ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่

พระผู้มีพระภาคอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. สฬายตนสังยุต

ปฐมปัณณาสก์

อนิจจวรรคที่ ๑

๑. อัชฌัตติกอนิจจสูตร

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งอายตนะภายใน

[ ๑ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ก่อน

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด

เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงดังนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา

เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. หูเป็นของไม่เที่ยง จมูกเป็นของ

ไม่เที่ยง ลิ้นเป็นขอไม่เที่ยง กายเป็นของไม่เที่ยง ใจเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใด

ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น

อนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย

แม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในหู ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจมูก ย่อมเบื่อหน่าย

แม้ในลิ้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย

ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว

ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ อัชฌัตติกอนิจจสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย

สฬายตนวรรค

ปฐมปัณณาสก์

อรรถกถาอัชฌัตติกอนิจจสูตรที่ ๑

ในสฬายตนวรรค อัชฌัตติกอนิจจสูตรที่ ๑ วินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า จกฺขุ ได้แก่จักษุ ๒ คือ ญาณจักษุ ๑ มังสจักษุ ๑.

ในจักษุ ๒ อย่างนั้น ญาณจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ธรรมจักษุ

สมันตจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ. ในจักษุ ๕ ย่างนั้น ที่ชื่อว่าพุทธจักษุ

ได้แก่ อาสยานุสยญาณและอินทริยปโรปริยัตตญาณ ซึ่งมาในพระบาลีว่า

ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. ที่ชี่อธรรมจักษุ ได้แก่มรรคจิต ๓ ผลจิต ๓

ซึ่งมาในพระบาลีว่า วิรช วีตมล ธมฺมจกฺขุ อุทปาทิ ธรรมจักษุ

ปราศจากกิเลสดุจธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น. ที่ชื่อว่า สมันตจักษุ

ได้แก่ สัพพัญญุตญาณ ที่มาในพระบาลีว่า ปาสาทมารุยฺห สมนฺตจกฺขุ

สมันตจักษุขึ้นสู่ปราสาท. ที่ชื่อว่า ทิพยจักษุ ได้แก่ ญาณที่เกิดขึ้นด้วยการ

ขยายอาโลกกสิณ ที่มาในพระบาลีว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน

ด้วยทิพยจักษุอันหมดจด. ที่ชื่อว่า ปัญญาจักษุ ได้แก่ ญาณในการกำหนด

สัจจะ ๔ ซึ่งมาในพระบาลีว่า จกฺขุ อุทปาทิ จักษุ ( ธรรมจักษุ )

เกิดขึ้นแล้ว. แม้มังสจักษุ ก็มี ๒ อย่าง คือ สัมภารจักษุ ๑ ปสาทจักษุ ๑.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

ใน ๒ อย่างนั้น ว่าโดยสังเขป ชิ้นเนื้ออันชั้นของตาล้อมไว้ในกระบอกตา

มีองค์ประกอบ ๑๓ อย่าง คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ โอชา

สัมภวรูป ชีวิตรูป ภาวรูป จักษุปสาทรูป กายปสาทรูป. แต่เมื่อว่า

โดยพิสดาร รูป ๙ เหล่านี้ คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ โอชา

สัมภวรูป ว่าด้วยอำนาจสมุฏฐาน ๔ (๙ x ๔ ) เป็นรูป ๓๖ รูป ที่มีกรรม

เป็นสมุฏฐาน ๔ เหล่านี้ คือ ชีวิตรูป ๑ ภาวรูป ๑ จักษุปสาทรูป ๑

กายปสาทรูป ๑ จึงรวมเป็นสสัมภารรูป ๔๐ นี้ชื่อว่า สสัมภารจักษุ.

ก็ในสสัมภารจักษุรูปเหล่านี้ รูปใดที่สามารถเพื่ออันเห็นรูปที่ตั้งอยู่ในลูกตา

ที่เห็นได้แวดล้อมด้วยแววตาดำที่กำหนดไว้ด้วยลูกตาขาว รูปนี้ ชื่อว่า ปสาท

จักษุ. กถาว่าโดยพิสดารแห่งจักขุปสาทรูปและโสตปสาทรูปเป็นต้นอื่นจาก

จักษุปสาทรูปนั้น กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคแล.

ในรูปเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาจักขุปสาทรูป จึง

ตรัสว่า จกฺขุ ภิกฺขเว อนิจฺจ ดังนี้ เป็นต้น. ในพระบาลีนั้น กถาว่า

โดยพิสดารท่านประกาศไว้แล้วในหนหลัง โดยนัยมีอาทิว่า จตูหิ การเณหิ

อนิจฺจ อุทยพฺพยวนฺตตาย รูปชื่อว่า ไม่เที่ยงด้วยเหตุ ๔ ประการ

เพราะมีอันเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา. บทว่า โสตญฺจ ท่านประสงค์

เอาเฉพาะโสตปสาทรูป. ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูปและกายปสาทรูป

ก็เหมือนกัน. บทว่า มโน ได้แก่ จิตที่ดำเนินไปในการพิจารณา อัน

เป็นไปในภูมิ ๓. ดังนั้นพระสูตรนี้ พระองค์ตรัสไว้ตามอัธยาศัยของสัตว์

ผู้ตรัสรู้ ในเพราะเมื่อพระองค์ตรัสแสดงลักษณะ ๓ ในอายตนะภายใน ๖

ไว้แล้ว.

จบ อรรถกถาอัชฌัตติกอนิจจสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

๒. อัชฌัตติกทุกขสูตร

ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งอายตนะภายใน

[ ๒ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น

เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอัน

ชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่

ตัวตนของเรา. หูเป็นทุกข์ จมูกเป็นทุกข์ ลิ้นเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์

ใจเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น

ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่

ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ.

จบ อัชฌัตติกทุกขสูตรที่ ๒

อรรถกถาอัชฌัตติกทุกขสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๒ ตรัสด้วยลักษณะสอง.

จบ อรรถกถาอัชฌัตติกทุกขสูตรที่ ๒

๓. อัชฌัตติกอนัตตสูตร

ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งอายตนะภายใน

[ ๓ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. หูเป็นอนัตตา

จมูกเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา สิ่งใด

เป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น

จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ.

จบ อัชฌัตติกอนัตตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

อรรถกถาอัชฌัตติกอนัตตสูตรที่ ๓

สูตรที่ ๓ ตรัสตามอัธยาศัยของผู้ตรัสรู้ ในเมื่อพระองค์ตรัสแสตง

ลักษณะ ๑. ส่วนลักษณะที่เหลือพวกผู้จะตรัสรู้กำหนดแล้ว หรือจักกำหนด

พระสูตรนั้น ด้วยลักษณะเพียงเท่านี้แล.

จบ อรรถกถาอัชฌัตติกอนัตตสูตรที่ ๓

๔. พาหิรอนิจจสูตร

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งอายตนะภายนอก

[ ๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง

สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น

เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น

ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่

ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป.........ย่อม

ทราบชัด ....

จบ พาหิรอนิจจสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

อรรถกถาพาหิรอนิจจสูตรที่ ๔

ในพาหิรอนิจจสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

รูป กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มีสมุฏฐาน ๔ สัททรูป มีสมุฏฐาน ๒.

บทว่า ธมฺมา ได้แก่ธรรมารมณ์อันเป็นไปในภูมิ ๓ บทว่า ธมฺมา

แม้นี้ พระองค์ตรัสไว้ด้วยอำนาจของผู้จะตรัสรู้ ในเมื่อพระองค์ตรัสแสดง

ลักษณะ ๓ ในอายตนะภายนอก ๖.

จบ อรรถกถาพาหิรอนิจจสูตรที่ ๔

๕. พาหิรทุกขสูตร

ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งอายตนะภายนอก

[ ๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น

เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอัน

ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่

ใช่ตัวตนของเรา. เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นทุกข์

สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลาย

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา

เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา....

จบ พาหิรทุกขสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

๖. พาหิรอนัตตสูตร

ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งอายตนะภายนอก

[ ๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น

ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่

ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา . . . .

จบ พาหิรอนัตตสูตรที่ ๖

อรรถกถาพาหิรทุกขสูตรที่ ๕ - พาหิรอนัตตสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๕ และสูตรที่ ๖ มีนัยเช่นที่กล่าวแล้วในสูตรที่ ๒ และ

สูตรที่ ๓ นั่นแล.

จบ อรรถกถาพาหิรทุกขสูตรที่ ๕ - พาหิรอนัตตสูตรที่ ๖

๗. อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งอายตนะภายในทั้งสามกาล

[ ๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของ

ไม่เที่ยง จะกล่าวไปไยถึงจักษุอันเป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว

เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่

๑. อรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๑๐ แก้รวมกันไว้ท้ายสูตรที่ ๑๐.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่

เป็นปัจจุบัน หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง

จะกล่าวไปไยถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่

อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นอนาคต

ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน.

จบ อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตรที่ ๗

๘. อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร

ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งอายตนะภายในทั้งสามกาล

[ ๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์

จะกล่าวไปใยถึงจักษุที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่

อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต

ย่อมปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน หู

จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะกล่าวไปใยถึงใจ

ที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใย

ในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย

เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน.

จบ อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

๙. อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร

ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งอายตนะภายในทั้งสามกาล

[ ๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา

จะกล่าวไปใยถึงจักษุที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่

อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในจักษุที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินจักษุที่เป็นอนาคต

ย่อมปฏิบัติเพื่อเมื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งจักษุที่เป็นปัจจุบัน

หู จมูก ลิ้น กาย ใจที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา จะกล่าวไปใย

ถึงใจที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี

เยื่อใยในใจที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินใจที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อ

หน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งใจที่เป็นปัจจุบัน.

จบ อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตรที่ ๙

๑๐. พาหิรสูตร

ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งอายตนะภายนอกทั้งสามกาล

[ ๑๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของ

ไม่เที่ยง จะกล่าวไปใยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว

เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ย่อมไม่เพลิดเพลินในรูป

ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูป

ที่เป็นปัจจุบัน เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

และอนาคต เป็นของไม่เที่ยง จะกล่าวไปใยถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวก

ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต

ย่อมไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย

เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน.

ว่าด้วยความเป็นทุกข์แห่งอายตนะภายนอกทั้งสามกาล

[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นทุกข์ จะ

กล่าวไปใยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต ย่อม

ปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน ฯลฯ.

ว่าด้วยความเป็นอนัตตาแห่งอายตนะภายนอกทั้งสามกาล

[ ๑๒ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา

จะกล่าวไปใยถึงรูปที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่

อย่างนี้ ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูปที่เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในรูปที่เป็นอนาคต

ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่งรูปที่เป็นปัจจุบัน.

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอนัตตา

จะกล่าวไปใยถึงที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมไม่มีเยื่อใยในธรรมารมณ์เป็นอดีต ไม่เพลิดเพลินในธรรมารมณ์ที่

เป็นอนาคต ย่อมปฏิบัติเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับซึ่ง

ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน.

จบ พาหิรสูตรที่ ๑๐

อนิจจวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

อรรถกถาอตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตรที่ ๗ - ๑๐

สูตรที่ ๗ เป็นต้น ตรัสด้วยอำนาจเวไนยสัตว์ผู้กำหนดอนิจจ-

ลักษณะเป็นต้นในจักษุเป็นต้นที่เป็นอดีตและอนาคต ลำบากด้วยการยึดถือ

ในรูปที่เป็นปัจจุบันว่ามีกำลัง. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีนัยดังกล่าวแล้วใน

หนหลังนั่นแล

จบ อรรถกถาอตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตรที่ ๗ - ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑ อัชฌัตติกอนิจจสูตร ๒. อัชฌัตติกทุกขสูตร ๓. อัชฌัตติก-

อนัตตสูตร ๔. พาหิรอนิจจสูตร ๕. พาหิรทุกขสูตร ๖. พาหิรอนัตตสูตร

๗. อตีตานาคตปัจจุปันนานิจจสูตร ๘. อตีตานาคตปัจจุปันนทุกขสูตร

๙. อตีตานาคตปัจจุปันนานัตตสูตร ๑๐. พาหิรสูตร.

จบ อนิจจวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

ยมกวรรคที่ ๒

๑. ปฐมสัมโพธสูตร

ว่าด้วยความรู้แท้ในเรื่องอายตนะ

[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เราเป็นโพธิสัตว์ยัง

ไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไรเป็น

ความสลัดออกแห่งตา หู จมูก ลิ้น กาย อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ

อะไรเป็นความสลัดออกแห่งใจ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิด

ดังนี้ว่า สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ นี้เป็นคุณแห่งจักษุ จักษุเป็น

ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งจักษุ

การกำจัด การละฉันทราคะในจักษุ นี้เป็นความสลัดออกแห่งจักษุ ฯลฯ

สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจ นี้เป็นคุณแห่งใจ ใจเป็นสภาพไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งใจ การกำจัด

การละฉันทราคะในใจ นี้เป็นความสลัดออกแห่งใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรายังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ โดย

เป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความ

สลัดออก อย่างนี้เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมา

สัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น. เมื่อใด เราได้รู้ตาม

ความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษ

๑. อรรถกถาสูตรที่ ๑ - ๒ แก้รวมไว้ท้ายสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

โดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้

เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ ก็ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่าความหลุดพ้นของเรา

ไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบ สัมโพธสูตรที่ ๑

๒. ทุติยสัมโพธสูตร

ว่าด้วยความรู้แท้ในเรื่องอายตนะ

[ ๑๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เราเป็นโพธิสัตว์

ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดดังนี้ว่า อะไรเป็นคุณ อะไรเป็นโทษ อะไร

เป็นความสลัดออกแห่งรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อะไรเป็นคุณ

อะไรเป็นโทษ อะไรเป็นความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยรูป

นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น

ธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป การกำจัด การละฉันทราคะในรูป นี้เป็นความ

สลัดออกแห่งรูป ฯลฯ สุขโสมนัสเกิดขึ้นเพราะอาศัยธรรมารมณ์ นี้เป็นคุณ

แห่งธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ

แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งธรรมารมณ์ การกำจัด การละ

ฉันทราคะในธรรมารมณ์ นี้เป็นความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์ ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖

เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออก

โดยเป็นความสลัดออก อย่างนี้ เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้

ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เพียงนั้น. เมื่อใด

เราได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้ โดย

เป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความ

สลัดออกอย่างนี้ เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตตรสัมมา-

สัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้ว

แก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้ภพใหม่

ไม่มี.

จบ สัมโพธสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

ยมกวรรคที่ ๒

อรรถกถาสัมโพธสูตรที่ ๑ - ๒

ยมกวรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า อชฺฌตฺติกาน ได้แก่ชื่อว่าอัชฌัตติกะ โดยที่เป็นภายใน.

ก็ความที่อายตนะเหล่านั้นเป็นภายใน พึงทราบได้ก็เพราะฉันทราคะความ

กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจมีกำลังเกินประมาณ. จริงอยู่ อายตนะภายใน

เหมือนภายในเรือนของพวกมนุษย์ อายตนะภายนอก เหมือนอุปจาร

ใกล้ ๆ เรือนคือฉันทราคะในภายในเรือนของพวกมนุษย์ที่เต็มไปด้วยลูกเมีย

ทรัพย์และข้าวเปลือกมีกำลังเกินประมาณ. พวกมนุษย์ไม่ให้ใคร ๆ เข้าไป

ในที่นั้น. มีผู้กล่าวว่า จะประโยชน์อะไรด้วยเหตุเพียงเสียงภาชนะมี

ประมาณน้อยนี้ ฉันทราคะมีกำลังเกินประมาณในอายตนะภายใน ๖ ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน. อายตนะเหล่านั้นท่านเรียกว่า ภายใน เพราะฉันทราคะ

มีกำลังนี้ ด้วยประการฉะนี้. แต่ในอุปจารใกล้ ๆ เรือน ไม่มีกำลังอย่างนั้น

มนุษย์ก็ดี สัตว์สี่เท้าก็ดี ที่เที่ยวไปในที่นั้น ไม่มีใครห้ามเลย แม้จะไม่

ห้ามก็จริง ถึงอย่างนั้น เมื่อไม่ปรารถนา ก็ไม่ให้จับแม้เพียงตะกร้าขนดิน.

ดังนั้นพวกเขาเหล่านั้นจึงไม่มีฉันทราคะมีกำลังเกินประมาณในที่นั้น. แม้

ในรูปเป็นต้น ก็ไม่มีฉันทราคะที่มีกำลังเกินประมาณในที่นั้นเหมือนกัน

ฉะนั้น ท่านจึงเรียกอายตนะเหล่านั้นว่า ภายนอก. แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร

อายตนะทั้งภายในและภายนอก ได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

คำที่เหลือในสูตรทั้ง ๒ มีนัยดังกล่าวแล้ว ในหนหลังนั้นแล.

จบ อรรถกถาสัมโพธสูตรที่ ๑ - ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

๓. ปฐมอัสสาทสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษแห่งอายตนะ

[ ๑๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งจักษุ ได้

พบคุณแห่งจักษุ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่ง

จักษุ ได้พบโทษแห่งจักษุ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหา

ความสลัดออกแห่งจักษุ ได้พบความสลัดออกแห่งจักษุ ได้เห็นด้วยดีด้วย

ปัญญา ฯลฯ หู จมูก ลิ้น กาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งใจ ได้พบ

คุณแห่งใจ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งใจ ได้

พบโทษแห่งใจ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาความสลัดออก

แห่งใจ ได้พบความสลัดออกแห่งใจ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรายังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้

โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความ

สลัดออก เพียงใด ฯลฯ ก็ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้น

ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบ ปฐมอัสสาทสูตรที่ ๓

๔. ทุติยอัสสาทสูตร

ว่าด้วยคุณแห่งโทษแห่งอายตนะ

[ ๑๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งรูป ได้

พบคุณแห่งรูป ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่งรูป

ได้พบโทษแห่งรูป ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวเสวงหาความสลัด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

ออกแห่งรูป ได้พบความสลัดออกแห่งรูป ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ฯลฯ

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เราได้เที่ยวแสวงหาคุณแห่งธรรมารมณ์ ได้

พบคุณแห่งธรรมารมณ์ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษ

แห่งธรรมารมณ์ ได้พบโทษแห่งธรรมารมณ์ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา

เราได้เทียวแสวงหาความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์ ได้พบความสลัดออก

แห่งธรรมารมณ์ ได้เห็นด้วยดีด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่

รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ

ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก เพียงใด

ฯลฯ ก็ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่าความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาติ

นี้เป็นที่สุด บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบ ทุติยอัสสาทสูตรที่ ๔

อรรถกถาอัสสาทสูตรที่ ๓ - ๔

ในสูตรที่ ๓ และสูตรที่ ๔ ก็เหมือนกัน ( กับสูตรที่ ๑ - ๒ )

จบ อรรถกถาอัสสาทสูตรที่ ๓ - ๔

๕. ปฐมโนอัสสาทสูตร

ว่าด้วยการปฏิเสธคุณและโทษแห่งอายตนะ

[ ๑๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์

ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในจักษุ แต่เพราะคุณในจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์

ทั้งหลายจึงกำหนัดในจักษุ ถ้าโทษแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในจักษุ แต่เพราะโทษแห่งจักษุมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์

ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในจักษุ ถ้าความสลัดออกแห่งจักษุจักไม่มีแล้วไซร้

สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากจักษุ แต่เพราะความสลัดออกแห่งจักษุ

มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากจักษุ หู จมูก ลิ้น กาย

ถ้าคุณแห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในใจ แต่

เพราะคุณแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดในใจ ถ้าโทษแห่ง

ใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในใจ แต่เพราะโทษ

แห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในใจ ถ้าความสลัดออก

แห่งใจจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจากใจ แต่เพราะ

ความสลัดออกแห่งใจมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากใจ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะ

ภายใน ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ ซึ่งความสลัด

ออกโดยเป็นความสลัดออก เพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยังไม่เป็นผู้ออกไป

พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจถูกครอบงำอยู่

เพียงนั้น แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่ง

อายตนะภายใน ๖ เหล่านั้น โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และ

ซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออก เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้

ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มี

ใจได้ถูกครอบงำอยู่.

จบ ปฐมโนอัสสาทสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

อรรถกถาปฐมโนอัสสาทสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นิสฺสฏ แปลว่า ออกไปแล้ว. บทว่า วิสญฺญุตฺตา แปลว่า

ไม่ประกอบ. บทว่า วิปฺปมุตฺตา แปลว่า ไม่พ้นแล้ว. บทว่า วิปฺปริยา-

ทิกเตน เจตสา ได้แก่ มีใจที่ไม่มีอะไรยึดไว้เป็นต้น. บทว่า ย ได้แก่

กิเลสชาตหรือวัฏฏะที่ยังละไม่ได้. จิตของพระเสขะทั้งหลาย เป็นอันชื่อว่า

อันกิเลสชาตหรือวัฏฏะยังยึดมั่นอยู่เป็นต้น แต่ในที่นี้ จิตที่อันกิเลสชาต

หรือวัฏฏะชื่อว่าไม่ยึดมั่นเป็นต้น เพราะกิเลสและวัฏฏะท่านละได้แล้วโดย

ประการทั้งปวง อธิบายว่า พระอริยเจ้ามีจิตปราศจากความยึดมั่น คือ

ก้าวล่วงการยึดมั่นของกิเลสวัฏฏะ.

จบ อรรถกถาปฐมในอัสสาทสูตรที่ ๕

๖. ทุติยโนอัสสาทสูตร

ว่าด้วยการปฏิเสธคุณและโทษแห่งอายตนะ

[ ๑๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์

ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนดในรูป แต่เพราะคุณแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์

ทั้งหลายจึงกำหนัดในรูป ถ้าโทษแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย

ก็จะไม่พึงเบื่อหน่ายในรูป แต่เพราะโทษแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย

จึงเบื่อหน่ายในรูป ถ้าความสลัดออกแห่งรูปจักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลาย

ก็จะไม่พึงสลัดออกจากรูป แต่เพราะความสลัดออกแห่งรูปมีอยู่ ฉะนั้น

สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ถ้าคุณแห่ง

ธรรมารมณ์จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดในธรรมารมณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

แต่เพราะคุณแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงกำหนัดใน

ธรรมารมณ์ ถ้าโทษแห่งธรรมารมณ์จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะ

ไม่พึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ แต่เพราะโทษแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น

สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ ถ้าความสลัดออกจากธรรมารมณ์

จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจากธรรมารมณ์ แต่เพราะ

ความสลัดออกแห่งธรรมารมณ์มีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจาก

ธรรมารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง

ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็น

โทษ ซึ่งความสลัดออกโดยเป็นความสลัดออกเพียงใด สัตว์ทั้งหลายก็ยัง

ไม่เป็นผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีใจ

ถูกครอบงำอยู่เพียงนั้น เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายได้รู้ตามความเป็นจริง ซึ่ง

คุณแห่งอายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้ โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ

และซึ่งความสลัดออก็โดยเป็นความสลัดออก เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายก็เป็น

ผู้ออกไป พรากไป หลุดพ้นไปจากโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก จากหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

มิใจมิได้ถูกครอบงำอยู่.

จบ ทุติยโนอัสสาทสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุติยโนอัสสาทสูตรที่ ๖

แม้ในสูตรที่ ๖ ก็นัยนี้ แต่ใน ๖ สูตรนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าว

เฉพาะสัจจะ ๔ เท่านั้น.

จบ อรรถกถาทุติยโนอัสสาทสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

๗. ปฐมอภินันทสูตร

ว่าด้วยผู้ที่เพลิดเพลินอยู่ในอายตนะภายในย่อมไม่พ้นทุกข์

[ ๑๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลินจักษุ ผู้นั้นชื่อว่า

ย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไป

จากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดยังเพลิดเพลินใจ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใด

เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์ ส่วนผู้ใดไม่เพลิด-

เพลินจักษุ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์เรา

กล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินใจ ผู้นั้นชื่อว่าไม่

เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์.

จบ ปฐมอภินันทสูตรที่ ๗

๘. ทุติยอภินันทสูตร

ว่าด้วยผู้เพลิดเพลินอยู่ในอายตนะภายนอกย่อมไม่พ้นทุกข์

[ ๒๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่า

ย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้น

ไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดยังเพลิดเพลินธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเพลิด-

เพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์ . เรากล่าวว่า ผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์

ส่วนผู้ใดไม่เพลิดเพลินรูป ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิด-

เพลินทุกข์ เรากล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์ ฯลฯ ผู้ใดไม่เพลิดเพลิน

ธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรา

กล่าวว่า ผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์.

จบ ทุติยอภินันทสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

๙. ปฐมอุปปาทสูตร

ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ

[๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ

บังเกิด ความปรากฏแห่งจักษุ เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่

แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความ

ตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งใจ เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความ

ตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ส่วนความดับ ความ

สงบ ความไม่มีแห่งจักษุ เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค

เป็นความไม่มีแห่ชราและมรณะ ฯลฯ ความดับ ความสงบ ความไม่มี

แห่งใจ เป็นความขับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มี

แห่งชราและมรณะ.

จบ ปฐมอุปปาทสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยอุปปาทสูตร

ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งอายตนะ

[ ๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความ

บังเกิด ความปรากฏแห่งรูป เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่

แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความเกิดขึ้น ความ

ตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งธรรมารมณ์ เป็นความเกิดแห่งทุกข์

เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดับ ความสงบ ความไม่มี

แห่งรูป เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มี

แห่งชราและมรณะ ฯลฯ ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่งธรรมารมณ์

เป็นความดับแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชรา

และมรณะ.

จบ ทุติยอุปปาทสูตรที่ ๑๐

ยมกวรรคที่ ๒

อรรถกถาปฐมอภินันทสูตรที่ ๗ เป็นต้น

ในสูตรที่ ๗ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะ

ไว้ใน ๔ สูตร แต่อนุปุพพิกกาพึงทราบโดยนัยที่ตรัสแล้วนั่นแหล่ะ ใน

หนหลังแก่ภิกษุเหล่านั้น.

จบ อรรถกถาปฐมอภินันทสูตรที่ ๗ เป็นต้น

จบ อรรถกถายมกวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสัมโพธสูตร ๒. ทุติยสัมโพธสูตร ๓. ปฐมอัสสาทสูตร

๔. ทุติยอัสสาทสูตร ๕. ปฐมโนอัสสาทสูตร ๖. ทุติยโนอัสสาสูตร

๗. ปฐมอภินันทสูตร ๘. ทุติยอภินันทสูตร ๙. ปฐมอุปปาทสูตร

๑๐. ทุติยอุปปาทสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

สัพพวรรคที่ ๓

๑. สัพพสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงสิ่งทั้งปวง

[๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเป็นสิ่งทั้งปวง. จักษุ

กับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับ

ธรรมารมณ์ อันนี้เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าว

อย่างนี้ว่า เราบอกปฏิเสธสิ่งทั้งปวง จักบัญญัติสิ่งอื่นแทน วาจาของผู้นั้น

พึงเลื่อนลอย ดุจวัตถุเทพดา แต่ครั้นถูกถามเข้า ก็ตอบไม่ได้ และจะ

อึดอัดใจยิ่งขึ้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย.

จบ สัพพสูตรที่ ๑

อรรถกถาสัพพสูตรที่ ๑

สัพพวรรคที่ ๓ สัพพสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สพฺพ โว ภิกฺขเว ชื่อว่า สัพพะ มี ๔ อย่าง คือ

สัพพสัพพะ, อายตนสัพพะ, สักกายสัพพะ, ปเทสสัพพะ

ใน ๔ อย่างนั้น

สัพพะว่าอะไร ๆ ที่พระองค์ไม่เคยเห็นในโลกนี้

ย่อมไม่มี ไม่รู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ก็ไม่มี อนึ่งพระตถาคต

ทรงรู้ยิ่งถึงเนยยะ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด เพราะฉะนั้น

พระตถาคต จึงทรงพระนามว่า สมันตจักษุ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

ชื่อว่า สัพพสัพพะ. สัพพะ ว่า สพฺพ โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ ต

สุณาถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอ

จงฟังสิ่งนั้น นี้ชื่อว่า อายตนสัพพะ. สัพพะ ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยาย

โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมูลปริยาย

แห่งธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ นี้ชื่อว่า สักกายสัพพะ. สัพพะว่า สพฺพ-

ธมฺเมสุ วา ปมสมนฺนาหาโร อุปฺปชฺชติ จิตฺต มโน มานส

ตชฺชา มโนวิญฺาณธาตุ หรือว่า การรวบรวมใจครั้งแรก จิต มโน

มานัส มโนวิญญาณธาตุที่เกิดแต่จิตนั้น ย่อมเกิดขึ้นในธรรมทั้งปวง นี้

ชื่อว่า ปเทสสัพพะ.

ดังนั้นเพียงอารมณ์ ๕ ชื่อว่า ปเทสสัพพะ. ธรรมอันเป็นไปใน

ภูมิ ๓ ชื่อว่า สักกายสัพพะ. ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อว่า อายตน-

สัพพะ. เนยยะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัพพสัพพะ. ปเทสสัพพะ

ไม่ถึงสักกายสัพพะ, สักกายสัพพะ ไม่ถึงอายตนสัพพะ, อายตนสัพพะ

ไม่ถึงสัพพสัพพะ. เพราะเหตุไร. เพราะว่าธรรมชื่อนี้ที่ไม่เป็นอารมณ์

ของพระสัพพัญญุตญาณย่อมไม่มี. แต่ในพระสูตรนี้ ท่านประสงค์เอา

อายตนสัพพะ.

บทว่า ปจฺจกฺขาย แปลว่า ปฏิเสธ. บทว่า วาจา วตฺถุเทวสฺส

ได้แก่ พึงเป็นเพียงวัตถุที่จะพึงกล่าวด้วยวาจาเท่านั้น. พ้นอายตนะ ๑๒ นี้

ไม่อาจแสดงได้ว่า ธรรมอื่นนี้ ชื่อว่า สภาวธรรม. บทว่า ปุฏฺโ จ น

สมฺปาเยยฺย ความว่า เมื่อถูกถามว่าสิ่งอื่นคืออะไร ชื่อว่าสัพพะ ก็ไม่

สามารถจะตอบได้ว่าชื่อนี้. บทว่า วิฆาต อาปชฺเชยฺย ได้แก่ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ลำบาก. บทว่า ต ในคำว่า ยถา ต ภิกฺขเว อวิสยสฺมึ นี้เป็นเพียง

นิบาต. บทว่า ยถา เป็นคำบ่งเหตุ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ถูกถามใน

สิ่งที่ไม่ใช่วิสัย. ความจริงสัตว์ทั้งหลายย่อมมีความคับแค้นใจในสิ่งที่ไม่ใช่

วิสัย. การเทินศิลาประมาณเท่าเรือนยอดข้ามน้ำลึก เป็นเรื่องไม่ใช่วิสัย.

การฉุดพระจันทร์พระอาทิตย์ลงมา ก็เหมือนกัน. เมื่อพยายามในสิ่งที่มิใช่

วิสัยนั้นย่อมลำบากแท้ อธิบายว่า ต้องลำบากในสิ่งที่มิใช่วิสัยแม้นี้ ด้วย

ประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสัพพสูตรที่ ๑

๒. ปฐมปหานสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง

[ ๒๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง

นั้นแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังข้อนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรม

สำหรับละสิ่งทั้งปวงนั้นเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป จักษุ-

วิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่

ควรละ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรละ

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส

เป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แลเป็นธรรม

สำหรับละสิ่งทั้งปวง.

จบ ปฐมปหานสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

อรรถกถาปฐมปหานสูตรที่ ๒

ในปฐมปหานสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า สพฺพ ปหาย แปลว่า ละซึ่งสิ่งทั้งปวง. บทว่า จกฺขุ-

สมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชาติ เวทยิต ได้แก่เวทนาที่สัมปยุตด้วยสัมปฏิจ-

ฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะและชวนะ ที่เกิดขึ้นเพราะกระทำสห-

ชาตธรรมที่มีจักษุสัมผัสเป็นมูลให้เป็นปัจจัย แต่ธรรมที่สัมปยุตด้วยจักษุ-

ิวิญญาณไม่จำต้องกล่าวถึงเลย. แม้ในธรรมที่มีเวทนาเป็นปัจจัยมีโสตทวาร

เป็นต้นเป็นอาทิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในที่นี้ บทว่า มโน ได้แก่ภวังคจิต.

บทว่า ธมฺมา ได้แก่อารมณ์. บทว่า มโนวิญฺาณ ได้แก่ชวนจิตที่

เกิดพร้อมกับอาวัชชนจิต. บทว่า มโนสมฺผสฺโส ได้แก่ผัสสะที่เกิด

พร้อมกับภวังคจิต. บทว่า เวทยิต ได้แก่เวทนาที่เกิดพร้อมกับชวนจิต.

แม้เวทนาที่เกิดพร้อมกับภวังคจิต ก็ย่อมเป็นไปพร้อมกับอาวัชชนจิต

เหมือนกัน. แต่ในที่นี้ เทศนาที่เป็นคำสอนต่อเนื่องกันชื่อว่า บัญญัติ.

จบ อรรถกถาปฐมปหานสูตรที่ ๒

๓. ทุติยปหานสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อละสิ่งทั้งปวง

[ ๒๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อรู้ยิ่งกำหนด

รู้แล้วละสิ่งทั้งปวง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมสำหรับรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละเสียซึ่งสิ่งทั้งปวงเป็นไฉน.

จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละเสีย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส

เป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้แล้วละเสีย ฯลฯ ใจ

ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้

แล้วละเสีย แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น

เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง ควรกำหนดรู้แล้วละเสีย

นี้เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวงเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อันนี้แล เป็นธรรมสำหรับรู้ยิ่ง กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง.

จบ ทุติยปหานสูตรที่ ๓

อรรถกถาทุติยปหานสูตรที่ ๓

ในทุติยปหานสูตรที่ ๓ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า สพฺพ อภิญฺา ปริญฺา ปหานาย ได้แก่เพื่อรู้ยิ่ง

กำหนดรู้แล้วละสิ่งทั้งปวง. บทว่า อภิญฺา ปรริญฺา ปหาตพฺพ ได้แก่

รู้ยิ่งกำหนดรู้แล้วละเสีย. บทที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.

จบ อรรถกถาทุติยปหานสูตรที่ ๓

๔. ปฐมปริชานสูตร

ว่าด้วยผู้ยังไม่รู้ยิ่งย่องละสิ่งทั้งปวงไม่ได้

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่

คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง ยังไม่เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงคืออะไร. บุคคลผู้ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้

ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ยังไม่เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

คือ จักษุ บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้

ยังไม่เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย

บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ก็ยัง

เป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ หู เสียง ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์

มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่

คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ ก็ยังเป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังไม่คลายกำหนัด ยังไม่ละซึ่งสิ่ง

ทั้งปวงนี้ ยังเป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์.

ว่าด้วยผู้รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงได้

[ ๒๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้ที่รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลาย

กำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็สิ่งทั้งปวง คืออะไร ที่บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้

เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้

คลายกำหนัดได้ ละได้ เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ

สัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ ก็เป็น

ผู้ควรสิ้นทุกข์ หู เสียง ลิ้น รส กาย โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์

มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้

ละได้ ก็เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้

คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์.

จบ ปฐมปริชานสูตรที่ ๔

อรรถกถาปฐมปริชานสูตรที่ ๔

ในปฐมปริชานสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า อนภิชาน อปริชาน อวิราชย อปฺปชห ได้แก่ ไม่รู้ยิ่ง

ไม่กำหนดรู้ ไม่คลายความยินดี ไม่ละ. และในที่นี้ บทว่า อวิราเชนฺโต

ได้แก่ ไม่คลายความยินดี ไม่หายหิว. ดังนั้น ในพระสูตรนี้ เป็นอันตรัส

ปริญญาแม้ทั้งสาม. จริงอยู่ ด้วยคำว่า อภิชาน ตรัสถึงญาตปริญญา

ด้วยคำว่า ปริชาน ตรัสถึงตีรณปริญญา ด้วยสองคำว่า วิราชย ปชห

ตรัสถึงปหานปริญญา.

จบ อรรถกถาปฐมปริชานสูตรที่

๕. ทุติยปริชานสูตร

ว่าด้วยผู้ยังไม่รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงไม่ได้

[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้ง ผู้ที่ยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยัง

ไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง คืออะไร. บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยัง

ไม่คลายกำหนัด ยังละไม่ได้ เป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ฯลฯ

ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลยังไม่รู้ยิ่ง ยังไม่กำหนดรู้ ยังคลายกำหนัดไม่ได้

ยังละไม่ได้ ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ไม่ควรสิ้นทุกข์.

ว่าด้วยผู้รู้ยิ่งย่อมละสิ่งทั้งปวงได้

[ ๓๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้รู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลาย

กำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิ่งทั้งปวง คืออะไร. ที่บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้

เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ รูป จักษุวิญญาณ และ

ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ

และธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้ยิ่ง

กำหนดรู้ คลายกำหนัดได้ ละได้ซึ่งสิ่งทั้งปวงนี้แล เป็นผู้ควรสิ้นทุกข์.

จบ ทุติปริชานสูตรที่ ๕

อรรถกถาทุติยปริชานสูตรที่ ๕

ในทุติยปริชานสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า จกฺขุวิญฺาณวิญฺาตพฺพา ธมฺมา ท่านแสดงถือเอา

เฉพาะรูปที่ถือเอาในหนหลัง หรือถือเอารูปที่ปรากฏในหนหลัง แต่ในที่นี้มี

ได้ปรากฏ แต่นี้ก็เป็นสันนิษฐานในข้อนี้. บทว่า อาปาถคต ได้แก่ถือ

เอารูปที่ไม่ปรากฏเท่านั้น แต่ในที่นี้หมายเอาขันธ์ ๓ ที่สัมปยุตด้วยจักษุ

วิญญาณ. ด้วยว่าขันธ์เหล่านั้น ท่านกล่าวว่า จกฺขุวิญฺาตพฺพา

เพราะพึงรู้แจ้งพร้อมกับจักษุวิญาณ แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาทุติยปริชานสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

๖. อาทิตตปริยายสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

[ ๓๑ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ตำบลคยาสีสะ ริมฝั่ง

แม่น้ำคยา พร้อมกับภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสกะพระภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน คืออะไร. คือ จักษุ รูป

จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของร้อน. แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน

ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ

ร้อนเพราะชาติ ชรา มร ะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ

อุปายา ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส. เป็นของร้อน

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน-

สัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อน

เพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้

สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายที่ในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุ

วิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข-

เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ

ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุ

เหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แหละเมื่อพระองค์

ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปนั้น ต่างมีจิตหลุดพ้นจาก

อาสวะ เพราะไม่ถือมั่นดังนี้แล.

จบ อาทิตตปริยายสูตรที่ ๖

อรรถกถาอาทิตตปริยายสูตรที่ ๖

ในอาทิตตปริยายสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า คยาสีเส ความว่า จริงอยู่สระโบกขรณีแห่งหนึ่งชื่อคยาก็มี

แม่น้ำชื่อว่าคยาสีสะก็มี ศิลาดาดเช่นกับหม้อน้ำก็มี ในที่ไม่ไกลหมู่บ้าน

คยา. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ที่ภิกษุพันรูปอยู่กันพอ เหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า คยาสีเส ดังนี้ . บทว่า ภิกขู อามนฺเตสิ ความว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลือกพระธรรมเทศนาที่เป็นสัปปายะแก่ภิกษุเหล่านั้น

ตรัสเรียกว่า เราจักแสดงอาทิตตปริยายสูตรนั้น.

ในข้อนั้นมีอนุปุพพิกถาดังต่อไปนี้:-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

เล่ากันมาว่า จากภัททกัปนี้ไป ๙๒ กัป ได้มีพระราชาพระองค์

หนึ่งพระนามว่า มหินทะ ท้าวเธอมีพระเชฏฐโอรสพระนามว่า ปุสสะ.

ปุสสะเชฏฐโอรสนั้นเปี่ยมด้วยบารมี เป็นสัตว์เกิดในภพสุดท้าย เมื่อญาณ

แก่กล้า เสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑสถานแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ. พระ-

กนิฏฐโอรสเป็นอัครสาวกของพระองค์ บุตรปุโรหิตเป็นทุติยสาวก. พระ-

ราชามีพระดำริว่า ลูกชายคนโตของเราออกบวชเป็นพระพุทธเจ้า ลูกคน

เล็กเป็นอัครสาวก ลูกปุโรหิตเป็นทุติยสาวก. พระองค์ให้สร้างวิหารด้วย

พระดำริว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ของพวกเราทั้งนั้น ทรงล้อม

สองข้างทางด้วยไม้ไผ่ จากพระทวารตำหนักของพระองค์จนถึงซุ้มประตู

วิหาร เบื้องบนรับสั่งให้ผูกพวงของหอมพวงมาลัยที่หอมฟุ้งเป็นเพดาน

เสมือนประดับด้วยดาวทอง เบื้องล่างรับสั่งให้เกลี่ยทรายสีเหมือนเงินแล้ว

โปรยดอกไม้ ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาตามบรรดานั้น.

พระศาสดาประทับยินในพระวิหารนั้นแล ทรงห่มจีวรเสด็จมายัง

พระราชมณเฑียร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ภายในม่านทีเดียว เสร็จภัตกิจแล้ว

เสด็จกลับภายในม่านนั่นเอง. ไม่มีใครได้ถวายภัตตาหารสักทัพพี. ลำดับ

นั้น ชาวพระนครพากันโพนทะนาว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก

แต่พวกเราไม่ได้ทำบุญกันเลย ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมเกิดขึ้น

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนทั้งหลายเหมือนพระจันทร์พระอาทิตย์ส่องแสง

สว่างแก่คนทั้งปวง แต่พระราชาพระองค์นี้แย่งบุญของคนทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

ก็พระราชานั้นมีพระโอรสอื่น ๆ ๓ พระองค์. ชาวพระนครร่วม

ปรึกษากับพระโอรสเหล่านั้นว่า ขึ้นชื่อว่าภายในกับราชตระกูลไม่มี พวก

เราจะทำอุบายอย่างหนึ่ง. ชาวพระนครเหล่านั้นได้แต่งโจรชายแดนขึ้น

ส่งข่าวสาส์นกราบทูลพระราชาว่า หมู่บ้าน ๒ - ๓ ตำบลถูกปล้น. พระ-

ราชารับสั่งให้เรียกพระโอรสทั้ง ๓ มา รับสั่งว่า ลูก ๆ ทั้งหลาย พ่อแก่แล้ว

พวกเจ้าจงไปปราบโจร แล้วส่งไป. พวกโจรที่แต่งขึ้น กระจายกันไปทาง

โน้นทางนี้แล้วมายังสำนักของพระโอรสเหล่านั้น พระโอรสเหล่านั้นให้

ชาวบ้านที่ไม่มีที่อยู่อาศัยพักอยู่ กล่าวว่า โจรสงบแล้ว ได้พากันมายืน

ถวายบังคมพระราชา.

พระราชาทรงพอพระทัย ตรัสว่า ลูก ๆ พ่อจะให้พรแก่พวกเจ้า.

พระโอรสเหล่านั้นรับพระดำรัสแล้ว ได้ไปปรึกษากับชาวพระนครว่า

พระราชาพระราชทานพรแก่พวกเรา พวกเราจะเอาอะไร. ชาวพระนคร

กล่าวว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า ช้างม้าเป็นต้นพวกเราได้ไม่ยาก แต่พระพุทธ-

รัตนะหาได้ยาก ไม่เกิดขึ้นทุกกาล ขอท่านทั้งหลายจงรับพรคือการปฏิบัติ

พระปุสสพุทธเจ้าผู้เป็นเชฏฐภาดาของท่านทั้งหลาย. พระโอรสเหล่านั้น

รับคำชาวพระนครว่า จักกระทำอย่างนั้น จึงโกนพระมัสสุ สนานพระองค์

ตกแต่งพระองค์ ไปเฝ้าพระราชา กราบทูลขอว่า ข้าแต่พระองค์ ขอพระ-

องค์โปรดพระราชทานพรแก่พวกข้าพระองค์เถิด. พระราชาตรัสถามว่า

จักเอาอะไรเล่าลูก. พระโอรสกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ พวกข้าพระองค์

ไม่ต้องการช้างเป็นต้น ขอพระองค์ได้โปรดพระราชทานพรคือการปฏิบัติ

พระปุสสพุทธเจ้า ผู้เป็นเชฏฐภาดาของพวกข้าพระองค์เถิด. พระราชา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

กระซิบที่หูทั้งสองว่า เราเมื่อยังมีชีวิตอยู่ไม่สามารถจะให้พรนี้ได้. พระ-

โอรสกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ พวกข้าพระองค์มิได้บังคับให้พระองค์

พระราชทานพร พระองค์มีความยินดีพระราชทานตามความพอพระทัย

ของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ ควรหรือที่ราชตระกูลจะมีคำพูดเป็นสอง

ดังนี้ได้ถือเอาด้วยความเป็นผู้กล่าววาจาสัตย์.

พระราชาเมื่อกลับคำพูดไม่ได้จึงตรัสว่าลูก ๆ พ่อจักให้พวกเจ้าบำรุง

ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน. พระโอรสกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ขอพระองค์โปรดประทานสิ่งที่ดีไว้เป็นประกัน. มีรับสั่งถามว่า ประกัน

ใครเล่าลูก. พระโอรสกราบทูลว่า ขอพระองค์โปรดประทานสิ่งที่ไม่ตาย

ไว้เป็นประกันตลอดกาลเท่านี้ . ตรัสว่า ลูก ๆ พวกเจ้าให้ประกันที่ไม่

ไม่ควร เราไม่อาจให้ประกันอย่างนี้ ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเช่นกับหยาดน้ำ

ค้างที่ปลายหญ้า. พระโอรสกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ถ้าพระองค์ไม่

ประทานประกัน พวกข้าพระองค์ตายเสียในระหว่าง จักกระทำกุศลได้

อย่างไร. พระราชาตรัสว่า ลูก ๆ ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงให้ตลอด ๖ ปี.

ไม่สามารถพระเจ้าข้า. ถ้าเช่นนั้น จงให้ ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี

๖ เดือน ฯลฯ เพียงเดือนเดียว. ไม่สามารถพระเจ้าข้า. ถ้าอย่างนั้น

จงให้เพียง ๗ วัน. พระโอรสรับพระดำรัส ๗ วัน. พระราชาได้ทรงกระทำ

สักการะที่ควรจะทำตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ใน ๗ วันเท่านั้น.

ต่อแต่นั้น พระราชามีรับสั่งให้ตกแต่งมรรคากว้าง ๘ อุสภะ เพื่อ

ส่งพระศาสดาไปยังที่อยู่ของพระโอรสทั้งหลาย. ตรงกลางทรงใช้ช้างย่ำที่

ประมาณ ๔ อุสภะ ทำเหมือนวงกสิณเกลี่ยทรายแล้วโปรยดอกไม้. ในที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

นั้น ๆ ตั้งต้นกล้วยและหม้อน้ำมีน้ำเต็ม ให้ยกธงชายธงประฏาก. ทุกๆ อุสภะ

ให้ขุดสระโบกขรณีไว้. กาลต่อมา ให้ปลูกร้านของหอมมาลัยและดอกไม้ไว้

สองข้างทาง. ตรงกลางสองข้างทางของมรรคาซึ่งตกแต่งแล้วกว้าง ๔ อุสภะ

ให้นำตอและหนามออกแล้วติดโคมไฟไว้ตามทางซึ่งกว้างชั่วสองอุสภะ. แม้

พระราชโอรส ก็ให้ตกแต่งทาง ๑๖ อุสภะ ในที่ที่ตนมีอำนาจ อย่างนั้น

เหมือนกัน. พระราชาเสด็จไปเขตคันนาของสถานที่พระองค์มีอำนาจ

ถวายบังคมพระศาสดาพลางรำพันตรัสว่า ลูก ๆ พวกเจ้าเหมือนควักตาขวา

ของเราไป แต่พวกเจ้ารับอย่างนี้ไปแล้ว พึงกระทำให้สมควรแก่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย อย่าเที่ยวประมาทเหมือนนักเลงสุรา. พระราชโอรสเหล่านั้น

กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักทราบพระเจ้าข้าแล้วพาพระศาสดาไป ให้สร้าง

วิหารมอบถวายแด่พระศาสดา ปรนนิบัติพระศาสดาในที่นั้น ตั้งอยู่ใน

อาสนะของภิกษุผู้เถระโดยกาล ในอาสนะของภิกษุเป็นมัชฌิมโดยกาล

ในอาสนะของภิกษุผู้เป็นสังฆนวกะ ทานของชนทั้ง ๓ สำรวจทานแล้ว

ก็เป็นทานอันเดียวกันนั่นแล. พระราชโอรสเหล่านั้น เมื่อจวนเข้าพรรษา

จึงคิดกันว่า พวกเราจะถือเอาอัธยาศัยของพระศาสดาอย่างไรหนอ.

ลำดับนั้นพระราชโอรสเหล่านั้นได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้หนักในธรรม ไม่หนักในอามิส. พวกเราตั้งอยู่

ในศีลแล้วจักอาจยึดอัธยาศัยของพระศาสดาได้ พวกเขาให้เรียกพวกมนุษย์

ผู้จำแนกทานมากล่าวว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงจัดข้าวยาคูภัตรและ

ของเคี้ยวเป็นต้น ถวายทานโดยทำนองนี้แหละ แล้วตัดกังวลในการจำแนก

ทาน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

ลำดับนั้น บรรดาราชกุมารเหล่านั้น เชฏฐภาดาพาบุรุษ ๕๐๐ คน

ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ ครองผ้ากาสายะ ๒ ผืน บริโภคนำที่สมควร ครองชีพอยู่.

ราชโอรสองค์กลางเป็นคฤหัสถ์ ราชโอรสองค์สุตท้องปฏิบัติเหมือนอย่างนั้น

พร้อมกับบุรุษ ๒๐๐ คน. เขาบำรุงพระศาสดาตลอดชีวิต. พระศาสดา

เสด็จปรินิพพานในสำนักของเขาเหล่านั้นเอง.

ราชโอรสแม้เหล่านั้นทิวงคตแล้ว ตั้งแต่นั้นไป ๙๒ กัป ท่องเที่ยว

ไปจากมนุษยโลกสู่เทวโลก จากเทวโลกสู่มนุษยโลก ในสมัยพระศาสดา

ของพวกเรา จุติจากเทวโลกบังเกิดในมนุษยโลก. มหาอำมาตย์เป็นโฆสก

ในโรงทานของเขาเหล่านั้น บังเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งชน

ชาวอังคะและมคธ. ชนเหล่านั้นบังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ใน

แคว้นของพระเจ้าพิมพิสารนั่นเอง. เชฏฐภาดาเกิดเป็นคนพี่ ราชโอรส

องค์กลางและองค์สุดท้องเกิดเป็นคนกลางและคนสุดท้องนั่นเอง ฝ่ายมนุษย์

ผู้เป็นบริวารของราชโอรสเหล่านั้นเกิดเป็นมนุษย์บริวารนั่นเอง. ชนทั้ง ๓

นั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว พาบุรุษ ๑,๐๐๐ คน ออกบวชเป็นดาบส อยู่ริมฝั่ง

แม่น้ำแขวงอุรุเวลาประเทศ. ชาวอังคะและมคธนำสักการะเป็นอันมาก

ถวายแก่ดาบสเหล่านั้นทุก ๆ เดือน.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย เสด็จออกอภิเนษกรมณ์

บรรลุสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ แล้วทรงประกาศพระธรรมจักร

อันประเสริฐ ทรงแนะนำกุลบุตร มียสะเป็นต้น ทรงส่งพระอรหันต์ ๖๐ รูป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

ไปในทิศทั้งหลายเพื่อแสดงธรรม ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง

แล้วเสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศด้วยตั้งพระทัยว่า จักทรมานชฏิล ๓ พี่น้อง

ชายเหล่านั้น ทรงทำลายทิฏฐิของชฎิลเหล่านั้น ด้วยปาฏิหาริย์หลายร้อย

แล้วให้เขาเหล่านั้นบรรพชา พระองค์ทรงพาสมณะ ๑,๐๐๐ ผู้ทรงบาตรและ

จีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ไปยังคยาสีสประเทศ อันสมณะเหล่านั้น แวดล้อม

แล้วประทับนั่ง พลางทรงพระดำริว่า ธรรมกถาอะไรหนอ จักเป็นที่สบาย

แก่ชนเหล่านี้ จึงตกลงพระทัยว่า ชนเหล่านี้บำเรอไฟทั้งเวลาเย็นและค่ำ

เราจักแสดงอายตนะ ๑๒ แก่พวกเขา ทำให้เป็นดุจไฟไหม้ลุกโซน

ชนเหล่านี้จักสามารถบรรลุพระอรหัตด้วยอาการอย่างนี้ ลำดับนั้น พระองค์

ได้ตรัสอาทิตตปริยายสูตรนี้ เพื่อแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้น โดยปาฏิหาริย์

หลายร้อย ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ อธิบายว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลือกพระธรรมเทศนาอันเป็นสัปปายะ ของชน

(ชฎิล) เหล่านั้น จึงตรัสเรียก ด้วยหมายจะทรงแสดงอาทิตตปริยาย

สูตรนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิตฺต แปลว่าอันไฟติดแล้ว ลุกโชน

แล้ว คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ตรัสทุกขลักษณะไว้ในพระสูตรนี้

ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาอาทิตตปริยายสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

๗. อันธภูตสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งมืดมน

[ ๓๒ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสกะภิกษุทูลหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นสีมืดมน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่เป็นสิ่งมืดมน คืออะไร. คือ จักษุ

รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่ง

มืดมน มืดมนเพราะอะไร. เรากล่าวว่า มืดมนเพราะชาติ ชรา มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโน-

วิญญาณ มโนสัมผัส เป็นสิ่งมืดมน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นสิ่งมืดมน

มืดมนเพราะอะไร. เรากล่าวว่า มืดมนเพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้

ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งใน

จักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-

สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้ง

ในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

สัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด.

จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณ์

ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ก็แหละเมื่อพระองค์ได้ตรัสไวยากรณ์ภาบิตนี้อยู่ ภิกษุเหล่านั้น

ต่างมีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล.

จบ อันธภูตสูตรที่ ๗

อรรถกถาอันธภูตสูตรที่ ๗

ในอันธภูตสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า อนฺธภูต ความว่า ครอบงำ ท่วมทับ อธิบายว่า ขัดขวาง

แล้ว. ในพระสูตรแม้นี้ ตรัสเฉพาะทุกขลักขณะเท่านั้น.

จบ อรรถกถาอันธภูตสูตรที่ ๗

๘. สารุปปสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติอันสมควรแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง

[ ๓๓ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันสมควรแก่

การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะทิฏฐิแก่เธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อ

ปฏิบัติอันสมควรแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

และทิฏฐิเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมไม่สำคัญ

ซึ่งจักษุ ย่อมไม่สำคัญในจักษุ ย่อมไม่สำคัญแต่จักษุ ย่อมไม่สำคัญว่า

จักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งรูป ในรูป แต่รูปว่า รูปของเรา ย่อมไม่

สำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ในจักษุวิญญาณ แต่จักษุวิญญาณว่า จักษุวิญญาณ

ของเรา ย่อมไม่สำคัญจักษุสัมผัส ในจักษุสัมผัส แต่จักษุสัมผัสว่า จักษุ-

สัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ในเวทนานั้น แต่เวทนานั้นว่า

เวทนานั้นเป็นของเรา ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ในใจ แต่ใจว่า ใจของเรา

ย่อมไม่สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ ในธรรมารมณ์ แต่ธรรมารมณ์ว่า ธรรมารมณ์

ของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ในมโนวิญญาณ แต่มโนวิญญาณว่า

มโนวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนสัมผัส ในมโนสัมผัส แต่มโน-

สัมผัสว่า มโนสัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ในเวทนานั้น แต่

เวทนานั้นว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งสิ่งทั้งปวง ในสิ่ง

ทั้งปวง แต่สิ่งทั้งปวงว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญอยู่อย่างนี้

ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่

สะดุ้งกลัว ย่อมดับสนิทได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-

จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติที่ควรแก่การเพิกถอน

ซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหา มานะ และทิฏฐิ.

จบ สารุปปสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

อรรถกถาสารุปปสูตรที่ ๘

ในสารุปปสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สพฺพมญฺิตสมุคฺฆาตสารุปฺป ความว่า สมควร

แก่ข้อปฏิบัติอันจะเพิกถอนความสำคัญด้วยตัณหา มานะและทิฏฐิทั้งหมด

บทว่า อิธ ได้แก่ ในพระศาสนานี้. บทว่า จกฺขุ น มญฺติ ความว่า

ย่อมไม่สำคัญจักษุว่า เรา ว่าของเรา หรือว่า ผู้อื่น ของผู้อื่น บทว่า

จกฺขุสฺมึ น มญฺติ ความว่า ย่อมไม่สำคัญว่าเรามีความกังวลในจักษุ

คือมีความกังวลด้วยกิเลสเครื่องกังวลในจักษุของเรามีความกังวลด้วยกิเลส

เครื่องกังวลในจักษุของผู้อื่น. บทว่า จกฺขุโต น มญฺติ ความว่า

ย่อมไม่สำคัญแม้อย่างนี้ว่า เราปราศจากจักษุ คือความกังวลด้วยกิเลส

เครื่องกังวล เราปราศจากจักษุ ปราศจากจักษุของผู้อื่น คือความกังวลด้วย

กิเลสเครื่องกังวลปราศจากจักษุของผู้อื่น อธิบายว่า ไม่ทำความสำคัญ

ด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ แม้อย่างหนึ่งให้เกิดขึ้น. บทว่า จกฺขุ เมติ

น มญฺติ ความว่า ไม่สำคัญว่าจักษุของเรา อธิบายว่า ไม่ทำความ

สำคัญด้วยตัณหาอันเป็นอัตตาของเรา ให้เกิดขึ้น. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น

ดังนี้แล. ในพระสูตรนี้ ตรัสวิปัสสนาให้บรรลุพระอรหัตในฐานะ ๑๔๔.

จบ อรรถกถาสารุปปสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

๙. ปฐมสัปปายสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง

[ ๓๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบาย

แก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิแก่เธอ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติ

อันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและ

ทิฏฐิเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมไม่สำคัญ

ซึ่งจักษุ ในจักษุ แต่จักษุ ว่าจักษุของเรา ย่อมไม่สำคัญรูป ย่อมไม่สำคัญ

จักษุวิญญาณ ย่อมไม่สำคัญซึ่งจักษุสัมผัส ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส. เป็นปัจจัย ใน

เวทนานั้น แต่เวทนานั้น ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะสิ่งใดที่ตนสำคัญไว้ เป็นที่ให้สำคัญ เป็นแดนให้สำคัญ เป็นเหตุให้

สำคัญว่า เป็นของเรา สิ่งนั้นล้วนเปลี่ยนแปลงออกไปจากที่สำคัญนั้น คือ

สัตว์ในภพก็มีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น สัตว์โลกย่อมเพลิดเพลิน

เฉพาะภพเท่านั้น ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญซึ่งใจ ในใจ แต่ใจ ว่าใจของเรา

ย่อมไม่สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ในธรรมารมณ์ แต่ธรรมารมณ์ ว่าธรรมารมณ์

ของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ในมโนวิญญาณ แต่มโนวิญญาณ ว่า

มโนวิญญาณของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งมโนสัมผัส ในมโนสัมผัส แต่มโน-

สัมผัส ว่า มโนสัมผัสของเรา ย่อมไม่สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ในเวทนานั้น

แต่เวทนานั้น ว่า เวทนานั้นเป็นของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้น

ย่อมไม่สำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุและอายตนะ ในขันธ์ ธาตุและอายตนะ แต่ขันธ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

ธาตุและอายตนะ ว่า ขันธ์ ธาตุและอายตนะเป็นของเรา บุคคลรู้ไม่สำคัญ

อยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้งกลัว

เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ย่อมดับสนิทได้เฉพาะตนทีเดียว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็น

ที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ.

จบ ปฐมสัปปายสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมสัปปายสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมุคฺฆาตสปฺปายา ได้แก่ เป็นอุปการะแก่การเพิกถอน.

บทว่า ตโต ต โหติ อญฺถา ความว่า สิ่งนั้นย่อมเป็นโดยอาการอื่น

จากที่สำคัญนั้น. บทว่า อญฺถาภาวี ภวสตฺโต โลโก ภวเมว

อภินนฺทติ ความว่า สัตว์แม้มีความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ด้วยการ

เข้าถึงความเป็นอย่างอื่น คือความเปลี่ยนแปลงก็ยังติด คือข้อง คือกังวล

อยู่ในภพ สัตว์โลกนี้จึงชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินเฉพาะภพเท่านั้น. บทว่า

ยาวตา ภิกฺขเว ขนฺธธาตุอายตน ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนั้น

ย่อมไม่สำคัญแม้ขันธ์ธาตุและอายตนะนี้มีประมาณเท่าใดว่า ขันธ์ทั้งหลาย

ธาตุทั้งหลาย และอายตนะ ดังนี้. ด้วยบทว่า ตมฺปิ น มญฺติ ทรงชัก

เอาข้อที่บุคคลถือเอาในหนหลังนั่นแลมาแสดงอีก. ในพระสูตรนี้ ตรัส

วิปัสสนาให้บรรลุพระอรหัตในฐานะ ๑๔๘.

จบ อรรถกถาปฐมสัปปายสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

๑๐. ทุติยสัปปายสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงข้อปฏิบัติที่สบายแก่การเพิกถอนสิ่งทั้งปวง

[ ๓๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบาย

แก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิแก่เธอ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติ

อันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอนซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและ

ทิฏฐิเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อ

นั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง

พระเจ้าข้า.

พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เทียง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าเข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส

ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ

จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย

ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว

ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ

แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้

ก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นที่สบายแก่การเพิกถอน

ซึ่งความสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ.

จบ ทุติยสัปปายสูตรที่ ๑๐

สัพพวรรคที่ ๓

อรรถกถาทุติยสัปปายสูตรที่ ๑๐

ในทุติยสัปปายสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้งทรงแสดงการยึดถือตัณหา มานะ ทิฏฐิ

ด้วยอย่างละ ๓ บท มีอาทิว่า เอต มม ดังนี้ จึงทรงแสดงเทศนา โดย

ปริวัตตนัย ๓. แต่เมื่อว่าโดยลำดับในพระสูตรทั้ง ๓ นี้ พระองค์ตรัส

มรรคที่ ๔ พร้อมด้วยวิปัสสนา.

จบ อรรถกถาทุติยสัปปายสูตรที่ ๑๐

จบ สัพพวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัพพสูตร ๒. ปฐมปหานสูตร ๓. ทุติยปหานสูตร ๔. ปฐม-

ปริชานสูตร ๕. ทุติยปริชานสูตร ๖. อาทิตตปริยายสูตร ๗. อันธ-

ภูตสูตร ๘. สารุปปสูตร ๙. ปฐมสัปปายสูตร ๑๐. ทุติยสัปปายสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

ชาติธรรมวรรคที่ ๔

๑. ชาติอาทิธรรมสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นต้นเป็นธรรมดา

[๓๖ ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง

มีความเกิดเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความเกิดเป็น

ธรรมดาคืออะไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ

จักษุสัมผัส มีความเกิดเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความเกิดเป็น

ธรรมดา ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส มีความเกิด

เป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น

เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความเกิดเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุทั้งในรูป

ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้ง

ในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อ

หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความแก่เป็นธรรมดา.

[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา.

[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา.

[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา.

[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา.

[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา.

[๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา.

[๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีเหตุให้เกิดเป็นธรรมดา.

[๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่มีความดับไปเป็นธรรมดา คือ อะไรเล่า.

ก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส มีความ

ดับไปเป็นธรรมดา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ ใจ

ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส มีความดับไปเป็นธรรมดา แม้

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส

เป็นปัจจัย ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก

ผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งใน

จักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-

สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งใน

ธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทั้ง

ในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี.

จบ ชาติธรรมวรรคที่ ๔

อรรถกถาชาติธรรมวรรคที่ ๔

อรรถกถาชาติอาทิธรรมสูตรเป็นต้น

ในชาติธรรมวรรคที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ชาติธมฺม ความว่า มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความบังเกิด

เป็นธรรมดา มีความบังเกิดเป็นสภาวะ. บทว่า ชราธมฺม ได้แก่มีความ

แก่เป็นสภาวะ. บทว่า พฺยาธิธมฺม ได้แก่มีพยาธิเป็นสภาวะ โดยความ

เป็นปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นแห่งพยาธิ. บทว่า มรณธมฺม ได้แก่มีความ

ตายเป็นสภาวะ. บทว่า โสกธมฺม ได้แก่มีความโศกเป็นสภาวะ โดย

ความเป็นปัจจัยแห่งการเกิดขึ้นแห่งความโศก. บทว่า สกิเลสิกธมฺม

ได้แก่มีความเศร้าหมองเป็นสภาวะ. บทว่า ขยฺธมฺม ได้แก่มีความถึง

ความสิ้นไปเป็นสภาวะ แม้ในสภาวะมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดาเป็นต้น

ก็นัยนี้เหมือนกันแล.

จบ อรรถกถาชาติธรรมวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ชาติธรรมสูตร ๒. ชราธรรมสูตร ๔. พยาธิธรรมสูตร

๔. มรณธรรมสูตร ๕. โสกธรรมสูตร ๖. สังกิเลสธรรมสูตร ๗. ขยธรรม-

สูตร ๘. วยธรรมสูตร ๙.สมุทยธรรมสูตร ๑๐. นิโรธธรรมสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

อนิจจวรรคที่ ๕

๑. อนิจจาทิธรรมสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้นเป็นธรรมดา

[ ๔๖ ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง

เป็นของไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงที่เป็นของไม่เที่ยง คือ

อะไร. คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ-

สัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ

มโนสัมผัส เป็นของไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-

สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของไม่เที่ยง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้ง

ในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส

ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ

มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด

ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ .

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

[ ๔๗ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นทุกข์.

[ ๔๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา.

[ ๔๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง.

[ ๕๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้.

[ ๕๑ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ.

[ ๕๒ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง

[ ๕๓ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่งแล้วกำหนดรู้

[ ๕๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงวุ่นวาย.

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของถูกเบียดเบียน

[ ๕๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิงทั้งปวงขัดข้อง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิ่งทั้งปวงขัดข้อง คิดอะไรเล่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ จักษุ รูป

จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ขัดข้อง ฯลฯ ใจ. ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ

มโนสัมผัส ก็ขัดข้อง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ขัดข้อง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริย-

สาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป

ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งใน

ธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกข-

เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อ

เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น

แล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.

จบ อนิจจวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

อรรถกถาอนิจจวรรคที่ ๕

ในอนิจจวรรคที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ญาตปริญญามาในบทว่า ปริญฺเยฺย. แต่ปริญญา ๒ นอกนี้

พึงทราบว่าท่านก็ถือเอาด้วยเหมือนกัน. เฉพาะตีรณปริญญาและปหาน-

ปริญญา มาทั้งในบท ปริญฺเยฺย ทั้งในบท ปหาตพฺพ. แต่ปริญญาทั้ง ๒

นอกนี้ พึงทราบว่าท่านถือเอาด้วยเหมือนกัน. บทว่า สจฺฉิกาตพฺพ

แปลว่า พึงกระทำให้ประจักษ์. แม้ในบทว่า อภิญฺเยฺยา ปริญฺเยฺย นี้

ถึงท่านไม่ได้กล่าวถึงปหานปริญญาก็จริง แต่พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วย

เหมือนกัน. บทว่า อุปทฺทุต ได้แก่ด้วยอรรถมากมาย. บทว่า อุปสฺสฏฺ

ได้แก่ด้วยอรรถว่าถูกกระทบ. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล

จบ อรรถกถาอนิจจวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อนิจจสูตร ๒. ทุกขสูตร ๓. อันตตสูตร ๔. อภิญเญยย-

สูตร ๕. ปริญเญยยสูตร ๖. ปหาตัพพสูตร ๗. สัจฉิกาตัพพสูตร

๘. อภิญญาปริญเญยยสูตร ๙. อุปทุตสูตร ๑๐. อุปัสสัฏฐสูตร

จบ ปฐมปัณณาสก์

จบ สฬายตนวรรค

รวมวรรคที่มีในปัณณาสก์นี้ คือ

๑. สุทธวรรค ๒. ยมกวรรค ๓. สัพพวรรค ๔. ชาติธรรม-

วรรค ๕. อนิจจวรรค.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

ทุติยปัณณาสก์

อวิชชาวรรคที่ ๑

๑. อวิชชาสูตร

ว่าด้วยการละอวิชชาได้วิชชาจึงจะเกิด

[ ๕๖ ] กรุงสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดย

ความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่เห็นอยู่

ซึ่งรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-

สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง

จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ ซึ่งหู จมูก

ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิด ดูก่อนภิกษุ

บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้ วิชชาจึงจะเกิด.

จบ อวิชชาสูตรที่ ๑

๑. อรรถกถาอวิชชาวรรคที่ ๑ แก้รวมกันไว้ท้ายวรรค.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

๒. ปฐมสังโยชนสูตร

ว่าด้วยการละสังโยชน์

[ ๕๗ ] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่

อย่างไร จึงจะละสังโยชน์ได้.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความ

เป็นของไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป จักษุ

วิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละ

สังโยชน์ได้ ฯลฯ บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง จึงจะละสังโยชน์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่อย่างนี้

เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสังโยชน์ได้.

จบ ปฐมสังโยชนสูตรที่ ๒

๓. ทุติยสังโยชนสูตร

ว่าด้วยสังโยชน์ถูกเพิกถอน

[ ๕๘ ] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่

อย่างไร สังโยชน์จึงถึงความเพิกถอน.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความ

เป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป

จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา สังโยชน์จึงจะ

ถึงความเพิกถอน เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็น

อนัตตา สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล

รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล สังโยชน์จึงจะถึงความเพิกถอน.

จบ ทุติยสังโยชนสูตรที่ ๓

๔. ปฐมอาสวสูตร

ว่าด้วยการละอาวาสวะ

[ ๕๙ ] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่

อยู่อย่างไร จึงจะละอาสวะได้ ฯลฯ

จบ ปฐมอาสวสูตรที่ ๔

๕. ทุติยอาสวสูตร

ว่าด้วยอาสวะถูกเพิกถอน

[ ๖๐ ] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็น

อยู่อย่างไร อาสวะจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ

จบ ทุติยอาสวสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

๖. ปฐมอนุสัยสูตร

ว่าด้วยการละอนุสัย

[ ๖๑ ] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็น

อยู่อย่างไร จึงจะละอนุสัยได้ ฯลฯ

จบ ปฐมอนุสัยสูตรที่ ๖

๗. ทุติยอนุสัยสูตร

ว่าด้วยอนุสัยถูกเพิกถอน

[ ๖๒ ] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็น

อยู่อย่างไร อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดย

ความเป็นอนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ฯลฯ เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่

ซึ่งหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

โดยความเป็นอนัตตา อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล อนุสัยจึงจะถึงความเพิกถอน.

จบ ทุติยอนุสัยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

๘. ปริญญาสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทาน

[ ๖๓ ] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้

อุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพึงธรรมนั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมเพื่อกำหนดรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน. อาศัยจักษุและ

รูป เกิดจักษุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะ

เป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็น

อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ที่ในจักษุวิญญาณ ทั้งใน

จักษุสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย

กำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า เรากำหนดรู้ว่าหลุดพ้นอุปาทาน

อาศัยหูและเสียง ฯลฯ อาศัยจมูกและกลิ่น ฯลฯ อาศัยลิ้นและรส ฯลฯ อาศัย

กายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ อาศัยใจแล .ธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ รวม

ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้ง

ในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งใน

เวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุด

พ้น เธอย่อมทราบชัดว่า เรากำหนดรู้ว่าหลุดพันอุปาทาน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลายนี้แลเป็นธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง.

จบ ปริญญาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

๙. ปฐมปริยาทานสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทาน

[ ๖๔ ] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อความ

ครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพึงธรรมนั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน. อาศัย

จักษุและรูป เกิดจักษุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกได้สดับแล้ว

เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ

ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ

คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า เราครอบงำอุปาทาน

ได้แล้วว่าหลุดพ้น ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ

รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งใน

ธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อ

เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อม

ทราบชัดว่า เราครอบงำอุปาทานได้แล้วว่าหลุดพ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้แลเป็นธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวง.

จบ ปฐมปริยาทานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

๑๐. ทุติยปริยาทานสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทาน

[ ๖๕ ] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อความ

ครอบงำอุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. รูป ฯลฯ จักษุวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. จักษุสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ

จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

พ. โสตะ . . . ฆานะ . . . ชิวหา . . . กาย . . . ใจ . . . ธรรมารมณ์

มโนวิญญาณ ... มุโนสัมผัส. . . สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกกสุข-

เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส

ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส

เป็นปัจจัย ฯลฯ ทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งใน

มโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด

เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะ

คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุด

พ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จ

แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็น

ธรรมเพื่อความครอบงำอุปาทานทั้งปวง.

จบ ทุติยปริยาทานสูตรที่ ๑๐

อวิชชาวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

ทุติยปัณณาสก์

อรรถกถาอวิชชาวรรคที่ ๑

ในอวิชชาวรรคที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อวิชฺชา ได้แก่ความไม่รู้ในสัจจะ ๔. บทว่า วิชฺชา ได้แก่

รู้แจ้งอรหัตตมรรค. บทว่า อนิจฺจโต ชานโต ปสฺสโต ความว่า

เมื่อรู้ เมื่อเห็น ว่าเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ชื่อว่าย่อมละได้เหมือนกัน. ก็คำนี้

ตรัสไว้โดยอัธยาศัยของบุคคลผู้ตรัสรู้ ในเมื่อตรัสโดยเป็นของไม่เที่ยง

ในบททั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน

แต่ในที่นี้ บทว่า สญฺโชนา ได้แก่สัญโญชน์ ๑๐. บทว่า อาสวา

ได้แก่อาสวะ ๔. บทว่า อนุสยา ได้แก่อนุสัย ๗. บทว่า สพฺพูปาทาน-

ปริญฺา ได้แก่เพื่อรู้ชัดอุปาทานหมดทั้ง ๔ ด้วยปริญญา ๓. บทว่า

ปริยาทานาย ได้แก่เพื่อความเกษม. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาอวิชชาวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑ อวิชชาสูตร ๒. ปฐมสังโยชนสูตร ๓. ทุติยสังโยชนสูตร

๔. ปฐมอาสวสูตร ๕. ทุติยอาสวสูตร ๖. ปฐมอนุสัยสูตร ๗. ทุติยอนุ-

สัยสูตร ๘. ปริญญาสูตร ๙. ปฐมปริยาทานสูตร ๑๐. ทุติยปริยาทานสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

มิคชาลวรรคที่ ๒

๑. ปฐมมิคชาลสูตร

ว่าด้วยผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว

[ ๖๖ ] กรุงสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์

ตรัสว่า ผู้มีปกติอยู่เดียว ผู้มีปกติอยู่เดียวฉะนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร

พระเจ้าข้า ภิกษุจึงชื่อว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว และด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุ

จึงชื่อว่าอยู่ด้วยเพื่อน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมิคชาละ รูปที่จะ

พึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่

ที่ตั้งความกำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่

เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน

เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความกำหนัดกล้า ก็มี

ความเกี่ยวข้อง ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุประกอบด้วยความเพลิดเพลินและ

ความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่าผู้มีปกติอยู่ด้วยเพื่อน ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้

แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่

ที่ตั้งความกำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์

นั้นอยู่ เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ ย่อมเกิด

ความเพลิดเพลิน เมื่อมีความเพลิดเพลิน ก็มีความกำหนัดกล้า เมื่อมีความ

กำหนัดกล้า ก็มีความเกี่ยวข้อง ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

เพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่า มีปกติอยู่ด้วยเพื่อน ดูก่อน

มิคชาละ ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงจะเสพเสนาสนะอันสงัด

คือ ป่าไม้และป่าหญ้า เงียบเสียง ไม่อื้ออึง ปราศจากกลิ่นอาย ควรเป็น

ที่ประกอบงานลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้นอยู่ก็จริง ถึงอย่างนั้น

ก็ยังเรียกว่ามีปกติอยู่ด้วยเพื่อน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นยังมีตัณหา

เป็นเพื่อน เขายังละตัณหานั้นไม่ได้ ฉะนั้นจึงเรียกว่า มีปกติอยู่ด้วยเพื่อน.

[ ๖๗ ] ดูก่อนมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ที่ตั้งความกำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุ

ไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าว

สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ความเพลิดเพลินย่อมดับ เมื่อไม่มีความ

เพลิดเพลิน ก็ไม่มีความกำหนัด เมื่อไม่มีความกำหนัด ก็ไม่มีความ

เกี่ยวข้อง ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและ

ความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง

ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ให้เกิดความรัก ชักให้ใคร่

ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่น

ธรรมารมณ์นั้นอยู่ เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่น

ธรรมารมณ์นั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ก็ไม่มี

ความกำหนัดกล้า เมื่อไม่มีความกำหนัดกล้า ก็ไม่มีความเกี่ยวข้อง ดูก่อน

มิคชาละ ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เรา

เรียกว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว ดูก่อนมิคชาละ ภิกษุผู้มีปกติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้

แม้จะอยู่ปะปนกับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ในละแวกบ้านก็จริง ถึงอย่าง

นั้น ก็ยังเรียกว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว ดูก่อนมิคชาละ เราเรียกผู้มีปกติอยู่

ด้วยอาการอย่างนี้ว่า มีปกติอยู่ผู้เดียว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะตัณหา

ซึ่งเป็นเพื่อน เธอละได้แล้ว เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว.

จบ ปฐมมิคชาลสูตรที่ ๑

มิคชาลวรรคที่ ๒

อรรถกถาปฐมมิคชาลสูตรที่ ๑

มิคชาลวรรคที่ ๒ ปฐมมิคชาลสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า จกฺขุวิญฺเยฺยา ได้แก่ พึงกำหนดรู้ด้วยจักขุวิญญาณ.

แม้ในสภาวะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า

อิฏฺา ความว่า จะเป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนาก็ตาม.

บทว่า กนฺตา แปลว่า น่าใคร่. บทว่า มนาปา แปลว่า น่าเจริญใจ.

บทว่า ปิยรูปา แปลว่า เป็นที่รัก. บทว่า กามูปสญฺหิตา ความว่า

ประกอบด้วยความใคร่ ซึ่งเกิดขึ้นทำเป็นอารมณ์. บทว่า รชนิยา แปลว่า

เป็นที่ตั้งความกำหนัด อธิบายว่า เป็นเหตุให้เกิดความกำหนัด. บทว่า

นนฺทิ ได้แก่ ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า สญฺโโค

ได้แก่ สัญโญชน์. บทว่า นนฺทิสฺโชนสมฺปยุตฺโต ได้แก่ พัวพัน

ด้วยความเพลินและความผูกพัน. บทว่า อรญฺวนปฏฺานิ ได้แก่ ป่า

และติณชาตที่เกิดในป่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

ในบทเหล่านั้น แม้ในอภิธรรมท่านกล่าวตรง ๆ ว่าป่าที่ออกไป

นอกเสาเขื่อนทั้งหมดนั้นเป็นอรัญญะ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เสนาสนะที่ให้

สำเร็จเป็นอารัญญิกธุดงค์องค์คุณของผู้อยู่ป่า ที่ท่านกล่าวว่า โดยที่สุดชั่ว

๕๐๐ ธนู นั้นแหละ พึงทราบว่า ท่านประสงค์เอาแล้ว. บทว่า วนปฏฺ

ได้แก่ ที่เลยชายบ้านไป พวกมนุษย์ไม่ใช้สอย ซึ่งไม่เป็นที่ไถหว่าน.

สมจริงด้วยคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำว่า วนปฏฺ นี้เป็นชื่อของเสนาสนะ

ไกล. คำว่า วนปฏฺ นี้เป็นชื่อไพรสณฑ์. คำว่า วนปฏฺ นี้เป็นเหตุ

ที่น่ากลัว. คำว่า วนปฏฺ นี้เป็นชื่อของความกลัวขนลุกชัน. คำว่า

วนปฏฺ นี้เป็นชื่อของชายแดน. คำว่า วนปฏฺ นี้เป็นชื่อของเสนาสนะ

ที่อยู่ห่างไกลมนุษย์. ในที่นี้ หมู่ไม้ที่อยู่ในป่า เว้นปริยายหนึ่งนี้ที่ว่า

ชายแดน ก็พึงทราบโดยปริยายที่เหลือแล.

บทว่า ปนฺตานิ แปลว่า ที่สุดแดน คือไกลมาก. บทว่า อปฺปสทฺ-

ทานิ ได้แก่ ชื่อว่ามีเสียงน้อย เพราะไม่มีเสียงครกเสียงสากและเสียงเด็ก

เป็นต้น. บทว่า อปฺปนิคฺโฆสานิ ได้แก่ ชื่อว่ามีเสียงกึกก้องน้อย เพราะ

ไม่มีบันลือลั่นและกึกก้องอย่างมากของเสียงนั้น ๆ. บทว่า วิชนวาตานิ

ได้แก่ เว้นจากลมในร่างกายของคนผู้สัญจร. บทว่า มนุสฺสราหเสยฺยกานิ

ได้แก่ สมควรแก่การงานลับของพวกมนุษย์. บทว่า ปฏิสลฺลานสารุปฺปานิ

ได้แก่ สมควรแก่การหลีกเร้น.

จบ อรรถกถาปฐมมิคชาลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

๒. ทุติยมิคชาลสูตร

ว่าด้วยผู้มีปกติอยู่ผู้เดียว

[๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์ขอโอกาส

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้า-

พระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มี

ความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

มิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

น่ารัก อาศัยความใคร่ ที่ตั้งความกำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าว

สรรเสริญ หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ ย่อมเกิดความเพลิดเพลิน เรากล่าวว่า

เพราะความเพลิดเพลินจึงเกิดทุกข์ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ

อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก . อาศัยความใคร่ ที่ตั้งความ

กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่

เมื่อเธอยินดี กล่าวสรรเสริญ หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ ย่อมเกิดความ

เพลิดเพลิน เรากล่าวว่า เพราะเกิดความเพลิดเพลิน จึงเกิดทุกข์.

[ ๖๙ ] ดูก่อนมิคชาละ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ที่ตั้งความกำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุ

ไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้นอยู่ เมื่อไม่ยินดี ไม่กล่าว

สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น ความเพลิดเพลินก็ดับ เรากล่าวว่า เพราะ

ความเพลิดเพลินดับทุกข์จึงดับ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ที่ตั้งความกำหนัด

มิอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่

เมื่อเธอไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น ความ

เพลิดเพลินก็ดับ เรากล่าวว่า เพราะความเพลิดเพลินดับ ทุกข์จึงดับ.

[๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละยินดีอนุโมทนาภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำ

ประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล ท่านพระมิคชาละหลีกออกจากหมู่

อยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ทำให้แจ้งซึ่งที่สุด

แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิตต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ

สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี และท่านพระมิคชาละได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ใน

จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนี้แล.

จบ ทุติยมิคชาลสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยมิคชาลสูตรที่ ๒

ในทุติยมิคชาลสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นนฺทินิโรธา ทุกฺขนิโรโธ ความว่า เพราะความ

เพลิดเพลินด้วยอำนาจตัณหาดับ วัฏฏทุกข์จักดับ.

จบ อรรถกถาทุติยมิคชาลสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

๓. ปฐมสมิทธิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่ามาร

[ ๗๑ ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้-

มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วย

เหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จึงเป็นมารหรือการบัญญัติว่ามาร. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้

แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ

ที่นั้น หู เสียง โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ มีอยู่ ณ

ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ

ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่า

มารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา-

วิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น กาย

โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด

มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ

ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่า

มารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น.

[ ๗๒ ] ดูก่อนสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง

ด้วยจักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น

ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ

ไม่มี ณ ที่ใดมารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น.

จบ ปฐมสมิทธิสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

๔. ทุติยสมิทธิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าสัตว์

[ ๗๓ ] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วย

เหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จึงเป็นสัตว์หรือบัญญัติว่าสัตว์ ฯลฯ

จบ ทุติยสมิทธิสูตรที่ ๔

๕. ตติยสมิทธิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าทุกข์

[ ๗๔ ] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ ด้วย

เหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า จะพึงเป็นทุกข์ หรือบัญญัติว่าทุกข์ ฯลฯ

จบ ตติยสมิทธิสูตรที่ ๕

อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๓ - ๕

ในสมิทธิมารปัญจสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมิทฺธิ ความว่า ได้ชื่ออย่างนี้เพราะมีอัตตภาพบริบูรณ์.

เล่ากันว่า พระเถระนั้นมีอัตตภาพงามน่าเลื่อมใส บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง

เหมือนพวงมาลาที่แขวนไว้ เหมือนห้องมาลาที่ตกแต่งไว้ ฉะนั้นจึงนับว่า

สมิทธิ นั่นแล.

ด้วยบทว่า มาโร ท่านสมิทธิถามถึงความตาย คำว่า มาร ในคำว่า

มารปญฺตฺติ เป็นนามบัญญัติ เป็นนามไธย. ในบทว่า อตฺถิ ตตฺถ มเร

วา มารปญฺตฺติ วา นั้น บทว่า มรณ วา มรณ นี้ท่านแสดงว่า

นามมีอยู่. สูตรที่ ๔ ง่ายทั้งนั้น. สูตรที่ ๕ ก็เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๓ - ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

๖. จตุตถสมิทธิสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าโลก

[ ๗๕ ] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วย

เหตุเพียงเท่าไร จึงเป็นโลก หรือบัญญัติว่าโลก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ก่อนสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่พึงจะรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ

มีอยู่ ณ ที่ใดโลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯลฯใจ ธรรมารมณ์

มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด โลกหรือ

การบัญญัติว่าโลกก็มีอยู่ ณ ที่นั้น

[๗๖] ดูก่อนสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้

แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มี ณ ที่นั้น

ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ

ไม่มี ณ ที่ใด โลกหรือการบัญญัติว่าโลกก็มี ณ ที่นั้น.

จบ จตุตถสมิทธิสูตรที่ ๖

อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๖

ในสมิทธิสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า โลโก ความว่า ที่ชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่า แตกทำลาย.

ในสูตรทั้ง ๕ ตั้งแต่สูตรที่พระมิคชาลเถระอาราธนา ตรัสเฉพาะวัฏฏะและ

วิวัฏฏะเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

๗. อุปเสนสูตร

ว่าด้วยกายเรี่ยราดประดุจกำแกลบ

[ ๗๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าและท่านพระสารีบุตร

ท่านพระอุปเสนะ อยู่ที่ป่าชื่อสีตวัน เงื้อมเขาสัปปโสณฑิกะ กรุงราชคฤห์

สมัยนั้นแล อสรพิษตัวหนึ่งได้ตกลงที่กายของท่านพระอุปเสนะ ครั้งนั้นแล

ท่านพระอุปเสนะเรียกภิกษุทั้งหลายว่า จงมาเถิด ผู้มีอายุ จงยกกายเรานี้

ขึ้นสู่เตียงแล้วนำออกไปในภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยราดประดุจกำแกลบ

ในที่นี้แล เมื่อท่านพระอุปเสนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้

กล่าวกะท่านพระอุปเสนะว่า ความที่กายของท่าน พระอุปเสนะเป็นอย่างอื่น

หรือความแปรปรวนแห่งอินทรีย์ของท่านพระอุปเสนะ เราทั้งหลายยังไม่

เห็นเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระอุปเสนะยังพูดอย่างนี้ว่า จงมาเถิด ผู้มี

อายุ จงยกกายเรานี้ขึ้นสู่เตียงแล้วนำไปภายนอก ก่อนที่กายนี้จะเรี่ยราด

ประดุจกำแกลบเล่า ณ ที่นี้ ท่านพระอุปเสนะกล่าวว่า ท่านพระสารีบุตร

ผู้ใดพึงมีความตรึกอย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุเป็นของเรา ฯลฯ เรา

เป็นใจ หรือใจเป็นของเรา ความที่กายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวน

แห่งอินทรีย์พึงมีแก่ผู้นั้นแน่นอน ท่านพระสารีบุตร เรามิได้มีความตรึก

อย่างนี้ว่า เราเป็นจักษุ หรือจักษุเป็นของเรา ฯลฯ เราเป็นใจ หรือใจ

เป็นของเรา ความที่กายจักกลายเป็นอย่างอื่น หรือความแปรปรวนแห่ง

อินทรีย์จักมีแก่เรานั้น ได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

สา. จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ มมังการและ

มานานุสัยได้เด็ดขาดเป็นเวลานานมาแล้ว ฉะนั้น ท่านพระอุปเสนะจึงไม่

มีความตรึกอย่างนั้น.

ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นสู่เตียง

นำไปภายนอก กายของท่านพระอุปเสนะเรี่ยราดประดุจกำแกลบในที่

นั้นเอง ฉะนั้น.

จบ อุปเสนสูตรที่ ๗

อรรถกถาอุปเสนอาสีวิสสูตรที่ ๗

ในอุปเสนอาสีวิสสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สีตวเน ได้แก่ในป่าของป่าช้ามีชื่ออย่างนั้น. บทว่า

ิสปฺปโสณฺฑิกปพฺภาเร ได้แก่ที่เงื้อมเขามีชื่ออย่างนั้น เพราะเหมือนกัน

พังพานงู. บทว่า อุปเสนสฺส ได้แก่ท่านอุปเสนะผู้เป็นน้องชายของ

พระธรรมเสนาบดี. บทว่า อาสีวิโส ปติโต โหติ ความว่า เล่ากัน

มาว่า พระเถระเสร็จภัตกิจแล้ว ถือมหาจีวร ถูกลมอ่อนๆ ทางช่องหน้าต่าง

ที่ร่มเงาถ้ำ รำเพยพัด นั่งทำสูจิกรรมผ้านุ่ง ๒ ชั้น. ขณะนั้น ลูกอสรพิษ

เลื้อยเล่นอยู่บนหลังคาถ้ำ ลูกงูเหล่านั้น ตัวหนึ่งตกลงมาถูกจะงอยบ่า

พระเถระ. พระเถระถูกพิษเข้า ฉะนั้นพิษของงูนั้นจึงซาบซ่านไปในกาย

ของพระเถระ เหมือนเปลวประทีปลามไปตามไส้ตะเกียง. พระเถระ

ทราบว่าพิษแล่นมาดังนั้น พิษนั้นพอตกลงเท่านั้นแล่นไปตามกำหนด ก็จริง

ถึงอย่างนั้น ท่านจึงใช้พลังฤทธิ์ของตนอธิษฐานว่า ขออัตตภาพนี้จงอย่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

พินาศในถ้ำ ดังนี้แล้วเรียกภิกษุทั้งหลายมา. บทว่า ปุราย กาโย อิเธว

วิถีรติ ความว่า พวกท่านจงนำกายนั้นออกข้างนอกชั่วเวลาที่ยังไม่กระจัด

กระจาย. บทว่า อญฺถตฺต แปลว่า เป็นอย่างอื่น. บทว่า อินฺทฺริยาน

วิปริณาม ได้แก่ภาวะคืออินทรีย์มีจักขุนทรีย์และโสตินทรีย์เป็นต้นละปกติ

ไป บทว่า ตตฺเถว วิกิริ ความว่า กระจัดกระจายบนเตียงน้อยนั่นเอง

ในที่ที่นำออกมาตั้งไว้ภายนอก.

จบ อรรถกถาอุปเสนสูตรที่ ๗

๘. อุปวาณสูตร

ว่าด้วยธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง

[๗๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ที่ตรัสว่า ธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ธรรมอันผู้

บรรลุจะพึงเห็นเอง ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระธรรมจึงชื่อว่าอันผู้

บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้า

มาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน พระเจ้าข้า.

[๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุปวาณะ ก็ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วรู้เสวยรูป รู้เสวยความกำหนัดในรูป

แล้วรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัด

ในรูปในภายใน อาการที่ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้วรู้เสวยรูป รู้เสวยความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

กำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันมีอยู่ในภายในว่าเรายังมี

ความกำหนัดในรูปในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึง

เห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน

อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.

[๘๐] อีกประการหนึ่ง ดูก่อนอุปวาณะ ภิกษุลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ

[๘๑] อีกประการหนึ่ง ดูก่อนอุปวาณะ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์

ด้วยใจแล้วรู้เสวยธรรมารมณ์ รู้เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และ

รู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันมีอยู่ภายในว่า เรายังมีความกำหนัด

ในธรรมารมณ์ในภายใน อาการที่ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วรู้เสวย

ธรรมารมณ์ รู้เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด

ในธรรมารมณ์อันมีอยู่ในภายในว่า เรายังมีความกำหนัดในธรรมารมณ์

ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ

ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้

เฉพาะตน.

[๘๒] ดูก่อนอุปวาณะ ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ

แล้วรู้เสวยรูป แต่ไม่รู้เสวยความกำหนัดในรูป และรู้ชัดซึ่งความกำหนัด

ในรูปอันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดในรูปในภายใน อาการที่

ภิกษุเป็นผู้เห็นรูปด้วยจักษุแล้วรู้เสวยรูป แต่ไม่รู้เสวยความกำหนัดในรูป

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในรูปอันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัด

ในรูปในภายในอย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบ

ด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

[๘๓] ดูก่อนอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู

สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น.

[๘๔] ดูก่อนอุปวาณะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้ซึ่งธรรมารมณ์

ด้วยใจแล้วรู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่รู้เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์

และรู้ชัดซึ่งความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความ

กำหนัดในธรรมารมณ์ในภายใน อาการที่ภิกษุรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

รู้เสวยธรรมารมณ์ แต่ไม่รู้เสวยความกำหนัดในธรรมารมณ์ และรู้ชัดซึ่ง

ความกำหนัดในธรรมารมณ์อันไม่มีในภายในว่า เราไม่มีความกำหนัดใน

ธรรมารมณ์ในภายใน อย่างนี้แล เป็นธรรมอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง.

ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน

พึงรู้เฉพาะตน.

จบ อุปวาณสูตรที่ ๘

อรรถกถาอุปวาณสูตรที่ ๘

ในอุปวาณสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า รูปปฏิสเวที ความว่า กำหนดอารมณ์ต่างโดยกสิณมีนีล

กสิณและปีตกสิณเป็นต้น ทำรูปให้เป็นอันตนรู้แจ้งแล้ว. ถามว่า เพราะ

เหตุไรจึงเป็นผู้ได้ชื่อว่ารู้แจ้งรูป. แก้ว่า เพราะภาวะที่กิเลสยังมีอยู่นั้นแล

ชื่อว่ากระทำรูปราคะให้เป็นอันตนรู้แจ้งแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

รูปราคปฏิสเวทิ. คำว่า. สนฺทฏฺิโก เป็นต้น มีอรรถได้กล่าวไว้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล. บทว่า โน จ รูปราคปฏิสเวที ความว่า

เพราะภาวะที่กิเลสไม่มีนั่นแล ชื่อว่าไม่กระทำรูปราคะให้เป็นอันตนรู้แจ้ง

แล้ว ฉะนั้น จึงตรัสว่า โน จ รูปราคปฏิสเวที ดังนี้. ในพระสูตรนี้

ตรัสปัจจเวกขณญาณของพระสขะและอเสขะ.

จบ อรรถกถาอุปวาณสูตรที่ ๘

๙. ปฐมผัสสายตนสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่ทราบชัดความเกิดเป็นต้นเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัย

[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูปไม่ทราบชัด ความเกิด

ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความ

เป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอยังไม่อยู่จบแล้ว เธอชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากธรรม

วินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายใน

ศาสนานี้ เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัด ความเกิด ความดับ คุณ โทษ

และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง.

พ. ดูก่อนภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณา

เห็นจักษุว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ.

ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นจักษุด้วยอาการ

อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

จักเป็นอันเธอเห็นดีแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แล

เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

พ. เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณาเห็นใจว่า

นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ.

ภิ. หามิได้ พระเจ้าข้า.

พ ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่

ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอ

เห็นแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบ ปฐมผัสสายตนสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมผัสสายตนสูตรที่ ๙

ในปฐมผัสสายตนสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า ผสฺสายตน ได้แก่ อาการถูกต้อง. บทว่า อวุสิต แปลว่า

ไม่อยู่แล้ว. บทว่า อารกา แปลว่า ในที่ไกล. ด้วยบทว่า เอตฺถาห

ภนฺเต อนสฺสาส นี้ ภิกษุทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

ชื่อว่าเป็นผู้ฉิบหายแล้วในพระศาสนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า

ภิกษุนี้กล่าวว่า เราชื่อว่าฉิบหายแล้วในพระศาสนานี้ เธอยังมีความเพียรยิ่ง

อยู่ในธาตุกัมมัฏฐานและกสิณเป็นต้นอย่างอื่นหรือหนอ. เมื่อไม่เห็นความ

เพียรยิ่งนั้น จึงทรงพระดำริว่า กัมมัฏฐานอะไรหนอจักเป็นสัปปายสบายแก่

ภิกษุนี้. แต่นั้นทรงเห็นว่า กัมมัฏฐานคืออายตนะนั่นแล จักเป็นสัปปายะ

เมื่อจะตรัสบอกกัมมัฏฐานนั้น จึงตรัสว่า ต กึ มญฺสิ ภิกฺขุ ดังนี้เป็นต้น

บทว่า สาธุ เป็นความร่าเริงในการพยากรณ์ของเธอ. บทว่า เอเสวนฺโต

ทุกฺขสฺส ความว่า นี้นี่แลเป็นที่สุดคือความขาดไปแห่งวัฏฏทุกข์ คือ

นิพพาน.

จบ อรรถกถาปฐมผัสสายตนสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

๑๐. ทุติยผัสสายตนสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่ทราบชัดความเกิดเป็นต้นเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัย

[๘๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ

บางรูปไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก

แห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันภิกษุนั้นไม่อยู่จบแล้ว

เธอชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้

แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ก็ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้ เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบ

ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ

๖ ตามความเป็นจริง.

พ. ดูก่อนภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอพิจารณา

เห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

ดังนี้หรือ.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดีละ. ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่น ไม่ใช่

ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดี

แล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้ ผัสสายตนะ

ที่ ๑ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้ว เพื่อมิให้ผัสสายตนะนั้นเกิดขึ้นอีกต่อไป ฯลฯ

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

พ. ดีละ ภิกษุ ในข้อนี้ การที่เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่

ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ จักเป็นอันเธอเห็นดี

แล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง ด้วยอาการอย่างนี้ ผัสสายตนะ

ที่ ๖ นี้จักเป็นอันเธอละได้แล้ว เพื่อมิให้ผัสสายตนะนั้นเกิดขึ้นอีกต่อไป.

จบ ทุติยผัสสายตนสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาทุติยผัสสายตนสูตรที่ ๑๐

ในทุติยผัสสายตนสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปนสฺสาส แปลว่า ฉิบหายแล้ว. อธิบายว่า เราชื่อว่าเป็น

ผู้ฉิบหายแล้วแล. ในบทว่า อายตึ อปุนพฺภวาย นี้ นิพพานชื่อว่าความ

ไม่เกิดอีกต่อไป. อธิบายว่า ผัสสายตนะ จักเป็นอันเธอละได้แล้ว เพื่อ

ประโยชน์แก่การไม่บังเกิด.

จบ อรรถกถาทุติยผัสสายตนสูตรที่ ๑๐

๑๑. ตติยผัสสายตนสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่ทราบชัดความเกิดเป็นต้นเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัย

[ ๘๗ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

บางรูปไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด

ออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบ

แล้ว เธอชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากธรรมวินัยนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

อย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้ เพราะข้าพระองค์

ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง

ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง.

พ. ดูก่อนภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม

เบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุด

พ้นแล้ว ย่อมมีญาณ หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม-

จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิ

ได้มี.

จบ ตติยผัสสายตนสูตรที่ ๑๑

มิคชาลวรรคที่ ๒

อรรถกถาตติยผัสสายตนสูตรที่ ๑๑

ใน ตติยผัสสายตนสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า อนสฺสาส แปลว่า ฉิบหายแล้ว. บทว่า ปนสฺสาส แปลว่า

ฉิบหายนักแล้ว. คำที่เหลือ พึงทราบตามนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาตติยผัสสายตนสูตรที่ ๑๑

จบ มิคชาลวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมิคชาลสูตร ๒. ทุติยมิคชาลสูตร ๓. ปฐมสมิทธิ

สูตร ๔. ทุติยสมิทธิสูตร ๕. ตติยสมิทธิสูตร ๖. จตุตถสมิทธิ

สูตร ๗. อุปเสนสูตร ๘. อุปวาณสูตร ๙. ปฐมผัสสายตนสูตร

๑๐. ทุติยผัสสายตนสูตร ๑๑. ตติยยผัสสตนสูตร.

๑. บาลี เป็น ปนสฺสาส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

คิลานวรรคที่ ๓

๑. ปฐมคิลานสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุผู้อาพาธ

[ ๘๘ ] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ. ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหาร

โน้น มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏนามและโคตร เป็นผู้อาพาธ

ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานโอกาส

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงอาศัยความเอ็นดูเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้นเถิด พระ-

เจ้าข้า. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำว่า ภิกษุ. ใหม่ และว่า

เป็นไข้ ทรงทราบชัดว่าเป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตร เสด็จเข้าไปหา

ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว

ปูอาสนะไว้ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า

อย่าเลยภิกษุ เธออย่าปูอาสนะไว้ที่เตียงเลย อาสนะที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่

เราจักนั่งบนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะซึ่งเขาจัด

ไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามภิกษุนั้นว่า เธอพอทนได้หรือ เธอยังอัตภาพให้

เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่กำเริบหรือ ความทุเลาย่อม

ปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้

เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์แก่กล้ายิ่งนัก ไม่ลดน้อยไปเลย

ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

พ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่มีความรังเกียจ ไม่มีความร้อนใจไร ๆ หรือ.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความรังเกียจ มีความร้อน

ใจไม่น้อยเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ติเตียนตนเองโดยศีลบ้างหรือ.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย

พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีล เมื่อเป็นเช่นนั้น

เธอจะมีความรังเกียจ มีความร้อนใจเพราะเรื่องอะไรเล่า.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ ถ้าว่าเธอยังไม่รู้ตัวถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อ

สีลวิสุทธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติ

เพื่ออะไรเล่า.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงแล้วเพื่อคลายจากราคะ พระเจ้าข้า.

พ. ดีแล้ว ๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่

แสดงแล้วเพื่อคลายจากราคะ ดูก่อนภิกษุ เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว

ล้วนมีความคลายจากราคะเป็นประโยชน์.

[๘๙] พ. ดูก่อนภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุ

เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม

เบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ฯลฯ แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า

หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้น

ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น

แก่ภิกษุนั้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล

ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.

จบ ปฐมคิลานสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

๒. ทุติยคิลานสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุผู้อาพาธ

[๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในวิหารโน้น เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏชื่อ

และโคตร เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์เสด็จ

ไปหาภิกษุนั้นเถิด พระเจ้าข้า.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำว่าภิกษุใหม่ เป็นไข้

ทรงทราบชัดว่า เป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตร จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น

ภิกษุนั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วปูอาสนะไว้

ที่เตียง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า อย่าเลย

ภิกษุ เธออย่าปูอาสนะที่เตียงเลย อาสนะที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจัก

นั่งบนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะซึ่งเขาจัดไว้

ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ เธอพอทนได้หรือ เธอยัง

อัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่กำเริบหรือ ความ

ทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็น

ไปไม่ได้ ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย

พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีลไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น

เธอจะมีความรังเกียจ มีความร้อนใจเพราะเรื่องอะไรเล่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ตัวถึงธรรมที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีล-

วิสุทธิไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติ

เพื่ออะไรเล่า.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ตัวถึงธรรมอันพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า.

พ. ดีแล้ว ๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเรา

แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมี

อนุปาทาปรินิพพานเป็นประโยชน์.

[๙๑] พ. ดูก่อนภิกษุ เธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน. จักษุ

เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า. ฯลฯ

พ. จมูก ลิ้น กาย ใจ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

พ ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ยอม

เบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ฯลฯ แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออรุกขม-

สุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย

กำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ

หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้น

ชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุนั้นหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

ดังนี้แล.

จบ ทุติยคิลานสูตรที่ ๒

๓. ปฐมราธสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงอนิจจธรรมแก่ราธภิกษุ

[๙๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานโอกาส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ซึ่ง

ข้าพระองค์ได้สดับแล้ว พึงเป็นผู้ ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ไม่ประมาท

มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนราธะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละ

ความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนราธะ อะไรเล่าไม่เที่ยง จักษุแลไม่เที่ยง

เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้นเสีย รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส

เป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในเวทนานั้นเสีย ฯลฯ ใจไม่เที่ยง

เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ๆ เสีย ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโน-

สัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ

มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในเวทนานั้นเสีย

ดูก่อนราธะ สิ่งใดแลไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ปฐมราธสูตรที่ ๓

๔. ทุติยราธสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงทุกขธรรมแก่ราธภิกษุ

[๙๓] ดูก่อนราธะ สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจใน

สิ่งนั้นเสีย อะไรเล่าเป็นทุกข์ จักษุแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจใน

จักษุนั้นเสีย รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึง

ละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ฯลฯ ใจเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ

มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ

มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อน

ราธะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ทุติยราธสูตรที่ ๔

๕. ตติยราธสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงอนัตตาธรรมแก่ราธภิกษุ

[๙๔] ดูก่อนราธะ สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน เรอพึงละความ

พอใจในสภาพนั้นเสีย อะไรเล่าไม่ใช่ตัวตน จักษุแลไม่ใช่ตัวตน เธอพึงละ

ความพอใจในจักษุนั้นเสีย รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ ใจ

ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ตัวตน เธอ

พึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย ดูก่อนราธะ สภาพใดแลไม่ใช่ตัวตน

เธอพึงละความพอใจในสภาพนั้นเสีย.

จบ ตติยราธสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

คิลานวรรคที่ ๓

อรรถกถาคิลานสูตรที่ ๑-๕

คิลานวรรคที่ ๔ คิลานสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อมุกสฺมึ แปลว่า ในวิหารโน้น. อนึ่ง บาลี ก็นัยนี้

เหมือนกัน. บทว่า อปฺปญฺาโต ได้แก่ ไม่มีใครรู้จัก คือไม่ปรากฏ

จริงอยู่ภิกษุบางรูป แม้ใหม่ ก็มีคนรู้จัก เหมือนอย่าง พระราหุลเถระ และ

สุมนสามเณร. แต่ภิกษุนี้ยังใหม่ และไม่มีใครรู้จัก. คำที่เหลือในข้อนี้

มีนัยดังกล่าวแล้วแล. แม้ในสูตรทั้ง ๔ อื่นจากนี้ ก็อย่างนั้น.

จบ อรรถกถาคิลานสูตรที่ ๑-๕

๖. ปฐมอวิชชาสูตร

ว่าด้วยการละอวิชชาได้ วิชชาก็เกิดขึ้น

[๙๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชา

ย่อมเกิดขึ้น มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น

มีอยู่.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว ย่อม

ละอวิชชาได้ วิชชาเกิดขึ้นนั้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

พ. ดูก่อนภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งเมื่อภิกษุ

ละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร

จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่จักษุโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งรูป

ทั้งหลาย ฯลฯ ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น

เพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงละอวิชชาได้

วิชชาจึงเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุ เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึง

ละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น.

จบ ปฐมอวิชชาสูตรที่ ๖

อรรถกถาปฐมอวิชชาปหานสูตรที่ ๖

ในปฐมอวิชชาปหานสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนิจฺจโต ชานโต ความว่า อวิชชา เธอย่อมละได้ด้วย

สามารถแห่งอนิจจลักขณะ และ อนัตตลักขณะนั่นเอง. ก็พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ครั้นตรัสแสดงอนิจจลักขณะนี้แล้ว จึงตรัสตามอัธยาศัย ของผู้ตรัสรู้.

จบ อรรถกถาปฐมอวิชชาปหานสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

๗. ทุติยอวิชชาสูตร

ว่าด้วยการละอวิชชาได้ วิชชาก็เกิด

[๙๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่

หรือ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละอวิชชาได้

วิชชาย่อมเกิดขึ้น มีอยู่.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมข้อหนึ่งซึ่งภิกษุละได้แล้ว ย่อมละ

อวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เป็นไฉน พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ ธรรมข้อหนึ่ง คือ อวิชชาแล ซึ่งภิกษุละได้แล้ว

ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุรู้อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร

จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่

ควรยึดมั่น เธอย่อมรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อม

กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมเห็นนิมิตทั้งปวง

โดยประการอื่น คือ เห็นจักษุโดยประการอื่น เห็นรูป จักษุวิญญาณ

จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ

จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น ฯลฯ เห็นใจ ธรรมารมณ์

มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น ดูก่อนภิกษุ เมื่อภิกษุ

รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงละอวิชชาได้ วิชชาจึงเกิดขึ้น.

จบ ทุติยอวิชชาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

อรรถกถาทุติยอวิชชาสูตรที่ ๗

ในทุติยอวิชชาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา ได้แก่ ธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด.

บทว่า นาล อภินิเวสาย ความว่า ไม่ควรถือมั่น คือ ไม่ควรเพื่อจะยึดถือ

โดยลูบคลำ. บทว่า สพฺพนิมิตฺตานิ ได้แก่ สังขารนิมิตทั้งหมด. บทว่า

อญฺโต ปสฺสติ ได้แก่ ชนที่มีความยึดมั่นอันมิได้กำหนดรู้ ย่อมเห็น

โดยประการใด ย่อมเห็นโดยประการอื่นจากประการนั้น. จริงอยู่ชนผู้มี

ความยึดมั่นอันมิได้กำหนดรู้ ย่อมเห็นนิมิตทั้งปวง โดยเป็นอัตตา ส่วน

ผู้ยึดมั่นอันได้กำหนดรู้แล้ว ย่อมเห็นโดยเป็นอนัตตา ไม่เห็นโดยเป็นอัตตา.

ในพระสูตรนี้ ตรัสเฉพาะอนัตตลักขณะเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาอวิชชาสูตรที่ ๗

๘. ภิกขุสูตร

ว่าด้วยการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้ทุกข์

[๙๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นในโลกนี้แล ย่อมถามข้าพระ-

องค์อย่างนี้ว่า อาวุโส ท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อ

อะไรเล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้ จึงพยากรณ์

แก่ปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้ว่า เราประพฤติพรหมจรรย์ใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้า-

พระองค์ถูกถามแล้วอย่างนี้ พยากรณ์แล้วอย่างนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้กล่าว

ตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยคำไม่จริง ย่อมพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม อนึ่ง การกล่าวและ

กล่าวตามที่ชอบแก่เหตุ แม้น้อยหนึ่ง จะไม่ควรติเตียนละหรือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถูกแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

ถูกถามอย่างนี้แล้ว เมื่อพยากรณ์อย่างนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามคำที่

เรากล่าวแล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง ย่อมพยากรณ์ธรรมสมควรแก่

ธรรม ทั้งการกล่าวและกล่าวตามที่ชอบแก่เหตุแม้น้อยหนึ่ง ย่อมไม่ควร

ติเตียน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา

ก็เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลาย

อย่างนี้ว่า อาวุโส ก็ทุกข์ซึ่งพวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระ-

สมณโคดมเพื่อกำหนดรู้นั้นเป็นไฉน เธอทั้งหลายถูกถามแล้วอย่างนี้ พึง

พยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า อาวุโส จักษุแลเป็น

ทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้จักษุ

เป็นทุกข์นั้น รูป ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ฯลฯ ใจก็เป็นทุกข์ ฯลฯ

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส

เป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ข้อนั้น ๆ อาวุโส ข้อนี้นั้นแลเป็นทุกข์ เราอยู่ประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ข้อนั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์

ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้แล.

จบ ภิกขุสูตรที่ ๘

อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๘

ในภิกขุสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

โน อักษร ในคำว่า อิธ โน นี้ เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. คำที่

เหลือ ง่ายทั้งนั้น. ทุกขลักขณะ พึงทราบว่า ตรัสไว้ในที่นี้อย่างเดียว.

จบ อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๘

๙. โลกสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าโลก

[ ๙๘ ] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ที่เรียกว่า โลก โลก ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงเรียกว่า โลก

พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่าโลก เพราะจะ

ต้องแตกสลาย อะไรเล่าแตกสลาย ดูก่อนภิกษุ จักษุแลแตกสลาย รูป

แตกสลาย จักษุวิญญาณแตกสลาย จักษุสัมผัสแตกสลาย สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

แตกสลาย ฯลฯ ใจแตกสลาย ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

แตกสลาย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น

เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็แตกสลาย ดูก่อนภิกษุ ที่เรียกว่าโลก เพราะ

จะต้องแตกสลาย ฉะนี้.

จบ โลกสูตรที่ ๙

อรรถกถาโลกสูตรที่ ๙

ในโลกสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ลุชฺชติ ความว่า ย่อมทำลาย คือ ย่อมแตก. ตรัสอนิจจ-

ลักขณะ ไว้ในสูตรนี้.

จบ อรรถกถาโลกสูตรที่ ๙

๑๐. ผัคคุนสูตร

ว่าด้วยเรื่องบัญญัติ

[ ๙๙ ] ครั้งนั้นแล ท่านพระผัคคุนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้

เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง

ปรินิพพานที่ล่วงไปแล้ว ด้วยจักษุใดจักษุนั้นมีอยู่หรือ ฯลฯ บุคคลอื่นเมื่อ

จะบัญญัติ พึงบัญญัติพระพุทธเจ้าในอดีตผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว

ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานที่

ล่วงไปแล้ว ด้วยใจใด ใจนั้นมีอยู่หรือ พระพุทธเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

[๑๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนผัคคุนะ บุคคลเมื่อจะ

บัญญัติพึงบัญญัติพระพุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้

แล้ว ครอบงำวัฏฏะได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานที่ล่วงไปแล้ว

ด้วยจักษุใด จักษุนั้นไม่มีเลย ฯลฯ บุคคลเมื่อจะบัญญัติ พึงบัญญัติพระ-

พุทธเจ้าผู้ตัดตัณหาเครื่องให้เนิ่นช้าแล้ว ตัดทางได้แล้ว ครอบงำวัฏฏะ

ได้แล้ว ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ปรินิพพานที่ล่วงไปแล้ว ด้วยใจใด ใจนั้น

ไม่มีเลย.

จบ ผัคคุนสูตรที่ ๑๐

คิลานวรรคที่ ๓

อรรถกถาผัคคุนสูตรที่ ๑๐

ในผัคคุนสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ฉินฺนปปญฺเจ ความว่า ชื่อว่าผู้มีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า

อันขาดแล้ว เพราะตัดธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหาเสียได้ ชื่อว่า

ผู้มีทางอันตัดแล้ว เพราะตัดทางคือตัณหานั่นเองได้แล้ว. ถามว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสถามว่า เราจะถามอะไร. แก้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสถามว่า ความจริงเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จล่วงลับไปแล้ว เราจะถามถึง

จักษุและโสตเป็นต้น ที่ภิกษุกันไว้แล้ว อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสถามว่า ถ้าแม้เมื่อเจริญมรรคแล้ว ความหมุนเวียนแห่งจักษุและโสตะ

เป็นต้น จะพึงหมุนเวียนในอนาคตได้ไซร้ เราจะถามถึงข้อนั้น.

จบ อรรถกถาผัคคุนสูตรที่ ๑๐

จบ คิลานวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมคิลานสูตร ๒. ทุติยคิลานสูตร ๓. ปฐมราธสูตร

๔. ทุติยราธสูตร ๕. ตติยราธสูตร ๖. ปฐมอวิชชาสูตร ๗. ทุติย-

อวิชชาสูตร ๘. ภิกขุสูตร ๙. โลกสูตร ๑๐. ผัคคุนสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

ฉันนวรรคที่ ๔

๑. ปโลกสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าโลก

[ ๑๐๑ ] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ที่เรียกกันว่าโลก ๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงเรียกกันว่า

โลก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลาย

เป็นธรรมดา นี้เรียกว่าโลกในอริยวินัย ก็อะไรเล่ามีความแตกสลาย

เป็นธรรมดา. จักษุมีความแตกสลายเป็นธรรมดา รูปมีความแตกสลาย

เป็นธรรมดา จักษุวิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา จักษุสัมผัส

มีความแตกสลายเป็นธรรมดา สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข-

เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความแตกสลายเป็น

ธรรมดา ฯลฯ ใจมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความ

แตกสลายเป็นธรรมดา มโนวิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา มโน-

สัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-

สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความแตกสลาย

เป็นธรรมดา ดูก่อนอานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดา นี้เรียกว่า

โลกในอริยวินัย.

จบ ปโลกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

อรรถกถาปโลกธรรมสูตรที่ ๑

ฉันนวรรค ปโลกธรรมสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปโลกธมฺม ได้แก่มีอันแตกไปเป็นสภาวะ ในที่นี้ตรัส

เฉพาะอนิจจลักขณะเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาปโลกธรรมสูตรที่ ๑

๒. สุญญสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เรียกว่าโลกว่างเปล่า

[๑๐๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าโลกว่างเปล่า ๆ ดังนี้ ด้วย

เหตุเพียงเท่าไรหนอจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ตอบว่า ดูก่อนอานนท์ เพราะว่างเปล่าจากตนหรือจากของ ๆ ตน ฉะนั้น

จึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า อะไรเล่าว่างเปล่าจากตนหรือจากของ ๆ ตน. จักษุ

แลว่างเปล่าจากตนหรือจากของ ๆ ตน รูปว่างเปล่าจากตนหรือจากของ ๆ ตน

จักษุวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของ ๆ ตน จักษุสัมผัสว่างเปล่าจากตน

หรือจากของ ๆ ตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น

เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ว่างเปล่าจากตนหรือจากของ ๆ ตน ฯลฯ

ใจว่างเปล่าจากตนหรือจากของ ๆ ตน ธรรมารมณ์ว่างเปล่าจากตนหรือจาก

ของ ๆ ตน มโนวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของ ๆ ตน มโนสัมผัส

ว่างเปล่าจากตนหรือจากของ ๆ ตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างเปล่าจากตนหรือจาก

ของ ๆ ตน ดูก่อนอานนท์ เพราะว่างเปล่าจากตนหรือจากของ ๆ ตน

ฉะนั้นจึงเรียกว่าโลกว่างเปล่า.

จบ สุญญสูตรที่ ๒

อรรถกถาสุญญสูตรที่ ๒

ในสุญฺญสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อตฺตนิเยน ได้แก่ ด้วยปริกขารอันเป็นสมบัติของตน.

ในที่นี้ตรัสเฉพาะอนัตตลักขณสูตรเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสุญญสูตรที่ ๒

๓. สังขิตตสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้อยู่ผู้เดียว

[ ๑๐๓ ] ฯลฯ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึง

เป็นผู้ ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว

อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า

อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-

สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า.

อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง

อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอานนท์ อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย

ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้ง

ในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า

หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก.

จบ สังขิตตสูตรที่ ๓

อรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๓

สังขิตตสูตรที่ ๓ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวในอานันโทวาทสูตร ใน

ขันธิยวรรคนั้นแล.

จบ อรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๓

๔. ฉันนสูตร

ว่าด้วยฉันนภิกษุอาพาธหนัก

[ ๑๐๔ ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร

ท่านพระมหาจุนทะ และท่านพระฉันนะ อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ สมัยนั้น

ท่านพระฉันนะอาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น

ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักแล้ว เข้าไปหาท่านพระมหาจุนทะถึงที่อยู่

ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหาจุนทะว่า ดูก่อนท่านจุนทะ เราจงพากัน

เข้าไปหาท่านพระฉันนะ ถามถึงความเป็นไข้เถิด ท่านพระมหาจุนทะ

รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

มหาจุนทะ เข้าไปหาท่านพระฉันนะถึงที่อยู่ แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ครั้น

แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนท่านฉันนะ ท่าน

พออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาลดลงไม่

กำเริบขึ้น ความทุเลาปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ.

[๑๐๕] ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผม

ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก

ไม่ลดลงเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนบุรุษ

ผู้มีกำลัง เอาเหล็กแหลมคมทิ่มศีรษะ ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเข้ากระทบที่

ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง

เอาเส้นเชือกหนังอันเหนียวขันที่ศีรษะฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเสียดแทงที่

ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนนายโคฆาต

หรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ขยัน เอามีดสำหรับแล่เนื้อโคที่คมกรีดท้อง แม้

ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งย่อมเสียดแทงท้องของกระผม ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าคนละแขน

ลนให้เร่าร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด ความเร่าร้อนในกายของกระผม

ก็มากยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว

เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่

ลดลงเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ ท่านพระฉันนะ

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมจักนำศาตรามาฆ่าตัวตาย ไม่

ปรารถนาเป็นอยู่ ดังนี้แล้ว ก็นำศาตรามา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

[๑๐๖] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านพระฉันนะจงเยียวยา

อัตภาพให้เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะเยียวยา

อัตภาพให้เป็นไปอยู่ ถ้าโภชนะเป็นที่สบายมิได้มีแก่ท่านพระฉันทะ ผมจัก

แสวงหามาให้ ถ้าเภสัชเป็นที่สบายมิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักแสวง

หามาให้ ถ้าพวกอุปัฏฐากที่สมควรมิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักอุปัฏฐาก

เอง ท่านพระฉันนะอย่านำศาตรามาเลย จงเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปเถิด

เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปอยู่ ท่าน

พระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โภชนะเป็นที่สบายของกระผม

มิใช่ไม่มี โภชนะเป็นที่สบายของกระผมมีอยู่ แม้เภสัชเป็นที่สบายของ

กระผมก็มิใช่ไม่มี เภสัชเป็นที่สบายของกระผมมีอยู่ แม้อุปัฏฐากที่สมควร

ของกระผมมิใช่ไม่มี อุปัฏฐากที่สมควรของกระผมมีอยู่ ก็พระศาสดา

อันกระผมบำเรอแล้วด้วยอาการเป็นที่พอใจอย่างเดียว. ไม่บำเรอด้วยอาการ

เป็นที่ไม่พอใจตลอดกาลนานมา ข้อที่พระสาวกบำเรอพระศาสดาด้วย

อาการเป็นที่พอใจ ไม่บำเรอด้วยอาการเป็นที่ไม่พอใจ นี้สมควรแก่

พระสาวก ความบำเรอนั้นไม่เป็นไป ฉันนภิกษุจักนำศาตรามา ข้าแต่

ท่านพระสารีบุตร ขอท่านจงทรงจำความนี้ไว้อย่างนี้ ดังนี้เถิด.

ว่าด้วยการถามปัญหาฉันนภิกษุ

[๑๐๗] สา. เราทั้งหลายขอถามปัญหาบางข้อกะท่านพระฉันนะ

ถ้าท่านพระฉันนะให้โอกาสเพื่อจะแก้ปัญหา.

ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร นิมนต์ถามเถิด กระผมฟังแล้วจักให้

ทราบ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

สา. ท่านพระฉันนะ ท่านย่อมพิจารณาเป็นจักษุ จักษุวิญญาณ

และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น

นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯลฯ ท่านย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และ

ธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น

นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้หรือ.

ฉ . ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุ

วิญญาณและธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา

เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมย่อมพิจารณาเห็นใจ

มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่

ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา.

[๑๐๘] สา. ดูก่อนท่านพระฉันนะ ท่านเห็นอย่างไร รู้อย่างไร

ในจักษุ ในจักษุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ

จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ

วิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา

ฯลฯ ท่านเห็นอย่างไร รู้อย่างไรในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรม

ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ

และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เรา

ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา.

[๑๐๙] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้

ความดับ ในจักษุ ในจักษุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วย

จักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัว

ตนของเรา ฯลฯ กระผมเห็นความดับ ในใจ ในมโนวิญญาณ และใน

ธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ

และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เรา

ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.

[๑๑๐] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะ

ได้กล่าวกะท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนท่านพระฉันนะ เพราะเหตุนั้นแล

แม้ความพิจารณาเห็นนี้ เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ท่านพึงทำไว้ในใจให้ดีตลอดกาลเป็นนิตย์ไป ความหวั่นไหวของบุคคลที่มี

ตัณหา มานะและทิฏฐิอาศัยอยู่ ยังมีอยู่ ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่บุคคลที่

ไม่มีตัณหา มานะและทิฏฐิอาศัยอยู่ เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ย่อมมีปัสสัทธิ

เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ไม่มีความเพลิดเพลิน เมื่อไม่มีความเพลิดเพลิน ความมา

ความไปก็ไม่มี เมื่อความมาความไปไม่มี จุติและอุปบัติก็ไม่มี เมื่อจุติ

และอุปบัติไม่มี โลกนี้และโลกหน้าก็ไม่มี และระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี

นี้แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหา

จุนทะ ครั้นกล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว ลุกจากอาสนะ

หลีกไป ครั้นเมื่อท่านทั้งสองหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระฉันนะก็นำ

ศาตรามาฆ่าตัวตาย.

[๑๑๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ฉันนะนำศาตรามาฆ่าตัวตายแล้ว ท่านมีคติและอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร

พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนสารีบุตร ฉันนภิกษุ

พยากรณ์คุณเครื่องเป็นผู้ไม่มัสกุลที่พึงเข้าไปหาแล้วต่อหน้าเธอมิใช่หรือ.

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัชชีคามอันมีชื่อว่า บุพพวิชชนะมีอยู่

ท่านฉันนะมีสกุลที่เป็นมิตรสกุลที่เป็นสหายสกุลพึงเข้าไปหาอยู่ในวัชชีคาม

นั้น.

ฉ. ดูก่อนสารีบุตร ก็สกุลที่เป็นมิตรสกุลที่เป็นสหายสกุลที่พึง

เข้าไปหาเหล่านั้นมีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ฉันนภิกษุมีสกุลที่ตนพึงเข้าไปหา

ด้วยเหตุเท่านั้นเลย ภิกษุใดแล ทอดทิ้งกายนี้ด้วย ยึดถือกายอื่นด้วย

เราเรียกภิกษุนั้นว่า มีสกุลที่พึงเข้าไปหา สกุลนั้นย่อมไม่มีแก่ฉันนะภิกษุ

ฉันนภิกษุนำศาตรามาฆ่าตัวตาย ไม่มีสกุลที่พึงเข้าไปหา ดูก่อนสารีบุตร

เธอพึงทรงจำความนี้ไว้อย่างนี้ดังนี้เถิด.

จบ ฉันนสูตรที่ ๔

อรรถกถาฉันนสูตรที่ ๔

ในฉันนสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ฉนฺโน ได้แก่พระเถระผู้มีชื่ออย่างนั้น. ไม่ใช่พระเถระผู้

ออกไปครั้งเสด็จมหาภิเนษกรมณ์. บทว่า ปฏิสลฺลานา ได้แก่ จากผล-

สมาบัติ. บทว่า คิลานปุจฺฉกา ได้แก่ผู้บำรุงภิกษุไข้. ชื่อว่า การบำรุง

ภิกษุไข้ อันพระพุทธเจ้าสรรเสริญแล้ว อันพระพุทธเจ้าชมเชยแล้ว

เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า สีสเว ทเทยฺย ความว่า

ผ้าโพกศีรษะ ชื่อว่า สีสเวฐนะ และพึงให้ผ้าโพกศีรษะนั้น บทว่า สตฺถ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

ได้แก่ ศัสตราอันนำเสียซึ่งชีวิต (ฆ่าตัวตาย). บทว่า นาวกงฺขามิ ได้แก่

ย่อมไม่ปรารถนา. บทว่า ปริจิณฺโณ ได้แก่ ปรนนิบัติแล้ว. บทว่า มนาเปน

ได้แก่กายกรรมเป็นต้น อันน่าเจริญใจ. จริงอยู่ พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า

ย่อมปรนนิบิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ย่อมถูกปรนนิบัติ พระอรหันต์

ชื่อว่าผู้อันเขาปรนนิบัติ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ชื่อว่า ผู้อันเขาปรนนิบัติ.

บทว่า เอต หิ อาวุโส สาวกสฺส ปฏิรูป ความว่า ดูก่อนอาวุโส

นั่นชื่อว่า เป็นสิ่งที่สมควร แก่พระสาวก. บทว่า อนุปวชฺช ได้แก่

ไม่เป็นไป คือ ไม่มีปฏิสนธิ. บาลีว่า ปุจฺฉาวุโส สารีปุตฺต สุตฺวา

เวทิสฺสาม นี้ ชื่อว่า ปวารณาของพระสาวกเปิดโอกาสให้ถาม คำว่า

เอต มม เป็นต้น ท่านกล่าว ด้วยอำนาจการยึดถือด้วยอำนาจตัณหา

มานะและทิฏฐิ. บทว่า นิโรธ ทิสฺวา ได้แก่ รู้ธรรมเป็นที่สิ้นไป

และเสื่อมไป. บทว่า เนต มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาติ

สมนุปสฺสามิ ความว่า ย่อมพิจารณาเห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์

เป็นอนัตตา. ในฐานะมีประมาณเท่านี้ พระฉันนเถระใส่ปัญหาที่พระ-

สารีบุตรถามลงในพระอรหัตต์ กล่าวแก้ปัญหานั้น. ฝ่ายพระสารีบุตรเถระ

แม้รู้ว่า พระฉันนเถระเป็นปุถุชน ก็ไม่ได้บอกท่านว่า เป็นปุถุชน หรือ

ว่าเป็นพระขีณาสพ ได้แต่นิ่งอย่างเดียว. ส่วนพระจุนทเถระคิดว่า เรา

จะให้รู้ว่าท่านเป็นปุถุชน แล้วได้ให้โอวาท.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะท่านไม่สามารถ

จะอดกลั้นเวทนาปางตาย จึงกล่าวว่าเราจะนำศัสตรามา ฉะนั้น ท่านจึง

เป็นปุถุชน จึงแสดงว่า เราจะใส่ใจแม้ในเรื่องนี้ อนึ่ง เพราะเหตุที่เห็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ความดับแห่งอายตนะ ๖ แล้วกล่าวว่า เราจะพิจารณาเห็นจักษุเป็นต้น

ด้วยอำนาจคาหะ (ความยึดถือ) ทั้ง ๓ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวแสดงเฉพาะข้อที่

ท่านเป็นปุถุชนแม้นี้ว่าศาสนาของพระผู้พระภาคเจ้า อันผู้มีอายุควรใส่ใจ.

บทว่า นิจฺจกปฺป แปลว่า ตลอดกาลเป็นนิตย์. บทว่า นิสฺสิตสฺส

ได้แก่ ผู้อันตัณหา มานะ และทิฏฐิ อาศัยแล้ว. บทว่า จลิต ได้แก่

หวั่นไหว้แล้ว ท่านผู้มีอายุ ไม่สามารถจะอดกลั้นเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วยังละ

การยึดถือไม่ได้ว่า เราเสวยเวทนา เวทนาของเรา บัดนี้ความหวั่นไหว

นั้นยังมีอยู่ แม้ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวกะท่านว่าท่านเป็นปุถุชน.

บทว่า ปสฺสทฺธิ ได้แก่ กายปัสสัทธิระงับกาย และจิตตปัสสัทธิ

ระงับจิต อธิบายว่า ชื่อว่ากิเลสปัสสัทธิระงับกิเลส บทว่า นนฺทิ ได้แก่

ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า อสติ ความว่า เมื่อไม่มี

ความอาลัย ความใคร่ ความกลุ้มรุม เพื่อภพต่อไป. บทว่า. อาคติคติ

น โหติ ความว่า ชื่อว่า การมาย่อมมีด้วยอำนาจปฏิสนธิ ชื่อว่า การไป

ย่อมมีด้วยอำนาจคติภูมิเป็นที่ไป. บทว่า จุตูปปาโต ความว่า ชื่อว่า จุติ

ด้วยอำนาจการเคลื่อนไป ชื่อว่า อุปปาต ด้วยอำนาจการเข้าถึง. บทว่า

เนวิธ น หุร น อุภยมนฺตเรน ความว่า ไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกหน้า

ไม่มีในโลกทั้งสอง. บทว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า นี้แลเป็น

ที่สุด นี้เป็นการขาด นี้เป็นการหนุนเวียนของวัฏฏทุกข์ ทุกข์ในวัฏฏะ

และกิเลสทุกข์ ทุกข์เกิดแต่กิเลส ก็ในข้อนี้มีอธิบายเพียงเท่านี้แล. ก็ชน

เหล่าใดถือเอาว่า โดยระหว่างภพทั้ง ๒ จึงปรารถนาความไม่มีในระหว่าง.

คำของชนเหล่านั้น ไร้ประโยชน์. จริงอยู่ ความเป็นในระหว่างภพ ท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

คัดค้านไว้แล้วในพระอภิธรรมนั้นแล. ก็คำว่า อนฺตเรน เป็นคำแสดง

ระหว่างเขตกำหนด เพราะฉะนั้น ในที่นี้พึงทราบความดังต่อไปนี้ว่า

กำหนดอื่นอีกในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกหน้าก็ไม่มี ในโลกทั้ง ๒ ก็ไม่มี

บทว่า สตฺถ อาหเรสิ ได้แก่นำศัสตรามาทำลายชีวิตคือตัด

ก้านคอ. ต่อมา มรณภัย ก็มาถึงท่าน ในขณะนั้น คตินิมิต ย่อม

ปรากฏ. ท่านรู้ว่าตนเป็นปุถุชน มีจิตสลดเริ่มตั้งวิปัสสนา กำหนดสังขาร

เป็นอารมณ์ บรรลุพระอรหัต เป็น พระอรหันตสมสีสี ปรินิพพานแล้ว.

คำว่า สมฺมุขาเยว อนุปวชฺชตา พฺยากตา นี้เป็นคำพยากรณ์ ในเวลา

ที่พระเถระเป็นปุถุชน ก็จริง ถึงอย่างนั้นด้วยคำพยากรณ์นี้ ท่านได้

ปรินิพพานในเวลาติดต่อกันนั้นเอง. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงถือเอาพยากรณ์นั้นแลตรัส.

บทว่า อุปวชฺชกุลานิ ได้แก่ตระกูลที่จะพึงเข้าไปหา. ด้วยคำนี้

พระเถระเมื่อถามถึงโทษในการคลุกคลีกด้วยตระกูล ในปฏิปทาข้อปฏิบัติ

ส่วนเบื้องต้นจึงถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่ออุปัฏฐาก

และอุปัฏฐายิกามีอยู่ ภิกษุนั้นจักปรินิพพานในศาสนาของพระองค์หรือ.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้คลุกคลีในตระกูล

จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนสารีบุตรก็ภิกษุเหล่านั้นมีอยู่หรือ. ได้ยินว่าใน

ที่นี้ความที่พระเถระเป็นผู้ไม่คลุกคลีในตระกูลได้ปรากฏแล้ว. คำที่เหลือ

ในทุก ๆ บทง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาฉันสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

๕. ปุณณสูตร

ว่าด้วยความเพลิดเพลินทำให้เกิดทุกข์

[๑๑๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดง

ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อที่ข้าพระองค์ได้สดับแล้วพึงเป็นผู้ ๆ เดียว หลีก

ออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุ

ยินดี สรรเสริญ พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี สรรเสริญ

พัวพันรูปนั้น ความเพลิดเพลิน ก็เกิดขึ้น ดูก่อนปุณณะ เพราะความ

เพลิดเพลินเกิดขึ้นจึงเกิดทุกข์ ฯลฯ ดูก่อนปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง

ด้วยใจอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวน

ให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี สรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรา

กล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี สรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความ

เพลินก็บังเกิดขึ้น ดูก่อนปุณณะ เพราะความเพลินเกิดขึ้น จึงเกิดทุกข์.

[๑๑๓] ดูก่อนปุณณะ รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด

มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า

เมื่อภิกษุนั้น ไม่ยินดี ไม่สรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ความเพลิดเพลิน

ก็ดับไป ดูก่อนปุณณะ เพราะความเพลิตเพลินดับไป ทุกข์จึงดับ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

ดูก่อนปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี

ไม่สรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี

ไม่สรรเสริญไม่พัวพันธรรมารมณ์ เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี

ไม่สรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็ดับไป ดูก่อนปุณณะ

เพราะความเพลิดเพลินดับไป ทุกข์จึงดับ ดูก่อนปุณณะ ด้วยประการฉะนี้

เธอนั้น จึงไม่ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้.

[๑๑๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่

เบาใจในธรรมนี้ เพราะข้าพระองค์ยังไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความ

เกิดความดับ คุณ โทษ และความสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอ

ย่อมพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตน

ของเรา ดังนี้หรือ.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนี้ จักษุเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดี

ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่

เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ ๑ นี้เป็นอันเธอละขาด

แล้วเพื่อไม่เกิดอีกต่อไปด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ

เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่

ใช่ตัวตน ของเรา ดังนี้หรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนั้น ใจจักเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดี

ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น

นั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ ๖ นี้ จักเป็นอันเธอละขาด

แล้ว เพื่อความไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้ ดูก่อนปุณณะ ดีละ

เธออันเรากล่าวสอนแล้วด้วยโอวาทย่อนี้ จักอยู่ในชนบทไหน.

ท่านพระปุณณเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ชนบทชื่อสุนาปรันตะมีอยู่

ข้าพระองค์จักอยู่ในชนทบนั้น.

ว่าด้วยมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเป็นผู้ดุร้ายเป็นประจำ

[๑๑๕] พ. ดูก่อนปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้าย

หยาบคายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จักบริภาษเธอ

ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า

จักบริภาษข้าพระองค์ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า

มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเรา

ด้วยมือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้

ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้.

พ. ดูก่อนปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร

เธอด้วยมือเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจัก

ประหารข้าพระองค์ด้วยมือไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้

ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทเจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่

ประหารเราด้วยก้อนดิน ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในข้อนี้ ข้าพระองค์

จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิด

อย่างนี้.

พ. ดูก่อนปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร

เธอด้วยก้อนดินเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจัก

ประหารข้าพระองค์ด้วยก้อนดินไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิด

อย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขา

ไม่ประหารเราด้วยท่อนไม้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในข้อนี้ ข้าพระองค์

จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิด

อย่างนี้.

พ . ดูก่อนปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร

เธอด้วยท่อนไม้เล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจัก

ประหารข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิด

อย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขา

ไม่ประหารเราด้วยศาตรา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในข้อนี้ ข้าพระองค์

จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิด

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

พ. ดูก่อนปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร

เธอด้วยศาตรา ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจัก

ประหารข้าพระองค์ด้วยศาตราไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิด

อย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขา

ไม่ปลงเราเสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคม ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในข้อนี้

ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมี

ความคิดอย่างนี้.

[๑๑๖] พ. ดูก่อนปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจัก

ปลงเธอเสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคมเล่า ในข้อนั้น เรอจักมีความคิด

อย่างไร.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจัก

ปลงข้าพระองค์เสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคมไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์

จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อึดอัดระอาเกลียดชังอยู่ด้วยกายและชีวิต ย่อมแสวงหาศาตราสำหรับปลง

ชีวิตเสีย มีอยู่ ศาตราสำหรับปลงชีวิตที่เราแสวงหาอยู่นั้น เราได้แล้ว

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่

พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้.

พ. ดีละ ๆ ปุณณะ เธอประกอบด้วยทมะและอุปสมะเช่นนี้ จักอาจ

อยู่ในสุนาปรันตชนบทได้ บัดนี้ เธอย่อมรู้กาลอันควรไปได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

[๑๑๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำ

ประทักษิณแล้ว เก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรหลีกจาริกไปทาง

สุนาปรันตชนบท เมื่อเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ก็บรรลุถึงสุนาปรันตชนบท

ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ในสุนาปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้นแล ใน

ระหว่างพรรษานั้น ท่านพระปุณณะให้ชาวสุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็น

อุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน ได้ทำวิชชา ๓ ให้แจ้งและปรินิพพานแล้ว

ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อว่าปุณณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วย

พระโอวาทอย่างย่อนั้น ทำกาละแล้ว กุลบุตรนั้นมีคติเป็นอย่างไร มี

อภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กุลบุตรชื่อว่าปุณณะ เป็นบัณฑิต กล่าวคำจริง กล่าวธรรมสมควรแก่ธรรม

มิได้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อว่าปุณณะ

ปรินิพพานแล้ว.

จบ ปุณณสูตรที่ ๕

อรรถกถาปุณณสูตรที่ ๕

ในปุณณสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ตญฺเจ ได้แก่ จักขุปสาทรูป และรูป. บทว่า นนฺทิสมุทยา

ทุกฺขสมุทโย ความว่า เพราะประชุมแห่งตัณหา ความประชุมแห่งทุกข

ขันธ์ ๕ ย่อมมี. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังวัฏฏะให้ถึงที่สุดแล้ว

จึงทรงแสดงโดยสัจจะ ๒ ด้วยคำว่า นนฺทิสมุทยา ทุกฺขสมุทโย ดังนี้

ในทวารทั้ง ๖.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

ในนัยที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้วิวัฏฏะถึงที่สุดแสดงโดย

สัจจะ ๒ คือ นิโรธ มรรค. บทว่า อิมินา ตฺว ปุณฺเณ เป็นอนุสนธิ

แผนกหนึ่ง.พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใส่เทศนาลงในพระอรหัตโดยวัฏฏะและ

วิวัฏฏะ อย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้เพื่อจะให้พระปุณณเถระ บันลือสีหนาท

ในฐานะ ๗ จึงตรัสคำอาทิว่า อิมินา ตฺว.

บทว่า จณฺฑา ได้แก่ ดุร้าย คือ กล้าแข็ง. บทว่า ผรุสา

ได้แก่ หยาบ. บทว่า อกฺโกสิสฺสนฺติ ความว่า จักด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐.

บทว่า ปริภาสฺนฺติ ความว่า ย่อมขู่ว่า ท่านชื่อว่า เป็นสมณะอย่างไร

เราจักทำสิ่งนี้ และสิ่งนี้แก่ท่าน. บทว่า เอวเมตฺถ ความว่า จักมีแก่เรา

ในที่นี้ด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า ทณฺเฑน ได้แก่ด้วยท่อนไม้ยาว ๔ ศอก

หรือด้วยค้อนไม้ตะเคียน. บทว่า สตฺเถน ได้แก่ ด้วยศัสตรา มีคม

ข้างเดียวเป็นต้น.

บทว่า สตฺถหารก ปริเยสนฺติ ความว่า ย่อมแสวงหาศัสตรา

เครื่องนำไปเสียซึ่งชีวิต. คำนี้พระเถระกล่าวหมายเอาการแสวงหา ศัสตรา

ฆ่าตัวตาย ของพวกภิกษุผู้ฟังอสุภกถา เพราะเรื่องตติยปาราชิกแล้วเกลียด

ด้วยอัตภาพ. บทว่า ทมในคำว่า ทมูปสมเนน นี้นั้นเป็นชื่อของอินทรีย-

สังวรเป็นต้น. จริงอยู่ในบาลีว่า สจฺเจน ทนฺโต ทมสา อุเปโต

เวทนฺตคู วุสิตพฺรหฺมจริโย ภิกษุเป็นผู้มีสัจจะฝึกตนเข้าถึงทมะ ถึงที่สุด

เวท อยู่จบพรหมจรรย์นี้ อินทรียสังวร ท่านกล่าวว่า ทมะ ในบาลีว่า

ยทิ สจฺจา ทมา จาคา ขนฺตฺยาภิยฺโยว วิชฺชติ แปลว่า ถ้าสัจจะ

ทมะ จาคะ ขันติ ย่อมมียิ่งขึ้นไซร้นี้ ปัญญาท่านกล่าวว่า ทมะ. ในบาลีว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

ทาเนน ทเมน สญฺเมน สจฺจวาเจน แปลว่า ด้วยการให้ การฝึก

การสำรวม และด้วยสัจจวาจา นี้ อุโปสถกรรม ท่านกล่าวว่า ทมะ.

แต่ในสูตรนี้ ขันติ พึงทราบว่า ทมะ. บทว่า อุปสโม เป็นไวพจน์

ของคำว่า ทโม นั้นนั่นเอง.

บทว่า อถโข อายสฺมา ปุณฺโณ ความว่า ก็ท่านปุณณะนี้เป็นใคร

และเพราะเหตุไรท่านจึงประสงค์จะไปในที่นั้น. แก้ว่า ท่านเป็นผู้อยู่ใน

สุนาปรันตชนบทนั่นเอง. แต่ท่านได้กำหนดที่อยู่อันไม่เป็นสัปปายะใน

กรุงสาวัตถี จึงประสงค์จะไปในที่นั่น.

ในข้อนั้น จะกล่าวตามลำดับความดังต่อไปนี้.

เล่ากันมาว่า ในแคว้น สุนาปรันตะ ในหมู่บ้านพ่อค้าแห่งหนึ่ง

ชนทั้ง ๒ นั้น เป็นพี่น้องกัน ใน ๒ คนนั้นบางคราว พี่ชายพาเกวียน

๕๐๐ เล่ม ไปสู่ชนบทนำสินค้ามา. บางคราวก็น้องชาย ก็ในสมัยนี้

พักน้องชายไว้ในเรือน พี่ชายพาเกวียน ๕๐๐ เล่ม เที่ยวจาริกไปในชนบท

ถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ พักเกวียน ๕๐๐ เล่ม ไว้ในที่ไม่ใกล้พระเชตวัน

รับประทานอาหารเข้าแล้ว แวดล้อมไปด้วยชนบริษัทนั่งในที่มีความผาสุก.

สมัยนั้น ชาวกรุงสาวัตถี บริโภคอาหารเข้าแล้ว อธิฏฐานองค์

อุโบสถ ห่มผ้าเฉวียงบ่าอันหมดจด ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น น้อม

โน้มเงื้อมไป ในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ออกทางประตู

ด้านทักษิณไปยังพระเชตวัน. เขาเห็นชนเหล่านั้น จึงถามมนุษย์คนหนึ่ง

ว่าคนพวกนี้จะไปไหน. คนนั้นกล่าวว่า นายท่านไม่รู้หรือว่า ชื่อพระรัตนะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก มหาชนนั้น

พากันไปสำนักพระศาสดา เพื่อจะฟังธรรมกถาด้วยประการฉะนี้. คำว่า

พุทฺโธ ได้เฉือนผิวหนังตั้งจดเยื่อกระดูกของเขา. เขามีบริษัทของตน

แวดล้อม ไปวิหารพร้อมด้วยบริษัทนั้น เมื่อพระศาสดาทรงแสดงธรรม

ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท ก็เกิดจิตคิดจะ

บรรพชา.

ลำดับนั้น เมื่อพระตถาคตทรงทราบเวลาแล้วส่งบริษัทไป เขาจึง

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคม นิมนต์เพื่อเสวยอาหารในวันรุ่งขึ้น ให้

สร้างมณฑปในวันที่ ๒ ให้ปูอาสนะ ถวายมหาทานแก่สงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประธาน บริโภคอาหารเช้าแล้ว อธิษฐานองค์อุโบสถ ให้เรียกผู้รักษา

เรือนคลังมาสั่งว่า ทรัพย์มีประมาณเท่านี้เราสละแล้ว ทรัพย์มีประมาณ

เท่านี้ เราไม่พึงสละ จึงบอกเรื่องทั้งหมด กล่าวว่า ท่านจงให้สมบัตินี้

แก่น้องชายของเราดังนี้ มอบทรัพย์ทั้งหมดให้แล้วบวชในสำนักของ

พระศาสดา บำเพ็ญกรรมฐานเป็นเบื้องหน้า.

ลำดับนั้น เมื่อท่านมนสิการพระกรรมฐานอยู่ กรรมฐานไม่ปรากฏ.

แต่นั้น ท่านคิดว่า ชนบทนี้ ไม่เป็นที่สบายสำหรับเรา ถ้ากระไร

เราพึงเรียนพระกรรมฐานในสำนักพระศาสดา จะพึงไปในสถานที่ของตน

นั่นแล. ครั้นเวลาเช้า ท่านก็เที่ยวไปบิณฑบาต ตอนเย็นออกจากที่เร้น

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ตรัสบอกพระกรรมฐาน บันลือสีหนาท

๗ ครั้งแล้วก็หลีกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข อายสฺมา

ปุณฺโณ ฯลฯ วิหรติ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

ถามว่า ก็พระปุณณะนี้ อยู่ที่ไหน. ตอบว่า อยู่ในสถานที่ ๔ แห่ง.

อันดับแรก ท่านเข้าไปยังแคว้นสุนาปรันตะ ถึงภูเขา ชื่อว่า อัพพุหัตถะ

แล้วเข้าไปบิณฑบาตยังวานิชคาม.

ลำดับนั้น น้องชาย จำท่านได้จึงถวายภิกษากล่าวว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ขอท่านอย่าไปในที่อื่น จงอยู่แต่ในที่นี้เท่านั้น ให้ท่านรับคำแล้ว

ให้อยู่ในที่นั้นนั่งเอง.

แต่นั้น ท่านก็ได้ไปวิหารชื่อสมุทคิรี ในที่นั้นมีที่จงกรมซึ่งสร้าง

กำหนดด้วยแผ่นหินตัดเหล็ก ไม่มีใครที่สามารถจะจงกรมที่จงกรมนั้นได้ใน

ที่นั้น คลื่นในสมุทรมากระทบที่แผ่นหินตัดเหล็กกระทำเสียงดัง พระเถระ.

คิดว่า ภิกษุทั้งหลายผู้มนสิการพระกรรมฐานอยู่ ขอจงมีความผาสุก

จึงอธิษฐานทำสมุทรให้เงียบเสียง.

ต่อจากนั้น ก็ได้ไปยังมาตุลคิริ. ในที่นั้นมีฝูงนกหนาแน่น ทั้งเสียง

ก็ต่อเนื่องเป็นอันเดียวกันทั้งกลางคืนและกลางวัน. พระเถระคิดว่า ที่นี้

ไม่เป็นที่ผาสุก จากนั้นจึงได้ไปยังวิหาร ชื่อว่า สมกุลการาม. วิหารนั้น

ไม่ไกลนักไม่ใกล้นักจากวานิชคาม สมบูรณ์ด้วยคมนาคม สงัดเงียบเสียง.

พระเถระคิดว่า ที่นี้ผาสุก จึงได้สร้างที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน และที่

จงกรมเป็นต้นในที่นั้นแล้วเขาจำพรรษา. ท่านได้อยู่ในที่ ๔ แห่ง

ด้วยประการฉะนี้.

ภายหลัง ณ วันหนึ่ง ในภายในพรรษานั้นนั่นเอง พวกพ่อค้า

๕๐๐ คน บรรทุกสินค้า ลงในเรือด้วยหวังว่าจะไปสู่สมุทรโน้น. ในวันที่ลง

เรือน้องชายของพระเถระให้พระเถระฉันแล้ว รับสิกขาบทในสำนักของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

พระเถระ ไหว้แล้ว กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าสมุทรไว้ใจไม่ได้

ขอท่านทั้งหลายพึงนึกถึงเราดังนี้แล้วขึ้นเรือไป. เรือแล่นไปด้วยความเร็ว

สูง เกาะน้อยแห่งหนึ่ง. พวกมนุษย์ คิดกันว่า พวกเราจะหาอาหาร

เช้ากินดังนี้แล้วลงที่เกาะ. ก็ในเกาะนั้นสิ่งอะไร ๆ อื่นไม่มี มีแต่ป่าไม้

จันทน์เท่านั้น.

ลำดับนั้นคน ๆ หนึ่ง เอามีดเคาะต้นไม้ รู้ว่าเป็นจันทน์แดง จึง

กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พวกเราไปสู่สมุทรโน้นเพื่อต้องการลาภ ก็ขึ้นชื่อว่า

ลาภยิ่งไปกว่านี้ไม่มี ปุ่ม ประมาณ ๔ นิ้ว ได้ราคาตั้งแสน พวกเราบรรทุก

สินค้าอันควรจะบรรทุกให้เต็มด้วยไม้จันทน์. คนเหล่านั้น ได้กระทำ

เหมือนอย่างนั้นแล้ว. พวกอมนุษย์ ผู้สิงอยู่ในป่าไม้จันทน์โกรธแล้วคิดว่า

คนเหล่านี้ ทำป่าไม้จันทน์ของพวกเราให้ฉิบหาย พวกเราจักฆ่าคนพวกนั้น

ดังนี้แล้วกล่าวว่า เมื่อคนเหล่านั้น ถูกฆ่าในที่นี้แล ซากศพแต่ละซากศพ

ทั้งหมดก็จักปรากฏมีในภายนอก เราจักจมเรือ ของพวกมันเสียกลางสมุทร.

ครั้นในเวลาที่คนเหล่านั้นลงเรือ ไปได้ครู่เดียวเท่านั้น พวกอมนุษย์

เหล่านั้น ทำอุปาติกรูป (รูปผุดเกิดฉับพลัน) ปรากฏขึ้นเองแล้วแสดงรูป

ที่น่าสะพึงกลัว. พวกมนุษย์กลัว นอบน้อมต่อเทวดาของตน. กุฏุมพี ชื่อ

จุลลปุณณะ น้องชายของพระเถระ ได้ยืนนอบน้อมพระเถระด้วยระลึกว่า

ขอพี่ชายจงเป็นที่พึ่งของเรา.

ได้ยินว่า ฝ่ายพระเถระนึกถึงน้องชายในขณะนั้นเหมือนกันรู้ว่าคน

เหล่านั้น เกิดความย่อยยับจึงเหาะไปยินอยู่ตรงหน้า. พวกอมนุษย์ พอเห็น

พระเถระ คิดว่า พระผู้เป็นเจ้าปุณณเถระมา ก็หลบไป. รูปที่ผุดขึ้นก็

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

สงบไป. พระเถระปลอบใจคนเหล่านั้นว่า อย่ากลัวไปเลย ดังนี้แล้วถามว่า

พวกนั้น ประสงค์จะไปไหน. คนเหล่านั้น กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พวก

กระผม จะไปสถานที่ของพวกผมนั่นแหละ พระเถระเหยียบกราบเรือแล้ว

อธิษฐานว่า ขอเรือจงไปสู่ที่พวกเขาปรารถนา. พวกพ่อค้าไปถึงที่ของตน

แล้ว บอกเรื่องนั้นแก่บุตรและภรรยา อธิษฐานว่า พวกเราขอถึงพระ-

เถระนั้นว่าเป็นที่พึ่ง ทั้ง ๕๐๐ คน พร้อมด้วยภรรยา ๕๐๐ คน ตั้งอยู่ใน

สรณะ ๓ รับปฏิบัติตนเป็นอุบาสก. แต่นั้นก็ขนสินค้าลงในเรือ จัดเป็น

ส่วนหนึ่งสำหรับพระเถระแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ นี้เป็นส่วนของท่าน.

พระเถระกล่าวว่า อาตมาไม่มีกิจในส่วนหนึ่ง ก็พระศาสดาพวกท่านเคย

เห็นแล้วหรือ. ม. ไม่เคยเห็นขอรับ. ถ. ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงสร้างโรง-

กลม เพื่อพระศาสดาด้วยส่วนนี้ พวกท่านจงเฝ้าพระศาสดาด้วยอาการ

อย่างนี้. คนเหล่านั้นรับว่า ดีละขอรับจึงเริ่มเพื่อจะสร้างโรงกลมด้วย

ส่วนนั้น และด้วยส่วนของตน.

ได้ยินว่า พระศาสดา ได้ทรงกระทำโรงกลมนั้น ให้เป็นโรงฉัน

จำเดิมแต่กาลเริ่มทำมา. พวกมนุษย์ผู้รักษา เห็นรัศมีในกลางคืนได้ทำ

ความสำคัญว่า เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่มีอยู่. อุบาสกทั้งหลาย ทำโรงกลม

และเสนาสนะสำหรับสงฆ์เสร็จแล้ว ตระเตรียมเครื่องประกอบทานแล้ว

แจ้งแก่พระเถระว่า ท่านผู้เจริญ กิจของตนพวกผมทำแล้ว ขอท่านจง

กราบทูลพระศาสดาเถิด. ในเวลาเย็นพระเถระไปยังกรุงสาวัตถีด้วยฤทธิ์

อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพวกคนชาววานิชคาม

ประสงค์จะเฝ้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดกระทำอนุเคราะห์ แก่คนเหล่า

นั้นเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว. พระเถระกลับมาที่อยู่

ของตนตามเดิม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอานันทเถระมาตรัสว่า

อานนท์ พรุ่งนี้พวกเราจักเที่ยวบิณฑบาต ในวานิชคาม แคว้นสุนาปรันตะ

เธอจงให้สลากแก่ภิกษุ ๔๙๙ รูป. พระเถระรับพระดำรัสแล้ว จึงได้บอก

ความนั้นแก่ภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอภิกษุผู้เดินทางไปทาง

อากาศจงจับฉลาก. วันนั้น พระกุณฑธานเถระได้จับฉลากเป็นที่หนึ่ง.

ฝ่ายพวกคนชาววานิชคาม คิดว่า ได้ยินว่าพรุ่งนี้พระศาสดาจักเสด็จมา

จึงกระทำมณฑปที่กลางบ้าน แล้วตระเตรียมโรงทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงชำระพระวรกายแต่เช้าตรู่ เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฎี ทรงนั่งเข้าผล

สมาบัติ. บัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ของท้าวสักกะแสดงอาการร้อนแล้ว ท่าน

รำพึงว่านี้อะไรกัน จึงเห็นพระศาสดาเสด็จไปยังแคว้นสุนาปรันตะ จึงตรัส

เรียกวิสสุกัมเทพบุตรมาสั่งว่า พ่อเอ้ย วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสด็จ

เที่ยวบิณฑบาต ประมาณ ๓๐๐ โยชน์ ท่านจงสร้างเรือนยอด ๕๐๐ หลัง

จงประดิษฐานเตรียมไว้ยอดซุ้มประตูพระวิหารพระเชตวัน. วิสสุกรรม-

เทพบุตรก็ได้จัดตามเทวโองการ เรือนยอดของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เป็น

๔ มุข. ของพระอัครสาวก ๒ มุข. นอกนั้นมีมุขเดียว. พระศาสดา เสด็จ

ออกจากพระคันธกุฎี เสด็จเข้าไปเรือนยอดที่ใกล้ ในบรรดาเรือนยอดอัน

ตั้งไว้ตามลำดับ. มีภิกษุ ๔๙๙ รูป นับตั้งแต่พระอัครสาวกเป็นต้นไป

จึงได้เข้าไป ได้มีเรือนยอดว่างอยู่หลังหนึ่ง. เรือนยอดทั้ง ๕๐๐ หลัง

ลอยละลิ่วไปในอากาศ.

พระศาสดา เสด็จถึงสัจจพันธบรรพต ได้พักเรือนยอดไว้บนอากาศ

ดาบสผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า สัจจพันธ์ที่บรรพตนั้น ให้มหาชน ถือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

มิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้ถึงความเป็นเลิศด้วยลาภและเลิศด้วยศอยู่. แต่ธรรม

อันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระอรหัตตผลในภายในของท่านย่อมรุ่งโรจน์เหมือน

ประทีปลุกโพลงในภายในฉะนั้น.

พระศาสดาครั้นทรงเห็นดังนั้นแล้ว จึงคิดว่าเราจักแสดงธรรมแก่

เขา ดังนี้แล้วจึงเสด็จไปแสดงธรรม.

ในเวลาจบเทศนา พระดาบส บรรลุพระอรหัต. อภิญญา มาถึง

ท่านพร้อมด้วยพระอรหัตที่บรรลุนั่นเอง. ท่านเป็นเอหิภิกษุ ทรงไว้ซึ่ง

บาตรและจีวรอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ ก็เข้าไปเรือนยอด (หลังที่ว่าง)

พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้อยู่ที่เรือนยอด

เสด็จไปวานิชคาม กระทำเรือนยอดไม่ให้มีใครเห็นแล้ว เสด็จเข้ายัง

วานิชคาม. พวกพ่อค้า ถวายทานแด่สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน

แล้วนำพระศาสดาไปยังกุฏาคาร. พระศาสดาได้เสด็จเข้าไปยังโรงกลม.

มหาชน บริโภคอาหารเช้าตราบเท่าที่คิดว่า พระศาสดาทรงสงบระงับความ

หิวอาหาร แล้วสมาทานองค์อุโบสถ ถือเอาของหอมและดอกไม้เป็นอันมาก

กลับมายังอารามเพื่อต้องการฟังธรรม. พระศาสดาทรงแสดงธรรมเกิดเป็น

ประมุขที่ผูกเป็นหุ่นของมหาชน. โกลาหลเพราะพระพุทธองค์ได้มีเป็น

อันมาก.

พระศาสดาประทับอยู่ในที่นั้นนั่นเองตลอด ๗ วัน เพื่อสงเคราะห์

มหาชน. พออรุณขึ้นก็ได้ปรากฏอยู่ในมหาคันธกุฏีนั้นเอง. ในที่สุดแห่ง

พระธรรมเทศนา ๗ วัน การตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์

ประทับอยู่ ณ ที่นั้น ๗ วัน เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในวานิชคาม ให้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

พระปุณณเถระกลับด้วยตรัสสั่งว่า เธอจงอยู่ในที่นี้แล ได้เสด็จไปยังฝั่ง

แม่น้ำ นัมมทานที อันมีอยู่โดยลำดับ. พระยานาคนัมมทา

กระทำการต้อนรับพระศาสดา ให้เสด็จเข้าไปสู่ภพนาค ได้กระทำสักการะ

ต่อพระรัตนตรัย. พระศาสดาแสดงธรรมแก่พระยานาคนั้น แล้วออกจาก

ภพนาค. พระยานาคนั้น อ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์

จงประทานสิ่งที่ควรสละแก่ข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง

เจดีย์คือรอยพระบาทไว้ ณ ฝั่งแม่น้ำ นัมมทานที เจดีย์คือรอยพระบาท

นั้น เมื่อคลื่นหลากมา ๆ ย่อมปิด เมื่อคลื่นไปแล้วย่อมเปิดออก ความถึง

พร้อมด้วยมหาสักการะได้มีแล้ว. พระศาสดาเสด็จออกจากที่นั้น แล้ว

เสด็จไปยังสัจจพันธบรรพต ตรัสกะสัจจพันธภิกษุว่า เธอทำให้มหาชน

หยั่งลงไปในทางอบาย เธอจงอยู่ในที่นี้แหล่ะ ให้ชนเหล่านั้นสละลัทธิเสีย

แล้วให้ดำรงอยู่ในทางแห่งพระนิพพาน. ฝ่ายพระสัจจพันธภิกษุนั้น ทูลขอ

ข้อที่ควรประพฤติ. พระศาสดาแสดงพระเจดีย์ คือรอยพระบาท ที่หลัง

แผ่นหินแท่งทึบ เหมือนรอยตรา ที่ก้อนดินเหนียวเปียก. แต่นั้นก็เสด็จ

กลับพระวิหารเชตวันตามเดิม. ท่านหมายเอาข้อนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

เตเนว อนฺตรวสฺเสน เป็นต้น.

บทว่า ปรินิพฺพายิ ได้แก่ ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสปรินิพพาน

ธาตุ. มหาชน กระทำการบูชาสรีระของพระเถระ ๗ วัน ให้รวบรวมไม้

หอมเป็นอันมาก ให้ณาปนกิจแล้วเก็บเอาธาตุทำพระเจดีย์. บทว่า

สมฺพหุลา ภิกฺขู ได้แก่ เหล่าภิกษุ ผู้อยู่ในที่ใกล้พระเถระ. คำที่เหลือ

ในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

จบ อรถถกถาปุณณสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

๖. พาหิยสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่ออยู่ผู้เดียว

[๑๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรด

แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วพึงเป็นผู้ ๆ เดียว

หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ท่านพระพาหิยะกราบทูลว่า ไม่เที่ยง

พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง

พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนพาหิยะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม

เบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส

ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ

สัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งใน

มโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย

ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว

ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๑๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะเป็นผู้ ๆ เดียว

หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว กระทำให้

แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็น

บรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้า

ถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำ

เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละท่านพระพาหิยะได้

เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ พาหิยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

อรรถกถาพาหิยสูตรที่ ๖

พาหิยสูตรที่ ๖ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาพาหิยสูตรที่ ๖

๗. ปฐมเอชสูตร

ว่าด้วยความหวั่นไหว

[ ๑๒๐ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

หวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจากลูกศร

อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึง

เป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุ

ไม่พึงสำคัญในจักษุ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุ ไม่พึงสำคัญว่าจักษุของเรา ไม่

พึงสำคัญซึ่งรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่รูป

ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่า รูปทั้งหลายของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ

ไม่พึงสำคัญในจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า

จักษุวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญในจักษุสัมผัส

ไม่พึงสำคัญแต่จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่า จักษุสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญ

ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส

เป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา.

๑. อรรถกถาสูตรที่ ๗-๘ แก้รวมไว้ท้ายสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส

เป็นปัจจัย ของเราไม่พึงสำคัญซึ่งโสตะ... ไม่พึงสำคัญซึ่งฆานะ... ไม่พึง

สำคัญซึ่งกาย . . . ไม่พึงสำคัญซึ่งใจ ไม่พึ่งสำคัญในใจ ไม่พึงสำคัญแต่ใจ

ไม่พึงสำคัญว่า ใจของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลาย . . . ไม่พึง

สำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่มโน-

วิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า มโนวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนสัมผัส

ไม่พึงสำคัญในมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่มโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่ามโน-

สัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส

เป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสิ่งทั้งปวง ไม่

พึงสำคัญในสิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญแต่สิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญว่า สิ่งทั้งปวง

ของเรา เธอนั้นเมื่อไม่สำคัญอย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่

ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับสนิทเฉพาะตนทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

[ ๑๒๑ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

หวั่นไหวเป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ตถาคตย่อมเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ปราศจาก

ลูกศร เพราะเหตุนั้นแล ถึงแม้ภิกษุก็พึงหวังว่าเราพึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหว

ปราศจากลูกศรอยู่.

จบ ปฐมเอชสูตรที่ ๗

๘. ทุติยเอชสูตร

ว่าด้วยไม่พึงสำคัญอะไร ๆ ว่าเป็นของเรา

[ ๑๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุ ไม่

พึงสำคัญในจักษุ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุของเรา ไม่พึง

สำคัญซึ่งรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่รูปทั้งหลาย

ไม่พึงสำคัญว่า รูปทั้งหลายของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ไม่พึง

สำคัญในจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุ-

วิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญในจักษุสัมผัส

ไม่พึงสำคัญแต่จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่า จักษุสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญ

ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส

เป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

เป็นปัจจัย ของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมสำคัญซึ่งสิ่งใด ย่อม

สำคัญในสิ่งใด ย่อมสำคัญแต่สิ่งใด ย่อมสำคัญว่า สิ่งใดของเรา สิ่งนั้น

ย่อมเป็นอย่างอื่นจากสิ่งนั้น โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้องอยู่ในภพ ย่อม

ยินดีภพนั่นแหละ ไม่พึงสำคัญซึ่งโสตะ ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งฆานะ ฯลฯ

ไม่พึงสำคัญซึ่งชิวหา ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งกาย ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งใจ ไม่

พึงสำคัญในใจ ไม่พึงสำคัญแต่ใจ ไม่พึงสำคัญว่า ใจของเรา ไม่พึงสำคัญ

ซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญ

แต่ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายของเรา ไม่

พึงสำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่มโน-

วิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า มโนวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนสัมผัส

ไม่พึงสำคัญในมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่มโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่า มโน-

สัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญ

แต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส

เป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ

ย่อมสำคัญซึ่งสิ่งใด ย่อมสำคัญในสิ่งใด ย่อมสำคัญแต่สิ่งใด ย่อมสำคัญว่า

สิ่งใดของเรา สิ่งนั้นย่อมเป็นอย่างอื่นจากสิ่งนั้น โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น

ข้องอยู่ในภพ ย่อมเพลิดเพลินภพนั่นแหละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่

พึงสำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญในขันธ์ ธาตุและอายตนะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

ไม่พึงสำคัญแต่ขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญว่า ขันธ์ ธาตุ และ

อายตนะของเรา เธอเมื่อไม่สำคัญอย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งอะไร ๆ ในโลก

เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับสนิทเฉพาะตนทีเดียว

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ทุติยเอชสูตรที่ ๘

อรรถกถาปฐมเอชสูตรที่ ๗- ทุติยเอชสูตรที่ ๘

ในปฐมเอชสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เอชา ได้แก่ ตัณหา. ตัณหา แม้นั้น ท่านเรียกว่า เอชา

เพราะอรรถว่า. หวั่นไหว. อนึ่ง เอชา นั้น ชื่อว่า โรคะ เพราะอรรถ

เบียดเบียน. ชื่อว่า คัณฑะ ฝี เพราะอรรถว่า ประทุษร้ายในภายใน.

ชื่อว่า สัลละ ลูกศร เพราะอรรถว่า ตัด. บทว่า ตสฺมา ความว่า

เพราะเหตุที่เอชา ชื่อว่า เป็นตัวตัณหา เป็นตัวโรค และเป็นลูกศร

ฉะนั้น. คำว่า จกฺขุ น มฺเยฺย เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

สูตรทั้งหมด ท่านจัดไว้ในหนหลังชักมาแสดงไว้แม้ในที่นี้. สูตรที่ ๘ มีนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถาปฐมเอชสูตรที่ ๗ - ทุติยเอชสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

๙. ปฐมทวยสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงส่วนสอง

[ ๑๒๓ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก

แสดงส่วนสองแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ส่วนสองเป็นไฉน คือ

จักษุกับรูป ๑ โสตะกับเสียง ๑ ฆานะกับกลิ่น ๑ ชิวหากับรส ๑ กาย

กับโผฏฐัพพะ ๑ ใจกับธรรมารมณ์ ๑ นี้เรียกว่าธรรมคู่ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกเลิกส่วนสองนั้นเสียแล้ว

จักบัญญัติส่วนสองเป็นอย่างอื่น วาจาของบุคคลนั้นกันให้เป็นเรื่องของ

เทวดา. ก็บุคคลนั้นถูกเขาถามเข้าแล้วก็อธิบายไม่ได้ และถึงความอึดอัด

ยิ่งขึ้น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย.

จบ ปฐมทวยสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมทวยสูตรที่ ๙

ปฐมทวยสูตรที่ ๙ คำว่า ทฺวย แปลว่า ส่วนสอง.

จบ อรรถกถาปฐมทวยสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยทวยสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงส่วนสอง

[๑๒๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิญญาณ

เกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสอง วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสองเป็น

อย่างไร จักษุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป จักษุไม่เที่ยง มีความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

แปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ

เป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความ

แปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น จักษุวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน

มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณก็ไม่

เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จักษุ

วิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยงจักเป็นของเที่ยงแต่ไหน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกันแห่งธรรม

ทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่าจักษุสัมผัส.

[ ๑๒๕ ] ถึงจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น

อย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความ

แปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ก็จักษุสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย

ปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา

อันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวย เจตนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด สัญญา

อันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านั้นก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้น

เพราะอาศัยลิ้นและรส ลิ้นไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น

รสไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้หวั่นไหว

และอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ชิวหาวิญญาณ

ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความ

เกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น

อย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

ปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

ประจวบ ความประชุม ความพร้อมกัน แห่งธรรมทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่า

ชิวหาสัมผัส.

[๑๒๖] แม้ชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ

เป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มี

ความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาสัมผัส

ที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวย เจตนาอันผัสสะ

กระทบแล้วย่อมคิด สัญญาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้

ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น

ฯลฯ มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ ใจไม่เที่ยง มี

ความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่เที่ยง มีความ

แปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้หวั่นไหวและอาพาธ

ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยง

มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง

มโนวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโน-

วิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่

ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกัน

แห่งธรรม ๓ ประการนี้แล เรียกว่ามโนสัมผัส.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

[ ๑๒๗ ] แม้มโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ

เป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มี

ความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มโนสัมผัส

ที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมเสวย เจตนาอันผัสสะ

กระทบแล้วย่อมคิด สัญญาอันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้

ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มโนวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยส่วนสอง ด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบ ทุติยทวยสูตรที่ ๑๐

ฉันนวรรคที่ ๔

อรรถกถาทุติยทวยสูตรที่ ๑๐

ในทุติยทวยสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อิตฺเถต ทฺวย เป็น เอวเมต ทฺวย แปลว่า ทั้ง ๒ นี้

ด้วยประการฉะนี้. บทว่า จลญฺเจว พฺยาธิญฺจ ความว่า ย่อมหวั่นไหว

และเจ็บป่วย เพราะไม่เป็นไปตามสภาวะของตน. บทว่า โยปิ เหตุ

โยปิ ปจฺจโย ความว่า วัตถุและอารมณ์ เป็นเหตุและเป็นปัจจัย แก่

จักขุวิญญาณ. บทว่า จกฺขุโต นิจฺจ ภวิสฺสติ ความว่า จักเป็นของเที่ยง

เพราะเหตุไร. เหมือนอย่างว่าบุตรผู้เกิดในท้องของทาสีของชายผู้เป็นทาส

ก็กลายเป็นทาสคนหนึ่งไป ฉันใด วัตถารมณ์ วัตถุและอารมณ์ ก็เป็นของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

ไม่เที่ยงเช่นนั้นเหมือนกัน. บทว่า สงฺคติ แปลว่า มาประจวบเข้า.

บทว่า สนฺนิปาโต ได้แก่ประชุมรวมกัน บทว่า สมวาโย ได้แก่มารวม

เป็นอันเดียวกัน. บทว่า อย วุจฺจติ จกฺขุสมฺผสฺโส ความว่า ความ

ประจวบด้วยปัจจัยนี้ คือ ชื่อว่าประจวบกัน ประชุมกัน มาพร้อมกัน

โดยชื่อว่าปัจจัยนั่นเอง เพราะเกิดด้วยปัจจัย กล่าวคือ ความประจวบ

ความประชุม และความมาพร้อมกัน นี้เรียกว่า จักขุสัมผัส. บทว่า

โสปิ เหตุ. ความว่า จักษุและอารมณ์ ขันธ์ ๓ ที่เป็นสหชาตธรรม

เป็นเหตุแห่งผัสสะ ธรรมดังว่ามานี้ เรียกว่า เหตุ. บทว่า ผสฺโส

เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ อธิบายว่า เวทนาย่อมเสวย

เจตนาย่อมคิด สัญญา ย่อมจำได้ ซึ่งอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้วเท่านั้น

บทว่า ผุฏฺโ ได้แก่บุคคลผู้พรั่งพร้อม ด้วยผัสสะ. เวทนาอันผัสสะ

ถูกต้องแล้ว ย่อมรู้ทั่วซึ่งอารมณ์เท่านั้น อธิบายว่า ย่อมคิดก็มี. ดังนั้น

ในพระสูตรนี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสขันธ์ ๓๐ ถ้วน. อย่างไร.

คือ อันดับแรก ในจักขุทวาร วัตถุ ( จักขุวัตถุ ) และอารมณ์ จัดเป็น

รูปขันธ์, ขันธ์ใด เสวย อารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้น ขันธ์นั้น

ชื่อว่า เวทนาขันธ์ ขันธ์ใดคิดอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว เหตุนั้น

ขันธ์นั้น ชื่อว่าสังขารขันธ์. ขันธ์ใด จำได้ซึ่งอารมณ์อันผัสสะถูกต้องแล้ว

เหตุนั้น ขันธ์นั้น ชื่อว่าสัญญาขันธ์, ขันธ์ใดรู้แจ้งซึ่งอารมณ์อันผัสสะ

ถูกต้องแล้ว เหตุนั้น ขันธ์นั้น ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ แม้ในทวารที่เหลือ

ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่แม้ในมโนทวาร วัตถุรูปจัดเป็นรูปขันธ์ โดย

ส่วนเดียว. เมื่ออารมณ์ คือ รูปมีอยู่ แม้อารมณ์ก็จัดเป็นรูปขันธ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

ดังนั้นจึงได้ขันธ์ ๕ ในทวาร ๖ รวมเป็นขันธ์ ๓๐ ถ้วน. แต่เมื่อว่า

โดยสังเขป สหชาตธรรมเหล่านี้ จัดเป็นขันธ์ ในทวารทั้ง ๖. เมื่อตรัส

ขันธ์ ๕ พร้อมด้วยปัจจัย ให้พิสดารว่า ไม่เที่ยง เป็นอันทรงแสดง

พระสูตรนี้ ตามอัธยาศัยของสัตว์ผู้จะตรัสรู้แล.

จบ อรรคกถาทุติยทวยสูตรที่ ๑๐

จบ ฉันนวรรค ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปโลกสูตร ๒. สุญญสูตร ๓. สังขิตตสูตร ๔. ฉันนสูตร

๕. ปุณณสูตร ๖. พาหิยสูตร ๗. ปฐมเอชสูตร ๘. ทุติยเอชสูตร

๙. ปฐมทวยสูตร ๑๐. ทุติทวยสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

ฉฬวรรคที่ ๕

๑. ปฐมสังคัยหสูตร

ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖

[ ๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคล

ไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้

ผัสสายตนะ ๖ ประการเป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย

มนะ ที่บุคคลไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำ

ทุกข์หนักมาให้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคล

ไม่ฝึกฝน ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สำรวมระวังแล้ว ย่อมนำทุกข์หนักมาให้.

[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้ ที่บุคคล

ฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้

ผัสสายตนะ ๖ เป็นไฉน คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มนะ

ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครองดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ ประการนี้แล ที่บุคคลฝึกฝนดี คุ้มครอง

ดี รักษาดี สำรวมระวังดีแล้ว ย่อมนำสุขมากมาให้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา

ประพันธ์ต่อไปอีกว่า.

[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัส-

สายตนะ ๖ นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะ

ใด ย่อมเข้าถึงทุกข์ บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวัง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

อายตนะเหล่านั้น บุคคลเหล่านั้น มีศรัทธาเป็น

เพื่อน ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่ บุคคลเห็นรูปที่

ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึงบรรเทาราคะ

ในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเคืองใจว่า รูปไม่น่ารัก

ของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ยินเสียง

ที่น่ารัก และเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่

น่ารัก และพึงบรรเทาความเคืองใจในเสียงที่ไม่น่ารัก

และไม่พึงเคืองใจว่า เสียงไม่น่ารักของเรา (เราได้

ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ดมกลิ่นที่ชอบใจ

อันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่สะอาด ไม่น่ารักใคร่

พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และ

ไม่พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ ได้ลิ้มรสที่อร่อย

เล็กน้อย และลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึง

ลิ้มรสที่อร่อยด้วยความติดใจ และไม่ควรยินร้าย

ในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย ถูกสัมผัสที่เป็นสุขกระทบ

เข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้าแล้ว

ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่าง ๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่

เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควร

ยินร้าย เพราะผัสสะอะไร ๆ นรชนทั้งหลายที่ทราม

ปัญญา มีความสำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า

ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

สัญญา ย่อมวนเวียนอยู่ ก็บุคคลบรรเทาใจ ที่

ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา

ใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดี

แล้วในอารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น

จิตของบุคคลนั้น อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว

ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหน ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว ย่อม

เป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและ

มรณะ.

จบ ปฐมสังคัยหสูตรที่ ๑

ฉฬวรรคที่ ๕

อรรถกถาปฐมสังคัยหสูตรที่ ๑

ในปฐมสังคัยหสูตรที่ ๑ ฉฬวรรคที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อทนฺตา แปลว่า ไม่ฝึกแล้ว. บทว่า อคุตฺตา เเปลว่า

ไม่คุ้มครองแล้ว. บทว่า อรกฺขิตา แปลว่า ไม่รักษาแล้ว บทว่า อสวุตา

แปลว่า ไม่ปิดแล้ว. บทว่า ทุกฺขาธิวาหา โหนฺติ ความว่า ย่อม

นำมาซึ่งทุกข์มีประมาณยิ่ง ต่างด้วยทุกข์ในนรกเป็นต้น. บทว่า สุขาธิ-

วาหา โหนฺติ ความว่า ย่อมนำมาซึ่งสุขมีประมาณยิ่ง ต่างด้วยฌาน และ

มรรค ผล. บาลีว่า อธิวาหา ดังนี้ก็มี. ความก็เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

บทว่า ฉเฬว แยกสนธิเป็น ฉ เอว. บทว่า อสวุโต ยตฺถ

ทุกฺข นิคจฺฉติ ความว่า บุคคลผู้เว้นจากการสำรวม ในอายตนะเหล่าใด

ย่อมถึงทุกข์. บทว่า เตสญฺจ เย สวรณ อเวทึสุ ความว่าชนเหล่าใด

ประสบคือได้ ความสำรวมอายตนะ เหล่านั้น. บทว่า วิหรนฺตานวสฺสุตา

ได้แก่ เป็นผู้อันราคะ ไม่ชุ่ม ไม่เปียกอยู่. บทว่า อสาทุ สาทุ ได้แก่

ไม่อร่อย และอร่อย.

บทว่า ผสฺสทฺวย สุขทุกฺข อุเปกฺเข ได้แก่ผัสสะในอุเบกขา

มี ๒ คือ สุขสัมผัส หรือ ทุกขสัมผัส อธิบายว่า พึงให้อุเบกขา เกิดขึ้นใน

ผัสสะ ๒ อย่างเดียว อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า ผสฺสทฺวย สุขทุกฺข อุเปกฺขา

(ผัสสะ ๒ สุขทุกข์ อุเปกขา ). อธิบายว่า สุขทุกข์ อุเบกขา มีผัสสะเป็น

เหตุ. บุคคลไม่ยังความยินดีให้เกิดขึ้นในสุข ไม่ยังความยินร้ายให้เกิดขึ้น

ในทุกข์ ก็พึงเป็นผู้อุเบกขาวางเฉย. บทว่า อนานุรุทฺโธ อวิรุทฺธ เกนจิ

ความว่า ไม่พึงยินดี ไม่พึงยินร้าย กับอารมณ์ไร ๆ.

บทว่า ปปญฺจสญฺา ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มีสัญญาเนิ่นช้า

เพราะกิเลสสัญญา. บทว่า อิตรีตรา นรา ได้แก่สัตว์ผู้ต่ำทราม. บทว่า

ปปญฺจยนฺตา อุปยนฺติ ความว่า ยินดีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า. ย่อมเข้า

ถึงวัฏฏะ บทว่า สญฺญิโน ได้แก่สัตว์ผู้มีสัญญา. บทว่า มโนมย

เคหสิตญฺจ สพฺพ ความว่า จิตสำเร็จด้วยใจอันอาศัยเรือนคือกามคุณ ๕

ทั้งปวงนั่นเอง. บทว่า ปนุชฺช แปลว่า บรรเทา คือนำออก. บทว่า

เนกฺขมฺมสิต อิริยติ ความว่า ภิกษุผู้เป็นชาติบัณฑิต ย่อมดำเนินจิต

อาศัยเนกขัมมะ. บทว่า ฉสฺสุ ยทา สุภาวิโต ความว่า คราวใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

ใจอบรมด้วยดีในอารมณ์ ๖. บทว่า ผุฏฺสฺส จิตฺต น วิกมฺปเต กฺวจิ

ความว่า หรือ เมื่อบุคคล ถูกสุขสัมผัสกระทบแล้ว จิตย่อมไม่หวั่นไม่ไหว

ในอารมณ์อะไร ๆ. บทว่า ภวถ ชาติมรณเสฺส ปารคา ความว่า จง

เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและชรา.

จบ อรรถกถาปฐมสังคัยหสูตรที่ ๑

๒. ทุติยสังคัยหสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่ออยู่ผู้เดียว

[๑๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตร มีความเพียร มีใจ

เด็ดเดี่ยว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอ

ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์.

โดยย่อที่ข้าพระองค์สดับแล้ว พึงเป็นผู้ ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท

มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

มาลุกยบุตร ในการที่เธอขอโอวาทนี้ในบัดนี้ เราจักบอกกะพวกภิกษุหนุ่ม

ทำไม ก็ท่านใดแก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ย่อม

ขอโอวาทโดยย่อ เราจักบอกแก่เธอนั้น.

[๑๓๒] มา. ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์แก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า

ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าขอ

พระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด ไฉนข้าพระองค์พึงรู้

ถึงพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงเป็นผู้ได้รับพระภาษิตของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

พ. ดูก่อนมาลุกยบุตร เรอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปที่

พึงรู้แจ้งด้วยจักษุเหล่าใด เธอไม่เห็นแล้ว ทั้งไม่เคยเห็นแล้ว ย่อมไม่เห็น

ในบัดนี้ด้วยความกำหนดว่า เราเห็น มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ

มีความกำหนัด หรือมีความรักในรูปเหล่านั้นหรือ.

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พ. เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหูเหล่าใด เธอไม่ได้ฟังแล้ว ทั้งไม่เคย

ได้ฟังแล้ว ย่อมไม่ได้ฟังในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ฟัง มิได้มี

แก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในเสียง

เหล่านั้นหรือ.

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พ. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูกเหล่าใด เธอไม่ได้ดมแล้ว ทั้งไม่เคย

ได้ดมแล้ว ย่อมไม่ได้ดมในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ดม มิได้มี

แก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมีความรักในกลิ่น

เหล่านั้นหรือ.

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พ. รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้นเหล่าใด เธอไม่ได้ลิ้มแล้ว ทั้งไม่เคยได้

ลิ้มแล้ว ย่อมไม่ได้ลิ้มในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เราได้ลิ้ม มิได้มีแก่เธอ

ด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในรสเหล่านั้นหรือ.

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พ. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกายเหล่าใด เธอไม่ได้ถูกต้องแล้ว

ทั้งไม่ได้เคยถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ได้ถูกต้องในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า

เราถูกต้อง มิได้มีแก่เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือมี

ความรักในโผฏฐัพพะเหล่านั้นหรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พ. ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจเหล่าใด เธอไม่ได้รู้แล้ว ทั้ง

ไม่ได้เคยรู้แล้ว ย่อมไม่รู้ในบัดนี้ด้วย ความกำหนดว่า เรารู้ มิได้มีแก่

เธอด้วย เธอมีความพอใจ มีความกำหนัด หรือความรักในธรรมารมณ์

เหล่านั้นหรือ.

มา. ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

[๑๓๓] พ. ดูก่อนมาลุกยบุตร ก็ในธรรมเหล่านั้น คือ รูปที่

ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่

ได้เห็นแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ในเสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็น

เพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ

ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจักเป็นเพียงแต่ได้รู้แจ้ง ดูก่อนมาลุกยบุตร ใน

ธรรมทั้งหลาย คือ รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ และ

ธรรมที่จะพึงรู้แจ้ง ในรูปที่ได้เห็นแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าเห็น ใน

เสียงที่ได้ฟังแล้ว เธอจักเป็นเพียงแต่ว่าได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว

เธอจักเป็นเพียงแต่ได้ทราบ ในธรรมที่ได้รู้แจ้ง เธอจักเป็นเพียงแต่ได้รู้

แจ้งแล้ว ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะ

ประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะ

ประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ ในกาลใด ในกาลนั้น เธอจักไม่พัวพัน

ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง ในอารมณ์ที่ได้ทราบ หรือจักไม่พัวพัน

ที่ได้รู้แจ้ง ดูก่อนมาลุกยบุตร ในโลกนี้ก็ไม่มี ในโลกอื่นก็ไม่มี ในระหว่าง

โลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

มา. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรม

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยย่อนี้ได้โดยพิสดารว่า

[๑๓๔] ลืมสติไปแล้วเพราะเห็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจ

ถึงรูปเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด เสวยอารมณ์นั้น

ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอัน

มีรูปเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอัน

อภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์

อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน

ลืมสติไปแล้ว เพราะได้ฟังเสียง บุคคลเมื่อใส่ใจ

ถึงเสียงเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์

นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนา

อันมีเสียงเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิต

อันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสม

ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน

ลืมสติไปแล้วเพราะได้ดมกลิ่น บุคคลเมื่อใส่ใจ

ถึงกลิ่นเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์

นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนา

อันมีกลิ่นเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิต

อันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสม

ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน

ลืมสติไปแล้วเพราะลิ้มรส บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งมี

ความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรส

เป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌา

และวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้

บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน ลืมสติไปแล้ว

เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะ บุคคลเมื่อใส่ใจถึงโผฏ-

ฐัพพะเป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น

ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมี

โผฏฐัพพะเป็นแดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิต

อันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อสั่งสม

ทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ห่างไกลนิพพาน

ลือสติไปแล้ว เพราะรู้ธรรมารมณ์ บุคคลเมื่อ

ใส่ใจถึงธรรมารมณ์เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัด

เสวยอารมณ์นั้น ทั้งมีความติดใจในอารมณ์นั้น

ตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีธรรมารมณ์เป็นแดนเกิดเป็น

อเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและวิหิงสาเข้าไป

กระทบ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า

ห่างไกลนิพพาน.

[๑๓๕] บุคคลนั้นเห็นรูปแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรูป

ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่

มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อเห็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

รูปและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสม

ทุกข์ โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป

โดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณ-

ฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน. บุคคลนั้นได้ฟังเสียง

แล้ว มีสติไม่กำหนัดในเสียงทั้งหลาย มีจิตคลาย

กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดในอารมณ์

นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อได้ฟังเสียงและเสวยเวทนา

อยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ โดยประการใด

บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป โดยประการนั้น

เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้

นิพพาน. บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นแล้วมีสติไม่

กำหนัดในกลิ่นทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวย

อารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่

บุคคลนั้นเมื่อดมกลิ่นและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้น

ไปและไม่สั่งสมทุกข์ โดยประการใด บุคคลนั้น

เป็นผู้มีสติเที่ยวไป โดยประการนั้น เมื่อไม่

สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิตกล่าวว่า ใกล้นิพพาน

บุคคลนั้น ลิ้มรสแล้ว มีสติไม่กำหนัดในรส

ทั้งหลาย มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้ง

ไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อ

ลิ้มรสและเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

ทุกข์ โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป

โดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมอยู่อย่างนี้ บัณฑิต

กล่าวว่า ใกล้นิพพาน. บุคคลนั้นถูกต้องผัสสะ

แล้ว มีจิตไม่กำหนัดในผัสสะทั้งหลาย มีจิต

คลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจ

อารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อถูกต้องผัสสะและ

เสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์ โดย

ประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป โดย

ประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิต

กล่าวว่า ใกล้นิพพาน. บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว

มีสติไม่กำหนัดในธรรมารมณ์ทั้งหลาย มีจิตคลาย

กำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้งไม่มีความติดใจ

อารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อรู้ธรรมารมณ์และ

เสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและไม่สั่งสมทุกข์

โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติเที่ยวไป โดย

ประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ บัณฑิต

กล่าวว่าใกล้นิพพาน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งธรรมที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร ด้วยประการนี้.

[๑๓๖] พ. ดูก่อนมาลุกยบุตร สาธุ ๆ เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่ง

ธรรมที่เรากล่าวโดยย่อได้โดยพิสดารดีอยู่แล ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

[๑๓๗] ลืมสติไปเพราะเป็นรูป บุคคลเมื่อใส่ใจถึงรูป

เป็นนิมิตที่รัก ก็มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น ทั้ง

มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ มีเวทนาอันมีรูปเป็น

แดนเกิดเป็นอเนกทวีขึ้น และมีจิตอันอภิชฌาและ

วิหิงสาเข้าไปกระทบ เมื่อบุคคลสั่งสมทุกข์อยู่

อย่างนี้ เรากล่าวว่าไกลนิพพาน ฯลฯ

[๑๓๘] บุคคลนั้นรู้ธรรมารมณ์แล้ว มีสติไม่กำหนัด

ในธรรมารมณ์ มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์นั้น

ทั้งไม่มีความติดใจอารมณ์นั้นตั้งอยู่ บุคคลนั้นเมื่อ

รู้ธรรมารมณ์และเสวยเวทนาอยู่ ทุกข์สิ้นไปและ

ไม่สั่งสมทุกข์ โดยประการใด บุคคลนั้นเป็นผู้มีสติ

เที่ยวไปโดยประการนั้น เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่าง

นี้ ฯลฯ เรากล่าวว่า ใกล้นิพพาน.

ดูก่อนมาลุกยบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมที่กล่าวแล้วโดย

ย่อนี้โดยพิสดารอย่างนี้แล.

[๑๓๙ ] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรชื่นชมยินดีพระภาษิต

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณ

แล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตรเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออก

จากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีจิตเด็ดเดี่ยว ไม่ช้าก็กระทำให้แจ้งซึ่ง

ท สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระมาลุกยบุตร ได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่ง

ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

จบ ทุติยสังคัยหสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยสังคัยหสูตรที่ ๒

ในทุติยสังคัยหสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มาลุกฺยปุตฺโต ได้แก่ บุตร ของนางมาลุกยพราหมณี.

บทว่า เอตฺถ ได้แก่ ในการขอโอวาทนั้นก่อน. ทรงติเตียนบ้าง ทรง

ปลอบบ้างซึ่งพระเถระด้วยเหตุนี้. อย่างไร. คือ ได้ยินว่า พระเถระนั้น

ในเวลาเป็นหนุ่ม มัวเมาในรูปารมณ์เป็นต้น ภายหลังในเวลาแก่ ปรารถนา

อยู่ป่า จึงขอกรรมฐาน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสโดยพระ-

ประสงค์ดังนี้ว่า เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่ม ๆ ในที่นี้ พวกเธอประมาทในเวลา

ที่เขาหนุ่ม ในเวลาแก่พึงเข้าป่ากระทำสมณธรรมเหมือน พระมาลุกยบุตร

ชื่อว่า ทรงติเตียนพระเถระ.

ก็เพราะเหตุที่พระเถระ ประสงค์จะเข้าป่าทำสมณธรรม แม้ใน

เวลาที่ตนแก่ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสโดยพระประสงค์ดังนี้ว่า

เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่ม ๆ ในที่นี้อย่างไร มาลุกยบุตรของเรานี้ แม้ใน

เวลาแก่ก็ประสงค์จะเข้าป่าทำสมณธรรม จึงขอกรรมฐาน ธรรมดาว่า

พวกท่านแม้ในเวลาเป็นหนุ่ม จะไม่กระทำความเพียรกันหรือ ชื่อว่า

ทรงปลอบพระเถระ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

บทว่า ยตฺร หิ นาม ได้แก่ โย นาม. บทว่า กิญฺจาปิห

ความว่า พระเถระเมื่อจะหมุน ความเป็นคนแก่ และสรรเสริญพระโอวาท

ด้วยมีประสงค์ว่า ทรงรู้ว่าเราเป็นคนแก่ก็จริง ถ้าเราเป็นคนแก่ ยังจัก

สามารถกระทำสมณธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด จึงได้กล่าวอย่างนั้น.

บทว่า อทิฏฺา อทิฏฺปุพฺพา ความว่า ไม่เห็นในอัตภาพนี้

แม้ในอัตภาพอันเป็นอดีตก็ไม่เคยเห็น. บทว่า น จ ปสฺสติ ความว่า

แม้ในบัดนี้ ท่านก็ไม่เห็น. ด้วยบทว่า น จ เต โหนฺติ ปสฺเสยฺย

ความว่า ทรงถามว่า แม้การรวบรวมใจอย่างนี้ไม่มีแก่ท่านในที่ใด ฉันทะ

เป็นต้นพึงเกิดแก่ท่านในที่นั้นบ้างหรือ.

บทว่า ทิฏฺเ ทิฏฺมตฺต ความว่า รูปายตนะ ที่จักขุวิญญาณ

เห็นแล้ว ก็จักเป็นสักว่าเห็น. จริงอยู่จักขุวิญญาณ ย่อมเห็นสักว่ารูปในรู

เท่านั้น ย่อมไม่เห็นสภาวะว่าเที่ยงเป็นต้น. อธิบายว่า รูปายตนะนี้

จักเป็นสักว่าอันเราเห็นแล้ว แม้ด้วยวิญญาณที่เหลือเท่านั้น. อีกนัยหนึ่ง

จักขุวิญญาณ ชื่อว่า เห็นแล้วในรูปที่เห็นแล้ว. อธิบายว่า ย่อมรู้แจ้งใน

รูปว่าเป็นรูป. บทว่า มตฺตา แปลว่า ประมาณ. ธรรมชาติ ชื่อว่า

ทิฏฐมัตตะ เพราะสักว่าเห็น ได้แก่จิต อธิบายว่า จิตของเรา จักเป็นเพียง

จักขุวิญญาณนั่นเอง. คำนี้ ท่านอธิบายไว้ว่า จักขุวิญญาณ ย่อมไม่กำหนัด

ไม่ขัดเคือง ไม่หลงในรูปารมณ์ที่มาปรากฏ โดยประการใด ชวนจิต

ก็จักเป็นเพียงจักขุวิญญาณเท่านั้น ในเพราะเว้นจากราคะเป็นต้น โดย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

ประการนั้น เราจักตั้งชวนจิต โดยสักว่าจักขุวิญญาณเท่านั้น. อีกอย่าง

หนึ่ง รูปที่จักขุวิญญาณเห็นแล้ว ชื่อว่า เห็นแล้ว (ทิฏฺ). เพราะเห็นแล้ว

ชื่อว่าสักว่าเห็น. จิต ๓ ดวง คือ สัมปฏิจฉนะ สันตีรณะ และโวฏฐัพพนะ

ที่เกิดขึ้นแล้วในเพราะการเห็นแล้วนั่นแหละ ก็ชื่อว่า ที่เห็นแล้วสักแต่ว่า

เห็น. ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า จักขุวิญญาณย่อมไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง

ไม่หลง ซึ่งรูปนั้นฉันใด เมื่อรูปมาสู่คลอง ( จักขุทวาร ) ก็ฉันนั้น เรา

จักให้ชวนจิตเกิดขึ้นโดยประมาณแห่งสัมปฏิจฉนจิตเป็นต้นนั้น นั่นเอง

ปรากฏ ไม่ให้ก้าวล่วงประมาณนั้นของสัมปฏิจฉนจิตเป็นต้นนั้นไป. เรา

จักไม่ให้ชวนะเกิดขึ้นด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้น. แม้ในคำว่า ได้ยิน

แล้ว (สุต) ทราบแล้ว (มุต) รู้สักว่ารู้ (วิญฺาเณ วิญฺาณมตฺต)

ก็นัยเดียวกันนี้. อารมณ์ที่มโนทวาราวัชชนะรู้แล้ว ชื่อว่า เป็นอันรู้แล้ว

(วิญฺาต) ในคำว่า วิญฺาเต วิญฺญาตมตฺต นี้ ชื่อว่า อาวัชชนะประมาณ

เพราะรู้แล้วก็สักว่ารู้แล้ว ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า เราจักไม่ให้จิตเกิดขึ้น

ด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้น แล้วตั้งจิตไว้โดยประมาณแห่งอาวัชชนะจิต

เท่านั้น โดยประการที่ชวนะจักไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง.

บทว่า ยโต แปลว่าในกาลใด. บทว่า ตโต แปลว่าในกาลนั้น.

บทว่า น เตน ความว่า จักเป็นผู้ไม่กำหนัดด้วยราคะไม่ขัดเคืองด้วยโทสะ

ไม่หลงด้วยโมหะนั้น. บทว่า ตโต ตฺว มาลุกฺยปุตฺต น ตตฺถ ความว่า

ในกาลใด ท่านจักเป็นผู้ไม่ชื่อว่ากำหนัดด้วยราคะ ไม่ขัดเคืองด้วยโทสะ

ไม่หลงด้วยโมหะ ในกาลนั้น ท่านจักเป็นผู้ไม่ชื่อว่า พัวพัน ติดอยู่ ตั้งอยู่

ในรูปารมณ์ ที่จักขุวิญญาณเห็นแล้ว ในสัททารมณ์ ที่โสตวิญญาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

ได้ยินแล้ว ในคันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ที่ฆานวิญญาณ

ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณทราบแล้ว และธรรมารมณ์ ที่มโนวิญญาณ

รู้แจ้งแล้ว. บทว่า เนวิธ เป็นต้น มีอรรถดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า สติ มุฏฺา ได้แก่ สติ หายไปแล้ว. บทว่า ตญฺจ

อชฺโฌสา ได้แก่ กลิ่นอารมณ์นั้น บทว่า อภิชฺฌา จ วิเหสา จ

ได้แก่ อภิชฌา ความเพ่งอยากได้และ วิเหสา ความคิดเบียดเบียน. อีก

อย่างหนึ่ง ๒ บทนั้น พึงประกอบเข้ากับบทว่า ตสฺส วฑฺฒนฺติ. อธิบายว่า

ธรรมทั้ง ๒ แม้นี้ คือ อภิชฌาและวิเหสา ย่อมเจริญแก่เขา.

บทว่า จิตฺตมสฺสูปหญฺติ ความว่า จิตของเขาย่อมถูกอภิชฌา

และวิเหสา เข้ากำจัด. บทว่า อาจินโต แปลว่า สั่งสมอยู่. บทว่า อารา

นิพฺพาน วุจฺจติ ความว่า ชื่อว่า นิพพานของบุคคลเห็นปานนี้ท่านกล่าวว่า

อยู่ไกล. บทว่า ฆาตฺวา แปลว่า สูดแล้ว. บทว่า โภตฺวา ได้แก่ บริโภค

แล้ว ลิ้มแล้ว เลียแล้ว บทว่า ผุสฺส แปลว่า ถูกต้องแล้ว ( กระทบ

แล้ว )

บทว่า ปฏิสฺสโต ได้แก่ประกอบด้วยสติ กล่าวคือ สติมั่นคง.

บทว่า เสวโต จาปิ เวทน ได้แก่ เสพอยู่ซึ่งเวทนาอันเป็นโลกุตตระ

ที่เกิดแล้ว อันสัมปยุตด้วยมรรค ๔. บทว่า ขิยฺยติ ได้แก่ถึงความสิ้นไป.

ข้อนั้นคืออะไร. คือ ทุกข์บ้าง กิเลสชาตบ้าง. บทว่า อญฺตโร ได้แก่

เป็นรูปหนึ่ง ในจำนวนพระอสีติมหาสาวก. ดังนั้น จึงตรัสเฉพาะวัฏฏะ

และวิวัฏฏะเท่านั้น แม้ด้วยพระคาถาทั้งหลายในพระสูตรนี้.

จบ อรรถกถาทุติยสังคัยหสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

๓. ปริทานสูตร

ว่าด้วยการเสื่อมจากกุศลธรรม

[ ๑๔๐ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก

แสดงปริหานธรรม อปริหานธรรม และอภิภายตนะ ๖ แก่เธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ก็ปริหานธรรมมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศล

บาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น

แก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นครอบงำ

ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นไป ไม่ให้มี ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เรา

ย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เป็นความเสื่อม ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความ

ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะ

ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความ

ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นครอบงำ ไม่ละ ไม่บรรเทา

ไม่ทำให้สิ้นไป ไม่ไห้มี ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรม

ทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นความเสื่อม ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ปริหานธรรมมีอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

ว่าด้วยความไม่เสื่อมจากกุศลธรรม

[ ๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานธรรมมีอย่างไร อกุศล

บาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้น

แก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นครอบงำ

ละ บรรเทา กำจัดให้สิ้นไป ไม่ให้มี ข้อนั้นภิกษุทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อม

จากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นความไม่

เสื่อม ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความ

ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะ

ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความ

ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะ

ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นครอบงำ ละ บรรเทา

กำจัดให้สิ้นไป ไม่ให้มี ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศล-

ธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อปริหานธรรมมีอย่างนี้แล.

ว่าด้วยอภิภายตนะ ๖

[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อภิภายตนะ ๖ เป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่าย

สังโยชน์ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ

ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความ

ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะ

ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ. ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำ

แล้ว อายตนะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ตูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เรากล่าวว่าอภิภายตนะ ๖.

จบ ปริหานสูตรที่ ๓

อรรถกถาปริหานสูตรที่ ๓

ในปริหานธรรมสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปริหานธมฺม ได้แก่ มีความเสื่อมไปเป็นสภาพ. บทว่า

อภิภายตนานิ ได้แก่ อายตนะอันอบรมยิ่งแล้ว. ในบทว่า สรสงฺกปฺปา

นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ . ชื่อว่า สรา เพราะ ซ่านไป อธิบายว่า แล่นไป.

ความดำริเหล่านั้นด้วย ซ่านไปด้วย ชื่อ สรสังกัปปา. บทว่า สญฺโ-

ชนิยา ได้แก่ อกุศลธรรมอันเป็นเครื่องผูก คือ เป็นปัจจัยแก่การผูกสัตว์

ไว้ในภพ. บทว่า ตญฺเจ ภิกฺขุ ได้แก่ ข้อนั้น คือ กิเลสชาตที่เกิดขึ้น

อย่างนี้ หรือได้แก่อารมณ์นั้น. บทว่า อธิวาเสสิ ได้แก่ ยกอารมณ์มา

ให้อยู่ในจิต. บทว่า นปฺปชหติ ได้แก่ ย่อมไม่ละ ด้วยการละฉันทราคะ

พึงประกอบกับบททั้งปวงอย่างนี้. บทว่า อภิภายตน นเหติ วุตฺต

ภควตา นี้ตรัสว่า อภิภายตนะนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอบรมยิ่ง

แล้ว. ในที่นี่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงถามจำแนกธรรม จึงทรงแสดง

ถึงธรรมโดยปุคคลาธิษฐาน.

จบ อรรถกถาปริหานธรรมสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

๔. ปมาทวิหารีสูตร

ว่าด้วยผู้อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท

[ ๑๔๓ ] กรุงสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภิกษุผู้อยู่ด้วยความประมาท และภิกษุผู้อยู่ด้วย

ความไม่ประมาท เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ก็ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไป

ในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็ไม่มี

เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี เมื่อปัสสัทธิไม่มี

ภิกษุนั้นก็อยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้มีความลำบาก ย่อมไม่ตั้งมั่น เมื่อจิต

ไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ

ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุ

ไม่สำรวมชิวหินทรีย์ จิตย่อมแส่ไปในรสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น เมื่อ

ภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ฯลฯ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความ

ประมาทแท้จริง ฯลฯ ภิกษุไม่สำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตย่อมแส่ไปใน

ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุมีจิตแส่ไปแล้ว ปราโมทย์

ก็ไม่มี เมื่อปราโมทย์ไม่มี ปีติก็ไม่มี เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิก็ไม่มี

เมื่อปัสสัทธิไม่มี ภิกษุนั้นก็อยู่ลำบาก จิตของภิกษุผู้มีความลำบากย่อมไม่

ตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลาย

ไม่ปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทแท้จริง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

[ ๑๔๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท

อย่างไร ภิกษุสำรวมจักขุนทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้ง

ด้วยจักษุ ภิกษุนั้นมีจิตไม่แส่ไปแล้ว ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์

แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ ภิกษุผู้มีกายสงบ ก็อยู่สบาย

จิตของภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ

เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้นก็ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความ

ไม่ประมาทแท้จริง ฯลฯ เมื่อภิกษุสำรวมชิวหินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่แส่ไปใน

รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ เมื่อภิกษุสำรวมมนินทรีย์อยู่ จิตก็ไม่

แส่ไปในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ ภิกษุมีจิตไม่แส่ไปแล้ว

ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อใจเกิดปีติ กายก็สงบ

ภิกษุผู้มีกายสงบแล้ว ก็อยู่สบาย จิตของภิกษุผู้มีความสุขก็ตั้งมั่น เมื่อจิต

ตั้งมั่นแล้ว ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ภิกษุนั้น

ถึงความนับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท ด้วยประกาวฉะนี้.

จบ ปมาทวิหารีสูตรที่ ๔

อรรถกถาปมาทวิหารีสูตรที่ ๔

ในปมาทวิหารีสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อสวุตสฺส ได้แก่ ไม่ปิด มิใช่ปิดแล้วสำรวมแล้วตั้งไว้.

บทว่า พฺยาสิจฺจติ ได้แก่ ย่อมซึมซาบ คือ ชุ่มด้วยกิเลสเป็นไปอยู่.

บทว่า ปามุชฺช ได้แก่ ปีติมีกำลังอ่อน. บทว่า ปีติ ได้แก่ ปีติ มีกำลังแรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

บทว่า ปสฺสทฺธิ ได้แก่ ความระงับความกระวนกระวาย. บทว่า ธมฺมา น

ปาตุภวนฺติ ได้แก่ ธรรม คือ สมถ และ วิปัสสนา ย่อมไม่เกิดขึ้น

ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถามจำแนกบุคคล จึงแสดง

ถึงบุคคล โดยธรรมาธิษฐาน.

จบ อรรถกถาปมาทวิหารีสูตรที่ ๔

๕. สังวรสูตร

ว่าด้วยการสำรวมและไม่สำรวม

[๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสังวรและอสังวรแก่

เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสังวรมีอย่างไร

รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก

อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุยินดีสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น

ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น

อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด

มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี

สรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อม

จากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นความเสื่อม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวรมีด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

[1๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรมีอย่างไร ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี

ไม่สรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อม

จากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นความไม่

เสื่อม ฯลฯ รสทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ทั้งหลายที่

พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่

ชวนให้กำหนัดมีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่สรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น

ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย ดังนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวร

มีด้วยประการฉะนี้

จบ สังวรสูตรที่ ๕

อรรถกถาสังวรสูตรที่ ๕

ในสังวรสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กถญฺจ ภิกฺขเว อสวโร นี้ พึงทราบว่า มิได้ตรัสเฉพาะ

บุคคลผู้ชี้หนทาง แต่ตรัสด้วยอำนาจธรรมที่ควรละก่อน เพราะทรงเป็น

ผู้ฉลาดในวิธีเทศนา เหมือนบุคคลผู้ฉลาดในหนทางบอกทางที่ควรละก่อน

ว่า จงปล่อยทางซ้าย ถือเอาทางขวา. ในพระสูตรนี้ พระองค์ตรัสถาม

ธรรมแล้ว ทรงจำแนกธรรม.

จบ อรรถกถาสังวรสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

๖. สมาธิสูตร

ว่าด้วยสมาธิ

[ ๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง รู้อะไร

ตามความเป็นจริง. รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุไม่เที่ยง รู้ตามความเป็น

จริงว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุวิญญาณไม่เที่ยง

รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่เที่ยง ฯลฯ รู้ตามความเป็นจริงว่า ใจไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า

ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนวิญญาณไม่เที่ยง

รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง.

จบ สมาธิสูตรที่ ๖

อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๖

ในสมาธิสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมาธิ ได้แก่ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง. จริงอยู่

พระองค์เห็นบุคคลผู้เสื่อมจากความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทรงรู้ว่า

เมื่อคนเหล่านี้ ได้ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานจักต้องมีพี่เลี้ยง

นางนมดังนี้แล้ว จึงตรัสพระสูตรนี้.

จบ อรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

๗. ปฏิสัลลีนสูตร

ว่าด้วยการอยู่ในที่สงัด

[ ๑๔๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่ออยู่ในที่สงัด จง

ประกอบความเพียรเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัดย่อมรู้ตาม

ความเป็นจริง. รู้อะไรตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุไม่

เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง. รู้ตามความเป็นจริงว่า

จักษุวิญญาณไม่เที่ยง. รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุสัมผัสไม่เที่ยง. รู้ตาม

ความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกข์เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น

เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ฯลฯ รู้ตามความเป็นจริงว่า ใจไม่เที่ยง

รู้ตามความเป็นจริงว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า

มโนวิญญาณไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความ

เป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ

มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย เมื่ออยู่

ในที่สงัด จงประกอบความเพียรเถิด ภิกษุผู้อยู่ในที่สงัด ย่อมรู้ตามความ

เป็นจริง.

จบ ปฏิสัลลีนสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฏิสัลลีนสูตรที่ ๗

ในปฏิสัลลีนสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปฏิสลฺลาน ได้แก่ กายวิเวก. จริงอยู่ พระองค์ทรงเห็น

บุคคลผู้เสื่อมจากกายวิเวก ทรงทราบว่า เมื่อคนเหล่านี้ได้กายวิเวก

กรรมฐานจักต้องมีพี่เลี้ยงนางนมดังนี้แล้ว จึงตรัสพระสูตรนี้.

จบ อรรถกถาปฏิสัลลีนสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

๘. ปฐมนตุมหากสูตร

ว่าด้วยการละสิ่งที่ไม่ใช่ของตน

[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์

เพื่อความสุข. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเล่าไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย จักษุ

ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นเธอทั้งหลาย

ละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข. รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อ

ประโยชน์ เพื่อความสุข. จักษุวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงละจักษุวิญญาณนั้นเสีย จักษุวิญญาณนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมี

เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข. จักษุสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงละจักษุสัมผัสนั้นเสีย จักษุสัมผัสนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว

จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-

สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นเสีย

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว

จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ฯลฯ ใจไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย ใจนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์

เพื่อความสุข. ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข. มโนวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงละมโนวิญญาณนั้นเสีย มโนวิญญาณนั้นเธอทั้งหลายละเสีย

แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข. มโนสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงละมโนสัมผัสนั้นเสีย มโนสัมผัสนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว

จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-

สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นเสีย

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว

จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญ้า ไม้ กิ่งไม้

และใบไม้ อันมีที่วิหารเชตวันนี้ หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ชนขนไปบ้าง

เผาเสียบ้าง ทำให้เป็นไปตามปัจจัยบ้าง เธอทั้งหลายมีความคิดอย่างนี้

บ้างไหมว่า เราทั้งหลาย ชนขนไปบ้าง เผาเสียบ้าง ทำให้เป็นไปตาม

ปัจจัยบ้างซึ่งเรา.

ภิ. ข้อนั้นไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร.

ภิ. เพราะหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้นั้น ไม่ใช่ตน หรือไม่ใช่

ของแห่งตนของข้าพระองค์ทั้งหลาย พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้นฉันใด ข้อนี้ก็เป็นฉันนั้นแหละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

จักษุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นเธอ

ทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข. รูปไม่ใช่ของเธอ

ทั้งหลาย. . . จักษุวิญญาณ. . . จักษุสัมผัส. . . สุขเวทนา ทุกขเวทนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

นั้นเสีย สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลาย

ละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข.

จบ ปฐมนตุมหากสูตรที่ ๘

อรรถกถาปฐมนตุมหากสูตรที่ ๘

เมื่อพระองค์ตรัสแวดล้อมด้วยอุปมาจึงตรัส สูตรที่ ๘ ด้วยอำนาจ

ของสัตว์ผู้จะตรัสรู้.

จบ อรรถกถาปฐมนตุมหากสูตรที่ ๘

๙. ทุติยนตุมหากสูตร

ว่าด้วยการละสิ่งที่ไม่ใช่ของตน

[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อ

ประโยชน์ เพื่อความสุข. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งไรเล่าไม่ใช่ของเธอ

ทั้งหลาย จักษุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุ

นั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข. รูปไม่ใช่

ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นเธอทั้งหลายละเสีย

แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข. จักษุวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงละจักษุวิญญาณนั้นเสีย จักษุวิญญาณนั้นเธอทั้งหลายละเสีย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข. จักษุสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงละจักษุสัมผัสนั้นเสีย จักษุสัมผัสนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว

จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม-

สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นเสีย

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว

จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ฯลฯ. ใจไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย ใจนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์

เพื่อความสุข. ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อ

ประโยชน์ เพื่อความสุข. มโนวิญญาณไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงละมโนวิญญาณนั้นเสีย มโนวิญญาณนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมี

เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข มโนสัมผัสไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงละมโนสัมผัสนั้นเสีย มโนสัมผัสนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมี

เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข. สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงละสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้นเสีย สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนานั้น เธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อ

ประโยชน์เพื่อความสุข. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นเธอทั้งหลายละเสียแล้ว จักมีเพื่อ

ประโยชน์ เพื่อความสุข.

จบ ทุติยนตุมหากสูตรที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

อรรถกถาทุติยนตุมหากสูตรที่ ๙

นตุมหากสูตรที่ ๙ ตรัสด้วยอัธยาศัยของบุคคลผู้จะตรัสรู้ ด้วย

อำนาจข้อธรรมล้วน ๆ อย่างเดียว. ส่วนเนื้อความแม้ในสูตรทั้งสองพึง

ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในขันธิกวรรคนั่นแล.

จบ อรรถกถาทุติยนตุมหากสูตรที่ ๙

๑๐. อุททกสูตร

ว่าด้วยอุททกดาบส

[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า อุททกดาบสรามบุตร

ย่อมกล่าววาจาอย่างนี้ว่า เราขอบอก เราเป็นผู้จบเวทโดยส่วนเดียว

เราขอบอก เราเป็นผู้ชนะทุกอย่างโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราขุด

เสียแล้วซึ่งมูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้โดยส่วนเดียว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อุททกดาบสรามบุตรยังเป็นผู้ไม่จบเวทก็กล่าวว่าเราเป็นผู้จบเวท

ยังเป็นผู้ไม่ชนะทุกอย่าง ก็กล่าวว่าเราเป็นผู้ชนะทุกอย่าง ยังไม่ได้ขุด

มูลรากแห่งทุกข์ ก็กล่าวว่า เราขุดมูลรากแห่งทุกข์ได้แล้ว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเมื่อจะกล่าวข้อนั้นโดยชอบ ควรกล่าวว่า เราขอบอก

เราเป็นผู้จบเวทโดยส่วนเดียว เราขอบอก เราเป็นผู้ชนะทุกอย่างโดย

ส่วนเดียว เราขอบอก เราขุดมูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้โดยส่วนเดียว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้จบเวทอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุย่อมรู้ตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย

เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้จบ

เวทอย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้ชนะทุกอย่างอย่างไร ภิกษุรู้แจ้งตามความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

เป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออก

แห่งผัสสายตนะ ๖ เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น ภิกษุย่อมเป็น

ผู้ชนะทุกอย่างอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุด

ไม่ได้ อันภิกษุขุดได้แล้วอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า " คัณฑะ"

นี้ เป็นชื่อของกายนี้ อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาบิดา

เป็นแดนเกิด เติบโตขึ้นเพราะข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องขัดสี

นวดฟั้น แตกสลายกระจัดกระจายเป็นธรรมดา คำว่า " คัณฑมูล" นี้

เป็นชื่อของตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาภิกษุละเสียแล้ว ให้มีราก

ขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่เกิดขึ้นต่อไป

เป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งทุกข์ที่ใคร ๆ ขุดไม่ได้

ภิกษุขุดเสียแล้วอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า อุททกดาบส-

รามบุตร ย่อมกล่าววาจาอย่างนี้ว่า เราขอบอก เราเป็นผู้จบเวทโดย

ส่วนเดียว เราขอบอก เราชนะทุกอย่างโดยส่วนเดียว เราขอบอก

เราขุดเสียแล้วซึ่งมูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้โดยส่วนเดียว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อุททกดาบสรามบุตรยังเป็นผู้ไม่จบเวท ก็กล่าวว่า เราเป็นผู้จบเวท

ยังไม่เป็นผู้ชนะทุกอย่าง ก็กล่าวว่า เราชนะทุกอย่าง ยังขุดมูลรากแห่งทุกข์

ไม่ได้. ก็กล่าวว่า เราขุดมูลรากแห่งทุกข์เสียแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเมื่อจะกล่าวข้อนี้โดยชอบ ควรกล่าวว่า เราขอบอก เราเป็นผู้จบเวท

โดยส่วนเดียว เราขอบอก เราเป็นผู้ชนะทุกอย่างโดยส่วนเดียว เราขอบอก

เราขุดมูลรากแห่งทุกข์ที่ใครขุดไม่ได้โดยส่วนเดียว.

จบ อุททกสูตรที่ ๑๐

จบ ฉฬวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

อรรถกถาอุททกสูตรที่ ๑๐

ในอุททกสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ศัพท์ว่า สุท ในบทว่า อุทโก สุท นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า

อุทโก เป็นชื่อของสูตรนั้น. บทว่า อิท ในบทว่า อิท ชาตุ เวทคู นี้

เป็นเพียงนิบาต. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อทรงแสดงว่า ท่านจงฟังคำของเรานี้

จึงได้ตรัสอย่างนั้น. บทว่า ชาตุ เวทคู ความว่า เราจบเวทโดยส่วนเดียว

อธิบายว่า ไปในเวไนยสัตว์ ด้วยญาณกล่าวคือ เวท หรือถึง คือ บรรลุเวท

เป็นบัณฑิต. ด้วยบทว่า ปพฺพชิ ตรัสว่า เรารู้ ครอบงำ วัฏฏะทั้งปวง

แล้วชนะโดยส่วนเดียว. บทว่า อปลิขต คณฺฑมูล ได้แก่ รากทุกข์

ยังไม่ได้ขุด. ด้วยบทว่า ปริขณึ ทรงแสดงว่า เราขุดรากทุกข์ที่ขุดแล้ว

ตั้งอยู่.

บทว่า มาตาเปตฺติกสมฺภวสฺส ได้แก่ เกิดด้วยเลือดสุกกะ (ขาว)

ซึ่งแบ่งจากมารดาและบิดา คือ ของมารดาบิดา. บทว่า โอทนกุมฺมาสูป-

จยสฺส ได้แก่ ก่อสร้างด้วยข้าวสุกและขนมสด. ในบทว่า อนิจฺจุจฺฉาทน-

ปริมทฺทนเภทนวิทฺธสนธมฺมสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

กายนี้ ชื่อว่า มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา เพราะมีแล้วกลับไม่มี

ชื่อว่า อบเป็นธรรมดา เพราะลูบไล้ด้วยของหอม เพื่อประโยชน์แก่การ

กำจัดกลิ่นเหม็น, ชื่อว่า มีการอาบนวดเป็นธรรมดา เพราะใช้น้ำและนวด

เพื่อประโยชน์จะบรรเทาความเจ็บปวดอวัยวะน้อยใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า มีการประคบประหงมเป็นธรรมดา โดยหยอดยาตาการดัดเป็นต้น

เพื่อความสมบูรณ์แก่ทรวดทรงแห่งอวัยวะนั้น ๆ ที่ทรวดทรงไม่ดี เพราะอยู่

ในครรภ์ คลอดแล้วก็ให้อยู่ที่ระหว่างขาเวลาเป็นทารก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

กาย แม้เขาบริหารอย่างนี้ ก็แตกกายกระจัดกระจายเป็นธรรมดา

เพราะเหตุนั้นกายจึงต้องแตกและเรี่ยรายไป อธิบายว่า มีสภาวะเป็นอย่าง

นั้น. ในพระสูตรนั้น ตรัสถึงความเจริญด้วยบทว่า กาย เกิดแต่มารดาบิดา

การเติบโตด้วย ข้าวสุกและขนมสด และการประคบประหงม. ตรัสถึง

ความเสื่อมด้วยบทว่าไม่เที่ยง แตก และการกระจัดกระจาย อีกอย่างหนึ่ง

ตรัสการเกิดขึ้นด้วยบทก่อน ๆ และการดับไปด้วยบทหลัง ๆ. ทรงแสดง

ความต่างแห่งการเจริญ การเสื่อมและการบังเกิดแห่งกาย ซึ่งประชุมด้วย

มหาภูตรูป ๔ ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาอุททกสูตรที่ ๑๐

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมสังคัยหสูตร ๒. ทุติยสังคัยหสูตร ๓. ปริหานสูตร

๔. ปมาทวิหารสูตร ๕. สังวรสูตร ๖. สมาธิสูตร ๗ ปฏิสัลลีนสูตร

๘. ปฐมนตุมหากสูตร ๙. ทุติยนตุมหากสูตร ๑๐. อุททกสูตร

รวมวรรคที่มีในทุติยปัณณาสก์ คือ

๑. อวิชชาวรรค ๒. มิคชาลวรรค ๓. คิลานวรรค ๔. ฉันนวรรค

๕. ฉฬวรรค.

จบ ฉฬวรรคที่ ๕

จบ ทุติยปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

๓. ตติยปัณณาสก์

โยคักเขมีวรรคที่ ๑

๑. โยคักเขมีสูตร

ว่าด้วยผู้เกษมจากโยคะ

[ ๑๕๒ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันเป็น

เหตุแห่งบุคคลผู้เกษมจากโยคะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรม-

ปริยายอันเป็นเหตุแห่งบุคคลผู้เกษมจากโยคะเป็นไฉน ธรรมปริยายอัน

เป็นเหตุแห่งบุคคลผู้เกษมจากโยคะนั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด

อันตถาคตละได้แล้ว ถอนรากขึ้นหมดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน

ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตได้บอกความเพียร

ที่ควรประกอบเพื่อละรูปเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ตถาคต บัณฑิตจึง

เรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก อาศัยความใคร่ ชวนได้กำหนัด

อันตถาคตละได้แล้ว ถอนรากขึ้นหมดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน

ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตได้บอกความเพียรที่ควร

ประกอบเพื่อละธรรมารมณ์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ตถาคต บัณฑิตจึง

เรียกว่าผู้เกษมจากโยคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลธรรมปริยายอันเป็น

เหตุแห่งบุคคลผู้เกษมจากโยคะ.

จบ โยคักเขมีสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

ตติยปัณณาสก์

โยคักเขมีวรรคที่ ๑

อรรถกถาโยคักเขมีสูตรที่ ๑

โยคักเขมีวรรค โยคักเขมีสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โยคกฺเขมปริยาย ได้แก่เป็นธรรมปริยาย อันเป็นเหตุ

ของบุคคลผู้มีความเกษมจากโยคะ. บทว่า ธมฺมปริยาย แปลว่า เป็นเหตุ

แห่งธรรม. บทว่า อกฺขาสิ โยค ได้แก่ กล่าวความประกอบ บทว่า

ตสฺมา ได้แก่ เพราะเหตุที่ทรงเป็นผู้เกษมจากโยคะ เพราะเรียกเอาเอง

หรือเพราะละโยคะได้ เพราะละโยคะได้ มิใช่มีเพราะเรียกเอาเองฉะนั้น.

จบ อรรถกถาโยคักเขมีสูตรที่ ๑

๒. อุปาทายสูตร

ว่าด้วยความสุขความทุกข์อาศัยอะไรเกิด

[๑๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

อะไรมี สุขและทุกข์อันเป็นภายในอาศัยอะไรเกิดขึ้น.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายของพวก

ข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมี สุขและทุกข์ที่เป็นภายใน

อาศัยจักษุเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อใจมี สุขและทุกข์ที่เป็นภายในอาศัยใจเกิดขึ้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง

หรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ . ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุข

สละทุกข์อันเป็นภายใน ไม่อาศัยสิ่งนั้นพึงเกิดขึ้นหรือ.

ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สุข

และทุกข์อันเป็นภายใน ไม่อาศัยสิ่งนั้นพึงเกิดขึ้นหรือ.

ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม

เบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ฯลฯ ทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า

หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ อุปาทายสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

อรรถกถาอุปาทายสูตรที่ ๒

ในอุปาทายสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสุขและทุกข์ฝ่ายเวทนา. แต่สุขและทุกข์

ฝ่ายเวทนานั้น เป็นสุขและทุกข์ ฝ่ายวิบาก จึงจะควร.

จบ อรรถกถาอุปาทายสูตรที่ ๒

๓. ทุกขสูตร

ว่าด้วยความเกิดและความดับแห่งทุกข์

[๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับ

แห่งทุกข์ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งทุกข์เป็นไฉน ความเกิดแห่ง

ทุกข์นั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรมทั้ง ๓ ประการ

เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

จึงเกิดตัณหา นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์

เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา นี้แลเป็นความเกิด

แห่งทุกข์.

[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งทุกข์เป็นไฉน ความ

ดับแห่งทุกข์นั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม

๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จงเกิดเวทนา เพราะเวทนา

เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส

จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้แลเป็น

ความดับแห่งทุกข์ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวม

ธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะ

เวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดย

ไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ

ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการ

อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งทุกข์.

จบ ทุกขสูตรที่ ๓

อรรถกถาทุกขสูตรที่ ๓

ในทุกขสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ ทุกข์ในวัฏฏะ.

จบ อรรถกถาทุกขสูตรที่ ๓

๔. โลกสูตร

ว่าด้วยความเกิดและความดับแห่งโลก

[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความเกิดและความดับ

แห่งโลก เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ความเกิดแห่งโลกเป็นไฉน ความเกิดแห่ง

โลกนั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทาน

เป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติ

เป็นปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ

อุปายาสนี้เป็นความเกิดแห่งโลก ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์เกิดมโน-

วิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิด

เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย

จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาสจึงเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความเกิด

แห่งโลก.

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งโลกเป็นไฉน ความ

ดับแห่งโลกนั้น คือ อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓

ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา

เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ

อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส

จึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ นี้เป็น

ความดับแห่งโลก ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญาณ รวมธรรม

๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนา

เป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ

อุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความดับแห่งโลก.

จบ โลกสูตรที่ ๔

อรรถกถาโลกสูตรที่ ๔

ในโลกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โลกสฺส ได้แก่สังขารโลก.

จบ อรรถกถาโลกสูตรที่ ๔

๕. เสยยสูตร

ว่าด้วยอะไรทำให้ประเสริฐกว่ากัน

[ ๑๕๘ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่ออะไรมีเพราะยึดมั่นอะไร ถือมั่นอะไร จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐ

กว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลาย

ของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมี เพราะยึดมั่นจักษุ ถือมั่นจักษุ

จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

เมื่อใจมี เพราะยึดมั่นใจ ถือมั่นใจ จึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่า

เขาเสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ไม่ยึดมั่นสิ่งนั้นแล้ว จะพึงมีความสำคัญตนว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา

เสมอเขา หรือว่าเลวกว่าเขา บ้างหรือหนอ.

ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ไม่ยืดมั่นสิ่งนั่นแล้ว จะพึงมีความสำคัญตนว่า ประเสริฐกว่าเขา เสมอเขา

หรือว่าเลวกว่าเขา บ้างหรือหนอ.

ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ฯลฯ ทั้งในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า

หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

จบ เสยยสูตรที่ ๕

อรรถกถาเสยยสูตรที่ ๕

คำที่จะพึงกล่าวในเสยยสูตรที่ ๕ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วใน

ขันธิยวรรคนั่นแล.

จบ อรรถกถาเสยยสูตรที่ ๕

จบ โยคักเขมีวรรคที่ ๑

๖. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยเหตุแห่งสังโยชน์

[ ๑๕๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่ง

สังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์

และสังโยชน์เป็นไฉน ธรรมที่เป็นเหตุแห่งสังโยชน์และสังโยชน์นั้น คือ

จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความ

พอใจในจักษุนั้น เป็นสังโยชน์ในจักษุนั้น ฯลฯ ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุ

แห่งสังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในใจนั้น เป็นสังโยชน์

ในใจนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งสังโยชน์

และสังโยชน์.

จบ สังโยชนสูตรที่ ๖

๑. ตั้งแต่สูตรที่ ๖-๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

๗. อุปาทานสูตร

ว่าด้วยเหตุแห่งอุปาทาน

[ ๑๖๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเป็นเหตุแห่ง

อุปาทานและอุปาทาน เธอทั้งหลายจงพึง ก็ธรรมที่เป็นเหตุแห่งอุปาทาน

และอุปาทานเป็นไฉน ธรรมที่เป็นเหตุแห่งอุปาทานและอุปาทานนั้น คือ

จักษุเป็นธรรมอันเป็นเหตุแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความ

พอใจในจักษุนั้น เป็นอุปาทานในจักษุนั้น ฯลฯ ใจเป็นธรรมอันเป็นเหตุ

แห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในใจนั้น เป็นอุปาทาน

ในใจนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ธรรมเป็นเหตุแห่งอุปาทาน

และอุปาทาน.

จบ อุปาทานสูตรที่ ๗

๘. ปฐมอปริชานสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่รู้ไม่สิ้นทุกข์ผู้รู้ย่อมสิ้นทุกข์

[๑๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย

ไม่ละจักษุ ย่อมไม่ควรสิ้นทุกข์ ฯลฯ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย

ไม่ละใจ ย่อมไม่ควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลรู้ยิ่งกำหนดรู้

หน่าย ละจักษุ ย่อมควรสิ้นทุกข์ ฯลฯ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย ละใจ

ย่อมควรสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย

ไม่ละรูป ย่อมไม่ควรสิ้นทุกข์ บุคคลไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้ ไม่หน่าย ไม่ละ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ย่อมไม่ควรสิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง

กำหนดรู้ หน่าย ละรูป ย่อมควรสิ้นทุกข์ บุคคลรู้ยิ่ง กำหนดรู้ หน่าย

ละเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ย่อมควรสิ้นทุกข์.

จบ ปฐมอปริชานสูตรที่ ๘

๙. ทุติยอปริชานสูตร

ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์

[๑๖๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระตำหนัก

ซึ่งก่ออิฐด้วยกระเบื้อง ของหมู่พระประยูรญาติ ครั้งนั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับพักอยู่ในที่สงัด ได้ทรงภาษิตธรรมปริยายนี้ว่า อาศัย

จักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึง

เกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรา

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์

เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย

จึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัย

จึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี

ด้วยอาการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

[ ๑๖๓ ] อาศัยจักษุและรูป เกิดจักขุวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการ

เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหานั้นและดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทาน

จึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะ

ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ อาศัยใจ

และธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการเป็นผัสสะ เพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา

เพราะตัณหานั้นแลดับเพราะสำรอกโดยไม่เหลือ อุปาทานจึงดับ เพราะ

อุปาทานดับ ภพที่ดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับ

แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

จบ ทุติยอปริชานสูตรที่ ๙

๑๐. อุปัสสุติสูตร

ว่าด้วยปริยัติธรรมเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์

[๑๖๔] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งยืนแอบฟังพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้นแล้ว ตรัสถามเธอว่า ดูก่อน

ภิกษุ เธอได้ฟังธรรมปริยายนี้แล้วหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ได้ฟังแล้ว

พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

พ. ดูก่อนภิกษุ เธอจงเรียน จงเล่าเรียน จงทรงจำธรรมปริยายนี้

ไว้เถิด เพราะว่าธรรมปริยายนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่ง

พรหมจรรย์.

จบ อุปัสสุติสูตรที่ ๑๐

จบ โยคักเขมีวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โยคักเขมีสูตร ๒. อุปาทายสูตร ๓. ทุกขสูตร ๔. โลกสูตร

๕. เสยยสูตร ๖. สังโยชนสูตร ๗. อุปาทานสูตร ๘. ปฐมอปริชาน-

สูตร ๙. ทุติยอปริชานสูตร ๑๐. อุปัสสุติสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

โลกกามคุณวรรคที่ ๒

๑. ปฐมมารปาสสูตร

ว่าด้วยอายนตะ ๖ เป็นบ่วงแห่งมาร

[๑๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่

หากภิกษุเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า

ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง

ภิกษุนั้นพึงถูกมารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า

พอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน

หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไปสู่ที่อยู่ของมาร

ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารคล้อง รัด มัดด้วยบ่วง ภิกษุนั้นพึงถูก

มารผู้มีบาปใช้บ่วงทำได้ตามปรารถนา.

ว่าด้วยผู้ไม่เพลิดเพลินในอายตนะ ๖ ย่อมพ้นจากบ่วงแห่งมาร

[๑๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอัน

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด

มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น

ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร ไม่

ถูกมารคล้อง เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้นอันมารผู้มีบาปพึงใช้บ่วงทำ

๑. สูตรที่ ๑ - ๒ แก้วรวมไว้ท้ายสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

ตามความปรารถนา ไม่ได้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะ

พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่

ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น

ไม่พัวพันธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่

ในอำนาจของมาร ไม่ถูกมารคล้อง เป็นผู้พ้นจากบ่วงมาร ภิกษุนั้นอันมาร

ผู้มีบาปพึงใช้บ่วงทำตามความปรารถนาไม่ได้.

จบ ปฐมมารปาสสูตรที่ ๑

๒. ทุติยมารปาสสูตร

ว่าด้วยการตกอยู่และไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร

[๑๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่

หากภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันรูปนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า

พัวพันอยู่ในรูป ไปสู่ที่อยู่ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารผู้มี

บาปทำได้ตามปรารถนา ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้

แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่

ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น พัวพัน

ธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พัวพันอยู่ในธรรมารมณ์ ไปสู่ที่อยู่

ของมาร ตกอยู่ในอำนาจของมาร ถูกมารผู้มีบาปทำได้ตามปรารถนา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

[๑๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง รูปที่จะพึงรู้ด้วยจักษุ อันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด

มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น

ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พ้นไปจากรูป ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจ

ของมาร อันมารผู้มีบาปพึงทำตามปรารถนาไม่ได้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก

อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ

ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า พ้นไปจาก

ธรรมารมณ์ ไม่ไปสู่ที่อยู่ของมาร ไม่ตกอยู่ในอำนาจของมาร อันมารผู้มี

บาปพึงทำตามปรารถนาไม่ได้.

จบ ทุติยมารปาสสูตรที่ ๒

โลกกามคุณวรรคที่ ๒

อรรถกถามารปาสสูตรที่ ๑ - ๒

โลกกามคุณวรรค มารปาสสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ในบทว่า อาวาสคโต ได้แก่ไปสถานที่อยู่. บทว่า มารสฺส วสคโต

ได้แก่ตกไปอยู่ในอำนาจมารแม้ทั้ง ๓. บทว่า ปฏิมุกฺกสฺส มารปาโส

ได้แก่บ่วงแห่งมาร ที่สวมคล้องไว้ ที่คอของมารนั้น สูตรที่ ๒ ง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถามารปาสสูตรที่ ๑ - ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

๓. ปฐมโลกกามคุณสูตร

ว่าด้วยโลกในวินัยของพระอริยะ

[๑๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามี

ได้กล่าวว่า ที่สุดของโลกอันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และ

เรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์ ครั้นพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร

ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้น

กล่าวกันว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศข้อนี้

แก่เราทั้งหลายโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกขึ้นจาก

พุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่

ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้โดยพิสดารได้ ลำดับ

นั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า ท่านพระอานนท์นี้พระศาสดา และเพื่อน

พรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่านย่อมสามารถเพื่อ

จำแนกเนื้อความแห่งอุเทศ ที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความ

ให้พิสดารนี้โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์

ถึงที่อยู่ แล้วเรียนถามเนื้อความข้อนั้นกะท่านเถิด.

[๑๗๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์

ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่าน

พระอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศข้อนี้โดยย่อ ไม่ทรงจำแนก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

เนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย เมื่อ

พระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน พวกเราจึงใคร่ครวญดูว่า ใครหนอจะช่วย

จำแนกเนื้อความแห่งอุเทศพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรง

จำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ พวกเราจึงคิดได้ว่า ท่าน

พระอานนท์นี้ อันพระศาสดา และเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่อง

สรรเสริญ ทั้งท่านพระอานนท์นี้ย่อมสามารถจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้

โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร เราพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้ว

ไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่าน ขอท่านพระอานนท์ได้โปรดจำแนกเนื้อ

ความเถิด.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือน

บุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวหาแก่นไม้อยู่ กลับล่วงเลยราก

ล่วงเลยลำต้นแห่งต้นไม้มีแก่นต้นใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่เฉพาะหน้าไปเสีย มา

สำคัญแก่นไม้ จะพึงแสวงหาได้ที่กิ่งและใบ ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็ฉันนั้น คือ

พวกท่านล่วงเลยพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับอยู่เฉพาะหน้า ในฐานะเป็น

ศาสดาของท่านทั้งหลายไปเสีย มาสำคัญเนื้อความที่จะไต่ถามนี้ แท้จริง

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อทรงทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น

พระองค์เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว

เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของ

แห่งธรรม เป็นผู้ถึงธรรมที่แท้ เวลานี้ เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อ

ความข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่ท่านทั้งหลาย

อย่างใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

ภิ. ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านว่านั้นเป็นการถูกต้องแล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเมื่อทรงทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์

เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว

เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของ

แห่งธรรม เป็นผู้ถึงธรงมที่แท้ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อความ

ข้อนั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่พวกเราอย่างใด

พวกเราควรทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้น ก็แต่ว่าท่านอานนท์ก็เป็นผู้ที่

พระศาสดา และเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่าน

ก็สามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้

โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ขอท่านอย่า

ได้หนักใจโปรดช่วยจำแนกเนื้อความทีเถิด.

[๑๗๑] อา. อาวุโสทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย จง

คอยฟัง จงใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์

แล้ว ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจาก

พุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสียนั้น ข้าพเจ้าทราบแล้ว อาวุโสทั้งหลาย

ข้าพเจ้าย่อมทราบเนื้อความแห่ลอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ

ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ อาวุโสทั้งหลาย บุคคล

ย่อมมีความสำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลกด้วยธรรมอันใด ธรรมนี้เรียกว่า

โลกในวินัยของพระอริยะ อาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความสำคัญในโลก

ว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอะไรเล่า อาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

สำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยจักษุ... ด้วยหู... ด้วยจมูก...

ด้วยลิ้น . . . ด้วยกาย. . . . ด้วยใจ อาวุโสทั้งหลาย บุคคลย่อมมีความ

สำคัญในโลกว่าโลก ถือว่าโลก ด้วยธรรมอันใด ธรรมนี้เรียกว่าโลกในวินัย

ของพระอริยะ อาวุโสทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีผู้ระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศ

โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารว่า เรามิได้กล่าวว่า ที่สุดของโลก

อันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว

ย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดทุกข์ ดังนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่

พระวิหารเสียนั้น อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมทราบเนื้อความแห่งอุเทศ

ที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้

อาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประสงค์ความแจ่มแจ้ง พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้วทูลถามเนื้อความข้อนั้นเถิด พระองค์ทรงพยากรณ์แก่พวก

ท่านอย่างไร ก็พึงทรงจำข้อที่ตรัสนั้นอย่างนั้นเถิด.

[๑๗๒] ภิกษุเหลานั้นรับคำท่านพระอานนท์ว่า. อย่างนั้นท่านผู้

มีอายุ ดังนี้แล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารแก่พวกข้าพระองค์ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามิได้กล่าวว่า ที่สุดของโลกอันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น

พึงถึงด้วยการไป และเรายังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกแล้ว ย่อมไม่กล่าวการกระทำ

ที่สุดทุกข์ ดังนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย เมื่อ

พระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน พวกข้าพระองค์คิดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

ทรงแสดงอุเทศนี้แก่เราทั้งหลายโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร

เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย ใครหนอจะจำแนกเนื้อความ.

แห่งอุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงแสดงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดย

พิสดารได้ ลำดับนั้น พวกข้าพระองค์มีความคิดว่า ท่านพระอานนท์นี้เป็น

ผู้ที่พระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ทั้ง

สามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ

ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ถ้ากระไรพวกเราพึง

เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่แล้วพึงไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่านเถิด

ครั้นคิดดังนั้นแล้ว พวกข้าพระองค์ก็เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่แล้ว

ไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่าน ท่านพระอานนท์ก็จำแนกเนื้อความแก่พวก

ข้าพระองค์ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้

พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต

มีปัญญามาก หากท่านทั้งหลายพึงไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะเรา แม้เราก็

พึงแก้ปัญหานั้น เหมือนอย่างที่อานนท์กล่าวแก้ปัญหานั่นแหละ นั่นเป็น

เนื้อความแห่งอุเทศนั้น ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนี้เถิด.

จบ โลกกามคุณสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

อรรถกถาปฐมโลกกามคุณสูตรที่ ๓

ในปฐมโลกกามคุณสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โลกสฺส ได้แก่ โลกจักรวาล. บทว่า โลกสฺส อนฺต

ได้แก่ ที่สุดแห่งสังขารโลก. บทว่า วิหาร ปาวิสิ ความว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงพระดำริว่า เมื่อเราเข้าไปสู่วิหาร ภิกษุเหล่านี้ จักถาม

อุทเทสนี้ กะพระอานนท์ พระอานนท์ จักกล่าวเทียบเคียงกับพระ-

สัพพัญญุญาณของเรา. แก่ภิกษุเหล่านั้น แต่นั้นเราจักชมเชยเธอ ภิกษุ

ทั้งหลายพึงการชมเชยของเรา จักสำคัญพระอานนท์ว่าควรเข้าไปหา จัก

สำคัญคำของเธอว่า ควรฟัง ควรเชื่อถือ ข้อนั้นจักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อ

ความสุขแก่ภิกษุเหล่านั้น ตลอดกาลนาน จึงมิได้ทรงจำแนกอรรถแห่งคำ

ที่ตรัสโดยย่อให้พิสดาร แล้วหายไป ณ อาสนะที่ประทับนั่ง ไปปรากฏใน

พระคันธกุฎี. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุฏฺายาสนา วิหาร ปาวิสิ.

บทว่า สตฺถุ เจว สวณฺณิโต แปลว่า อันพระศาสดาสรรเสริญ

แล้ว. แม้บทว่า วิญฺญูน นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ

ความว่า อันเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายยกย่องแล้ว. บทว่า

ปโหติ แปลว่า อาจ.

บทว่า อติกฺกมฺเมว มูล อติกฺกมฺม ขนฺธ ความว่า ชื่อว่า

แก่น พึงมีที่รากหรือลำต้น ก็เลยแก่นนั้นไปเสีย. บทว่า เอว สมฺปทมิท

ได้แก่ ข้ออุปมัย เช่นนี้ก็ฉันนั้น. บทว่า อติสิตฺวา แปลว่า ก้าวล่วง.

บทว่า ชาน ชานาติ ได้แก่ย่อมรู้ สิ่งที่ควรรู้เท่านั้น. บทว่า ปสฺส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

ปสฺสติ ได้แก่ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็นเท่านั้น. อนึ่ง บุคคลบางคน แม้

เมื่อยึดถือสิ่งที่ผิด ๆ ก็ยิ่งไม่รู้ แม้เมื่อเห็น ก็ชื่อว่า ไม่เห็น ฉันใด

พระผู้มีพระภาคเจ้า หาเป็นฉันนั้นไม่. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรง

ทราบ ชื่อว่าทรงทราบ เมื่อทรงเห็นก็ชื่อว่า ทรงเห็นเหมือนกัน พระผู้มี-

พระภาคเจ้านี้นั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีจักษุ เพราะอรรถว่า มีทัสสนะเป็นตัวนำ

ชื่อว่า เป็นผู้มีญาณ เพราะอรรถว่า กระทำความเป็นผู้รู้แจ้ง ชื่อว่า เป็นผู้

มีธรรม เพราะสำเร็จมาแต่ธรรม เหมือนคิดด้วยพระหทัย เปล่งด้วย

พระวาจา เพราะอรรถว่า มีความไม่แปรปรวนเป็นสภาวะ หรือเพราะ

ประกาศโดยปริยัติธรรม ชื่อว่า เป็นพรหม เพราะอรรถว่า เป็นผู้ประเสริฐ.

อีกนัยหนึ่ง ทรงเป็นราวกะว่า มีจักษุ ชื่อ จักขุภูโต. พึงทราบอรรถ

ในบทเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้น ชื่อว่า เป็นผู้

กล่าว เพราะอรรถว่า กล่าวธรรม. ชื่อว่า เป็นผู้ประกาศ เพราะยังธรรม

ให้เป็นไป. ชื่อว่า เป็นผู้แนะนำข้อความ เพราะทรงสามารถนำพระหัตถ์

ออกชี้แจงได้ ชื่อว่า ประทานอมตะ เพราะทรงแสดงข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุ

อมตะได้.

บทว่า อครุ กริตฺวา ความว่า แม้เมื่อไม่ให้เขาอ้อนวอนบ่อย ๆ

ชื่อว่า ทรงกระทำให้หนัก. แม้เมื่อทรงยืนหยัดอยู่ในเสขปฏิสัมภิทาญาณ

ของพระองค์แล้วแสดงให้รู้ได้ยาก เหมือนขุดทรายขึ้นจากเชิงเขาสิเนรุ

ชื่อว่า ทำให้หนักเหมือนกัน. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เมื่อไม่ทำอย่างนั้น

ไม่ยอมให้พวกเราขอบ่อย ๆ กล่าวให้พวกเรารู้ได้ง่าย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

บทว่า ย โข โว ได้แก่ ยญฺจโข ตุมฺหาก. บทว่า จกฺขุนา

โข อาวุโส โลกสฺมึ โลกสญฺี โหติ โลกมานี ความว่า ปุถุชน

ผู้ยังละทิฏฐิไม่ได้ในโลก ย่อมจำหมายและย่อมสำคัญด้วยจักษุทั้งหลาย ว่า

โลก คือ สัตว์โลก ย่อมจำหมายและสำคัญด้วยอำนาจ จักกวาลโลก

ก็อย่างนั้น จริงอยู่ เว้นอายตนะ ๑๒ มีจักขวายตนะเป็นต้น สัญญา

หรือ มนะนั้นย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เขา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

จกฺขุนา โข อาวุโส โลกสฺมึ โลกสญฺี โหติ โลกมานี ดังนี้.

ก็ขึ้นชื่อว่า ที่สุดแห่งโลกนี้ ใคร ๆ ไม่อาจ จะรู้ จะเห็น จะถึงด้วยการ

ไปได้ แต่ผู้ที่ยังไม่ถึงที่สุด กล่าวคือ การดับโลก อันต่างด้วยจักขุเป็นต้น

นั้นนั่นแล เพราะอรรถว่า เป็นของชำรุด พึ่งทราบว่า ชื่อว่า ไม่มีการ

กระทำที่สุดแห่งวัฏฏทุกข์.

ครั้นวิสัชนาปัญหาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะส่งภิกษุเหล่านั้นไป

ด้วยคำว่า พวกท่านอย่าสงสัยไปเลยว่า พระสาวกถามปัญหา พระผู้มี-

พระภาคเจ้านี้ ประทับนั่งจับตาชั่ง คือ พระสัพพัญญุตญาณ พวกท่าน

เมื่อปรารถนา เข้าไปเฝ้าพระองค์นั้นนั่นแล ก็คงหายสงสัย จึงกล่าวว่า

อากงฺขมานา เป็นต้น.

บทว่า อิเมหิ อากาเรหิ ความว่า ด้วยเหตุเหล่านี้ คือ ด้วยเหตุ

แห่งความมีที่สุดแห่งจักรวาลโลก และด้วยเหตุยังไม่ถึงที่สุดแห่งสังขารโลก.

บทว่า อิเมหิ ปเทหิ ได้แก่ ด้วยการประมวลอักษรเหล่านี้. บทว่า

พฺยญฺชเนหิ ได้แก่ ด้วยอักษรแผนกหนึ่ง. บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่

ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต. อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุ ๔

ประการ คือ เป็นผู้ฉลาดในธาตุ เป็นผู้ฉลาดในอายาตนะ เป็นผู้ฉลาดใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

ปัจจยาการ เป็นผู้ฉลาดในเหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า มหาปญฺโ คือ

เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญามาก เพราะเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดถือเอาอรรถ

เป็นอันมาก ธรรมเป็นอันมาก นิรุตติเป็นอันมาก ปฏิภาณเป็นอันมาก.

บทว่า ยถา ต อานนฺเทน ความว่า ท่านกล่าวหมายเอาคำที่ท่าน

พระอานนท์พยากรณ์ไว้. อธิบายว่า คำนั้น ท่านพระอานนท์พยากรณ์

ไว้อย่างใด แม้เราก็พึงพยากรณ์คำนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.

จบ อรรถกถาปฐมโลกกามคุณสูตรที่ ๓

๔. ทุติยโลกกามคุณสูตร

ว่าด้วยความดับแห่งอายตนะ ๖

[ ๑๗๓ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนตรัสรู้ เราเป็นพระโพธิสัตว์

ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกว่า เบญจกามคุณของเราที่เราเคยสัมผัส

ด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จิตของเราเมื่อเกิด

พึงเกิดขึ้นในเบญจกามคุณที่เป็นปัจจุบันมาก หรือที่เป็นอนาคตน้อย ลำดับ

นั้น เราคิดว่า เบญจกามคุณปองเราที่เราเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วงไป

แล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว เราปรารถนาประโยชน์แก่ตน พึงทำ

ความไม่ประมาทในเบญจกามคุณนั้น และสติให้เป็นเครื่องรักษาจิต เพราะ

เหตุนั้นแหละ เบญจกามคุณ แม้ของท่านทั้งหลาย ที่ท่านทั้งหลายเคย

สัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จิตของ

ท่านทั้งหลายเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในเบญจกามคุณที่เป็นปัจจุบันมาก หรือ

ที่เป็นอนาคตน้อย ( เช่นเดียวกัน ) เพราะเหตุนั้นแหละ เบญจกามคุณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

แม้ของท่านทั้งหลาย ที่ท่านทั้งหลายเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว

ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ท่านทั้งหลายปรารถนาประโยชน์แก่ตน

พึงทำความไม่ประมาทในเบญจกามคุณนั้น และสติให้เป็นเครื่องรักษาจิต

แล้วตรัสต่อไปอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ อายตนะ

อันบุคคลจำต้องรู้ไว้ คือ จักษุดับ ณ ที่ใด รูปสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น

หูดับ ณ ที่ใด สัททสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น จมูกดับ ณ ที่ใด คันธสัญญา

ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ลิ้นดับไป ณ ที่ใด รสสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น กายดับ

ณ ที่ใด โผฏฐัพพสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ใจดับ ณ ที่ใด ธรรมสัญญา

ก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกขึ้นจาก

พุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปไม่นาน ภิกษุ

เหล่านั้นมีความคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศนี้แก่เราทั้งหลาย

โดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารว่า เพราะเหตุนั้นแหละ อายตนะ

อันบุคคลจำต้องรู้ไว้ คือ จักษุดับ ณ ที่ใด รูปสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ฯลฯ

ใจดับ ณ ที่ใด ธรรมสัญญาก็สิ้นไป ณ ที่นั้น ดังนี้แล้ว เสด็จลุกจาก

พุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสีย ใครหนอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้

โดยพิสดารได้ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดว่าท่านพระอานนท์นี้ เป็นผู้ที่

พระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่าน

สามารถจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ

ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึง

เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วพึงไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่านเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

[๑๗๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์

ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว

จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่าน

อานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศนี้แก่พวกเราโดยย่อ ไม่ทรง

จำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร

เสีย เมื่อพระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน พวกเราจึงใคร่ครวญว่า ใครหนอจะ

ช่วยจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่

ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ พวกเราจึงคิดได้ว่า

ท่านพระอานนท์นี้เป็นผู้อันพระศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์

ยกย่องสรรเสริญ ทั้งสามารถจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้โดยพิสดารได้

ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถามเนื้อความ

ข้อนั้นกะท่าน ขอท่านพระอานนท์ได้โปรดจำแนกเนื้อความเถิด ท่าน

พระอานนท์กล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้

แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวหาแก่นไม้อยู่ กลับล่วงเลยราก ล่วงเลยลำต้น

แห่งต้นไม้มีแก่นต้นใหญ่ซึ่งตั้งอยู่เฉพาะหน้าไปเสีย มาสำคัญแก่นไม้ที่จะ

พึงแสวงหาได้ที่กิ่งและใบ ฉันใด คำอุปไมยนี้ก็ฉันนั้น คือ พวกท่าน

ล่วงเลยพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับอยู่เฉพาะหน้า ในฐานะเป็นศาสดาของ

ท่านทั้งหลายไปเสีย มาสำคัญเนื้อความที่จะไต่ถามนี้กะข้าพเจ้า แท้จริง พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าเมือทรงทราบ ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์

เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่ง

ธรรม เป็นผู้ถึงธรรมที่แท้ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อความข้อ

นั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่ท่านทั้งหลายอย่างใด

ท่านทั้งหลายพึงทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้นเถิด.

ภิ. ท่านอานนท์ ข้อที่ท่านว่านั้นเป็นการถูกต้องแล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเมื่อทรงทราม ย่อมทราบ เมื่อทรงเห็น ย่อมเห็น พระองค์

เป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้กล่าว เป็นผู้

ประกาศ เป็นผู้ทำเนื้อความให้ตื้น เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่ง

ธรรม เป็นผู้ถึงธรรมที่แท้ เวลานี้เป็นกาลสมควรที่จะทูลถามเนื้อความข้อ

นั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงแก้ปัญหาแก่พวกเราอย่างใด พวก

เราก็ควรทรงจำความข้อนั้นไว้อย่างนั้น ก็แต่ว่า ท่านอานนท์เป็นผู้ที่พระ-

ศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ ยกย่องสรรเสริญ ที่ท่านก็

สามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดย

ย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ขอท่านอย่าได้

หนักใจ โปรดช่วยจำแนกเนื้อความทีเถิด.

[๑๗๕] อา. ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย

จงฟัง จงใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์

แล้ว ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจาก

พุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสียนั้น ข้าพเจ้าทราบแล้ว ผู้มีอายุทั้งหลาย

ผมย่อมทราบเนื้อความแห่งอุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

ความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระพุทธวจนะนั้น อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงภาษิต หมายเอาความดับแห่งอายตนะ ๖ ข้อที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดาร

เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหารเสียนั้น ผมรู้เนื้อความแห่งอุเทศที่

ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้

แล ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประสงค์ความแจ่มแจ้ง พึงเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทูลถามเนื้อความข้อนั้น พระองค์ทรงพยากรณ์แก่

ท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านทั้งหลายพึงทรงจำข้อที่ตรัสนั้นไว้อย่างนั้นเถิด.

[๑๗๖] ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์ว่า อย่างนั้น ท่าน

ผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว ลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

อุเทศโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย

เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหารเสีย เมื่อพระองค์เสด็จลุกไปไม่นาน

ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงใคร่ครวญดูว่า . . . ใครหนอจะช่วยจำแนกเนื้อความ

แห่งอุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกเนื้อความให้พิสดารนี้ โดย

พิสดารได้ ข้าพระองค์ทั้งหลายคิดว่า ท่านพระอานนท์นี้ เป็นผู้ที่พระ-

ศาสดาและเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นปราชญ์ยกย่องสรรเสริญ ทั้งท่าน

สามารถจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่ทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนก

เนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารได้ ถ้ากระไร เราทั้งหลายพึงเข้าไปหา

ท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้วไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่านเถิด ครั้นคิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

ฉะนี้แล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายก็เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ แล้ว

ไต่ถามเนื้อความข้อนั้นกะท่าน ท่านพระอานนท์ก็จำแนกเนื้อความแก่ข้า

พระองค์ทั้งหลายด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต มี

ปัญญามาก หากท่านทั้งหลายพึงถามเนื้อความข้อนั้นกะเรา แม้เราก็พึง

พยากรณ์ปัญหานั้น เหมือนอย่างที่อานนท์พยากรณ์แล้วนั้นแหละ นั่น

เป็นเนื้อความแห่งอุเทศนั้น ท่านทั้งหลายพึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่าง

นั้นเถิด.

จบ ทุติยโลกกามคุณสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยโลกกามคุณสูตรที่ ๔

ในทุติยโลกกามคุณสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า เย เม ได้แก่ เย มม. บทว่า เจตโส สมฺผุฏฺปุพฺพา

ได้แก่กามคุณ ๕ อันจิตเคยเสวยแล้ว ด้วยคำว่า ตตฺร เม จิตฺต พหุล

คจฺฉมาน คจฺเฉยฺย นี้ ท่านแสดงว่า จิตเมื่อเกิด ย่อมเกิด มากวาระ

ในกามคุณ ๕ ที่เคยเสดงแล้ว ด้วยอำนาจสมบัติต่างด้วยปราสาท ๓ ชั้น

และนางรำเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺเน วา ความว่า พระองค์

เมื่อจะทรงแสดงอารมณ์น่ารักรื่นรมย์แห่งใจ ต่างด้วยรูปที่เคยเห็น และ

เสียงที่เคยได้ฟังเป็นต้น ด้วยอำนาจไพรสณฑ์ที่มีดอกไม้บานสะพรั่ง

สระที่เกิดโดยธรรมชาติ และหมู่มฤค เป็นต้นให้เป็นสิ่งสิ่งน่าใคร่

(กามคุณ) ในเวลาทรงบำเพ็ญเพียรตลอด ๖ พรรษานี้ จึงทรงแสดงว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

หรือในปัจจุบัน เห็นปานนี้ จิตพึงเกิดขึ้นเป็นส่วนมาก. ด้วยบทว่า อปฺป

วา อนาคเตสุ นี้ ทรงแสดงว่า จิตที่เป็นส่วนน้อยเท่านั้น พึงเกิดขึ้นใน

กามคุณ ด้วยสามารถแห่งคำเป็นต้นว่า ในอนาคต จักมีพระพุทธเจ้า

ทรงพระนามว่า เมตตรัย พระราชา ทรงพระนามว่า สังขะ ราชธานี

นามว่า เกตุมดี. บทว่า ตตฺร เม อตฺตรูเปน ความว่า ในที่นั้น

เราผู้หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ( พึงทำ ) บทว่า อปฺปมาโท ได้แก่

กระทำให้สติเป็นไปต่างต่อ คือไม่ปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕. บทว่า สติ

ได้แก่ สติคอยกำหนดจับอารมณ์. บทว่า อารกฺโข ความว่า ความไม่

ประมาทและสตินี้ เป็นเครื่องกระทำอารักขาจิต ท่านแสดงไว้ว่า ความคิด

อย่างนั้นได้มีแก่เราแล้ว. ท่านอธิบายไว้ว่า ควรกระทำธรรม ๒ ( คือ

อัปปมาทและสติ ) อย่างเหล่านี้ เพื่อประโยชน์แก่อารักขา.

บทว่า ตสฺมา ติห ภิกฺขเว เส อายตเน เวทิตพฺเพ

เพราะเหตุที่ควรกระทำความไม่ประมาทและสติ เพื่อประโยชน์แก่อารักขา

เพราะเหตุที่เมื่อรู้แจ้งอายตนะนั้นแล้ว ไม่จำต้องทำด้วยความไม่ประมาท

หรือสติ ฉะนั้นแล จึงควรทราบอายตนะนั้น อธิบายว่า จำต้องรู้เหตุนั้น.

บทว่า สฬายตนนิโรธ ความว่า การดับสฬายตนะเรียกว่านิพพาน.

อธิบายว่า ท่านกล่าวหมายเอาพระนิพพานนั้น. จริงอยู่ จักขวายตนะ

เป็นต้น และรูปสัญญาเป็นต้น ย่อมดับในเพราะพระนิพพานนั้น. คำที่

เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

จบ อรรถกถาทุติยโลกกามคุณสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

๕. สักกสูตร

ว่าด้วยทรงแก้ปัญหาของท้าวสักกะ

[ ๑๗๗ ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา

คิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา

ทั้งหลาย เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็น

เครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัย

อะไร ที่เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน.

[๑๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนท่านจอมเทพ รูปที่

จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัย

ความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลินสรรเสริญ

หมกมุ่น พัวพันรูปนั้นอยู่ เมื่อเธอเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพัน

รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นก็

ย่อมมี ภิกษุยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้ง

ด้วยใจ อันน่าปรารถนา . น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่

ชวนให้กำหนัดมีอยู่ หากภิกษุเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพัน

ธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอเพลิดเพลินสรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์

นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้น.

ย่อมมี ภิกษุผู้ยังมีอุปาทาน ยังไม่ปรินิพพาน ดูก่อนท่านจอมเทพ

เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานใน

ปัจจุบัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

[๑๗๙] ดูก่อนท่านจอมเทพ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด

มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น

เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันรูปนั้น วิญญาณ

อันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้

ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ

อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด

มีอยู่ หากภิกษุไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพ้น

ธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพัน

ธรรมารมณ์นั้น วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัย

ตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมปรินิพพาน ดูก่อน-

ท่านจอมเทพ เหตุปัจจัยนี้แล ที่เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้

ปรินิพพานในปัจจุบัน.

จบ สักกสูตรที่ ๕

อรรถกถาสักกสูตรที่ ๕

ในสักกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ได้แก่ ในอัตภาพนี้เอง. บทว่า

ปรินิพฺพายนฺติ ได้แก่ ย่อมปรินิพพาน ด้วยการดับสนิทซึ่งกิเลส. บทว่า

ต นิสฺสิต วิญฺาณ โหติ ได้แก่ กรรมวิญญาณที่อาศัยตัณหา.

จบ อรรถกถาสักกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

๖. ปัญจสิขสูตร

ว่าด้วยทรงแก้ปัญหาของปัญจสิขเทพบุตร

[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขา

คิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ปัญจสิขเทพบุตรบุตรแห่งคนธรรพ์ เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ยืนอยู่ ณ ที่พระส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอ ที่เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางจำพวก

ในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน เหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นเครื่องทำให้

สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน.

[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนปัญจสิขะ รูปที่จะพึง

รู้แจ้งด้วยจักษุ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่า

ใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุ

เพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อเธอเพลิด

เพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น พัวพันธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัย

ตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุยังมีอุปาทาน

ยังไม่ปรินิพพาน ดูก่อนปัญจสิขะ เหตุปัจจัยนี้แล เป็นเครื่องทำให้สัตว์

บางพวกในโลกนี้ ไม่ปรินิพพาน ในปัจจุบัน.

[๑๘๒] ดูก่อนปัญจสิขะ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด

มีอยู่ ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่

๑. สูตรที่ ๖ อรรถกถาแก้ว่าง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ หากภิกษุไม่

เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เมื่อ

เธอไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น

อยู่ วิญญาณอันอาศัยตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยตัณหานั้นย่อม

ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ดูก่อนปัญจสิขะ เหตุปัจจัย

นี้แล เป็นเครื่องทำให้สัตว์บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน.

จบ ปัญจสิขสูตรที่ ๖

๗. สารีปุตตสูตร

ว่าด้วยผู้คุ้มครองทวารอินทรีย์ได้ก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้

[๑๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง

เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้น

ผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสัทธิ

วิหาริกของท่านลาสิกขาสึกเสียแล้ว.

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ผู้ที่ไม่คุ้มครองทวารใน

อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ย่อม

เป็นเช่นนี้แหละ ดูก่อนผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร จักประพฤติ

พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น ไม่ใช่ฐานะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

ที่จะมีได้ ดูก่อนผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้

ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้

บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๑๘๔] ดูก่อนผู้มีอายุ ก็ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลายอย่างไร ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ

แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์

ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและ

โทมนัสครอบงำ ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

ภิกษุฟังเสียงด้วยหู . . . ดมกลิ่นด้วยจมูก . . . ลิ้มรสด้วยลิ้น . . . ถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกาย . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ

อนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว

จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสดรอบงำ ชื่อว่า

รักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุ

เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล.

[๑๘๕] ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร

ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงฉันอาหาร

ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อเมามัว ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง

ย่อมฉันเพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อยังกายนี้ให้เป็นไป เพื่อ

กำจัดความเบียดเบียน เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดเห็นว่า

เพราะเหตุที่ฉันอาหารนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จักไม่ให้เวทนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

ใหม่เกิดขึ้นด้วย ความที่กายเป็นไปได้นาน ความไม่มีโทษและความ

อยู่สำราญจักมีแก่เรา ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

อย่างนี้แล.

[๑๘๖] ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรอย่างไร

ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมอันกั้น

จิตทั้งหลายด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์

จากธรรมอันกั้นจิตทั้งหลายด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่ง

ราตรี ในมัชฌิมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยาสน์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อน

เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำในใจถึงสัญญาจำหมายที่จะลุกขึ้น

รีบลุกขึ้นในปัจฉิมยามแห่งราตรี ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมอันกั้นจิต

ทั้งหลายด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุเป็นผู้ประกอบความ

เพียรอย่างนี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เรา

จักเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จักเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

จักเป็นผู้ประกอบความเพียร ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้

แล.

จบ สารีปุตตสูตรที่ ๗

อรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๗

ในสารีปุตตสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สนฺตาเนสฺสติ ได้แก่จักพยายาม คือไม่ให้ถึงการตัดขาด.

จบ อรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

๘. ราหุลสูตร

ว่าด้วยสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นก็เป็นทุกข์

[๑๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดปริวิตกแห่งพระหฤทัยอย่าง

นี้ว่า ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มวิมุตติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เราควร

แนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นไปเถิด ครั้นทรงพระดำริฉะนี้

แล้ว ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองอันตรวาสก ทรงถือ

บาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาภายหลังภัต

เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่า ราหุล

เธอจงถือผ้านิสีทนะไปสู่ป่าอันธวันด้วยกัน เพื่อพักในกลางวัน.

ท่านพระราหุลทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ถือผ้า

นิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างหลัง ก็สมัยนั้น พวกเทวดา

หลายพันติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปด้วยคิดว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะอันยิ่งขึ้นไป.

[๑๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน

ประทับ ณ พุทธอาสน์ที่พระราหุลปูลาดถวาย ที่ควงต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่าย

ท่านพระราหุลถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถานว่า ดูก่อนราหุล เธอจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบ

ทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. จักษุวิญญาณ...จักษุสัมผัส...เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส

เป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

พ. ดูก่อนราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม

เบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส

ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส

เป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโน-

วิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัส เป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณ

หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว ท่านพระราหุลชื่นชมยินดีพระภาษิต

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิต

นี้อยู่ จิตของท่านพระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน

ฝ่ายเทวดาหลายพันก็เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไป

เป็นธรรมดา.

จบ ราหุลสูตรที่ ๘

อรรถกถาราหุลสูตรที่ ๘

ในราหุลสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า วิมุตฺติปริปาจนียา ความว่า ชื่อว่า วิมุตฺติปริปาจริยา

เพราะอรรถว่า บ่มวิมุตติ บทว่า ธมฺมา ได้แก่ธรรม ๑๕ ธรรมเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

พึงทราบโดยกระทำสัทธินทรีย์เป็นต้นให้หมดจด สมจริงดังคำที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคล

ผู้มีศรัทธา พิจารณาสัมปสาทนียสูตรทั้งหลาย สัทธินทรีย์ย่อมหมดจด

ด้วยอาการ ๓ เหล่านี้. เมื่อเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน เสพ คบ เข้าไป

นั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร พิจารณาสัมมัปปธานสูตร วิริยินทรีย์

ย่อมหมดจด ด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม เสพ คบ

เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น พิจารณาสติปัฏฐานสูตร สตินทรีย์

ย่อมหมดจด ด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ . เมื่อเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เสพ คบ

เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น พิจารณาฌานและวิโมกข์ สมาธินทรีย์

ย่อมหมดจด ด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ . เมื่อเว้นบุคคลผู้ทรามปัญญา เสพ คบ

เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญา พิจารณาญาณจริยาการบำเพ็ญญาณอันลึกซึ้ง

ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้. ดังนั้น เมื่อบุคคลเว้นบุคคล

๕ จำพวก เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคล ๕ จำพวก พิจารณากองแห่ง

สุตตันตะ ปัญจินทรีย์เหล่านี้ ย่อมหมดจด ด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้แล.

ธรรม ๑๕ อีกหมวดหนึ่ง ซึ่งได้ชื่อว่าวิมุตติปริปาจริยา ธรรมบ่ม-

วิมุตติ คือ อินทรีย์ ๕ สัญญาอันเป็นส่วนแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ ๕ คือ

อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา สัญญาในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ๑

ทุกเขอนัตตสัญญา สัญญาในทุกข์ว่าเป็นอนัตตา ๑ ปหานสัญญา ๑

วิราคสัญญา ๑ และธรรม ๕ มีกัลยาณมิตตตาที่ตรัสแก่พระเมฆิยเถระ.

ถามว่า ก็ในเวลาไร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำริดังนี้.

แก้ว่า ในเวลาใกล้รุ่ง พระองค์ทรงตรวจดูสัตว์โลก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

บทว่า อเนกานิ เทวตาสหสฺสานิ ความว่า ก็ในบรรดาเทวดา

ผู้ตั้งความปรารถนากับท่านพระราหุลผู้ตั้งความปรารถนา ในรัชกาลแห่ง

พระเจ้าปาลิตนาคราช แทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุ-

มุตตระ บางพวกเกิดเป็นภุมมัฏฐกเทวดา บางพวกเกิดเป็นอันตลิกขัฏฐ-

เทวดา บางพวกเกิดเป็นจาตุมหาราชกเทวดา บางพวกเกิดในเทวโลก

บางพวกเกิดในพรหมโลก. ก็ในวันนี้ เทวดาทั้งหมด ประชุมกันในอัน-

ธวันนั้นเอง ในที่แห่งหนึ่ง.

บทว่า ธมฺมจกฺขุ ความว่า ในพระสูตรนี้ มรรค ๔ ผล ๔ พึง

ทราบว่า ธรรมจักขุ. จริงอยู่ในพระสูตรนั้น เทวดาบางพวก ได้เป็น

พระโสดาบัน บางพวก เป็นพระสกทาคามี บางพวก พระอนาคามี

บางพวก พระขีณาสพ อนึ่ง เทวดาเหล่านั้น นับไม่ได้ว่า มีประมาณ

เท่านี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาราหุลสูตรที่ ๘

๙. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์

[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก

แสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์ เธอทั้งหลายจงฟังธรรม

นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ และสังโยชน์

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์และสังโยชน์

นั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์

ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้น เป็นตัวสังโยชน์ในรูปนั้น

ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนด เหล่านี้เรียกว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง

สังโยชน์ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์นั้น เป็นตัว

สังโยชน์ในธรรมารมณ์นั้น.

จบ สังโยชนสูตรที่ ๙

๑๐. อุปาทานสูตร

ว่าด้วยธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน

[๑๙๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก

แสดงธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทาน เธอทั้งหลายจงฟังธรรม

นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และอุปาทาน

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานและอุปาทาน

นั้น คือรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก

อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง

อุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปนั้น เป็นตัวอุปาทาน

ในรูปนั้น ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด เหล่านี้เรียกว่าธรรมอัน

เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในธรรมารมณ์

นั้น เป็นตัวอุปาทานในธรรมารมณ์นั้น.

จบ อุปาทานสูตรที่ ๑๐

โลกกามคุณวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๙ - อุปาทานสูตรที่ ๑๐

สูตรที่ ๙ และที่ ๑ เมื่อท่านกล่าวโดยอนิฏฐารมณ์ ก็เป็นอัน

กล่าวโดยบุคคลผู้ตรัสรู้.

จบ อรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๙ - อุปาทานสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถาโลกกามคุณวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมารปาสสูตร ๒. ทุติยมารปาสสูตร ๓. ปฐมโลกกามคุณ

สูตร ๔. ทุติยโลกกามคุณสูตร ๕. สักกสูตร ๖. ปัญจสิขสูตร ๗ . สารี

ปุตตสูตร ๘. ราหุลสูตร ๙. สังโยชนสูตร ๑๐. อุปาทานสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

คหปติวรรคที่ ๓

๑. เวสาลีสูตร

ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่สัตว์ไม่ปรินิพพานและปรินิพพาน

[๑๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา

ในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล อุคคคฤหบดีชาวกรุงเวสาลี ได้เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล ที่สัตว์บางพวก

ในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไร ที่สัตว์บางพวก

ในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี

รูปทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ

หมกมุ่น รูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น รูปนั้นอยู่

วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นก็ย่อมมี

ภิกษุผู้มีอุปาทาน ย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้ง0

ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่

ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์

นั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้นอยู่

วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นก็ย่อมมี

ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ดูก่อนคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล ที่สัตว์

บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

[๑๙๒] ดูก่อนคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่า

ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น รูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่

เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่ง

ตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มี

อุปาทานย่อมปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด

หากภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น เมื่อ

ภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้นอยู่

วิญญาณอันอาศัยซึ่งตันหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อม

ไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ดูก่อนคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล

ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน.

จบ เวสาลีสูตรที่ ๑

คหปติวรรคที่ ๓

อรรถกถาเวสาลีสูตรที่ ๑

คหปติวรรค เวสาลีสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุคฺโค ได้แก่ คฤหบดี ชื่อว่า อุคคะ ผู้ให้ของที่ประณีต.

อุคคคฤหบดีนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ อย่างนี้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสาวกของเราผู้ให้ของอัน

ประณีต อุคคคฤหบดี เป็นเลิศ"

จบ อรรถกถาเวสาลีสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

๒. วัชชีสูตร

ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่สัตว์ไม่ปรินิพพานและปรินิพพาน

[๑๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ หัตถิคาม

แคว้นวัชชี ครั้งนั้นแล อุคคคฤหบดีชาวบ้านหัตถิคาม ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้

มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่

ปรินิพพานในปัจจุบัน อนึ่ง เหตุปัจจัยอะไรที่สัตว์บางพวกในโลกนี้

ปรินิพพานในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี รูป

ทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ

หมกมุ่น รูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น รูปนั้นอยู่

วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี

ภิกษุผู้มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วย

ใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้

กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น

เมื่อภิกษุนั้นเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณ

อันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้

มีอุปาทานย่อมไม่ปรินิพพาน ดูก่อนคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แลที่สัตว์บางพวก

ในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

ดูก่อนคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุไม่

เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลิน

ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อม

ไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อม

ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากภิกษุ

ไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้น

ไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณ

อันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี

ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ดูก่อนคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แล ที่สัตว์

บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน.

จบ วัชชีสูตรที่ ๒

๓. นาฬันทสูตร

ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่สัตว์ไม่ปรินิพพานและปรินิพพาน

[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริกัม-

พวันเมืองนาฬันทา ครั้งนั้นแล อุบาลีคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานใน

ปัจจุบัน อนึ่งเหตุปัจจัยอะไรที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีอยู่แล คฤหบดี รูปทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้ง

ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่

ชวนให้กำหนัด หากว่าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น รูปนั้น เมื่อ

ภิกษุนั้นเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัย

ซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นก็ย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทาน

ย่อมไม่ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่า

ภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุ

นั้นเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัย

ซึ่งตัณหานั้นย่อมมี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมมี ภิกษุผู้มีอุปาทาน

ย่อมไม่ปรินิพพาน ดูก่อนคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แลที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่

ปรินิพพานในปัจจุบัน.

ดูก่อนคฤหบดี รูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากว่า

ภิกษุไม่เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่เพลิด-

เพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น รูปนั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัยซึ่งตัณหานั้น

ย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี. ภิกษุผู้ไม่มีอุปาทานย่อม

ปรินิพพาน ฯลฯ ธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด หากภิกษุไม่

เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่น ธรรมารมณ์นั้น เมื่อภิกษุนั้นไม่

เพลิดเพลินไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้นอยู่ วิญญาณอันอาศัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

ซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี อุปาทานอันอาศัยซึ่งตัณหานั้นย่อมไม่มี ภิกษุผู้ไม่

มีอุปาทานย่อมปรินิพพาน ดูก่อนคฤหบดี เหตุปัจจัยนี้แลที่สัตว์บางพวกใน

โลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน.

จบ นาฬันทสูตรที่ ๓

อรรถกถาวัชชีสูตรที่ ๒ - นาฬันทสูตรที่ ๓

สูตรที่เหลือ มีอรรถดังกล่าวไว้ใน ๒ สูตรนั้น และในสูตรที่ ๓

นี้แล.

จบ อรรถกถาวัชชีสูตรที่ ๒ - นาฬันทสูตรที่ ๓

๔. ภารทวาชสูตร

ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์

[๑๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะอยู่ ณ พระวิหาร

โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล พระเจ้าอุเทนได้เสด็จไปหาท่านพระ-

บิณโฑลภารทวาชะ ทรงสนทนาปราศรัยกับท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ

ครั้งผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระบิณโฑลภารทวาชะว่า

ท่านภารทวาชะ เหตุปัจจัยอะไรหนอแล ที่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม

วัยรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความ

ระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต

และปฏิบัติอยู่ได้นาน ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะทูลตอบว่า ขอถวาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

พระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมาตั้งจิตว่าเป็นมารดา

ในสตรีปูนมารดา เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ในสตรี

ปูนพี่สาวน้องสาว เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นธิดา ในสตรีปูนธิดา ขอถวาย

พระพร ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ภิกษุเหล่านี้ยังเป็นหนุ่มวัยรุ่น มีผม

ดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกาม

ทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติ

อยู่ได้นาน.

[๑๙๖] อุ. ท่านภารทวาชะ จิตเป็นธรรมชาติโลเล บางคราว

ธรรมคือความโลภทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นในเหล่าสตรีปูนมารดาก็มี ปูน

พี่สาวน้องสาวก็มี ปูนธิดาก็มี มีไหมหนอ ท่านภารทวาชะ ข้ออื่นที่เป็น

เหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม วัยรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่ม

เต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติ

พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน.

บิ. ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระ-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นได้ตรัสไว้ดัง นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงมาพิจารณากายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำ

แต่ปลายผมลงมา อันมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการ

ต่าง ๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น

กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่

ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้ ขอถวายพระพร

แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม วัยรุ่น มีผม

ดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกาม

ทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติ

อยู่ได้นาน.

[๑๙๗] อุ. ท่านภารทวาชะ ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายอันอบรม

แล้ว เป็นผู้มีศีลอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีจิตอันอบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญาอัน

อบรมแล้ว การอบรมกายเป็นต้นนั้น ไม่เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดย

ยาก ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นผู้มีกายยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีศีลยังไม่ได้

อบรมแล้ว เป็นผู้มีจิตยังไม่ได้อบรมแล้ว เป็นผู้มีปัญญายังไม่ได้อบรมแล้ว

การอบรมกายเป็นต้นนั้น เป็นกิจอันภิกษุเหล่านั้นทำได้โดยยาก ท่าน

ภารทวาชะ บางคราวเมื่อบุคคลตั้งใจอยู่ว่า เราจักทำไว้ในใจโดยความเป็น

ของไม่งาม แต่อารมณ์ย่อมมาโดยความเป็นของงามก็มี มีไหมหนอ ท่าน

ภารทวาชะ ข้ออื่นที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ ผู้ยังเป็นหนุ่ม วัยรุ่น

มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกาม

ทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติ

อยู่ได้นาน.

บิ. ขอถวายพระพร พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระ-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงมาเถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วใน

อินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด เธอทั้งหลายเห็นรูปด้วยตาแล้ว จงอย่าเป็นผู้ถือเอา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

โดยนิมิต อย่าเป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์

ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและ

โทมนัสดรอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ จงถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์

เธอทั้งหลายฟังเสียงด้วยหูแล้ว . . . สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว .. . ลิ้มรสด้วยลิ้น

แล้ว . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยนิมิต อย่าได้เป็นผู้ถือเอาโดยอนุพยัญชนะจงปฏิบัติ

เพื่อความสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน

ลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสดรอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ จงถึงความ

สำรวมในมนินทรีย์ ขอถวายพระพร แม้ข้อนี้ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้

ภิกษุเหล่านี้ผู้ยิ่งเป็นหนุ่ม วัยรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ใน

ปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์

บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน.

[๑๙๘] อุ. น่าอัศจรรย์ ท่านภารทวาชะ น่าประหลาดจริงท่าน

ภารทวาชะ คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว ท่านภารทวาชะ ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้

ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่ม วัยรุ่น มีผมดำสนิท เป็นหนุ่มเต็มตัว อยู่ใน

ปฐมวัย ยังเป็นผู้ไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์

บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน ท่านภารทวาชะ ใน

สมัยใด แม้ข้าพเจ้าเอง มีกายมิได้รักษาแล้ว มีวาจามิได้รักษาแล้ว มีจิต

มิได้รักษาแล้ว มีสติมิได้ตั้งไว้แล้ว มีอินทรีย์ทั้งหลายมิได้สำรวมแล้ว

เข้าไปสู่ฝ่ายใน ในสมัยนั้น ธรรม คือ ความโลภทั้งหลายย่อมครอบงำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ข้าพเจ้ายิ่งนัก ท่านภารทวาชะ แต่ว่า ในสมัยใดแล ข้าพเจ้ามีกายอัน

รักษาแล้ว มีวาจาอันรักษาแล้ว มีจิตอันรักษาแล้ว มีสติอันตั้งไว้แล้ว

มีอินทรีย์ทั้งหลายอันสำรวมแล้ว เข้าไปสู่ฝ่ายใน ในสมัยนั้น ธรรม คือ

ความโลภทั้งหลายไม่ครอบงำข้าพเจ้า ท่านภารทวาชะ ภาษิตของท่าน

ไพเราะนัก ท่านภารทวาชะ ภาษิตของท่านเพเราะนัก ท่านภารทวาชะ

ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของ

ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า

ผู้มีจักษุจะเห็นรูปได้ ฉะนั้น ท่านภารทวาชะ ข้าพเจ้าขอถึง พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้นกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ขอท่าน

ภารทวาชะจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจนตลอด

ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด.

จบ ภารทวาชสูตรที่ ๔

อรรถกถาภารทวาชสูตรที่ ๔

ในภารทวาชสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ภิกษุนั้น ชื่อว่า ปิณโฑละ เพราะบวชเสาะแสวงหาก้อนข้าว.

ได้ยินว่า ท่านเป็นพราหมณ์ผู้สิ้นเนื้อประดาตัว. ทีนั้นเขาเห็นลาภและ

สักการะของภิกษุสงฆ์ จึงออกบวชเพื่อต้องกาวก้อนข้าว. ท่านถือเอา

บาตรภาชนะขนาดใหญ่เที่ยวขอเขาไป. เพราะเหตุนั้น ท่านดื่มข้าวยาคู

เต็มภาชนะ เคี้ยวกินขนมเต็มภาชนะ บริโภคข้าวเต็มภาชนะ. ลำดับนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลความที่ท่านฉันจุ แด่พระศาสดา. พระศาสดา

ไม่ทรงอนุญาตถุงบาตรแก่ท่าน คว่ำบาตรวางไว้ใต้เตียง. ท่านแม้เมื่อจะวาง

ก็ครูดวางส่ง ๆ ไป แม้เมื่อจะถือเอาก็ครูดลากมาถือไว้. บาตรนั้นเมื่อกาล

ล่วงไปๆ กร่อนไปด้วยการถูกครูด รับของได้เพียงข้าวสุกทนานเดียวเท่านั้น.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลแด่พระศาสดา. ต่อมาพระศาสดา

ทรงอนุญาตถุงบาตรแก่ท่าน. สมัยต่อมาพระเถระ เจริญอินทรีย์ภาวนา

ดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ. ดังนั้น ท่านจึงชื่อ ปิณโฑละ เพราะ

บวชเพื่อต้องการก้อนข้าว แต่โดยโคตร ชื่อว่า ภารทวาชะ เหตุนั้น รวมชื่อ

ทั้งสองเข้าด้วยกันจึงเรียกว่า ปิณโฑลภารัทวาชะดังนี้.

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า อันมหาอำมาตย์ ผู้มีชื่อเสียงกำจร-

กำจาย แวดล้อมเข้าไปหา ได้ยินว่า วันหนึ่งพระเถระเที่ยวบิณฑบาตใน

กรุงสาวัตถี เสร็จภัตกิจแล้ว คิดว่าในฤดูร้อน จักนั่งพักกลางวันในที่เย็น ๆ

จึงเหาะเที่ยวไปในพระราชอุทยาน ชื่อว่า อุทกัฏฐาน ของพระเจ้าอุเทน

ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา นั่งพักกลางวัน ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ถูกลมผสมน้ำ

ที่เย็นโชยมา.

ฝ่ายพระเจ้าอุเทน ทรงดื่มมหาปานะ ( สุรา? ) ตลอด ๗ วัน

ในวันที่ ๗ ทรงรับสั่งให้ตกแต่งพระราชอุทยาน มีชนกลุ่มใหญ่แวดล้อม

เสด็จไปพระราชอุทยาน ทรงบรรทมบนพระแท่นบรรทมที่ลาดไว้ใต้ต้นไม้

แห่งหนึ่ง บนหลังแผ่นหินอันเป็นมงคล. บาทปริจาริกานางบำเรอคนหนึ่ง

ของพระองค์ นั่งนวดฟั้นพระบาทอยู่. พระราชาเสด็จสู่นิทรารมณ์ด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

การนวดฟั้น. เมื่อบรรทมหลับ เหล่าหญิงร้องรำทั้งหลายคิดว่า เราบรรเลง

เพลงขับกล่อมเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระราชาพระองค์ใด พระราชา

พระองค์ก็บรรทมหลับแล้ว ในเวลาพระองค์บรรทมหลับ ควรเราจะทำ

ความหรรษากัน. จึงวางเครื่องดนตรีของตน ๆ เข้าไปยังอุทยาน. หญิง-

เหล่านั้น เที่ยวกินผลไม้น้อยใหญ่ ประดับดอกไม้อยู่ เห็นพระเถระ

ต่างห้ามกันและกันว่า อย่าทำเสียงเอ็ดไปแล้วนั่งลงไหว้. พระเถระ

แสดงธรรมกถาแก่หญิงเหล่านั้น โดยนัยว่า พวกเธอพึงละความริษยา

พึงบรรเทาความตระหนี่เป็นต้น หญิงบาทปริจาริกาผู้นั่งนวดฟั้นพระบาท

ของพระราชานั้นอยู่ ก็เขย่าพระบาทปลุกพระราชา พระราชา ตรัสถามว่า

หญิงเหล่านั้นไปไหน. หญิงนั้น ทูลว่า พระองค์จะมีพระราชประสงค์

อะไรด้วยหญิงเหล่านั้น หญิงร้องรำเหล่านั้นนั่งล้อมพระสมณะองค์หนึ่ง.

พระราชา ทรงพระพิโรธ เหมือนเกลือใส่เตาไฟ กระทืบพระบาท

ทรงพระดำริว่า เราจะให้มดแดงกัดสมณะนั้น จึงเสด็จไป เห็นรังมดแดง

บนต้นอโสก ทรงเอาพระหัตถ์กระชากลงมา แต่ไม่อาจจับกิ่งไม้ได้ รังมด

แดงขาดตกลงบนพระเศียรพระราชา. ทั้งพระวรกาย ได้เป็นเสมือน

เกลื่อนไปด้วยแกลบข้าวสาลี และเป็นเสมือนถูกประทีปด้ามเผาเอา.

พระเถระทราบว่าพระราชากริ้ว จึงเหาะไปด้วยฤทธิ์. หญิงแม้เหล่านั้น

ลุกขึ้นไปใกล้ ๆ พระราชา ทำที่เช็ดพระวรกาย จับมดแดงที่ตกลง ๆ

ที่ภาคพื้น โยนไปบนที่พระวรกาย และเอาหอกคือปากแทงมดดำมดแดง

เหล่านั้นว่า นี้อะไรกัน พระราชาเหล่าอื่น เห็นบรรพชิตทั้งหลายแล้วไหว้

แต่พระราชาพระองค์นี้ ทรงประสงค์จะทำลาย มดแดงบนศีรษะ. พระราชา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

ทรงเห็นความผิด จึงรับสั่งให้เรียกคนเฝ้าสวนมาตรัสถามว่า บรรพชิตนี้

แม้ในวันอื่น ๆ มาในที่หรือ. คนเฝ้าพระราชอุทยานกราบทูลว่า อย่างนั้น

พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ในวันที่ท่านมาในที่นี้เจ้าพึงบอกเรา.

๒-๓ วันเท่านั้น แม้พระเถระก็มานั่งที่โคนไม้. คนเฝ้าพระราชอุทยาน

เห็นเข้า คือว่า นี้เป็นบรรณาการใหญ่ของเรา จึงรีบไปกราบทูลพระราชา.

พระราชาเสด็จลุกขึ้น ทรงห้ามเสียงสังข์และบัณเฑาะว์เป็นต้น ได้เสด็จ

ไปยิ่งพระราชอุทยาน พร้อมด้วยอำมาตย์ผู้มีชื่อเสียงกำจรกำจาย. ด้วย

เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อุปสงฺกมิตฺวา.

บทว่า อนิกีฬิตาวิโน กาเมสุ ความว่า ความเล่นสำเริงใดใน

กามทั้งหลาย ผู้มีระดูมิได้สำเริงนั้น อธิบายว่าไม่ประสงค์บริโภคกาม. บทว่า

อทธานญฺจ อาปาเทนฺติ ความว่า ถือประเพณีประพฤติตามประเพณีมานาน.

บทว่า มาตุมตฺตีสุ แปลว่า ปูนมารดา จริงอยู่ คำทั้งหลายนี้ คือ มารดา

พี่สาว ลูกสาว เป็นอารมณ์หนักในโลก. พระเถระเมื่อแสดว่าบุคคลชำระ

จิตที่ผูกพันด้วยอารมณ์อันหนักไม่ได้ จึงกล่าวอย่างนั้นด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระเถระ เห็นจิตของท้าวเธอไม่ทรงหยังลงโดยสัญญานั้น จึง

กล่าวกัมมัฏฐานคืออาการ ๓๒ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อผูกจิตไว้ด้วย

อำนาจมนสิการปฏิกูลสัญญา (ใส่ใจด้วยสำคัญว่าเป็นของปฏิกูล )

บทว่า อภาวิตกายา ได้แก่ ผู้มีกายอันเป็นไปในทวาร ๕ ยังมิ

ได้อบรม. บทว่า เตส ต ทุกฺกร โหติ ความว่า อสุภกรรมฐาน ของ

ผู้ที่ไม่ได้อบรมกายเหล่านั้น เป็นของทำได้ยาก. พระเถระ เมื่อเห็น

จิตของท้าวเธอที่ไม่หยั่งลงด้วยกรรมฐานแล้วนี้ จึงแสดง อินทรียสังวรศีล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

แก่ท้าวเธอด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่พระเจ้าอุเทนย่อมยังชำระจิตที่เข้าไป

ผูกไว้ ในอินทรีย์สังวรไม่ได้. พระเจ้าอุเทนทรงสดับข้อนั้น เป็นผู้มีจิต

หยั่งลงในกรรมฐานนั้น .จึงตรัสคำมีอาทิว่า อจฺฉริย โภ ภารทฺวาช

ท่านภารทวาชะ อัศจรรย์จริง.

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า อรกฺขิเตเนว กาเยน เป็นต้นดังต่อไป

นี้ :- เมื่อคนองมือคนองเท้า เอี้ยวคอไปมาชื่อว่า ไม่รักษากาย. เมื่อ

กล่าวคำชั่วหยาบมีประการต่าง ๆ ชื่อว่า ไม่รักษาอาจาระ. เมื่อตรึกถึงกาม

วิตกเป็นต้น ชื่อว่า ไม่รักษาจิต. พึงทราบความ โดยปริยายดังกล่าวแล้ว

ในคำว่า รกฺขิเตเนว กาเยน เป็นต้น

บทว่า อติวิย ม ตสฺมึ สมเย โลภธมฺมา ปริสหนฺติ ความว่า

ในสมัยนั้น ความโลภย่อมละเมิดครอบงำข้าพเจ้า บทว่า อุปฏฺิตาย

สติยา ได้แก่ มีกายคตาสติ สติอันไปแล้วในกายตั้งมั่นแล้ว. บทว่า น ม

ตถา ตสฺมึ สมเย ความว่าความโลภย่อมละเมิดเรา เกิดขึ้นเหมือนอย่าง

แต่ก่อน. บทว่า ปริสหนฺติ ความว่าย่อมเกิดนั่นแล. ดังนั้น พระเถระ

จึงกล่าวกาย ๓ ไว้ในพระสูตรนี้ . จริงอยู่ในคำว่า อิมเมว กาย นี้

ท่านกล่าวถึงกรัชกาย. ในคำว่า ภาวิตกาโย นี้ กล่าวถึงกายที่เป็นไป

ในทวาร ๕.ในคำว่า รกฺขิเตเนว กาเยน นี้ ได้แก่ โจปนกาย กาย

ไหวกาย อธิบายว่า กายวิญญัติทำให้เขารู้ด้วยกาย.

จบ อรรถกถาภารทวาชสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

๕. โสณสูตร

ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่สัตว์ไม่ปรินิพพานและปรินิพพาน

[๑๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น บุตรแห่งคฤหบดีชื่อว่า

โสณะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค-

เจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุปัจจัยอะไรหนอที่สัตว์บางพวกในโลกนี้

ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน และเหตุปัจจัยอะไร ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้

ปรินิพพานในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า มีอยู่แล .คฤหบดี

บุตร ฯลฯ ( เหมือนสูตรที่ ๑ ข้อที่ ๑๙๑ และ ๑๙๒ )

จบ โสณสูตรที่ ๕

๖. โฆสิตสูตร

ว่าด้วยความแตกต่างแห่งธาตุ

[๒๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารโฆสิตาราม

กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล โฆสิตคฤหบดีเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ฯลฯ

ครั้นแล้ว ได้ถามพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ที่เรียกว่าความ

แตกต่างแห่งธาตุ ๆ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความแตกต่างแห่งธาตุไว้

ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี มีอยู่แล

๑. อรรถกถาแก้ว่า ง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

จักขุธาตุ รูปอันน่าพอใจและจักขุวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะ

อาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอัน

ไม่น่าพอใจและจักขุวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ

อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี จักขุธาตุ รูปอันเป็นที่ตั้ง

แห่งอุเบกขาและจักขุวิญญาณ อทุกขมสุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่พรอทุกขมสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี โสตธาตุ . . .

ฆานธาตุ . . . ชิวหาธาตุ . . . กายธาตุ . . . มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันน่าพอใจ

และมโนวิญญาณ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง

แห่งสุขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ

และมโนวิญญาณ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะ อันเป็นที่

ตั้งแห่งทุกขเวทนา มีอยู่แล คฤหบดี มโนธาตุ ธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้ง

แห่งอุเบกขาและมโนวิญญาณ อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย

ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสความต่างแห่งธาตุไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.

จบ โฆสิตสูตรที่ ๖

อรรถกถาโฆสิตสูตรที่ ๖

ในโฆสิตสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า รูปา จ มนาปา ได้แก่ รูปที่น่าชอบใจ มีอยู่. บทว่า

จกฺขุวิญฺาณญฺจ ได้แก่ จักขุวิญญาณมีอยู่ บทว่า สุขเวทนิย ผสฺส

ได้แก่ ผัสสะ อันเป็นปัจจัย แก่สุขเวทนาอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

ในชวนกาล ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย บทว่า สุขา เวทนา ได้แก่

สุขเวทนา อาศัยผัสสะอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในชวนะ. แม้ในบทที่เหลือ ก็

นัยนี้เหมือนกัน ดังนั้นพระองค์ จึงตรัสธาตุ ๒๓ ในพระสูตรนี้ . อย่างไร.

จริงอยู่ในที่นี้ จักขุปสาท เป็นจักขุธาตุ อารมณ์อันกระทบจักขุปสาท

นั้นเป็นรูปธาตุ จักขุวิญญาณ เป็นวิญญาณธาตุ ขันธ์ ๓ ที่เกิดพร้อม

กับจักขุวิญญาณธาตุ เป็นธรรมธาตุ. เป็นธาตุ ๒๐ คือ ในทวารทั้ง ๕

ทวารละ ๔ อาวัชชนจิต ท่านถือว่า มโนธาตุ ในมโนทวาร ด้วยประการ

ฉะนี้. อารมณ์และหทัยวัตถุ. เป็นธรรมธาตุ จิตที่อาศัยหทัยวัตถุ เป็นมโน-

วิญญาณธาตุ รามเป็นธาตุ ๒๓ ด้วยประการฉะนี้ ท่านแสดงไว้ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสความต่างแห่งธาตุ ด้วยอำนาจธาตุ ๒๓ ด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาโฆสิตสูตรที่ ๖

๗. หาลิททกานิสูตร

ว่าด้วยความบังเกิดขึ้นแห่งความแตกต่างแห่งเวทนาเป็นต้น

[๒๐๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ที่เรือนสกุล ใกล้

สังปวัตตบรรพต ในอวันตีชนบท ครั้งนั้นแล หาลิททกานิคฤหบดีเข้าไป

หาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระมหา

กัจจายนะว่า พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า

ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ

ดังนี้ พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ความต่างกันแห่งผัสสะย่อมบังเกิดขึ้น เพราะ

อาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกันแห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะ

อาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ อย่างไรหนอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

[๒๐๒] ท่านมหากัจจายนะตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อมรู้ชัดว่า รูปอย่างนี้น่าพอใจ สุข-

เวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้ง

แห่งสุขเวทนา อนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุอย่างนั้นแล้วย่อมรู้ชัดว่า รูป

อย่างนี้ไม่น่าพอใจ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุวิญญาณและ

ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วย

จักษุอย่างนั้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า รูปอย่างนี้เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา อทุกขมสุข-

เวทนาย่อมบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่ง

อุกขมสุขเวทนา ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู

แล้ว . . . สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว . . . ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะ

ด้วยกายแล้ว . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมารมณ์

อย่างนี้น่าพอใจ สุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยมโนวิญญาณและ

ผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา อนึ่งภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจอย่างนี้

แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมารมณ์นี้ไม่น่าพอใจ ทุกขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยมโนวิญญาณและผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ภิกษุรู้

แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ธรรมารมณ์อย่างนี้เป็น

ที่ตั้งแห่งอุเบกขา อทุกขมสุขเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยมโนวิญญาณ

และผัสสะ อันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนคฤหบดี ความต่างกัน

แห่งผัสสะย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งธาตุ ความต่างกัน

แห่งเวทนาย่อมบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างกันแห่งผัสสะ ด้วย

ประการอย่างนี้แล.

จบ หาลิททกานิสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

อรรถกถาหาลิททกานิสูตรที่ ๗

ในหาลิททกานิสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มนาป อิตฺเถตนฺติ ปชานาติ ภิกษุย่อมรู้ชัดรูปที่น่าชอบใจ

ที่ใจเห็นแล้วว่ารูปนั้นย่อมเป็นอย่างนั้น รูปนั้นเป็นอย่างนั้น0. รูปนั้นน่า

ชอบใจเหมือนกัน. บทว่า จกฺขุวิญฺาณ สุขเวทนิย ผสฺส ปฏิจฺจ

ความว่า จักขุวิญญาณและผัสสะใดอันเป็นปัจจัย แก่สุขเวทนา โดยที่สุด

แห่งอุปนิสสยปัจจัย หรือโดยที่สุดแห่งอนันตรปัจจัย หรือโดยที่สุดแห่ง

สมนันตรปัจจัย หรือโดยที่สุดแห่งสัมปยุตตปัจจัย คือ สุขเวทนาย่อม

เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุวิญญาณและผัสสะที่เสวยสุขเวทนานั้น ในบท

ทั้งปวงก็นัยนี้. เพราะเหตุนั้นในสูตรทั้งสองเหล่านี้ พึงทราบว่า ท่าน

กล่าวกิริยามโนวิญญาณธาตุว่า ทำอาวัชชนกิจ หรือว่าท่านกล่าวมโนธาตุ

เท่านั้น โดยชื่อว่ามโนธาตุเสมอกัน.

จบ อรรถกถาหาลิททกานิสูตรที่ ๗

๘. นกุลปิตุสูตร

ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่สัตว์ไม่ปรินิพพานและปรินิพพาน

[๒๐๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน

อันเป็นที่พระราชทานอภัยแก่มฤค ใกล้สุงสุมารคิรินคร ในภัคคชนบท

ครั้งนั้นแล นกุลบิดาคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ

๑. สูตรที่ ๘ อรรถกถาว่าง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุ

ปัจจัยอะไรหนอ. ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน เหตุ

ปัจจัยอะไร ที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ปรินิพพานในปัจจุบัน พระผู้มีพระ -

ภาคเจ้าตรัสตอบว่า มีอยู่แลคฤหบดี ฯลฯ ( เหมือนสูตรที่ ๑ ข้อที่ ๑๓๒ ).

[๒๐๔] อนึ่ง มีอยู่แล คฤหบดี ฯลฯ ( เหมือนสูตรที่ ๑ ข้อที่๑๙๑

และ ๑๙๒ )

จบ นกุลปิตุสูตรที่ ๘

๙. โลหิจจสูตร

ว่าด้วยพราหมณ์ผู้ระลึกถึงธรรมของพราหมณ์ได้เป็นผู้สูงสุด

[๒๐๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ ณ อรัญญกุฎี ใกล้

มักกรกฏนคร ในอวันตีชนบท ครั้งนั้น พวกมาณพผู้เที่ยวหาฟืนเป็นอัน

มาก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของโลหิจจพราหมณ์ ได้พากันเข้าไปยังอรัญญกุฎี

ของท่านพระมหากัจจายนะ ครั้นแล้วพากันเดินตามกันไปมา เที่ยวตาม

กันไปรอบ ๆ กุฎีเล่นเสเลยยกกีฬามีเสียงเอ็ดอึงอึกทึกอยู่ว่า อันสมณะโล้น

เหล่านี้เป็นเชื้อแถวคฤหบดี เป็นคนดำ เป็นเหล่ากอพวกเกิดแต่เท้าแห่ง

พรหม อันชาวภารตะแว่นแคว้นเหล่านี้สักการะ เคารพ นับถือ บูชา

ยำเกรง ดังนี้.

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัจจายนะออกจากวิหารแล้ว ได้กล่าว

กะมาณพเหล่านั้นว่า ดูก่อนมาณพทั้งหลาย พวกเธออย่าได้ส่งเสียงไป

เราจักกล่าวธรรมให้เธอทั้งหลายฟัง เมื่อท่านพระมหากัจจายนะกล่าวอย่าง

นี้แล้ว มาณพเหล่านั้นก็ได้พากันนิ่งอยู่ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัจจายนะ

ได้กล่าวกะมาณพเหล่านั้นด้วยคาถาทั้งหลายว่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

[๒๐๖ ] พราหมณ์เหล่าใด ระลึกถึงธรรมของพราหมณ์

เก่า ๆ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สูงสุดโดยศีลมา

ก่อน ทวารทั้งหลายย่อมเป็นอันพราหมณ์เหล่านั้น

คุ้มครองแล้ว รักษาดีแล้ว เพราะครอบงำความ

โกรธเสียได้ พราหมณ์เหล่าใด ระลึกถึงธรรมของ

พราหมณ์เก่าได้ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ประพฤติ

ในธรรม ( กุศลกรรมบถ ) และในฌาน พราหมณ์

เหล่าใดละเลยธรรมเหล่านี้เสีย เป็นผู้เมาด้วยโคตร

เป็นผู้ถูกความโกรธครอบงำแล้ว มีอาชญาในตน

มากมาย ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่มีใจ

หวาดสะดุ้งและมั่นคง จึงประพฤติไม่เรียบร้อย การ

สมาทานวัตรทั้งปวง คือ การไม่กิน การนอนบน

พื้นดิน การอาบน้ำในเวลาเช้า และพระเวท ๓

ของบุคคลผู้ไม่คุ้มครองทวาร เป็นการเปล่าผล

เหมือนทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันบุรุษได้แล้วในความ

ฝันฉะนั้น บริขารภัณฑ์เหล่านี้ คือ หนังเสือหยาบๆ

ชะฎา เหงือก มนต์ ศีลพรต ตบะ การล่อลวง

ไม่เท้าคด ๆ และการเอาน้ำลูบหน้าเป็นวรรณะของ

พวกพราหมณ์ การภาวนาเห็นแก่อามิส พวก

พราหมณ์ก็ทำกันแล้ว ส่วนจิตอันตั้งมั่นดีแล้ว อัน

ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ไม่เหี้ยมโหดในสัตว์ทั้งปวง

ข้อนั้นเป็นทางถึงพรหม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

[๒๐๗] ครั้งนั้นแล มาณพเหล่านั้นขัดเคือง ไม่พอใจ ได้พากัน

เข้าไปหาโลหิจจพราหมณ์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะโลหิจจพราหมณ์ว่า

ขอท่านผู้เจริญพึงทราบเถิด พระสมณมหากัจจายนะขอดข้อนดำว่า ถึงมนต์

ของพราหมณ์ทั้งหลายโดยส่วนเดียว เมื่อมาณพเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้

โลหิจจพราหมณ์ก็ขัดเคือง ไม่พอใจ ลำดับนั้น โลหิจจพราหมณ์จึงคิด

ดังนี้ว่า การที่เราพึงด่า พึงเหน็บแนม พึงบริภาษพระสมณมหากัจจายนะ

เพราะเชื่อฟังคำของมาณพเป็นแน่นอนนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย อย่ากระนั้น

เลย เราไปหาแล้วถามดูเถิด ครั้งนั้นแลโลหิจจพราหมณ์กับมาณพเหล่านั้น

ได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหา-

กัจจายนะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัจจายนะว่า ท่านกัจจายนะ

ผู้เจริญ พวกมาณพผู้เที่ยวหาฟืนเป็นอันมาก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของ

ข้าพเจ้า ได้มาในที่นี้หรือหนอ ท่านพระมหากัจจายนะตอบว่า ดูก่อน

พราหมณ์พวกมาณพผู้เที่ยวหาฟืนเป็นอันมาก ซึ่งเป็นอันเตวาสิกของท่าน

ได้มาแล้วในที่นี้.

โล. ท่านกัจจายนะได้ปราศัยอะไรกับมาณพเหล่านั้นบ้างหรือ.

ก. ดูก่อนพราหมณ์ อาตมาได้ปราศัยกับมาณพเหล่านั้น.

โล. ก็ท่านกัจจายนะได้ปราศัยกับมาณพเหล่านั้นอย่างไรเล่า.

ก. ดูก่อนพราหมณ์ อาตมาได้ปราศัยกับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้

ว่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

พราหมณ์เหล่าใด ระลึกถึงธรรมของพราหมณ์

เก่า ๆ ได้ พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้สูงสุดโดยศีล

มาก่อนกว่า ฯลฯ ข้อนั้นเป็นทางถึงพรหม.

ดูก่อนพราหมณ์ อาตมาได้ปราศัยกับมาณพเหล่านั้นอย่างนี้แล.

โล. ท่านกัจจายนะได้กล่าวว่า ผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้ว ดังนี้

ท่านกัจจายนะ ด้วยเหตุมีเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้ม

ครองแล้ว.

ก. ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว

ย่อมยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก มีสติอันไม่เข้าไปตั้ง

ไว้แล้ว มีจิตมีอารมณ์เป็นกามาวจร และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

ตามความเป็นจริง ที่อกุศลบาปธรรมทั้งหลายเหล่านั้นบังเกิดขึ้นแล้วแก่

บุคคลนั้นไม่ดับไปโดยหาส่วนเหลือมิได้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว . . .สูดกลิ่นด้วย

จมูกแล้ว . . . ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว . . . รู้แจ้ง

ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมยินร้าย

ในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก มีสติอันไม่เข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตมีอารมณ์เป็น

กามาวจร ไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ตามความเป็นจริง ที่บาป

อกุศลธรรมทั้งหลายบังเกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลนั้น ไม่ดับไปโดยหาส่วนเหลือ

มิได้ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้ว ด้วย

ประการอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

[๒๐๘] ข้าแต่ท่านกัจจายนะ ข้อที่ท่านกัจจายนะผู้เจริญกล่าวว่า

ผู้มีทวารอันไม่คุ้มครองแล้วนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ท่านกัจจายนะได้

กล่าวว่า ผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ดังนี้ ด้วยเหตุเท่าไรหนอ บุคคลจึง

ชื่อว่าเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว.

ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อม

ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก มีสติอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว

มีจิตมีอารมณ์หาประมาณมิได้อยู่ และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ตาม

ความเป็นจริง ที่บาปอกุศลธรรมทั้งหลายบังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ดับไป

โดยหาส่วนเหลือมิได้ ฟังเสียงด้วยหูแล้ว...สูดกลิ่นด้วยจมูกแล้ว...ลิ้มรส

ด้วยลิ้นแล้ว . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ

แล้ว ย่อมไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ย่อมไม่ยินร้ายในธรรมารมณ์

ที่ไม่น่ารัก มีสติอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตมีอารมณ์หาประมาณมิได้อยู่ และ

รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติตามความเป็นจริงที่บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย

บังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุนั้น ดับไปโดยหาส่วนเหลือมิได้ ดูก่อนพราหมณ์

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล.

[๒๐๙] ข้าแต่ท่านกัจจายนะ ข้อที่ท่านกัจจายนะผู้เจริญกล่าวว่า

เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ข้าแต่ท่านกัจจายนะ

ภาษิตของท่านไพเราะนัก ข้าแต่ท่านกัจจายนะ ภาษิตของท่านไพเราะนัก

ข้าแต่ท่านกัจจายนะ ท่านกัจจายนะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบ

เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่อง

ประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

กัจจายนะ ข้าพเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น กับทั้งพระ-

ธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านกัจจายนะโปรดจำข้าพเจ้าว่า เป็น

อุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อนึ่ง

ขอท่านกัจจายนะโปรดเข้าไปสู่สกุลของโลหิจจพราหมณ์ เหมือนอย่างที่

ท่านกัจจายนะเข้าไปสู่สกุลอุบาสกทั้งหลายในมักกรกฏนครเถิด มาณพ

ทั้งหลายหรือมาณวิกาทั้งหลายเหล่าใดในสกุลของโลหิจจพราหมณ์นั้น จัก

กราบไหว้ จักลุกขึ้นต้อนรับท่านกัจจายนะ หรือจักนำอาสนะ จักถวายน้ำ

แก่ท่านกัจจายนะ สามีจิกรรม มีการกราบไหว้เป็นต้นนั้นจักมีประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอดกาลนาน แก่มาณพหรือมาณวิกาเหล่านั้น.

จบ โลหิจจสูตรที่ ๙

อรรถกถาโลหิจจสูตรที่ ๙

ในโลหิจจสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยด้งต่อไปนี้.

บทว่า มกฺกรกเฏ ได้แก่ ในนคร มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า

อรญฺกุฏิกาย ได้แก่ ในกุฎีโดดเดี่ยว ที่เขาสร้างไว้ในป่า ไม่ใช่กระท่อม

ที่อยู่ท้ายวิหาร. บทว่า อนฺเตวาสิกมาณวกา ความว่า แม้ชนเหล่าใด

เป็นคนแก่ในที่นั้น ชนเหล่านั้น ท่านเรียกว่า มาณพ เหมือนกัน เพราะ

เป็นอันเตวาสิก. บทว่า เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า มาณพเหล่านั้น

เรียนศิลปะแต่เช้า ครั้นเย็นคิดว่า เราจักนำฟืนมาให้อาจารย์ ดังนี้ เข้าป่า

แล้วเข้าไปทางกุฎีนั้น. บทว่า ปริโต ปริโต กุฏิกาย ความว่า โดยรอบ ๆ

กุฎีนั้น. บทว่า เสโลกสฺสกานิ ความว่า จับหลังกันและกันโดดเล่น

ให้กายร้อนเหงื่อไหลข้างโน้นข้างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

ในบทว่า มุณฺฑกา เป็นต้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. จะเรียกคน

หัวโล้นว่า มุณฑะ และเรียกสมณะว่า สมณะ ก็ควร. ก็มาณพเหล่านี้

เมื่อจะเล่น กล่าวว่า คนหัวโล้นว่าสมณะ.

บทว่า อิพฺภา ได้แก่ คฤหบดี. บทว่า กณฺหา แปลว่า ดำ.

ท่านหมายถึงพรหมว่า พันธ ในคำว่า พนฺธุปฺปาทปจฺจา. จริงอยู่ พราหมณ์

ทั้งหลาย เรียกพรหมนั้น ว่า ปิตามหะ ปู่ทวด. เหล่ากอแห่งเท้า

ทั้งหลาย ชื่อว่า ปาทปจฺจา อธิบายว่า เกิดแต่หลังเท้าแห่งพรหม. ได้ยินว่า

มาณพเหล่านั้นมีลัทธิดังนี้ว่า พวกพราหมณ์ออกจากปากแห่งพรหม พวก

กษัตริย์ออกจากอก พวกแพศย์ออกจากสะดือ พวกศูทรออกจากเข่า

พวกสมณะออกจากหลังเท้า. บทว่า ภรตกาน ได้แก่ กุฏุมพีทั้งหลาย.

จริงอยู่เพราะเหตุที่กุฏุมพีทั้งหลายเลี้ยงแว้นแคว้น. ฉะนั้นท่านเรียกว่า

ภรตะ ก็มาณพเหล่านี้ เมื่อกล่าวดูแคลน จึงกล่าวว่า ภรตกาน.

บทว่า วิหารา นิกฺขมิตฺวา ความว่า พระเถระคิดว่า พวกมาณพ

เหล่านี้ มัดไม้เป็นกำ แล้วเหวี่ยงไว้ที่บริเวณอันน่ารื่นรมย์ อันมีทราย

ที่เกลี่ยไว้สม่ำเสมอส่องแสงระยิบระยับคล้ายแผ่นเงิน คุ้ยทรายเอามือจับ

มือกันแล่นไปรอบ ๆ บรรณกุฏีโห่ร้องแล้วร้องเล่นว่า สมณะโล้นเหล่านี้

พวกกุฏุมพีสักการะแล้ว ๆ จึงกระทำเล่น ๆ กันเกินไป ทั้งไม่รู้ว่ามีภิกษุ

ทั้งหลายอยู่ในที่อยู่ จำเราจักแสดงภิกษุเหล่านั้นอยู่ ดังนี้แล้ว จึงออกจาก

บรรณกุฎี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

บทว่า สีลุตฺตมา ปุพฺพตรา อเหสุ ความว่า พระเถระคิดว่า

เมื่อกล่าวถึงคุณของผู้มีคุณ ความไม่มีคุณของผู้ไม่มีคุณก็จักปรากฏชัด

เมื่อสรรเสริญคุณของพราหมณ์เก่า ๆ จึงได้กล่าวอย่างนั้น. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า สีลุตฺตมา แปลว่า ผู้มีศีลประเสริฐสุด. จริงอยู่ศีลของ

พราหมณ์เหล่านั้นสูงสุด ไม่ใช่ชาติและโคตร. บทว่า เย ปุราณ สรนฺติ

ความว่า ชนเหล่าใดระลึกถึงธรรมของพราหมณ์เก่า ๆ บทว่า อภิภุยฺย โกธ

ความว่า บุคคลเหล่านั้นเป็นอันชื่อว่า ครอบงำความโกรธ ก็ชื่อว่ายัง

ไม่รักษา ยังไม่คุ้มครองทวาร. บทว่า ธมฺเม จ ฌาเน จ รตา ความว่า

ประพฤติในธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ในฌานคือสมาบัติ ๘.

พระเถระครั้นแสดงคุณของพราหมณ์เก่า ๆ ทั้งหลายอย่างนี้แล้ว

ครั้นบัดนี้ เมื่อจะย่ำยีความเมาของพราหมณ์ในยุคปัจจุบัน จึงกล่าวคำ .

อาทิว่า อิเมว โวกฺกมฺม ชหามฺหเส ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

โวกฺกมฺม ความว่า หลีกออกไปจากคุณเหล่านั้น. บทว่า ชหามฺหเส

ความว่า พวกพราหมณ์ สำคัญว่า พวกเราเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

เป็นคนหลงโคตรอย่างนี้ว่า พวกเราเป็นพราหมณ์แล้วประพฤติไม่เรียบร้อย

อธิบายว่า ทำกายกรรมเป็นต้นไม่เรียบร้อย. บทว่า ปุถุตฺตทณฺฑา

ความว่า โทษตนเป็นอันมากอันคนเหล่านั้นถือเอาแล้วเหตุนั้นคนเหล่านั้น

ชื่อว่า ปุถุตฺตทณฺฑา. อธิบายว่า ผู้มีโทษมีอย่างต่าง ๆ อันถือมั่นแล้ว.

บทว่า ตสถาวเรสุ ได้แก่ ผู้มีตัณหาและผู้หมดตัณหา. ด้วยคำว่า

อคุตฺตทฺวารสฺส ภวนฺติ โมฆา พระเถระแสดงว่า การสมาทานวัตร

ทั้งหมดย่อมเป็นโมฆะสำหรับผู้ไม่สำรวมทวาร. ถามว่า เหมือนอะไร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

แก้ว่า เหมือนทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ที่บุรุษได้ในความฝัน. อธิบายว่า

เหมือนทรัพย์เครื่องปลื้มใจ มีอย่างต่าง ๆ เช่นแก้วมณี แก้วมุกดา ที่บุรุษ

ได้แล้วในความฝัน ย่อมว่างเปล่า ครั้นตื่นขึ้นมาแล้วก็ไม่เห็นอะไร เป็น

โมฆะเปล่า ๆ ปลี้ ๆ ฉันใด.

บทว่า อนาสกา ความว่า ไม่กินอาหาร ๑ - ๒ วัน เป็นต้น.

บทว่า ตณฺฑิลสายิกาจ ได้แก่ นอนบนพื้นดินอันลาดด้วยกลุ่มหญ้าเขียว

บทว่า ปาโต สินานญฺจ ตโยจ เวทา ความว่า เข้าไปอาบน้ำแต่เช้าตรู่

และเวท ๓. บทว่า ขราชิน ชฏา ปงฺโก ได้แก่ หนังเสือเหลืองที่มี

สัมผัสหยาบ ศีรษะมุ่นมวยผม และเหงือกที่ชื่อว่า ปังกะ. บทว่า มนฺตา

สีลพฺพต ตโป ได้แก่ มนต์ และ วัตร กล่าวคืออาการของแพะ และ

อาการของโค ท่านกล่าวว่านี้เป็นตปะของพราหมณ์ในบัดนี้. บทว่า

กุหนา วงฺกทณฺฑา จ ความว่า ความหลอกลวง คือ โทษที่ปกปิด เหมือน

คูถที่ถูกปิดบังไว้และไม้เท้าคดคือไม้มีกิ่งคต ที่ถือเอาจากต้นมะเดื่อต้นทอง

กวาวและต้นมะตูมอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อุทกา จ มนานิ จ ได้แก่

ลูบหน้าด้วยน้ำ. ด้วยบทว่า วณฺณา เอเต พฺราหฺมณาน พระเถระแสดง

ภัณฑะเหล่านั้น ว่า วรรณะ อันเป็นเครื่องปริกขารของพวกพราหมณ์.

บทว่า กตกิญฺจิกฺขภาวนา แปลว่าภาวนาที่เห็นแก่อามิส ที่กระทำแล้ว.

อนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. อธิบายว่า กระทำเพื่อประโยชน์แก่อันกล่าว

ถึงอามิสเล็ก ๆ น้อย ๆ. บัดนี้พระเถระครั้นทำลายความหลงผิดของพวก

พราหมณ์อย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงคุณของพราหมณ์เก่า ๆ อีก จึงกล่าวคำ

อาทิว่า จิตฺตญฺจ สุสมาหิต. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สุสมาหิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

พระเถระแสดงว่า จิตของพราหมณ์เหล่านั้น ได้ตั้งมั่นด้วยดี ด้วยอุปจาร-

สมาธิและอัปปนาสมาธิ. บทว่า อขิล ได้แก่ อ่อน คือไม่แข็ง. ด้วยบทว่า

โส มคฺโค พฺรหฺมปตฺติยา พระเถระเมื่อแสดงว่า นั้นเป็นทางบรรลุถึง

พรหมผู้ประเสริฐ ก็พวกท่านเล่า ชื่อว่า เป็นพราหมณ์หรือ ดังนี้ จึงได้

กล่าวอย่างนั้น.

บทว่า อคมสุ นุ ขฺวิธ ตัดว่า อคมสุ นุ โข อิธ. บทว่า

อธิมุจฺจติ ความว่า เป็นผู้น้อมไป คือติดอยู่ด้วยอำนาจกิเลส. บทว่า

พฺยาปชฺชติ ได้แก่ เป็นผู้มีจิตเสียด้วยอำนาจพยาบาท. บทว่า ปริตฺต-

เจตโส ได้แก่เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์ประมาณน้อย โดยเป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง

เหตุมีสติไม่ตั้งมั่น. บทว่า เจโตวิมุตฺติ ได้แก่ ผลสมาธิ. บทว่า

ปญฺาวิมุตฺติ ได้แก่ ผลปัญญา. บทว่า อปฺปมาณเจตโส ได้แก่ ผู้มีจิต

มีอารมณ์หาประมาณมิได้ โดยเป็นผู้มีจิตปราศจากกิเลศ เพราะเป็นผู้มี

สติตั้งมั่น.

จบ อรรถกถาโลหิจจสูตรที่ ๙

๑๐. เวรหัญจานีสูตร

ว่าด้วยการบัญญัติสุขและทุกข์

[๒๑๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุทายีอยู่ ณ สวนมะม่วงของโตเทยย-

พราหมณ์ กามัณฑานคร ครั้งนั้น มาณพผู้เป็นศิษย์ของพราหมณีผู้เป็น

เวรหัญจานิโคตร ได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่าน

พระอุทายี ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอุทายียังมาณพนั้นให้เห็นแจ้ง ให้

สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมมีกถา ครั้งนั้นแล มาณพผู้อัน

ท่านพระอุทายีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมี-

กถาแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปหาพราหมณีเวรหัญจานิโคตรถึงที่อยู่ ครั้น

แล้วได้กล่าวกะพราหมณีเวรหัญจานิโคตรว่า ขอแม่เจ้าท่านพึงทราบเถิด

พระสมณะอุทายีแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์

สิ้นเชิง ดังนี้ พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า แน่ะมาณพ ถ้าอย่างนั้น

เธอจงนิมนต์พระสมณะอุทายีตามคำของเรา เพื่อฉันอาหารอันจะมีในวัน

พรุ่งนี้ด้วยเถิด มาณพนั้นรับคำของพราหมณีเวรหัญจานิโคตรแล้ว เข้าไป

หาท่านอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ขอท่านอุทายี

โปรดรับอาหารเพื่อฉันอันจะมีในวันพรุ่งนี้ ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร

ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพระอุทายีได้รับนิมนต์ด้วยดุษณี-

ภาพ ครั้งนั้น โดยราตรีนั้นล่วงไป ในเวลาเช้า ท่านพระอุทายีนุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร แล้วนั่งบน

อาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว ครั้งนั้น พราหมณีเวรหัญจานิโคตรเลี้ยงดูท่าน

พระอุทายีให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือ

ของตนเองแล้ว ทราบว่าท่านพระอุทายีฉันแล้ว ลดมือจากบาตรแล้ว ได้

สวมเขียงเท้านั่งบนอาสนะอันสูง คลุมศีรษะแล้ว ได้กล่าวแก่ท่านพระอุทายี

ว่า ท่านสมณะ ขอท่านจงกล่าวธรรม ท่านพระอุทายีกล่าวว่า น้องหญิง

เวลายังมี ดังนี้แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะแล้วหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

[๒๑๑] แม้ครั้งที่สอง มาณพนั้นได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึง

ที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอุทายี ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง

กันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระอุทายีได้

ยังมาณพนั้นให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา

แล้ว มาณพนั้นผู้อันท่านพระอุทายี ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ.

ให้รื่นเริงด้วยธรรมมีกถาแล้ว ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ เข้าไปหาพราหมณีเวร-

หัญจานิโคตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะพราหมณีเวรหัญจานิโคตรว่า

ขอแม่เจ้าท่านพึงทราบเถิด พระสมณะอุทายี แสดงธรรมงามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อม

ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าวว่า

แน่ะมาณพ ก็เธอกล่าวคุณของพระสมณะอุทายีอย่างนี้ ๆ พระสมณะอุทายี

ถูกฉันขอให้ท่านกล่าวธรรมนี้ กลับกล่าวว่า น้องหญิง เวลายังมี ดังนี้

แล้ว ก็ลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไปเสีย มาณพนั้นกล่าวว่า แม่เจ้าท่าน

ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่า แม่เจ้าสวมเขียงเท้า นั่งบนอาสนะสูง คลุม

ศีรษะแล้วได้กล่าว ขอให้ท่านกล่าวธรรม ด้วยว่าท่านผู้เจริญเหล่านั้น

เป็นผู้หนักในธรรม เป็นผู้เคารพธรรม พราหมณีเวรหัญจานิโคตรกล่าว

ว่า แน่ะมาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงนิมนต์พระสมณะอุทายีตามคำของเรา

เพื่อฉันอาหารอันจะมีในวันพรุ่งนี้ มาณพนั้นรับคำของพราหมณีเวรหัญ-

จานิโคตรแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระอุทายีถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่าน

พระอุทายีว่า ขอท่านพระอุทายีโปรดรับอาหารเพื่อฉันอันจะมีในวันพรุ่งนี้

ของพราหมณีเวรหัญจานิโคตร ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

พระอุทายีรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้น โดยราตรีนั้นล่วงไป ในเวลา

เช้า ท่านพระอุทายีนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปยังนิเวศน์ของ

พราหมณีเวรหัญจานิโคตร นั่งบนอาสนะอันเขาปูลาดไว้แล้ว ครั้งนั้น

พราหมณ์เวรหัญจานิโคตรเลี้ยงดูท่านพระอุทายีให้อิ่มหนำสำราญด้วยขาท-

นียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตนเองแล้ว ทราบว่า ท่านพระ-

อุทายีฉันเสร็จแล้ว ลดมือจากบาตรแล้ว ได้ถอดเขียงเท้า นั่งบนอาสนะต่ำ

เปิดศีรษะแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ท่านเจ้าข้า เมื่ออะไรหนอ

มีอยู่พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่ออะไรไม่มี พระอรหันต์

ทั้งหลายจึงไม่บัญญัติสุขและทุกข์.

[๒๑๒] ท่านพระอุทายีตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง เมื่อจักษุมีอยู่

พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อจักษุไม่มี พระอรหันต์

ทั้งหลายจึงไม่บัญญัติสุขและทุกข์ ฯลฯ เมื่อมีใจอยู่ พระอรหันต์ทั้งหลาย

จึงบัญญัติสุขและทุกข์ เมื่อใจไม่มี พระอรหันต์ทั้งหลายจึงไม่บัญญัติสุข

และทุกข์.

เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์เวรหัญจานิโคตรได้

กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านอุทายีผู้เจริญ

ดิฉันนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรม และพระ-

ภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระคุณเจ้าอุทายีโปรดจำดิฉันไว้ว่าเป็นอุบาสิกา

ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นต้นไป.

จบ เวรหัญจานีสูตรที่ ๑๐

คหปติวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

อรรถกถาเวรหัญจานีสูตรที่ ๑๐

ในเวรหัญจานีสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กามณฺฑาย ได้แก่ ในนครมีชื่ออย่างนี้. บทว่า ยคฺเฆ

เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า ทักท้วง คำที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาเวรหัญจานีสูตรที่ ๑๐

จบ คหปติวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เวสาลีสูตร ๒. วัชชีสูตร ๓. นาฬันทาสูตร ๔. ภารทวาช

สูตร ๕. โสณสูตร ๖. โฆสิตสูตร ๗. หาลิททกานิสูตร ๘. นกุลปิตุ

สูตร ๙. โลหิจจสูตร ๑๐. เวรหัญจานีสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

เทวทหวรรคที่ ๔

๑. เทวทหสูตร

ว่าด้วยความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖

[๒๑๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมชื่อว่า

เทวทหะ ของศากยราชทั้งหลาย สักกชนบท ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ภิกษุทุกรูป

ควรทำกิจด้วยความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่

เราไม่กล่าวว่า ภิกษุทุกรูปไม่ควรทำกิจด้วยความไม่ประมาทในผัสสาย-

ตนะ ๖ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ อยู่จบ

พรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ตน

อันบรรลุโดยลำดับแล้ว มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว

เพราะรู้โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่ควรทำ

กิจด้วยความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะ

เหตุว่า กิจอันจะพึงทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุอรหันต์เหล่านั้นทำเสร็จ

แล้ว ไม่ควรประมาทด้วยกิจนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่าภิกษุเหล่าใด

เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะ ไม่มี

ธรรมอื่นยิ่งกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า ภิกษุเหล่านั้นควรทำ

กิจด้วยความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะ

เหตุว่า รูปทั้งหลายอันจะพึ่งรู้แจ้งด้วยจักษุ อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อัน

ไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี รูปเหล่านั้นถูกกระทบกระทั่งแล้ว. ย่อมไม่ยึดจิตของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

บุคคลนั้นตั้งอยู่ เพราะการไม่ยึดจิต ความเพียรไม่ย่อหย่อน เป็นอันบุคคล

นั้นปรารภแล้ว สติไม่หลงลืม เป็นอันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว กายไม่

กระสับกระส่ายสงบจิตมีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

เห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล จึงกล่าวว่า ภิกษุเหล่านั้นควรทำกิจด้วย

ความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖ ฯลฯ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ

อันเป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี อันไม่เป็นที่รื่นรมย์ใจก็มี ธรรมารมณ์เหล่านั้น

กระทบกระทั่งแล้ว ๆ ย่อมไม่ยึดจิตของบุคคลนั้นตั้งอยู่ เพราะการไม่ยึดจิต

ความเพียรไม่ย่อหย่อน เป็นอันบุคคลนั้นปรารภแล้ว สติไม่หลงลืม

เป็นอันบุคคลนั้นเข้าไปตั้งไว้แล้ว กายไม่กระสับกระส่าย ก็สงบจิตมีอารมณ์

อันเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทนี้แล จึง

กล่าวว่า ภิกษุเหล่านั้นควรทำกิจด้วยความไม่ประมาทในผัสสายตนะ ๖.

จบ เทวทหสูตรที่ ๑

เทวทหวรรคที่ ๔

อรรถกถาเทวทหสูตรที่ ๑

เทวทหวรรค เทวทหสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

นิคม ได้ชื่อ โดยนปุสกลิงค์ว่า เทวทห. บทว่า มโนรมา แปลว่า

เป็นที่ยังใจให้ยินดี. อธิบายว่า เป็นที่เอิบอาบใจ. บทว่า อมโนรมา

แปลว่า ไม่เป็นที่เอิบอาบใจ.

จบ อรรถกถาเทวทหสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

๒. ขณสูตร

ว่าด้วยนรกชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖

[๒๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอ

ทั้งหลายได้ดีแล้ว เธอทั้งหลายได้ขณะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖ เราเห็นแล้ว ในผัสสายตนิกนรก

นั้น สัตว์จะเห็นรูปอะไร ๆ ด้วยจักษุ ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าปรารถนา

ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปไม่น่าใคร่ ย่อมไม่เห็นรูป

อันน่าใคร่ ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าพอใจ ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าพอใจ จะฟัง

เสียอะไร ๆ ด้วยหู . . . จะดมกลิ่นอะไร ๆ ด้วยจมูก . . . จะลิ้มรสอะไร ๆ

ด้วยลิ้น . . . จะถูกต้องโผฏฐัพพะอะไร ๆ ด้วยกาย . . . จะรู้แจ้งธรรมารมณ์

อะไร ๆ ด้วยใจ ก็ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา ย่อมไม่รู้แจ้ง

ธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าใคร่ ย่อม

ไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าใคร่ ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ

ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าพอใจ.

ว่าด้วยสวรรค์ชื่อว่าผัสสายตนิกะ ๖

[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอ

ทั้งหลายได้ดีแล้ว เธอทั้งหลายได้ขณะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สวรรค์ชื่อว่า ผัสสายตนิกะ ๖ ชั้น เราได้เห็นแล้ว ใน

ผัสสายตนิกสวรรค์นั้น บุคคลจะเห็นรูปอะไร ๆ ด้วยจักษุ ก็ย่อมเห็นแต่รูป

อันน่าปรารถนา ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปอันน่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

ใคร่ ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าใคร่ ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าพอใจ ย่อมไม่เห็น

รูปอันไม่น่าพอใจ ฯลฯ จะรู้แจ้งธรรมารมณ์อะไร ๆ ด้วยใจ ก็ย่อมรู้แจ้งแต่

ธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา

ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่

ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันน่าพอใจ ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันไม่น่า

พอใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลาย

ได้ดีแล้ว เธอทั้งหลายได้ขณะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว.

จบ ขณสูตรที่ ๒

อรรถกถาขณสูตรที่ ๒

ในขณสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ฉ ผสฺสายตนิกา นาม ความว่า นรก ขื่อว่า ผัสสายตนะ ๖

ไม่มี นรกทั้งหลายที่ชื่อฉผัสสายตนิกาแต่ละชื่อไม่มี. จริงอยู่ บัญญัติว่า

ผัสสายตนะทางทวาร ๖ ย่อมมีในมหานรก แม้ทั้งหมด ๓๑ ขุมนั่นเอง

แต่คำนี้ ท่านกล่าว หมายเอาอเวจีมหานรก. แม้ในบทว่า สคฺคา (สวรรค์)

นี้ ท่านประสงค์เอาเฉพาะ บุรีดาวดึงส์เท่านั้น. แต่ชื่อว่าบัญญัติแห่ง

อายตนะหก แม้แต่ละอย่าง ในกามาวจรเทวโลกไม่มีก็หาไม่. ถามว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ฉผัสสายตนิกานี้ไว้ทำไม. ตอบว่า ใคร ๆ

ไม่อาจจะอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในนรกได้ เพราะได้รับแต่ทุกข์โดย

ส่วนเดียว และไม่อาจอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในเทวโลกได้ เพราะ

เกิดความประมาทด้วยสามารถความยินดีในการเล่นโดยส่วนเดียว เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

ได้รับความสุขโดยส่วนเดียว ส่วนมนุษยโลก มีความสุขและความทุกข์

ระคนกัน ในมนุษยโลกนี้เท่านั้น ย่อมมีทั้งอบายและสวรรค์ปรากฏ.

นี้ ชื่อว่า เป็นกรรมภูมิ ของมรรคพรหมจรรย์. กรรมภูมินั้น พวกท่าน

ได้แล้ว เพราะฉะนั้น ขันธ์ซึ่งเป็นของมนุษย์ ที่พวกเธอได้กันแล้ว จัดเป็น

ลาภของพวกท่าน และภาวะเป็นมนุษย์ที่พวกเธอได้แล้วนี้ ก็เป็นขณะ

เป็นสมัยของการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่พวกเธอได้. สมจริงดังคำที่

พระโปราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า.

การเจริญมรรคในที่นี้ นี้ก็เป็นกรรมภูมิ ธรรม

เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวชเป็นอันมาก ในที่นี้ก็เป็น

ฐานะอยู่ ท่านเกิดความสังเวชแล้ว ก็จงประกอบ

ความเพียรโดยแยบคายในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ความสลดสังเวชเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเวคา แปลว่า ความสังเวช.

จบ อรรถกถาขณสูตรที่ ๒

๓. ปฐมรูปารามสูตร

ว่าด้วยผู้ยินดีในอายตนะ ๖ อยู่เป็นทุกข์

[๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์เป็นผู้มีรูปเป็นที่

มายินดี เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป เพราะรูป

แปรปรวน คลายไปและดับไป เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เทวดา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

และมนุษย์เป็นผู้มีเสียงเป็นที่มายินดี. . . . เป็นผู้มีกลิ่นเป็นที่มายินดี. . . .

เป็นผู้มีรสเป็นที่มายินดี. . . . เป็นผู้มีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี. . . เป็นผู้มี

ธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์ เป็นผู้เพลิด-

เพลินแล้วในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรปรวนคลายไปและดับไป

เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนตถาคตผู้เป็น

อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ

โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูปทั้งหลาย ตามความเป็นจริง

ไม่เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป ไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน

แล้วในรูป เพราะรูปแปรปรวน คลายไปและดับไป ตถาคตย่อมอยู่เป็น

สุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ รู้แจ้ง

แล้วซึ่งความเกิดขึ้นความดับไป คุณ โทษและอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง

เสียง . . . . กลิ่น. . . รส . . . . โผฏฐัพพะ . . . .ธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง

ย่อมไม่เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์

ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรปรวนไป

คลายไปและดับไป ตถาคตก็ย่อมอยู่เป็นสุข.

ครั้นพระ ผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบ

ลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

[๒๑๗] รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ

ธรรมารมณ์ทั้งสิ้น อันน่าปรารถนา น่าใคร่และ

น่าพอใจ ที่กล่าวกันว่ามีอยู่ประมาณเท่าใด รูปารมณ์

เป็นต้นเหล่านั้นนั่นแล เป็นสิ่งอันชาวโลกพร้อม

ทั้งเทวโลก สมมติว่าเป็นสุข ถ้าว่ารูปารมณ์เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

เหล่านั้นดับไปในที่ใด ที่นั้น เทวดา และมนุษย์

เหล่านั้น สมมติว่าเป็นทุกข์ ส่วนว่าพระอริยเจ้า

ทั้งหลายเห็นการดับสักกายะ (รูปารมณ์เป็นต้น

ที่บุคคลถือว่าเป็นของตน) ว่าเป็นสุข การเห็น

ของพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้เห็นอยู่นี้ ย่อมเป็นข้า-

ศึกกับชาวโลกทั้งปวง บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใด

ว่าเป็นสุข พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสิ่งนั้นว่า

เป็นทุกข์ บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นทุกข์

พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้แจ้งสิ่งนั้นว่าเป็นสุข เธอจง

เห็นธรรมที่รู้ได้ยาก คนพาลผู้หลง ไม่รู้แจ้งใน

นิพพานนี้ ความมืดย่อมมีแก่บุคคลผู้ถูกนิวรณ์

หุ้มห่อ เหมือนความมืดมนย่อมมีแก่บุคคลผู้ไม่

เห็น นิพพานย่อมมีแก่สัตบุรุษ เหมือนแสงสว่าง

ย่อมมีแก่บุคคลผู้เห็น ชนทั้งหลายผู้แสวงหา ไม่

ฉลาดในธรรม ถึงอยู่ใกล้ก็ไม่รู้แจ้งธรรมนี้อัน

บุคคลผู้ถูกความกำหนัดในภพครอบงำ ผู้แล่นไป

ตามกระแสตัณหาในภพ ผู้อันบ่วงแห่งมารรัดรึงไว้

แล้ว ไม่ตรัสรู้ได้ง่ายเลย ใครหนอ เว้นจากพระ-

อริยเจ้าทั้งหลายแล้ว ย่อมควรจะตรัสรู้นิพพานบท

ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้โดยชอบ เป็นผู้ไม่มี

อาสวะปรินิพพาน.

จบ ปฐมรูปารามสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

อรรถกถาปฐมรูปารามสูตรที่ ๓

ในปฐมรูปารามสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า รูปสมุทิตา แปลว่า บันเทิงในรูป. บทว่า ทุกฺขา แปลว่า

ถึงทุกข์. บทว่า สุโข แปลว่า ถึงสุข ด้วยสุข ในพระนิพพาน.

บทว่า เกวลา แปลว่า ทั้งสิ้น. บทว่า ยาวตตฺถีติ วุจฺจติ ความว่า

กล่าวว่า มีอยู่ประมาณเท่าใด.โว อักษร ในคำว่า เอเต โว นี้ เป็น

เพียงนิบาต. บทว่า ปจฺจนิกมิท โหติ สพฺพโลเกน ปสฺสต ความว่า

ความเห็นของบัณฑิตผู้เห็น ย่อมขัดแย้งผิดกับชาวโลกทั้งมวล. จริงอยู่

ชาวโลก สำคัญขันธ์ ๕ ว่า เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา เป็นของงาม

บัณฑิต สำคัญว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่งาม. บทว่า

สุขโต อาหุ ได้แก่ กล่าวว่า เป็นสุข. บทว่า สุขโต วิทู ความว่า

บัณฑิตทั้งหลาย รู้ว่าเป็นสุข. คำทั้งหมดนี้ ท่านกล่าวหมายเอาพระนิพพาน

ทั้งนั้น.

ในบทว่า สมฺมูฬฺเหตฺถ นี้ ได้แก่ ผู้หลงพระนิพพาน. บทว่า

อวิทฺทสุ ได้แก่ คนเขลาทั้งหลาย. จริงอยู่ เจ้าลัทธิ ๕* ลัทธิทั้งหมด

ความสำคัญว่า "พวกเราจักบรรลุพระนิพุพาน" แต่พวกเขา ย่อมไม่รู้

แม้ว่า "ชื่อว่านิพพานคือสิ่งนี้". บทว่า นิวุตาน ได้แก่ ถูกเครื่องกางกั้น

คือกิเลส หุ้มห่อ ร้อยรัดไว้. บทว่า อนฺธกาโร อปสฺสต ได้แก่ ความ

มืดมนย่อมมีแก่ผู้ไม่เห็น. ถามว่า ข้อนั้น ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น. แก้ว่า

๑.พม่า เป็น ๙๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

คนเขลาย่อมไม่ประสบพระนิพพานหรือการเห็นพระนิพพาน. จริงพระ-

นิพพานก็ดี การเห็นพระนิพพานก็ดี ของคนพาลผู้ไม่เห็นอยู่ ย่อมเป็น

เหมือนมณฑลพระจันทร์ที่ถูกเมฆดำปิดไว้, เหมือนภาชนะที่กะทะบังไว้

และเหมือนสิ่งของที่เปิดเผยอยู่แล้วเป็นนิจ. สองบาทคาถาว่า สตญฺจ วิวฏ

โหติ อาโลโก ปสฺสตามิว ความว่า วิวฏะ คือนิพพาน ย่อมมีแก่ผู้สงบ

คือสัตบุรุษผู้เห็นอยู่ ด้วยปัญญาทัสสนะ เหมือนแสงสว่างมีอยู่แก่บุคคล

เห็นอยู่. บทว่า สนฺติเก น วิชานนฺติ มคฺคา ธมฺมสฺส อโกวิทา

ความว่า พระนิพพานใดชื่อว่าอยู่ใกล้ เพราะผู้แสวงหากำหนดส่วนในผม

หรือขนเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ในร่างกายของตน เป็นอารมณ์พึงบรรลุ

ได้โดยลำดับ หรือเพราะแสวงหาความดับขันธ์ทั้งหลายของตน พระ-

นิพพานนั้นนั่นและแม้อยู่ใกล้ ๆ เหล่าชนผู้แสวงหา ผู้ไม่ฉลาดในธรรม

ก็ไม่รู้ซึ่งที่ใช่ทางและมิใช่ทาง หรือสัจจธรรมสี่. บทว่า มารเธยฺยานุ-

ปนฺเนภิ ได้แก่ ผู้เข้าถึงวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ อันเป็นสถานที่อยู่ของมาร

บทว่า โก นุ อญฺตฺรมริเยภิ ความว่า เว้นพระอริยะทั้งหลายเสีย

คนอื่นใครเล่า ควรเพื่อจะรู้บท คือ พระนิพพาน. บทว่า สมฺมทญฺาย

ปรนิพฺพนฺติ ความว่า รู้โดยชอบด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยอรหัต ใน

ลำดับนั่นแล เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมดับสนิท ด้วยกิเลสปรินิพพาน การ

ดับกิเลส อีกนัยหนึ่งเป็นผู้ไม่มีอาสวะ เพราะรู้ชอบย่อมปรินิพพาน ด้วย

ขันธปรินิพพาน ดับขันธ์ในที่สุด.

จบ อรรถกถาปฐมรูปารามสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

๔. ทุติยรูปารามสูตร

ว่าด้วยผู้ยินดีในอายตนะ ๖ อยู่เป็นทุกข์

[๒๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์เป็นผู้มีรูปเป็นที่

มายินดี เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป เพราะรูป

แปรปรวน คลายไปและดับไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมอยู่เป็นทุกข์

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้มีเสียงเป็นที่มายินดี. . . เป็นผู้มีกลิ่นเป็น

ที่มายินดี. .. เป็นผู้มีรสเป็นที่มายินดี.. . เป็นผู้มีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี.. .

เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์ เป็นผู้

เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรปรวน คลายไป

และดับไป เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ส่วนตถาคตผู้อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น ความ

ดับไป คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูปทั้งหลาย ไม่เป็น

ผู้มีรูปเป็นที่มายินดี ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป

เพราะรูปแปรปรวน คลายไปและดับไป ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข ตถาคตผู้

อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ โทษ

และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งเสียง. . . แห่งกลิ่น. . . แห่งรส . . . แห่ง

โผฏฐัพพะ. . . แห่งธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง ไม่เป็นผู้มีธรรมารมณ์

เป็นที่มายินดี ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์ ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้ว

ในธรรมารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมารมณ์แปรปรวนไป

คลายไปและดับไป ตถาคตก็ย่อมอยู่เป็นสุข.

จบ ทุติยรูปารามสูตรที่ ๔

๑. อรรถกถาสูตรที่ ๔ -๑๐ แก้ไว้ท้ายวรรคนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

๕. ปฐมนตุมหากสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายใน ๖ ไม่ใช่สิ่งของตน

[๒๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ-

ทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าไม่ใช่ของเธอ

ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่ของเธอ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย ใจนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว

จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนพึง

นำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป หรือพึงเผา หรือพึงทำ

ตามสมควรแก่เหตุ เธอทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำพวกเราไป

หรือเผา หรือทำพวกเราตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้บ้างหรือหนอ. ภิกษุ

เหล่านั้น กราบทูลว่า หาเป็นดังนั้นไม่ พระเจ้าข้า.

พ . ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร.

ภิ. เพราะเหตุว่า หญ้าเป็นต้นนั้นมิได้เป็นคน หรือเป็นของ.

เนื่องด้วยตนของข้าพระองค์ทั้งหลายเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล จักษุไม่ใช่ของเธอ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละจักษุนั้นเสีย จักษุนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว

จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละใจนั้นเสีย ใจนั้นอันเธอทั้งหลาย

ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข.

จบ ปฐมนตุมหากสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

๖. ทุติยนตุมหากสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอก ๖ ไม่ใช่ของตน

[๒๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าไม่ใช่ของ

เธอทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย

รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ

ความสุข เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้นอันเธอทั้งหลายละ

ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ชนพึงนำหญ้าไม้ กิ่งไม้และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป หรือพึงเผา หรือ

พึงทำตามสมความแก่เหตุ เธอทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำพวก

เราไป หรือเผา หรือทำตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้ บ้างหรือหนอ. ภิกษุ

ทั้งหลาย กราบทูลว่า หาเป็นดังนั้นไม่ พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร.

ภิ. เพราะเหตุว่า หญ้าเป็นต้นต้นนั้นมิได้เป็นตน หรือเป็นของ

เนื่องด้วยตนของข้าพระองค์ทั้งหลายเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล รูปไม่ใช่ของเธอ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว

จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย

ธรรมารมณ์นั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อความสุข.

จบ ทุติยนตุมหากสูตรที่ ๖

๗. ปฐมเหตุอัชฌัตตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นของไม่เที่ยง

[๒๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและ

ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็ไม่เที่ยง จักษุอันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่

ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ฯลฯ ใจเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและปัจจัย

เพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจนั้นก็ไม่เที่ยง ใจอันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่

ไหนจักเที่ยงเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย

แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึง

หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น

เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปฐมเหตุอัชฌัตตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

๘. ทุติยเหตุอัชฌัตตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัย

เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุนั้นก็เป็นทุกข์ จักษุอันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่เป็น

ทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ฯลฯ ใจเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อ

ความเกิดขึ้นแห่งใจก็เป็นทุกข์ ใจอันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่เป็นทุกข์ ที่ไหน

จักเป็นสุขเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย

แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึง

หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น

เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

[๒๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัย

เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุก็เป็นอนัตตา จักษุอันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่เป็น

อนัตตา ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ฯลฯ ใจเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัย

เพื่อความเกิดขึ้นแห่งใจก็เป็นอนัตตา ใจอันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่เป็นอนัตตา

ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็น

อยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้

ในกาย แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด

จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ทุติยอัชฌัตตสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

๙. ปฐมเหตุพาหิรสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์

[๒๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของไม่เที่ยง แม้เหตุและ

ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็ไม่เที่ยง รูปอันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่ไม่เที่ยง

ที่ไหนจักเที่ยงเล่า เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นของไม่เที่ยง

แม้เหตุและปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็ไม่เที่ยง ธรรมารมณ์

อันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่ไม่เที่ยง ที่ไหนจักเที่ยงเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ใน

เสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ในธรรมารมณ์ เมื่อ

เบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ

หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี.

[๒๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ แม้เหตุและปัจจัยเพื่อ

ความเกิดขึ้นแห่งรูปก็เป็นทุกข์ รูปอันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่เป็นทุกข์ ที่ไหน

จักเป็นสุขเล่า เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ แม้เหตุ

และปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นทุกข์ ธรรมารมณ์อันเกิด

แต่เหตุปัจจัยที่เป็นทุกข์ ที่ไหนจักเป็นสุขเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริย-

สาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง

เเม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ในธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่าย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว

ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ

แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปฐมเหตุพาหิรสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยเหตุพาหิรสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นอนัตตา

[๒๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา แม้เหตุและปัจจัย

เพื่อความเกิดขึ้นแห่งรูปก็เป็นอนัตตา รูปอันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่เป็นอนัตตา

ที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็น

อนัตตา แม้เหตุและปัจจัย เพื่อความเกิดขึ้นแห่งธรรมารมณ์ก็เป็นอนัตตา

ธรรมารมณ์อันเกิดแต่เหตุปัจจัยที่เป็นอนัตตาที่ไหนจักเป็นอัตตาเล่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้

ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ แม้ใน

ธรรมารมณ์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึง

หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นและ รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ สำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ทุติยเหตุพาหิรสูตรที่ ๑๐

จบ เทวทหวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

อรรถกถาทุติยรูปารามสูตรที่ ๔ เป็นต้น

สูตรที่ ๔ เมื่อทรงแสดงล้วน ๆ ก็ตรัสด้วยอัธยาศัยของบุคคลผู้จะ

ตรัสรู้. สูตรที่ ๕ เป็นต้น ก็ตรัสด้วยอัธยาศัยของบุคคลผู้จะตรัสรู้โดย

ประการนั้น ๆ. ส่วนเนื้อความแห่งสูตรเหล่านั้น ปรากฏชัดแล้วแล.

จบ เทวทหวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เทวทหสูตร ๒. ขณสูตร ๓. ปฐมรูปารามสูตร ๔. ทุติย-

รูปารามสูตร ๕. ปฐมนตุมหากสูตร ๖. ทุติยนะตุมหากสูตร ๗. ปฐม-

เหตุอัชฌัตตสูตร ๘. ทุติยเหตุอัชฌัตตสูตร ๙. ปฐมเหตุพาหิรสูตร

๑๐. ทุติยเหตุพาหิรสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

นวปุราณวรรคที่ ๕

๑. กรรมสูตร

ว่าด้วยกรรมเก่าและกรรมใหม่

[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า

ความดับแห่งกรรม และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งกรรม ท่านทั้งหลาย

จงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมเก่าเป็นไฉน.

จักษุอันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งแล้ว

สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันบัณฑิต

พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่

ตั้งแห่งเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า.

[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมใหม่เป็นไฉน. กรรมที่

บุคคลทำด้วย กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่.

[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความดับแห่งกรรมเป็นไฉน.

นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

นี้เราเรียกว่า ความดับแห่งกรรม.

[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งกรรม

เป็นไฉน. อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑

สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑

สัมมาสมาธิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาอันให้ถึงความ

ดับแห่งกรรม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรมเก่า กรรมใหม่ ความดับแห่ง

กรรมและปฏิปทาอันให้ถึงความดับกรรม เราได้แสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย

ด้วยประการดังนี้แล กิจใดแล อันเราผู้ศาสดา ผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล

ผู้อนุเคราะห์แก่สาวกทั้งหลาย พึงทำ กิจนั้นเราทำแล้วเพราะอาศัยความ

อนุเคราะห์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้ง

หลายจงพยายาม อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนใจในภาย

หลัง นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.

จบ กรรมสูตรที่ ๑

นวปุราณวรรคที่ ๕

อรรถกถากรรมสูตรที่ ๑

นวปุราณวรรค กรรมสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า นวปุราณานิ แปลว่า ใหม่ และ เก่า. บทว่า จกฺขุ

ภิกฺขเว ปุราณกมฺม ความว่า จักษุ ไม่เป็นของเก่า. กรรมต่างหาก

เป็นของเก่า. แต่ท่านกล่าวอย่างนั้น ตามชื่อแห่งปัจจัยเพราะเกิดแต่กรรม.

บทว่า อภิสงฺขต ความว่า อันปัจจัยประชุมปรุงแต่งขึ้น. บทว่า

อภิสญฺเจตยิต ได้แก่สำเร็จด้วยเจตนา. บทว่า เวทนิย ทฏฺฐพฺพ

ความว่า พึงเห็นว่า เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา. บทว่า นิโรธา วิมุตฺตึ ผุสติ

ความว่า นิโรธย่อมถูกต้องวิมุตติ เพราะกรรม ๓ อย่างนี้ ดับไป. บทว่า

อย วุจฺจติ ความว่า นิโรธความดับ อันเป็นอารมณ์แห่งวิมุตตินั้น ท่าน

เรียกว่า กรรมนิโรธดับกรรม. ดังนั้น จึงตรัสวิปัสสนาอันเป็นบุพภาค

ส่วนเบื้องต้น ไว้ในพระสูตรนี้.

จบ อรรถกถากรรมสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

๒. ปฐมสัปปายสูตร

ว่าด้วยปฏิปทาเป็นสัปปายะแก่นิพพาน

[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ

แก่นิพพาน แก่เธอท่งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน. ภิกษุในศาสนานี้ ย่อม

เห็นว่า จักษุไม่เที่ยง รูปทั้งหลายไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัส

ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกข์เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น

เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเห็นว่า

ใจไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน

สัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย น เป็นปฏิปทาอันเป็น

สัปปายะแก่นิพพาน.

จบ ปฐมสัปปายสูตร ๒

๓. ทุติยสัปปายสูตร

ว่าด้วยปฏิปทาเป็นสัปปายะแก่นิพพาน

[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ

แก่นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า

๑. อรรถกถาสูตรที่ ๒ - ๕ แก้รวมกันไว้ท้ายสูตรที ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

จักษุเป็นทุกข์ รูปเป็นทุกข์ จักษุวิญญาณเป็นทุกข์ จักษุสัมผัสเป็นทุกข์

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ

สัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า ใจเป็นทุกข์

ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ มโนวิญญาณเป็นทุกข์ มโนสัมผัสเป็นทุกข์ แม้

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส

เป็นปัจจัยก็เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ

แก่นิพพาน.

จบ ทุติยสัปปายสูตรที่ ๓

๔. ตติยสัปปายสูตร

ว่าด้วยปฏิปทาเป็นสัปปายะแก่นิพพาน

[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ

แก่นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพึง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน. ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า

จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา จักษุสัมผัส

เป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น

เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ เห็นว่า

ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา มโนวิญญาณเป็นอนัตตา มโน-

สัมผัสเป็นอนัตตา แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่

เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล

ปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพาน.

จบ ตติยสัปปายสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

๕. จตุตถสัปปายสูตร

ว่าด้วยปฏิปทาเป็นสัปปายะแก่นิพพาน

[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิปทาอันเป็นสัปปายะ

แก่นิพพานแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพานนั้นเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจักสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน. จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา.

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตน

ของเรา

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส

แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ

สัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์ แม้ใน

มโนวิญญาณ แม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย

ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว

ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่

จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่นิพพาน.

จบ จตุตถสัปปายสูตรที่ ๕

อรรถกถาอนิจจนิพพานสัปปายสูตรที่ ๒ เป็นต้น

ในอนิจจนิพพานสัปปายสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า นิพฺพานสปฺปาย ได้แก่ อันเป็นสัปปายะ คือ ปฏิปทาอัน

เป็นอุปการะแก่พระนิพพาน. แม้ในสูตรที่ ๓ เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

แต่ในพระสูตรทั้ง ๔ นี้ ตรัสมรรค ๔ พร้อมด้วยวิปัสสนาโดยลำดับ.

จบ อรรถกถาอนิจจนิพานสัปปายสูตรที่ ๒ - ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

๖. อนันเตวาสิกานาจริยสูตร

ว่าด้วยผู้ประพฤติพรหมจรรย์อยู่เป็นทุกข์และเป็นสุข

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้อัน

ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังมีอันเตวาสิก

ยังมีอาจารย์อยู่เป็นทุกข์ ไม่สำราญ ส่วนภิกษุไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์

อยู่เป็นสุขสำราญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุยังมีอันเตวาสิก ยังมี

อาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สำราญเป็นไฉน. ธรรมทั้งหลายอันเป็นบาป

เป็นอกุศล คือ ความดำริอันฟุ้งซ่านอันเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ

ย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรม

เหล่านั้นย่อมอยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะอกุศลธรรมอยู่ภายในของภิกษุ

นั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า มีอันเตวาสิก เพราะอกุศลธรรม

อันลามกเหล่านั้นย่อมครอบงำภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า

มีอาจารย์ อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริฟุ้งซ่าน

เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะฟังเสียง

ด้วยหู... เพราะสูดกลิ่นด้วยจมูก... เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น . . . เพราะถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกาย. . . เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมเหล่านั้น

อยู่ภายในของภิกษุนั้น เพราะอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นอยู่ภายในของ

ภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า มีอันเตวาสิก เพราะอกุศลธรรม

อันลามกเหล่านั้นย่อมครอบงำภิกษุนั้น เหตุนั้นเราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า

มีอาจารย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่

เป็นทุกข์ ไม่สำราญ อย่างนี้เลย.

๑. อรรถกถาสูตรที่ ๖ - ๗ แก้รวมไว้ท้ายสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มี

อาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุข สำราญอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม

อันลามก คือ ความดำริฟุ้งซ่าน เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ

ไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมอัน

ลามกเหล่านั้น ไม่อยู่ในภายในของภิกษุนั้น เพราะอกุศลธรรมอันลามก

ไม่อยู่ในภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ไม่มีอัน-

เตวาสิก เพราะอกุศลธรรมอันลามกไม่ครอบงำภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึง

เรียกภิกษุนั้นว่า ไม่มีอาจารย์ อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอัน

ฟุ้งซ่าน เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เพราะ

ฟังเสียงด้วยหู เพราะสูดกลิ่นด้วยจมูก เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น เพราะถูกต้อง

โผฏฐัพพะด้วยกาย เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอัน

ลามกเหล่านั้น ไม่อยู่ในภายในของภิกษุนั้น เพราะอกุศลธรรมอันลามก

ไม่อยู่ในภายในของภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึงเรียกภิกษุนั้นว่า ไม่มีอัน-

เตวาสิก เพราะอกุศลธรรมอันลามกไม่ครอบงำภิกษุนั้น เหตุนั้น เราจึง

เรียกภิกษุนั้นว่า ไม่มีอาจารย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีอันเตวาสิก

ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุขสำราญ ด้วยประการอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อันไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์

ดังนี้ ภิกษุผู้มีอันเตวาสิก มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ไม่สำราญ ( ส่วน )

ผู้ไม่มีอันเตวาสิก ไม่มีอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นสุขสำราญ ดังนี้แล.

จบ อนันเตวาสิกานาจริยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

๗. ติตถิยสูตร

ว่าด้วยทุกข์

[ ๒๓๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์

พึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ในสำนักพระสมณโคดมเพื่อประสงค์อะไร. พวกเธอเมื่อถูกถามอย่างนี้

พึงพยากรณ์แก่พวกเขาอย่างนี้ว่า พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ ก็ถ้าพวกเขาถามอย่างนี้ว่า อาวุโส

ทั้งหลาย ก็ทุกข์ที่ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระสมณ-

โคดมเพื่อรู้นั้น เป็นไฉน พวกเธอพึงพยากรณ์แก่พวกเขาอย่างนี้ว่า พวกเรา

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์

คือจักษุ ทุกข์คือรูป ทุกข์คือจักษุวิญญาณ ทุกข์คือจักษุสัมผัส

ทุกข์คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะ

จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกำหนดรู้ทุกข์คือใจ ทุกข์คือธรรมารมณ์ ทุกข์

คือมโนวิญญาณ ทุกข์คือมโนสัมผัส ทุกข์คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย พวกเธอเมื่อถูกถามอย่างนี้ พึงพยากรณ์แก่พวกปริพาชกอัญญ-

เดียรถีย์เหล่านั้น อย่างนี้แล.

จบ ติตถิยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

อรรถกถาอันเตวาสิกสูตรที่ ๖ เป็นต้น

ในอันเตวาสิกสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนนฺเตวาสิก ได้แก่เว้นจากกิเลสอันอยู่ในภายใน. บทว่า

อนาจริยก ได้แก่เว้นจากกิเลสอันมาจากภายนอก. บทว่า อนฺตสฺส วสนฺติ

ได้แก่ ย่อมอยู่ในภายในของผู้นั้น. บทว่า เต น สมุทาจรนฺติ ความว่า

อกุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ท่วมทับ ผู้นั้น หรือให้ผู้นั้นสำเหนียก

กิเลสเหล่านั้นชื่อว่าเป็นอาจารย์ของเขา ด้วยอรรถว่าอบรม กล่าวคือให้

สำเหนียกดังนี้ว่า จงทำเวชกรรมอย่างนี้ จงทำทูตกรรมอย่างนี้. กิเลส

เหล่านี้ ย่อมชื่อว่า เป็นอาจารย์ดังนี้. อธิบายว่า ภิกษุเป็นผู้อันอาจารย์

เหล่านั้นทำให้เลื่อมใส. คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว

นั่นแล. สูตรที่ ๗ มี่นัยดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาอันเตวาสิกสูตรที ๖ - ๗

๘. ปริยายสูตร

ว่าด้วยเหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุมีหรือ ที่จะให้ภิกษุอาศัย

พยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากเชื่อผู้อื่น หรือเว้นจากความชอบใจ เว้นจาก

การฟังต่อ ๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาใจ

ความตามความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ

แล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระ-

องค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูล เป็นผู้แนะนำ เป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้ง

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

จักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น

พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวบัดนี้ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เหตุมีอยู่ ที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล เว้นจากการเชื่อผู้อื่น เว้น

จากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อ ๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตาม

เหตุ เว้นจากการถือเอาว่าต้องกับความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี.

[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์

อรหัตตผล ฯลฯ เป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว

ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะและโมหะอันมีอยู่ในภายในว่าราคะ โทสะ และ

โมหะมีอยู่ในภายในของเรา ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมรูชัดซึ่งราคะ

โทสะ และโมหะอันมีอยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ใน

ภายในของเรา หรือรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มีอยู่ในภายในว่า

ราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม เหล่านี้พึงทราบด้วยการเชื่อต่อผู้อื่น พึงทราบด้วยความชอบใจ พึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

ทราบด้วยการฟังต่อ ๆ กันมา พึงทราบด้วยการนึกเดาเอาตามเหตุ หรือ

พึงทราบด้วยการถือเอาว่าต้องกับความเห็นของตนบ้างหรือหนอ. ภิกษุ

เหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้เพราะเห็นด้วย

ปัญญามิใช่หรือ.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์

อรหัตตผล เว้นจากการเชื่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟัง

ต่อ ๆ กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาว่าต้องกับ

ความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจ

ที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุลิ้มรสด้วย

ลิ้น ฯลฯ.

[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้แจ้ง

ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ใน

ภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะมีอยู่ในภายในของเรา หรือย่อมรู้ชัด

ซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันไม่มีอยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะ

ไม่มีอยู่ในภายในของเรา ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดด้วยใจแล้ว ย่อมรู้

ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะอันมีอยู่ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะมี

อยู่ในภายในของเรา หรือย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ อันไม่มีอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

ในภายในว่า ราคะ โทสะ และโมหะไม่มีอยู่ในภายในของเรา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้นพึงทราบได้ด้วยการเชื่อต่อผู้อื่น ทราบได้ด้วยความ

ชอบใจ ทราบได้ด้วยการฟังต่อ ๆ กันมาทราบได้ด้วยการนึกเดาเอาตามเหตุ

หรือพึงทราบได้ด้วยการถือเอาว่าต้องกับความเห็นของตน บ้างหรือหนอ.

ภิ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ.

ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์

อรหัตตผลเว้นจากการเชื่อต่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อ ๆ

กันมา เว้นจากการนึกเดาเอาตามเหตุ เว้นจากการถือเอาว่าต้องกับความ

เห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปริยายสูตรที่ ๘

อรรถกถาปริยายสูตรที่ ๘

ในปริยายสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ย ปริยาย อาคมฺม ความว่า อาศัยเหตุใด. บทว่า อญฺเตฺรว

สทฺธาย ความว่า เว้นศรัทธา คือ ปราศจากศรัทธา. ก็ในที่นี้ บทว่า

สทฺธา ไม่ได้หมายเอาศรัทธา ที่ประจักษ์ ( เห็นด้วยตนเอง ) แต่คำว่า

ศรัทธานี้ ท่านกล่าวหมายถึงอาการเชื่อที่ฟังคนอื่นพูดว่าเขาว่าอย่างนั้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

ก็มิได้เลื่อมใสอาการ คือ การให้ชอบใจแม้ในสิ่งที่ชอบใจเป็นต้น เห็นด้วย

แล้วยึดถือว่า นี่มีจริงเป็นจริง ชื่อว่า รุจิ ชอบใจ ฟังตามคำบอกเล่าว่า

เรื่องนี้จักมีจักเป็นจริง ชื่อว่า ฟังตามกันมา. เมื่อนั่งคิดถึงเหตุ เหตุย่อม

ปรากฏ เมื่อเหตุปรากฏอย่างนี้ การเชื่อถือว่า เรื่องนี้มีจริง ชื่อว่า ตรึก

ตามอาการ. อธิบายว่า ตรึกตามเหตุ. เมื่อนั่งคิด ลัทธิอันลามก ย่อมเกิดขึ้น

อาการคือการถือเอาลัทธิลามกนั้นว่า สิ่งนี้ก็คือสิ่งนั้นมีอยู่ ชื่อว่า เชื่อด้วย

ชอบใจว่าต้องกับลัทธิของตน. บทว่า อญฺ พฺยากเรยฺย ความว่า หลุด-

พ้นฐานะ ๕ เหล่านี้แล้ว พึงพยากรณ์พระอรหัต. ในสูตรนี้ตรัสถึง

ปัจเจกขณญาณ สำหรับพระเสขะและอเสขะ.

จบ อรรถกถาปริยายสูตรที่ ๘

๙. อินทริยสูตร

ว่าด้วยเรื่องอินทรีย์

[๒๔๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ๆ ดังนี้ ภิกษุเป็น

ผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ ถ้าว่าภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในจัก-

ขุนทรีย์ ย่อมเบื่อหน่ายในจักขุนทรีย์ ฯลฯ พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

ความเสื่อมในมนินทรีย์ ย่อมเบื่อหน่ายในมนินทรีย์ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม

คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี

ญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุ

ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

จบ อินทริยสูตรที่ ๙

อรรถกถาอินทริยสูตรที่ ๙

ในอินทริยสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อินฺทฺริยสมฺปนฺโน ได้แก่ ภิกษุผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์. ในคำนั้น

ภิกษุใดพิจารณาอินทรีย์ ๖ แล้วบวรลุพระอรหัต ภิกษุนั้นชื่อว่า มีอินทรีย์

สมบูรณ์ ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์เพราะประกอบด้วยอินทรีย์

ที่ขาวสะอาดหมดพยศ หรือเพราะประกอบด้วยอินทรีย์ มีศรัทธาเป็นต้น

ที่เกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาอินทรีย์ ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหมายเอาภิกษุผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์นั้น จึงทรงทำเทศนาให้พิสดารแก่

ภิกษุนั้นโดยนัยมีอาทิว่า จกฺขุนฺทฺริเย จ ดังนี้ แล้วตรัสว่า เอตฺตาวตา โข

ภิกฺขุ อินฺทฺรียสมฺปนฺโน ภิกษุที่ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้.

จบ อรรถกถาอินทริยสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

๑๐. ธรรมกถิกสูตร

ว่าด้วย เหตุที่เรียกว่าเป็นธรรมกถึก

[๒๔๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก ๆ ดังนี้ ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก

ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุ

แสดงธรรมเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับจักษุ ควรเรียกได้ว่า

ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ

ดับจักษุ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าเป็นผู้หลุดพ้น

เพราะหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นจักษุ ควร

เรียกได้ว่า ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน ฯลฯ ภิกษุแสดงธรรมเพื่อหน่าย

เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับใจ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุเป็นพระธรรมกถึก

ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับใจ ควรเรียกได้ว่า

ภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้าเป็นผู้หลุดพ้นเพราะหน่าย

เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นใจ ควรเรียกได้ว่า ภิกษุผู้

บรรลุนิพพานในปัจจุบัน.

จบ ธรรมกถิกสูตรที่ ๑๐

จบ นวปุราณวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ ๑๐ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.

จบ นวปุราณวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กรรมสูตร ๒. ปฐมสัปปายสูตร ๓. ทุติยสัปปายสูตร

๔. ตติยสัปปายสูตร ๕ จตุตถสัปปายสูตร ๖. อนันเตวาสิกานาจริยสูตร

๗. ติตถิยสูตร ๘. ปริยายสูตร ๙. อินทรียสูตร ๑๐. ธรรมกถิกสูตร.

รวมวรรคในตติยปัณณาสก์นี้ คือ

๑. โยคักเขมิวรรค ๒.โลกกามคุณวรรค ๓. คหปติวรรค

๔. เทวทหวรรค ๕. นวปุราณวรรค.

จบ ตติยปัณณาสก์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

๔. จตุตถปัณณาสก์

นันทิขยวรรคที่ ๑

๑. ปฐมนันทิขยสูตร

ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน

[๒๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นจักษุอันไม่เที่ยงนั้นแลว่า

ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ ภิกษุเมื่อเห็นชอบ

ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ

จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า

จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ ภิกษุเห็นใจอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็น

ของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะ

สิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน

เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว.

จบ ปฐมนันทิขยสูตรที่ ๑

๒. ทุติยนันทิขยสูตร

ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน

[๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปอันไม่เที่ยงนั่นแลว่า

ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความเห็นชอบ ภิกษุเมื่อเห็น

ชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้น

๑. อรรถกถาสูตรที่ ๑ - ๔ แก้รวมกันไว้ท้ายสูตรที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

ราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึง

เรียกว่า หลุดพ้นดีแล้ว ภิกษุเห็นเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

อันไม่เที่ยงนั่นแลว่า ไม่เที่ยง ความเห็นของภิกษุนั้น ชื่อว่าเป็นความ

เห็นชอบ ภิกษุเมื่อเห็นชอบย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน

จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ

เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว.

จบ ทุติยนันทิขยสูตรที่ ๒

๓. ตติยนันทิขยสูตร

ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลินเพลิน

[๒๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงจักษุโดย

อุบายอันแยบคาย จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุตามความเป็นจริง

เมื่อใส่ใจถึงจักษุโดยอุบายย้อนแยบคาย พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งจักษุ

ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน

จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ

เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลาย

จงใส่ใจถึงใจ โดยอุบายอันแยบคาย จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งใจ

ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงใจ โดยอุบายอันแยบคาย พิจารณาเห็น

ความไม่เที่ยงแห่งใจตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ เพราะสิ้น

ความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน

เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว.

จบ ตติยนันทิขยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

๔. จตุตถนันทิขยสูตร

ว่าด้วยความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน

[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงใส่ใจถึงรูปโดย

อุบายอันแยบคาย จงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูปตามความเป็นจริง

เมื่อใส่ใจถึงรูปโดยอุบายอันแยบคาย พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งรูป

ตามความเป็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน

จึงสิ้นราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความ

เพลิดเพลินและราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว ฯลฯ เธอทั้งหลาย

จงใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอันแยบคาย จึงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง

แห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง เมื่อใส่ใจถึงธรรมารมณ์โดยอุบายอัน

แยบคาย พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมารมณ์ตามความเป็นจริง

ย่อมเบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน จึงสิ้นราคะ

เพราะสิ้นราคะ จึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นความเพลิดเพลินและ

ราคะ เราจึงเรียกว่า จิตหลุดพ้นดีแล้ว.

จบ จตุตถนันทิขยสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

จตุตถปัณณาสก์

นันทิขยวรรคที่ ๑

อรรถกถานันทิขยสูตรที่ ๑ - ๔

นันทิขยวรรค นันทิขยสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นนฺทิกฺขยา ราคกฺขโย ราคกฺขยา นนฺทิกฺขโย ท่าน

กล่าวว่า นันทิ และราคะ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกัน. บทว่า สุวิมุตฺต

ความว่า หลุดพ้นด้วยดี โดยหลุดพ้นด้วยอรหัตตผล. คำที่เหลือในสูตรนี้

และในสูตรที่ ๒ เป็นต้น ง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถานันทิขยสูตรที่ ๑ - ๔

๕. ปฐมชีวกัมพวนสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงปรากฏตามความเป็นจริง

[๒๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน

กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ เพราะเมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่น

แล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง. ก็อะไรเล่าปรากฏตามความ

เป็นจริง. คือ จักษุย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง รูปย่อม

ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง จักษุวิญญาณย่อมปรากฏตามความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

เป็นจริงว่า ไม่เที่ยง จักษุสัมผัสย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง

แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส

เป็นปัจจัย ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ฯลฯ ใจย่อมปรากฏ

ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า

ไม่เที่ยง มโนวิญญาณย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง มโนสัมผัส

ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมปรากฏตาม

ความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ

เพราะเมื่อภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง.

จบ ปฐมชีวกัมพวนสูตรที่ ๕

๖. ทุติยชีวกัมพวนสูตร

ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงปรากฏตามความเป็นจริง

[๒๕๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ชีวกัมพวัน

กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นบำเพ็ญความเพียร เพราะเมื่อ

ภิกษุหลีกเร้นอยู่ สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็อะไรเล่าย่อมปรากฏตามความเป็นจริง. คือ จักษุย่อมปรากฏ

ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง รูปย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

จักษุวิญญาณย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง จักษุสัมผัสย่อม

ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกข์เวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ย่อมปรากฏตาม

ความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง ฯลฯ ใจย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง

ธรรมารมณ์ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง มโนวิญญาณย่อม

ปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง มโนสัมผัสย่อมปรากฏตามความเป็น

จริงว่า ไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด

ขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ย่อมปรากฏตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงหลีกเร้นบำเพ็ญความเพียร เพราะเมื่อ

ภิกษุหลีกเร้นอยู่ สิ่งทั้งปวงย่อมปรากฏตามความเป็นจริง.

จบ ทุติยชีวกัมพวนสูตรที่ ๖

อรรถกถาชีวกัมพวนสูตรที่ ๕ - ๖

สูตรที่ ๕ ตรัสสำหรับเหล่าภิกษุผู้ยังบกพร่องด้วยสมาธิ. สูตรที่ ๖

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า กรรมฐานของพวกเธอต้องได้พี่เลี้ยง จึง

ตรัสสำหรับเหล่าภิกษุผู้ได้ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง และความสงัดกาย

แต่ยังบกพร่องด้วยการหลีกเร้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺกายติ

ได้แก่อันเขารู้กันทั่ว คือ ปรากฏ. ดังนั้น ในสูตรทั้ง ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงได้ตรัสมรรค ๔ พร้อมด้วยวิปัสสนา.

จบ อรรถกถาชีวกัมพวนสูตรที่ ๕ - ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

๗. ปฐมมหาโกฏฐิกสูตร

ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่ไม่เทียง

[๒๕๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดแสดงธรรมแก่

ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนโกฏฐิกะ สิ่งใดแล ไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้น ก็

สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง จักษุไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปไม่

เที่ยง เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความ

พอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัสไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจใน

จักษุสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิด

ขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง. เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

นั้นเสีย หูไม่เที่ยง . . . จมูกไม่เที่ยง . . . ลิ้นไม่เที่ยง . . . กายไม่เที่ยง. . .

ใจไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอพึง

ละความพอใจในธรรมารมณ์ มโนวิญญาณไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจ

ในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในมโนสัมผัส

นั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะ

๑. อรรถกถาสูตรที่ ๗-๘-๙ แก้รวมไว้ท้ายสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

มโนสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูก่อน

โกฏฐิกะ สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ปฐมมหาโกฏฐิกสูตรที่ ๗

๘. ทุติยมหาโกฏฐิกสูตร

ว่าด้วยการละความพอใจในสิ่งที่เป็นทุกข์

[ ๒๕๒ ] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ. ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์โปรดทรง

แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีก

ออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละ

ความพอใจในสิ่งนั้นเสีย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์. จักษุแลเป็นทุกข์ เธอ

พึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในรูปนั้น

จักษุวิญญาณเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุวิญญาณนั้น จักษุสัมผัส

เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในจักษุสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นทุกข์ เธอ

พึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น

เพราะจักษุสัมผัสนั้นเสีย หูเป็นทุกข์.. . จมูกเป็นทุกข์... ลิ้นเป็นทุกข์...

กายเป็นทุกข์. . . ใจเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

เป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็นทุกข์

เธอพึงละความพอใจในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสเป็นทุกข์ เธอพึงละ

ความพอใจในมโนสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข-

เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นทุกข์ เธอพึงละความพอใจ

ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น เพราะมโน-

สัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูก่อนโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นทุกข์ เธอพึงละ

ความพอใจในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ทุติยมหาโกฏฐิกสูตรที่ ๘

๙. ตติยมหาโกฏฐิกสูตร

ว่าด้วยการละความพอใจในส่งที่เป็นอนัตตา

[๒๕๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิกะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯ ล ฯ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ .ขอประทานพระวโรกาส ขอพระองค์โปรดทรงแสดง

ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ฟังแล้ว พึงเป็นผู้หลีกออกจาก

หมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโกฏฐิกะ ก็สิ่งใดแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความ

พอใจในสิ่งนั้น ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูก่อนโกฏฐิกะ จักษุแลเป็น

อนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุนั้น รูปเป็นอนัตตา เธอพึงละความ

พอใจในรูปนั้น จักษุวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุ

วิญญาณนั้น จักษุสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในจักษุสัมผัส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

นั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุ

สัมผัสเป็นปัจจัยเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในสุขเวทนา ทุขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้นเสีย หูเป็น

อนัตตา . . . จมูกเป็นอนัตตา . . . ลิ้นเป็นอนัตตา . . . กายเป็นอนัตตา . . .

ใจเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจในใจนั้น ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา

เธอพึงละความพอใจในธรรมารมณ์นั้น มโนวิญญาณเป็นอนัตตา เธอพึง

ละความพอใจในมโนวิญญาณนั้น มโนสัมผัสเป็นอนัตตา เธอพึงละความ

พอใจในมโนสัมผัสนั้น แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยเป็นอนัตตา เธอพึงละความพอใจ

ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส

เป็นปัจจัยนั้นเสีย ดูก่อนโกฏฐิกะ สิ่งใดแลเป็นอนัตตา เธอพึงละความ

พอใจในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ตติยมหาโกฏฐิกสูตรที่ ๙

อรรถกถามหาโกฏฐิกสูตรที่ ๗ - ๙

ใน ๓ สูตรมีสูตรที่ ๗ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะ

ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติของพระเถระ.

จบ อรรถกถามหาโกฏฐิกสูตรที่ ๗ - ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยการละมิจฉาทิฏฐิ

[๒๕๔] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคลรู้เห็นจักษุแล โดยความ

เป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยง

จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละ

มิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉา-

ทิฏฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้น

เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิ

ได้ บุคคลรู้เห็นหู รู้เห็นจมูก รู้เห็นลิ้น รู้เห็นกาย รู้เห็นใจโดยความ

เป็นของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็น

ของไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นของไม่เที่ยง

จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ รู้เห็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละ

มิจฉาทิฏฐิได้ ดูก่อนภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล

จึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้.

จบ มิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑๐

๑. อรรถกถาสูตรที่ ๑๐-๑๑-๑๒ แก้รวมไว้ท้ายสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

๑๑. สักกายทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยการละสักกายทิฏฐิ

[๒๕๕] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละสักกายทิฏฐิได้. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคลรู้เห็นจักษุแลโดยความเป็นทุกข์

จึงจะละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้

รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นจักษุ-

สัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพระจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู รู้เห็นจมูก

รู้เห็นลิ้น รู้เห็นกาย รู้เห็นใจโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้

รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นมโน-

วิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดย

ความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็น

ทุกข์ จึงจะละสักกายทิฏฐิได้ ดูก่อนภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่

อย่างนี้แล จึงจะละสักกายทิฏฐิได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

๑๒. อัตตานุทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยการละอัตตานุทิฏฐิ

[๒๕๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้. พระผู้มี

พระเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุคคลรู้เห็นจักษุแล โดยความเป็นอนัตตา

จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ รู้เห็นรูปโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุ-

ทิฏฐิได้ รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้

รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ รู้เห็นแม้

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส

เป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ บุคคลรู้เห็นหู

รู้เห็นจมูก รู้เห็นลิ้น รู้เห็นกาย รู้เห็นใจโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละ

อัตตานุทิฏฐิได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุ-

ทิฏฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้

รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ รู้เห็นแม้

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส

เป็นปัจจัย โดยความเป็นอนัตตา จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้ ดูก่อนภิกษุ

เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอัตตานุทิฏฐิได้.

จบ อัตตานุทิฏฐิสูตรที่ ๑๒

นันทิขยวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

อรรถกถามิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑๐ - ๑๒

๓ สูตรมีสูตรที่ ๑๐ เป็นต้น ตรัสด้วยอำนาจอัธยาศัยบุคคล

แผนกหนึ่งต่างหาก. เนื้อความแห่งสูตรเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าว

แล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถามิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑๐ - ๑๒

จบ นันทิขยวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมนันทิขยสูตร ๒.ทุติยนันทิขยสูตร ๓. ตติยนันทิขยสูตร

๔. จตุตถนันทิขยสูตร ๕. ปฐมชีวกัมพวนสูตร ๖. ทุติยชีวกัมพวนสูตร

๗. ปฐมมหาโกฏฐิกสูตร ๘. ทุติยมหาโกฏฐิกสูตร ๙. ตติยมหาโกฏฐิกสูตร

๑๐. มิจฉาทิฏฐิสูตร ๑๑. สักกายทิฏฐิสูตร ๑๒. อัตตานุทิฏฐิสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

สัฏฐิเปยยาลวรรคที่ ๒

๑. ปฐมฉันทสูตร

ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๒๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ

ฉันทะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในจักษุนั้นเสีย

หูไม่เที่ยง จมูกไม่เที่ยง ลิ้นไม่เที่ยง กายไม่เที่ยง ใจไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย

พึงละฉันทะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละ

ฉันทะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ปฐมฉันทสูตรที่ ๑

๒. ปฐมราคสูตร

ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่ง

นั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

จักษุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในจักษุนั้นเสีย หูไม่เที่ยง จมูกไม่

เที่ยง ลิ้นไม่เที่ยง กายไม่เที่ยง ใจไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในใจ

นั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่ง

นั้นเสีย.

จบ ราคสูตรที่ ๒

๑. สัฏฐิเปยยาลวรรคที่ ๒ อรรถกถาแก้ไว้รวม ๆ กัน ท้ายวรรคนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

๓. ปฐมฉันทราคสูตร

ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ

ในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง. ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย จักษุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในจักษุนั้นเสีย หูไม่เที่ยง

จมูกไม่เที่ยง ลิ้นไม่เที่ยง กายไม่เที่ยง ใจไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ

ฉันทราคะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึง

ละฉันทราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ปฐมฉันทราคสูตรที่ ๓

๔. ทุติยฉันทสูตร

ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นทุกข์

[๒๕๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใด

เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไร

เล่าเป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะ

ในจักษุนั้น หูเป็นทุกข์ จมูกเป็นทุกข์ ลิ้นเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์ ใจเป็น

ทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็น

ทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ทุติยฉันทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

๕. ทุติยราคสูตร

ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่ง

นั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

จักษุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในจักษุนั้นเสีย หูเป็นทุกข์ จมูก

เป็นทุกข์ ลิ้นเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละ

ราคะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละ

ราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ทุติยราคสูตรที่ ๕

๖. ทุติยฉันทราคสูตร

ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ

ในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลายจักษุเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในจักษุนั้นเสีย หูเป็น

ทุกข์ จมูกเป็นทุกข์ ลิ้นเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์ เธอทั้ง

หลายพึงละฉันทราคะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์

เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ทุติยฉันทราคสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

๗. ตติยฉันทสูตร

ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย

พึงละฉันทะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในจักษุนั้น

เสีย หูเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา

ใจเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ตติยฉันทสูตรที่ ๗

๘. ตติยราคสูตร

ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะ

ในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะโนจักษุนั้นเสีย หูเป็น

อนัตตา จมูกเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา

เธอทั้งหลายพึงละราคะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา

เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ตติยราคสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

๙. ตติยฉันทราคสูตร

ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ

ในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในจักษุนั้นเสีย

หูเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา ใจเป็น

อนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ตติยฉันทราคสูตรที่ ๙

๑๐. จตุตถฉันทสูตร

ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่ไม่เที่ยง

[๒๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ

ฉันทะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย เสียง

ไม่เที่ยง กลิ่นไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง

เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่ง

ใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ จตุตถฉันทสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

๑๑. จตุตถราคสูตร

ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่ง

นั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย เสียงไม่เที่ยง กลิ่น

ไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย

พึงละราคะในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอ

ทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ จตุตถราคสูตรที่ ๑๑

๑๒. จตุตถฉันทราคสูตร

ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ

ในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้นเสีย เสียง

ไม่เที่ยง กลิ่นไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง

เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ จตุตถฉันทราคสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

๑๓. ปัญจมฉันทสูตร

ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นทุกข์

[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละ

ฉันทะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย เสียง

เป็นทุกข์ กลิ่นเป็นทุกข์ รสเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์

เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในธรรมารมณ์นั้นเสียง ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ปัญจมฉันทสูตรที่ ๑๓

๑๔. ปัญจมราคสูตร

ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่ง

นั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

รูปเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย เสียงเป็นทุกข์ กลิ่น

เป็นทุกข์ รสเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ เธอ

ทั้งหลายพึงละราคะในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใด

เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้นเสีย

จบ ปัญจมราคสูตรที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

๑๕. ปัญจมฉันทราคสูตร

ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ

ในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นทุกข์. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้นเสีย เสียง

เป็นทุกข์ กลิ่นเป็นทุกข์ รสเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์

เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้นเสีย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สิ่งใดเป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทวาคะในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ปัญจมฉันทราคสูตรที่ ๑๕

๑๖. ฉัฏฐฉันทสูตร

ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนัตตา

[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย

พึงละฉันทะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย

เสียงเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา

ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในธรรมารมณ์นั้นเสีย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งนั้น

เสีย.

จบ ฉัฏฐฉันทสูตรที่ ๑๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

๑๗. ฉัฏฐราคสูตร

ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะใน

สิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย เสียง

เป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา

ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในธรรมารมณ์นั้นเสีย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งนั้น

เสีย.

จบ ฉัฏฐราคสูตรที่ ๑๗

๑๘. ฉัฏฐฉันทราคสูตร

ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตาเธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ

ในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้นเสีย เสียง

เป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา

ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในธรรมารมณ์นั้น

เสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะ

ในสิ่งนั้นเสีย.

จบ ฉัฏฐฉันทราคสูตรที่ ๑๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

๑๙. ปฐมอตีตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายใน ๖ ที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง

[๒๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง

หูที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง จมูกที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นที่เป็น

อดีตเป็นของไม่เที่ยง กายที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง ใจที่เป็นอดีตเป็น

ของไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย

แม้ในใจ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี.

จบ ปฐมอตีตสูตรที่ ๑๙

๒๐. ปฐมอนาคตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายใน ๖ ที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง

[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง

หูที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง จมูกที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นที่

เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง กายที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ใจที่เป็น

อนาคตเป็นของไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว

เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปฐมอนาคตสูตรที่ ๒๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

๒๑. ปฐมปัจจุปันนสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายใน ๖ ที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง

[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง

หูที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นที่

เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง กายที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ใจที่เป็น

ปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว

เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปฐมปัจจุปันนสูตรที่ ๒๑

๒๒. ทุติยอตีตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตเป็นทุกข์

[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ หูที่เป็น

อดีตเป็นทุกข์ จมูกที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ กายที่เป็น

อดีตเป็นทุกข์ ใจที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้

สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ทุติยอตีตสูตรที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

๒๓. ทุติยอนาคตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ หูที่เป็นอนาคต

เป็นทุกข์ จมูกที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ กาย

ที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ใจที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี.

จบ ทุติยอนาคตสูตรที่ ๒๓

๒๔. ทุติยปัจจุปันนสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ หูที่เป็นปัจจุบัน

เป็นทุกข์ จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ กาย

ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี.

จบ ทุติยปัจจุปันนสูตรที่ ๒๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

๒๕. ตติยอตีตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา

[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา หูที่เป็น

อดีตเป็นอนัตตา จมูกที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา

กายที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ใจที่เป็นอดีตที่เป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี.

จบ ตติยอตีตสูตรที่ ๒๕

๒๖. ตติยอนาคตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา หูที่เป็นอนาคต

เป็นอนัตตา จมูกที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา

กายที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ใจที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี

จบ ตติยอนาคตสูตรที่ ๒๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

๒๗. ตติยปัจจุปันนสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา หูที่เป็นปัจจุบัน

เป็นอนัตตา จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา

กายที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ตติยปัจจุปันนสูตรที่ ๒๗

๒๘. จตุตถอตีตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง

[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง

เสียงที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง กลิ่นเป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง รสที่เป็น

อดีตเป็นของไม่เที่ยง โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง ธรรมารมณ์

ที่เป็นอดีตเป็นของไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว

เป็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ จตุตถอตีตสูตรที่ ๒๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

๒๙. จตุตถอนาคตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง เสียงที่เป็น

อนาคตเป็นของไม่เที่ยง กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง รสที่เป็น

อนาคตเป็นของไม่เที่ยง โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ธรรมา-

รมณ์ที่เป็นอนาคตเป็นของไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้

สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ จตุตถอนาคตสูตรที่ ๒๙

๓๐. จตุตถปัจจุปันนสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง เสียงที่เป็น

ปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง รสที่เป็น

ปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ธรรมา-

รมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นของไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้

สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ จตุตถปัจจุปันนสูตรที่ ๓๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

๓๑. ปัญจมอตีตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นทุกข์

[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ เสียงที่เป็น

อดีตเป็นทุกข์ กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ รสที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะ

ที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี.

จบ ปัญจมอตีตสูตรที่ ๓๐

๓๒. ปัญจมอนาคตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ เสียงที่เป็นอนาคต

เป็นทุกข์ กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ รสที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะ

ที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯฯ ล กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปัญจมอนาคตสูตรที่ ๓๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

๓๓. ปัญจมปัจจุปันนสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ เสียงที่เป็นปัจจุบัน

เป็นทุกข์ กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ รสที่เป็นปัจจุบันทุกข์ โผฏฐัพพะ

ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปัญจมปัจจุปันนสูตรที่ ๓๓

๓๔. ฉัฏฐอตีตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา

[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา เสียงที่

เป็นอดีตเป็นอนัตตา กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา รสที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา

โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ฉัฏฐอตีตสูตรที่ ๓๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

๓๕. ฉัฏฐอนาคตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา เสียงที่เป็น

อนาคตเป็นอนัตตา กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา รสที่เป็นอนาคตเป็น

อนัตตา โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคต

เป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ฉัฏฐอนาคตสูตรที่ ๓๕

๓๖. ฉัฏฐปัจจุปันนสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา เสียงที่เป็น

ปัจจุบันเป็นอนัตตา กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา รสที่เป็นปัจจุบันเป็น

อนัตตา โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็น

อนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ฉัฏฐปัจจุปปันนสูตรที่ ๓๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

๓๗. ปฐมอนิจจสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่

เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น

อนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึง

เห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอดีตไม่เที่ยง

จมูกที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ลิ้นที่เป็นอดีตไม่เที่ยง กายที่เป็นอดีตไม่เที่ยง ใจที่

เป็นอดีตไม่เที่ยง ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้น

เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่

ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่น

เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปฐมอนิจจสูตรที่ ๓๗

๓๘. ทุติยอนิจจสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอนาคตไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

[๒๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใด

ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น

อนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึง

เห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอยู่อย่างนี้ หูที่เป็นอนาคตไม่เทียง

จมูกที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ลิ้นที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง กายที่เป็นอนาคต

ไม่เที่ยง ใจที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ทุติยอนิจจสูตรที่ ๓๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

๓๙. ตติยอนิจจสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใด

ไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น

อนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึง

เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง

จมูกที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ลิ้นที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง กายที่เป็นปัจจุบันไม่

เที่ยง ใจที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ตติยอนิจจสูตรที่ ๓๙

๔๐. ปฐมทุกขสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใด

เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่

เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ

เป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ จมูกที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็น

อดีตเป็นทุกข์ กายที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ใจที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็น

ทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่

เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ

เป็นจริงอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่

อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปฐมทุกขสูตรที่ ๔๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

๔๑. ทุติยทุกขสูตร

ว่าด้วยอาตนะภายในที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น

นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

อย่างนี้ หูที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ จมูกที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ลิ้นที่ เป็น

อนาคตเป็นทุกข์ กายที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ใจที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์

ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ทุติยทุกขสูตรที่ ๔๑

๔๒. ตติยทุกขสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่น

ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้

หูที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ จมูกที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ลิ้นที่เป็นปัจจุบัน

เป็นทุกข์ กายที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ฯลฯ

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ตติยทุกขสูตรที่ ๔๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

๔๓. ปฐมอนัตตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา

[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา สิ่งใด

เป็นอนัตตาสิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอดีตเป็น

อนัตตา จมูกที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา กายที่เป็น

อดีตเป็นอนัตตา ใจที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น

ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญา

อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ

แล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปฐมอนัตตสูตรที่ ๔๓

๔๔. ทุติยอนัตตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น

อนัตตาสิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึง

เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา

จมูก เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา กายที่เป็น

อนาคตเป็นอนัตตา ใจที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ทุติยอนัตตสูตรที่ ๔๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

๔๕. ตติยอนัตตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น

อนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็น

ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ หูที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา

จมูกที่เป็น ปัจจุบัน เป็นอนัตตา ลิ้นที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา กายที่เป็น

ปัจจุบันเป็นอนัตตา ใจที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตาฯลฯ กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ตติยอนัตตสูตรที่ ๔๕

๔๖. จตุตถอนิจจสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง

สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วย

ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอดีตไม่เที่ยง กลิ่นที่

เป็นอดีตไม่เที่ยง รสที่เป็นอดีตไม่เที่ยง โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตไม่เที่ยง

ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด

เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา

ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ

เป็นจริงอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่

อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ จตุตถอนิจจสูตรที่ ๔๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

๔๗. ปัญจมอนิจจสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอนาคตไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น

เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น

ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญา

อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง กลิ่นที่เป็น

อนาคตไม่เที่ยง รสที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง

ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตไม่เที่ยง ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปัญจมอนิจจสูตรที่ ๔๗

๔๘. ฉัฏฐอนิจจสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น

เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น

ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญา

อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง กลิ่นที่เป็น

ปัจจุบันไม่เที่ยง รสที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง

ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันไม่เที่ยง ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ฉัฏฐอนิจจสูตรที่ ๔๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

๔๙. จตุตถทุกขสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ สิ่งใด

เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา

ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ

เป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ รสที่

เป็นอดีตเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะที่เป็นอดีตเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีต

เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น

ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญา

อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ

แล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ จตุตถทุกขสูตรที่ ๔๙

๔๐. ปัญจมทุกขสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา

ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

อย่างนี้ เสียงที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ รสที่เป็น

อนาคตเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะที่เป็นอนาคตเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เป็น

อนาคตเป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปัญจมทุกขสูตรที่ ๕๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

๕๑. ฉัฏฐทุกขสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์เป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์

สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา

ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้

เสียงที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ รสที่เป็นปัจจุบัน

เป็นทุกข์ โผฏฐัพพะที่เป็นปัจจุบันเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน

เป็นทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ฉัฏฐทุกขสูตรที่ ๕๑

๕๒. จตุตถอนัตตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา สิ่งใด

เป็นอนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้

พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอดีตเป็น

อนัตตา กลิ่นที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา รสที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะ

ที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เป็นอดีตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็น

อนัตตา สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็น

ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก

ผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ฯ ฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ จตุตถอนัตตสูตรที่ ๕๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

๕๓. ปัญจมอนัตตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วย

ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา

กลิ่นที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา รสที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะ

ที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เป็นอนาคตเป็นอนัตตา ฯลฯ

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปัญจมอนัตตสูตรที่ ๕๓

๕๔. ฉัฏฐอนัตตสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา

สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ข้อนี้พึงเห็นด้วย

ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ เสียงที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา

กลิ่นที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา รสที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะ

ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์ที่เป็นปัจจุบันเป็นอนัตตา ฯลฯ

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ฉัฏฐอนัตตสูตรที่ ๕๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

๕๕. ปฐมอัชฌัตตายตนสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในที่เป็นของไม่เที่ยง

[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของไม่เที่ยง หูเป็นของ

ไม่เที่ยง จมูกเป็นของไม่เที่ยง ลิ้นเป็นของไม่เที่ยง กายเป็นของไม่เที่ยง

ใจเป็นของไม่เทียง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่

อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปฐมอัชฌัตตายตนสูตรที่ ๕๕

๕๖. ทุติยอัชฌัตตายตนสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นทุกข์

[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นทุกข์ หูเป็นทุกข์ จมูก

เป็นทุกข์ ลิ้นเป็นทุกข์ กายเป็นทุกข์ ใจเป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ฯลฯ

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ทุติยอัชฌัตตายตนสูตรที่ ๕๖

๕๗. ตติยอัชฌัตตายตนสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายในเป็นอนัตตา

[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา

จมูกเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย

แม้ในจักษุ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ตติยอัชฌัตตายตนสูตรที่ ๕๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

๕๘. ปฐมพาหิรายตนสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นของไม่เที่ยง

[๒๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เสียงไม่เที่ยง กลิ่น

ไม่เที่ยง รสไม่เที่ยง โผฏฐัพพะไม่เที่ยง ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ปฐมพาหิรายตนที่ ๕๘

๕๙. ทุติยพาหิรายตนสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นทุกข์

[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นทุกข์ เสียงเป็นทุกข์ กลิ่น

เป็นทุกข์ รสเป็นทุกข์ โผฏฐัพพะเป็นทุกข์ ธรรมารมณ์เป็นทุกข์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ทุติยพาหิรายตนสูตรที่ ๕๙

๖๐. ตติยพาหิรายตนสูตร

ว่าด้วยอายตนะภายนอกเป็นอนัตตา

[๒๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา

กลิ่นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์

เป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเสียง แม้ในกลิ่น แม้ในรส แม้ในโผฏฐัพพะ

แม้ในธรรมารมณ์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ ตติยพาหิรายตนสูตรที่ ๖๐

จบ สัฏฐิเปยยาลวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

อรรถกถาสัฏฐิเปยยาลวรรคที่ ๒

ลำดับต่อจากนันทิขยวรรคนั้น ชื่อ สัฏฐิเปยยาลวรรค. สัฏฐิเปย-

ยาลวรรคนั้น มีอรรถง่ายทั้งนั้น. แต่ ๖๐ สูตร ที่ตรัสไว้ในที่นี้ ตรัสด้วย

อำนาจอัธยาศัยของบุคคลผู้จะตรัสรู้ด้วยอำนาจบทนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ฉนฺโท

ปหาตพฺโพ พึงละฉันทะ ดังนี้เป็นต้น. ดังนั้น สูตรทั้งหมดตรัสด้วยอำนาจ

บุคคล แผนกหนึ่งต่างหาก. ในเวลาจบสูตรหนึ่ง ๆ ทั้งในสูตรนี้ ภิกษุบรรลุ

พระอรหัตสูตรละ ๖๐ รูป ๆ.

จบ อรรถกถาสัฏฐิเปยยาลวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมฉันทสูตร ๒. ปฐมราคสูตร ๓. ปฐมฉันทราคสูตร

๔. ทุติยฉันทสูตร ๕. ทุติยราคสูตร ๖. ทุติยฉันทราคสูตร ๗. ตติย-

ฉันทสูตร ๘. ตติยราคสูตร ๙. ตติยฉันทราคสูตร ๑๐. จตุตถฉันทสูตร

๑๑. จตุตถราคสูตร ๑๒. จตุตถฉันทราคสูตร ๑๓. ปัญจมฉันทสูตร

๑๔. ปัญจมราคสูตร ๑๕. ปัญจมฉันทราคสูตร ๑๖. ฉัฏฐฉันทสูตร

๑๗. ฉัฏฐราคสูตร ๑๘. ฉัฏฐฉันทราคสูตร ๑๙. ปฐมอตีตสูตร

๒๐. ปฐมอนาคตสูตร ๒๑. ปฐมปัจจุปันนสูตร ๒๒. ทุติยอตีตสูตร

๒๓. ทุติยอนาคตสูตร ๒๔. ทุติยปัจจุปันนสูตร ๒๕. ตติยอตีตสูตร

๒๖. ตติยอนาคตสูตร ๒๗. ตติยปัจจุปันนสูตร ๒๘. จตุตถอตีตสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

๒๙. จตุตถอนาคตสูตร ๓๐. จตุตถปัจจุปันนสูตร ๓๑. ปัญจมอตีตสูตร

๓๒. ปัญจมอนาคตสูตร ๓๓. ปัญจมปัจจุปันนสูตร ๓๔. ฉัฏฐอตีตสูตร

๓๕. ฉัฏฐอนาคตสูตร ๓๖. ฉัฏฐปัจจุปันนสูตร ๓๗. ปฐมอนิจจสูตร

๓๘. ทุติยอนิจจสูตร ๓๙. ตติยอนิจจสูตร ๔๐. ปฐมทุกขสูตร ๔๑. ทุติย-

ทุกขสูตร ๔๒. ตติยทุกขสูตร ๔๓. ปฐมอนัตตสูตร ๔๔. ทุติยอนัตต-

สูตร ๔๕. ตติยอนัตตสูตร ๔๖. จตุตถอนิจจสูตร ๔๗. ปัญจมอนิจจ-

สูตร ๔๘. ฉัฏฐอนิจจสูตร ๔๙. จตุตถทุกขสูตร ๕๐. ปัญจมทุกขสูตร

๕๑. ฉัฏฐทุกขสูตร ๕๒. จตุตถอนัตตสูตร ๕๓. ปัญจมอนัตตสูตร

๕๔. ฉัฏฐอนัตตสูตร ๕๕. ปฐมอัชฌัตตายตนสูตร ๕๖. ทุติยอัชฌัต-

ตายตนสูตร ๕๗. ตติยอัชฌัตตายตนสูตร ๕๘. ปฐมพาหิรายตนสูตร

๕๙. ทุติยพาหิรายตนสูตร ๖๐. ตติยพาหิรายตนสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

สมุททวรรคที่ ๓

๑. ปฐมสมุททสูตร

ว่าด้วยสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า

[๒๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมกล่าว

ว่า สมุทร ๆ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นไม่ชื่อว่าเป็นสมุทรในวินัยของ

พระอริยเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นเรียกว่า เป็นแอ่งน้ำใหญ่

เป็นห้วงน้ำใหญ่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นสมุทรของบุรุษ กำลัง

ของจักษุนั้นเกิดจากรูป บุคคลใดย่อมอดกลั้นกำลังอันเกิดจากรูปนั้นได้

บุคคลนี้เรียกว่าเป็นพราหมณ์ ข้ามสมุทรคือจักษุ ซึ่งมีทั้งคลื่น มีทั้งน้ำวน

มีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ แล้วขึ้นถึงฝั่งตั้งอยู่บนบก ฯลฯ ใจเป็นสมุทร

ของบุรุษ กำลังของใจนั้นเกิดจากธรรมารมณ์ บุคคลใดย่อมอดกลั้นกำลัง

อันเกิดจากธรรมารมณ์นั้นได้ บุคคลนี้เรียกว่าเป็นพราหมณ์ ข้ามสมุทรคือ

ใจได้ ซึ่งมีทั้งคลื่น มีทั้งน้ำวน มีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ แล้วขึ้นถึงฝั่ง

ตั้งอยู่บนบก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบ

ลงแล้วจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า

[๒๘๖] บุคคลใดข้ามสมุทรนี้ ซึ่งมีทั้งคลื่น มีทั้งน้ำวน

มีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้งผีเสื้อน้ำ น่าหวาดกลัว ข้ามได้

แสนยาก ได้แล้ว บุคคลนั้นเราเรียกว่า เป็นผู้จบ

เวท อยู่จบพรหมจรรย์ ถึงที่สุดแห่งโลก ถึงฝั่งแล้ว.

จบ ปฐมสมุททสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

สมุททวรรคที่ ๓

อรรถกถาปฐมสมุททสูตรที่ ๑

ในสมุททวรรค ปฐมสมุททสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า จกฺขุ ภิภฺขเว ปุริสสฺส สมุทฺโท ความว่า อารมณ์

ชื่อว่าสมุทรเพราะอรรถว่า เต็มได้โดยยาก ก็ได้ หรือ เพราะอรรถว่าตั้งขึ้น

ก็ได้ จักษุนั่นแหละเป็นสมุทร. จริงอยู่อารมณ์มีสีเขียวเป็นต้น ของจักษุนั้น

ร่วมกันเข้าตั้งแต่พื้นปฐพี จนจดชั้นอกนิฏฐที่พรหมโลก ไม่สามารถจะทำให้

เต็มที่ได้ อารมณ์ชื่อว่าสมุทร เพราะอรรถว่าเต็มได้ยาก ก็มีด้วยประการฉะนี้

ส่วนจักษุชื่อว่าเป็นสมุทรในเพราะอารมณ์ทั้งหลาย มีสีเขียวเป็นต้นนั้น ๆ

อันภิกษุไม่สำรวมแล้ว ย่อมถึงความกล้าแข็งด้วยการดำเนินไปที่มีโทษ

เพราะเป็นเหตุเกิดกิเลส เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าสมุทร เพราะอรรถว่าตั้งขึ้น

ก็มี. บทว่า ตสฺส รูปมโย เวโค ความว่า กำลังเร็วแห่งสมุทรคือจักษุแม้นั้น

สำเร็จมาแต่รูป หาประมาณมิได้ ด้วยอำนาจอารมณ์ ต่างด้วยอารมณ์มี

สีเขียวเป็นต้น ที่มารวมกัน พึงทราบเหมือนกำลังเร็วอันสำเร็จมาแต่คลื่น

ของสมุทรอันหาประมาณมิได้. บทว่า โย ต รูปมย เวค สหติ ความว่า

ู้ใด ไม่ทำกิเลสมีราคะเป็นต้นให้เกิดขึ้นอย่างนี้คือ ราคะในอารมณ์ที่น่า

พอใจ โทสะในอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ โมหะในอารมณ์ที่เป็นกลาง ๆ อดทน

กำลังเร็วที่สำเร็จมาแต่รูป ซึ่งรวมลงในสมุทรนั้น โดยเป็นผู้วางเฉยเสีย.

ในบทว่า สอุมฺมิ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ชื่อว่า

สอุมฺมิ เพราะคลื่นคือกิเลส. ชื่อว่า สาวัฏฏะ เพราะวังวนคือกิเลส

ชื่อว่า สุคาหะ เพราะสัตว์ร้ายผู้จับคือกิเลส ชื่อว่า สรักขสะ เพราะผีร้าย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

คือกิเลส อนึ่งชื่อว่า สอุมฺมิ มีคลื่นก็โดยอำนาจความโกรธและความคับ

แค้น. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า อุมฺมิภยนฺติ โข ภิกฺขเว โกธุปายาสสฺ-

เสต อธิวจน ภิกษุทั้งหลาย คำว่า อุมฺมิภย ภัยคือคลื่นนี้แล เป็น

ชื่อ แห่งความโกรธและความคับแค้น ชื่อว่า สาวัฏฏะวังวนด้วยอำนาจกาม

คุณ สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า อาวฏฺฏ วา โหติ โข ภิกฺขเว ปญฺจนฺเนต

กามคุณาน อธิวจน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า อาวฏฺฏ นี้เป็นชื่อ

กามคุณ ๕. ชื่อว่า สคาหะ ชื่อว่า สรักขสะ ด้วยอำนาจแห่งมาตุคาม.

สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย คำว่า สรกฺขโส นี้แลเป็นชื่อ

มาตุคาม. แม้ในทวารที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สภย ทุตฺตร

อจฺจตริ ความว่า ข้ามสมุทรที่มีภัย ด้วยภัยคือคลื่น ก้าวลงได้ยาก.

บทว่า โลกนฺตคู ได้แก่ถึงที่สุด แห่งสังขารโลก. บทว่า ปารคโตติ วุจฺจติ

ความว่า ท่านเรียกว่า ถึงพระนิพพาน.

จบ อรรถกถาปฐมสมุททสูตรที่ ๑

๒. ทุติยสมุททสูตร

ว่าด้วยสมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า

[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนไม่ได้สดับแล้ว ย่อมกล่าวว่า

สมุทร ๆ ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นไม่ชื่อว่าเป็นสมุทรในวินัยของ

พระอริยเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมุทรนั้นเรียกว่า เป็นแอ่งน้ำใหญ่

เป็นห้วงน้ำใหญ่ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่า

พอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด นี้เรียกว่าเป็นสมุทรในวินัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

ของพระอริยเจ้า โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ในสมุทรนี้ โดยมาก

เป็นผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่ง

กระจุกด้าย เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงอบาย ทุคติ

วินิบาต สงสารไปได้ไม่ ฯลฯ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ น่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด นี้เรียกว่าเป็น

สมุทรในวินัยของพระอริยเจ้า โลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหม-

โลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีอยู่ในสมุทรนี้

โดยมาก เป็นผู้เศร้าหมอง เกิดเป็นผู้ยุ่งดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปม

ประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นดุจหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงอบาย

ทุคติ วินิบาต สงสารไปได้ไม่.

[๒๘๘] บุคคลใดคลายราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว

บุคคลนั้นชื่อว่าข้ามสมุทรนี้ ซึ่งมีทั้งสัตว์ร้าย มีทั้ง

ผีเสื้อน้ำ มีภัยคือคลื่น ที่ข้ามได้แสนยาก ได้แล้ว

เรากล่าวว่า บุคคลนั้นล่วงพ้นเครื่องข้อง ละมัจจุ

ไม่มีอุปธิ และทุกข์ได้ขาดเพื่อไม่เกิดต่อไป ถึง

ความดับสูญ ไม่กลับมาเกิดอีก ลวงมัจจุราชให้

หลงได้.

จบ ทุติยสมุททสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

อรรถกถาทุติยสมุททสูตรที่ ๒

ในทุติยสมุททสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมุทฺโท ความว่า ชื่อว่า สมุททะ เพราะอรรถว่า ตั้งขึ้น

ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะอรรถว่า เปียกชุ่ม. บทว่า เยภุยฺเยน ความว่า

เว้นพระอริยสาวกทั้งหลาย. บทว่า สมุทฺทา ความว่า เปียก ชุ่ม จมน้ำ.

คำว่า กนฺตา กุลกชาตา เป็นต้น กล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลังนั่นแล.

บทว่า มจฺจุชโห ได้แก่ละมัจจุทั้ง ๓ แล้วอยู่. บทว่า นิรูปธิ ได้แก่

ไม่มีอุปธิ ด้วยอุปธิทั้ง ๓. บทว่า อปุนพฺภวาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์

แก่พระนิพพาน. บทว่า อโมหยี มจฺจุราช ความว่า ไปทางข้างหลังพระยา

มัจจุราช โดยอาการที่พระยามัจจุราชไม่รู้คติของเขา.

จบ อรรถกถาทุติยสมุททสูตรที่ ๒

๓. พาลิสิกสูตร

ว่าด้วยเบ็ด ๖ ชนิด

[๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อลง

ในห้วงน้ำลึก ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวหนึ่งกลืนกินเบ็ดนั้น ปลานั้นชื่อว่า

กลืนกินเบ็ดของนายพรานเบ็ด ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ พรานเบ็ด

พึงกระทำได้ตามชอบใจฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้มีเบ็ดอยู่

๖ ชนิดเหล่านี้ สำหรับนำสัตว์ทั้งหลายไป สำหรับฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เบ็ด ๖ ชนิด คืออะไรบ้าง. คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่

ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่นในรูปนั้น

ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ

มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

อันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัย

ความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน สรรเสริญ หมกมุ่น

ธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า กลืนกินเบ็ดของมาร ถึงความวิบัติ

ถึงความพินาศ มารใจบาปพึงกระทำได้ตามชอบใจ.

[๒๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด

มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นรูปนั้น ภิกษุนี้

เราเรียกว่า ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ตัดเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ

ไม่ถึงความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์อันจะพึงรู้ได้ด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ น่ารัก อาศัยความใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่

เพลิดเพลิน ไม่สรรเสริญ ไม่หมกมุ่นธรรมารมณ์นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า

ไม่กลืนกินเบ็ดของมาร ได้ทำลายเบ็ด ตัดเบ็ด ไม่ถึงความวิบัติ ไม่ถึง

ความพินาศ มารใจบาปไม่พึงกระทำได้ตามชอบใจ.

จบ พาลิสิกสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

อรรถกถาพาลิสิกสูตรที่ ๓

พาลิสิกสูตรที่ ๓ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถาพาลิสิกสูตรที่ ๓

๔. ขีรรุกขสูตร

ว่าด้วยทรงเปรียบเทียบกิเลสกับยางไม้

[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ

หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปทั้งหลาย อันจักษุวิญญาณพึงรู้แจ้ง

ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูป

อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณน้อย มาปรากฏในจักษุของภิกษุ

หรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้ จะป่วยกล่าว

ไปไยถึงรูปอันมีประมาณยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า

ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณี

นั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้. ราคะ โทสะ โมหะของภิกษุ

หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ

ในธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ

โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมี

ประมาณน้อย มาปรากฏในใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น. ก็ยังครอบงำจิต

ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันมีประมาณ

ยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร.

เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ

โมหะนั้นไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

[๒๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือ

ต้นมะเดื่อ เป็นต้นไม้มียาง ขนาดเขื่อง ขนาดรุ่น ขนาดเล็ก บุรุษเอาขวาน

อันคมสับต้นไม้นั้น ตรงที่ไร ๆ ยางพึงไหลออกหรือ. ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้น เพราะอะไร.

ภิ. เพราะยางมีอยู่ พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้นฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง มีอยู่ในรูปอันจักขุ-

วิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว

ถ้าแม้รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณน้อย มาปรากฏในจักษุ

ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีได้ จะป่วย

กล่าวไปไยถึงรูปอันมีประมาณยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น

ได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นยังมีอยู่ ภิกษุ

หรือภิกษุณีนั้นยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้ ราคะ โทสะ โมหะ

ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่งมีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ใน

โผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น

ไม่ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้ธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณ

พึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณน้อย มาปรากฏในใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ยัง

ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์

อันมีประมาณยิ่ง จักไม่ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้น

เพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะ ยังมีอยู่ ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น

ยังละราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

[๒๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ

หรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุ

หรือภิกษุณีนั้นละราคะ. โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าแม้รูปอันจักขุวิญญาณ

พึงรู้แจ้งซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในจักษุของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยัง

ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันมี

ประมาณน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ

โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใด

รูปหนึ่งไม่มีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์

อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในใจของภิกษุหรือ

ภิกษุณีนั้น ก็ครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าว

ไปไยถึงธรรมารมณ์อันมีประมาณน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณี

นั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุ

หรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว.

[๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นกร่าง หรือ

ต้นมะเดื่อซึ่งเป็นไม้มียาง เป็นต้นไม้แห้ง เป็นไม้ผุ เกินปีหนึ่ง บุรุษเอา

ขวานอันคมสับต้นไม้นั้น ตรงที่ไร ๆ ยางพึงไหลออกมาหรือ. ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร.

ภิ. เพราะยางไม่มี พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

พ. ข้อนั้นฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูป

อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว

ถ้าแม้รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในจักษุของ

ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะ

ป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันมีประมาณน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณี

นั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุ

หรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ของ

ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ใน

โผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น

ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง

ซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิต

ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันมี

ประมาณน้อย จักครองงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ

โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว.

จบ ขีรรุกขสูตรที่ ๔

อรรถกถาขีรรุกขสูตร

ในขีรรุกขสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

ชื่อว่า อตฺถิ มีอยู่ เพราะอรรถว่า ยังละกิเลสไม่ได้. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โส อปฺปหีโน. บทว่า ปริตฺตา ความว่า

จริงอยู่รูปแม้ขนาดเท่าภูเขา คนไม่เห็น ไม่พอเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ชื่อว่า

เล็กน้อย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า รูปทั้งหลายแม้เห็นปานนั้น

ยังครอบงำจิตของผู้นั้นได้. บทว่า โก ปน วาโท อธิมตฺตาน ความว่า

จะป่วยกล่าวไปไยเล่า ในคำที่ว่า อิฏฐารมณ์ อันเป็นวัตถุเป็นที่ตั้งแห่ง

ความยินดี จักไม่ครอบงำจิตของเขา. ก็ในที่นี้วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ยินดี มีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น แม้มีขนาดเท่าหลังเล็บ พึงทราบว่า

อารมณ์มีขนาดใหญ่ทั้งนั้น. บททั้ง ๓ มีบทว่า ทหโร เป็นต้น เป็นไวพจน์

แห่งกันและกันนั่นแล. บทว่า ภินฺเทยฺย ความว่า พึงเฉาะ พึงกรีด.

จบ อรรถกถาขีรรุกขสูตรที่ ๔

๕. โกฏฐิกสูตร

ว่าด้วยปัญหาของท่านพระมหาโกฏฐิกภิกษุ

[๒๙๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิกะ

อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่าน

พระมหาโกฏฐิกะออกจากที่พักแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้

ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป

แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

ท่านพระสารีบุตร จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์.

เครื่องผูกของจักษุ หูเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของเสียง เสียงเป็นสังโยชน์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

เครื่องผูกของหู จมูกเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกลิ่น กลิ่นเป็นสังโยชน์

เครื่องผูกของจมูก ลิ้นเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรส รสเป็นสังโยชน์

เครื่องผูกของลิ้น กายเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะ

เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกาย ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์

ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหรือ. ท่านพระสารีบุตรตอบว่า

ท่านโกฏฐิกะ จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่อง

ผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ

และรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น หูเป็นสังโยชน์

เครื่องผูกของเสียง เสียงเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของหูหามิได้ แต่ฉันทราคะ

ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียงทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์

เครื่องผูกหูและเสียงนั้น จมูกเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกลิ่น กลิ่นเป็น

สังโยชน์เครื่องผูกของจมูกหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้น

เพราะอาศัยจมูกและกลิ่นทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจมูกและกลิ่น

นั้น ลิ้นเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรส รสก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของลิ้น

หามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นกับรสทั้งสอง

นั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกลิ้นและรสนั้น กายเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของ

โผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของกายหามิได้ แต่ฉันทราคะ

ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้งสองนั้น เป็น

สังโยชน์เครื่องผูกกายและโผฏฐัพพะนั้น ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของ

ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันท-

ราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น

เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

[๒๙๖] ท่านโกฏฐิกะ โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วยสายคร่าว

หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยวเนื่องกับ

โคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวถูกหรือ.

ก. ท่านพระสารีบุตร ไม่ถูกเลย โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว

ทั้งโคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับโคดำ โคดำกับโคขาวนั้นเขาผูกติดด้วยสายคร่าว

หรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าวหรือเชือกนั้นเป็นเครื่องผูกโคทั้งสอง

นั้นให้ติดกัน.

สา. ข้อนั้นฉันใด ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุ

เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่

ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็น

สังโยชน์เครื่องผูกในจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของ

ธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ ฉันทราคะ

ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็น

สังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.

[๒๙๗] ท่านโกฏฐิกะ จักษุจักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป หรือ

รูปจักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความ

พ้นทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ แต่เพราะจักษุไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูก

ของรูป รูปก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะความพอใจ

รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูก

จักษุและรูปนั้น เพราะฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

สิ้นทุกข์โดยชอบ จึงปรากฏ ฯลฯ ใจจักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของ

ธรรมารมณ์ หรือธรรมารมณ์จักเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจ การอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ย่อมไม่ปรากฏ แต่เพราะ

ใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์

เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ

ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น

เพราะฉะนั้น การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ จึง

ปรากฏ ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ จักษุไม่เป็นสังโยชน์

เครื่องผูกของรูป รูปก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะความ

พอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่อง

ผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์

ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะความพอใจ

รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่อง

ผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.

[๒๙๘] ท่านโกฏฐิกะ จักษุของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระ-

องค์ก็ทรงเห็นรูปด้วยจักษุ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีฉันทราคะความพอใจ

รักใคร่เลย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว โสตของพระผู้มี-

พระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ยังทรงฟังเสียงด้วยโสต แต่พระองค์ไม่มี

ฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ฆานะของพระผู้-

มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงสูดกลิ่นด้วยฆานะ แต่พระองค์

ไม่มีฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ชิวหาของพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

ผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงลิ้มรสด้วยชิวหา แต่พระองค์ไม่มี

ฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว กายของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย แต่พระองค์ไม่มี

ฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว มนัสของพระผู้มี-

พระภาคเจ้ามีอยู่แท้ พระองค์ก็ทรงรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยมนัส แต่พระองค์

ไม่มีฉันทราคะความพอใจรักใคร่ ทรงมีจิตหลุดพ้นแล้ว ท่านโกฏฐิกะ ข้อนี้

พึงทราบโดยปริยายนี้ จักษุไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปก็ไม่เป็น

สังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะ

อาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ

ใจไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ก็ไม่เป็นสังโยชน์

เครื่องผูกของใจ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ

ธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจและธรรมารมณ์นั้น.

จบ โกฏฐิกสูตรที่ ๕

อรรถกถาโกฏฐิกสูตรที่ ๕

ในโกฏฐิกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ตทุภย ตัดเป็น ต อุภย แปลว่า สูตรทั้ง ๒ นั้น.

จบ อรรถกถาโกฏฐิกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

๖. กามภูสูตร

ว่าด้วยปัญหาของพระกามภูภิกษุ

[๒๙๙] สมัยหนึ่ง พระท่านอานนท์และท่านพระกามภูอยู่ ณ

โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระกามภูออกจาก

ที่พักแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ จักษุเป็น

สังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุ ฯลฯ ใจเป็น

สังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์เป็นสังโยชน์ผูกเครื่องของ

ใจหรือ.

ท่านพระอานนท์ตอบว่า ท่านพระกามภู จักษุเป็นสังโยชน์เครื่อง

ผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะความ

พอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่อง

ผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์ ธรรมา-

รมณ์เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจรักใคร่

เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นสังโยชน์เครื่องผูกใจ

และธรรมารมณ์นั้น ท่านพระกามภู โคดำกับโคขาว เขาผูกติดกันด้วย

สายคร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน หากจะมีบุคคลใดกล่าวว่า โคดำเกี่ยว

เนื่องกับโคขาว โคขาวเกี่ยวเนื่องกับโคดำ ดังนี้ บุคคลนั้นกล่าวถูกหรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

กา. ท่านพระอานนท์ ไม่ถูกเลย โคดำไม่เกี่ยวเนื่องกับโคขาว

ทั้งโคขาวก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับโคดำ โคคำกับโคขาวนั้น เขาผูกติดกันด้วยสาย

คร่าวหรือด้วยเชือกเส้นเดียวกัน สายคร่าวหรือเชือกเส้นเดียวกันนั้น เป็น

เครื่องผูกโคทั้งสองนั้นให้ติดกันฉันใด.

อา. ท่านกามภู ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุเป็นสังโยชน์

เครื่องผูกของรูป รูปก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของจักษุหามิได้ แต่ฉันทราคะ

ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้งสองนั้นเป็นสังโยชน์

เครื่องผูกจักษุและรูปนั้น ฯลฯ ใจเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของธรรมารมณ์

ธรรมารมณ์ก็เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของใจหามิได้ แต่ฉันทราคะความพอใจ

รักใคร่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองนั้น เป็นเครื่องผูกใจ

และอารมณ์นั้น.

จบ กามภูสูตรที่ ๖

อรรถกถากามภูสูตรที่ ๖

กามภูสูตรที่ ๖ ง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถากามสูตรที่ ๖

๗. อุทายีสูตร

ว่าด้วยปัญหาของพระอุทายีภิกษุ

[๓๐๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระอุทายี อยู่ ณ

โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

พักแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอานนท์ กายนี้ พระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสบอกเปิดเผย ประกาศแล้วโดยปริยายต่าง ๆ ว่า แม้เพราะ

เหตุนี้ กายนี้เป็นอนัตตาดังนี้ ฉันใด แม้วิญญาณนี้ ท่านอาจจะบอก แสดง

บัญญัติ ตั้งแต่ เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณ

นี้เป็นอนัตตา ฉันนั้นหรือ.

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ท่านพระอุทายี กายนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วโดยปริยายต่าง ๆ ว่า แม้เพราะ

เหตุนี้ กายนี้เป็นอนัตตา ดังนี้ ฉันใด แม้วิญญาณนี้ ผมอาจจะบอก

แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้นว่า แม้เพราะ

เหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา ฉันนั้น.

[๓๐๑] ท่านพระอุทายี จักษุวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ

และรูปหรือ.

อุ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

อา. เหตุและปัจจัยที่อาศัยจักษุวิญญาณเกิดขึ้น พึงดับไปหมดสิ้น

หาส่วนเหลือมิได้ จักษุวิญญาณจะปรากฏบ้างหรือหนอ.

อุ. ไม่ปรากฏเลย ท่านผู้มีอายุ.

อา. แม้โดยปริยายนี้แล จักษุวิญญาณนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณนี้เป็นอนัตตา

ดังนี้ ฯ ฯ ท่านพระอุทายี มโนวิญญาณย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ

ธรรมารมณ์หรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

อุ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.

อา. เหตุและปัจจัยที่อาศัยมโนวิญญาณเกิดขึ้น พึงดับไปหมดสิ้น

หาส่วนเหลือมิได้ มโนวิญญาณจะปรากฏบ้างหรือหนอ.

อุ. ไม่ปรากฏเลย ท่านผู้มีอายุ.

อา. ท่านผู้มีอายุ แม้โดยปริยายนี้แล มโนวิญญาณนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสบอก เปิดเผย ประกาศแล้วว่า แม้เพราะเหตุนี้ วิญญาณ

นี้เป็นอนัตตา.

[๓๐๒] ท่านพระอุทายี บุรุษต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะแสวงหา

แก่นไม้ ถือเอาขวานอันคมเข้าไปสู่ป่า พบต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ ใหม่

ในป่านั้น พึงตัดที่โคนต้นแล้วตัดที่ปลาย ครั้นแล้วลอกกาบออก แม้กระพี้

ที่ต้นกล้วยนั้นก็ไม่พบ ที่ไหนจะพบแก่นได้ ฉันใด ท่านพระอุทายี ภิกษุ

จะพิจารณาหาตัวตนหรือสิ่งที่เป็นตัวตนในผัสสายตนะ ๖ ไม่พบ. ฉันนั้น

เหมือนกัน เมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่ยืดถือสิ่งไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยืดถือ

ก็ไม่ดิ้นรน เมื่อไม่ดิ้นรน ก็ดับสนิทจำเพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี.

จบ อุทายีสูตรที่ ๗

อรรถกถาอุทายีสูตรที่ ๗

ในอุทายีสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า อเนกปริยาเยน ได้แก่ โดยเหตุเป็นอันมาก บาลีว่า

อิติปาย ดังนี้ก็มี. ในสูตรนี้ตรัสอนัตตลักขณะโดยความเป็นของไม่เที่ยง.

จบ อรรถกถาอุทายีสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

๘. อาทิตตปริยายสูตร

ว่าด้วยอาทิตตปริยายและธรรมปริยาย

[๓๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรม

ปริยายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาทิตต-

ปริยายและธรรมปริยายเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงจัก-

ขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อนไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิต

โดยอนุพยัญชนะในรูป อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณ

อันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุ-

พยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้น

ไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์

เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราเห็นโทษอันนี้ จึงกล่าวอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กอันคม

ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน

โสตวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน

นิมิตหรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้

ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ

๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะ

จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคว้านฆานินทรีย์ด้วยมีดตัดเล็บอันคม

ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในกลิ่นอัน

ฆานวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีใน

นิมิต หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้

ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ

๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะ

ที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเฉือนชิวหินทรีย์ด้วยมีดโกนอันคม

ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรส อันชิวหา

วิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต

หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคล

พึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ

นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงกาอินทรีย์ด้วยหอกอันคม ไฟติด

ลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในโผฏฐัพพะ อัน-

กายวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต

หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคล

ทำกาลกิริยาในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรก

หรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขึ้นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังดีกว่า แต่เรากล่าวความหลับว่า

เป็นหมันไร้ผล เป็นความงมงาย ของคนที่เป็นอยู่ ตนลุอำนาจของวิตก

เช่นใดแล้ว พึงทำลายหมู่ให้แตกกันได้ ก็ไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นความเป็นหมันอันนี้แลว่าเป็นอาทีนพของคน

ที่เป็นอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้.

[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว

ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักขุนทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กอันร้อน

ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า

จักษุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง แม้

สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส

เป็นปัจจัยไม่เที่ยง โสตินทรีย์ที่บุคคลเกี่ยวด้วยขอเหล็กอันคม ไฟติดลุก

โพลงแล้ว จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า โสตไม่เที่ยง

สัททะเสียงไม่เที่ยง โสตวิญญาณไม่เที่ยง โสตสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่เที่ยง ฆานินทรีย์ที่บุคคลคว้านด้วยมีดตัดเล็บอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว

จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ฆานะจมูกไม่เที่ยง

คันธะกลิ่นไม่เที่ยง ฆานวิญญาณไม่เที่ยง ฆานสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา

เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็

ไม่เที่ยง ชิวหินทรีย์ที่บุคคลเฉือนด้วยมีดโกนอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว

จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ชิวหาลิ้นไม่เที่ยง

รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย

ก็ไม่เที่ยง กายินทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหอกอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว

จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า กายไม่เที่ยง โผฏฐัพพะ

ไม่เที่ยง กายวิญญาณไม่เที่ยง กายสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา

หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ความ

หลับจงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า มนะใจไม่เที่ยง

ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง สุขเวทนา

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย

ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส

แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ

จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์

แม้ในมโนวิญญาณ แม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ

อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมือเบื่อหน่าย

ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว

ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่

จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเรียกว่าอาทิตตปริยาย และธรรมปริยายฉะนี้แล

จบ อาทิตตปริยายสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

อรรถกถาอาทิตตปริยายสูตรที่ ๘

ในอาทิตตปริยายสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อนุพฺยญฺชโส นิมิตฺตคฺคาโห ความว่า ถือเอาโดยนิมิต

โดยแยกถือเป็นส่วน ๆ อย่างนี้ว่า มืองาม เท้างาม ดังนี้. ก็บทว่า

นิมิตฺตคฺคาโห ได้แก่ รวมถือเอา. บทว่า อนุพฺยญฺชคฺคาโห ได้แก่

แยกถือเอา. การถือเอาโดยนิมิต ก็เช่นเดียวกับร่างจระเข้ ย่อถือเอาทั้งหมด

ทีเดียว. การถือเอาโดยอนุพยัญชนะแยกถือเอาส่วนนั้น ๆ บรรดาส่วน

ทั้งหลายมีมือและเท้าเป็นต้น. ก็การถือเอานิมิตทั้ง ๒ อย่างนี้ ย่อมได้แม้ใน

ชวนะวาระเดียว. ในชาวนะวาระต่าง ๆ ไม่จำต้องกล่าวถึง.

บทว่า นิมิตฺตสฺสาเทคธิต ได้แก่ เจริญ คือ ติดพันด้วยความ

ยินดีในนิมิต. บทว่า วิญฺาณ ได้แก่ กรรมวิญญาณ. บทว่า ตสฺมึ

เจ สมเย กาล กเรยฺย ความว่า ใคร ๆ ที่ชื่อว่า กำลังกระทำกาละ

ด้วยจิตอันเศร้าหมอง มีอยู่หามิได้. ด้วยว่าสัตว์ทั้งปวง ย่อมทำกาละ

ด้วยภวังคจิตเท่านั้น. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงภัยแห่งกิเลส จึง

ตรัสอย่างนั้น. อนึ่ง พระองค์ตรัสอย่างนั้น ด้วยอำนาจแห่งสมัย. จริงอยู่

เมื่ออารมณ์ มาปรากฏในจักขุทวาร ราคจิตจิตที่กำหนัด ทุฏฐจิตจิตขัดเคือง

หรือมุฬหจิตจิตที่ลุ่มหลง ย่อมเสวยรสแห่งอารมณ์หยั่งลงสู่ภวังคจิตอยู่ใน

ภวังคจิตแล้ว ย่อมกระทำกาลกิริยา. ในสมัยนั้น บุคคลผู้ทำกาละ พึงหวัง

คติเป็นสอง. คำนั้น ตรัสด้วยอำนาจสมัยอันนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

บทว่า อิม ขฺวาห ภิกฺขเว อาทีนว ความว่า เราพิจารณาเห็น

ทุกข์อันสัตว์พึงเสวยในนรก หลายแสนปีนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า เรา

ประสงค์เอาการใช้ซี่เหล็กอันร้อนทะลวงนัยน์ตา. พึงทราบอรรถในบททั้ง-

ปวงโดยนัยนี้. บทว่า อโยสกุนา ได้แก่ หลาวเหล็ก. บทว่า สมฺปลิมฏฺ

ความว่า โสตินทรีย์ ชื่อว่า อันภิกษุยอนแล้ว ด้วยอำนาจแทงช่องหูทั้ง ๒

แล้วดอกลงที่แผ่นดิน.

ในวารที่ ๓ (ฆานินทรีย์) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า สมฺปลิมฏฺ

( ฆ่านินทรีย์ ) อันภิกษุคว้านแล้ว โดยสอดมีดตัดเล็บเข้าไปแล้วงัดขึ้นให้

หลุดตกไปพร้อมด้วยตั้งจมูก.

ในวาระที่ ๔ (ชิวหินทรีย์) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า สมฺปลิมฏฺ

ความว่า (ชิวหินทรีย์) อันภิกษุตัดแล้ว โดยตัดโคนลิ้นที่ต่อให้ตกไป.

ในวาระที่ ๕ (กายินทรีย์) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า สมฺปลิมฏฺ

ความว่า ( กายินทรีย์ ) อันภิกษุแทงแล้ว โดยใช้มีดอันคมกริบชำแหละ

กายประสาทขึ้นแล้วให้ตกไป. ในบทว่า สตฺติยา นี้ บัณฑิต พึงทราบว่า

มีดมีด้ามเล่มใหญ่. บทว่า โสตฺต ได้แก่ นอนหลับ. ด้วยบทว่า ยถารูปาน

วิตกฺกาน วสงฺคโต สงฺฆ ภินฺเทยฺย ผู้ลุอำนาจวิตกเห็นปานใด พึงทำลาย

สงฆ์ นี้ พระองค์ทรงแสดงว่าวิตกทั้งหลาย นำมาซึ่งบาปกรรมตลอดจน

ถึงสังฆเภท. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาอาทิตตปริยายสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

๙. ปฐมหัตถปาทปัพพสูตร

ว่าด้วยข้อมือข้อเท้าเปรียบเทียบกับอายตนะ

[๓๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ มีอยู่ การจับและ

การวางก็ปรากฏ เมื่อเท้าทั้ง ๒ มีอยู่ การก้าวไปและถอยกลับก็ปรากฏ

เมื่อข้อทั้งหลายมีอยู่ การคู้เข้าและเหยียดออกก็ปรากฏ เมื่อท้องมีอยู่

ความหิวและความระหายก็ปรากฏ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมีอยู่

สุขและทุกข์อันเป็นกายในย่อมเกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ

เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัส

เป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ ไม่มี การจับและ

การวางก็ไม่ปรากฏ เมื่อเท้าทั้ง ๒ ไม่มี การก้าวไปและถอยกลับก็ไม่ปรากฏ

เมื่อข้อทั้งหลายไม่มี การคู้เข้าและเหยียดออกก็ไม่ปรากฏ เมื่อท้องไม่มี

ความหิวและความระหายก็ไม่ปรากฏ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

จักษุไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็น

ปัจจัย ฯลฯ เมื่อใจไม่มี สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะ

มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบ ปฐมหัตถปาทปัพพสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมหัตถปาทปัพพสูตรที่ ๙

ในปฐมหัตถปาทปัพพสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า หตฺเถสุ ภิกฺขเว สติ ความว่า เมื่อมือมีอยู่.

จบ อรรถกถาปฐมหัตถปาทปัพพสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

๑๐. ทุติยหัตถปาทปัพพสูตร

ว่าด้วยการเปรียบเทียบอายตนะกับข้อมือข้อเท้า

[๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ มี การจับและการวาง

ก็มี เมื่อเท้าทั้ง ๒ มี การก้าวไปและถอยกลับก็มี เมื่อข้อทั้งหลายมี

การคู้เข้าและเหยียดออกก็มี เมื่อท้องมี ความหิวและความระหายก็ ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น

เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน

ย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๓๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง ๒ ไม่มี การจับและ

การวางก็ไม่มี เมื่อเท้าทั้ง ๒ ไม่มี การก้าวไปและถอยกลับก็ไม่มี เมื่อข้อ

ทั้งหลายไม่มี การคู้เข้าและเหยียดออกก็ไม่มี เมื่อท้องไม่มี - ความหิว

และความระหายก็ ไม่มี ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุไม่มี สุขและ

ทุกข์อันเป็นภายในไม่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อใจไม่มี

สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้น

เหมือนกัน.

จบ ทุติยหัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑๐

สมุททวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

อรรถกถาทุติยหัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑๐

ในทุติยหัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

เมื่อตรัสว่า น โหติ จึงได้ตรัสด้วยอัธยาศัยของผู้จะตรัสรู้. ก็ใน

สูตรทั้ง ๒ นี้ พระองค์ทรงแสดงเฉพาะสุขทุกข์อันเป็นวิบาก แล้วจึง

ทรงแสดงวัฏฏะและวิวัฏฏะแล.

จบ อรรถกถาทุติยหัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถาสมุททวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมุททสูตรที่ ๑ ๒. สมุททสูตรที่ ๒ ๓. พาลิสิกสูตร

๔. ขีรรุกขสูตร ๕. โกฏฐิกสูตร ๖. กามภูสูตร ๗. อุทายีสูตร

๘. อาทิตตปริยายสูตร ๙. หัตถปาทปัพพสูตรที่ ๑ ๑๐. หัตถปาทปัพพ-

สูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

อาสีวิสวรรคที่ ๔

๑. อาสีวิสสูตร

ว่าด้วยอสรพิษ ๔ จำพวก

[๓๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า มี

อสรพิษ ๔ จำพวก มีเดชกล้าพิษร้าย ถ้ามีบุรุษรักชีวิต ผู้ไม่อยากตาย

รักสุข เกลียดทุกข์ มา ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านบุรุษ

อสรพิษ ๔ จำพวกนี้ มีเดชกล้าพิษร้าย ท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลา ให้

อาบน้ำตามเวลา ให้กินอาหารตามเวลา ให้เข้าสู่ที่อยู่ตามเวลา เวลาใด

อสรพิษทั้ง ๔ จำพวกนี้ ตัวใดตัวหนึ่งโกรธขึ้น เวลานั้น ท่านก็จะพึงถึง

ความตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย.

[๓๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔

จำพวกนั้น จึงหนีไปในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่าน

บุรุษ มีเพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกอยู่ ๕ คน ได้ติดตามท่านมา พบท่านในที่ใด

ก็จะฆ่าท่านเสีย ในที่นั้น กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย

[๓๑๑] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวก และกลัว

เพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกทั้ง ๕ คนนั้น จึงหนีไปในที่อื่น ชนทั้งหลายพึงกล่าว

กะเขาอย่างนี้ว่า ท่านบุรุษ มีเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ

เงื้อดาบติดตามท่านมา พบท่านในที่ใด ก็จะตัดศีรษะของท่านเสียในที่นั้น

กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

[๓๑๒] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ จำพวก ซึ่งมีเดชกล้า

กลัวเพชฌฆาตผู้เป็นข้าศึกทั้ง ๕ และกลัวเพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไป

ในอากาศ เงื้อดาบอยู่ จึงหนีไปในที่อื่น เขาพบบ้านร้างเข้า จึงเข้าไปยัง

เรือนร้างว่างเปล่าหลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง ชนทั้งหลาย

พึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านบุรุษ มีโจรทั้งหลายคอยฆ่าชาวบ้าน เข้ามา

บ้านร้างนี้เสมอ กิจใดที่ท่านควรทำ ก็จงทำกิจนั้นเสีย.

[๓๑๓] ครั้งนั้น บุรุษนั้นกลัวอสรพิษทั้ง ๔ กลัวเพชฌฆาตทั้ง ๕

กลัวเพชฌฆาตคนที่ ๖ และกลัวโจรผู้คอยฆ่าชาวบ้าน จึงหนีไปในที่อื่น

เขาไปพบห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ มีภัยอันตราย ฝั่งข้าง

โน้นเป็นที่เกษมปลอดภัย เรือแพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นไม่มี.

[๓๑๔] ครั้งนั้น บุรุษนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่นัก

ฝั่งข้างนี้เป็นที่น่ารังเกียจ มีภัยอันตราย ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษมปลอดภัย

เรือแพ หรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้นก็ไม่มี ผิฉะนั้น เราควรจะมัดหญ้า

ไม่ กิ่งไม้และใบไม้ ผูกเป็นแพ เกาะแพนั้น พยายามไปด้วยมือและด้วย

เท้า ก็พึงถึงฝั่งโน้นได้โดยความสวัสดี ครั้นแล้ว บุรุษนั้นทำตามความคิด

อย่างนั้น ก็ข้ามฟากถึงฝั่งข้างโน้นแล้ว ขึ้นบกไปเป็นพราหมณ์.

ว่าด้วยอสรพิษ ๔ เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔

[๓๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ เราทำขึ้นเพื่อจะให้เข้าใจ

เนื้อความโดยง่าย ในข้อนั้นมีเนื้อความดังนี้ คำว่า อสรพิษที่มีเดชกล้า

ทั้ง ๔ จำพวกนั้น เป็นชื่อแห่งมหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุดิน ราตุน้ำ ธาตุไฟ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

ธาตุลม คำว่า เพชฌฆาตทั้ง ๕ คนที่เป็นข้าศึกนั้น เป็นชื่อแห่งอุปาทาน

ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

คำว่า เพชฌฆาตคนที่ ๖ ซึ่งเที่ยวไปในอากาศ เงื้อดาบอยู่นั้น เป็นชื่อ

แห่งนันทิราคะ คำว่า บ้านร้างนั้นเป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖.

[๓๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่-

ครวญอายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่า

เป็นของว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น.

คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ ตา

ย่อมเดือดร้อนเพราะรูปที่เป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะ

เสียงเป็นที่พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจ

และไม่พอใจ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อม

เดือดร้อนเพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะ

ธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่ง

โอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้

อันเป็นที่น่ารังเกียจ มีภัยอันตรายนั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า

ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้นเป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น

เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่งวิริยารัมภะ คำว่า ข้าม

ฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไปเป็นพราหมณ์ เป็นชื่อแห่งพระอรหันต์.

จบ อาสีวิสสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

อาสีวิสวรรคที่ ๔

อรรถกถาอาสีวิสสูตรที่ ๑

อาสีวิสวรรค อาสีวิสสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุเหล่าโยคาวจรผู้ชอบจาริกไปรูปเดียว ๒ รูป ๓ รูป ๔ รูป ๕ รูป ผู้มี

ความประพฤติต้องกัน ผู้ปฏิบัติ ผู้ขะมักเขม้น แม้ทุกรูป ซึ่งนั่งล้อมเหล่า

ภิกษุผู้บำเพ็ญกรรมฐานมีทุกขลักษณะเป็นอารมณ์ แท้จริงพระสูตรนี้ ตรัส

ด้วยอัธยาศัยของบุคคล. จริงอยู่ ในบรรดาบุคคลทั้งหลาย ตรัสด้วยอำนาจ

เหล่าภิกษุอุคฆฏิตัญญูบุคคลที่อยู่ในที่ต่าง ๆ ผู้บำเพ็ญกรรมฐาน มีทุกข-

ลักขณะเป็นอารมณ์ ซึ่งมาในเวลาเฝ้า นั่งแวดล้อมพระศาสดา แม้เมื่อ

เป็นอย่างนั้น. ข้อนี้จึงเป็นปัจจัย แก่บุคคล ๔ เหล่ามีอุคฆฏิตัญญูบุคคล

เป็นต้น.

จริงอยู่ อุคฆฏิตัญญูบุคคล จักบรรลุพระอรหัตด้วยยกหัวข้อแห่ง

พระสูตรขึ้นเท่านั้น. วิปจิตัญญูบุคคล บรรลุพระอรหัต ด้วยการแจกหัวข้อ

ธรรมโดยพิสดาร เนยยบุคคลท่องบ่นพระสูตรนี้เท่านั้น ใส่ใจโดย

แยบคาย คบทาเข้าใกล้กัลยาณมิต จึงจักบรรลุพระอรหัต สำหรับปทปรม-

บุคคล พระสูตรนี้ จักเป็นวาสนาเครื่องอบรมบ่มบารมีในอนาคตแล ด้วย

ประการดั่งว่ามานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าพระองค์ทรงมีอุปการะ

แก่สัตว์แม้ทุกหมู่เหล่า ทรงเป็นประหนึ่งยกภูเขาสิเนรุขึ้น ประหนึ่งทำ

อากาศให้กว้างขวาง และประหนึ่งทำภูเขาจักรวาลให้หวั่นไหว จึงเริ่ม

อาสีวิสสูตรนี้ ด้วยความอุตสาหะอย่างใหญ่ ว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺตาโร อาสีวิสา ความว่า อสรพิษ

( งู ) ๔ จำพวก คือ กัฏฐมุขะ ปูติมุขะ อัคคิมุขะ สัตถมุขะ. ในงู ๔

จำพวกนั้น ทั่วเรือนร่างของคนที่ถูกงูกัฏฐมุขะกัด จะแข็งกระด้าง เหมือน

ไม้แห้ง ในข้อต่อทั้งหลาย ข้อต่อจะแข็งกระด้าง. ตั้งอยู่เหมือนเสียบไว้

ด้วยหลาวเหล็ก. เรือนร่างของผู้ถูกงูปูติมุขะกัด ก็จะมีน้ำหนองไหลเยิ้มอยู่

เหมือนขนุนสุกเน่า เป็นดังน้ำที่เขาใส่ไว้ในหม้อเกรอะ. ทั่วเรือนร่าง

ของผู้ถูกงูอัคคิมุขะกัด จะไหม้กระจายไป เป็นเหมือนกำขี้เถ้า และเป็น

เหมือนกำแกลบ ทั่วเรือนร่างของผู้ถูกงูสัตถมุขะกัด ย่อมขาดเป็นช่อง

เป็นเหมือนสถานที่ฟ้าผ่า และเป็นเหมือนปากที่ต่อเรือน ที่ถูกสว่านใหญ่

เจาะ อสรพิษทั้ง ๔ จำแนกโดยพิเศษด้วยประการฉะนี้.

แต่เมื่อว่าโดยอำการแผกกันแห่งกำลังเร็วของพิษอสรพิษทั้ง ๔ ชนิด

นั้นรวมเป็น ๑๖ จำพวก. จริงอยู่งูกัฏฐมุขะมี ๔ ชนิดคือ มีพิษที่กัด

มีพิษที่พบ มีพิษที่ถูกต้องมัน มีพิษที่ลม จริงอยู่เรือนร่างของคนที่ถูกงู

กัฏฐมุขะนั้น กัดก็ดี เห็นก็ดี ถูกต้องก็ดี ถูกลมกระทบก็ดี ย่อมแข็ง

กระด้างโดยประการดั่งกล่าวแล้ว. แม้ในงูที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. อสรพิษ

ย่อมมี ๑๖ ด้วยอำนาจความแผกกันแห่งกำลังเร็วแห่งพิษ ด้วยประการฉะนี้

งูพิษย่อมมี ๖๔ ชนิด ด้วยอำนาจบุคคลบัญญัติอีก. คืออย่างไร. คืออย่างนี้

อันดับแรก บรรดางูกัฏฐมุขะ งูกัฏฐมุขะมีพิษที่กัด มี ๔ ชนิด คือ พิษ

แล่นแต่พิษไม่ร้าย พิษร้ายแต่พิษไม่แล่น พิษแล่นและพิษร้าย และพิษ

ไม่แล่นพิษไม่ร้าย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

ในจำนวนงู ๔ ประเภทนั้น พิษของงูใดควรกล่าวได้ว่า แล่นเร็ว

ขึ้นจับตา จับคอ จับศีรษะ เหมือนไฟไม้คบหญ้าลุกโชนเช่นพิษงูมณีสัปปะ

(งูเห่าปีแก้ว) อนึ่งเมื่อคนร่ายมนต์ เป่าลมเข้าทางช่องหู พอเอาไม้ตี

พิษก็จะแล่นลงมาหยุดอยู่ตรงที่ถูกกัดเท่านั้น งูนี้นั้น ชื่อว่ามีพิษแล่นเร็ว

แต่พิษไม่ร้าย.

ส่วนพิษของงูใด ค่อย ๆ แล่นขึ้น แต่ในที่ ๆ พิษแล่นขึ้น ก็เป็น

เหมือนน้ำที่ดื่มเข้าไป แม้โดยล่วงไปสิบ ๑๒ ปี ก็ยังปรากฏ ที่ข้างหลังหู

และหลังคอเป็นต้น เป็นเหมือนพิษของงูน้ำ แต่เมื่อหมองูทำการร่ายมนต์

เป็นต้น พิษก็ไม่ลดลงเร็ว งูนี้นั้น ชื่อว่า มีพิษร้าย แต่พิษไม่แล่นเร็ว.

ส่วนพิษของงูใด ขึ้นเร็ว แต่ไม่ลงเร็ว เช่น พิษของงูจงอางเป็นต้น

งูนี้นั้น ชื่อว่า ทั้งมีพิษแล่นเร็ว ทั้งมีพิษร้าย.

พิษของงูใด แม้ถูกหมองูเป่ามนต์ให้ลดลง ก็ลงง่าย ๆ เช่น พิษ

ของงูเขียว และงูเรือนเป็นต้น งูนี้นั้น ชื่อว่า มีพิษไม่แล่นเร็ว และ

มีพิษไม่ร้าย.

พิษที่ถูกกัดในจำพวกงูกัฏฐมุขะ และพิษที่ถูกกัดในจำพวกงูปูติมุขะ

เป็นต้นก็พึงทราบ โดยอุบายนี้ เพราะเหตุนั้น อสรพิษจึงมี ๖๔ ประเภท

ด้วยอำนาจบุคคลบัญญัติด้วยประการฉะนี้. ใน ๖๔ ประเภทนั้น แต่ละ

ประเภทยังแยกออกอย่างละ ๔ ตามกำเนิด โดยนัยว่า งูเกิดแต่ฟองไข่

เป็นต้น จึงรวมเป็นงู ๒๕๖ ประเภท. งูเหล่านั้นเอา ๒ คูณ ด้วยงูที่เกิด

ในน้ำและบนบกเป็นต้น จึงเป็นงู ๕๑๒. งูเหล่านั้น เอา ๒ คูณ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

สามารถ กามรูปและอกามรูป จึงนับได้ ๑,๐๒๔. งูเ ล่านั้น เมื่อย่อเข้า

โดยปฏิโลม ย้อนกลับแห่งทางที่งูเลื้อยไปอีก จึงเป็นอสรพิษ ๔ ประเภท

ด้วยอำนาจงูกัฏฐมุขะเป็นต้น ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอา

งูเหล่านั้น จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว จตฺตาโร อาสีวิสา เป็นต้น.

ก็งูเหล่านั้น ท่านถือเอาด้วยอำนาจตระกูล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสีวิสา ความว่า ชื่อว่า อาสีวิสา

เพราะมีพิษที่รด ก็มี ชื่อว่าอาสีวิสาเพราะมีพิษที่ลิ้ม ก็มี อาสีวิสา เพราะ

มีพิษเช่นกับดาบก็มี. บทว่า อาสิตฺตวิสา ความว่า มีพิษที่ดังเขารดน้ำ

ชโลมทั่วกาย และพิษที่รดลงที่กายของผู้อื่น. บทว่า อสิตวิสา ความว่า

สิ่งใด ๆ อันงูเหล่านั้นลิ้มแล้ว กินแล้ว สิ่งนั้น ๆ ย่อมกลายเป็นพิษไป

เพราะฉะนั้น ที่ชื่อว่า อสิตวิสา เพราะสิ่งที่มันลิ้มกลายเป็นพิษ. บทว่า

อสิสทิสวิสา ความว่า ที่ชื่อว่า อสิสทิสวิสา เพราะพิษของงูเหล่านั้น

คมกริบ สามารถตัดขาดได้อย่างยอดเหมือนดาบ. พึงทราบความแห่งคำ

ในที่นี้ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อุคฺคเตชา ได้แก่ มีเดชสูง คือมีอำนาจแรง. บทว่า โฆรวิสา.

ได้แก่ มีพิษที่แก้ ไขได้ยาก.

บทว่า เอว วเทยฺยุ ได้แก่ พึงกล่าวอย่างนี้ เพื่อจะให้เขาบำรุง

เลี้ยง. จริงอยู่ พระราชาทั้งหลาย สั่งให้จับงูพิษทั้งหลายไว้ทรงพระดำริว่า

เราจะให้งูเหล่านี้กัดโจรเช่นนี้ให้ตาย หรือปล่อยมันไปที่กองทัพข้าศึกเวลา

ที่ข้าศึกประชิดนคร เราเมื่อไม่สามารถจะต่อต้านกำลังข้าศึกได้ ก็จะกิน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

อาหารดี ๆ แล้ว ขึ้นสู่ที่นอนอย่างดี ให้งูเหล่านั้นกัดตนเอง ไม่ยอมติด

อยู่ในอำนาจของเหล่าศัตรู ให้ตายสมความพอใจของตน ดังนี้แล้ว ให้บำรุง

เลี้ยงอสรพิษทั้งหลายไว้ พระราชาเหล่านั้น ไม่ปรารถนาจะทำบุรุษใดให้

ตายโดยฉับพลันก็ปรารถนาว่าผู้นั้นจักต้องประสบทุกข์นาน ๆ แล้วตายไป

ด้วยอาการอย่างนี้ จึงตรัสกะบุรุษนั้นอย่างนี้ว่า ก็พวกนี้มันคืออสรพิษ

๔ จำพวก นี่ พ่อมหาจำเริญ.

บทว่า กาเลน กาล ได้แก่ ทุกเวลา. บทว่า ปเวเสตพฺพา ได้แก่

ให้นอน. บทว่า อญฺตโร วา อญฺตโร วา ความว่า บรรดาอสรพิษ

๔ ประเภทมีกัฏฐมุขะเป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่ง. คำว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ

ขอท่านจงกระทำกิจที่ท่านพึงกระทำเสีย นี้พึงทราบว่าเป็นคำของผู้บำเพ็ญ

ประโยชน์. ได้ยินว่า พระราชาทั้งหลาย ทรงมอบอสรพิษทั้งหลาย

แก่บุรุษนั้นด้วยอาการอย่างนี้ แล้วทรงบอกกล่าวแก่เหล่าอสรพิษที่เขาวาง

ไว้ในกะโปรงทั้ง ๔ กะโปรงว่า นี้เป็นผู้บำรุงเจ้านะ. ลำดับนั้นงูตัวหนึ่ง

ก็เลื้อยออกมา เลื้อยขึ้นตามเท้าขวาของบุรุษนั้น แล้วพันมือขวาตั้งแต่

ข้อมือ แผ่พังพาน ใกล้ช่องหูขวา นอนกระทำเสียว่า สุสุ ดังนี้. อีก

ตัวหนึ่ง เลื้อยไปตามเท้าซ้าย แล้วพันมือซ้าย ในที่นั้นนั่นเอง แผ่พังพาน

ที่ใกล้ช่องหูซ้าย แล้วนอนกระทำเสียงว่า สุสุ ดังนี้. ตัวที่ ๓ เลื้อยออก

ขึ้นไปตรงหน้าพันท้อง แผ่พังพาน ใกล้หลุมคอ นอนทำเสียงว่า สุสุ

ดังนี้. ตัวที่ ๔ เลื้อยไปตามส่วนข้างหลัง พันคอ วางพังพานบนกระหม่อม

นอนกระทำเสียงว่า สุสุ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

เมื่ออสรพิษ ๔ ประเภทนั้น อยู่ที่ร่างกายอย่างนี้ บุรุษผู้บำเพ็ญ

ประโยชน์ต่อบุรุษนั้น เห็นเขาเข้าจึงถามว่า พ่อมหาจำเริญ ท่านได้อะไร?

ลำดับนั้น เมื่อบุรุษผู้ถูกงูพันนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ อสรพิษเหล่านี้

พระราชาพระราชทานให้เป็นเครื่องประดับเป็นพิเศษบางประการ ที่มือ

ทั้งสองเหมือนกำไลมือ ที่แขนเหมือนกำไลต้นแขน ที่ท้องเหมือนผ้าคาด

ท้อง ที่หูเหมือนตุ้มหู ที่คอเหมือนสร้อยมุกดา และที่ศีรษะเหมือนเครื่อง

ประดับศีรษะ จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญช่างโง่เขลาจริง ท่านอย่าเข้าใจอย่างนี้

ว่า พระราชาทรงยินดี พระราชทานเครื่องประดับนั้นแก่เรา ท่านเป็นโจร

ทำความผิดร้าย ทั้งอสรพิษ ๔ ประเภทเหล่านี้ ก็บำรุงยาก ปฏิบัติยาก

เมื่อตัวหนึ่งต้องการจะลุกขึ้น ตัวหนึ่งต้องการจะอาบน้ำ เมื่อตัวหนึ่งต้อง

การจะอาบน้ำ ตัวหนึ่งต้องการจะกิน เมื่อตัวหนึ่งต้องการจะกิน ตัวหนึ่ง

ก็ต้องการจะอาบน้ำ ในงู ๔ ประเภทนั้น ตัวใดยังไม่เต็มความต้องการ

ตัวนั้นก็จะกัดให้ตายในที่นั้นนั่นแล. ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใคร ๆ

ผู้ถึงความสวัสดีปลอดภัยยังจะมีอยู่หรือ. เขากล่าวว่า จริงสิ รู้ว่าพวก

ราชบุรุษเจ้าหน้าที่ฟุ้งเฟ้อเผลอตัวหนีไปเสียก็จะปลอดภัย ก็พึงกล่าวว่า

ท่านจงกระทำกิจที่ท่านควรกระทำเถิด. ฝ่ายบุรุษที่ถูกจับเป็นโจรรู้เรื่อง

นั้นแล้ว เห็นขณะที่อสรพิษทั้ง ๔ เผลอตัว และปลอดจากราชบุรุษเจ้า

หน้าที่จึงเอามือขวาพันมือซ้าย แล้ววางพังพานไว้ใกล้จอนหู ทำที่ประจง

ลูบคลำร่างอสรพิษตัวที่นอนหลับ ค่อย ๆ แกะให้มันออกไป แล้วแกะ.

ตัวอื่น ๆ ออกไป ด้วยอุบายอย่างนั้นแล กลัวต่อพวกมันแล้วพึงหนีไป.

ครั้งนั้นอสรพิษเหล่านั้น พากันติดตามบุรุษนั้นมาด้วยคิดว่าบุรุษนี้ พระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

ราชาพระราชทานให้เป็นผู้บำรุงเลี้ยงพวกเรา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

หมายเอาเรื่องนี้ จึงตรัสว่า อถ โข ภิกฺขเว ปุริโส ภีโต จตุนฺน

อาสีวิสาน ฯเปฯ ปลาเปถ ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล บุรุษนั้นกลัว

ต่ออสรพิษเหล่านั้น ฯลฯ พึงหนีไปเสีย.

ก็เมื่อบุรุษนั้น ตรวจดูแล้วดูอึกซึ่งหนทางที่มาอย่างนั้นแล้วกำลัง

หนีไป พระราชาทรงสดับว่า บุรุษนั้นหนีไปแล้ว จึงทรงดำริว่า ใครหนอ

จักอาจติดตามไปฆ่าบุรุษนั้นได้ จึงเลือกได้คน ๕ คน ผู้เป็นศัตรูต่อบุรุษ

นั้นนั่นแล้ว ทรงส่งไปด้วยดำรัสสั่งว่า พวกเธอจงไป จงติดตามไปฆ่าบุรุษ

นั้นเสีย. ลำดับนั้น เหล่าบุรุษผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อบุรุษนั้น ทราบเรื่อง

นั้นแล้วพึงได้บอก บุรุษนั้น กลัวเหลือประมาณ พึงหนีไป ท่านหมายเอา

เนื้อความนี้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตเมน เอว วเทยฺยุ ดังนี้.

บทว่า อฏฺโ อนฺตรจโร วธโก ความว่า พวกอำมาตย์กราบทูล

ว่า บุรุษโจรผู้นี้ ถูกพวกอสรพิษติดตามไปก่อน ลวงอสรพิษเหล่านั้น

ท่าโน้นเท่านี้หนีไป บัดนี้เขาถูกศัตรู ๕ คน ติดตามก็หนีเตลิดไป ใคร ๆ

ไม่อาจจะจับเขาได้อย่างนี้ แต่สามารถจะจับได้ด้วยการหลอกลวง เพราะ

ฉะนั้น ขอทรงโปรดส่งคนผู้สนิทสนม เป็นคนภายในเคยกินเคยดื่มร่วมกัน

ตั้งแต่รุ่นหนุ่มไปมอบแก่เพชฌฆาต พระราชาก็ทรงส่งเพชฌฆาตผู้สอดแนม

ให้ไปเสาะหาเขา.

บทว่า โส ปสฺเสยฺย สุญฺ คาม ความว่า บุรุษโจรนั้นกลับ

เหลียวดูเห็นอสรพิษทั้ง ๔ ศัตรูผู้ฆ่า ๕ คน กำลังสูดดมกลิ่นรอยเท้าไป

โดยเร็ว เห็นเพชฌฆาตผู้สอดแนมคำรบ ๖ มาพูดเกลี้ยกล่อมว่า ดูราท่าน

ผู้เจริญ ท่านจงกลับเสียอย่าหนีเลย บริโภคกามกับบุตรภรรยา ก็จักอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

เป็นสุข เขากลัวเหลือประมาณก็หนีซอกซอนไป พึงเห็นบ้านร้างหมู่หนึ่ง

ซึ่งมีกระท่อม ๖ หลังอยู่ตรงหน้า ปลายเขตแคว้น. บทว่า ริตฺตกเยว

ปวิเสยฺย ความว่า พึงเข้าไปยังกระท่อมที่ว่างเปล่าเท่านั้น เพราะเว้นจาก

ทรัพย์ ธัญญาหาร เตียงและตั่งเป็นต้น.

บทว่า ตุจฺฉก สุญฺต เป็นไวพจน์ ของบทว่า ริตฺตกเยว

นั้นแล. บทว่า ปริมเสยฺย ความว่า พึงเที่ยวไปด้วยหวังว่า ถ้าน้ำดื่มมี

เราจักดื่ม ข้าวมีก็จักกิน ดังนี้แล้ว สอดมือเข้าไปข้างในแล้วคลำดู.

บทว่า ตเมน เอว วเทยฺยุ ความว่า บุรุษนั้นไม่ได้อะไร ๆ

แม้ในเรือนสักหลังเดียว ในจำนวนเรือนทั้ง ๖ หลัง แต่แล้วก็เห็นแผ่น

กระดานคด ๆ ที่เขาปูไว้ที่ต้นไม้ ที่มีเงาสงบต้นหนึ่งซึ่งมีอยู่กลางหมู่บ้าน

แล้วคิดจักนั่งในที่นี้ก่อน แล้วก็ไปนั่งในที่นั้น ถูกลมอ่อน ๆ พัดโชยมา

ทำให้หวลระลึกถึงความสุขแม้มีประมาณเท่านั้นโดยสงบ บุรุษผู้บำเพ็ญ

ประโยชน์บางเหล่ารู้เรื่องภายนอกแล้ว ก็พึงพูดกะเขาอย่างนั้น. บทว่า

อิทานิมฺโภ ปุริส ตัดเป็น อิทานิ อมฺโภ ปุริส แปลว่า ดูราบุรุษผู้เจริญ

บัดนี้ . บทว่า โจรา คามฆาตกา ได้แก่ โจรผู้ฆ่าชาวบ้าน ๖ จำพวก

ผู้มาด้วยหมายว่า จักยึดเอาทรัพย์ที่จักได้ในที่นั้น หรือฆ่าเจ้าทรัพย์เสีย.

บทว่า อุทกณฺณว ได้แก่ น้ำลึกและน้ำกว้าง. จริงอยู่ น่าลึก

แต่ไม่กว้าง หรือน้ำกว้าง แต่ไม่ลึก. ท่านไม่เรียกว่า หวังน้ำ. ส่วนน้ำ

ที่ทั้งลึกทั้งกว้างเท่านั้นจึงจะเป็นชื่อห้วงน้ำนั้นนั่นแล. บทว่า สาสงฺก

สปฺปฏิภย ความว่า ฝั่งนี้ ชื่อว่า น่ารังเกียจและน่ามีภัยเฉพาะหน้า

เพราะอำนาจอสรพิษทั้ง ๔ ศัตรูผู้ฆ่าทั้ง ๕ เพชฌฆาตผู้สอดแนมคำรบ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

และโจรผู้ฆ่าชาวบ้าน ๖ จำพวก. บทว่า เขม อปฺปฏิภย ความว่า

ฝั่งโน้น ชื่อว่า เป็นแดนเกษม และไม่มีภัยเฉพาะหน้า เพราะไม่มีอสรพิษ

เป็นต้นเหล่านั้นนั่นและ เป็นสวนที่วิจิตรประเสริฐ เป็นดังบ่อน้ำที่ดื่มของ

ชนหมู่มาก เช่นกับเทพนคร. บทว่า นตฺถสฺส นาวา สนฺตารณี

ความว่า เรือข้ามฟาก ที่เขาจัดไว้ด้วยประสงค์อย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย

จักข้ามจากฝั่งนี้ไปฝั่งโน้นดังนี้ก็ไม่พึงมี. บทว่า อุตฺตรเสตุ วา ความว่า หรือ

บรรดาสะพานไม้ สะพานเดินเท้า และสะพานเกวียน สะพานข้ามอย่างใด

อย่างหนึ่งไม่พึงมี. บทว่า ติฏฺติ พฺราหฺมโณ ความว่า นั่นแหละไม่ใช่

พราหมณ์จะถามว่า เพราะเหตุไรจึงตรัสบุรุษนั้นว่าเป็นพราหมณ์ เพราะ

พวกข้าศึกมีประมาณเท่านั้น ถูกพราหมณ์นั้นลอยเสียแล้ว. อีกนัยหนึ่ง

เมื่อจะทรงเปลี่ยนเทศนา จึงได้ตรัสอย่างนั้น เมื่อทรงแสดงพราหมณ์

เป็นพระขีณาสพองค์หนึ่ง.

ก็เมื่อบุรุษผู้นั้นข้ามฟากได้อย่างนี้แล้ว อสรพิษทั้ง ๔ กล่าวว่า

เราไม่ได้ตัวท่านแล้ว วันนี้พวกเราจะรุมกันกัดชีวิตของท่านทิ้งเสีย ศัตรู

ทั้ง ๕ ก็กล่าวว่า เราไม่ได้ตัวท่านแล้ว วันนี้เราจะล้อมตัดอวัยวะน้อยใหญ่

ของท่านเสียแล้วไปในสำนักของพระราชาพึงได้ทรัพย์ ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐

ผู้สอดแนมคำรบ ๖ กล่าวว่า เราไม่ได้ตัวท่านแล้ว วันนี้เราจะเอาดาบ

สีแก้วผลึกตัดศีรษะท่าน แล้วพึงได้ตำแหน่งเสนาบดี เสวยสมบัติ. พวก

โจรทั้ง ๖ คิดว่า เราไม่ได้ตัวท่านแล้ว วันนี้เราจะให้ทำกรรมกรณ์

( ลงโทษ ) ต่าง ๆ แล้วให้ท่านนำทรัพย์เป็นอันมากมามอบ ดังนี้แล้ว

เมื่อไม่สามารถจะข้ามห้วงน้ำได้ ทั้งไม่สามารถจะไปข้างหน้าได้ เพราะ

ถูกพระราชากริ้วลงราชอาชญา ก็จะพึงซูบซีดตายอยู่ในที่นั้นนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

ในบทว่า อุปมา โข มฺยาย นี้ พึงทราบ การเทียบเคียงข้ออุปมา

ตั้งแต่ต้นดังต่อไปนี้. จริงอยู่ กรรมพึงเห็นเหมือนพระราชา. ปุถุชนผู้อาศัย

วัฏฏะ พึงเห็นเหมือนบุรุษผู้ทำผิดกฎหมาย มหาภูตรูป ๔ เหมือนอสรพิษ

ทั้ง ๔ เวลาที่กรรมให้แก่มหาภูตรูป ๔ ในขณะปฏิสนธิของมหาชนนั่นเอง

เหมือนในเวลาที่พระราชาทรงให้ปกปิดอสรพิษทั้ง ๔ เวลาที่พระศาสดา

ตรัสกรรมฐานมีมหาภูตรูปเป็นอารมณ์ แก่ภิกษุนี้ แล้วตรัสว่าเมื่อเบื่อหน่าย

คลายกำหนัดในมหาภูตรูป ๔ นี้ ก็จักหลุดพ้นจากวัฏฏะด้วยอาการอย่างนี้

เหมือนเวลาที่ตรัสว่า ท่านจงออกไปในขณะที่อสรพิษเผลอ และในขณะ

ที่ราชบุรุษสงัดเงียบแล้วหนีไปตามคำว่า บุรุษผู้เจริญ. กิจใดที่ท่านควรทำ

จงทำกิจนั้นเสีย เวลาที่ภิกษุนี้ ได้กรรมฐานในสำนักพระศาสดา แล้วหนี

ไปด้วยการหนีคือญาณ เพื่อประโยชน์แก่การหลุดพ้นจากอสรพิษคือมหา-

ภูตรูป เหมือนการได้ยินคำของผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อบุรุษนั้นแล้วออกใน

ขณะที่อสรพิษทั้ง ๔ เผลอ และในขณะที่ราชบุรุษสงัดเงียบแล้วหนี

ซอกซอนไป.

พึงทราบกถาว่าด้วยมหาภูตรูป ๔ อุปาทานขันธ์ ๕ และอายตนกถา

ในคำว่า จตุนฺน มหาภูตาน ปวีธาตุยา อาโปธาตุยา เป็นต้น โดยนัย

ที่กล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นแล. ก็ในที่นี้ ปฐวีธาตุ พึงเห็น

เหมือนงูกัฏฐมุขะ ( ปากไม้ ) ธาตุที่เหลือพึงเห็นเหมือนงูปูติมุขะ ( ปากเน่า )

งูอัคคิมุขะ ( ปากไฟ ) และงูสัตถมุขะ ( ปากศัสตรา ). กายทั้งสิ้นของบุคคล

ผู้ถูกงูปากไม้กัด ย่อมแข็งกระด้างฉันใด แม้กายทั้งสิ้น ย่อมแข็งกระด้าง

เพราะปฐวีธาตุกำเริบก็ฉันนั้น อนึ่งกายทั้งสิ้นของผู้ถูกงูปากเน่าเป็นต้นกัด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

ย่อมน้ำเหลืองไหลออก ย่อมไหม้ และย่อมทรุดโทรมฉันใด กายทั้งสิ้น

ย่อมน้ำเหลืองไหลออก ย่อมไหม้ และย่อมทรุดโทรม แม้เพราะความ

กำเริบของอาโปธาตุ เตโชราตุ และวาโยธาตุ ฉันนั้น.

ด้วยเหตุนั้น อรรถกถาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า

ร่างกายที่ถูกงูปากไม้กัดเอาแล้ว ย่อมแข็ง

กระด้างไป ร่างภายนั้น เพราะปฐวีธาตุกำเริบ ก็

ย่อมแข็งกระด้าง ดังงูปากไม้กัด ฉะนั้น ก็มี

ร่างกายที่ถูกงูปากเน่ากัดเอาแล้ว ย่อมเน่าไป

ร่างกายนั้น เพราะอาโปธาตุกำเริบ ก็ย่อมเน่า

ดังงูปากเน่ากัด ฉะนั้น ก็มี

ร่างกายที่ถูกงูปากไฟกัดเอาแล้ว ย่อมร้อน

ไหม้ ร่างกายนั้น เพราะเตโชธาตุกำเริบ ก็ย่อม

ร้อนไหม้ ดังงูปากไฟกัด ฉะนั้น ก็มี

ร่างกายที่ถูกงูปากศัสตรากัดเอาแล้ว ย่อม

ขาดแหว่ง ร่างกายนั้น เพราะวาโยธาตุกำเริบ ก็

ย่อมขาดแหว่ง ดังงูปากศัสตรากัด ฉะนั้น.

ในข้อนี้ พึงทราบส่วนประกอบของสรีระโดยพิเศษ ด้วยประการ

ฉะนี้ก่อน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

แต่เมื่อว่าโดยไม่แผกกัน พึงทราบว่าธาตุเหล่านั้น มีภาวะเสมือน

กันกับอสรพิษ โดยเหตุเหล่านี้คือ โดยที่อาศัย โดยความผิดกันแห่งกำลัง

เร็วแห่งพิษ โดยถือเอาแต่สิ่งไม่น่าปรารถนา โดยบำรุงเลี้ยงยาก โดยเข้า

ไปหาได้ยาก โดยเป็นสัตว์ไม่รู้คุณคน โดยมีปกติกัดไม่เลือก โดยมีโทษ

และอันตรายอย่างอนันต์.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาสยโต ความว่า จริงอยู่ จอมปลวก

ชื่อว่าเป็นที่อาศัยของอสรพิษทั้งหลาย. ก็อสรพิษเหล่านั้น ย่อมอยู่อาศัย

ที่จอมปลวกนั้น. จอมปลวกคือกาย เป็นที่อาศัย แม้ของมหาภูตรูปทั้งหลาย.

จริงอยู่โพรงต้นไม้ ใบหญ้า ใบไม้ ที่รก และกองหยากเยื่อ ก็เป็นที่อาศัย

ของอสรพิษทั้งหลาย. อสรพิษเหล่านั้น ย่อมอยู่ในที่แม้เหล่านั้น. โพรงไม้

คือกาย ที่รกคือกาย กองหยากเยื่อคือกาย ก็เป็นที่อาศัย แม้ของมหาภูตรูป

ทั้งหลาย พึงทราบความที่มหาภูตรูปเหล่านั้นเหมือนกัน ดังพรรณนามา

อย่างนี้ก่อน.

บทว่า วิสเวควิการโต ความว่า อสรพิษทั้งหลาย โดยประเภท

มี ๔ มีงูปากไม้เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งตระกูล. ในอสรพิษเหล่านั้น

ตระกูลหนึ่ง ๆ เมื่อแบ่งโดยความผิดแผกกันแห่งพิษ ก็มี ๔ อย่าง คือ มีพิษ

ที่ถูกกัดเป็นต้น แม้มหาภูตรูป ก็มี ๔ โดยต่างเป็นปฐวีธาตุเป็นต้น ด้วย

อำนาจลักษณะจำเพาะตัว ในมหาภูตรูปเหล่านี้ มหาภูตรูปอย่างหนึ่ง ๆ

ย่อมมี ๔ อย่าง ด้วยอำนาจมหาภูตรูปมีกรรมเป็นสมุฏฐานเป็นต้น พึงทราบ

ว่ามหาภูตรูปเหล่านั้น เสมือนกันโดยความผิดแผกกันแห่งกำลังเร็วของพิษ

ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

บทว่า อนตฺถคหณโต ความว่า อสรพิษทั้งหลาย เมื่อจะยืดเอา

ย่อมยึดเอาสิ่งซึ่งไม่น่าปรารถนา ๕ อย่าง คือ ย่อมถือเอาแต่ของเหม็น

ถือเอาของไม่สะอาด ย่อมถือเอาแต่ตัวโรค ย่อมถือเอาแต่ของมีพิษ ย่อม

ถือเอาแต่ความตาย แม้มหาภูตรูป เมื่อถือเอา ย่อมถือเอาแต่สิ่งที่ไม่น่า

ปรารถนา ๕ อย่าง คือ ย่อมถือเอาแต่ของเหม็น ถือเอาแต่ของไม่สะอาด

ถือเอาแต่ความเจ็บ ถือเอาแต่ความแก่ ถือเอาแต่ความตาย.

ด้วยเหตุนั้น พระโปราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมจับงูอันเปื้อนคูถ

มีพิษมาก เป็นผู้เพลิดเพลินงูในโลก ชื่อว่าจับเอา

ภาวะที่ไม่น่าปรารถนาทั้ง ๕ คือ ของเหม็น ของไม่

สะอาด พยาธิ ชรา มรณะเป็นที่ ๕ ภาวะที่ไม่น่า

ปรารถนา ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในงูที่เปื้อนคูถ.

ปุถุชนผู้บอดและเขลาไม่ฉลาด ก็อย่างนั้นเหมือน-

กัน เป็นผู้เพลิดเพลินความเกิดในภพ ชื่อว่าจับ

อนัตถะภาวะที่ไม่น่าปรารถนา คือของเหม็น ของ

ไม่สะอาด พยาธิ ชรา มรณะ เป็นที่ ๕ ภาวะ

ที่ไม่น่าปรารถนา ๕ เหล่านี้ มีอยู่ในกายอันเป็นดัง

งูที่เปื้อนคูถฉะนั้น.

พึงทราบว่ามหาภูตรูป เหมือนกันโดยถือเอาแต่อนัตถะภาวะที่ไม่น่า

ปรารถนา ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ทุรูปปฏฺานโต ดังต่อไปนี้. อสรพิษ

เหล่านั้นบำรุงเลี้ยงได้ยาก เมื่อตัวหนึ่งประสงค์จะลุก ตัวหนึ่งประสงค์

จะอาบน้ำ เมื่อตัวนั้นประสงค์จะอาบน้ำ อีกตัวหนึ่งประสงค์จะกิน เมื่อ

ตัวนั้นประสงค์จะกิน อีกตัวหนึ่งประสงค์จะนอน บรรดางูเหล่านั้น

งูตัวใด ๆ ยังไม่เต็มประสงค์ งูตัวนั้นก็จะกัดให้ตายในที่นั้นนั่นเอง แต่

เหล่าภูตรูปนั่นแล บำรุงเลี้ยงยากกว่า - อสรพิษเหล่านี้. จริงอยู่ เมื่อปรุงยา

แก่ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ ก็กำเริบ. เมื่อผู้นั้นปรุงยา เตโชธาตุ ก็กำเริบ

ดังกล่าวมานี้ เมื่อปรุงยา แก่ธาตุอันหนึ่ง ธาตุอีกอันหนึ่งก็กำเริบเพราะ

ฉะนั้น พึงทราบว่า ราตุทั้งหลายเหมือนกันโดยบำรุงเลี้ยงได้ยากด้วย

ประการฉะนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ทุราสทโต ดังต่อไปนี้ จริงอยู่ อสรพิษ

ทั้งหลาย ชื่อว่า พบได้ยาก คนทั้งหลายพบอสรพิษที่หน้าเรือน ก็จะหนีไป

ทางหลังเรือน พบที่หลังเรือนก็จะหนีไปทางหน้าเรือน พบกลางเรือน

ก็จะหนีเข้าห้อง พบที่ห้องก็จะหนีขึ้นเตียงตั่ง มหาภูตรูปทั้งหลาย ชื่อว่า

พบได้ยากมากกว่านั้น. จริงอยู่ เมื่อคนเป็นโรคเรื้อน หูจมูกเป็นต้นก็จะ

จะขาดตกไป เป็นที่เนื้อตัว ฝูงแมลงวันหัวเขียวก็จะตอม กลิ่นตัวก็จะ

คลุ้งไปไกล บุรุษโรคเรื้อนนั้นกำลังด่าก็ดี กำลังร้องครวญครางก็ดี คน

ทั้งหลาย ก็ไม่อาจเข้าไปด่าใกล้ ๆ ได้ ไม่อาจเข้าไปช่วยใกล้ ๆ ได้ ต้อง

ปิดจมูก บ้วนน้ำลาย ห่างบุรุษโรคเรื้อนนั้นไปเสียไกล ๆ พึงทำความ

ข้อนี้ให้แจ่มแจ้งอย่างนั้น โดยโรคอย่างอื่นๆ เช่นโรคบานทะโรค โรคท้อง

โรคลมเป็นต้น และโรคที่ทำความขยะแขยงน่าเกลียด เพราะฉะนั้น พึง

ทราบว่ามหาภูตรูปทั้งหลาย ก็เหมือนกัน โดยพบได้ยาก ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อกตญฺญุตโต ดังต่อไปนี้. จริงอยู่

อสรพิษทั้งหลาย ย่อมไม่รู้อุปการะอันผู้อื่นกระทำแล้ว แม้เมื่อเขาให้ก็ดี

ให้บริโภคก็ดี บูชาอยู่ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นก็ดี ใส่ในกระโปรง

บริหารอยู่ก็ดี แสวงหาแต่โอกาสเท่านั้น ได้โอกาสในที่ใด ก็กัดเขาให้ตาย

ในที่นั้นนั่นแล มหาภูตรูปทั้งหลายต่างหากไม่รู้อุปการะที่ผู้อื่นกระทำแล้ว

ยิ่งกว่าอสรพิษทั้งหลาย. จริงอยู่สิ่งที่ชอบใจ อันมหาภูตรูปเหล่านั้น ทำ

แล้ว ไม่มีเลย แม้เขาให้อาบน้ำที่ไม่มีมลทิน ไม่ว่าจะเป็นน้ำเย็นหรือ

น้ำร้อนก็ดี สักการะอยู่ด้วยธูปของหอมและดอกไม้เป็นต้นก็ดี ประคบ-

ประหงมอยู่ ด้วยผ้าอันนุ่ม ที่นอนอันนุ่มและที่นั่งอันนุ่มเป็นต้นก็ดี ให้

กิน อาหารอย่างดีก็ดี ให้ดื่มน้ำอย่างดีก็ดี ก็ยังคอยแสวงหาแต่โอกาสอยู่

นั่นเอง ได้โอกาสในที่ใด โกรธขึ้นมาก็ทำให้ถึงความย่อยยับในที่นั้น

นั่นเอง เพราะฉะนั้น พึงทราบว่ามหาภูตรูปเหมือนกันโดยไม่รู้คุณคน

ด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบวินิจฉัยใน บทว่า อวิเสสการิโต ดังต่อไปนี้. จริงอยู่

อสรพิษไม่ได้เลือกว่า ผู้นี้เป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์ เป็นแพศย์ หรือ

ศูทร เป็นคฤหัสถ์ หรือเป็นบรรพชิต ย่อมกัดผู้ที่มาประจวบเข้า ๆ ให้ตาย

ไปทั้งนั้น. แม้มหาภูตรูป ก็ย่อมไม่เลือกว่า ผู้นี้เป็นกษัตริย์ หรือพราหมณ์

เป็นแพศย์ หรือศูทร เป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต เป็นเทพ หรือมนุษย์

เป็นมาร หรือพรหม ไม่มีคุณ หรือมีคุณ ก็ถ้าพวกมันเกิดความอายขึ้น

ว่า ผู้นี้เป็นผู้มีคุณไซร้ พวกมันก็จะพึงให้เกิดความละอายขึ้น ในพระ-

ตถาคต ผู้เป็นพระอัครบุคคล ในโลกพร้อมที่เทวโลก แม้ถ้าพวกมันเกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

ความละอายขึ้นโดยนัย มีอาทิว่า ผู้นี้เป็นผู้มีปัญญามากผู้นี้เป็นผู้มีฤทธิ์มาก

และผู้นี้เป็นผู้ทรงคุณทางธุดงค์ แม้ถ้าพวกมันพึงให้เกิดความละอายขึ้นใน

พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระเป็นต้น ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกมันก็ว่าพึงเกิด

ความกลัวขึ้นว่า ผู้นี้ไม่มีคุณ เป็นผู้ทารุณ กระด้าง พวกมันก็พึงกลัวต่อ

พระเทวทัต ผู้เลิศ หรือต่อศาสดาทั้ง ๖ ผู้ไม่มีคุณ ผู้ทารุณ ผู้กระด้าง

ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็จะไม่ละอายและไม่กลัว โกรธขึ้นมาก็ทำให้ถึง

ความย่อยยับอย่างใดอย่างหนึ่งได้ทั้งนั้น พึงทราบว่ามหาภูตรูปเป็นเหมือน

กัน โดยไม่เลือกด้วยประการฉะนี้.

พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า อนนฺตโทสุปทฺทวโต นี้ดังต่อไปนี้.

จริงอยู่ โทษและอันตรายที่อาศัยอสรพิษเกิดขึ้นไม่มีประมาณ. จริงอย่าง

นั้น อสรพิษเหล่านั้นกัดแล้ว ทำให้ตาบอดบ้าง ให้เป็นคนกระจอกบ้าง ให้

เป็นคนเปลี้ยบ้าง ให้เป็นคนร่างพิการไปแถบหนึ่งบ้าง เพราะฉะนั้นเหล่า

อสรพิษย่อมแสดงความพิการหาประมาณมิได้ ด้วยประการฉะนี้ แม้ภูตรูป

ทั้งหลาย โกรธขึ้นมาแล้วย่อมกระทำความพิการ บางอย่าง บรรดาความ

พิการทั้งหลายมีตาบอดเป็นต้น โทษและอันตราย ของภูตรูปเหล่านั้น หา

ประมาณมิได้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าภูตรูปเหล่านั้นเสมือนกัน โดยมี

โทษและอันตรายหาประมาณมิได้ ด้วยประการฉะนี้

บัดนี้ ในที่นี้ควรแสดงกรรมฐาน ด้วยอำนาจมหาภูตรูป ๔ จนถึง

พระอรหัต กรรมฐานนั้นก็กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น ในจตุธาตุววัฏฐานนิทเทศ

คัมภีร์วิสุทธิมรรคแล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

ในคำว่า ปญฺจ วธกา ปจฺจตฺถิกาติ โข ภิกฺขเว ปญฺจนฺเนต

อุปาทานกฺขนฺธาน อธิวจน ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ปญฺจ วธกา

ปจฺจตฺถิกา ศัตรูผู้ฆ่า ๕ นี้แล เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ ๕ นี้พึงทราบว่า

ขันธ์ทั้งหลายเสมือนกับศัตรูผู้ฆ่า ด้วยอาการ ๒ อย่าง.

จริงอยู่ ขันธ์ทั้งหลายย่อมฆ่าซึ่งกันและกัน เมื่อขันธ์เหล่านั้นมีอยู่

ชื่อว่า ผู้ฆ่าก็ย่อมปรากฏอย่างไร. อันดับแรกรูปย่อมฆ่าทั้งรูป ทั้งอรูป

อรูป ย่อมฆ่าทั้งอรูป ทั้งรูป อย่างไร. ปฐวีธาตุแม้นี้ เมื่อแตก ย่อมพา

เอาธาตุ ๓ บอกนี้แตกไปด้วย. แม้ในอาโปธาตุเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

รูปชื่อว่าฆ่ารูปนั่นแหละก่อน ด้วยอาการอย่างนี้. ส่วนรูปขันธ์ เมื่อแตก

ก็พาเอาอรูปขันธ์ ๔ แตกด้วยไป เพราะฉะนั้น รูป ถือว่าฆ่าอรูปด้วยอาการ

อย่างนี้. แม้เวทนาขันธ์ เมื่อแตก ก็พาเอาสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

และวิญญาณขันธ์ แตกไปด้วย. แม้ในสัญญาขันธ์เป็นต้นก็นัยนี้. อรูปชื่อ

ว่าย่อมฆ่าอรูปอย่างนี้. ส่วนอรูปขันธ์ ๔ ในขณะจุติ เมื่อแตก ก็พาวัตถุรูป

(หทยวัตถุ) แตกไปด้วย. อรูปชื่อว่าฆ่ารูปด้วยอาการอย่างนี้. ที่ชื่อว่า

วธกา เพราะฆ่าซึ่งกันและกันก่อนด้วยอาการอย่างนี้. ก็ขันธ์มีในที่ใด

การตัด การทำลาย การฆ่า และการจองจำเป็นต้น ก็มีในที่นั้นนั่นแล

ไม่มีในที่อื่น. เมื่อขันธ์ มีอยู่ ผู้ฆ่าย่อมปรากฏ แม้เพราะเหตุนั้น

ขันธ์จึงชื่อว่าผู้ฆ่า. บัดนี้ พึงแสดงกรรมฐาน ตั้งต้นแต่แยกขันธ์ ๕ ออก

เป็น ๒ ส่วน คือส่วนรูปและ อรูป(นาม) แล้วแยกนาม ด้วยอำนาจรูป

หรือแยกรูปด้วยอำนาจนามจนถึงพระอรหัตแล. แม้คำนั้น ก็กล่าวไว้แล้ว

ในวิสุทธิมรรคเหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

ในคำว่า ฉฏฺโ อนฺตรจโร วธโก อุกฺขิตฺตาสิโกติโข ภิกฺขเว

นนฺทิราคสฺเสต อธิวจน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า เพชฌฆาต

สอดแนม ( ลึกลับ ) คำรบ ๖ ผู้เงื้อดาบเป็นชื่อของนันทิราคะนี้ พึงทราบ

ว่า ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี เป็นเสมือนกับเพชฌฆาตผู้เงื้อดาบ

โดยอาการ ๒ อย่าง คือโดยทำศีรษะ คือปัญญาให้ตกไป และโดยทำให้

เข้าถึงกำเนิด. อย่างไร. ความจริง เมื่ออิฏฐารมณ์มาปรากฏ ทางจักขุทวาร

โลภะ อาศัยอารมณ์นั้นย่อมเกิดขึ้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ศีรษะคือปัญญา

เป็นอันชื่อว่า ตกไป. แม้ในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบ

นันทิราคะ เป็นเสมือนโดยการทำศีรษะคือปัญญาให้ตกไป อย่างนี้ก่อน.

ก็นันทิราคะนั่นย่อมนำเข้าไปสู่กำเนิด ๔ อย่าง ด้วยอัณฑชกำเนิดเป็นต้น

นันทิราคะนั้น มีมหาภัย ๒๕ อย่าง และกรรมกรณ์ ๓๒ อย่าง มีการทำ

ให้เข้าถึงกำเนิดเป็นมูล ๓๒ ก็มาถึงเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า

นันทิราคะนั้น เสมือนเพชฌฆาตเงื้อดาบ แม้โดยการนำเข้าถึงกำเนิด

ด้วยอาการอย่างนี้.

กรรมฐาน เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แม้

ด้วยอำนาจนันทิราคะ ด้วยประการฉะนี้. อย่างไร. จริงอยู่ นันทิราคะนี้

จัดเป็นสังขารขันธ์. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงกำหนด นันทิราคะนั้น

ว่าเป็นสังขารขันธ์ดังนี้แล้ว จึงทรงกำหนดขันธ์ ๕ อย่างนี้ว่า เวทนาที

สัมปยุตด้วยสังขารขันธ์นั้น จัดเป็นเวทนาขันธ์ สัญญา เป็นสัญญาขันธ์

จิต เป็นวิญญาณขันธ์ อารมณ์ของขันธ์เหล่านี้ จัดเป็นรูปขันธ์. บัดนี้

ภิกษุรูปหนึ่งกำหนดขันธ์ ๕ เหล่านั้น ด้วยอำนาจนามและรูป แล้วเจริญ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

วิปัสสนา ตั้งแต่การแสวงหาปัจจัย แห่งขันธ์เหล่านั้น บรรลุอรหัตโดย

ลำดับ เพราะฉะนั้น เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรมฐาน ด้วย

อำนาจนันทิราคะอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. ความที่อายตนะภายใน ๖

เป็นเสมือนบ้านร้าง มาแล้วในพระบาลีนั่นแล. ก็ในข้อนี้มีนัยแห่ง

กรรมฐานดังต่อไปนี้.

เหมือนอย่างว่า โจรทั้ง ๖ นั้น เข้าไปสู่หมู่บ้านร้างอันมีกะท่อม

๖ หลัง เทียวไปเทียวมา ไม่ได้อะไรๆ ก็ไม่ต้องการบ้านฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ยึดมั่นเลือกเฟ้นในอายตนะภายใน ๖ ไม่เห็นอะไร ๆ ที่ควร

ถือเอาว่าเรา ว่าของเรา ก็ไม่มีความต้องการอายตนะภายในเหล่านั้น. ภิกษุ

นั้นคิดว่า เราจะเริ่มวิปัสสนา จึงกำหนดเอาจักขุปสาทเป็นต้น ด้วยอำนาจ

รูปกรรมฐานที่ยังมีอุปาทาน กำหนดว่า นี้เป็นรูปขันธ์ กำหนดมนายตนะ

ว่า อรูปขันธ์. และกำหนดอายตนะทั้งหมดนั้น ด้วยอำนาจนามรูปว่ามีแต่

นามกับรูปเท่านั้น แล้วแสวงหาปัจจัยของนามรูปเหล่านั้น เจริญวิปัสสนา

พิจารณาสังขารทั้งหลาย ดำรงอยู่ในพระอรหัต โดยลำดับด้วยประการ

ฉะนั้นแล. นี้เป็นอันตรัสกรรมฐาน แก่ภิกษุรูปหนึ่งจนถึงพระอรหัต.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า อายตนะภายนอก เป็นเสมือนพวกโจร

ผู้ปล้นฆ่าชาวบ้าน จึงตรัสดำอาทิว่า โจรา คามฆาตกา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนาปามนาเปสุ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ

ใช้ในอรรถ ตติยาวิภัตติ. ความว่า มนาปามนาเปหิ ด้วยอารมณ์อันน่า

พอใจและไม่พอใจ เมื่อพวกโจร พากันปล้นฆ่าชาวบ้านในที่นั้น ดำเนิน

กิจ ๕ ประการ คือ พวกโจร ยินล้อมบ้าน ยืนจุดไฟเผา ทำเป็นส่งเสียง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

ทะเลาะกัน แต่นั้น คนทั้งหลาย ต่างก็จะถือเอาสิ่งของสำคัญติดมือออกไป

นอกบ้าน ต่อนั้นมันก็เอามือรวบทรัพย์สิ่งของ พร้อมด้วยผู้คนแม้เหล่านั้น.

บางพวกก็ต้องประหารในที่นั้นเอง บางพวกก็ล้มลงในที่ประหาร ส่วนผู้คน

ที่ไม่บาดเจ็บนอกนั้น ก็พานำไปสู่ที่อยู่ของตน มัดด้วยเครื่องผูกคือเชือก

เป็นต้น ใช้สอยเยี่ยงทาส.

พึงทราบความเร่งร้อนคือกิเลสที่เกิดขึ้น เมื่ออารมณ์มาปรากฏ ใน

ทวารทั้ง ๖ เหมือนพวกโจรผู้ปล้นฆ่าชาวบ้านในที่นั้น พากันล้อมบ้าน

จุดไฟเผา เวลาที่ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ทุพภาสิต ปาจิตตีย์และถุลลัจจัย

ก็เหมือนผู้คนถือทรัพย์สิ่งของที่สำคัญติดมือไปนอกบ้าน เหมือนโจรใน

ขณะนั้น ที่ละกุศลกรรม ประกอบอกุศลกรรม ใช้มือรวบทรัพย์สิ่งของ

เวลาที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ก็เหมือนเวลาชาวบ้านที่ได้รับประหาร

เวลาที่ภิกษุต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ไม่เป็นสมณะ ก็เหมือนเวลาที่ชาวบ้าน

ล้มในที่ได้รับการประหาร เวลาที่ภิกษุทั้งปวงผู้อาศัยอารมณ์นั้นนั่นแล

ทั้งที่พิจารณาเห็นอยู่นั่นแหละ ทำลายจุลศีล มัชฌศีล และมหาศีล

แล้วบอกคืนสิกขา ถึงความเป็นคฤหัสถ์ เหมือนเวลาที่พวกโจรมัดคนที่เหลือ

(ในปัจจุบัน) นำไปสู่ที่อยู่ใช้สอยเยี่ยงทาส. ในข้อนั้น พึงทราบทุกขขันธ์

ของผู้ทำกาละของผู้เลี้ยงบุตรและภรรยา พึงทราบทุกขขันธ์ในภพหน้า

ที่เห็นได้เอง ( ตาย ) แล้วบังเกิดในอบาย.

อายตนะภายนอก แม้เหล่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแก่ภิกษุ

รูปหนึ่ง โดยเป็นกรรมฐานเท่านั้น. จริงอยู่ในที่นี้ อุปาทายรูป ๔ มี

รูปายตนะเป็นต้น, โผฏฐัพพายตนะ คือธาตุ ๓, ภูตรูป ๔ เหล่านี้ คือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

ธาตุ ๓ เหล่านั้น กับอาโปธาตุในธัมมายตนะจึงเป็น ๔ อากาสธาตุ คือ

ปริเฉทรูป แห่งภูตรูปเหล่านั้น วิหารรูป ๕ มีลหุตาเป็นต้น รวมความว่า

ภูตรูปและอุปาทายรูป ทั้งหมดนี้ จัดเป็นรูปขันธ์. ขันธ์ ๔ มีเวทนา

เป็นต้น ซึ่งมีรูปขันธ์นั้นเป็นอารมณ์ จัดเป็นอรูปขันธ์. สำหรับภิกษุ

ผู้กำหนดนามรูป ในบรรดาขันธ์เหล่านั้นว่า รูปขันธ์ จัดเป็นรูป อรูปขันธ์

๔ จัดเป็นนาม แล้วปฏิบัติตามนัยก่อนนั่นแล เป็นอันชื่อว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสกรรมฐาน จนถึงพระอรหัต.

ความของ โอฆ ศัพท์ในคำว่า โอฆาน นี้ มีความว่าข้ามได้ยาก.

จริงอยู่ ภิกษุผู้ตั้งความประสงค์ไว้ว่า เราจักบำเพ็ญศีลสังวรแล้วบรรลุ

พระอรหัต อาศัยกัลยาณมิตรพยายามชอบพึงข้ามโอฆะเหล่านั้น. ท่าน-

เรียกว่า โอฆะ ก็เพราะอรรถว่า ข้ามได้โดยยาก ด้วยเหตุดังกล่าวนี้นี่เอง

โอฆะ แม้เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจกรรมฐานสำหรับ

ภิกษุรูปหนึ่ง. จริงอยู่ โอฆะ แม้ทั้ง ๔ ก็จัดเป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง

เหมือนกัน เพราะฉะนั้น. พึงประกอบความให้พิสดาร โดยนัยที่โอฆะ

เหล่านั้น ก็กล่าวไว้แล้วในนันทิราคะ.

บทว่า สกฺกายสฺเสต อธิวจน ความว่า แท้จริง สักกายตรัสว่า

น่ารังเกียจและมีภัยเฉพาะหน้า ก็ด้วยมหาภูตรูป ๔ เป็นต้น เหมือนฝั่งนี้

ของห้วงน้ำ น่ารังเกียจและมีภัยเฉพาะหน้า ก็ด้วยภัยมีอสรพิษเป็นต้น

สักกายะแม้นั้น ก็ตรัสด้วยอำนาจกรรมฐานเท่านั้นสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง.

จริงอยู่ สักกายะ ก็คือปัญจขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๓ และปัญจขันธ์เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

โดยย่อ ก็คือนามรูปนั่นเอง. เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ พึงกล่าวกรรมฐาน

ให้พิสดาร ตั้งต้นแต่กำหนดนามรูปเป็นอารมณ์ จนถึงพระอรหัตด้วย

ประการฉะนี้.

บทว่า นิพฺพานสฺเสต อธิวจน ความว่า ความจริงพระนิพพาน

ชื่อว่า เป็นแดนเกษม ไม่มีภัยเฉพาะหน้าจากมตาภูตรูป ๔ เหมือนฝั่งโน้น

ของห้วงน้ำ.

ในคำว่า วิริยารมฺภสฺเสต อธิวจน นี้ เพื่อแสดงถึงการทำความ

เพียรทางจิต จึงทรงยึดเฉพาะความพยายามที่ได้รู้ไว้ในหนหลังแสดงว่า

วิริยะ ดังนี้. บทว่า ติณฺโณ ปารคโต แปลว่า ข้ามถึงฝั่ง.

ในข้อนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ผู้ยืนอยู่ฝั่งนี้อันน่ารังเกียจ

ประสงค์จะข้ามห้วงน้ำพักอยู่ ๒ - ๓ วัน ค่อย ๆ ตระเตรียมเรือแล้วขึ้นเรือ

เป็นเหมือนเล่นน้ำ แม้เมื่อเขาทำอย่างนั้น ก็ยังขึ้นเรือไม่ได้ย่อมถึงความ

พินาศฉันใด ภิกษุผู้ใคร่จะข้ามห้วงน้ำคือกิเลสก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ควร

ทำความเนิ่นช้าว่า เรายังเป็นหนุ่มอยู่ จักผูกแพคือมรรคมีองค์ ๘ ต่อเวลา

เราแก่เสียก่อน จริงอยู่ ภิกษุเมื่อทำอยู่อย่างนี้ แม้เวลาแก่ก็ยังไม่ถึง ก็ถึง

ความพินาศ แม้แก่ก็ยังไม่ถึง ก็ไม่อาจทำได้. แต่ควรระลึกถึง ภัทเทก-

รัตตสูตรเป็นต้น แล้วรีบเร่งผูกแพคืออริยมรรคนี้ทันที.

ก็บุคคลจะผูกแพ ควรมีมือเท้าบริบูรณ์ จริงอยู่คนมีเท้าเป็นโรค

พุพอง หรือมีเท้าหงิกง่อย ไม่สามารถจะยินได้ บุคคลผู้มีมือเป็นแผล

เป็นต้น ไม่อาจจับใบหญ้าใบไม้เป็นต้นได้ ฉันใด ภิกษุผู้จะผูกแพคืออริย-

มรรคนี้ ก็ฉันนั้น พึงปรารถนาความบริบูรณ์ ด้วยเท้าคือศีล และด้วยมือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

คือศรัทธา. จริงอยู่ บุคคลผู้ทุศีลผู้ไม่มีศรัทธา ไม่ตั้งมั่นในพระศาสนา ไม่

เธอข้อปฏิบัติ ไม่อาจจะผูกแพคืออริยมรรคได้. อนึ่งแม้บุคคลผู้มือเท้า

บริบูรณ์ แต่ไม่มีเรี่ยวแรง ถูกพยาธิเบียดเบียน ก็ไม่สามารถจะผูกแพได้

ต่อสมบูรณ์ด้วยกำลังเท่านั้นจึงสามารถ ฉันใด แม้คนมีศีลมีศรัทธา ก็ฉัน

นั้น แต่เป็นคนเกียจคร้าน นั่งจมน่าเกลียด ก็ไม่สามารถจะผูกแพคือ

มรรคนี้ได้ ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้นจึงสามารถ ฉะนั้น ผู้ประสงค์จะผูก

แพคือมรรคนี้ จึงควรปรารภความเพียร. อนึ่ง บุรุษนั้นผูกแพยืนอยู่ที่

ริมฝั่ง เมื่อจะข้ามห้วงน้ำ ซึ่งกว้างประมาณโยชน์หนึ่ง จึงผูกใจว่า เรา

ต้องอาศัยความเพียรของลูกผู้ชาย พึงข้ามห้วงน้ำนี้ได้ฉันใด แม้พระโยคี

ก็ฉันนั้น ลงจงกรมพึงผูกใจว่าวันนี้ เราข้ามห้วงน้ำคือกิเลส ที่มรรค

ทั้ง ๔ พึงฆ่าได้แล้วก็พึงดำรงอยู่ในพระอรหัต. อนึ่งบุรุษอาศัยแพ เมื่อจะ

ข้ามห้วงน้ำ เดินทางได้คาวุตหนึ่ง กลับเหลียวดู ย่อมรู้ว่าเราข้ามส่วนหนึ่ง

ได้แล้ว ยังเหลืออยู่อีก ๓ ส่วน เดินทางไปอีกคาวุตหนึ่งกลับเหลียวดู ก็

รู้ว่าข้ามได้ ๒ ส่วนแล้ว ยังเหลืออยู่ ๒ ส่วน เดินทางไปอีกคาวุตหนึ่ง

ต่อนั้นก็กลับเหลียวดู รู้ว่าเราข้ามได้ ๓ ส่วนแล้ว ยังเหลืออยู่ส่วนเดียว

แม้ล่วงส่วนนั้นไปแล้ว กลับเหลียวดู ก็รู้ว่า เราข้ามได้ ๔ ส่วนแล้วและ

ใช้เท้าถีบแพนั้นทิ้งไป มุ่งตรงไปตามกระแสน้ำข้ามได้แล้ว ยืนอยู่ที่ฝั่ง

ฉันใด ภิกษุแม้นี้ก็ฉันนั้น อาศัยแพคืออริยมรรค เมื่อจะข้ามห้วงน้ำคือ

กิเลส ข้ามกิเลสอันปฐมมรรคคือโสดาปัตติมรรคจะพึงฆ่า ดำรงอยู่ใน

ผลจิต ในลำดับต่อจากมรรคจิต กลับตรวจดูด้วยปัจจเวกขณญาณ ย่อมรู้ว่า

บรรดากิเลสทั้งหลายที่มรรคทั้ง ๔ พึงฆ่า ส่วนหนึ่งเราละได้แล้ว ยังเหลือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

อยู่อีก ๓ ส่วน. เมื่อประชุมอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์เหมือนอย่างนั้น

นั้นแลอีก พิจารณาสังขาร ข้ามกิเลสอันมรรคจิตที่ ๒ คือสกทาคามิมรรค

จะพึงฆ่า แล้วดำรงอยู่ในผลจิต ในลำดับต่อจากมรรคจิต แล้วกลับตรวจ

ดูด้วยปัจจเวกขณญาณย่อมรู้ว่า บรรดากิเลสทั้งหลายที่มรรคจิตทั้ง ๔ พึง

ฆ่า เราละได้แล้ว ๒ ส่วน ยังเหลืออยู่อีก ๒ ส่วน. เมื่อประชุม อินทรีย์

พละ และโพชฌงค์ เหมือนอย่างนั้นนั่นแลอีกพิจารณาสังขาร ข้ามกิเลส

ทั้งหลาย ที่มรรคจิตที่ ๓ คือ อนาคามิมรรคจะพึงฆ่า แล้วดำรงอยู่ใน

ผลจิต ในลำดับต่อจากมรรคจิต กลับตรวจดูด้วยปัจจเวกขณญาณย่อมรู้ว่า

บรรดากิเลสทั้งหลายที่มรรคจิตทั้ง ๔ พึงฆ่าเราละได้แล้ว ๓ ส่วน ยังเหลือ

อยู่ส่วนเดียว. เมื่อประชุม อินทรีย์ พละและโพชฌงค์ เหมือนอย่างนั้น

นั้นแลอีก พิจารณาสังขาร ข้ามกิเลสทั้งหลายที่มรรคจิตที่ ๔ คืออรหัต-

มรรคจิตจะพึงฆ่า ดำรงอยู่ในผลจิต ในลำดับต่อจากมรรคจิต กลับตรวจดู

ด้วยปัจจเวกขณญาณย่อมรู้ว่า กิเลสทั้งหมดเราละได้แล้ว. ลำดับนั้นภิกษุนั้น

นั่งบนอาสนะนั่นแล หรือในที่อื่น มีที่สถานที่พักกลางวันและที่พักกลางคืน

แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วคิดว่า เราพ้นแล้วจากอนัตถะภาวะที่ไม่น่าปรารถนา

มีประมาณเท่านี้หนอ แล้วแนบสนิทผลสมาบัติ อันมีพระนิพพานเป็น

อารมณ์ เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งมีใจร่าเริงนั่งอยู่ เปรียบเหมือน

บุรุษนั้น ลอยแพไปในกระแสน้ำ ขึ้นน้ำยืนอยู่บนบก หรือเข้าไปยัง

พระนคร ไปปราสาทชั้นบนอันประเสริฐ คิดว่า เราพ้นแล้ว จากอนัตถะ

ภาวะที่ไม่น่าปรารถนามีประมาณเท่านี้หนอ มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีใจ

ร่าเริงยินดี นั่งอยู่ ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาข้อนี้จึงตรัสไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

ติณฺโณ ปารคโต ถเล ติฏฺติ พฺราหฺมโณติ โข ภิกฺขเว อรหโต

เอต อธิวจน. ก็ในคำว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก

คือพราหมณ์นี้เป็นชื่อของพระอรหันต์ ที่นี้ ตรัสกรรมฐานต่าง ๆ ไว้อย่างนี้

ก่อน.

แต่พึงรวบรวมพระสูตรทั้งหมด แสดงรวมกัน อนึ่ง เมื่อแสดง

รวมกัน ควรอธิบายโดยอำนาจปัญจขันธ์ เท่านั้น.

อย่างไร. ความจริงในข้อนี้ มหาภูตรูป ๔ อายตนะภายใน ๕

อายตนะภายนอก ๕ สุขุมรูป ๑๕ ในธรรมายตนะ เป็นส่วนหนึ่งแห่งสัก-

กายะ* ดังกล่าวมานี้ชื่อว่า รูปขันธ์ มนายตนะ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่ง

แห่งธรรมายตนะ โอฆะ ๔ เป็นส่วนหนึ่งแห่งสักกายะ ดังกล่าวมานี้

จัดเป็น อรูปขันธ์ ๔. ใน ๒ อย่างนั้น รูปขันธ์ คงเป็นรูป อรูปขันธ์

จัดเป็นนาม ดังกล่าวมานี้ จัดเป็นนามรูป. นันทิราคะ กาโมฆะ ภโวฆะ

ส่วนหนึ่งแห่งธรรมายตนะ เป็นส่วนหนึ่งแห่งสักกายะ ดังกล่าวมานี้

ธรรมเหล่านี้ เป็นปัจจัย แก่นามรูปนั้น ภิกษุนั้น กำหนดนามรูป พร้อม

ทั้งปัจจัย ดังว่ามานี้ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณะ เจริญวิปัสสนา พิจารณาสังขาร

ย่อมบรรลุพระอรหัต นี้เป็นมุขคือข้อปฏิบัตินำออกจากทุกข์สำหรับภิกษุ

รูปหนึ่ง.

ในธรรมเหล่านั้น มหาภูตรูป ๔ อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๑ ทั้ง

ที่เป็นภายในและภายนอก เป็นส่วนหนึ่งแห่งธรรมายตนะ ทิฏโฐฆะ

อวิชโชฆะ เป็นส่วนหนึ่งแห่งสักกายะ ดังว่านี้จัดเป็นทุกขสัจ, ส่วนนันทิ-

๑. จุฬเวทัลลสูตร ว่าได้แก่อุปาทานขันธ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

ราคะ เป็นส่วนหนึ่งแห่งธรรมายตนะ กาโมฆะ ภโวฆะ เป็นส่วนหนึ่ง

แห่งสักกายะ ดังกล่าวนี้จัดเป็นสมุทัยสัจ, นิพพานกล่าวคือฝั่งโน้น จัดเป็น

นิโรธสัจ, อริยมรรค จับเป็นมรรคสัจ.

ในสัจจะ ๔ นั้น สัจจะ ๒ ( ข้างต้น ) เป็นวัฏฏะ สัจจะ ๒

( ข้างหลัง ) เป็นวิวัฏฏะ. สัจจะ ๒ ( ข้างต้น ) จัดเป็นโลกิยะ สัจจะ ๒

( ข้างหลัง ) จัดเป็นโลกุตตระ, สัจจะ ๔ ดังกล่าวนี้ พึงแสดงจำแนก ด้วย

อาการ ๑๖ ๖ หมื่นนัยและ ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้เป็น

วิปจิตัญญู ดำรงอยู่ในพระอรหัต. แต่พระสูตร ทรงแสดง ด้วยอำนาจ

ทุกขลักขณะ.

จบ อรรถกถาอาสีวิสสูตรที่ ๑

๒. รถสูตร

ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมมากด้วยความสุขโสมนัส

[๓๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ

ย่อมมากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และย่อมเป็นอันภิกษุนั้น

ปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน. คือ

ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ รู้ประมาณในโภชนะ ๑

ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้

คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูป

ด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม

จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

อภิชฌาและโทมนัสดรอบงำ ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม

ในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูก

ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ

อนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม

แล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส

ครอบงำ ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นายสารถีฝึกม้าผู้ฉลาด เป็นอาจารย์ฝึกฝนม้า ขึ้นสู่รถอัน

เทียมม้าแล้วซึ่งมีแส้อันวางไว้แล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย ถือแส้ด้วยมือขวา

ขับไปทางหน้าก็ได้ ถอยกลับข้างหลังก็ได้ ในถนนใหญ่ ๔ แยก ซึ่งมีพื้น

เรียบดี ตามความประสงค์ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมศึกษา

เพื่อจะรักษา ศึกษาเพื่อจะสำรวม ศึกษาเพื่อจะฝึกฝน ศึกษาเพื่อจะระงับ

อินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อ

ว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล.

[๓๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

อย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วย

มนสิการว่า เราไม่บริโภค เพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ

เพื่อจะตกแต่ง บริโภคเพียงเพื่อดำรงอยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อให้เป็นไปได้

เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าว

มานี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การยังชีพ

ให้เป็นไป ความไม่มีโทษและความอยู่สบายจักมีแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษพึงทายาแผล ก็เพียงเพื่อต้องการให้เนื้อขึ้นมา หรือบุรุษพึงหยอดน้ำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

มันเพลารถก็เพียงเพื่อต้องการขนสิ่งของไปได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุพิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภค

เพื่อเล่นเพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่งผิว บริโภคเพียงเพื่อ

ดำรงอยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อให้เป็นไปได้ เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่อ

อนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เราจักกำจัดเวทนา

เก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การยังชีพให้เป็นไป ความไม่มีโทษ

และความอยู่สบายจักมีแก่เราฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างนี้แล.

[๓๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียร

เครื่องตื่นอยู่อย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก

ธรรมเครื่องกั้นความดี ด้วยการเดิน การนั่ง ในเวลากลางวัน พอถึง

กลางคืนตอนปฐมยาม ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี

ด้วยการเดิน การนั่ง ในตอนมัชฌิมยามแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยาสน์

โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะทำไว้ในใจซึ่ง

อุฏฐานสัญญาคิดจะลุกขึ้น พอถึงปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็ลุกขึ้นชำระจิตให้

บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ ชื่อว่าย่อมมากด้วย

ความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และย่อมเป็นอันปรารภเหตุเพื่อความสิ้น

อาสวะทั้งหลาย.

จบ รถสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

อรรถกถารถสูตรที่ ๒

ในรถสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า สุขโสมนสฺสพหุโล ความว่า ภิกษุชื่อว่าผู้มากด้วยสุขและ

โสมนัส เพราะภิกษุนั้นมีสุขทางกาย และมีสุขทางใจมาก. บทว่า โยนิ

จสฺส อารทฺธา โหติ ความว่า และเหตุของภิกษุนั้นบริบูรณ์. ในบท

อาสวาน ขยา นี้ท่านประสงค์เอาพระอรหัตตมรรคว่าอาสวักขัย. อธิบายว่า

เพื่อประโยชน์แก่พระอรหัตนั้น. บทว่า โอธตปโตโท ได้แก่แส้ที่ขวางขวาง

ไว้กลางรถ บทว่า เยนิจฺฉก ได้แก่ปรารถนาไปทางทิศใด บทว่า ยทิจฺฉก

ได้แก่ ปรารถนาการไปใดๆ. บทว่า สาเรยฺย แปลว่า พึงส่งไปวิ่งไปข้างหน้า

บทว่า ปจฺจาสาเรยฺย แปลว่า พึงวิ่งกลับ ( ถอยหลัง ) บทว่า อารกฺขาย

แปลว่า เพื่อประโยชน์แก่อันรักษา. บทว่า สญฺมาย ได้แก่ เพื่อห้าม

ความสลดใจ. บทว่า ทมาย ได้แก่ เพื่อหมดพยศ. บทว่า อุปสมาย

ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การเข้าไปสงบกิเลส.

ในบทว่า เอวเมวโข มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- เหมือนอย่างว่า

เมื่อนายสารถี ผู้ไม่ฉลาด เทียมม้าสินธพที่ไม่ได้ฝึก ขับรถไปตามทางขรุขระ

(ไม่สม่ำเสมอ) แม้ล้อก็ย่อมแตก แม้เขลาและกีบของม้าสินธพ ก็ถึงความ

ย่อยยับกับทั้งตนเอง และไม่สามารถจะให้แล่นไปได้ตามทางไปตามที่ต้อง

การได้ฉันใด ภิกษุผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖ ก็ฉันนั้น ไม่สามารถ

เสวยความยินดีในความสงบตามที่ต้องการได้. ส่วนนายสารถีผู้ฉลาด

เทียมม้าสินธพที่ฝึกแล้ว ให้รถแล่นในพื้นที่เรียบ จับเชือก ตั้งสติไว้

ที่กีบม้าสินธพทั้งหลาย ถือแส้จับให้หมดพยศขับไป ให้มันวิ่งไปตามทาง

ไปที่ตนต้องการ ๆ ฉันใด ภิกษุผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้ง ๖ ก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

ย่อมเสวยความยินดีในความสงบ ตามที่ตนต้องการ ๆ ในพระศาสนานี้.

ถ้าภิกษุเป็นผู้ประสงค์จะส่งญาณมุ่งตรงต่ออุนิจจานุปัสสนาไซร้ ญาณก็ไป

ตรงทางอนิจจานุปัสสนานั้น แม้ในทุกขานุปัสสนา ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า โภชเน มตฺตญฺญู แปลว่า รู้จักประมาณในโภชนะ.

ในบทว่า รู้จักประมาณนั้น ประมาณมี ๒ อย่าง คือประมาณในการรับ

และประมาณในการบริโภค. ใน ๒ อย่างนั้น ประมาณในการรับ พึง

ทราบโดยสามารถของทายก พึงทราบโดยสามารถของไทยธรรม พึง

ทราบโดยกำลังของตน. จริงอยู่ ภิกษุเห็นปานนี้ ถ้าไทยธรรมมีมาก

ทายกประสงค์จะให้น้อย ย่อมรับแต่น้อย ไทยธรรมมีน้อย ทายกประสงค์

จะให้มาก ก็รับแต่น้อย ด้วยอำนาจไทยธรรม ทั้งไทยธรรม ก็มีมาก

ทั้งทายกก็ประสงค์จะให้มาก ย่อมรู้กำลังของตน รับโดยประมาณ ภิกษุนั้น

ย่อมทำลาภที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น และทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้มั่นคง เพราะ

ความที่ตนเป็นผู้รู้จักประมาณในการรับนั้น เหมือนสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบ

ในรัชสมัยแห่งพระเจ้าติสสมหาราชผู้ทรงธรรม.

ได้ยินว่า ราชบุรุษทั้งหลายขนงบน้ำอ้อยมา ๕๐๐ เล่มเกวียนถวาย

แด่พระราชา. พระราชาทรงพระดำริว่า เครื่องบรรณาการ น่าชอบใจ

ไม่ถวายพระผู้เป็นเจ้าก่อน เราจักไม่กิน จึงส่งเกวียน ๒๕๐ เล่ม ไปยัง

มหาวิหาร ฝ่ายพระองค์เสวยพระกระยาหารเข้าแล้วก็เสด็จไป. เมื่อเขาติ

กลอง ภิกษุ ๑๒,๐๐๐ รูปประชุมกัน พระราชา ประทับยินอยู่ ณ ส่วน .

ข้างหนึ่ง รับสั่งได้เรียกคนวัดมาตรัสว่า ในการถวายทานของพระราชา

ถวายองค์ละประมาณเต็มบาตรหนึ่ง บรรจุเต็มภาชนะที่ถือมาแล้วจงบอก

ถ้าองค์ไร ๆ มั่นอยู่ในการรับพอประมาณ ก็จะไม่รับ ก็พึงบอกแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

ลำดับนั้น พระมหาเถระรูปหนึ่ง ประสงค์จะไหว้ต้นพระมหาโพธิ์

พระมหาเจดีย์ ก็มาจากเจติยบรรพตเข้าไปยังวิหาร เห็นพวกภิกษุถืองบ

น้ำอ้อย ณ ที่มณฑปใหญ่ จึงกล่าวกะสามเณรผู้ตามมาข้างหลังว่า เธอ

ไม่ต้องการงบน้ำอ้อยหรือ. สามเณรตอบว่า ขอรับกระผมไม่ต้องการ.

(พระเถระ) พ่อสามเณร พวกเราเดินทางมาลำบาก ต้องการอาหารเพียง

ผลมะขวิดสักผลหนึ่ง. สามเณรจึงนำภาชนะออกมา แล้วได้วางเรียงไว้ตาม

ลำดับพรรษาของพระเถระ. คนวัดบรรจุเต็มภาชนะที่พอรับ แล้วยกขึ้น.

สามเณรกระดิกนิ้ว. คนวัด กล่าวว่า พ่อสามเณร ในทานของราชสกุล

กำหนดถวายเต็มภาชนะทั้งนั้น โปรดรับภาชนะที่เต็มเถิด. สามเณร

กล่าวว่า อย่างนั้น อุบาสก ธรรมดาพระราชาทั้งหลาย มีพระราชอัธยาศัย

ใหญ่ พระอุปัชฌาย์ของพวกอาตมาต้องการเพียงเท่านี้แหละ. พระราชา

ทรงพึงถ้อยคำของคนวัดนั้นแล้ว ตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ สามเณรพูดอะไร

จึงเสด็จมายิ่งสำนักของสามเณร คนวัดทูลว่า ภาชนะของสามเณรเล็กมาก.

พระราชาตรัสว่า ท่านบรรจุเต็มภาชนะที่ท่านนำมารับไว้เถิดพ่อสามเณร

สามเณรทูลว่า มหาบพิตร ธรรมดาว่า พระราชาทั้งหลาย มีพระราช

อัธยาศัยใหญ่ และมีพระราชประสงค์จะบรรจุเต็มภาชนะที่ยกขึ้นแล้ว จึง

ถวาย แต่อุปัชฌาย์ของอาตมภาพ ต้องการของมีประมาณเท่านี้แหละ

พระราชาทรงพระดำริว่า สามเณรนี้ มีอายุ ๗ ขวบ แม้แต่ปากของเธอก็

ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม เธอยังไม่กล่าวว่าเราจะรับเต็มหม้อหรือตุ่ม แล้ว

จักฉันทั้งในวันนี้ทั้งในวันพรุ่งนี้ ใคร ๆ ไม่สามารถที่จะรักษาพระศาสนา

ของพระพุทธเจ้าไว้ได้ จึงทรงสั่งราชบุรุษทั้งหลายว่า ท่านผู้เจริญ เรา

เลื่อมใสสามเณรจริง ๆ พวกท่านจงนำเกวียนบรรทุกน้ำอ้ายงบ ๒๕๐ เล่ม

มาอีกแล้ว ถวายแก่สงฆ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

ก็พระราชานั้นนั่นแล วันหนึ่งมีพระราชประสงค์จะเสวยเนื้อนก

กระทา จึงทรงพระดำริว่า ถ้าเราประสงค์จะบริโภคเนื้อนกกระทำปิ้งไฟ

จึงทรงดำริว่า ถ้าเราจักบอกแก่คนอื่นว่าเราอยากกินเนื้อนกกระทาปิ้งไฟ

คนทั้งหลายก็จักกระทำฆ่านกกระทา ในที่รอบ ๆ โยชน์หนึ่ง จึงทรง

อดกลั้นบ่วงมาร แม้ที่เกิดขึ้นแล้วทรงยับยั้งถึง ๓ ปี. ต่อมาพระราชานั้น

เกิดเป็นน้ำหนวก. ท้าวเธอ เมื่อไม่อาจจะอดกลั้นได้ จึงตรัสถามว่า ใคร ๆ

ที่เป็นอุบาสกผู้อุปัฏฐากเราเป็นคนรักษาศีลมีอยู่บ้างไหม. ราชบุรุษเหล่านั้น

ทูลว่า เทวะ มีอยู่พระเจ้าข้า เขาชื่อว่า ติสสะ รักษาศีลไม่ขาด. ลำดับนั้น

พระราชาประสงค์จะทดลองอุบาสกนั้น จึงรับสั่งให้เรียกตัวมา. อุบาสกนั้น

ก็มาเฝ้ายืนถวายบังคมพระราชา. ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะอุบาสก นั้นว่า

แน่พ่อ ท่านชื่อติสสะหรือ อุบาสกทูลรับว่า พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า

ถ้าอย่างนั้นท่านจงไปได้. เมื่ออุบาสกนั้นไปแล้ว พระราชารับสั่งให้นำไก่

มาตัวหนึ่ง แล้วตรัสสั่งราชบุรุษผู้หนึ่งว่าเจ้าจงไป บอกกะติสสะว่า เธอ

จงปิ้งไก่ให้สุก ๓ เวลา และจงให้ปรนนิบัติเรา. ราชบุรุษนั้นได้ไปบอก

อย่างนั้น. อุบาสกนั้น กล่าวว่า ผู้เจริญ ถ้าไก่ตัวนี้พึงเป็นไก่ตายแล้วไซร้

เราจะพึงปิ้งตามที่เรารู้ และปรนนิบัติ ความจริง เราไม่ทำปาณาติบาต

ราชบุรุษนั้นได้ไปทูลแด่พระราชา.

พระราชา ทรงส่งไปสั่งว่า เธอจงไปอีกครั้ง เขาไปบอกว่า ท่าน

ผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่า การปรนนิบัติพระราชา เป็นภาระหนัก ท่านอย่าทำ

อย่างนี้ ศีลท่านสามารถจะสมาทานได้อีก จงปิ้งไก่นั้นเถิด ลำดับนั้น ติสสะ

ได้กล่าวกะบุรุษนั้นว่า ผู้เจริญธรรมดาว่า ในอัตภาพหนึ่ง ความตายมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

หนเดียวแน่นอน เราจักไม่ทำปาณาติบาต ราชบุรุษนั้นได้กราบทูลแด่

พระราชาอีกครั้ง. พระราชาส่งไปเป็นครั้งที่ ๓ แล้วรับสั่งให้เรียกอุบาสก

ผู้ไม่รับมาตรัสถามด้วยพระองค์เอง. อุบาสกก็ถวายคำตอบแม้แก่พระ-

ราชาเหมือนอย่างนั้น. ลำดับนั้น พระราชาสั่งราชบุรุษทั้งหลายว่า คน

ผู้นี้ ขัดพระราชโองการ พวกเจ้าจงไป จงวางมันไว้ในซองสำหรับฆ่าคน

แล้วจงตัดศีรษะเสีย แต่ได้ประทานสัญญาในที่ลับแก่ราชบุรุษเหล่านั้นว่า

พวกเจ้าขู่อุบาสกนี้นำไปวางศีรษะของมันไว้ในซองสำหรับฆ่าคน แล้วมา

บอกเรา. ราชบุรุษเหล่านั้น ให้อุบาสกนั้นนอนในซองสำหรับฆ่าคนแล้ว

วางไก่ตัวนั้นไว้ในมือของเขา อุบาสกนั้น วางไก่นั้นไว้ตรงหัวใจแล้ว พูดว่า

พ่อเอ๋ย ข้าไห้ชีวิตของข้าแทนเจ้า ข้าจะคงชีวิตของเจ้าไว้ เจ้าจงปลอดภัย

ไปเถิด ดังนี้แล้วก็ปล่อยไก่ไป ไก่ปรบปีก แล้วก็บินไปทางอากาศแอบอยู่

ที่ต้นไทรย้อย สถานที่ ๆ อุบาสกให้อภัยแก่ไก่นั้น ชื่อ ว่ากุกกุฏคีรี.

พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว รับสั่งให้เรียกอุบาสกบุตรอำมาตย์

มา ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทั้งปวง ตรัสว่าพ่อเอย เราทดลองเจ้า

เพื่อประโยชน์นี้เอง เมื่อเราประสงค์จะกินเนื้อนกกระทา ล่วงไปถึง ๓ ปี

เจ้าจักอาจกระทำเนื้อให้บริสุทธิ์ โดยส่วนสาม แล้วปรนนิบัติเราได้หรือไม่

บุตรอำมาตย์ทูลว่า เทวะ ขึ้นชื่อว่า กรรมนี้เป็นกรรมของข้าพระองค์เอง

ดังนี้แล้ว ออกไปยืนอยู่ที่ระหว่างประตู เห็นบุรุษคนหนึ่ง ถือเอานกกระทา

๓ ตัวเข้าไปแต่เช้าตรู่ ให้ทรัพย์ ๒ กหาปณะ ซื้อเอานกกระทำชำระให้

สะอาด แล้วอบด้วยผักชีเป็นต้น ปิ้งให้สุกดีที่ถ่านไฟ แล้วปรนนิบัติแก่

พระราชา. พระราชา ประทับนั่งบนบัลลังก์ ( พระแท่น ) อันมีพื้นใหญ่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

ถือเอานกกระทำตัวหนึ่ง ตัดหน่อยหนึ่งแล้วใส่เข้าในพระโอษฐ์. ทันใดนั้น

เอง เนื้อนกกระทาได้แผ่ซ่านตลอดเส้นประสาทเครื่องรับรส ๑๗,๐๐๐ ของ

พระราชานั้น. ในสมัยนั้น พระราชา ทรงระลึกถึงภิกษุสงฆ์ ทรงพระ

ดำริว่า ราชาผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน เช่นเรา ประสงค์จะกินเนื้อนกกระทำ

ยิ่งไม่ได้ถึง ๓ ปี ภิกษุสงฆ์ผู้ ไม่ประมาท จักได้แต่ที่ไหน. จึงทรงคาย

เนื้อชิ้นที่ใส่เข้าในพระโอษฐ์ลงที่พื้น บุตรอำมาตย์ คุกเข่าเอาปากรับ.

พระราชา ตรัสว่า หลีกไปเสียพ่อ เรารู้ว่าท่านไม่มีความผิด ด้วยเหตุนี้

เอง เราจึงทิ้งก้อนเนื้อนี้ แล้วจึงตรัสว่า ท่านจงเก็บงำเนื้อนกกระทาที่เหลือ

ไว้อย่างนั้นนั่นแล.

วันรุ่งขึ้น พระเถระผู้เป็นราชกุลุปกะ ( ประจำราชสกุล ) เข้าไป

บิณฑบาต. บุตรอำมาตย์เห็นท่านเข้า จึงรับบาตร ให้เข้าไปในกรุงราชคฤห์.

ภิกษุบวชเมื่อแก่ แม้รูปหนึ่ง ติดตามเข้าไป เหมือนปัจฉาสมณะของพระเถระ

พระเถระสำคัญผิดว่า เป็นภิกษุที่ พระราชา รับสั่งให้เฝ้า แม้บุตรแห่งอำมาตย์

ก็สำคัญผิดไปว่า เป็นอุปัฏฐากของพระเถระ. พวกเจ้าหน้าที่ ให้ท่านนั่งแล้ว

ถวายข้าวยาคูแก่ท่านทั้งสองนั้น. เมื่อท่านดื่มข้าวยาคูแล้ว พระราชาได้

น้อมนกกระทาเข้าไปถวาย. แม้พระเถระก็รับตัวหนึ่ง. ฝ่ายอีกรูปหนึ่ง

ก็รับตัวหนึ่ง. พระราชาทรงพระดำริว่า ยังมีส่วนน้อยอยู่ส่วนหนึ่ง การไม่

บอกเล่าเสียก่อนแล้วเคี้ยวกิน ไม่สมควร ดังนี้แล้ว จึงบอกเล่าพระเถระ.

พระเถระหดมือ. พระเถระแก่ยื่นมือรับ. พระราชา ก็ไม่พอพระทัย จึงรับ

เอาบาตรแล้วตามส่งพระเถระ ผู้เสร็จภัตตกิจไป ตรัสว่า ท่านผู้เจริญ การที่

ท่านมาสู่เรือนตระกูล พาภิกษุแม้ผู้ศึกษาวัตรแล้วมา จึงควร ขณะนั้น

พระเถระ รู้ว่าภิกษุรูปนี้พระราชามิได้รับสั่งให้เฝ้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

วันรุ่งขึ้นจึงพาสามเณรผู้อุปัฏฐากเข้าไป. พระราชา เมื่อท่านดื่ม

ยาคูแล้ว แม้ในเวลานั้น ก็น้อมนกกระทาเข้าไป พระเถระได้รับส่วนหนึ่ง.

สามเณรสั่นนิ้วมือ ให้ตัดตรงกลาง รับไว้ส่วนหนึ่งเท่านั้น. พระราชา

น้อมส่วนนั้นเข้าไปถวายพระเถระ พระเถระหดมือ. ฝ่ายสามเณรก็หดมือ

พระราชาประทับนั่ง ตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเสวย ตรัสว่า เราอาศัย

ภิกษุผู้ศึกษาวัตรมาแล้ว จึงได้กินนกกระทาหนึ่งส่วนครึ่ง. พอเสวยเนื้อ

นกกระทานั้นเท่านั้น น้ำหนวกก็ไหลออกจากพระกรรณทั้งสองข้าง แต่นั้น

ก็บ้วนพระโอษฐ์แล้วเข้าไปหาสามเณร ตรัสว่า พ่อสามเณร โยมเลื่อมใส

จริง ๆ โยมจะถวายธุวภัตตาหารประจำทั้ง ๘ อย่างแด่พ่อสามเณร. สามเณร

ทูลว่า มหาบพิตร อาตมภาพจะถวายแด่พระอุปัชฌาย์. พระราชาตรัสว่า

โยมจะถวายธุวภัตอีก ๘. สามเณร ทูลว่า อาตมภาพจะถวายภัตเหล่านั้น

แด่พระเถระปูนอุปัชฌาย์. พระราชาตรัสว่า จะถวายอีก ๘. สามเณร

ทูลว่า อาตมภาพจะถวายแด่ภิกษุสงฆ์. พระราชาตรัสว่าจะถวายอีก ๘.

สามเณรก็ทูลรับ.

ภิกษุเมื่อรู้จักประมาณในการรับอย่างนี้ จึงทำลาภที่ยังไม่เกิดให้เกิด

ขึ้น ทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้มั่นคง. นี้ ชื่อว่าประมาณการรับ.

ก็การที่ภิกษุคิดว่า เราจะบริโภคโภชนะ ที่มีอยู่แล้วบริโภคปัจจัย

ตามที่พิจารณาแล้ว ชื่อว่าประมาณในการบริโภค. ประมาณในการบริโภค

นั้น ท่านประสงค์เอาในที่นี้ . ด้วยเหตุนั้น นั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส ดังนี้เป็นต้น. ประมาณในการบริโภคแม้

นอกนี้ ก็ควรเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

ในบทว่า สีหเสยฺย นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ . ชื่อว่า การนอนมี

๔ อย่าง การนอนของผู้บริโภคกาม ๑ การนอนของเปรต ๑ การนอน.

ของสีหะ การนอนของพระตถาคต ๑ ในการนอน ๔ อย่างนั้น การนอน

ที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้บริโภคกาม โดยมากย่อมนอนตะแคงซ้าย

นี้ชื่อว่าการนอนของผู้บริโภคกาม. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าการนอนโดยตะแคง

ข้างขวาของสัตว์ผู้บริโภคกามเหล่านั้น โดยมากไม่มี. การนอนที่ตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย โดยมากพวกเปรต ย่อมนอนหงาย นี้ ชื่อว่าการนอน

ของเปรต. จริงอยู่ พวกเปรต ชื่อว่า มีร่างกระดูกพันกันยุ่ง เพราะมีเนื้อ

เลือดน้อย ไม่สามารถจะนอนตะแคงได้ จึงนอนหงายเท่านั้น.

การนอนที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย โดยมาก สีหมฤคราช สอดหาง

เข้าไปตามหว่างขา นอนตะแคงข้างขวา แม้นี้ก็ชื่อว่าการนอนของสีหะ

จริงอยู่ สีหราชาแห่งมฤค เพราะตัวมีอำนาจมาก จึงวางเท้าหน้าทั้ง ๒

ไว้ข้างหนึ่ง เท้าหลังทั้ง ๒ ไว้ข้างหนึ่ง แล้วสอดหางเข้าไปในหว่างขา

กำหนดโอกาสที่ตั้งของเท้าหน้า เท้าหลังและข้าง แล้วนอนวางศีรษะไว้

เหนือเท้าหน้าทั้ง ๒. แม้นอนทั้งวันเมื่อตื่นก็ไม่สะดุ้งตื่น. ชะเง้อศีรษะ

กำหนดโอกาสที่เท้าหน้าเป็นต้นตั้งอยู่. ถ้าอะไร ๆ ละเคลื่อนที่ไป ก็จะเสีย

ใจว่า ข้อนี้ไม่ควรแก่ชาติและแก่ความแกล้วกล้าของท่าน จึงนอนลงเสีย

ในที่นั้นนั่นแลอีกไม่ออกไปหาเหยื่อ. แต่เมื่อไม่ละ ตั้งคงที่อยู่ มันก็ร่าเริง

ยินดีว่า นี้สมควรแก่ชาติและแก่ความแกล้วกล้าของท่าน ลุกขึ้นสะบัดกาย

สะบัดสร้อยคอ แผดสีหน้าที่ ๓ ครั้ง แล้วออกไปหาเหยื่อ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

ส่วนการนอนในจตุตถฌาน ท่านเรียกว่า การนอนของพระ

ตถาคต. ก็ในการนอนเหล่านั้น การนอนของสีหะมาแล้วในสูตรนี้ .

ก็การนอนของสีหะนี้ เป็นการนอนอย่างสูงสุด เพราะเป็นอิริยาบถของสัตว์

ผู้มีอำนาจมาก.

บทว่า ปาเทน ปาท ได้แก่ เท้าซ้ายทับเท้าขวา. บทว่า อจฺจาธาย

แปลว่า เหลื่อมกัน คือ วางเลยไปหน่อยหนึ่ง. จริงอยู่ เมื่อข้อเท้า

กับข้อเท้า หรือเข่ากับเข่าขบกัน เวทนาก็เกิดเนือง ๆ จิตย่อมไม่มีอารมณ์

เป็นอันเดียวนอนก็ไม่ผาสุก. แต่เมื่อวางให้เหลื่อมกัน โดยอาการที่มันไม่

ขบกัน เวทนาก็ไม่เกิด จิตก็มีอารมณ์เป็นอันเดียว นอนก็ผาสุก

เพราะฉะนั้น ราชสีห์จึงนอนอย่างนี้.

บทว่า สโต สมฺปชาโน ความว่า ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ

ถามว่า นอนอย่างไรชื่อเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ แก้ว่า เพราะไม่ละสติ

และสัมปชัญญะ จริงอยู่ภิกษุนี้ ชำระจิตให้หมดจดจากธรรมเป็นเครื่องกั้น

ตลอดวันตลอดยามทั้งสิ้น ลงจากที่จงกรมที่สุดแห่งปฐมยาม แม้ล้างเท้า

ก็ไม่ละมูลกรรมฐานเลย. ไม่ละมูลกรรมฐานนั้น เปิดประตู นั่งบนเตียง

ลงนอนก็ไม่ละ เมื่อตื่นก็ยังถือกรรมฐานแล้วตื่น. ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ.

สัมปชัญญะ แม้เมื่อลงนอนหลับอย่างนี้. แต่พระอาจารย์ทั้งหลายไม่บอก

ความข้อนั้นว่า เป็นญาณธาตุ.

ก็ภิกษุนั้น ครั้นชำระจิตให้หมดจดโดยนัยดังกล่าวแล้ว ที่สุดแห่ง

ปฐมยาม คิดว่า เราจะพักผ่อนสรีระที่มีใจครอง ด้วยการหลับนอน

แล้วลงจากที่จงกรม ไม่ละมูลกรรมฐานเลย ล้างเท้า เปิดประตู นั่ง

บนเตียง ไม่ละมูลกรรมฐาน คิดว่า ขันธ์นั้นแลขัดกันในขันธ์ ธาตุนั้นแล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

ขัดกันในธาตุ ดังนี้แล้ว พิจารณาเสนาสนะ ไม่จงกรมหลับ เมื่อตื่นก็ถือ

มูลกรรมฐานไว้แล้วตื่น. เมื่อหลับด้วยอาการอย่างนี้ พึงทราบว่า เป็นผู้

มีสติสัมปชัญญะ.

ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวิปัสสนาอันส่วนเบื้องต้น

อันมีองค์ ๓ ด้วยประการฉะนี้. ก็ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ภิกษุยังไม่ถึง

ที่สุด ก็ชุมนุมอินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ เหล่านั้นนั่นแล เจริญ

วิปัสสนา บรรลุพระอรหัต. พึงกล่าวเทศนา จนถึงพระอรหัต ดังกล่าวมา.

จบ อรรถกถารถสูตรที่ ๒

๓. กุมมสูตร

ว่าด้วยการคุ้มครองทวารในอินทรีย์

[๓๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีเต่าตัวหนึ่ง

เที่ยวหากินอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง

ก็ได้เที่ยวหากิน อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่งในเวลาเย็น เต่าได้แลเห็น

สุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว ก็หดอวัยวะ ๕ ทั้งหัว ( หดขาทั้ง ๔

มีคอเป็นที่ ๕ ) เข้าอยู่ในกระดองของตนเสีย มีความขวนขวายน้อย นิ่งอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกก็ได้แลเห็นเต่าซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่

ไกลแล้ว เข้าไปหาเต่าถึงที่แล้ว ได้ยืนอยู่ใกล้เต่าด้วยคิดว่า เวลาใดเต่าตัวนี้

จักเหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น เราจักงับมันฟาดแล้ว

กัดกินเสีย เวลาใด เต่าไม่เหยียดคอหรือขาข้างใดข้างหนึ่งออกมา เวลานั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

สุนัขจิ้งจอกก็หมดความอาลัย ไม่ได้โอกาส จึงหลีกไปจากเต่า ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารผู้ใจบาปผู้ปรากฏอยู่ใกล้พวกท่านเสมอ ๆ แล้ว

คิดว่า บางทีเราจะพึงได้โอกาสทางจักษุ หู จมูก ลิ้น กายหรือใจ ของ

ภิกษุเหล่านี้บ้าง เพราะฉะนั้นแล ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้คุ้มครองทวารใน

อินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ

จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้

อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่ารักษา

จักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่น

ด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วย

ใจแล้ว อย่าถือนิมิต อย่าถืออนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์

ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา

และโทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมใน

มนินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวลาในท่านทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครอง

ทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่ เวลานั้นมารผู้ใจบาปก็จักหมดความอาลัย ไม่

ได้โอกาส หลีกจากท่านทั้งหลายไป ดุจสุนัขจิ้งจอกหมดความอาลัยหลีก

จากเต่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๓๒๑] ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นในมโนวิตก อันตัณหามานะ

และทิฏฐิไม่อิงอาศัยไม่เบียดเบียน ผู้อื่นดับกิเลสได้

แล้ว ไม่ติเตียนผู้ใดผู้หนึ่ง เหมือนเต่าหดคอและ

ขาอยู่ในกระดองของตน ฉะนั้น.

จบ กุมมสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

อรรถกถากุมมสูตรที่ ๓

ในกุมมสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า กุมฺโม แปลว่า เต่ามีกระดอง. บทว่า กจฺฉโป นี้ เป็น

ไวพจน์แห่งบทว่า กุมฺโม นั้นแล. บทว่า อนุนทีตีเร แปลว่า ที่ริมฝั่งแห่ง

แม่น้ำ. บทว่า โคจรปสุโต ความว่า เต่าคิดว่าถ้าเราจักได้ผลไม้น้อยใหญ่

ก็จักกิน จึงขยัน คือขวนขวาย สืบกันมาตามประเพณี. บทว่า สโมทหิตฺวา

ได้แก่ เหมือนใส่เข้าในกล่อง. บทว่า สงฺกสายติ แปลว่าย่อมปรารถนา

บทว่า สโมทห ได้แก่ ตั้งไว้ คือวางไว้. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ ว่า

เต่า ตั้งอวัยวะทั้งหลายไว้ในกระดองของตน ไม่ให้โอกาสแก่สุนัขจิ้งจอก

และสุนัขจิ้งจอกก็ทำร้ายเต่าไม่ได้ฉันใด ภิกษุตั้งมโนวิตก ( ความตรึก

ทางใจ ) ของตนไว้ นกระดอง คืออารมณ์ของตน ไม่ให้โอกาสแก่กิเลสมาร

มารก็ทำร้ายภิกษุนั้นไม่ได้ฉันนั้น.

บทว่า อนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อันนิสสัย คือตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย

แล้ว. บทว่า อญฺมเหยาโน ได้แก่ ไม่เบียดเบียนบุคคลไร ๆ อื่น

บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ ดับสนิท ด้วยการดับกิเลสได้สนิท. บทว่า

น อุปวทเยฺย กญฺจิ ความว่า ไม่พึงว่าร้ายบุคคลไร ๆ อื่น ด้วยศีลวิบัติ

หรือด้วยอาจารวิบัติ ด้วยประสงค์จะยกตน หรือด้วยประสงค์จะข่มผู้อื่น

โดยที่แท้ ภิกษุตั้งธรรม ๕ เข้าไว้ในตน อยู่ด้วยทั้งจิตที่ตั้งอยู่ในสภาวะ

อันยกขึ้นพูดอย่างนี้ว่า เราจะกล่าวตามกาล จะไม่กล่าวโดยมิใช่กาล

กล่าวด้วยคำเป็นจริง ไม่กล่าวด้วยคำไม่เป็นจริง กล่าวด้วยคำอ่อนหวาน

ไม่กล่าวด้วยคำหยาบ กล่าวด้วยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ ไม่กล่าวคุณ

ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์. มีเมตตาจิต ไม่มากด้วยโทสจิตกล่าว

จบ อรรถกถากุมมสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

๔. ปฐมทารุขันธสูตร

ว่าด้วยอุปมาการท่องเที่ยวในสังสารวัฏกับท่อนไม้ลอยน้ำ

[๓๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา

แห่งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง

อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถานภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแส

น่าพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทูลหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น

จักไม่จมเสียในท่ามกลาง จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้

ไม่ถูกน้ำวน ๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ

ดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้ ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร

ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่ง

ข้างโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้

ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ๆ ไว้ จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไร้ ด้วยประการดัง

กล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร. เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๓๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่ง

โน้นได้แก่อะไร การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร การเกยบกได้แก่อะไร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

มนุษย์ผู้จับคืออะไร อมนุษย์ผู้จับคืออะไร. เกลียวน้ำวน ๆ ไว้คืออะไร

ความเป็นของเน่าในกายในคืออะไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะ

ภายนอก ๖ คำว่าจมในท่ามกลางเป็นชื่อแห่งนันทิราคะ คำว่าเกยบก เป็น

ชื่อแห่งอัสมิมานะ ดูก่อนภิกษุ ก็มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุข

ด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิด

ขึ้นแล้วของเขา ดูก่อนภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ ดูก่อนภิกษุ อมนุษย์

จับเป็นไฉน. ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์

ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ

หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง

ดูก่อนภิกษุ นี้เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ ดูก่อนภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวน ๆ ไว้

เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕ ดูก่อนภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน.

ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามกไม่สะอาด มีความ

ประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็น

สมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เป็นผู้เน่าในภายใน

มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูก่อนภิกษุ นี้เรียกว่า ความเป็น

ผู้เน่าในภายใน.

[๓๒๔] ก็โดยสมัยนั้นแล นายนันทโคบาลยื่นอยู่ในที่ไม่ไกล

พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้นแล นายนันทโคบาลได้กราบทูลพระผู้มี.

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เข้าใกล้ฝั่งนี้. ไม่เข้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

ใกล้ฝั่งโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่ติดบนบก ไม่ถูกมนุษย์จับ ไม่ถูก

อมนุษย์จับ ไม่ถูกเกลียวน้ำวน ๆ ไว้ จักไม่เน่าในภายใน ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา

อุปมาบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนนันทะ. ถ้าอย่างนั้น ท่านจงมอบโคให้เจ้าของเขาเถิด

น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โคที่ติดลูกจักไปเอง.

พ. ท่านจงมอบโคให้แก่เจ้าของเถิด นันทะ.

ครั้งนั้นแล นายนันทโคบาลมอบโคให้แก่เจ้าของแล้ว เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มอบโคให้เจ้าของแล้ว ข้าพระองค์พึงได้

บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า นายนันทโคบาลได้

บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แลท่านพระนันทะ

อุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์

อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ

นั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ก็อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์

ทั้งหลาย.

จบ ปฐมทารุขันสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

อรรถกถาปฐมทารุขันธสูตรที่ ๔

ในปฐมทารุขันธสุตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อทฺทสา ความว่า ประทับนั่ง บนบวรพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้

ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว. บทว่า วุยฺหมาน ได้แก่

ท่อนไม้ที่เขาถากเป็น. เหลี่ยมแล้ว กองไว้ระหว่างเขา แห้งสนิทดีเพราะ

ลมและแดด เมื่อเมฆฝนตกชุกก็ลอยขึ้นตามน้ำ ตกไปในกระแสแม่น้ำ

คงคาตามลำดับ ลอยไหลไปตามกระแสน้ำนั้น. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระดำริว่า เราจักแสดงกุลบุตรผู้บวช

ด้วยศรัทธา ในศาสนาของเรา กระทำให้เหมือนท่อนไม้นี้ ดังนี้แล้ว

จึงตรัสเรียกมา เพราะทรงประสงค์จะทรงแสดงธรรม. อนึ่ง เพราะ

นอกจากโทษ ๘ ประการของท่อนไม้ที่ลอยไปตามกระแสน้ำ เพื่อจะทรง

แสดงโทษอีก ๘ ประการอันจะกระทำอันตรายแก่ท่อนไม้ที่ลอยไปสู่สมุทร

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงเริ่มพระดำรัสนี้ว่า อมุ มหนฺต ทารุกฺขนฺธ

คงฺคาย นทิยา โสเตน วุยฺหมาน ดังนี้ .

จริงอยู่ ต้นไม้ต้นหนึ่ง เกิดที่พื้นภูเขา ไม่ไกลแม่น้ำคงคา ถูก

เถาวัลย์ต่างๆพันไว้มีใบเหลือง ถูกปลวกเป็นต้นกัดกิน ก็ถึงความไม่มีบัญญัติ

( ตาย ) ในที่นั้นนั่นเอง ท่อนไม้นี้ลงสู่แม่น้ำคงคาแล้ว งดงามอยู่ในวังวน

ถึงสาครแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อจะงดงาม บนหลังคลื่นซึ่งมีสีดังแก้วมณี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

ต้นไม้อีกต้นหนึ่ง มีรากอยู่ภายนอก มีกิ่งอยู่ภายในฝั่งแม่น้ำคงคา

ต้นไม้นี้ถูกน้ำ โดยกิ่งที่ห้อยย้อยลงมาบางครั้งบางคราวก็จริง ถึงอย่างนั้น

เพราะมันมีรากอยู่ภายนอกแม่น้ำคงคา ลงสู่แม่น้ำคงคาแล้ว งดงามอยู่ใน

วังวน ถึงสาครแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อจะงดงามบนหลังคลื่น ซึ่งมีสีดังแก้วมณี.

อีกต้นหนึ่ง เกิดกลางแม่น้ำคงคา แต่ยืนต้นอยู่ดีเพราะรากมั่นคง

และกิ่งคดของมันยื่นไปนอกต้น ถูกเถาวัลย์ต่าง ๆ เกี่ยวพันไว้. แม้ต้นไม้นี้

ก็ลงสู่แม่น้ำคงคา ฯลฯ ไม่ได้งดงาม เพราะมีรากมั่นคง และมีเถาวัลย์เกี่ยว

พันไว้ข้างนอก.

อีกต้นหนึ่ง ถูกทรายคลุมทับไว้ ในที่ ๆ มันล้มลงนั่นแล ก็เน่า ฯลฯ

ต้นไม้แม้นี้ ก็ลงสู่แม่น้ำคงคา ฯลฯ ก็ไม่งาม.

อีกต้นหนึ่ง ยินต้นอยู่อย่างแน่นสนิท เหมือนฝั่งไว้ดี เพราะเกิด

ในระหว่างแผ่นหิน ๒ แผ่น น้ำคงคาที่ไหลมาถึงได้แยกเป็น ๒. ต้นไม้นี้

เพราะอยู่ด้วยดี ในระหว่างแผ่นหิน ลงสู่แม่น้ำคงคา ฯลฯ ก็ไม่งาม.

อีกต้นหนึ่ง ยังท้องฟ้าให้เต็มในที่กลางแจ้ง ถูกเถาวัลย์เกี่ยวพัน

ยืนต้นอยู่ เปียกน้ำ ๑ - ๒ ครั้ง ในห้วงน้ำใหญ่ที่หลากมาถึงเกิน ๑- ๒ ปี

แม้ต้นไม้นี้ เพราะมันยืนต้นระท้องฟ้า และเพราะเปียกอยู่ ๑-๒ ครั้ง

โดยล่วงไป ๑ - ๒ ปี ลงสู่แม่น้ำคงคา ฯลฯ ก็ไม่งาม.

แม้อีกต้นหนึ่ง เกิดบนเกาะน้อย กลางแม่น้ำคงคา มีลำต้นและ

กิ่งอ่อน เมื่อโอฆะ ห้วงน้ำหลากมาก็ล้มลอยไปตามกระแสน้ำ เมื่อน้ำไหลถึง

ก็ชูยอดขึ้นเหมือนฟ้อนรำได้. เพื่อประโยชน์ไรเล่า สาครเหมือนกล่าวกะแม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

คงคาว่าดูก่อนท่านคงคา ท่านนำมาแต่ไม้ต่าง ๆ มีไม้แก่นจันทน์ และไม้

แก่นมีหนามเป็นต้น แต่ไม่นำท่อนไม้มา. แม่น้ำคงคากล่าวว่า ข้าแต่เทวะ

นั่นเป็นการดีแล้วละ ข้าก็จักรู้อีกครั้งแล้วไหลมาเหมือนสวมกอดด้วยน้ำ

สีแดงอีกครั้ง. ต้นไม้แม้นั้น ก็ลอยไปตามกระแสน้ำเหมือนอย่างนั้นแล

เมื่อน้ำผ่านมาถึง ก็ชูยอดขึ้นเหมือนรำฟ้อนฉะนั้น. ต้นไม้นี้ลงสู่แม่น้ำ

คงคา เพราะยังเป็นไม้อ่อน ฯลฯ ก็ไม่งาม.

อีกต้นหนึ่ง ล้มลงขวางแม่น้ำคงคา ถูกทรายคลุมทับไว้ เป็นที่อาศัย

ของคนเป็นอันมาก เหมือนสะพานทอดอยู่ในระหว่างฉะนั้น. ไม้ไผ่ไม้อ้อ

ไม้กุ่มบกและไม้กุ่มน้ำเป็นต้น ที่ฝังทั้ง ๒ ลอยมาติดอยู่ที่ต้นไม้นั้นนั่นแล

กอไม้ต่าง ๆ ก็ลอยมาอย่างนั้น ทั้งสากแตก กระด้งขาด ซากงู ลูกสุนัข

และช้าง ม้าเป็นต้น ก็ติดอยู่ที่นั้นเหมือนกัน. แม่น้ำคงคาใหญ่กระทบ

สิ่งนั้นแล้ว ก็แยกเป็น ๒ สาย ทั้งปลา เต่า จระเข้ และมังกรเป็นต้น

ก็อยู่ในที่นั้นนั่นแล แม้ต้นที่ไม้นี้ ล้มขวางแม่น้ำคงคา โดยภาวะที่ทำให้

เป็นที่อาศัยของมหาชน เมื่องอกงามอยู่ในที่อันเป็นวังวน ถึงสาครก็ไม่งาม

บนหลังคลื่นอันมีสีดังแก้วมณี.

ดังนั้น เพื่อจะทรงแสดงโทษอีก ๘ ประการ อันกระทำอันตราย

แก่การถึงสมุทรแห่งท่อนไม้ ที่ไปตามกระแสน้ำ เพราะนอกจากโทษ ๘

ประการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ท่อนไม้ใหญ่

ท่อนโน้น ถูกกระแสน้ำคงคาพัดไปอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ถเล อุสฺสาทิสฺสติ ได้แก่

จักไม่ขึ้นบก. บทว่า น มนุสฺสคฺคาโห คเหสฺสติ ความว่า มนุษย์

ทั้งหลาย เห็นว่าต้นไม้นี้ใหญ่หนอ จึงข้ามน้ำไปด้วยแพ ไม่ยึดถือเอา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

เพื่อประโยชน์จะทำเป็นไม้กลอนเป็นต้น. บทว่า น อมนุสฺสคฺคาโห

คเหสฺสติ ความว่า อมนุษย์ทั้งหลายสำคัญว่า ไม้แก่นจันทน์นี้มีค่ามาก

พวกเราจักพักไว้ทางประตูวิมาน แต่ก็ไม่ถือเอา.

ในคำว่า เอวเมวโข นี้ พึงทราบการเทียบเคียงข้ออุปมา พร้อมกับ

ทั้งโทษภายนอก ๘ ประการอย่างนี้. จริงอยู่ บุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉา-

ทิฏฐิ มีอาทิว่าทานที่บุคคลให้แล้วย่อมไม่มีผล พึงทราบเหมือนท่อนไม้

เกิดที่พื้นภูเขา ไกลแม่น้ำคงคา ถูกปลวกเป็นต้นกัดกิน ถึงความหา

บัญญัติมิได้ในที่นั้นนั่นแล. จริงอยู่ บุคคลนี้ ลงสู่อริยมรรค นั่งบนทุ่น

คือสมาธิ ก็ไม่อาจไปถึงสาครคือพระนิพพาน เพราะไกลพระศาสนา.

บุคคลผู้เป็นสมณกุฎุมพี ยังตัดความผูกพันทางคฤหัสถ์ไม่ขาด

พึงเห็นเหมือนต้นไม้ ที่มีรากอยู่ภายนอก มีกิ่งอยู่ภายใน เกิดที่ริมฝั่ง

แม่น้ำคงคา. จริงอยู่ บุคคลนี้ คิดว่า ธรรมดาจิตนี้ไม่ต่อเนื่องกัน เมื่อ

กล่าวว่า เราเป็นสมณะ แต่ก็เป็นคฤหัสถ์ เมื่อกล่าวว่า เราเป็นคฤหัสถ์

แต่ก็เป็นสมณะ ใครจักรู้ว่า เราจะเป็นอย่างไร แม้เมื่อบวชในเวลาแก่

ก็ไม่สละความเกี่ยวพันทางคฤหัสถ์. และชื่อว่า สมบัติของผู้บวชในเวลาแก่

ย่อมไม่มี. ถ้าจีวรมาถึงเธอไซร้ ก็ถึงแต่จีวรขาด ๆ จีวรเก่า ๆ หรือจีวรซีด ๆ

แม้เสนาสนะเล่า ไม่ว่า บรรณศาลา หรือมณฑป ก็มาถึงแต่ที่อยู่ชายวิหาร.

แม้เมื่อเที่ยวไปบิณฑบาต ก็เที่ยวไปข้างหลังเด็ก ๆ ผู้เป็นลูกและหลาน

นั่งในที่ท้าย ๆ ด้วยเหตุนั้น เธอจึงเป็นทุกข์ เสียใจ หลังน้ำตา คิดว่า

ทรัพย์อันเป็นของตระกูลของเรามีอยู่ ควรไหมหนอ ที่เราใช้ทรัพย์นั้น

เลี้ยงชีวิต จึงถามพระวินัยธรรูปหนึ่งว่า ท่านอาจารย์ การพิจารณาสิ่งของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

อันเป็นของตนแล้วกิน จะสมควรหรือไม่สมควร. พระวินัยธรตอบว่า

ในข้อนี้ไม่มีโทษ ข้อนั้นสมควรแท้. เธอจึงพาพวกภิกษุว่ายาก ประพฤติ

เลวทราม ผู้คบกับตน ๒-๓ รูป ในเวลาเย็นไปภายในบ้าน ยืนอยู่

กลางบ้าน ให้เรียกชาวบ้านมากล่าวว่า ท่านจะให้ทรัพย์ที่เกิดจากการ

ประกอบ ของพวกเราแก่ใคร. ชาวบ้านพูดว่า ท่านขอรับ พวกท่านเป็น

บรรพชิต พวกท่านจะให้ใครเล่า. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ทรัพย์ของตนไม่ควร

แก่บรรพชิตหรือ. ดังนี้แล้ว ให้คนถือจอบและตะกร้า กระทำกิจมีการ

ก่อคันนาเป็นต้น รวบรวมปุพพัณณชาต อปรัณณชาต และผลไม้น้อยใหญ่

มีอย่างต่าง ๆ ให้หุงต้นเคี้ยวกินสิ่งปรารถนา ในเหมันตฤดู คิมหันตฤดู

และวัสสันตฤดู เป็นสมณกุฎุมพี เลี้ยงชีวิต. หญิงบำเรอบาทบริจาริกา

พร้อมกับเด็กไว้ผม ๕ แหยม ของสมณกุฎุมพีนั้น คนเดียวก็ไม่มี. บุคคลนี้

ให้กายสามัคคี แก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ลานพระเจดีย์ และลานต้นโพธิ์ เป็นต้น

เหมือนต้นไม้ ถึงแม้มีกิ่งอยู่ในฝั่ง แต่ก็มีกิ่งห้อยย้อยลงมาถูกน้ำ เธอลงสู่

อริยมรรค นั่งบนทุ่น คือสมาธิ ไม่อาจไปถึงสาคร คือพระนิพพานได้

เพราะมีรากภายนอกต้น เหตุที่ตัดความเกี่ยวพันทางคฤหัสถ์ ยังไม่ขาด.

บุคคลผู้ขาดอาชีวะ อาศัยของสงฆ์เลี้ยงชีพ พึงเห็นเหมือนกิ่งคด

เกิดกลางแม่น้ำคงคา ถูกเถาวัลย์เกี่ยวพันไว้ภายนอก. คนบางคนแม้ละความ

เกี่ยวพันทางคฤหัสถ์ ออกบวช ก็ไม่ได้บรรพชา ในสถานอันสมควร.

จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า การบรรพชานี้ เป็นเหมือนการถือปฏิสนธิ. มนุษย์

ทั้งหลายถือปฏิสนธิ ในตระกูลเหล่าใด ย่อมศึกษาอาจาระ ( มารยาท

และธรรมเนียม ) ของตระกูลเหล่านั้นนั่นแลฉันใด แม้ภิกษุ ก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

ถือเอาอาจาระเฉพาะมนสำนักของเหล่าภิกษุที่ตนบวช เพราะฉะนั้น บุคคล

บางคน บวชในสถานอันไม่สมควร ก็เป็นผู้เหินห่างจากคุณธรรม มี

โอวาทานุสาสนี อุทเทศ ( การเรียน ) และปริปุจฉา ( การสอบถาม )

เป็นต้น ถือเอาหม้อเปล่าแต่เช้าตรู่ ไปยังท่าน้ำ วางบาตรไว้ที่คอไปสู่

โรงฉัน เพื่อต้องการภัต สำหรับอาจารย์และอุปัชฌาย์ทั้งหลาย. เล่น

การเล่นต่าง ๆ กับภิกษุหนุ่มและสามเณร ผู้ว่ายาก คลุกคลีกับคนวัดและ

เด็กอยู่.

ในเวลาเป็นหนุ่ม เธอก็กินอยู่ร่วมกับภิกษุหนุ่มสามเณร และคนวัด

อันเหมาะแก่ตน กล่าวว่าผู้นี้เป็นผู้กินอยู่ของสงฆ์ อันพระขีณาสพทั้งหลาย

รับมาจากสำนักของพระราชาชื่อโน้น พวกท่านไม่ให้สิ่งนั้นสิ่งนี้แก่สงฆ์

พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชา ทราบเรื่องของพวกท่านแล้ว ก็จัก

ไม่พอพระทัย บัดนี้พวกท่านจงกระทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ในที่นี้ ดังนี้แล้วให้คน

ถือเอาจอบและตะกร้า กระทำกิจที่ควรทำในสระน้ำและเหมืองทั้งหลาย ใน

หนหลัง ให้ส่งปุพพัณณชาตและอปรัณณชาตเป็นอันมาก เข้าไว้ในวิหาร

ให้คนวัดบอกแก่สงฆ์ ถึงความที่ตนเป็นผู้อุปการ สงฆ์สั่งให้ให้ว่า ภิกษุ

หนุ่มนี้เป็นผู้มีอุปการมาก พวกท่านจงให้ ๑๐๐ บ้าง ๒๐๐ บ้าง แก่ภิกษุ

หนุ่มนี้ ดังนั้น ท่านจึงเพิ่มพูนด้วยสมบัติของสงฆ์ ข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง

ถูกอเนสนา ๒๑ อย่างผูกพันไว้ภายนอก ถึงจะหยั่งลงอริยมรรคนั่งบนทุ่น

คือสมาธิ ก็ไม่สามารถบรรลุถึงสาครคือพระนิพพาน.

บุคคลผู้เกียจคร้านและกินจุ พึงทราบเหมือนต้นไม้ ที่ถูกทราย

คลุมทับในที่ ๆ ล้มลงนั่นแล แล้วกลายเป็นไม้ผุฉะนั้น. จริงอยู่ ภิกษุ

ทั้งหลาย หมายเอาบุคคลเห็นปานนี้ ผู้เห็นแก่อามิสและละโมบในปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

ผู้ ละทิ้งอาจารวัตร และอุปัชฌายวัตรเสียแล้ว ยังละเว้นจากอุทเทศ

ปริปุจฉา และโยนิโสมนสิการ ( การใส่ใจ ) จึงกล่าวนิวรณ์ ๕ โดยอรรถ

อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ พวกเราจะไปสำนักของใคร. ลำดับนั้น ถีนมิทธ

นิวรณ์ ลุกขึ้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายไม่เห็นหรือ บุคคลผู้เกียจคร้าน

อยู่ในวิหารโน้น นั่น ไปบ้านชื่อโน้น ซ้อนข้าวต้มไว้บนข้าวต้ม ขนม

ไว้บนขนม ซ้อนข้าวสวยไว้บนข้าวสวย มาวิหาร เป็นผู้สละวัตรปฏิบัติหมด

ละเว้นจากอุทเทศเป็นต้น ขึ้นเตียงนอน จงให้โอกาสแก่เรา.

ลำดับนั้น กามฉันทนิวรณ์ ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาส

แก่ท่าน ท่านก็ต้องให้โอกาสแก่เราบ้าง บัดนี้แลเขานอนหลับ ถูกกิเลส

รบกวน ตื่นขึ้นก็จักตรึกแต่กามวิตก.

ลำดับนั้น พยาปาทนิวรณ์ ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาส

แก่ท่าน ท่านก็ต้องให้โอกาสแก่เราบาล บัดนี้แลเราหลับไป ลุกขึ้นแล้ว

ถูกต่อว่า ท่านจงทำวัตรปฏิบัติ ก็กล่าวคำหยาบ มีประการต่าง ๆ ว่า ท่าน

คนพวกนี้ ไม่ทำการงานของตน ขวนขวายแต่ในเรา จำจักควักนัยน์ตา

ออก เที่ยวไป.

ลำดับนั้น อุทธัจจนิวรณ์ ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน

ท่านก็ต้องให้โอกาสเราบ้าง ขึ้นชื่อว่า ผู้เกียจคร้าน ย่อมลุกขึ้นเหมือน

กองเพลิงที่ถูกลมพัด.

ลำดับนั้น กุกกุจจนิวรณ์ ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน

ท่านก็ต้องให้โอกาสแก่เราบ้าง ขึ้นชื่อว่า ผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นผู้มีความ

รำคาญเป็นปกติ ทำให้เกิดความสำคัญ ในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร และความ

สำคัญในสี ที่ควรว่าไม่ควร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

ลำดับนั้น วิจิกิจฉานิวรณ์ ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน

ท่านก็ต้องให้โอกาสแก่เราบ้าง. จริงอยู่ บุคคลเห็นปานนี้ ชื่อว่าย่อมให้

เกิดความสงสัยอย่างใหญ่ในฐานะทั้ง.

นิวรณ์ ๕ ย่อมครอบงำยึดเอาผู้ที่เกียจคร้านกินจุ ด้วยอาการ

อย่างนี้ เหมือนสุนัขดุเป็นต้น ข่มเหงโคแก่ตัวเขาขาดฉะนั้น. แม้ผู้นั้น

ถึงหยั่งลงสู่กระแสอริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ก็ไม่สามารถจะบรรลุถึง

สาครคือพระนิพพานได้.

บุคคลผู้มีทิฏฐิเป็นคติ ทำทิฏฐิให้เกิดแล้วตั้งอยู่ พึงทราบเหมือน

ต้นไม้ ตั้งอยู่โดยอาการดุจรากที่ฝังอยู่ในระหว่างแผ่นหิน ๒ แผ่น. จริงอยู่

ผู้นั้นเป็นเหมือนอริฏฐภิกษุ และกัณฐกสามเณร เที่ยวกล่าวอยู่ว่า ใน

อรูปภพ ก็มีรูป ในอสัญญีภพ จิตก็ย่อมเป็นไป โลกุตตรมรรค อันเป็น

ไปหลายขณะจิต อนุสัยเป็นจิตตวิปยุต และเหล่าสัตว์เหล่านั้นแหละ

ย่อมเร่ร่อน ท่องเที่ยวไป ก็หรือว่า เป็นผู้มีวาทะว่า ส่อเสียด เป็นผู้เที่ยว

ทำลาย พระอุปัชฌาย์เป็นต้น กับสัทธิวิหาริกเป็นต้น. แม้ผู้นั้น ถึง

หยั่งลงสู่กระแสพระอริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ก็ไม่สามารถจะบรรลุ

ถึงสาครคือพระนิพพานได้.

บุคคลที่บวชในเวลาแก่ อยู่ในชนบทปลายแดน และผู้เห็นธรรม

ได้โดยยาก พึงทราบเหมือนต้นไม้ที่ระท้องฟ้ากลางแจ้ง ถูกเถาวัลย์พันยืน

ต้น แช่น้ำอยู่ ๒ - ๓ ครั้ง ในเมื่อห้วงน้ำหลากมา ท่วมเกิน ๑ - ๒ ปี

จริงอยู่บุคคลบางคน บวชในเวลาเป็นคนแก่ ได้อุปสมบท ในชนบท

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

ปลายแดน โดย ๒- ๓ วัน ในเวลามีพรรษา ๕ ท่องปาฏิโมกข์ได้คล่อง

แคล่ว ในเวลาได้ ๑๐ พรรษา ในเวลากล่าววินัยในสำนักพระเถระผู้ทรง

วินัย วางพริกไทย หรือชิ้นสมอไว้ในปาก ปิดหน้าด้วยพัด นั่งหลับ เป็น

ผู้ชื่อว่า มีวินัยอันเธอกระทำแล้วด้วยอากัปกิริยาเป็นเลศ ถือบาตรและ

จีวรไปยังชนบทปลายแดน.

มนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น พากันสักการะภิกษุนั้น กล่าวว่า ท่าน

ผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แล เพราะการเห็นภิกษุหาได้ยาก จึงพากัน

สร้างวิหาร ปลูกต้นไม้มีดอกและออกผลแล้ว ให้อยู่ในวิหารนั้น.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย ผู้พหูสูต จากวิหาร เช่นกับด้วยมหา-

วิหาร ไปในที่นั้นด้วยตั้งใจว่า จักมาบำเพ็ญวิปัสสนาเป็นต้น ในชนบท.

ภิกษุนั้นเห็นภิกษุเหล่านั้น ยินดีร่าเริง บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ วันรุ่งขึ้นจึงพา

กันเข้าไปบ้านเพื่อภิกขาจารกล่าวว่า พระเถระชื่อโน้นเป็นผู้ทรงพระสูตร

พระเถระชื่อโน้นเป็นผู้ทรงอภิธรรม พระเถระชื่อโน้นเป็นผู้ทรงพระวินัย

พระเถระชื่อโน้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก เมื่อไรพวกท่านจักได้พระเถระ

เห็นปานนี้ จักสร้างที่ฟังธรรม. อุบาสกทั้งหลายคิดว่า พวกเราจักสร้างที่

ฟังธรรม ดังนี้แล้ว ชำระทางไปวิหาร แล้วถือเอาเนยใสและน้ำมันเป็นต้น

เข้าไปหาพระมหาเถระ กล่าวว่า ท่านขอรับ พวกกระผมจะสร้างที่ฟังธรรม

ท่านจงบอกกล่าวต่อพระธรรมกถึก วันรุ่งขึ้นจึงมาฟังธรรม.

พระเถระผู้เป็นเจ้าถิ่น เก็บงำบาตรและจีวร ของภิกษุผู้อาคันตุกะ.

ให้ส่วนแห่งวันล่วงเลยไป ภายในห้องนั้นแล. พระธรรมกถึกผู้กล่าวตอน

กลางวัน ลุกขึ้นกล่าวบทสรภัญญะเหมือนเทน้ำจากหม้อ ท่านไม่รู้บท

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

พระภัญญะแม้นั้น. ผู้กล่าวกลางคืน กล่าวตอนกลางคืนแล้วลุกขึ้น เหมือน

ทำสาครให้กะเพื่อม ท่านไม่รู้จักแม้บทสรภัญญะนั้น. ท่านผู้กล่าวตอน

ใกล้รุ่งกล่าวแล้วลุกขึ้น. ท่านก็ไม่รู้บทสรภัญญะแม้นั้น. ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่

ล้างหน้า น้อมบาตรและจีวรเข้าไปถวายพระเถระ เข้าไปภิกษาจารกล่าวกะ

พระมหาเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผู้กล่าวตอนกลางวัน กล่าวชาดก

ชื่ออะไร. ท่านผู้กล่าวบทสรภัญญะ กล่าวสูตรอะไร. ผู้กล่าวกลางคืนกล่าว

ธรรมกถา ชื่ออะไร. ผู้กล่าวว่าตอนใกล้รุ่ง กล่าวชื่อชาดกอะไร. ชื่อว่า

ขันธ์ทั้งหลาย มีเท่าไร ชื่อว่าธาตุทั้งหลาย มีเท่าไร ชื่อว่าอายตนะมี

เท่าไร พระเถระเห็นปานนี้ ล่วงไป ๑ - ๒ ปี จึงได้เห็นภิกษุและได้

ฟังธรรม เช่นกับชุ่มด้วยน้ำ ในเมื่อห้วงน้ำหลากมา. บุคคลนั้นกลับจาก

เยี่ยมพระสงฆ์ และการฟังธรรมอย่างนี้ อยู่ในที่ไกลถึงหยั่งลงสู่อริยมรรค

นั่งบนทุ่นคือสมาธิก็ไม่สามารถจะบรรลุถึงสาคร คือพระนิพพานได้.

บุคคลผู้กล่าวด้วยเสียงอันไพเราะ พึงทราบเหมือนต้นไม้อ่อนอัน

เกิดที่เกาะน้อย กลางแม่น้ำคงคา. จริงอยู่บุคคลนั้น เรียนชาดก มี

เวสสันดรชาดกเป็นต้น ที่รู้จักกันแล้ว ไปปัจจันตชนบท อันเป็นที่เห็น

ภิกษุได้ยาก อันชนผู้มีใจเลื่อมใสด้วยธรรมกถาในที่นั้นบำรุงอยู่ อยู่ใน

วิหาร อันเป็นที่รื่นรมย์ดุจนันทนวัน มีต้นไม้ดอกผลสมบูรณ์ ที่เขาทำอุทิศ

เฉพาะตน.

ลำดับนั้น เหล่าภิกษุผู้กล่าวภาณวาร ได้ฟังเรื่องนั้นของภิกษุนั้น

แล้ว จึงไปในที่นั้นด้วยคิดว่า ได้ยินว่า ภิกษุชื่อโน้น มีจิตผูกพันใน

อุปัฏฐากอย่างนี้อยู่ ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต สามารถเพื่อเรียนพุทธพจน์ หรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

เพื่อมนสิการพระกรรมฐาน พวกเราพร้อมด้วยท่านจะนำมาเรียนธรรม

เรียนกรรมฐานในสำนักพระเถระชื่อโน้น .

ท่านทำวัตรต่อภิกษุเหล่านั้น ในเวลาเย็นถูกภิกษุทั้งหลาย ผู้ออก

จาริกไปในวิหารถามว่า อาวุโส ท่านสร้างเจดีย์นี้หรือ จงตอบว่า ขอรับ

ท่านผู้เจริญ. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า นี้ต้นโพธิ์ นี้มณฑป นี้โรงอุโปสถ.

นี้โรงไฟ นี้ที่จงกรม ท่านให้เขาสร้างหรือ ท่านให้ปลูกต้นไม้เหล่านี้

สร้างวิหารน่ารื่นรมย์ดุจนันทนวันหรือ ภิกษุนั้นตอบว่า ขอรับท่านผู้เจริญ.

ในเวลาเย็นท่านไปสู่ที่บำรุงพระเถระไหว้แล้วถามว่า เพราะเหตุไร

ท่านจึงมาขอรับ. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส พวกเราจะพาท่านไปเรียน

กรรมฐานในสำนักพระเถระชื่อโน้น จักพร้อมเพรียงกัน ทำสมณ-

ธรรม ในป่าชื่อโน้น เพราะฉะนั้นพวกเราจึงพากันมาด้วยเหตุนี้. ภิกษุนั้น

กล่าวว่า ดีละขอรับ ธรรมดาว่า ท่านมาเพื่อประโยชน์แก่กระผม แม้

กระผมก็เป็นผู้เบื่อหน่ายในที่นี้ ด้วยการอยู่มานานจึงจะไป กระผมขอรับ

บาตรจีวรขอรับ. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส พวกเราเป็นสามเณรและภิกษุ

หนุ่ม เหน็ดเหนื่อยมาในหนทาง วันนี้พักอยู่ก่อน พรุ่งนี้ เวลาหลังอาหาร

จักไป. เธอกล่าวว่า ดีละ ท่านขอรับ วันรุ่งขึ้นก็ไปบิณฑบาตกับสามเณร.

และภิกษุหนุ่มเหล่านั้น.

ชาวบ้านคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา พาภิกษุอาคันตุกะมา

มากดังนี้แล้ว จึงพากันตกแต่งอาสนะ ให้ดื่มข้าวยาคู นั่งอย่างสบาย

ฟังกถา นำภัตตาหารมา. พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า. อาวุโส ท่านจงทำ

อนุโมทนาแล้วออกไป พวกเราจักกระทำภัตกิจ ในที่สำราญด้วยน้ำ ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

แล้วออกไป. ชาวบ้านฟังอนุโมทนาแล้วถามว่า ท่านขอรับ พระเถระ

ทั้งหลายมาแต่ไหน พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า พระเถระเหล่านั้นเป็น

อาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของพวกเรา เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์ เป็นผู้เคยเห็น

เคยคบกันมา. ชาวบ้านถามว่า พระเถระเหล่านั้นมาทำไมกัน. เธอตอบว่า

มาเพราะต้องการจะพาอาตมาไป. พวกชาวบ้านถามว่า ก็ท่านเล่าประสงค์

จะไปหรือ. เธอตอบอย่างนั้นสิผู้มีอายุ พวกชาวบ้านพูดว่าท่านขอรับ ท่าน

พูดอะไร พวกผมสร้างโรงอุโบสถเพื่อใคร สร้างโรงฉันเพื่อใคร สร้างโรงไฟ

เพื่อใคร พวกเราจักไปสำนักของใคร ในกาลอันเป็นมงคลและอวมงคล.

ฝ่ายอุบาสิกาทั้งหลาย นี้ในที่นั้นนั่นแลก็หลั่งน้ำตา. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า

เมื่อท่านทั้งหลายได้รับทุกข์อย่างนี้ อาตมาจะไปทำอะไร ดังนี้ แล้วส่ง

พระเถระไปแล้วกลับไปวิหาร.

แม้พระเถระทั้งหลาย เสร็จภัตกิจแล้ว นั่งถือบาตรและจีวรรออยู่

พอเห็นภิกษุหนุ่ม จึงกล่าวว่า อาวุโส ทำไมจึงช้าอยู่ ยังวันอยู่หรือ เรา

จะไปละ. ภิกษุกล่าวว่าอย่างนั้นขอรับ ท่านได้รับสุข มูลของอิฐ สำหรับ

บ้านโน้นยังค้างอยู่คงอยู่ตามสัณฐานที่ตั้งไว้นั่นแหละ มูลของจิตรกรรม

เป็นต้น. สำหรับบ้านโน้นเป็นต้น ก็ยังค้างอยู่ แม้เมื่อกระผมไปเสียจิตก็

จักฟุ้งซ่าน พวกท่านจงล่วงหน้าไปกระทำการซักและการย้อมจีวรเป็นต้น

ในวิหารโน้น กระผมจักถึงในที่นั้น. พระเถระเหล่านั้น รู้ว่าภิกษุหนุ่มนั้น

ประสงค์ถ่วงเวลาจึงกล่าวว่า ท่านพึงมาในภายหลัง ดังนี้แล้วก็หลีกไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

ภิกษุหนุ่มนั้น ตามไปส่งพระเถระแล้วกลับมาวิหารนั่นแหละ

จึงตรวจดูโรงฉันเป็นต้น เห็นวิหาร น่ารื่นรมย์ จึงคิดว่าดีแล้วหนอ เรา

ไม่ไปละ ถ้าไป พระธรรมกถึกบางรูป นั่นแหละ มาทำลายจิตใจของตน

ทุกคน ทำวิหารให้เป็นของนิกายตน เมื่อเป็นเช่นนี้ เราไปภายหลัง

ฉันข้าวของชนที่เราได้ภายหลัง จักพึงเที่ยวไป.

สมัยต่อมา ภิกษุหนุ่มนั้น ฟังว่า เล่ากันมาว่าภิกษุเหล่านั้น เรียน

พุทธพจน์ ได้ ๑ นิกาย ๒ นิกาย ๑ ปิฎกและ ๒ ปิฎกเป็นต้น ก็เป็น

พระอรรถกถาจารย์ เป็นพระวินัยธรรมบริวารเป็นร้อยเป็นพัน เที่ยวไป.

ส่วนภิกษุเหล่าใดไปเพื่อจะทำสมณธรรมในที่นั้น ภิกษุเหล่านั้น เพียร

พยายามก็เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคตมี เป็น

พระอรหันต์ ปรินิพพานด้วยสักการะอย่างใหญ่ เธอคิดว่าถ้าเราจักไปแล้ว

ไซร้ สมบัตินี้ก็จักเป็นของเรา แต่เราเมื่อไม่สามารถจะเปลืองฐานะนี้ได้

จึงต้องเป็นผู้เสื่อมอย่างยิ่ง. บุคคลนี้เมื่อเปลืองฐานะนั้น หยั่งลงสู่อริยมรรค

นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ไม่สามารถบรรลุถึงสาครคือพระนิพพานได้เพราะตน

เป็นผู้อ่อนโยน.

บุคคลผู้ประพฤติย่อหย่อน เรียนบรรดาปฏิปทา มีรถวินีตสูตร

มหาอริยวังสสูตร และจันโทปมสูตรเป็นต้น ปฏิปทาอย่างใดอย่างหนึ่ง

พึงทราบเหมือนต้นไม้เกิดเอง เป็นดังสะพานข้ามในระหว่าง แล้วเกิดเป็น

ปัจจัยที่อาศัยของชนเป็นอันมาก เพราะมันล้มลงขวางแม่น้ำคงคาแล้วถูก

ทรายกลับทับไว้. จริงอยู่บุคคลนั้น เรียนธรรมอันอาศัยข้อปฏิบัตินั้น ตาม

ปกติเป็นผู้มีเสีย ไพเราะ ก็บรรลุฐานะอันยิ่งใหญ่ เช่นกับเขาจิตตลบรรพต

เป็นต้น กระทำวัตรมีเจติยังคณวัตรเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มพวกอาคันตุกะ กล่าวกะท่านภิกษุหนุ่ม ผู้มา

ถึงโรงฟังธรรมว่า ท่านจงกล่าวธรรม. ภิกษุหนุ่มนั้น กล่าวแสดงธรรม

ปฏิปทา ที่ตนเรียนมาโดยชอบ.

ลำดับนั้น เหล่าภิกษุผู้เถระ ผู้ใหม่ และมัชฌิมะทั้งหมด มีภิกษุ

ผู้ทรงบังสกุลิกธุดงค์ และภิกษุทรงบิณฑบาตลิกธุดงค์เป็นต้น มีความดีใจ

ต่อภิกษุหนุ่มนั้นว่าดีจริง ท่านสัตบุรุษ.

ภิกษุหนุ่มนั้น เริ่มตั้งเพียงนิทานของบางสูตร กึ่งคาถาบางสูตร

คาถาหนึ่งบางสูตร สงเคราะห์ภิกษุหนุ่มและสามเณร ประหนึ่งผูกติดกัน

ด้วยแผ่นเหล็ก แล้วเข้าไปหาพระมหาเถระ. ถามว่า ท่านผู้เจริญ ก็วิหาร

เก่านี้มีอยู่ ปัจจัยลาภไร ๆ เกิดในวิหารนั้น ก็ต้องเป็นของภิกษุในวิหารนั้น.

พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส ท่านพูดอะไร ปัจจัยลาภ เกิดในวิหาร

นั้น ได้เนื้อที่ถึง ๒๔๐๐๐ กรีส. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ข้าแต่ทำผู้เจริญ

พวกท่านกล่าวอย่างนี้ แต่แม้ไฟก็ไม่ติดลุกที่เตาไฟ. พระเถระกล่าวว่า

อาวุโส ขึ้นชื่อว่า ปัจจัยลาภที่ภิกษุผู้อยู่ในวิหารได้แล้วไม่มีอย่างนี้เลย

ใครเล่าไม่ปรารถนา. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ทานวัตถุที่พระราชาเก่า ๆ พระ-

ราชทาน พระขีณาสพรับไว้แล้ว เพราะเหตุไร่ พระขีณาสพเหล่านั้น

จึงจะทำปัจจัยลาภให้เสียหาย. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส อันพระธรรมกถึก

เช่นท่าน ก็พึงสามารถที่จะได้. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านอย่าพูด

อย่านั้น ขึ้นชื่อว่า พระธรรมกถึกผู้แสดงข้อปฏิบัติ สำคัญกระผมว่าเป็น

สังฆกุฎุมพี เป็นผู้บำรุงวิหาร จึงปรารถนาจะกระทำต่อกระผม. พระเถระ

กล่าวว่า อาวุโส ข้อนั้น เป็นอกัปปิยะ ข้อนี้ไม่ควรหรือ แต่เมื่อผู้เช่นท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

กล่าวแล้ว ข้อนั้นจะพึงเกิดแก่พวกผม. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ถ้าอย่างนั้น เมื่อคนวัดมา ท่านจงไว้หน้าที่พวกกระผม พวกกระผมจักบอก

ประตูกัปปิยะ ข้อสมควรอย่างยิ่ง.

ภิกษุหนุ่ม ไปแต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ในเวลาประชุม เมื่อคนวัดมา

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุบาสกทั้งหลาย ภาระในเขตโน้น. อยู่ที่ไหน กหาปณะ.

ในเขตโน้นอยู่ที่ไหน จึงจับมือคนหนึ่ง ให้แก่อีกคนหนึ่ง. เมื่อเขาปฏิเสธ

ข้อนั้น ๆ ตามลำดับอย่านี้ ให้แก่ผู้คนนั้น ๆ กระทำโดยอาการที่อุบาสก

ทั้งหลาย ถือข้าวยาคู ถือขนม ถือภัต และถือขวดใส่น้ำมัน น้ำผึ้ง และ

น้ำอ้อยเป็นต้น มายังสำนักของตน. วิหารทุกวิหาร ก็ไกลาหลเป็นอย่าง

เดียวกัน. พวกภิกษุผู้น่ารักต่างแยกย้ายกันไป.

แม้ภิกษุหนุ่มนั้น ก็ทำหน้าที่เป็นอุปัชฌาย์ยังวิหารให้เต็มด้วยภิกษุ

ผู้ว่ายากเป็นอันมาก ผู้ถูกอาจารย์และอุปัชฌาย์ประณามแล้ว. ภิกษุพวก

อาคันตุกะ ยืนที่ประตูวิหาร ถามว่า ใครอยู่ในวิหาร ได้พูดว่า พวกภิกษุ

ชื่อเห็นปานนี้ ต่างก็หลีกไปเสียทางด้านนอก. บุคคลนี้ยึดถือมหาชนเป็น

ปัจจัย หยั่งลงสู่อริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ไม่สามารถจะบรรลุถึง

สาครคือพระนิพพานได้ เพราะนอนขวางในพระศาสนา.

บทว่า ภควนฺต เอตทโวจ ความว่า ภิกษุรูปโดรูปหนึ่งรู้พระ-

ธรรมเทศนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้จบลง ด้วยบทว่า นิพฺพานปพฺภารา

แล้วได้กล่าวคำนี้ คือ คำมีอาทิว่า กึ นุ โข ภนฺเต ( อะไรหนอพระเจ้าข้า)

ดังนี้ เพราะตนเป็นผู้ฉลาดในอนุสนธิ. จริงอยู่ แม้พระตถาคตประทับนั่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

ในบริษัทนี้ ทรงพระดำริว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอนุสนธิมีอยู่ ภิกษุนั้นจักถาม

เรา จึงกระทำเทศนาให้จบลง ในที่ตรงนี้ เพื่อทรงให้โอกาสแก่ภิกษุนั้น

นั้นแล.

บัดนี้ พึงทราบความเข้าไปยึด และไม่เข้าไปยึดเป็นต้น ในอายตนะ

ภายในเป็นต้น ที่กล่าวแล้วโดยนัย มีอาทิว่า โอริม ตีร อย่างนี้. ภิกษุ

ผู้คิดว่าจักษุของเราแจ่มใส เราสามารถรู้แจ้งรูปารมณ์ แม้มีประมาณน้อย

ได้ดังนี้แล้ว รูปารมณ์นั้น ทำจักษุให้เพลิดเพลินอยู่ก็ดี ผู้มีจักษุประสาทเสีย

เพราะความมืดและลมเป็นต้น ถึงโทมนัส ( ความเสียใจ ) ว่า จักษุของเรา

ไม่น่าชอบใจ เราไม่สามารถจะทำรูปารมณ์ แม้ใหญ่ ให้แจ่มแจ้งได้ก็ดี

ชื่อว่า เข้าไปยึดจักขวายตนะ แต่เมื่อเห็นแจ้งด้วยอำนาจลักษณะ ๓ ว่า

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ชื่อว่า ไม่เข้าไปยึด (จักขวายตนะ)

แม้ในโสตายตนะ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน

ส่วนในมนายตนะ ภิกษุชอบใจอย่างนี้ว่า ใจของเราน่าชอบใจหนอ

ไม่ถืออะไรๆ ทางข้างซ้าย ถือเอาทุกสิ่งทางข้างขวาเท่านั้น หรือยินดีอย่างนี้

ว่า เมื่อเราคิดแล้วคิดเล่าด้วยจิต ชื่อว่า ไม่มีลาภ ไม่มีก็ดี เกิดโทมนัส

ความเสียใจ ) ขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อเราคิดแล้วคิดเล่าแต่สิ่งชั่ว ใจก็ไม่ยอม

รับเอา ดังนี้ก็ดี ชื่อว่า เข้าไปยึดมนายตนะ แต่เมื่อให้เกิดความยินดี

ในรูปที่น่าปรารถนา ให้เกิดความยินร้ายในรูปที่ไม่น่าปรารถนา ชื่อว่า เข้า

ไปยึดรูปายตนะ แม้ในสัททายตนะ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

บทว่า นนฺทิราคสฺเสต อธิวจน ความว่า เหมือนอย่างว่า ทราย

ละเอียดและหยาบ ปิดท่อนไม้ที่จมตรงกลาง ( นอกนั้น ) อยู่บนบก

ท่อนไม้นั้นไม่สามารถจะยกปลายขึ้นได้อีก ฉันใด บุคคลผู้อันนันทิราคะ

ติดพันแล้วก็ฉันนั้น ตกไปในอบาย ๔ ถูกทุกข์ใหญ่บีบคั้น เขาไม่สามารถ

เงยศีรษะขึ้นได้อีก ตั้งหลายพันปี ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า นนฺทิราคสฺเสต

อธิวจน ดังนี้.

บทว่า อสฺมิมานสฺเสต อธิวจน ความว่า เหมือนอย่างว่า ท่อนไม้

ที่งอกขึ้นบนบก ท่อนล่างแช่น้ำในแม่น้ำคงคา ท่อนบนเปียกน้ำฝน ถูก

สาหร่ายหุ้มรัดไว้โดยลำดับ ก็จะถูกเขาต่อว่าว่าตอนั้นเป็นแผ่นหินหรือ

ฉันใด บุคคลผู้ถือตัวด้วยอัสมิมานะก็ฉันนั้น ถือว่าเป็นผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตร

ในฐานะของผู้ถือบังสุกูลิกังคธุดงค์ เป็นพระธรรมกถึก ในฐานะพระธรรม-

กถึก เป็นผู้รักษาเรือนคลัง ในฐานะภัณฑาคาริก เป็นแพทย์ ในฐานะ

เป็นแพทย์ เป็นผู้ส่อเสียด ในฐานะเป็นผู้ส่อเสียด. บุคคลนั้น ถึงการ

แสวงหาที่ไม่สมควร มีประการต่าง ๆ ถูกอาบัตินั้น ๆ ผูกพันไว้ ก็จะถูกเขา

ต่อว่า ศีลอะไร ๆ ภายในของเขา มีหรือไม่มีหนอ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

อสฺมิมานสฺเสต อธิวจน ดังนี้.

บทว่า ปญฺจนฺเนต กามคุณาน อธิวจน ความว่า เหมือนอย่างว่า

ท่อนไม้ที่ตกไปในน้ำวน ถูกกระแทกที่แผ่นหินเป็นต้น แหลกละเอียด

ภายในนั้นนั่นแล ฉันใด บุคคลผู้ตกไปในวังวน คือ กามคุณ ๕ ก็ฉันนั้น

ถูกทุกข์อันเกิดแต่ความหิวกระหายเป็นต้น กระทบกระทั่งบีบคั้น เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

กรรมกรณ์ ( การลงโทษ ) ในอบาย ๔ ถึงความแหลกละเอียดตลอด

กาลนาน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ปญฺจนฺเนต กามคุณาน อธิวจน

ดังนี้.

บทว่า ทุสฺสีโล ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล. บทว่า ปาปธมฺโม แปลว่า

ผู้มีธรรมอันลามก. บทว่า อสุจิ แปลว่า ไม่สะอาด. บทว่า สงฺกสฺสรส-

มาจาโร ความว่า ผู้มีความประพฤติที่ผู้อื่นพึงระลึกโดยความรังเกียจอย่าง

นี้ว่า กรรมนี้ เห็นจะเป็นของผู้นี้ เห็นจะเป็นของผู้นี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ

ว่า ผู้มีความประพฤติน่ารังเกียจ เพราะประพฤติสมาจารต่อบุคคลอื่น

ความรังเกียจดังนี้ก็มี. จริงอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า มีสมาจารน่ารังเกียจ เพราะ

เห็นคน ๒ - ๓ คนพูดกัน ก็รังเกียจคือแล่นไปสู่ความประพฤติของคน

เหล่านั้นว่า ผู้คนเหล่านี้ ชะรอยจะกล่าวโทษเรา ดังนี้ก็มี.

บทว่า สมณปฏิญฺโ ความว่า ในการจับสลากเป็นต้น เมื่อเขา

เริ่มนับว่า สมณะในวิหารมีเท่าไร ภิกษุนั้นก็ปฏิญญาว่า แม้เราก็เป็นสมณะ

แม้เราก็เป็นสมณะ กระทำการจับสลากเป็นต้น. บทว่า พฺรหฺมจารีปฏิญฺโ

ความว่า ในอุโบสถกรรมและปวารณากรรมเป็นต้น ภิกษุนั้นย่อมเข้าสังฆ-

กรรมเหล่านั้น โดยปฏิญญาว่า แม้เราก็เป็นพรหมจารี. บทว่า อนฺโตปูติ

ความว่า ชื่อว่า ความเป็นผู้เน่าใน เพราะเป็นความเน่าของคุณความดี

แม้ของบุคคลผู้ไม่เน่า ในอาการ ๓๒ มีไตและหัวใจเป็นต้น. บทว่า

อวสฺสุโต แปลว่า ผู้อันราคะชุ่มแล้ว. บทว่า กสมฺพุกชาโต ได้แก่

เกิดเป็นหยากเยื่อ เพราะกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

บทว่า เอตทโวจ ความว่า นายนันทะคนเลี้ยงโค ต้อนฝูงโค

ให้บ่ายหน้าสู้ฝั่งแม้น้ำคงคา แล้วยืนอยู่ท้ายบริษัท ฟังธรรมเทศนาของ

พระศาสดา ตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วคิดว่า พระศาสดาตรัสว่า เธออาจ

บำเพ็ญข้อปฏิบัติ ด้วยอำนาจเป็นผู้ไม่เข้าถึงฝังในเป็นต้น ถ้าเราอาจบำเพ็ญ

อย่างนั้นได้ไซร้ เราบวชแล้วจักบำเพ็ญได้ ดังนี้แล้วจึงได้กราบทูลคำนี้

คือคำว่า อห ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า วจฺฉคิทฺธินิโย ความว่า แม้โคทั้งหลาย มีความรักใน

ลูกโคทั้งหลาย ด้วยทั้งนมที่กำลังหลั่งน้ำนมอยู่ ก็จักไปหาเอง เพราะ

ความรักในลูกโค. บทว่า นิยฺยาเตเหว แปลว่า จงมอบให้. จริงอยู่

เมื่อแม่โคยังไม่ถูกมอบให้ เจ้าของโคทั้งหลาย ก็จักเที่ยวตามหลังท่านด้วย

คิดว่า แม่โคตัวหนึ่งไม่เห็น โคตัวหนึ่ง ลูกโคตัวหนึ่งก็ไม่เห็น เพื่อแสดงว่า

ความผาสุกจักมีด้วยประการฉะนี้ และขึ้นชื่อว่าบรรพชานี้ ไม่งอกงาม

สำหรับผู้ยังมีหนี้ และการบรรพชาที่ไม่มีหนี้ บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า

เป็นต้นสรรเสริญแล้ว จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า นิยฺยาติตา แปลว่า

ถูกมอบให้แล้ว. ในสูตรนี้ ตรัสถึงวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.

จบ อรรถกถาปฐมทารุขันธสูตรที่ ๔

๕. ทุติยทารุขันธสูตร

ว่าด้วยอุปมาการท่องเที่ยวในสังสารวัฏกับท่อนไม้ลอยน้ำ

[๓๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา

ใกล้เมืองกิมมิละ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่อนซุงใหญ่ท่อนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นหรือไม่ ซุงท่อนใหญ่

โน้น ถูกกระแสน้ำพัดไปในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น

พระเจ้าข้า ฯลฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมมิละ

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝั่งนี้ได้แก่อะไร.

ฯลฯ ดูก่อนกิมมิละ ความเป็นผู้เน่าในภายในเป็นไฉน. ภิกษุในศาสนานี้

เป็นผู้ต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง การออกจากอาบัติเช่นนั้น

ยังไม่ปรากฏ นี้เราเรียกว่าความเป็นเน่าในภายใน.

จบ ทุติยทารุขันธสูตร ๕

อรรถกถาทุติยทารุขันธสูตรที่ ๕

ในทุติยทารุขันธสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กิมฺมิลาย ได้แก่ ในพระนคร มีชื่อว่า กิมมิละ บทว่า

สกิลิฏฺ ความว่า จำเดิมแต่เวลาที่ปิดไว้ อาบัติที่ชื่อว่าไม่เศร้าหมอง

ย่อมไม่มี. อาบัติที่เศร้าหมองเห็นปานนั้น.

บทว่า วุฏฺาน ทิสฺสติ ได้แก่การออกจากอาบัติ ด้วยปริวาส

มานัต และ อัพภาน ย่อมปรากฏแล.

จบ อรรถกถาทุติยทารุขันธสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

๖. อวัสสุตสูตร

ว่าด้วยอวัสสุตปริยายและอนวัสสุตปริยาย

[ ๓๒๖ ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม

กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกชนบท ก็โดยสมัยนั้นแล เจ้าศากยราชทั้งหลาย

อยู่ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ได้รับสั่งให้สร้างสัณฐาคารใหม่ในกาลไม่นาน เป็น

สถานที่อันสมณพราหมณ์หรือมนุษย์ใด ๆ ยังไม่ได้อยู่ครอง ครั้งนั้นแล

เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครอง

กรุงกบิลพัสดุ์ รับสั่งให้สร้างสัณฐาคารใหม่ในกาลไม่นาน เป็นสถานที่อัน

สมณพราหมณ์ หรือมนุษย์ใด ๆ ยังไม่ได้อยู่ครอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงใช้สัณฐาคารนั้นก่อน สัณฐาคารนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงใช้ก่อนแล้ว เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์

จักทรงใช้ในภายหลัง การทรงใช้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พึงมีเพื่อ

ประโยชน์ เพื่อความสุข แก่เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์

สิ้นกาลนาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล เจ้า-

ศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงทราบการรับของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

ทำประทักษิณแล้ว เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่ รับสั่งให้ลาดสัณฐาคาร

ที่บุคคลลาดแล้วด้วยเครื่องลาดทั้งปวง ปูอาสนะแล้ว รับสั่งให้ตั้งแก้วน้ำไว้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

ประจำ แล้วรับสั่งให้ตามประทีปน้ำมันขึ้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ สัณฐาคารอันบุคคลปูลาดแล้วด้วยเครื่องลาดทั้งปวง ปูอาสนะแล้ว

ตั้งแก้วน้ำประจำไว้แล้ว ตามประทีปน้ำมันแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงสำคัญกาลที่จะเสด็จเข้าไป.

[๓๒๗] ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว

ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์

ครั้นแล้วทรงล้างพระบาท แล้วเสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงเสา

กลาง ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา ฝ่ายภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่

สัณฐาคาร แล้วนั่งพิงฝาด้านหลัง ผินหน้าไปทางทิศบูรพา ให้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับอยู่เบื้องหน้า แม้เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์

หลังพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้วประทับนั่งพิงฝาด้านหน้า

ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่

เบื้องหน้าอย่างเดียวกัน ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเจ้าศากย-

ราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาหลายราตรี แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อน

ท่านผู้โคตมโคตรทั้งหลาย ราตรีล่วงไปแล้ว บัดนี้ท่านทั้งหลายจงสำคัญ

กาลที่จะเสด็จไปเถิด เจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ทูลรับพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ ถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

[๓๒๘] ลำดับนั้นแล เมื่อเจ้าศากยราชทั้งหลายผู้ครองกรุง-

กบิลพัสดุ์ เสด็จไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระมหา-

โมคคัลลานะมาตรัสว่า พูดก่อนโมคคัลลานะ ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนมิทธะ

แล้วแล ธรรมีกถาของเธอจงแจ่มแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยหลัง จัก

เหยียดหลัง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น แล้วทรงสำเร็จ

สีหไสยาสน์โดยพระปรัสเบื้องขวา ทรงซ้อนเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท

มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอุฏฐานสัญญา ในลำดับนั้นแล

ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นรับต่อพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราจักแสดงอวัสสุตริยายและอนวัสสุต-

ปริยายแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังอวัสสุตปริยายและอนวัสสุต-

ปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับต่อท่านพระมหา-

โมคคัลลานะแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีใจชุ่มด้วยกามอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ เห็น

รูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่

น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัด

ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก

ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ รู้แจ้ง

ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัด

เคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

มีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับ

ไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็น

จริง ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มีใจชุ่มแล้วในรูป เสียง

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันจะพึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย

ใจ.

[๓๒๙] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่า มารเข้าไปหาภิกษุนั้น

ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ฯ ล ฯ ถ้าแม้ว่ามาร

เข้าไปหาภิกษุนั้นมีปรกติอยู่อย่างนั้นทางใจ มารย่อมได้ช่องได้เหตุ ดูก่อน

อาวุโส เรือนไม้อ้อก็ดี เรือนหญ้าก็ดี ที่แห้งเกราะ เขาทำไว้ภายนอก

กาลฝน ถ้าแม้บุรุษมีคบหญ้าลุกโชนพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้า

นั้นทางทิศบูรพา ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ ถ้าแม้บุรุษมีคบหญ้าลุกโชนพึงเข้า

ไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้นทางทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ

ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องบน ไฟพึงได้ช่องได้เหตุ ถ้าแม้ว่าบุรุษนั้นมีคบหญ้า

ลุกโชนพึงเข้าไปใกล้เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้านั้น แต่ทิศใดทิศหนึ่ง ไฟ

พึงได้ช่องได้เหตุ แม้ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้ว่ามารเข้าไปหา

ภิกษุนั้น ผู้มีปรกติอยู่อย่างนั้น ทางจักษุ ทางหู ทางจมูก ทางกาย ทางใจ

มารพึงได้ช่องได้เหตุฉันนั้น.

[๓๓๐] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็รูปครอบงำภิกษุผู้มีปรกติอยู่อย่าง

นั้น ภิกษุไม่ครอบงำรูป เสียงครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำเสียง กลิ่น

ครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำกลิ่น รสครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำรส

โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ครอบงำ

ภิกษุ ภิกษุไม่ครอบงำธรรมารมณ์ ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถูกรูป เสียง กลิ่น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ครอบงำ ไม่ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาป เป็นอกุศล มีความ

เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก

เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ครอบงำแล้ว ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

ภิกษุเป็นผู้มีใจชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้แล.

[๓๓๑] ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มด้วยกาม

อย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปใน

รูปอันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้

มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่

ดับไปไม่เหลือแห่งอกุลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความ

เป็นจริง ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่

น้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก

เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัด

ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก

ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุนี้

เรียกว่าเป็นผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

อันจะพึงรู้แจ้งด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มารย่อมไม่ได้ช่อง

ไม่ได้เหตุ ฯลฯ ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้นทางใจ มารย่อมไม่ได้ช่องไม่

ได้เหตุ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้บุรุษมีคบหญ้าลุกโชนพึงเข้าไปใกล้

กุฏาคารศาลาในทิศบูรพา ไฟไม่พึงได้ช่องไม่พึงได้เหตุ เพราะการขยำดิน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

ทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษมีคบหญ้าลุกโชนพึงเข้าไปใกล้กุฏาคารศาลา

นั้นในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทัศทักษิณ ทิศเบื้องต่ำ ทิศเบื้องบน ไฟ

ไม่พึงได้ช่อง ไม่พึงได้เหตุ เพราะการขยำดินทาอย่างแน่นหนา ถ้าแม้บุรุษ

มีคบหญ้าลุกโชนพึงเข้าไปใกล้กุฏาคารนั้นแต่ที่ใดที่หนึ่ง ไฟไม่พึงได้ช่อง

ไม่พึงได้เหตุ แม้ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าแม้มารเข้าไปหาภิกษุนั้น

ผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางจักษุ มากก็ไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ถ้าแม้มารเข้าไป

หาภิกษุนั้นผู้มีปกติอยู่อย่างนั้นทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

มารย่อมไม่ได้ช่องไม่ได้เหตุ ฉันนั้น ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มี

ปรกติอยู่อย่างนั้น ครอบงำรูป รูปไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำเสียง

เสียงไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบงำกลิ่น กลิ่นไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบ

งำรส รสไม่ครอบงำภิกษุ ภิกษุครอบลำโผฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ครอบงำ

ภิกษุ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ครอบงำภิกษุ ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ครอบงำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

ธรรมารมณ์ เธอครอบงำอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันมีความ

เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก

เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชราและมรณะต่อไป ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเป็น

ผู้มีใจไม่ชุ่มแล้วด้วยกามอย่างนี้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุก

ขึ้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมาว่า ดีละ ดีละ โมคคัล-

ลานะ ดูก่อนโมคคัลลานะ เธอได้ภาษิตอวัสสุตปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย

ดีแล้ว ๆ. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว

พระศาสดาได้ทรงพอพระทัย ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิต

ของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ฉะนั้นแล.

จบ อวัสสุตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

อรรถกถาอวัสสุตปริยายสูตรที่ ๖

ในอวัสสุตปริยายสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า นว สณฺาคาร ความว่า สัณฐาคารที่เขาสร้างขึ้นไม่นาน

เสร็จใหม่ ๆ. อธิบายว่า ศาลาใหญ่หลังหนึ่ง. ในเวลาจัดกระบวนเสด็จ

เป็นต้น เจ้าทั้งหลาย ประทับยืนอยู่ ในที่นั้น กระทำทุกอย่าง จัดแถว

กระบวนอย่างนี้ว่า พวกเจ้าเท่านี้ ไปข้างหน้า ไปข้างหลัง เท่านี้ไปทั้ง

สองข้าง เท่านี้ขึ้นข้าง เท่านี้ขึ้นม้า เท่านี้ยืนอยู่ในรถ. เพราะฉะนั้น

ที่นั้น ท่านจึงเรียกว่า สัณฐาคาร. ก็เจ้าเหล่านั้นมาจากกระบวนเสด็จ

ย่อมพักอาศัยในที่นั้น สิ้น ๒ - ๓ วัน ตลอดเวลาที่ชนทั้งหลายพากันกระ-

ทำการโบก ( คือฉาบทา ) โคมัยสดเป็นต้น ในเรือนทั้งหลายเพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่า สัณฐาคารดังนี้ก็มี. อาคารพร้อมทั้งเป็นที่ว่าราชการ ของพวก

เจ้าเหล่านั้น แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า สัณฐาคาร. แต่เจ้าเหล่านั้น

เป็นคณะเจ้า เพราะฉะนั้น กิจที่เกิดขึ้นย่อมเด็ดขาด ด้วยอำนาจเจ้าบาง

พระองค์ ได้แม้ฉันทะ ( จากที่ประชุม ) ของเจ้าทุกพระองค์ก็ควร. เพราะ

ฉะนั้น เจ้าทุกพระองค์ จึงประชุมกันว่าราชการในที่นั้น. ด้วยเหตุนั้น

จึงกล่าวว่า สห อตฺถานุสาสน อคารนฺติปิ สณฺาคาร ดังนี้ . ก็เพราะ

เหตุที่เจ้าเหล่านั้น ประชุมกันในที่นั้น แล้วปรึกษากิจในการอยู่ครองเรือน

โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ควรจะไถในเวลานี้ ควรจะหว่านในเวลานี้ เพราะ

ฉะนั้น เจ้าเหล่านั้น ย่อมปิดกั้นการครองเรือนอันมีข้อบกพร่อง ในที่นั้น

เพราะเหตุแม้นั้น ที่นั้นจึงชื่อว่าสัณฐาคาร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

บทว่า อจิรการิต โหติ ความว่า ให้สำเร็จโดยไม่นานเหมือน

เทพพิมาน ที่จัดตระเตรียมไว้ด้วยดี ด้วยอำนาจงานมีการก่ออิฐ งาน

ฉาบทาปูนขาว และงานวิจิตรกรรมเป็นต้น. ในบทว่า สมเณน วา นี้ เพราะ

เหตุที่ในเวลากำหนดเอาพื้นที่สร้างเรือนนั้นแล เทวดาทั้งหลายถือเอาเป็น

สถานที่อยู่ของตน ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวว่า เทเวน วา แล้วกล่าวว่า

สมเณน วา พฺราหฺมเณน วา เกนจิ วา มนุสฺสภูเตน ดังนี้.

บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า เจ้าศากยทั้งหลาย

สดับว่า สัณฐาคาร สำเร็จแล้ว ดำริว่า จะไปดูสัณฐาคารนั้น จึงไป

ตรวจดูทั้งหมด ตั้งแต่ซุ้มประตู คิดว่าสัณฐาคารนี้ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง

มีสิริมิ่งขวัญ ใครใช้สอยก่อน พึงมีประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่พวกเรา

ตลอดกาลนาน จึงตกลงกันว่า แม้เมื่อเราถวายครั้งแรก แก่ญาติผู้ประเสริฐ

ของพวกเรา ก็ควรแก่พระศาสดา แม้เมื่อถวายด้วยอำนาจเป็นทัก-

ขิเณยยบุคคล ก็สมแก่พระศาสดาเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเราจักให้

พระศาสดา ทรงใช้สอยก่อน จักนิมนต์ภิกษุสงฆ์มา เมื่อภิกษุสงฆ์มา

แล้ว พระพุทธพจน์ คือปิฎก ๓ ก็จักเป็นอันมาด้วย จักให้พระศาสดา

แสดงธรรมกถาแก่พวกเรา ตลอดยาม ๓ แห่งราตรี ดังนั้น สัณฐาคารนี้

พระรัตนตรัยก็ใช้สอยแล้ว พวกเราจักใช้สอยในภายหลัง อย่างนี้ ก็จักเป็น

ประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่พวกเราตลอดกาลนาน ดังนี้ แล้วจึง

เข้าไปเฝ้า. บทว่า เยน นว สณฺาคาร เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า

ได้ยินว่า วันนั้น สัณฐานคาร เป็นอันจัดด้วยดี ทะนุถนอมด้วยดี เหมือน

เทพพิมาน เพื่อเป็นที่ทอดทัศนาสำหรับของราชตระกูลก็จริง ถึงอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

ก็ชื่อว่าไม่ตกแต่งให้สมควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. จริงอยู่ธรรมดาว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีอัธยาศัยชอบป่า มีป่าเป็นที่รื่นรมย์ พึงอยู่

ในบ้าน หรือไม่อยู่ก็ตาม เพราะฉะนั้น พวกเจ้าศากยะจึงดำริว่า พวกเรา

พอรู้พระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงจักตกแต่งดังนี้ จึงเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเหตุนั้น. ก็บัดนี้ เจ้าทั้งหลายประสงค์จะเอาใจแล้ว

ตกแต่ง จึงเข้าไปยังสัณฐานคาร.

บทว่า สพฺพสนฺถร สณฺาคาร สณฺริตฺวา ความว่า เจ้าศากยะ

ทั้งหลาย สั่งให้ลาด โดยประการที่ลาดสัณฐาคารทั้งหมด ก่อนเขาทั้งหมด

ให้เอาโคมัยสดขัดพื้น แม้ที่เขาโบกด้วยปูนขาวด้วยคิดว่า ธรรมดาว่าโคมัย

ย่อมควรในพรานมงคลทั้งปวง ครั้นรู้ว่าแห้งดีแล้ว จึงฉาบทาด้วยของหอม ๔

ชนิด โดยที่รอยเท้าจะปรากฏทรงที่เหยียบ จึงลาดเสื่อรำแพนมีสีต่าง ๆ ไว้

ข้างบนแล้วให้ลาดโอกาสทั้งหมด ที่ควรจะต้องลาด ด้วยเครื่องลาดมีสีต่าง ๆ

มีลายช้าง ลายม้า ลายสีหะ ลายเสือโคร่ง ลายอันประกอบด้วยสิริ

และลาย้อนวิจิตรเป็นต้น ตั้งต้นแต่ผ้าโกเชาว์มีหลังใหญ่ ไว้ข้างบนเสื่อ

ลำแพนเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สพฺพสนฺถร สณฺาคาร

สนฺถริตวา ดังนี้.

บทว่า อาสนานิ ปญฺาเปตฺวา ความว่า ปูพุทธอาสน์ที่สมควร

อย่างใหญ่ พิงเสามงคล ที่ตรงกลางลาดปัจจถรณ์ที่นอน ที่อ่อนนุ่ม และ

ที่รื่นรมย์ไว้ ในที่นั้น ๆ วางหมอนแดงทั้ง ๒ ข้าง เห็นเป็นที่ฟูใจ ดาด

เพดานอันวิจิตรด้วยดาวทองและดาวเงินไว้ข้างบน ประดับด้วยพวงของ

หอม พวงดอกไม้และพวงผ้าเป็นต้น โดยรอบให้ทำข่ายดอกไม้ประมาณ ๑๒.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

ศอก ให้ล้อมที่ประมาณ ๓๐ ศอก ด้วยม่านดอกไม้ แล้วตกแต่งตั่งแท่น

ตั่งพนักอิง และตั่งโล้นสำหรับภิกษุสงฆ์พิงฝาด้านหลัง ให้ลาดด้วยเครื่อง

ลาดขาวไว้ข้างบน ให้ปูผ้าโกเชาว์มีหลังใหญ่สำหรับตน พิงฝาด้านทิศ.

ตะวันออก ให้วางหมอนยาด้วยขนหงษ์เป็นต้น อาสนานิ ปญฺาเปตฺวา

ท่านกล่าวหมายเอาความดำรินี้ว่าพวกเราไม่ลำบากอยู่อย่างนี้ จึงจักฟังธรรม

ได้ตลอดคืนยังรุ่ง.

บทว่า อุทกมณิก ได้แก่ ให้ตั้งตุ่มน้ำขนาดใหญ่ไว้ เจ้าศากยทั้ง

หลายคิดว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ จักล้างมือ

หรือเท้า หรือจักบ้วนปาก ได้ตามชอบใจ จึงบรรจุน่าสีแก้วมณี ให้เต็ม

ใส่ดอกไม้ต่าง ๆ เพื่ออบและจุณอบ ให้ปิดไว้ด้วยใบกล้วยตั้งไว้ในที่นั้น ๆ

ท่านหมายเอาข้อนี้ จึงกล่าวว่า ปติฏฺาเปตฺวา

บทว่า เตลปฺปทีป อาโรเปตฺวา ความว่าตามประทีปน้ำมันใน

ด้ามที่ทำด้วยเงินและทองเป็นต้น และในภาชนะที่ทำด้วยทองและเงิน

เป็นต้น ที่วางไว้ในมือของรูปชาวโยนกและรูปคนป่า เป็นต้น.

ก็ในคำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

เจ้าศากยะเหล่านั้น จะให้ตกแต่งสัณฐาคารอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ โดย

ที่แท้ให้ปัดกวาด แม้ถนนของนครกรุงกบิลพัสดุ์ ในทางโยชน์หนึ่งให้ยกธง

ให้ตั้งต้นกล้วยและหม้อเต็มน้ำ ไว้ที่ประตูเรือน กระท่านครทั้งสิ้นให้เป็น

ราวกะว่ามีดวงดาวเกลื่อนกล่นด้วยประทีปและมาลาเป็นต้น ให้คนตีกลอง

ร้องประกาศว่า พวกท่านจงให้เด็กเล็ก ๆ ที่ยังดื่มนม ให้ดื่มนมเสีย

ให้พวกเด็กรุ่น ๆ รีบกินข้าวแล้วให้นอนเสีย อย่าทำเสียงเอ็ดอึง วันนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

พระศาสดาจักประทับในบ้านราตรีหนึ่ง ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ทรงประสงค์แต่เงียบเสียง แล้วพากันถือเอาประทีปด้ามด้วยตนเอง เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

บทว่า อถโข ภควา นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย สทฺธึ

ภิกฺขุสงฺเฆน เยน นว สณฺาคาร เตนุปสงฺกมิ ความว่า นัยว่า

เมื่อเขากราบทูลเวลาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้เวลาอันสมควร

แล้วขอเชิญเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจัดแจงผ้า

๒ ชั้น ที่ทรงย้อมแล้วด้วยน้ำครั่งสด มีสีดังดอกทองหลางแดง เหมือนตัด

อกปทุมด้วยกรรไกร ทรงนุ่งปิดมณฑล ๓ เหมือนวงกำดอกปทุม ด้วย

สังวาลย์ทอง ทรงคาดประคดเอวมีรัศมีดังสายฟ้า เหมือนเอาผ้ากัมพลแดง

หุ้มยอดเงิน เหมือนใส่ข่ายแก้วประพาฬ บนแต่งทอง อันสูงได้ร้อยศอก

เหมือนสรวมเสื้อผ้ากัมพลแดง ที่เจดีย์ทองเหมือนเอาเมฆแดงปิดพระจันทร์

เพ็ญ ซึ่งกำลังโคจรอยู่ เหมือนรดน้ำครั่งแก่จัดลงเหนือยอดภูเขาทอง

เหมือนวงยอดเขาจิตตกูฏด้วยสายฟ้า ทรงห่มผ้าบังสุกุลอันประเสริฐมีสีแดง

เหมือนใบอ่อนของต้นไทรที่จับเขย่าแผ่นดินใหญ่ พร้อมทั้งเขาจักรวาฬ

เขาสิเนรุและเขายุคันธร แล้วเสด็จออกจากประตูพระคันธกฎี ดุจสีหะ

ออกจากถ้ำทอง และเหมือนพระจันทร์ ออกจากยอดเขาด้านบูรพาทิศ

ก็แลครั้นเสด็จออกแล้ว ก็ประทับยืนที่มุขแห่งพระคันธกฎี

ลำดับนั้น รัศมีสร้านออกจากพระวรกายของพระองค์ เหมือนกลุ่ม

สายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ แล้วกระทำต้นไม้ในอารามให้เป็นราวกะว่า

ใบ ดอก ผล และค่าคบมีสีเหลืองแก่ที่รดด้วยสายน้ำทองฉะนั้น. ทันใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

นั่นเอง ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ถือบาตรและจีวรของตน แวดล้อมพระผู้มี-

พระภาคเจ้า. ก็เหล่าภิกษุผู้ยืนแวดล้อมเหล่านั้น ต่างเป็นผู้มีคุณธรรม

เห็นปานนี้คือ มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภ

ความเพียร มีวัตร อดทนต่อถ้อยคำ ผู้เตือนตนมีปกติติเตียนบาป ถึงพร้อม

ด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ถึงพร้อมด้วยวิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุเหล่านั้น แวดล้อมแล้วทรงรุ่งเรื่องยิ่ง ดั่งแท่ง-

ทองที่ใส่ในผ้ากัมพลแดง เหมือนเรือทองที่อยู่กลางท่ามกลางกลุ่มปทุมแดง

และเหมือนปราสาททองที่วงด้วยไพรที่แก้วประพาฬ. ฝ่ายพระมหาเถระ

ทั้งหลาย มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นต้น ห่มผ้า

บังสุกุลมีสีดังเมฆ ราวกะว่า งูใหญ่มีหนังดังแก้วมณี มีราคะอันคายเสียแล้ว

มีกิเลสทำลายเสียแล้ว มีตัณหาดังชัฏอันสางเสียแล้ว มีกิเลสเครื่องผูก

อันตัดเสียแล้ว ไม่ติดอยู่ในตระกูลหรือคณะแวดล้อมแล้ว.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปราศจากราคะเองแล้ว มีสาวก

ผู้ปราศจากราคะแล้ว ห้อมล้อม ทรงปราศจากโทสะ มีสาวกผู้ปราศจาก

โทสะห้อมล้อม ทรงปราศจากโมหะ มีสาวกผู้ปราศจากโมหะห้อมล้อมแล้ว

ทรงปราศจากตัณหา มีสาวกผู้ปราศจากตัณหาห้อมล้อมแล้ว ทรงปราศจาก

กิเลส มีสาวกผู้ปราศจากกิเลสห้อมล้อมแล้ว เป็นพระพุทธะเอง มีพระ

พหูสูตพุทธะห้อมล้อมแล้ว เสด็จพระดำเนินไปสู่ทางที่จะนำไปยังกรุงกบิล-

พัสดุ์ ด้วยเพศของพระพุทธะอันหาผู้เสมอเหมือนมิได้ และด้วยความ

สง่างามของพระพุทธะอันหาประมาณมิได้ เหมือนเกษรดอกไม้ที่ใบล้อมไว้

เหมือนดอกกรรณิการ์ที่เกษรล้อมไว้. เหมือนพระยาช้างฉัททันต์ อันช้าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

๘,๐๐๐ ล้อม เหมือนพระยาหงส์ธตรัฏฐ์ มีหงส์ ๙๐๐,๐๐๐ ห้อมล้อม

เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ที่มีกองทัพห้อมล้อม เหมือนท้าวสักกเทวราช

อันทวยเทพห้อมล้อม เหมือนหาวิตมหาพรหม อันหมู่พรหมห้อมล้อม

เหมือนพระจันทร์เพ็ญ อันหมู่ดาวแวดล้อมแล้ว. ลำดับนั้น รัศมีมีวรรณะ

ดังทองคำ พวยพุ่งออกจากพระวรกายส่วนเบื้องหน้าของพระพุทธองค์ จด

เนื้อที่ประมาณ ๖๐ ศอก. พระรัศมีดังทองคำพวยพุ่งออกจากพระวรกาย

เบื้องหลัง จากพระหัตถ์ขวา จากพระหัตถ์ซ้าย จดเนื้อที่ ๘๐ ศอก.

รัศมีมีสีดังคอนกยูง พวยพุ่งออกจากเกลียวพระเกษาทั้งหมด จำเดิมแต่

ปลายผมเบื้องบนไปจดที่ประมาณ ๘๐ ศอก ในท้องฟ้า. รัศมีมีวรรณะ

ดังแก้วประพาฬ พวยพุ่งออกจากพื้นพระบาทเบื้องล่าง จดแผ่นดินทึบ

เนื้อที่ประมาณ ๘๐ ศอก. พระพุทธรัศมี มีวรรณะ ๖ โชติช่วง ไหว

ไปมาอยู่ตลอดเนื้อที่ ๘๐ ศอก โดยรอบด้วยอาการอย่างนี้ แล่นแปลบปลาบ

ไปเหมือนเปลวไฟที่แลบออกจากประทีปด้ามที่ทำด้วยทองคำพุ่งไปสู่อากาศ

และเหมือนสายฟ้าที่แลบออกจากมหาเมฆที่ตั้งขึ้นทั้ง ๔ ทวีป พุทธรัศมี

นั้นแล. สว่างไสวไปทั่วทิศาภาค ประหนึ่งว่าโปรยด้วยดอกจำปาทอง

ราวกะว่ารดด้วยสายน้ำทองที่ไหลออกจากหม้อทองคำ ราวกะว่าวงไว้ด้วย

แผ่นผ้าทองคำที่คลี่แล้ว ราวกะว่าเกลื่อนกลาดไปด้วยละอองดอกทองกวาว

และดอกกรรณิการ์ ที่ลมเวรัมภาพัดขึ้น.

พระสรีระที่มีพระรัศมีแห่งพระอนุพยัญชนะ ๘๐ และรุ่งเรืองด้วย

พระวรลักษณะ ๓๒ ประการ แม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็รุ่งโรจน์ เหมือน

ท้องฟ้ามีหมู่ดาวระยิบระยับ เหมือนป่าดอกปทุมที่บานแล้ว เหมือนต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ปาริฉัตตกะ สูงร้อยโยชน์ มีดอกบานสะพรั่งทั่วต้น ราวกะว่า เอาพระสิริ

ครอบรำสิริของพระจันทร์ ๓๒ ดวง ของพระอาทิตย์ ๓๒ ดวง ของพระเจ้า-

จักรพรรดิ ๓๒ พระองค์ ท้าวเทวราช ๓๒ พระองค์ ของท้าวมหาพรหม ๓๒

พระองค์ ที่ถูกตั้งไว้ตามลำดับ. โดยอาการที่พระสรีระนั้น ประดับด้วย

บารมี ๓๐ ถ้วน คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ที่ทรงบำเพ็ญ

มาแล้วโดยชอบ ทานที่ทรงให้แล้ว ศีลที่ทรงรักษาแล้ว กัลยาณกรรมที่ทรง

กระทำแล้วสิ้น ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป เมื่อไม่ได้ฐานะที่จะให้วิชาหยั่งลง

ในอัตภาพหนึ่ง ก็กลายเป็นเหมือนถึงที่คับแคบ. ได้เป็นเหมือนเวลาที่ยก

สิ่งของจากเรือพันลำลงบรรทุกเรือลำเดียว เหมือนเวลาที่ยกสิ่งของจาก

เกวียนพันเล่มเอาบรรทุกเกวียนเล่มเดียว เหมือนเวลาห้วงน้ำของแม่น้ำ

คงคาแยกออก ๒๕ สาย แล้วรวมเป็นสายเดียวกัน ที่ประตูปากทาง.

ประทีปด้ามหลายพันดวง ชูขึ้นเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้

ผู้ส่องสว่างอยู่ด้วยพระพุทธสิรินี้ ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวาก็เหมือนกัน.

ดอกมลิซ้อน ดอกจำปา มลิวัน อุบลแดง อุบลเขียว ดอกพิกุล และ

ดอกไม้ยางทราย จุณเครื่องหอมมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น เรี่ยรายไป.

เหมือนสายน้ำที่เมฆทั้ง ๔ ทิศ โปรยปรายลงมา เสียงก้องกังวานแห่ง

ดนตรีมีองค์ ๕ และเสียงแซ่ซร้องที่เกี่ยวด้วยพุทธคุณ ธรรมคุณ และ

สังฆคุณเต็มไปทุกทิศ. ดวงตาของเหล่าเทวดา มนุษย์ นาค ครุฑ คนธรรพ์

และยักษ์เป็นต้น ก็ได้เห็นเหมือนได้น้ำอมฤต. ก็การตั้งอยู่ในที่นี้แล้วกล่าว

สรรเสริญการเสด็จดำเนินไปพันบทก็ควร. คำดังจะกล่าวต่อไปนี้ เป็น

เพียงมุขคือหัวในเรื่องนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

"พระผู้เป็นนายกพิเศษของโลก ทรงสมบูรณ์

ด้วยพระอังคาพยพทุกส่วน สำเร็จความงดงามอย่าง

นั้น ไม่ทรงเบียดเบียนสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ย่อมเสด็จ

ดำเนินไป. พระนราสภผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า

เมื่อทรงยกพระบาทเบื้องขวา พระบาทแรก เสด็จ

ดำเนินไปสมบูรณ์ด้วยพระสิริ ย่อมงดงาม. พื้น

พระบาทเบื้องล่าง ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ซึ่ง

เสด็จดำเนินไปก็อ่อนนุ่ม สัมผัสภาคพื้นที่เรียบ

ละอองธุลีก็ไม่จับติด. พระผู้เป็นนายกของโลภ

กำลังเสด็จดำเนินไป ที่ลุ่มก็ดอนขึ้น และที่ดอนก็

เรียบ ทั้งที่แผ่นดิน หาจิตใจมิได้ แผ่นหิน ก้อน-

กรวด กระเบื้องถ้วย ตอ และหนามทั้งหมด ก็

เว้นมรรค (ไม่มีในทาง ) เมื่อพระผู้เป็นนายกของ

โลกกำลังเสด็จดำเนินไป. พระมุนีผู้มีจรณะ

สมบูรณ์ ไม่ก้าวพระบาทยาวในที่ไกลมาก ไม่ก้าว

พระบาทถี่ในที่ใกล้มาก เสด็จดำเนินไม่เสียดสี

พระชานุและข้อพระบาททั้งสอง เสด็จดำเนินไม่

เร็วนักไม่ช้านัก ขณะเสด็จดำเนิน ก็มีสมาธิพระ-

หฤทัยตั้งมั่น ไม่ทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบนลงเบื้อง

ต่ำ เบื้องขวาง และทิศใหญ่น้อยอย่างนั้น เสด็จ

ดำเนินไปทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก. พระชินเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

พระองค์นั้น มีพระอาการเยื้องกรายคล้ายพระยาช้าง

ในการเสด็จดำเนินไป จึงงดงาม. พระผู้เป็นยอด

โลก เสด็จดำเนินงดงาม ทำโลกพร้อมทั้งเทวโลก

ให้ร่าเริง ทรงงดงามดุจราชาแห่งดวงดาวคือพระ-

จันทร์ ดุจไกรสรราชสีห์ ออกล่าเหยื่อในทิศทั้งสี่

ทรงทำพระผู้เป็นพหูสูตให้ยินดี เสด็จถึงบุรีอัน

ประเสริฐแล.

นัยว่า นี้ชื่อว่า เวลาพรรณนาพระคุณ กำลังของพระธรรมกถึก

เท่านั้นถือเอาเป็นประมาณ ในการพรรณนาพระสริระอันประเสริฐ หรือ

ในการพรรณนาพระคุณของพระพุทธเจ้า ในกาลทั้งหลาย อย่างวิธีอย่างนี้.

คำมีประมาณเท่าใด สามารถกล่าวได้ด้วยบทร้อยแก้ว หรือด้วยบทผูกเป็น

ร้อยกรองได้ คำมีประมาณเท่านั้น ก็ควรกล่าว ไม่ควรกล่าวคำที่เลว ๆ.

ด้วยว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระคุณหาประมาณมิได้. แม้แต่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายด้วยกันเอง ก็ยังไม่สามารถกล่าวพระคุณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น

โดยไม่ให้หลงเหลือได้. จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่สัตว์นอกนี้เล่าแล. พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปยังศากยราชบุรี อันประดับตกแต่ง ด้วยสิริวิลาส

แม้อย่างนี้ อันชนผู้มีจิตเลื่อมใสแล้วบูชาอยู่ด้วยของหอม ธูป ผงอบเป็นต้น

เสด็จเข้าสู่สัณฐาคาร. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข ภควา

นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย สทฺธี ภิกฺขุสงฺเฆน เยน วน สณฺา-

คาร เตนุปสงฺกมิ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่ง ( อันตรวาสก )

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

แล้ว ทรงถือบาตรแลจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปทางวนสัณฐา-

คาร. บทว่า ภควนฺตเยว ปุรกฺขิตวา ได้แก่ กระทำพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไว้ข้างหน้า. ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งกลางเหล่าภิกษุและ

เหล่าอุบาสก ทรงให้สรงด้วยน้ำหอม ให้น้ำไหลลงต่ำ ด้วยเครื่องรองรับคือ

ผ้า เช็ดด้วยชาติหิงคุ (มหาหิงคุ) สง่างาม ประดุจรูปปฏิมาทองคำแท่งแดง

ที่เขาประจงวางไว้บนตั่ง ที่ผูกด้วยผ้ากัมพลแดง.

ก็นี้เป็นทางพรรณนาพระคุณ. ของท่านโปราณาจารย์ทั้งหลายใน

ข้อนั้น.

พระผู้เป็นยอดโลก มีพระอาการเยื้องกราย

คล้ายพระยาช้าง เสด็จดำเนินไปยังโรงมณฑล

ทรงเปล่งพระรัศมี ประทับนั่งเหนืออาสน์อันประ-

เสริฐ. ณ ที่นั้น พระผู้เป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก เป็น

เทพล่วงเทพ มีพระบุณยลักษณ์ ๑๐๐ ประทับนั่ง

อยู่กลางพุทธอาสน์ รุ่งโรจน์ประดุจแท่งทองชมพู

นุทบนผ้ากัมพลเหลือง. พระผู้ปราศจากมลทินดุจ

แต่งทองชมพูนุท ที่วางไว้เหนือผ้ากัมพลเหลือง

รุ่งโรจน์เหมือนรุ้งแก้วมณี ทรงเบ่งบานดั่งต้นสาละ

ใหญ่ อันพระคุณประดับแล้วดังขึ้นเขาสิเนรุ เปล่ง

รัศมีดังประสาททอง เบิกบานดังปทุมโกกนุท. ทรง

รุ่งเรืองดังประทีปมีด้าม เหมือนดวงไฟบนยอดเขา

บานสะพรั่งรุ่งโรจน์ดังต้นปาริฉัตตกะ ของทวยเทพ

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า กาปิลวตฺถเว สกฺเย พหุเทว รตฺตึ

ธมฺมิยา กถาย ดังต่อไป. ชื่อว่า ธรรมกถาที่เกี่ยวด้วยอนุโมทนาสัณฐาคาร

พึงทราบว่า เป็นปกิณณกกถา. ก็ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

แสดงปกิณณกกถานำมาซึ่งประโยชน์เกื้อกูล และความสุข แก่เหล่าเจ้า

ศากยชาวกรุงกบิลพัสดุ์. เหมือนหยั่งลงสู่อากาศคงคา เหมือนควักเอาง้วน

ดินมา เหมือนจับยอดหว้าใหญ่สั่นอยู่ เหมือนคั้นผึ้งขนาดโยชน์หนึ่งด้วย

เครื่องจักรยนต์ แล้วให้ดื่มน้ำผึ้งว่า ดูก่อนมหาบพิตร ขึ้นชื่อว่าอาวาสทาน

นี้เป็นของใหญ่ อาวาสของพระองค์ เราก็ได้ใช้สอยแล้ว และภิกษุ

สงฆ์ก็ใช้แล้ว ทั้งเรา ทั้งภิกษุสงฆ์ก็ใช้แล้ว ก็เป็นอันพระธรรมรตนะ

ก็ใช้สอยแล้วเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นอันพระรัตนตรัย

ใช้สอยแล้ว. จริงอยู่ เมื่อให้อาวาสทาน ก็เป็นอันชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง ขึ้น

ชื่อว่าอานิสงส์แห่งบรรณศาลา และสาขามณฑป ใคร ๆ ก็ไม่อาจกำหนดได้.

จริงอยู่ ด้วยอานุภาพแห่งอาวาสทาน การเกิดในครรภ์ที่คับแคบ ย่อมไม่มี

แก่สัตว์ผู้เกิดในภพ ท้องของมารดา ย่อมเหมือนห้องน้อย ๑๒ ศอกไม่

คับแคบ ครั้นตรัสธรรมีกถาเป็นอันมาก วิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ อย่างนี้แล้ว

( ตรัสคาถาวิหารทาน ) ดังนี้ว่า.

เสนาสนะ ย่อมป้องกันเย็นร้อน สัตว์ร้าย งู

ยุง ความหนาวในฤดูหนาวและฝน ทั้งลมแดดอัน

กล้าที่เกิด เสนาสนะก็ป้องกันได้ การถวายวิหาร

แก่สงฆ์ เพื่อเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งฌาน

และเพื่อเจริญวิปัสสนา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

สรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล คน

ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้าง

วิหารอันรื่นรมย์ ให้ภิกษุเหล่าพหูสูตอยู่ในวิหารนั้น

เถิด พึงถวายข้าวน้ำ ผ้า และเสนาสนะแก่ท่าน

เหล่านั้น ด้วยน้ำใจอันผ่องใสในท่านผู้ปฏิบัติตรง

เขารู้ธรรมอันใดในพระศาสนานี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่มี

อาสวะ ย่อมดับสนิท ท่านภิกษุพหูสูตเหล่านั้น

ย่อมแสดงธรรมนั้น อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์

ทั้งปวงแก่เขาแล.

ดังนี้แล้ว จึงทรงแสดงอานิสงสกถาแห่งการถวายที่อยู่อาศัย เกินยามครึ่ง

ตลอดราตรีเป็นอันมาก ว่า อยมฺปิ อาวาเส อานิสโส แม้นี้ก็เป็นอานิสงส์

ในการถวายอาวาส ดังกล่าวมาฉะนี้. ในข้อนั้น วิหารทานคาถาเหล่านี้ ท่าน

พระธรรมสังคหกาจารย์ยกขึ้นสู่การสังคายนา ส่วนปกิณณธรรมเทศนามิได้

ยกขึ้นสู่การสังคายนา.

บทว่า สนฺทสฺเสตฺวา เป็นต้นมีฐานะที่กล่าวไว้แล้ว. บทว่า

อติกฺกนฺตา แปลว่า ก้าวล่วงแล้ว คือล่วงไป ๒ ยาม. บทว่า ยสฺส ทานิ

กาล มญฺถ ความว่า ท่านทั้งหลายย่อมสำคัญเวลาแห่งการไปใด เวลา

แห่งการไปนั้นเป็นของท่าน ท่านอธิบายไว้ว่า ท่านจงไปกันเถิด. ถามว่า

ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงส่งเจ้าศากยะเหล่านั้นไป. แก้ว่า

เพราะเพื่อทรงอนุเคราะห์. จึงอยู่ เจ้าศากยะเหล่านั้น เป็นสุขุมาลชาติ

ผู้ละเอียดอ่อน เมื่อเจ้าศากยะเหล่านั้นประทับนั่ง ล่วงราตรี ๓ ยามไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

พึงเกิดอาพาธขึ้นในพระสรีระ. แม้ภิกษุสงฆ์ก็มาก ภิกษุสงฆ์นั้น ควร

จะได้โอกาสยืนและนั่ง เพราะฉะนั้นพระองค์จึงทรงส่งไปเพื่ออนุเคราะห์

ทั้ง ๒ อย่าง. บทว่า วิคตถีนมิทฺโธ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลาย

ได้ยืนโงก นั่งโงกตลอด ๒ ยาม ในที่นั้น แต่ยามสุดท้ายอาหารย่อย คำว่า

ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนะและมิทธะ (ไม่ง่วงนอน ) นั้น มิใช่เหตุ เพราะ

อาหารนั้นย่อยแล้ว. ความจริง ภิกษุสงฆ์ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ย่อมไม่มีความกระวนกระวายทางกายและทางจิต. วิการรูปมี

ความเบากายและเบาจิตเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น

ยืนก็ดี นั่งก็ดี ตลอด ๒ ยาม ฟังธรรมอยู่ ก็ปราศจากถีนะมิทธะ แม้ถึง

ปัจฉิมยาม ก็ปราศจากถีนะ มิทธะ เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

วิคตถีนมิทฺโธ ดังนี้.

บทว่า ปิฏฺิ อาคิลายติ ถามว่า เพราะเหตุไร จึงเจ็บหลัง. แก้ว่า

เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า เริ่มตั้งความเพียรใหญ่ ตลอด ๖ ปี ทรงมี

ทุกข์ทางกายแล้ว. ครั้นต่อมา เมื่อเวลาทรงพระชรา จึงเกิดโรคเจ็บหลังขึ้น

ข้อนี้มิใช่เหตุสำหรับพระองค์. แท้จริงพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสามารถข่ม

เวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยการนั่งขัดสมาธิรวดเดียว ตลอด ๑ สัปดาห์บ้าง

๒ สัปดาห์บ้าง. แต่มีพระประสงค์ จะทรงใช้สอยสัณฐาคารศาลา ด้วย

อิริยาบถทั้ง ๔. ได้เสด็จดำเนินไปจากที่ชำระพระหัตถ์และพระบาท จนถึง

ธรรมาสน์. การเสด็จดำเนินไปในที่เท่านี้สำเร็จแล้ว. เสด็จถึงธรรมาสน์

( อาสนะนั่งแสดงธรรม ) แล้ว ประทับยืนหน่อยหนึ่งแล้วประทับนั่ง. การ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

เสด็จไปในที่เท่านี้สำเร็จแล้ว. ประทับนั่งบนธรรมาสน์ ๒ ยาม. การ

ประทับนั่งในที่เท่านี้สำเร็จแล้ว. บัดนี้เมื่อพระองค์บรรทมตะแคงขวาหน่อย

หนึ่ง ก็จักสำเร็จการบรรทมดังกล่าวมานี้ พระองค์มีพระประสงค์ จะทรง

ใช้สอยด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ ฉะนี้. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า สรีระที่มีใจครองไม่ควร

กล่าวว่า จะไม่เจ็บไข้ เพราะฉะนั้น ทรงถือเอาการเจ็บไข้แม้เล็กน้อย

ที่เกิดขึ้นเพราะนั่งนาน จึงตรัสว่าย่างนั้น.

บทว่า สงฺฆาฏึ ปญฺเปตฺวา ความว่า พวกเจ้าเหล่านั้น สั่งให้

วงม่าน ๗ ชั้น ณ ข้าง ๆ หนึ่งแห่งสัณฐาคาร แล้วให้จัดตั้งเตียงอันสมควร

ให้ลาดที่นอนอันสมควร ให้ดาดเพดานประดับด้วยดาวทองและพวงดอกไม้

หอม ให้ตามประทีปด้วยน้ำมันหอม ด้วยทรงพระดำริว่า ไฉนหนอ

พระศาสดาจะพึงเสด็จลงจากธรรมาสน์ พักหน่อยหนึ่ง พึงบรรทมในที่นี้

เมื่อเป็นเช่นนี้ สัณฐาคารของเรา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้สอยด้วย

อิริยาบถ ๔ จักมีประโยชน์และความสุขแก่เราตลอดกาลนาน. ฝ่ายพระ-

ศาสดาทรงหมายเอาข้อนั้นนั่นเอง จึงทรงปูสังฆาฏิและบรรทมในที่นั้น.

บทว่า อุฏฺานสฺ มนสิกริตฺวา ความว่า พระองค์ตั้งสัญญาในกาล

เสด็จลุกขึ้นไว้ในพระทัยว่า ล่วงเวลาเท่านี้แล้วจักลุกขึ้น ไม่บรรทมหลับ

ทรงฟังธรรมกถาของพระเถระนั้นแลอยู่.

บทว่า อวสฺสุตปริยาย ได้แก่ ปริยายแห่งภิกษุผู้ชุ่มแล้ว อธิบายว่า

เหตุแห่งภิกษุผู้ชุ่มแล้ว บทว่า อธิมุจฺจติ ได้แก่ น้อมจิตไป คือยินดี

ด้วยการน้อมไปในกิเลส. บทว่า พฺยาปชฺชติ ได้แก่ เป็นผู้มีจิตเสีย

ด้วยอำนาจพยาบาท.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

บทว่า จกฺขุโต แปลว่า โดยภาวะแห่งจักษุ. บทว่า มาโร ได้ แก่

กิเลสมารบ้าง เทวปุตตมารบ้าง. บทว่า โอตาร แปลว่า ช่อง. บทว่า

อารมฺมณ ได้แก่ ปัจจัย. บทว่า นฬคาร ความว่า อายตนะ ที่เป็นไป

ด้วยการเสพผิด เหมือนเรือนหญ้า อารมณ์ที่ควรแก่การเกิดขึ้นแห่งกิเลส

เหมือนคบหญ้า, การเกิดขึ้นแห่งกิเลส ในเมื่ออารมณ์มาปรากฏ เหมือน

การลุกโพลงแห่งถ่านเพลิง ในที่ ๆ คบหญ้า อันเขาตั้งไว้. ด้วยเหตุนั้น

ท่านพระโมคคัลลานะ จึงกล่าวว่า ลเภถ มาโร โอตาร.

ในสุกกปักข์ฝ่ายข้างดี พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. อายตนะ ที่หมดพยศ

เหมือนกุฏาคารที่ฉาบด้วยก้อนดินหนา. อารมณ์มีประการดังกล่าวแล้ว

เหมือนคบหญ้า, การไม่เกิดขึ้นแห่งความเร่าร้อนคือกิเลส เมื่ออารมณ์

ของอายตนะที่หมดพยศแล้วมาปรากฏ เหมือนการทำให้เพลิงดับ ในที่ ๆ

คบหญ้าอันเขาตั้งไว้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เนว ลเภถ มาโร

โอตาร ดังนี้.

จบ อรรถกถาอวัสสุตปริยายสูตรที่ ๖

๗. ทุกขธรรมสูตร

ว่าด้วยเหตุเกิดและความดับแห่งทุกขธรรม

[๓๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุ

เกิดและความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง ก็ในกาลนั้น

แล ภิกษุนั้นเป็นผู้เห็นกาม เมื่อเธอเห็นกามแล้ว ความพอใจ ความ

เสน่หา ความหมกมุ่น ความเร่าร้อนเพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

เนื่องอยู่ด้วยอาการใด ก็ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่

เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา

และโทมนัส ไม่ครอบงำ ภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรมเป็นเครื่อง

ประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่ด้วยอาการนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้นและความดับสูญแห่ง

ทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างไร. ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึงเหตุเกิดขึ้น

และความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปดังนี้

ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับสูญแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้ .. . สัญญา

ดังนี้ สังขารทั้งหลายดังนี้ . . . วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ

ดังนี้ ความดับสูญแห่งวิญญาณดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมรู้ทั่วถึง

เหตุเกิดขึ้นและความดับสูญแห่งทุกขธรรมทั้งปวง ตามความเป็นจริง อย่าง

นี้แล.

[๓๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามแล้วอย่างไรเล่า

เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น

ความเร่าร้อน เพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องด้วยอาการใด.

ธรรมเป็นเครื่องประพฤติ และธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่

ด้วยอาการนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษ เต็ม

ด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ครั้งนั้นแล บุรุษผู้ปรารถนา

เป็นอยู่ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ผ่านมา บุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน

จับบุรุษคนนั้นข้างละแขน แล้วฉุดเข้าไปหาหลุมถ่านเพลิงนั้น บุรุษนั้น

พึงน้อมกายนี้แหละเข้าไปด้วยประการดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

ว่าบุรุษนั้นไม่มีควานรู้ว่าเราจักตกหลุมถ่านเพลิงนี้และจะถึงความตายหรือ

ความทุกข์แทบตาย เพราะหลุมถ่านเพลิงนั้นเป็นเหตุ แม้ฉันใด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เห็นกามอันเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ก็ฉันนั้นแล

เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลายอยู่ ความพอใจ ความเสน่หา ความหมกมุ่น

ความเร่าร้อนเพราะกามในกามทั้งหลาย ไม่นอนเนื่องอยู่ด้วยอาการใด

ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามเธออยู่

ด้วยอาการนั้น.

[๓๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องประพฤติและธรรม

เป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุอย่างไรเล่า. อกุศลธรรมอันลามก คือ

อภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรม

เป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการ

นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงเข้าไปสู่ป่าที่มีหนามมาก ข้างหน้าบุรุษ

นั้นก็มีหนาม ข้างหลังก็มีหนาม ข้างซ้ายก็มีหนาม ข้างขวาก็มีหนาม

ข้างล่างก็มีหนาม ข้างบนก็มีหนาม บุรุษนั้นมีสติก้าวเข้าไปข้างหน้า ถอย

กลับข้างหลัง ด้วยคิดว่า หนามอย่าแทงเรา แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมคือปิยรูปและสาตรูปในโลก นี้เรากล่าวว่าเป็นหนามในวินัยของ

พระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ว่าด้วยอสังวรและสังวร

[๓๓๕] ภิกษุรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วย

จักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัด

ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก

ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์

ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมข้าเคืองใน

ธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่เข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว มีใจมี

ประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับ

ไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความ

เป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวรย่อมมีอย่างนี้แล.

[๓๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างไร. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไป

ในรูปอันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายคตา

สติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็น

ที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความ

เป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปใน

ธรรมารมณ์อันน่ารู้ ไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไป

ตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติปัญญา

วิมุตติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามก ที่บังเกิดขึ้นแล้ว

แก่เธอ ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวรย่อมมีอย่างนี้แล.

[๓๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้

อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันซ่านไป เป็นที่ตั้งแห่ง

สังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความหลงลืมแห่งสติบางครั้งบางคราว การ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

บังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแลภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทาอกุศลธรรม

อันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มีได้เร็วพลัน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงให้หยาดน้ำสองหรือสามหยาดตกลงในกะทะเหล็ก

อันร้อนจัดตลอดวัน หยาดน้ำตกลงช้า ที่นั้นแล น้ำนั้นพึงถึงความสิ้นไป

เหือดแห้งไปเร็วพลัน แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุนั้น

ประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้ อกุศลธรรมอันลามก คือ ความดำริอันซ่านไป

เป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ย่อมบังเกิดขึ้นเพราะความหลงลืมแห่งสติบางครั้ง

บางคราว การบังเกิดขึ้นแห่งสติช้า ที่นั้นแล ภิกษุนั้นย่อมละ ย่อมบรรเทา

อกุศลธรรมอันลามกนั้น ย่อมกระทำให้พินาศ ย่อมให้ถึงความไม่มีได้เร็ว

พลัน ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอันลามก คือ

อภิชฌาและโทมนัส ย่อมไม่ครอบงำภิกษุผู้ประพฤติอยู่ด้วยอาการใด ธรรม

เป็นเครื่องประพฤติและธรรมเป็นเครื่องอยู่ เป็นอันติดตามภิกษุด้วยอาการ

อย่างนี้แล.

[๓๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพระราชา ราชมหาอำมาตย์

มิตร อำมาตย์ ญาติ หรือสาโลหิต พึงปวารณาภิกษุนั้นผู้ประพฤติอย่างนี้

อยู่อย่างนี้ เพื่อให้ยินดียิ่ง ด้วยโภคะทั้งหลายว่า ท่านจงมาเถิดบุรุษผู้

เจริญ ผ้ากาสาวะ เหล่านี้ยังความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่ท่านมิใช่หรือ. ท่าน

จะเป็นคนโล้นเที่ยวถือกระเบื้องอยู่ทำไม. ท่านจงสึกมาบริโภคโภคะและ

จงทำบุญเถิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุนั้นประพฤติอย่างนี้ อยู่อย่างนี้

จักบอกคืนสิกขาสึกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลหลั่งถึงเทไปในทิศปราจีน ถ้าว่ามหาชนพึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

เอาจอบและตะกร้ามาด้วยคิดว่า พวกเราจักช่วยกันทำแม่น้ำคงคานี้ให้ไหล

หลั่งถั่งเทกลับหลังไป เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน. หมู่

มหาชนนั้นพึงกระทำแม่น็าคงคานี้ให้ไหลหลั่งถั่งเทกลับหลังไปได้บ้างหรือ

หนอแล. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.

สา. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะแม่น้ำคงคาไหลหลั่งถั่งเทไปใน

ทิศปราจีน แม่น้ำคงคานั้นอันบุคคลจะทำให้ไหลหลั่งถั่งกลับหลังไปไม่ใช่

กระทำได้ง่าย ก็หมู่มหาชนนั้นพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากยากแค้น

เพียงไรแม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าพระราชา ราชมหาอำมาตย์

มิตร อำมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต พึงปวารณาภิกษุนั้นผู้ประพฤติอย่างนี้

อยู่อย่างนี้ เพื่อจะให้ยินดียิ่งด้วยโภคะทั้งหลายว่า ท่านจงมาเถิดบุรุษผู้

เจริญ ผ้ากาสาวะเหล่านี้ ยังความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่ท่านมิใช่หรือ.

ท่านจะเป็นคนโล้นเที่ยวถือกระเบื้องอยู่ทำไม. ท่านจงสึกมาบริโภคโภคะ

และจงทำบุญเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ประพฤติอย่างนี้ อยู่

อย่างนี้ จักบอกคืนสิกขาสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้

ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตของเธอน้อมไป

โน้มไป เอนไปในวิเวกสิ้นกาลนาน ก็จิตนั้นจักเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์

ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.

จบ ทุกขธรรมสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

อรรถกถาทุกขธรรมสูตรที่ ๗

ในสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุกฺขธมฺมาน ได้แก่ ธรรมเป็นเหตุเกิดทุกข์ เมื่อขันธ์ทั้ง ๕

มีอยู่ ทุกข์แยกประเภทออกเป็นการตัด. ( ตีนสิบมือ ) การฆ่า และการ

จองจำเป็นต้น ก็เกิดขึ้น. เพราะฉะนั้นขันธ์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสเรียกว่า ทุกขธรรม เพราะเป็นธรรมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.*

บทว่า ตถา โข ปนสฺสา ความว่า กามทั้งหลาย เป็นอันภิกษุ

นั้นเห็นแล้ว ด้วยอาการนั้น.

บทว่า ยถาสฺส กาเม ปสฺสโต ความว่า เมื่อเธอเห็นกามทั้งหลาย

ด้วยอาการใด.

บทว่า ยถา จรนฺต ความว่า ผู้เที่ยวติดตาม การเที่ยวไป และ

การอยู่ โดยอาการใด.

บทว่า องฺคารกาสูปมา กามา ทิฏฺา โหนฺติ ความว่า กาม

ทั้งหลาย เป็นอันภิกษุนั้นเห็นแล้วว่า มีความเร่าร้อนมาก เหมือนความ

เร่าร้อนในหลุมถ่านเพลิง ด้วยอำนาจทุกข์ที่มีการแสวงหาเป็นมูล และมี

ปฏิสนธิเป็นมูล.

อธิบายว่า การแล่นเรือออกมหาสมุทร การเดินไปตามทางที่ยาก

ลำบาก และตามทางที่โค้ง ย่อมมีแก่บุคคลแสวงหากาม.

จริงอยู่สำหรับผู้แสวงหากาม จะเกิดทุกข์มีการเสวงหา และมี

มรดกเป็นมูล โดยการออกเรือ ( หากิน ) ทางทะเล การเดินทางวิบาก

๑. ปาฐะว่า ทุกขสมฺภวธมฺมตา ฉบับพม่าเป็น ทุกขสมฺภวธมฺมตฺตา แปลตามฉบับพม่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

และทางที่คดโค้ง และการเข้าสู่สงความประชิดกันทั้งสองฝ่ายเป็นต้นบ้าง

สำหรับผู้บริโภคกาม จะเกิดทุกข์มีความเร่าร้อนมาก มีเจตนาที่บริโภคกาม

ให้เกิดปฏิสนธิในอบายทั้ง ๔ เป็นมูลบ้าง. กามทั้งหลายเป็นอันภิกษุเห็นว่า

มีความเร่าร้อน อุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยอำนาจทุกข์ทั้งสองอย่าง

ดังพรรณนามาน.

บทว่า ทาย แปลว่า ดง.

บทว่า ปุรโต กณฺฏโก ความว่า หนามอยู่ในที่ใกล้นั่นเอง

ประหนึ่งว่า อยากจะตำที่ด้านหน้า.

แม้ในบทว่า ปจฺฉโต เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่ข้างล่าง

คือ ในที่ใกล้ซึ่งเท้าเหยียบ ได้แก่ตรงที่ที่เท้าเหยียบนั่นแล บุรุษนั้น พึงเป็น

เหมือนเข้าไปสู่ดงหนามด้วยอาการอย่างนี้.

บทว่า มา ม กณฺฏโก ความว่า ระวังหนามจะตำ ด้วยคิดว่า

"หนามอย่าตำเราเลย".

บทว่า ทนฺโธ ภิกฺขเว สตุปฺปาโท ความว่า การเกิดขึ้นแห่งสติ

นั้นแล ช้า แต่เมื่อสตินั้นพอเกิดขึ้นแล้ว ชวนจิตก็จะแล่นไป กิเลสทั้งหลาย

ก็จะถูกข่มไว้ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้. อธิบายว่า ในจักษุทวาร เมื่อกิเลส

๑. ปาฐะว่า นาวาย มหาสมุทโทคหณ อกุชฺชุปถสงฺกุปถปฏิปชฺชน อุภโต พฺยูฬฺ

หาสงฺคามปกฺขนฺทนาทิวเสน. ฉบับพม่าเป็น นาวาย มหาสมุทฺโทคาหณ อชปถ

สงฺกุปถปฏิปชฺชนอุกโตพฺยุฬฺหสงครามปกฺขนฺทนาทิวเสน. แปลตามฉบับพม่า.

๒. ปาฐะว่า มา ม กณฺฏโก วิชฺฌติ กณฺฏกเวธ รกฺขมาโน ฉบับพม่าเป็น มา ม

กณฺฏโกติ มา ม กณฺฏโก วิชฺฌีติ กณฺฏกเวธ รกฺขมาโน แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

ทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว เพราะทราบโดยวาระแห่งชวนจิต

ที่สองว่า กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ชวนจิตสหรคตด้วยสังวรก็จะ

แล่นไปในวาระแห่งชวนจิตที่สาม ก็ขอที่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา พึงข่มกิเลส

ทั้งหลายได้ในวาระแห่งชวนจิตที่สามไม่ใช่เรื่อง น่าอัศจรรย์เลย.

อนึ่งในจักษุทวาร เมื่ออิฏฐารมณ์ ( อารมณ์ที่น่าปรารถนา ) มา

สู่ครอง ภวังคจิตก็จะระลึก ครั้นเมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้นเกิดขึ้น ก็จะห้าม

วาระแห่งชวนจิตที่มีกิเลสคละเคล้าเสีย ต่อจากโวฏฐัพพนจิตแล้วให้วาระ

แห่งชวนจิตที่เป็นกุศลเกิดขึ้นแทนทันที. ก็นี้เป็นอานิสงส์ของการที่ภิกษุ

ผู้เจริญวิปัสสนา ดำรงมั่นอยู่ในการพิจารณาภาวนา.

บทว่า อภิหฏฺฐุ ปวาเรยฺยุ ความว่า ( พระราชาหรือราชอำมาตย์

ก็ดี มิตรหรืออำมาตย์ ญาติหรือสาโลหิตก็ดี ) พึงนำรตนะ ๗ ประการมา

มอบให้ตามกาล เหมือนที่นำมามอบ ให้แก่พระสุทินเถระ และพระรัฐบาล

กุลบุตร หรือกล่าวปวารณา ด้วยวาจาว่า ท่านปรารถนาทรัพย์ของเรา

จำนวนเท่าใด จนเอาไปเท่านั้น.

บทว่า อนุทหนฺติ ความว่า ผ้ากาสาวะทั้งหลาย ชื่อว่าเผาไหม้ให้

เกิดความเร่าร้อน เพราะปกคลุมร่างกาย. อีกอย่างหนึ่ง หมายความว่า

คล้องติดแนบสนิทอยู่ที่ร่างกายซึ่งเกิดเหงื่อไคลไหลย้อย.

๑. ปาฐะว่า ... กาเล สตฺตรตนานิ อภิหริตฺวา ตฺยา วา... แต่ฉบับพม่าเป็น

กาเยน วา สตฺตรตนานิ อภิหริตฺวา วาจาย วา... แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

บทนี้ว่า ย หิ ต ภิกฺขเว จิตฺต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

เพราะเมื่อจิตไม่หวนกลับ ชื่อว่าความเป็นไป ( หวนกลับ ) ของบุคคลไม่มี

และจิตเห็นปานนี้ ก็ไม่เป็นรูป ( ไม่หวนกลับ ).

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพลังของวิปัสสนา ไว้ในสูตรนี้ด้วย

ประการดังพรรณนามาฉะนี้.

จบ อรรถกถาธัมมสูตรที่ ๗

๘. กิงสุกสูตร

ว่าด้วยเหตุเกิดและความดับแห่งผัสสายตนะ ๖

[๓๓๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่

ครั้นแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอัน

หมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล. ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้

มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และ

ความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่พอใจ

ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียง

เท่าไรหนอแล. ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ

เป็นอันหมดจดด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งอุปาพานขันธ์

๕ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่พอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหา

ของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล. ภิกษุนั้น

กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่

ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ที่

นั้นแล ภิกษุนั้นไม่พอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหา

ภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทัศนะของภิกษุเป็นอัน

หมดจดดีด้วยเหตุเพียงไรหนอแล. ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มี

อายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด ตามความเป็นจริง

ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ

เป็นธรรมดา.

[๓๔๐] ทีนั้นแล ภิกษุไม่พอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุ

นั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์เข้า

ไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทัศนะของ

ภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด

และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์

ไม่พอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่

อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วย

เหตุเพียงไร. เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

ข้าพระองค์ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่

ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง.

ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่พอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้า

ไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทัศนะของ

ภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร. เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว

ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็น

อันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔

ตามความเป็นจริง. ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่พอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหา

ของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่าน

ผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร. เมื่อข้า

พระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูก่อนท่าน

ผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด ตามความ

เป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมี

ความดับไปเป็นธรรมดา ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่พอใจด้วยการพยากรณ์

ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ขอทูล

ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทัศนาของภิกษุเป็นอัน

หมดจดดีด้วยเหตุเพียงไรหนอแล.

[๓๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บุรุษยังไม่เคย

เห็นต้นทองกวาว บุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้น

ทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาว

เป็นเช่นไร. บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

ตอไฟไหม้ ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล

บุรุษนั้นไม่พอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษ

คนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ

ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร. บุรุษนั้นพึงตอบว่า ต้นทองกวาวแดงเหมือน

ชิ้นเนื้อ ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้น

ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้

เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ

ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร. บุรุษนั้นพึงตอบอย่างนี้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ

ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือนต้นซึก ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาว

เป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่พอใจด้วยการพยากรณ์ปัญหา

ของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้ว

ถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร. บุรุษนั้น

พึงตอบว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนาแน่น

มีร่มทึบเหมือนต้นไทร ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น

แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ทัศนะของสัตบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้ว เป็นอัน

หมดจดดีด้วยประการใด ๆ เป็นอันสัตบุรุษทั้งหลายผู้ฉลาด พยากรณ์แล้ว

ด้วยประการนั้น ๆ ฉันนั้นแล.

[๓๔๒] ดูก่อนภิกษุ เหมือนอย่างว่า เมืองชายแดนของพระราชา

เป็นเมืองที่มั่นคง มีกำแพงและเชิงเทิน มีประตู ๖ ประตู นายประตู

เมืองนั้นเป็นคนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก

อนุญาตให้คนที่ตนรู้จักเข้าไปในเมืองนั้น ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

มาแต่ทิศบูรพา พึงถามนายประตูนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่

ที่ไหน. นายประตูนั้นตอบว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่

ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่นั้นมอบถ้อยคำตามความ

เป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปตามทางที่มาแล้ว ราชทูตคู่หนึ่ง

มีราชการด่วนมาแต่ทิศปัจจิม ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศอุดร

ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศทักษิณ แล้วถามนายประตูนั้นอย่างนี้

ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน. นายประตูนั้นพึงตอบว่า แน่ะ

ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล

ราชทูตคู่หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนิน

กลับไปทางตามที่มาแล้ว ดูก่อนภิกษุ อุปมานี้แล เรากระทำแล้วเพื่อจะให้

เนื้อความแจ่มแจ้ง ก็ในอุปมานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ คำว่าเมือง เป็นชื่อ

ของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาและบิดาเป็นแดนเกิด

เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มีอันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์ มีอัน

ทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา คำว่าประตู ๖ ประตู เป็นชื่อของ

อายตนะภายใน ๖ คำว่านายประตูเป็นชื่อของสติ คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมี

ราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา คำว่าเจ้าเมือง เป็นชื่อของ

วิญญาณ คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ

ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง

เป็นชื่อของนิพพาน คำว่าทางตามที่มาแล้ว เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘

คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

จบ กิงสุกสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

อรรถกถากิงสุกสูตรที่ ๘

ในกิงสุกสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .

บทว่า ทสฺสน นั่นเป็นชื่อเรียก ปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค)

เพราะว่า ปฐมมรรค ( นั้น ) ทำหน้าที่คือการละกิเลสได้สำเร็จ เห็น

พระนิพพานเป็นครั้งแรก ฉะนั้นจึงเรียกว่า ทัสสนะ.

ถึงแม้ว่า โคตรภูญาณ จะเห็นพระนิพพานก่อนกว่ามรรคก็จริง

ถึงกระนั้น ก็ไม่เรียกว่า ทัสสนะ เพราะได้แต่เห็น แต่ไม่มีการละกิเลส

อันเป็นกิจที่จะต้องทำ.

อีกอย่างหนึ่ง มรรคทั้ง ๔ ก็ชื่อว่าทัสสนะเหมือนกัน เพราะฉะนั้น

ภิกษุนั้นได้ฟังภิกษุทั้งหลายกล่าวอยู่อย่างนี้ว่า ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค

ทัสสนะกำลังบริสุทธิ์ ในขณะแห่งผล ( โสดาปัตติผล ) บริสุทธิ์แล้ว ใน

ขณะแห่งสกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค ทัสสนะ

กำลังบริสุทธิ์ ส่วนในขณะแห่งผล บริสุทธิ์แล้ว จึงคิดว่า ถึงเราก็จัก

ชำระทัสสนะให้บริสุทธิ์ แล้วดำรงอยู่ในอรหัตตผล คือจักทำให้แจ้งซึ่ง

พระนิพพานที่มีทัสสนะอันบริสุทธิ์อยู่ ดังนี้แล้ว เข้าไปหาภิกษุนั้น แล้ว

เริ่มถามอย่างนี้.

ภิกษุนั้น บำเพ็ญกัมมัฏฐาน มีผัสสายตนะเป็นอารมณ์ กำหนดรูป-

ธรรมและอรูปธรรม ด้วยอำนาจผัสสายตนะ ๖ แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์.

ก็ในอายตนะ ๖ นี้ อายตนะ ๕ ประการแรกจัดเป็นรูป มนายตนะ

จัดเป็นรูป เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงพูดถึงเฉพาะมรรคที่ตนบรรลุแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

บทว่า อสนฺตุฏฺโ ความว่า ภิกษุนั้น ไม่พอใจ เพราะท่านกล่าว

ยืนยันสังขารบางส่วน ได้ยินว่าภิกษุที่ถามนั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ ว่า ท่าน

รูปนี้ได้กล่าวยืนยันสังขารบางส่วน ใคร ๆ จะสามารถยืนหยัดอยู่ ใน

สังขารบางส่วน แล้วบรรลุนิพพาน ที่เป็นทัสสนวิสุทธิได้หรือหนอ.

แต่นั้นท่านจึงถามท่านรูปนั้นว่า ผู้มีอายุ ท่านองค์เดียวเท่านั้นหรือ

ที่รู้จักพระนิพพาน ซึ่งเป็นทัสสนะอันบริสุทธิ์นี้ หรือว่า แม้ผู้อื่นที่รู้จัก

ก็มีอยู่.

ครั้งนั้น ภิกษุที่ถูกถามนั้นได้กล่าวว่า ผู้มีอายุ ในวิหารแห่งโน้น

มีพระเถระชื่อโน้นอยู่.

ภิกษุรูปที่ถามนั้น จึงเข้าไปถามพระเถระแม้นั้น. ท่านเข้าไปถาม

พระเถระรูปอื่น ๆ โดยอุบายนี้แล.

อนึ่งในสูตรนี้ ภิกษุรูปที่ ๒ เจริญกัมมัฏฐาน มีเบญจขันธ์เป็น

อารมณ์ ได้กำหนดนามรูป คือ กำหนดรูปด้วยอำนาจรูปขันธ์ กำหนดนาม

ด้วยอำนาจขันธ์ที่เหลือแล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ตามลำดับ เพราะฉะนั้น

ภิกษุรูปที่ ๒ แม้นั้น จึงพูดถึงเฉพาะมรรคที่ตนบรรลุแล้ว.

ฝ่ายภิกษุรูปที่ถามนี้ ไม่พอใจด้วยคิดว่า คำพูดของภิกษุเหล่านี้

เข้ากันไม่ได้ (เพราะ) ภิกษุรูปที่ ๑ กล่าวยืนยันสังขารที่เป็นไปกับด้วย

บางส่วน ( ส่วน ) ภิกษุรูปที่ ๒ นี้ กล่าวยืนยันสังขารที่ไม่มีส่วนเหลือ

( ทั้งหมด ) จึงถามภิกษุนั้นอย่างนั้น แล้วหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

ภิกษุรูปที่ ๓ เจริญกัมมัฏฐานมีมหาภูตรูปเป็นอารมณ์ กำหนด

มหาภูตรูป ๔ ทั้งโดยย่อและโดยพิสดารแล้วสำเร็จอรหัตตผล. เพราะฉะนั้น

ภิกษุรูปที่ ๓ แม้นี้ จึงพูดถึงเฉพาะมรรคที่ตนบรรลุแล้วเท่านั้น. แต่ภิกษุ

รูปที่ถามนี้ ก็ยังไม่พอใจด้วยคิดว่า คำพูดของภิกษุเหล่านี้เข้ากันไม่ได้

(เพราะ) ภิกษุรูปที่ ๑ กล่าวยืนยันสังขารที่เป็นไปกับด้วยบางส่วน ภิกษุ

รูปที่ ๒ กล่าวยืนยันสังขารที่ไม่มีส่วนเหลือ (ทั้งหมด) ภิกษุรูปที่ ๓

กล่าวยืนยันสังขารที่มีส่วนยิ่งใหญ่ (มหาภูตรูป) จึงถามภิกษุรูปที่ ๓ นั้น

อย่างนั้นแล้วหลีกไป.

ภิกษุรูปที่ ๔ เจริญกัมมัฏฐานที่เป็นไปในภูมิ ๓. ได้ยินว่า ธาตุ

ของท่านเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ เรือนร่างสวยงามแข็งแรง แม้กัมมัฏฐาน

ทุกข้อก็เป็นสัปปายะสำหรับท่าน สังขารไม่ว่าจะเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน

เป็นกามาวจร รูปาวจร หรืออรูปาวจร ทั้งหมด ล้วนเป็นสัปปายะ

(สำหรับท่าน ) ทั้งนั้น ชื่อว่า กัมมัฏฐานที่ไม่เป็นสัปปายะไม่มี.

แม้ในกาลทั้งหลาย จะเป็นเวลาก่อนอาหาร หลังอาหาร หรือ

ปฐมยามเป็นต้น ก็ตาม ( เป็นสัปปายะทั้งนั้น ) กาลที่ไม่เป็นสัปปายะ ไม่

มีเลย.

เปรียบเหมือนช้างใหญ่ ก้าวลงสู่ภูมิภาคอันเป็นที่เที่ยวหากิน ต้นไม้

ที่ต้องใช้งวงจับ ก็ใช้งวงนั่นเองถอนมาจับไว้ ต้นไม้ที่ต้องใช้เท้ากระชุ้น

ก็ใช้เท้านั้นเองกระชุ้น แล้วจับไว้ฉันใด ภิกษุรูปที่ ๔ นั้น ก็ฉันนั้นเหมือน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

กัน คือ กำหนดธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด ด้วยการกำหนดกลาปะ

แล้วพิจารณา จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น ภิกษุรูปที่ ๔ แม้

นั้น จึงบอกเฉพาะมรรคที่ตนบรรลุแล้ว.

ฝ่ายภิกษุรูปที่ถามนี้ ก็ยิ่งไม่พอใจด้วยคิดว่า คำพูดของภิกษุเหล่านี้

เข้ากันไม่ได้ (เพราะ) ภิกษุรูปที่ ๑ ดำรงอยู่ในสปเทสสังขารกล่าว

ภิกษุรูปที่ ๒ ดำรงอยู่ในนิปปเทสังขารกล่าว ภิกษุรูปที่ ๓ ก็เหมือนเดิม

คือดำรงอยู่ในสปเทสสังขารกล่าว ( ฝ่าย ) ภิกษุรูปที่ ๔ ก็ดำรงอยู่ใน

นิปปเทสสังขารเช่นกันกล่าว จึงได้เรียนถามภิกษุนั้นว่า ผู้มีอายุ นิพพาน

ซึ่งมีทัสสนะอันบริสุทธิ์นี้ ท่านรู้ได้ตามธรรมดาของตน หรือว่าใครบอก

ท่าน. ภิกษุนั้นก็ตอบว่า ผู้มีอายุ พวกผมจะรู้อะไร แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มีอยู่ในโลก กับทั้งเทวโลก พวกผมอาศัยพระองค์จึงรู้พระนิพพานนั้น.

ภิกษุรูปที่ถามนั้น คิดว่า ภิกษุเหล่านี้ ไม่สามารถบอกให้ถูกอัธยาศัย

ของเราได้ เราเองจะไปทูลถามพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น จึงจะหมดความ

สงสัย ดังนี้แล้ว เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ.

๑. ปาฐะว่า ยถา นาม ปาริภูมิโอติณฺโณ มหาหตฺถี หตฺเถน คเหตพฺพ หตฺเถเนว

มุญฺจิตวา คณฺหาติ ปาเทหิ ปหริตฺวา คเหตพฺพ ปหริตฺวา คณฺหาติ เอวเมว

สกลเตภูมิกธมเม กลาปคหเณ...ฉบับพม่าเป็น ยถานาม จาริภูมึ โอติณฺโณ

มหาหตฺถี หตฺเถน คเหตพฺพ หตฺเถเนว ลุญฺจิตฺวา คณฺหาติ ปาเทหิ ปหริตฺวา

คเหตพฺพ ปาเทหิ ปหริตฺวา คณฺหาติ เอวเมว สกเล เตภูมิกธมฺเม กลาปคฺ-

คาเหน...แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับคำของภิกษุนั้นแล้ว ก็หาได้ทำให้

เธอลำบากใจอย่างนี้ไม่ว่า ภิกษุที่กล่าวแก้ปัญหาแก่เธอทั้ง ๔ รูปนั้น เป็น

พระขีณาสพ ภิกษุเหล่านั้น กล่าวแก้ดีแล้ว แต่เธอเองต่างหาก กำหนด

ปัญหานั้นไม่ได้ เพราะตนเองเป็นคนโง่ทึบ.

แต่เพราะทรงทราบว่า ภิกษุรูปที่ถามปัญหานั้นเป็นการกรบุคคล

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงพระดำริว่า ภิกษุนี้เป็นผู้แสวงหาประโยชน์

( คือพระนิพพาน ) เราจักสอนเธอให้ตรัสรู้ด้วยพระธรรมเทศนา นั้นแล

ดังนี้แล้ว จึงทรงนำ กิงสุโกปมสูตร มา ( แสดง ) ควรหยิบยกเอาเรื่อง

ที่ปรากฏอยู่ ในกิงสุโกปมสูตรนั้นมาอธิบายขยายความ ให้แจ่มแจ้งดัง

ต่อไปนี้ :-

มีเรื่องเล่าว่า แพทย์พราหมณ์คนหนึ่ง เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษา

โรคทุกชนิด เป็นบัณฑิต อาศัยอยู่ในนครใหญ่แห่งหนึ่ง. ต่อมาคนเป็น

วัณโรคคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน. ซึ่งตั้งอยู่ทางประตูเมือง ด้านทิศ

ปราจีน ได้ไปหาแพทย์นั้น ไหว้เขาแล้วยืนอยู่. แพทย์ผู้เป็นบัณฑิต

สนทนาปราศรัยกับเขา แล้วได้ถามว่า พ่อมหาจำเริญ พ่อมาด้วยประสงค์

อะไร.

เขาตอบว่า พ่อหมอ ข้าพเจ้าถูกโรคคุกคาม ขอพ่อหมอช่วยบอก

ยาให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด. หมอแนะนำว่า พ่อมหาจำเริญ ถ้าอย่างนั้นเชิญ

๑.ปาฐะว่า สุกถิตา เต... ฉบับพม่าเป็น สุกถิต เตหิแปลตามฉบับพม่า

๒.ปาฐะว่า อตถคเวสโก เอส ธมฺมเทสนาย เอส ธมฺมเทสนาย เอว น พุชฺฌา-

เปสฺสามิ. ฉบับพม่าเป็น อตฺตคเวสดก เอส, ธมฺมเทสนาย เอว น พุชฺฌาเปสฺสามีติ

แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

พ่อไปตัดต้นทองกวาว เอามาตากแดดให้แห้ง เผาแล้ว เอาน้ำด่างของต้น

ทองกวาวนั้น มาปรุงเข้ากับยาชนิดนี้ ๆ ทำให้เป็นยาดอง แล้วดื่มเถิด

ท่านจักสบาย.

คนที่เป็นโรคนั้น ทำตามหมอบอกแล้วก็หายโรค กลับเป็นคน

แข็งแรง ผิวพรรณผ่องใส.

ต่อมา คนอีกคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ทางประตูเมือง

ด้านทิศใต้ กระสับกระส่ายด้วยโรคเดียวกันนั้น ได้สดับว่า ข่าวว่าคนโน้น

ทำยา ( ดื่ม ) แล้วกลับทายโรค จึงเข้าไปหาคนนั้นแล้ว. ถามว่า สหาย

ท่านหายป่วยเพราะอะไร. คนที่ถูกถามนั้นก็ตอบว่า เพราะยาดองทองกวาว

เชิญท่านไปทำดูบ้างเถิด ฝ่ายคนที่เป็นโรคนั้น ก็ไปทำตามนั้น แล้วกลับ

หายโรคเหมือนอย่างนั้น.

อยู่มา คนอีกคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในหมู่ซึ่งตั้งอยู่ทางประตูเมืองด้าน

ทิศตะวันตก ฯลฯ คนอีกคนหนึ่ง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ทางประตู

เมืองด้านทิศเหนือ กระสับกระส่ายด้วยโรคชนิดเดียวกันนั้น ได้สดับว่า

ได้ยินว่า คนโน้นทำยา ( ดื่ม ) แล้วกลับทายโรค จึงเข้าไปหาแล้วถามว่า

หาย ท่านหายป่วย เพราะอะไร. คนที่ถูกถามก็ตอบว่า เพราะยาดอง

ทองกวาว เชิญท่านไปทำดูบ้างเถิด. ฝ่ายคนที่ถามนั้น ก็ไปทำตามนั้น

แล้วกลับทายโรคเหมือนอย่างนั้น.

ต่อมา ชายอีกคนหนึ่งเป็นคนบ้านนอก ไม่เคยเห็นต้นทองกวาว

ทุรนทุรายด้วยโรคเดียวกันนั้น ทำยา ( แก้โรค ) เหล่านั้น ( รักษาตัว )

อยู่นาน เมื่อโรคยังไม่หาย ได้ฟังว่า ข่าวว่า คนที่อยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งตั้ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

อยู่ทางประตูเมืองด้านทิศปราจีน ทำยา ( ดื่ม ) แล้วหายโรค จึงคิดว่า

เราจะถามดูบ้าง จักได้ทำยาอย่างที่เขาทำ ดังนี้แล้ว เอาไม้เท้ายันเดินทาง

ไปหาเขา ตามลำดับ ( ถึงแล้ว ) ได้ถามว่า สหาย ท่านหายป่วยเพราะ

อะไร. คนที่ถูกถามก็ตอบว่า เพราะยาดองทองกวาวนะเพื่อน.

เขาถามต่อไปว่า พ่อมหาจำเริญ ก็ไม้ทองกวาวเป็นเช่นไร คน

ที่ถูกถามก็ตอบว่า เป็นเหมือนเสาไฟไหม้ ตั้งตระหง่านอยู่ในบ้านที่ถูกไฟ

ไหม้.

ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้ เป็นอันบุรุษนั้น บอก (ลักษณะ)

ตันทองกวาวตามอาการที่ตนได้เห็นมาอย่างเดียว. เพราะว่าในเวลาที่เขา

เห็นต้นทองกวาว สลัดใบแล้ว จึงได้เป็นเช่นนั้น เพราะเขามาเห็นใน

เวลาเป็นตอ. ก็ชายคนที่พูดว่า ต้นทองกวาวนี้เป็นเหมือนเสาที่ถูกไฟไหม้

ในบ้านที่ถูกไฟไหม้ เพราะเขาเป็นบุคคลประเภท สุตมังคลิกะ ( เชื่อใน

สิ่งที่ได้ยินแล้วว่าเป็นมงคล ) (แต่) เรื่องนี้ไม่เป็นมงคล. เขาไม่พอใจ

คำบอกเล่าของคนคนนั้น ด้วยคิดว่า ความจริงเมื่อเราได้ปรุงยาขนานหนึ่ง

แล้ว โรคก็ไม่หาย จึงถามชายคนนั้นต่อไปว่า พ่อคุณ. พ่อคนเดียวเท่านั้น

ที่รู้จักต้นทองกวาว หรือว่าคนอื่น (ที่รู้) ก็ยังมี.

ยังมีอยู่ พ่อคุณ คนชื่อโน้น อยู่ที่บ้านใกล้ประตูทิศทักษิณ.

เขาได้เข้าไปถามชายคนนั้น. ชายคนนั้นบอกว่า ต้นทองกวาวมีสีแดง

โดยอนุรูปแก่ต้นทองกวาวที่ตนเห็น เพราะตนเห็น ในเวลาที่ต้นทองกวาว

๑. ปาฐะว่า ปติตมตฺโต ขารกชเลน ทิฏตฺตา ฉบับพม่าเป็น ปติตปตฺโต ขาณุกกเล

ทิฏฺตฺตา แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

บาน. เขาไม่พอใจคำบอกเล่า แม้ของชายคนนั้น ด้วยคิดว่า ชายผู้นี้

บอกว่า ต้นทองกวาวแดง ผิดจากคนก่อนที่บอกว่าดำ เพราะเห็นใกล้มาก

และเห็นใกล้มาก ( ต่างกัน ) จึงถามว่า พ่อคุณ ยังมีอยู่ไหม ใครคนอื่น

ที่เคยเห็นดอกทองกวาว. เมื่อเขาตอบว่า มีคนชื่อโน้น อยู่ที่บ้านใกล้ประตู

พระนครด้านทิศตะวันตก จึงเข้าไปถามชายผู้นั้น. ชายคนนั้นตอบว่า

ทองกวาวมีดอกทนทาน เหมือนฝักดาบที่ยังดี ๆ ( ยังไม่ชำรุด) ตามแนวที่

ตนเห็น เพราะเขาเห็นในเวลาทองกวาวมีดอก. จริงอยู่ทองกวาวในเวลา

มีดอกบาน เหมือนจะห้อยอยู่นาน และเหมือนฝักดาบที่ถือห้อยลงมา จะมี

ฝักห้อยลงมาเหมือนต้นซึก. เขา (ได้ฟังแล้ว ) ไม่พอใจคำบอกของคน

นั้น ด้วยคิดว่า คนผู้นี้ พูดผิดจากคนก่อน เราไม่อาจเชื่อถือถ้อยคำของ

คนผู้นี้ได้ จึงถามว่า พ่อคุณ ยังมีไหมใครคนอื่น ที่เคยเห็นดอกทอง-

กวาว เมื่อเขาตอบว่า มีคนชื่อโน้น อยู่ในบ้านใกล้ประตูพระนครทิศอุดร

จึงเข้าไปถามคน ๆ นั้น. คน ๆ นั้นบอกว่าต้นทองกวาว มีใบดกหนา

มีร่มเงาทึบ. ร่มเงาที่ชิดติดกัน ชื่อว่าร่มเงาทึบ. เขาไม่พอใจคำตอบของ

คน ๆ นั้น ด้วยคิดว่าคนผู้นี้ พูดผิดจากคนก่อน เราไม่อาจเชื่อถือถ้อยคำ

ของคนนี้ได้ จึงถามเขาว่า พ่อคุณ พวกท่านรู้จักทองกวาว ตามธรรมดา

ของตน หรือว่าใครบอกท่าน. พวกเขาตอบว่า พ่อคุณ พวกเราจะรู้ได้

อย่างไร แต่เราทั้งหลาย มีอาจารย์ที่เป็นแพทย์บัณฑิต อยู่ท่ามกลางมหานคร

พวกเราอาศัยท่านแล้วจึงรู้ได้. ชายคนนั้น คิดว่า ถึงเราก็จะเข้าไปหา

อาจารย์นั้น จะได้สิ้นข้อกังขา แล้วเข้าไปยังสำนักอาจารย์ ไหว้แล้ว นั่งอยู่.

แพทย์บัณฑิตทักทายกับเขา พอเกิดความบันเทิงแล้ว ถามว่า พ่อมหา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

จำเริญ เธอมาโดยมีประสงค์อันใด เขาตอบว่า ผมนี้ถูกโรคคุกคาม ขอ

อาจารย์จงบอกยาสักขนานหนึ่ง. แพทย์บัณฑิต จึงบอกว่า พ่อคุณ ถ้า

กระนั้น เธอจงไปตัดเอาต้นทองกวาวมาตากให้แห้ง เผาแล้ว เอาน้ำด่าง

ของมันมาปรุงกับยาอย่างนี้ อย่างนี้ ดองแล้วดื่ม เธอจะถึงความสบาย

ด้วยยาขนานนี้ เขาทำอย่างนั้นแล้ว หายโรค กลับเป็นผู้มีกำลังวังชา

ผุดผ่อง.

ในข้ออุปมานั้น พระนครคือพระนิพพาน พึงเห็นว่า เหมือน

มหานคร. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนแพทย์บัณฑิต

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนสุนักขัตตะ คำว่า

ภิสโภ (อายุรแพทย์) สลฺลถตฺโต (ศัลยแพทย์) นี้เป็นชื่อของตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. พระขีณาสพผู้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ๔ ประเภท

เหมือนลูกมือของแพทย์ ๔ คน ผู้อยู่ในบ้านใกล้ประตูพระนครทั้ง ๔.

ภิกษุผู้ทูลถามปัญหา เหมือนบุรุษชาวปัจจันตชนบทคนแรก. เวลาเข้าไป

เฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามปัญหาของภิกษุนี้ ผู้ไม่พอใจด้วยถ้อยคำ ของ

พระขีณาสพ ๔ ประเภท ผู้บรรลุทัสสนวิสุทธิ เหมือนการเข้าไปหาอาจารย์

แล้วถาม ของชาวปัจจันตชนบทผู้ไม่พอใจด้วยถ้อยคำ ของลูกมือแพทย์

ทั้ง ๔ คน ฉะนั้น.

บทว่า ยถา ยถา อธิมุตฺตาน ความว่า น้อมไปแล้ว โดย

อาการใด.

บทว่า ทสฺสน สุวิสุทฺธ ความว่า การเห็นพระนิพพานเป็น

ทัสสนะที่บริสุทธิ์ด้วยดี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

บทว่า ตถา ตถา เฉเกหิ สปฺปุริเสหิ พฺยากต ความว่า

สัตบุรุษ (ผู้ฉลาดทูลหลาย) เหล่านั้น ได้บอกแล้วแก่เธอ โดยอาการนั้น ๆ

แล. .

อุปมาเหมือนหนึ่งว่า บุคคลเมื่อบอกว่า ทองกวาวดำ ก็จะไม่บอก

อย่างอื่น คงบอกทองกวาวนั่นแหละ ตามนัยที่ตนได้เห็นฉันใด แม้

พระขีณาสพผู้ได้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยอำนาจแห่งผัสสายตนะ ๖ ก็ฉัน

นั้นเหมือนกัน เมื่อจะตอนปัญหานี้ ก็ไม่บอกอย่างอื่น บอกนิพพาน

นั่นแหละ ที่เป็นทัสสนวิสุทธิ ตามมรรคที่ตนได้บรรลุ.

และบุคคลแม้เมื่อจะบอกว่า ทองกวาวแดง เกิดมานานแล้ว

ใบดกหนา จะไม่บอกอย่างอื่น. คงบอกดอกทองกวาวนั่นแหละ ตามนัยที่

ตนได้เห็นแล้ว ฉันใด พระขีณาสพผู้ได้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยสามารถ

แห่งอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ด้วยสามารถแห่งมหาภูตรูป ๔ หรือด้วยสามารถ

แห่งธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. เมื่อจะตอบปัญหานี้ ก็จะ

ไม่ตอบอย่างอื่น คงตอบนิพพานนั่นเอง ที่เป็นทัสสนวิสุทธิ์ ตามมรรค

ที่ตนได้บรรลุแล้ว.

บรรดาคนเหล่านั้น ผู้เห็นทองกวาว ในเวลาทองกวาวดำ การเห็น

นั้น เป็นเรื่องจริง เป็นของแท้ ไม่ใช่เขาเห็นอย่างอื่น เห็นทองกวาว

นั่นแหละฉันใด พระขีณาสพแม้ผู้ได้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยอำนาจแห่ง-

ผัสสายตนะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทัสสนะเป็นของจริง เป็นของแท้ ไม่ใช่

๑. ปาฐะว่า เตน เตน อากาเรน วา ฉบับพม่าเป็น เตน เตเนวากาเรน แปลตาม

ฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

ท่านบอกอย่างอื่น บอกพระนิพพานนั่นแหละ ที่เป็นทัสสนวิสุทธิ ตาม

มรรคที่ตนได้บรรลุแล้ว. อนึ่งแม้ผู้เห็นทองกวาว ในเวลามันมีสีแดงเกิด

มานาน มีใบดกหนา การเห็นนั้น ก็เป็นของจริง เป็นของแท้ไม่ใช่เห็น

อย่างอื่น เห็นทองกวาวนั่นแหละฉันใด พระขีณาสพแม้ผู้ได้บรรลุทัสสน-

วิสุทธิ ด้วยอำนาจอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ด้วยอำนาจมหาภูตรูป ๔ ( หรือ )

ด้วยอำนาจธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทัสสนะเป็นของจริง

เป็นของแท้ ท่านไม่ได้บอกสิ่งอื่น บอกนิพพานนั่นแหละ ที่เป็นทัสสน-

วิสุทธิ ตามมรรคที่ตนได้บรรลุ.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเริ่มคำนี้ไว้ว่า

เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ รญฺโ ปจฺจนฺติม นคร.

ตอบว่า เพราะถ้าภิกษุนั้น เข้าใจคำนั้นได้แล้ว ตอนนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จะได้เริ่มพระธรรมเทศนา ถ้าไม่เข้าใจ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงได้ทรงเริ่มเพื่อต้องการจะแสดง คือเพื่อต้องการขยายความนั้นแล แก่

ภิกษุนั้น ด้วยข้ออุปมา ด้วยนครนี้.

ในข้ออุปมานั้น เพราะเหตุที่นครในมัชฌิมประเทศสิ่งล้อมรอบ

ทั้งหลายมีกำแพงเป็นต้น มั่นคงบ้าง ไม่มั่นคงบ้างหรือว่าไม่มั่นคงโดย

ประการทั้งปวง ความหวาดระแวงโจรย่อมไม่มี. ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ปจฺจนฺติม นคร ดังนี้ โดยมิได้มุ่งหมายเอานครในมัชฌิม-

ประเทศนั้น.

๑. ปาฐะว่า อตฺถสฺส ฉบับพม่าเป็น อถลฺส แปลตามฉบับพม่า

๒. ปาฐะว่า ตสฺเสว วตฺถุสฺส ฉบับพม่าเป็น ตสฺเสวตฺถสฺส แปลตามฉบับพม่า.

๓. ปาฐะว่า มชิฌิมปเทเสน ฉบับพม่าเป็น มชฺฌิมปเทเส แปลตามฉบับพม่า.

๔. ปาฐะว่า โหนฺติ ฉบับพม่าเป็นโหนฺตุ แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

บทว่า ทฬฺห แปลว่า มั่นคง.

บทว่า ปาการโตรณ ได้แก่กำแพงที่มั่นคง และเสาค่ายที่มั่นคง.

อันธรรมดาว่า เสาค่ายสูง ๑ ช่วงคน เขาสร้างไว้เพื่อเป็นเครื่อง

ประดับนคร ทั้งเป็นสถานที่สำหรับป้องกันโจรได้เหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โตรณ นั่น เป็นชื่อของบานประตู หมาย

ความว่า มีบานประตูแข็งแรง.

บทว่า. ฉทฺวาร ความว่า ธรรมดาว่าประตูเมือง ย่อมมีประตูเดียว

บ้าง ๒ ประตูบ้าง ๑๐๐ ประตูบ้าง ๑๐๐๐ ประตูบ้าง. แต่ในที่นี้พระศาสดา

เมื่อจะทรงแสดงนครมี ๖ ประตู จึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า ปเณฺฑิโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้ฉลาด.

บทว่า พฺยตฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้เฉียบแหลม คือ

มีญาณอันผ่องใส.

บทว่า เมธาวี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญา กล่าวคือ ปัญญาสำหรับ

วินิจฉัยเหตุที่เกิดขึ้น.

พึงทำเนื้อความในคำว่า ปุรตฺถิมาย ทิสาย เป็นต้น ให้แจ่มแจ้ง

แล้วทราบความหมายอย่างนี้ ( ดังต่อไปนี้ ) เถิด.

ได้ยินว่า ในมหานครอันมั่งคั่ง พระราชาผู้ประกอบด้วยรตนะทั้ง

๗ ประการ ทรงครองจักรพรรดิราชสมบัติ ( แต่ว่า ) ปัจจันตนครนั่นของ

พระองค์ กลับขาดผู้ปฏิบัติราชการแทนพระองค์ ครานั้นราชบุรุษทั้งหลาย

๑.ปาฐะว่า ปีสงฺฆาตสฺเสต ฉบับพม่าเป็น ปิฏฺสงฺฆาตสฺเสต แปลตามฉบับพม่า

๒. ปาฐะว่า ตสฺเสต น ปจจนฺตนคร ราชายุตฺตวิรหิต ฉบับพม่าเป็น ตสฺเสต

ปจฺจนฺตนคร ราชายุตฺตวิรหิต แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ในนครของพวกข้าพระองค์ ไม่มีผู้ปฏิบัติ

ราชการแทนพระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดประทานผู้ปฏิบัติราชการแทน

พระองค์ ให้พวกข้าพระองค์ สักคนหนึ่งเถิด.

พระราชาพระราชทาน พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง แล้วตรัสว่า

ไปเถิด จงพาเอาราชบุตรนั่นไปอภิเษกไว้ในเมืองนั้น ให้รับตำแหน่งมี

ตำแหน่ง วินิจฉัยเป็นต้น แล้วอยู่เถิด. ราชบุรุษเหล่านั้น ได้ทำตาม

กระแสพระราชดำรัส.

เพราะคลุกคลีอยู่กับมิตรที่เลว ล่วงไปได้ ๒ - ๓ วัน ราชโอรสก็

กลายเป็นนักเลงสุรา ละเลยตำแหน่งทุกอย่างมีตำแหน่งวินิจฉัยเป็นต้น

อันเหล่านักเลงแวดล้อม ดื่มสุรา ปล่อยวันและคืนให้ล่วงไป ด้วยความ

สนุกสนานเพลิดเพลินกับการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น อยู่ท่ามกลางนคร.

ต่อมา ราชบุรุษทั้งหลาย ได้กราบทูลให้พระราชาทรงทราบ.

พระราชาทรงสั่งบังคับ อำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตคนหนึ่งว่า เจ้าจงไปตักเตือน

พระกุมารให้รับผิดชอบต่อตำแหน่งมีการวินิจฉัยคดีเป็นต้น อภิเษกใหม่

แล้วค่อยกลับมา.

อำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะตักเตือน

พระกุมารได้หรอก พระกุมารเป็นคนดุร้าย ( บางที ) จะพึงฆ่าข้าพระองค์

ก็ได้.

๑. ปาฐะว่า อมฺหาก เทวนคเร อายุตฺตโก เทหิ ฉบับพม่าเป็น อมฺหาก เทว นคเร

อายุตฺตโก นตฺถิ แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

ครานั้น พระราชาจึงสั่งบังคับนายทหารผู้สมบูรณ์ด้วยพลังคนหนึ่ง

ว่า เจ้าจงไปกับอำมาตย์นี้ ถ้าพระกุมารนั้นไม่ยอมอยู่ในโอวาท ก็จงตัด

ศีรษะเขาเสีย.

ด้วยพระบรมราชโองการนี้ ราชทูตด่วนทั้งคู่ คือ อำมาตย์และ

นายทหารผู้นั้น ก็พากันไปในเมืองนั้น แล้วถามนายทวารบาลว่า พ่อมหา

จำเริญ พระกุมารผู้ว่าการพระนครอยู่ที่ไหน. นายทวารบาลตอบว่า

( ขณะนี้ ) พระองค์อันเหล่านักเลงห้อมล้อม ประทับนั่งเสวยน้ำจัณฑ์

ทรงเกษมสำราญอยู่กับการขับร้องเป็นต้น อยู่ที่ทางสามแยกกลางนคร.

ทันใดนั้น ราชทูตทั้งคู่นั้น จึงเข้าไปเฝ้าแล้วทูลว่า มีพระบรม-

ราชโองการให้อมาตย์ยังเป็นใหญ่ ( รักษาการ ) ในเมืองนี้ไปก่อน ขอ-

พระองค์จงรับสั่งให้เขารับผิดชอบตำแหน่งวินิจฉัยเป็นต้น แล้วจงปกครอง

บ้านเมืองให้ดี.

พระกุมารประทับนั่ง เป็นเหมือนไม่ทรงได้ยิน. เมื่อเหตุการณ์

เป็นเช่นนี้ ทูตฝ่ายทหาร ก็จับพระเศียรของพระกุมารนั้น แล้วชัก-

พระขรรค์ออกพร้อมทั้งทูลว่า ถ้าพระองค์จะทำตามพระราชอาญาก็จงทำ

เสียเถิด หากไม่ทำ หม่อมฉันจักบั่นพระเศียร ( ของพระองค์) ให้หลุด

หล่นลงเสียในที่นี้แหละ. เหล่านักเลงผู้คอยบำรุงบำเรอก็หนีกระจัดกระจาย

ไปคนละทิศละทางในทันใดนั้นเอง. พระกุมารตกพระทัยกลัว ยอมรับ

พระราชสาสน์.

๑. ปาฐะว่า โยโธ วา ฉบับพม่าเป็นโยโธ จ (แปลตามฉบับพม่า)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

ครั้นแล้ว ราชทูตทั้งคู่นั้น ก็ทำการอภิเษก แก่พระกุมารนั้น

ในที่นั้นนั่นแล แล้วให้ยกเศวตฉัตรขึ้น มอบพระบรมราชโองการที่มี

พระดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมไว้ว่า เจ้าจงปกครองบ้านเมืองโดย

ชอบเถิด ดังนี้แล้ว เดินทางกลับไปตามทางที่มาแล้วนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงทำเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้ง จึงตรัส

คำว่า ปุรตฺถิมาย ทิสาย เป็นต้น.

ในสูตรนั้น มีข้ออุปมาเปรียบเทียบ ดังต่อไปนี้:-

ก็พระนครคือนิพพาน พึงเห็นเหมือนมหานครที่มั่งคั่ง. พระธรรม

ราชาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์รตนะ ๗ ประการ พึงเห็น

เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ประกอบด้วยรตนะ ๗ ประการ. นครคือ

กายของตน พึงเห็นเหมือนนครชายแดน. จิตตุปบาทที่โกงของภิกษุนี้

พึงเห็นเหมือนราชบุตรโกง ( ทรราช ) ในนครนั้น เวลาที่ภิกษุนี้พรั่ง

พร้อมด้วยนิวรณ์ ๕ พึงเห็นเหมือนเวลาที่ราชบุตร ( ทรราช ) อันเหล่า

นักเลงแวดล้อม. สมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน พึงเห็นเหมือน

ราชทูตเร็วทั้งคู่. เวลาที่จิตถูกสมาธิในปฐมฌานเกิดขึ้น ตรึงไว้มิให้

หวั่นไหว พึงเห็นเหมือนเวลาที่ราชบุตรทรราชถูกทหารใหญ่จับพระเศียร.

ภาวะที่เมื่อปฐมฌาน พอเกิดขึ้นแล้ว นิวรณ์ ๕ ก็อยู่ห่างไกล พึงเห็น

เหมือนภาวะที่เมื่อราชบุตรทรราช พอถูกทหารใหญ่จับพระเศียร เหล่า

นักเลงทั้งหลายก็หนีกระจัดกระจายไปไกลคนละทิศละทาง. เวลาที่ภิกษุนั้น

ออกจากฌาน พึงเห็นเหมือนเวลาที่ทหารใหญ่ พอราชบุตรทรราชรับรองว่า

จักทำตามพระบรมราชโองการ ก็ปล่อยพระราชกุมาร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

เวลาที่ภิกษุนั้นทำจิตให้ควรแก่การงาน ด้วยสมาธิแล้ว เจริญ-

วิปัสสนากัมมัฏฐาน พึงเห็นเหมือนเวลาที่อำมาตย์ทูลให้ทราบกระแส

พระบรมราชโองการ ( แก่ราชบุตร )

การที่ภิกษุผู้อาศัยสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน แล้ว

สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ยกเศวตฉัตรคือวิมุตติขึ้น พึงทราบเหมือนการที่

ราชบุตรนั้น อันราชทูตทั้งคู่นั้นทำการอภิเษก แล้วยกเศวตฉัตรขึ้นถวาย

ในเมืองนั้นนั่นแล.

ส่วนเนื้อความของบททั้งหลาย มีอาทิว่า จาตุมฺมหาภูติกสฺส ใน

คำมีอาทิว่า นครนฺติ โข ภิกฺขุ อิมสฺเสต จาตุมฺมหาภูติกสฺส กายสฺส

อธิวจน ได้อธิบายไว้อย่างพิสดารแล้วในตอนต้น.

ก็ในสูตรนี้ กายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า นคร เพราะเป็น

ที่ประทับอยู่ของราชบุตร คือวิญญาณอย่างเดียว.

อายตนะ ๖ ตรัสเรียกว่า ทวาร เพราะเป็นประตู ( ทางออก )

ของราชบุตร คือ วิญญาณนั้น นั่นแล.

สติ ตรัสเรียกว่า นายทวารบาล ( คนเฝ้าประตู ) เพราะเฝ้า

ประจำอยู่ ในทวารทั้ง ๖ นั้น.

ในบทนี้ว่า สมถะ และ วิปัสสนา เป็น ราชทูตด่วน สมถะพึง

ทราบว่า เหมือนทหารใหญ่ วิปัสสนา พึงทราบว่าเหมือนอำมาตย์ ผู้

ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต เพราะถูกพระธรรมราชา ผู้ตรัสบอก

กัมมัฏฐาน ทรงส่งไปแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

บทว่า มชฺเฌ สึฆาฏโก ความว่า ทางสามแยกกลางนคร.

บทว่า มหาภูตาน ได้แก่ มหาภูตรูปอันเป็นที่อาศัยของหทยวัตถุ

อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศัพท์ว่า มหาภูตรูป ๔ ไว้ก็เพื่อแสดง

( นิสสย ) ปัจจัยของวัตถุรูปนั่นเอง.

พระราชบุตร คือ วิปัสสนาจิต ประทับนั่งอยู่ที่ทางสามแยกคือหทย

รูป ในท่ามกลาง ( นครคือ ) กาย อันเหล่าราชทูต คือสมถะและวิปัสสนา

พึงอภิเษกต้องการอภิเษกเป็นพระอรหันต์ พึงเห็นเหมือนพระราชกุมารนั้น

( ประทับนั่ง ) อยู่กลางนคร.

ส่วนพระนิพพานตรัสเรียกว่า ยถาภูตพจน์ เพราะขยายสภาพ

ตามเป็นจริง มิได้หวั่นไหว.

ก็อริยมรรค ตรัสเรียกว่า ยถาคตมรรค เพราะอธิบายว่าวิปัสสนา

มรรคแม้นี้ ก็เป็นเช่นกับวิปัสสนามรรค อันเป็นส่วนเบื้องต้นนั่นเอง

เพราะประกอบดีแล้ว ด้วยองค์ ๘.

ข้อเปรียบเทียบ ( ดังจะกล่าวต่อไปนี้ ) เป็นข้อเปรียบเทียบ ในฝ่าย

ที่นำมา เพื่อทำความนั้นเองให้ปรากฏชัด.

อธิบายว่า ในสูตรนี้ อุปมาด้วยทวาร ๖ ( พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ยก ) มาเพื่อแสดงถึงพระขีณาสพ ผู้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยอำนาจผัส-

สายตนะ ๖.

อุปมาด้วยเจ้านคร ( พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยก ) มาเพื่อแสดงถึง

พระขีณาสพ ผู้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยอำนาจเบญจขันธ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

อุปมาด้วยทางสามแยก ( พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยก ) มาเพื่อแสดง

ถึงพระขีณาสพ ผู้บรรลุทัสสนวิสุทธิ ด้วยอำนาจเตภูมิกธรรม.

แต่ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสัจจะทั้ง ๔ นั่นแหละไว้

โดยย่อ.

แท้จริง ทุกขสัจนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วด้วยองค์

ประกอบของเมืองทั้งหมด. นิโรธสัจ ตรัสไว้แล้วด้วยยถาภูตวจนะ มัคคสัจ

ตรัสไว้แล้วด้วยถาคตมรรค. ส่วนตัณหาที่เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด คือ

สมุทยสัจ.

ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ภิกษุผู้ถามปัญหา ได้ดำรงอยู่ใน

โสดาปัตติผลแล.

จบ อรรถกถากิงสุกลสูตรที่ ๘

๙. วีณาสูตร

ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเปรียบด้วยพิณ

[๓๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความ

ขัดเคือง ความหลง หรือแม้ความคับแค้นใจในรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วย

จักษุ พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุหรือแก่ภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณี

พึงห้ามจิตเสียจากรูปอันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ด้วยมนสิการว่า หน-

ทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็น

ทางอันบัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไปลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

ดำเนินไป ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนินไป ท่านไม่ควรดำเนินทางนั้น ภิกษุ

หรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากรูปอันบุคุคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุนั้น ฯลฯ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความกำหนัด ความขัดเคือง ความหลง หรือ

แม้ความคับแค้นใจในธรรมารมณ์อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจ พึงบังเกิดขึ้น

แก่ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจาก

ธรรมารมณ์นั้น ด้วยมนสิการว่า หนทางนั้นมีภัย มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า

มีหนาม มีรกชัฏ เป็นทางผิด เป็นทางอันบัณฑิตเกลียด และเป็นทางที่ไป

ลำบาก เป็นทางอันอสัตบุรุษดำเนินไป ไม่ใช่ทางที่สัตบุรุษดำเนินไป เธอ

ย่อมไม่ควรดำเนินทางนั้น ภิกษุหรือภิกษุณีพึงห้ามจิตเสียจากธรรมารมณ์

อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยใจนั้น.

[๓๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้าถึงสมบูรณ์ แต่เจ้าของ

ผู้รักษาข้าวกล้าเป็นผู้ประมาท และโคกินข้าวกล้าลงสู่ข้าวกล้าโน้น พึงถึง

ความเมา ความประมาทตามต้องการ แม้ฉันใด ปุถุชนผู้ไม่สดับแล้ว

ไม่ทำความสำรวมในผัสสายตนะ ๖ ย่อมถึงความเมา ความประมาท

ในกามคุณ ๕ ตามความต้องการฉันนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้า

สมบูรณ์แล้ว เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าเป็นผู้ไม่ประมาท และโคกินข้าวกล้า

พึงลงสู่ข้าวกล้าโน้น เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้า พึงจับโคนั้นสนพาย แล้ว

ผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขาทั้งสอง ครั้นแล้วพึงตีกระหน่ำด้วยตะพดแล้วจึง

ปล่อยไป โคตัวกินข้าวกล้าพึงลงสู่ข้าวกล้าโน้น แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓

เจ้าของผู้รักษาข้าวกล้าพึงจับโคสนสะพายแล้วผูกรวมไว้ที่ระหว่างเขาทั้ง ๒

ครั้นแล้วจึงตีกระหน่ำด้วยตะพด แล้วจึงปล่อยไป โคกินข้าวกล้านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

อยู่ในบ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี พึงเป็นสัตว์ยืนมากหรือนอนมาก ไม่พึงลงสู่

ข้าวกล้านั้นอีก พลางระลึกถึงการถูกตีด้วยไม้ครั้งก่อนนั้นนั่นแหละ ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คราใด จิตอันภิกษุข่มขู่แล้ว ข่มไว้ดีแล้ว ในผัส-

สายตนะ ๖ คราวนั้น จิตย่อมดำรงอยู่ สงบนิ่งในภายใน มีธรรมเอกผุดขึ้น

ย่อมตั้งมั่น ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๓๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์

ยังไม่เคยได้ฟังเสียงพิณ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์ ฟังเสียงพิณแล้ว

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านผู้เจริญ นั่นเสียงอะไรหนอ น่าชอบใจ น่าใคร่

น่ามัวเมา น่าหมกมุ่น น่าพัวพันอย่างนี้ บุรุษนั้นกราบทูลว่า ขอเดชะ

เสียงนั้นเป็นเสียงพิณ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์พึงกล่าวว่า แน่ะท่าน

ผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงไปนำพิณนั้นมาให้เรา ราชบุรุษทั้งหลายพึงนำพิณ

มาถวาย พึงกราบทูลว่า นี่คือพิณนั้น พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์

นั้นพึงกล่าวว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ฉันไม่ต้องการพิณนั้น ท่านทั้งหลาย

จงนำเสียงพิณนั้นมาให้แก่เราเถิด ราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ขึ้นชื่อว่า

พิณนี้มีเครื่องประกอบหลายอย่าง มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดี

แล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง คือธรรมดาว่าพิณนี้ อาศัยกระพอง

อาศัยราง อาศัยลูกบิด อาศัยนม อาศัยสาย อาศัยคันชัก และอาศัย

ความพยายามของบุรุษซึ่งสมควรแก่พิณนั้น มีเครื่องประกอบหลายอย่าง

มีเครื่องประกอบมาก นายช่างประกอบดีแล้วด้วยเครื่องประกอบหลายอย่าง

จึงจะส่งเสียงได้ พระราชาหรือราชมหาอำมาตย์ทรงผ่าพิณนั้น ๑๐ เสี่ยง

หรือ ๑๐๐ เสี่ยง แล้วกระทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วพึงเผาไฟแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

พึงกระทำให้เป็นเขม่า โปรยไปด้วยลมแรง หรือพึงลอยไปเสียในแม่น้ำ

มีกระแสอันเชี่ยว ท้าวเธอตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ชื่อว่าพิณนี้

ไม่ได้สติ สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะเลวทรามกว่าพิณนี้ไม่มี เพราะพิณนี้ คนต้อง

มัวเมา ประมาทหลงใหลจนเกินขอบเขต ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมแสวงหาคติแห่งรูป คติแห่งเวทนา...สัญญา ...

สังขารทั้งหลาย... วิญญาณเท่าที่มีอยู่ เมื่อเธอแสวงหาคติแห่งรูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณเท่าที่มีอยู่ ความยึดถือโดยคติของภิกษุนั้นว่าเรา

หรือว่าของเรา หรือว่าเป็นเรา แม้นั้นก็ไม่มีแก่เธอ

จบ วีณาสูตรที่ ๙

อรรถกถาวีณาสูตรที่ ๙

ในวีโณปมสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระศาสดาทรงเริ่มคำว่า ยสฺส กสฺสจิ ภิกฺขเว ภิกฺขุสฺส วา

ภิกฺขุนิยา วา ดังนี้ไว้ เพื่อแสดงว่า เปรียบเหมือนว่า มหากุฏุมพี

ทำกสิกรรมมาก เสร็จนาได้ข้าวกล้าแล้ว สร้างปะรำไว้ที่ประตูเรือน เริ่ม

ถวายทานแด่สงฆ์ทั้งหลาย. ถึงแม้เขาจะตั้งใจถวายแด่พระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย

( เท่านั้น ) ก็จริง ถึงกระนั้น เมื่อบริษัททั้งสองฝ่าย อิ่มหนำสำราญแล้ว

แม้ชนที่เหลือก็พลอยอิ่มหนำสำราญไปด้วยฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงบำเพ็ญบารมีมา ๔ อสงไขยเศษ ทรงบรรลุพระ-

สัพพัญญุตญาณ ที่ควงโพธิพฤกษ์ ทรงแสดงธรรมจักรอันประเสริฐ

๑. ปาฐะว่า ปติฏฺาปิต ฉบับพม่าเป็น ปฏฺิต แปลตามฉบับพม่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

ประทับนั่งที่พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อประทานธรรมบูชา แก่ภิกษุบริษัท

และภิกษุณีบริษัท จึงทรงปรารภวีโณปมสูตร. ก็วีโณปมสูตรนี้นั้น ถึงจะ

ทรงปรารภหมายเอาบริษัททั้งสอง ( เท่านั้น ) ก็จริง ถึงกระนั้น ก็มิได้

ทรงห้ามบริษัทที่ ๔. เพราะฉะนั้น แม้บริษัททั้งมวล ก็ควรฟังได้ ทั้งมี

ศรัทธาได้ด้วย ทั้งบำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว ก็จะได้ดื่มอรรถ แห่พระ-

ธรรมเทศนานั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ฉนฺโท เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้ .

ตัณหาที่มีกำลังอ่อนแรกเกิด ชื่อว่า ฉันทะ ฉันทะนั้นไม่สามารถ

เพื่อให้กำหนัดได้. แต่ตัณหาที่มีกำลัง เมื่อเกิดขึ้นบ่อย ๆ จึงชื่อว่า ราคะ

ราคะนั้นสามารถทำให้กำหนัดยินดีได้. ความโกรธที่มีกำลังน้อย แรกเกิด

ไม่สามารถเพื่อจะถือท่อนไม้เป็นต้นได้ ชื่อว่าโทสะ. ส่วนความโกรธที่มี

กำลังมาก เกิดขึ้นติดต่อกันมา สามารถจะทำการเหล่านั้นได้ ชื่อว่า ปฏิฆะ.

ส่วนความไม่รู้ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งความหลงและความงมงาย ชื่อว่า

โมหะ. เมื่อเป็นเช่นนั้น ในสูตรนี้ เป็นอันท่านสงเคราะห์อกุศลมูล ๓

ไว้ด้วยบทที่ ๕. เมื่อถือเอาอกุศลมูลเหล่านั้นแล้ว กิเลสที่มีอกุศลธรร่ม

เหล่านั้นเป็นมูล ก็เป็นอันทรงหมายเอาแล้วแล.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบททั้ง ๒ ว่า ฉนฺโท ราโค นี้ เป็นอันทรง

หมายเอา จิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภจิต ๘ ดวง.

๑. ปาฐะว่า ปริโยคาหิตฺวา ปสฺส ฉบับพม่าเป็น ปริโยคาหิตฺวา จสฺส แปลตาม

ฉบับพม่า.

๒. ปาฐะว่า สมตฺโถ ฉบับพม่าเป็น อสมตฺโถ แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

ด้วยบททั้ง ๒ ว่า โทโส ปฏิฆ เป็นอันทรงหมายเอาจิตตุปบาท

ที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง.

ด้วยบทว่า โมหะ เป็นอันทรงหมายเอาจิตตุปบาทที่สหรคตด้วย

อุทธัจจะและวิจิกิจฉา สองดวง ปราศจาก โลภะ และโทสะ. สรุปแล้วเป็น

อันทรงแสดงจิตตุปบาท ( ฝ่ายอกุศล ) ๑๒ ดวง ทั้งหมดไว้แล้ว.

บทว่า สภโย ความว่า มีภัย เพราะเป็นสถานที่อยู่อาศัยของ

พวกโจรคือกิเลส.

บทว่า สปฺปฏิกโย ความว่า มีภัยเฉพาะหน้า เพราะเป็นเหตุ

แห่งการฆ่า และการจองจำเป็นต้น.

บทว่า สกณฺฏโก ความว่า มีหนาม เพราะมีหนามมีราคะ เป็นต้น

บทว่า อุมฺมคฺโค ความว่า ไม่ใช่ทางสำหรับผู้จะดำเนินไปสู่เทวโลก

มนุสสโลก หรือพระนิพพาน.

บทว่า กุมฺมคฺโค ความว่า ชื่อว่าทางชั่ว เพราะเป็นทางให้ถึงอบาย

เหมือนทางเท้าที่ทอดไปสู่สถานที่ซึ่งน่ารังเกียจ สะอิดสะเอียน.

บทว่า ทุหิติโก มีอรรถวิเคราะห์ว่า ชื่อว่า อิริยนา เพราะเป็น

ที่ดำเนินไป. ทางชื่อว่า ทุหิติโก เพราะเป็นที่ไปลำบาก.

เพราะว่าทางใด ไม่มีของขบเคี้ยว มีมูลผลาหารเป็นต้น หรือของ

ลิ้ม ทางนั้นมีการไปลำบาก. คนเดินไปทางนั้นแล้ว ไม่สามารถจะถึงที่

มุ่งหมายได้ (ฉันใด) คนดำเนินไปแม้สู่ทางคือกิเลส ก็ไม่อาจถึงสัมปัตติภพ

๑. โมหมานโทสรหิตา ฉบับพม่า โมหปเทน โลภโทสรหิตา แปลตามฉบับพม่า

๒. ปาฐะว่า ราคาทีหิ กณฺฏโก ฉบับพม่าเป็ฯ ราคาทีหิ กณฺฏเกหิ แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

ได้ ( ฉันนั้น ) เพราะฉะนั้น ทางคือกิเลสพระองค์จึงตรัสว่า ทุหิติโก

(เป็นทางที่ไปลำบาก). ปาฐะว่า ทฺวีหิติโก ก็มี. ความหมายก็แนวเดียว

กันนั่นแหละ.

บทว่า อสปฺปุริสเสวิโต ความว่า เป็นทางที่อสัตบุรุษ มีพระ-

โกกาลิกะเป็นต้น เดินไปแล้ว.

บทว่า ตโต จิตฺต นิวารเย ความว่า พึงห้ามจิตนั้นที่เป็นไป

แล้วด้วยอำนาจแห่งฉันทะเป็นต้น จากรูปเหล่านั้น ที่จะพึงรู้แจ้งได้ทาง

จักษุ ด้วยอุบาย มีการระลึกถึงอสุภารมณ์เป็นต้น อธิบายว่า เมื่อความ

กำหนัดในเพราะอิฏฐารมณ์ เกิดขึ้นในจักษุทวาร จิตของผู้ระลึกถึง (มัน)

โดยความเป็นอสุภะ จะหมุนกลับ. เมื่อความขัดเคืองในเพราะอนิฏฐารมณ์

เกิดขึ้น จิตของผู้ระลึกถึงมัน โดยเมตตา จะหมุนกลับ. เมื่อความหลง

ในเพราะมัชฌัตตารมณ์เกิดขึ้น จิตของผู้ระลึกถึงการสอบถามอุทเทส

การอยู่กับครู จะหมุนกลับ. แต่บุคคลเมื่อไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ ควร

ระลึกถึง ความที่พระศาสดาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ความที่พระธรรมเป็นสวาก-

ขาตธรรม และความปฏิบัติชอบของพระสงฆ์. เพราะว่าเมื่อภิกษุพิจารณา

ความที่พระศาสดาเป็นผู้ยิ่งใหญ่ก็ดี ความที่พระธรรมเป็นสวากขาตธรรม

ก็ดี พิจารณาการูปฏิบัติชอบของพระสงฆ์ก็ดี จิตจะหมุนกลับ. ด้วยเหตุนั้น

จึงได้กล่าวไว้ว่า อสุภาวชฺชนาทีหิ อุปาเยหิ นิวารเย.

บทว่า กิฏฺ ได้แก่หัวคล้าที่เกิดขึ้นในที่ ๆ แออัด. บทว่า สมฺปนฺน

ได้แก่บริบูรณ์แล้ว คืองอกงามดีแล้ว. บทว่า กิฏฺาโต ได้แก่เคี้ยวกิน

ข้าวกล้า.

๑. ปาฐะว่า สุปฏิปตฺติ ฉบับพม่าเป็น สุปฏิปตฺติ แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

ในบทว่า เอวเมว โข นี้ พึงเห็นเบญจกามคุณเหมือนข้าวกล้า

ที่สมบูรณ์แล้ว. จิตโกง พึงเห็นเหมือนโคที่กินข้าวกล้าในที่แออัด เวลา

ที่ภิกษุละทั้งสติ ( ปล่อยใจ ) เที่ยวไปในทวารทั้ง ๖ เหมือนกับในเวลาที่

ผู้เฝ้าข้าวกล้าประมาทฉะนั้น. ภาวะที่ภิกษุไม่ได้บรรลุสามัญญผล เพราะ

ธรรมฝ่ายกุศลเสื่อมไป ในเมื่อจิตอาศัยการอยู่ปราศจากสติ มีหน้าที่รักษา

ทวาร ๖ ชอบใจเบญจกามคุณ พึงทราบว่าเหมือนเจ้าของข้าวกล้าไม่ได้

รับผลแห่งข้าวกล้า เพราะข้าวกล้าที่กำลังท้อง ถูกโคกิน โดยอาศัยความ

ประมาทของผู้รักษาข้าวกล้า ฉะนั้น.

บทว่า อุปริฆฏาย ได้แก่ในระหว่างเขาทั้งสอง. บทว่า สุนิคฺคหิต

นิคฺคณฺเหยฺย ความว่า จับให้มั่นที่เชือกสนสะพายที่พาดอยู่เหนือเขา

บทว่า ทณฺเฑน ความว่า ด้วยตะพด มีลักษณะคล้ายค้อน

บทว่า เอว หิ โส ภิกฺขเว โคโณ ความว่า โคนั้นอาศัย.

ความเผลอของคนเฝ้าข้าวกล้าอย่างนี้แล้ว ในขณะที่อยากจะกินข้าวกล้า

จะถูกเจ้าของปราบให้หมดพยศ โดยการกำหราบ ตี แล้วปล่อยไปอย่างนี้.

บทว่า เอวเมว โข ความว่า แม้ในพระสูตรนี้ กามคุณทั้ง ๕

พึงเห็นเป็นเหมือนข้าวกล้าที่สมบูรณ์. จิตโกง พึ่งเห็นเป็นเหมือนโคที่

ชอบกินข้าวกล้า. การไม่ปล่อยสติไปในทวารทั้ง ๖ ของภิกษุนี้ พึงเห็น

เป็นเหมือนความไม่เผลอ ของผู้เฝ้าข้าวกล้า. พระสูตรเปรียบเหมือนไม้

๑. ปาฐะว่า ฆาตาน ฉบับพม่าเป็น ฆฏาย แปลตามฉบับพม่า.

๒. ปาฐะว่า อิทานิป ฉบับพม่าเป็น อิธาปิ แปลตามฉบับพม่า.

๓. ปาฐะว่า สุตฺตโต ฉบับพม่าเป็น สุตฺตนฺโต แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

ตะพด. การระลึกถึงพระสูตรนั้น ๆ ในบรรดาพระสูตรทั้งหลายมี อนมตคฺ-

คิยสูตร เทวทูตสูตร อาทิตตสูตร อาสีวิสูปมสูตร อนาคตภยสูตร เป็นต้น

ในเวลาที่จิตมุ่งหน้าสู่อารมณ์หยาบในภายนอก แล้วหักห้ามจิตตุปบาทไว้

จากอารมณ์ที่หยาบ แล้วหยั่งลงในมูลกัมมัฏฐาน พึงทราบว่า เป็นเหมือน

การตีโคด้วยไม้ตะพด ในเวลาที่มันบ่ายหน้าลงสู่ข้าวกล้า.

ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงได้กล่าวไว้ว่า :-

เพราะได้ฟังพระสูตรที่ตรัสดีแล้ว ใจจึงผ่อง

สงบ และจิตนั้นจะประสบปีติและสุข ในเวลานั้น

ใจของเธอจะดำรงอยู่ในอารมณ์ (แห่งกัมมัฏฐาน)

เหมือนโคที่กินข้าวกล้า ถูกหวดด้วยตะพดฉะนั้น.

บทว่า อุทุชิต แปลว่า จิตอันภิกษุข่มแล้ว. บทว่า สุทุชิต

แปลว่า กายเป็นจิตอันภิกษุข่มไว้ดีแล้ว. อธิบายว่า อันเธอชนะแล้วด้วย

ดีบ้าง. บทว่า อุทุ สุทุ นี้เป็นเพียงนิบาตท่านนั้น. บทว่า อชฺฌตฺต

แปลว่า มีอารมณ์เป็นภายใน. ในบทว่า สนฺติฏฺติ เป็นต้น มีอธิบายว่า

สงบอยู่ด้วยอำนาจแห่งปฐมฌาน สงบนิง ด้วยอำนาจแห่งทุติยฌาน เป็นจิต

มีธรรมอย่างเอกผุดขึ้น ด้วยอำนาจแห่งตติยฌาน ตั้งมั่นด้วยอำนาจแห่ง

๑. ปาฐะว่า ปุถุตฺตารมมณาภิมุขกาโล. อมนตคฆิย...ฉบับพม่าเป็น ปุถุตารมฺมณา

ภิมุขกาเล อนมตคฺคิย...แปลตามฉบับพม่า.

๒. ปาฐะว่า กิฏฺาภิมุขกาโล. ทณฺเฑน ฉบับพม่าเป็น กิฏาภิมุขกาเล ทณฺเฑน

แปลตามฉบับพม่า

๓. ปาฐะว่า อุรุ สุรุติ ฉบับพม่าเป็น อุทุ สุทุ และตรงตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

จตุตถฌาน อีกอย่างหนึ่งคำทั้งหมดนี้ พึงทราบด้วยอำนาจปฐมฌาน. จริง

อยู่ ธรรมดาอินทริยสังวรสีล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เป็นการ

อนุรักษ์สมถะ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

บทว่า รญฺโ วา หมายถึงเจ้าเมืองชายแดนลางองค์นั้นเอง.

บทว่า สทฺท สุเณยฺย ความว่า ตื่นบรรทมในเวลาเช้า พึงได้

สดับเสียงพิณอันไพเราะ ที่นักพิณผู้ชำนาญดีดอยู่.

ในบทว่า รชนีโย เป็นต้น มีอธิบายว่า ชื่อว่า รชนีโย เพราะ

ให้จิตยินดี. ชื่อว่า กมนีโย เพราะชอบให้ใคร่. ชื่อว่า มทนีโย เพราะ

( ทำให้ ) จิตมัวเมา ชื่อว่า มุจฺฉนีโย เพราะหลงโดยเป็นเหมือนทำจิตให้

ลุ่มหลง. ชื่อว่า พนฺธนีโย เพราะผูกพันไว้โดยยืดถือเหมือนผูกมัดไว้.

บทว่า อล เม โภ ความว่า เมื่อเห็นสัณฐานของพิณแล้วไม่

ปรารถนา จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า อุปธารเณ ได้แก่ ลูกบิด ( สำหรับขึ้นสาย ).

บทว่า โกณ ได้แก่ ไม้แก่น ๔ เหลี่ยม.

บทว่า โส ต วีณ ความว่า พระราชานั้น รับสั่งว่า ท่านทั้งหลาย

จงนำพิณนั้นมา เราจะดูเสียงของมัน แล้วทรงจับพิณนั้น.

ในบทว่า ทสธา วา เป็นต้น มีอธิบายว่า พึงผ่าออกเป็น ๑๐ เสี่ยง

ก่อน. ครั้นพระองค์ไม่เห็นเสียงของมัน จึงทรงผ่าออกเป็น ๑๐๐ เสี่ยง

เมื่อไม่ทรงเห็นอย่างนั้น จึงทรงสับเป็นชิ้น ๆ เมื่อไม่ทรงเห็นอย่างนั้น

๑. ปาฐะ สตฺตธา แต่ในบาลี และฉบับพม่าเป็น สตธา จึงแปลตามนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

จึงทรงพระดำริว่า จักเผาชิ้นเล็กชิ้นน้อย ส่วนเสียงจะหนีออกไป คราวนั้น

เราจักเห็นมัน ดังนี้แล้ว จึงใช้ไฟเผา เมื่อไม่ทรงเห็นอย่างนั้น จึงทรง

พระดำริว่า ละอองเขม่าที่เบา ๆ จักปลิวไปตามลม ส่วนเสียงจักออกไป

ตกลงใกล้เท้าเหมือนข้าวสารข้าวเปลือก. เมื่อนั้น เราจักเห็นมัน แล้วทรง

โปรยไปที่ลมแรง ๆ. แม้อย่างนั้นก็ไม่ทรงเห็น จึงทรงพระดำริว่า ละออง

เขม่าจักลอยไปตามน้ำ ส่วนเสียงจักข้ามออกไป เหมือนคน (ข้าม) ไปสู่ฝั่ง

เมื่อนั้นเราจักเห็นมัน จึงทรงลอยมันไป ตามแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว.

บทว่า เอว วเทยฺย ความว่า พระราชาเมื่อไม่ทรงเห็นด้วยอุบายวิธี

เหล่านี้ แม้ทุกอย่าง จึงตรัสกับคนเหล่านั้นอย่างนี้.

บทว่า อสติ กิราย ความว่า ได้ยิน พิณนี้ไม่ได้สติ. อธิบายว่า

เป็นพิณชั้นเลว. บทว่า อสติ นี้ เป็นคำเรียกถึงสิ่งที่ลามก.

สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

อสา โลกิตฺถิโย นาม เวลา ตาส น วิชฺชติ

สารตฺตา จ ปคพฺภา จ สิขี สพฺพฆโส ยถา

ขึ้นชื่อว่าหญิงประโลมโลก ลามก ทั้งร่าน ทั้งคะนอง ไม่มีขอบเขต

เหมือนไฟที่กินไม่เลือกฉะนั้น.

บทว่า ยเถว ยงฺกิญฺจิ วีณา นาม มีอธิบายว่า ไม่ใช่พิณ

อย่างเดียวเท่านั้นที่เลว ถึงสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีทุกชนิดก็เลวเหมือน

พิณนั่นแหละ.

๑. ปาฐะว่า จาร คจฺฉนฺโต ปุริโส วิย นิกฺขมิตฺวา ปติสฺสติ ฉบับพม่าเป็น ปาร

คจฺฉนฺโต ปุริโส วิย นิกฺขมิตฺวา ตริสฺสติ แปลตามฉบับพม่า

๒. ปาฐะว่า อสฺสา ฉบับพม่าเป็น อสา แปลตามฉบับพม่า

๓. ปาฐะว่า สพฺพโส ฉบับพม่าเป็น สพฺพฆโส แปลตามฉบับพม่า

๔. ปาฐะว่า ยเถว ปน อย วีณาเยว ลามิกา ยเถวสฺส อย วีณา นาม. เอว

ยงฺกิญฺจิ อญฺมปิ ตนฺติพทฺธ สพพ ลามกเมวาติ อตฺโถ. ฉบับพม่าเป็น

ยเถ ปน อย วีณา นาม. เอว ยงฺกิญฺจิ อญฺมฺปิ ตนฺติพทฺธ สพฺพ ต

ลามกเมวาติ อตฺโถ แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า เอวเมว โข นี้ ดังต่อไปนี้ :-

เบญจขันธ์ พึงทราบว่า เหมือนพิณ. พระโยคาวจรพึงทราบว่า เหมือน

พระราชา พระราชานั้น จำเดิมแต่ทรงผ่าพิณนั้นออก เป็น ๑๐ เสี่ยง

แล้วทรงใคร่ครวญดู ก็ไม่ทรงเห็นเสียง จึงไม่มีประสงค์พิณฉันใด พระ-

โยคาวจร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาเบญจขันธ์ ไม่เห็นอะไรที่จะ

พึงถือเอาว่าเรา หรือของเรา ก็ไม่มีความประสงค์ด้วยขันธ์. ด้วยเหตุนั้น

เมื่อจะทรงแสดงการพิจารณาขันธ์นั้นแก่ภิกษุนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า รูป

สมนฺเนสติ ยาวตา รูปสฺส คติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมนฺเนสติ ได้แก่ ปริเยสติ ( แปลว่า

แสวงหา ).

บทว่า ยาวตา รูปสฺส คติ ความว่า คติของรูปมีประมาณเท่าใด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คติ ได้แก่คติ ๕ อย่าง คือ คติคติ ๑

สัญชาติคติ ๑ สลักขณคติ ๑ วิภวคติ ๑ เภทคติ๑.

บรรดาคติทั้ง ๕ นั้น ขึ้นชื่อว่า รูปนี้ จะท่องเที่ยวหมุนเวียนไป

ในระหว่างนี้ เบื้องต่ำ จดอเวจีนรก เบื้องบน จดพรหมโลกชั้นอกนิษฐ์

การท่องเที่ยวหมุนเวียนไปนี้ ชื่อว่า คติคติ ของรูปนั้น.

อนึ่งกายนี้ ไม่ใช่เกิดที่กลีบบัวหลวงเลย ไม่ใช่เกิดที่กลีบบัวเขียว

และดอกบัวขาบเป็นต้น แต่เกิดที่ระหว่างท่ออาหารใหม่ และท่ออาหารเก่า

คือในโอกาสที่มืดมนเหลือหลาย ที่เป็นที่ท่องเที่ยวไปในป่าที่มีกลิ่นเหม็น

น่าเกลียดอย่างยิ่ง เหมือนหนอนที่เกิดในปลาเน่า เป็นต้น นี้ชื่อว่า

สญฺชาติคติ ของรูป.

๑. ปาฐะว่า พหุวิธา ฉบับพม่าเป็น ปญฺจวิธา แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

ก็ลักษณะของรูป มีสองอย่าง คือ ปัจจัตตลักษณะ กล่าวคือ การ

ย่อยยับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ารูป

เพราะอรรถว่า ย่อยยับไป ๑ สามัญญลักษณะ คือความไม่เทียงเป็นต้น ๑

นี้ชื่อว่า สลักขณคติ ของรูปนั้น.

ความไม่มีแห่งรูป ท่านกล่าวไว้อย่างนั้น :-

ป่าใหญ่ เป็นคติของเนื้อทั้งหลาย

อากาศเป็นคติ ของปักษีทั้งหลาย

วิภพ ( สภาวะที่ปราศจากภพ ) เป็นคติของธรรมทั้งหลาย.

พระนิพพาน เป็นคติของพระอรหันต์

ชื่อว่า วิภวคติ. ก็ความแตกต่างแห่งรูปนั้น นี้ชื่อว่า เภทคติ. แม้ใน

เวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. แท้จริง ในที่นี้ พึงทราบคติว่าเป็นที่

เกิดแห่งรูปเหล่านั้น ( ว่าเกิดใน ) เบื้องบน จนถึงภวัคคพรหมอย่างเดียว.

แต่ในสลักขณคติ พึงทราบลักษณะเฉพาะอย่าง ด้วยสามารถ แห่งการ

เสวย การจำได้ การปรุงแต่ง และการรู้แจ้ง.

บทว่า ตมฺปิ ตสฺส น โหติ ความว่า แม้การยึดถือ ๓ อย่าง

ในรูปารมณ์เป็นต้น ด้วยอำนาจ ทิฏฐิ ตัณหา และ มานะ ที่ท่าน

แสดงไว้อย่างนี้ว่า เรา ว่า ของเรา หรือว่า เราเป็นนั้น ก็ไม่มีแก่

พระขีณาสพนั้น รวมความว่า พระสูตรชื่อว่าเป็นไปตามลำดับ. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ ในมหาอัฏฐกถาว่า

๑. ปาฐะว่า โสมมนสฺส ฉบับพม่าเป็น โส ปนสฺส แปลตามฉบับพม่า

๒. ปาฐะว่า สลกฺขณคติ อยญฺจ ฉบับพม่าเป็น สลกฺขณคติย จ แปลตามฉบับพม่า

๓. ปาฐะว่า ทิฏฺิตณฺหามาน คาหตฺตยต ขีณาสวสฺส ฉบับพม่าเป็น ทิฏฺิตณฺหา-

มานคฺคาหตฺตย ตมฺปิ ตสฺส แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

ศีลท่านกล่าวไว้ในเบื้องต้น สมาธิ และภาวนา

ท่านกล่าวไว้แล้ว ในท่ามกลาง และนิพพาน

กล่าวไว้ในที่สุด ข้ออุปมาด้วยพิณนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้แล้ว ดังนี้.

จบ อรรถกถาวีณาสูตรที่ ๙

๑๐. ฉัปปาณสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นเสี้ยนหนามของชาวบ้าน

[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีตัวเป็นแผล มีตัวเป็นพุพอง

พึงเข้าไปสู่ป่าหญ้าคา ถ้าแม้หน่อหญ้าคาพึงตำเท้าของบุรุษนั้น ใบหญ้าคา

พึงบาดตัวที่พุพอง บุรุษนั้นพึงเสวยทุกข์โทมนัส ซึ่งมีการตำและการบาดนั้น

เป็นเหตุ โดยยิ่งกว่าประมาณ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัยนี้ อยู่ในบ้านก็ดี อยู่ในป่าก็ดี ย่อมได้บุคคลผู้กล่าวท้วงว่า

ท่านผู้นี้แล กระทำอย่างนี้ มีสมาจารอย่างนี้ เป็นผู้ไม่สะอาด และเป็น

หนามของชาวบ้าน. ครั้นทราบ ภิกษุนั้นว่า เป็นผู้ไม่สะอาด และเป็น

เสี้ยนหนามแห่งชาวบ้านอย่างนี้แล้ว พึงทราบอสังวรและสังวร ต่อไป.

ว่าด้วยอสังวรและสังวรเปรียบด้วยคนจับสัตว์ ๖ ชนิด

[๓๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวรเป็นอย่างไร. ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมน้อมใจไปในรูปอันน่ารัก ย่อม

ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจมีประมาณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

น้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดชึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ

แห่ง อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความ

เป็นจริง ภิกษุฟังเสียงด้วยหู . . . ดมกลิ่นด้วยจมูก . . . ลิ้มรสด้วยลิ้น . . .

ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมใจ

ไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ย่อม

ไม่เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจมีประมาณน้อยอยู่ และย่อมไม่รู้ชัดซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามก

เหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง.

[๓๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด

ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจร (ที่หากิน) ต่างกัน แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว

คือ จับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกที่เหนียว

ครั้นแล้วพึงขมวดปมรวมกันไว้ตรงกลางปล่อยไป. ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้นแล

สัตว์ ๖ ชนิดซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกันเหล่านั้น พึงดึงกันและกัน

เข้าหาเหยื่อและอารมณ์ของตน ๆ งูพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอม

ปลวก จระเข้พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงน้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจัก

บินขึ้นสู่อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอก

พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักไปสู่ป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไป

สู่ป่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไป

ตามวิสัยของตน ๆ พึงลำบาก เมื่อนั้น บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ใดมี

กำลังมากกว่าสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นพึงอนุวัตรคล้อยตามไปสู่อำนาจ

แห่งสัตว์นั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้อบรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

ไม่กระทำให้มากซึ่งกายคตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุจะฉุดภิกษุนั้นไป

ในรูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่พอใจ จะเป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจ

จะฉุดไปในธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ จะ

เป็นของปฏิกูล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังวรเป็นอย่างนี้แล.

[๓๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวรเป็นอย่างไร. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่น้อมใจไปใน

รูปอันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มี

ใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันเป็นที่ดับ

ไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ

ตามความเป็นจริง ฯลฯ ภิกษุรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่น้อมใจ

ไปในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมไม่ขัดเคืองในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก เป็น

ผู้เข้าไปตั้งกายสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้อยู่ และย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไปไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อัน

บังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ตามความเป็นจริง.

[๓๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์ ๖ ชนิด

ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีอาหารต่างกัน คือ พึงจับงู จระเข้ นก สุนัขบ้าน

สุนัขจิ้งจอก ลิง แล้วผูกด้วยเชือกอันเหนียวแน่น ครั้นแล้วพึงผูกติดไว้

ที่หลักหรือที่เสาอันมั่นคง. ภิกษุทั้งหลาย ที่นั้นแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น

ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีอาหารต่างกัน พึงดึงกันและกันเข้าหาอาหารและ

อารมณ์ของตน ๆ คือ งูพิษดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่จอมปลวก จระเข้

พึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักลงน้ำ นกพึงดึงมาด้วยคิดว่า. เราจักบินขึ้นสู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

อากาศ สุนัขบ้านพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกพึงดึงมา

ด้วยคิดว่า เราจักไปเข้าป่าช้า ลิงพึงดึงมาด้วยคิดว่า เราจักเข้าไปสู่ป่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น ต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ

พึงลำบาก เมื่อนั้นสัตว์เหล่านั้นพึงยืนพิง นั่งพิง นอนพิงหลักหรือเสา

นั้นเอง แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอบรม กระทำ

ให้มากซึ่งกายด้วยสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักษุย่อมไม่ฉุดภิกษุนั้นไปใน

รูปอันเป็นที่พอใจ รูปอันไม่เป็นที่พอใจ ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ฯลฯ ใจ

ย่อมไม่ฉุดไปในธรรมารมณ์อันเป็นที่พอใจ ธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ

ย่อมไม่เป็นของปฏิกูล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวรเป็นอย่างนี้แล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย คำว่า หลักหรือเสาอันมั่นคงนั้น เป็นชื่อของกายคตาสติ

เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ เราทั้งหลาย

จักอบรม กระทำให้มาก กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้

มั่นคง สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง

ศึกษาอย่างนี้แล้ว.

จบ ฉัปปาณสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาฉัปปาณสูตรที่ ๑๐

ในฉัปปาณสูตรที่ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุรูคตฺโต แปลว่า ตัวมีแผล. ชื่อว่า ปกฺกคตฺโต เพราะ

แผลเหล่านั้นนั่นแล เน่าฟอน. บทว่า สรวน แปลว่า ป่ามีหนาม. บทว่า

เอวเมว โข ความว่า บุคคลผู้ทุศีล พึงทราบว่า เหมือนคนมีตัวเต็มไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

ด้วยแผล. ทุกข์ที่เกิดภิกษุผู้ถูกเพื่อนสพรหมจารีในที่นั้น กล่าวอย่าง

ผู้นั้นเป็นผู้กระทำกรรมเหล่านี้ ๆ พึงทราบเหมือนทุกข์โทมนัสที่เกิดขึ้น

แก่บุรุษนั้น ผู้ถูกหน่อหญ้าคาแทง และมีตัวถูกใบไม้ที่มีหนาม ซึ่งเปรียบ

ด้วยคมดาบบาดเอา.

บทว่า ลภติ วตฺตาร ความว่า ได้ทักท้วง. บทว่า เอวการี

ความว่า เป็นผู้กระทำเวชกรรม และทูตกรรมเป็นต้น เห็นปานนี้.

บทว่า เอว สมาจาโร ความว่า ผู้มีโคจรเห็นปานนี้ ด้วยสามารถ

แห่งโดจร ๓ อย่างเป็นต้น.

บทว่า อสุจิคามกณฺฏโก ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่สะอาด เพราะ

อรรถว่าไม่หมดจด. ชื่อว่าเป็นเสี้ยนหนาม เพราะอรรถว่าทิ่มแทงชาวบ้าน

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า คามกณฺฏโก (หนามแทงชาวบ้าน )

บทว่า ปกฺขึ ได้แก่ นกหัสสดีลิงค์. บทว่า โอสชฺเชยฺย แปลว่า

พึงปล่อยไป. บทว่า อาวิญฺเฉยฺยุ แปลว่าพึงฉุดมา. บทว่า ปเวกฺขามิ

แปลว่า จักเข้าไป. บทว่า อากาส เทสฺสามิ แปลว่า เราจักบินไปสู่อากาศ

ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น มีความประสงค์จะเข้าไปจอมปลวก

ด้วยคิดว่า เราจะเอาขนดขดให้กลม แล้วนอนหลับ.

๑. ปาฐะว่า ขนฺเธหิ ฉบับพม่าเป็น วิทฺธสฺส แปลตามฉบับพม่า.

๒. ปาฐะว่า อสุทฺธฏฺเน อสุจิคามวาสีน ฉบับพม่าเป็น อสุทฺธฏฺเน อสุจิ, คามวาสิน

แปลตามฉบับพม่า.

๓. ปาฐะว่า ปวิสิสฺสามีติ ฉบับพม่าเป็น ปวิสิสฺสามิ แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

จระเข้ มีความประสงค์จะลงสู่น้ำ ด้วยคิดว่า เราจะเข้าไปสู่โพรง

ในที่ไกล แล้วนอน.

นกมีความประสงค์จะบินไปสู่อากาศ ด้วยคิดว่า จักเที่ยวไปให้

สบายในท้องฟ้า.

ลูกสุนัข มีความประสงค์จะเข้าไปสู่บ้าน ด้วยคิดว่า เราจักคุ้ยขี้เถ้า

ในเตาไฟ นอนรับความอบอุ่น.

สุนัขจิ้งจอก มีความประสงค์จะเข้าไปสู่ป่าช้าผีดิบ ด้วยคิดว่า เราจะ

เคี้ยวกินเนื้อมนุษย์ และจักนอนเหยียดหลัง.

ลิงมีความประสงค์จะเข้าไปสู่ป่าใหญ่ ด้วยคิดว่า เราจะขึ้นต้นไม้สูง

วิ่งเล่นไปตามทิศต่าง ๆ.

บทว่า อนุวิธาเธยฺยุ แปลว่า พึงตามไป. บาลีว่า อนุวิธิเยยฺยุ

ดังนี้ ก็มี. ความว่า พึงคล้อยตาม. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า สัตว์ทั้ง ๖ นั้น

พึงไป ในที่ ( ที่เขาประสงค์จะไป ) นั้นนั่นแล.

ในบทว่า เอวเมว มีอธิบายดังต่อไปนี้.

อายตนะ พึงเห็นเหมือนสัตว์ ๖ ชนิด ตัณหาพึงเห็นเหมือน

เชือกที่เหนียว อวิชชา พึงเห็นเหมือปมในท่ามกลาง ( ที่ขมวดไว้ )

ในทวารใด ๆ อารมณ์มีกำลังมาก อายตนะนั้น ๆ ย่อมเหนี่ยวอารมณ์นั้น

เข้ามา.

๑. ปาฐะว่า ตนฺติ แต่ฉบับพม่าเป็น คณฺิ แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำอุปมานี้เปรียบเทียบด้วยสิ่งที่จะ

พึงเห็นสมกัน หรือด้วยสามารถแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะ

ทั้งหลาย. ในสองอย่างนั้น เมื่อว่าด้วยสิ่งที่เห็นสมกันก่อน กิจแห่งอัปปนา

จะไม่มีอีก แผนกหนึ่งต่างหาก ส่วนในบาลีเท่านั้น จึงจัดเป็นอัปปนา.

แต่เมื่อว่า โดยการแสดงให้เห็นความต่างกันแห่งอายตนะ จึงเป็นอัปปนา

ดังนี้. ธรรมดาว่างูนี้ ไม่ชอบอยู่ในที่เย็นและที่เตียน ในภายนอก. แต่

ในเวลาขาเข้าไปสู่ที่กองหยากเยื่อ ที่รกรุงรังไปด้วยหญ้าและใบไม้ และ

จอมปลวกเป็นต้น เท่านั้นแล้วนอน จึงยินดี ถึงความเป็นสัตว์มีอารมณ์

เป็นหนึ่งฉันใด แม้จักษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอารมณ์ไม่เสมอกัน ย่อมไม่

ยินดีที่ราบเรียบ มีฝาเรือนที่ทำด้วยทองคำเป็นต้น ไม่ปรารถนาจะดู

แต่ชอบในสิ่งที่วิจิตรด้วยรูป และวิจิตรด้วยดอกไม้. และเครือเถาเป็นต้น

เท่านั้น เพราะว่าเมื่อตาไม่พอ (ไม่อยากดู) ในที่เช่นนั้น ก็ยังอยาก

เปิดหน้าดู.

แม้จระเข้ ออกไปข้างนอก มองไม่เห็นพึงตนจะจับกินได้ ย่อม

หลับตาคลานไป. แต่เวลาใดลงไปในน้ำชั่ว ๑๐๐ วา เข้าไปสู่โพลงแล้วนอน

ในเวลานั้น จิตของมันก็มีอารมณ์เป็นหนึ่ง หลับสบายฉันใด แม้โสต

ประสาทนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีช่องเป็นที่อาศัย อาศัยอากาศกระทำความ

ชอบใจเฉพาะในช่องหูเท่านั้น การอยู่ในช่องหูนั่นแล ย่อมเป็นปัจจัยใน

การฟังเสียงของโสตประสาทนั้น แม้อากาศที่โปร่งก็ควรเหมือนกัน. ก็เมื่อ

๑. ปาฐะว่า ยาทิเสสุปิ ฉบับพม่าเป็น ตาทิเสสุหิ แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

บุคคลทำการท่องบ่นภายในถ้ำ เสียงจะไม่ทะลุผนังถ้ำออกมาข้างนอกได้เลย

แต่จะออกมาตามช่องของประตูและหน้าต่าง ธาตุกระทบต่อ ๆ กันมา

( คลื่นอากาศ ) กระทบโสตประสาท. จึงในเวลานั้น คนที่นั่งในหลังถ้ำ

ก็รู้ได้ว่า เขาท่องบ่นสูตรชื่อโน้น.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น อารมณ์ที่ประจวบเข้าย่อมมี นี้หรือคือ

อารมณ์ที่ประจวบเข้า.

ตอบว่า ใช่แล้ว เป็นอารมณ์ที่มาประจวบ.

ถามว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อเขาตีกลองเป็นต้นในที่ไกล การ

จะรู้ว่า เสียงที่อยู่ในที่ไกล ไม่พึงมีหรือ.

ตอบว่า ไม่พึงมีหามิได้ เพราะเมื่ออารมณ์มากระทบโสตประสาท

อาการที่จะรู้ว่า เสียงอยู่ในที่ไกล เสียงอยู่ในที่ใกล้ อยู่ที่ฝั่งโน้น หรือ

อยู่ที่ฝั่งนี้ ย่อมมี. ข้อนั้นเป็นธรรมดา.

ถามว่า ธรรมดานี้จะมีประโยชน์อะไร.

ตอบว่า ( มีคือ ) การได้ยินจะมีในที่มีช่องหู เหมือนการเห็น

พระจันทร์ และพระอาทิตย์เป็นต้นฉะนั้น เพราะฉะนั้น โสตประสาทนั้น

จะไม่มีอารมณ์ที่มาประจวบเลย- ( ถ้าไม่มีช่องหู ).

๑. ปาฐะว่า เลณจฺฉทน ฉิทฺทิตฺวา ฉบับพม่าเป็น น เลณจฺฉทน ภินฺฑิตฺวา แปลตาม

ฉบับพม่า.

๒. ปาฐะว่า อสมฺปตตโคจรเมว เจต ฉบับพม่าเป็น อสมฺปตฺตโคจรเมเวต แปลตาม

ฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

แม้ปักษีก็ย่อมไม่ยินดี ที่ต้นไม้ หรือที่พื้นดิน. ก็เมื่อใดมันบินไป

สู่อากาศที่โล่ง เลยไป ๑ หรือ ๒ ชั่วเลฑฑุบาต ( ชั่วก้อนดินตก )

เมื่อนั้นมันก็ถึงความสงบนิ่ง ฉันใด แม้ฆานประสาท ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

มีอากาศเป็นที่อาศัย มีกลิ่นที่อาศัยลม*เป็นอารมณ์. จริงอย่างนั้น ใด

ทั้งหลาย เมื่อฝนตกหมู่ ๆ จะสูดดมแผ่นดินแล้วแหงนหน้าสู่อากาศสูดดม.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อมันยังไม่สูดดม ในเวลาเอาเท้าตะกุยดินที่มีกลิ่น จะไม่

รู้กลิ่นของก้อนดินนั้นเลย.

ฝ่ายลูกสุนัข เที่ยวไปภายนอก ไม่เห็นที่ปลอดภัย ถูกขว้างด้วย

ก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น. แต่เมื่อมันเข้าไปภายในบ้านแล้วคุ้ยเถ้าที่เตา

ไฟนอก จะมีความสบายฉันใด แม้ลิ้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอาหารที่ได้

มาจากบ้านเป็นที่อาศัย มีรสอันอาศัยอาโปธาตุเป็นอารมณ์. จริงอย่างนั้น

ภิกษุแม้บำเพ็ญสมณธรรม ตลอด ๓ ยามแห่งราตรี ถือเอาบาตรและจีวร

เข้าไปสู่บ้าน. เธอไม่อาจรู้รสแม้แห่งของเคี้ยวที่แห้งที่ไม่ชุ่มด้วยน้ำลายได้.

แม้สุนัขจิ้งจอก เที่ยวไปข้างนอก ก็ไม่ประสบความชอบใจ แต่

เมื่อมันเก่ากินเนื้อมนุษย์แล้วนอนนั่นแหละ จึงจะมีความสบาย ฉันใด

แม้กายก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีอุปาทินนกสังขารเป็นที่อาศัย มีโผฏฐัพพะ

อาศัยปฐวีธาตุเป็นอารมณ์. จริงอย่างนั้น สัตว์ทั้งหลาย เมื่อไม่ได้อุปา-

ทินนกสังขารอื่น จะนอนเอาฝ่ามือหมุนศีรษะของตนเอง และปฐวีธาตุ

๑. ปาฐะว่า ธาตุปนิสฺสยคนฺธโคจร ฉบับพม่าเป็น ธาตูปนิสฺสยคนฺธโคจร แปลตาม

ฉบับพม่า.

๒. ปาฐะว่า อาโปสนฺนิสิตา รสารมฺมณา ฉบับพม่าเป็น อาโปนิสฺสิตรสารมฺมณา

แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

ทั้งที่เป็นภายในและภายนอก ย่อมเป็นปัจจัยของกายนั้น ในการยึดเอา

อารมณ์. จริงอยู่ ผู้ไม่ได้นั่ง หรือไม่ได้นอน ไม่สามารถจะรู้ภาวะที่แข็ง

หรือหนาแห่งที่นอน ที่เขาลาดไว้ดีแล้วหรือแผ่นกระดานแม้ที่วางอยู่ภายใต้

ได้ เพราะฉะนั้น ปฐวีธาตุ ทั้งที่เป็นภายในและภายนอก จึงเป็นปัจจัย

แห่งกายนั้น ในการรู้โผฏฐัพพะได้.

แม้ลิง เมื่อเที่ยวไปบนภาคพื้น ก็ย่อมไม่รื่นรมย์ใจ แต่เมื่อมันขึ้น

ต้นไม้สูง ประมาณ ๗ ศอก แล้วนั่งอยู่ที่ค่าคบ มองดูทิศน้อยใหญ่ จะมี

ความสบายฉันใด แม้ใจก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชอบสิ่งต่าง ๆ มีภวังคจิต

เป็นปัจจัย ย่อมกระทำความชอบใจในอารมณ์นานาชนิด แม้ที่เคยเห็นแล้ว

แต่ภวังคเดิมย่อมเป็นปัจจัยของใจนั้น เป็นอันว่าในเรื่องนี้ มีความสังเขป

เพียงเท่านี้ . แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร ความต่างกันแห่งอายตนะทั้งหลายได้

กล่าวไว้แล้วในอายตนนิเทส ในคัมภีร์วิมุทธิมรรคนั้นแล้ว.

บทว่า ต จกฺขุ นาวิญฺฉติ ความว่า ในสูตรนี้ท่านกล่าวเฉพาะ.

ปุพพภาควิปัสสนาว่า จักษุ จะไม่ฉุด ( เขา ) มา เพราะสัตว์ ๖ ตัว

กล่าวคือ อายตนะ ผู้กำหนัดด้วยอำนาจตัณหา ที่ถูกผูกไว้ที่หลัก คือ

กายคตาสติ ถึงภาวะหมดพยศแล้ว.

จบ อรรถกถาฉัปปาณสูตรที่ ๑๐

๑. ปาฐะว่า อิสีทนฺเตน วา ถทฺธปุถุภาโว ฉบับพม่าเป็น อนิสีทนฺเตน วา

อนุปฺปีฏนฺเตน วา ถทฺธมุทุภาโว แปลตามฉบับพม่า.

๒. ในที่อื่นเทียบกายเหมือนหลัก เทียบสติเหมือนเชือกผูก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

๑๑. ยวกลาปิสูตร

ว่าด้วยอายตนะเปรียบด้วยฟ่อนข้าวเหนียว

[๓๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าวเหนียวบุคคลกองไว้ที่หน

ทางใหญ่ ๔ แพร่ง ครั้นแล้วผู้ชาย ๖ คนถือไม้คานมา ผู้ชายเหล่านั้นพึง

ฟาดฟ่อนข้าวเหนียวด้วยไม้คาน ๖ อัน ฟ่อนข้าวเหนียวนั้นผู้ชายเหล่านั้น

ฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คาน ๖ อันอย่างนี้แล จึงผู้ชายคนที่ ๗ ถือไม้คานมา.

เขาฟาดฟ่อนข้าวเหนียวนั้นด้วยไม้คานอันที่ ๗. ภิกษุทั้งหลาย ฟ่อนข้าว

เหนียวนั้นถูกผู้ชายฟาดกระหน่ำอยู่ด้วยไม้คานอันที่ ๗ อย่างนี้จะต้องแหลก

เหลว แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ก็ฉันนั้นแล

ถูกรูปอันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบจักษุ ฯลฯ ถูกธรรมารมณ์

อันเป็นที่พอใจและไม่เป็นที่พอใจกระทบใจ ถ้าว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว

นั้นย่อมคิดเพื่อเกิดต่อไปอีก. ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนนั้นเป็นโมฆบุรุษ เป็น

ถูกกระทบกระทั้งหนักกว่า เหมือนฟ่อนข้าวเหนียวถูกบุรุษฟาดกระหน่ำ

ด้วยไม้คานอันที่ ๗ ฉะนั้นแล.

จบ ยวกลาปิสูตรที่ ๑๑

อรรถกถายวกลาปิสูตรที่ ๑๑

ในยวกลาปิสูตรที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยวกลาปิ ได้แก่ ฟ่อนข้าวเหนียว ที่เขาเกี่ยววางไว้.

บทว่า พฺยภงฺคิหตฺถา ความว่า มีไม้คานหาบในมือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

บทว่า พฺยาภงฺคีหิ หเนยฺยุ ความว่า ฟาดด้วยไม้คานหาบที่

หนา ๖ คาน.

บทว่า สตฺตโม ความว่า เมื่อคนทั้ง ๖ คนเหล่านั้น นวดข้าวเหนียว

บรรจุเต็มกระสอบแล้วไป คนที่ ๗ อีกคนก็มา.

บทว่า สุหตตรา อสฺส ความว่า เขาฟาดให้แหลกเพื่อถือเอาสิ่ง

ที่เหลืออยู่ในฟ่อนข้าวนั้น แม้เพียงแกลบและฟาง.

ในบทว่า เอวเมว โข นี้ มีอธิบายว่า อายตนะ ๖ พึงเห็นเหมือน

ทางใหญ่ ๔ แพร่ง สัตว์ (ผู้ที่เป็นเจ้าของอายตนะ) พึงเห็นเหมือน

ฟ่อนข้าวเหนียวที่เขาเก็บไว้ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง.

อารมณ์ ๘ คือ อิฏฐารมณ์ ๖ อนิฏฐารมณ์ ๖ มัชฌัตตารมณ์ ๖

พึงเห็นเหมือนไม้คานหาบ ทั้ง ๖ คาน กิเลสที่ปรารถนาภพ พึงเห็นเหมือน

ไม้คานหาบที่ ๗. ฟ่อนข้าวเหนียวที่เขาวางไว้ทางใหญ่ ๔ แพร่ง ย่อม

ถูกไม้คานหาบ ๖ คาน ฟาดฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูก

ท่อนไม้คืออารมณ์ทั้ง ๑๘ กระทบกระทำที่อายตนะทั้ง ๖. สัตว์ทั้งหลาย

ถูกกิเลสที่ปรารถนาภพ กระทบกระทั่งจนอานแล้วเสวยทุกข์มีภพเป็นมูล

เหมือนสัตว์ที่ถูกไม้คานหาบคานที่ ๗ ฟาดกระหน่ำให้แหลกฉะนั้น.

จบ อรรถกถายวกลาปิสูตรที่ ๑๑

๑. ปาฐะว่า ลายิตฺวา ฉบับพม่าเป็น โปเถตฺวา แปลตามฉบับพม่า.

๒. ปาฐะว่า อารมฺมณกณฺฏเกหิ ฉบับพม่าเป็น อารมฺมณฑณฺฑเกหิ แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

๑๒. เทวาสุรสังคามสูตร

ว่าด้วยสงครามเทวดากับอสูร

[๓๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่าง

เทวดากับอสูรได้ประชิดกันแล้ว ครั้งนั้นแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรตรัส

เรียกอสูรทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าว่าเมื่อสงความ

เทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว พวกอสูรพึงชนะ พวกเทวดาพึงปราชัยไซร้

ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพนั้นด้วยเครื่องจองจำมีชื่อ

เป็นที่ ๕ แล้วนำมายังอสูรบุรี ในสำนักของเรา. ภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายท้าว-

สักกะผู้เป็นจอมเทพ ก็ได้ตรัสเรียกเทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์มาว่า

ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าเมื่อสงความเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว

พวกเทวดาพึงชนะ พวกอสูรพึงปราชัยไซร้ ท่านทั้งหลายพึงจองจำท้าว-

เวปจิตติจอมอสูรนั่นด้วยเครื่องจองจำมีชื่อเป็นที่ ๕ แล้วพึงนำมายังเทวสภา

ชื่อสุธรรมา ในสำนักของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในสงครามนั้นพวก

เทวดาชนะ ทีนั้นแล เทวดาทั้งหลายผู้อยู่ในชั้นดาวดึงส์ จองจำท้าว

เวปจิตติจอมอสูรด้วยเครื่องจองจำมีชื่อเป็นที่ ๕ แล้วนำมายังเทวสภาชื่อ

สุธรรมา ในสำนักของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ.

[๓๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท้าวเวปจิตติจอมอสูรถูก

จองจำด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ อยู่ใกล้ประตูเทวสภาชื่อสุธรรมานั้น

ก็ในกาลใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า เทวดาทั้งหลายเป็นผู้ตั้ง

อยู่ในธรรมแล ส่วนอสูรทั้งหลายไม่ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้เราจะไปเทพนคร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

ในกาลนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรจะพิจารณา เห็นตนพ้นจากเครื่องจองจำ

มีคอเป็นที่ ๕ และก็ย่อมเป็นผู้อิ่มเอิบพรั่งพร้อม บำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕

อันเป็นทิพย์ เมื่อใดแล ท้าวเวปจิตติจอมอสูรดำริอย่างนี้ว่า อสูรทั้งหลาย

เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล ส่วนเทวดาทั้งหลายไม่ต้องอยู่ในธรรม บัดนี้เราจัก

ไปอสูรบุรี ในที่นั้นแล เมื่อนั้น ท้าวเวปจิตติจอมอสูรพิจารณาเห็นตนถูก

จองจำด้วยเครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ และย่อมเสื่อมจากกามคุณ ๕ อันเป็น

ทิพย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำของท้าวเวปจิตติจอมอสูรละเอียด

อย่างนี้แล เครื่องจองจำของมาร ละเอียดยิ่งกว่าเครื่องจองจำของท้าว

เวปจิตติจอมอสูรนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เมื่อสำคัญ ( ขันธ์ทั้งหลาย

ด้วยอำนาจ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ) ชื่อว่าถูกมารจองจำแล้ว ( แต่ ) เมื่อไม่

สำคัญ ชื่อว่าพ้นแล้ว จากมารผู้มีบาป.

ว่าด้วยความสำคัญด้วยตัณหาเป็นต้น

[๓๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญด้วยตัณหา ท่านกล่าว

ด้วยบทว่า อสฺมิ ( เราเป็น ) ความสำคัญด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า

อยนหมสฺมิ ( เราเป็นนี้ ) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า

ภวิสฺส ( เราจักเป็น ) ความสำคัญด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่านี้

ภวิสฺส (เราจักไม่เป็น ) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า

รูปี ภวิสฺส ( เราจักมีรูป ) ความสำคัญด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วย

บทว่า อรูปี ภวิสฺส ( เราจักไม่มีรูป ) ความสำคัญด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่าน

กล่าวด้วยบทว่า สญฺี ภวิสฺส ( เราจักมีสัญญา ) ความสำคัญด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

อุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺี ภวิสฺส ( เราจักไม่มีสัญญา )

ความสำคัญ. ด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วย บทว่า เนวสญฺินาสญฺี ภวิสฺส

(เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

สำคัญเป็นโรค เป็นดังหัวผี เป็นดังลูกศร เพราะเหล่านั้นแล เธอทั้งหลาย

ได้ศึกษาว่า เราจักมีใจไม่สำคัญอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

พึงศึกษาอย่างนี้แล.

[๓๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวด้วยตัณหา ท่าน

กล่าวด้วยบทว่า อสฺมิ ( เราเป็น ) ความหวั่นไหวด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าว

ด้วยบทว่า อยมหมสฺมิ ( เราเป็นนี้ ) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฏฐิ

ท่านกล่าวด้วยบทว่า ภวิสฺส ( เราจักเป็น ) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฏฐิ

ท่านกล่าวด้วยบทว่า น ภวิสฺส ( เราจักไม่เป็น ) ความหวั่นไหวด้วย

สัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า รูปิ ภวิสฺส ( เราจักมีรูป ) ความ

หวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อรูปี ภวิสฺส ( เราจักไม่มี

รูป) ความหวั่นไหวด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺี ภวิสฺส

( เราจักมีสัญญา ) ความหวั่นไหวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า

อสญฺี ภวิสฺส (เราจักไม่มีสัญญา ) ความหวั่นไหวด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าว

ด้วยพูดว่า เนวสัญญินาสัญญี ภวิสฺส ( เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มี

สัญญาก็หามิได้ ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี

เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจักมีใจไม่ถูก

กิเลสให้หวั่นไหวอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

[๓๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนด้วยตัณหา ท่านกล่าว

ด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น ) ความดิ้นรนด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า

อยมหมสฺมิ (เราเป็นนี้ ) ฯลฯ ความดิ้นรนด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าว

ด้วยบทว่า อสญฺี ภวิสฺส (เราจักไม่มีสัญญา) ความดิ้นรนด้วยทิฏฐิ

ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺินาสญฺี ภวิสส (เราจักมีสัญญาก็หา

มิได้ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดิ้นรนเป็นโรค เป็น

ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เราจัก

มีใจไม่ถูกกิเลส ให้ดิ้นรนอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา

อย่างนี้แล.

[๓๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าด้วยตัณหา ท่านกล่าว

ด้วยบทว่า อสฺมิ ( เราเป็น ) ความเนิ่นช้าด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า

อยมหมสฺมิ (เราเป็นนี้ ) ฯลฯ ความเนิ่นช้าด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าว

ด้วยบทว่า อสญฺี ภวิสฺส (เราจักไม่มีสัญญา) ความเนิ่นช้าด้วยทิฏฐิ

ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺินาสญฺี ภิสฺส (เราจักมีสัญญาก็หามิได้

ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเนิ่นช้าเป็นโรค เป็น

ดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาว่า เรา

จักมีใจไม่เนิ่นช้าอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล

[๓๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความถือตัวด้วยตัณหา ท่านกล่าว

ด้วยบทว่า อสฺมิ (เราเป็น) ความถือตัวด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า

อยมหมสฺมิ (เราเป็นนี้) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า

ภวิสฺส (เราจักเป็น) ความถือตัวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

น ภวิสฺส (เราจักไม่เป็น) ความถือตัวด้วยสัสสตทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วย

บทว่า รูปี ภวิสฺส ( เราจักมีรูป ) ความถือตัว ด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่าน

กล่าวด้วยบุคคลว่า อรูปี ภวิสฺส ( เราจักไม่มีรูป ) ความถือตัวด้วยสัสสต-

ทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า สญฺี ภวิสฺส (เราจักมีสัญญา) ความถือ

ตัวด้วยอุจเฉททิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า อสญฺญี ภวิสฺส (เราจักไม่

มีสัญญา ) ความถือตัวด้วยทิฏฐิ ท่านกล่าวด้วยบทว่า เนวสญฺญินาสญฺี

ภวิสฺส (เราจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความถือตัวเป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร. เพราะเหตุนั้นแล เธอ

ทั้งหลายจึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักมีใจกำจัดมานะออกได้อยู่ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบ เทวาสุรสังคามสูตรที่ ๑๒

อาสีวิสวรรคที่ ๔

อรรถกถาเทวาสุรสังคามสูตรที่ ๑๒

บัดนี้เพื่อจะแสดงกิเลสที่ปรารถนาภพนั้น ของสัตว์เหล่านั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ภุตปุพฺพ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ตตฺร โยค เทวสภาย เป็นสัตว์มีวิภัตติ ( แปลว่า ใน

เทวสภา นั้น ). อธิบายว่า ใกล้ประตูเทวสภา ชื่อว่าสุธรรมา.

๑. สูตรที่ ๑๒ อรรถกถาแก้รวมไว้ในสูตรที่ ๑๑ ในที่นี้แยกไว้ต่างหาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

ด้วยบทว่า ธมฺมิกา โข เทวา นี้ ท้าวเวปจิตติ ผู้เป็นอสุราธิบดี

กล่าวหมายเอาความเหล่านี้ ผู้ทรงธรรม ชื่อจับอสุราธิบดีผู้เช่นเรา ด้วย

เครื่องจองจำมีคอเป็นที่ ๕ แล้ว แต่ไม่ทำแม้เพียงการทำลายเรา.

ด้วยบทว่า อธมฺมิกา เทวา ท้าวเวปจิตติ กล่าวหมายเอาด้วยเทพ

เหล่านี้ ผู้ไม่ทรงธรรม ซึ่งจับอสุราธิบดี ผู้เช่นเราแล้ว จองจำด้วยเครื่อง

จองจำ มีคอเป็นที่ ๕ แล้วให้นอนอยู่ เหมือนผูกหมูไว้กับคูถใหม่ฉะนั้น.

บทว่า เอว สุขุม โข ภิกฺขเว เวปจิตฺติพนฺธน ความว่า

ดูเหมือนว่า เครื่องผูกนั้น เป็นเครื่องผูกที่ละเอียด เหมือนกันใยก้านปทุม

และเหมือนใยตาข่ายแมลงมุม แต่ใคร ๆ ไม่อาจตัดได้ด้วยมีดและขวานได้

แต่เพราะเหตุนี้มีการก่อกำเนิดขึ้นด้วยจิตนั่นเอง และจะหลุดพ้นก็ด้วยจิต

ฉะนั้นพระองค์จึงตรัสว่า เครื่องผูกของอสูรชื่อเวปจิตติ.

บทว่า ตโต สุขุมตร มารพนฺธน ความว่า แต่เครื่องผูกคือกิเลสนี้

ละเอียดกว่าเครื่องผูกของท้าวเวปจิตติ นั้น คือ ไม่ไปสู่คลองแห่งจักษุ

(ไม่ผ่านเตา) ได้แก่ไม่ปิดกั้นอิริยาบถไว้ เนื่องด้วยสัตว์ทั้งหลายถูกเครื่อง

ผูกคือกิเลส ผูกมัดไว้ จะไปก็ได้ มาก็ได้ ในพื้นปฐพีบ้าง บนอากาศบ้าง

ไกล ๑๐๐ โยชน์ก็มี ๑๐๐๐ โยชน์ก็มี เพราะเครื่องผูกนี้เมื่อจะขาด ก็ขาด

ด้วยญาณ ไม่ใช่ด้วยอย่างอื่น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นเครื่อง

ผูกที่จะหลุดพ้นไปได้ด้วยญาณบ้าง.

บทว่า มญฺมาโน ความว่า สำคัญ (ยึดถือ) อยู่ซึ่งขันธ์ทั้งหลาย

ด้วยอำนาจ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

บทว่า พนฺโธ มารสฺส ความว่า ด้วยเครื่องผูกของมาร.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า มารสฺส นี้ เป็นฉัฏฐิวิภัตติ ใช้ในอรรถของตติยา-

วิภัตติ หมายความว่า ถูกผูกมัดไว้ด้วยกิเลสมาร.

บทว่า มุตฺโต ปาปิมโต ความว่า พ้นแล้วจากเครื่องผูกของมาร.

อีกอย่างหนึ่งด้วยว่า ปาปิมโต นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถ ของตติยาวิภัตติ

เหมือนกัน หมายความว่า หลุดพ้นแล้วจากมากผู้ลามก คือจากเครื่องผูก

คือกิเลสนั่นเอง.

ด้วยบทว่า อสฺมิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความสำคัญด้วยอำนาจ

ตัณหา.

ด้วยบทว่า อยหมสฺมิ ตรัสความสำคัญ. ทิฏฐิด้วยอำนาจ สัสสต-

ทิฏฐิเหมือนกัน.

ด้วยบทว่า น ภวิสฺสนฺติ ตรัสไว้ด้วยอำนาจเฉททิฏฐิ.

บทว่า รูปี เป็นต้น บ่งถึงประเภทของสัสสตทิฏฐินั่นเอง.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ความสำคัญที่เป็นความเจ็บป่วย

ชื่อว่าเป็นโรค เป็นทั้งฝี เป็นทั้งลูกศร เพราะอำนาจความใคร่ที่มีโทษะ

อยู่ภายใน

๑. ปาฐะว่า กรเณเยว ฉบับพม่าเป็น กรณตฺเตเยว แปลตามฉบับพม่า

๒. ปาฐะว่า สสฺสตวเสน ฉบับพม่าเป็น สสฺสตสฺเสว แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

คำว่า อิญฺชิต เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อทรงแสดง

ถึงอาการของตัณหาและสัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิเหล่านั้น เพราะสัตว์

ทั้งหลายหวั่นไหว ดิ้นรน ชักช้า และถึงอาการประมาทแล้ว ด้วยกิเลส

เหล่านี้.

แต่ในมานคตวาระ มีอรรถาธิบายว่า การไปของมานะ ชื่อว่า

มานคตะ ได้แก่เป็นไป ด้วยมานะ. มานคตะก็คือมานะนั่นเอง เหมือน

( คำว่า ) คูถคตะ มุตฺตคตะ ( ก็เท่ากับคูถะมุตะ ).

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺมิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ด้วยอำนาจมานะที่สัมปยุตด้วยตัณหา ( หมายถึงมานะ ประกอบกับตัณหา. )

บทว่า อหมสฺมิ ตรัสไว้ด้วยอำนาจทิฏฐิ (ทรงหมายถึงทิฏฐิ

อย่างเดียว ).

ถ้าจะมีคำถามว่า มานะ ชื่อว่าสัมปยุตด้วยทิฏฐิ ไม่มี ไม่ใช่หรือ.

ตอบว่า เออ ไม่มี แต่เพราะยังละมานะไม่ได้ ขึ้นชื่อว่าทิฏฐิ

จึงยังมีอยู่. คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายเอาทิฏฐิที่มีมานะเป็นมูล.

คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นดังนี้แล.

จบ อรรถกถาเทวาสุรสังคามสูตรที่ ๑๒

จบ อาสีวิสวรรคที่ ๔

จบ อรรถกถาสฬายตนสังยุตต์

๑. ปาฐะว่า สมคฺคาการปตฺตา ฉบับพม่าเป็น ปมตฺตาการปตฺตา แปลตามฉบับพม่า.

๒. ปาฐะว่า มาน ปวตฺตติ ฉบับพม่าเป็น มานปวตฺตติ แปลตามฉบับพม่า.

๓. ปาฐะว่า คต ฉบับพม่าเป็น มานคต แปลตามฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อาสีวิสสูตร ๒. รถสูตร ๓. กุมมสูตร ๔. ปฐมทารุขันธสูตร

๕. ทททุติยทารุขันธสูตร ๖. อวัสสุตสูตร ๗. ทุกขธรรมสูตร ๘. กึสุกสูตร

๙. วีณาสูตร ๑๐. ฉัปปาณสูตร ๑๑. ยวกลาปิสูตร ๑๒. เทวาสุรสัง-

คามสูตร.

รวมวรรคที่มีในจตุตถปัณณาสก์ คือ

๑. นันทิขยวรรค ๒. สัฏฐินยวรรค ๓. สมุททวรรค ๔. อาสี-

วีสวรรค.

จบ จตุตถปัณณาสก์

จบ สฬายตนสังยุต