ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

สังยุตตนิกาย มหาวาราวรรค

เล่มที่ ๕ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มัคคสังยุต

อวิชชาวรรคที่ ๑

๑. อวิชชาสูตร

ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูล

รับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

[๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรม

ให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความ

เห็นผิด ย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบด้วยอวิชชา ความดำริผิดย่อมเกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

มีแก่ผู้มีความเห็นผิด เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด การงานผิด

ย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด พยายาม

ผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด ตั้งใจผิด

ย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด.

[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศล-

ธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความ

เห็นชอบ ย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบย่อมเกิด

มีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ การงาน

ชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ

พยายามชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ

ตั้งใจชอบย่อมบังเกิดมีแก่ผู้มีระลึกชอบ.

จบอวิชชาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

อรรถกถามัคคสังยุต ในมหาวารวรรค

อวิชชาวรรคที่ ๑

อรรถกถาอวิชชาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอวิชชาสูตรที่ ๑ แห่งมหาวรรค.*

บทว่า ปุพฺพงฺคมา ได้แก่ เป็นหัวหน้าด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ

ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย ๑ ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย ๑. บทว่า สมาปตฺติยา

ความว่า เพื่อการเข้าถึง เพื่อการได้สภาพ เพื่อความเกิดขึ้น. บทว่า

อนฺวเทว อหิริก อโนตฺตปฺป ความว่า ก็อหิริกะ ตั้งอยู่ด้วยอาการ

แห่งความไม่ละอาย และอโนตตัปปะ ตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความไม่กลัวนั่นใด

อวิชชานี้นั้น ย่อมเกิดขึ้นร่วมกับอหิริกะและอโนตตัปปะนั้น เว้นอหิริกะ

และอโนตตัปปะนั้นเสียหาเกิดขึ้นได้ไม่. บทว่า อวิชฺชาคตสฺส ความว่า

มิจฉาทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ผู้เข้าถึง คือประกอบด้วยอวิชชา. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิ

ได้แก่ความไม่เห็นตามเป็นจริง คือความไม่เห็นธรรมเครื่องนำสัตว์ให้พ้นทุกข์.

บทว่า ปโหติ คือย่อมมี ได้แก่ย่อมเกิดขึ้น. แม้ในมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น พึง

ทราบความเป็นมิจฉาด้วยสามารถความไม่จริง และไม่นำสัตว์ให้พ้นทุกข์นั่นแล.

ชื่อว่า องค์แห่งความเป็นมิจฉาเหล่านี้ ย่อมมี เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอกุศล

ธรรม ๘ ด้วยประการฉะนี้. ส่วนองค์แห่งมิจฉัตตะทั้งหลายเหล่านั้นทั้งหมด

ย่อมไม่เกิดในขณะเดียวกัน ย่อมเกิดในขณะต่าง ๆ กัน. ถามว่า อย่างไร.

ตอบว่า เมื่อใด จิตประกอบด้วยทิฏฐิ เมื่อยังกายวิญญัติให้ตั้งขึ้นย่อมเกิด

เมื่อนั้น ก็ย่อมมีองค์ ๖ คือ มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) มิจฉาสังกัปปะ

* บาลีเป็น มหาวารวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

(ความดำริผิด) มิจฉาวายามะ (ความพยายามผิด) มิจฉาสติ (ความระลึกผิด)

มิจฉาสมาธิ (ความตั้งใจผิด) มิจฉากัมมันตะ (การงานผิด). เมื่อใด จิต

ไม่ประกอบด้วยทิฏฐิ เมื่อนั้นมีองค์ ๕ เว้นมิจฉาทิฏฐิ. เมื่อใดสององค์

เหล่านั้นแล ย่อมยังวจีวิญญัติให้ตั้งขึ้น เมื่อนั้น ย่อมมีองค์ ๖ หรือองค์ ๕

ตั้งอยู่ในมิจฉาวาจา ในฐานะมิจฉากัมมันตะ ชื่อว่า อาชีวะนี้ เมื่อกำเริบ

ย่อมกำเริบในกายทวารและวจีทวารในทวารใดทวารหนึ่งเท่านั้น หากำเริบใน

มโนทวารไม่. เพราะฉะนั้น องค์ ๖ หรือองค์ ๕ เหล่านั้นแล ย่อมมีด้วย

อำนาจ มิจฉาชีวะว่า เมื่อใด จิตเหล่านั้นแล ย่อมยังกายวิญญัติและวจีวิญญัติ

ให้ตั้งขึ้น โดยมุ่งถึงอาชีวะ เมื่อนั้น กายกรรม จึงชื่อว่า มิจฉาชีวะ วจีกรรม

ก็อย่างนั้น. ก็เมื่อใดจิตเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะไม่ยังวิญญติให้ตั้งขึ้น

เมื่อนั้นย่อมมีองค์ ๕ ด้วยสามารถแห่งมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉา-

วายามะ มิจฉาสติ และมิจฉาสมาธิ หรือองค์ ๔ ด้วยสามารถแห่งมิจฉา

สังกัปปะเป็นต้น ดังนั้น องค์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมไม่เกิดในขณะเดียวกัน

ทั้งหมด ย่อมเกิดในขณะต่าง ๆ กันอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

ในสุกกปักข์ บทว่า วิชฺชา ได้แก่ รู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ

ตน. แม้ในวิชชานี้ พึงทราบความที่วิชชาเป็นหัวหน้า โดยอาการ ๒ คือ

ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย ๑ ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย ๑. บทว่า หิโรตฺตปฺป

ได้แก่ ความละอายบาป และความกลัวบาป. ในธรรม ๒ อย่างนั้น หิริ

ตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความละอาย โอตตัปปะ ตั้งอยู่ด้วยอาการแห่งความกลัว.

นี้เป็นความสังเขปในข้อนี้. ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวในวิสุทธิมรรคแล้ว

แล. บทว่า วิชฺชาคตสฺส ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ย่อมเกิดมีแก่ผู้เข้าถึงคือ

ประกอบด้วยวิชชา. บทว่า วิทฺทสุโน ได้แก่ ผู้รู้แจ้งคือบัณฑิต. บทว่า

สมฺมาทิฏิ ได้แก่ความเห็นตามเป็นจริง คือความเห็นนำสัตว์ให้พ้นทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

แม้ในสัมมากัมมันตะเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. องค์ ๘ เหล่านี้ย่อมมีเพื่อ

ความเกิดแห่งกุศลธรรมด้วยประการฉะนี้. องค์แม้ ๘ เหล่านั้น ย่อมไม่เกิด

พร้อมกันในขณะแห่งโลกิยมรรค แต่ย่อมเกิดพร้อมกันในขณะแห่งโลกุตร-

มรรค. ก็แลองค์ ๘ เหล่านั้น ย่อมมีในมรรคอันประกอบด้วยปฐมฌาน ส่วน

ในมรรคอันประกอบด้วยทุติยฌานเป็นต้น ย่อมมีองค์ ๗ เท่านั้น เว้นสัมมา

สังกัปปะ.

ในองค์ ๗ เหล่านั้น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เพราะในมหาสฬายตน

สูตร ในมัชฌิมนิกาย ท่านกล่าวว่า ความเห็นของผู้เป็นอย่างนั้น อันใด

ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาทิฏฐิของผู้นั้น ความดำริของผู้เป็นอย่างนั้น

อันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะของผู้นั้น ความพยายาม

ของผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาวายามะของผู้นั้น

ความระลึกของผู้เป็นอย่างนั้น อันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสติ

ของผู้นั้น. ความตั้งใจมั่นของผู้เป็นอย่างนั้นอันใด ความเห็นอันนั้น ย่อมเป็น

สัมมาสมาธิของผู้นั้น. ก็แล ในเบื้องต้นกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของ

ผู้นั้น ก็ย่อมบริสุทธิ์ด้วยดี ดังนี้. ฉะนั้น โลกุตรมรรค ก็ย่อมประกอบ

ด้วยองค์ ๕ เท่านั้นดังนี้. ผู้นั้นพึงถูกเขาต่อว่า ในสูตรนั้นแลว่า เพราะเหตุไร

ท่านจึงไม่เห็นคำนี้ว่า อริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ย่อมถึงความ

เจริญเต็มที่แก่ภิกษุนั้นอย่างนี้ ดังนี้. ส่วนข้อที่ท่านกล่าวว่า ปุพฺเพว โข

ปนสฺส นั้น ท่านกล่าวแล้วเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ จำเดิมแต่วันที่บวชแล้ว

ในข้อนี้ท่านแสดงความหมายไว้ดังนี้ว่า ก็จำเดิมแต่วันที่บวชแล้ว กายกรรม

เป็นต้นอันบริสุทธิ์ ย่อมบริสุทธิ์ ยิ่งนัก ในขณะแห่งโลกุตรมรรคดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

แม้คำใด อันท่านกล่าวในอภิธรรมว่า ก็ในสมัยนั้นแล มรรคย่อม

ประกอบด้วยองค์ ๕ คำนั้นท่านกล่าวเพื่อแสดงในระหว่างกิจอย่างหนึ่ง. ก็ใน

กาลใด บุคคลละการงานผิดแล้ว ย่อมยังการงานที่ชอบให้บริบูรณ์ในกาลนั้น.

มิจฉาวาจา หรือมิจฉาชีวะ ย่อมไม่มี สัมมากัมมันตะ ย่อมให้

บริบูรณ์ในองค์ที่เป็นตัวการทั้งหลาย ๕ เหล่านี้คือ ทิฏฐิ ๑ สังกัปปะ ๑

วายามะ ๑ สติ ๑ สมาธิ ๑. ก็สัมมากัมมันตะ ชื่อว่า ย่อมให้บริบูรณ์ได้

ด้วยสามารถแห่งวิรัติ แม้ในสัมมาวาจาและสัมมาอาชีวะ ก็มีนัยนี้แล. คำอัน

ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ เพื่อแสดงในระหว่างกิจนี้. ส่วนในขณะแห่งโลกิยมรรค

ย่อมมีองค์ ๕ แน่. แต่วิรัติไม่แน่ เพราะฉะนั้น ท่านไม่กล่าวว่าองค์ ๖

แต่กล่าวว่า มีองค์ ๕ เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. ก็บัณฑิตพึงทราบว่า

โลกุตรมรรค ย่อมมีองค์ ๘ เพราะความสำเร็จแห่งสัมมากัมมันตะเป็นต้น

เป็นองค์แห่งโลกุตรมรรค ในสูตรหลายสูตรมีมหาจัตตทาฬีสกสูตรเป็นต้น

อย่างนี้ว่า ก็ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีจิตเป็นอริยะ หาอาสวะมิได้

พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ การงด การเว้น การเว้นขาด

จากกายทุจริต ๓ คือเจตนาเครื่องงดเว้นไม่กระทำ การไม่ทำอันใด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะนี้ ย่อมเป็นโลกุตรมรรค เป็นอริยะหาอาสวะ

มิได้ ดังนี้. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมรรคมีองค์ ๘ นี้ เจือ

ด้วยโลกิยและโลกุตระ.

จบอรรคกถาอวิชชาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

๒. อุปัฑฒสูตร

ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นพรหมจรรย์

[๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสักยะ ชื่อ

สักกระ ในแคว้นสักกะของชาวศากยะทั้งหลาย ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นกึ่งหนึ่งแห่ง

พรหมจรรย์เทียวนะ พระเจ้าข้า.

[๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้กล่าว

อย่างนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น ก็ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี

นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว ดูก่อนอานนท์ อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี

มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระ

ทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.

[๖] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อม

เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญ

สัมมาสังกัปปะ. . . สัมมาวาจา. . . สัมมากัมมันตะ. . . สัมมาอาชีวะ. . .

สัมมาวายามะ . . . สัมมาสติ. . . สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำได้มากซึ่งอริย-

มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

[๗] ดูก่อนอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อน

ดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ด้วยว่าเหล่า

สัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้น

ไปจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ดูก่อนอานนท์

ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว

นั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล.

จบอุปัฑฒสูตรที่ ๒

อรรถกถาอุปัฑฒสูตร

อุปัฑฒสูตรที่ ๒ กล่าวไว้แล้วในโกสลสังยุตนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

๓. สารีปุตตสูตร

ความเป็นผู้มีมิตรดี

[๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นเทียวนะ

พระเจ้าข้า.

[๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถูกละ ถูกละ สารีบุตร ความเป็น

ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ดูก่อนสารีบุตร

ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๐] ดูก่อนสารีบุตร ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อม

เจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป

ในการสละ ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญ

อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วย

องค์ ๘ อย่างนี้แล.

[๑๑] ดูก่อนสารีบุตร ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อน

ดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น นั้นพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจาก

ชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาส เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ดูก่อนสารีบุตร ข้อว่า ความเป็น

ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นนั้น พึงทราบโดย

ปริยายนี้แล.

จบสารีปุตตสูตรที่ ๓

อรรถกถาสารีปุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสูตรที่ ๓.

บทว่า สกลมิท ภนฺเต ความว่า พระอานนทเถระ ไม่รู้ว่า มรรค

พรหมจรรย์แม้ทั้งสิ้นอันตนได้เพราะอาศัยกัลยาณมิตรดังนี้ เพราะยังไม่ถึงที่

สุดแห่งสาวกบารมีญาณ. ส่วนพระธรรมเสนาบดีได้รู้เเล้ว เพราะดำรงอยู่ใน

ที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกราบทูลอย่างนี้. เพราะเหตุ

นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ประทานสาธุการแก่พระเถระนั้นว่า สาธุ

สาธุ ดังนี้.

จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

๔. พราหมณสูตร

อริยมรรคเรียกชื่อได้ ๓ อย่าง

[๑๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์

ออกจากกรุงสาวัตถี ด้วยรถเทียมม้าขาวล้วน ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว

เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถขาว เชือกขาว ด้ามปฏักขาว ร่ม

ขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลวัชนีที่ด้ามพัดก็ขาว ชน

เห็นท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ

รูปของยานประเสริฐหนอ ดังนี้.

[๑๓] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีแล้ว

เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส

เวลาเช้าข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี

ข้าพระองค์เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากกรุงสาวัตถี ด้วยรถม้าขาวล้วน

ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถ

ขาว เชือกขาว ด้ามปฏักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้า

ขาว พัดวาลวัชนีที่ด้ามก็ขาว ชนเห็นท่านผู้นี้แล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ รูปของยานประเสริฐหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระองค์อาจทรงบัญญัติยานอันประเสริฐในธรรมวินัยนี้ได้ไหมหนอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

[๑๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ อาจบัญญัติได้

คำว่ายานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เรียก

กันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงความอันยอดเยี่ยมบ้าง.

[๑๕] ดูก่อนอานนท์ สัมมาทิฏฐิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก

แล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ

เป็นที่สุด.

[๑๖] ดูก่อนอานนท์ สัมมาสังกัปปะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด. มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัด

โมหะเป็นสุด.

[๑๗] ดูก่อนอานนท์ สัมมาวาจาที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก

แล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ

เป็นที่สุด.

[๑๘] ดูก่อนอานนท์ สัมมากัมมันตะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัด

โมหะเป็นที่สุด.

[๑๙] ดูก่อนอานนท์ สัมมาอาชีวะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก

แล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ

เป็นที่สุด.

[๒๐] ดูก่อนอานนท์ สัมมาวายามะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัด

โมหะเป็นที่สุด.

[๒๑] ดูก่อนอานนท์สัมมาสติที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

[๒๒] ดูก่อนอานนท์ สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก

แล้ว มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะ

เป็นที่สุด.

[๒๓] ดูก่อนอานนท์ ข้อว่า ยานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริย-

มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง

รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง นั้นพึงทราบโดยปริยายนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง

แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๒๔] อริยมรรคญาณนั้นมีธรรม คือ ศรัทธา

กับปัญญาเป็นแอก มีศรัทธาเป็นทูบ มีหิริ

เป็นงอน มีใจเป็นเชือกชัก มีสติเป็นสารถี

ผู้ควบคุม รถนี้มีศีลเป็นเครื่องประดับ มี

ฌานเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ มี

อุเบกขากับสมาธิเป็นทูบ ความไม่อยากได้

เป็นประทุน กุลบุตรใดมีความไม่พยาบาท

ความไม่เบียดเบียน และวิเวกเป็นอาวุธ มี

ความอดทนเป็นเกราะหนัง กุลบุตรนั้น

ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะ พรหม

ยานอันยอดเยี่ยมนี้ เกิดแล้วในตนของ

บุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นนัก-

ปราชญ์ ย่อมออกไปจากโลกโดยความแน่

ใจว่า มีชัยชนะโดยแท้.

จบพราหมณสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

อรรถกถาพราหมณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในพราหมณสูตรที่ ๔.

บทว่า สพฺพเสเตน วฬวาภิรเถน ความว่า ด้วยรถเทียมด้วยม้า

๔ ตัวอันขาวล้วน. ได้ยินว่า รถมีล้อและซี่กงทั้งหมดได้หุ้มด้วยเงิน.

ก็ชื่อว่า รถมี ๒ อย่าง คือ รถรบ ๑ รถเครื่องประดับ ๑ ในรถนั้น รถรบ

มีสัณฐานสี่เหลี่ยมไม่ใหญ่นัก สามารถบรรทุกคนได้ ๒ คน หรือ ๓ คน

รถเครื่องประดับเป็นรถใหญ่ คือ โดยยาวก็ยาว โดยกว้างก็กว้าง. คนถือร่ม

ถือวาลวัชนี ถือพัดใบตาล ย่อมอยู่ในรถนั้น ดังนั้นคน ๘ คน หรือ ๑๐ คน

สามารถเพื่อจะยืนก็ได้ นั่งก็ได้ นอนก็ได้ ตามสบายอย่างนี้นั่นแล แม้รถนี้

จัดเป็นรถเครื่องประดับ.

บทว่า เสตา สุท อสฺสา ความว่า ม้าขาวคือมีสีขาวตามปกติ.

บทว่า เสตาลงฺการา ความว่า เครื่องประดับของม้าเหล่านั้น ได้เป็นของ

สำเร็จด้วยเงิน. บทว่า สโต รโถ ความว่า รถชื่อว่าขาว เพราะหุ้มด้วยเงิน

และเพราะประดับด้วยงาในที่นั้น ๆ โดยนัยอันกล่าวแล้วแล. บทว่า เสตปริ-

วาโร ความว่า รถเหล่าอื่นหุ้มด้วยหนังราชสีห์บ้าง หุ้มด้วยหนังเสือบ้าง

หุ้มด้วยผ้ากัมพลเหลืองบ้าง ฉันใด รถนี้หาเป็นฉันนั้นไม่. ส่วนรถนี้ ได้หุ้ม

ด้วยผ้าอย่างดี. บทว่า เสตา รสฺมิโย ความว่า เชือกอันหุ้มด้วยเงินและ

แก้วประพาฬ. บทว่า เสตา ปโตทลฏฺิ ความว่า แม้ด้ามปฏักก็หุ้ม

ด้วยเงิน.

บทว่า เสต ฉตฺต ความว่า แม้ร่มอันเขาให้ยกขึ้นในท่ามกลางรถ

ก็ขาว. บทว่า เสต อุณฺหีส ความว่า ผ้าโพกทำด้วยเงินกว้าง ๗ นิ้วก็ขาว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

บทว่า เสตานิ วตฺถานิ ความว่า ผ้านุ่งขาว คือมีสีดังก้อนฟองน้ำ. ในผ้า

เหล่านั้น ผ้านุ่งมีราคาห้าร้อย ผ้าห่มมีราคาพันหนึ่ง. บทว่า เสตา อุปาหนา

ความว่า ธรรมดาว่า รองเท้าย่อมมีได้ สำหรับคนผู้เดินทาง หรือสำหรับคน

ผู้เข้าสู่ดง. ส่วนรองเท้านี้ สำหรับขึ้นรถ. ด้วยเหตุนั้น พึงทราบว่า นั่นชื่อว่า

เครื่องประดับเท้าของเขา ผสมเงิน อันสมควรแก่รองเท่านั้น ท่านกล่าวไว้

อย่างนี้. บทว่า เสตาย สุท วาลวีชนิยา ความว่า จามรและพัดวาลวัชนี

มีสีขาว มีด้ามทำด้วยแก้วผลึก. ก็เครื่องประดับเฉพาะเท่านี้ขาว ได้มีแล้ว

แก่พราหมณ์นั้นอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้. แม้เครื่องประดับของพราหมณ์นั้น

ได้ทำด้วยเงินมีเป็นต้นอย่างนี้ว่า ก็พราหมณ์นั้น ลูบไล้ด้วยเครื่องลูบไล้ขาว

ประดับดอกไม้ขาว ที่นิ้วทั้ง ๑๐ สวมแหวน ที่หูทั้งสองใส่ต่างหูดังนี้. แม้

พวกพราหมณ์ผู้เป็นบริวารของเขาได้มีประมาณหนึ่งหมื่น ผ้าเครื่องลูบไล้

ดอกไม้และเครื่องประดับขาว ได้มีแล้วประมาณเท่านั้นเหมือนกัน. ส่วนข้อ

นั้นอันใดอันท่านกล่าวว่า สาวตฺถิยา นิยฺยายนฺต ดังนี้ ความแจ่มแจ้งแห่ง

การออกไปในข้อนั้นดังต่อไปนี้.

ว่าโดยกิจ พราหมณ์นั้น ย่อมกระทำประทักษิณนคร ๖ เดือนครั้ง

หนึ่ง คนประกาศไปล่วงหน้าว่า แต่นี้ไปพราหมณ์จักกระทำประทักษิณนคร

โดยวันทั้งหลายประมาณเท่านี้ ชนเหล่าใดฟังการประกาศนั้นแล้ว กำลังออกไป

จากนคร ชนเหล่านั้นจะยังไม่หลีกไป. แม้ชนเหล่าใด หลีกไปแล้ว แม้ชน

เหล่านั้นย่อมกลับ ด้วยคิดว่า พวกเราจักได้เห็นสิริสมบัติของท่านผู้มีบุญ.

พราหมณ์ย่อมเที่ยวไปสู่นครตลอดวันใด ชาวเมืองทั้งหลาย กวาดถนนในนคร

ในกาลนั้น แต่เช้าตรู่ เกลี่ยทรายลง โปรยด้วยดอกไม้ทั้งหลาย อันมีข้าวตอก

เป็นที่ห้า ทั้งหม้อน้ำ ให้ช่วยกันยกต้นกล้วยทั้งหลาย และธงทั้งหลายขึ้นแล้ว

ย่อมทำนครทั้งสิ้นให้อบอวลด้วยกลิ่นธูป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

พราหมณ์สนานศีรษะแต่เช้าตรู่ บริโภคอาหารเช้าแล้ว ก็แต่งตัว

ด้วยเครื่องอาภรณ์มีผ้านุ่งขาวเป็นต้น โดยนัยอันกล่าวแล้วแล ลงจากปราสาท

ขึ้นรถ ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้น ก็ตกแต่งด้วยผ้าเครื่องลูบไล้และดอกไม้-

ขาวทั้งหมด ถือร่มขาวแวดล้อมพราหมณ์นั้นอยู่. แต่นั้น ชนทั้งหลายย่อม

โปรยผลาผลแก่พวกเด็กหนุ่มก่อน เพื่อการประชุมของมหาชน ต่อแต่นั้น

ย่อมโปรยเงินมาสก ต่อแต่นั้น จึงโปรยกหาปณะทั้งหลาย. มหาชนย่อม

ประชุมกัน การโห่ร้องและการโยนผ้าก็ย่อมเป็นไป ครั้งนั้น พราหมณ์ย่อม

เที่ยวไปสู่นครเพื่อมหาสมบัติ เมื่อชนทั้งหลายผู้มีความต้องการด้วยมงคลและ

ต้องการสวัสดีเป็นต้น กระทำมงคลและสวัสดีอยู่. มนุษย์ทั้งหลายผู้มีบุญขึ้น

ไปบนปราสาทมีชั้นเดียวเป็นต้น เปิดช่องหน้าต่างเช่นกับปีกนกแก้ว แลดูอยู่

แม้พราหมณ์ย่อมมุ่งตรงไปทางประตูทิศใต้ คล้ายจะครอบครองนครด้วยยศ

และสิริสมบัติของตน ข้อนี้ท่านหมายถึงข้อนั้นแล้ว จึงกล่าว.

บทว่า ตเมน ชโน ทิสฺวา ความว่า มหาชนเห็นรถนั้น. บทว่า

พฺรหฺม ได้แก่ เป็นชื่อของผู้ประเสริฐ. บทว่า พฺรหฺม วต โภ ยาน

ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานเช่นยานอันประเสริฐหนอ.

บทว่า อิมสฺเสว โข เอต ความว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาว่า มนุษย์

ทั้งหลายให้ทรัพย์แก่ผู้กล่าวสรรเสริญแล้ว ย่อมให้ขับร้องเพลงขับสรรเสริญ

ทาริกาทั้งหลายของตนว่า เป็นผู้น่ารัก น่าดู มีทรัพย์มาก มีโภคะมากดังนี้

แต่ก็หาเป็นผู้น่ารัก หรือมีโภคะมาก ด้วยเพียงการกล่าวสรรเสริญนั้นไม่

มหาชนเห็นรถของพราหมณ์อย่างนี้แล้ว จึงกล่าวสรรเสริญอย่างนี้ว่า ท่าน

ผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ยานนั้นจะชื่อว่า

เป็นยานประเสริฐด้วยเพียงการกล่าวสรรเสริญก็หามิได้ ที่จริงยานนั้นจะชื่อว่า

ลามกเลว. ดูก่อนอานนท์ แต่โดยปรมัตถ์ ยานนั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

องค์ ๘ นี้เท่านั้นแล. ก็อริยมรรคนี้ประเสริฐ เพราะปราศจากโทษทั้งปวง

ด้วยว่า พระอริยะทั้งหลาย ย่อมไปสู่นิพพานด้วยอริยมรรคนี้ ดังนั้น จึงควร

กล่าวว่า พรหมยานบ้าง ว่าธรรมยานบ้าง เพราะเป็นธรรมและเป็นยาน

ว่ารถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง เพราะไม่มีสิ่งอันยิ่งกว่า และเพราะชนะ

สงครามคือกิเลสแล้ว.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงความที่อริยมรรคนั้นไม่มี

โทษ และเป็นพิชัยสงคราม จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ราควินยปริโยสานา

ดังนี้ . ในบทนั้น สัมมาทิฏฐิ เมื่อกำจัดราคะย่อมให้หมด คือย่อมถึงได้แก่ย่อม

สำเร็จเป็นที่สุด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีการกำจัดราคะเป็นที่สุด. ในบท

ทั้งปวงก็นัยนี้แล.

บทว่า ยสฺส สทฺธา จ ปญฺา จ ความว่า สำหรับยานคือ อริย-

มรรค มีธรรม ๒ เหล่านี้คือศรัทธา ด้วยสามารถแห่งสัทธานุสารี และปัญญา

ด้วยสามารถแห่งธัมมานุสารี เป็นแอกมีศรัทธาเป็นทูบ อธิบายว่า ประกอบ

ในแอกมีตนเป็นท่ามกลางในอริยมรรคนั้น. บทว่า หิริ อีสา ความว่า หิริ

อันเกิดขึ้นภายในพร้อมด้วยโอตตัปปะอันเกิดขึ้นในภายนอกประกอบกับด้วยตน

เป็นงอนของรถคือ มรรค. บทว่า มโน โยตฺต ความว่า วิปัสสนาจิตและ

มรรคจิตเป็นเชือกชัก. เหมือนเชือกที่ทำด้วยปอเป็นต้นของรถ ย่อมกระทำ

โคทั้งหลายให้เนื่องเป็นอันเดียวกัน คือให้รวมกันได้ฉันใด วิปัสสนาจิตอัน

เป็นโลกิยะของรถคือมรรคมี ๕๐ กว่า วิปัสสนาจิตอันเป็นโลกุตระ ย่อมทำ

กุศลธรรม ๖๐ กว่า ให้เนื่องกันคือให้รวมกันได้ฉันนั้นเหมือนกันแล.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มโน โยตฺต ดังนี้. บทว่า

สติ อารกฺขสารถิ ความว่า สติสัมปยุตด้วยมรรค ชื่อว่า สารถีผู้ควบคุม.

ผู้ใดย่อมประกอบในการจัดทูบ หยอดเพลา ส่งรถไป ย่อมกระทำม้าเทียมรถ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

ให้หมดพยศ ผู้นั้นชื่อว่า สารถีผู้รักษาสามารถฉันใด สติของรถคือมรรค

ก็ฉันนั้น. ท่านกล่าวว่า สตินี้มีการรักษาเป็นเหตุปรากฏและย่อมพิจารณาคติ

แห่งธรรมทั้งหลายทั้งกุศลและอกุศล ดังนี้.

บทว่า รโถ ได้แก่ รถคืออริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘. บทว่า

สีลปริกฺขาโร ความว่า รถมีจาตุปาริสุทธิศีลเป็นเครื่องประดับ. บทว่า

ฌานกฺโข ความว่า มีเพลาทำด้วยฌาน ด้วยสามารถแห่งองค์ฌาน ๕

สัมปยุตด้วยวิปัสสนา. บทว่า จกฺกวีริโย คือมีความเพียรเป็นล้อ อธิบายว่า

ความเพียร ๒ กล่าวคือทางกายและทางจิต เป็นล้อของความเพียร. บทว่า

อุเปกฺขา ธุรสมาธิ ความว่า สมาธิของทูบ ชื่อว่า ธุรสมาธิ อธิบายว่า

ความที่ส่วนของแอกแม้ทั้งสองสม่ำเสมอ เพราะไม่มีอาการขึ้น ๆ ลง ๆ. ฝ่าย

ตัตรมัชฌัตตุเปกขานี้ ย่อมนำความที่จิตตุปบาทหดหู่และฟุ้งซ่านไปเสียแล้ว

จึงดำรงจิตในท่ามกลางแห่งการประกอบความเพียร เพราะฉะนั้น พระองค์

จึงตรัสว่า เป็นธุรสมาธิของรถคือมรรคนี้. บทว่า อนิจฺฉา ปริวารณ

ความว่า ความไม่อยากได้ กล่าวคืออโลภะของรถคืออริยมรรคแม้นี้ ชื่อว่า

เป็นประทุน เหมือนหนังราชสีห์เป็นต้น เป็นเครื่องหุ้มภายนอกรถฉะนั้น.

บทว่า อพฺยาปาโท ได้แก่ เมตตาและส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา.

บทว่า อวิหึสา ได้แก่ กรุณาและส่วนเบื้องต้นแห่งกรุณา. บทว่า วิเวโก

ได้แก่ วิเวก ๓ อย่างมีกายวิเวกเป็นต้น. บทว่า ยสฺส อาวุธ ความว่า

อาวุธ ๕ อย่าง อย่างนี้ ย่อมมีแก่กุลบุตรผู้ดำรงอยู่ในรถคืออริยมรรค คนยืน

อยู่ในรถ ย่อมแทงสัตว์ทั้งหลายด้วยอาวุธ ๕ ไค้ฉันใด แม้โยคาวจร ยืนอยู่

ในรถแห่งโลกิยมรรค และโลกุตรมรรคนี้ ย่อมแทงซึ่งโทสะด้วยเมตตา แทง

ความเบียดเบียนด้วยกรุณา แทงความคลุกคลีคณะด้วยกายวิเวก แทงคลุกคลี

กิเลสด้วยจิตวิเวก และแทงอกุศลทั้งปวงด้วยอุปธิวิเวก ฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

ท่านจึงกล่าวอาวุธ ๕ อย่างนั้น ย่อมเป็นของกุลบุตรนั้น. บทว่า ตีติกฺขา

ความว่า ความอดทนด้วยความอดกลั้นคำของคนพูดชั่วเลวทราม. บทว่า

จมฺมสนฺนาโห ได้แก่ มีหนังเป็นเกราะ เหมือนคนรถสวมเกราะหนังยืนอยู่

บนรถย่อมอดทนต่อลูกศรทั้งหลายอันมาแล้วและมาแล้ว ลูกศรทั้งหลายย่อม

แทงบุคคลนั้นไม่ได้ ฉันใด ภิกษุผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติ ย่อมอดทน

ถ้อยคำอันมาแล้วและมาแล้วได้ ถ้อยคำเหล่านั้น ย่อมแทงภิกษุผู้ประกอบด้วย

อธิวาสนขันติไม่ได้ ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ความอดทนเป็น

เกราะหนัง. บทว่า โยคกฺเขมาย วตฺตติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษม

จากโยคะ ๔ คือ เพื่อนิพพาน กุลบุตรผู้มุ่งนิพพานย่อมดำเนินไปอย่างเดียว

อธิบายว่า ย่อมไม่หยุด ย่อมไม่ทำลาย ดังนี้.

บทว่า เอตทตฺตนิ สมฺภูต ความว่า ยานคือมรรคนั่น ย่อมชื่อว่า

เกิดในตน เพราะความที่ตนอาศัยการทำเยี่ยงบุรุษจงได้. บทว่า พฺรหฺมยาน

อนุตฺตร ได้แก่ ยานอันประเสริฐ ไม่มียานอื่นเหมือน. บทว่า นิยฺยนฺติ

ธีรา โลกมฺหา ความว่า ยานนั่น ย่อมมีแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้นเป็น

นักปราชญ์ คือ คนพวกบัณฑิต ย่อมออก คือย่อมไปจากโลก. บทว่า

อญฺทตฺถุ ได้แก่ โดยส่วนเดียว. บทว่า ชย ชย ความว่า ชัยชนะอยู่

ซึ่งข้าศึกทั้งหลายมีราคะเป็นต้น.

จบอรรถกถาพราหมณสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

๕. กิมัตถิยสูตร

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้ทุกข์

[๒๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

ประทานพระวโรกาส พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ถามพวกข้าพระองค์อย่างนี้

ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดม

เพื่อประโยชน์อะไร พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงพยากรณ์แก่พวก

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเรา

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ พวกข้า

พระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้วพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง

พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะไม่พึงถึง

ฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ละหรือ.

[๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช่างเถิด

พวกเธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว พยากรณ์อย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตามคำที่เรากล่าว

ไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการ

คล้อยตามวาทะที่ถูกไร ๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ เพราะพวก

เธออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อกำหนดรู้ทุกข์.

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถาม

พวกเธออย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็หนทางมีอยู่หรือ ปฏิปทาเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

กำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่หรือ พวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่พวก

อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย หนทางมีอยู่

ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่.

[๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็หนทางเป็นไฉน ปฏิปทาเพื่อกำหนด

รู้ทุกข์เป็นไฉน อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ

สัมมาสมาธิ นี้เป็นหนทาง นี้เป็นปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์-

ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

จบกิมัตถิยสูตรที่ ๕

อรรถกถากิมัตถิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกิมัตถิยสูตรที่ ๕.

เอว ศัพท์ในบทว่า อยเมว มีอรรถแน่นอน. ย่อมห้ามมรรคอื่น

ด้วย เอว ศัพท์นั้น. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสทุกข์ในวัฏฏะ

และมรรคเจือปนกัน.

จบอรรถกถากิมัตถิยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

๖. ปฐมภิกขุสูตร

มรรค ๘ เรียกว่าพรหมจรรย์

[๒๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ ๆ ดังนี้ ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน ที่สุดแห่งพรหมจรรย์

เป็นไฉน.

[๓๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ อริยมรรคประกอบ

ด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นพรหมจรรย์ ความสิ้น

ราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้ เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์.

จบปฐมภิกขุสูตรที่ ๖

๗. ทุติยภิกขุสูตร

ความกำจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ

[๓๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ที่เรียกว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ ดังนี้ คำว่า

๑. สูตรที่ ๖ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งอะไร

หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า ความกำจัดราคะ

ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ เพราะเหตุ

นั้น จึงเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ.

ความสิ้นราคะ ชื่อว่าอมตะ

[๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อมตะ ๆ ดังนี้ อมตะ

เป็นไฉน ทางที่จะให้ถึงอมตะเป็นไฉน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ

ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะ อริยมรรคอันประกอบด้วย องค์ ๘ คือ สัมมา-

ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่าทางที่จะให้ถึงอมตะ.

จบทุติยภิกขุสูตรที่ ๗

อรรถกถาทุติยภิกขุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยภิกขุสูตรที่ ๗.

บทว่า นิพฺพานธาตุยา โข เอต ภิกฺเข อธิวจน ความว่า นั่น

เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เป็นอมตะ. บทว่า อาสวาน

ขโย เตน วุจฺจติ ท่านแสดงว่า อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ

เพราะความกำจัดราคะเป็นต้นนั้นเสียได้. พระอรหัต ชื่อว่า ความสิ้นอาสวะ.

บทว่า ราควินโย เป็นอาทินั่น เป็นชื่อแม้ของพระอรหัตเท่านั้น. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

เอตทโวจ ความว่า เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาดในอนุสนธิ เมื่อทูลถามจึง

ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า พระศาสดาเมื่อตรัสว่า ธาตุ ก็ตรัสนิพพานแก่เราแล้ว

ส่วนทางแห่งนิพพานนั้นพระองค์ยังไม่ตรัส เราจักทูลให้พระองค์ตรัสทางแห่ง

นิพพานนั้น จึงทูลถามดังนี้ .

จบอรรถกถาทุติยภิกขุสูตรที่ ๗

๘. วิภังคสูตร

อริยมรรค ๘

[๓๓] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพึงอริยมรรคนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน

คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ใน

ทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

[๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ความดำริใน

การออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน

นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไหน เจตนาเครื่องงา.

เว้น จากพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน เจตนาเครื่อง

งดเว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน จากอพรหมจรรย์ นี้เรียกว่า สัมมา-

กัมมันตะ.

[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน อริยสาวกใน

ธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ นี้

เรียกว่าสัมมาอาชีวะ.

[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะเป็นไฉน ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้

เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามก

ที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น พยายาม ปรารภความ

เพียร ประคองจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ

บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

เนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

เนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสีย นี้เรียกว่า สัมมาสติ.

[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรม

วินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ

และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ

และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนาม

กาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้

ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ

ให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

จบวิภังคสูตรที่ ๘

อรรถกถาวิภังคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิภังคสูตรที่ ๘.

บทว่า กตมา จ ภิกฺขเว สมฺมาทิฏฺิ ความว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทรงจำแนกมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ โดยปริยายนั้นแล้ว ทรง

เริ่มเทศนานี้ เหมือนทรงประสงค์จะจำแนกโดยปริยายอื่นอีก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺเข าณ ความว่า ญาณอื่นเกิดขึ้น

ด้วยอาการ ๔ ด้วยสามารถการฟัง ๑ การพิจารณารอบคอบ ๑ การแทงตลอด ๑

การพิจารณา ๑. แม้ในสมุทัยก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในสองบทที่เหลือ

(นิโรธและมรรค) ญาณ ๓ อย่างเท่านั้น ย่อมควรเพราะการพิจารณาไม่มี

กัมมัฏฐานในสัจจะ ๔ นี้ พระองค์ทรงแสดงแล้วด้วยบทว่า ทุกฺเข าณ

เป็นต้นด้วยอาการอย่างนี้.

ในบทเหล่านั้น สัจจะ ๒ ข้างต้น เป็นวัฏฏะ ๒ ข้างปลายเป็น

วิวัฏฏะ ในวัฏฏะและวิวัฏฏะเหล่านั้น ความยึดมั่นในกัมมัฏฐานของภิกษุมีใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

วัฏฏะ ในวิวัฏฏะความยึดมั่นไม่มี. ก็โยคาวจรเมื่อเรียนซึ่งสัจจะ ๒ ข้างต้น

ในสำนักของอาจารย์ ท่องด้วยวาจาบ่อย ๆ โดยสังเขปอย่างนี้ ปญฺจกฺขนฺธา

ทุกฺข ตณฺหาสมุทโย และโดยพิสดารมีนัยเป็นอาทิว่า กตเม ปญฺจกฺขนฺธา

รูปกฺขนฺโธ แล้วจึงทำกรรม. ส่วนในสัจจะ ๒ นอกนี้ เธอย่อมทำกรรม

ด้วยการฟังอย่างนี้ว่า นิโรธสัจจะ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มรรคสัจจะ

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เธอเมื่อทำอย่างนี้ ย่อมแทงตลอดซึ่งสัจจะ ๔

ด้วยปฏิเวธอย่างหนึ่ง ย่อมตรัสรู้ด้วยการตรัสรู้อย่างหนึ่ง ย่อมแทงตลอด

ทุกข์ได้ด้วยการกำหนดรู้ ซึ่งสมุทัยได้ด้วยการละ ซึ่งนิโรธได้ด้วยการทำให้

แจ้ง ย่อมแทงตลอดมรรคได้ด้วยการเจริญ. ย่อมตรัสรู้ทุกข์ได้ ด้วยการ

กำหนดรู้ ฯลฯ ย่อมตรัสรู้มรรคได้ด้วยการเจริญ.

การเรียน การไต่ถาม การฟัง การทรงไว้ การพิจารณาและ

การแทงตลอด ย่อมมีในสัจจะ ๒ (ทุกข์ สมุทัย) ในส่วนเบื้องต้นแห่ง

สัจจะ ๔ ด้วยประการอย่างนี้. การฟังและการแทงตลอดเท่านั้น ย่อมมีใน

สัจจะ ๒ (นิโรธ มรรค) ในกาลต่อมา ว่าโดยกิจ ปฏิเวธธรรมย่อมมี

ในสัจจะ ๓ (ทุกข์ สมุทัย มรรค). ในนิโรธ มีปฏิเวธเป็นอารมณ์. ส่วน

ปฏิเวธ ย่อมมีแก่สัจจะ ๔ ด้วยการพิจารณา. แต่การกำหนดในเบื้องต้น

ย่อมไม่มี. ความห่วงใย การรวบรวม การทำไว้ในใจ และการพิจารณา

ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนี้ผู้กำหนดอยู่ในเบื้องต้นว่า เราย่อมกำหนดรู้ทุกข์ ย่อมละ

สมุทัย ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ เราย่อมยังมรรคให้เกิด. ความห่วงใยเป็นต้น

ย่อมมีจำเดิมแต่การกำหนด. แต่ในกาลต่อมา ทุกข์ ย่อมเป็นอันเธอกำหนด

รู้แล้วแล ฯลฯ มรรค ย่อมเป็นอันเธอทำให้เกิดแล้ว.

ในสัจจะ ๔ เหล่านั้น สัจจะ ๒ ชื่อว่า เป็นธรรมลุ่มลึก เพราะ

เห็นได้ยาก. สัจจะ ๒ ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะเป็นธรรมลุ่มลึก. จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

ทุกขสัจจะ ก็ปรากฏได้ เพราะความเกิดขึ้น ย่อมถึงแม้ซึ่งอันตนพึงกล่าวว่า

ทุกข์หนอ ในการกระทบด้วยตอและหนามเป็นต้น. แม้สมุทัยก็ปรากฏได้

เพราะความเกิดขึ้น ด้วยสามารถมีความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะเคี้ยวกินและจะบริโภค

เป็นต้น. แต่ว่า โดยการแทงตลอดถึงลักษณะ ทุกข์และสมุทัยสัจแม้ทั้งสอง

ก็เป็นธรรมลุ่มลึก. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นธรรมอันลุ่มลึก. เพราะเห็น

ได้ยาก ด้วยประการดังนี้. ความพยายามเพื่อต้องการเห็นสัจจะทั้งสองนอกนี้

(นิโรธ มรรค) ย่อมเป็นเหมือนการเหยียดมือไปเพื่อจับภวัคคพรหม

เหมือนการเหยียดเท้าไปเพื่อถูกต้องอเวจี และเหมือนการยังปลายแห่งขนหาง-

สัตว์ซึ่งแยกแล้วโดย ๗ ส่วน ให้ตกสู่ปลาย. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นธรรม

ลุ่มลึก เพราะเห็นได้ยากด้วยประการดังนี้. บทเป็นอาทิว่า ทุกฺเข าณ นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถการเรียนเป็นต้น ในสัจจะ ๔ ชื่อว่า

เป็นธรรมลุ่มลึก เพราะเห็นได้ยาก และชื่อว่า เป็นธรรมเห็นได้ยาก

เพราะเป็นธรรมลุ่มลึก ด้วยประการดังนี้. ส่วนญาณนั้น ย่อมมีอย่างนี้แล

ในลักษณะแห่งปฏิเวธ.

พึงทราบในบท เนกขัมมสังกัปปะเป็นอาทิ ความดำริในการออก

จากกามว่า เกิดขึ้นแล้วโดยภาวะที่ออกไปจากกาม เพราะอรรถว่าเป็นข้าศึก

ต่อกามบ้าง เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้พิจารณากามอยู่ดังนี้บ้างว่า เมื่อทำการกำจัดกาม

ให้กามสงบก็เกิดขึ้นดังนี้บ้าง ว่าเมื่อสงัดจากกามก็เกิดขึ้นดังนี้บ้าง. แม้ใน

สองบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนธรรมมีเนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น

เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่าต่างกันในส่วนเบื้องต้น เพราะความหมายในการ

งดเว้นจากกาม จากพยาบาท และจากวิหิงสามีสภาวะต่างกัน.

ส่วนในขณะแห่งมรรค ความดำริในกุศลอย่างเดียวเท่านั้น ย่อม

เกิดขึ้น ยังองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์อยู่ ด้วยสามารถให้สำเร็จความไม่เกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

เพราะขาดกับบทแห่งความดำริในอกุศลอันเกิดนั้นในฐานะทั้ง ๓ เหล่านี้

นี้ชื่อว่า สัมมาสังกัปปะ.

ธรรมแม้มีเจตนาเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จเป็นต้น ชื่อว่า ต่างกันใน

ส่วนเบื้องต้น เพราะความหมายในการงดเว้นจากพูดเท็จเป็นต้น มีภาวะต่างกัน.

ส่วนในขณะแห่งมรรค เจตนาเครื่องงดเว้นเป็นกุศลอย่างเดียวเท่านั้น ย่อม

เกิดขึ้น ยังองค์มรรคให้บริบูรณ์อยู่ด้วยสามารถให้สำเร็จความไม่เกิดขึ้น

เพราะขาดกับบทเจตนาเครื่องทุศีล อันเป็นอกุศล ซึ่งเกิดขึ้นในฐานะทั้ง ๔

เหล่านี้ นี้ชื่อว่า สัมมาวาจา.

ธรรมแม้มีเจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า ต่างกัน

ในส่วนเบื้องต้น เพราะความหมายในการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้นมีภาวะ

ต่างกัน. ส่วนในขณะแห่งมรรค เจตนาเครื่องงดเว้นอันเป็นกุศลอย่างเดียว

ย่อมเกิดขึ้น ยังองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์อยู่ ด้วยสามารถให้สำเร็จความไม่

เกิดขึ้น เพราะขาดกับบทโดยไม่ทำเจตนาเครื่องทุศีลอันเป็นอกุศลซึ่งเกิดขึ้น

ในฐานะทั้ง ๓ เหล่านี้ นี้ชื่อว่า สัมมากัมมันตะ.

บทว่า มิจฺฉาอาชีว ได้แก่ ทุจริตทางกายและทางวาจา อันตน

ให้เป็นไปแล้ว เพื่อต้องการของควรเคี้ยวและของควรบริโภคเป็นต้น. บทว่า

ปหาย คือ เว้น. บทว่า สมฺมาอาชีเวน ได้แก่ ด้วยการเลี้ยงชีพอัน

พระพุทธเจ้าสรรเสริญแล้ว. บทว่า ชีวิต กปฺเปติ ความว่า ย่อมยังความ

เป็นไปแห่งชีวิตให้เป็นไป แม้สัมมาอาชีวะ ชื่อว่า ต่างกันในเบื้องต้น เพราะ

ความหมายในการงดเว้นจากการหลอกลวงเป็นต้นมีภาวะต่างกัน. ส่วนในขณะ

แห่งมรรค เจตนาเครื่องงดเว้นเป็นกุศลอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมเกิดขึ้น

ยังองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์อยู่ด้วยสามารถให้สำเร็จความไม่เกิดขึ้น เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

ขาดกับบทเจตนาเครื่องทุศีลอันเป็นมิจฉาชีพ ซึ่งเกิดขึ้นในฐานะทั้ง ๗

เหล่านี้แล นี้ชื่อว่า สัมมาอาชีวะ.

บทว่า อนุปฺปนฺนาน ความว่า เห็นอารมณ์ทั้งหลายเห็นปานนั้น

ในเรือนแห่งหนึ่ง ย่อมยังฉันทะให้เกิด เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม

อันเป็นบาปซึ่งยังไม่เกิดขึ้นแก่ตน หรือว่าเห็นอารมณ์ทั้งหลาย ที่กำลังเกิดขึ้น

แก่ผู้อื่น ย่อมยังฉันทะให้เกิด เพื่อความไม่เกิดขึ้น แห่งอกุศลธรรมอันเป็น

บาป ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น อย่างนี้ว่า โอหนอ ธรรมอันเป็นบาปเห็นปานนี้

ไม่พึงเกิดขึ้นแก่เรา ดังนี้. บทว่า ฉนฺท ความว่า ย่อมยังวิริยฉันทะ

เป็นเหตุให้สำเร็จแห่งการปฏิบัติมิให้อกุศลธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น.

บทว่า วายมติ ได้แก่ ย่อมทำความพยายาม. บทว่า วิริย อารภติ

ได้แก่ ย่อมยังความเพียรให้เป็นไป. บทว่า จิตฺต ปคฺคณฺหาติ ความว่า

ย่อมทำจิตอันความเพียรประคองไว้แล้ว. บทว่า ปทหติ ความว่า ย่อมยัง

ความเพียรไห้เป็นไปว่า หนัง เอ็น และกระคะจงเหือดแห้งไปก็ทามเถิด. บทว่า

อุปฺปนฺนาน ความว่า เคยเกิดขึ้นแล้วแก่ตน ด้วยสามารถความฟุ้งซ่าน

ย่อมยังฉันทะให้เกิด เพื่อละอกุศลธรรมเหล่านั้น ด้วยคิดว่า บัดนี้ เราจัก

ไม่ให้อกุศลธรรมทั้งหลายเช่นนั้นเกิดขึ้น.

บทว่า อนุปฺปนฺนาน กุสลาน ความว่า กุศลธรรมมีปฐมฌาน

เป็นต้น ที่ยังไม่ได้. บทว่า อุปฺปนฺนาน ได้แก่ กุศลธรรมเหล่านั้นนั่นแล

ที่ตนได้แล้ว. บทว่า ิติยา ความว่า เพื่อความตั้งมั่นด้วยสามารถความ

เกิดขึ้นติดกันบ่อย ๆ. บทว่า อสมฺโมสาย ได้แก่ เพื่อความไม่สูญหาย.

บทว่า ภิยฺโย ภาวาย ได้แก่ เพื่อสูงขึ้นไป. บทว่า เวปุลฺลาย ได้แก่

เพื่อความไพบูลย์. บทว่า ปาริปูริยา ได้แก่ เพื่อให้ภาวนาบริบูรณ์.

สัมมาวายามะ แม้นี้ชื่อว่า ต่างกันในส่วนเบื้องต้น เพราะอกุศลธรรมที่ยัง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

ไม่เกิด คิดมิให้เกิดเป็นต้น มีภาวะต่างกัน. ส่วนในขณะแห่งมรรคความเพียร

เป็นกุศลอย่างเดียวเท่านั้น ย่อมเกิดขึ้น ยังองค์มรรคให้บริบูรณ์อยู่ ด้วย

สามารถให้สำเร็จกิจ ในฐานะ ๔ เหล่านี้แล นี้ชื่อว่า สัมมาวายามะ.

แม้สัมมาสติ ชื่อว่า ต่างกันในส่วนเบื้องต้น เพราะความต่างกัน

แห่งจิตกำหนดกายเป็นต้น. ส่วนในขณะแห่งมรรค สติอย่างเดียว ย่อมเกิดขึ้น

ยังองค์แห่งมรรคให้บริบูรณ์อยู่ ด้วยสามารถให้สำเร็จกิจ ในฐานะ ๔ เหล่านี้

นี้ชื่อว่า สัมมาสติ.

พึงทราบในฌานเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้น สัมมาสมาธิ ต่างกัน

ด้วยสามารถสมาบัติ ในขณะแห่งมรรค ด้วยสามารถมรรคที่ต่างกัน. จริงอยู่

ปฐมมรรคของฌานอย่างหนึ่ง ย่อมมีปฐมฌาน แม้ทุติยมรรคเป็นต้น มี

ปฐมฌาน หรือมีฌานอย่างใด อย่างหนึ่ง ในทุติยฌานเป็นต้น ปฐมมรรค

ของฌานอย่างหนึ่ง ย่อมมีฌานอย่างใด อย่างหนึ่ง แห่งทุติยฌานเป็นต้น.

แม้ทุติยมรรคเป็นต้น มีฌานอย่างใด อย่างหนึ่ง แห่งทุติยฌานเป็นต้น

หรือมีปฐมฌาน. มรรคแม้ ๔ จะเหมือนกัน ไม่เหมือนกันหรือเหมือนกัน

บางอย่าง ย่อมมีด้วยสามารถแห่งฌาน อย่างนี้แล.

ส่วนความต่างกันแห่งมรรคนี้ ย่อมมีด้วยการกำหนดฌานที่เป็นบาท.

จริงอยู่ มรรคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ได้ปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้วเห็นแจ้งอยู่

ย่อมมีปฐมฌานด้วยการกำหนดฌานที่เป็นบาท. ส่วนในฌานนี้ ย่อมมีองค์แห่ง

มรรคโพชฌงค์และฌานบริบูรณ์แล้วแล. มรรคที่เกิดขึ้นแก่ผู้ออกจากทุติยฌาน

แล้วเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีทุติยฌาน. ส่วนในฌานนี้ องค์มรรคมี ๗ มรรคที่เกิด

ขึ้นแก่ผู้ออกจากตติยฌานเห็นแจ้งอยู่ ย่อมมีตติยฌานก็ในฌานนี้มีองค์มรรค ๗

โพชฌงค์มี ๖. ตั้งแต่จตุตถฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะก็มีนัยนี้.

จตุกกฌานและปัญจมกฌานในอรูปฌานย่อมเกิดขึ้น และฌานนั้น

ท่านกล่าวว่า เป็นโลกุตระหาเป็นโลกิยะไม่ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

แม้ในบทว่า กถ นี้ในบทนั้น มรรคนั้น เกิดขึ้นแล้ว ในอรูปฌาน

เพราะออกจากปฐมฌานเป็นต้น ได้โสดาปัตติมรรคเจริญอรูปสมาบัติ.

มรรค ๓ แม้มีฌานนั้น ย่อมเกิดขึ้นในอรูปฌานนั้นของฌานนั้น.

ฌานที่เป็นบาท ย่อมกำหนดอย่างนี้แล. ส่วนพระเถระบางพวก

ย่อมกล่าวว่า ขันธ์เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ย่อมกำหนด. บางพวกกล่าวว่า

อัธยาศัยของบุคคลย่อมกำหนด. บางพวกย่อมกล่าวว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา

ย่อมกำหนด. การวินิจฉัยในวาทะของพระเถระเหล่านั้น พึงทราบโดยนัย

อันกล่าวไว้แล้ว ในอธิการว่าด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา ในวิสุทธิมรรค.

บทว่า อย วุจฺจติ ภิกฺขเว สมฺมาสมาธิ ดังนี้ นี้เป็นโลกิยะในส่วน

เบื้องต้น ในส่วนเบื้องปลายเป็นโลกุตระ ท่านเรียกว่า สมาธิ.

จบอรรถกถาวิภังคสูตรที่ ๘

๙. สุกสูตร

มรรคภาวนาที่ตั้งไว้ผิด

[๔๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าว

สาลี หรือเดือยข้าวยวะที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลาย

มือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะเดือยบุคคลตั้งไว้ผิด ฉันใด ภิกษุนั้นแล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

ตั้งไว้ผิด ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะความเห็นตั้งไว้ผิด.

มรรคภาวนาที่ตั้งไว้ถูก

[๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือย

ข้าวยวะที่บุคคลตั้งไว้ ถูกมือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า

หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือย

บุคคลตั้งไว้ถูก ฉันใด ภิกษุนั้นแล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา

จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการ

เจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

ความเห็นตั้งไว้ถูก.

[๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชา

ให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการเจริญมรรค

ที่ตั้งไว้ถูกอย่างไรเล่า. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง

ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก อย่างนี้แล.

จบสุกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

อรรถกถาสุกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุกสูตรที่ ๙

บทว่า มิจฺฉาปณิหิต ความว่า ชื่อว่า เดือยเขาตั้งไว้ในที่สูง ย่อม

ทำลายมือหรือเท้า แต่ไม่ตั้งไว้อย่างนั้น ชื่อว่า ตั้งไว้ผิด. บทว่า มิจฺฉา-

ปณิหิตาย ทิฏฺิย ได้แก่ ด้วยกัมมัสสกตปัญญาที่ตั้งไว้ผิด. บทว่า อวิชฺช

เฉจฺฉติ ความว่า จักทำลายอวิชชาอันปิดบังสัจจะ ๔. บทว่า วิชฺช

อุปฺปาเทสฺสติ ความว่า จักยังวิชชาคืออรหัตมรรคให้เกิดขึ้น. บทว่า

มิจฺฉาปณิหิตตฺตา ภิกฺขเว ทิฏฺิยา ความว่า เพราะกัมมัสสกตปัญญา

และมรรคภาวนาตั้งไว้ผิด คือ เพราะไม่ประพฤติตามกัมมัสสกตญาณให้

มรรคภาวนา. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำกัมมัสสกตญาณให้

อาศัยมรรคแล้ว จึงตรัสมรรคคลุกเคล้ากัน.

จบอรรถกถาสกุสูตรที่ ๙

๑๐. นันทิยสูตร

ธรรม ๘ เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน

[๔๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล นันทิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมเท่าไรหนอแล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็น

เบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนันทิยะ ธรรม ๘ ประการนี้ ที่

บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็น

เบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ

สัมมาสมาธิ ดูก่อนนันทิยะ ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็น

ที่สุด.

[๔๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นันทิยปริพาชกได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่

ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโคยอเนกปริยาย เปรียบ

เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ

ตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอ

ถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่าน

พระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกถึงสรณะจนตลอดชีวิต จำเดิม

แต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบนันทิยสูตรที่ ๑๐

จบอวิชชาวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

อรรถกถานันทิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนันทิยสูตรที่ ๑๐.

บทว่า ปริพฺพาชโก ได้แก่ ปริพาชกผู้นุ่งผ้า. คำที่เหลือใน

นันทิยสูตรนี้ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถานันทิยสูตรที่ ๑๐

จบอวิชชาวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวิชชาสูตร ๒. อุปัฑฒสูตร ๓. สารีปุตตสูตร ๔. พราหมณ

สูตร ๕. กิมัตถิยสูตร ๖. ปฐมภิกขุสูตร ๗. ทุติยภิกขุสูตร ๘. วิภังคสูตร

๙. สุกสูตร ๑๐. นันทิยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

วิหารวรรคที่ ๒

๑. ปฐมวิหารสูตร

เวทนามี เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย

[๔๗] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใคร ๆ ไม่

พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรับ

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ในกึ่งเดือนนี้ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว.

[๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากที่หลีกเร้นโดยล่วง

ไปกึ่งเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้วโดยส่วนแห่งวิหาร

ธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมี เพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย

บ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความดำริผิดเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะเจรจาผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ

เจรจาชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะการงานผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะการงานชอบ

เป็นปัจจัยบ้าง เพราะเลี้ยงชีพผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะเลี้ยงชีพชอบเป็น

ปัจจัยบ้าง เพราะพยายามผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะพยายามชอบเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะความระลึกผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความระลึกชอบเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัย

บ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและ

สัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และ

เมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.

จบปฐมวิหารสูตรที่ ๑

อรรถกถาวิหารวรรคที่ ๒

อรรถกถาวิหารสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิหารสูตรที่ ๑ แห่งวิหารวรรคที่ ๒.

บทว่า อิจฺฉามห ภิกฺขเว อฑฺฒมาส ปฏิสลฺลียิตุ ความว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นนิ่งอยู่แต่ผู้เดียวตลอดกึ่งเดือน

หนี่ง. บทว่า นมฺหิ เกนจิ อุปสงฺกมิตพฺโพ อญฺตร เอเกน

ปิณฺฑปาตนีหารเกน ความว่า ภิกษุใดไม่ทำวาจาอันขวนขวายเพื่อคน พึง

นำบิณฑบาตอันตกแต่งในตระกูลทั้งหลาย ซึ่งมีศรัทธาไปเพื่อประโยชน์แก่เรา

พึงน้อมเข้าไปเพื่อเรา ใคร ๆ คนอื่นจะเป็นภิกษุหรือคฤหัสถ์ไม่พึงเข้าไป

หาเรา นอกจากภิกษุนั้นผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้. ตอบว่า

ได้ยินว่า ในกึ่งเดือนนั้น สัตว์ที่พระองค์จะพึงแนะนำไม่มี. เมื่อความเช่นนั้น

พระศาสดาทรงดำริว่า เราจักยังกึ่งเดือนนี้ให้ล่วงไปด้วยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ

การอยู่เป็นสุขจักมีแก่เราด้วยอาการอย่างนี้ และในอนาคต ชนผู้เกิดใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

ภายหลัง จักเอาอย่างว่า แม้พระศาสดาทรงละคณะไปประทับอยู่ แต่พระองค์

เดียว จะกล่าวอะไรถึงพวกเราเล่า ข้อนั้น จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข

แก่ปัจฉิมชนนั้น ตลอดกาลนาน ดังนี้ จึงตรัสอย่างนี้ ด้วยเหตุนี้.

แม้ภิกษุสงฆ์ทูลรับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว จึงได้ถวายภิกษุรูปหนึ่ง

ภิกษุรูปนั้น ทำกิจทั้งปวงมีการกวาดบริเวณพระคันธกุฎี ถวายน้ำสรงพระพักตร์

และไม้ชำระพระทนต์เป็นต้น แต่เช้าตรู่เสร็จแล้ว ก็หลีกไปในขณะนั้น.

บทว่า เยน สฺวาห ตัดบทเป็น เยน สุ อห. บทว่า ปมาภิ-

สมฺพุทฺโธ ความว่า เราได้ตรัสรู้ ครั้งแรก อยู่ด้วยวิหารธรรม ในภาย

ใน ๔๙ วัน. บทว่า วิหรามิ นี้ เป็นคำปัจจุบันลงในอรรถของอดีต. บทว่า

ตสฺส ปเทเสน ความว่า โดยส่วนแห่งวิหารธรรมแรกตรัสรู้นั้น. ส่วนแห่งขันธ์

ส่วนแห่งอายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ ปัจจยาการ สติปัฏฐาน ฌานและ

นามรูป ส่วนแห่งธรรม มีอย่างต่าง ๆ กัน ชื่อว่า ส่วนในวิหารธรรมนั้น.

พระองค์ทรงหมายถึงส่วนแห่งธรรมนั้นแม้ทั้งปวง จึงตรัสว่า ตสฺส ปเทเสน

วิหาสิ ดังนี้.

ก็ในปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงใคร่ครวญพิจารณาขันธ์

ห้า หมดทุกส่วนแล้วในภายใน ๔๙ วัน เหมือนพระราชาทรงปกครองราช-

สมบัติแล้ว รับสั่งให้เปิดห้องนั้น ๆ เพื่อทอดพระเนตรสมบัติอันเป็นแก่นสาร

ของพระองค์ พึงพิจารณาอยู่ ซึ่งรัตนะทั้งหลายมีทอง เงิน แก้วมุกดาและ

มณีเป็นต้นฉะนั้น. ส่วนในกึ่งเดือนนี้ ทรงพิจารณาอยู่ซึ่งเวทนาขันธ์เท่านั้น

อันเป็นส่วนแห่งขันธ์เหล่านั้น. เมื่อพระองค์ทรงแลดูอยู่ว่า สัตว์ทั้งหลายเหล่า

นี้ ย่อมเสวยซึ่งสุขชื่อเห็นปานนี้ เสวยซึ่งทุกข์ เห็นปานนี้ ดังนี้ สุขเวทนา

เป็นไปแล้ว จนถึงภวัคคพรหม ทุกขเวทนาเป็นไปแล้ว จนถึงอเวจี ทั้ง

หมดปรากฏแล้ว โดยอาการทั้งปวง. ต่อมา ทรงอยู่กำหนดเวทนานั้น โดย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

นัยเป็นต้นว่า เวทนาย่อมมีเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัยบ้างดังนี้. ในปฐม

โพธิกาล ทรงอยู่ทำอายตนะ ๑๒ ให้หมดทุกส่วนอย่างนั้น. ก็ในกึ่งเดือนนี้

พระองค์ทรงพิจารณาอยู่ ซึ่งส่วนหนึ่งแห่งธัมมายตนะ ด้วยสามารถเวทนาซึ่ง

เป็นส่วนแห่งอายตนะเหล่านั้น ซึ่งส่วนหนื่งแห่งธัมมธาตุด้วยสามารถเวทนา

ซึ่งเป็นส่วนแห่งธาตุทั้งหลาย ซึ่งส่วนหนึ่งแห่งทุกขสัจด้วยสามารถเวทนาขันธ์

เท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนแห่งสัจจะทั้งหลาย ซึ่งส่วนหนึ่งแห่งปัจจัยด้วยสามารถ

เวทนาเท่านั้น เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย ซึ่งเป็นส่วนแห่งปัจจัยทั้งหลาย ซึ่ง

ส่วนหนึ่งแห่งองค์ฌานด้วยสามารถเวทนาเท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนแห่งฌานทั้ง

หลาย ทรงพิจารณาอยู่ซึ่งส่วนอันหนึ่งแห่งนามด้วยสามารถเวทนาเท่านั้น ซึ่ง

ส่วนอันหนึ่งแห่งนามด้วยสามารถเวทนาเท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนแห่งนามและรูป.

ส่วนในปฐมสมโพธิ์ ทรงทำธรรมมีกุศลเป็นต้นให้หมดทุกส่วนใน

ภายใน ๔๙ วัน เสร็จแล้วทรงพิจารณาอยู่ ซึ่งปกรณ์ ๗ อันเป็นอนันตรนัย.

ก็ในกึ่งเดือนนี้ พระองค์ทรงพิจารณาอยู่ซึ่งหมวด ๓ แห่งเวทนาอย่างเดียว

ซึ่งเป็นส่วนแห่งธรรมทั้งปวง. วิหารสมาบัตินั้น ๆ ในที่นั้น ๆ เกิดแล้ว ด้วย

อานุภาพแห่งเวทนา.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่แล้วโดยอาการใด เมื่อจะ

ทรงแสดงอาการนั้น จึงตรัสคำว่า มิจฺฉาทิฏฺิปจฺจยาปิ เป็นอาทิ. ในบท

เหล่านั้น บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิปจฺจยาปิ ความว่า แม้เวทนาสัมปยุตด้วย

ทิฏฐิ ย่อมควร. เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลบ้าง เวทนาที่เป็นวิบาก

บ้าง เกิดขึ้นเพราะทำทิฏฐิให้เป็นอุปนิสัย ย่อมควร. ในบทนั้น เวทนา

สัมปยุตด้วยมิจฉาทิฏฐิ ย่อมเป็นอกุศลอย่างเดียว. ส่วนเวทนาเป็นกุศลบ้าง

อกุศลบ้าง ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยทิฏฐิ. เพราะพวกมิจฉาทิฏฐิ อาศัยทิฏฐิ

แล้ว ย่อมให้ข้าวยาคูและภัตเป็นต้นในวันปักษ์ ย่อมตั้งข้อปฏิบัติสำหรับคน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

เดินทางไกลเป็นต้น ย่อมสร้างศาลาบนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ย่อมให้ช่วยกันขุด

สระโบกขรณี ย่อมปลูกกอไม้ดอกในศาลเจ้าเป็นต้น ย่อมลาดสะพานในแม่น้ำ

และทางลำบากเป็นต้น ย่อมทำที่ไม่เสมอให้เสมอ เวทนาที่เป็นกุศล ย่อมเกิดขึ้น

แก่คนเหล่านั้น ด้วยประการดังนี้. ส่วนคนเหล่านั้นอาศัยความเห็นผิด ย่อม

ด่าย่อมบริภาษพวกสัมมาทิฏฐิด้วยตนเอง ย่อมทำกรรมมีการฆ่าและการจองจำ

เป็นต้น ฆ่าสัตว์แล้วย่อมนำเข้าไปสังเวยแก่เทพดาทั้งหลาย เวทนาที่เป็นอกุศล

ย่อมเกิดขึ้นแก่คนเหล่านั้น ด้วยประการดังนี้. ส่วนเวทนาที่เป็นวิบาก ย่อม

มีแก่ผู้อยู่ในระหว่างภพ.

แม้เวทนาสัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ เวทนาที่เป็นกุศลและอกุศลบ้าง

เวทนาที่เป็นวิบากบ้าง อันเกิดขึ้น เพราะทำสัมมาทิฏฐิให้เป็นอุปนิสัย ย่อม

ควร แม้ในบทว่า สมฺมาทิฏฺิปจฺจยา นี้. ในบทนั้นเวทนาอันสัมปยุตด้วย

สัมมาทิฏฐิ ย่อมเป็นกุศลอย่างเดียว. ส่วนคนเหล่านั้น อาศัยความเห็นชอบ

แล้ว จึงพากันทำบุญทั้งหลายเป็นอาทิอย่างนี้ว่า การบูชาพระพุทธเจ้า ประทีป

ดอกไม้ การฟังธรรมใหญ่ การให้ประดิษฐานพระเจดีย์ในทิสาภาค ซึ่งยังไม่

ประดิษฐาน. เวทนาที่เป็นกุศล ย่อมเกิดขึ้นแก่คนเหล่านั้น ด้วยประการดัง

นี้. คนเหล่านั้น อาศัยความเห็นชอบเท่านั้นแล้ว จึงด่าบริภาษพวกมิจฉาทิฏฐิ

ย่อมยกตน ข่มคนอื่น เวทนาอันเป็นอกุศล ย่อมเกิดขึ้นแก่คนเหล่านั้น ด้วย

ประการดังนี้. ส่วนเวทนาอันเป็นวิบาก ย่อมมีแก่คนทั้งหลายผู้อยู่ในระหว่าง

ภพเท่านั้น. แม้ในบทเป็นอาทิว่า มิจฺฉาสงฺกปฺปปจฺจยา ก็มีนัยนี้แล.

ส่วนในบทเป็นอาทิว่า ฉนฺทปจฺจยา พึงทราบเวทนาอันสัมปยุตด้วยจิต

ประกอบด้วยโลภะ ๘ ดวง เพราะฉันทะเป็นปัจจัย. เวทนาในปฐมฌานย่อม

มี เพราะวิตกเป็นปัจจัย เวทนาในสัญญาสมาบัติ ๖ ที่เหลือ เว้นปฐมฌาน

ย่อมมี เพราะสัญญาเป็นปัจจัย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

ในบทเป็นอาทิว่า ฉนฺโท จ อวูปสนฺโต ความว่า เวทนาอัน

สัมปยุตด้วยจิตประกอบด้วยโลภะ ๘ ดวง ย่อมมีในเพราะความไม่สงบแห่ง

ฉันทวิตกและสัญญาทั้งสาม แต่พอฉันทะสงบ เวทนาในปฐมฌาน ก็ย่อมมี

เวทนามีทุติยฌานเป็นต้น ท่านประสงค์แล้วในเพราะความสงบฉันทะและวิตก.

เวทนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะย่อมมีในเพราะความสงบฉันทวิตกและ

สัญญาแม้สามได้. บทว่า อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา ได้แก่ เพื่อบรรลุอรหัตผล.

บทว่า อตฺถิ วายาม ได้แก่ มีความเพียร. บทว่า ตสฺมึปิ าเน

อนุปฺปตฺเต ความว่า เมื่อถึงเหตุแห่งพระอรหัตผล ด้วยสามารถแห่งการ

ปรารภความเพียรนั้น. บทว่า ตปฺปจฺจยาปิ เวทยิต ความว่า เวทนา

ย่อมมีเพราะฐานะเป็นปัจจัยแห่งพระอรหัต เวทนาอันเป็นโลกุตระซึ่งเกิด

พร้อมกับมรรค ๔ ท่านถือเอาแล้วด้วยบทนั้นแล.

จบอรรถกถาปฐมวิหารสูตรที่ ๑

๒. ทุติยวิหารสูตร

เวทนามีเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย.

[๔๙] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอด ๓ เดือน ใคร ๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอก

จากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรูปพระดำรัสของพระผู้มี

ภาคเจ้าแล้ว ใน ๓ เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า นอกจาก

ภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว.

[๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากที่หลีกเร้นโดยล่วง

ไป ๓ เดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

หลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันใด เราอยู่แล้วโดยส่วนแห่ง

วิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมีเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย

บ้าง เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย

บ้าง เพราะความเห็นชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ เพราะความตั้งใจผิดเป็น

ปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็น

ปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง

เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็น

ปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ

ฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบ

เป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะ

นั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.

จบทุติยวิหารสูตรที่ ๒

อรรถกถาวิหารสูตร

พึงทราบวินิจฉัยวิหารสูตรที่ ๒.

เหตุแห่งการหลีกเร้น พึงทราบโดยนัยอันท่านกล่าวแล้วนั่นแล. บท

ว่า มิจฺฉาทิฏฺิวูปสมปจฺจยา ได้แก่ ความเห็นชอบ ชื่อว่า เข้าไปสงบซึ่ง

ความเห็นผิด. เพราะฉะนั้น เวทนาใดท่านกล่าวแล้ว เพราะความเห็นชอบ

เป็นปัจจัย. เวทนานั้นแล ท่านพึงทราบ เพราะสงบความเห็นผิดเป็นปัจจัย.

ส่วนในสูตรนี้ ท่านกล่าวว่า ผู้สำคัญซึ่งเวทนาอันเป็นวิบาก ย่อมไม่ถือเอา

ในที่ไกลเกินไป. ในบททุกบท พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้. ก็เวทนาท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

เรียกว่า เพราะเข้าไปสงบธรรมใด ๆ เป็นปัจจัย. เวทนานั้น ๆ ท่านประสงค์

แล้ว เพราะเป็นธรรมอันตรงกันข้ามกับธรรมนั้น ๆ เป็นปัจจัย. ส่วนในบท

เป็นอาทิว่า ฉนฺทวูปสมปจฺจยา พึงทราบเวทนาในปฐมฌานก่อน เพราะ

ฉันทะสงบเป็นปัจจัย. เวทนาในทุติยฌาน เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัย เวทนา

ในสัญญาสมาบัติ ๖ เพราะสัญญาเป็นปัจจัย เวทนาในเนวสัญญานาสัญญายตนะ

เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัย. บทเป็นอาทิว่า ฉนฺโท จ วูปสนฺโต มีเนื้อ

ความอันกล่าวแล้วแล.

จบอรรถกถาวิหารสูตรที่ ๒

๓. เสขสูตร

องค์ ๘ ของพระเสขะ

[๕๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระเสขะ ๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ

จึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นของพระเสขะ ฯลฯ ประกอบ

ด้วยสัมมาสมาธิอันเป็นของพระเสขะ ดูก่อนภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล

จึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ.

จบเสขสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

อรรถกถาเสขสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเสขสูตรที่ ๓.

บทว่า เสโข แปลว่า ผู้ยังต้องศึกษา. ถามว่า ย่อมศึกษาอะไร.

ตอบว่า ย่อมศึกษาสิกขา ๓. บทว่า เสขาย ความว่า เกิดขึ้นแล้ว

พร้อมด้วยผล ๓ และมรรค ๔. ชื่อว่า เสขะ เพราะอรรถว่า เขายังต้อง

ศึกษากิจของตน เหตุยังมีกิจไม่สำเร็จแล.

จบอรรถกถาเสขสูตรที่ ๓

๔. ปฐมอุปปาทสูตร

ธรรม ๘ มีเพราะการปรากฏแห่งพระตถาคต

[๕๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้น

นอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรม ๘ ประการ

เป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม ๘ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด

ย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้า.

จบปฐมอุปปาทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

๕. ทุติยอุปปาทสูตร

ธรรม ๘ มีเพราะพระวินัยของพระสุคต

[๕๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้น

นอกจากวินัยของพระสุคต ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ

สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของ

พระสุคต.

จบทุติยอุปปาทสูตรที่ ๕

๖. ปฐมปริสุทธสูตร

ธรรม ๘ ย่อมเกิดเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคต

[๕๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้

บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อม

เกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน

ปราศจากอุปกิเลสที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏ

แห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

จบปฐมปริสุทธสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

๗. ทุติยปริสุทธสูตร

ธรรม ๘ ย่อมบริสุทธิ์เพราะวินัยของพระสุคต

[๕๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้

บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิด

ย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน

คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการ

นี้แล บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยัง

ไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต.

จบทุติยปริสุทธสูตรที่ ๗

อรรถกถา

สูตรที่ ๔ - ๕ - ๖ -๗ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

๘. ปฐมกุกกุฏารามสูตร

มิจฉามรรค ชื่อว่า อพรหมจรรย์

[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม

ใกล้กรุงปาฏลิบุตร ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไป

หาท่านพระอานนท์ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

พอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถาม

ท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า อพรหมจรรย์ ๆ ดังนี้ อพรหม-

จรรย์เป็นไฉนหนอ. ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด

ช่างแสวงหาปัญหา ช่างไต่ถาม ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียก

ว่า อพรหมจรรย์ ๆ ดังนี้ อพรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ.

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

อา. มิจฉามรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ

มิจฉาสมาธิ นี้แลเป็นอพรหมจรรย์.

จบปฐมกุกกุฏารามสูตรที่ ๘

อรรถกถาปฐมกุกกุฏาราม

พึงทราบวินิจฉัยในกุกกุฏารามสูตรที่ ๘

บทว่า อุมฺมงฺโค ได้แก่ พิจารณาปัญหา ด้วยปัญหา คือ แสวง

หาปัญหา. บทว่า เอว หิ ตฺว อาวุโส นี้ พระอานนท์กล่าวแล้ว เพื่อ

ต้องการให้ท่านภัททะตั้งคำถาม.

จบอรรถกถากุกกุฏารามสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

๙. ทุตยกุกกุฏารามสูตร

อริยมรรค ชื่อว่า พรหมจรรย์

[๕๗] ปาฏลิปุตตนิทาน. พระภัททะถามว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า

พรหมจรรย์ ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน.

พระอานนทเถระตอบว่า ดีละ ๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่าง

แสวงหาปัญหา ช่างไต่ถาม ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า

พรหมจรรย์ ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน.

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

อา. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมา-

สมาธิ นี้แลเป็นพรหมจรรย์ ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดของ

พรหมจรรย์.

จบทุติยกุกกุฏารามสูตรที่ ๙

๑๐. ตติยกุกกุฏารามสูตร

ว่าด้วยพรหมจรรย์ พรหมจารี

[๕๘] ปาฏลิปุตตนิทาน. พระภัททะถามว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า

พรหมจรรย์ ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ พรหมจารีเป็นไฉน ที่สุด

ของพรหมจรรย์เป็นไฉน.

พระอานนทเถระตอบว่า ดีละ ๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างแสวง

หาปัญหา ช่างไต่ถาม ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า

พรหมจรรย์ ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ พรหมจารีเป็นไฉน ที่สุด

ของพรหมจรรย์เป็นไฉน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

อา. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมา

สมาธิ นี้แล เป็นพรหมจรรย์ บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าเป็นพรหมจารี ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็น

ที่สุดของพรหมจรรย์.

จบตติยกุกกุฏารามสูตรที่ ๑๐

อรรถกถา

สูตรที่ ๙-๑๐ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบวิหารวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวิหารสูตร ๒. ทุติยวิหารสูตร ๓. เสขสูตร ๔.ปฐม-

อุปปาทสูตร ๕. ทุติยอุปปาทสูตร ๖. ปฐมปริสุทธสูตร ๗. ทุติยปริสุทธ-

สูตร ๘. ปฐมกุกกุฏารามสูตร ๙. ทุติยกุกกุฏารามสูตร ๑๐. ตติยกุกกุฏา-

รามสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

มิจฉัตตวรรคที่ ๓

๑. มิจฉัตตสูตร*

ความเห็นผิดและความเห็นถูก

[๕๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงมิจฉัตตะ

(ความผิด) และสัมมัตตะ (ความถูก) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

เรื่องนั้น.

[๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉัตตะเป็นไฉน ความเห็นผิด ฯลฯ

ความตั้งใจผิด นี้เรียกว่า มิจฉัตตะ.

[๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมัตตะเป็นไฉน ความเห็นชอบ ฯลฯ

ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สัมมัตตะ.

จบมิจฉัตตสูตรที่ ๑

๒. อกุศลธรรมสูตร

อกุศลธรรมและกุศลธรรม

[๖๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอกุศลธรรม

และกุศลธรรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

* อรรถกถาแก้รวมกันไว้ท้ายวรรคนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

[๖๓] คูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อกุศลธรรมเป็นไฉน ความเห็นผิด ฯลฯ

ความตั้งใจผิด นี้เรียกว่า อกุศลธรรม.

[๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุศลธรรมเป็นไฉน ความเห็นชอบ

ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า กุศลธรรม.

จบอกุศลธรรมสูตรที่ ๒

๓. ปฐมปฏิปทาสูตร

มิจฉาปฏิปทาและสัมมาปฏิปทา

[๖๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิปทา

และสัมมาปฏิปทาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน ความเห็นผิด

ฯลฯ ความตั้งใจผิด นี้เรียกว่า มิจฉาปฏิปทา.

[๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน ความเห็นชอบ

ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา.

จบปฐมปฏิปทาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

๔. ทุติยปฏิปทาสูตร

ว่าด้วยญายธรรม

[๖๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉา-

ปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อม

ไม่ยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ ก็

มิจฉาปฏิปทาเป็นไฉน ความเห็นผิด ฯ ลฯ ความตั้งใจผิด นี้เรียกว่า

มิจฉาปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญมิจฉาปฏิปทาของคฤหัสถ์

หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังญายธรรมอัน

เป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติผิดเป็นตัวเหตุ.

[๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์

หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรมอัน

เป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ ก็สัมมาปฏิปทาเป็นไฉน

ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า สัมมาปฏิปทา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราสรรเสริญสัมมาปฏิปทาของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต คฤหัสถ์หรือ

บรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังญายธรรมอันเป็นกุศลให้สำเร็จ เพราะความ

ปฏิบัติชอบเป็นตัวเหตุ.

จบทุติยปฏิปทาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

๕. ปฐมอสัปปุริสสูตร

ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๗๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและ

สัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน

โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด

พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.

[๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน

โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ เลี้ยงชีพ

ชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ.

จบปฐมอสัปปุริสสูตรที่ ๕

๖. ทุติยอสัปปุริสสูตร

ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่า

[๗๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษ

และอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษ

ผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน

โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ ตั้งใจผิด บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าอสัตบุรุษเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ ตั้งใจผิด รู้ผิด พ้นผิด

บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษผู้ยิ่งกว่า อสัตบุรุษ.

[๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน

โลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ.

[๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ รู้ชอบ

พ้นชอบ บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัตบุรุษ.

จบทุติยอสัปปุริสสูตรที่ ๖

๗. กุมภสูตร

ว่าด้วยธรรมเครื่องรองรับจิต

[๗๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่

ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก

ฉันใด จิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มี

เครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ยาก.

[๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นเครื่องรองรับจิต อริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็นเครื่อง

รองรับจิต.

[๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหม้อที่ไม่มีเครื่องรองรับ

ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อมตกลงไปได้ยาก ฉันใด จิตก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

เหมือนกัน ไม่มีเครื่องรองรับ ย่อมกลิ้งไปได้ง่าย ที่มีเครื่องรองรับ ย่อม

กลิ้งไปได้ยาก.

จบกุมภสูตรที่ ๗

๘. สมาธิ

ว่าด้วยสัมมาสมาธิอันประเสริฐ

[๘๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ

อันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ พร้อมทั้งเครื่องประกอบแก่เธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิอันประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุ

พร้อมทั้งเครื่องประกอบเป็นไฉน คือความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ.

[๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ความ

ที่จิตมีเครื่องประกอบด้วยองค์ ๗ ประการเหล่านี้นั้น เรียกว่าสัมมาสมาธิอัน

ประเสริฐ พร้อมทั้งเหตุบ้าง พร้อมทั้งเครื่องประกอบบ้าง.

จบสมาธิสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

๙. เวทนาสูตร

เจริญอริยมรรคเพื่อกำหนดรู้เวทนา

[๘๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้

๓ ประการเป็นไฉน คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑

เวทนา ๓ ประการนี้แล.

[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคล

พึงเจริญ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เป็นไฉน คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้แล.

จบเวทนาสูตรที่ ๙

๑๐. อุตติยสูตร

เจริญอริยมรรคเพื่อละกามคุณ ๕

[๘๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ

ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า กามคุณ ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

แล้ว กามคุณ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วเป็นไฉนหนอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

[๘๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ อุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้

เรากล่าวไว้แล้ว กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด

เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู . . . กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก . . . รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น. . .

โผฏฐัพพะที่พึ่งรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่น่ารัก

ยั่วยวนชวนให้กำหนัด ดูก่อนอุตติยะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้แล้ว.

[๘๘] ดูก่อนอุตติยะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคล

พึงเจริญ เพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เป็นไฉน คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญเพื่อละกามคุณ ๕ เหล่านี้แล.

จบอุตติยสูตรที่ ๑๐

จบมิจฉัตตวรรคที่ ๓

มิจฉัตตวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถามิจฉัตตสูตรเป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยในมิจฉัตตสูตรที่ ๑ แห่งมิจฉัตตวรรคที่ ๓.

บทว่า มิจฺฉตฺต แปลว่า มีความผิดสภาวะ. บทว่า สมฺมตฺติ

แปลว่า มีความถูกเป็นสภาวะ. บทว่า มิจฺฉาปฏิปตฺตฺาธิกรณเหตุ แปลว่า

เพราะเหตุแห่งการปฏิบัติผิด. อธิบายว่า เพราะเหตุทำการปฏิบัติผิด. บทว่า

นาราธโก ได้แก่ ไม่ถึงพร้อม. บทว่า าย ธมฺม ได้แก่ อริยมรรคธรรม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

บทว่า มิจฺฉาาณี ความว่า รู้ผิด คือพิจารณาผิด. บทว่า มิจฺฉาวิมุตฺติ

ความว่า ไม่พ้นตามความจริง คือไม่ให้พ้นไปจากทุกข์. วัฏฏะและวิวัฏฏะ

ในมรรค ๔ พระองค์ตรัสแล้ว ในพระสูตรที่ ๓ เป็นต้นเหล่านี้. ส่วนบุคคล

ที่ทรงถามธรรมที่ทรงจำแนก มีอยู่ในพระสูตรทั้ง ๒ สุดท้ายในที่นั้น. ทรง

แสดงบุคคลโดยธรรมแล้วอย่างนี้. บทว่า สุปฺปวตฺติโย แปลว่า เป็นที่ตั้ง

แห่งความเป็นไปได้ง่าย. อธิบายว่า บุคคลย่อมยังจิตให้แล่นไปยังทิศอัน

ปรารถนา และต้องการแล้วได้ ฉันใด บุคคลก็ย่อมสามารถให้หม้อกลิ้งไป

ได้ฉันนั้น. บทว่า สอุปนิส สปริกฺขาร ได้แก่ พร้อมทั้งปัจจัย พร้อม

ทั้งบริวาร คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามิจฉัตตวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มิจฉัตตสูตร ๒. อกุศลธรรมสูตร ๓. ปฐมปฏิปทาสูตร

๔. ทุคิยปฏิปทาสูตร ๑๘. ปฐมอสัปปุริสสูตร ๖. ทุติยอสัปปุริสสูตร

๗. กุมภสูตร ๘. สมาธิสูตร ๙. เวทนาสูตร ๑๐. อุตติยสูตร พร้อมทั้ง

อรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

ปฏิปัตติวรรคที่ ๔

๑. ปฏิปัตติสูตร

ว่าด้วยมิจฉาปฏิบัติและสัมมาปฏิบัติ

[๘๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมิจฉาปฏิบัติ

และสัมมาปฏิบัติแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาปฏิบัติเป็นไฉน คือ ความเห็น

ผิด ฯลฯ ความตั้งใจผิด นี้เรียกว่ามิจฉาปฏิบัติ.

[๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาปฏิบัติเป็นไฉน คือ ความเห็น

ชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่าสัมมาปฏิบัติ.

จบปฏิปัตติสูตรที่ ๑

๒. ปฏิปันนสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้ปฏิบัติและปฏิบัติชอบ

[๙๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลผู้

ปฏิบัติผิด และบุคคลผู้ปฏิบัติชอบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปฏิบัติผิดเป็นไฉน บุคคลบาง

คนในโลกนี้ เป็นผู้มีความตั้งใจผิด บุคคลนี้เรียกว่า ผู้มีปฏิบัติผิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

[๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปฏิบัติชอบเป็นไฉน บุคคล

บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีความตั้งใจชอบ บุคคลนี้เรียก

ว่าผู้ปฏิบัติชอบ.

จบปฏิปันนสูตรที่ ๒

๓. วิรัทธสูตร

ผลของผู้พลาดและผู้ปรารภอริยมรรค

[๙๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

[๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็น

ไฉน คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งพลาดแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว อริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ แห่งบุคคลเหล่านั้น ย่อมให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

จบวิรัทธสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

๔. ปารสูตร

ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงฝั่ง (นิพพาน)

[๙๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้

ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพี่อถึงฝั่ง (นิพพาน) จาก

ที่มิใช่ฝั่ง (วัฏฏะ) ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ

ความตั้งใจชอบ ธรรม ๘ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก

แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึง

ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๙๘] ในพวกมนุษย์ ชนที่ถึงฝั่งมีจำนวน

น้อย แต่หมู่สัตว์นอกนี้ ย่อมวิ่งไปตามฝั่ง

นั่นเอง ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามใน

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ชน

เหล่านั้นข้ามบ่วงมฤตยูซึ่งแสนยากที่จะ

ข้ามไปถึงฝั่งได้ บัณฑิตพึงละธรรมฝ่ายดำ

เสีย เจริญธรรมฝ่ายขาว ออกจากความ

อาลัย อาศัยธรรมอันไม่มีความอาลัยแล้ว

พึงละกามเสีย เป็นผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่อง

กังวลปรารถนาความยินดีในวิเวก ที่สัตว์

ยินดีได้ยาก บัณฑิตพึงยังตนให้ผ่องแผ้ว

จากเครื่องเศร้าหมองจิต ชนเหล่าใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

อบรมจิตดีแล้วโดยชอบในองค์เป็นเหตุให้

ตรัสรู้ ไม่ถือมั่นยินดีแล้วในความสละคืน

ความถือมั่น ชนเหล่านั้นเป็นผู้สิ้นอาสวะ

มีความรุ่งเรือง ปรินิพพานแล้วในโลกนี้.

จบปารสูตรที่ ๔

๕. ปฐมสามัญญสูตร

ว่าด้วยสามัญญะและสามัญญผล

[๙๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ

(ความเป็นสมณะ) และสามัญญผล (ผลแห่งความเป็นสมณะ) แก่เธอทั้ง

หลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๑๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน อริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก

ว่าสามัญญะ.

[๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญผลเป็นไฉน คือ โสดาปัตติผล

สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล นี้เรียกว่าสามัญญผล.

จบปฐมสามัญญสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

๖. ทุติยสามัญญสูตร

ว่าด้วยสามัญญะและสามัญญผล

[๑๐๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสามัญญะ

และประโยชน์แห่งสามัญญะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สามัญญะเป็นไฉน อริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก

ว่าสามัญญะ.

[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งสามัญญะเป็นไฉน

ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่ง

สามัญญะ.

จบทุติยสามัญญสูตรที่ ๖

๗. ปฐมพรหมัญญสูตร

ความเป็นพรหมและเป็นพรหมัญญผล

[๑๐๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ

(ความเป็นพรหม) และพรหมัญญผล (ผลแห่งความเป็นพรหม) แก่เธอทั้ง

หลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๑๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน อริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก

ว่าพรหมัญญะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

[๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญผลเป็นไฉน คือ โสดา

ปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล นี้เรียกว่า พรหมัญญผล.

จบปฐมพรหมัญญสูตรที่ ๗

๘. ทุติยพรหมัญญสูตร

ความเป็นพรหมและประโยชน์แห่งความเป็นพรหม

[๑๐๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมัญญะ

และประโยชน์แห่งพรหมัญญะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๑๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมัญญะเป็นไฉน อริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก

ว่า พรหมัญญะ.

[๑๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมัญญะเป็นไฉน

ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่ง

พรหมัญญะ.

จบทุติยพรหมัญญสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

๙. ปฐมพรหมจริยสูตร

พรหมจรรย์และผลแห่งพรหมจรรย์

[๑๑๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์

และผลแห่งพรหมจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๑๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน อริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก

ว่าพรหมจรรย์.

[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผลแห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน คือ

โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล นี้เรียกว่า ผลแห่ง

พรหมจรรย์.

จบปฐมพรหมจริยสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยพรหมจริยสูตร

พรหมจรรย์และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์

[๑๑๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงพรหมจรรย์

และประโยชน์แห่งพรหมจรรย์ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน อริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียก

ว่า พรหมจรรย์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ประโยชน์แห่งพรหมจรรย์เป็นไฉน

ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า ประโยชน์แห่ง

พรหมจรรย์.

จบทุติยพรหมจริยสูตรที่ ๑๐

จบปฏิปัตติวรรคที่ ๔

ปฏิปัตติวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาปฏิปัตติสูตรเป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยในปฏิปัตติสูตรที่ ๑ แห่งปฏิปัตติวรรคที่ ๔.

บทว่า มิจฺฉาปฏิปตฺตึ คือซึ่งไม่ปฏิบัติตามเป็นจริง. บทว่า มิจฺ-

ฉาปฏิปนฺน คือผู้ไม่ปฏิบัติตามเป็นจริง. สูตรหนึ่ง ท่านกล่าวด้วยสามารถ

ธรรม สูตรหนึ่งด้วยสามารถบุคคล. บทว่า อปาราปาร ได้แก่ ซึ่งนิพพาน

จากวัฏฏะ ชนเหล่าใด ถึงซึ่งฝั่งแล้วก็ดี กำลังถึงก็ดี จักถึงก็ดี ชนเหล่านั้น

ทั้งหมดพึงทราบว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง ในบทว่า ปารคามิโน ดังนี้.

บทว่า ตีรเมวานุธาวติ ความว่า ย่อมวิ่งไปสู่วัฏฏะนั่นเอง คือ

ย่อมเที่ยวไปในวัฏฏะ. บทว่า กณฺห คือ อกุศลธรรม. บทว่า โอกา อโนก

ได้แก่ จากวัฏฏะอาศัยนิพพาน. บทว่า อาคมฺม ได้แก่ ปรารภ หมายถึง

อาศัย.

บทว่า ปริโยทเปยฺย ได้แก่ พึงทำให้บริสุทธิ์. บทว่า จิตฺตกฺเลเสหิ

ได้แก่ ด้วยนิวรณ์อันทำจิตให้เศร้าหมอง. บทว่า สมฺโพธิยงฺเคสุ ได้แก่

ในโพชฌงค์ ๗.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

บทว่า สามญฺตฺถ ได้แก่ นิพพาน. จริงอยู่ นิพพานนั้นท่าน

กล่าวว่า ประโยชน์ของความเป็นสมณะ เพราะควรเข้าถึงโดยความเป็นสมณะ.

บทว่า พฺรหฺมญฺ คือความเป็นผู้ประเสริฐสุด. บทว่า พฺรหฺมญฺ-

ตฺถ ได้แก่ พระนิพพาน เพราะควรเข้าถึงโดยความเป็นผู้ประเสริฐสุด.

เกจิอาจารย์กล่าวว่า นิพพานอันมาแล้วว่า เป็นที่สิ้นไปแห่งราคะในหนหลัง

และใน ๓ สูตรนี้ในที่ใด ๆ แม้อรหัตก็ควรในที่นั้น ๆ เช่นกัน.

จบอรรถกถาปฏิปัตติสูตรเป็นต้น

จบปฏิปัตติวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฏิปัตตสูตร ๒. ปฏิปันนสูตร ๓. วิรัทธสูตร ๔. ปารสูตร

๕. ปฐมสามัญญสูตร ๖. ทุติยสามัญญสูตร ๗. ปฐมพรหมัญญสูตร

๘. ทุติยพรหมัญญสูตร ๙. ปฐมพรหมจริยสูตร ๑๐. ทุติยพรหมจริยสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

อัญญติตถิยวรรคที่ ๕

๑. วิราคสูตร

ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ

[๑๑๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์-

ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์อะไร เธอทั้งหลาย

ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเพื่อสำรอกราคะ.

[๑๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึง

ถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ ข้อปฏิบัติ

เพื่อสำรอกราคะมีอยู่หรือ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวก

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ทางมีอยู่

ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะมีอยู่.

[๑๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน ข้อปฏิบัติเพื่อสำรอก-

ราคะเป็นไฉน อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือความเห็นชอบ ฯลฯ

ความตั้งใจชอบ นี้เป็นทาง นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อสำรอกราคะ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์-

ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

จบวิราคสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

๒. สังโยชนสูตร

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละสังโยชน์

[๑๒๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์-

ปริพาชก พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์อะไร เธอทั้งหลาย

ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาซกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เพื่อละสังโยชน์ ฯลฯ

จบสังโยชนสูตรที่ ๒

๓. อนุสยสูตร

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อถอนอนุสัย

[๑๒๑] . . .ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหม-

จรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อถอนอนุสัย ฯลฯ

จบอนุสยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

๔. อัทธานสูตร

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏ

[๑๒๒] . . . ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหม-

จรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏอันยืดยาว ฯลฯ

จบอัทธานสูตรที่ ๓

๕. อาสวสูตร

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อสิ้นอาสวะ

[๑๒๓] . . .ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหม-

จรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อความสิ้นอาสวะ ฯลฯ

จบอาสวสูตรที่ ๕

๖. วิชชาวิมุตติสูตร

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำให้แจ้งซึ่งวิชชาและวิมุตติ

[๑๒๔] . . . ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหม-

จรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชา และวิมุตติ ฯลฯ

จบวิชชาวิมุตติสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

๗. ญาณทัสสนสูตร

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อญาณทัสสนะ

[๑๒๕] . . .ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหม-

จรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อญาณทัสสนะ ฯลฯ

จบญาณทัสสนสูตรที่ ๗

๘. อนุปาทาปรินิพพานสูตร

ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึง

ถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ในพระสมณโคดม เพื่อประโยชน์อะไร เธอทั้งหลายถูกถาม

อย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อน

ผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.

[๑๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึง

ถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทางมีอยู่หรือ ข้อปฏิบัติ

เพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่หรือ เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจง

แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย

ทางมีอยู่ ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพานมีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางเป็นไฉน ข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทา-

ปรินิพพานเป็นไฉน อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความ

เห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เป็นข้อปฏิบัติเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงชี้แจงแก่พวกอัญญ-

เดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

จบอนุปาทาปรินิพพานสูตรที่ ๘

จบอัญญติตถิยวรรคที่ ๕

อรรถกถาอัญญติตถิยเปยยาล

พึงทราบวินิจฉัยใน อัญญติตถิยเปยยาล.

บทว่า อทฺธานปริญฺตฺถ ได้แก่ กำหนดรู้สังสารวัฏอันยืดยาว

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นิพพานเพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏอันยืดยาว.

อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่พระนิพพานนั้น. บทว่า อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถ

ได้แก่ ไม่ใช่ประโยชน์ทางปัจจัย เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน. อนึ่ง ในเปยยาลนี้

ท่านกล่าวถึงพระอรหัต ด้วยผลคือวิชชาวิมุตติ ท่านกล่าวการพิจารณาด้วย

ญาณทัสสนะว่าเป็นนิพพาน โดยบทที่เหลือ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาอัญญติตถิยเปยยาล

รวมพระสูตรในอัญญติตถิยวรรค คือ

๑. วิราคสูตร ๒. สังโยชนสูตร ๓. อนุสยสูตร ๔. อัทธานสูตร

๕. อาสวสูตร ๖. วิชชาวิมุตติสูตร ๓ . ญาณทัสสนสูตร ๘. อนุปาทา-

ปรินิพพานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

*สุริยเปยยาลที่ ๖

๑. ปฐมกัลยาณมิตตสูตร

มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๒๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น

สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น

เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของ

ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์

๘ จักทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

อย่างไรเล่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญ

สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์

๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบปฐมกัลยาณมิตตสูตรที่ ๑

*อรรถกถา แก้รวมไว้ท้ายวรรคนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

๒. ปฐมสีลสัมปทาสูตร

สีลสัมปทา เป็นนิมิต แห่งอริยมรรค

[๑๓๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น

สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น

เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของ

ภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล พึงหวังข้อนี้ได้ ฯลฯ

จบปฐมสีลสัมปทาสูตรที่ ๒

๓. ปฐมฉันทสัมปทาสูตร

ฉันทสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๓๒] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฯลฯ

จบปฐมฉันทสัมปทาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

๔. ปฐมอัตตสัมปทาสูตร

อัตตสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๓๓] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งตน [ความถึงพร้อมแห่งจิต] ฯลฯ

จบปฐมอัตตสัมปทาสูตรที่ ๔

๕. ปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตร

ทิฏฐิสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๓๔] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ฯลฯ

จบปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๕

๖. ปฐมอัปปมาทสัมปทาสูตร

ความไม่ประมาทเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๓๕] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท ฯลฯ

จบปฐมอัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

๗. ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๓๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น

สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นมิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น

เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ของ

ภิกษุ คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้น

เหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจ

โดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ใน

ใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้

มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ

สละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้

ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้

มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

๘. ทุติยกัลยาณมิตตสูตร

มิตรดีเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๓๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น

สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น

เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของ

ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัน

ภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็น

ที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญ

สัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัด

โมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

อย่างนี้แล.

จบทุติยกัลยาณมิตตสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

๙. ทุติยสีลสัมปทาสูตร

สีลสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๔๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น

สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น

เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ

คือ ความถึงพร้อมด้วยศีล ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบทุติยสีลสัมปทาสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยฉันทสัมปทาสูตร

ฉันทสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๔๑] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฯลฯ

จบทุติยฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

๑๑. ทุติยอัตตสัมปทาสูตร

อัตตสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๔๒] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งตน ฯลฯ

จบทุติยอัตตสัมปทาสูตรที่ ๑๑

๑๒. ทุติยทิฏฐิสัมปทาสูตร

ทิฏฐิสัมปทาเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๔๓] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ฯลฯ

จบทุติยทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑๒

๑๓. ทุติยอัปปมาทสัมปทาสูตร

ความไม่ประมาทเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๔๔] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท ฯลฯ

จบทุติยอัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

๑๔. ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

[๑๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น

สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง สิ่งที่เป็นเบื้องต้น

เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความเกิดแห่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของภิกษุ

คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมแห่งความกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ใน

ใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอัน

กำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด

มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

อย่างนี้แล.

จบทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๑๔

จบสุริยเปยยาลที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

อรรถกถาสุริยเปยยาล

พึงทราบวินิจฉัยใน สุริยเปยยาล.

พึงทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงอย่างนี้ว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี ดุจการ

ขึ้นไปแห่งอรุณ อริยมรรคพร้อมกับวิปัสสนาอันดำรงอยู่ เพราะความเป็นผู้มี

มิตรดีแล้วทำให้เกิดขึ้น ดุจความปรากฏแห่งพระอาทิตย์. บทว่า สีลสมฺปทา

ได้แก่ จตุปาริสุทธศีล. บทว่า ฉนฺทสมฺปทา ได้แก่ กัตตุกามยตาฉันทะ

อันเป็นกุศล. บทว่า อตฺตสมฺปทา คือความเป็นผู้มีจิตสมบูรณแล้ว. บทว่า

ทิฏฺิสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งญาณ. บทว่า อปฺปมาทสมฺปทา

ได้เเก่ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาทอันเป็นตัวการ. บทว่า โยนิโส-

มนสิการสมฺปทา ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยอุบาย.

ท่านกล่าวบทว่า กลฺยาณมิตฺตตา เป็นต้นอีก เพื่อแสดงภาวะโดยอาการแม้อื่น

แห่งสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. พระสูตรเหล่านี้ทั้งหมดท่านกล่าวด้วยสามารถแห่ง

อัธยาศัยของบุคคลโดยเฉพาะ.

จบอรรถกถาสุริยเปยยาลที่ ๖

รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้

๑. ปฐมกัลยาณมิตตสูตร ๒. ปฐมสีลสัมปทาสูตร

๓. ปฐมฉันทสัมปทาสูตร ๔. ปฐมอัตตสัมปทาสูตร

๕. ปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตร ๖. ปฐมอัปปมาทสัมปทาสูตร

๗. ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ๘. ทุติยกัลยาณมิตตสูตร

๙. ทุติยสีลสัมปทาสูตร ๑๐. ทุติยฉันทสัมปทาสูตร

๑๑. ทุติยอัตตสัมปทาสูตร ๑๒. ทุติยทิฏฐิสัมปทาสูตร

๑๓. ทุติยอัปปมาทสัมปทาสูตร. ๑๔. ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

เอกธรรมเปยยาลที่ ๗

๑. ปฐมกัลยาณมิตตสูตร

กัลยาณมิตรมีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๔๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะ

มาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่ง

เป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี

พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญ

สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบปฐมกัลยาณมิตตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

๒. ปฐมสีลสัมปทาสูตร

สีลสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๔๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะ

มาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่ง

เป็นไฉน คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ฯลฯ

จบปฐมสีลสัมปทาสูตรที่ ๒

๓. ปฐมฉันทสัมปทาสูตร

ฉันทสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๕๐] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฯลฯ

จบปฐมฉันทสัมปทาสูตรที่ ๓

๔. ปฐมอัตตสัมปทาสูตร

อัตตสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๕๑] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งตน ฯลฯ

จบปฐมอัตตสัมปทาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

๕. ปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตร

ทิฏฐิสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๕๒] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ฯลฯ

จบปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๕

๖. ปฐมอัปปมาทสูตร

ความไม่ประมาทมีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๕๓] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท ฯลฯ

จบปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๖

๗. ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

โยสิโสมนสิการมีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๕๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะ

มาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่ง

เป็นไฉน คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

นี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริย-

มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ใจใน

ใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้

มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย

นิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อม

ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์

๘ ย่อมกระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๗

๘. ทุติยกัลยาณมิตตสูตร

กัลยาณมิตรมีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๕๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะ

มาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็น

ไฉน คือ ความเป็นผู้มีมิตรดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึง

หวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ

มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่

สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อม

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

๙. ทุติยสีลสัมปทาสูตร

สีลสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๕๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะ

มาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็น

ไฉน คือ ความถึงพร้อมแห่งศีล ฯลฯ

จบทุติยสีลสัมปทาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

๑๐. ทุติยฉันทสัมปทาสูตร

ฉันทสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๕๙] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ ฯลฯ

จบทุติยฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑๐

๑๑. ทุติยอัตตสัมปทาสูตร

อัตตสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๖๐] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งตน ฯลฯ

จบทุติยอัตตสัมปทาสูตรที่ ๑๑

๑๒. ทุติยทิฏฐิสัมปทาสูตร

ทิฏฐิสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๖๑] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ ฯลฯ

จบทุติยทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

๑๓. ทุติยอัปปมาทสัมปทาสูตร

ความไม่ประมาทมีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๖๒] . . . คือ ความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาท ฯลฯ

จบทุติยอัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑๓

๑๔. ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

โยนิโสมนสิการมีอุปการะมากแก่อริยมรรค

[๑๖๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะ

มาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็น

ไฉน คือ ความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้

ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้แจ้งซึ่งอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ใน

ใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัด

โทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอัน

กำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบทุติยโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๑๔

จบเอกธรรมเปยยาลที่ ๗

รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้ คือ

๑. ปฐมกัลยาณมิตตสูตร ๒. ปฐมสีลสัมปทาสูตร ๓. ปฐมฉันท

สัมปทาสูตร ๔. ปฐมอัตตสัมปทาสูตร ๕. ปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตร ๖. ปฐม

อัปปมาทสัมปทาสูตร ๗. ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ๘. ทุติยกัลยาณ

มิตตสูตร ๙. ทุติยสีลสัมปทาสูตร ๑๐. ทุติยฉันทสัมปทาสูตร ๑๑. ทุติยอัตต-

สัมปทาสูตร ๑๒. ทุติยทิฏฐิสัมปทาสูตร ๑๓. ทุติยอัปปมาทสัมปทาสูตร

๑๔. ทุติยโยนิโสมนนิการสัมปทาสูตร.

อรรถกถาเอกธัมมเปยยาลที่ ๗ และคังคาเปยยาลที่ ๙

เอกธัมมเปยยาลก็ดี คังคาเปยยาลก็ดี ในพระสูตรที่ตรัสไว้อย่างนั้น ๆ

กล่าวไว้ด้วยอัธยาศัยของบุคคลโดยเฉพาะ และกล่าวด้วยอัธยาศัยของผู้รู้ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

*นาหันตเอกธรรมเปยยาลที่ ๘

๑. ปฐมกัลยาณมิตตสูตร

กัลยาณมิตรเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๖๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรม

อันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดีพึงหวัง

ข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่ง

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ

อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์

๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบปฐมกัลยาณมิตตสูตรที่ ๑

* เปยยาลที่ ๘ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

๒. ปฐมสีลสัมปทาสูตร

สีลสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๖๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรม

อันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

เหมือนความถึงพร้อมแห่งศีลเลย ฯลฯ

จบปฐมสีลสัมปทาสูตรที่ ๒

๓. ปฐมฉันทสัมปทาสูตร

ฉันทสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๖๘] . . . เหมือนความถึงพร้อมแห่งฉันทะเลย ฯลฯ

จบปฐมฉันทสัมปทาสูตรที่ ๓

๔. ปฐมอัตตสัมปทาสูตร

อัตตสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๖๙] . . . เหมือนความถึงพร้อมแห่งตนเลย ฯลฯ

จบปฐมอัตตสัมปทาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

๕. ปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตร

ทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๗๐] . . .เหมือนความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิเลย ฯลฯ

จบปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๕

๖. ปฐมอัปปมาทสัมปทาสูตร

อัปปมาทสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๗๑] . . .เหมือนความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาทเลย ฯลฯ

จบปฐมอัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๖

๗. ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

โยนิโสมนสิการเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๗๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรม

อันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยัง

ไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความ

ถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

พร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ใน

ใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย

การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตรที่ ๗

๘. ทุติยกัลยาณมิตตสูตร

กัลยาณมิตรเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๗๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรม

อันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึง

หวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

[๑๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ

มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมา-

สมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะ

เป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์

๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบทุติยกัลยาณมิตตสูตรที่ ๘

๙. ทุติยสีลสัมปทาสูตร

สีลสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๗๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรม

อันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

เหมือนความถึงพร้อมแห่งศีลเลย ฯลฯ

จบทุติยสัลสัมปทาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

๑๐. ทุติยฉันทสัมปทาสูตร

ฉันทสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๗๗] . . . เหมือนความถึงพร้อมแห่งฉันทะเลย ฯลฯ

จบทุติยฉันทสัมปทาสูตรที่ ๑๐

๑๑. ทุติยอัตตสัมปทาสูตร

อัตตสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๗๘] . . . เหมือนความถึงพร้อมแห่งตนเลย ฯลฯ

จบทุติยอัตตสัมปทาสูตรที่ ๑๑

๑๒. ทติยทิฏฐิสัมปทาสูตร

ทิฏฐิสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๗๙] . . . เหมือนความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิเลย ฯลฯ

จบทุติยทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑๒

จบทุติยทิฏฐิสัมปทาสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

๑๓. ทุติยอัปปมาทสัมปทาสูตร

อัปปมาทสัมปทาเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๘๐] . . .เหมือนความถึงพร้อมแห่งความไม่ประมาทเลย ฯลฯ

จบทุติยอัปปมาทสัมปทาสูตรที่ ๑๓

๑๔. ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

โยนิโสมสิการเป็นเหตุให้เกิดอริยมรรค

[๑๘๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรม

อันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

เหมือนความถึงพร้อมแห่งการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเลย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวัง

ข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่ง

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๑๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้

ในใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัด

โทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด. มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อม

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบทุติยโยนิโสมนสิการสัมปาสูตรที่ ๑๔

จบนาหันตเอกธรรมเปยยาลที่ ๘

รวมพระสูตรที่มีในเปยยาลนี้ คือ

๑. ปฐมกัลยาณมิตตสูตร ๒. ปฐมสีลสัมปทาสูตร ๓. ปฐมฉันท

สัมปทาสูตร ๔. ปฐมอัตตสัมปทาสูตร ๕. ปฐมทิฏฐิสัมปทาสูตร ๖. ปฐม

อัปปมาทสัมปทาสูตร ๗. ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร ๘. ทุติยกัลยาณ

มิตตสูตร ๙. ทุติยสีลสัมปทาสูตร ๑๐. ทุติยฉันทสัมปทาสูตร ๑๑. ทุติย

อัตตสัมปทาสูตร ๑๒. ทุติยทิฏฐิสัมปทาสูตร ๑๓. ทุติยอัปปมาทสัมปทาสูตร

๑๔. ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

*คังคาเปยยาลที่ ๙

๑. คังคาปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรคเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน

เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๑๘๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน.

จบคังคาปาจีนนินนสูตรที่ ๑

*วรรคนี้ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

๒. ยมุนาปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๑๘๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบยมุนาปาจีนนินนสูตรที่ ๒

๓. อจิรวดีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๑๘๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบอจิรวดีปาจีนนินนสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

๔. สรภูปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๑๘๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบสรภูปาจีนนินนสูตรที่ ๔

๕. มหีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๑๘๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศ

ปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ.

จบมหีปาจีนนินนสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

๖. มหานทีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๑๘๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆ สายใด

สายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี

ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้

ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่ง

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ โน้มไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

เมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน.

จบมหานทีปาจีนนินนสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

๗. คังคาสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร

[๑๙๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้น

เหมือนกัน.

[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

เมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน.

จบคังคาสมุททนินนสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

๘. ยมุนาสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร

[๑๙๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบยมุนาสมุททนินนสูตรที่ ๘

๙. อจิรวดีสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร

[๑๙๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบอจิรวดีสมุททนินนสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

๑๐. สรภูสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร

[๑๙๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบสรภูสมุททนินนสูตรที่ ๑๐

๑๑. มหีสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร

[๑๙๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร

หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบมหีสมุททนินนสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

๑๒. มหานทีสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่สมุทร

[๑๙๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆ สายใด

สายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี

ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุ

เมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่

นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน.

จบมหานทีสมุททนินนสูตรที่ ๑๒

วาระแห่งคังคาเปยยาลที่เขียนไว้โดยย่อ พึงให้พิสดารในเปยยาล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

หมวดที่ ๑ ว่าด้วยการอาศัยวิเวก (เป็นต้น) รวมเป็น ๑๒

สูตร ๖ สูตรแรกอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน ๖ สูตรหลัง

อุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร.

จบหมวดที่ ๑

๑. คังคาปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญ อริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๑๙๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองก์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด

มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมา-

สมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะ

เป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์

๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้

น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

จบคังคาปาจีนนินนสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

๒. ยมุนาปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๐๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . .ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบอมุนาปาจีนนินนสูตรที่ ๒

๓. อจิรวดีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๐๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไป

สู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อ

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบอจิรวดีปาจีนนินนสูตรที่ ๓

๔. สรภูปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบสรภูปาจีนนินนสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

๕. มหีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๐๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศ

ปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบมหีปาจีนนินนสูตรที่ ๕

๖. มหานทีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๐๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆ สายใด

สายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำ

มหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน หลังไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน

แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือน

กัน ฯลฯ

จบมหานทีปาจีนนินนสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

๗. คังคาสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร

[๒๐๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็

เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือน

กัน.

[๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด

มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ

มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อ

กระทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็น

ผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

จบคังคาสมุททนินนสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

๘. ยมุนาสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร

[๒๐๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหล

ไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริย-

มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบยมุนาสมุททนินนสูตรที่ ๘

๙. อจิรวดีสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร

[๒๐๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไป

สู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบอจิรวดีสมุททนินนสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

๑๐. สรภูสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร

[๒๑๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบสรภูสมุททนินนสูตรที่ ๑๐

๑๑. มหีสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร

[๒๑๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร

หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบมหีสมุททนินนสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

๑๒. มหานทีสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่สมุทร

[๒๑๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆ สายใด

สายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำมหี

ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุ

เมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่

นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด

มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมา-

สมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะ

เป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้

น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

จบมหานทีสมุททนินนสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

หมวดที่ ๒ ว่าด้วยการกำจัดราคะ (เป็นต้น) รวมเป็น ๑๒

สูตรที่ ๖ สูตรแรกอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน ๖ สูตรหลัง

อุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร.

จบหมวดที่ ๒

๑. คังคาปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๑๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วย ๘ อย่างไรเล่า จึง

เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ

เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ

มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป

สู่นิพพาน

จบคังคาปาจีนนินนสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

๒. ยมุนาปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๑๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบยมุนาปาจีนนินนสูตรที่ ๒

๓. อจิรวดีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๑๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบอจิรวดีปาจีนนินนสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

๔. สรภูปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๑๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศ

ปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบสรภูปาจีนนินนสูตรที่ ๔

๕. มหีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศ

ปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบมหีปาจีนนินนสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

๖. มหานทีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำใหญ่ไปสู่ทิศปราจีน

[๒๒๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆ สายใด

สายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำ

มหีทั้งหมดไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้

ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . .ฉันนั้นเหมือน

กัน ฯลฯ

จบมหานทีปาจีนนินนสูตรที่ ๖

๗. คังคาสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร

[๒๒๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์

ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือน

กัน.

[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่พระนิพพาน ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ

เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ

มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป

สู่นิพพาน.

จบคังคาสมุททนินนสูตรที่ ๗

๘. ยมุนาสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร

[๒๒๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบยมุนาสมุททนินนสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

๙. อจิรวดีสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่สมุทร

[๒๒๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไป

สู่สมุทร หลั่งไปสุ่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบอจิวดีสมุททนินนสูตรที่ ๙

๑๐. สรภูสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร

[๒๒๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบสรภูสมุททนินนสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

๑๑. มหีสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร

[๒๒๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบมหีสมุททนินนสูตรที่ ๑๑

๑๒. มหานทีสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนมหานทีไหลไปสู่สมุทร

[๒๒๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆ สายใด

สายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่

น้ำมหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด

ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป

สู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

เป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ

มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป

สู่นิพพาน.

จบมหานทีสมุททนินนสูตรที่ ๑๒

หมวดที่ ๓ ว่าด้วยการหยั่งลงสู่อมตะ รวมเป็น ๑๒ สูตร ๖

สูตรแรกอุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน ๖ สูตรหลังอุปมาด้วย

แม่น้ำไหลไปสู่สมุทร.

จบหมวดที่ ๓

๑. คังคาปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๒๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งลงไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อ

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่

นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน

โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไป

สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

เมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน.

จบคังคาปาจีนนินนสูตรที่ ๑

๒. ยมุนาปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๓๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อ

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบยมุนาปาจีนนินนสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

๓. อจิรวดีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๓๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งลงไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อ

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบอจิรวดีปาจีนนินนสูตรที่ ๓

๔. สรภูปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๓๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่ทิศ

ปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบสรภูปาจีนนินนสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

๕. มหีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๓๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่ทิศ

ปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบมหีปาจีนนินนสูตรที่ ๕

๖. มหานทีปาจีนนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนมหานทีไหลไปสู่ทิศปราจีน

[๒๓๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆ สายใด

สายหนึ่งนี้ คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำ

มหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน

แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน

โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

เมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน

จบมหานทีปาจีนนินนสูตรที่ ๖

๗. คังคาสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร

[๒๓๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือน

กัน.

[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่

นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ

อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่พระนิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน

โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

จบคังคาสมุททนินนสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

๘. ยมุนาสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำยมุนาไหลไปสู่สมุทร

[๒๓๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำยมุนาไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบยมุนาสมุททสินนสูตรที่ ๘

๙. อจิรวดีสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำอจิวดีไหลไปสู่สมุทร

[๒๔๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำอจิรวดีไหลไป

สู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบอจิรวดีสมุททนินนสูตรที่ ๙

๑๐. สรภูสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำสรภูไหลไปสู่สมุทร

[๒๘๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำสรภูไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ . . .ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบสรภูสมุททนินนสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

๑๑. มหีสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำมหีไหลไปสู่สมุทร

[๒๔๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำมหีไหลไปสู่

สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ . . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบมหีสมุททนินนสูตรที่ ๑๑

๑๒. มหานทีสมุททนินนสูตร

ผู้เจริญอริยมรรค ฯลฯ เหมือนแม่น้ำใหญ่ไหลไปสู่สมุทร

[๒๔๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ ๆ สายใด

สายหนึ่งนี้ คือแม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู แม่น้ำ

มหี ทั้งหมดนั้นไหลไปสู่สมุทร หลั่งไปสู่สมุทร บ่าไปสู่สมุทร แม้ฉันใด

ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริย-

มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพาน โอน

ไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไป

สู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

เมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน.

จบมหานทีสมุททนินนสูตรที่ ๑๒

หมวดที่ ๔ ว่าด้วยการน้อมไปสู่นิพพาน รวมเป็น ๑๒ สูตร

๖ สูตรแรก อุปมาด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน ๖ สูตรหลังอุปมา

ด้วยแม่น้ำไหลไปสู่สมุทร.

จบหมวดที่ ๔

จบคังคาเปยยาลที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

อัปปมาทวรรคที่ ๑๐

๑. ปฐมตถาคตสูตร*

ผู้เจริญอริยมรรคน้อมไปในการสละ

[๒๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มี

เท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มี

สัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณ

เท่าใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้เลิศกว่า

สัตว์เหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่

ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิต

กล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อันภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริย-

มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อม

กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบปฐมตถาคตสูตรที่ ๑

(อีก ๓ สูตรข้างหน้า พึงให้พิสดารอย่างนี้)

* อรรถกถาแก้รวมไว้ท้ายวรรคนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

๒. ทุติยตถาคตสูตร

ผู้เจริญอริยมรรคมีการกำจัดราคะเป็นที่สุด

[๒๔๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มี

เท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี. . . อันภิกษุผู้ไม่ประมาท

พึงหวังข้อนี้ได้ว่า. จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้

มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์.

[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริย-

มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัด

ราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ

ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด

มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบทุติยตถาคตสูตรที่ ๒

๓. ตติยตถาคตสูตร

ผู้เจริญอริยมรรคอันหยั่งลงสู่อมตะ

[๒๔๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มี

เท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี. . . อันภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้

ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

[๒๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ

มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน

หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำ

ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

๔. จตุตถตถาคตสูตร

ความไม่ประมาทเลิศกว่ากุศลธรรม

[๒๕๑] สาวัตถีนิทาน. ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มี

เท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มี

สัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณ

เท่าใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้เลิศกว่า

สัตว์เหล่านั้น ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้นมีความไม่

ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิต

กล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อันภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

[๒๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อม

ไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ

อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบจตุตถตถาคตสูตรที่ ๔

๕. ปทสูตร

กุศลธรรมทั้งปวงมีความไม่ประมาทเป็นมูล

[๒๕๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์

ทั้งหลาย ผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งหมดนั้นย่อมถึงความ

ประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าสัตว์

เหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความ

ไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อัน

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญ

สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบปทสูตรที่ ๕

๖. กูฏสูตร

ว่าด้วยเรือนยอด

[๒๕๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลอนแห่งเรือนยอด

อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งหมดนั้นไปสู่ยอด น้อมไปสู่ยอด ประชุมเข้าที่ยอด

ยอดแห่งเรือนยอดนั้น บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด

กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล. . .

ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบกูฏสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

๗. มูลคันธสูตร

ว่าด้วยกลิ่นที่ราก

[๒๕๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่รากชนิดใด

ชนิดหนึ่ง ไม้กลัมพัก บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากเหล่านั้น แม้

ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล...

ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบมูลคันธสูตรที่ ๗

๘. สารคันธสูตร

ว่าด้วยกลิ่นที่แก่น

[๒๕๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใด

ชนิดหนึ่ง จันทน์แดง บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่แก่นเหล่านั้น

แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาท

เป็นมูล. . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบสารคันธสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

๙. ปุปผคันธสูตร

ว่าด้วยกลิ่นที่ดอก

[๒๕๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่มีกลิ่นที่ดอกชนิดใด

ชนิดหนึ่ง มลิ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด

กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล. . .

ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบปุปผคันธสูตรที่ ๙

๑๐. กุฏฐราชสูตร

ว่าด้วยพระราชาผู้เลิศ

[๒๕๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาผู้น้อย

(ชั้นต่ำ) เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นผู้ตามเสด็จพระเจ้าจักรพรรดิ

พระเจ้าจักรพรรดิบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าพระราชาผู้น้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด

กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล. . .

ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบกุฏฐราชสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

๑๑. จันทิมสูตร

ว่าด้วยพระจันทร์

[๒๖๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างแห่งดวงดาว

ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งหมดนั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งแสงสว่างของ

พระจันทร์ แสงสว่างของพระจันทร์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าแสงสว่างของ

ดวงดาวเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความ

ไม่ประมาทเป็นมูล. . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบจันทิมสูตรที่ ๑๑

๑๒. สุริยสูตร

ว่าด้วยพระอาทิตย์

[๒๖๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสรทสมัย ท้องฟ้า

บริสุทธิ์ ปราศจากเมฆ พระอาทิตย์ขึ้นไปสู่ท้องฟ้า ย่อมส่องแสงและแผดแสง

ไพโรจน์ กำจัดความมืดอันมีอยู่ในอากาศทั่วไป แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล. . . ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

จบสุริยสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

๑๓. วัตถสูตร

ว่าด้วยผ้า

[๒๖๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่ทอด้วยด้ายชนิดใด

ชนิดหนึ่ง ผ้าของชาวกาสี บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าผ้าที่ทอด้วยด้ายเหล่านั้น

แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาท

เป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ

กว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้

ไม่ประมาท พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จัก

กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘.

[๒๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมา-

สมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบวัตถสูตรที่ ๑๓

จบอัปปมาทวรรคที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

อัปปมาทวรรควรรณนาที่ ๑๐

อรรถกถาแห่งอัปปมาทเปยยาล

พึงทราบวินิจฉัยใน อัปปมาทเปยยาล.

ในบทว่า เอวเมว โข นี้พึงเห็นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้

เลิศกว่าสัตว์ทั้งปวง ฉันใด ความไม่ประมาทอันเป็นตัวการเป็นธรรมเลิศกว่า

กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวง ฉันนั้น. ถามว่า ก็ความไม่ประมาทนี้เป็นโลกิยะ

มิใช่หรือ แต่กุศลธรรมเป็นโลกุตระก็มี อนึ่ง ความไม่ประมาทนี้เป็น

กามาวจร แต่กุศลธรรมทั้งหลายเป็นไปในภูมิ ๔ ความไม่ประมาทนี้จะเป็น

ธรรมเลิศกว่าธรรมเหล่านั้นได้อย่างไร. ตอบว่า เพราะกุศลธรรมเหล่านั้น

อันบุคคลผู้ได้ ย่อมได้ด้วยความไม่ประมาท เพราะฉะนั้น ความไม่ประมาท

นั้นจึงเป็นธรรมเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดมีความไม่ประมาทเป็นมูล ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ชงฺคลาน ได้แก่ สัตว์ผู้เที่ยวไปบนฟื้นแผ่นดิน. บทว่า

ปาณาน ได้แก่พวกสัตว์มีเท้า. บทว่า ปทชาตานิ ได้แก่ เท้าทั้งหลาย. บทว่า

สโมธาน คจฺฉนฺติ ได้แก่ ถึงการรวบรวมคือยกขึ้น. บทว่า อคฺคมกฺขายติ

ได้แก่ ย่อมกล่าวว่าประเสริฐที่สุด. บทว่า ยทิท มหนฺตตฺเตน ได้แก่

ย่อมกล่าวว่าเลิศโดยความเป็นธรรมยิ่งใหญ่. อธิบายว่า ไม่ใช่ กล่าวว่าเลิศ

ด้วยสามารถแห่งคุณ. บทว่า วสฺสิก ได้แก่ ดอกมะลิ.

มีเรื่องเล่าว่า พระภาคิยมหาร สดับเรื่องนี้แล้ว รับสั่งให้อบ

ด้วยกลิ่นดอกไม้ ๔ ชนิดในห้องหนึ่ง ด้วยพระประสงค์จะทดลองให้นำดอกไม้

มีกลิ่นหอม ตั้งดอกมะลิกำหนึ่งไว้กลางผอบใบหนึ่ง จัดดอกไม้ที่เหลือกำ

หนึ่ง ๆ ตั้งไว้โดยรอบดอกมะลินั้น ทรงปิดพระทวารเสด็จออกไปข้างนอก เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

พระองค์รอเวลาผ่านไปครู่หนึ่งจึงเปิดพระทวารเสด็จเข้าไป กลิ่นดอกมะลิ

กระทบพระฆานะก่อนดอกไม้ทั้งหมด. พระองค์เสด็จบ่ายพระพักตร์ทรงไปยัง

มหาเจดีย์ ทรงหมอบลง ณ พื้นแผ่นดินใหญ่นั้นเอง ถวายบังคมพระเจดีย์

ด้วยทรงพระดำริว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่

เลิศกว่าดอกไม้ทั้งหลาย เป็นอันพระองค์ตรัสถูกต้องแล้ว ดังนี้.

บทว่า กุฎฺราชาโน ได้แก่ พระราชาผู้น้อย. บาลีว่า กุฏราชาโน

ดังนี้ก็มี. บทว่า ตนฺตาวุตาน ตัดบทเป็น ตนฺเต อาวุตาน ความว่า

ยกด้ายขึ้น คือทอ. บทนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งปฐมาวิภัตติ. บทว่า

ยานิกานิจิ ตนฺตาวุตานิ นี้มีเนื้อความในตอนต้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็น

เนื้อความในบทนี้แม้โดยนัยแห่งปาฐะที่เหลืออย่างนี้ว่า ตนฺตาวุตาน อาวุ-

ตานิ กานิจิ วตฺถานิ ดังนี้ แปลว่า ผ้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่ทอด้วยด้าย.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

จบอัปปมาทวรรควรรณนาที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมตถาคตสูตร ๒. ทุติยตถาคตสูตร ๓. ตติยตถาคตสูตร

๔. จตุตถตถาคตสูตร ๕. ปทสูตร ๖. กูฏสูตร ๗. มูลคันธสูตร

๘. สารคันธสูตร ๙. ปุปผคันธสูตร ๑๐. กุฏฐราชาสูตร ๑๑. จันทิมสูตร

๑๒. สุริยสูตร ๑๓. วัตถสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

พลกรณียวรรคที่ ๑๑

๑. ปฐมพลกรณียสูตร

อาศัยศีล เจริญอริยมรรคน้อมไปในการสละ

[๒๖๔] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วย

กาลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดิน

ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังเหล่านี้ อันบุคคล

ย่อมกระทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว

จึงเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึง

เจริญอริยมรรคอันประกอบกวยองค์ ๘ กระทำให้มากซี่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อินอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซี่งอริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบ ปฐมพลกรณียสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

พลกรณียวรรควรรณนาที่ ๑๑

อรรถกถาปฐมพลกรณียสูตร

พึงทราบวินิจฉัยใน พลกรณียวรรค.

บทว่า พลกรณียา ได้แก่ การงานมีการวิ่ง การกระโดด การก้ม

และการหว่านเป็นตัน พึงทำด้วยกาลังขาและกาลังแขน. บทว่า สีเล

ปติฎฺาย ได้แก่ ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล บทว่า อฏงฺคิก มคฺค ได้แก่

อริยมรรคกับวิปัสสนา.

จบอรรถกถาปฐมพลกรณียสูตรที่ ๑

๒. ทุติยพลกรณียสูตร *

อาศัยศีล เจริญอริยมรรคมีการาจำกัดราคะ

[๒๖๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำ

ด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัย

แผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังเหล่านี้

อันบุคคลย่อมกระทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉัดใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่

ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.

* สูตรที่ ๒ - ๔ ไม่มีอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว

จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกาจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกาจัดโทสะเป็นที่สุด

มีอันกาจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกาจัดราคะเป็น

ที่สุด มีอันกาจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกาจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบทุติยพลกรณียสูตรที่ ๒

๓. ตติยพลกรณียสูตร

อาศัยศีล เจริญอริยมรรคอันหยั่งลงสู่อมตะ

[๒๖๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำ

ด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัย

แผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังเหล่านี้

อันบุคคลย่อมกระทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่

ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึง

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากชี่งอริยมรรคอันประกอบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

สัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ

ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยังลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็น

ที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากชี่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

อย่างนี้แล.

จบตติยพลกรณียสูตรที่ ๓

๔. จตุตถพลกรณียสูตร

อาศัยศีล เจริญอริยมรรคน้อมไปสู่นิพพาน

[๒๗๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำ

ด้วยกาลังอย่างใดอย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัย

แผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ การงานที่พึงทำด้วยกำลังเหล่านี้

อันบุคคลย่อมทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล

แล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซี่งอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึง

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากชี่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

สัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนโปสู่นิพพาน ฯลฯ

ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซี่งอริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบจตุตถพลกรณียสูตรที่ ๔

๕. พีชสูตร

ผู้อาศัยศีล เจริญอริยมรรค เหมือนพืชอาศัยแผ่นดิน

[๒๗๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคาม

ชนิดใดชนิดหนึ่งนี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต พืชคามและภูตคาม

ทั้งหมดนั้นอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน กึงถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต

พืชคามและภูตคามเหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามใหญ่โต ด้วยอาการ

อย่างนี้ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อม

ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซี่งอริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ อย่างไรเล่า จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมา-

สมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล

ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมทั้งหลาย.

จบพีชสูตรที่ ๕

อรรถกถาพีชสูตร

ในบทว่า พีชคามภูตคามา นี้ พึงทราบว่า พืช ๕ ชนิด ชื่อว่า

พีชคาม พืชนั้นนั่นแล สมบูรณ์ด้วยใบ ชื่อว่า ภูตคาม ตั้งแต่มีสีเขียว

บทว่า พล คาเหนฺติ ได้แก่ ถึงความเจริญงอกงาม คือ มีลำต้นมั่นคง.

นี้เป็นกถาตามลำดับในบทว่า กุสุพฺเภ โอตรนฺติ เป็นต้น.

จบอรรถกถาพีชสูตรที่ ๕

๖. นาคสูตร

ผู้อาศัยศีลเจริญอริยมรรคเหมือนนาคอาศัยขุนเขา

[๒๗๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขา

ชื่อหิมวันต์ มีกายเติบโต มีกำลัง ครั้นมีกายเติบโต มีกำลังที่ขุนเขานั้นแล้ว

ย่อมลงสู่บึงน้อย ครั้นลงสู่บึงน้อยแล้ว ย่อมลงสู่บึงใหญ่ ครั้นลงสู่บึงใหญ่

แล้ว ย่อมลงสู่แม้น้ำน้อย ครั้นลงสู่แม่น้ำน้อยแล้ว ย่อมลงสู่แม้น้ำใหญ่

ครั้นลงสู่แม่น้ำใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่มหาสมุทรสาคร นาคพวกนั้นย่อมถึงความ

โตใหญ่ทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

แล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฉันนั้น

เหมือนกัน.

[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล ย้อมถึงความ

เป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย.

จบนาคสูตรที่ ๖

อรรถกถานาคสูตร

พวกนางนาคตั้งครรภ์ในอุตุสมัย พากันคิดว่า หากเราจักคลอดใน

บึงน้อยนี้ พวกลูก ๆ ของเราจักไม่อาจทนกำลังของกระแสคลื่นและครุฑที่โลด

แล่นมาได้ดังนี้ แม้นาคเหล่านั้น จึงพากันดำลงในมหาสมุทรถึงประตูมีปาก

ทางร่วมกัน พากันเขาไปยังแม้น้ำใหญ่ ๕ สาย แล้วไปสู่ป่าหิมวันต์. ณ ที่

นั้น พวกนางนาคอาศัยอยู่ที่ถ้ำทอง ถ้ำเงิน และถ้าแก้วมณีซึ่งพวกครุฑ

เข้าไปไม่ได้ จึงคลอดแล้วสอนให้ลูกนาคหยั่งลงในน้ำประมาณขอเท้าเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

แล้วข้ามน้ำไปได้. ต่อจากนั้น เมื่อใดพวกนาคเหล่านั้นข้ามแม้น้ำคงคา

เป็นต้นได้โดยลำดับ สามารถข้ามไปมาได้คือข้ามจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้ม ข้าม

จากฝั่งโน้นมาฝั่งนี้ได้ เมื่อนั้น แม้นาคทั้งหลายรู้ว่า บัดนี้ ลูก ๆ ของเราสามารถ

ทนกระแสคลื่นและกาลังครุฑได้แล้ว จึงให้เมฆใหญ่ตั้งขึ้นด้วยอานุภาพของ

ตน ให้ฝนตกดุจทำป่าหิมวันต์ทั้งสิ้นให้มีน้ำเป็นสายเดียวกัน นิรมิตเรือสำเร็จ

ด้วยทองและเงินเป็นต้น ดาดเพดานผ้ามีพวงดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมตลบ วิจิตร

ด้วยดาวทองเบื้องบน ถือเอาสูราอาหารและดอกไม้มีกลิ่นหอมเป็นต้น แล่น

ไปกังมหานทีทั้งห้าด้วยเรือเหล่านั้น ถึงมหาสมุทรโดยลำดับ. ก็พวกนาคอาศัย

อยู่ ณ ที่นั้น เติบโตขึ้นประมาณ ร้อยวา พันวา แสนวา ชื่อว่า ถึงความ

เป็นผู้เจริญเติบโตไพบูลย์.

ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงเห็นว่า ภูเขาหิมวันต์ คือจตุปาริสุทธ-

ศีล โยคาวจรดุจลูกนาค อริยมรรคดุจบึงเป็นต้น นิพพานดุจมหาสมุทร

ลูกนาคทั้งหลายดำรงอยู่ในป่าหิมวันต์ถึงมหาสมุทรด้วยบึงเป็นต้น ถึงความเป็น

ผู้มีร่างกายใหญ่โตฉันใด พระโยคีทั้งหลายอาศัยศีล ตัวอยู่ในศีล บรรลุ

นิพพานด้วยอริยมรรค ถึงความเป็นผู้มีสรีระคือคุณธรรมอันใหญ่ในอภิญญา

ธรรมทั้งหลายอันมาถึงแล้ว ด้วยอรหัตมรรค ฉันนั้นนั่นแล.

จบอรรถกถานาคสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

๗. รุกขสูตร *

ผู้เจริญอริยมรรคน้อมไปสู่นิพพาน เหมือนต้นไม้ล้มลงทางที่โอน

[๒๗๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้น้อมไปสู่ทิศ

ปราจีน โน้มไปสู่ทิศปราจีน โอนไปสู่ทิศปราจีน ต้นไม้นั้นเมื่อถูกตัดราก

เสียแล้ว จักล้มลงทางทิศที่มันน้อม โน้ม โอนไป เเม้ฉันใด ภิกษุเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

ฉันนั้นเหมือนกัน

[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ย่อม

เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย้อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน

ไปสู่นิพพาน.

จบรุกขสูตรที่ ๗

* สูตรที่ ๗ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

๘. กุมภสูตร

ผู้เจริญอริยมรรคย่อมระบายอกุศลธรรม

[๒๗๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หม้อที่คว่ำย่อมทำให้

น้ำไหลออกอย่างเดียว ไม้ท้าให้กลับไหลเข้า แม่ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อม

ระบายอกุศลธรรมอันลามกออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับคืนมาได้ ฉันนั้นเหมือน

กัน.

[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า. ย่อม

ระบายอกุศลธรรมอันลามกออกอย่างเดียว ไม่ให้กลับคืนมาได้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย้อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล ย่อมระบายอกุศลธรรมอันลามกออกอย่างเดียว

ไม่ให้กลับคืนมาได้.

จบกุมภสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

อรรถกถากุมภสูตร

บทว่า กุมฺโภ ได้แก่ หม้อน้ำ. บทว่า โน ปจฺจาวมติ คือ

น้ำไม่กลับเข้าไป. อธิบายว่า ไม่ไหลเข้าภายใน.

จบอรรถกถากุมภสูตรที่ ๘

๙. สุกกสูตร*

ทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบย่อมทำงายอวิชชา

[๒๘๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เดือยข้าวสาลีหรือเดือย

ข้าวยวะ ตั้งไว้เหมาะ มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือ

ว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยตั้ง

ไว้เหมาะ แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชา

ให้เกิด จักกระทำให้แจ้งซึ่งนิทาน เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ เพราะมรรค

ภาวนาตั้งไว้ชอบ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิที่

ตั้งไว้ชอบ.

[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมทำลายอวิชชา ย้อมยังวิชชา

ให้เกิด ย่อมทำนิพพานให้แจ้ง เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ เพราะมรรคภาวนาที่

ตั้งไว้ชอบอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

* สูตรที่ ๙. ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษาย่อมทำลายอวิชชา ย้อมยังวิชชาให้เกิด

ย่อมทำนิพพานให้แจ้ง เพราะทิฏฐิที่ตั้งไว้ชอบ เพราะมรรคภาวนาที่ตั้งไว้ชอบ

อย่างนี้แล.

จบสุกกสูตรที่ ๙

๑๐. อากาสสูตร

ผู้เจริญอริยมรรคย่อมทำสติปัฏฐานให้บริบูรณ์

[๒๘๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลมหลายชนิดพัดไป

ในอากาศคือ ลมตะวันออกบ้าง ลมตะวันตกบ้าง ลมเหนือบ้าง ลมใต้บ้าง

ลมมีธุลีบ้าง ลมไม่มีธุลีบ้าง ลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง ลมพัดเบา ๆ บ้าง

ลมพัดแรงบ้าง แม้ฉันใด เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เมื่อกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ สติปัฏฐาน ๔ ย้อมถึง

ความเจริญบริบูรณ์บ้าง สัมมัปปธาน ๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง

อิทธิบาท ๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง อินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญ

บริบูรณ์บ้าง พละ ๕ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึง

ความเจริญบริบูรณ์บ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า สติ

ปัฏฐาน ๔ จึงถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง สัมมัปปธาน ๔ . . . อิทธิบาท ๔ . . .

อินทรีย์ ๕ . . . พละ ๕ . . . โพชฌงค์ ๗ จึงถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง ดู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อัน

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่ง

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล สติปัฏฐาน ๔ ย่อมถึงความเจริญ

บริบูรณ์บ้าง สัมมัปปธาน ๔ . . . อิทธิบาท ๔ . . . อินทรีย์ ๕ . . . พละ ๕ . . .

โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์บ้าง.

จบอากาสสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาอากาสสูตร

บทว่า ปุรตฺถิมา ได้แก่ ลมมาจากทิศตะวันออก. แม้ในทิศตะวัน

ตกเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน บทว่า จตฺตาโรปิ สติปฏฺานา ความ

ว่า เหมือนอย่างว่า การรวมประเภทของทิศมีทิศตะวันออกเป็นต้นเหล่านั้น

สำเร็จลงได้ในอากาศ ฉันใด โพธิปักขิยธรรมที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า

จตฺตาโร สติปฎฺานา ดังนี้ แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น ย้อมสำเร็จลงได้ด้วยการ

เจริญอริยมรรค อันเป็นมหาวิปัสสนา. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้.

จบอรรถกถาอากาสสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

๑๑. ปฐมเมฆสูตร

ผู้เจริญอริยมรรคทำอกุศลธรรมให้สงบโดยพลัน

[๒๘๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝุ่นละอองอันตั้งขึ้นใน

เดือนท้ายแห้งฤดูร้อน เมฆก้อนใหญ่ที่เกิดในสมัยมิใช่กาล ย่อมยังฝุ่นละออง

นั้นให้หายราบไปได้โดยพลัน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมยังอกุศล

ธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วให้หายสงบไปได้โดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซี่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า จึง

ให้อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว หายสงบไปได้โดยพลัน ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อ

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงให้อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว หายสงบไป

ได้โดยพลัน.

จบปฐมเมฆสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

อรรถกถาปฐมเมฆสูตร

บทว่า คิมฺหาน ปจฺฉิเม มาเส ได้แก่ ในเดือน ๘. บทว่า

อุปหต ได้แก่ ฝุ่นละอองถูกสัตว์สองเท้า สี่เท้าเหยียบย่ำตั้งขึ้นในพื้นดินเป็น

สายตลบไปเบื้องบนงไปในอากาศ. บทว่า รโชชลฺล ได้แก่ ฝุ่นละออง.

จบอรรถกถาปฐมเมฆสูตรที่ ๑๑

๑๒. ทุติยเมฆสูตร

ผู้เจริญอริยมรรคทำอกุศลธรรมให้สงบให้ระหว่างโดยพลัน

[๒๘๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลมแรงย่อมยังมหา-

เมฆอันเกิดขึ้นแล้วให้หายหมดไปได้ในระหว่างนั่นเอง แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อ

เจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ย่อมยังอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ให้หายสงบไปในระหว่าง

ได้โดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอิริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า จึง

ให้อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว หายสงบไปในระหว่างได้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฎฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

ประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล จึงให้อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วหาย

สงบไปในระหว่างได้โดยพลัน.

จบทุติยเมฆสูตรที่ ๑๒

๑๓. นาวาสูตร

ผู้เจริญอริยมรรคทำให้สังโยชน์สงบหมดไป

[๒๘๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรือเดินสมุทรที่

ผูกด้วยเครื่องผูกคือหวาย แช่อยู่ในน้ำตลอด ๖ เดือน เขายกขึ้นบกในฤดูหนาว

เครื่องผูกต้องลมและแดดแล้ว อันฝนตกรดแล้ว ย้อมจะเสียไป ผุไป โดย

ไม่ยากเลย แม้ฉันใด ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำ

ให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ สังโยชน์ทั้งหลายย่อมสงบหมดไป

โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

สังโยชน์ทั้งหลายจึงจะสงบหมดไป โดยไม่ยากเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

อย่างนี้แล สังโยชน์ทั้งหลายจึงสงบหมดไป โดยไม่ยากเลย.

จบนาวาสูตรที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

อรรถกถานาวาสูตร

บทว่า สามุทฺทิกาย นาวาย เป็นต้น พิสดารแล้วในวาณิชโกปม

สูตรตอนต้น.

จบอรรถกถานาวาสูตรที่ ๑๓

๑๔. อาคันตุกาคารสูตร

ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เจริญ

[๒๙๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนผู้มาจากทิศบูรพา

ก็ดี จากทิศปัจฉิมก็ดี จากทิศอุดรก็ดี จากทิศทักษิณก็ดี ย่อมพักอยู่ที่เรือน

สำหรับรับแขก ถึงกษัตริย์ พราหมณ์. แพทย์ ศูทรก็ดี ที่มาแล้วก็ย่อมพัก

อยู่ที่เรือนสำหรับรับแขกนั้น แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกาหนดรู้

ธรรมที่ควรกาหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมเจริญธรรม

ที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกาหนดรู้ด้วยปัญญา

อันยิ่งเป็นไฉน คือ ธรรมที่เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕

เป็นไฉน คือ รูปูปาทานขันธ์ ฯลฯ วิญญาณูปาทานขันธ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมเหล่านี้ควรกาหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

[๒๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

เป็นไฉน คือ อวิชชาและภวตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรละ

ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

[๒๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้วด้วยปัญญา

อันยิ่งเป็นไฉน คือ วิชชาและวิมุตติ ก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้

ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

[๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง

เป็นไฉน คือ สมถะและวิปัสสนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควร

ให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

[๒๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

จึงกาหนดรู้ธรรมที่ควรกาหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ จึงเจริญธรรมที่ควร

ให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล

จึงกาหนดรู้ธรรมที่ควรกาหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ จึงเจริญธรรมที่ควร

ให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

จบอาคันตุกาควรสูตรที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

อรรถกถาอาคันตุกาคารสูตร

บทว่า อาคนฺตุกาคาร ได้แก่เรือนรับรองแขกที่ผู้ต้องการบุญสร้างไว้

ท่ามกลางเมือง แม้พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาก็สามารถเข้าไปพัก

อาศัยได้. บทว่า อภิญฺา ปริญฺเยฺย ความว่า เหมือนอย่างว่า การอยู่

ของกษัตริย์เป็นต้นผู้มาจากทิศ มีทิศตะวันออกเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมสำเร็จ

ได้ในเรือนรับรองฉันใด ภิกษุทั้งหลายย่อมสำเร็จด้วยการเจริญอริยมรรคอัน

เป็นสมาธิวิปัสสนา ด้วยการกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นต้นแห่งธรรม

ทั้งหลายมีอาทิว่า อภิญฺา ปริญฺเยฺย แม้เหล่านี้ก็ฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้.

จบอรรถกถาอาคันตุกาควรสูตรที่ ๑๔

๑๕. นทีสูตร

ไม่มีผู้สามารถให้ผู้เจริญอริยมรรคกลับเป็นคนเลวได้

[๒๙๖] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน

บ่าไปสู่ทิศปราจีน ครั้งนั้น หมู่มหาชนพากันถือเอาจอบและตะกร้ามาด้วย

ประสงค์ว่า พวกเราจักทำการทดแม่น้ำคงคานี้ให้ไหลกลับ ให้หลั่งกลับ ให้

บ่ากลับ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

หมู่มหาชนนั้นจะพึงทาการทดแม่น้ำคงคาให้ไหลกลับ ให้หลงกลับ ให้บ่ากลับ

ได้ละหรือ

ภิกษาเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ได้ พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

ภิ. เพราะแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่า-

ไปสู่ทิศปราจีน การที่จะทำการทดแม่น้ำคงคาให้ไหลกลับ ให้หลั่งกลับ ให้

บ่ากลับ มิใช่กระทำได้ง่าย แต่หมู่มหาชนพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบาก

ยากแค้นแน่นอน.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา

มิตรสหาย หรือญาติสาโลหิต จะพึงเชื้อเชิญภิกษุผู้เจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ผู้กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ด้วยโภคะ

ทั้งหลาย เพื่อนำไปตามใจว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ เชิญท่านมาเถิด ท่านจะ

นุ่งห่มผ้ากาสายะเหล่านี้ทำไม ท่านจะเป็นคนโล้นถือกระเบื้องเที่ยวไปทำไม

ท่านจงสึกมาบริโภคโภคะและกระทำบุญเถิด ภิกษุผู้เจริญอริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ผู้กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นั้น

จักลาสิกขาสีกออกเป็นคฤหัสถ์ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะว่าจิตที่น้อมไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก ตลอดกาลนาน

นั้น จักสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[๒๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มาก

ซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล.

จบนทีสูตรที่ ๑๕

จบพลกรณียวรรคที่ ๑๑

อรรถกถา

นทีสูตร มีนัยดังกล่าวในหนหลังนั้นแล.

จบอรรถกถาพลกณณียวรรค

รวมพระสูตที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมพลกรณียสูตร ๒. ทุติยพลกรณียสูตร ๓. ตติยพลกรณีย

สูตร ๔. จตุตถพลกรณียสูตร ๕. พีชสูตร ๖. นาคสูตร ๗. รุกขสูตร

็๘. กุมภสูตร ๙. สุกกสูตร ๑๐. อากาลสูตร ๑๑. ปฐมเมฆสูตร ๑๒.

ทุติยเมฆสูตร ๑๓. นาวาสูตร ๑๔. อาคันตุกาคารสูตร ๑๕. นทีสูตร

พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

เอสนาวรรคที่ ๑๒

๑. ปฐมเอสนาสูตร

การแสวงหา ๓

[๒๙๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้

๒ อย่างเป็นไฉน คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหา

พรหมจรรย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๒๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อความรู้ยิ่งซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

สัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบด้วยองค์

๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

จบปฐมเอสนาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

เอสนาวรรควรรณนาที่ ๑๒

อรรถกถาปฐมเอสนาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเอสนาวรรค. ( ปฐมเอสนาสูตรที่ ๑ )

บทว่า กาเมสนา ได้แก่ การแสวงหา ค้นหา เที่ยวหา ปรารถนา

กามทั้งหลาย. บทว่า ภเวสนา ได้แก่ การแสวงหาภพทั้งหลาย. บทว่า

พฺรหฺมจริเยสนา ได้แก่ การแสวงหาพรหมจรรย์กล่าวคือมิจฉาทิฏฐิ

จบอรรถกถาปฐมเอสนาสูตรที่ ๑

๒. ทุติยเอสนาสูตร*

การแสวงหา ๑

[๓๐๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเเสวงหา ๓ อย่าง

นี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การ

แสวงหาพรหมจรรย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลง การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๓๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

สัมมาทิฏฐิ มีอันกาจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกาจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกาจัด

โมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอัน

* ตั้งแต่สูตรที่ ๒ - ๘ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

กาจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

จบทุติยเอสนาสูตรที่ ๒

๓. ตติยเอสนาสูตร

การแสวงหา ๓

[๓๐๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลง การแสวงหา ๓ อย่าง

นี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหา

พรหมจรรย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๓๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

สัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ

ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็น

ที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้

เพื่อรู้ยิ่งซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

จบตติยเอสนาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

๔. จตุตถเอสนาสูตร

การแสวงหา ๓

[๓๐๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้

๓ อย่างเป็นไฉน คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหา

พรหมจรรย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๓๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์

๘ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ

อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญ

สัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง

ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

จบจตุตถเอสนาสูตรที่ ๔

๕. ปัญจมเอสนาสูตร

การแสวงหา ๓

[๓๐๖] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้

๓ อย่างเป็นไฉน คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหา

พรหมจรรย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อกำหนดรู้ซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อกาหนดรู้ซึ่งการ

แสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

จบปัญจมเอสนาสูตรที่ ๕

๖. ฉัฏฐเอสนาสูตร

การแสวงหา ๓

[๓๐๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้

๓ อย่างเป็นไฉน คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหา

พรหมจรรย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ

จบฉัฏฐเอสนาสูตรที่ ๖

๗. สัตตมเอสนาสูตร

การแสวงหา ๓

[๓๐๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้

๓ อย่างเป็นไฉน คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหา

พรหมจรรย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

[๓๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อความสิ้นไปแห่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อความสิ้น

ไปแห้งการแสวงหา ๓ อย่างนี้ ฯลฯ

จบสัตตมเอสนาสูตรที่ ๗

๘. อัฏฐมเอสนาสูตร

การแสวงหา ๓

[๓๑๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่าง

นี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหา

พรหมจรรย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๓๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อละการแสวง ๓ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญ

สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อ

ละการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

จบอัฏฐมเอสนาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

๙. วิธาสูตร

การถือตัว ๓

[๓๑๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถือตัว ๓ อย่างนี้

๓ อย่างเป็นไฉน คือ การถือตัวว่า เราประเสริฐกว่าเขา ๑ เราเสมอเขา ๑

เราเลวกว่าเขา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การถือตัว ๓ อย่างนี้แล.

[๓๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการถือตัว ๓

อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย

นิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัย

ราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกาหนดรู้ เพื่อความสิ้น

ไป เพื่อละการถือตัว ๓ อย่างนี้แล.

จบวิธาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

อรรถกถาวิธาสูตร

บทว่า วิธา ได้แก่ ส่วนแห่งมานะ หรือการตั้งไว้ซึ่งมานะ. บทว่า

เสยฺโยหมสฺมีติ วิธา ได้แก่ ส่วนแห่งมานะหรือการตั้งไว้ซึ่งมานะอย่างนี้ว่า

เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา.

จบอรรถกถาวิธาสูตรที่ ๙

๑๐. อาสวสูตร*

อาสวะ ๓

[๓๑๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ อย่างนี้

๓ อย่างเป็นไฉน คือ กามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อาสวะ ๓ อย่างนี้.

[๓๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอาสวะ ๑ อย่าง

นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๙

จบอาสวสูตรที่ ๑๐

* สูตรที่ ๑๐ - ๑๔ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

๑๑. ภพสูตร

ภพ ๓

[๓๑๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง

เป็นไฉน คือ กามภพ ๑ รูปภพ ๑ อรูปภพ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภพ ๓

อย่างนี้แล.

[๓๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อกาหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละภพ ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ

ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยมรรค ๘ นี้ ฯลฯ

จบภวสูตรที่ ๑๑

๑๒. ทุกขตาสูตร

ความเป็นทุกข์ ๓

[๓๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่าง

นี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นทุกข์เกิดจากความไม่สบายกาย ๑ ความ

เป็นทุกข์เกิดจากสังขาร ความเป็นทุกข์เกิดจากความแปรปรวน ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์ ๓ อย่างนี้แล.

[๓๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกาหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละความเป็นทุกข์

๓ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบทุกขตาสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

๑๓. ขีลสูตร

เสาเขื่อน ๓

[๓๒๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้ ๒

อย่างเป็นไฉน ได้แก่เสาเขื่อนคือราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เสาเขื่อน ๓ อย่างนี้แล.

[๓๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละเสาเขื่อน ๓

อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบขีลสูตรที่ ๑๓

๑๔. มลสูตร

มลทิน ๓

[๓๖๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๓ อย่างนี้ ๓

อย่างเป็นไฉน ได้แก่มูลทิน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มลทิน ๓ อย่างนี้แล. .

[๓๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละมลทิน ๓ อย่าง

นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบมลสูตรที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

๑๕. นิฆสูตร

ทุกข์ ๓

[๓๒๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้ ๓

อย่างเป็นไฉน ได้แก่ทุกข์ คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๒ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ทุกข์ ๓ อย่างนี้แล.

[๓๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละทุกข์ ๓ อย่างนี้

แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบนิฆสูตรที่ ๑๕

อรรถกถานิฆสูตร

บทว่า นีฆา ได้แก่ทุกข์. ก็ในบทนี้มีคำอธิบายว่า ทุกข์ทั้งหลาย

เกิดแก่บุรุษ ย่อมทำลายบุรุษนั้นเสีย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า นิฆา. สูตรที่

เหลือในวรรคนี้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถานิฆสูตรที่ ๑๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

๑๖. เวทนาสูตร

เวทนา ๓

[๓๒๗] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ อย่างนี้ ๓

อย่างเป็นไฉน คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ อย่างนี้แล.

[๓๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกาหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละเวทนา ๓ อย่าง

นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบเวทนาสูตรที่ ๑๖

๑๒. ปฐมตัณหาสูตร

ตัณหา ๓

[๓๒๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้ ๓

อย่างเป็นไฉน คือ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้แล.

[๓๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่าง

นี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อภัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งกลาย ภิกษุย่อมเจริญอริยมรรค

อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อ-

ละตัณหา ๓ อย่างนี้แล.

จบปฐมตัณหาสูตรที่ ๑๗

๑๘. ทุติยตัณหาสูตร

ตัณหา ๓

[๓๓๑] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ อย่างนี้ ฯลฯ

[๓๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกาหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละตัณหา ๓ อย่าง

นี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกาจัด

โทสะเป็นที่สุด มีอันกาจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอัน

กำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกาจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกาจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ

ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็น

ที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า

มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่

นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญ

อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อควารมสิ้นไป

เพื่อละตัณหา ๓ อย่างนี้แล ฯลฯ

จบทุติยตัณหาสูตรที่ ๑๘

จบเอสนาวรรคที่ ๑๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมเอสนาสูตร ๒. ทุติยเอสนาสูตร ๓. ตติยเอสนาสูตร

๔. จตุตถเอสนาสูตร ๕. ปัญจมเอสนาสูตร ๖. ฉัฏฐเอสนาสูตร ๗. สัตตม-

เอสนาสูตร ๘. อัฏฐมเอสนาสูตร ๙. วิธาสูตร ๑๐. อาสวสูตร ๑๑. ภวสูตร

๑๒. ทุกขตาสูตร ๑๓. ขีลสูตร ๑๔. มลสูตร ๑๕. นิฆสูตร ๑๖. เวทนาสูตร

๑๗. ปฐมตัณหาสูตร ๑๘. ทุติยตัณหาสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

โอฆวรรคที่* ๑๓

๑. โอฆสูตร

โอฆะ ๔

[๓๓๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ อย่างนี้ ๔

อย่างเป็นไฉน ได้แก่โอฆะคือกาม ๑ โอฆะคือภพ ๑ โอฆะคือทิฏฐิ ๑

โอฆะคืออวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอฆะ อย่างนี้แล

[๓๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอฆะ ๔ อย่าง

นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบโอฆสูตรที่ ๑

๒. โยคสูตร

โอคะ ๔

[๓๓๕] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ อย่างนี้ ๔

อย่างเป็นไฉน. ได้แก่โยคะคือกาม ๑ โยคะคือภพ ๑ โยคะคือทิฏฐิ โยคะ

คืออวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ อย่างนี้แล.

* อรรถกถาวรรคนี้ แก้ไว้รวมกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

[๓๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละประโยคะ ๔ อย่าง

นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบโยคสูตรที่ ๒

๓. อุปาทานสูตร

อุปาทาน ๔

[๓๓๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน ๔ อย่างนี้

๔ อย่างเป็นไฉน ได้แก่อุปาทานคือกาม ๑ อุปาทานคือทิฏฐิ ๑ อุปาทาน

คือศีลและพรต ๑ อุปาทานคืออัตตวาทะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน

อย่างนี้แล.

[๓๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกาหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทาน

อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบอุปาทานสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

๔. คันถสูตร

คันถะ ๔

[๓๓๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คันถะ ๔ อย่างนี้ ๔

อย่างเป็นไฉน ได้แก่กายคันถะคืออภิชฌา ๑ กายคันถะคือกาบาท ๑ กาย-

คันถะคือสีลัพพตปรามาส ๑ กายคันถะคืออิทังสัจจาภินิเวส ๑* ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย คันถะ ๔ อย่างนี้.

[๓๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกาหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละคันถะ ๔ อย่าง

นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบคันถสูตรที่ ๔

๕. อนุสยสูตร

อนุสัย ๗

[๓๔๑] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้ ๗

อย่างเป็นไฉน ได้แก่อนุสัยคือกามราคะ อนุสัยคือปฏิฆะ ๑ อนุสัยคือ

ทิฏฐิ ๑ อนุสัยคือวิจิกิจฉา ๑ อนุสัยคือมานะ ๑ อนุสัยคือภวราคะ ๑ อนุสัย

คือวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุสัย ๗ อย่างนี้แล.

* ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

[๓๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัย ๗ อย่าง

นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบอนุสยสูตรที่ ๕

๖. กามคุณสูตร

กามคุณ ๕

[๓๔๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างนี้

๕ อย่างเป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้ได้ด้วยตา. อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้ด้วยหู . . . กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก. . .

รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่พึงรู่ด้วยกาย อันนี้ปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กาหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕

อย่างนี้แล.

[๓๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกาหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณ ๕

อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบกามคุณสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

๗. นีวรณสูตร

นิวรณ์ ๕

[๓๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ อย่างนี้

๕ อย่างเป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ ๑ พยาบาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธนิวรณ์ ๑

อุธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์

๕ อย่างนี้แล.

[๓๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละนิวรณ์ ๕ อย่าง

นี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบนีวรณสูตรที่ ๗

๘. อุปาทานขันธสูตร

อุปทานขันธ์ ๕

[๓๔๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่าง

นี้ ๕ อย่างเป็นไฉน ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป ๑ อุปาทานขันธ์คือเวทนา ๑

อุปาทานขันธ์คือสัญญา ๑ อุปาทานขันธ์คือสังขาร ๑ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕. อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

[๓๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอัน ประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์

๕ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบอุปาทานขันธสูตรที่ ๘

๙. โอรัมภาคิยสูตร

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

[๓๔๙] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วน

เบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน คือ สักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑

สีลัพพตปรามาส ๑ กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์

อันเป็นล้วนเบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้แล.

[๓๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกาหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อัน

เป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

จบโอรัมภาคิยสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

๑๐. ปฐมอุทธัมภาคิยสูตร

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕

[๓๕๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งกาย สังโยชน์อันเป็นส่วน

เบื้องสูง ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑

อุจทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง

๕ อย่างนี้แล.

[๓๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๕ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกาหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อัน

เป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อภัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อ

กาหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นล้วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล.

จบปฐมอุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

๑๑. ทุติยอุทธัมภาคิยสูตร

ว่าด้วยวิธีกำจัดอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕

[๓๕๓] สาวัตถีท่าน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วน

เบื้องสูง ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑

อุทธัจจะ ๑ อวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง

๕ อย่างนี้แล.

[๓๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อัน

เป็นส่วนเบื้องสูง ๕ อย่างนี้แล อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ มีอันกาจัด

ราคะเป็นที่สุด มีอันกาจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกาจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ

ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ มีอันกาจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด

มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันหยั่งลงสู่อมตะ

มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันหยั่ง

ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ย้อมเจริญสัมมาทิฏฐิ

อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญ

สัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้

เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง

๕ อย่างนี้แล.

จบทุติยอุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑๑

จบโอฆวรรคที่ ๑๓

จบมัคคสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

โอฆวรรควรรณนาที่ ๑๓

พึงทราบวินิจฉัยในโอฆวรรค.

บทว่า กาโมโฆ ได้แก่ ความกาหนัดด้วยความพอใจในกามคุณ ๕.

บทว่า ภโวโฆ ได้แก่ ความกาหนัดด้วยความพอใจในรูปราคะและอรูปราคะ.

บทว่า ทิฎฺโโฆ ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒. บทว่า อวิชฺโชโฆ ได้แก่ ความ

ไม่รู้ในอริยสัจ ๔. แม้ในกามโยคะเป็นต้นก็มีนัยนี้แล.

บทว่า กามุปาทาน ได้แก่ การยึดถือกาม. แม้ในบทมีบทว่า

ทิฏฺฐุปาทา เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล.

บทว่า คนฺถา ได้แก่ เครื่องร้อยรัด คือติดแน่น. บทว่า กาย-

คนฺโถ ได้แก่ เครื่องร้อยรัดแห่งนามกาย คือกิเลสเครื่องร้อยรัดแน่น.

บทว่า อิท สจฺจาภินิเวโส ได้แก่ ยึดมั่นอย่างนี้ว่า นี้แหละจริง เกิดขึ้น

ด้วยอำนาจอันตคาหิกทิฎฐิ. บทว่า กามราคานุสโย ความว่า ชื่อว่า

กามราคานุสัย เพราะอรรถว่า ไปด้วยกาลัง แม้ในสูตรที่เหลือก็มีนัยนี้แล.

บทว่า โอรมฺภาคิยานิ คือสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า

สญฺโชนานิ ได้แก่ เครื่องผูกมัด. บทว่า อุทฺธมฺภาคิยานิ ได้แก่

สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง. สูตรที่เหลือในที่ทั้งปวงมีความง่ายทั้งนั้น ด้วย

ประการฉะนี้.

จบโอฆวรรควรรณนาที่ ๑๓

จบอรรถกถามัคคสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร

๕. อนุสสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานขันธสูตร

๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. ปฐมอุทธัมภาคิยสูตร ๑๑. ทุติยอุทธัมภาคิยสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

โพชฌงคสังยุต

ปัพพตวรรคที่ ๑

๑. หิมวันตสูตร

ผู้เจริญโพชฌงค์ถึงความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลาย

[๓๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกนาคอาศัยขุนเขาชื่อหิมวันต์

มีกายเติบโต มีกาลัง ครั้นกายเติบโต มีกาลังขุนเขานั้นแล้ว ย้อมลงสู่

บึงน้อย ครั้นลงสู่บึงน้อยแล้ว ย้อมลงสู่บึงใหญ่ ครั้นลงสู่บึงใหญ่แล้ว

ย่อมลงสู่แม้น้ำน้อย ครั้นลงสู่แม่น้ำน้อยแล้ว ย่อมลงสู่แม่น้ำใหญ่ ครั้นลงสู่

แม่น้ำใหญ่แล้ว ย่อมลงสู่มหาสมุทรสาคร นาคพวกนั้น ย่อมถึงความโตใหญ่

ทางกายในมหาสมุทรสาครนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีลตั้งอยู่ในศีลแล้ว

เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์

ในธรรมทั้งหลง ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว

เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร จึงถึงความเป็นใหญ่

ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ย่อมเจริญธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ . . . วิริยสัมโพชฌงค์. . . ปีติ

สัมโพชฌงค์. . . ปัสสัทธิสัมโพชณงค์. . . สมาธิสัมโพชฌงค์. . . อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗

กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล จึงถึงความเป็นใหญ่ไพบูลย์ในธรรม

ทั้งหลาย.

จบหิมวันตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

อรรถกถาโพชฌงคสังยุต

ปัพพตวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาหิมวันตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในหิมวันตสูตรที่ ๑ แห่งโพชฌังคสังยุต.

บทว่า นาคา ความว่า นาคแม้เหล่านี้ อยู่ระหว่างคลื่น บนหลัง

มหาสมุทร หาอยู่ในวิมานไม่. นาคเกล้านั้นมีกายเติบโตเป็นต้น เพราะอาศัย

ภูเขาหิมวันต์ ทั้งหมดพึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้วในหนหลัง. ในบทว่า

โพชฺณงฺเค นี้ ชื่อว่าโพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่งความตรัสรู้ หรือองค์ของ

ผู้ตรัสรู้. มีคำที่ท่านอธิบายไว้อย่างไร ธรรมสามัคคีนี้ท่านเรียกว่า โพธิ

เพราะอธิบายไว้ว่า พระอริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี กล่าวคือ สติ

ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่ออุปัทวะ

หลายอย่างมี ลีนะ ความหดหู่ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ปติฎฐานะ

ความตั้งอยู่ อายูหนะ การรวบรวม กามสุขัลลิกานุโยค ทำความเพียร

ในกามสุข อัตตกิลมถานุโยค ทำความเพียรในการทำตนให้ลำบาก อุจเฉท-

ทิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง และอภินิเวส

ความยึดมั่นเป็นต้น เมื่อธรรมสามัคคีเกิดขึ้นอยู่ ในขณะแห่งมรรคที่เป็น

โลกิยะและโลกุตระดังนี้ บทว่า พุชฺฌติ มีอธิบายว่า พระอริยสาวก ย่อม

ลุกขึ้นจากความหลับคือกิเลสสันดาน คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือย่อมกระทำ

นิพพานให้แจ้ง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญโพชฌงค์ ๗

ตรัสรู้แล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

แห่งความตรัสรู้ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้น เหมือนองค์แห่งฌานและองค์

แห่งมรรคเป็นต้น. ส่วนพระอริยสาวก เรียกว่า โพธิ เพราะอธิบายว่า

ย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนี้ มีประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของผู้ตรัสรู้นั้นบ้าง เหมือนองค์แห่งเสนา

และองค์แห่งรถเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าวว่า

อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์ของบุคคลผู้ตรัสรู้.

ถามว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าอย่างไร.

ตอบว่า ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ตาม

เพราะอรรถว่า ตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ดี. พึงทราบ

อรรถแห่งโพชฌงค์ แม้โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทาเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้แล

ส่วนในบทเป็นต้นว่า สติสมฺโพชฺณงฺค พึงทราบอรรถในบททั้งปวง

อย่างนี้ว่า ชื่อว่า สัมโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ อันประเสริฐ

และดี สัมโพชฌงค์คือสติ ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ซึ่งสติสัมโพชฌงค์นั้น.

บทว่า ภาเวติ คือ ให้เจริญ อธิบายว่า ย่อมให้เกิดคือย่อมให้บังเกิดบ่อย ๆ

ในจิตสันดานของตน บททั้งหลายมีอาทิว่า วิเวกนิสฺสิต พึงทราบโดยนัย

อันกล่าวแล้วในบทนี้ว่า ภิกษุย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอาศัยวิเวกดังนี้ ในโกสล-

สังยุต.

ส่วนความต่างกันดังนี้ ในโกสลลังยุตนั้น ท่านกล่าววิเวกไว้ ๓ อย่าง

คือ อาศัยตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก นิลสรณวิเวก. ส่วนอาจารย์บางพวก

กล่าวถึงผู้เจริญโพชฌงค์อาศัยวิเวก ๕ อย่างก็มี. ก็อาจารย์เหล่านั้นย่อมยก

โพชฌงค์ขึ้นแสดงอย่างนี้ ในขณะแห่งพลววิปัสสนา มรรคและผลอย่างเดียว

ก็หามิได้ ย่อมยกขึ้นแสดงแม้ในกสิณฌาน อานาปานสติ อสุภกัมมัฏฐาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

และพรหมวิหารฌาน อันเป็นบาทของวิปัสสนา อาจารย์บางพวกเหล่านั้น

จึงไม่สำเร็จตามพระอรรถกถาจารย์ เพราะฉะนั้น ตามมติของท่านเหล่านั้น

ในขณะแห่งความเป็นไปแห่งฌานเหล่านั้น ว่าโดยกิจ ฌานก็ยังอาศัยวิก-

ขัมภนวิเวก. ในขณะแห่งวิปัสสนา ท่านกล่าวว่า โดยอัธยาศัย ภิกษุย่อมเจริญ

วิปัสสนา อาศัยนิสสรณวิเวก ฉันใด. ก็ควรจะกล่าวว่า ภิกษุย่อมเจริญ

โพชฌงค์ อาศัยปฏิปัสสัทธิวิเวกฉันนั้น. คำที่เหลือในสูตรนี้มีนัยตามที่กล่าว

แล้วในหนหลังแล .

จบอรรถกถาหิมวันตสูตรที่ ๑

๒. กายสูตร

อาหารของนิวรณ์ ๕

[๓๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้

เพราะอาศัยอาการ ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ ก็มีอาหาร

เป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉันนั้น

เหมือนกัน

[๓๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหาร ให้กามฉันท์ที่

ยังไม้เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในศุภนิมิตนั้น นี้เป็น

อาหารให้กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

[๓๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้พยาบาทที่ยัง

ไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็น

อาหารใช้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์

ยิ่งขึ้น.

[๓๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยัง

ไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร ความที่

ใจหดหู่ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านั้น นี้เป็น

อาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

[๓๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะ

ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความไม่สงบใจมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบใจ

นั้น นี้เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้

เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

[๓๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยัง

ไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิ-

โสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือ

ที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ขึ้น.

[๓๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้

เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม้ได้ เเม้ฉันใด นิวรณ์ ๕ เหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

ก็มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้

ฉันนั้นเหมือนกัน.

อาหารของโพชฌงค์ ๗

[๓๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้

เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ ก็มี

อาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉัน

นั้นเหมือนกัน

[๓๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์

ที่ยังไม้เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกราะทำให้มากซึ่งโยนิ-

โสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิด

ขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์

[๓๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ธรรมวิจย

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษ และไม่มีโทษ

ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีอยู่ การกระทำให้มีซึ่งโยนิ-

โสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ธรรมวินัยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์

ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่น มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

โสมนสิการในสิ่งเหล่านี้ นี้เป็นอาหารใช้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น

หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์

ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ . การกระทำให้มากซึ่งโยนิ-

โสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิด

ขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์

[๓๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้ปัสสัทธิ-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงจิต มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิ-

โสมนสิการในความสงบนั้น นี้เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

[๓๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้สมาธิ-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต* มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิ-

โสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น

หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์

[๓๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นอาหารให้อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระ

ทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้อุเบกขา-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญบริบูรณ์.

* หมายถึงนิมิตแห่งจิตที่มีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

[๓๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีอาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้

เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ แม้ฉันใด โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ก็มี

อาหารเป็นที่ตั้ง ดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยอาหาร ไม่มีอาหารดำรงอยู่ไม่ได้ ฉัน

นั้นเหมือนกัน.

จบกายสูตร ๒

อรรถกถากายสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกายสูตรที่ ๒.

บทว่า อาหารฎฺิติโก คือกายนี้ดำรงอยู่ได้เพราะปัจจัย. บทว่า

อาหาร ปฎิจฺจ ได้แก่ อาศัยปัจจัย. บทว่า สุภนิมิตฺต ได้แก่ แม้สิ่ง

ที่งามก็เป็นศุภนิมิต แม้อารมณ์ของสิ่งที่งาม ก็เป็นศุภนิมิต. บทว่า อโยนิโส

มนสิกาโร ได้แก่ ไม่กระทำไว้ในใจโดยอุบาย คือ กระทำไว้ในใจนอกทาง

ได้แก่ กระทำในใจในความไม่เที่ยงว่าเที่ยง หรือในความทุกข์ว่าสุข ในสิ่ง

ที่มิใช่ตนว่าตน หรือในสิ่งที่ไม่งามว่างาม กามฉันทะย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ยัง

มนสิการนั้นให้เป็นไปอยู่ในสุภารมณ์นั้นโดยมาก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อตฺติ ภิกฺขเว สุภนิมิตตฺต ดังนี้เป็นต้น. พึง

ทราบวาจาประกอบในนิวรณ์ในที่ทั้งปวงด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

ส่วนในบทว่า ปฏิฆนิมิตฺต เป็นต้น ปฏิฆะก็ดี อารมณ์ของปฏิฆะ

ก็ดี จัดเป็นปฏิฆนิมิต. บทว่า อรติ แปลว่า ความกระสัน. พระองค์

ตรัสข้อว่า ในบทเหล่านั้น ความไม่ยินดีเป็นไฉน คือความไม่ยินดี

ความไม่ยินดียิ่ง ความไม่อภิรมย์ ความกระสัน ความสะดุ้งในเสนาสนะ

ทั้งหลายอันสงัด หรือในธรรมทั้งหลาย อันเป็นอธิกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง

นี้เรียกว่า ความไม่ยินดี.

บทว่า ตนฺทิ ได้แก่ ความคร้านกายที่จรมาเกิดขึ้น เพราะมีหนาวนัก

เป็นต้นเป็นปัจจัย เมื่อมันเกิดขึ้น เขาจะกล่าวว่า หนาวนัก ร้อนนัก เรา

หิวนัก กระหายนัก เราเดินทางไกลนัก. พระองค์ตรัสข้อว่า ในบทเหล่านั้น

ความเกียจคร้านเป็นไฉน คือกิริยาที่เกียจคร้าน ความมีใจเกียจคร้าน

ความคร้าน กิริยาที่คร้าน ความเป็นคนมีความคร้านอันใด นี้เรียกว่า

ความเกียจคร้าน.

บทว่า วิชมฺภิตา ได้แก่ ความบิดกายด้วยอำนาจกิเลส. พระองค์

ตรัสข้อว่า ในบทเหล่านั้น ความบิดขี้เกียจเป็นไฉน คือความบิดกาย

ความบิด ความเอียงมา ความเอียงไป ความสยบลง ความซบเซา ความ

ป่วยไข้ของกายอันใด นี้เรียกว่า ความบิดขี้เกียจ.

บทว่า ภตฺตสมฺมโท ได้แก่ ความเร่าร้อนในอาหาร. พระองค์

ตรัสข้อว่า ในบทเหล่านั้น ความเมาในอาหารเป็นไฉน ความสยบใน

อาหาร ลำบากในอาหาร ความเร่าร้อนในอาหาร ความอ้วนของกายของคน

ผู้บริโภคอันใด อันนี้เรียกว่า คงเมาในอาหาร.

บทว่า เจตโส ลีนตฺต ได้แก่ อาการหดหู่ของจิต. พระองค์ตรัสข้อ

ว่า ในบทเหล่านั้น ความหดหู่ของจิตใจเป็นไฉน คือความไม่งาม ความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

ไม่ควรแก่การงาน ความหดหู่ลง กิริยาหดหู่ ความหดหู่ของจิต ท้อแท้ กิริยา

ที่ท้อแท้ ความท้อแท้ของจิตอันใด อันนี้เรียกว่าความหดหู่ของจิต.

บทว่า เจตโส อวูปสโม ความว่า อาการไม้สงบของจิต เหมือน

คนนั่งก่อไฟ มีแต่ถ่านปราศจากเปลวไฟ และเหมือนคนนั่งไม่ก้อไฟในที่สุม-

บาตร ฉะนั้น แต่โดยเนื้อความข้อนั้น เป็นความฟุ้งซ่านรำคาญแท้.

บทว่า วิจิกิจฺฉาฎานิยา ธมฺมา ได้แก่ ธรรมเป็นอารมณ์ของ

วิจิกิจฉา. อโยนิโสมนสิการมีนัยอันกล่าวไว้ในบททั้งปวงแล ในข้อนี้ ธรรม

๒ เหล่านี้ คือ กามฉันทะ วิจิกิจฉา ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ โดยอารมณ์

พยาบาท กล่าวไว้โดยอารมณ์และอุปนิสสัยปัจจัย ธรรมที่เหลือกล่าวไว้โดย

สหชาตปัจจัย และอุปนิสสัยปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สติสมฺโพชฺณงฺคฎฺานิยา ธมฺมา ได้แก่ ธรรมเป็น

อารมณ์ของสติ คือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ และโลกุตรธรรม ๙. บทว่า ตตฺถ

โยนิโสมนสิการพหุลีกาโร ได้แก่ การทำบ่อย ๆ ซึ่งมนสิการโดยอุบาย

ในธรรมนั้น.

บทว่า กุสลา ในบทเป็นต้นว่า กุสลากุสลา ธมฺมา ได้แก่

ธรรมเกิดแต่ความฉลาดไม่มีโทษมีผลเป็นสุข. บทว่า อกุสลา ได้แก่ ธรรม

เกิดแต่ความไม่ฉลาด มีโทษ มีผลเป็นทุกข์. บทว่า สาวชฺชา ได้แก่

ธรรมเป็นอกุศล. บทว่า อนวชฺชา ได้แก่ ธรรมเป็นกุศล. แม้ในธรรมเลว

ประณีต ดำและขาว ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สปฺปฏิภาคา ได้แก่

กัณหธรรมและสุกกธรรมเท่านั้น ด้วยว่า กัณหธรรมชื่อว่ามีส่วนเปรียบเพราะ

ให้ผลดำ และสุกกธรรมชื่อว่า มีส่วนเปรียบ เพราะให้ผลขาว อธิบายว่า มีส่วน

แห่งวิบากเช่นกัน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีส่วนเปรียบ เพราะมีส่วนตรงกัน

ข้าม. คือมีส่วนเปรียบแม้อย่างนี้ว่า ส่วนสุกกธรรมตรงกันข้ามกับกัณหธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

และกัณหธรรมตรงกันข้ามกับสุกกธรรม อีกอย่างหนึ่ง ชื่อวา มีส่วนเปรียบ

เพราะอรรถว่า จะนำมากลับกันไม่ได้. คือกัณหะและสุกกธรรมมีส่วนเปรียบ

กันได้อย่างนี้ว่า ฝ่ายอกุศลห้ามกุศลแล้ว จึงให้วิบากของตน ส่วนกุศลห้าม

อกุศลแล้ว จึงให้วิบากของตน ดังนี้.

บทว่า อารพฺภธาตุ ได้แก่ความเพียรครั้งแรก. บทว่า นิกฺขมธาตุ

ได้แก่ความเพียรมีกาลังกว่านั้น เพราะออกจากความเกียจคร้าน. บทว่า

ปรกฺกมธาตุ ได้แก่ ความเพียรมีกำลังกว่านั้น เพราะเป็นเหตุก้าวไปข้าง

หน้า ๆ คือฐานะ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวด้วยบท ๓.

บทว่า ปีติสมฺโพชฺณงฺคฎฺานิยา ได้แก่ ธรรมเป็นอารมณ์ของ

ปีติ. บทว่า กายปสฺสทฺธิ ได้แก่ ความสงบแห่งขันธ์* สาม. บทว่า จิตฺต

ปสฺสทฺธิ ได้แก่ ความสงบแห่งวิญญาณขันธ์ บทว่า สมาธินิมิตฺต ได้แก่

สมถะบ้าง อารมณ์ของสมถะบ้าง. บทว่า อพฺยคฺคนิมิตฺต เป็นไวพจน์ของ

บทว่า สมาธินิมิตฺต นั้น.

บทว่า อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคฺฏฺานิยา ได้แก่ ธรรมเป็นอารมณ์

ของอุเบกขา แต่โดยเนื้อความ พึงทราบอาการอันเป็นกลางว่า ธรรมทั้ง

หลายเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ในข้อนี้ สติ ธรรมวิจยะ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์

ท่านกล่าวไว้โดยความเป็นอารมณ์อย่างนี้. ธรรมทั้งหลายที่เหลือท่านกล่าวไว้

โดยความเป็นอารมณ์บ้าง โดยความเป็นอุปนิสสัยบ้าง.

จบอรรถกถากายสูตรที่ ๒

* คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

๓. สีลสูตร

การหลีกออก ๒ วิธี

[๓๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล้าใดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณหัสสนะ การได้เห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี การได้ฟัง

ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่า

นั้นก็ดี แต่ละอย่าง ๆ เรากล่าวว่ามีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะ

ว่าผู้ที่ได้ฟังธรรมของภิกษุเห็นปานนั้นแล้ว ย่อมหลีกออกอยู่ด้วย ๒ วิธี คือ

หลีกออกด้วยกาย ๒ หลีกออกด้วยจิต ๑ เธอหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว ย่อมระ

ลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น.

[๓๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุหลีกออกอยู่อย่างนั้นแล้ว

ย่อมระลึกถึง ย่อมตรึกถึงธรรมนั้น สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุ

ปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อม

ถึงความเจริญบริบูรณ์ เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมเลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึง

ความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๓๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย้อม

เลือกเฟ้น ตรวจตรา ถึงความพินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา สมัยนั้น

ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรม

วิจยสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ขอภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียร

อันไม่ย่อหย่อนเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

[๓๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุเลือกเฟ้น ตรวจตรา

พินิจพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ความเพียรอันไม่ย่อหย่อน อันภิกษุปรารภ

แล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญ

วิริยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ปีติที่

ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๓๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติที่ไม่มีอามิสย่อมเกิดแก่

ภิกษุ ผู้ปรารภความเพียร สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว

ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึงความ

เจริญบริบูรณ์ กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ.

[๓๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้

มีใจกอปรด้วยปีติ ย่อมสงบระงับ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชณงค์เป็นอัน

ภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัม-

โพชฌงค์ของภิกษุ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว

มีความสุข ย่อมตั้งมั่น.

[๓๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว

มีความสุข ย่อมตั้งมั่น สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว

ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุย่อมถึง

ความเจริญบริบูรณ์ เธอย่อมเป็นผู้เพ่งดูจิตที่ตั้งมันแล้วอย่างนั้นด้วยดี.

[๓๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุย่อมเป็นผู้เพิงดูจิตที่

ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นด้วยดี สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นอันภิกษุปรารภ

แล้ว ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุ

ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

[๓๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว

อย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้

ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน.

[๓๘๒] คือ (๑) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผลโดยพลัน (๒)

ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ที่นั้นจะได้บรรลุในเวลาใกล้ตาย (๓) ถ้าในปัจจุบัน

ก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม้ได้บรรลุ ที่นั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้

อันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่

ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตรา-

ปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามี

ผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๕) ถ้าในปัจจุบัน

ก็ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้

อัตราปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี ทีนั้น

จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๖) ถ้าในปัจจุบันก็ไม้ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็น

พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

พระไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี ทีนั้น จะได้เป็นพระอนาคามี

สสังขารปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป (๗) ถ้าในปัจจุบันก็

ไม่ได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุ ไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตรา-

ปรินิพพายี ไม้ได้เป็นพกะอนาคามีผู้อุปหัจปรินิพพายี ไม้ได้เป็นพระอนาคามี

ผู้อสังขารปรินิพพายี และไม่ได้เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี ทีนั้น

จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

สิ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำ

ให้มากแล้วอย่างนี้ ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้ อันเธอพึงหวังได้.

จบสีลสูตรที่ ๓

อรรถกถาสีลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสีลสูตรที่ ๓.

ในบทว่า สีลสมฺปนฺนา นี้ ท่านถือเอาโลกิยศีลและโลกุตรศีลของ

ภิกษุผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว. อธิบายว่า พวกภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนั้น. แม้

ในสมาธิและปัญญาก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ส่วนความหลุดพ้น เป็นผลวิมุตติ

เท่านั้น. วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นปัจจเวกขณญาณ. ในข้อนี้ ธรรมมีศีล

เป็นต้น เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระอย่างนี้ วิมุตติเป็นโลกุตระ วิมุตติญาณ

ทัสสนะเป็นโลกิยะเท่านั้น.

บทว่า ทสฺสนมฺปห ตัดบทเป็น ทสฺสนปิ อห ก็การได้เห็นนี้นั้น

มี ๒ อย่างคือ การเห็นด้วยจักษุ ๑ เห็นด้วยญาณ ๑. ในการได้เห็น ๒ อย่าง

นั้น การได้เห็นคือการได้แลดูพระอริยะทั้งหลายด้วยจักษุ อันเลื่อมใส

ชื่อว่า การได้เห็นด้วยจักษุ. ส่วนการได้เห็นลักษณะอันพระอริยะเห็นแล้ว

และการแทงตลอดลักษณะอันพระอริยะแทงตลอดแล้ว ด้วยฌาน ด้วย

วิปัสสนา หรือด้วยมรรคและผล คือว่า การได้เห็นด้วยญาณ. แต่ในการ

ได้เห็น ๒ อย่างนี้ การได้เห็นด้วยจักษุ ประสงค์เอาในที่นี้. เพราะว่า แม้

การได้แลดูพระอริยะด้วยจักษุอันเลื่อมใส มีอุปการะมากทีเดียว. บทว่า สวน

ได้แก่ การได้ฟังด้วยหู ต่อบุคคลทั้งหลายผู้กล่าวอยู่ว่า พระขีณาสพชื่อโน้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

ย่อมอยู่ในแว่นแคว้น ชนบท บ้าน นิคม วิหาร หรือในถ้ำชื่อโน้น การได้ฟัง

นั้นก็มีอุปการะมากเหมือนกัน. บทว่า อุปสงฺกมน ได้แก่ การเข้าไปหา

พระอริยะด้วยจิตเห็นปานนี้ว่า เราจักถวายทาน หรือจักถามปัญหา เราจัก

ฟังธรรมหรือเราจักทำสักการะ. บทว่า ปยิรูปาสน ได้แก่ การเข้าไปนั่ง

ใกล้เพื่อจะถาม. อธิบายว่า การฟังคุณของพระอริยะ เข้าไปหาพระอริยะ

เหล่านั้น นิมนต์ ถวายทาน ถามปัญหาโดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

อะไรเป็นกุศล ดังนี้.

บทว่า อนุสฺสตึ ได้แก่ การระลึกถึงภิกษุผู้นั่งอยู่ในที่พักกลางคืน

และที่พักกลางวันว่า บัดนี้ พระอริยะทั้งหลายให้เวลาล่วงไปอยู่ด้วยความสุข

เกิดแต่ฌาน วิปัสสนามรรคและผล ในที่มีที่เร้น ถ้ำ และมณฑปเป็นต้น

อนึ่ง โอวาทใดอันเราได้แล้วในสำนักของพระอริยะเหล่านั้น การจำแนก

โอวาทนนั้นแล้วระลึกถึงอย่างนี้ว่า ในที่นี้ท่านกล่าวถึงศีล ในที่นี้ท่านกล่าวถึง

สมาธิ ในที่นี้ท่านกล่าวถึงวิปัสสนา ในที่นี้ท่านกล่าวถึงมรรค ในที่นี้ท่าน

กล่าวถึงผล. บทว่า อนุปพฺพชฺช ได้แก่ การยังจิตให้เลื่อมใสในพระอริยะ

แล้วออกจากเรือนบวชในสำนักของพระอริยะเหล่านั้น. อนึ่ง การบวชแม้ของ

บุคคลผู้ยังจิตให้เลื่อมใสในสำนักของพระอริยะ บวชในสำนักของท่านเหล่านั้น

หวังประพฤติตามโอวาทานุสาสนีของท่าน ชื่อว่า การบวชตาม. การบวชของ

บุคคลผู้หวังประพฤติตามโอวาทานุสาสนี ในสำนักคนเหล่าอื่นก็ดี ของบุคคล

ผู้บวชในที่อื่นด้วยความเลื่อมใสในพระอริยะ หวังประพฤติตามโอวาทานุสาสนี

ในสำนักของพระอริยะก็ดี ชื่อว่า การบวชตาม. ส่วนการบวชของคนผู้บวช

ในสำนักของเจ้าลัทธิอื่นด้วยความเลื่อมใสในเจ้าลัทธิอื่น หวังประพฤติตาม

โอวาทานุสาสนีของเจ้าลัทธิอื่น ไม่ชื่อว่า บวชตาม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

ก็ในบรรพชิตทั้งหลาย บรรพชิตที่บวชตามพระมหากัสสปเถระ

อย่างนี้ คราวแรกได้มีประมาณแสนรูป. และที่บวชตามพระจันทคุตตเถระ

ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระนั้น ก็มีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน. พระสุริย-

คุตตเถระผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระจันทคุตตเถระนั้นก็ดี พระอัสสคุตต

เถระผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระสูริยคุตตเถระนั้นก็ดี พระโยนกธรรมรักขิต

เถระผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระอัสสคุตตเถระนั้นก็ดี ก็ได้มีประมาณเท่านั้น

เหมือนกัน. ส่วนพระอนุชาของพระเจ้าอโศกผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระ

โยนกกรรมรักขิตเถระ ชื่อว่า ติสสเถระ บรรพชิตบวชตามพระติสสเถระ

นั้นนับได้สองโกฏิครึ่ง. พวกบวชตามพระมหินทเถระกาหนดนับไม่ได้.

เมื่อคนบวชด้วยความเสื่อมใสในพระศาสดาในเกาะลังกาจนถึงวันนี้ ก็ชื่อว่า

บวชตามพระมหินทเถระเหมือนกัน

บทว่า ต ธมฺม ได้แก่ ซึ่งธรรมคือโอวาทานีสาสนีของท่านเหล่านั้น.

บทว่า อนุสฺสรติ แปลว่า ย่อมระลึก. บทว่า อนุวิตกฺเกติ ได้แก่ ทำให้

วิตกนำไป. บทว่า อารทฺโธ โหติ ได้แก่ บริบูรณ์ คำเป็นต้นว่า ปวิจินติ

ทั้งหมดท่านกล่าวด้วยอำนาจการเที่ยวไปด้วยญาณในธรรมนั้น. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า ปวิจินติ ได้แก่ เลือกเฟ้นลักษณะแห่งธรรมเหล่านั้น ๆ บทว่า

ปวิจรติ ได้แก่ ยังญาณให้เที่ยวไปในธรรมนั้น. บทว่า ปริวีมสมาปชฺชติ

ได้แก่ ย่อมถึงความพิจารณา ตรวจดู ค้นคว้า.

บทว่า สตฺต ผลานิ สตฺตวนิสสา นั้น โดยใจความเป็นอย่าง.

เดียวกัน. บทว่า ทิฎฺเว ธมฺเม ปฎิจฺจ อญฺ อาราเธติ ได้แก่ เมื่อ

บรรลุอรหัตผล ก็ได้บรรลุในอัตภาพนี้แล. และย่อมบรรลุอรหัตผลนั้นแล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

ก่อน อธิบายว่า เมื่อบรรลุไม่ได้ ก็จะบรรลุในมรณกาล บทว่า อถ

มรณกาเล ได้แก่ ย้อมบรรลุอรหัตผลในเวลาใกล้จะตาย

บทว่า อนฺตราปรินิพฺพายี ความว่า อันตราปรินิพพายีใด อายุ

ยังไม่ถึงกลางคน ปรินิพพานเสียก้อน อันตราปรินิพพายีนนั้น มีสามอย่าง คือ

ผู้หนึ่งเกิดในชั้นอวิหามีอายุพันกัป จะบรรลุพระอรหัตผล ครั้งแรกในวันที่ตน

เกิดนั่นเอง. ถ้าไม่บรรลุในวันที่ตนเกิด ก็จะบรรลุในที่สุดแห้งร้อยกัปต้น

นี้เป็นอันตราปรินิพพายีที่หนึ่ง อีกหนึ่ง เมื่อไม่อาจอย่างนี้ จะบรรลุในที่สุดแห้ง

สองร้อยกัปนี้เป็นอันตราปรินิพพายีที่สอง อีกหนึ่ง เมื่อไม้อาจอย่างนี้ จะบรรลุ

ในที่สุดแห้งสี่ร้อยกัป นี้เป็นอันตราปรินิพพายีที่สาม ก็พ้นร้อยกัปที่ห้าบรรลุ

อรหัตผลชื่อว่าอปหัจจปรินิพพายี แม้ในชั้นอตัปปา ก็มีนัยนี้เหมือนกัน

ก็เขาเกิดในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง บรรลุอรหัตผลแล้ว ด้วยการประกอบร่วมกันมี

ปัจจัยปรุงแต่ง ชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี. บรรลุอรหัตผลแล้ว ด้วยการ

ไม่ประกอบทั้งไม้มีปัจจัยปรุงแต่ง ชื่อว่า อสังขารปรินิพพายี. ผู้เกิดแม้ใน

ชั้นอวิหาเป็นต้น ดำรงอยู่ในชั้นนั้นตลอดอายุแล้ว เกิดในชั้นสูง ๆ ขึ้นไป

ถึงอกนิฏฐพรหม ชื่อว่า อุทธังโสโตอกนิฎฐคามี.

ส่วนอนาคามี ๔๘ ควรกล่าวไว้ในที่นี้ด้วย ก็ในชั้นอวิหา อันตรา-

ปรินิพพายีมีสาม อุปหัจจปรินิพพายีมีหนึ่ง อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีมีหนึ่ง

รวมเป็น ๕ อสังขารปรินิพพายีเหล่านั้น ๕ สสังขารปรินิพพายี ๕ รวมเป็น ๑๐.

ในชั้นอตัปปาเป็นต้นก็อย่างนั้น ส่วนในชั้นอกนิฏฐพรหม ไม่มีอุทธังโสโต.

เพราะฉะนั้น ในชั้นอกนิฏฐพรหมนั้น มีสสังขารปรินิพพายี ๔ มีอสังขาร

ปรินิพพายี ๔ รวมเป็น ๘ รวมอนาคามีได้ ๔๘ ด้วยประการฉะนี้ บรรดา

อนาคามีเหล่านั้น อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีย่อมเป็นผู้ใหญ่กว่าเขาทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

และเป็นผู้น้อยกว่าเขาทั้งหมด ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า ก็เขาชื่อว่า

ผู้ใหญ่กว่าอนาคามีทั้งปวงด้วยอายุ เพราะมีอายุหนึ่งหมื่นหกพันกัป. ชื่อว่า

ผู้น้อยกว่าอนาคามีทั้งปวง เพราะบรรลุอรหัตผลภายหลังกว่าเขาทั้งหมด. ใน

สูตรนี้ ท่านกล่าวโพชฌงค์อันเป็นบุพภาควิปัสสนาแห่งอรหัตมรรค ซึ่งมี

ลักษณะต่าง ๆ อันเป็นไปในขณะแห่งจิตดวงหนึ่ง ไม่ก่อน ไม่หลัง.

จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๓

๔. วัตตสูตร

การอยู่ด้วยโพชฌงค์ ๗

[๓๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตร

เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารี-

บุตรแล้ว. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗

ประการนี้. ๗ ประการเป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ๑ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑

วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ปีติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชณงค์ ๑

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๑ ประการนี้แล.

[๓๘๔] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เรา

ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อนั้น ๆ

เราประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

นั้น ๆ เราประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยโพชฌงค์

ข้อนั้น ๆ.

[๓๘๕] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ แก่เรา ดัง

พรรณนามานี้ เราก็รู้ว่าสติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภ

ดีแล้ว สติสัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว้าตั้งอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของ

เราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ

[๓๘๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา

ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว้าอุเบกขาสัมโพชณงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเรา

ปรารภดีแล้ว อุเบกขาสัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว้าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย.

[๓๘๗] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย หีบผ้าของพระราชาหรือของราช-

มหาอำมาตย์ เต็มด้วยผ้าสีต่าง ๆ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์ ประสงค์จะ

นุ่งห่มผ้าชุดใด ๆ ในเวลาเช้า ก็นุ่งห่มผ้าชุดนั้น ๆ ได้ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้า

ชุดใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็นั่งห่มผ้าชุดนั้น ๆ ได้ ประสงค์จะนุ่งห่มผ้าชุดใด ๆ

ในเวลาเย็น ก็นุ่งห่มผ้าชุดนั้น ๆ ได้ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น เหมือนกัน บรรดา

โพชฌงค์ทั้ง ๗ นี้ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วย

โพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วย

โพชฌงค์ข้อนั้น ๆ ประสงค์จะอยู่ด้วยโพชฌงค์ข้อใด ๆ ในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วย

โพชฌงค์ข้อนั้น ๆ.

[๓๘๘] ถ้าสติสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็รู้ว่า

สติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภตีแล้ว สติสัมโพชฌงค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้

ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย ฯลฯ

[๓๘๙] ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่แก่เรา ดังพรรณนามานี้ เราก็

รู้ว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ อันเราปรารภดีแล้ว อุเบกขา-

สัมโพชฌงค์เมื่อยังตั้งอยู่ เราก็รู้ว่าตั้งอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรา

เคลื่อนไป เราก็รู้ว่าเคลื่อนไป เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย.

จบวัตตสูตรที่ ๔

อรรถกถาวัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวัตตสูตรที่ ๔.

บทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม โหติ ความว่า ถ้าสติสัม-

โพชฌงค์ย่อมมีแก่เราตังพรรณนามานี้. บทว่า อปฺปมาโณติ เม โหติ ความว่า

เรารู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้อย่างนี้. บทว่า สุสมารทฺโธ

ได้แก่ บริบูรณ์ดีแล้ว. ในบทว่า ติฎฺนฺต นี้ สติสัมโพชณงค์ย่อมตั้งอยู่

โดยอาการแปด. คือ พระเถระย่อมรู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ตั้งอยู่ เพราะ

ไม่ระลึกถึงความเกิด เพราะระลึกถึงความไม่เกิด คือ ความเป็นไป ความ

ไม่เป็นไป นิมิต ไม่มีนิมิต สติสัมโพชฌงค์ ชื่อว่า ตั้งอยู่ เพราะไม่ระลึก

ถึงสังขาร เพราะระลึกถึงอสังขาร ดังนั้น สติสัมโพชฌงค์ จึงตั้งอยู่ด้วย

อาการแปดเหล่านี้แล. พระเถระย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ เมื่อประพฤติ

ย่อมประพฤติด้วยอาการแปดตรงกันข้ามกันอาการที่กล่าวแล้ว นั่นแหละ. แม้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

ในโพชฌงค์ที่เหลือ ก็มีนัยนี้นี้แล. สูตรนี้ท่านกล่าวโพชฌงค์ที่มีกำลังของ

พระเถระ.

ก็เมื่อใดพระเถระทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นหลัก ย่อมเข้าผลสมาบัติ

เมื่อนั้น โพชฌงค์ ๖ นอกนี้ ย่อมไปตามสติสัมโพชฌงค์นั้น. เมื่อใด พระ-

เถระทำโพชฌงค์อย่างใดอย่างหนึ่งให้เป็นหลักในบรรดาโพชฌงค์ มีธรรม

วิจยะเป็นต้น แม้เมื่อนั้น โพชฌงค์ที่เหลือ ย่อมไปตามโพชฌงค์นั้นแล.

พระเถระ เมื่อแสดงความชำนาญที่ประพฤติมาของตน ในผลสมาบัติอย่างนี้

จึงกล่าวสูตรนี้ ด้วยประการดังนี้.

จบอรรถกถาวัตตสูตรที่ ๔.

๕. ภิกขุสูตร

เรื่องว่าโพชฌงค์เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้

[๓๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ที่เรียกว่าโพชฌงค์ ๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า โพชฌงค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไป

เพื่อตรัสรู้.

[๓๙๑] ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

[๓๙๒] ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

[๓๙๓] เมื่อภิกษุนั้นเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ จิตย่อมหลุดพ้น

แม้จากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่ง

รู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย้อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า

โพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ ฉะนี้แล.

จบภิกขุสูตรที่ ๕

อรรถกถาภิกขุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุสูตรที่ ๕.

บทว่า โพธาย สวตฺตนฺติ ความว่า ย่อมเป็นไปเพื่อตรัสรู้. ถามว่า

เพื่อตรัสรู้อะไร ตอบว่า ตรัสรู้นิพพาน อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ด้วย

มรรค ตรัสรู้กิจอันตนทำแล้วด้วยปัจจเวกขณญาณ. มีอธิบายว่า อีกอย่าง

หนึ่ง โพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อตรัสรู้ เพราะการตัดกิเลสได้ขาดด้วยมรรคเพื่อ

ความเป็นพุทธะ ด้วยผลดังนี้ก็มี. ด้วยเหตุนั้นแล ในที่นี้ ท่านจึงแสดงไว้ทั้ง

หมดว่าการกระทำนิพพานให้แจ้ง การพิจารณาซึ่งการละกิเลส.

จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

๖. กุณฑลิยสูตร

ตถาคตมีวิชชาและวิมุตติเป็นผลานิสงส์

[๓๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมฤค-

ทายวัน ใกล้เมืองสาเกต. ครั้งนั้นแล กูณฑลิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย

พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชอบเที่ยวไปใน

อารามและชอบเข้าไปในที่ชุมนุมชน นี้เป็นเหตุการณ์ของข้าพระองค์ ผู้บริโภค

อาหารเช้าแล้ว ในเวลาหลังอาหาร ข้าพระองค์เดินไปเนือง ๆ เที่ยวไปเนืองๆ

สู่อารามจากอาราม สู่อุทยานจากอุทยาน ณ ที่นั้น ข้าพระองค์เห็นสมณ-

พราหมณ์พวกหนึ่ง กาลังกล่าวถ้อยคำมีวาทะและการเปลื้องวาทะว่าดังนี้เป็น

อานิสงส์ และมีความขุ่นเคืองเป็นอานิสงส์ ส่วนท่านพระโคดมมีอะไรเป็น

อานิสงส์อยู่เล่า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนกุณฑลิยะ ตถาคตมี

วิชชาและวิมุตติเป็นผลานิสงส์อยู่.

[๓๙๕] ก. ข้าแต่ท่านพระโคคมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.

พ. ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคคมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

พ. ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.

ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ให้บริบูรณ์

พ. ดูก่อนกุณฑลิยะ สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก

แล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์

ก. ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์.

[๓๙๖] พ. ดูก่อนกุณฑลิยะ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ อินทรีย์สังวรอันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ดูก่อนกุณฑลิยะ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปที่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม้ยินดี ไม่ขึ้งเคียด

ไม่ยังความกาหนัดให้เกิด และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภาย

ใน หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอเห็นรูปที่ไม่ชอบใจด้วยจักษุแล้ว ก็ไม่เก้อ

ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็

คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว

อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้ม

รสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ที่ชอบใจด้วยใจ

แล้ว ย่อมไม่ยินดี ไม่ขึ้งเคียด ไม่ยังความกาหนัดให้เกิด และกายของเธอ

ก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว อนึ่ง เธอรู้ธรรมารมณ์

ที่ไม่ชอบใจด้วยใจแล้ว ไม่เก้อ ไม่มีจิตตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส ไม่เสียใจ

มีจิตไม่พยาบาท และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน

หลุดพ้นดีแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

ดูก่อนกุณฑลิยะ เพราะเหตุที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้คงที่

ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท เพราะรูปทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ กายของ

เธอก็คงที่ จิตก็คงที่ มั่นคงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุฟังเสียงด้วย

โสต ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยฆานะ ฯลฯ ลี้มรสด้วยชิวหา ฯลฯ ถูกต่องโผฏฐัพพะด้วย

กาย ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้คงที่ ไม่เสียใจ มีจิตไม่พยาบาท

เพราะธรรมารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ และกายของเธอก็คงที่ จิตก็คงที่

มั่น คงดีในภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ดูก่อนกุณฑลิยะ อินทรียสังวรอันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมยังสุจริต ณ ให้บริบูรณ์.

[๓๙๗] ดูก่อนกุณฑลิยะ ก็สุจริตเหล่านั้นอันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ เจริญกายสุจริตเพื่อละกายทุจริต เจริญวจีสุจริตเพื่อละวจีทุจริต เจริญ

มโนสุจริตเพื่อละมโนทุจริต สุจริต ๓ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อย่างนี้แล ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.

[๓๙๘] ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกาจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

เนือง ๆ อยู่ ฯลฯ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ ฯลฯ ย่อมพิจารณา

เห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกาจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังโพชฌงค์ ๔ ให้บริบูรณ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

[๓๙๙] ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป

ในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้สมบูรณ์

[๔๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว กุณฑลิยปริพาชกได้

กราบทูลพระผู้มีพระภคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่าน

พระโคคมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ

ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วย

หวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้ง

พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดม จงทรงจำ

ข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้น

ไป.

จบกุณฑลิยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

อรรถกถากุณฑลิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุณฑลิยสูตรที่ ๖.

บทว่า อารามนิยาทิ ได้แก่ ชื่อว่า เที่ยวไปในอาราม เพราะอาศัย

อารามเป็นที่ไป. บทว่า ปริสาวจโร ได้แก่ เที่ยวไปในบริษัท. คนพาลบ้าง

บัณฑิตบ้าง มารวมกันอยู่ ชื่อว่า บริษัท. ส่วนผู้ใด ย่อมสามารถเพื่อย่ำยี

วาทะของคนอื่นแล้ว จึงแสดงวาทะของตนได้ ผู้นี้ชื่อว่า เที่ยวไปในบริษัท.

บทว่า อาราเมน อาราม ความว่า ข้าพเจ้าเดินไปเนือง ๆ สู่อารามจาก

อาราม อธิบายว่า มิได้เดินไปภายนอก แม้ในอุทยานก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า เข้าไปสู่อารามหนึ่ง จากอารามหนึ่ง เข้าไปสู่

อุทยานหนึ่ง จากอุทยานหนึ่ง. บทว่า อิติวาทปฺปโมกฺขานิสส ความว่า

วาทะดังนี้ การเปลื้องวาทะดังนี้ โดยนัยนี้ว่า การถามมีอย่างนี้ การตอบ

มีอย่างนี้ การถือเอาความอย่างนี้ ไขความอย่างนี้ ดังนี้ นั่นเป็นอานิสงส์

บทว่า อุปารมฺภานิสส ได้แก่ มีโทษในวาทะเป็นอานิสงส์ อย่างนี้ว่า

นี้เป็นโทษในการถาม นี้เป็นโทษในการตอบ ดังนี้. บทว่า กถ ภาวิโต

กิณฺฑลิย อินฺทริยสฺวโร ความว่า พระศาสดาทรงรู้ว่า ก็ปริพาชกถาม

ฐานะมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เขาไม่อาจเพื่อจะถามอีก เมื่อทรงถาม

จึงทรงเริ่มเทศนานี้ด้วยพระองค์โดยทรงดำริว่า คราวแรก เทศนานี้ไม่เป็นไป

ต่อเนื่องกัน บัดนี้ เราจักให้เทศนานี้ถึงการต่อเนื่องกัน ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มนาป นาภิชฺณายติ ได้แก่ ย่อมไม่

เพ่งอารมณ์ที่น่าปรารถนา. บทว่า นาวิหึสติ ได้แก่ ย่อมไม่ขึ้งเคียดด้วย

ความยินดี อันมีอามิส. บทว่า ตสฺส ิโต จ กาโย โหติ ิต จิตฺต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

อชฺฌตฺต ความว่า นามกายและจิตของเธอคงที่อยู่ภายในอารมณ์ บทว่า

สสณฺิต ได้แก่ มั่นคงด้วยดีด้วยอำนาจกัมมัฏฐาน บทว่า สุวิมุตฺต ได้แก่

หลุดพ้นดีแล้วด้วยกัมมัฏฐาน. บทว่า อมนาป ได้แก่ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา

บทว่า น มงฺกุ โหติ ได้แก่ ย่อมไม่เก้อในรูปนั้น บทว่า อปฺปติฎฺิต-

จิตฺโต ได้แก่ มีจิตไม่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจกิเลส. บทว่า อาทินฺนมานโส

ได้แก่ มีจิตอันกิเลสยึดถือด้วยอำนาจโทมนัสไม่ได้. บทว่า อพฺยาปนฺนเจตโส

ได้แก่ มีจิตไม่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจโทสะ.

ในบทว่า เอวมฺภาวิโต โข กุณฺฑลิย อินฺทริยสวโร เอว

พหุลีกโต ตีณิ สุจริตานิ ปริปูเรติ นี้ พึงทราบการยังสุจริตให้บริบูรณ์

อย่างนี้ ทุจริตทั้งหลายมี ๑๘ ในทวาร ๖ เหล่านี้ก่อน. ถามว่า มีได้อย่างไร

ตอบว่า เมื่อไม่ให้ส่วนกายและวาจาหวั่นไหว เมื่ออารมณ์อันน่าปรารถนา

มาสู่คลอคงในจักขุทวารครั้งแรก แต่ยังความโลภให้เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น

จัดเป็นมโนทุจริต. เมื่อพูดด้วยจิตประกอบด้วยความโลภว่า โอหนอ สิ่งนี้

น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจดังนี้ จัดเป็นวจีทุจริต เมื่อเอามือจับต้อง

สิ่งนั้นเท่านั้น จัดเป็นกายทุจริต. แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ส่วนความต่างกันดังนี้ ด้วยว่า เมื่อจับต้องเครื่องดนตรีมีสังข์และ

บัณเฑาะว์เป็นต้น อันเป็นอนามาส ซึ่งเป็นที่ตั้งของสัททารมณ์ในโสตทวาร

จับต้องของหอมและดอกไม้เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของคันธารมณ์ในฆานทวาร.

จับต้องปลาและเนื้อเป็นต้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของรสารมณ์ในชิวหาทวาร. จับต้อง

จีวรเป็นต้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของโผฏฐัพพารมณ์ ในกายทวาร เมื่อจับต้อง เนยใส

น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น ซึ่งเป็นธรรมารมณ์ด้วยอำนาจแห่งบัญญัติ

ในมโนทวาร พึงทราบว่า กายทุจริต แต่เมื่อว่าโดยย่อ ในข้อนี้มีทุจริตสาม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

เท่านั้น คือ การละเมิดทางกายในทวาร ๖ จัดเป็นกายทุจริต การละเมิด

ทางวาจา จัดเป็นวจีทุจริต การละเมิดทางใจ จัดเป็นมโนทุจริต.

ส่วนภิกษุนี้ มั่นคงอยู่ในการพิจารณาภาวนาของตนย่อมประพฤติ

สุจริตเหล่านี้ให้เป็นสุจริตธรรม ถามว่า ประพฤติอย่างไร ตอบว่า เมื่อ

ไม่ยังส่วนกายและวาจาให้เคลื่อนไหว เมื่ออารมณ์อันน่าปรารถนามาสู่คลอง

ในจักขุทวารครั้งแรก ปรารถนาอยู่ซึ่งวิปัสสนาอันมีรูปเป็นอารมณ์ จัดเป็น

มโนสุจริต เมื่อพูดด้วยจิตอันประกอบด้วยวิปัสสนาว่า มีความสิ้นไปเป็น

ธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา จัดเป็นวจีสุจริต. เมื่อไม้จับต้องด้วย

คิดว่า สิ่งนี้เป็นอนามาส จัดเป็นกายสูจริต แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้

เหมือนกัน. ว่าโดยพิสดาร สุจริตมีด้วยทวารที่เหลือด้วยประการฉะนี้

แต่โดยสังเขปในข้อนี้ มีสุจริตสามเท่านั้น คือ การสำรวมทางกายในทวาร ๖

จัดเป็นกายสจริตุ การสำรวมทางวาจาจัดเป็นวจีสูจริต. การสำรวมทางใจ

จัดเป็นมโนสุจริต ความสำรวมอินทรีย์อย่างนี้ พึงทราบว่า ย่อมยังสุจริตสาม

ให้บริบูรณ์. ท่านกล่าวถึงอินทรียสั่งวรศีล อันศีลตามรักษาแล้ว ด้วยเหตุ

ประมาณเท่านี้.

ในบทเป็นต้นว่า กายทุจริต ปหาย ได้แก่ กายทุจริต ๓ อย่าง

วจีทุจริต อย่างมโนทุจริต ๓ อย่าง. พึงทราบกายสุจริตเป็นต้น ด้วยอำนาจ

ตรงกันข้ามกับกายทุจริตเป็นต้นนั้น ด้วยคำประมาณเท่านี้ย่อมเป็นอันท่าน

กล่าวถึงปาฏิโมกขศีลด้วยการสำรวมทางกายและทางวาจา. ศีลสามด้วยการ

สำรวมทางใจ ย่อมเป็นอันท่านกล่าวแล้วถึงจตุปาริสุทธศิล ล้วนในสูตรนี้

ทั้งสิ้น พึงทราบว่าท่านกล่าวสติปัฏฐานมีสุจริตเป็นมูลว่า คลุกเคล้าด้วย

โลกุตตระ. สติปัฏฐานเป็นมูลแห้งโพชฌงค์ ๗ ว่าเป็นบุพภาค. โพชฌงค์มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

สติปัฏฐานเป็นมูล แม้เหล่านั้นว่าเป็นบุพภาค. ส่วนโพชฌงค์ซึ่งเป็นมูล

แห่งวิชชาและวิมุตติ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า เป็นโลกุตตระแท้.

อรรถกถากุณฑลิยสูตรที่ ๖

๗. กูฏสูตร

ผู้เจริญโพชฌงค์ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน

[๔๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กลอนเรือนยอดทั้งหมดน้อมใบสู่ยอด

โน้มไปสู้ยอด โอนไปสู่ยอด แม้ฉันใด ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำ

ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน

ไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๔๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญโพชฌงค์ กระทำให้มาก

ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ . น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขา

ส้มโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่

นิพพาน โน้มโปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

จบกูฏสูตรที่ ๗

ส่วนอรรถกถากูฏสูตรที่ ๗ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

๘. อุปวาณสูตร

โพชฌงค์ ๗ ที่ปรารภดีแล้วย่อมให้อยู่ผาสุก

[๔๐๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุปวาณะและท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ

โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อน

ในเวลาเย็นแล้ว เข้าไปหาท่านพระอุปวาณะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระ-

อุปวาณะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอปวาณะว่า ท่านอุปวาณะผู้มีอายุ

ภิกษุจะพึงรู้หรือไม่ว่า โพชฌงค์ ๗ อันเราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ด้วยการกระทำ

ไว้ในใจโดยแยบคายเฉพาะตน ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นผาสุก ท่านพระ-

อุปวาณะตอบว่า ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ ภิกษุพึงรู้ได้ว่า โพชฌงค์ ๗

อันเราปรารภดีแล้วอย่างนี้ ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเฉพาะตน

ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก.

[๔๐๔] สา. ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุปรารภสติสัมโพชฌงค์ ย่อมรู้ได้

หรือว่าจิตของเราหลุดพ้นดีแล้ว ถีนมิทธะเราถอนเสียแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะ

เรากาจัดได้แล้ว ความเพียรเราปรารภแล้ว เรากระทำไว้ในใจอย่างจริงจัง

มิได้ย่อหย่อน ฯลฯ

[๔๐๕] ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมรู้ได้

หรือว่าจิตของเราหลุดพ้นแล้ว ถีนมิทิธะเราถอนเสียแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะ

เรากาจัดได้แล้ว ความเพียรเราปรารภแล้ว เรากระทำไว้ในใจอย่างจริงจัง

มิได้ย่อหย่อน ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

[๔๐๖] อ. ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ ภิกษุพึงรู้ได้อย่างนี้แลว่า

โพชฌงค์อันเราปรารภดีแลวอย่างนี้ ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

เฉพาะตน ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่ผาสุก.

จบอุปวาณสูตรที่ ๘

อรรถกถาอุปวาณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุปวาณสูตรที่ ๘

บทว่า ปจฺจตฺต คือเฉพาะตน. บทว่า โยนิโสมนสิการา ได้แก่

ด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย. บทว่า อารพฺภมาโน ได้แก่ กระทำ

อยู่แล บทว่า สุวิมุตฺต ได้แก่ หลุดพ้น ด้วยกัมมัฏฐาน บทว่า อฎฺิกตฺวา

ได้แก่ กระทำให้เป็นประโยชน์ อธิบายว่า มีความต้องการ

จบอรรถกถาอุปาทสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

๙. ปฐมอุปาทสูตร

โพชฌงค์ ๗ ไม่เกิดนอกจากการปรากฏแห่งตถาคต

[๔๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ อันภิกษุ

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น นอกจากความปรากฏ

แห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ย่อม

ไม่เกิดขึ้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

โพชฌงค์ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด

ย่อมเกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว

โพชฌงค์ ประการนี้ ย่อมไม่เกิดขึ้น.

จบปฐมอุปาทสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมอุปาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยใน อุปาทสูตรที่ ๙.

บทว่า นาญฺตฺร ตถาคตสฺส ปาตุภาวา ความว่า เว้นความ

ปรากฏแห่งพระตถาคต โพชฌงค์ย่อมไม่เกิดขึ้นในกาลอื่น.

จบอรรถกถาอุปาทสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

๑๐. ทุติยอุปาทสูตร

โพชฌงค์ ๗ ไม่เกิดนอกวินัยของพระสุคต

[๔๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ อันภิกษุ

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด ยาอมเกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้นนอกวินัย

ของพระสุคต โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขา-

สัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้นนอกวินัยของพระสุคต.

จบทุติยอุปาทสูตรที่ ๑๐

จบปัพพตวรรคที่ ๑

อรรถกถาทุติยอุปาทสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอุปาทสูตรที่ ๑๐.

บทว่า นาญฺตฺร สุคตวินยา ความว่า เว้นพระโอวาทของ

พระสุคตเจ้าเสีย โพชฌงค์ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนี้.

จบอรรถกถาทุติยอุปาทสูตรที่ ๑๐

จบปัพพตวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. หิมวันตสูตร ๒. กายสูตร ๓. สีลสูตร ๔. วัตตสูตร

๕. ภิกขุสูตร ๖. กุณฑลิยสูตร ๗. กุฎสูตร ๘. อุปวาณสูตร ๙. ปฐม-

อุปาทสูตร ๑๐. ทุติยอุปาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

คิลานวรรคที่ ๒

๑. ปาณูปมสูตร

อาศัยศีลเจริญโพชฌงค์ ๗

[๔๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งสำเร็จอิริยาบถ

คือ บางคราวก็เดิน บางคราวก็ยืน บางคราวก็นั่ง บางคราวก็นอน สัตว์

เหล่านั้นทั้งหมด อาศัย แผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงสำเร็จอิริยาบถ ๔ นั้น

อย่างนั้นแหละ แม้ฉันใด ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗

ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ฉันนั้นเหมือนกัน .

[๔๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว

ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม

ไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่

ในศีลแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์อย่างนี้แล.

จบปาณูปมสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

คิลานวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาปาณูปมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปาณูปมสูตรที่ ๑ แห่งคิลานวรรคที่ ๒.

บทว่า จตุตาโร อิริยาปเถ กปฺเปนฺติ ความว่า อิริยาบถ ๔

ของสัตว์เหล่าใด มีอยู่ คำนั้น ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งสัตว์เหล่านั้นเท่านั้น.

บทว่า สีล นิสฺสาย ได้แก่ ทำจตุปาริสุทธศีลให้เป็นที่อาศัย บทว่า

สตฺต โพชฺณงฺเค ได้แก่ โพชฌงค์อันเป็นมรรคที่เห็นแจ้งร่วมกัน. สูริยู-

ปมสูตรที่ ๒ และที่ ๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปาณูปมสูตร ที่ ๑

๒. ปฐมสุริยูปมสูตร

อาศัยกัลยาณมิตรเจริญโพชฌงค์ ๗

[๔๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน

สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น

เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือ ความ

เป็นผู้มีมิตรดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี

พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗

[๔๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗

ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ยอมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.

จบปฐมสุริยูปมสูตรที่ ๒

๓. ทุติยสุริยูปมสูตร

โยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้นแห่งโพชฌงค์

[๔๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน

สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น

เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือ การกระทำ

ไว้ในใจโดยแยบคาย ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึง

พร้อมด้วยการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์

๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ใน

ใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗

อย่างไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัม-

โพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยการกระทำไว้ใน

ใจโดยแยบคาย ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗

อย่างนี้แล.

จบทุติยสุริยูปมสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

๔. ปฐมคิลานสูตร

พระมหากัสสปหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗

[๔๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสป

อาพาธ ไม่สบาย เป็นไข้หนัก อยู่ที่ปิปผลิคูหา.

[๔๑๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น

เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้

ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระมหากัสสปว่า ดูก่อนกัสสป เธอพออดทนได้หรือ

พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กาเริบขึ้นแลหรือ

ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกาเริบขึ้นไม่ปรากฏแลหรือ ท่านพระมหากัสสป

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้

เป็นไปไม้ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กาเริบหนัก ยังไม่คลายไป ความ

กาเริบขึ้นย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ.

[๔๑๗] พ. ดูก่อนกัสสป โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ

ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน

[๔๑๘] ดูก่อนกัสสป สติสัมโพชฌงค์ ๗ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อัน

บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ

ตรัสรู้เพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้

เพื่อนิพพาน ดูก่อนกัสสป โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้ชอบแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ

ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

[๔๑๙] ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหากัสสปปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ท่านพระมหากัสสปหายจากอาพาธนั้นแล้ว และอาพาธนั้น

อันท่านพระมหากัสสปละได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล

จบปฐมคิลานสูตรที่ ๔

อรรถกถาปฐมคิลานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยใน ปฐมคิลานสูตรที่ ๔.

บทว่า ตถา ปหีโน จายสฺมโต มหากสฺสปสฺส โส อาพาโธ

อโหสิ ความว่า ได้ยินว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระตั้งใจพิงโพชฌงคภาวนา

นี้อยู่ ได้มีความดำรินี้ว่า เมื่อเราแทงตลอดอยู่ซึ่งสัจจะทั้งหลายในวันที่ ๗

แต่วันที่เราบวชแล้ว โพชฌงค์เหล้านี้ก็ปรากฏ ก็เมื่อท่านคิดอยู่ว่า โอ คำ

สอนของพระศาสดานำสัตว์ออกจากทุกข์ดังนี้ โลหิตก็ผ่องใส อุปาทารูป ก็

หมดจด. โรคหายไปจากกายเหมือนหยาดน้ำตกในใบบัวฉะนั้น. เพราะเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตถา ปหีโน จายสฺมโต มหากสฺสปสฺ

โส อาพาโธ อโหสิ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

แม้ใน คิลานสูตรที่ ๔ และที่ ๕ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน ความป่วยไข้

ที่เกิดแต่ความเย็นอ่อน ๆ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยการถูกต้องกับลมจากต้นไม้มีดอกเป็น

พิษที่บานแล้ว ที่เชิงแห่งภูเขา พึงทราบว่าเป็นอาพาธของชนแม้ทั้ง ๓

เหล่านี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปฐมคิลานสูตรที่ ๔

๕. ทุติยคิลานสูตร

พระมหาโมคคัลลานะหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗

[๔๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-

เวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระมหาโมค-

คัลลานะอาพาธ ไม่สบาย เป็นไข้หนัก อยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ.

[๔๒๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกจากที่เร้นในเวลาเย็น

เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้

ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอ

พออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้แลหรือ ทุกขเวทนาคลายลงไม่

กาเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกาเริบขึ้นไม่ปรากฏแลหรือ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญข้าพระองค์อดทน

ไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์ย่อมกาเริบหนัก

ยังไม่คลายลง ความกาเริบย่อมปราก ความทุเลาไม่ปรากฏ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

[๔๒๒] พ. ดูก่อนโมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ เหล้านี้ เรากล่าวไว้

ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง

เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน.

[๔๒๓] ดูก่อนโมคคัลลานะ สติสัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ

ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้

เพื่อนิพพาน ดูก่อนโมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้ชอบ

แล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง

เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๔๒๔] ท่านมหาพระโมคคัลลานะกราบทูลว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายจากอาพาธนั้นแล้ว และ

อาพาธนั้นอันท่านพระมหาโมคคัลลานะละได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล.

จบทุติยคิลานสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

๖. ตติยคิลานสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายประชวรด้วยโพชฌงค์ ๗

[๔๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-

เวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าประชวร ไม่ทรงสบาย ทรงเป็นไข้หนัก.

[๔๒๖] ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระมหาจุนทะว่า ดูก่อนจุนทะ โพชฌงค์จง

แจ่มแจ้งกะเธอ.

จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน.

[๔๒๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ พระผู้

มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ เพื่อนิพพาน. ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้

เพื่อนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

[๔๒๘] ดูก่อนจุนทะ โพชฌงค์ดีนัก ดูก่อนจุนทะ โพชฌงค์ดีนัก

ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจากประชวรนั้น และอาพาธนั้น อันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงละแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล.

จบตติยคิลานสูตรที่ ๖

๗. ปารคามีสูตร

เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง

[๔๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง โพชฌงค์ ๗ เป็น

ไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง.

[๔๓๐] ในมนุษย์ คนที่ไปถึงฝั่งมีจำนวน

น้อย แต่หมู่สัตว์ นอกนี้ย่อมวิ่งไปตามฝั่ง

นั่นเอง ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม

ในธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว

ชนเหล่านั้น จักข้ามบ่วงมฤตยูซึ่งแสนยาก

ที่จะข้ามได้ บัณฑิตพึงละธรรมฝ่ายดำเสีย

เจริญธรรมฝ่ายขาว ออกจากความอาลัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

อาศัยความไม่มีอาลัยแล้ว พึงละกามเสีย

เป็นผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล ปรารถนา

ความยินดีในวิเวก ที่สัตว์ยินดีได้ยาก

บัณฑิต พึงชำระตนให้ผ่องแผ้ว จาก

เครื่องเศร้าหมองจิต ชนเหล้าใดอบรมจิต

ดีแล้วโดยชอบในองค์เป็นเหตุตรัสรู้ ไม่

ถือมั่น ยินดีแล้วในความสละคืน ซึ่งความ

ยึดถือ ชนเหล่านั้นเป็นผู้สิ้นอาสวะ มี

ความรุ่งเรือง ปรินิพพานแล้วในโลก.

จบปารคามีสูตรที่ ๗

๘. วิรัทธสูตร

โพชฌงค์ ๗ ที่ปรารภผิดและปรารถถูก

[๔๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ปรารภผิดแล้ว อริยมรรคอันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็นอัน

บุคคลเหล่านั้นปรารภผิดแล้ว. โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภ

ถูกแล้ว อริยมรรคอันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็นอันบุคคลเหล่านั้น

ปรารภถูกแล้ว โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน คือสติสัมโพฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัม-

โพชฌงค์.

[๔๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันบุคคล

เหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภผิดแล้ว อริยมรรคอันยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

ชอบ เป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภผิดแล้ว โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันบุคคล

เหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภถูกแล้ว อริยมรรคอันสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

เป็นอันบุคคลเหล่านั้นปรารภถูกแล้ว.

จบวิรัทธสูตรที่ ๘

๙. อริยสูตร

เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมนำตนออกจากทุกข์

[๔๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ให้เป็นอริยธรรม นำตนออกจากทุกข์ ย่อมนำไป

เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้กระทำซึ่งโพชฌงค์ ๗ นั้น โพชฌงค์ ๗

เป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ให้

เป็นอริยธรรม นำตนออกจากทุกข์ ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ

แก่ผู้กระทำซึ่งโพชฌงค์ ๗ นั้น.

จบอริยสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

๑๐. นิพพานสูตร

เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย

[๔๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลาย

กาหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้

เพื่อนิพพาน. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาก

สัมโพชฌงค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลาย

กาหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้

เพื่อนิพพาน .

จบนิพพานสูตรที่ ๑๐

จบคิลานวรรควรรณนาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาณูปมสูตร ๒. ปฐมสุริยูปมสูตร ๓. ทุติยสุริยูปมสูตร ๔.

ปฐมคิลานสูตร ๕. ทุติยคิลานสูตร ๖. ตติยคิลานสูตร ๗. ปารคามีสูตร

๘. วิรัทธสูตร ๙. อริยสูตร ๑๐. นิพพานสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

อุทายิวรรคที่ ๓

๑. โพธนสูตร

เรียกว่าโพชฌงค์เพราะเป็นเพื่อตรัสรู้

[๔๓๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้น

แล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โพชฌงค์ โพชฌงค์

ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า โพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้.

[๔๓๖] ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้ ฉะนี้แล.

จบโพธนสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

อุทายิวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาโพธนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโพธนสูตรที่ ๑ แห่งอุทายิวรรคที่ ๓

บทว่า กิตฺตาวตา นุ โข ภนฺเต โพชฺณงฺคาติ วุจฺจนฺติ ความว่า

ภิกษุทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ชื่อว่า องค์อันเป็น

ความตรัสรู้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร หนอแล. บทว่า โพธาย สวตฺตนฺติ

ได้แก่ ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. ในสูตรนี้ ท่านกล่าวโพชฌงค์คลุกเคล้า

กันไป.

จบโพธนสูตรที่ ๑

๒. เทสนาสูตร

โพชฌงค์ ๗

[๔๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงโพชฌงค์ ๗ แก่เธอทั้ง-

หลาย เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น. ก็โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. คือสติสัมโพชฌงค์

ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล.

จบเทสนาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

อรรถกถาเทสนาสูตร

การกาหนดธรรม ท่านกล่าวไว้ในเทสนาสูตรที่ ๒.

๓. ฐานิยสูตร

นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการถึงธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์

[๔๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น

และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการ

มากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งกามราคะ.

[๔๓๙] พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็น

ไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้ง

แห่งพยาบาท.

[๔๔๐] ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม

เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่

ตั้งแห่งถีนมินธะ.

[๔๔๑] อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอัน

เป็นที่ตั้งแห่งอุทธจัจกุกกุจจะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

[๔๔๒] วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม

เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เพราะกระทำมนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่

ตั้งแห่งวิจิกิจฉา.

[๔๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิด

ขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ เพราะกระทำมนสิการมากถึง

ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ เพราะกระทำ

มนสิการมากถึงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

จบฐานิยสูตรที่ ๓

อรรถกถาฐานิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในฐานิยสูตรที่ ๓.

บทว่า กามราคฎฺานิยาน ได้แก่ อารัมมณธรรมอันเป็นเหตุแห่ง

กามราคะ. แม้ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งพยาบาทเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ก็สูตรนี้ทั้งหมดท่านกล่าว โดยอารมณ์เท่านั้น. แม่การกำหนดที่กล่าวในสูตร

ที่ ๒ แห่งวรรคที่ ๑ ผู้ศึกษาหาได้ในสูตรนี้แล.

ในอโยนิโสสูตรที่ ๔ ท่านกล่าวโพชฌงค์คลุกเคล้ากันไป. ใน

อปริหานิยสูตรที่ ๕ บทว่า อปริหานิเย ธมฺเม ได้แก่ สภาวธรรมอัน

ไม่ทำความเสื่อม.

จบอรรถกถาฐานิยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

๔. อโยนิโสสูตร

นิวรณ์ ๕ เกิดเพราะมนสิการโดยไม่แยบคาย

[๔๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย กาม

ฉันท์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์

ยิ่ง พยาบาท. . . ถีนมิทธะ. . . อุทธจัจกุกกุจจะ. . .วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิด

ขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง.

[๔๔๕] สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมดับไป ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิด

ขึ้นแล้ว ย่อมดับไป.

[๔๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย กาม

ฉันท์ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อมละเสียได้ พยาบาท

. . . ถีนมิทธะ . . . อุทธัจจกุกกุจจะ . . . วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น

และที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อมละเสียได้.

[๔๔๗] สติสัมโพชณงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นและที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ยิ่ง ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น

และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญไพบูลย์ยิ่ง.

จบอโยนิโสสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

๕. อปริหานิยสูตร

ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๗

[๔๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่ง

ความเสื่อม ๗ ประการ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น. ก็ธรรม

อันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๗ ประการเป็นไฉน. คือ โพชฌงค์ ๗. โพชฌงค์

๗ เป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ๗ ประการนี้แล.

จบอปริหานิยสูตรที่ ๕

๖. ขยสูตร

ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อสิ้นตัณหาคือโพชฌงค์ ๗

[๔๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อมเป็นไป

เพื่อความสิ้นตัณหา เธอทั้งหลายจงเจริญมรรคานั้น ปฏิปทานั้น มรรคาและ

ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหาเป็นไฉน คือ โพชฌงค์ ๗. โพชฌงค์ ๗

เป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

[๔๕๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้

ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อัน

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิ

ได้ ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อภิกษุนั้นเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มี

ความเบียดเบียน ย่อมละตัณหาได้ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิ

ได้ ไม่มีความเบียดเบียน เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ ไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้

ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมละตัณหาได้ เพราะละตัณหาได้ จึงละกรรมได้

เพราะละกรรมได้ จึงละทุกข์ได้ ดูก่อนอุทายี เพราะสิ้นตัณหา จึงสิ้นกรรม

เพราะสิ้นกรรม จึงสิ้นทุกข์ ด้วยประการดังนี้แล.

จบขยสูตรที่ ๖

อรรถกถาขยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยใน ขยสูตรที่ ๖.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า พระอุทายีเถระ เมื่อจะทูลถามว่า ข้า-

พระองค์จักรู้ถึงเทสนาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้จบลง ด้วยดำริว่า ภิกษุผู้

ฉลาดในอนุสนธิ ชื่อว่า อุทายีเถระ นั่งอยู่ในบริษัทนี้มีอยู่ เธอจักถามเรา

ดังนี้แล้ว สืบต่ออนุสนธิแห่งเทศนา จึงกราบทูลถามถึงข้อนั้น. บทว่า วิปุล

เป็นต้น ตรัสหมายถึงสติสัมโพชฌงค์ที่เจริญดีแล้วทั้งหมด เพราะว่า สติสัม-

โพชฌงค์ที่เจริญดีแล้ว ไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ และชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

ไม่มีความเบียดเบียน. สติสัมโพชฌงค์นั้นแล ชื่อว่า วิปุละ เพราะแผ่ไป.

ซึ่งว่า มหรคต เพราะถึงความเป็นใหญ่ ชื่อว่า อัปปมาณะ เพราะมีความเจริญ

หาประมาณมิได้. ชื่อว่า อัพยาปัชฌะ เพราะเว้นความพยาบาทโดยห่างไกล

นิวรณ์ทั้งหลาย. บทว่า ตณฺหาย ปหานา กมฺม ปหียติ ความว่า กรรม

อันใดมีตัณหาเป็นมูลพึงเกิดขึ้น ย่อมละกรรมนั้นได้เพราะการละตัณหา. บทว่า

กมฺมสฺส ปหานา ทุกข ความว่า วัฏทุกข์ แม้อันใด มีกรรมเป็นมูล พึง

เกิดขึ้น เพราะละกรรมได้ จึงละวัฏทุกข์นั้นได้. ชื่อว่า สิ้นตัณหาเป็นต้น

เพราะสิ้นตัณหาเป็นต้นนั่นแหละ แต่ว่าโดยความ พึงทราบว่า นิพพาน ท่าน

กล่าว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น.

จบอรรถกถาขยสูตรที่ ๖

๗. นิโรธสูตร *

ปฏิปทาเป็นไปเพื่อดับตัณหาคือโพชฌงค์ ๗

[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อมเป็นไป

เพื่อความดับตัณหา เธอทั้งหลายจงเจริญมรรคานั้น ปฏิปทานั้น. มรรคา

และปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความดับตัณหาเป็นไฉน. คือ โพชฌงค์ ๗. โพชฌงค์

๗ เป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

[๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๊ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระ

ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความดับตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

* สูตรที่ ๗ ไม่มีอรรถกาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อม

เป็นไปเพื่อความดับตัณหา

จบนิโรธสูตรที่ ๗

๘. นิพเพธสูตร

มรรคอันเป็นส่วนการแทงตลอดคือโพชฌงค์ ๗

[๔๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคาอันเป็นส่วนแห่ง

การแทงตลอด แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังมรรคานั้น ก็มรรคาอัน

เป็นส่วนแห่งการแทงตลอดเป็นไฉน. คือ โพชฌงค์ ๗. โพชฌงค์ ๗ เป็น

ไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

[๔๕๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้

ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความแทงตลอด.

พ. ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หา

ประมาณมิได้ ไม่มีความเบียดเบียน เธอมีจิตอันสติสัมโพชฌงค์อบรมแล้ว

ย่อมแทงตลอด ย่อมทำลายกองโลภะ ที่ยังไม่เคยแทงตลอด ยังไม่เคยทำลายเสีย

ได้ ย่อมแทงตลอด ย่อมทำลายกองโทสะ ที่ยังไม่เคยแทงตลอด ยังไม่เคยทำลาย

เสียได้ ย่อมแทงตลอด ย่อมทำลายกองโมหะ ที่ยังไม่เคยแทงตลอด ยังไม่เคย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

ทำลายเสียได้ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีความเบียดเบียน

เธอมีจิตอันอุเบกขาสัมโพชฌงค์อบรมแล้ว ย่อมแทงตลอด ย่อมทำลายกอง

โลภะ ที่ยังไม่เคยแทงตลอด ยังไม่เคยทำลายเสียได้ ย่อมแทงตลอด ย่อมทำลาย

กองโทสะ ที่ยังไม่เคยแทงตลอด ยังไม่เคยทำลายเสียได้ ย่อมแทงตลอด ย่อม

ทำลายกองโมหะ ที่ยังไม้เคยแทงตลอด ยังไม่เคยทำลายเสียได้ ดูก่อนอุทายี

โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความแทงตลอด.

จบนิพเพธสูตรที่ ๘

อรรถกถานิพเพธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยใน นิพเพธสูตรที่ ๘.

บทว่า นิพฺเพธภาคิย ได้แก่ ส่วนแห่งการแทงตลอด. บทว่า

สติสมฺโพชฺฌงฺคภาวิเตน ความว่า มีจิตอันสติสัมโพชฌงค์อบรมแล้ว.

ในข้อนี้มีมรรคและโพชฌงค์คลุกเคล้ากันอย่างนี้ จิตที่มั่นคง อันมรรคและ

โพชฌงค์เหล่านั้นอบรมแล้ว เกิดโลกุตระ ก็แล การทำโพชฌงค์นั้น ให้อาศัย

มรรคแล้ว กล่าวให้คลุกเคล้ากันนั่นแล จึงจะควร.

จบอรรถกถานิพเพธสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

๙. เอกกรรมสูตร

โพชฌงค์ ๗ ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมเป็นที่ตั้งสังโยชน์

[๔๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรายังไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้ข้อหนึ่ง

ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมอันเป็นที่ตั้ง

แห่งสังโยชน์เหมือนโพชฌงค์ ๗ นี้เลย. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน คือ สติ-

สัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

[๔๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขา

สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.

[๒๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์เป็นไฉน.

จักษุเป็นธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือ สังโยชน์

เหล่านั้นย่อมเกิดที่จักษุนี้ โสต. . . ฆานะ . . ชิวหา . . . *ใจเป็นธรรมที่ตั้งแห่ง

สังโยชน์ เครื่องผูก เครื่องจองจำ คือ สังโยชน์เหล่านั้น ย่อมเกิดที่ใจนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์.

จบเอกธรรมสูตรที่ ๙

* บาลีเป็นอยางนี้ กายหายไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

อรรถกถาเอกธรรมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเอกธรรมสูตรที่ ๙.

บทว่า สญฺโชนวินิพนฺธา ได้แก่ เครื่องผูกกล่าวคือสังโยชน์.

บทว่า อชฺโฌสานา ได้แก่ ให้สำเร็จแล้วยึดถือ.

จบอรรถกถาเอกธรรมสูตรที่ ๙

๑๐. อุทายิสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับรองมรรคที่พระอุทายีได้

[๔๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของ

ชนชาวสุมภะ ชื่อเสตกะ ในแคว้นสุมภะ ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า

[๔๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า ไม่เคย

มีมามีขึ้น ความรัก ความเคารพ ความละอายใจ และความเกรงกลัว ของ

ข้าพระองค์ซึ่งมีอยู่ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า มากเพียงไร ด้วยว่า ข้าพระองค์

เมื่อเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนอยู่ในกาลก่อน ก็มิได้กระทำความคุ้นเคย

กับพระธรรมมากนัก มิได้กระทำความคุ้นเคยกับพระสงฆ์มากนัก ข้าพระองค์

เห็นความรัก ความเคารพ ความละอายใจ ความเกรงกลัว ในพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงออกบวชเป็นบรรพชิต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ข้าพระองค์ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป

อย่างนี้เวทนา . . . อย่างนี้สัญญา . . . อย่างนี้สังขาร . . . อย่างนี้วิญญาณ

อย่างนี้ความเกิดแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ.

[๔๖๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ในเรือนว่างพิจารณา

ถึงความเกิดและความเสื่อมแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ได้รู้ตามความ

เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

[๔๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่ข้าพระองค์บรรลุแล้ว

และมรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ข้าน้อมนำข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการอย่างนั้น ๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น

โดยที่ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี คือ สติสัมโพชฌงค์ ที่

ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำ

ข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการอย่างนั้น ๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่

ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ

เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ที่

ข้าพระองค์ได้แล้วนั้น อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำ

ข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการนั้น ๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่ข้าพระองค์

จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี มรรคที่ข้าพระองค์ได้แล้วนี้แล อันข้าพระองค์

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำข้าพระองค์ผู้อยู่โดยอาการนั้น ๆ ไป

เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่ข้าพระองค์จักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

[๔๖๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ อุทายี มรรคที่เธอได้

แล้วนั้นแล อันเธอเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว จักน้อมนำเธอผู้อยู่โดยอาการ

นั้น ๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น โดยที่เธอจักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี.

จบอุทายิสูตรที่ ๑๐

จบอุทายิวรรคที่ ๓

อรรถกถาอุทายิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุทายิสูตรที่ ๑๐.

บทว่า อพหุกโต แปลว่า ไม่กระทำให้มาก. ในบทว่า อกฺกุชฺชาว-

กุชฺช นี้ท่านแสดงว่า พระอุทายี พิจารณาเปลี่ยนไปมากด้วยอำนาจความเกิด

และความเสื่อม ความเกิดเรียกว่า อุกกุชชะ ความเสื่อมเรียกว่า อวกุชชะ.

บทว่า ธมฺโม จ เม อกิสเมโต ได้แก่ วิปัสสนาธรรม อันข้าพระองค์

บรรลุแล้ว. บทว่า มคฺโค คือ วิปัสสนามรรค. ก็ถ้าพระเถระเป็นโสดาบัน

ในสมัยนั้น พึงทราบวิปัสสนานี้เพื่อประโยชน์แก่มรรคาทั้งสามเบื้องบน ถ้าเป็น

อนาคามี พึงทราบวิปัสสนานี้ เพื่อประโยชน์แก่อรหัตมรรค. บทว่า

ตถา ตถา วิหรนฺต ได้แก่ อยู่โดยอาการนั้น ๆ. บทว่า ตถตฺตาย

ได้แก่ เพื่อความเป็นอย่างนั้น. ด้วยบทเป็นต้นว่า ขีณา ชาติ ท่านประสงค์เอา

ตถตฺตาย พระเถระแสดงความเป็นอย่างนั้น. ในข้อนี้ มีอธิบายว่า พระเถระ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

ย่อมนำเอาธรรมนั้นเข้ามา เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา เมื่อท่านแสดง

ธรรมนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอุทายิสูตรที่ ๑๐

จบอุทายิวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โพธนสูตร ๒. เทสนาสูตร ๓. ฐานิยสูตร ๔. อโยนิโสสูตร

๕. อปริหานิยสูตร ๖. ขยสูตร ๗. นิโรธสูตร ๘. นิพเพธสูตร

๙. เอกธรรมสูตร ๑๐. อุทายิสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

นิวรณวรรคที่ ๔

๑. ปฐมกุสลสูตร

ธรรมที่เป็นกุศลมีความไม่ประมาทเป็นมูล

[๔๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

อันเป็นไปในส่วนแห่งกุศล เป็นไปในฝ่ายแห่งกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท

เรากล่าวว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ไม่

ประมาทแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗.

[๔๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมเจริญ

โพชฌงค์ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชณงค์อย่างไรเล่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์

๗ อย่างนี้แล.

จบปฐมกุสลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

๒. ทุติยกุสลสูตร*

ธรรมที่เป็นกุศลมีโยนิโสมนสิการเป็นมูล

[๔๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

อันเป็นไปในส่วนแห่งกุศล เป็นไปในฝ่ายแห่งกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด

มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ประชุมลงในโยนิโสมนสิการ โยนิโสมนสิการ

เรากล่าวว่าเป็นยอดของธรรมเหล่านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้

ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำ

ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

[๔๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ

ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อม

กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.

จบทุติยกุสลสูตรที่ ๒

* ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

๓. อุปกิเลสสูตร

อุปกิเลสของทอง ๕ อย่าง

[๔๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างนี้ เป็น

เครื่องทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ

และให้ใช้การไม่ได้ดี อุปกิเลส ๕ อย่างเป็นไฉน .

[๔๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล็กเป็นอุปกิเลสของทอง ทำทอง

ไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การ

ไม่ได้ดี

[๔๖๙] โลหะ เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม้ให้อ่อน ฯลฯ

[๔๗๐] ดีบุก เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ

[๔๗๑] ตะกั่ว เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ฯลฯ

[๔๗๒] เงิน เป็นอุปกิเลสของทอง ทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้

ควรแก้การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ และให้ใช้การไม้ได้ดี.

[๔๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของทอง ๕ อย่างนี้แล เป็น

เครื่องทำทองไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้มีสีสุก ให้เปราะ

และให้ใช้การไม่ได้ดี.

[๔๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล อุปกิเลสของ

จิต ๕ อย่างนี้ เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม้ให้ผุดผ่อง

ให้เสียไป และไม่ให้ตั้งมั่นด้วยดี เพื่อความสิ้นอาสวะ.

อุปกิเลส ๕ อย่างเป็นไฉน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

[๔๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะเป็นอุปกิเลสของจิต เป็น

เครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป

และไม้ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ.

[๔๗๖] พยาบาทเป็นอุปกิเลสของจิต เป็นเครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน

ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม้ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป และไม้ให้ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อ

ความสิ้นอาสวะ.

[๔๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสของจิต ๕ อย่างนี้แล เป็น

เครื่องทำจิตไม่ให้อ่อน ไม่ให้ควรแก่การงาน ไม่ให้ผุดผ่อง ให้เสียไป

และไม่ให้ตั้งมั่น ด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ.

[๔๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นธรรมกั้น

ไม้เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ

โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน.

[๔๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติสัมโพชฌงค์ไม่เป็นธรรมกั้น

ไม่เป็นธรรมห้าม ไม้เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ ฯลฯ

[๔๘๐] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม

ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาวิมุตติ.

[๔๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล ไม่เป็นธรรม

กั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ

จบอุปกิเลสสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

นีวรณวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาอุปกิเลสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยใน อุปกิเลสสูตรที่ ๓ แห่งนีวรณวรรคที่ ๔

บทว่า น จ ปภสฺสร ได้แก่ ไม่มีรัศมี. บทว่า ปภงฺคุ จ ได้แก่

มีการแตกทำลายเป็นสภาพ. บทว่า อโย ได้แก่ โลหะมีสีดำ. อธิบายว่า

เว้นของ ๔ อย่าง ที่กล่าวไว้ในพระสูตรนี้ ที่เหลือชื่อว่า โลหะ บทว่า สชฺฌุ

ได้แก่ เงิน. บทว่า จิตฺตสฺส ได้แก่ กุศลจิตที่เป็นไปในภูมิสี่. ถามว่า

อุปกิเลสย่อมมีแก่จิตในภูมิสาม จงยกไว้ก่อน อุปกิเลสของโลกุตรจิตมีได้

อย่างไร ตอบว่า ธรรมเหล่าใด ย่อมไม่ให้อารมณ์อันเลิศเกิดขึ้น ธรรม

เหล่านั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นอุปกิเลสของโลกิยจิตบ้าง ของโลกุตรจิตบ้าง

ย่อมมี. บทว่า ปภงฺคุ จ ความว่า มีความแตกเป็นสภาพ โดยเข้าถึงความ

เป็นจุณวิจุณไปในอารมณ์.

บทว่า อนาวรณา ได้แก่ ชื่อว่า อนาวรณา เพราะอรรถว่าไม่กั้น

กุศลธรรม. บทว่า อนีวรณา ได้แก่ ชื่อว่า อนีวรณา เพราะอรรถว่าไม่

ปกปิด บทว่า เจตโส อนุปกฺกิเลสา ได้แก่ ไม่เป็นอุปกิเลสของจิตใน

ภูมิสี่.

จบอรรถกถาอุปกิเลสสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

๔. อโยนิโสสูตร*

มนสิการไม่แยบคาย นิวรณ์ ๕ จึงเกิด

[๔๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย

กามฉันท์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ

ไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๔๘๓] พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อม

เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๔๘๔] ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อม

เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๔๘๕] อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิงขึ้น.

[๔๘๖] วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อม

เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

จบอโยนิโสสูตรที่ ๔

* สูตรที่ ๔ ๕ ๖ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

๕. โยนีโสสูตร

มนสิการโดยแยบคายย่อมเกิดโพชฌงค์

[๔๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย สติ-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว ย่อมถึงความเจริญ

บริบูรณ์ ฯลฯ.

[๔๘๘] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดแล้ว

ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

จบโยนิโสสูตรที่ ๕

๖. วุฑฒิสูตร

โพชฌงค์เป็นไปเพื่อความเจริญ

[๔๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ นี้ อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ เพื่อความไม่เสื่อม. โพชฌงค์

๗ เป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗

นี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ

เพื่อความไม่เสื่อม.

จบวุฑมิสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

๗. อาวรณานีวรณสูตร

ธรรมเป็นอุปกิเลสของจิต ๕

[๔๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม

เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม ๕ อย่างนี้. ๕ อย่างเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กามฉันทะเป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม เป็น

อุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม. พยาบาท . . . ถีนมิทธะ . . . อุทธัจจ-

กุกกุจจะ . . . วิจิกิจฉา เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม เป็น

อุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ อย่างนี้แล

เป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม เป็นอุปกิเลสของจิต ทำปัญญาให้ทราม.

[๔๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นเครื่องกั้น

ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมุตติ. โพชฌงค์

๗ เป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม

ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป

เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชา

และวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ นี้แล ไม่เป็นเครื่องกั้น ไม่

เป็นเครื่องห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก

แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

[๔๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวม

เข้าไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ย่อมไม่มีแก่เธอ

โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

จบอาวรณานีวรณสูตรที่ ๗

อรรถกถาอาวรณานีวรณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาวรณานีวรณสูตรที่ ๗.

บทว่า ปญฺายทุพฺพลีกรณา ได้แก่ ทำให้อ่อนปัญญา. เพราะว่า

เมื่อมีนิวรณธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นเนือง ๆ ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นในระหว่าง ๆ เป็น

ปัญญาทราม อ่อน ไม่ฉลาด.

จบอรรถกถาอาวรณานีวรณสูตรที่ ๗

๘. นิวรณาวรณสูตร

นิวรณ์ ๕ โพชฌงค์ ๗

[๔๙๓] ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน ย่อมไม่มีแก่เธอ คือ

กามฉันทนิวรณ์ ย่อมไม่มี พยาบาทนิวรณ์ . . . ถีนมิทธนิวรณ์ . . . อุทธัจจ-

กุกกุจจนิวรณ์ . . . วิจิกิจฉานิวรณ์ ย่อมไม่มี ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มี

แก่เธอ.

[๔๙๔] ในสมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน ย่อมถึงความเจริญ

บริบูรณ์ คือ สติสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯลฯ อุเบกขา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

สัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ย่อมถึงความ

เจริญบริบูรณ์.

[๔๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด อริยสาวกตั้งใจ ใส่ใจ รวม

ไว้ด้วยใจทั้งหมด เงี่ยโสตลงฟังธรรม สมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ย่อมไม่มีแก่เธอ

โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

จบนีวรณาวรณสูตรที่ ๘

อรรถกถานีวรณาวรณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนีวรณาวรณสูตรที่ ๘.

บทว่า ปญฺจสฺส นีวรณา ตสฺสึ สมเย น โหนฺติ สตฺต

โพชฺฌงฺคา ตสฺมึ สมเย ภาวนาปาริปูรึ คจฺฉนฺติ ความว่า นิวรณ์

๕ อย่างของพระอริยสาวก ผู้ฟังอยู่ซึ่งธรรมเป็นที่สบาย ย่อมอยู่ในที่ไกล

ถ้าพระอริยสาวกนั้นสามารถเพื่อยังคุณวิเศษให้เกิดในที่นั้นได้ โพชฌงค์ ๗

ของพระอริยสาวกนั้น ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์อย่างนี้. ถ้าไม่สามารถ

แต่นั้นท่านไปยังที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน เมื่อยังไม่ละปีตินั้นเสีย ข่ม

นิวรณ์ ๕ ได้แล้ว จักยังคุณวิเศษให้เกิดได้. ข้อนั้นท่านกล่าวหมายถึงข้อนี้ว่า

แม้เมื่อไม่สามารถอยู่ในที่นั้นได้ เมื่อยังไม่ละปีตินั้น จนถึงภายใน ๗ วัน

ข่มนิวรณ์ได้แล้ว จักยังคุณวิเศษให้เกิดได้ ดังนี้. ความจริง โพชฌงค์ที่เธอ

ได้แล้ว ซึ่งเป็นฝ่ายปีติและปราโมทย์คราวเดียวด้วยการฟังธรรม ย่อมเสื่อมไป

เพราะอาศัยความเป็นผู้ยินดีในการงานเป็นต้น. แต่เมื่อได้อุตุสัปปายะเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

เห็นปานนั้น ก็เกิดขึ้นอีก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ในสมัยนั้น เขากล่าวไว้

อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้แล

จบอรรถกถานีวรณาวรณสูตรที่ ๘

๙. รุกขสูตร

ธรรมเป็นเครื่องกั้น ๕ อย่าง

[๔๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่ มีพืชน้อย มีลำต้นใหญ่

งอกคลุมต้นไม้ทั้งหลาย เป็นเหตุทำต้นไม้ที่มันงอกคลุมแล้ว ให้ล้มหัก

กระจัดกระจายวิบัติไป.

[๔๙๗] ก็ต้นไม้ใหญ่เหล่านั้น ที่มีพืชน้อย มีลำต้นใหญ่งอกคลุม

ต้นไม้ทั้งหลาย เป็นเหตุทำต้นไม้ที่มันงอกคลุมแล้ว ให้ล้มหักกระจัดกระจาย

วิบัติไปเป็นไฉน. คือ ต้นโพธิ ต้นนิโครธ ต้นมิลักขุ* ต้นมะเดื่อ ต้นไทร

ต้นมะขวิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้แล ที่มีพืชน้อย มีลำต้น

ใหญ่ งอกคลุมต้นไม้ทั้งหลาย เป็นเหตุทำต้นไม้ที่มันงอกคลุมแล้ว ให้ล้ม

หักกระจัดกระจายวิบัติไป.

[๔๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน กุลบุตรบางคนใน

โลกนี้ ละกามเช่นใดแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต กลบุตรนั้นย่อมเป็นผู้

เสียหายวิบัติไปด้วยกามเช่นนั้น หรือที่เลวกว่านั้น.

* พม่าเป็น ปีลกโข เเปลว่า ต้นเลียบ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

[๔๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม

๕ อย่างเหล่านี้ ครอบงำจิต ทำปัญญาให้ทราม. ๕ อย่างเป็นไฉน. คือ

กามฉันทะ เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำ

ปัญญาให้ทราม พยาบาท. . . ถีนมิทธะ . . . อุทธัจจกุกกุจจะ . . .

วิจิกิจฉา เป็นธรรมเครื่องกั้น เป็นธรรมเครื่องห้าม ครอบงำจิต ทำปัญญา

ให้ทราม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกั้น เป็นเครื่องห้าม ครอบ

งำจิต ทำปัญญาให้ทราม อย่างเหล่านี้แล.

[๕๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ไม่เป็นธรรมกั้น

ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่ครอบงำจิต อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน

คือ สติสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่ครอบงำจิต

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ

วิชชาและวิมุตติ. ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ไม่เป็นธรรมกั้น . . . ย่อมเป็น

ไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์

๗ เหล่านี้แล ไม่เป็นธรรมกั้น ไม่เป็นธรรมห้าม ไม่ครอบงำจิต อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งผล คือวิชชา

และวิมุตติ.

จบรุกขสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

อรรถกถารุกขสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในรกขสูตรที่ ๙.

บทว่า อชฺฌารหา แปลว่า งอกขึ้น. บทว่า กจฺฉโก แปลว่า

ต้นไทร. บทว่า กปิตฺถโน ได้แก่ ต้นมิลักขุเกิดขึ้นแล้วมีผลเช่นกับนมลิง.

จบอรรถกถารุกขสูตรที่ ๙

๑๐. นีวรณสูตร

นิวรณ์ทำให้มืด

[๕๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ กระทำให้มืด

กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็น

ไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน. นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน

คือ กามฉันทนิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม่ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ

เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไป

เพื่อนิพพาน พยาบาทนิวรณ์. . . ถีนมิทธนิวรณ์ . . . อุทธัจจกุกกุจจ-

นิวรณ์ . . . วิจิกิจฉานิวรณ์ กระทำให้มืด กระทำไม้ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้

มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น

ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ ๕ เหล่านี้แล กระทำ

ให้มืด กระทำไม้ให้มีจักษุ กระทำไม่ให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความดับปัญญา

เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

[๕๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ กระทาให้มีจักษุ

กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่ง

ความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. คือ สติสัม-

โพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา

ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญ

ปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล กระทำให้มีจักษุ กระทำให้มีญาณ

เป็นที่ตั้งแห่งความเจริญปัญญา ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็น

ไปเพื่อนิพพาน.

จบนีวรณสูตรที่ ๑๐

จบนีวรณวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

อรรถกถานีวรณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนีวรณสูตรที่ ๑๐.

บทว่า อนฺธกรณา แปลว่า กระทำให้มืด. บทว่า อจกฺขุกรณา

ได้แก่ กระทำไม่ให้มีปัญญาจักษุ. บทว่า ปญฺานิโรธิยา ได้แก่ ดับปัญญา.

บทว่า วิฆาตปกฺขิยา แปลว่า เป็นฝ่ายทุกข์. บทว่า อนิพฺพานสวตฺตนิกา

ได้แก่ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น

แล ในวรรคนี้ แม้ทั้งสิ้น ท่านกล่าวโพชฌงค์คลุกเคล้ากันไป ด้วยประการ

ฉะนี้.

จบอรรถกถานีวรณสูตรที่ ๑๐

จบนีวรณวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมกุสลสูตร ๒. ทุติยกุสลสูตร ๓. อปกิเลสสูตร ๔. อโย-

นิโสสูตร ๕. โยนิโสสูตร ๖. วุฑฒิสูตร ๗. อาวรณานีวรณสูตร

๘. นีวรณาวรณสูตร ๙. รุกขสูตร ๑๐. นีวรณสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

จักกวัตติวรรคที่ ๕

๑. วิธาสูตร

ละมานะ ๓ เพราะโพชฌงค์

[๕๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ละมานะ ๓ อย่างได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้นทั้งหมด ละได้แล้วก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักละ

มานะ ๓ อย่างได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด จักละได้ก็เพราะ

โพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว. สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันละมานะ ๓ อย่างได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น

ทั้งหมดละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.

[๕๐๔] โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ในอดีตกาล ละมานะ ๓ อย่างได้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักละมานะ ๓ อย่างได้ . . . สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ละมานะ ๓ อย่างได้ สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้นทั้งหมด ละได้ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มาก

แล้ว.

จบวิธาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

จักกวัตติวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาวิธาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิธาสูตรที่ ๑ แห่งจักกวัตติวรรคที่ ๕

บทว่า ติสฺโส วิธา ได้แก่ หมวดแห่งมานะ ๓ อย่าง. อีกอย่างหนึ่ง

มานะอย่างเดียว ก็เพราะท่านจัดไว้อย่างนั้น ๆ จึงกล่าวมานะว่า ๓ อย่าง

เหมือนกัน.

จบอรรถกถาวิธาสูตรที่ ๑

๒. จักกวัตติสูตร

รัตนะ ๗ อย่าง

[๕๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ รัตนะ

๗ อย่าง จึงปรากฏ รัตนะ อย่างเป็นไฉน คือ จักรแก้ว ๑ ช้างแก้ว ๑

แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแล้ว ๑ ปริณายกแก้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะพระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ รัตนะ ๗ อย่างเหล่านี้ จึงปรากฏ.

[๕๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าปรากฏ รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ จึงปรากฏ. รัตนะ คือโพชฌงค์

๗ เป็นไฉน ได้แก่ รัตนะ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ รัตนะ คือ อุเบกขา

สัมโพชฌงค์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ปรากฏ รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ จึงปรากฏ.

จบจักกวัตติสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

อรรถกถาจักกวัตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจักกวัตติสูตรที่ ๒

ในบทว่า รญฺโ ภิกฺขเว จกฺกวตฺติสฺส นี้ ชื่อว่า พระราชา

เพราะอรรถว่า ทรงยินดีในสิริสมบัติของพระองค์ หรือทรงให้พสกนิกร

ยินดีด้วยสังคหวัตถุ ๔ ชื่อว่า เจ้าจักรพรรดิ เพราะอรรถว่า สั่งการอยู่ด้วย

วาจาคล่องแคล่ว ยังจักรให้เป็นไปด้วยบุญญานุภาพว่า ขอจักรรัตนะจงแล่น

ไปตลอดภพ ดังนี้.

บทว่า ปาตุภาวา แปลว่า เพราะปรากฏ. บทว่า สตฺตนฺน แปลว่า

กาหนดการถือเอา. บทว่า รตนาน ได้แก่ แสดงเรื่องที่กาหนด. ส่วน

ความหมายของคำในบทนี้ ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ให้เกิดความยินดี.

อีกอย่างหนึ่งว่า

ที่เรียกว่า รัตนะ เพราะทำความ

เคารพ มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ เห็นได้ยาก

เป็นของใช้ของสัตว์ผู้ไม่ทราม ดังนี้.

จำเดิมแต่จักรรัตนะบังเกิด ชื่อว่า เทวสถานอื่น ย่อมไม่มี. คน

ทั้งปวงกระทำการบูชาและอภิวาทเป็นต้น ซึ่งรัตนะนั้นอย่างเดียว ด้วยของ

หอมและดอกไม้เป็นตัน ดังนั้น จึงชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ทำความ

เคารพ ล้วนจักรรัตนะมีค่าหามิได้ เพราะทรัพย์ยังมีค่าประมาณเท่านี้ ดังนั้น

จึงชื่อว่า รัตนะ แม้เพราะอรรถว่า มีค่ามาก จักรรัตนะ ไม่เหมือนกับ

รัตนะที่มีอยู่ในโลกอย่างอื่น ดังนั้นจึงชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ชั่งไม่ได้.

ก็เพราะในกัปที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่อุบัติ พระเจ้าจักรพรรดิและพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

ปัจเจกพุทธเจ้า ย่อมเกิดในกาลบางครั้งบางคราวเท่านั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า

รัตนะ เพราะอรรถว่า เห็นได้ยาก รัตนะนี้นั้น ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์อัน

โอฬาร ไม่ต่ำ โดยชาติ รูป ตระกูล และความเป็นใหญ่เป็นต้น หาเกิดขึ้น

แก่สัตว์อื่นไม่ ดังนั้น จึงชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องใช้สอย

ของสัตว์ที่ไม่ทราม. รัตนะแม้ที่เหลือก็เหมือนจักรรัตนะฉะนั้น ด้วยประการ

ฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เรียกว่า รัตนะ เพราะทำความ

เคารพ มีค่ามาก ซึ่งไม่ได้ เห็นได้ยาก

เป็นของใช้ของสัตว์ผู้ไม่ทราม ดังนี้.

บทว่า ปาตุภาโว โหติ ได้แก่ ความบังเกิด. ในข้อนี้มีวาจา

ประกอบความดังนี้ ข้อว่า พระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ รัตนะ ๗ จึงปรากฏ ดังนี้

ก็ควร ข้อว่า ชื่อว่า พระเจ้าจักรพรรดินั้น ย่อมยังจักรอันเกิดแล้วให้หมุนไป

ดังนี้ก็ควร. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะมุ่งถึงความนิยมของ

พระเจ้าจักรพรรดิ. ก็ผู้ใดจักยังจักรให้หมุนไปตามความนิยม ผู้นั้นตั้งแต่

ปฏิสนธิย่อมถึงความเป็นผู้ควรกล่าวว่า พระเจ้าจักรพรรดิปรากฏ ดังนี้.

คำนั้น ก็ควรเหมือนกัน เพราะพูดถึงความเกิดแห่งมูลของบุรุษที่ได้ชื่อแล้ว

ก็ผู้ใดเป็นสัตว์วิเศษ ได้ชื่อว่า พระเจ้าจักรพรรดิ ความปรากฏกล่าวคือ

ปฏิสนธิของผู้นั้นมีอยู่ ดังนี้ เป็นอธิบายในข้อนี้. ก็เพราะพระเจ้าจักรพรรดิ

ปรากฏ รัตนะทั้งหลาย ย่อมปรากฏ. พระเจ้าจักรพรรดินั้น ย่อมประกอบ

อยู่ในบุญสมภารแก่เต็มที่พร้อมกับรัตนะเหล่านั้น ที่ปรากฏ.

ในกาลนั้น ชาวโลกเกิดความคิด ปรากฏในรัตนะเหล่านั้น ข้อนั้น

ก็ควร เพราะพูดถึงกันมาก ก็เมื่อใด สัญญามีความปรากฏในรัตนะเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

เกิดขึ้นแก่ชาวโลก เมื่อนั้น ก็เป็นอย่างเดียวเท่านั้นก่อน ภายหลังปรากฏ

รัตนะนอกนี้ ๖ อย่าง เพราะฉะนั้น จึงถึงรัตนะนั้นอย่างนี้ เพราะพูดถึงกัน

มาก แม้โดยความต่างเนื้อความแห่งความปรากฏ ข้อนั้นก็ควรแล้ว ความ

ปรากฏมิใช่ปรากฏเพียงอย่างเดียว ชื่อว่า ปาตุภาวะ เพราะยังความปรากฏ

ให้เกิดขึ้น นี้เป็นประเภทแห่งความของความปรากฏ เพราะการสั่งสมบุญ

อันใด ยังพระเจ้าจักรพรรดิให้ปรากฏด้วยอำนาจปฏิสนธิ ชื่อว่า ปาตุภาวะ

นี้เป็นประเภทแห่งความของความปรากฏ เพราะการสั่งสมบุญใด ยังพระเจ้า

จักรพรรดิให้ปรากฏด้วยอำนาจปฏิสนธิ ฉะนั้น ความปรากฏแห่งพระเจ้า

จักรพรรดิ ไม่เป็นจักรพรรดิอย่างเดียว แต่แม้รัตนะ ๗ เหล่านี้ ก็ปรากฏ

ด้วย เพราะฉะนั้น นี้เป็นอธิบายในข้อนี้. เหมือนอย่างว่า การสั่งสมบุญนั้น

เป็นเหตุให้เกิดพระราชา ฉันใด การสั่งสมบุญเป็นเหตุอุปนิสัย แม้แห่งรัตนะ

โดยปริยาย ฉันนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะความปรากฏแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ จึงเป็นความปรากฏ

แห่งรัตนะ ๗ ด้วยดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำเป็นต้นว่า กตเมส สตฺตนฺน

จกฺกรตนสฺส ดังนี้ เพื่อทรงแสดงรัตนะเหล่านั้น โดยอำนาจสรุป. ในบท

เหล่านั้น ในบทเป็นต้นว่า จกฺกรตนสฺส มีอธิบายโดยย่อดังนี้ จักรแก้ว

สามารถเพื่อยึดสิริสมบัติของทวีปใหญ่ ๔ มีทวีปสองพันเป็นบริวารมาให้ปรากฏ

อยู่. ช้างแก้ว ไปสู่เวหาส อันสามารถติดตามไปสู่แผ่นดินมีสาครเป็นที่สุด

มาให้ได้ก่อนภัตรอย่างนั้น ม้าแก้วก็เช่นนั้นเหมือนกัน. แก้วมณี อันสามารถ

กำจัดความมือประมาณโยชน์ในที่มืด แม้ประกอบด้วยองค์สี่ มองเห็น

แสงสว่างได้. นางแก้ว มีปกติเว้นโทษ ๖ อย่างแล้ว เที่ยวไปได้ตามชอบใจ.

คฤหบดีแก้ว อันสามารถเห็นขุมทรัพย์อยู่ภายในแผ่นดินในประเทศประมาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

โยชน์ ปริณายกแก้ว กล่าวคือบุตรคนหัวปี ผู้เกิดในท้องของอัครมเหสีแล้ว

เป็นผู้สามารถปกครองสมบัติทั้งสิ้นมิได้ปรากฏอยู่ ดังนั้น นี้เป็นอธิบายย่อใน

ข้อนี้.

ส่วนวิธีปรากฏแห่งจักรแก้วเป็นต้นเหล่านั้น มาแล้วในสูตรมีมหา-

สุทัสสนะเป็นต้น โดยพิสดารแล แม้อธิบายวิธีปรากฏของจักรแก้วนั้น ท่าน

พรรณนาไว้ในอรรถกถาแห่งสูตรเหล่านั้นแล.

ในบทว่า สติสมฺโพชฺณงฺครตนสฺส เป็นต้น พึงทราบแม้ความ

ที่มีลักษณะคล้ายกันอย่างนี้. จักรแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เที่ยวไปก่อนกว่า

รัตนะทั้งปวง ฉันใด สติสัมโพชณังครัตนะ เที่ยวไปก่อนกว่าธรรมที่เป็นไปใน

ภูมิ ๔ ทั้งปวง ฉันนั้น คือเปรียบด้วยจักรแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะ

อรรถว่าเที่ยวไปก่อน. บรรดารัตนะทั้งหลาย ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ

เกิดรางใหญ่ สูง ไพบูลย์ใหญ่ ธัมมวิจยสัมโพชฌังครัตนะ เข้าถึงหมู่ธรรม

เป็นอันมาก สูงแผ่ไป กว้างใหญ่ ดังนั้น จึงเปรียบด้วยช้างแก้ว. ม้าแก้วของ

พระเจ้าจักรพรรดิมีฝีเท้าเร็ว วิริยสัมโพชฌังครัตนะ แม้นี้มีกาลังฉับพลัน

ดังนั้น จึงเปรียบด้วยม้าแก้ว เหตุมีกาลังฉับพลันนี้. แก้วมณีของพระเจ้า

จักรพรรดิ กาจัดความมืดให้สว่างได้ ปีติสัมโพชณังครัตนะ แม้นี้อยู่ใน

หมู่ธรรมเป็นอันมาก กาจัดความมืดคือกิเลสให้สว่างด้วยญาณ ด้วยอำนาจ

สหชาตปัจจัยเป็นต้น เพราะเป็นกุศลโดยส่วนเดียว ดังนั้น จึงเปรียบด้วย

แก้วมณี เหตุกาจัดความมืดให้สว่างนี้.

นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ ระงับความกระวนกระวายทางกาย

และทางจิต ให้ความร้อนสงบ ปัสสัทธิสัมโพชฌังครัตนะ แม้นี้ ระงับความ

กระวนกระวายทางกายและทางจิต ให้ความร้อนสงบ ดังนั้น จึงเปรียบด้วย

นางแก้ว. คฤหบดีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ กาหนดความฟุ้งซ่าน ทำให้จิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

มีอารมณ์เดียวด้วยการให้ทรัพย์ ในขณะที่ตนปรารถนาแล้ว และปรารถนาแล้ว

สมาธิสัมโพชฌังครัตนะแม้นี้ ยังอัปปนาให้ถึงพร้อมด้วยอำนาจความที่ตน

ปรารถนาเป็นต้น ตัดขาดแล้ว ซึ่งความฟุ้งซ่าน ทำจิตให้มีอารมณ์เดียว

ดังนั้น จึงเปรียบด้วยคฤหบดีแก้ว. ส่วนปริณายกแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ

ทำความขวนขวายน้อยให้ ด้วยการทำกิจในที่ทั้งปวงให้สำเร็จ อุเบกขาสัม-

โพชฌังครัตนะแม้นี้ เปลื้องจิตตุปบาทจากความหดหู่และความฟุ้งซ่าน ทำ

ความขวนขวายน้อย วางตนไว้ในท่ามกลางประกอบความเพียร ดังนั้น จึง

เปรียบด้วยปริณายกแก้ว. พึงทราบว่า การกาหนดธรรมที่รวมไว้ทั้งหมดเป็น

๔ ภูมิ ได้กล่าวไว้ในสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจักกวัตติสูตรที่ ๒

๓. มารสูตร *

โพชฌงค์เป็นมรรคาเครื่องย่ำยีมาร

[๕๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคาเป็นเครื่องย่ำยีมาร

และเสนามารแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังมรรคานั้น. ก็มรรคาเป็น

เครื่องย่ำยีมารและเสนามารเป็นไฉน. คือ โพชฌงค์ ๗. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน

คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

มรรคาเครื่องย่ำยีมาร และเสนามาร.

จบมารสูตรที่ ๓

* สูตรที่ ๓ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

๔. ทุปปัญญสูตร

เหตุที่เรียกว่าคนโง่คนใบ้

[๕๐๘] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้

มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ คนโง่ คนใบ้ ดังนี้ ด้วยเหตุ

เพียงเท่าไรหนอ จึงจะเรียกว่า คนโง่ คนใบ้.

[๕๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า คน

โง่ คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว

โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า คนโง่ คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตน

ไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว.

จบทุปปัญญสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุปปัญญสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุปปัญญสูตรที่ ๔.

บทว่า เอฬมูโค ความว่า คนเมื่อไม่สามารถเพื่อจะเปล่งวาจาทาง

ปากได้ เป็นคนใบ้พูดไม่ได้ เพราะโทษทั้งหลาย. คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่าย

ทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุปปัญญสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

๕. ปัญญวาสูตร *

ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนมีปัญญา

[๕๑๐] สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คนมี

ปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ

จึงจะเรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้.

[๕๑๑] พ. ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า คนมีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ก็

เพราะโพชฌงค์ ๗ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน

คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์. ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า คน

มีปัญญา ไม่ใช่คนใบ้ ก็เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตนเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว.

จบปัญญวาสูตรที่ ๕

๖. ทลิททสูตร

ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนจน

[๕๑๒] สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คน

จน คนจน ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า คนจน.

[๕๑๓] พ. ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า คนจน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗

อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มากแล้ว . โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. คือ สติ-

สัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่เรียกว่า คน

จน ก็เพราะโพชฌงค์ เหล่านี้แล อันตนไม่เจริญแล้ว ไม่กระทำให้มาก

แล้ว.

จบทลิททสูตรที่ ๖

* ตั้งแต่สูตรที่ ๕ ถึงสูตรที่ ๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

๗. อทลิททสูตร

ด้วยเหตุเพียงเท่าไรจึงเรียกว่าคนไม่จน

[๕๑๔] สาวัตถีนิทาน. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า คน

ไม่จน คนไม่จน ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า คนไม่จน.

[๕๑๕] พ. ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า คนไม่จน ก็เพราะโพชฌงค์ ๗

อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว โพชฌงค์ เป็นไฉน คือ สติสัม-

โพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชณงค์. ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่า คนไม่จน ก็

เพราะโพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว.

จบอทลิททสูตรที่ ๗

๘. อาทิจจสูตร

ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นเบื้องต้นแห่งโพชฌงค์ ๗

[๕๐๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้นสิ่ง

ที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิงที่เป็นเบื้องต้น

เป็นนิมิตมาก่อน เพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ ๗ แก่ภิกษุ คือ ความเป็นผู้มี

มิตรดี ฉันนั้น เหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวัง

ข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค็ ๗ สู่จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

[๕๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์

๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อม

เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.

จบอาทิจจสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

๙. ปทุมอังคสูตร

โยนีโสมนสิการเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์ ๗

[๕๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายในให้เป็นเหตุแล้ว เรา

ยังไม่เล็งเห็นเหตุอื่นอันหนึ่ง เพื่อความบังเกิดแห่งโพชฌงค์ ๗ เหมือนโยนิ-

โสมนสิการเลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ

พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

[๕๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ

ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า. ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย

นิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย

วิเวก, อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ย่อมเจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มาก

ซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.

จบปฐมอังคสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยอังคสูตร

ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์

[๕๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทำปัจจัยภายนอกให้เป็นเหตุแล้วเรายัง

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อันหนึ่ง เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งโพชฌงค์ ๗ เหมือน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

ความเป็นผู้มีมิตรดีเลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีมิตรดี พึงหวังข้อ

มิได้ว่า จักเจริญโพชฌงค์ ๗ จักกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗.

[๕๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อมเจริญโพชฌงค์

๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดี ย่อม

เจริญโพชฌงค์ ๗ ย่อมกระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนี้แล.

จบทุติยอังคสูตรที่ ๑๐

จบจักกวัตติวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคที่ ๕

๑. วิธาสูตร ๒. จักกวัตติสูตร ๓. มารสูตร ๔.ทุปปัญญสูตร

๕. ปัญญวาสูตร ๖. ทลิททสูตร ๗. อทลิททสูตร ๘. อาทิจจสูตร ๙. ปฐม-

อังคสูตร ๑๐. ทุติยองัคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

หมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ที่ ๖

๑. อาหารสูตร

อาหารของนิวรณ์

[๕๒๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาหาร

และสิ่งที่มิใช่อาหาร ของนิวรณ์ ๕ และโพชฌงค์ ๗ แก่เธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น.

[๕๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้กามฉันทะ

ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในศุภนิมิตนั้น

นี้เป็นอาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์

ยิ่งขึ้น.

[๕๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้พยาบาท

ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ปฏิฆนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิต

นั้น นี้เป็นอาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญ

ไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๕๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้ถีนมิทธะ

ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร

ความที่ใจหดหู่มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

นี้เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์

ยิ่งขึ้น.

[๕๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้อุทธัจจ-

กุกกุจจะที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบใจมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการใน

ความไม่สงบใจนั้น นี้เป็นอาหารให้อุทธัจจะกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๕๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่

ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิงขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมน-

สิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่

เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

อาหารของโพชฌงค์

[๕๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สติสัม-

โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การกระทำให้มาก

ซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

[๕๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้ธรรมวิจย-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ

ที่เลวและประณีต ที่เป็นส่วนข้างดำและข้างขาว มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

โยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยัง

ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

[๕๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้วิริย-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่น มีอยู่ การกระทำ

ให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในสิ่งเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์

ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

[๕๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์

ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิ-

โสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

[๕๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้ปัสสัทธิ-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงบจิต มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่ง

โยนิโสมนสิการในความสงบนี้ นี้เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

[๕๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้สมาธิสัม-

โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต (นิมิตแห่งจิตอันมีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน)

มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตนั้น นี้เป็นอาหารให้

สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

[๕๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นอาหารให้อุเบกขา-

สัมโพชฌงค์ที่ยิ่งไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การ

กระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหารให้อุเบกขา-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

มิใช่อาหารของนิวรณ์

[๕๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้กามฉันทะ

ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อศุภนิมิตมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในอศุภนิมิตนั้น นี้ไม่เป็น

อาหารให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์

ยิ่งขึ้น.

[๕๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้พยาบาท

ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เจโตวิมุตติมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในเจโตวิมุตตินั้น นี้ไม่เป็น

อาหารให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๕๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะ

ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่น มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิ-

โสมนสิการในสิ่งเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๕๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้อุทธัจจ-

กุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น. ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ภิกษุทั้งหลาย ความสงบใจมีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในความ

สงบใจนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่

เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

[๕๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉา

ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลว

และประณีต ที่เป็นส่วนข้างดำและข้างขาว มีอยู่ การกระทำให้มากซึ่งโยนิ-

โสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น.

มิใช่อาหารของโพชฌงค์

[๕๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้สติสัม-

โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การไม่กระทำ

ให้มากซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยัง

ไม่เกิดเกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

[๕๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ธรรมวิจย-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ

ที่เลวและประณีต ที่เป็นส่วนข้างดำและข้างขาว มีอยู่ การไม่กระทำให้มาก

ซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยิ่ง

ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

[๕๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้วิริย-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความริเริ่ม ความพยายาม ความบากบั่น มีอยู่ การไม่กระทำ

ให้มากซึ่งมนสิการในสิ่งเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

[๕๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ปีติสัม-

โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด. เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การไม่กระทำ

ให้มากซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่ยัง

ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

[๕๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้ปัสสัทธิ-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความสงบกาย ความสงบจิต มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่ง

มนสิการในความสงบนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

[๕๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้สมาธิ-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สมาธินิมิต อัพยัคคนิมิต มีอยู่ การไม่กระทำให้มากซึ่ง

มนสิการในนิมิตนั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้สมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น

หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

[๕๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า ไม่เป็นอาหารให้อุเบกขา-

สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอยู่ การไม่

กระทำให้มากซึ่งมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้ไม่เป็นอาหารให้อุเบกขาสัม-

โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือที่เกิดแล้ว ให้เจริญบริบูรณ์.

จบอาหารสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

อรรถกถาหมวดที่ ๖ แห่งโพชฌงค์*

อรรถกถาอาหารสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาหารสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๖

ในบทว่า อยมาหาโร อนุปฺปนฺนสฺส วา สติสมฺโพชฺฌงฺคสฺส

อุปฺปาทาย เป็นต้น นี้เป็นความต่างกันจากนัยก่อน. ธรรมเหล่านั้น มี

ประการอันกล่าวแล้ว เพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น อย่างเดียว

เท่านั้น ก็หามิได้ ย่อมเป็นปัจจัยเพื่อความเจริญเต็มที่แห่งโพชฌงค์ทั้งหลาย

ที่เกิดแล้วด้วย ส่วนธรรมแม้เหล่าอื่น พึงทราบอย่างนั้นแล.

ส่วนธรรมอื่นอีก ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสติสัม-

โพชฌงค์ คือ สติสัมปชัญญะ ๑ การหลีกเว้นคนลืมสติ ๑ ความคบบุคคล

มีสติตั้งมั่น ๑ ความน้อมจิตไปในธรรมนั้น ๑.

ก็สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นในฐานะ ๗ มีการก้าวไปเป็นต้น ด้วย

สติสัมปชัญญะ ด้วยการหลีกเว้นคนลืมสติ เช่นกาทิ้งเหยื่อ ด้วยคบคนมีสติ

ตั้งมั่น เช่นพระติสสทัตตเถระและพระอภัยเถระเป็นต้น และด้วยมีจิตน้อมไป

โน้มไป โอนไป เพื่อให้เกิดขึ้นในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น ส่วน

สติสัมโพชฌงค์นั้น อันเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการ อย่างนี้แล้ว ย่อมเจริญ

เต็มที่ด้วยอรหัตมรรค.

ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัม-

โพชฌงค์ คือ ความเป็นผู้ไต่ถาม ๑ ความทำวัตถุให้สละสลวย ๑ การปรับ

อินทรีย์ให้เสมอกัน ๑ การหลีกเว้นบุคคลทรามปัญญา ๑ การคบหาบุคคลมี

*อรรถกถาใช่ว่า วรรคที่ ๖.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

ปัญญา ๑ การพิจารณาปาฐะที่ต้องใช้ปัญญาอันลึก ๑ ความน้อมจิตไปในธัมม-

วิจยะนั้น ๑.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริปุจุฉกตา ได้แก่ ความเป็นผู้มาก

ด้วยการไต่ถามถึงที่อาศัยของอรรถแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ

โพชฌงค์ องค์มรรค ฌาน สมถะและวิปัสสนา. บทว่า วตฺถุวิสทกิริยา

ได้แก่ การทำวัตถุทั้งหลายภายในและภายนอกให้สดใส. ก็เมื่อใด ผม เล็บ

ขนของพระโยคาวจรนั้นยาว หรือว่าร่างกายมีโทษมาก และเปื้อนด้วยเหงื่อไคล

เมื่อนั้น ชื่อว่า วัตถุภายในไม่สดใสคือไม่หมดจด. ก็เมื่อใด จีวรคร่ำคร่า

เปื้อนเปรอะ เหม็นสาบ หรือว่า เสนาสนะรกเรื้อ เมื่อนั้นชื่อว่า วัตถุ

ภายนอกไม่สดใส คือไม่สะอาด. เพราะฉะนั้น ควรทำวัตถุภายในให้สดใส

ด้วยการตัดผมเป็นต้น ด้วยการทำให้ร่างการเบาด้วยการถ่ายยาทั้งเบื้องบนและ

เบื้องล่าง และด้วยการถูและอาบน้ำ. ควรทำวัตถุภายนอกให้สดใส ด้วยทำ

สูจิกรรม การซัก และของใช้เป็นต้น. แม้ญาณในจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นใน

วัตถุภายในและภายนอกนั้นอันไม่สดใส ก็ไม่บริสุทธิ์ไปด้วย ดุจแสงของ

เปลวประทีปที่อาศัยโคม ไส้และน้ำมัน ไม่สะอาดเกิดขึ้น ก็ไม่สะอาดไปด้วย

ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า การทำวัตถุให้สละสลวย ย่อมเป็นไป

เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ดังนี้.

การทำอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้นให้เสมอกัน ชื่อว่า การปรับ

อินทรีย์ให้เสมอกัน. เพราะว่า ถ้าสัทธินทรีย์ของเธอแก่กล้า อินทรีย์นอกนี้

อ่อน. ทีนั้น วิริยินทรีย์ จะไม่อาจทำปัคคหกิจ (กิจคือการยกจิตไว้) สติน-

ทรีย์จะไม่อาจทำอุปัฏฐานกิจ (กิจคือการอุปการะจิต) สมาธินทรีย์จะไม่อาจทำ

อวิกเขปกิจ (กิจคือทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน) ปัญญินทรีย์จะไม่อาจทำทัสสนกิจ

(กิจคือการเห็นตามเป็นจริง). เพราะฉะนั้น สัทธินทรีย์อันกล้านั้น ต้องทำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

ให้ลดลงเสียด้วยพิจารณาสภาวะแห่งธรรม ด้วยไม่ทำไว้ในใจ เหมือนเมื่อเขา

มนสิการ สัทธินทรีย์ที่มีกำลังนั้น. ก็ในข้อนี้มีเรื่องพระวักกลิเถระเป็น ตัวอย่าง.

แต่ถ้าวิริยินทรีย์กล้า ทีนั้น สัทธินทรีย์ ก็จะไม่อาจทำอธิโมกขกิจได้ (กิจคือ

การน้อมใจเชื่อ). อินทรีย์นอกนี้ ก็จะไม่อาจทำกิจนอกนี้ แต่ละข้อได้.

เพราะฉะนั้น วิริยินทรีย์อันกล้านั้น ต้องทำให้ลดลงด้วยเจริญปัสสัทธิสัม-

โพชฌงค์เป็นต้น . แม้ในข้อนั้น ก็พึงแสดงเรื่องพระโสณเถระ. ความที่เมื่อ

ความกล้าแห่งอินทรีย์อันหนึ่งมีอยู่ อินทรีย์นอกนี้ จะไม่สามารถในกิจของตน ๆ

ได้ พึงทราบในอินทรีย์ที่เหลืออย่างนี้แล.

ก็โดยเฉพาะในอินทรีย์ ๕ นี้ บัณฑิตทั้งหลาย สรรเสริญอยู่ซึ่งความ

เสมอกันแห่งสัทธากับปัญญาและสมาธิกับวิริยะ. เพราะคนมีสัทธาแก่กล้า

แต่ปัญญาอ่อน จะเป็นคนเชื่อง่าย เลื่อมใสในสิ่งอันไม่เป็นวัตถุ. ส่วนคนมี

ปัญญากล้า แต่สัทธาอ่อน จะตกไปข้างอวดดี จะเป็นคนแก้ไขไม่ได้ เหมือน

โรคมราเกิดแต่ยา รักษาไม่ได้ฉะนั้น วิ่งพล่านไปด้วยคิดว่า จิตเป็นกุศลเท่านั้น

ก็พอ ดังนี้แล้ว ไม่ทำบุญมีทานเป็นต้น ย่อมเกิดในนรก. ต่อธรรมทั้ง ๒

เสมอกัน บุคคลจึงจะเลื่อมใสในวัตถุแท้. โกสัชชะย่อมครอบงำคนมีสมาธิกล้า

แต่วิริยะอ่อน เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ. อุทธัจจะย่อมครอบงำคนมีวิริยะ

กล้า แต่สมาธิอ่อน เพราะวิริยะเป็นฝ่ายอุทธัจจะ แต่สมาธิที่มีวิริยะประกอบ

เข้าด้วยกันแล้ว จะไม่ตกไปในโกสัชชะ. วิริยะที่มีสมาธิประกอบพร้อมกันแล้ว

จะไม่ตกไปในอุทธัจจะ เพราะฉะนั้น อินทรีย์ทั้ง ๒ นั้น ต้องทำให้เสมอกัน.

ด้วยว่า อัปปนาจะมีได้ ก็เพราะความเสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้ง ๒.

อีกอย่างหนึ่ง สัทธาแม้มีกำลัง ก็ควรสำหรับสมาธิกัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญ

สมถกัมมัฏฐาน). เธอเมื่อสัทธามีกำลังอย่างนี้ เชื่อดิ่งลงไปจักบรรลุอัปปนา

ได้. ในสมาธิและปัญญาเล่า เอกัคคตา (สมาธิ) มีกำลังก็ควร สำหรับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

สมาธิกัมมิกะ ด้วยเมื่อเอกัคคตามีกำลังอย่างนั้น เธอจะบรรลุอัปปนาได้.

ปัญญามีกำลัง ย่อมควรสำหรับวิปัสสนากัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฎฐาน).

ด้วยเมื่อปัญญามีกำลังอย่างนั้น เธอย่อมจะบรรลุลักขณปฏิเวธ (เห็นแจ้งไตร-

ลักษณ์) ได้. แต่แม้เพราะสมาธิและปัญญาทั้ง ๒ เสมอกัน อัปปนาก็คงมีได้.

ส่วนสติ มีกำลังในที่ทั้งปวง จึงจะควร เพราะสติรักษาจิตไว้แต่ความ

ตกไปในอุทธัจจะ เพราะอำนาจแห่งสัทธา วิริยะ และปัญญาอันเป็นฝ่ายอุทธัจจะ

และรักษาจิตไว้แต่ความตกไปในโกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ.

เพราะฉะนั้น สตินั้น จึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง ดุจเกลือสะตุเป็นสิ่งที่พึง

ปรารถนาในกับข้าวทั้งปวง และดุจสรรพกัมมิกอำมาตย์ (ผู้รอบรู้ในการงาน

ทั้งปวง) เป็นผู้พึงปรารถนาในสรรพราชกิจฉะนั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า ก็แลสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นคุณชาติจำปรารถนาในที่

ทั้งปวง. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย และสติ

มีการรักษาเอาไว้เป็นเครื่องปรากฏ การยกและข่มจิตเว้นสติเสีย หามีได้ไม่

ดังนี้.

การหลีกเว้นไกลบุคคลทรามปัญญา ผู้ไม่หยั่งลงในความต่างมีขันธ์

เป็นต้น ชื่อว่า การหลีกเว้นบุคคลทรามปัญญา. การคบหาบุคคลประกอบ

ด้วยปัญญาเห็นความเกิดและความเสื่อมกำหนดได้ ๕๐ ลักษณะ ข้อว่า

การคบหาบุคคลมีปัญญา. การพิจารณาประเภทปาฐะ ด้วยปัญญาอันลึก เป็น

ไปในขันธ์เป็นต้น อันละเอียด ชื่อว่า การพิจารณาปาฐะที่ต้องใช้ปัญญาอัน

ลึก. ความที่จิตน้อมไป โน้มไป โอนไป ในอิริยาบถมีการยืนและการนั่ง

เป็นต้น เพื่อให้เกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ขึ้น ชื่อว่า ความน้อมจิตไปใน

ธัมมวิจยะนั้น. ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น ฉันเกิดขึ้นอย่างนี้แล้ว ย่อมเจริญ

เต็มที่ได้ ด้วยอรหัตมรรค.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งวิริยสัมโพชฌงค์

คือ ความพิจารณาเห็นภัยในอบาย ๑ ความเป็นผู้ปกติเห็นอานิสงส์ ๑ ความ

พิจารณาเห็นทางดำเนิน ๑ ความเคารพในการเที่ยวบิณฑบาต ๑ ความ

พิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งมฤดก ๑ ความพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่ง

พระศาสดา ๑ ความพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งชาติ ๑ ความพิจารณาเห็น

ความเป็นใหญ่แห่งสพรหมจารี ๑ ความหลีกเว้นบุคคลเกียจคร้าน ๑ ความคบ

หาบุคคลปรารภความเพียร ๑ ความน้อมใจไปในวิริยะนั้น ๑.

ในบทเหล่านั้น เมื่อคนแม้พิจารณาเห็นซึ่งภัยในอบายอย่างนี้ว่า ใคร ๆ

ก็ไม่อาจเพื่อให้วิริยสัมโพชฌงค์เกิดขึ้นได้ ในเวลาเสวยทุกข์ใหญ่ จำเดิมแต่รับ

เครื่องจองจำ ๕ อย่าง ในนรกก็ดี ในเวลาที่ถูกจับด้วยแหและไซดักปลาเป็น

ต้น ในกำเนิดดิรัจฉานก็ดี ในเวลาที่เขาทิ่มแทงด้วยเครื่องประหารมีปฏักต้อน

ไปเป็นต้น นำเกวียนไปเป็นต้นก็ดี ในเวลาเดือดร้อนด้วยความหิวกระหายใน

ปิตติวิสัย ถึงหลายพันปี ถึงพุทธันดรหนึ่งก็ดี ในเวลาเสวยทุกข์เกิดแต่ลม

และแดดเป็นต้น เพราะอัตภาพมีเพียงหนังหุ้มกระดูก ขนาด ๖๐ ศอก และ

๘๐ ศอก ในกาลกัญชิกอสูรก็ดี ดูก่อนภิกษุ นี้แลเป็นเวลาของท่าน ดังนี้

วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น.

เมื่อมีปกติเห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่า คนเกียจคร้านหาอาจได้โลกุตร-

ธรรม ๙ ไม่ คนปรารภความเพียรเท่านั้น อาจได้. นี้เป็นอานิสงส์แห่งความ

เพียร ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น เมื่อพิจารณาเห็นทางดำเนิน

อย่างนี้ว่า เราควรดำเนินตามทางที่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะ และมหา

สาวกทั้งปวงดำเนินไปแล้ว และทางนั้น คนเกียจคร้านหาอาจดำเนินไปได้ไม่

ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

เมื่อพิจารณาเห็นซึ่งความเคารพในบิณฑบาตอย่างนั้นว่า คนที่อุปัฏฐาก

ท่านด้วยบิณฑบาตเป็นต้นเหล่านี้ จะเป็นญาติทาสกรรมกรของท่าน ก็หามิได้

เลย พวกเขาเหล่านั้น ถวายบิณฑบาตเป็นต้นอันประณีตด้วยคิดว่า พวกเรา

อาศัยท่านเลี้ยงชีพ ก็หามิได้ โดยที่แท้ ก็หวังการทำของตนว่ามีผลใหญ่ จึง

ได้ถวาย. ถึงพระศาสดาทรงพิจารณาเห็นอยู่อย่างนั้นว่า ภิกษุนี้ บริโภคปัจจัย

เหล่านี้แล้ว มีร่างกายแข็งแรงมาก จักอยู่สบายดังนี้ จึงไม่ทรงอนุญาตปัจจัยแก่

ท่าน โดยที่แท้ ทรงอนุญาตปัจจัยเหล่านั้นด้วยพระดำริว่า ภิกษุนี้ เมื่อ

บริโภคปัจจัยเหล่านี้ จักทำสมณธรรมพ้นจากวัฏทุกข์ บัดนี้ เมื่อท่านนั้น

เป็นคนเกียจคร้าน จักไม่เคารพก้อนข้าวนั้น แต่ท่านผู้ปรารภความเพียรเท่า

นั้น ชื่อว่า เคารพในบิณฑบาท วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น เหมือนที่

เกิดขึ้นแก่พระมหามิตตเถระ ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งความเคารพในบิณฑบาต.

ได้ยินว่า พระเถระอยู่ประจำในถ้ำกสกะ มหาอุบาสิกาคนหนึ่งในโคจร

คามของพระเถระนั้นแล ทำพระเถระให้เป็นบุตรบำรุงอยู่ วันหนึ่งเมื่อนางไป

ป่า จึงกล่าวกะธิดาว่า แม่ ข้าวสารเก่า อยู่ในที่โน้น น้ำนมอยู่ในที่โน้น

เนยใสอยู่ในที่โน้น น้ำอ้อยอยู่ในที่โน้น เจ้าจงหุงข้าวแล้วถวายพร้อมกับน้ำนม

เนยใสและน้ำอ้อยในเวลาอัยยมิตตเถระผู้เป็นพี่ชายของเจ้ามาแล้วเถิด เจ้าพึง

บริโภคส่วนเมื่อวาน แม่บริโภคข้าวดังที่สุกด้วยน้ำส้มแล้ว ดังนี้. ธิดาจึง

ถามว่า แม่กลางวันแม่จักกินอะไร. มารดาจึงกล่าวว่า ลูก เจ้าจงต้มข้าวยาคู

เปรี้ยวด้วยข้าวสารปนรำ ใส่ผักวางไว้.

พระเถระห่มจีวรเสร็จ พอนำบาตรออกไปได้ยินเสียงนั้น จึงสอนตน

ว่า ได้ยินว่า มหาอุบาสิกาบริโภคข้าวตังด้วยน้ำส้ม ถึงกลางวันก็จักบริโภค

ข้าวยาคูเปรี้ยวใส่ผัก ยังบอกข้าวสารเก่าเป็นต้นไว้ เพื่อประโยชน์แก่เจ้า ก็

แลนางนั้น อาศัยกรรมนั้นแล้ว จะหวังที่นา สิ่งของ ภัตร ก็หามิได้เลย แต่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

นางปรารถนาสมบัติ ๓ จึ งถวาย เจ้าจักอาจเพื่อให้สมบติเหล่านั้นแก่นางได้

หรือไม่ คิดว่า เจ้ายังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ ไม่อาจรับบิณฑบาตนี้ได้

ดังนี้ แล้วจึงใส่บาตรไว้ในถุง ปลดรังดุม กลับไปยังถ้ำกสกะนั่นแล วางบาตร

ไว้ภายใต้เตียง พาดจีวรไว้ที่ราวจีวร นั่งตั้งใจมั่น ทำความเพียรว่า เราไม่

บรรลุพระอรหัตแล้ว จักไม่ออกไป ดังนี้. ภิกษุอยู่ไม่ประมาทตลอดกาลนาน

เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตก่อนภัตเป็นมหาขีณาสพ ทำการแย้มออกไป

ดุจปทุมกำลังแย้ม. เทพยดาสิงอยู่ที่ต้นไม้ใกล้ประตูถ้าเปล่งอุทานว่า

ข้าแต่บุรุษอาชาไนย ความนอบน้อม

จงมีแด่ท่าน ข้าแต่บุรุษผู้สูงสุด ความ

นอบน้อมจงมีแด่ท่าน ข้าแต่ท่านนฤทุกข์

ท่านเป็นทักขิไณยบุคคล ผู้มีอาสวะสิ้น

แล้ว ดังนี้

จึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หญิงแก่ถวายภิกษาแก่พระอรหันต์เช่นท่าน ผู้เข้า

ไปบิณฑบาทแล้ว จักพ้นจากทุกข์. พระเถระลุกขึ้นเปิดประตูมองดูเวลา รู้ว่า

ยังเช้าอยู่ จึงถือเอาบาตรและจีวรเข้าไปยังบ้าน. ฝ่ายนางทาริกา จัดภัตไว้

พร้อมแล้ว นั่งแลดูประตูอยู่ว่า พระพี่ชายของเราจักมาบัดนี้ พระพี่ชายของ

ราจักมาบัดนี้ . เมื่อพระเถระถึงประตูเรือน นางรับบาตร บรรจุบาตรให้เต็ม

ด้วยบิณฑบาต น้ำนม ประกอบด้วยเนยใสและน้ำอ้อย วางไว้ในมือ. พระเถระ

ทำอนุโมทนาว่า จงมีความสุขเถิด เสร็จแล้วก็หลีกไป. แม้นางก็ยืนแลดู

พระเถระนั้นอยู่. เพราะว่าผิวพรรณของพระเถระในวันนั้นบริสุทธิ์ยิ่งนัก

อินทรีย์ก็ผ่องใส สีหน้าเปล่งปลั่งดังตาลสุกหลุดจากขั้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

มหาอุบาสิกากลับจากป่าแล้ว จึงถามว่า ลูก พระพี่ชายของเจ้ามาแล้ว

หรือ. นางบอกความเป็นไปนั้นทั้งปวง. อุบาสิกาทราบว่า กิจแห่งบรรพชิต

ของบุตรของเราถึงที่สุดแล้วในวันนี้ จึงกล่าวว่า ลูก พระพี่ชายของเจ้า ย่อม

ยินดีในพระพุทธศาสนา จะกระสันก็หาไม่ ดังนี้.

เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งมรดกว่า อริยทรัพย์ ๗ นี้เป็น

มรดกอันยิ่งใหญ่ของพระศาสดา คนเกียจคร้าน หาอาจรับมรดกนั้นได้ไม่.

เปรียบเหมือนมารดาบิดาไม่รับรองบุตรผู้ปฏิบัติผิดว่า ผู้นี้ไม่ใช่บุตรของเรา

โดยความล่วงไปแห่งมารดาบิดาเหล่านั้น เขาก็ไม่ได้มรดก ฉันใด แม้คน

เกียจคร้าน ย่อมไม่ได้มรดกคืออริยทรัพย์นี้ ฉันนั้น ผู้ปรารภความเพียร

เท่านั้น ย่อมได้ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น.

แม้เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งพระศาสดาอย่างนี้ว่า ก็แล

พระศาสดาของท่านใหญ่ คือ ในกาลที่พระศาสดาทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์

ของพระมารดาของท่านก็ดี ในการเสด็จทรงผนวชก็ดี ในการตรัสรู้ก็ดี ใน

การทรงยังธรรมจักรให้เป็นไป ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ การเสด็จลงจาก

เทวโลกและในการทรงปลงอายุสังขารก็ดี ในกาลปรินิพพานก็ดี หมื่นโลกธาตุ

ได้หวั่นไหวแล้ว คนที่บวชในศาสนาของพระศาสดาเห็นปานนี้ เป็นผู้

เกียจคร้าน สมควรหรือ ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น.

แม้เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งชาติอย่างนี้ว่า บัดนี้แม้โดยชาติ

ท่านไม่ใช่มีชาติต่ำ คือ ท่านเกิดในวงศ์ของพระเจ้าโอกกากราช สืบต่อจาก

พระเจ้ามหาสมมติ อันไม่ปะปนกัน เป็นหลานของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช

และพระนางมหามายาเทวี เป็นน้องของราหุลภัทร ท่านได้ชื่อว่า เป็นชินบุคคล

เห็นปานนี้ เกียจคร้านอยู่ ไม่สมควรเลยดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น

แม้เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่แห่งสพรหมจารีอย่างนั้นว่า พระสารีบุตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

พระโมคคัลลานะ และมหาสาวก ๘๐ แทงตลอดซึ่งโลกุตรธรรมได้ด้วย

ความเพียรเท่านั้น ส่วนท่านดำเนินหรือไม่ดำเนินไปตามทางของสพรหมจารี

เหล่านั้น ดังนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น.

แม้เมื่อหลีกเว้นบุคคลเกียจคร้านละความเพียรทางกายและทางจิตเสีย

เช่นงูเหลือมให้ท้องเต็มแล้วก็หยุด แม้คบหาบุคคลผู้ปรารภความเพียร มีใจ

เด็ดเดี่ยว แม้ผู้มีจิตน้อมไป โน้มไปและโอนไป เพื่อความเกิดขึ้นแห่งความ

เพียรในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดขึ้น แต่

วิริยสัมโพชฌงค์นั้นที่เกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัตมรรค.

ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติสัมโพชฌงค์

คือ ระลึกถึงพระพุทธคุณ ๑ ระลึกถึงพระธรรมคุณ ๑ ระลึกถึงพระสังฆคุณ ๑

ระลึกถึงศีล ๑ ระลึกถึงการบริจาค ๑ ระลึกถึงเทวดา ๑ ระลึกถึงคุณพระ-

นิพพาน ๑ ความหลีกเว้นคนเศร้าหมอง ๑ ความคบหาคนผ่องใส ๑ ความ

พิจารณาความแห่งพระสูตรอันชวนเลื่อมใส ๑ ความน้อมใจไปในปีตินั้น ๑.

เมื่อระลึกถึงพระพุทธคุณก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแผ่ไปทั่วสรีระ

จนถึงอุปจาระ เมื่อระลึกพระธรรมคุณ พระสังฆคุณก็ดี บรรพชิตผู้พิจารณา

เห็นจตุปาริสุทธิศีล ที่ตนรักษาอยู่ ไม่ขาดตลอดกาลนานก็ดี คฤหัสถ์พิจารณา

ศีลอยู่ก็ดี ผู้ถวายโภชนะอันประณีตในคราวทุพภิกขภัยเป็นต้น แก่สพรหมจารี

แล้ว พิจารณาเห็นจาคะว่า เราได้ถวายโภชนะชื่ออย่างนี้อยู่ก็ดี แม้คฤหัสถ์

พิจารณาเห็นทานอันตนถวายแก่ผู้มีศีลทั้งหลาย ในกาลเห็นปานนี้ก็ดี คน

ประกอบด้วยคุณเหล่าใด ถึงความเป็นเทวดา เมี่อพิจารณาเห็นความที่คุณ

เห็นปานนั้นมีอยู่ในคนก็ดี เมื่อพิจารณาเห็นว่า กิเลสที่ข่มไว้ได้ด้วยสมาบัติ

ไม่ฟุ้งซ่านเลยถึง ๖๐ ปี ถึง ๗๐ ปี ดังนี้ก็ดี เมื่อหลีกเว้น บุคคลที่เศร้าหมอง

เหมือนธุลีบนหลังลา โดยไม่มีความเลื่อมใสและเยื่อใยในพระพุทธเจ้าเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

เห็นความเศร้าหมองอันสะสมไว้แล้ว ในการกระทำความไม่เคารพ ในการ

เห็นลานพระเจดีย์ ลานโพธิ์และพระเถระก็ดี.

ผู้คบหาคนที่สนิทสนมมีจิตอ่อนโยน มากด้วยความเลื่อมใสในพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้นก็ดี พิจารณาเห็นพระสูตรอันชวนเลื่อมใส อันแสดงคุณแห่ง

พระรัตนตรัยก็ดี ผู้มีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไป เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติ

ในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้นก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น

แต่ปีติสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัตมรรค.

ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปัสสัทธิ

สัมโพชฌงค์ คือ เสพโภชนะอันประณีต ๑ เสพฤดูที่เป็นสุข ๑ เสพอิริยาบถ

อันเป็นสุข ๑ ประกอบความเพียรปานกลาง ๑ หลีกเว้นบุคคลผู้มีกายกระสับ

กระส่าย ๑ คบหาบุคคลผู้มีกายสงบ ๑ น้อมจิตไปในปัสสัทธินั้น ๑.

เมื่อบริโภคโภชนะอันสบาย ประณีต ละเอียดก็ดี เสพฤดูอันสบาย

และอิริยาบถอันสบาย ในฤดูหนาวและร้อน และในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืน

เป็นต้นก็ดี ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น ส่วนผู้ใดเป็นชาติมหาบุรุษ ย่อมอดทนใน

อิริยาบถตามฤดูทั้งปวง ข้อนั้น ท่านมิได้กล่าวหมายถึงคำนั้น เมื่อเว้นฤดูและ

อิริยาบถอันมีส่วนไม่เสมอกันแห่งฤดูและอิริยาบถที่มีส่วนเสมอและไม่เสมอกัน

แล้ว เสพฤดูและอิริยาบถที่มีส่วนเสมอกัน ปัสสัทธิก็ย่อมเกิดขึ้น. ความพิจารณา

เห็นความที่ตนและผู้อื่นมีกรรมเป็นของตน เรียกว่าประกอบความเพียรปาน

กลาง. ด้วยการประกอบความเพียรปานกลางนี้ ปัสสัทธิก็ย่อมเกิดขึ้น ผู้ใดเที่ยว

เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น เมื่อหลีกเว้นบุคคลผู้มี

กายกระสับกระส่ายเห็นปานนั้นเสียก็ดี คบหาบุคคลผู้มีกายสงบ ผู้สำรวมมือก็ดี

ผู้มีจิตน้อมไป โน้มไป โอนไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปัสสัทธิ ในอิริยาบถ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

ทั้งหลายมีการยืนและการนั่งเป็นต้นก็ดี ปัสสัทธิก็ย่อมเกิดขึ้น แต่ปัสสัทธิสัม

โพชฌงค์เกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัตมรรคด้วยประการฉะนี้. .

ธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์

คือ ความทำวัตถุให้สละสลวย ๑ ความปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน ๑ ความ

ฉลาดในนิมิต ๑ ความยกจิตในสมัย ๑ ความข่มจิตในสมัย ๑ ความทำจิต

ให้ร่าเริงในสมัย ๑ ความเพ่งดูจิตอยู่เฉย ๆ ในสมัย ๑ หลีกเว้นบุคคลผู้มีจิต

ไม่เป็นสมาธิ ๑ คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ พิจารณาวิโมกข์ ๑ น้อมจิต

ไปในสมาธินั้น ๑.

บรรดาบทเหล่านั้น ความทำวัตถุให้สละสลวย และความปรับอินทรีย์

ให้เสมอกัน พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว. ความฉลาดในการถือเอากสิณนิมิต

ชื่อว่า ความฉลาดในนิมิต. บทว่า สมเย จิตฺตสฺส ปคฺคณฺหณตา

ความว่า ในสมัยใด มีจิตหดหู่ เพราะเหตุมีความเพียรย่อหย่อนนักเป็นต้น

ในสมัยนั้น ยกจิตนั้นด้วยยการให้ธัมมวิจยะวิริยะและปีติสัมโพชฌงค์ตั้งขึ้น.

บทว่า สมเย จิตฺตสฺส นิคฺคณฺหณตา ความว่า ในสมัยใด มีจิตฟุ้งซ่าน

เพราะเหตุปรารภความเพียรเกินไปเป็นต้น ในสมัยนั้น ข่มจิตนั้น ด้วยการให้

ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ตั้งขึ้น. บทว่า สมเย สมฺปหสนตา

ความว่า ในสมัยใด จิตไม่มีอัสสาทะเพราะความพยายามทางปัญญาอ่อนไปก็ดี

เพราะไม่ได้ความสุขอันเกิดแต่ความสงบก็ดี ในสมัยนั้น พระโยคาวจร ย่อม

พิจารณาวัตถุอัน ให้เกิดสังเวช ๘ อย่าง. วัตถุทั้งหลาย คือชาติ ชรา พยาธิ

และมรณะเป็น ๔ อบายทุกข์เป็นที่ ๕ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต ทุกข์มีวัฏฏะ

เป็นมูลในอนาคต ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบัน ชื่อว่า สังเวค

วัตถุ ๘. เธอย่อมยังความเลื่อมใสให้เกิดด้วยการระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัย

นี้เรียกว่า ความทำจิตให้ร่าเริงในสมัย. ชื่อว่า ความเพ่งดูจิตอยู่เฉย ๆ ในสมัย

ได้แก่ ในสมัยใด จิตอาศัยความปฏิบัติชอบ เป็นจิตไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

ไม่มีอัสสาทะเป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ดำเนินไปสู่วิถีแห่งสมถะ ในสมัยนั้น

เธอไม่ต้องขวนขวายในการยก การข่ม และการทำให้มันร่าเริง ดุจสารถี

เมื่อม้าทั้งหลายวิ่งไปเรียบร้อย ก็ไม่ขวนขวายฉะนั้น นี้เรียกว่า ความเพ่งดู

จิตอยู่เฉย ๆ ในสมัย. การหลีกเว้นไกลบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ยังไม่ถึงอุปจาระ

หรืออัปปนา ชื่อว่า หลีกเว้น บุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ. การเสพ การคบทา

การเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิด้วยอุปจาระ หรืออัปปนา ชื่อว่า การ

คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ. ความที่จิตน้อมไป โน้มไป โอนไปเพื่อเกิด

สมาธิในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้น ชื่อว่า ความน้อมจิต

ไปในสมาธินั้น. ก็เธอเมื่อปฏิบัติอย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ย่อมเกิดขึ้น

ก็สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัต-

มรรค.

ธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขา

สัมโพชฌงค์ คือ ความวางเฉยในสัตว์ ๑ ความวางเฉยในสังขาร ๑ ความหลีก

เว้นบุคคลผู้พัวพันอยู่ในสัตว์และสังขาร ๑ ความคบหาบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์

และสังขาร ๑ ความน้อมจิตไปในอุเบกขานั้น ๑.

บรรดาบทเหล่านั้น เธอให้ความวางเฉยในสัตว์ตั้งขึ้น ด้วยอาการ ๒

คือด้วยการพิจารณาเห็นความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตนอย่างนี้ว่า ท่านมา

ด้วยกรรมของตน ก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ แม้เขามาด้วยกรรม

ของตน ก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ ท่านจะพัวพันกับใครดังนี้ และ

ด้วยการพิจารณาเห็นมิใช่สัตว์อย่างนี้ว่า โดยปรมัตถ์สัตว์ไม่มีเลย ท่านนั้นจะ

พัวพันกับใครเล่า ดังนี้. ย่อมให้ความวางเฉยในสังขารตั้งขึ้น ด้วยอาการ ๒

คือ ด้วยการพิจารณาเห็นความไม่มีเจ้าของอย่างนี้ว่า จีวรนี้เข้าถึงความมีสี

เปลี่ยนไป และความคร่ำคร่าโดยลำดับ เป็นท่อนผ้าสำหรับเช็ดเท้า จักเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

ของควรเอาปลายไม้เท้าเขี่ยทิ้งไป ถ้าเจ้าของผ้านั้นมี ไม่ควรให้ผ้านั้นพินาศ

ไปอย่างนี้. และด้วยการพิจารณาเห็นความเป็นของชั่วเวลาหนึ่งอย่างนี้ว่า สิ่งนี้

ไม่แน่นอน เป็นของชั่วเวลาหนึ่ง ดังนี้. แม้ในบาตรเป็นต้น พึงประกอบ

วาจาเหมือนในจีวรฉะนั้น.

ในบทว่า สตฺตสขารเกลายมปุคฺคลปริวชฺชนตา นี้ มีความว่า

บุคคลใดเป็นคฤหัสถ์ย่อมยึดถือบุตรและธิดาเป็นต้นของตนว่าของเราก็ดี เป็น

บรรพชิต ยึดถืออันเตวาสิกและผู้ร่วมอุปัชฌาย์กันเป็นต้น ของตนว่า ของเรา

ช่วยทำกิจมีการตัดผม การเย็บ การซัก การย้อมจีวรและสุมบาตรเป็นต้น

ของอันเตวาสิกเป็นต้นด้วยมือของตน เมื่อไม่เห็นแม้เพียงครู่เดียว ย่อมมองหา

ทั้งข้างนี้ ข้างโน้น ดุจเนื้อตื่นว่า สามเณรโน้นไปไหน ภิกษุหนุ่มโน้น ไป

ไหนดังนี้ แม้ถูกคนอื่นขอร้องกะท่าน เพื่อประโยชน์แห่งการตัดผมเป็นต้นว่า

ท่านจะให้สามเณรโน้นแก่เราสักครู่ก่อนเถิด ย่อมไม่ให้ด้วยกล่าวว่างานส่วนตัว

เรายังไม่ใช้เขาให้ทำเลย พวกท่านพาเขาไปจักลำบากดังนี้ นี้ชื่อว่า ความ

พัวพันในสัตว์. ส่วนภิกษุใดยึดถือจีวรบาตรชามเล็ก ไม้ถือเป็นต้นว่าของเรา

ไม่ให้คนอื่นแม้เอามือจับ ถึงจะถูกเขาขอร้องอยู่ตลอดเวลา ก็กล่าวอยู่ว่า ถึง

พวกเราก็ปรารถนาทรัพย์ จึงไม่ใช้สอย เราจักให้แก่ท่านทั้งหลายได้อย่างไร

ภิกษุนี้ชื่อว่า พัวพันในสังขาร ส่วนผู้ใดเป็นผู้วางเฉยแม้ในวัตถุทั้งสองเหล่า

นั้น ผู้นี้ชื่อว่าเป็นผู้วางเฉยในสัตว์และสังขาร. ด้วยอาการอย่างนี้ อุเบกขา

สัมโพชฌงค์นี้ จึงเกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้หลีกเว้นไกลบุคคลผู้พัวพันในสัตว์และ

สังขารเห็นปานนี้บ้าง ผู้คบหาบุคคลผู้วางเฉยในสัตว์และสังขารอยู่บ้าง ผู้มีจิต

น้อมไป โน้มไป โอนไป เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น ใน

อิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้นบ้าง. แต่อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นอันเกิด

ขึ้นแล้วอย่างนี้ ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยยอรหัตมรรค.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

บทว่า อสุภนิมิตฺต ได้แก่ ธรรมมีอสุภะเป็นอารมณ์ อันต่างด้วย

อุทธุมาตกอสุภกัมมัฏฐานเป็นต้น การทำไว้ในใจถึงอุบาย การทำไว้ในใจ

ถึงทาง การทำไว้ในใจถึงความเกิด ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ ในบทว่า โยนิโส

มนสิการพหุลีกาโร นี้.

อนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันทะ คือการเรียนเอา

อสุภนิมิต ๑ การตามประกอบในอสุภภาวนา ๑ ความมีทวารอันคุ้มครองใน

อินทรีย์ ๑ ความรู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ความมีเพื่อนเป็นคนดี ๑ เรื่องที่เป็น

สัปปายะ ๑ เพราะว่าเมื่อเรียนเอาอสุภนิมิต ๑๐ อย่างก็ดี เมื่อเจริญอสุภนิมิต

๑ อย่างก็ดี ผู้มีทวารอันตนคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ก็ดี ผู้รู้จักประมาณใน

โภชนะโดยเว้นคำข้าว ๔-๕ คำไว้โอกาสดื่มน้ำเป็นปกติก็ดี ก็ละกามฉันทะ

ได้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ภิกษุควรเว้น คำข้าว ๔ - ๕ คำไว้

ดื่มน้ำ ก็พอสำหรับภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว

เพื่ออยู่ผาสุก.

เมื่อคบหากัลยาณมิตร ผู้ยินดีในอสุภภาวนาเช่นพระติสสะผู้บำเพ็ญอสุภ-

กัมมัฏฐาน ก็ละกามฉันทะได้. แม้ในการกล่าวคำเป็นสัปปายะในอสุภนิมิต

๑๐ ในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น ก็ละได้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันทะดังนี้. ส่วน

กามฉันทะที่ละได้ด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไป ด้วย.

อรหัตมรรค.

อัปปนาก็ดี อุปจาระก็ดี ก็ควรในบทที่กล่าวว่า เมตตา ในบทว่า

เมตฺตา เจโตวิมุตฺติ นี้. อัปปนาอย่างเดียวชื่อว่า เจโตวิมุตฺติ. โยนิโส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

มนสิการมีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว. อนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละ

พยาบาท คือ การถือเอาเมตตานิมิต ๑ การประกอบเมตตาภาวนา ๑ การ

พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน ๑ ความเป็นผู้พิจารณามาก ๑

คบเพื่อนเป็นคนดี ๑ เรื่องที่เป็นสัปปายะ ๑ แท้จริง แม้เมื่อถือเอาเมตตา

ด้วยอำนาจแห่งเมตตาที่แผ่ทั่วทิศ ทั้งเจาะจงและไม่เจาะจง อย่างใดอย่างหนึ่ง

ละพยาบาทได้ ในกาลนั้น เมื่อเจริญเมตตาด้วยอำนาจการแผ่ทั่วทิศ ทั้งเจาะจง

ทั้งไม่เจาะจงก็ดี พิจารณาความที่ตนและผู้อื่นมีกรรมเป็นของ ๆ ตนอย่างนี้ว่า

ท่านโกรธจักทำอะไรแก่เขาได้ ท่านจักสามารถทำศีลเป็นต้น ของเขาให้พินาศ

หรือ ท่านมาด้วยกรรมของตน ก็จักไปด้วยกรรมของที่นั่นแหละมิใช่หรือ

ชื่อว่า ความโกรธต่อผู้อื่นเป็นเช่นกับบุคคลถือเอาถ่านเพลิงที่มีเปลวไปปราศ

แล้ว ซี่เหล็กอันร้อนและคูถเป็นต้นแล้ว ประสงค์จะประหารผู้อื่น. แม้เขา

โกรธ จักทำอะไรต่อท่านได้ เขาจักทำศีลเป็นต้นของท่านให้พินาศหรือ เขา

มาด้วยกรรมของตนก็จักไปด้วยกรรมของตนนั่นแหละ ความโกรธของตนจัก

ตกบนกระหม่อมของเขานั่นเอง ดุจเครื่องประหารที่มิได้หุ้มห่อ และดุจกำธุลี

ที่ตนซัดไปทวนลมฉะนั้น ดังนี้ก็ดี ผู้พิจารณาความที่ตนและผู้อื่นมีกรรมเป็น

ของ ๆ ตนทั้งสอง ยืนพิจารณาอยู่ก็ดี ผู้คบหากัลยาณมิตร ยินดีในเมตตา

ภาวนาเช่นกับพระอัสสุคุตตเถระก็ดี ย่อมละพยาบาทได้. แม้ในเรื่องเป็นสัปปายะ

อาศัยเมตตาในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น ก็ละได้เหมือนกัน.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาท

ดังนี้. ก็พยาบาทอันละได้ด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ต่อไป

ด้วยอนาคามิมรรค.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

บทเป็นต้นว่า อตฺถิ ภิกฺขเว อรติ มีเนื้อความอันกล่าวแล้วแล.

อนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ การถือเอานิมิตใน

โภชนะที่เกิน ๑ การเปลี่ยนอิริยาบถ ๑ มนสิการถึงอาโลกสัญญา ๑ การอยู่

กลางแจ้ง ๑ คบเพื่อนเป็นคนดี ๑ เรื่องเป็นที่สัปปายะ ๑.

แม้เมื่อถือเอานิมิตในโภชนะที่เกินอย่างนี้ว่า ภิกษุเมื่อบริโภคโภชนะ

เหมือนพราหมณ์ที่ชื่อว่าอาหรหัตถกะ ที่ชื่อว่าภุตตวิมมิตกะ. ที่ชื่อว่าตัตร-

วัฏฏกะ ที่ชื่อว่าอลังสาฎกะ ที่ชื่อว่ากากมาสกะ แล้วนั่งที่พักกลางคืนและ

ที่พักกลางวัน กระทำสมณธรรม ถีนมิทธะย่อมมาตรอบงำเหมือน

ช้างใหญ่. ถีนมิทธะนั้นจะไม่มีแก่ภิกษุผู้เว้นโอกาสแห่งคำข้าว ๔-๕ คำ

ไว้ดื่มน้ำเป็นปกติ ย่อมละถีนมิทธะได้. ถีนมิทธะย่อมครอบงำในอิริยาบถใด

เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถอื่นจากอิริยาบถนั้นเสียก็ดี กระทำไว้ใน ใจถึงแสงสว่างแห่ง

ดวงจันทร์ประทีปและคบเพลิงในกลางคืน แสงสว่างดวงอาทิตย์ในกลางวันก็ดี

อยู่ในกลางแจ้งก็ดี คบหากัลยาณมิตรผู้ละถีนมิทธะได้เช่นมหากัสสปเถระก็ดี

ย่อมละถีนมิทธะได้. แม้ในเรื่องที่เป็นสัปปายะอาศัยธุดงค์ ในอิริยาบถมีการ

ยืนและการนั่งเป็นต้นก็ดี ย่อมละถีนมิทธะได้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะดังนี้. ก็ถีนมิทธะ

อันละได้ด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยอรหัตมรรค.

บทเป็นต้นว่า อตฺถิ ภิกฺขเว เจตโส วูปสโม มีเนื้อความ

อันกล่าวแล้วแล. ก็อนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ

คือ ความเป็นพหูสูต ๑ ความเป็นผู้ไต่ถาม ๑ ความชำนาญในพระวินัย ๑

คบวุฑฒบุคคล ๑ คบเพื่อนเป็นคนดี ๑ เรื่องเป็นสัปปายะ ๑ แม้เมื่อภิกษุ

เรียนหนึ่งนิกายหรือสามนิกาย สี่นิกายหรือห้านิกาย ด้วยสามารถแห่งพระบาลี

และด้วยสามารสแห่งอรรถ แม้โดยความเป็นพหูสูตบุคคล ย่อมละอุทธัจจ-

กุกกุจจะได้. ผู้มากด้วยการไต่ถามสิ่งที่ควรและไม่ควรก็ดี ผู้ชำนาญเพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในพระวินัยบัญญัติก็ดี ผู้เข้าไปหาพระเถระผู้แก่ก็ดี คบหา

กัลยาณมิตรผู้ทรงวินัย เช่นพระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้.

แม้ในเรื่องเป็นสัปปายะ อันอาศัยสิ่งที่ควรและไม่ควร ย่อมละได้เหมือนกัน.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุจทธัจจ-

กุกกุจจะ ดังนี้. ก็ในอุทธจัจกุกกุจจะอันละได้ด้วยธรรม ๖ ประการเหล่านี้

อุทธัจจะ ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ต่อไป ด้วยยอรหัตมรรค กุกกุจจะไม่เกิดขึ้นด้วย

อนาคามิมรรคด้วยประการฉะนี้.

แม้บทเป็นต้นว่า กุสลากุสลา ธมฺมา มีเนื้อความอันกล่าวแล้วแล.

อนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา คือ ความเป็นพหูสูต ๑

ความเป็นผู้ไต่ถาม ๑ ความชำนาญในพระวินัย ๑ ความเป็นผู้มากด้วย

อธิโมกข์ ๑ คบเพื่อนเป็นคนดี ๑ เรื่องเป็นสัปปายะ ๑.

แม้เมื่อภิกษุ เรียนเอาหนึ่งนิกายหรือ ฯลฯ หรือห้านิกายด้วยสามารถ

แห่งพระบาลี และด้วยสามารถแห่งอรรถ แม้โดยความเป็นพหูสูตบุคคล

ย่อมละวิจิกิจฉาได้. เธอปรารภพระรัตนตรัย มากด้วยการไต่ถามก็ดี ผู้เชี่ยวชาญ

ในพระวินัยก็ดี ผู้มากด้วยความน้อมใจไปกล่าวคือศรัทธาที่สำเร็จในรัตนะสาม

ก็ดี คบกัลยาณมิตรเช่นพระวักกลิเถระผู้น้อมไปในศรัทธาก็ดี ละวิจิกิจฉาได้.

แม้ในเรื่องเป็นสัปปายะอาศัยคุณแห่งรัตนะทั้งสามในอิริยาบถมีการยืนและการ

นั่งเป็นต้น ก็ย่อมละได้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖

ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา ดังนี้. ก็วิจิกิจฉาอันละได้ด้วยธรรม ๖

ประการเหล่านั้น ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยโสดาปัตติมรรค. ในพระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปลี่ยนเทศนา โดยฐานะสาม ทรงถือเอาธรรมอัน

เป็นยอดด้วยพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

ในที่สุดแห่งเทศนา พวกภิกษุ ๕๐๐ รูปได้บรรลุพระอรหัต.

จบอรรถกถาอาหารสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

๒. ปริยายสูตร

ว่าด้วยปริยายนิวรณ์ ๕

[๕๔๗] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูป เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร

เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้มีความดำริว่า

เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีก่อน ก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร

เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด. ภิกษุเหล่านั้นจึง

เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์

ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคคมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนั้นว่า

มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ

ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ดังนี้. แม้พวกเราก็

แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนั้นว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

จงละนิวรณ์ ๕ อัน เป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗

ตามเป็นจริง. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของเรานี้ อะไรเป็น

ความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน ระหว่าง

ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนี

ของพวกเรากับอนุศาสนีของพระสมณโคดม.

[๕๔๘] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของ

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกพวกนั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไปด้วยตั้งใจว่า

เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำพูดนี้ในสำนัก พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

[๕๔๙] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นครั้นเที่ยวบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี

เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อเช้าวันนี้ ข้าพระองค์

ทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ข้าพระองค ์

ทั้งหลายได้มีความดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีก่อน

ก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

เถิด. ลำดับนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์-

ปริพาชก ได้ปราศรัยกับพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัย

พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พวกอัญเดียรถีย์-

ปริพาชกได้พูดกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดม

แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์

๗ ตามเป็นจริง ดังนี้ แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า

มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นอุปกิเลสของใจ

ทอนกำลังปัญญา แล้วเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย

ในการแสดงธรรมของเรานี้ อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์

อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา คือว่า

ธรรมเทศนาของพวกเรา กับธรรมเทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนี

ของพวกเรากับอนุศาสนีของพระสมณโคดม.

[๕๕๐] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูด

ของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจ

ว่า เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความของคำพูดนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

[๕๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญ-

เดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลาย พึงถามอย่างนี้ว่า

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปริยายที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น ๑๐ อย่าง ที่โพชฌงค์

๗ อาศัยแล้วเป็น ๑๔ อย่าง มีอยู่หรือ. พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอ

ทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักแก้ไม่ได้เลย และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง ข้อนั้น

เพราะเหตุไร. เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน

หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดี

ด้วยการแก้ปัญหาเหล่านั้น เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟัง

จากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคตนั้น.

[๕๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้วเป็น

๑๐ อย่าง เป็นไฉน.

[๕๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้กามฉันทะในภายในก็เป็นนิวรณ์

แม้กามฉันทะในภายนอกก็เป็นนิวรณ์ คำว่า กามฉันทนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่

อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ กามฉันทนิวรณ์นั้นก็เป็น ๒ อย่าง.

[๕๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พยาบาทในภายในก็เป็นนิวรณ์

แม้พยาบาทในภายนอกก็เป็นนิวรณ์ คำว่า พยาบาทนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่

อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ พยาบาทนิวรณ์นั้นก็เป็น ๒ อย่าง.

[๕๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ถีนะก็เป็นนิวรณ์ แม้มิทธะก็เป็น

นิวรณ์ คำว่า ถีนมิทธนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้

ถีนมิทธนิวรณ์นั้นก็เป็น ๒ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

[๕๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อุทธัจจะก็เป็นนิวรณ์ แม้กุกกุจจะ

ก็เป็นนิวรณ์ คำว่า อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดย

ปริยายนี้ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ก็เป็น ๒ อย่าง.

[๕๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายในภายใน

ก็เป็นนิวรณ์ แม้วิจิกิจฉาในธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นนิวรณ์ คำว่า

วิจิกิจฉานิวรณ์ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ วิจิกิจฉานิวรณ์ก็เป็น

๒ อย่าง.

[๕๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายนี้แล ที่นิวรณ์ ๕ อาศัยแล้ว

เป็น ๑๐ อย่าง.

[๕๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้วเป็น

๑๔ อย่าง เป็นไฉน.

[๕๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายในก็เป็น

สติสัมโพชฌงค์ แม้สติในธรรมทั้งหลายในภายนอกก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ คำว่า

สติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ สติสัมโพชฌงค์ก็เป็น

๒ อย่าง.

[๕๖๑] แม้ธรรมทั้งหลายในภายใน ที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึง

ความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา ก็เป็นธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ แม้ธรรมทั้งหลาย

ในภายนอกที่บุคคลเลือกเฟ้นตรวจตราถึงความพินิจพิจารณาด้วยปัญญา ก็เป็น

ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ คำว่า ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ

แม้โดยปริยายนี้ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.

[๕๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ความเพียรทางกายก็เป็นวิริยสัม-

โพชฌงค์ แม้ความเพียรทางจิตก็เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ คำว่า วิริยสัมโพชฌงค์

ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

[๕๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ปีติที่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัม-

โพชฌงค์ แม้ปีติที่ไม่มีวิตกวิจารก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์ คำว่า ปีติสัมโพชฌงค์

ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ปีติสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.

[๕๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ความสงบกายก็เป็นปัสสัทธิสัม-

โพชฌงค์ แม้ความสงบจิตก็เป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คำว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.

[๕๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิที่มีวิตกวิจารก็เป็นสมาธิสัม-

โพชฌงค์ แม้สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ คำว่า

สมาธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์

ก็เป็น ๒ อย่าง.

[๕๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ความวางเฉยในธรรมทั้งหลาย

ในภายในก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ แม้ความวางเฉยในธรรมทั้งหลายในภาย

นอก ก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ คำว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้ ย่อม

มาสู่อุเทศ แม้โดยปริยายนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ก็เป็น ๒ อย่าง.

[๕๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายนี้แล ที่โพชฌงค์ ๗ อาศัยแล้ว

เป็น ๑๔ อย่าง.

จบปริยายสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

อรรถกถาปริยายสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปริยายสูตรที่ ๒.

บทว่า สมฺพหุลา ความว่าชน ๓ คน ท่านเรียกว่า มากหลาย โดยปริยาย

ในวินัย. มากกว่า ๓ คนนั้น เรียกว่า สงฆ์. ๓ คน เรียกว่า ๓ คนเหมือนกัน

โดยปริยายแห่งพระสูตร แต่ ๓ คนขึ้นไป เรียกว่า มากหลาย. ในที่นี้

พึงทราบว่า มากหลาย โดยปริยายแห่งพระสูตร. บทว่า ปิณฺฑาย ปวิสึสุ

ได้แก่ เข้าไปเพื่อบิณฑบาต. ก็ภิกษุเหล่านั้นยังไม่เข้าไปก่อน แต่เรียกว่า

เข้าไปแล้ว เพราะออกไปด้วยคิดว่า จักเข้าไป. ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า

เหมือนคนออกไปด้วยคิดว่า จักไปบ้าน แม้ยังไม่ทันถึงบ้านนั้น เมื่อถูกเขา

ถามว่า คนชื่อนี้ ไปไหน. เขาจะตอบว่า ไปบ้านแล้ว ฉันใด ก็ฉันนั้น.

บทว่า ปริพฺพาชกาน อาราโม นั้น ท่านกล่าวหมายถึงอารามของพวก

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกมีอยู่ในที่ไม่ไกลพระเชตวัน. บทว่า สมโณ อาวุโส

ความว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พระสมณโคดมเป็นครูของท่านทั้งหลาย.

บทว่า มยปิ โข อาวุโส สาวกาน เอว ธมฺม เทเสม

ความว่า ในลัทธิของพวกเดียรถีย์ ไม่มีคำนี้ว่า นิวรณ์ ๕ พวกเธอพึงละ

โพชฌงค์ ๗ พวกเธอพึงเจริญ ส่วนพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ไปยังอารามยืนอยู่

ท้ายบริษัท ฟังธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเหมือนมองดูสิ่งอื่น

เหมือนส่งใจไปในที่อื่น. แต่นั้น ก็กำหนดว่า สมณโคดมจะกล่าวว่า พวกท่าน

จงละสิ่งนี้ จงเจริญสิ่งนี้เถิด แล้วจึงไปยังอารามของตนให้จัดอาสนะไว้ท่ามกลาง

อาราม อันอุปัฏฐากชายหญิงห้อมล้อมยกศีรษะน้อมกายเข้าไป เมื่อแสดงอาการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

แทงตลอดโดยสยัมภูญาณของตน จึงกล่าวว่า คนควรละนิวรณ์ ๕ ควรเจริญ

โพชฌงค์ ๗ ดังนี้.

ในบทว่า อิธ โน อาวุโส โก วิเสโส นี้ บทว่า อิธ แปลว่า

ในบัญญัตินี้. บทว่า โก วิเสโส คือ อะไรยิ่งกว่ากัน. บทว่า โก อธิปฺปายโส

คืออะไรเป็นความเพียรเป็นเครื่องประกอบอันยิ่ง. บทว่า กึ นานากรณ คืออะไร

เป็นความต่างกัน. บทว่า ธมฺเทสนาย วา ธมฺมเทสน ความว่า พวกอัญญ

เดียรถีย์กล่าวข้อที่พวกเขาพึงปรารภธรรมเทศนาของพวกเรา กับธรรมเทศนา

ของพระสมณโคดม หรือธรรมเทศนาของพระสมณโคดมกับธรรมเทศนา

ของพวกเราเรียกว่า การทำให้ต่างกัน นั้นชื่ออะไร. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้

เหมือนกัน. บทว่า เนว อภินนฺทึสุ ได้แก่ พวกภิกษุไม่ยอมรับว่า อย่างนี้

อย่างนี้. บทว่า นปฺปฎิกฺโกสึสุ ได้แก่ ไม่คัดค้านว่า สิ่งนี้ไม่เป็นอย่างนี้.

ถามว่า ก็พวกภิกษุเหล่านั้นเมื่อได้ทำอย่างนี้พอหรือ หรือว่าไม่พอ. ตอบว่า พอ.

ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่สามารถกล่าวคำประมาณท่านได้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ใน

ลัทธิของท่านทั้งหลาย ไม่มีนิวรณ์ ๕ จะต้องละ ไม่มีโพชฌงค์ ๗ จะต้องเจริญ

ดังนี้. แต่ภิกษุเหล่านั้น ได้มีความดำริอย่างนี้ว่า ข้อที่เขานำมากล่าวนั้นไม่มี

พวกเราทูลข้อนั้นแด่พระศาสดา เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดาจักแสดงพระธรรม

เทศนาอันไพเราะแก่พวกเรา ดังนี้. บทว่า ปริยาโย แปลว่า เหตุ.

บทว่า น เจว สมฺปายิสฺสนฺติ ความว่า พวกอัญญเดียรถีย์

จักไม่อาจกล่าวแก้ได้เลย. บทว่า อุตฺตริญฺจ วิฆาต ความว่า จักถึง

ความทุกข์ แม้เป็นอย่างยิ่ง เพราะแก้ไม่ได้. ความจริง ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่

พวกเขา ผู้ไม่สามารถเพื่อจะกล่าวแก้ได้. บทว่า ต ในบทว่า ยถา ต

ภิกฺขเว อวิสยสฺมึ นี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ยถา แปลว่า คำเป็นเหตุ

อธิบายว่า เพราะปัญหาที่ถูกถามในฐานะมิใช่วิสัย. บทว่า สเทวเก ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

ในโลกพร้อมด้วยเทวโลกกับด้วยเทพดาทั้งหลาย. แม้ในบทว่า สมารกะ

เป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ท่านแสดงว่า เรายังไม่แลเห็นเทวดาหรือมนุษย์

นั้นในโลก อันพร้อมด้วยเทวโลกเป็นต้นที่ต่างกันนั้น หมายถึงสัตว์โลก

แม้โดยฐานะ ๕ คือหมู่สัตว์ ๒ เพิ่มฐานะ ๓ ในโลกด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า

อิโต วา ปน สุตฺวา ได้แก่ หรือฟังจากศาสนานี้ของเรา. ท่านแสดงว่า

ด้วยว่า พระตถาคตก็ดี สาวกของพระตถาคตก็ดี ฟังด้วยอาการอย่างนั้น

พึงให้ยินดีคือให้พอใจได้. ชื่อว่า ความยินดี จะไม่มีโดยประการอื่น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงพระทัยยินดีด้วยการแก้

ปัญหาเหล่านั้นของพระองค์ จึงตรัสคำว่า กตโม จ ภิกฺขเว ปริยาโย

ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺต กามจฺฉนฺโท ได้แก่ ฉันทราคะ

เกิดขึ้น เพราะปรารภเบญจขันธ์ของตน. บทว่า พหิทธา กามจฺฉนฺโท

ได้แก่ ฉันทราคะเกิดขึ้นเพราะปรารภเบญจขันธ์ของพวกคนเหล่าอื่น. บทว่า

อุทฺเทส คจฺฉติ คือย่อมถึงการนับ. บทว่า อชฺฌตฺต พฺยาปาโท ได้แก่

ปฎิฆะอันเกิดขึ้นในเพราะอวัยวะมีมือและเท้าเป็นต้นของตน. บทว่า พหิทฺธา

พฺยาปาโท ได้แก่ ปฏิฆะอันเกิดขึ้นในเพราะมือและเท้าเหล่านั้นของคนอื่น.

บทว่า อชฺฌตฺต ธมฺเมสุ วิจิกิจฺฉา ได้แก่ ความสงสัยในขันธ์ของตน.

บทว่า พหิทฺธา ธมฺเมสุ วิจิกิจฺฉา ได้แก่ ความสงสัยมากในฐานะ ๘

ในภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺต ธมฺเมสุ สติ ความว่า เมื่อกำหนดสังขาร

ทั้งหลายในภายใน สติก็เกิดขึ้น. บทว่า พหิทฺธา ธมฺเมสุ สติ ความว่า

เมื่อกำหนดสังขารทั้งหลายในภายนอก สติก็เกิดขึ้น. แม้ในธัมมวิจย-

สัมโพชฌงค์ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า กายิก ได้แก่ ความเพียรเกิดขึ้น

แก่ผู้อธิฐานจงกรมอยู่. บทว่า เจตสิก ความว่า ความเพียรอันเกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

เว้น ความเพียรทางกายอย่างนี้ว่า เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ จนกว่าจิตของเรา

จักพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น. บทว่า กายปสฺสทฺธิ ได้แก่

ความสงบความกระวนกระวายแห่งขันธ์สาม. บทว่า จิตฺตปสฺสทฺธิ ได้แก่

ความสงบความกระวนกระวายแห่งวิญญาณขันธ์. ในอุเบกขาสัมโพชฌงค์

มีวินิจฉัยเช่นเดียวกับสติสัมโพชฌงค์แล. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสโพชฌงค์คลุกเคล้ากันไป. โพชฌงค์เหล่านั้นคือ สติ วิจยะ และอุเบกขา

ในธรรมในภายในเหล่านั้น ชื่อว่า โลกิยะ เพราะมีขันธ์ของตนเป็นอารมณ์

ความเพียรทางกายยิ่งไม่ถึงมรรคก็อย่างนั้น. ก็เพราะไม่มีวิตกและวิจาร ปีติ

และสมาธิ เป็นรูปาวจร แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในรูปาวจร จะไม่ได้โพชฌงค์

ดังนั้น ก็เป็นโลกุตระอยู่นั่นเอง. พระเถระเหล่าใดย่อมยกสัมโพชฌงค์ขึ้น

แสดงในพรหมวิหารและในฌานที่เป็นบาทของวิปัสสนาเป็นต้น ตามมติของ

พระเถระเหล่านั้น โพชฌงค์ก็เป็นรูปาวจรบ้าง อรูปาวจรบ้าง. ก็ในโพชฌงค์

ปีติเท่านั้น ไม่ได้ในอรูปาวจรโดยส่วนเดียว. โพชฌงค์ที่เหลือ ๖ ประการ

เป็นมิสสกะคลุกเคล้ากันด้วยประการฉะนี้.

ในที่สุดแห่งเทศนา ภิกษุบางพวกเป็นโสดาบัน บางพวกเป็นสกทาคามี

บางพวกเป็นอนาคามี บางพวกเป็นอรหันต์ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาปริยายสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

๓. อัคคิสูตร

เจริญโพฌงค์ตามกาล

[๕๖๘] ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมาก เวลาเช้า นุ่งแล้วถือบาตรและ

จีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี (ความต่อไปเหมือนปริยายสูตรข้อ ๕๔๗-

๕๕๐) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญเดียรถีย์-

ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนั้น ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้

มีอายุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่า

ไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน. สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น

มิใช่กาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน เป็นกาลเพื่อเจริญโพชฌงค์เหล่าไหน.

พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนั้นแล้ว จักถึงความอึดอัด

อย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นปัญหาที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิต

ให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจากตถาคต สาวกของตถาคต หรือ

ผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคตนั้น.

[๕๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น มิใช่กาล

เพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาล

เพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะจิตหดหู่ จิตที่หด

หู่นั้นยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยธรรมเหล่านั้น. เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

ไฟดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และ

โรยฝุ่นลงในไฟนั้น บุรุษนั้นจะสามารถก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้หรือ

หนอ.

ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น

มิใช่กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์

มิใช่กาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์. ข้อนั้นเพระเหตุไร. เพราะจิตหดหู่

จิตที่หดหู่นั้น ยากที่จะให้ตั้งขึ้นได้ด้วยยธรรมเหล่านั้น.

[๕๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น เป็นกาล

เพื่อเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นกาล

เพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะจิตหดหู่ จิตที่หดหู่

นั้นให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น. เปรียบเหมือนบุรุษต้องการจะก่อไฟ

ดวงน้อยให้ลุกโพลง เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า

และไม่โรยฝุ่นในไฟนั้น บุรุษนั้นสามารถจะก่อไฟดวงน้อยให้ลุกโพลงขึ้นได้

หรือหนอ.

ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตหดหู่ สมัยนั้น

เป็นกาลเพื่อเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์

เป็นกาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์. ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตหดหู่ จิตที่

หดหู่นั้น ให้ตั้งขึ้นได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น.

[๕๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น มิใช่

กาลเพื่อเขริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ มิใช่

กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์. ข้อนั้น เพราะเหตุไร. เพราะจิตฟุ้งซ่าน จิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

ที่ฟุ้งซ่านนั้น ยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น. เปรียบเหมือนบุรุษต้องการ

จะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าแห้ง โคมัยแห้ง ไม้แห้ง เอาปากเป่า และไม่

โรยฝุ่นลงไปในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นสามารถจะดับไฟกองใหญ่ได้หรือหนอ.

ภิ. ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น

มิใช่กาลเพื่อเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ มิใช่กาลเพื่อเจริญวิริยสัมโพชฌงค์

มิใช่กาลเพื่อเจริญปีติสัมโพชฌงค์. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะจิตฟุ้งซ่าน

จิตที่ฟุ้งซ่านนั้นยากที่จะให้สงบได้ด้วยธรรมเหล่านั้น.

[๕๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น เป็น

กาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เป็น

กาล เพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะจิตฟุ้งซ่าน

จิตที่ฟุ้งซ่านนั้นให้สงบได้ง่ายด้วยธรรมเหล่านั้น. เปรียบเหมือนบุรุษต้องการ

จะดับไฟกองใหญ่ เขาจึงใส่หญ้าสด โคมัยสด ไม้สด พ่นน้ำ และโรยฝุ่น

ลงในกองไฟใหญ่นั้น บุรุษนั้นจะสามารถดับกองไฟนั้นได้หรือหนอ.

ภิ. ได้ พระเจ้าข้า.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตฟุ้งซ่าน สมัยนั้น

เป็นกาลเพื่อเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นกาลเพื่อเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์

เป็นกาลเพื่อเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะจิตฟุ้งซ่าน

จิตที่ฟุ้งซ่านนั้น ให้สงบได้ง่าย ด้วยธรรมเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

กล่าวสติแลว่า มีประโยชน์ในที่ทั้งปวง.

จบอัคคิสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

อรรถกถาอัคคิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัคคิสูตรที่ ๓.

บทว่า สติญฺจ ขฺวาห ภิกฺขเว สพฺพตฺถิก วทามิ ความว่า

เรากล่าวสติแล ว่าเหมือนเกลือสะตุ และเหมือนอำมาตย์ผู้ประกอบการงานทั้ง

ปวงอัน บุคคลพึงปวารถนาในที่ทั้งปวง. เกลือสะตุย่อมอยู่ แม้ในกับข้าวทั้ง

ปวงฉันใด และอำมาตย์ผู้ประกอบการงานทั้งปวง ย่อมทำหน้าที่รบ ทำหน้า

ที่ปรึกษาบ้าง ทำหน้าที่สนับสนุนบ้าง รวมความว่า ย่อมทำกิจทุกอย่างให้

สำเร็จได้ฉันใด การข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน การยกจิตที่หดหู่ก็ฉันนั้น ดังนั้น กิจ

แม้ทั้งหมดจะสำเร็จได้ด้วยสติ เว้นสติเสียหาอาจยังกิจนั้นให้สำเร็จได้ไม่

เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสอย่างนี้. ในพระสูตรนี้ พระองค์ ตรัสโพชฌงค์

อันเป็นวิปัสสนาส่วนเบื้องต้นอย่างเดียว.

จบอรรถกถาอัคคิสูตรที่ ๓

๔. เมตตาสูตร

พรหมวิหาร ๔

[๕๗๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาว

โกลิยะ ชื่อ หลิททวสนะ ในโกลิยชนบท ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปด้วยกัน

เวลาเช้านุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสนนิคม ครั้ง

นั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตยังหลิททวสน-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

นิคมก่อนก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์

ปริพาชกเถิด.

[๕๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์

ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัย

พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์

ปริพาชกได้พูดกะภิกษุเหล่านั้นว่า

[๕๗๕] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคคมแสดงธรรมแก่สาวก

ทั้งหลายอย่างนั้นว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็น

อุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไป

ตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้

ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ เป็น

มหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ใน

ที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๗๖] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศ

ที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยกรุณาอัน ไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิ

ได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์

ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๗๗] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศ

ที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยมุทิตาอัน ไพบูลย์เป็นมหรคต หาประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุก

หมู่เหล่า อยู่เถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

[๕๗๘] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด

ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณ

มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมี

สัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๗๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้ง

หลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อัน เป็น

อุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอด

ทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ฯลฯ

[๕๘๐] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศ

ที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณ

มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมี

สัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๘๑] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของพวกเรานี้

อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน

ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา คือว่า ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรม

เทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระ-

สมณโคดม.

[๕๘๒] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของ

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า

เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำพูดนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

[๕๘๓] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททว

สนนิคม เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

[๕๘๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อเช้านี้

ข้าพระองค์ทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสน-

นิคม ข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีความดำริว่า เวลานี้ เราจะเที่ยวไปบิณฑบาต

ยังหลิททวสนนิคมก่อน ก็ยังเช้าอยู่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวก

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด.

[๕๘๕] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปยังอารามของพวกอัญญ-

เดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่าน

การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวก

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้พูดกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า

[๕๘๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมโคดมแสดงธรรมแก่สาวก

ทั้งหลายอย่างนั้นว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อันเป็น

อุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไป

ตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้ง

เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ เป็น

มหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก

ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด

[๕๘๗] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา...

[๕๘๘] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา...

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

[๕๘๙] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด

ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณ

มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมี

สัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๙๐] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวก

ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละนิวรณ์ ๕ อัน

เป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไป

ตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ฯลฯ

[๕๙๑] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา. . .

[๕๙๒] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา. . .

[๕๙๓] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่เถิด

ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณ

มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมี

สัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.

[๕๙๔] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของพวกเรานี้

อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน

ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา คือว่า ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรม

เทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระ-

สมณโคดม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

[๕๙๕] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูด

ของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจ

ว่าเราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำพูดนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

เมตตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ มีอะไรเป็นคติ

[๕๙๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญ

เดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร มี

อะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด กรุณา

เจโตวิมุตติ . . . มุทิตาเจโตวิมุตติ . . . อุเบกขาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญแล้ว

อย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด.

พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนั้นแล้ว จักแก้ไม่ได้เลย

และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง. ข้อนั้น เพราะเหตุไร. เพราะเป็นปัญหา

ที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจาก

ตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคต.

[๕๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญ

แล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไร

เป็นที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์

อันสหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกชาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย

เมตตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ถ้าเธอ

หวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

สำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่า

ไม่ปฏิกูลในสิ่งปฎิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฎิกูลในสิ่งปฎิกูลนั้นอยู่

ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฎิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็

ย่อมมีความสำคัญว่าปฎิกูลในสิ่งไม่ปฎิกูลและสิ่งปฎิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า

เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฎิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความ

สำคัญว่าไม่ปฎิกูลในสิ่งปฏิกูล และในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึง

แยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่

ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เธอย่อม

เข้าถึงสุภวิโมกข์อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเมตตาเจโตวิมุตติว่า มี

สุภวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยวดยิ่งใน

ธรรมวินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.

[๕๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรุณาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญ

แล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไร

เป็นที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัม-

โพชฌงค์ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยกรุณา อาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เรา

พึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฎิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูล

ในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูล

ทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติ

สัมปชัญญะอยู่ในสิ่งทั้งสองนั้น หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงรูปสัญญาเสีย

โดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่ง

นานัตตสัญญา เธอคำนึงอยู่ว่า อากาศไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนะ

อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกรุณาเจโวิมุตติ ว่ามีอากาสานัญจายตนะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

เป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยวดยิ่งในธรรมวินัยนี้

ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.

[๕๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มุทิตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญแล้ว

อย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยมุทิตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่า

ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่. เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่.

ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสองนั้นออกเสียแล้ว

วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ก็ย่อมวางเฉย ที่สติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่

หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะเสียโดยประการทั้งปวง เธอ

คำนึงอยู่ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนะอยู่ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวมุทิตาเจโตวิมุตติว่า มีวิญญาณัญจายตนะเป็นอย่างยิ่ง

เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยวดยิ่ง ในธรรมวินัยนี้ ปัญญาของ

เธอจึงยังเป็นโลกีย์.

[๖๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาเจโตวิมุตติอันบุคคลเจริญแล้ว

อย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอุเบกขา อาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ถ้าเธอหวังอยู่ว่า เราพึงมีความ

สำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่

ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่

ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

สำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าปฏิกูลใน

สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูล

ในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและ

ในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงแยกสิ่งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลทั้งสอง

นั้นออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็ย่อมวางเฉย มีสติสัมปชัญญะ

ในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่ หรืออีกอย่างหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะเสียโดย

ประการทั้งปวง เธอคำนึงอยู่ว่า อะไรนิดหนึ่งไม่มี ย่อมบรรลุอากิญจัญญาย-

ตนะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวอุเบกขาเจโตวิมุตติว่า มีอากิญจัญญาย

ตนะเป็นอย่างยิ่ง เพราะภิกษุนั้นยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยวดยิ่ง ในธรรม

วินัยนี้ ปัญญาของเธอจึงยังเป็นโลกีย์.

จบเมตตาสูตรที่ ๔

อรรถกถาเมตตาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเมตตาสูตรที่ ๔.

บทว่า เมตฺตาสหคเตน เจตสา เป็นต้น ทั้งหมดท่านให้พิสดาร

ไว้ในวิสุทธิมรรค โดยอาการทั้งปวงแล้ว. พวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ฟัง

ธรรมเทศนาของพระศาสดาโดยนัยก่อนนั่นแล จึงกล่าวบทแม้นี้ว่า มยมฺปิ

โข อาวุโส สาวกาน เอว ธมฺม เทสม ดังนี้.

ความจริง ในลัทธิของพวกเดียรถีย์ การละนิวรณ์ ๕ หรือการเจริญ

พรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้น ย่อมไม่มี. บทว่า กึ คติกา โหติ คือมีอะไร

สำเร็จ. บทว่า กิมฺปรมา คืออะไรสูงสุด. บทว่า กิมฺผลา คือมีอะไรเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

อานิสงส์. บทว่า กิมฺปริโยสานา คือมีอะไรจบลง. บทว่า เมตฺตาสหคต

ได้แก่ สติสัมโพชฌคงค์อันประกอบเกี่ยวข้องสัมยุตด้วยเมตตา. ในบททั้งปวงก็

นัยนี้แล. บทว่า วิเวกนิสฺสิตา เป็นต้น มีเนื้อความอันกล่าวแล้วแล.

บทว่า อปฺปฏิกูล ความว่า สิ่งไม่ปฏิกูลมี ๒ อย่าง คือไม่ปฏิกูล

ในสัตว์ และไม่ปฏิกูลในสังขาร. อธิบายว่า ในสิงอันน่าปรารถนาอันไม่ปฏิกูล

นั้น. บทว่า ปฏิกูลสฺี คือมีความสำคัญว่า ไม่น่าปรารถนา. ถามว่า

ข้อที่เธอมีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลนั้น อย่างไร จึงอยู่อย่างนี้ได้

ตอบว่าเธอทำในใจว่า ไม่งามแผ่ไปหรือว่าไม่เทียง จึงอยู่อย่างนี้ได้. ข้อนั้น

จริง ตามที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า เธอมีความสำคัญว่า ปฏิกูลในสิ่งไม่

ปฏิกูลอย่างไร เธอย่อมแผ่ไปในสิ่งอันน่าปรารถนา โดยความเป็นของไม่งาม

หรือพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง. แต่เมื่อเธอทำการแผ่เมตตา หรือทำ

ในใจถึงโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งอันเป็นปฏิกูล ไม่น่าปรารถนา ชื่อว่า มี

ความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูลอยู่ เหมือนที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้มีความสำคัญว่า ไม่

ปฏิกูลอยู่อย่างไร เธอแผ่ไปในสิ่งอันไม่น่าปรารถนาโดยเมตตา หรือพิจารณา

โดยความเป็นธาตุ ดังนี้. แม้ในบทที่คลุกเคล้ากันทั้งสอง ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ก็เธอเมื่อทำในใจว่า ไม่งามแผ่ไป หรือว่าไม่เที่ยง นั้นนั่นแล ทั้งในสิ่งไม่

ปฏิกูล และปฏิกูล มีความสำคัญว่า ปฏิกูลอยู่. ก็เธอทำการแผ่เมตตา หรือ

ทำในใจถึงโดยความเป็นธาตุนั้นนั่นแลทั้งในสิ่งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ชื่อว่า มี

ความสำคัญว่า ไม่ปฏิกูลอยู่. แต่เมื่อปรารถนา ฉฬังคุเปกขาอันท่านกล่าวไว้

โดยนัยเป็นต้น ว่า ตาเห็นรูป ไม่ดีใจเลยดังนี้ พึงทราบว่า เธอแยกสิ่งทั้ง

สองนั้น ในสิ่งไม่ปฏิกูล หรือสิ่งปฏิกูลออกเสียแล้ว วางเฉย มีสติสัมปชัญญะ

อยู่ในสิ่งทั้งสองนั้น.

ก็เทศนา พึงแยกออกจากกัน เพราะมรรคโพชฌงค์ และอริยิทธิกับ

วิปัสสนา ทรงแสดงแก่ภิกษุนี้ ผู้ยังฌานหมวด ๓ หรือฌานหมวด ๔ ให้เกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

แล้วด้วยเมตตา ทำฌานนั้นแลให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ส่วนภิกษุใดทำเมตตาฌานนี้ให้เป็นบาทแล้ว แม้

พิจารณาสังขารทั้งหลายอยู่ ยังไม่สามารถจะบรรลุพระอรหัตได้ เพราะเมตตา

มีพระอรหัตเป็นอย่างยิ่งไม่มีแก่ภิกษุนั้น. แต่พึงแสดงข้อที่เมตตามีพระอรหัต

เป็นอย่างยิ่งนั้น. ฉะนั้น ทรงเริ่มเทศนานี้เพื่อแสดงข้อนั้น. แม้ในบทเป็น

ต้นว่า สพฺพโส วา ปน รูปสญฺาน สมติกฺกมฺมา พึงทราบถึงประโยชน์

ในการเริ่มต้นของเทศนา โดยนัยนี้อีกต่อไป.

บทว่า สุภปรม ความว่า มีความงามเป็นที่สุด มีความงามเป็น

ส่วนสุด มีความงามสำเร็จ. บทว่า อิธ ปญฺสฺส ความว่า ปัญญาของเธอ

ในธรรมวินัยนี้ ปัญญาในที่นี้ ยังล่วงโลกนี้ไม่ได้. อธิบายว่า ปัญญานั้นเป็น

โลกิยปัญญา. บทว่า อุตฺตริวิมุตฺตึ อปฺปฏิวิชฺฌโต ความว่า แทงตลอด

โลกุตรธรรมยังไม่ได้. อธิบายว่า ส่วนภิกษุใด ย่อมสามารถเพื่อแทงตลอด

ได้ ภิกษุนั้น ได้เมตตา มีอรหัตเป็นอย่างยิ่ง. แม้ในบทว่า กรุณาเป็นต้น

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสธรรมมีความงาม

เป็นอย่างยิ่งเป็นต้น แห่งธรรมมีเมตตาเป็นต้นเหล่านั้น. ตอบว่า เพราะธรรม

นั้น เป็นอุปนิสัยของภิกษุนั้น ๆ ด้วยอำนาจความเป็นธรรมมีส่วนเสมอกัน.

ความจริง พวกสัตว์ ไม่เป็นสิ่งปฏิกูลสำหรับภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา. ลำดับนั้น

เมื่อเธอนำจิตเข้าไปในสีเขียวเป็นต้น อันเป็นสีบริสุทธิ์ ไม่ปฏิกูล จิตย่อม

แล่นไปในสิ่งอันไม่เป็นปฏิกูลนั้น โดยไม่ยาก เมตตาเป็นอุปนิสสัยปัจจัยแห่ง

สุภวิโมกข์ ด้วยอาการอย่างนั้น หายิ่งกว่านั้นไม่ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า

สุภปรมา ดังนี้แล.

ภิกษุผู้อยู่ด้วยกรุณา พิจารณาเห็นทุกข์ของสัตว์ มีความเดือดร้อน

เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแห่งรูป. โทษในรูป จึงย่อมเป็นอันแสดง เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

ความเป็นไปและความเกิดแห่งกรุณา. ลำดับนั้น เธอเมื่อเพิกซึ่งในบรรดา

กสิณ ๔ มีปฐวีกสิณเป็นต้น กสิณอย่างใดอย่างหนึ่งได้แล้ว เพราะโทษแห่ง

รูปได้รู้หมดแล้ว นำจิตเข้าไปในอากาศเป็นที่สลัดรูปออก จิตย่อมแล่นไปใน

กสิณนั้นโดยไม่ยาก. กรุณาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะด้วย

อาการอย่างนั้น หายิ่งกว่านั้นไม่ เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า อากาสานญฺจาย-

ตนปรมา ดังนี้.

ส่วนภิกษุผู้อยู่ด้วยมุทิตา พิจารณาเห็นความรู้สึกของพวกสัตว์ผู้มี

ปราโมทย์ที่เกิดขึ้น ด้วยทำปราโมทย์นั้น จะมีความรู้สึกได้เพราะความเป็น

ไปและความเกิดแห่งมุทิตา. ลำดับนั้น เมื่อเธอนำจิตเข้าไปในวิญญาณ ล่วง

อากาสานัญจายตนะที่ได้แล้วตามลำดับ แต่ยังมีอากาศนิมิตเป็นอารมณ์จิตย่อม

แล่นไปในอากาศนิมิตนั้น โดยไม่ยาก มุทิตาเป็นอุปนิสสยปัจจัยแก่วิญญา-

ณัญจายตนะด้วยอาการอย่างนั้น หายิ่งกว่านั้นไม่. เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า

วิญฺาณญิจายตนปรมา ดังนี้.

ส่วนภิกษุผู้อยู่ด้วยเบกขา มีจิตลำบากด้วยยึดสิ่งที่ไม่มี เพราะไม่มี

ความห่วงใยว่า ขอสัตว์ทั้งหลายจงมีสุขเถิด หรือจงพ้นทุกข์เถิด หรือว่า จง

อย่าพลัดพรากจากสุขที่ถึงแล้วเถิด ดังนี้ เพราะมุ่งหน้ายึดปรมัตถ์ จากสุข

และทุกข์เป็นต้น. ลำดับนั้น เมื่อเธอนำจิตเข้าไปในความไม่มีแห่งวิญญาณ

เป็นปรมัตถ์ ซึ่งไม่มีอยู่ เพราะเกิดล่วงวิญญาณัญจายตนะที่ได้แล้วตามลำดับ

ของจิต ซึ่งลำบากเพราะยึดสิ่งที่มีอยู่ โดยปรมัตถ์ของจิตซึ่งมุ่งหน้ายึดปรมัตถ์

จิตย่อมแล่นไปในวิญญาณัญจายตนะนั้นโดยไม่ยาก อุเบกขาเป็นอุปนิสสยปัจจัย

แก่อากิญจัญญายตนะด้วยอาการอย่างนั้น หายิ่งกว่านั้นไม่ เพราะฉะนั้นจึงตรัส

ว่า อากิญฺจญฺายตนปรมา ดังว่ามาด้วยประการฉะนี้.

ในที่สุดแห่งเทศนา พวกภิกษุ ๕๐๐ รูปบรรลุพระอรหัต.

จบอรรถกถาเมตตาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

๕. สคารวสูตร

นิวรณ์เป็นเหตุให้มนต์ไม่แจ่มแจ้ง

[๖๐๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อว่าสคารวะ เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

[๖๐๒] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้

มนต์แม้ที่บุคคลกระทำการสาธยายไว้นาน ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้อง

กล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการ. สาธยายะ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็น

เหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน ก็ยังแจ่มแจ้ง

ในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย

[๖๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ สมัยใด

แล บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ไม่

เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง

สมัยนั้น เขาไม่รู้ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์คนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์

บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง

มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่

มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๐๔] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ซึ่งระคนด้วย

สีครั่ง สีเหลือง สีเชียว สีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตน

ในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้

ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็น

จริง ในสมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง

แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองนั้นตาม

ความเป็นจริง มนต์แม้ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้อง

กล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๐๕] ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน

ด้วยพยาบาท อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่อง

สลัดออกซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง . . .

[๖๐๖] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ซึ่งร้อนเพราะ

ไฟเดือดพล่าน มีไอพลุ่งขึ้น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น

ไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใดฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคล

มีใจฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท อันพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบาย

เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง . .

[๖๐๗] ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจ

ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ อันถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป ย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็น

เครื่องสลัดออกซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง. . .

[๖๐๘] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ อันสาหร่าย

และจอกแหนปกคลุมไว้ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น

ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด

บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยถีนมินธะ อันถีนมินธะเหนี่ยวรั้งไว้ และย่อมไม่รู้ ไม่

เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง . . .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

[๖๐๙] ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจ

ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจกุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้

ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอุทธจัจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความ

เป็นจริง.

[๖๑๐] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ อันลมพัดต้อง

แล้วหวั่นไหว กระเพื่อม เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของ

ตนในน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือน

กัน สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ อันอุทธัจจกุกกุจจะ

เหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอุทธัจจ-

กุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง . . .

[๖๑๑] ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด บุคคลมีใจ

ฟุ้งซ่านด้วยยวิจิกิจฉา อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และไม่รู้ ไม่เห็นอุบายเป็น

เครื่องสลัดออกซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริงสมัยนั้น เขาย่อม

ไม่รู้ ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่น

ตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง มนต์แม้ที่

กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้กระทำ

การสาธยาย.

[๖๑๒] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ขุ่นมัวเป็น

เปือกตมอันบุคคลวางไว้ในที่มืด บุรุษผู้มีจักษุ เมือมองดูเงาหน้าา้ของตนใน

น้ำนั้น ไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด

บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วยยวิจิกิจฉา อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวแรงไป และย่อมไม่รู้ ไม่

เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง

สมัยนั้น เขาย่อมไม่รู้ไม่เห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

ประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความ

เป็นจริง มนต์ที่กระทำการสาธยายไว้นาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึง

มนต์ที่มิได้กระทำการสาธยาย

[๖๑๓] ดูก่อนพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่

กระทำการสาธยายไว้นาน ไม่แจ่มแจ้งในบางคราว ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่

มิได้กระทำการสาธยาย.

[๖๑๔] ดูก่อนพราหมณ์ ส่วนสมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วย

กามราคะ ไม่ถูกกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่อง

สลัดออกซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมรู้

ย่อมเห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตาม

ความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตามความเป็นจริง มนต์แม้ที่มิได้

กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน ย่อมแจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่

กระทำการสาธยาย.

[๖๑๕] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำอันไม่ระคนด้วย

สีครั่ง สีเหลือง สีเขียว หรือสีแดงอ่อน บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้า

ของตนในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน

สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยกามราคะ ไม่ถูกกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และ

ย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความ

เป็นจริง ฯลฯ

[๖๑๖] ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจไม่

ฟุ้งซ่าน ด้วยพยาบาท ไม่ถูกพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบาย

เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

[๖๑๗] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ไม่ร้อน

เพราะไฟ ไม่เดือดพล่าน ไม่เกิดไอ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตน

ในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน

สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยพยาบาท ไม่ถูกพยาบาทเหนี่ยวรั้งไป และ

ย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งพยาบาทที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความ

เป็นจริง ฯลฯ

[๖๑๘] ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจไม่

ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ ไม่ถูกถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบาย

เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๑๙] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำอันสาหร่ายและ

จอกแหนไม่ปกคลุมไว้ บุรุษผู้มีจักษุ เมือมองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น พึงรู้

พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจ

ไม่ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ ไม่ถูกถีนมิทธะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็น

อุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งถีนมิทธะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๒๐] ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจไม่

ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้

ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความ

เป็นจริง ฯลฯ

[๖๒๑] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำอันลมไม่พัด

ต้องแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่กระเพื่อม ไม่เกิดเป็นคลื่น บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อ

มองดูเงาหน้าของตนในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด

ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ถูก

อุทธัจจกุกกุวสจะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่ง

อุทธัจจกุกกุจจะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

[๖๒๒] ดูก่อนพราหมณ์ อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจไม่

ฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา ไม่ถูกวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบาย

เป็นเครี่องสลัดออกซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง ฯลฯ

[๖๒๓] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำอันใสสะอาด

ไม่ขุ่นมัว อันบุคคลวางไว้ในที่แจ้ง บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อมองดูเงาหน้าของตน

ในน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน

สมัยใด บุคคลมีใจไม่ฟุ้งซ่านด้วยวิจิกิจฉา ไม่ถูกวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และ

ย่อมรู้ ย่อมเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นและตามความ

เป็นจริง สมัยนั้น เขาย่อมรู้ ย่อมเห็นแม้ซึ่งประโยชน์ตนตามความเป็นจริง

แม้ซึ่งประโยชน์บุคคลอื่นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองอย่างตาม

ความเป็นจริง มนต์แม้ที่มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน ย่อมแจ่มแจ้งได้

ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.

[๖๒๔] ดูก่อนพราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มนต์แม้ที่

มิได้กระทำการสาธยายเป็นเวลานาน ก็ยังแจ่มแจ้งได้ในบางคราว ไม่ต้อง

กล่าวถึงมนต์ที่กระทำการสาธยาย.

[๖๒๕] ดูก่อนพราหมณ์ โพชฌงค์แม้ทั้ง ๗ นี้ มิใช่เป็นธรรมกั้น

มิใช่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลสของใจ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ. โพชฌงค์

๗ เป็นไฉน. คือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์. ดูก่อนพราหมณ์

โพชฌงค์ ๗ นี้แล มิใช่เป็นธรรมกั้น มิใช่เป็นธรรมห้าม ไม่เป็นอุปกิเลส

ของใจ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้

แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

[๖๒๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้นแล้ว สคารวพราหมณ์

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

ไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก

ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบสคารวสูตรที่ ๕

อรรถกถาสคารวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสคารวสูตรที่ ๕.

บทว่า ปเคว แปลว่า ก่อนทีเดียว. บทว่า กามราคปริยุฏฺิเตน

ได้แก่ อันกามราคะเหนี่ยวไว้. บทว่า กามราคปเรเตน ได้แก่ ไปตาม

กามราคะ. บทว่า นิสฺสรณ ความว่า อุบายเครี่องสลัดออกซึ่งกามราคะ

มี ๓ อย่างคือ วิกขัมภนนิสสรณะ สลัดออกด้วยการข่มไว้ ตทังคนิสสรณะ

สลัดออกชั่วคราว สมุจเฉทนิสสรณะ สลัดออกได้เด็ดขาด. ในอุบายเครื่อง

สลัดออก ๓ อย่างนั้น ปฐมฌานในอสุภะ ชื่อว่า สลัดออกด้วยการข่มไว้.

วิปัสสนา ชื่อว่า สลัดออกได้ชั่วคราว อรหัตมรรค ชื่อว่า สลัดออกได้

เด็ดขาด. อธิบายว่า เขาย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดออกแม้สามอย่างนั้น. ใน

บทว่า อตฺตตฺถมฺปีติ เป็นต้น ประโยชน์คนกล่าวคืออรหัต ชื่อว่า ประโยชน์

ของตน. ประโยชน์ของผู้ถวายปัจจัยทั้งหลาย ชื่อว่า ประโยชน์ของคนอื่น.

ประโยชน์แม้สองอย่างนั้นแล ชื่อว่า ประโยชน์ทั้งสอง ในวาระทั้งปวง

พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

ส่วนความต่างกันดังนี้ ก็ในบทว่า พฺยาปาทสฺส นิสฺสรณ เป็นต้น

มีอุบายเครื่องสลัดออกสองอย่าง คือ วิกขัมภนนิสสรณะ การสลัดออกด้วย

การข่มไว้ และสมุจเฉทนิสสรณะ การสลัดออกได้เด็ดขาด ในอุบายทั้ง ๒

นั้น ปฐมฌานในเมตตา สลัดพยาบาทออกได้ด้วยการข่ม. อนาคามิมรรค

สลัดพยาบาทออกได้เด็ดขาด. อาโลกสัญญา สลัดถีนมิทธะออกได้ด้วยการข่ม

อรหัตมรรค สลัดออกได้เด็ดขาด. สมถกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง สลัด

อุทธัจจกุกกุจจะออกได้ด้วยการข่ม. ส่วนในอุทธัจจกุกกุจจะนี้ อรหัตมรรค

เป็นเครื่องสลัดอุทธัจจะออกได้เด็ดขาด. อนาคามิมรรค เป็นเครื่องสลัด

กุกกุจจะออกได้เด็ดขาด. การกำหนดธรรมเป็นเครื่องสลัดวิจิกิจฉาออกได้

ด้วยการข่ม ปฐมมรรค เป็นเครื่องสลัดออกได้เด็ดขาด.

ส่วนในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุปมามีบทว่า เสยฺยถาปิ

พฺราหฺมณ อุทปตฺโต สสฏฺโ ลาขาย วา เป็นต้นใด ในอุปมาเหล่านั้น

บทว่า อุทปตฺโต ได้แก่ ภาชนะเต็มด้วยน้ำ. บทว่า สสฏฺโ ได้แก่

ระคนด้วยอำนาจทำสีให้ต่างกัน . บทว่า อุสฺมาทกชาโต คือมีไอพลุ่งขึ้น

บทว่า เสวาลปณกปริโยนทฺโธ ความว่า อันสาหร่ายอันต่างด้วยพืชงา

เป็นต้น หรืออันจอกแหนมีสีหลังเขียวเกิดขึ้นปิดหลังน้ำปกคลุมไว้ บทว่า

วาเตริโต ได้แก่ ถูกลมพัดหวั่นไหว. บทว่า อาวิโล คือ ไม่ใส บทว่า

ลุฬิโต คือ ไม่นิ่ง. บทว่า กลลีภูโต คือ เปือกตม. บทว่า อนฺธกเร

นิกฺขตฺโต ได้แก่ อันบุคคลวางไว้ในที่ไม่สว่าง มีระหว่างฉางเป็นต้นเป็น

ประเภท. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกลับเทศนาจากภพทั้งสาม

แล้วทรงให้เทศนาจบลงด้วยธรรมอันเป็นยอดคืออรหัต. ส่วนพราหมณ์ตั้ง

อยู่แล้วในทางอันสงบ.

จบอรรถกถาสคารวสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

๒. อภยสูตร

ความไม่รู้ความไม่เห็นมีเหตุมีปัจจัย

[๖๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุง

ราชคฤห์ ครั้งนั้น อภัยราชกุมารเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

แล้วได้ตรัสทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

[๖๒๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปุรณกัสสปกล่าวอย่างนั้นว่า เหตุไม่มี

ปัจจัยไม่มี เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ไม่

มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้

ความเห็น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ดังนี้. ในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้อย่างไร.

[๖๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนราชกุมาร เหตุมี

ปัจจัยมี เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ

มีปัจจัย เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น

มีเหตุ มีปัจจัย.

[๖๓๐] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุเป็นไฉน ปัจจัยเป็นไฉน

เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ มีปัจจัย

อย่างไร.

[๖๓๑] พ. ดูก่อนราชกุมาร สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่านด้วย

กามราคะ อันกามราคะเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ ไม่เห็น อุบายเป็นเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

สลัดออกซึ่งกามราคะที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ

เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ

มีปัจจัย แม้ด้วยประการฉะนี้.

[๖๓๒] ดูก่อนราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน

ด้วยพยาบาท. . .

[๖๓๓] ดูก่อนราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจ

ฟุ้งซ่านด้วยถีนมิทธะ. . .

[๖๓๔] ดูก่อนราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน

ด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ . . .

[๖๓๕] ดูก่อนราชกุมาร อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีใจฟุ้งซ่าน

ด้วยวิจิกิจฉา อันวิจิกิจฉาเหนี่ยวรั้งไป และย่อมไม่รู้ไม่เห็นอุบายเป็นเครื่อง

สลัดออกซึ่งวิจิกิจฉาที่บังเกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ

เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น มีเหตุ

มีปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

[๖๓๖] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ ชื่ออะไร.

พ. ดูก่อนราชกุมาร ธรรมเหลานี้ ชื่อ นิวรณ์.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต นิวรณ์

เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลถูกนิวรณ์แม้อย่างเดียวครอบงำแล้ว

ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ จะกล่าวไปไยถึงการถูกนิวรณ์ทั้ง ๕

ครอบงำแล้ว.

[๖๓๗] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหตุเป็นไฉน ปัจจัยเป็นไฉน

เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็น มีเห็น มีปัจจัย อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

[๖๓๘] พ. ดูก่อนราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติ-

สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

เธอเจริญสติสัมโพฌงค์อยู่ ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ด้วยจิตนั้น

แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้

ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

[๖๓๙] ดูก่อนราชกุมาร อีกประการหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุย่อมเจริญ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ เธอเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อยู่ ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง

ด้วยจิตนั้น แม้ข้อนี้แล ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความรู้ เพื่อความเห็น

ความรู้ ความเห็น มีเหตุ มีปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

[๖๔๐] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ ชื่ออะไร.

พ. ดูก่อนราชกุมาร ธรรมเหล่านั้น ชื่อ โพชฌงค์.

อ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต

โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์

แม้อย่างเดียว พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริงได้ จะกล่าวไปไยถึงการที่

ประกอบด้วยโพชฌงค์ทั้ง ๗ เล่า. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ขึ้น

ภูเขาคิชฌกูฏ แม้ความเหน็ดเหนื่อยกาย ความเหน็ดเหนื่อยใจ ของข้าพระองค์

ก็สงบระงับแล้ว และธรรมข้าพระองค์ก็ได้บรรลุแล้ว.

จบอภยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

อรรถกถาอภยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอรรถกถาอภยสูตรที่ ๖.

บทว่า อญฺาณาย อทสฺสนาย ได้แก่ เพื่อความไม่รู้ เพื่อความ

ไม่เห็น. บทว่า ตคฺฆ ภควา นีวรณา ได้แก่ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

นิวรณ์โดยส่วนเดียว. บทว่า กายกิลมโถ คือ ความกระวนกระวายทางกาย.

บทว่า จิตฺตถิลมโถ คือ ความกระวนกระวายทางจิต. บทว่า โสปิ เม

ปฏิปฺปสฺสทฺโธ ความว่า ได้ยินว่า ความกระวนกระวายกายของพระราชกุมาร

นั้น เข้าไปยังที่สัปปายะแห่งฤดูก็เยือกเย็น นั่งในสำนักของพระศาสดาก็สงบ

ระงับแล้ว . เมื่อกายนั้นสงบ แม้ความกระวนกระวายจิต ก็สงบ โดยคล้อยตาม

กายนั้นแล. อีกอย่างหนึ่ง ความกระวนกระวายกายและจิตแม้ทั้งสองนั้นของ

พระราชกุมารนั้น พึงทราบว่า สงบระงับแล้วด้วยมรรคนั้นแล

จบอรรถกถาอภยสูตรที่ ๖

จบหมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ที่ ๖ แห่งโพชฌงค์สังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาหารสูตร ๒. ปริยายสูตร ๓. อัคคิสูตร ๔. เมตตาสูตร

๕. สคารวสูตร ๖. อภยสูตร

จบหมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ที่ ๖ แห่งโพชฌงค์สังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

อานาปานาทิเปยยาลที่ ๗ แห่งโพชฌงค์

อัฏฐิกสัญญามีผล ๒ อย่าง

[๖๔๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. ก็อัฏฐิกสัญญา

อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มี

อานิสงส์มาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัม-

โพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย

อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างนั้นแล กระทำ

ให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๖๔๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัฏฐิกสัญญา

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใด

อย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่

เป็นพระอนาคามี. ก็เมื่ออัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำ

ให้มากแล้วอย่างไร พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผล

ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย

อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึง

หวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือ

เมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.

[๖๔๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏริกสัญญาอันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก. ก็อัฏฐิกสัญญา

อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์มาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัม-

โพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย

อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลผู้เจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำ

ให้มากแล้วอย่างนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก.

[๖๔๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่.

ก็อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อม

เป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน

สหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล

กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่.

[๖๔๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญาอันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก. ก็อัฏฐิกสัญญา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความ

สังเวชมาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์

อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป

ในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้ว

อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสังเวชมาก.

[๖๔๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อยู่เป็นผาสุกมาก. ก็อัฏฐิก-

สัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไป

เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

สติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย

นิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย

อัฏฐิกสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัฏฐิกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้

มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.

[๖๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุฬวกสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

[๖๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วินีลกสัญญา ฯลฯ

[๖๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิจฉิททกสัญญา ฯลฯ

[๖๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุทธุมาตกสัญญา ฯลฯ

[๖๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

[๖๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรุณา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

[๖๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มุทิตา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

[๖๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาอันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

[๖๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

[๖๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

[๖๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรณสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว ฯลฯ

[๖๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา ฯลฯ

[๖๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัพพโลเก อนภิรคสัญญา ฯลฯ

[๖๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจขิสัญญา ฯลฯ

[๖๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจเจ ทุกขสัญญา ฯลฯ

[๖๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกเข อนัตตสัญญา ฯลฯ

[๖๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปหานสัญญา ฯลฯ

[๖๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิราคสัญญา* ฯลฯ

[๖๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก. ก็นิโรธสัญญา อันบุคคล

เจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อัน

สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างนั้นแล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อม

มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๖๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผล

ในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่เหลือเป็นพระอนาคามี แม้นิโรธ

* ตั้งแต่ข้อ ๖๔๗ ถึงข้อ ๖๖๔ มีเนื้อความเหมือนข้ออัฏฐิกสัญญา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

สัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร พึงหวังผล

ได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความ

ยึดถือเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป

ในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วอย่าง

นี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนั้น พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง

คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.

[๖๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิโรธสัญญา อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะ

มาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อยู่เป็นผาสุกมาก. ก็นิโรธสัญญา อันบุคคล

เจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก

เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก เพื่อยู่เป็นผาสุกมาก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อัน

สหรคตด้วยนิโรธสัญญา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยนิโรธสัญญา

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้ง หลาย

นิโรธสัญญา อัน บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้แล กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อม

เป็นไปเพื่อประโยชน์มาก เพื่อความเกษมจากโยคะมาก เพื่อความสังเวชมาก

เพื่ออยู่เป็นผาสุกมาก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

[๖๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง

ไปสู่ทิศปราจีน ป่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อม

เป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน

ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างไร ย่อมเป็นผู้

น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนั้นแล ย่อมเป็นผู้

น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

(พึงขยายความบาลีไปจนกระทั่งถึงการแสวงหา)

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕

[๖๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการ

เหล่านี้. ๕ ประการเป็นไฉน. คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา.

สั่งโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายโพชฌงค์ ๗

อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่งเพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์

อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้. โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ดูก่อนภิกษุทั้ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

หลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้

เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.

[๖๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง

ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำ

ให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ก็ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน

ไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน. ก็ภิกษุผู้เจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่ง

โพชฌงค์ ๗ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน

ไปสู่นิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัม-

โพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัด

โมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด

มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเจริญโพชฌงค์ ๗ กระทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อย่างนั้นแล ย่อมเป็นผู้

น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

(พึงขยายความบาลี ตั้งแต่การกำจัดราคะเป็นที่สุดเช่นนี้ไป

จนถึงการแสวงหา)

[๖๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการ

เหล่านี้. ๕ ประการเป็นไฉน. คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ

อวิชชา. สังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โพชฌงค์ ๗ อัน ภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป

เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล. โพชฌงค์ ๗ เป็น

ไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์

มีอัน กำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัด

โทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป

เพื่อละสังโยชน์อัน เป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล.

(พึงขยายความโพชฌงค์สังยุต เหมือนมรรคสังยุต)

เรื่องในวรรคนี้ คือ

๑. อัฏฐิกสัญญา ๒. ปุฬวกสัญญา ๓. วินีลกสัญญา ๔. วิจฉิททก-

สัญญา ๕. อุทธุมาตกสัญญา ๖. เมตตา ๗. กรุณา ๘. มุทิตา ๙. อุเบกขา

๑๐. อานาปานสติ.

จบอานาปานวรรคที่ ๗ แห่งโพชฌงค์สังยุต

๑. อสุภสัญญา ๒. มรณสัญญา ๓. อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๔. สัพพ-

โลเกอนภิรตสัญญา ๕. อนิจจสัญญา ๖. อนิจเจทุกขสัญญา ๗. ทุกเธอนัตต

สัญญา ๘. ปหานสัญญา ๙. วิราคสัญญา ๑๐. นิโรธสัญญา.

จบนิโรธวรรคที่ ๘ แห่งโพชฌงค์สังยุต

[๖๗๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่

ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีนฉันใด ฯลฯ

แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่สมุทร

ทั้ง ๒ อย่าง ๆ ละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าวรรค.

จบคังคาเปยยาลที่ ๙

[๖๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ไม่มีเท้าก็ดี ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้า

ก็ดี เท้ามากก็ดี มีประมาณเท่าใด พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัว

อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร

๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

(พึงขยายความอัปปมาทวรรค ด้วยสามารถโพชฌงค์ แห่ง

โพชฌงคสังยุต)

จบอัปปมาทวรรคที่ ๑๐ แห่งโพชฌงค์สังยุต

[๖๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใด

อย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคล

อาศัยแผ่นดินดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้ ฯลฯ

(พึงขยายเนื้อความอย่างที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง)

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร

๖. สุกสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร ๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวา

สูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร

(พึงขยายความพลกรณียวรรค ด้วยสามารถโพชฌงค์ แห่ง

โพชฌงคสังยุต)

จบพลกรณียวรรคที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

[๖๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างเหล่านี้. ๓ อย่าง

เป็นไฉน. คือ การเเสวงหากาม ๑ กามแสวงหาภพ ๑ การแสวงพรหมจรรย์ ๑

(พึงขยายเนื้อความที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง.)

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕.ปฐมทุกข-

สูตร ๖ . ทุติยทุกขสูตร ๗. ตติยทุกขสูตร ๘. ขีลสูตร ๙. มลสูตร

๑๐. นีฆสูตร ๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร.

(เอสนาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต บัณฑิตพึงให้พิสดาร

โดยอาศัยวิเวก)

จบเอสนาวรรคที่ ๑๒

โอฆะ ๔

[๖๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอฆะ ๔ ประการเหล่านั้น. ๔ ประการ

เป็นไฉน. ได้แก่ โอฆะคือกาม โอฆะคือภพ โอฆะคือทิฐิ โอฆะคืออวิชชา

(พึงขยายเนื้อความดังที่กล่าวนี้เป็นตัวอย่าง).

[๖๗๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วน

เบื้องสูง ๕ ประการเหล่านี้. ๕ ประการเป็นไฉน. คือ รูปราคะ อรูปราคะ

มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการนี้แล. ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้

เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการเหล่านี้แล.

โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติ

สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อม

ไปในการสละ. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด. มีอันกำจัด

โทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด.

ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็น

ที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะมีอมตะเป็นเบื้องหน้า

มีอมตะเป็นที่สุด. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่

นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่

นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗

เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป

เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ ประการเหล่านี้แล.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร

๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. ขันธสูตร ๙. อุทธัม-

ภาคิยสูตร

จบโอฆวรรคที่ ๑๓

แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง ๖ สายไหลไปสู่สมุทร

ทั้ง ๒ อย่างนั้น อย่างละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าวรรค

(คังคาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายความด้วยสามารถ

แห่งราคะ)

จบวรรคที่ ๑๔

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร

๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

(อัปปมาทวรรค พึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถ

แห่งราคะ)

จบวรรคที่ ๑๕

๑. พลสูตร ๒. พีชสูตร ๓. นาคสูตร ๔. รุกขสูตร ๕. กุมภสูตร

๖. สุภสูตร ๗. อากาสสูตร ๘. ปฐมเมฆสูตร ๙. ทุติยเมฆสูตร ๑๐. นาวา

สูตร ๑๑. อาคันตุกสูตร ๑๒. นทีสูตร.

(พลกรณียวรรคแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายเนื้อความให้

พิสดารด้วยสามารถแห่งราคะ)

จบวรรคที่ ๑๖

๑. เอสนาสูตร ๒. วิธาสูตร ๓. อาสวสูตร ๔. ภวสูตร ๕. ปฐม

ทุกขสูตร ๖. ทุติยทุกขสูตร ๗. ตติยทุกขสูตร ๘. ขีลสูตร ๙. มลสูตร

๑๐. นีฆสูตร ๑๑. เวทนาสูตร ๑๒. ตัณหาสูตร.

จบเอสนาวรรคแห่งโพชฌงค์สังยุตที่ ๑๗

๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร

๕. อนุสยสูตร ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. ขันธสูตร ๙. อุทธัม-

ภาคิยสูตร.

(โอฆวรรคพึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งการ

กำจัดราคะเป็นที่สุด การกำจัดโทสะเป็นที่สุด และการกำจัดโมหะ

เป็นที่สุด)

จบวรรคที่ ๑๘

(มรรคสังยุคแม้ใด ขยายเนื้อความให้พิสดารแล้ว โพชฌงค

สังยุต แม้นั้น ก็พึงขยายเนื้อความให้พิสดาร)

จบโพชฌงค์สังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

อรรถกถาอานาปานาทิเปยยาลที่ ๗*

อรรถกถาอัฏฐิกสัญญา

พึงทราบวินิจฉัยในอัฏฐิกสัญญา ในอานาปานวรรคที่ ๗ เป็นต้น.

บทว่า อฏฺิกสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า

กระดูก กระดูก ดังนี้. ก็เมื่อเจริญอัฏฐิกสัญญานั้นอยู่ ผิวก็ดี หนังก็ดี

ย่อมปรากฏตลอดเวลาที่นิมิตยังไม่เกิดขึ้น เมื่อนิมิตเกิดขึ้น ผิวและหนังย่อม

ไม่ปรากฏเลย. อนึ่ง โครงกระดูก. ล้วนมีสีดุจสังข์ ย่อมปรากฏ ดังที่ปรากฏ

แก่สามเณรผู้แลดูพระเจ้าติสสะ ผู้ทรงธรรมอยู่บนคอข้าง และแก่พระติสสเถระ

ผู้อยู่ที่เจติยบรรพต ผู้แลดูหญิงกำลังหัวเราะในที่สวนทาง. เรื่องทั้งหลาย

ขยายให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า

เมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่.

จบอรรถกถาอัฏฐิกสัญญา

ว่าด้วยปุฬุวกสัญญา

บทว่า ปุฬุวกสญฺ ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า

มีหนอน. แม้ในบทว่า วินีลกสัญญาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน . ส่วนในข้อนี้

เรื่องวินิจฉัยกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคกับนัยภาวนา. พรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้น

พึงทราบด้วยอำนาจฌานหมวด ๓-๔. อุเบกขา ด้วยอำนาจฌานที่ ๔ แล.

จบอรรถกถาปุฬุวกสัญญา

* อรรถกถาเป็นวรรคที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

ว่าด้วยอสุภสัญญาเป็นต้น

บทว่า อสุภสญฺา ได้แก่ ปฐมฌานสัญญาในอสุภะ. บทว่า

มรณสญฺา ความว่า สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาอยู่เนือง ๆ ว่า เราต้อง

ตายแน่ ชีวิตของเราเนืองด้วยความตาย. บทว่า อาหาเร ปฏิกูลสญฺา

ความว่า ในข้าวสุกและขนมสดเป็นต้น เป็นปฏิกูลสัญญา สำหรับผู้กลืนกินเท่า

นั้น. บทว่า สพฺพโลเก อนภีรตสญฺา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ผู้ให้

ความไม่ยินดีเกิดขึ้นอยู่ในโลกทั้งสิ้น.

บุพภาค ๒ คือ ปหานสัญญา วิราคสัญญา คือ คลุกเคล้าด้วย

นิโรธสัญญา. ท่านแสดงกัมมัฏฐาน ๒๐ มีอัฏฐิกสัญญาเป็นต้นเหล่านั้น

ด้วยประการฉะนั้นแล. กัมมัฏฐาน ๒๐ เหล่านั้น ๙ เป็นอัปปนา ๑๑ เป็น

อุปจารฌาน. ส่วนในข้อนี้ เรื่องวินิจฉัยที่เหลือมาแล้วในวิสุทธิมรรคแล.

คงคาเปยยาลเป็นต้น พึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้ว ในมรรคสังยุตแล.

จบอรรถกถาโพชฌงค์สังยุต

ในอรรถกลาสังยุตตนิกายชื่อสารัตถปกาสินี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

สติปัฏฐานสังยุต

อัมพปาลิวรรคที่ ๑

๑. อัมพปาลิสูตร

ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔

[๖๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน ใกล้กรุงเวสาลี

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

[๖๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความ

บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความ

ดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง.

หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน.

[๖๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกาย

ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน

โลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

[๖๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความ

บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความ

ดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง

หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ฉะนั้นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

จบอัมพปาลิสูตรที่ ๑

สติปัฏฐานสังยุตตวรรณนา

อรรถกถาอัพปาลิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัมพปาลิสูตรที่ ๑ แห่งสติปัฏฐานสังยุต.

บทว่า อมฺพปาลิวเน ได้แก่ ในสวนมะม่วง อันหญิงผู้เข้าไป

อาศัยรูปเลี้ยงชีพ ชื่ออัมพปาลี ปลูกไว้. สวนมะม่วงนั้น จึงได้เป็นสวน

ของนางอัมพปาลี. นางอัมพปาลีนั้น ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา

มีจิตเลื่อมใส จึงสร้างวิหารไว้ ณ ที่นั้น มอบถวายแด่พระตถาคต. บทว่า

อมฺพปาลีวเน นี้ ท่านกล่าวหมายถึง วิหารนั้น. บทว่า เอกายนฺวาย

ตัดบทเป็น เอกายโน อย แปลว่า นี้เป็นทางเดียว. ในบทเหล่านั้น บทว่า

เอกายโน แปลว่า ทางเดียว.

ทาง มีชื่อมาก ว่า มรรค ปันถะ ปถะ ปัชชะ อัญชสะ วฏุมะ

อายนะ นาวา อุตตรเสตุ กุลละ ภิสิสังกมะ ดังนี้. ในที่นี้ ท่านกล่าวถึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

ทางนี้นั้น โดยชื่อ อยนะ. เพราะฉะนั้น ในบทว่า เอกายนฺวาย ภิกฺขเว

มคฺโค พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว

ไม่เป็นทางสองแพร่ง. บทว่า มคฺโค ชื่อว่า มรรค ด้วยอรรถอะไร.

ด้วยอรรถเป็นเครื่องแสวงหานิพพาน และด้วยอรรถอันผู้มีความต้องการ

นิพพานพึงแสวงหา. บทว่า สตฺตาน วิสุทฺธิยา ได้แก่ เพื่อความบริสุทธิ์

แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว ด้วยมลทินมีราคะเป็นต้นและด้วยอุป-

กิเลสมีอภิชฌาวิสมโลภะเป็นต้น. บทว่า โสกปริเทวาน สมติกฺกมาย

ความว่า เพื่อก้าวล่วงคือเพื่อละความโศกและความพร่ำเพ้อ. บทว่า ทุกฺขโท-

มนสฺสาน อตฺถงฺคมาย ความว่า เพื่อความสิ้นไปคือเพื่อความดับแห่งทุกข์

และโทมนัสทั้งสองเหล่านี้ คือ ทุกข์อันเป็นไปทางกาย และโทมนัส

อันเป็นไปทางจิต. บทว่า ายสฺส อธิคมาย ความว่า อริยมรรคมีองค์ ๘

ท่านเรียกว่า าย. ท่านอธิบายว่า เพื่อบรรลุ คือ เพื่อถึงอริยมรรคนั้น.

จริงอยู่ มรรคคือสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะ เป็นส่วนเบื้องต้นนี้

อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุถึงโลกุตรมรรคะ ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ายสฺส อธิคมาย ดังนี้. บทว่า นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย

ท่านอธิบายว่า เพื่อทำให้แจ้ง คือ เพื่อให้ประจักษ์แก่ตน แห่งอมตธรรม

อันได้ชื่อว่า นิพพาน เพราะเว้นจากเครื่องร้อยรัดคือตัณหา. จริงอยู่ มรรค

นี้ยังสัจฉิกิริยาให้สำเร็จ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพานสฺส

สจฺฉิกิริยาย ดังนี้. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคุณของ

เอกายนมรรคด้วยบท ๗ บท. หากถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสคุณของเอกายนมรรคนั้น. ตอบว่า เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายเกิดอุตสาหะ.

จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้นครั้นฟังการกล่าวถึงคุณแล้ว เกิดความอุตสาหะว่า

นัยว่า มรรคนี้ ย่อมกำจัดอุปัทวะ ๔ คือ ความโศกอันเผาหัวใจ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

ปริเทวะอันเป็นความพร่ำเพ้อ ๑ ทุกข์อันเป็นความไม่สำราญทางกาย ๑

โทมนัสอันเป็นความไม่สำราญทางใจ ๑ ย่อมนำมาซึ่งคุณวิเศษ ๓ คือ

ความบริสุทธิ์ ๑ อริยมรรค ๑ นิพพาน ๑ จักสำคัญเทศนานี้ ควรถือเอา

ควรเรียน ควรทรงไว้ และมรรคนี้ ควรทำให้เกิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสคุณเพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดอุตสาหะดุจพ่อค้าผ้ากัมพลเป็นต้น กล่าวถึง

คุณของผ้ากัมพลเป็นต้น ฉะนั้น.

บทว่า ยทิท เป็นนิบาต. มีความเท่ากับ เย อิเม. บทว่า

จตฺตาโร ได้แก่ กำหนดจำนวน. ด้วยการกำหนดจำนวนนั้น ท่านแสดง

กำหนดสติปัฏฐานว่า ไม่ต่ำ ไม่สูงไปจากนี้. บทว่า สติปฏฺานา ได้แก่

สติเป็นที่ตั้ง ๓ คือ สติเป็นโคจรบ้าง ความที่ศาสดาล่วงปฏิฆะและตัณหา

ในเมื่อสาวกทั้งหลายปฏิบัติสามอย่างบ้าง ตัวสติบ้าง. จริงอยู่ สติเป็นโคจร

ท่านกล่าวว่า สติปัฏฐานในพระบาลีมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง

ความเกิดและความดับของสติปัฏฐาน ๔ พวกเธอจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็อะไรเป็นความเกิดของกาย เพราะอาหารเป็นเหตุเกิด กายจึงเกิดดังนี้.

กายเป็นที่ตั้งอย่างนั้น ไม่ใช่สติแม้ในบาลีมีอาทิว่า สติอุปฏฺานญฺเจว สติ จ

ดังนี้. มีความว่า ชื่อว่า ปัฏฐานะ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้ง. ถามว่า อะไร ตั้ง.

ตอบว่า สติ. ความตั้งแห่งสติ ชื่อว่า สติปัฏฐานดุจที่ตั้งแห่งช้างและที่ตั้งแห่งม้า

เป็นต้น. สติปัฏฐาน ๓ ท่านกล่าวว่า สติปัฏฐาน เพราะความที่ศาสดาล่วง

ปฏิฆะและตัณหา ในเมื่อสาวกทั้งหลายปฏิบัติ ๓ ส่วน ในบทนี้ว่า พระอริยะ

ย่อมเสพธรรมใด เมื่อเสพธรรมใด ศาสดาย่อมควรเพื่อสั่งสอนคณะ.

มีความว่า ชื่อปัฏฐานะ เพราะควรให้ตั้งไว้. อธิบายว่า เพราะควรให้เป็นไป.

ควรให้ตั้งไว้ด้วยอะไร. ด้วยสติ. การตั้งไว้ด้วยสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน. ก็สติ

นั้นแล ท่านกล่าวว่า สติปัฏฐานในบาลีอาทิว่า สติปัฏฐาน ๔ ที่บุคคล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์. มีความว่า ชื่อ

ปัฏฐาน เพราะอรรถว่า ตั้งไว้ อธิบายว่า ย่อมเข้าไปตั้งไว้ คือ ยึดหน่วงเหนี่ยว

ไว้เป็นไป. สตินั่นแล ชื่อสติปัฏฐาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติ เพราะอรรถว่า

เป็นเครื่องระลึกถึง ชื่อปัฏฐานะ เพราะอรรถว่า เข้าไปตั้งไว้ เพราะอรรถว่า

เป็นที่ตั้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน เพราะสติด้วย เป็นที่ตั้งด้วย.

ท่านประสงค์สติปัฏฐานนี้ ในที่นี้. ผิอย่างนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงทำให้

เป็นพหูพจน์ว่า สติปัฏฐานา เพราะสติมีอยู่มาก. จริงอยู่ สติมีมาก โดย

ความต่างแห่งอารมณ์. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร บทว่า มคฺโค จึง

เป็นเอกพจน์ เพราะมีอย่างเดียว โดยอรรถว่า มรรค. จริงอยู่ สติเหล่านั้น

แม้มี ๔ อย่าง ก็ถึงความเป็นอันเดียวกัน โดยอรรถแห่งมรรค. ดังที่ท่าน

กล่าวว่า บทว่า มคฺโค ชื่อว่า มรรค ด้วยอรรถอย่างไร ด้วยอรรถว่า

แสวงหาพระนิพพาน และด้วยอรรถว่า อันผู้มีความต้องการพระนิพพานพึง

แสวงหา. แม้สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ยังกิจให้สำเร็จในอารมณ์ทั้งหลายมีกาย

เป็นต้น ในเวลาต่อมา ย่อมบรรลุนิพพาน ผู้ต้องการนิพพานทั้งหลาย ย่อม

แสวงหา จำเติมแต่ต้นด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานแม้ ๔ ท่าน

เรียกว่า ทางเอก. เทศนาพร้อมทั้งอนุสนธิ ย่อมมีโดยการสืบต่อถ้อยคำแห่ง

สติ ด้วยประการฉะนี้แล.

บทว่า กตเม จตฺตาโร คือ ถามประสงค์จะให้ตอบ. บทว่า กาเย

คือ รูปกาย. บทว่า กายานุปสฺส ความว่า ภิกษุผู้ปกติพิจารณาเห็นกาย

หรือว่า พิจารณาเห็นกายอยู่. ก็ภิกษุนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความ

เป็นของไม่เที่ยง ด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น

หาพิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยงไม่ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์

หาพิจารณาเห็นโดยความเป็นสุขไม่ ย่อมพิจารณาเห็นโดยความมิใช่ตน หา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

พิจารณาเห็นโดยความเป็นตนไม่ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมยินดีหามิได้ ย่อม

คลายกำหนัด ย่อมกำหนัดหามิได้ ย่อมดับ ย่อมเกิดขึ้นหามิได้ ย่อมสละคืน

ย่อมยึดถือหามิได้. พึงทราบว่า ภิกษุนั้น เมื่อพิจารณาเห็นกายนั้น โดย

ความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาเสียได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความ

เป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญา เมื่อพิจารณาเห็นโดยความมิใช่ตน ย่อมละอัตต-

สัญญา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดี เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะ

เมื่อดับ ย่อมละเหตุเกิดทุกข์ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดมั่นเสียได้ดังนี้.

บทว่า วิหรติ คือเคลื่อนไหวอยู่. บทว่า อาตาปี ชื่อว่า อาตาปะ

เพราะอรรถว่า ย่อมเผากิเลสทั้งหลายในภพสาม. บทนี้เป็นชื่อของความเพียร

ชื่อว่า อาตาปี เพราะอรรถว่า มีความเพียร. บทว่า สมฺปชาโน ความว่า

ภิกษุผู้ประกอบด้วยญาณกล่าวคือสัมปชัญญะ. บทว่า สติมา ความว่า ผู้

ประกอบด้วยสติกำหนดที่กาย. ก็เพราะภิกษุนี้ กำหนดอารมณ์ด้วยสติแล้ว

จึงพิจารณาเห็นด้วยปัญญา. แต่ธรรมดาว่า การพิจารณาเห็น ย่อมไม่มีแก่

ภิกษุ ผู้เว้นสติ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็แลเรากล่าวสติว่า จำปรารถนาในที่ทั้งปวง. ฉะนั้น กายานุปัสสนา

สติปัฎฐาน ย่อมเป็นอันตรัสแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ในที่นี้ว่า กาเย

กายานุปสฺสี วิหรติ เป็นอาทิ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะความสังเขปเกินไป

ย่อมทำอันตรายแก่ภิกษุผู้ไม่มีความเพียร คือผู้ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมลุ่มหลง

ในการกำหนดเอาสิ่งที่เป็นอุบาย และในการหลีกเว้นสิ่งที่มิใช่อุบาย ผู้ลืมสติ

ย่อมไม่สามารถในการสละสิ่งที่มิใช่อุบาย และในการกำหนดเอาสิ่งที่เป็นอุบาย

ได้. ด้วยเหตุนั้น กัมมัฎฐานนั้น จึงไม่ถึงพร้อมแก่ภิกษุนั้น เพราะฉะนั้น

กัมมัฏฐานนั้น ย่อมถึงพร้อมด้วยอานุภาพแห่งธรรมเหล่าใด พึงทราบว่า

ข้อนี้ท่านกล่าวว่า มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ ดังนี้ เพื่อแสดงธรรม

เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน และองค์

เเห่งความเพียรแก่ภิกษุนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงองค์แห่งการละ. จึงตรัสว่า

วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺส ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

วิเนยฺย ความว่า กำจัดแล้วด้วยการกำจัดชั่วคราว หรือด้วยการกำจัดในการ

ข่มไว้. บทว่า โลเก คือในกายนั้นเท่านั้น. ก็กายท่านประสงค์เอาว่า โลก

ด้วยอรรถว่าแตกสลายในที่นี้. ก็เพราะภิกษุนั้น มิใช่ละอภิชฌาและโทมนัส

ได้ในเพราะพิจารณาเพียงกายอย่างเดียว แม้ในเวทนาเป็นต้น ก็ละได้เหมือน

กัน. ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็เป็นโลก.

อนึ่ง ข้อนั้น. ท่านกล่าวโดยนัยขยายเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะความ

ที่กายนั้นเนื่องอยู่ในโลก ก็ท่านกล่าวว่า ในข้อนั้น โลกเป็นไฉน โลกนั้น

คือกาย. นี้เป็นความหมายในข้อนี้ ผู้ศึกษาพึงเห็นสัมพันธ์อย่างนี้ว่า ละ

อภิชฌาและโทมนัสในโลกนั้นเสียได้.

ในบทว่า เวทนาสุ นี้ มีเวทนาสาม. เวทนาเหล่านั้นเป็นโลกิยะ

ทั้งนั้น แม้จิตก็เป็นโลกิยะ ธรรมทั้งหลายก็อย่างนั้น เหมือนบุคคลพึง

พิจารณาเห็นเวทนาโดยประการใด ภิกษุนี้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยประการนั้น

พึงทราบว่า เวทนานุปัสสี. ในจิตและธรรมทั้งหลายก็มีนัยนี้. ถามว่า

เวทนา บุคคลพึงพิจารณาเห็นอย่างไร. ตอบว่า พึงพิจารณาเห็นสุขเวทนา

โดยความเป็นทุกข์ก่อน ทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร อทุกขมสุข โดย

ความไม่เที่ยง. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ภิกษุใดเห็นสุข โดยความเป็นทุกข์

ได้เห็นทุกข์ โดยความเป็นของเสียดแทง

ความไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอยู่ ได้เห็น

สิ่งนั้น โดยความไม่เที่ยง ภิกษุนั้นแล

ชื่อว่า เห็นชอบ เป็นผู้สงบ จักเที่ยวไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

ควรพิจารณาเห็นเวทนาเหล่านั้นทั้งหมดว่า เป็นทุกข์บ้าง ดังที่ท่าน

กล่าวว่า เราเห็นว่า สิ่งที่เสวยแล้วทั้งหมดนั้นอยู่ในทุกข์ และควรพิจารณา

เห็นโดยความเป็นสุขและทุกข์บ้าง. สมดังที่ท่านกล่าวว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ

สุขเวทนาแลเป็นสุขเพราะความตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน.

ทั้งหมดควรให้พิสดาร. ก็และควรพิจารณา แม้ด้วยสามารถแห่งอนุปัสสนา ๗

มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น . ควรพิจารณาตามซึ่งจิต แม้ในธรรมว่า ด้วยจิต

ด้วยสามารถแห่งประเภทอันเป็นความต่างกัน มีอารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย

สหชาตปัจจัย ภูมิ กรรม วิบากและกิริยาจิตเป็นต้น และประเภทแห่งจิต

มีราคะเป็นต้น อันเป็นอนุปัสสนา มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นก่อน.

ควรพิจารณาเห็นธรรม ด้วยสามารถแห่งสามัญญลักษณะพร้อมด้วย

ลักษณะ แห่งสุญญตธรรม แห่งอนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น

และแห่งประเภทมีอาทิว่า กามฉันทะ มีอยู่ในภายใน ดังนี้. ที่เหลือมีนัย

กล่าวไว้แล้ว. นี้เป็นความสังเขปในที่นี้. แต่พึงทราบความพิสดารโดยนัย

ที่กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาสติปัฏฐานทีฆนิกายมัชฌิมปัณณาสก์.

จบอรรถกถาอัมพปาลิสูตรที่ ๑

๒. สติสูตร

ว่าด้วยสติ

[๖๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน

ใกล้กรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย...

แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ

สัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

[๖๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร. ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนี้แล.

[๖๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ

กระทำความรู้สึกตัวในการแล การเหลียว กระทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า

และเหยียดออก กระทำการรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตรและจีวร กระทำ

การรู้สึกตัวในการกิน การดื่ม การลิ้ม กระทำการรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะ กระทำการรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ

สัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย.

จบสติสูตรที่ ๒

อรรถกถาสติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสติสุตรที่ ๒.

บทว่า สโต ได้แก่ ถึงพร้อมแล้วด้วยสติตามเห็นกายเป็นต้น.

บทว่า สมฺปชาโน ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยปัญญา คือ สัมปชัญญะ ๔. ในบทว่า

อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต นี้ การเดินไป ท่านกล่าวว่า ก้าวไปข้างหน้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

การกลับท่านกล่าวว่า ถอยกลับ. แม้ทั้งสองอย่างนั้น ย่อมได้ในอิริยาบถ ๔.

ในการเดินไป เมื่อนำกายไปข้างหน้าก่อน ชื่อว่า ย่อมก้าวไปข้างหน้า.

เมื่อกลับ ชื่อว่า ย่อมถอยกลับ. แม้ในการยืน ผู้ยืนน้อมกายไปข้างหน้า

ก็ชื่อว่า ย่อมก้าวไปข้างหน้า. เมื่อน้อมกายไปข้างหลัง ย่อมชื่อว่า ถอยกลับ.

แม้ในการนั่ง ผู้นั่งหันอวัยวะอันมีในเบื้องหน้าของอาสนะ โน้มไปอยู่ ชื่อว่า

ย่อมก้าวไปข้างหน้า. การยึดอวัยวะอันมีในเบื้องหลัง เอนไปในเบื้องหลัง

ชื่อว่า ย่อมถอยกลับ. แม้ในการนอนก็มีนัยนี้แล.

บทว่า สมฺปชานการี โหติ ได้แก่ กระทำกิจทั้งหมดด้วย

ความรู้ตัว หรือทำความรู้ตัวเท่านั้น. จริงอยู่ เขาย่อมทำความรู้ตัว ในการ

ก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น. ในที่ไหน ๆ ไม่เว้นการรู้ตัว.

ในบทว่า สมฺปชานการี นั้น สัมปชัญญะ มี ๔ อย่าง คือ

สาตถกสัมปชัญญะ ๑ สัปปายสัมปชัญญะ ๑ โคจรสัมปชัญญะ ๑

อสัมโมหสัมปชัญญะ ๑.

ในสัมปชัญญะ ๔ นั้น เมื่อจิตคิดจะก้าวไปข้างหน้า เกิดขึ้น การไม่

ไปตามอำนาจจิต กำหนดถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ว่า การที่เราจะไป

ในที่นี้จะมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์อย่างไรหนอ แล้วยึดถือแต่ประโยชน์

ชื่อว่า สาตถกสัมปชัญญะ. อนึ่ง ความเจริญโดยธรรม ด้วยสามารถ

การเห็นพระเจดีย์ การเห็นที่ตรัสรู้ การเห็นพระสงฆ์ การเห็นพระเถระ

และการเห็นอสุภะเป็นต้น ท่านกล่าวว่า ประโยชน์ในข้อนั้น. บุคคลแม้เห็น

พระเจดีย์ ก็ให้เกิดปีติ มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ มีพระสงฆ์เป็นอารมณ์

ด้วยการเห็นพระสงฆ์ พิจารณาถึงสิ่งนั้นนั่นแล โดยความสิ้นไป ย่อมบรรลุ

พระอรหัตได้. ภิกษุสามหมื่นรูปยืนอยู่ที่ประตูด้านทักษิณ ในมหาวิหาร

แลดูมหาเจดีย์ ได้บรรลุพระอรหัต. ที่ประตูด้านปัจฉิม ด้านอุดร ด้านปราจีน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

ก็เหมือนกัน. ในบาลี ท่านอภยวาสี ได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่ตั้งประจำ

เพื่อถามปัญหา. ท่านอนุราชวาสี ได้บรรลุพระอรหัต ณ ประดูด้านทักษิณ

แห่งนครใกล้ประตูถูปาราม.

ก็พระเถระผู้กล่าวมหาอริยวงศ์กล่าวว่า พวกท่านพูดอะไร ควรจะ

พูดว่า ในที่ที่ปรากฎ ตั้งแต่ส่วนล่างของที่บูชาโดยรอบมหาเจดีย์ เท้าทั้งสอง

สามารถจะให้ประดิษฐานเสมอกัน ได้ในที่ใด ๆ ภิกษุทุก ๆ สามหมื่นรูป ได้

บรรลุพระอรหัตในการยกเท้าข้างหนึ่งขึ้น ในที่นั้น ๆ.

แต่พระมหาเถระอีกรูปหนึ่งกล่าวว่า ภิกษุทั้งหลายมากกว่าทรายที่

กระจัดกระจายอยู่ ณ พื้นมหาเจดีย์ ได้บรรลุพระอรหัต. บุคคลเห็น

พระเถระแล้วตั้งอยู่ในโอวาทของท่านเห็นอสุภะยังปฐมฌานให้เกิดในอสุภะนั้น

พิจารณาอสุภะนั้นนั่นแล โดยความสิ้นไปย่อมบรรลุพระอรหัต. เพราะฉะนั้น

การเห็นสิ่งเหล่านี้ จึงมีประโยชน์.

ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความเจริญ แม้โดยอามิส ก็เป็นประโยชน์

เหมือนกัน เพราะอาศัยอามิสนั้น ปฏิบัติเพื่อนุเคราะห์พรหมจรรย์.

ก็ในการเดินนั้น การกำหนดสิ่งที่สบายและไม่สบายแล้วถือเอาสิ่งที่

สบาย เป็นสัปปายสัมปชัญญะ เช่นการเห็นพระเจดีย์ มีประโยชน์ถึงเพียงนั้น.

หากว่า ชุมชนประชุมกันในระหว่าง ๑๒๐ โยชน์ เพื่อมหาบูชาพระเจดีย์.

สตรีบ้าง บุรุษบ้าง ตกแต่งประดับตามสมควรแก่สมบัติของคน พากันเที่ยว

ไปเหมือนรูปจิตรกรรม.

ก็ในเรื่องนั้น ความโลภในอารมณ์ที่น่าใคร่ ความแค้นในอารมณ์

ที่ไม่น่าใคร่ ความหลงด้วยการไม่สมหวัง ย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุนั้น

ย่อมต้องอาบัติอันเป็นกายสังสัคคะ. และเป็นอันตรายอชีวิตพรหมจรรย์.

ฐานะนั้น ย่อมเป็นรานะอันไม่สบาย ด้วยประการฉะนี้. ฐานะเป็นที่สบายใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

เพราะความไม่มีอันตรายมีประการดังกล่าวแล้ว. แม้การเห็นพระสงฆ์ ก็มี

ประโยชน์. ก็หากว่า เมื่อมนุษย์สร้างมหามณฑลภายในบ้านแล้วฟังธรรม

ตลอดคืนยังรุ่ง การชุมนุมชนและอันตราย ย่อมมีโดยประการดังกล่าวแล้ว

นั่นแล. ที่นั้นเป็นที่ไม่สบายด้วยประการฉะนี้. เป็นที่สบายในเพราะความ

ไม่มีอันตราย แม้ในการเห็นพระเถระซึ่งมีบริษัทมากเป็นบริวาร ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน. แม้การเห็นอสุภะก็มีประโยชน์. ก็เรื่องนี้ เพื่อแสดงประโยชน์

ของการเห็นอสุภะนั้น.

มีเรื่องเล่าว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง พาสามเณรไปเพื่อต้องการไม้สีฟัน.

สามเณรหลีกจากทางเดินไปข้างหน้า เห็นอสุภะ จึงยังปฐมฌานให้เกิด กระทำ

ปฐมฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขาร กระทำให้แจ้งซึ่งผลสาม ได้ยืน

กำหนดพระกัมมัฏฐานเพื่อต้องการมรรคเบื้องบน. ภิกษุหนุ่ม เมื่อไม่เห็น

สามเณรนั้น จึงเรียกว่า สามเณร. สามเณรคิดว่า ตั้งแต่วันที่เราบวช

ไม่เคยพูดกับภิกษุถึงสองคำเลย เราจักยังคุณวิเศษเบื้องบนให้เกิดในวันแม้อื่น

จึงขานรับว่า อะไร ขอรับท่านผู้เจริญ. ภิกษุนั้นกล่าวว่า เธอจงกลับมา.

สามเณรจึงกลับด้วยคำพูดคำเดียวแล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านจงไปตามทาง

นี้ก่อน ในขณะที่ผมยืนอยู่ จงมองหันหน้าไปทางทิศตะวันออกสักครู่หนึ่ง.

ภิกษุกระทำอย่างนั้น ได้บรรลุคุณวิเศษอันถึงแล้วด้วยอสุภะนั้น. อสุภะหนึ่ง

เกิดเพื่อประโยชน์ของชนทั้งสองด้วยประการฉะนี้. ก็อสุภะนี้แม้มีประโยชน์

อย่างนี้. อสุภะของมาตุคามไม่เป็นที่สบายของบุรุษ. อสุภะของบุรุษมีส่วนเป็น

ที่สบายของมาตุคาม เพราะฉะนั้น การกำหนดสิ่งที่เป็นที่สบายอย่างนี้ ชื่อว่า

สัปปายสัมปชัญญะ.

ก็การเรียนธรรมเป็นโคจรกล่าวคือกรรมฐานในความชอบใจของจิต

ของตนในกรรมฐาน ๓๘ แห่งสิ่งเป็นที่สบายอัน มีประโยชน์ที่คนกำหนดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

อย่างนี้ แล้วถือเอาโคจรนั้นในภิกขาจารโคจรไป ชื่อว่า โคจรสัมปชัญญะ.

เพื่อให้เรื่องนั้นแจ่มแจ้ง พึงทราบภิกษุ ๔ ประเภทนี้. ภิกษุบางพวกใน

ธรรมวินัยนี้ นำไป ไม่นำกลับ บางพวกนำกลับ ไม่นำไป แต่บางพวก

ทั้งไม่น่าไป ทิ้งไม่นำกลับ บางพวกทั้งนำไปทิ้งนำกลับ.

ในภิกษุ ๔ จำพวกนั้น ภิกษุใดชำระจิตให้หมดจดจากธรรมเครื่อง

กังวล ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน คลอดปฐมยามแห่งราตรี

ก็อย่างนั้น สำเร็จการนอนในมัชฌิมยาม แม้ในปัจฉิมยามก็ให้ผ่าน. ไปด้วย

การนั่งและจงกรม ตอนเช้าตรู่ กวาดลานเจดีย์และลานโพธิ์ รดน้ำที่ต้นโพธิ์

ตั้งของดื่มของบริโภคปฏิบัติอาจริยวัตร และอปุชฌายวัตรเป็นต้น. ภิกษุนั้น

ชำระร่างกายแล้ว เข้าไปสู่เสนาสนะนั่งขัดสมาธิ ๒-๓ ครั้ง ให้ถือเอาซึ่งไออุ่น

ประกอบกรรมฐาน ลุกขึ้นในเวลาภิกขาจาร ถือบาตรและจีวรโดยหัวข้อแห่ง

กรรมฐาน ออกจากเสนาสนะมนสิการกรรมฐาน ไปลานเจดีย์. หากพุทธา-

นุสสติกรรมฐานมี ไม่สละกรรมฐานนั้น เช้าไปสู่ลานเจดีย์ หากกรรมฐานอื่นมี

เว้นกรรมฐานนั้น ดุจยืนอยู่ที่เชิงบันได วางภัณฑะที่ถือไว้ ยึดปีติมีพระ-

พุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ขึ้นสู่ลานเจดีย์ หากเจดีย์ใหญ่พึงกระทำประทักษิณ ๓ ครั้ง

แล้วพึงไหว้ในที่ ๔ แห่ง หากเจดีย์เล็ก พึงกระทำประทักษิณอย่างนั้น แล้วไหว้

ในที่ ๘ แห่ง. ครั้นไหว้เจดีย์แล้ว แม้ไปถึงลานโพธิ์ ควรแสดงความเคารพ

ไหว้โพธ ดุจอยู่ต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุนั้น ครั้น

ไหว้เจดีย์ และโพธิ์อย่างนั้นแล้ว ยึดกรรมฐานที่เก็บไว้ ดุจคนไปยังที่ที่เก็บ

ของไว้ ถือเอาภัณฑะที่วางไว้ ห่มจีวร โดยหัวข้อแห่งกรรมฐาน ในที่

ใกล้บ้าน เข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน.

ครั้งนั้น พวกมนุษย์เห็นภิกษุนั้น จึงพากันต้อนรับว่า พระคุณเจ้า

ของพวกเรามาแล้ว จึงรับบาตนิมนต์ให้นั่งบนอาสนศาลา (หอฉัน ) หรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

บนเรือน ถวายข้าวยาคู ล้างเท้า ทาเท้า นั่งข้างหน้า จะถามปัญหา หรือ

ประสงค์จะฟังธรรม ตลอดเวลาที่ภัตรยังไม่เสร็จ. พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย

กล่าวว่า แม้หากว่า พวกมนุษย์ไม่ถาม ภิกษุก็ควรแสดงธรรมเพื่อสงเคราะห์ชน

จริงอยู่ ธรรมกถาชื่อว่าจะพ้นจากกรรมฐาน ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น

กล่าวธรรมโดยหัวข้อแห่งกรรมฐาน ฉันอาหารโดยหัวข้อแห่งกรรมฐาน

กระทำอนุโมทนา แม้พวกมนุษย์พากันกลับ ก็ตามไปส่ง ครั้นออกจากบ้าน

แล้วให้พวกมนุษย์กลับในที่นั้น เดินไปสู่ทาง.

ครั้งนั้น สามเณรและภิกษุหนุ่ม ฉันเสร็จแล้ว ภายนอกบ้านออกไป

ก่อน เห็นภิกษุนั้น จึงพากันต้อนรับ รับบาตรและจีวรของท่าน.

นัยว่า พวกภิกษุเก่า ๆ มองดูหน้าด้วยคิดว่า ภิกษุนี้ไม่ใช่อุปัชฌาย์

อาจารย์ของเราแล้ว กระทำการปรนนิบัติ กระทำโดยกำหนดประจวบเข้า

เท่านั้น. พวกภิกษุถามภิกษุนั้นว่า ท่านขอรับ พวกมนุษย์เหล่านี้เป็นอะไร

กับท่าน มีความสัมพันธ์กันทางฝ่ายมารดาหรือฝ่ายบิดา. ภิกษุนั้นถามว่า

พวกท่านเห็นอะไร จึงพากันถาม. พวกภิกษุกล่าวว่า พวกมนุษย์เหล่านั้น

เป็นอันมาก รักนับถือท่าน. ภิกษุกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกมนุษย์

เหล่านี้ กระทำกรรมที่แม้มารดาบิดาก็กระทำได้ยากแก่เรา แม้บาตรและจีวร

ของเราก็เป็นของพวกเขา เราไม่รู้ภัยในภัย ไม่รู้ความหิวในความหิว ด้วย

อำนาจของพวกเขา พวกมนุษย์เช่นนี้ มิได้มีอุปการะแก่เราเลย. ภิกษุนั้น

เมื่อกล่าวถึงคุณของพวกมนุษย์เหล่านั้นจึงไป นี้ท่านกล่าวว่า นำไป ไม่นำกลับ.

เมื่อภิกษุใด กระทำประการดังที่กล่าวแล้วในก่อน ไฟเกิดแต่กรรม

ลุกโพลง ปล่อยสังขารไม่มีใจครอง ถือเอาสังขารที่มีใจครอง เหงื่อไหลจาก

สรีระ. ไม่ขึ้นสู่ทางแห่งกรรมฐาน. ภิกษุนั้นถือบาตรจีวรแต่เช้าตรู่ รีบไป

ไหว้พระเจดีย์ ในเวลาออกไปหาอาหาร เข้าไปบ้านเพื่อหาข้าวยาคู ได้ข้าวยาคู

แล้วไปอาสนศาลาแล้วดื่ม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

ลำดับนั้น โดยเพียงกลืนเข้าไป ๒-๓ ครั้ง ไฟเกิดแต่กรรมของ

ภิกษุนั้น ปล่อยสังขารมีใจครอง ถือเอาสังขารไม่มีใจครอง. ภิกษุนั้น ถึง

การดับความเร่าร้อนแห่งธาตุไฟ ดุจอาบน้ำด้วยหม้อน้ำร้อยหม้อ ฉันข้าวยาคู

โดยยึดหลักกรรมฐาน ล้างบาตรและปาก มนสิการกรรมฐานในระหว่างภัตร

เที่ยวไปบิณฑบาตในที่ที่เหลือ ฉันอาหารโดยยึดหลักกรรมฐาน ตั้งแต่นั้น

จึงถือเอากรรมฐานปรากฏเหมือนลูกศรแล่นไปไม่ขาดสาย แล้วมา. นี้ท่าน

กล่าวว่า นำมา ไม่นำไป. อนึ่ง ภิกษุเช่นนี้ ดื่มข้าวยาคูแล้วปรารภวิปัสสนา

ชื่อว่า บรรลุพระอรหัต ในพระพุทธศาสนา เหลือที่จะนับได้ ภิกษุ

ทั้งหลายดื่มข้าวยาคูแล้วไม่บรรลุพระอรหัต ไม่มีในอาสนะใด อาสนะนั้น

ไม่มีในอาสนศาลาในหมู่บ้านนั้น ๆ ในเกาะสีหล.

ก็ภิกษุใดอยู่ด้วยความประมาท ทอดธุระ ทำลายวัตรทั้งหมด มีจิต

ผูกไว้ด้วยเครื่องมัดจิต ๕ อย่างอยู่ ไม่ทำสัญญาว่า ชื่อว่า กรรมฐานมีอยู่ดังนี้

เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เกี่ยวเกาะด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร

ทั้งเที่ยวด้วยกัน กินด้วยกัน เป็นผู้ออกไปว่างเปล่า นี้ท่านกล่าวว่าไม่นำไป

ไม่นำกลับ.

ก็ภิกษุใด ท่านกล่าวว่า ผู้นี้ทั้งนำออก ทั้งนำกลับนั้น พึงทราบด้วย

อำนาจวัตรอันเป็นไปแล้ว ด้วยการไปและการกลับ.

จริงอยู่ กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ บวชในศาสนาอยู่ร่วมกัน ๑๐ รูปบ้าง

๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง ๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง กระทำข้อ

ตกลงกันอยู่ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านบวชเพราะเป็นหนี้ ก็หามิได้

เพราะกลัวก็หามิได้ เพราะเลี้ยงชีพก็หามิได้ ใคร่จะพ้นจากทุกข์ จึงบวชใน

ธรรมวินัยนี้. เพราะฉะนั้น ในการเดินไป จงข่มกิเลสที่เกิดขึ้นในขณะเดิน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

ในการยืน ในการนั่ง ในการนอน จงข่มกิเลสที่เกิดขึ้น ในการยืน ฯลฯ ใน

การนอน.

ภิกษุเหล่านั้น กระทำข้อตกลงกันอย่างนั้นแล้ว จึงไปหาอาหาร ใน

ระหว่างกึ่งอุสภะ อุสภะหนึ่ง กึ่งคาวุต คาวุตหนึ่ง มีแผ่นหินอยู่ มนสิการ

กรรมฐานด้วยสัญญานั้นไป หากกิเลสเกิดขึ้นในการไปของใคร ๆ ย่อมข่ม

กิเลสนั้น ในที่นั้น เมื่อไม่สามารถยืนอยู่อย่างนั้น ถัดมา แม้มาหลังภิกษุนั้น

ก็ยืนอยู่. ภิกษุนี้นั้น รู้วิตกอันเกิดแก่ท่าน เตือนตนว่า นี้ไม่สมควรแก่ท่าน

แล้วเจริญวิปัสสนา ก้าวลงสู่อริยภูมิ ณ ที่นั้นเทียว. ข้อว่า เมื่อไม่สามารถ

นั่งอยู่อย่างนั้น มีนัยนี้เหมือนกัน แม้เมื่อไม่สามารถก้าวลงสู่อริยภูมิได้ ก็

ข่มกิเลสนั้น มนสิการกรรมฐานไป. ภิกษุมีจิตปราศจากกรรมฐาน ย่อมยกเท้า

ขึ้นไม่ได้ หากยกขึ้นได้กลับไปกลับมาแล้วก็มาสู่ประเทศเดิม เหมือนท่าน

มทาปุสสเทวเถระผู้อยู่ในอาลินทกะ ฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระเถระนั้น บำเพ็ญวัตรอันเป็นไปในการไปและการกลับ

อยู่ตลอด ๑๙ ปี. แม้พวกมนุษย์ก็ได้เห็นพระเถระนั้นในระหว่างทางนั่นเอง

พวกเขาทั้งสงัดอยู่ ทั้งเหยียบย่ำอยู่ กระทำการงาน เห็นพระเถระไปมาอยู่

อย่างนั้น จึงสนทนากันว่า พระเถระนี้ กลับไปมาบ่อย ๆ ท่านหลงไปมาก

หรือหนอ หรือว่า ลืมอะไร ๆ ไว้. พระเถระไม่สนใจเรื่องนั้น กระทำ

สมณธรรมด้วยจิตประกอบด้วยกรรมฐาน บรรลุพระอรหัตในภายใน ๒๐ ปี

ก็ในวันที่ท่านบรรลุพระอรหัต เหล่าเทพซึ่งสิงอยู่ท้ายจงกรมของท่านได้ยัง

ประทีปให้รุ่งเรืองด้วยองคุลียืนอยู่. ท้าวมหาราชแม้ทั้ง ๔ ท้าวสักกะจอมเทพ

และท้าวสหัมบดีพรหม ก็พากันไปอุปัฏฐาก. ท่านมหาติสสเถระผู้อยู่ในป่าเห็น

แสงสว่างนั้น จึงถามพระเถระในวันที่สองว่า ในตอนกลางคืน ได้มีแสงสว่าง

ในสำนักของท่าน แสงสว่างนั้นเป็นอะไร. พระเถระเมื่อจะทำให้สับสน จึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

กล่าวคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมดาแสงสว่าง มีแสงสว่างแห่งประทีปบ้าง แสงสว่าง

แห่งแก้วมณีบ้างดังนี้ . แต่นั้น พระมหาติสสเถระถูกพระเถระกำชับว่า ขอท่าน

จงปกปิดไว้ รับแล้ว บอกว่า ขอรับ. เหมือนพระมหานาคเถระผู้อยู่ใน

กาลวัลลีมณฑป.

มีเรื่องเล่าว่า แม้พระเถระนั้น ก็บำเพ็ญวัตรอันเป็นไปในการไปและ

การกลับ ได้อธิษฐานการจงกรมด้วยการยืนตลอด ๗ ปีว่า เราจักบูชาความ

เพียรใหญ่ครั้งแรกแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน. พระเถระบำเพ็ญวัตรอันเป็น

ไปในการไปและการกลับตลอด ๑๖ ปี ต่อไปได้บรรลุพระอรหัตแล้ว. พระ-

เถระมีจิตประกอบด้วยกรรมฐานยกเท้าขึ้น เมื่อจิตปราศจากกรรมฐานไม่ยกขึ้น

จะกลับไปอีก ได้ไปใกล้บ้าน ยืนอยู่ในประเทศที่น่าสงสัยว่า เป็นแม่โค

หรือบรรพชิตหนอดังนี้ จึงห่มจีวร ล้างบาตรด้วยน้ำจากแอ่งน้ำ แล้วอมน้ำ

เต็มปาก. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะเมื่อมนุษย์มาเพื่อให้ภิกษา

แก่เราหรือเพื่อไหว้เรา ความฟุ้งซ่านของกรรมฐาน อย่ามีด้วยเหตุคำพูดว่า

ขอท่านทั้งหลายจงมีอายุยืนดังนี้. พระเถระเมื่อถูกถามถึงวันว่า ท่านขอรับ

วันนี้ วันที่ท่าไร หรือจำนวนภิกษุ หรือปัญหา กลืนน้ำก่อนแล้วจึงบอก.

หากไม่มีผู้ถามถึงวันเป็นต้น ในเวลาออกไป ไม่ลุกไปที่ประตูบ้าน. เหมือน

ภิกษุ ๕๐ รูป เข้าจำพรรษาในกลัมพติตถวิหาร.

มีเรื่องเล่าว่า ภิกษุเหล่านั้น ในวันเพ็ญเตือน ๘ ได้ทำข้อตกลงกันว่า

เรายังไม่บรรลุอรหัต จักไม่พูดกัน เมื่อเข้าไปบ้าน เพื่อบิณฑบาต อมน้ำ

ฟายมือหนึ่งแล้วจึงเข้าไป เมื่อถูกเขาถามถึงวันเป็นต้น ก็ปฏิบัติตามนัยที่

กล่าวแล้วนั่นแล. พวกมนุษย์ในบ้านนั้นเห็นรอยเท้าหายไปรู้ว่า วันนี้มา

รูปเดียว วันนี้มา ๒ รูป. ก็พวกมนุษย์พากันคิดอย่างนั้นว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่

สนทนากับเราเท่านั้นหรือ หรือแม้กะกันและกันด้วย ผิว่า ไม่สนทนากะกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

และกัน จักเกิดทะเลาะกันเป็นแน่ พวกท่านจงมา เราจักให้ภิกษุเหล่านั้น

ขอขมากันและกัน. ทั้งหมดพากันไปวิหาร บรรดาภิกษุ ๔๐ รูป ไม่ได้เห็น

แม้สองรูปอยู่ในโอกาสเดียวกัน. แต่นั้นบรรดามนุษย์เหล่านั้น ชายที่มีตาดี

กล่าวว่า ผู้เจริญทั้งหลาย โอกาสของผู้ทำการทะเลาะกันไม่เป็นเช่นนี้ ท่าน

กวาดลานเจดีย์ ลานโพธิ์สะอาด เก็บไม้กวาดไว้เป็นระเบียบตั้งน้ำดื่ม น้ำใช้

ไว้เรียบร้อย. จากนั้นพวกมนุษย์ก็พากันกลับ. แม้ภิกษุเหล่านั้น ก็บรรลุ

พระอรหัต ภายใน ๓ เดือนนั่นเอง ในวันมหาปวารณาต่างปวารณาวิสุทธิ

ปวารณา.

ภิกษุมีจิตประกอบด้วยกรรมฐานดุจพระมหานาคเถระ ผู้อยู่ใน

กาลวัลลมณฑป และดุจภิกษุเข้าจำพรรษาในกลัมพติตลวิหาร ยกเท้าขึ้น

ถึงที่ใกล้บ้าน อมน้ำเต็มปาก กำหนดถนน เดินไปสู่ถนนที่ไม่มีคนทะเลาะกัน

มีนักเลงสุรา และนักเลงการพนันเป็นต้น หรือช้างดุ ม้าดุ เป็นต้น. เที่ยวไป

บิณฑบาตในที่นั้น ไม่รีบไปเหมือนรีบด่วน เพราะว่า ธรรมดาธุดงค์อันเป็น

ไปเพื่อบิณฑบาตเร่งรีบอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่มี. เป็นผู้ไม่หวั่นไหวไป

ดุจเกวียนบรรทุกน้ำที่ถึงพื้นที่ไม่เรียบฉะนั้น. อนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่เรือนตาม

ลำดับ รอเวลาอันสมควรนั้น เพื่อสังเกตผู้ประสงค์จะให้ หรือประสงค์จะ

ไม่ให้ รับภิกษาแล้ว มาสู่วิหาร ในภายในบ้านหรือในภายนอกบ้าน นั่งใน

โอกาสอันสมควรตามสบาย มนสิการกรรมฐาน ตั้งปฏิกูลสัญญาในอาหาร

พิจารณาโดยอุปมาเหมือนน้ำมันหยอดเพลา ยาทาแผล และเนื้อบุตร ให้นำมา

ซึ่งอาหารประกอบด้วยองค์ ๘ ไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อประดับ

เพื่อตกแต่ง ฯลฯ ฉันน้ำแล้ว ระงับความกระวนกระวายเพราะอาหารสักครู่

แล้วมนสิการกรรมฐานตลอดยามต้น และยามหลัง ภายหลังอาหาร เหมือน

ก่อนอาหาร ฉะนั้น. นี้ท่านกล่าวว่า ทั้งนำไป ทั้งนำกลับ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

ก็ภิกษุบำเพ็ญวัตรอันเป็นไปในการไปและการกลับกล่าวคือ การนำ

ไปและการนำกลับนี้ ผิว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ย่อมบรรลุพระอรหัต

ในปฐมวัยนั้นเอง หากยังไม่บรรลุในปฐมวัย ย่อมบรรลุในมัชฌิมวัยต่อไป

หากไม่บรรลุในมัชฌิมวัย ย่อมบรรลุในมรณสมัยต่อไป หากไม่บรรลุใน

มรณสมัย เป็นเทพบุตร ย่อมบรรลุต่อไป หากเป็นเทพบุตรยังไม่บรรลุ

เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ เกิดแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิ หากยัง

ไม่ทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิได้ ต่อไปก็จะเป็นผู้ตรัสรู้เร็ว เฉพาะพระพักตร์

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เหมือนพระพาหิยทารุจิริยะ. หรือเป็นผู้มีปัญญา

มากเหมือนพระสารีบุตรเถระ หรือเป็นผู้มีฤทธิ์มาก เหมือนพระโมคคัลลาน-

เถระ. หรือเป็นผู้กล่าวกำจัดกิเลสเหมือนพระมหากัสสปเถระ. หรือเป็นผู้มีจักษุ

ทิพย์เหมือนพระอนุรุทธเถระ. หรือเป็นผู้ทรงวินัยเหมือนพระอุบาลีเถระ. หรือ

เป็นธรรมกถึกเหมือนพระปุณณมันตานีบุตรเถระ. หรือเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร

เหมือนพระเรวตเถระ. หรือเป็นผู้พหูสูตเหมือนพระอานนทเถระ. หรือเป็น

ผู้ใคร่การศึกษาเหมือนพระราหุลเถระพุทธโอรส. โคจรสัมปชัญญะ ของ

ภิกษุชื่อว่า ทั้งนำไป ทั้งนำกลับใน ๔ หมวดนี้ เป็นอันสำเร็จการศึกษาแล้ว

ด้วยประการฉะนี้.

ก็การไม่หลงลืม ในอิริยาบถมีการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ชื่อว่า

อสัมโมหสัมปชัญญะ. อสัมโมหสัมปชัญญะนั้นพึงทราบดังต่อไปนี้.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวไปข้างหน้าหรือถอยกลับ เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า

เราไม่หลงอยู่ก้าวไปข้างหน้า วาโยธาตุ อันมีจิตเป็นสมุฏฐาน กับด้วยจิตนั้น

ให้เกิดความไหว เกิดขึ้น โครงกระดูกอันสมมติว่ากายนี้ ย่อมก้าวไปข้างหน้า

ด้วยอำนาจการแผ่ไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของจิต ด้วยประการฉะนี้

เหมือนพวกคนเขลาย่อมหลงไปว่า ในการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ตนก้าวไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

การก้าวไปอันตนทำให้เกิด หรือเราก้าวไป การก้าวไป อันเราทำให้เกิดฉะนั้น.

เมื่อภิกษุนั้นก้าวไปข้างหน้าอย่างนี้ ในขณะยกเท้าขึ้นข้างหนึ่ง ๆ ธาตุทั้งสอง

คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ มีเล็กน้อย ธาตุทั้งสองนอกนี้ มีประมาณยิ่ง

มีกำลัง. ในการนำเท้าไปยิ่งและการนำเท้าไปล่วงวิเศษ ก็อย่างนั้น. ในการลด

เท้าลง เตโชธาตุ วาโยธาตุมีเล็กน้อย ธาตุทั้งสองนอกนี้มีประมาณยิ่ง

มีกำลัง. ในการวางเท้าและการกดเท้าก็อย่างนั้น.

รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายอันเป็นไปแล้วในการยกขึ้นนั้น ย่อม

ไม่ถึงการนำเท้าไปยิ่ง รูปธรรม อรูปธรรมอันเป็นไปแล้ว ในการนำเท้าไปยิ่ง

ก็อย่างนั้น ย่อมไม่ถึงการนำเท้าไปล่วงวิเศษ รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไป

แล้วในการนำเท้าไปล่วงวิเศษ ย่อมไม่ถึงการลดเท้า รูปธรรมและอรูปธรรม

อันเป็นไปแล้ว ในการลดเท้าย่อมไม่ถึงการวาง รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็น

ไปแล้ว ในการวางย่อมไม่ถึงการกดเท้า. รูปธรรมและอรูปธรรมเป็นข้อ ๆ ข้อ

ต่อ ๆ และส่วน ๆ ในที่นั้น ๆ มีเสียงดัง ตฏะ ตฏะ แตกทำลายไปเหมือนงา

ที่เขาใส่ลงไปในกระเบื้องร้อน ในข้อนั้น ใครคนหนึ่งก้าวไปข้างหน้า หรือ

การก้าวไปข้างหน้าของใครคนหนึ่งมีหรือ.

จริงอยู่ โดยปรมัตถ์ ธาตุนั่นแหละยืน ธาตุนั่นแหละนั่ง ธาตุนั่น

แหละนอน. ด้วยว่า

จิตอื่นเกิดขึ้น จิตอื่นดับพร้อมกับ

รูปในส่วนนั้น ๆ ย่อมเป็นไปดุจกระแสน้ำ

ติดตามคลื่นไหลไปด้วยประการฉะนี้.

การไม่หลงในการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น อย่างนี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ.

จบความแห่งบทว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต สมฺปชานการี โหติ

เพียงเท่านี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

ก็ในบทว่า อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ การเพ่งไปข้างหน้าชื่อว่า

โอโลกิตะ (การแล) การเพ่งไปตามทิศ ชื่อว่า วิโลกิตะ (การเหลียว)

แม้การเพ่งอย่างอื่น ชื่อว่า มองลง มองขึ้น เหลียวมอง ด้วยการเพ่งตามข้างล่าง

ข้างบน ข้างหลัง. ในที่นี้ไม่ถือเอาการเพ่งอย่างอื่นนั้น. แต่โดยความเหมาะสม

ถือเอาการเพ่งสองอย่างเหล่านี้. หรือท่านถือเอาการเพ่งแม้ทั้งหมดเหล่านั้น

ด้วยมุขนี้. ในสัมปชัญญะเหล่านั้น เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจักแลดู การไม่

แลดูด้วยอำนาจจิตเท่านั้น แล้วกำหนดเอาประโยชน์ ชื่อว่า สาตถกสัมป-

ชัญญะ. สาตถกสัมปชัญญะนี้ พึงทำท่านนันทะให้เป็นกายสักขีแล้วทราบเถิด.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากนันทะแลดู

ทิศเบื้องหน้า นันทะประมวลสิ่งทั้งหมดด้วยจิตแล้วแลดู ทิศเบื้องหน้าว่า

เมื่อเราแลดูทิศเบื้องหน้าอย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌา และโทมนัส

จักไม่ครอบงำเรา ดังนี้ ชื่อว่า เป็นผู้มีสัมปชัญญะในสิ่งนั้น. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย หากนันทะจะพึงเป็นผู้แลดูทิศเบื้องหลัง ทิศเหนือ ทิศใต้ ตามทิศ

เบื้องบน เบื้องล่าง. นันทะประมวลสิ่งทั้งปวงด้วยจิต แลดูตามลำดับทิศว่า

เมื่อเราแลดูตามลำดับทิศอย่างนี้ ฯลฯ ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ ดังนี้.

ก็แล แม้ในที่นี้ พึงทราบความมีประโยชน์และความสบายด้วยการ

เห็นเจดีย์ดังที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล.

ก็การไม่ละกรรมฐานชื่อว่า โคจรสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น

ผู้บำเพ็ญกรรมฐานมีขันธ์ธาตุอายตนะเป็นอารมณ์ก็ดี ผู้บำเพ็ญกรรมฐานมี

กสิณเป็นต้น เป็นอารมณ์ก็ดี ด้วยอำนาจกรรมฐานของตนพึงทำการแลดู การ-

เหลียวดูด้วยหัวข้อกรรมฐานทีเดียว. ชื่อว่า อัตตาในภายใน ไม่มีการแลหรือ

การเหลียว ก็เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจักแลดู. ดังนี้ วาโยธาตุ นี้จิตเป็น

สมุฏฐานกับจิตนั้นแล เกิดความไหว ย่อมเกิดขึ้น กลีบตาล่างจมเบื้องล่าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

กลีบตาบนหนีไปในเบื้องบนด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของ

จิต ไม่มีใคร ๆ ชื่อว่า เปิดได้โดยสะดวก. จากนั้นจักขุวิญญาณ ให้สำเร็จกิจ

คือความเห็นได้เกิดขึ้น ก็ความรู้อย่างนั้น ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ

ในที่นี้. ก็แลพึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในที่นี้ ด้วยสามารถความเป็นมูล

ปริญญา อาคันตุกะ และตาวกาลิก. พึงทราบด้วยสามารถมูลปริญญา (ความ

รู้พื้นฐาน) ก่อน.

ภวังคะ อาวัชชนะ ทัสสนะ สัมปฏิจ

ฉนะ สันติรณะ โวฏฐัพพนะ ชวนะ

เป็นที่ ๗.

ในดวงจิตเหล่านั้น ภวังคะ ยังกิจอันเป็นองค์แห่งอุบัติภพให้สำเร็จ

เป็นไป. กิริยามโนธาตุ คำนึงถึงภวังคะนั้น ยังอาวัชชนะกิจให้สำเร็จ.

เพราะอาวัชชนกิจนั้นดับ จักขุวิญญาณยังทัสสนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะดับ

ทัสสนกิจนั้น วิปากมโนธาตุ ยังสัมปฏิจฉนกิจให้สำเร็จเป็นไป. เพราะดับ

สัมปฏิจฉนกิจนั้น วิปากมโนวิญญาณธาตุ ยังสันติรณกิจให้สำเร็จ. เพราะ

ดับสันติรณกิจนั้น กิริยามโนวิญญาณธาตุยังโวฏฐัพพนกิจให้สำเร็จ. เพราะ

ดับโวฏฐัพพนกิจนั้น ชวนะแล่นไป ๗ ครั้ง. ในชวนะเหล่านั้น แม้ใน

ปฐมชวนะก็ไม่มีการแลและการเหลียวด้วยอำนาจความกำหนัด ความโกรธ

และความหลงว่า นี้หญิง นี้ชาย ดังนี้. แม้ในทุติยชวนะ แม้ในสตัตมชวนะ

ก็ไม่มี. เมื่อชวนะเหล่านั้นถูกทำลายตกไป ด้วยอำนาจกิเลสอันมีในเบื้องล่าง

เบื้องบน ดุจทหารถูกทำลายพ่ายไปในสนามรบ การแลและการเหลียว ย่อมมี

ด้วยสามารถความกำหนัด เป็นต้น ว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย ดังนี้. พึงทราบ

อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถมูลปริญญาในที่นี้ก่อนด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

ก็เมื่อรูปในจักขุทวารไปสู่คลอง เมื่ออาวัชชนะเป็นต้นเกิดแล้วดับไป

ด้วยสามารถทำกิจของตนให้สำเร็จเบื้องบนจากภวังคจลนะในที่สุด ชวนะย่อม

เกิดขึ้น. ชวนะนั้นย่อมเป็นเหมือนอาคันตุกบุรุษในจักขุทวารอันเป็นเรือนของ

อาวัชชนะเป็นต้นที่เกิดขึ้นในครั้งก่อน. เมื่ออาคันตุกบุรุษนั้นเข้าไปในเรือน

ของคนอื่นเพื่อขออะไร ๆ แม้เมื่อเจ้าของบ้านนั่งนิ่งก็ไม่ควรบังคับ ฉันใด

แม้เมื่ออาวัชชนะเป็นต้น ในจักขุทวารอันเป็นเรือนของอาวัชชนะเป็นต้น ไม่-

กำหนัด ไม่โกรธ และไม่หลง ก็ไม่ควรกำหนัด โกรธ และหลงฉันนั้น. พึงทราบ

อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถความเป็นอาคันตุกะ (ผู้จรมา) อย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้.

ก็จิตเหล่านี้ใด อันมีโวฏฐัพพนะเป็นที่สุด เกิดขึ้นในจักขุทวาร จิต

เหล่านั้น ย่อมแตกทำลายไปในที่นั้น ๆนั่นเอง พร้อมกับสัมปยุตตธรรม ย่อม

ไม่เห็นกันและกัน จิตนอกนี้ ย่อมเป็นไปชั่วคราว. ในข้อนั้น อุปมาเหมือน

ในเรือนหลังหนึ่ง เมื่อคนตายกันหมด คนหนึ่งที่เหลือไม่ควรยินดีในการฟ้อน

การขับเป็นต้น ของผู้มีมรณธรรมในขณะนั้น ฉันใด เมื่ออาวัชชนะเป็นต้น

สัมปยุตในทวารหนึ่ง ตายไปในที่นั้น ๆ แม้ชวนะแห่งมรณธรรมในขณะนั้น

ที่เหลือก็ไม่ควรยินดีด้วยสามารถ ความกำหนัด ความโกรธ และความหลง

พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถความเป็นตาวกาลิก (เป็นไป

ชั่วคราว) อย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยสามารถการ

พิจารณาขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจัย. ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ จักษุและรูปเป็น

รูปขันธ์ เวทนาสัมปยุตด้วยรูปขันธ์นั้น เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาสัมปุตด้วย

เวทนานั้น เป็นสัญญาขันธ์ สังขารมีผัสสะเป็นต้น เป็นสังขารขันธ์. การแล

และการเหลียวย่อมปรากฏในการพร้อมเพรียงแห่งขันธ์ทั้งหลาย ๕ เหล่านี้ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

ประการฉะนี้. ในข้อนั้น ใครหนึ่งย่อมแล ใครคนหนึ่งย่อมเหลียวมีหรือ.

อนึ่งจักษุเป็นจักขวายตนะรูปเป็นรูปายตนะ. การเห็นเป็นมนายตนะ. สัมปยุต

ธรรมทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้น เป็นธัมมายตนะ. การแล และการเหลียว

ย่อมปรากฏในความพร้อมเพรียงแห่งอายตนะ. เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

ในข้อนั้น ใครคนหนึ่งย่อมแล ใครย่อมเหลียวหรือ อนึ่ง จักษุเป็นจักขุธาตุ

รูปเป็นรูปธาตุ ความเห็นเป็นจักขุวิญญาณธาตุ ธรรมมีเวทนาเป็นต้น

สัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น เป็นธรรมธาตุ. การแล และการเหลียว

ย่อมปรากฏในความพร้อมเพรียงของธาตุ ๔ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

ในข้อนั้น ใครคนหนึ่งย่อมแล ใครย่อมเหลียวหรือ. อนึ่ง จักษุเป็นนิสสย-

ปัจจัย รูปเป็นอารัมมณปัจจัย อาวัชชนะเป็น อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย

อันตรูปนิสสยปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย อาโลกะ (แสงสว่าง) เป็น

อุปนิสสยปัจจัย เวทนาเป็นต้น เป็นสหชาตาทิปัจจัย. การแล และการเหลียว

ย่อมปรากฏในความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัยเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนั้น

ใครคนหนึ่งย่อมแล ใครย่อมเหลียว พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ แม้ด้วย

สามารถการพิจารณาเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย ในข้อนี้อย่างนี้ด้วย

ประการฉะนี้.

บทว่า สมฺมิญฺชิเต ปริสาริเต ได้แก่ ในการงอและเหยียดของข้อ

ทั้งหลาย. ในบทนั้น มีอธิบายว่า การไม่ทำการงอและเหยียดด้วยอำนาจจิต

แล้วกำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เพราะปัจจัยคือการงอ

และการเหยียดมือและเท้า แล้วกำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์ ชื่อว่า สาตถก-

สัมปชัญญะ. ในบทนั้น เมื่อผู้ที่งอหรือเหยียดมือและเท้านานเกินไป เวทนา

ย่อมเกิดขึ้นได้. จิตย่อมไม่ได้อารมณ์เดียว กรรมฐานย่อมตกไป ย่อมไม่

บรรลุคุณวิเศษ ดังนี้. ก็เมื่องอในเวลาและ เหยียดในเวลาอันควร เวทนาเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

ย่อมไม่เกิด. จิตย่อมเป็นอารมณ์เดียว กรรมฐานย่อมถึงการทรงไว้ ย่อม

บรรลุคุณวิเศษ พึงทราบ การกำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์

อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ก็แม้เนื้อมีประโยชน์ การกำหนดสิ่งอันเป็นสัปปายะและอสัปปายะ

แล้วกำหนดเอาสิ่งอันเป็นสัปปายะ ชื่อ สัปปายสัมปชัญญะ ในข้อนั้น

มีนัยดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า ที่ลานมหาเจดีย์ พวกภิกษุหนุ่มท่องมนต์อยู่. พวกภิกษุณี

สาวฟังธรรมอยู่ข้างหลังภิกษุหนุ่มเหล่านั้น. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุหนุ่ม

รูปหนึ่งเหยียดมือไปต้องกายสังสัคคะ. จึงเป็นคฤหัสถ์ด้วยเหตุนั่นเอง. ภิกษุ

อีกรูปหนึ่งเมื่อเหยียดเท้า ได้เหยียดไปที่ไฟ ไฟไหม้จดถึงกระดูก. อีกรูปหนึ่ง

เหยียดไปที่ไม้ปักกรด ถูกอสรพิษขบ. อีกรูปหนึ่งเหยียดไปที่ไม้ปักกรด งู

ปี่แก้ว ขบภิกษุนั้น. เพราะฉะนั้น ไม่ควรเหยียดไปในที่เป็นอสัปปายะเห็น

ปานนี้ ควรเหยียดไปในที่เป็นสัปปายะ. นี้ชื่อว่า สัปปายสัมปชัญะ ใน

ที่นี้.

ก็พึงแสดงโคจรสัมปชัญญะด้วยเรื่องพระมหาเถระ. ได้ยินว่า พระ-

มหาเถระนั่งในที่พักกลางวัน เมื่อพูดกับอันเตวาสิกทั้งหลาย งอมือทันทีแล้ว

วางไว้ในที่เดิมอีก ค่อย ๆ งอ. พวกอันเตวาสิกถามท่านว่า ท่านขอรับ

เพราะเหตุไร ท่านจึงงอมือทันที แล้ววางไว้ในที่เดิม แล้วค่อย ๆ งอเล่า.

พระมหาเถระกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เพราะเราเริ่มมนสิการกรรมฐาน

เราไม่เคยปล่อยกรรมฐานแล้วงอมือเลย ก็บัดนี้ เราพูดกับพวกท่าน จึงปล่อย

กรรมฐานงอมือ ฉะนั้น เราจึงวางไว้ในที่เดิมอีก แล้วงอมือ. พวกอันเตวาสิก

กล่าวว่า ท่านขอรับ ดีแล้ว ธรรมดาภิกษุควรเป็นเห็นปานนั้น. การไม่ละ

กรรมฐานแม้ในบทนี้ พึงทราบว่า เป็นโคจรสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

ชื่อว่า อัตตาในภายใน ไม่มีใครงอหรือเหยียด. ก็การงอและเหยียด

ย่อมมีได้ด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของจิตดังกล่าวแล้ว ดุจ

การชักมือและเท้าของช่างหูกด้วยสามารถการชักด้าย เพราะฉะนั้น การ

กำหนดรู้ พึงทราบว่า เป็น อสัมโมหสัมัปชัญญะ ในที่นี้.

ในบทว่า สฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ นี้ มีอธิบายว่า การใช้สอย ชื่อว่า

ทรงไว้ ด้วยสามารถการนุ่งและการห่มสังฆาฏิและจีวร ด้วยสามารถการรับ

ภิกษาเป็นต้น แห่งบาตร. ในการทรงสังฆาฏิและจีวรนั้น ประโยชน์มีประการ

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ผู้ได้อามิส นุ่งห่มก่อนแล้วจึง

เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต เพื่อกำจัด ความหนาว. ดังนี้ชื่อว่า ประโยชน์ พึงทราบ

สาตถกสัมปชัญญะ ด้วยสามารถประโยชน์นั้น. ก็จีวรเนื้อละเอียด เป็นที่

สบายของผู้มีความร้อนเป็นปกติ และผู้ทุพลภาพ จีวรเนื้อหนาสองชั้นเป็นที่

สบายของผู้มีความหนาวเป็นปกติ ผิดไปจากนั้น ไม่เป็นที่สบายเลย จีวร

ชำรุดไม่เป็นที่สบายแก่ใคร ๆ เลย. ด้วยว่า จีวรชำรุดนั้น ทำความกังวลให้

แก่เขาด้วยการให้ผ้าปะเป็นต้น. จีวรที่ควรได้มีประเภทเป็นผ้าขนแกะสองชั้น

เป็นต้นก็อย่างนั้น. ด้วยว่าจีวรเช่นนั้นย่อมเป็นการทำอันตรายแก่การนุ่งและ

ทำอันตรายแก่ชีวิตของภิกษุรูปหนึ่งในป่าได้. ก็โดยไม่อ้อมค้อมจีวรได้เกิด

ด้วยอำนาจมิจฉาชีพ มีนิมิตตกรรมเป็นต้น (เป็นหมอดู) และอกุศลธรรม

ย่อมเจริญยิ่งแก่ผู้เสพ กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป จีวรนั้น ไม่เป็นที่สบาย ผิดไป

จากนั้นเป็นที่สบาย. พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะในข้อนี้ด้วยสามารถสัปปายะ

นั้น และโคจรสัมปชัญญะด้วย สามารถการไม่ละกรรมฐาน. ชื่อว่า อัตตาใน

ภายใน ไม่มีใคร ๆ ห่มจีวร. แต่การห่มจีวรย่อมมีได้ด้วยการซ่านไปแห่ง

วาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของจิตดังที่กล่าวแล้ว ในการห่มจีวรนั้น แม้จีวรก็

ไม่มีเจตนา แม้กายก็ไม่มีเจตนา จีวรย่อมไม่รู้ว่า เราห่มกาย แม้กายก็ไม่รู้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

เราห่มจีวร ธาตุเท่านั้นปกปิดหมู่ธาตุ ดุจในการปกปิดผ้าป่านด้วยผ้าขี้ริ้ว

เพราะฉะนั้น ได้จีวรดี ก็ไม่ควรดีใจ ได้จีวรไม่ดี ก็ไม่ควรเสียใจ. จริงอยู่

คนบางพวก กระทำสักการะด้วยดอกไม้ของหอม ธูปและผ้าเป็นต้น ในไม้

กะทิง จอมปลวก เจดีย์และต้นไม้เป็นต้น บางพวกกระทำอสักการะด้วย

คูถ มูตร เปียกตม และเครื่องประหารคือ ท่อนไม้และศัสตราเป็นต้น

จอมปลวกและต้นไม้เป็นต้น ไม่ทำความดีใจด้วยเหตุนั้น อย่างนั้นแหละได้

จีวรดีแล้ว ก็ไม่ควรดีใจ ได้จีวรไม่ดีก็ไม่ควรเสียใจ. พึงทราบ อสัมโมห-

สัมปชัญญะ ในที่นี้ ด้วยสามารถการพิจารณาอันเป็นไปแล้ว อย่างนี้ ด้วย

ประการฉะนี้.

แม้ในการทรงบาตร ก็พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยสามารถ

ประโยชน์ที่พึงได้ เพราะการถือบาตรเป็นปัจจัยอย่างนี้ว่า เราจักไม่ถือบาตร

ทันที ถือบาตรนี้แล้ว เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต จักได้ภิกษา. ก็บาตรหนัก

ไม่เป็นที่สบายแก่ร่างกายอันผอมและทุพลภาพ. บาตรที่ล้างไม่ดีจะกระทบตุ่ม

สี่ห้าตุ่ม ไม่เป็นที่สบายแก่ใคร ๆ บาตรที่ล้างไม่ดี ไม่ควร ความกังวลย่อมมี

แก่ผู้ล้างบาตรนั้น. แต่บาตรสีแก้วมณี ที่ควรได้ไม่เป็นที่สบาย โดยนัย

ที่กล่าวแล้วในจีวรนั้นแล. ก็บาตรได้ที่ได้แล้วด้วยสามารถนิมิตตกรรมเป็นต้น

อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่งแก่ผู้เสพนั้น กุศลธรรมย่อมเสื่อม บาตรนี้ไม่เป็นที่

สบายโดยส่วนเดียว ผิดไปจากนี้เป็นที่สบาย. พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะ

ในข้อนี้ด้วยอำนาจสัปปายะนั้น และโคจรสัปปชัญญะด้วยอำนาจ การไม่ละ

กรรมฐาน. ชื่อว่า อัตตาในภายใน ไม่มีใครถือบาตร. ชื่อว่า การถือบาตร

ย่อมมีด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุอันเป็นกิริยาของจิตดังกล่าวแล้ว. ในการ

ถือบาตรนั้น แม้บาตรก็ไม่มีเจตนา แม้มือก็ไม่มีเจตนา บาตรย่อมไม่รู้ว่า

เราถูกมือจับ แม้มือก็ไม่รู้ว่า เราจับบาตร ธาตุเท่านั้น ถือเอาหมู่ธาตุ ดุจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

ในการถือบาตร อันมีสีดุจไฟ ด้วยคีม. พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ

ในที่นี้ด้วยสามารถการพิจารณาอันเป็นไปแล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเอ็นดูเห็นมนุษย์อนาถา

ที่อนาถศาลามีมือและเท้าด้วน มีหนองเลือดและเหล่าหนอนไหลออกจาก

ปากแผล มีแมลงหัวเขียวตอม นำผ้าพันแผลและยาด้วยกระเบื้องเป็นต้น

ให้แก่พวกเขา. ในข้อนั้น ผ้า เนื้อละเอียดถึงแก่บางคน เนื้อหยาบถึงแก่

บางคน ก็กระเบื้องใส่ยา มีสัณฐานดี ถึงแก่บางคน มีสัณฐานไม่ดี ถึงแก่

บางคน พวกมนุษย์อนาถาเหล่านั้น ไม่ดีใจหรือไม่เสียใจในข้อนั้นเลย. ด้วยว่า

ความต้องการของพวกเขา ด้วยผ้าเพียงพันแผลเท่านั้น และด้วยกระเบื้อง

เพียงใส่ยาเท่านั้น ฉันใด ภิกษุสำคัญจีวรดุจผ้าพันแผล บาตรดุจกระเบื้อง

ใส่ยา ภิกษาที่ได้ในบาตรดุจยาในกระเบื้อง ฉันนั้น พึงทราบว่า ภิกษุนี้

เป็นผู้กระทำสัมปชัญญะอันสูงสุด ด้วย อสัมโมหสัมปชัญญะ ในการทรง

สังฆาฏิ บาตรและจีวร.

พึงทราบในบทว่า อสิต เป็นต้น บทว่า อสิเต ได้แก่ ในการ

ฉันอาหาร. บทว่า ปิเต ได้แก่ ในการดื่มมีข้าวยาคูเป็นต้น. บทว่า ขายิเต

ได้แก่ ในการเคี้ยวมีแป้งและของเคี้ยวเป็นต้น. บทว่า สายิเต ได้แก่ ใน

การลิ้มมีน้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้น. ในบทเหล่านั้น ประโยชน์แม้ ๘ อย่าง ท่าน

กล่าวไว้โดยเป็นต้นว่า เนว ทวาย ดังนี้ ชื่อว่า ประโยชน์. พึงทราบ

สาตถกสัมปชัญญะด้วยสามารถประโยชน์นั้น. ความไม่สำราญมีแก่ผู้ใด ด้วย

โภชนะอันใด ในบรรดาโภชนะที่เศร้าหมองประณีต ขมและหวานเป็นต้น

โภชนะอันนั้นไม่เป็นที่สบายแก่ผู้นั้น. แต่โภชนะอันใดอันได้มาด้วยนิมิต-

กรรมเป็นต้นและอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมทิ้งหลายย่อม

เสื่อมแก่เขาผู้บริโภคโภชนะชนิดใด โภชนะนั้นไม่เป็นที่สบายโดยส่วนเดียว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

ผิดไปจากนั้นเป็นที่สบาย พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะในที่นี้ด้วยสามารถ

สัปปายะนั้น และโคจรสัมปชัญญะด้วยสามารถการไม่ละกรรมฐานนั้นแล.

ชื่อว่า อัตตาในภายใน ไม่มีใครเป็นผู้บริโภค. ก็ธรรมดาการรับบาตร

ย่อมมีด้วยสามารถการซ่านไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของจิตมีประการ

ดังกล่าวแล้ว ธรรมดาการหยั่งมือลงในบาตรย่อมมี ด้วยการซ่านไปแห่ง

วาโยธาตุอันเป็นกิริยาของจิต. การปั้นก้อนข้าว การยกก้อนข้าว และการ

อ้าปากย่อมมีด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุ อันเป็นกิริยาของจิต. ใคร ๆ ย่อม

ไม่เปิดประตูกว้างด้วยกุญแจ ไม่ง้างด้วยเครื่องยนต์ได้. การวางคำข้าวไว้ใน

ปาก ฟันข้างบนทำหน้าที่เป็นสาก ฟันข้างล่างทำหน้าที่เป็นครก และลิ้นทำ

หน้าที่เป็นมือ ย่อมมีได้ด้วยการซ่านไปแห่งวาโยธาตุอันเป็นกิริยาของจิต.

น้ำลายน้อยย่อมเปื้อนโภชนะนั้นที่ปลายลิ้นนั้น น้ำลายมากย่อมเปื้อนที่โคนลิ้น.

โภชนะนั้นกลิ้งกลอกไปมาด้วยมือคือลิ้น ในครกคือฟัน คือฟัน

เบื้องล่าง ชุ่มด้วยน้ำคือน้ำลาย บดด้วยสากคือฟันเบื้องบน ไม่มีใคร ๆ

เอากระจ่า หรือทัพพีสอดเข้าไปในภายในได้ ย่อมเข้าไปด้วยวาโยธาตุเทียว

เข้าไปแล้ว ๆ ก็ไม่มีใครปูฟางรองรับไว้ได้ ตั้งอยู่ด้วยวาโยธาตุเทียว ตั้งอยู่

แล้ว ๆ ก็ไม่มีใครตั้งเตาหุงต้มได้ หุงต้มด้วยธาตุไฟเทียว หุงต้มแล้ว ๆ

ก็ไม่มีใครนำออกข้างนอกได้ ด้วยกระบองหรือไม้เท้าได้ ออกด้วยวาโยธาตุ

เทียว.

ด้วยประการฉะนี้ วาโยธาตุ ย่อมนำไปยิ่ง นำไปล่วงวิเศษทรงไว้

เปลี่ยนแปลง บัดแห้ง และนำออก ปฐวีธาตุ ทรงไว้ เปลี่ยนแปลง

บดและแห้ง. อาโปธาตุ ย่อมชุ่มฉ่ำ รักษาความสด. เตโชธาตุเผาสิ่งที่เข้าไป

ในภายใน อากาศธาตุ เป็นทางไป วิญญาณธาตุ อาศัยการประกอบชอบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

ในธาตุนั้น ย่อมผูกใจไว้ พึงทราบ อสัมโมหสัมปชัญญะ ในที่นี้ด้วย

สามารถการพิจารณาอันเป็นไปแล้ว อย่างนั้นด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะในที่นี้ เพราะการพิจารณา

ความเป็นของปฏิกูล ๑๐ อย่างนี้คือ เพราะการไป เพราะการแสวงหา เพราะ

การบริโภค เพราะที่อาศัย เพราะการฝัง เพราะไม่ย่อย เพราะย่อยแล้ว

เพราะผล เพราะความไหลออก เพราะความเปื้อน.

บทว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ได้แก่ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ.

เหงื่อย่อมไหลจากทั่วตัวของผู้ไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะเมื่อถึงเวลา ตาทั้งสอง

ย่อมหมุน จิตไม่แน่วแน่ โรคอื่นย่อมเกิด แต่ทั้งหมดนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ถ่าย

นี้เป็นอธิบาย ในบทนี้. พึงทราบสาตถกสัมปชัญญะด้วยสามารถแห่งความนั้น.

ก็เมื่อภิกษุถ่ายอุจจาระปัสสาวะไม่เป็นที่ย่อมเป็นอาบัติ เสื่อมยศ แม้อันตราย

ถึงชีวิตย่อมมี เมื่อถ่ายในที่สมควรทั้งหมดนั้นย่อมไม่มี นี้เป็นที่สบายในข้อนี้

ด้วยประการฉะนี้. พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะด้วยสามารถแห่งสัปปายะนั้น

และโคจรสัมปชัญญะด้วยสามารถการไม่ละกรรมฐานนั้นแล. ชื่อว่า อัตตาใน

ภายใน ไม่มีถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. ก็การถ่ายอุจจาระปัสสาวะย่อมมีด้วยการ

ซ่านไปแห่งวาโยธาตุอันเป็นกิริยาของจิตเท่านั้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อฝีหัวแก่

เพราะหัวฝีแตกหนองและเลือดย่อมไหลออกโดยไม่ต้องการ ฉันใด และเหมือน

อย่างว่า น้ำไหลออกจากภาชนะน้ำเต็มเปี่ยม โดยไม่ต้องการ ฉันใด อุจจาระ

ปัสสาวะที่สั่งสมไว้ในกะเพาะอาหารและกะเพาะปัสสาวะถูกแรงลมบีบคั้นย่อม

ไหลทั้ง ๆ ที่ไม่ปรารถนา.

ส่วนอุจจาระปัสสาวะนี้นั้น เมื่อออกไปอย่างนั้น มิได้เป็นของตน

มิได้เป็นของชนเหล่าอื่น ของภิกษุนั้น เป็นแต่เพียงการไหลออกจากสรีระ

อย่างเดียว. ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า เหมือนเมื่อคนทิ้งน้ำเก่าจาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

หม้อน้ำ น้ำนั้นมิได้เป็นของตน มิได้เป็นของชนเหล่าอื่น เป็นแต่เพียง

สำหรับใช้สอยอย่างเดียวเท่านั้น อสัมโมหสัมปชัญญะ ในข้อนี้ พึงทราบ

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาอันเป็นไปแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบอธิบายในบทว่า คต ศัพท์เป็นต้น บทว่า คเต คือ

ในการเดิน. บทว่า ิเต คือในการยืน. บทว่า นิสินฺเน คือในการนั่ง.

บทว่า สุตฺเต คือในการนอน. บทว่า ชาคริเต คือในการตื่น. บทว่า

ภาสิเต คือในการพูด. บทว่า ตุณฺหีภาเว คือในการไม่พูด.

ก็ในอิริยาบถนี้ ภิกษุรูปใด เดินหรือจงกรมนานแล้ว ในกาลย่อมา

ยืนพิจารณาเห็นอยู่อย่างนั้นว่า รูปธรรมและอรูปธรรม อันเป็นไปแล้วในเวลา

จงกรม ก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการเดิน.

ภิกษุรูปใด เมื่อทำการสาธยาย ตอบปัญหา หรือมนสิการถึงกัมมัฏฐาน

ยืนนานแล้ว ในกาลต่อมานั่งพิจารณาเห็นอยู่อย่างนั้นว่า รูปธรรมและอรูปธรรม

อันเป็นไปแล้ว ในเวลายืน ก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่า ทำความรู้สึกตัว

ในการยืน.

ภิกษุรูปใด นั่งนานด้วยสามารถแห่งการทำสาธยายเป็นต้น ในกาล

ต่อมา นั่งพิจารณาเห็นอยู่อย่างนั้นว่า รูปธรรมและอรูปธรรม อันเป็นไปแล้ว

ในเวลานั่ง ก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่า ทำความรู้สึกตัวในการนั่ง.

ส่วนภิกษุรูปใด เมื่อนอนทำการสาธยาย หรือมนสิการถึงกัมมัฏฐาน

หลับไป ในกาลต่อมา ลุกขึ้นพิจารณาเห็นอยู่อย่างนั้นว่า รูปธรรมและอรูปธรรม

อันเป็นไปแล้ว ในเวลานอน ก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้ นี้ชื่อว่าทำความรู้สึกตัว

ในการหลับและการตื่น. ด้วยว่า ความไม่เป็นไปแห่งจิตที่สำเร็จด้วยกิริยา

ชื่อว่า หลับ ที่เป็นไปชื่อว่า ตื่น ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

ส่วนภิกษุรูปใด เมื่อพูด ย่อมพูดมีสติสัมปชัญญะว่า ชื่อว่า เสียงนี้

ย่อมเกิดเพราะอาศัยริมฝีปาก เพราะอาศัยฟัน ลิ้นและเพดาน และเพราะ

อาศัยความประกอบแห่งจิต อันสมควรแก่เสียงนั้น ก็หรือทำการสาธยายหรือ

กล่าวธรรม ให้เปลี่ยนกัมมัฏฐาน หรือตอบปัญหาตลอดกาลนานแล้ว ในกาล

ต่อมา ก็นิ่งพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเกิดขึ้นแล้ว

ในเวลาพูด ก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. นี้ชื่อว่า ทำความรู้สึกตัวในการพูด.

ภิกษุรูปใดนิ่ง ทำในใจถึงธรรม หรือกัมมัฏฐานแล้วตลอดกาลนาน

ในกาลย่อมา ย่อมพิจารณาเห็นอย่างนั้นว่า รูปธรรมและอรูปธรรมอันเป็นไปแล้ว

ในเวลานิ่ง ก็ดับในที่นี้แล้ว ดังนี้. เมื่อความเป็นไปแห่งอุปาทารูปมีอยู่

ชื่อว่า พูด. เมื่อไม่มีอยู่ ชื่อว่า เป็นผู้นิ่ง ดังนี้. นี้ชื่อว่า ทำความรู้สึกตัว

ในความนิ่งด้วยประการฉะนี้. ในข้อนี้เป็นอสัมโมหสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว

พึงทราบด้วยสามารถแห่งอสัมโมหสัมปชัญญะนั้นแล. ในพระสูตรนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสสัมปชัญญะคลุกเคล้าด้วยสติปัฏฐานว่า เป็นบุพภาค ดังนี้.

จบอรรถกถาสติสูตรที่ ๒.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

๓. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ โดยส่วน ๓

[๖๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

[๖๘๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว

พึงเป็นผู้ ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว

เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็โมฆบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อม

เธอเชิญเราอย่างนั้นเหมือนกัน และเมื่อเรากล่าวธรรมแล้ว ย่อมสำคัญเราว่า

เป็นผู้ควรติดตามไปเท่านั้น

ภิกษุนั้นทูลวิงวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

โปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตเจ้าโปรดแสดงธรรมโดยย่อ

แก่ข้าพระองค์ แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงเป็นทายาทแห่งภาษิตของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า.

[๖๘๗] พ. ดูก่อนภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงยังเบื้องต้นใน

กุศลธรรมให้บริสุทธิ์ก่อน. เบื้องต้นของกุศลธรรมคืออะไร. คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดี

และควานเห็นตรง. เมื่อใด ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และความเห็นของเธอ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

จักตรง. เมื่อนั้น เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔

โดยส่วน ๓. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน.

[๖๘๘] ดูก่อนภิกษุ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายภายในอยู่ มี

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จง

พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอก

อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑

จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในอยู่ ... จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

ภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ ...

จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ ... จงพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกอยู่ ..

จงพิจารณาเห็นจิตใจจิตทั้งภายในภายนอกอยู่ ... จงพิจารณาเห็นธรรมใน

ธรรมภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกอยู่ ๑ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑ จงพิจารณาเห็น

ธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ๑.

[๖๘๙] ดูก่อนภิกษุ เมื่อใด เธออาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จัก

เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ โดยส่วน ๓ อย่างนั้น. เมื่อนั้น เธอพึงหวังความ

เจริญในกุศลธรรมทั้งหลายอย่างเดียว ตลอดคืนหรือวันอันจักมาถึง ไม่มี

ความเสื่อมเลย.

[๖๙๐] ครั้งนั้น ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป

เธอเป็นผู้ ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลาย

ผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง

ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นมิได้มี ก็แลภิกษุนั้นได้เป็นพระ-

อรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบภิกขุสูตรที่ ๓

อรรถกถาภิกขุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุสูตรที่ ๓.

บทว่า เอวเมว ปนิเธกจฺเจ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุนั้น ให้

บอกกัมมัฏฐานแล้ว ย่อมเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้ ไม่ตามประกอบกายวิเวก.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงข่มภิกษุนั้น จึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะเธอย่อมขอเทศนาโดยสังเขป. บทว่า ทิฏฺิ

ได้แก่ ความเห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน.

จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

๔. โกสลสูตร

ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔

[๖๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พราหมณคาม

ชื่อโกศล ในแคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลาย ฯลฯ แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ-

ทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ อันเธอทั้งหลาย

พึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่ พึงให้ดำรงมั่นในการเจริญสติปัฏฐาน ๔.

สติปัฎฐาน ๔ เป็นไฉน.

[๖๙๒] มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาเห็นกาย

ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส

มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้กายตามความเป็นจริง. จงพิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... เพื่อรู้เวทนาตามความเป็นจริง. จงพิจารณาเห็นจิต

ในจิตอยู่... เพื่อรู้จิตตามความเป็นจริง. จงพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น

มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้ธรรมตามความเป็นจริง.

[๖๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่

บรรลุอรหัต ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ก็ย่อมพิจารณาเห็น

กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส

มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนดรู้กาย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา

ในเวทนาอยู่ ...เพื่อกำหนดรู้เวทนา. ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . เพื่อ

กำหนดรู้จิต. ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อกำหนด

รู้ธรรม.

[๖๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นอรหันตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์

ตนถึงแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้

โดยชอบ ก็ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจาก

กายแล้ว. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พรากจากเวทนาแล้ว.

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พรากจากแล้ว. ย่อมพิจารณาเห็นธรรม

ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส

มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว พรากจากธรรมเเล้ว.

[๖๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายที่เป็นผู้มาใหม่ บวชยัง

ไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ อันเธอทั้งหลายพึงให้สมาทาน พึงให้ตั้งอยู่

พึงให้ดำรงมั่นในการเจริญสติปัฏฐาน ๘ เหล่านี้.

จบโกสลสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

อรถกถาโกสลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโกสลสูตรที่ ๔.

บทว่า ธมฺมวินโย ความว่า บททั้ง ๒ ว่า ธรรมหรือวินัยนั้น

เป็นชื่อของสัตถุศาสน์เท่านั้น. บทว่า สมาทเปตพฺพา ได้แก่ อันเธอทั้งหลาย

พึงให้ถือเอา. บทว่า เอโกทิภูตา ได้แก่ ความเป็นผู้มีจิตสงบด้วยขณิกสมาธิ.

บทว่า สมาหิตา เอกคฺคจิตฺตา ความว่า มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ และมีจิต

มีอารมณ์เดียว ด้วยสามารถอุปจาระและอัปปนา. ในสูตรนี้ สติปัฏฐาน อัน

ภิกษุใหม่ทั้งหลายและพระขีณาสพทั้งหลายเจริญแล้ว เป็นบุพภาค. พระเสขะ

๗ จำพวกเจริญแล้ว เป็นมิสสกะคลุกเคล้ากัน.

จบอรรถกถาโกสลสูตรที่ ๔

๕. อกุสลราสิสูตร *

กองอกุศล ๕

[๖๙๖] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

พระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศล จะกล่าว

ให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕. เพราะว่ากองอกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่นิวรณ์ ๕.

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน. คือกามฉันทนิวรณ์ ๑ พยาบาทนิวรณ์ ๑ ถีนมิทธ

นิวรณ์ ๑ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ๑ วิจิกิจฉานิวรณ์ ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

* สูตรที่ ๕ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

เมื่อจะกล่าวว่ากองอกุศลจะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เหล่านี้. เพราะ

กองอกุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่นิวรณ์ ๕.

[๖๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔. เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่. ย่อม

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล

จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔. เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ ได้แก่

สติปัฏฐาน.

จบอกุสลราสิสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

๖. สกุณัคฆีสูตร

ว่าด้วยอารมณ์โคจร

[๖๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว เหยี่ยวโฉบลงจับนก

มูลไถโดยรวดเร็ว ครั้งนั้น นกมูลไถกำลังถูกเหยี่ยวนำไป ได้รำพันอย่างนี้

ว่า เราะเป็นผู้อับโชค มีบุญน้อย ที่เที่ยวไปในถีนของผู้อื่น อันมิใช่ถิ่นหากิน.

ถ้าวันนี้ เราไปเที่ยวในถีนอันเป็นของบิดาตน ซึ่งควรเที่ยวไปไซร้ เหยี่ยว

ตัวนี้เราอาจต่อสู้ได้.

เหยี่ยวจึงถามว่า แน่ะนกมูลไถ ก็ถีนซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นที่

หากินของเจ้าเป็นเช่นไร.

นกมูลไถตอบว่า คือ ที่ ๆ มีก้อนดิน ซึ่งเขาทำการไถไว้.

ครั้งนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน อวดอ้างกำลังของตน ปล่อย

นกมูลไถไป พร้อมด้วยบอกว่า เจ้าจงไปเถิด นกมูลไถ เจ้าจะไปแม้ในที่นั้น

ก็ไม่พ้นเราได้. นกมูลไถจึงไปยังที่ ๆ มีก้อนดินซึ่งเขาทำการไถไว้ ขึ้นสู่ก้อน

ใหญ่ ยืนท้าเหยี่ยวอยู่ว่า แน่ะเหยี่ยว บัดนี้ท่านจงมาจับเราเถิด แน่ะเหยี่ยว

บัดนี้ท่านจงมาจับเราเถิด. ครั้งนั้น เหยี่ยวหยิ่งในกำลังของตน อวดอ้างใน

ในกำลังของตน จึงห่อปีกทั้ง ๒ โฉบนกมูลไถโดยรวดเร็ว. ครั้งใด นกมูลไถ

รู้ว่าเหยี่ยวนี้โฉบลงมาเร็วจะจับเรา ครั้งนั้น ก็หลบเข้าซอกดินนั่นเอง. เหยี่ยว

ยังอกให้กระแทกดิน (ตาย) ในที่นั้นเทียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องนกมูลไถ

เที่ยวไปในถิ่นอื่น อันมิใช่ถิ่นหากิน ย่อมเป็นเช่นนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

[๖๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่า

เที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร. เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์อื่น

อันมิใช่โคจร มารจักได้ช่อง มารจักได้อารมณ์. ก็อารมณ์อื่นอันมิใช้โคจร

ของภิกษุ คืออะไร. คือ กามคุณ ๕. กามคุณ ๕ เป็นไฉน. คือ รูปอัน

พึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวน

ให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้ด้วยโสต...กลิ่นที่พึงรู้ด้วยฆานะ...รสที่พึงรู้ด้วยชิวหา.

โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้

ใคร่ ชวนให้กำหนัด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ อารมณ์อื่น มิใช่โคจร

ของภิกษุ.

[๗๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่ง

เป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็น

ของบิดาตน อันเป็นโคจร มารจักไม่ได้ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์. ก็อารมณ์

อันเป็นของบิดา อันเป็นโคจร คืออะไร. คือสติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔

เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัย ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น

เวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็น

ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็น

โคจรของภิกษุ.

จบสกุณัคฆีสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

อรรถกถาสกุณัคฆีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสกุณัคฆีสูตรที่ ๖.

บทว่า สกุณคฺฆิ ได้แก่ ชื่อว่า สกุณัคฆิ เพราะอรรถว่า ฆ่านก.

คำนั่นเป็นชื่อของเหยี่ยว. บทว่า สหสา อชฺฌปฺปตฺตา ได้แก่ โฉบลง

โดยเร็ว เพราะความโลภ. บทว่า อลกฺขิกา ได้แก่เป็นผู้หมดสิริ. บทว่า

อปฺปปุญฺา แปลว่า เป็นผู้มีบุญน้อย. บทว่า สจชฺช มย ตัดบทเป็น

สเจ อชฺช มย ถ้าวันนี้เรา. บทว่า นงฺคลกฏกรณ ได้แก่ การทำนา

ด้วยไถ คือไถใหม่ ๆ อธิบายว่าทำนา. บทว่า เลณฺฑุฏฺาน แปลว่า ที่แตก

ระแหง. บทว่า อวาทมานา คือเหยี่ยวเมื่อหยิ่ง อธิบายว่า กล่าวสรรเสริญ

กำลังของตนด้วยดี. บทว่า มหนฺต เลณฺฑุ อภิรุหิตฺวา ความว่า นกมูลไถ

กำหนดที่ก้อนดิน ๓ ก้อน ตั้งอยู่ โดยสัณฐานดังเตาไฟว่า เมื่อเหยี่ยวบิน

มาข้างนี้เราจักหลีกไปข้างโน้น เมื่อบินมาข้างโน้น เราจักหลีกไปข้างนี้ ดังนี้

ขึ้นก้อนดินก้อนหนึ่ง ในก้อนดิน ๓ ก้อนเหล่านั้น ยืนท้าอยู่. บทว่า สนฺธาย

ได้แก่ หลุบปีกดุจลู่อก คือตั้งไว้ด้วยดี. บทว่า พหุ อาคโต โข มยาย

ความว่า นกมูลไถรู้ว่าเหยี่ยวนี้มาสู่ที่ไกลกว่าเพื่อต้องการเรา บัดนี้จักจับเรา

ไม่ให้เหลือแต่น้อย ดังนี้ จึงหลบเข้าไปในระหว่างดินนั้นแล คล้ายน้ำอ้อยงบ

ติดอยู่ที่พื้น. บทว่า อุร ปจิจตาเฬสิ ความว่า เหยี่ยวเมื่อไม่สามารถดำรง

ความเร็วไว้ได้ เพราะแล่นไปด้วยติดว่า เราจักจับตัดหัวของนกมูลไถครั้งเดียว

กระแทกอกที่ดินนั้น ในทันใดนั้นเอง หัวใจของมันแตกแล้ว ครั้งนั้น นก

มูลไถร่าเริงยินดี ว่าเราเห็นหลังของศัตรู ดังนี้ จึงเดินไปมาตรงหัวใจ

ของเหยี่ยวนั้น.

จบอรรถกถาสกุณัคฆีสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

๗. มักกฏสูตร

ว่าด้วยอารมณ์อันมิใช่โคจร

[๗๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถิ่นแห่งขุนเขาชื่อหิมพานต์ อันไปได้

ยากขรุขระ ไม่เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของหมู่มนุษย์ มีอยู่. ถิ่นแห่งขุน

เขาชื่อหิมพานต์ อันไปได้ยาก ขรุขระ เป็นที่เที่ยวไปของฝูงลิงเท่านั้น ไม่

ใช่ของหมู่มนุษย์ มีอยู่. ภูมิภาคแห่งขุนเขาชื่อหิมพานต์ ราบเรียบ น่า-

รื่นรมย์ เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิงทั้งของหมู่มนุษย์ มีอยู่. ณ ที่นั้น พวก

พรานวางตังไว้ในทางเดินของฝูงลิงเพื่อดักลิง. ในลิงเหล่านั้น ลิงเหล่าใดไม่

โง่ ไม่ลอกแลก ลิงเหล่านั้น เห็นตังนั้น ย่อมหลีกออกห่าง. ส่วนลิงใดโง่

ลอกแลก ลิงตัวนั้นเข้าไปใกล้ทั้งนั้นเอามือจับ มือก็ติดตัง มันจึงเอามือข้าง

ที่สองจับ ด้วยคิดว่า จักปลดมือออก มือข้างที่สองติดตังอีก มันจึงเอาเท้าจับ

ด้วยคิดว่า จักปลดมือทั้งสองออก เท้าก็ติดตังอีก มันจึงเอาเท้าข้างที่สองจับ

ด้วยคิดว่า จักปลดมือทั้งสองงและเท้าออก เท้าที่สองติดตังอีก มันจึงเอาปาก

กัด ด้วยคิดว่า จักปลดมือทั้งสองและเท้าทั้งสองออก ปากก็ติดตังอีก. ลิง

ตัวนั้นถูกตรึง ๕ ประการอย่างนี้แล นอนถอนใจ ถึงความพินาศ ถึงความ

ฉิบหายแล้ว อันพรานจะพึงกระทำได้ตามความปรารถนา. พรานแทงลิงตัวนั้น

แล้ว จึงดึงออกทิ้งไว้ในที่นั้นเอง ไม่ปล่อยไป หลีกไปตามความปรารถนา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องลิงเที่ยวไปในถิ่นอื่น อันมิใช่ที่ควรเที่ยวไปย่อมเป็น

เช่นนี้ แหละ.

[๗๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายว่า

เที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์อื่น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

อันมิใช่โคจร มารจักได้ช่อง มารจักได้อารมณ์. ก็อารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของ

ภิกษุคืออะไร. คือ กามคุณ ๕. กามคุณ ๕ เป็นไฉน. คือ รูปที่พึงรู้ด้วย

จักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด

เสียงที่พึงรู้ด้วยโสต. . .กลิ่นที่พึงรู้ด้วยฆานะ. . .รสที่พึงรู้ด้วยชิวหา. . .โผฏฐัพพะ

ที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวน

ให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ อารมณ์อื่นอันมิใช่โคจรของภิกษุ.

[๗๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ซึ่ง

เป็นของบิดาตน อันเป็นโคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์ซึ่งเป็นของ

บิดาตน อันเป็นโคจร มารจักไม่ได้ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์. ก็อารมณ์

อันเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ คืออะไร. คือ สติปัฏฐาน ๔.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่...ย่อม

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของ

บิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ.

จบมักกฏสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

อรรถกถามักกฏสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมักกฏสูตรที่ ๗.

บทว่า ทุคฺคา แปลว่า ไปยาก. บทว่า จารี แปลว่า เป็นที่

เที่ยว. บทว่า เลป โอฑฺเฑนฺติ ความว่า พวกพรานทำตังผสมด้วยยาง

ต้นไทรย้อยเป็นต้น กำหนดว่า ที่นั้นๆ เป็นที่เดินประจำของพวกลิง ดังนี้

แล้ววางไว้ที่กิ่งต้นไม้เป็นต้น. บทว่า ปญฺโจฑฺฑิโต ความว่า ลิงถูกตรึง

ในที่ทั้ง ๕ เหมือนสาแหรกอันตนสอดไม้คานเข้าไปแล้ว จับไว้ฉะนั้น. บทว่า

ถุน เสติ ได้แก่ นอนถอนใจอยู่.

จบอรรถกถามักกฏสูตรที่ ๗

๘. สูทสูตร

ว่าด้วยการสำเหนียกและไม่สำเหนียกนิมิต

[๗๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้เขลา ไม่ฉลาด

เฉียบแหลม บำรุงพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด

มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง

ไม่เฝื่อนบ้าง เค็มบ้าง จืดบ้าง. พ่อครัวนั้น. . . ไม่สังเกตรสอาหารของตน

ว่า วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้ หรือ

ท่านหยิบสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยว

จัด ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสเปรี้ยวจัด หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

เปรี้ยวจัดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสเปรี้ยวจัด วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรส

ขมจัด . . . มีรสเผ็ดจัด. . . มีรสหวานจัด .. . มีรสเฝื่อน. . . มีรสไม่เฝื่อน

. . . มีรสเค็ม. . . วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสจืดท่านชอบใจ หรือท่าน

รับสูปะมีรสจืด หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรสจืดมาก หรือท่านชมสูปะมีรสจืด

ดังนี้. พ่อครัวนั้น. . . ย่อมไม่ได้เครื่องนุ่งห่ม ไม่ได้ค่าจ้าง ไม่ได้รางวัล.

ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนเขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ไม่

สังเกตเครื่องหมายอาหารของตน ฉันใด.

[๗๐๕] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย

นี้เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาดเฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ

เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. เมื่อเธอ

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละอุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่

สำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ .. . ย่อมพิจารณา

เห็นจิตในจิตอยู่ .. . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. เมื่อเธอพิจารณาเห็น

ธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมไม่ตั้งมั่น ยังละอุปกิเลสไม่ได้ เธอไม่สำเหนียก

นิมิตนั้น. ภิกษุนั้น ... ย่อมไม่ได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และ

ไม่ได้สติสัมปชัญญะ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้เขลา ไม่

ฉลาดเฉียบแหลม ไม่สำเหนียกนิมิตแห่งจิตของตน.

[๗๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพ่อครัวผู้มีปัญญาฉลาด

เฉียบแหลม บำรุงพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชาด้วยสูปะต่างชนิด

มีรสเปรี้ยวจัดบ้าง ขมจัดบ้าง เผ็ดจัดบ้าง หวานจัดบ้าง มีรสเฝื่อนบ้าง

ไม่เฝื่อนบ้าง มีรสเค็มบ้าง จืดบ้าง พ่อครัวนั้นย่อมสังเกตรสอาหารของตนว่า

วันนี้ ภัตและสูปะของเราชนิดนี้ ท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะนี้ หรือหยิบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

เอาสูปะนี้มาก หรือท่านชมสูปะนี้ วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสเปรี้ยวจัด . . .

วันนี้ ภัตและสูปะของเรามีรสขมจัด... มีรสเผ็ดจัด. . . มีรสหวานจัด...

มีรสเฝื่อน... มีรสไม่เฝื่อน... มีรสเค็ม . . วันนี้ ภัตและสูปะของเรามี

รสจืดท่านชอบใจ หรือท่านรับสูปะมีรสจืด หรือท่านหยิบเอาสูปะมีรสจืดมาก

หรือท่านชมสูปะมีรสจืด ดังนี้ พ่อครัวนั้นย่อมได้เครื่องนุ่งห่ม ได้ค่าจ้าง

ได้รางวัล. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะพ่อครัวนั้นเป็นคนมีปัญญา ฉลาด

เฉียบแหลม สังเกตรสอาหารของตน ฉันใด.

[๗๐๗] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัย

นี้เป็นผู้มีปัญญา ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อ

เธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อม

สำเหนียกนิมิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณา

เห็นจิตในจิตอยู่. . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณา

เห็นธรรมในธรรมอยู่ จิตย่อมตั้งมั่น ละอุปกิเลสได้ เธอย่อมสำเหนียกใน

นิมิตนั้น ภิกษุนั้นย่อมได้ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สละได้สติ

สัมปชัญญะ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร. เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา ฉลาด

เฉียบแหลม สำเหนียกนิมิตแห่งจิตของตน.

จบสูทสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

อรรถกถาสูทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูทสูตรที่ ๘

บทว่า สูโท แปลว่า คนทำกับข้าว. บทว่า นานจฺจเยหิ คือ

ต่างชนิด อธิบายว่า ต่างอย่าง. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะนี้ก็เหมือนกัน. บทว่า

อมฺพิลคฺเคหิ ได้แก่ มีส่วนเปรี้ยว. ในบททั้งปวงก็นัยนี้แล. บทว่า อภิหรติ

ได้เเก่ เหยียดมือออกเพื่อต้องการรับ. บทว่า พหุ คณฺหาติ ความว่า

เมื่อรับมากโดยรับครั้งเดียวก็ดี รับบ่อย ๆ ก็ดี ก็ชื่อว่า รับมากอยู่นั่นเอง.

บทว่า อภิหาราน ความว่า รางวัลที่เขายกขึ้นร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งนำไป.

บทว่า อุปกฺลิเลสา ได้แก่ นิวรณ์ ๕ อย่าง. บทว่า นิมิตฺต น อุคฺคณฺหาติ

ความว่า ภิกษุย่อมไม่รู้ว่า กัมมัฏฐานนี้ของเรา จดถึงอนุโลมญาณ หรือ

โคตรภูญาณแล้วดังนี้ ย่อมไม่สามารถจะจับนิมิตแห่งจิตของตนได้. ในพระ-

สูตรนี้ พระองค์ตรัสสติปัฏฐานอันเป็นบุพภาควิปัสสนาแล.

จบอรรถกถาสูทสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

๙. คิลานสูตร

ว่าด้วยมีตนเป็นเกาะ

[๗๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้กรุง

เวสาลี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า

มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเข้าจำพรรษาในกรุงเวลีโดยรอบ

ตามมิตร ตามสหาย ตามพวก ( ของตน ๆ) เถิด เราจะเข้าจำพรรษา ณ

เวฬุวคามนี้แล. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

เข้าจำพรรษาในกรุงเวสาลีโดยรอบ ตามมิตร ตามสหาย ตามพวก (ของตนๆ).

[๗๐๙] ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าจำพรรษา ณ เวฬุวคาม

นั้นแหละ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าจำพรรษาแล้ว อาพาธกล้าบังเกิดขึ้น

เวทนาอย่างหนักใกล้มรณะเป็นไปอยู่. ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงดำรงพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้น ไม่ทรงพรั่นพรึง. ครั้งนั้น พระองค์

ทรงดำริว่า การที่เรายังไม่บอกภิกษุผู้อุปัฏฐาก ยังไม่อำลาภิกษุสงฆ์ แล้ว

ปรินิพพานเสียนั้น หาสมควรแก่เราไม่ ไฉนหนอ เราพึงขับไล่อาพาธนี้เสีย

ด้วยความเพียร แล้วดำรงชีวิตสังขารอยู่. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ขับไล่พระประชวรนั้นด้วยความเพียร แล้วทรงดำรงชีวิตสังขารอยู่. ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจากพระประชวรแล้ว ทรงหายจากความเจ็บป่วย

ไม่นาน ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ใต้ร่มเงาแห่งวิหาร.

[๗๑๐] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอดทน ข้าพระองค์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยัง

อัตภาพให้เป็นไป กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะงอมระงมไป แม้ทิศทั้งหลาย

ก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์

เพราะความประชวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ข้าพระองค์มาเบาใจอยู่หน่อย

หนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ทรงปรารภภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสพระพุทธพจน์

อันใดอันหนึ่ง จักยังไม่เสด็จปรินิพพานก่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนอานนท์ ก็บัดนี้ภิกษุสงฆ์จะยังมาหวังอะไรในเราเล่า. ธรรมอันเรา

แสดงแล้ว กระทำไม่ให้มีในภายใน ไม่ให้มีในภายนอก. กำมืออาจารย์ในธรรม

ทั้งหลาย มิได้มีแก่ตถาคต. ผู้ใดพึงมีความดำริฉะนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์

หรือว่าภิกษุสงฆ์ยังมีตัวเราเป็นที่เชิดชู ผู้นั้นจะพึงปรารภภิกษุสงฆ์ แล้ว

กล่าวคำอันใดอันหนึ่งแน่นอน. ดูก่อนอานนท์ ตถาคตมิได้มีความดำริอย่าง

นี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ หรือว่าภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่เชิดชู ดังนี้.

ตถาคตจักปรารภภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวคำอันใดอัน หนึ่งทำไมอีกเล่า. บัดนี้เราก็

แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว วัยของเราเป็นมาถึง ๘๐ ปีแล้ว.

เกวียนเก่ายังจะใช้ไปได้ก็เพราะการซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ ฉันใด กายของ

ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังเป็นไปได้ก็คล้ายกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซมแล้ว

ด้วยไม้ไผ่ ฉะนั้น.

[๗๑๑] ดูก่อนอานนท์ สมัยใด ตถาคตเข้าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต

เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง เพราะดับเวทนาบางเหล่าแล้วอยู่

สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมผาสุก เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงมีตน

เป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ จงมีธรรมเป็นเกาะ มี

ธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

[๗๑๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง

ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็น

ที่พึ่งอยู่. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนาอยู่. . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่. . . ย่อมพิจารณา

เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็น

ที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่น

เป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนั้นแล.

[๗๑๓] ดูก่อนอานนท์ ก็ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วง

ไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ

มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุเหล่าใดเป็น

ผู้ใคร่ต่อการศึกษา ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศ.

จบคิลานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

อรรถกถาคิลานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในคิลานสูตรที่ ๙.

บทว่า เวลุวคามเก ความว่า มีปารคามอยู่แห่งหนึ่ง มีชื่ออย่างนี้

ใกล้กรุงเวสาลี. ณ ปารคามนั้น. ในบทว่า ยถามิตฺต เป็นต้น ได้แก่

มิตรทั้งหลาย. บทว่า สนฺทิฏฺ ความว่า เพื่อนแรกพบร่วมกันในที่นั้น ๆ

จัดเป็นมิตรที่ไม่มั่นคงนัก. บทว่า สมฺภตฺต ความว่า เพื่อนคบกันดี

มีความเยื่อใย จัดเป็นมิตรมั่นคง. อธิบายว่า พวกเธอทั้งหลายจงเข้าจำพรรษา

ในที่มีภิกษุทั้งหลายเห็นปานนั้นอยู่เถิด. ถามว่า ตรัสอย่างนั้น เพราะเหตุไร

ตอบว่า เพื่อยู่ผาสุกของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.

ได้ยินว่า ในเวฬุวคาม เสนาสนะไม่พอสำหรับภิกษุเหล่านั้น ทั้ง

ภิกษาก็น้อย แต่โดยรอบกรุงเวสาลี มีเสนาสนะมาก ทั้งภิกษาก็หาได้ง่าย

เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสอย่างนี้.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงปล่อย

ไปว่า เธอทั้งหลาย จงไปตามสบายเถิด. ตอบว่า เพื่อนุเคราะห์ภิกษุทั้งหลาย

เหล่านั้น. ได้ยินว่า พระองค์ได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า เราดำรงอยู่เพียงกึ่งเดือน

จักปรินิพพาน. ถ้าภิกษุทั้งหลาย จักไปไกลเรา เธอทั้งหลายจักไม่อาจเห็นเรา

ในเวลาปรินิพพาน. ครั้งนั้น พวกเธอพึงมีความเดือดร้อนว่า เมื่อพระศาสดา

ปรินิพพานไม่ได้ประทานแม้เพียงสติแก่เราทั้งหลาย ถ้าเราทั้งหลายพึงรู้ ก็

ไม่พึงอยู่ไกลอย่างนี้. แต่เมื่อเธอทั้งหลายอยู่รอบกรุงเวสาลี จักมาฟังธรรม

เดือนละ ๘ ครั้ง ก็ได้โอวาทของสุคต ดังนี้ จึงไม่ทรงปล่อย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

บทว่า ขโร ได้แก่ กล้าแข็ง. บทว่า อาพาโธ ได้แก่ โรค

ที่เป็นวิสภาคะ. บทว่า พาฬฺหา แปลว่า มีกำลัง. บทว่า มรณนฺติกา ได้แก่

สามารถจะให้ถึงตาย คือใกล้ตายได้. บทว่า สโต สมฺปชาโน อธิวาเสติ

ความว่า ทรงดำรงพระสติไว้ดี กำหนดด้วยญาณทรงอดกลั้น. บทว่า

อวิหญฺมโน ความว่า ไม่ทรงกระสับกระส่ายไปตามอำนาจเวทนา คือ

ทรงอดกลั้นไว้ไม่ให้ถูกเวทนาเบียดเบียน และไม่ให้เกิดทุกข์. บทว่า อนามนฺ-

เตตฺวา คือไม่บอกภิกษุให้รู้ และไม่เผดียงภิกษุสงฆ์ให้รู้ ท่านอธิบายว่า

ไม่ประทานโอวาทานุสาสนี. บทว่า วิริเยน ได้แก่ ด้วยความเพียรเป็น

บุรพภาค และด้วยความเพียรเป็นผลสมาบัติ. บทว่า ปฏิปณาเมตฺวา คือ

ข่มไว้. ในบทว่า ชีวิตสขาร นี้ แม้ชีวิตจัดเป็นชีวิตสังขาร. ชีวิตอันบุคคล

ปรับปรุง คือต่อชีวิตที่กำลังขาด ดำรงอยู่ได้ด้วยธรรมคือผลสมาบัติใด แม้

ธรรมคือผลสมาบัตินั้น ก็จัดเป็นชีวิตสังขาร. ชีวิตสังขารนั้น ทรงประสงค์

ในที่นี้. บทว่า อธิฏฺาย ความว่า เราพึงเข้าผลสมาบัติ อันสามารถ

อธิษฐานเหตุให้ดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ ดังนี้. นี้ความสังเขปในข้อนี้.

ถามว่า ก็ก่อนแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงเข้าผลสมาบัติหรือ.

ตอบว่า ทรงเข้า. แต่สมาบัตินั้น เป็นขณิกสมาบัติ ก็ขณิกสมาบัติ ย่อม

ข่มเวทนาได้ ในภายในสมาบัติเท่านั้น พอออกจากสมาบัติแล้ว เวทนาย่อม

ครอบงำสรีระอีก เหมือนสาหร่ายขาดจากกัน เพราะไม้ขอนตก หรือเพราะ

หินตก แล้วก็ปกคลุมน้ำอีก ฉะนั้น. สมาบัติที่เข้าด้วยอำนาจมหาวิปัสสนา

*ทำหมวด ๗ แห่งรูป *และหมวด ๗ แห่งอรูป มิให้เป็นกอ มิให้เป็นชัฏใด

สมาบัตินั้น ย่อมข่มไว้ด้วยดี. เมื่อออกจากสมาบัตินั้นแล้วนาน เวทนาจึงจะ

เกิดขึ้นได้ เหมือนสาหร่ายที่ใช้ให้คนลงสู่สระโบกขรณีเอามือและเท้าแยก

* ดูในวิสุทธิมรรคบาลีภาค ๓ ตอนมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

ไม่ให้ประชิดกันด้วยดี นานจึงจะปกคลุมน้ำได้ ฉะนั้น. ด้วยประการอย่างนั้น

ในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำหมวด ๗ แห่งรูป และหมวด ๗ แห่ง

อรูป มิให้เป็นกอ มิให้เป็นชัฏ เหมือนแรกตั้งวิปัสสนาใหม่ ๆ ณ มหา-

โพธิบัลลังก์ ไหลไปด้วยอาการ ๑๔ ทรงข่มเวทนาด้วยมหาวิปัสสนา ทรงเข้า

สมาบัติด้วยทรงดำริว่า ตลอด ๑๐ เดือน เวทนาอย่าเกิดขึ้นเลย ดังนี้.

เวทนาอัน สมาบัติข่มไว้ก็เกิดขึ้นไม่ได้ตลอด ๑๐ เดือน. บทว่า คิลานา วุฏฺิโต

ได้แก่ ประชวรแล้ว หายประชวรอีก.

บทว่า มธุรกชาโต วิย ความว่า เกิดความหนัก เกิดความ

กระด้าง เหมือนถูกคนเงื้อหลาวขึ้นให้สะดุ้ง. บทว่า น ปกฺขายนฺติ ได้แก่

ย่อมไม่ประกาศ คือ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุต่าง ๆ. บทว่า ธมฺมาปิ

ม นปฺปฏิภนฺติ ท่านแสดงว่า สติปัฏฐานธรรม ย่อมไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์.

ส่วนธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นความคล่องแคล่วด้วยดีของพระเถระ. บทว่า

น อุทาหรติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังไม่ประทานปัจฉิมโอวาท

ท่านพระอานนท์ กล่าวหมายถึงข้อนั้น.

บทว่า อนนฺตร อพาหิร ความว่า ก็ภิกษุเมื่อไม่ทำธรรมทั้งสอง

ด้วยอำนาจธรรม หรือด้วยอำนาจบุคคล คิดว่า เราจักไม่แสดงธรรมประมาณ

เท่านี้ ชื่อว่า กระทำธรรมให้มีในภายใน. เมื่อคิดว่า จักแสดงธรรมประมาณ

เท่านี้แก่คนอื่น ชื่อว่า กระทำบุคคลให้มีในภายนอก. แต่เมื่อคิดว่าจักแสดง

แก่บุคคลอื่น ชื่อว่า กระทำบุคคลให้มีในภายใน. เมื่อคิดว่า จักไม่แสดง

แก่บุคคลนี้ ชื่อว่า กระทำบุคคลให้ในภายนอก. อธิบายว่า เราไม่ทำอย่างนั้น

แสดงธรรม. บทว่า อาจริยมุฏฺิ ความว่า ชื่อว่า กำมืออาจารย์ย่อมมี

สำหรับพวกคนภายนอก. ในเวลาหนุ่ม ท่านไม่กล่าวแก่ใคร ในปัจฉิมกาล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

เมื่อนอนบนเตียงเป็นที่ตาย จึงกล่าวแก่อันเตวาสิกผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจ

ท่านแสดงว่า พระตถาคตไม่มีคำอะไร ที่จะกำมือเก็บไว้อย่างนั้นว่า เราจักกล่าว

คำนี้ ในเวลาแก่ ในเวลาครั้งสุดท้าย ดังนี้.

บทว่า อห ภิกฺขุสงฺฆ ความว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์หรือ.

บทว่า มมุทฺเทสิโก ความว่า หรือว่า เราชื่อว่า มมุทเทสิกะ เพราะ

วิเคราะห์ว่า มีความเชิดชู ด้วยอรรถว่า อันภิกษุสงฆ์พึงเชิดชู ขอภิกษุสงฆ์

จงหวังเรา เฉพาะเราเท่านั้น จะเป็นเรื่องใด เรื่องหนึ่งก็ตาม อย่าล่วงเราไป

อธิบายว่า ก็หรือว่าแก่คนใด คนหนึ่ง. บทว่า น เอว โหติ ความว่า

ตถาคตย่อมไม่มีอย่างนี้ เพราะอิสสาและมัจฉริยะทั้งหลาย หมดสิ้นแล้ว ณ

โพธิบัลลังก์นั่นแล. บทว่า ส กึ แปลว่า นั้นอะไร. บทว่า อสีติโก

ความว่า วัย ๘๐ ปี. คำนี้ ตรัสเพื่อทรงแสดงถึงวัยที่ผ่านมาตามลำดับถึง

ปัจฉิมวัย. บทว่า เวฬุมิสฺสเกน ความว่า เพราะซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่อัน

ปรับปรุงด้วยเครื่องผูกที่ทูบ และที่ล้อเป็นต้น. บทว่า มญฺเ ยาเปติ

ท่านแสดงว่า การก้าวไปด้วยอิริยาบถ ๔ ย่อมมีแก่ตถาคต เพราะผูกด้วย

พระอรหัตผล เหมือนเกวียนเก่ายังเป็นไปได้ เพราะซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่

ฉะนั้น.

บัดนี้ เมื่อพระองค์ทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

ยสฺมึ อานนฺท สมเย ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพนิมิตฺตาน

ได้แก่ รูปนิมิตเป็นต้น . บทว่า เอกจฺจาน เวทนาน ได้แก่ โลกิยเวทนา.

บทว่า ตสฺมาติหานนฺท ท่านแสดงว่า เพราะความผาสุกย่อมมีได้ ด้วย

ผลสมาบัติวิหารนี้. ฉะนั้น แม้เธอทั้งหลายจงอยู่อย่างนี้ เพื่อประโยชน์แก่

ความอยู่ผาสุกนั้นเถิด. บทว่า อตฺตทีปา ความว่า เธอทั้งหลาย จงทำตน

ให้เป็นเกาะคือเป็นที่พึ่งอยู่เถิด เหมือนคนอยู่ในมหาสมุทร ทำเกาะอาศัยอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

ฉะนั้น. บทว่า อตฺตสรณา ความว่า เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นคติ อย่า

มีคนอื่นเป็นคติเลย. แม้ในบทมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ก็นัยนี้

นั่นแล. ก็โลกุตรธรรม ๙ อย่าง พึงทราบว่า ธรรมในบทนี้. บทว่า

ตมตคฺเคเม เต ตัดบทเป็น ตมอคฺเค ต อักษร ในท่ามกลางท่านกล่าว

ด้วยสามารถการเชื่อมบท. มีอธิบายว่า ภิกษุเหล่านี้ ชื่อว่า ตมตัคคา เพราะ

อรรถว่า มีความมืดเป็นเลิศ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเทศนาด้วยธรรม

อันเป็นยอด คือพระอรหัตว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นของเรา

ตัดกระแสแห่งความมืดได้ทั้งหมดอย่างนี้แล้ว จักเป็นผู้เลิศ คือส่วนสงสุด

เกินเปรียบ คือจักเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา และภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นอารมณ์

จักเป็นผู้เลิศ ดังนี้.

จบอรรถกถาคิลานสูตรที่ ๙

๑๐. ภิกขุนีสูตร

ผู้มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษ

[๗๑๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังสำนักของนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง แล้วนั่งบนอาสนะ

ที่เขาปูลาดไว้. ครั้งนั้น ภิกษุณีมากรูปเข้าไปหาท่านพระอานนท์ ไหว้ท่าน

พระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว จึงพูดกะท่าน

พระอานนท์ว่า ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ภิกษุณีมีมากรูปในธรรมวินัยนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษ

ในกาลก่อน. ท่านพระอานนท์ตอบว่า น้องหญิง ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้

เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔

ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจาก

คุณวิเศษในกาลก่อน. ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ยังภิกษุณีเหล่านั้นให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมมีกถา แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.

[๗๑๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตในพระนคร-

สาวัตถีแล้ว ในเวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช้านี้

ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังสำนักนางภิกษุณีแห่งหนึ่ง

แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้. ครั้งนั้น ภิกษุณีมากรูปเข้ามาหาข้าพระองค์

ไหว้ข้าพระองค์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้พูดกะข้า-

พระองค์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ภิกษุณีมากรูปในธรรมวินัยนี้

มีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษ

ในกาลก่อน. เมื่อภิกษุณีทั้งหลายพูดอย่างนั้นแล้ว ข้าพระองค์ตอบว่า น้องหญิง

ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิต

ตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้

คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน.

[๗๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ อันเป็นอย่างนั้น

ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีจิตตั้งมั่นดีแล้วใน

สติปัฏฐาน ๔ ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้นพึ่งหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้คุณวิเศษอันยิ่ง

อย่างอื่นจากคุณวิเศษในกาลก่อน. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

[๗๑๗] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น

กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสีย. เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ความเร่าร้อนมีกายเป็นอารมณ์

เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี จิตฟุ้งซ่านไปในภายนอกก็ดี.

ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใด

อย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใด

อย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเธอปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอ

มีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมีกายระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข

เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอย่อมพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิตไว้

เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแก่เราแล้ว บัดนี้เราจะคุมจิตไว้. เธอ

คุมจิตไว้ และไม่ตรึก ไม่ตรอง ย่อมรู้ชัดว่า เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

มีสติ ในภายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.

[๗๑๘] ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

พิจารพาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อม

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. เมื่อเธอพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ความ

เร่าร้อนมีธรรมเป็นอารมณ์เกิดขึ้นในกายก็ดี ความหดหู่แห่งจิตเกิดขึ้นก็ดี

จิตฟุ้งซ่านไปในภายนอกก็ดี. ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ให้มั่นในนิมิต อันเป็น

ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเธอตั้งจิตไว้มั่นในนิมิต อันเป็น

ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ปราโมทย์ย่อมเกิด เมื่อเธอ

ปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมระงับ เธอมี

กายระงับแล้ว ย่อมเสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอย่อมพิจารณา

เห็นอย่างนี้ว่า เราตั้งจิตไว้เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้นสำเร็จแก่เราแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

บัดนี้เราจะคุมจิตไว้. เมื่อเธอคุมจิตไว้ และไม่ตรึก ไม่ครอง ย่อมรู้ชัดว่า

เราไม่มีวิตก เราไม่มีวิจาร มีสติในภายใน เป็นผู้มีความสุข ดังนี้ ดูก่อน

อานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้ ด้วยประการฉะนี้แล.

[๗๑๙] ดูก่อนอานนท์ ก็ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ตั้งจิตไว้ในภายนอก.

อย่างไร. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า จิต

อันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ได้

ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้วมิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อม

รู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.

[๗๒๐] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า

จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่

ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอ

ย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.

[๗๒๑] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า

จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่

ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอ

ย่อมรู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.

[๗๒๒] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมิได้ตั้งจิตไว้ในภายนอก ย่อมรู้ชัดว่า

จิตอันเรามิได้ตั้งไว้ในภายนอก ในลำดับนั้น เธอย่อมรู้ชัดว่า จิตของเรามิได้

ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ก็แลในกาลนั้น เธอย่อม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

รู้ชัดว่า เราย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ เป็นผู้มีความสุข ดังนี้.

[๗๒๓] ดูก่อนอานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะไม่ได้ตั้งจิตไว้อย่างนั้นแล

ดูก่อนอานนท์ ภาวนาย่อมมีเพราะตั้งจิตไว้ เราแสดงแล้ว ภาวนาย่อมมี

เพราะมิได้ตั้งจิตไว้ เราก็แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล. ดูก่อนอานนท์

กิจอันใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ นุ่งความอนุเคราะห์จะ

พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจอันนั้น เรากระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย. อานนท์

นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง. เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มี

ความร้อนใจในภายหลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ปลื้มใจ

ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบภิกขุนีสูตรที่ ๑๐

จบอัมพปาลิวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

อรรถกถาภิกขุนีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุนีสูตรที่ ๑๐

บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระอานนท์ เข้าไปหาด้วยคิดว่า

เราจักให้พวกภิกษุณีผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานมีอยู่ในสำนักนั้น เกิดความขวนขวาย

แล้ว จักบอกกัมมัฏฐานแก่เธอเหล่านั้น. บทว่า อุฬาร ปุพฺเพนาปร วิเสส

ความว่า ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่งอย่างอื่นจากคุณวิเศษในเบื้องต้น . การกำหนด

มหาภูตรูปในบทนั้น เป็นคุณวิเศษในเบื้องต้น การกำหนดอุปาทายรูป ชื่อว่า

คุณวิเศษในเบื้องปลาย การกำหนดสกลรูป เป็นคุณวิเศษในเบื้องต้นก็อย่าง

นั้น การกำหนดอรูป ชื่อว่า คุณวิเศษในเบื้องปลาย การกำหนดรูปและอรูป

เป็นคุณวิเศษในเบื้องต้น. การกำหนดปัจจัย ชื่อว่า คุณวิเศษในเบื้องปลาย.

การเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย เป็นคุณวิเศษในเบื้องต้น. การยกขึ้นสู่

ไตรลักษณ์ ชื่อว่า คุณวิเศษในเบื้องปลาย อธิบายว่า ย่อมรู้คุณวิเศษอันยิ่ง

เบื้องปลายจากคุณวิเศษในเบื้องต้นอย่างนี้.

บทว่า กายารมฺมโณ ความว่า เธอย่อมพิจารณาเห็นกายใด และ

ความเร่าร้อนเพราะกิเลสย่อมเกิดขึ้น เพราะทำกายนั้นแลให้เป็นอารมณ์.

บทว่า พหิทฺธา วา จิตฺต วิกฺขิปติ ความว่า จิตตุปบาทย่อมฟุ้งไปใน

ภายนอก คือในอารมณ์มากบ้าง. บทว่า กิสฺมิฺเทว ปสาทนีเย นิมิตฺเต

จิตฺต ปณิทหิตพฺพ ความว่า เมื่อความเร่าร้อนเพราะกิเลส ความหดหู่

และความฟุ้งซ่านไปในภายนอก เกิดขึ้นแล้ว ไม่พึงประพฤติไปตามความ

ยินดีของกิเลส คือพึงตั้งจิตไว้ในกัมมัฏฐาน ในนิมิต อันเป็นที่ตั้งแห่งความ

เลื่อมใส คือนำความเลื่อมใสมาให้อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ในฐานะอย่างใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

อย่างหนึ่ง ในบรรดาพระพุทธเจ้าเป็นต้น . บทว่า จิตฺต สมาธิยติ ความว่า

จิตรับอารมณ์โดยชอบ ย่อมตั้งมั่นดี. บทว่า ปฏิสหรามิ ได้แก่ เราจะ

คุมจิต จากฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส อธิบายว่า เราจะทำจิตนั้น

ให้มุ่งตรงต่อมูลกัมมัฏฐาน. บทว่า โส ปฏิสหรติ เจว ความว่า เธอ

ส่งจิตมุ่งตรงต่อมูลกัมมัฏฐาน. บทว่า น จ วิตกฺเกติ น จ วิจาเรติ

ความว่า ไม่ตรึกถึงกิเลส ไม่ตรองถึงกิเลส. บทว่า อวิตกฺโกมฺหิ อวิจาโร

ความว่า เราไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร โดยวิตกวิจารในกิเลส. บทว่า อชฺฌตฺต

สติมา สุขมสฺมิ ความว่า เธอย่อมรู้ชัดว่า เรามีสติ และมีความสุขดังนี้

ด้วยสติที่ดำเนินไปในภายในอารมณ์.

บทว่า เอว โข อานนฺท ปณิธาย ภาวนา โหติ ความว่า

อานนท์ ภาวนามีก็เพราะตั้งจิตไว้อย่างนั้น. ก็ภาวนาของภิกษุนี้ ผู้ถือเอา

กัมมัฏฐานไปเพื่อบรรลุพระอรหัต เมื่อความเร่าร้อนในกายเป็นต้น เกิดขึ้นแล้ว

พักกัมมัฏฐานนั้นไว้ ยังจิตให้เลื่อมใส ด้วยการระลึกในพระพุทธคุณเป็นต้น

ทำให้เป็นที่ตั้งแห่งการงาน ดำเนินไปแล้ว เหมือนการเดินไปของตนแบกอ้อย

หนักมาก ไปยังโรงหีบอ้อย ในเวลาเหนื่อยแล้วและเหนื่อยแล้ว วางลงบน

แผ่นดิน เคี้ยวกินท่อนอ้อยแล้ว ก็แบกไปอีกฉะนั้น. เพราะฉะนั้น พระองค์

จึงตรัสว่า ภาวนามีเพราะตั้งใจไว้. พึงทราบการเสวยสุขในผลสมาบัติของ

ภิกษุนี้ ผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานถึงที่สุดแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต เหมือนคนนั้น

นำอ้อยหนักนั้นไปยังโรงหีบอ้อย บีบอ้อยเสร็จแล้ว ดื่มรสฉะนั้น.

บทว่า พหิทฺธา ความว่า ละมูลกัมมัฏฐานไปในอารมณ์อื่นภายนอก

บทว่า อปฺปณิธาย แปลว่า มิได้ตั้งจิตไว้. ในบทว่า อถ ปจฺฉา ปุเร

อสฺขิตฺต วิมุตฺต อปฺปณิหิตนฺติ ปชานาติ นี้ พึงทราบความหมาย

ด้วยอำนาจกัมมัฏฐานบ้าง ด้วยอำนาจสรีระบ้าง ด้วยอำนาจเทศนาบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

ในบทเหล่านั้นพึงทราบให้กัมมัฏฐานก่อนความเชื่อมั่นต่อกัมมัฏฐาน

ชื่อว่า ข้างหน้า พระอรหัต ชื่อว่า ข้างหลัง. ในธรรมเหล่านั้น ภิกษุรูปใด

ถือเอามูลกัมมัฏฐาน ไม่ปล่อยโอกาสให้ควานเร่าร้อนในกิเลส ความหดหู่

หรือความฟุ้งซ่านไปในภายนอก เกิดขึ้นได้ เมื่อเริ่มวิปัสสนา มีจิตมั่น ไม่ติด

ย่อมบรรลุพระอรหัต เหมือนเทียมโคที่ฝึกดีให้แล่นไป และเหมือนใส่ลิ่ม

สีเหลี่ยมที่ถากไว้ในช่องสี่เหลี่ยม. ภิกษุรูปนั้นชื่อว่า ย่อมรู้ชัดว่า จิตไม่ฟุ้งซ่าน

ไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ด้วยอำนาจความเชื่อมั่นใน

กัมมัฏฐาน กล่าวคือข้างหน้า และพระอรหัตกล่าวคือข้างหลัง

ส่วนในสรีระ ข้อ ปลายนิ้วเท้า ชื่อว่า ข้างหน้า กระโหลกศีรษะ

ชื่อว่า ข้างหลัง. ในสองอย่างเหล่านั้น ภิกษุรูปใด มุ่งมั่นในกระดูกข้อ

ปลายนิ้วเท้า เมื่อกำหนดกระดูกด้วยอำนาจการกำหนดสี สัณฐาน ทิศ โอกาส

เหมือนฟาดฟ่อนข้าวเหนียว ห้ามความเกิดแห่งความเร่าร้อน เพราะกิเลส

ในระหว่างเป็นต้น บำเพ็ญภาวนาไปจนถึงกระโหลกศีรษะ. ภิกษุรูปนั้น

ชื่อว่า ย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลังและข้างหน้า พ้นแล้ว

มิได้ตั้งอยู่ ด้วยอำนาจแห่งข้อนิ้วปลายเท้า กล่าวคือข้างหน้า และแห่งกระโหลก

ศีรษะ กล่าวคือข้างหลัง.

แม้ในเทศนา ผมทั้งหลายชื่อว่า ข้างหน้าด้วยการแสดงอาการ ๓๒

มัตถลุงคัง (มันสมอง) ชื่อว่า ข้างหลัง. ในสองอย่างเหล่านั้น ภิกษุรูปใด

มุ่งมั่นในผม กำหนดจับผมเป็นต้น ด้วยอำนาจ สี สัณฐาน ทิศ โอกาส

ห้ามความเกิดแห่งความเร่าร้อนในกิเลสในระหว่าง บำเพ็ญภาวนาไปจนถึง

มันสมอง. ภิกษุรูปนั้น ชื่อว่า ย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราไม่ฟุ้งซ่านไปข้างหลัง

และข้างหน้า พ้นแล้ว มิได้ตั้งอยู่ ด้วยอำนาจผมกล่าวคือข้างหน้า และแห่ง

มันสมอง กล่าวคือข้างหลัง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

บทว่า เอว โข อานนฺท อปฺปณิธาย ภาวนา โหติ ความว่า

ดูก่อนอานนท์ ภาวนาย่อมมี เพราะมิได้ตั้งจิตไว้อย่างนี้ ก็กัมมัฏฐานภาวนา

ของภิกษุนี้ ย่อมเป็นไป เพราะห้ามความเกิดขึ้นแห่งความเร่าร้อนทางกาย

เป็นต้น แห่งการเริ่มภาวนา เพื่อบรรลุพระอรหัต เหมือนคนได้น้ำอ้อย

งบหนัก เมื่อนำไปยังเรือนของตน ไม่พักในระหว่าง เคี้ยวกินก่อนน้ำอ้อยงบ

เป็นต้น ที่ใส่ไว้ในพก ย่อมหยั่งเข้าไปบ้านของตน ฉะนั้น เพราะฉะนั้น

พระองค์จึงตรัสว่า ภาวนาย่อมมีเพราะมิได้ตั้งจิตไว้. พึงทราบการเสวยความสุข

ในผลสมาบัติ ของภิกษุนี้ ผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานถึงที่สุดแล้ว บรรลุพระอรหัต

เหมือนคนนั้นนำน้ำอ้อยงบหนักไปยังบ้านของตนแล้ว บริโภคพร้อมด้วยพวก

ญาติ ฉะนั้น. ในพระสูตรนี้ ตรัสบุพภาควิปัสสนา คำที่เหลือในบททั้งปวง

ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาภิกขุนีสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาอัมพปาลิวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัมพปาลิสูตร ๒. สติสูตร ๓. ภิกขุสูตร ๘. โกสลสูตร

๕. อกุสลราสิสูตร ๖. สกุณัคฆีสูตร ๗. มักกฎสูตร ๘. สูทสูตร ๙.

คิลานสูตร ๑๐. ภิกขุนีสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

นาฬันทวรรค ที่ ๒

๑. มหาปุริสสูตร*

ว่าด้วยผู้เป็นมหาบุรุษ

[๗๒๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์-

ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มหาบุรุษ ๆ ดังนี้ บุคคลจะเป็นมหาบุรุษได้ด้วยเหตุ

เท่าไรหนอแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเรียกว่า

มหาบุรุษ เพราะเป็นผู้มีจิตหลุดพ้น เราไม่เรียกว่า มหาบุรุษ เพราะเป็น

ผู้มีจิตยังไม่หลุดพ้น.

[๗๒๕] ดูก่อนสารีบุตร ก็บุคคลเป็นผู้มีจิตหลุดพ้น อย่างไร. ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่. มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น. ย่อม

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อม

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. เมื่อพิจารณาเห็นธรรมในธรรนอยู่ จิตย่อม

คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น. ดูก่อนสารีบุตร

บุคคลเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างนี้แล. เราเรียกว่า มหาบุรุษ เพราะเป็นผู้มีจิต

หลุดพ้น เราไม่เรียกว่า มหาบุรุษ เพราะเป็นผู้มีจิตยังไม่หลุดพ้น.

จบมหาปุริสสูตรที่ ๑

* ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

๒. นาฬันทาสูตร

ว่าด้วยธรรมปริยาย

[๗๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่ปาวาริกอัมพวัน

ใกล้เมืองนาฬันทา ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใส

ในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ซึ่งจะรู้ยิ่งไปกว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าในทางปัญญาเครื่องตรัสรู้ มิได้มีแล้ว จักไม่มี และย่อม

ไม่มีในบัดนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร นี้เป็นอาสภิวาจาอย่าง

สูงที่เธอกล่าวแล้ว เธอถือเอาแต่วาทะอย่างเดียวบันลือสีหนาทว่า พระพุทธ-

เจ้าข้า ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนั้นว่า สมณะหรือพราหมณ์

อื่น ซึ่งจะรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าในทางปัญญาเครื่องตรัสรู้มิได้มีแล้ว

จักไม่มี และย่อมไม่มีในบัดนี้.

[๗๒๗] ดูก่อนสารีบุตร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดที่ได้

มีมาแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์ อันเธอกำหนดซึ่ง

ใจด้วยใจแล้วรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นได้ทรงมีศีลอย่างนั้น ได้มีธรรม

อย่างนี้ ได้มีปัญญาอย่างนั้น ได้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนั้น หรือว่าหลุดพ้นแล้ว

อย่างนั้น ดังนี้ กระนั้นหรือ.

สา. หามิได้ พระเจ้าข้า.

[๗๒๘] พ. ดูก่อนสารีบุตร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด

ที่จักมีในอนาคตกาล และพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์ อันเธอ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

กำหนดซึ่งใจด้วยใจแล้วรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นจักทรงมีศีลอย่าง

นี้ จักมีธรรมอย่างนั้น จักมีปัญญาอย่างนี้ จักมีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้

หรือว่าหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ ดังนี้ กระนั้นหรือ.

สา. หามิได้ พระเจ้าข้า

[๗๒๙] พ. ดูก่อนสารีบุตร พระอรหันตสัมมาพุทธเจ้าในบัดนี้ คือ

เรา อันเธอกำหนดซึ่งใจด้วยใจแล้วรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มีศีลอย่าง

นี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ หรือว่า

หลุดพ้นแล้วอย่างนั้น ดังนี้ กระนั้นหรือ.

สา. หามิได้ พระเจ้าข้า.

[๗๓๐] พ. ดูก่อนสารีบุตร ก็ในข้อนี้ เธอไม่มีเจโตปริยญาณใน

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เมื่อเป็น

เช่นนั้น เพราะเหตุอะไร เธอจึงกล่าวอาสภิวาจาอย่างสูงนี้ เธอถือเอาวาทะ

แต่อย่างเดียวบันลือสีหนาทว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์เลื่อมใสใน

พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนั้นว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ซึ่งจะรู้ยิ่งไปกว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ในทางพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ มิได้มีแล้ว จักไม่มี

และย่อมไม่มีในบัดนี้.

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะมีเจโตปริยญาณในพระ-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันก็หามิได้ แต่ว่า

ข้าพระองค์รู้ได้ตามกระแสพระธรรม.

[๗๓๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนปัจจัยตนครของพระ-

ราชามีเชิงเทินมั่นคง มีกำแพงและหอรบแน่นหนา มีประตูเดียว คนเฝ้าประตู

ของพระราชาในนครนั้น มีปัญญาเฉลียวฉลาด มีความรู้ ห้ามคนที่ไม่รู้จัก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

ให้คนที่รู้จักเข้าไป. เขาเดินตรวจตามทางรอบนครนั้น ไม่พบที่ต่อหรือช่อง

แห่งกำแพงโดยที่สุด แม้เพียงแนวอาจรอคออกไปได้. เขาจะพึงมีความคิด

อย่างนั้นว่า สัตว์ตัวเขื่อง ๆ ชนิดใดชนิดหนึ่ง จะเข้านครนี้หรือจะออกไป

สัตว์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมเข้าหรือออกโดยประตูนี้เท่านั้น แม้ฉันใด ข้าพระองค์

รู้ตามกระแสพระธรรม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

เหล่าใดที่ได้มีมาแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์

ทรงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ ทอนกำลังปัญญา ทรงมี

พระหฤทัยตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความ

เป็นจริง ตรัสรู้พระอนุตตรสัมนจาสัมโพธิญาณแล้ว. พระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าเหล่าใด จักมีในอนาคตกาล... จักตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ.

แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕

อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ ทอนกำลังปัญญา ทรงมีพระหฤทัยตั้งมั่นดีแล้ว

ในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ตรัสรู้พระอนุตตร

สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว.

[๗๓๒] พ. ดีละ ๆ สารีบุตร เพราะเหตุนั้นแหละ เธอพึงกล่าว

ธรรมปริยายนี้เนือง ๆ แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ด้วยว่าโมฆบุรุษ

เหล่าใดจักมีความเคลือบแคลงหรือความสงสัยในตถาคต โมฆบุรุษเหล่านั้นจัก

ละความเคลือบแคลงหรือความสงสัยนั้นเสีย เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้.

จบนาฬันทสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

นาฬันทวรรคที่ ๒

นาฬันทสูตร

พึงทราบอธิบายในนาฬันทสูตรที่ ๒ แห่งทุติยวรรค.

คำว่าในนาฬันทา ได้แก่ในนครที่มีชื่ออย่างนี้ว่า นาฬันทา. ทรง

กระทำนครนั้นให้เป็นโคจรคาม.

คำว่า ปาวาริกอัมพวัน ได้แก่ ที่สวนมะม่วงของเศรษฐีชื่อว่า

ทุสสปาวาริกะ. นัยว่า ป่ามะม่วงนั้นได้เป็นอุทยานของเศรษฐีนั้น. ปาวา-

ริกเศรษฐีนั้น ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเลื่อมใสในพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกอบด้วยกุฏี ที่

หลีกเร้นและมณฑปเป็นต้นในอุทยานนั้น วิหารนั้นถึงการนับว่า ปาวาริ-

กัมพวัน เหมือนชีวกัมพวัน อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่

ในปาวาริกัมพวันนั้น.

บทว่า เลื่อมใสแล้วอย่างนี้ ความว่า มีความเชื่อถึงพร้อมแล้ว

อย่างนั้น อธิบายว่า เราเธออย่างนี้. บทว่า โดยยิ่งกว่า ๆ ความว่า ผู้มีชื่อ

เสียงอย่างยิ่ง อธิบายว่า หรือว่าผู้มีความรู้ยิ่งกว่าโดยความรู้.

บทว่า ในการตรัสรู้พร้อม ความว่า ในสัพพัญญุตญาณหรือใน

อรหัตมรรคญาณ. เพราะว่า พระพุทธคุณทั้งหลายทั้งหมดเป็นอันท่านถือ

เอาแล้วด้วยยอรหัตมรรคทีเดียว. ถึงแม้พระอัครสาวกทั้งสอง ก็ได้เฉพาะ

สาวกบารมีญาณด้วยยอรหัตมรรคเท่านั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อม

ได้โดยเฉพาะพระปัจเจกโพธิญาณ. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมได้เฉพาะพระ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

ัสัพพัญญุตญาณ และพระพุทธคุณทั้งสิ้น อรหัตมรรคญาณแม้ทั้งสิ้น ย่อม

สำเร็จแก่ท่านเหล่านั้น ด้วยอรหัตมรรคนั่นเอง เพราะฉะนั้น อรหัตมรรค

ญาณจึงชื่อว่าเป็นคุณเครื่องตรัสรู้พร้อม. เพราะเหตุนั้น จึงไม่มีผู้ที่ยิ่งกว่าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าสภาพที่ยิ่งกว่าคือ

คุณเป็นเครื่องตรัสรู้.

บทว่า อุฬาร คือประเสริฐ. ก็อุฬารศัพท์นี้ย่อมมาในอรรถว่า

อร่อย ในบทเป็นต้นว่า ย่อมเคี้ยวกินของที่ควรเคี้ยวอร่อย. ย่อมมาในอรรถ

ว่า ประเสริฐ ในบทเป็นต้นว่า ได้ยินว่า วัจฉายนะ พราหมณ์ผู้เจริญ

ย่อมสรรเสริญพระสมณโคดม โดยความประเสริฐ อย่างประเสริฐ. มาใน

อรรถว่า ไพบูลย์ ในบทเป็นต้นว่า และแสงสว่างอันโอฬารหาประมาณไม่

ได้. อุฬาร ศัพท์นี้นั้นมาแล้วในอรรถว่าประเสริฐในที่นี้. เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า อุฬาร ได้แก่ ประเสริฐ. บทว่า องอาจ ความ

ว่า ไม่หวั่นไหว คือไม่คลอนแคลน เหมือนเสียงโคอุสภะ.

บทว่า ถือเอาโดยส่วนเดียว ความว่า ไม่กล่าวโดยสืบ ๆ ต่อแห่ง

อาจารย์ตามที่ได้ยินมาบ้าง ตามที่ได้ยินมาอย่างนั้นอย่างนี้บ้าง ด้วยการอ้างตำรา

บ้าง ด้วยอาการตรึกตามอาการบ้าง ด้วยทนต่อความเพ่งแห่งทิฏฐิบ้าง เพราะ

เหตุแห่งการคาดคะเนบ้าง เพราะเหตุเดาบ้าง ถือเอาโดยส่วนเดียว เหมือนแทง

ตลอดด้วยญาณโดยประจักษ์. อธิบายว่า การกล่าวด้วยการตกลงใจท่านกล่าว

ไว้แล้ว. บทว่า บันลืออย่างสีหะ ความว่า บันลืออย่างประเสริฐ อธิบายว่า

บันลือแล้วอย่างสูงสุด เหมือนกันสีหะ ไม่เล่น ไม่เหลวไหลเปล่งแล้ว.

บทว่า สารีบุตร ประโยชน์อะไรแก่ท่าน ความว่า ปรารภทำ

เทศนานี้ เพื่อให้การตามประกอบ เพราะว่า บุคคลบางพวกเปล่งสีหนาทแล้ว

ไม่อาจเพื่อจะให้การตามประกอบในการบันลือของตนได้ไม่อดทนต่อการเสียดสี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

เป็นเหมือนลิงตกไปในยางเหนียว. ถ่านไฟย่อมเผาไหม้โลหะที่ไม่บริสุทธิ์ โดย

ธรรมดาฉันใด บุคคลก็เป็นเหมือนถ่านเพลิงไหม้อยู่ฉันนั้น. คนหนึ่งถูกเขา

ให้ตามประกอบในการบันลือดุจสีหะ ไม่อาจเพื่อจะให้ได้ทั้งอดทนต่อการเสียดสี

ผู้นี้ชื่อว่าย่อมงามยิ่งกว่า ดุจเงินที่ไม่มีสนิมตามธรรมดา. พระเถระก็เป็นเช่น

นั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบพระเถระนั้นว่าผู้นี้เป็น

ผู้อดทนต่ออนุโยค ดังนี้แล้ว ทรงปรารภเทศนาน เพื่อให้ตามประกอบในการ

เปล่งสีหนาท.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เหล่านั้น ทุกพระองค์ ความว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าเหล่านั้นทั้งปวง อันท่าน (กำหนดรู้แล้ว).

บทว่า มีศีลอย่างนี้ ความว่า มีศีลอย่างนั้นด้วยมรรคศีล ผลศีล

โลกิยศีลและโลกุตรศีล. ธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งสมาธิท่านประสงค์เอาในบทนี้

ว่า ผู้มีธรรมอย่างนี้ อธิบายว่าผู้มีสมาธิอย่างนี้ ด้วยมรรคสมาธิ ผลสมาธิ

ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ.

บทว่า ผู้มีปัญญาอย่างนี้ ความว่า และผู้มีปัญญาอย่างนี้ด้วยอำนาจ

มรรคปัญญาเป็นต้น. ก็ในบทนี้ว่า ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ ดังนี้ หาก

มีคำถามว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ชื่อว่าท่านถือเอาแล้ว เพราะธรรมที่เป็นฝ่าย

สมาธิท่านถือเอาแล้วในหนหลัง เพราะเหตุไร จึงไม่ถือเอาธรรมเป็นเครื่อง

อยู่ที่ถือเอาแล้ว. ตอบว่า คำนี้พระเถระถือเอาแล้ว. ก็คำนี้ท่านกล่าวไว้

เพื่อแสดงนิโรธสมาบัติ. เพราะฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความในบทนี้อย่างนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ได้ทรงเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยนิโรธสมาบัติอย่างนี้.

ในบทว่า ผู้มีวิมุตติอย่างนี้ ได้แก่ วิมุตติ ๕ คือ วิกขัมภน-

วิมุตติ ตทังควิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณ

วิมุตติ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

ในวิมุตติเหล่านั้น สมาบัติ ๘ ถึงการนับว่า วิกขัมภนวิมุตติ

(พ้นได้ด้วยการข่ม) เพราะพ้นจากนิวรณ์เป็นต้น ที่ตนเองข่มได้แล้ว

อนุปัสสนา ๗ มีการตามเห็นว่าไม่เที่ยงเป็นต้น ถึงการนับว่า

ตทังควิมุตติ (พ้นได้ด้วยองค์นั้น) เพราะพ้นจากความสำคัญว่าเที่ยงเป็นต้น

ที่ตนเองละสละได้ด้วยอำนาจเป็นข้าศึกต่อนิวรณ์เป็นต้นนั้น.

อริยมรรค ๔ ถึงการนับว่า สมุจเฉทวิมุตติ (พ้นเด็ดขาด) เพราะ

พ้นจากกิเลสทั้งหลาย ที่ตนถอนขึ้นแล้ว.

สามัญญผล ๔ ย่อมถึงการนับว่า ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ (พ้นได้ด้วย

การสงบระงับ) เพราะเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการสงบระงับกิเลสทั้งหลาย ด้วย

อานุภาพมรรค.

นิพพาน ถึงการนับว่า นิสสรณวิมุตติ (พ้นได้ด้วยการสลัดออก)

เพราะสลัดจากกิเลสทั้งหลาย คือเพราะปราศจาก ได้แก่ตั้งอยู่ในที่ไกล. พึง

เห็นเนื้อความในคำนี้ว่า ชื่อว่าพ้นแล้วอย่างนี้ ด้วยอำนาจวิมุตติ ๕ เหล่านี้

ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สารีบุตร ก็ประโยชน์ ก็ประโยชน์อะไรแก่ท่าน พระพุทธเจ้า

เหล่านั้นใด จักมีอยู่ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสถามว่า พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย ล่วงไปแล้ว คือดับแล้ว โดยไม่เหลือ ได้แก่ถึงความเป็น

ผู้หาบัญญัติมิได้ ดับไปแล้วเหมือนเปลวประทีป ชื่อว่า ดับแล้วอย่างนั้น ท่าน

ถือเอาความเป็นผู้หาบัญญัติมิได้ จักรู้ได้อย่างไร ก็พระคุณของพระพุทธเจ้า

ที่ยังไม่ถึงทั้งหลาย เธอจะกำหนดรู้ด้วยใจของตนหรือ แล้วจึงตรัสอย่างนี้ว่า

สารีบุตร ก็เรามีประโยชน์อะไรแก่เธอในบัดนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

จะทรงถามว่า พระพุทธเจ้าแม้ที่ยังไม่มาแล้ว ยังไม่มีพระชาติ ยังไม่เกิด

ยังไม่อุบัติ เธอจักรู้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นได้อย่างไร. ก็การที่จะรู้พระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

เหล่านั้น เป็นเหมือนการแลดูรอยเท้าในอากาศ ที่ไม่ปรากฏรอยเท้า บัดนี้

เธออยู่วิหารเดียวกับเรา เที่ยวไปเพื่อภิกษาด้วยกัน เวลาแสดงธรรมก็นั่ง

ข้างขวา ก็คุณทั้งหลายของเรา เธอกำหนดรู้ด้วยใจของตนหรือ แล้วจึง

ตรัสอย่างนั้น. พระเถระย่อมปฏิเสธปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามแล้ว ๆ

ว่า เป็นอย่างนั้นหามิได้ พระพุทธเจ้าข้า. ก็สิ่งที่พระเถระรู้แล้วก็มี ไม่รู้

แล้วบ้างก็มี.

ถามว่า ท่านย่อมคัดค้านในที่ที่ตนรู้แล้ว หรือในที่ที่ตนไม่รู้แล้ว.

ตอบว่า ย่อมคัดค้านในที่ที่ตนไม่รู้แล้วเท่านั้น ได้ยินว่า เมื่อเริ่ม

คำถามแล้ว พระเถระได้รู้แล้วอย่างนั้นว่า นี่ไม่ใช่คำถาม คำถามต้องถามใน

สาวกบารมีญาณ จึงไม่ทำการคัดค้านด้วยสาวกบารมีญาณของตน ย่อมคัดค้าน

ในพระสัพพัญญุตญาณในฐานะที่ตนไม่เข้าใจ เพราะเหตุนั้น พระเถระจึง

แสดงคำแม้นี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ย่อมไม่มีสัพพัญญุตญาณ

ที่สามารถจะรู้เหตุแห่งศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันได้.

บทว่า นี้ ได้แก่ พระพุทธเจ้า ต่างด้วยพระพุทธเจ้าในอดีตเป็นต้น

เหล่านี้.

บทว่า ก็ทำไมเล่า ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามว่า ก็เมื่อ

ไม่มีความรู้อย่างนั้น ทำไมเธอจึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า คล้อยตามธรรม ได้แก่ การถือเอานัยแห่งญาณโดยอนุมาน

อัน พระเถระผู้ไปตามการประกอบแห่งญาณ อันเกิดขึ้นแล้วโดยประจักษ์

แก่ธรรม และดำรงอยู่ในสาวกบารมีญาณรู้แล้ว พระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ย่อมรู้ด้วยเหตุนี้. เพราะว่า การถือเอาโดยนัย

ของพระเถระไม่มีประมาณ ไม่มีที่สุด สัพพัญญุตญาณย่อมไม่มีประมาณ หรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

ที่สุดรอบฉันใด การถือเอาโดยนัยของพระธรรมเสนาบดี ก็ไม่มีประมาณ

หรือที่สุดรอบฉันนั้น เพราะเหตุนั้น พระเถระนั้น ย่อมรู้ว่า พระศาสดานั้น

ทรงเป็นอย่างนี้ ด้วยเหตุนี้ ๆ ทรงเป็นผู้ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าด้วยเหตุนี้ ๆ เพราะว่า

การถือเอาโดยนัยของพระเถระ. คือคติแห่งพระสัพพัญญุตญาณนั่นเอง บัดนี้

พระเถระเมื่อจะแสดงอุปมา เพื่อทำให้การถือเอาโดยนัยนั้นปรากฏ จึงกล่าว

คำเป็นต้นว่า แม้ฉันใด พระเจ้าข้า.

เพราะในมัชฌิมประเทศนั้น ป้อมหรือกำแพงเป็นต้นของเมืองจะ

แข็งแรงหรือไม่แข็งแรงก็ตาม ไม่ต้องวิตกอะไรทั้งหมด. เรื่องโจรไม่ต้อง

ระแวง เพราะฉะนั้น พระเถระไม่ถือเอาเรื่องนั้นเป็นสำคัญจึงกล่าวว่า

เมืองชายแดนเป็นต้น.

บทว่า มีเชิงเทินมั่นคง ความว่า มีเชิงกำแพงมั่นคง.

บทว่า มีกำแพงและเสาระเนียดหนาแน่น ความว่า มีกำแพง

หนาแน่น และมีประตูหน้าต่างมั่นคง. ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึง

กล่าวว่า มีประตูเดียว. ตอบว่า เพราะว่าในเมืองที่มีประตูมาก จะต้องมีคน

เฝ้าประตูที่ฉลาดหลายคน ส่วนในเมืองที่มีประตูเดียวใช้คนเดียวก็พอ ไม่มีผู้อื่น

เสมอด้วยปัญญาของพระเถระ เพราะฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า มีประตูเดียว

เพื่อจะแสดงคนเฝ้าประตูคนเดียวเท่านั้น เพื่อจะเปรียบความที่คนเป็นผู้ฉลาด.

บทว่า ปณฺฑิโต เป็นผู้ฉลาด คือประกอบด้วยความเป็นผู้ฉลาด.

บทว่า พฺยตฺโต ผู้สามารถ คือประกอบความเป็นผู้สามารถ ได้แก่

เป็นผู้มีความรู้คล่องแคล่ว.

บทว่า เมธาวี มีปัญญา คือประกอบด้วยเมธา กล่าวคือปัญญา พิจารณาการเกิดขึ้นแห่งสถานการณ์. บทว่า ทางรอบพระนคร ได้แก่

ทางรอบกำแพง ชื่อว่า สำหรับเดินตรวจ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

บทว่า ที่ต่อกำแพง ได้แก่ ที่ที่อิฐสองก้อนเชื่อมติดกัน. บทว่า

ช่องกำแพง ได้แก่ ที่ทำเป็นช่องกำแพง.

บทว่า เครื่องเศร้าหมองแห่งใจ ได้แก่ นิวรณ์ ๕ ทำจิตให้

เศร้าหมอง คือทำความเศร้าหมอง ได้แก่ให้เข้าไปเร่าร้อน เบียดเบียนอยู่

เพราะฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เครื่องเศร้าหมองแห่งใจ. บทว่า ทอน-

กำลังปัญญา ความว่า นิวรณ์ทั้งหลาย เมื่อเกิดขึ้น ย่อมไม่ให้ปัญญาที่ยัง

ไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น พระเถระจึงเรียกว่า บั่นทอนกำลังปัญญา.

บทว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ความว่า เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วใน

สติปัฏฐาน ๔.

บทว่า ในโพชฌงค์ ๗ ตามความเป็นจริง ได้แก่ เจริญแล้ว

ตามภาวะของตน.

ด้วยบทว่า อนุตตรสัมมาสัมโพธิ พระเถระแสดงว่า แทงตลอด

ความเป็นพระอรหันต์ และสัพพัญญุตญาณ.

ก็อีกอย่างหนึ่ง คำว่า สติปัฏฐาน นี้คือ วิปัสสนาโพชฌงค์

มรรคก็คือพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แสะความเป็นพระอรหันต์ อีก

อย่างหนึ่ง คำว่า สติปัฏฐาน ก็คือวิปัสสนาเจือด้วยโพชฌงค์ ได้แก่ความ

เป็นพระอรหันต์ คือ สัมมาสัมโพธิญาณมั่นคง. ส่วนพระทีฆภาณกมหา-

สิวเถระ กล่าวแล้วว่า เมื่อถือเอาวิปัสสนาในสติปัฏฐานแล้ว ถือเอาโพชฌงค์

ว่า เป็นมรรคและเป็นสัพพัญญุตญาณ ก็จะพึงเป็นปัญหาที่สวย แต่ว่า อย่าไป

ถือเอาอย่างนั้น. พระเถระเมื่อจะแสดงความไม่มีความแตกต่างกัน เหมือน

ทองและเงินแตกแล้วในท่ามกลาง ในการละนิวรณ์ ในการเจริญสติปัฏฐาน

และใจการตรัสรู้เอง ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้

หยุดแค่นี้ก่อน ควรเปรียบเทียบข้ออุปมา ก็ท่านพระสารีบุตรแสดงถึงเมือง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

ชายแดน กำแพง ทางรอบพระนคร คนเฝ้าประตูที่ฉลาด เหล่าสัตว์ที่คับคั่ง

เข้าออกเมือง. แสดงสัตว์เหล่านั้นปรากฏแก่คนเฝ้าประตู. ในคำนั้นหากมีคำ

ถามว่า อะไรเหมือนอะไร. ตอบว่า เพราะว่า พระนิพพานเหมือนนคร ศีล

เหมือนกำแพง ความละอายแก่ใจเหมือนทางรอบพระนคร อริยมรรค

เหมือนประตู พระธรรมเสนาบดีเหมือนคนเฝ้าประตูที่ฉลาด พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เหมือนเหล่าสัตว์จำนวนมาก

เข้าออกพระนคร ข้อที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ

ปัจจุบันปรากฏโดยความมีศีลเสมอกันเป็นต้น แก่ท่านพระสารีบุตร เหมือน

ข้อที่สัตว์เหล่านั้นปรากฏแก่คนเฝ้าประตู. พระเถระได้กราบทูลอย่างนี้ แด่

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ดำรงอยู่ในสาวกบารมีญาณ ย่อมรู้การถือ

เอาโดยนัยที่คล้อยตามธรรม ดังนี้ การตามประกอบสีหนาทของตน ก็เป็น

อันพระเถระถวายแล้ว .

บทว่า เพราะฉะนั้น ความว่า เพราะพระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมไม่มีญาณเครื่องกำหนดรู้พระทัยในพระ-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันแล ก็

แต่ว่า การคล้อยตามธรรมข้าพระองค์รู้แล้ว ฉะนั้น.

บทว่า พึงกล่าวเนือง ๆ ความว่า เธอพึงกล่าวบ่อย ๆ.

บทว่า เรากล่าวแล้วในเวลาเช้า ความว่า ไม่กล่าวในเวลาเย็น

และเวลาเที่ยงเป็นต้น อธิบายว่า ไม่กล่าวแล้วในวันอื่นเป็นต้นว่า เรากล่าวแล้ว

ในวันนี้.

บทว่า จักละความสงสัยนั้น ความว่า นี้ชื่อว่า พระสาวกที่ถึง

พร้อมด้วยความแล่นไปแห่งความรู้ แม้เช่นกับพระสารีบุตร ก็ไม่อาจจะรู้การ

เที่ยวไปแห่งจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

บทว่า พระตถาคตเจ้าอันใครพึงเปรียบไม่ได้อย่างนี้ ความว่า

ความเคลือบแคลง สงสัยในพระตถาคตเจ้า เขาจักละได้.

จบอรรถกถานาฬันทสูตรที่ ๒

๓. จุนทสูตร

ว่าด้วยการปรินิพพานของพระสารีบุตร

[๗๓๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็ในสมัยนั้น ท่าน

พระสารีบุตรอยู่ ณ บ้านนาลกคาม ในแคว้นมคธ อาพาธ เป็นไข้หนัก

ได้รับทุกขเวทนา. สามเณรจุนทะเป็นอุปัฏฐากของท่าน. ครั้งนั้น ท่านพระ-

สารีบุตรปรินิพพานด้วยอาพาธนั่นแหละ.

[๗๓๔] ครั้งนั้น สามเณรจุนทะถือเอาบาตรและจีวรของท่านพระ-

สารีบุตร เข้าไปหาพระอานนท์ยังพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณ-

ฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้บาตรและจีวรของท่าน. ท่านพระอานนท์

กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสจุนทะ นี้เป็นมูลเรื่องที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่

มาไปกันเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้น

แด่พระองค์. สามเณรจุนทะรับคำของท่านพระอานนท์แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

[๗๓๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์กับสามเณรจุนทะ เข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

สามเณรจุนทะรูปนี้ ได้บอกอย่างนี้ว่า ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว นี้

บาตรและจีวรของท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะ

งอมงมไป แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ แม้ธรรมก็ไม่แจ่มแจ้งแก่

ข้าพระองค์ เพราะได้ฟังว่า ท่านพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว.

[๗๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ สารีบุตรพา

เอาศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ หรือวิมุตติญาณทัสสนขันธ์

ปรินิพพานไปด้วยหรือ.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตร

มิได้พาศีลขันธ์ปรินิพพานไปด้วย ฯลฯ มิได้พาวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ปริ-

นิพพานไปด้วย. ก็แต่ว่าท่านพระสารีบุตรเป็นผู้กล่าวสอนให้รู้ชัดแสดงให้เห็น

แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ไม่เกียจคร้านในการแสดงธรรม

อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ข้าพระองค์ทั้งหลายมาตามระลึกถึงโอชะ

แห่งธรรม ธรรมสมบัติและการอนุเคราะห์ด้วยธรรมนั้นของท่านพระสารีบุตร.

[๗๓๗] พ. ดูก่อนอานนท์ ข้อนั้น เราได้บอกเธอทั้งหลายไว้ก่อน

แล้วไม่ใช่หรือว่า จักต้องมีความเป็นต่าง ๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่าง

อื่น. จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในของรักชอบใจนี้

แต่ที่ไหน. สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็น

ธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะ

มีได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

[๗๓๘] ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนเมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่น ตั้งอยู่

ลำต้นใดซึ่งใหญ่กว่า ลำต้นนั้นพึงทำลายลง ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

ซึ่งมีแก่น ดำรงอยู่ สารีบุตรปรินิพพานแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น

จะพึงได้ในข้อนี้แต่ที่ไหน. สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มี

ความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้

มิใช่ฐานะที่จะมีได้. เพราะฉะนั้นแหละ. เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตน

เป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่า

มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.

[๗๓๙] ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่ง

อื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

อยู่อย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ

เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณา

เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุมีตนเป็นเกาะ. มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มี

สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ. มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง

อยู่อย่างนี้แล.

[๗๔๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่ง ในบัดนี้ก็ดี ใน

กาลที่เราล่วงไปก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่

พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ พวก

ภิกษุเหล่านี้นั้นที่เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ.

จบจุนทสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

อรรถกถาจุนทสูตร

จุนทสูตรที่ ๓. คำว่า ในแคว้นมคธ คือ ในชนบทที่มีชื่ออย่าง

นั้น. คำว่า ในตำบลนาฬกะ คือ ในตำบลที่มีชื่ออย่างนั้น อันเป็นของสกุล

ของตนไม่ไกลกรุงราชคฤห์.

บทว่า สามเณรชื่อว่าจุนทะ ความว่า พระเถระนี้เป็นน้องชาย

คนเล็กของพระธรรมเสนาบดี ในเวลาที่ท่านยังไม่อุปสมบท พวกพระร้องเรียก

ท่านว่า สามเณรจุนทะ แม้เวลาเป็นพระเถระก็ร้องเรียกอย่างนั้นเหมือนกัน

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สามเณรจุนทะ.

บทว่า เป็นผู้ทำการอุปัฏฐาก ความว่า เป็นผู้ถวายการอุปัฏฐาก

ด้วยน้ำล้างหน้า ไม้สีฟัน และน้ำฉัน กวาดบริเวณ นวดหลังและรับบาตร

จีวร.

บทว่า ปรินิพพานแล้ว ความว่า ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิ-

เสสนิพพานธาตุ.

บทว่า เวลาไหน ความว่า ในปีปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ในเรื่องนั้น มีอนุปุพพิกถา ดังต่อไปนี้.

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่จำพรรษาแล้ว เสด็จออกจาก

หมู่บ้านเวฬุวะ ทรงดำริว่า เราจะไปเมืองสาวัตถี แล้วเสด็จกลับจากทางที่เสด็จ

มานั่นเทียว ถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับแล้วเสด็จไปพระเชตวัน. พระธรรม

เสนาบดี แสดงวัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วไปที่พักกลางวัน. เพื่อนเหล่า

อันเตวาสิกในที่นั้นแสดงวัตรหลีกไปแล้ว ท่านจึงกวาดที่พักกลางวัน ปูแผ่น

หนัง ล้างเท้าแล้วนั่งคู้บัลลังก์เข้าผลสมาบัติ. ลำดับนั้น เมื่อท่านออกจากผล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

สมาบัตินั้น ตามกำหนดแล้ว เกิดความปริวิตกนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

จักปรินิพพานก่อนหรือหนอ หรือว่าพระอัครสาวกปรินิพพานก่อน. แต่นั้น

รู้แล้วว่า พระอัครสาวกปรินิพพานก่อน แล้วจึงตรวจดูอายุสังขารของตน.

รู้แล้วว่า อายุสังขารของเราจักเป็นไปได้เพียง ๗ วัน เท่านั้น จึงคิดว่า เราจะ

ปรินิพพานที่ไหน. ลำดับนั้นจึงคิดแล้วคิดอีกว่า พระราหุลปรินิพพานใน

ดาวดึงส์พิภพ พระอัญญาโกณฑัญญเถระ ปรินิพพานที่สระฉัททันต์ เราจะ

ปรินิพพานที่ไหน ดังนี้ จึงเกิดความสังเวชปรารภมารดาว่า มารดาของเรา

ก็เป็นมารดาของพระอรหันต์ถึง ๗ องค์ ยังไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม

และพระสงฆ์เลย ท่านมีอุปนิสัยหรือหนอ ได้เห็นอุปนิสัยแห่งพระ-

โสดาปัตติมรรค จึงตรวจดูว่า จักบรรลุด้วยเทศนาของใคร ทราบว่า จัก

บรรลุด้วยธรรมเทศนาของเราเท่านั้น มิใช่ของใครอื่น ก็ถ้าเราพึงขวนขวาย

น้อย ก็จักมีคนกล่าวกับเราว่า พระสารีบุตรเถระ เป็นที่พึ่งของตนที่เหลือ

ทั้งหลาย จริงอย่างนั้น ในวันแสดงสมจิตตสูตรของท่าน เทวดาพันโกฏิ บรรลุ

พระอรหัต เทวดาที่แทงตลอดมรรคทั้ง ๓ ก็นับไม่ถ้วน ปรากฏการตรัสรู้

ในที่อื่น ๆ อีกมาก และตระกูลแปดหมื่นทำใจให้เลื่อมใสในพระเถระ ก็ได้

เกิดในสวรรค์ทั้งนั้น บัดนี้ ท่านไม่อาจที่จะเปลื้องแม้เพียงความเห็นผิดของ

มารดาของคนได้ เพราะฉะนั้น จึงตกลงใจว่า เราจักเปลื้องมารดาจากความ

เห็นผิดแล้วปรินิพพานในห้องที่เกิดนั่นแหละ จึงคิดแล้วว่า วันนี้เทียว เราจะ

ขออนุญาตพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วออกไป ดังนี้ จึงเรียกพระจุนทเถระมาว่า

จุนทะ เธอจงให้สัญญาแก่ภิกษุบริษัท ๕๐๐ รูปของเราว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

จงถือเอาบาตรและจีวรไป พระธรรมเสนาบดี ประสงค์จะไปบ้านนาฬกะ.

พระเถระก็ได้ทำอย่างนั้น. ภิกษุทั้งหลายจึงเก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวรไป

สำนักพระเถระ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

พระเถระเก็บเสนาสนะ กวาดที่พักกลางวัน และยืนที่ประตูพัก

กลางวัน ตรวจดูที่พักกลางวัน คิดว่า บัดนี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่มี

การมาอีกแล้ว มีภิกษุ ๕๐๐ รูป แวดล้อมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวาย

บังคมแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตข้าพระองค์ ขอพระสุคตเจ้าทรงอนุญาต นี้

เป็นกาลปรินิพพานของข้าพระองค์ อายุสังขารข้าพระองค์ปลงลงแล้ว ก็เพราะ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อตรัสว่า เธอจะปรินิพพาน ก็จะกลายเป็นสรรเสริญ

ความตาย เมื่อตรัสว่า เธออย่าปรินิพพาน คนผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิก็จะยกโทษว่า

กล่าวสรรเสริญคุณของวัฏฏะ ฉะนั้น จึงไม่ตรัสคำแม้ทั้งสอง เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เธอจักปรินิพพานที่ไหน สารีบุตร เมื่อ

พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักปรินิพพาน

ในห้องที่ข้าพระองค์เกิดในบ้านนาฬกะ แคว้นมคธนั้น จึงตรัสว่า สารีบุตร

เธอจงสำคัญเวลาในบัดนี้ ก็การเห็นภิกษุเช่นเธอ ของภิกษุผู้เป็นทั้งที่และน้อง

ของเธอจักหาได้ยากในบัดนี้ เธอจงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น.

พระเถระรู้แล้วว่า พระศาสดาทรงหวังเฉพาะการแสดงธรรมที่ขึ้นต้น

ด้วยการแสดงฤทธิ์ของเรา ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเหาะขึ้นไป

ประมาณชั่วต้นตาล เหาะลงแล้วถวายบังคมพระบาทพระทศพล และเหาะ

ขึ้นไปประมาณสองชั่วลำตาลอีกลงแล้ว ถวายบังคมพระบาทพระทศพล แล้ว

เหาะขึ้นไปประมาณเจ็ดชั่วลำตาลโดยทำนองนี้ แสดงปาฏิหาริย์หลายร้อยอย่าง

แล้วปรารภธรรมกถา. พระเถระกล่าวธรรมกถาด้วยกายที่ปรากฏบ้าง ไม่

ปรากฏบ้าง ด้วยกายเบื้องบน เบื้องล่าง หรือครึ่งกาย บางทีก็แสดงเป็นรูป

พระจันทร์โดยไม่มีใครเห็น บางครั้งก็เป็นรูปพระอาทิตย์ บางครั้งก็เป็นรูป

ภูเขา บางทีก็เป็นรูปทะเล บางทีก็เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ บางทีก็เป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

เวสวัณมหาราช บางทีก็เป็นท้าวสักกมหาราช บางทีก็เป็นท้าวมหาพรหม

เมื่อแสดงปาฏิหาริย์หลายร้อยอย่าง อย่างนี้ พระเถระจึงกล่าวธรรมกถา ชาว

พระนครทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว พระเถระเหาะลงแล้ว ได้ยืนถวายบังคม

พระบาทพระทศพล.

ลำดับนั้น พระศาสดา ได้ตรัสกะพระเถระนั้นว่า สารีบุตร ธรรม

ปริยายนี้ ชื่ออะไร.

ส. ชื่อ สีหนิกีฬิตะ พระเจ้าข้า.

พ. สารีบุตร เอาเถิด ธรรมปริยายนี้ ชื่อว่า สีหนิกีฬิทะ สารีบุตร

เอาเถิด กระบวนธรรมนี้ชื่อว่า สีหนิกีฬิตะ. พระเถระได้เหยียดมือมีสีดัง

ครั่งสด แล้วจีบที่ข้อพระบาท เช่นกับลายเต่าทอง ของพระศาสดา พลาง

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญบารมีมาหนึ่งอสงไขย

กำไรแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระองค์ มโนรถของ

ข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ แต่นี้ไปการประชุมกันในที่เดียวกันด้วยอำนาจ

ปฏิสนธิจะมิได้มีอีกแล้ว สมาคมก็จะมิได้มี ความคุ้นเคยกันได้ขาดแล้ว ข้า-

พระองค์จักเข้าเมือง คือ พระนิพพาน ที่ไม่แก่ ไม่ตาย เกษม มีสุข เย็นสนิท

ไม่มีภัย ที่พระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์เข้าไปแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรง

ชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทางกายหรือทางวาจา ขอ

พระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นการไปของ

ข้าพระองค์แล้ว.

พ. สารีบุตร เราอดโทษต่อเธอ ก็โทษไร ๆ ขอเธอที่เป็นไปทาง

กาย หรือทางวาจา ที่ไม่ชอบใจเราไม่มีเลย สารีบุตร บัดนี้เธอจงสำคัญ

กาลอันควรเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

เมื่อท่านพระสารีบุตรพถวายบังคมพระบาทพระศาสดา ลุกขึ้นใน

ลำดับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว แผ่นดินใหญ่แม้ที่กำหนดนับด้วย

ภูเขาสิเนรุ ภูเขาจักรวาล ภูเขาหิมพานต์ และภูเขาบริภัณฑ์ ร้องขึ้นพร้อม

กันดุจกล่าวว่า เราไม่อาจจะทรงกองแห่งพระคุณนี้ไว้ได้ในวันนี้ ได้ไหวแล้ว

จนถึงน้ำเป็นที่สุด เทพมโหระทึกในอากาศก็บรรเลงขึ้น มหาเมฆตั้งขึ้นแล้ว

ให้ฝนโบกขรพรรษตกแล้ว. พระศาสดาทรงดำริว่า เราจักให้พระธรรม

เสนาบดีแสดงโดยเฉพาะ ดังนี้แล้ว จึงทรงลุกขึ้นจากที่ฟังธรรม เสด็จมุ่งหน้า

ต่อพระคันธกุฏี ได้ประทับยืนบนแผ่นแก้ว. พระเถระทำประทักษิณ ๓ ครั้ง

แล้ว ถวายบังคมในที่ ๔ แห่ง กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เลยไปหนึ่งอสงไขย กำไรแสนกัปแต่กัปนี้ไป ข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้

พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนา

เห็นพระองค์ ความปรารถหาของข้าพระองค์นั้นสำเร็จแล้ว ข้าพระองค์เห็น

พระองค์แล้ว เป็นการเห็นครั้งแรก นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย การได้เห็น

พระองค์ไม่ได้มีอีกแล้ว ดังนี้ แล้วประคองอัญชลี ซึ่งรุ่งเรื่องด้วยการประชุม

แห่งนิ้วทั้งสิบ หันหน้าเฉพาะตราบเท่าที่ที่จะเห็นได้ ถอยกลับแล้วถวายบังคม

แล้วหลีกไป. มหาปฐพีไม่อาจจะทรงไว้ได้ ไหวจนถึงน้ำรองรับแผ่นดิน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะเหล่าภิกษุที่ยืนแวดล้อมว่า ภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอจงติดตามพี่ชายของพวกเธอเกิด ขณะนั้น บริษัท ๔ ละพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าไว้พระองค์เดียวในพระเชตวัน ออกไปไม่เหลือเลย.

ฝ่ายชาวพระนครสาวัตถี พากันพูดว่า ข่าวว่า พระสารีบุตรเถระ

ทูลลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ประสงค์จะปรินิพพานออกไปแล้ว พวกเรา

จะไปเยี่ยมท่าน พากันถือเอาของหอมและพวงมาลัยเป็นต้น ออกไปจนแน่น

ประตูเมือง สยายผม ร้องไห้ คร่ำครวญ โดยนัยเป็นต้นว่า บัดนี้พวกเราเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

ถามว่า ท่านผู้มีปัญญามากนั่งที่ไหน พระธรรมเสนาบดีนั่งที่ไหน ดังนี้ จะ

ไปสำนักของใคร จะไปวางสักการะในมือของใคร พระเถระหลีกไปแล้ว จึง

ได้ติดตามพระเถระ. พระเถระเพราะความที่ตนดำรงอยู่ในปัญญามาก คิดแล้ว

ว่า ทางนี้คนทั้งหมดไม่ควรก้าวเลยมา แล้วโอวาทมหาชนว่า ท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย แม้พวกท่านจงหยุด อย่าถึงความประมาทในพระทศพลเลย แล้วให้

หมู่ภิกษุกลับ หลีกไปกับบริษัทของตน. พวกมนุษย์เหล่าใดต่างคร่ำครวญว่า

ครั้งก่อน พระผู้เป็นเจ้าเที่ยวจารึกไปแล้วก็กลับมา บัดนี้ การไปนี้เป็นการ

ไปเพื่อไม่กลับมาอีก จึงพากันติดตามอยู่อย่างนั้น. พระเถระกล่าวก็มนุษย์

เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาท ชื่อว่า สังขาร

ทั้งหลายย่อมเป็นอย่างนี้ จึงให้กลับแล้ว.

ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรทำการสงเคราะห์พวกมนุษย์ตลอด

เจ็ดวัน ในระหว่างทางพักแรมคืนเดียว ในที่ทุกแห่ง ถึงบ้านนาฬกะเวลาเย็น

ได้ยืนที่โคนต้นนิโครธใกล้ประตูบ้าน ลำดับนั้น หลานของพระเถระ ชื่อว่า

อุปเรวตะ ไปนอกบ้าน ได้เห็นพระเถระแล้ว จึงเข้าไปยืนไหว้อยู่แล้ว.

พระเถระจึงกล่าวกับเขาว่า ยายของเธออยู่ในเรือนหรือ.

อุ. ครับ ท่านผู้เจริญ.

ส. เธอจงไปบอกว่าเรามาที่นี้. เมื่อยายกล่าวว่า มาเพราะเหตุอะไร

จงกล่าวว่า ข่าวว่า พระเถระจะอยู่ในบ้านตลอดวันหนึ่งในวันนี้ ท่านจงจัด

แจงห้องที่พระเถระเกิด และข่าวว่า ท่านจงรู้ที่เป็นที่อยู่ของภิกษุ ๕๐๐ รูป.

เขาไปแล้วบอกว่า ยาย ลุง ของผมมาแล้ว.

ยาย. เวลานี้ อยู่ที่ไหน.

อุ. ประตูบ้าน.

ย. มีใครอื่นมาบ้างไหม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

อุ. มีภิกษุ ๕๐๐ รูป.

ย. มาทำไม.

เขาบอกความเป็นไปนั้น. นางพราหมณี คิดอยู่ว่า ลูกชายเราทำไม

จึงให้เตรียมที่อยู่แก่พวกภิกษุเท่านี้ ท่านบวชมาตั้งแต่หนุ่ม ตอนแก่อยากจะ

สึกละกระมัง จึงให้จัดแจงห้องคลอด ให้ทำที่เป็นที่พักของภิกษุ ๕๐๐ รูป

ให้จุดเทียนและตะเกียงส่งไปถวายพระเถระ ๆ พร้อมกับพวกภิกษุขึ้นปราสาท

เข้าไปนั่งยังห้องคลอด พอนั่งลงแล้วก็ส่งพวกภิกษุไปว่า พวกท่านจะไปพัก

ผ่อนกันเถิด พอพวกภิกษุไปแล้วเท่านั้น อาพาธอย่างกล้าก็เกิดขึ้นแก่พระเถระ

เวทนาปางทายเพราะถ่ายเป็นโลหิต ต้องเอาภาชนะหนึ่งเข้าไป (รองรับ) เอา

ภาชนะหนึ่งออกมา. นางพราหมณี คิดว่า เราไม่ชอบใจความเป็นไปแห่งบุตร

ของเราเลย ได้ยืนพิงประตูห้องที่อยู่ของตน. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตรวจดูอยู่ว่า

พระธรรมเสนาบดีอยู่ที่ไหน เห็นแล้วว่า นอนบนเตียงเป็นที่ปรินิพพาน ใน

ห้องที่ตนคลอดในบ้านนาฬกะ พวกเราจักไปเยี่ยมเป็นครั้งสุดท้าย มาแล้วได้

ยืนไหว้อยู่แล้ว.

สารีบุตร. พวกท่านเป็นใคร.

มหาราช. เป็นท้าวมหาราชขอรับ.

สารีบุตร. มาเพราะเหตุไร.

มหาราช. จักบำรุงท่านผู้เป็นไข้.

ส. ช่างเถิด ผู้บำรุงเราผู้เป็นไข้มีอยู่ พวกท่านจงไปเถิด แล้วได้

ส่งไป คล้อยหลังท้าวมหาราชทั้ง ๔ ไปแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพก็มาแล้วโดย

นัยนั้นนั่นแหละ ก็เมื่อท้าวสักกะไปแล้ว ท้าวมหาพรหมก็มา พระเถระก็ได้

ส่งท่านเหล่านั้นไป เหมือนอย่างนั้นนั่นแล. เมื่อนางพราหมณี เห็นพวกเทวดา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

พากันมาจึงคิดว่า เทวดาเหล่านี้ ไหว้บุตรของเราแล้วก็ไป เพราะเหตุอะไร

หนอแล จึงไปยังประตูห้องพระเถระแล้วถามว่า พ่อจุนทะมีความเป็นไปอย่างไร.

พระจุนทะ บอกความเป็นไปนั้นแล้วจึงเรียนพระเถระว่า ท่านผู้เจริญ มหา-

อุบาสิกมา. พระเถระจึงถามว่า เพราะเหตุไรจึงมาในเวลาไม่เหมาะ. นางจึง

กล่าวว่า พ่อ แม่มาเพื่อเยี่ยมลูก แล้วจึงถามว่า พ่อ พวกใครมาก่อน.

สารีบุตร. ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มหาอุบาสิกา.

มารดา. เจ้าใหญ่กว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ หรือพ่อ.

ส. อุบาสิกา ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เหมือนเด็กวัด ตั้งแต่พระศาสดา

ของพวกเราถือปฏิสนธิ ก็ถือพระขรรค์ รักษาแล้ว.

ม. พ่อ คล้อยหลังท้าวมหาราชไปแล้วใครเล่า.

ส. ท้าวสักกะจอมเทพ.

ม. เจ้าใหญ่กว่าจอมเทพหรือ พ่อ.

ส. อุบาสิกา ท้าวสักกะก็เช่นเดียวกับสามเณรผู้ถือสิ่งของเวลาที่พระ-

ศาสดาของพวกเรา เสด็จลงจากดาวดึงสพิภพ ก็ได้ถือบาต รจีวรตามลงมา.

ม. พ่อ หลังจากที่ ท้าวสักกะนั้นไปแล้ว ดูเหมือนสว่างไสว ใครมา.

ส. อุบาสิกา นั่นก็คือมหาพรหม ผู้เป็นพระเจ้าและศาสดาของโยม.

ม. พ่อยังใหญ่กว่ามหาพรหมพระเจ้าของโยมหรือ.

ส. ใช่ อุบาสิกา เล่ากันมาว่า ชื่อว่ามหาพรหม ๔ เหล่านั้น วันที่

พระศาสดาของพวกเราประสูติ เอาข่ายทองรองรับพระมหาบุรุษ.

ขณะนั้น เมื่อนางพราหมณีคิดว่า เพียงลูกของเรายังมีอานุภาพเท่า

นี้ พระศาสดาซึ่งเป็นพระเจ้าของลูกเราจักมีอานุภาพขนาดไหนหนอ พลันปีติ

ห้าอย่างเกิดขึ้นแผ่ไปทั่วสรีระ. พระเถระคิดว่า ปีติโสมนัสเกิดขึ้นแล้วแก่มารดา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

เที่ยว. บัดนี้เป็นเวลาสมควรแสดงธรรม จึงกล่าวว่า มหาอุบาสิกา ท่านกำลัง

ม. พ่อ แม่กำลังคิดถึงเห็นว่า เพียงลูกเรายังมีคุณถึงเพียงนี้ แล้ว

ศาสดาของลูกนั้นจะขนาดไหน.

ส. มหาอุบาสิกา ในขณะที่พระศาสดาของอาตมาประสูติ ในขณะเสด็จ

ออกผนวช ในขณะตรัสรู้ และในขณะประกาศธรรมจักร หมื่นโลกธาตุหวั่น

ไหวแล้ว ขึ้นชื่อว่าผู้ที่เสมอด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติและวิมุตติญาณทัส-

สนะไม่มี แล้วก็แสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับพระคุณของพระพุทธเจ้า ที่ขยาย

ให้พิสดารว่า แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ดังนี้ เป็นต้น.

เวลาจบธรรมเทศนาของลูกรัก นางพราหมณี ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล

แล้ว จึงกล่าวกับลูกว่า พ่ออุปติสสะ ทำไม พ่อจึงทำอย่างนั้น พ่อไม่ได้ให้

อมตธรรมเห็นปานนี้แก่แม่ตลอดกาลเท่านี้. พระเถระคิดว่า บัดนี้เราให้

เท่านี้ก็ควรแก่มารดาแล้ว ค่าเลี้ยงดู สำหรับแม่พราหมณีสารี จักควรด้วย

เหตุเท่านี้ จึงกล่าวว่า มหาอุบาสิกา ท่านจงไปเถิด ส่งนางพราหมณีไปจึง

กล่าวว่า จุนทะ เวลาเท่าไร.

จุนทะ. จวนสว่างแล้ว ขอรับ.

ส. เธอจงประชุมภิกษุสงฆ์.

จ. ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ขอรับ.

ส. เธอจงประคองเราให้นั่ง จุนทะ.

พระจุนทะ ประคองให้นั่งแล้ว. พระเถระจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

อาวุโส เมื่อพวกท่านทั้งหลายเที่ยวไปกับผมตลอด ๔๔ ปี กรรมใดของผม

ที่เป็นไปทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ซึ่งพวกท่านไม่ชอบใจ ขอให้พวกท่านจงอด

โทษแก่ผมด้วย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

ภิกษุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ย่อมไม่มีแก่พวก

ข้าพเจ้า ผู้ไม่ละท่านเที่ยวไป ดุจเงาของท่าน ตลอดกาลเท่านี้. แต่ว่า ขอ

ท่านจงอดโทษให้แก่พวกข้าพเจ้าเถิด.

ลำดับนั้น พระเถระดึงมหาจีวรมาปิดหน้า นอนโดยข้างขวา เข้า

สมาบัติ ๙ ตามลดับสมาบัติทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม เหมือนพระศาสดา แต่ว่า

เข้าต้นแต่ปฐมฌานจนถึงจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานนั้นแล้ว ให้มหา-

ปฐพีสั่นสะเทือนในทันใดนั้นเอง ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

อุบาสิกาคิดว่า ลูกของเราไม่กล่าวอะไรเลยหรือหนอ ลุกขึ้นนวดหลัง

เท้ารู้ว่าปรินิพพานแล้ว เปล่งเสียงดังหมอบที่เท้า กล่าวว่า พ่อพวกเราไม่รู้คุณ

ของพ่อ ก่อนแต่นี้ ก็บัดนี้แม่ไม่ได้เพื่อนิมนต์ภิกษุร้อยหลายพัน หลาย

แสน ตั้งต้นแต่พ่อให้นั่งฉันในนิเวศน์นี้ ไม่ได้เพื่อให้นุ่งห่มด้วยจีวร ได้เพื่อ

ให้สร้างวิหารเป็นพัน ดังนี้ คร่ำครวญอยู่แล้ว จนถึงอรุณขึ้น. เมื่ออรุณพอ

ขึ้นเท่านั้น นางก็ให้เรียกช่างทองมาให้เปิดห้องเก็บทอง ให้ชั่งด้วยตาชั่งใหญ่

ส่งไปด้วยกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย จงทำเรือนยอดห้าร้อย เรือนต้อนรับแขกห้าร้อย.

ฝ่ายท้าวสักกเทวราช ตรัสเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรมาตรัสว่า พ่อ

พระธรรมเสนาบดี ปรินิพพานแล้ว พ่อจงเนรมิตเรือนยอดห้าร้อย เรือนต้อน

รับแขกห้าร้อย. เรือนที่มหาอุบาสิกาให้สร้างแล้ว รวมกับที่พระวิษณุกรรม

เนรมิตเข้าด้วยกัน เป็นสองพัน ด้วยประการฉะนี้. ลำดับนั้น คนทั้งหลายจึงให้

สร้างมหามณฑปล้วนของสาระ วางเรือนยอดใหญ่ไว้ท่านกลางมณฑป แล้ว

วางของที่เหลือโดยสังเขปว่าเป็นบริวารปรารภการเล่นอย่างดีระหว่างพวกเทวดา

ได้มีเหล่ามนุษย์ ระหว่างเหล่ามนุษย์ได้มีพวกเทวดา. อุปัฏฐายิกาของพระเถระ

คนหนึ่งชื่อ เรวดี คิดว่า เราจักบูชาพระเถระ จึงให้ทำเสาดอกไม้ทอง ๓ ต้น.

ท้าวสักกเทวราชคิดว่า เราจักบูชาพระเถระ มีนักฟ้อนสองโกฏิห้าแวดล้อม เสด็จ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

ลงแล้ว. มหาชนหันหน้ากลับด้วยคิดว่า ท้าวสักกะเสด็จลง. แม้อุบาสิกา

นั้นในที่นั้นถอยกลับอยู่ เพราะมีภาระหนัก ไม่อาจจะถอยไป ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

ล้มลงแล้วในระหว่างพวกมนุษย์. พวกมนุษย์ไม่เห็นอยู่ได้เหยียบอุบาสิกานั้น

แหละไปแล้ว นางตายในที่นั้น เกิดในวิมานทอง ภพชั้นดาวดึงส์. ขณะที่เกิด

นั่นเทียว นางได้มีอัตภาพ ๓ คาวุตโดยประมาณ เหมือนท่อนแก้ว นาง

ประดับด้วยเครื่องประดับประมาณเต็มหกสิบเล่มเกวียน มีนางฟ้าพันหนึ่ง

แวดล้อมแล้ว. นางฟ้าทั้งหลาย จึงวางกระจกสำหรับกายทั้งหมด อันเป็นทิพย์

ไว้ข้างหน้านาง. นางเห็นสิริสมบัติของตน คิดอยู่ว่า เราทำกรรมอะไรหนอ

ด้วยสมบัติอันมาก ได้เห็นแล้วว่า เราได้ทำการบูชาพระเถระด้วยเสาดอกไม้ทอง

สามต้น ในที่ปรินิพพานของพระสารีบุตรเถระ มหาชนเหยียบเราแล้ว แต่นั้น

เราได้ตายในที่นั้น เกิดแล้วในที่นี้ เราจะกล่าวผลบุญที่เราอาศัยพระเถระ

ได้แล้วในบัดนี้แก่พวกมนุษย์ จึงลงมาพร้อมทั้งวิมานทีเดียว. มหาชนเห็น

แต่ไกล แลดูสำคัญอยู่ว่า ดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นสองดวงหรือหนอ เมื่อวิมาน

มาอยู่ ลักษณะเรือนยอดก็ปรากฏ. กล่าวกันแล้วว่า นี่มิใช่ดวงอาทิตย์ นั่นเป็น

วิมานหลังหนึ่ง. แม้วิมานนั้น มาแล้วในขณะนั้น ลอยอยู่เหนือเชิงตะกอนไม้

ของพระเถระ. เทพธิดา จึงหยุดวิมานไว้ในอากาศนั่นแล แล้วลงมาสู่เเผ่นดิน.

มหาชนถามแล้วว่า ผู้เป็นเจ้า ท่านเป็นใคร. เราชื่อนางเรวดี บูชาพระเถระ

ด้วยเสาประดับด้วยดอกไม้ทอง ๓ ต้น ถูกพวกมนุษย์เหยียบแล้วตายไป เกิดใน.

ดาวดึงส์พิภพ เชิญท่านทั้งหลายดูสิริสมบัติของเรา บัดนี้ ถึงพวกท่านก็จง

ให้ทานทำบุญเถิด.

ครั้นนางกล่าวสรรเสริญการทำกุศล แล้วประทักษิณเชิงตะกอนพระเถระ

แล้ว ได้ไปเทวสถานของตนนั่นเทียว. ฝ่ายมหาชนเล่นอย่างเรียบร้อยอยู่ ๗ วัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

แล้ว ได้ทำเชิงตะกอนด้วยของหอมทั้งปวง. เชิงตะกอนประกอบด้วยแก้ว ๙๙

ชนิด. คนทั้งหลาย จึงยกสรีระของพระเถระขึ้นเชิงตะกอนแล้ว เผาด้วย

กำหญ้าแฝก การฟังธรรมย่อมเป็นไปตลอดราตรีทั้งหมดในป่าช้า. พระ-

อนุรุทธเถระจึงเอาน้ำหอมทุกชนิดดับเชิงตะกอนพระเถระ. พระจุนทเถระ

ใส่ธาตุลงในผ้ากรองน้ำแล้ว คิดว่า บัดนี้เราไม่อาจจะเก็บไว้ที่นี้ได้ จักกราบ

ทูลว่า พระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี พี่ชายของเราปรินิพพานแล้ว แด่

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ถือเอาผ้ากรองน้ำที่ห่อธาตุและบาตรจีวรพระเถระ

ไปเมืองสาวัตถี. และไม่พักเกิน ๒ คืนในที่หนึ่ง ๆ ถึงเมืองสาวัตถีด้วยการอยู่

ที่ละคืนหนึ่งในที่ทั้งปวงนั่นเทียว. เพื่อแสดงเนื้อความนี้ พระผู้ทีพระภาคเจ้า

จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ครั้งนั้นแล สามเณรจุนทะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยนายสฺมา ท่านพระอานนท์โดย

ทิศใด ความว่า ท่านได้เข้าไปหาโดยทิศที่ท่านพระอานนท์ ผู้เป็นขุนคลังแห่ง

ธรรมอุปัชฌาย์ของตนอยู่.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระจุนทะนั้นจึงไม่ตรงไปสำนักพระศาสดา

(แต่) ไปสำนักพระเถระเล่า.

ตอบว่า เพราะความเคารพในพระศาสดา และพระเถระ.

ได้ยินว่า พระจุนทเถระนั้น ได้อาบน้ำที่สระโบกขรณีในพระเชตวัน

มหาวิหาร ขึ้นแล้ว นุ่งห่มอย่างดี มีความคิดว่า ขึ้นชื่อว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

หนักเหมือนฉัตรหินใหญ่ และเหมือนงูแผ่พังพาน ราชสีห์ เสือ และช้าง

ตกมันเป็นต้น เข้าใกล้ได้ยาก เราไม่อาจจะตรงไปยังสำนักพระศาสดาทีเดียว

ควรไปสำนักของใครหนอ. ลำดับนั้น จึงคิดว่า อุปัชฌาย์ของเราผู้เป็น

ขุนคลังแห่งพระธรรม เป็นสหายผู้ประเสริฐของพระเถระพี่ชาย เราจะไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

สำนักของท่านพาไปกราบทูลพระศาสดา จึงได้เข้าไปหา เพราะความเคารพ

ในพระศาสดา และพระเถระ.

บทว่า นี้บาตรจีวรของท่าน ความว่า พระเถระกราบทูลแต่ละอย่าง

ดังนี้ว่า นี้บาตรสำหรับใช้สอยของท่าน นี้ผ้ากรองน้ำห่อธาตุของท่าน. แต่ใน

บาลีท่านกล่าวเพียงเท่านี้ว่า นี้บาตรจีวรของท่าน.

คำว่า ถ้อยคำอันดั้งเดิม คือ ถ้อยคำที่เป็นต้นทุน. มูล ท่าน

เรียกว่า ต้นทุน ดุจที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ผู้มีปัญญา พิจารณาแล้ว ย่อมตั้งตน

ได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย เหมือนคนก่อไฟ

น้อยฉะนั้น.

บทว่า เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า เพื่อต้องการเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ถามว่า ก็พระจุนทะนี้ ไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าหรือ. ตอบว่า

ไม่เคยเห็นหามิได้ ด้วยว่าท่านผู้นี้ ย่อมไปที่บำรุงนั่นเทียววันละ ๑๘ ครั้ง คือ

กลางวัน ๙ ครั้ง กลางคืน ๙ ครั้ง แต่ท่านประสงค์จะไปวันละร้อยครั้ง

พันครั้งก็ไปหามิได้ เพราะไม่มีเหตุ ด้วยประการฉะนี้ จึงยกปัญหาหนึ่งเป็น

เหตุแล้วไป. วันนั้น ท่านประสงค์จะไปด้วยถ้อยคำซึ่งเป็นมูลเดิม จึง

กราบทูลอย่างนั้นว่า นี้บาตรจีวรของท่าน. ฝ่ายพระเถระ ก็กราบทูลชี้แจง

เฉพาะอย่างๆ ทีเดียวว่า นี้บาตรจีวรของท่าน และนี้ผ้ากรองน้ำห่อธาตุของท่าน.

พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ รับเอาผ้ากรองน้ำห่อธาตุ วางไว้

บนฝ่าพระหัตถ์ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นใด

วันก่อนทำปาฏิหาริย์หลายร้อยอย่าง ขออนุญาตปรินิพพาน บัดนี้ ธาตุทั้งหลาย

เปรียบด้วยสีสังข์เหล่านี้ของเธอปรากฏอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้บำเพ็ญบารมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

มาหนึ่งอสงไขย กำไรแสนกัป ให้ธรรมจักรทำเราให้เป็นไปเป็นไปแล้ว เธอ

เป็นผู้สอนองค์ที่สองที่เราได้เฉพาะ เป็นผู้ให้สาวกสันนิบาตครบ ภิกษุนี้เว้น

เราเสีย หาผู้เสมอด้วยปัญญาในหมื่นจักรวาลไม่ได้ เธอมีปัญญามาก มีปัญญา

หนาแน่น มีปัญญากล่าวให้บันเทิงได้ มีปัญญาแล่นไปเร็ว มีปัญญากล้า

มีปัญญาในการแทงตลอด เธอมีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี

ปรารภความเพียร เป็นผู้ตักเตือน ติเตียนความชั่ว เธอผู้มหาสมบัติที่ได้แล้ว

โดยเฉพาะ บวชแล้วห้าร้อยชาติ มีความอดทนเสมอด้วยแผ่นดินในศาสนา

ของเรา เช่นกับโคอุสภะที่มีเขาขาด มีจิตอ่อนโยน เช่นบุตรคนจัณฑาล ภิกษุ-

ทั้งหลาย พวกเธอจงดูธาตุของผู้มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญากว้าง

มีปัญญาแล่นไปเร็ว มีปัญญากล้าแข็ง มีปัญญาแห่งผู้ควรแทงตลอด ผู้มี

ความปรารถนาน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร ผู้ตักเตือน

ติเตียนความชั่ว.

สารีบุตรใด ละกามทั้งหลายอันเป็น

ที่รื่นรมย์แห่งใจ บวชแล้วห้าร้อยชาติ

พวกเธอจงไหว้พระสารีบุตรนั้น ผู้

ปราศจากราคะ มีอินทรีย์สำรวมดีแล้ว

ปรินิพพานแล้วเถิด.

สารีบุตรใด มีความอดทนเป็นกำลัง

เสมอด้วยแผ่นดิน ย่อมไม่หวั่นไหว ทั้งไม่

เป็นไปในอำนาจจิต ด้วยมีความอนุเคราะห์

เป็นผู้ประกอบด้วยกรุณา ปรินิพพานแล้ว

พวกเธอจงไหว้สารีบุตรนั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

ลูกคนจัณฑาล เข้าไปพระนครแล้ว

มีใจเจียมตัว ถือกระเบื้องเที่ยวไป ฉันใด

สารีบุตรนี้ก็อยู่ ฉันนั้น พวกเธอจงไหว้

สารีบุตรผู้ปรินิพพานแล้วเถิด.

ก็โคอุสภะตัวมีเขาและหูขาดแล้วไม่

เบียดเบียน เที่ยวไปภายในเมืองฉันใด

สารีบุตรนี้ก็อยู่ฉันนั้น พวกเธอจงไหว้

สารีบุตร ผู้ปรินิพพานแล้วเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญพระเถระ ด้วยพระคาถาห้าร้อย

ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสรรเสริญคุณพระเถระ

โดยประการใด ๆ พระเถระก็ไม่อาจจะดำรงอยู่โดยประการนั้น ๆ หวั่นไหว

เหมือนไก่วิ่งไปข้างหน้าแมวฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระอานนทเถระ จึง

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กายของข้าพระองค์ ย่อมหวั่นไหวปาน

ประหนึ่งจะงอมระงมไป. เรื่องทั้งหมดควรให้พิสดาร.

เนื้อความแห่งบทเป็นต้นว่า ประหนึ่งจะงอมระงมไป ในบทนั้น

ท่านกล่าวไว้แล้วเที่ยว. ก็ธรรม คือ อุทเทศและการสอบถาม ท่านประสงค์

เอาในบทว่า ธรรม นี้. เพราะว่า เมื่อไม่ถือเอาธรรมคืออุทเทศและการ

สอบถาม จิตก็ไม่เป็นไปเพื่อจะถือเอา หรือว่า ครั้นถือเอาแล้ว จิตก็ไม่เป็นไป

เพื่อจะสาธยาย. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงลืมพระเนตรที่วิจิตรด้วยประสาท

ทั้ง ๕ ขึ้น ทรงแลดูพระเถระ ทรงถอนพระทัยด้วยหวังว่า เราจะให้เธอเบาใจ

จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อานนท์ สารีบุตรของเธอไปไหนหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น สีลขนฺธ กองแห่งศีล ได้แก่ ศีลที่

เป็นโลกิยะและโลกุตระ. แม้ในสมาธิและปัญญาก็นัยนี้แหละ. ส่วนวิมุตติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

เป็นโลกุตระ วิมุตติญาณทัสสนะ ปัจจเวกขณญาณ นั้นเป็นโลกิยะทั้งนั้น.

บทว่า โอวาทโก ผู้สั่งสอน คือผู้ให้โอวาท. ผู้มีปกติกล่าวสั่งสอน โดย

ประการต่าง ๆ ในเรื่องทั้งหลาย ที่หยั่งลงแล้ว ๆ. บทว่า วิญฺาปโก ให้

รู้แจ้ง ความว่า ให้รู้แจ้งเหตุและผล ตลอดเวลาที่กล่าวธรรม.

บทว่า สนฺทสฺสโก ผู้แสดงพร้อมอยู่ ความว่า ชี้แจงธรรม

เหล่านั้น ๆ ด้วยอำนาจขันธ์ธาตุและอายตนะ. บทว่า สมาทปโก ผู้ชักชวน

ความว่า ให้ถือเอาอย่างนี้ว่า พวกท่านจงถือเอาสิ่งนี้ด้วย ๆ. บทว่า สมุตฺเตช-

โก ให้อาจหาญ ได้แก่ ให้อุตสาหะขึ้น. บทว่า สมฺปหสโก ให้รื่นเริง

ได้แก่ให้บรรเทิง คือให้โพลงขึ้นด้วยคุณที่ได้แล้ว. บทว่า อกิลาสุ ธมฺม-

เทสนาย ไม่เกียจคร้านในการแสดงธรรม ความว่า เมื่อเริ่มการ

แสดงธรรม ก็เป็นผู้เว้น จากการทำย่อหย่อนอย่างนั้นว่า ข้าพเจ้าปวดศีรษะ

ปวดหัวใจ ปวดท้อง หรือปวดหลัง เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน คือเป็นผู้

องอาจ แล่นไปอย่างเร็วดุจสีหะ ตัวหนึ่งหรือสองตัว. เนื้อความแห่งบทว่า

อนุคฺคาหโก สพฺรหฺมจารีน อนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ท่าน

ให้พิสดารแล้วในขันธกวรรค. โภคะนั้นเทียว พระเถระกล่าวแล้ว แม้ด้วย

บททั้งสองว่า ธรรมโอชะ ธรรมโภคะ. บทว่า ธมฺมานุคฺคห การ

อนุเคราะห์ด้วยธรรม ได้แก่ การสงเคราะห์ด้วยธรรม. พระศาสดาทรงดำริ

อยู่ว่า ภิกษุย่อมลำบากอย่างยิ่ง เมื่อจะปลอบโยนเธออีก จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

อานนท์ ข้อนั้น เราได้บอกเธอไว้แล้วมิใช่หรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิเยหิ มนาเปหิ ของรักของชอบใจ

ความว่า ความเป็นต่าง ๆ กัน โดยชาติ ความเว้นจากกันโดยความตาย (และ)

ความเป็นโดยประการอื่นโดยภพ จากมารดาบิดาพี่น้องชายและพี่น้องหญิงเป็น

ต้นย่อมมี. บทว่า อานนท์ จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

ความว่า เพราะเหตุนั้นใด จึงมีความต่าง ๆ กัน จากสิ่งที่เป็นที่รักที่ชอบใจ

เพราะฉะนั้น บุคคลบำเพ็ญบารมี ๑๐ ก็ดี บรรลุสัมโพธิญาณก็ดี ให้ธรรม

จักรเป็นไปก็ดี แสดงยมกปาฏิหาริย์ก็ดี ทำการก้าวลงจากเทวโลกก็ดี ร้องไห้

บ้าง กล่าวอยู่บ้าง ก็ไม่อาจเพื่อจะได้เหตุที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว ถูกปัจจัยปรุง

แต่งแล้ว มีความแตกดับไปเป็นธรรมดานั้น ซึ่งมิใช่ฐานะมีอยู่ด้วยความ

ปรารถนาว่าขอพระสรีระแม้ของพระตถาคตเจ้านั้นอย่าแตกดับไปเลย.

บทว่า โส ปลุชฺเชยฺย ต้นไม้นั้น พึงทำลาย ความว่า ต้นไม้

นั้นพึงแตก. ในคำว่า เอวเมว โข ฉันนั้นเหมือนกันแล มีอธิบายว่า

ภิกษุสงฆ์ เหมือนต้นหว้าใหญ่สูงร้อยโยชน์. พระธรรมเสนาบดี เปรียบเหมือน

ลำต้น ใหญ่ประมาณห้าสิบโยชน์ ทางเบื้องขวาแห่งต้นไม้นั้น. พระเถระ

ปรินิพพานแล้ว เหมือนต้นไม้ใหญ่นั้นหักแล้ว ก็ไม่มีลำต้นอื่นที่สามารถ

เจริญขึ้นโดยลำดับแต่ต้นไม้ที่หักแล้วนั้น อันสามารถเพื่อให้ที่นั้นเต็มด้วยดอก

และผลเป็นต้น. ความไม่มีภิกษุอื่นผู้ถึงที่สุดแห่งปัญญาสิบหกอย่างเช่นกับ

พระสารีบุตร ผู้สามารถที่จะนั่งบนอาสนะข้างขวาแต่ภิกษุสงฆ์นั้น เหมือนต้น

ไม้ในทิศนั้น ส่วนลำต้นพึงทราบว่า เถิดแล้ว. บทว่า ตสฺมา เพราะเหตุ

นั้น ความว่า เพราะสิ่งที่ปัจจัยทั้งหมดปรุงแต่งแล้ว มีความย่อยยับเป็นธรรมดา

บุคคลไม่อาจเพื่อจะได้ว่า ขอสิ่งนั้นจงอย่าทำลายไปเลย.

จบอรรถกถาจุนทสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

๔. เจลสูตร

ว่าด้วยการมีธรรมเป็นเกาะเป็นที่พึง

[๗๔๑] สมัยหนึ่ง เมื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ

ปรินิพพานแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่แทบฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้

อุกกเจลนครในแคว้นวัชชี กับพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่. ก็สมัยนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว ประทับนั่งที่กลางแจ้ง. ครั้งนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงชำเลืองดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งอยู่ แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทของเรานี้ปรากฏเหมือนว่างเปล่า เมื่อสารีบุตร

และโมคคัลลานะยังไม่ปรินิพพาน สารีบุตรและโมคคัลลานะอยู่ในทิศใด ทิศ

นั้นของเราย่อมไม่ว่างเปล่า ความไม่ห่วงใยย่อมมีในทิศนั้น.

[๗๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้

เหล่าใด ได้มีมาแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เหล่านั้นก็มีคู่สาวกนั้น

เป็นอย่างยิ่งเท่านั้น เหมือนกับสารีบุตรและโมคคัลลานะของเรา. พระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เหล่าใด จักมีในอนาคตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้

เหล่านั้นก็จักมีคู่สาวกนั้นเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น เหมือนกับสารีบุตรและโมค-

คัลลานะของเรา.

[๗๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นความอัศจรรย์ของสาวกทั้งหลาย

เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีมาของสาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายจักกระทำตามคำสอน

และกระทำตามโอวาทของพระศาสดา และจักเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจ เป็นที่ตั้ง

* พม่าเป็น ปรินิพฺพุเตสุ ปรินิพพานแล้ว. ๒. ยุโรปและพม่าเป็น สุญฺญา เม ภิกฺขเว ปริสา

โหติ บริษัทของเราก็ว่างเปล่าไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

แห่งความเคารพและสรรเสริญของบริษัท ๔. เป็นความอัศจรรย์ของตถาคต

เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีมาของตถาคต เมื่อคู่สาวกแม้เห็นปานนี้ปรินิพพานแล้ว

ความโศกหรือความร่ำไรก็มิได้มีแก่ตถาคต เพราะฉะนั้น จะพึงได้ข้อนี้แต่ที่

ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา

การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[๗๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ มีแก่นดัง

อยู่ลำต้นที่ใหญ่กว่าพึงทำลายลง ฉันใด เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ซึ่งมีแก่น ดำรง

อยู่ สารีบุตรและโมคคัลลานะปรินิพพานแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น

จะพึงได้ในข้อนี้แต่ที่ไหน. สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความ

ทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่

ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ

มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง

อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.

[๗๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง

ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่

พึ่งอยู่อย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่...

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... พิจารณา

เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง

ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่

พึ่งอยู่อย่างนั้นแล.

[๗๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพวกใดพวกหนึ่งในบัดนี้ก็ดี ใน

กาลที่ล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่. ภิกษุ

เหล่านี้นั้นเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา จักเป็นผู้เลิศ.

จบเจลสูตรที่ ๔

อรรถกถาเจลสูตร

พึงทราบอธิบายใน เจลสูตรที่ ๔.

บทว่า เมื่อพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ปรินิพพาน

แล้วไม่นาน ความว่า เมื่อพระอัครสาวกทั้งสองปรินิพพานนานแล้วหามิได้

ก็บรรดาพระอัครสาวกทั้งสองนั้น พระธรรมเสนาบดี ปรินิพพานในวันเพ็ญ

เดือนสิบสอง จากนั้นล่วงมาครึ่งเดือน ในวันอุโบสถแห่งกาฬปักข์กึ่งเดือน

นั้น พระมหาโมคคัลลานะจึงปรินิพพาน พระศาสดา เมื่อพระอัครสาวกทั้ง

สองปรินิพพานแล้ว มีหมู่ภิกษุใหญ่แวดล้อมเสด็จจาริกไปในมหามณฑลชนบท

เสด็จถึงอุกกเจลนครโดยลำลับ เสด็จไปบิณฑบาตในอุกกเจลนครนั้น แล้ว

ประทับอยู่บนหาดทรายมีสีดุจแผ่นเงิน ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า เมื่อพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ปรินิพพานแล้วไม่นาน.

แม้ไม่บทว่า ลำต้นที่ใหญ่กว่าเหล่านั้นใด พึงทำลาย มีอธิบายว่า หมู่

ภิกษุเปรียบเหมือนต้นหว้าใหญ่สูงร้อยโยชน์ พระอัครสาวกทั้งสองเปรียบเหมือน

ลำต้น ที่ใหญ่ทั้ง ๒ ประมาณห้าสิบโยชน์ที่แผ่ไปทั้งเบื้องขวา และเบื้องซ้ายแห่ง

ต้นไม้นั้น. คำที่เหลือ ควรประกอบในนัยก่อนนั่นเทียว.

จบอรรถกถาเจลสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

๕. พาหิยสูตร

ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรม

[๗๔๗] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะเข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อ

แก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว

ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดู

ก่อนพาหิยะ เพราะฉะนั้น เธอจงชำระเบื้องต้น ในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน

ก็อะไรเป็นเบื้องต้น ของกุศลธรรม คือศีลที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง.

[๗๔๘] ดูก่อนพาหิยะ เมื่อใดแล ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดี และ

ความเห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ตั้งมั่นในศีล แล้วเจริญ

สติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนพาหิยะ เธอจงพิจารณาเห็น

กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน

โลกเสีย. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่. . . พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . พิจารณา

เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสีย. เมื่อใด เธออาศัยศีล ตั้งมั่น อยู่ในศีลแล้ว จักเจริญสติ-

ปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมทั้ง

หลายได้ทีเดียว ตลอดราตรีหรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย.

[๗๔๙] ครั้งนั้น ท่านพระพาหิยะชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

ประทักษิณแล้วหลีกไป. ท่านพระพาหิยะหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท

มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหม-

จรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. และ

ท่านพระพาหิยะเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบพาหิยสูตรที่ ๕

อรรถกถาพาหิยสูตร

พึงทรามอธิบายในพาหิยสูตรที่ ๕.

บทว่า ความเห็น ได้แก่ ความเห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน.

จบอรรถกถาพาหิยสูตรที่ ๕

๖. อุตติยสูตร

อาศัยศีลเจริญสติปัฏฐาน ๔

[๗๕๐] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้หลีก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

ออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด. พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุตติยะ เพราะฉะนั้น เธอจงชำระเบื้องต้นใน

กุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน. ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรม คือ ศีล

ที่บริสุทธิ์ดี และความเห็นอันตรง.

[๗๕๑] ดูก่อนอุตติยะ เมื่อใดแล ศีลของเธอจักบริสุทธิ์ดีและความ

เห็นของเธอจักตรง เมื่อนั้น เธอพึงอาศัยศีล ตั้งมั่นในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน

๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนอุตติยะ เธอจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่. . . พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . พิจารณา

เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสีย. เมื่อใดเธออาศัยศีล ตั้งมั่นในศีล แล้วจักเจริญสติปัฏฐาน

๔ เหล่านี้อย่างนี้ เมื่อนั่น เธอจักไปสู่ฝั่งแห่งวัฏฏะเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ.

[๗๕๒] ครั้งนั้น ท่านพระอุตติยะชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า แล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ

ประทักษิณแล้วหลีกไป. ท่านอุตติยะหลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท

มีความเพียร มีใจเด็ดเดียว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์

อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นมิได้มี.

และท่านพระอุตติยะเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบอุตติยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

อรรถกถาอุตติยสูตร

พึงทราบอธิบายในอุตติยสูตรที่ ๖.

บทว่า ฝั่งแห่งบ่วงมาร ความว่า พระนิพพาน จัดเป็นฝั่งแห่ง

วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓.

จบอรรถกถาอุตติยสูตรที่ ๖

๗. อริยสูตร *

สติปัฏฐาน ๔ เป็นอริยะ

[๗๕๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ เป็นนิยยานิกะ. ย่อมนำไป

เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

อยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ

เป็นนิยยานิกะ ย่อมนำไปเพื่อความสิ้นทุกข์ โดยชอบแก่ผู้กระทำตาม.

จบอริยสูตรที่ ๗

* ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

๘. พรหมสูตร

สติปัฏฐาน ๔ เป็นทางอันเอก

[๗๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับ อยู่ ณ

อชปาลนิโครธ แทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

หลีกออก เร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในพระหฤทัยอย่างนี้ว่า

ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศก

และความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่

ถูกต้อง เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกเสีย. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . .

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ทางนี้เป็นที่ไป

อันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศกและความร่ำไร

เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำ

นิพพาน ให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔.

[๗๕๕] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความปริวิตกในพระหฤทัย

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วด้วยใจ จึงหายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏเบื้อง

พระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือ

คู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น. ท้าวสหัมบดีพรหมกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

[๗๕๖] ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระ-

สุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ

ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความ

ดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง

คือ สติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

พิจารณาเห็นเวทนาให้เวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณา

เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสีย. ทางนี้เป็นทางไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์

ทั้งหลาย เพื่อล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส

เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔.

[๗๕๗] ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลอย่างนี้แล้ว ครั้นแล้วได้

กราบทูลนิคมคาถาต่อไปอีกว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นความ

สิ้นชาติและที่สุดชาติ ทรงอนุเคราะห์ด้วย

ประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบทางเป็นที่ไป

อันเอก ในกาลก่อน ชนทั้งหลายข้าม

โอฆะได้แล้วด้วยทางนี้ ในอนาคตก็จัก

ข้ามด้วยทางนี้ และในบัดนี้ ก็ข้ามอยู่ด้วย

ทางนี้.

จบพรหมสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

อรรถกถาพรหมสูตร

พึงทราบอธิบายในพรหมสูตรที่ ๘

บทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หรือว่าภิกษุทั้งหลาย... ในกาย

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมแสดงว่า ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่มีในกาล

นั้นเทียว แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ผู้ใดเจริญสติปัฏฐาน ผู้นั้น ชื่อว่า เป็นภิกษุ

เพราะทำลายกิเลสได้ จึงตรัสแล้วอย่างนี้.

บทว่า เอกายน ที่ไปอันเอก คือ ทางเดี่ยว. บทว่า ชาติขยนฺต-

ทสฺสี ทรงเห็นควานสิ้นชาติและที่สุดชาติ ความว่า ชื่อว่า นิพพาน

เพราะอรรถว่า สิ้น และเพราะอรรถว่า ที่สุดแห่งชาติ. อธิบายว่า เห็น

นิพพานนั้น. บทว่า ทรงทราบทนทาง ความว่า ทรงทราบหนทางที่เป็น

ทางเอก กล่าวคือทางเป็นไปอันเอก. ทางคือสติปัฏฐานที่เป็นส่วนเบื้องต้น

ท่านเรียกว่า ทางเป็นที่ไปเบื้องหน้าอย่างเอก. อธิบายว่า ทรงรู้ทางนั้น.

จบอรรถกถาพรหมสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

๙. ปฐมเสทกสูตร

ผู้รักษาผู้อื่นชื่อว่ารักษาตน

[๗๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของ

ชาวสุมภะ ชื่อเสทกะ ในสุมภชนบท. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว คนจัณฑาล

ผู้เป็นนักไต่ราว ยกไม้ไผ่ขึ้นตั้งไว้แล้ว เรียกศิษย์ชื่อเมทกถาลิกะมาบอกว่า

ดูก่อนเมทกถาลิกะผู้เป็นสหาย มาเถิดมาขึ้นไม้ไผ่ แล้วยืนอยู่บนคอของเรา.

เมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์รับคำของนักไต่ราวแล้วขึ้นราวไม้ไผ่ ยืนอยู่บนคอของ

อาจารย์ ครั้งนั้นแล คนจัณฑาลนักไต่ราวจึงพูดกะเมทกถาลิกะผู้เป็นศิษย์ว่า

ดูก่อนเมทกถาลิกะผู้เป็นสหาย ท่านจงรักษาเรา เราจักรักษาท่าน เราทั้งสอง

ต่างคุ้มครองกันและกัน ต่างรักษากันและกันอย่างนี้ จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภ

และจักลงจากราวไม้ไผ่ได้โดยสวัสดี.

[๗๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออาจารย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว เมทกถา-

ลิกะผู้เป็นศิษย์ได้กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ก็เรื่องนี้จักเป็นอย่างนั้น

หามิได้ ท่านจงรักษาตน ผมก็จักรักษาตน เราทั้งสองต่างคุ้มครองตน ต่าง

รักษาตนอย่างนั้น จักแสดงศิลปะ จักได้ลาภ แสะจักลงจากไม้ไผ่ได้โดยสวัสดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหตุผลในข้อนั้นมีดังนี้ เหมือนศิษย์ชื่อเมทกถาลิกะ

ได้พูดกะอาจารย์ ฉะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอพึงเสพสติปัฏฐานด้วย

คิดว่า เราจักรักษาตน พึงเสพสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาผู้อื่น. บุคคล

ผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ชื่อว่ารักษาตน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

[๗๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษา

ผู้อื่นอย่างไร. ที่ชื่อว่ารักษาผู้อื่นด้วยการส้องเสพ ด้วยการเจริญ ด้วยการ

กระทำให้มาก. บุคคลผู้รักษาตน ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่นอย่างนี้แล.

[๗๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษา

ตนอย่างไร. ที่ชื่อว่ารักษาตนด้วยความอดทน ด้วยความไม่เบียดเบียน ด้วย

ความมีจิตประกอบด้วยเมตตา ด้วยความเอ็นดู. บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อม

ชื่อว่ารักษาตนอย่างนี้แล.

[๗๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอพึงเสพสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เรา

จักรักษาตน พึงเสพสติปัฏฐานด้วยคิดว่า เราจักรักษาผู้อื่น. บุคคลผู้รักษาตน

ย่อมชื่อว่ารักษาผู้อื่น บุคคลผู้รักษาผู้อื่น ย่อมชื่อว่ารักษาตน.

จบปฐมเสทกสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมเสทกสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมเสทกสูตรที่ ๙.

บทว่า ในนิคมชื่อสุมภะ ได้แก่ ในชนบทที่มีชื่ออย่างนี้. คำว่า

เมทกถาลิกะ คือ ได้ชื่ออย่างนี้ด้วยอำนาจอิตถีลิงค์. ในบทว่า ท่านจง

รักษาเรา เราจะรักษาท่าน นี้มีอธิบายว่า คนจัณฑาลนั้นมีลัทธิว่า

อาจารย์เมื่อไม่จับเอาไม้ไผ่ ที่ลูกศิษย์ยกขึ้นแล้ว จับไว้ให้ดี ไม่ไปทิศที่เเล่น

ไปแล้ว. ๆ และไม่แลดูปลายไม้ไผ่ตลอดเวลาทั้งหมดชื่อว่าไม่รักษาลูกศิษย์. ลูก

ศิษย์ที่อาจารย์ไม่รักษาแล้วอย่างนี้ตกไปย่อมแหลกละเอียด. แต่ว่า อาจารย์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

จับไม้ไผ่ไว้อย่างดี ไปตามทิศที่ลูกศิษย์แล่นไป ๆ นั้น และตรวจดูปลายไม้

ไผ่ตลอดเวลาทั้งหมด ชื่อว่าย่อมรักษาศิษย์นั้น. แม้ลูกศิษย์ที่ไต่ไปข้างโน้น

ข้างนี้ เหนื่อยเหมือนเนื้อวิ่งไปอยู่ ก็ชื่อว่าไม่รักษาอาจารย์. เพราะว่าเมื่อ

เป็นอย่างนั้น ปลายไม้ไผ่ที่คมกล้า ที่วางไว้บนพื้นหรือบนหน้าผากอาจารย์ ก็จะ

พึงทำลายที่อาจารย์นั้นแล้วไป ไม้ไผ่ก็จะไม่โอนไปเพราะครบอาการ ศิษย์เมื่อ

ไม่เอนไปข้างนั้น เหมือนดึงไม้ไผ่นั้นมาเเบ่งออกเป็นส่วนจากส่วนหนึ่ง แล้ว

ให้จับเสาค้ำธาตุ ตั้งสติมั่น นั่งไม่ไหวทีเดียว ย่อมรักษาอาจารย์. อาจารย์

ขอท่านจงรักษาตน กระผมก็จะรักษาตน ในคำนี้มีอธิบายนี้ดังว่ามานี้แล.

อาจารย์ เมื่อจับไม้ไผ่ให้มั่นดี ไปตามทิศที่ศิษย์ไต่ไป ๆ และตรวจดูปลายไม้

ไผ่ตลอดเวลาทั้งหมด ชื่อว่ารักษาตนนั่นเที่ยว ไม่ชื่อว่ารักษาศิษย์. ฝ่ายศิษย์

แบ่งกายให้เป็นส่วน ๆ จากส่วนหนึ่ง แล้วให้เสาค้ำธาตุ ตั้งสติมั่นดี นั่งนิ่ง

ชื่อว่ารักษาตนทีเดียว ไม่ชื่อว่ารักษาอาจารย์.

บทว่า กายนั้นในนั้น ความว่า ศิษย์ชื่อว่า เมทกถาลิกะกล่าว

อุบายใดกะอาจารย์ อุบายนั้น เหตุนั้นก็ใช้ได้ในเหตุนั้น. บทว่า พึงเสพ

สติปัฏฐาน ความว่า เพื่อเสพสติปัฏฐาน ๔. บทว่า ด้วยการซ่องเสพ

ความว่า ด้วยการเสพกรรมฐาน. คำว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรักษา

ตน ชื่อว่ารักษาผู้อื่นอย่างนี้ ความว่า ภิกษุใดละกามราคะเป็นต้น เสพ

มูลกรรมฐาน ทั้งในที่พักกลางคืนและกลางวัน ย่อมบรรลุพระอรหัต. ทีนั้น

คนอื่นเห็นเธอเข้า คิดว่า ภิกษุนี้ ช่างดีแท้หนอ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ แล้ว

ยังจิตให้เลื่อมใสในภิกษุนั้น ครั้นตายไปก็ไปสวรรค์ บุคคลนี้เมื่อรักษาตน

ก็ชื่อว่ารักษาคนอื่นด้วย. คำว่า ด้วยความอดทน ได้แก่ ด้วยความอดทน.

คือความอดกลั้น. คำว่า ด้วยความไม่เบียดเบียน คือ ด้วยความสงสารที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

เป็นไปกับส่วนเบื้องต้น. คำว่า ด้วยความเป็นผู้มีจิตที่ประกอบด้วยความ

หวังดี คือด้วยความรักที่เป็นไปกับส่วนเบื้องต้น. คำว่า ด้วยความเอ็นดู

หมายถึงด้วยความบันเทิงอันเป็นไปกับส่วนเบื้องต้นแห่งความค่อย ๆ เจริญ.

ในคำว่า เมื่อรักษาคนอื่นก็ชื่อว่ารักษาตน นี้มีอธิบายว่า ภิกษุไปสู่ที่พัก

กลางคืนหรือที่พักกลางวันแล้ว ทำฌานหมวดสามหรือหมวดสี่ในพรหมวิหารให้

เกิดแล้ว เอาฌานเป็นที่รองรับมาพิจารณาสังขาร เจริญวิปัสสนาจนได้เป็นพระ-

อรหันต์นี้ ก็พึงทราบว่า เมื่อรักษาคนอื่นก็ชื่อว่ารักษาตนด้วย.

จบอรรถกถาปฐมเสทกสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยเสทกสูตร

ว่าด้วยกายคตาสติ

[๗๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวสุมภะ ชื่อ

เสทกะ ในสุมภชนบท. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า

[๗๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าว

ว่า มีนางงามในชนบท ๆ พึงประชุมกัน. ก็นางงามในชนบทนั้น แสดงได้

ดีในการฟ้อนรำ แสดงได้ดียิ่งในการขับร้อง หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า นาง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

งามในชนบทจะฟ้อนรำขับร้อง พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกว่าประมาณ. ครั้งนั้น

บุรุษผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย ปรารถนาความสุข เกลียดทุกข์ พึงมากล่าว

กะหมู่มหาชนนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านพึงนำภาชนะน้ำมันอัน

เต็มเปี่ยมนี้ไปในระหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามในชนบท. และจักมีบุรุษ

เงื้อดาบตามบุรุษผู้นำหม้อน้ำมันนั้นไปข้างหลัง ๆ บอกว่า ท่านจักทำน้ำมัน

นั้นหกแม้หน่อยหนึ่งในที่ใด ศีรษะของท่านจักขาดตกลงไปในที่นั้นทีเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน. บุรุษผู้นั้น

จะไม่ใส่ใจภาชนะน้ำมันโน้น แล้วพึงประมาทในภายนอกเทียวหรือ. ภิกษุทั้ง

หลายกราบทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๗๖๕] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำอุปมานี้ เพื่อให้เข้าใจเนื้อ

ความนี้ชัดขึ้น เนื้อความในข้อนี้มีอย่างนี้แล คำว่าภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม

เป็นชื่อของกายคตาสติ.

[๗๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง

ศึกษาอย่างนั้นว่า กายคตาสติ จักเป็นของอันเราเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง กระทำไม่หยุด สั่งสมแล้ว ปรารภ

ดีแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบทุติยเสทกสูตรที่ ๑๐

จบนาฬันทวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

อรรถกถาทุติยเสทกสูตร

ในสูตรที่ ๑๐. คำว่า นางงามในชนบท หมายถึงนางที่งามที่สุด

ในชนบท ซึ้งเว้นจากโทษประจำตัว ๖ อย่าง แล้วประกอบด้วยความงาม

๕ อย่าง. ก็เพราะนางนั้นไม่สูงนัก ไม่เตี้ยนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก

ไม่ขาวนัก ผิวพรรณแม้จะไม่ถึงทิพย์ แต่ก็เกินผิวพรรณมนุษย์ด้วยกัน ฉะนั้น

จึงจัดว่าปราศจากโทษประจำตัว ๖ อย่าง. และเพราะประกอบด้วยความงามเหล่านี้

คือ ผิวงาม เนื้องาม เล็บงาม* (นหารุกลฺยาณ) กระดูกงาม วัยงาม จึงชื่อว่า

ประกอบด้วยความงาม ๕ อย่าง. นางไม่ต้องใช้แสงสว่างจรมาเลย ด้วยแสงสว่าง

ประจำตัวของตนนั่นแหละ ก็ทำให้สว่างในที่มีระยะ ๑๒ ศอก เป็นผิวที่เหมือน

กับดอกประยงค์ หรือเหมือนกับทองคำ นี้เป็นความงามแห่งผิวของนาง.

ส่วนมือเท้าทั้ง ๔ และริมฝีปากของนางนั้นเล่า ก็คล้ายกับทาด้วยชาด เหมือน

แก้วประพาฬแดงหรือผ้ากัมพลแดง นี้คือความงามแห่งเนื้อของนาง. ส่วนกลีบ

เล็บทั้ง ๒๐ นั้นเล่า ในทีที่ไม่พ้นจากเนื้อ ก็คล้ายกับเอาชาดมาทาไว้ ที่พ้น

จากเนื้อแล้ว ก็เหมือนกับธารน้ำนม นี้คือความงามแห่งเล็บ* ของนาง. ที่ฟัน

๓๒ ซี่ ซึ่งงอกขึ้นมานั่นเล่า ก็ปรากฏคล้ายเอาเพชรที่เจียระไนแล้วมาเรียงเป็น

แถวไว้ นี้คือความงามแห่งกระดูกของนาง. และต่อให้มีอายุถึง ๑๒๐ ปี ก็ยัง

สาวพริ้งเหมือนอายุแค่ ๑๖ ปี ผมไม่มีหงอกเลย นี้ คือความงามแห่งวัยของ

นาง. สำหรับในคำว่า มีกระแสเสียงไพเราะอย่างยิ่ง นี้หมายความว่า

กระแสเสียงไหลเอื่อยไป กระแสเสียงนั้นไพเราะอย่างยิ่ง ที่ชื่อว่า มีกระแส

* คำว่า นหารุกลฺยาณ นี้ อรรถกถาอธิบายเรื่องเล็บ ไม่ได้อธิบายเรื่องเอ็นเลย จึงแปลว่า

เล็บงาม ไม่ใช่เอ็นงามตามศัพท์ อรรถกถาอุทาน นันทวรรค นันทสูตรที่ ๒ หน้า ๒๑๒

แก้ว่า ฉวิกลฺยาณ มสกลฺยาณ นขกลฺยาณ (เล็บงาม) อฏฺิกลฺยาณ วยกลฺยาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

เสียงไพเราะอย่างยิ่ง ก็เพราะนางมีกระแสเสียงที่ไพเราะอย่างยิ่งนั้น. มีคำ

ที่ท่านขยายความว่า นางมีความประพฤติสูงสุด มีกิริยาประเสริฐ ในการรำ

และการร้อง ย่อมรำทำรำที่สูงที่สุด หรือถ้าจะร้อง ก็ร้องแต่เพลงชั้นสูงที่สุด

เท่านั้น. คำที่เหลือในทุกบท มีใจความตื้นทั้งนั้น. ก็และวิปัสสนาแรกเริ่ม

เป็นอันตรัสไว้แล้วในสูตรทั้งสองนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาทุติยเสกทกสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถานาฬันทวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหาปุริสสูตร ๒. นาฬันทสูตร ๓. จุนทสูตร ๔. เจลสูตร

๕. พาหิยสูตร ๖. อุตติยสูตร ๗. อริยสูตร ๘. พรหมสูตร ๙. ปฐม-

เสทกสูตร ๑๐. ทุติยเสทกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

สีลัฏฐิติวรรคที่ ๓

๑. สีลสูตร

ว่าด้วยกุศลศีล

[๗๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม

ใกล้เมืองปาฏลีบุตร. ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น

เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่าน

การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว

ได้พูดกะท่านพระอานนท์ว่า

[๗๖๘] ดูก่อนท่านอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสแล้ว ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว มีพระ

ประสงค์อย่างไร.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดีละ ๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่าง

เฉียบแหลม ช่างไต่ถามเหมาะ ๆ. ก็ท่านถามอย่างนั้นหรือว่า ดูก่อนอานนท์

ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว มีพระประสงค์อย่างไร.

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

[๗๖๙] อา. ดูก่อนท่านภัททะ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใดอันพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ศีลที่เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มี

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อน.

ท่านภัททะ ศีลที่เป็นกุศลเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ศีลที่

เป็นกุศลเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพียงเพื่อเจริญสติปัฏฐาน

เหล่านี้.

จบสีลสูตรที่ ๑

สีลัฏฐิติวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาสีลสูตร

ในสีลสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ คำว่า ศีลทั้งหลาย ได้แก่

ปาริสุทธศีล ๔ ข้อ. คำว่า อุมฺมงฺโค ได้แก่ เสาะหาปัญหา คือ แสวงหา

ปัญหา.

จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

๒. ฐิติสูตร

ว่าด้วยการตั้งอยู่แห่งพระสัทธรรม

[๗๗๐] นิทานต้นสูตรเหมือนกัน ท่านพระภัททะนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

[๗๗๑] ดูก่อนท่านอานนท์ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง

ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว.

และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อ

พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดีละ ๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่าง

เฉียบแหลม ช่างไต่ถามเหมาะ ๆ. ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ดูก่อนท่านอานนท์

อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อ

พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว. และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำ

ให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว.

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

[๗๗๒] อา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้

กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระ-

ตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว. และเพราะบุคคลเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งสติ

ปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพาน

แล้ว. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ในกายอยู่. มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน

โลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตใน

จิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคล

ไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรม

จึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเนื้อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว. และเพราะบุคคล

ได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรมจึงตั้ง

อยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว.

จบฐิติสูตรที่ ๒

อรรถกถาฐิติสูตร

ในฐิติสูตรที่ ๒ คำว่า ย่อมมีการเสื่อมสูญแห่งพระสัทธรรม *

ได้แก่ ย่อมมีความเสื่อมหายด้วยอำนาจบุคคล. จริงอยู่ ภิกษุใด ตอนที่

พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังทรงพระชนม์อยู่ ไม่เจริญสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรม

ของภิกษุนั้น ก็เป็นอันหายไป เหมือนพระสัทธรรมของพระเทวทัตเป็นต้น.

ในสูตรนี้ ตรัสถึงความสูญหายแห่งธรรมของบุคคลนั้นแล.

จบอรรถกถาฐิติสูตรที่ ๒

* พม่าไม่มี แห่งพระสัทธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

๓. ปริหานสูตร *

ว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม

[๗๗๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะ อยู่ ณ

กุกกุฏาราม ใกล้เมืองปาฏลีบุตร. ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นใน

เวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

[๗๗๔] ดูก่อนท่านอานนท์ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่อง

ทำให้พระสัทธรรมเสื่อม. อะไรหนอเป็เหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระ-

สัทธรรมไม่เสื่อม.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดีละ ๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่าง

เฉียบแหลม ช่างไต่ถามเหมาะ ๆ. ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ดูก่อนอานนท์

อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรมเสื่อม อะไรหนอเป็น

เหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรมไม่เสื่อม.

ภ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.

[๗๗๕] อา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้

กระทำให้มากซึ่งสติปัฎฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงเสื่อม. และเพราะบุคคล

ได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฎฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม. สติ

ปัฎฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาะห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

* ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณา

เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำ

ให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรมจึงเสื่อม เพราะบุคคลได้เจริญ

ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้นแล พระสัทธรรมจึงไม่เสื่อม.

จบปริหานสูตรที่ ๓

๔. สุทธกสูตร *

ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔

[๗๗๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้น.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อม

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อม

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้นแล.

จบสุทธกสูตรที่ ๔

* อรรถกถาว่า มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

๕. พราหมณสูตร *

ว่าด้วยพระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน

[๗๗๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบัณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น พราหมณ์

คนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

[๗๗๘] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพาน

แล้ว. และอะไร เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน

ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว.

[๗๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะบุคคล

ไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้

นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว. และเพราะบุคคลเจริญ กระทำให้มาก

ซึ่งสติปัฏฐาน พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อม

* อรรถกถาว่า มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อม

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย. ดูก่อนพราหมณ์ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ

ไม่ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้นแล พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้

ไม่นาน ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว. และเพราะบุคคลได้เจริญ ได้กระทำ

ให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อ

ตถาคตปรินิพพานแล้ว.

[๗๘๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

ไพเราะยิ่งนัก. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ไพเราะยิ่งนัก

เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่บุคคลผู้หลงทาง

หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักแลเห็นได้ ฉะนั้น ขอท่าน

พระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิตตั้งแต่

วันนี้เป็นต้นไป.

จบพราหมณสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

๖. ปเทสสูตร

ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ

[๗๘๑] สมัยหนึ่งท่านพระสารีบุตรท่านพระมหาโมคคัลลานะ

และ ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ กัณฏกีวัน ใกล้เมืองสาเกต. ครั้งนั้น

ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น

เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้น

แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า

[๗๘๒] ดูก่อนท่านอนุรุทธะ ที่เรียกว่า พระเสขะ ๆ ดังนี้ ด้วย

เหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ. ท่านพระอนุรุทธะตอบ

ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔

ได้เป็นส่วน ๆ. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา

เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตใน

จิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่า

เป็นพระเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ได้เป็นส่วน ๆ.

จบปเทสสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

อรรถกถาปเทสสูตร

ในสูตรที่ ๖. คำว่า เพราะอบรมได้เป็นบางส่วน คือเพราะความ

ที่อบรมได้โดยเป็นบางส่วน. จริงอยู่ ผู้ที่กำลังทำให้มรรค ๔ และผล ๓ เกิดขึ้น

ชื่อว่าได้อบรมสติปัฏฐานได้เป็นบางส่วน.

จบอรรถกถาปเทสสูตรที่ ๖

๗. สมัตตสูตร

ว่าด้วยบุคคลจะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ

[๗๘๓] นิทานต้นสูตรเหมือนกัน. ครั้นท่านพระสารีบุตรนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า

[๗๘๔] ดูก่อนท่านอนุรุทธะ ที่เรียกว่า พระอเสขะ ๆ ดังนี้ ด้วย

เหตุเพียงเท่าไรหนอ บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ. ท่านพระอนุรุทธะ

ตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ บุคคลที่จะชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน

๔ ได้บริบูรณ์. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา

เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตใน

จิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บุคคลที่จะ

ชื่อว่าเป็นพระอเสขะ เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้นแลได้บริบูรณ์.

จบสมัตตสูตรที่ ๗

อรรถกถาสมัตตสูตร

ในสูตรที่ ๗. คำว่า เพราะอบรมสมบูรณ์แล้ว คือ เพราะความ

ที่ตนได้อบรมเต็มที่แล้ว . จริงอยู่ ผู้ที่กำลังทำให้เกิดอรหัตผลขึ้นชื่อว่าได้

อบรมสติปัฏฐานสมบูรณ์เเล้ว.

จบอรรถกถาสมัตตสูตรที่ ๗

๘. โลกสูตร

ว่าด้วยผู้รู้โลก

[๗๘๕] นิทานต้นสูตรเหมือนกัน. ครั้นท่านพระสารีบุตร นั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า

[๗๘๖] ท่านพระอนุรุทธะถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะได้

เจริญได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน. ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนผู้

มีอายุ ผมถึงความเป็นผู้มีอภิญญามาก เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง

สติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . .. ย่อมพิจารณา

เห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัม-

ปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนผู้มีอายุ ผมถึงความ

เป็นผู้มีอภิญญามาก็เพราะได้เจริญได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล

และเพราะได้เจริญ ได้ทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล ผมจึงรู้โลกได้ตั้งพัน.

จบโลกสูตรที่ ๘

อรรถกถาโลกสูตร

ในสูตรที่ ๘. คำว่า ความเป็นผู้มีอภิญญามาก พระเถระกล่าว

ด้วยอำนาจอภิญญา ๖ อย่าง. คำว่า ข้าพเจ้ารู้โลกได้ตั้งพัน ท่านกล่าวด้วย

อำนาจการอยู่ติดต่อกัน. เล่ากันมาว่า พระเถระตื่นแต่เช้า บ้วนปากแล้วนั่งบน

เสนาสนะ ตามระลึกถึงอดีต ๑ พันกัป อนาคต ๑ พันกัป. ตามพัวพันคติ

แห่งการคิดคำนึงนั้นของพันจักรวาลแม้ในปัจจุบัน. พระเถระนั้นทราบชัดพัน

โลกด้วยตาทิพย์ ดังว่ามานี้. นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่ของท่าน.

คำที่เหลือ ในทุกบท ที่ใจความแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้นเเล.

จบอรรถกถาโลกสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

๙. สิริวัฑฒสูตร *

ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้อนาคามิผล

[๗๘๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลัน-

ทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้น สิริวัฑฒคฤหบดีอาพาธ ได้

รับทุกข์ เป็นไข้หนัก. ครั้งนั้น สิริวัฑฒคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า

มานี่แน่ะ บุรุษผู้เจริญ ท่านจงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จง

กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

สิริวัฑฒคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบเท้าทั้งสองข้าง

ท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ดังนี้ และจงเรียนอย่างนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้

เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไป

ยังนิเวศน์ของสิริวัฑฒคฤหบดีเถิด. บุรุษนั้นรับคำสิริวัฑฒคฤหบดีแล้ว จึง

เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้เรียนท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

สิริวัฑฒคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของ

ท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้เรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของ

สิริวัฑฒคฤหบดีเถิด. ท่านพระอานนท์รับคำด้วยดุษณีภาพ.

[๗๘๘] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและ

จีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของสิริวัฑฒคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย. ครั้น

แล้วได้ถามสิริวัฑฒคฤหบดีว่า

* อรรถกถาว่า มีเนื้อความง่าย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

[๗๘๙] ดูก่อนคฤหบดี ท่านพอจะอดทนได้หรือ พอจะยังอัตภาพ

ให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาย่อมคลายลงไม่กำเริบขึ้นหรือ ความทุเลาปรากฏ

ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ. สิริวัฑฒคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผม

อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก

ไม่เสื่อมคลายไปเลย ความกำเริบปรากฏอยู่ ความทุเลาไม่ปรากฏ.

[๗๙๐] อา. ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุนั้นและ ท่านพึงศึกษาอย่าง

นี้ว่า เราจักพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. จักพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . .

จักพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.. . จักพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนคฤหบดี

ท่านพึงศึกษาอย่างนั้นแล.

[๗๙๑] สิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมคือสติปัฏฐาน ๔ เหล่าใดที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในกระผม และกระผม

ย่อมเห็นชัดในธรรมเหล่านั้น. ก็กระผมย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ

เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อม

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อม

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสีย.

[๗๙๒] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เหล่า

ใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ กระผมยังไม่แลเห็นสังโยชน์ข้อใดข้อหนึ่ง

ที่ยังละไม่ได้แล้วในตน.

อา. ดูก่อนคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว อนาคามิผลอัน

ท่านกระทำให้แจ้งแล้ว.

จบสิริวัฑฒสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

๑๐. มานทินนสูตร *

ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ได้อนาคามิผล

[๗๙๓] นิทานต้นสูตรเหมือนกัน. ก็สมัยนั้น มานทินนคฤหบดี

อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น มานทินนคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่ง

มาสั่งว่า มานี่แน่ะ บุรุษผู้เจริญ ท่านจงเข้าไปหาพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้น

แล้ว จงกราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ มานทินนคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอกราบเท้า

ทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า ดังนี้ และจงเรียนอย่างนี้ว่า ข้า

แต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์

เข้าไปยังนิเวศน์ของมานทินนคฤหบดีเถิด. บุรุษนั้นรับคำมานทินนคฤหบดี

แล้ว เข้าไปหาพระอานนท์ถึงที่อยู่ นมัสการท่านพระอานนท์แล้ว จึงนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้เรียนท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

มานทินนคฤหบดีอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของ

ท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และสั่งให้เรียนอย่างนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์อาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของ

มานทินนคฤหบดีเถิด. ท่านพระอานนท์รับคำด้วยดุษณีภาพ. ครั้งนั้น เวลา

เช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของมานทินน-

คฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวาย. ครั้นแล้วได้ถามมานทินนคฤหบดีว่า

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพอจะอดทนได้หรือ พอจะยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ

ทุกขเวทนาย่อมคลายลงไม่กำเริบขึ้นหรือ ความทุเลาปรากฏ ความกำเริบไม่

* อรรถกถาว่า มีเนื้อความง่าย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

ปรากฏหรือ. มานทินนคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทนไม่

ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมยังกำเริบหนัก ไม่เสื่อม

คลายไปเลย ความกำเริบยังปรากฏอยู่ ความทุเลาไม่ปรากฏ.

[๗๙๔] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอันทุกขเวทนาเห็นปานนี้กระทบ

แล้ว ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . .

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย.

[๗๙๕] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เหล่า

ใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ กระผมยังไม่แลเห็นสังโยชน์ข้อใดข้อหนึ่ง

ที่ยังละไม่ได้แล้วในตน. ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี เป็นลาภ

ของท่าน ท่านได้ดีแล้ว อนาคามิผลอันท่านกระทำให้แจ้งแล้ว.

จบมานทินนสูตรที่ ๑๐

จบสีลัฏฐิติวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สีลสูตร ๒. ฐิติสูตร ๓. ปริหานสูตร ๔. สุทธกสูตร

๕. พราหมณสูตร ๖. ปเทสสูตร ๗. สมัตตสูตร ๘. โลกสูตร ๙. สิริ-

วัฑฒสูตร ๑๐. มานทินนสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

อนนุสสุตวรรคที่ ๔

๑. อนนุสสุตสูตร*

ว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน

[๗๙๖] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา

วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า

นี้คือการพิจารณาเห็นกายในกาย . . . การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นอันเรา

ควรเจริญ . . . การพิจารณาเห็นกายในกายอันเราเจริญแล้ว.

[๗๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

ได้บังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนา. . . การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนานี้นั้นอันเราควร

เจริญ . . . การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนานี้อันเราเจริญแล้ว.

[๗๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

ได้บังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณา

เห็นจิตฝนจิต ... การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้นั้นอันเราควรเจริญ ... การ

พิจารณาเห็นจิตในจิตนี้อันเราเจริญแล้ว.

[๗๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

ได้บังเกิดขึ้นแก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณา

เห็นธรรมในธรรมะ..การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมนี้นั้นอันเราควรเจริญ ...

การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมนี้อันเราเจริญแล้ว .

จบอนนุสสุตสูตรที่ ๑

* สูตรที่ ๑ - ๒ - ๓ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

๒. วิราคสูตร

เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความหน่าย

[๘๐๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้น

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความ

คลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้

เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมป-

ชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา

ในเวทนาอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรม

ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสีย. ก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด

เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

โดยส่วนเดียว.

จบวิราคสูตรที่ ๒

๓. วิรัทธสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่ปรารภและปรารภอริยมรรค

[๘๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเหล่าใดเหล่า

หนึ่งไม่ปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อวาไม่ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเหล่าใด

เหล่าหนึ่งปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์

๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็น

เวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็น

ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสีย. สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้ว

บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าไม่ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึง

ความสิ้นทุกข์โดยชอบ. สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยัง

สัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

จบวิรัทธสูตรที่ ๓

๔. ภาวนาสูตร

ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐานเพื่อถึงฝั่ง

[๘๐๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง จากที่มิใช่ฝั่ง

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

เห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. สติปัฏฐาน ๔ เหล่า

นี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่

มิใช่ฝั่ง.

จบภาวนาสูตรที่ ๔

อรรถกถาอนนุสสุตสูตร

ในวรรคที่ ๔ สูตรที่ ๕ คำว่า เวทนาที่รู้แจ้งแล้ว หมายความว่า

พิจารณาเวทนาใดแล้ว จึงได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ เวทนาที่ท่านรู้แจ้งแล้ว

นั่นแล ย่อมเกิดขึ้น. เวทนาที่รู้แจ้งแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งอยู่ เวทนาที่รู้แจ้งแล้ว

ชื่อว่า ย่อมถึงความดับไปสิ้นไป. ก็แล แม้เวทนาที่เป็นไปในอารมณ์ที่กำหนด

ถือเอาเหล่าใดที่รู้แจ้งแล้ว ย่อมเกิดขึ้น เวทนาที่รู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ก็ชื่อว่า

ย่อมถึงความดับไปสิ้นไป. แม้ในเรื่องวิตกเป็นต้น ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ

คำที่เหลือในทุกบท มีใจความตื้นแล้วทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอนนุสสุตสูตรที่ ๔

๕. สติสูตร

ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าผู้มีสติ

[๘๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ

สัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย. ก็อย่างไรเล่า

ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ย่อม

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

* สูตรที่ ๕ ถึง ๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

และโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อม

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ .. . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ.

[๘๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มี

สัมปชัญญะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ทราบชัด แล้ว

ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่

ไม่ได้. วิตกอันภิกษุทราบชัดแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่

ที่ทราบชัดแล้ว ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้. ปัญญาอันภิกษุทราบชัดแล้วย่อม

บังเกิดขึ้น ที่ทราบชัดแล้วปรากฏอยู่ ที่ทราบชัดแล้วย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้

อย่างนั้นแล. ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

พึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับ เธอทั้งหลาย.

จบสติสูตรที่ ๕

๖. อัญญสูตร

ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ หวังผลได้ ๒ อย่าง

[๘๐๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

สติปัญฐาน ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสีย. ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณา

เห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย. สติปัฏฐาน ๔ เหล่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่ได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติ

ปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พึงหวังผลได้ ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

จบอัญญสูตรที่ ๖

๗. ฉันทสูตร

ผู้เจริญสติปัฏฐาน ชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ

[๘๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย

ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน

โลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ย่อมละความพอใจในกายนั้นได้

เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่าทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

[๘๐๗] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่. มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมละความพอใจในเวทนานั้นได้ เพราะละความ

พอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

[๘๐๘] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมป-

ชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นจิต

ในจิตอยู่ ย่อมละความพอใจในจิตนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอัน

ชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

[๘๐๙] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณา

เห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมละความพอใจในธรรมนั้นได้ เพราะละความ

พอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

จบฉันทสูตรที่ ๗

๘. ปริญญาสูตร

ผู้เจริญสติปัฏฐาน ชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ

[๘๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกาย

ในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน

โลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ย่อมกำหนัดรู้กายได้ เพราะ

กำหนดรู้กายได้ จึงเป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

[๘๑๑] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณาเห็น

เวทนาในเวทนาอยู่ ย่อมกำหนดรู้เวทนาได้ เพราะกำหนดรู้เวทนาได้ จึง

เป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

[๘๑๒] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณา

เห็นจิตในจิตอยู่ ย่อมกำหนดรู้จิตได้ เพราะกำหนดรู้จิตได้ จึงเป็นอันชื่อว่า

กระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

[๘๑๓] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย เมื่อเธอพิจารณา

เห็นธรรมในธรรมอยู่ ย่อมกำหนดรู้ธรรมได้ เพราะกำหนดรู้ธรรมได้ จึง

เป็นอันชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.

จบปริญญาสูตรที่ ๘

๙. ภาวนาสูตร

การเจริญสติปัฏฐาน ๔

[๘๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสติปัฏฐาน

เธอทั้งหลายจงฟัง การเจริญสติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่...

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้แล คือการเจริญสติปัฏฐาน ๔.

จบภาวนาสูตรที่ ๙

๑๐. วิภังคสูตร

ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน

[๘๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสติปัฏฐาน การเจริญ

สติปัฏฐานและปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน แก่เธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงฟัง ก็สติปัฏฐานเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่...

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มี

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน.

[๘๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การเจริญสติปัฏฐานเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกาย

พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในกาย พิจารณาเห็นธรรม คือความ

เกิดขึ้น และความเสื่อมไปในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น

ในเวทนา . . . พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิต... พิจารณา

เห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรม พิจารณาเห็นธรรม. คือ ความเสื่อม

ในธรรม พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการเจริญสติปัฏฐาน.

[๘๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน

เป็นไฉน อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฐิ. . . สัมมาสมาธิ

นี้แลเรียกว่า ปฏิปทาอันให้ถึงการเจริญสติปัฏฐาน.

จบวิภังคสูตรที่ ๑๐

จบอนนุสสุตวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนนุสสุตสูตร ๒. วิราคสูตร ๓. วิรัทธสูตร ๔. ภาวนาสูตร

๕. สติสูตร ๖. อัญญสูตร ๗. ฉันทสูตร ๘. ปริญญาสูตร ๙. ภาวนา

สูตร ๑๐. วิภังคสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

อมตวรรคที่ ๕

๑. อมตสูตร *

ว่าด้วยจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน

[๘๑๘] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีจิต

ตั้งมั่นด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔ อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย และอมตะจะ

พึงมีแก่เธอทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน.

ธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

อยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย เธอ

ทั้งหลาย จงมีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๕ เหล่านี้อยู่เถิด อย่ามีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่เลย

และอมตะจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย.

จบอมตสูตรที่ ๑

๒. สมุทยสูตร

ว่าด้วยการเกิดดับแห่งสติปัฏฐาน ๔

[๘๑๙] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิด

และความดับแห่งสติปัฏฐาน ๔ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งกายเป็น

* ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

อย่างไร ความเกิดแห่งกายย่อมมี เพราะความเกิดแห่งอาหาร ความดับ

แห่งกายย่อมมี เพราะความดับแห่งอาหาร ความเกิดแห่งเวทนาย่อมมี เพราะ

ความเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนาย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ

ความเกิดแห่งจิตย่อมมี เพราะความเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งจิตย่อมมี

เพราะความดับแห่งนามรูป ความเกิดแห่งธรรมย่อมมี เพราะความเกิดแห่ง

มนสิการ ความดับแห่งธรรมย่อมมี เพราะความดับแห่งมนสิการ.

จบสมุทยสูตรที่ ๒

อมตวรรควรรณนา

อรรถกถาสมุทยสูตร

อมตวรรคที่ ๕ สมุทยสูตรที่ ๒. คำว่า ความเกิดแห่งกาย

เพราะการเกิดขึ้นแห่งอาหาร หมายความว่า การเกิดขึ้นพร้อมแห่งกาย

ย่อมมีได้ เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งอาหาร. ในคำที่เหลือ ก็ทำนอง

เดียวกันนี้แหละ. ส่วนในคำว่า เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งมนสิการ

(ความใส่ใจ) หมายความว่า การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมอันเป็นส่วน

ประกอบแห่งความตรัสรู้ ย่อมมีได้เพราะการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการเอาใจใส่

อย่างมีเหตุผล และธรรมคือนิวรณ์ (เครื่องกีดกั้น) จะเกิดมีได้ก็เพราะการ

ไม่เอาใจใส่อย่างมีเหตุผลเกิดขึ้น. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัส

การตั้งสติไว้อย่างมั่นคงในอารมณ์ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสมุทยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

๓. มรรคสูตร *

ว่าด้วยทางเป็นที่ไปอันเอก

[๘๒๐] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งหนึ่ง เมื่อแรก

ตรัสรู้ เราอยู่ที่ควงไม้อชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชราในตำบลอุรุเวลา

เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนั้นว่า

[๘๒๑] ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส

เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ภิกษุพึงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณาเห็น

เวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ หรือพิจารณาเห็นธรรมใน

ธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน

โลกเสีย ทางเป็นที่ไปอันเอกนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อ

ก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อ

บรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔.

[๘๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมรู้ความ

ปริวิตกในใจของเราด้วยใจ จึงหายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏเบื้องหน้าเรา

เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ท้าวสหัมบดี-

พรหมกระทำผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือมาทางเราแล้วได้กล่าวว่า

[๘๒๓] ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต

ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความ

บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความ

* ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

ดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง

หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ภิกษุพึงพิจารณาเห็นกายในกาย. . . ในเวทนา... ในจิต . . . หรือในธรรม

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส

เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔.

[๘๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวดังนี้แล้ว

ครั้น แล้วได้กล่าวนิคมคาถาต่อไปอีกว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นความ

สิ้นชาติ และที่สุดชาติ ทรงอนุเคราะห์

เพื่อประโยชน์เกื้อกูล ทรงทราบทางเป็น

ที่ไปอันเอก ในกาลก่อนชนทั้งหลายข้าม

โอฆะได้แล้วด้วยทางนี้ (ในอนาคต) จัก

ข้ามด้วยหนทางนี้ (ในบัดนี้) ก็ข้ามอยู่

ด้วยหนทางนี้.

จบมรรคสูตรที่ ๓

๔. สติสูตร

ทรงเตือนภิกษุให้เป็นผู้มีสติ

[๘๒๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติอยู่

เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่า

เป็นผู้มีสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

กายในกายอยู่ .. . ในเวทนาอยู่ . . . ในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นธรรมใน

ธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลก

เสีย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็น

ผู้มีสติอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.

จบสติสูตรที่ ๔

อรรถกถาสติสูตร

สูตรที่ ๔. ครั้นทรงแสดงเหตุเกิดขึ้น (สมุทัย) ล้วน ๆ เสร็จแล้ว

พระองค์ก็ตรัส (พระสูตรนี้) ตามอัธยาศัยของผู้จะตรัสรู้ได้.

จบอรรถกถาสติสูตร

๕. กุสลราสิสูตร

ว่าด้วยกองกุศล

[๘๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล จะกล่าวให้ถูก

ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้น ได้แก่สติปัฏฐาน ๔ สติ-

ปัฏฐาน เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มี

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อม

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อม

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่ากองกุศล

จะกล่าวให้ถูก ต้องกล่าวถึงสติปัฏฐาน ๔ เพราะว่ากองกุศลทั้งสิ้นนี้ได้แก่สติ-

ปัฏฐาน ๔.

จบกุสลราสิสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

๖. ปาฏิโมกขสูตร

ว่าด้วยปาฏิโมกขสังวร

[๘๒๗] ครั้งนั้น พระภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่

ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้วจะพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่

ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด.

[๘๒๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ เพราะฉะนั้น

แหละ เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้น

ของกุศลธรรม เธอจงสำรวมในปาฏิโมกขสังวร จงถึงพร้อมด้วยมารยาทและ

โคจรเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.

[๘๒๙] ดูก่อนภิกษุ เมื่อใดแล เธอจักสำรวมในปาฏิโมกขสังวร

จักถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทาน

ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อนั้น เธออาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว พึง

เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ เธอจงพิจารณาเห็น

กายในกายอยู่ ... ในเวทนาอยู่ ... ในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

เมื่อใด เธอจักอาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อย่าง

นี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมได้ทีเดียว ตลอดคืนหรือวันที่

จักมาถึง ไม่มีความเสื่อม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

[๘๓๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำประทักษิณ

แล้วหลีกไป ภิกษุนั้นเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อัน

ยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ

แล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้นมิได้มี ก็แลภิกษุ

นั้นเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบปาฏิโมกขสูตรที่ ๖

อรรถกถาปาฏิโมกขสูตร

ปาฏิโมกขสังวรสูตรที่ ๖. คำว่า ผู้สำรวมด้วยความสำรวม

ในพระปาฏิโมกข์ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงศีลที่

ประเสริฐที่สุดของศีลทั้ง ๔ อย่าง จึงได้ตรัสอย่างนั้น. ท่านปีกฏกจุลนาคเถระ

กล่าวว่า ศีล ก็คือการสำรวมในพระปาฏิโมกข์นั่นเอง. ท่านค้านว่า ขึ้นชื่อ

ว่าฐานะที่ว่าอีก ๓ ข้อ เป็นศีล ไม่มี เมื่อไม่ยอมเห็นด้วยอย่างเด็ดขาดจึง

กล่าวไว้. มีชื่อว่า อินทรีย์สังวร ก็สักว่าที่เป็นไปในทวาร ๖ เท่านั้น อาชีว-

ปาริสุทธิ ก็สักว่าที่เกิดปัจจัยขึ้นโดยถูกต้องตามทำนองคลองธรรมเท่านั้น.

ชื่อว่า ปัจจัยนิสสิต ก็ตรงที่พิจารณาว่าเพื่อประโยชน์นี้ในปัจจัยที่ได้มาแล้ว

บริโภค (เพราะฉะนั้น) ว่าโดยตรง ศีลก็คือการสำรวมในพระปาฏิโมกข์เท่า

นั้น. ปาฏิโมกขสังวรนั้น ของภิกษุใดแตกแล้ว ภิกษุนี้ก็ไม่พึงกล่าวได้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

จะรักษาศีลที่เหลือไว้ได้เพราะเหมือนคนหัวขาด ไม่มีทางจะรักษามือเท้าไว้ได้

ฉะนั้น. ส่วนปาฏิโมกขสังวรนั้น ของภิกษุใด ไม่เสียหาย ภิกษุนี้ ก็สามารถ

เพื่อทำศีลที่เหลือให้กลับเป็นปกติได้อีกแล้วรักษาข้ออื่น เหมือนคนหัวไม่ขาด

สามารถรักษาชีวิตไว้ได้ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น ศีลก็คือปาฏิโมกขสังวรนั่นเอง.

ด้วยความสำรวมในพระปาฏิโมกข์นั้น. คำว่า ผู้สำรวมแล้ว หมายความว่า

ผู้สำรวม เข้าถึงคือประกอบด้วยความสำรวมในพระปาฏิโมกข์. คำว่า ถึง

พร้อมด้วยอาจาระและโคจร คือสมบูรณ์ทั้งอาจาระ ทั้งโคจร. คำว่า

อณุมตฺเตสุ คือมีประมาณเล็กน้อย. คำว่า โทษ คือในธรรมที่เป็นอกุศล

คำว่า มีปกติเห็นภัย คือเห็นเป็นของน่ากลัวโดยปกติ. คำว่า ยึดมั่น

คือถือไว้อย่างถูกต้อง. คำว่า จงศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ได้แก่ การยึด

ถือศึกษาสิกขาบทนั้น ๆ ในสิกขาบททั้งหลาย คือก็สิกขาบทไร ๆ ที่เกี่ยวกับ

กายหรือที่เกี่ยวกับวาจาที่ต้องศึกษาในส่วนสิกขาในสิกขาบททั้งหลายนั้นใดจง

สมาทานศึกษาสิกขาบททั้งหมดนั้น ด้วยประการฉะนี้. นี้เป็นความย่อในพระ

สูตรนี้ ส่วนความพิสดาร ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. ด้วยประการฉะนี้

ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแต่ปาฏิโมกขสังวรศีลเท่านั้น.

จบอรรถกถาปฏิโมกขสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

๗. ทุจริตสูตร

ว่าด้วยทุจริต และสุจริต

[๘๓๑] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ฯลฯ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์

ได้ฟังแล้ว จะพึงเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท. มีความเพียร

มีใจเด็ดเดี่ยวเถิด.

[๘๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ

เธอจงชำระเบื้องต้นในกุศลธรรมให้บริสุทธิ์เสียก่อน ก็อะไรเป็นเบื้องต้นของ

กุศลธรรม เธอจักละกายทุจริต เจริญกายสุจริต จักละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต

จักละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต.

[๘๓๓] ดูก่อนภิกษุ เมื่อใดแล เราจักละกายทุจริต เจริญกายสุจริต

จักละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต จักละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต เมื่อนั้น เธอ

พึงอาศัยศีลดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน เธอ

จงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ . . . ใน มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสีย เมื่อใดแล เธอจักอาศัยศีลเวทนาอยู่ ....ในจิตอยู่ . . . จงพิจารณาเห็น

ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญสติปัฏฐาน ๔

เหล่านี้ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอพึงหวังความเจริญในกุศลธรรมได้ทีเดียว ตลอดคืน

หรือวันที่จักมาถึง ไม่มีความเสื่อมเลย ฯลฯ ก็แลภิกษุรูปนั้น เป็นพระอรหันต์

องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบทุจริตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

อรรถกถาทุจริตสูตร

สูตรที่ ๗. กายสุจริตและวจีสุจริตเป็นปาฏิโมกขสังวรศีล มโนสุจริต

เป็นศีลอีก ๓ ชนิด เพราะเหตุนั้น จึงเป็นอันว่าจตุปาริสุทธิศีล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ได้ทรงแสดงไว้แล้ว. โดยนัยนี้ แม้กรรมบถสามข้อหลัง ในกุศลกรรม

บถสิบ ในปปัญจสูตร และในอีกเก้าสูตร ก็พึงทราบว่าเป็นศีลด้วย. คำที่

เหลือ ตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุจริตสูตรที่ ๗

๘. มิตตสูตร*

การชักชวนให้เจริญสติปัฏฐาน

[๘๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด

และชนเหล่าใดพึงสำคัญถ้อยคำที่ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์

ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม เธอทั้งหลายพึงชักชวนชักนำให้ตั้งอยู่ในการเจริญ

สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ ย่อมพิจารณาเห็น. กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารนาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ย่อม

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้ง

* ตั้งแต่ สูตรที่ ๘ เป็นต้นไป ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

หลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใด และชนเหล่าใดพึงสำคัญถ้อยคำที่

ควรฟัง ชนเหล่านั้นจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม เธอทั้ง

หลาย พึงชักชวนชักนำให้ตั้งอยู่ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้น.

จบมิตตสูตรที่ ๘

๙. เวทนาสูตร

เจริญสติปัฏฐานเพื่อรู้ เวทนา ๓

[๘๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็น

ไฉน คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เวทนา ๓ ประการนี้แล.

[๘๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔

เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

อยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อกำหนดรู้เวทนา

๓ ประการนี้แล.

จบเวทนาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

๑๐. อาสวสูตร

เจริญสติปัฏฐานเพื่อละ อาสวะ ๓

[๘๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้ ๓ ประการ

เป็นไฉน คือ กามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อาสวะ ๓ ประการนี้แล.

[๘๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน ๔

เพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็น

เวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็น

ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรเจริญสติปัฏฐาน ๔

เหล่านี้ เพื่อละอาสวะ ๓ ประการนี้แล.

จบอาสวสูตรที่ ๑๐

จบอมตวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อมตสูตร ๒. สมุทยสูตร ๓. มรรคสูตร ๔.สติสูตร ๕.

กุสลราสิสูตร ๖. ปาฏิโมกขสูตร ๗. ทุจริตสูตร ๘. มิตตสูตร ๙.

เวทนาสูตร ๑๐. อาสวสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

คังคาทิเปยยาลแห่งสติปัฏฐานสังยุตที่ ๖

ว่าด้วยผลของการเจริญสติปัฏฐาน ๔

[๘๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคา

ไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุ

เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ก็เป็นผู้น้อมไปสู่

นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๘๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อ

กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร จึงจะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้ม

ไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่.... ย่อม

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ เมื่อกระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล จึง

จะเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ

[๘๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้

สังโยชน์ ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ ๑ อรูปราคะ ๑ มานะ ๑ อุทธัจจะ ๑

อวิชชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล.

[๘๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วน

เบื้องสูง ๕ เหล่านี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

อยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อความรู้ยิ่ง

เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕ เหล่า

นี้แล (สติปัฏฐานสังยุต พึงให้พิสดารเหมือนมรรคสังยุต).

๖ สูตรว่าด้วยแม่น้ำไหลไปสู่ทิศปราจีน ๖ สูตรว่าด้วยแม่น้ำไหลไปสู่

สมุทร ทั้งสองอย่าง ๆ ละ ๖ รวมเป็น ๑๒ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าวรรค.

จบสติปัฏฐานสังยุต

พึงทราบใจความตามนัยที่กล่าวไว้ในหนหลัง ในฉฬวรรค.

อรรถกถาสถาสติปัฏฐานสังยุต ในอรรถกถาสังยุตตนิกาย ชื่อ

สารัตถปกาสินีจบแล้ว. (ต่อภาคที่ ๒)