ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

๒. เวทนาสังยุต

ปฐมกสคาถวรรคที่ ๑

๑. สมาธิสูตร

ว่าด้วยผู้มีจิตตั้งมั่นรู้เหตุเกิดและดับแห่งเวทนา

[๓๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็น

ไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เวทนา ๓ เหล่านี้แล.

[๓๖๐] สาวกของพระพุทธเจ้ามีจิตมั่นคงดีแล้ว มี

สัมปชัญญะ มีสติ ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนาและเหตุ

เกิดแห่งเวทนาทั้งหลาย อนึ่งเวทนาเหล่านี้จะ

ดับไปในที่ใด ย่อมรู้ชัดซึ่งที่นั้น ( คือนิพพาน )

และทางดำเนินให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนาเหล่า

นั้น เพราะสิ้นเวทนา ภิกษุเป็นผู้หมดความหิว

ปรินิพพานแล้ว.

จบ สมาธิสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

เวทนาสังยุต

ปฐมกสคาถวรรคที่ ๑

อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิสูตรที่ ๑ แห่งสหคาถาวรรคในเวทนา

สังยุต ดังต่อไปนี้.

บทว่า สมาหิโต ความว่า มีจิตตั้งมั่นด้วยอุปจาร หรือด้วย

อัปปนา. บทว่า เวทนา จ ปชานาติ ความว่า สาวกของพระพุทธเจ้า

ย่อมรู้ชัดเวทนาด้วยสามารถแห่งทุกขสัจ. บทว่า เวทนานญฺจ สมฺภว

ความว่า ย่อมรู้ชัดเหตุเกิดแห่งเวทนาเหล่านั้นแล ด้วยสามารถแห่งสมุทย-

สัจ. บทว่า ยตฺถ เจตา ความว่า เวทนาเหล่านี้ จะดับในนิพพานใด-

ย่อมรู้ชัด ซึ่งนิพพานนั้น ด้วยสามารถแห่งนิโรธสัจ. บทว่า ขฺยคามิน

ความว่า ย่อมรู้ชัดทางดำเนินให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนาเหล่านั้นแล ด้วย

สามารถแห่งมรรคสัจ. บทว่า นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต ความว่า ภิกษุผู้

หมดตัณหา ปรินิพพานแล้วด้วยความดับกิเลส. ในพระสูตรนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเวทนาอันเที่ยวไปในการพิจารณาด้วยประการดังนี้. ตรัส

สมณะและวิปัสสนาด้วยบททั้งสองในคาถาทั้งหลาย. ตรัสสัจจะ ๔ ด้วย

บทที่เหลือ การกำหนดธรรมเป็นไปในภูมิ ๔ อันรวบรวมธรรมไว้ทั้งหมด

ก็ได้ตรัสไว้ในพระสูตรนี้ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๑

๑. บาลี เป็น ปฐมสคาถวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

๒. สุขสูตร

ว่าด้วยผู้รู้ว่าเวทนาเป็นทุกข์ย่อมหมดความยินดีในเวทนา

[๓๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็น

ไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เวทนา ๓ เหล่านี้แล.

[๓๖๒] ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็น

สุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุขก็

ตาม ทั้งที่เป็นภายในทั้งที่เป็นภายนอกอยู่ ภิกษุ

รู้ว่า เวทนานี้เป็นทุกข์ มีความพินาศเป็นธรรมดา

มีความทำลายเป็นธรรมดา ถูกต้องความเสื่อมไป

อยู่ ย่อมคลายความยินดีในเวทนาเหล่านั้น ด้วย

ประการอย่างนี้.

จบ สุขสูตรที่ ๒

อรรถกถาสุขสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในสุขสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อทุกฺขมสุข สห ได้แก่ มิใช่ทุกข์มิใช่สุข พร้อมด้วยสุข

และทุกข์ บทว่า อชฺฌตฺตญฺจ พิหิทฺธา จ ความว่า ของตนและของคนอื่น.

บทว่า โมสธมฺม คือมีความพินาศเป็นสภาพ. บทว่า ปโลกิน คือทำลาย

มีความแตกเป็นสภาพ. บทว่า ผุสฺส ผุสฺส วย ผุสฺส ความว่า ถูกต้อง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

ความเสื่อมเพราะถูกต้องด้วยญาณ. บทว่า เอว ตตฺถ วิรชฺชติ ความว่า

ย่อมคลายความยินดี ในเวทนาเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้. ในพระสูตร

แม้นี้ ตรัสเวทนาอันเที่ยวไปในการพิจารณา ตรัสการถูกต้องด้วยญาณ

ในคาถาทั้งหลาย.

จบ อรรถกถาสุขสูตรที่ ๒

๓. ปหานสูตร

ว่าด้วยพึงละราคานุสัยเป็นต้นในเวทนา ๓

[๓๖๓] ตูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็น

ไฉน คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายพึงละราคานุสัยในสุขเวทนา พึงละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา

พึงละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุขเวทนา เพราะเหตุที่ภิกษุละราคานุสัยใน

สุขเวทนา ละปฏิฆานุสัยในทุกขเวทนา ละอวิชชานุสัยในอทุกขมสุข-

เวทนา ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่มีราคานุสัย มีความเห็นชอบ ตัด

ตัณหาได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว

เพราะละมานะได้โดยชอบ.

[๓๖๔] ราคานุสัยนั้น ย่อมแก่ภิกษุผู้เสวยสุข

เวทนาไม่รู้สึกตัวอยู่ มีปกติไม่เห็นธรรมเป็น

เครื่องสลัดออก ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่ภิกษุผู้เสวย

ทุกขเวทนา ไม่รู้สึกตัว มีปกติไม่เห็นธรรมเป็น

เครื่องสลัดออก บุคคลเพลิดเพลินอทุกขมสุข-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

เวทนาซึ่งมีอยู่ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญา

ประดุจปฐพีทรงแสดงแล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไป

จากทุกข์เลย เพราะเหตุที่ภิกษุผู้มีความเพียร

ละทิ้งเสียได้ด้วยสัมปชัญญะ เธอชื่อว่าเป็น

บัณฑิตย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งปวง ครั้นกำหนด

รู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้ในปัจจุบัน

ตั้งอยู่ในธรรมถึงที่สุดเวท เมื่อตายไป ย่อมไม่

เข้าถึงความนับว่า เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง เป็น

ผู้หลง ดังนี้.

จบ ปหานสูตรที่ ๓

อรรถกถาปหานสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในปหานสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อจฺเฉชฺช ตยฺห ความว่า ตัดตัณหาแม้ทั้งปวงได้เด็ดขาด

แล้ว. บทว่า นิวตฺตยิ สญฺโชน ความว่า เพิกถอนสังโยชน์ทั้ง ๑๐

อย่างได้แล้ว คือได้ทำให้หมดมูล. บทว่า สมฺมา คือโดยเหตุ คือโดยการณ์.

บทว่า มานาภิสมยา ความว่า เพราะเห็นและละมานะเสียได้ ด้วยว่า

อรหัตตมรรค ย่อมเห็นซึ่งมานะด้วยสามารถแห่งกิจ. นี้จัดเป็นการละมานะ

นั้นด้วยทัสสนะ. ส่วนมานะนั้นอันอรหัตมรรคนั้นเห็นแล้ว ย่อมละได้

ทันทีเหมือนชีวิตของสัตว์อันบุคคลเห็นละได้ด้วยสามารถทิฏฐิฉะนั้น.นี้ จัด

เป็นการละมานะนั้นด้วยปหานะ. บทว่า อนฺตมาสิ ทุกฺขสฺส ท่านอธิบาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

ว่าที่สุด ๔ เหล่านี้ ใด คือที่สุดมีเขตแดนเป็นที่สุด ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า

เครื่องผูกกาย ย่อมคร่ำคร่าเป็นที่สุด หรือมีความสดสวยเป็นที่สุดดังนี้ ๑

ที่สุดแห่งความลามกพระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า นี้เป็นที่สุดแห่งชีวิต นะภิกษุ

ทั้งหลายดังนี้ ๑ ส่วนสุดท่านกล่าวอย่างนี้ว่า กายของตนมีที่สุดอย่างหนึ่ง

ดังนี้ ๑ ส่วนสุดท่านกล่าวอย่างนี้ว่า นั้นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ เพราะสิ้น

ปัจจัยทั้งหมดดังนี้ ๑ ในที่สุด ๔ เหล่านั้น ภิกษุได้ทำที่สุดกล่าวคือส่วน

ที่ ๔ แห่งวัฏฏทุกข์ทั้งหมดนั้นแล คือได้ทำการเพื่อกำหนด การที่กำหนดไว้

คือได้ทำทุกข์เหลือเพียงร่างกายเป็นที่สุดดังนี้.

บทว่า สมฺปชญฺเน นิพฺพาติ ได้แก่ ย่อมละเสียได้ด้วยสัมป-

ชัญญะ บทว่า สขย นูเปติ ความว่า ย่อมไม่เข้าถึงบัญญัติว่าเป็นผู้กำหนัด

ขัดเคือง เป็นผู้หลงดังนี้ เธอละบัญญัตินั้นได้แล้ว ได้ชื่อว่ามหาขีณาสพ.

อารัมมณานุสัยตรัสไว้แล้วในพระสูตรนี้แล.

จบ อรรถกถาปหานสูตรที่ ๓

๔. ปาตาลสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่ปรากฏและปรากฏในบาดาล

[๓๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมพูด

อย่างนี้ว่า ในมหาสมุทรมีบาดาล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้

สดับแล้ว ย่อมพูดวาจาอันไม่มีอันไม่ปรากฏอย่างนี้ว่าในมหาสมุทรมีบาดาล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า บาดาล นี้เป็นชื่อของทุกขเวทนาที่เป็นไปใน

สรีระแล ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับถูกทุกขเวทนาอันเป็นไปในสรีระถูกต้องแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญย่อมถึงความงมงาย ปุถุชนผู้

ไม่ได้สดับนี้ เรากล่าวว่า ไม่ปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งไม่ถึงอีกด้วย ส่วน

อริยสาวกผู้สดับแล้ว ถูกทุกขเวทนาอันเป็นไปในสรีระถูกต้อง ย่อมไม่

เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมไม่ถึงความงมงาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วนี้ เรากล่าวว่า ย่อมปรากฏใน

บาดาล ทั้งหยั่งถึงอีกด้วย.

[๓๖๖] นรชนใดถูกทุกขเวทนาเหล่านี้ อันเป็นไป

ในสรีระเครื่องนำชีวิตเสีย บังเกิดขึ้น ถูกต้อง

แล้ว อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว เป็นผู้ทุรพล

กำลังน้อย ย่อมคร่ำครวญ ร่ำไร นรชนนั้นย่อม

ไม่ปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งไม่ถึงอีกด้วย ส่วน

นรชนใดถูกทุกขเวทนาเหล่านี้ อันเป็นไปในสรี-

ระ เครื่องนำชีวิต บังเกิดขึ้น ถูกต้อง อดกลั้น

ไว้ได้ ย่อมไม่หวั่นไหว นรชนนั้นแล ย่อม

ปรากฏในบาดาล ทั้งหยั่งถึงอีกด้วย.

จบ ปาตาลสูตรที่ ๔

อรรถกถาปาตาลสุตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในปาตาลสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปาตาโล ชื่อว่าบาดาล เพราะอรรถว่า อย่าปรารถนา

เพื่อตกไป ในที่นี้ ย่อมไม่มีที่อาศัย. บทว่า อสนฺต อสวิชชมาน ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

วาจาไม่มี ไม่ปรากฏ. บทว่า เอว วาจ ภาสติ ความว่า ปุถุชน ย่อม

พูดอย่างนี้ว่า ในมหาสมุทรมีบาดาล. ก็บาดาลนั้น คล้ายเหวในมหานรก

ย่อมมีในที่ตกแห่งน้ำซึ่งเป็นปากน้ำเชี่ยว แห่งมหาสมุทร พุ่งไปด้วยความ

เร็ว จดจักรวาล หรือภูเขาสิเนรุแล้ว ก็พุ่งขึ้น แม้ประมาณหนึ่งโยชน์

สองโยชน์. หรือสิบโยชน์แล้ว ก็ตกลงในมหาสมุทรอีก. น้ำใด เขาเรียก

กันในโลกว่า ปากน้ำเชี่ยว ปุถุชนย่อมพูดอย่างนี้ หมายถึงน้ำนั้น. ก็

เพราะในน้ำแห่งมหาสมุทรนั้นเป็นที่อยู่อาศัยอันสบายของปลา เต่า

เทพยดาและยักษ์เห็นปานนั้นฉะนั้น. ชื่อว่า ย่อมพูดวาจานั้น ๆ อันไม่มี

ปรากฏ. ก็เพราะพวกปุถุชนทั้งปวง ย่อมไม่สามารถเพื่อจะดำรงอยู่ด้วย

ทุกขเวทนาอันเป็นไปในสรีระได้. ฉะนั้น พระองค์ ทรงแสดงว่า นี้แหละ

บาดาลดังนี้ ด้วยความหมายว่า ไม่ควรเพื่อตกไป จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า

สารีริกาน โข เอต ภิกฺขเว. บทว่า ปาตาเล น ปจฺจุฏฺาติ คือ ไม่ต้อง

อยู่แล้วในบาดาล. บทว่า คาธ คือ ที่อยู่อาศัย.

บทว่า กนฺทติ ความว่า ย่อมคร่ำครวญบ่นเพ้อร่ำไรตลอดกาล.

บทว่า ทุพฺพโล คือมีญาณทุรพล. บทว่า อปฺปถามโก ความว่า ชื่อว่ามีกำลัง

น้อย เพราะกำลังแห่งญาณที่น้อย. เพราะอริยสาวกในสูตรนี้ เป็นโสดาบัน

ความจริง อริยสาวกผู้โสดาบัน มีหน้าที่ในข้อนี้ . ฝ่ายโยคาวจรผู้มีวิปัสสนา

แก่กล้าคือความรู้เฉียบแหลมเป็นผู้สามารถดำรงอยู่ได้ ไม่ดิ้นรนไปตาม

เวทนาอันเกิดขึ้นแล้วได้เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาปาตาลสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

๕. ทัฏฐัพพสูตร

ว่าด้วยพึงเห็นเวทนา ๓ โดยความเป็นทุกข์เป็นต้น

[๓๖๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็น

ไฉนคือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ภิกษุทั้งหลาย พึง

เห็นสุขเวทนา โดยความเป็นทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร

พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะ เหตุที่ภิกษุเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกขเวทนาโดย

ความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนี้เรา

กล่าวว่า มีความเห็นโดยชอบ ตัดตัณหาได้เด็ดขาด เพิกถอนสังโยชน์

ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว เพราะละมานะได้ โดยชอบ.

[๓๖๘] ถ้าภิกษุใดเห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็น

ทุกข์โดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขซึ่งมี

อยู่นั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ภิกษุนั้นเป็นผู้

เห็นโดยชอบ ย่อมกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายได้

ครั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมีได้ใน

ปัจจุบัน คงอยู่ในธรรม ถึงที่สุดเวทนา เมื่อตาย

ไปย่อมไม่นับว่าเป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง เป็นผู้

งมงาย.

จบ ทัฏฐัพพสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

อรรถกถาทัฏฐัพพสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในทัฏฐัพพสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุกฺขโค ทฏฺพฺพา ความว่า พึงเห็นโดยความเป็นทุกข์

ด้วยอำนาจความเปลี่ยนแปลง. บทว่า สลฺลโต ความว่า ส่วนทุกข์พึง

เห็นว่าเป็นลูกศรด้วยอรรถว่าเป็นเครื่องแทง. บทว่า อนิจฺจโต ความว่า

พึงเห็นอทุกขมสุขโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยอาการมีแล้วก็ไม่มี. บทว่า

อทฺท คือ ได้เห็นแล้ว. บทว่า สนฺต คือ มีอยู่เป็นภาพ.

จบ อรรถกถาทัฏฐัพพสูตรที่ ๕

๖. สัลลัตถสูตร

ว่าด้วยเวทนาเปรียบด้วยลูกศร

[๓๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมเสวย

สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง อริยสาวกผู้ได้สดับ

แล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในชน ๒ จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็น

ความแปลก เป็นเครื่องทำให้ต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชน

ผู้ไม่ได้สดับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม

ทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อัน

ทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอกคร่ำครวญ

ย่อมถึงความงมงาย เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกายและ

เวทนาทางใจ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

[๓๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู พึงยิง

บุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก ก็เมื่อเป็นอย่างนี้

บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศร ๒ อย่าง คือ ทางกายและทางใจ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ไ ด้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันทุกขเวทนา

ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอกคร่ำครวญ ย่อมถึงความ

งมงาย เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือ เวทนากางกายและเวทนาทางใจ

อนึ่ง เขาเป็นผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกข-

เวทนานั้น ย่อมนอนตามเขาผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา เขาเป็น

ผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนา

นอกจากกามสุข และเมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุขอยู่ ราคานุสัยเพราะสุข-

เวทนานั้นย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมไม่รู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และ

อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง เมื่อเขา

ไม่รู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง

เวทนาเท่านั้น ตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา

ย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมเสวยสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยสุข-

เวทนานั้น ย่อมเสวยทุกขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยทุกข์เวทนา

นั้น และย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยทุกข-

มสุขเวทนานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เราเรียกว่า

เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาส เรากล่าวว่า เป็นผู้ประกอบด้วยทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

[๓๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกข-

เวทนาถูกต้องแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ

ไม่ถึงความงมงาย เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวย

เวทนาทางใจ.

[๓๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูพึงยิง

บุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ ผิดไป ก็เมื่อเป็นอย่างนี้

บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริย-

สาวกผู้ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่

เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความงมงาย

เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ อนึ่ง

เธอย่อมไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกข-

เวทนานั้น ย่อมไม่นอนตามเธอผู้ไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา เธอผู้

อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลินกามสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจาก

ทุกขเวทนา นอกจากกามสุข เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัย

เพราะสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง เธอย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ

โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง

เมื่อเธอรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออก

แห่งเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนา

ย่อมไม่นอนเนื่อง ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวย

สุขเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกข์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

เวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวย

อทุกขมสุขเวทนานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนี้

เราเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส เราย่อมกล่าวว่า เป็นผู้ปราศจากทุกข์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลกกัน เป็นเครื่องกระทำ

ให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ.

[๓๗๓] อริยสาวกนั้นเป็นผู้มีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต

ย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา นี้แล

เป็นความแปลกกันระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับ

ปุถุชน ธรรมส่วนที่น่าปรารถนา ย่อมไม่ย่ำยีจิต

ของอริยสาวกนั้น ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว เป็น

พหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่ ท่านย่อม

ไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์ อนึ่ง

เวทนาเป็นอันตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะอริยสาวกนั้น

ไม่ยินดีและไม่ยินร้าย อริยสาวกนั้นรู้ทางดำเนิน

อันปราศจากธุลีและหาความโศกมิได้ ย่อมเป็น

ผู้ถึงฝั่งแห่งภพรู้โดยชอบ.

จบ สัลลัตถสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

อรรถกถาสัลลัตถสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในสัลลัตถสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ตตฺร คือในชนสองจำพวกเหล่านั้น. บทว่า อนุเวธ

วิชฺเฌยฺยุ ความว่า ยิงไปในระหว่างนิ้ว หรือในระหว่างนิ้วทั้งสอง อันเป็น

ส่วนที่ใกล้ปากแผลนั้นเท่านั้น. เวทนาก็เสียดแทงบุรุษผู้ถูกยิงอย่างนี้แล้ว

ย่อมมีกำลังกล้ากว่าเวทนาครั้งแรก. แม้โทมนัสเวทนา เมื่อเกิดขึ้นครั้งหลัง

ย่อมมีกำลังกล้ากว่าเวทนาครั้งแรกด้วยประการดังนี้แล. บทว่า ทุกฺขาย

เวทนาย นิสฺสรณ ความว่า สมาธิมรรคและผล เป็นเครื่องสลัดออก

แม้ทุกขเวทนา เขาย่อมไม่รู้เครื่องสลัดออกนั้น ย่อมรู้ว่ากามสุขเท่านั้น

เป็นเครื่องสลัดออก. บทว่า ตาส เวทนาน ได้แก่ สุขทุกขเวทนาเหล่านั้น.

บทว่า สญฺคตฺโต น เวทยติ ความว่า เขาเป็นผู้ประกอบด้วยกิเลส

ย่อมเสวยเวทนานั้น. ไม่ประกอบหาเสวยเวทนานั้นไม่. บทว่า สญฺตฺโต

ทุกฺขสฺมา ได้แก่ เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ อธิบายว่า

ประกอบด้วยทุกข์.

บทว่า สงฺขาตธมฺมสฺส ความว่า ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว คือผู้มี

ธรรมอันชั่งได้แล้ว. บทว่า พหุสฺสุตสฺส ความว่า เป็นพหูสูตในทาง

ปริยัติ เป็นพหูสูตในทางปฏิเวธ. บทว่า สมฺมา ปชานาติ ภวสฺส ปารคู

ความว่า ถึงแล้วซึ่งฝั่งแห่งภพคือนิพพาน ย่อมรู้ชัดซึ่งนิพพานนั้นแล

โดยชอบ. อารัมมณานุสัย พระองค์ตรัสแล้ว ในพระสูตรแม้นี้. เกจิอาจารย์

กล่าวว่า ก็บรรดาพระอริยสาวก พระขีณาสพมีหน้าที่ ในอารัมมณานุสัยนี้.

แม้พระอนาคามี ก็ไม่ควรดังนี้.

จบ อรรถกถาสัลลัตถสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

๗. ปฐมเคลัญญสูตร

ว่าด้วยควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ

[๓๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-

ศาลา ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบน

อาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเรา

สั่งสอนพวกเธอ.

[๓๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติเห็นกายใน

กายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก

เสีย ย่อมเป็นผู้มีปกติเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

สติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมเป็นผู้มีปกติเห็นจิตในจิต

อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมเป็นผู้มีปกติเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็น

ผู้มีสติอย่างนี้แล.

[๓๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสัมปชัญญะ

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำ

ความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

รู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการ

คู้เข้า เหยียดออก ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ

บาตรและจีวร ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม

ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมเป็นผู้มี

ปกติทำความรู้สึกตัวในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเรา

สั่งสอนพวกเธอ.

[๓๗๗] ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า

สุขเวทนานี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่เราแล ก็แต่ว่าสุขเวทนานั้นอาศัยจึงเกิดขึ้น

ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่เที่ยง ปัจจัย

ปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็สุขเวทนาอาศัยกายจึงไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง

อาศัยกันเกิดขึ้นแล้วจึงเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อมพิจารณา

เห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืน

ในกายและสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป

ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและสุขเวทนาอยู่ ย่อมละ

ราคานุสัยในกายและในสุขเวทนาเสียได้.

[๓๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาย่อม

บังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนานี้ บังเกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ก็แต่ว่าทุกขเวทนานั้น อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็

ทุกข์เวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น แล้วจึง

บังเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง

ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและในทุกข-

เวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป

ความดับ ความสละคืนในกายและในทุกขเวทนาอยู่ ย่อมละปฏิฆานุสัย

ในกายและในทุกขเวทนาเสียได้.

[๓๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติสัมปชัญญะ

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดียวอยู่อย่างนี้ อทุกขมสุขเวทนา

ย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อทุกขมสุขเวทนานี้บังเกิดขึ้นแล้ว

แก่เรา ก็แต่ว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น

อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี้แลไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย

กันเกิดขึ้น ก็อทุกขมสุขเวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัย

กันเกิดขึ้น แล้วจึงบังเกิดขึ้น จักเที่ยงแต่ที่ไหนดังนี้ เธอย่อมพิจารณาเห็น

ความไม่เที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกาย

และในอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เมื่อเธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความ

เสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและในอทุกขมสุข-

เวทนาอยู่ ย่อมละอวิชชานุสัยในกายและในอทุกขมสุขเวทนาเสียได้.

[๓๘๐] ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่

เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯ ล ฯ

ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจาก

กิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจาก

กิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศ

จากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นสุด

ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเมื่อตายไป เวทนา

ทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว.

[๓๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัย

น้ำมันและไส้จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อ

พึงดับไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนั้น ถ้าเสวยเวทนามีกายเป็นที่ดี

ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนา

ทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินจักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว.

จบ ปฐมเคลัญญสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมเคลัญญสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมเคลัญญสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า เยน คิลานสาลา เตนุปสงฺกมิ ความว่า พึงผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงดำริว่า ภิกษุทั้งหลายคิดว่า แม้ตถาคต เป็นบุคคลผู้เลิศ

ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ยังเสด็จไปที่อุปัฏฐากคนไข้ พวกภิกษุไข้ ชื่อว่า

ควรที่ภิกษุพึงบำรุง เชื่อถือแล้วจักสำคัญ พวกภิกษุไข้ อันภิกษุควรบำรุง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

ดังนี้ และภิกษุเหล่าใด ย่อมเป็นผู้มีกัมมัฏฐานเป็นสัปปายะ ในที่นั้น เรา

จักบอกกัมมัฏฐานแก่ภิกษุเหล่านั้นดังนี้ จึงเสด็จเข้าไปหาข้าพเจ้าจักกล่าว

บทที่ท่านกล่าวไว้ในบทเป็นอาทิว่า กาเย กายานุปสฺสี นั้น ข้างหน้า บทว่า

อนิจฺจานุปสฺสี คือพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง. บทว่า วยานุปสฺสี คือ

พิจารณาเห็นความเสื่อม. บทว่า วิราคานุปสฺสี คือพิจารณาเห็นความคลาย

กำหนัด บทว่า นิโรธานุปสฺสี คือพิจารณาเห็นความดับ. บทว่า ปฏินิ-

สฺสคฺคานุปสฺสี คือพิจารณาเห็นความสละคือคืน.

ถามว่า อะไรเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้วด้วยคำมี

ประมาณเท่านี้. ตอบว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุของภิกษุนี้ แม้สติปัฏฐาน

ย่อมเป็นส่วนเบื้องต้นอย่างเดียว. อนุปัสสนา ๓ แม้เหล่านี้ คือ อนิจจา-

นุปัสสนา วยานุปัสนา วิราคานุปัสสนา แม้ในสัมปชัญญะ ย่อมเป็นส่วน

เบื้องต้นอย่างเดียว. นิโรธานุปัสสนา แม้ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ทั้ง ๒

เหล่านี้ ย่อมเป็นมิสสกะคลุกเคล้ากัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึง

เวลาภาวนาสำหรับภิกษุนี้ด้วยเหตุประมาณเท่านี้. คำที่เหลือมีนัยอันกล่าว

แล้วทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาปฐมเคลัญญสูตรที่ ๗

๘. ทุติเคลัญญสูตร

ว่าด้วยควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ

[๓๘๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร-

ศาลาป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยังศาลาคนไข้ แล้วประทับนั่งบน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

อาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลานี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ.

[๓๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่างไร ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็น กายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ ในจิต ฯลฯ ย่อมพิจารณา

เห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสติอย่าง

นี้แล.

[๓๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปรกติทำความรู้สึก

ว่าในการก้าวไป ในการถอยกลับ ฯลฯ ในการพูด ในการนิ่ง ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีสัมปชัญญะอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

พึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ รอกาลเวลา นี้เป็นคำเราสั่งสอนพวกเธอ

[๓๘๕] ถ้าเมื่อภิกษุมีสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า

สุขเวทนาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็สุขเวทนานั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้น ไม่อาศัย

ไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยผัสสะนี้เอง ก็แต่ว่าผัสสะนี้ไม่เที่ยง ปัจจัย

ปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ก็สุขเวทนาซึ่งอาศัยผัสสะอันไม่เที่ยง ปัจจัย

ปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นแล้วแก่เรา จักเที่ยงแต่ที่ไหน ดังนี้ เธอย่อม

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

เห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความดับไป พิจารณาเห็นความสละคืน

เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความเสื่อมไป พิจารณา

เห็นความคลายไป พิจารณาเห็นความดับไป พิจารณาเห็นความสละคืน

ในผัสสะและในสุขเวทนาอยู่ ย่อมละราคานุสัยในผัสสะและในสุขเวทนา

เสียนี้.

[๓๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นมีสติ มีสัมปชัญญะ

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ ทุกขเวทนาย่อม

เกิดขึ้น ฯลฯ อทุกขมสุขเวทนาย่อมเกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อทุกขม-

ขเวทนานี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็อทุกขมสุขเวทนานั้นแล อาศัยจึงเกิดขึ้น

ไม่อาศัยไม่เกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยผัสสะนี้แลบังเกิดขึ้น ก็ผัสสะนี้แล

ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ฯลฯ ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุข-

เวทนา เธอย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่า

เพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา

เธอย่อมรู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่า

เพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนา

นั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น

ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุข-

เวทนานั้น ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวย

เวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เราเสวย

เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด รู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่า

เพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

[๓๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัย

น้ำมันและไส้จึงติดอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึง

ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเมื่อเสวย

เวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวย

เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้

ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็น

ในโลกนี้ทีเดียว.

จบ ทุติยเคลัญญสูตรที่ ๘

อรรถกถาทุติยเคลัญญสูตรที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยเคลัญญสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

เมื่อพระองค์ตรัสว่า อิมเมว ผสฺส ปฏิจฺจ ดังนี้ พระองค์ตรัส

โดยอัธยาศัยสำหรับผู้รู้ทั้งหลาย. แต่ว่าโดยความหมายนั้นไม่มีเหตุอันต่าง ๆ

กัน. ที่แท้ กายเท่านั้น ตรัสว่า ผัสสะ ในที่นี้.

จบ อรรถกถาทุติยเคลัญญสูตรที่ ๘

๙. อนิจจสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ เป็นของไม่เที่ยง

[๓๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเวทนา ๓ เหล่านี้ไม่เที่ยง อันปัจจัย

ปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็น

๑. สูตรที่ ๙ อรรถว่าง่ายทั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

ธรรมดา เวทนา ๓ เป็นไฉน เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา

อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเวทนา ๓ นี้แล ไม่เที่ยง อันปัจจัย

ปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป

เป็นธรรมดา.

จบ คนิจจสูตรที่ ๙

อรรถกถาอนิจจสูตรที่ ๙

สูตรที่ ๙ ง่ายทั้งนั้น

จบ อรรถกถาอนิจจสูตรที่ ๙

๑๐. ผัสสมูลกสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ เกิดแต่ผัสสะและมีผัสสะเป็นมูล

[๓๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้ เกิดแต่ผัสสะ มีผัสสะ

เป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนา ๓ เป็นไฉน เวทนา ๓

คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สุขเวทนาเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ความเสวย

อารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่าสุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอัน

เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง

แห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขเวทนาย่อมเกิดขึ้น

เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ความเสวยอารมณ์ อันเกิด

แต่ผัสสะนั้น ชื่อว่าทุกขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

ทุกขเวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา

นั้นแลดับไป อทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะอันเป็น

ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์อันเกิดแต่ผัสสะนั้น ชื่อว่า

อทุกขมสุขเวทนา เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข-

เวทนานั้น ย่อมดับไป สงบไป เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข-

เวทนานั้นแลดับไป.

[๓๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองอันเสียดสีกัน เพราะ

การเสียดสีกันจึงเกิดไออุ่น จึงเกิดไฟ เพราะแยกไม้ทั้งสองอันนั้นแหละ

ออกจากกัน ไออุ่นที่เกิดเพราะการเสียดสีนั้นย่อมดับไป สงบไป ฉันใด

ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เกิดแต่ผัสสะ

มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาอันเกิดแต่ผัสสะ

เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เกิดแต่ปัจจัยนั้น ย่อมดับเพราะผัสสะที่เกิดแต่

ปัจจัยนั้นดับไป.

จบ ผัสสมูลกสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาผัสสมูลกสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในผัสสมูลกสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สุขเวทนีย ได้แก่ ผัสสะเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา. แม้ใน

บทเหลือก็นัยนี้นั่นแล ส่วนในข้อนี้ การพรรณนาตามลำดับบท ท่านให้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

พิสดารไว้แล้วในหนหลัง. ในสองสูตรนี้ ตรัสถึงเวทนาอันเที่ยวไปในการ

พิจารณา

จบ อรรถกถาผัสสมูลกสูตรที่ ๑๐

จบ ปฐทกสคถวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมาธิสูตร ๒. สุขสูตร ๓. ปหานสูตร ๔. ปาตาลสูตร

๕. ทัฏฐัพพสูตร ๖. สัลลัตสูตร ๗. ปฐมเคลัญญสูตร ๘. ทุติย-

เคลัญญสูตร ๙. อนิจจสูตร ๑๐. ผัสสมูลกสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

รโหคตวรรคที่ ๒

๑. รโหคตสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ หมายถึงสังขารเป็นของไม่เที่ยง

[๓๙๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า

พระองค์ขอประทานพระวโรกาส ความปริวิตกแห่งใจเกิดขึ้นแต่ข้าพระองค์

ผู้หลีกเร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนา ๓ อย่าง

คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เวทนา ๓ อย่างนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวย

อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระ-

ดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ ทรงหมาย

เอาอะไรหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ ดูก่อนภิกษุ

เรากล่าวเวทนา ๓ นี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เรา

กล่าวเวทนา ๓ นี้ ดูก่อนภิกษุ เรากล่าวคำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใด

อย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใด

อย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ เรากล่าวหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายนั่นเอง

ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์

ดังนี้ เรากล่าวหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายนั้นแหละมีความสิ้นไป เสื่อม

ไป คลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

[๓๙๒] ดูก่อนภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล เรากล่าวความดับสนิทแห่ง

สังขารทั้งหลายโดยลำดับ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ เมื่อ

เข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมดับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ เมื่อเข้า

จตุตถฌาน ลมอัสสาสะ ปัสสาสะย่อมดับ เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน

รูปสัญญาย่อมดับ เมื่อเข้าวิญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญา

ย่อมดับ เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ

เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ เมื่อ

เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะของ

ภิกษุผู้สิ้นอาสวะย่อมดับ.

[๓๙๓] ดูก่อนภิกษุ ลำดับนั้นแล เรากล่าวความสงบแห่งสังขาร

ทั้งหลายโดยลำดับ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌานวาจาย่อมสงบ เมื่อเข้าทุติย-

ฌาน วิตกวิจารย่อมสงบ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและ

เวทนาย่อมสงบ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้สิ้นอาสวะ ย่อมสงบ.

[๓๙๔] ดูก่อนภิกษุ ปัสสัทธิ ๖ อย่างนี้ คือ เมื่อภิกษุเข้า

ปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมระงับ เมื่อ

เข้าตติยฌาน ปีติย่อมระงับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อม

ระงับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมระงับ ราคะ

โทสะ โมหะของภิกษุขีณาสพย่อมระงับ.

จบ รโหคตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

อรรถกถารโหคตวรรคที่ ๒

อรรถกถารโหคตสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในรโหคตสูตรที่ ๑ แห่งรโหควรรค ดังต่อไปนี้

บทว่า ยงฺกิญฺจิ เวทยิติ ต ทุกฺขสฺมิ ความว่า ความเสวย

อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นทั้งหมดเป็นทุกข์. ในบทว่า สงฺขาราน

เยว อนิจฺจต เป็นอาทิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ความที่แห่ง

สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง มีความในรูป เสื่อมไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา

อย่างนี้ใด เราหมายถึงข้อนี้ จึงกล่าวว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใด

อย่างหนึ่ง นั้นเป็นทุกข์ อธิบายว่า เวทนาทั้งปวงเป็นทุกข์ ด้วยความ

ประสงค์นี้ว่า เพราะว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง แม้เวทนาทั้งหลาย ก็

ไม่เที่ยงเหมือนกัน. ก็คือว่าความไม่เที่ยงนี้ เป็นมรณะ ชื่อว่าความทุกข์

ยิ่งกว่ามรณะ ย่อมไม่มีดังนี้.

บทว่า อถโข ปน ภิกฺขุ มยา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

ปรารภเพื่อแสดงว่า เราบัญญัติความดับแห่งเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น

หามิได้ เราบัญญัติความดับแห่งธรรมแม้เหล่านี้ด้วย. ตรัสความสงบและ

ความระงับตามอัธยาศัยของบุคคลผู้รู้ ด้วยเวทนาเห็นปานนี้. พึงทราบว่า

อรูปฌาน ย่อมเป็นอันท่านถือเอาแล้วในที่นี้ด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธศัพท์

จบ อรรถกถารโหคตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

๒. ปฐมวาตสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ เปรียบด้วยลมต่างชนิด

[๓๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนลมต่างชนิด พัดไป

แม้ในอากาศ คือ ลมทิศตะวันออกบ้าง ลมทิศตะวันตกบ้าง ลมทิศเหนือ

บ้าง ลมทิศใต้บ้าง ลมมีธุลีบ้าง ลมไม่มีธุลีบ้าง ลมหนาวบ้าง ลมร้อนบ้าง

ลมอ่อนบ้าง ลมแรงบ้าง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาต่างชนิด

ย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ฉันนั้นเหมือนกันแล คือ สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนา

บ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้

จบลงแล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๓๙๖] เปรียบเหมือนลมมากมายหลายชนิด พัดไป

ในอากาศ คือ ลมทิศตะวันออกบ้าง ลมทิศ

ตะวันตกบ้าง ลมทิศเหนือบ้าง ลมทิศใต้บ้าง

มีธุลีบ้าง ไม่มีธุลีบ้าง บางครั้งลมหนาว บางครั้ง

ลมร้อน บางครั้งลมแรง บางครั้งก็ลมอ่อน

ลมมากมายพัดไป ฉันใด เวทนา ย่อมเกิดขึ้น

ในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน คือสุขเวทนาบ้าง

ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เมื่อใด

ภิกษุมีความเพียร รู้สึกอยู่ เข้านิโรธ เมื่อนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

เธอผู้เป็นบัณฑิตย่อมกำหนดรู้เวทนา ได้ทุกอย่าง

ภิกษุนั้นกำหนดรู้เวทนาแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ

ตั้งอยู่ในธรรม เรียนจบพระเวทในปัจจุบัน เพราะ

กายแตกย่อมไม่เข้าถึงซึ่งบัญญัติ.

จบ ปฐมวาตสูตรที่ ๒

อรรถกถาปฐมวาตสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมวาตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้

บทว่า ปุถู วายนฺติ มาลุตา ได้แก่ ลมเป็นอันมาก ย่อมพัดไป

คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. เว้นคาถาทั้งหลายเสียตรัสตามอัธยาศัย

ของพวกบุคคลผู้รู้อยู่.

จบ อรรถกถาปฐมวาตสูตรที่ ๒

๓. ทุติยวาตสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ เปรียบด้วยลมต่างชนิด

[๓๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนลมต่างชนิด พัดไป

ในอากาศ คือ ลมทิศตะวันออกบ้าง ฯลฯ ลมแรงบ้าง ฉันใด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาต่างชนิดย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล

คือ สุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง.

จบ ทุติยวาตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

อรรถกถาทุติยวาตสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยวาตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

เว้นคาถาทั้งหลายเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตามอัธยาศัยของ

บุคคลผู้รู้อยู่.

จบ อรรถกถาทุติยวาตสูตรที่ ๓

๔. นิวาสสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ เปรียบด้วยเรือนพักคนเดินทาง

[๓๙๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนพักคนเดินทาง

ชนทั้งหลายมาจากทิศตะวันออกบ้าง มาจากทิศตะวันตกบ้าง มาจากทิศ

เหนือบ้าง มาจากทิศใต้บ้าง เป็นกษัตริย์บ้าง เป็นพราหมณ์บ้าง เป็น

พ่อค้าบ้าง เป็นคนงานบ้าง มาพักในเรือนนั้น ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เวทนาต่างชนิดย่อมเกิดขึ้นในกายนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน คือ สุขเวทนา

บ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง สุขเวทนามีอามิสบ้าง

ทุกขเวทนามีอามิสบ้าง อทุกขมสุขเวทนามีอามิสบ้าง สุขเวทนาไม่มีอามิส

บ้าง ทุกขเวทนาไม่มีอามิสบ้าง อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสบ้าง.

จบ นิวาสสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

อรรถกถานิวาสสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในนิวาสสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปุรตฺถิมา คือ ในทิศตะวันออก. ในบททั้งปวงก็อย่างนี้.

ในบทเป็นอาทิว่า สามิสาปิ สุขา เวทนา สุขเวทนา อันประกอบด้วย

อามิสคือกาม ชื่อว่า สุขมีอามิส เวทนาอันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งฌาน

ทั้งหลายมีปฐมฌานเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา และด้วยสามารถ

แห่งอนุสสติ ชื่อว่าสุขไม่มีอามิส. ทุกขเวทนามีอามิสด้วยอามิสคือกาม

ชื่อว่าทุกข์มีอามิส โทมนัสเวทนา อันเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยังความปรารถนา

ให้เข้าไปตั้งไว้ ในวิโมกข์อันยอดเยี่ยม ( อนุตตรวิโมกข์) เพราะความ

ปรารถนาเป็นปัจจัย ชื่อว่า ทุกข์ไม่มีอามิส. เวทนามีอามิสด้วยสามารถ

อามิสคือกามชื่อว่าอทุกขมสุขอันมีอามิส. อทุกขมสุขเวทนาอันเกิดขึ้น

ด้วยสามารถจตุตถฌาน ชื่อว่าอทุกขมสุข อันไม่มีอามิส.

สี่สูตรมีสูตรที่ ๕ เป็นต้นไป มีนัยอันกล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง.

ส่วนในข้อนี้ แม้สองสูตรก่อน ประกอบด้วยปัสสัทธิ. สองสูตรหลัง

ประกอบด้วยปัสสัทธิกึ่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วตามอัธยาศัย

ของบุคคลผู้รู้ด้วยเทศนา.

จบ อรรถกถานิวาสสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

๕. ปฐมอานันทสูตร

ว่าด้วยพระอานนท์ทูลถามเรื่องเวทนา ๓

[๓๙๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวทนา

มีเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน

ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา

อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา. พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เวทนามี ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา

ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนอานนท์ เหล่านี้ เราเรียกว่าเวทนา

เพราะผัสสะเกิดขึ้นเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรค

มีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาเครื่อง

ให้ถึงความดับแห่งเวทนา สุข โสมนัส ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยเวทนาใด

นี้เป็นคุณแห่งเวทนา เวทนาใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน

เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา การกำจัด การละฉันทราคะใน

เวทนาใด นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งเวทนา.

[๔๐๐] ดูก่อนอานนท์ โดยที่แท้ เราได้กล่าว ความดับแห่งสังขาร

ทั้งหลายโดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ ฯ ล ฯ

เมื่อเช้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ ราคะ โทสะ โมหะ

ของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมดับ.

๑. สูตรที่ ๕-๘ ไม่มี อรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

[๔๐๑] ดูก่อนอานนท์ โดยที่แท้ เราได้กล่าวความสงบแห่ง

สังขารทั้งหลายโดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมสงบ ฯลฯ

เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมสงบ ราคะ โทสะ โมหะ

ของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมสงบ.

[๔๐๒] ดูก่อนอานนท์ โดยที่แท้ เราได้กล่าวความระงับแห่ง

สังขารทั้งหลายโดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อม

ระงับ ฯลฯ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมระงับ ราคะ

โทสะ โมหะของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมระงับ.

จบ ปฐมอานันทสูตรที่ ๕

๖. ทุติยอานันทสูตร

ว่าด้วยพระพุทธองค์ตรัสถามพระอานนท์ในเรื่องเวทนา ๓

[๔๐๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค

เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า

ดูก่อนอานนท์ เวทนามีเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ความดับ

แห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน อะไร

เป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัด

ออกแห่งเวทนา. ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่พึ่งอาศัย ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่ม

แจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นเถิด ภิกษุทั้งหลายฟังพระดำรัสของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์

ถ้ากระนั้นเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์ทูลรับพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อน

อานนท์ เวทนา ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

ดูก่อนอานนท์ เหล่านี้ เราเรียกว่าเวทนา ฯลฯ ราคะ โทสะ โมหะของ

ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมระงับ.

จบ ทุติยอานันทสูตรที่ ๙

๗. ปฐมสัมพหุลสูตร

ว่าด้วยภิกษุจำนวนมากทูลถามเรื่องเวทนา ๓

[๔๐๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เวทนามีเท่าไร ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ความดับแห่งเวทนา

เป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน อะไรเป็นคุณ

แห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง

เวทนา. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนามี ๓ เหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้

เราเรียกว่าเวทนา เพราะผัสสะเกิดขึ้นเวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับไป

เวทนาจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั้นแล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมา-

สมาธิเป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา สุข โสมนัส ย่อมเกิดขึ้น

เพราะอาศัยเวทนาใด นี้เป็นคุณแห่งเวทนา เวทนาใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์

มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา การกำจัด การละ

ฉันทราคะในเวทนาใด นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา.

[๔๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ เราได้กล่าวความดับ

แห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ

ฯลฯ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมดับ.

[๔๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ เราได้กล่าวความสงบ

แห่งสังขารทั้งหลายโดยล่าดับแล้ว คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อม

สงบ ฯลฯ ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมสงบ.

[๔๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัสสัทธิ ๖ ประการนี้ คือ เมื่อ

ภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมระงับ เมื่อเข้าทุติยฌาน วิตกวิจารย่อมระงับ

เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมระงับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะ

ย่อมระงับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมระงับ ราคะ

โทสะ โมหะ ของภิกษุผู้ขีณาสพย่อมระงับ.

จบ ปฐมสัมพหุลสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

๘. ทุติยสัมพหุลสูตร

ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงแสดงเวทนา

[๔๐๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ.

ใดเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามภิกษุ

เล่นนั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนามีเท่าไร ฯลฯ อะไรเป็นอุบาย

เครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

กรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้นพวกเธอจงฟัง

จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓

เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เหล่านี้ เราเรียกว่า เวทนา ฯ ลฯ ( พึงขยายความให้พิสดารเหมือนสูตร

ต้นๆ)

จบ ทุติสัมพหุลสูตรที่ ๘

๙. ปัญจกังคสูตร

ว่าด้วยช่างไม้ปัญจกังคะถามปัญหาพระอุทายี

[๔๐๙] ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเข้าไปหาท่านพระอุทายี

ถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระอุทายีแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ถามท่านพระอุทายีว่า ท่านพระอุทายีผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

เวทนาไว้เท่าไรหนอ ท่านพระอุทายีตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุข

เวทนา ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่างนี้แล.

[๔๑๐] เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ

ได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ท่านพระอุทายีผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง ตรัสไว้ ๒ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา

ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาอันเป็นไปฝ่ายละเอียด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ในสุขอันประณีต แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุทายี ก็ได้กล่าวกะช่างไม้ว่า

ก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่างเลย พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนา ๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

พระผู้มีพระภาคจ้าตรัสเวทนา ๓ อย่างนี้ แม้ครั้งที่ ๒ ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ

ก็ได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ท่านพระอุทายีผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่างเลย ตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่าง คือ สุขเวทนา

ทุกขเวทนา ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาอันเป็นไปในฝ่ายละเอียด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสุขอันประณีต แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอุทายี

ก็ได้กล่าวกะช่างไม้ว่า ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสเวทนา

ไว้ ๒ อย่างเลย ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขม-

สุขเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนา ๓ อย่างนี้ แม้ครั้งที่ ๓ ช่างไม้

ได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ท่านพระอุทายีผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่างเลย ตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่าง คือ สุขเวทนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

ทุกขเวทนา ท่านผู้เจริญ อทุกขมสุขเวทนาอันเป็นไปในฝ่ายละเอียด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสุขอันประณีต ท่านพระอุทายีไม่สามารถจะ

ช่างไม้ตกลงได้ ฝ่ายช่างไม้ก็ไม่สามารถให้ท่านพระอุทายีตกลงได้.

[๔๑๑] ท่านพระอานนท์ ได้ฟังการสนทนาปราศรัยนี้ของที่ใน

พระอุทายีกับช่างไม้ ครั้นแล้วได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ นั่ง

ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลการสนทนาปราศรัยแม้นั้นทั้งหมด

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ช่างไม้

ชื่อปัญจกังคะไม่คล้อยตามเหตุอันมีอยู่ของภิกษุอุทายี ส่วนภิกษุอุทายีไม่

คล้อยตามเหตุอันมีอยู่ของช่างไม้.

ว่าด้วยประเภทแห่งเวทนา

[๔๑๒] ดูก่อนอานนท์ โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๒ ก็มี

โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา

ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าว

เวทนา ๑๘ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง

เรากล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี ดูก่อนอานนท์ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยาย

อย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้แล

ชนเหล่าใดจักไม่สำคัญตาม จักไม่รู้ตาม จักไม่บันเทิงตาม ซึ่งคำที่เรากล่าวดี

แล้ว เจรจาดีแล้ว แก่กันและกัน เหตุนี้จักเป็นอันชนเหล่านั้นหวังได้ คือ

ชนเหล่านั้นจักเกิดความบาดหมางกัน เกิดความทะเลาะกัน วิวาทกัน

จักทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก ดูก่อนอานนท์ ธรรมอันเราแสดง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

แล้วโดยปริยายอย่างนี้แล ดูก่อนอานนท์ เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้วโดย

ปริยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักสำคัญตาม จักรู้ตาม จักบันเทิงตาม ซึ่งคำที่

เรากล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้ว แก่กันและกัน เหตุนี้ชนเหล่านั้นพึงหวังได้

คือ ชนเหล่านั้นจักพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดุจน้ำ

เจือด้วยน้ำนม มองกันและกันด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่.

ว่าด้วยกามสุข

[๔๑๓] ดูก่อนอานนท์ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน.

คือ รูปที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก

ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด กามคุณ ๕ เหล่านี้แล

ดูก่อนอานนท์ สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ นี้เรา

เรียกว่ากามสุข.

[๔๑๔] ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้ง

หลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั้นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอม

ตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่

ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น มีอยู่.

ว่าด้วยสุข

[๔๑๕] ดูก่อนอานนท์ ก็สุขอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุข

นั่นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

อันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึง

กล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและ

ละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.

เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น มีอยู่.

[๔๑๖] ดูก่อนอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใครยิ่งกว่าและประณีตกว่า

สุขนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิต

ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับ

ไป มีปีติและสุขอันเกิดแก่สมาธิอยู่. นี้แลเป็น สุขอื่นอันน่าใคร่ ยิ่งกว่าแล

ประณีตกว่าสุขนั้น ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชน

ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั้นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอม

ตามคำนี้ แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่ง

กว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่.

[๔๑๗] ดูก่อนอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า

สุขนั้นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และ

เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้แลเป็นสุขอื่น

อันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแล

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั้นอันเป็นเยี่ยมและ

ละเอียดดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร.

เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

[๔๑๘] ดูก่อนอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า

สุขนั้นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข

เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ

ให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น.

[๔๑๙] ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้ง

หลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั้น อันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่

ยอมตามคำนี้ แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะสุขอื่นอัน

น่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น มีอยู่.

[๔๒๐] ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า

สุขนั้นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานโดย

บริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาทั้งหลาย เพราะความ

ดับสูญแห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญาทั้งหลาย

โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า

สุขนั้น ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุข

โสมนัสนั้นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้ แก่ชนเหล่า

นั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีต

กว่าสุขนั่น มีอยู่.

[๔๒๑] ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า

สุขนั่นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย

ประการทั้งปวงแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนฌานโดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

มีที่สุด นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น ชนเหล่าใด

แลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยม

และละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้ แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุ

อะไร. เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่.

[๔๒๒] ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า

สุขนั่นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย

ประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานโดยบริกรรมว่า อะไรหน่อย

หนึ่งไม่มี นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ชนเหล่า

ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยม

และละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้แก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุ

อะไร. เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น มีอยู่.

[๔๒๓] ดูก่อนอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า

สุขนั่นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย

ประการทั้งปวงแล้ว เข้านวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่น

อันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั้น ชนเหล่าใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

ชนทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัสนั่นอันเป็นเยี่ยมและละเอียด ดังนี้ เราไม่

ยอมตามคำแก่ชนเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะสุขอื่นอันน่า

ใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น มีอยู่.

[๔๒๑] ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า

สุขนั่นเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน-

ฌานโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมบัติอยู่ นี้แลเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ก็ข้อที่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และ

ย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข ข้อนี้นั้นเพราะเหตุไร ข้อนี้นั้นเป็น

อย่างไร. นั้นเป็นฐานะที่จะมีได ้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์มีวาทะอย่างนี้

พวกเธอพึงค้านอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้

ทรงหมายเอาสุขเวทนาบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุขเลย บุคคลย่อมได้สุข

ในฐานะใด ๆ พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ อันเป็นสุขไว้ใน

ความสุขทุกแห่ง.

จบ ปัญจกังคสูตรที่ ๙

อรรถกถาปัญจกังคสูตรที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในปัญจกังสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ปญฺจกงฺโค ในบทว่า ปญฺจกงฺโค ปติ เป็นชื่อของช่างไม้นั้น

อนึ่ง ช่างไม้นั้น ปรากฏชื่อว่าปัญจังคะ เพราะประกอบด้วยองค์ ๕ กล่าวคือ

มีด ขวาน สิ่ว ไม้ ค้อน กระปุกด้ายเส้นบรรทัด. บทว่า ปติ คือช่างไม้ ผู้เป็น

หัวหน้า บทว่า อุทายิ คือพระอุทายีเถระผู้บัณฑิต. บทว่า ปริยาย คือเหตุ.

บทว่า เทฺววานนฺท คือ ดูก่อนอานนท์ เวทนา ๒ ก็มี. บทว่า ปริยาเยน คือ

โดยเหตุ. ส่วนในที่นี้ พึงทราบเวทนา ๒ ด้วยสามารถทางกายและทางจิต.

แม้ เวทนา ๓ ด้วยสามารถสุขเป็นต้น. เวทนา ๕ มีสุขินทรีย์เป็นต้น ด้วย

สามารถอินทรีย์. เวทนา ๖ มีจักขุสัมผัสสชาเป็นต้นด้วยสามารถทวาร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

เวทนา ๑๘ มีเป็นอาทิว่า เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไตร่ตรองซึ่งรูป อันเป็น

ที่ตั้งแห่งโสมนัสด้วยสามารถการไตร่ตรอง พึงทราบ เวทนา ๓๖ อย่างนี้

คือ โสมนัสอาศัยเรือน ๖, อาศัยเนกขัมมะการออกจากกาม ๖, โทมนัส

อาศัยเรือน ๖, อาศัยเนกขัมมะการออกจากกาม ๖, อุเบกขาอาศัยเรือน ๖,

อาศัยเนกขัมมะการออกจากกาม ๖, พึงทราบ เวทนา ๑๐๘ อย่างนี้ คือ

เวทนาเหล่านั้น ในอดีตมี ๓๖. ในอนาคตมี ๓๖. ในปัจจุบันมี ๓๖.

บทว่า ปญฺจิเม อานนฺท กามคุณา นี้ เป็นอนุสนธิเฉพาะอย่าง

หนึ่ง. ที่จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำเวทนา ๒ ให้เป็นต้น ทรงบัญญัติ

เวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้. โดยปริยาย ตรัสเวทนาอย่างเดียวก็มี

เมื่อจะทรงแสดงเวทนานั้น จึงทรงเริ่มเทศนานี้เพื่อส่งเสริมวาทะของช่างไม้

ชื่อปัญจกังคะ บทว่า อภิกฺกนฺตตร คือ ดีกว่า. บทว่า ปณีตตร คือ

ยิ่งกว่า. ในข้อนี้อทุกขมสุขเวทนา ท่านกล่าวว่า สุขด้วยอรรถว่าสงบและ

ประณีต. จำเดิมแต่จตุตถฌาน นิโรธ ชื่อว่าเป็นสุข ด้วยสามารถมิได้เสวย

อารมณ์. ด้วยว่า ชื่อว่าสุขอันเสวยอารมณ์เกิดขึ้นแล้วด้วยสามารถกามคุณ

๕ และด้วยสามารถสมาบัติ ๘. นิโรธ ชื่อว่าสุขอันมิได้เสวยอารมณ์แล้ว.

สุขเสวยอารมณ์ก็ตาม มิได้เสวยอารมณ์ก็ตาม ก็ชื่อว่าสุขโดยส่วนเดียวแท้

ด้วยอรรถว่าเป็นสุข กล่าวคือความไม่มีทุกข์.

บทว่า ยตฺถ ยตฺถ คือในฐานะใด. บทว่า สุข อุปลพฺภติ ความว่า

บุคคล ย่อมได้สุขอันเสวยอารมณ์หรือสุขอันมิได้เสวยอารมณ์ พระตถาคต

ย่อมบัญญัติสุขนั้นๆ ลงในสุข. พระตถาคต ย่อมบัญญัติสุขนั้นทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

ซึ่งไม่มีความทุกข์ลงในสุขเท่านั้น ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำ

นิโรธสมาบัติ ให้เป็นประธานในที่นี่แล้ว จึงทรงยังเทศนาให้จบลงด้วย

ธรรมคือยอดพระอรหัตอย่างเดียว ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้พอแนะนำได้.

จบ อรรถกถาปัญจกังคสูตรที่ ๙

จบ อรรถกถารโหคตวรรคที่ ๒

๑๐. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงแสดงประเภทแห่งเวทนา

[๔๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๒

ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าว

เวทนา ๕ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๖ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง

เรากล่าวเวทนา ๑๘ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓๖ ก็มี โดย

ปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยาย

อยู่ใน เมื่อเราแสดงธรรมโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ชนเหล่าใดจักไม่สำคัญ

ตาม จักไม่รู้ตาม จักไม่บันเทิงตาม ซึ่งคำที่เรากล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้ว

แก่กันและกัน เหตุนี้จักเป็นอันชนเหล่านั้นพึงหวังได้ คือ ชนเหล่านั้น

จักเกิดความบาดหมางกัน จักเกิดความทะเลาะกัน วิวาทกัน จักทิ่มแทง

กันและกัน ด้วยหอกคือปากอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเราแสดง

แล้วโดยปริยายอย่างนี้ เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้มีอยู่

ชนเหล่าใดจักสำคัญตาม จักรู้ตาม จักบันเทิงตาม ซึ่งคำที่เรากล่าวดีแล้ว

๑. สูตรที่ ๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

เจรจาดีแล้ว แก่กันและกัน เหตุนี้อันชนเหล่านั้นพึงหวังได้ คือพวกเขา

จักพร้อมเพรียงกัน จักชื่นบานต่อกัน จักไม่วิวาทกัน จักเป็นดุจน้ำเจือ

ด้วยน้ำมัน จักมองกันและกันด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่.

[๔๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้ ฯลฯ (เหมือน

ข้อ ๔๑๓ ถึงข้อ ๔๒๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่ปริพาชกอัญญ-

เดียรถีย์พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

และย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข ข้อนี้นั้นเพราะเหตุไร ข้อนี้นั้น

เป็นอย่างไร. ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ผู้มีวาทะ

อย่างนี้ พวกเธอพึงค้านอย่างนี้ว่า. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ไม่ได้ทรงหมายเอาสุขเวทนาบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข บุคคล

ย่อมได้สุขในฐานะใดๆ พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้นๆ อันเป็นสุข

ไว้ในความสุขทุกแห่ง ดังนี้.

จบ ภิกขุสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๑๐

สูตรที่ ๑๐ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น

จบ อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๑๐

จบ รโหคตวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. รโหคตสูตร ๒. ปฐมวาตสูตร ๓. ทุติยวาตสูตร ๔. นิวาสสูตร

๕.ปฐมอานันทสูตร ๖. ทุติยอานันทสูตร ๗. ปฐมสัมพหุลสูตร ๘. ทุติย

สัมพหุลสูตร ๙. ปัญจกังคสูตร ๑๐. ภิกขุสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

อัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓

๑. สิวกสูตร

ว่าด้วยสิวกปริพาชกทูลถามปัญหา

[๔๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล โมฬิยสิวกปริพาชก

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มี

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอยู่ไหน มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข

ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวล

นั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ ก็ในข้อนี้ท่านพระโคดมตรัส

อย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนสิวกะ เวทนาบางอย่าง

มีดีเป็นสมุฏฐานก็มี ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ ข้อที่เวทนาบางอย่างซึ่งมีดีเป็น

สมุฏฐานเถิดขึ้นในโลกนี้ บุคคลพึงทราบได้เองอย่างนี้ก็มี โลกสมมติว่า

เป็นของจริงก็มี ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ

อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง

สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ

ย่อมแล่นไปสู่สิ่งที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริง

ในโลก เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่า เป็นความผิดของสมณพราหมณ์เหล่านั้น

เวทนาบางอย่างมีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ มีลมเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

มีร่วมกันเป็นสมุฏฐานก็มี ฯลฯ เกิดแต่เปลี่ยนฤดูก็มี ฯลฯ เกิดแต่รักษาตัว

ไม่สม่ำเสมอก็มี ฯลฯ เกิดจากการถูกทำร้ายก็มี ฯลฯ เวทนาบางอย่างเกิด

แต่ผลของกรรมก็มี ย่อมเกิดขึ้นในโลกนี้ ข้อที่เวทนาบางอย่างซึ่งเกิดแต่

ผลของกรรมเกิดขึ้นในโลกนี้ บุคคลพึงทราบได้เองอย่างนี้ก็มีโลกสมมติว่า

เป็นของจริงก็มี ในข้อนั้นสมณพราหมณ์เหล่าใดมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ

อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ได้เสวยสุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขอย่างใดอย่างหนึ่ง

สุข ทุกข์ หรืออทุกขมสุขทั้งมวลนั้น มีการกระทำไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ

ย่อมแล่นไปสู่สิ่งที่รู้ด้วยตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่าเป็นความจริง

ในโลก เพราะฉะนั้นเรากล่าวว่าเป็นความผิด ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น.

[๔๒๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โมฬิยสิวก

ปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจน

ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

[๔๒๙] เรื่องดี ๑ เสมหะ ๑ ลม ๑ ดี เสมหะ ลม

รวมกัน ๑ ฤดู ๑ รักษาตัวไม่สม่ำ เสมอ ๑ ถูก

ทำร้าย ๑ ผลของกรรม ๑ เป็นที่ ๘.

จบ สิวกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

อรรถกถาอัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓

อรรถกถาสิวกสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสิวกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้

บทว่า สิวโก ในบทว่า โมฬิยสิวโก เป็นชื่อของปริพาชกนั้น. ก็

จุกของปริพาชกนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า สิวกปริพาชกมีจุก.

บทว่า ปริพฺพาชโก ได้แก่ ปริพาชกผู้นุ่งผ้า บทว่า ปิตฺตสมุฏฺานานิ

ได้แก่ มีดีเป็นปัจจัย. บทว่า เวทยิตานิ คือเวทนา. เวทนา ๓ ย่อมเกิด

ขึ้นในบุคคลนั้นเพราะดีเป็นปัจจัย. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า ฝ่ายบุคคล

บางคนคิดว่า ดีของเรากำเริบแล้ว ก็แล ชีวิตรู้ได้ยาก ย่อมให้ทาน

สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรม. กุศลเวทนา ย่อมเกิดขึ้นแก่บางคนนั้น

ด้วยอาการอย่างนี้. ส่วนบางคนคิดว่า เราจักทำเภสัชแก้ดี ย่อมฆ่าสัตว์

ลักทรัพย์ พูดเท็จ ย่อมทำทุสีลกรรม ๑๐ ก็มี. อกุศลเวทนา ย่อมเกิดขึ้น

แก่บางคนนั้น ด้วยอาการอย่างนี้. แต่บางคนมีตนเป็นกลางว่า ดีของเรา

ย่อมไม่สงบด้วยการทำยา แม้ประมาณเท่านี้ เรื่องยานั้นพอกันที ย่อม

นอนอดกลั้นซึ่งเวทนาทางกาย. อัพยากตเวทนา ย่อมเกิดขึ้นแก่บางคนนั้น

ด้วยอาการอย่างนี้.

บทว่า สามปิ โข เอต ความว่า บุคคลเห็นวิการแห่งดีนั้น ๆ แล้ว

ก็พึงทราบเวทนานั้นได้ด้วยตน. บทว่า สจฺจสมฺมต คือสมมติว่าเป็นจริง

ฝ่ายชาวโลกเห็นวิการแห่งดีมีวรรณะต่างพร้อมเป็นต้นที่สรีระของเขาแล้ว

ย่อมรู้ว่า ดีของเขากำเริบ. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะแล่นไปสู่สิ่งที่รู้ด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

ตนเอง และแล่นไปสู่สิ่งที่สมมติกันว่า เป็นจริงของโลก. แม้ในบทมีเสมหะ

เป็นสมุฏฐานเป็นอาทิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนบทว่า สนฺนิปาติกานิ

ในบทว่า สนฺนิปาตสมุฏฺานานิปิ นี้ เกิดขึ้นแล้ว เพราะการกำเริบแห่งดี

เป็นต้น แม้ทั้งสาม. บทว่า อุตุปริณามชานิ คือเกิดแต่ฤดูเปลี่ยน

ย่อมเกิดขึ้นแก่ชาวชังคลเทศ เมื่ออยู่ในอนุประเทศ. ความเปลี่ยนฤดู

ย่อมเกิดขึ้น ด้วยสามารถมีฝั่งมณีสมุทรเป็นต้นอย่างนี้ว่า เมื่อชาวอนุ

ประเทศอยู่ในชังคลเทศ. บทว่า ตโต ชาตา ได้แก่ เกิดแต่เปลี่ยนฤดู.

บทว่า วิสมปริหารชานิ ความว่า เกิดแต่การรักษาตัวไม่สม่ำเสมอ

ในการรับภาระหนัก โดยมีการทุบเป็นต้น. หรือเมื่อเที่ยวไปผิดเวลา โดย

มีการถูกงูกัด และตกบ่อเป็นต้น. บทว่า โอปกฺกมิภานิ ความว่า เกิดขึ้น

เพราะถือว่า ผู้นี้เป็นโจร หรือเป็นทาริกาของผู้อื่น แล้วจึงทำร้ายด้วยการ

เอาเข่า ศอกและไม้ค้อนเป็นต้น โบยให้เป็นปัจจัย. บางคน ถูกทำร้าย

ในภายนอกนั้นแล้ว ย่อมทำกุศล โดยนัยอันกล่าวแล้วแล. บางคนทำ

อกุศล. บางคนย่อมนอนอดกลั้นอยู่. บทว่า กมฺมวิปากชาตานิ คือเกิด

แต่ผลของกรรมอย่างเดียว. ก็เมื่อกรรมวิบากเหล่านั้น เกิดขึ้นแล้ว บางคน

ย่อมทำกุศล บางคนย่อมทำอกุศล บางคนย่อมนอนอดกลั้นอยู่. ก็เวทนา

๓ อย่าง ย่อมมีในวาระทั้งปวงอย่างนี้.

ในเวทนาเหล่านั้น เวทนาอันเป็นไปในสรีระซึ่งเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๗

อย่างข้างต้น ใคร ๆ ก็อาจเพื่อจะห้ามได้ แต่เภสัชทั้งปวงก็ดี เครื่องป้องกัน

ก็ดี ก็ไม่สามารถเพื่อกำจัดเวทนาอันเกิดแต่ผลของกรรมได้เลย. ชื่อว่าโลก

โวหาร พระองค์ได้ตรัสแล้ว ในพระสูตรนี้.

จบอรรถกถาสิวกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

๒. อักฐสตปริยายสูตร

ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงแสดงประแห่งเวทนา

[๔๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันมีปริยาย

ต่างๆ ๑๐๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น ก็ธรรม

ปริยายอันมีปริยาย ๑๐๘ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยปริยายหนึ่ง

เรากล่าวเวทนา ๒ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี โดย

ปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๘ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา

๓๖ มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๑๐๘ ก็มี.

[๔๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนา ๒ เป็นไฉน. เวทนา ๒

คือ เวทนาทางกาย ๑ เวทนาทางใจ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๒.

[๔๓๒] ก็เวทนา ๓ เป็นไฉน. เวทนา ๓ คือ สุขเวทนา.

ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ เหล่านี้เราเรียกว่า เวทนา ๓.

[๔๓๓] ก็เวทนา ๕ เป็นไฉน. เวทนา ๕ คือ สุขินทรีย์ ๑

ทุกขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ อุเบกขินทรีย์ ๑

เหล่านี้ เราเรียกว่า เวทนา ๕.

[๔๓๔] ก็เวทนา ๖ เป็นไฉน. เวทนา ๖ คือ จักขุสัมผัสสชา

เวทนา ๑ โสตสัมผัสสชาเวทนา ๑ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ๑ ชิวหาสัม-

ผัสสชาเวทนา ๑ กายสัมผัสสชาเวทนา ๑ มโนสัมผัสสชาเวทนา ๑ เหล่านี้

เราเรียกว่า เวทนา ๖.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

[๔๓๕] ก็เวทนา ๑๘ เป็นไฉน. เวทนา ๑๘ คือ เวทนาที่

สหรคตด้วยโสมนัส ๖ เวทนาที่สหรคตด้วยโทมนัส ๖ เวทนาที่สหรคต

ด้วยอุเบกขา ๖ เหล่านี้ เราเรียกว่าเวทนา ๑๘.

[๔๓๖] ก็เวทนา ๓๖ เป็นไฉน. เวทนา ๓๖ คือ เคหสิตโสมนัส ๖

เนกขัมมสิตโสมนัส ๖ เคหสิตโทมนัส ๖ เนกขัมมสิตโทมนัส ๖ เคหสิ-

อุเบกขา ๖ เนกขัมมสิตอุเบกขา ๖ เหล่านี้เราเรียกว่าเวทนา ๓๖.

[๔๓๗] เวทนา ๑๐๘ เป็นไฉน. เวทนา ๑๐๘ คือ เวทนาที่

เป็นอดีต ๓๖ ที่เป็นอนาคต ๓๖ ที่เป็นปัจจุบัน ๓๖ เหล่านี้ เราเรียกว่า

เวทนา ๑๘ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันมีปริยาย ๑๘ แม้นี้แล.

จบ อัฏฐสตปริยายสูตรที่ ๒

อรรถกถาอัฏฐสตปริยายสูตรที่ ๒

พึงทราบวินิจฉัยในอัฏฐสตปริยายสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ .

บทว่า อฏฺสตปริยาย คือเป็นเหตุ ๑๐๘ บทว่า ธมฺมปริยาย

คือเหตุแห่งธรรม. ในบทว่า กายิกา จ เจตสิกา จ นี้ เวทนาทางกาย

ย่อมได้ในกามาวจรเท่านั้น. เวทนาทางใจ ก็เป็นไปในภูมิ ๔. สุขเวทนาใน

บทเป็นอาทิว่า สุขา ย่อมไม่มีในอรูปาวจร แต่ย่อมได้ในภูมิ ๓ ที่เหลือ.

ทุกขเวทนา จัดเป็นกามาวจร. เวทนานอกนี้ ก็เป็นไปในภูมิ ๔. ในหมวด

๕ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ จัดเป็นกามาวจร. โสมนัส

สินทรีย์ เป็นไปในภูมิ ๓. อุเบกขินทรีย์ เป็นไปในภูมิ ๔.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

ในหมวด ๖ เวทนาในทวาร ๕ จัดเป็นกามาวจร. เวทนาใน

มโนทวาร เป็นไปในภูมิ ๔ ในหมวด ๑๘ ในอารมณ์อันน่าปรารถนา ๖

ชื่อว่า โสมนัสสุปวิจาร เพราะอรรถว่าย่อมเข้าไปไตร่ตรองกันด้วยโสมนัส.

แม้ในสองบทที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. เทศนานี้มาแล้วด้วยสามารถ

แห่งวิจารด้วยประการดังนี้. แต่พึงทราบเวทนา ๑๘ ในที่นี้ ด้วยสามารถ

แห่งโสมนัสเป็นต้น อันสัมปยุตด้วยวิจารนั้น.

พึงทราบในบทเป็นอาทิว่า ฉ เคหสิตานิ โสมนสฺสานิ ความว่า

โสมนัสอาศัยกามคุณ อันท่านกล่าวแล้วในทวาร ๖ อย่างนี้ว่า เมื่อระลึก

ถึงการได้ โดยการได้แห่งรูปอันพึงรู้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ น่ารื่นรมย์แห่งใจ อันประกอบด้วยโลกามิส หรือเมื่อระลึกถึง

สิ่งที่ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ซึ่งตนเคยได้แล้วในอดีต

โสมนัส ก็ย่อมเกิดขึ้น. โสมนัสเห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า เคหสิตโสมนัส

โสมนัสอาศัยเรือน ชื่อว่าโสมนัสอาศัยเรือน ๖.

เมื่อสามารถเพื่อให้ขวนขวายเริ่มวิปัสสนาด้วยสามารถความไม่เที่ยง

เป็นต้น เกิดโสมนัสว่า วิปัสสนา อันเราขวนขวายแล้วดังนี้ โสมนัส

เกิดขึ้นแล้ว เมื่ออารมณ์ อันน่าปรารถนาไปปรากฏในทวาร ๖ อย่างนี้ว่า

ก็แล เมื่อรู้แจ้งว่ารูปทั้งหลายไม่เที่ยง ก็พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งความแปรปรวน

คลายกำหนัดและดับเสียได้ ด้วยปัญญาอันเห็นชอบตามเป็นจริงนั้น อย่างนี้

ว่า รูปทั้งหลายในอดีตก็ดี ในปัจจุบันก็ดี รูปเหล่านั้นทั้งปวง ก็ไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาดังนี้ โสมนัสก็ย่อมเกิดขึ้น.

โสมนัสเห็นปานนี้. ท่านเรียกว่า เนกขัมมสิตโสมนัส โสมนัสอาศัย

การออกจากกาม ชื่อว่า โสมนัสอาศัยการออกจากกาม ๖.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

โทมนัสอาศัยกามคุณ อันเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ตรึกอยู่ว่า เราจักไม่เสวย

จะไม่เสวยอารมณ์ อันน่าปรารถนาดังนี้ ในทวาร ๖ อย่างนี้ว่า เมื่อ

พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งการไม่ได้ โดยการไม่ได้แห่งรูปทั้งหลาย พึงรู้ด้วยจักษุ

อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารื่นรมย์แห่งใจ อันประกอบด้วย

โลกามิส หรือเมื่อพิจารณาเห็นอยู่ ซึ่งสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว เปลี่ยน

แปลงไปแล้ว ซึ่งอันตนยังไม่เคยได้แล้วในอดีต โทมนัส ก็ย่อมเกิดขึ้น

โทมนัสเห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า เคหสิตโทมนัส โทมนัสอาศัยการอยู่

ครองเรือนดังนี้ ชื่อว่า โทมนัสอาศัยการอยู่ครองเรือน ๖.

ส่วน ภิกษุผู้รู้แจ้งว่ารูปทั้งหลายไม่เที่ยง เห็นซึ่งความแปรปรวน

คลายกำหนัด และดับเสียได้ด้วยปัญญา อันชอบตามเป็นจริงนั้น อย่างนี้

ว่า. รูปทั้งหลายในอดีตก็ดี ในปัจจุบันก็ดี รูปเหล่านั้นทั้งปวงก็ไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาดังนี้ ย่อมยังความพยายามให้

เข้าไปตั้งอยู่ ในวิโมกข์ อันยอดเยี่ยมว่า เมื่อไรเรานี้จักเข้าตทายตนะ

(เหตุให้จิตหลุดพ้นอยู่ ). พระอริยะทั้งหลาย ย่อมเข้าอายตนะอยู่ดังนี้.

ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อเธอยังความพยายามให้เข้าไป ตั้งอยู่ในวิโมกข์ อัน

ยอดเยี่ยม โทมนัสก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะความพยายามเป็นปัจจัย. โทมนัส

เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า เนกขัมมโทมนัส โทมนัสอาศัยการออกจากกาม

เมื่ออารมณ์ อันน่าปรารถนาไปปรากฏในทวาร ๖ อย่างนี้ โทมนัส

อันเกิดขึ้นแล้วแก่เธอผู้ยังความพยายามให้เข้าไปตั้งไว้ในธรรมคืออริยผล

กล่าวคืออนุตตรวิโมกข์ แต่ไม่สามารถเพื่อให้ขวนขวายเริ่มวิปัสสนาด้วย

อำนาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น เพื่อบรรลุอริยผลธรรมนั้นได้ จึงเสียดาย

อยู่ว่า เราไม่สามารถเพื่อจะขวนขวายถึงวิปัสสนาแล้ว บรรลุอริยภูมิได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

ทั้งปักษ์นี้ ทั้งเดือนนี้ ทั้งปีนี้ ชื่อว่า เนกขัมมสิตโทมนัส โทมนัส

อาศัยการออกจากกาม ๖.

เมื่ออารมณ์ อันน่าปรารถนาไปปรากฏในทวาร ๖ อย่างนี้ว่า พาล-

ปุถุชนคนลุ่มหลง คือคนหนา อันยังไม่เกิดวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ

เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อุเบกขา ก็ย่อมเกิดขึ้น อุเบกขาเห็นปานนี้อันใด

อุเบกขานั้น ย่อมล่วงรูปไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น อุเบกขานั้น ท่านเรียกว่า

เคหสิตอุเบกขา อุเบกขาอาศัยเรือนดังนี้. อุเบกขา อาศัยกามคุณเกิดขึ้น

แล้วเมื่อล่วงรูปเป็นต้นไปไม่ได้ เหมือนแมลงวันหัวเขียวล่วงเลยน้ำอ้อยไป

ไม่ได้ ฉะนั้น ก็ต้องข้องอยู่ในรูปนั้นนั่งเอง. ชื่อว่า เคหสิตอุเบกขา

อุเบกขาอาศัยเรือน.

อุเบกขาสัมปยุตด้วยญาณ อันเป็นวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้ไม่กำ-

หนดในอารมณ์อันน่าปรารถนา ไม่ขัดเคืองในอารมณ์อันไม่น่าปรารถนา

ไม่หลงในการเพ่งดูอารมณ์อันไม่สม่ำเสมอ. เมื่ออารมณ์อันน่าปรารถนา

ไปปรากฏ ในทวาร ๖ อย่างนี้ว่า ก็แล เมื่อรู้แจ้งว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง

พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งความแปรปรวน คลายกำหนัดและดับเสียได้ ด้วยปัญญา

อันชอบตามความจริงนั้นอย่างนี้ว่า รูปทั้งหลายในอดีตก็ดี ในปัจจุบันก็ดี

รูปเหล่านั้นทั้งปวง ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดาดังนี้.

อุเบกขา ก็ย่อมเกิดขึ้น. อุเบกขาเห็นปานนี้ใด อุเบกขานั้น ย่อมล่วงรูป

ไปได้ เพราะฉะนั้น อุเบกขานั้น ท่านเรียกว่า เนกขัมมสิตอุเบกขา

อุเบกขาอาศัยการออกจากกาม ๖ ดังนี้ ชื่อว่า อุเบกขาอาศัยการออกจาก

กาม ๖. ในพระสูตรนี้ พระองค์ตรัสการกำหนดธรรม อันเป็นไปในภูมิ ๔

อันรวบรวมธรรมไว้ทั้งหมด. สูตรที่ ๓ เป็นต้นไปมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาอัฏฐสตปริยายสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

๓. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยภิกษุทูลถามเรื่องเวทนา

[๔๓๘] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ เวทนาเป็นไฉนหนอ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทา

เครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน

ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา

อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา. พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเวทนา ๓ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา

ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เราเรียกว่าเวทนา เพราะผัสสะเกิด

เวทนาจึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงเหตุเกิดแห่งเวทนา เพราะ

ผัสสะดับเวทนาจึงดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมา-

ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา สุข

โสมนัสเกิดนี้เพราะอาศัยเวทนาอันใด นี้เป็นคุณแห่งเวทนา เวทนาอันใด

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งเวทนา

ความกำจัด ความละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง

เวทนา.

จบ ภิกขุสูตรที่ ๓

๑. สูตรที่ ๓ - ๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

๔. ปุพพสูตร

ว่าด้วยความคิดเกิดขึ้นเมื่อก่อนตรัสรู้

[๔๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งยังมิได้

ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นไฉนหนอ

ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่ง

เวทนาเป็นไฉน ความดับแห่งเวทนาเป็นไฉน ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ

แห่งเวทนาเป็นไฉน อะไรเป็นคุณแห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา

อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา. เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

เวทนา ๓ นี้ เหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา

นี้เราเรียกว่าเวทนา เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด ตัณหาเป็นปฏิปทา

เครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ฯลฯ ความกำจัด ความละฉันทราคะ

ในเวทนา นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา.

จบ ปุพพสูตรที่ ๔

๕. ญาณสูตร

ว่าด้วยความรู้แท้ในเรื่องเวทนา

[๔๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสง

สว่างได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เวทนา . . .

นี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา. . . นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งเวทนา

. . . นี้ความดับแห่งเวทนา . . . นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา

นี้เป็นคุณแห่งเวทนา . . . นี้เป็นโทษแห่งเวทนา ...นี้เป็นอุบายเครื่อง

สลัดออกแห่งเวทนา.

จบ ญาณสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

๖. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยภิกษุทูลถามเรื่องเวทนา

[๔๔๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ เวทนาเป็นไฉนหนอ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน

ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นไฉน ฯลฯ อะไรเป็นคุณ

แห่งเวทนา อะไรเป็นโทษแห่งเวทนา อะไรเป็นอุบายเครื่องสลัดออก

ส่งเวทนา. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓

เหล่านี้ ฯลฯ ความกำจัด ความละฉันทราคะในเวทนา นี้เป็นอุบายเครื่อง

สลัดออกแห่งเวทนา.

จบ ภิกขุสูตรที่ ๖

๗. ปฐมสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยผู้เป็นและไม่เป็นสมณพราหมณ์

[๔๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็น

ไฉน. คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็สมณะ หรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งย่อมไม่รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ

อุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ๓ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่านั้น ยังไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือเป็น

พราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้น ย่อมไม่กระทำให้แจ้งซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

ประโยชน์ของความเป็นสมณะหรือความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่ง

เองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้

ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา

เหล่านี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น นับว่าเป็น

สมณะในหมู่สมณะหรือเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ และท่านเหล่านั้น

ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ ของความเป็นสมณะหรือของความเป็น

พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

จบ ปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๗

๘. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยผู้เป็นและไม่เป็นสมณพราหมณ์

[๔๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓ เป็น

ไฉน. คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ก็สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ

และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเวทนา ๓ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง ฯลฯ

ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็น

พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

จบ ทุติยสมพราหมณสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

๙. ตติยสมณพราหมณ์สูตร

ว่าด้วยผู้เป็นและไม่เป็นสมณพราหมณ์

[๔๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งย่อมไม่รู้เวทนา ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ปฏิปทา

เครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา ฯ ล ฯ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของ

ความเป็นสมณะหรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน

ปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

จบ ตติยสมณพราหมณสูตรที่ ๙

๑๐. สุทธิกสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓

[๔๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้ เวทนา ๓

เป็นไฉน. คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้แล.

จบ สุทธิสูตรที่ ๑๐

๑๑. นิรามิสสูตร

ว่าด้วยปีติสุขมีอามิสและไม่มี

[๔๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปีติมีอามิสมีอยู่ ปีติไม่มีอามิสมีอยู่

ปีติที่ไม่มีอามิสกว่าปีติที่ไม่มีอามิสมีอยู่ สุขมีอามิสมีอยู่ สุขไม่มีอามิสมีอยู่

สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสมีอยู่ อุเบกขามีอามิสมีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิส

มีอยู่ อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิสมีอยู่. วิโมกข์มีอามิสมีอยู่

วิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่ วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสมีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

[๔๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติมีอามิสเป็นไฉน. กามคุณ ๕

เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน. คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะ

ที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่

ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ปีติเกิดขึ้น

เพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เราเรียกว่า ปีติมีอามิส.

[๔๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสเป็นไฉน. ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มี

วิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส

แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจาร

สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิส

[๔๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีเป็นไฉน.

ปีติที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตชึ่งหลุดพ้นแล้วจากราคะ จาก

โทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า ปีติไม่มีอามิสกว่าปีติไม่มีอามิส.

[๔๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขมีอามิสเป็นไฉน. กามคุณ ๕

เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน. คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ โผฏฐัพพะ

ที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่

ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้ สุขโสมนัส

เกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ นี้เราเรียกว่า สุขมีอามิส.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

[๔๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขไม่มีอามิสเป็นไฉน. ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก

วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ

และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้า

ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติอยู่เป็นสุข นี้เรา

เรียกว่า สุขไม่มีอามิส.

[๔๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็สุข ไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มีอามิสเป็น

ไฉน. สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่งหลุดพ้นแล้ว

จากราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า สุขไม่มีอามิสกว่าสุขไม่มี

อามิส.

[๔๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขามีอามิสเป็นไฉน. กาม

คุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน. คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ฯลฯ

โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก

ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล

อุเบกขาเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้ เราเรียกว่า อุเบกขามี

อามิส.

[๔๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสเป็นไฉน. ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์

สดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้

เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มีอามิส.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

[๔๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขาไม่มีอามิสกว่าอุเบกขา

ไม่มีอามิสเป็นไฉน. อุเบกขาเกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็นจิตซึ่ง

หลุดพ้นแล้วจาก ราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่า อุเบกขาไม่มี

อามิสกว่าอุเบกขาไม่มีอามิส.

[๔๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์มีอามิสเป็นไฉน. วิโมกข์

ที่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่าวิโมกข์มีอามิส วิโมกข์ที่ไม่ปฏิสังยุตด้วยรูป ชื่อว่า

วิโมกข์ไม่มีอามิส.

[๔๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิโมกข์ไม่มีอามิสกว่าวิโมกข์ไม่มี

อามิสเป็นไฉน. วิโมกข์เกิดขึ้นแก่ภิกษุขีณาสพผู้พิจารณาเห็น จิตซึ่งหลุดพ้น

แล้วจากราคะ จากโทสะ จากโมหะ นี้เราเรียกว่าวิโมกข์ไม่มีอามิสกว่า

วิโมกข์ไม่มีอามิส.

จบ นิรามิสสูตรที่ ๑๑

อรรถกถานิรามิสสูตรที่ ๑๑

พึงทราบวินิจฉัยในนิรามิสสูตรที่ ๑๑ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สามิสา ปีติมีอามิสด้วยอามิสคือกิเลส. บทว่า นิรามิสตรา

ความว่า ปีติที่ไม่มีอามิสกว่าปีติในฌานแม้ที่ไม่มีอามิส. ถามว่าก็ในฌาน ๒

ปีติย่อมเป็นมหัคคตะก็มี ย่อมเป็นโลกุตตระก็มี. ปีติในปัจจเวกขณญาณ

ย่อมเป็นโลกิยะอย่างเดียวมิใช่หรือ เพราะเหตุไร ปีตินั้น จึงไม่มีอามิสกว่า

เล่า. ตอบว่า เพราะเกิดขึ้นแล้ว ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาซึ่งธรรมอัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

สงบและประณีต. เหมือนคนรับใช้ เป็นคนโปรดของพระราชา เข้าไปสู่

ราชตระกูลได้ตามสบายไม่มีใครขัดขวาง แม้จะเอาเท้าถีบเศรษฐี และ

เสนาบดีเป็นต้นก็ได้ เพราะเหตุอะไร เพราะเป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดของพระ

ราชา. ด้วยเหตุนี้ คนรับใช้นั้น ย่อมเป็นผู้ยิ่งกว่าเศรษฐีเป็นต้นเหล่านั้น

ฉันใด. ปีติแม้นี้ พึงทราบว่า ยิ่งกว่าแม้ปีติในโลกุตตระ เพราะเกิดขึ้นแล้ว

ด้วยสามารถแห่งการพิจารณาธรรมอันสงบและประณีตฉันนั้น แม้ในวาระ

ที่เหลือ ก็มีนัยนี้ทั้งนั้น.

ส่วนในวาระแห่งวิโมกข์ วิโมกข์อันประกอบด้วยรูป ชื่อว่ามีอามิส

ด้วยสามารถอามิสคือรูป อันเป็นอารมณ์ของตน. ที่ไม่ประกอบด้วยรูป

ชื่อว่าไม่มีอามิส โดยไม่มีอามิสคือรูป.

จบ อรรถกถานิรามิสสูตรที่ ๑๑

จบ อรรถกถาอัฏฐสตปริยายวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑ สิวกสูตร ๒. อัฏฐสตปริยายสูตร ๓. ภิกขุสูตร ๔. ปุพพสูตร

๕. ญาณสูตร ๖. ภิกขุสูตร ๗. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๘. ทุติยสมณ

พราหมณสูตร ๙. ตติยสมณพราหมณสูตร ๑๐. สุทธิกสูตร ๑๑. นิรา

มิสสูตร.

จบ เวทนาสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

๓. มาตุคามสังยุต

เปยยาลวรรคที่ ๑

๑. อมนาปสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยองค์ ๕

เป็นที่ถูกใจและไม่ถูกใจของบุรุษ

[๔๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยองค์ ๕

ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของบุรุษโดยส่วนเดียว องค์ ๕ เป็นไฉน. คือรูปไม่

สวย ๑ ไม่มีโภคสมบัติ ๑ ไม่มีมารยาท ๑ เกียจคร้าน ๑ ไม่ได้บุตร

เพื่อเขา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านั้นแล

ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของบุรุษโดยส่วนเดียว.

[๔๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยองค์ ๕

ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุรุษโดยส่วนเดียว องค์ ๕ เป็นไฉน. คือ มีรูป

สวย ๑ มีโภคสมบัติ ๑ มีมารยาท ๑ ขยันไม่เกียจคร้าน ๑ ได้บุตร

เพื่อเขา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านั้นแล

ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุรุษโดยส่วนเดียว.

จบ อมนาปสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

มาตุคามสังยุต

อรรถกถาเปยยาลวรรคที่ ๑

อรรถกถาอมนาปสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในอมนาปสูตรที่ ๑ แห่งมาตุคามสังยุต ดังต่อไปนี้

บทว่า องฺเคหิ คือด้วยองค์แห่งโทษ บทว่า น จ รูปวา ความว่า

มีรูปไม่สมประกอบ พิการ รูปร่างน่าเกลียด. บทว่า น จ โภควา ความว่า

ไม่ถึงพร้อมด้วยโภคะ คือทรัพย์ไม่มี. บทว่า น จ สีลวา ความว่า

ผู้มีศีลวิบัติ คือทุศีล. บทว่า อลโส จ ความว่า ย่อมไม่สามารถทำการงาน

ทั้งหลายมีการตัดฟืนและการหุงเป็นต้น คนเกียจคร้าน ความเป็นผู้

เกียจคร้าน ย่อมนั่งหลับในที่นั่งบ้าง ย่อมยืนหลับในที่ยืนบ้าง บทว่า

ปชญฺจสฺส น ลภติ ความว่า ย่อมไม่ได้บุตรที่จะให้ดำรงวงศ์ตระกูลได้

เพื่อบุรุษนั้น ย่ามชื่อว่า หญิงหมัน. สุกกปักข์ พึงทราบโดยปริยายอัน

ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. สูตรที่ ๒ พึงให้เนื้อความกลับกัน โดยนัยอัน

กล่าวแล้วในสูตรที่ ๑.

จบ อรรถกถาอมนาปสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

๒. มนาปสูตร

ว่าด้วยบุรุษผู้ประกอบด้วยองค์ ๕

เป็นที่ถูกใจและไม่ถูกใจของมาตุคาม

[๔๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมไม่

เป็นที่ชอบใจของมาตุคามโดยส่วนเดียว องค์ ๕ เป็นไฉน. คือ รูปไม่

สวย ๑ ไม่มีโภคสมบัติ ๑ ไม่มีมารยาท ๑ เกียจคร้าน ๑ ไม่ได้บุตร

เพื่อเขา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล

ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของมาตุคามโดยส่วนเดียว.

[๔๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมเป็น

ที่ชอบใจของมาตุคามโดยส่วนเดียว องค์ ๕ เป็นไฉน. คือ มีรูปสวย ๑

มีโภคสมบัติ ๑ มีมารยาท ๑ ขยันไม่เกียจคร้าน ๑ ได้บุตรเพื่อเขา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เหล่านี้แล ย่อมเป็นที่ชอบ

ใจของมาตุคามโดยส่วนเดียว.

จบ มนาปสูตรที่ ๒

๓. อาเวณิกสูตร

ว่าด้วยความทุกข์เฉพาะของมาตุคาม ๕ ประการ

[๔๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์แผนกหนึ่งของมาตุคามที่

ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ ๕ อย่างนี้ ความทุกข์ ๕ อย่างเป็นไฉน.

คือ มาตุคามในโลกนี้ เมื่อยังกำลังสาวไปสู่สกุลผัวเว้นจากญาติ อันนี้เป็น

ความทุกข์แผนกหนึ่งของมาตุคามข้อต้นที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ.

๑. สูตรที่ ๒ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

[๔๖๓] อีกประการหนึ่ง มาตุคามมีระดู อันนี้เป็นความทุกข์

แผนกหนึ่งของมาตุคามข้อที่ ๒ ที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ.

[๔๖๔] อีกประการหนึ่ง มาตุคามมีครรภ์ อันนี้เป็นความทุกข์

แผนกหนึ่งของมาตุคามข้อที่ ๓ ที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ.

[๔๖๕] อีกประการหนึ่ง มาตุคามคลอดบุตร อันนี้เป็นความ

ทุกข์แผนกหนึ่งของมาตุคามข้อที่ ๔ ที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ.

[๔๖๖] อีกประการหนึ่ง มาตุคามเข้าถึงความเป็นหญิงบำเรอ

ของบุรุษ อันนี้เป็นความทุกข์แผนกหนึ่งของมาตุคามข้อที่ ๕ ที่ตนจะต้อง

เสวยเว้นจากบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์แผนกหนึ่งของมาตุคาม

ที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ ๕ อย่างนี้แล.

จบ อาเวณิกสูตรที่ ๓

อรรถกถาอาเวณิกสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในอาเวณิกสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อาเวณิกานิ ความว่า ทุกข์เฉพาะบุคคลคือไม่ทั่วไปด้วย

พวกบุรุษ. บทว่า ปาริจริย คือมาตุคามย่อมเข้าถึงความเป็นหญิงบำเรอ.

จบ อรรถกถาอาเวณิกสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

๔. มาตุคามสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมเข้าถึงอบาย

[๔๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๓

ประการ โดยมากเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน. คือ มาตุคามในโลกนี้ เวลาเช้ามีใจ

อันมลทิน คือความตระหนี่กลุ้มรุมแล้วอยู่ครองเรือน เวลาเที่ยงมีใจอัน

ความริษยากลุ้มรุมแล้วอยู่ครองเรือน เวลาเย็นมีใจอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว

อยู่ครองเรือน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประ-

การนี้แล โดยมากเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต

นรก.

จบ มาตุคามสูตรที่ ๔

อรรถกถามาตุคามสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในมาตุคามสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้

บทว่า มจฺเฉรมลปริยุฏิเตน ความว่า ก็ในเวลาเช้า มาตุคาม

ปรารภเพื่อจะทำการงานที่มีกังวลอยู่ในน้ำนม นมส้มและการหุงเป็นต้น.

แม้บุตรน้อยทั้งหลาย ร้องขออยู่ ย่อมไม่ปรารถนาเพื่อจะให้อะไร. ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำนั้นว่า เวลาเช้า มีใจอันมลทิน

คือความตระหนี่กลุ้มรุมแล้ว. ส่วนเวลาเที่ยงมาตุคาม ย่อมถูกความโกรธ

ครอบงำ. เมื่อไม่ได้ทะเลาะกันภายในเรือน ก็ย่อมทำการทะเลาะกันใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

เรือนของชนที่คุ้นเคยกัน และย่อมเที่ยวสอดส่องดูที่ยืนและที่นั่งของสามี

ด้วยเหตุนั้นพระองค์ จึงตรัสว่า เวลาเที่ยง มีใจอันความริษยากลุ้มรุม

แล้ว. ส่วนในเวลาเย็น จิตของหญิงนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อเสพอสัทธรรม.

ด้วยเหตุนั้น พระองค์ จึงตรัสว่า เวลาเย็นมีใจอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว.

จบ อรรถกถามาตุคามสูตรที่ ๔

๕. อนุรุทธสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงอบาย

[๔๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯ ล ฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ได้เห็นมาตุคามเมื่อ

แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามผู้ประกอบด้วย

ธรรมเท่าไรหนอ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

[๔๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคาม

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน. คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่

ศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ มักโกรธ ๑ มีปัญญาทราม ๑

ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตก

กายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

จบ อนุรุทธสูตรที่ ๔

สูตรที่ ๕ เป็นต้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

๖. อุปนาหีสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงอบาย

[๔๗๐] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน. คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มี

โอตตัปปะ ๑ มักผูกโกรธ ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคาม

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

จบ อุปนาหีสูตรที่ ๖

๗. อิสสุกีสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงอบาย

[๔๗๑] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน. คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มี

โอตตัปปะ ๑ มีความริษยา ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคาม

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

จบ อิสสุกีสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

๘. มัจฉรีสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงอบาย

[๔๗๒] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน. คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มี

โอตตัปปะ ๑ มีความตระหนี่ ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคาม

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

จบ มัจฉรีสูตรที่ ๘

๙. อติจารสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงอบาย

[๔๗๓] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน. คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มี

โอตตัปปะ ๑ ประพฤตินอกใจ ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ

มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อม

เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

จบ อติจารีสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

๑๐. ทุสสีลสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงอบาย

[๔๗๔] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน. คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มี

โอตตัปปะ ๑ เป็นคนทุศีล ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคาม

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

จบ ทุสสีลสูตรที่ ๑๐

๑๑. อัปปัสสุตสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงอบาย

[๔๗๕] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน. คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มี

โอตตัปปะ ๑ มีสุตะน้อย ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคาม

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

จบ อัปปัสสุตสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

๑๒. กุสีตสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงอบาย

[๔๗๖] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน. คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มี

โอตตัปปะ ๑ เกียจคร้าน ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคาม

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก

จบ กุสีตสูตรที่ ๑๒

๑๓. มุฏฐัสสติสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประกอย่อมเข้าถึงอบาย

[๔๗๗] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน. คือ มาตุคามเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มี

โอตตัปปะ ๑ มีสติหลง ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคาม

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

จบ มุฏฐัสสติสูตรที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

๑๔. ปัญจเวรสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงอบาย

[๔๗๘] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน. คือ มาตุคามเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติ

ผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

จบ ปัญจเวรสูตรที่ ๑๔

จบ เปยยาลวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในฝ่ายดำ คือ

๑. อมนาปสูตร ๒. มนาปสูตร ๓. อาเวณิกสูตร ๔. มาตุคาม-

สูตร ๕. อนุรุทะสูตร ๖. อุปนาหีสูตร ๗. อิสสุกีสูตร ๘. มัจฉรีสูตร

๙. อติจารีสูตร ๑๐. ทุสสีลสูตร ๑๑. อัปปัสสุตสูตร ๑๒. กุสีตสูตร

๑๓. มุฏฐัสสติสูตร ๑๔. ปัญจเวรสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

เปยยาลวรรคที่ ๒

๑. อักโกธนสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงสุคติ

[๔๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์เห็นมาตุคาม

เมื่อแตกกายตายไปเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง

จักษุของมนุษย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม

เท่าไรหนอ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ธรรม ๕ ประการ

เป็นไฉน. คือ มาตุคามเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ มีโอตตัปปะ ๑ ไม่มัก

โกรธ ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕

ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

๒. อนุปนาหีสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงสุคติ

[๔๘๐] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน.

คือ มาตุคามเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ไม่ผูกโกรธ ๑

มีปัญญา ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

๑. วรรคที่ ๒ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

๓. อนิสสุกีสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงสุคติ

[๔๘๑] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน.

คือ มาตุคามเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ไม่มีความริษยา

มีปัญญา ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

๔. อันจฉรีสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงสุคติ

[๔๘๒] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน.

คือ มาตุคามเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ไม้มีความตระหนี่ ๑

มีปัญญา ๑, ฯลฯ ไม่ประพฤตินอกใจ ๑ มีปัญญา ๑, ฯลฯ มีศีล ๑

มึปัญญา ๑, ฯลฯ มีสุตะมาก ๑ มีปัญญา ๑, ฯลฯ ปรารภความเพียร ๑

มีปัญญา ๑, ฯลฯ มีสติตั้งมั่น ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามประ

กอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

๑๐. ปัญจสีลสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมเข้าถึงสุคติ

[๔๘๓] ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน.

คือ มาตุคามเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ จากการลักทรัพย์ ๑ จากการ

ประพฤติผิดในกาม ๑ จากการพูดเท็จ ๑ จากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนอนุรุทธะ มาตุคามผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๕ ประการนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

จบ เปยยาลวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในฝ่ายขาว คือ

๑. อักโกธนสูตร ๒. อนุปนาหีสูตร ๓. อนิสสุกีสูตร ๔. อมัจฉรี-

สูตร ๕. อนติจารีสูตร ๖. สีลวาสูตร ๗. พหุสสุตสูตร ๘ วิริยสูตร

๙. สติสูตร ๑๐. ปัญจสีลสูตร.

ข้อความของสูตรที่ ๕ ถึงสูตรที่ ๙

รวมอยู่ในสูตรที่ ๔ คือ อมัจฉรีสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

มาตุคามพลวรรคที่ ๓

๑. วิสารทสูตร

ว่าด้วยกำลังของมาตุคาม ๕ ประการ

[๔๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน. กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลัง

คือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ กำลังของมาตุคาม ๕ นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถอยู่ครองเรือน.

จบ วิสารทสูตรที่ ๑

มาตุคามพลวรรคที่ ๓

อรรถกถาวิสารทสุตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยใน วิสารทสูตรที่ ๑ ดังต่อไปนี้

ในบทเป็นอาทิว่า รูปพล ความว่า ความถึงพร้อมแห่งรูป ชื่อว่า

รูปพละ. ความถึงพร้อมแห่งโภคะ ชื่อว่า โภคพละ ความถึงพร้อมแห่งญาติ

ชื่อว่า ญาติพละ. ความถึงพร้อมแห่งบุตร ชื่อว่า ปุตตพละ. ความถึงพร้อม

แห่งศีล ชื่อว่า สีลพละ. ก็เมื่อรักษาศีล ๕ หรือศีล ๑. ไม่ขาด ชื่อว่า

สีลพละ คือความถึงพร้อมแห่งศีล. บทว่า อิมานิ โข ภิกฺขเว ปญฺจ

พลานิ ความว่าพละ ๕ เหล่านี้ ท่านเรียก ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่า

เป็นเครื่องสนับสนุน ( อุปถัมภ์ )

จบ อรรถกถาวิสารทสูตรที่ ๑

๑. อรรถกถาจัดเป็นสูตรที่ ๑๐ ในเปยยาลวรรค พระไตรปิฎกเป็นสูตรที่ ๑ ใน

มาตุคามพลวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

๒. ปสัยหสูตร

ว่าด้วยกำลังของมาตุคาม ๕ ประการ

[๔๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ ๕

ประการเป็นไฉน. กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือ

บุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ กำลังของมาตุคาม ๕ นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุ-

คามผู้ประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้แล ย่อมบังคับสามีอยู่ครองเรือนได้.

จบ ปสัยหสูตรที่ ๒

อรรถกถาปสัยหสูตรที่ ๒

บทว่า ปสยฺห คือครอบงำแล้ว

จบ อรรถกถาปสัยหสูตรที่ ๒

๓. อภิภุยยสูตร

ว่าด้วยกำลังของมาตุคาม ๕ ประการของบุรุษประการเดียว

[๔๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน. กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑

กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑ กำลังของมาตุคาม ๕ นี้แล มาตุคามผู้

ประกอบด้วยกำลัง ๕ ประการนี้ ย่อมประพฤติข่มขี่สามีได้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ส่วนบุรุษผู้ประกอบด้วยกำลังอย่างเดียว ย่อมประพฤติข่มขี่

มาตุคามได้ กำลังอย่างเดียวเป็นไฉน. ได้แก่กำลังคือความเป็นใหญ่

๑. อรรถกถาจัดไว้เป็นสูตรที่ ๑๐ ในเปยยาลวรรค พระไตรปิฎกเป็นสูตรที่ ๒ ใน

มาตุคามพลวรรคที่ ๓

๒. สูตรที่ ๓-๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

กำลังคือรูป ย่อมป้องกันมาตุคามผู้ถูกบุรุษข่มขี่แล้วได้ กำลังคือโภคะ.

กำลังคือญาติ กำลังคือบุตร กำลังคือศีล ป้องกันไม่ได้

จบ อภิภุยยสูตรที่ ๓

อรรถกถาอภิภุยยสูตรที่ ๓

บทว่า อภิภุยฺย วตฺตติ ได้แก่ ย่อมครอบงำ คือ ข่มขี่. บทว่า

เนว รูปพล ตายติ ความว่า กำลังคือรูป ย่อมไม่สามารถจะป้องกัน

คือรักษาได้เลย.

จบ อรรถกถาอภิภุยยสูตรที่ ๓

๔. อังคสูตร

ว่าด้วยกำลังของมาตุคาม ๕ ประการ

[๔๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน. กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑

กำลังคือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑.

[๔๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป

แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือโภคะ อย่างนี้ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังคือรูปและกำลังคือโภคะ อย่างนี้ชื่อว่า

บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ก็มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูปและกำลังคือโภคะ

แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือญาติ อย่างนี้ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ และกำลังคือญาติ

อย่างนี้ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น ก็มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลัง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

คือโภคะ และกำลังคือญาติ แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือบุตร อย่างนี้ชื่อว่า

ยังไม่บริบูรณ์ด้วยองค์นั้น แต่เมื่อมาตุคามประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลัง

คือโภคะ กำลังคือญาติ และกำลังคือบุตร อย่างนี้ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

ก็มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ กำลังคือญาติ และ

กำลังคือบุตร แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือศีล อย่างนี้ชื่อว่ายังไม่บริบูรณ์

ด้วยองค์นั้น แต่เมื่อมาตุตามประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ กำลัง

คือญาติ กำลังคือบุตร และกำลังคือศีล อย่างนี้ชื่อว่าบริบูรณ์ด้วยองค์นั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล.

จบ อังคสูตรที่ ๔

๕. นาสยิตถสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ไม่ประกอบด้วยกำลัง ๕ ถูกพวกญาติให้พินาศ

[๔๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้

๕ ประการเป็นไฉน. กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลัง

คือบุตร ๑ กำลังคือศีล ๑

[๔๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือ

รูป แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้พินาศ

คือไม่ให้อยู่ในสกุล มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูปและกำลังคือโภคะ

แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้พินาศ คือ

ให้อยู่ในสกุล มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ และ

กำลังคือญาติ แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้น

ให้พินาศ คือไม่ให้อยู่ในสกุล มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือ

โภคะ กำลังคือญาติ และกำลังคือบุตร แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือศีล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้พินาศ คือไม่ให้อยู่ในสกุล แต่เมื่อมาตุคาม

ประกอบด้วยกำลังคือรูป กำลังคือโภคะ กำลังคือญาติ กำลังคือบุตร

และกำลังคือศีล พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้

พินาศ มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือรูป

พวกญาติย่อมย่อมยังมาตุคามนั้นให้อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้พินาศ ก็มาตุคาม

ผู้ประกอบด้วยกำลังคือศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือโภคะ พวกญาติย่อม

ยังมาตุคามนั้นให้อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้พินาศ มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลัง

คือศีล แต่ไม่ประกอบด้วยกำลังคือญาติ พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้

อยู่ในสกุล ย่อมไม่ให้พินาศ มาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลังคือศีล แต่ไม่

ประกอบด้วยกำลังคือบุตร พวกญาติย่อมยังมาตุคามนั้นให้อยู่ในสกุล ย่อม

ไม่ให้พินาศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้แล.

จบ มาสยิตถสูตร ๕

อรรถกถานาสยิตถสูตรที่ ๕

บทว่า นาเสนฺเตว น กุเล น วาเสนฺติ ความว่า พวกญาติ

คิดว่า หญิงทุศีล เสียมารยาท ประพฤตินอกใจ ดังนี้ จึงจับคอนำออกไป

คือไม่ให้อยู่ในตระกูลนั้น. บทว่า วาเสนฺเตว น กุเล น นาเสนฺติ

ความว่า พวกญาติรู้ว่าประโยชน์อะไรด้วยรูปหรือด้วยโภคะเป็นต้น หญิงนี้

เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีมารยาทดีงาม จึงให้อยู่ในตระกูลนั้น ไม่ให้พินาศ

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถานาสยิตถสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

๖. เหตุสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยกำลัง ๕ ย่อมเข้าถึงสวรรค์

[๔๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการ

เป็นไฉน. กำลังคือรูป ๑ กำลังคือโภคะ ๑ กำลังคือญาติ ๑ กำลังคือบุตร ๑

กำลังคือศีล ๑

[๔๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามเมื่อแตกกายตายไป ย่อม

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะกำลังคือรูปเป็นเหตุ เพราะกำลังคือโภคะเป็น

เหตุ เพราะกำลังคือญาติเป็นเหตุ หรือเพราะกำลังคือบุตรเป็นเหตุ หามิได้

แต่ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะกำลังคือศีลเป็นเหตุ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย กำลังของมาตุคาม ๕ ประการนี้ แล.

จบ เหตุสูตรที่ ๖

๗. ฐานสูตร

ว่าด้วยฐานะที่ได้ยาก ๕ ประการ

[๔๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันมาตุคาม

ผู้มิได้ทำบุญไว้ยากที่จะได้ ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน. คือ ขอเราพึง

เกิดในสกุลอันสมควร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ อันมาตุคามผู้มีได้ทำบุญไว้ยากที่

จะได้ เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ขอเราพึงไปสู่สกุลอันสมควร นี้เป็น

ฐานะข้อที่ ๒. . . เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว ขอ

เราพึงอยู่ครองเรือนปราศจากหญิงร่วมสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ . . . เกิดใน

สกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครองเรือนปราศจาก

หญิงร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔ . . . เกิดในสู่สกุลอัน

สมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครองเรือนปราศจากหญิงร่วม

สามี มีบุตร ขอเราประพฤติครอบงำสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๕ อันมาตุคาม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

ผู้มิได้ทำบุญไว้ยากที่จะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้

อันมาตุคามผู้มิได้ทำบุญไว้ยากที่จะได้.

จบ ฐานสูตรที่ ๗

๘. วิสารทสูตร

ว่าด้วยฐานะ ๕ ประการ ผู้ทำบุญไว้ย่อมได้โดยง่าย

[๔๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันมาตุคาม

ผู้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน. คือ ขอเราพึงเกิดใน

สกุลอันสมควร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๑ อันมาตุคามผู้ทำบุญไว้ได้โดยง่าย

เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ขอเราพึงไปสู่สกุลอันสมควร นี่เป็นฐานะ

ข้อที่ ๒. . .เกิดในสกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว ขอเรา

พึงอยู่ครองเรือนปราศจากหญิงร่วมสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๓ . . .เกิดใน

สกุลอันสมควรแล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครองเรือนปราศจากหญิง

ร่วมสามี ขอเราพึงมีบุตร นี้เป็นฐานะข้อที่ ๔. . .เกิดในสกุลอันสมควร

แล้ว ไปสู่สกุลอันสมควรแล้ว อยู่ครองเรือนปราศจากหญิงร่วมสามี มีบุตร

ขอเราพึงประพฤติครอบงำสามี นี้เป็นฐานะข้อที่ ๕ อันมาตุคามผู้ทำบุญ

ไว้ ได้โดยง่าย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันมาตุคาม

ผู้ทำบุญไว้ได้โดยงง่าย.

จบ วิสารทสูตรที่ ๘

๙. ปัญจเวรสูตร

ว่าด้วยมาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

สามารถอยู่ครองเรือน

[๔๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามผู้ประกอบด้วยธรรม ๕

ประการ เป็นผู้สามารถอยู่ครองเรือน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน. คือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

มาตุคามเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ จากการลักทรัพย์ ๑ จากการ

ประพฤติผิดในกาม ๑ จากการพูดเท็จ ๑ จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและ

เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้สามารถอยู่ครองเรือน.

จบ ปัญจเวรสุตรที่ ๙

๑๐. วัฑฒิสูตร

ว่าด้วยอริยสาวิกาย่อมเจริญด้วยธรรม ๕ ประการ

[๔๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยวัฑฒิ-

ธรรม ๕ ประการ ย่อมเจริญด้วยวัฑฒิธรรมอันเป็นอริยะ เป็นผู้ถือเอา

สาระและถือเอาสิ่งประเสริฐของกายไว้ได้ วัฑฒิธรรม ๕ ประการเป็น

ไฉน. คือ อริยสาวิกาย่อมเจริญด้วยศรัทธา ๑ ศีล ๑ สุตะ ๑ จาคะ ๑

ปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวิกาเมื่อเจริญด้วยวัฑฒิธรรม ๕

ประการนี้แล ย่อมเจริญด้วยวัฑฒิธรรมอันเป็นอริยะ เป็นผู้ถือเอาสาระ

และถือเอาสิ่งประเสริฐแห่งกายไว้ได้.

สตรีใดเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา สตรี

เช่นนั้น เป็นอุบาสิกาผู้มีศีล ย่อมถือสาระของตนในโลกนี้ไว้ได้.

จบ วัฑฒิสูตรที่ ๑๐

จบ มาตุคามพลวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิสารทสูตร ๒. ปสัยหสูตร ๓. อภิภุยยสูตร ๔. อังคสูตร

๕ นาสยิตถสูตร ๖. เหตุสูตร ๗. ฐานะสูตร ๘. วิสารทสูตร

๙. ปัญจเวรสูตร ๑๐. วัฑฒิสูตร.

จบ มาตุคามสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

๔. ชัมพุขาทกสังยุต

๑. นิพพานปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหานิพพาน

[๔๙๗] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ บ้านนาลคาม แคว้น

มคธ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่าชัมพุขาทก เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร

ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอใจ

ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่าน

พระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า นิพพาน ๆ ดังนี้ นิพพาน

เป็นไฉนหนอ. ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ความสิ้นราคะ

ความสิ้นโทสะ. ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่านิพพาน.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็บรรดามีอยู่หรือ ปฏิปทามิอยู่หรือ เพื่อ

กระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

กระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็น

ชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ

ตั้งสติชอบ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกระทำนิพพาน

นั้นให้แจ้ง.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บรรดาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำ

นิพพานให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.

จบ นิพพานปัญหาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

ชัมพุขาทกสังยุต

อรรถกถานิพพานปัญหาสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในชัมพุขาทกสังยุต ดังต่อไปนี้

บทว่า ชมฺพุขาทโก ปริพฺพาชโก ความว่า ปริพาชกผู้นุ่งผ้า

เป็นหลานของพระสารีบุตรเถระ ซึ่งมีชื่ออย่างนี้. บทว่า โย โข อาวุโส

ราคกฺขโย ความว่า ราคะย่อมสิ้นไปเพราะอาศัยนิพพาน เพราะฉะนั้น

พระสารีบุตร จึงเรียกนิพพานว่า ความสิ้นราคะดังนี้. แม้ในความสิ้น

โทสะและโมหะก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ส่วนผู้ใด พึงกล่าวเพียงความสิ้นกิเลสว่านิพพานด้วยสูตรนี้ ผู้นั้น

พึงถูกถามว่ากิเลสของใครนั้น ของตนหรือ หรือของคนเหล่าอื่น. เข้าจัก

ตอบว่าของตนแน่. เขาต้องถูกถามต่อไปว่าอะไร เป็นอารมณ์ของโคตรภู-

ญาณ เมื่อร้จักตอบว่านิพพาน. ถามว่า ก็กิเลสทั้งหลายสิ้นแล้ว กำลังสิ้น

จักสิ้นในขณะแห่งโคตรภูญาณหรือ ตอบว่า เขาไม่พึงตอบว่า สิ้นแล้ว

หรือกำลัง. แต่พึงตอบว่า จักสิ้นดังนี้. ก็เมื่อกิเลสทั้งหลายเหล่านั้น

ยังไม่สิ้นแล้ว. โคตรภูญาณจะทำความสิ้นแห่งกิเลสให้เป็นอารมณ์ได้หรือ

เมื่อท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว เขาจักไม่มีคำตอบ.

แต่ในข้อนี้ พึงประกอบความสิ้นกิเลสแม้ด้วยมรรคญาณ. ด้วยว่า

กิเลสทั้งหลาย แม้ในขณะแห่งมรรค ไม่ควรกล่าวว่า สิ้นแล้วหรือจักสิ้น

แต่ควร กล่าวว่า กำลังสิ้น อนึ่ง เมื่อกิเลสทั้งหลายยังไม่สิ้นไป ความสิ้น

กิเลสย่อมเป็นอารมณ์หาได้ไม่. เพราะฉะนั้นข้อนั้นควรรับได้. ธรรมมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

ราคะเป็นต้น ย่อมสิ้นไป เพราะอาศัยธรรมชาติใด เพราะเหตุนั้น

ธรรมชาตินั้น ชื่อว่านิพพาน. ส่วนนิพพานนี้นั้น ไม่เพียงเป็นความสิ้น

กิเลสเท่านั้น เพราะท่านรวบรวมไว้ว่าสงเคราะห์ว่าเป็นอรูปธรรม. ธรรม

ทั้งหลายที่ชื่อว่ารูป ในทุกะมาติกามีอาทิว่า รูปิโน ธมฺมา อรูปโน ธมฺมา

ธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่ารูป ธรรมทั้งหลายที่ไม่ชื่อว่ารูปทั้งนี้

จบ อรรถกถานิพพานปัญหาสูตรที่ ๑

๒. อรหัตตปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องพระอรหัตผล

[๔๙๘] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อรหัต ๆ ดังนี้ อรหัต

เป็นไฉน.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ ธรรมเป็นที่สิ้นโทสะ

ธรรมเป็นที่สิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอรหัต.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อ

กระทำอรหัตนั้นให้แจ้ง.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

กระทำอรหัตนั้นให้แจ้ง.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็น

ชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นบรรดา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำอรหัต

นั้นให้แจ้ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำ

อรหัตนั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร

จบ อรหัตตปัญหาสูตรที่ ๒

อรรถกถาอรหัตตปัญหาสูตรที่ ๒

ในการพยากรณ์ปัญหาในอรหัต เพราะอรหัตย่อมเกิดขึ้นในที่สุด

แห่งความสิ้นราคะโทสะและโมหะ ฉะนั้น พระสารีบุตร จึงกล่าวว่า ความ

สิ้นราคะ โทสะ โมหะดังนี้.

จบ อรรถกถาอรหัตตปัญหาสูตรที่ ๒

๓. ธรรมวาทีปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาผู้เป็นธรรมวาที

[๔๙๙] ดูก่อนท่านสารีบุตร ใครหนอเป็นธรรมวาทีในโลก ใคร

เป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก ใครเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านผู้ใดแสดงธรรมเพื่อละราคะ โทสะ โมหะ

ท่านผู้นั้นเป็นธรรมวาทีในโลก อนึ่ง ท่านผู้ใดปฏิบัติเพื่อละราคะ โทสะ

โมหะ ท่านผู้นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีในโลก ราคะ โทสะ โมหะ อันท่านผู้ใด

ละแล้ว ถอนรากเสียแล้วทำให้เป็นดังตาลยอดด้วน กระทำไม่ได้มีใน

ภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ท่านผู้นั้นเป็นผู้ไปดีแล้วในโลก.

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บรรดามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อ

ละราคะ โทสะ โมหะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็บรรดาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

ละราคะ โทสะ โมหะนั้น.

สา. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ

ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อละราคะ โทสะ โมหะนั้น.

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละราคะ

โทสะ โมหะนั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.

จบ ธรรมวาทีปัญหาสูตรที่ ๓

อรรถกถาธรรมวาทีปัญหาสูตรที่ ๓

บทว่า เต โลเก สุคตา ความว่า ท่านเหล่านั้น ชื่อว่า ไป

ดีแล้ว เพราะละราคะเป็นต้นไปแล้ว. บทว่า ทุกฺขสฺส โข อาวุโส

ปริญฺตฺถ ความว่า เพื่อกำหนดรู้วัฏทุกข์

จบ ธรรมวาทีปัญหาสูตรที่ ๓

๔. ภิมัตถิยสูตร

ว่าด้วยประโยชน์แห่งการประพฤติพรหมจรรย์

[๕๐๐] ดูก่อนท่านสารีบุตร ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน

พระสมณะโคดม เพื่อประโยชน์อะไร ?

๑. สูตรที่ ๔-๑๓ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

สา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์.

ช. ดูก่อนผู้มีอายุ มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อกำหนด

รู้ทุกข์นั้น.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

กำหนดรู้ทุกข์นั้น.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็น

ชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนดรู้

ทุกข์นั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.

จบ กิมัตถิยสูตรที่ ๔

๕. อัสสาสัปปัตตสูตร

ว่าด้วยผู้ถึงความโล่งใจ

[๕๐๑] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ถึงความโล่งใจ ๆ ดังนี้

ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อไรภิกษุย่อมรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ

และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็บรรดามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อ

กระทำความโล่งใจนั้นให้แจ้ง.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็บรรดาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

กระทำความโล่งใจนั้นให้แจ้ง.

สา. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ตั้ง

ใจชอบ นี้แลเป็นบรรดา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำความโลงใจนั้นให้แจ้ง.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บรรดาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำ

ความโล่งใจนั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.

จบ อัสสาสัปปัตตสูตรที่ ๕

๖. ปรมัสสาสัปปัตรสูตร

ว่าด้วยผู้ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง

[๕๐๒] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง ๆ

ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจอย่างยิ่ง.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ เมื่อไรภิกษุรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ

และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายนะ ๖ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้

หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่าถึงความโล่งใจ

อย่างยิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคมีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อ

กระทำความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็บรรดาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

กระทำความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็น

ชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกระทำความ

โล่งใจอย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บรรดาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำ

ความโล่งใจอย่างยิ่งนั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่าน

สารีบุตร.

จบ ปรมัสสาสัปปัตตสูตรที่ ๖

๗. เวทนาปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องเวทนา

[๕๐๓] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า เวทนา ๆ ดังนี้ เวทนา

เป็นไฉนหนอ.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ เวทนา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน. คือ สุข-

เวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เวทนา ๓ อย่าง นี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อ

กำหนดรู้เวทนา ๓ อย่างนี้.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

กำหนดรู้เวทนา ๓ อย่างนั้น.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็น

ชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคาเป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓

อย่างนั้น.

ช. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนด

รู้เวทนา ๓ อย่างนั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร

จบ เวทนาปัญหาสูตรที่ ๗

๘. อาสวปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องอาสวะ

[๕๐๔] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อาสวะ ๆ ดังนี้ อาสวะ

เป็นไฉนหนอ.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อาสวะ ๓ อย่างนี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ

อวิชชาสวะ อาสวะ ๓ อย่างนี้แล.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็บรรดามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อ

ละอาสวะเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

สา มีอยู่ ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

ละอาสวะเหล่านั้น.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความ

เห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอาสวะ

เหล่านั้น.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอาสวะ

เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร

จบ อาสวปัญหาสูตรที่ ๘

๙. อวิชชาปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องอวิชชา

[๕๐๕] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อวิชชา ๆ ดังนี้ อวิชชา

เป็นไฉนหนอ.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ใน

ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อ

อวิชชาเหล่านั้น.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

ละอวิชชาเหล่านั้น.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความ

เห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอวิชชา

เหล่านั้น.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บรรดาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอวิชชา

เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.

จบ อวิชชาปัญหาสูตรที่ ๙

๑๐. ตัณหาปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องตัณหา

[๕๐๖] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ตัณหา ๆ ดังนี้ ตัณหา

เป็นไฉนหนอ.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ ตัณหา ๓ ประการนี้ คือ กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา ตัณหา ๓ ประการนี้แล.

สา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความ

เห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นบรรดา เป็นปฏิปทา เพื่อละตัณหา

เหล่านั้น.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละตัณหา

เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.

จบ ตัณหาปัญหาสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

๑๑. โอฆปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องโอฆะ

[๕๐๗] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า โอฆะ ๆ ดังนี้ โอฆะ

เป็นไฉนหนอ.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ โอฆะ ๔ ประการนี้ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ

ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ โอฆะ ๔ ประการนี้แล.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อ

ละโอฆะเหล่านั้น.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

ละโอฆะ เหล่านั้น.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความ

เห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นบรรดา เป็นปฏิปทา เพื่อละโอฆะ

เหล่านั้น.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละโอฆะ

เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.

จบ โอฆปัญหาสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

๑๒. อุปทานปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องอุปาทาน

[๕๐๘] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อุปาทาน ๆ ดังนี้

อุปาทานเป็นไฉนหนอ.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อุปาทาน ๔ ประการนี้ คือ กามุปาทาน

ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน อุปาทาน ๔ ประการนี้แล.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อ

ละอุปาทานเหล่านั้น.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

ละอุปาทานเหล่านั้น.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความ

เห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นบรรดา เป็นปฏิปทา เพื่อละ

อุปาทานเหล่านั้น.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอุปาทาน

เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.

จบ อุปทานปัญหาสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

๑๓. ภวปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องภพ

[๕๐๙] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ภพ ๆ ดังนี้ ภพเป็น

ไฉนหนอ.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ ภพ ๓ เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ

ภพ ๓ เหล่านี้แล.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อ

กำหนดรู้ภพเหล่านั้น.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

กำหนดรู้ภพเหล่านั้น.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความ

เห็นชอบ ฯลฯ จงใจชอบ นี้แลเป็นบรรดา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนด

รู้ภพเหล่านั้น.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนด

รู้ภพเหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.

จบ ภวปัญหาสูตรที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

๑๔. ทุกขปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องทุกข์

[๕๑๐] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า ทุกข์ ดังนี้ ทุกข์

เป็นไฉนหนอ.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ สภาพทุกข์ ๓ ประการนี้ คือ สภาพทุกข์คือ

ทุกข์ สภาพทุกข์คือสังขาร สภาพทุกข์คือความแปรปรวน สภาพทุกข์ ๓

ประการนี้แล.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อ

กำหนดรู้สภาพทุกข์เหล่านั้น.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

กำหนดรู้สภาพทุกข์เหล่านั้น.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็น

ชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนดรู้สภาพ

ทุกข์เหล่านั้น.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนด

รู้สภาพทุกข์เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.

จบ ทุกขปัญหาสูตรที่ ๑๔

อรรถกถาทุกขปัญหาสูตรที่ ๑๔

บทว่า ทุกฺขตา คือสภาพแห่งทุกข์ในบทเป็นอาทิว่า ทุกฺขทุกฺขตา

ได้แก่ สภาพแห่งทุกข์กล่าวคือทุกข์ ชื่อว่า ทุกฺขตา. แม้ในสองบทที่เหลือ

ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาทุกขปัญหาสูตรที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

๑๕. สักกายปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องสักกายทิฏฐิ

[๕๑๑] ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า สักกายะ ๆ ดังนี้

สักกายะเป็นไฉนหนอ.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ คือ อุปาทาน-

ขันธ์คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าสักกายะ.

. ก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อ

กำหนดรู้สักกายะนั้น.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อ

กำหนดรู้สักกายะนั้น.

สา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความ

เห็นชอบ ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อกำหนด

รู้สักกายะนั้น.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกำหนด

รู้สักกายะนั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร.

จบ สักกายปัญหาสูตรที่ ๑๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องสิ่งที่ทำได้ยาก

[ ๕๑๒ ] ดูก่อนท่านสารีบุตร อะไรหนอ เป็นการยากที่จะกระทำ

ได้ในธรรมวินัยนี้.

สา. บรรพชา ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไรอันบุคคลผู้บวชแล้ว กระทำได้

โดยยาก.

สา. ความยินดียิ่ง ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไร อันภิกษุผู้ยินดียิ่งแล้วกระทำได้

โดยยาก.

สา. การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

จะพึงเป็นพระอรหันต์ได้นานเพียงไร.

สา. ไม่นานนัก ผู้มีอายุ.

จบ ทุกกรปัญหาสูตรที่ ๑๖

จบ ชัมพุขาทกสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

อรรถกถาทุกรปัญหาสูตรที่ ๑๖

บทว่า อภิรติ คือความไม่กระสันในการบรรพชา. บทว่า น จิร

อาวุโส ท่านแสดงว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

เมื่อพากเพียรพยายามอยู่ จะพึงเป็นพระอรหันต์ คือพึงตั้งอยู่ในพระอรหัต

ได้ไม่นานนักคือเร็วนั่นเอง. เพราะท่านกล่าวว่า ภิกษุผู้อันท่านตักเตือน

แล้วในเวลาเช้า จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเย็น ภิกษุผู้อันท่านตักเตือนแล้ว

ในเวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษในเวลาเช้า คำที่เหลือใน บททั้งปวงมีเนื้อ

ความง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาทุกรปัญหาสูตรที่ ๑๖

จบ อรรถกถาชัมพุขาทกสังยุต.

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. นิพพานปัญหาสูตร ๒. อรหัตตปัญหาสูตร ๓. ธรรมวาที

ปัญหาสูตร ๔. กิมัตถิยสูตร ๕. อัสสาสัปปัตตวสูตร ๖. ปรมัสสาสัป-

ปัตตสูตร ๗. เวทนาปัญหาสูตร ๘. อาสวปัญหาสูตร ๙. อวิชชา

ปัญหาสูตร ๑๐. ตัณหาปัญหาสูตร ๑๑. โอฆปัญหาสูตร ๑๒. อุปาทาน

ปัญหาสูตร ๑๓. ภวปัญหาสูตร ๑๔. ทุกขปัญหาสูตร ๑๕. สักกาย

ปัญหาสูตร ๑๖. ทุกกรปัญหาสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

๕. สามัณฑกสังยุต

๑. สามัณฑกสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องนิพพาน

[๕๑๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้

อุกกเจลนคร แคว้นวัชชี ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อ สามัณฑกะ เข้าไปหา

ท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า นิพพาน ๆ

ดังนี้ นิพพานเป็นไฉนหนอ. ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ

ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า นิพพาน.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือเพื่อ

กระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง.

สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉนเพื่อ

กระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง.

สา. ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือความเห็น

ชอบ ฯลฯ. ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทาเพื่อกระทำนิพพาน

นั้นให้แจ้ง.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อกระทำ

นิพพานนั้นให้แจ้ง และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯลฯ

( เหมือนกับในชัมพุขาทกสังยุต )

จบ สามัณฑกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

๑๖. ทุกรปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องสิ่งที่ทำได้ยาก

[๕๑๔] ดูก่อนท่านสารีบุตร อะไรหนอเป็นการยากที่จะกระทำ

ได้ในธรรมวินัยนี้.

สา. บรรพชา ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนภิกษุผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไรอันบุคคลผู้บวชแล้วกระทำได้

โดยยาก.

สา. ความยินดียิ่ง ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็สิ่งอะไรอันภิกษุผู้ยินดียิ่งแล้วกระทำได้

โดยยาก.

สา. การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้มีอายุ.

. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว

จะพึงเป็นพระอรหันต์ได้นานเพียงไร.

สา. ไม่นานนัก ผู้มีอายุ.

จบ ทุกกรปัญหาสูตรที่ ๑๖

อรรถกถาสัมัณฑกสังยุต

แม้ในสามัณฑกสังยุต พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แล.

จบ อรรถกถาสามัณฑกสัยุต

รวมพระสูตรในสังยุตนี้ เช่นเดียวกับในสังยุตก่อน (คือชัมพุขาทกสังยุต)

จบ สามัณฑกสังยุต

๑. สูตรที่ ๒-๑๕ เหมือนในชัมพุขาทกสังยุต

๒. โดยนัยเดียวกับ อรรถกถาแห่งสูตรทั้งหลายในชัมพุขาทกสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

๖. โมคคัลลานสังยุต

๑. สวิตักกปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องรูปฌานที่ ๑

[๕๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระวิหาร

เชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่าน

พระมหาโมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหา-

โมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคัลลานะ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ขอโอกาส เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตก

แห่งใจได้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ที่เรียกว่า ปฐมฌาน ๆ ดังนี้ ปฐมฌาน เป็น

ไฉนหนอ. เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจาก

กาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิด

แต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน เราก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วย

วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมค-

คัลลานะ ๆ เธออย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จง

กระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ให้มั่นในปฐม-

ฌาน สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน

อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคล

เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว

ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวก

อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่.

จบ สวิตักกปัญหาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

อรรถกถาโมคคัลลานสังยุต

อรรถกถาสวิตักกปัญหาสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในโมคคัลลานสังยุต ดังต่อไปนี้

บทว่า กามสหคตา คือประกอบนิวรณ์ ๕ ก็เมื่อภิกษุนั้นออก

จากปฐมฌานแล้ว นิวรณ์ ๕ ปรากฏแล้ว โดยความสงบมีอยู่ ด้วยเหตุนั้น

ปฐมฌานนั้น ของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่ามีส่วนแห่งความเสื่อมพระศาสดา

ทรงทรามความประมาทนั้นแล้ว จึงได้ประทานพระโอวาทว่า อย่าประมาท

จบ อรรถกถาสวิตักกปัญหาสูตรที่ ๑

๒. อวิตักกปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องรูปฌานที่ ๒

[๕๑๖] ที่เรียกว่า ทุติยฌาน ๆ ดังนี้ ทุติยฌานเป็นไฉนหนอ.

เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความ

ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตก

วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่าทุติยฌาน เราก็เข้า

ทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มี

วิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เมื่อเรา

อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์แล้วได้

ตรัสว่า โมคคัลลานะ ๆ เธออย่าประมาททุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

ทุติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌาน จงตั้งจิตไว้ใน

มั่นในทุติยฌาน สมัยต่อมา เราเข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตใน

ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มี

ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก

พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้

ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา

ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

จบ อวิตักกปัญหาสูตรที่ ๒

อรรถกถาอวิตักกปัญหาสูตรที่ ๒

แม้ในทุติยฌานเป็นต้น ก็พึงทราบความโดยนัยนี้แล. ก็ในข้อ

ฌานอันประกอบด้วยอารมณ์เท่านั้น ท่านกล่าวว่า สหคต ดังนี้.

จบ อรรถกถาอวิตักกปัญหาสูตรที่ ๒

๓. สุขปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องรูปฌานที่ ๓

[ ๕๑๗ ] ที่เรียกว่า ตติยฌาน ๆ ดังนี้ ตติยฌานเป็นไฉนหนอ.

เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มี

สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระ-

อริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

นี้เรียกว่าตติยฌาน เราก็มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย

๑. สูตรที่ ๓ - ๘ ไม้มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

นามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า

ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้

สัญญามนสิการอันประกอบด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะ ๆ เธอ

อย่าประมาทตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรม

เอกผุดขึ้นในตติยฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในตติยฌาน สมัยต่อมาเรามี

อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป เข้า

ตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา

มีสติอยู่เป็นสุข ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใด

ว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคล

เมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์

แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่.

จบ สุขปัญหาสูตรที่ ๓

๔. อุเปกขาปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องฌานที่ ๔

[ ๕๑๘ ] ที่เรียกว่า จตุตถฌาน ๆ ดังนี้ จตุตถฌานเป็นไฉนหนอ.

เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานนัยนี้ไม่มี

ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มี

อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่ นี้เรียกว่าจตุตถฌาน เราก็เข้าจตุตถฌาน

อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา-

มนสิการอันประกอบด้วยสุขย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะ ๆ เธออย่า

ประมาทจตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรม

เอกผุดขึ้นในจตุตถฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในจตุตถฌาน สมัยต่อมาเราเข้า

จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัส

ก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย

ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์

แล้วถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า

สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่.

จบ อุเบกขาปัญหาสูตรที่ ๔

๕. อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องอรูปฌานที่ ๑

[ ๕๑๙ ] ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน ๆ ดังนี้ อากาสานัญ-

จายตนฌานเป็นไฉนหนอ. เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะ

ล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจ

ซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน

เราก็เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะ

ล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

ซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา

มนสิการอันประกอบด้วยรูปสัญญาย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะ ๆ เธอ

อย่าประมาทอากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตน.

ฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน จง

ตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากาสานัญจายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าอากาสานัญ-

จายตนฌานด้วยคำนึงว่าอากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้

เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดย

ประการทั้งปวง ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด

คำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้วถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรง

อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่.

จบ อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๕

๖. วิญญาณัญจายตนปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องอรูปฌานที่ ๒

[๕๒๐] ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานๆ ดังนี้ วิญญาณัญ-

จายตนฌานเป็นไฉนหนอ. เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ เข้าวิญญานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้

เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า

วิญญาณัญจายตนฌาน เราก็เข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า

วิญญาณที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

ทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วย

อากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้า

ไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะ ๆ เธออย่าประมาท

วิญญาณัญจายตนฌาน จะดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน จงกระทำ

จิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน จงตั้งไว้ให้มั่นใน

วิญญาณัญจายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าวิญญณัญจายตนฌานด้วยคำนึง

ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดย

ประการทั้งปวง ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด

คำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์ ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่

บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเรา สาวกอันพระศาสดาทรง

อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่.

จบ วิญญาณัญจายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๖

๗. อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องอรูปฌานที่ ๓

[๕๒๑] ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌาน ๆ ดังนี้ อากิญจัญญา-

ยตนฌานเป็นไฉนหนอ. เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี

เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่า

อากิญจัญญายาตนฌาน เราก็เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไร

หน่อยหนึ่งไม่มีเพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง

เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยวิญญาณัญจา-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

ยตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาเราด้วย

พระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะ ๆ เธออย่าประมาทอากิญจัญญา

ยตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรม

เอกผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากิญจัญญายตน-

ฌาน สมัยต่อมาเรา เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อย

หนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอัน

พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูด

ให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว

ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่.

จบ อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตร

๘. เนวสัญญานาสัญญายตนฌานปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องอรูปฌานที่ ๔

[๕๒๒] ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ๆ ดังนี้ เนว-

สัญญานาสัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ. เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุ

ในพระธรรมวินัยนี้ เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญ-

จัญญาตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าเนวสัญญานาสัญญา-

ยตนฌาน เราก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญา-

ยตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามน

สิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระพุทธ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะ ๆ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

เธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในเนวสัญญา-

นาสัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในเนวสัญญา-

สัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สมัย

ต่อมาเราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌาน

เสียได้โดยประการทั้งปวง. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก

พึงพูดคำใดว่า. สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้

ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา

ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่.

จบ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานปัญหาสูตรที่ ๘

๙. อนิมิตตปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาเรื่องอนิมิตตเจโตสมาธิ

[๕๒๓] ที่เรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิ ๆ ดังนี้ อนิมิตตเจโต

สมาธิเป็นไฉนหนอ. เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง นี้เรียก

ว่าอนิมิตตเจโตสมาธิ เราก็เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้

ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ วิญญาณอันซ่านไปตาม

ซึ่งอนิมิตย่อมมี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาเราด้วย

พระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะ ๆ เธออย่าประมาทอนิมิตตเจโต

สมาธิ จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอก

ผุดขึ้นในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิสมัยต่อ

มา เราเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

ดูก่อนผู้มีอายุฟุ้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอัน

พระศาสดาทั้งอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูด

ให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้วถึง

ความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่.

[๕๒๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายจากพระวิหาร

เชตวันไปปรากฏในดาวดึงสเทวโลก เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่

คู้ หรือพึงดู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับ

เทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไปหาท่านพระโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระ.

มหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูก่อนจอมเทพ

การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็น

สรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก

เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตก

กายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่

พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสมณะดีนัก เพราะเหตุ

แห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย

ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก . . .

การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ

สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

จบ อนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

อรรถกถาอนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙

บทว่า อนิมิตฺต เจโตสมาธิ นั้น พระเถระกล่าวหมายถึงวิปัสสนา-

สมาธิทูลนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นได้แล้วเป็นไป. บทว่า อนิมิตฺตานุสาริ-

วิญฺาณ โหติ ความว่า เมื่อเราอยู่ด้วยวิปัสสนาสมาธิวิหารธรรมนี้อย่างนี้

วิปัสสนาญาณก็แก่กล้า ละเอียดนำไปอยู่เหมือนเมื่อบุรุษเอาขวานที่คม

ตัดต้นไม้อยู่ มองดูอยู่ซึ่งคมขวานในทุกขณะด้วยคิดว่า ขวานของเรา

จริงหนอดังนี้ กิจในการตัด ก็ย่อมไม่สำเร็จฉันใด แม้พระเถระ ปรารภ

วิปัสสนาด้วยคิดว่าญาณของเราแก่กล้าจริงหนอดังนี้ ความใคร่ ก็ย่อมเกิด

ขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พระเถระนั้น ก็ไม่สามารถให้วิปัสสนากิจสำเร็จได้

ฉันนั้น. พระเถระหมายถึงข้อนั้น จึงกล่าวว่า อนิมิตฺตานุสาริวิญฺาณ

โหติ. บทว่า สพฺพนิมิต ตาน อมนสิการา อนิมิตฺต เจโตสมาธิ

อุปสมฺปชฺช วิหาสึ ความว่า เราเข้าเจโตสมาธิที่สัมปยุตด้วยวุฏฐานคามิ-

นีวิปัสสนา และสมาธิในมรรคและผลเบื้องสูง ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์

อันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตว่าเที่ยงเป็นสุขเป็นตน

ทั้งปวงอยู่แล้ว

จบ อรรถกถาอนิมิตตปัญหาสูตรที่ ๙

๑๐. สักกสูตร

ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานเถระแสดงธรรมแก่ท้าวสักกะ

[๕๒๕] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ

๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

[๕๒๖] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์

เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

แล้ว ได้ไปประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหา-

โมคคัลลานะได้พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูก่อนจอมเทพ การถึงพระ-

พุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก. . .การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะ

เหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย

ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่าน

พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะ

เหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย

ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก . . .

การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ

สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

[๕๒๗] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์

เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

แล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหา-

โมคคัลลานะได้พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูก่อนจอมเทพ การประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อม

ด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น

ผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนจอมเทพ การ

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วย

กาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้

ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ ดูก่อนจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว

ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติแล้ว

ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘

นี้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ ควรของ

ต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ

อื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน

ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อม

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนจอมเทพ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า

ใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ๆ ไม่พร้อม เป็นไทย วิญญูชน

สรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิลูบคลำไม่ได้เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะ

เหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้

เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่น

ไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อม

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว . . . ดีนัก เพราะเหตุการณ์ประกอบด้วยความเลื่อมใส

อันไม่หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป

ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การ

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว . . . ดีนัก เพราะเหตุแห่งการ

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกใน

โลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่ท่านพระ-

โมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด...

เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า

ใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์.

[๕๒๘] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๖๐๐ องค์

ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ.

[๕๒๙] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์

เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

แล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหา-

โมคคัลลานะได้พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูก่อนจอมเทพ การประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.... ดีนักเพราะเหตุแห่งการประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลก เมื่อ

แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนจอมเทพ การประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว . . . ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย

ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนจอมเทพ การประกอบด้วยความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว . . . ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตก

กายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อนจอมเทพ การประกอบด้วย

ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด . . . ดีนักเพราะเหตุแห่งการประกอบ

ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป

ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระ-

โมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น . . .

ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ-

พุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

โลกสวรรค์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว. . . ดีนัก เพราะเหตุแห่งการ

ประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกใน

โลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว. . . ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตก

กายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า

ใคร่แล้วอันไม่ขาด. . .ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระ-

อริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง

สุคติโลกสวรรค์.

[๕๓๐] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้า

ไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว

ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหา-

โมคคัลลานะได้พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูก่อนจอมเทพ การถึง

พระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขา

เหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ

วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

อันเป็นพิทย์ ดูก่อนจอมเทพ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก เพราะ

เหตุแห่งการถึงพระธรรมเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่น

ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์. การถึงพระสงฆ์เป็น

สรณะ ดีนัก. เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บ้างพวกใน

โลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อม

ครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วย อายุ วรรณะ

สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึง

พระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ประการ คือ สัตว์

อายุ. . .อันเป็นทิพย์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก . . . การถึงพระสงฆ์

เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก

ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่า

นั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือด้วยอายุ วรรณะ

สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์.

[๕๓๑] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ

๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ.

[๕๓๒] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์

เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

แล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหา-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

โมคคัลลานะได้ พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูก่อนจอมเทพ การถึง

พระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วย

อายุ . . . อันเป็นทิพย์. การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก . . . การถึง

พระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์

บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่า

นั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ

อันเป็นทิพย์. ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้

นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก. . .การถึงพระธรรมเป็นสรณะ

ดีนัก . . .การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนักเพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็น

สรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ

คือ ด้วยอายุ . . . อันเป็นทิพย์.

[๕๓๓] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์

เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

แล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหา-

โมคคัลลานะได้พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูก่อนจอมเทพ การประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ . . . เป็นผู้เบิกบานแล้ว

เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย

ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้น ย่อมครอบงำเทวดาพวก

อื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ. . .อันเป็นทิพย์ ดูก่อนจอมเทพ

การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ธรรมอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว . . . ดูก่อนจอมเทพ การประกอบด้วยความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว . . . ดูก่อนจอมเทพ การประกอบด้วยศีล

พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด . . . เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุ

แห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อ

แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำ

เทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ. . . อันเป็นทิพย์

ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การ

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุ

นี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. . .ในพระธรรมว่า พระธรรมอัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว . . . ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว . . . การประกอบด้วยศีลที่พระ-

อริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด . . . เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่ง

การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตก

กายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา

พวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ . . .โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์.

[๕๓๔] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ

๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

[๕๓๕] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๐,๐๐๐ องค์

เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคัลลานะ

แล้ว ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหา-

โมคคัลลานะได้พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูก่อนจอมเทพ การประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น . . . ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว . . . ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี

พระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว . . . การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า

ใคร่แล้ว อันไม่ขาด . . . เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการ

ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย

ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่น

ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่

รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า

ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น . . . ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว . . .

ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว. . .

การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด. . . เป็นไปเพื่อสมาธิ

ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บาง

พวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้น

ย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ . . .

โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์.

จบ สักกสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

อรรถกถาสักกสูตรที่ ๑๐

บทว่า อเวจฺจปฺปสาเทน ได้แก่ ด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว.

บทว่า ทสหิ าเนหิ คือด้วยเหตุ ๑๐. บทว่า อธิคณฺหนฺติ คือ ย่อม

ครอบงำ คือล่วงเกิน. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสักกสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถาโมคคัลลานสังยุต.

๑๑. จันทนสูตร

ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานเถระแสดงธรรมแก่จันทนเทพบุตร

[๕๓๖] ครั้งนั้นแล จันทนเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล สุยาม

เทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล สันตุสิจาเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล สุนิมมิต

เทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล วสวัตตีเทพบุตร ฯลฯ ( เปยยาล ๕ ประการนี้

พึงให้พิสดารเหมือนกับในสักกสูตร )

จบ จันทนสูตรที่ ๑๑

จบ โมคคัลลานสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ

๑. สวิตักกปัญหาสูตร ๒. อวิตักกปัญหาสูตร ๓ สุขปัญหาสูตร

๔. อุเปกขาปัญหาสูตร ๕. อากาสานัญจายตนฌานปัญหาสูตร ๖. วิญญา-

ณัญจายตนฌานปัญหาสูตร ๗. อากิญจัญญายตนฌานปัญหาสูตร ๘. เนว-

สัญญานาสัญญายตนฌานปัญหาสูตร ๙. อนิมิตตปัญหาสูตร ๑๐. สักกสูตร

๑๑. จันทนสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

จิตตคหปติปุจฉาสังยุต

๑. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยสังโยชน์มีอรรถต่างกันเป็นต้น

[๕๓๗] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้

ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเถระมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต

ภายหลังภัตนั่งประชุมสนทนากันที่โรงกลมได้สนทนากันว่า ดูก่อนท่านผู้มี

อายุทั้งหลาย กรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถ

ต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้น

ต่างกัน. บรรดาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือสังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี

มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี

มีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน.

[๕๓๘] ก็สมัยนั้นแล จิตตคฤหบดีได้ไปยังบ้านส่วยชื่อมิคปถกะ

ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้สดับข่าวว่า ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันกลับจาก

บิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันที่โรงกลม ได้สนทนากันว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือสังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี

มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะ

เท่านั้นต่างกัน บรรดาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์

อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวก

พยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์

ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน.

[๕๓๙] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระ ทั้งหลาย

ถึงที่อยู่ไหว้แล้วนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามภิกษุผู้เถระ

ทั้งหลายว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ กระผมได้สดับข่าวว่า ภิกษุผู้เถระ

มากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันที่โรงกรม

ได้สนทนา กันว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี

สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถ

เหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนีย-

ธรรมก็ดี มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า

ก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนีย-

ธรรมก็ดี มีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ดังนี้หรือ ภิกษุ

เหล่านั้นตอบว่า อย่างนั้นคฤหบดี จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถ

ต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน ถ้ากระนั้นกระผมจักอุปมาให้ฟัง เพราะ

วิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตแม้ด้วยข้ออุปมา.

[๕๔๐] ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เปรียบเหมือนโคดำตัวหนึ่ง

โคขาวตัวหนึ่ง เขาผูกด้วยทามหรือเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดแลพึงกล่าว

อย่างนี้ว่า โคดำติดกับโคขาว โคขาวติดกับโคดำ ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูก

ละหรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

ภิ. ไม่ถูก คฤหบดี เพราะโคดำไม่ติดกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่ติด

กับโคดำ ทามหรือเชือกที่ผูกโคทั้งสองนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องผูก.

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล จักษุไม่ติด

กับรูป รูปไม่ติดกับจักษุ ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้ง ๒

นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด หูไม่ติดกับเสียง เสียงไม่ติดกับหู ฉันทราคะที่

เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียงทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด จมูกไม่ติด

กับกลิ่น กลิ่นไม่ติดกับจมูก ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น

ทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ลิ้นไม่ติดกับรส รสไม่ติดกับลิ้น ฉันทราคะ

ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรสทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด กายไม่ติด

กับโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ติดกับกาย ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกาย

และโผฏฐัพพะทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ใจไม่ติดกับธรรมารมณ์

ธรรมารมณ์ไม่ติดกับใจ ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์

ทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด.

ภิ. ดูก่อนคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระ

พุทธพจน์ลึกซึ้ง ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว.

จบ สังโยชนสูตรที่ ๑

อรรถกถาจิตตคหปติปุจฉาสังยุต

อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๑

พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชนสูตรที่ ๑ แห่งจิตตคหปติปุจฉาสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

บทว่า มจฺฉิภาสญฺเฑ คือในราวป่าอันมีชื่ออย่างนี้. บทว่า

อยมนฺตรากถา อุทปาทิ ความว่า พระเถระเก่าย่อมไม่สนทนากันถึง

เดียรัจฉานกถา เมื่อตั้งปัญหาขึ้นในที่นั่งแล้ว พวกไม่รู้ ก็ย่อมถาม พวกที่รู้

ก็ย่อมตอบด้วยเหตุนั้น การสนทนานี้ จึงเกิดขึ้นแล้วแก่พระเถระเหล่านั้น.

บทว่า มิคปถก คือบ้านส่วยของตนอันมีชื่ออย่างนี้ ได้ยินว่า

บ้านส่วยนั้น อยู่หลังอัมพาฏการาม. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า

จิตตคฤหบดีคิดว่า เราแก้ปัญหาของพระเถระทั้งหลายแล้ว จักทำความ

อยู่ผาสุกให้ดังนี้ จึงเข้าไปหา คมฺภีเร พุทฺธวจเน ความว่า ใน

พระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งด้วยอรรถและลึกซึ่งด้วยธรรม. บทว่า ปญฺาจกฺขุ

กมติ ความว่าจักขุคือญาณย่อมหยั่งทราบ คือ ย่อมเป็นไป.

จบ อรรถกถาสังโยชนสูตร

๒. ปฐมิสิทัตตสูตร

ว่าด้วยอิสิทัตตภิกษุพยากรณ์ปัญหา

[๕๔๑] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้

ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุเถระ

เหล่านั้นไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้อาราธนาว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพระเถระทั้งหลาย โปรดรับภัตตาหารของ

กระผมในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ

ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีทราบการรับอาราธนาของภิกษุเถระทั้งหลายแล้ว

ลุกจากที่นั่ง กราบไหว้ กระทำประทักษิณแล้วจากไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

[๕๔๒] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไป เป็นเวลาเช้า ภิกษุ

ผู้เถระทั้งหลายนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร พากันเข้าไปยังนิเวสน์ของจิตต-

คฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้ถวาย ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี

เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า

ความต่างแห่งธาตุ ๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล.

[๕๔๓] เมื่อจิตตคฤหบดีถามอย่างนี้แล้ว พระเถระผู้เป็นประธาน

ได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคฤหบดีได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่

พระเถระผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุ ๆ ดังนี้ ความต่าง

แห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๒

พระเถระผู้เป็นประธานก็ได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคฤหบดีก็ได้ถาม

พระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความ

ต่างแห่งธาตุ ๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วย

เหตุเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๓ พระเถระผู้เป็นประธานก็ได้นิ่งอยู่.

[๕๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าทุกรูปใน

ภิกษุสงฆ์หมู่นั้น ครั้งนั้นแล ท่านอิสิทัตตะได้ขอโอกาสกะพระเถระผู้เป็น

ประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ กระผมขอพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของ

จิตตคฤหบดี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านอิสิทัตตะ เชิญท่านพยากรณ์ปัญหา

ข้อนั้นของจิตตคฤหบดีเถิด.

อิ. ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านกล่าวถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ

คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุ ๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ดังนี้หรือ.

จิตต. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.

อิ. ดูก่อนคฤหบดี ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ดังนี้ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ

โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ

รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ

มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ดูก่อนคฤหบดี ความต่างแห่งธาตุ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยเหตุเท่านี้แล.

[๕๔๕] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของ

ท่านอิสิทัตตะ แล้วได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ให้อิ่มหนำเพียงพอ ด้วย

ขาทนียโภชนียะอันประณีต ด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระ

ทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ลดมือจากบาตรแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป.

ครั้งนั้นแล พระเถระผู้เป็นประธานได้กล่าวกะท่านอิสิทัตตะว่า ดีแล้ว

ท่านอิสิทัตตะ ปัญหาข้อนั้นแจ่มแจ้งกะท่าน มิได้แจ่มแจ้งกะเรา ดูก่อน

ท่านอิสิทัตตะ ต่อไป ถ้าปัญหาเช่นนี้ พึงมีมาแม้โดยประการอื่นในกาลใด

ท่านนั่นแหละพึงกล่าวตอบปัญหาเช่นนั้นในกาลนั้น.

จบ ปฐมอิสิทัตตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

อรรถกถาปฐมอิสิทัตตสูตรที่ ๒

พึงทราบ วินิจฉัยในปฐมอิสิทัตตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อายสฺมนฺต เถร คือ ซึ่งมหาเถระผู้เป็นใหญ่ ในบรรดา

พระเถระเหล่านั้น. บทว่า ตุณฺหี อโหสิ ความว่า พระเถระถึงจะรู้อยู่

ก็ไม่พยากรณ์อะไร ๆ เพราะไม่กล้า. บทว่า พฺยากโรมห ภนฺเต ความว่า

พระอิสิทัตตะคิดว่า พระเถระนี้ ย่อมไม่พยากรณ์ด้วยตน. พระเถระนี้

ย่อมไม่เชื้อเชิญ ฝ่ายอุบาสกย่อมเบียดเบียนภิกษุสงฆ์. เราพยากรณ์ปัญหา

นั้นแล้ว จักทำความอยู่ผาสุกให้ดังนี้ ลุกจากอาสนะไปยังสำนักของพระ-

เถระ ได้ทำโอกาสอย่างนี้แล้ว ฝ่ายพระเถระผู้มีโอกาสอันตนทำแล้วนั่งบน

อาสนะของตน พยากรณ์.

บทว่า สหตฺถา คือด้วยมือของตน. บทว่า สนฺตปฺเปสิ ความว่า

ให้อิ่มหนำด้วยดีตามปรารถนา.

บทว่า สมฺปวาเรสิ ความว่า ให้พระเถระทั้งหลาย ห้ามด้วยหัตถ

สัญญาหรือด้วยวาจาว่า พอ ๆ ดังนี้ บทว่า โอนีตปตฺตปาณิโน ความว่า

นำมือออกจากบาตร ล้างบาตรแล้วจึงเอาใส่ไว้ในถุงคล้องไว้ที่บ่าดังนี้.

จบ อรรถกถาปฐมอิสิทัตตสูตร ที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

ว่าด้วยอิสิทัตตภิกษุพยากรณ์ปัญหา

[๕๔๖] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน

ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระ

ทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้อาราธนา

ว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลายโปรดรับภัตตาหารของ

กระผมในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้ง

นั้นแล จิตตคฤหบดีทราบการรับอาราธนาของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว

ลุกจากอาสนะ ไหว้กระทำประทักษิณแล้วจากไป.

[๕๔๗] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปเป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้เถระ

ทั้งหลาย นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรพากันเข้าไปยังนิเวศน์ของจิตตคฤหบดี

แล้วนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้ถวาย ครั้งนั้นแล จิตดคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุ

ผู้เถระทั้งหลาย ไหว้แล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถาม

พระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างย่อมเกิด

ขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มี

ที่สุดบ้าง ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นบ้าง

สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้ว

ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง ( ก็ทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้ ได้กล่าวไว้ใน

พรหมชาลสูตร ) ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไร

ไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้ จึงไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

[๕๔๘] เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้แล้ว พระเถระผู้เป็น

ประธานได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคฤหบดีได้ถาม

พระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างย่อม

เกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง

โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระก็

เป็นอื่นบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกบ้าง

สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็น

อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง แม้ครั้ง ที่ ๓ พระเถระผู้เป็น

ประธานก็ได้นิ่งอยู่.

[๕๔๙] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าทุกรูปใน

ภิกษุสงฆ์หมู่นั้น. ครั้งนั้นแลท่านพระอิสิทัตตะได้ขอโอกาสกะพระเถระ

เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ กระผมขอพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น

ของจิตตคฤหบดี พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านอิสิทัตตะ ท่านจงพยากรณ์

ปัญหาข้อนั้นของจิตตคฤหบดีเถิด ท่านอิสิทัตตะได้ถามว่า ดูก่อนคฤหบดี

ท่านถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้น

ในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มี

ที่สุดบ้าง ฯลฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไร

ไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี ดังนี้หรือ. จิตตคฤหบดีกล่าวว่า อย่างนั้น

ท่านผู้เจริญ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

อิ. ดูก่อนคฤหบดี ทิฏฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลก

เที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง . . . สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ยอมไม่

เป็นอีกก็หามิได้บ้าง ( ทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้ ได้กล่าวไว้แล้วในพรหมชาลสูตร)

ดูก่อนคฤหบดี เมื่อสักกายทิฏฐิมี ทิฎฐิเหล่านี้ ก็มี เมื่อสักกายทิฏฐไม่มี

ทิฏฐิเหล่านี้ก็ไม่มี.

[๕๕๐] จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สักกายทิฏฐิย่อมเกิดมีได้

อย่างไร.

อิ. ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้า

ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า

ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรม

ของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีรูป ๑ เห็นรูป

ในตน ๑ เห็นตนในรูป ๑ เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมี

เวทนา ๑ เห็นเวทนาในตน ๑ เห็นตนในเวทนา ๑ เห็นสัญญาโดยความ

เป็นตน ๑ เห็นตนมีสัญญา ๑ เห็นสัญญาในตน ๑ เห็นตนในสัญญา ๑

เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีสังขาร ๑ เห็นสังขารในตน ๑

เห็นตนในสังขาร ๑ เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีวิญญาณ ๑

เห็นวิญญาณในตน ๑ เห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูก่อนคฤหบดี สักกายทิฏฐิ

ย่อมเกิดมีได้อย่างนี้แล.

[๕๕๑] จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สักกายทิฏฐิย่อมไม่เกิดมีได้

อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

อิ. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว

ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับแนะนำในธรรม

ของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำ

ในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีรูป ๑

ไม่เห็นรูปในตน ๑ ไม่เห็นตนในรูป ๑ ไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นต้น ๑

ไม่เห็นตนมี เวทนา ๑ ไม่เห็นเวทนาในตน ๑ ไม่เห็นตนในเวทนา ๑

ไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ไม่เห็นสัญญา

ในตน ๑ ไม่เห็นตนในสัญญา ๑ ไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็น

ตนมีสังขาร ๑ ไม่เห็นสังขารในตน ๑ ไม่เห็นตนในสังขาร ๑ ไม่เห็น

วิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ไม่เห็นวิญญาณ

ในตน ๑ ไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูก่อนคฤหบดี สักกายทิฏฐิย่อมไม่เกิด

มีได้อย่างนี้แล.

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอิสิทัตตะมาจากไหน.

อิ. ดูก่อนคฤหบดี อาตมภาพมาจากอวันตีชนบท.

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กุลบุตรมีนามว่าอิสิทัตตะในอวันตีชนบท

เป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกันของข้าพเจ้า ได้ออกบรรพชามีอยู่ พระคุณเจ้า

ได้เห็นท่านหรือไม่.

อิ. ได้เห็น คฤหบดี.

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนั้นอยู่ที่ไหนหนอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

[๕๕๒] เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้ ท่านอิสิทัตตะได้นิ่งอยู่.

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอิสิทัตตะของข้าพเจ้า คือพระคุณเจ้า

หรือ.

อิ. ใช่ละ คฤหบดี.

จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้พระคุณเจ้าอิสิทัตตะจงชอบใจ

อัมพาฏกวันอันเป็นที่รื่นรมย์ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์เถิด ข้าพเจ้าจัก

บำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขาร.

อิ. ดูก่อนคฤหบดี ท่านกล่าวดีแล้ว.

[๕๕๓] ครั้งนั้นแล จิตคฤหบดีชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่าน

พระอิสิทัตตะแล้ว ได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญ ด้วย

ขาทนียโภชนียะอันประณีต ด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระ

ทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ลดมือจากบาตร ลุกขึ้นจากอาสนะกลับไป ลำดับ

นั้นแล พระเถระผู้เป็นประธานได้ให้โอกาสท่านพระอิสิทัตตะว่า ดีแล้ว

ท่านอิสิทัตตะ ปัญหาข้อนั้นแจ่มแจ้งกะท่าน มิได้แจ้งแจ้งกะผม ต่อไป

ถ้าปัญหาเช่นนี้พึงมีมาแม้โดยประการอื่นในกาลใด ท่านนั้นแหละพึงกล่าว

ตอบปัญหาเช่นนั้นในกาลนั้น ครั้งนั้นแล ท่านอิสิทัตตะได้เก็บเสนาสนะ

ถือเอาบาตรและจีวร เดินทางออกจากราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ไม่ได้กลับมา

อีก เหมือนกับภิกษุรูปอื่นที่ได้ออกเดินทางจากไป.

จบ ทุติยอิสิทัตตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

อรรถกถาทุติยอิสิทัตตสูตรที่ ๓

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอิสิทัตตสูตรที่ ๓ ตังต่อไปนี้

บทว่า อวนฺติยา คือในอวันตีชนบท. บทว่า กลฺยาณ วุจฺจติ

ความว่า ท่านอิสิทัตตะย่อมกล่าวด้วยประสงค์ว่า ข้าแต่อุบาสกอุบาสิกา

ทั้งหลาย คำอันหมดโทษ ไม่มีโทษ อันท่านกล่าวว่าข้าพเจ้าจักบำรุงด้วย

ปัจจัยทั้งหลาย ๔.

จบ อรรถกถาทุติอิสิทัตตะสูตรที่ ๓

๔. มหกสูตร

ว่าด้วยอิทธาภิสังขาร

[๕๕๔] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราว

ป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย

ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้อาราธนาว่า ข้าแต่ท่าน

ทั้งหลายผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลายจงรับภัตตาหารที่โรงโคของข้าพเจ้า

ในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล

จิตตคฤหบดีทราบการรับอาราธนาของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว ลุกจากที่

นั่งไหว้ทำประทักษิณแล้วจากไป.

[๕๕๕] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไป เป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้

เถระทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังโรงโคของจิตตคฤหบดี ได้

นั่ง ณ อาสนะที่ได้ตกแต่งไว้ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี ได้อังคาสภิกษุผู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

เถระทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญเพียงพอ ด้วยข้าวปายาสเจือด้วยเนยใส

อย่างประณีต ด้วยมือของตนเอง ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายฉันเสร็จ

แล้ว ลดมืดจากบาตร ลุกจากอาสนะแล้วจากไป แม้จิตตคฤหบดีได้สั่งทาส

กรรมกรว่า พวกท่านจงทิ้งส่วนที่เหลือเสีย แล้วจึงได้ตามไปส่งภิกษุผู้เถระ

ทั้งหลายข้างหลัง ๆ ก็โดยสมัยนั้นแล ได้เกิดร้อนจัด ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย

ได้เดินไปด้วยกายที่คล้ายกับจะหดเข้าฉะนั้น ( จะเปื่อย ) ทั้งที่ได้ฉัน

โภชนะอิ่มแล้ว.

[๕๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหกะเป็นผู้อ่อนกว่าทุกรูป

ในภิกษุสงฆ์หมู่นั้น ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้พูดกะพระเถระผู้เป็น

ประธานว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เป็นการดีทีเดียวที่พึงมีลมเย็นพัดมา และ

พึงมีแดดอ่อน ทั้งฝนพึงโปรยลงมาทีละเม็ด ๆ พระเถระกล่าวว่า ท่านมหกะ

เป็นการดีทีเดียวที่พึงมีลมเย็นพัดมา และพึงมีแดดอ่อน ทั้งฝนพึงโปรย

ลงมาทีละเม็ดๆ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้บันดาลอิทธาภิสังขารให้มี

ลมเย็นพัดมา และมีแดดอ่อน ทั้งให้มีฝนโปรยลงมาทีละเม็ด ๆ.

[๕๕๗] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้คิดว่า ภิกษุผู้อ่อนกว่าทุกรูป

ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ เป็นผู้มีฤทธานุภาพเห็นปานนี้ทีเดียว ครั้งนั้นแล ท่าน

พระมหกะไปถึงอารามแล้ว ได้ถามพระเถระผู้เป็นประฐานว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ การบันดาลอิทธาภิสังขารเท่านี้เป็นการเพียงพอหรือ. พระเถระ

ผู้เป็นประธานได้กล่าวว่า ท่านมหกะ การบันดาลอิทธาภิสังขารเท่านี้เป็น

การเพียงพอ ท่านมหกะ การบันดาลอิทธาภิสังขารเพียงเท่านี้ เป็นอันเรา

ทำแล้ว เป็นอันเราบูชาแล้ว. ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้ไปตาม

ที่อยู่ แม้ท่านมหกะก็ได้ไปยังที่อยู่ของตน ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีเข้าไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

หาท่านพระมหกะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ขอร้องว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้ามหกะจงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์

ที่เป็นอุตตริมนุสสธรรมแก่ข้าพเจ้าเถิด. ท่านพระมหกะพูดว่า ดูก่อนคฤหบดี

ถ้าเช่นนั้น ท่านจงปูผ้าห่มที่ระเบียง แล้วจงเอาฟ่อนหญ้ามาโปรยลงที่ผ้า

นั้น. จิตตคฤหบดีได้รับคำท่านพระมหกะแล้วจึงปูผ้าห่มที่ระเบียง แล้วเอา

ฟ่อนหญ้ามาโปรยลงที่ผ้านั้น.

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้เข้าไปสู่วิหารใส่ลูกดานแล้วบันดาล

อิทธาภิสังขารให้เปลวไฟแลบออกมาโดยช่องลูกดานและระหว่างลูกดาน

ไหม้หญ้า ไม่ไหม้ผ้าห่ม. ครั้งนั้น จิตตคฤหบดีได้สลัดผ้าห่มแล้ว สลดใจ

(ตกใจ ) ชนลุกชัน ได้ยินอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้นแล

ท่านพระมหกะได้ออกจากวิหาร ได้ถามจิตตคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี

การบันดาลอิทธาภิสังขารเท่านี้ เป็นการเพียงพอหรือ. จิตตคฤหบดีได้

กล่าวว่า ท่านมหกะผู้เจริญ การบันดาลอิทธาภิสังขารเท่านี้เป็นการเพียงพอ

ท่านมหกะผู้เจริญ การบันดาลอิทธาภิสังขารเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านกระทำ

แล้ว เป็นอันท่านบูชาแล้ว ขอพระคุณเจ้ามหกะจงชอบใจอัมพาฏกวนาราม

ที่น่ารื่นรมย์ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์เถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ. และคิลานเภสัชบริขาร. ท่านพระมหกะได้กล่าวว่า ดูก่อน

คฤหบดี นั้นท่านกล่าวดีแล้ว ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้เก็บเสนาสนะ

ถือบาตรและจีวรเดินทางออกจากราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ ไม่ได้กลับมาอีก

เหมือนกับภิกษุรูปอื่น ๆ ที่เดินทางจากไป ฉะนั้น.

จบ มหกสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

อรรถกถามหกสูตรที่ ๔

พึงทราบวินิจฉัยในมหกสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า เสสก วิสฺสชฺเชถ ความว่า ได้ยินว่าพวกอุบาสกและ

อุบาสิกากับด้วยพระเถระทั้งหลายนั้นแล เช็ดถาดสัมฤทธิ์แล้วคดข้าวปายาส

ให้แก่จิตตคฤหบดีนั้น จิตตคฤหบดีนั้นบริโภคข้าวปายาสเสร็จแล้ว ใคร่

จะไปกับด้วยพระเถระทั้งหลายนั้นแล จึงคิดว่า อุบาสิกาจัดส่วนที่-

เหลืออยู่ในเรือนก่อน ส่วนทาสและกรรมกรในเรือนนี้ ไม่ถูกเราว่าแล้ว

จักในช่วยจัด ข้าวปายาสอันประณีตนี้ จักเสียไปด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้

เมื่ออนุญาต จึงกล่าวอย่างนี้ แก่พระเถระเหล่านั้น. บทว่า กุฏฺิต

คือ แห้ง อธิบายว่า ข้างล่างร้อนจัดด้วยทรายร้อนและข้างบนร้อนจัด

ด้วยแดด ก็บทนี้เป็นบทไม่เจือปนในพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก.

บทว่า ปเวลิยมาเนน คือความหดหู่. บทว่า สาธุ ขฺวสฺส ภนฺเต ความว่า

พระมหกะคิดว่า เราจักทำความอยู่ผาสุกแก่พระเถระเหล่านั้น จึงกล่าว

อย่างนี้.

บทว่า อิทฺธาภิสงฺขาร อภิสงฺขริ ได้แก่ ได้บันดาลฤทธิ์ด้วยการ

อธิษฐาน. ในการบันดาลฤทธิ์นี้ ย่อมมีบริกรรมต่าง ๆ อย่างนี้ว่า ขอลม

เย็นอ่อน ๆ จงพัดมา ขอฝนตั้งเค้าแล้ว จงโปรยลงมาทีละเม็ด ๆ ดังนี้

การอธิษฐานรวมกันอย่างนี้ว่า ขอฝนพร้อมด้วยลม จงตกเถิดดังนี้ก็มี

การอธิษฐานต่าง ๆ ว่า บริกรรมรวมกันว่า ขอฝนพร้อมด้วยลม จงตกเถิด

ขอลมเย็นอ่อน ๆ จงพัดมา ขอฝนตั้งเค้าแล้ว จงโปรยลงมาทีละเม็ดๆ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

ดังนี้ก็มี การบริกรรมต่าง ๆ การอธิษฐานต่าง ๆ การบริกรรมรวมกัน

การอธิษฐานรวมกันก็มี โดยนัยอันกล่าวแล้วแล. ก็เมื่อบุคคลกระทำอย่างใด

อย่างหนึ่ง ออกจากฌานอันเป็นบาททำบริกรรมแล้ว การอธิษฐานนั้น ย่อม

สำเร็จด้วยจิตอธิษฐานอันเป็นมหัคคตะเท่านั้นโดยระหว่างแห่งบริกรรม.

บทว่า โอกาเสสิ คือ กระจายออกแล้ว.

จบ อรรถกถามหกสูตรที่ ๔

๕. ปฐมกามภูสูตร

ว่าด้วยรถคือร่างกาย

[๕๕๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า

มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่

ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระกามภูได้กล่าวกะ

จิตตคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประพันธ์คาถา

ไว้ดังนี้ว่า

เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลา

เดียว ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแส

ตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน.

[ ๕๕๙ ] ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงเห็นเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อโดยพิสดารอย่างไรหนอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

จิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คาถาประพันธ์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หรือ

กา. อย่างนั้น คฤหบดี.

จิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านโปรดรอคอยอยู่ครู่หนึ่ง

จนกว่ากระผมจักเพ่งเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นั้นได้.

ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง จึงได้ตอบท่านกามภูว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ. คำว่า ไม่มีโทษนั้น เป็นชื่อของศีล คำว่า มีหลังคา

ขาวนั้น เป็นชื่อของวิมุตติ คำว่า มีเพลาเดียวนั้น เป็นชื่อของสติ คำว่า

ย่อมแล่นไปนั้น เป็นชื่อของการก้าวไปและการถอยกลับ คำว่า รถนั้น

เป็นชื่อของร่างกายนี้ ซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดน

เกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องลูบไล้ นวดเฟ้น

มีการแตกทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ราคะ

โทสะ โมหะ ชื่อว่าทุกข์ ทุกข์เหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัด

มูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น

อีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ไม่มีทุกข์. คำว่า แล่นไปถึงที่หมาย นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์.

คำว่า กระแสนั้น เป็นชื่อของตัณหา ตัณหานั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละ

ได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำได้เป็นเหมือนดาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี

ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพละ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตัณหากระแสตัณหาขาด ราคะ โทสะ โมหะ

ชื่อว่ากิเลส. เครื่องผูกพัน กิเลสเครื่องผูกพันเหล่านั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี

ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพละ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

คาถาประพันธ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลา

เดียว ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแส

ตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่องผูกพัน ดังนี้.

กระผมย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้ ที่พระผู้มีพระ-

พระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อได้โดยพิสดารอย่างนี้.

กา. ดูก่อนคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระ-

พุทธพจน์ที่ลึกซึ้งนี้ ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว.

จบ ปฐมกามภูสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมกามภูสูตรที่ ๕

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมกามภูสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า เนลงฺโค คือไม่มีโทษ. บทว่า เสตปจฺฉาโท คือมี

หลังคาข่าว. บทว่า อนีฆ คือไม่มีทุกข์. บทว่า มุหุตฺต ตุณฺหี หุตฺวา

ความว่า จิตตคฤหบดี เมื่อยังพระไตรปิฎกให้หวั่นไหวเพื่อเพ่งเนื้อความแห่ง

บทว่า เนลงฺโค นั้น เหมือนให้เขย่าต่างหูที่หู จึงนิ่งอยู่ครู่หนึ่งเพื่อพิจารณา

ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งบทนี้. บทว่า วิมุตฺติยา คือ อรหัตตผลวิมุตติ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

ก็อุบาสก เมื่อกล่าวปัญหานี้ ได้ทำสิ่งที่ทำได้ยาก. ส่วนพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ตรัสด้วยสิ่งที่พระองค์ทรงเห็นแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายไม่เห็นภิกษุนั้น ขาว บอบบาง จมูกโด่ง มาหรือ แต่จิตต-

คฤหบดีนี้ กล่าวแล้วว่า นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์ โดยให้ถือเอานัย.

จบ อรรถกถาปฐมกามภูสูตร

๖. ทุติยกามภูสูตร

ว่าด้วยสังขาร ๓

[๕๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า

มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่

ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระกามภูว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมีเท่าไรหนอแล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูก่อน

คฤหบดี สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร.

[๕๖๑] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม

อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน.

กา. ดูก่อนคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่า

กายสังขาร วิตกวิจารชื่อว่า วจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่า จิตตสังขาร.

[๕๖๒] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว

ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้า

และลมหายใจออกจึงชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญา

และเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

กา. ดูก่อนคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิด

ที่กาย ธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเช้าและลมหายใจออก

จงชื่อว่ากายสังขาร. บุคคลย่อมตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง

ฉะนั้น วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร. สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต

ธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วยจิต. ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร.

[๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม

ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ เกิด

มีได้อย่างไร.

กา. ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เรากำลังเข้าสัญญา

เวทยิตนิโรธบ้าง เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง โดยที่ถูก ก่อนแต่

จะเข้า ท่านได้อบรมจิตที่จะน้อมไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

[๕๖๔] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว

ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิต-

นิโรธอยู่ ธรรมเหล่าไหนดับก่อน คือ กายสังขาร วจีสังขาร หรือ

จิตตสังขารดับก่อน.

กา. ดูก่อนคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขาร

ดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ.

[๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว

ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว

กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

กา. ดูก่อนคฤหบดี คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขาร

ดับสงบ มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไปไออุ่นสงบ

อินทรีย์แตกกระจาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโร กายสังขารดับสงบ

วจีสังขารดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ ( แต่ ) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่น ยังไม่สงบ

อินทรีย์ผ่องใส ดูก่อนคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาลแล้ว กับภิกษุผู้เข้า

สัญญาเวทยิตนิโรธมีความต่างกันอย่างนี้.

ว่าด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

[๕๖๖] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วได้

ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การออกจากสัญญาเวทยิต-

นิโรธสมาบัติ ย่อมมีอย่างไร.

กา. ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

ไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เรากำลัง

ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ

สมาบัติแล้วบ้าง โดยที่แท้ ก่อนแต่จะออก ท่านได้อบรมจิตที่น้อมเข้าไป

เพื่อความเป็นอย่างนั้น.

[๕๖๗] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว

ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญา

เวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนเกิดก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร

หรือจิตตสังขารเกิดก่อน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

กา. ดูก่อนคฤหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

จิตตสังขารเกิดก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้นวจีสังขาร

จึงเกิด.

[๕๖๘] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม

ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุ

ผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

กา. ดูก่อนคฤหบดี ผัสสะ ๓ อย่างคือ สุญญผัสสะ ๑ อนิมิตตผัสสะ ๑

อัปปณิหิตผัสสะ ๑ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

[๕๖๙] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม

ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญา-

เวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่อะไร โน้มไปสู่อะไร

เงื้อมไปสู่อะไร.

กา. ดูก่อนคฤหบดีจิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก โอนไปสู่วิเวก.

[๕๗๐] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม

อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภูแล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ก็ธรรมเท่าไร ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธ

สมาบัติ.

กา. ดูก่อนคฤหบดี ท่านถามปัญหาที่ควรจะถามก่อนล่าช้าไปหน่อย

แต่ว่าอาตมาจักพยากรณ์ปัญหาแก่ท่าน ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๒ อย่าง คือ

สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ.

จบ ทุติยกามภูสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

อรรถกถาทุติยกามภูสูตรที่ ๖

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยกามภูสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กติ นุโข ภนฺเต สงฺขารา ความว่า ได้ยินว่า คฤหบดี

ย่อมค้นหานิโรธ เพราะฉะนั้น จึงคิดว่าเราจักถามสังขารทั้งหลายอันเป็น

บาทแห่งนิโรธ จึงได้กล่าวอย่างนี้. แม้พระเถระก็รู้ความประสงค์ของ

คฤหบดีนั้นแล้ว เมื่อสังขารหลายอย่างมีบุญญาภิสังขารเป็นต้น แม้มีอยู่

เมื่อจะบอกกายสังขารเป็นต้น จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า ตโย โข คหปติ.

บรรดาบทเหล่านั้น ชื่อว่า กายสังขาร เพราะอรรถว่า อันกาย

ปรุงแต่งให้เกิด เพราะเนื่องด้วยกาย. ชื่อว่า วจีสังขาร เพราะอรรถว่า

ปรุงแต่งวาจา กระทำให้เกิด. ชื่อว่า จิตตสังขาร เพราะอรรถว่าอันจิต

ปรุงแต่งให้เกิด เพราะเนื่องด้วยจิต. ในบทว่า กตโม ปน ภนฺเต นี้

คฤหบดีได้ถามอย่างไร ได้ถามว่า สังขารทั้งหลายเหล่านี้ คลุกเคล้ากัน

และกัน มัว ไม่ปรากฏชัด แสดงยาก.

จริงอย่างนั้น เจตนา ๒๐ ที่เป็นกุศลและอกุศลอย่างนี้ คือกามาวจร-

กุศลเจตนา ๘ ดวง อันเกิดขึ้นแล้วให้ถึงการยึด การถือ การปล่อย การไหว

ในกายทวาร, อกุศลเจตนา ๑๒ ดวงก็ดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกก็ดี

ท่านเรียกว่า กายสังขาร. เจตนา ๒๐ ดวงก็ดี วิตกวิจารก็ดี ซึ่งมีประการ

ดังกล่าวอันเกิดขึ้นให้ถึงคางไหวเปล่งวาจาในวจีทวาร ท่านเรียกว่า วจี-

สังขาร. แม้ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ คือแม้เจตนา ๒๙ ดวงที่เป็นกุศลและ

อกุศลอันเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นิ่งคิดอยู่ในที่ลับยังไม่ถึงการไหวในกายทวารและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

วจีทวาร และธรรม ๒ อย่างเหล่านี้คือ สัญญาและเวทนา ท่านเรียกว่า

จิตตสังขาร. สังขารเหล่านี้ คลุกเคล้ากันและกัน มัว ไม่ปรากฏชัด

แสดงยาก. เราจักกล่าวสังขารเหล่านั้นให้ปรากฏแจ่มแจ้งด้วยประการฉะนี้.

ในบทว่า กสฺมา ปน ภนฺเต นี้ คฤหบดี ย่อมถามเนื้อความ

แห่งบทของชื่อมีกายสังขารเป็นต้น. ในการตอบเนื้อความบทนั้น บทว่า

กายปฏิพทฺธา คือธรรมเหล่านี้ อาศัยกาย เมื่อกายมี ธรรมเหล่านี้ ก็มี

เมื่อกายไม่มี ธรรมเหล่านี้ก็ไม่มี. บทว่า จิตตปฏิพทฺธา คือ ธรรมเหล่านี้

อาศัยจิต เมื่อจิตมี ธรรมเหล่านี้ก็มี เมื่อจิตไม่มี ธรรมเหล่านี้ก็ไม่มี

บัดนี้ เมื่อถามเพื่อจะรู้ว่า ท่านกามภูนั้น ย่อมค้นหาซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธ

หรือไม่ค้นหา เป็นผู้ชำนาญหรือไม่ชำนาญในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น จึง

ถามว่า กถมฺปน ภนฺเต สญฺาเวทยิตนิโรธสมาปตฺติ โหติ. ในการ

ตอบสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น. ด้วยสองบทว่า สมาปชฺชิสฺสนฺติ วา

สมาปชฺชามีติ วา เป็นอันท่านกล่าวถึงเวลาเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ.

ด้วยบทว่า สมาปนฺโน คือท่านกล่าวถึงภายในนิโรธ. ด้วยสองบทก่อนนั้น

ท่านกล่าวถึงเวลามีวิตก. ด้วยบทหลังท่านกล่าวถึงเวลาไม่มีวิตก

บทว่า ปุพฺเพว ตถา จิตฺต ภาวต โหติ ความว่า การกำหนด

เวลาว่า เราไม่มีจิต จักอยู่ได้ตลอดเวลาประมาณเท่านี้ ในเวลาก่อนแต่จะ

ออกจากนิโรธสมาบัติ ก็กำหนดเวลาได้เหมือนกัน. บทว่า จิตฺต ภาวิต

โหติ ยนฺต ตถตฺตาย อุปเนติ ความว่า ส่วนจิตที่ท่านอบรมอย่างนี้แล้ว

ย่อมนำบุคคลนั้นเข้าไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น คือเพื่อความไม่มีจิต.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

บทว่า วจีสงฺขาโร ปม นิรุชฺณติ ความว่า วจีสังขาร ย่อมดับในทุติยฌาน

ก่อนกว่าสังขารที่เหลือ. บทว่า ตโต กายสงฺขาโร คือต่อจากนั้น

กายสังขารจึงดับในจตุตถฌาน. บทว่า ตโต ปร จิตฺตสงฺขาโร คือ

ต่อจากนั้น จิตตสังขาร จึงดับในภายในนิโรธสมาบัติ.

บทว่า อายุ คือรูปชีวิตินทรีย์. บทว่า วิปริภินฺนานิ คือ ถูกกำจัด

พินาศไปแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น อาจารย์บางพวก ย่อมกล่าวว่า เมื่อเข้า

นิโรธแล้ว จิตย่อมไม่ดับ เพราะบาลีว่า จิตตสังขารดับ เพราะฉะนั้น

ก็สมาบัตินี้ ก็ยังมีจิตอยู่. อาจารย์บางพวกเหล่านั้น พึงถูกท้วงว่า วาจา

ก็ไม่ดับ เพราะบาลีว่า วจีสังขารของเขาต่างหากดับ เพราะฉะนั้น ผู้เข้า

นิโรธแล้ว พึงนั่งกล่าวธรรมอยู่ก็มี พึงนั่งสาธยายอยู่ก็มี. จิตก็ไม่ดับ

เพราะบาลีว่า คนนี้ตายแล้ว ทำกาละแล้ว จิตตสังขารของเขาต่างหากดับ

เพราะฉะนั้น เมื่อเผามารดาบิดาก็ดี พระอรหันต์ก็ดี ที่ตายแล้ว จึงเป็น

อนันตริยกรรม ไม่พึงยึดพยัญชนะจนเกินไป ดำรงอยู่ในข้อแนะนำของ

อาจารย์ทั้งหลาย พิจารณาถึงเนื้อความด้วยประการฉะนี้. ด้วยว่า เนื้อความ

เป็นที่พึ่งได้ พยัญชนะไม่ได้.

บทว่า อินฺทฺริยานิ วิปฺปสนฺนานิ ความว่า ก็เมื่อความประพฤติ

สำเร็จด้วยกิริยาเป็นไปอยู่ อารมณ์ทั้งหลาย ในภายนอก กระทบอยู่ที่

ประสาททั้งหลาย อินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมเหน็ดเหนื่อย. อินทรีย์ทั้งหลาย

อันถูกกระทบแล้ว ย่อมเป็นเหมือนเปื้อน, เหมือนกระจก อันเขาตั้งไว้

ในทางใหญ่ ๔ แพร่ง ย่อมเปื้อนด้วยธุลีเกิดแต่ลมเป็นต้นฉะนั้น. เปรียบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

เหมือนกระจก อันเขาใส่ไว้ในถุงเก็บไว้ในหีบเป็นต้น ย่อมใสแจ๋วอยู่

ภายในเท่านั้นฉันใด เมื่อภิกษุเข้านิโรธแล้ว ประสาท ๕ ย่อมรุ่งเรือง

ยิ่งนักในภายในนิโรธฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อินฺทฺริยานิ

วิปฺปสนฺนานิ อินทรีย์ผ่องใส.

ท่านกล่าวถึงเวลาอยู่ภายในนิโรธ ด้วยสองบทว่า วุฏฺหิสฺสนฺติ

วา วุฏหามิ วา ท่านกล่าวถึงเวลาผลสมาบัติเกิด ด้วยบทว่า วุฏฺิโต.

ท่านกล่าวถึงเวลาไม่มีจิตด้วยสองบทก่อนนั้น. ด้วยบทหลังท่านกล่าวถึงเวลา

มีจิต. บทว่า ปุพฺเพ จ ตถา จิตฺต โหติ ความว่าท่านได้อบรมจิต

อันกำหนดเวลาได้ว่า เราเป็นผู้ไม่มีจิต จักอยู่ได้ตลอดเวลาประมาณเท่านี้

ต่อแต่นั้น จักเป็นผู้มีจิต ในเวลาก่อนแต่จะออกจากนิโรธสมาบัติ ก็กำหนด

เวลาได้. บทว่า ยนฺต ตถตฺตาย อุปเนติ ความว่า จิตที่ท่านอบรม

อย่างนี้แล้ว ย่อมนำบุคคลนั้นเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น คือความเป็น

ผู้มีจิต. ท่านกล่าวเวลาเข้านิโรธไว้ในหนหลังแล้วด้วยประการฉะนี้. ใน

ที่นี้ ท่านกล่าวเวลาออกจากนิโรธ.

บัดนี้ ท่านพึงกล่าวนิโรธกถาว่าวาทะ เพื่อจะกล่าวนิโรธกถา. ก็

นิโรธกถานี้นั้น ท่านตั้งเป็นหัวข้อว่า ปัญญาที่อบรมจนชำนาญ ด้วยการ

สงบระงบสังขาร ๓ เพราะประกอบด้วยพละ ๒ ด้วยความประพฤติใน

ญาณ ( ญาณจริยา ) ๑๖ ด้วยความประพฤติในสมาธิ ( สมาธิจริยา ) ๙

เป็นญาณในนิโรธสมาบัติ ซึ่งกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค โดยอาการทั้งปวง

แล้ว เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยนัยอันกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรค

นั้นนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

ถามว่า ชื่อว่านิโรธนี้ อย่างไร.

ตอบว่าการพิจารณาขันธ์ ๔ แล้ว ไม่เป็นไป. ถามว่า เมื่อเป็น

เช่นนั้น พวกภิกษุ ย่อมเข้านิโรธนั้น เพื่อประโยชน์อะไร. ตอบว่า

ย่อมเข้าเพื่อประโยชน์นี้ว่า พวกเรา ( เคย ) เป็นผู้กระสันในความเป็นไป

แห่งสังขารทั้งหลาย ( บัดนี้ ) จักเป็นผู้ไม่มีจิตอยู่เป็นสุขตลอด ๗ วัน

นิโรธนี้ ชื่อว่า ทิฎฐธรรมนิพพาน-นิพพานในปัจจุบัน.

บทว่า จิตฺตสงฺขาโร ปม อุปฺปชฺชติ ความว่า ก็เมื่อภิกษุ

ออกจากนิโรธ จิตคือผลสมาบัติ ย่อมเกิดขึ้นก่อน. ท่านกามภูหมายถึง

สัญญาแลเวทนา อันสัมปยุตด้วยจิตคือผลสมาบัตินั้นแล้ว จึงกล่าวว่า

จิตฺตสงฺขาโร ปม อุปฺปชฺชติ บทว่า ตโต กายสงฺขาโร ความว่า

ต่อจากนั้น กายสังขาร ย่อมเกิดขึ้นในภวังคสมัย.

ถามว่า ก็ผลสมาบัติ ย่อมไม่ยังลมหายใจเข้าและหายใจออกให้ตั้ง

ขึ้นหรือ ตอบว่า ให้ตั้งขึ้น. แต่ว่าผลสมาบัติ ของภิกษุประกอบด้วย

จตุตถฌาน ผลสมาบัตินั้น จึงไม่ยังลมอัสสาสปัสสาสะให้ตั้งขึ้น ประโยชน์

อะไรด้วยลมอัสสาสปัสสาสะนั้น ผลสมาบัติถึงจะมีในปฐมฌานก็ตาม จะมี

ในทุติยฌาน ตติยฌานและจตุตถฌานก็ตาม จงยกไว้. เมื่อภิกษุออกจาก

สมาบัติแล้ว ลมอัสสาสปัสสาสะ. ย่อมเป็นอัพโพหาริก ( มีเหมือนไม่มี ).

ความที่ลมอัสสาสปัสสาสะเหล่านั้น เป็นอัพโพหาริก พึงทราบได้ด้วยเรื่อง

ของพระสัญชีวเถระ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

เมื่อพระสัญชีวเถระ ออกจากสมาบัติแล้ว เหยียบย่ำ เดินไปบน

ถ่านเพลิงปราศเปลวไฟเช่นดอกทองกวาว แม้สักว่าเปลวไฟก็ไม่ไหม้จีวร

แม้สักว่าอาการแห่งไออุ่น ก็ไม่มี. เกจิอาจารย์ ย่อมกล่าวว่า นั้นชื่อว่า

ผลของสมาบัติ. ท่านหมายอย่างนี้แล จึงกล่าวว่า เมื่อภิกษุออกจากผลสมาบัติ

ลมอัสสาสปัสสาสะ ก็เป็นอัพโพหาริก เพราะเหตุนั้นนั่นพึงทราบว่า ท่าน

กล่าวด้วยภวังคสมัยเท่านั้น.

บทว่า ตโต วจีสงฺขาโร ความว่า ต่อจากนั้น วจีสังขาร ย่อม

เกิดขึ้นในเวลาค้นหาความประพฤติที่สำเร็จด้วยกิริยา. ถามว่าภวังค์ ย่อม

ไม่ยังวิตกวิจารให้เกิดขึ้นหรือ ตอบว่า ให้เกิดขึ้น. แต่วิตกวิจารอันมีภวังค์

นั้นเป็นสมุฏฐาน ย่อมไม่สามารถเพื่อจะปรุงแต่งวาจาได้ ดังนั้น คำนั้น

ท่านกล่าวด้วยเวลาค้นหาความประพฤติสำเร็จด้วยกิริยา.

ผัสสะ ๓ มีเป็นอาทิว่า สุญฺโต ผสฺโส พึงกล่าวโดยมีคุณบ้าง

โดยอารมณ์บ้าง ผลสมาบัติ ชื่อว่า สุญฺตา โดยมีคุณก่อน ท่านกล่าวว่า

สุญญผัสสะหมายถึง ผัสสะที่เกิดพร้อมด้วยผลสมาบัตินั้น แม้ในอนิมิตต-

ผัสสะ และอัปปณิหิตผัสสะ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ส่วน นิพพาน ชื่อว่า สุญญะเพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น

โดยอารมณ์ ชื่อว่าอนิมิต เพราะไม่มีราคนิมิต เป็นต้น ชื่อว่า อัปปณิ-

หตะ เพราะไม่มัที่ตั้งแห่งราคะ โทสะและโมหะ. การถูกต้องในผลสมาบัติ

อันเกิดขึ้น ชื่อว่าสุญญตะ เพราะทำสุญญตนิพพานให้เป็นอารมณ์. ใน

อนิมิตตะและอัปปณิหิตะ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

ชื่อว่ากถาเป็นที่มา มีอีกอย่างหนึ่ง. ส่วนแม้วิปัสสนา ท่านก็เรียกว่า

สุญญตะ อนิมิตตะและอัปปณิหิตะ. บรรดาบทเหล่านั้น ภิกษุใด กำหนด

สังขารทั้งหลายโดยความเป็นของไม่เที่ยง เห็นโดยความไม่เที่ยง ย่อมออก

จากความไม่เที่ยง วิปัสสนา อันเป็นวุฏฐานคามินีของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่า

อนิมิตะ ภิกษุใดกำหนดโดยความเป็นทุกข์เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อม

ออกจากความทุกข์ วิปัสสนาของภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าอัปปณิหิตะ ภิกษุใด

กำหนดโดยความเป็นอนัตตา เห็นโดยความเป็นอนัตตาย่อมออกจากความ

เป็นอนัตตา วิปัสสนาของภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าสุญญตะ บรรดาบทเหล่านั้น

มรรคของอนิมิตตวิปัสสนา ชื่อว่า อนิมิต, ผลของอนิมิตตมรรค ชื่อว่า

อนิมิต, เมื่อผัสสะที่เกิดพร้อมกับอนิมิตตผลสมาบัติถูกต้องอยู่ ท่านเรียกว่า

อนิมิตตผัสสะ ย่อมถูกต้อง. แม้ในอัปปณิหิตะและสุญญตะ ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน. เมื่อท่านกล่าว โดยเป็นที่มา พึงถึงความกำหนดว่า สุญญต-

ผัสสะ อนิมิตตผัสสะ หรืออัปปณิหิตผัสสะ เพราะฉะนั้น ผู้ดำรงอยู่

โดยที่เป็นที่มา พึงกล่าวโดยมีคุณ และโดยอารมณ์. ก็ผัสสะทั้งหลาย ๓

ย่อมถูกต้องอย่างนี้ดังนั้น จึงเหมาะสม.

นิพพานชื่อว่าวิเวกในบทเป็นอาทิว่า วิเวกนินฺน ชี่อว่า วิเวก

นินนะ เพราะอรรถว่า น้อมไป คือ โน้มไปในวิเวกนั้น. บทว่า วิเวก

โปณ ชื่อว่า วิเวกโปณะ เพราะอรรถว่า ดำรงอยู่ดุจความคดด้วยเหตุ

แห่งวิเวกซึ่งมาจากอื่น. ชื่อว่า วิเวกปพฺภาร เพราะอรรถว่าดำรงอยู่เป็น

ดุจตกไปด้วยเหตุแห่งวิเวก.

จบ อรรถกถาทุติยกามภูสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

๗. โคทัตตสูตร

ว่าด้วยวิมุตติ ๔

[๕๗๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระโคทัตตะอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า

มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระโคทัตตะถึงที่อยู่

ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระโคทัตตะได้ถาม

จิตตคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมเหล่านี้ คือ อัปปมาณาเจโตวิมุตติ

อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ สัญญตาเจโตวิมุตติ และอนิมิตตาเจโต-

วิมุตติ มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถ. เหมือนกัน

ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น. จิตตคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปริยาย

ที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็นธรรมมีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ

ต่างกัน มีอยู่ และปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็นธรรม

มีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น มีอยู่.

[๕๗๒] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้

อาศัยแล้ว เป็นธรรมมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันเป็นไฉน

ข้าแต่ท่านผ้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไป

ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือน กัน โดยนัยนี้ ทั้ง

เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่

ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วย

กรุณา. . .ประกอบด้วยมุทิตา . . .ประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน

เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทำสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน

ด้วย ใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ

มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เรียกว่า

อัปปมาณาเจโตวิมุตติ.

[๕๗๓] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ เป็นไฉน.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน

โดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ

หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ อยู่ นี้เรียกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ.

[๕๗๔] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สุญญตาเจโตวิมุตติเป็นไฉน. ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดีาม อยู่โคนต้นไม้ก็ตาม

อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ตาม ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ ว่า นี้ว่างเปล่าจากตน

หรือจากสิ่งที่เนื่องในตน เรียกว่า สุญญตาเจโตวิมุตติ.

[๕๗๕] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็อนิมิตตาเจโตวิมุตติเป็นไฉน. ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าถึงอนิมิตตาเจโตวิมุตติเพราะไม่

มนสิการถึงนิมิตทั้งปวงอยู่ นี้เรียกว่า อนิมิตตาเจโตวิมุตติ ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ นี้คือปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถต่างกัน

และมีพยัญชนะต่างกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

[๕๗๖] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้

อาศัยแล้ว มีอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นเป็นไฉน

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากิเลสตัวกระทำประมาณ

กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำไห้เป็น

เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา อัปป-

มาณาเจโตริมุตติอันไม่กำเริบมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุตติบัณฑิตกล่าวว่า

เป็นเลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุตติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ นั้น

ว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าเป็นกิเลส

เครื่องกังวล กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาด

แล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป

เป็นธรรมดา อากิญจัญญาเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบมีประมาณเท่าใด เจโต.

วิมุตติบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าอากิญจัญญาเจโตวิมุตติเหล่านั้น ก็เจโต-

วิมุตติอันไม่กำเริบนั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ

ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่องกระทำนิมิต ( เครื่องหมาย ) กิเลสเหล่านั้นอัน

ภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอด

ด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา. อนิมิตตาเจโตวิมุตติอัน

ไม่กำเริบมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุตติบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าอนิมิต-

ตาเจโตวิมุตติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุตติอันไม่กำเริบนั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ

โมหะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปริยายนี้เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มี

อรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ท่านพระโคทัตตะ

กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธ-

พจน์ที่ลึกซึ้ง ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว.

จบ โคทัตตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

อรรถกถาโคทัตตสูตรที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในโคทัตตสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า นานตฺถา เจว นานาพฺยญฺชนา จ คือแม้พยัญชนะแห่ง

ธรรมเหล่านั้นต่างกัน แม้อรรถก็ต่างกัน. บรรดาบทเหล่านั้นธรรมชื่อว่า

ปรากฏ เพราะพยัญชนะต่างกัน. ส่วนอรรถ อัปปมาณาเจโตวิมุตติ

โดยภูมิ เป็นมหัคคตะ เป็นรูปาวจร โดยอารมณ์มีสัตวบัญญติ เป็นอารมณ์

อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ โดยภูมิเป็นมหัคคตะ เป็นอรูปาวจร โดยอารมณ์

มีอารมณ์ไม่พึงกล่าวฐคือบัญญัติ )สุญญตาเจโตวิมุตติโดยภูมิเป็นกามาวจร

โดยอารมณ์มีสังขารเป็นอารมณ์ ส่วนวิปัสสนา ท่านประสงค์ว่า สุญญตา

ในที่นี้. อนิมิตตาเจโตวิมุตติ โดยภูมิ เป็นโลกุตตระ โดยอารมณ์

มีนิพพานเป็นอารมณ์.

ในบทเป็นอาทิว่า ราโค โข ภนฺเต ปมาณกรโณ ชื่อว่าน้ำ

ในเกวียนมีใบไม้เน่ามีสีดำอยู่ที่เชิงเขา เมื่อมองดูย่อมปรากฏ เหมือนน้ำลึก

ร้อยวา เมื่อถือเอาไม้หรือเชือกวัด น้ำเพียงท่วมหลังเท้าก็ไม่ได้ฉันใด.

ตลอดเวลาที่ราคะเป็นต้นยังไม่เกิดขึ้นใครๆ ย่อมไม่สามารถจะรู้จักบุคคลได้

เขาย่อมปรากฏ คล้ายโสดาบัน คล้ายสกทาคามี คล้ายอนาคามี แต่เมื่อใด

ราคะเป็นต้นเกิดขึ้นแก่เขา เมื่อนั้น เขาปรากฏว่า กำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง

ฉันนั้นเหมือนกัน. ชื่อว่าการทำประมาณเหล่านั้น ท่านกล่าวว่า เมื่อแสดง

ประมาณแก่บุคคลว่า บุคคลนี้มีประมาณเท่านี้ ย่อมเกิดขึ้น. บทว่า ยาวตา

โข ภนฺเต อปฺปมาณา เจโตวิมุตติ โดยความว่าอัปปมาณาเจโตวิมุตติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

มีประมาณเท่าใด. ถามว่า ก็อัปปมาณาเจโตวิมุตติเหล่านั้นมีเท่าไร. ตอบว่า

มี ๑๒ คือพรหมวิหาร ๔ มรรค ๔ ผล ๔. ใน ๑๒ อย่างนั้น พรหมวิหาร

ชื่อว่า อัปปมาณา เพราะแผ่ไปหาประมาณมิได้. ธรรมที่เหลือ( มรรค

และผล)พึงทราบดังนี้ แม้นิพพานก็ชื่อว่า อัปปมาณา เหมือนกัน เพราะ

ความที่แห่งกิเลสทั้งหลายตัว ทำประมาณไม่มี. แต่ไม่ชื่อว่า เจโตวิมุตติเพราะ

ฉะนั้น จึงไม่ถือเอา บทว่า อกุปฺปา คืออรหัตตผลเจโตวิมุตติ. ก็อรหัตผล

เจโตวิมุตตินั่น เป็นหัวหน้าธรรมทั้งหมดแห่งอัปปมาณาเจโตวิมุตติเหล่านั้น

เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อคฺคมกฺขายติ. บทว่าราโค โข ภนฺเต กิญฺจน

ความว่า ราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมกังวลย่ำยี ย่อมผูกพันบุคคลไว้เพราะฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า กิญฺจน กิเลสเครื่องกังวล. ได้ยินว่า พวกมนุษย์ให้โค

ทั้งหลายย่ำเหยียบลานจะพูดว่า แดงวนไป ดำวนไปพึงทราบว่าราคะมีอรรถ

ว่าย่ำยี มีอรรถว่ากังวล. แม้ในโทสะและโมหะก็มีนัยนี้เหมือนกัน

ธรรม ๙ คืออกิญจัญญายตนะ ๑ มรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่าอกิญ-

จัญญาเจโตวิมุตติ. ในธรรมเหล่านั้น อากิญจัญญายตนะ ชื่อว่า อากิญ-

จัญญะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวลเป็นอารมณ์. มรรคและผล ชื่อว่า

อากิญจัญญะ เพราะกิเลสเครื่องกังวลคือกิเลสเป็นเครื่องย่ำยีและเป็น

เครื่องผูกไม่มี นิพพานก็เป็น อากิญจัญญะ แต่ไม่ใช่เจโตวิมุตติ เพราะฉะ-

นั้นท่านจึงไม่ถือเอาบทเป็นอาทิว่า ราโค โข ภนฺเต นิมิตฺตกรโณ

ความว่า สองตระกูล มีลูกโคสองคู่เหมือน ๆ กัน บุคคลย่อมไม่สามารถ

จะรู้ได้ว่า นี้ลูกโคของตระกูลโน้น นี้ลูกโคของตระกูลโน้น ตลอดเวลา

ที่เขายังไม่ทำเครื่องหมายไว้ที่ลูกโคเหล่านั้น แต่เมื่อใดเขาทำเครื่องหมาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

อย่างใดอย่างหนึ่งมีหลาว ๓ แฉกเป็นต้น ที่ลูกโคเหล่านั้น เมื่อนั้น

บุคคลย่อมสามารถรู้ได้ฉันใด ตลอดเวลาที่ราคะยังไม่เกิดขึ้นแก่บุคคล

บุคคลย่อมไม่สามารถเพื่อจะรู้ได้ว่า เขาเป็นพระอริยะ หรือปุถุชน ต่อเมื่อ

ราคะเกิดขึ้นแก่เขา ย่อมเกิดขึ้นเหมือนทำเครื่องหมายอันให้รู้ได้ว่า บุคคลนี้

ชื่อว่า ยังมีราคะอยู่ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวราคะว่าเป็นตัวทำนิมิต.

แม้ในโทสะและโมหะก็มีนัยนี้ เหมือนกัน.

ธรรม ๑๓ คือวิปัสสนา ๑ อรูป ๔ มรรค ๔ ผล ๔ ชื่อว่า

อนิมิตตาเจโตวิมุตติ. ในธรรม ๑๓ นั้น วิปัสสนา ชื่อว่า อนิมิตตะ

เพราะอรรถว่าเพิกถอนนิมิตว่าเที่ยงเป็นสุข เป็นตนเสียได้ อรูป ๔ ชื่อว่า

อนิมิต เพราะไม่มีรูปนิมิต. มรรคและผล ชื่อว่า อนิมิต เพราะไม่มีกิเลส

เป็นตัวกระทำนิมิต. แม้นิพพาน ก็เป็นอนิมิตเท่านั้น. แต่ท่านไม่ถือเอา

นิพพานนั้น เพราะไม่ใช่เจโตวิมุตติ. ถามว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร

ท่านจึงไม่ถือเอา สุญญตาเจโตวิมุตติ. ตอบว่า สุญญาตาเจโตวิมุตตินั้น ไม่จัด

เข้าในธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น ท่านแยกไว้ไม่ถือเอา เพราะบาลีว่า

สุญฺา ราเคน เป็นอาทิ. บทว่า เอกตฺถา ความว่า มีอรรถอย่างเดียวกัน

ด้วยสามารถแห่งอารมณ์. ก็บทเหล่านั้น คือ อัปปมาณะ อากิญจัญญะ

สุญญตะ อนิมิตตะ ทั้งหมด เป็นชื่อของนิพพานนั้นเอง. โดยปริยาย

อย่างนี้ จึงมีอรรถเป็นอันเดียวกัน. แต่พยัญชนะต่างกัน โดยปริยายนี้ว่า

ก็ในที่แห่งหนึ่ง เป็นอัปปมาณา ในที่แห่งหนึ่งเป็นอากิญจัญญา ในที่

แห่งหนึ่งเป็นสุญญตา ในที่แห่งหนึ่งเป็นอนิมิตตา.

จบ อรรถกถาโคทัตตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

๘. นิคัณฐสูตร

ว่าด้วยปัญหา ๑๐ ข้อของนิครณฐนาฏบุตร

[๕๗๗] ก็สมัยนั้นแล นิครณฐนาฏบุตรได้ไปถึงราวป่าชื่อว่า

มัจฉิกาสณฑ์พร้อมด้วยนิครณฐ์บริษัทเป็นอันมาก. จิตตคฤหบดีได้สดับ

ข่าวว่า นิครณฐนาฎบุตรได้มาถึงราวป่าชื่อว่ามัจฉิกาสณฑ์พร้อมด้วย

นิครณฐ์บริษัทเป็นอันมาก. ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีพร้อมด้วยอุบาสก

หลายคนเข้าไปหานิครณฐนาฏบุตรแล้ว ได้ปราศรัยกับนิครณฐนาฏบุตร

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงได้นั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วนิครณฐนาฏบุตรได้ถามจิตตคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี

ท่านย่อมเชื่อต่อพระสมณโคดมว่า สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจารมีอยู่ ความดับ

วิตกวิจารมีอยู่หรือ. จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ได้เชื่อต่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ในข้อนี้ว่า สมาธิอันไม่มีวิตกวิจารมีอยู่ ความดับแห่ง

วิตกวิจารมีอยู่.

[๕๗๘] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครณฐนาฏบุตร

แลดูบริษัทของตนแล้วจึงประกาศว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงดูเรื่องนี้ จิตต-

คฤหบดีนี้ เป็นคนตรงไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาจริงเพียงใด. จิตตคฤหบดีผู้เข้าใจ

ว่า พึงมีการดับวิตกวิจารนั้น ก็เท่ากับว่าเข้าใจว่า พึงกั้นกางลมได้ด้วยข่าย

หรือจิตตคฤหบดีผู้เข้าใจว่า พึงมีการดับวิตกวิจารนั้น ก็เท่ากับว่าเข้าใจว่า

พึงกั้นกางกระแสน้ำคงคาได้ด้วยฝ่ามือของตน จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ท่าน

ผู้เจริญ ท่านย่อมเข้าใจเป็นไฉน คือ ญาณกับศรัทธาอะไรประณีตกว่ากัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

นิครณฐ. ดูก่อนคฤหบดี ญาณนั่นแหละประณีตกว่าศรัทธา.

จิตต. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราสงัด

จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจารมีปีติและสุขอัน

เกิดแต่วิเวกอยู่ ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าทุติยฌาน ฯลฯ

เพราะวิตกวิจารสงบไป ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เพราะปีติสิ้นไป

ฯลฯ เข้าตติยฌาน ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าจตุตถฌาน.

ฯลฯ เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้. ท่านผู้เจริญ

ข้าพเจ้ารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จักไม่เชื่อสมณะหรือพราหมณ์ได้ ๆ ว่าสมาธิอันไม่

มีวิตกวิจารมีอยู่ ความดับแห่งวิตกวิจารมีอยู่.

[๕๗๙] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครณฐนาฏบุตรได้

แลดูบริษัทของตนแล้วจึงประกาศว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงดูเรื่องนี้ จิตต-

คฤหบดีนี้ เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยาจริงเพียงใด จิตดคฤหบดีกล่าวว่า

ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าทราบคำที่ท่านพูดเมื่อสักครู่นี้แหละว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลายจงดูเรื่องนี้ จิตตคฤหบดีนี้เป็นคนตรง ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาจริง

เพียงใด และทราบคำที่ท่านพูดเดี๋ยวนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงดูเรื่องนี้

จิตตคฤหบดีนั้นเป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยาจริงเพียงใด ถ้าคำพูดครั้งก่อน

ของท่านเป็นจริง คำพูดครั้งหลังของท่านก็ผิด ถ้าคำพูดครั้งหลังของท่าน

เป็นจริง คำพูดครั้งก่อนของท่านก็ผิด ก็ปัญหาที่มีเหตุผล ๑๐ ข้อนี้ย่อม

มาถึงแก่ท่าน เมื่อท่านเข้าใจเนื้อความแห่งปัญหาเหล่านั้น ก็เชิญบอกกับ

นิครณฐ์บริษัท. ปัญหา ๑๐ ข้อนี้ คือ ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑

ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕

ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗

ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙

ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ครั้นจิตตคฤหบดีได้ถามปัญหาที่มี

เหตุผล ๑๐ ข้อนี้กะนิครณฐนาฏบุตรเสร็จแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป.

จบ นิคัณฐสูตรที่ ๘

อรรถกถานิคัณฐสูตรที่ ๘

พึงทราบวินิจฉัยในนิคัณฐสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า ถามว่า จิตตคฤหบดี เป็นอริย

สาวก ชั้นอนาคามีบุคคล ผู้มีอาคมอันถึงแล้ว รู้คำสอนแจ่มแจ้งแล้ว เหตุไร

จึงเข้าไปหานิครนถ์เปลือยกายไม่มีมิ่งขวัญเล่า. ตอบว่า เพื่อปลดเปลื้อง

การว่าร้าย และเพื่อความรุ่งเรื่องวาทะ. ได้ยินว่า พวกนิครนถ์ ย่อมเข้าไป

ว่าร้ายว่า พวกสาวกของสมณโคดมเป็นเช่นตอไม้ตะเคียนอันแข็ง ย่อมไม่

ทำปฏิสันถารกับใครเลย จิตตคฤหบดี เข้าไปหาแล้ว เพื่อปลดเปลื้องการว่า

ร้ายนั้น และคิดว่า เราจักยกวาทะกับนิครนถ์นั้นดังนี้. บทว่า น ขฺวาห

เอตฺถ ภนฺเต ภควโค สทฺธาย คจฺฉามิ ท่านแสดงว่า บุคคลใด

ย่อมไม่ทำให้แจ้งด้วยญาณ บุคคลนั้น พึงไปด้วยความเชื่อต่อบุคคลอื่นว่า

ได้ยินว่า สิ่งนั้น เป็นอย่างนั้น แต่สิ่งนั้น อันเราทำให้แจ้งแล้วด้วยญาณ.

เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า จึงไม่เชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ในข้อนี้ดังนี้

จึงกล่าวอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

บทว่า อปโลเกตฺวา ความว่า น้อมกายเข้าไป ยืดท้อง ชูคอ

เพ่งดูไปในทิศทั้งปวง. บทว่า พาเธตพฺพ มญฺเยฺย ความว่า จิตตะ-

คฤหบดีนั้น พึงเข้าใจว่า พึงห้ามลม หรือพึงผูกไว้ด้วยตาข่าย โดยประการ

ที่ลมจะออกไปไม่ได้ฉะนั้น.

บทว่า สหธมฺมิกา คือพร้อมด้วยเหตุ. บทว่า ปม ปฏิหเรยฺยาสิ

สทฺธึ นิคฺคณฺปริสาย ความว่า เมื่อท่านรู้เนื้อความแห่งปัญหาเหล่านั้น

แล้ว พึงบอกกับนิครนถ์บริษัทก่อน ท่านมายังสำนักของเราผู้สนับสนุน

แล้ว พึงประกาศให้บริษัทรู้ว่าตนมาแล้ว ดังนี้. บทว่า เอโก ปญฺโห

คือมรรคปัญหาหนึ่ง. อธิบายว่า การแสวงหาปัญหาหนึ่ง. บทว่า เอโก

อุทฺเทโส คือ อะไร ชื่อว่าหนึ่ง. หนึ่งนี้ คืออุเทศ. บทว่า เอก พฺยากรณ

ความว่า คำนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ชื่อว่า

ไวยากรณ์หนึ่ง. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงอย่างนี้.

จบ อรรถกถานิคัณฐสูตรที่ ๘

๙. อเจลสูตร

ว่าด้วยอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัสสนะ

[๕๘๐] ก็สมัยนั้นแล อเจลกัสสปได้เคยเป็นสหายของจิตต-

คฤหบดี เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้ไปถึงราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ จิตตคฤหบดี

ได้สดับข่าวว่า อเจลกัสสปผู้เคยเป็นสหายของเราเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์

ได้มาถึงราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาอเจล-

กัสสปแล้ว ได้ปราศรัยกับอเจลกัสสป ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

กันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามอเจลกัสสปว่า

ท่านกัสสปผู้เจริญ ท่านบวชมานานเท่าไร อเจลกัสสปตอบว่า ดูก่อน

คฤหบดี เราบวชมาได้ประมาณ ๓๐ ปี.

จิตต. ท่านผู้เจริญ ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรม

อะไร ๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ อันท่านบรรลุแล้ว

เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก มีอยู่หรือ.

. ดูก่อนคฤหบดี ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรม

อะไร ๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ อันเราบรรลุแล้ว

เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก ไม่มี นอกจากการประพฤติเปลือย การเป็นคน

โล้น และการปัดฝุ่น.

[๕๘๑] เมื่ออเจลกัสสปกล่าวอย่างนี้ จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า

ท่านผู้เจริญ ความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว น่าอัศจรรย์

จริง ไม่เคยมีมาแล้วหนอ เพราะในอเจลบรรพชาตลอดเวลา ๓๐ ปี

อุตตริมนุสสธรรมอะไร ๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์

เป็นธรรมอันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก ไม่มี นอกจากการ

ประพฤติเปลือย การเป็นคนโล้น และการปัดฝุ่น.

. ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกมาแล้วนาน

เท่าไร.

จิตต. ท่านผู้เจริญ สำหรับข้าพเจ้าได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกมา

แล้ว ๓๐ ปี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

. ดูก่อนคฤหบดี ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรม

อะไร ๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ อันท่านบรรลุแล้ว

เป็นธรรมเครื่องอยู่ผาสุก มีอยู่หรือ.

จิตต. ท่านผู้เจริญ แม้คฤหัสถ์ก็พึงมีธรรมเช่นนั้นได้ เพราะ

ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม.

เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้าพเจ้าย่อม

จำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าทุติยฌาน . . . ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียว

ว่า มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป

เข้าตติยฌาน . . . ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าจตุตถฌาน . . .

ก็แหละข้าพเจ้าพึงพยากรณ์ก่อนพระผู้มีพระภาคเจ้าไซร้ ก็จะไม่เป็นการ

น่าอัศจรรย์ สำหรับข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงพยากรณ์ ข้าพเจ้า

ว่า ไม่มีสังโยชน์ที่จิตตคฤหบดีประกอบแล้ว (มีแล้ว) จะพึงเป็นเหตุให้

กลับมาสู่โลกนี้อีก.

[๕๘๒] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ อเจลกัสสปได้กล่าวว่า

ท่านผู้เจริญ ความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว น่าอัศจรรย์

จริงไม่เคยมีมาแล้วหนอ เพราะในพระธรรมวินัยมีคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มขาว จัก

บรรลุอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์

เป็นเครื่องอยู่ผาสุกเช่นนั้น ดูก่อนคฤหบดี ข้าพเจ้าพึงได้บรรพชาอุปสมบท

ในพระธรรมวินัยนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้พาเอาอเจลกัสสปเข้าไปหาภิกษุผู้เถระ

ถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อเจลกัสสปผู้นี้เคยเป็นสหาย

ของข้าพเจ้าเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ขอพระเถระทั้งหลายจงให้อเจลกัสสป

ผู้นี้บรรพชาอุปสมบทเถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงเธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนา-

สนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร. อเจลกัสสปได้บรรพชาอุปสมบทใน

พระธรรมวินัยแล้ว. ท่านพระอเจลกัสสปอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออก

จากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่กระทำให้แจ้ง

ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็น

บรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่รู้

ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น

เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระอเจลกัสสปได้เป็นพระอรหันต์

องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ อเจลสูตรที่ ๙

อรรถกถาอเจลสูตรที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในอเจลสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.

บทว่า กีวจิร ปพฺพชิโต ความว่า เวลานานเท่าไร. บทว่า

อุตฺตริมนุสฺสธมฺโม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า มนุสสธรรม. ยิ่ง

กว่ามนุสสธรรมนั้นชื่อว่าอุตตริมนุสสธรรม. บทว่า อลมริยญาณทสฺสน-

วิเสโส ความว่า ญาณทัสสนวิเศษกล่าวคือ อลมริยธรรมเพราะสามารถ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

เพื่อทำความเป็นอริยะ. บทว่า นคฺเคยฺย คือจากความเป็นคนเปลือย บทว่า

มุญฺเฑยฺย คือจากความเป็นคนโล้น. บทว่า วาฬนิปฺโปตนาย คือจาก

การปัดฝุ่น อธิบายว่า เมื่อเขานั่งที่พื้นดิน ก็แต่เพียงถือแซ่หางนกยูงเพื่อ

ปัดฝุ่นธุลีและทรายที่ติดอยู่ใกล้ที่นั่ง.

จบ อรรถกถาอเจลสูตรที่ ๙

๑๐. คิลานสูตร

ว่าด้วยพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ

[๕๘๓] ก็สมัยนั้นแล จิตตคฤหบดีป่วย เป็นทุกข์ มีไข้หนัก

ครั้งนั้นแล อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา ( และ ) เทวดาที่สิงสถิต

อยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้ มาร่วมประชุมกันแล้วกล่าวกับจิตต

คฤหบดี ว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงปรารถนาว่า ขอให้เราเป็นพระเจ้า

จักรพรรดิราชในอนาคตเถิด. เมื่อพวกเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว จิตตคฤหบดี

จึงได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า แม้การเป็นเช่นนั้นก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่

ยั่งยืน จำจะต้องละไป.

[๕๘๔] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกมิตรสหายญาติ

สาโลหิตของจิตตคฤหบดีได้กล่าวกะจิตตคฤหบดีว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตร

นาย ท่านจงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป.

จิตต. ฉันได้พูดอะไรออกไปบ้างหรือ ที่เป็นเหตุให้พวกท่าน

ทั้งหลายกล่าวกะฉันอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ท่านจงตั้งสติไว้

อย่าเพ้อไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

มิตร. ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ท่านได้พูดอย่างนี้ว่า แม้การเป็น

เช่นนั้น ก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะต้องละไป.

จิตต. จริงอย่างนั้น อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ)

เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้ ได้กล่าวกะเราอย่างนี้

ว่า ดูก่อนคฤหบดีท่านจงตั้งปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ-

ราชในอนาคตกาล ฉันจึงได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า แม้การเป็นเช่นนั้น

ก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะต้องละไป.

มิตร. ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ก็อารามเทวดา วนเทวดา รุกข

เทวดา (และ) เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้เหล่านั้น

เห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงได้กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงปรารถนา

ว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในอนาคตเถิด.

จิตต. อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา ( และ ) เทวดาที่

สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้เหล่านั้น มีความคิดอย่างนี้ว่า

จิตตคฤหบดีผู้นี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าเธอจักปรารถนาว่า ขอให้เรา

ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในอนาคตไซร้ การปรารถนาด้วยใจของเธอผู้

มีศีลนี้จักสำเร็จได้เพราะศีลบริสุทธิ์ ผู้ประกอบด้วยธรรมย่อมเพิ่มกำลังให้ผู้

ที่ประกอบด้วยธรรม อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา ( และ ) เทวดา

ที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้เล่านั้น เห็นอำนาจประโยชน์

ดังกล่าวมานี้ จึงได้กล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงปรารถนาว่าขอให้เราได้

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในอนาคตเถิด ฉันจึงได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้น

ว่า แม้การเป็นเช่นนั้นก็ เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะต้องละไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

มิตร. ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงกล่าวสอน

พวกข้าพเจ้าบ้าง.

[๕๘๕] จิตต. ฉะนั้น พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเรา

จักประกอบด้วยศรัทธาอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึง

พร้อมด้วยวิชชาและจรณะเสด็จไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่

ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้

เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พวกเราจักประกอบด้วยศรัทธาอันไม่

หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้

ปฏิบัติ จะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก ให้มาดู ควรน้อมเข้ามา

อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน พวกเราจักประกอบด้วยศรัทธาอันไม่หวั่นไหว

ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ นี่คือคู่แห่งบุรุษ ๔ ได้แก่บุรุษ

บุคคล ๘ นี้คือ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรของคำนับ

เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี

เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งใหญ่ไปกว่า. อนึ่ง ไทยธรรมทุกชนิด

ในตระกูล จักเป็นของควรแบ่งกับท่านผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม พวกท่าน

พึงศึกษาอย่างนี้แล ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี ครั้นแน่ะนำมิตรสหายญาติ

สาโลหิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และจาคะแล้ว

ได้กระทำกาละ.

จบ คิลานสูตรที่ ๑๐

จบ จิตตตหปติปุจฉา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

อรรถกถาคิลานสูตรที่ ๑๐

พึงทราบวินิจฉัยในคิลานสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อารามเทวดา ความว่า พวกเทพยดา ผู้สิงอยู่ในสวนดอกไม้

และในสวนผลไม้. บทว่า วนเทวดา คือเทพยดาผู้สิงอยู่ในไพรสัณฑ์

บทว่า รุกฺขเทวดา ความว่า เวสสวัณเทวดา ในกาลแห่งพระเจ้ามัตตราช

พวกเทพดา ผู้สิงอยู่ในต้นไม้เหล่านั้นอย่างนี้ บทว่า โอสธิติณวนปฺปติ

ความว่า พวกเทพดา ผู้สิงอยู่บนต้นสมอไทยและมะขามป้อมเป็นต้น

บนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้องเป็นต้น และบนต้นไม้เจ้าป่า บทว่า

สงฺคมฺม คือประชุมพร้อมกันแล้ว. บทว่า สมาคมฺม คือมาพร้อมกัน

แล้วแต่ที่นั้น ๆ บทว่า ปณิเธหิ ความว่า ท่านจงตั้งด้วยสามารถความ

ปรารถนา บทว่า อิชฺฌิสฺสติ สีลวโต เจโตปณิธิ ความว่า ความ

ปรารถนาแห่งจิต จักสำเร็จ แก่เธอผู้มีศีล. บทว่า ธมฺมิโก ผู้ประกอบ

ด้วยกุศลธรรม ๑๐ คือไม่ถึงอคติ. บทว่า ธมฺมราชา เป็นไว้พจน์ของ

บทว่า ธมฺมิโก นั่นแหละ. อนึ่ง ชื่อว่า ธรรมราชา เพราะราชสมบัติ

อันพระองค์ทรงได้แล้ว โดยธรรม. บทว่า ตสฺมา ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็น

บุตรนายถ้าอย่างนั้น ขอท่านทั้งหลาย จงกล่าวสอนพวกข้าพเจ้า ด้วยโอวาท

เป็นต้นเถิด. บทว่า อปฺปฏิวิภตฺต ความว่า ไทยธรรมอันแบ่งกันแล้วอย่าง

ี้ว่า พวกเราจักถวายสิ่งนี้แก่พวกภิกษุ เราจักบริโภคสิ่งนี้ด้วยตนดังนี้

จักเป็นของทั่งไป กับด้วยพวกภิกษุด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาคิลานสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถาจิตตคหปติปุจฉาสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังโยชนสูตร ๒. ปฐมอิสิทัตตสูตร ๓. ทุติยอิสิทัตตสูตร

๔ มหกสูตร ๕. ปฐมกามภูสูตร ๖. ทุติยกามภูสูตร ๗. โคทัตตสูตร

๘. นิคัณฐสูตร ๙. อเจลสูตร ๑๐. คิลานสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

๘. คามณิสังยุต

๑. จัณฑสูตร

ว่าด้วยคนดุและคนสงบเสงี่ยม

[๕๘๖] ครั้งนั้นแล นายจัณฑคามณีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็น

ปัจจัยทำให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ถึงความนับว่า เป็นคนดุ เป็นคนดุ

ก็อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้บุคคลบางคนในโลกนี้ถึงความนับ

เป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนสงบเสงี่ยม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนนายคามณี คนบางคนในโลกนี้ยังละราคะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละ

ราคะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธ คนที่ยังละราคะไม่ได้เมื่อถูกคนอื่นยั่ว

ให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ. คน

บางคนในโลกนี้ยังละโทสะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโทสะไม่ได้ คนอื่นจึง

ยั่วให้โกรธ คนที่ยังละโทสะไม่ได้เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดง

ความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่าเป็นคนดุ. คนบางคนในโลกนี้ยังละ

โมหะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละโมหะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธ คนที่ยัง

ละโมหะไม่ได้ ถูกคนอื่นยั่วให้โกรธย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้น

จึงนับได้ว่าเป็นคนดุ ดูก่อนนายคามณี นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้คน

บางคนในโลกนี้ถึงความนับว่าเป็นคนดุ เป็นคนดุดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

[๕๘๗] ดูก่อนนายคามณี อนึ่ง คนบางคนในโลกนี้ละราคะได้

แล้ว เพราะเป็นผู้ละราคะได้ คนอื่นยั่วก็ไม่โกรธ คนที่ละราคะได้แล้ว

ถูกคนอื่นยั่วให้โกรธก็ไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่า เป็น

คนสงบเสงี่ยม. คนบางคนในโลกนี้ละโทสะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละโทสะ

ได้ คนอื่นยั่วก็ไม่โกรธ คนที่ละโทสะได้แล้วถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่

แสดงความโกรธ ให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม คนบางคน

ในโลกนี้ละโมหะได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละโมหะได้ คนอื่นยั่วไม่ได้

คนที่ละโมหะได้แล้วถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ก็ไม่แสดงความโกรธปรากฏ

ผู้นั้นจึงนับได้ว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม. ดูก่อนนายคามณี นี้เป็นเหตุเป็น

ปัจจัยทำให้คนบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่า เป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นต้น

สงบเสงี่ยมดังนี้.

[๕๘๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายจัณฑคามณี

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศหา

ของพระองค์ แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนง่าย

ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกหนทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีป

ในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์

ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก

ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบ จัณฑสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

อรรถกถาคามณิสังยุต

อรรถกถาจัณฑสูตรที่ ๑

คามณิสังยุตจัณฑสูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า จณฺโฑ คามณี ความว่า นายบ้านคนหนึ่ง ที่พระธรรม

สังคาหกเถระ เรียกชื่อว่า จัณฑะ. ด้วยบทว่า ปาตุกโรติ ท่านแสดงว่า

เขาทะเลาะก็ทะเลาะตอบ เขาด่าก็ด่าตอบ เขาประหารก็ประหารตอบ

ชื่อว่าทำให้ปรากฏ. ด้วยบทว่า น ปาตุกโรติ ท่านแสดงว่า แม้ถูกด่า

ก็ไม่ทำตัวเป็นข้าศึกอะไร ๆ.

จบ อรรถกถาจัณฑสูตรที่ ๑

๒. ตาลปุตตสูตร

ว่าด้วยปัญหาของนักเต้นรำชื่อว่าตาลบุตร

[๕๘๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์. ครั้งนั้น พ่อบ้านนักเต้นรำ

นามว่า ตาลบุตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เคยได้ยินคำของ

นักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า นักเต้นรำคนใด

ทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง ทำเท็จบ้าง กลางสถานเต้นรำ

กลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

แห่งเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างไร. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถามข้อนี้

กะเราเลย.

[๕๙๐] แม้ครั้งที่ ๒ . . . . แม้ครั้งที่ ๓ พ่อบ้านนักเต้นรำนามว่า

ตาลบุตร ก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ-

องค์เคยได้ยินคำของนักเต้นรำ ผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวว่า

นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง

ในท่ามกลางสถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกาย

ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาผู้ร่าเริง ในข้อนี้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสอย่างไร.

[๕๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนายคามณี เราห้าม

ท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายคามณี ขอพักข้อนี้เสียเถิด ท่านอย่าถาม

ข้อนี้กะเราเลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน ดูก่อนนายคามณี เมื่อก่อนสัตว์

ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ อันกิเลสเครื่องผูกคือราคะผูกไว้ นักเต้นรำ

รวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในท่ามกลางสถาน

เต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น. เมื่อก่อน

สัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโทสะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโทสะผูกไว้ นัก-

เต้นรำรวบรวมเข้าไว้ซึ่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ

ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น. เมื่อก่อนสัตว์

ทั้งหลายยังไม่ปราศจากโมหะ อันกิเลสเครื่องผูกคือโมหะผูกไว้ นักเต้นรำ

ย่อมรวบรวมไว้ซึ่งธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในท่ามกลางสถานเต้นรำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

ในท่ามกลางสถานมหรสพ แก่สัตว์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น นักเต้นรำนั้น

ตนเองก็มัวเมาประมาท ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อแตกกายตายไป ย่อม

บังเกิดในนรกชื่อปหาสะ. อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักเต้นรำ

คนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลาง

สถานเต้นรำ ในท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อม

เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาสะ. ความเห็นของเขานั้นเป็นความ

เห็นผิด. ดูก่อนนายคามณี ก็เราย่อมกล่าวคติสองอย่างคือ นรกหรือกำเนิด

สัตว์เดียรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด

[๕๙๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พ่อบ้านนัก-

เต้นรำนามว่าตาลบุตร ร้องไห้สะอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนนายคามณี เราได้ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลย นายคามณี

ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้กะเราเลย.

คามณี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้ร้องไห้ถึงข้อที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่าข้าพระองค์ถูก

นักเต้นรำผู้เป็นอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ ล่อลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า

นักเต้นรำคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริง ด้วยคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ใน

ท่ามกลางสถานมหรสพ ผู้นั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็น

สหายของเทวดาชื่อปหาสะ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของ

พระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระ-

องค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย

ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทางหรือตามประทีบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

ในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรมและภิกษสงฆ์ว่าเป็น

สรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า นายนฏคามณีนามว่าตาลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ท่านพระตาลบุตรอุปสมบทไม่นาน หลีกออกจาก

หมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่ ฯลฯ ก็แลท่าน

พระตาลบุตรเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ ตาลปุตตสูตรที่ ๒

อรรถกถาตาลปุตตสูตรที่ ๒

ในตาลปุตตสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ตาลปุตฺโต คือเขามีชื่ออย่างนั้น. เล่ากันมาว่า นายบ้าน

นักฟ้อนรำคนนั้น มีผิวพรรณผ่องใสเหมือนลูกตาลสุกที่หลุดจากขั้ว. ด้วย

เหตุนั้น คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อเขาว่า ตาลบุตร. นายตาลบุตรผู้นี้นั้น

เขาถึงพร้อมด้วยอภินิหาร ( บุญเก่า ) เป็นบุคคลเกิดในภพสุดท้าย (ไม่ต้อง

เกิดอีก ). แต่เพราะธรรมดาปฏิสนธิ เอาแน่นอนไม่ได้ เหมือนท่อนไม้

ที่ขว้างไปในอากาศ ฉะนั้น นายตาลบุตรนี้จึงบังเกิดในตระกูลนักฟ้อนรำ

พอเจริญวัยก็เป็นยอดทางนาฏศิลปศิลปฟ้อนรำ มีชื่อกระฉ่อนไปทั่วชมพู-

ทวีป. เขามีเกวียน ๕๐๐ เล่ม มีหญิงแม่บ้าน ๕๐๐ คนเป็นบริวาร

แม้เขาก็มีภรรยาจำนวนเท่านั้น ดังนั้นเขาจึงพร้อมด้วยหญิง ๑,๐๐๐ คน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

และเกวียน ๑,๐๐๐ เล่ม อยู่อาศัยนครหรือนิคมใด ๆ ประชาชนในนคร

หรือนิคมนั้น ๆ พากันให้ทรัพย์แสนหนึ่งแก่เขาก่อนทีเดียว. เมื่อเขาแต่งตัว

แสดงมหรสพกำลังเล่นกีฬาพร้อมด้วยหญิง ๑,๐๐๐ คนอยู่ ประชาชน

ต่างโยนเครื่องประดับมือเท้าเป็นต้น ตบรางวัลให้ไม่มีสิ้นสุด. วันนั้นเขา

แวดล้อมด้วยหญิง ๑,๐๐๐ คน เล่นกีฬาในกรุงราชคฤห์ เพราะมีญาณ

แก่กล้า พร้อมด้วยบริวารทั้งหมดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

บทว่า สจฺจาลิเกน ได้แก่ด้วยคำจริงบ้าง ด้วยคำเท็จบ้าง. บทว่า

ติฏฺเตต ความว่า ข้อนั้นจงพักไว้. บทว่า รชนิยา ได้แก่มายากล

แสดงลมเจือฝนพัดด้ายห้าสีออกจากปาก ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งราคะ และนัย

ที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอย่างอื่นซึ่งแสดงอาการที่ประกอบด้วยความยินดีในกาม.

บทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย ได้แก่โดยประมาณยิ่ง. บทว่า โทสนิยา

ได้แก่อาการที่แสดงมายากลมีการตัดมือและเท้าเป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยแห่ง

โทสะ. บทว่า โมหนิยา. ได้แก่มายากลชนิดชนิดเอาน้ำทำน้ำมัน เอาน้ำมัน

ทำน้ำ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเป็นเป็นปัจจัยแห่งโมหะ. บทว่า ปหาโส นาม

นิรโยความว่า ธรรมดานรกที่ชื่อว่า ปหาสะ มิได้มีเป็นนรกหนึ่งต่างหาก

แต่เป็นส่วนหนึ่งของอเวจีนั่งเองที่พวกสัตว์แต่งตัวเป็นนักฟ้อนรำ ทำเป็น

ฟ้อนรำและขับร้องพากันหมกไหม้อยู่ ท่านกล่าวหมายเอานรกนั้น. ในบทว่า

นาห ภนฺเต เอต โรทามิ นี้ พึงทราบเนื้อความด้วยอำนาจสกรรมกิริยา

อย่างนี้ว่า ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ข้อนั้น พระเจ้าข้า. อนึ่ง ในข้อว่า ชนทั้งหลายปรารภถึงคนตายมีน้ำตา

ไหลร้องไห้เป็นต้นนี้ พึงทราบว่าเป็นอีกโวหารหนึ่ง.

จบ อรรถกถาตาลปุตตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

๓. โยธาชีวสูตร

ว่าด้วยปัญหาของนักรบอาชีพ

[๕๙๓] ครั้งนั้นแล นายบ้านนักรบอาชีพเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของนักรบอาชีพทั้งอาจารย์

และปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม

ในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้น

เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าเลย

นายบ้าน ขอพักข้อนี้เสียเถิด อย่าถามข้อนี้กะเราเลย แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ

แม้ครั้งที่ ๓ นายนักรบอาชีพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของนักรบอาชีพทั้งอาจารย์และ

ปาจารย์ก่อน ๆ กล่าวกันอย่างนี้ว่า นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายาม

ในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้น

เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ในข้อนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัสว่ากะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

นายบ้าน เราห้ามท่านไม่ได้แล้วว่า อย่าเลยนายบ้าน ของดข้อนี้เสียเถิด

อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน ดูก่อนนายบ้าน นักรบ

อาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทำไว้ไม่ดี

ตั้งจิตไว้ไม่ดีก่อนว่า สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ

หรือว่าอย่าได้มี คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย

ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเกิดในนรกชื่อสรชิต ก็ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

นักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงความ คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลัง

อุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็น

สหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ไชร้ ความเห็นของผู้นั้นเป็นความเห็นผิด

ดูก่อนนายบ้าน ก็เราย่อมกล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรก

หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานของบุคคลผู้มีความเห็นผิด

[๕๙๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนักรบ

อาชีพร้องไห้สอื้น น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนายบ้าน

เราได้ห้ามท่านแล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลยนายบ้าน ของดข้อนี้เสียเถิด อย่า

ถามเราถึงข้อนี้เลย เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ได้

ร้องไห้ถึงข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ กะข้าพระองค์หรอก แต่ว่า

ข้าพระองค์ถูกนักรบอาชีพทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ ล่อลวงให้หลงสิ้น

กาลนานว่านักรบอาชีพคนใดอุตสาหะพยายามในสงความ คนอื่นฆ่าผู้นั้น

ซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย นักรบอาชีพคนนั้นเมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศ

ธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่

คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักได้เห็นรูป ฉะนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระ-

ธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำ

ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่

วันนี้เป็นต้นไป.

จบ โยธาชีวสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

อรรถกถาโยธาชีวสูตรที่ ๒

ในโยธาชีวสูตรที่ ๓ พึงทราบ วินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โยธาชีโว ความว่า ผู้เลี้ยงชีพด้วยการรบ ( นักรบอาชีพ)

พระธรรมสังคาหกเถระตั้งชื่อไว้อย่างนี้. บทว่า อุสฺสหติ วายมติ ได้

แก่ทำความอุตสาหะพยายาม. บทว่า ปริยาปาเทนฺติ ได้แก่ให้ถึงความตาย

บทว่า ทุกฺกฏ ได้แก่ทำจิตไว้ไม่ดี. บทว่า ทุปฺปณิหิต ได้แก่ตั้งจิตไว้ไม่ดี

บทว่า สรชิโต นาม นิรโย ความว่า แม้นรกชื่อสรชิตนี้ ก็มิได้เป็น

นรกหนึ่งต่างหาก แต่เป็นส่วนหนึ่งของอเวจีนั่นเอง ที่พวกนักรบอาชีพ

ผูกสอดอาวุธ ๕ อย่าง ถือโล่ ขึ้นช้างม้ารถเหมือนรบอยู่ในสนามรบ

หมกไหม้อยู่ ข้อนี้ท่านกล่าวหมายเอานรกนั้น.

จบ อรรถกถาโยธาชีวสูตรที่ ๓

๔. หัตถาโรหสูตร

ว่าด้วยปัญหาของนายทหารช้าง

[๕๙๕] ครั้งนั้นแล นายทหารช้างได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบ หัตถาโรหสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

๕. อัสสาโรหสูตร

ว่าด้วยปัญหาของนายทหารม้า

[๕๙๖] ครั้งนั้นแล นายทหารม้าเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูล

ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำ

ของทหารม้า ทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ พูดกันว่า ทหารม้าคนใด

อุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้

ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา

เหล่าสรชิต ในข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากระไร พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า อย่าเลยของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย แม้ครั้งที่ ๒

ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ นายทหารม้าได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผ้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับคำของทหารม้าทั้งอาจารย์และปาจารย์

คนก่อน ๆ พูดกันว่า ทหารม้าคนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่น

ฆ่าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสรชิต ใน

ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากระไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะ

นาย เราห้ามไม่ได้แน่แล้วว่า อย่าเลยนาย ของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถาม

เราถึงข้อนี้เลย แต่เราจักพยากรณ์ให้ท่าน แน่ะนาย ทหารม้าคนใดอุตสาหะ

พยายามในสงคราม ผู้นั้นยึดหน่วงจิตกระทำไว้ไม่ดี ตั้งจิตไว้ไม่ดีก่อนว่า

สัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกแทง จงขาดสูญ จงพินาศ หรือว่า จงอย่า

มีคนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้น

เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในนรกชื่อสรชิต อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นว่า ทหารม้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

คนใดอุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายาม

ให้ถึงความตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ

เทวดาเหล่าสรชิต ดังนี้ ไซร้ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด แนะ.

นาย ก็เรากล่าวคติ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ นรกหรือกำเนิด

สัตว์เดียรัจฉาน ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด.

[๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายทหารม้า

ร้องไห้ น้ำตาไหล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะนาย เราได้ห้ามท่าน

อย่างนี้แล้วมิใช่หรือว่า อย่าเลยนาย ของดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึง

ข้อนี้เลย เขาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้ถึงข้อที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะข้าพระองค์หรือก็ แต่ว่าข้าพระองค์ถูกทหารม้า

ทั้งอาจารย์และปาจารย์ก่อน ๆ ลวงให้หลงสิ้นกาลนานว่า ทหารม้าคนใด

อุตสาหะพยายามในสงคราม คนอื่นฆ่าผู้นั้นซึ่งกำลังอุตสาหะพยายามให้ถึง

ความตาย ทหารม้าผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา

เหล่าสรชิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ

เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่องไฟในที่มิดด้วยหวังว่า

คนมีจักษุจักได้เห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็น

สรณะ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบ อัสสาโรหสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

อรรถกถาหัตถาโรหสูตรที่ ๔ และ อัสสาโรหสูตรที่ ๕

แม้ในสูตรที่ ๔ และสูตรที่ ๕ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔ - ๕

๖. ภูมกสูตร

ว่าด้วยผู้ทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ย่อมเข้าถึงอบาย

[๕๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริก-

อัมพวัน ใกล้เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ชาวปัจฉาภูมิ มีคณโฑน้ำติดตัว

ประดับพวงมาลัยสาหร่ายอาบน้ำทุกเช้าเย็น บำเรอไฟ พราหมณ์เหล่านั้น

ชื่อว่ายังสัตว์ที่ตายทำกาละแล้วให้ฟื้นขึ้นมา ให้รู้สึกตัว จูงให้ขึ้นสวรรค์

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้า สามารถการทำให้สัตว์โลกทั้งหมด เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ได้หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนายคามณี ถ้าอย่าง

นั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ปัญหาควรแก่ท่านด้วยประการใด ท่าน

พึงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นด้วยประการนั้น ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็น

ไฉน บุรุษในโลกนี้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ

พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

มีความเห็นผิด หมู่มหาชนมาประชุมกันแล้ว พึงสวดวิงวอน สรรเสริญ

ประนมมือเดินเวียนรอบผู้นั้นว่า คือบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเมื่อตายไป พึงเข้าถึง

สุคติโลกสวรรค์เพราะเหตุการสวดวิงวอน เพราะเหตุการสรรเสริญ หรือ

เพราะเหตุการประนมมือเดินเวียนรอบดังนี้ หรือ.

คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๕๙๙] . ดูก่อนนายคามณี เปรียบเหมือนบุรุษโยนหินก้อน

หนาใหญ่ลงในห้วงน้ำลึก หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน

สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบหินนั้นว่า ขอจงโผล่ขึ้นเกิดท่าน

ก้อนหิน ขอจงลอยขึ้นเถิดท่านก้อนหิน ขอจงขึ้นบกเถิดท่านก้อนหินท่าน

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินนั้นพึงโผล่ขึ้น พึงลอยขึ้น หรือ

พึงขึ้นบก เพราะเหตุการสวดวิงวอน สรรเสริญ ประณมมือเดินเวียน

รอบของหมู่มหาชนบ้างหรือ.

คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

. ดูก่อนนายคามณี ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษคนใดฆ่าสัตว์

ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูด

เพ้อเจ้อ มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด หมู่มหาชน

พึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบ

บุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็จริง แต่บุรุษ

นั้นเมื่อตาย พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

ว่าด้วยผู้เว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ ย่อมเข้าถึงสวรรค์

[๖๐๐] ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษในโลกนี้เว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท

ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ ไม่มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท

มีความเห็นชอบ หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ

ประนมมือเดินเวียนรอบบุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเมื่อตายไป

พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุการสวดวิงวอน สรรเสริญ

หรือเพราะเหตุการประนมมือเดินเวียนรอบของหมู่มหาชนบ้างหรือ.

คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๖๐๑] . ดูก่อนนายคามณี เปรียบเหมือนบุรุษลงยังห้วงน้ำ

ลึกแล้ว พึงทุบหม้อเนยใสหรือหม้อน้ำมัน ก้อนกรวดหรือก้อนหินที่มีอยู่

ในหม้อนั้น พึงจมลง เนยใสหรือน้ำมันที่มีอยู่ในหม้อนั้นพึงลอยขึ้น

หมู่มหาชนพึงมาประชุมกันแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดิน

เวียนรอบเนยใสหรือน้ำมันนั้นว่า ขอจงจมลงเถิดท่านเนยใสและน้ำมัน

ขอจงดำลงเถิดท่านเนยใสและน้ำมัน ขอจงลงภายใต้เถิดท่านเนยใสและ

น้ำมัน ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เนยใสและน้ำมันนั้นพึงจมลง

พึงดำลง พึงลงภายใต้ เพราะเหตุแห่งการสวดวิงวอน สรรเสริญ หรือ

เพราะเหตุการประนมมือเดินเวียนรอบของหมู่มหาชนบ้างหรือ.

คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

. ดูก่อนนายคามณี ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษใดเว้นจากปาณา-

ติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา

สัมผัปปลาปะ ไม่มากไปด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ

หมู่มหาชนจะพากันมาประชุมแล้วสวดวิงวอน สรรเสริญ ประนมมือเดิน

เวียนรอบบุรุษนั้นว่า ขอบุรุษนี้เมื่อตายไป จงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก ก็จริง แต่บุรุษนั้นเมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

[๖๐๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่า

อสิพันธกบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรม

เทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดย

อเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง

หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรมและภิกษุ

สงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็น

อุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบ ภูมกสูตรที่ ๖

อรรถกถาภูมกสูตรที่ ๖

ในภูมกสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปจฺฉาภูมกา แปลว่า ชาวปัจฉาภูมิ. บทว่า กามณฺฑลุกา

แปลว่า มีคณโฑน้ำประจำตัว. บทว่า เสวาลมาลิกา ความว่า เช้าขึ้นก็เอา

สาหร่ายบ้าง ดอกอุบลเป็นต้นบ้าง จากน้ำทำเป็นพวงมาลัยประดับ เพื่อให้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

รู้ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยน้ำ บทว่า อุทโกโรหกา แปลว่า อาบน้ำเช้าเย็น

บทว่า อุยฺยาเปนฺติ แปลว่า ให้เป็นขึ้น. บทว่า สัญฺาเปนฺติ แปลว่า

ให้รู้ชอบ. บทว่า สคฺค นาม โอกฺกาเปนฺติ ความว่า ยืนห้อมล้อมชวนให้

เข้าไปยังสวรรค์ว่า ไปพรหมโลกเถิด ท่านผู้เจริญ. บทว่า อนุปริสกฺเกยฺย

แปลว่า เดินเวียนรอบ. บทว่า อุมฺมุชฺช แปลว่า จงผุดขึ้นเถิด บทว่า

ถลมุปฺลว แปลว่า จงขึ้นบกเถิด. บทว่า ตตฺร ยสฺส ความว่า ก้อนกรวด

หรือกระเบื้องใดพึงมีในหม้อนั้น. บทว่า สกฺขรา วา กลา วา แปลว่า

ก้อนกรวดหรือกระเบื้อง. บทว่า สา อโธคามี อสฺส ความว่า ก้อนกรวด

หรือกระเบื้องนั้น พึงจมลง คือพึงไปข้างล่าง. บทว่า อโธ คจฺฉ แปลว่า

จงไปข้างล่าง.

จบ อรรถกถาภูมกสูตรที่ ๖

๗. เทศนาสูตร

ว่าด้วยการแสดงธรรมเปรียบด้วยนา ๓ ชนิด

[๖๐๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริก-

อัมพวัน ใกล้เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นนายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกื้อกูลอนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้าอยู่

มิใช่หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อย่างนั้นนายคามณี ตถาคต

เกื้อกูลอนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้าอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อเช่นนั้น เพราะเหตุไรพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงทรงแสดงธรรมโดยเคารพแก่คนบางพวก ไม่ทรงแสดงธรรม

โดยเคารพเหมือนอย่างนั้นแก่คนบางพวก.

. ดูก่อนนายคามณี ถ้าอย่างนั้นเราจักทวนถามท่านถึงในข้อนี้

ปัญหาควรแก่ท่านด้วยประการใด ท่านพึงพยากรณ์ปัญหานั้นด้วยประการ

นั้น ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นาของคฤหบดี

ชาวนาในโลกนี้มีอยู่ ๓ ชนิด คือ ชนิดหนึ่งเป็นนาดี ชนิดหนึ่งเป็นนา

ปานกลาง ชนิดหนึ่งเป็นนาเลวมีดินแข็ง เค็ม พื้นดินเลว ท่านจะสำคัญ

ความข้อนั้นเห็นไฉน คฤหบดีชาวนาต้องการจะหว่านพืช จะพึงหว่านในนา

ไหนก่อนเล่า.

คา. คฤหบดีชาวนาต้องการจะหว่านพืช พึงหว่านพืชในนาดีก่อน

ครั้นหว่านในนานั้นแล้ว พึงหว่านในนาปานกลาง ครั้นหว่านในนาปาน

กลางนั้นแล้ว ในนาเลวมีดินแข็ง เค็ม พื้นดินเลว พึงหว่านบ้างไม่หว่าน

บ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะที่สุดจักเป็นอาหารโค.

[๖๐๔] . ดูก่อนนายคามณี เปรียบเหมือนนาดีฉันใด เรา

ย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ

พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่

ภิกษุและภิกษุณีของเราเหล่านั้น (ก่อน) ฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้ มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่เร้น มีเราเป็นที่

ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่ ดูก่อนนายคามณี นาเลว มีดินแข็ง เค็ม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

พื้นดินเลวฉันใด เราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง

งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่อัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์และปริพาชกของเรา.

เหล่านั้น (ในที่สุด) ฉันนั้น.

ว่าด้วยการแสดงธรรมเปรียบด้วยขวดน้ำ ๓ ใบ

[๖๐๕] ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอัญเดียรถีย์ สมณะพราหมณ์

และปริพาชกจะพึงรู้ธรรมแม้บทเดียว ความรู้ของเขานั้นพึงเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์สุขแก่เขาสิ้นกาลนาน ดูก่อนนายคามณี บุรุษมีขวดน้ำ ใบ

คือ ขวดน้ำใบหนึ่งไม่มีช่อง ใส่น้ำไม่ได้ เจ้าของไม่ใช้ ใบหนึ่งไม่มีช่อง

ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ ใบหนึ่งมีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ ดูก่อน

นายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษคนโน้นต้องการจะ

กรอกน้ำใส่ พึงกรอกน้ำใส่ในขวดไม่มีช่องใส่น้ำไม่ได้ เจ้าของไม่ใช้

หรือขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ หรือว่าขวดน้ำที่มีช่อง ใส่น้ำได้

เจ้าของใช้ก่อน.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษคนโน้นต้องการจะกรอกน้ำใส่

พึงกรอกน้ำใส่ในขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำไม่ได้ เจ้าของไม่ใช้ แล้วพึงกรอก

น้ำใส่ในขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ แล้วพึงกรอกน้ำใส่ในขวด

น้ำมีช่อง ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้บ้าง ไม่กรอกใส่บ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะที่สุดจักเป็นน้ำสำหรับล้างสิ่งของ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

[๖๐๖] . ดูก่อนนายคามณี ขวดน้ำไม่มีช่อง ใส่น้ำไม่ได้

เจ้าของไม่ใช้ฉันใด เราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง

งานในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่ภิกษุและภิกษุณีของเราเหล่านั้น ฉันนั้น ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้ มีเราเป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่เร้น

มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่ ดูก่อนนายคามณี ขวดน้ำไม่มีช่อง

ใส่น้ำได้ เจ้าของใช้ฉันใดเราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน

ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ

บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่อุบาสกและอุบาสิกาของเราเหล่านั้น ( เป็น

ที่สอง ) ฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้น มีเรา

เป็นที่พึ่ง มีเราเป็นที่เร้น มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นสรณะอยู่ ดูก่อน

นายคามณี ขวดน้ำมีช่อง ใส่น้ำได้ทั้งเจ้าของใช้ฉันใด เราย่อมแสดงธรรม

อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์

พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่อัญเดียรถีย์ สมณะ

พราหมณ์ และปริพาชกของเราเหล่านั้น (ในที่สุด) ฉันนั้น ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะแม้ไฉนอัญเดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์ และปริพาชก

จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม นั้นแม้บทเดียว ความรู้นั้นก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข

แก่เขาสิ้นกาลนาน.

[๖๐๗] เมื่อผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่า

อสิพันธกบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

เทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดย

อเนกปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง

หรือส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ได้ ฉันนั้น ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรม

และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์

ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

จบ เทศนาสูตรที่ ๗

อรรถกถาเทศนาสูตรที่ ๗

ในเทศนาสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ชงฺคล แปลว่า เป็นดินแข็งไม่อ่อน. บทว่า โอสร เป็น

ดินมีเกลือเกิดเอง (ดินเค็ม) บทว่า ปาปภูมิ แปลว่า เป็นพื้นดินเลว.

ในบทว่า มทีปา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า ภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้ ชื่อว่า

มทีปา เพราะพวกเธอมีเรา (ตถาคต ) เป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัย. ชื่อว่า

มเลณา เพราะพวกเธอมีเราเป็นที่เร้น เป็นที่พักอยู่. ชื่อว่า มตาณา

เพราะพวกเธอมีเราเป็นที่ช่วย เป็นที่รักษา. ชื่อว่า มสรณา เพราะ

พวกเธอมีเราเป็นสรณะ ทำภัยให้พินาศ. บทว่า วิหรนฺติ ความว่า

ทำเราให้เป็นที่พึ่งเป็นต้นอย่างนั้นอยู่. บทว่า โคภตฺตปิ ความว่า เพราะ

ไม่มีผลาหารคือ ข้าวเปลือก จึงเกี่ยว ( ข้าวที่หว่านในนาเลว ) มัดเป็นฟ่อนๆ

เก็บไว้ โคทั้งหลายจักได้เคี้ยวกินในฤดูร้อน (แล้ง ). บทว่า อุทกมณิโก

ได้แก่ภาชนะพิเศษที่ได้ชื่ออย่างนั้น เพราะมีสายรัดขวดคาดไว้ที่ท้อง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

บทว่า อหาริอปริหาริ ความว่า ใส่น้ำไม่ได้ นำน้ำไปไม่ได้ ขังน้ำไม่ได้.

ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการแสดงธรรมโดยเคารพ ด้วย

ประการฉะนี้. ความจริงการแสดงธรรมโดยไม่เคารพ ย่อมไม่มี

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีความประพฤติ

เหมือนราชสีห์ ราชสีห์ เมื่อจับช้างพลายที่ตกมันก็ดี จับสัตว์เล็กๆ

กระต่ายและแมวเป็นต้นก็ดี ย่อมใช้ความเร็วเท่ากันทั้งนั้น ฉันใด

พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ฉันนั้น เมื่อทรงแสดงธรรมแก่ผู้ฟังคนเดียวก็ตาม

ทรงแสดงแก่ผู้ฟังสองคน มากคน แก่ภิกษุบริษัท ภิกษุณีบริษัท อุบาสก

บริษัทและอุบาสิกาบริษัทก็ตาม แก่พวกเดียรถีย์ก็ตาม ย่อมทรงแสดง

โดยเคารพทั้งนั้น. ทั้งบริษัท ก็มีศรัทธากำหนดใจฟัง ดังนั้นการแสดง

แก่บริษัทสี่เหล่านั้น จึงชื่อว่าแสดงโดยเคารพ.

จบ อรรถกถาเทศนาสูตรที่ ๗

๘. อสังขาสูตร

ว่าด้วยการฆ่าสัตว์ต้องไปอบายตกนรกเป็นต้น

[๖๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริก-

อัมพวัน ใกล้เมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร

สาวกของนิครณถ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนนายคามณี นิครณฐนาฏบุตรแสดงธรรมแก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

พวกสาวกอย่างไร อสิพันธกบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครณฐ-

นาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวกอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ต้องไปอบายตกนรก

ทั้งหมด ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ประพฤติผิดในกาม

ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่พูดเท็จต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด กรรม

ใด ๆ มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลไปนิครณฐนาฏบุตรย่อมแสดงธรรม

แก่พวกสาวกอย่างนี้แล พระเจ้าข้า.

[๖๐๙] . ดูก่อนนายคามณี ก็นิครณฐนาฏบุตรแสดงธรรม

แก่พวกสาวกว่า กรรมใด ๆ มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็น

เช่นนั้น ใคร ๆ จักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณฐนาฏบุตร

ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษฆ่าสัตว์รวมทั้ง

สมัยและไม่ใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์ หรือสมัย

ที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ สมัยไหนมากกว่ากัน.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษฆ่าสัตว์รวมทั้งสมัย และมิใช่สมัย

ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาฆ่าสัตว์น้อยกว่า สมัยที่เขาไม่ได้ฆ่าสัตว์

มากกว่าพระเจ้าข้า.

. ดูก่อนนายคามณี ก็นิครณฐนาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก

ว่า กรรมใด ๆ มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลนั้นไป เมื่อเป็นเช่นนั้น

ใคร ๆ จักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณฐนาฏบุตร.

[๖๑๐] ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษลักทรัพย์รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางวันและกลางคืน สมัยที่

เขาลักทรัพย์ หรือสมัยที่เขาไม่ได้ลักทรัพย์ สมัยไหนมากกว่ากัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญบุรุษลักทรัพย์รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย

ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาลักทรัพย์น้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขามิได้

ลักทรัพย์มากกว่า พระเจ้าข้า.

. ดูก่อนนายคามณี ก็นิครณฐนาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก

ว่า กรรมใดๆ มาก กรรมนั้นๆ ย่อมนำบุคคลนั้นไป เมื่อเป็นเช่นนั้น

ใครๆ จักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณฐนาฏบุตร.

[๖๑๑] ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษประพฤติผิดในกามรวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน

สมัยที่เขาประพฤติผิดในกาม หรือ สมัยที่เขามิได้ประพฤติผิด ในกาม สมัย

ไหนมากกว่ากัน.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษประพฤติผิดในกามรวมทั้งสมัย

และมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาประพฤติผิดในกามนั้น

น้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขามิได้ประพฤติผิดในกามนั้นมากกว่า พระเจ้าข้า

. ดูก่อนนายคามณี ก็นิครณฐนาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก

ว่า กรรมใด ๆ มาก กรรมนั้น. ๆ ย่อมนำบุคคลไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ

จักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณฐนาฏบุตร.

[๖๑๒] ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษพูดเท็จรวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขา

พูดเท็จ หรือสมัยที่เขามิได้พูดเท็จ สมัยไหนมากกว่ากัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษพูดเท็จรวมทั้งสมัยและมิใช่สมัย

ทั้งกลางคืนและกลางวัน สมัยที่เขาพูดเท็จนั้นน้อยกว่า ส่วนสมัยที่เขามิได้

พูดเท็จนั้นมากกว่า พระเจ้าข้า.

. ดูก่อนนายคามณี ก็นิครณฐนาฏบุตรแสดงธรรมแก่พวกสาวก

กรรมใด ๆ มาก กรรมนั้น ๆ ย่อมนำบุคคลนั้นไป เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครๆ

จักไม่ไปอบาย ตกนรก ตามคำของนิครณฐนาฏบุตร.

[๖๑๓] ดูก่อนนายคามณี ศาสดาบางท่านในโลกนี้ มักพูดอย่างนี้

มักเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ฆ่าสัตว์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไป

อบายตกนรกทั้งหมด ผู้ทั้งประพฤติผิดในกามต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด

ผู้ที่พูดเท็จต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด.

[๖๑๔] ดูก่อนนายคามณี สาวกที่เลื่อมใสในศาสดานั้น ย่อมมี

ความคิดอย่างนี้ว่า ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์

ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า สัตว์

ที่เราฆ่ามีอยู่ แม้เราก็ต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น

ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือน

ถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น ( สาวกของศาสดานั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ) ศาสดา

ของเรากล่าวอย่างนี้ เห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ลักทรัพย์ต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด

สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่าทรัพย์ที่เราลักมีอยู่ แม้เราก็ต้องไป

อบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่ละ

ความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น ศาสดา

ของเรากล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ที่ประพฤติผิดในกามต้องไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

อบายตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับได้ความเห็นว่า กาเมสุมิจ-

ฉาจารที่เราประพฤติมีอยู่ แม้เราต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขายังไม่ละ

วาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก

เหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น ศาสดาของเรากล่าวอย่างนี้ มีความเห็น

อย่างนี้ว่า ผู้ที่พูดเท็จต้องไปอบายตกนรกทั้งหมด สาวกของศาสดานั้นกลับ

ได้ความเห็นว่า คำเท็จที่เราพูดมีอยู่ แม้เราต้องไปอบาย ต้องตกนรก เขา

ยังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่

ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น.

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงศีล ๕

[๖๑๕] ดูก่อนนายคามณี ก็พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็น

สารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้มีโชค เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ ตถาคต

นั้นทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาต และตรัสว่า จงงดเว้นจากปาณาติบาต

ทรงตำหนิติเตียนอทินนาทานและตรัสว่า จงงดเว้นจากอทินนาทาน ทรง

ตำหนิติเตียนกาเมสุมิจฉาจาร และตรัสว่าจงงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

ทรงตำหนิติเตียนมุสาวาท และตรัสว่า จงงดเว้นจากมุสาวาท โดยอเนก

ปริยาย สาวกเป็นผู้เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาตโดยอเนกปริยาย และตรัส

ว่า จงงดเว้นจากปาณาติบาต ก็สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่มากมาย ข้อที่เราฆ่าสัตว์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

มากมายนั้น ไม่มีไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อนเพราะข้อนี้เป็นปัจจัยแท้ เรา

จักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณา.

ติบาตนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาป

กรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ด้วยประการอย่างนี้.

[๖๑๖] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตำหนิติเตียนอทินนาทานโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจาก

อทินนาทาน ทรัพย์ที่เราลักมีอยู่มากมาย ข้อที่เราลักทรัพย์มากมายนั้น

ไม่ดีไม่งาม เราะแลพึงเดือดร้อน เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำ

บาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละอทินนาทานนั้น

ด้วย ย่อมงดเว้นจากอทินนาทานต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม

ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้.

[๖๑๗] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตำหนิติเตียนกาเมสุมิจฉาจารโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้น

จากกาเมสุมิจฉาจาร เราประพฤติผิดในกามมีอยู่มากมาย ข้อที่เราประพฤติ

ผิดในกามมากมายนั้น ไม่ดีไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อนเพราะข้อนั้นเป็น

ปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว

ย่อมละกาเมสุมิจฉาจารนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากกาเมสุมิจฉารต่อไปด้วย

เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้.

[๖๑๘] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตำหนิติเตียนมุสาวาทโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจาก

มุสาวาท ก็เราพูดเท็จมีอยู่มากมาย ข้อที่เราพูดเท็จมากมายนั้น ไม่ดีไม่งาม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

เราแลพึงเดือดร้อนเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแพ้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้น

หามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมุสาวาทนั้นด้วย ย่อมงดเว้น

จากมุสาวาทต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้

ด้วยประการอย่างนี้.

[๖๑๙] สาวกนั้นละปาณาติบาต งดเว้นจากปาณาติบาต ละอทิน-

นาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ละกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากกาเม-

สุมิจฉาจาร ละมุสาวาท งดเว้นจากมุสาวาท ละปิสุณาวาจา งดเว้นจาก

ปิสุณาวาจา ละผรุสวาจา งดเว้นจากผรุสวาจา ละสัมผัปปลาปะ งดเว้น

จากสัมผัปปลาปะ ละอภิชฌา ไม่โลภมาก ละความประทุษร้าย คือพยาบาท

ไม่มีจิตพยาบาท ละความเห็นนิด มีความเห็นชอบ ดูก่อนนายคามณี

อริยสาวกนั้นนั่นแล ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทอย่างนี้ ไม่หลง

งมงาย มีความรู้สึกตัว มีสติ มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ

หนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ

ประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร

ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูก่อนนายคามณี คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยัง

บุคคลให้รู้แจ้งทั้ง ๔ ทิศได้โดยไม่ยากเลย ฉันใด กรรมที่ทำพอประมาณ

อันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลอบรมแล้วทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรม

นั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ก่อนนาย

คามณี อริยสาวกนั้นนั่นแล ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้ว

อย่างนี้ ไม่หลงงมงาย รู้สึกตัว มีสติ มีใจประกอบด้วยกรุณา . . .มีใจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

ประกอบด้วยมุทิตา. . . มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่

ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ให้เบื้องบนเบื้องล่าง เบื้องขวาง

แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วย

อุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ

เบียดเบียนอยู่ ดูก่อนนายคามณี คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้ง

ทั้ง ๔ ทิศ ได้โดยไม่ยากฉันใด กรรมที่ทำพอประมาณในอุเบกขาเจโตวิมุตติ

ที่บุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างนี้ กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่

ในรูปาพจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว

นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตรสาวกนิครณฐ์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญพระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มเเจ้งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็น

สรณะ จนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเจ้าข้า.

จบ อสังขาสูตรที่ ๘

อรรถกถาอสังขาสูตรที่ ๘

ในอังขาสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ย พหุล ย พหุล นี้ นิครณฐ์ย่อมทำลายวาทะของตน

ด้วยตนเอง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระพุทธดำรัสว่า เอว

สนฺเต น โกจิ อาปายิโก ดังนี้เป็นต้น. ก็บทก่อน ๆ บท ย่อมเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

ปัจจัยแก่ทิฏฐิ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงชี้โทษในบทเหล่านั้น

จึงตรัสพระพุทธดำรัสว่า อิธ คามณิ เอกจฺโจ สตฺถา เอวฺวาที โหติ

ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหปมฺหิ ตัดบทเป็น อหปิ อมฺหิ

แปลว่า แม้เรา. คำที่ควรจะกล่าว ในบทว่า เมตฺตาสหคเตน เป็นต้น

นั้นทั้งหมด ได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค พร้อมด้วยภาวนานัย.

แต่บทว่า เสยฺยถาปิ คามณิ พลว สขธมฺโม เป็นต้น ในที่นี้ ยังไม่

มีมาก่อน.

ในบทนั้น ความว่า คนเป่าสังข์สมบูรณ์ด้วยกำลัง. บทว่า

อปฺปกสิเรน แปลว่า โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก. จริงอยู่ คนเป่าสังข์

ที่มีกำลังน้อย เมื่อเป่าสังข์ย่อม ไม่อาจให้คนรู้แจ้งทั้ง ๔ ทิศได้ด้วยเสียง

เสียงสังข์ของเขาไม่กระจายไปทั่วทิศ แต่เสียงสังข์ของผู้มีกำลัง ย่อมมี

ประการตรงกันข้าม (ดังไปทั่วทิศ) ฉะนั้น จึงตรัสว่า พลวา. ในบทว่า

เมตฺตาย เจโตวิมุตฺติยา นี้ เมื่อกล่าวว่า เมตตา หมายถึงทั้งที่เป็น

อุปจาร ทั้งที่เป็นอัปปนา แต่เมื่อกล่าวว่า เจโตวิมุตติ ก็หมายถึงที่เป็น

อัปปนาเท่านั้น. บทว่า ย ปมาณกต กมฺม ความว่า กรรมที่ทำพอ

ประมาณ เรียกว่า กามาวจร กรรมที่ทำหาประมาณมิได้ เรียกว่า รูปาวจร

กรรมที่เป็นรูปาวจรนั้น เรียกว่า ทำหาประมาณมิได้ เพราะทำขยายเกิน

ประมาณ แผ่ไปทุกทิศทั้งเจาะจงและไม่เจาะจง. บทว่า น ต ตตฺราวสิสฺสติ

น ต ตตฺราวติฏฺติ ความว่า กรรมที่เป็นกามาวจร ไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่

ในกรรมที่เป็นรูปาวจรนั้น. อธิบายอย่างไร. อธิบายว่า กรรมที่เป็น

กามาวจรนั้น ไม่อาจที่จะติดหรือตั้งอยู่ในระหว่างแห่งกรรมที่เป็นรูปาวจร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

และอรูปาวจรนั้น ไม่อาจที่จะแผ่ไปถึงกรรมที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร

แล้วยึดถือเป็นโอกาสของตนตั้งอยู่ ที่แท้ กรรมที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร

นั่นเอง ย่อมแผ่ทับกรรมที่เป็นกามาวจรเข้าตั้งแทนที่ เหมือนห้วงน้ำใหญ่

แผ่น้ำไปทีละน้อยเข้าตั้งแทนที่ ห้ามวิบากของกรรมที่เป็นกามาวจรนั้น

แล้วนำเข้าถึงความเป็นสหายกับพรหมในสมัยนั่นแล พรสูตรที่ดำเนินไป

ตามอนุสนธิทีเดียว เพราะตอนต้นเริ่มด้วยอำนาจกิเลส ตอนท้ายถือเอา

ด้วยอำนาจพรหมวิหาร.

จบ อรรถกถาอสังขาสูตรที่ ๘

๙. กุลสูตร

ว่าด้วยเหตุปัจจัย ๘ อย่าง ทำให้ตระกูลคับแค้น

[๖๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศล

ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงนาฬันทคาม ได้ยินว่า

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทัยอยู่ ณ ปาวาริกอัมพวันใกล้นาฬันทคาม

สมัยนั้นแล ชาวนาฬันทคามมีภิกษาหาได้ยาก เลี้ยงชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง

เกลื่อนกลาดด้วยกระดูก ต้องจับจ่ายด้วยสลาก (บัตรปันส่วน) สมัยนั้นแล

นิครณฐ์นาฏบุตรอาศัยอยู่ในนาฬันทคาม พร้อมด้วยบริษัทนิครณฐ์เป็น

อันมาก ครั้งนั้น นายบ้านนามว่าอสิพันธกบุตร สาวกนิครณฐ์ เข้าไปหา

นิครณฐ์นาฏบุตรยังที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

นิครณฐ์นาฏบุตรได้พูดกับนายคามณีอสิพันธกบุตรว่า มาเถิดนายคามณี

จงยกวาทะแก่พระสมณโคดม กิตติศัพท์อันงามของท่านจักขจรไปอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

นายคามณีอสิพันธกบุตรยกวาทะแก่พระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มี

อานุภาพมากอย่างนี้ นายคามณีถามว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะยกวาทะ

แก่พระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างไร นิครณฐ์นาฏบุตร

กล่าวว่า มาเถิดท่านคามณี จงเข้าไปหาพระสมณโคดม ครั้นแล้วจงกล่าว

กะพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสรรเสริญความเอ็นดู การตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย

โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ ถ้าพระสมณโคดมถูกท่านถามอย่างนี้แล้ว ทรง

พยากรณ์อย่างนี้ว่า อย่างนั้นนายคามณี ตถาคตสรรเสริญความเอ็นดู การ

ตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ท่านจงกล่าว

กะพระสมณโคดมนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช่นนั้นทำไม

พระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์เป็นอันมากจึงเที่ยวจาริกอยู่ในนาฬันทคาม

อันเกิดทุพภิกขภัย เลี้ยงชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง เกลื่อนกลาดด้วยกระดูก

ต้องจับจ่ายด้วยสลากเล่า พระผู้มีพระภาคาเจ้าทรงปฏิบัติเพื่อตัดรอนสกุล

เพื่อให้สกุลเสื่อม เพื่อให้สกุลคับแค้น ดูก่อนนายคามมี พระสมณโคดม

อันท่านถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้ว จะไม่อาจคาย จะไม่อาจกลืน (กลืนไม่

เข้าคายไม่ออก) ได้เลย.

[๖๒๑] นายอสิพันธกบุตรรับคำนิครณฐ์นาฏบุตรแล้ว ลุกจาก

อาสนะไหว้นิครณฐ์นาฏบุตารทำประทักษิณแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงสรรเสริญความเอ็นดู การตามรักษา ความอนุเคราะห์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

อย่างนั้น นายคามณี ตถาคตสรรเสริญความเอ็นดู การตามรักษา ความ

อนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช่นนั้น ทำไมพระผู้มีพระภาคเจ้า

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก จึงเที่ยวจาริกอยู่ในนาฬันทคามอันเกิด

ทุพภิกขภัย เลี้ยงชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง เกลื่อนกลาดด้วยกระดูก ต้อง

จับจ่ายด้วยสลากเล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติเพื่อตัดรอนสกุล เพื่อให้

สกุลเสื่อม ปฏิบัติเพื่อให้สกุลคับแค้น.

[๖๒๒] . ดูก่อนนายคามณี แต่ภัทรกัปนี้ไป ๙๑ กัป ที่เรา

ระลึกได้ เราไม่รู้สึกว่าเคยเบียดเบียนสกุลไหน ๆ ด้วยการถือเอาภิกษาที่สุก

แล้วเลย อนึ่งเล่า สกุลเหล่าใดมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทอง

และเงินมาก มีทรัพย์คือเครื่องอุปกรณ์มาก มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมาก

สกุลทั้งปวงนั้นเจริญขึ้นเพราะการให้ทาน เพราะสัจจะและสัญญมะ ดูก่อน

นายคามณี เหตุปัจจัย ๘ อย่างเพื่อความคับแค้นแห่งสกุลทั้งหลาย คือ

สกุลทั้งหลายถึงความคับแค้นจากพระราชา ๑ จากโจร ๑ จากไฟ ๑ จาก

น้ำ ๑ ทรัพย์ที่ฝังไว้เคลื่อนจากที่ ๑ ย่อมวิบัติเพราะการงานประกอบไม่ดี ๑

ทรัพย์ในสกุลเดิมเป็นถ่านไฟ ๑ คนในสกุลใช้จ่ายโภคทรัพย์เหล่านั้นฟุ่ม-

เฟือย ให้พินาศสูญหายไป ๑ ความไม่เที่ยงเป็นที่ ๘ ดูก่อนนายคามณี

เหตุปัจจัย ๘ อย่างเหล่านี้แล เพื่อความคับแค้นของสกุลทั้งหลาย เมื่อเหตุ

ปัจจัย ๘ อย่างเหล่านี้มีอยู่ ผู้ใดพึงว่าเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

ปฏิบัติเพื่อให้สกุลขาดสูญ เพื่อให้สกุลเสื่อม เพื่อให้สกุลคับแค้น ดังนี้

ผู้นั้นยังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละทิฏฐินั้น ต้องดิ่งลง

ในนรกแน่แท้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายคามณีอสิพันธกบุตร

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนา

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า

เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น

ไปเถิด พระเจ้าข้า.

จบ กุลสูตรที่ ๘

อรรถกถากุลสูตรที่ ๙

ในกุลสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุพฺภิกฺขา แปลว่า มีภิกษาหาได้ยาก. บทว่า ทฺวีหิติกา

ความว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปอย่างนี้ว่า พวกเราจักมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่หนอ.

ปาฐะว่า ทุหิติกา ดังนี้ก็มี เนื้อความก็อย่างนี้แหล่ะ ชื่อว่า ทุหิติกา

ในข้อว่าเป็นอยู่ลำบาก นี้เพราะไม่อาจประกอบการงานอะไร ๆ ได้สะดวก

ชื่อว่า เสตฏฺิกา เพราะมีกระดูกของคนที่ตายในที่นั้น ๆ ขาวเกลื่อนกลาด.

บทว่า สลากวุตฺตา ได้แก่มีชีวิตอยู่ได้เพียงใช้สลาก (บัตรปันส่วน) คือ

ความเป็นอยู่ในนาฬันคามนั้น เพียงใช้สลากเท่านั้น อธิบายว่า ให้เกิดผล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

บทว่า อุคฺคิลิตุ ความว่า เมื่อพระสมณโคดมไม่อาจกล่าวแก้เงื่อนทั้งสองได้

ชื่อว่าไม่อาจคายคือนำออกนอก. บทว่า โอคิลิตุ ความว่า เมื่อทรงเห็น

โทษของคำถามแล้วไม่อาจนำเข้าไป ชื่อว่าไม่อาจกลืนคือให้เข้าไปภายใน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า อิโต โส คามณิ เอกนวุโต

กปฺโป เท่านั้น ก็ทรงระลึกไป ๑ กัป ชั่วเวลาที่ลมหายใจออกจากจมูก

แล้วยังไม่กลับเข้าไป เพื่อกำหนดรู้ว่า ในตระกูลที่เคยถูกเบียดเบียนด้วยการ

ให้ภิกษาที่สุกแล้ว มีบ้างไหมหนอถึงอย่างนั้น ก็มิได้ทรงเห็นแม้แต่รายเดียว

จึงตรัสพระพุทธพจน์เป็นต้นว่า อิโต โส คามณิ ดังนี้. บัดนี้ เมื่อตรัส

อานิสงส์ของทานเป็นต้น จึงทรงเริ่มพระธรรมเทศนาว่า อถโข ยานิ

ตินิ กุลานิ อทฺธานิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานสมฺภูตานิ

แปลว่า เป็นพร้อมคือบังเกิดเพราะการให้ทาน. แม้ในบททั้งสองที่เหลือ

ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในบทนี้ ความเป็นคนพูดจริง ชื่อสัจจะ ศีลที่เหลือ

ชื่อ สัญญมะ. บทว่า วิกิรติ ความว่า เมื่อได้แต่ใช้โดยไม่ประกอบการงาน

ย่อมทำทรัพย์ให้กระจุยกระจาย. บทว่า วิธมติ ความว่า ย่อมให้พินาศ

เหมือนจุดไฟเผา. บทว่า วิทฺธเสติ ความว่า ให้พินาศ คือเป็นของเที่ยง

คงที่หามิได้ หรือทรัพย์ที่ใช้เวลาเป็นอันมากเก็บรวบรวมไว้ อันตรธาน

ไปชั่วขณะเท่านั้น เพราะมีแล้วไม่มี.

จบ อรรถกถากุลสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

๑๐. มณิจูฬกสูตร

ว่าด้วยทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร

[๖๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้นแล เมื่อราช

บริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสนทนากันว่า ทองและเงินย่อมควร

แก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองสละเงิน ย่อมรับทอง

และเงิน.

[๖๒๔] ก็สมัยนั้นแล นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัท

นั้น นายบ้าน นามว่ามณิจูฬกะได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญย่อมไม่

กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่

ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง

ปราศจากทองและเงิน นายบ้านมณิจูฬกะไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้.

[๖๒๕] ครั้งนั้น นายบ้านมณิจูฬกะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสนทนากันว่า ทองและเงิน

ย่อมควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน เมื่อ

ราชบริษัทกล่าวอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า ท่านผู้เจริญ

อย่าได้กล่าวอย่างนี้ ทองและเงินย่อมไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณ-

ศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน สมณศากยบุตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

ห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

ไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้ เมื่อข้าพระองค์พยากรณ์อย่างนี้ เป็นอัน

กล่าวตามคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกไร ๆ

คล้อยตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้แลหรือ พระเจ้าข้า.

[๖๒๖] พระผู้มีพระภาค จ้าตรัสว่า ดีละ นายคามณี เมื่อท่าน

พยากรณ์อย่างนี้ เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำ

ไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกไร ๆ คล้อย

ตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้. เพราะว่าทองและเงิน

ไม่ควรแก่สมณศากยบุตร สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน สมณ

ศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน. ดูก่อนนายคามณี

ทองและเงินควรแก่ผู้ใด เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้น เบญจกามคุณควร

แก่ผู้ใด ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น ดูก่อนนายคามณีท่านพึงทรงจำความ

ที่ควรแก่เบญจกามคุณนั้นโดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่

ธรรมของศากยบุตร อนึ่งเล่า เรากล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวง

หาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน

ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ เรามิได้กล่าวว่า สมณศากยบุตรพึงยินดี

พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายอะไรเลย.

จบ มณิจูฬกสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

อรรถกถามณิจูฬกสูตรที่ ๑๐

ในมณิจูฬกสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.

บทว่า ต ปริส เอตทโวจ ความว่า ได้ยินว่า นายบ้านนามว่า

มณิจูฬกะนั้นได้มีความคิดว่า กุลบุตรทั้งหลายเมื่อบวช ย่อมละบุตรและ

ภรรยา ทองและเงินก่อนแล้วจึงบวช แลเขาเหล่านั้นครั้นละแล้วบวช จึง

ไม่อาจรับทองและเงินนั้นได้. นายบ้านนั้นมีความยึดถือเป็นพิเศษ จึงได้

กล่าวคำเป็นต้นว่า มา อยฺยา ดังนี้. บทว่า. เอกเสเนต ความว่า

ท่านพึงทรงจำความที่ควรแก่กามคุณห้านั้น โดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรม.

ของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร. บทว่า ติณ ได้แก่หญ้ามุงเสนาสนะ.

บทว่า ปริเยสิตพฺพ ความว่า เมื่อเรือนที่มุงด้วยหญ้า หรือมุงด้วยอิฐพัง

พึงไปยังสำนักของผู้ที่ทำเรือนนั้น บอกว่า เสนาสนะที่ท่านทำ ฝนรั่ว.

เราไม่อาจอยู่ในเสนาสนะนั้นได้. มนุษย์ทั้งหลายเมื่อทำได้ก็จักทำให้ เมื่อ

ทำไม่ได้ก็จักบอกว่า พวกท่านจงหานายช่างให้ทำ พวกเราจักให้สัญญากะ

นายช่างเหล่านั้น ครั้นให้นายช่างที่บอกไว้อย่างนั้นทำเสร็จแจ้ว พึงบอก

แก่มนุษย์เหล่านั้น พวกมนุษย์จักให้ค่าจ้างแก่พวกนายช่าง. ถ้าไม่มี

เจ้าของที่อยู่อาศัย ภิกษุผู้ประพฤติภิกขาจารวัตร ควรบอกแม้แก่คนอื่น ๆ

ให้ทำ. บทว่า ปริเยสิตพฺพ ตรัสหมายข้อความดังนี้. บทว่า ทารุ

ความว่า เมื่อไม้กลอนหลังคาเป็นต้นในเสนาสนะพัง พึงแสวงหาไม้เพื่อ

ซ่อมแซมสิ่งนั้น. บทว่า สกฏ ได้แก่เกวียนชั่วคราวเท่านั้น ทำให้แปลก

จากของคฤหัสถ์ มิใช่แต่เกวียนอย่างเดียวเท่านั้น แม้อุปกรณ์อื่น ๆ มีมีด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

ขวานและจอบเป็นต้น ก็ควรแสวงหาอย่างนี้. บทว่า ปุริโส ความว่า

ควรแสวงหาคนมาช่วยงาน คือ พูดกะคนใดคนหนึ่งว่า ท่านจักช่วยงาน

ได้ไหม เมื่อเขาบอกว่า กระผมจักช่วยขอรับควรให้เขาทำสิ่งที่ต้องการว่า

ท่านจงทำสิ่งนี้ ๆ. บทว่า น เตฺววาห คามณิ เกนจิ ปริยาเยน ความว่า

แต่เรามิได้กล่าวถึงทองและเงิน ว่าสมณศากยบุตรพึงแสวงหา ด้วยเหตุ

อะไร ๆ เลย.

จบ อรรถกถามณิจูฬกสูตรที่ ๑๐

๑๑. คันธภกสูตร

ว่าด้วยเหตุเกิดและดับแห่งทุกข์

[๖๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อุรุเวลกัปปะ

นิคมของมัลลกษัตริย์ ในมัลลรัฐ. ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่า คันธภกะ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ข้าพระองค์เถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนายคามณี ก็เราพึงปรารภอดีตกาล

แสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่านว่า ในอดีตกาลได้มีแล้วอย่างนี้

ความสงสัย ความเคลือบแคลงในข้อนั้นจะพึงมีแก่ท่าน ถ้าเราปรารภ

อนาคตกาลแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์แก่ท่านว่า ในอนาคตกาลจัก

มีอย่างนี้ แม้ในข้อนั้น ความสงสัย ความเคลือบแคลง จะพึงมีแก่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

อนึ่งเล่า เรานั่งอยู่ ณ ที่นี้แหละ จักแสดงเหตุเกิดและเหตุดับแห่งทุกข์

แก่ท่าน ซึ่งนั่งอยู่ที่นี้เหมือนกัน ท่านจงพึงคำนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว

นายคันธภกคามณีทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน

เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์ หรือถูก

ติเตียน มีแก่ท่านหรือ.

คา. มีอยู่ พระเจ้าข้า ที่ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัส

และอุปายาส พึงเกิดมีแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคม

ตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์ หรือถูกติเตียน.

. ดูก่อนนายคามณี ก็ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส

และอุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ในอุรุเวลกัปปนิคมตาย

ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน มีอยู่แก่ท่านหรือ.

คา. มีอยู่ พระเจ้าข้า ที่ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส

และอุปายาส ไม่พึงเกิดมีแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ ในอุรุเวลกัปป

นิคมตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน.

. ดูก่อนนายคามณี อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความโศก

ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะ

หมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมบางพวกตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือ

ถูกติเตียน ก็หรือว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความโศก ความร่ำไร

ความทุกข์โทมนัสและอุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะหมู่มนุษย์ชาว

อุรุเวลกัปปนิคมบางพวกาตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์

โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุ-

เวลกัปปนิคมเหล่าใดตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือเพราะถูกติเตียน ก็

เพราะข้าพระองค์ มีฉันทราคะ ในหมู่มนุษย์ชาติอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น

ส่วนความโศก ความร่ำไร ความทุกข์โทมนัสและอุปายาส ไม่พึงเกิดขึ้น

แก่ข้าพระองค์ เพราะหมู่มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่าใดตาย ก็จองจำ

เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียน ก็เพราะข้าพระองค์ไม่มีฉันทราคะ ในหมู่

มนุษย์ชาวอุรุเวลกัปปนิคมเหล่านั้น พระเจ้าข้า.

. ดูก่อนนายคามณี ท่านจงนำไปซึ่งทุกข์อันใดด้วยธรรมที่เห็น

แล้วทราบแล้ว บรรลุแล้วโดยไม่ประกอบด้วยกาล หยั่งลงแล้ว ทั้งอดีต

และอนาคต ทุกข์เป็นอดีตกาลอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น

ทุกทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูล

แห่งทุกข์ ทุกข์เป็นอนาคตกาลอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด จักเกิดขึ้น ทุกข์

ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว พระดำรัส

นี้ว่า ทุกข์เป็นอดีตกาลอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์-

ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์

ทุกข์เป็นอนาคตกาลอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเกิด จักเกิดขึ้นทุกข์ทั้งหมดนั้น

มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุมารนามว่าจิรวาสี

บุตรของข้าพระองค์มีอยู่ เขาอาศัยอยู่ภายนอกนคร ข้าพระองค์ลุกขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

แต่เช้าตรู่ ส่งบุรุษไปด้วย สั่งว่า แน่ะนาย เจ้าจงไปจงทราบกุมารจิรวาสี

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นยังไม่มาเพียงใด ความกระวนกระวายใจ

ย่อมมีแก่ข้าพระองค์ว่า อะไร ๆ อย่าเบียดเบียนจิรวาสีกุมารเลย ดังนี้

เพียงนั้น ๆ.

[ ๖๒๘ ] . ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความ

ร่ำไร ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะจิรวาสี

กุมารตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนหรือ.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อจิรวาสีกุมารยังมีชีวิตอยู่

ข้าพระองค์ยังมีความกระวนกระวายใจ ไฉนความโศก ความร่ำไร ความ-

ทุกข์โทมนัสและอุปายาส จักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะจิรวาสีกุมาร

ตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนเล่า พระเจ้าข้า.

. ดูก่อนนายคามณี ข้อนั้นพึงทราบโดยปริยายนี้ว่า ทุกข์อย่างใด

อย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะ

เป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลแห่งทุกข์ ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อใด ท่านไม่ได้เห็นมารดาของจิรวาสีกุมาร ไม่ได้

ฟังเสียง เมื่อนั้น ท่านมีความพอใจ ความกำหนัดหรือความรักในมารดา

ของจิรวาสีกุมารหรือ.

คา. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

. เพราะอาศัยการเห็นหรือการฟัง ท่านจึงมีความพอใจ ความ

กำหนัดหรือความรักในมารดาของจิรวาสีกุมารหรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

คา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

. ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความโศก ความร่ำไร

ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะมารดาของ

จิรวาสีกุมารตาย ถูกจำจอง เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนหรือ.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้เมื่อมารดาของจิรวาสีกุมารมีชีวิตอยู่

ข้าพระองค์พึงมีความกระวนกระวายใจ ไฉนความโศก ความร่ำไร

ความทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จักไม่เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะมารดา

ของจิรวาสีกุมารตาย ถูกจองจำ เสื่อมทรัพย์หรือถูกติเตียนเล่า พระเจ้าข้า.

. ดูก่อนนายคามณี ท่านพึงทราบความข้อนั้นโดยปริยายนี้ว่า

ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น ทุกข์ทั้งหมดนั้นมีฉันทะเป็นมูล

มีฉันทะเป็นเหตุ เพราะฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์.

จบ คันธภกสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาคันธภกสูตรที่ ๑๑

ในคันธภกสูตรที่ ๑๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มลฺเลสุ ได้เเก่ในชนบทชึ่งมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า วเธน

แปลว่า ตาย. บทว่า ชานิยา แปลว่า เสื่อมทรัพย์. บทว่า อกาลิเกน

ปตฺเตน ความว่า บรรลุในระหว่างกาล คือบรรลุไม่ล่วงเลยกาล หามิได้.

บทว่า จิรวาสี นาม กุมาโร ได้แก่บุตรของนายบ้านนั้น มีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า พหิอาวาสเถ ปฏิวสติ ความว่า อยู่เรียนศิลปะบางอย่าง

นอกเมือง. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงทุกข์ในวัฏฏะ.

จบ อรรถกถาคันธภกสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

๑๒. ราสิยสูตร

ว่าด้วยบรรพชิตไม่ควรเสพส่วนสุด ๒ อย่าง

[ ๖๒๙ ] ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าราสิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้า

ไปว่า เข้าไปด่าบุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง โดยส่วน

เดียว ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใด ได้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า

พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่าเข้าไปด่าบุคคลทั้งปวงผู้มีตบะ.

ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าว

ตามคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

คำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะ

ที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้แลหรือ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนายคามณี ชนเหล่าใดได้กล่าว

แล้วอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมติเตียนตบะทั้งปวง เข้าไปว่า เข้าไปด่าบุคคล

ทั้งปวงผู้มีตบะชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง โดยส่วนเดียว ดังนี้ ชนเหล่านั้น

ย่อมไม่เป็นอันกล่าวตามความที่เรากล่าวแล้ว และกล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ไม่

เป็นจริง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

[๖๓๐] ดูก่อนนายคามณี บรรพชิตไม่ควรเสพส่วนสุด ๒ อย่างนี้

คือ ๑. การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็น

ธรรมเลวทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่เป็นของพระ-

อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๒. การประกอบตนให้เหน็ดเหนื่อย

ลำบากเปล่า ซึ่งเป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ ดูก่อนนายคามณี ข้อปฏิบัติสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด

๒ อย่างนั้น อันพระตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว กระทำให้เกิดจักษุ

กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ

ตรัสรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ดูก่อนนายคามณี ก็ข้อปฏิบัติสายกลาง อันพระ-

ตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว กระทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ

ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น

เป็นไฉน คืออริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ

สัมมาสมาธิ ดูก่อนนายคามณี ข้อปฏิบัติสายกลางนี้แล อันตถาคตตรัสรู้

ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว การทำให้เกิดจักษุ กระทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไป

เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

ว่าด้วยบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวก

[๖๓๑] ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนี้ มี

ปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบริโภคกามบางคนในโลกนี้

แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่

เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ๑ ก็บุคคลผู้บริโภคกาม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

บางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน

ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ๑ บุคคล

ผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดย

ความผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ ๑.

[๖๓๒] ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้

แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม และไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน

บ้าง โดยความไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้สุขสบาย ไม่จำแนก

ทาน ไม่ทำบุญ บุคคลผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์

โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลันบ้าง โดยความไม่

ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่

ทำบุญ บุคคลผู้บริโภคกามบางคนโนโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบ

ธรรมและไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลันบ้าง โดยความไม่ผลุนผลันบ้าง

ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ.

[๖๓๓] ดูก่อนนายคามณี อนึ่ง บุคคลผู้บริโภคกามบางคนใน

โลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้วไม่

เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ก็บุคคลผู้บริโภคกาม

บางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน

ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ก็บุคคล

ผู้บริโภคกามบางคนในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่

ผลุนผลัน ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ แต่ยัง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

เป็นคนละโมภ หลงพัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก

บริโภคทรัพย์นั้นอยู่ ดูก่อนนายคามณี อนึ่ง บุคคลผู้บริโภคกามบางคน

ในโลกนี้ แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยไม่ผลุนผลัน ครั้นแล้ว

เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ และไม่ละโมภ ไม่หลง

ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคทรัพย์นั้นอยู่

ว่าด้วยผู้บริโภคกามพึงถูกติเตียนและสรรเสริญ

[๖๓๔] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น

ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน

ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้ พึงถูก

ติเตียนโดย ๓ สถาน. พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑

พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความ

ผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย

สถานที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูก่อนนายคามณี

บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเหล่านั้น

[๖๓๕] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น

ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน

ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญนี้ พึงถูก

ติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย

๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์

โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน ควร

สรรเสริญโดยสถานเดียวว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย ดูก่อนนายคามณี

บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดย

สถานเดียวนี้.

[๖๓๖] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น

ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน

ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ นี้ พึงถูกติเตียนโดย

สถานอย่างเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว

เป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่

ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน

คือ สถานที่ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๒

ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ ดูก่อนนายคามณี บุคคล

ผู้บริโภคกามเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย

๒ สถานเหล่านี้.

[๖๓๗] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น

ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดย

ผลุนผลันบ้าง โดยไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย

ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียน

โดย ๓ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ ควรสรรเสริญ

โดยสถานเดียวดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่

ผลุนผลัน พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

ติเตียนดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน

สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓

พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูก่อนนายคามณี บุคคล

บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถาน

เหล่านี้.

[๖๓๘] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น

ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดย

ผลุนผลันบ้าง โดยไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย

แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียน

โดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑

ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่

ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย

พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า

แสวงหาโภคทรัพย์โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน สถานที่ ๒ พึงถูก

ติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภค

กามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียน ๒ สถานเหล่านี้

[๖๓๙] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น

ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม โดย

ผลุนผลันบ้าง โดยไม่ผลุนผลันบ้าง ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย

จำแนกทาน ทำบุญ นี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดย

สถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

สรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน

สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓

ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน ทำบุญ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว

เป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์

โดยไม่ชอบธรรม โดยความผลุนผลัน ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภค

กามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวนี้.

[๖๔๐] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น

ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน

ครั้นแล้วไม่เลี้ยงตัวให้สุขสบาย ไม่จำแนกทานไม่ทำบุญ นี้ ควรสรรเสริญ

โดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว

เป็นไฉน คือควรสรรเสริญโดยสถานเดียวดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์

โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน

คือ สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๒

พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูก่อนนายคามณี บุคคล

ผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย

๒ สถานเหล่านี้.

[๖๔๑] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น

ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน

ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย แต่ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ นี้ ควร

สรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญ. ดังนี้ ว่า แสวงหาโภคทรัพย์

โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า

เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูก

ติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า ไม่จำแนกทาน ไม่ทำบุญ ดูก่อนนายคามณี

บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดย

สถานเดียวนี้.

[๖๔๒] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น

ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน

ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ แต่ยังเป็นคนละโมภ

หลง พัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์นี้

ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญ

โดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหา

โภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญ

ดังนี้ว่า เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนก

ทาน ทำบุญ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวเป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียน

โดยสถานเดียวดังนี้ว่า เป็นคนละโมภ หลง พัวพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มี

ปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์ ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภค

กามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวนี้.

[๖๔๓] ดูก่อนนายคามณี ในบุคคลผู้บริโภคกาม ๓ จำพวกนั้น

ผู้บริโภคกามที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน

ครั้นแล้วเลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย จำแนกทาน ทำบุญ และไม่ละโมภ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

ไม่หลง ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภค

โภคทรัพย์นี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถาน ควรสรรเสริญโดย ๔ สถาน

เป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า แสวงหาโภคทรัพย์

โดยชอบธรรม โดยความไม่ผลุนผลัน สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า

เลี้ยงตัวให้เป็นสุขสบาย สถานที่ ๓ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า จำแนกทาน

ทำบุญ สถานที่ ๔ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า เป็นคนไม่ละโมภ ไม่หลง

ไม่พัวพัน มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคโภคทรัพย์

ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้บริโภคกามเช่นนี้ ควรสรรเสริญโดย ๔ สถาน

เหล่านี้.

ว่าด้วยผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวก

[๖๔๔] ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้มีตบะ ทรงชีพอยู่อย่าง

เศร้าหมอง ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคล

ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธาออกบวช

เป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้ง

ซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะ วิเศษชั้นเยี่ยม อย่างบริบูรณ์ ดังนี้

เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย แต่ก็ไม่บรรลุกุศลธรรม ทำให้

แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้

๑ ดูก่อนนายคามณีก็บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองบางคนในโลก

นี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึง

บรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

ชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ ดังนี้ เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวายบรรลุ

กุศลธรรมอย่างเดียว แต่กระทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศ-

นะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ๑ ดูก่อนนายคามณี ก็บุคคลผู้มีตบะ

ทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็น

บรรพชิตด้วยคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงบรรลุกุศลธรรม พึงทำให้แจ้ง

ซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ ดังนี้

เขาย่อมทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ได้บรรลุกุศลธรรม และทำไห้แจ้ง

ซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ ๑.

[๖๔๕] ดูก่อนนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่

อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำตัว

ให้ร้อนรนกระวนกระวาย ไม่ได้บรรลุกุศลธรรม ทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุ-

สสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้นี้ พึงถูกติเตียน

โดย ๓ สถาน พึงถูกติเตียนโดย ๓ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ พึงถูก

ติเตียนดังนี้ว่า ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย สถานที่ ๒ พึงถูกติเตียน

ดังนี้ว่า ไม่ได้บรรลุกุศลธรรม สถานที่ ๓ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำให้

แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่

ได้ดูก่อนนายคามณีบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอย่างเศร้าหมองนี้ พึงถูกติเตียน

โดย ๓ สถานเหล่านี้.

[๖๔๖] ดูก่อนนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่

อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำ

ตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ได้บรรลุกุศลธรรมเหล่านั้น แต่ทำให้แจ้ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

ซึ่งอุตตริมนุสสธรรมชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้นี้พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถาน

ควรสรรเสริญโดยสถานเดียว พึงถูกติเตียนโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ

สถานที่ ๑ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย สถาน

ที่ ๒ พึงถูกติเตียนดังนี้ว่า ทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศ-

นะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ไม่ได้ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวเป็นไฉน

คือ ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวดังนี้ว่า ได้บรรลุกุศลธรรม ดูก่อนนาย

คามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองเช่นนี้ พึงถูกติเตียนโดย

๒ สถาน ควรสรรเสริญโดยสถานเดียวนี้.

[๖๔๗] ดูก่อนนายคามณี ในบรรดาบุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่

อย่างเศร้าหมอง ๓ จำพวกนั้น ผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมอง ที่ทำ

ตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย ได้บรรลุกุศลธรรม และทำให้แจ้งซึ่งอุตต-

ริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์นี้ พึงถูกติเตียน

โดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถาน พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียว

เป็นไฉน คือ พึงถูกติเตียนโดยสถานเดียวดังนี้ว่า ทำตัวให้ร้อนรนกระวน

กระวาย ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเป็นไฉน คือ สถานที่ ๑ ควร

สรรเสริญดังนี้ว่า ได้บรรลุกุศลธรรม สถานที่ ๒ ควรสรรเสริญดังนี้ว่า

ทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมที่เป็นญาณทัศนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์

ได้ ดูก่อนนายคามณี บุคคลผู้มีตบะทรงชีพอยู่อย่างเศร้าหมองเช่นนี้ พึง

ถูกติเตียนโดยสถานเดียว ควรสรรเสริญโดย ๒ สถานเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

ว่าด้วยธรรม ๓ อย่างอันบุคคลพึงเห็นเอง

[๖๔๘] ดูก่อนนายคามณี ธรรม ๓ อย่างนี้ เป็นของอันบุคคล

พึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู

ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ธรรม ๓ อย่าง

เป็นไฉน คือ การที่บุคคลเป็นผู้กำหนัดตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง

ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง

เพราะราคะเป็นเหตุ เมื่อละราคะได้แล้ว ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตน

เองบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียน

ทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรม

มิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อัน-

วิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑

การที่บุคคลผู้ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเอง

บ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่น

บ้าง เพราะโทสะเป็นเหตุ เมื่อละโทสะได้แล้ว ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียน

ตนเองบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียด

เบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความ

ทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา

ในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

การที่บุคคลผู้หลงแล้ว ตั้งใจจะเบียดเบียนตนเองบ้าง ตั้งใจจะ

เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ตั้งใจจะเบียดเบียนทั้งตนเองทั้งผู้อื่นบ้าง เพราะโมหะ

เป็นเหตุ เมื่อละโมหะได้แล้ว ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนตนเองบ้าง

ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมไม่ตั้งใจที่จะเบียดเบียนทั้งตนเอง

ทั้งผู้อื่นบ้าง นี้เป็นธรรมอันบุคคลพึงเห็นเอง หาความทรุดโทรมมิได้

ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน

จะพึงรู้เฉพาะตน ๑

ดูก่อนนายคามณี ธรรม ๓ อย่างนี้แล เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง

หาความทรุดโทรมมิได้ ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม

เข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว นายบ้านนามว่าราสิยะได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนา

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระ

องค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนก ปริยาย

ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือส่อง

ไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์

ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก

ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต.

จบ ราสิยสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

อรรถกถาราสิยสูตรที่ ๑๒

ในราสิยสูตรที่ ๑๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า ราสิโย ความว่า พระธรรมสังคาหกเถระได้กำหนดชื่อ

นายบ้านว่า ราสิยะ อย่างนี้ เพราะเขาถามปัญหาเป็นกลุ่มก้อน บทว่า

ตปสฺสึ ได้แก่อาศัยตบะ. บทว่า ลูขชีวึ แปลว่า มีความเป็นอยู่ปอน ๆ.

บทว่า อนฺตา ได้แก่ส่วน. บทว่า คาโม ได้แก่เป็นของชาวบ้าน

ปาฐะว่า คมฺโม ดังนี้ก็มี. ความว่า เป็นเรื่องของชาวบ้าน บทว่า.

อตฺตกิลมถานุโยโค แปลว่า การประกอบตนให้ลำบากเปล่า อธิบายว่า

ทำความเดือดร้อนแก่ร่างกาย. ถามว่า ก็ในที่นี้ เหตุไรจึงทรงถือเอากาม-

สุขัลลิกานุโยค เหตุไรจึงทรงถือเอาอัตตกิลมถานุโยค เหตุไรจึงทรงถือเอา

มัชฌิมาปฏิปทา. แก้ว่า ทรงถือเอากามสุขัลลิถานุโยค เพื่อแสดงแก่เหล่าชน

ผู้บริโภคกามก่อน ทรงถือเอาอัตตกิลมถานุโยค เพื่อแสดงแก่เหล่าชนผู้

อาศัยตบะ ทรงถือเอามัชฌิมาปฏิปทา เพื่อแสดงเรื่องที่หาชราความทรุด-

โทรมมิได้ ๓ ประการถามว่า ในการแสดงข้อปฏิบัติเหล่านั้น ได้ประโยชน์

อะไร. แก้ว่า บรรดาข้อปฏิบัติเหล่านี้ พระตถาคตทรงละส่วนสุด ๒ อย่าง

แล้วทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วยมัชฌิมาปฏิปทา ผู้บริโภคกาม

ทั้งหลาย พระองค์ก็มิได้ทรงตำหนิ มิได้ทรงสรรเสริญไปทั้งหมด แม้ผู้

อาศัยตบะทั้งหลาย พระองค์ก็มิได้ทรงตำหนิ มิได้ทรงสรรเสริญไปทุกคน

ทรงตำหนิเฉพาะผู้ที่ควรตำหนิ ทรงสรรเสริญผู้ที่ควรสรรเสริญ พึงทราบ

ว่า ประโยชน์ในการแสดงข้อปฏิบัติเหล่านี้ ก็เพื่อประกาศเนื้อความนี้

ด้วยประการฉะนี้. บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระ-

พุทธพจน์ว่า ตโย โขเม คามณิ กามโภคิโน ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหเสน แปลว่า ด้วยการกระทำ

อย่างผลุนผลัน. บทว่า น สวิภชติ ความว่า ไม่แจกจ่ายแก่มิตรสหาย

ที่เคยเห็นเคยคบกัน. บทว่า น ปุญฺานิ กโรติ ความว่า ไม่ทำบุญ

ซึ่งเป็นปัจจัยแก่ภพภายหน้า. บทว่า ธมฺมาธมฺเมน แปลว่า โดยชอบ

ธรรม และโดยไม่ชอบธรรม. บทว่า าเนหิ ได้แก่โดยเหตุทั้งหลาย.

บทว่า สจฺฉิกโรติ ความว่า ผู้มีตบะ เมื่อทำตัวให้ร้อนรนกระวนกระวาย

จะทำให้แจ้งซึ่งอุตตริมนุสสธรรมได้อย่างไร. ธรรมราศี กองธรรม ๓ อย่าง

ชื่อว่าอันบุคคลพึงเห็นเอง ด้วยอำนาจความเพียรที่ประกอบด้วยองค์ ๔

และด้วยอำนาจธุดงค์. ในบทว่า นิชฺชรา นี้ ท่านเรียกมรรคบางอย่างว่า

ติสฺโส นิชฺชรา เพราะกิเลสทั้งสามหาชราทรุดโทรมมิได้.

จบ อรรถกถาราสิยสูตรที่ ๑๒

๑๓. ปาฏลิยสูตร

ว่าด้วยทรงรู้จักมายา

[๖๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อุตตรนิคม

แห่งชาวโกฬิยะในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้นแล นายบ้านนามว่าปาฏลิยะ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรง

รู้จักมายา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม

ทรงรู้จักมายา ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

ภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และ

พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกไร ๆ คล้อยตามวาทะ จะไม่

ถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้แลหรือ เพราะว่าข้าพระองค์ไม่ประสงค์

จะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อน

นายคามณี ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงทราบมายา

ดังนี้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ย่อมไม่กล่าวตู่เรา

ด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกไร ๆ

คล้อยตามวาทะ ย่อมไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนจะติเตียนได้.

คา. ข่าวเล่าลือข้อนั้นจริงเทียวพระองค์ แต่พวกข้าพระองค์ มิได้

เชื่อถือสมณพราหมณ์พวกนั้นว่า พระสมณโคดมทรงรู้จักมายา ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข่าวว่า พระสมณโคดมมีมายา.

. ดูก่อนนายคามณี ผู้ใดแลพูดอย่างนี้ว่า เรารู้จักมายา ผู้นั้น

ย่อมจะพูดอย่างนี้ว่า เรามีมายา.

คา. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นย่อมเป็นดังนั้นเทียว ข้าแต่

พระสุคต ข้อนั้นย่อมเป็นดังนั้นเทียว.

. ดูก่อนนายคามณี ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่าน

พึงแก้ตามที่ท่านชอบใจ.

[๖๕๐] ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ท่านย่อมรู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะหรือ

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้จักพวกอำมาตย์มีมวย

ผมยาวแห่งชาวโกฬิยะ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

. ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พวก

อำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะมีประโยชน์อย่างไร.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาว

โกฬิยะมีประโยชน์ดังนี้ คือ เพื่อป้องกันพวกโจรแห่งชาวโกฬิยะ เพื่อ

ละความเป็นคนนำข่าวแห่งชาวโกฬิยะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอำมาตย์

ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะมีประโยชน์อย่างนี้ พระเจ้าข้า.

. ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่าน

ย่อมรู้จักอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวในนิคมแห่งชาวโกฬิยะว่า เป็นคนมีศีลหรือ

เป็นคนทุศีล.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้จักพวกอำมาตย์ผู้มี

มวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะว่าเป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทรามและพวก

อำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งโกฬิยะ เป็นพวกหนึ่งในจำนวนบุคคลผู้ทุศีลมี

ธรรมเลวทรามในโลก.

. ดูก่อนนายคามณี ผู้ใดแลพึงพูดอย่างนี้ว่า นายบ้านนามว่า

ปาฏลิยะ รู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะ ซึ่งเป็นคนทุศีล

มีธรรมเลวทราม แม้นายบ้านปาฏลิยะก็เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม

ดังนี้ ผู้นั้นเมื่อพูดถึงพึงพูดถูกหรือหนอแล.

คา. หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า พวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาว

แห่งชาวโกฬิยะเป็นพวกหนึ่ง ข้าพระองค์เป็นพวกหนึ่ง พวกอำมาตย์

ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะเป็นคนมีธรรมเป็นอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์

เป็นคนมีธรรมเป็นอย่างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

. ดูก่อนนายคามณี ก็ที่จริง ท่านจักไม่ได้เป็นดังนี้ว่า นายบ้าน

นามว่าปาฏลิยะ รู้จักพวกอำมาตย์ผู้มีมวยผมยาวแห่งชาวโกฬิยะ ซึ่งเป็น

คนทุศีล มีธรรมเลวทราม แต่นายบ้านปาฏลิยะไม่ใช่เป็นคนทุศีล มีธรรม

เลวทราม ฉะนั้นตถาคตจักไม่ได้เป็นดังนี้ว่า ตถาคตรู้จักมายา แต่ว่าตถาคต

ไม่มีมายา.

[๖๕๑] ดูก่อนนายคามณี เรารู้ชัดทั้งมายา ผลของมายา และ

ตลอดถึงความที่บุคคลผู้มีมายาปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อม

เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งปาณาติบาต ผลของปาณาติบาต

และตลอดถึงความที่บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป

ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งอทินนาทาน ผลของ

อทินนาทาน และตลอดถึงความที่บุคคลผู้ลักทรัพย์ปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อ

แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งกาเม

สุมิจฉาจาร ผลของกาเมสุมิจฉาจาร และตลอดถึงความที่บุคคลผู้ประพฤติ

ผิดในกามปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งมุสาวาท ผลของมุสาวาท และตลอดถึงความที่

บุคคลผู้พูดเท็จปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งปิสุณาวาจา ผลของปิสุณาวาจา และตลอด

ถึงความที่บุคคลกล่าวคำส่อเสียดปฏิบัติอย่าไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งผรุสวาจา ผลของผรุส-

วาจา และตลอดถึงความที่บุคคลผู้กล่าวคำหยาบปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อ

แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

สัมผัปปลาปะ ผลของสัมผัปปลาปะ และตลอดถึงความที่บุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ

ปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก เรารู้ชัดทั้งอภิชฌา ผลของอภิชฌา และตลอดถึงความที่บุคคลผู้มี

อภิชฌาปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก เรารู้ชัดทั้งความพยาบาท ประทุษร้ายเขา ผลของความ

พยาบาทประทุษร้ายเขา และตลอดถึงความที่บุคคลผู้มีจิตพยาบาทปฏิบัติ

อย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

เรารู้ชัดทั้งมิจฉาทิฏฐิ ผลของมิจฉาทิฏฐิ และตลอดถึงความที่บุคคลผู้เป็น

มิจฉาทิฏฐิปฏิบัติอย่างไรแล้ว เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก.

[๖๕๒] ดูก่อนนายคามณี มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ

อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสใน

ปัจจุบัน บุคคลผู้ลักทรัพย์ทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน บุคคล

ผู้ประพฤติผิดในกามคุณทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน บุคคลผู้

พูดเท็จทุกคนต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน.

[๖๕๓] ดูก่อนนายคามณี ก็และบุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่า

เป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตกแต่งผมและ

หนวดแล้ว ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรี เหมือนกับพระราชา

ชนทั้งหลายพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำ

อะไรจึงเป็น ผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตกแต่งผม

และหนวดแล้ว ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

ชนทั้งหลายได้พูดถึงชายคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้

ข่มข้าศึกของพระราชาแล้วฆ่ามันเสีย พระราชาทรงโสมนัส ได้ทรงพระ-

ราชทานรางวัล ฉะนั้น ชายคนนี้จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู

อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตกแต่งผมและหนวดแล้ว ให้บำเรอตนด้วยความ

ใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ดูก่อนนายคามณี บุคคลบางคนในโลก

นี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวแน่นมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้ว

โกนศีรษะเสีย แล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์

เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้าน

ทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่าน

ผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไรไว้ จึงถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวแม่นมัดแขน

ไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้ว โกนศีรษะเสีย แล้วพาตระเวนไปตามถนนตาม

ตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้ว

ตัดศีรษะเสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พูดถึงชายคนนี้ว่า

ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ฆ่าบุรุษหรือสตรีที่มีเวรกับพระราชา ฉะนั้น

พระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วกระทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดังนี้

ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้

ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้างไหม.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ ข้าพระองค์ได้เห็น

มาแล้วด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย.

[๖๕๔] . ดูก่อนนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น

สมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ทุกคน

ต้องเสวยทุกข์โทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

คา. พูดเท็จ พระเจ้าข้า.

. ก็พวกที่กล่าวเท็จเปล่า ๆ นั้น เป็นคนมีศีลหรือเป็นคนทุศีลเล่า.

คา. เป็นคนทุศีล พระเจ้าข้า.

. ก็พวกที่เป็นคนทุศีลมีธรรมเลวทรามนั้น เป็นคนปฏิบัติผิด

หรือเป็นคนปฏิบัติชอบเล่า.

คา. เป็นคนปฏิบัติผิด พระเจ้าข้า.

. ก็พวกที่ปฏิบัติผิดนั้น เป็นคนมีความเห็นผิดหรือเป็นคนมี

ความเห็นชอบเล่า.

คา. เป็นคนมีความเห็นผิด พระเจ้าข้า.

. ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น.

. ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า.

[๖๕๕] . ดูก่อนนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่า

เป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่

กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อน

ท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ

ให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พา

กันพูดถึงชายคนนี้อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ข่มขี่ ลักเอา

ทรัพย์ของข้าศึกของพระราชา พระราชาทรงโสมนัสได้พระราชทานรางวัล

แก่เขา ฉะนั้น ชายคนนี้จึงประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ ให้บำเรอตน

ด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ดูก่อนนายคามณี บุคคลบางคน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

ในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้ว

ฯลฯ ตัดศีรษะทางด้านทิศทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูด

ถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงถูกเขา

เอาเชือกที่เหนียวมัดแขนเอามือไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้ว ฯลฯ ตัดศีรษะ

เสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้น

อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งแห่งโจรกรรม

จากบ้านบ้าง จากป่าบ้าง ฉะนั้น พระราชาจึงรับสั่งให้จับเขาแล้วทำ

กรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เหตุการณ์เช่นนี้ ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างไหม.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ ข้าพระองค์ได้เห็นมา

แล้วด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย.

[๖๕๖] . ดูก่อนนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น

สมณพราหมส์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ลักทรัพย์

ทุกคนต้องเสวยทุกขโทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ.

คา. พูดเท็จ พระเจ้าข้า ฯลฯ

. ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น.

คา. ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า.

[๖๕๗] ดูก่อนนายคามณี ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่า

เป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯ ล ฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่

กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่

ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา

ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้

ประพฤติผิดในภรรยาของข้าศึกของพระราชา พระราชาทรงโสมนัสได้

พระราชทานรางวัลแก่เขา เพราะเหตุนั้น ชายคนนี้จึงเป็นผู้ประดับด้วย

ดอกไม้ ใส่ตุ้มหู ฯลฯ แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับ

พระราชา ดูก่อนนายคามณี บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอา

เชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลังอย่างมั่นคง ฯลฯ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้าน

ทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อน

ท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ได้กระทำอะไรไว้จึงถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขน

ไพล่หลังอย่างมั่นคง ฯลฯ แล้วตัดศีรษะเสียทางด้านทิศทักษิณของพระ-

นคร ชนทั้งหลายพากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชาย

คนนี้ประพฤติผิดในกุลสตรีในกุลธิดา ฉะนั้นพระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้

จับเขา แล้วกระทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างไหม.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ ข้าพระองค์ได้เห็น

มาแล้วด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย.

[๖๕๘] . ดูก่อนนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น

สมณพราหมณ์ พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ประพฤติผิด

ในกามคุณทุกคนต้องเสวยทุกขโทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริง

หรือเท็จ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

คา. พูดเท็จ พระเจ้าข้า ฯลฯ

. ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น.

คา. ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า.

[๖๕๙] . ดูก่อนนายคามณี ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏ

ว่าเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตกแต่งผม

และหนวด แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ชน

ทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้

ได้ทำอะไร จึงเป็นผู้ประดับด้วยดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว

ตกแต่งผมและหนวด แล้วให้บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับ

พระราชา ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่าน ผู้เจริญ

ชายคนนี้ทำพระราชาให้ทรงพระสรวลได้ด้วยการพูดเท็จ พระราชาทรง

โสมนัสได้พระราชทานรางวัลแก่เขา ฉะนั้นชายคนนั้นจึงเป็นผู้ประดับด้วย

ดอกไม้ ใส่ตุ้มหู อาบน้ำ ลูบไล้ดีแล้ว ตกแต่งผมและหนวด แล้วให้

บำเรอตนด้วยความใคร่กับสตรีเหมือนกับพระราชา ดูก่อนนายคามณี

บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรากฏว่าถูกเขาเอาเชือกที่เหนียวมัดแขนไพล่หลัง

อย่างมั่นคงแล้วโกนหัวเสีย แล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอกด้วย

บัณเฑาะว์เสียงสนั่นแล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสีย

ทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงบุคคลนั้นอย่างนี้

ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ ได้ทำอะไร จึงถูกเอาเชือกที่เหนียวมัดแขน

ไพล่หลังอย่างมั่นคงแล้วโกนหัวเสีย แล้วพาตระเวนไปตามถนนตามตรอก

ด้วยบัณเฑาะว์เสียงสนั่น แล้วออกทางประตูด้านทิศทักษิณ แล้วตัดศีรษะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

เสียทางด้านทักษิณของพระนคร ชนทั้งหลายได้พากันพูดถึงคนนั้นอย่างนี้

ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชายคนนี้ทำลายประโยชน์ของคฤหบดีบ้าง ของ

บุตรแห่งคฤหบดีบ้าง ด้วยการพูดเท็จ ฉะนั้น พระราชาจึงรับสั่งให้จับเขา

แล้วกระทำกรรมกรณ์เห็นปานนี้ ดูก่อนนายคามณี ท่านจะสำคัญความข้อ

นั้นเป็นไฉน เหตุการณ์เช่นนี้ ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาแล้วบ้างไหม.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุการณ์เช่นนี้ ข้าพระองค์ได้เห็น

มาแล้วด้วย ได้ฟังมาแล้วด้วย จักได้ฟังต่อไปอีกด้วย.

[๖๖๐] . ดูก่อนนายคามณี ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น

สมณพราหมณ์พวกที่มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า บุคคลผู้พูดเท็จทุกคน

ต้องเสวยทุกข์และโทมนัสในปัจจุบัน ดังนี้ เขาเหล่านั้นพูดจริงหรือเท็จ.

คา. พูดเท็จ พระเจ้าข้า.

. ก็พวกที่กล่าวเท็จเปล่า ๆนั้น เป็นคนมีศีลหรือเป็นคนทุศีลเล่า.

คา. เป็นคนทุศีล พระเจ้าข้า.

. ก็พวกที่เป็นคนทุศีลมีธรรมอันเลวทรามนั้น เป็นคนปฏิบัติ

ผิดหรือเป็นคนปฏิบัติชอบเล่า.

คา. เป็นคนปฏิบัติผิด พระเจ้าข้า.

. ก็พวกที่ปฏิบัติผิดนั้น เป็นคนมีความเห็นผิดหรือเป็นคนมี

ความเห็นชอบเล่า.

คา. เป็นคนมีความเห็นผิด พระเจ้าข้า.

. ก็สมควรละหรือที่จะเลื่อมใสในพวกที่มีความเห็นผิดเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

คา. ไม่สมควรเลย พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมา ข้าพระองค์มีเรือนพักอยู่หลังหนึ่ง ใน

เรือนนั้นมีเตียงนอน มีที่นั่ง มีหม้อน้ำ มีประทีปน้ำมัน ข้าพระองค์

จะแจกจ่ายแก่สมณะหรือพราหมณ์ผู้เข้าไปอยู่ในเรือนพักนั้นตามสติกำลัง.

ว่าด้วยทาวะของศาสดา ๔ ท่าน

[๖๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดา ๔ ท่าน

ชึ่งมีความเห็น มีความพอใจ มีความชอบใจต่าง ๆ กัน พากันเข้าไปอยู่

ในเรือนพักนั้น ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า

ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่ว

ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดขึ้นไม่มี

สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำให้โลกนี้และโลกหน้าแจ้ง

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก.

[๖๖๒] ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า

ทานมีผล การบูชามีผล การเช่นสรวงมีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วมีอยู่

โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้ผุดเกิดมี สมณพราหมณ์

ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอัน

ยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก.

[๖๖๓] ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง

ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน

ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว

ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่เชื่อว่าบาป หากแม้น

ผู้ใดจะใช้จักร ซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้

ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อม

ไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา

ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่น

เบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมา

ถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้

บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา.

ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม

การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญ

มาถึงเขา.

[๖๖๔] ศาสดาท่านหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง

ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก

ทำเขาไห้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้เขาดิ้นรน

ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือน

หลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่าทำบาป

แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ใน

ปฐพีนี้ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

ย่อมมีแก่เขา มีบาปถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา

ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่น

ให้เบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้น เป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา

แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง

ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา

ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มี

การทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์มีความสงสัยสนเท่ห์ว่า บรรดาสมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านี้

ใครหนอพูดจริง ใครหนอพูดเท็จ.

. ดูก่อนนายคามณี ก็ควรแล้วที่ท่านจะสงสัย ควรแล้วที่ท่าน

จะสนเท่ห์ ก็และความสนเท่ห์ของท่านเกิดแล้วในฐานะที่น่าสงสัย.

คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าสามารถแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดย

ที่ข้าพระองค์พึงละความสงสัยนี้ได้.

[๖๖๕] . ดูก่อนนายคามณี ธรรมสมาธิมีอยู่ ถ้าท่านตั้งอยู่

ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความ

สงสัยนี้ได้ ดูก่อนนายคามณี ก็ธรรมสมาธิเป็นไฉน. ดูก่อนนายคามณี

พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละปาณาติบาต งดเว้นปาณาติบาต

เป็นผู้ละอทินนาทาน งดเว้นอทินนาทาน เป็นผู้ละกาเมสุมิจฉาจาร

งดเว้นกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้ละมุสาวาท งดเว้นมุสาวาท

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

เป็นผู้ละปิสุณาวาจา งดเว้นปิสุณาวาจา เป็นผู้ละผรุสวาจา งดเว้นผรุสวาจา

เป็นผู้ละสัมผัปปลาปะ งดเว้นสัมผัปปลาปะ เป็นผู้ละอภิชฌา ไม่มากด้วย

อภิชฌา เป็นผู้ละความพยาบาทประทุษร้าย มีจิตไม่พยาบาท เป็นผู้ละความ

เห็นผิด มีความเห็นชอบ.

[๖๖๖] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจาก

อภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ

มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒

ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง

แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วย

เมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ

เบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะ

อย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่น-

สรวงไม่มีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดา

ไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติ

ชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้ว

สอนหมู่สัตว์ให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง

ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้

เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใคร ๆ คือผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด

ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อม

เกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าทานตั้งอยู่

ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความ

สงสัยนี้ได้.

[๖๖๗] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจาก

อภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ

มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ . . .พระ

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็น

อย่างนี้ว่า ทานมีผล การบูชามีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากที่ทำดี

ทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมี

สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้ง

ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตามมีอยู่ในโลก ดังนี้ ถ้า

ถ้อยคำของศาสดาผู้นั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา

สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑

ทั้งสองนี้ เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใคร คือ

ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่พระ-

อริยสาวกนั้น เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กาย

ย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ก่อนนายคามณี นี้แล ธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น

พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

[๖๖๘] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจาก

อภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ

มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ . . . พระ

อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็น

อย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียด

เบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้

เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำ

เขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรม

ในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ในที่เปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่า

ไม่ทำบาป หากแม้นผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหาร

เหล่าสัตว์ในพื้นปฐพีนี้ ให้เป็นลาน ให้เป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาป

ที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หา

บุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้

ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้น

เป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้าย

แห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่

มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน

การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้น

เป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้น

เป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เรา

จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

ชัยชนะในข้อนี้ เพราะว่าเราผู้ไม่เบียดเบียนใคร ๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง

เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อ

ปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว

ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แลธรรม

สมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้นพึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้

ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.

[๖๖๙] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจาก

อภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ

มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ . . . เมื่อ

บุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้

ผู้อื่นเบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขา

ให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์

ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่

ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้

จักรมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลาน

เป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เรา มี

บาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเองใช้ให้

ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน

บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเข้า แม้หากบุคคล

จะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่น

บูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ด้วยการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

ให้ท่าน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำ

เช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดา

นั้นเป็นนี้ความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เรา

จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอา

ชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง

เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อเกิด

ปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เรอมีกายสงบ

แล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แล

ธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อ

เป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.

[๖๗๐] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจาก

อภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ

มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยกรุณาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ . . . มีใจ

ประกอบด้วยมุทิตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ . . .พระอริยสาวกนั้นผู้ซึ่งปราศ-

จากอภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัม-

ปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่

ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบ

อุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความ

เบียดเบียนอยู่ พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะ

อย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

ไม่มีผล ผลวิบากที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี

บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ

กระทำโลกนี้ และโลกหน้าให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอน

ผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เรา

สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนี้ เพราะเรา

ผู้ไม่เบียดเบียนใคร ๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความ

ปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ

เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข

จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรม

สมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้

[๖๗๑] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจาก

อภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ

มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่. . .

พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ

เห็นอย่างนี้ว่า ทานมีผล การบูชามีผล การเซ่นสรวงมีผล ผลวิบากที่

ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมี

สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปดี ปฏิบัติชอบ กระทำโลกนี้ และโลกหน้าให้แจ้ง

ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ในโลกดังนี้

ถ้าถ้อยคำของศาสดานั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา

สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในข้อนั้น เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใครๆ

คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่

พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ

กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ดูก่อนนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้

จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.

[๖๗๒] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจาก

อภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ

มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศที่หนึ่งอยู่ . . .

พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ

เห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ชี้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด

เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำ

เขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบากเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง

ทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรม

ในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่

ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกนสังหาร

เหล่าสัตว์ในปฐพี ให้เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการ

ทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแต่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไป

ยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด

เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อม

ไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็น

เหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์

การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่

เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ถ้าถ้อยคำของศาสดาผู้นั้นเป็นความจริง ข้อที่เรา

สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เราจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้เป็นการถือเอาชัยชนะในขอนี้ เพราะเรา

ไม่เบียดเบียนใครๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคง เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความ

ปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ

เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เมื่อมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข

จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แลธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งมั่นอยู่ใน

ธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพึงละความ

สงสัยนี้ได้.

[๖๗๓] ดูก่อนนายคามณี พระอริยสาวกนั้น ผู้ซึ่งปราศจาก

อภิชฌา ปราศจากพยาบาทแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ฟั่นเฟือน มีสัมปชัญญะ

มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศที่ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒

ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกันตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไป

ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอัน

ไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียนอยู่

พระอริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ศาสดาผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความ

เห็นอย่างนี้ว่าเมื่อบุคคลทำเองใช้ให้ผู้อื่นทำตัดเองใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียด-

เบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียนทำเขาให้เศร้าโศกเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

โศก ทำเขาให้ลำบากเองใช้ผู้อื่นทำเขาให้ลำบาก ดิ้นรนเอง ทำเขาให้ดิ้นรน

ฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว

ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใด

จะใช้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้

เป็นลานเป็นกองมังสะอันเดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมี

แก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง

ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ผู้อื่นให้เบียดเบียน

บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคล

จะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่น

บูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบาปมาถึงเขา ด้วยการ

ให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวม การกล่าวคำสัตย์ บุญที่มีการ

ทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมมีแก่เขา มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ ถ้าถ้อยคำของศาสดา

นั้นเป็นความจริง ข้อที่เราสำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ๑ ข้อที่เรา

จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เมื่อแตกกายตายไป ๑ ทั้งสองนี้ เป็นการถือเอา

ชัยชนะในข้อนี้ เพราะเราผู้ไม่เบียดเบียนใคร ๆ คือ ผู้สะดุ้งหรือมั่นคง

เป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่พระอริยสาวกนั้น เมื่อ

ปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบ

แล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนนายคามณี นี้แล

ธรรมสมาธิ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธินั้น พึงได้จิตตสมาธิไซร้ เมื่อ

เป็นเช่นนี้ท่านพึงละความสงสัยนี้ได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าปาฏลิยะ

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนา

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนก

ปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือ

ส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักแลเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรมและพระ-

ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า

เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอด

ชีวิต.

จบ ปาฏลิยสูตรที่ ๑๓

จบ คามณิสังยุต

อรรถกถาปาฏลิยสูตรที่ ๑๓

ในปาฏลิยสูตรที่ ๑๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทูเตยฺยานิ แปลว่า งานทูต เป็นหนังสือก็มี เป็นข่าวสาส์น

จากปากก็มี. เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภคำนี้ว่า

ปาณาติปาตญฺจาห ดังนี้ ทรงปรารภเพื่อแสดงความเป็นพระสัพพัญญู

ว่า เรามิได้รู้มายาอย่างเดียว แม้เรื่องอื่น ๆ เราก็รู้อย่างนี้ ๆ. ทรงปรารภ

คำนี้. ว่า สนฺติ หิ คามณิ เอเก สมณพฺราหฺมณา ดังนี้ เพื่อทรงแสดง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

ลัทธิของสมณพราหมณ์ที่เหลือ แล้วให้ละลัทธินั้นเสีย. บทว่า มาลี กุณฺฑลี

ความว่า ประดับดอกไม้ด้วยพวงดอกไม้ ใส่ตุ้มหูด้วยตุ้มหูทั้งหลาย. บทว่า

อิตฺถีกาเมหิ ความว่า ความใคร่กับหญิงทั้งหลาย ชื่ออิตถีกาม (ให้

บำเรอตน ) ด้วยอิตถีกามเหล่านั้น. บทว่า อาวสถาคาร ได้แก่ห้องนอน

ที่ทำไว้ในที่แห่งหนึ่งของเรือนตระกูล เพื่ออยู่สบายสำหรับคนเดียวเท่านั้น.

บทว่า เตนาห ยถาสตฺติ ยถาพล สมฺภชามิ ความว่า ข้าพระองค์

จะแจกจ่ายห้องนอนนั้น โดยสมควรแก่สติและโดยสมควรแก่กำลัง. บทว่า

อล แปลว่า ควร. บทว่า กงฺขนิเย าเน ได้แก่ในเหตุที่น่าสงสัย

ด้วยบทว่า จิตฺตสมาธึ ทรงแสดงว่า ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธิ

นั้นแล้ว พึงกลับได้จิตตสมาธิ ด้วยอำนาจมรรค ๔ พร้อมกับวิปัสสนา.

บทว่า อปณฺณกตาย มยฺห ความว่า ปฏิปทานี้ย่อมเป็นไปอย่างนี้ เพราะ

เราเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด คือไม่มีความผิด. บทว่า กฏคฺคาโห แปลว่า

ถือเอาชัยชนะ. บทว่า ธมฺมสมาธิ ในคำว่า อยโข คามณิ ธมฺมสมธิ

ตตฺร เจ ตฺว จิตฺตสมาธึ ปฏิลเภยฺยาสิ นี้ ได้แก่กุศลกรรมบถ ๑๐.

บทว่า จิตฺตสมาธิ ได้แก่มรรค ๔ พร้อมด้วยวิปัสสนา. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า ปามุชฺช ชายติ ความว่า ธรรม ๕ กล่าวคือความปราโมทย์ ปีติ

ปัสสัทธิ สุข และสมาธิที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ

ดังนี้ ชื่อ ธรรมสมาธิ. ส่วนมรรค ๔ พร้อมด้วยวิปัสสนา ชื่อ จิตตสมาธิ.

อีกอย่างหนึ่ง กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อ จิตตสมาธิ. ข้อว่า พรหมวิหาร ๔ นี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

ชื่อธรรมสมาธิ ความที่จิตแน่วแน่ซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้บำเพ็ญธรรมสมาธินั้น

ชื่อจิตตสมาธิ. บทว่า เอว ตฺว อิม กงฺขาธมฺม ปชเหยฺยาสิ ความว่า

เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธิมีประเภทดังกล่าวแล้วนี้ พึง

กลับได้จิตตสมาธิอย่างนี้ พึงละความสงสัยนี้ได้โดยส่วนเดียว บทที่เหลือ

ในที่ทั้งปวง มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเทียวแล.

จบ อรรถกถาปาฏลิยสูตรที่ ๑๓

จบ อรรถกถาคามณิสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จันทสูตร ๒. ตาลปุตตสูตร ๓. โยธาชีวสูตร ๔. หัตถาโรหสูตร

๕. อัสสาโรหสูตร ๖. ภูมกสูตร ๗. เทศนาสูตร ๘. อสังขาสูตร

๙. กุลสูตร ๑๐. มณิจูฬสูตร ๑๑. คันธภกสูตร ๑๒. ราสิยสูตร

๑๓. ปาฏลิยสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

๙. อสังขตสังยุต

วรรคที่ ๑

ว่าด้วยอสังขตะและทางให้ถึงอสังขตะ

[๖๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย

เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่เธอ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ

นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

กายคตาสติ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตะ

เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังชตะเราแสดงแล้วแก่เธอ

ทั้งหลาย ดังนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์

เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความ

อนุเคราะห์ กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้

นั้นเรือนว่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้

เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย.

๑. วรรคที่ ๑ - ๒ แห่งอสังขตสังยุต อรรถกถาแก้รวม ๆ กัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

[๖๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะ

ให้ถึงอสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็อสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ

นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน

สมถะและวิปัสสนานี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯลฯ

[๖๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

สมาธิที่มีทั้งวิตกวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร

นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

[๖๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน

สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง

อสังขตะ.

[๖๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

สติปัฏฐาน ๔ นี้ เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

[๖๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

สัมมัปปธาน ๔ นี้ เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

[๖๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

อิทธิบาท ๔ นี้ เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

[๖๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

อินทรีย์ ๕ นี้ เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

[๖๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

พละ ๕ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

[๖๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

โพชฌงค์ ๗ นี้ เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

[๖๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่

จะให้ถึงอสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงกระทำแก่สาวก

ทั้งหลาย กิจนั้นเราอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั้นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย

นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย.

จบ วรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กายคตาสติสูตร ๒. สมถวิปัสสนาสูตร ๓. วิตักกสูตร

๔. สุญญตสูตร ๕. สติปัฏฐานสูตร ๖. สัมมัปปธานสูตร ๗. อิทธิปาท-

สูตร ๘. อินทรียสูตร ๙. พลสูตร ๑๐. โพชฌงคสูตร ๑๑. มรรคสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

อสังขตสังยุต

วรรคที่ ๒

ว่าด้วยอสังขตะและทางให้ถึงอสังขตะ

[๖๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตะ และทางที่

จะให้ถึงอสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็อสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ

ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึง

อสังขตะเป็นไฉน. คือสมถะ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอ

ทั้งหลาย ดังนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาพึงแสวงหา

ประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัย

ความอนุเคราะห์ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้

นั่นเรือนว่าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท

อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเรา เพื่อเธอ

ทั้งหลาย.

[๖๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสังขตะและทางที่จะ

ให้ถึงอสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็อสังขตะเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ

ความสิ้นโมหะ นี้เรียกอสังขตะ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

อสังขตะเป็นไฉน. คือ วิปัสสนานี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ เราแสดงแล้วแก่เธอ

ทั้งหลาย ดังนี้แล ฯลฯ นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย

[๖๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

คือ สมาธิมีทั้งวิตกวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ . . .

[๖๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

คือ สมาธิไม่มีวิตก มีแต่วิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๖๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

คือ สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๖๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

คือ สุญญตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ . . .

[๖๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

คือ อนิมิตตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ . . .

[๖๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

คือ อัปปณิหิตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ . . .

[๖๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผา

กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พึงกำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ . . .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

[๖๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผา

กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

[๖๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผา-

กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พึงกำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

[๖๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียรเครื่องเผา

กิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ พึง

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

[๖๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น

พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อยังธรรมอันเป็น

บาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ.

[๖๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น

พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละธรรมอันเป็นบาป

อกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

[๖๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น

พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้เพื่อยังธรรมอันเป็นกุศล

ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๗๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้น

พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความ

ไม่เลอะเลือน ความเพิ่มพูน ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์

แห่งธรรมอันเป็นกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๗๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ

ด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๗๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ

ด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๗๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ

ด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๗๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบ

ด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

[๗๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง

อสังขตะ. . .

[๗๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญวิริยินทรีย์อันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่

จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๗๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสตินทรีย์อันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่

จะให้ถึงสังขตะ. . .

[๗๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสมาธินทรีย์อันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่

จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๗๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์อันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่

จะให้ถึงอสังขตะ. . .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

[๗๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละอันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกทางที่

จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๗๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางทั้งจะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญวิริยพละอันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่

จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๗๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติพละอันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง

อสังขตะ. . .

[๗๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสมาธิพละอันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่

จะให้ถึงอสังขตะ . . .

[๗๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญปัญญาพละ อันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่

จะให้ถึงอสังขตะ. . .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

[๗๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อัน

อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่า

ทางที่จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๗๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์. . . วิริยะสัมโพชฌงค์. . . ปิติสัมโพชฌงค์. . .ปัสสัทธิ.

สัมโพชฌงค์. . . สมาธิสัมโพชฌงค์. . . อุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง

อสังขตะ. . .

[๗๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่

จะให้ถึงอสังขตะ. . .

[๗๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ. . .

สัมมาวาจา . . .สัมมากัมมันตะ. . . สัมมาอาชีวะ. . . สัมมาวายามะ. . .

สัมมาสติอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ

นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ . . .

[๗๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิอันอาศัย

วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละ นี้เรียกว่าทางที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

จะให้ถึงอสังขตะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะ

เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจใดอัน

ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลผู้อนุเคราะห์ พึงกระทำแล้วแก่สาวก

ทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแล้วแต่เธอทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย

นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย.

[๗๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่สุดและทางที่จะให้

ถึงที่สุดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพึง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่สุด

เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาอาสวะมิได้

และทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาอาสวะมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาอาสวะมิได้เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่จริงแท้ และ

ทางที่จะถึงธรรมที่จริงแท้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ธรรมที่จริงแท้เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นฝั่ง และ

ทางที่จะให้ถึงธรรมอันเป็นฝั่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นฝั่งเป็นไฉน ฯลฯ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

[๗๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันละเอียด และ

ทางที่จะให้ถึงธรรมอันละเอียดแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันละเอียดเป็นไฉน ฯลฯ

[๗๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเห็นได้แสนยาก

และทางที่จะให้ถึงธรรมอันเห็นได้แสนยากแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเห็นได้แสนยากเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่คร่ำคร่า

และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่คร่ำคร่าแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่คร่ำคร่าเป็นไฉน ฯลฯ

[๗๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันยั่งยืน และ

ทางที่จะให้ถึงธรรมอันยั่งยืนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันยั่งยืนเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ทรุดโทรม

และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่ทรุดโทรมแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่ทรุดโทรมเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันใคร ๆ ไม่พึง

เห็นด้วยจักษุวิญญาณ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันใคร ๆ ไม่พึงเห็นด้วย

จักษุวิญญาณแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมอันใคร ๆ ไม่พึงเห็นด้วยจักษุวิญญาณเป็นไฉน ฯลฯ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

[๗๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่มีกิเลส

เครื่องให้เนิ่นช้า และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าแก่

เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่มี

กิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันสงบ และ

ทางที่จะให้ถึงธรรมอันสงบแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ธรรมอันสงบเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ตาย และ

ทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่ตายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่ตายเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันประณีต และ

ทางที่จะให้ถึงธรรมอันประณีตแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันประณีตเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเยือกเย็น และ

ทางที่จะให้ถึงธรรมอันเยือกเย็นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเยือกเย็นเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันปลอดภัย และ

ทางที่จะให้ถึงธรรมอันปลอดภัยแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันปลอดภัยเป็นไฉน ฯลฯ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

[๗๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา

และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันอัศจรรย์ และ

ทางที่จะให้ถึงธรรมอันอัศจรรย์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันอัศจรรย์เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่เคยมี

เคยเป็น และทางที่จะให้ถึงธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็นแก่เธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็นเป็นไฉน

ฯลฯ.

[๗๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความไม่มีทุกข์ และ

ทางที่จะให้ถึงความไม่มีทุกข์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ความไม่มีทุกข์เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาทุกข์มิได้

สละทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาทุกข์มิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาทุกข์มิได้เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงนิพพาน และทางที่จะ

ให้ถึงนิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็นิพพานเป็นไฉน ฯลฯ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

[๗๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาความ

เบียดเบียนมิได้ และทางที่จะไห้ถึงธรรมอันหาความเบียดเบียนมิได้แก่

เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาความ

เบียดเบียนมิได้เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันปราศจาก

ความกำหนัด และทางที่จะให้ถึงธรรมอันปราศจากความกำหนัดแก่เธอ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันปราศจาก

ความกำหนัดเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความบริสุทธิ์ และ

ทางที่จะให้ถึงความบริสุทธิ์แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ความบริสุทธิ์เป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความพ้น และทางที่

จะให้ถึงความพ้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ความพ้นเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันหาความอาลัย

มิได้ และทางที่จะให้ถึงธรรมอันหาความอาลัยมิได้แก่เธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันหาความอาลัยมิได้เป็นไฉน

ฯลฯ.

[๗๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงที่พึ่ง และทางที่จะให้

ทางที่พึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่พึ่ง

เป็นไฉน ฯลฯ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

[๗๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่เร้น และทางที่จะ

ให้ถึงที่เร้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ที่

เร้นเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงที่ต้านทาน และทาง

ที่จะให้ถึงที่ต้านทานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ต้านทานเป็นไฉน ฯลฯ.

[๗๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสรณะ และทางที่จะ

ให้ถึงสรณะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

สรณะเป็นไฉน ฯลฯ.

[๘๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นที่ไปใน

เบื้องหน้า และทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแก่เธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงฟัง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

เป็นไฉน. ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า

ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงธรรม

เป็นที่ไปในเบื้องหน้าเป็นไฉน. ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

คือ กายคตาสติ นี้เรียกว่า ทางที่จะให้ถึงธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า และทางที่จะให้ถึงธรรม

เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อแลผู้อนุเคราะห์ พึงทำ

แก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ ทำแล้วแก่เธอ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อน

ในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ( พึงขยายความ

ให้พิสดารเหมือนอย่างอสังขตะ)

จบ วรรคที่ ๒

อรรถกถาอสังขตสังยุต

อรรถกถาวรรคที่ ๑ และที่ ๒

บทว่า อสขต ได้แก่อันปัจจัยไม่กระทำแล้ว. บทว่า หิเตสินา

แปลว่า ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า อนุกมฺปเกน แปลว่า

อนุเคราะห์อยู่. บทว่า อนุกมฺป อุปาทาย ความว่า กำหนดด้วยจิต

คิดช่วยเหลือ ท่านอธิบายว่า อาศัย ดังนี้ก็มี. บทว่า กต โว ต มยา

ความว่า ศาสดาเมื่อแสดงอสังขตะและทางแห่งอสังขตะนี้ ชื่อว่า ทำกิจ

แก่เธอทั้งหลายแล้ว กิจคือการแสดงธรรมไม่วิปริต ของศาสดาผู้อนุเคราะห์

ก็เพียงนี้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติต่อจากนี้ เป็นกิจของสาวกทั้งหลาย. ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอตานิ ภิกฺขเว รุกฺขมูลานิ

ฯเปฯ อมฺหาก อนุสาสนี ดังนี้ ด้วยบทนี้ ทรงแสดงเสนาสนะคือ

โคนไม้. ด้วยบทว่า สุญฺาคารานิ นี้ ทรงแสดงสถานที่ที่สงัดจากชน

และด้วยบททั้งสองทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรทางกาย

และใจ ชื่อว่าทรงมอบ มรดกให้. บทว่า ฌายถ ความว่า จงเข้าไปเพ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

อารมณ์ ๓๘ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน และเพ่งขันธ์และอายตนะเป็นต้น

ด้วยลักขณูปนิชฌาน โดยเป็นอนิจจลักษณะเป็นต้น ท่านอธิบายว่า

จงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนา. บทว่า มา ปมาทตฺถ แปลว่า อย่า

ประมาท. บทว่า มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ แปลว่า ชน

เหล่าใดเมื่อก่อน เวลาเป็นหนุ่มไม่มีโรคสมบูรณ์ด้วยความสบาย ๗ อย่าง

เป็นต้น ทั้งศาสดาก็อยู่พร้อมหน้า ละเว้นโยนิโสมนสิการเสีย เสวยสุข

ในการหลับนอน ทำตัวเป็นอาหารของเรือดทั้งคืนทั้งวัน ประมาทอยู่ ชน

เหล่านั้น ภายหลัง เวลาชรา มีโรค ตาย วิบัติ ทั้งศาสดาก็ปรินิพพาน

แล้ว นี้ก็ถึงการอยู่อย่างประมาทก่อน ๆ นั้น และพิจารณาเห็นความตายที่มี

ปฏิสนธิว่าเป็นเรื่องหนัก ย่อมเดือดร้อน แต่เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นเช่นนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงดังนี้ จึงตรัสว่า มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน

อหุวตฺก ดังนี้. บทว่า อย โว อมฺหาก อนุสาสนี มีอธิบายว่า

นี้เป็นอนุศาสนีคือโอวาทแต่สำนักของเราเพื่อเธอทั้งหลายว่า ฌายถ มา

ปมาทตฺถ จงเพ่ง อย่าประมาท ดังนี้.

บทที่ควรจะกล่าว ในบทว่า กาเย กายานุปสฺสี ดังนี้ เป็นต้นนั้น

ข้าพเจ้าจักกล่าวข้างหน้า. ในบทว่า อนฺต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

ชื่อว่า อันตะ เพราะไม่มีความยินดีด้วยอำนาจตัณหา ชื่อว่า อนาสวะ

เพราะไม่มีอาสวะ ๔ ชื่อว่า สัจจะ เพราะเป็นปรมัตถสัจจะ ชื่อว่า ปาระ

เพราะอรรถว่าเป็นส่วนนอกจากวัฏฏะ คือฝั่งโน้นหมายถึงวิวัฏฏะ ชื่อว่า

นิปุณะ เพราะอรรถว่าละเอียด ชื่อว่า สุทุททสะ เพราะเป็นธรรม

ที่เห็นได้แสนยาก ชื่อว่า อชัชชระ เพราะไม่คร่ำคร่าด้วยชรา ชื่อว่า ธุวะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

เพราะอรรถว่ามั่นคง. ชื่อว่า อปโลกินะ เพราะเป็นธรรมไม่บุบสลาย

ชื่อว่า อทัสสนะ เพราะใครๆ ไม่พึงเห็นได้ด้วยจักษุวิญญาณ ชื่อว่า

นิปปปัญจะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหามานะและทิฏฐิ ชื่อว่า

สันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสภาวะ ชื่อว่า อมตะ เพราะไม่มีความตาย

ชื่อว่า ประณีต เพราะอรรถว่าสูงสุด ชื่อว่า สิวะ เพราะอรรถว่ามี

ความเยือกเย็น ชื่อว่า เขมะ เพราะปราศจากอันตราย ชื่อว่า ตัณหักขยะ

เพราะเป็นปัจจัยให้สิ้นตัณหา ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรปรบมือให้

เพราะอรรถว่าตั้งมั่นมาแต่สมาธิ เรื่องที่ไม่เคยมีเคยเป็นนั้นแหละ ชื่อว่า

อัพภูตะ ควรจะกล่าวว่า ไม่เกิดแล้วมีอยู่ ชื่อว่า อนีติกะ เพราะ

ปราศจากทุกข์ ชื่อว่า อนีติกธรรมะ เพราะเป็นธรรมปราศจากทุกข์

เป็นสภาวะ ชื่อว่า นิพพาน เพราะไม่มีตัณหาเครื่องร้อยรัด ชื่อว่า

อัพยาปัชฌะ เพราะไม่มีความเบียดเบียน ชื่อว่า วิราคะ โดยเป็นปัจจัย

แก่การบรรลุธรรมเครื่องคลายกำหนัด ชื่อว่า สุทธิ เพราะเป็นธรรม

บริสุทธิ์โดยปรมัตถ์ ชื่อว่า มุตติ เพราะเป็นธรรมพ้นจากภพ ๓ ชื่อว่า

อนาลยะ. เพราะไม่มีอาลัย ชื่อว่า ทีปะ เพราะอรรถว่าเป็นที่พึ่ง ชื่อว่า

เลณะ เพราะอรรถว่าควรที่จะพัก ชื่อว่า ตาณะ เพราะอรรถว่าเป็นที่

ต้านทาน ชื่อว่า สรณะ เพราะอรรถว่ากำจัดภัย อธิบายว่า ทำภัยให้

พินาศ. ชื่อว่า ปรายนะ เพราะเป็นดำเนินไป เป็นที่ไป เป็นที่พึ่ง

อาศัยเบื้องหน้า. บทที่เหลือในที่นี้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นเอง ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาอสังขตสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสังขตสูตร ๒. อันตสูตร ๓. อนาสวสูตร ๔. สัจจสูตร

๕. ปารสูตร ๖. นิปุนสูตร ๗. สุทุทฺทสสูตร ๘. อชัชชรสูตร ๙. ธุวสูตร

๑๐. อปโลกินสูตร ๑๑. อนิทัสสนสูตร ๑๒. นิปปปัญจสูตร ๑๓. สันตสูตร

๑๔. อมสูตร ๑๕. ปณีตสูตร ๑๖. สิวสูตร ๑๗. เขมสูตร ๑๘. ตัณหัก-

ขยสูตร ๑๙. อัจฉริยสูตร ๒๐. อัพภุตสูตร ๒๑. อนีติกสูตร ๒๒. อนีติก-

ธรรมสูตร ๒๓. นิพพานสูตร ๒๔. อัพยาปัชฌสูตร ๒๕. วิราคสูตร

๒๖. สุทธิสูตร ๒๗. มุตติสูตร ๒๘. อนาลยสูตร ๒๙. ทีปสูตร

๓๐. เลณสูตร ๓๑. ตาณสูตร ๓๒. สรณสูตร ๓๓. ปรายนสูตร.

จบ อสังขตสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

๑๐. อัพยากตสังยุต

๑. เขมาเถรีสูตร

ว่าด้วยพระเขมาเถรีพยากรณ์ปัญหา

[๗๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล

พระเขมาภิกษุณีเมื่อเที่ยวจาริกไปในแคว้นโกศล เข้าอยู่ ณ ที่โตรณ

วัตถุ ในระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกต ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล

เสด็จออกจากเมืองสาเกตจะไปยังกรุงสาวัตถี ประทับแรม ๑ ราตรีที่

โตรณวัตถุ ระหว่างกรุงสาวัตถีกับเมืองสาเกต ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิ-

โกศลตรัสเรียกราชบุรุษคนหนึ่งมาตรัสว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปดู

ให้รู้ว่า ณ ที่โตรณวัตถุมีสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งสมควรที่เราจะพึงเข้าไปหา

ณ วันนี้หรือไม่ ราชบุรุษนั้นทูลรับพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว

เที่ยวไปยังโตรณวัตถุจนทั่ว ก็ไม่ได้พบเห็นสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งสมควร

ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลจะพึงเสด็จเข้าไปหา.

[๗๕๓] ราชบุรุษนั้นได้พบพระเขมาภิกษุณี ซึ่งเข้าอาศัยอยู่

ที่โตรณวัตถุ ครั้นพบแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่โตรณวัตถุ

ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์ซึ่งสมควรที่พระองค์จะพึงเสด็จเข้าไปหาเลย มี

๑. โตรณแปลว่าเสาค่าย หรือเสาระเนียด ณ ที่นี้เข้าใจว่าเป็นค่าย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

ภิกษุณีนามว่าเขมา เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระแม่เจ้านั้นมีกิตติศัพท์อันงามฟุ้งขจรไป

แล้วอย่างนี้ว่า พระแม่เจ้าเขมาภิกษุณีเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา

เป็นพหูสูต มีถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณเป็นอย่างดี ขอเชิญพระองค์เสด็จ

เข้าไปหาพระแม่เจ้านั้นเถิด ขอเดชะ.

[๗๕๔] ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปหาพระเขมา

ภิกษุณีถึงที่อยู่ ทรงไหว้พระเขมาภิกษุณีแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่สมควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสถามพระเขมาภิกษุณีว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดหรือหนอ. พระเขมาภิกษุณีถวายพระพรว่า

ขอถวายพระพร ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงพยากรณ์.

. ข้าแต่แม่เจ้า ก็สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ.

. ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์.

. ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อม

ไม่เกิดอีกก็มีหรือหนอ.

. ขอถวายพระพร ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ทรงพยากรณ์.

. ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

. ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์อีกเหมือนกัน.

[๗๕๕] . เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร ปัญหานี้

เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่

แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า

ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

พยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร

ปัญหานี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า

ข้าแต่แม่เจ้า สัตว์เบื้องหน้าแต่งกายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก

ก็หามิได้หรือ ท่านก็ตอบว่า ขอถวายพระพร แม้ปัญหานี้ก็เป็นปัญหา

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ ข้าแต่แม่เจ้า อะไรเล่าเป็นเหตุเป็น

ปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหานี้.

[๗๕๖] . ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพจักขอย้อน

ถามมหาบพิตรในปัญหาข้อนี้บ้าง ปัญหาข้อนี้พอพระทัยมหาบพิตรอย่างใด

มหาบพิตรพึงทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนี้อย่างนั้นเกิด ขอถวายพระพร

มหาบพิตรจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน มหาบพิตรมีนักคำนวณ นัก

ประเมินหรือนักประมาณไร ๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณทรายในแม่น้ำคงคาว่า

ทรายมีประมาณเท่านี้ หรือว่ามีทรายเท่านี้ ร้อยเม็ด หรือว่ามีทรายเท่านี้

พันเม็ด หรือว่ามีทรายเท่านี้แสนเม็ด หรือไม่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

. ไม่มีเลย แม่เจ้า

. และมหาบพิตรนักคำนวณ นักประเมิน หรือนักประมาณไรๆ

ซึ่งสามารถจะคำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า น้ำมีเท่านี้อาฬหกะ หรือว่ามีน้ำ

เท่านี้ร้อยอาฬหกะ หรือว่ามีน้ำเท่านี้พันอาฬหกะ หรือว่ามีน้ำเท่านี้แสน

อาฬหกะ หรือไม่ ขอถวายพระพร.

. ไม่มีเลย แม่เจ้า.

. นั่นเพราะเหตุไร ขอถวายพระพร.

. ข้าแต่แม่เจ้า เพราะว่ามหาสมุทรเป็นของลึก ประมาณไม่ได้

หยั่งถึงได้โดยยาก.

[๗๕๗] . ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร บุคคลเมื่อจะบัญญัติสัตว์

พึงบัญญัติด้วยรูปใด รูปนั้นอันพระตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำ

ให้ไม่มีที่ตั้ง ดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มีไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

ดูก่อนมหาบพิตร พระตถาคตพ้นจากการบัญญัติว่าเป็นรูป เป็นของลึก

ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก ดุจมหาสมุทรฉะนั้น คำว่า สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเกิด. อีกก็ดี ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดและไม่เกิดอีกก็ดี

ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่ควร เมื่อบุคคล

บัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด. . . เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วย

สัญญาใด. . .เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยสังขารเหล่าใด

เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใดวิญญาณนั้น อันพระตถาคตละได้

แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้ไม่มีที่ตั้ง ดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดาดูก่อนมหาบพิตร พระตถาคตพ้นแล้วจากการ

บัญญัติว่าเป็นวิญญาณ เป็นของลึก ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก

ดุจมหาสมุทรฉะนั้น คำว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดก็ดี ย่อมไม่

เกิดก็ดี ย่อมเกิดอีกและไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก

ก็หามิได้ก็ดี ก็ย่อมไม่ควร.

ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยินดี อนุโมทนาภาษิตของ

พระเขมาภิกษุณี เสด็จลุกจากอาสนะ ทรงไหว้พระเขมาภิกษุณีทรงกระทำ

ประทักษิณแล้วเสด็จจากไป.

[๗๕๘] สมัยต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับ

ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกหรือ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่อาตมภาพ

ไม่พยากรณ์.

. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก

หรือ.

. ขอถวายพระพร แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่

พยากรณ์เหมือนกัน.

. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี

ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

. ขอถวายพระพรปัญหาข้อนี้ เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่พยากรณ์

. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก

หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ.

. ขอถวายพระพร แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่

พยากรณ์อีกนั่นแหละ.

. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทูลถามว่า สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ขอถวายพระพร ปัญหา

ข้อนี้เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่พยากรณ์ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ

ข้าพระองค์ทูลถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อม

ไม่เกิดอีก ก็หามิได้หรือ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ขอถวายพระพร แม้ปัญหา

ข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่อาตมภาพไม่พยากรณ์อีกนั่นแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยไห้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พยากรณ์ปัญหาข้อนั้น

[๗๕๙] . ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพจักย้อนถาม

มหาบพิตรในปัญหาข้อนั้นบ้าง ปัญหาข้อนั้นพอพระทัยมหาบพิตรอย่างใด

มหาบพิตรพึงทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นอย่างนั้นเถิด ขอถวายพระพร

มหาบพิตรจะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มหาบพิตรทรงมีนักคำนวณ

นักประเมิน หรือนักประมาณไรๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณเม็ดทรายในแม่น้ำ

คงคาว่า เม็ดทรายมีประมาณเท่านี้ ฯลฯ หรือว่ามีทรายประมาณเท่านี้

แสนเม็ดหรือไม่.

. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

. และมหาบพิตรทรงมีนักคำนวณ นักประเมิน หรือนัก

ประมาณไร ๆ ซึ่งสามารถจะคำนวณน้ำในมหาสมุทรว่า มีน้ำเท่านี้ อาฬหกะ

ฯลฯ หรือว่ามีน้ำเท่านี้ แสนอาฬหกะหรือไม่.

. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร มหาบพิตร.

. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่ามหาสมุทรเป็นของลึกประมาณ

ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก พระเจ้าข้า.

[๗๖๐] . ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร บุคคลเมื่อจะบัญญัติสัตว์

พึงบัญญัติด้วยรูปใด รูปนั้นอันตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำ

ให้ไม่มีที่ตั้ง ดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา

ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคตพ้นจากการบัญญัติว่าเป็นรูป เป็นของลึก

ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยากดุจมหาสมุทรฉะนั้น คำว่าสัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกและไม่เกิดอีกก็ดี

ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่ควร บุคคลเมื่อจะ

บัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด . . . เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วย

สัญญาใด . . . เมื่อบัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยสังขารเหล่าใด. . . เมื่อ

บัญญัติสัตว์ พึงบัญญัติด้วยวิญญาณใด วิญญาณนั้นอันตถาคตละได้แล้ว

ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้ไม่มีที่ตั้ง ดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มีไม่ให้

เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคตพ้นแล้วจากการ

บัญญัติว่าเป็นวิญญาณ เป็นของลึก ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

ดุจมหาสมุทร ฉะนั้น คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก

ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกและไม่เกิดอีกก็ดี ย่อมเกิดอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่ควร.

[๗๖๑] . อัศจรรย์จริง พระเจ้าข้า ไม่เคยมี พระเจ้าข้า ใน

ข้อที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดากับของสาวิกา

ย่อมเทียบกันได้ เข้ากันได้ ไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

สมัยหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปหาพระเขมาภิกษุณี ไต่ถามความข้อนี้มา

ครั้งหนึ่งแล้ว แม้แม่เจ้ารูปนั้นก็ได้พยากรณ์ความข้อนี้ด้วยบทเหล่านี้ ด้วย

พยัญชนะเหล่านี้ แก่ข้าพระพุทธเจ้า ดุจพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน

น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา. พระเจ้าข้า นี้ข้อที่อรรถกับอรรถ

พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้

เข้ากันได้ ไม่ผิดเพี้ยนในบทที่สำคัญ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า

มีกิจมาก มีกรณียมาก ถ้ากระไร จึงขอทูลลาไปในบัดนี้.

. ขอถวายพระพร บัดนี้ มหาบพิตรทรงทราบกาลอันสมควรเถิด

ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยินดีอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ทรงอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ

ประทักษิณแล้วเสด็จกลับไป.

จบ เขมาเถรีสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

อรรถกถาอัพยากตสังยุต

อรรถกถาเขามาเถรีสูตรที่ ๑

อัพยากตสังยุต สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เขมา ได้แก่อุบาสิกาของพระเจ้าพิมพิสาร เวลาเป็นคฤหัสถ์

เป็นคนมีศรัทธา บวชแล้วเป็นพระมหาเถรี ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้

ในเอตทัคคะทางมีปัญญามาก โดยพระพุทธพจน์อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บรรดาภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีปัญญามาก ภิกษุณีเขมาเป็นยอด

บทว่า ปณฺฑิตา ได้แก่ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต. บทว่า พฺยตฺตา

ได้แก่ประกอบด้วยความเป็นผู้เฉียบแหลมบทว่า เมธาวินี ได้แก่ประกอบด้วย

ปัญญาเครื่องกำจัดกิเลส. บทว่า พหุสฺสุตา ได้แก่ประกอบด้วยความ

เป็นพหูสูต ทั้งทางปริยัตติ ทั้งทางปฏิเวธ.

บทว่า คณโก ได้แก่เป็นผู้ฉลาดคำนวณสิ่งที่ไม่แยกกัน ( นับ

ประมวล). บทว่า มุทฺทิโก ได้แก่เป็นผู้ฉลาดคำนวณด้วยแหวนมีอยู่ที่

นิ้วมือ (นับประเมิน). บทว่า สขายโก ได้แก่เป็นผู้ฉลาดคำนวณสิ่งที่

เป็นก้อน (นับประมาณ ) บทว่า คมฺภีโร ได้แก่ลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์.

บทว่า อปฺปเมยฺโย ได้แก่ประมาณโดยคำนวณเป็นอาฬหกะไม่ได้. บทว่า

ทุปฺปรโยคาโห ได้แก่หยั่งลงเพื่อถือเอาประมาณโดยคำนวณเป็นอาฬหกะ

ได้ยาก. บทว่า เยน รูเปน ตถาคต ความว่า พึงบัญญัติตถาคตกล่าวคือ

สัตว์ว่า สูง ต่ำ ดำ ขาว ดังนี้ ด้วยรูปใด. บทว่า ต รูป ตถา-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

คตสฺส ปหีน ความว่า รูปมีประการยังกล่าวแล้ว พระตถาคตผู้สัพพัญญู

ละได้แล้ว ด้วยการละตัณหา. บทว่า รูปสขยา วิมุตฺโตห ความว่า พ้นจาก

การรับรองว่าเป็นรูปต่อไป โดยส่วนแห่งรูปและอรูปบ้าง จากการบัญญัติว่า

รูป เพราะระงับแม้โวหารว่า จักมีถึงปานนี้ ดังนี้บ้าง. บทว่า คมฺภีโร

ได้แก่ลึกเพราะความลึกทางอัธยาศัยด้วย เพราะความลึกทางคุณธรรมด้วย

อธิบายว่า เมื่อพระตถาคตผู้ลึกทางคุณธรรมนั้นมีอยู่อย่างนี้. คำว่า เบื้อง

หน้าแต่ตายแล้ว ตถาคตกล่าวคือสัตว์นี้ ย่อมมี นี้ ย่อมไม่เหมาะ ย่อม

ไม่ควร แม้คำว่า เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ตถาคตย่อมไม่มี เป็นต้น ย่อม

ไม่เหมาะย่อมไม่ควร แก่พระตถาคตผู้สัพพัญญู ผู้ทรงเห็นความไม่มีแห่ง

บัญญัตินั้น เพราะไม่มีข้อที่เป็นเหตุให้มีบัญญัติว่า ตถาคตกล่าวคือสัตว์

เป็นต้น.

บทว่า สสนฺทิสฺสติ ได้แก่จักมีอย่างนี้. บทว่า สเมสฺสติ

ได้แก่จักมีติดต่อ. บทว่า น วิหายิสฺสติ ได้แก่จักไม่มีศัพท์ที่ผิดพลาด.

เทศนาว่า อคฺคปทสฺมึ ในที่นี้ ทรงประสงค์บทที่สำคัญ. แต่บทนี้

ตรัสโดยอธิการแห่งอัพยากตธรรม ซึ่งกล่าวไว้พิสดารแล้วในขันธิยวรรค

ที่ ๒ นั่นแล.

จบ อรรถกถาเขมาเถรีสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

๒. อนุราธสูตร

ว่าด้วยพระอนุราธะพยากรณ์ปัญหา

[๗๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่า

มหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุราธะก็อยู่ในกุฏีในป่า

ที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเป็น

อันมาก เข้าไปหาท่านพระอนุราธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุราธะ

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุราธะว่า ดูก่อนท่านอนุราธะพระตถาคตผู้เป็น

อุดมบุรุษ ผู้เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม

แล้ว เมื่อจะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติในฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิด

อีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี หรือว่าสัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ท่าน

พระอนุราธะตอบว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พระตถาคตผู้เป็นอุดมบุรุษ ผู้

เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อ

จะทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มี หรือว่าสัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้.

๑. อนุราธสูตรที่ ๒ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

[๗๖๓] เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกปริพาชกผู้ถือ

ลัทธิอื่นเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า ก็ภิกษุรูปนี้ชะรอยจักเป็น

ภิกษุใหม่ บวชแล้วไม่นาน หรือเป็นพระเถระแต่หากเป็นพระเขลา ไม่

ฉลาด ครั้งนั้นแล พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น ได้รุกรานท่าน

พระอนุราธะด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่และด้วยวาทะว่าเป็นพระเขลา แล้ว

ได้พากันลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น

หลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระอนุราธะได้มีความคิด ดังนี้ว่า ถ้าว่าพวก

ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามยิ่งขึ้นไป เราจะพยากรณ์แก่พวกปริพาชกผู้ถือ

ลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างไรหนอ จึงจะเป็นอันกล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และ

พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งสหธรรมิกไรๆ ผู้คล้อยตามวาทะ จะ

ไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้.

[๗๖๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กุฏีในป่าในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้น พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเป็น

อันมาก ได้เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับข้าพระองค์ ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว. จึงได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

แล้วได้ถามข้าพระองค์ว่า ก่อนท่านอนุราธะ พระตถาคตผู้เป็นอุดมบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อ

ทรงบัญญัติข้อนั้น ย่อมทรงบัญญัติในฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก

ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวก

ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้ตอบเขา

เหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พระตถาคตผู้เป็นอุดมบุรุษ. เป็นบรมบุรุษ

ทรงบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยมแล้ว เมื่อทรงบัญญัติข้อนั้น

ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

ย่อมเกิดอีก ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าว

อย่างนี้แล้ว พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ก็

ภิกษุรูปนี้ชะรอยจักเป็นภิกษุใหม่ บวชแล้วไม่นาน หรือว่าเป็นพระเถระ

แต่หากเป็นพระเขลา ไม่ฉลาด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกปริพาชกผู้ถือ

ลัทธิอื่นเหล่านั้น ได้รุกรานข้าพระองค์ด้วยวาทะว่าเป็นภิกษุใหม่ และ

ด้วยวาทะว่าเป็นพระเขลา แล้วได้พากันลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน

ข้าพระองค์ได้มีความคิดว่า ถ้าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นพึงถาม

เรายิ่งขึ้นไปไซร้ เราจะพยากรณ์แก่พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้น

อย่างไรจึงจะเป็นอันกล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว จะ

ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่

ธรรม ทั้งสหธรรมิกไรๆ ผู้คล้อยตามวาทะ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชน

พึงติเตียนได้ ดังนี้ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

[๗๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอนุราธะ เธอจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ท่านพระอนุราธะ

กราบทูลว่าไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควร

หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่านั่นของเรา เราเป็นนั้นนั่นเป็นตัวตนของเรา.

. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

. เวทนา. . .สัญญา. . .สังขาร. . .วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

. ก็สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควร

หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั้น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

[๗๖๖] . ดูก่อนอนุราธะ เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด

อย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอก

ก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้

ก็ดี รูปนั้นทั้งหมด เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เวทนา. . .

สัญญา. . .สังขาร. . .วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต

อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียด

ก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี เวทนา. . .

สัญญา. . . สังขาร . . . วิญญาณทั้งหมด ท่านพึง เห็นด้วยปัญญาอันชอบ

ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตน

ของเรา ดูก่อนอนุราธะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ

หน่ายทั้งในรูป ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัญญา

ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย

ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว

ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ดังนี้.

[๗๖๗] ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอ

ย่อมเห็นรูปว่าเป็นสัตว์หรือ.

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

. เธอเห็นเวทนาว่าเป็นสัตว์หรือ.

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

. เธอเห็นสัญญาว่าเป็นสัตว์หรือ.

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

. เธอเห็นสังขารว่าเป็นสัตว์หรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

. เธอเห็นวิญญาณว่าเป็นสัตว์หรือ.

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๗๖๘] . ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เธอย่อมเห็นว่าสัตว์ในรูปหรือ.

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

. เธอเห็นว่าสัตว์อื่นจากรูปหรือ.

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

. เธอเห็นว่า สัตว์ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ

หรือ.

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

. เธอเห็นว่า สัตว์อื่นจากเวทนา จากสัญญา จากสังขาร จาก

วิญญาณหรือ.

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๗๖๙] . ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เธอเห็นรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นสัตว์หรือ.

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๗๗๐] . ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เธอเห็นว่า สัตว์นี้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มี

วิญญาณหรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

. ดูก่อนอนุราธะ ก็เธอหาสัตว์ในขันธ์ ๔ นี้ โดยจริง โดยแท้

ไม่ได้ในปัจจุบัน ควรหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย ตถาคต

ผู้เป็นอุดมบุรุษ ผู้เป็นบรมบุรุษรบรรลุถึงธรรมอันควรบรรลุอย่างยอดเยี่ยม

แล้ว เมื่อบัญญัติข้อนั้น ย่อมบัญญัตินอกจากฐานะทั้ง ๔ นี้ คือ สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม

เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ ดังนี้.

. ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.

. สาธุ สาธุ อนุราธะ ดูก่อนอนุราธะ ในกาลก่อนด้วย ใน

บัดนี้ด้วย เราย่อมบัญญัติทุกข์และความดับแห่งทุกข์.

จบ อนุราธสูตรที่ ๒

๓. ปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

ว่าด้วยพระโกฏฐิตะถามปัญหาพระสารีบุตร

[๗๗๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ

อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น

ท่านพระมหาโกฏฐิตะออกจากที่หลีกเร้น ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร

ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้

ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

พระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม

เกิดอีกหรือ. ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่าน ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหา

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนท่าน สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกหรือ.

. ดูก่อนท่าน แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนท่าน สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่

เกิดอีกก็มี หรือ.

. ดูก่อนท่าน ปัญหาข้อนี้เป็น ปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

พยากรณ์อีกเหมือนกัน.

. ดูก่อนท่าน สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ.

. ดูก่อนท่าน แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์อีกเหมือนกัน.

. ดูก่อนท่าน เมื่อผมถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อม

เกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า ดูก่อนท่าน ปัญหาข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

พยากรณ์ ฯลฯ เมื่อผมถามว่า ดูก่อนท่าน สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิด

อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ท่านก็ตอบว่า ดูก่อนท่าน แม้-

ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์อีกเหมือนกัน

ดูก่อนท่าน อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

พยากรณ์ปัญหานั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

[๗๗๒] ดูก่อนท่าน คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิด

อีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้ย่อมเป็นคำที่หมายถึงรูป ดูก่อนท่าน คำว่า

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่

เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิด อีกก็มี สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้ย่อม

เป็นคำที่หมายถึงเวทนา ดูก่อนท่าน คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

ย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม

เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้ย่อมเป็นคำที่หมายถึงสัญญา

ดูก่อนท่าน คำว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่

เกิดอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก

ก็หามิได้ นี้ย่อมเป็นคำที่หมายถึงสังขาร คำว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

ย่อมเกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ นี้ย่อมเป็นคำที่หมายถึง

วิญญาณ ดูก่อนท่าน นี้แหละเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น.

จบ ปฐมสารปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

อรรถกถาปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๓

ในปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า รูปคตเมต ได้แก่เป็นเพียงรูปเท่านั้น. ในบทนี้ ท่าน

พระสารีบุตรแสดงว่า ใคร ๆ นอกจากรูปย่อมได้รับนามว่าสัตว์ ฉะนั้น

เมื่อไม่มีรูป สิ่งนั้นย่อมเป็นเพียงนามเท่านั้น. แม้ในบทว่า เวทนาคตเมต

เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ บทว่า อย โข อาวุโส เหตุ ความว่า นี้คือ

สภาวะที่ไม่ควรได้รับ (ชื่อ) เพราะพ้นรูปเป็นต้น เป็นเหตุให้พระผู้มี

พระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น.

จบ อรรถกถาปฐมสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๓

๔. ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

ว่าด้วยพระโกฏฐิตะถามปัญหาพระสารีบุตร

[๗๗๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ

อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ฯลฯ ได้มีคำถามอย่างนั้น

เหมือนกันว่า ดูก่อนท่าน อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น.

[๗๗๔] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุความเห็น

ว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

ย่อมไม่เกิดก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มีย่อมไม่เกิดอีกก็มี

๑. สูตรที่ ๔ - ๘ อรรถกถาแก้ว่ามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

ก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้

ก็ดี ดังนี้ ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็นรูปตามความเป็นจริง ไม่รู้ไม่เห็น

เหตุเกิดแห่งรูปตามความเป็นจริง ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งรูป ตามความ

เป็นจริง ไม่รู้ไม่เห็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งรูปตามความเป็นจริง

ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้า

ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก ย่อม

ไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่

เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่รู้ไม่เห็นเวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ ตามความเป็นจริง ไม่รู้ไม่เห็นเหตุเกิดแห่งเวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ ตามความเป็นจริง ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งเวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ ตามความเป็นจริง ไม่รู้ไม่เห็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่ง

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง.

[๗๗๕] ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็แต่ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิด

มีแก่บุคคลผู้รู้ผู้เห็นรูปตามความเป็นจริง รู้เห็นเหตุเกิดแห่งรูปตามความ

เป็นจริง รู้เห็นความดับแห่งรูปตามความเป็นจริง รู้เห็นปฏิปทาเครื่องให้

ถึงความดับแห่งรูปตามความเป็นจริง ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย

แล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิด

มีแก่บุคคลผู้รู้ผู้เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง

รู้เห็นเหตุเกิดแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง

รู้เห็นความดับแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามความเป็นจริง

รู้เห็นปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ตามความเป็นจริง.

จบ ทุติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๔

๕. ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

ว่าด้วยพระโกฏฐิตะถามปัญหาพระสารีบุตร

[๗๗๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ

อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ฯลฯ ได้มีคำถามอย่างนั้น

เหมือนกันว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น.

[๗๗๗] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ความเห็น

ว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ยัง

ไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความเร่าร้อน

ความทะยานอยากในรูป ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิด

อีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

ก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ

ความรัก ความระหาย ความเร่าร้อน ความทะยานอยากในเวทนา ใน

สัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ.

[๗๗๘] ดูก่อนท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

ย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อม

ไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ ปราศจากความกำหนัด

ความพอใจ ความรัก ความระหาย ความเร่าร้อน ความทะยานอยากใน

รูป ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเธออีกก็ดี ฯลฯ สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก ก็หามิได้ก็ดี

ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก

ความระหาย ความเร่าร้อน ความทะยานอยากในเวทนา ในสัญญา

ในสังขาร ในวิญญาณ ดูก่อนท่าน นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยในพระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น.

จบ ตติยสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๕

๖. จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตร

ว่าด้วยพระสารีบุตรถามปัญหาพระโกฏฐิตะ

[๗๗๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิตะ

อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้นแล ในเวลาเย็น

ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอใจ

ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระสารีบุตร

ได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะว่า ดูก่อนท่านมหาโกฏฐิตะ สัตว์เป็นหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หา

มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ฯลฯ เมื่อผมถามแล้วดังนี้ ท่านก็ตอบว่า

ดูก่อนท่าน แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์

ดูก่อนท่าน ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

พยากรณ์ปัญหาข้อนั้น.

[๗๘๐] ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า ดูก่อนท่าน ความเห็นว่า

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่

เกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี

ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีรูปเป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในรูป ผู้หมกมุ่นแล้ว

ในรูป ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งรูปตามความเป็นจริง ความเห็นว่า สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม

เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้มีเวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วหมกมุ่นแล้วในเวทนา

ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับแห่งเวทนา แห่ง

สัญญา แห่งสังขาร แห่งวิญญาณ ตามความเป็นจริง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

[๗๘๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย

แล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีรูปเป็นที่มายินดี ผู้

ไม่ยินดีแล้วในรูป ผู้ไม่หมกมุ่นแล้วในรูป ผู้รู้เห็นความดับแห่งรูป ตาม

ความเป็นจริง ความเห็นว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หา มิได้ก็ดี

ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นที่มา

ยินดี ผู้ไม่ยินดีแล้ว ไม่หมกมุ่นแล้วในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ใน

วิญญาณ ผู้รู้เห็นความดับแห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งสังขาร แห่ง

วิญญาณ ตามความเป็นจริง ดูก่อนท่าน นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระผู้-

มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น.

[๗๘๒] ท่านพระสารีบุตรถามว่า ดูก่อนท่าน ก็ปริยายแม้อื่น

ซึ่งเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นพึงมีหรือ

ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า พึงมีท่าน คือ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิ

ได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีภพเป็นที่มายินดี ผู้

ยินดีแล้วในภพ ผู้หมกมุ่นแล้วในภพ ผู้ไม่รู้ไม่เห็นความดับ แห่งภพตาม

ความเป็นจริง.

[๗๘๓] ดูก่อนท่าน ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม

เกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดก็หามิได้ ย่อมไม่

เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีภพเป็นที่มายินดี ผู้ไม่ยินดี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

แล้วในภพ ผู้ไม่หมกมุ่นแล้วในภพ ผู้รู้ผู้เห็นความดับแห่งภพตามความ

เป็นจริง ดูก่อนท่าน แม้ข้อนี้ก็เป็นปริยายให้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

พยากรณ์ปัญหาข้อนั้นเหมือนกัน.

[๗๘๔] ท่านพระสารีบุตรถามว่า ดูก่อนท่าน ก็ปริยายแม้อื่น

ซึ่งเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น พึงมีหรือ

ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า พึงมีท่าน คือ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หา

มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีอุปาทานเป็นที่มา

มิได้ ผู้ยินดีแล้วในอุปาทาน ผู้หมกมุ่นแล้วในอุปาทาน ผู้ไม่รู้ไม่เห็น

ความดับแห่งอุปาทาน ตามความเป็นจริง.

[๗๘๕] ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย

แล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีอุปาทานเป็นที่มา

ยินดี ผู้ไม่ยินดีแล้วในอุปาทาน ผู้ไม่หมกมุ่นแล้วในอุปาทาน ผู้รู้ผู้เห็น

ความดับแห่งอุปาทานตามความเป็นจริง ดูก่อนท่าน แม้ข้อนี้ก็เป็นปริยาย

ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น.

[๗๘๖] ท่านพระสารีบุตรถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็ปริยาย

แม้อื่นอึก ซึ่งเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น

พึงมีหรือ ท่านพระมหาโกฏฐิตะตอบว่า พึงมีท่าน คือ ความเห็นว่าสัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมเกิดมีแก่บุคคลผู้มีตัณหา

เป็นที่มายินดี ผู้ยินดีแล้วในตัณหา ผู้หมกมุ่นแล้วในตัณหา ผู้ไม่รู้ไม่เห็น

ความดับแห่งตัณหาตามความเป็นจริง.

[๗๘๗] ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ความเห็นว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หา

มิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่มีตัณหาเป็นที่มา

ยินดี ผู้ไม่ยินดีแล้วในตัณหา ผู้ไม่หมกมุ่นแล้วในตัณหา ผู้รู้ผู้เห็น

ความดับแห่งตัณหาตามความเป็นจริง ดูก่อนเท่านี้ผู้มีอายุ ข้อนี้แลเป็น

ปริยายให้พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนี้.

. ดูก่อนท่าน ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนี้ พึงมีหรือ.

. ดูก่อนท่าน บัดนี้ ท่านยังปรารถนาอะไรในปัญหาข้อนี้ยิ่งขึ้น

ไปกว่านี้อีก ดูก่อนท่านสารีบุตร วัตรเพื่อบัญญัติย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้พ้น

วิเศษแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา.

จบ จตุตถสารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๖

๗. โมคคัลลานสูตร

ว่าด้วยวัจฉโคตรปริพาชกถามปัญหาพระโมคคัลลานะ

[๗๘๘] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกเข้าไปหาท่านพระมหา

โมคคัลลานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นผ่าน

การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

แล้วได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ โลกเที่ยง

หรือ ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ดูก่อนวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหา

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์

. ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ โลกไม่เที่ยงหรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ โลกมีที่สุดหรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ โลกไม่มีที่สุดหรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ ชีพก็อันนั้นหรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนโมคคัลลานะ ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นหรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ทรงพยากรณ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

. ดูก่อนโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เกิดอีก

หรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีภาคเจ้าไม่

ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี

ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก

ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์.

[๗๘๙] . ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็น

ปัจจัยให้พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พยากรณ์

อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง

ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นบ้าง

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่

เกิดอีกบ้าง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีบ้าง

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง

ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสมณโคดม

เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว ไม่ทรงพยากรณ์อย่างนั้นว่า โลกเที่ยงก็ดี โลกไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

เที่ยงก็ดี โลกมีที่สุดก็ดี โลกไม่มีที่สุดก็ดี ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี

ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เป็นอย่างอื่นก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม

เกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว

ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี.

[๗๙๐] . ดูก่อนวัจฉะ ก็เพราะพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อม

ตามเห็นจักษุว่า นั้นของเรา เราเป็นนั้น นั่นเป็นตัวตนของเรา ปริพาชก

ผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็นหู . . . . จมูก . . . . ลิ้น . . . . กาย . . . . ใจว่า

นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา. เพราะเหตุนั้น เมื่อพวก

ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลก

เที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ไม่เกิดอีก

ก็หามิได้บ้าง ดูก่อนวัจฉะ ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อม

ทรงพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตน

ของเรา ย่อมทรงพิจารณาเห็น หู . . . . จมูก. . . . ลิ้น . . . . กาย . . . . ใจว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะฉะนั้น

เมื่อพระตถาคตถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลก

เที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด

อีกก็หามิได้ก็ดี.

[๗๙๑] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้วเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยง

หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหา

ที่เราไม่พยากรณ์ ฯลฯ.

. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก

ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้เราก็ไม่พยากรณ์.

. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเหล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พวก

ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว ย่อมพยากรณ์อย่างนี้ว่า

โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่

เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยได้

พระโคดมผู้เจริญ เมื่อถูกทูลถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้

ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อม

ไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี.

[๗๙๒] . ดูก่อนวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตาม

เห็นจักษุว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา พวกปริพาชก

ผู้ถือลัทธิอื่นย่อมตามเห็น หู . . . . จมูก. . . . ลิ้น . . . . กาย . . . . ใจว่า

นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา เพราะเหตุนั้น เมื่อพวก

ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลก

เที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด

อีกก็หามิได้บ้าง ดูก่อนวัจฉะ ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

ย่อมทรงพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่

ตัวตนของเรา ย่อมทรงพิจารณาเป็น หู. . . .จมูก. . . .ลิ้น. . . .กาย. . . .

ใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเหตุ

นั้น เมื่อตถาคตถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลก

เที่ยงก็ดี. ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด

อีกก็หามิได้ก็ดี.

[๗๙๓] . ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อ

ที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อม

เทียบกันได้เข้ากันได้ ไม่ผิดเพี้ยนกันในบทที่สำคัญ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

เมื่อกี้นี้ข้าพระองค์ได้เข้าไปหาสมณมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ถามความข้อนี้

แม้สมณมหาโมคคัลลานะก็ได้พยากรณ์ความข้อนี้ ด้วยบทเหล่านี้ด้วย

พยัญชนะเหล่านี้ แก่ข้าพระองค์ ดุจพระโคดมผู้เจริญเหมือนกัน ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี ในข้อที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะ

กับพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้ เข้ากันได้

ไม่ผิดเพี้ยนกันในบทที่สำคัญ.

จบ โมคคัลลานะสูตรที่ ๗

๘. วัจฉสูตร

ว่าด้วยวัจฉโคตรปริพชกถามปัญหาพระผู้มีพระภาคเจ้า

[๗๙๔] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลกเที่ยงหรือ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า ดูก่อนวัจฉะปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่เราไม่

พยากรณ์ ฯลฯ.

. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก

ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์อีก

เหมือนกัน.

. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่า เป็นเหตุเป็นปัจจัย ได้พวก

ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว พยากรณ์อย่างนี้ว่า โลก

เที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่

เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเล่า เป็นเหตุ เป็นปัจจัย

ให้พระโคดมผู้เจริญ เมื่อถูกทูลถามอย่างนั้นแล้ว ไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้

โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ ส่วนเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่

เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี.

[๗๙๕] . ดูก่อนวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น ย่อมเห็น

รูปโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนว่ามีรูป ย่อมเห็นรูปในตน หรือย่อม

เห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนว่ามี

วิญญาณย่อมเห็นวิญญาณในตน หรือย่อมเห็นตนในวิญญาณ เพราฉะนั้น

พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้นแล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ดูก่อนวัจฉะ ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนว่ามีรูป ย่อมไม่เห็นรูป

ในตน หรือย่อมไม่เห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความ

เป็นตน ย่อมไม่เห็นตนว่ามีวิญญาณ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน หรือ

ย่อมไม่เห็นตนในวิญญาณ เพราะฉะนั้น เมื่อตถาคตถูกถามอย่างนั้น

จึงไม่พยากรณ์อย่างนี้ว่าโลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม

เกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี.

[๗๙๖] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกลุกขึ้นจากที่นั่งแล้ว

ได้เข้าไปหาที่ในพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านโมคคัล-

ลานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามพระมหาโมคคัลลานะว่า ดูก่อนท่านโมค-

คัลลานะ โลกเที่ยงหรือ ท่านพระมหาโมคคัลลานะตรัสว่า ดูก่อนวัจฉะ

ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ ฯลฯ.

. ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก

ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์อีกเหมือนกัน.

. ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้

พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้น ย่อมพยากรณ์อย่างนี้ว่า

โลกเที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

ไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ เห็นอะไรหนอ เป็นเหตุ

เป็นปัจจัยให้พระสมณโคดม เมื่อถูกทูลถามอย่างนั้นแล้ว ย่อมไม่ทรง

พยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีก

ก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี.

[๗๙๗] ดูก่อนวัจฉะ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นย่อมเห็นรูปโดย

ความเป็นตน ย่อมเห็นตนว่ามีรูป ย่อมเห็นรูปในตน หรือย่อมเห็นตน

ในรูป ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ

ย่อมเห็นวิญญาณในตน หรือย่อมเห็นตนในวิญญาณ เพราะฉะนั้น พวก

ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่น เมื่อถูกถามอย่างนั้น จึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลก

เที่ยงบ้าง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิด

อีกก็หามิได้บ้าง ดูก่อนวัจฉะ ส่วนพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ย่อมไม่ทรงเห็นรูป โดยความเป็นตน ย่อมไม่ทรงเห็นตนว่ามีรูป ย่อมไม่

ทรงเห็นรูปในตน หรือย่อมไม่ทรงเห็นตนในรูป ฯลฯ ย่อมไม่ทรงเห็น

วิญญาณโดยความเป็นตน ย่อมไม่ทรงเห็นตนว่ามีวิญญาณ ย่อมไม่ทรง

เห็นวิญญาณในตน หรือย่อมไม่ทรงเห็นตนในวิญญาณ เพราะฉะนั้น เมื่อ

พระตถาคตถูกทูลถามอย่างนั้น จึงไม่ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า โลกเที่ยงก็ดี

โลกไม่เที่ยงก็ดี โลกมีที่สุดก็ดี โลกไม่มีที่สุดก็ดี ชีพก็อันนั้น สรีระก็

อันนั้นก็ดี ชีพเป็นอย่างอื่น สรีระก็เห็นอย่างอื่นก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกก็ดี สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีก็ดี สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ก็ดี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

[๗๙๘] ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อที่

อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบ

กันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยนกันในบทที่สำคัญ ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ.

เมื่อกี้นี้ข้าพเจ้าได้เข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม ได้ทูลถามเรื่องนี้ แม้พระ-

สมณโคดมก็ได้ทรงพยากรณ์เรื่องนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้

แก่ข้าพเจ้า ดุจท่านโมคคัลลานะเหมือนกัน ดูก่อนท่านโมคคัลลานะ

น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ในข้อที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะของ

ศาสดากับของสาวก ย่อมเทียบกันได้ สมกันได้ ไม่ผิดเพี้ยนกันในบทที่

สำคัญ.

จบ วัจฉสูตรที่ ๗

๙. กุตุหลสาลาสูตร

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้ายอดเยี่ยมกว่าครูทั้ง ๖

[๗๙๙] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ทราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อวันก่อน ๆ

โน้น พวกสมณพราหมณ์และปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นมากด้วยกัน นั่งประชุม

กันในศาลาวุ่นวาย ได้เกิดมีการสนทนาขึ้นในระหว่างว่า ปูรณกัสสปนี้แล

เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ. เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ

ชนส่วนมากยกย่องว่า ปูรณกัสสปนั้นย่อมพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

กิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่าน

โน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ แม้สาวกคนใดของท่านปูรณกัสสปนั้น เป็น

บุรุษสูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม บรรลุความปฏิบัติยอดเยี่ยมแล้ว ท่าน

ปูรณกัสสปก็ย่อมพยากรณ์สาวกแม้นั้นผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วใน

อุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น

ดังนี้ แม้มักขลิโคสาล. . . แม้นิครณฐนาฏบุตร. . . แม้สญชัยเวลัฏฐบุตร. . .

แม้ปกุธกัจจานะ. . . แม้อชิตเกสกัมพลก็เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์

มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกยองว่าดี แม้ท่าน

อชิตเกสกัมพลนั้นก็ย่อมพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วใน

อุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น

ดังนี้ แม้สาวกใดของท่านอชิตเกสกัมพลนั้นเป็นบุรุษสูงสุด เป็นบุรุษ

ยอดเยี่ยม ได้บรรลุความปฏิบัติอันยอดเยี่ยมแล้ว. ท่านอชิตเกสกัมพลก็

ย่อมพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วแม้นั้นในอุปบัติทั้งหลายว่า

ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ เหมือนกัน

แม้พระสมณโคดมนี้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ. เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มี

เกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี แม้พระสมณโคดมนั้น

ก็ทรงพยากรณ์สาวกผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่าน

โน่นบังเกิดในภพโน้น ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ และสาวกของ

พระสมณโคคมนั้น รูปใดเป็นบุรุษสูงสุด เป็นบุรุษยอดเยี่ยม ได้บรรลุ

ความปฏิบัติอันยอดเยี่ยมแล้ว พระสมณโคดมก็ทรงพยากรณ์สาวกรูปนั้น

ผู้กระทำกาลกิริยาล่วงไปแล้วในอุปบัติทั้งหลายว่า ท่านโน่นเกิดในภพโน้น

ท่านโน่นบังเกิดในภพโน้น ดังนี้ เหมือนกัน ยิ่งกว่านั้นพระสมณโคดมนั้น

ยังทรงพยากรณ์สาวกรูปนั้นอย่างนี้ว่า รูปโน้นตัดตัณหาขาดแล้ว ถอน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

สังโยชน์ทิ้งเสียแล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์แล้วเพราะได้บรรลุเหตุที่ละมานะได้

โดยชอบ ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้านั้น มีความเคลือบแคลง

สงสัยแท้ว่า อย่างไร ๆ พระสมณโคดมก็ต้องทรงรู้ธรรมอันบุคคลพึงรู้ยิ่ง

[๘๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวัจฉะ จริงทีเดียว

ควรที่ท่านจะสงสัยเคลือบแคลงใจ ความเคลือบแคลงเกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน

ในฐานะที่ควรสงสัย ดูก่อนวัจฉะ เราย่อมบัญญัติความเกิดขึ้นแก่คนที่ยัง

มีอุปาทานเท่านั้น หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทานมิได้ไม่ ดูก่อนวัจฉะ

ไฟมีเชื้อจึงลุกโพลง ไม่มีเชื้อหาลุกโพลงไม่แม้ฉันใด ดูก่อนวัจฉะ เราก็

ย่อมบัญญัติความเกิดขึ้นแก่คนที่ยังมีอุปาทาน หาบัญญัติแก่คนที่หาอุปาทาน

มิได้ไม่ ฉันนั้นเหมือนกันแล.

. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญสมัยใด เปลวไฟถูกลมพัด ย่อมไปไกล

ได้ ก็พระโคดมผู้เจริญจะทรงบัญญัติอะไรแก่เปลวไฟนี้ ในเพราะเชื้อเล่า.

. ดูก่อนวัจฉะ สมัยใด เปลวไฟถูกลมพัด ย่อมไปไกลได้

เราย่อมบัญญัติเชื้อ คือ ลมนั้น ดูก่อนวัจฉะ เพราะสมัยนั้น ลมย่อม

เป็นเชื้อของเปลวไฟนั้น.

. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมัยใด สัตว์ย่อมทอดทิ้งกายนี้ด้วย

ไม่เข้าถึงกายอันใดอันหนึ่งด้วย ก็พระโคดมผู้เจริญ จะทรงบัญญัติอะไร

แก่สัตว์นี้ในเพราะอุปาทานเล่า.

. ดูก่อนวัจฉะ สมัยใด สัตว์ทอดทิ้งกายนี้ด้วย ไม่เข้าถึงกาย

อันใดอันหนึ่งด้วย เราย่อมบัญญัติอุปาทาน คือ ตัณหานั้นแล ดูก่อนวัจฉะ

เพราะว่าสมัยนั้น ตัณหาย่อมเป็นเชื้อของสัตว์นั้น.

จบ กุตุหลสาลาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

อรรถกถากุตุหลสาลาสูตรที่ ๙

ในกุตุหลสาลาสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กุตุหลาย ความว่า ศาลาเฉพาะหลัง ชื่อว่ากุตุหาลา ไม่มี

แต่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ถือลัทธิต่าง ๆ กัน สนทนากันถึงเรื่องต่าง ๆ

ที่ศาลาใด ศาลานั้น คือศาลาหลังนี้สำหรับสมณพราหมณ์เป็นอันมาก

ท่านกล่าวดังนี้. ศาลาหลังนี้ ท่านเรียกว่า กุตุหลสาลา เพราะเป็นที่เกิด

ความวุ่นวายว่า พูดอะไรกัน. บทว่า ทูรปิ คจฺฉติ ความว่า ย่อมไป

จนถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสร. บทว่า อิมญฺจ กาย นิกฺขิปติ ความว่า

ย่อมทอดทิ้งด้วยจุติจิต. บทว่า อนุปปนฺโน โหติ ความว่า ย่อมไม่เข้าถึง

เพราะปฏิสนธิจิตไม่เกิดในจุติขณะนั้นเอง.

จบ อรรถกถากุตุหลสาลาสูตรที่ ๙

๑๐. อานันทสูตร

ว่าด้วยพระอานนท์ถามปัญหา

[๘๐๑] ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อัตตามีอยู่หรือ

เมื่อวัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

ดุษณีเสีย วัจฉโคตรปริพาชกได้ทูลถามอีกว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ก็อัตตาไม่มีหรือ แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงดุษณีเสีย

เหมือนกัน ครั้นแล้ว วัจฉโคตรปริพาชกก็ได้ลุกขึ้นจากที่นั่งหลีกไป.

[๘๐๒] ครั้งนั้น เมื่อวัจฉโคตรปริพาชกหลีกไปแล้วไม่นาน

ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เพราะเหตุอะไรหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าอันวัจฉโคตรปริพาชกทูลถาม

ปัญหาแล้ว จึงไม่ทรงพยากรณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์

เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตามีอยู่หรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า

อัตตามีอยู่ไซร้ คำพยากรณ์นั้นก็จักไปร่วมกับลัทธิของพวกสมณพราหมณ์

ผู้เป็นสัสสตทิฏฐิ ดูก่อนอานนท์ เราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตา

ไม่มีหรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตาไม่มีไซร้ คำพยากรณ์นั้นก็จักไปร่วม

กับลัทธิของพวกสมณพราหมณ์ผู้เป็นอุจเฉททิฏฐิ ดูก่อนอานนท์ เราอัน

วัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตามีอยู่หรือ ถ้าจะพึงพยากรณ์ว่า อัตตามี

อยู่ไซร้ คำพยากรณ์ของเรานั้น จักอนุโลมเพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งญาณว่า

ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาบ้างหรือหนอ.

อา. หามิได้ พระเจ้าข้า.

. ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากเราอันวัจฉโคตรปริพาชกถามว่า อัตตา

ไม่มีหรือ จะพึงพยากรณ์ว่า อัตตาไม่มีไซร้ คำพยากรณ์นั้นคงจักเป็นไป

เพื่อความหลงงมงายแก่วัจฉโคตรปริพาชกผู้งมงายอยู่แล้ว่า เมื่อก่อนอัตตา

ของเราได้มีแล้วแน่นอน บัดนี้ อัตตานั้นไม่มี ดังนี้.

จบ อานันทสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๑๐

ในอานันทสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เตสเมต สทฺธึ อภวิสฺส ความว่า คำพยากรณ์นั้นจัก

เป็นอันเดียวกันกับลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น จักอนุโลมเพื่อความ

เกิดขึ้นแห่งญาณว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา วิปัสสนาญาณว่า สพฺเพ

ธมฺมา อนตฺตา นี้ย่อมเกิดขึ้น คำพยากรณ์ของเรานั้น จักอนุโลมบ้าง

หรือหนอ.

จบ อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๑๐

๑๑. สภิยสูตร

ว่าด้วยวัจฉโคตรปริพาชกถามปัญหาพระสภิยกัจจานะ

[๘๐๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสภิยกัจจานะอยู่ ณ ที่พักซึ่งก่อสร้าง

ด้วยอิฐ ใกล้บ้านญาติ ครั้งนั้นแล วัจฉโคตรปริพาชกได้เข้าไปหาท่าน

พระสภิยกัจจานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านสภิยกัจจานะ ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ถามท่านพระสภิยกัจจานะว่า ดูก่อนกัจจานะผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายแล้วย่อมเกิดอีกหรือ ท่านพระสภิยกัจจานะตอบว่า ดูก่อนวัจฉะ ปัญหา

ข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนกัจจานะผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก

หรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

. ดูก่อนวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนกัจจานะผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็มี

ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนกัจจานะผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็

หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ.

. ดูก่อนวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์.

. ดูก่อนกัจจานะผู้เจริญ เมื่อข้าพเจ้าถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายไปแล้วย่อมเกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า ดูก่อนวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็น

ปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ ดูก่อนกัจจานะผู้เจริญ เมื่อ

ข้าพเจ้าถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีกหรือ ท่านก็ตอบว่า

ดูก่อนวัจฉะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์

เมื่อข้าพเจ้าถามว่า ดูก่อนกัจจานะผู้เจริญ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อม

เกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มีหรือ ท่านก็ตอบว่า ดูก่อนวัจฉะ ปัญหาข้อนี้

เป็นปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ ดูก่อนกัจจานะผู้เจริญ

เมื่อข้าพเจ้าถามว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อม

ไม่เกิดอีกก็หามิได้หรือ ท่านก็ตอบว่า ดูก่อนวัจฉะ แม้ปัญหาข้อนี้ก็เป็น

ปัญหาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ ดูก่อนกัจจานะผู้เจริญ อะไร

หนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสมณโคดมไม่ทรงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

. ดูก่อนวัจฉะ เหตุอันใดและปัจจัยอันใดเพื่อการบัญญัติว่า สัตว์

มีรูปก็ดี ว่าสัตว์ไม่มีรูปก็ดี ว่าสัตว์มีสัญญาก็ดี ว่าสัตว์ไม่มีสัญญาก็ดี ว่าสัตว์

มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี เหตุอันนั้นและปัจจัยอันนั้น พึงดับ

ทุก ๆ อย่าง หาเศษมิได้ บุคคลเมื่อบัญญัติสัตว์ ว่าสัตว์มีรูปก็ดี ว่าสัตว์

ไม่มีรูปก็ดี ว่าสัตว์มีสัญญาก็ดี ว่าสัตว์หาสัญฌามิได้ก็ดี ว่าสัตว์มีสัญญา

ก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี พึงบัญญัติด้วยอะไร.

. ดูก่อนกัจจานะผู้เจริญ ท่านบวชนานเท่าไร.

. ไม่นาน ได้สามพรรษา.

. ดูก่อนผู้มีอายุ การกล่าวแก้ของผู้ที่กล่าวแก้ได้มากถึงเท่านี้

เมื่อการกล่าวแก้ไพเราะอย่างนี้แล้ว ก็ไม่จำต้องพูดอะไรกันอีก.

จบ สภิยสูตรที่ ๑๑

จบ อัพยากตสังยุต

อรรถกถาสภิยสูตรที่ ๑๑

ในสภิยสูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอตฺตเกน เอตฺตกเมว ความว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

การพยากรณ์ของผู้ที่ชี้แจงว่า เมื่อเหตุมี ย่อมมีรูปเป็นต้น คือ พยากรณ์ว่า

เมื่อเหตุไม่มี รูปย่อมไม่มี โดยกาลเท่านี้นั้น มีมากถึงเพียงนี้ ก็ไม่ต้อง

กล่าวอะไร ในการพยากรณ์ที่ไพเราะเพราะพริ้งเป็นที่น่าพอใจยิ่ง กล่าว

โดยนัยแห่งธรรมเทศนานั้นแหละ ไม่จำต้องกล่าวอะไร เลิกพูดกันได้.

จบ อรรถกถาสภิยสูตรที่ ๑๑

จบ อรรถกถาอัพยากตสังยุต

จบ อรรถกถาสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

รวมพระสูตรที่มีในอัพยากตสังยุตนี้ คือ

๑. เขมาเถรีสูตร ๒. อนุราธสูตร ๓. สารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๑

๔. สารีปุตตโกฏฐิตสูตรที่ ๒ ๕. สารีปุตตโกฏฐิสูตรที่ ๓ ๖. สารีปุตต-

โกฏฐิตสูตรที่ ๔ ๗. โมคคัลลานสูตร ๘. วัจฉสูตร ๙. กุตุหลสาลาสูตร

๑๐. อานันทสูตร ๑๑. สภิยสูตร.

จบ สฬายตนวรรสังยุต

รวมสังยุตที่มีในสฬายตนวรรคสังยุตนี้ คือ

๑. สฬายตนสังยุต ๒. เวทนาสังยุต ๓. มาตุคามสังยุต

๔. ชัมพุขาทกสังยุต ๕. สามัณฑกสังยุต ๖. โมคคัลลานสังยุต

๗. จิตตคหปติปุจฉาสังยุต ๘. คามณิสังยุต ๙. อสังขตสังยุต

๑๐. อัพยากตสังยุต