฉันนั้น.
ในบทว่า สมฺมาทิฏฺิยา สมนฺนาคตา นี้ พึงทราบวินิจฉัย
ดังนี้ :-
สัมมาทิฏฐิมี ๕ อย่าง คือ กัมมัสสกตสัมมาทิฏฐิ ฌานสัมมาทิฏฐิ
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ. ในสัมมาทิฏฐิ ๕
อย่างนั้น กัมมัสสกตสัมมาทิฏฐิ ย่อมชักมาซึ่งสัมปัตติภพ. ฌานสัมมา-
ทิฏฐิ ย่อมให้ปฏิสนธิในรูปภพ. มัคคสัมมาทิฏฐิ ย่อมกำจัดวัฏฏะ.
ผลสัมมาทิฏฐิ ย่อมห้ามภพ.
ถามว่า วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิทำอะไร.
ตอบว่า แม้วิปัสสนาสัมมาทิฏฐินั้น ก็ไม่ชักมาซึ่งปฏิสนธิ.
ส่วนพระติปิฎกจูฬอภัยเถระกล่าวว่า ถ้าวิปัสสนาสัมมาทิฏฐิที่อบรม
ไว้แล้ว อาจให้บรรลุพระอรหัตในปัจจุบันได้ไซร้ ข้อนั้นก็เป็นการดี
ถ้าไม่อาจให้บรรลุพระอรหัตได้ไซร้ ก็ยังให้ปฏิสนธิในภพ ๗ ภพได้
ผู้มีอายุ. ท่านกล่าวถึงสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะและโลกุตระนี้ไว้อย่างนี้.
ก็ในเนื้อความดังกล่าวนี้ พึงทราบสัมมาทิฏฐิอันเป็นโลกิยะซึ่งให้สำเร็จ
ในภพเท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ยญฺเจว กายกมฺม ยถาทิฏฺิ สมตฺต
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 188
สมาทินฺน ดังต่อไปนี้ :- บทว่า ยถาทิฏฐิ ได้แก่ ตามสมควรแก่ทิฏฐิ
นั้น. บทว่า สมตฺต แปลว่า บริบูรณ์. บทว่า สมาทินฺน แปลว่า
ถือเอาแล้ว. กายกรรมนั่นนั้นมี ๓ อย่าง คือ กายกรรมที่ตั้งอยู่ตาม
ทิฏฐิ ๑ กายกรรมที่เกิดพร้อมกับทิฏฐิ ๑ กายกรรมที่อนุโลมทิฏฐิ ๑.
บรรดากายกรรม ๓ อย่างนั้น กายกรรมคือปาณาติบาต อทินนาทาน
และมิจฉาจาร ของบุคคลผู้มีลัทธิอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
ที่เจ้าของไม่ให้ ประพฤติมิจฉาจาร บาปซึ่งมีเหตุมาแต่การกระทำนั้นไม่มี
การให้ผลของบาปก็ไม่มี นี้ชื่อว่า กายกรรมตั้งอยู่ตามทิฏฐิ.
อนึ่ง กายกรรมที่เกิดพร้อมกับทัสสนะนี้แห่งลัทธินี้ที่ว่า เมื่อบุคคล
ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้ ประพฤติมิจฉาจาร บาปซึ่งมีเหตุมาแต่
การกระทำนั้นไม่มี การให้ผลของบาปก็ไม่มี ดังนี้ ชื่อว่า กายกรรมที่เกิด
พร้อมกับทิฏฐิ.
กายกรรมนั้นนั่นแหละ ที่บุคคลสมาทานให้บริบูรณ์ ยึดถือ ถูกต้อง
ให้บริบูรณ์ ชื่อว่า กายกรรมอนุโลมทิฏิ. แม้ในวจีกรรมเป็นต้น
ก็มีนัยนี้เหมือนลัน. ก็ในวจีกรรมนี้ ประกอบความว่า เมื่อบุคคล
ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้ ประพฤติมิจฉาจาร บาปซึ่งมีเหตุมาแต่
การกระทำนั้นไม่มี ดังนี้ฉันใด ในวจีกรรมและมโนกรรมก็ฉันนั้น พึง
ประกอบความว่า เมื่อบุคคลพูดเท็จ กล่าวคำส่อเสียด กล่าวคำหยาบ
กล่าวคำเพ้อเจ้อ บาปซึ่งมีเหตุมาแต่การพูดนั้นไม่มี เมื่อบุคคลมีอภิชฌา
คือความเพ่งเล็ง มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด บาปซึ่งมีเหตุแต่วจีทุจริต
และมโนทุจริตไม่มี ดังนี้.
ก็ในบทว่า ยา จ เจตนา ดังนี้เป็นต้น เจตนาที่เกิดพร้อมกับ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 189
ทิฏฐิ ชื่อว่า เจตนา. ความปรารถนาที่เกิดพร้อมกับทิฏฐิ ชื่อว่า ปัตถนา
ความปรารถนา. การตั้งจิตไว้ตามเจตนาและความปรารถนา ชื่อว่า
ปณิธิ ความตั้งใจ. ส่วนธรรมมีผัสสะเป็นต้น ที่ประกอบพร้อมกับ
เจตนาเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า สังขาร ธรรมอันปัจจัยปรุงแต่ง.
บทว่า ทิฏฺิ หิ ภิกฺขเว ปาปิกา ความว่า เพราะว่า ทิฏฐิของ
บุคคลนั้นเลวทราม. บทว่า นิกฺขิตฺต แปลว่า ปลูกไว้. บทว่า
อุปาทิยติ แปลว่า ถือเอา. บทนี้ที่ว่า กฏุกตฺตาย (เพื่อความเป็น
ของขม ) เป็นไวพจน์ของบทแรกนั่นแหละ.
ก็แม้ในที่นี้ พึงทราบคำว่า กฏุก (เเปลว่า ความขม) เหมือนใน
อาคตสถาน (ที่มาของพระบาลี ) ว่า วณฺณคนฺธรสุเปโต อมฺโพย อหุ
วา ปุเร ดังนี้ เป็นต้น ซึ่งแปลความว่า เมื่อก่อนมะม่วงนี้เป็นไม้ที่สมบูรณ์
ด้วยสี กลิ่น และรส ได้รับการยกย่องอยู่ บัดนี้ มะม่วงก็กลายเป็นไม้มีผล
ขมไป เพราะเหตุไร. ข้าแต่พระเจ้าทธิวาหนะ มะม่วงของพระองค์ ถูก
ห้อมล้อมด้วยสะเดา รากเกี่ยวพันกันกับราก กิ่งทับกันกับกิ่ง มะม่วงจึง
กลายเป็นไม้มีผลขม เพราะอยู่ร่วมกับต้นไม้มีรสขม. บทว่า อสาตตฺตาย
แปลว่า เพราะเป็นของมีรสไม่อร่อย. ก็ในวีชุปมสูตรนี้ พระเถระปางก่อน
กล่าวว่านิยตมิจฉาทิฏฐิ ท่านถือเอาด้วยบทว่า ทิฏฐิ. แต่คำนั้นท่านปฏิเสธ
แล้วกล่าวว่า รวมเอาแม้ทิฏฐิ ๖๒ ทั้งหมด. ในพระสูตรต่อไป พึง
ประกอบแล้วทราบว่า กายกรรมเป็นต้นอันตั้งอยู่ตามทิฏฐิ โดยนัยมีอาทิว่า
เมื่อบุคคลเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน เว้นจากมิจฉาจาร บุญเกิดแต่
การงดเว้นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มี ดังนี้ . ก็ในที่นี้ พึงทราบความตั้งจิต
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 190
อันเกิดพร้อมกับสัมมาทิฏฐิเท่านั้น ชื่อว่า ปัตถนา ความปรารถนา. ก็
ในอธิการนี้ ท่านกล่าวหมายเอาสัมมาทิฏฐิทั้งโลกิยะและโลกุตระ คำที่
เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาวรรคที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 191
วรรคที่ ๓
ว่าด้วยบุคคลคนเดียวที่เกิดขึ้นแล้วยังความพินาศแก่โลกเป็นต้น
[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทพยดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย บุคคลคนเดียวคือใคร คือบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มี
ความเห็นวิปริต เขาทำให้คนเป็นอันมากออกจากสัทธรรมแล้ว ให้ตั้ง
อยู่ในอสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้น
ในโลก ย่อมเกิดขึ้น เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชน
เป็นอันมาก เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์
แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อประโยชน์หิตสุขแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลคนเดียวคือใคร
คือบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นไม่วิปริต เขาทำให้คนเป็นอันมาก
ออกจากอสัทธรรมแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
คนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์หิตสุขแก่เทพยดาและมนุษย์
ทั้งหลาย.
[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 192
ข้อหนึ่ง ซึ่งจะมีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง.
[๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียว
ที่ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก
เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทพยดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เหมือนกับโมฆบุรุษชื่อว่ามักขลินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนบุคคลพึงทิ้งลอบไว้ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อความทุกข์ เพื่อความเสื่อม ความพินาศแก่ปลาเป็นอันมาก. แม้ฉันใด
โมฆบุรุษชื่อว่ามักขลิ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นดังลอบสำหรับดัก
มนุษย์ เกิดขึ้นแล้วในโลก เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์
เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่สัตว์เป็นอันมาก.
[๑๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ชักชวนเข้าในธรรมวินัยที่กล่าว
ไว้ชั่ว ๑ ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ๑ คนทั้งหมด
นั้น ย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว.
[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ชักชวนเข้าในธรรมวินัยที่กล่าว
ไว้ดี ๑ ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ๑ คนทั้งหมด
นั้น ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่าน
กล่าวไว้ดีแล้ว.
[๑๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกพึงรู้จักประมาณในธรรมวินัย
ที่กล่าวไว้ชั่ว ปฏิคาหกไม่จำต้องรู้จักประมาณ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 193
[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิคาหกพึงรู้จักประมาณในธรรม
วินัยที่กล่าวไว้ดี ทายกไม่จำต้องรู้จักประมาณ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ดีแล้ว.
[๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ปรารภความเพียรในธรรมวินัย
ที่กล่าวไว้ชั่ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่าน
กล่าวไว้ชั่ว.
[๒๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้เกียจคร้านในธรรมวินัยที่กล่าว
ไว้ดี ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้
ดีแล้ว.
[๒๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่เกียจคร้านในธรรมวินัยที่กล่าว
ไว้ชั่ว ย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว.
[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ปรารภความเพียรในธรรมวินัย
ที่กล่าวไว้ดี ย่อมอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่าน
กล่าวไว้ดีแล้ว.
[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนคูถแม้เพียงเล็กน้อย
ก็มีกลิ่นเหม็น ฉันใด ภพแม้เพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่
สรรเสริญ โดยที่สุดแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเลย.
[๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมูตร... น้ำลาย...
หนอง... เลือดแม้เพียงเล็กน้อย ก็มีกลิ่นเหม็น แม้ฉันใด ภพแม้เพียง
เล็กน้อยก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราไม่สรรเสริญ โดยที่สุดแม้ชั่วกาลเพียง
ลัดนิ้วมือเดียวเลย.
จบวรรคที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 194
อรรถกถาวรรคที่ ๓๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑
ในวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิโฏ ได้แก่ ผู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง. บทว่า
วิปรีตทสฺสโน ได้แก่ เป็นผู้มีความเห็นแปรปรวนไปตามความเห็นผิดนั้น
ทีเดียว. บทว่า สทฺธมฺมา วุฏฺาเปตฺวา ความว่า ให้ออกจากธรรม
คือกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า อสทฺธมฺเม ปติฏฺาเปติ ความว่า ให้
ตั้งอยู่ในอสัทธรรม กล่าวคืออกุศลกรรมบถ ๑๐. ก็ในบทว่า เอกปุคฺคโล
นี้ พึงทราบว่า ได้แก่ พระเทวทัตกับครูทั้ง ๖ และคนอื่น ๆ ที่เป็น
อย่างนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมฺมาทิฏฺิโฏ ได้แก่ ผู้มีความเห็นตามความเป็นจริง.
บทว่า อวิปรีตทสฺสโน ได้แก่ ผู้มีความเห็นอันไม่แปรปรวนไป
จากความเห็นชอบนั้นนั่นแหละ. บทว่า อสทฺธมฺมา ความว่า จาก
อกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า สทฺธมฺเม ความว่า ในสัทธรรม กล่าวคือ
กุศลกรรมบถ ๑๐. ก็ในบทว่า เอกปุคฺคโล นี้ ในเมื่อพระพุทธเจ้า
ยังมิได้เสด็จอุปบัติ ย่อมได้แก่บุคคลมีอาทิอย่างนี้ คือ พระเจ้าจักรพรรดิ
๑. บาลี ๑๙๑ - ๒๐๔.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 195
พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้ว ย่อมได้พระพุทธเจ้า
และสาวกของพระพุทธเจ้า.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิปรมานิ นี้ มีวิเคราะห์ว่า มิจฉาทิฏฐิเป็น
อย่างยิ่งของโทษเหล่านั้น เหตุนั้น โทษเหล่านั้น ชื่อว่า มิจฺฉาทิฏิ-
ปรมานิ โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏิเป็นอย่างยิ่ง. อธิบายว่า อนัน-
ตริยกรรม ๕ ชื่อว่ากรรมมีโทษมาก. มิจฉาทิฏฐิเท่านั้น ชื่อว่ามีโทษ
มากกว่าอนันตริยกรรม ๕ แม้เหล่านั้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะอนันตริยกรรม ๕ นั้นมีเขต
กำหนด. ด้วยว่า ท่านกล่าวอนันตริยกรรม ๔ อย่างว่า ให้เกิดในนรก.
แม้สังฆเภทก็เป็นกรรมตั้งอยู่ในนรกชั่วกัปเท่านั้น. อนันตริยกรรมเหล่านั้น
มีเขตกำหนดที่สุด ก็ยังปรากฏ ด้วยประการอย่างนี้. ส่วนนิยตมิจฉาทิฏฐิ
คือ ความเห็นผิดอันดิง ไม่มีเขตกำหนด เพราะนิยตมิจฉาทิฏฐินั้นเป็นราก
เหง้าของวัฏฏะ. การออกไปจากภพ ย่อมไม่มีสำหรับคนผู้ประกอบด้วย
นิยตมิจฉาทิฏฐินั้น . ชนเหล่าใด เชื่อฟังถ้อยคำของตนผู้ประกอบด้วย
นิยตมิจฉาทิฏฐินั้น แม้ชนเหล่านั้นก็ย่อมปฏิบัติผิด. อนึ่ง ทั้งสวรรค์
ทั้งมรรค ย่อมไม่มีแก่คนผู้ประกอบด้วยนิยตมิจฉาทิฏฐินั้น ในคราวกัป
พินาศ เมื่อมหาชนพากันเกิดในพรหมโลก บุคคลผู้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ
ไม่เกิดในพรหมโลกนั้น (แต่กลับ) เกิดที่หลังจักรวาล. ถามว่า ก็หลัง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 196
จักรวาลไฟไม่ไหม้หรือ. ตอบว่า ไหม้. บางอาจารย์กล่าวว่า ก็เมื่อหลัง
จักรวาลแม้ถูกไฟไหม้อยู่ คนผู้เป็นนิยตมิจฉาทิฏฐินี้ ก็ถูกไฟไหม้อยู่ใน
โอกาสแห่งหนึ่งในอากาศ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มกฺขลิ ความว่า เจ้าลัทธิผู้ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะยึดคำว่า
มา ขลิ อย่าพลาดล้มนะ. บทว่า นทีมุเข ความว่า ในที่ที่แม่น้ำ ๒
สายมาบรรจบกัน. คำนี้ เป็นเพียง ( ยกมา ) เทศนาเท่านั้น. น้ำแม้
อย่างอื่นเห็นปานนั้น ซึ่งมีสถานที่มาบรรจบกันของแม่น้ำสายใดสายหนึ่ง
ในบรรดาน้ำแม้เหล่านี้ คือ ลำธาร ๒ สาย สายน้ำ ๒ สาย ทะเล
สายน้ำจืด ทะเลสายน้ำเค็ม และแม่น้ำแห่งสมุทร. บทว่า ขิป๑ แปลว่า
ลอบ. บทว่า อุชฺเฌยฺย แปลว่า ดัก. อธิบายว่า พวกมนุษย์เอาไม้อ้อ
ต้นอ้อย ไม้ไผ่ หรือเส้นเถาย่านทรายมาสานให้เป็นลอบขนาดเท่าหม้อ
ใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๓ ใบบ้าง ผูกงาที่ปากลอบด้วยหวาย นำไป
ดักเอาปากลอบจมไว้ในน้ำ ดอกหลักขนาบไว้ทั้งสองข้าง ผูกลอบด้วย
หวายไว้กับหลักนั้น. คำว่า ดักลอบ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาการกระทำ
ดังกล่าวแล้วนั้น. ก็แม้ปลาตัวเล็ก ๆ เข้าไปในลอบนั้นแล้วก็หลุดออกไป
ไม่ได้. บทว่า อนยาย ความว่า เพื่อความไม่เจริญ. บทว่า พฺยสนาย
ความว่า เพื่อความฉิบหาย. บทว่า มกฺขลิ โมฆปุริโส ได้แก่ บุรุษ
๑. ม. ขิปฺป ลอบ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 197
เปล่าชื่อ มักขลิโคสาล ผู้นี้. บทว่า มนุสฺสขิป มญฺเ โลเก อุปฺปนฺโน
ความว่า เกิดขึ้นแล้วในโลก เป็นเหมือนลอบดักมนุษย์ เพื่อห้ามมหาชน
ไปในทางนั้น คือทางไปสวรรค์และพระนิพพาน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕ เป็นต้น
ในสูตรที่ ๕ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุรกฺขาเต ภิกฺขเว ธมฺมวินเย มีอธิบายว่า คำสอนของ
เจ้าลัทธินอกพระศาสนา ชื่อว่าธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่ว. เพราะว่า ใน
คำสอนนั้น แม้ผู้สอนก็ไม่เป็นสัพพัญญู แม้ธรรมก็เป็นธรรมที่กล่าวไว้ชั่ว
แม้หมู่คณะก็เป็นผู้ปฏิบัติชั่ว. บทว่า โย จ สมาทเปติ ได้แก่ บุคคล
ผู้เป็นอาจารย์คนใดย่อมชักชวน. บทว่า ยญฺจ สมาทเปติ ความว่า
ชักชวนอันเตวสิก (ศิษย์) คนใด. บทว่า โย จ สมาทปิโต
ตถตฺตาย ปฏิปชฺชติ ความว่า อันเตวาสิกคนใดถูกอาจารย์ชักชวนแล้ว
กระทำตามคำของอาจารย์อยู่ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น. บทว่า
พหุ อปุญฺ ปสวติ อธิบายว่า ก็บุคคลผู้ชักชวน เมื่อชักชวนคน
๑๐๐ คน ในกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น ย่อมได้อกุศลเท่ากันกับอกุศล
ของคนผู้ถูกชักชวนแม้ทั้งหมดนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า คนเหล่านั้นทั้งหมดย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก.
บทว่า สฺวากฺขาเต ได้แก่ ในพระธรรมและพระวินัยที่ตรัสไว้ดีแล้ว.
คือแสดงไว้ดีแล้ว เพราะในพระธรรมและพระวินัยเห็นปานนี้ พระ-
ศาสดาก็ทรงเป็นพระสัพพัญญู พระธรรมพระศาสดาก็ตรัสไว้ดีแล้ว และ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 198
หมู่คณะก็เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. บทว่า สพฺเพ เต พหุ ปุญฺ ปสวติ
อธิบายว่า คนผู้ชักชวนได้เห็นภิกษุทั้งหลายเข้าไปบิณฑบาต ได้ชักชวน
คนอื่น ๆ ให้ถวายข้าวยาคูและภัตเป็นต้น ย่อมได้กุศลเท่ากับกุศลของผู้
ถวายทานแม้ทั้งหมด. เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า คนเหล่านั้น
ทั้งหมด ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก.
บทว่า ทายเกน มตฺตา ชานิตพฺพา ความว่า บุคคลผู้ให้พึงรู้
ประมาณคือพึงให้พอประมาณ ให้จนเต็ม ไม่ควรให้จนล้น แต่ไม่กล่าวว่า
ไม่พึงให้ ดังนี้ กล่าวว่าพึงให้หน่อยหนึ่ง ๆ พอประมาณ. ถามว่า เพราะ
เหตุไร. ตอบว่า เพราะเมื่อเต็มแล้วแม้จะให้เกินไป มนุษยสมบัติ ทิพย-
สมบัติ หรือนิพพานสมบัติที่เกินไปย่อมไม่มี. บทว่า โน ปฏิคฺคาหเกน
ความว่า ก็สำหรับปฏิคาหก ชื่อว่ากิจในการรู้จักประมาณแล้วรับเอา
ย่อมไม่มี. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะขึ้นชื่อว่าปฏิปทาใน
ความเป็นผู้มักน้อย ซึ่งมีมูลมาแต่การรู้ประมาณ เต็มแล้วรับพอประมาณ
ย่อมไม่มีแก่ปฏิคาหกนั้น. แต่ว่าได้เท่าใด ควรรับเอาเท่านั้น. เพราะ
เค้ามูลในการรับอย่างเหลือล้น สำหรับปฏิคาหกนั้น จักเป็นการรับ
เพื่อเลี้ยงบุตรและภรรยาไป.
บทว่า ปฏิคฺคาหเกน มตฺตา ชานิตพฺพา ความว่า บุคคลผู้
เป็นปฏิคาหก พึงรู้ประมาณ. พึงรู้อย่างไร. คือเมื่อจะรับ ต้องรู้อำนาจ
ของผู้ให้ ต้องรู้อำนาจ (ความมากน้อย) ของไทยธรรม ต้องรู้กำลัง
ของตน. ก็ถ้าไทยธรรมมีมาก ผู้ให้ต้องการให้น้อยไซร้ ควรรับเอาแต่
น้อยตามอำนาจของผู้ให้. ไทยธรรมมีน้อย ผู้ให้ต้องการให้มาก ควร
รับเอาแต่น้อยตามอำนาจของไทยธรรม. แม้ไทยธรรมก็มาก แม้ผู้ให้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 199
ก็ต้องการจะให้มาก ปฏิคาหกควรรู้กำลังของตนแล้วรับเอาพอประมาณ
ก็เมื่อรู้ประมาณอย่างนี้แล้วรับเอา ย่อมทำปฏิปทาคือความมักน้อยให้เต็ม
บริบูรณ์. ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่เคยมีลาภเกิดขึ้นแล้ว ลาภที่เกิด
ขึ้นแล้วย่อมอยู่มั่นคง. บุคคลผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสก็เลื่อมใส บุคคลผู้ที่เลื่อมใส
แล้วก็เลื่อมใสยิ่งขึ้น เป็นประหนึ่งบุคคลผู้เป็นที่สนใจของมหาชน กระทำ
พระศาสนาให้ดำรงอยู่ตลอดกาลนาน. ในข้อนั้น มีเรื่องต่อไปนี้เป็นตัว
อย่าง:-
ได้ยินว่า ในโรหนชนบท มีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งอยู่ในกุฬุมริยวิหาร
ในสมัยที่ภิกษาหายาก (ท่าน) รับภัตตาหารทัพพีเดียวเพื่อฉัน ในเรือน
ของนายลัมพกัณณ์ (กรรมกร) คนหนึ่งในบ้านนั้น แล้วรับภัตตาหาร
อีกทัพพีหนึ่งเท่านั้น เพื่อจะไป. วันหนึ่ง ท่านได้เห็นพระภิกษุอาคันตุกะ
รูปหนึ่งในเรือนนั้น จึงรับเอาภัตตาหารทัพพีเดียวเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น
ต่อมาภายหลัง กุลบุตรผู้นั้นเลื่อมใสท่าน จึงบอกแก่พวกมิตรอมาตย์ที่
ประตูพระราชวังว่า พระประจำสกุลของเรา เป็นผู้ชื่อว่ามักน้อยเห็นปาน
นี้. มิตรอำมาตย์แม้ทั้งปวงเหล่านั้นก็เลื่อมใสในคุณคือความมักน้อยของ
ท่าน ต่างพากันตั้งภัตตาหารประจำ ๖๐ ที่ เฉพาะวันหนึ่ง ๆ. ภิกษุผู้
มักน้อยเป็นธรรมดาอย่างนี้แล ย่อมยังลาภที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น.
แม้พระเจ้าสัทธาติสสมหาราช ทรงให้ติสสอำมาตย์ ผู้เป็นคน
อุปัฏฐากใกล้ชิดไปสอบสวน ทรงให้เขาปิ้งนกกระทาตัวหนึ่งมาให้. เมื่อ
ติสสอำมาตย์ทำอย่างนั้นแล้ว ครั้นเวลาจะเสวยจงตรัสว่า เราให้ส่วนที่
เลิศแล้วจึงจักบริโภค จึงให้ประทานเนื้อนกกระทาแก่สามเณรผู้ถือสิ่งของ
ของพระมหาเถระใกล้บริเวณกัสสัตถศาลา เมื่อท่านรับเอาแต่น้อย ก็
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 200
เลื่อมใสในคุณคือความมักน้อยของท่าน จึงตรัสว่า ดูก่อนพ่อ โยมเลื่อมใส
ขอถวายภัตตาหารประจำ ๘ ที่แก่ท่าน. สามเณรทูลว่า มหาบพิตร
ภัตตาหารประจำเหล่านั้น อาตมาถวายอุปัชฌาย์.
พระราชาตรัสว่า โยมถวายอีก ๘ ที่. สามเณรทูลว่า ภัตตาหาร
๘ ที่นั้น อาตมาขอถวายอาจารย์ของอาตมา.
พระราชาตรัสว่า โยมถวายอีก ๘ ที่. สามเณรทูลว่า อาตมาถวาย
ภัตตาหาร ๘ ที่นั้น แก่ท่านผู้เสมอด้วยอุปัชฌาย์.
พระราชาตรัสว่า โยมถวายอีก ๘ ที่ สามเณรทูลว่า อาตมาถวาย
ภัตตาหาร ๘ ที่นั้น แก่ภิกษุสงฆ์.
พระราชาตรัสว่า โยมถวายภัตตาหารแม้อีก ๘ ที่. สามเณรนั้น
จึงรับเอา. ลาภอันเกิดขึ้นแก่สามเณรนั้น ย่อมเป็นลาภมั่นคงด้วยประการ
อย่างนี้.
แม้ในบทว่า อปฺปสนฺนา ปสีทนฺติ นี้ ก็มีตัวอย่างดังต่อไปนี้:-
ทีฆพราหมณ์ นิมนต์พราหมณ์ทั้งหลายมาฉัน ได้ถวายภัตตาหาร
ทีละ ๕ ขันก็ไม่อาจให้อิ่มหนำ. อยู่มาวันหนึ่งได้ฟังถ้อยคำว่า ว่ากันว่า
พวกพระสมณะเป็นผู้มักน้อย เพื่อจะทดลอง จึงให้คนถือภัตตาหารไปยัง
วิหารในเวลาที่พระภิกษุสงฆ์ทำภัตกิจ เห็นภิกษุประมาณ ๓๐ รูป ฉันอยู่
บนหอฉัน จึงถือเอาภัตตาหารขันหนึ่งไปยังที่ใกล้พระสังฆเถระ. พระ-
เถระได้ใช้นิ้วมือหยิบเอาหน่อยหนึ่ง. โดยทำนองนี้นั่นแล ภัตตาหารขัน
เดียวได้ทั่วถึงแก่ภิกษุหมดทุกรูป. แต่นั้น พราหมณ์เลื่อมใสในความมัก
น้อยว่า ได้ยินว่า พระสมณะเหล่านี้มีคุณทุกอย่างทีเดียว จึงสละทรัพย์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 201
พันหนึ่ง สร้างพระเจดีย์ไว้ในวิหารนั้นนั่นแล. ผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อม
เลื่อมใส ด้วยประการอย่างนี้.
ในบทว่า ปสนฺนา ภิยฺโย ปสีทนฺติ นี้ กิจเนื่องด้วยเรื่องราว
(ที่จะนำมาสาธก) ไม่มี. ก็เพราะเห็นความมักน้อย ความเลื่อมใสย่อม
เจริญยิ่งทีเดียวแก่ผู้ที่เลื่อมใสแล้ว.
ก็มหาชนได้เห็นคนผู้มักน้อยเช่นพระมัชฌันติกติสสเถระ เป็นต้น
ย่อมสำคัญที่จะเป็นผู้มักน้อย ( ตามอย่าง ) บ้าง เพราะเหตุนั้น ผู้มักน้อย
จึงชื่อว่าเป็นที่สนใจของมหาชน. อนึ่ง ผู้มักน้อย ชื่อว่าย่อมกระทำพระ-
ศาสนาให้ตั้งมั่นอยู่ได้นาน เพราะพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ
มักน้อย ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่ฟั่นเฟือน เพื่อความ
ไม่อันตรธานแห่งพระสัทธรรม ดังนี้.
บทว่า โน ทายเกน ความว่า ก็ในพระธรรมวินัยที่ตรัสไว้ดี
แล้ว ชื่อว่ากิจที่จะต้องรู้ประมาณแล้วจึงให้ ย่อมไม่มีแก่ทายก. ไทยธรรม
ประมาณเท่าใดมีอยู่ ควรให้ไม่เกินประมาณเท่านั้น. ก็ทายกผู้ให้นี้
ย่อมได้สิ่งที่ประณีตยิ่ง ๆ ขึ้น ไม่เกินมนุษยสมบัติ และทิพยสมบัติ
เพราะเหตุที่ให้จนเกินประมาณ.
บทว่า โย อารทฺธวีริโย โส ทุกฺข วิหรติ ความว่า ผู้ประ-
กอบเนือง ๆ ซึ่งวัตรมีการทำให้เร่าร้อนด้วยความร้อน ๕ แห่ง การทำ
ความเพียรด้วยการหมกในหลุมทราย การพลิกไปมาในแสงพระอาทิตย์
(คือนอนกลางแดด) เพราะความเพียรในการนั่งกระหย่ง เป็นต้น ย่อม
อยู่เป็นทุกข์ในปัจจุบัน. เมื่อคนผู้นั้นนั่นแหละสมาทาน (วัตร) ในลัทธิ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 202
ภายนอกพระศาสนา (เขา) เกิดในนรกด้วยวิบากของการประพฤติ
ตบะนั้น ชื่อว่าย่อมอยู่เป็นทุกข์ในสัมปรายภพ.
บทว่า โย กุสีโต โส ทุกข วิหรติ ความว่า แม้คนผู้เกียจ-
คร้านนี้ ก็อยู่เป็นทุกข์ทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพ.
ถามว่า อยู่เป็นทุกข์อย่างไร. ตอบว่า บุคคลใด จำเดิมแต่บวชมา
ไม่มีการใส่ใจโดยแยบคาย ไม่เรียนพระพุทธวจนะ ไม่กระทำอาจริยวัตร
และอุปัชฌายวัตร ไม่กระทำวัตร (คือการปัดกวาด) ลานพระเจดีย์และ
ลานโพธิ์. บริโภคศรัทธาไทย ( ของที่เขาให้ด้วยศรัทธา ) ของมหาชน
ด้วยการไม่พิจารณา ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสบายในการนอนตลอดวัน
ในเวลาตื่นขึ้นมาก็ตรึกด้วยวิตก ๓ ประการ (คือกามวิตก พยาบาท-
วิตก วิหิงสาวิตก ) บุคคลนั้นย่อมเคลื่อนจากภิกษุภาวะความเป็นภิกษุ
โดย ๒-๓ วันเท่านั้น. ชื่อว่าอยู่เป็นทุกข์ในปัจจุบัน ด้วยประการอย่างนี้.
และก็เพราะบวชแล้วไม่กระทำสมณธรรมโดยชอบ
กุโส ยถา ทุคคหิโต หตฺถเมวานุกนฺตติ
สามญฺ ทุปปรามฏ นิรยายูปกฑฺฒตีติ.
แปลความว่า
คุณเครื่องเป็นสมณะ (พรหมจรรย์) ที่บุคคล
จับต้องไม่ดี ย่อมคร่าไปนรก เหมือนหญ้าคาที่บุคคล
จับไม่แน่น (แล้วดึงมา) ย่อมบาดมือนั่นแหละ
ฉะนั้น.
เขาย่อมถือปฏิสนธิในอบายทีเดียว ชื่อว่าย่อมอยู่เป็นทุกข์ในสัม-
ปรายภพ ด้วยประการอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 203
บทว่า โย กุสีโต โส สุข วิหรติ ความว่า บุคคลกระทำ
การประพฤติตบะอะไร ๆ ในการประพฤติตบะซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว
ตามเวลา นุ่งผ้าขาว ทัดทรงดอกไม้และลูบไล้ของหอม บริโภคโภชนะ
ที่อร่อย นอนบนที่นอนอันอ่อนนุ่มตามเวลา ย่อมอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
และสัมปรายภพ. ก็เพราะเขาไม่ยึดมั่นการประพฤติตบะนั้น จึงไม่เสวย
ทุกข์ในนรกมากยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอยู่เป็นสุขในสัมปรายภพ.
บทว่า โย อารทฺธวีริโย โส สุข วิหรติ ความว่า บุคคล
ปรารภความเพียร จำเดิมแต่กาลที่ได้บวชมา ย่อมกระทำให้บริบูรณ์
ในวัตรทั้งหลาย เรียนเอาพระพุทธพจน์ การทำกรรมในโยนิโส-
มนสิการ ครั้นเมื่อเขานึกถึงการบำเพ็ญวัตร การเล่าเรียนพระพุทธพจน์
และการทำสมณกรรม จิตย่อมเลื่อมใส เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอยู่เป็นสุข
ในปัจจุบัน ด้วยประการฉะนี้. แต่เมื่อไม่อาจบรรลุพระอรหัตในปัจจุบัน
ย่อมจะเป็นผู้ตรัสรู้เร็วในภพที่เกิด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอยู่เป็นสุขแม้ใน
สัมปรายภพ.
พระสูตรนี้ มีคำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คูถแม้มีจำนวนน้อย
ก็มีกลิ่นเหม็น แม้ฉันใด ดังนี้ ตรัสไว้เพราะอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง.
ถามว่า เหตุเกิดเรื่องไหน. ตอบว่า เหตุเกิดเรื่องแห่งสตุปปาท-
สูตรในนวกนิบาต. จริงอยู่ พระตถาคต เมื่อจะตรัสเรื่องนั้น ได้ตรัสว่า
บุคคล ๙ จำพวก พ้นจากนรก พ้นจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน พ้นจาก
เปรตวิสัย ดังนี้ เป็นต้น. ครั้งนั้น พระตถาคตมีพระดำริว่า ก็ถ้าบุตรของ
เราฟังธรรมเทศนานี้แล้วสำคัญว่า พวกเราเป็นผู้สิ้นนรก สิ้นกำเนิดสัตว์
เดียรัจฉาน สิ้นเปรตวิสัย สิ้นอบาย ทุคติ วินิบาตแล้ว ก็จะไม่พึงสำคัญที่จะ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 204
พยายามเพื่อมรรคผลสูง ๆ ขึ้นไป เราจักทำความสังเวชให้เกิดแก่บุตรของ
เราเหล่านั้น ดังนี้แล้ว จึงทรงเริ่มพระสูตรนี้ว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว
ดังนี้ เป็นต้น เพื่อจะให้เกิดสังเวช. บรรดาบทเหล่านี้นั้น บทว่า อปฺปมตฺตโก
แปลว่า มีประมาณหน่อยหนึ่ง คือมีประมาณน้อย. คูถนั้น ชั้นที่สุดแม้แต่
ปลายใบหญ้าคาแตะแล้วดม กลิ่นก็เหม็นอยู่นั่นแหละ. บทว่า อปฺปมตฺตกปิ
ภว น วณฺเณมิ ความว่า เราไม่สรรเสริญการถือปฏิสนธิในภพชั่วกาล
เวลาเล็กน้อย. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงการเปรียบเทียบกาลเวลานั้น จึง
ตรัสว่า โดยชั้นที่สุดแม้ชั่วกาลเวลาลัดนิ้วมือ ดังนี้. ในคำนี้ท่าน
อธิบายว่า ชั่วกาลเวลาแม้สักว่าเอานิ้ว ๒ นิ้ว มารวมกันแล้วก็ดีดแยก
ออกเป็นกำหนดอย่างต่ำที่สุด. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาวรรคที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 205
วรรคที่ ๔
ว่าด้วยสัตว์ที่เกิดในมัชฌิมชนบทมีน้อย
[๒๐๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่เกิดบนบก มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่เกิดในน้ำ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่กลับมาเกิดในกำเนิดอื่นจากมนุษย์ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่เกิดในมัชฌิมชนบท มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เกิดในปัจจันตชนบท
ในพวกชาวมิลักขะที่โง่เขลา มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่มีปัญญา ไม่โง่เง่า
ไม่เงอะงะ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิตและคำเป็นทุพภาษิตได้
มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เขลา โง่เง่า เงอะงะ ไม่สามารถที่จะรู้อรรถแห่ง
คำเป็นสุภาษิต และคำเป็นทุพภาษิตได้ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ประกอบ
ด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ตกอยู่ในอวิชชา
หลงใหล มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้เห็นพระตถาคต มีเป็นส่วนน้อย
สัตว์ที่ไม่ได้เห็นพระตถาคต มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่
พระตถาคตประกาศไว้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระ
ตถาคตประกาศไว้ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้
มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ทรงจำไว้ไม่ได้ มากกว่าโดยแท้
สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์
ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่
รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็น
ส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรม
สมควรแก่ธรรม มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 206
ความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความ
สลดใจ มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่สลดใจเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มี
เป็นส่วนน้อย สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มากกว่า
โดยแท้ สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ
ไม่ได้เอกัคคตาจิต มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ
มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ ยังอัตภาพให้เป็น
ไปด้วยการแสวงหา ด้วยภัตที่นำมาด้วยกระเบื้อง มากกว่าโดยแท้ สัตว์
ที่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้อรรถรส
ธรรมรส วิมุตติรส มากกว่าโดยแท้ เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มี
สวนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์ มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระ
โบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย มีที่ดอน ที่ลุ่ม เป็นที่ตั้งแห่งตอ
และหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมาก ฉะนั้น เพราะฉะนั้นแหละ
เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส ธรรมรส
วิมุตติรส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
[๒๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์กลับมาเกิดใน
มนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิด
สัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์
ไปเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก
เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่
จุติจากเทพยดากลับมาเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจาก
เทพยดาไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 207
มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากเทพยดากลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วน
น้อย สัตว์ที่จุติจากเทพยดาไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากนรกกลับมาเกิดในมนุษย์
มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์
เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิด
ในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก เกิดใน
กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจาก
กำเนิดสัตว์เดียรัจฉานกลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจาก
กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
เกิดในปิตติวิส้ย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไป
เกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไป
เกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดย
แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยกลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่
จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียร้จฉาน เกิดใน
ปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในเทพยดา มี
เป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์
เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้ เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้
มีสวนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์ มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระ
โบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย มีที่ดอน ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่
ตั้งแห่งตอและหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมากโดยแท้ฉะนั้น.
จบวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 208
อรรถกถาวรรคที่ ๔๑
วรรคที่ ๔ สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ชมฺพูทีเป ความว่า ชื่อว่า ซมพูทวีป เพราะเป็นทวีปที่รู้
กันทั่วไป คือ ปรากฏด้วย ต้นหว้าเป็นสำคัญ. เขาว่าทวีปนี้มีต้นหว้าใหญ่
ตระหง่านสูง ๑๐๐ โยชน์ กิ่งยาว ๕๐ โยชน์ ลำต้นกลม ๑๕ โยชน์
เกิดอยู่ที่เขาหิมพานต์ตั้งอยู่ชั่วกัป. ทวีปนี้เรียกว่าชมพูทวีป เพราะมีต้น
หว้าใหญ่นั้น. อนึ่ง ในทวีปนี้ ต้นหว้าตั้งอยู่ชั่วกัป ฉันใด แม้ต้นไม้
เหล่านี้ คือ ต้นกระทุ่ม ในอมรโคยานทวีป ต้นกัลปพฤกษ์ ในอุตตรกุรุ-
ทวีป ต้นซีก ในบุพพวิเทหทวีป ต้นแคฝอยของพวกอสูร ต้นงิ้วของ
พวกครุฑ ต้นปาริชาตของพวกเทวดา ก็ตั้งอยู่ชั่วกัปเหมือนกัน ฉันนั้น.
ท่านประพันธ์เป็นคาถาไว้ว่า
ปาตลี สิมฺพลี ชมฺพู เทวาน ปาริฉตฺตโก
กทมฺโพ กปฺปรุกโข จ สิรีเสน ภวติ สตฺตโม
แปลว่า
ต้นแคฝอย ต้นงิ้ว ต้นหว้า ต้นปาริชาต ของ
เทวดา ต้นกระทุ่ม ต้นกัลปพฤกษ์ และต้นซีก
ครบ ๗ ต้น.
บทว่า อารามรามเณยฺยก ความว่า บรรดาสวนดอกไม้และสวน
ผลไม้ ที่น่ารื่นรมย์ เช่น สวนพระเวฬุวัน ชีวกัมพวัน เชตวัน และ
บุพพาราม. สวนอันน่ารื่นรมย์นั้น ในชมพูทวีปนี้มีน้อย คือ นิดหน่อย
๑. บาลีข้อ ๒๐๕-๒๐๖
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 209
อธิบายว่า มีไม่มาก. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
วนรามเณยฺยก ในสูตรนี้ พึงทราบว่าป่าไม้ คืออรัญดงไม้ ในประเทศ
แห่งเขาวงก์ และเขาหิมวันต์เป็นต้น ก็เช่นเดียวกับป่านาควัน ป่าสาลวัน
และป่าจัมปกวันเป็นต้น. บทว่า ภูมิรามเณยฺยก ได้แก่ พื้นที่สม่ำเสมอ
คือราบเรียบ เช่นพระเชตวันวิหารและนาในแคว้นมคธเป็นต้น. บทว่า
โปกฺขรณีรามเณยฺยก ได้แก่ สถานที่ตั้งสระโบกขรณีซึ่งมีสัณฐานกลม
สี่เหลี่ยม ยาวและโค้งเป็นต้น เช่นสระโบกขรณีของเจ้าเชต และสระ
โบกขรณีของเจ้ามัลละ. บทว่า อุกฺกูลวิกูล แปลว่า ที่ดอนและที่ลุ่ม.
ในพระบาลีว่า อุกฺกูลวิกูล นั้น ที่ดอนชื่อว่า อุกกูละ ที่ลุ่มชื่อว่า วิกูละ
บทว่า นทีวิทุคฺค ได้แก่ แม่น้ำ ที่เรียกว่า นทีวิทุคฺค เพราะเป็นแม่น้ำ
ที่ไหลไปยาก คือหล่ม. บทว่า ขาณุกณฺฏกฏฺาน ได้แก่ ที่ทับถมอยู่
แห่งตอและหนามอันเกิดในที่นั้นเอง และที่คนอื่นนำมาทิ้งไว้. บทว่า
ปพฺพตวิสม ได้แก่ ที่ขรุขระแห่งภูเขานั่นแหละ.
บทว่า เย โอทกา ความว่า สัตว์ที่เกิดในน้ำเท่านั้น มากกว่า.
ได้ยินว่า จากที่นี้ไป ประมาณ ๗๐๐ โยชน์ มีประเทศชื่อว่า สุวรรณภูมิ.
เรือแล่นไปด้วยลมพัดไปทางเดียว จะเดินทางถึงในเวลา ๗ วัน ๗ คืน.
ครั้นสมัยหนึ่งเรือแล่นไปอย่างนั้น เดินทางไปเพียง ๗ วัน (โดยแล่นไป)
ตามหลังปลานันทิยาวัฏ๑ พึงทราบว่าสัตว์น้ำมีมากอย่างนี้ อีกประการ
หนึ่ง เพราะพื้นที่บนบกน้อย และเพราะน้ำมีมาก พึงทราบความหมาย
ในเรื่องนี้ดังต่อไปนี้. เหมือนอย่างว่า ในบึงใหญ่มีกอบัวกอหนึ่ง
มีใบ ๔ ใบ เฉพาะตรงกลาง (กอ) มีดอกบัวตูมดอกหนึ่ง ฉันใด
๑. เขาว่าปลาขนาดใหญ่มาก อาจจะเป็นประเภทปลาวาฬก็ได้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 210
ทวีปทั้ง ๔ เหมือนใบบัว ๔ ใบ เขาสิเนรุ เหมือนดอกบัวตูมที่กลาง
(กอ) ฉันนั้นเหมือนกัน. โอกาสว่างที่น้ำล้อมรอบทวีป ก็เหมือนน้ำที่
เหลือ. ความที่น่านั้นเป็นของมาก ย่อมปรากฏแก่ท่านผู้มีฤทธิ์. เพราะ
เมื่อท่านผู้ฤทธิ์ไปทางอากาศ ทวีปทั้ง ๔ ย่อมปรากฏเหมือนใบบัว ๔ ใบ
เขาสิเนรุปรากฏเหมือนดอกบัวตูมอยู่ตรงกลาง พึงทราบว่า เพราะสัตว์เกิด
ในน้ำมีมาก สัตว์น้ำเท่านั้นจึงมากกว่าด้วยประการอย่างนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒ เป็นต้น
ในสูตรที่ ๒ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อญฺตฺร มนุสฺเสหิ ความว่า ในที่นี้ท่านประสงค์เอา
อบายทั้ง ๔ เว้นมนุษย์ทั้งหลาย.
บทว่า มชฺฌิเมสุ ชนปเทสุ อธิบายว่า ในทิศตะวันออกมีนิคม
ชื่อกชังคละ, ต่อจากนิคมนั้นไป เป็นมหาสาลนคร. ถัดจากมหาสาลนคร
นั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้ามา เป็นมัชฌิมประเทศ.
ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีแม่น้ำชื่อว่า สาลวดี ถัดจากแม่น้ำนั้นออกไป
เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้ามา เป็นมัชฌิมประเทศ, ในทิศใต้ มี
นิคมชื่อว่า เสตกัณณิกะ ถัดจากนิคมนั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท
ร่วมในเข้ามา เป็นมัชฌิมประเทศ, ในทิศตะวันตก มีบ้านพราหมณ์
ชื่อถูนะ ถัดจาก บ้านพราหมณ์นั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมใน
เข้ามา เป็นมัชฌิมประเทศ, ในทิศเหนือมีภูเขาชื่ออุสีรธชะ ถัดจาก
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 211
ภูเขานั้นออกไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเข้ามา เป็นมัชฌิมประเทศ,
ในชนบทที่ท่านกำหนดไว้ดังกล่าวมาฉะนี้. ชนบทนี้มีสัณฐานเหมือน
ตะโพน (วัด ) โดยตรง บางแห่ง ๘๐ โยชน์ บางแห่ง ๑๐๐ โยชน์
บางแห่ง ๒๐๐ โยชน์ แต่ตรงกลาง ๓๐๐ โยชน์ (วัด ) โดยรอบประมาณ
๙๐๐ โยชน์. สัตว์เหล่านี้ คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระ-
มหาสาวก พระพุทธอุปัฏฐาก และพระพุทธสาวก พระพุทธมารดา
พระพุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเกิดในที่มีประมาณเท่านี้. อีก
ประการหนึ่ง มัชฌิมประเทศ แม้เทียบเคียงเอาย่อมได้. พึงทราบนัย
อย่างนี้ว่า ก็ชมพูทวีปแม้ทั้งสิ้น ชื่อว่าเป็นมัชฌิมประเทศ ทวีปที่เหลือ
เป็นปัจจันตชน. เมืองอนุราธปุระในตามพปัณณิทวีป (เกาะลังกา )
ชื่อว่าเป็นมัชฌิมประเทศ ประเทศที่เหลือเป็นปัจจันตชนบท.
ในบทว่า ปญฺวนโต อชฬา อเนฬมูคา นี้ ผู้ประกอบด้วย
ปัญญาเหล่านี้ คือ กัมมัสสกตปัญญา ๑ ฌานปัญญา ๑ วิปัสสนาปัญญา ๑
มัคคปัญญา ๑ ผลปัญญา ๑ ชื่อว่าผู้มีปัญญา. ผู้ไม่โง่เขลา ชื่อว่าผู้ไม่โง่เง่า.
น้ำลายของชนเหล่าใดไม่ไหลออกจากปาก ชนเหล่านั้น ชื่อว่าผู้ไม่มี
น้ำลายไหล. อธิบายว่า ปากไม่มีน้ำลาย (ไหลยืด) ปากไม่มีโทษ.
บทว่า ปฏิพลา แปลว่า ผู้สามารถ คือเป็นผู้ประกอบด้วยกำลังกาย
และกำลังญาณ. บทว่า อญฺาตุ ความว่า เพื่อรู้ประโยชน์และมิใช่
ประโยชน์ เหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า ทุปฺปญฺา แปลว่า ผู้ไม่มีปัญญา.
บทว่า ชฬา แปลว่า ผู้เขลา ผู้หลง.
บทว่า อริเยน ปญฺาจกฺขุนา ความว่า พร้อมกับวิปัสสนาและ
มรรค. บทว่า อวิชฺชาคตา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความมืดบอด คือ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 212
อวิชชา.
บทว่า เย ลภนฺติ ตถาคต ทสฺสนาย ความว่า สัตว์เหล่าใด
รู้คุณของพระตถาคต ย่อมได้เห็นพระตถาคตด้วยจักขุวิญญาณ.
บทว่า ตถาคตปฺปเวทิต ความว่า อันพระตถาคตประกาศแล้ว
คือ ตรัสประกาศไว้แล้ว. บทว่า สวนาย ได้แก่ เพื่อสดับด้วยโสต-
บทว่า ธาเรนฺติ ได้แก่ ไม่หลงลืมพระธรรมวินัยนั้น. บทว่า
ธตาน ธมฺมาน อตฺถ อุปปริกฺขนฺติ ความว่า สอบสวนอรรถและ
มิใช่อรรถะแห่งพระบาลีโดยคล่องแคล่ว. บทว่า อตฺถมญฺาย ธมฺม-
มญฺาย ได้แก่ รู้อรรถกถาและบาลี. บทว่า ธมฺมานุธมฺม ปฏิปซฺซนฺติ
ได้แก่ บำเพ็ญปฏิปทาอันสมควร.
บทว่า สเวชนีเยสุ าเนสุ ได้แก่ ในเหตุอันน่าสังเวช. บทว่า
สวิชฺชนติ ความว่า ย่อมถึงความสังเวช. บทว่า โยนิโส ปทหนฺติ
ความว่า กระทำปธานะ คือ ความเพียรอันตั้งไว้โดยอุบาย.
บทว่า ววสฺสคฺคารมฺม ความว่า พระนิพพานเรียกว่า ววัสสัคคะ
(เป็นที่สละสังขาร) กระทำพระนิพพานนั้นให้เป็นอารมณ์. บทว่า
ลภนฺติ สมาธึ ความว่า ย่อมได้มรรคสมาธิและผลสมาธิ.
บทว่า อนฺนคฺครสคฺคาน ได้แก่ ข้าวอย่างดีและรสอย่างดี. บทว่า
อุญฺเฉน กปาลภตฺเตน ยาเปนฺติ ความว่า ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไป
ด้วยรากไม้ และผลไม้น้อยใหญ่ในป่า หรือด้วยภัตตาหารที่ตนนำมาแล้ว
ด้วยภาชนะกระเบื้อง โดยการแสวงหา ก็ในเรื่องนี้ บุคคลใดเมื่อจิต
เกิดต้องการของเคี้ยวของกิน อะไร ๆ ก็ไม่ได้ของนั้นในทันที บุคคลนี้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 213
ชื่อว่าไม่ได้ข้าวอย่างดีและรสอย่างดี. แม้เมื่อบุคคลใด ได้ในทันทีแล้ว
มองดูอยู่ (เห็น) สี กลิ่น และรส ไม่ชอบใจ แม้บุคคลนี้ ก็ชื่อว่า
ไม่ได้ข้าวอย่างดีและรสอย่างดี. ส่วนบุคคลใด ได้ของที่มี สี กลิ่น และ
รสชอบใจ บุคคลนี้ ชื่อว่าได้ข้าวอย่างดีและรสอย่างดี. บุคคลผู้นั้น
พึงทราบโดยตัวอย่างสูงสุด เช่น พระเจ้าจักรพรรดิ โดยตัวอย่างอย่างต่ำ
พระเจ้าธรรมาโศกราช. ก็โดยสังเขป ภัตตาหารหนึ่งถาดมีราคาแสนหนึ่งนี้
ซื่อว่าข้าวอย่างดและรสอย่างดี.
ถามว่า ก็การที่พวกมนุษย์ได้เห็นภิกษุสงฆ์เที่ยวบิณฑบาตแล้วถวาย
ภัตตาหารอันอุดมและประณีตนี้ เรียกว่าอะไร. ตอบว่า นี้ก็เรียกว่า
ข้าวอย่างดีและรสอย่างดี เทียบเคียงบุคคลผู้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย
ภัตตาหารที่ตนนำมาด้วยภาชนะ.กระเบื้อง ด้วยการเที่ยวแสวงหา.
ในบทว่า อติถรโส เป็นต้นไป ความว่า สามัญผล ๔ ชื่อว่า
อรรถรส. มรรค ๔ ชื่อว่า ธรรมรส. พระอมตนิพพาน ชื่อว่าวิมุตติรส.
คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาวรรคที่ ๔
จบชมพูทวีปเปยยาล
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 214
ปาสาทกรธัมมาทิบาลี
ว่าด้วยคุณสมบัติที่เป็นส่วนหนึ่งของลาภ
[๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร
ความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็น
วัตร ความเป็นผู้ถือทรงไตรจีวร ความเป็นพระธรรมกถึก ความเป็น
พระวินัยธร ความเป็นผู้มีพระพุทธพจน์อันได้สดับแล้วมาก ความเป็น
ผู้มั่นคง ความมีอากัปปสมบัติ ความมีบริวารสมบัติ ความเป็นผู้มีบริวาร
มาก ความเป็นกุลบุตร ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ความเป็นผู้มีเจรจา
ไพเราะ ความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย นี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของลาภ.
ว่าด้วยผู้ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสนา
[๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐมฌานแม้ชั่วกาล
เพียงลัดนิ้วมือไซร้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตาม
คำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่น
แคว้นเปล่า ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปฐมฌานนั้นเล่า.
[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เจริญทุติยฌานแม้ชั่วกาล
เพียงลัดนิ้วมือ... เจริญตติยฌาน.. . เจริญจตุตถฌาน... เจริญเมตตา
เจโตวิมุตติ... เจริญกรุณาเจโตวิมุตติ. . . เจริญมุทิตาเจโตวิมุตติ. . .
เจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติ. .. พิจารณากายในกายอยู่ พึงเป็นผู้มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลก. . .
พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย . . .พิจารณาจิตในจิตอยู่ . . .พิจารณา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 215
ธรรมในธรรมทั้งหลาย ... ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่
เกิด เกิดขึ้น... ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคอง
จิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ... ยังฉันทะ
ให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อ
ยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น . .. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภ
ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฝือ เพื่อ
ความมีมาก เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน-
สังขาร... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร... เจริญ
อิทธิบาทที่ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร.. . เจริญอิทธิบาทที่ประ-
กอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร... เจริญสัทธินทรีย์.. . เจริญวิริยิน-
ทรีย์... เจริญสตินทรีย์.. . เจริญสมาธินทรีย์... เจริญปัญญินทรีย์...
เจริญสัทธาพละ.. . . เจริญวิริยพละ. . . เจริญสติพละ....เจริญสมาธิพละ
...เจริญปัญญาพละ...เจริญสติสัมโพชฌงค์...เจริญธัมมวิจยสัมโพช-
ฌงค์.. . เจริญวิริยสัมโพชฌงค์... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สัมโพชฌงค์ . . . เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. . . เจริญอุเบกขาสัมโพฌงค์
... เจริญสัมมาทิฏฐิ ... เจริญสัมมาสังกัปปะ.... เจริญสัมมาวาจา...
เจริญสัมมากัมมันตะ... เจริญสัมมาอาชีวะ. . . เจริญสัมมาวายามะ....
เจริญสัมมาสติ ถ้าภิกษุเจริญสัมมาสมาธิแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือไซร้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 216
ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งสัมมาสมาธิเล่า.
[๒๑๐] ภิกษุผู้มีความเข้าใจรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก
มีวรรณะดีหรือวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความ
เข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรา
กล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติ
ตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไย
ถึงผู้กระทำให้มากซึ่งความเข้าใจนั้นเล่า.
[๒๑๑] ภิกษุผู้มีความเข้าใจรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไม่มี
ประมาณ มีวรรณะดีหรือมีวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสีย
ได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น...
[๒๑๒] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก
มีวรรณะดีหรือวรรณะทราม เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสียได้แล้ว มีความ
เข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น . . .
[๒๑๓] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ไม่มี
ประมาณ มีวรรณะดีหรือมีวรรณะทรามเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสีย
ได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น...
[๒๑๔] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เขียว
มีสีเขียว เปรียบด้วยของเขียว มีแสงเขียวเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้น
เสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น. . .
[๒๑๕] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เหลือง
มีสีเหลือง เปรียบด้วยของเหลือง มีแสงเหลืองเข้า เธอครอบงำรูปเหล่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 217
นั้นเสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น . . .
[๒๑๖] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่แดง
มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีแสงแดงเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้น
เสียได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น . . .
[๒๑๗] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ขาว
สีขาว เปรียบด้วยของชาว มีแสงขาวเข้า เธอครอบงำรูปเหล่านั้นเสีย
ได้แล้ว มีความเข้าใจเช่นนี้ว่า เรารู้ เราเห็น . . . ภิกษุผู้มีรูป ย่อม
เห็นรูปทั้งหลาย . . .
[๒๑๘] ภิกษุผู้มีความเข้าใจอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปภายนอก
... ภิกษุย่อมเป็นผู้น้อมใจไปว่างามเท่านั้น...
[๒๑๙] ภิกษุบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า
อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับ
ปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ใส่ใจซึ่งสัญญาต่าง ๆ อยู่. . . .
[๒๒๐] ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
แล้ว ได้บรรลุวิญญาณัญจาตนฌาน โดยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด. . .
[๒๒๑] ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน โดยประการทั้งปวง
แล้ว ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยมนสิการว่า สิ่งอะไรไม่มี. . .
[๒๒๒] ภิกษุก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง
แล้ว ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน...
[๒๒๓] ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญายตนฌาน โดยประการ
ทั้งปวงแล้ว ได้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ . . .
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 218
[๒๒๔] ดูก่อนทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐวีกสิณแม้ชั่วกาลเพียง
ลัดนิ้วมือไซร้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่าอยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ
พระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่าก็จะ
ป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปฐวีกสิณนั้นเล่า ถ้าภิกษุเจริญ
อาโปกสิณ . . . เจริญเตโชกสิณ . . . เจริญวาโยกสิณ. . . เจริญนีลกสิณ.. .
เจริญปีตกสิณ. . . เจริญโลหิตกสิณ. . . เจริญโอทาตกสิณ. . . เจริญ
อากาสกสิณ. . . เจริญวิญาณกสิณ. . . เจริญอสุภสัญญา. . เจริญมรณ-
สัญญา. . . เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา. . . เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา. . .
เจริญอนิจจสัญญา . . . เจริญอนิจเจทุกขสัญญา... เจริญทุกเธอนัตตสัญญา...
เจริญปหานสัญญา. . . เจริญวิราคสัญญา . . . เจริญนิโรธสัญญา . . เจริญ
อนิจจสัญญา. . .เจริญอนัตตสัญญา. . . เจริญมรณสัญญา . . .เจริญอาหาเร-
ปฏิกูลสัญญา... เจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา. . . เจริญอัฏฐิกสัญญา. . .
เจริญปุฬุวกสัญญา. . . เจริญวินีลกสัญญา . . . เจริญวิจฉิททกสัญญ. . .
เจริญอุทธุมาตกสัญญา . . . เจริญพุทธานุสสติ . . . เจริญธัมมานุสสติ . . .
เจริญสังฆานุสสติ . . . เจริญอานาปานสติ . . . เจริญมรณสติ . . . เจริญ
เทวตานุสสติ. . . เจริญอานาปานสติ . . . เจริญมรณสคิ. . . เจริญกายคตาสติ
. . . เจริญอุปสมานุสสติ.. . เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยปฐมฌาน. . .
เจริญวิริยินทรีย์. . .เจริญสตินทรีย์. . .เจริญสมาธินทรีย์. . . เจริญปัญญิน-
ทรีย์. . . เจริญสัทธาพละ . . . เจริญวิริยพละ . . . เจริญสติพละ. . . เจริญ
สมาธิพละ.. .. เจริญปัญญาพละ. . . เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยทุติย-
ฌาน ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยตติยฌาน ฯลฯ เจริญสัทธิน-
ทรีย์อันสหรคตด้วยจตุตถฌาน ฯ ล ฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วย
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 219
เมตตา ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยกรุณา ฯลฯ เจริญสัทธิน-
ทรีย์อันสรหคตด้วยมุทิตา ฯลฯ เจริญสัทธินทรีย์อันสหรคตด้วยอุเบกขา
. . . จริญวิริยินทรีย์. . . เจริญสตินทรีย์. . . เจริญสมาธินทรีย์ . . . เจริญ
ปัญญินทรีย์. . . เจริญสัทธาพละ. . . เจริญวิริยพละ. . . เจริญสติพละ. . .
เจริญสนมธิพละ. . . เจริญปัญญาพละ แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือไซร้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา
ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วย
กล่าวไปไยถึงผู้การทำให้มาก ซึ่งปัญญาพละอันสหรคตด้วยอุเบกขาเล่า.
ว่าด้วยอานิสงส์การเจริญกายคตาสติ
[๒๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นไป
ในส่วนวิชชา ย่อมหยั่งลงในภายในของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหา-
สมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งถูกต้องด้วยใจแล้ว แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งซึ่งไหล
ไปสู่สมุทร ย่อมหยั่งลงในภายในของผู้นั้นฉะนั้น.
[๒๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งซึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ เป็นไปเพื่อประโยชน์
ใหญ่ เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นไปเพื่อ
ทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกาย-
คตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลอบรมแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
ใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อสติและ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 220
สัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุข
ในปัจจุบัน ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชาและวิมุตติ.
[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ
ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความเจริญบริบูรณ์ ธรรม
ข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อ
หนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ
แม้วิตกวิจารก็สงบ ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้น ก็ถึงความ
เจริญบริบูรณ์.
[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
การทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย และ
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้ ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือ
กายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้นได้เลย
และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมละเสียได้.
[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิด
ขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร
คือกายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศล-
ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 221
[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละ
อัสมิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน ย่อมละสังโยชน์เสียได้
ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรม
ข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว การทำให้มากแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้
วิชชาย่อมเกิดขึ้น ย่อมละอัสมิมานะเสียได้ อนุสัยย่อมถึงความเพิกถอน
ย่อมละสังโยชน์เสียได้.
[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไป
เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว การทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปริ-
นิพพาน.
[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย ย่อมมีการแทง
ตลอดธาตุต่าง ๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย ธรรมข้อหนึ่ง
คืออะไร คือกายคตาสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล
บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีการแทงตลอดธาตุมากหลาย
ย่อมมีการแทงตลอดธาตุต่าง ๆ ย่อมมีความแตกฉานในธาตุมากหลาย
[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไป
เพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 222
เป็นไปเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำสกทา-
คามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อ
ทำอรหัตผลให้แจ้ง.
[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ
แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
ลึกซึ้ง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาสามารถยิ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาว่องไว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
เร็ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็น
ผู้มีปัญญาแล่น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส ธรรมข้อหนึ่งคืออะไร คือกายคตาสติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา. . . ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
ชำแรกกิเลส.
[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่บริโภคกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมไม่บริโภคอมตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใด
บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมบริโภคอมตะ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 223
[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่บริโภค
แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่บริโภคแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหล่น กาย-
คตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว.
[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติของชนเหล่าใดเสื่อม
แล้ว อมตะของชนเหล่านั้นชื่อว่าเสื่อมแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาย-
คตาสติของชนเหล่าใดไม่เสื่อมแล้ว อมตะของชนเหล่านั้น ชื่อว่าไม่เสื่อม
แล้ว.
[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายสตาสติอัน
ชนเหล่าใดชอบใจแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นชอบใจแล้ว.
[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดประมาทกายคตาสติ
ชนเหล่านั้นชื่อว่าประมาทอมตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่
ประมาทกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่ประมาทอมตะ.
[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม
อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอัน
ชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตุชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม.
[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ส้อง
เสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ส้องเสพแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กายคตาสติอันชนเหล่าใดส้องเสพแล้ว อมติชื่อว่าอันชนเหล่านั้นส้องเสพ
แล้ว.
[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่เจริญ
แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่เจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาย-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 224
คตาสติอันชนเหล่าใดเจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว.
[๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย กายคตาสติอัน ชนเหล่าใดไม่ทำให้
มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้มากแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้
มากแล้ว .
[๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่รู้ด้วย
ปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่า
อันชนเหล่านั้นรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.
[๒๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่กำหนด
รู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กายคตาสติอันชนเหล่าใดกำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นกำหนด
รู้แล้ว.
[๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ทำให้
แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชน
เหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว.
เอกนิบาต ๑,๐๐๐ สูตร จบบริบูรณ์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 225
อรรถกถาปสาท๑กรธัมมาทิบาลี
อรรถกถาปสาท๒กรธรรมวรรค
คำว่า อทฺธ ในบทเป็นต้น ว่า อทฺธมิท นี้เป็นชื่อของส่วนหนึ่ง ๆ
ท่านอธิบายว่า นี้เป็นลาภแน่แท้ คือ นี้เป็นส่วนหนึ่ง ๆ ของลาภ.
บทว่า ยทิท อารญฺกตฺต คือ ความเป็นผู้อยู่ป่าส่วนหนึ่งใด. อธิบาย
ว่า ชื่อว่าความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นส่วนหนึ่งของลาภ คือ ภิกษุผู้อยู่ป่าอาจ
ได้ลาภ เพราะเป็นผู้บำเพ็ญได้อย่างแท้จริง. ก็ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรคิดว่า
เราจัก กระทำสิ่งที่สมควรแก่การอยู่ป่าของตัวเรา จึงไม่การทำกรรมที่ชื่อว่า
ลามก. เมื่อเป็นเช่นนั้น มหาชนก็จะเกิดความเคารพต่อท่านว่า ภิกษุนี้
ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ย่อมทำการบูชาด้วยปัจจัยทั้ง ๔. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้อยู่ป่าเป็น
วัตรนี้ เป็นลาภแน่แท้ ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แหละ.
ก็คามเป็นผู้ได้สดับฟังมาก ชื่อว่า พาหุสัจจะ ในสูตรนี้. บทว่า
ถารเรยฺย ได้แก่ ความเป็นผู้ถึงความมั่นคง เพราะเป็นผู้บวชนาน.
บทว่า อากปฺปสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมด้วยมารยาทมีการครอง
จีวรเป็นต้น . ความเป็นผู้มีบริวารสะอาด ชื่อว่า ปริวารสัมปทา ความ
ถึงพร้อมด้วยบริวาร. ความเป็นกุลบุตร ชื่อว่า กุลปุตติ (บุตรคนมี
ตระกูล). ความเป็นผู้มีรูปร่างดี ชื่อว่า วัณณโปกขรตา. ความเปล่ง
ถ้อยคำไพเราะ ชื่อว่า กัลยาณวากกรณตา. ความถึงพร้อมด้วยความ
ไม่มีโรค ชื่อว่า อัปปาพาธตา. ก็ภิกษุผู้ไม่มีโรค ย่อมบำเพ็ญวาสธุระ
๑. บาลีข้อ ๒๐๗-๒๔๖. ๒. บาลีข้อ ๒๐๗.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 226
(ธุระในการอบรมจิตใจ) และคันถธุระให้บริบูรณ์ได้ เพราะตนเป็นผู้
มีร่างกายสบาย. เพราะเหตุนั้น ลาภทั้งหลายจึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นแล.
จบอรรถกถาปสาทกรธรรมวรรค
อรรถกถาอปรอัจฉราสังฆาตวรรค๑
พระสูตรแม้นี้ว่า อจฺฉราสงฺฆาตมตฺต ดังนี้ ตรัสไว้ในเหตุเกิดเรื่อง
ของอัคคิกขันโธปมสูตร. ก็กถาที่พูดถึงผลของเมตตาที่ไม่ถึงอัปปนาไม่มี.
พระธรรมเทศนานี้พึงทราบว่าทรงปรารภในเมื่อเกิดเรื่องนั้น นั่นแล.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปม มีเนื้อความดังกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า
เป็นที่ ๑ ตามลำดับแห่งการนับ ชื่อว่าเป็นที่ ๑ เพราะเข้าฌานที่ ๑ นี้.
บทว่า ณาน ความว่า ชื่อว่าฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน
และลักขณูปนิชฌาน. ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ ชื่อว่า อารัมม-
ณูปนิชฌาน. ก็สมาบัติ ๘ เหล่านั้น เรียกว่าอารัมมณูปนิชฌาน เพราะ
เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น . วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่า
ลักขณูปนิชฌาน. ก็วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่ง
ลักษณะของสังขารด้วยอำนาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้น . ก็มรรค
ท่านเรียกว่าลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจในการเข้าไปเพ่งลักษณะแห่ง
วิปัสสนา ย่อมสำเร็จด้วยมรรค ผลท่านเรียกว่าลักขณะปนิชฌาน เพราะ
เข้าไปเพ่งพระนิพพานอันมีลักษณะเป็นสุญญตะ (ว่างเปล่า) อนิมิตตะ
(ไม่มีนิมิต) และอัปปณิหิตะ (ไม่มีที่ตั้ง ). ก็บรรดาฌาน ๒ อย่างนั้น
ในอรรถนี้ประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌาน.
๑. บาลีข้อ ๒๐๘ - ข้อ ๒๒๔ ในบาลีไม่ได้แยกเป็นวรรค แต่รวมอยู่ในปสาทกรธัมมาทิบาลี.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 227
บทว่า โก ปน วาโท เย น พหุลีกโรนฺติ ความว่า ไม่มี
คำที่จะพึงกล่าวในชนผู้การทำปฐมฌานนั้นให้มาก คำที่เหลือในสูตรนี้
พึงเข้าใจโดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.
แม้ในบทว่า ทุติย ดังนี้เป็นต้นไป ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัย
มีอาทิว่า เป็นที่ ๒ ความลำดับแห่งการนับ ดังนี้ .
บทว่า เมตฺต ได้แก่ แผ่ประโยชน์เกื้อกูลไปในสรรพสัตว์ทั้งหลาย.
บทว่า เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ ความหลุดพ้นด้วยจิต. เมตตาที่ถึงอัปปนา
เท่านั้น ท่านประสงค์เอาในที่นี้. แม้ในกรุณาเป็นต้นก็มีนัยนี้นั่นแล. ก็
พรหมวิหาร ๔ เหล่านี้เป็นวัฏฏะ เป็นบาทแห่งวัฏฏะ เป็นบาทแห่ง
วิปัสสนา เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นบาทแห่งอภิญญา
หรือเป็นบาทแห่งนิโรธ. แต่ไม่เป็นโลกุตระ. ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะยังมีสัตว์เป็นอารมณ์.
บทว่า กาเย กายานุปสฺสี ความว่า ผู้พิจารณาเห็นด้วยปัญญา
ซึ่งกายนั้นแล ในกาย ๑๘ ประการนี้คือ อานาปานบรรพ ๑ อิริยา-
ปถบรรพ ๑ จตุสัมปชัญญบรรพ ๑ ปฏิกูลมนสิกาพรรพ ๑ ธาตุ-
มนสิการบรรพ ๑ นวสีวถิกาบรรพ ๙ กสิณมีนีลกสิณเป็นต้น ๔ เนื่อง
ด้วยบริกรรมภายใน. บทว่า วิหรติ แปลว่า เป็นอยู่ คือเป็นไปอยู่.
ด้วยบทว่า วิหรติ นี้ ย่อมเป็นอันกล่าวถึงอิริยาบถของภิกษุผู้เจริญกายา-
นุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยกาย ๑๘ อย่างนี้ด้วย. บทว่า อาตาปี ได้แก่ มีความ
เพียร ด้วยความเพียรเป็นเครื่องเจริญสติปัฏฐานมีประการดังกล่าวแล้วนั้น
นั่นแล. บทว่า สมฺปชาโน ได้แก่ รู้อยู่โดยชอบด้วยปัญญาเครื่อง
พิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วยกาย ๑๘ อย่าง. บทว่า สติมา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 228
ผู้ประกอบด้วยสติอันควบคุมการพิจารณาเห็นกายด้วยกาย ๑๘ อย่าง.
บทว่า วิเนยฺย โลเก อภิาชฺฌาโทมนสฺส มีอธิบายว่า ภิกษุนำออก
คือข่มตัณหาอันเป็นไปในกามคุณ ๕ และโทมนัสอันประกอบด้วยปฏิฆะ
ในโลก กล่าวคือกายนั้นนั่นแหละ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
ด้วยประการเพียงเท่านี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวการพิจารณารูปล้วนๆ ด้วย
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
บทว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี ความว่า ก็ในคำเป็นต้นว่า
บรรดาเวทนาทั้งหลายมีสุขเวทนาเป็นต้น ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนา
๙ อย่างดังที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า เรากำลัง
เสวยสุขเวทนา เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า เรากำลังเสวยทุกขเวทนา
เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ( เวทนาที่ไม่สุขไม่ทุกข์) ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวย
อทุกขมสุขเวทนา เมื่อเสวยสุขเวทนาอิงอามิส หรือสุขเวทนาปราศจาก
อามิส ทุกขเวทนาอิงอามิส หรือทุกขเวทนาปราศจากอามิส อทุกขมสุข
เวทนาอิงอามิส หรืออทุกขมสุขเวทนาปราศจากอามิส ย่อมรู้ชัดว่า เรา
เสวยอทุกขมสุขเวทนาปราศจากอามิส ดังนี้ พึงทราบเนื้อความในเรื่องนี้
ด้วยอำนาจของวิริยะ ปัญญา และสติ ซึ่งเป็นตัวกำกับการเจริญเวทนา-
นุปัสสนาสติปัฏฐานโดยประการ ๙ อย่าง. ก็ในบทว่า โลเก นี้ พึงทราบว่า
ได้แก่เวทนา.
แม้ในจิตและธรรมเป็นต้นก็มีนัยนี้แหละ. แต่บทว่า จิตฺเต จิตฺตา-
นุปสฺสี ในสูตรนี้ มีความหมายว่า พิจารณาเห็นด้วยอนุปัสสนาอัน
พิจารณาอย่างนี้ ในจิต ๑๖ ประเภทที่ท่านขยายความไว้ว่า หรือย่อม
รู้ชัดจิตมีราคะว่าเป็นจิตมีราคะ ดังนี้.
บทว่า ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี ความว่า พิจารณาเห็นธรรม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 229
เหล่านั้นด้วยอนุปัสสนาอันเป็นตัวพิจารณา ในธรรมที่กล่าวไว้ ๕ ประการ
ด้วยโกฏฐาส คือส่วนอย่างนี้ คือนิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ อายตนะ
ภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔.
ก็ในการพิจารณาเห็นธรรมนี้ ท่านกล่าวการพิจารณานามล้วน ๆ
ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน. กล่าว
ถึงการพิจารณาทั้งรูปและนามในสัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน. พึงทราบว่า
สติปัฏฐานแม้ทั้ง ๔ นี้ ท่านกล่าวทั้งโลกิยะและโลกุตระคละกันไป.
บทว่า อนุปฺปนฺนาน ได้แก่ ที่ยังไม่เกิด. บทว่า ปาปกาน
ได้แก่ ต่ำทราม. บทว่า อกุสลาน ธมฺาน ได้แก่ ธรรมมีโลภะ
เป็นต้นอันเกิดจากความไม่ฉลาด. บทว่า อนุปฺปาทาย คือเพื่อต้องการ
ไม่เกิด. บทว่า ฉนฺท ชเนติ ความว่า ย่อมให้เกิดกุศลฉันทะในความ
เป็นผู้ใคร่จะทำ. บทว่า วายมติ ได้แก่ กระทำความเพียรเป็นเครื่อง
ประกอบ คือความบากบั่น. บทว่า วิริย อารภติ ได้แก่ กระทำ
ความเพียรทางกายและทางใจ. บทว่า จีตฺต ปคฺคณฺหาติ ได้แก่ ยกจิต
ขึ้นด้วยความเพียรอันเกิดร่วมกันนั้นนั่นแหละ. บทว่า. ปทหติ ได้แก่
กระทำความเพียรอันเป็นปธานะ.
บทว่า อุปฺปนฺนาน ได้แก่ เกิดแล้ว คือบังเกิดแล้ว. บทว่า
กุสลาน ธมฺมาน ได้แก่ ธรรมมีอโลภะเป็นต้นอันเกิดจากความฉลาด.
บทว่า ิติยา แปลว่า เพื่อความตั้งอยู่. บทว่า อสมฺโมสาย
แปลว่า เพื่อความไม่เลือนหาย. บทว่า ภิยโยภาวาย แปลว่า เพื่อ
ความมีบ่อย ๆ. บทว่า วิปุลาย แปลว่า เพื่อความไพบูลย์. บทว่า
ภาวนาย แปลว่า เพื่อความเจริญ. บทว่า ปาริปูริยา แปลว่า เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 230
ความบริบูรณ์.
การขยายความเฉพาะบทเดียวสำหรับสัมมัปปธาน ๔ เพียงเท่านี้
ก่อน. ก็ชื่อว่ากถาว่าด้วยสัมมัปปธานนี้มี ๒ อย่าง คือ เป็นโลกิยะ ๑
เป็นโลกุตระ ๑. ในกถา ๒ อย่างนั้น สัมมัปปธานกถาอันเป็นโลกิยะ
มีอยู่ในเบื้องต้นแห่งกถาทั้งปวง. กถาว่าด้วยสัมมปปธานอันเป็นโลกิยะ
นั้น พึงทราบได้เฉพาะในขณะมรรคอันยังเป็นโลกิยะโดยปริยายแห่ง
กัสสปสังยุต.
สมจริงดังที่ท่านพระมหากัสสปกล่าวไว้ในกัสสปสังยุตนั้นว่า
ผู้มีอายุ สัมมัปปธาน ( ความเพียรชอบ )
๔ เหล่านี้ สัมมปปธาน ๔ อย่างเป็นไฉน. ผู้มีอายุ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำความเพียรอยู่ว่า
อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิด
ขึ้นพึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย, ย่อมกระทำความ
พากเพียรอยู่ว่า อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว
แก่เรา เมื่อยังละไม่ได้ พึงเป็นไปเพื่อความฉิบหาย,
ย่อมกระทำความพากเพียรอยู่ว่า กุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อยังไม่เกิดขึ้น พึงเป็นไปเพื่อ
ความฉิบหาย, ย่อมกระทำความพากเพียรอยู่ว่า
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับไป พึงเป็น
เพื่อความฉิบหายดังนี้.
ก็ในอธิการนี้ อกุศลธรรมทั้งหลายมีโลภะเป็นต้น พึงทราบว่า
อกุศลธรรมอันลามก. บทว่า อนุปฺปนฺนา เม กุสลา ธมฺมา ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 231
สมถวิปัสสนาและมรรค. สมถวิปัสสนาและมรรค ชื่อว่ากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว.
แต่มรรคนั้นเกิดขึ้นคราวเดียวแล้วดับไป ชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อความ
ฉิบหาย. เพราะมรรคนั้นให้ปัจจัยแก่ผล (ก่อน) แล้วก็ดับไป.
อีกอย่างหนึ่ง แม้ในตอนต้นกล่าวไว้ว่า พึงถือเอาเฉพาะสมถวิปัสสนา
เท่านั้น ชื่อว่ากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว แค่คำที่กล่าวนั้นไม่ควร. กถาว่าด้วย
สัมมัปปธานอันเป็นโลกิยะ พึงทราบโดยปริยายแห่งกัสสปสังยุตในตอน
ต้น ๆ แห่งสูตรทั้งปวง. ก็ในขณะโลกุตรมรรค ความเพียรอย่างเดียว
นี้เท่านั้น ได้ชื่อ ๔ ชื่อ เนื่องด้วยทำกิจ ๔ อย่างให้สำเร็จ.
ในบทว่า อนุปฺปนฺนาน ปาปกาน นี้ ในบาลีแห่งกัสสปสังยุต
นั้น พึงทราบความตามนัยที่กล่าวในบทว่า อนุปฺปนฺโน เจว กามฉนฺโท
(กามฉันทะยังไม่เกิดขึ้น) ดังนี้เป็นต้น.
ในบทว่า อุปฺปนฺนาน ปาปกาน นี้ อุปปันนะมี ๔ อย่าง คือ
วัตตมานุปปันนะ ภุตวาวิคตุปปันนะ โอกาสกตุปปันนะ ภูมิลัทธุป-
ปันนะ.
ในอุปปันนะ ๔ อย่างนั้น ข้อที่กิเลสมี (และ) พร้อมพรั่งด้วย
การถือมั่น นี้ ชื่อว่า วัตตมานุปปันนะ.
ก็เมื่อกรรมเป็นไปอยู่ เสวยรสอารมณ์แล้ว วิบากดับไป ชื่อว่า
ภุตวาวิคตุปปันนะ. กรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ก็ชื่อว่าภุตวาวิคตุป-
ปันนะ. แม้ทั้งสองความหมายนั้นก็นับว่า ภุตวาวิคตุปปันนะ.
กุศลกรรมห้ามวิบากของกรรมอื่นเสีย ให้โอกาสแก่วิบากของตน.
วิบากที่เกิดขึ้นในโอกาสที่ได้อย่างนี้ เรียกว่า อุปปันนะ จำเดิมแต่ได้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 232
โอกาสนี้ ชื่อว่า โอกาสกตุปปันนะ.
ก็เบญจขันธ์ ชื่อว่าภูมิของวิปัสสนา. เบญจขันธ์เหล่านั้น เป็น
ขันธ์ต่างโดยอดีตขันธ์เป็นต้น. ส่วนกิเลสอื่นอันเนื่องอยู่ ในเบญจขันธ์
เหล่านั้น ไม่ควรกล่าวว่าเป็นอดีตหรืออนาคต. เพราะกิเลสแม้นอน
เนื่องอยู่ในอดีตขันธ์ ก็ยังละไม่ได้ แม้ที่นอนเนื่องอยู่ในอนาคตขันธ์
ก็ยังละไม่ได้ แม้ที่นอนเนื่องอยู่ในปัจจุบันขันธ์ ก็ยังละไม่ได้ เพราะ
เหตุนั้น ข้อที่ยังละกิเลสอันนอนเนื่องในขันธ์ต่าง ๆ ไม่ได้นี้ชื่อว่า ภูมิ-
ลัทธุปปันนะ. เพราะเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
กิเลสทั้งหลายที่ยังถอนไม่ได้ในภูมินั้นๆย่อมนับว่า ชื่อว่าภูมิลัทธุปปันนะ.
อุปปันนะ ๔ ประการ อีกอย่างหนึ่ง คือ สมุทาจารุปปันนะ
อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ อวิกขัมภิตุปปันนะ อสมุคฆาฏิตุปปันนะ.
ในอุปปันนะ ๔ อย่างนั้น อุปปันนะที่เป็นไปทันทีทันใด ชื่อว่า
สมุทาจารุปปันนะ.
ไม่ควรกล่าวว่า กิเลสจักไม่เกิดขึ้น. ในขณะที่ลืมตาขึ้นครั้งหนึ่ง
แล้วระลึกถึงอารมณ์ที่ถือเป็นนิมิต. เพราะเหตุไร. เพราะกิเลสยึดติด
อารมณ์. ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า เหมือนบุคคลเอาขวานฟัน
ต้นไม้ที่มียาง พูดไม่ได้ว่าในที่ที่ถูกขวานฟันแล้ว ยางจักไม่ไหล. นี้
ชื่อว่าอารัมมณาธิคหิตุปปันนะ.
ก็กิเลสที่ไม่ได้ข่มไว้ด้วยสมาบัติ ไม่ควรกล่าวว่าจักไม่เกิดในที่ชื่อนี้.
ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่ได้ข่มไว้. ถามว่า เหมือน
อะไร. ตอบว่า เหมือนคนเอาขวานตัดต้นไม้ที่มียาง ไม่ควรกล่าวว่า
ยางจะไม่ไหลในที่ชื่อนี้. อันนี้ชื่อว่าอวิกขัมภิตุปปันนะ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 233
ก็กิเลสที่ยังไม่ได้ถอนขึ้นด้วยมรรค ย่อมเกิดแม้แก่ผู้บังเกิดใน
ภวัคคพรหม เพราะเหตุนั้น พึงขยายความให้พิสดารโดยนัยก่อนนั้นแล.
อันนี้ชื่อว่าอสมุคฆาฏิตุปปันนะ.
ในอุปปันนะเหล่านั้น อุปปันนะ ๔ อย่าง คือ วัตตมานุปปันนะ
ภุตวาวิคตุปปันนะ โอกาสกตุปปันนะ สมุทาจารุปปันนะ ไม่เป็น
อุปปันนะที่มรรคจะพึงฆ่า. อุปปันนะที่มรรคจะพึงฆ่าได้มี ๔ อย่าง คือ
ภูมิลัทธุปปันนะ อารัมมณาธิคหิตุปปันนะ อวิกขัมภิตุปปันนะ อสมุค-
ฆาฏิตุปปันนะ. เพราะมรรคเกิดขึ้นย่อมละกิเลสเหล่านี้. มรรคนั้นละ
กิเลสเหล่าใด กิเลสเหล่านั้นไม่ควรจะกล่าวว่าเป็นอดีต อนาคต หรือ
ปัจจุบัน.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
หากละกิเลสอันเป็นอดีตไซร้ ถ้าอย่างนั้น
ก็ย่อมยังกิเลสที่สิ้นไปแล้วให้สิ้นไปได้ ดับกิเลสที่ดับ
แล้วให้ดับได้ ยังกิเลสที่ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ให้ถึงการ
ตั้งอยู่ไม่ได้ ละกิเลสที่ล่วงไปแล้วซึ่งไม่มีอยู่ได้. หาก
ละกิเลสอันเป็นอนาคตได้ไซร้ ถ้าอย่างนั้น ก็ย่อมละ
กิเลสที่ยังไม่เกิด ย่อมละกิเลสที่ยังไม่บังเกิด ยังไม่
เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่ปรากฏได้ ย่อมละกิเลสที่ยัง
ไม่มาถึงซึ่งไม่มีอยู่ได้. หากละกิเลสอันเป็นปัจจุบัน
ได้ไซร้ ถ้าอย่างนั้น คนผู้กำหนัด ย่อมละราคะได้
คนผู้ประทุษร้าย ย่อมละโทสะได้ คนผู้หลง ย่อม
ละโมหะได้ คนผู้เย่อหยิ่ง ย่อมละมานะได้ คนผู้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 234
ยึดมั่นความเห็นผิด ย่อมละทิฏฐิได้ คนผู้ตัดสินใจ
ไม่ได้ ย่อมละวิจิกิจฉาได้ คนผู้มีเรี่ยวแรง ย่อม
ละอนุสัยได้ ธรรมดำกับธรรมขาว ก็ย่อมจะเป็นธรรม
คู่กำกับกันเป็นไป. การบำเพ็ญมรรคก็ย่อมเป็นไป
กับสังกิเลส ฯ ล ฯ. ถ้าอย่างนั้น การบำเพ็ญมรรค
ย่อมไม่มี, การทำผลให้แจ้ง ย่อมไม่มี. การละกิเลส
ย่อมไม่มี, การตรัสรู้ธรรม ย่อมไม่มี. การบำเพ็ญ
มรรค มีอยู่ ฯ ล ฯ การตรัสรู้ธรรม มีอยู่. ถามว่า
เปรียบเหมือนอะไร. ตอบว่า เปรียบเหมือนต้นไม้
รุ่น ๆ ฯ ล ฯ เป็นไม้ที่ยังไม่ปรากฏ ( ผล ) ย่อมไม่
ปรากฏ (ผล) เลย.
ต้นไม้ที่ยังไม่เกิด ( มีที่ ) มาในพระบาลี แต่ควรแสดงต้นไม้
ที่เกิดผลด้วย. เปรียบเหมือนต้นมะม่วงรุ่นที่มีผล พวกมนุษย์จะบริโภค
ผลของมัน จึง ( เขย่า) ให้ผลที่เหลือหล่นลง แล้วเอาใส่ในกระเช้าให้
เต็ม. ภายหลัง บุรุษอีกคนเอาขวานตัดต้นมะม่วงนั้น . ผลอันเป็นอดีต
ของมะม่วงต้นนั้น ย่อมเป็นผลที่บุรุษคนนั้นทำให้เสียหายไม่ได้ ผลที่เป็น
ปัจจุบันและอนาคตก็ทำให้เสียหายไม่ได้. เพราะผลที่เป็นอดีต พวก
มนุษย์ก็บริโภคไปแล้ว ผลที่เป็นอนาคตก็ยังไม่เกิด จึงไม่อาจทำให้
เสียหาย. ก็ในสมัยที่ต้นมะม่วงนั้นถูกเขาตัด ผลมะม่วงยังไม่มี เพราะ-
เหตุนั้น ผลที่เป็นปัจจุบัน จึงไม่ถูกทำให้เสียไป. ก็ถ้าต้นมะม่วงยังไม่
ถูกตัด ผลของมันอาศัยรสของดินและรสของน้ำเกิดขึ้นในภายหลังนั้น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 235
ย่อมถูกทำให้เสียหาย. เพราะผลเหล่านั้นที่ยังไม่เกิด ก็เกิดไม่ได้ ที่ยังไม่
บังเกิด ก็ไม่บังเกิด และที่ยังไม่ปรากฏ ก็ปรากฏไม่ได้ ฉันใด มรรคก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมกิเลสอันต่างด้วยกิเลสอันเป็นอดีตเป็นต้นก็หา
มิได้ จะไม่ละก็หามิได้. การเกิดขึ้นแห่งกิเลสเหล่าใด จะพึงมีได้ในเมื่อ
มรรคยังไม่กำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลาย ( แต่ ) เพราะมรรคเกิดขึ้นกำหนด
รู้ขันธ์ทั้งหลายได้แล้ว กิเลสเหล่านั้น ที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิด ที่ยังไม่บังเกิด
ก็ไม่บังเกิด ที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ. พึงขยายเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้ง
ด้วยยา สำหรับให้หญิงแม่ลูกอ่อนไม่คลอดบุตรอีกต่อไป หรือแม้สำหรับ
ระงับโรคของคนเจ็บป่วย. ไม่ควรกล่าวว่า กิเลสทั้งหลายที่มรรคละได้
นั้น เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ด้วยประการอย่างนี้. อนึ่ง
มรรคจะไม่ละกิเลสทั้งหลายก็หาไม่. แต่ท่านหมายเอากิเลสที่มรรคละได้
เหล่านั้น จึงกล่าวว่า อุปฺปนฺนาน ปาปกาน ดังนี้เป็นต้น. ก็มรรคจะ
ละแต่กิเลสเท่านั้นก็หามิได้ แม้อุปาทินนขันธ์ที่เกิดขึ้นก็ละได้ เพราะ
ละกิเลสทั้งหลายได้เด็ดขาดแล้ว.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ( ขันธ์ทั้งหลายเหล่าใด คือ ) นามและรูป
พึงเกิดขึ้นในสังสารอันกำหนดที่สุดเบื้องต้นและเบื้องปลายไม่ได้ เว้น ๗
ภพ โดยดับอภิสังขารวิญญาณด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ ขันธ์ทั้งหลาย
เหล่านั้นย่อมดับที่นามรูปนี้ดังนี้ ความพิสดารแล้ว. มรรคย่อมออกจาก
อุปาทินนขันธ์ และอนุปาทินนขันธ์ ด้วยประการฉะนี้.
ก็ว่าด้วยภพทั้งปวง โสดาปัตติมรรคย่อมออกจากอบายภพ. สกทา-
คามิมรรคย่อมออกจากส่วนหนึ่งของสุคติภพ. อนาคามิมรรคย่อมออกจาก
สุคติกามภพ. อรหัตมรรคย่อมออกจากรูปภพและอรูปภพ. บางอาจารย์
กล่าวว่า พระอรหัตมรรคย่อมออกจากภพทั้งปวง ดังนี้ก็มี.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 236
ถามว่า ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ในขณะแห่งมรรคจะมีการอบรมเพื่อ
ยังธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นได้อย่างไร หรือจะมีการอบรมเพื่อให้ธรรม
ที่เกิดขึ้นแล้วดำรงอยู่ได้อย่างไร. ตอบว่า ด้วยการที่มรรคดำเนินไป
ไม่ขาดสายนั่นแหละ. ก็มรรคที่กำลังดำเนินไปอยู่ เรียกชื่อว่า อนุปปันนะ
เพราะไม่เคยเกิดขึ้นในกาลก่อน. เหมือนอย่างว่า คนผู้ไปยังที่ที่ไม่เคยไป
และได้เสวยอารมณ์ที่ยังไม่เคยเสวย มักจะกล่าวว่า พวกเราได้ไปยังที่
ที่ไม่ได้เคยไปแล้วหามิได้๑ เสวยอารมณ์ที่ไม่ได้เคยเสวยแล้วหามิได้๒ ดังนี้
ฉันใด. ความดำเนินไปของมรรคนี้นั่นแหละ ชื่อว่าตั้งอยู่ เพราะเหตุนั้น
จะกล่าวว่า ในภาวะแห่งการตั้งอยู่ ดังนี้ก็ควร. ความเพียรในขณะ
โลกุตรมรรคนี้ของภิกษุนั้น ย่อมได้ชื่อ ๔ ชื่อ มีอาทิว่า อนุปฺปนฺนาน
ปาปกาน อกุสลาน ธมฺมาน อนุปาทาย ดังนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
กถาว่าด้วยความเพียรชอบในขณะโลกุตรมรรคเพียงเท่านี้. ก็ในพระสูตรนี้
ท่านกล่าวความเพียรชอบอันเป็นโลกิยะและโลกุตระคละกันไป.
บรรดาอิทธิบาททั้งหลาย สมาธิที่อาศัยฉันทะดำเนินไป ชื่อว่า
ฉันทสมาธิ. บทว่า ปทานสงฺขารสมนฺนาคต ความว่า บาทแห่งความ
สำเร็จที่แสดงไว้แล้วด้วยธรรมเหล่านั้น หรือบาทอันเป็นความสำเร็จ
ชื่อว่าอิทธิบาท. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้นั่นแล. ในที่นี้มีความสังเขป
เพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารมีมาแล้วในอิทธิบาทวิภังค์นั่นแล. ก็เนื้อ
ความ (แห่งอิทธิบาทนั้น) แสดงไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. ในวิสุทธิมรรค
นั้น แสดงไว้ว่า ในกาลใด ภิกษุนี้อาศัยธุระอย่างหนึ่งในฉันทอิทธิบาท
เป็นต้น เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต แม้สมถะก็เหมือนกัน
๑. ม. ไม่มี น. ๒. ไม่มี น. ปฏิเสธว่า หามิได้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 237
อิทธิบาท ที่ภิกษุนั้นอาศัยเจริญวิปัสสนา ในกาลนั้น เป็นโลกิยะใน
เบื้องต้น เป็นโลกุตระในเบื้องปลาย แม้อิทธิบาทที่เหลือ ก็อย่างนั้น
ดังนี้. ในพระสูตรแม้นี้ ก็ตรัสอิทธิบาทอันเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
ก็ศรัทธาในบทว่า สทฺธินฺทฺริย ภาเวติ ดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่า
สัทธินทรีย์ เพราะกระทำความเป็นใหญ่ในศรัทธาธุระของตน. แม้ใน
วิริยินทรีย์เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ก็ในบทว่า ภาเวติ นี้ พระโยคาวจรผู้
เริ่มบำเพ็ญเพียร ชำระสัทธินทรีย์ให้หมดจดด้วยเหตุ ๓ ประการ ชื่อว่า
เจริญสัทธินทรีย์. แม้ในวิริยินทรีย์เเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
สมจริงดังที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า
สัทธินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้
แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ผู้เสพ คบ เข้าไป
นั่งใกล้บุคคลผู้มีศรัทธา ผู้พิจารณาพระสูตรอันน่า
เลื่อมใส.
วิริยินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้
แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน ผู้เสพ คบ เข้าไป
นั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้พิจารณาสัมมัป-
ปธาน (ความเพียรชอบ).
สตินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการเหล่านี้
แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ผู้เสพ คบ เข้าไป
นั่งใกล้บุคคลผู้มีสติปรากฏ ผู้พิจารณาสติปัฏฐาน.
สมาธินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 238
เหล่านี้ แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ผู้เสพ
คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้พิจารณาฌาน
และวิโมกข์.
ปัญญินทรีย์ย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการ
เหล่านี้ แก่บุคคลผู้เว้นบุคคลผู้ไม่มีปัญญา ผู้เสพ คบ
เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญา ผู้พิจารณาญาณจริยา
อันลึกซึ้ง.
ก็บทว่า คมฺภีรญาณจริย ปจฺจเวกฺขโต ในพระบาลีนั้น มีความว่า
ผู้พิจารณาลำดับขันธ์๑ ลำดับอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ ลำดับมรรค
และลำดับผลอันละเอียดสุขุม. ก็พระโยคาวจรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน
ไม่กระทำความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งเหตุละ ๓ ๆ เหล่านี้ เริ่มตั้งความ
ยึดมั่นในศรัทธาธุระเป็นต้น อบรมให้เจริญขึ้น ในที่สุดละขาดได้ ย่อม
ถือเอาพระอรหัต. พระโยคาวจรนั้น ชื่อว่าเจริญอินทรีย์เหล่านี้จนกระทั่ง
พระอรหัตมรรค. เมื่อบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เจริญ
อินทรีย์. ท่านกล่าวอินทรีย์แม้ทั้ง ๕ นี้ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ ด้วย
ประการฉะนี้.
ในสัทธาพละเป็นต้น ศรัทธานั่นแหละเป็นพละ เพราะอรรถว่า
ไม่หวั่นไหว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สัทธาพละ. แม้ใน วิริยพละ
เป็นต้น ก็มีนัยเหมือนสัทธาพละนั้นแล. ก็ศรัทธาในอธิการว่าด้วยพละนี้
ย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความไม่เชื่อ. ความเพียรย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความ
เกียจคร้าน. สติย่อมไม่หวั่นไหวด้วยความหลงลืมสติ. สมาธิย่อมไม่
๑. ฎีกาแก้ว่า ความที่ขันธ์ทั้งหลายเป็นต่าง ๆ กันโดยสภาวะ ชาติ และภูมิเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 239
หวั่นไหวด้วยความฟุ้งซ่าน. ปัญญาย่อมไม่หวั่นไหวด้วยอวิชชา เพราะ
เหตุนั้น พละแม้ทั้งหมดเรียกว่า พละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว.
ก็การประกอบความเพียรในการเจริญภาวนาในพละนี้ พึงทราบโดยนัย
ดังกล่าวแล้ว ในการเจริญอินทรีย์นั่นแล. ท่านกล่าวพละ ๕ นี้ เป็นทั้ง
โลกิยะและโลกุตระ.
ในบทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺค ภวาเวตินี้ มีภาวนานัยแห่งการพรรณนา
เนื้อความพร้อมกับกุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐานเพียงเท่านี้. บทต้น ๗ บท
ซึ่งกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สติสมฺโพชฺฌงฺค ดังนี้ ในพระบาลีนั้น
มีการพรรณนาความดังต่อไปนี้ก่อน.
พึงทราบวินิจฉัยในสติสัมโพชฌงค์ก่อน. ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่า
ระลึกได้. ก็สตินั่นนั้น มีความปรากฏขึ้นเป็นลักษณะ หรือมีอันให้นึกได้
เป็นลักษณะ.
สมจริงดังที่ท่านพระนาคเสนกล่าวไว้ว่า มหาบพิตร ขุนคลังของ
พระราชา กราบทูลให้พระราชาทรงนึกถึงพระราชทรัพย์ว่า ข้าแต่มหาราช
เงินมีเท่านี้ ทองมีเท่านี้ ทรัพย์สินมีเท่านี้ ดังนี้ ฉันใด มหาบพิตร
สติก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเกิดขึ้น ย่อมให้นึกได้ ย่อมให้ระลึกได้
ซึ่งธรรมทั้งหลาย อันเป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและ
ประณีต มีส่วนเปรียบด้วยธรรมดำและธรรมขาว. คือสติปัฏฐาน ๔
เหล่านี้ ความพิสดารแล้ว. (สติ) มีอันให้นึกได้เป็นรส (คือกิจ). ก็
พระเถระกล่าวลักษณะนั่นของสตินั้นว่าเป็นกิจนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง(สติ)
มีความไม่หลงลืมเป็นรส มีความเผชิญหน้าต่ออารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน
(เครื่องปรากฏ). สตินั่นแหละ เป็นสัมโพชฌงค์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 240
สติสัมโพชฌงค์ ด้วยประการอย่างนี้.
ในบทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺโค นั้น ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็น
องค์แห่งปัญญาเครื่องตรัสรู้หรือแห่งพระโพธิญาณ. ถามว่า ท่านอธิบาย
ไว้อย่างไร. ตอบว่า อธิบายไว้ว่า ธรรมสามัคคีนี้ เรียกว่าโพธิ เพราะ
กระทำอธิบายว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี คือ สติ
ธรรมวิจัย วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเกิดขึ้นในขณะ
แห่งมรรคอัน เป็นโลกิยะและโลกุตระ อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออันตรายมิใช่น้อย
มีการตั้งอยู่และการประมวลไว้ซึ่งความหดหู่และความฟุ้งซ่าน และความ
ยึดมั่นในการประกอบกามสุข การทำตนให้ลำบาก และในอุจเฉททิฏฐิ
และสัสสตทิฏฐิ. บทว่า พุชฺฌติ ความว่า ออกจากความหลับ คือ
กิเลสสันดาน. อธิบายว่า แทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือทำให้แจ้งเฉพาะ
พระนิพพาน. สมจริงดังที่ตรัสไว้แล้วว่า เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วตรัสรู้
พร้อมเฉพาะซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ดังนี้ . ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะเป็นองค์แห่งโพธิ คือ ธรรมสามัคคีนั้น ดังนี้บ้าง เหมือนดัง
ฌานังคะองค์ฌาน มัคคังคะองค์มรรคฉะนั้น. พระอริยสาวกเรียกว่าโพธิ
เพราะการทำอธิบายว่า พระอริยสาวกนั้นแม้ใดตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี
นั้น ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว องค์แห่งพระอริยสาวก (ที่เรียกว่าโพธิ)
นั้น แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าโพชฌงค์ (องค์แห่งพระอริยสาวก
ผู้ตรัสรู้) เหมือนดังองค์ประกอบแห่งกองทัพ และองค์ประกอบแห่ง
รถเป็นต้นฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้. อีกอย่างหนึ่ง ใน
บาลีว่า โพชฺฌงฺคา นี้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถอะไร. ชื่อว่าโพชฌงค์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 241
เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะตรัสรู้. ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะแทงตลอด. (ย่อมเจริญ ) สติสัมโพชฌงค์นั้น.
แม้ในบทว่า ธมฺมวิจยสมฺโพชฺฌงฺค ดังนี้ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อ
ไปนี้:- ชื่อว่า ธรรมวิจัย เพราะค้นหาสัจธรรมทั้ง ๔ ก็ธรรมวิจัยนั้น
มีการเลือกเฟ้นเป็นลักษณะ มีความแจ่มแจ้งเป็นรส มีความไม่หลงลืม
เป็นปัจจุปัฏฐาน (เครื่องปรากฏ ). ชื่อว่า วิริยะ เพราะภาวะกล้าหาญ
และเพราะดำเนินไปตามวิธี. ก็วิริยะนั้น มีการประคองไว้เป็นลักษณะ
มีการค้ำจุนไว้เป็นรส มีการไม่ย่อหย่อนเป็นปัจจุปัฏฐาน. ชื่อว่า ปีติ
เพราะอิ่มเอิบ. ปีตินั้น มีการแผ่ซ่านเป็นลักษณะ หรือมีความยินดีเป็น
ลักษณะ มีการทำกายและจิตให้เอิบอิ่มเป็นรส มีการทำกายและจิตนั้น
แหละให้ฟูขึ้นเป็นปัจจุปัฏฐาน. ชื่อว่า ปัสสัทธิ เพราะระงับความ
กระวนกระวายแห่งกายและจิต. ปัสสัทธินั้น มีความสงบเป็นลักษณะ
มีการย่ำยีความกระวนกระวายแห่งกายและจิตเป็นรส มีความเย็นอันเกิด
จากความไม่ดิ้นรนเป็นปัจจุปัฏฐาน. ชื่อว่า สมาธิ เพราะความตั้งมั่น.
ก็สมาธินั้น มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ หรือมีการไม่ซ่านออกเป็น
ลักษณะ มีการประมวลจิตและเจตสิกไว้เป็นรส มีความตั้งอยู่แห่งจิตเป็น
ปัจจุปัฏฐาน. ชื่อว่า อุเบกขา เพราะความเพ่งเฉย. อุเบกขานั้น มีการ
พิจารณาเป็นลักษณะ หรือมีการนำไปอย่างสม่ำเสมอเป็นลักษณะ มีการ
ห้ามความหย่อนไปและความเกินไปเป็นรส หรือมีการตัดขาดในการเข้า
เป็นฝักฝ่ายเป็นรส มีความเป็นกลางเป็นปัจจุปัฏฐาน. บทที่เหลือมีนัย
ดังกล่าวไว้แล้วนั่นแล. บทว่า ภาเวติ ความว่า พอกพูน คือ ให้เพิ่มขึ้น
อธิบายว่า ให้เกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 242
ในสัมโฬชฌงค์นั้น ธรรม ๔ ประการ คือ สติสัมปชัญญะ ๑
ความเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม ๑ ความเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ๑ ความ
เป็นผู้น้อมใจไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
สติสัมโพชฌงค์. ก็ในฐานะทั้ง ๗ แม้มีการก้าวไปเป็นต้น สติสัมโพชฌงค์
ย่อมเกิดขึ้น ด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยการเว้นบุคคลผู้ที่สติหลงลืมดุจกา
ซ่อนเหยื่อ ด้วยการเสพบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เช่นพระติสสทัตตเถระและ
พระอภัยเถระ และด้วยความเป็นผู้มีจิตโอนน้อมโน้มไปเพื่อให้สติตั้งขึ้น
ในการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน
ยังสติสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการเหล่านี้ แล้วกระทำสติ-
สัมโพชฌงค์นั้นอย่างเดียวให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอา
พระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้นนั่นแล ชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์
ในพระอรหัตมรรค. เมื่อกุลบุตรนั้นบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ย่อมเป็น
ผู้ชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์แล้ว.
ธรรม ๗ ประการ คือ ความสอบถาม ๑ ความทำวัตถุให้สละ
สลวย ๑ ความทำอินทรีย์ให้ดำเนินไปสม่ำเสมอ ๑ ความเว้นบุคคลผู้มีปัญญา
ทราม ๑ ความเสพบุคคลผู้มีปัญญา ๑ ความพิจารณาญาณจริยาอันลึกซึ้ง๑
ความน้อมใจไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น ๑. ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิด
ขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
บรรดาธรรม ๗ ประการนั้น ความเป็นผู้มากด้วยการสอบถาม
อันอิงอาศัยอรรถแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์
องค์มรรค ฌาน สมถะ และวิปัสสนา ชื่อว่า ความสอบถาม. การ
ทำความสละสลวยแก่วัตถุทั้งภายในและภายนอก ชื่อว่าความทำวัตถุให้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 243
สละสลวย. ก็ในกาลใด ผม เล็บ และขนของกุลบุตรนั้นยาวหรือสรีระมีโทษ
หมักหมมและมอมแมมด้วยมลทินเหงื่อไคล ในกาลนั้น วัตถุภายในไม่
สละสสวย ไม่หมดจด. อนึ่ง ในกาลใด จีวรเก่า สกปรก มีกลิ่นเหม็นสาบ
หรือเสนาสนะรกรุงรัง ในกาลนั้น วัตถุภายนอกไม่สละสลวย ไม่สะอาด
เพราะฉะนั้น ควรทำวัตถุภายในให้สละสลวย ด้วยการโกนผมเป็นต้น
ด้วยการทำร่างกายให้เบาด้วยการขับถ่ายทิ้งเบื้องบนและเบื้องล่างเป็นต้น
และด้วยการอบและอาบ. พึงทำวัตถุภายนอกให้สละสลวย ด้วยการเย็บ
การซัก การย้อม และการประพรมเป็นต้น. ก็แม้ญาณในจิตและเจตสิก
ที่เกิดขึ้นในวัตถุภายในและภายนอกที่ไม่สละสลวยนั้นนี้แล ก็พลอยเป็น
ญาณไม่บริสุทธิ์ไปด้วย เปรียบเหมือนแสงสว่างของเปลวประทีปที่อาศัย
โคมประทีป ไส้และน้ำมันเป็นต้นที่ไม่สะอาดเกิดขึ้นฉะนั้น. ก็แม้ญาณ
ในจิตและเจตสิกที่เกิดในวัตถุทั้งภายในและภายนอกอันสละสลวย ก็เป็น
ญาณชัดแจ้ง เหมือนแสงสว่างของดวงประทีปที่อาศัยโคมประทีป ไส้
และน้ำมันเป็นต้นที่สะอาดเกิดขึ้นฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว
ว่า กระทำวัตถุให้สละสลวย ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ ดังนี้ .
การทำอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น ให้สม่ำเสมอ ชื่อว่าการ
ทำอินทรีย์ให้ถึงความสม่ำเสมอ ก็ถ้าสัทธินทรีย์ของกุลบุตรนั้นมีกำลัง
อินทรีย์นอกนี้อ่อน. แต่นั้น วิริยินทรีย์ไม่อาจทำหน้าที่ประคับประคอง
สตินทรีย์ไม่อาจทำหน้าที่ปรากฏ สมาธินทรีย์ไม่อาจทำหน้าที่ไม่ฟุ้งซ่าน
ปัญญินทรีย์ไม่อาจทำหน้าที่เห็น. เพราะฉะนั้น ควรให้ลดลงไป ด้วยการ
พิจารณาสภาวธรรม หรือด้วยการไม่ได้ใส่ใจ โดยประการที่เมื่อใส่ใจ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 244
(สัทธินทรีย์ ) กลับมีกำลังขึ้น. ก็ในข้อนี้ มีเรื่อง พระวักกลิเถระ
เป็นอุทาหรณ์. ก็ถ้าวิริยินทรีย์มีกำลัง เมื่อเป็นอย่างนั้น สัทธินทรีย์ย่อม
ไม่อาจทำกิจในการน้อมใจเชื่อ อินทรีย์นอกนี้ก็ไม่อาจทำกิจนอกนี้แต่ละ
ชนิดใด. เพราะฉะนั้น วิริยินทรีย์นั้นควรทำให้ลดลง ด้วยการทำศรัทธา
เป็นต้นให้เจริญขึ้น. แม้ในข้อนั้น ก็ควรแสดงเรื่องราวของพระโสณเถระ.
แม้ในอินทรีย์ที่เหลือ ก็อย่างนั้น. พึงทราบว่า เมื่ออินทรีย์อย่างหนึ่ง
มีกำลังกล้า อินทรีย์นอกนี้จะไม่มีความสามารถในหน้าที่ของตน ๆ.
ก็โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอธิการว่าด้วยอินทรีย์นี้ ท่านสรรเสริญความ
เสมอกันของศรัทธากับปัญญา และสมาธิกับวิริยะ. เพราะคนผู้มีศรัทธา
แก่กล้าย่อมเป็นผู้มีปัญญาเขลา เลื่อมใสง่าย ย่อมเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่เข้าเรื่อง.
คนผู้มีปัญญามาก มีศรัทธาน้อย ย่อมคบกับฝ่ายเกเร เหมือนโรคมี
สมุฏฐานมาจากยา ย่อมเป็นโรคที่แก้ไขยาก. คนผู้ (มีความคิด ) แล่น
เกินไปว่า กุศลมีได้ด้วยสักว่าทำให้เกิดขึ้นในจิตเท่านั้น แล้วไม่ทำกุศล
มีการให้ทานเป็นต้น ย่อมเกิดในนรก. เพราะศรัทธากับปัญญาทั้งสอง
เท่ากัน คนจึงเลื่อมใสในเรื่องที่เป็นเรื่อง. ก็ความเกียจคร้าน ย่อมครอบงำ
คนผู้มีสมาธิกล้า แต่มีความเพียรอ่อน เพราะสมาธิเป็นฝ่ายข้างความเกียจ
คร้าน. ความฟุ้งซ่าน ย่อมครอบงำคนที่มีความเพียรกล้า สมาธิอ่อน เพราะ
ความเพียรเป็นฝ่ายข้างความฟุ้งซ่าน. ก็สมาธิที่กำกับด้วยความเพียร
ย่อมไม่ตกไปในความเกียจคร้าน. ความเพียรที่กำกับด้วยสมาธิ ย่อมไม่
ตกไปในความฟุ้งซ่าน. เพราะฉะนั้น ต้องทำทั้งสองอย่างนั้น ให้เท่ากัน
ก็เพราะทั้งสองอย่างเท่ากัน อัปปนาย่อมเกิด.
อีกอย่างหนึ่ง สำหรับผู้บำเพ็ญสมาธิ ศรัทธามีกำลังจึงควร. เพราะ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 245
ผู้เชื่อเมื่อปักใจเธออย่างนั้น จักบรรลุถึงอัปปนา. ก็บรรดาสมาธิและปัญญา
ความมีจิตแน่วแน่มีกำลัง ย่อมควรสำหรับผู้บำเพ็ญสมาธิ. เพราะเมื่อเป็น
อย่างนั้น ผู้บำเพ็ญสมาธินั้น. ย่อมบรรลุถึงอัปปนา. ปัญญามีกำลังย่อม
ควรสำหรับท่านผู้บำเพ็ญวิปัสสนา. เพราะเมื่อเป็นอย่างนั้นท่านผู้บำเพ็ญ
วิปัสสนานั้น ย่อมบรรลุการแทงตลอดไตรลักษณ์. ก็แม้สมาธิกับปัญญา
ทั้งสองเท่ากัน ย่อมเป็นอัปปนาแท้. ก็สติมีกำลังในทุกอย่าง ย่อมไม่เสีย
หาย. ก็สติย่อมรักษาจิตไว้มิให้ตามไปในความฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจของ
ศรัทธา ความเพียร และปัญญา อันเป็นปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน และ
มิให้ตกไปในความเกียจคร้านด้วยสมาธิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความเกียจคร้าน.
เพราะฉะนั้น สตินั้นจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือนเกลือกับเครื่อง
เทศต้องใช้ปรุงกับข้าวทุกชนิด และเหมือนอำมาตย์ผู้ชำนาญในสรรพกิจ
จำต้องใช้ในราชการทั้งปวงฉะนั้น. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ก็แล
สติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ามีประโยชน์ทุกอย่าง. ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย และสติมีการรักษาเป็นเครื่องปรากฏ
เว้นสติเสียแล้ว การประคองและการข่มจิต จะมีไม่ได้ ดังนี้.
การเว้นให้ห่างไกลจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม ผู้ไม่มีปัญญาหยั่งลง
ในประเภทแห่งขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า เว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม. การเสพ
บุคคลผู้ประกอบด้วยอุทยัพยปัญญา (เห็นเกิดดับ) อันกำหนดพิจารณา
ลักษณะ ๕๐ ถ้วน ชื่อว่า เสพบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณาประเภท
ของญาณอันลึกซึ้งซึ่งดำเนินไปในขันธ์เป็นต้นอันลึกซึ้ง ชื่อว่า พิจารณา
ความเป็นไปแห่งญาณอันลึกซึ้ง. ความมีจิตน้อมไปเพื่อให้ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ตั้งขึ้นในการยืนและการนั่งเป็นต้น ชื่อว่า ความน้อมใจไป
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 246
ในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญเพียร
ทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๗ ประการเหล่านี้ ทำธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์นั้นนั่นแหละให้เป็นการเป็นงาน เริ่มยึดมั่นไว้ ย่อมถือ
เอาพระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้นชื่อว่าเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
จนกระทั่งถึงอรหัตมรรค. เมื่อบรรลุผล ย่อมชื่อว่าเป็นผู้อบรมเสร็จแล้ว.
ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งวิริยสัมโพช-
ฌงค์ คือ ความพิจารณาภัยในอบาย ๑ ความเห็นอานิสงฆ์ ๑ ความ
พิจารณาทางสำหรับไป ๑ ความยำเกรงต่อบิณฑบาต ๑ ความพิจารณา
มรดกความเป็นทายาทเป็นใหญ่ ๑ ความพิจารณาความเป็นใหญ่แห่ง
พระศาสดา ความพิจารณาความเป็นใหญ่โดยชาติ ๑ ความพิจารณา
ความที่เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์เป็นใหญ่ ๑ ความเว้นบุคคลผู้เกียจ-
คร้าน ๑ ความเสพบุคคลผู้เริ่มทำความเพียร ๑ ความเป็นผู้มีใจน้อมไป
ในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น ๑.
บรรดาธรรม ๑๑ ประการนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้
พิจารณาอบายอย่างนี้ว่า ใคร ๆ ไม่อาจยังวิจยสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นแม้
ในเวลาเสวยทุกข์ใหญ่ จำเดิมแต่ต้องถูกลงโทษด้วยเครื่องจองจำครบ ๕
อย่างในนรก แม้ในเวลาถูกเขาจับด้วยแหอวน และไซเป็นต้นในกำเนิด
สัตว์เดียรัจฉาน อนึ่ง แม้ในเวลาลากเกวียนเป็นต้น ของสัตว์ที่ถูกแทง
ด้วยเครื่องประหารมีปฏักและคันธนูเป็นต้น แม้ในเวลากระสับกระส่าย
ด้วยความหิวและความระหายตลอดพัน ๆ ปีบ้าง พุทธันดรหนึ่งบ้าง ใน
เปรตวิสัย แม้ในเวลาเสวยทุกข์อันเกิดจากลมและแดดเป็นต้น ด้วยทั้ง
อัตภาพสักแต่หนังหุ้มกระดูก สูงประมาณ ๖๐ ศอก ในพวกเปรตกาล-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 247
กัญชิกาสูตร. ดูก่อนภิกษุ กาลน แหละ เป็นกาลของเธอแล้ว ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดแม้แก่ผู้เห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่า ผู้เกียจคร้านไม่ได้
โลกุตรธรรม ๙. ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้น จึงได้. นี้เป็นอานิสงส์
ของวิริยสัมโพชฌงค์. ย่อมเกิดแม้แก่ผู้พิจารณาทางไปอย่างนี้ว่า ทางที่
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระมหาสาวกทั้งปวงไปแล้ว เรา
ควรไป ก็ทางนั้นอันผู้เกียจคร้านไม่อาจไป ดังนี้. ย่อมเกิดแม้แก่ผู้
พิจารณาถึงความยำเกรงต่อบิณฑบาตอย่างนี้ว่า มนุษย์เหล่าใดบำรุงท่าน
ด้วยบิณฑบาตเป็นต้น มนุษย์เหล่านั้น มิใช่ญาติ มิใช่ทาสกรรมกร ให้
บิณฑบาตอันประณีตแก่ท่าน ด้วยหวังใจว่า พวกเราจักอาศัยบิณฑบาต
นั้นเลี้ยงชีวิตก็หามิได้. โดยที่แท้ เขาหวังว่าการทำอุปการะของตนเป็น
ของมีผลมากจึงให้. แม้พระศาสดาทรงเห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้บริโภคปัจจัย
เหล่านี้แล้วจักเป็นผู้มีร่างกายล่ำสันอยู่เป็นสุข ดังนี้ จึงทรงอนุญาตปัจจัย
ทั้งหลายแก่เธอก็หามิได้ โดยที่แท้ ทรงอนุญาตปัจจัยทั้งหลายแต่เธอก็
ด้วยพระประสงค์ว่า ภิกษุนี้บริโภคปัจจัยเหล่านี้กระทำสมณธรรมแล้วจัก
พ้นวัฏทุกข์. บัดนี้ เธอนั้นเกียจคร้านอยู่จักประพฤติยำเกรงต่อบิณฑบาต
นั้นก็หาไม่. เพราะธรรมดาว่า ความยำเกรงต่อบิณฑบาตย่อมมีแก่ผู้ที่
ปรารภความเพียรเท่านั้น เหมือนพระมหามิตตเถระและพระปิณฑปาติย-
ติสสเถระฉะนั้น.
เขาเล่าว่า พระมหามิตตเถระอาศัยอยู่ในถ้ำชื่อกัสสกะ. ก็มหาอุบาสิกา
คนหนึ่งในโคจรคามของท่าน ปฏิบัติพระเถระเหมือนกับบุตร. วันหนึ่ง
นางจะไปป่าจึงสั่งลูกสาวว่า ลูกจ๋า ข้าวสารเก่าอยู่โน้น นมสดอยู่โน้น
เนยใสอยู่โน้น น้ำอ้อยอยู่โน้น เวลาพระผู้เป็นเจ้ามิตตะ พี่ชายของ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 248
เจ้ามา เจ้าจงหุงข้าวถวายพร้อมกับนมสด เนยใส และน้ำอ้อย และเจ้า
ก็ควรบริโภคเสียด้วย ส่วนแม่จะบริโภคข้าวค้างคืนที่หุงไว้เมื่อวานนี้กับ
น้ำผักดอง. ลูกสาวถามว่า กลางวันแม่จะบริโภคอะไรล่ะจ๊ะแม่. แม่ตอบ
ว่า เจ้าจงใส่ผักดองเอาข้าวสารหัก ๆ ต้มข้าวยาคูเปรี้ยวเก็บไว้ให้นะลูก
พระเถระห่มจีวรแล้วกำลังนำบาตรออกมา ได้ยินเสียงนั้นจึงกล่าวสอนตน
ว่า นัยว่า มหาอุบาสิกาจักบริโภคข้าวค้างคืนกับน้ำผักดอง แม้ตอน
กลางวันก็จักบริโภคข้าวยาคูเปรี้ยวปรุงด้วยข้าวสารหักกับผัก. ก็นางบอกให้
ข้าวสารเก่าเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ท่าน และนางอาศัยท่านแล้วจะ
หวังได้นา หวังได้สวนก็หามิได้ แต่นางปรารถนาสมบัติทั้ง ๓ จึงให้
ท่านจักสามารถให้สมบัติเหล่านั้นแก่นางไหม ก็บิณฑบาตนี้แล ท่านผู้มี
ราคะ โทสะ โมหะ ไม่อาจรับ ดังนี้แล้วจึงอาบาตรใส่ถลก ปลดลูกดุม
กลับไปที่ถ้ำกัสสกะ เก็บบาตรไว้ใต้เตียง พาดจีวรไว้ที่สายระเดียง นั่ง
อธิษฐานความเพียรว่า เรายังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่ออกไป. ภิกษุ
ผู้ไม่ประมาทอยู่ประจำมานาน เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตในเวลาก่อน
ภัตตาหาร เป็นพระขีณาสพกระทำความแย้มออกไป เหมือนดอกบัว
แย้มฉะนั้น. เทวดาผู้สิงอยู่ที่ประตูถ้ำเปล่งอุทานว่า
นโม เต ปุริสาชญฺ นโม เต ปุริสุตฺตม
ยสฺส เต อาสวา ขีณา ทกฺขิเณยฺโยสิ มาริส
ท่านบุรุษอาชาไนย เราขอนอบน้อมท่าน ท่าน
บุรุษผู้สูงสุด เราขอนอบน้อมท่าน ท่านผู้นิรทุกข์
ท่านมีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นพระทักขิไณยบุคคล.
ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ หญิงแก่ถวายภิกษาหารแก่พระ-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 249
อรหันต์เช่นท่านผู้เข้าไปบิณฑบาต จักพ้นทุกข์. พระเถระลุกขึ้นเปิด
ประตูมองดูเวลา รู้ว่ายังเช้าอยู่ จึงถือบาตรและจีวรเข้าไปยังบ้าน. แม้
เด็กหญิงก็เตรียมภัตตาหารไว้พร้อมแล้ว นั่งมองดูประตูด้วยหวังใจว่า
ประเดี๋ยวพระพี่ชายของเราจักมาถึง. เมื่อพระเถระถึงประตูบ้าน เด็กหญิง
นั้นก็รับบาตรบรรจุภัตตาหารอันประกอบด้วยเนยใสและน้ำอ้อยให้เต็ม แล้ว
วางไว้ที่มือ. พระเถระทำอนุโมทนาว่า จงมีความสุขเถิด แล้วหลีกไป.
ก็เด็กหญิงนั้นได้ยืนมองดูท่านอยู่. ก็ในคราวนั้น พระเถระมีฉวีวรรณ
บริสุทธิ์ยิ่งนัก อินทรีย์ผ่องใส ใบหน้าสุกสกาวเหมือนผลตาลสุกที่หลุด
จากขั้วฉะนั้น. มหาอุบาสิกากลับมาจากป่าถามบุตรสาวว่า พระพี่ชาย
มาแล้วหรือลูก. บุตรสาวนั้นจึงบอกความเป็นไปนั้นทั้งหมด. อุบาสิการู้
ว่า กิจแห่งบรรพชิตของบุตรเราถึงที่สุดแล้วในวันนี้ จึงกล่าวว่า แม่
พระพี่ชายของเจ้ายินดีไม่เบื่อระอาในพระพุทธศาสนาแล้ว.
ก็เรื่องพระปิณฑปาติยเถระพึงทราบอย่างนี้ . ได้ยินว่า บุรุษเข็ญใจ
คนหนึ่งในบ้านมหาคาม เลี้ยงชีวิตด้วยการขายฟืน. บุรุษนั้นได้ชื่อตาม
เหตุการณ์นั้นนั่นแล จึงมีชื่อว่า ทารุภัณฑกมหาติสสะ. วันหนึ่ง เขาพูด
กะภรรยาของเขาว่า ชื่อว่าความเป็นอยู่ของพวกเราเป็นอย่างไรกัน พระ
ศาสดาตรัสว่า ทลิทททานมีผลมาก แต่เราไม่อาจให้เป็นประจำได้ เรา
ถวายปักขิกภัตแล้ว แม้สลากภัตอันเกิดขึ้นข้างหน้าเราก็จักถวาย. ภรรยา
รับคำว่า ดีละนาย แล้วได้ถวายปักขิกภัตตามมีตามได้ในวันรุ่งขึ้น. ก็
เวลานั้น เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์ไม่ขัดข้องด้วยเรื่องปัจจัยทั้งหลาย. ภิกษุ
หนุ่มและสามเณรทั้งหลายฉันโภชนะล้วนประณีตรู้ว่า นี้เป็นอาหารไม่สู้ดี
ก็กระทำปักขิกภัตของคนทั้งสองนั้นให้เป็นแต่สักว่ารับไว้เท่านั้น เมื่อคน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 250
ทั้งสองนั้นเห็นอยู่นั้นแหละก็ทิ้งเสียแล้วก็ไป. ฝ่ายหญิงนั้นเห็นการกระทำ
นั้น จึงบอกแก่สามี. แต่ไม่ได้มีความเดือดร้อนใจว่า พระทั้งของที่เรา
ถวาย. สามีของนางกล่าวว่า ก็พวกเราไม่อาจให้พระผู้เป็นเจ้าฉันได้โดย
ง่าย เพราะเป็นคนจน เราจักกระทำอย่างไรหนอแลจึงจักอาจเอาใจ
พระผู้เป็นเจ้าได้. ทีนั้น ภรรยาของ เขากล่าวว่า นาย ท่านพูดว่าอะไรหรือ
ธรรมดาคนเข็ญใจทั้งหลายมีบุตรก็มีอยู่มิใช่หรือ นี้ธิดาของท่าน. ท่าน
จงเอาธิดาคนนี้วางเป็นประกันไว้ในตระกูลหนึ่ง เอาทรัพย์มาสัก ๒
กหาปณะ ( ๑ กหาปณะ=๔บาท ของชาวมคธ) แล้วซื้อแม่โคนมมาตัวหนึ่ง
เราจักถวายสลากภัตปรุงกับนมสดแก่พระผู้เป็นเจ้า เราอาจเอาใจของพระผู้
เป็นเจ้าเหล่านั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้. สามีรับคำว่า ได้ แล้วจึงกระทำ
อย่างนั้น. ด้วยบุญของคนทั้งสองนั้น แม่โคนมตัวนั้นให้น้ำนม ๓ มาณิกะ
ในตอนเย็น (มาณิกะเป็นมาตราตวงของชาวมคธ) ในตอนเช้าให้นม ๓
มาณิกะ. คนทั้งสองทำนมสดที่ได้ในตอนเย็นให้เป็นนมเปรี้ยว ในวัน
รุ่งขึ้นจึงทำให้เป็นเนยใสจากเนยข้นที่ถือเอาจากนมส้มนั้น แล้วถวายสลาก-
ภัตปรุงด้วยนมสดพร้อมกับเนยใสนั่นแหละ จำเดิมเเต่นั้น พระผู้มีบุญจึงจะ
ได้สลากภัตในเรือนของเขา.
วันหนึ่ง สามีกล่าวกะภรรยาว่า พวกเราพ้นจากเรื่องที่น่าละอาย
ก็เพราะมีลูกสาว ทั้งภัตตาหารในเรือนของเราแห่งเดียว เป็นของควร
บริโภคแห่งพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย เธออย่าประมาทในวัตรอันดีงามนี้จน
กว่าพี่จะมา พี่จะทำงานอะไรสักอย่างไถ่ตัวลูกสาว เขาไปยังประเทศ
หนึ่งทำงานหีบอ้อย โดยเวลา ๖ เดือนได้เงิน ๑๒ กหาปณะ คิดว่า
เงินเท่านี้อาจจะไถ่ลูกสาวของเราได้ จึงเอาชายผ้าขอดกหาปณะเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 251
ไว้ แล้วเดินทางด้วยตั้งใจว่าจักไปบ้าน.
ในสมัยนั้น พระปิณฑปาติยติสสเถระอยู่ในอัมพริยมหาวิหาร คิดว่า
จักไปมหาวิหารไหว้พระเจดีย์ จึงออกจากที่อยู่ของตนไปยังบ้านมหาคาม
เดินไปทางนั้นเหมือนกัน อุบาสกนั้นเห็นพระเถระแต่ไกล คิดว่าเรา
มาผู้เดียว จักไปฟังธรรมกถากัณฑ์หนึ่ง พร้อมกันกับพระผู้เป็นเจ้ารูป
นี้ เพราะผู้มีศีลหาได้ยากตลอดมาทุกเวลา จึงรีบไปทันพระเถระไหว้
แล้วเดินไปด้วยกัน เมื่อเวลาฉันภัตตาหารใกล้เข้ามาจึงคิดว่า ห่อภัตตาหาร
ไม่มีอยู่ในมือเรา และก็ถึงเวลาฉันภิกษาหารของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ทั้ง
ค่าใช้สอยนี้ก็มีอยู่ในมือเรา ในเวลาถึงประตูบ้านแห่งหนึ่ง เราจักถวาย
บิณฑบาตแก่พระผู้เป็นเจ้า.
เมื่อความคิดของเขาสักว่าพอเกิดขึ้นอย่างนี้ เท่านั้น คนผู้หนึ่งถือห่อ
ภัตตาหารมาถึงที่นั้นพอดี อุบาสกเห็นคนผู้นั้นแล้ว กล่าวนิมนต์ว่า
ท่านผู้เจริญ โปรดคอยหน่อยเถิด ๆ แล้วเข้าไปหาคนผู้นั้นกล่าวว่า บุรุษ
ผู้เจริญ ฉันจะให้กหาปณะแก่ท่าน ท่านจงให้ห่อภัตตาหารแก่ฉัน บุรุษ
ผู้นั้นคิดว่า ภัตตาหารแม้นี้จะมีราคาแม้สักมาสกหนึ่งในเวลานี้ก็หามิได้
แต่อุบาสกนี้ ให้เรากหาปณะหนึ่ง เป็นครั้งแรกทีเดียว เหตุในเรื่องนี้
จักมี ครั้นคิดแล้วจึงกล่าวว่า โดยกหาปณะหนึ่ง เราจะไม่ให้ อุบาสก
กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถือเอา ๒ กหาปณะ. จงถือเอา ๓ กหาปณะ
โดยทำนองนี้ประสงค์จะให้กหาปณะเหล่านั้นแม้ทั้งหมด บุรุษนอกนี้สำคัญ
ว่า กหาปณะแม้อื่นของอุบาสกนั้นมีอยู่ (อีก) จึงกล่าวว่า เราไม่ให้
ครั้งนั้น อุบาสกนั้นกล่าวกะบุรุษนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้ากหาปณะแม้อื่น
ของเราพึงมีอยู่ไซร้ เราพึงให้กหาปณะแม้เหล่านั้น แต่เราจะถือเอาเพื่อ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 252
ประโยชน์แก่ตนเองก็หามิได้เลย เรานิมนต์พระผู้เป็นเจ้ารูปหนึ่งให้นั่งอยู่ที่
โคนไม้ต้นหนึ่งกุศลจักมีแก่ท่านด้วย ท่านจงให้ภัตตาหารนั้นแก่เราเถิด บุรุษ
นั้นพูดว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเอาไปจงนำกหาปณะเหล่านั้น
มา ได้ถือเอากหาปณะแล้วให้ห่อภัตตาหารไป อุบาสกถือภัตตาหารเข้าไป
หาพระเถระแล้วกล่าวว่า นำบาตรออกมาเถิด ท่านขอรับ พระเถระนำ
บาตรออกมา เมื่ออุบาสกถวายภัตตาหารเข้าไปได้ครึ่งหนึ่ง ก็ปิดบาตรเสีย
อุบาสกกล่าวว่า มีส่วนเดียวเท่านั้น กระผมไม่อาจบริโภคจากส่วนเดียวนี้
ภัตตาหารนี้กระผมเที่ยวหาได้มา ก็เพื่อประโยชน์แก่ท่านเท่านั้น ขอท่าน
จงรับภัตตาหารนั้นเถิด เพื่ออนุเคราะห์กระผม พระเถระคิดว่า มีเหตุ
จึงรับมาฉันทั้งหมด อุบาสกได้กรองน้ำดื่มด้วยเครื่องกรองน้ำแล้วถวาย
ต่อจากนั้น เมื่อพระเถระทำภัตกิจเสร็จแล้ว แม้ทั้งสองก็เดินทางไป
(ด้วยกัน).
พระเถระถามอุบาสกว่า เพราะเหตุไรท่านจึงไม่บริโภค อุบาสกนั้น
บอกเรื่องราวในการไปของตนทั้งหมด พระเถระฟังความเป็นไปนั้นแล้ว
สลดใจ คิดว่า อุบาสกทำสิ่งที่ทำได้ยาก ก็เราบริโภคบิณฑบาตเห็นปาน
นี้ ควรเป็นผู้กตัญญูต่ออุบาสกนี้ เราได้เสนาสนะอันเป็นสัปปายะแล้ว
เมื่อผิวหนัง เนื้อ และเลือด แม้จะแห้งไปในเสนาสนะนั้น ( ก็ตามที )
ยังไม่บรรลุพระอรหัตโดยนั่งขัดสมาธิอยู่นั่นแหละ จักไม่ลุกขึ้น พระเถระ
นั้นไปยังติสสมหาวิหาร กระทำอาคันตุกวัตร (คือระเบียบปฏิบัติสำหรับ
ผู้จรมา ) แล้ว เข้าไปยังเสนาสนะที่ถึงแก่ตน ลาดเครื่องลาดแล้วนั่ง
บนเครื่องลาดนั้นกำหนดมูลกรรมฐานของตนนั่นเอง พระเถระนั้นไม่อาจ
จะทำแม้สักว่าโอภาสให้บังเกิดขึ้นในราตรีนั้น. จำเดิมแต่วันรุ่งขึ้น จึง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 253
ตัดความกังวลในการเที่ยวภิกษาจารเสีย ก็เห็นแจ้งกรรมฐานนั้นนั่นแหละ
ทั้งอนุโลมและปฏิโลม พระเถระเห็นแจ้งอยู่โดยอุบายนั้น ได้บรรลุพระ-
อรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาในอรุณที่ ๗ แล้วคิดว่า สรีระเมื่อยล้าเหลือ
เกิน ชีวิตของเราจักดำเนินไปได้นานไหมหนอ ครั้งนั้น พระเถระกำหนด
ได้แน่นอนว่า สรีระนั้นจะไม่ดำเนินไป จึงถือบาตรและจีวรไปยังท่าม
กลางวิหาร ตีกลองให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน.
พระสังฆเถระถามว่า ใครให้ภิกษุสงฆ์ประชุม. พระเถระตอบว่า
กระผมขอรับ. พระสังฆเถระถามว่า เพื่ออะไร ท่านสัตบุรุษ. พระเถระ
ตอบว่า กรรมอื่นไม่มีดอกขอรับ แต่ว่าท่านผู้มีความสงสัยในมรรคหรือผล
ท่านผู้นั้นจงถามกระผมเถิด. พระสังฆเถระถามว่า ท่านสัตบุรุษ ภิกษุ
ทั้งหลายเช่นท่าน ย่อมไม่กล่าวคุณที่ไม่มีอยู่ ความสงสัยในมรรคหรือผลนี้
ไม่มีแก่พวกเรา. ก็อะไรเป็นเหตุให้เกิดความสังเวชแก่ท่าน. ท่านทำอะไร
ให้เป็นปัจจัย พระอรหัตนี้จึงบังเกิดขึ้น. พระเถระตอบว่า ท่านขอรับ
ในวัลลิยวิถีในบ้านมหาคามนี้ มีอุบาสกชื่อทารุภัณฑกมหาติสสะ จำนอง
ธิดาของตนไว้ภายนอกแล้วเอาทรัพย์มา ๑๒ กหาปณะ ซื้อแม่โคนมมา
ตัวหนึ่ง เริ่มทั้งสลากภัตนมสดแก่พระสงฆ์. เขาคิดว่า เราจักไถ่ธิดา
จึงทำการรับจ้างอยู่ในโรงหีบอ้อยถึง ๖ เดือน ได้ทรัพย์ ๑๒ กหาปณะ
แล้วจึงเดินไปบ้านของตนด้วยหวังใจว่า จักไถ่ธิดา เห็นกระผมในระหว่าง
ทาง ในเวลาภิกษาจารได้ให้กหาปณะนั้นแม้ทั้งหมด แล้วถือเอาห่อ
ภัตตาหารมาถวายกระผมทั้งหมด. กระผมฉันบิณฑบาตนั้นแล้วมาที่นี้ ได้
เสนาสนะอันเป็นสัปปายะแล้วคิดว่า เราจักกระทำความยำเกรงต่อบิณฑบาต
ดังนี้ จึงได้ทำคุณวิเศษให้เกิดขึ้นขอรับ. บริษัท ๔ ผู้ประชุมกันอยู่ที่นั้น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 254
ได้ให้สาธุการแก่พระเถระ. ชื่อว่าผู้สามารถเพื่อดำรงตามภาวะของตน
ไม่มีเลย. พระเถระนั่งพูดอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ กำลังพูดอยู่นั้นแล
อธิษฐานว่า กูฏาคาร ( คือเรือนมียอด ) ของเราจงเคลื่อนไป ในเวลา
ที่ทารุภัณฑกมหาติสสะเอามือถูกต้องเท่านั้น ดังนี้แล้ว ปรินิพพานด้วย
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.
พระเจ้ากากวัณณติสสมหาราชทรงสดับว่า พระเถระรูปหนึ่งปริ-
นิพพาน จึงเสด็จไปยังวิหารทรงทำสักการะสัมมานะแล้ว ตรัสสั่งให้ตระ-
เตรียมกูฏาคารแล้วยกพระเถระขึ้นใส่ในกูฏาคารนั้น ทรงดำริว่า เราจักไป
ที่เชิงตะกอนเดี๋ยวนี้ จึงทรงยกกูฏาคาร ก็ไม่อาจให้เคลื่อนที่ได้ พระราชา
รับสั่งถามภิกษุสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ คำพูดอะไรที่พระเถระกล่าวไว้มีอยู่
หรือ. ภิกษุทั้งหลายจึงทูลเรื่องราวที่พระเถระกล่าวไว้. พระราชารับสั่ง
ให้เรียกอุบาสกนั้นมาแล้วตรัสถามว่า ในที่สุด ๗ วันจากวันนี้ไป เธอ
ถวายห่อภัตตาหารแก่ภิกษุไร ๆ ผู้เดินทางหรือ. อุบาสกทูลว่า ถวาย
พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ. พระราชาตรัสถามว่า เธอถวายทำนองไหน.
อุบาสกนั้นจึงกราบทูลเหตุการณ์นั้นทั้งหมด. ลำดับนั้น พระราชาจึงทรง
ส่งอุบาสกนั้นไป ณ ที่ตั้งกูฏาคารของพระเถระด้วย พระดำรัสว่า เธอจงไป
จงรู้พระเถระนั้นว่าเป็นรูปนั้นหรือรูปอื่น. อุบาสกนั้นไปแล้วเลิกม่านขึ้น
เห็นหน้าพระเถระก็จำได้ เอามือทั้งสองทุบหัวใจไปยังสำนักของพระราชา
กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เป็นพระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์. ลำดับนั้น
พระราชารับสั่งให้พระราชทานเครื่องประดับชุดใหญ่แก่อุบาสกนั้น. ตรัส
กะอุบาสกผู้ประดับเสร็จแล้วว่า ท่านมหาติสสะผู้พี่ชาย ท่านจงไปไหว้
พระผู้เป็นเจ้าของเราแล้วจึงยกกูฏาคารขึ้น. อุบาสกรับพระดำรัสว่า ขอ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 255
รับใส่เกล้า ข้าแต่สมมติเทพ แล้วไปไหว้เท้าพระเถระ เอามือทั้งสองยก
ขึ้นทูนไว้เหนือกระหม่อมของตน. ขณะนั้นเอง กูฏาคารลอยไปทางอากาศ
ประดิษฐานอยู่ ณ ข้างบนของเชิงตะกอน. ในกาลนั้น เปลวไฟลุกขึ้น
เองจากมุมแม้ทั้ง ๔ ของเชิงตะกอน.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิด แม้แก่ผู้พิจารณาถึงมรดกความเป็น
ทายาทเป็นใหญ่อย่างนี้ว่า ก็ทรัพย์มรดกคืออริยทรัพย์ ๗ ของพระศาสดา
นั้น เป็นของใหญ่ ทรัพย์มรดกนั้นอันคนผู้เกียจคร้านไม่อาจรับ เหมือน
อย่างว่า บิดามารดาย่อมกีดกันบุตรผู้ประพฤติผิดไว้ภายนอกว่า ผู้นี้ไม่เป็น
บุตรของเรา เมื่อบิดามารดาล่วงลับไป เขาย่อมไม่ได้ทรัพย์มรดก ฉันใด
แม้คนเกียจคร้านก็ฉันนั้น ย่อมไม่ได้มรดกดืออริยทรัพย์นี้ ผู้ปรารภความ
เพียรเท่านั้นจึงจะได้ ดังนี้ .
วิริยสัมโพฌงค์ ย่อมเกิด แม้แก่ผู้พิจารณาถึงความที่พระศาสดา
เป็นใหญ่อย่างนี้ว่า ก็พระศาสดาของท่าน (ยิ่ง) ใหญ่แล เพราะในเวลา
ที่พระศาสดาของท่านถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี ในการ
เสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ก็ดี ในการตรัสรู้สัมโพธิญาณอันยิ่งก็ดี ใน
การประกาศพระธรรมจักร ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ เสด็จลงจากเทวโลก
และทรงปลงอายุสังขารก็ดี ในกาลดับขันธ์ ปรินิพพานก็ดี หมื่นโลกธาตุ
หวั่นไหวแล้ว ความที่ท่านบวชในศาสนาของพระศาสดาเห็นปานนั้นแล้ว
เป็นผู้เกียจคร้านไม่สมควรเลย.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิด แม้แก่ผู้พิจารณาถึงความที่ชาติเป็น
ใหญ่อย่างนี้ว่า. แม้ว่าโดยชาติ บัดนี้ ท่านก็เป็นผู้มีชาติไม่ต่ำทราม ท่าน
เป็นผู้เกิดในวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราชอันสืบมาจากเชื้อสายของพระเจ้า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 256
มหาสมมตราชอันไม่ปะปน (กับวงศ์อื่น) เป็นหลานของพระเจ้าสุทโธทน-
มหาราช ของพระนางมายาเทวี เป็นน้องชายของพระราหุลภัททะ ชื่อว่า
ท่านเป็นบุตรของพระชินเจ้าเห็นปานนี้ เป็นผู้เกียจคร้านอยู่ ไม่ควรเลย.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิด แม้แก่ผู้พิจารณาถึงความที่เพื่อน
พรหมจรรย์เป็นใหญ่อย่างนี้ว่า พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะกับพระ-
อสีติมหาสาวก ย่อมแทงตลอดโลกุตรธรรม ๙ ด้วยความเพียร ท่าน
จงดำเนินตามทางของเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์เหล่านั้น ดังนี้.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิด แม้แก่ผู้เว้นบุคคลเกียจคร้านผู้สละความ
เพียรทางกายและทางจิต เช่นกับงูเหลือมกินเต็มท้องแล้วก็หยุด (ไม่เลื้อย
ไปไหน) แม้แก่ผู้เสพบุคคลผู้มีจิตมั่นคง ปรารภความเพียร แม้แก่บุคคล
ผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อยังความเพียรให้เกิดขึ้นในการยืนและการนั่ง
เป็นต้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน ทำวิริยสัมโพชฌงค์
ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๑๑ ประการเหล่านี้แล้ว ทำวิริยสัมโพชฌงค์นั้นนั่นแล
ให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ.
กุลบุตรนั้น ชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์จนกระทั่งถึงอรหัตมรรค. เมื่อ
บรรลุผลแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้เจริญแล้วแล.
ธรรม ๑๑ ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติสัมโพชฌงค์.
คือ พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ๑ ธัมมานุสติ ระลึกถึง
คุณของพระธรรม ๑ สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ ๑ สีลานุสสติ
ระลึกถึงคุณของศีล จาคานุสสติ ระลึกถึงการบริจาค ๑ เทวดานุสสติ
ระลึกถึงคุณอันทำบุคคลให้เทวดา ๑ อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความ
เข้าไปสงบ (คือพระนิพพาน) ๑ เว้นคนผู้เศร้าหมอง ๑ เสพคนผู้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 257
เรียบร้อย ๑ พิจารณาพระสูตรอันน่าเลื่อมใส ๑ ความเป็นผู้มีจิตน้อมไป
ในปีติสัมโพชฌงค์นั้น ๑.
ก็แม้เมื่อบุคคลระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อม
เกิดแผ่ซ่านไปตลอดร่างกายทั้งสิ้น จนกระทั่งถึงอุปจารสมาธิ. ปีติสัมโพช-
ฌงค์ ย่อมเกิด แม้แก่บุคคลผู้ระลึกถึงคุณของพระธรรมและพระสงฆ์ แม้แก่
บรรพชิตผู้พิจารณาจตุปาริสุทธิศีล รักษาไม่ให้ขาดมาตลอดกาลนาน แม้
แก่คฤหัสถ์ผู้พิจารณาศีล ๑๐ ศีล ๕ แม้แก่บุคคลผู้ถวายโภชนะอันประณีต
แก่เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ในยามมีภัยอันเกิดแต่การที่ภิกษาหาได้ยาก
เป็นต้นแล้ว พิจารณาถึงการบริจาคว่า เราได้ให้ทานชื่ออย่างนี้แล้ว
เป็นต้น แม้แก่คฤหัสถ์ผู้พิจารณาถึงทานที่ให้แล้ว แก่ท่านผู้มีศีลทั้งหลาย
เห็นปานนี้ แม้แก่ผู้พิจารณาถึงคุณทั้งหลายอันเป็นเหตุให้ผู้ประกอบไว้ซึ่ง
คุณเครื่องเป็นเทวดาเห็นปานนั้นว่ามีอยู่ในตน แม้แก่ผู้พิจารณาถึงกิเลส
ทั้งหลายที่ข่มไว้ด้วยการเข้าสมาบัติว่า ไม่ฟุ้งซ่านมาตั้ง ๖๐ ปีบ้าง ๗๐
ปีบ้าง แม้แก่ผู้เว้นบุคคลเศร้าหมองเช่นกับธุลีบนหลังลา เพราะไม่มี
ความรักด้วยอำนาจความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า เป็นต้น เพราะความ
เป็นผู้เศร้าหมอง อันบ่งถึงกิริยาที่ไม่เคารพ ในการเห็นพระเจดีย์ เห็นต้น
โพธิ และเห็นพระเถระ แม้แก่ผู้เสพบุคคลผู้เรียบร้อย มีจิตอ่อนโยน
มากด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเป็นต้น แม้แก่ผู้พิจารณาพระสูตร
อันน่าเลื่อมใสแสดงคุณของพระรัตนตรัย แม้แก่ผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไป
เพื่อยังปีติให้เกิดขึ้นในการยืนและการนั่งเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น กุลบุตร
ผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน ยังปีติสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๑๑ ประการ
นี้แล้ว ทำปีติสัมโพชฌงค์นั้นนั่นแหละให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 258
ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้น ชื่อว่าเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์
จนกระทั่งถึงอรหัตมรรค. เมื่อบรรลุผลแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้เจริญปีติสัม-
โพชฌงค์แล้ว.
ธรรม ๗ ประการ คือ เสพโภชนะอันประณีต ๑ เสพฤดูอัน
สบาย ๑ เสพอิริยาบถอันสบาย ๑ ประกอบคนเป็นกลาง ๑ เว้นบุคคล
ผู้มีกายไม่สงบ ๑ เสพบุคคลผู้มีกายสงบ ๑ น้อมจิตไปในปัสสัทธิสัม-
โพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
ก็ความสงบ ย่อมเกิด แม้แก่ผู้บริโภคโภชนะอันเป็นสัปปายะ ประณีต
งดงาม แม้แก่ผู้เสพฤดูในฤดูหนาวและร้อนและอิริยาบถมียืนเป็นต้นอัน
เป็นสัปปายะ. ก็บุคคลใดมีชาติเป็นมหาบุรุษ เป็นผู้อดทนได้ในฤดู (หนาว
- ร้อน ) และอิริยาบถทั้งปวง คำนี้ ท่านกล่าวโดยหมายเอาบุคคลนั้น
ก็หามิได้. ความสงบย่อมเกิดแก่บุคคลผู้เสพฤดูและอิริยาบถอันเป็นสภาค
กัน. การพิจารณาความเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน ทั้งของตนและของ
คนอื่น เรียกว่าการประกอบตนเป็นกลาง ความสงบย่อมเกิดด้วยการ
ประกอบคนเป็นกลางดังกล่าวมานี้. ความสงบ ย่อมเกิด แม้แก่ผู้เว้นบุคคล
ผู้มีกายไม่สงบ ผู้เที่ยวเบียดเบียนสัตว์อื่นด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น
เห็นปานนั้น แม้แก่ผู้เสพบุคคลผู้มีกายสงบ สำรวมมือและเท้า แม้แก่ผู้
มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อต้องการทำความสงบให้เกิดขึ้นในการยืนและการ
นั่งเป็นต้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐานยังปัสสัทธิสัม-
โพชฌงค์ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๗ ประการนี้ กระทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นให้
เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตร
นั้น ชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์จนถึงพระอรหัตมรรค เมื่อบรรลุ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
ผลแล้ว ย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ไว้แล้ว.
ธรรม ๑๑ ประการ คือ ทำวัตถุให้สละสลวย ๑ ทำอินทรีย์ให้
ดำเนินไปสม่ำเสมอ ๑ ความฉลาดในนิมิต ๑ ประคองจิตในสมัย (ควร
ประคอง ) ๑ ข่มจิตในสมัย ( ควรข่ม ) ๑ การทำ ( จิต ) ให้ร่าเริง
ในสมัย ( ควรให้ร่าเริง ) ๑ การเพ่งดูจิตในสมัย ( ควรเพ่งดู ) ๑
การเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ เสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ๑ พิจารณา
ฌานและวิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้มีจิตน้อมไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ๑
ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์.
บรรดาธรรมเหล่านั้น การทำวัตถุให้สละแล้ว และการทำอินทรีย์ให้
ดำเนินไปสม่ำเสมอ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว. ความฉลาดในการเรียน
กสิณนิมิต ชื่อว่าฉลาดในนิมิต. บทว่า สมเย จิตฺตสฺส ปคฺคณฺหนตา
ความว่า ในสมัยใด จิตหดหู่ด้วยย่อหย่อนความเพียรเป็นต้น ในสมัยนั้น
ประคองจิตไว้ด้วยการทำธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ และ
ปีติสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้น. บทว่า สมเย จิตฺตสฺส นิคฺคณฺหนตา
ความว่า ในสมัยใด จิตฟุ้งซ่านด้วยปรารภความเพียรเป็นต้นเกินไป
ในสมัยนั้น ข่มจิตไว้ด้วยการทำปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์
และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้น. บทว่า สมเย สมฺปหสนตา ความว่า
ในสมัยใด จิตไม่แช่มชื่นเพราะประกอบปัญญาน้อยไป. หรือเพราะไม่ได้
สุขอันสงบ ในสมัยนั้น ยังจิตให้สังเวชด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ ๘
ประการ. ชื่อว่าสังเวควัตถุ ๘ ประการ คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ
ความเป็น ๔ ทุกข์ในอบาย เป็นที่ ๕ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต เป็น
ที่ ๖ ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบัน เป็นที่ ๗ ทุกข์มี
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 260
วัฏฏะเป็นมูลในอนาคต เป็นที่ ๘. การยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นด้วย
การระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย นี้เรียกว่า ความทำจิตให้ร่าเริงในสมัย.
ชื่อว่าความเพ่งดูจิตในสมัย ได้แก่ในคราวที่จิตอาศัยการปฏิบัติชอบ
เป็นจิตไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน มีความแช่มชื่น ดำเนินไปตามสมถวิถีซึ่ง
เป็นไปอย่างสม่ำเสมอในอารมณ์นั้น กุลบุตรไม่ต้องขวนขวายในการ
ประคอง ข่มและทำให้ร่าเริง เหมือนสารถี ไม่ต้องขวนขวายในเมื่อม้าวิ่ง
ไปเรียบ นี้เรียกว่า ความเพ่งดูจิตในสมัย. ชื่อว่าการเว้นบุคคลผู้มีจิต
ไม่ตั้งมั่น ได้แก่เว้นให้ห่างไกลบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ผู้ยังไม่บรรลุ
อุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ. ชื่อว่าเสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ได้แก่
เสพ คือคบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ และ
อัปปนาสมาธิ. ชื่อว่าความเป็นผู้มีจิตน้อมไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น
ได้แก่ความเป็นผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้สมาธิเกิดขึ้นในการยืนและ
การนั่งเป็นต้น. ก็เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้แหละ สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น.
เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญกรรมฐาน ยังสมาธิสัมโพชฌงค์ให้เกิด
ขึ้นด้วยเหตุ ๑๑ ประการเหล่านี้ การทำสมาธิสัมโพชงค์นั้นเท่านั้นให้
เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้ ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ.
กุลบุตรนั้น ชื่อว่าบำเพ็ญสมาธิสัมโพชฌงค์จนกระทั่งถึงอรหัตมรรค เมื่อ
บรรลุผลแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ได้เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์แล้ว.
ธรรม ๕ ประการ คือ ความเป็นกลางในสัตว์ ๑ ความเป็น
กลางในสังขาร ๑ ความเว้นบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร ( ว่าเป็นของ
ตน) ๑ เสพบุคคลผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขาร ๑ ความเป็นผู้มี
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 261
จิตน้อมไปในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
ในธรรม ๕ ประการนั้น บุคคลย่อมยังความเป็นกลางในสัตว์
ให้เกิดขึ้นด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยการพิจารณาความที่สัตว์มีกรรม
เป็นของตนอย่างนี้ว่า ท่านมาด้วยกรรมของตน จักไปด้วยกรรมของตน
แม้สัตว์นี้จักไปด้วยกรรมของตนเหมือนกัน ท่านจะยึดถือใครว่าเป็นของ
ตน ดังนี้ และด้วยการพิจารณาถึงความไม่มีสัตว์อย่างนี้ว่า โดยปรมัตถ์
สัตว์ไม่มี ท่านนั้นจะยึดถือใครว่าเป็นของตน ดังนี้. บุคคลย่อมยังความ
เป็นกลางในสังขารให้เกิดขึ้นด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ ด้วยการพิจารณา
ถึงความเป็นของไม่มีเจ้าของอย่างนี้ว่า จีวรนี้ เข้าถึงความวิการ ( ผันแปร )
แห่งสีและความเก่าไปโดยลำดับ เป็นท่อนผ้าสำหรับเช็ดเท้า จักต้องเอา
ปลายไม้เท้าเขี่ยทิ้งไป ก็ถ้าจีวรนั้นพึงมีเจ้าของ เขาจะต้องไม่ให้มัน
ฉิบหายไปอย่างนี้ และด้วยการพิจารณาเป็นของชั่วคราวอย่างนี้ว่า จีวรนี้
เป็นของชั่วคราว ไม่คงทน ดังนี้. แม้ในบาตรเป็นต้น ก็พึงประกอบ
ความเหมือนดังในจีวรนั่นแล.
ในบทว่า สตฺตสงฺขารเกลายนปุคฺคลปริวชฺชนตา นี้ พึงทราบ
วินิจฉัยต่อไปนี้. บุคคลใดเป็นคฤหัสถ์ ยึดถือบุตรและธิดาเป็นต้นของตน
ว่าเป็นของเรา หรือเป็นบรรพชิต ยึดถืออันเตวาสิกผู้ร่วมอุปัชฌาย์กัน
เป็นต้นว่าเป็นของเรา กระทำการปลงผม โกนหนวด เย็บจีวร ซักจีวร
และระบมบาตรเป็นต้น แก่อันเตวาสิกเหล่านั้นด้วยมือของตนเอง
เมื่อไม่เห็นแม้สักครู่หนึ่ง ก็มองหาไปรอบ ๆ ว่า สามเณรโน้นไปไหน
ภิกษุหนุ่มโน้นไปไหน ดังนี้ เหมือนเนื้อตื่นเหลียวมองทางโน้นทางนี้อยู่
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 262
ฉะนั้น แม้ผู้อื่นขอไปเพื่อประโยชน์แก่การปลงผมเป็นต้นว่า ขอท่าน
จงส่งท่านรูปโน้นไปสักครู่ก่อนเถิด ก็ไม่ให้โดยพูดบ่ายเบี่ยงว่า แม้พวก
เราก็ยังไม่ให้ท่านรูปนั้นทำการงานของตน พวกท่านพาเธอไปจักลำบาก
นี้ชื่อว่า ยึดถือสัตว์เป็นของตน. ส่วนบุคคลใดยึดถือจีวร บาตร ภาชนะ
และไม้เท้าเป็นต้นว่าเป็นของเรา แม้คนอื่นจะเอามือลูบคลำก็ไม่ (ยอม)
ให้ (ทำ) เขายืมชั่วคราวก็พูดว่า แม้เราเป็นเจ้าของสิ่งนี้ก็ยังไม่ใช้เอง
เราจะให้พวกท่านได้อย่างไร นี้ชื่อว่า ยึดถือสังขารว่าเป็นของตน.
ส่วนบุคคลใดวางตนเป็นกลาง เป็นผู้วางเฉยในวัตถุแม้ทั้งสองเหล่า
นั้น บุคคลนี้ชื่อว่า วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขาร. อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์นี้ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ผู้เว้นห่างไกลบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร
เห็นปานนี้ แม้แก่ผู้เสพบุคคลผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขาร แม้แก่
ผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นในการยืนและ
การนั่งเป็นต้น ด้วยประการดังนี้. เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญ
กรรมฐานทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นด้วยเหตุ ๕ ประการเหล่านี้
กระทำอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นนั่นแหละให้เป็นธุระ เริ่มตั้งความยึดมั่นไว้
ย่อมถือเอาพระอรหัตได้โดยลำดับ. กุลบุตรนั้น ชื่อว่าเจริญอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์จนถึงอรหัตมรรค เมื่อบรรลุผลแล้ว ย่อมชื่อว่าได้เจริญแล้ว.
สัมโพชฌงค์๗เหล่านี้ ตรัสคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการดังนี้.
บทว่า สมฺมาทิฏฺึ ภาเวติ ความว่า ย่อมพอกพูน คือเพิ่มขึ้น
ซึ่งสัมมาทิฏฐิอันเป็นเบื้องต้นของมรรคมีองค์ ๘. แม้ในบทที่เหลือก็มี
นัยนี้นั่นแล. ก็ในข้อที่ว่าด้วยมรรคมีองค์ ๘ นี้ สัมมาทิฏฐิ มีความ
เห็นชอบเป็นลักษณะ. สัมมาสังกัปปะ มีความยกขึ้นซึ่งจิตโดยชอบเป็น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 263
ลักษณะ. สัมมาวาจา มีความกำหนดถือเอาชอบเป็นลักษณะ. สมัมา-
กัมมันตะ มีการตั้งขึ้นซึ่งการงานโดยชอบเป็นลักษณะ. สัมมาอาชีวะ
มีความทำอาชีพให้บริสุทธิ์โดยชอบเป็นลักษณะ. สัมมาวายามะ. มีความ
ประคองไว้ชอบเป็นลักษณะ. สัมมาสติ มีความปรากฏขึ้นชอบเป็น
ลักษณะ. สัมมาสมาธิ มีความตั้งใจชอบเป็นลักษณะ.
ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น มรรคหนึ่ง ๆ มีกิจ ๓ อย่าง คือ ก่อนอื่น
สัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิพร้อมกับกิเลสที่เป็นข้าศึกของตนแม้อย่างอื่น ๆ
กระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ เห็นสัมปยุตธรรม เพราะไม่หลง ด้วยอำนาจ
การกำจัดโมหะที่ปกปิดสัมมาทิฏฐินั้น. แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็เหมือน
กัน ละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น และทำนิโรธให้เป็นอารมณ์.
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมรรคนี้ สัมมาสังกัปปะ ดำริถึงสหชาตธรรม
สัมมาวาจา กำหนดถือเอาชอบ สัมมากัมมันตะ ตั้งขึ้นซึ่งการงานชอบ
สัมมาอาชีวะ ทำอาชีพให้บริสุทธิ์โดยชอบ สัมมาวายามะ ประคองไว้ชอบ
สัมมาสติ ปรากฏขึ้นชอบ สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ.
อีกประการหนึ่ง ธรรมดาว่าสัมมาทิฏฐินี้ในเบื้องต้นมีขณะต่างกัน
มีอารมณ์ต่างกัน ( แต่ ) ในเวลาเป็นมรรค มีขณะเดียวกัน มีอารมณ์
เดียวกัน. แต่เมื่อว่าโดยกิจได้ชื่อ ๔ ชื่อมีว่า ทุกฺเข าณ ดังนี้เป็นต้น.
แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ก็มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกันในเบื้องต้น
แต่ในเวลาเป็นมรรค มีขณะเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน. ในมรรคเหล่านั้น
สัมมาสังกัปปะ เมื่อว่าโดยกิจ ได้ชื่อ ๓ ชื่อมีว่า เนกขัมมสังกัปปะ
ดังนี้เป็นต้น. องค์มรรค ๓ แม้มีสัมมาวาจาเป็นต้น ในเบื้องต้น มีขณะ
ต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน คือ เป็นวิรัติบ้าง เป็นเจตนาบ้าง แต่ใน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 264
ขณะมรรคเป็นวิรัติเท่านั้น. แม้องค์มรรคทั้งสองนี้ คือ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ เมื่อว่าโดยกิจ ได้ชื่อ ๔ ชื่อ ด้วยอำนาจสัมมัปปธาน ๔ และ
สติปัฏฐาน ๔. ด้วยสัมมาสมาธิ คงเป็นสัมมาสมาธิอย่างเดียว ทั้งใน
เบื้องต้น ทั้งในขณะมรรค.
ในธรรม ๘ ประการนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงสัมมาทิฏฐิก่อน เพราะเป็นอุปการะแก่พระโยคีผู้ปฏิบัติเพื่อ
บรรลุพระนิพพาน. ก็สัมมาทิฏฐินี้เป็นไปโดยชื่อว่า ปญฺญาปชฺโชโต
ปญฺาสตฺถ (ปัญญาเป็นแสงสว่าง ปัญญาเพียงดังศัสตรา) ดังนี้.
เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรกำจัดมืดคืออวิชชา ด้วยสัมมาทิฏฐิ คือ
วิปัสสนาญาณนี้ในเบื้องต้น ฆ่าโจรคือกิเลสเสีย ย่อมบรรลุพระนิพพาน
โดยความเกษม. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
นิพฺพานาธิคมาย ปฏิปนฺนสฺส โยคิโน
พหุการตฺตา ปม สมฺมาทิฏฺ เทสิตา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัมมาทิฏฐิ
ก่อน เพราะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่พระ-
โยคีผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน.
ก็สัมมาสังกัปปะมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น เพราะฉะนั้น จึง
ตรัสไว้ในลำดับแห่งสัมมาทิฏฐินั้น . เหมือนอย่างว่า เหรัญญิกใช้มือพลิก
ไปพลิกมา ตาดูเหรียญกษาปณ์ ย่อมรู้ว่า อันนี้ปลอม อันนี้ดี ฉันใด
แม้พระโยคาวจรก็ฉันนั้น ในเบื้องต้น ใช้วิตกตรึกไปตรึกมา ใช้วิปัสสนา-
ปัญญาตรวจดู ย่อมรู้ว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกามาวจร ธรรมเหล่านี้เป็น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 265
รูปาวจรเป็นต้น. ก็หรือว่าช่างถาก เอาขวานถากไม้ใหญ่ที่บุรุษจับปลาย
คอยพลิกให้ ย่อมนำไปใช้งานได้ ฉันใด พระโยคาวจรพิจารณาธรรม
ที่วิตกคอยตรึกให้ด้วยปัญญา โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกามาวจร
ธรรมเหล่านี้เป็นรูปาวจร ย่อมนำเข้าไปใช้งานได้ ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ก็สัมมาสังกัปปะมีอุปการะมากแก่สัมมาทิฏฐินั้น เพราะ-
ฉะนั้น จึงตรัสไว้ในลำดับแห่งสัมมาทิฏฐินั้น ดังนี้.
สัมมาสังกัปปะนี้นั้น มีอุปการะแก่สัมมาวาจา เหมือนดังมีอุปการะ
แก่สัมมาทิฏฐิฉะนั้น สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคหบดี บุคคลตรึกแล้ว
พิจารณาแล้วในเบื้องต้นก่อนแล จึงเปล่งวาจา เพราะฉะนั้น พระองค์
จึงตรัสสัมมาวาจาไว้ในลำดับแห่งสัมมาสังกัปปะนั้น.
ก็เพราะเหตุที่คนจะต้องจัดแจงด้วยวาจาก่อนว่า เราจะกระทำสิ่งนี้
และสิ่งนี้ ดังนี้แล้ว จึงประกอบการงานในโลก เพราะฉะนั้น จึงตรัส
สัมมากัมมันตะไว้ในลำดับสัมมาวาจา เพราะวาจามีอุปการะแก่การงาน.
ก็เพราะเหตุที่ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘ ย่อมบริบูรณ์แก่ผู้ละวจีทุจริต ๔ และ
กายทุจริต ๓ แล้วทำวจีสุจริตและกายสุจริตทั้งสองให้บริบูรณ์ ไม่
บริบูรณ์สำหรับคนนอกนี้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสสัมมาอาชีวะไว้ในลำดับ
แห่งสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะทั้งสองนั้น.
เพื่อแสดงว่า ถ้าบุคคลผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์อย่างนี้ กระทำความปลาบ
ปลื้มด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า อาชีพของเราบริสุทธิ์ แล้วเป็นผู้ประมาท
เหมือนดังหลับอยู่ ไม่ควร โดยที่แท้ ควรต้องปรารภความเพียรนี้ทุก ๆ
อิริยาบถ จึงตรัสสัมมาวายามะไว้ในลำคับแห่งสัมมาชีวะนั้น. ต่อแต่นั้น
เพื่อจะแสดงว่า แม้ปรารภความเพียรแล้ว ก็ควรการทำสติให้ตั้งมั่นใน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 266
วัตถุทั้ง ๔ มีกายเป็นต้น จึงทรงแสดงสัมมาสติไว้ในลำดับแห่งสัมมาวายามะ.
ก็เพราะเหตุที่สติตั้งมั่นอย่างนี้แล้ว ใส่ใจได้ดีถึงคติธรรมทั้งหลายที่
มีอุปการะและไม่มีอุปการะแก่สมาธิ ย่อมสามารถทำจิตให้แน่วแน่ใน
เอกัคคตารมณ์ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทรงแสดงสัมมาสมาธิไว้ใน
ลำดับแห่งสัมมาสติแล. ดังนั้น จึงตรัสมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แม้นี้
คละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
ในบทว่า อชฺฌตฺต รูปสญฺี ดังนี้เป็นต้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มี
ความเข้าใจรูปภายใน ด้วยอำนาจบริกรรมรูปภายใน. ก็เมื่อกระทำบริกรรม
รูปสีเขียวในภายใน ย่อมกระทำ (บริกรรม คือพิจารณาบ่อย ๆ )
ที่ผม ที่ดี หรือที่ดวงตา. เมื่อทำบริกรรมรูปสีเหลือง ย่อมทำที่มันข้น
ที่ผิวหนัง ที่ฝ่ามือฝ่าเท้า หรือในที่ที่นัยน์ตามีสีเหลือง. เมื่อทำบริกรรม
รูปสีแดง ย่อมทำที่เนื้อ ที่เลือด ที่ลิ้น หรือในที่ที่นัยน์ตามีสีแดง. เมื่อ
ทำบริกรรมรูปสีขาว ย่อมทำที่กระดูก ที่ฟัน ที่เล็บ หรือในที่ที่นัยน์ตา
มีสีขาว. ก็รูปสีเขียวเป็นต้นนั้น ไม่เป็นสีเขียวแท้ ไม่เหลืองแท้ ไม่แดง
แท้ ไม่ขาวแท้ เป็นสีไม่บริสุทธิ์เลย.
บทว่า เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า บริกรรม
อย่างนี้ของภิกษุใดเกิดขึ้นภายใน นิมิตเกิดขึ้นภายนอก ภิกษุนั้นเรียกว่า
มีความเข้าในรูปภายใน เป็นรูปภายนอก ด้วยอำนาจบริกรรมรูปภายใน
และให้รูปภายนอกถึงอัปปนา. บทว่า ปริตฺตานิ ได้แก่ ยังไม่เจริญ.
บทว่า สุวณฺณทุพฺพณฺณานิ ความว่า จะเป็นรูปมีวรรณะดี หรือวรรณะ
ทรามก็ช่างเถิด พึงทราบว่า ท่านกล่าวอภิภาย*ตนะนี้ ด้วยอำนาจรูปที่เป็น
* อภิภายตนะมี ๘ ประการ หมายถึงการบำเพ็ญโดยเพ่งรูปคือวัณณกสิณเป็นอารมณ์.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 267
ปริตตารมณ์เท่านั้น.
บทว่า ตานิ อภิภุยฺย ความว่า บุรุษผู้มีไฟธาตุดีได้ภัตตาหาร
ประมาณทัพพีหนึ่ง คิดว่า มีอะไรที่เราจะพึงบริโภคได้ในภัตตาหารนี้ จึง
รวมทำให้เป็นคำข้าวคำเดียวกัน ฉันใด บุคคลผู้มีญาณอันยิ่ง มีญาณแจ่มใส
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาว่า มีอะไรที่เราจะพึงเข้าฌานในปริตตารมณ์นี้
อันนี้ไม่เป็นเรื่องหนักสำหรับเรา จึงครอบงำรูปเหล่านั้นเข้าฌาน อธิบาย
ว่า ให้ถึงอัปปนาในรูปนั้นพร้อมกับทำนิมิตให้เกิดขึ้นทีเดียว. ก็ด้วยบทว่า
ชานามิ ปสฺสามิ นี้ ท่านกล่าวถึงความคำนึงของภิกษุนั้น. ก็ความ
คำนึงถึงนั้นแล ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ออกจากสมาบัติ ไม่ใช่มีในภายในสมาบัติ.
บทว่า เอว สญฺี โหติ ความว่า ย่อมมีความเข้าใจอย่างนี้ ด้วยความ
เข้าใจในความคำนึงถึงบ้าง ด้วยความเข้าใจในฌานบ้าง. ก็ความเข้าใจ
ในการครอบงำ (รูป ) ย่อมมีแก่ภิกษุนั้นในภายในสมาบัติ แต่ความ
เข้าใจในการคำนึงถึง ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ออกจากสมาบัติแล้วเท่านั้น.
บทว่า อปฺปมาณานิ ความว่า ขยายขนาดขึ้น คือใหญ่ขึ้น. ก็ใน
บทว่า อภิภุยฺย นี้ มีความว่า เหมือนบุรุษผู้กินจุ ได้ภัตตาหารเพิ่มอีก
หนึ่งที่ ก็คิดว่า แม้ภัตตาหารอื่นก็ช่างเถิด ภัตตาหารนั้นจักทำอะไรเรา
ย่อมไม่เห็นภัตตาหารที่ได้เพิ่มนั้นโดยเป็นของมากมาย ฉันใด บุคคลผู้มี
ญาณอันยิ่ง มีญาณแจ่มใส ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นว่า เราจะพึงเข้าฌาน
อะไรในรูปนี้ รูปนี้มีประมาณมากมายก็หามิได้ เราไม่หนักใจในการทำ
จิตให้แน่วแน่ (กับรูปนี้) ดังนี้ ครอบงำรูปเหล่านั้นเสียแล้วเข้าสมาบัติ
คือทำให้ถึงอัปปนาพร้อมกับทำนิมิตให้เกิดขึ้นทีเดียว.
บทว่า อชฺฌตฺต อรูปสญฺี ความว่า ผู้เดียวเว้นบริกรรมสัญญา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 268
ในรูปภายในเสีย เพราะไม่ได้หรือเพราะไม่ต้องการ. บทว่า พหิทฺธา
รูปานิ ปสฺสติ ความว่า บริกรรมก็ดี นิมิตก็ดี ของภิกษุใดเกิดขึ้นเฉพาะ
ภายนอก ภิกษุนั้นท่านเรียกว่าผู้เดียว มีความเข้าใจอรูปในภายใน เห็นรูป
ในภายนอก. คำที่เหลือในสูตรนี้ มีนัยดังกล่าวไว้ในอภิภายตนะที่ ๔ นั่น
แล. ก็บรรดารูปทั้ง ๔ นี้ รูปที่เป็นปริตตารมณ์ มาด้วยอำนาจวิตกจริต.
รูปมากหลายไม่มีประมาณ มาด้วยอำนาจโมหจริต. รูปมีวรรณะดี มาด้วย
อำนาจโทสจริต. รูปมีวรรณะทราม มาด้วยอำนาจราคจริต. เพราะรูป
เหล่านี้ เป็นสัปปายะของจริตเหล่านี้ . ก็ความที่รูปเหล่านั้นเป็นสัปปายะ
ได้กล่าวไว้พิสดารแล้วในจริยนิเทศในวิสุทธิมรรค.
ในอภิภายตนะที่ ๕ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้ :-
บทว่า นีลานิ กล่าวเนื่องด้วยการถือเอาทั้งหมด. บทว่า นีลวณฺณานิ
กล่าวเนื่องด้วยวรรณะ. บทว่า นีลนิทสฺสนานิ กล่าวเนื่องด้วยเห็นสีเขียว
อธิบายว่า สีไม่ปะปนกันปรากฏชัดเจน. เห็นเป็นสีเขียวสีเดียวเท่านั้น.
ก็บทว่า นีลนิภาสานิ กล่าวเนื่องด้วยแสง อธิบายว่า ประกอบด้วย
สีเขียว. ท่านแสดงว่า อภิภายตนะเหล่านั้นบริสุทธิ์ ด้วยบทว่า นีล-
นิภาสานิ นี้. ก็ท่านกล่าวอภิภายตนะเหล่านั้น ด้วยสีบริสุทธิ์เท่านั้น. ก็ใน
อธิการที่ว่าด้วยอภิภายตนะนี้ การทำกสิณ การบริกรรม และวิธีถึง
อัปปนา มีอาทิว่า เมื่อถือเอานีลกสิณ ย่อมถือเอาตในดอกไม้ ผ้า
หรือวรรณธาตุที่มีสีเขียว ดังนี้ทั้งหมด ได้กล่าวไว้แล้วโดยพิสดารใน
วิสุทธิมรรค. ก็อภิภายตนฌานทั้ง ๘ ประการนี้ เป็นวัฏฏะบ้าง เป็นบาท
ของวัฏฏะบ้าง เป็นบาทของวิปัสสนาบ้าง เป็นบาทของอภิญญาบ้าง แต่
พึงทราบว่าเป็นโลกิยะเท่านั้น ไม่เป็นโลกตระ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 269
ในบทว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ นี้ รูปฌานที่เกิดด้วยอำนาจ
นีลกสิณเป็นต้น ที่ผมเป็นต้นในภายใน ชื่อว่า รูป. ชื่อว่า รูปี เพราะ
อรรถว่าเขามีรูปฌานนั้น. บทว่า พทิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ความว่า
ย่อมเห็นรูปมีนีลกสิณเป็นต้นภายนอก ด้วยฌานจักษุ. ด้วยบทนี้ ท่าน
แสดงรูปาจรฌานแม้ทั้ง ๔ ของบุคคลผู้ทำฌานให้เกิดในกสิณอันเป็น
วัตถุภายในและภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺต อรูปสญฺี ความว่า ไม่มี
ความเข้าใจรูปภายใน คือ รูปาวจรฌานอันไม่เกิดที่ผมเป็นต้นของตน.
ด้วยบทนี้ ท่านแสดงรูปาวจรฌานของบุคคลผู้กระทำบริกรรม ( กสิณ )
ในภายนอกแล้วทำฌานให้เกิด ( ที่กสิณ ) ในภายนอกนั่นแหละ.
ด้วยบทว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต โหติ นี้ ท่านแสดงฌานใน
วัณณกสิณมีนีลกสิณเป็นต้นอันบริสุทธิ์. ในฌานเหล่านั้น ความคำนึงว่า
งาม ย่อมไม่มีในภายในอัปปนาก็จริง ถึงอย่างนั้น ภิกษุใดทำความงาม
อันบริสุทธิ์ดีให้เป็นอารมณ์ของกสิณอยู่ เพราะเหตุที่ภิกษุนั้นจะต้องถูก
เรียกว่า เป็นผู้น้อมใจไปว่า งาม เพราะฉะนั้น จึงตรัสเทศนาอย่างนั้น.
ก็ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ
เป็นผู้น้อมใจไปว่า งามอย่างไร. ภิกษุในพระศาสนานี้ มีจิตสหรคต
ด้วยเมตตา ฯลฯ แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา สัตว์
ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่น่ารังเกียจ. มีจิตสหรคตด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา
แผ่ไป ฯ ล ฯ ตลอดทิศหนึ่งอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา
สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ไม่น่ารังเกียจ, ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นผู้
น้อมใจว่างามอย่างนี้ ด้วยประการดังกล่าวนี้. คำใดที่จะพึงกล่าวในบทว่า
สพฺพโส รูปสญฺาน เป็นต้น คำทั้งหมดแม้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วใน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 270
วิสุทธิมรรคนั่นแล.
ก็ในบทว่า ปวีกสิณ ภาเวติ นี้ ที่ชื่อว่า เพราะอรรถว่า
ทั้งสิ้น. กสิณมีปฐวีเป็นอารมณ์ ชื่อว่าปฐวีกสิณ. คำว่า ปวีกสิณ ภาเวติ
นี้ เป็นชื่อของบริกรรมว่าปฐวีก็มี ของอุคคหนิมิตก็มี ของปฏิภาคนิมิต
ก็มี ของฌานอันทำนิมิตนั้นให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้นก็มี. แต่ในที่นี้ ท่าน
ประสงค์เอาฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์. ภิกษุนั้นเจริญปฐวีกสิณนั้น.
แม้ในอาโปกสิณเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ภิกษุเมื่อจะเจริญ
กสิณเหล่านี้ ชำระศีลแล้วตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ ตัดบรรดาปลิโพธความ
กังวล ๑๐ ประการที่มีอยู่นั้นออกไปเสีย แล้วเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้
กรรมฐาน เรียนเอากรรมฐานที่เป็นสัปปายะโดยเกื้อกูลแก่จริตของตน
แล้วละที่อยู่อันไม่เหมาะแก่การบำเพ็ญกสิณ อยู่ในที่อยู่อันเหมาะสม ทำ
การตัดความกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่ทำภาวนาวิธีทุกอย่างให้เสื่อมไป พึง
เจริญเถิด. นี้เป็นความย่อในสูตรนี้ ส่วนความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วใน
วิสุทธิมรรค.
ก็วิญญาณกสิณมาในวิสุธิมรรคนั้นทั้งสิ้น วิญญาณกสิณนั้นโดยใจ
ความก็คือวิญญาณอันเป็นไปในอากาสกสิณ. ก็วิญญาณนั้นแล ท่านกล่าว
โดยเป็นอารมณ์ ไม่ใช่กล่าวโดยเป็นสมาบัติ. ก็ภิกษุนี้กระทำวิญญาณกสิณ
นั้นให้เป็นวิญญาณไม่มีที่สุด แล้วเจริญวิญญาณจายตนะสมาบัติอยู่
เรียกว่าเจริญวิญญาณกสิณ. กสิณ ๑๐ แม้นี้ เป็นวัฏฏะบ้าง เป็นบาทของ
วัฏฏะบ้าง เป็นบาทของวิปัสสนาบ้าง เป็นประโยชน์แก่การอยู่เป็นสุขใน
ปัจจุบันบ้าง เป็นบาทของอภิญญาบ้าง เป็นบาทของนิโรธบ้าง เป็นโลกิยะ
เท่านั้น ไม่เป็นโลกุตระ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 271
บทว่า อสุภสญฺ ภาเวติ ความว่า สัญญาอันสหรคตด้วยปฐม
ฌานซึ่งเกิดในอารมณ์ ๑๐ มีศพที่ขึ้นพองเป็นต้น เรียกว่า อสุภ. อบรม
คือพอกพูน เจริญอสุภสัญญานั้น. อธิบายว่า ทำอสุภสัญญาที่ยังไม่เกิดขึ้น
ตามรักษาอสุภสัญญาที่เกิดขึ้นแล้วเอาไว้. ก็แนวของการเจริญอสุภ ๑๐
ทั้งหมดกล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.
บทว่า มรณสญฺ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญาอันทำมรณะ
แม้ทั้ง ๓ คือ สมมุติมรณะ ขณิกมรณะ สมุจเฉทมรณะให้เป็นอารมณ์
เกิดขึ้น อธิบายว่า ทำสัญญาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ตามรักษาสัญญาที่
เกิดขึ้นแล้วเอาไว้. มรณสติอันมีลักษณะดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ
เรียกว่า มรณสัญญาในที่นี้ . อธิบายว่า เจริญมรณสัญญานั้น ทำให้เกิด
ขึ้น ให้เจริญขึ้น. ก็นัยแห่งการเจริญมรณสัญญานั้นกล่าวไว้พิสดารแล้ว
ในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
บทว่า อาหาเร ปฏิกูลสญฺ ภาเวติ ความว่า ย่อมเจริญสัญญา
อันเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พิจารณาความปฏิกูล ๙ อย่าง มีปฏิกูลโดยการไป
เป็นต้น ในกวฬิงการาหารชนิดที่กินและดื่มเป็นต้น อธิบายว่า ทำให้
เกิดขึ้น ให้เจริญขึ้น. นัยแห่งการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาแม้นั้น ก็ได้
กล่าวไว้อย่างพิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคเหมือนกัน.
บทว่า สพฺพโลเก อนภิรตสญฺ ภาเรติ ความว่า เจริญ
อนภิรตสัญญา (ความสำคัญว่าไม่น่ายินดี) คืออุกกัณฐิตสัญญาในไตร-
โลกธาตุแม้ทั้งสิ้น. บทว่า อนิจฺจสญฺ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญา
อันเกิดขึ้นในขันธ์ ๕ ว่าไม่เที่ยง กำหนดพิจารณาความเกิดขึ้น ความ
เสื่อมไป และความแปรปรวนแห่งอุปาทานขันธ์ ๕. บทว่า อนิจฺเจ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 272
ทุกฺขสญฺ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญาอันเกิดขึ้นว่า เป็นทุกข์ กำหนด
พิจารณาทุกขลักษณะคือความบีบคั้น ในขันธบัญจกอันไม่เที่ยง.
บทว่า ทุกฺเข อนตฺตส ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญาอัน
เกิดขึ้นว่า เป็นอนัตตา อันกำหนดพิจารณาอนัตตลักษณะ กล่าวคือ
อาการอันไม่อยู่ในอำนาจ ในขันธบัญจกอันเป็นทุกข์เพราะอรรถว่าบีบคั้น.
บทว่า ปหานสญฺ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญาอันทำปหานะ ๕ อย่าง
ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. บทว่า วิราคสญฺ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญา
อันกระทำวิราคะ ๕ อย่างนั่นแลให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น.
บทว่า นิโรธสญฺ ภาเวติ ความว่า เจริญสัญญาอันทำสังขาร-
นิโรธให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. บางอาจารย์กล่าวว่า สัญญาอันกระทำ
พระนิพพานให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ดังนี้ก็มี. ก็ในบทว่า นิโรธสฺ
ภาเวติ นี้ ท่านกล่าวถึงวิปัสสนาอันแก่กล้า ด้วยสัญญาทั้ง ๓ นี้ คือ
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑. ท่าน
กล่าวซ้ำเฉพาะการปรารภวิปัสสนา ด้วยสัญญา ๑๐ ประการ มีคำว่า
อนิจฺจสญฺ ภาเวติ ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า พุทฺธานุสฺสติ เป็นต้น ได้กล่าวอธิบายความไว้แล้ว .
บทว่า ปมชฺฌานสหคต แปลว่า ไป คือเป็นไปพร้อมกับ
ปฐมฌาน อธิบายว่า สัมปยุตด้วยปฐมฌาน. บทว่า สทฺธินฺทฺริย ภาเวติ
ความว่า เจริญสัทธินทรีย์ให้สหรคตด้วยปฐมฌาน คืออบรม พอกพูน
ให้เจริญ. ในบททุกบทมีนัยดังกล่าวนี้.
จบอรรถกถาอปรอัจฉราสังฆาตวรรค
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 273
อรรถกถากายคตาสติวรรค๑
ในบทว่า เจตสา ผุโฏ ( แผ่ไปด้วยใจ ) นี้ การแผ่มี ๒ อย่าง
คือ แผ่ไปด้วยอาโปกสิณ ๑ แผ่ไปด้วยทิพยจักษุ ๑. ใน ๒ อย่างนั้น
การเข้าอาโปกสิณแล้วแผ่ไปด้วยอาโป ชื่อว่าแผ่ด้วยอาโปกสิณ. เมื่อ
มหาสมุทรแม้ถูกแผ่ไปด้วยการแผ่ไปอย่างนี้ แม่น้ำน้อยทุกสายที่ไหลลง
มหาสมุทร ย่อมเป็นอันรวมเข้าอยู่ด้วย. ก็การเจริญอาโลกกสิณแล้วเห็น
สมุทรทั้งสิ้นด้วยจักษุ ชื่อว่าแผ่ด้วยทิพยจักษุ เมื่อมหาสมุทรแม้ถูกแผ่ไป
ด้วยการแผ่ไปอย่างนี้ แม่น้ำน้อยที่ไหลลงมหาสมุทร ย่อมเป็นอันรวม
เข้าไว้ด้วย.
บทว่า อนฺโตคธา ตสฺส ความว่า กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเป็น
อันหยั่งลงในภายในแห่งการเจริญของภิกษุนั้น. ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา
นี้ มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่าวิชชาภาคิยะ เพราะบรรจบวิชชา ด้วย
การประกอบเข้ากันได้. ชื่อว่าวิชชาภาคิยะ เพราะเป็นไปในส่วนแห่ง
วิชชา คือในภาคของวิชชา. ในบทว่า วิชฺชาภาคิยา นั้น วิชชามี ๘
คือ วิปัสสนาญาณ ๑ มโนมยิทธิ ๑ อภิญญา ๖. โดยความหมายแรก
ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิชชาเหล่านั้น เป็นวิชชาภาคิยะ. โดยความหมายหลัง
วิชชาข้อใดข้อหนึ่งเพียรข้อเดียวในบรรดาวิชชา ๘ นั้นเป็นวิชชา. ธรรม
ที่เหลือเป็นวิชชาภาคิยะ คือเป็นส่วนแห่งวิชชา. รวมความว่า วิชชาก็ดี
ธรรมอันสัมปยุตด้วยวิชชาก็ดี พึงทราบว่าเป็นวิชชาภาคิยะทั้งนั้น
บทว่า มหโต สเวคาย แปลว่า เพื่อประโยชน์แก่ความสังเวช
ใหญ่. แม้ในสองบทข้างหน้า ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . ก็ในอธิการนี้
๑. บาลีข้อ ๒๒๕- ข้อ ๒๓๔, วรรคนี้รวมอยู่ในปสาทกรธัมมาทิบาลี.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 274
วิปัสสนา ชื่อว่าความสังเวชใหญ่ มรรค ๔ ชื่อว่าประโยชน์ใหญ่
สามัญญผล ๔ ชื่อว่าความเกษมจากโยคะใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง มรรค
พร้อมกับวิปัสสนา ชื่อว่าความสังเวชใหญ่ สามัญญผล ๔ ชื่อว่าประโยชน์
ใหญ่ พระนิพพาน ชื่อว่าความเกษมจากโยคะใหญ่.
บทว่า สติสมฺปชญฺาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่สติและญาณ.
บทว่า าณทสฺสนปฏิลาภาย คือ เพื่อทิพยจักขุญาณ. บทว่า ทิฏฺ-
ธมฺมสุขวิหาราย ได้แก่ เพื่อต้องการอยู่เป็นสุขในอัตภาพที่ประจักษ์
อยู่นี้ทีเดียว. บทว่า วิชฺชาวิมุตฺติผลสจฺฉิกิริยาย ได้แก่ เพื่อต้องการ
ทำให้เห็นประจักษ์ซึ่งผลของวิชชาและวิมุตติ. ก็ในบทว่า วิชฺชาวิมุตฺติผล-
สจฺฉิกิริยาย นี้ ปัญญาในมรรค ชื่อว่าวิชชา. ธรรมที่เหลืออันสัมปยุต
ด้วยวิชชานั้น ชื่อว่าวิมุตติ. อรหัตผล ชื่อว่าผลของธรรมเหล่านั้น
อธิบายว่า เพื่อทำให้แจ้งอรหัตผลนั้น.
บทว่า กาโยปิ ปสฺสมฺภติ ความว่า ทั้งนามกาย ทั้งกรัชกาย
ย่อมสงบ. อธิบายว่า เป็นกายอันสงบแล้ว. บทว่า วิตกฺกวิจาราปิ
ความว่า ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าย่อมเข้าไปสงบด้วยทุติยฌาน. ก็ในที่นี้
ท่านกล่าวหมายเอาการเข้าไปสงบธรรมอย่างหยาบ. บทว่า เกวลา แปลว่า
ทั้งสิ้น อธิบายว่า ทั้งหมดไม่เหลือเลย. บทว่า วิชฺชาภาคิยา คือเป็น
ไปในส่วนของวิชชา. ธรรมเหล่านั้นได้แยกแยะแสดงไว้แล้วข้างต้น.
บทว่า อวิชฺชา ปหียติ ความว่า ความมืดตื้อ คือความไม่รู้
อันกระทำความมืดอย่างมหันต์ เป็นมูลรากของวัฏฏะในฐานะ ๘ ประการ
อันภิกษุย่อมละได้. บทว่า วิชฺชา อุปฺปชฺชติ ได้แก่ วิชชาในอรหัต-
มรรค ย่อมเกิดขึ้น. บทว่า อสฺมิมาโน ปหียติ ความว่า มานะ ๙ ว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 275
เป็นเราเป็นต้น อันภิกษุย่อมละได้. บทว่า อนุสยา ได้แก่ อนุสัย ๗.
บทว่า สโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐. บทว่า ปญฺาปฺปเภทาย
ได้แก่ เพื่อถึงความแตกฉานแห่งปัญญา. บทว่า อนุปาทาปรินิพฺพานาย
แปลว่า เพื่อต้องการทำให้แจ้งปรินิพพานอันหาปัจจัยมิได้.
บทว่า อเนกธาตุปฏิเวโธ โหติ ความว่า ย่อมมีความรู้แจ้งแทง
ตลอดลักษณะของธาตุ ๑๘ ประการ. บทว่า นานาธาตุปฏิเวโธ โหติ
ความว่า ย่อมมีการรู้แจ้งแทงตลอดลักษณะโดยภาวะต่าง ๆ แห่งธาตุ ๑๘
เหล่านั้นแหละ. ด้วยบทว่า อเนกธาตุปฏิสมฺภิทา โหติ นี้ ท่านกล่าว
ถึงความรู้ประเภทของธาตุ. ปัญญาเป็นเครื่องรู้ว่า ธาตุนี้ชื่อว่ามีเป็น
อันมาก ชื่อว่าธาตุปเภทญาณ ความรู้ประเภทของธาตุ. ก็ความรู้
ประเภทของธาตุนี้นั้น มิใช่มีแก่คนทั่วไป มีโดยตรงแก่พุทธะทั้งหลาย
เท่านั้น. ความรู้ประเภทของธาตุนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามิได้ตรัสไว้โดย
ประการทั้งปวง (โดยเฉพาะ ). ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะ
เมื่อตรัสไว้ ก็ไม่มีประโยชน์.
บท ๑๖ บทมีอาทิว่า ปญฺาปฏิลาภาย ดังนี้ไป ท่านตั้งหัวข้อ
แล้วขยายความพิสดารไว้ในปฏิสัมภิทามรรคอย่างนี้ว่า สัปปุริสูปสังเสวะ
คบสัตบุรุษ ๑ สัทธัมมสวนะ ฟังธรรมของสัตบุรุษ ๑ โยนิโสมนสิการะ
ใส่ใจโดยแยบคาย ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
(และหัวข้ออย่างนี้ว่า ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แลที่
บุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะปัญญา ฯ ล ฯ
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาชำแรกกิเลส.
สมจริงดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ ในบทว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 276
ปญฺาปฏิลาภาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ การได้เฉพาะปัญญาเป็นไฉน.
การได้ การได้เฉพาะ การถึง การถึงพร้อม การถูกต้อง การทำให้แจ้ง
การเข้าถึง มรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญาญาณ ๖
ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗. นี้ชื่อว่าการได้เฉพาะปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็น
ไปเพื่อได้เฉพาะปัญญา.
ในบทว่า ปญฺาวุฑฺฒิยา สวตฺตนฺติ ดังนี้ ความเจริญปัญญา
เป็นไฉน. ปัญญาของพระเสกขะ ๗ จำพวก และของกัลยาณปุถุชน
ย่อมเจริญ แต่ปัญญาของพระอรหันต์เป็นวัฑฒนาปัญญา (คือปัญญาอัน
เจริญเต็มที่แล้ว) นี้ชื่อว่าความเจริญปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเจริญปัญญา.
ในบทว่า ปฺาเวปุลฺลาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ความไพบูลย์
แห่งปัญญาเป็นไฉน. ปัญญาของพระเสกขบุคคล ๗ พวก. และของ
กัลยาณปุถุชน ย่อมถึงความไพบูลย์ ปัญญาของพระอรหันต์ ถึงความ
ไพบูลย์แล้ว นี้ชื่อว่าความไพบูลย์แห่งปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา.
ในบทว่า มหาปญฺตาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาใหญ่เป็นไฉน.
ชื่อว่าปัญญาใหญ่ เพราะกำหนดถือเอาประโยชน์ใหญ่ ชื่อว่าปัญญาใหญ่
เพราะกำหนดถือเอาธรรมใหญ่ ฯลฯ นิรุตติใหญ่ ปฏิภาณใหญ่ กอง
ศีลใหญ่ กองสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะใหญ่ ฐานะ
และอฐานะใหญ่ วิหารสมาบัติใหญ่ อริยสัจใหญ่ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน
และอิทธิบาทใหญ่ อินทรีย์ พละใหญ่ โพชฌงค์ใหญ่ อริยมรรคใหญ่
สามัญผลใหญ่ มหาอภิญญาใหญ่ พระนิพพานอันเป็นประโยชน์อัน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 277
ยิ่งใหญ่. นี้ชื่อว่าปัญญาใหญ่ ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาใหญ่.
ในบทว่า ปุถุปญฺญตาย สวตฺตติ ดังนี้ ปัญญามากเป็นไฉน.
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะญาณย่อมเป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ มาก. ชื่อว่า
ปัญญามาก เพราะญาณย่อมเป็นไปในธาตุต่าง ๆ มาก ในอายตนะต่าง ๆ
มาก ในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ มาก ในการได้สุญญตะต่าง ๆ มาก ใน
อรรถ ธรรม นิรุตติ ปฏิภาณมาก ในสลีขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
วิมุตติขันธ์ และวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ มาก ในฐานะและอฐานะ
ต่าง ๆ มากในวิหารสมาบัติต่าง ๆ มาก ในอริยสัจต่าง ๆ มาก ใน
สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ต่าง ๆ มาก
ในอริยมรรคต่าง ๆ มาก ในสามัญญผลต่าง ๆ มาก ในอภิญญาต่าง ๆมาก.
ชื่อว่าปัญญามาก เพราะญาณเป็นไปในพระนิพพานอันเป็นประโยชน์
อย่างยิ่ง ล่วงธรรมอันทั่วไปแก่ชนต่าง ๆ มาก. นี้ชื่อว่าปัญญามากใน
บทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก.
ในบทว่า วิปุลปญฺาย สวตฺตติ ดังนี้ ปัญญาไพบูลย์เป็นไฉน.
ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดถือเอาประโยชน์อันไพบูลย์ ฯลฯ
ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ เพราะกำหนดถือเอาพระนิพพานอันมีประโยชน์ยิ่ง
ไพบูลย์ นี้ชื่อว่าปัญญาไพบูลย์ ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มี
ปัญญาไพบูลย์.
ในบทว่า คมฺภีรปญฺตาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาลึกซึ้งเป็น
ไฉน. ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะญาณเป็นไปในขันธ์ทั้งหลายอันลึกซึ้ง.
ความพิสดารเหมือนกับข้อที่ว่าด้วยปัญญามาก. ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 278
ญาณย่อมเป็นไปในพระนิพพานอันมีประโยชน์อย่างยิ่ง ลึกซึ้ง. นี้ชื่อว่า
ปัญญาลึกซึ้ง ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง.
ในบทว่า อสฺสามนฺตปญฺตาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาเทียม
กันได้เป็นไฉน. บุคคลใดบรรลุ กระทำให้แจ้ง ถูกต้องด้วยปัญญา ซึ้ง
อัตถปฏิสัมภิทา โดยการกำหนดรู้อรรถ บรรลุ กระทำให้แจ้ง ถูกต้อง
ด้วยปัญญา ซึ่งธรรม นิรุตติ ปฏิภาณ โดยกำหนดรู้ธรรม นิรุตติ และ
ปฏิภาณ ใคร ๆ อื่นย่อมไม่อาจครอบงำ อรรถ ธรรม นิรุตติ และ
ปฏิภาณของบุคคลนั้น และบุคคลนั้นเป็นผู้อันคนทั้งหลายอื่นไม่พึงครอบงำ
ได้ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่าผู้มีปัญญาไม่เทียบกันได้.
ปัญญาของกัลยาณปุถุชน ไกล ห่างไกล ไกลแสนไกล ไม่ใกล้
ไม่ใกล้เคียงกับปัญญาของพระอริยบุคคลที่ ๘, เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน
พระอริยบุคคลที่ ๘ ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาไม่เทียบกันได้. ปัญญาของ
พระอริยบุคคลที่ ๘ ไกล ฯลฯ ปัญญาของพระโสดาบัน. เมื่อเทียบกับ
พระอริยบุคคลที่ ๘ พระโสดาบัน ชื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาไม่เทียบกันได้.
ปัญญาของพระโสดาบันไกล ฯลฯ ปัญญาของพระสกทาคามี ปัญญา
ของพระสกทาคามีไกล ฯลฯ ปัญญาของพระอรหันต์. ปัญญาของพระ-
อรหันต์ไกล ห่างไกล ไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่เฉียดปัญญาของพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า. เมื่อเทียมกันพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า
เป็นผู้มีปัญญาไม่เทียบกันได้. เมื่อเทียบกับ พระปัจเจกพุทธเจ้า และชาวโลก
พร้อมทั้งเทวดา พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีพระปัญญา
ไม่มีของใครเทียบได้ เป็นชั้นเลิศ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 279
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงฉลาดในประเภทของปัญญา
ทรงมีพระญาณแตกฉาน ฯล ฯ บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วเข้าไป
เฝ้าพระตถาคต ทูลถามทั้งข้อลี้ลับและปกปิด ปัญหาเหล่านั้นที่พระผู้-
มีพระภาคเจ้าตรัสบอกและทรงตอบแล้ว ย่อมเป็นอันทรงชี้เหตุให้เห็นชัด
และปัญหาที่เขายกขึ้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงตอบได้สมบูรณ์ โดย
แท้จริงแล้ว ในปัญหานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแจ่มแจ้งด้วย
พระปัญญา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีพระปัญญาไม่มีของใครเทียบได้
เป็นชั้นเลิศ นี้ชื่อว่าปัญญาไม่มีของใครเทียบได้ ในบทว่า ย่อมเป็นไป
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่มีของใครเทียบได้.
ในบทว่า ภูริปญฺตาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ภูริปัญญาเป็นไฉน.
ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะครอบงำราคะอยู่. ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะ
ครอบงำราคะได้แล้ว. ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะย่อมครอบงำ โทสะ โมหะ
โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย
ถัมภะ สารัมภะ นานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริต
ทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯ ล ฯ กรรมอันเป็นเหตุนำไปสู่ภพทั้งปวง.
ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะครอบงำแล้ว. ราคะ ชื่อว่าเป็นอริ. ปัญญาอันย่ำยีอริ
นั้น เหตุนั้น ชื่อว่าภูริปัญญา. โทสะ โมหะ ฯลฯ กรรมเป็นเหตุ
นำไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่าเป็นอริ ปัญญาอันย่ำยีอรินั้น เหตุนั้น ชื่อว่า
ภูริปัญญา. แผ่นดินเรียกว่าภูริ ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันแผ่ไปกว้างขวาง
เสมอแผ่นดินนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า ภูริปัญโญ ผู้มีปัญญาเสมอแผ่นดิน.
อีกอย่างหนึ่ง คำนี้คือ ภูริ เมธา ปริณายิกา เป็นชื่อของปัญญา. นี้
ชื่อว่า ภูริปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีภูริปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 280
ในบทว่า ปญฺญาพาหุลฺลาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ความเป็นผู้มาก
ด้วยปัญญาเป็นไฉน. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้หนักในปัญญา เป็น
ผู้มีปัญญาเป็นจริต มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมใจไปในปัญญา มีปัญญา
เป็นธงชัย มีปัญญาเป็นยอดธง มีปัญญาเป็นอธิบดี มากด้วยการวิจัย
มากด้วยการค้นคว้า มากด้วยการพิจารณา มากด้วยการเพ่งพินิจ มีการ
เพ่งพินิจเป็นธรรมดา อยู่ด้วยปัญญาอันแจ่มแจ้ง และประพฤติใน
ปัญญานั้น หนักในปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น น้อมไปในปัญญานั้น
โน้มไปในปัญญานั้น เงื้อมไปในปัญญานั้น น้อมใจไปในปัญญานั้น
มีปัญญานั้นเป็นอธิบดี อุปมาเหมือนภิกษุผู้หนักในหมู่คณะ ก็เรียกว่าผู้
มากด้วยหมู่คณะ ผู้หนักในจีวร ผู้หนักในบาตร ผู้หนักในเสนาสนะ
ก็เรียกผู้มากด้วยเสนาสนะ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือน
กัน เป็นผู้หนักในปัญญา มีปัญญาเป็นจริต ฯลฯ มีปัญญาเป็นอธิบดี.
นี้ชื่อว่า ความเป็นผู้มากด้วยปัญญา ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้
มากด้วยปัญญา.
ในบทว่า สีฆปญฺตาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาเร็วเป็นไฉน.
ชื่อว่า ปัญญาเร็ว เพราะทำศีลให้บริบูรณ์รวดเร็ว. ชื่อว่า ปัญญาเร็ว
เพราะทำอินทรียสังวร โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศีลขันธ์
สมาธิขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ให้บริบูรณ์รวดเร็ว. ชื่อว่า
ปัญญาเร็ว เพราะแทงตลอดฐานะและอฐานะได้รวดเร็ว เพราะทำวิหาร-
สมาบัติให้บริบูรณ์ได้รวดเร็ว เพราะแทงตลอดอริยสัจได้รวดเร็ว เพราะ
เจริญสติปัฏฐานได้รวดเร็ว เพราะเจริญสัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์
พละ โพชฌงค์ อริยมรรคได้รวดเร็ว. ชื่อว่า ปัญญาเร็ว เพราะทำให้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 281
แจ้งสามัญญผลได้รวดเร็ว ชื่อว่า ปัญญาเร็ว เพราะแทงตลอดอภิญญา
ได้รวดเร็ว ชื่อว่า ปัญญาเร็ว เพราะทำให้แจ้งพระนิพพานอันเป็นประ-
โยชน์อย่างยิ่งได้รวดเร็ว. นี้ชื่อว่า ปัญญาเร็ว ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว.
ในบทว่า ลหุปญฺตาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาฉับพลันเป็นไฉน.
ฉับพลัน ฯลฯ ชื่อว่า ปัญญาฉับพลัน เพราะทำให้แจ้งพระนิพพาน
อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้ฉับพลัน. นี้ชื่อว่า ปัญญาฉันพลัน ในบทว่า
ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาฉับพลัน.
ในบทว่า หาสปญฺตาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาร่าเริงเป็นไฉน.
ชื่อว่า ปัญญาร่าเริง เพราะบุคคลบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริงมาก มี
ความอิ่มใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีล
ทั้งหลายให้บริบูรณ์ ฯลฯ ชื่อว่า ปัญญาร่าเริง เพราะทำให้แจ้งพระ-
นิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง. นี้ชื่อว่า ปัญญาร่าเริง ในบทว่า ย่อม
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง.
ในบทว่า ชวนปญฺตาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาแล่นเป็นไฉน.
ชื่อว่า ปัญญาแล่น เพราะรูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบันเป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลว
หรือประณีต อยู่ที่ไกลหรือใกล้ ปัญญาพลันแล่นไปยังวิญญาณทั้งปวง
โดยความเป็นของไม่เที่ยง. ชื่อว่า ปัญญาพลันแล่น เพราะพลันแล่นไป
โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา. ชื่อว่า ปัญญาพลันแล่น เพราะ
พลันแล่นไปยังจักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ อันเป็นอดีต อนาคต และ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 282
ปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็น
อนัตตา. ชื่อว่า ปัญญาพลันแล่น เพราะเทียบเคียง พิจารณา รู้แจ้ง
ทำให้แจ่มแจ้งรูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ว่าไม่เที่ยง เพราะ
อรรถว่าสิ้นไป ว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าน่ากลัว ว่าเป็นอนัตตา เพราะ
อรรถว่าไม่มีแก่นสาร แล้วพลันแล่นไปในพระนิพพานอันเป็นที่ดับรูป
ฯลฯ ชื่อว่า ปัญญาพลันแล่น เพราะพลันแล่นไปยังพระนิพพานอันเป็น
ที่ดับชราและมรณะ. ชื่อว่า ปัญญาพลันแล่น เพราะเทียบเคียง พิจารณา
รู้แจ้ง ทำให้เเจ่มแจ้งรูป ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน
ไม่เที่ยง ถูกปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความเสื่อมเป็นธรรมดา
มีความสิ้นเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความคับไปเป็น
ธรรมดา แล้วพลันแล่นไปยังพระนิพพานอันเป็นที่ดับชราและมรณะ
นี้ชื่อว่า ปัญญาพลันแล่น ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา
แล่นพลัน
ในบทว่า ติกฺขปญฺตาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญากล้าเป็นไฉน.
ชื่อว่า ปัญญากล้า เพราะตัดกิเลสได้ไว. ชื่อว่า ปัญญากล้า เพราะไม่รับ
ละทิ้ง บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไป ซึ่งกามวิตก พยาบาท-
วิตก วิหิงสาวิตก อกุศลบาปธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นเล่า ชื่อว่า ปัญญา
กล้า เพราะไม่รับไว้ ละทิ้งไป บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดไป ให้ถึงความ
ไม่มีต่อไป ซึ่งราคะ โทสะ โมหะที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นเล่า ฯลฯ ซึ่ง
กรรมเป็นเหตุไปสู่ภพทั้งปวง. ชื่อว่า ปัญญากล้า เพราะบรรลุ ทำให้แจ้ง
ถูกต้องด้วยปัญญา ซึ่งอริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔
อภิญญา ๖ บนอาสนะเดียว. นี้ชื่อว่า ปัญญากล้า ในบทว่า ย่อมเป็นไป
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 283
เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากล้า.
ในบทว่า นิพฺเพธิกปญฺยตาย สวตฺตนฺติ ดังนี้ ปัญญาเครื่อง
ทำลายกิเลสเป็นไฉน. ชื่อว่า ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เพราะบุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นผู้หวาดเสียวมาก เป็นผู้สะดุ้งมาก เป็นผู้กระสันมาก
เป็นผู้มากด้วยความไม่ยินดี มากไปด้วยความไม่ยินดียิ่งในสังขารทั้งปวง
เป็นผู้หันหน้าออก ไม่ยินดีในสังขารทั้งปวง. แทง ทำลายกองโลภซึ่ง
ยังไม่เคยแทงยังไม่เคยทำลาย. ชื่อว่า ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เพราะแทง
ทำลายกองโทสะ กองโมหะ โกธะ อุปนาหะ ฯลฯ กรรมอันเป็นเครื่อง
ไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่เคยแทง ที่ไม่เคยทำลาย. นี้ซึ่งว่า ปัญญาเครื่อง
ทำลายกิเลส ในบทว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเครื่องทำลาย
กิเลส.
พึงทราบเนื้อความในอธิการที่ว่าด้วยปัญญานี้ โดยนัยดังกล่าวไว้
ในปฏิสัมภิทามรรคด้วยประการอย่างนี้. ก็ในปฏิสัมภิทามรรคนั้น เป็น
พหูพจน์อย่างเดียว ในสูตรนี้เป็นเอกพจน์ ดังนั้น ความต่างกันในเรื่อง
ปัญญานี้มีเพียงเท่านี้. คำที่เหลือเหมือนกันทั้งนั้นแล. ก็แหละมหาปัญญา
๑๖ ประการนี้ ท่านกล่าวคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
จบอรรถกถากายคตาสติวรรค
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 284
อรรถกถาอมตวรรค๑
บทว่า อมตนฺเต ภิกฺขเว ปริภุญฺชนฺต ความว่า ชนเหล่านั้น
ชื่อว่า ย่อมบริโภคพระนิพพานอันปราศจากมรณะ. ถามว่า ก็พระนิพพาน
เป็นโลกุตระ กายคตาสติเป็นโลกิยะ มิใช่หรือ ชนผู้บริโภคกายคตาสติ
นั้น ชื่อว่า บริโภคอมตะได้อย่างไร. ตอบว่า เพราะต้องเจริญกายคตาสติ
จึงจะบรรลุ (อมตนิพพาน). จริงอยู่ ผู้เจริญกายคตาสติย่อมบรรลุอมตะ
ไม่เจริญก็ไม่บรรลุ เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น. พึงทราบเนื้อความ
ในบททั้งปวง โดยอุบายดังกล่าวนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิรพธ ในสูตรนี้ ได้แก่บกพร่องแล้ว คือ
ไม่บรรลุ. บทว่า อารทฺธ ได้แก่ บริบูรณ์แล้ว. บทว่า ปมาทึสุ ได้แก่
เลินเล่อ. บทว่า ปมุฏฺ แปลว่า หลงลืม ซ่านไป หรือหายไป. บทว่า
อาเสวิต แปลว่า ส้องเสพมาแต่ต้น. บทว่า ภาวิต แปลว่า เจริญแล้ว.
บทว่า พหุลีกต แปลว่า ทำบ่อย ๆ. บทว่า อนภิญฺาต แปลว่า ไม่รู้
ด้วยญาตอภิญญา (รู้ยิ่งด้วยการรู้ ). บทว่า อปริญฺาต แปลว่า ไม่
กำหนดรู้ด้วยญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) นั้นแหละ. บทว่า
อสจฺฉิกต แปลว่า ไม่ทำให้ประจักษ์. บทว่า สจฺฉิกต แปลว่า ทำให้
ประจักษ์. คำที่เหลือทุกแห่งมีความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอมตวรรค
จบอรรถกถาเอกนิบาตประมาณ ๑,๐๐๐ สูตร ใน
มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย
๑. บาลี ข้อ ๒๓๕ - ๒๔๖ วรรคนี้รวมอยู่ในปสาทกรธัมมาทิบาลี.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 285
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ปฐมปัณณาสก์
กัมมกรณวรรคที่ ๑
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยโทษที่เป็นไปในปัจจุบันและภพหน้า
[๒๔๗๑] ๑.. ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ อย่างนี้ โทษ ๒ อย่างเป็นไฉน คือโทษที่เป็นไป
ในปัจจุบัน ๑ โทษที่เป็นไปในภพหน้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษ
ที่เป็นไปในปัจจุบันเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นโจรผู้ประพฤติ
ความชั่ว พระราชาจับได้แล้ว รับสั่งให้ทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือ
๑. เลขในวงเล็บเป็นเลขข้อในพระบาลี เลขนอกวงเล็บเป็นเลขลำดับสูตร.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 286
(๑) กสาหิปิ ตาเฬนฺเต โบยด้วยแส้บ้าง
(๒) เวตฺเตหิปิ ตาเฬนฺเต โบยด้วยหวายบ้าง
(๓) อฑฺฒทณฺฑเกหิปิ ตาเฬนฺเต ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง
(๔) หตฺถปิ ฉินฺทนฺเต ตัดมือบ้าง
(๕) ปาทปิ ฉินฺทนฺเต ตัดเท้า
(๖) หตฺถปาทปิ ฉินฺทนฺเต ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง
(๗) กณฺณปิ ฉินฺทนฺเต ตัดหูบ้าง
(๘) นาสปิ ฉินฺทนฺเต ตัดจมูกบ้าง
(๙) กณฺณนาสปิ ฉินฺทนฺเต ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง
(๑๐) พิลงฺคถาลิกปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'หม้อเคี่ยว
น้ำส้ม' บ้าง
(๑๑) สงฺขมุณฺฑิกัปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'ขอดสังข์'
บ้าง
(๑๒) ราหุมุขปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'ปากราหู' บ้าง
(๑๓) โชติมาลิกปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'ดอกไม้ไฟ'
บ้าง
(๑๔) หตฺถปฺปชฺโชติกปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'คบมือ' บ้าง
(๑๕) เอรกวฏฺฏิกปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'ริ้วส่าย' บ้าง
(๑๖) จีรกวาสิกปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'นุ่งเปลือกไม้'
บ้าง
(๑๗) เอเณยฺยกปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "ยืนกวาง" บ้าง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 287
(๑๘) พฬิสมสิกปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'เกี่ยวเหยื่อเบ็ด'
บ้าง
(๑๙) กหาปณกปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'เหรียญ-
กษาปณ์' บ้าง
(๒๐) ขาราปฏิจฺฉกปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'แปรงแสบ'
บ้าง
(๒๑) ปลิฆปริวฏฺฏกปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'กางเวียน'
บ้าง
(๒๒) ปลาลปีกปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี 'ตั่งฟาง' บ้าง
(๒๓) ตตฺเตนปิ เตเลน โอสิญฺจนฺเต ราดด้วยน้ำมันเดือด ๆ บ้าง
(๒๔) สุนเขหิปิ ขาทาเปนฺเต ให้ฝูงสุนัขรุมทึ้งบ้าง
(๒๕) ชีวนฺตปิ สูเล อุตฺตาเสนฺเต ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง
ิ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง
เขามีความคิดเห็นเช่นนี้ว่า เพราะบาปกรรมเช่นใดเป็นเหตุ โจรผู้ทำ
ความชั่วจึงถูกพระราชาจับแล้วทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือเฆี่ยนด้วย
หวายบ้าง ฯ ล ฯ เอาดาบตัดหัวเสียบ้าง ก็ถ้าเรานี้แหละ จะพึงทำ
บาปกรรมเช่นนั้น ก็พึงถูกพระราชาจับแล้วทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือ
เอาหวายเฆี่ยนบ้าง ฯลฯ เอาดาบตัดหัวเสียบบ้าง ดังนี้ เขากลัวต่อโทษ
ที่เป็นไปในปัจจุบัน ไม่เที่ยวแย่งชิงเครื่องบรรณาการของคนอื่น ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 288
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษที่เป็นไปในภายหน้าเป็นไฉน บุคคล
บางคนในโลกนี้ สำเหนียกดังนี้ว่า วิบากอันเลวทรามของกายทุจริตเป็น
โทษที่บุคคลจะพึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ วิบากอันเลวทรามของวจีทุจริต
เป็นโทษที่บุคคลจะพึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ วิบากอันเลวทรามของ
มโนทุจริต เป็นโทษที่บุคคลจะพึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ ก็ถ้าเราจะ
พึงประพฤติทุจริตด้วยกาย พระพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริต
ด้วยใจ ทุจริตบางข้อนั้น พึงเป็นเหตุให้เรา เมื่อแตกกายตายไป เข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดังนี้ เขากลัวต่อโทษที่เป็นไปในภพหน้า
จึงละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต
เจริญโนสุจริต บริหารตนให้สะอาด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโทษ
เป็นไปในภพหน้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักกลัว
ต่อโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน จักกลัวต่อโทษเป็นไปในภพหน้า จักเป็น
คนขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษโดยความเป็นของน่ากลัว ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็น
เครื่องหลุดพ้นจากโทษทั้งมวลอันบุคคลผู้ขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษ
โดยความเป็นของน่ากลัวจะพึงหวังได้.
จบสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 289
มโนรถปูรณี
อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
อรรถกถาสูตรที่ ๑
ทุกนิบาต สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วชฺชานิ แปลว่า โทษ คือความผิด. บทว่า ทิฏฺธมฺมิก
ได้แก่ มีผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน คือในอัตภาพนี้แหละ. บทว่า สมฺปรายิก
ได้แก่ มีผลเกิดขึ้นในภายหน้า คือในอัตภาพที่ยังไม่มาถึง.
บทว่า อาคุจารึ ได้แก่ ผู้กระทำชั่ว คือกระทำความผิด. บทว่า
ราชาโน คเหตฺวา วิวิธา กมฺมกรณา กโรนฺเต ความว่า ราชบุรุษ
ทั้งหลายจับโจรมาลงกรรมกรณ์หลายอย่างต่างวิธี. แต่ชื่อว่า พระราชา
ทรงให้ราชบุรุษลงกรรมกรณ์เหล่านั้น. บุคคลนี้เห็นโจรนั้นถูกลงกรรม-
กรณ์อย่างนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปสฺสติ โจร อาคุจารึ
ราชาโน คเหตฺวา วิวิธา ภมฺมกรณา กโรนฺเต ดังนี้ . บทว่า อฑฺฒ-
ทณฺฑเกหิ ความว่า ด้วยไม้ตะบอง หรือด้วยท่อนไม้ที่เอาไม้ยาว ๔ ศอก
มาตัดเป็น ๒ ท่อน ใส่ด้ามสำหรับถือไว้เพื่อประหาร.
บทว่า ทวิลงฺคถาลิก ได้แก่ลงกรรมกรณ์วิธีทำให้เป็นหม้อเคี่ยว
น้ำส้ม. เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น เปิดกะโหลกศีรษะแล้วเอาคีมคีบ
ก้อนเหล็กแดงใส่เข้าในกะโหลกศีรษะนั้น ด้วยเหตุนั้น มันสมองในศีรษะ
เดือดล้นออก. บทว่า สงฺขมุณฺฑิก ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธีขอดสังข์.
เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น ตัดหนังศีรษะแต่จอนหูทั้งสองข้างลงมาถึง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 290
ท้ายทอยแล้วรวบเส้นผมทั้งหมดผูกเป็นขมวด ใช้ไม้สอดบิดยกขึ้น ให้
หนังเลิกหลุดขึ้นมาพร้อมทั้งผม ต่อแต่นั้นก็ใช้ทรายหยาบขัดกะโหลกศีรษะ
ล้างให้เกลี้ยงขาวเหมือนสังข์. บทว่า ราหุมุข ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธี
ปากราหู. เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น ใช้ขอเหล็กเกี่ยวปากให้อ้าขึ้นแล้ว
จุดไฟในปากนั้น อีกวิธีหนึ่ง ใช้สิ่วตอกแต่จอนหูทั้งสองข้างลงไปทะลุปาก
เลือดไหลออกมาเต็มปาก. บทว่า โชติมาลิก ความว่า ใช้ผ้าเก่าชุบน้ำมัน
พันทั่วทั้งตัว แล้วจุดไฟ. บทว่า หตฺถปฺปชฺโชติก ความว่า ใช้ผ้าเก่าชุบ
น้ำมันพันมือทั้งสองแล้วจุดไฟ ต่างคบไฟ. บทว่า เอรกวฏฺฏิก ได้แก่
ลงกรรมกรณ์วิธีริ้วส่าย. เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น เชือดหนังลอกออก
เป็นริ้ว ๆ ตั้งแต่ใต้คอลงไปถึงข้อเท้า แล้วใช้เชือกผูกโจรลากไป โจร
เดินเหยียบริ้วหนังของตัวล้มลง. บทว่า จีรกวาสิก ได้แก่ ลงกรรมกรณ์
วิธีนุ่งเปลือกไม้ เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น เชือดหนังเป็นริ้ว ๆ เหมือน
อย่างแรกนั่นแหละ แต่ทำเป็น ๒ ตอน แต่ใต้คอลงมาถึงสะเอวตอน ๑
แต่สะเอวถึงข้อเท้าตอน ๑ ริ้วหนังตอนบนคลุมลงมาปิดกายตอนล่าง
เป็นดังนุ่งเปลือกไม้. บทว่า เอเณยฺยก ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธียืนกวาง
เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น ใช้ห่วงเหล็กสวมข้อศอกทั้งสอง และเข่า
ทั้งสองให้ก้มลงกับดิน สอดหลักเหล็กตอกตรึงไว้ เขาจะยืนอยู่บนดิน
ด้วยหลักเหล็ก ๔ อัน แล้วก่อไฟล้อมลน เขาย่อมเป็นเหมือนกวางถูกไฟ
ไหม้ตาย แม้ในอาคตสถานท่านก็กล่าวดังนี้เหมือนกัน. เมื่อเขาตายแล้ว
ถอนหลักออก ให้เขายืน (เป็นสัตว์ ๔ เท้า) อยู่ด้วยปลายกระดูกทั้ง ๔
นั่นเอง. ชื่อว่าเหตุการณ์เห็นปานนี้ย่อมไม่มี. บทว่า พฬิสมสสิก ความ
ว่า ใช้เบ็ดมีเงี่ยง ๒ ข้าง เกี่ยวหนังเนื้อเอ็นดึงออกมา. บทว่า กหาปณก
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 291
ความว่า ใช้มีดคมเฉือนสรีระทุกแห่ง ตั้งแต่สู่เอวออกเป็นแว่น ๆ ขนาด
เท่าเหรียญกษาปณ์. บทว่า ขาราปฏิจฺฉก ความว่า สับฟันให้ยับทั่วกาย
แล้วใช้น้ำแสบราด ขัดถูด้วยแปรงให้หนังเอ็นหลุดออกมาหมด เหลือแต่
กระดูก. บทว่า ปลิฆปริวฏฺฏก ความว่า จับนอนตะแคง ใช้หลาวเหล็ก
ตอกตรงช่องหู ทะลุลงไปตรึงแน่นอยู่กับดิน. แล้วจับเท้าทั้งสองยกเดิน
เวียนไป. บทว่า ปลาลปีก ความว่า เจ้าหน้าที่ผู้ฉลาดใช้ลูกบดศิลา
กลิ้งทับตัวให้กระดูกแตกป่น แต่ไม่ให้ผิวหนังขาด แล้วจับผมรวบยก
เขย่า ๆ ให้เนื้อรวมเข้าเป็นกอง ใช้ผมนั่นแหละ พันตะล่อมเข้าวางไว้
เหมือนตั่งฟาง. บทว่า สุนเขหิปิ ขาทาเปนฺเต ความว่า ไม่ให้อาหาร
สุนัข ๒-๓ วัน แล้วให้ฝูงสุนัขที่หิวจัดกัดกิน เพียงครู่เดียวก็เหลือแต่
กระดูก. บทว่า สูเล อุตฺตาเสนฺเต ได้แก่ ยกขึ้นนอนหงายบนหลาว.
บทว่า น ปเรส ปาภต วิลุมฺปนฺโต วิจรติ ความว่า เห็น
สิ่งของของผู้อื่นมาอยู่ต่อหน้า โดยที่สุดแม้เป็นของที่มีค่าตั้ง ๑,๐๐๐ ตก
อยู่ตามถนน ก็มิได้เที่ยวยื้อแย่งเอา ด้วยคิดว่า จักมีชีวิตอยู่ด้วยสิ่งนี้
หรือคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยสิ่งนี้ ใช้หลังเท้าเขี่ยไป. บทว่า ปาปโก
แปลว่า เลว ได้แก่ เป็นทุกข์ คือไม่น่าปรารถนา. บทว่า กิญฺจ ต
ความว่า จะพึงมีเหตุนี้ได้อย่างไร. บทว่า เยนาห ตัดบทว่า เยน อห.
บทว่า กายทุจฺจริต ได้แก่ กายกรรมที่เป็นอกุศล ๓ อย่างมี
ปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า กายสุจริต ได้แก่ กุศลกรรม ๓ อย่างที่เป็น
ปฏิปักษ์ต่อกายทุจริต. บทว่า วจีทุจฺจริต ได้เเก่ วจีกรรมที่เป็นอกุศล
๔ อย่าง มีมุสาวาทเป็นต้น. บทว่า วจีสุจริต ได้แก่ กุศลกรรม ๔ อย่าง
ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อวจีทุจริต. บทว่า มโนทุจฺจริต ได้แก่ มโนกรรมที่เป็น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 292
อกุศล ๓ อย่างมีอภิชฌาเป็นต้น. บทว่า มโนสุจริต ได้แก่ กุศลกรรม
๓ อย่างที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมโนทุจริต.
ในคำว่า สุทฺธ อตฺตาน ปริหรติ นี้ สุทธิมี ๒ อย่าง คือ
ปริยายสุทธิ ๑ นิปปริยายสุทธิ ๑. จริงอยู่ บุคคลชื่อว่าบริหารตนให้
หมดจดโดยปริยาย ด้วยสรณคมน์ ชื่อว่าบริหารตนให้หมดจดโดยปริยาย
ด้วยศีล ๕ ด้วยศีล ๑๐ ด้วยจตุปาริสุทธิศีล ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ ด้วย
อรหัตมรรคเหมือนกัน. ส่วนผู้ที่ดำรงอยู่ในอรหัตผล เป็นพระขีณาสพ
ยังขันธ์ ๕ ซึ่งมีรากขาดแล้ว ให้เป็นไปอยู่บ้าง ให้เคี้ยวกินบ้าง ให้
บริโภคบ้าง ให้นั่งบ้าง ให้นอนบ้าง พึงทราบว่า บริหาร คือประคับ
ประคองตนให้หมดจด คือหมดมลทินโดยตรงทีเดียว. บทว่า ตสฺมา
ความว่า เพราะสองอย่างเหล่านี้ เป็นโทษทีเดียว มิใช่ไม่เป็นโทษ.
บทว่า วชฺชภีรุโน แปลว่า เป็นผู้ขลาดต่อโทษ. บทว่า วชฺชภย-
ทสฺสาวิโน แปลว่า เห็นโทษเป็นภัยอยู่เสมอ. บทว่า เอต ปาฏิกงฺข
ความว่า ข้อนี้จะพึงหวังได้ อธิบายว่า ข้อนี้จะมีแน่. บทว่า ย เป็น
เพียงนิบาต อีกอย่างหนึ่ง เป็นตติยาวิภัตติ ความว่า เป็นเหตุเครื่องพ้น
จากโทษทั้งปวง. ถามว่า จักพ้นด้วยเหตุไร. แก้ว่า พ้นด้วยมรรคที่ ๔
ด้วย ด้วยผลที่ ๔ ด้วย. ชื่อว่าพ้นด้วยมรรค เมื่อบรรลุผลแล้ว ชื่อว่า
พ้นอย่างหมดจด. ก็อกุศลไม่ให้ผลแก่พระขีณาสพหรือ. ให้ผล. แต่
อกุศลนั้น ท่านทำไว้ก่อนแต่ยังไม่เป็นพระขีณาสพ และให้ผลในอัตภาพ
นี้เท่านั้น ในสัมปรายภพ ผลกรรมไม่มีแก่ท่าน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 293
สูตรที่ ๒
ว่าด้วยความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก ๒ อย่าง
[๒๘๘] ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีความเพียรซึ่งเกิดได้
ยาก ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน คือความเพียรเพื่อทำให้เกิดจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ของคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ๑
ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวง ของผู้ที่ออกบวชเป็นบรรพชิต ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก ๒ อย่างนี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเพียร ๒ อย่างนี้ ความเพียรเพื่อสละคืน
อุปธิทั้งปวงเป็นเลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอ
ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเริ่มตั้งความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล
จบสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปธานานิ แปลว่า ความเพียร. จริงอยู่ ความเพียร ท่าน
เรียกว่า ปธานะ เพราะควรตั้งไว้ หรือเพราะทำความพยายาม. บทว่า
ทุรภิสมฺภวานิ ความว่า ยากที่จะบังคับ คือยากที่จะให้เป็นไป อธิบายว่า
ทำได้ยาก. บทว่า อคาร อชฺฌาวสต แปลว่า อยู่ในเรือน. ด้วยคำว่า
จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานุปฺปาทนตฺถ ปธาน
ท่านแสดงว่า ชื่อว่าความพยายามเพื่อให้ปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้นเหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 294
เกิดขึ้น เกิดขึ้นยาก. ความจริง การที่จะพูดว่า ท่านทั้งหลายจงให้ผ้า
เพียง ๔ ศอก หรือภัตตาหารประมาณข้าวสารฟายมือหนึ่ง หรือบรรณ-
ศาลาประมาณ ๔ ศอก หรือเภสัชมีเนยใสเนยข้นเป็นต้นเพียงนิดหน่อย
ดังนี้ก็ดี การนำออกให้ก็ดี ทำได้ยาก เหมือนกองทัพ ๒ ฝ่ายเข้าทำ
สงครามกัน. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ทาน จ ยุทฺธ จ สมานมาหุ
อปฺปาปิ สนฺตา พหุก ชิเนนฺติ
อปฺปปิ เจ สทฺทหาโน ททาติ
เตเนว โส โหติ สุขี ปรตฺถ.
ทานและการยุทธ์ท่านว่าเสมอกัน สัตบุรุษถึงน้อย
ก็ชนะคนมากได้ ถ้ามีศรัทธา ถึงจะให้น้อย เขา
ย่อมมีความสุขในโลกอื่น ด้วยเหตุนั้นแหละ ดังนี้.
บทว่า อคารสฺมา อนคาริย ปพฺพชิตาน ความว่า ออกจาก
เรือนเข้าบรรพชาอย่างผู้ไม่มีเรือน เว้นกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น
ที่นำประโยชน์เกื้อกูลมาแก่เรือน คือแก่ผู้ครองเรือน. บทว่า สพฺพูปธิ-
ปฏินิสฺสคฺคตฺต ปธาน ความว่า ความเพียรที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาและ
มรรค เพื่อประโยชน์พระนิพพาน กล่าวคือสลัดออกซึ่งอุปธิ คือขันธ์
กิเลส และอภิสังขาร. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะความเพียร ๒ อย่าง
นี้เกิดได้ยาก.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 295
สูตรที่ ๓
ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่าง
[๒๔๙] ๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเดือด
ร้อน ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำแต่
กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริต ทำแต่
มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต เขาเดือดร้อนอยู่ว่า เรากระทำแต่กายทุจริต
มิได้ทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต
มิได้ทำมโนสุจริต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน
๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า ตปนียา ความว่า ชื่อว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนใจ
เพราะเหล่าสัตว์ย่อมร้อนใจทั้งในโลกนี้และโลกอื่น. บทว่า ตปฺปติ ความ
ว่า ย่อมเดือดร้อนโดยเดือดร้อนใจ คือย่อมเศร้าโศก เหมือนนันทยักษ์
เหมือนนันทมาณพ เหมือนนันทโคฆาต เหมือนเทวทัต และเหมือน
สองพี่น้อง.
เล่ากันมาว่า พี่น้องสองคนนั้น ฆ่าโคแล้วแบ่งเนื้อเป็นสองส่วน.
ต่อนั้น น้องชายพูดกะพี่ชายว่า ฉันมีเด็กหลายคน พี่ให้ไส้โคเหล่านี้แก่
ฉันเถิด. พี่พูดกะน้องว่า เนื้อทั้งหมดเราแบ่งเป็นสองส่วนแล้ว แกจะมา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 296
หวังอะไรอีก แล้วตีน้องเสียตาย แต่เมื่อเหลียวดู เห็นน้องตาย จึงคิด
ได้ว่า เราทำกรรมหนักเสียแล้ว. เขาเศร้าโศกมาก. ในที่ยืนก็ตาม ที่นั่ง
ก็ตาม เขานึกถึงแต่กรรมนั้นเท่านั้น ไม่ได้ความสบายใจ. แม้โอชารส
ที่เขากลืนดื่มและเคี้ยวกินเข้าไปก็ไม่ซาบซ่านในร่างกายของเขา. ร่างกาย
ของเขาจึงเป็นเพียงหนังหุ้มกระดูกเท่านั้น. ครั้งนั้น พระเถระรูปหนึ่ง
เห็นเขา จึงถามว่า อุบาสก ท่านก็มีข้าวน้ำเพียงพอ แต่ไฉนจึงเหลือ
เพียงหนังหุ้มกระดูกเท่านั้น ท่านมีกรรมอะไร ๆ ที่ทำให้ร้อนใจอยู่หรือ.
เขารับว่า มีขอรับ ท่าน. แล้วบอกเรื่องทั้งหมด. พระเถระพูดกะเขาว่า
อุบาสก ท่านทำกรรมหนัก ท่านผิดในที่ไม่น่าผิด. เขาทำกาละแล้วบังเกิด
ในนรกด้วยกรรมนั้นเอง. คนที่ร้อนใจเพราะวจีทุจริต เช่นสุปปพุทธ-
ศากยะ พระโกกาลิกะ และนางจิญจมาณวิกาเป็นต้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๔
ว่าด้วยธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ๒ อย่าง
[๒๕๐] ๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
เดือนร้อน ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำแต่
กายสุจริต มิได้ทำกายทุจริต ทำแต่วจีสุจริต มิได้ทำวจีทุจริต ทำแต่
นโนสุจริต มิได้ทำมโนทุจริต เขาไม่เดือดร้อนว่า เรากระทำแต่กายทุจริต
มิได้ทำกายสุจริต ทำแต่วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริต ทำแต่มโนทุจริต
มิได้ทำมโนสุจริต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 297
เดือดร้อน ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๔
คำที่เหลือในสูตรที่ ๔ นี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
ว่าด้วยคุณของธรรม ๒ อย่าง
[๒๕๑] ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงคุณของธรรม ๒ อย่าง
คือ ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรม ๑ ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนใน
ความเพียร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เราเริ่มตั้งความเพียรอัน
ไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและ
เลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วย
เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ
แล้ว จกไม่หยุดความเพียรเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพธิญาณอันเรานั้น
ได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยม อันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าแม้เธอทั้งหลายจะพึงเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะ
เหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจง
เหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ
ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 298
เพียรเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ต้องการนั้น ด้วยความรู้ยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จักเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และ
กระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผล
ที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วย
ความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทฺวินฺนาห ตัดบทเป็น ทฺวินฺน อห. บทว่า อุปญฺาสึ
ความว่า ได้เข้าไปรู้ คือทราบคุณ อธิบายว่า แทงตลอด บัดนี้ เมื่อ
จะทรงแสดงธรรมเหล่านั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ยา จ อสนฺตุฏฺิตา
เป็นต้น. เพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยธรรม ๒ นี้ บรรลุพระ-
สัพพัญญุตญาณ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงอานุภาพของธรรม ๒ อย่างนั้น
จึงตรัสอย่างนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อสนฺตุฏฺิตา กุสเลสุ
ธมฺเมสุ นี้ แสดงความดังนี้ว่า เราไม่สันโดษด้วยเพียงฌานนิมิตหรือ
ด้วยเพียงโอภาสนิมิต ยังอรหัตมรรคให้เกิดขึ้นได้ คือเราไม่สันโดษ
ชั่วเวลาที่อรหัตมรรคยังไม่เกิดขึ้น. และเราไม่ท้อถอยในความเพียรตั้งอยู่
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 299
โดยไม่ย่อหย่อนเลย ได้กระทำความเพียร เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความ
ดังกล่าวนี้ จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ยา จ อปฺปฏิวาณิตา เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปฏิวาณิตา แปลว่า ความไม่ก้าวกลับ
คือไม่ย่อหย่อน. บทว่า สุท ในคำนี้ว่า อปฺปฏิวาณ สุทาห ภิกฺขเว
ปทหาสึ เป็นเพียงนิบาต ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราตั้งอยู่ในความไม่ย่อหย่อน ปรารถนาเป็นพระสัพพัญญู ได้กระทำ
ความเพียรเมื่อยังเป็นโพธิสัตว์. บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงวิธีกระทำความเพียร
จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า กาม ตโจ จ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
ด้วยบทว่า ยนฺต นี้ ทรงแสดงคุณชาตที่จะพึงบรรลุ. ในบทว่า ปุริสถาเมน
เป็นต้น ตรัสถึงพลังที่ให้เกิดญาณ ความเพียรที่ให้เกิดญาณ ความบาก
บั่นที่ให้เกิดญาณของตน. บทว่า สณฺาน ได้แก่ อยู่ คือไม่เป็นไป
ย่อหย่อน อธิบายว่า ระงับ. ด้วยพระพุทธพจน์เพียงเท่านี้ ชื่อว่าพระองค์
ตรัสความตั้งใจมั่นในการบำเพ็ญเพียรซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔. แลในที่นี้
บทว่า กาม ตโจ เป็นองค์หนึ่ง. บทว่า นหารุ จ เป็นองค์หนึ่ง.
บทว่า อฏฺิ จ เป็นองค์หนึ่ง. บทว่า มสโลหิต เป็นองค์หนึ่ง.
องค์ ๔ เหล่านี้เป็นชื่อของความเพียรอย่างยิ่งยวด มีบทว่า ปุริสถาเมน
เป็นต้น. ความเพียรที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ข้างต้นด้วยประการฉะนี้ ตั้งมั่น
แล้วอย่างนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า การตั้งความบำเพ็ญเพียรซึ่งประกอบ
ด้วยองค์ ๔. ด้วยพระพุทธพจน์เพียงเท่านี้ เป็นอันพระองค์ตรัสอาคม-
นียปฏิปทาของพระองค์ ณ โพธิบัลลังก์ บัดนี้ เพื่อจะตรัสคุณที่พระองค์
ได้มาด้วยปฏิปทานั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ตสฺส มยฺห ภิกฺขเว
เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาทาธิคตา ความว่า ได้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 300
ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือความไม่อยู่ปราศจากสติ. บทว่า โพธิ
ได้แก่จตุมรรคญาณและสัพพัญญุตญาณ. ด้วยว่า ผู้ที่มัวเมาประมาท
ไม่อาจบรรลุจตุมรรคญาณและสัพพัญญุตญาณนั้นได้ เพราะเหตุดังนี้นั้น
พระองค์จึงตรัสว่า อปฺปมาทาธิคตา โพธิ ดังนี้ . บทว่า อนุตฺตโร
โยคกฺเขโม ความว่า มิใช่แต่ปัญญาเครื่องตรัสรู้อย่างเดียวเท่านั้น แม้
ธรรมอันปลอดจากเครื่องผูกอันยอดเยี่ยม กล่าวคืออรหัตผล นิพพาน
เราก็ได้บรรลุด้วยความไม่ประมาทนั่นแล. บัดนี้ เมื่อจะทรงให้ภิกษุสงฆ์
ยึดถือในคุณที่พระองค์ได้มา จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ตุมฺเห เจปิ ภิกฺขเว
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสตฺถาย ความว่า เพื่อประโยชน์
แก่ผลอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันใด อธิบายว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อจะ
เข้าถึงผลอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันใดอยู่. บทว่า ตทนุตฺตร ได้แก่
ผลอันยอดเยี่ยมนั้น. บทว่า พฺรหฺมจริยปริโยสาน ได้แก่อริยผลซึ่งเป็น
ที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์. บทว่า อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ความว่า ทำให้
ประจักษ์ด้วยปัญญาอันยิ่ง คือด้วยปัญญาอันสูงสุด. บทว่า อุปสมฺปชฺช
วิหริสฺสถ ความว่า จักได้เฉพาะคือบรรลุอยู่. บทว่า ตสฺมา ความว่า
เพราะธรรมดาความเพียรอย่างไม่ท้อถอยนี้ มีอุปการะมาก ให้สำเร็จ
ประโยชน์แล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
ว่าด้วยความพอใจและความหน่ายในธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
[๒๕๒] ๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 301
ไฉน คือ ความตามเห็นโดยความพอใจในธรรมอันเป็นปัจจัยแห่ง
สังโยชน์ ๑ ความพิจารณาเห็นด้วยอำนาจควานหน่ายในธรรมทั้งหลายอัน
เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ตามเห็นโดยความ
พอใจในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะไม่ได้.
ย่อมละโทสะไม่ได้ ย่อมละโมหะไม่ได้ เรากล่าวว่า บุคคลยังละราคะ
ไม่ได้ ยังละโทสะไม่ได้ ยังละโมหะไม่ได้แล้ว ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นด้วยอำนาจความหน่ายในธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะได้ ย่อมละโทสะได้
ย่อมละโมหะได้ เรากล่าวว่า บุคคลละราคะ ละโทสะ ละโมหะได้แล้ว
ย่อมพันจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
ย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สญฺโชนิเยสุ ธมฺเมสุ ความว่า ในธรรมที่เป็นไป
ในภูมิ ๓ ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑๐. บทว่า อสฺสาทานุปสฺสิตา
ความว่า ความเห็น คือภาวะที่เห็น โดยความเป็นอัสสาทะน่ายินดี. บทว่า
นิพฺพิทานุปสฺสิตา ความว่า ความเห็นด้วยอำนาจความเบื่อหน่าย คือ
ด้วยอำนาจความเอือมระอา. บทว่า ชาติยา ได้แก่จากความเกิดแห่งขันธ์.
บทว่า ชราย ได้แก่ จากความแก่แห่งขันธ์. บทว่า มรเณน ได้แก่จาก
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 302
ความแตกแห่งขันธ์. บทว่า โสเกหิ ได้แก่ จากความโศกซึ่งมีลักษณะ
เกรียมภายใน. บทว่า ปริเทเวหิ ได้แก่ จากความคร่ำครวญซึ่งมีลักษณะ
รำพันอาศัยความโศกนั้น. บทว่า ทุกฺเขหิ ได้แก่จากทุกข์ที่บีบคั้นกาย.
บทว่า โทมนสฺเสหิ ได้แก่จากโทมนัสที่บีบคั้นใจ. บทว่า อุปายาเสหิ
ได้แก่ จากความคับแค้นซึ่งมีลักษณะคับใจอย่างยิ่ง. บทว่า ทุกฺขสฺมา
ได้แก่จากทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น. บทว่า ปชหติ ได้แก่ ย่อมละได้ด้วยมรรค.
ในบทว่า ปหาย นี้ ตรัสขณะแห่งผล. ในสูตรนี้ ตรัสทั้งวัฏฏะและ
วิวัฏฏะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
ว่าด้วยธรรมฝ่ายดำ ๒ อย่าง
[๒๕๓] ๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายดำ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ อหิริกะ ๑ อโนตตัปปะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
ฝ่ายดำ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กณฺหา ความว่า มิใช่เป็นธรรมฝ่ายดำ เพราะมีสีดำ แต่
น้อมไป เพื่อความเป็นธรรมดำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นธรรมฝ่ายดำ
เพราะเป็นธรรมฝ่ายดำโดยผลสำเร็จ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยกิจคือหน้าที่
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 303
ของตน อกุศลธรรมทั้งหมดเป็นธรรมฝ่ายดำทั้งนั้น. ด้วยว่า จิตย่อม
ผ่องใสไม่ได้ เพราะอกุศลธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้น. บทว่า อหิริก แปลว่า
ไม่มีความละอาย. บทว่า อโนตฺตปฺป แปลว่า ไม่มีความเกรงกลัว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่าง
[๒๕๔] ๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
ฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สุกฺกา ความว่า มิใช่เป็นธรรมฝ่ายขาว เพราะมีสีขาว
แต่น้อมไปเพื่อเป็นธรรมฝ่ายขาว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าธรรมฝ่ายขาว
เพราะเป็นธรรมฝ่ายขาวโดยผลสำเร็จ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยกิจคือหน้าที่
ของตน กุศลธรรมทั้งหมด เป็นธรรมฝ่ายขาวทั้งนั้น. ด้วยว่า จิตย่อม
ผ่องใส เพราะกุศลธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้น. ในคำว่า หิรี จ โอตฺตปฺปญฺจ นี้
หิริมีลักษณะรังเกียจบาป โอตตัปปะมีลักษณะกลัวบาป. อนึ่ง คำที่ควร
จะกล่าวโดยพิสดารในที่นี้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สุทธิมรรคทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 304
สูตรที่ ๙
ว่าด้วยโลกบัญญัติคำว่ามารดาเป็นต้นเพราะอาศัยธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่าง
[๒๕๕] ๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ย่อม
คุ้มครองโลก ๒ อย่างเป็นไฉน คือ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้แล ถ้าธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ไม่พึง
คุ้มครองโลก ใคร ๆ ในโลกนี้จะไม่พึงบัญญัติ ว่ามารดา ว่าน้า ว่าป้า
ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครู โลกจักถึงความสำส่อนกัน
เหมือนกับพวกแพะ พวกแกะ พวกไก่ พวกหนู พวกสุนัขบ้าน และ
พวกสุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมฝ่ายขาว ๒
อย่างนี้ ยังคุ้มครองโลกอยู่ ฉะนั้น โลกจึงบัญญัติคำว่ามารดา ว่าน้า
ว่าป้า ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครูอยู่.
จบสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โลก ปาเลนฺติ ความว่า ย่อมดำรงโลกไว้ คือให้อยู่ ได้แก่
รักษาไว้. บทว่า นยิ ปฺเยถ มาตา ความว่า มารดาผู้ให้กำเนิด
ในโลกนี้ จะไม่พึงปรากฏเป็นที่เคารพนับถือว่า หญิงผู้นี้เป็นมารดาของเรา
แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สมฺเภท ได้แก่ ความ
ระคนกัน หรือความไม่มีขอบเขต. ในคำว่า ยถา อเชฬกา เป็นต้น
มีวินิจฉัยว่า ด้วยว่า สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่สำนึกด้วยความเคารพนับถือว่า
หญิงผู้นี้เป็นมารดาของเรา หรือว่า เป็นป้าของเรา ย่อมปฏิบัติผิดใน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 305
วัตถุที่ตนได้อาศัยเกิดขึ้นนั่นเอง ฉะนั้น เมื่อทรงเปรียบเทียบ จึงตรัส
พระพุทธพจน์ว่า ยถา อเชฬกา เป็นต้น.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
ว่าด้วยวัสสูปนายิการเข้าพรรษา ๒ อย่าง
[๒๕๖] ๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วัสสูปนายิกา ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ วัสสูปนายิกาต้น ๑ วัสสูปนายิกาหลัง ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย วัสสูปนายิกา ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๐
จบกัมมกรณวรรคที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพราะมีเหตุให้เกิดเรื่อง อะไร
เป็นเหตุให้เกิดเรื่อง การโพนทะนาของพวกมนุษย์เป็นเหตุให้เกิดเรื่อง.
เรื่องมีว่า ๒๐ พรรษาตอนปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้ายัง
มิได้ทรงบัญญัติวันเข้าพรรษา ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความผูกพันเรื่องพรรษา
จาริกไปตามสบายทั้งในฤดูร้อน ทั้งในฤดูหนาว ทั้งในฤดูฝน. พวก
มนุษย์เห็นดังนั้น พากันโพนทะนากล่าวคำเป็นต้นว่า ทำไมพระสมณะ
ศากยบุตร ถึงได้จาริกกันทั้งหน้าหนาวทั้งหน้าร้อนทั้งหน้าฝน. เหยียบ-
ย่ำหญ้าระบัด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต ทำสัตว์เล็ก ๆ มากมายให้ลำบาก
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 306
ถึงพวกอัญญเดียรถีย์ที่กล่าวธรรมไม่ดีไม่ชอบเหล่านั้น ก็ยังหยุดพักหลบฝน
นกทั้งหลายยังทำรังที่ปลายต้นไม้หยุดพักหลบฝน ดังนี้ . ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกเรื่อง
นั้นเป็นเหตุ ทรงแสดงสูตรนี้ ตรัสพระพุทธดำรัสเป็นปฐมเพียงเท่านี้
ก่อนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษา ดังนี้. ต่อมา
ทรงทราบว่าพวกภิกษุเกิดวิตกกันว่า ควรเข้าจำพรรษาเมื่อไร จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาในฤดูฝน. ต่อมาภิกษุ
ทั้งหลายสงสัยกันว่า วันเข้าพรรษามีกี่วัน พากันกราบทูลความนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดังนั้น เมื่อทรง
แสดงสูตรนี้ทั้งสิ้น จึงตรัสพระพุทธดำรัสเป็นต้นว่า เทวมา ภิกฺขเว ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสูปนายิกา แปลว่า วันเข้าพรรษา.
บทว่า ปุริมิกา ความว่า เมื่อถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ พึงเข้าพรรษา
๓ เดือนแรก มีวันเพ็ญเดือน ๑๑ เป็นที่สุด. บทว่า ปจฺฉิมิกา ความว่า
เมื่อเดือน ๘ ล่วงไป พึงเข้าพรรษา ๓ เดือนหลัง มีวันเพ็ญเดือน ๑๒
เป็นที่สุด.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
จบกัมมกรณวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 307
อธิกรณวรรคที่ ๒
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยพละ ๒ อย่าง
[๒๕๗] ๑๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ ปฏิสังขานพละ ๑ ภาวนาพละ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิสังขาน-
พละเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า วิบากของ
กายทุจริตแล ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพหน้า วิบากของวจีทุจริต
ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพหน้า วิบากของมโนทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้
และในภพหน้า ครั้นเขาพิจารณาดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต เจริญกาย-
สุจริต ย่อมละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ย่อมละมโนทุจริต เจริญมโน-
สุจริต บริหารคนให้บริสุทธิ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปฏิสังขาน-
พละ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ในพละ ๒ อย่างนั้น
ภาวนาพละนี้เป็นพละของพระเสขะ ก็บุคคลนั้นอาศัยพละที่เป็นของพระ-
เสขะ ย่อมละราคะ ละโทสะ ละโมหะเสียได้เด็ดขาด ครั้นละราคะ
ละโทสะ ละโมหะได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมไม่ทำกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมไม่
เสพกรรมที่เป็นบาป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาวนาพละ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 308
อธิกรณวรรคที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๑
อธิกรณวรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉันดังต่อไปนี.
บทว่า พลานิ ความว่า ชื่อว่า พละ ด้วยอรรถอะไร ชื่อว่า
พละ ด้วยอรรถว่าไม่เป็นที่ตั้งแห่งความหวั่นไหว คือด้วยอรรถว่าครอบงำ
ได้ยาก และย่ำยีไม่ได้. บทว่า ปฏิสงฺขานพล ได้แก่กำลังคือการพิจารณา.
บทว่า ภาวนาพล ได้แก่ กำลัง คือการพอกพูน คือกำลังคือการพัฒนา.
บทว่า สุทฺธ อตฺตาน นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
บทว่า ตตฺร ได้แก่ในพละ ๒ อย่างนั้น. บทว่า ยทิท ตัดบทเป็น
ย อิท นี้ใด. บทว่า เสขเมต พล ความว่า ภาวนาพละนั่นได้แก่
กำลังญาณของพระเสขะ ๗ จำพวก. บทว่า เสข หิ โส ภิกฺขเว พล
อาคมฺม ความว่า ปรารภ หมาย คืออาศัยกำลังญาณของพระเสขะ ๗
จำพวก. บทว่า ปชหติ ความว่า ละได้ด้วยมรรค. ด้วยบทว่า ปหาย นี้
ตรัสถึงผล. บทว่า ย ปาป ความว่า สิ่งใดเป็นบาป คือลามก. ก็เพราะ
บุคคลเจริญพละทั้ง ๒ อย่างเหล่านี้แล้ว จึงบรรลุพระอรหัตได้ ฉะนั้น
พึงทราบว่าพละชั้นยอดเยี่ยม มิได้ทรงจัดไว้ในที่นี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
ว่าด้วยพละ ๒ อย่าง
[๒๕๘] ๑๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ปฏิสังขานพละ ๑ ภาวนาพละ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 309
ก็ปฏิสังขานพละเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า
วิบากของกายทุจริตแล ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า วิบาก
ของมโนทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า ครั้นเขาพิจารณา
ดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ย่อมละวจีทุจริต เจริญ
วีสุจริต ย่อมละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปฏิสังขานพละ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในการสละ ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์. . . ย่อมเจริญวิริย-
สัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์... ย่อมเจริญปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์. . . ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. . . ย่อมเจริญอุเบุกขา-
สัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาวนาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๒
อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ในบทว่า สติสมฺโพชฺงฺค ภาเวติ เป็นต้น มีพรรณนาความ
ของบทที่ยังมิได้มีมาในหนหลัง ดังนี้ . บทว่า วิเวกนิสฺสิต ได้แก่ อาศัย
วิเวก. ความสงัด ชื่อว่าวิเวก. วิเวกดังกล่าวนี้ มี ๕ อย่าง คือ ตทังค-
วิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 310
ในวิเวก ๕ อย่างนั้น. ในบทว่า วิเวกนิสฺสิต พึงทราบเนื้อความว่า
ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยตทังควิเวก อาศัยสมุจเฉทวิเวก และ
อาศัยนิสสรณวิเวก. จริงอย่างนั้น พระโยคีผู้บำเพ็ญสติสัมโพชฌงค-
ภาวนา ในขณะวิปัสสนาย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อาศัยตทังควิเวกโดยกิจ
อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัชฌาสัย แต่ในขณะมรรคอาศัยสมุจเฉทวิเวกโดยกิจ
อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาศัยวิเวกทั้ง ๕
อย่างก็มี. จริงอยู่ อาจารย์เหล่านั้น มิใช่ยกโพชฌงค์ทั้งหลายขึ้นใน
ขณะแห่งพลววิปัสสนา มรรค และผลจิตอย่างเดียวเท่านั้น แม้ใน
กสิณฌาน อานาปานสติ อสุภกัมมัฏฐาน และพรหมวิหารฌาน ซึ่ง
เป็นบาทแห่งวิปัสสนาก็ยกขึ้นด้วย แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายก็ไม่
ปฏิเสธ ฉะนั้น ตามมติของอาจารย์เหล่านั้น ในปวัตติขณะแห่งฌาน
เหล่านั้น อาศัยวิกขัมภนวิเวกโดยกิจเท่านั้น เหมือนอย่างที่กล่าวว่า ใน
ขณะวิปัสสนาอาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัชฌาสัย ฉันใด ก็ควรจะกล่าวว่า
เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยปฏิปัสสัทธิวิเวกก็ได้ ฉันนั้น. แม้ในสติ-
สัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิราคะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ธรรมมีวิราคะ
เป็นต้น มีในอรรถว่าสงัดเหมือนกัน. ก็ความสละในบทว่า โวสฺสคฺค-
ปริณามึ นี้ มี ๒ อย่างเท่านั้น คือความสละโดยบริจาค ๑ ความสละ
โดยแล่นไป ๑. ใน ๒ อย่างนั้น บทว่า ปริจฺจาคโวสฺสคฺโค ได้แก่
การละกิเลสอย่างชั่วขณะในวิปัสสนาขณะ และอย่างเด็ดขาดในมรรคขณะ.
บทว่า ปกฺขนฺทนโวสฺสคฺโค ได้แก่ การแล่นไปสู่พระนิพพาน โดย
น้อมไปในพระนิพพานนั้น ในวิปัสสนาขณะ แต่ในมรรคขณะ โดย
ทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์. ความสละทั้ง ๒ อย่างนั้น ย่อมใช้ได้ใน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 311
สติสัมโพชฌงค์ ซึ่งระคนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระนี้ ตามนัยที่มาใน
อรรถกถา จริงอย่างนั้น สติสัมโพชฌงค์นี้ ย่อมสละกิเลส แล่นไปสู่
พระนิพพาน โดยประการดังกล่าวแล้ว. อนึ่ง ด้วยคำทั้งสิ้นว่า โวสฺสคฺค-
ปริณามึ นี้ ท่านอธิบายว่า. ตั้งอยู่ในความสละ คือที่กำลังน้อมไปก็
น้อมไป และที่กำลังจะแก่กล้าก็แก่กล้าไป. ก็ภิกษุผู้บำเพ็ญโพชฌงค-
ภาวนานี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ โดยประการที่สติสัมโพชฌงค์จะ
แก่กล้าและแก่กล้าแล้ว เพื่อโวสสัคคะ คือความสละกิเลส เพื่อโวสสัคคะ
คือแล่นไปสู่พระนิพพาน. แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็
พระนิพพานนี้แหละ ท่านกล่าวว่า วิเวก เพราะสงัดจากสังขตธรรม
ทุกอย่าง กล่าวว่า วิราคะ เพราะสำรอกสังขตธรรมทุกอย่าง กล่าวว่า นิโรธ
เพราะเป็นธรรมที่ดับสังขตธรรม. ก็มรรคนั่นแหละ ชื่อว่าน้อมไปใน
ความสละ เพราะฉะนั้น ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก โดย
ทำวิเวกให้เป็นอารมณ์เป็นไป อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธก็เหมือนกัน
และสติสัมโพชฌงค์นั้นแล น้อมไปแล้ว ก็กล้าแล้ว โดยสละกิเลส
เหตุละได้อย่างเด็ดขาด ในขณะอริยมรรคเกิดขึ้น โดยแล่นไปสู่พระ-
นิพพานนั่นเอง พึงเห็นเนื้อความนี้ ดังกล่าวมาฉะนี้แล. แม้ใน
โพชฌงค์ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสระคนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้ ความ
เป็นเลิศในพละ ๒ แม้เหล่านี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 312
สูตรที่ ๓
ว่าด้วยพละ ๒ อย่าง
[๒๕๙] ๑๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือปฏิสังขานพละ ๑ ภาวนาพละ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ปฏิสังขานพละเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า
วิบากของกายทุจริต ชั่วช้าทั่งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า วิบากของ
วจีทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า วิบากของมโนทุจริต
ชั่วช้าทั้งใน ชาตินี้และในภพเบื้องหน้า ครั้นเขาพิจารณาดังนี้แล้ว ย่อม
ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ย่อมละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ย่อมละ
มโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่าปฏิสังขานพละ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ
และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก
วิจารสงบไป มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น มี
ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถ-
ฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัส
ก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 313
นี้เรียกว่าภาวนาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
เนื้อความพระบาลีของฌาน ๔ ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ เป็นต้น
และนัยแห่งภาวนา ได้กล่าวไว้พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยประการ
ทั้งปวงทีเดียว. ก็ฌาน ๔ เหล่านี้ ภิกษุรูปหนึ่งเจริญเพื่อต้องการให้จิต
แน่วแน่ รูปหนึ่งเจริญเพื่อต้องการเป็นบาทแห่งวิปัสสนา รูปหนึ่งเจริญ
เพื่อต้องการเป็นบาทแห่งอภิญญา รูปหนึ่งเจริญเพื่อต้องการเป็นบาทแห่ง
นิโรธ รูปหนึ่งเจริญเพื่อความวิเศษแห่งภพ. แต่ในสูตรนี้ ฌาน ๔ เหล่า
นั้น ทรงประสงค์เป็นบาทแห่งวิปัสสนา. จริงอยู่ ภิกษุนี้เข้าถึงฌาน
เหล่านี้แล้วออกจากสมาบัติ พิจารณาสังขาร กำหนดเหตุปัจจัยและกำหนด
นามรูปพร้อมทั้งปัจจัย ประชุมอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ บรรลุ
พระอรหัต. ฌานเหล่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสระคนกันทั้งที่เป็นโลกิยะ
และที่เป็นโลกุตระ. อนึ่ง ความเป็นเลิศในพละ ๒ แม้นี้ พึงทราบตาม
นัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๔
ว่าด้วยการแสดงธรรมของตถาคต ๒ อย่าง
[๒๖๐] ๑๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสดงธรรมของพระ-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 314
ตถาคต ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ โดยย่อ ๑ โดยพิสดาร ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสดงธรรมของพระตถาคต ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า สงฺขิตฺเตน จ วิตฺถาเรน จ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงว่า ธรรมเทศนามี ๒ เท่านั้น คือ ธรรมเทศนาโดยสังเขป ธรรม-
เทศนาโดยพิสดาร. ใน ๒ อย่างนั้น เทศนาที่ตรัสแสดงเฉพาะหัวข้อ
ชื่อุเทศนาโดยสังเขป. เทศนาที่ตรัสแยกแยะหัวข้อนั้น ๆ ชื่อเทศนาโดย
พิสดาร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาที่ทรงตั้งหัวข้อก็ตาม ไม่ทรงตั้งก็ตาม
ตรัสแยกแยะโดยพิสดาร ชื่อว่าเทศนาโดยพิสดาร. ในเทศนา ๒ อย่าง
นั้น เทศนาโดยสังเขป ตรัสแก่บุคคลที่มีปัญญามาก เทศนาโดยพิสดาร
ตรัสแก่บุคคลที่มีปัญญาน้อย. เพราะเทศนาโดยพิสดาร ย่อมเป็นเหมือน
เป็นช้าอย่างยิ่ง แก่ผู้มีปัญญามาก. เทศนาโดยสังเขป ย่อมเป็นเหมือน
กระต่ายกระโดด แก่ผู้มีปัญญาน้อย ไม่อาจจับต้นชนปลายได้. อนึ่ง
เทศนาโดยสังเขป ตรัสแก่บุคคลประเภทอุคฆติตัญญู เทศนาโดยพิสดาร
ตรัสแก่บุคคล ๓ ประเภทนอกนี้ (วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ).
พระไตรปิฎกทั้งสิ้นย่อมนับเข้าในข้อนี้ว่า เทศนาโดยสังเขป เทศนาโดย
พิสดาร นั่นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 315
สูตรที่ ๕
ว่าด้วยเหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ
[๒๖๑] ๑๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้อง
อาบัติ และภิกษุผู้เป็นโจทก์ ยังมิได้พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ใน
อธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่า จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อการมีวาจา
หยาบคาย เพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ และภิกษุผู้เป็น
โจทก์ พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่า จัก
ไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ จักไม่เป็นไปเพื่อการมีวาจาหยาบ จักไม่เป็น
ไปเพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดีอย่างไร คือ ภิกษุ
ผู้ต้องอาบัติในธรรมวินัยนี้ ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า เราแลต้องอาบัติอัน
เป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นเรา
ผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ถ้าเราจะไม่พึงต้อง
อาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ภิกษุนั้นก็จะได้พึงเห็นเรา
ผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็เพราะเหตุที่เราต้อง
อาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ภิกษุนั้นจึงได้เห็นเราผู้ต้อง
อาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็แหละภิกษุนั้น ครั้นเห็นเรา
ผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ชอบใจ
ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้ว่ากล่าวเราผู้มีวาจาไม่ชอบใจ เราผู้มีวาจา
ไม่ชอบใจ ถูกภิกษุนั้นว่ากล่าวแล้ว ย่อมไม่ชอบใจ เมื่อไม่ชอบใจ ได้
บอกแก่ผู้อื่นว่า ด้วยเหตุนี้ โทษในเหตุนี้จึงครอบงำ แต่เฉพาะเราคนเดียว
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 316
เท่านั้น เหมือนกับในเรื่องสินค้า โทษครอบงำผู้จำต้องเสียภาษีฉะนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี
ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ย่อม
พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า ภิกษุนี้แลต้องอาบัติอันเป็นอกุศล
อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว ฉะนั้น เราจึงได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอัน
เป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ถ้าภิกษุนี้จะไม่พึงต้องอาบัติอันเป็น
อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย เราจะไม่พึงเห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็น
อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย แต่เพราะเหตุที่ภิกษุนี้ไม่ต้องอาบัติอันเป็น
อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย เราจึงได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็น
อกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็แหละเรา ครั้นได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติ
อันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ชอบใจ เราเมื่อ
เป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้ว่ากล่าวภิกษุนี้ผู้มีวาจาไม่ชอบใจ ภิกษุนี้มีวาจาไม่
ชอบใจ เมื่อถูกเราว่ากล่าวอยู่ เป็นผู้ไม่ชอบใจ เมื่อเป็นผู้ไม่ชอบใจ
ได้บอกแก่ผู้อื่นว่า ด้วยเหตุนี้ โทษในเหตุนี้จึงครอบงำแต่เฉพาะเรา
คนเดียวเท่านั้น เหมือนกับในเรื่องสินค้า โทษครอบงำผู้จำต้องเสียภาษี
ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ย้อมที่พิจารณาตนด้วย
ตนเองให้ดี ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด
ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ ยังไม่ได้พิจารณาตนด้วยตนเอง
ให้ดีในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่าจักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความ
มีวาจาหยาบคาย เพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจัก อยู่ไม่ผาสุก ส่วน
ในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติและภิกษุผู้เป็นโจทก์ พิจารณาตนเองด้วย
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 317
ตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่าจักไม่เป็นไปเพื่อความมีวาจา
หยาบคาย จักไม่เป็นไปเพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก.
จบสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ยสฺมึ ภิกฺขเว อธิกรเณ ความว่า ในอธิกรณ์ใด ใน
บรรดาอธิกรณ์ ๔ เหล่านี้ คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตา-
ธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์. บทว่า อาปนฺโน จ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้ต้อง
อาบัติ. บทว่า ตเสฺมต ตัดบทเป็น ตสฺมึ เอต แปลว่า ในอธิกรณ์
นั้น ข้อที่พึงหวังนั้น. บทว่า ทีฆตฺตาย ได้แก่ เพื่อตั้งอยู่ตลอดกาลนาน.
บทว่า ขรตฺตาย ได้แก่ เพื่อกล่าววาจาหยาบอย่างนี้ว่า ทาส เหี้ย
จัณฑาล ช่างสาน. บทว่า วาฬตฺตาย ได้แก่ เพื่อความร้าย คือประหาร
ด้วย ก้อนหิน ก้อนดิน และท่อนไม้เป็นต้น. บทว่า ภิกฺขู จ น ผาสุ
วิหริสฺสนฺติ ความว่า เมื่อภิกษุวิวาทกัน ภิกษุที่ประสงค์จะเรียนอุเทศ
หรือปริปุจฉา หรือประสงค์จะบำเพ็ญเพียรเหล่านั้นจักอยู่ไม่ผาสุก. เมื่อ
ภิกษุสงฆ์ทำอุโบสถหรือปวารณา ภิกษุที่มีความต้องการอุเทศเป็นต้น
ย่อมไม่อาจเรียนอุเทศเป็นต้นได้ พวกภิกษุผู้เจริญวิปัสสนาย่อมไม่เกิดจิต
มีอารมณ์เดียว แต่นั้นก็ไม่อาจให้คุณวิเศษบังเกิดได้ ภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่
ผาสุกด้วยอาการอย่างนี้แล. ในบทว่า น ทีฆตฺตาย เป็นต้น พึงทราบ
เนื้อความโดยนัยตรงข้ามกับที่กล่าวแล้ว. บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนา
นี้. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ แปลว่า พิจารณาอยู่อย่างนี้. บทว่า
อกุสล ในข้อว่า อกุสล อาปนฺโน นี้ ทรงหมายถึงอาบัติ. ความว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 318
ต้องอาบัติ. บทว่า กิญฺจิเทว เทส ความว่า มิใช่อาบัติทั้งหมดทีเดียว
แต่เป็นอาบัติบางส่วนเท่านั้น อธิบายว่า อาบัติบางอย่าง. บทว่า กาเยน
ได้แก่ กรัชกาย. บทว่า อนตฺตมโน แปลว่า มีจิตไม่ยินดี. บทว่า
อนตฺตมนวาจ แปลว่า วาจาไม่น่ายินดี. บทว่า มเมว แปลว่า แก่เรา
ผู้เดียว. บทว่า ตตฺถ แปลว่า ในเหตุนั้น. บทว่า อจฺจโย อจฺจคมา
ความว่า ความผิดได้ล่วงเกินย่ำยี (ข้าพเจ้า ) ข้าพเจ้าผู้เดียวมีความผิด
ในเรื่องนี้. บทว่า สุงฺกทายิกว ภณฺฑสฺมึ ความว่า เมื่อนำสินค้าเลี่ยง
ด่านภาษี ความผิดย่อมตกอยู่แก่ผู้นำสินค้าเลี่ยงภาษี เขาแหละเป็นผู้ผิด
ในเรื่องนั้น ไม่ใช่พระราชา ไม่ใช่ราชบุรุษ. ท่านอธิบายว่า ผู้ใดนำ
สินค้าเลี่ยงด่านภาษีที่พระราชาทรงตั้งไว้ พวกราชบุรุษเอาเกวียนนำผู้นั้น
พร้อมด้วยสินค้ามาแสดงแก่พระราชา โทษไม่มีแก่ด่านภาษี ไม่มีแก่
พระราชา ไม่มีแก่พวกราชบุรุษ แต่โทษมีแก่ผู้เลี่ยงด่านภาษีมีเท่านั้น
ภิกษุรูปนั้นก็ฉันนั้นนั่นแล ต้องอาบัติใดแล้วในเรื่องนั้น อาบัตินั้นไม่มี
โทษ ภิกษุผู้โจทก์ก็ไม่มีโทษ แต่ภิกษุผู้ต้องอาบัติรูปนั้นเท่านั้นมีโทษ
ด้วยเหตุ ๓ ประการ. ด้วยว่า เธอมีโทษด้วยความเป็นผู้ต้องอาบัติบ้าง.
มีโทษด้วยความที่ภิกษุผู้เป็นโจทก์ไม่พอใจบ้าง มีโทษด้วยเมื่อมีผู้ไม่พอใจ
บอกอาบัติแก่ผู้อื่นบ้าง. แต่สำหรับภิกษุผู้โจทก์ เธอได้เห็นภิกษุนั้นต้อง
อาบัติ ในข้อนั้นไม่มีโทษ แต่มีโทษเพราะโจทก์ด้วยความไม่พอใจ แม้
ไม่ใส่ใจถึงข้อนั้น ภิกษุนี้ก็พิจารณาเห็นโทษของตน ชื่อว่า ย่อมใคร่
ครวญอย่างนี้ว่า เป็นอย่างนี้ โทษในกรณีนั้น ย่อมตกอยู่แก่ข้าพเจ้า
ผู้เดียว ดุจโทษเพราะสินค้าที่นำเลี่ยงภาษีมาฉะนั้น. ในทุติยวาร พึง
ประกอบเนื้อความว่า โทษ ๒ อย่าง คือ ภิกษุผู้โจทก์ไม่พอใจ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 319
จำเลยถูกโจทด้วยความไม่พอใจ ๑ โทษล่วงเกินกันด้วยอำนาจโทษ ๒
อย่างนั้น. คำที่เหลือในที่นี้ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้สัตว์ตายแล้วเข้าถึงทุคติและสุคติ
[๒๖๒] ๑๖. ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนขางหนึ่ง ครั้น
แล้วได้ทูลถานพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ ประพฤติ
เป็นอธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก.
พ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์
บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ภ. ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุแห่งการประพฤติสม่ำเสมอ คือ
ประพฤติเป็นธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้า
ถึงสุคติโลกสวรรค์.
พ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาติของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดมทรง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 320
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของ
ที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้
มีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระ-
ธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ. ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อญฺตโร ได้แก่ พราหมณ์คนหนึ่งไม่ปรากฏชื่อ. บทว่า
เยน ในคำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ นี้ เป็นตติยาวิภัตติ ลงใน
อรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ใด พราหมณ์เข้าไปเฝ้าในที่นั้น. อีก
อย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า พวกเทวดาและมนุษย์เข้า
ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเหตุใด พราหมณ์เข้าไปเฝ้าด้วยเหตุนั้น.
ก็พราหมณ์นั้นควรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเหตุอะไร. ด้วยความ
ประสงค์บรรลุคุณวิเศษนานัปการ เหมือนฝูงนกเข้าหาต้นไม้ใหญ่ที่ออกผล
เป็นนิจ ด้วยความต้องการกินผลไม้อร่อย ๆ. อนึ่ง บทว่า อุปสงฺกมิ
ท่านอธิบายว่า ไปแล้ว. บทว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นคำแสดงถึง
ความสิ้นสุดของการเข้าไปเฝ้า. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ผู้ที่ไป
อย่างนี้ ไปยังที่ใกล้กว่านั้น กล่าวคือใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า
ภควตา สทฺธึ สมฺโมทิ ความว่า พราหมณ์แม้นั้นได้มีความชื่นชมกับ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 321
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามพราหมณ์ถึง
เรื่องพอทนได้เป็นต้น คือได้ถึงความชื่นชมอย่างเดียวกัน เหมือนน้ำร้อน
กับน้ำเย็น. ก็กถาชื่อสัมโมทนียะ เพราะให้เกิดความชื่นชมกล่าวคือปีติ
และปราโมทย์ และเพราะภาวะที่ควรชื่นชม ซึ่งชื่นชมด้วยคำเป็นต้นว่า
พอทนหรือ ท่านพระโคดมพอเป็นไปได้หรือ ท่านพระโคดมและสาวก
ของท่านพระโคดม มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย กะปรี้กะเปร่า มีกำลัง
อยู่สบายดีหรือ ชื่อสาราณียะ เพราะสมควรให้ระลึกถึงกันตลอดกาลนาน
ระลึกอยู่เรื่อย ๆ และเพราะภาวะที่ควรระลึก เพราะมีความไพเราะ
ทั้งอรรถะและพยัญชนะ ชื่อว่า สัมโมทนียะ เพราะเป็นสุขเมื่อฟัง
ชื่อว่า สาราณียะ เพราะเป็นสุขเมื่อระลึกถึง อนึ่ง ชื่อว่า สัมโมทนียะ
เพราะพยัญชนะบริสุทธิ์ ชื่อว่า สาราณียะ เพราะอรรถะบริสุทธิ์
พราหมณ์เสร็จการกล่าวสัมโมทนียกถา สาราณียกถา คือให้จบสิ้นโดย
อเนกปริยายอย่างนี้ด้วยประการฉะนั้นแล้ว ประสงค์จะทูลถามเรื่องที่ตนมา
จึงนั่งลง ณ ที่อันสมควร. ศัพท์ว่า เอกทนฺต แสดงภาวนปุงสกะ
เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า วิสม จนฺทิมสุริยา ปริวตฺตนฺติ พระจันทร์
และพระอาทิตย์โคจรไม่เท่ากัน ดังนี้ ฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในที่นี้
อย่างนี้ว่า นั่งอย่างที่ผู้นั่งนั่งในที่อันสมควร. อีกอย่างหนึ่ง บทนี้เป็น
ทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. บทว่า นิสีทิ ได้แก่ เข้าไปใกล้.
ธรรมดาคนฉลาด เข้าไปหาผู้ที่มีฐานะเป็นครู ย่อมนั่งในที่อันสมควร
ด้วยความเป็นผู้ฉลาดในเรื่องนั่ง. และพราหมณ์นี้ก็เป็นคนหนึ่งในบรรดา
คนฉลาดเหล่านั้น ฉะนั้น จึงนั่ง ณ ที่อันสมควร.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 322
ถามว่า นั่งอย่างไร จึงชื่อว่านั่ง ณ ที่อันสมควร. แก้ว่า นั่งเว้น
โทษของการนั่ง ๖ อย่าง. โทษของการนั่ง ๖ อย่าง อะไรบ้าง. โทษ
ของการนั่ง ๖ อย่าง คือ ไกลเกินไป ใกล้เกินไป นั่งเหนือลม นั่งที่สูง
นั่งตรงหน้าเกินไป นั่งข้างหลังเกินไป. ผู้นั่งไกลเกินไป ถ้าต้องการจะพูด
ก็ต้องพูดเสียงดัง. นั่งใกล้เกินไป ย่อมจะเสียดสี. นั่งเหนือลม ย่อมจะ
เบียดเบียนด้วยกลิ่นตัว. นั่งที่สูง ย่อมประกาศว่าไม่เคารพ. นั่งตรงหน้า
เกินไป ถ้าต้องการจะดู ก็จะสบตากัน. นั่งข้างหลังเกินไป ถ้าต้องการ
จะดู ก็จะต้องยื่นคอดู. เพราะฉะนั้น พราหมณ์แม้นี้จึงนั่งเว้นโทษของ
การนั่ง ๖ อย่างเหล่านี้ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นั่งลง ณ ที่อันสมควร.
บทว่า เอตทโวจ ความว่า คำถามมี ๒ อย่าง คือ คำถามของ
คฤหัสถ์ ๑ คำถามของบรรพชิต ๑ ใน ๒ อย่างนั้น คำถามของคฤหัสถ์
มาโดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล.
คำถามของบรรพชิตมาโดยนัยนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕
เหล่านี้หรือหนอแล. ก็พราหมณ์นี้เมื่อจะถามคำถามของคฤหัสถ์ซึ่งสมควร
แก่ตน จึงได้กราบทูลคำนี้ คือคำเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม อะไร
หนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย. บรรดาบทเหล่านั้น บททั้งสองว่า
เหตุปจฺจโย นี้ เป็นคำแสดงไขถึงเหตุนั่นเอง. บทว่า อธมฺมจริยา
วิสมจริยาเหตุ แปลว่า เพราะเหตุแห่งความประพฤติไม่เรียบร้อย กล่าว
คือความประพฤติผิดธรรม อธิบายว่า เพราะความประพฤตินั้นเป็นเหตุ
เพราะความพระพฤตินั้นเป็นปัจจัย. ในบทนั้น มีอรรถของบท ดังนี้
ความประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ชื่อว่าความประพฤติผิดธรรม อธิบายว่า
การกระทำที่ไม่เป็นธรรม ความประพฤติที่ไม่เรียบร้อย หรือความ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
ประพฤติซึ่งกรรมอันไม่เรียบร้อย เหตุนั้น จึงชื่อว่าความประพฤติไม่เรียบ
ร้อย. ความประพฤติไม่เรียบร้อยนั่นด้วย เป็นความประพฤติผิดธรรมด้วย
เหตุนั้น จึงชื่อว่าความประพฤติไม่เรียบร้อย เป็นความประพฤติผิดธรรม.
แม้ในธรรมฝ่ายขาว ก็พึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้ แต่โดยใจความใน
ที่นี้ พึงทราบว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่าความประพฤติไม่เรียบร้อย
คือความประพฤติผิดธรรม กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่าความประพฤติเรียบร้อย
กล่าวคือความประพฤติถูกธรรม.
อภิกฺกนฺต ศัพท์ ในคำว่า อภิกฺกนฺต โภ โคตน อภิกฺกนฺต
โภ โคตม นี้ แปลว่า สิ้นไป ดี งาม และน่าอนุโมทนายิ่ง. แปลว่า
สิ้นไป ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อภิกฺกนฺตา ภนฺเต รตฺติ นิกฺขนฺโต
ปฐโม ยาโม จิรนิสินฺโน ภิกฺขุสงฺโฆ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีสิ้น
ไปแล้ว ปฐมยามล่วงไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้ว. แปลว่า ดี ได้ใน
ประโยคเป็นต้นว่า บุคคล ๔ คนเหล่านี้ คนนี้ดีกว่าและประณีตกว่า.
แปลว่า งาม ได้ในคาถาเป็นต้นว่า
ใครมีวรรณะงามยิ่งนัก รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ รุ่งเรือง
ด้วยยศ ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว ไหว้เท้าของเรา.
แปลว่า น่าอนุโนทนายิ่ง ได้ในคำเป็นต้นว่า น่าอนุโมทนายิ่ง พระเจ้าข้า.
แม้ในที่นี้ อภิกฺกนฺต ศัพท์ ก็แปลว่า น่าอนุโมทนายิ่งนั่นแล. และ
เพราะแปลว่า น่าอนุโมทนายิ่ง ฉะนั้น พึงทราบว่า ท่านอธิบายไว้ว่า
ดียิ่ง พระโคดมผู้เจริญ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 324
ท่านผู้รู้ย่อมพูดซ้ำ เพราะความกลัว โกรธ
สรรเสริญ รีบด่วน ตื่นตระหนก ร่าเริง โศก
และเลื่อมใส.
ก็ อภิกฺกนฺต ศัพท์นี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าว ๒ ครั้งในที่นี้ ด้วย
อำนาจความเลื่อมใส และด้วยอำนาจความสรรเสริญ ตามลักษณะดังกล่าว
มานี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภิกฺกนฺต แปลว่า น่าปรารถนายิ่ง คือ
น่าพอใจยิ่ง อธิบายว่า ดียิ่ง. ในสองศัพท์นั้น ด้วย อภิกฺกนฺต ศัพท์
หนึ่งพราหมณ์ชมเทศนา อีกศัพท์หนึ่งชมความเลื่อมใสของตน. แลใน
ที่นี้มีอธิบายดังนี้ว่า พราหมณ์ชมพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมาย
เอาเนื้อความ ๒ เนื้อความว่า ดียิ่ง พระโคดมผู้เจริญ คือ ธรรมเทศนา
ของพระโคดมผู้เจริญ ดียิ่ง และข้าพระองค์เลื่อมใส ก็เพราะอาศัยเทศนา
ของพระโคดมผู้เจริญ. พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญ ดียิ่ง เพราะ
ดียิ่ง เพราะให้บรรลุคุณ พึงประกอบเหมือนกัน ด้วยบทมีอาทิอย่างนี้
ว่า เพราะให้เกิดศรัทธา เพราะให้เกิดปัญญา เพราะมีอรรถ เพราะมี
พยัญชนะ เพราะบทตื้น เพราะอรรถลึก เพราะสะดวกหู เพราะถึงใจ
เพราะไม่ยกตน เพราะไม่ข่มท่าน เพราะเย็นด้วยกรุณา เพราะตรัสด้วย
ปัญญา เพราะเป็นทางที่น่ารื่นรนย์ เพราะข่มศัตรูได้ เพราะสบายแก่ผู้ฟัง
เพราะน่าพิจารณา และเพราะเกื้อกูล. แม้ต่อจากนั้น ก็ยังชมเทศนาด้วย
อุปมาถึง ๔ ข้อทีเดียว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิต ได้แก่
ตั้งคว่ำหน้า หรือเอาหน้าไว้ล่าง. บทว่า อุกฺกุชฺเชยฺย แปลว่า
หงายหน้า. บทว่า ปฏิจฺฉนฺน ได้แก่ ปกปิดด้วยหญ้าเป็นต้น. บทว่า
วิวเรยฺย แปลว่า หงายหน้าขึ้น. บทว่า มูฬฺหสฺส ได้แก่ คนหลงทิศ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 325
บทว่า มคฺค อาจิกฺเขยฺย ความว่า จูงมือไปบอกว่าทางนี้. บทว่า
อนฺธกาเร ได้แก่ มืด ๔ อย่าง คือ แรม ๑๔ ค่ำ เที่ยงคืน ไพรสัณฑ์ทึบ
เมฆหนา. เนื้อความของบทที่ยากเท่านี้. มีอธิบายดังต่อไปนี้ พระโคดม
ผู้เจริญให้ข้าพระองค์ผู้หันหลังให้พระสัทธรรม ตกอยู่ในอสัทธรรม ออก
จากอสัทธรรมได้ เหมือนคนบางคนหงายของที่คว่ำ ทรงเปิดคำสอนที่ถูก
มิจฉาทิฏฐิปกปิดจำเดิมแต่ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะอันตรธาน
เหมือนเปิดของที่ปิด ทรงทำให้แจ้งซึ่งทางสวรรค์และนิพพานแก่ข้าพระ-
องค์ผู้ดำเนินทางชั่วทางผิด เหมือนบอกทางแก่คนหลง ทรงประกาศ
ธรรมแก่ข้าพระองค์ ด้วยทรงชูประทีปคือเทศนา กำจัดความมือคือโมหะ
ที่ปกปิดพระรัตนตรัยนั้น แก่ข้าพระองค์ผู้จมอยู่ในที่มืดคือโมหะ ไม่เห็น
รูปแห่งพุทธรัตนะเป็นต้น เหมือนคนส่องประทีปน้ำมันในที่มืด. เพราะ
ทรงประกาศโดยปริยายเหล่านี้ เป็นอันทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย.
พราหมณ์ชมเทศนาอย่างนี้แล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัยเพราะเทศนา
นี้ เมื่อกระทำอาการของผู้ที่เลื่อมใส จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เอสาห ดังนี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสาห ตัดบทเป็น เอโส อห แปลว่า
ข้าพระองค์นี้. บทว่า ภวนฺต โคตม สรณ คจฺฉามิ ความว่า
ข้าพระองค์ขอถึง คือคบ เสพ นั่งใกล้ ซึ่งพระโคดมผู้เจริญ ด้วย
ความประสงค์นี้ว่า พระโคดมผู้เจริญ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
เป็นผู้กำจัดความชั่ว และเป็นผู้ประทานประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์
อธิบายว่า ทราบ คือรู้อย่างนี้. ก็ธาตุเหล่าใดมีความว่า ไป ธาตุเหล่า
นั้นมีความว่า รู้ ก็มี ฉะนั้น ความของบทว่า คจฺฉามิ นี้ ท่านจึงกล่าว
ว่า ชานามิ พุชฺฌามิ ข้าพระองค์ทราบ คือรู้ ดังนี้ . ในบทว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 326
ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ นี้ ชื่อว่าธรรม เพราะทรงเหล่าสัตว์ผู้บรรลุ
มรรค และทำนิโรธให้แจ้ง ปฏิบัติตามคำสั่งสอน ไม่ให้ตกไปในอบาย ๔
โดยอรรถ ได้แก่อริยมรรคและพระนิพพาน. สมจริงดังที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสังขตธรรมทั้งหลาย อริย-
มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เรากล่าวว่าเป็นยอดของสังขตธรรมเหล่านั้น.
ว่าโดยพิสดาร มิใช่แต่อริยมรรคและพระนิพพานเท่านั้น ที่ชื่อว่าธรรม
ที่จริง แม้ปริยัติธรรมกับอริยผล ก็ชื่อว่าธรรม. สมจริงดังที่ตรัสไว้ใน
ฉัตตมาณวกวิมานวัตถุว่า
ราควิราคมเนชมโสก ธมฺมมสงฺขตมปฺปฏิกูล
มธุรมิม ปคุณ สุวิภตฺต ธมฺมมิม สรณติถมุเปหิ.
เธอจงเข้าถึงธรรมเครื่องสำรอกราคะ ไม่หวั่น
ไหว ไม่เศร้าโศก เป็นอสังขตธรรม ไม่ปฏิกูล
งาม คล่องแคล่ว จำแนกไว้ดีแล้ว นี้ ว่าเป็นสรณะ
เถิด.
บทว่า ราควิราโค ในที่นี้ ตรัสหมายถึงมรรค. บทว่า อเนชมโสก
ได้แก่ ผล. ธมฺมมสงฺขต ได้แก่นิพพาน. บทว่า อปฺปฏิกูล มธุรมิม
ปคุณ สุวิภตฺต ได้แก่ ธรรมขันธ์ทั้งหมดที่จำแนกเป็น ๓ ปิฎก ชื่อว่า
สงฆ์ เพราะเกี่ยวเนื่องกันโดยทิฏฐิและศีล. สงฆ์นั้น โดยอรรถได้แก่กลุ่ม
พระอริยบุคคล ๘. สมจริงดังที่ตรัสไว้ในวิมานวัตถุนั้นแหละว่า
ยตฺถ จ ทินฺนมหปฺผลมาหุ
จตูสุ สุจีสุ ปุริสยุเคสุ
อฏฺ จ ปุคฺคลธมฺมทสา เต
สงฺฆมิม สรณตฺถมุเปหิ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 327
เธอจงเข้าถึงสงฆ์ คือ คนสะอาด ๔ คู่ เป็น
พระอริยบุคคล ๘ ซึ่งบัณฑิตกล่าวว่า ทานที่ถวาย
ท่านแล้วมีผลมาก นี้ ว่าเป็นสรณะเถิด.
หมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อภิกษุสงฆ์. พราหมณ์ประกาศการถึงสรณะ
๓ ประการ ด้วยคำเพียงเท่านี้ . เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสรณคมน์เหล่า
นั้น แม้ในที่นี้ก็ควรทราบวิธีนี้ว่า สรณคมน์ของผู้ที่ถึงสรณะมี ๒
ประเภท คือ สรณคมน์ประเภท ๑ อานิสงส์แห่งสรณคมน์ประเภท ๑.
คือ อย่างไร. พึงทราบโดยเนื้อความของบทก่อน ชื่อว่าสรณะ เพราะ
อรรถว่ากำจัด อธิบายว่า ฆ่าเครื่องเศร้าหมองรอบ ๆ คือความสะดุ้ง
ความทุกข์ และทุคติ ทำให้พินาศ ด้วยสรณคมน์นั่นแหละ ของผู้ที่ถึง
สรณะ คำว่า สรณคมน์นี้เป็นชื่อของพระรัตนตรัย. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
พุทธ เพราะกำจัดภัยของเหล่าสัตว์ ด้วยให้สิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไป
ให้ออกจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์. ชื่อว่า ธรรม เพราะยกสัตว์ให้ข้าม
จากกันดารคือภพ และเพราะทำความเบาใจแก่สัตว์โลก ชื่อว่า สงฆ์
เพราะทำสักการะแม้มีประมาณน้อย กลับได้ผลไพบูลย์. ฉะนั้น พระ-
รัตนตรัยจึงเป็นสรณะ โดยปริยายแม้นี้ จิตตุปบาทที่กำจัดกิเลสได้ด้วย
ความเลื่อมใสและความเคารพพระรัตนตรัยนั้น ที่เป็นไปโดยอาการ คือ
ความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่าสรณคมน์ สัตว์ที่มี
ความพร้อมเพรียงด้วยสรณคมน์นั้น ถึงสรณะ คือถึงรัตนะ ๓ เหล่านี้ว่า
เป็นสรณะ ด้วยจิตตุปบาทมีประการดังกล่าวแล้ว อธิบายว่า เข้าถึงรัตนะ
๓ เหล่านี้ว่า เป็นที่ไปในเบื้องหน้าอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็สรณคมน์
ของผู้ที่ถึงสรณะ พึงทราบเพียงเท่านี้ก่อน. ก็ในประเภทแห่งสรณคมน์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 328
สรณคมน์มี ๒ ประเภท คือ ที่เป็นโลกุตระประเภท ๑ ที่เป็นโลกิยะ
ประเภท ๑. ใน ๒ ประเภทนั้น สรณคมน์ที่เป็นโลกุตระ สำหรับผู้
ที่เห็นอริยสัจแล้ว โดยอารมณ์มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ โดยกิจ ย่อม
สำเร็จในพระรัตนตรัยทั้งสิ้น ด้วยการตัดขาดอุปกิเลสด้วยสรณคมน์ใน
มรรคขณะ. สรณคมน์ที่เป็นโลกิยะสำหรับพวกปุถุชน โดยอารมณ์มีพุทธ-
คุณเป็นต้นเป็นอารมณ์ ย่อมสำเร็จด้วยการข่มอุปกิเลสด้วยสรณคมน์แล.
สรณคมน์นั้น โดยอรรถ ได้แก่การได้ศรัทธาในวัตถุ ๓ มีพระพุทธเจ้า
เป็นต้น และสัมมาทิฏฐิที่มีศรัทธาเป็นมูล. ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ท่าน
เรียกว่า ทิฏฐุชุกรรม. สรณคมน์นี้นั้นเป็นไปโดยอาการ ๔ คือ โดย
การมอบถวายตน ๑ โดยความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยเป็นเบื้องหน้า ๑ โดย
เข้าถึงความเป็นศิษย์ ๑ โดยการนอบน้อม ๑. ใน ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า
การมอบถวายตน ได้แก่การสละตนถวายแด่พระพุทธเจ้าเป็นต้น อย่างนี้
ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอมอบถวายตนแด่พระพุทธเจ้า แด่
พระธรรม แด่พระสงฆ์. ที่ชื่อว่าความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยเป็นเบื้องหน้า
ได้แก่ความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยเป็นเบื้องหน้า อย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็น
ต้นไป ข้าพเจ้ามีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นเบื้องหน้า
ขอท่านทั้งหลายจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ ดังนี้. ที่ชื่อว่าเข้าถึงความเป็นศิษย์
ได้แก่การเข้าถึงความเป็นศิษย์ อย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้า
เป็นอันเตวาสิก (ศิษย์) ของพระพุทธเจ้า ของพระธรรม ของพระสงฆ์
ขอท่านทั้งหลายจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ ดังนี้. ที่ชื่อว่าทำความนอบน้อม
ได้แก่การทำความเคารพอย่างยิ่งในพระพุทธเจ้าเป็นต้น อย่างนี้ว่า ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอการทำอภิวาท การลุกขึ้นรับ อัญชลีกรรม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 329
สามีจิกรรม แด่วัตถุ ๓ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเท่านั้น ขอท่านทั้งหลาย
จงทรงจำข้าพเจ้าไว้ ดังนี้ . เมื่อทำอาการ ๔ อย่างนี้แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ย่อมเป็นอันรับสรณคมน์แล้วทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบการมอบ
ถวายตน แม้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอสละตน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอสละ
ตน แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอสละชีวิต ดังนี้ เป็นอัน
ข้าพเจ้าสละตนแล้วทีเดียว เป็นอันข้าพเจ้าสละชีวิตแล้วทีเดียว ข้าพเจ้า
ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เป็นที่เร้น เป็นที่
ฟังของข้าพเจ้า จนสุดสิ้นชีวิต ด้วยประการฉะนี้. การเข้าถึงความเป็น
ศิษย์ พึงเห็นเช่นสรณคมน์ของพระมหากัสสปะ แม้อย่างนี้ว่า ถ้าข้าพเจ้า
จะพึงเห็นพระศาสดา ก็ขอเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ถ้าข้าพเจ้าจะ
พึงเห็นพระสุคต ก็ขอเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ถ้าข้าพเจ้าจะพึง
เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ขอเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น. ความ
เป็นผู้มีพระรัตนตรัยเป็นเบื้องหน้า พึงทราบอย่างสรณคมน์ของอาฬวก-
ยักษ์เป็นต้น แม้อย่างนี้ว่า
โส อห วจริสฺสามิ คามา คาม ปุรา ปุร
นมสฺสมาโน สมฺพุทฺธ ธมฺมสฺส จ สุธมฺมต.
ข้าพเจ้านั้น จักเที่ยวไป จากบ้านสู่บ้าน จาก
เมืองสู่เมือง ขอนมัสการพระพุทธเจ้า และพระ-
ธรรมของพระองค์อันเป็นธรรมดี ดังนี้แล.
ครั้งนั้นแล พราหมณ์พรหมายุ ลุกจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า
หมอบศีรษะลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า จูบพระยุคลบาท
นวดด้วยฝ่ามือ และประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 330
พราหมณ์พรหมายุ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าพราหมณ์พรหมายุ
การทำความนอบน้อม พึงเห็นแม้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็การทำ
ความนอบน้อมนี้นั้น มี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจญาติ, ภัย, อาจารย์ และทักขิ-
เณยยบุคคล, ใน ๔ อย่างนั้น สรณคมน์ย่อมมีได้ด้วยการทำความนอบ
น้อมแก่ทักขิเณยยบุคคล มิใช่มีด้วย ๓ อย่างนอกนี้. ด้วยว่า สรณะ
อันบุคคลถือด้วยอำนาจคนประเสริฐนั่นแล ขาดก็ด้วยอำนาจคนประเสริฐ
เหมือนกัน ฉะนั้น ผู้ใดเป็นศากยะก็ตาม เป็นโกลิยะก็ตาม ไหว้ด้วยคิดว่า
พระพุทธเจ้าเป็นพระญาติของเรา ดังนี้ สรณะย่อมไม่เป็นอันผู้นั้นรับเลย.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดไหว้ด้วยความกลัวว่า พระสมณโคดม เป็นผู้ที่พระราชา
บูชา มีอานุภาพมาก เมื่อเราไม่ไหว้ จะพึงทำความพินาศให้ ดังนี้
สรณะย่อมไม่เป็นอันผู้นั้นรับเหมือนกัน. ผู้ใดระลึกถึงอะไร ๆ ที่ตนเล่า
เรียนในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ และเล่า
เรียนอนุสาสนี ครั้งเป็นพระพุทธเจ้า เห็นปานนี้ว่า
เอเกน โภเค ภุญฺเชยฺย ทฺวีหิ กมฺม ปโยชเย
จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย อาปทาสุ ภวิสฺสติ.
บุคคลพึงใช้ทรัพย์ส่วนหนึ่งกินอยู่ ใช้ทรัพย์ ๒
ส่วนประกอบการงาน ส่วนที่ ๔ พึงเก็บไว้ เผื่อ
คราวอันตราย ดังนี้.
แล้วไหว้ด้วยคิดว่า เป็นอาจารย์ของเรา ดังนี้ สรณะย่อมไม่เป็นอันผู้นั้น
รับเหมือนกัน. แต่ผู้ใดไหว้ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นอัครทักขิเณยยบุคคลในโลก
สรณะย่อมเป็นอันผู้นั้นรับแล้วทีเดียว. ผู้ที่รับสรณะอย่างนี้แล้ว เป็น
อุบาสกก็ตาม เป็นอุบาสิกาก็ตาม ไหว้ญาติแม้บวชในพวกอัญญเดียรถีย์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 331
ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นญาติของเรา ดังนี้ สรณคมน์ไม่ขาด จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงผู้ที่มิได้บวช ไหว้พระราชาด้วยอำนาจความกลัวว่า ธรรมดาว่า
พระราชานั้น เพราะเขาบูชากันทั่วประเทศ เมื่อเราไม่ไหว้ จะพึงทำความ
พินาศให้ ดังนี้ เหมือนกัน แม้ไหว้เดียรถีย์ผู้สอนศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง
ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา สรณคมน์ไม่ขาด พึงทราบประเภท
แห่งสรณคมน์ ด้วยประการฉะนี้. และในที่นี้ สรณคมน์ที่เป็นโลกุตระ
มีสามัญญผล ๔ เป็นวิบากผล มีความสิ้นทุกข์ทั้งหมด เป็นอานิสังสผล.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณ คโต
จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสติ
ทุกฺข ทุกฺขสมุปฺปาท ทุกฺขสฺส จ อติกฺกม
อริยญฺจฏฺงฺคิก มคฺค ทุกฺขูปสมคามิน
เอต โข สรณ เขม เอต สรณมุตฺตม
เอต สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ
ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
เป็นสรณะ ผู้นั้นย่อมเห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอัน
ชอบ คือเห็นทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และ
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ซึ่งให้ถึงความสงบ
ทุกข์ นั่นแลเป็นสรณะอันเกษม นั่นเป็นสรณะสูงสุด
ผู้อาศัยสรณะนี้ ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอานิสังสผลของสรณคมน์นั้น แม้ด้วย
สามารถความไม่เข้าไปยึด โดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น. สมจริงดังที่
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 332
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่บุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยทิฏฐิจะพึงเข้ายึดสังขารอะไร ๆ ว่าเที่ยง ว่าเป็นสุข เข้าถึงธรรม
อะไร ๆ ว่าเป็นตัวตน ฆ่าแม่ ฆ่าพ่อ ฆ่าพระอรหันต์ คิดร้ายทำพระ-
ตถาคตถึงห้อเลือด ทำลายสงฆ์ อุทิศศาสดาอื่น นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้.
แต่ทั้งภวสมบัติ ทั้งโภคสมบัติ ก็เป็นผลของสรณคมน์ที่เป็นโลกิยะนั่นเอง.
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
เยเกจิ พุทฺธ สรณ คตาเส
น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ
ปหาย มานุส เทห
เทวกาย ปริปูเรสฺสนฺติ
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงพระพุทธเจ้า เป็นสรณะ
ชนเหล่านั้นจักไม่ไปสู่อบายภูมิ เขาละกายมนุษย์
แล้ว จักทำกายเทพให้บริบูรณ์ ดังนี้.
ท่านกล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อม
ด้วยเทวดา ๘๔,๐๐๐ เข้าไปหาท่านมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ฯลฯ
ท่านมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้กะท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ยืนอยู่ ณ ที่อัน
สมควรว่า ดูก่อนจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ มีประโยชน์
จริง ดูก่อนจอมเทพ เพราะเหตุที่ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะนั่นแหละ
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เขาทั้งหลายย่อมเหนือเทวดาอื่น ๆ โดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์
วรรณะทิพย์ สุข ยศ อธิปไตยทิพย์ รูป เสียง กลิ่น รส และ
โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์. ในพระธรรมและพระสงฆ์ก็นัยนี้. อีกอย่าง
หนึ่ง พึงทราบผลวิเศษแห่งสรณคมน์ แม้ด้วยอำนาจเวลามสูตรเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 333
ผลแห่งสรณคมน์พึงทราบอย่างนี้. แลในสรณคมน์ ๒ อย่างนั้น สรณคมน์
ที่เป็นโลกิยะ ย่อมเศร้าหมองด้วยไม่รู้ สงสัย และรู้ผิดเป็นต้น ในพระ-
รัตนตรัย ย่อมไม่มีผลรุ่งโรจน์ ไม่มีผลแผ่ไพศาล. สรณคมน์ที่เป็น
โลกุตระไม่มีเศร้าหมอง. อนึ่ง สรณคมน์ที่เป็นโลกิยะ มี ๒ ชนิด คือ
ชนิดมีโทษ ๑ ชนิดไม่มีโทษ ๑. ใน ๒ ชนิดนั้น ชนิดมีโทษย่อมมีได้
ด้วยการมอบถวายตนในศาสดาอื่นเป็นต้น ชนิดนั้นมีผลไม่น่าปรารถนา.
ชนิดไม่มีโทษ ย่อมมีได้ด้วยกาลกิริยา [ตาย] ชนิดนั้นไม่มีผลเพราะ
ไม่มีวิบาก. ส่วนสรณคมน์ที่เป็นโลกุตระไม่มีขาดเลยทีเดียว. ด้วยว่า
แม้ในระหว่างภพ พระอริยสาวกก็ไม่อุทิศศาสดาอื่น พึงทราบความเศร้า
หมอง และความขาดแห่งสรณคมน์อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อุปาสก ม ภว โคตโม ธารตุ ความว่า ขอท่าน
พระโคดมผู้เจริญจงทรงจำ คือจงทรงทราบข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็น
อุบาสก ดังนี้. เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในเรื่องของอุบาสก พึงทราบข้อ
เบ็ดเตล็ดในที่นี้ดังนี้ว่า อุบาสกคือใคร เหตุไรจึงเรียกอุบาสก อุบาสกมี
ศีลเท่าไร มีอาชีวะอย่างไร มีวิบัติอย่างไร มีสมบัติอย่างไร. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า โก อุปาสโก ได้แก่ คฤหัสถ์บางคนที่ถึงสรณะสาม. สมจริง
ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนมหานามะ บุคคลเป็นอุบาสกด้วยเหตุใดแล บุคคล
เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์
เป็นสรณะ ดูก่อนมหานามะ บุคคลย่อมเป็นอุบาสกด้วยเหตุเพียงนี้แล.
ถามว่า เหตุไรจึงเรียกอุบาสก แก้ว่า เรียกว่า อุบาสก เพราะนั่งใกล้
พระรัตนตรัย คือเรียกเขาว่า อุบาสก เพราะนั่งใกล้พระพุทธเจ้า เรียก
ว่าอุบาสก เพราะนั่งใกล้พระธรรม พระสงฆ์. ถามว่า อุบาสกมีศีล
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 334
เท่าไร แก้ว่า มีเจตนาเครื่องงดเว้นบาป ๕ ข้อ. อย่างที่ตรัสว่า ดูก่อน
มหานามะ ด้วยเหตุใดแล อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้งด
เว้นจากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนมหานามะ อุบาสก
ย่อมมีศีลด้วยเหตุเพียงนี้แล. ถามว่า มีอาชีวะอย่างไร แก้ว่า ละเว้น
การค้าขายที่ผิด ๕ อย่าง เลี้ยงชีพโดยธรรมโดยเหมาะสม. สมจริงดังที่
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่าง อุบาสกไม่พึงกระทำ
๕ อย่างอะไรบ้าง คือขายศัสตรา ขายสัตว์ ขายเนื้อ ขายน้ำเมา ขาย
ยาพิษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้แล อุบาสกไม่
พึงกระทำ. ถามว่า มีวิบัติอย่างไร แก้ว่า ศีลวิบัติและอาชีววิบัตินั้น
แหละ เป็นวิบัติของอุบาสก. อีกอย่างหนึ่ง กิริยาที่เป็นเหตุให้อุบาสกนี้
เป็นผู้ต่ำช้า มัวหมอง เลวทราม แม้นั้น พึงทราบว่า เป็นวิบัติของ
อุบาสกนั้น. กิริยาที่ว่านั้น โดยความก็คือธรรม ๕ ประการมีความเป็นผู้
ไม่มีศรัทธาเป็นต้น . เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสก
ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกต่ำช้า เป็นอุบาสกมัว
หมอง เป็นอุบาสกเลวทราม ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง คือเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ๑ ทุศีล ๑ ถือมงคลตื่นข่าว คิดเชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม ๑
แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา ๑ ไม่บำเพ็ญบุญแต่ในพุทธศาสนา ๑
ดังนี้ . ถามว่า มีสมบัติอย่างไร. แก้ว่า ศีลสมบัติและอาชีวสมบัตินั่น
แหละ เป็นสมบัติของอุบาสก ธรรม ๕ ประการ มีศรัทธาเป็นต้น
ทำอุบาสกนั้นให้เป็นอุบาสกแก้วเป็นต้น. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสก
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 335
แก้ว อุบาสกปทุม และอุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง
คือเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีลบริสุทธิ์ ๑ ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม
ไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพุทธศาสนา ๑ บำเพ็ญบุญแต่ใน
พุทธศาสนา ๑ ดังนี้.
อคฺค ศัพท์ ในบทว่า อชฺชตคฺเค นี้ ย่อมปรากฏในความว่า
(แปลว่า) เป็นต้น ปลาย ส่วน และประเสริฐที่สุด. ปรากฏในความ
ว่า เป็นต้น ในประโยคเป็นต้นว่า แน่ะนายประตูเพื่อนรัก ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป ท่านจงกันประตูพวกนิครนถ์ ชายหญิง ดังนี้. ในความว่า
ปลาย ในประโยคเป็นต้นว่า พึงเอาปลายนิ้วนั่นแหละจดปลายนิ้ว ปลาย
อ้อย ปลายไผ่ ดังนี้ . ในความว่า ส่วน ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แบ่งส่วนของมีรสเปรี้ยว หรือส่วนน้ำผึ้ง ตาม
ส่วนของวิหาร หรือตามส่วนของบริเวณ ดังนี้. ในความว่า ประเสริฐที่สุด
ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ
บรรดาสัตว์เหล่านั้น เรากล่าวพระตถาคต ว่าประเสริฐที่สุด ดังนี้. ก็ในที่นี้
อคฺค ศัพท์นี้ พึงเห็นในความว่า เป็นต้น. ฉะนั้น ในบทว่า อชฺช-
ตคฺเค นี้ พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ทำวันนี้ให้เป็นต้น ( ตั้งต้นแต่วันนี้
เป็นต้นไป) บทว่า อชฺชต แปลว่า ความเป็นวันนี้. ปาฐะว่า
อชฺชทคฺเค ดังนี้ก็มี. ท อักษรทำหน้าที่เชื่อมบท. ความว่า ทำวันนี้ให้
เป็นต้น .
บทว่า ปาณุเปต ความว่า เข้าถึงด้วยลมปราณทั้งหลาย คือเข้า
ถึงชั่วเวลาที่ชีวิตของข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่. ขอท่านพระโคดมผู้เจริญ
จงทรงจำ คือทรงทราบข้าพระองค์ว่าไม่มีศาสดาอื่น เป็นอุบาสกผู้ถึง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 336
สรณะด้วยไตรสรณคมน์ เป็นกัปปิยการก ถ้าแม้จะมีใครเอาดาบคมกริบ
มาตัดศีรษะของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็จะไม่ยอมกล่าวพระพุทธเจ้าว่า
ไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมว่าไม่ใช่พระธรรม หรือพระสงฆ์ว่าไม่ใช่
พระสงฆ์ พราหมณ์ (ไม่ปรากฏนาม) ถึงสรณะด้วยการมอบถวายตน
อย่างนี้. ด้วยประการฉะนี้ ปวารณาด้วยปัจจัย ๔ แล้วลุกจากอาสะ ถวาย
บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณ รอบแล้วหลีกไป แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้สัตว์ตายแล้วเข้าถึงทุคติและสุคติ
[๒๖๓] ๑๗. ครั้งในแล พราหมณ์ชานุสโสณีเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนพราหมณ์ เพราะการทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวก
ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต. นรก.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้สัตว์
บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโสกสวรรค์.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย
สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 337
ชา. ข้าพระองค์ย่อมไม่รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต ที่ท่านพระ-
โคดมตรัสแล้วโดยย่อได้โดยพิสดาร ขอประทานวโรกาส ขอท่านพระ-
โคดมจงทรงแสดงธรรม โดยที่ข้าพระองค์จะพึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิต
ที่ท่านพระโคดมตรัสแล้วโดยย่อได้โดยพิสดารเถิด.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เรา
จักกล่าว พราหมณ์ชานุสโสณีได้ทูลสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธวจนะดังนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมทำแต่กายทุจริต มิได้ทำกายสุจริต ย่อมทำแต่
วจีทุจริต มิได้ทำวจีสุจริต ย่อมทำแต่มโนทุจริต มิได้ทำมโนสุจริต ดูก่อน
พราหมณ์ เพราะกระทำด้วย เพราะไม่การทำด้วย สัตว์บางพวกในโลกนี้
เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนพราหมณ์
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมทำแต่กายสุจริต มิได้ทำกายทุจริต ย่อม
ทำแต่วจีสุจริต มิได้ทำวจีทุจริต ย่อมทำแต่มโนสุจริต มิได้ทำมโนทุจริต
ดูก่อนพราหมณ์ เพราะกระทำด้วย เพราะไม่กระทำด้วย สัตว์บางพวก
ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดมทรง
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิด
ของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
คนมีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระ-
ธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 338
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คำว่า ช๑าณุสฺโสณี ในบทว่า ชาณุสฺโสณี นี้ เป็นตำแหน่ง
ตำแหน่งอะไร. ตระกูลใด ได้ตำแหน่ง ตระกูลนั้น ท่านเรียกว่า
ตระกูลชาณุสโสณี (ตระกูลที่เป็นเหตุให้ได้ตำแหน่งนั้น ท่านเรียกว่า
ตระกูลชาณุสโสณี). ด้วยว่า พราหมณ์นี้ เรียกกันว่า ชาณุสโสณี เพราะ
เกิดในตระกูลนั้น และเพราะได้สักการะตำแหน่งชาณุสโสณีแต่ราชสำนัก.
บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า พราหมณ์ทราบมาว่า พระสมณโคดม
เป็นบัณฑิต เป็นผู้เฉียบแหลม เป็นพหูสูต คิดว่า ถ้าพระสมณโคดมนั้น
จักรู้ประเภทลิงค์ วิภัตติ และ การกเป็นต้นไซร้ พระองค์จักรู้สิ่งที่พวก
เรารู้เท่านั้น หรือว่าสิ่งที่พวกเราไม่รู้พระองค์ก็รู้ พระองค์จักตรัสสิ่งที่
พวกเรารู้เท่านั้น หรือว่าสิ่งที่พวกเราไม่รู้ พระองค์ก็ตรัส เขาถือธงคือ
มานะชูขึ้นทันที แวดล้อมไปด้วยบริวารเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.
บทว่า กตฺตา จ พฺราหฺมณ อกตตฺา จ ความว่า พระ-
ศาสดาทรงสดับคำของพราหมณ์นั้นแล้ว มีพระดำริว่า พราหมณ์นี้มาใน
ที่นี้ มิใช่ประสงค์จะรู้ แต่มาเพื่อแสวงหาเนื้อความ จึงได้ถือธงคือมานะ
ชูขึ้นทันทีที่มา จะมีอะไรหนอ เมื่อเราบอกโดยวิธีที่พราหมณ์นี้
จะรู้ทั่วถึงเนื้อความของปัญหา จักมีความเจริญ หรือว่าบอกโดยวิธีที่
พราหมณ์ยังไม่รู้ทั่วถึง จึงจักมีความเจริญ ทรงทราบว่า บอกโดยวิธีที่
พราหมณ์ไม่รู้ จักมีความเจริญ จึงตรัสว่า กตตฺตา จ พฺราหฺมณ
อกตตฺตา จ ดังนี้. พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า พระสมณโคดม
๑. บาลี ชานุสฺโสณี.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 339
ตรัสถึงการบังเกิดในนรก เพราะทำก็มี เพราะไม่ทำก็มี ข้อนี้รู้ได้ยาก
มืดตื้อ เพราะตรัสถึงการบังเกิดในที่แห่งเดียว ด้วยเหตุถึงสองอย่าง เรา
ไม่มีที่พึ่งในเรื่องนี้ แต่ถ้าเราจะนิ่งเสียเลย ถึงเวลาพูดในท่ามกลางพวก
พราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายจะพึงกล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ท่านยกธงคือ
มานะชูขึ้นทันทีที่มาในสำนักของพระสมณโคดม ถูกเข้าคำเดียวเท่านั้นก็
นิ่งเงียบ พูดอะไรไม่ออก ท่านจะพูดในที่นี้ทำไม ฉะนั้น ก็ต้องทำเป็น
ไม่แพ้ จักถามปัญหาในการไปสวรรค์อีก จึงเริ่มปัญหาที่สองว่า กึ ปน
โภ โคตม ดังนี้. อนึ่ง พราหมณ์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักรู้
ปัญหาเบื้องล่างด้วยปัญหาเบื้องบน จักรู้ปัญหาเบื้องบนด้วยปัญหาเบื้องล่าง.
ฉะนั้น พราหมณ์จึงถามปัญหานี้. พระศาสดามีพระดำริโดยนัยก่อนนั่น
เอง เมื่อจะตรัสโดยวิธีที่พราหมณ์ไม่รู้ จึงตรัสว่า กตตฺตา จ พฺราหฺมณ
อกตตฺตา จ ดังนี้อีก. เมื่อพราหมณ์ไม่อาจจะดำรงอยู่ในเรื่องนั้นได้
จึงตกลงใจว่า เรื่องนั้นจงยกก็ไว้ คนที่มาสำนักของคนขนาดนี้ ควรจะ
รู้เรื่องแล้วไป เราจักละวาทะของตน อนุวัตรตามพระสมณโคดม แสวงหา
ประโยชน์ จักชำระทางไปสู่ปรโลก เมื่อจะอาราธนาพระศาสดา จึงกล่าว
คำเป็นต้นว่า น โข อห ดังนี้. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบว่า
พราหมณ์ลดมานะลงแล้ว เมื่อจะทรงขยายเทศนาให้สูงขึ้น จงตรัสว่า
เตนหิ พฺราหฺมณ เป็นต้น . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตนหิ แสดง
ถึงเหตุ. อธิบายว่า เพราะพราหมณ์นั้น เมื่อไม่รู้เนื้อความของพระดำรัสที่
ตรัสโดยย่อ จึงอาราธนาให้แสดงโดยพิสดาร. ฉะนั้น คำที่เหลือในที่นี้
ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถากถาสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 340
สูตรที่ ๘
ทุจริต ๓ เป็นกิจที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว เพราะมีโทษ ๕ ประการ
สุจริต ๓ เป็นกิจที่ควรทำโดยส่วนเดียว เพราะมีอานิสงห์ ๕ ประการ
[๒๖๔] ๑๘. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์
ว่า ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นกิจ
ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอะไรอันผู้นั้นพึงหวังได้.
พ. ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้
คือ ๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ ๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้
๓. กิตติศัพท์ชั่วย่อมกระฉ่อนไป ๔. เป็นคนหลงทำกาละ ๕. เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่เรา
กล่าวว่าเป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้
ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ว่าเป็นกิจ
ควรทำโดยส่วนเดียว.
อา. ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 341
อานิสงส์อะไรอันผู้นั้นพึงหวังได้.
พ. ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้
คือ ๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้ ๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วสรรเสริญ
๓. กิตติศัพท์อันดีย่อมกระฉ่อนไป ๔. ไม่เป็นคนหลงทำกาละ ๕. เมื่อ
แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่
เรากล่าวว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้.
จบสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คำว่า อายสฺมา เป็นคำแสดงความรัก. คำว่า อานนฺโท เป็น
ชื่อของพระเถระนั้น. บทว่า เอกเสน แปลว่า โดยส่วนเดียว. บทว่า
อนุวิจฺจ แปลว่า ใคร่ครวญแล้ว. บทว่า วิญฺญู ได้แก่ บัณฑิต
บทว่า ครหนฺติ แปลว่า ตำหนิ คือกล่าวโทษ. คำที่เหลือในที่นี้
ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
ว่าด้วยจงละอกุศล เจริญกุศล
[๒๖๕] ๑๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 342
กุศลอันบุคคลอาจละได้ ถ้าบุคคลไม่อาจละอกุศลได้ เราไม่พึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละอกุศล ดังนี้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะอกุศลอันบุคคลอาจละได้ ฉะนั้น เราจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละกุศล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าอกุศลนี้อันบุคคลละได้แล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์ไซร้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงละอกุศล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะอกุศลอันบุคคลละได้แล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ฉะนั้น เราจึงกล่าวอย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กุศลอันบุคคลอาจให้เกิดได้ ถ้าบุคคลไม่อาจให้เกิดได้ เราไม่พึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะกุศลอันบุคคลอาจให้เกิดได้ ฉะนั้น เราจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากุศลนี้อันบุคคลให้เกิดแล้ว จะพึงเป็นไปเพื่อไม่เป็น
ประโยชน์ เพื่อทุกข์ไซร้ เราไม่พึงกล่าวอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะกุศลอันบุคคล
ให้เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ฉะนั้น เราจึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงยังกุศลให้เกิด.
จบสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๙
คำทั้งหมดในสูตรที่ ๙ ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 343
สูตรที่ ๑๐
ว่าด้วยธรรม ๒ อย่างที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลือนหาย และตั้งมั่น
[๒๖๖] ๒๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ๑ อรรถที่นำมาไม่ดี. แม้เนื้อความแห่งบท
พยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมาไม่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งพระสัทธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่
ฟั่นเฟือนไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือบทพยัญชนะ
ที่ตั้งไว้ดี ๑ อรรถที่นำมาดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี
แล้ว ก็ย่อมเป็นอันนำมาดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม.
จบสูตรที่ ๑๐
จบอธิกรณวรรคที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุนฺนิกฺขิตฺตญฺจ ปทพฺยญฺชน ได้แก่ บาลีที่เรียงไว้ผิดลำดับ
ก็บทนั่นแหละ เรียกว่าพยัญชนะ เพราะเป็นที่ปรากฏชัดแห่งข้อความ.
บทและพยัญชนะทั้งสองนั้น เป็นชื่อของบาลีนั่งเอง. บทวา อตฺโถ จ
ทุนฺนีโต ความว่า อรรถกถาแห่งบาลีที่แปลจับความผิดลำดับ . บทว่า
ทุนฺนิกฺขิตสฺส ภิกฺขเว ปทพฺยญฺชนสฺส อตฺโถปิ ทุนฺนโย โหติ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 344
ความว่า อรรถกถาของบาลีที่แปลจับความผิดลำดับสับสน ย่อมชื่อว่า
นำมาชั่ว ทำชั่ว.
จบอรรถกถาที่ ๑๐
อรรถกถา๑สูตรที่ ๑๑
ในสูตรที่ ๑๑ พึงทราบเนื้อความโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑
จบอธิกรณวรรคที่ ๒
๑. ในพระบาลีมีเพียง ๑๐ สูตร สูตรที่ ๑๑ รวมอยู่ในข้อ ๒๖๖ ซึ่งเป็นสูตรที่ ๑๐.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
พาลวรรคที่ ๓
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยคนพาล ๒ จำพวก
[๒๗๖] ๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒จำพวก
เป็นไฉน คือ คนที่ไม้เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่ไม่รับรอง
ตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒
จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็น
ไฉน คือ คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่รับรองตามธรรม
เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑
พาลวรรคที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๑
พาลวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อจฺจย อจฺจยโต น ปสฺสติ ความว่า ทำผิดแล้ว ไม่เห็น
ความผิดของตนว่า เราทำผิด ได้แก่ ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าทำผิดแล้ว
นำทัณฑกรรมมาขอขมาโทษ. บทว่า อจฺจย เทเสนฺตสฺส ความว่า
เมื่อเขากล่าวอย่างนี้แล้วนำทัณฑกรรมมาขอขมาโทษ. บทว่า ยถาธมฺม
น ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไม่กระทำอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 346
อีก ขอท่านโปรดยกโทษแก่ข้าพเจ้า ดังนี้ ก็ไม่ยอมรับการขอขมานี้ตาม
ธรรม คือตามสมควร คือไม่กล่าวว่า จำเดิมแต่นี้ ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้
อีก เรายกโทษแก่ท่าน ดังนี้. ธรรมฝ่ายขาวพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม
กับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
ว่าด้วยคน ๒ จำพวก กล่าวตู่พระตถาคต
[๒๖๘] ๒๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่
ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนเจ้าโทสะซึ่งมีโทษอยู่ภายใน ๑ คน
ที่เชื่อโดยถือผิด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าว
ตู่ตถาคต.
จบสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อพฺภาจิกฺขนฺติ ได้แก่ กล่าวตู่ คือกล่าวด้วยเรื่องไม่จริง
บทว่า โทสนฺตโร แปลว่า มีโทสะตั้งอยู่ในภายใน. จริงอยู่ คนแบบนี้
ย่อมกล่าวตู่พระตถาคต เช่น สุนักขัตตลิจฉวี กล่าวว่า อุตตริมนุสสธรรม
ของพระสมณโคดมหามีไม่. บทว่า สทฺโธ วา ทุคฺคหิเตน ความว่า
หรือว่า ผู้ที่มีศรัทธาแก่กล้า ด้วยศรัทธาที่เว้นจากญาณ มีความเลื่อมใส
อ่อนนั้น ถือผิด ๆ กล่าวตู่พระตถาคตโดยนัยเป็นต้นว่า ขึ้นชื่อว่า
พระพุทธเจ้านั้น เป็นโลกุตระทั้งพระองค์ พระอาการ ๓๒ มีพระเกสา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
เป็นต้นของพระองค์ล้วนเป็นโลกุตระทั้งนั้น ดังนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
ว่าด้วยคน ๒ จำพวกที่กล่าวตู่และไม่กล่าวตู่พระตถาคต
[๒๖๙] ๒๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่
ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้
มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคต
ภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล. ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่
แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้
ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคตภาษิตไว้
ตรัสไว้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่
ตถาคต.
จบสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 348
สูตรที่ ๔
ว่าด้วยคน ๒ จำพวกที่กล่าวตู่และไม่กล่าวตู่พระตถาคต
[๒๗๐] ๒๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อม
กล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถ
จะพึงนำไปว่า พระสุตตันตะมีอรรถนำไปแล้ว ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะ
ที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า พระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน
คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึ่งนำไปว่า พระสุตตันตะมี
อรรถที่จะพึงนำไป ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า
พระสุตตันตะมีอรรถอันนำไปแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวก
นี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต.
จบสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เนยฺยตฺถ สุตฺตนฺต ความว่า สุตตันตะใดมีเนื้อความพึง
แนะนำ ซึ่งสุตตันตะมีเนื้อความพึงแนะนำนั้น. บทว่า นีตตฺโถ
สุตฺตนฺโตติ ทีเปติ ความว่า เมื่อกล่าวว่า สุตตันตะนี้ มีเนื้อความกล่าว
ไว้แล้ว. ในบาลีประเทศนั้น สุตตันตะเห็นปานนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลจำพวก ๑ บุคคล ๒ จำพวก บุคคล ๓ จำพวก บุคคล ๔ จำพวก
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 349
ดังนี้ ชื่อว่ามีเนื้อความพึงแนะนำ. ก็ในที่นี้ ถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวก ๑ ดังนี้ เป็นต้นก็จริง ถึง
อย่างนั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ บุคคลหามีไม่ พึงแนะนำเนื้อความแก่เขา
อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้ทีเดียว แต่บุคคลผู้นี้โง่เขลา จึงแสดงว่า สุตตันตะ
นี้มีเนื้อความแนะนำแล้ว. เพราะว่าเมื่อบุคคลไม่มีโดยปรมัตถ์แล้ว พระ-
ตถาคตก็ไม่พึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวก ๑ ดังนี้
เป็นต้นซิ. แต่เพราะพระองค์ตรัสอย่างนั้น ฉะนั้น จึงถือว่า บุคคลมีอยู่
โดยปรมัตถ์ ชื่อว่าย่อมแสดงสุตตันตะมีเนื้อความควรแนะนำ ว่าเป็น
สุตตันตะมีเนื้อความแนะนำแล้ว. บทว่า นีตตฺถ ได้แก่ มีเนื้อความที่
ตรัสไว้อย่างนี้ว่า อนิจฺจ ทุกฺขฺ อนตฺตา ซึ่งในที่นี้ก็มีเนื้อความชัดอยู่
แล้วว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน. แต่บุคคลผู้นี้โง่เขลา คิดว่า
ยังมีสุตตันตะที่มีเนื้อความพึงแนะนำ เราจักนำเนื้อความของสุตตันตะนั้น
มา ถือว่า ที่เที่ยง ที่เป็นสุข ที่เป็นตัวตนก็มีอยู่ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมแสดง
สุตตันตะมีเนื้อความแนะนำแล้ว ว่าเป็นสุตตันตะมีเนื้อความควรแนะนำ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕๑
ในสูตรที่ ๕ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
๑. อรรถกถาสูตรที่ ๔ - ๕ นี้ แก้พระสูตรที่ ๔ (ข้อ ๒๗๐) แต่อรรถกถาแบ่งเป็น ๒ สูตร.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 350
สูตร๑ที่ ๕
ว่าด้วยคติ ๒ อย่างของผู้มีการงานลามกและไม่ลามก
[๒๗๐] ๒๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือ
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง อันผู้มีการงานลามกพึงหวังได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือเทวดาหรือมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่ง
อันผู้มีการงานไม่ลามกพึงหวังได้.
จบสูตรที่ ๕
อรรถกถ๒าสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ (บาลีข้อ ๒๗๑) มีวินิจฉัยดัง
บทว่า ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีการกระทำอันเป็นบาป.
เพราะคนทั้งหลายย่อมทำบาปโดยอาการปกปิด แม้หากทำโดยอาการไม่
ปกปิด บาปกรรมก็ได้ชื่อว่า กรรมอันปกปิดอยู่นั่นเอง. บทว่า นิรโย
ได้แก่ ขันธ์พร้อมทั้งโอกาส และขันธ์ในกำเนิดดิรัจฉาน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
สูตร๓ที่ ๖
ว่าด้วยคติ ๒ อย่างที่คนมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้
[๒๗๒] ๒๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือ
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง อันคนมิจฉาทิฏฐิพึงหวังได้ ดูก่อน
๑. อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๖ แต่แก้บาลีสูตรที่ ๕ (ข้อ ๒๗๑)
๒. พระสูตรเป็นสูตรที่ ๕.
๓. บาลีเป็นสูตรที่ ๖ แต่อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๗-๘.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 351
ภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ เทวดาหรือมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่ง
อันคนสัมมาทิฏฐิพึงหวังได้.
จบสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๗-๘
ในสูตรที่ ๗ และสูตรที่ ๘ ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗-๘
สูตร๑ที่ ๗
ว่าด้วยฐานะ ๒ ที่ต้อนรับคนทุศีลและคนมีศีล
[๒๗๓] ๒๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ต้อนรับคนทุศีลมี
๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ
ที่ต้อนรับคนมีศีล ๒ อย่าง คือ มนุษย์หรือเทวดา.
จบสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิคฺคหา แปลว่า ฐานะที่ต้อนรับ ความว่า สถานที่ ๒ แห่ง
ย่อมต้อนรับบุคคลทุศีล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
๑. อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๙.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 352
สูตร๑ที่ ๘
ว่าด้วยประโยชน์ ๒ ประการในการเสพเสนาสนะอันสงัด
[๒๗๔] ๒๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพิจารณาเห็นอำนาจ
ประโยชน์ ๒ ประการ จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว
อำนาจประโยชน์ ๒ ประการเป็นไฉน คือ เห็นการอยู่สบายในปัจจุบัน
ของตน ๑ อนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลัง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็น
อำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและ
ป่าเปลี่ยว.
จบสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อตฺถวเส ได้แก่ เหตุ. บทว่า อรญฺวนปฏฺานิ ได้แก่
ป่าและดง. ใน ๒ อย่างนั้น ในอภิธรรมท่านเรียกที่ทั้งหมดที่อยู่นอก
เสาอินทขีล [ เสาหลักเมือง ] ออกไปว่า ป่า โดยตรงก็จริง ถึงอย่างนั้น
บ่าที่ภิกษุผู้ถืออรัญญิกธุดงค์พอพักอยู่ได้ ที่ท่านกล่าวว่าใกล้ที่สุดชั่ว
๕๐๐ ธนูนั้นแหละ พึงทราบว่า ท่านประสงค์. บทว่า วนปฏฺ ได้แก่
ป่าที่เลยเขตบ้านออกไป ไม่เป็นถิ่นของมนุษย์ ไม่เป็นที่ไถที่หว่าน.
บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่ สุดกู่ คือไกลมาก. บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาร
ได้แก่ การอยู่อย่างผาสุกทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า ปจฺฉิมญฺจ
ชนต อนุกมฺปมาโน ความว่า อนุเคราะห์สาวกรุ่นหลังของเรา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
๑. อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๑๐.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 353
สูตรที่ ๙๑
ว่าด้วยธรรม ๒ อย่างที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
[๒๗๕] ๒๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วน
แห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อม
อมรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญา
ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละวิชชาได้.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๒๗๖] ๓๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ
ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญ ด้วย
ประการฉะนั้นแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า
เจโตวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ.
จบสูตรที่ ๑๐
จบพาลวรรคที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑๒
ในสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วิชฺชาภาคิยา แปลว่า เป็นไปในส่วนวิชชา. บทว่า สมโถ
๑. สูตรที่ ๙-๑๐ มีเนื้อความติดต่อกัน ควรจะรวมไว้ในสูตรเดียวกัน แต่บาลีแยกเป็น ๒ สูตร
อรรถกถารวมไว้เป็นสูตรเดียวกัน คือสูตรที่ ๑๑.
๒. บาลีข้อ ๒๗๕-๒๗๖.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 354
ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ( แน่วแน่ ). บทว่า วิปสฺสนา ได้แก่
ญาณกำหนดสังขารเป็นอารมณ์. บทว่า กิมตฺถมนุโภติ ความว่า ให้สำเร็จ
ประโยชน์อะไร คือให้ถึงพร้อม ให้บริบูรณ์. บทว่า จิตฺต ภาวียติ
ความว่า เจริญเพิ่มพูน พัฒนามรรคจิต. บทว่า โย ราโค โส ปหียติ
ความว่า ละกิเลสที่ชื่อว่าราคะด้วยอำนาจย้อมใจได้. เพราะราคะเป็นข้าศึก
ของมรรคจิต มรรคจิตเป็นข้าศึกของราคะ. ขณะมีราคะ ไม่มีมรรคจิต
ขณะมีมรรคจิต ไม่มีราคะ. ราคะเกิดขึ้นเมื่อใด ย่อมห้ามนิให้มรรคจิต
เกิดขึ้นเมื่อนั้น คือตัดหนทาง. มรรคจิตเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นมรรคจิต
ก็เพิกถอนราคะพร้อมทั้งรากทีเดียว ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ราโค ปหียติ.
บทว่า วิปสฺสนา ภิกฺขเว ภาวิตา ความว่า วิปัสสนาญาณอันภิกษุ
เพิ่มพูนแล้วให้เจริญแล้ว. บทว่า ปญฺา ภาวียติ ความว่า มรรคปัญญา
อันวิปัสสนาให้เจริญ คือให้เพิ่มพูนให้พัฒนา บทว่า ยา อวิชฺชา สา
ปหียติ ความว่า ละอวิชชาใหญ่ที่มีมูลแห่งวัฏฏะได้ในฐานะทั้ง ๘. อวิชชา
เป็นข้าศึกของมรรคปัญญา มรรคปัญญาก็เป็นข้าศึกของอวิชชา. ในขณะ
มีอวิชชา ไม่มีมรรคปัญญา ในขณะมีมรรคปัญญา ไม่มีอวิชชา. อวิชชา
เกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมห้ามมิให้มรรคปัญญาเกิดขึ้น คือตัดหนทาง.
มรรคปัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นมรรคปัญญาก็เพิกถอนอวิชชาพร้อมทั้ง3
รากทีเดียว. เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า อวิชฺชา ปหียติ. สหชาตธรรมทั้งสอง
คือมรรคจิต มรรคปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
ด้วยพระดำรัสว่า ราคูปกฺกิลิฏฺ วา ภิกฺขเว จิตฺต น วิมุจฺจติ
ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า มรรคจิตย่อมไม่หลุดพ้น เพราะ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 355
จิตยังเศร้าหมองด้วยราคะ. ด้วยพระดำรัสว่า อวิชฺชูปกฺกิลิฏฺา วา ปญฺา
น ภาวียติ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า มรรคปัญญา ภิกษุ
ย่อมเจริญไม่ได้ เพราะปัญญายังเศร้าหมองด้วยอวิชชา. บทว่า
อิติ โข ภิกฺขเว แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล. บทว่า
ราควิราคา เจโตวิมุตฺติ ความว่า ธรรมดาเจโตวิมุตติย่อมมี เพราะ
สำรอกราคะ คือราคะสิ้นไป. คำนี้เป็นชื่อของผลสมาธิ. บทว่า อวิชฺชา-
วิราคา ปญฺาวิมุตฺติ ความว่า ธรรมดาปัญญาวิมุตติย่อมมี เพราะสำรอก
อวิชชา คืออวิชชาสิ้นไป. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาธิ
วิปัสสนาที่เป็นไปในขณะต่าง ๆ ดังนี้แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑
จบพาลวรรคที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 356
สมจิตตวรรคที่ ๔
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยภูมิของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
[๒๗๗] ๓๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและ
สัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุ
ทั้งหลายนั้นทุลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อมเป็น
คนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลาย
สรรเสริญ ก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิ
อสัตบุรุษทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที
ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้. สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้ เป็นภูมิสัตบุรุษ.
จบสูตรที่ ๑
สมจิตตวรรคที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๑
สมจิตตวรรค สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อสปฺปุริสภูมึ ได้แก่ ฐานะที่ดำรงอยู่ของพวกอสัตบุรุษ.
แม้ในภูมิของสัตบุรุษ ก็นัยนี้แหละ. บทว่า อกตญฺญู ได้แก่ไม่รู้บุญคุณ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 357
ที่ผู้อื่นกระทำแก่ตน. บทว่า อกตเวที ได้แก่ ไม่รู้บุญคุณที่ผู้อื่นกระทำ
แก่ตนโดยทำให้ปรากฏ. บทว่า อุปญฺญาต แปลว่า ยกย่อง ชมเชย
สรรเสริญ. บทว่า ยทิท แปลว่า นี้ใด (หมายความว่า คือ). บทว่า
อกตญฺุตา อกตเวทิตา ได้แก่ ความไม่รู้อุปการะที่ผู้อื่นกระทำ และ
ความไม่รู้อุปการะที่ผู้อื่นการทำโดยทำให้ปรากฏ (ไม่ตอบแทนคุณเขา).
บทว่า เกวลา แปลว่า ทั้งสิ้น. แม้ในธรรมฝ่ายขาว ก็พึงทราบเนื้อความ
ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
บุคคล ๒ พวกที่กระทำตอบแทนไม่ได้ง่าย
[๒๗๘] ๓๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทน
ไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้งสอง ทั้งสองท่านคือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึ่ง
ประดับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิต อยู่ตลอด ๑๐๐ ปี
และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้งสองนั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ
และการดัด และท่านทั้งสองนั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสอง
ของเขานั่นแหละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้นยังไม่ชื่อว่า
อันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนึ่ง บุตรพึงสถาปนาบิดามารดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์
ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การการทำกิจอย่างนั้น
ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 358
เพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้
แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทาน
ตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีล-
สัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา
ยังมารดาบิดาผู้ทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้นย่อมชื่อว่า
อันบุตรนั้นทำแล้วและทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดา.
จบสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มาตุ จ ปัตุ จ ได้แก่ มารดาผู้บังเกิดเกล้า ๑ บิดาผู้
บังเกิดเกล้า ๑. บทว่า เอเกน ภิกฺขเว อเสน มาตร ปริหเรยฺย ความว่า
บุตรพึงปรนนิบัติมารดาแบกไว้บนจะงอยบ่าข้างหนึ่ง. บทว่า เอเกน
อเสน ปิตร ปริหเรยฺย ความว่า บุตรพึงปรนนิบัติบิดาแบกไว้บนจะงอย
บ่าข้างหนึ่ง. บทว่า วสฺสสตายุโก วสฺสสตาชีวี ความว่า มีอายุถึง ๑๐๐ ปี
ทรงชีพอยู่ ๑๐๐ ปี. มีคำอธิบายว่า ถ้าบุตรคิดว่าจักตอบแทนคุณบิดา
มารดา กระวีกระวาดให้มารดานั่งบนจะงอยบ่าข้างขวา ให้บิดานั่งบน
จะงอยบ่าข้างซ้าย มีอายุถึง ๑๐๐ ปี ทรงชีพแบกอยู่ ๑๐๐ ปี. บทว่า
โส จ เนส อุจฺฉาทนปริมทฺทนนฺหาปนสมฺพาหเนน ความว่า บุตรนั้น
แลพึงบำรุงบิดามารดาผู้นั่งอยู่บนจะงอยบ่านั่นเอง ด้วยการอบกลิ่นให้
ตัวหอม เพื่อบรรเทากลิ่นเหม็น ด้วยการนวดมือเท้า เพื่อบรรเทาเมื่อยขบ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 359
เวลาหนาวให้อาบน้ำอุ่น เวลาร้อนให้อาบน้ำเย็น ด้วยการดัดคือ ดึงมือ
และเท้าเป็นต้น . บทว่า เต จ ตตฺเถว ความว่า บิดามารดาทั้งสองก็นั่ง
ถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่บนนั้นแหละ คือบนจะงอยบ่าทั้งสองของบุตรนั้น.
บทว่า น เตฺวว ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการ
ปรนนิบัติถึงเพียงนี้ จะเป็นอันบุตรนั้นได้ทำคุณหรือได้ตอบแทนคุณแก่
บิดามารดาแล้ว หามิได้เลย. บทว่า อิสฺสราธิปจฺเจ รชฺเช พระผู่มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสหมายถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทีเดียว. บทว่า อาปาหกา
แปลว่า เป็นผู้ให้เติบโต เป็นผู้ดูแล. เพราะบุตรทั้งหลาย บิดามารดา
ทำให้เติบโตและดูแลแล้ว. บทว่า โปสกา ได้แก่ เป็นผู้เลี้ยงดู โดยให้
มือเท้าเติบโต ให้ดื่มโลหิตในหทัย. เพราะบิดามารดาเลี้ยงบุตรอย่างดี
ประคบประหงมด้วยข้าวน้ำเป็นต้น . บทว่า อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร
ความว่า ถ้าในวันที่บุตรเกิด บิดามารดาจะจับเท้าบุตรเหวี่ยงไปในป่าหรือ
ในเหว บุตรก็จะไม่ได้เห็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ในโลกนี้ แต่เพราะ
ท่านไม่ทำอย่างนี้ ฟูมฟักเลี้ยงดู บุตรจึงเห็นอิฏฐารมณ์ เละอนิฏฐารมณ์
ในโลกนี้ เพราะอาศัยบิดามารดา ฉะนั้น บิดามารดาจึงชื่อว่าเป็นผู้แสดง
โลกนี้แก่บุตร. บทว่า สมาทเปติ ได้แก่ ให้เธอถือ. ในพระสูตรั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ผสมกันทั้งโลกิยะ
และโลกุตระ ภิกษุเช่นพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ พึงทราบว่า
ชื่อว่ายังบิดามารดาให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเหล่านั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 360
สูตรที่ ๓
ว่าด้วยไม่ควรทำทุจริต ๓ ควรทำสุจริต ๓
[๒๗๙] ๓๓. ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมมีวาทะว่าอย่างไร กล่าวว่า
อย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำ
และมีวาทะว่าไม่ควรทำ.
พ. ท่านพระโคดม มีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่าไม่ควรทำ
อย่างไร.
ภ. ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวว่า ไม่ควรทำกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต เรากล่าวว่า ไม่ควรทำอกุศลธรรนอันลามกหลายอย่าง และ
เรากล่าวว่า ควรทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เรากล่าวว่า ควรทำ
กุศลธรรมหลายอย่าง ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวว่าควรทำและกล่าวว่า
ไม่ควรทำอย่างนี้แล.
พ. ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก . . . ขอ
ท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 361
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า พราหมณ์นั้น ทราบมาว่า พระ-
สมณโคดมตรัสตอบคำที่คนถาม พระองค์ไม่ทรงเบื่อหน่ายคำถาม จำเรา
จักแต่งปัญหาชนิดมีเงื่อนงำ จึงบริโภคโภชนะอันประณีตแล้วปิดประตูห้อง
นั่งเริ่มคิด ( แต่งปัญหา). ลำดับนั้น พราหมณ์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
ในที่นี้มีเสียงอึกทึกกึกก้อง จิตไม่สงบ เราจักให้ทำเรือนติดพื้นดิน ให้
ทำเรือนติดพื้นดินแล้วเข้าไปในเรือนนั้น คิดว่า เราถูกถามอย่างนี้แล้ว
จักตอบอย่างนี้ เขาผูกปัญหาข้อหนึ่ง เมื่อจะวิสัชนาปัญหาข้อหนึ่ง ไม่
สามารถจะเห็นคำตอบอะไร ๆ สิ้นทั้งวัน. เขาคิดอยู่โดยทำนองนี้ ล่วง
ไป ๔ เดือน. พอล่วงไป ๔ เดือน เขาจึงได้พบปัญหา ๒ เงื่อน เล่ากัน
มาว่า พราหมณ์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม
ทูลถามว่า พระโคดมผู้เจริญเป็นวาทีอะไร ถ้าพระสมณโคดมกล่าวว่า
เราเป็นกิริยวาที เราจักข่มพระสมณโคดมว่า พระองค์สอนให้คนทำชั่ว
ทุกอย่าง ถ้าพระสมณโคดมกล่าวว่า เราเป็นอกิริยวาที เราจักข่มพระ-
สมณโคดมว่า พระองค์สอนไม่ให้คนทำดี พระสมณโคดมถูกถามปัญหา
๒ เงื่อนแล้ว จักกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เราก็จักชนะ พระสมณโคดม
ก็จักแพ้ ด้วยอาการอย่างนี้ เขาลุกขึ้นปรบมือออกจากเรือนติดพื้นดิน
คิดว่า ผู้ถามปัญหาขนาดนี้ ไม่ควรไปคนเดียว จึงให้โฆษณาทั่วเมือง
แวดล้อมไปด้วยชาวเมืองทั้งสิ้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.
บทว่า กึวาที แปลว่า มีลัทธิอะไร. ด้วยบทว่า กิมกฺขายติ พราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 362
ทูลถามว่า พระองค์สอนปฏิปทาแก่สาวกอย่างไร.
ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พราหมณ์แต่งปัญหา
อยู่ ๔ เดือน มาด้วยถือตัวว่า เราเห็นปัญหาที่ทำให้พระสมณโคดมแพ้
แล้ว เมื่อจะทรงทำลายปัญหานั้นด้วยบทเดียวเท่านั้น จึงตรัสว่า กิริยวาที
จาห พฺราหฺมณ อกิริยวาที จ ดังนี้. ลำดับนั้น พราหมณ์ถอนมานะ
ของตนได้แล้ว เมื่ออาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวเป็นคำต้นว่า
ยถากถ ปน ดังนี้. คำที่เหลือในที่นี้ ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๔
ว่าด้วยทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก
[๒๘๐] ๓๘. ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ในโลกมีทักขิไณยบุคคลกี่จำพวก และควรให้ทานใน
เขตไหน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ในโลกมี
ทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระเสขะ ๑ พระอเสขะ ๑ ดูก่อน
คฤหบดี ในโลกนี้มีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และควรให้ทานใน
เขตนี้.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดาได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 363
"ในโลกนี้ พระเสขะกับพระอเสขะเป็นผู้ควรแก่
ทักษิณาของทายกผู้บูชาอยู่ พระเสขะและอเสขะ
เหล่านั้นเป็นผู้ตรงทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
นี้เป็นเขตบุญของทายกผู้บูชาอยู่ ทานที่ให้แล้วใน
เขตนี้มีผลมาก."
จบสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทกฺขิเณยฺยา ความว่า ทานท่านเรียกว่า ทักษิณา. ท่าน
อนาถบิณฑิกคฤหบดีถามว่า บุคคลก็เหล่าที่ควรรับทานนั้น. ด้วยบทว่า
เสกฺโข นี้ ท่านแสดงพระเสขบุคคล ๗ จำพวก. แลในบทนี้ ท่าน
สงเคราะห์แม้ปุถุชนผู้มีศีล ด้วยพระโสดาบันนั้นแล. บทว่า อาหุเนยฺยา
ยชมานาน โหนฺติ ความว่า เป็นผู้ควรแก่ของที่นำมาบูชา ของผู้ถวาย
ทาน คือเป็นผู้รับทาน. บทว่า เขตฺต ได้แก่ เป็นพื้นที่ คือที่ตั้ง
อธิบายว่า เป็นที่งอกงามแห่งบุญ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 364
สูตรที่ ๕
ว่าด้วยบุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายในและในภายนอก
[๒๘๑] ๓๕. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ
พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี
สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ใน
บุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระ-
สารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เรา
จักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก
ท่านทั้งหลายจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นตอบรับ
ท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย
ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มี
ปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
เมื่อแตกกายตายไป ภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติ
จากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่า
บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน เป็นอนาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นไฉน
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในพระปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุตติอัน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 365
สงบอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง
ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลัว มาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้
นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความ
เป็นผู้เช่นนี้.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนี่ง. ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวม
แล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัย
ในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทั้งหลาย ภิกษุนั้น
ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับกามทั้งหลาย ย่อม
ปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับภพทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อม
เข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามี
ไม่กลับมาสุ่ความเป็นผู้เช่นนี้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลมี
สังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้.
ครั้งนั้นแล เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรนั่นกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน
และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอกแก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนาง
วิสาขามิคารมารดา ในบุพพาราม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง
ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาเสด็จไป
หาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำอาราธนา
ด้วยดุษณีภาพ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจากพระเชตวันวิหาร
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 366
ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระสารีบุตร ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคาร-
มารดา ในบุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่
เหยียดฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ท่าน
พระสารีบุตรก็ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อน
สารีบุตร เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปหาเราจนถึงที่อยู่ ไหว้เรา
แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วบอกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่
มีสังโยชน์ในภายนอกแก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคาร-
มารดา ในบุพพาราม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทาน
พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่านพระ-
สารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด ดูก่อนสารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในโอกาส
แม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง
๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน
ดูก่อนสารีบุตร เธอก็พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุ
ให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์
บ้าง. . . ๖๐ องค์บ้าง เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมแล้วในภพนั้น
แน่นอน ดูก่อนสารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้ ดูก่อนสารีบุตร
ก็จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท้าปลาย
เหล็กแหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน เทวดา
เหล่านั้นได้อบรมแล้วในศาสนานี้เอง เพราะฉะนั้นแหละ สารีบุตร เธอ
พึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็นผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 367
เช่นนี้แหละ สารีบุตร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ
มีใจระงับ จักสงบระงับ เพราะฉะนั้นแหละ สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า
จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้นเข้าไปในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย
ดูก่อนสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ ดูก่อนสารีบุตร พวกอัญญ-
เดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว.
จบสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปุพฺพาราเม ได้แก่ ณ อารามทางทิศตะวันออกกรุงสาวัตถี.
บทว่า มิคารมาตุปาสาเท ได้แก่ เป็นปราสาทของอุบาสิกาชื่อวิสาขา.
ก็อุบาสิกาวิสาขานั้น เรียกกันว่า มิคารมารดา เพราะท่านมิคารเศรษฐี
( พ่อผัว ) ตั้งไว้ในฐานะมารดาด้วย เพราะมีชื่อเหมือนชื่อของเศรษฐีผู้
เป็นปู่ [วิสาขเศรษฐี] ซึ่งเป็นบุตรคนหัวปีด้วย. ปราสาทที่นางวิสาขา
สร้าง มีห้อง ๑,๐๐๐ หัอง ชื่อว่าปราสาทมิคารมารดา. พระเถระพักอยู่
ในปราสาทนั้น. บทว่า ตตฺร โข อายสฺมา สารีปุตฺโต ความว่า
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระพักอยู่ในปราสาทนั้น.
บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า พระเถระเรียกเวลาไหน. เพราะ
สูตรบางสูตร กล่าวว่าก่อนภัตก็มี บางสูตรว่า หลังภัต บางสูตรว่า
ยามแรก บางสูตรว่า ยามกลาง บางสูตรว่า ยามท้าย. ก็ปฏิปทาสูตรใน
สมจิตตวรรคนี้ กล่าวว่า หลังภัต ฉะนั้น พระเถระจึงเรียกภิกษุทั้งหลาย
เวลาเย็น. ความจริงสูตรนี้ พระเถระมิได้กล่าวองค์เดียวเท่านั้น แม้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 368
พระตถาคตก็ตรัส. ถามว่า ประทับนั่งที่ไหน ตอบว่า ประทับนั่ง ณ
รัตนปราสาทของนางวิสาขา. จริงอยู่ ๒๐ พรรษาตอนปฐมโพธิกาล
พระตถาคตมิได้ประทับอยู่ประจำ ที่ใด ๆ มีความผาสุก ก็เสด็จไปประทับ
อยู่ ณ ที่นั้น ๆ นั่นแล.
พรรษาแรก ทรงประกาศธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะ ให้มหาพรหม
๑๘ โกฏิดื่มน้ำอมฤต ทรงอาศัยกรุงพาราณสีประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนะ
พรรษาที่ ๒ ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ เวฬุวันวิหาร
พรรษาที่ ๓ และ ที่ ๔ ก็ประทับอยู่ เวฬุวันวิหารนั้นแหละ
พรรษาที่ ๕ ทรงอาศัยกรุงเวสาลี ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน
พรรษาที่ ๖ ประทับอยู่ ณ มกุลบรรพต
พรรษาที่ ๗ ประทับอยู่ (ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์) บนสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์
พรรษาที่ ๘ ทรงอาศัยสุงสุมารคิรนคร แคว้นภัคคะ ประทับอยู่
ณ เภสกฬาวัน.
พรรษาที่ ๙ ประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพี
พรรษาที่ ๑๐ ประทับอยู่ ณ ไพรสณฑ์ปาลิเลยยกะ
พรรษาที่ ๑๑ ประทับอยู่ ณ พราหมณคาม เมืองนาลา
พรรษาที่ ๑๒ ประทับอยู่ เมืองเวรัญชา
พรรษาที่ ๑๓ ประทับอยู่ ณ จาลิยบรรพต
พรรษาที่ ๑๔ ประทับอยู่ ณ เชตวันวิหาร
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 369
พรรษาที่ ๑๕ ประทับอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์
พรรษาที่ ๑๖ ทรงโปรดอาฬวกยักษ์ ให้สัตว์แปดหมื่นสี่พันดื่มน้ำ
อมฤต ประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวี
พรรษาที่ ๑๗ ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์อีก
พรรษาที่ ๑๘ ประทับอยู่ ณ จาลิยบรรพตอีก
พรรษาที่ ๑๙ ประทับอยู่ ณ จาลิยบรรพตเหมือนกัน
พรรษาที่ ๒๐ ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์นั้นแล ประทับอยู่.
๒๐ พรรษาแรก พระตถาคตมิได้ประทับอยู่ประจำดังกล่าวมานี้
ที่ใด ๆ มีความผาสุก ก็ประทับอยู่ ที่นั้น ๆ นั้นแล. ต่อจากนั้น ทรง
ใช้เสนาสนะ ๒ แห่งเป็นประจำ. ๒ แห่ง คือที่ไหนบ้าง. คือ เชตวัน ๑
บุพพาราม ๑. เพราะเหตุไร. เพราะ ๒ ตระกูลมีคุณมาก. พระศาสดา
ทรงใช้สอยเสนาสนะ ๒ แห่งนั้นเป็นประจำ เพราะทรงอาศัยคุณ ซึ่ง
หมายถึงคุณของท่านอนาบิณฑิกและนางวิสาขา. แม้เสด็จจาริกไปใน
ฤดูฝน เมื่อวันเข้าพรรษาก็ประทับอยู่ เสนาสนะ ๒ แห่งนั่นแหละ.
พระองค์ประทับอยู่อย่างนี้ กลางคืนประทับอยู่ ณ พระเชตวัน รุ่งขึ้น
แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ทางประตู
ทิศใต้ แล้วเสด็จออกทางประทูทิศตะวันออก ทรงพักผ่อนกลางวัน
บุพพาราม. กลางคืนประทับอยู่ ณ บุพพาราม รุ่งขึ้น เสด็จเข้าไปบิณฑบาต
ยังกรุงสาวัตถี ทางประตูทิศตะวันออก แล้วเสด็จออกทางประตูทิศใต้
ทรงพักผ่อนกลางวัน ณ พระเชตวัน.
ก็ในวันนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันนั่นเอง.
พระพุทธเจ้าเมื่อประทับอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ย่อมไม่ทรงเว้นพุทธกิจ ๕
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 370
ประการเลย. พุทธกิจ ๕ ประการนั้น กล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง.
บรรดากิจเหล่านั้น เวลาของกิจในปัจฉิมยาม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็นว่า ชาวกรุงสาวัตถีและเหล่าสัตว์หาประมาณ
มิได้รอบ ๆ กรุงสาวัตถีในพื้นที่คาวุตหนึ่งและกึ่งโยชน์จะได้ตรัสรู้ ต่อ
จากนั้นทรงตรวจดูว่า เวลาไหนหนอ จักมีการตรัสรู้ ทรงเห็นว่า เวลาเย็น
ทรงตรวจดูว่า เมื่อเรากล่าว จักมีการตรัสรู้ หรือว่าเมื่อสาวกกล่าว จัก
มีการตรัสรู้ ทรงเห็นว่า เมื่อพระสารีบุตรเถระกล่าว จักมีการตรัสรู้
ครั้นแล้วทรงตรวจดูว่า นั่งกล่าวที่ไหน จักมีการตรัสรู้ ทรงเห็นว่า
นั่งที่รัตนปราสาทของนางวิสาขา ได้ทรงทราบว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ย่อมมีประชุมสาวก ๓ ครั้ง พระอัครสาวกทั้งหลาย มีประชุม
ครั้งเดียว บรรดาประชุมเหล่านั้น วันนี้จักมีประชุมสาวกของพระธรรม.
เสนาบดีสารีบุตรเถระ ครั้นทรงทราบแล้ว ทรงปฏิบัติพระสรีระแต่เช้า
ทีเดียว ทรงนุ่งสบง ห่มสุคตจีวร ทรงถือบาตรเสลมัยบาตรหิน แวดล้อม
ไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าเมืองทางประตูทิศใต้ เสด็จบิณฑบาตอยู่ ทรง
ทำให้ภิกษุสงฆ์หาบิณฑบาตได้ง่าย เสด็จหวนกลับออกทางประตูทิศใต้
เหมือนเรือที่ต้องลม ประทับยืนอยู่นอกประตู. ลำดับนั้น พระอสีติมหา-
สาวก ภิกษุณีบริษัท อุบาสกบริษัท อุบาสิกาบริษัท รวมเป็นบริษัท ๔
แวดล้อมพระศาสดา. พระศาสดาตรัสเรียกพระสารีบุตรเถระมารับสั่งว่า
สารีบุตร เธอควรจะไปบุพพาราม จงพาบริษัทของเธอไป. พระเถระ
รับพระพุทธดำรัสว่า ดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แวดล้อมด้วยภิกษุบริวาร
ของตนประมาณ ๕๐๐ รูป ได้ไปยังบุพพาราม. พระศาสดาทรงส่งพระ-
อสีติมหาสาวกไปยังบุพพารามเหมือนกันโดยทำนองนี้แหละ พระองค์เอง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 371
เสด็จไปพระเชตวันกับพระอานนทเถระองค์เดียวเท่านั้น. แม้พระอานนท-
เถระก็กระทำวัตรแด่พระศาสดาแล้วถวายบังคมกราบทูลว่า ข้าพระองค์จะ
ไปบุพพาราม พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ไปเถิดอานนท์. พระอานนทเถระ
ถวายบังคมพระศาสดาแล้วได้ไปในบุพพารามนั้นทีเดียว. พระศาสดาทรง
คอยอยู่ที่พระเชตวันพระองค์เดียวเท่านั้น. ก็วันนั้น บริษัท ๔ ประสงค์
จะฟังธรรมกถาของพระเถระเท่านั้น. แม้พระเจ้าโกศลมหาราชก็แวดล้อม
ไปด้วยพลนิกาย เสด็จไปยังบุพพารามเหมือนกัน. ท่านอนาถบิณฑิก-
คฤหบดีมีอุบาสก ๕๐๐ คนเป็นบริวาร ก็ได้ไปเหมือนกัน. ฝ่ายมหา-
อุบาสิกาวิสาขา แวดล้อมไปด้วยหญิง ๑,๐๐๐ คน ได้ไปแล้ว . ในกรุง
สาวัตถี ซึ่งเป็นที่อยู่ของตระกูลที่องอาจ ๕,๗๐๐,๐๐๐ ตระกูล ชนทั้งหลาย
นอกจากเด็กเฝ้าบ้าน ต่างพากันถือจุรณของหอมและดอกไม้เป็นต้นไปยัง
บุพพารามกันทั้งนั้น. และมนุษย์ทุกหมู่เหล่า ในที่คาวุตหนึ่ง กึ่งโยชน์
และโยชน์หนึ่ง ในหมู่บ้านที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ได้ถือจุรณของหอมและ
ดอกไม้เป็นต้นไปยังบุพพาราม. ทั่วทั้งวิหารได้เป็นเหมือนเกลื่อนกลาดไป
ด้วยดอกไม้ทั้งหลาย. แม้พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระก็ได้ไปยังวิหาร
ยืนอยู่ ณ ที่เป็นเนินในบริเวณวิหาร. ภิกษุทั้งหลายช่วยกันปูลาดอาสนะ
ถวายพระเถระ. พระเถระนั่งบนอาสนะนั้น เมื่อพระเถระผู้อุปัฏฐากกระทำ
วัตรแล้ว ให้โอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ เข้าไปยังคันธกุฎี นั่งเข้าสมาบัติ.
ได้เวลาตามกำหนด ท่านออกจากสมาบัติ ไปยังแม่น้ำอจิรวดี ชำระ
เหงื่อไคลระงับความกระวนกระวาย แล้วขึ้นจากน้ำทางท่าที่ลงนั่นแหละ
ครองสบงจีวรแล้วยืนห่มสังฆาฏิ. แม้ภิกษุสงฆ์ก็ลงสรงน้ำพร้อมกัน ชำระ
เหงื่อไคลแล้วกลับขึ้นมาแวดล้อมพระเถระ. แม้ภายในวิหารก็ได้จัดปูลาด
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 372
ธรรมาสน์ไว้สำหรับพระเถระ. บริษัททั้ง ๔ รู้โอกาสของตน ๆ จึงนั่ง
เว้นทางไว้. พระสารีบุตรเถระแวดล้อมด้วยภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป มา
ยังธรรมสภา นั่งผินหน้าไปทางทิศตะวันออก จับพัดวีชนีอันวิจิตร บน
รัตนบัลลังก์ที่ยกเศวตฉัตรขึ้น ซึ่งประดิษฐานอยู่บนหัวสิงห์ [รูป] . ครั้น
นั่งแล้วแลดูบริษัท คิดว่า บริษัทนี้ใหญ่เหลือเกิน การแสดงธรรมเบ็ดเตล็ด
มีประมาณน้อย ไม่สมควรแก่บริษัทนี้ แสดงธรรมข้อไหนจึงจักสมควร
หนอ เมื่อนึกถึงพระไตรปิฎก จึงได้เห็นธรรมเทศนาว่าด้วยสังโยชน์นี้
ครั้นกำหนดธรรมเทศนาอย่างนี้แล้ว ประสงค์จะแสดงข้อนั้น จึงเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโส ภิกฺขโว ดังนี้.
คำว่า ภิกฺขโว ไม่กล่าวว่า อาวุโส พระพุทธเจ้าทรงใช้เรียกภิกษุ
ทั้งหลาย. ก็ท่านพระสารีบุตรนี้คิดว่า เราจักไม่เรียกเหมือนพระทศพล
เมื่อจะเรียกสาวก จึงกล่าวว่า อาวุโส ภิกฺขเว ดังนี้ ด้วยความเคารพ
ในพระศาสดา. บทว่า เอตทโวจ ความว่า ท่านพระสารีบุตรได้กล่าว
คำนี้ คือบทธรรมเทศนาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้าจักแสดงบุคคล
ผู้มีสังโยชน์ภายใน และบุคคลผู้มีสังโยชน์ภายนอก ดังนี้. ก็ที่รัตน-
ปราสาทนั้น มีเทพบุตรเป็นพระโสดาบันสิงอยู่องค์หนึ่ง พอพระพุทธเจ้า
หรือพระสาวกทั้งหลายเริ่มเทศนาเท่านั้น เทพบุตรองค์นั้นก็ทราบว่า
เทศนานี้จักตื้น เทศนานี้จักลึก เทศนานี้จักพาดพิงฌาน เทศนานี้จัก
พาดพิงวิปัสสนา เทศนานี้จักพาดพิงมรรค เทศนานี้จักพาดพิงผล เทศนา
นี้จักพาดพิงถึงพระนิพพาน. แม้ในวันนั้น พอพระเถระเริ่มเทศนาเท่านั้น
เทพบุตรองค์นั้นก็ทราบได้ว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระผู้เป็น
เจ้าของเรา เริ่มเทศนาโดยทำนองใด ๆ ก็ตาม เทศนานี้จักหยั่งลงถึง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 373
วิปัสสนา พระเถระจักกล่าววิปัสสนาโดยมุขทั้ง ๖ เวลาจบเทศนา เทวดา
พันโกฏิจักบรรลุพระอรหัต ส่วนเทวดาและมนุษย์ที่เป็นพระโสดาบัน
เป็นต้น กำหนดไม่ได้ เราจักถวายสาธุการแด่พระผู้เป็นเจ้าของเราให้
สมควรแก่เทศนา จึงใช้เทวานี้ภาพเปล่งเสียงดัง กล่าว่า สาธุ สาธุ
พระผู้เป็นเจ้า ดังนี้ .
เมื่อเทวราชให้สาธุการ เหล่าเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ปราสาท ๑,๐๐๐
องค์ซึ่งเป็นบริวาร ก็พากันให้สาธุการพร้อมกันทั้งหมดทีเดียว. ด้วย
เสียงสาธุการของเทวดาเหล่านั้น เหล่าเทวดาที่อยู่ในบุพพารามได้ให้
สาธุการ. ด้วยเสียงของเทวดาที่อยู่ในบุพพารามเหล่านั้น เหล่าเทวดาที่อยู่
ในพื้นที่ประมาณคาวุตหนึ่งได้ให้สาธุการ ต่อจากนั้น เหล่าเทวดาผู้อยู่
ในพื้นที่กึ่งโยชน.์ เหล่าเทวดาผู้อยู่ในพื้นที่โยชน์หนึ่ง เหล่าเทวดาใน
จักรวาลหนึ่ง สองจักรวาล สามจักรวาล ฯลฯ รวมเป็นเหล่าเทวดา
ในหมื่นจักรวาล ได้ให้สาธุการโดยอุบายนี้ ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเสียง
สาธุการของเทวดาเหล่านั้น เหล่านาคที่อยู่ในแผ่นดิน และเหล่าเทวดา
ที่อยู่ในอากาศได้ให้สาธุการ ต่อจากนั้น เทวดาเมฆหมอก เทวดาเมฆร้อน
เทวดาเมฆหนาว เทวดาเมฆฝน มหาราชทั้ง ๔ ชั้นจาตุนหาราชิกา ท้าว
สักกเทวราช ชั้นดาวดึงส์ สุยามเทวราช เทวดาชั้นยามา สันตุสิตเทวราช
เทวดาชั้นดุสิต นิมมานรดีเทวราช เทวดาชั้นนิมมานรดี วสวัตดีเทวราช
เทวดาชั้นวสวัตดี พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหม พวก
ปริตตาภา พวกอัปปมาณาภา พวกอาภัสสรา พวกปริตตสุภา พวก
อัปปมาณสุภา พวกสุภกิณหา พวกเวหัปผลา พวกอวิหา พวกอตัปปา
พวกสุทัสสา พวกสุทัสสี และเทวดาพวกอกนิฏฐา รวมเทวดาทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 374
ในที่ที่พอจะฟังเสียงได้ นอกจากพวกอสัญญีและพวกอรูปาวจร ได้ให้
สาธุการ. ต่อจากนั้น เหล่ามหาพรหมผู้เป็นพระขีณาสพรำพึงว่า เสียง
สาธุการนี้ดังจริงหนอ มาจากพื้นแผ่นดินจนถึงชั้นอกนิฏฐา นี่เรื่องอะไร
กันหนอ คิดว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ นั่งที่รัตนปราสาทของ
นางวิสาขา ในบุพพาราม เริ่มแสดงธรรมว่าด้วยสังโยชน์ แม้พวกเราก็
ควรจะเป็นกายสักขีในที่นั้น จึงได้พากันไปในที่นั้น. บุพพารามจึงเต็ม
ไปด้วยเทวดาทั้งหลาย. ที่รอบๆ บุพพารามคาวุตหนึ่ง กึ่งโยชน์ โยชน์หนึ่ง
ขยายไปทั่วจักรวาล ด้านขวางใต้แผ่นดิน จดขอบจักรวาล เนืองแน่น
ไปด้วยเหล่าเทวดาหมื่นจักรวาลมาประชุมกัน. เทวดา ๖๐ โกฏิเบื้องบน
ได้ยินเนรมิตอัตภาพให้ละเอียด ในที่เท่าปลายเหล็กแหลมจดลง.
ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรรำพึงว่า โกลาหลนี้ให้จริงหนอ. นี่
เรื่องอะไรกัน ได้เห็นเทวดาที่อยู่ในหมื่นจักรวาลมารวมกันอยู่ในจักรวาล
เดียว อนึ่ง เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีความจำเป็นเรื่องอธิษฐาน
ทรงเห็นและให้ได้ยินเสียงโดยประมาณบริษัทเท่านั้น แต่เหล่าสาวกควร
อธิษฐาน ฉะนั้น พระเถระจึงเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติแล้วจึงอธิฐาน
ด้วยมหัคคคจิตว่า ขอบริษัททั่วถึงขอบจักรวาลทั้งหมดจงเห็นเรา และ
เมื่อเราแสดงธรรมจงได้ยินเสียง. จำเดิมแต่เวลาที่พระเถระอธิฐาน ผู้ที่
นั่งอยู่ข้างเข่าขวาพระเถระก็ตาม ที่ขอบปากจักรวาลก็ตาม ไม่มีเรื่องที่จะ
ต้องพูดว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระเป็นเช่นไร สูง ต่ำ ดำ ขาว
อย่างไร. พระเถระได้ปรากฏเฉพาะหน้าของบริษัททั้งหมดที่นั่งอยู่ทุกทิศ
เหมือนดวงจันทร์ที่ลอยอยู่กลางนภากาศ. แม้เมื่อพระเถระกำลังแสดงธรรม
อยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหมด ที่นั่งอยู่ข้างเข่าขวาพระเถระก็ตาม ที่ขอบ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 375
ปากจักรวาลก็ตาม ต่างได้ฟังเสียงพร้อมกันเลยทีเดียว. ครั้นอธิฐานแล้ว
พระเถระจึงเริ่มแสดงบุคคลผู้มีสังโยชน์ภายใน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺต ได้แก่ กามภพ. บทว่า
พหิทฺธา ได้แก่ รูปภพและอรูปภพ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายมีเวลาอยู่
ในกามภพน้อย เป็นส่วนที่ ๔ ของกัปเท่านั้น เวลา ๓ ส่วนนอกนี้
กามภพว่างเปล่า. สัตว์ทั้งหลายมีเวลาอยู่ในรูปภพมากก็จริง ถึงอย่างนั้น
เพราะสัตว์เหล่านั้นมีจุติและปฏิสนธิในกามภพมาก ในรูปภพและอรูปภพ
น้อย และภพใดมีจุติและปฏิสนธิมาก ภพนั้นย่อมมีอาลัยบ้าง ปรารถนา
บ้าง รำพึงรำพันบ้างมาก ภพใดมีจุติและปฏิสนธิน้อย ภพนั้นก็มีอาลัย
ปรารถนาหรือรำพึงรำพ้นน้อย ฉะนั้น กามภพจึงชื่อว่า ภายใน รูปภพ
และอรูปภพจึงชื่อว่า ภายนอก แล. ฉันทราคะในกามภพกล่าวคือภายใน
ชื่อว่า สังโยชน์ภายใน. ฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพกล่าวคือภายนอก
ชื่อว่า สังโยชน์ภายนอก.
อีกอย่างหนึ่ง สังโยชน์ ๕ ที่เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ชื่อว่า สังโยชน์
ภายใน. สังโยชน์ ๕ ที่เป็นไปในส่วนเบื้องบน ชื่อว่าสังโยชน์ภายนอก.
ในข้อนั้นมีเนื้อความของคำดังต่อไปนี้ :-
กามธาตุ ท่านเรียกว่า เบื้องต่ำ เหล่าสัตว์ย่อมเกี่ยวข้องเรื่องต่ำ ๆ
นั้น เพราะให้สำเร็จการเกิดในกามธาตุนั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นไปใน
ส่วนเบื้องต่ำ. รูปธาตุและอรูปธาตุ ท่านเรียกว่า เบื้องบน เหล่าสัตว์
ย่อมเกี่ยวข้องในเบื้องบนนั้น เพราะให้สำเร็จการเกิดในรูปธาตุและอรูป-
ธาตุนั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นไปในส่วนเบื้องบน. บุคคลผู้ประกอบด้วย
สังโยชน์ภายในมีประเภทดังกล่าวแล้ว ชื่อว่าสังโยชน์ภายใน บุคคล
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 376
ผู้ประกอบด้วยสังโยชน์ภายนอก ชื่อว่าผู้มีสังโยชน์ภายนอก ด้วยประการ
ฉะนี้. ทั้งสองนี้จะเป็นชื่อของโลกิยชนส่วนมากที่ยังอาศัยวัฏฏะอยู่ ก็
หามิได้. แต่ทั้งสองนี้เป็นชื่อของพระอริยสาวกชั้นโสดาบัน สกทาคามี
และอนาคามีเหล่านั้นที่กำหนดเป็น ๒ พวก. เหมือนอย่างว่า ป่าตะเคียน
และป่าสาละเป็นต้น ย่อมไม่ได้ชื่อว่าเสา ว่าขื่อ ว่าเต้า ย่อมได้ชื่อว่า
ป่าตะเคียน ป่าสาละเท่านั้น แต่เมื่อใดคนใช้ขวานคมตัดต้นไม้จากป่านั้น
แล้วถากโกลนรูป เป็นเสาเป็นต้น ย่อมได้ชื่อว่าเสา ว่าขื่อ ว่าเต้า
เมื่อนั้น ฉันใด ปุถุชนผู้มีกิเลสหนายังกำหนดตัดภพไม่ได้ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ยังไม่ได้ชื่อนั้น พระโสดาบันเป็นต้นเท่านั้นที่กำหนดตัดภพได้
ทำกิเลสให้เบาบางดำรงอยู่จึงจะได้.
อนึ่ง เพื่อให้เนื้อความนี้แจ่มแจ้ง พึงทราบอุปมาคอกลูกวัวดังต่อ
ไปนี้. เรื่องมีว่า ชาวบ้านทำคอกลูกวัว ตอกหลักข้างในหลายหลัก ใช้
เชือกผูกลูกวัวแล้วเข้าไปผูกไว้ที่หลักเหล่านั้น เมื่อเชือกไม่พอ จึงจับที่หู
ทั้งสองให้ลูกวัวทั้งหลายเข้าคอก พื้นที่ภายนอกไม่เพียงพอ จึงตอกหลัก
ไว้ข้างนอกหลายหลัก แล้วทำ (ผูก) อย่างนั้นเหมือนกัน ที่คอกนั้น
ลูกวัวที่ผูกไว้ข้างในบางตัวนอนข้างนอก บางตัวที่ผูกไว้ข้างนอกนอน
ข้างใน บางตัวที่ผูกไว้ข้างในนอนข้างใน บางตัวที่ผูกไว้ข้างนอกก็นอน
ข้างนอกนั่นเอง บางตัวไม่ได้ผูกไว้ ก็เที่ยวอยู่ข้างในนั่นเอง บางตัว
ไม่ได้ผูกไว้ เที่ยวออกข้างนอกก็มี. บรรดาลูกวัวเหล่านั้น ลูกวัวที่ผูกไว้
ข้างในนอนข้างนอก เชือกที่ผูกยาว. เพราะลูกวัวตัวนั้นถูกความร้อน
เป็นต้นเบียดเบียน จึงออกไปนอนรวมกับลูกวัวทั้งหลายข้างนอก. แม้
ในลูกวัวที่ผูกไว้ข้างนอกเข้าไปนอนข้างใน ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนลูกวัว
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 377
ตัวใดผูกไว้ข้างใน นอนข้างในนั่นเอง เชือกที่ผูกลูกวัวตัวนั้นสั้น. แม้
ในลูกวัวที่ผูกไว้ข้างนอก นอนข้างนอก ก็นัยนี้แหละ. ลูกวัวทั้งสอง
พวกนั้นคงวนเวียนหลักอยู่ในคอกนั้นเองตลอดวัน. แต่ลูกวัวตัวใดไม่ได้
ผูกไว้ข้างใน ย่อมเที่ยวอยู่ในกลุ่มลูกวัวทั้งหลายในคอกนั้นเอง. ลูกวัวตัว
ที่นอนนี้ ถูดึงหูปล่อยเข้าไปในกลุ่มลูกวัวทั้งหลาย ก็ไม่ไปที่อื่น คง
เดินอยู่ในกลุ่มนั้นเอง. ลูกวัวที่ไม่ได้ผูกไว้ข้างนอกก็ตาม ที่เที่ยวอยู่ใน
คอกนั้นเองก็ตาม ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
ในอุปมานั้น พึงทราบว่า ภพ ๓ เหมือนคอกลูกวัว. อวิชชา
เหมือนหลักในคอกลูกวัว. สังโยชน์ ๑๐ เหมือนเชือกผูกลูกวัวที่หลัก.
เหล่าสัตว์ที่เกิดในภพ ๓ เหมือนลูกวัว. พระโสดาบันและพระสกทาคามี
ในรูปภพและอรูปภพ เหมือนลูกวัวที่ผูกไว้ข้างใน นอนข้างนอก. พระ-
อริยบุคคลเหล่านั้นอยู่ในรูปภพและอรูปภพนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น สังโยชน์
ก็ยังเข้าไปพัวพันท่านเหล่านั้นไว้ในกามาวจรภพ. แม้ปุถุชนในรูปภพและ
อรูปภพ ก็สงเคราะห์เข้าในกามาวจรภพนั้นเหมือนกัน เพราะอรรถว่ายัง
ละสังโยชน์อะไรไม่ได้. จริงอยู่ แม้ปุถุชนนั้นอยู่ในรูปภพและอรูปนั้น
ก็จริง ถึงอย่างนั้น สังโยชน์ก็ยังเข้าไปพัวพันเขาไว้ในกามาวจรภพ
เหมือนกัน. พระอนาคามีในกามาวจรภพ เหมือนลูกวัวที่ผูกไว้ข้างนอก
นอนข้างใน. ด้วยว่า พระอนาคามีนั้น อยู่ในกามาวจรภพก็จริง ถึง
อย่างนั้น สังโยชน์ก็ยังเข้าไปพัวพันท่านไว้ในรูปภพและอรูปภพเหมือน
กัน. พระโสดาบันและพระสกทาคามีในกามาวจรภพ เหมือนลูกวัวที่ผูก
ไว้ข้างใน นอนข้างใน. ด้วยว่า ท่านเหล่านั้นอยู่ในกามาวจรภพเองบ้าง
สังโยชน์เข้าไปพัวพันท่านไว้ในกามาวจรภพบ้าง. พระอนาคามีในรูปภพ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 378
และอรูปภพ เหมือนลูกวัวที่ผูกไว้ข้างนอก นอนข้างนอก ด้วยว่า ท่าน
อยู่ในรูปภพและอรูปภพนั้นเองบ้าง สังโยชน์เข้าไปพัวพันท่านไว้ในรูป-
ภพและอรูปภพบ้าง. พระขีณาสพในกามาวจรภพ เหมือนลูกวัวที่ไม่ได้
ผูกไว้ข้างใน ท่องเที่ยวอยู่ข้างใน. พระขีณาสพในรูปภพและอรูปภพ
เหมือนลูกวัวที่ไม่ได้ผูกไว้ข้างนอก เที่ยวอยู่ข้างนอก. ก็บรรดาสังโยชน์
ทั้งหลาย สังโยชน์ ๓ เหล่านี้ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
ปรามาส ไม่ห้ามบุคคลผู้กำลังไปไม่ได้ ผู้ไปแล้วก็นำกลับมาไม่ได้. แต่
สังโยชน์ ๒ เหล่านี้ คือ กามฉันทะ ยาบาท อันบุคคลไม่ข่มไว้ด้วย
สมาบัติ หรือไม่ถอนออกด้วยมรรค ย่อมไม่อาจเพื่อให้เกิดในรูปภพและ
อรูปภพได้.
บุรุษวางถุงรัตนะ ๒ ถุงไว้ข้างตัว แบ่งรัตนะ ๗ ประการให้แก่
บริษัทที่มาหาเต็มคนละ ๒ มือ ครั้นให้รัตนะถุงแรกอย่างนี้แล้ว แม้ถุง
ที่ ๒ ก็ให้อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ฉันใด พระสารีบุตรเถระก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ตั้งบท ๒ บทเหล่านี้ว่า อชฺฌตฺตสโยชน์ จ อาวุโส ปุคฺคล
เทเสสฺสามิ พหิทฺธาสโยชนญฺจ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าจักแสดง
บุคคลผู้มีสังโยชน์ภายใน และบุคคลผู้มีสังโยชน์ภายนอก ดังนี้ เป็นหัวข้อ
ไว้ก่อน บัดนี้ เพื่อจะแสดงรายละเอียดแก่บริษัท ๘ เหล่า จึงเริ่มกถา
อย่างพิสดารนี้ว่า กตโม จาวุโส ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มี
สังโยชน์ภายในเป็นอย่างไร ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนานี้. บทว่า สีลวา
โหติ ความว่า เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยจตุปาริสุทธิศีล. พระสุธรรมเถระผู้อยู่
ทีปวิหารกล่าวว่า พระเถระยกจตุปาริสุทธิศีลขึ้นแสดงด้วยคำเพียงเท่านี้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
แล้วแสดงเชฏฐกศีลในบาลีประเทศนั้นอย่างพิสดาร ด้วยบทนี้ว่า ปาฏิ-
โมกฺขสวรสวุโต สำรวมโดยปาติโมกขสังวร ด้วยประการฉะนี้. ฝ่าย
พระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก อันเตวาสิกของพระสุธรรมเถระ
กล่าวว่า พระสารีบุตรเถระกล่าวถึงปาติโมกขสังวร แม้ด้วยบททั้งสอง
เพราะปาติโมกขสังวรนั่นแหละเป็นศีล ส่วน ๓ อย่างนอกนี้ ย่อมมีฐานะ
ที่เรียกได้ว่า ศีล ดังนี้ . เมื่อไม่คล้อยตาม ท่านยังกล่าวยิ่งขึ้นไปว่า เพียง
รักษาทวาร ๖ เท่านั้น ก็ชื่อว่า อินทริยสังวร เพียงให้ปัจจัยเกิดขึ้นโดย
ธรรมโดยสม่ำเสมอ ก็ชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิศีล เพียงพิจารณาปัจจัยที่ได้
มาว่า นี้มีประโยชน์ ดังนี้แล้วบริโภค ก็ชื่อว่า ปัจจยสันนิสสิตศีล แต่
ปาติโมกขสังวรเป็นศีลโดยตรง ภิกษุผู้มีปฏิโมกขสังวรแตก ไม่ควรจะ
กล่าวว่า จักรักษาข้อที่เหลือไว้ได้ เหมือนคนศีรษะขาด ก็ไม่ควรกล่าวว่า
จักรักษามือเท้าไว้ได้ฉะนั้น ส่วนภิกษุผู้มีปาติโมกขสังวรไม่ด่างพร้อย
ย่อมสามารถรักษาข้อที่เหลือให้เป็นปกติได้อีก เหมือนคนศีรษะยังไม่ขาด
ย่อมรักษาชีวิตไว้ได้ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระจึงแสดงปาติโมกขสังวร
ด้วยบทว่า สีลวา เมื่อจะให้ปาฏิโมกขสังวรนั้นพิสดาร จึงกล่าวว่า
ปาฏิโมกฺขสวรสวุโต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาฏิโมกฺขสวรสวุโต ความว่า ผู้ประ-
กอบด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์. บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน
ความว่า ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร. บทว่า อณุมตฺเตสุ แปลว่า
ประมาณน้อย. บทว่า วชฺเชสุ ได้แก่ในอกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า
ภยทสฺสาวี แปลว่า เห็นเป็นภัย. บทว่า สมาทาย แปลว่า ถือเอา
โดยชอบ. บทว่า สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ความว่า สมาทานศึกษาสิกขาบท
นั้น ๆ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 380
บรรดาสิกขาบททั้งหลาย คือบรรดาส่วนแห่งสิกขาบททั้งหลาย สิกขาบท
ข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นไปทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ที่ควรศึกษา
ถือเอาสิกขาบทนั้น ๆ ทั้งหมดโดยชอบศึกษา. ในเรื่องนี้มีความย่อ ดังนี้ .
ก็บททั้งหลายมีปาฏิโมกขสังวรเป็นต้น เหล่านี้ทั้งหมด กล่าวไว้อย่างพิสดาร
แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค และจตุปาริสุทธิศีล ก็แสดงแยกแยะไว้แล้ว
โดยอาการทั้งปวง.
บทว่า อญฺตร เทวนิกาย ความว่า หมู่เทพจำพวกใดจำพวกหนึ่ง
ในบรรดาหมู่เทพชั้นกามาพจร ๖. บทว่า อาคามี โหติ ความว่า เป็น
ผู้มาเกิดในเบื้องต่ำ. บทว่า อาคนฺตา อิตฺถตฺต ความว่า เป็นผู้มาสู่ความ
เป็นอย่างนี้ คือความเป็นขันธ์ของมนุษย์นี่แหละ. พระเถระแสดงว่า เป็นผู้
เกิดในภพนั้น หรือเกิดในภพสูงขึ้นไป ก็หามิได้ ย่อมเป็นผู้มาเกิดในภพ
เบื้องต่ำอีกนั่งเอง. ด้วยองค์นี้ ท่านกล่าวถึงมรรคเบื้องต่ำทั้ง ๒ และผล
ทั้ง ๒ ของภิกษุที่เจริญธาตุกัมมัฏฐาน. ผู้เป็นสุกขวิปัสสก. บทว่า
อญฺตร สนฺค เจโตวิมุตฺตึ ความว่า จตุตถฌานสมาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในสมาบัติ ๘. ด้วยว่า จตุตถฌานสมาบัตินั้น เรียกว่า สงบ เพราะกิเลส
ที่เป็นข้าศึกสงบ และเรียกว่า เจโตวิมุตติ เพราะใจพ้นจากกิเลสเหล่านั้น
นั่นแล. บทว่า อญฺตร เทวนิกาย ได้แก่เทพนิกายจำพวกใดจำพวกหนึ่ง
ในเทพนิกายชั้นสุททวาส ๕. บทว่า อนาคนฺตา อิตฺถตฺต ความว่า
ไม่มาสู่ความเป็นปัญจขันธ์นี้อีก. พระเถระแสดงว่า ไม่เกิดขึ้นภพเบื้องต่ำ
จะเกิดในภพสูงขึ้นไปเท่านั้น หรือปรินิพพานในภพนั้นเอง. ด้วยองค์นี้
ท่านกล่าวถึงมรรค ๓ และผล ๓ ของภิกษุผู้ประกอบการบำเพ็ญสมาธิ.
บทว่า กามานเย นิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อต้องการหน่าย คือเบื่อ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 381
กามทั้งสอง. บทว่า วิราคาย ได้แก่ เพื่อต้องการคลายกำหนัด. บทว่า
นิโรธาย ได้แก่ เพื่อต้องการทำให้เป็นไปไม่ได้. บทว่า ปฏิปนฺโน โหติ
ได้แก่ เป็นผู้บำเพ็ญข้อปฏิบัติ. ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันพระเถระ
กล่าวอนาคามิมรรควิปัสสนา เพื่อต้องการให้ความกำหนัดที่เป็นไปใน
กามคุณ ๕ ของพระโสดาบันและของพระสกทาคามีสิ้นไป. บทว่า
ภวานเยว ได้แก่ ซึ่งภพ ๓. ด้วยบทนี้ ย่อมเป็นอันพระเถระกล่าว
อรหัตมรรควิปัสสนา เพื่อต้องการให้ความกำหนัดในภพของพระอนาคามี
สิ้นไป. ด้วยบทว่า โส ตณฺหกฺขยาย ปฏิปนฺโน โหติ เธอเป็นผู้ปฏิบัติ
เพื่อความสิ้นตัณหา แม้นี้ เป็นอันพระเถระกล่าวอนาคามิมรรควิปัสสนา
เพื่อทำให้ตัณหาที่เป็นไปในกามคุณ ๕ ของพระโสดาบันและพระสกทาคามี
นั้นแลสิ้นไป. ด้วยบทว่า โส โลภกฺขยาย เธอเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความ
สิ้นโลภะ แม้นี้ เป็นอันพระเถระกล่าวอรหัตมรรควิปัสสนา เพื่อ
ต้องการให้ความโลภในภพของพระอนาคามีสิ้นไป. บทว่า อญฺญตร
เทวนิกาย ได้แก่ เทพนิกายจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ในชั้นสุทธาวาส
ทั้งหลายนั่นแหละ. บทว่า อนาคนฺตา อิตฺถติต ความว่า ไม่มาสู่ความ
เป็นขันธปัญจกนี้. เป็นผู้ไม่เกิดในภพเบื้องต่ำ เป็นผู้เกิดในภพสูงขึ้นไป
เท่านั้น หรือปรินิพพานในภพนั้นเอง. พระเถระกล่าวมรรคและผล ๒
เบื้องต่ำ ของภิกษุผู้เจริญธาตุกัมมัฏฐาน ผู้สุกขวิปัสสก ด้วยองค์แรก
กล่าวมรรคและผล ๓ ของภิกษุผู้ประกอบการบำเพ็ญสมาธิ ด้วยองค์ที่ ๒
ด้วยประการฉะนี้.
ด้วยบทว่า โส กามาน เธอเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อดับเสียซึ่งกามทั้งหลาย
นี้ พระเถระกล่าวอนาคามิมรรควิปัสสนาเบื้องสูง เพื่อให้ความกำหนัดที่
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 382
เป็นไปในกามคุณ ๕ ของพระโสดาบันและพระสกทาคามีทั้งหลายสิ้นไป.
ด้วยบทว่า โส ภวายเยว เธอเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อตัดเสียซึ่งภพทั้งหลาย
นั่นเทียว นี้ พระเถระกล่าวอรหัตมรรควิปัสสนาเบื้องสูง เพื่อต้องการ
ให้ความกำหนัดในภพของพระอนาคามีสิ้นไป. ด้วยบทว่า โส ตณฺหกฺ-
ขยาย เธอเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา นี้ พระเถระกล่าว
อนาคามิมรรควิปัสสนาเบื้องสูง เพื่อให้ตัณหาที่เป็นไปในกามคุณ ๕
ของพระโสดาบันและพระสกทาคามีทั้งหลายสิ้นไป. ด้วยบทว่า โส
โลภกฺขยาย เธอเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นโลภะ นี้ พระเถระกล่าว
อรหัตมรรควิปัสสนาเบื้องสูง เพื่อให้โลภะของพระอนาคามีสิ้นไป. พระ-
เถระกล่าววิปัสสนา ด้วยหัวข้อทั้ง ๖ เทศนาไปตามลำดับอนุสนธิอย่างนี้
ด้วยประการฉะนี้. เวลาจบเทศนา เทวดาพันโกฏิ บรรลุพระอรหัต.
และที่เป็นพระโสดาบันเป็นต้น นับไม่ถ้วน. เมื่อตรัสมหาสมยสูตรก็ดี
มงคลสูตรก็ดี จูฬราหุโลวาทสูตร เทวดาพันโกฏิบรรลุพระอรหัต เหมือน
ในสมาคมนี้. เทวดาและมนุษย์ที่เป็นพระโสดาบันเป็นต้น นับไม่ถ้วน.
บทว่า สมจิตฺตา เทวตา ความว่า เทวดาทั้งหลาย ชื่อว่าเหล่า
สมจิตตา เพราะความที่มีจิตละเอียดเสมอกัน . ด้วยว่า เทวดาเหล่านั้น
ทั้งหมด เนรมิตอัตภาพของตนให้ละเอียดคล้ายจิต เหตุนั้น จึงชื่อว่า
สมจิตตา. ชื่อว่า สมจิตตา ด้วยเหตุอื่น ๆ ก็มี. พระเถระกล่าวสมาบัติ
ก่อน แต่มิได้กล่าวถึงกำลังของสมาบัติ เทวดาทั้งปวงได้มีความคิดเป็น
อย่างเดียวกันว่า พวกเราจักอัญเชิญพระทศพลให้ตรัสกำลังของสมาบัติ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า สมจิตตา. เหตุอย่างหนึ่ง พระเถระกล่าวทั้งสมาบัติ
ทั้งกำลังของสมาบัติ โดยปริยายหนึ่ง. เทวดาทั้งหลายตรวจดูว่า ใครบ้าง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 383
หนอมาสมาคมนี้ ใครไม่มา ทราบว่า พระตถาคตไม่เสด็จมา ทั้งหมด
ได้มีความคิดเป็นอย่างเดียวกันว่า พวกเราจักอัญเชิญพระตถาคต ทำบริษัท
ให้บริบูรณ์ เหตุนี้บ้างจึงชื่อว่า สมจิตตา. เหตุอีกอย่างหนึ่ง เทวดา
ทั้งหลายทั้งปวงทีเดียว ได้มีความคิดเป็นอย่างเดียวกันว่า ใคร ๆ ใน
อนาคตไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณีก็ตาม เทวดา มนุษย์ก็ตาม จะไม่เคารพ
เพราะคิดว่าเทศนาเรื่องนี้ เป็นสาวกภาษิต (ไม่ใช่พุทธภาษิต) พวกเรา
จักอัญเชิญพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำเทศนาเรื่องนี้ให้เป็นสัพพัญญูภาษิต
เทศนาเรื่องนี้จักเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพในอนาคตด้วยอาการอย่างนี้
เหตุนี้บ้างจึงชื่อว่า สมจิตตา. เหตุอีกอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นทั้งหมด
เป็นผู้ได้สมาบัติอย่างเดียวกันบ้าง ได้อารมณ์อย่างเดียวกันบ้าง เหตุนั้น
จึงชื่อว่า สมจิตตา อย่างนี้ก็มี.
บทว่า หฏฺา ได้แก่ ยินดี รื่นเริง บันเทิงใจ. บทว่า สาธุ เป็น
นิบาต ในอรรถว่า วิงวอน. บทว่า อนุกมฺป อุปาทาย ความว่า อาศัย
ความอนุเคราะห์ กรุณาเอ็นดูพระเถระ. ความจริงในฐานะแม้นี้ ไม่มีกิจ
ที่จะต้องอนุเคราะห์พระเถระ. ในวันที่พระศาสดากำลังตรัสเวทนากัมมัฏ-
ฐาน แก่ทีฆนขปริพาชกผู้เป็นหลาน ที่ประตูถ้ำสูกรขาตะ พระเถระ
ยืนถือก้านตาลถวายงานพัดพระศาสดาอยู่ ได้สำเร็จสาวกบารมีญาณ โดย
ไม่ต้องชี้แจง เหมือนคนบริโภคโภชนะที่เขาคดไว้เพื่อผู้อื่น บรรเทาความหิว
และเหมือนคนเอาเครื่องประดับที่เขาจัดไว้เพื่อผู้อื่น มาสวมศีรษะตน
ในวันนั้นแหละ ชื่อว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์แล้ว. เทวดา
ทั้งหลายทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรด
เสด็จไปอนุเคราะห์เหล่าเทวดาและมนุษย์ที่เหลือ ซึ่งอยู่ ณ ที่นั้น. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 384
พลวา ปุริโส ความว่า คนกำลังน้อยไม่สามารถจะคู้แขนเข้าหรือเหยียด
แขนออกได้ฉับพลัน คนมีกำลังเท่านั้นสามารถ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวดังนี้.
บทว่า สมฺมุเข ปาตุรโหสิ ความว่า ได้ปรากฏในที่พร้อมหน้า คือต่อหน้า
ทีเดียว.
บทว่า ภควา เอตทโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้
คือเหตุที่พระองค์เสด็จมา โดยนัยว่า อิธ สารีปุตฺต เป็นต้น. เล่ากันมาว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าคนพาลอกตัญญูบางคน
ไม่ว่าเป็นภิกษุ ภิกษุณีก็ตาม เป็นอุบาสก อุบาสิกาก็ตาม จะพึงคิด
อย่างนี้ว่า พระสารีบุตรเถระได้บริษัทมากมายเหลือเกิน พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าไม่อาจจะทรงอดกลั้นเรื่องอย่างนี้ได้ จึงเสด็จมาทรงตั้งบริษัท
ด้วยความริษยา ผู้นั้นคิดประทุษร้ายเรา ดังนี้ จะพึงบังเกิดในอบาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสถึงเหตุที่พระองค์เสด็จมา ได้ตรัสพระพุทธ-
ดำรัสว่า อิธ สารีปุตฺต เป็นต้น. ครั้นตรัสถึงเหตุที่พระองค์เสด็จมา
อย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะตรัสกำลังแห่งสมาบัติ จึงตรัสพระพุทธดำรัสว่า
ตา โข ปน สารีปุตฺต เทวตา ทสปิ หุตฺวา เป็นต้น. ในบาลี
ประเทศนั้น ควรจะนำเนื้อความมา ด้วยอำนาจยศบ้าง ด้วยอำนาจสมาบัติ
บ้าง. จะกล่าวด้วยอำนาจยศก่อน เทวดาพวกเป็นใหญ่มาก ได้ยืนอยู่ใน
ที่แห่งละ ๑๐ องค์ เทวดาพวกเป็นใหญ่น้อยกว่าพวกนั้น ได้ยืนอยู่ในที่
แห่งละ ๒๐ องค์. เทวดาพวกเป็นให้น้อยกว่าพวกนั้น ฯลฯ ได้ยืนอยู่
ในที่แห่งละ ๖๐ องค์. ส่วนด้วยอำนาจสมาบัติ พึงทราบ ดังนี้ เทวดา
เหล่าใดเจริญสมาบัติชั้นประณีต เทวดาเหล่านั้น ได้ยืนอยู่ในที่แห่งละ
๖๐ องค์. เทวดาเหล่าใดเจริญสมาบัติต่ำกว่านั้น เทวดาเหล่านั้น ได้ยืน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 385
อยู่ในที่แห่งละ ๕๐ องค์. เทวดาเหล่าใดเจริญสมาบัติต่ำกว่านั้น ฯลฯ
เทวดาเท่านั้น ได้ยืนอยู่ในที่แห่งละ ๑๐ องค์. อีกอย่างหนึ่ง เทวดา
เหล่าใดเจริญสมาบัติขึ้นต่ำ เทวดาเหล่านั้น ได้ยืนอยู่ในที่แห่งละ ๑๐ องค์
เทวดาเหล่าใดเจริญ สมาบัติประณีตกว่านั้น เทวดาเหล่านั้นได้ยืนอยู่ในที่
แห่งละ ๒๐ องค์ เทวดาเหล่าใดเจริญสมาบัติประณีตกว่านั้น ฯลฯ เทวดา
เหล่านั้น ได้ยืนอยู่ในที่แห่งละ ๖๐ องค์.
บทว่า อารคฺคโกฏินิตุทนมตฺเต แปลว่า ในที่ว่างพอจดปลายเข็ม
ลงได้. บทว่า น จ อญฺมญฺ พฺยาพาเธนฺติ ความว่า ถึงยืนอยู่ในที่
แคบอย่างนี้ ก็ไม่เบียดกัน ไม่สีกัน ไม่กดกัน ไม่ดันกันเลย มิได้มีเหตุ
ที่จะต้องพูดว่า มือท่านบีบเรา เท้าท่านเบียดเรา ท่านยืนเหยียบเรา
ดังนี้. บทว่า ตตฺถ นูน ได้แก่ ในภพนั้นเป็นแน่. บทว่า ตถา จิตฺต
ภาวิต ความว่า จิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมด้วยอาการนั้น. บทว่า เยน
ตา เทวตา ความว่า จิตที่เทวดาอบรมด้วยอาการนั้น จึงเป็นเหตุให้เทวดา
เหล่านั้นแม้มีจำนวน ๑๐ ฯลฯ ก็ยืนอยู่ได้และไม่เบียดกันและกัน. บทว่า
อิเธว โข ได้แก่ ในศาสนา หรือในมนุษยโลก. เป็นสัตตมีวิภัตติ.
ความว่า ในศาสนานี้แหละ. ในมนุษยโลกนี้แหละ. จริงอยู่ จิตอันเทวดา
เหล่านั้นอบรมแล้ว ในมนุษยโลกนี้แหละ และในศาสนานี้แหละ ซึ่งเป็น
เหตุที่เทวดาเหล่านั้นบังเกิดในรูปภพที่มีอยู่ ก็แลเทวดาเหล่านั้นมาจาก
รูปภพนั้นแล้ว เนรมิตอัตภาพละเอียดยืนอยู่อย่างนี้. บรรดาเทวดา
เหล่านั้น แม้เทวดาที่ทำมรรคและผล ๓ ให้บังเกิดในศาสนาของพระ-
กัสสปทศพลจะมีอยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำว่า
พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย มีอนุสนธิตามต่อเนื่องอย่างเดียวกัน ศาสนา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 386
คำสอนอย่างเดียวกัน เมื่อทรงทำศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ เป็น
พระพุทธศาสนานี้แล จึงตรัสว่า อิเธว โข สารีปุตฺต ดังนี้ พระตถาคต
ตรัสกำลังแห่งสมาบัติ ด้วยพระพุทธดำรัสเพียงเท่านี้ .
บัดนี้ เมื่อจะตรัสอนุสาสนีตามระบบ ปรารภพระสารีบุตรเถระ
จึงตรัสว่า ตสฺมาติห สารีปุตฺต ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา
ความว่า เพราะเหตุที่เทวดาเหล่านั้นทำสมาบัติที่มีอยู่ในภพนี้แหละให้
บังเกิดแล้วจึงได้บังเกิดในภพที่มีอยู่. บทว่า สนฺตินฺทฺริยา แปลว่า
มีอินทรีย์สงบ เพราะอินทรีย์ทั้ง ๕ สงบ เย็น ประณีต. บทว่า
สนฺตมานสา แปลว่า มีใจสงบ เพราะใจสงบ เย็น ประณีต. บทว่า
สนฺตเยวุปหาร อุปหริสฺสาม ความว่า พวกเราจักเสนอความนับถือบูชา
ด้วยกายและใจ ซึ่งเป็นความนับถือบูชาอันสงบ เย็น ประณีต ทีเดียว.
บทว่า สพฺรหฺมจารีสุ ได้แก่ในสหธรรมิกทั้งหลายผู้ประพฤติธรรมชั้นสูง
ที่เสมอกัน มีเป็นผู้มีอุเทศอันเดียวกันเป็นต้น. ด้วยพระพุทธดำรัสนี้ว่า
เอวญฺหิ เต สารีปุตฺต สิกฺขิตพฺพ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำ
เทศนาให้เป็นภาษิตของพระสัพพัญญูพุทธะโดยฐานเพียงเท่านี้. บทว่า
บทว่า อนสฺสุ แปลว่า เสีย เสียหาย. บทว่า เย อิม ธมฺมปริยาย
นาสฺโสสุ ความว่า พวกนักบวชผู้นับถือลัทธิอื่น อาศัยทิฏฐิของตน
ที่ลามก เปล่าสาระ ไร้ประโยชน์ ไม่ได้ฟังธรรมเทศนานี้ เห็นปานนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาคามอนุสนธิ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 387
สูตรที่ ๖
ว่าด้วยกามราคะและทิฏฐิราคะเป็นเหตุให้วิวาทกัน
[๒๘๒] ๓๖. สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ
กัททมทหะ ใกล้พระนครวรณา ครั้งนั้นแล พราหมณ์อารามทัณฑะได้
เข้าไปหาท่านพระมหากัจานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านกัจจานะ อะไรหนอเป็นเหตุ
เป็นปัจจัย เครื่องให้กษัตริย์กับกษัตริย์ พราหมณ์กับพราหมณ์ คฤหบดี
กับคฤหบดี วิวาทกัน ท่านมหากัจจานะตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะ
เหตุเวียนเข้าไปหากามราคะ ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ กำหนัดยินดีในกาม-
ราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุม และถูกกามราคะท่วมทับ แม้กษัตริย์กับกษัตริย์
พราหมณ์กับพราหมณ์ คฤหบดีกับคฤหบดี ก็วิวาทกัน.
อา. ดูก่อนกัจจานะ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้สมณะ
กับสมณะวิวาทกัน .
มหา. ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุเข้าไปหาทิฏฐิราคะ ตกอยู่ใน
อำนาจทิฏฐิราคะ กำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ ถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และ
ถูกทิฏฐิราคะท่วมทับ แม้สมณะกับสมณะก็วิวาทกัน.
อา. ดูก่อนกัจจานะ ก็ในโลก ยังมีใครบ้างไหม ที่ก้าวล่วงการ
เวียนเข้าไปหากามราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ การกำหนัดยินดี
ในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะท่วมทับนี้
และก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหาทิฏฐิราคะ การตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ
การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฏฐิราคะท่วมทับนี้เสียได้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 388
มหา. ดูก่อนพราหมณ์ ในโลก มีท่านที่ก้าวล่วงการเวียนเข้าไป
หากามราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ การกำหนัดยินดีในกามราคะ
การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะท่วมทับนี้เสียได้ และก้าว
ล่วงความเวียนเข้าไปหาทิฏฐิราคะ การตกอยู่ในอำนาจทิฏฐิราคะ การ
กำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฏฐิราคะ
ท่วมทับนี้.
อา. ดูก่อนกัจจานะ ใครในโลกเป็นผู้ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหา
กามราคะ. . . และการถูกทิฏฐิราคะท่วมทับนี้.
มหา. ดูก่อนพราหมณ์ ในชนบทด้านทิศบูรพา มีพระนครชื่อว่า
สาวัตถี ณ พระนครสาวัตถีนั้นทุกวันนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นกำลังประทับอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ก็พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหากามราคะ. . . .
และการถูกทิฏฐิราคะท่วมทับนี้ด้วย.
เมื่อท่านพระมหากัจจานะตอบอย่างนี้แล้ว พราหมณ์อารามทัณฑะ
ลุกจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว คุกมณฑลเข่าขวาลงบนแผ่นดิน
ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่แล้วเปล่งอุทาน ๓ ครั้ง
ว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอ
นอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ก้าว
ล่วงการเวียนเข้าไปหากามราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ การกำหนัด
ยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะท่วมทับ
นี้แล้ว กับทั้งได้ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหาทิฏฐิราคะ การตกอยู่ในอำนาจ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 389
ทิฏฐิราคะ การกำหนัดยินดีในทิฏฐิราคะ การถูกทิฏฐิราคะกลุ้มรุม และ
การถูกทิฏฐิราคะท่วมทับนี้ด้วย ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่าน
แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านกัจจานะ
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิด
ของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
คนมีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าแต่ท่านกัจจานะ ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระ-
โคดมผู้เจริญพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ
ขอท่านกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิม
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปร๑ณาย วิหรติ ความว่า เมืองมีชื่อว่าปรณา ท่าน
พระมหากัจตานะเข้าไปอาศัยเมืองนั้นอยู่. บทว่า กาม๒ราควินิเวสวินิพนฺธ-
ปลิเคธปริยุฏฺานชฺฌฌสานเหตุ เพราะเวียนเข้าไปหากามราคะ
เป็นเหตุ ตกอยู่ในอำนาจกามราคะเป็นเหตุ มีความกำหนัดยินดีในกามราคะ
เป็นเหตุ เพราะกามราคะกลุ้มรุมอยู่เป็นเหตุ และท่วมทับอยู่เพราะกามราคะ
เป็นเหตุ. มีคำอธิบายดังนี้ เพราะกามราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕
นั้น ยึดไว้เป็นต้นเป็นเหตุ เพราะถูกกามราคะพัวพัน ผูกพันไว้เพราะ
ละโมบ คือตะกรามเพราะกามราคะนั้นแหละ ซึ่งเป็นเหมือนหล่มใหญ่
เพราะกลุ้มรุมอยู่เพราะกามราคะนั้นแหละ คือถูกกามราคะจับไว้ และเพราะ
๑. บาลีเป็น วรณาย วิหรติ. ๒. ม. กามราคาภินิเวส.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 390
จดจ่อเพราะกามราคะ คือถูกกามราคะกลืนสำเร็จเสร็จสิ้นยึดไว้. แม้ใน
บทว่า ทิฏฺราค เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. แต่ในบทว่า ทิฏฺิราโค นี้
บัณฑิตพึงทราบว่า ได้แก่ราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยทิฏฐิ ๖๒.
บทว่า ปุรตฺถิเมสุ ชนปเทสุ ความว่า จากที่ที่พระเถระอยู่ไป
ทางทิศตะวันออก มีสาวัตถีชนบท. พระเถระเมื่อนั่ง ก็นั่งหันหน้าไป
ทางทิศนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อุทาน อุทาเนสิ
แปลว่า เปล่งอุทาน. เหมือนอย่างว่า น้ำมัน ไม่อาจขังเครื่องตวงได้
ไหลล้นไป เขาเรียกว่า ล้นเหลือ และน้ำที่ไม่อาจขังเหมืองน้ำได้ไหลล้น
ไปนั้น เขาเรียกว่า น้ำหลาก ฉันใด คำที่เกิดแต่ปีติก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ขังหทัยไม่ได้ คือเก็บไว้ข้างในไม่อยู่ ก็ล้นออกข้างนอกนั้น ท่านเรียกว่า
ิอุทาน อธิบายว่า พราหมณ์อารามทัณฑะ เปล่งคำที่เกิดแต่ปีติเห็น
ปานนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
ว่าด้วยชื่อว่าเป็นบัณฑิตและเป็นเถระ มิใช่เพราะเป็นคนแก่
[๒๘๓] ๓๗. สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ป่าคุนทาวัน
ใกล้เมืองมธุรา ครั้งนั้นแล พราหมณ์กัณฑรายนะเข้าไปหาท่านพระมหา-
กัจจานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
แล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านกัจจานะ ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า ท่านสมณะ
กัจจานะ หาอภิวาท ลุกขึ้นต้อนรับพวกพราหมณ์ ที่ชราแก่เฒ่าล่วงกาล
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 391
ผ่านวัย หรือเชื้อเชิญด้วยอาสนะไม่ ดูก่อนท่านกัจจานะ ข่าวที่ได้ฟังมา
นั้นจริงแท้ เพราะท่านกัจจานะหาอภิวาท ลุกขึ้นต้อนรับพวกพราหมณ์
ที่ชราแก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัย หรือเชื้อเชิญด้วยอาสนะไม่ ดูก่อนกัจจานะ
การกระทำเช่นนี้นั้นเป็นการไม่สมควรแท้.
ท่านพระมหากัจจานะตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ ภูมิคนแก่และภูมิ
เด็ก ที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็นพระองค์
นั้นตรัสไว้มีอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ถึงแม้จะเป็นคนแก่มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี
หรือ ๑๐๐ ปี แต่กำเนิดก็ดี แต่เขายังบริโภคกาม อยู่ในท่ามกลางกาม
ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ถูกกามวิตกเคี้ยวกินอยู่ ยังเป็นผู้
ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาก็ย่อมถึงการนับว่าเป็นพาล ไม่ใช่เถระ
โดยแท้ ดูก่อนพราหมณ์ ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็กยังเป็นหนุ่ม มีผมดำสนิท
ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ ยังตั้งอยู่ในปฐมวัย แต่เขาไม่
บริโภคกาม ไม่อยู่ในท่ามกลางกาม ไม่ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา
ไม่ถูกกามวิตกเคี้ยวกิน ไม่ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาก็ย่อมถึงการ
นับว่าเป็นบัณฑิต เป็นเถระแน่แท้ทีเดียวแล.
ทราบว่า เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์
กัณฑรายนะได้ลุกจากที่นั่งแล้วห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าของภิกษุ
ที่หนุ่มด้วยเศียรเกล้า กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าแก่ ตั้งอยู่แล้วในภูมิคนแก่
เรายังเด็ก ตั้งอยู่ในภูมิเด็ก ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้ง
นัก ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านพระกัจจานะ
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิด
ของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 392
คนมีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าแต่ท่านกัจจานะ ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระโคดม
ผู้เจริญพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่าน
พระกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป.
จบสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า คุนฺทาวเน ได้แก่ ณ ป่าซึ่งมีชื่ออย่างนี้. บทว่า อุปสงฺกมิ
ความว่า กัณฑรายนพราหมณ์ได้ทราบข่าวเล่ากันมาว่า พระมหากัจจานะ-
เถระเห็นคนคราวพ่อของตนก็ตาม คราวปู่ก็ตาม คราวทวดก็ตาม ไม่
กราบไหว้ไม่ลุกต้อนรับ ไม่เชื้อเชิญให้นั่ง ดังนี้ คิดว่า ไม่มีใครสามารถ
แก้เรื่องเพียงเท่านี้ให้สำเร็จได้ เราจักเข้าไปข่มท่าน ดังนี้ รับประทาน
อาหารเข้าแล้ว เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่. บทว่า ชิณฺเณ
ได้แก่ ผู้คร่ำคร่าเพราะชรา. บทว่า วุฑฺเฒ ได้แก่ ผู้เจริญโดยวัย.
บทว่า มหลฺลเก ได้แก่ ผู้แก่โดยชาติ (เกิดมานาน). บทว่า อทฺธคเต
ได้แก่ ผู้ผ่านเวลายาวนาน. บทว่า วโยยอนุปฺปตฺเต ได้แก่ ผู้อยู่ถึง
ปัจฉิมวัย.
บทว่า ตยิท โภ กจฺจาน ตเถว ความว่า ท่านกัจจานะผู้เจริญ
ข้อใดที่พวกข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างชัดเจน ข้อนั้นก็สมกับเรื่องที่ข้าพเจ้า
ได้เห็นนี้ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คำว่า น หิ ภว
กจฺจาโน พฺราหฺมเณ นี้ กัณฑรายนพราหมณ์กล่าวหมายถึงตนเอง.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 393
นัยว่า ข้อนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า ท่านกัจจานะผู้เจริญเห็นพวกเราผู้เป็น
คนแก่ขนาดนี้ ก็ไม่มีแม้เพียงการกราบไหว้ แม้เพียงการลุกต้อนรับ
แต่เพียงการเชื้อเชิญให้ที่นั่ง. บทว่า น สมฺปนฺนเมว แปลว่า ไม่
เหมาะเลย คือไม่สมควรทีเดียว. พระเถระฟังคำของพราหมณ์แล้ว คิดว่า
พราหมณ์นี้ไม่รู้จักคนแก่ ไม่รู้จักเด็ก จำเราจักบอกคนแก่และเด็กแก่เขา
ดังนี้ เมื่อจะขยายเทศนา จึงกล่าวคำว่า อตฺถิ พฺราหฺมณ เป็นต้น .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานตา ได้แก่ ผู้รู้นัยทั้งปวง. บทว่า
ปสฺสตา ได้แก่ ผู้เห็นนัยนั้นนั่นแหละ เหมือนเห็นผลมะขามป้อมที่วาง
ไว้ในมือ. บทว่า วุฑฺฒภูมิ ได้แก่ เหตุที่ทำให้เป็นคนแก่. บทว่า
ทหรภูมิ ได้แก่ เหตุที่ทำให้เป็นเด็ก. บทว่า อสีติโก ได้แก่ มีวัย
๘๐ ปี. บทว่า กาเม ปริภุญฺชติ ความว่า ยังต้องการบริโภคกามทั้ง
๒ คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม. บทว่า กามมชฺณาวสติ ความว่า
ยังอยู่คือครองกามทั้ง ๒ อย่าง เหมือนเจ้าของเรือนอยู่ครองเรือน. บทว่า
กามปริเยสนาย อุสฺสุโก ความว่า ยังขวนขวายเพื่อแสวงหากามทั้ง ๒
อย่าง. บทว่า โส พาโล น เถโรเตฺวว สงฺข คจฺฉติ ความว่า
บุคคลนั้นไม่นับว่าเป็นเถระ นับว่าเป็นเด็ก คือคนปัญญาอ่อนโดยแท้
สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า
น เตน จ เถโร โหติ เยนสฺส ปลิต สิโร
ปริปกฺโก วโย ตสฺส โมฆชิณฺโณติ วุจฺจติ
บุคคลจะเป็นเถระ เพราะเหตุที่มีผมหงอกบน
ศีรษะก็หามิได้ ผู้นั้นมีวัยหง่อมแล้ว เรียกว่า
คนแก่เปล่า.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 394
บทว่า ทหโร แปลว่า เด็กรุ่น. บทว่า ยุวา ได้แก่ ประกอบ
ด้วยความเป็นหนุ่ม. บทว่า สุสูกาฬเกโส แปลว่า มีผมดำสนิท
บทว่า ภเทฺรน โยพฺพเนน สมนฺนาคโต ความว่า บุคคลชื่อว่าเป็น
คนหนุ่ม เพราะประกอบด้วยความเป็นหนุ่มใด ท่านแสดงความเป็นหนุ่ม
นั้นว่า ภทฺรก กำลังเจริญ. บทว่า ปฐเมน วยสา ความว่า อายุ
๓๓ ปี ชื่อว่าปฐมวัย ประกอบด้วยปฐมวัยนั้น. บทว่า ปณฺฑิโต
เถโรเตฺวว สงฺข คจฺฉติ ความว่า บุคคลนั้น คือเห็นปานนี้ นับว่า
เป็นบัณฑิตด้วย เป็นเถระด้วยแล. สมจริงดังที่ตรัสไว
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สยโม ทโม
สเว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ
ผู้ใดมีสัจจะ เที่ยงธรรม ไม่เบียดเบียน สำรวม
ฝึกฝน ผู้นั้นแหละเป็นผู้คายกิเลสดุจธุลีแล้ว เป็น
ปราชญ์ เราเรียกว่าเถระ
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
ว่าด้วยเหตุเป็นไปและไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน
เป็นอันมาก
[๒๘๔] ๓๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พวกโจรมีกำลัง
สมัยนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัย
เช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป. เสด็จออกไป
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 395
หรือจะออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์
และคฤหบดีก็ไม่สะดวกที่จะผ่านไป จะออกไป หรือเพื่อตรวจตราการงาน
ภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุ
เลวทรามมีกำลัง สมัยนั้น พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รักย่อมถอยกำลัง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น ภิกษุพวกที่มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้นิ่งเงียบ
ทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือคบชนบทชายแดน ข้อนี้ย่อมเป็นไป
เพื่อมิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย
เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พระเจ้าแผ่นดินมีกำลัง สมัยนั้น พวกโจร
ย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดิน
ย่อมสะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือที่จะออกคำสั่งไปยัง
ชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์และคฤหบดีย่อม
สะดวกที่จะไป ออกไป หรือตรวจการงานภายนอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รัก. มีกำลัง สมัยนั้น
พวกภิกษุที่เลวทราม ย่อมถอยกำลัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น
พวกภิกษุที่เลวทราม เป็นผู้นิ่งเงียบทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือ
ออกไปทางใดทางหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 396
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โจรา พลวนฺโต โหนฺติ ความว่า พวกโจรพรักพร้อม
ด้วยพรรคพวก พรักพร้อมด้วยบริวาร พรักพร้อมด้วยสถานที่อยู่
พรักพร้อมด้วยพาหนะ. บทว่า ราชาโน ตสฺมึ สมเย ทุพฺพลา โหนฺติ
ความว่า ในสมัยนั้น ฝ่ายเจ้าทั้งหลาย เป็นฝ่ายอ่อนกำลัง เพราะไม่มี
สมบัติเหล่านั้น. บทว่า อติยาตุ ความว่า เพื่อเที่ยวตรวจตราชนบท
ภายนอกแล้วประสงค์จะเข้าพระนครในขณะที่ต้องการ. บทว่า นิยฺยาตุ
ความว่า ไม่มีความผาสุก ที่จะเสด็จออกไปไม่ว่าในปฐมยาม มัชฌิมยาน
หรือปัจฉิมยาม ด้วยมีพระดำรัสว่า พวกโจรปล้นย่ำยีชนบทจำจักป้องกัน
พวกมัน. จำเดิมแต่นั้น พวกโจรเที่ยวตีแย่งชิงผู้คน. บทว่า ปจฺจนฺติเม
วา ชนปเท อนุสญฺาตุ ความว่า แม้จะปกครองชนบทชายแดน
เพื่อสร้างบ้านที่อยู่ สร้างสะพาน ขุดสระโบกขรณี และสร้างศาลา
เป็นต้น ก็ไม่สะดวก. บทว่า พฺราหฺมณคหปติกาน ได้แก่ พวกพราหมณ์
และคฤหบดีทั้งหลายที่อยู่ภายในพระนคร. บทว่า พาหิรานิ วา กมฺมนฺตานิ
ได้แก่ งานสวนงานนานอกบ้าน.
บทว่า ปาปภิกฺขู พลวนฺโต โหนฺติ ความว่า พวกภิกษุชั่วเป็น
ฝ่ายมีกำลัง พรั่งพร้อมด้วยอุปัฏฐากชายหญิงเป็นอันมาก และได้พึ่งพิง
พระราชาและราชมหาอำมาตย์. บทว่า เปสลา ภิกฺขู ตสฺมึ สมเย
ทุพฺพลา โหนฺติ ความว่า ในสมัยนั้น พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รัก
(เรียบร้อย) เป็นที่อ่อนกำลัง เพราะไม่มีสมบัติเหล่านั้น. บทว่า
ตุณฺหีภูตา ตุณหีภูตา สงฺฆมชฺเฌ สงฺกสายนฺติ ความว่า เป็นผู้เงียบ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 397
เสียงนั่งในท่านกลางสงฆ์ ไม่อาจเงยหน้าอ้าปากกล่าวอะไร ๆ แม้แต่คำเดียว
นั่งประหนึ่งซบเซาอยู่. บทว่า ตยิท ได้แก่ เหตุนั่นนั้น. ในฝ่ายขาว
ก็พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
ว่าด้วยการปฏิบัติผิดไม่ยังกุศลธรรมให้สำเร็จ การปฏิบัติชอบ
ยังกุศลธรรมให้สำเร็จ
[๒๘๕] ๓๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญความปฏิบัติ
ผิดของคน ๒ จำพวก คือคฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังกุศลธรรมที่นำออกให้สำเร็จ
ก็ได้ เพราะการปฏิบัติผิดเป็นเหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญ
ความปฏิบัติชอบของคน ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังกุศลธรรม
ที่นำออกให้สำเร็จได้ เพราะการปฏิบัติชอบเป็นเหตุ.
จบสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มิจฺฉาปฏิปตฺตาธิกรณเหตุ ความว่า เพราะกระทำคือ
ปฏิบัติข้อปฏิบัติผิดเป็นเหตุ. บทว่า ญาย ธมฺม กุสล ได้แก่ มรรค
พร้อมทั้งวิปัสสนา. ด้วยว่าบุคคลเห็นปานนี้ ย่อมไม่อาจทำมรรคพร้อมทั้ง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 398
วิปัสสนาให้สำเร็จ คือให้ถึงพร้อมได้. ในฝ่ายขาวก็พึงทราบตรงกันข้าม
กับที่กล่าวแล้ว. ในสูตรนี้ ตรัสมรรคพร้อมวิปัสสนา
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
ว่าด้วยเหตุให้พระสัทธรรมอันตรธานและดำรงอยู่
[๒๘๖] ๔๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรม
โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อ
มิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย
เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุนั้นยังจะประสบบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่า
ทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่
อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น
ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของชนมาก เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นประสบบุญเป็น
อันมาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย.
จบสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุคฺคหิเตหิ ได้แก่ ที่ถือมาผิดระเบียบ. บทว่า พฺยญฺชน-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 399
ปฏิรูปเกหิ ได้แก่ ที่มีพยัญชนะงดงาม คือที่ได้มาด้วยมีอักขระวิจิตร.
บทว่า อตฺถญฺจ ธมฺมญฺจ ปฏิวาหนฺติ ความว่า ย่อมค้านทั้งอรรถกถา
และบาลี แห่งสุตตันตะทั้งหลายที่ถือมาถูก. ภิกษุเหล่านั้นแสดงทั้งอรรถ
ทั้งบาลีของสุตตันตะที่คือมาผิด ยิ่งยวดกว่า. ฝ่ายขาวก็พึงทราบ
ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. ในสูตรนี้ ตรัสทั้งความเจริญและความเสื่อม
แห่งพระศาสดา แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
จบสมจิตตวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 400
ปริสวรรคที่ ๕
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยบริษัท ๒ จำพวก คือ ตื้น และ ลึก
[๒๘๗] ๔๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือ บริษัทตื้น ๑ บริษัทลึก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัท
ตื้นเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุ
ฟุ้งซ่านเชิดตัว มีจิตกวัดแกว่ง ปากกล้า พูดจาอื้อฉาว หลงลืมสติ ไม่มี
สัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวมอินทรีย์ บริษัทเช่นนี้
เรียกว่าบริษัทตื้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทลึกเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เชิดตัว มีจิต
ไม่กวัดแกว่ง ปากไม่กล้า ไม่พูดจาอื้อฉาว ดำรงสติมั่น มีสัมปชัญญะ
มีใจตั้งมั่น มีจิตเป็นเอกัคคตา สำรวมอินทรีย์ บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า
บริษัทลึก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒
จำพวกนี้ บริษัทลึกเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑
อรรถกถาปริสวรรคที่ ๕
อรรถกถาสูรที่ ๑
วรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุตฺตานา ได้แก่ เปิดเผย ไม่ปกปิด. บทว่า คมฺภีรา
ได้แก่ เร้นลับ ปกปิด. บทว่า อุทฺธตา ได้แก่ ประกอบด้วยความ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 401
ฟุ้งเฟ้อ. บทว่า อุนฺนฬา ได้แก่ ถือดี อธิบายว่า มีมานะเปล่า ๆ ปลี้ ๆ
ที่ตั้งขึ้น. บทว่า จปลา ความว่า ประกอบด้วยความชุกซนมีตกแต่ง
จีวรเป็นต้น. บทว่า มุขรา ได้แก่ ปากจัด วาจาหยาบ. บทว่า
วิกิณฺณวาจา ได้แก่ พูดไม่สำรวม พูดคำที่ไร้ประโยชน์ได้ทั้งวัน . บทว่า
มุฏฺสฺสตี ได้แก่ ปล่อยสติ. บทว่า อสมฺปชานา ได้แก่ ไร้ปัญญา.
บทว่า อสมาหิตา ได้แก่ ไม่ได้แม้เพียงความที่จิตมีอารมณ์เดียว. บทว่า
ปากตินฺทฺริยา ความว่า ประกอบด้วยอินทรีย์ที่ตั้งอยู่ตามปกติ เปิดเผย
ไม่รักษา (ไม่สำรวม ). ฝ่ายขาว พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
ว่าด้วยบริษัทที่แยกเป็นพวก และที่สามัคคีกัน
[๒๘๘] ๔๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือ บริษัทที่แยกออกเป็นพวก ๑ บริษัทที่สามัคคีกัน ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่แยกออกเป็นพวกเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุหมายมั่นทะเลาะวิวาทกัน ต่างเอาหอกคือ
ปากทิ่มแทงกันและกันอยู่ บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทที่แยกกันเป็นพวก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่สามัคคีกันเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกันไม่วิวาทกัน
เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ ต่างมองดูกันและกันด้วยนัยน์ตาเป็นที่รักอยู่
บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทที่สามัคคีกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒
จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่สามัคคีกันเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 402
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ภณฺฑนชาตา ความว่า เบื้องต้นของการทะเลาะ ท่าน
เรียกว่า แตกร้าว. การแตกร้าวนั้นเกิดแล้วแก่ภิกษุเหล่านั้น ดังนั้นจึง
ชื่อว่าเกิดแตกร้าว อนึ่ง ได้แก่การทะเลาะที่เกิดขึ้น โดยกล่าวคำเป็นต้น
ว่า พวกเราจักให้ลงอาชญา จักให้จองจำพวกท่าน. นัยฝ่ายคฤหัสถ์
พึงทราบเท่านี้ก่อน ส่วนพวกบรรพชิตที่กล่าววาจาถึงการล่วงอาบัติ ชื่อว่า
เกิดทะเลาะกัน . บทว่า วิวาทาปนฺนา ได้แก่ ถึงวาทะที่ขัดแย้งกัน.
บทว่า มุขสตฺตีหิ วิตุทนฺตา ความว่า วาจาเป็นทุภาษิตท่านเรียกว่า
หอกคือปาก เพราะอรรถว่าตัดคุณความดีทั้งหลาย ทิ่มคือแทงกันด้วย
วาจาเหล่านั้น. บทว่า สมคฺคา ความว่า ประกอบด้วยความเป็นผู้
พร้อมเพรียงกันด้วยการกระทำสิ่งเหล่านี้ คือ งานเดียวกัน อุเทศ
เดียวกัน มีการศึกษาเสมอกัน. บทว่า ปิยจกฺขูนิ ได้แก่ ด้วยจักษุที่
แสดงเมตตา หวังดีกัน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
ว่าด้วยบริษัทที่ไม่มีอัครบุคคล และมีอัครบุคล
[๒๘๙] ๔๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือ บริษัทที่ไม่มีอัครบุคคล ๑ บริษัทที่มีอัครบุคคล ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ไม่มีอัครบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุเถระเป็นคนมักมาก เป็น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 403
คนย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการก้าวไปสู่ทางต่ำ ทอดทิ้งธุระในปวิเวก
ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึงเพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ
เพื่อทำให้เเจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนภายหลังต่างถือเอา
ภิกษุเถระเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ถึงประชุมชนนั้นก็เป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน
เป็นหัวหน้าในการก้าวไปสู่ทางต่ำ หยุดทิ้งธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความ
เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า
บริษัทไม่มีอัครบุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่มีอัครบุคคลเป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุเถระเป็นคน
ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดทิ้งธุระในการก้าวไปสู่ทางต่ำ เป็นหัวหน้า
ในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
ไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนภาย
หลังต่างถือเอาภิกษุเถระเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ถึงประชุมชนนั้นก็เป็นผู้ไม่
มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดทิ้งธุระในการก้าวไปสู่ทางต่ำ เป็นหัวหน้าใน
ปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทมีอัครบุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒
จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท
ที่มีอัครบุคคลเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 404
บทว่า อคฺควตี ได้แก่ มีบุคคลสูงสุด หรือประกอบด้วยการ
ปฏิบัติอย่างเลิศคือสูงสุด. บริษัทตรงข้ามจากบริษัทที่มีตนเลิศนั้น. ชีวิต
ที่ไม่มีคนเลิศ. บทว่า พาหุลฺลิกา ได้แก่ ผู้ปฏิบัติด้วยความมักมากด้วย
ปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น . บริษัทชื่อว่า สาถิลิกา เพราะอรรถว่า ถือ
ศาสนาย่อหย่อน. นิวรณ์ ๕ เรียกว่า โอกฺกมน ในคำว่า โอกฺกมเน
ปุพฺพงฺคมา นี้ ด้วยอรรถว่า ดำเนินต่ำลง. อธิบายว่า ภิกษุเถระเหล่านั้น
มุ่งหน้าด้วยทำนิวรณ์ ๕ ให้เต็ม. บทว่า ปวิเวเก นิกฺขิตฺตธุรา ความว่า
เป็นผู้ทอดธุระในวิเวก ๓ อย่าง. บทว่า น วิริย อารภนฺติ ความว่า
ไม่ทำความเพียรทั้ง ๒ อย่าง. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา ความว่า
เพื่อต้องการบรรลุคุณวิเศษคือฌานวิปัสสนามรรคและผลที่คนยังไม่ได้
บรรลุมาก่อน. สองบทนอกนี้ อนธิคตสฺส อธิคมาย อสจฺฉิกตสฺส
สจฺฉิกิริยาย เป็นไวพจน์ของบท (อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา) นั้นเอง.
บทว่า ปจฺฉิมา ชนตา ได้แก่ ชนผู้เป็นสัทธิวิหาริกและอันเตวสิก.
บทว่า ทิฏฺนุคตึ อาปชฺชติ ความว่า เมื่อกระทำความข้อที่อุปัชฌาย์
อาจารย์กระทำแล้ว ชื่อว่าประพฤติตามอาจาระของท่านเหล่านั้นที่ตนเห็น
แล้ว. คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๔
ว่าด้วยบริษัทที่มิใช่อริยะ และเป็นอริยะ
[๒๙๐] ๔๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือบริษัทที่มิใช่อริยะ ๑ บริษัทที่เป็นอริยะ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็บริษัทที่มิใช่อริยะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 405
บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิด
ทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทที่มิใช่อริยะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่
เป็นอริยะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้
รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์
นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้
เรียกว่าบริษัทที่เป็นอริยะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นอริยะ
เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อริยา ได้แก่ อริยสาวกบริษัท. บทว่า อนริยา ได้แก่
ปุถุชนบริษัท. บทว่า อิท ทุกฺขนฺติ ยถาภูต นปฺปชานนฺติ ความว่า
เว้นตัณหา เบญจขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่าทุกข์ ไม่รู้ทุกข์เพียง
เท่านี้ตามสภาวะที่เป็นจริงว่า ทุกข์นอกจากนี้ ไม่มี. ในบททั้งปวงก็นัยนี้
ก็ในบทที่เหลือมีอธิบายว่า ตัณหามีในก่อนซึ่งทำทุกข์นั้นให้ตั้งขึ้น ชื่อว่า
ทุกขสมุทัย ความสิ้นไปอย่างเด็ดขาด คือไม่เกิดขึ้นอีกแห่งตัณหานั้นนั่นแล
หรือแห่งสัจจะทั้งสองนั้น ชื่อว่าทุกขนิโรธ.อริยมรรคประกอบด้วย
องค์ ๘ ด้วยสัจจะ ๔ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 406
สูตรที่ ๕
ว่าด้วยบริษัทหยากเหยื่อ และบริษัทใสสะอาด
[๒๙๑] ๔๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือ บริษัทหยากเยื่อ ๑ บริษัทใสสะอาด ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็บริษัทหยากเยื่อเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในบริษัท
ใดในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทหยากเยื่อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็บริษัทใสสะอาดเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในบริษัทใดใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทใสสะอาดเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยต่อไปนี้.
บทว่า ปริสกสโฏ ได้แก่ บริษัทกาก บริษัทหยากเยื่อ อธิบายว่า
บริษัทไม่มีประโยชน์. บทว่า ปริสมณฺโฑ ได้แก่ บริษัทผ่องใส อธิบายว่า
บริษัทผู้มีประโยชน์. บทว่า ฉนฺทาคตึ คจฺฉนฺติ ความว่า ลุอคติเพราะ
ความพอใจ อธิบายว่า ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แหละ.
ก็การลุอคติ ๔ เหล่านี้ จะมีขึ้นในการแบ่งสิ่งของและในสถานที่
วินิจฉัยอธิกรณ์ ใน ๒ อย่างนั้น จะกล่าวในการแบ่งสิ่งของก่อน เมื่อ
สิ่งของไม่เป็นที่ชอบใจถึงแก่พวกภิกษุที่เป็นภาระของตน ในฐานะที่ตน
ต้องเลี้ยงดู เปลี่ยนสิ่งของนั้น ให้สิ่งของที่ชอบใจ ชื่อว่าลุฉันทาคติ.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 407
แต่เมื่อสิ่งของเป็นที่ชอบใจถึงแก่พวกภิกษุที่มิได้เป็นภาระของตน เปลี่ยน
สิ่งของนั้นเสีย ให้สิ่งของไม่เป็นที่ชอบใจไป ชื่อว่าลุโทสาคติ. เมื่อไม่รู้
วัตถุคือสิ่งของที่ควรจะแบ่งและหลักเกณฑ์ ชื่อว่าลุโมหาคติ. เปลี่ยนให้
สิ่งของที่ชอบใจแก่คนปากจัดหรือคนอาศัยพระราชาเป็นต้น เพราะกลัวว่า
เมื่อเราให้สิ่งของที่เป็นที่ชอบใจ คนพวกนี้จะพึงทำความพินาศให้ ชื่อว่า
ลุภยาคติ. แต่ผู้ใดไม่ดำเนินอย่างนี้ เป็นตราชูของตนทั้งปวง วางตน
เป็นกลาง มีความพอดี สิ่งใดถึงแก่ผู้ใด ก็ให้สิ่งนั้นแหละแก่ผู้นั้น ผู้นี้
ชื่อว่าไม่ลุอคติ ๔ อย่าง. ส่วนในสถานวินิจฉัยอธิกรณ์ พึงทราบดังนี้
กล่าวครุกาบัติของภิกษุผู้เป็นภาระของตน ระบุว่าเป็นลหุกาบัติ ชื่อว่าลุ
ฉันทาคติ. กล่าวลหุกาบัติของภิกษุพวกอื่น ระบุว่าเป็นครุกาบัติ ชื่อว่า
ลุโทสาคติ. ไม่รู้การออกจากอาบัติและกองอาบัติ ชื่อว่าลุโมหาคติ. กล่าว
อาบัติหนักจริง ๆ ของภิกษุปากจัด หรือภิกษุที่พระราชาทั้งหลายบูชา
ระบุว่าเป็นอาบัติเบา เพราะกลัวว่า เมื่อเรากล่าวอาบัติ ระบุว่าเป็นอาบัติ
หนัก ภิกษุนี้จะพึงทำความพินาศให้ ชื่อว่าลุภยาคติ. แต่ผู้ใดกล่าวตาม
เป็นจริงทุกอย่างของคนทั้งปวง ชื่อว่าไม่ลุอคติทั้ง ๔ อย่างแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
ว่าด้วยบริษัทที่ดื้อด้าน และไม่ดื้อด้าน
[๒๙๒] ๔๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือบริษัทที่ดื้อด้านได้รับการสอบถามแนะนำ ๑ บริษัทที่ได้
รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่
ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 408
วินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ
เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสัญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลง
สดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรม
ที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้
เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้
ภาษิตไว้ ย่อมดังใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้
ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ
ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวได้ถามกันและกันว่า
พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผย
อรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยใน
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท
นี้ เรียกว่าบริษัทดื้อด้าน ไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้านเป็นไฉน ภิกษุ
ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี
มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจ
ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุ
เหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่คนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่น
กล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระ
ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไป
ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน
ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอนสวนเที่ยวไต่ถาม
กันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 409
เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยใน
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท
นี้ เรียกว่าบริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา
บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอนถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน
เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
โอกฺกาจิตวินีตา ได้แก่ ฝึกสอนยาก. บทว่า โน ปฏิปุจฺฉาวินีตา
ได้แก่ ไม่เป็นผู้รับฝึกสอนโดยสอบถาม. บทว่า คมฺภีรา ได้แก่ ลึก
โดยบาลี เช่นจุลสเวทัลลสูตร. บทว่า คมฺภีรตฺถา ได้แก่ ลึกโดยอรรถ
เช่นมหาเวทัลลสูตร. บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่ แสดงอรรถเป็นโลกุตระ.
บทว่า สุญฺตปฏิสยุตฺตา ได้แก่ ประกาศเพียงที่เป็นสุญญตธรรม ๗
เท่านั้น เช่นแสังขตสังยุต. บทว่า น อญฺาจิตฺต อุปฏฺเปนฺติ ได้แก่
ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ คือหลับเสียบ้าง ส่งใจไปที่อื่นเสียบ้าง. บทว่า
อุคฺคเหตพฺพ ปริยาปุณฺตพฺพ ได้แก่ ที่จะพึงถือเอาด้วย ที่จะพึงเล่าเรียน
ด้วย. บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่ง. บทว่า กาเวยฺยา นอกนี้
เป็นไวพจน์ของบทว่า กวิกตา. นั้นเอง. บทว่า จิตฺตกฺขรา แปลว่า
มีอักษรวิจิตร. บทว่า จิตฺตพฺยญฺชนา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า
จิตฺตกฺขรา นั้นเหมือนกัน. บทว่า พาหิรกา ได้แก่ เป็นสุตตันตะ
นอกพระศาสนา. บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรก-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 410
ศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้. บทว่า สุสฺสูสนฺติ ความว่า มีใจแช่มชื่นตั้งใจ
ฟังอย่างดี เพราะมีอักษรวิจิตร และสมบูรณ์ด้วยบท. บทว่า น เจว
อญฺมญฺ ปฏิปุจฺฉนฺติ ความว่า มิได้ถามเนื้อความ อนุสนธิ หรือ
เบื้องต้นเบื้องปลายกัน และกัน. บทว่า น ปฏิวิจรนฺติ ความว่า มิได้
เที่ยวไปไต่ถาม. บทว่า อิท กถ ความว่า พยัญชนะนี้ พึงเข้าใจอย่างไร
คือพึงเข้าใจว่าอย่างไร. บทว่า อิมสฺส กฺวตฺโถ ความว่า ภาษิตนี้มีเนื้อ
ความอย่างไร มีอนุสนธิอย่างไร มีเบื้องต้นและเบื้องปลายอย่างไร บทว่า
อวิวฏ ได้แก่ ที่ยังปกปิด. บทว่า น วิรรนฺติ ได้แก่ไม่เปิดเผย บทว่า
อนุตฺตานีกต ได้แก่ที่ไม่ปรากฏ. บทว่า น อุตฺตานีกโรนฺติ ความว่า
มิได้ทำให้ปรากฏ. บทว่า กงฺขาฏฺานีเยสุ ได้แก่ อันเป็นเหตุแห่งความ
สงสัย. ฝ่ายขาว ก็พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
ว่าด้วยบริษัททมี่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม และบริษัทที่หนัก
ในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส
[๒๙๓] ๔๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือบริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม ๑ บริษัทที่หนัก
ในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่หนัก
ในอามิส ไม่หนักในสัทธรรมเป็นไฉน ภิกษุบริษัทใดในธรรมวินัยนี้
ต่างสรรเสริญคุณของกันและกันต่อหน้าคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวว่า ภิกษุ
รูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต รูปโน้นเป็นกายสักขี
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 411
รูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต รูปโน้นเป็นธัมมานุสารี
รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี รูปโน้นมีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้นทุศีล มีธรรม
เลวทราม เธอต่างได้ลาภด้วยเหตุนั้น ครั้นได้แล้ว ต่างก็กำหนัดยินดี
หมกมุ่นไม่เห็นโทษ ไร้ปัญญาเป็นเหตุออกไปจากภพบริโภคอยู่ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทผู้หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิสเป็นไฉน
ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ต่างไม่พูดสรรเสริญคุณของกันและกัน
ต่อหน้าคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวว่า ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต รูปโน้น
เป็นปัญญาวิมุต รูปโน้นเป็นกายสักขี รูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็น
สัทธาวิมุต รูปโน้นเป็นธัมมานุสารี รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี รูปโน้นมีศีล
มีกัลยาณธรรม รูปโน้นทุศีลมีธรรมเลวทราม เธอต่างได้ลาภด้วยเหตุนั้น
ครั้นได้แล้วก็ไม่กำหนัดไม่ยินดีไม่หมกมุ่น มักเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเหตุ
ออกไปจากภพบริโภคอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้
หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวก
นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่หนักใน
สัทธรรม ไม่หนักในอามิสเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อามิสครุ ได้แก่ หนักในปัจจัย ๔ คือเป็นบริษัทที่ถือ
โลกุตรธรรมเป็นของทรามดำรงอยู่. บทว่า สทฺธมฺมครุ ได้แก่ เป็น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 412
บริษัทที่ยกโลกุตรธรรม ๙ เป็นที่เคารพ ถือปัจจัย ๔ เป็นของทราม
ดำรงอยู่. บทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต ความว่า เป็นผู้หลุดพ้นโดยส่วน
ทั้งสอง. บทว่า ปญฺญาวิมุตฺโต ได้แก่ เป็นผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา คือ
เป็นพระขีณาสพประเภทสุกขวิปัสสก. บทว่า กายสกฺขี ได้แก่เป็นผู้ถูก
ต้องฌานด้วยนามกาย ภายหลังทำนิโรธคือนิพพานให้แจ้งดำรงอยู่. บทว่า
ทิฏฺิปฺปตฺโต แปลว่า เป็นผู้ถึงที่สุดแห่งความเห็น. ทั้ง ๒ พวกเหล่านี้
ย่อมได้ในฐานะ ๔. บทว่า สทฺธาวิมุตฺโต ได้แก่ ชื่อว่า สัทธาวิมุตติ
เพราะเชื่อจนหลุดพ้น. แม้พวกนี้ก็ย่อมได้ในฐานะ ๖. ชื่อว่า ธัมมานุสารี
เพราะตามระลึกถึงธรรม. ชื่อว่า สัทธานุสารี เพราะตามระลึกถึงศรัทธา
แม้ ๒ พวกเหล่านี้ ก็เป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยปฐมมรรค. บทว่า
กลฺยาณธมฺโม แปลว่า เป็นผู้มีธรรมงาม. บทว่า ทุสฺสีโล ปาปธมฺโม
แปลว่า เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก. เพราะเหตุไรจึงถือข้อนี้. เพราะพวก
เขาสำคัญว่า เมื่อคนมีศีลทั้งหมดเสมือนคนเดียวกัน ความเคารพอย่างมีกำลัง
ในคนผู้มีศีล ก็จะไม่มี แต่เมื่อมีบางพวกเป็นคนทุศีล ความเคารพมีกำลัง
จึงมีเหนือพวกคนมีศีล จึงถืออย่างนี้. บทว่า เต เตเนว ลาภ ลภนฺติ
ความว่า ภิกษุเหล่านั้นกล่าวสรรเสริญภิกษุบางพวก ติภิกษุบางพวก ย่อม
ได้ปัจจัย ๔. บทว่า คธิตา ได้แก่ เป็นผู้ละโมบเพราะตัณหา. บทว่า
มุจฺฉิตา ได้แก่ เป็นผู้สยบเพราะอำนาจตัณหา. บทว่า อชฺโณสนฺนา
ได้แก่ เป็นผู้อันความอยากท่วมทับกลืนกินสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว. บทว่า
อนาทีนวทสฺสาวิโน ได้แก่ ไม่เห็นโทษในการบริโภคโดยไม่พิจารณา
บทว่า อนิสฺสรณปญฺา ได้แก่ เว้นจากปัญญาเครื่องสลัดออก ที่ฉุดคร่า
ฉันทราคะในปัจจัย ๔ คือ ไม่รู้ว่าเนื้อความนี้เป็นอย่างนี้. บทว่า ปริภุญฺชนฺติ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 413
ได้แก่เป็นผู้มีฉันทราคะบริโภค.
ในบทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต เป็นต้นในธรรมฝ่ายขาว มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้.
พระอริยบุคคล ๗ จำพวก มีอธิบายสังเขปดังนี้ . ภิกษุรูปหนึ่ง
ยึดมั่นทางปัญญาธุระ ทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด บรรลุโสดาปัตติมรรค เธอ
ย่อมชื่อว่า ธัมมานุสารี ในขณะนั้น ชื่อว่า กายสักขี ในฐานะ ๖ มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ชื่อว่า อุภโตภาควิมุต ในขณะบรรลุอรหัตผล
อธิบายว่า เป็นผู้หลุดพ้น ๒ ครั้ง หรือหลุดพ้นทั้ง ๒ ส่วน คือโดย
วิขัมภนวิมุคติด้วยสมาบัติทั้งหลาย โดยสมุจเฉทวิมุตติด้วยมรรค. อีกรูป
หนึ่งยึดมั่นทางปัญญาธุระ ไม่อาจจะทำสมาบัติให้บังเกิดได้ เป็นสุกข-
วิปัสสกเท่านั้น บรรลุโสดาปัตติมรรค เธอย่อมชื่อว่า ธัมมานุสารี ในขณะ
นั้น ชื่อว่า ทิฏฐิปัตติะ ถึงที่สุดแห่งความเห็น ในฐานะ ๖ มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ ในขณะบรรลุอรหัตผล. อีกรูป
หนึ่งยึดมั่นทางสัทธาธุระ ทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดแล้วบรรลุโสดาปัตติผล
เธอย่อมชื่อว่า สัทธานุสารี ในขณะนั้น ชื่อว่า กายสักขี ในฐานะ ๖
มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ซึ่งว่า อุภโตภาควิมุต ในขณะบรรลุอรหัตผล.
อีกรูปหนึ่งยึดมั่นทางสัทธาธุระ ไม่อาจจะทำสมาบัติให้บังเกิดได้ เป็น
สุกขวิปัสสกเท่านั้น บรรลุโสดาปัตติมรรค ย่อมชื่อว่า สัทธานุสารี
ในขณะนั้น ชื่อว่า สัทธาวิมุต ในฐานะ ๖ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น
ชื่อว่า ปัญญาวิมุต ในขณะบรรลุอรหัตผล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 414
สูตรที่ ๘
ว่าด้วยบริษัทที่เรียบร้อย และไม่เรียบร้อย
[๒๙๔] ๔๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือบริษัทไม่เรียบร้อย ๑ บริษัทเรียบร้อย ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็บริษัทไม่เรียบร้อยเป็นไฉน ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรม
ฝ่ายอธรรมเป็นไป กรรมฝ่ายธรรมไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป
กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมฝ่ายอธรรมรุ่งเรื่อง กรรมฝ่ายธรรมไม่
รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทไม่เรียบร้อย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะบริษัทเป็นผู้ไม่เรียบร้อยกรรมฝ่ายอธรรมจึงเป็นไป กรรมฝ่ายธรรม
จึงไม่เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยจึงเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยจึงไม่เป็นไป
กรรมฝ่ายอธรรมจึงรุ่งเรือง กรรมที่เป็นธรรมจึงไม่รุ่งเรื่อง กรรมที่ไม่เป็น
วินัยจึงรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยจึงไม่รุ่งเรือง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัท
เรียบร้อยเป็นไฉน ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมฝ่ายธรรมเป็นไป
กรรมฝ่ายอธรรมไม่เป็นไป กรรมที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่
เป็นไป กรรมฝ่ายธรรมรุ่งเรือง กรรมฝ่ายอธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็น
วินัยรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้
เรียกว่า บริษัทเรียบร้อย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะบริษัทเรียบร้อย กรรม
ฝ่ายธรรมจึงเป็นไปกรรมฝ่ายอธรรมจึงไม่เป็นไป กรรมที่เป็นวินัยจึงเป็นไป
กรรมที่ไม่เป็นวินัยจึงไม่เป็นไป กรรมฝ่ายธรรมจึงรุ่งเรือง กรรมฝ่ายอธรรม
จึงไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยจึงรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยจึงไม่รุ่งเรือง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 415
บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เรียบร้อยเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วิสมา ได้แก่ ชื่อว่า ไม่เรียบร้อย เพราะอรรถว่าพลังพลาด
บทว่า สมา ได้แก่ ชื่อว่า เรียบร้อย เพราะอรรถว่าไม่พลั้งพลาด. บทว่า
อธมฺมกมฺมานิ ได้แก่ กรรมนอกธรรม. บทว่า อวินยกมฺมานิ ได้แก่
กรรมนอกวินัย.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
ว่าด้วยบริษัทที่ไร้ธรรมและที่ประกอบด้วยธรรม
[๒๙๕] ๔๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือ บริษัทไร้ธรรม ๑ บริษัทที่ประกอบด้วยธรรม ๑ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา
บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ประกอบด้วยธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อธมฺมิกา แปลว่า ปราศจากธรรม. บทว่า ธมฺมิกา แปลว่า
ประกอบด้วยธรรม.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 416
สูตรที่ ๑๐
ว่าด้วยบริษัท ๒ คือ อธรรมวาทีและธรรมวาที
[๒๙๖] ๕๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือ อธรรมวาทีบริษัท ๑ ธรรมวาทีบริษัท ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็อธรรมวาทีบริษัทเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบริษัทใด
ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลายยึดถืออธิกรณ์ เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม
ก็ตาม ภิกษุเหล่านั้น ครั้นยึดถืออธิกรณ์นั้นแล้ว ไม่ยังกันและกันให้
ยินยอม ไม่เข้าถึงความตกลงกัน ไม่ยังกันและกันให้เพ่งโทษตน ภิกษุ
เหล่านั้นมีการไม่ตกลงกันเป็นกำลัง มีการไม่เพ่งโทษตนเป็นกำลัง คิด
ไม่สละคืน ยึดมั่นอธิกรณ์นั้นแหละด้วยกำลัง ด้วยลูบคลำ แล้วกล่าวว่า
" คำนี้ เท่านั้นจริง คำอื่นเปล่า" ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้
เรียกว่า " อธรรมวาทีบริษัท."
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมวาทีบริษัทเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลายยึดถืออธิกรณ์ เป็น
ธรรมหรือไม่เป็นธรรมก็ตาม ภิกษุเหล่านั้นครั้นยึดถืออธิกรณ์นั้นแล้ว
ยังกันและกันให้ยินยอม เข้าถึงความตกลงกัน ยังกันและกันให้เพ่งโทษ
เข้าถึงการเพ่งโทษตน ภิกษุเหล่านั้นมีความตกลงกันเป็นกำลัง คิดสละคืน
ไม่ยึดมั่นอธิกรณ์นั้นด้วยกำลัง" ด้วยการลูบคลำ แล้วกล่าวว่า " คำนี้
เท่านั้นจริง คำอื่นเปล่า" ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า
"ธรรมวาทีบริษัท" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 417
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ ธรรมวาทีบริษัทเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๐
จบปริสวรรคที่ ๕
จบปฐมปัณณาสก์
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อธิกรณได้แก่ อธิกรณ์ ๔ อย่าง มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น.
บทว่า อาทิยนฺติ แปลว่า ถือเอา. บทว่า สญฺาเปนฺติ แปลว่า ให้รู้กัน.
บทว่า น จ สญฺตฺตึ อุปคจฺฉนฺติ ความว่า ไม่ประชุมแม้เพื่อประกาศ
ให้รู้กัน. บทว่า น จ นิชฺฌาเปนฺติ ได้แก่ ไม่ให้เพ่งโทษกัน . บทว่า
น จ นิชฺฌตฺตึ อุปคจฺฉนฺติ ความว่า ไม่ประชุมเพื่อให้เพ่งโทษกันและ-
กัน. บทว่า อสตฺติพลา ความว่าภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า อสญฺตฺติพลา
เพราะมีการไม่ตกลงกันเป็นกำลัง. บทว่า อปฺปฏินิสฺสคฺคมนฺติโน
ความว่า ภิกษุเหล่าใดมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าอธิกรณ์ที่พวกเราถือ จักเป็น
ธรรมไซร้ พวกเราจักถือ ถ้าไม่เป็นธรรมไซร้พวกเราจักวางมือ ดังนี้
ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่ามีการไม่คิดสละคืน. แต่ภิกษุเหล่านี้ไม่คิดกั้น
อย่างนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีการคิดกันสละคืน. บทว่า ถามสา
ปรามสา อภินิวิสฺส ความว่า ยึดมั่นโดยกำลังทิฏฐิและโดยการลูบคลำทิฏฐิ.
บทว่า อิทเมว สจฺจ ความว่า คำของพวกเรานี้เท่านั้น จริง. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 418
โมฆมญฺ ความว่า คำของพวกที่เหลือเป็นโมฆะ คือเปล่า. ฝ่ายขาว
มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
จบปริสวรรคที่ ๕
จบปฐมปัณณาสก์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 419
ทุติยปัณณาสก์
ปุคคลวรรคที่ ๑
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยบุคคล ๒ จำพวก ที่เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์สุข
แก่เทวดาและมนุษย์
[๒๙๗] ๕๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิด
ขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล
เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุข
ของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสูตรที่ ๑
ทุติยปัณณาสก์
ปุคคลวรรคที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑
ทุติยปัณณาสก์ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
เพราะถือเอาพร้อมกับพระเจ้าจักรพรรดิ จึงมิได้ตรัสบทว่า โลกา-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 420
นุกมฺปาย ไว้ด้วย. และในสูตรนี้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งพระเจ้าจักร-
พรรดิ สัตว์โลกย่อมได้สมบัติ ๒ (คือมนุษย์สมบัติ และสวรรค์สมบัติ)
ส่วนความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมได้สมบัติทั้ง ๓ (คือได้
เพิ่มนิพพานสมบัติด้วย).
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
ว่าด้วยอัจฉริยบุคคล ๒ จำพวก
[๒๙๘] ๕๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิด
ขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระ-
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็น
อัจฉริยมนุษย์.
จบสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อจฺฉริยมนุสฺสา ความว่า เหล่ามนุษย์ผู้สร้างสมบารมี
ชื่อว่ามนุษย์อัศจรรย์.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 421
สูตรที่ ๓
ว่าด้วยกาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวก
[๒๙๙] ๕๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกนี้
เป็นความเดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือ ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ ของพระเจ้า
จักรพรรดิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกนี้แล
เป็นความเดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก.
จบสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที้ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า พหุโน ชนสฺส อนุตปฺปา โหติ ความว่า ย่อมกระทำ
ความร้อนใจแก่มหาชน. บรรดาบุคคล ๒ จำพวกนั้น กาลกิริยาของพระเจ้า
จักรพรรดิ ย่อมกระทำความร้อนใจแก่เทวดาและมนุษย์ในจักรวาลเดียว
กาลกิริยาของพระตถาคต ย่อมกระทำความร้อนใจแก่เทวดาและมนุษย์ใน
หมื่นจักรวาล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๔
ว่าด้วยถูปารหบุคคล ๒ จำพวก
[๓๐๐] ๕๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระ-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 422
เจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ถูปารหา แปลว่า ผู้สมควรคือคู่ควรเหมาะสมแก่สถูป.
เพราะผู้ปรนนิบัติพระเจดีย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมได้สมบัติ ๒ ผู้
ปรนนิบัติพระเจดีย์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมได้สมบัติแม้ทั้ง ๓.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
ว่าด้วยพระพุทธเจ้า ๒ จำพวก
[๓๐๑] ๕๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระ-
ปัจเจกพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า พุทฺธา ได้แก่ ท่านผู้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ด้วยอานุภาพของตน
(ตรัสรู้เอง).
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 423
สูตรที่ ๖
ว่าด้วยบุคคล ๒ จำพวก เมื่อฟ้าผ่าไม่สะดุ้ง
[๓๐๒] ๕๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อม
ไม่สะดุ้ง ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ ช้างอาชาไนย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง.
จบสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ผลนฺติยา แปลว่า เมื่อฟ้าทำเสียง [ผ่า]. บทว่า น
สนฺตสนฺติ ความว่า ย่อมไม่กลัวเพราะละสักกายทิฏฐิได้แล้ว. บรรดาคน
และสัตว์ทั้งสองนั้น พระขีณาสพไม่กลัว เพราะละสักกายทิฏฐิของตนได้
แล้ว ช้างอาชาไนยไม่กลัว เพราะมีสักกายทิฏฐิจัด.
อรรถกถาสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
ว่าด้วยบุคคล ๒ จำพวก เมื่อฟ้าผ่าไม่สะดุ้ง
[๓๐๓] ๕๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อม
ไม่สะดุ้ง ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ ม้าอาชาไนย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง.
จบสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 424
สูตรที่ ๘
ว่าด้วยบุคคล ๒ จำพวก เมื่อฟ้าผ่าไม่สะดุ้ง
[๓๐๔] ๕๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อม
ไม่สะดุ้ง ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ สีหมฤคราช ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง.
อรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๘
แม้ในสูตรที่ ๗ ข้อ ๓๐๓ และสูตรที่ ๘ ข้อ ๓๐๔ ก็นัยนี้แหละ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๘
สูตรที่ ๙
กินนรเห็นประโยชน์ ๒ ประการจึงไม่พูดภาษามนุษย์
[๓๐๕] ๕๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์
๒ ประการนี้ จึงไม่พูดภาษามนุษย์ อำนาจประโยชน์ ๒ ประการเป็น
ไฉน คือ เราอย่าพูดเท็จ ๑ เราอยู่พูดผู้อื่นด้วยคำไม่จริง ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึงไม่พูด
ภาษามนุษย์.
จบสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 425
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กึปุริสา ได้แก่ กินนร. บทว่า มานุสึ วาจ น ภาสนฺติ
ความว่า ไม่พูดภาษามนุษย์.
เล่ากันมาว่า ราษฎรนำกินนรตัวหนึ่งมาแสดงแก่พระเจ้าธรรมาโศก.
พระองค์มีรับสั่งว่า พวกท่านจงให้มันพูด. กินนรไม่ปรารถนาจะพูด.
บุรุษคนหนึ่งคิดว่า เราจักให้กินนรนี้พูด จึงพากินนรลงไปยังปราสาท
ชั้นล่าง ตอกหลัก ๒ หลักแล้วยกหม้อข้าวขึ้นตั้ง. หม้อข้าวตกลงข้าง
โน้นบ้างข้างนี้บ้าง. กินนรเห็นดังนั้น ก็กล่าวคำเพียงเท่านี้ว่า ตอกหลัก
เพิ่มอีกหลักหนึ่ง จะไม่เหมาะหรือ. เวลาต่อมา เขานำกินนรมาแสดงอีก
๒ ตัว พระราชามีรับสั่งว่า. พวกเจ้าจงให้มันพูด กินนรทั้งสองนั้นก็ไม่
ปรารถนาจะพูด. บุรุษคนหนึ่งคิดว่า เราจักให้กินนรทั้งสองนี้พูด จึงได้
พากินนรเหล่านั้นไปตลาด. ที่ตลาดนั้น กินนรตัวหนึ่งได้เห็นมะม่วงสุก
และปลา กินนรอีกตัวหนึ่งได้เห็นผลมะขวิดและผลไม้มีรสเปรี้ยว. บรรดา
กินนร ๒ ตัวนั้น กินนรตัวหนึ่งพูดว่า เพื่อนยาก พวกมนุษย์เคี้ยวกิน
(ผลไม้มีมะม่วงเป็นต้น ) พวกเขาจะไปเป็นโรคกลากได้อย่างไรเล่า. กินนร
อีกตัวหนึ่งพูดว่า คนเหล่านี้อาศัยปลาและผลไม่นั้น จะไม่เป็นโรคเรื้อน
ได้อย่างไรเล่า. กินนรทั้งหลายแม้ไม่อาจพูดภาษามนุษย์ แต่เมื่อเห็นอำนาจ
ประโยชน์ ๒ อย่างดังกล่าวมานี้ ก็พูด แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 426
สูตรที่ ๑๐
ว่าด้วยมาตุคามไม่อิ่มไม่ระอาธรรม ๒ ประการ
[๓๐๖] ๖๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อ
ธรรม ๒ ประการ ทำกาลกิริยา ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ การ
เสพเมถุนธรรม ๑ การตลอดบุตร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม
ไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการนี้แล ทำกาลกิริยา.
จบสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อปฺปฏิวาโน ได้แก่ ไม่เธอ ไม่ท้อแท้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
สูตรที่ ๑๑
ว่าด้วยการอยู่ร่วมของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
[๓๐๗] ๖๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอยู่ร่วมของ
อสัตบุรุษ ๑ การอยู่ร่วมของสัตบุรุษ ๑ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระ-
ผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การอยู่ร่วมของอสัตบุรุษเป็น
อย่างไร และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่
เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็ไม่ควรว่า
กล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 427
ก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุที่เป็น
มัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเราไซร้
ก็พึงปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่า
กล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียน
เขาบ้าง เราแม้เห็นอยู่ก็ได้พึงตมถ้อยคำของเขา แม้หากภิกษุที่เป็น
มัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่
ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ
ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง แม้เราเห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำ
ของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะ จะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่ง
ที่ไม่เป็นประโยชน์ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูด
กะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะเห็น
อยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา แม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็คิดอย่างนี้ ฯลฯ
แม้ภิกษุที่เป็นนวกะก็คิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็ไม่ควรกล่าวว่าเรา
ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะก็ไม่ควรว่า
กล่าวเรา แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุ
ที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนา
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึง
พูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะ
เห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าว
เราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เรา
พึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เรา
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 428
แม้จะเห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอยู่
ร่วมของอสัตบุรุษเป็นเช่นนี้แล และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมเช่นนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมของสัตบุรุษเป็นอย่างไร และสัตบุรุษ
ย่อมอยู่ร่วมอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เป็นเถระในธรรมวินัยนี้
ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็
พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะก็พึงว่ากล่าวเรา แม้เราก็พึง ๆ กล่าวภิกษุ
ที่เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าภิกษุที่เป็นเถระจะพึง
ว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็ไม่
พึงเบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุ
ที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่ากล่าว
เราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็ไม่พึง
เบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา แม้ภิกษุที่เป็น
มัชฌิมะก็คิดเช่นนี้ ฯลฯ แม้ภิกษุที่เป็นนวกะก็คิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่
เป็นเถระก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุ
ที่เป็นนวกะก็พึงว่ากล่าวเรา เราก็พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ที่เป็น
มัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเรา ก็พึง
ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่า
กล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราไม่พึงเบียดเบียนเขา
เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะ
พึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 429
ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่า
กล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราไม้พึงเบียดเบียนเขา
เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอยู่
ร่วมของสัตบุรุษเป็นเช่นนี้แล และสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมเช่นนี้.
จบสูตรที่ ๑๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑
ในสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อสนฺตสนฺนิวาส ได้แก่ การอยู่ร่วมกันของเหล่าสัตบุรุษ.
บทว่า น วเทยฺย ความว่า ไม่พึงกลว่ากล่าว อธิบายว่า จงอย่าว่ากล่าว
ด้วยโอวาทก็ตาม ด้วยอนุสาสนีก็ตาม. บทว่า เถรปาห น วเทยฺย
ความว่า แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุผู้เถระ โดยโอวาทและอนุสาสนี.
บทว่า อหิตานุกมฺปี ได้แก่ นุ่งหวังแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์. บทว่า
โน หิตานุกมฺปี ได้แก่ ไม่มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า โนติ น
วเทยฺย ความว่า พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไม่เชื่อคำของท่าน. บทว่า
วิเหเสยฺย ความว่า พึงเบียดเบียนเพราะเหตุแห่งถ้อยคำ. บทว่า ปสฺสมฺ-
ปิสฺส น ปฏิกเรยฺย ความว่า แม้เราเห็นอยู่ก็ตาม รู้อยู่ก็ตาม จะไม่เชื่อ
คำของผู้นั้น. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยอุบายนี้. ส่วนในฝ่าย
ขาว บทว่า สาธูติ น วเทยฺย ความว่า เมื่อเราชื่นชมคำของเขา จะ
พึงกล่าวว่า ดีละ เจริญแท้ ท่านกล่าวดีแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 430
สูตรที่ ๑๒
ว่าด้วยอธิกรณ์ที่เป็นเหตุให้ภิกษุอยู่ไม่ผาสุกและอยู่ผาสุก
[๓๐๘] ๖๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด การด่าโต้
ตอบกัน ความแข่งดีกัน เพราะทิฏฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ
ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบระงับไป ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์
นั้น จักเป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็ง ร้ายแรง และภิกษุ
ทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใดแล การด่า
โต้ตอบกัน ความแข่งดีกันเพราะทิฏฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ
ความขึ้งเคียด สงบระงับดีแล้ว ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น
จักไม่เป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยึดเยื้อ กล้าแข็ง ร้ายแรง และภิกษุ
ทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุก.
จบสูตรที่ ๑๒
จบปุคคลวรรคที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑๒
ในสูตรที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุภโต วจีสสาโร ความว่า วาจาที่สาดใส่กันและกัน
ออกมาเป็นด่าและด่าตอบกันทั้งสองฝ่าย ชื่อว่าการต่อปากต่อคำ. บทว่า
ทิฏฺฐิปลาโส ความว่า การตีเสมอมีลักษณะเทียบคู่ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยทิฏฐิ ชื่อว่าการตีเสมอด้วยอำนาจทิฏฐิ. บทว่า เจตโส อาฆาโต
ได้แก่ ความโกรธ. จริงอยู่ ความโกรธนั้น เกิดขึ้นทำจิตให้อาฆาต.
บทว่า อปฺปจฺจโย ได้แก่ อาการที่ไม่ยินดี อธิบายว่า โทมนัส. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 431
อนภิรทฺธิ ได้แก่ ความโกรธนั่นเอง. ก็ความโกรธนั้น ท่านเรียกว่า
อนภิรทฺธิ เพราะไม่ยินดีอย่างยิ่ง. บทว่า อชฺฌตฺต อวูปสนฺต โหติ
ความว่า เรื่องนั้นทั้งหมดไม่สงบเสียได้ ในจิตของตนซึ่งเป็นภายในของตน
และในบริษัทของตน คือสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก. บทว่า ตเสฺมต
ตัดบทเป็น ตสฺมึ เอต เเปลว่า ข้อที่จะพึงหวังได้ในอธิกรณ์เรื่องนั้น.
บทที่เหลือ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒
จบปุคคลวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 432
สุขวรรคที่ ๒
สูตรที่ ๑
[๓๐๙] ๖๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็น
ไฉน คือ สุขของคฤหัสถ์ ๑ สุขเกิดแต่บรรพชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่
บรรพชาเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๑๐] ๖๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็น
ไฉน คือ กามสุข ๑ เนกขัมมสุข ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่าง
นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เนกขัมมสุขเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๑๑] ๖๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็น
ไฉน คือ สุขเจือกิเลส ๑ สุขไม่เจือกิเลส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่เจือ
กิเลสเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 433
สูตรที่ ๔
[๓๑๒] ๖๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็น
ไฉน คือ สุขมีอาสวะ ๑ สุขไม่มีอาสวะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข
๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่มีอาสวะ
เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๓๑๓] ๖๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็น
ไฉน คือ สุขอิงอามิส ๑ สุขไม่อิงอามิส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข
๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่อิงอามิส
เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๓๐๔] ๖๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็น
ไฉน คือ สุขของพระอริยเจ้า ๑ สุขของปุถุชน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของ
พระอริยเจ้าเป็นเลิศ
จบสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 434
สูตรที่ ๗
[๓๑๕] ๖๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็น
ไฉน คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่าง
นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เจตสิกสุขเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๓๑๖] ๗๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ สุขอันเกิดแต่ฌานที่ยังมีปีติ ๑ สุขอันเกิดแต่ฌานที่ไม่มีปีติ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข
๓ อย่างนี้ สุขอันเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
[๓๑๗] ๗๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็น
ไฉน คือ สุขเกิดแต่ความยินดี ๑ สุขเกิดแต่ความวางเฉย ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒
อย่างนี้ สุขเกิดแต่การวางเฉยเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๓๑๘] ๗๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ สุขที่ถึงสมาธิ ๑ สุขที่ไม่ถึงสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 435
อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ถึงสมาธิ
เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๐
สูตรที่ ๑๑
[๓๑๙ ] ๗๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ สุขเกิดแต่ฌานมีปีติเป็นอารมณ์ สุขเกิดแต่ฌานไม่มี
ปีติเป็นอารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์เป็น
เลิศ.
จบสูตรที่ ๑๑
สูตรที่ ๑๒
[๓๒๐] ๗๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ สุขที่มีความยินดีเป็นอารมณ์ ๑ สุขที่มีความวางเฉยเป็น
อารมณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๒
สูตรที่ ๑๓
[๓๒๑] ๗๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ สุขที่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข
๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๓
จบสุขวรรคที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 436
สุขวรรคที่ ๒๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑
สุขวรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๐๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า คิหิสุข ได้แก่ ความสุขทุกอย่างของคฤหัสถ์ทั้งหลาย
ที่มีความสำเร็จกามเป็นมูล. บทว่า ปพฺพชฺชาสุข ได้แก่ ความสุขที่มี
การบรรพชาเป็นมูล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๑๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กามสุข ได้แก่ ความสุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกาม.
บทว่า เนกฺขมฺมสุข ความว่า บรรพชา ท่านเรียกว่าเนกขัม สุขที่เกิด
ขึ้นเพราะปรารภเนกขัมนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ ( ข้อ ๓๑๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุปธิสุข ได้แก่ สุขที่เป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า นิรูปธิสุข
ได้แก่ สุขที่เป็นโลกุตระ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
๑. สุขวรรคที่ ๒ มีพระสูตร ๑๓ สูตร เป็นพระสูตรสั้น ๆ ทั้งอรรถกถาแก้ไว้สั้น ๆ จึงลงติด
ต่อกันไว้ทั้งวรรค โดยลงเลขข้อแต่ละสูตรกำกับไว้ด้วยเพื่อความไม่สับสน.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 437
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๑๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาสวสุข ได้แก่ สุขในวัฏฏะ ซึ่งเป็นปัจจัยแก่อาสวะ
ทั้งหลาย. บทว่า อนาสวสุข ได้แก่ สุขในพระนิพพาน ซึ่งไม่เป็น
ปัจจัยแก่อาสวะเหล่านั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๑๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิรามิส ได้แก่ สุขเครื่องให้ถึงวัฏฏะ ยังมีกิเลส. บทว่า
นิรามิส ได้แก่ สุขเครื่องให้ถึงพระนิพพาน ปราศจากกิเลส.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๑๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อริยสุข ได้แก่ สุขของอริยบุคคล. บทว่า อนริยสุข
ได้แก่ สุขของปุถุชน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๑๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กายิก ได้แก่ สุขที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณ. บทว่า เจตสิก
ได้แก่ สุขที่เกิดทางมโนทวาร. ตรัสคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 438
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๑๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สปฺปีติก ได้แก่ สุขในปฐมฌานและทุติยฌาน. บทว่า
นิปฺปีติก ได้แก่ สุขในตติยฌานและจตุตถฌาน. บรรดาสุข ๒ อย่างนั้น
พึงทราบความเป็นเลิศ โดยไม่แบ่งชั้นอย่างนี้ คือ สุขปราศจากปีติที่เป็น
โลกิยะ เลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกิยะ และสุขปราศจากปีติที่เป็นโลกุตระ
เลิศกว่าสุขมีปีติที่เป็นโลกุตระ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๑๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาตสุข ได้แก่ สุขในฌานทั้ง ๓. บทว่า อุเปกฺขาสุข
ได้แก่ สุขในจตุตถฌาน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๑๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมาธิสุข ได้แก่ สุขที่ถึงอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ.
บทว่า อสมาธิสุข ได้แก่ สุขที่ไม่ถึงสมาธิทั้งสองนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 439
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑/H3
ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๓๑๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สปฺปีติการมฺมณ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาฌาน
ทั้งสอง ที่มีปีติเป็นอารมณ์ แม้ในฌาน ที่ไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ก็นัย
นี้แหละ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑๒
ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๓๒๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒
อรรถกถาสูตรที่ ๑๓
ในสูตรที่ ๑๓ (ข้อ ๓๒๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า รูปารมฺมณ ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภรูปอย่างใด
อย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์ของรูปาวรจตุตถฌาน. บทว่า อรูปารมฺมณ
ได้แก่ สุขที่เกิดขึ้นเพราะปรารภอรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นอารมณ์
ของอรูปาวจรฌาน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๓
จบสุขวรรคที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 440
สนิมิตตวรรคที่ ๓
สูตรที่ ๑
[๓๒๒] ๗๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
นิมิตจึงเกิดขึ้น ไม่มีนิมิตไม่เกิดขึ้น เพราะละนิมิตนั้นเสีย ธรรมที่เป็น
อกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ .
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๒๓] ๗๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
นิทานจึงเกิดขึ้น ไม่มีนิทานไม่เกิดขึ้น เพราะละนิทานนั้นเสีย ธรรมที่
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๒๔] ๗๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
เหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เพราะละเหตุนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาป
อกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๔
[๓๒๕] ๗๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
เครื่องปรุงจึงเกิดขึ้น ไม่มีเครื่องปรุงไม่เกิดขึ้น เพราะละเครื่องปรุงนั้น
เสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 441
สูตรที่ ๕
[๓๒๖] ๘๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
ปัจจัยจึงเกิดขึ้น ไม่มีปัจจัยไม่เกิดขึ้น เพราะละปัจจัยนั้นเสีย ธรรมที่
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๓๒๗] ๘๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
รูปจึงเกิดขึ้น ไม่มีรูปไม่เกิดขึ้น เพราะละรูปนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาป
กุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ .
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๓๒๘] ๘๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
เวทนาจึงเกิดขึ้น ไม่มีเวทนาไม่เกิดขึ้น เพราะละเวทนานั้นเสีย ธรรมที่
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๓๒๙] ๘๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
สัญญาจึงเกิดขึ้น ไม่มีสัญญาไม่เกิดขึ้น เพราะละสัญญานั้นเสีย ธรรมที่
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 442
สูตรที่ ๙
[๓๓๐] ๘๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
วิญญาณจึงเกิดขึ้น ไม่มีวิญญาณไม่เกิดขึ้น เพราะละวิญญาณนั้นเสีย ธรรม
ที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๓๓๑] ๘๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มี
สังขตธรรมเป็นอารมณ์จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ไม่เกิดขึ้น
เพราะละสังขตธรรมนั้นเสีย ธรรมที่เป็นมาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วย
ประการดังนี้.
จบสนิมิตตวรรคที่ ๓
สนิมิตตวรรคที่ ๓๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑
วรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๒๒) มีนิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สนิมิตฺตา แปลว่า มีเหตุ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒ เป็นต้น (ข้อ ๓๒๓-๓๒๗)
แม้ในสูตรที่ ๒ เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ก็บททั้งหมด คือ นิทาน
เหตุ สังขาร ปัจจัย รูป เหล่านี้ เป็นไวพจน์ของ การณะ ทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
๑. วรรคที่ ๓ มี ๑๐ สูตร เป็นสูตรสั้น ๆ จึงรวมอรรถกถาไว้ติดต่อกัน โดยลงเลขข้อสูตร
กำกับไว้ด้วย.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 443
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๒๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สเวทนา ความว่า เมื่อสัมปยุตตเวทนาที่เป็นปัจจัยนั่น
แหละมีอยู่ ธรรมที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลายจึงเกิดขึ้น เมื่อไม่มี ก็ไม่เกิด.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๘ - ๙
แม้ในสูตรที่ ๘ และสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๒๙- ๓๓๐) ก็นัยนี้
แหละ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘ - ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๓๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สงฺขตารมฺมณา ความว่า ธรรมที่เป็นบาปอกุศลทั้งหลาย
เกิดขึ้น เพราะกระทำสังขตธรรมที่บังเกิดขึ้นด้วยปัจจัย ให้เป็นอารมณ์.
บทว่า โน อสงฺขตารมฺมณา ความว่า แต่ธรรมที่เป็นบาปอกุศล
จะไม่เกิดขึ้น เพราะปรารภพระนิพพาน อันเป็นอสังขตะ.
บทว่า น โหนฺติ ความว่า ในขณะแห่งมรรค ธรรมที่เป็นบาป
อกุศล ชื่อว่าไม่มีอยู่ เมื่อบรรลุผลแล้ว ก็ชื่อว่ามิได้มีแล้ว. ในสูตรทั้ง
๑๐ สูตรเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเทศนาจนถึงพระอรหัต
อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
จบสนิมิตตวรรคที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 444
ธรรมวรรคที่ ๔
สูตรที่ ๑
[๓๓๒] ๘๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ เจโตวิมุตติ ๑ ปัญญาวิมุตติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๓๓] ๘๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความเพียร ๑ ความไม่ฟุ้งซ่าน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๓๔] ๘๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ นาม ๑ รูป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๔
[๓๓๕] ๘๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 445
สูตรที่ ๕
[๓๓๖] ๙๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๓๓๗] ๙๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๓๓๘] ๙๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๓๓๙] ๙๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความเป็นคนว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 446
สูตรที่ ๙
[๓๔๐] ๙๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความเป็นคนว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๓๔๑] ๙๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๐
สูตรที่ ๑๑
[๓๔๒] ๙๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออก
จากอาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๑
จบธรรมวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 447
ธรรมวรรค๑ที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๑
วรรคที่ ๔ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๓๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า เจโตวิมุตฺติ ได้แก่ ผลสมาธิ สมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตผล.
บทว่า ปญฺาวิมุตฺติ ได้แก่ ผลปัญญา ปัญญาที่สัมปยุตด้วย
อรหัตผล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๓๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปคฺคาโห ได้แก่ ความเพียร.
บทว่า อวิกฺเขโป ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๓๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นาม ได้แก่ อรูปขันธ์ทั้ง ๔.
บทว่า รูป ได้แก่ รูปขันธ์. ในสูตรนี้ ตรัสญาณเครื่องกำหนด
ธรรมโกฏฐาส.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
๑. วรรคที่ ๔ มี ๑๑ สูตรสั้น ๆ จึงรวมอรรถกถาไว้ติดต่อกัน โดยลงเลขท้ายสูตรกำกับ
ไว้ด้วย.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 448
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๓๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วิชฺชา ได้แก่ ผลญาณ.
บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ ธรรมที่เหลือที่สัมปยุตด้วยผลญาณนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๓๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ภวทิฏฺิ ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖-๗
ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๓๗) และ สูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๓๘) มี
เนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖-๗
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๓๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โทวจสฺสตา แปลว่า ความเป็นผู้ว่ายาก.
บทว่า ปาปมิตฺตตา แปลว่า การซ่องเสพปาปมิตร.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๔๐) พึงทราบโดยปริยายตรงข้ามกับที่กล่าว
แล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 449
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๔๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ธาตุกุสลตา ได้แก่ รู้ธาตุ ๑๘ อย่าง ว่าเป็นธาตุ.
บทว่า มนสิการกุสลตา ได้แก่ รู้ธาตุเหล่านั้นนั่นแล ยกขึ้นสู่
ลักษณะ ๓ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑
ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๓๔๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาปตฺติกุสลตา ได้แก่ รู้อาบัติ ๕ กอง และ ๗ กอง.
บทว่า อาปตฺติวุฏฺานกุสลตา ได้แก่ รู้การออกจากอาบัติทั้ง
หลาย ด้วยการแสดงอาบัติก็ตาม ด้วยสวดกรรมวาจาก็ตาม.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑
จบธรรมวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 450
พาลวรรคที่ ๕
สูตรที่ ๑
[๓๔๓] ๙๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือ คนที่นำเอาภาระที่ยังมาไม่ถึงไป ๑ คนที่ไม่นำเอาภาระที่มา
ถึงไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๔๔] ๙๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือ คนที่นำภาระที่มาถึงไป ๑ คนที่ไม่นำเอาภาระที่ยังไม่มา
ถึงไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๔๕] ๙๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวก
เป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่ควร
ในของที่ควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๔
[๓๔๖] ๑๐๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำ-
พวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๑ คนที่เข้าใจ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 451
ว่าควรในของที่ควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๓๔๗] ๑๐๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำ-
พวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติ ในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑
คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คน
พาล ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๓๔๘] ๑๐๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำ-
พวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ คน
ที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒
จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๓๔๙] ๑๐๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำ-
พวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในของที่ไม่เป็นธรรม ๑ คน
ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล
๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 452
สูตรที่ ๘
[๓๕๐] ๑๐๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำ-
พวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑ คน
ที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒
จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
[๓๕๑] ๑๐๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำ-
พวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ คนที่
เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒
จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๓๕๒] ๑๐๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำ-
พวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ คนที่
เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำ-
พวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๐
สูตรที่ ๑๑
[๓๕๓] ๑๐๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒
จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๑ ผู้ที่
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 453
ไม่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน
๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๑
สูตรที่ ๑๒
[๓๕๔] ๑๐๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒
จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่ไม่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๑ ผู้ที่
รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน
๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๒
สูตรที่ ๑๓
[๓๕๕] ๑๐๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒
จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๑ ผู้ที่
เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญ
แก่คน ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๓
สูตรที่ ๑๔
[๓๕๖] ๑๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน
๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๑
ผู้ที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญ
แก่คน ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 454
สูตรที่ ๑๕
[๓๕๗] ๑๑๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒
จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็น
อาบัติ ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๕
สูตรที่ ๑๖
[๓๕๘] ๑๑๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒
จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็น
อาบัติ ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๖
สูตรที่ ๑๗
[๓๕๙] ๑๑๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒
จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็น
ธรรม ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๗
สูตรที่ ๑๘
[๓๖๐] ๑๑๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒
จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็น
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 455
ธรรม ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๘
สูตรที่ ๑๙
[๓๖๑] ๑๑๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒
จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็น
วินัย ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๙
สูตรที่ ๒๐
[๓๖๒] ๑๑๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒
จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็น
วินัย ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล.
จบสูตรที่ ๒๐
จบพาลวรรคที่ ๕
จบทุติยปัณณาสก์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 456
พาลวรรค๑ที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๑
วรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๔๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนาคต ภาร วหติ ความว่า เป็นนวกะ พระเถระมิได้
เชื้อเชิญ ก็กระทำภาระ ๑๐ อย่าง ในพระบาลีนี้ว่า ถวายโรงอุโบสถ ๑
ตามประทีป ๑ ตั้งน้ำดื่ม ๑ ตั้งอาสนะ ๑ นำฉันทะมา ๑ นำปาริสุทธิ
มา ๑ บอกฤดู ๑ นับภิกษุ ๑ โอวาท ๑ สวดปาติโมกข์ ๑ ท่าน
เรียกว่า ภาระหน้าที่ของพระเถระ ดังนี้ ชื่อว่านำพาภาระที่ยังไม่มาถึง.
บทว่า อาคต ภาร น วหติ ความว่า เป็นพระเถระอยู่ ไม่
กระทำภาระ ๑๐ นั้นแหละด้วยตน หรือไม่ชักชวนมอบหมายผู้อื่น ชื่อว่า
ไม่นำพาภาระที่มาถึงเข้า.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
แม้ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๔๔) ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๔๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อกปฺปิเย กปฺยิยสญฺี ได้แก่ ผู้มีความสำคัญในสิ่งที่เป็น
อกัปปิยะ คือเนื้อราชสีห์เป็นต้น อย่างนี้ว่า นี้เป็นกัปปิยะ.
๑. วรรคนี้มี ๒๐ สูตร แต่อรรถกถาแก้ไว้เพียง ๑๖ สูตร จึงลงเลขข้อสูตรกำกับไว้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 457
บทว่า กปฺปิเย อกปฺปิยสญฺี ได้แก่ ผู้มีความสำคัญในสิ่งที่เป็น
กัปปิยะ มีเนื้อจระเข้ และเนื้อแมวเป็นต้น อย่างนี้ว่า นี่เป็นอกัปปิยะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๔๖) พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๔๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนาปตฺติยา อาปตฺติสญฺี ได้แก่ เป็นผู้มีความสำคัญ
ในเรื่องที่ไม่เป็นอาบัติ เป็นต้นว่า ภิกษุทำความสะอาดภัณฑะ รมบาตร
ตัดผม เข้าบ้านโดยบอกลา นั้นอย่างนี้ว่า นี้เป็นอาบัติ. บทว่า อาปตฺติยา
อนาปตฺติสญฺี ได้แก่ เป็นผู้มีความสำคัญในอาบัติเพราะไม่เอื้อเฟื้อต่อ
เรื่องเหล่านั้นนั่นแหละ นั้นอย่างนี้ว่า นี้ไม่เป็นอาบัติ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๔๘) พึ่งทราบเนื้อความโดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั่นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๔๙ - ๓๕๒) มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 458
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑
ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๓๕๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาสวา ได้แก่ กิเลส. บทว่า น กุกฺกุจฺจายิตพฺพ ความว่า
ความไม่ปรารถนาไม่วิจารณ์ส่วนในสงฆ์ ชื่อว่าสิ่งที่ไม่ควรรำคาญ. บทว่า
กุกฺกุจฺจายิตพฺพ ความว่า ไม่รำคาญความปรารถนาวิจารณ์ส่วนในสงฆ์
นั้นนั่นแหละ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑๒ เป็นต้น
ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๓๕๔-๓๖๒) พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว
ในหนหลังนั่นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒ เป็นต้น
จบพาลวรรคที่ ๕
จบทุติยปัณณาสก์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 459
ตติยปัณณสก์
อาสาวรรคที่ ๑
สูตรที่ ๑
[๓๖๓] ๑๑๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้ละ
ได้ยาก ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความหวังในลาภ ๑ ความหวังในชีวิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้แลละได้ยาก.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๖๓] ๑๑๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้
ยากในโลด ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บุพพการีบุคคล ๑ กตัญญูกต-
เวทีบุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๖๔] ๑๑๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้
ยากในโลก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่พอใจ ๑ คนที่อิ่มหนำ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก.
จบสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 460
สูตรที่ ๔
[๓๖๖] ๑๒๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่ม
ได้ยาก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้เก็บสิ่งที่ได้ไว้แล้ว ๆ ๑ บุคคล
ผู่สละสิ่งที่ได้เเล้ว ๆ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้
อิ่มได้ยาก.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๓๖๗] ๑๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่ม
ได้ง่าย ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ไม่เก็บสิ่งที่คนได้ไว้แล้ว ๆ ๑
บุคคลผู้ไม่สละสิ่งที่ตนได้แล้ว ๆ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวก
นี้แลให้อิ่มได้ง่าย.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๓๖๘] ๑๒๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
ราคะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุภนิมิต ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งราคะ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๓๖๙] ๑๒๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
โทสะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ปฏิฆนิมิต ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 461
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโทสะ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๓๗๐] ๑๒๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
มิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑
อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
มิจฉาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
[๓๗๑] ๑๒๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
สัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑
โยนิโสมนสิการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
สัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๓๗๒] ๑๒๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ลหุกาบัติ ๑ ครุกาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒
อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 462
สูตรที่ ๑๑
[๓๗๓] ๑๒๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ อาบัติชั่วหยาบ ๑ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาบัติ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๑
สูตร ๑๒
[๓๗๔] ๑๒๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ อาบัติที่มีส่วนเหลือ ๑ อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๒
จบอาสาวรรคที่ ๑
ตติยปัณณสก์
อาสาวรรคที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑
ตติยปัณณาสก์ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๖๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาสา ได้แก่ ตัณหา ความอยาก. บทว่า ทุปฺปชหา
ได้แก่ ละได้ยาก คือนำออกได้ยาก. สัตว์ทั้งหลายใช้เวลา ๑๐ ปีบ้าง
๒๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง รับใช้พระราชา ทำกสิกรรมเป็นต้น เข้า
สู่สงความที่ฝ่ายสองรบประชิดกัน ดำเนินอาชีพเลี้ยงแพะและทำหอก
เป็นต้น แล่นเรือไปยังมหาสมุทร ด้วยหวังว่า พวกเราจักได้วันนี้ พวก
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 463
เราจักได้พรุ่งนี้ ดังนี้ เพราะความหวังในลาภเป็นเรื่องละได้ยาก แม้เมื่อ
ถึงเวลาจะตาย ก็ยังสำคัญตนว่าจะอยู่ได้ ๑๐๐ ปี แม้จะเห็นกรรมและ
กรรมนิมิตเป็นต้น มีผู้หวังดีตักเตือนว่า จงให้ทาน จงทำการบูชาเถิด
ก็ไม่เชื่อคำของใคร ๆ ด้วยหวังอย่างนี้ว่า เราจักยังไม่ตาย นี้เพราะความ
หวังในชีวิตเป็นเรื่องละได้ยาก.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๖๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปุพฺพการี ได้แก่ ผู้ทำอุปการะก่อน.
บทว่า กตฺูกตเวที ได้แก่ ผู้รู้อุปการะที่เขาทำแล้วตอบแทน
ภายหลัง. ในสองท่านนั้น ผู้ทำอุปการะก่อน ย่อมสำคัญว่า เราให้กู้หนี้
ผู้ตอบแทนภายหลัง ย่อมสำคัญว่า เราชำระหนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๖๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ติตฺโต จ ตปฺเปตา จ ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า
และพระขีณาสพผู้เป็นสาวกของพระตถาคต ชื่อว่าผู้อื่มแล้ว. พระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าผู้อิ่มแล้วด้วย ผู้ทำคนอื่นให้อิ่มด้วย.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 464
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๖๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุตฺตปฺปยา ความว่า ทายกทำให้อิ่มได้ยาก คือ การทำ
ให้เขาอิ่ม ทำไม่ได้ง่าย. บทว่า นิกฺขิปติ ได้แก่ ไม่ให้ใคร ไม่ใช้สอย
เอง. บทว่า วิสชฺเชติ ได้แก่ ให้แก่ผู้อื่น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๖๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า น วิสชฺเชติ ความว่า ไม่ให้แก่ผู้อื่นเสียทั้งหมดทีเดียว
แต่ให้ถือเอาพอเยียวยาอัตภาพตน เหลือนอกนั้นไม่ให้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๖๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สุภนิมิตฺต ได้แก่ อารมณ์ที่น่าปรารถนา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๖๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิฆนิมิตฺต ได้แก่ นิมิตที่ไม่น่าปรารถนา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๗๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 465
บทว่า ปรโต จ โฆโส ได้แก่ การฟังอสัทธรรมจากสำนัก
ของผู้อื่น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๗๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปรโต จ โฆโส ได้แก่ การฟังพระสัทธรรมจากสำนัก
ของผู้อื่น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอาสาวรรคที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 466
อายาจนวรรคที่ ๒
สูตรที่ ๑
[๓๗๕] ๑๒๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผ้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอน
โดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสารีบุตรและภิกษุ
โมคคัลลานะนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุสาวกของเรา.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๗๖] ๑๓๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อ
อ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นภิกษุณีเขมา
และอุบลวรรณาเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบล-
วรรณานี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุณีสาวิกาของเรา.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๗๗] ๑๓๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อ
อ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดี
และหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดี
และหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสกสาวก
ของเราแล.
จบสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 467
สูตรที่ ๔
[๓๗๘] ๑๓๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่อ
อ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นอุบาสิกา
ขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดาเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอุบาสิกา
ขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสิกา
สาวิกาของเรา.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๓๗๙] ๑๓๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบ
แหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้
ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาป
เป็นอันมาก ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูด
สรรเสริญคุณของตนที่ควรติเตียน ๑ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูดติโทษของ
คนที่ควรสรรเสริญ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม
ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัดถูกทำลาย เขา
ย่อมเป็นไปกับด้วยโทษถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วย
ธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารคนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขา
ย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม
๒ ประการเป็นไฉน คือ พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดติเตียนคนที่ควร
ติเตียน ๑ พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดสรรเสริญ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ การนี้แล ย่อม
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 468
บริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้
ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๓๘๐] ๑๓๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบ
แหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารคนให้ถูกกำจัด ให้
ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาป
เป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรอง
แล้ว เกิดเลื่อมใสในฐานะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ไม่พิจารณา
ไตร่ตรองแล้ว เกิดไม่เลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลา อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วย
ธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารคนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เขาย่อม
เป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาดเฉียบแหลม ประกอบด้วย
ธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลายเขาย่อม
ไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม
๒ ประการเป็นไฉน คือ พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดไม่เลื่อมใสในฐานะ
อัน เป็นที่ตั้งแห่งความไม่เลื่อมใส ๑ พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดเลื่อมใส
ในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษ
ผู้ฉลาดเฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 469
ไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้ง
ได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย.
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๓๘๐] ๑๓๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบ
แหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้
ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาป
เป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ มารดา ๑ บิดา ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒
จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับ
ด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบใน
บุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขา
ย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย
บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ มารดา ๑ บิดา ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบใน
บุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย
เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย.
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๓๘๒] ๑๓๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่
เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 470
ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาป
เป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคต ๑
สาวกของพระตถาคต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่
เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูก
กำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้
ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบใน
บุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขา
ย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย
บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคต ๑ สาวกของพระตถาคต ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล
๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อม
ไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย.
จบสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
[๓๘๓] ๑๓๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ๑ การไม่ถือมั่นอะไร ๆ
ในโลก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๓๘๔] ๑๓๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 471
เป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๐
สูตรที่ ๑๑
[๓๘๕] ๑๓๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ การกำจัดความโกรธ ๑ การกำจัดความผูกโกรธ ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๑
จบอายาจนวรรคที่ ๒
อายาจนวรรคที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๑
วรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่าสทฺโธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เอว สมฺมา อายาจมาโน อายาเจยฺย
ความว่า ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่อจะขอ คือต้องการปรารถนาอย่างนี้ว่า
แม้เราก็จงเป็นเช่นพระสารีบุตรเถระ ทางปัญญา แม้เราก็จงเป็นเช่นพระ-
โมคคัลลานเถระ ทางฤทธิ์ ดังนี้ ชื่อว่าพึงปรารถนาโดยชอบ เพราะ
ปรารถนาสิ่งที่มีอยู่เท่านั้น. เมื่อปรารถนายิ่งกว่านี้ พึงปรารถนาผิด
ด้วยว่าละความปรารถนา ๒ อย่างเสีย ปรารถนาเห็นปานนี้ ย่อมชื่อว่า
ปรารถนาผิด เพราะปรารถนาสิ่งที่ไม่มี. เพราะเหตุไร. บทว่า เอสา
ภิกฺขเว เอต ปมาณ ความว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อจะชั่งทองหรือเงิน
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 472
พึงใช้ตราชู เมื่อจะตวงข้าวเปลือก พึงใช้เครื่องตวง ตราชูเป็นมาตรฐาน
ในการชั่ง และเครื่องตวงเป็นมาตรฐานในการตวง ด้วยประการดังนี้
ฉันใด สารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นเครื่องชั่ง เป็นเครื่องตวง สำหรับ
เหล่าภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ยึดท่านทั้งสองนั้น จึงอาจที่จะชั่งหรือตวง
คนว่า แม้เราก็เท่ากัน ทางญาณ หรือทางฤทธิ์ นอกไปจากนี้ไม่อาจจะ
ชั่งหรือตวงได้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒ เป็นต้น
แม้ในสูตรที่ ๒ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน . แต่ในสูตรนี้ แยกกัน
ดังนี้.
บทว่า เขมา จ ภิกฺขุนี อุปฺปลวณฺณา จ ความว่า ก็บรรดา
ภิกษุณี ๒ รูปนั้น ภิกษุณีเขนาเสิศทางปัญญา ภิกษุณีอุบลวรรณาเลิศทาง
ฤทธิ์ ฉะนั้น เมื่อขอโดยชอบ พึงขอว่า ขอเราจงเป็นแม้เช่นนี้ ทาง
ปัญญาก็ตาม ทางฤทธิ์ก็ตาม แม้อุบาสิกาขุชชุตตราก็เลิศเพราะมีปัญญามาก
นันทมารดา๑เลิศเพราะมีฤทธิ์มาก เพราะฉะนั้น เมื่อขอโดยชอบ พึงขอว่า
ขอเราจงเป็นแม้เช่นนี้ ทางปัญญาก็ตาม ทางฤทธิ์ก็ตาม.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒ เป็นต้น
อรรถกถาสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ขต ความว่า ชื่อว่าถูกกำจัด เพราะถูกกำจัดคุณความดี.
๑. พระสูตรข้อ ๓๗๘ ว่านางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 473
บทว่า อุปหต ความว่า ชื่อว่าถูกทำลาย เพราะถูกทำลายคุณความดี
อธิบายว่า ถูกตัดคุณความดี ขาดคุณความดี เสียคุณความดี. บทว่า
อตฺตาน ปริหรติ ความว่า รักษาคุ้มครองตนที่ปราศจากคุณความดี.
บทว่า สารชฺโช แปลว่า มีโทษ. บทว่า สานุวชฺโช แปลว่า ถูก
ตำหนิ. บทว่า ปสวติ แปลว่า ย่อมได้. บทว่า อนนุวิจฺจ ได้แก่
ไม่รู้ ไม่พิจารณา. บทว่า อปริโยคาเหตฺวา แปลว่า ไม่สอบสวน.
บทว่า อวณฺณารหสฺส ความว่า ของเดียรถีย์ก็ตาม ของสาวกเดีรถีย์
ก็ตาม ผู้ปฏิบัติผิด ควรตำหนิ. บทว่า วณฺณ ภาสติ ความว่า
กล่าวคุณว่า ผู้นี้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ดังนี้ . บทว่า วณฺณารหสฺส
ความว่า บรรดาพระอริยบุคคลมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น องค์ใดองค์หนึ่ง
ผู้ปฏิบัติชอบ. บทว่า อวณิณ ภาสติ ความว่า กล่าวโทษว่า ผู้นี้
ปฏิบัติชั่วปฏิบัติผิด ดังนี้.
บทว่า อวณฺณารหสฺส อวณฺณ ภาสติ ความว่า บุคคลบางคน
ในโลกนี้ กล่าวตำหนิเดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ ผู้ปฏิบัติชั่วปฏิบัติผิด ว่าเป็น
ผู้ปฏิบัติชั่วเพราะเหตุดังนี้บ้าง เป็นผู้ปฏิบัติเพราะเหตุดังนี้บ้าง ชื่อว่าย่อม
กล่าวตำหนิผู้ที่ควรตำหนิ. บทว่า วณฺณารหสฺส วณฺณ ความว่า กล่าว
สรรเสริญพระพุทธเจ้าและเหล่าพุทธสาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ว่าเป็น
ผู้ปฏิบัติดีเพราะเหตุดังนี้บ้าง เป็นผู้ปฏิบัติชอบเพราะเหตุดังนี้บ้าง.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 474
อรรถกถาสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อปฺปสาทนีเย าเน ได้แก่ ในเหตุที่ทำให้ไม่เลื่อมใส
บทว่า ปสาท อุปธเสติ ความว่า ให้เกิดความเลื่อมใสในข้อปฏิบัติชั่ว
ข้อปฏิบัติผิด ว่านี้ข้อปฏิบัติดี ข้อปฏิบัติชอบ ดังนี้. บทว่า ปสาทนีเย
าเน อปฺปสาท ความว่า ให้เกิดความไม่เลื่อมใสในข้อปฏิบัติดีข้อ
ปฏิบัติชอบว่า นี้ข้อปฏิบัติชั่ว นี้ข้อปฏิบัติผิด ดังนี้. คำที่เหลือในสูตรนี้
ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทฺวีสุ ได้แก่ในโอกาสสอง ในเหตุสอง. บทว่า มิจฺฉา-
ปฏิปชฺชมาโน ได้แก่ ถือข้อปฏิบัติผิด. บทว่า มาตริ จ ปิตริ จ
ความว่า ปฏิบัติผิดในมารดาเหมือนนายมิตตวินทุกะ ปฏิบัติผิดในบิดา
เหมือนพระเจ้าอชาตศัตรู. ธรรมฝ่ายขาวพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตถาคเต จ ตถาคตสาวเก เจ ความว่า ปฏิบัติผิดใน
พระตถาคต เช่นพระเทวทัต และปฏิบัติผิดในสาวกของพระตถาคต
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 475
เช่นพระโกกาลิกะ. ในฝ่ายขาว ปฏิบัติชอบในพระตถาคต เช่นพระ
อานนทเถระ และปฏิบัติชอบในสาวกของพระตถาคต เช่นบุตรของ
เศรษฐีผู้เลี้ยงโคชื่อนันทะ.
จบอรรถถถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สจิตฺตโวทาน แปลว่า ความผ่องแผ้วแห่งจิตของตน
บทนี้ เป็นชื่อของสมาบัติ ๘. บทว่า น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ
ความว่า ไม่ถือ คือไม่แตะต้องบรรดาธรรมมีรูปเป็นต้นแม้ธรรมอย่างหนึ่ง
ไร ๆ ในโลก. ในสูตรนี้ ความไม่ถือมั่น เป็นธรรมที่ ๒ ด้วยประการ
ฉะนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐ - ๑๑
สูตรที่ ๑๐ และสูตรที่ ๑๑ ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐ - ๑๑
จบอายาจนวรรคที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 476
ทานวรรคที่ ๓
สูตรที่ ๑
[๓๘๖] ๑๔๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน
๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทาน
เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๘๗] ๑๔๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบูชาด้วยอามิส ๑ การบูชาด้วยธรรม ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา
การบูชา ๒ อย่างนี้ การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๘๘] ๑๔๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ การสละอามิส ๑ การสละธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การสละ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสละ ๒ อย่างนี้
การสละธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 477
สูตรที่ ๔
[๓๘๙ ] ๑๔๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริจาคอามิส ๑ การบริจาคธรรม ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา
การบริจาค ๒ อย่างนี้ การบริจาคธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๓๙๐] ๑๔๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริโภคอามิส ๑ การบริโภคธรรม ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา
การบริโภค ๒ อย่างนี้ การบริโภคธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๓๙๑] ๑๔๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมโภคอามิส ๑ การสมโภคธรรม ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา
การสมโภค ๒ อย่างนี้ การสมโภคธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๓๙๒] ๑๔๖. ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 478
เป็นไฉน คือ การจำแนกอามิส ๑ การจำแนกธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการ
จำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนกธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๓๙๓] ๑๔๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การสงเคราะห์ด้วย
ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์ด้วยธรรม
เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
[๓๙๔] ๑๔๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วย
ธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม
เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๓๙๔] ๑๔๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 479
๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส ๑ ความเอื้อเฟื้อด้วย
ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม
เป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๐
จบทานวรรคที่ ๓
ทานวรรคที่ ๓๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑
วรรคที่ ๓ สูตร (ข้อ ๓๘๖). มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทานานิ ความว่า ชื่อว่า ทาน ด้วยอำนาจแห่งวัตถุมี
ทานเป็นต้นที่เขาให้ บทนี้เป็นชื่อของไทยธรรม อีกอย่างหนึ่ง เจตนา
พร้อมด้วยวัตถุ ชื่อว่า ทาน บทนี้เป็นชื่อของการบริจาคสมบัติ. บทว่า
อามิสทาน ความว่า ปัจจัย ๔ ชื่อว่า อามิสทาน โดยเป็นของให้.
บทว่า ธมฺมทาน ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ กล่าวปฏิปทาเครื่อง
บรรลุอมตะให้ นี้ชื่อว่า ธรรมทาน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
๑. วรรคนี้ประกอบด้วยสูตรสั้น ๆ ๑๐ สูตร จึงลงอรรถกถาอธิบายไว้ ติดต่อรวมกันทั้งวรรค
แต่เพื่อความไม่สับสน จึงใส่ข้อบาลีกำกับไว้ในอรรถกถาสูตรด้วย.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 480
อรรถกถาสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๘๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ปัจจัย ๔ ชื่อว่า ยาคะ โดยเป็นเครื่องบูชา แม้ธรรมะ ก็พึง
ทราบว่า ชื่อว่า ยาคะ โดยเป็นเครื่องบูชา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๘๘) มีวินิจฉัยยดังต่อไปนี้.
การสละอามิส ชื่อว่า อามิสจาคะ การสละธรรม ชื่อว่า
ธรรมจาคะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๘๙) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๕ (ข้อ ๓๙๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การบริโภคปัจจัย ๔ ชื่อว่า อามิสโภคะ การบริโภคธรรม ชื่อว่า
ธรรมโภคะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๖ (ข้อ ๓๙๑) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 481
อรรถกถาสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๗ (ข้อ ๓๙๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การแจกจ่ายปัจจัย ๔ ชื่อว่า อามิสสังวิภาค การแจกจ่ายธรรม
ชื่อว่า ธรรมสังวิภาค.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๘ (ข้อ ๓๙๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การสงเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ ชื่อว่า อามิสสงเคราะห์ การ
สงเคราะห์ด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมสงเคราะห์.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๙ (ข้อ ๓๙๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การอนุเคราะห์ด้วยปัจจัย ชื่อว่า อามิสอนุเคราะห์ การ
อนุเคราะห์ด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมอนุเคราะห์.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
สูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๓๙๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การแสดงความเอ็นดูด้วยปัจจัย ๔ ชื่อว่า อามิสอนุกัมปะ เกื้อกูล
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 482
ด้วยอามิส การแสดงความเอ็นดูด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมอนุกัมปะ
เกื้อกูลด้วยธรรม.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
จบทานวรรคที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 483
สันถาวรรคที่ ๔
สูตรที่ ๑
[๓๙๖] ๑๕๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สันถาร ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ อามิสสันถาร ๑ ธรรมสันถาร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สันถาร ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสันถาร ๒ อย่างนี้
ธรรมสันถารเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๓๙๗] ๑๕๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสปฏิสันถาร ๑ ธรรมปฏิสันถาร ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา
ปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ ธรรมปฏิสันถารเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๓๙๘] ๑๕๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เอสนา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ อามิสเอสนา การเสาะหาอามิส ๑ ธรรมเอสนา การเสาะหา
ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เอสนา ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บรรดาเอสนา ๒ อย่างนี้ ธรรมเอสนาเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 484
สูตรที่ ๔
[๓๙๙] ๑๕๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริเยสนา ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสปริเยสนา การแสวงหาอามิส ๑ ธรรมปริเยสนา
การแสวงหาธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริเยสนา ๒ อย่างนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บรรดาปริเยสนา ๒ อย่างนี้ ธรรมปริเยสนาเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๔๐๐] ๑๕๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสปริเยฏฐิ การแสวงหาอามิสอย่างสูง ๑
ธรรมปริเยฏฐิ การแสวงหาธรรมอย่างสูง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริเยฏฐิ
๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้ ธรรม-
ปริเยฏฐิเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๔๐๑] ๑๕๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสบูชา ๑ ธรรมบูชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การบูชา ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้
ธรรมบูชาเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 485
สูตรที่ ๗
[๔๐๒] ๑๕๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ ของต้อนรับคืออามิส ๑ ของต้อนรับคือธรรม ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บรรดาของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้ ของต้อนรับแขกคือธรรมเป็นเลิศ
จบสูตรที่ ๗
สูตรที่ ๘
[๔๐๓] ๑๕๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความสำเร็จคืออามิส ๑ ความสำเร็จคือ
ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาความสำเร็จ ๒ อย่างนี้ ความสำเร็จคือธรรมเป็นเลิศ
จบสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
[๔๐๔] ๑๕๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญ ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเจริญด้วยอามิส ๑ ความเจริญด้วยธรรม ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญ ๒ อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บรรดาความเจริญ ๒ อย่างนี้ ความเจริญด้วยธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 486
สูตรที่ ๑๐
[๔๐๕] ๑๕๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ รัตนะคืออามิส ๑ รัตนะคือธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
รัตนะ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดารัตนะ ๒ อย่างนี้ รัตนะ
คือธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๐
สูตรที่ ๑๑
[๔๐๖] ๑๖๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสะสม ๒ อย่างนี้
๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความสะสมอามิส ๑ ความสะสมธรรม ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความสะสม ๒ อย่างนี้ ความสะสมธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๑
สูตรที่ ๑๒
[๔๐๗] ๑๖๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความไพบูลย์แห่งอามิส ๑ ความไพบูลย์แห่งธรรม ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บรรดาความไพบูลย์ ๒ อย่าง ความไพบูลย์แห่งธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑๒
จบสันถารวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 487
สันถารวรรคที่ ๔๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑
วรรคที่ ๔ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๓๙๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การปูลาดด้วยปัจจัย โดยปกปิดช่องว่างคนและคนอื่น ชื่อว่า
อามิสสันถาร. การปูลาดด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมสันถาร.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๓๙๗) แปลกกันเพียงอุปสรรค
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๓๙๘) การหาอามิสมีประการดังกล่าวแล้ว
ชื่อว่า อามิสเอสนา. การหาธรรม ชื่อว่า ธรรมเอสนา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๓๙๙) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๔๐๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
๑. อรรถกถาแก้ไว้สั้น ๆ จึงเรียงติดต่อกันไปทั้งวรรค โดยลงเลขข้อสูตรกำกับไว้ด้วย.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 488
การแสวงหาอามิสถึงที่สุด ท่านเรียกว่า อามิสปริเยฏิ การ
แสวงหาธรรมถึงที่สุด ท่านเรียกว่า ธรรมปริเยฏิ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖
ในสูตรที่ ๖ (ข้อ ๔๐๑) การบูชาอามิส ชื่อว่า อามิสบูชา
การบูชาด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมบูชา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖
อรรถกถาสูตรที่ ๗
ในสูตรที่ ๗ (ข้อ ๔๐๒) บทว่า อติเถยฺยานิ ได้แก่ ทาน
เพื่อผู้จรมา (ของรับแขก) ปาฐะว่า อภิเถยฺยานิ ดังนี้ก็มี.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๗
อรรถกถาสูตรที่ ๘
ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๔๐๓ ) อามิสอิทธิ ชื่อว่า อามิสอิทธิ
ให้สำเร็จเสร็จสรรพ แม้ธรรมก็ชื่อว่า ธรรมอิทธิ เพราะให้สำเร็จ
เสร็จสรรพ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๔๐๔) ความเจริญด้วยอามิส ชื่อว่า อามิสวุฒิ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 489
ความเจริญด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมวุฒิ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๔๐๕) อามิสที่ทำให้เกิดความยินดี ชื่อว่า
อามิสรัตนะ ธรรม ชื่อว่า ธรรมรัตนะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑
ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๔๐๖) การสะสมเพิ่มพูนอามิส ชื่อว่า
อามิสสันนิจยะ การสะสมเพิ่มพูนธรรม ชื่อว่า ธรรมสันนิจยะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑๒
ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๔๐๗) ความไพบูลย์แห่งอามิส ชื่อว่า
อามิสเวปุลละ ความไพบูลย์แห่งธรรม ชื่อว่า ธรรมเวปุลละ แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒
จบสันถารวรรคที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 490
สมาปัตติวรรคที่ ๕
สูตรที่ ๑
[๔๐๘] ๑๖๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออก
จากสมาบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑
สูตรที่ ๒
[๔๐๙] ๑๖๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ซื่อตรง ๑ ความเป็นผู้อ่อนโยน ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๒
สูตรที่ ๓
[๔๑๐] ๑๖๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ขันติ ๑ โสรัจจะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง
นี้แล.
จบสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๔
[๔๑๑] ๑๖๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 491
เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ๑ การต้อนรับแขก ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๔
สูตรที่ ๕
[๔๑๒] ๑๖๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความไม่เบียดเบียน ๑ ความเป็นคนสะอาด ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๕
สูตรที่ ๖
[๔๑๓] ๑๖๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความ
เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๖
สูตรที่ ๗
[๔๑๔] ๑๖๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็น
ผู้รู้จักประมาณในการบริโภค ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง
นี้แล.
จบสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 492
สูตรที่ ๘
[๔๑๕] ๑๖๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ กำลังคือการพิจารณา ๑ กำลังคือการอบรม ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๘
สูตรที่ ๙
[๔๑๖] ๑๗๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ กำลังคือสติ ๑ กำลังคือสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๙
สูตรที่ ๑๐
[๔๑๗] ๑๗๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๐
สูตรที่ ๑๑
[๔๑๘] ๑๗๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ศีลวิบัติ ๑ ทิฏฐิวิบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 493
สูตรที่ ๑๒
[๔๑๙] ๑๗๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ศีลสมบัติ ๑ ทิฏฐิสมบัติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๒
สูตรที่ ๑๓
[๔๒๐] ๑๗๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ศีลบริสุทธิ์ ๑ ทิฏฐิบริสุทธิ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๓
สูตรที่ ๑๔
[๔๒๑] ๑๗๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ทิฏฐิบริสุทธิ์ ๑ ความเพียรที่สมควรแก่ทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๔
สูตรที่ ๑๕
[๔๒๒] ๑๗๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ยังไม่พอในกุศลธรรม ๑ ความเป็นผู้ไม่ท้อถอย
ในความเพียร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 494
สูตรที่ ๑๖
[๔๒๓] ๑๗๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความเป็นคนหลงลืมสติ ๑ ความไม่รู้สึกตัว ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๖
สูตรที่ ๑๗
[๔๒๔] ๑๗๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ สติ ๑ สัมปชัญญะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๗
จบสมาปัตติวรรคที่ ๕
จบตติยปัณณาสก์
สมาปัตติวรรค๑ที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๑
สมาปัตติวรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑ (ข้อ ๔๐๘) มีวินัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมาปตฺติกุสลตา ได้แก่ความเป็นผู้ฉลาดในการกำหนด
อาหารสัปปายะเข้าสมาบัติ. บทว่า สมาปตฺติวุฏฺานกุสลตา ความว่า
เมื่อได้เวลาตามกำหนดเป็นผู้ฉลาดออก. ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการออกจาก
๑. วรรคนี้ประกอบด้วยพระสูตร ๑๘ สูตร อรรถกถาแก้ไว้สั้น ๆ จึงลงติดต่อกันไปทั้งวรรค
โดยลงหัวข้อบาลีประจำสูตรประจำสูตรกำกับไว้ด้วย.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 495
สมาบัติ เพราะฉะนั้น ผู้นี้ชื่อว่าฉลาด ดังนี้.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๒
ในสูตรที่ ๒ (ข้อ ๔๐๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาชฺชว แปลว่า ความตรง. บทว่า มทฺทว แปลว่า
ความอ่อนโยน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๒
อรรถกถาสูตรที่ ๓
ในสูตรที่ ๓ (ข้อ ๔๐๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ขนฺติ ได้แก่ อธิวาสนขันติ. บทว่า โสรจฺจ ได้แก่
ความเรียบร้อย ความสงบเสงี่ยม.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๓
อรรถกถาสูตรที่ ๔
ในสูตรที่ ๔ (ข้อ ๔๑๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาขลฺย ได้แก่ ความชื่นชมโดยใช้วาจาอ่อนหวาน.
บทว่า ปฏิสนฺถาโร ได้แก่ การต้อนรับด้วยอามิสก็ตาม ด้วยธรรมก็ตาม
ชื่อว่าปฏิสันถาร.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 496
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ (ข้อ ๔๑๒) มีวินิจฉัยต่อไปนี้.
บทว่า อวิหึสา ได้แก่ธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้นของกรุณา. บทว่า
โสเจยฺย ได้แก่ ความสะอาดโดยศีล.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๖ - ๗
ในสูตรที่ ๖ และสูตรที่ ๗ (ข้อ ๔๑๓ - ๔๑๔) มีเนื้อความง่าย
ทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๖ - ๗
อรรถกถาสูตร ๘
ในสูตรที่ ๘ (ข้อ ๔๑๕) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิสงฺขานพลได้เเก่ กำลังคือการพิจารณา.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๘
อรรถกถาสูตรที่ ๙
ในสูตรที่ ๙ (ข้อ ๔๑๖) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า กำลังคือสติ เพราะเมื่อหลงลืมสติ ก็ไม่หวั่นไหว. ชื่อว่า
กำลังคือสมาธิ เพราะเมื่อฟุ้งซ่าน ก็ไม่หวั่นไหว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๙
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ (ข้อ ๔๑๗) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 497
บทว่า สมโถ ได้แก่ ความที่จิตแน่วแน่. บทว่า วิปสฺสนา
ได้แก่ ญาณกำหนดสังขารเป็นอารมณ์.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
อรรถกถาสูตรที่ ๑๑
ในสูตรที่ ๑๑ (ข้อ ๔๑๘) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สีลวิปตฺติ ได้แก่ ความทุศีล. บทว่า ทิฏฺิวิปตฺติ
ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑๒
ในสูตรที่ ๑๒ (ข้อ ๔๑๙) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สีลสมฺปทา ได้แก่ ความมีศีลบริบูรณ์. บทว่า ทิฏฺิ-
สมฺปทา ได้แก่ความเป็นสัมมาทิฏฐิ. ด้วยบทนั้น สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งปวง
ที่สงเคราะห์ด้วยสัมมาทิฏฐิ คือ กัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิ ฌานสัมมาทิฏฐิ
วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ มัคคสัมมาทิฏฐิ ผลสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่า สัมมาทิฏิ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒
อรรถกถาสูตรที่ ๑๓
ในสูตรที่ ๑๓ (ข้อ ๔๒๐) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สีลวิสุทฺธิ ได้แก่ ศีลที่บ่มวิสุทธิ. บทว่า ทิฏฺิวิสุทฺธิ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 498
ได้แก่สัมมาทิฏฐิในมรรคทั้ง ๔ ที่บ่มวิสุทธิ หรือสัมมาทิฏฐิทั้ง ๕ อย่าง.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๓
อรรถกถาสูตรที่ ๑๔
ในสูตรที่ ๑๔ (ข้อ ๔๒๑) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทิฏฺิวิสุทฺธ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิที่บ่มวิสุทธินั่นแล. บทว่า
ยถา ทิฏฺิสฺส จ ปธาน ความว่า ความเพียรที่สัมปยุตด้วยมรรคเบื้อง
ต่ำนั้น ท่านกล่าวว่า ยถา ทิฏฺสฺส จ ปธาน เพราะอนุรูปแก่
ทิฏฐินั้น.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๔
อรรถกถาสูตรที่ ๑๕
ในสูตรที่ ๑๕ (ข้อ ๔๒๒) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อสนฺตุฏฺิตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ความเป็นผู้
ไม่สันโดษในกุศลธรรมทั้งหลาย นอกจากอรหัตมรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๕
อรรถกถาสูตรที่ ๑๖
ในสูตรที่ ๑๖ (ข้อ ๔๒๓) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มุฏฺสจฺจ แปลว่า ความเป็นผู้หลงลืมสติ. บทว่า อสมฺ-
ปชฺ ได้แก่ ความไม่รู้ตัว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 499
อรรถกถาสูตรที่ ๑๗
ในสูตรที่ ๑๗ (ข้อ ๔๒๔) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
สติ มีใจไม่ลอยเป็นลักษณะ. สัมปชัญญะ มีรู้สึกตัวเป็นลักษณะ.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๗
จบสมาปัตติวรรคที่ ๕
จบตติยปัณณาสก์
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 500
พระสูตรที่ไม่จัดเข้าในปัณณาสก์
[๔๒๕] ๑๗๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธไว้ ๑... ความลบหลู่คุณท่าน ๑
ความตีเสมอ ๑... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑... มายา ๑ โอ้อวด ๑...
ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้แล.
[๔๒๖] ๑๘๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง
เป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความไม่
ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่
ตระหนี่ ๑ ... ความไม่มายา ๑ ความไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตัปปะ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.
[๔๒๗ ] ๑๘๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
๒ ประการ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความ
โกรธ ๑ ความผูกโกรธไว้ ๑... ความลบหลู่คุณท่าน ๑ ความตีเสมอ ๑...
ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑... มายา ๑ โอ้อวด ๑... ความไม่ละอาย ๑
ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
๒ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์.
[๔๒๘] ๑๘๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
๒ ประการ ย่อมอยู่เป็นสุข ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความไม่
โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่
ตีเสมอ . ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ความไม่มายา ๑
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 501
ความไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ผู้ประกอยด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นสุข.
[๔๒๙] ๑๘๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ เป็นไป
เพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความ
โกรธ ๑ ความผูกโกรธไว้ ๑ ... ความลบหลู่คุณท่าน ๑ ความตีเสมอ
๑ ... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ... มายา ๑ โอ้อวด ๑ ... ความ
ไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง
นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุที่ยังเป็นเสขะ.
[๔๓๐] ๑๘๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อม
เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน
คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความไม่ลบหลู่คุณ
ท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑... ความไม่ตระหนี่ ๑ ...
ความไม่มายา ความไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตัตปปะ ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุที่
ยังเป็นเสขะ.
[๔๓๑] ๑๘๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
๒ ประการ ตั้งอยู่ในนรกเหมือนดังถูกนำมาฝังไว้ ธรรม ๒ ประการเป็น
ไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูก โกรธไว้ ๑... ความลบหลู่คุณท่าน ๑
ความตีเสมอ ๑ ... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ... มายา ๑ โอ้อวด
๑... ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาฝังไว้.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 502
[๔๓๒] ๑๘๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม
๒ ประการ ตั้งอยู่ในสวรรค์เหมือนดังถูกนำมาตั้งลงไว้ ธรรม ๒ ประ-
การเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ .... ความไม่
ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่
ตระหนี่ ๑... ไม่มายา ๑ ไม่โอ้อวด ๑... หิริ ๑ โอตัตปปะ ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล ตั้งอยู่ในสวรรค์
เหมือนถูกนำมาตั้งลงไว้.
[๔๓๓] ๑๘๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูก
โกรธไว้ ๑ ... ความลบหลู่คุณท่าน ๑ ความตีเสมอ ๑ ... ความริษยา ๑
ความตระหนี่ ๑... มายา ๑ โอ้อวด ๑ ... ความไม่ละอาย ๑ ความ
ไม่เกรงกลัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบ
ด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก.
[๔๓๔] ๑๘๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑....
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความ
ไม่ตระหนี่ ๑ ... ไม่มายา ๑ ไม่โอ้อวด ๑.... หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง
นี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 503
[๔๓๕] ๑๘๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้เป็น
อกุศล... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้เป็นกุศล... ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีโทษ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้ไม่มีโทษ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีทุกข์เป็น
กำไร... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีสุขเป็นกำไร... ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาน ธรรม ๒ อย่างนี้มีทุกข์เป็นวิบาก... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม ๒ อย่างนี้มีสุขเป็นวิบาก... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
ไม่มีความเบียดเบียน ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑
ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑... ความไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑...
ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑... ไม่มายา ๑ ไม่โอ้อวด ๑...
หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ไม่มี
ความเบียดเบียน.
[๔๓๖] ๑๙๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ อย่างนี้ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อำนาจประโยชน์
๒ อย่างเป็นไฉน คือ เพื่อความดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่ง
สงฆ์ ๑.... เพื่อความข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีล
เป็นที่รัก ๑.... เพื่อป้องกันอาสวะอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๒ เพื่อกำจัด
อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑... เพื่อป้องกันเวรอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดเวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑... เพื่อป้องกันโทษอันจักบังเกิด
ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดโทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑... เพื่อป้องกันภัย
อันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ...
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 504
เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอกุศลธรรม
อันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่ออนุเคราะห์แก่คฤหัสถ์ ๑ เพื่อเข้าไป
ตัดรอนฝักฝ่ายของภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก ๑ ... เพื่อความเลื่อมใส
ของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ๑ ...
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่างนี้แล พระตถาคต
จึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก.
[๔๓๗] ๑๙๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ อย่างนี้ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติปาติโมกข์แก่สาวก... ทรงบัญญัติ
ปาติโมกขุทเทส... ทรงบัญญัติการตั้งปาติโมกข์... ทรงบัญญัติปวารณา...
ทรงบัญญัติการตั้งปวารณา... ทรงบัญญัติตัชชนียกรรม... ทรงบัญญัติ
นิยัสสกรรม... ทรงบัญญัติปัพพาชนียกรรม... ทรงบัญญัติปฎิสารณี-
กรรม... ทรงบัญญัติอุกเขปนียกรรม... ทรงบัญญัติการให้ปริวาส...
ทรงบัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม... ทรงบัญญัติการให้มานัต... ทรง
บัญญัติอัพภาน... ทรงบัญญัติการเรียกเข้าหมู่... ทรงบัญญัติการขับออก
จากหมู่... ทรงบัญญัติการอุปสมบท... ทรงบัญญัติญัตติกรรม... ทรง
บัญญัติญัตติทุติยกรรม... ทรงบัญญัติติจตุตถกรรม ... ทรงบัญญัติ
สิกขาบทที่ยังไม่ได้ทรงบัญญัติ ... ทรงบัญญัติเพิ่มเติมในสิกขาบทที่ทรง
บัญญัติไว้แล้ว... ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย... ทรงบัญญัติสติวินัย... ทรง
บัญญัติอมุฬหวินัย... ทรงบัญญัติปฏิญญาตกรณะ ... ทรงบัญญัติเยภุยย-
สิกา... ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา... ทรงบัญญัติติณวัตถารกวินัย อำนาจ
ประโยชน์ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ เพื่อความดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 505
สำราญแห่งสงฆ์ ๑... เพื่อความข่มขู่บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญ
แห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑... เพื่อป้องกันอาสวะอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑... เพื่อป้องกันเวรอันจักบังเกิด
ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดเวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑... เพื่อป้องกัน
โทษอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด โทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑...
เพื่อป้องกันภัยอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิด
ในอนาคต ๑... เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่ออนุเคราะห์แก่
คฤหัสถ์ ๑ เพื่อเข้าไปตัดรอนฝักฝ่ายของภิกษุที่มีความปรารถนาลามก ๑...
เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่
เลื่อมใสแล้ว ๑... เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์
พระวินัย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่าง
นี้แล พระตถาคตจึงทรงบัญญัติติณวัตถารกวินัยไว้แก่สาวก.
[๔๓๘] ๑๙๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่ง
ราคะ จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่าง ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑
วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งราคะ จึงควร
อบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อกำหนดรู้ราคะ...
เพื่อความสิ้นไปรอบแห่งราคะ.... เพื่อละราคะเด็ดขาด... เพื่อความสิ้นไป
แห่งราคะ.... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ... เพื่อความสำรอกราคะ ...
เพื่อความดับสนิทแห่งราคะ.... เพื่อสละราคะ.... เพื่อปล่อยราคะเสีย จึง
ควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล.
[๔๓๙] ๑๙๓. เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง... เพื่อกำหนดรู้... เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 506
ความสิ้นไปรอบ... เพื่อสละ... เพื่อความสิ้นไป... เพื่อความเสื่อมไป
เพื่อความสำรอก... เพื่อความดับสนิท... เพื่อสละ.... เพื่อปล่อยวางซึ่ง
โทสะ... ซึ่งโมหะ... ซึ่งความโกรธ... ความผูกโกรธไว้... ซึ่งการ
ลบหลู่คุณท่าน... ซึ่งการดีเสมอ... ซึ่งความริษยา... ซึ่งความตระหนี่
ซึ่งมายา... ซึ่งความโอ้อวด... ซึ่งความหัวดื้อ... ซึ่งความแข่งดี...
ซึ่งการถือตัว... ซึ่งการดูหมิ่นท่าน... ซึ่งความมัวเมา ... ซึ่งความ
ประมาท... จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล.
จบทุกนิบาต
อรรถกถาแห่งพระสูตรที่ไม่สงเคราะห์ลงในปัณณาสก์๑
(ข้อ ๔๒๕ - ๔๓๙)
ในบทอื่น ๆ จากนี้ โกธะ มีโกรธเป็นลักษณะ อุปนาหะ
มีคุมแค้นเป็นลักษณะ มักขะ มีลบหลู่การกระทำที่ท่านทำดีแล้วเป็น
ลักษณะ ปฬาสะ มีเทียบคู่เป็นลักษณะ อิสสา มีริษยาเป็นลักษณะ
ความเป็นผู้ตระหนี่ ชื่อว่า มัจฉริยะ ทั้งหมดนั้น มีเห็นแก่ตัวเป็นลักษณะ
มายา มีปกปิดสิ่งที่ทำไว้เป็นลักษณะ สาไถย มีตีสองหน้าเป็นลักษณะ
อาการคือความไม่ละอาย ชื่อว่า อหิริกะ อาการคือความไม่กลัวแต่ความ
ติเตียน ชื่อว่า อโนตตัปปะ ธรรมมีอักโกธะเป็นต้น พึงทราบว่าตรง
กันข้ามกับอุปกิเลสเหล่านั้น.
บทว่า เสกฺขสฺส ภิกฺขุโน ความว่า ธรรม ๒ อย่าง ย่อมเป็นไป
เพื่อความเสื่อมจากคุณสูง ๆ ขึ้นไป ของพระเสขะทั้ง ๗ จำพวก แต่ย่อม
๑. บาลีข้อ ๔๒๕ - ๔๓๘ อรรถกถาแก้รวม ๆ กันไป ไม่ได้แบ่งเป็นสูตร.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 507
เป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งปุถุชนผู้หนักในพระสัทธรรมเหมือนกัน บัณฑิต
พึงทราบ ดังนี้. บทว่า อปริหานาย ความว่า เพื่อความไม่เสื่อมจากคุณ
สูง ๆ ในรูป.
ในบทว่า ยถาภต นิกฺขิตฺโต นี้ พึงทราบควานว่าอยู่ในนรกทีเดียว
เหมือนถูกนำมาเก็บไว้.
บทว่า เอกจฺโจ ความว่า ความโกรธเป็นต้นเหล่านี้มีอยู่แก่ผู้ใด
ผู้นั้นชื่อว่าบางคน. บทว่า สาวชฺชา ได้แก่ มีโทษ. บทว่า อนวชฺชา
ได้แก่ ไร้โทษ. บทว่า ทุกฺขุทฺรยา ได้แก่ มีทุกข์เป็นกำไร. บทว่า
สุขุทฺรยา ได้แก่ มีสุขเป็นกำไร. บทว่า สพฺยาปชฺฌา ได้แก่ มีทุกข์.
บทว่า อพฺยาปชฺณา ได้แก่ ไร้ทุกข์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะและ
วิวัฏฏะนั่นเทียว ด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ .
บทว่า เทวฺเม ภิกฺขเว อตฺถวเส ปฏิจฺจ ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ตถาคตอาศัยผลทั้งสองเหตุทั้งสอง. บทว่า สิกฺขาปทปญฺตฺต
ความว่า ทรงบัญญัติส่วนแห่งสิกขา. บทว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย ความว่า
เพื่อให้สงฆ์รับว่าดี อธิบายว่า เพื่อสงฆ์กล่าวรับว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า.
บทว่า สงฺฆผาสุตาย ความว่า เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์. บทว่า
ทุมฺมงฺกูน ได้แก่ คนทุศีล. บทว่า เปสลาน ได้แก่ คนมีศีลเป็นที่รัก.
บทว่า ทิฏฺธมฺมิกาน อาสวาน ความว่า ซึ่งอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ
ทุกขธรรมมีการฆ่า การจองจำ และการติเตียนเป็นต้น ที่จะพึงได้รับ
เพราะการล่วงละเมิดเป็นเหตุ ในปัจจุบัน คือในอัตภาพนี้แหละ. บทว่า
สวราย ได้แก่ เพื่อปิดกั้น. บทว่า สมฺปรายิกาน ความว่า ซึ่งอาสวะ
ที่เกิดในสัมปรายภพ กล่าวคือทุกข์ที่เป็นไปในอบาย เห็นปานนั้นทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 508
บทว่า ปฏิฆาตาย ได้แก่ เพื่อกำจัด. บทว่า เวราน ได้แก่ อกุศล
ที่เป็นเวรบ้าง บุคคลที่มีเวรกันบ้าง. บทว่า รชฺชาน ได้แก่ โทษทั้ง-
หลาย. อีกอย่างหนึ่ง ทุกขธรรมเหล่านั้นแหละประสงค์เอาว่า วชฺช คือ โทษ
ในที่นี้ เพราะเป็นสิ่งจำต้องเว้น . บทว่า ภยาน ได้แก่ ภัย คือจิต
หวาดสะดุ้งบ้าง ทุกขธรรมเหล่านั้นแหละที่เป็นเหตุแห่งภัยบ้าง. บทว่า
อกุสลาน ได้แก่ ทุกขธรรมทั้งหลาย กล่าวคืออกุศล เพราะอรรถว่า ไม่
เกษม. บทว่า คิหีน อนุกมฺปาย ความว่า สิกขาบทที่ทรงบัญญัติเมื่อ
พวกคฤหัสถ์กล่าวโทษ ชื่อว่าทรงบัญญัติ เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ทั้งหลาย
บทว่า ปาปิจฺฉานปกฺขุปจฺเฉทนตฺถาย ความว่า เพื่อตัดพรรคพวกของเหล่า
ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกซึ่งคิดว่าพวกเราอาศัยพรรคพวกทำลายสงฆ์
บทว่า อปฺปสนฺนาน ปสาทาย ความว่า เพื่อให้เกิดความเลื่อมใส
เพราะได้เห็นความถึงพร้อมแห่งการบัญญัติสิกขาบท ของมนุษย์บัณฑิต
แม้ยังไม่เลื่อมใสมาก่อน. บทว่า ปสนฺนาน ภิยฺโยภาวาย ความว่า
เพื่อให้ผู้เลื่อมใสแล้วเลื่อมใสยิ่ง ๆ ขึ้น. บทว่า สทฺธมฺมฏฺิติยา ความ
ว่า เพื่อให้พระสัทธรรมดำรงอยู่นาน. บทว่า วินยานุคฺคหาย ความว่า
เพื่ออนุเคราะห์พระวินัยทั้ง ๕ อย่าง.
บทว่า ปาฏิโมกฺข ปญฺตฺต ความว่า ทรงบัญญัติปาติโมกข์
ทั้งสองอย่าง คือ ภิกขุปาติโมกข์ ภิกขุนีปาติโมกข์. บทว่า ปาฏิโมกฺ-
ขุทฺเทสา ความว่า ทรงบัญญัติปาติโมกขุทเทส ๙ คือ สำหรับภิกษุ ๕
สำหรับภิกษุณี ๔. บทว่า ปาฏิโมกฺขฏฺปน ได้แก่ งดอุโบสถ (หยุด
สวดปาติโมกข์เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน). บทว่า ปวารณา ปญฺตฺตา ความว่า
ทรงบัญญัติปวารณา ๒ คือปวารณาวัน ๑๔ ค่ำ ปวารณาวัน ๑๕ ค่ำ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 509
บทว่า ปวารณาฏฺปน ปญฺตฺต ความว่า ทรงบัญญัติการงดปวารณา
เมื่อภิกษุมีอาบัติสวดญัตติปวารณา.
ในตัชชนียกรรมเป็นต้น เมื่อภิกษุทั้งหลายทิ่มแทงกันด้วยหอกคือ
วาจา ทรงบัญญัติตัชชนียกรรมแก่เหล่าภิกษุพวกปัณฑุกะและพวกโลหิตกะ.
ทรงบัญญัตินิยัสสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะผู้เป็นพาลไม่ฉลาด. ทรงปรารภ
ภิกษุพวกอัสสชิปุนัพพสุกะผู้ประทุษร้ายตระกูล บัญญัติปัพพาชนียกรรม.
ทรงบัญญัติปฏิสารณียกรรมแก่พระสุธรรมเถระผู้ด่าพวกคฤหัสถ์ ทรง
บัญญัติอุกเขปนียกรรม ในเพราะไม่เห็นอาบัติเป็นต้น.
ทรงบัญญัติการให้ปริวาส เพื่ออาบัติที่ปกปิดไว้สำหรับภิกษุผู้ต้อง
ครุกาบัติ ทรงบัญญัติมูลายปฏิกัสสนะ แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติในระหว่างอยู่
ปริวาส. ทรงบัญญัติการให้มานัตเพื่ออาบัติที่ปกปิดก็ดี ที่มิได้ปกปิดก็ดี.
ทรงบัญญัติอัพภานเเก่ภิกษุผู้ประพฤติมานัตแล้ว.
ทรงบัญญัติโอสารณียกรรมแก่อุปสัมปทาเปกขะผู้ปฏิบัติถูกระเบียบ.
ทรงบัญญัตินิสสารณียกรรมในเพราะปฏิบัติไม่ถูกระเบียบเป็นต้น .
ทรงบัญญัติอุปสัมปทา ๘ อย่าง คือ ๑. เอหิภิกษุอุปสัมปทา
๒. สรณคมนอุปสัมปทา ๓. โอวาทอุปสัมปทา ๔. ปัญหาพยากรณ-
อุปสัมปทา ๕. ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา ๖. ครุธรรมอุปสัมปทา
๗. อุภโตสังเฆอุปสัมปทา ๘. ทูเตนอุปสัมปทา.
ทรงบัญญัติกรรมซึ่งประกอบด้วยชานะ ๙ อย่างนี้ว่า ญัตติกรรม
ย่อมถึงฐานะ ๙ ดังนี้. ทรงบัญญัติญัตติทุติยกรรม ซึ่งประกอบด้วยฐานะ
๗ อย่างนี้ว่า ญัตติทุติยกรรมย่อมถึงฐานะ ๗ ดังนี้ . ทรงบัญญัติญัตติ-
จตุตถกรรมซึ่งประกอบด้วยฐานะ ๗ เหมือนกันอย่างนี้ว่า ญัตติจตุตถ-
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 510
กรรมย่อมถึงฐานะ ๗ ดังนี้ .
เมื่อยังมิได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ก่อน พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบท
มีปฐมปาราชิกเป็นต้น ชื่อว่าปฐมบัญญัติ. เมื่อทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว
ทรงบัญญัติเพิ่มสิกขาบทเหล่านั้นแหละ ชื่อว่าอนุบัญญัติ.
ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ซึ่งประกอบด้วยความพร้อมหน้า ๔ อย่างนี้
คือ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าสงฆ์
ความพร้อมหน้าบุคคล. ทรงบัญญัติสติวินัย เพื่อมิให้โจทพระขีณาสพ
ผู้มีสติไพบูลย์. ทรงบัญญัติอมุฬหวินัยสำหรับ ภิกษุบ้า. ทรงบัญญัติปฏิญ-
ญาตกรณะ เพื่อไม่ปรับอาบัติแก่ภิกษุที่ถูกโจทโดยไม่ปฏิญญา. ทรงบัญญัติ
เยภุยยสิกา เพื่อระงับอธิกรณ์ โดยถือความเห็นของพวกธรรมวาทีที่มาก
กว่า. ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา เพื่อข่มบุคคลมีบาปมาก. ทรงบัญญัติ
ติณวัตถารกะ เพื่อระงับอาบัติที่เหลือลง นอกจากอาบัติที่มีโทษหนักและ
ที่เกี่ยวข้องคฤหัสถ์ แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ เพราะประพฤติเรื่องไม่สมควร
แก่สมณเพศเป็นอันมาก เช่นทะเลาะกันเป็นต้น .
บทว่า ราคสฺส ภิกฺขเว อภิญฺาย ความว่า เพื่อรู้ชัด คือทำ
ให้ประจักษ์ ซึ่งราคะที่เป็นไปในกามคุณ ๕ นั่นแล. บทว่า ปริญฺญาย
ได้แก่ เพื่อกำหนดรู้. บทว่า ปริกฺขยาย ได้แก่ เพื่อถึงความสิ้นสุด.
บทว่า ปหานาย ได้แก่ เพื่อละ. บทว่า ขยวยาย ได้แก่ เพื่อถึง
ความสิ้นไปเสื่อมไป. บทว่า วิราคาย ได้แก่ เพื่อคลายกำหนัด. บทว่า
นิโรธาย ได้แก่ เพื่อดับ. บทว่า จาคาย ได้แก่ เพื่อสละ. บทว่า
ปฏินิสฺสคฺคาย ได้แก่ เพื่อสละคืน.
บทว่า ถมฺภสฺส ได้แก่ ความกระด้าง เพราะอำนาจความโกรธและ
พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 511
มานะ. บทว่า สารมฺภสฺส ได้แก่ ความแข่งดี มีลักษณะทำเกินกว่า
เหตุ. บทว่า มานสฺส ได้แก่ มานะ ๙ อย่าง. บทว่า อติมานสฺส
ได้แก่ ถือตัวสำคัญว่าเหนือเขา (ดูหมิ่นท่าน). บทว่า มทสฺส ได้แก่
ความเมาคืออาการเมา. บทว่า ปมาทสฺส ได้แก่ ปราศจากสติ หรือ
ปล่อยใจไปในกามคุณ ๕. บทที่เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบมโนรถปูรณี
อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต