ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

สังยุตตนิการ สคาถวรรค

เล่มที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น

เทวตาสังยุต

นฬวรรคที่ ๑

๑. โอฆตรณสูตร

ว่าด้วยการข้ามโอฆะ

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว

เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๒] เทวดานั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลคำนี้

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ข้าพระองค์ขอทูลถาม

พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่

ข้ามโอฆะได้แล้ว.

ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร ข้ามโอฆะ

ได้อย่างไรเล่า.

พ. ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด เรายังพักอยู่ เมื่อนั้น เรายังจมอยู่โดยแท้

เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ เมื่อนั้น เรายังลอยอยู่โดยแท้ ท่านผู้มีอายุ เราไม่พัก

เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล.

เทวดานั้นกล่าวคาถานี้ว่า

นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะเห็นขีณาสว

พราหมณ์ผู้ดับรอบแล้ว ไม่พัก ไม่เพียรอยู่

ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเถาะเกี่ยวในโลก.

[๓] เทวดานั้น กล่าวคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงอนุโมทนา ครั้งนั้นแล

เทวดานั้นดำริว่า พระศาสดาทรงอนุโมทนาคำของเรา จึงถวายอภิวาทพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วก็หายไป ณ ที่นั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย

อรรถกถาสังยุตตนิกายสวรรค

อารัมภกถา

ข้าพเจ้าพระพุทธโฆษาจารย์ ขอ

น้อมนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระ-

สุคตเจ้าผู้หลุดพ้นแล้วจากคติ ผู้มีพระทัย

เยือกเย็นสนิทด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ผู้

มีความมืดคือโมหะอันแสงสว่างแห่งปัญญา

ขจัดแล้ว ผู้เป็นครูของชาวโลกทั้งหลาย

พร้อมทั้งมนุษย์และเทวดา.

พระพุทธเจ้าทรงทำให้แจ้งพระ-

สัพพัญญุตญาณ ทรงเข้าถึงพระธรรมใด

อันมีมลทินไปปราศแล้ว ข้าพเจ้าขอ

น้อมนมัสการพระธรรมอันเยี่ยมนั้นด้วย

เศียรเกล้า.

ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการด้วยเศียร-

เกล้า ซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้าอยู่เป็นหมู่แห่ง

พระอริยบุคคลแม้ทั้งแปดพวก ผู้เป็นบุตร

อันเกิดแต่พระอุระของพระสุคตเจ้า ผู้ย่ำยี

เสียได้ซึ่งมารและเสนามาร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

บุญใด สำเร็จแล้วด้วยการกราบไหว้พระรัตนตรัยของข้าพเจ้าผู้มีจิต

เลื่อมใสแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้มี

อันตรายอันขจัดดีแล้ว อรรถกถาใด อันพระขีณาสพ ๕๐๐ องค์ ผู้ชำนาญ

แตกฉานในปฏิสัมภิทาช่วยกันร้อยกรอง แล้วตั้งแต่ปฐมสังคายนา ต่อมามีการ

ร้อยกรองอีกสองครั้ง คือในทุติย-ตติยสังคายนา เพื่อประกาศเนื้อความของ

ปกรณ์สังยุตตนิกายอันประเสริฐ ซึ่งประดับด้วยวรรคแห่งสังยุตอันจำแนก

ญาณต่าง ๆ ที่พระพุทธะและสาวกของพระพุทธะพรรณนาไว้ดีแล้ว ก็อรรถกถา

นั้นแหละ อันพระมหินทเถระผู้ชำนาญจากประเทศอินเดียนำมายังเกาะสิงหล

(ประเทศศรีลังกา) ต่อมาได้ประดิษฐานไว้ด้วยภาษาสิงหล เพื่อประโยชน์

แก่หมู่ชนชาวเกาะ ข้าพเจ้านำอรรถกถาภาษาสิงหลออกแปลเป็นภาษามคธซึ่ง

เป็นภาษาที่น่ารื่นรมย์ ถูกต้องตามระเบียบพระบาลีไม่มีภาษาอื่นปะปน ไม่

ขัดแย้งทฤษฎีของพระเถระทั้งหลาย ผู้อยู่ในมหาวิหาร ผู้เป็นดังประทีปของ

เถระวงศ์ ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ละเอียดรอบคอบ จักตัดข้อความที่ซ้ำ ๆ ออกแล้ว

จักประกาศเนื้อความอรรถกถาสังยุตตนิกายนี้ เพื่อความชื่นชมยินดีของสาธุชน

และเพื่อดำรงอยู่สิ้นกาลนานแห่งพระธรรม.

การพรรณนาอันใด ที่กระทำไว้ในพระนครทั้งหลาย อันสืบเนื่อง

มาจากพระนครสาวัตถี ภายหลังได้ร้อยกรองอีกสองครั้งนั้น ได้ยินว่า เรื่อง

ทั้งหลาย และพุทธพจน์ที่กล่าวไว้ในพระนครนั้นเป็นไปโดยพิสดาร ข้าพเจ้า

จักกล่าวอรรถกถานั้นในที่นี้จักไม่กล่าวให้พิสดารเกินไป ส่วนอรรถกถาแห่ง

พระสูตรเหล่าใดเว้นจากเรื่องย่อมไม่แจ่มแจ้ง เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งพระสูตร

นั้น ข้าพเจ้าก็จักแสดงเรื่องเหล่านั้น.

พุทธพจน์เหล่านั้น คือ สีลกถา ธุดงคธรรม พระกรรมฐานทั้งปวง

ความพิสดารของฌานและสมาบัติ ทั้งประกอบด้วยจริยะและวิธีการ อภิญญา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

ทั้งหมด คำวินิจฉัยอันผนวกด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์

อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทเทศนาซึ่งไม่นอกแนวพระบาลีมีนัยอันละเอียด

รอบคอบ และวิปัสสนาภาวนา คำที่กล่าวมานี้ทั้งหมดข้าพเจ้ากล่าวไว้ใน

วิสุทธิมรรคแล้วอย่างบริสุทธิ์ดี เพราะฉะนั้น ในที่นี้ จักไม่วิจารณ์เรื่องทั้งหมด

นั้นอีก ก็เพราะคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่ข้าพเจ้ารจนาไว้ด้วยประการดังกล่าวมานี้

แหละ ดำรงอยู่ท่ามกลางแห่งนิกายทั้ง ๔ จักประกาศข้อความตามที่กล่าวไว้ใน

นิกายทั้ง ๔ เหล่านั้น ฉะนั้น ขอสาธุชนทั้งหลายจงถือเอาคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น

กับอรรถกถานี้ แล้วจักทราบข้อความตามที่อิงอาศัยคัมภีร์สังยุตตนิกายนั้นได้.

ในพระคัมภีร์เหล่านั้น คัมภีร์ชื่อว่า สังยุตตนิกาย มี ๕ วรรค คือ

สคาถวรรค นิทานวรรค ขันธวรรค (บาลีเป็นขันธวารวรรค) สฬายตนวรรค

มหาวรรค เมื่อว่าโดยสูตรมี ๗,๗๖๒ สูตร นี้ชื่อว่า สังยุตตสังคหะ. เมื่อว่า

โดยภาณวารมี ๑๐๐ ภาณวาร. ในวรรคแห่งสังยุตนั้นมีสาคาถวรรคเป็นเบื้องต้น.

ในสูตรทั้งหลาย มีโอฆตรณสูตร เป็นเบื้องต้น. คำพระสูตรว่า เอวมฺเม สุต

เป็นต้น ที่ท่านพระอานนทเถระกล่าวไว้ในเวลาทำปฐมมหาสังคีตินั้น มีนิทาน

เป็นเบื้องต้น. ก็ปฐมมหาสังคีตินี้นั้น ท่านพระอรรถกถาจารย์ให้พิสดารไว้ใน

เบื้องต้น ของอรรถกถาทีฆนิกายสุมังคลวิลาสินี เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ

ปฐมมหาสังคีตินั้นโดยนัยอันพิสดารในที่นั้นเถิด.

จบอารัมภกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

เทวตาสังยุตตวรรณนา

นฬวรรคที่ ๑

อรรถกถาโอฆตรณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโอฆตรณสูตรที่ ๑ แห่งนฬวรรค ดังนี้ :-

บทว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้นนี้ เป็นนิทาน. ในบทเหล่านั้น คำว่า

เอว เป็นศัพท์นิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม. คำว่า วิ ในบทว่า

สาวตฺถิย วิหรติ นี้เป็นศัพท์อุปสรรค. บทว่า หรติ เป็นบทอาขยาต พึง

ทราบการจำแนกบทโดยนัยนี้ก่อน.

ว่าด้วย เอว ศัพท์

แต่เมื่อว่าโดยอรรถ เอว ศัพท์จำแนกเนื้อความได้หลายอย่างเป็นต้นว่า

คำเปรียบเทียบ คำแนะนำ คำยกย่อง คำติเตียน การรับคำ อาการะ คำชี้แจง

คำกำหนดแน่นอน จริงอย่างนั้น เอว ศัพท์นี้ที่มาในคำอุปมาในประโยคมี

เอว ศัพท์ เป็นเบื้องต้น ว่า เอว ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพ กุสล พหุ

แปลว่า สัตว์ผู้มีอันจะพึงตายเป็นธรรมดา เกิดมาแล้วพึงสร้างกุศลให้มาก

ฉันนั้น.

เอว ศัพท์ที่มาในคำแนะนำ เช่นในประโยคมีคำเป็นต้นว่า เอวนฺเต

อภิกฺกมิตพฺพ เอว ปฏิกฺกมิตพฺพ แปลว่า เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอย

กลับอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

เอว ศัพท์ที่มาในคำยกย่อง เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า เอวเมต

ภควา เอวเมต สุคต ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้ อย่างนั้น ข้าแต่พระ-

สุคตเจ้า ข้อนี้ อย่างนั้น.

เอว ศัพท์ที่มาในคำติเตียน เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า เอวเมว

ปนาย วสลี ยสฺมึ วา ตสฺมึ วา ตสฺส มุณฺฑกสฺส สมณกสฺส วณฺณ

ภาสติ แปลว่า ก็หญิงถ่อยนี้ย่อมกล่าวสรรเสริญสมณะโล้นนั้น อย่างนี้ อย่างนี้

ไม่ว่าที่ใดที่หนึ่ง.

เอว ศัพท์ที่มาในการรับคำ เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า เอว

ภนฺเตติ โข เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ แปลว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้

พากันรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

เอว ศัพท์ที่มาในอาการะ เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า เอว

พฺยาโข อห ภนฺเต ภควตา ธมฺม เทสิต อาชานามิ แปลว่า ข้าพระ-

พุทธเจ้ากล่าวอย่างนั้นจริง พระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า ย่อมทราบทั่วถึงธรรมที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว.

เอว ศัพท์ที่มาในคำชี้แจง เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า เอหิ

ตฺว มาณวก ฯเปฯ เอวญฺจ วเทหิ สาธุ กิร ภว อานนฺโท เยน สุภสฺส

มาณวสฺส โตเทยฺยปุตฺตสฺส นิเวสน เตนุปสงฺกมตุ อนุกมฺป อุปาทาย

แปลว่า มานี่แน่ะ พ่อมาณพน้อย เจ้าจงเข้าไปหาพระสมณะชื่อว่า อานนท์

แล้วเรียนถามถึงความมีอาพาธน้อย ความลำบากน้อย ความคล่องแคล่ว ความ

มีกำลัง ความอยู่สำราญ ด้วยคำของเราว่า ท่านสุภมาณพโตเทยยบุตร เรียน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

ถามท่านพระอานนท์ถึงความมีอาพาธน้อย ความลำบากน้อย ความคล่องแคล่ว

ความอยู่สำราญ และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ขอประทานโอกาส ขอท่าน

พระอานนท์จงอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของสุภมาณพโตเทยยบุตรเถิด.

เอว ศัพท์ที่มาในอวธารณะคือ คำกำหนดที่แน่นอน เช่นในประโยค

ที่มีคำเป็นต้นว่า ต กึ มญฺถ กาลามา ฯเปฯ เอว โน เอตฺถ โหติ

แปลว่า ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรม

เหล่านี้ เป็นกุศลหรืออกุศล เป็นอกุศล พระเจ้าข้า มีโทษหรือไม่มีโทษ มีโทษ

พระเจ้าข้า ผู้รู้ติเตียนหรือสรรเสริญ ผู้รู้ติเตียน พระเจ้าข้า ธรรมนี้บุคคล

สมาทานให้บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์

หรือไม่ หรือใครเห็นเป็นอย่างไรในข้อนี้ ธรรมเหล่านี้ บุคคลสมาทานให้

บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ในข้อนี้ พวกข้า

พระองค์เห็นอย่างนี้ พระเจ้าข้า.

เอว ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้บัณฑิตพึงเห็นว่าใช้ในอรรถ ๓ อย่าง คือใน

อาการะ นิทัสสนะ อวธารณะ.

บรรดาอรรถ ๓ อย่างนั้น ท่านพระอานนท์ ย่อมแสดงเนื้อความนี้

ด้วย เอวศัพท์อันมีอาการะเป็นอรรถว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ละเอียดโดยนัยต่าง ๆ ตั้งขึ้นด้วยอัธยาศัยมิใช่น้อย สมบูรณ์ด้วยอรรถและ

พยัญชนะ มีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ลึกซึ้งโดย ธรรม อรรถ เทศนาและปฏิเวธ

มาสู่คลองแห่งโสตครั้งแรกควรแก่การศึกษาโดยภาษาของตน ๆ แห่งสัตว์ทั้ง-

หมด ใครเล่าจะสามารถเข้าใจได้โดยประการทั้งปวง แม้จะให้เกิดความประสงค์

เพื่อจะสดับด้วยกำลังทั้งปวงว่า ข้าพเจ้าสดับมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าสดับ

มาแล้วโดยอาการอย่างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

พระอานนท์ เมื่อจะเปลื้องตนว่า ข้าพเจ้ามิใช่สยัมภู พระสูตรนี้

ข้าพเจ้ามิได้กระทำให้แจ้ง จึงแสดงพระสูตรทั้งสิ้นอันสมควรกล่าวในกาลบัดนี้

ว่า เอวมฺเม สุต คือว่า แม้ข้าพเจ้าก็สดับมาแล้วอย่างนี้ด้วย เอว ศัพท์

อันมีนิทัสสนะเป็นอรรถ.

พระอานนท์ เมื่อแสดงกำลังคือความทรงจำของตน อันสมควรแก่

ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญไว้ อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อานนท์นี้เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเราผู้เป็นพหูสูต มีคติ

มีสติ มีความทรงจำ เป็นอุปัฏฐาก และท่านพระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้อย่างนี้

ว่า ท่านพระอานนท์ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาด

ในนิรุตติ ฉลาดในคำเบื้องต้นและเบื้องปลาย ดังนี้ จึงให้ความประสงค์เพื่อ

จะสดับของสัตว์ทั้งหลายเกิดขึ้น จึงกล่าวว่า เอวมฺเม สุต แปลว่า ข้าพเจ้า

สดับมาแล้วอย่างนี้ คำนั้นแล ไม่หย่อนไม่ยิ่งโดยอรรถหรือว่าโดยพยัญชนะ

อย่างนี้เท่านั้น ไม่ควรเห็นเป็นอย่างอื่น ด้วยศัพท์ว่า เอว อันมีอวธารณะเป็น

อรรถนี้.

ว่าด้วย เม ศัพท์

เม ศัพท์ปรากฏในอรรถ ๓ อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์ มีอรรถ

ว่า มยา เช่นในประโยคที่มีคำเป็นต้นว่า คาถาภิคีตมฺเม อโภชฺเนยฺย

แปลว่า โภชนะที่ได้มาเพราะการขับร้อง เราไม่ควรบริโภค. เม ศัพท์มี

อรรถว่า มยฺห เช่นในประโยคที่มีคำเเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา

สงฺขิตฺเตน ธมฺม เทเสตุ แปลว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด เม ศัพท์มี

อรรถว่า มม เช่นในประโยคว่า ธมฺมทายาทา เม ภิกฺขเว ภวถ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเรา แต่ในที่นี้

ควรใช้ในอรรถ ๒ อย่างคือ มยา สุต แปลว่า ข้าพเจ้าสดับแล้ว และ

มม สุต แปลว่า การสดับของข้าพเจ้า.

ว่าด้วย สุต ศัพท์

สุต ศัพท์ในบทว่า สุต นี้เป็นทั้งศัพท์มีอุปสรรคและไม้มีอุปสรรค

จำแนกอรรถได้มิใช่น้อย เช่นอรรถว่า การไป ว่าปรากฏแล้ว ว่ากำหนัด ว่า

สั่งสม ว่าขวนขวาย ว่าสัททารมณ์ ที่รู้ได้ด้วยโสต และรู้ตามแนวแห่งโสต

ทวารเป็นต้น. จริงอย่างนั้น สุต ศัพท์นี้มีอรรถว่าไป ในประโยคว่า เสนาย

ปสุโต เป็นต้น แปลว่า เสนาเคลื่อนไป สุตศัพท์มีอรรถว่ามีธรรมอันปรากฏ

แล้ว ในประโยคว่า สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต เป็นต้น แปลว่ามีธรรมอันสดับ

แล้ว เห็นอยู่. สุตศัพท์มีอรรถว่า เปียกชุ่มด้วยราคะและไม่เปียกชุ่มด้วยราคะ

เช่นในประโยคว่า อวสฺสุตา อนวสฺสุตสฺส เป็นต้น แปลว่า ภิกษุณีกำหนัด

ยินดีแล้วต่อบุคคลผู้ไม่กำหนัดยินดีแล้ว. สุตศัพท์มีอรรถว่าสั่งสม ในประโยคว่า

ตุมฺเหหิ ปุญฺ ปสุต อนปฺปก เป็นต้น แปลว่า บุญมิใช่น้อย อันท่านทั้งหลาย

สั่งสมแล้ว. สุตศัพท์มีอรรถว่า ขวนขวายคือการประกอบเนืองๆ ในฌาน เช่น

ประโยคว่า เย ฌานปสุตา ธีรา เป็นต้น แปลว่า นักปราชญ์ทั้งหลายเหล่าใด

ขวนขวายแล้วในฌาน. สุตศัพท์มีอรรถว่า สัททารมณ์ อันบุคคลพึงรู้ด้วยโสต

เช่น ในประโยคว่า ทิฏฺ สุต มุต เป็นต้น แปลว่า รูปอันเราเห็นแล้ว

เสียงอันเราฟังแล้ว หมวดสามแห่งธรรมอันเราทราบแล้ว.

สุต ศัพท์นี้ มีอรรถว่ารู้ตามแนวแห่งโสตทวาร และทรงจำตามที่ตน

รู้แล้ว ดังในประโยคว่า สุตธโร สุตสนฺนิจโย เป็นต้น แปลว่า ทรงไว้

ซึ่งสุตะ สั่งสมไว้ซึ่งสุตะ แต่ในที่นี้มีอรรถว่าเข้าไปทรงไว้แล้ว หรือว่า การ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

เข้าไปทรงไว้ โดยกระแสแห่งโสตทวาร. ก็เมื่ออรรถแห่ง เม ศัพท์ ว่า มยา

ก็จะประกอบเนื้อความได้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว เข้าไปทรงไว้แล้วตามแนว

แห่งโสตทวาร เมื่อเมศัพท์เท่ากับ มม ก็จะประกอบเนื้อความได้ว่า การสดับ

คือ การเข้าไปทรงไว้โดยกระแสแห่งโสตทวารของเรา ดังนี้.

บรรดาบททั้ง ๓ เหล่านี้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ บทว่า เอว เป็น

บทแสดงกิจ ของวิญญาณ โสตวิญญาณเป็นต้น. บทว่า เม เป็นบทแสดงถึง

บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียง ด้วยวิญญาณอันคนสดับมาแล้ว. บทว่า สุต เป็น

บทแสดงถึงการรับไว้โดยไม่หย่อนไม่ยิ่งและไม่วิปริต โดยความเป็นผู้ไม่ปฏิเสธ

ต่อการไม่ได้ฟังมา. อนึ่ง บทว่า เอว เป็นบทประกาศภาวะที่วิถีวิญญาณนั้น

เป็นไปโดยกระแสแห่งโสตทวารเป็นธรรมชาติเป็นไปในอารมณ์โดยประการ

ต่าง ๆ. บทว่า เม เป็นบทประกาศตน. บทว่า สุต เป็นบทประกาศธรรม.

ก็ในพระบาลีนี้ มีความสังเขปดังนี้ว่า ข้าพเจ้า มิได้กระทำสิ่งอื่น นอกจาก

สิ่งนี้ คือ ว่าข้าพเจ้าสดับธรรมนี้มา ด้วยวิญญาณวิถีอันเป็นไปในอารมณ์มี

ประการต่าง ๆ. อนึ่ง บทว่า เอว เป็นบทประกาศธรรมที่ควรชี้แจง. บทว่า

เม เป็นบทประกาศบุคคล. บทว่า สุต เป็นบทประกาศกิจ คือ หน้าที่ของ

บุคคล. สุตะ บทนี้ มีอรรถาธิบายว่า ข้าพเจ้าจักแสดงซึ่งสูตรอันใด สูตร

อันนั้นข้าพเจ้าสดับมาแล้วอย่างนี้. อนึ่ง บทว่า เอว นี้เป็นบทชี้แจงโดย

อาการต่าง ๆ แห่งจิตตสันดานซึ่งเป็นตัวถือเอาอรรถะ และพยัญชนะต่าง ๆ

โดยลักษณะที่เป็นไปด้วยอาการต่าง ๆ เพราะเอวบทนี้เป็นศัพท์แสดงถึงบัญญัติ

ของอาการ. บทว่า เม เป็นบทแสดงถึงผู้กระทำ. บทว่า สุต เป็นบทแสดง

ถึงอารมณ์. ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นภาวะที่จิตตสันดานเป็นไปโดยอาการ

ต่างๆกัน กระทำการสันนิษฐานในการรับอารมณ์ของผู้กระทำความพร้อมเพรียง

กันในจิตตสันดานนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เอว แสดงหน้าที่ของบุคคล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

บทว่า สุต แสดงหน้าที่ของวิญญาณ. บทว่า เม แสดงถึงบุคคลซึ่งประกอบ

หน้าที่ทั้งสอง. ก็ในพระบาลีนี้ มีเนื้อความย่อว่า ข้าพเจ้าผู้เป็นบุคคล พร้อม

ด้วยวิญญาณอันมีการสดับมาเป็นกิจ (หน้าที่) ได้สดับมาแล้วโดยโวหารว่า

สวนกิจ อันได้มาแล้วเนื่องด้วยวิญญาณ ดังนี้. บรรดาบททั้ง ๓ นั้น บทว่า

เอว และ เม เป็นอวิชชมานบัญญัติ ด้วยอำนาจแห่งสัจฉิกัตถะ และปรมัตถ-

สัจจะ. อันที่จริง ในพระบาลีนี้ มีข้อที่ควรจะชี้แจงว่า เอว ก็ดี เม ก็ดี

ว่าโดยปรมัตถ์ มีอยู่อย่างไร. บทว่า สุต เป็นวิชชมานบัญญัติ เพราะอารมณ์

ที่ได้ทางโสตในที่นี้นั้น มีอยู่โดยปรมัตถ์. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เอว และ

เม เป็นอุปาทาบัญญัติ เพราะเป็นถ้อยคำอันบุคคลพึงกล่าว อาศัยเอาสิ่งนั้น ๆ.

บทว่า สุต เป็นอุปนิธานบัญญัติ เพราะเป็นถ้อยคำอันบุคคลพึงกล่าว เทียบ

เคียงซึ่งอารมณ์ทั้งหลายมีทิฏฐารมณ์เป็นต้น.

ก็ในพระบาลีนั้น ท่านพระอานนท์ ย่อมแสดงความไม่ลุ่มหลงไว้

ด้วยคำว่า เอว เพราะผู้หลงแล้วย่อมไม่สามารถแทงตลอดได้โดยประการต่างๆ

และย่อมแสดงความไม่ฟั่นเฟือนแห่งถ้อยคำที่ท่านได้สดับมาไว้ด้วยคำว่า สุต

เพราะว่า ถ้าบุคคลมีถ้อยคำที่ได้สดับฟังมาหลงลืมไปย่อมจะไม่ทราบชัดว่า คำ

นี้ ข้าพเจ้าได้สดับฟังมาแล้ว โดยระหว่างกาล ด้วยอาการอย่างนี้ พระอานนท์

นี้ จึงชื่อว่า มีความสำเร็จทางปัญญาเพราะความไม่ลุ่มหลงและมีความสำเร็จ

ทางสติเพราะความไม่ฟั่นเฟือน.

ในความสำเร็จ ๒ อย่างนั้น ถ้าสติมีปัญญาเป็นประธาน ก็สามารถทำ

การกำหนดได้แน่นอนในพยัญชนะ. ถ้าปัญญามีสติเป็นประธาน ก็สามารถแทง

ตลอดในอรรถะ ก็เพราะประกอบด้วยความสามารถแห่งธรรมทั้งสองนั้น

ท่านพระอานนท์ จึงได้นามว่า ธรรมภัณฑาคาริก (ขุนคลังแห่งพระธรรม)

เพราะสามารถที่จะอนุรักษ์คลังพระธรรมให้สมบูรณ์ ด้วยอรรถะ และพยัญชนะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงโยนิโสมนสิการไว้ด้วยคำว่า เอว

เพราะผู้ไม่มีโยนิโสมนสิการ ย่อมไม่สามารถแทงตลอดได้โดยประการต่าง ๆ.

ย่อมแสดงความเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยคำว่า สุต นี้ เพราะจิตที่ฟุ้งซ่าน

มีการฟังไม่ได้ จริงอย่างนั้น บุคคลมีจิตฟุ้งซ่านแม้ผู้อื่นพูดให้สมบูรณ์ทุก

อย่าง ก็ยังกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ขอจงพูดอีก.

ก็บรรดาคุณธรรม ๒ อย่างนั้น เมื่อว่าโดยโยนิโสมนสิการ พระ-

อานนท์ย่อมให้สำเร็จซึ่งอัตตสัมมาปณิธิ และบุพเพกตบุญญตา เพราะบุคคล

ผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบและมิได้ทำบุญไว้ในกาลก่อนแล้ว จะมีโยนิโสมนสิการไม่ได้.

ว่าโดยความไม่ฟุ้งซ่าน ท่านพระอานนท์ย่อมให้สำเร็จซึ่งสัทธัมมัสสวนะและ

สัปปุริสูปัสสยะ เพราะผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ย่อมไม่อาจเพื่อสดับฟัง และผู้ไม่มี

อุปนิสัยก็ไม่มีการคบหากับสัตบุรุษ.

อีกนัยหนึ่ง ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า เพราะบทว่า เอว ย่อมแสดง

ไขถึงอาการต่าง ๆ แห่งจิตสันดาน ซึ่งเป็นตัวรับเอาอรรถและพยัญชนะ

ต่าง ๆ ให้เป็นไปด้วยอาการต่าง ๆ กัน ก็ลักษณะอาการอันเจริญอย่างนี้นั้น

ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้ทำบุญไว้ในปางก่อน ฉะนั้น

ท่านพระอานนท์ จึงแสดงสมบัติ คือ จักร ๒ ข้อ เบื้องปลายของท่าน ด้วย

อาการอันเจริญ ด้วยคำว่า เอว นี้. ย่อมแสดงสมบัติ คือ จักร ๒ ข้อเบื้องต้น

โดยการประกอบการสดับฟังด้วยคำว่า สุต นี้. จริงอยู่ เมื่อบุคคลอยู่ในถีนฐาน

อันมิใช่ปฏิรูปเทส หรือเว้นจากการคบสัตบุรุษ ย่อมไม่มีการสดับฟัง. โดยนัยนี้

อาสยสุทธิ (คือความสำเร็จแห่งอัธยาศัย) ย่อมเป็นอันสำเร็จแก่ท่านเพราะ

ความสำเร็จแห่งจักร ๒ ข้อ เบื้องปลาย. ปโยคสุทธิ (คือความสำเร็จแห่ง

ปโยคะ) ย่อมเป็นอันสำเร็จเพราะจักร ๒ ข้อ เบื้องต้น. ก็ด้วยความบริสุทธิ์

แห่งอาสยะนั้น ท่านจึงเป็นผู้เฉลียวฉลาดเฉียบแหลมในการบรรลุมรรคผล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

เพราะความบริสุทธิ์แห่งปโยคะนั้น ท่านจึงเป็นผู้เฉลียวฉลาดยิ่งในพระปริยัติ.

ด้วยเหตุนี้ ถ้อยคำของท่านพระอานนท์ผู้มีปโยคะและอาสยะบริสุทธิ์แล้ว ผู้

สมบูรณ์แล้วด้วยการบรรลุมรรคผล ย่อมสมควรเพื่อเป็นถ้อยคำเบื้องต้นสำหรับ

รองรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนการขึ้นไปแห่งอรุณ

เป็นเบื้องต้น แห่งพระอาทิตย์กำลังอุทัยอยู่ และเปรียบเหมือน โยนิโสมนสิการ

เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรมฉะนั้น เหตุดังนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อจะเริ่ม

ตั้งคำอันเป็นนิทานในฐานะอันควร จึงกล่าว บทว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น.

อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ ย่อมแสดงภาวะสมบัติ คือ อรรถ

ปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตนด้วยคำอันแสดงถึงการแทงตลอดได้

โดยประการต่าง ๆ ว่า เอว นี้. ท่านย่อมแสดงภาวะสมบัติ คือ ธรรมปฏิสัมภิทา

และนิรุตติปฏิสัมภิทา ด้วยคำอันแสดงถึงการแทงตลอดประเภทแห่งธรรมอัน

บุคคลพึงสดับฟังว่า สุต นี้.

อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อจะกล่าวถ้อยคำอันแสดงถึงโยนิโสมนสิการ

ด้วย เอว นี้. จึงแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจ ข้าพเจ้าแทงตลอด

ดีแล้วด้วยทิฏฐิ ดังนี้. เมื่อกล่าวถ้อยคำอันแสดงถึงการประกอบการฟังด้วย

สุต นี้ จึงแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว ทรงจำไว้แล้ว

สั่งสมไว้แล้วด้วยปัญญา ดังนี้. เมื่อท่านจะแสดงอรรถและพยัญชนะให้บริบูรณ์

ด้วยคำแม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมให้การเอื้อเฟื้อในการที่จะให้การฟังเกิดขึ้น เพราะว่า

เมื่อบุคคลไม่ฟังธรรมอันบริบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะโดยเอื้อเฟื้อเคารพย่อม

เป็นผู้เหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลอันใหญ่ เพราะเหตุนี้ บุคคลพึงให้ความ

เอื้อเฟื้อเคารพในการฟังธรรมให้เกิดขึ้นเถิด.

อนึ่ง ด้วยคำทั้งสิ้นว่า เอวมฺเม สุต นี้ ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ตั้ง

ธรรมอันพระตถาคตประกาศแล้วไว้สำหรับตน จึงชื่อว่า ย่อมก้าวล่วงภูมิของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

อสัตบุรุษ เมื่อปฏิญาณความเป็นสาวก ชื่อว่า ย่อมก้าวลงสู่ภูมิแห่งสัตบุรุษ.

ท่านพระอานนท์ ย่อมยังจิตของท่านให้หลีกออกจากอสัทธรรม และให้จิต

ของท่านดำรงไว้ในพระสัทธรรม โดยทำนองนั้นเหมือนกัน เมื่อท่านแสดงว่า

ก็พระดำรัสนี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นนั่นแหละ ข้าพเจ้าได้ฟังมา

อย่างเดียวเท่านั้น ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเปลื้องตนออก ย่อมแสดงอ้างพระศาสดา

ย่อมยังพระดำรัส ของพระชินเจ้าให้แนบสนิท ย่อมยังธรรมเนติให้ดำรงอยู่.

อีกอย่างหนึ่ง พระอานนท์ เมื่อไม่ปฏิญญา (ไม่รับรอง) ซึ่งความที่

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าเป็นธรรมอันตนให้เกิดขึ้นได้เอง เปิดเผย

การได้ฟังมาตั้งแต่เบื้องต้น ด้วยบทว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมยัง

ความไม่มีศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธาสมบัติในธรรมนี้ให้เกิดขึ้นแก่เทวดา

และมนุษย์ทั้งปวงว่า พระดำรัสนี้ ข้าพเจ้าได้รับมาเฉพาะต่อพระพักตร์ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชญาณ ๔ ผู้ทรงไว้ซึ่งทศพลญาณ

ผู้ดำรงอยู่ในอาสภฐาน (ฐานะอันประเสริฐ) ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่า

สรรพสัตว์ ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ผู้เป็นธรรมราชา ผู้เป็นธรรมาธิบดี ผู้มีธรรม

ดังประทีป ผู้มีธรรมเป็นสรณะ ผู้ยังจักรอันประเสริฐคือพระธรรมให้เป็นไปทั่ว

ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะพระองค์นั้น ในพระดำรัสนี้ใคร ๆ ไม่ควรทำความ

สงสัย หรือเคลือบแคลงในอรรถในธรรม ในบทหรือในพยัญชนะ ดังนี้

ด้วยเหตุนี้นั้น ท่านพระอรรถกถาจารย์จึงประพันธ์คำอันเป็นคาถาไว้ว่า

วินาสยติ อสฺสทฺธ สทฺธ วฑฺเฒติ สาสเน

เอวมฺเม สุตมิจฺเจต วท โคตมสาวโก.

ท่านพระอานนท์ผู้เป็นสาวกของ

พระสมณโคดม กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ นี้ชื่อว่า ย่อมยังความ

เป็นผู้ไม่มีศรัทธาให้พินาศ ย่อมยังศรัทธา

สมบัติให้เจริญในพระพุทธศาสนา ดังนี้.

ว่าด้วย เอก สมย

บทว่า เอก แสดงการกำหนดจำนวน. บทว่า สมย แสดงสมัย

(คือ เวลา) ที่กำหนดไว้แล้ว. บทว่า เอก สมย แสดงสมัยอันกำหนดไว้ไม่

แน่นอน.

สมยศัพท์ ในบทว่า สมย นี้ ข้าพเจ้าเห็นใช้ในอรรถว่า ความ

พร้อมเพรียงกัน ในอรรถว่าขณะ ในอรรถว่ากาลเวลา ในอรรถว่าประชุม ใน

อรรถว่าเหตุและทิฏฐิ ในอรรถว่าได้เฉพาะ ในอรรถว่าละ ในอรรถว่า

แทงตลอด

จริงอย่างนั้น สมยศัพท์นี้ มีอรรถว่าพร้อมเพรียงกัน เช่นในประโยค

ว่า อปฺเปว นาม เสฺวปิ อุปสงฺกเมยฺยาม กาลญฺจ สมยญฺจ อุปาทาย

ดังนี้เป็นต้น แปลว่า หากว่าพวกเราอาศัยกาลเวลา และความพร้อมเพรียงกัน

ได้แล้ว ก็พึงเข้าไปในวันพรุ่งนี้.

สมยศัพท์ มีอรรถว่าขณะ เช่นในประโยคว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว

ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ขณะหนึ่ง สมัยหนึ่ง มีอยู่เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์.

สมยศัพท์ มีอรรถว่า กาลเวลา เช่นในประโยคว่า อุณฺหสมโย

ปริฬาหสมโย เป็นต้น แปลว่า เวลาร้อน เวลากระวนกระวาย.

สมยศัพท์ มีอรรถว่าประชุม เช่นในประโยคว่า มหาสมโย ปวนสฺมึ

เป็นต้น แปลว่า ประชุมใหญ่ในป่าใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

สมยศัพท์ มีอรรถว่าเหตุ เช่นในประโยคว่า สมโยปิ โข เต. . .

อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุนี้แล ได้เป็น

สมัยที่เธอยังมิได้แทงตลอดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ กรุงสาวัตถี แม้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อ ภัททาลิ เป็นผู้ไม่กระทำให้

บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา ดังนี้ ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล

ได้เป็นสมัยอันเธอไม่แทงตลอดแล้ว.

สมยศัพท์ มีอรรถว่าทิฐิ เช่นในประโยคว่า เตน โข ปน สมเยน...

อาราเม ปฏิวสติ เป็นต้น แปลว่า ก็สมัยนั้นแล ปริพาชก ชื่อ อุคคาหมานะ

เป็นบุตรนางสมณมุณฑิกา อยู่อาศัยในอารามของนางมัลลิกา อันมีศาลา

หลังเดียวมีต้นมะพลับเรียงรายอยู่รอบเป็นที่สนทนากันถึงเรื่องทิฐิ.

สมยศัพท์ มีอรรถว่าได้เฉพาะ เช่นในคำประพันธ์เป็นคาถาว่า

ทิฏฺเ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺปรายิโก

อตฺถาภิสมยา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ

ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ เรา

กล่าวว่าเป็นบัณฑิต เพราะการได้เฉพาะ

ซึ่งประโยชน์ในทิฏฐธรรมและประโยชน์ที่

เป็นไปในสัมปรายิกภพ.

สมย ศัพท์ มีอรรถว่าละ เช่นในประโยคว่า สมฺมา มานาภิสมยา

อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส เป็นต้น แปลว่า ได้กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์แล้ว

เพราะละมานานุสัยได้โดยชอบ.

สมย ศัพท์ มีอรรถว่าแทงตลอด เช่นในประโยคว่า ทุกฺขสฺส

ปิฬนฏฺโ...อภิสมยฏฺโ เป็นต้น แปลว่า ทุกข์มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

ว่าถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอรรถว่าเร่าร้อน มีอรรถว่าแปรปรวน มีอรรถว่าพึง

แทงตลอด.

แต่ในปกรณ์นี้ สมย ศัพท์ มีอรรถว่ากาลเวลา ด้วยเหตุนั้น ท่าน

พระอานนท์จึงแสดงว่า สมัยหนึ่ง บรรดาสมัยทั้งหลาย อันเป็นประเภท

แห่งกาลเวลา มี ปี ฤดู เดือน กึ่งเดือน กลางคืน กลางวัน เช้า เที่ยง

เย็น ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม และครู่หนึ่ง เป็นต้น.

ในคำว่า สมัยหนึ่ง นั้นในบรรดาสมัยทั้งหลายมีปีเป็นต้นเหล่านี้

พระสูตรใด ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปี ในฤดู ในเดือน ในปักษ์

ในเวลาอันเป็นส่วนกลางคืน ในเวลาอันเป็นส่วนกลางวัน ใด ๆ พระสูตรนั้น

ทั้งหมด ท่านพระอานนท์ทราบดีแล้ว กำหนดดีแล้วด้วยปัญญา แม้ก็จริง

ถึงอย่างนั้น ก็เพราะเมื่อพระเถระจะกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว

อย่างนี้ ในปีโน้น ในฤดูโน้น ในเดือนโน้น ในปักษ์โน้น ในกาลอันเป็น

ส่วนแห่งราตรีโน้น หรือว่าในกาลอันเป็นส่วนแห่งทิวาโน้น อย่างนี้ ใคร ๆ

ก็ไม่อาจเพื่อทรงจำไว้ได้หรือแสดงได้ หรือว่าให้ผู้อื่นแสดงได้โดยง่ายเลย

ทั้งจะต้องเป็นถ้อยคำที่ท่านต้องกล่าวมาก ฉะนั้น ท่านพระเถระจึงประมวล

ข้อความดังกล่าวแล้วนั้นไว้เพียงบทเดียวเท่านั้น ว่า สมัยหนึ่ง ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ ย่อมแสดงถึงสมัยทั้งหลายของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งมีประเภทแห่งกาลไว้มิใช่น้อย ตามที่ปรากฏแจ่มแจ้งใน

หมู่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ คือ

สมัยที่พระองค์เสด็จก้าวลงสู่พระครรภ์

สมัยที่พระองค์ประสูติ

สมัยที่พระองค์ทรงสลดพระหฤทัย

สมัยที่พระองค์เสด็จออกผนวช

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

สมัยที่พระองค์ทรงชนะพญามาร

สมัยที่พระองค์ตรัสรู้

สมัยที่พระองค์ประทับเป็นสุขในทิฏฐธรรม

สมัยที่พระองค์ตรัสเทศนา*

สมัยที่พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน

บรรดาสมัยเหล่านั้น สมัยหนึ่ง กล่าวคือ สมัยที่ตรัสเทศนาไว้.

อนึ่ง บรรดาสมัยแห่งญาณกิจและกรุณากิจ สมัยแห่งพระกรุณากิจ

นี้ใด ในบรรดาสมัยที่ทรงปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อถูลแก่พระองค์และเพื่อแก่

บุคคลอื่น สมัยแห่งการปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลอื่นนี้ใด ในสมัย

แห่งพระกรณียกิจทั้งสอง แก่ผู้ประชุม สมัยแห่งการทรงแสดงธรรมีกถานี้ใด

ในบรรดาสมัยแห่งเทศนาและปฏิบัติสมัยแห่งเทศนา นี้ใด ท่านพระอานนท์

กล่าวว่า "สมัยหนึ่ง" ดังนี้ หมายเอาสมัยใดสมัยหนึ่งในบรรดาสมัยเหล่านั้น.

ถามว่า ก็ในพระสูตรนี้ ท่านทำคำชี้แจงไว้ ด้วยทุติยาวิภัตติ ว่า

เอก สมย ไม่เหมือนในพระอภิธรรมซึ่งทำไว้ ด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ

สมเย กามาวจร และบทเเห่งสูตรอื่นนอกจากพระอภิธรรมนี้ ก็ทำนิเทศ

ไว้ ด้วยภุมมวจนะว่า ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว วิวิจฺเจว กาเมหิ แปลว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด ภิกษุสงัดแล้วจากกามทั้งหลาย ส่วนในพระวินัย

ท่านทำนิเทศไว้ ด้วย ตติยาวิภัตติ ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา

ดังนี้ เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพราะในพระอภิธรรม และพระวินัยมีอรรถเป็นเช่นนั้น

แต่พระสูตรนี้มีอรรถเป็นอย่างอื่น.

* บางแห่งแสดง สมัยที่ปลงพระชนมายุสังขารด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

จริงอยู่ ในบรรดา ๓ ปิฎกนั้น ในพระอภิธรรมปิฎก และบทแห่ง

สูตรอื่นแต่อภิธรรมนี้ สมย ศัพท์ย่อมสำเร็จเนื้อความ มีอรรถแห่งอธิกรณะ

และมีการกำหนดซึ่งภาวะ (สภาวธรรม) ด้วยภาวะเป็นอรรถ เพราะอธิกรณะ

มีอรรถเท่ากับสมยศัพท์ ซึ่งมีการเป็นอรรถ มีสมูหะเป็นอรรถ. สภาพแห่ง

ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระอภิธรรมและ

บทแห่งสูตรอื่นแต่อภิธรรมนี้ ท่านกำหนดไว้ด้วยภาวะแห่งสมยะ กล่าวคือ

ขณะ สมวายะ (การประชุม) และเหตุ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องอรรถนี้นั้น

ท่านจึงทำนิเทศไว้ในที่นี้ ด้วยภุมมวจนะ

แต่ในพระวินัย สมย ศัพท์ ย่อมให้สำเร็จกิจ มีเหตุเป็นอรรถ

และมีกรณะเป็นอรรถ

จริงอยู่ สมัยใด เป็นสมัยพระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบท (พระวินัย)

สมัยนั้น แม้พระสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น ก็พึงรู้ได้โดยยาก เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลาย โดยสมัยอันเป็นกาละ

เป็นเหตุและเป็นกรณะนั้น ทรงพิจารณาอยู่ซึ่งเหตุแห่งการบัญญัติสิกขาบท

ได้เสด็จประทับ อยู่ในที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องอรรถะนั้น ท่านจึงทำ

นิเทศสมยศัพท์ไว้ ด้วยกรณวจนะ ในพระวินัยนั้น.

ส่วนในพระสุตตันตะนี้ และในสูตรอื่นที่มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างนี้ สมย

ศัพท์ ย่อมสำเร็จอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ ทุติยาวิภัตติ.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรนี้ หรือพระสูตรอื่น

ตลอดสมัยใด ได้เสด็จประทับอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือ พระกรุณาล่วง

ส่วนตลอดสมัยนั้นทีเดียว เพราะฉะนั้น เพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำ

นิเทศไว้ ด้วยอุปโยควจนะ ทุติยาวิภัตติ ในพระสูตรนี้ ด้วยเหตุนี้นั้น

ท่านจึงประพันธ์คำเป็นคาถาไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

ตนฺต อตฺถมเวกฺขิตฺวา ภุมฺเมน กรเณน จ

อญฺตฺร สมโย วุตฺโต อุปโยเคน โส อิธ

ท่านพิจารณาเนื้อความนั้น ๆ แล้ว

จึงกล่าวสมยศัพท์ในที่อื่น ๆ คือ ในพระ-

อภิธรรมด้วยภุมมวจนะ(สัตตมีวิภัตติ) ใน

พระวินัยด้วยกรณวจนะ (ตติยาวิภัตติ) แต่

ในพระสุตตันตะนี้ ท่านกล่าวสมยสัพท์

ด้วยอุปโยควจนะ (ทุติยาวิภัตติ) ดังนี้

ส่วนพระโบราณาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาไว้ว่า สมยศัพท์นี้ต่างกัน

แต่เพียงโวหารว่า ตสฺมึ สมเย หรือว่า เตน สมเยน หรือว่า ต สมย

เท่านั้น ในปิฎกทั้งสามนั้น สมย ศัพท์ มีอรรถเป็นภุมมวจนะอย่างเดียว

เท่านั้น เพราะเหตุนี้นั้น แม้จะกล่าวว่า เอ สมย ก็พึงทราบว่า มีอรรถ

เท่ากับ เอกสฺมึ สมเย ดังนี้.

ว่าด้วยบท ภควา

บทว่า ภควา ได้แก่ ครู. เพราะ บัณฑิตในโลกเรียกครูว่า ภควา

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นครูของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพราะความ

ที่พระองค์เป็นผู้วิเศษสุดโดยคุณทั้งปวง เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบคำว่า

ภควา ดังนี้. แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวว่า

ภควาติ วจน เสฏฺ ภควาติ วจนมุตฺตม

คุรุคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด

คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด พระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

ภาคเจ้าพระองค์นั้นควรแก่การเคารพโดย

ฐานครู เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรง

พระนามว่า ภควา ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบอรรถแห่งบทนั้นโดยพิสดาร ด้วย

อำนาจแห่งคาถานี้ว่า

ภาคฺยวา ถคฺควา ยุตฺโต ภคฺเคหิ จ วิภตฺตวา

ภตฺตวา วนฺตคมโน ภเวสุ ภควา ตโต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรง

มีโชค ทรงหักกิเลสได้แล้ว ทรงประกอบ

ด้วยภคธรรม ทรงจำแนกธรรม ทรงคบ

ธรรม ทรงคายการไปในภพทั้งหลายแล้ว

เหตุนั้น พระองค์ จึงทรงพระนามว่า ภควา

ดังนี้.

ก็อรรถแห่งภควานั้น ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในนิเทศแห่งพุทธานุสสติ

ในปกรณ์วิเศษ ชื่อว่า วิสุทธิมรรคนั่นเทียว.

ก็โดยลำดับแห่งถ้อยคำเพียงเท่านี้ พระอานนท์เมื่อแสดงธรรมตามที่

ได้สดับมา ชื่อว่า ย่อมทำธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์ไว้

ด้วยคำว่า เอวมฺเม สุต ในพระสูตรนี้ ด้วยคำนั้นแหละ ท่านพระอานนท์

ชื่อว่าให้ประชาชนผู้กระวนกระวายเพราะไม่ได้เห็นพระบรมศาสดาให้เบาใจว่า

ปาพจน์ (คือพระธรรมวินัย) นี้มีพระบรมศาสดาล่วงไปแล้วหามิได้ พระธรรม

วินัยนี้ เป็นพระบรมศาสดาของท่านทั้งหลายดังนี้.

ด้วยคำว่า เอก สมย ภควา ท่านพระอานนท์ เมื่อแสดงซึ่งความ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงมีอยู่ในสมัยนั้น ชื่อว่า ย่อมประกาศการปริ-

นิพพานของรูปกาย ด้วยคำนั้นแหละ ท่านพระอานนท์ ชื่อว่า ยังประชาชน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

ผู้มัวเมาในชีวิตให้เกิดการสลดใจ ทั้งให้ความอุตสาหะในพระสัทธรรมเกิดขึ้น

แก่ประชาชนว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นซึ่งมีพระวรกายเสมอด้วย

แท่งเพชร ผู้ทรงกำลังสิบ ผู้แสดงอริยธรรมชื่ออย่างนี้ ๆ ยังเสด็จดับขันธปริ-

นิพพานได้ คนอื่นใครเล่าจะพึงมีความหวังในชีวิต ดังนี้.

อนึ่ง พระอานนท์ เมื่อกล่าวคำว่า เอว ชื่อว่า ย่อมแสดงถึงเทศนา

สมบัติ เมื่อกล่าวว่า เม สุต ชื่อว่า ย่อมแสดงถึงสาวกสมบัติ เมื่อกล่าวว่า

เอก สมย ชื่อว่า ย่อมแสดงถึงกาลสมบัติ เมื่อกล่าวคำว่า ภควา ชื่อว่า

ย่อมแสดงเทสกสมบัติ ดังนี้. บทว่า สาวตฺถิย ได้แก่ ในพระนครอันมีชื่อ

อย่างนี้. ก็คำว่า สาวตฺถิย นี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้. บทว่า

วิหรติ เป็นคำแสดงถึงความพร้อมเพรียงด้วยวิหารธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งใน

บรรดาอิริยาบถวิหาร ทิพยวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร โดยไม่แปลกกัน

แต่ในที่นี้ คำว่า วิหรติ นี้เป็นคำแสดงถึงการประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใด

อย่างหนึ่ง ในบรรดาอิริยาบถทั้งหลาย ชนิดต่าง ๆ มีการยืน การเดิน การนั่ง

และการนอน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับยืนก็ดี เสด็จดำเนินไป

ก็ดี ประทับนั่งก็ดี บรรทมก็ดี บัณฑิต พึงทราบว่า ย่อมประทับอยู่นั่นแหละ.

จริงอยู่ พระองค์ทรงบำบัดความลำบากแห่งอิริยาบถอย่างหนึ่ง ด้วย

อิริยาบถอย่างหนึ่ง ทรงนำอัตภาพไป คือ ให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม เพราะ

เหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ย่อมประทับอยู่ ดังนี้.

บทว่า เชตวเน ได้แก่ ในอุทยานของพระราชกุมาร ทรงพระนาม

ว่า เชต. จริงอยู่ พระราชอุทยานนั้น พระราชกุมารพระองค์นั้นทรงสร้างให้

เจริญดีแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระราชอุทยานนี้ จึงชื่อว่า เชตวัน ฉะนั้น พระ

อานนท์ จึงกล่าวว่า ณ พระเชตวันนั้น ดังนี้. บทว่า อนาถปิณฑิกสฺส

อาราเม ความว่า ในพระอารามอันถึงการนับว่า เป็นของอนาถปิณฑิกคหบดี

เพราะคหบดี ชื่อว่า อนาถปิณฑิกะมอบถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

เป็นประมุข ด้วยการบริจาคเงินมีประมาณ ๕๔ โกฏิ. ความสังเขปในพระสูตร

นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนเนื้อความพิสดารพระอรรถกถาจารย์พรรณนาไว้ในสัพพา

สวสุตตวรรณนาในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อ ปปัญจสูทนี.

ในข้อนี้ หากมีผู้ท้วงขึ้นว่า ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่

เมืองสาวัตถีก่อน พระเถระก็ไม่ควรจะพูดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่

พระเชตวัน ถ้าประทับอยู่ที่พระเชตวันก่อน ก็ไม่น่าจะพูดว่า ประทับอยู่ที่

พระนครสาวัตถี ดังนี้ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่สามารถประทับอยู่ใน

สถานที่สองแห่งพร้อม ๆ กัน ในเวลาเดียวกัน.

ตอบว่า ข้อนั้น ไม่พึงเห็นอย่างนั้น เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว

มิใช่หรือว่า คำว่า สาวตฺถิย เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่าใกล้ ฉะนั้น

ในที่แม้นี้ เพราะเชตวันนี้ใด อยู่ใกล้พระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

ประทับอยู่ในที่นั้น ท่านพระอานนท์ จึงกล่าวว่า สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน

ซึ่งแปลว่า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันใกล้พระนครสาวัตถี เปรียบเหมือน

ฝูงโคทั้งหลายเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมุนาเป็นต้น ชาวโลกย่อม

เรียกว่า เที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคา เที่ยวไปใกล้แม่น้ำยมุนา ฉันนั้น.

จริงอยู่ คำว่า สาวตฺถี ท่านพระเถระกล่าวไว้เพื่อแสดงถึงโคจรคาม

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น คำที่เหลือ ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงสถานที่

อยู่อาศัยอันสมควรแก่บรรพชิต.

บทว่า อญฺตรา เทวตา ได้แก่ เทพยดาองค์หนึ่ง ซึ่งมีชื่อและ

โคตรมิได้ปรากฏ. ก็ในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมทรงทราบยิ่ง ซึ่งการบูชาของข้าพระองค์ พระองค์ได้ตรัสถึงวิมุตติอันเป็น

ธรรมสิ้นไปแห่งตัณหาแก่ยักษ์ผู้มีศักดาใหญ่คนหนึ่ง ด้วยธรรมอันสังเขป ดังนี้

แม้ท้าวสักกเทวราช ผู้ปรากฏแล้วท่านก็กล่าวว่า อญฺตโร หมายถึงองค์หนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

อนึ่ง คำว่า เทวตา นี้เป็นคำทั่วไปแก่เทวดาทั้งหลาย แม้แต่เทพธิดา

ทั้งหลาย แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาเทพบุตร. ก็เทพบุตรนั้นแล องค์ใด

องค์หนึ่งในบรรดาชั้นรูปาวจรภูมิ.

ว่าด้วยอภิกกันตศัพท์

อภิกกันตศัพท์ ในบทว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา นี้ ปรากฏใน

อรรถว่า ความสิ้นไป ดี งาม ยินดี ยิ่งเป็นต้น.

ในบรรดาคำเหล่านั้น อภิกกันตศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า สิ้นไป

เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า อภิกฺกนฺตา ภนฺเต รตฺติ นิกฺขนฺโต ปโม

ยาโม จิร นิสินฺโน ภิกฺขุสโฆ อุทฺทิสตุ ภนฺเต ภควา ภิกฺขูน ปาฏิโมกฺข

แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีสิ้นไปแล้ว ปฐมยามล่วงไปแล้ว พระ

ภิกษุสงฆ์นั่งแล้วสิ้นกาลนาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงแสดงปาฏิโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด.

อภิกกันตศัพท์ ในอรรถว่า ดี เช่นในประโยคที่มีอาทิอย่างนี้ว่า อย

อิเมส จตุนฺน ปุคฺคลาน อภิกฺกนฺตตโร ปณีตตโร จ แปลว่า บุคคลนี้ดีกว่า

ประณีตกว่าบุคคลทั้ง ๔ เหล่านี้.

โก เม วนฺทติ ปาทานิ อิทฺธิยา ยสฺสา ชล

อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน สพฺพา โอภาสย ทิสา

ใครหนอ รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ด้วยยศ

มีวรรณงดงาม ยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว

อยู่ มาไหว้เท้าของเรา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

อภิกกันตศัพท์ ในอรรถว่า ยินดียิ่ง เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า

อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม แปลว่า ข้าแต่พระโคดม

ผู้เจริญน่ายินดียิ่ง ข้าแด่พระโคดม ผู้เจริญน่ายินดียิ่ง.

แต่ในที่นี้ อภิกกันตศัพท์ ใช้ในอรรถว่า สิ้นไป ด้วยคำนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า เมื่อราตรีสิ้นไปแล้ว สิ้นไปรอบแล้ว. ในข้อนั้น พึงทราบว่า

เทวบุตรนี้มาแล้วในเวลาใกล้ที่สุดแห่งมัชฌิมยามทีเดียว.

ได้ยินว่า เทวดาทั้งหลาย เมื่อมาสู่ที่บำรุงของพระพุทธเจ้า หรือสาวก

ของพระพุทธเจ้า ย่อมมาในเวลามัชฌิมยาม เท่านั้น นี้เป็นนิยามของเทวดา

ทั้งหลาย. อภิกกันตศัพท์ ในคำว่า อภิกฺกนฺตวณฺณา นี้ ใช้ในอรรถว่า

วรรณะงาม.

ว่าด้วยวัณณศัพท์

ก็วัณณศัพท์ ปรากฏในอรรถได้หลายอย่าง เช่น ในอรรถว่า ผิว

คุณความดี กุลวัคคะ (ชาติ) เหตุ ทรวดทรง ขนาด รูปายตนะ เป็นต้น.

ในบรรดาอรรถเหล่านั้น วัณณศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ผิว เช่นใน

ประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า สุวณฺณวณฺโณ ภควา แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

มีผิว เพียงดังวรรณะแห่งทองคำ.

วัณณศัพท์ ในอรรถว่า คุณความดี (ถุติ) เช่นในประโยคมีอาทิ

อย่างนี้ว่า กทา สพฺยุณฺหา ปน เต คหปติ สมณสฺส โคตมสฺส วณฺณา

แปลว่า ดูก่อนคหบดี ท่านประมวลคุณความดีของพระสมณโคดมมาไว้แต่

เมื่อไร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

วัณณศัพท์ ในอรรถว่า ชาติ (กุลวคฺค) เช่นในประโยคที่มีอาทิ

อย่างนี้ว่า จตฺตาโร เม โภ โคตโม วรฺณา แปลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ชาติ ตระกูล สี่เหล่านี้.

วัณณศัพท์ ในอรรถว่า เหตุ (การณ) เช่นในประโยคมีอาทิอย่าง

นี้ว่า ในสังยุตตนิกายวนสังยุตว่า

อถ เกน นุ วณฺเณน คนฺธตฺเถ-

โนติ วุจฺตติ แปลว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เหตุไร

เล่า ท่านจึงกล่าวว่า ขโมยกลิ่น.

วัณณศัพท์ ในอรรถว่า ทรวดทรง (สณฺฐาน) เช่นในประโยคมี

อาทิอย่างนี้ว่า มหนฺต หตฺถิราชวณฺณ อภินิมฺมินิตฺวา แปลว่า นฤมิต-

ทรวดทรงเป็นพระยาช้างใหญ่.

วัณณศัพท์ ในอรรถว่า ขนาด (ปมาณ) เช่นในประโยคมีอาทิ

อย่างนี้ว่า ตโยปตฺตลฺส วณฺณา แปลว่า ขนาด แห่งบาตร ๓ อย่าง.

วัณณศัพท์ ในอรรถว่า รูปายตนะ เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า

วณฺโณ คนฺโธ รโส โอชา แปลว่า สี กลิ่น รส โอชะ.

ในที่นี้ วัณณศัพท์นั้น ท่านใช้ในอรรถว่า ผิว ด้วยคำนั้นแหละ ท่าน

อธิบายว่า มีวรรณะงาม คือ ผิวงาม มีวรรณะน่าใคร่ มีวรรณะที่ชอบใจ.

จริงอยู่ เทวดาทั้งหลาย เมื่อมาสู่มนุษยโลก ละวรรณะที่มีอยู่ตามปกติ

และฤทธิ์ตามปกติแล้วทำอัตภาพให้หยาบ ทำวรรณะได้มากอย่าง ทั้งทำฤทธิ์ก็

ได้หลายอย่าง เมื่อจะไปสู่สถานที่ทั้งหลายมีสถานที่เป็นที่แสดงมหรสพ เป็นต้น

ย่อมมาด้วยกายอันตนตกแต่งแล้ว. เทวดาทั้งหลายชั้นกามาวจร แม้มีกาย

อันตนมิได้ตกแต่งแล้วก็สามารถเพื่อจะมาในที่นั้นได้ ส่วนเทวดาชั้นรูปาวจร

ไม่สามารถ อัตภาพของเทวดาเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นกายละเอียดยิ่ง การ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

สำเร็จกิจด้วยอิริยาบถโดยอัตภาพนั้นมีอยู่. ด้วยเหตุดังนั้น เทวบุตรนี้ จึงมา

ด้วยการอันตนตกแต่งแล้วทีเดียว. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า

อภิกฺกนฺตวณฺณา มีวรรณะงาม.

ว่าด้วยเกวลศัพท์

เกวลศัพท์ ในคำว่า เกวลกปฺป นี้ มีอรรถเป็นอเนก เช่นใน

อรรถว่า โดยไม่มีส่วนเหลือ โดยมาก ทั้งหมด ความมีไม่มาก มั่นคง การ

แยกออกจากกัน เป็นต้น.

จริงอย่างนั้น เกวลศัพท์ มีความหมายถึง ความไม่มีส่วนเหลือ เช่น

ในประโยคมีคำว่า เกวลปริปุณฺณ ปริสุทฺธ พฺรหฺมจริย เป็นต้น จง

ประกาศพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยสิ้นเชิง.

เกวลศัพท์ มีความหมายว่า โดยมาก เช่นในประโยคมีคำว่า เกวลา

องฺคมคธา ปหูต ขาทนีย โภชนีย อาทาย อุปสงฺกมิสฺสนฺติ เป็นต้น

แปลว่า ถือเอาขาทนียะ และโภชนียะจากแคว้นอังคะและมคธโดยมาก เพียง

พอแล้วจักเข้าไป.

เกวลศัพท์ มีความหมายถึงทั้งหมด เช่นในประโยคที่มีคำว่า เกวลสฺส

ทุกฺขกฺขนฺธสฺส สมุทโย โหติ เป็นต้น แปลว่า สมุทัย ย่อมมีแก่กอง

ทุกข์ทั้งมวล.

เกวลศัพท์ มีความหมายถึง ความมีไม่มาก เช่นในประโยคที่มีคำว่า

เกวล สทฺธามตฺตก นนุ อยมายสฺมา เป็นต้น แปลว่า ท่านผู้มีอายุ ให้

ธรรมสักว่า ศรัทธามีประมาณไม่มากเป็นไปมิใช่หรือ.

เกวลศัพท์ มีความหมายถึง ความต้องการอย่างมั่นคง เช่นในประโยค

ที่มีคำว่า อายสฺมโต อนุรุทฺธสฺส พาหิโก นาม สทฺธิวิหาริโก เกวล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

สฆเภทาย ิโต เป็นต้น แปลว่า ท่านพระอนุรุทธะ มีสัทธิวิหาริก ชื่อ

ว่า พาหิกะ ตั้งอยู่มั่นคงในการทำลายสงฆ์.

เกวลศัพท์ มีความหมายถึง การแยกจากหมู่ เช่นในประโยคที่มีคำ

ว่า เกวลี วุสิตฺวา อุตฺตมปุริโส วุจฺจติ แปลว่า อยู่แยกกัน ท่านกล่าว

ว่า เป็นอุตตมบุรุษ. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาเกวลศัพท์ที่ใช้ในความหมายถึง

ความไม่มีส่วนเหลือ.

ว่าด้วยกัปปศัพท์

ก็กัปปศัพท์นี้ มีอรรถเป็นอเนก เช่นในอรรถว่า เธอมั่น หรือวาง

ใจได้ ในอรรถว่าโวหาร ในอรรถว่ากาล ในอรรถว่าบัญญัติ ในอรรถว่า

การตัดหรือโกน ในอรรถว่า วิกัปปะ (ประมาณหรือควร) ในอรรถว่า เลส

(เลสนัย หรือข้ออ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ) ในอรรถว่าโดยรอบเป็นต้น.

จริงอย่างนั้น กัปปศัพท์ที่ใช้ในอรรถว่า เชื่อมั่น เช่นในประโยคที่มี

อาทิอย่างนี้ว่า โอกปฺปนียเมต โภโต โคตมสฺส ยถาต อรหโต

สมฺมาสมฺพุทฺสฺส แปลว่า ข้อนั้น ควรวางใจได้ว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า โวหาร (คำชี้แจง) เช่นในประโยคที่มี

อาทิอย่างนี้ว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ปญฺจหิ สมณกปฺเปหิ ผล ปริภุญฺชิตุ

แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อการบริโภคผลโดยทำกัปปะของ

สมณะ ๕ อย่าง.

๑. กัปปะ ๕ ในพระวินัยเรียกว่าทำกัปปิยะคือ อคฺคิปริจิต ผลที่ลนไฟ ๒ สตฺถปริจิต ผลที่เจาะ

ด้วยศาสตรา ๓ นขปริจิต ผลที่เจาะด้วยเล็บ ๔ อพีช ผลที่ไม่เป็นพืช ๕ นิพฺพฏฺพช ผลที่

เอาเม็ดออกแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า กาล เช่นในประโยคที่มีอาทิอย่างนี้ว่า

เยน สุท นิจฺจกปฺป วิหรามิ แปลว่า ทราบว่า เราจะอยู่ตลอดกาลเป็น

นิตย์.

กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า บัญญัติ เช่นในประโยคที่มีอาทิอย่าง

นี้ว่า อิจฺจายสฺมา กปฺโป แปลว่า ด้วยเหตุนี้ ท่านผู้มีอายุ จึงมีชื่อว่า กัปปะ.

กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า โกนตัด เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า

อลงฺกตา กปฺปิตเกสมสฺสุ แปลว่า โกนผมและหนวดเสร็จแล้ว.

กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า วิกัปปะ (ประมาณและควร) เช่นใน

ประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า กปฺปติ ทฺวงฺคุกลกปฺโป แปลว่า ประมาณพระ-

อาทิตย์คล้อย ๒ องคุลี ก็ควร.

กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า เลส (เหตุเล็กน้อย) เช่นในประโยคที่

มีอาทิอย่างนี้ว่า อตฺถิ กปฺโป นิปชฺชิตุ แปลว่า เหตุเล็กน้อย เพื่อจะ

เอนกายมีอยู่.

กัปปศัพท์ ที่ใช้ในอรรถว่า โดยรอบ เช่นในประโยคที่มีอาทิอย่างนี้ว่า

เกวลกปฺป เวฬุวน โอภาเสตฺวา แปลว่า ยังพระเชตวันโดยรอบทั้งสิ้น

ให้สว่างไสวแล้ว.

แต่กัปปศัพท์ ในที่นี้ท่านประสงค์เอาในอรรถว่า โดยรอบ เพราะ

ฉะนั้น ในคำว่า เกวลกปฺป เชตวน บัณฑิตพึงเห็นอย่างนี้ว่า ยังพระ-

วิหารเซตวันโดยรอบทั้งสิ้น ดังนี้.

บทว่า โอภาเสตฺวา ได้แก่ แผ่ไปซึ่งรัศมีอันเกิดขึ้นจากผ้า เครื่อง

ประดับและสรีระ กระทำให้มีรัศมีเดียวกัน ให้มีโอภาสเดียวกัน ดุจพระจันทร์

และพระอาทิตย์.

๑. หมายถึงนามบัญญัติ คือการตั้งชื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

บทว่า เยน ในข้อว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ นี้ เป็นตติยาวิภัตติ

ลงในอรรถแห่งสัตตวิภัตติ ฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในที่นี้ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ที่ใด เทวบุตรนั้นก็เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในที่นี้ อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้า ด้วยเหตุใด เทวบุตรนั้น ก็เข้าไป

เฝ้าแล้ว ด้วยเหตุนั้น ดังนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พึงเข้าไปเฝ้า. ตอบว่า เพราะท่านเหล่านั้นมีความประสงค์เพื่อจะบรรลุคุณ

วิเศษมีประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนต้นไม้ให้ที่ผลิตผลตลอดฤดูกาล อัน

ฝูงนกทั้งหลายพากันไปยังต้นไม้นั้น ด้วยประสงค์จะจักกินซึ่งผลมีรสอร่อย

ฉะนั้น.

อนึ่ง บทว่า อุปสงฺกมิ มีคำอธิบายว่า ไปแล้ว. บทว่า อุปสงฺ-

กมิตฺวา นี้เป็นบทแสดงถึงเวลาสิ้นสุดลงของเวลาเข้าเฝ้า. อีกอย่างหนึ่ง ข้อนี้มี

คำอธิบายว่า เทวบุตรนั้นไปแล้วอย่างนี้ คือไปสู่สถานที่ซึ่งใกล้กว่านั้น

กล่าวคือ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ก็มี.

บัดนี้ เทวบุตรนั้น มาสู่ที่บำรุงแห่งบุคคลผู้เลิศในโลก ด้วยประโยชน์

อันใด เป็นผู้ใคร่เพื่อทูลถามถึงประโยชน์อันนั้น จึงทำอัญชลีกรรมอันรุ่งเรือง

แล้วด้วยอันประชุมแห่งเล็บทั้งสิบ นมัสการประดิษฐานไว้เหนือศีรษะแล้ว

ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ศัพท์ว่า เอกมนฺต เป็นศัพท์แสดง

ภาวนปุงสกลิงค์ ดุจในคำทั้งหลาย มีคำว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์หมุนเวียน

ไป มิได้สม่ำเสมอกัน เป็นต้น. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความใน

ที่นี้ว่า เทวบุตรนั้น ได้ยืนอยู่แล้วโดยกิริยาที่ยืนอยู่แล้วนั้น ชื่อว่า ยืนอยู่แล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. อีกนัยหนึ่ง คำว่า เอกมนฺต นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ

ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. บทว่า อฏฺาสิ ได้แก่ย่อมสำเร็จซึ่งอิริยาบถยืน.

จริงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นบัณฑิต เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้ควรเคารพในฐานครู ย่อมยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง

เพราะความที่คนเป็นผู้ฉลาดในการนั่ง. ก็เทวดานี้เป็นองค์ใดองค์หนึ่ง ใน

บรรดาผู้เป็นบัณฑิตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วน

ข้างหนึ่ง ดังนี้. ถามว่า ก็ยืนอยู่อย่างไร จึงชื่อว่า ยืนอยู่ ณ ที่สมควร

ส่วนข้างหนึ่ง. ตอบว่า เว้นโทษของการยืน ๖ อย่าง คือ

ยืนไกลเกินไป

ยืนใกล้เกินไป

ยืนเหนือลม

ยืนในที่สูง

ยืนตรงหน้าเกินไป

ยืนข้างหลังเกินไป

จริงอยู่ บุคคลผู้ยืนไกลเกินไปถ้าประสงค์จะพูด ก็จะต้องพูดเสียงดัง

ถ้ายืนใกล้เกินไปย่อมจะเบียดเสียดกัน ถ้ายืนเหนือลมย่อมเดือดร้อนด้วยกลิ่นตัว

ถ้ายืนในที่สูงย่อมประกาศถึงความไม่เคารพ ยืนตรงหน้าเกินไปถ้าประสงค์จะ

มองก็จะต้องจ้องตากัน ยืนข้างหลังเกินไป ถ้าใคร่จะเห็นหน้าก็จะต้องชะเง้อ

คอดู เพราะฉะนั้น แม้เทวบุตรนี้ ก็ยืนเว้นโทษ ๖ เหล่านี้ ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวไว้ว่า เอกมนฺต อฏฺาสิ แปลว่า ได้ยืนอยู่แล้ว ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง.

บทว่า เอตทโวจ แยกบทเป็น เอต อโวจ แปลว่า ได้กราบทูล

คำนี้. บทว่า กถ นุ เป็นการณปุจฉา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

จริงอยู่ ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้ามโอฆะได้แล้ว ปรากฏแก่

หมื่นโลกธาตุ ด้วยเหตุนั้น ความสงสัยของเทวดานี้ ในที่นี้ว่า ก็พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงข้ามโอฆะได้แล้วด้วยเหตุนี้ จะไม่ทรงทราบอะไร ๆ ย่อมไม่มี

ด้วยเหตุนั้น เทวดานั้น เมื่อจะทูลถามถึงเหตุที่ทรงข้ามโอฆะนั้น จึงกราบทูล

อย่างนี้.

บทว่า มาริส นี้เป็นคำร้องเรียกด้วยถ้อยคำอันไพเราะ. อธิบายว่า

ผู้ไม่มีทุกข์ ดังนี้ ผิว่าครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ เมื่อใด บุคคลถูก

เสียบแทงหัวใจด้วยหลาว หรือเมื่อเราไหม้อยู่ในนรกสักพันปี ดังนี้ คำว่า

มาริสะ นี้ย่อมคลาดเคลื่อนไป เพราะว่าสัตว์นรกที่ชื่อว่า ผู้ไม่มีทุกข์หามีไม่

สัตว์นรกเป็นผู้ไม่ปราศจากทุกข์ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า

มาริส (ท่านผู้ไม่มีทุกข์) ด้วยเสียงของผู้เจริญแล้ว ได้ยินว่า ในกาลก่อน

โวหารว่า มาริส นี้เป็นของมนุษย์ต้นกัลป์ ผู้ไม่มีทุกข์ ผู้สมบูรณ์ด้วย

ความสุข ต่อมาภายหลัง ความทุกข์จะมีหรือไม่ก็ตาม ท่านก็ยังเรียกคำนี้

ด้วยเสียงของผู้เจริญแล้วนั่นแหละ เหมือนสระบัวทั้งหลาย ที่ไม่มีดอกบัวก็ดี

ไม่มีน้ำก็ดี ท่านก็เรียกว่า สระบัวฉะนั้น.

โอฆะ ๔ ในพระบาลีว่า โอฆมตริ นี้คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ

และอวิชโชฆะ. ในโอฆะเหล่านั้น ความยินดีพอใจ ในกามคุณ ๕ ชื่อว่า

กาโมฆะ. ความยินดีพอใจในรูปารูปภพและความใคร่ในฌาน ชื่อว่า ภโวฆะ.

ทิฐิ ๖๒ ชื่อว่า ทิฏโฐฆะ. ความไม่รู้ในสัจจะ ๔ ชื่อว่า อวิชโชฆะ.

ในบรรดาโอฆะ ๔ เหล่านั้น กาโมฆะ ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทอัน

สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง. ภโวฆะ ย่อมเกิดขึ้นในจิตุปบาทอันสหรคตด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

โลภทิฏฐิคตวิปปยุต ๔ ดวง. ทิฎโฐฆะ ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทอันสัมปยุต

ด้วยทิฏฐิคตะ ๔ ดวง. อวิชโชฆะ. ย่อมเกิดขึ้นในอกุศลทั้งปวง.

ก็ธรรมทั้งหมดนี้ ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนำสัตว์ไป

และเพราะอรรถว่าเป็นหมู่ใหญ่. คำว่า เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนำสัตว์ไป

อธิบายว่า เป็นเหตุให้ตกไปในเบื้องต่ำ. จริงอยู่ โอฆะนี้ย่อมยังสัตว์ทั้งหลาย

ที่อยู่ในอำนาจของตนให้ตกไปในเบื้องต่ำ คือ ให้เกิดในทุคติต่าง ๆ มีนรก

เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ให้ไปในเบื้องบน คือ พระนิพพาน ย่อมให้

ไปในเบื้องต่ำ คือ ในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙

ดังนี้บ้าง. คำว่า เพราะอรรถว่าเป็นหมู่ใหญ่ อธิบายว่า เพราะหมู่แห่งกิเลส

นี้ใหญ่แผ่กระจายอำนาจไปตั้งแต่อเวจีมหานรกจนถึงภวัคคภูมิ หมู่แห่งกิเลสคือ

โอฆะนี้ใด ชื่อว่า มีความยินดีพอใจในกามคุณ ๕ แม้ในโอฆะที่เหลือก็นัย

นี้แหละ. บัณฑิตพึงทราบกิเลสชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่าเป็นหมู่ใหญ่

ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อตริ อธิบายว่า เทวบุตรนั้น ทูลถามว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ข้ามโอฆะแม้ทั้ง ๔ นี้ด้วย อย่างไรหนอ ดังนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาของเทวดานั้น จึง

ตรัสคำ เป็นต้น ว่า อปฺปติฏฺ ขฺวาห แปลว่า เราไม่พักอยู่เป็นต้น. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า อปฺปติฏฺ แก้เป็น อปฺปติฏฺหนฺโต แปลว่า

ไม่พักอยู่. บทว่า อนายูห แก้เป็น อนายูหนฺโต แปลว่า ไม่เพียรอยู่

คือ ไม่พยายามอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัญหากระทำให้เป็นคำอันลี้ลับ

ปิดบังแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

แม้เทวดาก็ฟังคำอันเป็นภายนอกก่อน ธรรมดาว่า บุคคลผู้ข้ามโอฆะ

ต้องยืนอยู่ในที่อันตนควรยืน ต้องพยายามในที่อันตนพึงข้ามจึงข้ามไปได้ แต่

พระองค์ตรัสว่า เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามได้แล้วซึ่งกองกิเลส คือกิเลส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

เพียงดังโอฆะ (ห้วงน้ำวน) อันแผ่ควบคุมไปตั้งแต่อเวจีนรกจนถึงภวัคคภูมิ

ดังนี้ จิตของเขาก็จะแล่นไปสู่ความสงสัยว่า นั่นอะไรหนอ จึงชื่อว่า ไม่ทราบ

ซึ่งอรรถแห่งปัญหา. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบำเพ็ญพระบารมี

ทั้งหลายแล้วแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เพื่อต้องการจะตรัสสิ่งที่สัตว์ยังมิได้รู้

มิใช่หรือ. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เพื่อทรง

พระประสงค์จะตรัสคำเพียงเท่านี้หามิได้. ก็เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

มี ๒ อย่าง คือ แสดงโดยนิคคหมุขะ และอนุคคหมุขะ. ในบรรดา ๒

อย่างนั้น บุคคลเหล่าใดมีความถือตัวว่าเป็นบัณฑิต ย่อมสำคัญในสิ่งที่ตนยัง

ไม่รู้ว่ารู้แล้ว ดุจพราหมณ์ ๕๐๐ ที่บวชเป็นบรรพชิต เพื่อข่มมานะของ

พราหมณ์และบรรพชิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงธรรมเช่นกับ

พระสูตรทั้งหลายมีมูลปริยายสูตรเป็นต้น นี้ชื่อว่า นิคคหมุขเทศนา.

พระดำรัสนี้ สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราจักกล่าวข่มบุคคลผู้ควรข่ม

เราจักยกย่องบุคคลผู้ควรยกย่อง ภิกษุใดมีธรรมเป็นสาระ ภิกษุนั้นจักดำรงอยู่

ดังนี้.

ส่วนชนเหล่าใด เป็นผู้ตรง ใคร่ต่อการศึกษา พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้นกระทำให้เป็นผู้รู้ได้ง่าย เช่นในสูตรทั้งหลายมี

อากังเขยยสูตรเป็นต้น ทั้งยังชนเหล่านั้นให้ปลอดโปร่งใจ เช่นในคำว่า

ดูก่อนติสสะผู้ยินดียิ่ง ดูก่อนติสสะผู้ยินดียิ่ง ... ด้วยโอวาทอันเรากล่าวแล้ว

ด้วยการศึกษาอันเรากล่าวแล้ว ด้วยอนุสาสนีอันเรากล่าวแล้ว ดังนี้ นี้ชื่อว่า

อนุคคหมุขเทศนา.

ก็เทวบุตรนี้มีมานะกระด้าง (มีความกระด้างด้วยการถือตัว) สำคัญ

ตนว่าเป็นบัณฑิต. ได้ยินว่า เทวบุตรนั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมรู้

โอฆะ ย่อมรู้ซึ่งความที่พระตถาคตเจ้า ทรงข้ามโอฆะได้แล้ว แต่ว่าเรายังไม่รู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

เหตุเพียงเท่านี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้ามโอฆะ ด้วยเหตุนี้ได้อย่างไร

ดังนี้ เราจักรู้อรรถอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบนั่นแหละ คำใดน้อยหรือ

มากที่เรายังไม่รู้ เราจักรู้คำนั้นอันพระผู้มีพระภาคตรัสบอกแล้วทีเดียว เพราะ

ว่าคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างไรนั้นเรายังไม่ทราบ ดังนี้.

ลำดับนั้น พระบรมศาสดา จึงตรัสปัญหาทำให้เป็นปัญหาซ่อนเร้น

(คือเข้าใจยาก) ด้วยพระดำริว่า เทวบุตรนี้ยังไม่ละมานะนี้ ก็ไม่ควรเพื่อจะ

รับธรรมเทศนา เปรียบเหมือนผ้าที่ยังเศร้าหมอง (ยังไม่ซักให้สะอาด) ไม่

ควรจะย้อมสี เราจักข่มมานะของเทวบุตรนี้ก่อน แล้วจักประกาศเนื้อความนั้นอีก

แก่เธอโดยไม่มีจิตต่ำเช่นนี้ถามอยู่ ดังนี้.

แม้เทวบุตรนั้นก็ได้เป็นผู้มีมานะอันพระองค์นำออกแล้ว และเทศนานั้น

พึงทราบโดยคำถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไป เพราะความที่เธอเป็นผู้มีมานะอันพระองค์

นำออกแล้วนั่นแหละ ทั้งเนื้อความนี้ก็ได้เป็นประโยชน์แก่บุคคลผู้ถามปัญหา

เทวบุตรทูลถามว่า ข้าแด่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ก็พระองค์ไม่พักไม่เพียร

ข้ามโอฆะได้อย่างไรเล่า ข้าพระองค์จะทราบได้โดยประการใด ขอพระองค์จง

ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์โดยประการนั้นเถิด ดังนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสตอบปัญหาแก่เทวบุตรนั้น

จึงตรัสว่า ยทา สฺวาห เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา สฺวาห

แก้เป็น ยสฺมึ กาเล อห (แปลว่าในกาลใดเรา). สุอักษร เป็นเพียงนิบาต.

ก็สุอักษรในที่นี้ฉันใด ในบททั้งปวงก็ฉันนั้น. บทว่า สสีทามิ ความว่า เมื่อ

เราไม่ข้ามก็จมอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ. บทว่า นิพฺพุยฺหามิ ความว่า เมื่อเราไม่

อาจเพื่อดำรงอยู่ ก็ย่อมเป็นไปล่วงปัญหาแม้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว อย่างนี้

ว่า เราไม่พักไม่เพียรข้ามโอฆะได้แล้ว ดังนี้ แม้จะเป็นปัญหาอันเทวดาทราบแล้ว

แต่ก็ไม่แจ่มแจ้ง เพราะเห็นโทษคือความไม่เข้าใจในเพราะการหยุดอยู่และใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

ความพยายามเพื่อกระทำอรรถนั้นให้ปรากฏ ท่านจึงแสดงธรรมอันเป็นหมวด

ทุกะ ๗ หมวด.

จริงอยู่ ว่าด้วยอำนาจกิเลส เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม.

ว่าด้วยอำนาจอภิสังขาร เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย. อีกอย่างหนึ่ง

ว่าด้วยตัณหาและทิฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจแห่ง

กิเลสที่เหลือและอภิสังขารทั้งหลาย เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย.

อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยอำนาจแห่งตัณหา เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม.

ว่าด้วยอำนาจแห่งทิฐิ เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย. อีกอย่างหนึ่ง

ว่าด้วยสัสสตทิฐิ เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอุจเฉททิฏฐิ

เมื่อบุคคลเพียรชื่อว่า ย่อมลอย เพราะว่าภวทิฐิ ยึดมั่นในมานะอันเฉื่อยชา

แต่วิภวทิฐิยึดมั่นในการแล่นเลยไป. อีกอย่างหนึ่ง ว่าด้วยอำนาจการติด

(ลินะ) เมื่อพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจอุทธัจจะ เมื่อเพียร ชื่อว่า

ย่อมลอย.

อนึ่ง ว่าด้วยกามสุขัลลิกานุโยค เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม.

ว่าด้วยอัตตกิลมถานุโยค เมื่อเพียรชื่อว่า ย่อมลอย. ว่าด้วยอำนาจแห่ง

อกุสลาภิสังขารทั้งหมด เมื่อบุคคลพักอยู่ ชื่อว่า ย่อมจม. ว่าด้วยอำนาจแห่ง

กุสลาภิสังขารอันเป็นโลกีย์ทั้งหมด เมื่อบุคคลเพียร ชื่อว่า ย่อมลอย. ข้อนี้

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

เสยฺยถาปิ จุนฺท เยเกจิ อกุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อโธ ภาค

คมนียา เยเกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต อุปริ ภาค คมนียา ดังนี้

แปลว่า ดูก่อนจุนทะ อกุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ อกุศลธรรมทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

เหล่านั้น พึงส่งไปในเบื้องต่ำ กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ กุศลธรรม

ทั้งหมดเหล่านั้น พึงส่งไปในเบื้องบน.

เทวดาฟังวิสัชนาปัญหานี้แล้วดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นผู้ยินดี

แล้ว เลื่อมใสแล้ว ประกาศอยู่ซึ่งความยินดีและความเสื่อมใสของตนแล้ว จึง

กล่าวคำเป็นคาถาว่า จิรสฺส วต เป็นต้น แปลว่า นานหนอ ข้าพเจ้าจึงจะ

เห็นขีณาสวพราหมณ์ ผู้ดับรอบแล้ว ไม่พักไม่เพียรอยู่ ข้ามตัณหาเป็นเครื่อง

เกาะเกี่ยวในโลก. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรสฺส ความว่า โดยกาลอัน

ล่วงไปแห่งกาลนาน.

ได้ยินว่า เทวดานี้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ

จำเดิมแต่พระองค์ปรินิพพานแล้ว ยังไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นใน

ระหว่างกาลอันยาวนานนี้ เพราะฉะนั้น ครั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันนี้

จึงได้กราบทูลอย่างนี้. ถามว่า ก็ในกาลก่อนแต่กาลนี้ เทวดาองค์นี้ ไม่เคย

เห็นพระบรมศาสดา หรือ. ตอบว่า เห็นหรือไม่เห็น จงยกไว้ เพราะอาศัย

ทัสสนะ (คือบรรลุโสดาปัตติมรรค) ก็สมควรจะกล่าวอย่างนี้.

บทว่า พฺราหฺมณ ได้แก่ ขีณาสวพราหมณ์ ผู้มีบาปอันปิดกั้นแล้ว.

บทว่า ปรินิพฺพุต ได้แก่ ผู้ดับรอบแล้ว ด้วยการดับซึ่งกิเลส. บทว่า

โลเก ได้แก่ ในสัตว์โลก. ในบทว่า วิสตฺติก นี้ ตัณหา ท่านเรียกว่า

เครื่องเกาะเกี่ยว เพราะเหตุที่มีการพัวพันและความอยากในอารมณ์ทั้งหลาย มี

รูปารมณ์เป็นต้น อธิบายว่าเทวดากราบทูลว่า นานหนอ ข้าพระองค์จึงจะเห็น

ขีณาสวพราหมณ์ ผู้ไม่พักไม่เพียรอยู่ ผู้ข้ามได้แล้ว ผ่านพ้นไปแล้ว คือ

รื้อถอนออกแล้วซึ่งตัณหาอันเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวนั้น ดังนี้. บทว่า สมนุญฺ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

โ สตฺถา อโหสิ ความว่า พระศาสดาทรงชื่นชมถ้อยคำของเทวดาผู้มี

อัชฌาศัยอันแน่วแน่ ด้วยพระทัยเท่านั้น. บทว่า อนฺตรธายิ ความว่า เทวดา

นั้นละกายอันตนตกแต่งแล้วดำรงอยู่ในกาย อันเป็นอุปาทินนกะตามปกติของตน

เพราะมีความหวังอันสำเร็จแล้ว มีที่พึ่งอันได้แล้ว ได้บูชาพระทศพล ด้วย

ของหอมทั้งหลาย และพวงดอกไม้ทั้งหลาย แล้วกลับไปสู่พิภพของตน ดังนี้แล.

จบอรรถกถาโอฆตรณสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

๒. นิโมกขสูตร

[๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว

เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืน

อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กราบทูล

คำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ พระองค์ย่อมทรง

ทราบมรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของ

สัตว์ทั้งหลายหรือหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ท่านผู้มีอายุ เรารู้จักมรรคเป็นทาง

หลีกพ้นผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายโดยแท้จริง.

ท. ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ก็พระองค์ย่อมทรงทราบมรรคเป็นทาง

หลีกพ้นผลเป็นความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของสัตว์ทั้งหลายอย่างไรเล่า.

[๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาโดยคาถานี้ ว่า

ท่านผู้มีอายุ เพราะความสิ้นภพอันมี

ความเพลิดเพลินเป็นมูล เพราะความสิ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

แห่งสัญญาและวิญญาณ เพราะความดับ

เพราะความสงบแห่งเวทนาทั้งหลาย เรา

ย่อมรู้จักมรรคเป็นทางหลีกพ้น ผลเป็น

ความหลุดพ้น นิพพานเป็นที่สงัด ของ

สัตว์ทั้งหลายอย่างนี้.

อรรถกถานิโมกขสูตร

บัดนี้ ตั้งแต่สูตรที่ ๒ เป็นต้นไป ข้าพเจ้าละข้อความที่มาแล้วในสูตร

ที่ ๑ และข้อความที่ง่ายแล้วจักพรรณนาเนื้อความที่ยังไม่ได้พรรณนา และเนื้อ

ความที่ยังไม่แจ่มแจ้งเท่านั้น.

บทว่า ชานาสิ โน ท่านแก้เป็น ชานาสิ นุ แปลว่า ย่อมทรง

ทราบ หรือหนอ. บทว่า นิโมกฺข เป็นต้น เป็นชื่อของธรรมทั้งหลาย

มีมรรคเป็นต้น. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมหลีกพ้นจากเครื่องผูก คือกิเลส

ได้ด้วยมรรค เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มรรคเป็นทางหลีกพ้น ของสัตว์

ทั้งหลาย ดังนี้. ส่วนในขณะแห่งผล สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นหลุดพ้นแล้วจาก

เครื่องผูก คือ กิเลส เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ผลเป็นความหลุดพ้น

ของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้. ทุกข์ทั้งปวงของสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบ ระงับไปเพราะ

บรรลุพระนิพพาน ฉะนั้น จึงกล่าวว่า พระนิพพานเป็นที่สงัด ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหมดเหล่านี้ (มรรค ผล) เป็นชื่อของพระ-

นิพพานนั่นแหละ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย ย่อมพ้น ย่อมหลุดพ้น ย่อมสงบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

ระงับจากทุกข์ทั้งหมดเพราะบรรลุพระนิพพาน เพราะฉะนั้น นิพพานนั้นแล

ท่านจึงกล่าวว่า นิโมกฺโข หลีกพ้น ปโมกฺโข หลุดพ้น วิเวโก ที่สงัด

ดังนี้ ทีเดียว. บทว่า ชานามิ ขฺวาห แปลว่า เราย่อมรู้จักโดยแท้จริง.

โข อักษร ใช้ในความหมายว่า แท้จริง อธิบายว่า เราย่อมรู้ได้โดยแท้จริง.

จริงอยู่ เรา (พระตถาคต) ยังบารมี ๓๐ ทัศ ให้เต็มแล้วแทงตลอดสัพพัญญุ-

ตญาณ เพื่อรู้ธรรมอันเป็นทางหลีกพ้นของสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น นั่นแหละ

ด้วยเหตุนี้ เราจึงบันลือสีหนาท. ได้ยินว่า สูตรนี้ ชื่อว่า พุทธสีหนาท. บทว่า

นนฺทิภวปริกฺขยา อธิบายว่า เพราะความสิ้นไปรอบแห่งกัมมภพอันมีความ

เพลิดเพลินเป็นมูล แม้จะกล่าวว่า เพราะความสิ้นไปแห่งความเพลิดเพลิน

และภพ ดังนี้ก็ควร. ในปุริมนัยนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า สังขารขันธ์ อัน

กัมมภพถือเอาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งอภิสังขารคือกรรม ๓ อย่าง. ขันธ์ ๒

(เวทนาและสัญญาขันธ์) อันสัมปยุตด้วยธรรม (สังขารขันธ์) นั้น อันสัญญา

และวิญญาณขันธ์ถือเอาแล้ว. แต่เวทนาอันสัมปยุตด้วยขันธ์ ๓ (สัญญาสังขาร

วิญญาณขันธ์) เหล่านั้น ท่านถือเอาแล้ว ด้วยการถือเอานามธรรมเหล่านั้น

เพราะฉะนั้น นิพพาน ซึ่งดับกิเลสยังมีชีวิตอยู่ (สอุปาทิเสสนิพพาน) อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยสามารถแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด)

แห่งนามขันธ์ ๔ อันเป็นอนุปาทินนกะ ดังนี้. ในบทว่า เวทนาน

นิโรธา อุปสมา ได้แก่ เพราะความดับ และเพราะความสงบแห่งเวทนา

อันเป็นอุปาทินนกะ. ในพระบาลีนั้น ขันธ์ ๓ อันสัมปยุตด้วยเวทนานั้น เป็น

ธรรมอันท่านถือเอาแล้ว โดยการถือเอาเวทนาเทียว. แม้รูปขันธ์ ท่านก็ถือ

เอาด้วยสามารถแห่งวัตถุและอารมณ์ของนามขันธ์เหล่านั้น. ด้วยเหตุนี้ นิพพาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

อันไม่มีกัมมชรูปและวิบากขันธ์เหลืออยู่ (อนุปาทิเสสนิพพาน) จึงตรัสไว้

ด้วยสามารถแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด) แห่งขันธ์ ๕ อันเป็นอนุ-

ปาทินนกะ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

แต่ในนัยที่ ๒ สังขารขันธ์ ท่านถือเอาโดยการถือเอานันทิ คือความ

เพลิดเพลิน. รูปขันธ์กล่าวคือ อุปปัตติภพ ท่านถือเอาโดยการถือเอาภพ.

เมื่อว่าโดยย่อ ขันธ์ ๓ เป็นธรรมอันท่านถือเอาแล้ว ด้วยสัญญาขันธ์เป็นต้น

ทีเดียว. บัณฑิตพึงทราบว่า พระนิพพาน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

ด้วยอำนาจแห่งความไม่มีต่อไป (คือเป็นที่สงัด) แห่งขันธ์ ๕ เหล่านี้ ดัง

พรรณนามาฉะนี้. พระเถระผู้เรียนคัมภีร์นิกาย ๔ ชอบใจนัยนี้ทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังเทศนาให้จบลงแล้วด้วยสามารถแห่งพระ

นิพพาน ด้วยประการฉะนี้ แล.

จบอรรถกถานิโมกขสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

๓. อุปเนยยสูตร

[๗] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าว

คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อน

เข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไป

แล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็น

ภัยนี้ในมรณะ พึงทำบุญทั้งหลายที่นำ

ความสุขมาให้.

[๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชีวิตคืออายุมีประมาณน้อย ถูกต้อน

เข้าไปเรื่อย เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไป

แล้ว ย่อมไม่มีผู้ป้องกัน บุคคลเมื่อเห็น

ภัยนี้ในมรณะ พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่ง

สันติเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

อรรถกถาอุปเนยยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุปเนยยสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า อุปนียติ ได้แก่ ย่อมสิ้นไปโดยรอบ ย่อมดับ หรือว่า

ย่อมมาถึง คือ ย่อมเข้าถึงมรณะโดยลำดับ. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ฝูงโค

อันนายโคบาลย่อมต้อนไป ฉันใด ชีวิตนี้ ก็ฉันนั้น อันชราย่อมต้อนไปสู่สำนัก

แห่งความตาย. บทว่า ชีวิต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์. บทว่า อปฺป แปลว่า

เล็กน้อย คือ นิดหน่อย.

บัณฑิต พึงทราบ ความที่ชีวิตคือ อายุนั้นเป็นของน้อย โดยอาการ

๒ อย่าง คือชื่อว่าน้อย เพราะความที่ชีวิตนั้นเป็นไปกับด้วยรส คือ ความ

เสื่อมสิ้นไป และเพราะความที่ชีวิตนั้นประกอบด้วยขณะ คือครู่เดียว.

จริงอยู่ เพราะพระบาลีว่า โย ภิกฺขเว จิร ชีวติ โส วสฺสสต

อปฺป วา ภิยฺโย แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลใดเป็นอยู่นาน บุคคล

นั้นก็พึงเป็นอยู่ร้อยปี ต่ำกว่าบ้าง เกินกว่าบ้าง ดังนี้ จึงชื่อว่า น้อย เพราะ

ความที่ชีวิตนั้นเป็นไปกับด้วยรส คือความเสื่อมสิ้นไป.

ก็เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ขณะแห่งชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อยมาก (เกิน

เปรียบ) คือสักว่าเป็นไปเพียงจิตดวงเดียวเท่านั้น (ว่าโดยปรมัตถ์ ขณะมี ๓

คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ) จึงชื่อว่า น้อย เพราะความที่ชีวิตนาม

นั้นเป็นของเป็นไปกับด้วยขณะ. อุปมาด้วยล้อแห่งรถ แม้เมื่อหมุนไป ย่อม

หมุนไปโดยส่วนแห่งกงรถหนึ่งเท่านั้น แม้เมื่อหยุดอยู่ ก็ย่อมหยุดโดยส่วนแห่ง

กงรถหนึ่งนั่นแหละ ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในขณะแห่งจิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

ดวงหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นเมื่อจิตดวงนั้นสักว่าแตกดับแล้ว ท่านก็

เรียกว่า สัตว์ตายแล้ว เหมือนคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

อตีเต จิตฺตกฺขเณ ชีวิตฺถ

น ชีวติ น ชีวิสฺสติ

อนาคเต จิตฺตกฺขเณ

น ชีวิตฺถ น ชีวติ ชีวิสฺสติ.

ปจฺจุปฺปนฺเน จิตฺตกฺขเณ

น ชีวิตฺถ ชีวติ น ชีวิสฺสติ.

ในขณะแห่งจิตอันเป็นอดีต บุคคล

ชื่อว่า เป็นอยู่แล้วมิใช่กำลังเป็นอยู่ มิใช่

จักเป็นอยู่ ในขณะแห่งจิตอันเป็นอนาคต

บุคคล ชื่อว่า จักเป็นอยู่ มิใช่เป็นอยู่

แล้ว มิใช่กำลังเป็นอยู่ ในขณะแห่งจิตอัน

เป็นปัจจุบัน บุคคลชื่อว่ากำลังเป็นอยู่ มิ

ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่.

ชีวิต อตฺตภาโว จ สุขทุกฺขา จ เกวลา

เอกจิตฺตสมายุตฺตา ลหุโส วตฺตเต ขโณ.

ชีวิต อัตตภาพ สุขและทุกข์ทั้งหมด

ประกอบด้วยจิตดวงเดียว ขณะของจิตนั้น

ย่อมเป็นไปเร็วพลัน.

เย นิรุทฺธา มรนฺตสฺส ติฏฺมานสฺส วา อิธ

สพฺเพปิ สทิสา ขนฺธา คตา อปฺปฏิสนฺธิยา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

จิตเหล่าใด ของสัตว์ที่กำลังดำรงอยู่

หรือกำลังตาย แตกดับไปแล้วในปวัตติ-

กาลนี้ จิตเหล่านั้นทั้งหมด หาได้กลับมา

เกิดอีกไม่ แม้ขันธ์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน.

อนิพฺพตฺเตน น ชาโต ปจฺจุปฺปนฺเนน ชีวติ

จิตฺตภงฺคมโต โลโก ปญฺตฺติ ปรมตฺถิยา.

เพราะจิตไม่เกิด สัตว์โลกก็ชื่อว่า

ไม่เกิด เพราะจิตเกิดขึ้นเฉพาะหน้า สัตว์

โลกก็ชื่อว่า เป็นอยู่ เพราะความแตกดับ

แห่งจิต สัตว์โลก จึงชื่อว่า ตายแล้ว นี้

เป็นบัญญัติเนื่องด้วยปรมัตถ์.

บทว่า ชรูปนตสฺส อธิบายว่า เมื่อบุคคลเข้าถึงชราแล้ว หรือว่า

เมื่อบุคคลถูกชราต้อนเข้าไปสู่สำนักแห่งความตาย. บทว่า น สนฺติ ตาณา

อธิบายว่า ใคร ๆ ชื่อว่าสามารถเพื่อจะให้ความป้องกัน คือ ให้ความปลอดภัย

ให้เป็นที่พึ่งอาศัยได้ ย่อมไม่มี. บทว่า เอต ภย ความว่า ภัยนี้มี ๓ อย่าง

คือ การเข้าถึงความตายแห่งชีวิตินทรีย์ ความที่ชีวิตินทรีย์มีอายุเล็กน้อย และ

ความที่ไม่มีเครื่องต้านทานของบุคคลผู้อันชราต้อนไปแล้ว อธิบายว่าเป็นที่ตั้ง

แห่งภัย (ภยวตฺถุ) คือ เป็นเหตุแห่งภัย (ภยการณ). บทว่า ปุญฺานิ กยิราถ

สุขาวหานิ ได้แก่ วิญญชนพึงทำบุญทั้งหลายอัน นำความสุขมาให้ คืออัน

ให้ซึ่งความสุข. ด้วยเหตุนี้นั้น เทวดาหมายเอารูปาวจรฌาน จึงถือเอาบุพ-

เจตนา มุญจนเจตนา และอปรเจตนาแล้วกล่าวถึงบุญทั้งหลาย ด้วยสามารถ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

แห่งคำพหูพจน์. และถือเอาความชอบใจในฌาน ความใคร่ในฌาน และความ

สุขในฌานแล้ว จึงกล่าวว่า บุญทั้งหลายนำความสุขมาให้ดังนี้.

ได้ยินว่า เทวดานั้น ได้มีความคิดว่า โอหนอ สัตว์ทั้งหลายเจริญ

ฌานแล้ว มีฌานยังไม่เสื่อม กระทำกาละแล้ว พึงดำรงอยู่ในพรหมโลกตลอด

เวลาอันยาวนาน คือประมาณ ๑ กัปบ้าง ๔ กัปบ้าง ๘ กัปบ้าง ๑๖ กัปบ้าง ๓๒

กัปบ้าง ๖๔ กัปบ้าง ดังนี้ เพราะตนเองเกิดในพรหมโลกที่มีอายุยาวนานจึง

เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้กำลังตาย กำลังเกิดที่มีอายุน้อยในเทวดาชั้นกามาวจรเบื้อง

ต่ำ เช่นกับการตกลงแห่งเม็ดฝนพอถูกกระทบก็แตกไป เพราะฉะนั้น จึง

กล่าวแล้วอย่างนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า ก็เทวดานี้ ย่อมกล่าววัฎฏกถา

(ถ้อยคำอันเป็นไปในวัฏฏะ) อันไม่เหมาะสม เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏกถาแก่

เทวดานั้น จึงตรัสพระคาถาที่ ๒.

บรรดาบทแห่งคาถาที่ ๒ เหล่านั้น บทว่า โลกามิส ได้แก่โลกามิส

๒ อย่าง คือปริยายโลกามิส (โลกามิสที่เป็นเหตุ) นิปปริยายโลกามิส (โลกามิส

ที่ไม่เป็นเหตุ) วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เรียกว่า ปริยายโลกามิส. ปัจจัยคือ

เครื่องอาศัย ๔ อย่าง เรียกว่า นิปปริยายโลกามิส. ในที่นี้ ท่านประสงค์เอา

ปริยายโลกามิส อันที่แท้ แม้นิปปริยายโลกามิสก็ควรในที่นี้เหมือนกัน.

บทว่า สนฺติเปกฺโข อธิบายว่ามุ่งอยู่ ต้องการอยู่ ปรารถนาอยู่ซึ่ง

สันติอันยั่งยืนกล่าวคือพระนิพพาน.

จบอรรถกถาอุปเนยยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

๔. อัจเจนติสูตร

[๙] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าว

คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรี

ทั้งหลายย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละ

ลำดับไป บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ

พึงทำบุญทั้งหลายที่นำความสุขมาให้.

[๑๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

กาลทั้งหลายย่อมล่วงไป ราตรี

ทั้งหลายย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละ

ลำดับไป บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ในมรณะ

พึงละอามิสในโลกเสีย มุ่งสันติเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

อรรถกถาอัจเจนติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า อจฺเจนฺติ แปลว่า ย่อมล่วงไป. บทว่า กาลา ได้แก่ กาลมี

ปุเรภัตกาลเป็นต้น. บทว่า ตรยนฺติ รตฺติโย ได้แก่ เมื่อราตรีทั้งหลาย

ก้าวล่วงไป ย่อมผ่านคือ ย่อมให้บุคคลที่จะตายไปใกล้ต่อความตายโดยรวดเร็ว.

บทว่า วโยคุณา ได้แก่ คุณ คือ กอง (ชั้น) แห่งปฐมวัย มัชฌิมวัย และ

ปัจฉิมวัย.

จริงอยู่ อรรถแห่งคุณศัพท์ใช้ในอรรถหลายอย่าง เช่นในความหมาย

ถึงชั้นแผ่นผ้า ดังพระบาลีว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อหตาน วตฺถาน

ทิคุณ สฆาฏึ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมอนุญาตผ้าสังฆาฏิทำให้

เป็น ๒ ชั้น ที่ทำด้วยผ้าใหม่ ดังนี้. มีอรรถว่า อานิสงส์ในบทนี้ว่า สตคุณา

ทิกฺขิณา ปาฏิกงฺขิตพฺพา แปลว่า พึงหวังทักษิณาร้อยเท่า. อรรถแห่ง

คุณศัพท์ ที่มีความหมายถึงโกฏฐาสเช่นในคำว่า อนฺต อนฺตคุณ แปลว่า

ไส้ใหญ่ไส้น้อย. ที่มีความหมายยถึงเครื่องผูก เช่นในคำว่า ปญฺจ กามคุณา

แปลว่า เครื่องผูกคือกาม ๕ อย่าง ดังนี้.

แต่ในที่นี้ อรรถแห่งคุณศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ราสิ ซึ่งแปลว่า กอง

หรือคณะ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ บทว่า วโยคุณา นี้ว่า เป็นกอง

แห่งวัย ดังนี้. บทว่า อนุปุพฺพ ชหนฺติ อธิบายว่า วัยทั้งหลายย่อมละทิ้ง

บุคคลไปโดยลำดับ. จริงอยู่ ปฐมวัยย่อมละทิ้งบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมัชฌิมวัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

ปฐมวัย และมัชฌิมวัยทั้งสอง ย่อมละทิ้งบุคคลผู้ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย แต่ว่า ใน

ขณะแห่งความตาย แม้วัยทั้ง ๓ ก็ต้องละทิ้งบุคคลไป. บทว่า เอต ภย

ความว่า ภัย ๓ อย่างนี้ คือ การก้าวลงไปแห่งกาลทั้งหลาย ความที่ราตรี

และทิวาล่วงไปโดยเร็ว และความที่กองแห่งวัยทั้งหลายต้องทอดทิ้งบุคคลไป.

คำที่เหลือเช่นกับนัยก่อนนั่นแหละ.

จบอรรถกถาอัจเจนติสูตร ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

๕. กติฉันทิสูตร

[๑๑] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้

กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถานี้ว่า

บุคคลควรตัดเท่าไร ควรละเท่าไร

ควรบำเพ็ญคุณอันยิ่งเท่าไร ภิกษุล่วง

ธรรมเครื่องข้องเท่าไร พระองค์จึงตรัสว่า

เป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว.

[๑๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลควรตัดสังโยชน์เป็นส่วนเบื้อง

ต่ำ ๕ อย่าง ควรละสังโยชน์เป็นส่วน

เบื้องบน ๕ อย่าง ควรบำเพ็ญอินทรีย์อัน

ยิ่ง ๕ อย่าง ภิกษุล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง

๕ อย่าง เรากล่าวว่าเป็นผู้ข้ามโอฆะแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

อรรถกถากติฉินทิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า กติ ฉินฺเท ได้แก่ บุคคลเมื่อตัดควรตัดเท่าไร. แม้ในบท

ที่เหลือก็นัยนี้. ก็ในบทว่า ฉินฺเท ชเห นี้ว่าโดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน.

เทวดานี้เมื่อเว้นถ้อยคำที่ซ้ำ ๆ ก็เพื่อเป็นประโยชน์แก่การประพันธ์คาถา จึง

ได้กล่าวแล้วอย่างนี้. บทว่า กติ สงฺคาติโต แปลว่า ภิกษุก้าวล่วงธรรม

อันเป็นเครื่องข้องเท่าไร. พระบาลีว่า สงฺคาติโต บ้าง. มีเนื้อความอย่างนี้

เหมือนกัน. บทว่า ปญฺจ ฉินฺเท ได้แก่ เมื่อตัดควรตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์

๕ อย่าง. บทว่า ปญฺจ ชเห ได้แก่ เมื่อละควรละอุทธัมภาคิยสังโยชน์

๕ อย่าง การตัดและการละแม้ในที่นี้ เมื่อว่าโดยอรรถก็เป็นอย่างเดียวกัน

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ก็เพราะให้เหมาะสมกับถ้อยคำอันเทวดา

อ้างมา.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์

๕ เป็นเครื่องฉุดคร่า ให้ตกไปในเบื้องต่ำ เหมือนกับก้อนหินที่เขาผูกเท้าไว้

จะพึงตัดสังโยชน์นั้นได้ด้วยพระอนาคามิมรรค ดังนี้ และตรัสว่า อุทธัมภาคิย

สังโยชน์ ๕ ซึ่งฉุดคร่าไว้เบื้องบน เหมือนกับกิ่งไม้ที่บุคคลใช้มือจับไว้

จะพึงละสังโยชน์นั้นได้ด้วยพระอรหัตมรรค ดังนี้. บทว่า ปญฺจ จุตฺตริ-

ภาวเย ความว่า เมื่อเจริญคุณวิเศษให้ยิ่ง คือให้มากกว่า เพื่อต้องการตัด

และเพื่อต้องการละสังโยชน์เหล่านั้น ควรเจริญอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นที่ ๕.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

บทว่า ปญฺจสงฺคาติโต ความว่า ก้าวล่วงแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่องข้อง

๕ เหล่านี้ คือ เครื่องข้องคือราคะ เครื่องข้องคือโทสะ เครื่องข้องคือโมหะ

เครื่องข้องคือมานะ เครื่องข้องคือทิฏฐิ. บทว่า โอฆติณฺโณติ วุจฺจติ เขา

กล่าวว่า ข้ามโอฆะทั้ง ๕ ได้แล้ว แต่ในพระคาถานี้ กล่าวถึงอินทรีย์ ๕ ซึ่ง

เป็นทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ ดังนี้แล.

จบอรรถกถากติฉินทิสูตร ที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

๖. ชาครสูตร

[๑๓] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าว

คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

เมื่อธรรมทั้งหลายตื่นอยู่ ธรรมประ-

เภทไหนนับว่าหลับ เมื่อธรรมทั้งหลายหลับ

ธรรมประเภทไหนนับว่าตื่น บุคคลหมัก-

หมมธุลีเพราะธรรมประเภทไหน บุคคล

บริสุทธิ์เพราะธรรมประเภทไหน.

[๑๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เมื่อสัทธินทรีย์ ๕ อย่างตื่นอยู่ กาม

ฉันทาทินิวรณ์ ๕ อย่าง นับว่าหลับ เมื่อ

กามฉันทาทินิวรณ์ ๕ อย่างหลับ สัทธา-

ทินทรีย์ ๕ อย่าง นับว่าตื่น บุคคลหมัก-

หมมธุลีเพราะนิวรณ์ ๕ อย่าง บุคคล

บริสุทธิ์เพราะอินทรีย์ ๖ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

อรรถกถาชาครสูตร

พึงทราบวินิจฉัยสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า ชาครตแปลว่า ตื่นอยู่. บทว่า ปญฺจ ชาครต อธิบายว่า

ก็เมื่อว่าโดยคาถาที่วิสัชนา เมื่ออินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕

ก็ชื่อว่า หลับ เพราะเหตุไร. เพราะว่าบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยนิวรณ์ ๕ นั้น

นั่งก็ดี ยืนก็ดี แม้นอนจนอรุณขึ้นก็ดี ในที่ใดที่หนึ่ง ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า

หลับแล้ว เพราะความประมาท คือเพราะความเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย

อกุศล เมื่อนิวรณ์ ๕ นี้หลับแล้วอย่างนี้ อินทรีย์ ๕ จึงชื่อว่า ตื่นอยู่

เพราะเหตุไร. เพราะว่าบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอินทรีย์ ๕ มีศรัทธา เป็นต้นนั้น

แม้นอนหลับในที่ใดที่หนึ่ง ก็ชื่อว่าเป็นผู้ตื่นอยู่ เพราะความไม่ประมาท คือ

เพราะเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกุศล. บุคคลย่อมถือเอา ย่อมถือ ย่อมถือมั่นซึ่งธุลี

คือกิเลสด้วยนิวรณ์ ๕ นั่นแหละ.

พึงทราบเนื้อความนี้ว่า นิวรณ์ทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้นที่เกิดก่อน

ย่อมเป็นปัจจัยแก่กามฉันทะเป็นต้นซึ่งเกิดขึ้นทีหลัง ดังนี้เป็นต้น จึงชื่อว่า

บุคคลย่อมบริสุทธิ์ ด้วยอินทรีย์ ๕ ดังนี้. แม้ในที่นี้ ท่านกล่าวอินทรีย์ ๕

ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาชาครสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

๗. อัปปฏิวิทิตสูตร

[๑๕] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าว

คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ธรรมทั้งหลายอันชนพวกใดยังไม่

แทงตลอดแล้ว ชนพวกนั้นย่อมถูกจูงไป

ในวาทะของชนพวกอื่น ชนพวกนั้นชื่อว่า

ยังหลับไม่ตื่น (กาลนี้) เป็นกาลสมควร

เพื่อจะตื่นของชนพวกนั้น.

[๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใดแทง

ตลอดดีแล้ว ชนพวกนั้นย่อมไม่ถูกจูงไป

ในวาทะของชนพวกอื่น บุคคลผู้รู้ดีทั้ง-

หลายรู้ทั่วถึงโดยชอบแล้ว ย่อมประพฤติ

เสมอในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

อรรถกถาอัปปฏิวัทิตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๗ ต่อไป :-

บทว่า ธมฺมา ได้แก่ สัจจธรรม ๔.

บทว่า อปฺปฏิวิทิตา ได้แก่ ยังมิได้แทงตลอดด้วยญาณ.

บทว่า ปรวาเทสุ ได้แก่ ในวาทะอัน ประกอบด้วยทิฏฐิ ๖๒ จริงอยู่

วาทะเหล่านั้น ชื่อว่า วาทะของชนพวกอื่น เพราะเป็นวาทะของพวกเดียรถีย์

อื่น นอกจากวาทะในศาสนานี้.

บทว่า นียเร ได้แก่ ย่อมเคลื่อนไปตามธรรมดาของคนบ้าง บุคคล

อื่นย่อมจูง (นำ) ไปบ้าง ในบทเหล่านั้น เมื่อถือเอาวาทะว่าเที่ยง เป็นต้นเอง

ชื่อว่า ย่อมเคลื่อนไป. เมื่อถือเอาวาทะว่าเที่ยงนั้น ตามถ้อยคำของผู้อื่น ชื่อว่า

ถูกผู้อื่นจูงไป. บทว่า กาโล เตส ปพุชฺฌิตุ อธิบายว่า กาลนี้ เป็นกาล

สมควรเพื่อจะตื่นของบุคคลเหล่านั้น. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลก

พระธรรมอันพระองค์ย่อมทรงแสดง พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทั้งปฏิปทาก็

เจริญ เทวดาจึงกล่าวว่า ก็มหาชนเหล่านี้หลับแล้วในวัฏฏะ ยังไม่ตื่น ดังนี้.

ในบทว่า สมฺพุทฺธา ได้แก่ ผู้ตรัสรู้แล้วโดยชอบ ด้วยเหตุ ด้วย

การณ์. จริงอยู่ ผู้ตรัสรู้ ๔ จำพวก คือ พระสัพพัญญูพุทธะ ปัจเจก-

พุทธะ จตุสัจจพุทธะ และ สุตพุทธะ. ในพุทธะเหล่านั้น ผู้บำเพ็ญ

บารมี ๓๐ ทัศ แล้วบรรลุพระสัมมาสัมโพธิ ชื่อว่า พระสัพพัญญูพุทธะ.

ผู้บำเพ็ญบารมีสิ้น ๒ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป จึงบรรลุด้วยตนเอง ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

พระปัจเจกพุทธะ. พระขีณาสพผู้สิ้นอาสวะโดยไม่เหลือ ชื่อว่า จตุสัจจพุทธะ.

ผู้เป็นพหูสูต ชื่อว่า สุตพุทธะ. พุทธะมีในก่อนแม้ทั้ง ๓ ย่อมสมควรใน

อรรถนี้.

บทว่า สมฺมทญฺาย ได้แก่ รู้ด้วยเหตุด้วยการณ์. บทว่า จรนฺติ

วิสเม สม อธิบายว่า ย่อมประพฤติเสมอในโลกสันนิวาสอันไม่เสมอ หรือ

ในหมู่สัตว์อันไม่เสมอ หรือว่ากิเลสชาตอันไม่เสมอดังนี้แล.

จบอรรถกถาอัปปฏิวิทิตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

๘. สุสัมมุฏฐสูตร

[๑๗] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าว

คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ธรรมทั้งหลายอันชนพวกใดลืมเลือน

แล้ว ชนพวกนั้น ย่อมถูกจูงไปในวาทะ

ของชนพวกอื่น ชนพวกนั้นชื่อว่ายังหลับ

ไม่ตื่น(กาลนี้) เป็นกาลควรเพื่อจะตื่นของ

ชนพวกนั้น.

[๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ธรรมทั้งหลาย อันชนพวกใดไม่ลืม

เลือนแล้ว ชนพวกนั้นย่อมไม่ถูกจูงไปใน

วาทะของชนพวกอื่น บุคคลผู้รู้ดีทั้งหลาย

รู้ทั่วถึงโดยชอบแล้ว ย่อมประพฤติเสมอ

ในหมู่สัตว์ผู้ประพฤติไม่เสมอ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

อรรถกถาสุสัมมุฏฐสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๘ ต่อไป:-

บทว่า สุสมฺมุฏฺา ได้แก่ เป็นผู้หลงลืมแล้ว โดยความเป็นผู้ไม่

แทงตลอดด้วยปัญญา เหมือนอย่างว่า ชาวนาไถนา ๒ แปลง ก็พึงใส่ข้าวมาก

เมื่อหมายถึงข้าวที่ไม่ได้ จากนาที่ตนไม่ได้หว่าน กล่าวว่า ข้าวของเราเป็น

อันมาก เสียหายแล้ว ย่อมกล่าวถึงข้าวที่ไม่ได้นั้นเองว่า เสียหายแล้ว ฉันใด

แม้ในที่นี้ ก็ฉันนั้น ชื่อว่า หลงลืมแล้ว เพราะความที่ตนแทงไม่ตลอด.

บทว่า อสมฺมุฏา ได้แก่ ชื่อว่า ไม่หลงลืมแล้ว เพราะความที่ตนแทง

ไม่ตลอดด้วยปัญญา. คำที่เหลือ เช่นกับนัยก่อน ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาสุสัมมุฏฐสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

๙. มานกามสูตร

[๑๙] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าว

คาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ทมะย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ปรารถนา

มานะ ความรู้ย่อมไม่มีแก่บุคคลที่มีจิต

ไม่ตั้งมั่น บุคคลผู้เดียว เมื่ออยู่ในป่า

ประมาทแล้ว ไม่พึงข้ามพ้นฝั่งแห่งเตภูมิ-

กวัฏอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุได้.

[๒๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่น

ดีแล้ว มีจิตดี พ้นในธรรมทั้งปวงแล้ว

เป็นผู้เดียว เมื่ออยู่ในป่า ไม่ประมาทแล้ว

บุคคลนั้นพึงข้ามฝั่งแห่งเตภูมิกวัฎเป็นที่-

ตั้งแห่งมัจจุได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

อรรถกถามานกามสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า มานกามสฺส ได้แก่ บุคคลผู้ใคร่อยู่ คือปรารถนาอยู่ซึ่ง

มานะ. บทว่า ทโม อธิบายว่า เทวดาย่อมกล่าวว่า ทมะอันเป็นไปในฝ่ายสมาธิ

ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้เห็นปานนี้. ก็ในบทว่า สจฺเจน ทนฺโต ทมสา อุเปโต

เวทนฺตคู วิสิตพฺรหฺมจริโย แปลว่า บุคคลผู้ฝึกฝนแล้วด้วยสัจจะผู้เข้าถึง

แล้วด้วยทมะ ผู้ถึงที่สุดแห่งเวท ผู้อยู่จบพรหมจรรย์ ดังนี้ ท่านเรียกอินทรีย์

ว่า ทมะ. ในบทว่า ยทิ สจฺจา ทมา จาคา ขนฺตยา ภิยฺโยธ วิชฺชติ

แปลว่า ผิว่า จะมีธรรมอื่นยิ่งกว่า สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติ ในโลกนี้

ดังนี้ ท่านเรียกปัญญา ว่า ทมะ. ในคำนี้ว่า ทาเนน ทเมน สยเมน

สจฺจวาเทน อตฺถิ ปุญฺ อตฺถิ ปุญฺสฺส อาคโม แปลว่า บุญมีอยู่

การมาถึงแห่งบุญย่อมมี ด้วยทาน ด้วยทมะ. ด้วยสังยมะ ด้วยสัจจวาจา ดังนี้

ท่านเรียก อุโบสถกรรม ว่า ทมะ.

ในคำว่า สกฺขิสฺสสิ โข ตฺว ปุณฺณ อิมินา ทมูปสเมน

สมนฺนาคโต สุนาปรนฺตสฺมึ ชนปเท วิหริตุ แปลว่า ดูก่อนปุณณะ

เธอเป็นผู้ประกอบด้วยความอดทนด้วยความสงบนี้แล้ว จักอาจเพื่อ อยู่ใน

ชนบทสุนาปรันตะดังนี้ ท่านเรียก อธิวาสนขันติ ว่า ทมะ

แต่คำว่า ทมะ ในพระสูตรนี้ เป็นชื่อของธรรมอันเป็นฝ่ายสมาธิ

เพราะเหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวว่า น โมนมตฺถิ อสมาหิตสฺส แปลว่า

ความรู้ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น. ในบทเหล่านั้น บทว่า โมน ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

ญาณในมรรค ๔. จริงอยู่ ญาณในมรรค ๔ นั้น ญาณใด ย่อมรู้ เหตุนั้น

ญาณนั้น จึงชื่อว่า โมนะ อธิบายว่า ย่อมรู้สัจจธรรม ๔. บทว่า มจฺจุเธยฺยสฺส

ได้แก่ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ จริงอยู่ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ นั้น

ท่านเรียกว่า มัจจุเธยยะ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความตาย.

บทว่า ปาร ได้แก่ ฝั่ง (นิพพาน) คือที่ดับแห่งเตภูมิกวัฏนั้นแล.

บทว่า ตเรยฺย ได้แก่ พึงแทงตลอด หรือพึงถึง. คำนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า

บุคคลผู้เดียวเมื่ออยู่ในป่าประมาทแล้ว ไม่พึงข้ามพ้น ไม่พึงแทงตลอด ไม่พึง

ถึงฝั่งแห่งเตภูมิกวัฎอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุได้. ในบทว่า มาน ปหาย ได้แก่

ละมานะ ๙ อย่าง ด้วยพระอรหัตมรรค. บทว่า สุสมาหิตตฺโต ได้แก่

มีจิตตั้งมั่นดีแล้วด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ. บทว่า สุเจตโส ได้แก่

จิตที่ดีสัมปยุตแล้วด้วยญาณ อธิบายว่า จริงอยู่ ท่านไม่เรียกว่า ผู้มีจิตดี

โดยปราศจากญาณ เพราะฉะนั้น ผู้นั้น จึงชื่อว่า มีจิตดี เพราะประกอบ

ด้วยญาณ. บทว่า สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต ความว่า พ้นไปแล้วในธรรม

ทั้งปวง มีขันธ์ และอายตนะเป็นต้น.

ในคำว่าว่า ตเรยฺย นี้ ท่านกล่าวว่า เมื่อก้าวล่วงเตภูมิกวัฏ แทงตลอด

ถึงพระนิพพานข้ามไป ดังนี้ จึงชื่อว่า การข้ามพ้นด้วยการแทงตลอด.

เพราะเหตุนี้ สิกขา ๓ เป็นอันท่านกล่าวแล้วด้วยคาถานี้. อย่างไร คือ ขึ้นชื่อว่า

มานะ นี้ เป็นเครื่องทำลายศีล เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวถึงอธิศีลสิกขา

ด้วยคำว่า มาน ปหาย แปลว่า ละมานะแล้ว. ท่านกล่าวอธิจิตตสิกขา

ด้วยคำว่า สุสมาหิตตฺโต แปลว่า มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว. ท่านแสดงปัญญาไว้

ด้วยจิตตศัพท์ ในคำว่า สุเจตโส นี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แสดงอธิ-

ปัญญาสิกขา ด้วยคำว่า สุเจตโส นี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

เมื่อศีลมี ก็ชื่อว่ามีอธิศีล เมื่อจิตมีก็ชื่อว่ามีอธิจิต เมื่อปัญญามีก็ชื่อว่า

มีอธิปัญญา เพราะฉะนั้น ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๑๐ ก็ดี จึงชื่อว่าศีล ในที่นี้.

ปาฏิโมกขสังวร พึงทราบว่าชื่อว่า อธิศีล. สมาบัติ ๘ ชื่อว่า จิต. ฌานอันเป็น

บาทแห่งวิปัสสนา ชื่อว่า อธิจิต. กัมมสัสกตญาณ ชื่อว่า ปัญญา. วิปัสสนา

ชื่อว่า อธิปัญญา.

จริงอยู่ ศีลที่เป็นไปในกาลที่พระพุทธเจ้ายังไม่เกิด ฉะนั้น ศีล ๕

ศีล ๑๐ ชื่อว่า ศีลเท่านั้น. ปาฎิโมกขสังวรศีลย่อมเป็นไปในกาลที่พุทธเจ้า

ทรงอุบัติขึ้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า อธิศีล. แม้ในจิตและปัญญา ก็นัยนี้เหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง แม้ศีล ๕ ศีล ๑๐ อันผู้ปรารถนาพระนิพพาน สมาทาน

แล้วก็ชื่อว่า อธิศีลเหมือนกัน. แม้สมาบัติ ๘ ที่เข้าถึงแล้ว ก็ชื่อว่า อธิจิต

เหมือนกัน.

หรือว่า โลกียศีลทั้งหมด ชื่อว่า ศีล เหมือนกัน โลกุตรศีล

ชื่อว่า อธิศีล. แม้ในจิตและปัญญา ก็นัยนี้เหมือนกัน. ท่านประมวลสิกขา

๓ มากล่าวศาสนธรรมทั้งสิ้นไว้ ด้วยพระคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถามานกามสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

๑๐. อรัญญสูตร

[๒๑] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

วรรณะของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า

ฉันภัตอยู่หนเดียว เป็นสัตบุรุษผู้ประพฤติ

ธรรมอันประเสริฐ ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ

อะไร.

[๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่

ล่วงแล้ว ไม่ปรารถนาปัจจัยที่ยังมาไม่ถึง

เลี้ยงตนด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า

วรรณะ(ของภิกษุทั้งหลายนั้น) ย่อมผ่องใส

ด้วยเหตุนั้น เพราะความปรารถนาถึง

ปัจจัยที่ยังไม่มาถึง และความโศกถึงปัจจัย

ที่ล่วงแล้ว พวกพาลภิกษุจึงซูบซีด

เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอนเสียแล้ว ฉะนั้น

จบ นฬวรรค ที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

อรรถกถาอรัญญสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า สนฺตาน ได้แก่ ผู้มีกิเลสอันสงบระงับแล้ว อีกอย่างหนึ่ง

ได้แก่บัณฑิต. แม้บัณฑิตท่านก็เรียกว่า สัตบุรุษ เช่นในคำมีอาทิว่า สนฺโต

ทเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ ดังนี้ก็มี. บทว่า

พฺรหฺมจาริน แปลว่า ผู้พระพฤติธรรมอันประเสริฐ คือ ผู้อยู่ประพฤติมรรค

พรหมจรรย์. หลายบทว่า เกน วณฺโณ ปสีทติ ความว่า เทวดาทูลถามว่า

ผิวพรรณของภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมผ่องใส ด้วยเหตุอะไร. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร

เทวดานี้จึงทูลถามอย่างนี้. ตอบว่า ได้ยินว่า เทวดานี้เป็นภุมมเทวดาอาศัยอยู่

ในไพรสณฑ์เห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ป่ากลับจากบิณฑบาตหลังภัตแล้วเข้าไป

สู่ป่า ถือเอาลักษณกรรมฐาน (กรรมฐานตามปกติวิปัสสนา) ในที่เป็นที่พัก

ในเวลากลางคืน และที่เป็นที่พักในเวลากลางวันเหล่านั้นนั่งลงแล้ว. ก็เมื่อ

ภิกษุเหล่านั้นนั่งด้วยกรรมฐานอย่างนี้แล้ว เอกัคคตาจิตซึ่งเป็นเครื่องชำระของ

ท่านก็เกิดขึ้น. ลำดับนั้น ความสืบต่อแห่งวิสภาคะก็เข้าไปสงบระงับ.

ความสืบต่อแห่งสภาคะหยั่งลงแล้ว จิตย่อมผ่องใส เมื่อจิตผ่องใสแล้ว โลหิต

ก็ผ่องใส. อุปาทารูปทั้งหลาย ซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ย่อมบริสุทธิ์. วรรณะ

แห่งหน้า ย่อมเป็นราวกะสีแห่งผลตาลสุกที่หลุดจากขั้วฉะนั้น.

เทวดานั้น ครั้นเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงดำริว่า ธรรมดาว่า สรีระ

วรรณะ (ผิวพรรณแห่งร่างกาย) นี้ ย่อมผ่องใสแก่บุคคลผู้ได้อยู่ซึ่งโภชนะ

ทั้งหลายอันสมบูรณ์มีรสอันประณีต ผู้มีที่อยู่อาศัยเครื่องปกปิด ที่นั่งที่นอนมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

สัมผัสอันสบาย ผู้ได้ปราสาทต่าง ๆ มีปราสาท ๗ ชั้นเป็นต้น อันให้ความสุข

ทุกฤดูกาล และแก่ผู้ได้วัตถุทั้งหลาย มีระเบียบดอกไม้ของหอม และเครื่อง

ลูบไล้เป็นต้น แต่ภิกษุเหล่านี้เที่ยวบิณฑบาตฉันภัตปะปนกัน ย่อมสำเร็จ

การนอนบนเตียงน้อยทำด้วยใบไม้ต่าง ๆ หรือนอนบนแผ่นกระดาน หรือบน

ศิลา ย่อมอยู่ในที่ทั้งหลายมีโคนไม้เป็นต้น หรือว่าที่กลางแจ้ง วรรณะของ

ภิกษุเหล่านี้ ย่อมผ่องใส เพราะเหตุอะไรหนอแล ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงได้

ทูลถามข้อความนั้นกะพระบรมศาสดา.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสถึงเหตุนั้นแก่เทวดา จึง

ตรัสพระคาถาที่ ๒. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตีต ความว่า พระเจ้า-

ธรรมิกราช พระนามโน้น ได้มีในกาลอันล่วงแล้ว. พระราชาพระองค์นั้นได้

ถวายปัจจัยทั้งหลายอันประณีต ๆ แก่พวกเรา. อุปัชฌาย์อาจารย์ของเราเป็นผู้

มีลาภมาก ครั้งนั้น พวกเราฉันอาหารเห็นปานนี้ ห่มจีวรเห็นปานนี้ ภิกษุ

เหล่านี้ ย่อมไม่ตามเศร้าโศก ถึงปัจจัยที่ล่วงมาแล้ว เหมือนภิกษุผู้มีปัจจัย

มากบางพวก อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้.

สองบทว่า นปฺปชปฺปนฺติ นาคต อธิบายว่า พระเจ้าธรรมิกราช

จักมีในอนาคต ชนบททั้งหลายจักแผ่ไป วัตถุทั้งหลายมีเนยใสเนยข้นเป็นต้น

จักเกิดขึ้นมากมาย ผู้บอกกล่าวจักมีในที่นั้น ๆ ว่า ขอท่านทั้งหลายจงเคี้ยวกิน

จงบริโภคเป็นต้น ในกาลนั้น พวกเราจักฉันอาหารเห็นปานนี้ จักห่มจีวร

เห็นปานนี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไม่ปรารถนาปัจจัยที่ยังมาไม่ถึงอย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺเนน ความว่า ย่อมเลี้ยงตนเองด้วยปัจจัย

อย่างใดอย่างหนึ่งที่ได้ในขณะนั้น. บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยเหตุแม้ ๓ อย่างนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแสดงการถึงพร้อมแห่งวรรณะอย่างนี้แล้ว บัดนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

เมื่อจะแสดงความพินาศแห่งวรรณะนั้นนั่นแหละ จึงตรัสพระคาถาในลำดับนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนาคตปฺปชปฺปาย แปลว่า เพราะปรารถนา

ปัจจัยที่ยังไม่มาถึง. บทว่า เอเตน ได้แก่ ด้วยเหตุทั้ง ๒ นี้. บทว่า นโฬว

หริโต ลุโต อธิบายว่า พวกพาลภิกษุจักซูบซีด เหมือนต้นอ้อสดที่บุคคล

ถอนทิ้งที่แผ่นหินอันร้อน จักเหี่ยวแห้ง ฉะนั้นแล.

จบอรรถกถาอรัญญสูตร ที่ ๑๐

จบนฬวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรในนฬวรรคที่ ๑

๑. โอฆตรณสูตร ๒. นิโมกขสูตร ๓. อุปเนยยสูตร ๔. อัจเจนติสูตร

๕. กติฉินทิสูตร ๖. ชาครสูตร ๗. อัปปฏิวิทิตสูตร ๘. สุสัมมัฏฐสูตร

๙. มานกามสูตร ๑๐. อรัญญสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

นันทหวรรคที่ ๒

๑. นันทนสูตร

ว่าด้วยคำของพระอรหันต์

[๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๒๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์องค์หนึ่งแวดล้อมด้วยหมู่นาง

อัปสร อิ่มเอิบพรั่งพร้อมด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ พวกนางอัปสรบำเรอ

อยู่ในสวนนันทนวันได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า

เทวดาเหล่าใดไม่เห็นนันทนวัน อัน

เป็นที่อยู่ของหมู่นรเทพ สามสิบ ผู้มียศ

เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่รู้จักความสุข.

[๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดาองค์

หนึ่งได้ย้อนกล่าวกะเทวดานั้นด้วยคาถาว่า

ดูก่อนท่านผู้เขลา ท่านย่อมไม่รู้จัก

คำของพระอรหันต์ทั้งหลายว่า สังขารทั้ง

ปวงไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ความ

สงบระงับสังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นสุข.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

อรรถกถานันทนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๑ แห่ง นันทนวรรคต่อไป:-

บทว่า ตตฺร แปลว่า ในพระอารามนั้น . ศัพท์ว่า โข สักว่าเป็น

นิบาตอันสามารถทำพยัญชนะให้สละสลวย. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ได้แก่

ย่อมให้ภิกษุทั้งหลายซึ่งเป็นบริษัทผู้เลิศทราบ. บทว่า ภิกฺขโว เป็นบทแสดง

ถึงอาการที่เรียกภิกษุเหล่านั้นมา. บทว่า ภทนฺเต เป็นคำทูลรับพระดำรัส.

บทว่า เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้มีหน้าเฉพาะซึ่งจะรับพระธรรม-

เทศนา คือ ภิกษุเหล่านั้น. บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ความว่า ภิกษุ

เหล่านั้นฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เป็นผู้มีหน้าเฉพาะ คือ ฟัง

แล้วทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า เอตทโวจ ความว่า

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำเป็นอาทิว่า เรื่องนี้ได้เคยมีมาแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาวตึสกายิกา ได้แก่ เกิดในหมู่ของ

เทวดาชั้นดาวดึงส์ท่านเรียกเทวโลกชั้นที่สองว่า ตาวติงสกายะ (แปลว่ามีพวก

๓๓ หรือหมู่นรเทพ ๓๓)

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ได้ยินว่า บัญญัติชื่อว่า ตาวติงสกายะ นี้

เกิดขึ้นในเทวโลกนั้น เพราะอาศัยเทวบุตร ๓๓ องค์ อุบัติขึ้นในที่นั้น เพราะ

ทำกาละของชน ๓๓ กับมฆมาณพในบ้านอจลคาม ดังนี้. ก็เพราะเทวโลก-

กามาวจร ๖ ชั้น มีอยู่แม้ในจักรวาลที่เหลือ ตามที่ได้ตรัสไว้ว่า มีท้าวจาตุม-

มหาราชาหนึ่งพันองค์ มีพิภพดาวดึงส์หนึ่งพัน ดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น พึงทราบ

นามบัญญัตินี้ของเทวโลกนั้น ดังนี้. จริงอยู่ โดยเหตุนี้นั้น บทว่า ตาวตึสกาย

จึงไม่ผิดไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

พึงทราบวิเคราะห์ในบทว่า นนฺทนวเน นี้ว่า ป่านั้น ย่อมยังบุคคล

ทั้งหลายผู้เข้าไปแล้วๆ ให้เพลิดเพลิน ย่อมให้ยินดี เพราะเหตุนั้น ป่านั้น จึง

ชื่อว่า นันทนะ แปลว่ายังบุคคลผู้เข้าไปแล้วให้ยินดี. จริงอยู่ ครั้นเมื่อ

มรณนิมิต ๕ อย่างเกิดขึ้นแล้ว พวกเทวดาทั้งหลายย่อมคร่ำครวญอยู่ว่า พวก

เราจักต้องละทิ้งสมบัติจุติไป ดังนี้.

ท้าวสักกะจอมเทพ จะให้โอวาทว่า ท่านทั้งหลายอย่าร่ำไห้เลย ขึ้น

ชื่อว่าสังขารทั้งหลายมีอันไม่แตกดับไปหามีไม่ ดังนี้ แล้วจึงให้เทวดานั้นเข้า

ไปสู่สวนนันทนวันนั้น ความเศร้าโศกเพราะมรณะของเทวดานั้นแม้จะถูกเทวดา

อื่นประคองแขนไป ก็ย่อมสงบระงับได้ เพราะเห็นสมบัติแห่งสวนนันทวัน

นั้น. ความปรีดาปราโมทย์เท่านั้น ย่อมเกิดขึ้น. ทีนั้น เมื่อเทวดาทั้งหลาย

กำลังเล่นอยู่ในสวนนันทวันนั้นนั่นแหละ (ร่างกาย) ย่อมละลายไปดุจก้อน

หิมะที่ถูกเผาด้วยความร้อน และย่อมถูกขจัดไป ดุจเปลวประทีปถูกลมพัดดับ

ไป ฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ใดที่หนึ่ง ย่อมยังเทวดาผู้เข้าไปในภายในแล้ว ให้

เพลิดเพลินให้ยินดีนั่นแหละ เพราะเหตุนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า นันทนะ. ในที่นี้

ได้แก่ ในสวนนันทวันนั้น. บทว่า อจฺฉรา ในบทว่า อจฺฉราสงฺฆปริวุตา

นี้เป็นชื่อ เทวธิดา ผู้แวดล้อมในหมู่ของนางอัปสรนั้น. บทว่า ทิพฺเพหิ

ได้แก่ ผู้เกิดในเทวโลก. บทว่า ปญฺจหิ กามคุเณหิ ได้แก่ ด้วยเครื่อง

ผูก คือ กาม หรือส่วนแห่งกาม ๕ กล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส และ

โผฏฐัพพะ อันเป็นที่รักที่ชอบใจ. บทว่า สมปฺปิตา คือเข้าถึงแล้ว. คำว่า

พรั่งพร้อมนอกนี้ก็เป็นไวพจน์ของการเข้าถึงแล้วนั่นแหละ. บทว่า ปริจาริย-

มานา ได้แก่เทวดาทั้งหลายรื่นรมย์อยู่ คือ ยังอินทรีย์ให้รื่นเริงในกามคุณ มี

รูปเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า ตาย เวลาย ได้แก่ ในเวลาที่บำเรอนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

ก็กาลนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ไม่นานเทวบุตรนั้นก็อุบัติขึ้น. จริงอยู่

อัตภาพของเทวดาที่อุบัติขึ้นนั้นมีประมาณ ๓ คาวุต รุ่งโรจน์อยู่ ราวกะแท่ง

ทองสีแดง เทวบุตรนั้นนุ่งห่มผ้าทิพย์ประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับอันเป็น

ทิพย์ ทัดทรงด้วยดอกไม้ทิพย์ อันนางอัปสรลูบไล้อยู่ด้วยจันทน์และจุณทั้งหลาย

อันเป็นทิพย์ ถูกปกคลุมแล้ว บดขยี้แล้ว หุ้มห่อแล้วด้วยกามคุณ ๕ อันเป็น

ทิพย์ ถูกความโลภครอบงำ ไม่เห็นอยู่ซึ่งพระนิพพานอันเป็นที่สลัดออกจาก

โลก เมื่อกล่าวคาถานี้ว่า น เต สุข ปชานฺนติ เป็นต้น ด้วยเสียงอันดัง

แล้วก็เที่ยวไปในสวนนันทวัน เป็นเหมือนบุคคลกล่าววาจาหยาบคาย (อันมี

ใช่เป็นวาจาของสัตบุรุษ) ด้วยเหตุนั้น เทวบุตรนั้น จึงได้กล่าวคาถานี้ใน

เวลานั้น.

บทว่า เย น ปสฺสนฺติ นนฺทน ได้แก่ เทวดาเหล่าใดซึ่งอยู่ในที่นั้

ย่อมไม่เห็นนันทวันด้วยสามารถแห่งการเสวยเบญจกามคุณ. บทว่า นรเทวาน

ได้แก่ นระผู้เป็นเทพ. คือบุรุษผู้เป็นเทพ. บทว่า ติทสาน แปลว่า สามสิบ

(ไตรทศ). บทว่า ยสสฺสิน แปลว่า ถึงพร้อมด้วยยศ คือบริวาร (บริวารยศ).

สองบทว่า อญฺตรา เทวตา ได้แก่ เทวดาผู้เป็นพระอริยสาวิกา

องค์หนึ่ง. บทว่า ปจฺจภาสิ อธิบายว่า เทวดาผู้โง่เขลานี้ ย่อมสำคัญสัมบัติ

(ของตน) นี้ว่าเป็นของมั่งคั่งเป็นของไม่หวั่นไหว ย่อมไม่ทราบถึงความที่

สมบัตินั้น มีการแตกสลายเป็นธรรมดา ด้วยเหตุนี้ เทวดาผู้พระอริยสาวิกา

ผู้ไม่ละความตั้งใจแสดงสภาวะ จึงได้ย้อนกล่าวด้วยคาถานี้ว่า น ตฺว พาเล

แปลว่า ดูก่อนท่านผู้เขลา. บทว่า ยถา อรหต วโจ อธิบายว่า เมื่อ

คัดค้านความต้องการของเทวดาผู้โง่เขลาอย่างนี้ว่า ท่านย่อมไม่รู้คำของ

พระอรหันต์ทั้งหลายโดยแท้จริงดังนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงคำของพระอรหันต์

ทั้งหลายจึงกล่าวคำว่า อนิจฺจา เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา อธิบายว่า

สังขารอันเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า มีแล้วหามี

ไม่ (เกิดแล้วก็ดับไป). คำว่า อุปฺปาทวยธมฺมิโน ได้แก่ สภาวะที่เกิดขึ้น

และเสื่อมไป (มีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา). คำว่า อุปฺปชฺ-

ชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ นี้ เป็นไวพจน์ของคำก่อน (คือ อุปฺปาทวย). อีก

อย่างหนึ่ง แปลว่า เพราะเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มี

ความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา. ก็ในที่นี้ ท่านถือเอาฐานะในลำดับนั้น

นั่นแหละด้วยศัพท์อุปปาทะและวยะ. คำว่า เตส วูปสโม สุโข อธิบายว่า

พระนิพพาน กล่าวคือ ความเข้าไปสงบระงับแห่งสังขารทั้งหลายเหล่านั้น เป็น

สุข. นี้เป็นคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

จบอรรถกถานันทนสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

๒. นันทิสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่มีความยินดี

[๒๖] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล

ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตรทั้ง-

หลาย คนมีโคย่อมยินดีเพราะโคทั้งหลาย

เหมือนกันฉะนั้น เพราะอุปธิเป็นความดี

ของคน บุคคลใดไม่มีอุปธิ บุคคลนั้นไม่มี

ยินดีเลย.

[๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลมีบุตร ย่อมเศร้าโศกเพราะ

บุตรทั้งหลาย บุคคลมีโค ย่อมเศร้าโศก

เพราะโคทั้งหลายเหมือนกันฉะนั้น เพราะ

อุปธิเป็นความเศร้าโศกของคน บุคคลใด

ไม่มีอุปธิ บุคคลนั้นไม่เศร้าโศกเลย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

อรรถกถานันทิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า นนฺทติ แปลว่า ย่อมยินดี คือ ย่อมมีใจเป็นของ ๆ ตน.

บทว่า ปุตฺติมา ได้แก่ มีบุตรมาก. จริงอยู่ บุตรบางพวกทำกสิกรรมแล้ว

ย่อมยังยุ้งข้าวเปลือกให้เต็ม บางพวกทำการค้าแล้วย่อมนำเงินและทองมา

บางพวกบำรุงพระราชา (รับราชการ) ย่อมได้วัตถุทั้งหลายมียาน พาหนะ

คาม นิคมเป็นต้น. มารดาหรือบิดาเมื่อเสวยสิริอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งบุตร

เหล่านั้น ย่อมยินดี. อีกอย่างหนึ่ง มารดาหรือบิดาเห็นบุตรทั้งหลาย ผู้อันบุคคล

ตกแต่งประดับประดา ทำให้เกิดความยินดี เสวยอยู่ซึ่งสมบัติในวันรื่นเริง

เป็นต้น ย่อมยินดี. ด้วยเหตุนั้น เทวดา หมายเอาความเป็นไปนั้น จึงกล่าวว่า

นนฺทติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา แปลว่า คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตรทั้งหลาย

ดังนี้. บทว่า โคหิ ตเถว ความว่า คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตร ฉันใด

แม้คนมีโค ก็ฉันนั้น คนมีโคเห็นมณฑลแห่งโค (สนามโค) สมบูรณ์แล้ว

เพราะอาศัยโคทั้งหลาย เสวยสมบัติ คือ เบญจโครส จึงชื่อว่า ย่อมยินดี

เพราะโคทั้งหลาย. บทว่า อุปธิ ในบทว่า อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา

นี้ได้แก่ อุปธิ ๔ อย่าง คือ กามูปธิ (อุปธิคือกาม) ขันธูปธิ (อุปธิคือขันธ์)

กิเลสูปธิ (อุปธิคือกิเลส) และอภิสังขารูปธิ (อุปธิคืออภิสังขาร).

จริงอยู่ แม้กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า อุปธิ

เพราะวจนัตถะนี้ว่า ความสุขที่บุคคลเข้าไปตั้งไว้ในกามคุณนี้ ก็เพราะความที่

กามเหล่านี้ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งความสุขดังที่ตรัสไว้ อย่างนี้ว่า ความสุข ความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

โสมนัส อันใด อาศัยกามคุณ ๕ เกิดขึ้น นี้ชื่อว่า ความพอใจในกามทั้งหลาย

ดังนี้.

แม้ขันธ์ทั้งหลาย ก็ตรัสเรียกว่า อุปธิ เพราะความที่ขันธ์เหล่านั้น

เป็นที่อาศัยอยู่ แห่งทุกข์ซึ่งมีขันธ์เป็นมูล. แม้กิเลสทั้งหลาย ก็ตรัสเรียกว่า

อุปธิ เพราะความที่กิเลสเหล่านั้นเป็นที่อาศัยอยู่แห่งทุกข์ในอบาย. แม้อภิสังขาร

ทั้งหลายก็ตรัสเรียกว่า อุปธิ เพราะความที่อภิสังขารเหล่านั้นเป็นที่อาศัยอยู่

แห่งทุกข์ในภพ.

แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอา กามูปธิ เพราะกามคุณ ๕ อัน

บุคคลบำรุงบำเรอด้วยอำนาจแห่งวัตถุทั้งหลาย มีการอยู่ในปราสาท ๓ ฤดู

เป็นต้น มีที่นั่งที่นอนอาภรณ์เสื้อผ้าอันโอฬาร มีบริวารคอยบำเรอด้วยการ

ฟ้อนรำเป็นต้น เป็นเหตุนำมาซึ่งปีติโสมนัส ย่อมยังนระให้ยินดีอยู่ ฉะนั้น

บุตรทั้งหลายและโคทั้งหลาย ฉันใด พึงทราบว่า แม้อุปธิเหล่านี้ก็ฉันนั้น

เพราะเป็นที่ยินดีของนระ.

บาทแห่งคาถาว่า น หิ โส นนฺทติ โย นิรูปธิ ความว่า

บุคคลใด ไม่มีอุปธิ คือ เว้นจากการถึงพร้อมด้วยกามคุณ เป็นผู้ขัดสน มี

อาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้โดยยาก บุคคลนั้นแลย่อมยินดีไม่ได้.

ถามว่า มนุษย์เพียงดังเปรต มนุษย์เพียงดังสัตว์นรก เห็นปานนี้

จักยินดีอย่างไร.

ตอบว่า ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวิสัชนาไว้แล้ว (ในคาถา

ที่ ๒๗)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับคำ (อันเทวดากล่าว) นี้แล้ว ทรงพระ

ดำริว่า เทวดานี้ ย่อมทำเรื่องแห่งความเศร้าโศกนั่นแหละ ให้เป็นเรื่องน่ายินดี

เราจักแสดงความที่สิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องแห่งความเศร้าโศกแก่เธอ ดังนี้ เมื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

ทำลายวาทะของเทวดานั้น ด้วยอุปมานั้นนั่นเอง เหมือนบุคคลยังถ้อยคำอัน

เป็นเหตุผลให้ตกไปด้วยเหตุผล จึงทรงเปลี่ยนพระคาถานั้นนั่นแหละ แล้วตรัส

ว่า โสจติ เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสจติ ปุตฺเตหิ ความว่า เมื่อบุตร

ทั้งหลายสูญหายไปก็ดี เสื่อมเสียไปก็ดี ด้วยอำนาจแห่งการเดินทางไปต่างประเทศ

แม้มีความสงสัยในบัดนี้ว่า จักสูญเสียไป มารดาและบิดาย่อมเศร้าโศก.

อนึ่ง เมื่อบุตรตายแล้วก็ดี กำลังจะตายก็ดี หรือถูกราชบุรุษหรือโจร

เป็นต้นจับตัวไป หรือว่าเข้าไปสู่เงื้อมมือของข้าศึกทั้งหลาย มารดาหรือบิดา

เป็นผู้มีความสงสัยว่าตายแล้วก็ดี ย่อมเศร้าโศก. เมื่อบุตรพลัดตกจากต้นไม้

หรือจากภูเขาเป็นต้น มีมือและเท้าหักก็ดี บอบช้ำก็ดี มีความสงสัยว่าแตกหัก

แล้วก็ดี มารดาหรือบิดาย่อมเศร้าโศก. บุคคลมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร

ทั้งหลาย ฉันใด แม้คนมีโคก็ฉันนั้น ย่อมเศร้าโศกเพราะโคทั้งหลาย โดย

อาการ ๙ อย่าง.

บาทพระคาถาว่า อุปธี หิ นรสฺส โสจนา ความว่า เหมือนอย่างว่า

บุตรและโคทั้งหลาย ฉันใด แม้อุปธิคือ กามคุณ ๕ ก็ฉันนั้น ย่อมยังนระ

ให้เศร้าโศก โดยนัยที่ตรัสไว้ว่า

ตสฺส เจ กามยมานสฺส ฉนฺทชาตสฺส ชนฺตุโน

เต กามา ปริหายนฺติ สลุลวิทฺโธว รุปฺปติ

หากว่าสัตว์นั้นมีความรักใคร่มีความ

พอใจเกิดแล้ว กามเหล่านั้นย่อมยังเขาให้

ย่อยยับไป เหมือนบุคคลถูกลูกศรแทงแล้ว

ย่อมพินาศ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ความเศร้าโศกของนระ ก็คือเรื่อง

ความเศร้าโศกนั่นแหละ. บทว่า น หิ โส โสจติ โย นิรูปธิ ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายไว้ว่า อุปธิ ๔ เหล่านี้ ไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นย่อม

ไม่มีอุปธิ คือความเศร้าโศก ดูก่อนเทวดา เพราะเหตุนั้นแหละ พระมหา-

ขีณาสพจักเศร้าโศก หรือกำลังเศร้าโศกมีหรือ ดังนี้แล.

อรรถกถานันทิสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

๓. นัตถิปุตตสมสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ไม่มีอะไรเปรียบ

[๒๘] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้

กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ความรักเสมอด้วยบุตรไม่มี ทรัพย์

เสมอด้วยโคย่อมไม่มี แสงสว่างเสมอ

ด้วยดวงอาทิตย์ย่อมไม่มี สระทั้งหลาย

มีทะเลเป็นอย่างยิ่ง.

[๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ความรักเสมอด้วยตนไม่มี ทรัพย์

เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี แสงสว่าง

เสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ฝนต่างหากเป็น

สระยอดเยี่ยม,

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

อรรถกถานัตถิปุตตสมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บาทคาถาว่า นตฺถิ ปุตฺตสม เปม ความว่า บุตรทั้งหลาย

ของคนแม้พิการ มารดาหรือบิดาก็ยังสำคัญดุจแต่งทองคำ มีการการทำการ

หยอกล้อที่ศีรษะเป็นต้น ราวกะว่าพวงดอกไม้ บุตรเหล่านั้นแม้อันมารดาบิดา

ชำระร่างกายแล้วก็นำมาห่อหุ้มไว้แล้วก็เกิดโสมนัส เหมือนบุคคลห่ออยู่ซึ่งของ

หอมและเครื่องลูบไล้ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้นแหละ เทวดาจึงกล่าวว่า นตฺถิ

ปุตฺตสม เปม ความรักเสมอด้วยบุตรย่อมไม่มี คือ ขึ้นชื่อว่า ความรัก

อื่นเสมอด้วยความรักบุตรหามีไม่ ดังนี้.

บทว่า โคสมิก แปลว่า เสมอด้วยโคทั้งหลาย เทวดากราบทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมดาว่าทรัพย์อื่นเช่นกับโดย่อมไม่มี ดังนี้. บทว่า

สุริยสมา อาภา นี้ เทวดากราบทูลว่า ชื่อว่า แสงสว่างอื่นที่เสมอด้วยแสง

พระอาทิตย์ย่อมไม่มี ดังนี้. บทว่า สมุทฺทปรมา ความว่า ชื่อว่า สระ

ทั้งหลายเหล่าอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง สระทั้งหมดเหล่านั้นมีสมุทร (ทะเล) เป็น

อย่างยิ่ง คือสมุทรประเสริฐกว่าสระทั้งหมดเหล่านั้น เทวดาทูลว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ที่เป็นที่เกิดแหล่งน้ำอื่นเช่นกับด้วยสมุทร หามีไม่

ดังนี้.

ก็ที่ชื่อว่า ความรักเสมอด้วยตนไม่มีนั้น มีอธิบายว่าสัตว์ทั้งหลาย

ละทิ้งปิยชนทั้งหลายมีมารดาบิดาเป็นต้นก็มี ละทิ้งบุตรธิดาเป็นต้นให้พำนัก

อยู่ย่อมหาเลี้ยงชีวิตตนนั่นแหละก็มี. ก็ชื่อว่าทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือก

ย่อมไม่มี อธิบายว่า ชนทั้งหลายย่อมไปสู่สำนักของเจ้าของทรัพย์ แล้วจึงถือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

เอาวัตถุทั้งหลายมีเงินและทองเป็นต้นบ้าง และถือเอาโคและกระบือเป็นต้นบ้าง

ก็เพื่อถือเอาข้าวเปลือกนั่นแหละ. ชื่อว่าแสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ถึง

แม้จะเป็นดวงอาทิตย์เป็นต้น ก็ย่อมส่องแสงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คือ ย่อม

กำจัดความมืดอันเป็นปัจจุบันเท่านั้น. ส่วนปัญญาย่อมสามารถเพื่อทำโลกธาตุ

ตั้งหมื่นให้เป็นแสงสว่าง อันประเสริฐ หาสิ่งอื่นเสมอมิได้ ทั้งย่อมกำจัดความมืด

อันปกปิดในกาลอันเป็นส่วนแห่งอดีตเป็นต้นได้ด้วย. ชื่อว่า สระเสมอด้วย

เมฆฝนย่อมไม่มี. แม้แม่น้ำ หรือหนองน้ำ หรือทะเลสาบเป็นต้นก็ตาม ที่

ขึ้นชื่อว่าสระแล้ว ที่จะเสมอด้วยฝนย่อมไม่มี เพราะเมื่อเมฆฝนตัดขาดแล้ว

น้ำแม้เพียงสักว่าข้อองคุลีหนึ่งให้เปียกในมหาสมุทรย่อมไม่มี. แต่เมื่อฝนตก

แล้วเป็นไปอยู่ น้ำเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ย่อมมีถึงพิภพแห่งพรหมชั้น

อาภัสสรา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสตอบถ้อยคำของ

เทวดา จึงตรัสพระคาถาว่า

นตฺถิ อตฺตสม เปม นตฺถิ ธญฺสม ธน

นตฺถิ ปญฺาสมา อาภา วุฏฺิ เว ปรมา สรา

ความรักเสมอด้วยตนไม่มี ทรัพย์

เสมอด้วยข้าวเปลือกไม่มี แสงสว่าง

เสมอด้วยปัญญาไม่มี ฝนเท่านั้นเป็นสระ

อันยอดเยี่ยม ดังนี้.

จบอรรถกถานัตถิปุตตสมสูตร ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

๔. ขัตติยสูตร

ว่าด้วยผู้ประเสริฐสุด

[๓๐] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้

กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

กษัตริย์ประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า

โคมีกำลังประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๔ เท้า

ภรรยาที่เป็นนางกุมารีประเสริฐสุดกว่า

ภรรยาทั้งหลาย บุตรใดเป็นผู้เกิดก่อน

บุตรนั้นประเสริฐสุดกว่าบุตรทั้งหลาย.

[๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุดกว่าสัตว์

๒ เท้า สัตว์อาชาไนยประเสริฐสุดกว่าสัตว์

๔ เท้า ภรรยาที่ปรนนิบัติดี ประเสริฐสุด

กว่าภรรยาทั้งหลาย บุตรใดเป็นผู้เชื่อฟัง

บุตรนั้น ประเสริฐสุดกว่าบุตรทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

อรรถกถาขัตติยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในขัตติยสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า ขตฺติโย ทิปท แปลว่า พระราชาประเสริฐสุดกว่าสัตว์

๒ เท้า. บทว่า โกมารี ความว่า เทวดากล่าวว่า ภรรยาที่เป็นกุมารี

ประเสริฐสุดกว่าภรรยาทั้งหลาย เพราะถือเอาในเวลาที่เธอเป็นกุมารี (หญิงสาว).

บทว่า ปุพฺพโช ความว่า บุตรคนใดเกิดก่อนเป็นคนบอดข้างเดียวก็ตาม

หรือบุตรที่เป็นง่อยเป็นต้นก็ตาม คนใดเกิดก่อน คนนี้แหละ ชื่อว่าประเสริฐ

สุด ในวาทะของเทวดานี้ ก็เพราะสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนี้

พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหมด ฉะนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสพระคาถาตอบ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประเสริฐสุด

กว่าสัตว์ทั้งหมด ทั้งสัตว์มีเท้าและไม่มีเท้า แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นพระองค์

เมื่อจะทรงอุบัติย่อมทรงอุบัติในสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า

สมฺมาสมฺพุทฺโธ ทิปท เสฏฺโ แปลว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐ

กว่าสัตว์ ๒ เท้า ดังนี้ . ความที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นเป็นผู้ประเสริฐ

สุดกว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหมดนั้น ไม่คลาดเคลื่อนแล้ว.

บทว่า อาชานีโย อธิบายว่า ช้างหรือสัตว์ทั้งหลายมีม้าเป็นต้นก็

ตามที สัตว์ตัวใดตัวหนึ่งย่อมรู้ซึ่งเหตุ สัตว์อาชาไนยนี้จัดเป็นสัตว์ประเสริฐสุด

กว่าสัตว์ ๔ เท้า เหมือนม้าชื่อว่า คุฬวรรณของพระราชาพระนามว่า กูฎกรรม.

ได้ยินว่า พระราชาเสด็จออกทางทวารด้านปราจีน ทรงดำริว่า เรา

จักไปเจติยบรรพต พอเสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำกลัมพะ. ม้าหยุดอยู่ที่ฝัง ไม่ปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

เพื่อจะข้ามน้ำไป. พระราชาตรัสเรียกนายอัสสาจารย์มาแล้วตรัสว่า โอหนอ

ม้าอันท่านฝึกดีแล้ว ไม่ปรารถนาจะข้ามน้ำ ดังนี้. นายอัสสาจารย์กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ม้าอันข้าพระองค์ฝึกดีแล้ว ก็เพราะม้านั้น คิดว่า

ถ้าเราจักข้ามน้ำไป ขนหางจักเปียก เมื่อขนหางเปียกแล้ว ก็พึงทำน้ำให้ตกไป

ที่พระราชา ดังนี้ จึงไม่ข้ามไป เพราะกลัวน้ำจะตกไปที่สรีระของพระองค์ด้วย

อาการอย่างนี้ ขอพระองค์จงให้ราชบุรุษถือขนหางม้าเถิด. พระราชาได้ให้

กระทำแล้วอย่างนั้น ม้าจึงข้ามไปโดยเร็วจนถึงฝั่งแล้วแล.

บทว่า สุสฺสูสา ความว่า เชื่อฟังด้วยดี อธิบายว่า ภรรยาที่ถือเอา

แม้ในเวลาที่เป็นกุมารี หรือภายหลังมีรูปงาม หรือไม่งามจงยกไว้ ภรรยาใด

เชื่อฟังสามี ย่อมบำเรอ (รับใช้) ย่อมให้สามีชอบใจ ภรรยานั้นประเสริฐสุด

กว่าภรรยาทั้งหลาย. บทว่า อสฺสโว แปลว่า เชื่อฟัง อธิบายว่า บุตรคนใด

พี่ก็ตาม น้องก็ตาม คนใดย่อมฟัง ย่อมรับคำของมารดาบิดา เป็นผู้สนอง

ตามโอวาท บุตรนี้ประเสริฐกว่าบุตรทั้งหลาย ดูก่อนเทวดา ประโยชน์อะไรเล่า

ด้วยบุตรอื่นที่เป็นโจรมีการกระทำตัดช่องเบาเป็นต้น ดังนี้แล.

จบอรรถกถาขัตติสูตร ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

๕. สกมานสูตร

ว่าด้วยเหตุเดียวแต่ความรู้สึกต่างกัน

[๓๒] เทวดากล่าวว่า

เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลา

ตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญคราง

ความครวญครางของป่านั้นเป็นภัยปรากฏ

แก่ข้าพเจ้า.

[๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เมื่อนกทั้งหลายพักร้อน ในเวลา

ตะวันเที่ยง ป่าใหญ่ประหนึ่งว่าครวญคราง

นั้นเป็นความยินดีปรากฏแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

อรรกถาสกมานสูตร

วินิจฉัยในสกมานสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า ิเต มชฺฌนฺติเก แปลว่า ในเวลาเที่ยงวัน บทว่า

สนฺนิสินฺเนสุ ได้แก่ อาศัยพักอยู่ในที่อันไม่เสมอกันเพราะเข้าไปสู่ที่ตามความ

สบายอย่างไร. อธิบายว่า ชื่อว่า เวลาเที่ยงวันนี้เป็นเวลาทุรพลแห่งอิริยาบถ

ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย. แต่ในที่นี้ ท่านแสดงความทุรพลแห่งอิริยาบถของนก

ทั้งหลายเท่านั้น. บทว่า ปลาเตว ได้แก่ ดุจเสียงครวญคราง ดุจการเปล่งเสียง

ร้องใหญ่. ก็ในที่นี้ท่านกล่าวเอาเสียงที่รบกวนเท่านั้น เสียงนี้แหละเปรียบดัง

เสียงครวญคราง. จริงอยู่ ในฤดูร้อนเวลาเที่ยงวัน พวกสัตว์ ๔ เท้า และพวก

ปักษีทั้งหลายมาประชุมกัน (พักเที่ยง) เสียงใหญ่ คือเสียงแห่งโพรงต้นไม้

อันลมเป่าแล้วด้วย แห่งปล้องไม้ไผ่ที่เป็นรูอันลมเป่าแล้วด้วย แห่งต้นไม้

ซึ่งต้นกับต้นเบียดสีกันและกิ่งกับกิ่งเบียดสีกันด้วย ย่อมเกิดขึ้นในท่ามกลางป่า

เสียงครวญครางนั้นท่านกล่าวหมายเอาเสียงใหญ่นี้.

บทว่า ต ภย ปฏิภาติ ม ความว่า ในกาลเห็นปานนั้น เสียง

เช่นนั้น ย่อมปรากฏเป็นภัยแก่ข้าพเจ้า. ได้ยินว่า เทวดานั้นมีปัญญาอ่อน

เมื่อไม่ได้ความสุข ๒ อย่าง คือ ความผาสุกในการนั่ง ความผาสุกในการพูด

ของตนในขณะนั้น จึงกล่าวแล้วอย่างนี้. ก็เพราะในกาลเช่นนั้นเป็นเวลาสงัด

ของภิกษุผู้กลับจากบิณฑบาต แล้วนั่งถือเอากรรมฐานในป่าชัฏ แล้ว

ความสุขมีประมาณมิใช่น้อยย่อมเกิดขึ้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาคำ

อันใดว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

สุญฺาคาร ปวิฏฺสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน

อมานุส รตี โหติ สมฺมา ธมฺม วิปสฺสโตติ จ

ปุรโต ปจฺฉโต วาปิ อปโร เจ น วิชฺชติ

อตีว ผาสุ ภวติ เอกสฺส วสโต วเนติ จ.

เมื่อภิกษุเข้าไปสู่สูญญาคาร (เรือน-

ว่าง) มีจิตสงบแล้ว ยินดีอยู่ในสิ่งที่มิใช่

ของมนุษย์ จึงเห็นธรรมโดยชอบ ดังนี้

และคาถาว่า บุคคลอื่น ข้างหน้าหรือ

ว่าข้างหลัง ย่อมไม่ปรากฏ เมื่อเป็นผู้เดียว

อยู่ในป่า ความผาสุกย่อมเกิดได้โดยเร็ว

ดังนี้.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระคาถาที่ ๒.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา รติ ปฏิภาติ ม อธิบายว่า

ในเวลาเห็นปานนี้ ชื่อว่า การนั่งของบุคคลผู้เดียวอันใด นั้นเป็นความยินดี

ย่อมปรากฏแก่เรา. คำที่เหลือ เช่นกับนัยก่อนนั่นแหละ.

จบอรรถกถาสกมานสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

๖. นิททาตันทิสูตร

ว่าด้วยมรรคปรากฏและไม่ปรากฏ

[๓๔] เทวดากล่าวว่า

อริยมรรคไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย

ในโลกนี้ เพราะความหลับ เกียจคร้าน

ความบิดกาย ความไม่ยินดี และความ

มึนเมาเพราะภัต.

[๓๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เพราะขับไล่ความหลับ ความเกียจ

คร้าน ความบิดกาย ความไม่ยินดี และ

ความมึนเมาเพราะภัต ด้วยความเพียร

อริยมรรคย่อมบริสุทธิ์ได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

อรรถกถานิททาตันทิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิททาตันทิสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า นิทฺทา อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอัคคิ-

เวสนะ เราย่อมทราบ ในเดือนท้าย ฤดูคิมหันต์ (ฤดูร้อน) เราก้าวลงสู่

ความหลับ ดังนี้ เพราะความหลับอันเป็นอัพยากตะเห็นปานนี้ ถีนมิทธะจึง

เกิดขึ้นในอกุศลจิตอันเป็นสสังขาริกของพระเสขะและปุถุชนทั้งหลาย ทั้งในส่วน

เบื้องต้นและเบื้องปลาย. บทว่า ตนฺที ได้แก่ ความโงกง่วงอันจรมาเกิดขึ้น

ในเวลาหิวจัดและเย็นจัดเป็นต้น. คำนี้ สมจริง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า กตมา ตนฺทิ... บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตนฺที เป็นไฉน

ความง่วงงุน กิริยาที่ง่วงงุน สภาพจิตที่ง่วงงุน ความเกียจคร้าน กิริยาที่

เกียจคร้าน สภาพจิตที่เกียจคร้าน อันใด นี้เรากล่าวว่า ทันที ดังนี้. บทว่า

วิชิมฺหิตา แปลว่า ความบิดกาย. บทว่า อรติ ได้แก่ ความไม่พอใจใน

ธรรมฝ่ายกุศล. บทว่า ภตฺตสมฺมโท แปลว่า ความมึนเมาเพราะอาหาร

ความอึดอัดเพราะอาหาร. ก็ความพิสดารแห่งคำเหล่านี้มาแล้วในพระอภิธรรม

โดยนัยเป็นต้นว่า ตตฺถ กตมา วิชิมฺหิกา ยา กายสฺส วิชิมฺหนา แปลว่า

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ความบิดกายเป็นไฉน ความเหยียดแห่งกาย... อัน

ใด. บทว่า เอเตน ความว่า ความเศร้าหมองด้วยอุปกิเลสมีความหลับ

เป็นต้นนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่ห้ามได้. บทว่า นปฺปกาสติ ได้แก่ ไม่ส่อง

แสง คือ ไม่ปรากฏ. บทว่า อริยมคฺโค ได้แก่ โลกุตรมรรค. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

อิธ แปลว่า ในโลกนี้. บทว่า ปาณิน แปลว่า แก่สัตว์ทั้งหลาย. บทว่า

วิรเยน ได้แก่ ความเพียรซึ่งเกิดพร้อมกับมรรค. บทว่า น ปณาเมตฺวา

นี้ได้แก่ นำกิเลสออกแล้ว. บทว่า อริยมคฺโค ได้แก่ โลกิยะและโลกุตร-

มรรค. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่ามรรคย่อมบริสุทธิ์เพราะ

นำอุปกิเลสออกแล้วด้วยมรรคนั่นแหละ ดังนี้แล.

จบอรรถกถานิททาตันทิสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

๗. ทุกกรสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำได้ยาก

[๓๖] เทวดากล่าวว่า

ธรรมของสมณะ คนไม่ฉลาด ทำ

ได้ยาก ทนได้ยาก เพราะธรรมของสมณะ

นั้นมีความลำบากมาก เป็นที่ติดขัดของ

คนพาล.

[๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

คนพาล ประพฤติธรรมของสมณะ

สิ้นวันเท่าใด หากไม่ห้ามจิต เขาตกอยู่

ในอำนาจของความดำริทั้งหลาย พึงติด

ขัดอยู่ทุก ๆ อารมณ์ ภิกษุยั้งวิตกในใจไว้

ได้ เหมือนเต่าหดอวัยวะทั้งหลายไว้ใน

กระดองของตน อันตัณหานิสัยและทิฏฐิ-

นิสัยไม่พัวพันแล้ว ไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น

ปรินิพพานแล้ว ไม่พึงติเตียนใคร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

อรรถกถาทุกกรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุกกรสูตรที่ ๗ ต่อไป :-

บทว่า ทุตฺติติกิข ได้แก่ ทนได้ยาก คือ อดกลั้นได้โดยยาก. บทว่า

อพฺยตฺเตน แปลว่า คนพาล. บทว่า สามญฺ แปลว่า ธรรมของสมณะ

อธิบายว่า เทวดาย่อมแสดงคำนี้ว่า กุลบุตรผู้ฉลาด ฝึกสมณธรรมอันใด ๑๐

ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง แม้ถือการฝึกอย่างยิ่งคือ กดเพดานด้วยลิ้นบ้าง

ข่มจิตด้วยจิตบ้าง เสพอยู่ซึ่งอาสนะเดียว ซึ่งภัตหนเดียว ประพฤติพรหมจรรย์

ตลอดชีวิต กระทำอยู่ซึ่งธรรมของสมณะ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า คนพาล

ผู้ไม่ฉลาดย่อมไม่อาจเพื่อกระทำซึ่งธรรมของสมณะนั้นได้ ดังนี้. บทว่า พหู

หิ ตตฺถ สมฺพาธา ความว่า เทวดาย่อมแสดงว่า ความลำบากมากของคน

พาลผู้ปฏิบัติ เพื่อบรรลุมรรคในอริยมรรคกล่าวคือธรรมของสมณะนั้นเพราะ

ในส่วนเบื้องต้นย่อมมีอันตรายมาก ดังนี้. บทว่า จิตฺต เจ น นิวารเย

อธิบายว่า หากว่าไม่พึงห้ามจิตอันเกิดขึ้นโดยอุบายอันไม่แยบคายไซร้ ก็พึง

ประพฤติธรรมของสมณะได้สิ้นวันเล็กน้อย คือ พึงประพฤติได้วันหนึ่งบ้าง

เพราะว่า บุคคลผู้ตกอยู่ในอำนาจจิตย่อมไม่อาจเพื่อกระทำธรรมของสมณะได้.

บทว่า ปเท ปเท ได้เเก่ ทุก ๆ อารมณ์ จริงอยู่ ในที่นี้ ปทศัพท์ ท่าน

หมายถึงอารมณ์ เพราะว่า อารมณ์ใด ๆ ที่กิเลสเกิด คนพาลย่อมจมอยู่ (ย่อม

ติดขัด) ในอารมณ์นั้น ๆ ปทศัพท์ จะหมายถึงอิริยาบถด้วยก็สมควร เพราะ

ว่า กิเลสย่อมเกิดขึ้นในอิริยาบถใด ๆ มีการเดินเป็นต้น คนพาลนั้น ชื่อว่า

ย่อมจมลง ในอิริยาบถนั้น ๆ นั่นแหละ. บทว่า สงฺกปฺปาน แปลว่า

มีกามวิตกเป็นต้น. บทว่า กุมฺโมว แปลว่า เหมือนเต่า. บทว่า องฺคานิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

ได้แก่ อวัยวะทั้งหลายมีคอเป็นที่ครบห้า. บทว่า สโมทห แปลว่า หดอยู่

หรือว่า หดแล้ว. บทว่า มโนวิตกฺเก แปลว่า วิตกอันเกิดขึ้นในใจ.

พระผู้มีภาคเจ้าทรงแสดงคำนี้ไว้ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า เต่าหดอวัยวะทั้ง

หลายมีคอเป็นที่ ๕ ไว้ในกระดองของตน ไม่ให้ช่องแก่สุนัขจิ้งจอก เพราะ

การหดตนจึงพ้นจากอันตรายแม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแหละ ยั้งวิตกที่เกิดขึ้นใน

ใจในการรักษาอารมณ์ของตน ย่อมไม่ให้ช่องแก่มาร แม้เพราะการยั้งนั้น เธอ

จึงถึงความไม่มีภัย ดังนี้. บทว่า อนิสฺสิตฺโต แปลว่า เป็นผู้อันตัณหานิสัย

และทิฐินิสัยไม่อาศัยแล้ว. บทว่า อเหมาโน แปลว่า ไม่เบียดเบียนอยู่.

บทว่า ปรินิพฺพุโต แปลว่า ปรินิพพานแล้ว ด้วยกิเลสนิพพาน (ด้วยการ

ดับสนิทแห่งกิเลส). บทว่า นูปวเทยฺย กญฺจิ อธิบายว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อ

กระทำให้เก้อด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความวิบัติแห่งอาจาระเป็นต้น ไม่พึงกล่าวกะ

บุคคลไรๆ อื่น คือว่า ก็ภิกษุเข้าไปตั้งไว้ซึ่งธรรม ๕ อย่าง มีคำว่า เราจักกล่าว

โดยกาลอันสมควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่สมควรเป็นต้น ไว้ในภายใน

แล้วอาศัยความเป็นผู้กรุณา พึงกล่าวด้วยจิตอันดำรงไว้ในสภาพแห่งความ

อนุเคราะห์ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาทุกกรสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

๘. หิริสูตร

ว่าด้วยเกียดกันอกุศลด้วยหิริ

[๓๘] เทวดากล่าวว่า

บุรุษที่เกียดกันอกุศลธรรมด้วยหิริ

ได้มีอยู่น้อยคนในโลก ภิกษุใดบรรเทา

ความหลับเหมือนม้าดีหลบแซ่ ภิกษุนั้นมี

อยู่น้อยรูปในโลก.

[๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ขีณาสวภิกษุพวกใด เป็นผู้เกียดกัน

อกุศลธรรมด้วยหิริ มีสติประพฤติอยู่ใน

กาลทั้งปวง ขีณาสวภิกษุพวกนั้น บรรลุ

นิพพานเป็นส่วนสุดแห่งทุกข์แล้ว ย่อม

ประพฤติเรียบร้อย ในบุคคลผู้ไม่เรียบร้อย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

อรรถกถาหิริสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในหิริสูตรที่ ๘ ต่อไป :-

ชนใดย่อมเกียดกันอกุศลธรรมทั้งหลายด้วยหิริ เพราะเหตุนั้น ชนนั้น

จึงชื่อว่าผู้เกียดกันอกุศลธรรมด้วยหิริ. บทว่า โกจิ โลกสฺมึ วิชฺชติ นี้

เทวดาทูลถามว่า ใครๆ เห็นปานนี้ยังมีอยู่หรือ. บทว่า โย นินฺท อปโพเธติ

แปลว่า บุคคลใดเมื่อนำความครหา (ความชั่ว) ออกย่อมรู้.

บทว่า อสฺโส ภโทฺร กสามิว อธิบายว่า ม้าอาชาไนยตัวเจริญ

เมื่อสารถีนำแซ่ออกย่อมรู้ ย่อมไม่ให้แซ่ตกไปในตน เพราะเห็นเงาแห่งปฏัก

เป็นราวกะแทงอยู่ ฉันใด ภิกษุใด เมื่อไม่ให้อักโกสนวตถุ (เรื่องด่า)

อันเป็นจริงตกไปในตน ชื่อว่านำความนินทาออก เมื่อนำออกย่อมรู้ เทวดา

ทูลถามว่า พระขีณาสพเห็นปานนี้ สักองค์หนึ่งมีอยู่หรือ. แต่ว่า บุคคลผู้ชื่อว่า

พ้นจากการด่าด้วยถ้อยคำอันไม่เป็นจริง ย่อมไม่มี. บทว่า ตนุยา แปลว่า

น้อย อธิบายว่า ชื่อว่า พระขีณาสพทั้งหลายเกียดกันอกุศลธรรมทั้งหลายด้วย

หิริเที่ยวไปอยู่ มีน้อย. บทว่า สทา สตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความ

ไพบูลย์แห่งสติตลอดกาลเป็นนิตย์. บทว่า อนฺต ทุกฺขสฺส ปปฺปุยฺย ได้แก่

บรรลุพระนิพพานอันเป็นธรรมที่สิ้นสุดของวัฏทุกข์. คำที่เหลือ มีนัยตามที่

กล่าวแล้วนั่นแหละ.

จบอรรถกถาหิริสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

๙. กุฏิกาสูตร

ว่าด้วยมารดาเหมือนกระท่อมเป็นต้น

[๔๐] เทวดากล่าวว่า

กระท่อมของท่านไม่มีหรือ รังของ

ท่านไม่มีหรือ เครื่องสืบต่อของท่านไม่มี

หรือ ท่านเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูกหรือ.

[๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

แน่ละ กระท่อมของเราไม่มี แน่ละ

รังของเราไม่มี แน่ละ เครื่องสืบต่อของ

เราไม่มี แน่ละ เราเป็นผู้พ้นแล้วจาก

เครื่องผูก.

[๔๒] เทวดากล่าวว่า

ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านว่า อะไรเป็น

กระท่อม ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านว่าอะไร

เป็นรัง ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านว่าอะไรเป็น

เครื่องสืบต่อ ข้าพเจ้ากล่าวแก่ท่านว่า

อะไรเป็นเครื่องผูก.

[๔๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ท่านกล่าวมารดาว่าเป็นกระท่อม

ท่านกล่าวภรรยาว่าเป็นรัง ท่านกล่าวบุตร

ว่าเป็นเครื่องสืบต่อ ท่านกล่าวตัณหาว่า

เป็นเครื่องผูกแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

เทวดาฟังพระดำรัสแล้วชื่นชมอนุโมทนาว่า

ดีจริง กระท่อมของท่านไม่มี ดีจริง

รังของท่านไม่มี ดีจริง เครื่องสืบต่อของ

ท่านไม่มี ดีจริง ท่านเป็นผู้พ้นแล้วจาก

เครื่องผูก...

อรรถกถากุฏิกาสูตร

วินิจฉัยในกุฏิกาสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า กจฺจิ เต กุฏิกา เป็นต้น อธิบายว่า เทวดานี้ประมวลปัญหา

เหล่านี้มาผูกเป็นคาถาโดยกระทำมารดาให้เป็นดังกระท่อม เพราะหมายเอาการ

อยู่ในท้อง ๑๐ เดือน กระทำภรรยาให้เป็นดังรัง (รังนก) ด้วยอำนาจแห่งความ

อาลัย เหมือนพวกนกเที่ยวหาอาหารตลอดวันแล้วก็มาเกาะอยู่ในรังในเวลาราตรี

ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไปในที่นั้น ๆ แล้วก็ย่อมมา

สู่สำนักแห่งมาตุคาม กระทำบุตรทั้งหลายให้เป็นดังเครื่องสืบต่อ เพราะหมาย

เอาการสืบต่อตระกูลและประเพณี แล้วจึงทูลถามกะพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาแก่เทวดานั้น จึงตรัสคำว่า ตคฺฆ

เป็นต้น แปลว่า แน่ละ กระท่อมของเราไม่มี แน่ละ รังของเราไม่มี แน่ละ

เครื่องสืบต่อของเราไม่มี แน่ละ เราเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตคฺฆ เป็นนิบาต ในคำโดยส่วนเดียว.

บทว่า นตฺถิ ได้แก่ ละได้แล้ว เพราะความที่เราเป็นบรรพชิต อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า ไม่มี เพราะไม่มีการอยู่ในท้องของมารดาในวัฏฏะอีก ไม่มีการเลี้ยงดู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

ภรรยา ไม่มีการเกิดขึ้นแห่งบุตร. เทวดาดำริว่า ปัญหาอันไม่เปิดเผยที่เราผูก

ดุจมัดไว้แล้วทูลถาม และสมณะนี้ ก็วิสัชนาปัญหาสักว่าอัน เราถามแล้วทีเดียว

พระองค์จะทรงทราบอยู่ซึ่งอัธยาศัยของเราหรือไม่หนอ จึงตรัสแก้แล้ว หรือว่า

พระองค์ไม่ทรงทราบคำอย่างใดอย่างหนึ่ง ตรัสแล้วเพียงคล่องปาก ดังนี้ จึง

กล่าวคำว่า กินฺตาห เป็นต้นอีก. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺตาห

แก้เป็น กึ เต อห แปลว่า ข้าพเจ้ากะท่านว่าอะไร.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสบอกแก่เทวดานั้น จึงตรัส

คำว่า มาตร เป็นต้น แปลว่า ท่านกล่าวมารดาว่าเป็นกระท่อม ท่านกล่าว

ภรรยาว่าเป็นรัง ท่านกล่าวบุตรว่าเป็นเครื่องสืบต่อ ท่านกล่าวตัณหาว่าเป็น

เครื่องผูกแก่เรา. เทวดาฟังพระดำรัสนั้นแล้วยินดีชื่นชมอนุโมทนาด้วยคาถาว่า

สาหุ เต เป็นต้น แปลว่า ดีจริง กระท่อมของท่านไม่มี ดีจริง รังของท่านไม่มี

ดีจริง เครื่องสืบต่อของท่านไม่มี ดีจริง ท่านเป็นผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก ดังนี้

ร่าเริงยินดีแล้วบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอมและดอกไม้ทั้งหลายแล้วไป

สู่เทวสถาน ดังนี้แล.

จบอรรถกถากุฏิกาสูตร ที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

๑๐. สมิทธิสูตร

ว่าด้วยการละกาม

[๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ตโปทาราม กรุงราชคฤห์

ครั้งนั้นแล พระสมิทธิเถระผู้มีอายุ ตื่นขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เข้าไปที่

ลำน้ำตโปทาเพื่อจะล้างตัว ครั้นล้างตัวแล้ว จึงกลับขึ้นยืนมีจีวรผืนเดียวรอให้

ตัวแห้ง.

[๔๕] ครั้งนั้นแล เมื่อราตรีใกล้สว่าง เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงาม

ยังลำน้ำตโปทาทั้งสิ้นให้สว่างทั่ว เข้าไปหาพระสมิทธิเถระผู้มีอายุ ครั้นแล้ว

จึงลอยอยู่ในอากาศ ได้กล่าวกะพระสมิทธิเถระผู้มีอายุด้วยคาถาว่า

ภิกษุ ท่านไม่บริโภคแล้ว ยังขออยู่

ท่านบริโภคแล้ว ก็ไม่ต้องของเลย ภิกษุ

ท่านบริโภคแล้ว จงขอเถิด กาลอย่าล่วง

ท่านไปเสียเลย.

[๔๖] พระสมิทธิเถระกล่าวว่า

เรายังไม่รู้กาล กาลยังลับ มิได้

ปรากฏ เพราะเหตุนั้น เราไม่บริโภคแล้ว

จึงยังขออยู่ กาลอย่าล่วงเราไปเสียเลย.

[๔๗] ครั้งนั้นแล เทวดานั้นลงมายืนที่พื้นดินแล้ว กล่าวกะพระ-

สมิทธิเถระว่า ภิกษุ ท่านเป็นบรรพชิตยังหนุ่มแน่น มีผมดำประกอบด้วย

ปฐมวัยจำเริญรุ่น จะเป็นผู้ไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลายเสียแล้ว ภิกษุ ท่าน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

จงบริโภคกามทั้งหลายเป็นของมนุษย์ อย่าละกามที่เห็นประจักษ์เสีย วิ่งไปหา

ทิพยกามอันมีโดยกาลเลย.

[๔๘] ส. ท่านผู้มีอายุ เราหาได้ละกามที่เห็นประจักษ์ วิ่งเข้าไปหา

ทิพยกามอันมีโดยกาลไม่ ท่านผู้มีอายุ เราละกามอันมีโดยกาลแล้ว วิ่งเข้าไปหา

โลกุตรธรรมที่เห็นประจักษ์ ท่านผู้มีอายุ ด้วยว่ากามทั้งหลายอันมีโดยกาล

(เป็นของชั่วคราว) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก

ในกามทั้งหลายนั้นมีโทษยิ่ง โลกุตรธรรมนี้ อันบุคคลพึงเห็นเอง ให้ผล

ไม่มีกาล ควรเรียกร้องผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ควรน้อมเข้ามาในตน อัน

วิญญูชนทั้งหลายพึงทราบเฉพาะตน.

[๔๙] ท. ภิกษุ ก็กามทั้งหลายอันมีโดยกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษมาก เป็นอย่างไร โลกุตร-

ธรรมนี้ อันบุคคลพึงเห็นเอง ให้ผลไม่มีกาล ควรร้องเรียกผู้อื่นว่า ท่านจง

มาดูเถิด ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนทั้งหลาย พึงทราบเฉพาะตน

เป็นอย่างไร.

[๕๐] ส. ท่านผู้มีอายุ เราเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรม-

วินัยนี้ เราไม่อาจบอกท่านได้พิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับที่ตโปทาราม กรุงราชคฤห์ ท่าน

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ทูลถามเรื่องนี้เถิด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างใด ท่านพึงทรงจำเรื่องนั้น ไว้อย่างนั้นเถิด.

ท. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อันพวกเทวดามีบริวารมากจำพวกอื่น

แวดล้อมแล้ว ข้าพเจ้าจะเข้าไปเฝ้าไม่ได้ง่ายเลย ภิกษุ ถ้าท่านเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้วพึงทูลถามเรื่องนี้ แม้ข้าพเจ้าพึงมาเพื่อฟังธรรม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

พระสมิทธิเถระผู้มีอายุรับต่อเทวดานั้นว่า ท่านผู้มีอายุ เราจะทูลถาม

อย่างนี้ แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปแล้ว จึงถวายอภิวาท

พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๑] พระสมิทธิเถระผู้มีอายุ ครั้นนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

แล้ว ได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพระองค์ขอประทานโอกาสกราบทูล

ข้าพระองค์ตื่นขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี เข้าไปที่ลำน้ำตโปทาเพื่อล้างตัว

ครั้นล้างตัวแล้วกลับขึ้นยืน มีจีวรผืนเดียวรอให้ตัวแห้ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ครั้งนั้นแล เมื่อราตรีใกล้สว่าง เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณะงาม ยังลำน้ำตโปทา

ทั้งสิ้นให้สว่างทั่ว เข้าไปหาข้าพระองค์ ครั้นแล้วจึงลอยอยู่ในอากาศ ได้กล่าว

ด้วยคาถานี้ว่า

ภิกษุ ท่านไม่บริโภคแล้ว ยังขออยู่

ท่านบริโภคแล้ว ก็ไม่ต้องขอเลย ภิกษุ

ท่านบริโภคแล้ว จงขอเถิด กาลอย่าล่วง

ท่านไปเสียเลย.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าว

กะเทวดานั้นด้วยคาถาว่า

เรายังไม่รู้กาล กาลยังลับ มิได้

ปรากฏ เพราะเหตุนั้น เราไม่บริโภคแล้ว

จึงยังขออยู่ กาลอย่าล่วงเราไปเสียเลย.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล เทวดานั้นลงมายืนที่พื้นดินแล้ว

กล่าวคำนี้กะข้าพระองค์ว่า ภิกษุ ท่านเป็นบรรพชิตยังหนุ่มแน่น มีผมดำ

ประกอบด้วยปฐมวัยจำเริญรุ่น จะเป็นผู้ไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลายเสียแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

ภิกษุท่านจงบริโภคกามทั้งหลายเป็นของมนุษย์ อย่าละกามที่เห็นประจักษ์ วิ่ง

เข้าไปหาทิพยกามอันมีโดยกาลเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดานั้นกล่าว

อย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวคำนี้กะเทวดานั้นว่า ท่านผู้มีอายุ เราหาได้

ละกามที่เห็นประจักษ์ วิ่งเข้าไปหาทิพยกามอันมีโดยกาลไม่ ท่านผู้มีอายุ

เราละกามอันมีโดยกาลแล้ว วิ่งเข้าไปหาโลกุตรธรรมที่เห็นประจักษ์ ท่านผู้มี

อายุ ด้วยว่ากามทั้งหลายอันมีโดยกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีทุกข์มาก

มีความคับแค้นมาก ในกามทั้งหลายนั้นมีโทษยิ่ง โลกุตรธรรมนี้ อันบุคคล

พึงเห็นเอง ให้ผลไม่มีกาล ควรร้องเรียกผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ควรน้อม

เข้ามาในตน อันวิญญูชนทั้งหลายพึงทราบเฉพาะตน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดานั้นได้กล่าวคำนี้กะข้าพระองค์ว่า ภิกษุ

ก็กามทั้งหลายอันมีโดยกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีทุกข์มาก มีความ

คับแค้นมาก มีโทษมากเป็นอย่างไร โลกุตรธรรมนี้ อันบุคคลพึงเห็นเอง

ให้ผลไม่มีกาล ควรร้องเรียกผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ควรน้อมเข้ามาในตน

อันวิญญูชนทั้งหลายพึงทราบเฉพาะตน เป็นอย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อเทวดานั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวคำนี้กะเทวดานั้นว่า ท่านผู้มี

อายุ เราเป็นผู้บวชใหม่ เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ เราไม่อาจบอกท่านได้พิสดาร

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประ-

ทับอยู่ที่ตโปทาราม กรุงราชคฤห์ ท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้นแล้ว ทูลถามเรื่องนี้เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างไร

ท่านพึงทรงจำเรื่องนั้นไว้อย่างนั้นเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์

กล่าวอย่างนี้แล้ว เทวดานั้นได้กล่าวคำนี้ กะข้าพระองค์ว่า ภิกษุ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้านั้น อันพวกเทวดามีบริวารมากจำพวกอื่นแวดล้อมแล้ว ข้าพเจ้าจะ

เข้าไปเฝ้าไม่ได้ง่ายเลย ภิกษุ ถ้าท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

พึงทูลถามเรื่องนี้ แม้ข้าพเจ้าพึงมาเพื่อฟังธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้า

คำของเทวดานั้นเป็นคำจริง เทวดานั้นพึงมาในที่ใกล้วิหารนี้นี่แล.

เมื่อพระสมิทธิเถระทูลอย่างนี้แล้ว เทวดานั้นได้กล่าวคำนี้กะพระ-

สมิทธิเถระผู้มีอายุว่า ทูลถามเถิด ภิกษุ ทูลถามเถิด ภิกษุ ข้าพเจ้าตามมา

ถึงแล้ว.

[๕๒] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าไค้ตรัสกะเทวดานั้นด้วยคาถา

ทั้งหลายว่า

สัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญในข้อที่

ได้รับบอก ติดอยู่ในข้อที่ได้รับบอก ไม่

กำหนดรู้ข้อที่ได้รับบอก ย่อมมาสู่อำนาจ

แห่งมัจจุ ส่วนขีณาสวภิกษุกำหนดรู้ข้อที่

ได้รับบอก ย่อมไม่สำคัญข้อที่ได้รับบอก

แล้ว เพราะข้อที่ได้รับบอกนั้น ย่อมไม่มี

แก่ขีณาสวภิกษุนั้น ฉะนั้น เหตุที่จะพึง

พูดถึงข้อที่ได้รับบอก จึงมิได้มีแก่ขีณาสว

ภิกษุนั้น ดูก่อนเทวดา ถ้าท่านเข้าใจ ก็

จงพูดเถิด.

เทวดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบเนื้อความ

แห่งธรรมนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารได้ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอพระโอกาส ข้าพระองค์พึงทราบเนื้อความแห่ง

ธรรมนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารได้อย่างไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดตรัสแก่ข้าพระองค์อย่างนั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

[๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสต่อไปด้วยพระคาถาว่า

บุคคลได้สำคัญว่าเราเสมอเขา ว่า

เราดีกว่าเขา ว่าเราเลวกว่าเขา บุคคลนั้น

พึงวิวาทกับเขา ขีณาสวภิกษุเป็นผู้ไม่

หวั่นไหวอยู่ในมานะ ๓ อย่าง มานะว่า

เราเสมอเขา ว่าเราดีกว่าเขา ว่าเราเลว

กว่าเขา ย่อมไม่มีแก่ขีณาสวภิกษุนั้น

ดูก่อนเทวดา ถ้าท่านเข้าใจก็จงพูดเถิด.

เทวดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบเนื้อความ

แห่งธรรมนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารได้ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระโอกาส ข้าพระองค์พึงทราบ

เนื้อความเเห่งธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารได้

อย่างใด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดตรัสแก่ข้าพระองค์อย่างนั้นเถิด.

[๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสต่อไปด้วยพระคาถาว่า

ขีณาสวภิกษุละบัญญัติเสียแล้ว บรร-

ลุธรรมที่ปราศจากมานะแล้ว ได้ตัดตัณหา

ในนามรูปนี้เสียแล้ว พวกเทวดา พวก

มนุษย์ ในโลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ใน

สวรรค์ทั้งหลายก็ดี ในสถานที่อาศัยของ

สัตว์ทั้งปวงก็ดี เที่ยวค้นหาก็ไม่พบขีณา-

สวภิกษุนั้น ผู้มีเครื่องผูกอันตัดเสียแล้ว

ไม่มีทุกข์ ไม่มีตัณหา ดูก่อนเทวดา

ถ้าท่านเข้าใจก็จงพูดเถิด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

[๕๕] เทวดานั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความ

แห่งธรรมนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อให้ได้ความโดยพิสดารอย่างนี้ว่า

ไม่ควรทำบาปด้วยวาจา ด้วยใจ

และด้วยกาย อย่างไหน ๆ ในโลกทั้งปวง

ควรละกามทั้งหลายเสียแล้ว มีสติ มี

สัมปชัญญะ ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบ

ด้วยโทษ ไม่เป็นประโยชน์.

จบนันทวรรคที่ ๒

อรรถกถาสมิทธิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยสมิทธิสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า ตโปทาราม คือพระอารามที่มีชื่ออันได้แล้วอย่างนี้เพราะ

ห้วงน้ำลึกมีน้ำอันร้อน ชื่อว่า ตโปทา.

ได้ยินว่า ภพของนาคตั้งอยู่ที่แผ่นดินใต้ภูเขาเวภารบรรพต มีปริ-

มลฑลประมาณ ๕๐๐ โยชน์ เช่นกับเทวโลก ซึ่งมีพื้นที่อันสำเร็จแล้วด้วยแก้ว

มณี และประกอบด้วยอุทยาน อันเป็นที่รื่นรมย์ ในที่นั้น มีห้วงน้ำใหญ่สำหรับ

เป็นที่เล่นของพวกนาค. ลำแม่น้ำชื่อตโปทานี้ เป็นน้ำร้อนเดือดพล่านไหลมา

จากห้วงน้ำใหญ่นั้น.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงเป็นเช่นนี้. ตอบว่า ได้ยินว่า โลก (หมาย

โอกาสโลกคือที่อยู่อาศัย) ของเปรตจำนวนมากแวดล้อมเมืองราชคฤห์. ในที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

นั้น แม่น้ำตโปทานี้ย่อมมาในระหว่างแห่งนรกชื่อว่า มหาโลหกุมภีทั้ง ๒ เพราะ

ฉะนั้น แม่น้ำตโปทานี้จึงเดือดพล่าน ไหลมาอยู่.

สมจริง ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

ที่ใด แม่น้ำตโปทานี้ไหลอยู่ ที่นั้นย่อมเป็นหนองน้ำ (ทะเลสาบ) มีน้ำไหล

สะอาด เป็นน้ำที่น่ายินดี เป็นน้ำเย็น เป็นน้ำสีขาว เป็นน้ำตั้งอยู่ดีแล้ว เป็นที่

รื่นรมย์ มีปลาและเต่ามาก และมีดอกปทุมประมาณเท่าจักรบานสพรั่งอยู่อีก

อย่างหนึ่ง แม่น้ำตโปทาของมหานรกทั้งสองนี้ย่อมไหลมาโดยไม่ขาดสาย ด้วย

เหตุนี้ ลำแม่น้ำตโปทานี้ จึงเดือดพล่านไหลอยู่ ดังนี้. ก็ในที่ข้างหน้าของ

พระอารามนี้มีห้วงน้ำใหญ่เกิดขึ้นแต่แม่น้ำตโปทานั้น วิหารนี้ ท่านจึง เรียก

ว่า ตโปทาราม เพราะลำแม่น้ำนั้น. บทว่า สมิทฺธิ ความว่า ได้ยินว่า

อัตภาพของพระเถระสำเร็จแล้ว (ด้วยผลกรรม) มีรูปงาม น่าเลื่อมใส

เพราะฉะนั้น จึงปรากฏนามบัญญัติว่า สมิทธิ นั่นแหละ. คำว่า เพื่อจะล้างตัว

ความว่า พระเถระผู้บำเพ็ญเพียรนั้นลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งได้ให้บุคคลถือเอา

เสนาสนะออกมาภายนอกแล้วเดิน (จงกรม) ไป ๆ มา ๆ ในที่จงกรมใหญ่

ประมาณ ๖๐ ศอก มีความสำคัญว่า เสนาสนะอันเราบริโภคอยู่ด้วยตัวอันชุ่ม

ด้วยเหงื่อจักเศร้าหมองจึงเข้าไปที่ลำน้ำตโปทาเพื่อจะล้างตัว. คำว่า ยืนอยู่

มีจีวรผืนเดียว คือ นุ่งผ้าสบงผูกประคดเอวแล้วถือเอาจีวรยืนอยู่. คำว่า

รอให้ตัวแห้ง ได้แก่ กระทำให้ตัวมีน้ำออกแล้วเช่นกับครั้งก่อน ๆ เพราะว่า

จีวรอันตนห่มในเวลาที่ตัวเปียกจักเศร้าหมอง จะมีกลิ่นเหม็น. ก็ข้อที่กล่าวนี้

มิใช่เป็นวัตรในการอาบ แต่เพราะท่านเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวัตร ฉะนั้น

ท่านจึงชื่อว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในวัตร คือ กิจที่ควรทำนั่นแหละ คือว่า ครั้น

ท่านอาบเสร็จแล้วก็ทำกิจที่ควรทำแล้ว กลับขึ้นมายืนอยู่. ในข้อนี้นั้นพึงทราบ

วัตรในการอาบน้ำ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

อันภิกษุผู้ประสงค์จะอาบน้ำไปสู่ท่าน้ำแล้วพึงวางจีวรทั้งหลายในที่ใดที่

หนึ่งแล้วแล้วยืนอยู่ก่อน ไม่ควรรีบลงไปโดยเร็ว พึงเหลียวแลดูทุก ๆ ทิศเทียว

ครั้นทราบความเป็นผู้สงัดแล้วก็กำหนดวัตถุทั้งหลายมีตอไม้ พุ่มไม้ และ

เถาวัลย์เป็นต้น แล้วย่อกายลงกระแอมขึ้น ๓ ครั้ง แล้วพึงนำผ้าอุตราสงค์

ออกผึ่ง แล้วแก้ประคตเอาวางทับจีวรนั่นแหละ ถ้าผ้าสำหรับอาบน้ำไม่มี ก็จง

นั่งกระหย่งที่ริมน้ำแล้วเปลื้องผ้านุ่งออก ถ้ามีที่สำหรับนั่งพึงผึ่งผ้านุ่ง ถ้าไม่มี

ม้วนแล้วก็วางไว้ แล้วค่อย ๆ ก้าวลงน้ำ ครั้นก้าวลงไปประมาณนาภี (สะดือ)

แล้วจึงอาบโดยไม่ทำให้ลูกคลื่นเกิดขึ้น ครั้นจะกลับ ก็พึงดำลงโดยมุ่งหน้าต่อ

ทิศที่ตนมา. ด้วยอาการอย่างนี้ จีวรชื่อว่าอันตนรักษาแล้ว. แม้เมื่อจะโผล่ขึ้น

ก็ไม่ทำให้เกิดเสียงค่อย ๆ โผล่ขึ้น ในเวลาสิ้นสุดลงแห่งการอาบ พึงนั่งกระโหย่ง

ที่ริมน้ำแล้วเอาผ้ามาปกปิดตนไว้เมื่อลุกขึ้นยืนแล้วจึงนุ่งให้เรียบร้อยเป็น

ปริมณฑล เสร็จแล้วผูกประคตเอว ไม่รีบห่มจีวรพึงยืนอยู่ ดังนี้.

แม้พระเถระก็อาบแล้วเหมือนอย่างนั้น เสร็จแล้วก็กลับขึ้นมายืนแลดู

กายซึ่งมีน้ำยังไม่แห้ง. แม้โดยปกติกายของพระเถระก็ผ่องใส เมื่อน้อมกายนำ

มาโดยชอบ คืออาบน้ำอุ่นสีแห่งหน้าจึงรุ่งโรจน์เกินเปรียบ เป็นผู้สมบูรณ์

ด้วยรัศมี ราวกะผลตาลที่หลุดจากขั้ว ราวกะพระจันทร์เต็มดวง ในขณะนั้น

หน้าของท่านก็เป็นไปกับด้วยสิริ ดุจดอกปทุม กำลังแย้มแม้ผิวพรรณแห่ง

สรีระก็ผ่องใส.

สมัยนั้น ภุมมเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ป่าชัฏแลดูภิกษุสมิทธิผู้น่าเลื่อมใส

แล้ว ไม่อาจข่มใจไว้ได้ เป็นผู้น้อมไปในกามถูกความโลภครอบงำแล้ว คิด

ว่า เราจักเล้าโลมพระเถระ จงประดับอัตภาพด้วยเครื่องประดับอันโอฬาร

แล้วทำพระอารามทั้งสิ้นให้สว่างทั่ว (ให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน ) ราวกะ

ประทีปโคมไฟมีไส้ตั้งพัน ดุจเอาดวงจันทร์มาตั้งไว้ ครั้นแล้วก็เข้าไปหา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

พระเถระ มิได้ไหว้ ยืนอยู่ในเวหา (ลอยอยู่ในอากาศ) แล้วกล่าวคาถา.

คาถานั้นอันท่านพระอานนทเถระนำมากล่าวแล้วว่า อถ โข อญฺตรา เทวตา

ฯ เป ฯ อชฺฌภาสิ แปลว่า ครั้งนั้นแล เมื่อราตรีใกล้สว่าง เทวดาองค์หนึ่ง

มีวรรณะงาม เป็นต้น. คำว่า ไม่บริโภคแล้ว คือ ไม่บริโภคกามคุณ ๕.

คำว่า ยังขออยู่ ได้แก่ การเที่ยวไปบิณฑบาต. เวลาที่ยังเป็นหนุ่มแน่น

สมควรเสพกามคุณ ๕ ชื่อว่า กาล ในข้อว่า กาลอย่าล่วงท่านไปเสียเลย นี้.

เพราะว่าบุคคลแก่คร่ำคร่าเพราะชรา มีกายโน้มลงแล้ว มีไม้เท้ายันไปข้างหน้า

สั่นอยู่ เป็นผู้อันโรคไอและโรคหืดครอบงำแล้ว ไม่อาจเพื่อบริโภคกามได้

เพราะเหตุนั้น เทวดาหมายเอากาล นี้ จึงกล่าวคำว่า มา ต กาโล อุปชฺฌาคา

แปลว่า กาลอย่าล่วงท่านไปเสียเลย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา อุปชฺฌคา แปลว่า อย่าก้าวล่วง

แล้ว. ศัพท์ว่า โว ในบทว่า กาล โวห น ชานามิ นี้เป็นนิบาต. คำว่า

เรายังไม่รู้กาล ท่านกล่าวหมายเอามรณกาล. อธิบายว่า ธรรม ๕ เหล่านี้

คือ ชีวิต พยาธิ กาล ที่เป็นที่ทอดทิ้งร่างกายหรือที่ตาย (เทหนิกเขปนะ)

และ คติ (ที่เกิดต่าง ๆ มี ๕)* ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีนิมิต ใคร ๆ ไม่พึง

รู้ในโลกแห่งสัตว์ที่เป็นไปอยู่.

ในบรรดาธรรม ๕ เหล่านั้น ชีวิตก่อน ชื่อว่า ไม่มีนิมิต เพราะ

กำหนดแน่ไม่ได้ว่า ชีวิตนี้ มีจำนวนเท่านี้ทีเดียว ไม่เกินจากนี้ไป ดังนี้ จริง

อยู่ แม้ในกาลที่เริ่มแรกคือ เป็นรูปกลละ สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมตาย ในเวลาที่

เป็นอัพพุทะ (คือรูปที่เกิดมาได้ ๒ อาทิตย์) เป็นเปสิ (คือรูปที่เป็นชิ้นเล็กๆ)

เป็นฆนะ (คือรูปที่เป็นก้อนหนา) รูปที่เกิดมาได้ ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือด

๑. คติ ๕ คือ นิรยคติ เปตคติ ดิรัจฉานคติ มนุสสคติ เทวตาคติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

๔ เดือน ๑๐ เดือน ก็ดี ในระหว่างที่ออกจากครรภ์ก็ดี แต่นี้ไปภายในร้อยปี

ก็ดี มากกว่าร้อยปีก็ดี ย่อมตายนั่นแหละ.

แม้พยาธิ ก็ชื่อว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีการกำหนดแน่ว่า สัตว์ทั้ง

หลายย่อมตายด้วยพยาธินี้เท่านั้น ไม่ตายด้วยพยาธิอื่น ๆ ดังนี้ เพราะว่าสัตว์

ทั้งหลายย่อมตายด้วยโรคตาก็มี ด้วยโรคอื่น ๆ มีโรคหูเป็นต้นก็มี.

แม้กาล ก็ชื่อว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีกำหนดแน่อย่างนี้ว่า ในกาล

นี้เท่านั้นสัตว์พึงตาย ในกาลอื่น ๆ สัตว์ไม่ตาย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมตาย

ในเวลาเช้าก็มี ในเวลาอื่น ๆ คือเวลาเที่ยงเป็นต้นก็มี.

แม้สถานที่เป็นที่ต้องทอดทิ้งร่างกาย ก็ชื่อว่าไม่มีนิมิต เพราะไม่มี

การกำหนดได้อย่างนี้ว่า ร่างกายของสัตว์ผู้จะตายนี้พึงตกไป (พึงตาย) ในที่

นี้เท่านั้น ที่อื่น ๆ ไม่ตกไป จริงอยู่เมื่อสัตว์ทั้งหลายเกิดภายในบ้าน อัตภาพ

ของสัตว์เหล่านั้นย่อมตกไปภายนอกบ้านก็ได้ สัตว์ที่เกิดแม้ภายนอกบ้าน อัตภาพ

ย่อมตกไปภายในบ้านก็ได้ สัตว์ที่เกิดบนบก บนถนนเป็นต้น ก็เหมือนกัน

บัณฑิตพึงให้พิสดารโดยประการมิใช่น้อย.

แม้คติ ก็ชื่อว่า ไม่มีนิมิต เพราะไม่มีการกำหนดได้อย่างนี้ว่า สัตว์

จุติจากที่นี้แล้วพึงเกิดขึ้นในที่นี้ ดังนี้ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายจุติจากเทวโลกแล้ว

เกิดขึ้นในมนุษยโลกก็มี จุติจากมนุษยโลกแล้วเกิดในที่ใดที่หนึ่งแห่งโลก

ทั้งหลายมีเทวโลกเป็นต้นก็มี สัตว์โลกมีคติ ๕ ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ดุจโคยนต์

(โคที่ประกอบด้วยเครื่องยนต์) อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะการเปลี่ยนไป

แห่งคตินั้นนั่นแหละ ด้วยเหตุนี้ พระเถระจึงกล่าวกะเทวดาว่า เรายังไม่รู้กาล

คือ ไม่รู้การตายนี้ว่า การตายจักมีในกาลชื่อนี้ ดังนี้. คำว่า กาลยังลับ

มิได้ปรากฏ ได้แก่ กาลนี้ปกปิดแล้ว ไม่แจ่มแจ้งและ ยังไม่ปรากฏแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

คำว่า เพราะเหตุนั้น อธิบายว่า กาลอันปกปิดนี้ ย่อมไม่ปรากฏ เหตุใด

เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บริโภคกามคุณ ๕ แล้วจึงขออยู่. ในคำว่า กาลอย่าล่วง

เราไปเสียเลย นี้ พระเถระกล่าวว่า กาล ดังนี้ โดยหมายเอากาลกระทำสมณ-

ธรรม.

จริงอยู่ ธรรมดาว่า สมณธรรมนี้ อันบุคคลผู้ก้าวล่วงวัยทั้ง ๓ ในวัย

สุดท้ายเป็นผู้มีกายอันหักลงแล้ว มีไม้เท้าเป็นที่ยันไปในเบื้องหน้า สั่นอยู่ ผู้

อันโรคไอและหืดครอบงำแล้ว ไม่อาจเพื่อกระทำได้ (ปฏิบัติได้) เพราะว่า

ในกาลนั้น บุคคลเช่นนั้น ไม่อาจเพื่อเรียนพุทธพจน์ตามที่ปรารถนาตามที่

ต้องการ หรือว่าไม่อาจเพื่อรักษาซึ่งธุดงค์ หรือว่าไม่อาจเพื่อ

จะอยู่ป่า หรือว่าไม่อาจเพื่อเข้าสมาบัติได้ตามที่ปรารถนา หรือว่าไม่อาจเพื่อ

กระทำธรรมกถาและอนุโมทนาด้วยสรภัญญวิธีเป็นต้น. ส่วนในกาลที่ยังเป็น

หนุ่มแน่นอาจเพื่อกระทำกิจทั้งปวง เพราะฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า กาล

เป็นที่กระทำสมณธรรมนี้ อย่าก้าวล่วงเราไปเสียเลย คือว่าเราจักไม่บริโภคกาม

ทั้งหลาย จักกระทำสมณธรรมตราบเท่าที่กาลยังไม่ก้าวล่วงเราไป.

คำว่า มายืนที่พื้นดิน ความว่า ได้ยินว่า เทวดานั้นคิดว่า ภิกษุนี้

ย่อมกล่าวชื่อซึ่งกาลแห่งการทำสมณธรรม ไม่กล่าวซึ่งอกาล ย่อมกล่าวธรรม

อันเป็นไปกับด้วยเหตุ เป็นไปกับด้วยอานิสงส์ ดังนี้ ด้วยคำเพียงเท่านี้ จึง

เกิดความละอายในพระเถระ สำคัญพระเถระนั้นดุจมหาพรหม ดุจกองไฟ

เป็นผู้อ่อนน้อมเกิดขึ้นแล้ว จึงลงจากอากาศมายืนที่พื้นดิน. คำว่า ยืนที่พื้น

ดิน นั้น ท่านกล่าวหมายเอาคำที่กล่าวแล้วนี้.

ก็เทวดานั้น มายืนอยู่ที่พื้นดินแล้วแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอมาแล้ว

ด้วยความต้องการอันใด ก็ถือเอาประโยชน์อันนั้นนั่นแหละอีก จึงกล่าวคำว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

ทหโร ตฺว เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ยังหนุ่ม คือมีอายุยังน้อย.

คำว่า มีผมดำ ได้แก่ เป็นหนุ่มมีผมดำสนิท. คำว่า จำเริญ คือสง่างาม.

จริงอยู่ บางคนแม้เป็นหนุ่มมีตาบอดข้างหนึ่ง หรือว่าในคนพิการ

ทั้งหลายมีคนกระจอกเป็นต้นเหล่านั้น คนใดคนหนึ่งถึงเป็นหนุ่มก็ไม่ประกอบ

ไปด้วยความเป็นหนุ่มที่สง่างาม. ส่วนบุคคลใด มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส

ถึงพร้อมด้วยสมบัติทั้งปวง ปรารถนาจะใช้เครื่องประดับใด ๆ ย่อมประดับ

ด้วยเครื่องอลังการนั้น ๆ เที่ยวไปเหมือนเทพบุตร บุคคลเช่นนี้ ย่อมชื่อว่า

ผู้ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มที่สง่างาม. ก็พระเถระถึงพร้อมแล้วด้วยรูปสมบัติ

อันอุดม ด้วยเหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวกะท่านอย่างนี้.

คำว่า เป็นผู้ไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลายเสียแล้ว ได้แก่ การ

ไม่เพลิดเพลินไม่บริโภคกามทั้งหลาย คือ ไม่มีความใคร่. คำว่า อย่าละกาม

ที่เห็นประจักษ์เสีย อธิบายว่า ก็เทวดาโดยมากไม่เห็นสัจจะ ยังมีราคะ

ไม่รู้จิตของผู้อื่น เห็นภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ไม่ขาด

ตลอด ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ฯลฯ ๖๐ ปีบ้าง จึงเกิดความสำคัญว่า ภิกษุเหล่านี้

ละกามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์ ปรารถนากามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ จึงกระทำ

สมณธรรม ดังนี้ แม้เทวดานี้ก็คิดเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ เพราะฉะนั้น

เธอจึงกล่าวถึงกามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์ กระทำให้เป็นกามที่เห็นประจักษ์

และกล่าวกามอันเป็นทิพย์กระทำให้เป็นกามอันมีโดยกาล พระเถระกล่าวคำว่า

น ขฺวาห อาวุโส เป็นต้น ความว่า ท่านผู้มีอายุ เราละกามอันเห็น

ประจักษ์แล้ว ไม่วิ่งเข้าไปหากามอันเป็นทิพย์ซึ่งมีโดยกาลเลย เราไม่ปรารถนา

กระหยิ่มทิพย์ซึ่งเป็นไปตามเวลาที่กำหนดแล้ว วิ่งเข้าไปหาโลกุตรธรรมอัน

ประจักษ์. พระเถระได้กระทำกามทั้ง ๕ แม้เป็นของทิพย์ แม้เป็นของมนุษย์

ให้เป็นเวลาที่เป็นไปตามกำหนด เพราะความที่กามเหล่านั้นอันบุคคลไม่พึงได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ในลำดับแห่งจิต และกระทำโลกุตรธรรมให้เป็นธรรมอันเห็นประจักษ์

เพราะความที่โลกุตรธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลพึงได้ในลำดับแห่งจิต

ด้วยประการฉะนี้.

ก็ถึงแม้กามคุณ ๕ ประชุมกันแล้ว การเสวยอารมณ์ตามที่ปรารถนา

ตามที่ต้องการของกาม บุคคลแม้มีกามอันถึงพร้อมแล้ว ก็ไม่สำเร็จ (ไม่ได้)

ในลำดับแห่งจิต (อนันตรจิต). จริงอยู่ อันบุคคลผู้ใคร่จะเสวยอิฏฐารมณ์

ทางจักขุทวาร (ทางตา) จึงเรียกช่างทั้งหลาย มีช่างเขียน ช่างทำหนังสือ และ

ช่างรูปเป็นต้นมาแล้ว พึงกล่าวว่า พวกท่านจงตกแต่งสิ่งชื่อนี้ ดังนี้ จิตทั้งหลาย

ในที่นี้มีประมาณพันโกฏิมิใช่น้อยเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป โดยความแตกต่างกัน

ในลำดับนั้นมา จิตจึงบรรลุถึงอารมณ์นั้น (คืออิฏฐารมณ์) ในภายหลัง แม้

ในทวารที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ.

ส่วนโสดาปัตติผลย่อมเกิดขึ้นในระหว่าง (ลำดับ) แห่งโสดาปัตติมรรค

เท่านั้น วาระของจิตอื่นในระหว่างหามีไม่. แม้ในผล ๓ ที่เหลือก็เหมือนกัน.

พระเถระถือเอาอรรถเหล่านั้นนั่นแหละแล้วกล่าวว่า กาลิกา หิ อาวุโส

เป็นต้น.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาลิกา ได้แก่ สิ่งอันเขาถึงพร้อม

ด้วยประโยชน์เกื้อกูลอันดี ไม่พึงบรรลุได้แม้ในระหว่างแห่งกาล โดยนัยที่

กล่าวแล้ว. คำว่า มีทุกข์มาก ได้แก่ ชื่อว่า มีทุกข์มาก เพราะความที่ทุกข์

นั้นอันตนอาศัยกามทั้งหลายเป็นไปมีมาก. ชื่อว่า มีความคับแค้นมาก เพราะ

ความคับแค้นอันเป็นไปกับด้วยวัตถุแห่งกามนั้นนั่นเองมีมาก. คำว่า อย่างยิ่ง

ในข้อว่า ในกามทั้งหลายมีโทษอย่างยิ่ง ความว่า โทษเท่านั้น ชื่อว่า

อย่างยิ่ง เพราะความสุขอันตนอาศัยกาม ๕ แล้วจึงได้ อธิบายว่า ทุกข์เท่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

มีมากกว่า. บทว่า สนฺทิฏฺิโก อย ธมฺโม อธิบายว่า โลกุตรธรรมนี้

อันบุคคลใด ๆ เข้าถึงแล้ว บุคคลนั้น ๆ พึงเห็นเองด้วยปัจเวกขณญาณซึ่งถือ

เอาโลกุตรธรรมนั้น อันตนอาศัยบุคคลอื่นแล้วพึงถึง เพราะเหตุนั้น

โลกุตรธรรมนั้น จึงชื่อว่า สนฺทิฏฺิโก แปลว่า อันบุคคลพึงเห็นเอง.

ธรรมที่ชื่อว่า อกาล เพราะอรรถว่า กาลของธรรมนั้นเกี่ยวข้องกับการให้ผล

ของตนไม่มี. ธรรมที่เป็นอกาลนั่นแหละ ชื่อว่า อกาลิโก แปลว่า ไม่

ประกอบด้วยกาล. อธิบายว่า ในโลกุตรธรรมนี้ ธรรมคืออริยมรรคนั้น

ย่อมให้ผลใกล้ที่สุดในการเป็นไปของตน.

คำว่า ควรเรียกร้องผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด อธิบายว่า ธรรมที่

ชื่อว่า เอหิ ปสฺสิโก เพราะอรรถว่า ควรซึ่ง เอหิปัสสวิธี อันเป็นไปแล้ว

อย่างนี้ ดังนี้. ธรรมที่ชื่อว่า โอปนยิโก เพราะอรรถว่า ควรน้อมเข้ามา

ในจิตของตน แม้จะถูกไฟไหม้ผ้า หรือศีรษะก็ไม่เปลี่ยนแปลง.

ในข้อว่า ปจฺจตฺต เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ นี้ มีความสังเขปว่า อัน

วิญญูชนแม้ทั้งปวงมีอุฆคฏิตัญญูบุคคลเป็นต้น พึงรู้ได้ในตนว่า มรรคอันเรา

เจริญแล้ว ผลอันเราบรรลุแล้ว นิโรธอันเรากระทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้ ส่วน

ความพิสดาร ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรคตอนที่พรรณนา

ธัมมานุสติ.

บัดนี้ เทวดานั้น ราวกะเป็นผู้บอด ไม่ทราบอยู่ซึ่งอรรถอันมีรูป

(เหตุ) แปลกกันแห่งถ้อยคำอันพระเถระกล่าวแล้ว จึงกล่าวคำว่า กถญฺจ

ภิกฺขุ เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุ ก็กามทั้งหลายอันมีโดยกาล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่ามีทุกข์มาก...เป็นอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กถญฺจ ความว่า เทวดากล่าวว่า ดูก่อน

ภิกษุ กามทั้งหลายอันมีโดยกาล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่าอย่างไร กาม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีทุกข์มากอย่างไร กามทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความคับแค้นมากอย่างไร บัณฑิตพึงทราบ

ความเกี่ยวข้องด้วยบททั้งปวงอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า ผู้ใหม่ ได้แก่ ภิกษุผู้มีพรรษาไม่เต็ม ๕ ชื่อว่า ผู้ใหม่ ตั้ง

แต่พรรษา ๕ ไป ชื่อว่า มัชฌิมะ ตั้งแต่พรรษา ๑๐ ไป ชื่อว่า เถระ. อีกนัย

หนึ่ง ผู้มีพรรษา ๑๐ ยังไม่บริบูรณ์ ชื่อว่า ผู้ใหม่ ตั้งแต่พรรษา ๑๐ ไป

ชื่อว่า มัชฌิมะ ตั้งแต่พรรษา ๒๐ ไป ชื่อว่า เถระ. ในที่นั้น พระเถระ

กล่าวว่า เราเป็นผู้ใหม่ ดังนี้. แม้บางคนบวชในเวลาที่ตนมีอายุ ๗ ขวบ

เมื่อก้าวล่วง ๑๐ พรรษา โดยที่ยังเป็นสามเณรนั่นแหละ ผู้นี้ ก็ชื่อว่า ผู้ใหม่

บวชไม่นาน ในที่นั้น พระเถระกล่าวว่า ก็เราเป็นผู้บวชไม่นาน ดังนี้.

คำว่า ธรรมวินัยนี้ ความว่า ธรรมและวินัยแม้ทั้ง ๒ นี้ เป็นชื่อศาสนาเท่า

นั้น. จริงอยู่ ว่าโดยธรรมในข้อนี้ ท่านกล่าวว่าเป็น ๒ ปิฎก (สุตตันตะและ

อภิธรรม) ว่าโดยวินัยท่านกล่าวว่าเป็นวินัยปิฎก ด้วยเหตุนี้นั้น พระเถระจึง

กล่าวว่า เราเพิ่งเป็นผู้มาสู่การปฏิบัติ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศแล้ว ด้วย

ปิฎกทั้งสาม ดังนี้. คำว่า มีศักดิ์ใหญ่ ท่านแก้เป็น มีบริวารมาก. เพราะ

ว่า เทวราชองค์หนึ่ง ๆ มีบริวารตั้งร้อยโกฏิก็มี ตั้งพันโกฏิก็มี. เหตุนั้น

เทวดานั้น จึงชี้แจงว่า เทวดาเหล่านั้น ดำรงตนอยู่ในที่อันใหญ่ ย่อมสรร

เสริญพระตถาคตในที่นั้น พวกเทวดาผู้มีศักดิ์น้อยเช่นกับข้าพเจ้า ซึ่งเกิดใน

บ้านแห่งมารดา จักมีโอกาสแต่ที่ไหน.

คำว่า แม้ข้าพเจ้าพึงมาเพื่อฟังธรรม ความว่า เทวดาทราบแล้วว่า

แม้ถ้าเทวดาผู้เป็นบริษัทนั่งแล้ว ย่อมยังจักรวาลนี้ให้เต็ม ถ้ากระไร เราพึง

ได้เพื่ออันไปสู่สำนักแห่งพระพุทธเจ้าด้วยพุทธวิถีอันใหญ่ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

เทวดากล่าวกับพระสมิทธิว่า ปุจฺฉ ภิกฺขุ ปุจฺฉ ภิกฺขุ แปลว่า ทูล

ถามเถิด ภิกษุ ทูลถามเถิด ภิกษุ นี้เป็นคำพูดซ้ำ เพื่อทำให้มั่นคง.

ในคำว่า มีความสำคัญในข้อที่รับบอก นี้ ความว่า ขันธ์ ๕ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ข้อที่ได้รับบอก เพราะความที่ขันธ์ ๕ นั้นเป็นวัตถุ

แห่งการบอกทั้งปวง แห่งกถาทั้งปวง โดยการบอก โดยนัยเป็นต้นว่า คนนั้น

เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นสัตว์ เป็นคน

ชื่อติสสะ ชื่อปุสสะ เป็นต้น. และมีความสำคัญจำได้อย่างนี้ว่า นั่นเป็น

สัตว์ เป็นนระ เป็นสัตว์เลี้ยง เป็นบุคคล เป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย ดังนี้

มีอยู่แก่ขันธ์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ขันธ์เหล่านั้น จึงชื่อว่า มีความสำคัญ.

ความสำคัญด้วย ข้อที่รับบอกด้วย ชื่อว่า ความสำคัญในข้อที่ได้รับบอก.

อธิบายว่า มีความสำคัญในขันธ์ ๕ ว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นต้น.

คำว่า ติดอยู่ในข้อที่รับบอก ได้แก่ การยึดมั่นในขันธ์ ๕ โดย

อาการ ๘ อย่าง. จริงอยู่ บุคคลผู้อันราคะย้อมแล้ว ย่อมติดอยู่ (ยึดมั่น)

ด้วยอำนาจแห่งราคะ ผู้อันโทษประทุษร้ายแล้ว ย่อมติดอยู่ด้วยอำนาจแห่งโทสะ

ผู้หลงแล้วย่อมติดอยู่ด้วยอำนาจแห่งโมหะ ผู้ยึดถือผิดย่อมติดอยู่ด้วยอำนาจแห่ง

ทิฐิ ผู้มีกิเลสมีกำลังย่อมติดอยู่ด้วยอำนาจแห่งอนุสัย ผู้มีเครื่องผูกพันไว้ย่อม

ติดอยู่ด้วยอำนาจแห่งมานะ ผู้ไม่พอใจย่อมติดอยู่ด้วยอำนาจแห่งวิจิกิจฉา ผู้มี

จิตฟุ้งซ่านแล้วย่อมติดอยู่ด้วยอำนาจแห่งอุทธัจจะ ดังนี้.

คำว่า ไม่กำหนดรู้ข้อที่ได้รับบอก คือ ไม่กำหนดรู้ขันธ์ ๕ ด้วย

ปริญญา ๓. คำว่า ย่อมมาสู่อำนาจแห่งมัจจุ อธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายย่อม

มาสู่กิเลสเป็นเครื่องประกอบ การกระทำของกิเลส การซัดไป การเข้าไปสู่

ภายในแห่งมัจจุ คือมาสู่อำนาจแห่งมัจจุ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกามทั้งหลาย

อันเนื่องด้วยกาย ด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้. คำว่า กำหนดรู้ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

การกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ เหล่านี้ คือ ญาตปริญญา ติรณปริญญา ปหาน

ปริญญา. ในบรรดาปริญญาเหล่านั้น ญาตปริญญา เป็นไฉน บุคคลย่อม

กำหนดรู้ขันธ์ ๕ ว่า นี้รูปขันธ์ นี้วิญญาณขันธ์ ธรรมเหล่านี้ มีลักษณ์ รส

ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน เป็นต้น ของขันธ์เหล่านั้น นี้ชื่อว่า ญาตปริญญา.

ติรณปริญญา เป็นไฉน บุคคลย่อมพิจารณาขันธ์ ๕ กระทำให้เป็น

สิ่งอันตนรู้แล้วอย่างนี้ ด้วยอาการ ๔๒ โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความ

เป็นทุกข์ โดยความเป็นดังโรค นี้ชื่อว่า ติรณปริญญา.

ปหานปริญญา เป็นไฉน บุคคลครั้นพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละกาม

ฉันทะในขันธ์ ๕ ด้วยมรรคอันเลิศ นี้ชื่อว่า ปหานปริญญา.

คำว่า ย่อมไม่สำคัญข้อที่ได้รับบอกแล้ว อธิบายว่า ขีณาสวภิกษุ

กำหนดรู้ขันธ์ ๕ ด้วยปริญญา ๓ อย่างนี้แล้ว ย่อมไม่สำคัญถึงบุคคลผู้บอก.

คำว่า ข้อที่ได้รับบอกแล้ว ได้แก่ พระขีณาสพ พึงรู้ถึงผู้กระทำโดยอำนาจ

แห่งกรรม อธิบายว่า พระขีณาสพ ย่อมไม่สำคัญ คือ ไม่เห็นข้อที่ได้รับ

บอกแล้ว ข้อที่เขากล่าวแล้วว่า เป็นบุคคล ดังนี้. ถามว่า ข้อที่บอกแล้ว

เป็นอย่างไร. ตอบว่า ผู้นี้ ติสสะ หรือ ปุสสะ ที่บุคคลประกาศโดยชื่อ

หรือโดยโคตร อย่างใดอย่างหนึ่ง. คำว่า เพราะข้อที่ได้รับบอกนั้นย่อม

ไม่มีแก่ขีณาสวภิกษุนั้น คือ ข้อที่ได้รับบอกว่า ผู้นี้ชื่อ ติสสะ หรือปุสสะ

นั้น ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพนั้น. คำว่า เหตุที่จะพึงพูดถึงข้อที่ได้รับ

บอกจึงมิได้มีแก่ขีณาสวภิกษุนั้น อธิบายว่า ใคร ๆ พึงกล่าวถึงข้อที่รับ

บอกนั้นว่า ผู้นี้กำหนัดแล้วด้วยราคะใด หรือผู้นี้ถูกประทุษร้ายแล้ว ด้วย

โทสะใด หรือว่าผู้นี้หลงแล้วโดยโมหะใด ดังนี้ เหตุเหล่านั้นแหละ ย่อมไม่มี

แก่พระขีณาสพนั้น. บทว่า โย มญฺติ แปลว่า บุคคลใดย่อมสำคัญ อธิบาย

ว่า บุคคลใดย่อมสำคัญตนว่าเราเป็นผู้เสมอเขา หรือดีกว่าเขา หรือว่าเลวกว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

เขา. ด้วยคำนี้ ทรงถือเอามานะ ๓ ซึ่งมีคำว่า เราดีกว่าเขา เป็นต้น. เมื่อ

มานะ ๓ เหล่านั้นอันพระองค์ทรงถือเอาแล้ว ก็ย่อมชื่อว่า ทรงถือเอามานะ ๙

ทีเดียว.

คำว่า บุคคลนั้น พึงวิวาทกับเขา คือว่า บุคคลนั้นพึงพูดด้วย

มานะนั้นนั่นแหละกับคนใดคนหนึ่ง อย่างนี้ว่า ท่านตีเสมอเรา ด้วยเหตุอะไร

ย่อมเสมอเราโดยชาติหรือ หรือว่าโดยโคตร หรือบางส่วนแห่งตระกูล หรือว่า

โดยความเป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส หรือโดยเป็นพหูสูต หรือว่าโดยคุณแห่ง

ธุดงค์ ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกามทั้งหลาย อันเป็นไปกับด้วยเวลา

เล็กน้อย ด้วยคาถากึ่งหนึ่งแม้นี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ตีสุ วิธาสุ

แปลว่า มานะ ๓. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสโกฏฐาส ว่าเป็น วิธะ

เช่น ในบทว่า เอกวิเธ รูปสงฺคโห เป็นต้น แปลว่า สงเคราะห์รูปไว้

โดยส่วนหนึ่ง. ตรัสเรียกอาการ (ลักษณะ) ว่าเป็น วิธะ เช่นในบทว่า

กถวิธ สลวนฺต วทนฺติ กถวิธ ปฺวนฺต วทนฺติ เป็นต้น แปลว่า

ย่อมกล่าวอาการ อย่างไรว่าเป็นผู้มีศีล ย่อมกล่าวอาการอย่างไรว่า เป็นคน

มีปัญญา เป็นต้น. ในพระบาลีนี้ว่า ติสฺโส อิมา ภิกฺขเว วิธา

กตมา ติสฺโส เสยฺโยหมสฺมีติ วิธา หีโนหมสฺมีติ วิธา แปลว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มานะ ๓ เหล่านี้เป็นไฉน มานะ ๓ เหล่านี้ คือ มานะ

ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา ดังนี้ ข้อนี้ตรัสมานะว่าเป็น

วิธะ. แม้ในปกรณ์นี้ ก็ตรัสมานะนั่นแหละด้วยคำว่า วิธะ ด้วยเหตุนั้น

จึงตรัสว่า ตีสุ วิธาสุ แปลว่า มานะ ๓ ดังนี้.

คำว่า ผู้ไม่หวั่นไหวอยู่ อธิบายว่า บุคคลใดย่อมไม่หวั่นไหว

ไม่เคลื่อนไปในมานะ ๓ โดยย่อ ในมานะ ๙ โดยพิสดาร. คำว่า มานะว่า

เราเสมอเขา ดีกว่าเขา เลวกว่าเขา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

มานะ ๓ เหล่านี้ว่า ไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มีมานะอันละได้แล้วนั้น. บทสุดท้าย

แห่งพระคาถานี้มีนัยตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว. ด้วยพระคาถากึ่งหนึ่งแม้นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโลกุตรธรรม ๙ อย่างอันบุคคลพึงเห็นได้เอง ด้วยประการ

ฉะนี้. บทว่า ปหาสิ สงฺข แปลว่า ขีณาสพภิกษุละบัญญัติเสียแล้ว

อธิบายว่า ปัญญา ชื่อว่า สังขา อันมีมาในบาลีว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส

เป็นต้น แปลว่า พิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย. สังขามีอรรถเท่ากับคณนา

การคำนวนหรือการนับ เช่นในพระบาลีว่า อตฺถิ ปน โกจิ คณโก วา

มุทฺธิโก วา สงฺขายิโก วา โย ปโหติ คงฺคาย วาลิก คเณตุ

แปลว่า ก็ใคร ๆ เป็นโหรก็ตาม เป็นผู้สุขุมก็ตาม เป็นผู้นักนับก็ตาม

สามารถเพื่อจะคำนวนเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา ดังนี้. สังขามีอรรถเท่ากับ

โกฏฐาส คือ ส่วนหรือภาค เช่นในบทว่า สญฺานิทานา หิ ปปญฺจสงฺขา

เป็นต้น แปลว่า จริงอยู่ ธรรมที่เป็นส่วนแห่งความเนิ่นช้าเป็นเหตุแห่งสัญญา.

และบัญญัติมาในคำว่า สังขา เช่นบทว่า ยา เตส ธมฺมาน สงฺขา สมญฺา

นี้แปลว่า บัญญัติ คือ ชื่อแห่งธรรมเหล่านั้น. แม้ในที่นี้ ท่านก็ประสงค์

เอาบัญญัติเท่านั้น.

จริงอยู่ เนื้อความแห่งบทว่า ปหาสิ สงฺข นี้ อธิบายว่า พระ-

ขีณาสพละและ ทอดทิ้งแล้ว สละคืนแล้ว ซึ่งบัญญัตินี้ว่า บุคคลผู้อันราคะ

ย้อมแล้ว ผู้อันโทษประทุษร้ายแล้ว ผู้หลงแล้ว. บทว่า น วิมานมาคา แปลว่า

บรรลุธรรมที่ปราศจากมานะแล้ว คือ ไม่เข้าถึงมานะ ๓ อย่าง ซึ่งมีประเภท ๙.

อีกอย่างหนึ่ง ท้องแห่งมารดา ท่านเรียกว่า วิมานะ เพราะอรรถว่าเป็น

ที่อาศัย พระขีณาสพย่อมไม่เข้าไปสู่ที่อาศัย (คือท้องแห่งมารดา) นั้นต่อไป

ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิ. บทว่า วิมานมาคา นี้เป็นถ้อยคำกล่าวถึงอดีต แต่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

ใช้ในความหมายแห่งอนาคต. บทว่า อจฺเฉชฺชิ แปลว่า ตัดแล้ว. บทว่า

ฉินฺนคนฺถ แปลว่า ตัดเครื่องผูก ๔ (คันถะ ๔) แล้วอยู่. บทว่า อนิฆ

แปลว่า ไม่คับแค้นใจ คือ ไม่มีทุกข์. บทว่า ปริเยสมานา แปลว่า

เที่ยวค้นหา คือ ตรวจดูอยู่. บทว่า นาชฺฌคมุ แปลว่า ไม่พบ คือ ไม่ถึง

ไม่ประสบ ไม่เห็น. ข้อนี้มีอรรถแห่งอดีตแต่มีความหมายถึงปัจจุบัน. บทว่า

อิธ วา หุร วา แปลว่า ในโลกนี้ หรือในโลกหน้า. บทว่า สพฺพนิเวสเนสุ

แปลว่า ในสถานที่อาศัยของสัตว์ทั้งปวง ได้แก่ ในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕

วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ อธิบายว่า ย่อมไม่เห็นพระขีณาสพผู้เห็นปานนี้

คือ ผู้มีเครื่องผูกอันตัดเสียแล้ว ซึ่งกำลังเกิด หรือเกิดขึ้นแล้ว เพราะการแตก

แห่งกายทำลายขันธ์ในสถานที่อาศัยของสัตว์ แม้ทั้งปวงเหล่านี้ ด้วยประการ

ฉะนี้. ด้วยพระคาถานี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโลกุตรธรรมอันบุคคล

พึงเห็นได้นั่นแหละ.

เทวดาแม้นั้น ครั้นฟังพระคาถานี้แล้ว จึงกำหนดเนื้อความได้ ด้วย

เหตุนั้นนั่นแหละ จึงกราบทูลว่า อิมสฺส ขฺวาห ภนฺเต เป็นต้น แปลว่า ข้า

แต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสโดยย่อให้พิสดาร อย่างนี้. บทว่า ปาป น กยิรา แปลว่า ไม่ควร

ทำบาปนั้น สมควรที่จะกล่าวแม้ด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ แม้ด้วย

สามารถแห่งมรรคประกอบด้วยองค์ ๘. ว่าโดยกุศลกรรมบถ ๑๐ ก่อน คือใน

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วจสา แปลว่า ด้วยวาจา ได้แก่ วจีสุจริต ๔

อย่าง. บทว่า มนสา แปลว่า ด้วยใจ ได้แก่ มโนสุจริต ๓ อย่าง. บทว่า

กาเยน วา กิญฺจน สพฺพโลเก แปลว่า ด้วยกายอย่างไหน ๆ ในโลก

ทั้งปวง ได้แก่ กายสุจริต ๓ อย่าง. กุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านี้ ย่อมมีก่อน

ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

ว่าด้วยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ก็ด้วยบทว่า กาเม ปหาย แปลว่า

ละกามทั้งหลายเสียแล้ว ได้แก่ ห้ามกามสุขัลลิกานุโยค. ด้วยบทว่า สติมา

สมฺปชาโน (มีสติ มีสัมปชัญญะ) นี้ ได้แก่ ถือเอาสติและสัมปชัญญ

เป็นผู้ทำกุศลกรรมบถ ๑๐. ด้วยบทว่า ทุกฺข น เสเวถ อนตฺถสญฺหิต

แปลว่า ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยโทษนี้ ได้แก่ปฏิเสธอัตตกิลมถานุโยค.

เทวดา เว้นทางที่สุดทั้ง ๒ นี้ได้แล้ว จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ข้าพระองค์ทราบกุศลกรรมบถ ๑๐ กับด้วยสติสัมปชัญญะซึ่งเป็นผู้กระทำที่

พระองค์ตรัสแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ ก็นัยนี้แหละว่าด้วยอำนาจแห่งมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘. ได้ยินว่า พระธรรมเทศนามีประโยชน์ใหญ่ได้มีแล้วใน

ที่นั้นแล.

ในเวลาจบเทศนา เทวดานั้นกำลังยืนอยู่อย่างไรนั่นแหละ ส่งญาณ

ไปตามกระแสแห่งเทศนา เห็นอยู่ซึ่งมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ตนบรรลุ

แล้ว เพราะความตั้งมั่นในโสดาปัตติผล จึงกราบทูลความนั้นแก่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วจสา ได้แก่ สัมมาวาจา. แต่มโน

ไม่ใช่องค์มรรค เพราะฉะนั้น จิตที่สัมปยุตด้วยมรรค จึงได้แก่มโนสุจริต ๓.

บทว่า กาเยน วา กิญฺจน ได้แก่ สัมมากัมมันตะ. ส่วนสัมมาอาชีวะ

ท่านถือเอาสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะรวมกันนั่นแหละ. ด้วยบทว่า สติมา

ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ. ด้วยบทว่า สมฺปชาโน

ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ. การเว้นส่วนสุดทั้ง ๒ ท่านถือเอาด้วย

บททั้ง ๒ คือ กาเม ปหาย และ ทุกฺข น เสเวถ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

เทวดานั้น ครั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์

ย่อมทราบมัชฌิมาปฏิปทาอันไม่อาศัยส่วนสุด ๒ เหล่านี้ ตามที่พระองค์ตรัสแล้ว

ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ แล้วทำการบูชาพระตถาคตเจ้าด้วยเครื่องสักการะ

ทั้งหลาย มีของหอมและดอกไม้เป็นต้น กระทำประทักษิณเสร็จแล้วก็หลีกไป

ดังนี้แล.

จบอรรถกถาสมิทธิสูตรที่ ๑๐

จบนันทนวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรในนันทนวรรคที่ ๒

นันทนสูตร นันทิสูตร นัตถิปุตตสมสูตร ขัตติยสูตร สกมานสูตร

นิททาตันทิสูตร ทุกกรสูตร หิริสูตร กุฏิกาสูตร สมิทธิสูตร พร้อมทั้ง

อรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

สัตติวรรคที่ ๓

๑. สัตติสูตร

ผู้ปฏิบัติควรทำตัวเหมือนถูกหอก

[๕๖] เทวดานั้น ครั้งยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าว

คาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ภิกษุพึงมีสติ เว้นรอบเพื่อการละกาม

ราคะ เหมือนบุรุษที่ถูกประหารด้วยหอก

มุ่งถอนเสีย และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้

บนศีรษะ มุ่งดับไฟ ฉะนั้น.

[๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาว่า

ภิกษุพึงมีสติ เว้นรอบเพื่ออันละ-

สักกายทิฏฐิ เหมือนบุรุษถูกประหารด้วย

หอก และเหมือนบุรุษที่ถูกไฟไหม้บน

ศีรษะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

อรรถกถาสัตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัตติสูตรที่ ๑ แห่งสัตติวรรคที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า สตฺติยา นี้เป็นหัวข้อแห่งเทศนา. อธิบายว่า ด้วยศัสตรา

มีคมข้างเดียวเป็นต้น. บทว่า โอมฏฺโ แปลว่า ถูกประหารแล้ว. จริงอยู่

เครื่องประหารนี้มี ๔ อย่าง คือชื่อว่า โอมัฏฐะ อุมัฏฐะ มัฏฐะ และวิมัฏฐะ

ในบรรดาเครื่องประหาร ๔ เหล่านั้น เครื่องประหารที่เขาวางไว้ข้างบนให้มี

หน้าลงเบื้องต่ำ ชื่อว่า โอมัฏฐะ. เครื่องประหารที่เขาวางไว้เบื้องต่ำให้มี

หน้าขึ้นช้างบน ชื่อว่า อุมัฏฐะ. เครื่องประหารที่เขาใช้แทงทะลุไปราวกะว่า

ลิ่มกลอนประตู. ชื่อว่า มัฏฐะ. เครื่องประหารแม้ทั้งหมดที่เหลือชื่อว่า วิมัฎฐะ.

ก็ในที่นี้ ท่านมุ่งเอาเครื่องประหารที่ชื่อว่า โอมัฏฐะ เพราะเครื่องประหาร

ชนิดนี้ทารุณกว่าเครื่องประหารทั้งหมด ดุจถูกหอกที่มีคมไม่ดีแทงแล้ว เยียว

ยาลำบาก มีโทษภายใน คือมีน้ำเหลืองและเลือดคั่งอยู่ที่ปากแผล ไม่มีน้ำเหลือง

และเลือดไหลออกจึงทำให้สั่งสมอยู่ภายใน. ผู้ต้องการจะนำปุพโพโลหิตออกต้อง

ผูกผู้ป่วยไว้กับเตียงแล้วทำให้ศรีษะห้อยลง. เขาย่อมถึงการตาย หรือทุกข์ปาง

ตาย.

คำว่า ปริพฺพฺเช แก้เป็น วิหเรยฺย แปลว่า พึงอยู่. ถามว่า

ในคาถานี้ เทวดากล่าวอย่างไร. ตอบว่า เทวดากล่าวว่า บุรุษถูกแทงด้วย

หอกรีบพยายามทำความเพียรมุ่งมั่นเพื่อจะรักษาแผลโดยการดึงหอกออก และ

บุรุษที่ถูกไฟไหม้ที่ศีรษะ รีบพยายามทำความเพียรมุ่งเพื่อดับไฟ ฉันใด

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแหละ พึงมีสติไม่ประมาทอยู่เพื่อ

ละกามราคะ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า คาถาที่เทวดานี้นำมาตั้งไว้

ทำอุปมาไว้มั่นคง แต่ถือเอาประโยชน์ได้นิดหน่อย แม้จะกล่าวซ้ำซาก เพราะ

เขากล่าวถึงการละโดยการข่มกามราคะอย่างเดียว ก็กามราคะอันมรรคยังไม่

ถอนขึ้น ตราบใด ตราบนั้น ก็ยังมีการตามผูกพันเรื่อยไป เพราะฉะนั้น

เมื่อจะทรงถือเอาคำอุปมานั้น นั่นแหละแล้ว ทรงเปลี่ยนแสดงด้วยสามารถแห่ง

มรรค จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ (ข้อที่ ๕๗). เนื้อความแห่งคาถานั้น พึงทราบ

โดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

จบอรรถกถาสัตติสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

๒. ผุสติสูตร

ว่าด้วยวิบากของกรรม

[๕๘] เทวดาทูลว่า

วิบากย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ถูกกรรม

วิบากพึงถูกบุคคลผู้ถูกกรรมโดยแท้ เพราะ

ฉะนั้น วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม ผู้

ประทุษร้าย นรชนผู้ไม่ประทุษร้าย.

[๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลได้ย่อมประทุษร้ายแก่นรชน

ผู้ไม่ประทุษร้าย เป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจาก

กิเลส บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้น ผู้เป็น

พาลแท้ ประดุจธุลีอันละเอียดที่ซัดไป

ทวนลม ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

อรรถกถาผุสติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในผุสติสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า นาผุสนฺต ผุสติ ความว่า วิบากย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ถูก

กรรม (คือผู้ไม่ทำกรรม) อีกอย่างหนึ่ง กรรมย่อมไม่ถูกบุคคลผู้ไม่ถูกกรรม

นั่นแหละ. เพราะว่า กรรมย่อมไม่กระทำแก่บุคคลผู้ไม่กระทำ. บทว่า

ผุสนฺตญฺจ ตโต ผุเส ความว่า วิบากย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม อีกอย่างหนึ่ง

กรรมนั่นแหละ ย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม. เพราะว่า กรรมย่อมกระทำบุคคล

ผู้กระทำ. บทว่า ตสฺมา ผุสนฺต ผุสติ อปฺปทุฏฺปฺปโทสิน อธิบายว่า

เพราะวิบากย่อมไม่ถูกบุคคล ผู้ไม่ถูกกรรม ย่อมถูกบุคคลผู้ถูกกรรม ข้อนี้

เป็นธรรมดาของกรรมวิบากทั้งหลาย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

บุคคลใด ย่อมประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ ผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่มี

กิเลสเพียงดังเนิน บุคคลผู้ประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง กรรมหรือวิบาก ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น

ย่อมถูกต้องบุคคลผู้ถูกกรรมนั้นแหละ เพราะว่าบุคคลนั้น ย่อมอาจเพื่อทำการ

ฆ่าบุคคลอื่นหรือไม่ก็ตาม แต่อัตตา ชื่อว่า ตั้งอยู่แล้วในอบาย ๔ ด้วยกรรมนั้น

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลผู้นั้นผู้เป็น

พาล ประดุจธุลี อันละเอียดที่ซัดไป

ทวนลม ฉะนั้น.

จบอรรถกถาผุสติสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

๓. ชฏาสูตร

ว่าด้วยการถางชัฏคือกิเลส

[๖๐] เทวดากราบทูลว่า

หมู่สัตว์รกทั้งภายใน รกทั้งภาย

นอก ถูกรกชัฏหุ้มห่อแล้ว ข้าแต่พระ

โคดม เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถาม

พระองค์ว่า ใครพึงถางรกชัฏนี้ได้.

[๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล

อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มี

ความเพียร มีปัญญารักษาตนรอดภิกษุ

นั้นพึงถางรกชัฏนี้ได้ ราคะก็ดี โทสะก็ดี

อวิชชาก็ดี บุคคลเหล่าใด กำจัดเสียแล้ว

บุคคลเหล่านั้น เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว

เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง

อันบุคคลเหล่านั้นสางเสียแล้ว นามก็ดี

รูปก็ดี และรูปสัญญาก็ดี ย่อมดับหมดใน

ที่ใด ตัณหาเป็นเครื่องยุ่งนั้น ย่อมขาด

ไปในที่นั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

อรรถกถากถาชฏาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในชฏาสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บัณฑิต พึงทราบเนื้อความแห่งคาถาว่า อนฺโตชฏา ดังต่อไปนี้.

บทว่า ชฏา เป็นชื่อของตัณหาเพียงดังข่าย. จริงอยู่ ตัณหานั้นชื่อว่า ชฏา

เพราะอรรถว่าเป็นดุจชัฏ กล่าวคือข่ายแห่งกิ่งไม้ทั้งหลาย มีกิ่งไม้ไผ่เป็นต้น

ด้วยอรรถว่าเกี่ยวประสานกันไว้ เพราะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในอารมณ์

ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ทั้งต่ำและสูง.

ก็ตัณหานี้นั้น เทพบุตรเรียกว่า ชัฏ (แปลว่ารก) ทั้งภายใน ชัฏ

ทั้งภายนอก เพราะเกิดขึ้นในบริขารของตน และบริขารของผู้อื่น ทั้งใน

อัตภาพของตน และอัตภาพของผู้อื่น ทั้งในอายตนะภายในและอายตนะภาย

นอก. หมู่สัตว์ ยุ่งเหยิงแล้วด้วยชัฏ คือ ตัณหานั้นอันเกิดขึ้นอย่างนี้. อธิบายว่า

ต้นไม้ทั้งหลายมีไม้ไผ่เป็นต้น ยุ่งเหยิงแล้วด้วยชัฏคือกิ่งของไม้ทั้งหลายมีไม้ไผ่

เป็นต้น ฉันใด ปชา คือ หมู่สัตว์แม้ทั้งหมดนี้ก็ยุ่งเหยิงแล้วด้วยชัฏคือตัณหา

ถูกตัณหานั้นผูกพันแล้ว ฉันนั้น. ก็เพราะหมู่สัตว์ถูกตัณหาผูกพันแล้วอย่างนี้

ฉะนั้น ข้าพระองค์จึงขอทูลถามพระองค์ว่า ต ต โคตม ปุจฺฉามิ ดังนี้ แปลว่า

ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์. บทว่า โคตม คือ เทวดา

ย่อมเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยพระโคตร. บทว่า โก อิม วิชฏเย ชฏ

แปลว่า ใครพึงถางชัฏนี้ ความว่า เทพบุตรนั้น ทูลถามว่า ใครพึงถาง คือ

ใครสามารถเพื่อจะถางชัฏ (ตัณหา) อันรกรุงรังซึ่งตั้งอยู่ในโลกธาตุทั้ง ๓ นี้ได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาเนื้อความนี้แก่

เทพบุตรนั้น จงตรัสว่า

สีเล ปติฏฺาย นโร สปญฺโ จิตฺต ปญฺญฺจ ภาวย

อาตาปิ นิปโก ภิกฺขุ โส อิม วิชฏเย ชฏ

นรชนผู้มีปัญญา ตั้งมั่นแล้วในศีล

อบรมจิตและปัญญาให้เจริญอยู่ เป็นผู้มี

ความเพียร มีปัญญารักษาตนรอด ภิกษุ

นั้นพึงถางชัฏ (ตัณหา) นี้ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีเล ปติฏฺาย ได้แก่ ตั้งอยู่ในจตุปาริ

สุทธิศีล. ก็ในบทนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อันเทวดาทูลถามถึงชัฏ

คือ ตัณหาที่ผูกพันนระไว้ พระองค์จึงเริ่มคำว่า ศีล มิได้ทูลถามอย่างอื่น ก็มิ

ได้ตรัสอย่างอื่น. เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงศีลในที่นี้ก็เพื่อทรงแสดง

ถึงที่พึ่งของนระผู้ถางชัฏ คือ ตัณหาที่ผูกพันไว้. บทว่า นโร ได้แก่ สัตว์.

บทว่า สปญฺโ ได้แก่ ผู้มีปัญญา โดยปฏิสนธิมาด้วยปัญญาอันเป็นไตรเหตุ

อันเกิดแต่กรรม. บทว่า จิตฺต ปญฺญฺจ ภาวย ได้แก่ ยังสมาธิและ

ปัญญาให้เจริญอยู่. จริงอยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส สมาบัติ ๘ ไว้ด้วย

หัวข้อแห่งจิต ตรัสวิปัสสนาไว้โดยชื่อว่า ปัญญา. บทว่า อาตาปี แปลว่า

มีความเพียร. จริงอยู่ ความเพียร ตรัสเรียกว่า อาตาปะ เพราะอรรถว่าเป็น

เครื่องเผากิเลสทั้งหลายให้เร่าร้อน. ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสของนระนั้น

มีอยู่ เหตุนั้น นระผู้มีความเพียรนั้นจึงชื่อว่า อาตาปี แปลว่า ผู้มีความเพียร

เป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน. ในบทว่า นิปโก นี้ ตรัสเรียกปัญญาว่า เนปกะ.

อธิบายว่า นระผู้ประกอบด้วยปัญญา ชื่อว่า เนปกะนั้น. ทรงแสดงปาริหาริย-

ปัญญา ด้วยบทว่า นิปโก นี้. อธิบายว่า ปัญญาอันเป็นเหตุที่บุคคลพึงบริหาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

ให้สำเร็จกิจทั้งปวง โดยนัยว่า นี้เป็นกาลสมควรเพื่อเรียน (อุเทศ) นี้เป็น

กาลสมควรเพื่อสอบถาม (ปริปุจฉา) เป็นต้น ชื่อว่า ปาริหาริยปัญญา.

ในปัญหาพยากรณ์นี้ ปัญญามา ๓ วาระ. ในปัญญาเหล่านั้น ปัญญา

ที่หนึ่ง ชื่อว่า สชาติปัญญา (ปัญญามีมาพร้อมกับการเกิด) ปัญญาที่สอง ชื่อว่า

วิปัสสนาปัญญา. ปัญญาที่สาม ชื่อว่า ปาริหาริยปัญญา อันเป็นเครื่องนำไปใน

กิจทั้งปวง. บทว่า ภิกฺขุ มีวิเคราะห์ว่า ผู้ใดย่อมเห็นภัยในสงสาร เหตุนั้น

ผู้นั้นจึงชื่อว่า ภิกษุ. บทว่า โส อิม วิชฏเย ชฏ ความว่า ภิกษุนั้น

พึงถางชัฏนี้ได้ ได้แก่ ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายมีสีลาทิคุณ

เป็นต้นเหล่านี้ อธิบายว่า ภิกษุอาศัยแผ่นดินคือศีล แล้วยกศาสตราคือ

วิปัสสนาปัญญาอันตนลับดีแล้วด้วยศิลาคือสมาธิ ด้วยมือคือปาริหาริยปัญญา

อันกำลังคือความเพียร ประดับประคองแล้ว พึงถาง พึงตัด พึงทำลายซึ่งชัฏ

คือตัณหาอันประจำอยู่ในสันดานแห่งตนนั้นแม้ทั้งหมด. เปรียบเหมือนบุรุษ

ผู้ยืนบนแผ่นดินยกศาสตราอันตนลับดีแล้ว พึงถางกอไผ่ใหญ่ ฉะนั้น. พระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้นตรัสเสกขภูมิด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรง

แสดงถึงพระมหาขีณาสพผู้ถางชัฏ (ตัณหา) แล้วดำรงอยู่ จึงตรัสคำว่า

เยส ราโค จ โทโส จ อวิชฺชา จ วิราชิตา

ขีณาสวา อรหนฺโต เตส วิชฺชิตา ชฏา.

ราคะก็ดี โทสะก็ดี อวิชชาก็ดี อัน

บุคคลเหล่าใดกำจัดได้แล้ว บุคคลเหล่า-

นั้นมีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส

ตัณหาเป็นเครื่องยุ่งอันบุคคลเหล่านั้นสาง

ได้แล้ว.

๑. คำว่า ภิกษุ ในที่นี้ท่านไม่ได้อธิบายไว้ (อรรถกถาบาลีหน้า ๖๒)

๒. ผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๖ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๓ อย่าง และวิริยะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงพระขีณาสพผู้ถางซึ่งชัฏคือตัณหา

อย่างนี้แล้วดำรงอยู่ เมื่อจะทรงแสดงโอกาสเป็นเครื่องถางชัฏอีก จึงตรัสคำว่า

ยตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ อเสส อุปรุชฺฌติ

ปฏิฆรูปสญฺา จ เอตฺถ สา ฉิชฺชเต ชฏา.

นามก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญาและรูป

สัญญาก็ดี ย่อมดับไม่เหลือในที่ใด ตัณหา

เป็นเครื่องยุ่งนั้น ย่อมขาดไปในที่นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาม ได้แก่ อรูปขันธ์ ๔. ในบทว่า

ปฏิฆรปสญฺา นี้ ท่านถือเอากามภพด้วยอำนาจแห่งปฎิฆสัญญา ถือเอารูป

ภพด้วยอำนาจแห่งรูปสัญญา. เมื่อภพทั้ง ๒ เหล่านั้นทรงถือเอาแล้ว อรูปภพ

ก็เป็นอันถือเอาแล้วโดยสังเขปแห่งภพนั่นแหละ.

ในบทว่า เอตฺเถสา ฉิชฺชเต ชฏา นี้ แปลว่า ตัณหาเป็นเครื่องยุ่ง

ย่อมขาดไปในที่นั้น คือว่าตัณหาอันเป็นเครื่องยุ่งเหยิงนี้ ย่อมขาดไปในที่เป็น

ที่สิ้นสุดลงแห่งวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ คือว่าอาศัยพระนิพพานแล้วย่อมขาด

ย่อมดับไป ดังนี้ นี้เป็นอรรถอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ดังนี้แล.

จบอรรถกถาชฏาสูตร ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

๔. มโนนิวารณสูตร

[๖๒] เทวดาทูลว่า

บุคคลพึงห้ามใจแต่อารมณ์ใด ๆ

ทุกข์ย่อมไม่มาถึงบุคคลนั้น เพราะอารมณ์

นั้น ๆ บุคคลนั้นพึงห้ามใจแต่อารมณ์

ทั้งปวง บุคคลนั้นย่อมพ้นจากทุกข์เพราะ

อารมณ์ทั้งปวง.

[๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลไม่ควรห้ามใจแต่อารมณ์

ทั้งปวง ที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความสำรวม

บาปย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใด ๆ บุคคลพึง

ห้ามใจแต่อารมณ์นั้น ๆ.

อรรกถามโนนิวารณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมโนนิวารณสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า ยโต ยโต ได้แก่ แต่อารมณ์ที่เป็นบาป หรือว่าเป็นบุญ.

ได้ยินว่า เทดานี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่

เป็นโลกีย์ หรือที่เป็นโลกุตระโดยประการต่าง ๆ มีอารมณ์ที่เป็นกุศลเป็นต้น

บุคคลพึงห้ามใจเท่านั้น คือไม่พึงให้อารมณ์นั้นเกิดขึ้น ดังนี้. คำว่า ส สพฺพ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

โต แก้เป็น โส สพฺพโต แปลว่า บุคคลนั้น. . .แต่อารมณ์ทั้งปวง. ทีนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า เทวดานี้ ย่อมกล่าวถ้อยคำอันเป็นอนิยยานิกะ

(คำไม่นำสัตว์ออกไปจากทุกข์) ธรรมดาว่า ใจ เป็นภาวะที่ควรห้ามก็มี ควร

เจริญก็มี เราจักจำแนกความข้อนั้นแสดงแก่เธอ ดังนี้ จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า

น สพฺพโต มโน นิวารเย มโน ยตตฺตมาคต

ยโต ยโต จ ปาปก ตโต ตโต มโน นิวารเย.

บุคคลไม่ควรห้ามใจแต่อารมณ์ทั้งปวง

ที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความสำรวม บาป

ย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใด ๆ บุคคลพึงห้าม

ใจแต่อารมณ์นั้น ๆ.

บรรดาคำเหล่านั้น คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มโน ยตตฺต-

มาคต ได้แก่ ไม่พึงห้ามใจโดยประการทั้งปวง คือว่า ธรรมอะไรๆที่กล่าว

แล้ว ไม่ควรห้ามใจไปเสียทั้งหมด เพราะว่าธรรมที่เป็นเหตุให้ใจมาสู่ความ

สำรวมอันใด ที่เกิดขึ้นโดยนัยว่า เราจักให้ทาน จักรักษาศีล อันเป็นเหตุนำมา

ซึ่งความสำรวมใจเป็นต้นนี้ บุคคลไม่พึงห้าม ด้วยว่า ข้อนี้เป็นความพอกพูน

เป็นความเจริญโดยแท้. คำว่า ยโต ยโต จ ปาปก ได้แก่ อกุศลย่อมเกิด

แต่ธรรมอะไร ๆ บุคคลพึงห้ามใจเฉพาะธรรมนั้น ๆ ดังนี้แล.

จบอรรถกถามโนนิวารณสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

๕. อรหันตสูตร

[๖๔] ท. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มี

กิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้

ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น

พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลาย

อื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง.

[๖๕] ภ. ภิกษุใดเป็นผู้ไกลจากกิเลส มี

กิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้

ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้น

พึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บาง บุคคลทั้งหลาย

อื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด

ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติ

ที่พูดกัน.

[๖๖] ท. ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ มีกิจ

ทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรง

ไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุนั้นยังติด

มานะหรือหนอ จึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้

บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเรา ดังนี้

บ้าง.

[๖๗] ภ. กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้

มีแก่ภิกษุที่ละมานะเสียแล้ว มานะและ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

คันถะทั้งปวง อันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว

ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาดี ล่วงเสียแล้วซึ่งความ

สำคัญ ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้

บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้บ้าง

ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึง

กล่าวตามที่พูดกัน.

อรรถกถาอรหันตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอรหันตสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า กตาวี แปลว่า มีกิจทำเสร็จแล้ว คือ มีกิจอันมรรค ๔

ทำแล้ว. บทว่า อห วทามิ ความว่า เทวดาผู้อยู่ในไพรสณฑ์นี้นั้น ฟัง

โวหารของพวกภิกษุอยู่ป่าพูดกันว่า เราฉันอาหาร เรานั่ง บาตรของเรา จีวร

ของเรา เป็นต้น จึงคิดว่า เราสำคัญว่าภิกษุเหล่านี้ เป็นพระขีณาสพ ก็แต่

ถ้อยคำอิงอาศัยความเห็นว่าเป็นคนเป็นสัตว์ชื่อเห็นปานนี้ของพระขีณาสพ

ทั้งหลาย มีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้ เพื่อจะทราบความเป็นไปนั้น จึงได้กราบทูล

ถามแล้วอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุใด เป็นผู้ไกลจากกิเลส

มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ภิกษุ

นั้นพึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง บุคคลอื่น ๆ พูดกะเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้น

ฉลาด ทราบคำพูดในโลก พึงกล่าวตามสมมติที่พูดกัน. บทว่า สมญฺ

แปลว่า คำพูด ถือเป็นภาษาของชาวโลก เป็นโวหารของชาวโลก. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

กุสโล แปลว่า ฉลาด คือ ฉลาดในธรรมมีขันธ์เป็นต้น. บทว่า โวหาร-

มตฺเตน แปลว่า กล่าวตามสมมติที่พูดกัน ได้แก่ เมื่อละเว้น ถ้อยคำอัน-

อิงอาศัยความเห็นเป็นคนเป็นสัตว์แล้ว ไม่นำคำที่พูดให้แตกต่างกัน จึงสมควร

ที่จะกล่าวว่า เรา ของเรา ดังนี้ จริงอยู่ เมื่อเขากล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลาย

ย่อมบริโภค ขันธ์ทั้งหลายย่อมนั่ง บาตรของขันธ์ทั้งหลาย จีวรของขันธ์

ทั้งหลาย ดังนี้ ความแตกต่างกันแห่งคำพูดมีอยู่ แต่ใคร ๆ ก็ทราบไม่ได้

เพราะฉะนั้น พระขีณาสพ จึงไม่พูดเช่นนั้น ย่อมพูดไปตามโวหารของชาว

โลกนั่นแหละ.

ลำดับนั้น เทวดาจึงคิดว่า ถ้าภิกษุนี้ไม่พูดด้วยทิฐิ ก็ต้องพูดด้วย

อำนาจแห่งมานะแน่ จึงทูลถามอีกว่า โย โหติ เป็นต้น แปลว่า ภิกษุใด

เป็นพระอรหันต์ มีกิจทำเสร็จแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกาย

อันมีในที่สุด ภิกษุนั้นยังติดนานะหรือหนอ จึงกล่าวว่า เราพูดดังนี้บ้าง

คนอื่น ๆ พูดกะเราดังนี้บ้าง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยังติดมานะหรือ

หนอ ได้แก่ ภิกษุนั้น ยังติดมานะ พึงกล่าวด้วยสามารถแห่งมานะ หรือหนอ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า เทวดานี้ย่อมทำพระ-

ขีณาสพเหมือนบุคคลมีมานะ ดังนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า มานะแม้ทั้ง ๙ อย่าง

พระขีณาสพละได้หมดแล้ว จึงตรัสพระคาถาตอบว่า

กิเลสเป็นเครื่องผูกทั้งหลาย มิได้มี

แก่ภิกษุที่ละมานะเสียแล้ว มานะและ

คันถะทั้งปวงอันภิกษุนั้นกำจัดเสียแล้ว

ภิกษุเป็นผู้มีปัญญาดีล่วงเสียแล้วซึ่งความ

สำคัญตน ภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า เราพูด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

ดังนี้บ้าง บุคคลทั้งหลายอื่นพูดกะเราดังนี้

บ้าง ภิกษุนั้นฉลาด ทราบคำพูดในโลก

พึงกล่าวความสมมติที่พูดกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิธูปิตา แปลว่า กำจัดเสียแล้ว. บทว่า

มานคนฺถสฺส แปลว่า มานะและคันถะ. . .อันภิกษุนั้น. คำว่า สมญฺ

หมายถึง คำพูดที่สำคัญตน. อธิบายว่า พระขีณาสพนั้นเป็นผู้ครอบงำได้แล้ว

คือ ก้าวล่วงแล้วซึ่งความสำคัญตนในตัณหา ทิฏฐิ และมานะ. คำที่เหลือมี

เนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอรหันตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

๖. ปัชโชตสูตร

[๖๘] เทวดากล่าวว่า

โลกย่อมรุ่งเรืองเพราะแสงสว่าง

ทั้งหลายใด แสงสว่างทั้งหลายนั้นย่อมมีอยู่

เท่าไรในโลก ข้าพระองค์ทั้งหลายมาเพื่อ

จะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ไฉนจะรู้จัก

แสงสว่างที่ทูลถามนั้น.

[๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

แสงสว่างทั้งหลายในโลกมีอยู่ ๔

อย่าง แสงสว่างที่ ๕ มิได้มีในโลกนี้

ดวงอาทิตย์สว่างในกลางวัน ดวงจันทร์

สว่างในกลางคืน อนึ่ง ไฟย่อมรุ่งเรืองใน

กลางวันและกลางคืนทุกหนแห่ง พระ-

สัมพุทธเจ้าประเสริฐกว่าแสงสว่างทั้งหลาย

แสงสว่างของพระสัมพุทธเจ้า เป็นแสง-

สว่างอย่างเยี่ยม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

อรรถกถาปัชโชตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัชโชตสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า ปุฏฺ แก้เป็น ปุจฺฉิต แปลว่า เพื่อจะทูลถาม. บทว่า

กถ ชาเนมุ แก้เป็น กถ ชาเนยฺยาม แปลว่า ไฉนข้าพระองค์จักทราบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

แสงสว่างทั้งหลายในโลกมีอยู่ ๔

อย่าง แสงสว่างที่ ๕ มิได้มีในโลกนี้ ดวง-

อาทิตย์สว่างในกลางวัน ดวงจันทร์สว่าง

ในกลางคืน อนึ่ง ไฟย่อมรุ่งเรืองใน

กลางวันและกลางคืนทุกหนแห่ง พระสัม-

มาสัมพุทธเจ้าประเสริฐกว่าแสงสว่างทั้ง-

หลาย แสงสว่างของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เป็นแสงสว่างอย่างเยี่ยม.

บทว่า ทิวารตฺตึ แปลว่า ในกลางวันและกลางคืน. บทว่า ตตฺถ

ตตฺถ แปลว่า ทุกหนแห่ง คือ สว่างไสวในที่นั้น ๆ นั่นแหละ. บทว่า

เอสา อาภา แปลว่า แสงสว่างของพระพุทธเจ้านี้. ถามว่า แสงสว่างของ

พระพุทธเจ้านี้ เป็นไฉน. ตอบว่า แสงสว่างแม้ทั้งปวงเหล่านี้ คือ แสงสว่าง

คือฌานก็ตาม แสงสว่างคือปีติก็ตาม แสงสว่างคือปสาทะก็ตาม แสงสว่างคือ

ธรรมกถาก็ตาม จงยกไว้ แสงสว่างอันเกิดขึ้นเพราะความปรากฏแห่งพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายชื่อว่า แสงสว่างแห่งพระพุทธเจ้า แสงสว่างนี้เท่านั้นยอดเยี่ยม

ประเสริฐสูงสุดกว่าแสงสว่างทั้งหมด ไม่มีแสงสว่างอื่นเทียบได้ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาปัชโชตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

๗. สรสูตร

[๗๐] เทวดากล่าวว่า

สงสารทั้งหลายย่อมกลับแต่ที่ไหน

วัฏฏะย่อมไม่เป็นไปในที่ไหน นามก็ดี

รูปก็ดี ย่อมดับหมดในที่ไหน.

[๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

น้ำ ดิน ไฟ ลม ย่อมไม่ตั้ง

อยู่ในที่ใด สงสารทั้งหลายย่อมกลับแต่ที่นี้

วัฏฏะย่อมไม่เป็นไปในที่นี้ นามก็ดี รูปก็ดี

ย่อมดับหมดในที่นี้.

อรรถกถาสรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสรสูตรที่ ๗ ต่อไป :-

บทว่า กุโต สรา นิวตฺตนฺติ ได้แก่ ความท่องเที่ยวไปในสงสารนี้

ย่อมสิ้นสุดลงแต่ที่ไหน. อธิบายว่า เทวดาย่อมทูลถามว่า สงสารทั้งหลาย

อาศัยอะไร จึงไม่เป็นไป ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดินน้ำไฟลม ย่อมไม่ตั้งอยู่ในที่ใด

สงสารทั้งหลายย่อมสิ้นสุดลงแต่ที่นี้ วัฏฏะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

ย่อมไม่เป็นไปในที่นี้ นามก็ดี รูปก็ดี

ย่อมดับหมดในที่นี้.

บทว่า น คาธติ แปลว่า ไม่ตั้งอยู่. บทว่า อโต แปลว่า

แต่ที่นี้ คือ แต่พระนิพพาน. คำที่เหลือง่ายทั้งสิ้น ดังนี้แล.

จบอรรถกถาสรสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

๘. มหัทธนสูตร

[๗๒] เทวดากล่าวว่า

กษัตริย์ทั้งหลายมีทรัพย์มาก มีสมบัติ

มาก ทั้งมีแว่นแคว้น ไม่รู้จัดพอใน

กามทั้งหลาย ย่อมแข็งขันซึ่งกันและกัน

เมื่อกษัตริย์ทั้งหลายนั้นมัวขวนขวาย ลอย

ไปตามกระแสแห่งภพ บุคคลพวกไหน

ไม่มีความขวนขวาย ละความโกรธและ

ความทะเยอทะยานเสียแล้วในโลก.

[๗๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลทั้งหลาย ละเรือน ละบุตร

ละปศุสัตว์ที่รัก บวชแล้ว กำจัดราคะ

โทสะ และอวิชชาเสียแล้ว เป็นผู้มีอาสวะ

สิ้นแล้ว เป็นผู้ไกลจากกิเลส บุคคล

พวกนั้นเป็นผู้ไม่ขวนขวายในโลก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

อรรถกถามหัทธนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมหัทธนสูตรที่ ๘ ต่อไป :-

บุคคลชื่อว่า มีทรัพย์มาก เพราะอรรถว่า ทรัพย์ของเขาอันเป็น

สาระมีแก้วมุกดาเป็นต้นมีมาก. บุคคลมีโภคะมาก (สมบัติมาก) เพราะอรรถว่า

เขามีมหาโภคะอันเป็นภาชนะที่ทำด้วยทองและเงินเป็นต้นมาก. บทว่า

อญฺญมญฺาภิคิชฺฌนฺติ แปลว่า ย่อมต้องการ ของกันและกัน คือย่อม

ปรารถนา ย่อมริษยาของกันและกัน. บทว่า อนลงฺกตา แปลว่า ไม่รู้จักพอ

คือไม่รู้จักอิ่ม เกิดความอยากไม่สิ้นสุด บทว่า อุสฺสุกฺกชาเตสุ แปลว่า

มีความขวนขวาย คือพยายามเพื่อต้องการสิ่งที่ชอบใจทั้งหลายอันมีรูปเป็นต้น

ที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นในบรรดาสิ่งที่ชอบใจซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ เพื่อต้องการ

เสวยสิ่งที่เกิดขึ้น.

บทว่า ภวโสตานุสาริสุ แปลว่า ลอยไปตามกระแสแห่งภพ ได้แก่

แล่นไป ตามกระแสแห่งวัฎฏะ. บทว่า อนุสฺสุกา แปลว่า ไม่มีความ

ขวนขวาย ได้แก่ เพราะไม่มีสิ่งเบียดเบียน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลทั้งหลายละเรือน ละบุตร

ละปศุสัตว์ที่รัก บวชแล้วกำจัดราคะโทสะ

และอวิชชาเสียแล้ว เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว

เป็นผู้ไกลจากกิเลส บุคคลพวกนั้น เป็น

ผู้ไม่ขวนขวายในโลก.

บทว่า อคาร แปลว่า เรือน ได้แก่ บ้านพร้อมทั้งมาตุคาม.

บทว่า วิราชิยา แปลว่า กำจัดแล้ว ได้แก่ ทำลายแล้ว. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถามหัทธนสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

๙. จตุจักกสูตร

[๗๔] เทวดากล่าวว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้มีความเพียรมาก

สรีระมีจักร ๔ มีทวาร ๙ เต็มด้วยของไม่

สะอาด ประกอบด้วยโลภะ ย่อมเป็นดังว่า

เปือกตม ความออกไป (จากทุกข์) จักมี

ได้อย่างไร.

[๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ตัดความผูกโกรธด้วย กิเลสเป็น

เครื่องร้อยรัดด้วย ความปรารถนาและ

ความโลภอันลามกด้วย ถอนตัณหาอันมี

อวิชชาเป็นมูลเสียแล้วอย่างนี้ ความออก-

ไป (จากทุกข์) จึงจักมีได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

อรรถกถาจตุจักกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจตุจักกสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า จตุจกฺก แปลว่า มีจักร ๔ ได้แก่ อิริยาบถ ๔ เพราะในที่นี้

อิริยาบถท่านเรียกว่าจักร. บทว่า นวทฺวาร แปลว่า ทวาร ๙ ได้แก่ ทวาร

๙ ซึ่งมีปากแผล ๙ แห่ง. บทว่า ปุณฺณ แปลว่า มีอสุจิเต็มแล้ว คือ เต็ม

ไปด้วยของไม่สะอาด. บทว่า โลเภน สยุตฺต แปลว่า ประกอบด้วยโลภะ

คือว่า สัมปยุตด้วยตัณหา. บทว่า กถ ยาตฺรา ภวิสฺสติ นี้เทวดาย่อม

ทูลถามว่า การออกไป (จากทุกข์) แห่งสรีระนี้ เห็นปานนี้ จักมีได้อย่างไร

คือว่า ความพ้น ความพ้นรอบ ความก้าวล่วง อย่างดี จักมีได้อย่างไร ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

เฉตฺวา นทฺธึ วรตฺตญฺจ อิจฺฉาโลภญฺจ ปาปก

สมูล ตณฺห อพฺพุยฺห เอว ยาตฺรา ภวิสฺสติ

ตัดความผูกโกรธด้วย กิเลสเป็น

เครื่องร้อยรัดด้วย ความปรารถนาและ

ความโลภอันลามกด้วย ถอนตัณหาอันมี

อวิชชาเป็นมูลเสียแล้วอย่างนี้ ความออก-

ไป (จากทุกข์) จึงมีได้.

บทว่า นทฺธึ แปลว่า ความผูกโกรธ อธิบายว่า ความโกรธมีก่อน

ภายหลัง ความโกรธมีกำลังเป็นไปแล้วอย่างนี้ จึงชื่อว่า ความผูกโกรธ. บทว่า

วรตฺต แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ได้แก่ ตัดความผูกโกรธ และ

เครื่องร้อยรัด. ชื่อความเกี่ยวข้องกันแห่งตัณหาและทิฏฐิ ท่านกล่าวไว้ใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

คาถาว่า สนฺธาน สหนุกฺกม แต่ในที่นี้ ยกเว้นกิเลสที่ท่านอธิบายไว้ใน

พระบาลีแล้ว กิเลสที่เหลือ พึงทราบว่า เป็นเครื่องร้อยรัด เพราะฉะนั้น

จึงตรัสว่า ตัดกิเลสเป็นเครื่องร้อยรัด ดังนี้. บทว่า อิจฺฉาโลภ นี้พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ธรรมอันหนึ่งนี้แหละ ชื่อว่าโลภะ เพราะอรรถว่า

ปรารถนา เพราะอรรถว่าความอยากและความต้องการ. อีกอย่างหนึ่ง ความอยาก

มีกำลังทรามเกิดขึ้นครั้งแรก ความโลภมีกำลังเกิดขึ้นในเวลาต่อ ๆ มา. อีก

อย่างหนึ่ง ความปรารถนาในวัตถุอันตนยังไม่ได้ ชื่อว่า ความอยาก ความ

ยินดีในวัตถุอันตนได้แล้ว ชื่อว่า ความโลภ. บทว่า สมูล ตณฺห ได้แก่

ตัณหาอันมีมูล โดยมีอวิชชาเป็นมูล. บทว่า อพฺภุยฺห ได้แก่ อันมรรค

ถอนขึ้นแล้ว. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้นแล.

จบจตุจักกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

๑๐. เอณิชังฆสูตร

[๗๖] เทวดากล่าวว่า

พวกข้าพระองค์เข้ามาเฝ้าแล้ว ขอ

ทูลถามพระองค์ผู้มีความเพียร ซูบผอม

มีแข้งดังเนื้อทราย มีอาหารน้อย ไม่มี

ความโลภ เป็นเหมือนราชสีห์และช้างเที่ยว

ไปโดดเดี่ยว ไม่มีห่วงใยในกามทั้งหลาย

บุคคลจะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร.

[๗๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

กามคุณ ๕ มีใจเป็นที่ ๖ บัณฑิต

ประกาศแล้วในโลก บุคคลเลิกความ

พอใจในนามรูปมิได้แล้ว ก็พ้นจากทุกข์

ได้อย่างนี้.

จบเอณิชังฆสูตรที่ ๑๐

จบสัตติวรรค ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

อรรถกถาเอณิชังฆสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเอณิชังฆสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า เอณิชงฺฆ แปลว่า มีพระชงฆ์ (แข้ง) กลมเรียวเรียบ ดัง

แข้งเนื้อทราย. บทว่า กีส ได้แก่ มีพระสรีระสม่ำเสมอ ไม่อ้วน. อีก

อย่างหนึ่ง อธิบายว่า มีพระตจะ (หนึ่ง) มิได้เหี่ยวแห้ง คือ มีพระสรีระงาม

โดยมิต้องพอกพูนด้วยกลิ่นดอกไม้ และเครื่องลูบไล้ทั้งหลาย. บทว่า วีร

แปลว่า มีความเพียร.

บทว่า อปฺปาหาร ได้แก่ มีอาหารน้อย เพราะความเป็นผู้รู้จัก

ประมาณในการเสวยพระกระยาหาร. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีอาหารน้อย เพราะ

มิได้เสวยในเวลาวิกาล. บทว่า อโลลุปฺป แปลว่า ไม่มีความโลภ ได้แก่

ทรงปราศจากความอยากในปัจจัย ๔. อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มีความโลภนี้ คือ

มิได้มีรสตัณหา. บทว่า สีหเวกจร นาค ได้แก่เป็นเหมือนราชสีห์ และช้าง

ตัวประเสริฐเที่ยวไปโดดเดียว. เพราะว่าบุคคลผู้อยู่เป็นหมู่ ย่อมเป็นผู้ประมาท

ผู้เที่ยวไปแต่ผู้เดียว ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท. เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้ไม่

ประมาท ท่านจึงถือเอาว่า ผู้เที่ยวไปผู้เดียวนั่นแหละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ปญฺจ กามคุณา โลเก มโนฉฏฺา ปเวทิตา

เอตฺถ ฉนฺท วิราชิตฺวา เอว ทุกฺขา ปมุจฺจติ.

กามคุณ ๕ มีใจเป็นที่ ๖ บัณฑิต

ประกาศแล้วในโลก บุคคลเลิกความพอใจ

ในนามรูปนี้ได้แล้ว ก็พ้นจากทุกข์ได้

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

บทว่า ปเวทิตา แปลว่า ประกาศแล้ว คือ บอกแล้ว. บทว่า เอตฺถ

แปลว่า ในนามรูปนี้. จริงอยู่ รูปท่านถือเอาด้วยสามารถแห่งกามคุณ ๕ ส่วน

นามท่านถือเอาใจ. ก็แล บัณฑิตควรถือเอานามและรูปทั้งสองโดยไม่แยก

จากกัน แล้วพึงประกอบพื้นฐานในนามและรูปนี้ ด้วยสามารถแห่งธรรมมีขันธ์ ๕

เป็นต้นเถิด.

จบอรรถกถาเอณิชังฆสูตร ที่ ๑๐

จบอรรถกถาสัตติวรรค ที่ ๓

รวมพระสูตรที่กล่าวในสัตติวรรคนั้นมี สัตติสูตร ผุสติสูตร ชฏาสูตร

มโนนิวารณสูตร อรหันตสูตร ปัชโชตสูตร สรสูตร มหัทธนสูตร จตุจักกสูตร

และเอณิชังฆสูตร ครบ ๑๐ สูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

สตุลลปกายิกวรรคที่ ๔

๑. สัพภิสูตร

ว่าด้วยสัตบุรุษ

[๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว

พวกเทวดาสตุลลปกายิกา มากด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันให้

สว่างทั่ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มี

พระภาคเจ้า แล้วจึงยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๙] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ

ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคล

ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว มีแต่

คุณอันประเสริฐ ไม่มีโทษอันลามกเลย.

[๘๐] ลำดับนั้น เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า

บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ

ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคล

ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

ได้ปัญญา หาได้ปัญญาแต่คนอันธพาล

อื่นไม่.

[๘๑] ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า

บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ

ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคล

ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อม

ไม่เศร้าโศก ในท่ามกลางแห่งเรื่องเป็นที่

ตั้งแต่งความเศร้าโศก.

[๘๒] ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า

บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ

ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคล

ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อม

ไพโรจน์ในท่ามกลางแห่งญาติ.

[๘๓] ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า

บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ

ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ สัตว์

ทั้งหลายทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษ

แล้ว ย่อมไปสู่สุคติ.

[๘๔] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ

ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ สัตว์

ทั้งหลายทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษ

แล้ว ย่อมดำรงอยู่สบายเนือง ๆ.

ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต.

[๘๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็น

สุภาษิตโดยปริยาย ก็แต่พวกท่านจงฟังคำของเราบ้าง

บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ

ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคล

ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อม

พ้นจากทุกข์ทั้งปวง.

อรรถกถาสัพภิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัพภิสูตรที่ ๑ แห่งสตุลลปกายิกวรรคที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า สตุลฺลปกายิกา มีวิเคราะห์ว่า เทวดาทั้งหลาย ที่ชื่อว่า

สตุลลปกายิกา เพราะยกย่องด้วยอำนาจแห่งการสมาทานธรรมของสัตบุรุษ

แล้วบังเกิดขึ้นในสวรรค์. ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้

เรื่องผู้เทิดทูนธรรมสัตบุรุษ

ได้ยินว่า ชนจำนวนมากด้วยกันได้ทำการค้าทางทะเล ใช้เรือแล่น

ไปสู่ทะเล. เมื่อเรือแห่งชนเหล่านั้นไปอยู่โดยเร็วปานลูกธนูอันบุคคลซัดไปแล้ว

ในวันที่ ๗ จึงเกิดเหตุร้ายใหญ่ในท่ามกลางทะเล คือ คลื่นใหญ่ตั้งขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

ก็ยังเรือให้เต็มไปด้วยน้ำ. เมื่อเรือกำลังจะจมลง มหาชนจึงนึกถึงชื่อเทวดา

ของตน ๆ แล้วกระทำกิจมีการอ้อนวอนเป็นต้น คร่ำครวญแล้ว.

ในท่ามกลางแห่งชนเหล่านั้น บุรุษคนหนึ่งนึกว่า เราต้องประสบภัย

ร้ายเห็นปานนี้แน่ จึงนึกถึงธรรมของตน เห็นแล้วซึ่งสรณะทั้งหลาย และศีล

ทั้งหลายก็บริสุทธิ์แล้ว จึงนั่งขัดสมาธิ ดุจพระโยคี. พวกชนทั้งหลายจึงถาม

ท่านถึงเหตุอันไม่กลัวนั้น. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตนั้นจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย ใช่แล้ว เราไม่กลัวภัยเห็นปานนี้ เพราะเราถวายทานแก่หมู่แห่งภิกษุ

ในวันที่ขึ้นเรือ เราได้รับสรณะทั้งหลาย และศีลทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น เรา

จึงไม่กลัว ดังนี้. ชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย ก็สรณะและศีลเหล่านี้

สมควรแก่ชนพวกอื่นบ้างหรือไม่. บัณฑิตนั้นตอบว่า ใช่แล้ว ธรรมเหล่านี้

ย่อมสมควรแม้แก่พวกท่าน. ชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ขอท่าน

บัณฑิตจงให้แก่พวกเราบ้าง.

ชนผู้เป็นบัณฑิตนั้น จึงจัดทำพวกมนุษย์เหล่านั้นให้เป็นพวกละรู้อยู่

คน รวมเป็น ๗ พวกด้วยกัน. ต่อจากนั้นก็ให้ศีล ๕. ในบรรดาชน ๗ พวกนั้น

ชนจำนวนร้อยคนพวกแรกตั้งอยู่ในน้ำมีข้อเท้าเป็นประมาณ จึงได้รับศีล.

พวกที่ ๒ ตั้งอยู่ในน้ำมีเข่าเป็นประมาณ... พวกที่ ๓ ตั้งอยู่ในน้ำมีสะเอวเป็น

ประมาณ... พวกที่ ๔ ตั้งอยู่ในน้ำมีสะดือเป็นประมาณ... ชนพวกที่ ๕ ตั้ง

อยู่ในน้ำมีนมเป็นประมาณ. . . พวกที่ ๖ ตั้งอยู่ในน้ำมีคอเป็นประมาณ...

พวกที่ ๗ น้ำทะเลกำลังจะไหล่เข้าปาก จึงได้รับศีล ๕ แล้ว.

ชนผู้เป็นบัณฑิตนั้น ครั้นให้ศีล ๕ แก่ชนเหล่านั้นแล้ว จึงประกาศ

เสียงกึกก้องว่า สิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเฉพาะของพวกท่านไม่มี พวกท่านจงรักษาศีล

เท่านั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

ชนทั้ง ๗๐๐ เหล่านั้น ทำกาละในทะเลนั้นแล้ว ไปบังเกิดขึ้นในภพ

ดาวดึงส์ เพราะอาศัยศีลอันตนรับเอาในเวลาใกล้ตาย. วิมานทั้งหลายของ

เทวดาเหล่านั้นก็เกิดขึ้นเป็นหมู่เดียวกัน. วิมานทองของอาจารย์มีประมาณ

ร้อยโยชน์เกิดในท่ามกลางแห่งวิมานทั้งหมด. เทพที่เหลือเป็นบริวารของเทพ

ที่เป็นอาจารย์นั้น วิมานที่ต่ำกว่าวิมานทั้งหมดนั้น ก็ยังมีประมาณถึง ๑๒ โยชน์.

เทพเหล่านั้น ได้พิจารณาผลกรรมในขณะที่คนเกิดแล้ว ทราบแล้ว

ซึ่งการได้สมบัตินั้น เพราะอาศัยอาจารย์ จึงกล่าวกันว่า พวกเราจักไป พวก

เราจักกล่าวสรรเสริญคุณแห่งอาจารย์ของพวกเราในสำนักแห่งพระทศพล ดังนี้

แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาระหว่างมัชฌิมยาม.

ในบรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดา ๖ องค์ ได้กล่าวคาถาองค์ละหนึ่ง

คาถา เพื่อพรรณนาคุณอาจารย์ของตนด้วยคำว่า

สพฺภิเรว สมาเสถ สพฺภิ กุพฺเพถ สนฺถว

สติ สทฺธมฺมมญฺาย เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.

บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ

ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคล

ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว มีแต่

คุณอันประเสริฐ ไม่มีโทษลามกเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่ สพฺภิ แปลว่า พวกบัณฑิต คือ พวก

สัตบุรุษ. ระอักษรทำหน้าที่สนธิ. บทว่า สมาเสถ แปลว่า ควรนั่งร่วม

ก็คำว่า สมาเสถ นี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนาเท่านั้น. อธิบายว่า พึงสำเร็จ

อิริยาบถทั้งปวง ร่วมกับสัตบุรุษทั้งหลายทีเดียว. บทว่า กุพฺเพถ แปลว่า

ควรทำ. บทว่า สนฺถว แปลว่า ความสนิท ได้แก่ ความสนิทด้วยไมตรี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

แต่ความสนิทด้วยตัณหาอันใคร ๆ ไม่ควรกระทำ. ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสหมายเอาคำว่า บุคคลพึงทำความสนิทไมตรีกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระ-

ปัจเจกพุทธะ และพระสาวกทั้งหลาย ดังนี้. บทว่า สต แปลว่า ของพวก

สัตบุรุษ. บทว่า สทฺธมฺม ได้แก่ สัทธรรมต่าง ๆ มีศีล ๕ ศีล ๑๐ และ

สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น. แต่ในสูตรนี้ ท่านประสงค์เอาศีล ๕. บทว่า เสยฺโย

โหติ แปลว่า มีแต่คุณอันประเสริฐ คือ มีแต่ความเจริญ. บทว่า น ปาปิโย

ได้แก่ ความลามก (ความต่ำช้า) อะไร ๆ ย่อมไม่มี.

ลำดับนั้น เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บุคคล ควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ฯลฯ ย่อมได้ปัญญา หาได้ปัญญาแต่คนอื่น

(คนพาล) ไม่ ดังนี้. บทว่า นาญฺโต แปลว่า หาได้แต่คนอื่นไม่ คือ

ชื่อว่า ปัญญา อันบุคคลย่อมไม่ได้แต่คนอื่นผู้เป็นพาล ดุจน้ำมันงาเป็น

ต้น อันบุคคลไม่พึงได้ด้วย กรวด ทราย เป็นต้น. ก็บุคคลทราบธรรมของ

สัตบุรุษทั้งหลายแล้ว เสพอยู่คบอยู่ซึ่งบัณฑิตเท่านั้นจึงได้ปัญญา ดุจน้ำมันทั้ง

หลาย มีน้ำมันงาเป็นต้น อันบุคคลย่อมไค้ด้วยเม็ดงาเป็นต้น.

ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ฯลฯ ย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางแห่ง

เรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศก ดังนี้. บทว่า โสกมชฺเฌ อธิบายว่า

บุคคลผู้ไปแล้วในท่ามกลางแห่งเรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศก หรือว่า

ไปแล้วในท่ามกลางแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีความเศร้าโศก เหมือนอุบาสิกา

(มัลลิกา) ของพันธุลเสนาบดี และเหมือนสังกิจจสามเณรผู้เป็นสัทธิวิหาริก

ของพระธรรมเสนาบดี ผู้ไปในท่ามกลางแห่งโจร ๕๐๐ ย่อมไม่เศร้าโศก.

ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ฯลฯ ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางแห่งญาติ

ดังนี้. บทว่า าติมชฺเฌ วิโรจติ แปลว่า ย่อมไพโรจน์ ในท่ามกลางแห่งหมู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

ญาติ คือว่า ย่อมงามดุจสามเณร ชื่อว่า อธิมุตตกะ ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของ

พระสังกิจจเถระ

เรื่อง อธิมุตตกะสามเณร

ได้ยินว่า สามเณรนั้นเป็นหลานของพระสังกิจจเถระนั้น. ในกาลครั้ง

นั้น พระเถระกล่าวกะสามเณรว่า ดูก่อนสามเณร เธอเป็นผู้ใหญ่แล้ว เธอจง

ไปถามถึงอายุของเธอแล้วจงมา เราจักอุปสมบทให้ ดังนี้ สามเณรรับคำว่า

ดีแล้วขอรับ ไหว้พระเถระแล้วถือบาตรและจีวรไปบ้านน้องหญิง ซึ่งตั้งอยู่

ใกล้ดงอันเป็นที่อาศัยอยู่ของพวกโจร แล้วก็เที่ยวไปบิณฑบาต. น้องหญิง

เห็นท่านแล้วไหว้แล้ว จึงนิมนต์ให้ไปนั่งในบ้านให้ฉันภัตตาหารแล้ว. สามเณร

ทำภัตกิจเสร็จแล้ว จึงถามถึงอายุของตน. นางตอบว่า ดิฉันไม่ทราบ แม่

ย่อมทราบ. สามเณรกล่าวว่า ท่านจงอยู่ที่นี่ เราจักไปบ้านโยมมารดา แล้วก็

ก้าวเข้าไปสู่ดง. บุรุษผู้เป็นโจรเห็นสามเณรแต่ไกล จึงส่งสัญญาณแก่พวกโจร.

พวกโจรให้สัญญาณด้วยคำว่า ได้ยินว่า สามเณรองค์หนึ่ง หยั่งลงสู่ดง พวก

เธอจงไปนำสามเณรนั้นมา ดังนี้. โจรบางพวกกล่าวว่า เราจักฆ่า บางพวก

กล่าวว่า เราจักปล่อย. แม้สามเณรก็คิดว่าเราเป็นพระเสกขะ มีกิจที่ควรทำ

แก่ตนอยู่ เราปรึกษากับพวกโจรเหล่านี้แล้ว จักทำความสวัสดีเป็นประมาณ

จึงเรียกหัวหน้าโจรมา กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราจักทำความอุปมา

(ความเปรียบเทียบ) แก่ท่าน ดังนี้ แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ในอดีตกาลอันยาวนาน ที่หมู่ไม้ใน

ดงใหญ่ เสือดาวตัวหนึ่งเที่ยวดักเหยื่อตาม

ทางโค้ง ในกาลนั้น มันได้ฆ่าจัมปกะเสีย

แล้ว เนื้อและนกทั้งหลายเห็นจัมปกะตาย

แล้ว ตกใจกลัว พากันหลบหลีกไปใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

เวลาราตรี จึงไม่เกิดประโยชน์แก่มัน ฉัน

ใด ท่านฆ่าสมณะชื่อ อธิมุตตกะ ผู้ไม่มี

กิเลสเป็นเครื่องกังวลใจก็เหมือนกันนั่น

แหละ ชนทั้งหลายผู้เดินทางจักไม่มา

พวกท่านก็จักขาดทรัพย์ สมณะชื่อว่า

อธิมุตตกะ ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลใจ

กล่าวคำจริงแท้ ชนทั้งหลายผู้เดินทางจัก

ไม่มา ความเสื่อมแห่งทรัพย์จักมี.

นายโจรกล่าวว่า

ถ้าท่านเห็นคนเดินทางสวนมาแล้ว

จักไม่บอกแก่ใคร ๆ ข้าแต่ท่านผู้เจริญเมื่อ

ท่านตามรักษาสัจจะนี้ได้ ก็จงไปตามสบาย

เถิด.

สามเณรนั้น ผู้อันพวกโจรเหล่านั้นปล่อยอยู่ ไปอยู่ แม้เห็นญาติทั้ง

หลายก็มิได้บอก ที่นั้นเมื่อญาติของสามเณรนั้นมาถึงแล้ว พวกโจรก็ช่วยกัน

จับแล้วทรมานอยู่ พวกโจรได้กล่าวกะมารดาของสามเณรซึ่งนางกำลังเสียใจ

ประหารอกคร่ำครวญอยู่ว่า

อธิมุตตกะ จักถามท่านว่า อธิมุตตกะ

บัดนี้มีกาลฝนเท่าไร แม่กระผมถามแล้ว

ขอจงบอก พวกเราจักรู้ได้อย่างไร.

มารดาของอธิมุตตกะกล่าวกะพวกโจรว่า

เรานี้แหละเป็นมารดาของอธิมุตตกะ

ผู้นี้แหละเป็นบิดา ผู้นี้เป็นน้องหญิง ผู้นี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

เป็นพี่ชายน้องชาย ชนทั้งหมดในที่นี้

เป็นญาติของอธิมุตตกะ. อธิมุตตกะมีปกติ

ทำกิจอันไม่สมควรเลย เห็นญาติคนใดมา

แล้วก็ไม่ห้าม ข้อนี้เป็นวัตรปฏิบัติของ

สมณะทั้งหลายผู้เป็นพระอริยะ ผู้มีธรรม

เป็นชีวิตหรือหนอ.

นายโจรกล่าวว่า

อธิมุตตกะมีปกติกล่าวคำจริง เห็น

ญาติคนใดแล้วก็ไม่ห้าม เพราะความ

ประพฤติความดีของอธิมุตตกะ ผู้เป็นภิกษุ

ผู้มีปกติกล่าวคำจริง. ชนทั้งหมดผู้เป็น

ญาติของอธิมุตตะปลอดภัยแล้ว ขอจง

ไปสู่ความสวัสดีเถิด.

ญาติเหล่านั้น ผู้อันโจรทั้งหลายปล่อยตัวแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ไป

แล้วกล่าวกะอธิมุตตกะว่า

พ่อชนทั้งหมดปลอดภัยแล้ว กลับมาสู่ความสวัสดี เพราะความประพฤติ

ดีของท่านผู้เป็นภิกษุ ผู้กล่าววาจาสัตย์.

พวกโจรทั้งห้าร้อยเลื่อมใสแล้ว จึงขอบวชในสำนักของสามเณรชื่อ

อธิมุตตกะ. สามเณรจึงพาศิษย์เหล่านั้นไปสู่สำนักพระอุปัชฌาย์ แล้วตนก็

อุปสมบทก่อน ภายหลังจึงทำการอุปสมบทให้อันเตวาสิกของตน มีประมาณ

ห้าร้อยเหล่านั้น. อันเตวาสิกทั้งหมดเหล่านั้น ตั้งอยู่ในโอวาทของ อธิมุตตกะ

เถระแล้วก็บรรลุซึ่งพระอรหัตมีผลอันเลิศ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

เทวดา ถือเอาความข้อนี้แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สต

สทฺธมฺมมญฺาย าติมชฺเฌ วิโรจติ แปลว่า บุคคล รู้สัทธรรมของพวก

สัตบุรุษแล้ว ย่อมไพโรจน์ ในท่ามกลางแห่งญาติ ดังนี้.

ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ ฯลฯ ย่อมดำรงอยู่สบายเนือง ๆ.

คำว่า สาตต นี้ แปลว่า เนือง ๆ คือ เทวดาย่อมกล่าวว่า ชนทั้งหลาย

ย่อมดำรงอยู่สบายเนือง ๆ หรือว่า มีความสุขอันยั่งยืน.

ลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีกได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแด่พระผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดย

ปริยาย ก็แต่พวกท่านจงฟังคำของเราบ้างว่า

บุคคล ควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ

ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคล

ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อม

พ้นจากทุกข์ทั้งปวง.

บทว่า สพฺพาส โว แปลว่า ของพวกท่านทั้งหมด. บทว่า ปริยา-

เยน ได้แก่ โดยการณะ. บทว่า สพฺพทุกฺขา ปมุญฺจติ แปลว่า ย่อม

พ้นจากทุกข์ทั้งปวง อธิบายว่า ไม่ใช่มีเหตุแต่คุณอันประเสริฐแต่อย่างเดียว

เท่านั้น ย่อมไม่ได้ปัญญาเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางแห่ง

เรื่องเป็นที่ตั้งแห่งความโศกเพียงอย่างเดียว ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางแห่งญาติ...

ย่อมเกิดในสุคติ. . . ย่อมดำรงอยู่สบายสิ้นกาลนานเพียงอย่างเดียว ก็บุคคลนั้น

แล ย่อมพ้นแม้จากวัฏทุกข์ทั้งสิ้น ดังนี้แล.

จบอรรถกถาสัพภิสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

๒. มัจฉริสูตร

ว่าด้วยเหตุที่ให้ทานไม่ได้

[๘๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยาม

ล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามากด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหาร

เชตวันทั้งสิ้นไปสว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท

พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๘๗] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

เพราะความตระหนี่ และความประ-

มาทอย่างนี้ บุคคลจึงให้ทานไม่ได้ บุคคล

ผู้หวังบุญ รู้แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้.

[๘๘] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ใน

สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

คนตระหนี่กลัวภัยใดย่อมให้ทานไม่-

ได้ ภัยนั้นนั่นแลย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่

ให้ทาน คนตระหนี่ย่อมกลัวความหิวและ

ความกระหายใด ความหิวและความกระ-

หายนั้นย่อมถูกต้องคนตระหนี่นั้นนั่นแลผู้

เป็นพาลทั้งในโลกนี้ และในโลกหน้า ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

บุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็น

สนิมในใจ ให้ทานเถิด เพราะบุญทั้งหลาย

ย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ ทั้งหลายในโลกหน้า.

[๘๙] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ใน

สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ชนทั้งหลายเหล่าใด เมื่อของมีน้อย

ก็แบ่งให้ เหมือนพวกเดินทางไกลก็แบ่ง

ของให้แก่พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนทั้ง-

หลายเหล่านั้น เมื่อบุคคลทั้งหลายเหล่าอื่น

ตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย ธรรมนี้เป็น

ของบัณฑิตแต่ปางก่อน ชนพวกหนึ่งเมื่อ

ของมีน้อยก็แบ่งให้ ชนพวกหนึ่งมีของมาก

ก็ไม่ให้ ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย นับเสมอ

ด้วยพัน.

[๙๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ทาน พวกพาลชนเมื่อให้ ให้ได้ยาก

กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ ทำได้ยาก

พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตาม ธรรมของ

สัตบุรุษ อันพวกอสัตบุรุษดำเนินตามได้

แสนยาก เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้

ของพวกสัตบุรุษและของพวกอสัตบุรุษจึง

ต่างกัน พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวก

สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ดำเนินไปสู่สวรรค์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต.

[๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิต

โดยปริยาย ก็แต่พวกท่านจงพึงคำของเราบ้าง

บุคคลแม้ใด พึงประพฤติธรรม

ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภริยา และ

เมื่อของมีน้อยก็ไห้ได้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง

บูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์พัน-

กหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น

ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น.

[๙๒] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยคาถาว่า

การบูชาอันไพบูลย์ใหญ่โตนี้ ย่อม

ไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่บุคคลให้ด้วย

ความประพฤติธรรม เพราะเหตุอะไร เมื่อ

บุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริ-

จาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษ

เหล่านั้นย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคล

อย่างนั้น.

[๙๓] ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าไค้ตรัสกะเทวดานั้นด้วย

พระคาถาว่า

บุคคลเหล่าหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรรม

ปราศจากความสงบ (ปราศจากธรรม)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

โบยเขา ฆ่าเขา ทำให้เขาเศร้าโศกแล้ว

ให้ทาน ทานนั้นจัดว่าทานมีหน้านองด้วย

น้ำตา จัดว่าทานเป็นไปกับด้วยอาชญา

จึงย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่ให้ด้วย

ความสงบ (ประพฤติธรรม) เมื่อบุรุษ

แสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาค

ทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุรุษ

เหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคล

อย่างนั้น โดยนัยอย่างนี้.

อรรถกถามัจฉริสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมัจฉริสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า มจฺเฉรา จ ปมาทา จ แปลว่า เพราะความตระหนี่และ

ความประมาท ได้แก่ เพราะความตระหนัก อันมีการปกปิดซึ่งสมบัติของตนไว้

เป็นลักษณะ และเพราะความประมาท อันมีการอยู่ปราศจากสติเป็นลักษณะ.

จริงอยู่ บางคน คิดว่า เมื่อเราให้สิ่งนี้ สิ่งนี้ก็จักหมดไป วัตถุของเรา หรือ

วัตถุอันเป็นของมีอยู่ในบ้านก็จักไม่มี ดังนี้ ชื่อว่า ไม่ให้ทานเพราะความ

ตระหนี่. บางคน แม้จะเพียงยังจิตให้เกิดขึ้นว่า เราควรให้ทาน ดังนี้ ก็ไม่มี

เพราะความที่ตนเป็นผู้ขวนขวายในการเล่นเป็นต้น นี้ชื่อว่า ไม่ให้ทานเพราะ

ความประมาท.

ข้อว่า เอว ทาน น ทียติ แปลว่า อย่างนี้ บุคคลจึงให้ทาน

ไม่ได้ อธิบายว่า ธรรมดาว่า ทานนี้อันเป็นเหตุนำมาให้ซึ่งยศ ให้ซึ่งสิริ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

ให้ซึ่งสมบัติ เห็นปานนี้ บุคคลก็ยังให้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวถึง

เหตุแห่งการไม่ให้เพราะความตระหนี่เป็นต้น. บทว่า ปุญฺ อากงฺขมาเนน

แปลว่า บุคคลผู้หวังบุญ คือ ผู้ปรารถนาบุญอันต่างด้วยเจตนามีบุพเจตนา

เป็นต้น. ในคำว่า เทยฺย โหติ วิชานตา แปลว่า รู้แจ้งอยู่ จึงให้ทานนั้น

เทวดากล่าวว่าบุคคลรู้แจ้งว่า ผลของทานมีอยู่ ดังนี้ จึงให้ทาน.

ลำดับนั้น เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายในสำนักพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า

คนตระหนี่กลัวภัยใดย่อมไม่ให้ทาน

ภัยนั้นนั่นแลย่อมมีแก่คนตระหนี่ผู้ไม่ให้

ทาน คนตระหนี่กลัวความหิว และความ

กระหายใด ความหิวและความกระหายนั้น

ย่อมถูกต้อง คนตระหนี่นั้นนั่นแหละผู้เป็น

พาลทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ฉะนั้น

บุคคลควรกำจัดความตระหนี่อันเป็นสนิม-

ในใจ (มลทิน) ให้ทานเถิด เพราะบุญ

ทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายใน

โลกหน้า.

บทว่า ตเมว พล ผุสติ อธิบายว่า ความหิวและความกระหาย

ย่อมถูกต้อง คือย่อมติดตาม ย่อมไม่ละบุคคลผู้เป็นพาลนั้นนั่นแหละทั้งใน

โลกนี้และโลกหน้า. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ ก็เพราะความหิวและความกระหาย

ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เป็นพาลนี้นั่นแหละ. บทว่า วิเนยฺย มจฺเฉร แปลว่า

บุคคลควรกำจัดความตระหนี่ ได้แก่นำความตระหนี่อันเป็นมลทินออก. บทว่า

ทชฺชา ทาน มลาภิภู อธิบายว่า บุคคลผู้กำจัดมลทิน ครั้นกำจัดมลทิน คือ

ความตระหนี่นั้นแล้ว จึงให้ทานได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายในสำนักพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า

ชนเหล่าใด เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้

เหมือนพวกเดินทางไกลแบ่งของให้แก่

พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนเหล่านั้น เมื่อ

บุคคลเหล่าอื่นตายแล้ว ชื่อว่าย่อมไม่ตาย

ธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่ปางก่อน ชน

พวกหนึ่ง เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ ชน

พวกหนึ่งแม้ของมีมากก็ไม่ให้ ทักษิณา

(ของทำบุญ) ที่ให้แต่ของน้อยนับเสมอ

ด้วยพัน.

บทว่า เต มเตสุ น มิยฺยนฺติ ความว่า บุคคลเหล่านั้น เมื่อบุคคล

อื่นตายแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ตาย เพราะความตายคือความเป็นผู้มีปกติไม่ให้ทาน

เหมือนอย่างว่า บุคคลผู้ตายแล้ว เมื่อบุคคลอื่นนำสิ่งของทั้งหลายมีข้าวและน้ำ

เป็นต้นแม้มาก มาวางแวดล้อมแล้วบอกว่า สิ่งนี้จงเป็นของผู้นี้ สิ่งนี้จงเป็น

ของผู้นี้ ดังนี้ บุคคลผู้ตายแล้วเหล่านั้นก็ไม่สามารถลุกขึ้นมารับการแจกจ่ายได้

ฉันใด แม้บุคคลผู้ไม่ให้ทานก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น โภคะทั้งหลายของ

ผู้ตายแล้ว และของผู้มีปกติไม่ให้ทานจึงชื่อว่าเสมอ ๆ กัน ด้วยเหตุนั้นแหละ

บุคคลผู้มีปกติให้ทาน เมื่อชนทั้งหลายเห็นปานนี้ตายแล้ว ชื่อว่า ย่อมไม่ตาย.

บทว่า อทฺธานว สหาวชฺช อปฺปสฺสึ เย ปเวจฺฉนฺติ อธิบายว่า

คนทั้งหลายผู้เดินทางไกลกันดารร่วมกันเมื่อเสบียงมีน้อย บุคคลผู้เดินทาง

ร่วมกันก็แบ่ง คือย่อมให้ทานนั่นแหละแก่บุคคลผู้เดินทางร่วมกัน ฉันใด ข้อนี้

ก็ฉันนั้นแล คนเหล่าใด เดินทางร่วมกันไปสู่ทางกันดาร คือสงสารอันมีเบื้องต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

และที่สุดที่บุคคลรู้ไม่ได้ ครั้นเมื่อวัตถุที่พึงให้แม้มีน้อย ก็แบ่งของให้ได้

ชนเหล่านั้น ครั้นเมื่อชนอื่นตายแล้ว จึงชื่อว่า ย่อมไม่ตาย. บทว่า เอส

ธมฺโม สนนฺตโน อธิบายว่า ธรรมนี้เป็นของโบราณ อีกอย่างหนึ่ง ธรรม

นี้เป็นของบัณฑิตเก่า. บทว่า อปฺปสฺเมเก เเปลว่า ชนพวกหนึ่งเมื่อของ

มีน้อย. บทว่า ปเวจฺฉนฺติ แก้เป็น ททนฺติ แปลว่า ย่อมให้. บทว่า

พหุเนเก น ทิจฺฉเร แปลว่า ชนพวกหนึ่งมีของมากก็ไม่ให้ คือว่า ชน

บางพวกแม้มีโภคะมากมาย ก็ย่อมไม่ให้. บทว่า สหสฺเสน สม มิตา แปลว่า

นับเสมอด้วยพัน คือ ย่อมเป็นเช่นกับทานพันหนึ่ง.

ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคาถาทั้งหลายในสำนักพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า

ทาน พวกพาลชนเมื่อให้ ให้ได้ยาก

กุศลธรรม พวกพาลชนเมื่อทำ ทำได้ยาก

พวกอสัตบุรุษย่อมไม่ทำตาม ธรรมของ

สัตบุรุษอันพวกอสัตบุรุษดำเนินตามได้ยาก

เพราะฉะนั้น การไปจากโลกนี้ของพวก

สัตบุรุษและพวกอสัตบุรุษ จึงต่างกัน

พวกอสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก พวกสัตบุรุษ

ย่อมเป็นผู้ดำเนินไปสู่สวรรค์.

บทว่า ทุรนฺวโย แปลว่า ดำเนินตามได้ยาก คือ เข้าถึงได้โดยยาก

อธิบายว่า ให้เต็มได้ยาก. ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กราบทูลกะพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต

ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยปริยาย

ก็แต่พวกท่านจงฟังคำของเราบ้างว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

บุคคลแม้ใด ย่อมประพฤติธรรม

ประพฤติสะอาด เป็นผู้เลี้ยงภรรยา และ

เมื่อของมีน้อยก็ให้ได้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง

บูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาคทรัพย์

พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น

ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของบุคคลอย่างนั้น.

บทว่า ธมฺม จเร ได้แก่ ย่อมประพฤติธรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐

บทว่า โยปิ สมุญฺชก จเร แปลว่า บุคคลแม้ใด ย่อมประพฤติสะอาด

ได้แก่ พระพฤติให้สะอาดด้วยสามารถแห่งการชำระล้างความชั่วทั่ว ๆ ไปตั้ง

แต่ต้น และด้วยสามารถแห่งการย่ำยี ดุจการนวดฟางข้าวเป็นต้น. บทว่า

ทาร จ โปส แก้เป็น ทาร จ โปเสนฺโต แปลว่า เลี้ยงดูภรรยา. บทว่า

ทท อปฺปกสฺมึ แปลว่า เมื่อของมีน้อยก็ให้ได้ ได้แก่ บุคคลใด แม้สัก

ว่ามีใบไม้และผักเป็นต้น มีน้อยก็ทำการแบ่งให้ได้นั่นแหละ บุคคลนั้น ชื่อว่า

ย่อมพระพฤติธรรม. บทว่า สตสหสฺสาน แปลว่า เมื่อบุรุษแสนหนึ่ง คือ

บุรุษที่ท่านแบ่งออกเป็นพวกละพัน ๆ นับได้เป็นร้อย จึงชื่อว่า บุรุษแสนหนึ่ง.

บทว่า สหสฺสยาคิน แปลว่า บูชาภิกษุพันหนึ่ง มีวิเคราะห์ว่า

ชื่อว่า การบูชาพันหนึ่ง เพราะอรรถว่า การบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือว่าการ

บูชาอันเกิดแต่การบริจาคทรัพย์พันกหาปณะ. การบูชาพันหนึ่งนั้น มีอยู่แก่

ภิกษุนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้น จึงชื่อว่ามีการบูชาพันหนึ่ง. ด้วยบทว่า บุรุษ

แสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่งนั้น ย่อมเป็นอันแสดงถึง บิณฑบาตสิบโกฏิ*

หรือว่าสิบโกฏิแห่งกหาปณะ ตรัสว่า บุคคลเหล่าใด ย่อมให้ของมีประมาณ

เท่านี้ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ถึงค่าแม้ส่วนร้อย ของบุคคลอย่างนั้น. บุคคลนี้

๑. คำว่า สิบโกฏินี้ หมายเอาส่วนที่ให้ผลเป็นพันส่วน แล้วคูณด้วยบุรุษแสนหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

ใดเมื่อพระพฤติธรรม ย่อมประพฤติสะอาด เลี้ยงดูภรรยา แม้ของมีน้อย

ก็ยังให้ได้ การบูชาภิกษุพันหนึ่งนั้น ย่อมไม่ถึงค่าแม้ส่วนร้อยของบุคคลผู้

ประพฤติธรรมนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ทานอันใด สักว่าของผู้คุ้นเคยกันเพียงคนหนึ่งก็ดี สัก

ว่าเป็นสลากภัตก็ดี อันบุคคลผู้ยากจนให้แล้ว ทานทั้งหลายของบุคคลเหล่านั้น

แม้ทั้งหมด* ย่อมไม่ถึงค่าส่วนร้อยของทานอันผู้ยากจนให้แล้ว.

ชื่อว่า กล แปลว่า ส่วนหนึ่งนั้น แบ่งออกเป็น ๑๖ ส่วนบ้าง เป็น ๑๐๐

ส่วนบ้างเป็น ๑,๐๐๐ ส่วนบ้างในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาส่วนแห่งร้อย

ตรัสว่า ทานอันใด อันผู้ยากจนนั้นให้แล้ว ในเพราะทานนั้น ท่านจำแนกแล้ว

ร้อยส่วน การให้บิณฑบาตโดยรวมตั้งสิบโกฏิของบุคคลนี้ ก็ไม่ถึงค่าแม้ส่วน

หนึ่งแห่งทาน อันผู้ยากจนนั้นให้แล้ว.

เมื่อพระตถาคต ทรงทำอยู่ซึ่งทานอันหาค่ามิได้อย่างนี้แล้ว เทวดา

ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ใกล้ จึงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังมหาทานอย่างนี้ให้เป็นไป

ด้วยคาถาบาทหนึ่ง ดุจเอาวัตถุอันประกอบไปด้วยรัตนะตั้งร้อยใส่เข้าไปในนรก

ซัดไปซึ่งทานอันมากอย่างนี้ว่า มีประมาณนิดหน่อยอย่างนี้ ดุจประหารอยู่ซึ่ง

มณฑลแห่งพระจันทร์ จึงกล่าวคาถาว่า

การบูชาอันไพบูลยนี้ อันใหญ่โตนี้

ย่อมไม่เท่าถึงส่วนแห่งทานที่บุคคลให้

ด้วยความประพฤติธรรม เพราะเหตุไร

เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือ

บริจาคทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของ

๑. ทานทั้งหมดนี้ หมายเอาทานที่บุรุษแสนหนึ่ง บูชาภิกษุพันหนึ่งด้วย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

บุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อยของ

บุคคลอย่างนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกน แปลว่า เพราะเหตุไร. บทว่า

มหคฺคโต แปลว่าใหญ่โต นี้เป็นคำไวพจน์ของคำว่า ไพบูลย์. สองบทว่า

สเมน ทินฺนสฺส แปลว่า แห่งทานที่บุคคลให้ด้วยความประพฤติ. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกทานแสดงแก่เทวดานั้น จึงตรัสว่า

ททนฺติ เหเก วิสเม นิวิฏฺา

ฆตฺวา วธิตฺวา อถ โสจยิตฺวา

สา ทกฺขิณา อสฺสุมุขา สทณฺฑา

สเมน ทินฺนสฺส น อคฺฆเม.

บุคคลเหล่าหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรรม

ปราศจากความสงบ โบยเขา ฆ่าเขา ทำ

ให้เขาเศร้าโศกแล้วให้ทาน ทานนั้นจัดว่า

ทานมีหน้าอันนองด้วยน้ำตา จัดว่าทาน

เป็นไปกับด้วยอาชญา จึงไม่เท่าถึงส่วน

แห่งทานที่ให้ด้วยความสงบ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสเม นิวิฏฺา แปลว่า ตั้งมั่นในกรรมอัน

ปราศจากความสงบ ได้แก่ตั้งมั่นในกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมอันหา

ความสงบมิได้. บทว่า ฆตฺวา แก้เป็น โปเถตฺวา แปลว่า โบยแล้ว. บทว่า

วธิตฺวา แปลว่า ฆ่าแล้ว คือ ทำให้ตาย. บทว่า อสฺสุมุขา แปลว่า มี

หน้านองด้วยน้ำตา จริงอยู่ ทานที่ทำให้ผู้อื่นร้องไห้แล้วให้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ทานมีหน้านองด้วยน้ำตา. บทว่า สทณฺฑา แปลว่า เป็นไปกับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

ด้วยอาชญา. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทักษิณาที่บุคคลคุกคามผู้อื่นแล้ว

ประหารแล้วให้ เรียกว่า ทักษิณาเป็นไปกับด้วยอาชญา.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้ อย่างนี้ว่า เราไม่

อาจเพื่อถือเอามหาทานแล้วทำให้ชื่อว่ามีผลน้อย หรือ ทานอันน้อย ทำให้มี

ชื่อว่า มีผลมาก เพราะความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แต่มหาทานนี้ ชื่อ

ว่ามีผลน้อยอย่างนี้ เพราะความไม่บริสุทธิ์เกิดขึ้นแก่ตน ทานน้อยนี้ ชื่อว่ามี

ผลมากอย่างนี้ เพราะความบริสุทธิ์เกิดขึ้นแก่ตน ดังนี้ จึงตรัสคำว่า

โดยนัยอย่างนี้ เมื่อบุรุษแสนหนึ่งบูชาภิกษุพันหนึ่ง หรือบริจาค

ทรัพย์พันกหาปณะ การบูชาของบุคคลเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงส่วนร้อย

ของบุคคลอย่างนั้นดังนี้.

จบอรรถกถามัจฉริสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

๓. สาธุสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์การให้ทาน

[๙๔] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกา

มากด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้

มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงได้ยืน

อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๙๕] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จได้แล เพราะความ

ตระหนี่และความประมาทอย่างนี้ บุคคล

จึงให้ทานไม่ได้ อันบุคคลผู้หวังบุญ รู้

แจ้งอยู่ พึงให้ทานได้.

[๙๖] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ไค้เปล่งอุทานนี้ในสำนักของ-

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จได้แล อนึ่ง แม้เมื่อ

ของมีอยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

ได้ บุคคลพวกหนึ่ง เมื่อของมีน้อย ย่อม

แบ่งให้ได้ บุคคลพวกหนึ่ง มีของมากก็

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

ให้ไม่ได้ ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย ก็นับ

เสมอด้วยพัน.

[๙๗] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมีอยู่

น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ อนึ่ง

ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้

สำเร็จได้ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า

ทานและการรบเสมอกัน พวกวีรบุรุษแม้มี

น้อย ย่อมชนะคนขลาดที่มีมากได้ ถ้าบุคคล

เชื่ออยู่ย่อมให้สิ่งของแม้น้อยได้ เพราะ

ฉะนั้นแล ทายกนั้นย่อมเป็นผู้มีความสุข

ในโลกหน้า.

[๙๘] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้

มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมีอยู่

น้อย การให้ทานได้เป็นการดี อนึ่ง ทาน

ที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

ได้ อนึ่ง ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอัน

ได้แล้ว ยิ่งเป็นการดี บุคคลใดเกิดมา

ย่อมให้ทานแก่ผู้มีธรรมอันได้แล้ว ผู้มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

ธรรมอันบรรลุแล้วด้วยความหมั่นและ

ความเพียร บุคคลนั้นล่วงพ้นนรกแห่ง

ยมราช ย่อมเข้าถึงสถานอันเป็นทิพย์.

[๙๙] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อทานมีอยู่

น้อย การให้ทานได้เป็นการดี ทานที่ให้

แม้ด้วยศรัทธาก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้

ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว ยิ่ง

เป็นการดี อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่ง

เป็นการดี ทานที่เลือกให้ พระสุคตทรง

สรรเสริญแล้ว บุคคลทั้งหลายผู้ควรแก่

ทักษิณา ย่อมมีอยู่ในโลกคือหมู่สัตว์นี้

ทานทั้งหลาย อันบุคคลให้แล้วในบุคคล

ทั้งหลายนั้น ย่อมมีผลมาก เหมือนพืชทั้ง

หลายที่บุคคลหว่านแล้วในนาดี.

[๑๐๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมีอยู่

น้อย การให้ทานได้เป็นการดี ทานที่ให้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

แม้ด้วยศรัทธาก็ให้ประโยชน์สำเร็จได้

ทานที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้วยิ่ง

เป็นการดี อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่ง

เป็นการดี อนึ่ง ความสำรวมแม้ในสัตว์

ทั้งหลายยิ่งเป็นการดี

บุคคลใดประพฤติเป็นผู้ไม่เบียด

เบียนสัตว์ทั้งหลายอยู่ ไม่ทำบาป เพราะ

กลัวความติเตียนแห่งผู้อื่น บัณฑิตทั้ง

หลายย่อมสรรเสริญบุคคล ซึ่งเป็นผู้กลัว

บาป แต่ไม่สรรเสริญบุคคลผู้กล้าในการ

ทำบาปนั้น สัตบุรุษทั้งหลายย่อมไม่ทำ

บาปเพราะความกลัวบาปแท้จริง.

ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้กล่าวคำนี้ กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า คำของใครหนอแลเป็นสุภาษิต.

[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คำของพวกท่านทั้งหมดเป็น

สุภาษิตโดยปริยาย แต่ว่าพวกท่านจงฟังคำของเราบ้าง

ก็ทานอันบัณฑิตสรรเสริญแล้วโดย

ส่วนมากโดยแท้ ก็แต่ธรรมบท (นิพพาน)

แหละประเสริฐกว่าทาน เพราะว่าสัตบุรุษ

ทั้งหลายผู้มีปัญญาในกาลก่อนก็ดี ใน

กาลก่อนกว่าก็ดี บรรลุซึ่งนิพพานแล้วแท้

จริง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

อรรถกถาสาธุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสาธุสูตรที่ ๓ ต่อไป:-

บทว่า อุทาน อุทาเนสิ แก้เป็น อุทาหาร อุทาหริ ได้แก่

เปล่งวาจายกตัวอย่างมาอ้าง. เหมือนอย่างว่า บุคคลย่อมไม่อาจเพื่อจะถือเอา

ประมาณน้ำมันอันน้อยได้ เพราะซึมซาบไป ท่านเรียกน้ำมันนั้นว่า เป็นส่วน

ที่เหลือเศษ บุคคลใด ย่อมไม่อาจเพื่อถือเอาทะเลสาบที่มีน้ำมาก อันใด

เพราะไหลท่วมทับ ท่านเรียกน้ำนั้นว่า โอฆะ ฉันใด หทัยใด ย่อมไม่อาจ

เพื่อจะยึดซึ่งถ้อยคำอันเกิดจากปีติไว้ได้ เพราะเป็นถ้อยคำอันมีกำลังยิ่ง อดกลั้น

อยู่ภายในไม่ได้ ย่อมออกมาภายนอก ท่านจึงเรียกถ้อยคำนั้นว่า อุทาน ฉันนั้น

เหมือนกัน เทวดานั้นเปล่งอุทานถือถ้อยคำอันเกิดแต่ปีติเห็นปานนี้. ในลำดับ

นั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ทานยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จได้แล แม้เมื่อของมี

อยู่น้อย ทานก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้

อนึ่ง ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธา ก็ยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จได้ นักปราชญ์ทั้งหลาย

กล่าวว่า ทานและการรบเสมอกัน พวก

วีรบุรุษแม้มีน้อย ย่อมชนะคนฉลาดที่มี

มากได้ ถ้าบุคคลเชื่ออยู่ ย่อมให้สิ่งของ

แม้น้อยได้ เพราะฉะนั้นแล ทายกนั้น

ย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

บทว่า สทฺธายปิ สาหุ ทาน แปลว่า ทานที่ให้แม้ด้วยศรัทธาก็

ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ ได้แก่ ทานที่บุคคลแม้เชื่อซึ่งกรรมและผลของกรรม

แล้วให้ เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ คือ เป็นกรรมอันเจริญที่ตนได้.

บทว่า อาหุ แก้เป็น กเถนฺติ แปลว่า ย่อมกล่าว. ถามว่า อย่างไร ทาน

และการรบทั้งสองนั้น จึงชื่อว่าเสมอกัน. ตอบว่า เพราะว่าบุคคลผู้ขลาดในชีวิต

ย่อมไม่อาจเพื่อจะรบ บุคคลผู้กลัวความสิ้นเปลือง ก็ย่อมไม่อาจเพื่อจะให้ทาน.

จริงอยู่ เมื่อบุคคลกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักรักษาชีวิตด้วย จักรบด้วย

ดังนี้ ย่อมไม่รบ แต่บุคคลสละความอาลัยในชีวิตแล้วให้อุสาหะเกิดขึ้นว่า เรา

ถูกตัดอวัยวะหรือการตายก็ตาม เราจักต้องถึงความเป็นอิสระนั่น ดังนี้ทีเดียว

ย่อมรบ. บุคคลเมื่อกล่าวว่า เราจักรักษาโภคะทั้งหลายและจักให้ทาน ดังนี้

ชื่อว่า ย่อมไม่ให้ทาน แต่บุคคลสละความอาลัยในโภคะทั้งหลายและมีอุสาหะว่า

เราจักให้มหาทาน ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมให้ทาน. ทานและการรบ ย่อมเสมอกัน

แม้ด้วยอาการอย่างนัเ. คำอะไร ๆ ที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งกว่านี้ย่อมไม่มี.

บทว่า อปฺปาปิ สนฺตา พหุเก ชิน แปลว่า พวกวีรบุรุษแม้

มีน้อย ย่อมชนะคนขลาดที่มีมากได้ อธิบายว่า พวกวีรบุรุษถึงจะมีน้อย

ก็สามารถรบชนะผู้ขลาดที่มีมากได้ ฉันใด บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ก็ฉันนั้น

เมื่อให้ทานน้อยย่อมย่ำยีความตระหนี่มาก ทั้งยังได้ผลของทานเป็นอันมาก.

ทานและการรบจึงเสมอกัน แม้ด้วยอาการอย่างนี้. ด้วยเหตุนี้แหละ เทวดาจึง

กล่าวว่า ถ้าบุคคลเชื่ออยู่ ย่อมให้สิ่งของแม้น้อยได้ ดังนี้. ก็เพื่อประกาศ

เนื้อความนี้ว่า เพราะฉะนั้นแล ทายกนั้น ย่อมเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า

ดังนี้ พึงยังเรื่องพราหมณ์เอกสาฎกให้พิสดาร. บทว่า ธมฺมลทฺธสฺส แปลว่า

ผู้มีธรรมอันได้แล้ว ได้แก่ บุคคลผู้มีโภคะอันได้แล้วด้วยธรรมอันสงบ และ

บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว. ในข้อนี้ บุคคลผู้มีธรรมอันบรรลุแล้ว ผู้เป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

พระอริยบุคคล ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันได้แล้ว. เพราะฉะนั้น ทานอันบุคคลผู้มี

โภคะอันได้แล้วโดยธรรม ย่อมให้แก่พระอริยบุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว ท่าน

กล่าวว่า แม้ข้อนั้น ก็เป็นการดี. เนื้อความในบทคาถาว่า บุคคลใด ย่อมให้

ทานแก่ผู้มีธรรมอันได้แล้ว แม้นี้ก็นัยนี้แหละ. บทว่า อุฏฺานวริยาธิคตสฺส

ได้แก่ ผู้มีโภคะอันบรรลุแล้ว ด้วยความบากบั่น และความเพียร. บทว่า

เวตรณี (ชื่อนรกขุมหนึ่งที่มีแม่น้ำ) นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนาเท่านั้น. อธิบาย

ว่า ก็บุคคลนั้นก้าวพ้นไปได้โดยประการทั้งปวง คือ ซึ่งนรกของพญายม ชื่อว่า

เวตรณีบ้าง ซึ่งมหานรก ๓๑ มีสัญชีวนรก และกาฬสุตตนรกเป็นต้นบ้าง.

ในลำดับนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานในสำนักพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้ไม่มีทุกข์ ฯลฯ ทาน

ที่ให้แก่บุคคลผู้มีธรรมอันได้แล้ว เป็น

การดี อนึ่ง ทานที่บุคคลเลือกให้ยิ่งเป็น

การดี ทานที่เลือกให้พระสุคตทรง

สรรเสริญแล้ว.

บทว่า วิเจยฺย ทาน แปลว่า ทานที่บุคคลเลือกให้. ในข้อนี้ ได้แก่

ทานที่บุคคลเลือกให้นั้นมี ๒ อย่าง คือ เลือกทักขิณา (ของสำหรับทำบุญ)

อย่างหนึ่ง เลือกพระทักขิไณยบุคคล (บุคคลผู้ควรรับของทำบุญ) อย่างหนึ่ง.

ในสองอย่างนั้น การนำปัจจัยทั้งหลายที่เลว ออกไปแล้วคัดเลือกเอาของที่

ประณีต ๆ ถวายแก่พระทักขิไณยบุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า การเลือกทักขิณา.

การละเว้นบุคคลทั้งหลาย นอกจากศาสนานี้ ผู้มีศีลวิบัติแล้ว และบุคคลผู้

นอกรีตนอกรอย ๙๖ ประเภท แล้วถวายทานแก่บรรพชิตในพระศาสนา ผู้ถึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

พร้อมด้วยศีลาทิคุณ ชื่อว่า การเลือกพระทักขิไณยบุคคล. ด้วยอาการทั้งสอง

อย่าง อย่างนี้ ชื่อว่า ทานที่บุคคลเลือกให้. บทว่า สุคตปฺปสฏฺ แปลว่า

พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว. ก็เทวดากล่าวถึงการเลือกทักษิณา (ของทำบุญ)

ด้วยคำว่า พีชานิ วุตฺตานิ ยถา นี้ แปลว่า เหมือนพืชที่หว่านแล้ว อธิบายว่า

ไทยธรรม คือของทำบุญ อันประณีต ๆ เช่นกับการเลือกพืชที่หว่านแล้ว.

บทว่า ปาเณสุปิ สาธุ สยโม แปลว่า ความสำรวมแม้ในสัตว์ทั้งหลายเป็น

การดี คือ ว่ามีความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย ก็ย่อมเป็นกรรมอันเจริญ.

เทวดานี้ เมื่อจะก้าวล่วงอานิสงส์ของทานที่พวกเทวดาเหล่าอื่นกล่าว

แล้ว เพื่อกล่าวถึงอานิสงส์แห่งศีล จึงเริ่มคำว่า

โย ปาณภูตานิ อเหย จร

ปรูปวาทา น กโรติ ปาป

ภีรุ ปสสนฺติ น หิ ตตฺถ สูร

ภยา หิสนฺโต น กโรนฺติ ปาป.

บุคคลใดประพฤติตนเป็นผู้ไม่เบียด

เบียนสัตว์ทั้งหลาย เที่ยวไปอยู่ ไม่ทำบาป

เพราะกลัวความติเตียนแต่งผู้อื่น บัณฑิต

ทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญซึ่งบุคคลผู้กลัว

บาป แต่ไม่สรรเสริญบุคคลผู้กล้าในการ

ทำบาปนั้น สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่

ทำบาป เพราะความกลัวบาปแท้.

คำว่า อเหย จร แก้เป็น อวิหึสนฺโน จรมาโน แปลว่า เป็น

ผู้ไม่เบียดเบียน เที่ยวไปอยู่. บทว่า ปรูปวาทา แปลว่า เพราะกลัวความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

ติเตียนแห่งบุคคลอื่น. บทว่า ภยา ได้แก่ อุปวาทภัย (ภัยคือความติเตียน).

บทว่า ทานา จ โข ธมฺมปทว เสยฺโย แปลว่า บทแห่งธรรมเท่านั้น

ประเสริฐกว่าทาน คือว่า บทแห่งธรรม กล่าวคือ พระนิพพานนั่นแหละ

ประเสริฐกว่าทาน.

บทว่า ปุพฺเพว หิ ปุพฺพตเรว สนฺโต แปลว่า เพราะว่าสัตบุรุษ

ทั้งหลายในกาลก่อนก็ดี กาลก่อนกว่าก็ดี อธิบายว่า ในกาลก่อน คือกาลแห่ง

พระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ เป็นต้น และในกาลก่อนกว่า คือในกาล

แห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า โกนาคมน์ เป็นต้นก็ดี บัณฑิตเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

ชื่อว่า เป็นสัตบุรุษในกาลก่อนหรือในกาลก่อนกว่านั้นแหละ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาสาธุสูตร ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

๔. นสันติสูตร

ว่าด้วยการกำจัดเบญจขันธ์คือกำจัดทุกข์

[๑๐๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงนครสาวัตถี.

ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามาก

ด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง.

[๑๐๓] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

กามทั้งหลายในหมู่มนุษย์ที่เป็นของ

เที่ยงย่อมไม่มี บุรุษผู้เกี่ยวข้องแล้ว ผู้

ประมาทแล้วในอารมณ์ที่ตั้งแห่งความใคร่

ทั้งหลายอันมีอยู่ในหมู่มนุษย์นี้ ไม่มาถึง

นิพพานเป็นที่ไม่กลับมาแต่วัฏฏะเป็นที่ตั้ง

แห่งมัจจุ เบญจขันธ์เกิดแต่ฉันทะ ทุกข์ก็

เกิดแต่ฉันทะ เพราะกำจัดฉันทะเสีย จึง

กำจัดเบญจขันธ์ได้ เพราะกำจัดเบญจขันธ์

ได้ จึงกำจัดทุกข์ได้ อารมณ์อันงามทั้ง

หลายในโลกไม่เป็นกาม ความกำหนัดที่

พร้อมไปด้วยความดำริเป็นกามของบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

อารมณ์อันงามทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ในโลก

อย่างนั้นนั่นแหละ บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย

ย่อมกำจัดฉันทะในอารมณ์ทั้งหลายนั้นโดย

แท้ บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงทิ้ง

มานะเสีย พึงล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย ทุกข์

ทั้งหลาย ย่อมไม่ตกถึงบุคคลนั้น ผู้ไม่

เกี่ยวข้องในนามรูป ผู้ไม่มีกิเลสเป็นเครื่อง

กังวล ขีณาสวภิกษุละบัญญัติเสียแล้ว ไม่

ติดมานะแล้ว ได้ตัดตัณหาในนามรูปนี้

เสียแล้ว พวกเทวดา พวกมนุษย์ ในโลกนี้

ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ในสวรรค์ทั้งหลายก็ดี

ในสถานเป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งปวงก็ดี

เที่ยวค้นหา ก็ไม่พบขีณาสวภิกษุนั้น ผู้มี

เครื่องผูกอันตัดเสียแล้ว ไม่มีทุกข์ ไม่มี

ตัณหา.

[๑๐๔] ท่านพระโมฆราชกล่าวว่า

ก็หากว่า พวกเทวดา พวกมนุษย์ ใน

โลกนี้ก็ดี ในโลกอื่นก็ดี ไม่ได้เห็นพระ-

ขีณาสพนั้น ผู้อุดมกว่านรชน ผู้ประพฤติ

ประโยชน์เพื่อพวกนรชน ผู้พ้นแล้วอย่าง

นั้น เทวดาและมนุษย์เหล่าใด ย่อมไหว้

พระขีณาสพนั้น เทวดาและมนุษย์เหล่า

นั้น ย่อมเป็นผู้อันบัณฑิตพึงสรรเสริญ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

[๑๐๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ แม้พวกเทวดาและ

มนุษย์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้อันบัณฑิตพึง

สรรเสริญู พวกเทวดาและมนุษย์เหล่าใด

ย่อมไหว้ขีณาสวภิกษุนั้น ผู้พ้นแล้วอย่าง

นั้น ดูก่อนภิกษุ แม้พวกเทวดาและมนุษย์

เหล่านั้นรู้ธรรมแล้ว ละวิจิกิจจาแล้ว ก็

ย่อมเป็นผู้ล่วงแล้วซึ่งธรรมเป็นเครื่องข้อง.

อรรถกถานสันติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนสันติสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า กมนียานิ แปลว่า อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ ได้แก่

อารมณ์ที่น่าปรารถนามีรูปเป็นต้น. บทว่า อปุนาคมน อนาคนฺตฺวา ปุริโส

มจฺจุเธยฺย ได้แก่ ไม่มาถึงพระนิพพาน กล่าวคือที่เป็นที่ไม่กลับมาอีก แต่

บ่วงแห่งมัจจุ กล่าวคือ วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ จริงอยู่ บุคคลผู้บรรลุพระ-

นิพพานแล้ว ย่อมไม่กลับมาอีก ฉะนั้น ท่านจึงเรียกนิพพานนั้นว่า อปุนาคมนะ

แปลว่า ที่เป็นที่ไม่กลับมาอีก. อธิบายว่า บุคคลผู้เกี่ยวข้องแล้ว ผู้ประมาท

แล้วในกามทั้งหลาย ชื่อว่า ย่อมไม่มาแล้ว คือไม่อาจเพื่อบรรลุพระนิพพาน

นั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า ฉนฺทช แปลว่า เกิดแต่

ฉันทะ อธิบายว่า เกิดเพราะตัณหาฉันทะ. บทว่า อฆ แปลว่า ทุกข์ คือ

เบญจขันธ์ บทที่ ๒ (ทุกข์) เป็นไวพจน์ของเบญจขันธ์นั้นนั่นแหละ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

ฉนฺทวินยา อฆวินโย แปลว่า เพราะกำจัดฉันทะเสียจึงกำจัดเบญจขันธ์ได้

อธิบายว่า เพราะกำจัดตัณหาได้ จึงกำจัดเบญจขันธ์ได้. บทว่า อฆวินยา

ทุกฺขวินโย แปลว่า เพราะกำจัดเบญจขันธ์ได้ จึงกำจัดทุกข์ได้ อธิบายว่า

เพราะกำจัดเบญจขันธ์ได้ วัฏทุกข์ ย่อมเป็นอันตนกำจัดได้แล้วเหมือนกัน.

บทว่า จิตฺรานิ แปลว่า อารมณ์อันงามทั้งหลาย. บทว่า สงฺกปฺปราโค แปลว่า

ความกำหนัดที่พร้อมด้วยความดำริ ในที่นี้ ท่านปฏิเสธวัตถุทั้งหลาย (วัตถุ

กาม) แล้วกล่าวว่า ความกำหนัดพร้อมด้วยความดำริอย่างนี้ว่า เป็นกิเลสกาม.

ความข้อนี้ บัณฑิตพึงให้แจ่มแจ้งด้วยปสุรสูตร. จริงอยู่ เมื่อพระเถระ (พระ-

สารีบุตร) กล่าวว่าความดำริและความกำหนัดเป็นกามของบุรุษ ปสุรปริพาชก

ก็กล่าวว่า ธรรมเหล่าใดมีอารมณ์งาม ธรรมเหล่านั้น ไม่ใช่กาม ท่านกล่าวว่า

ความดำริและความกำหนัดในโลก ว่าเป็นกาม เป็นความดำริ ถ้าเช่นนั้น แม้

ภิกษุของท่านก็พึงบริโภคกามในอกุศลวิตก ดังนี้. ลำดับนั้น พระเถระได้

กล่าวกะปสุรปริพาชกนั้นว่า หากว่า อารมณ์เหล่าใดงาม อารมณ์เหล่านั้นไม่

ใช่กามไซร้ ท่านก็ไม่ต้องกล่าวถึงความดำริและความกำหนัดว่า เป็นกามใน

โลก เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งรูปทั้งหลายอันเป็นอารมณ์ทางใจ แม้พระศาสดาก็

ตรัสว่า กามโภคีพึงมีแก่เขา ดังนี้ เมื่อบุคคลฟังเสียงทั้งหลาย สูดอยู่ซึ่งกลิ่น

หอมทั้งหลาย ลิ้มอยู่ซึ่งรสทั้งหลาย ถูกต้องอยู่ซึ่งผัสสะทั้งหลายอันเป็นอารมณ์

ทางใจ แม้พระศาสดาก็ตรัสว่า กามโภคี พึงมีแก่เขา ดังนี้.

บทว่า อเถตฺถ ธีรา แปลว่า บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลายย่อมกำจัด

ฉันทะในอารมณ์ทั้งหลายนั้นโดยแท้ อธิบายว่า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมกำจัด

ฉันทราคะในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นโดยแท้. บทว่า สโยชน สพฺพ ได้

แก่ สังโยชน์แม้ทั้ง ๑๐ อย่าง. บทว่า อกิญฺจน ได้แก่ เว้นจากกิเลสเครื่อง

กังวลทั้งหลายมีราคะเป็นต้น. บทว่า นานุปตนฺติ ทุกฺขา แปลว่า ทุกข์ทั้ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

หลายย่อมไม่ตกถึงบุคคลนั้น คือว่าวัฏทุกข์ทั้งหลาย ย่อมไม่ตกไปเบื้องบน

บุคคลผู้นั้น. พระเถระชื่อว่า โมฆราชผู้ฉลาดในอนุสนธิ ฟังคาถาว่า ขีณาสว

ภิกษุละบัญญัติเสียแล้ว ดังนี้ มีสติกำหนดคาถาแม้เหล่านั้นแล้วจึงคิดว่า เนื้อ

ความแห่งคาถานี้ ไม่ไปตามอนุสนธิ ดังนี้ เมื่อจะสืบต่อแห่งอนุสนธิตามที่เป็น

ไปอย่างไร จึงกล่าวคำ อย่างนี้ว่า

ก็หากว่า พวกเทวดา พวกมนุษย์

ในโลกนี้ หรือในโลกอื่นก็ดี ไม่ได้เห็น

พระขีณาสพนั้นผู้อุดมกว่านรชน ผู้ประ-

พฤติประโยชน์เพื่อพวกนรชน ผู้พ้นแล้ว

อย่างนั้น เทวดาและมนุษย์เหล่าใด ย่อม

ไหว้พระขีณาสพนั้น เทวดาและมนุษย์

เหล่านั้นย่อมเป็นผู้อันบัณฑิตพึงสรรเสริญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ วา หุร วา แปลว่า ในโลกนี้

หรือในโลกอื่น. บทว่า นรุตฺตม อตฺถจร นราน แปลว่า ผู้อุดมกว่านรชน

ผู้พระพฤติประโยชน์ เพื่อนรชนทั้งหลายนั้น แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระ-

เถระก็มิได้หมายเอาพระชีณาสพอื่น หมายเอาพระทศพลเท่านั้น. บทว่า เย

ต นมสฺสนฺติ ปสสิยา เต แปลว่า พวกเทวดาและมนุษย์เหล่าใด ย่อมไหว้

พระขีณาสพนั้นผู้พ้นแล้วอย่างนั้น อธิบายว่า ย่อมไหว้พระผู้มีพระภาคพระองค์

นั้น ด้วยกายหรือด้วยวาจาหรือว่า ด้วยการปฏิบัติตามโดยแท้ พวกเทวดาและ

มนุษย์เหล่านั้น พึงเป็นผู้อันบัณฑิตควรสรรเสริญหรือไม่ บทว่า ภิกษุ

เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระโมฆราชเถระ. บทว่า อญฺาย ธมฺม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

แปลว่า รู้ธรรมแล้ว คือได้แก่ รู้สัจธรรมทั้ง ๔. บทว่า สงฺคาตีตา เตปิ

ภวนฺติ แปลว่า แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น. . . ย่อมเป็นผู้ล่วง

ธรรมเครื่องข้อง อธิบายว่า เทวดาและมนุษย์เหล่าใด ย่อมไหว้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้านั้นด้วยกายหรือด้วยวาจา หรือว่า ด้วยการปฏิบัติตาม เทวดาและ

มนุษย์เหล่านั้นรู้สัจจธรรม ๔ และละวิจิกิจฉาแล้ว ย่อมเป็นผู้ล่วงพ้นธรรมเป็น

เครื่องข้องบ้าง ย่อมเป็นผู้อันบัณฑิต พึงสรรเสริญบ้าง ดังนี้แล.

จบอรรถกถานสันติสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

๕. อุชฌานสัญญีสูตร

ว่าด้วยเทวดามุ่งโทษ

[๑๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อปฐมยามล่วง

ไปแล้ว พวกเทวดาผู้มีความมุ่งหมายเพ่งโทษมากด้วยกัน มีวรรณะงาม ยัง

พระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจึงได้ลอยอยู่

ในอากาศ.

[๑๐๗] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นลอยอยู่ในอากาศแล้ว ได้กล่าวคาถานี้

ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บุคคลใดประกาศตนอันมีอยู่โดย

อาการอย่างอื่น ให้เขารู้โดยอาการอย่าง

อื่น บุคคลนั้นลวงปัจจัยเขากินด้วยความ

เป็นขโมย เหมือนความลวงกินแห่ง

พรานนก ก็บุคคลทำกรรมใด ควรพูดถึง

กรรมนั้น ไม่ทำกรรมใด ก็ไม่ควรพูดถึง

กรรมนั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้จักบุคคล

นั้น ผู้ไม่ทำ มัวแต่พูดอยู่.

[๑๐๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาทั้งหลายนี้ว่า

ใคร ๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้ด้วย

เหตุสักว่าพูด หรือฟังส่วนเดียว บุคคลผู้

มีปัญญาทั้งหลาย ผู้มีฌาน ย่อมพ้นจาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

เครื่องผูกของมาร ด้วยปฏิปทาอันมั่นคงนี้

บุคคลผู้มีปัญญา ทั้งหลาย ทราบความเป็น

ไปของโลกแล้ว รู้แล้ว เป็นผู้ดับกิเลส

ข้ามตัณหาเป็นเครื่องเกี่ยวข้องในโลกแล้ว

ย่อมไม่พูดโดยแท้.

[๑๐๙] ในลำดับนั้นแล เทวดาเหล่านั้นลงมายืนบนแผ่นดิน หมอบ

ลงใกล้พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ โทษของพวกข้าพเจ้าล่วงไปแล้ว

พวกข้าพเจ้าเหล่าใด เป็นพาลอย่างไร เป็นผู้หลงแล้วอย่างไร เป็นผู้ไม่ฉลาด

อย่างไร ได้สำคัญแล้วว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าอันพวกเราพึงรุกราน ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดอดโทษของพวก

ข้าพเจ้านั้น เพื่อจะสำรวมในกาลต่อไป.

ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงยิ้มแย้ม.

[๑๑๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาเหล่านั้นผู้เพ่งโทษโดยประมาณยิ่ง

กลับขึ้นไปบนอากาศ เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า

เมื่อเราแสดงโทษอยู่ ถ้าบุคคลใดมี

ความโกรธอยู่ในภายใน มีความเคืองหนัก

ย่อมไม่อดโทษให้ บุคคลนั้นย่อมสอด

สวมเวร หากว่าในโลกนี้ โทษก็ไม่มี

ความผิดก็ไม่มี เวรทั้งหลายก็ไม่สงบ ใน

โลกนี้ใครพึงเป็นคนฉลาด เพราะเหตุไร

โทษทั้งหลายของใคร ไม่มี ความผิดของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

ใครก็ไม่มี ใครไม่ถึงแล้วซึ่งความหลงใหล

ในโลกนี้ ใครย่อมเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้

มีสติในกาลทั้งปวง

[๑๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

โทษทั้งหลายไม่มี ความผิดก็ไม่มี

แก่พระตถาคตนั้น ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้เอ็นดู

แก่สัตว์ทั้งปวง พระตถาคตนั้นไม่ถึงแล้ว

ซึ่งความหลงใหล พระตถาคตนั้นย่อม

เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทั้งปวง

เมื่อพวกท่านแสดงโทษอยู่ หากบุคคลใด

มีความโกรธอยู่ในภายใน มีความเคือง-

หนัก ย่อมไม่อดโทษให้ บุคคลนั้นย่อม

สอดสวมเวร เราไม่ชอบเวรนั้น เราย่อม

อดโทษแก่ท่านทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

อรรถกถาอุชฌานสัญญีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุชฌานสัญญีสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า อุชฺฌานสญฺิกา แปลว่า ผู้มีความมุ่งหมายเพ่งโทษ

อธิบายว่า เทวโลก ชื่อว่า อุชฌานสัญญี ซึ่งแยกออกไปจากเทวโลกอื่นนั้นมิได้มี

ก็แต่ว่า เทวดาเหล่านี้อาศัยบริโภคปัจจัย ๔ ของพระตถาคตเจ้า แล้วมาเพ่งโทษ

อยู่. ได้ยินว่า เทวดานั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมพึงกล่าวลวง

ให้มีความสันโดษด้วยบังสุกุลจีวรด้วยคำข้าวที่หามาได้ด้วยการบิณฑบาต ด้วย

การอยู่เสนาสนะโคนไม้ ด้วยยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า และย่อมกล่าวยกย่องบุคคล

ผู้ยังกิจนั้นให้สำเร็จสุดยอดแต่พระองค์เอง ทรงจีวรอันประณีตมีผ้าโขมพัสตร์

เนื้อละเอียดชนิดดี เป็นต้น ย่อมเสวยโภชนะอันเลิศ อันสมควรแก่พระราชา

ย่อมบรรทมบนที่นอนอันประเสริฐในพระคันธกุฎีอันควรเป็นวิมานของเทพ

ย่อมเสวยเภสัชทั้งหลายมี เนยใส เนยข้น เป็นต้น ย่อมแสดงธรรมแก่มหาชน

ในกลางวัน ถ้อยคำของพระองค์กับการกระทำของพระองค์เป็นไปคนละอย่าง

ดังนี้ จึงมาโพนทะนามุ่งหมายเพ่งโทษพระตถาคตเจ้า ด้วยเหตุนั้น พระธรรม

สังคาหเถระทั้งหลาย จึงเรียกชื่อเทวดาเหล่านั้นว่า อุชฌานสัญฺิกา แปลว่า

ผู้มีความมุ่งหมายเพ่งโทษดังนี้.

บทว่า อญฺถา สนฺต แปลว่า มีอยู่โดยอาการอย่างอื่น คือได้แก่

เป็นไปโดยอาการอย่างอื่น. บทว่า นิกจฺจ แปลว่า ลวงแล้ว ได้แก่ ลวง

ด้วยการหลอกลวงเขากิน. บทว่า กิตวสฺเสว นี้ เทวดากล่าวว่า เหมือน

นายพรานนกลวงจับนก. จริงอยู่ นายพรานนกนั้น เมื่ออยู่ในที่มิใช่พุ่มไม้

ก็เข้าไปแสดงเหมือนลักษณะแห่งพุ่มไม้โดยปกปิดตน ด้วยกิ่งและใบไม้เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

ยังนกทั้งหลายมีนกยูงและนกกระทาเป็นต้นให้ตาย การทำการเลี้ยงภรรยา.

บุคคลผู้โกหกปกปิดอัตภาพด้วยผ้าบังสุกุล ลวงมหาชนเพราะความที่ตนเป็น

คนฉลาด ในการพูด เคี้ยวกินอยู่ เที่ยวไป การกินนั้นของบุคคลนั้นดังขโมย

ทั้งการบริโภคปัจจัย ๔ แม้ทั้งหมดก็ดุจขโมย เหมือนการกินเนื้อนกของ

นายพรานนก ผู้ลวงนกอย่างนี้ เทวดากล่าวด้วยการลวงนี้ ด้วยประการฉะนี้

โดยหมายเอาพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ปริชานนฺติ ปณฺฑิตา แปลว่า

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมรู้จักบุคคลนั้น อธิบายว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้ว่า

บุคคลนี้เป็นผู้กระทำการลวง หรือไม่ลวง ดังนี้. ด้วยเหตุนี้แหละ เทวดา

เหล่านั้นสำคัญอยู่ว่า แม้พระตถาคตของพวกเรานั่นแหละเป็นผู้รู้ จึงกล่าวแล้ว

อย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า

นยิท ภาสิตมตฺเตน เอกนฺตสวเนน วา

อนุกฺกมิตเว สกฺกา ยาย ปฏิปทา ทฬฺหา

ยาย ธีรา ปมุจฺจนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา

น เว ธีรา ปกฺพฺพนฺติ วิทิตฺวา โลกปริยาย

อญฺาย นิพพุตา ธีรา ติณฺณา โลกา วิสตฺติก.

ใคร ๆ ไม่อาจดำเนินปฏิปทานี้

ด้วยเหตุสักว่าพูด หรือว่าฟังส่วนเดียว

บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย ผู้มีฌาน ย่อม

พ้นจากเครื่องผูกของมาร ด้วยปฏิปทาอัน

มั่นคง บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลายทราบ

ความเป็นไปของโลกแล้ว รู้แล้ว เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

ดับกิเลส ข้ามตัณหาเป็นเครื่องข้องในโลก

แล้ว ย่อมไม่พูดโดยแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาย ปฏิปทา ทฬฺหา อธิบายว่า

ปฏิปทานี้ คือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม จริงอยู่ บุคคลทั้งหลายมีปัญญา

คือ บัณฑิตทั้งหลายผู้มั่นคง เพ่งอยู่ด้วยฌานทั้ง ๒ คือ อารัมมณูปนิชฌาน

และลักขณูปนิชฌาน ย่อมพ้นจากเครื่องผูกของมารได้ ด้วยปฏิปทาใด บุคคล

ไม่อาจเพื่อหยั่งลง คือ เพื่อปฏิบัติปฏิปทานั้นโดยสักแต่พูด หรือสักแต่ฟัง.

บทว่า น เว ธีรา ปกุพฺพนฺติ ความว่า บุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย คือ

บัณฑิตทั้งหลาย รู้แจ้งแล้วซึ่งปริยายแห่งโลก (วิธีการพูดของสัตว์โลก) และ

รู้แล้วซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของสังขารโลก เพราะรู้สัจธรรม ๔

จึงนิพพานแล้วด้วยกิเลสนิพพาน เป็นผู้ข้ามตัณหาเป็นเครื่องข้องในโลก ย่อม

ไม่การทำอย่างนี้ อธิบายว่า เราย่อมไม่พูดคำเห็นปานนี้.

ในลำดับนั้นแหละ เทวดาเหล่านั้นลงมายืนบนแผ่นดิน หมอบลง

ใกล้พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ทูลว่า อจฺจโย น ภนฺเต

อจฺคมา เป็นต้น แปลความว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ

โทษของพวกข้าพระองค์ได้ล่วงเกินไปแล้ว

พวกข้าพระองค์เหล่าใด เป็นพาลอย่างไร

เป็นผู้หลงแล้วอย่างไร เป็นผู้ไม่ฉลาด

อย่างไร ได้สำคัญแล้วว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า อันพวกเราพึงรุกราน ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ขอพระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

พระภาคเจ้าโปรดอดโทษของพวกข้า

พระองค์นั้น เพื่อจะสำรวมในกาลต่อไป.

บทว่า ปวิย ปติฏฺหิตฺวา แปลว่า ยืนบนแผ่นดิน อธิบายความว่า

กรรมอันไม่สมควร อันพวกข้าพระองค์ทำแล้ว พวกข้าพระองค์ใช้คำพูดเรียก

พระองค์ผู้ไม่ทำกรรมอย่างนั้น ด้วยวาทะว่ากระทำ เหตุนี้แหละ พวกข้า

พระองค์ละอายอยู่ ทั้งไม่ทำความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจผู้เป็นราวกะ

มหาพรหม กระทำพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจกองอัคคีให้ไม่สบายพระทัย ทำการ

นมัสการอยู่ ก้าวลงจากอากาศแล้ว ยืนอยู่บนแผ่นดิน. บทว่า อจฺจโย

แปลว่า โทษ ได้แก่ ความผิดพลาด. บทว่า โน อจฺจคฺคมา แปลว่า

ของพวกข้าพเจ้าผู้ล่วงเกินแล้ว อธิบายว่า พวกข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วโทษนั้น

ครอบงำข้าพระองค์ให้เป็นไป บทว่า อปสาเทตพฺพ แปลว่า อันพวกเรา

พึงรุกราน อธิบายว่า อันพวกข้าพระองค์พึงทำให้พระองค์ขัดพระทัยได้. ได้

ยินว่า เทวดานั้น กระทบกระทั่งพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ

ด้วยกาย และด้วยวาจา การไม่ถวายบังคมพระตถาคตเจ้า แล้วยังยืนอยู่ใน

อากาศนี้ ชื่อว่า กระทบกระทั่งด้วยกาย เมื่อเทวดาเหล่านั้น กล่าววาจาอัน

เป็นวาทะของอสัตบุรุษมีประการต่าง ๆ เหมือนคนชั่วนำโล่มาป้องกันตัว ชื่อ

ว่า กระทบกระทั่งด้วยวาจา. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่าพวกเทวดาเหล่า

นั้น กล่าวว่า พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้สำคัญพระองค์ว่าเป็นผู้อันบุคคลพึง

รุกรานได้. บทว่า ปฏิคฺคณฺหาตุ แก้เป็น ขมตุ แปลว่า โปรดอดโทษ

บทว่า อายตึ สวราย แปลว่า เพื่อจะสำรวมในกาลต่อไป อธิบายว่า เพื่อ

ความสำรวมในอนาคต และเพื่อไม่กระทำความผิด ความประทุษร้าย ความ

ติเตียนเห็นปานนี้อีก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

ลำดับนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำการแย้มพระโอษฐ์ให้

ปรากฏ ในข้อนี้อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงพระองค์

ผู้มีการฝึกอันยอดเยี่ยมแล้ว จึงแสดงลักษณะแห่งความยินดี. ถามว่า เพราะ

เหตุไร. ตอบว่า ได้ยินว่า พวกเทวดาเหล่านั้นบอกให้พระองค์ยกโทษให้แก่

พวกเทวดาโดยภาวะของตน ย่อมกระทำพระตถาคตเจ้าซึ่งเป็นบุคคลผู้เลิศใน

โลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้เป็นโลกิยมหาชนเช่นกับคนธรรมดาคนหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ โดย

ประสงค์ว่า เราจักแสดงกำลังแห่งพระพุทธเจ้าก่อนแล้วจักอดโทษในภายหลัง

โดยถ้อยคำที่จะกล่าวข้างหน้า. บทว่า ภิยฺโยโส สตฺตาย แก้เป็น อติเรกปฺป-

มาเณน แปลว่า โดยประมาณยิ่ง. บทว่า อิม คาถ อภาสิ แปลว่า

เทวดาองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ อธิบายว่า เทวดาองค์หนึ่งมีความสำคัญว่า

พระศาสดานี้ ทรงกริ้วพวกเรา จึงได้กล่าวแล้ว. บทว่า น ปฏิคฺคณฺหาติ

แก้เป็น น ขมติ แปลว่า ย่อมไม่อดโทษ คือ ย่อมไม่อดกลั้น. บทว่า

โกปนฺตโร แปลว่า บุคคลมีความโกรธอันเกิดขึ้นแล้วในภายใน. บทว่า

โทสครุ แปลว่า มีความเคืองจัด คือ ถือเอาโทษหนักอยู่. บทว่า ส เวร

ปฏิมุจฺจติ แปลว่า ย่อมประสบเวร อธิบายว่า บุคคลนั้น คือผู้เห็นปานนี้

ย่อมประสบเวร ย่อมตั้งไว้ ย่อมในสละซึ่งเวรนั้นในตน เหมือนบุคคลคั้นฝีที่

อักเสบ. บทว่า อจฺจโย เจ น วิชฺเชถ แปลว่า หากว่า โทษไม่พึงมี

อธิบายว่า ถ้าว่ากรรมคือการล่วงเกินไม่พึงมีไซร้. บทว่า โน จีธ อปหต สิยา

แปลว่า ความผิดก็ไม่พึงมี อธิบายว่า ผิว่า ชื่อว่า ความพลั้งพลาดไม่พึงมี.

บทว่า เกนีธ กุสโล สิยา แปลว่า ในโลกนี้ ใครพึงเป็นคนฉลาด เพราะ

เหตุไร อธิบายว่า ผิว่าเวรทั้งหลายไม่พึงสงบไซร้ ใครพึงเป็นคนฉลาด

เพราะเหตุไร. บทว่า กสฺสจฺจยา แปลว่า โทษทั้งหลายของใครไม่พึงมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

คือได้แก่ โทษที่ก้าวล่วงทางวาจาของใครไม่มี ความผิดพลาดของใครไม่มี

ใครเล่า ย่อมไม่ประสบความหลงใหล ใครเล่า ชื่อว่าเป็นบัณฑิตตลอดกาล

เป็นนิตย์ทีเดียว.

ได้ยินว่า การกระทำความแย้มให้ปรากฏของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เพื่อ

จะตรัสคาถานี้. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงดำริว่า บัดนี้เรา

จักแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า แล้วจักอดโทษ แก่พวกเทวดา จึงตรัสคำว่า

ตถาคตสฺส พุทฺธสฺส สพฺพภูตานุกมฺปิโน เป็นต้น แปลความว่า

โทษทั้งหลายไม่มี ความผิดก็ไม่มี

แก่พระตถาคตนั้น ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้ทรง

อนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง พระตถาคตนั้น

ย่อมไม่มีถึงความหลงใหล พระตถาคตนั้น

ย่อมเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้มีสติในกาลทั้ง

ปวง เมื่อท่านแสดงโทษอยู่ หากบุคคลใด

มีความโกรธอยู่ในภายใน มีความเคืองจัด

ย่อมไม่อดโทษให้บุคคลนั้น ย่อมประสบ

เวร เราไม่ชอบเวรนั้น เราย่อมอดโทษแก่

ท่านทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาคตสฺส อธิบายว่า พระนามว่า

ตถาคต ด้วยการณะทั้งหลายมีคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า ตถา อาคโตติ ตถาคโต

แปลว่า ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือเสด็จมาโปรดเวไนย

สัตว์ตามประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน. บทว่า พุทฺธสฺส

อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระนามอันได้แล้วอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

แต่งตั้งด้วยวิโมกขันติญาณ โดยการณะทั้งหลาย มีการตรัสรู้สัจจะ ๔ เป็นต้น.

บทว่า อจฺจย เทสยนฺตีน แปลว่า เมื่อท่านแสดงโทษอยู่ อธิบายว่า คำ

ใดที่ท่านทั้งหลายกล่าวแก่บุคคลผู้แสดงโทษอยู่ บุคคลนั้น ย่อมประสบเวร

เพราะฉะนั้น คำนั้นเป็นอันท่านกล่าวดีแล้ว ก็แต่ว่า เราย่อมไม่ยินดี ไม่

ปรารถนาเวร. บทว่า ปฏิคฺคณฺหามิ โวจฺจย แก้เป็น ตุมฺหาก อปราธ

ขมามิ แปลว่า เราย่อมอดโทษแก่พวกเธอ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอุชฌานสัญญีสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

๖. สัทธาสูตร

ว่าด้วยศรัทธา

[๑๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วง

ไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกามากด้วยกัน มีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวัน

ทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๑๓] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน หาก

ว่าความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาไม่ตั้งอยู่ แต่นั้น

บริวารยศและเกียรติยศย่อมมีแก่เขานั้น

อนึ่ง เขานั้นละทิ้งสรีระแล้วก็ไปสู่สวรรค์

บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงทิ้งมานะ

เสีย พึงล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย กิเลส

เป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยว

บุคคลนั้น ผู้ไม่เกี่ยวข้องในนามรูป ผู้ไม่

มีกิเลสเป็นเครื่องกังวล.

[๑๑๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมตาม

ประกอบความประมาท ส่วนนักปราชญ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือนบุคคล

รักษาทรัพย์อื่นประเสริฐ บุคคลอย่าตาม

ประกอบความประมาท และอย่าตาม

ประกอบความสนิทสนม ด้วยอำนาจความ

ยินดีทางกาม เพราะว่าบุคคลไม่ประมาท

แล้วเพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข.

อรรถกถาสัทธาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัทธาสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า สทฺธา ทุติยา ปุริสสฺส โหติ แปลว่า ศรัทธาเป็นเพื่อน

สองของคน คือได้แก่ เมื่อคนไปสู่เทวโลก และพระนิพพาน ศรัทธาย่อมเป็น

เพื่อนสอง คือ ย่อมยังกิจของสหายให้สำเร็จ. บทว่า โน เจ อสทฺธิย อวติฏฺติ

แก้เป็น ยทิ อสทฺธิย น ติฏฺติ แปลว่า หากว่า ความเป็นผู้ไม่มี

ศรัทธาไม่ตั้งอยู่. บทว่า ยโส แปลว่า ยศ ได้แก่ บริวาร. บทว่า กิตฺติ

แปลว่า เกียรติยศ ได้แก่ การกล่าวยกย่องสรรเสริญ. บทว่า ตตฺวสฺส โหติ

แปลว่าย่อมมีแก่เขานั้น คือว่า ต่อจากนั้น ย่อมมีแก่เขา. บทว่า นานุปตนฺติ

สงฺคา แปลว่า กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง ย่อมไม่เกาะเกี่ยว คือได้แก่กิเลส

เครื่องเกี่ยวข้อง ๕ อย่าง มีราคะเป็นเครื่องเกี่ยวข้องเป็นต้น ย่อมไม่เข้าถึง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พวกคนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อม

ตามประกอบความประมาท ส่วนนัก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาท เหมือน

บุคคลรักษาทรัพย์อันประเสริฐ บุคคลอย่า

ตามประกอบความประมาท และอย่าตาม

ประกอบความสนิทสนม ด้วยอำนาจความ

ยินดีทางกาม เพราะว่า บุคคลไม่ประมาท

แล้ว เพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุบรมสุข.

บทว่า ปมาทมนุยุญฺชนฺติ แปลว่า ย่อมตามประกอบความประมาท

อธิบายว่า ชนเหล่าใดย่อมกระทำ คือย่อมให้ความประมาทเกิดขึ้น ชนเหล่านั้น

ชื่อว่า ย่อมประกอบตามซึ่งความประมาทนั้น. บทว่า ธน เสฏฺว รกฺขติ

แปลว่า เหมือนบุคคลรักษาทรัพย์อันประเสริฐ คือได้แก่เหมือนบุคคลรักษา

ทรัพย์อันอุดมมีแก้วมุกดา และแก้วมณีอันมีสาระเป็นต้น. บทว่า ฌายนฺโต

แปลว่า เพ่งพินิจอยู่ อธิบายว่า เพ่งอยู่ด้วยลักษณูปนิชฌาน และอารัมมณู

ปนิชฌาน ใน ๒อย่างนั้น วิปัสสนา มรรค และผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน. จริง

อยู่ วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งซึ่งลักษณะ

ทั้งสาม. มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า ย่อมให้สำเร็จ

ซึ่งปหานกิจที่มาถึงแล้วโดยวิปัสสนา. ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะ

อรรถว่า ย่อมเข้าไปเพ่งซึ่งนิโรธสัจจะ อันเป็นตถลักษณะ. แต่สมาบัติ ๘

บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นอารัมมณูปนิชฌาน เพราะการเข้าไปเพ่งอารมณ์แห่ง

กสิณ. อรหัตสุข ชื่อว่า บรมสุข อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาแล้ว

ดังนี้แล.

จบอรรถกถาสัทธาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

๗. สมยสูตร

ว่าด้วยเทพชุมนุมกัน

[๑๑๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน กรุงกบิล-

พัสดุ์แคว้นสักกะ กับด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็น

พระอรหันต์ ก็พวกเทวดามาแต่โลกธาตุสิบแล้ว ประชุมกันมาก เพื่อจะเห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุสงฆ์.

[๑๑๖] ในครั้งนั้นแล เทวดา ๔ องค์ที่เกิดในหมู่พรหมชั้นสุทธาวาส

ได้มีความดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้แล ประทับ อยู่ ณ ป่ามหาวัน

กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ กับด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป

ล้วนเป็นพระอรหันต์ ก็พวกเทวดามาแต่โลกธาตุสิบประชุมกันมาก เพื่อจะเห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ ไฉนหนอ แม้เราทั้งหลายควรเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว พึงกล่าวคาถาองค์ละคาถา ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๑๑๗] ในครั้งนั้นแล พวกเทวดาทั้ง ๔ นั้นจึงหายจากหมู่พรหมชั้น

สุทธาวาส มาปรากฏอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษผู้มี

กำลัง เหยียดแขนที่คู้ออกหรือคู้แขนที่เหยียดเข้า ฉะนั้น.

[๑๑๘] เทวดาองค์หนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

การประชุมใหญ่ในป่าใหญ่ มีพวก

เทวดามาประชุมกันแล้ว พวกข้าพเจ้ามาสู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

ที่ชุมนุมอันเป็นธรรมนี้ เพื่อจะเยี่ยมหมู่

พระผู้ที่ใคร ๆ ให้แพ้ไม่ได้.

[๑๑๙] ในลำดับนั้นแล เทวดาองค์อื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้นตั้งจิต

มั่นแล้ว ได้ทำจิตของตนให้ตรงแล้ว ภิกษุ

ทั้งปวงนั้นเป็นบัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์

ทั้งหลาย ดุจดังว่านายสารถีถือบังเหียน

ฉะนั้น.

[๑๒๐] ในลำดับนั้นแล เทวดาองค์อื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ภิกษุทั้งหลายนั้นตัดกิเลสดังตะปู

เสียแล้ว ตัดกิเลสดังว่าลิ่มสลักเสียแล้ว

ถอนกิเลสดังว่าเสาเขื่อนเสียแล้ว มิได้มี

ความหวั่นไหว เป็นผู้หมดจดปราศจาก

มลทิน อันพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุทรงฝึก

ดีแล้ว เป็นหมู่นาคหนุ่มประพฤติอยู่.

[๑๒๑] ในลำดับนั้นแล เทวดาองค์อื่นอีก ได้กล่าวคาถานี้ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงแล้วซึ่งพระ-

พุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นจักไม่ไปสู่

อบายภูมิ ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์

แล้วจักยังหมู่เทวดาให้บริบูรณ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

อรรถกถาสมยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสมยสูตรที่ ๗ ต่อไป :-

บทว่า สกฺเกสุ แปลว่า ในแคว้นสักกะนี้ ได้แก่ ชนบทแม้หนึ่ง

ที่เป็นที่อยู่ของราชกุมารทั้งหลาย ซึ่งมีชื่ออันได้แล้วว่า สักกะ เพราะอาศัย

คำอุทานว่า สกฺยา วต โภ กุมารา แปลว่า กุมารีผู้เจริญเหล่านี้อาจหนอ

(หรือ สามารถหนอ) ดังนี้ ท่านจึงเรียกชนบทนั้นว่า สักกะ ตามรุฬหิ

สัททศาสตร์. ในที่นี้ได้แก่ ในชนบทชื่อว่าสักกะนั้น. บทว่า มหาวเน

แปลว่า ในป่าใหญ่ คือได้แก่ ในป่าใหญ่ที่เนื่องเป็นอันเดียวกัน กับหิมวันต์

อันเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติมิได้มีใครมาปลูกไว้. บทว่า สพฺเพเทว อรหนฺเตหิ

แปลว่า ล้วนเป็นพระอรหันต์ คือได้แก่ พระอรหันต์ที่บรรลุแล้วในวันที่

พระองค์ตรัสสมยสูตรนี้นั่นแหละ. ในสูตรนั้น มีอนุปุพพิกถา คือวาจา

เป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ ดังต่อไปนี้.

เจ้าศากยะและโกลิยะ วิวาทกันเรื่องไขน้ำเข้านา

ได้ยินว่า เจ้าศากยะและโกลิยะ ได้ให้สร้างทำนบกั้นน้ำอันหนึ่งใน

แม่น้ำชื่อ โรหิณี ซึ่งมีอยู่ระหว่างนครกบิลพัสดุ์ กับโกลิยนคร แล้วให้ทำ

ข้าวกล้าทั้งหลาย. ในครั้งนั้น เป็นเวลาต้นเดือน ๗ (พฤษภาคม-มิถุนายน

บาลีใช้คำว่า เชฏฺมูลมาเส) เมื่อข้าวกล้าทั้งหลาย กำลังเหี่ยวแห้ง กรรมกร

ทั้งสองพระนครจึงประชุมกัน. ในบรรดากรรมกรทั้งสองนั้น กรรมกรผู้อยู่

ในโกลิยนครกล่าวว่า น้ำนี้นำมาใช้เพื่อข้าวกล้าแห่งพวกเราทั้งสองพระนคร

จักไม่เพียงพอ ก็ข้าวกล้าของพวกเราจักสำเร็จด้วยน้ำที่มาทางเดียวเท่านั้น ขอ

พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกเรา ดังนี้. กรรมกรผู้อยู่ในพระนครกบิลพัสดุ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

กล่าวว่า เมื่อพวกท่านยังข้าวให้เต็มยุ้งแล้วก็ถือเอากหาปณะเงินทองแก้วไพฑูรย์

และโลหะทั้งหลายดำรงอยู่ ส่วนพวกเราก็จะมีเพียงกระบุง กระสอบเป็นต้น

อยู่ในมือ จักไม่อาจเที่ยวไปใกล้ประตูบ้านของพวกท่าน ข้าวกล้าแม้ของพวกเรา

ก็จักสำเร็จด้วยน้ำที่มาทางเดียวนั่นแหละ ขอพวกท่านจงให้น้ำนี้แก่พวกเรา

ดังนี้. กรรมกรผู้อยู่ในโกลิยนครกล่าวว่า พวกเราจักไม่ให้ กรรมกรผู้อยู่ใน

นครกบิลพัสดุ์ก็กล่าวว่าแม้พวกเราก็จักไม่ให้ จึงเกิดการโต้เถียงกัน คนหนึ่ง

ลุกขึ้นไปประหารคนหนึ่ง แม้คนนั้นก็ประหารคนอื่น ๆ ครั้นประหารซึ่งกัน

และกันอย่างนี้แล้ว ก็สืบต่อไปถึงชาติ ถึงราชตระกูลยังความทะเลาะวิวาทกัน

ให้เจริญแล้วด้วยประการฉะนี้.

กรรมกรของชาวโกลิยนครกล่าวว่า พวกท่านอยู่ในกบิลพัสดุ์ จับพวก

เด็ก ๆ ไปคุกคาม ชนพวกใดอยู่ร่วมกับพี่น้องหญิงของตน ชนพวกนั้น เหมือน

สุนัขจิ้งจอก ช้างทั้งหลาย ม้าทั้งหลาย โล่อาวุธทั้งหลายของชนพวกนั้น จักทำ

อะไรพวกเราได้ ดังนี้.

กรรมกรของเจ้าศากยะเหล่านั้นกล่าวว่า พวกท่านเป็นโรคเรื้อน

จักพวกเด็ก ๆ ไปขู่เข็ญ ชนพวกใดอาศัยอยู่ที่ต้นกระเบา เหมือนคนอนาถา

ไม่มีที่ไป เป็นดังสัตว์ดิรัจฉาน ช้างทั้งหลาย ม้าทั้งหลาย โล่และอาวุธ

ทั้งหลายของชนพวกนั้น จักทำอะไรพวกเราได้ ดังนี้.

กรรมกรเหล่านั้น ต่างก็ไปบอกแก่อำมาตย์ผู้ประกอบในการงานนั้น.

พวกอำมาตย์ก็กราบทูลแก่ราชตระกูล. ลำดับนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายกล่าวว่า

พวกเราจักแสดงกำลังและพลของพวกเราที่อยู่ร่วมกันกับพี่น้องหญิงทั้งหลาย

ดังนี้ เตรียมรบแล้วก็เสด็จออกไป. แม้เจ้าโกลิยะทั้งหลายก็กล่าวว่า พวกเรา

จักแสดงกำลังและพลของพวกเราผู้อยู่ที่โกลพฤกษ์ (ต้นกระเบา) ดังนี้ เตรียม

การรบแล้วก็เสด็จออกไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระมหากรุณาสมาบัติในเวลาใกล้รุ่ง

แห่งราตรีแล้ว ตรวจดูสัตว์โลกอยู่ได้ทรงเห็นชนเหล่านั้นตระเตรียมรบอย่างนี้

ออกไปแล้ว ครั้นทรงเห็นแล้วจึงใคร่ครวญว่า เมื่อเราไปแล้ว ความทะเลาะนี้

จักสงบหรือไม่หนอ ดังนี้ ได้ตกลงพระทัยว่า เราจักไปในที่นั้นแล้วจักกล่าว

ชาดก ๓ ชาดก เพื่ออันเข้าไปสงบระงับความทะเลาะวิวาทกัน กาลนั้นความ

ทะเลาะวิวาทก็จักสงบลง ต่อจากนั้นเราจักแสดงชาดก ๒ ชาดก เพื่อแสดงความ

สามัคดีแล้วจักแสดง อัตตทัณฑสูตร แม้ชาวพระนครทั้งสองฟังเทศนาแล้วก็จะ

ถวายพระกุมารตระกูลละ ๒๕๐ เราจักยังกุมารเหล่านั้นให้บรรพชา สมาคมใหญ่

จักมี ดังนี้.

เพราะฉะนั้น เมื่อชาวพระนครทั้งสองนี้ เตรียมรบแล้วออกไป

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงบอกใคร ๆ ทางถือเอาบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง

นั่นแหละ เสด็จไปประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศในระหว่างเสนามาตย์ทั้งสอง

พระนครทรงเปล่งฉัพพัณณรังสีแล้ว.

พวกชาวพระนครกบิลพัสดุ์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วคิดว่า พระ-

ศาสดาผู้ประเสริฐ เป็นพระญาติของพวกเราเสด็จมาแล้ว ความบาดหมางกัน

ของพวกเราพระองค์ทรงทราบแล้วหนอ ดังนี้ จึงคิดว่าก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จมาแล้ว พวกเราไม่อาจเพื่อจะใช้ศาสตรายังสรีระของผู้อื่นให้ตกไป พวก

ชาวโกลิยนคร จงฆ่าพวกเรา หรือว่า จงเผาพวกเราก็ตาม ดังนี้ จึงพากันทิ้ง

อาวุธทั้งหลายแล้วนั่งลงถวายบังคมพระบรมศาสดา. แม้ชาวโกลิยนครก็คิด

เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ พากันทิ้งอาวุธแล้วจึงนั่งถวายบังคมพระบรมศาสดา

เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งที่ทรงทราบอยู่นั่นแหละ ก็ตรัสถามว่า

ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เสด็จมา เพราะเหตุอะไร ดังนี้.

พระราชาทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์มิได้มาใน

ที่นี้ เพื่อเล่นกีฬาที่ท่าน้ำ ที่ภูเขา ที่แม่น้ำ หรือชมทิวทัศน์ภูเขา แต่พวก

ข้าพระองค์ยังสงความให้เกิดขึ้นแล้วจึงมา ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า มหาบพิตร พระองค์ทรงอาศัยอะไร

จึงทรงวิวาทกัน.

พระราชาทูลว่า น้ำพระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. มหาบพิตรน้ำมีค่ามากหรือ.

พระราชา. มีค่าน้อยพระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ชื่อว่า แผ่นดิน มีค่าหรือมหาบพิตร.

พระราชา. หาค่ามิได้ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. กษัตริย์ทั้งหลาย มีค่าหรือ.

พระราชา. ธรรมดาว่า กษัตริย์ทั้งหลายหาค่ามิได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์อาศัยน่าอันมีค่าเพียง

เล็กน้อยแล้วยังกษัตริย์ทั้งหลายอันหาค่ามิได้ให้พินาศไป เพื่อประโยชน์อะไร

ธรรมดาว่า ความพอพระทัยในความบาดหมางกัน ย่อมไม่มี ดูก่อนมหาบพิตร

ความอาฆาตอันรุกขเทวดาองค์หนึ่งกับหมีผูกพันกันแล้ว เพราะทำเวรในสิ่งที่

ไม่ควร ด้วยอำนาจแห่งความทะเลาะกัน ความอาฆาตนั้นจักเป็นไปตลอดกัป

นี้แม้ทั้งสิ้น ดังนี้ แล้วตรัสผันทนชาดก.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มหาบพิตร พระองค์ไม่พึง

เป็นผู้ชื่อว่า มีบุคคลอื่นเป็นปัจจัย เพราะว่าบุคคลมีผู้อื่นเป็นปัจจัยแล้ว หมู่

สัตว์จตุบาททั้งหลายในหิมวันต์อันแผ่ไปตั้งสามพันโยชน์ จึงได้พากันแล่นไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

แล้วยังมหาสมุทร ด้วยถ้อยคำของกระต่ายตัวหนึ่ง เพราะฉะนั้นแหละ พระองค์

จึงไม่ควรมีผู้อื่นเป็นปัจจัย ดังนี้ แล้วตรัสปฐวีอุทริยนชาดก.

ลำดับนั้นแหละตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ในกาลไหน ๆ สัตว์ที่มี

กำลังทรามเห็นอยู่ซึ่งโทษ เห็นโอกาสที่ประทุษร้ายสัตว์ที่มีกำลังมาก ดูก่อน

มหาบพิตร หรือว่าในกาลไหน ๆ สัตว์ที่มีกำลังมาก เห็นโทษเห็นโอกาสที่จะ

ประทุษร้ายสัตว์ที่มีกำลังทรามมีอยู่ เพราะว่า แม้นางนกมูลไถ (คล้ายนก

กระจาบฝนแต่ใหญ่กว่าเล็กน้อย) ก็ยังช้างใหญ่ให้ตายได้ ดังนี้ แล้วตรัส

ลฎกิกชาดก

ครั้นตรัสชาดกทั้ง ๓ เพื่อต้องการความสงบระงับแห่งความวิวาทอย่าง

นี้แล้ว เพื่อต้องการแสดงความสามัคคี จึงตรัสชาดกอีก ๒ ชาดก. ถามว่า

พระองค์ตรัสอย่างไร. ตอบว่า ตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร จริงอยู่ ใคร ๆชื่อว่า

ย่อมสามารถเห็นช่องทางแห่งความเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ดังนี้ แล้วก็ตรัส

รุกขธัมมชาดก. จากนั้น ก็ตรัสอีกว่า ดูก่อนมหาบพิตร ใคร ๆ ไม่สามารถ

เพื่อเห็นช่องทางแห่งผู้พร้อมเพรียงกันได้ ก็ในกาลใด ชนทั้งหลายทำความ

บาดหมางซึ่งกันและกัน ในกาลนั้น บุตรของนายพรานจึงพาชนเหล่านั้นไป

ฆ่าเสีย เพราะเหตุนั้น ขึ้นชื่อว่า ความชอบใจในความวิวาทกันจึงไม่มี ดังนี้

แล้วตรัสวัฎฎกชาดก. ครั้นตรัสชาดกทั้ง ๕ เหล่านี้ อย่างนี้แล้ว ในที่สุดก็

ตรัสอัตตทัณฑสูตร.

พระราชาผู้อยู่ในพระนครทั้งสองทรงเลื่อมใสแล้ว ตรัสว่า ถ้าพระ-

ศาสดาไม่เสด็จมาแล้วไซร้ พวกเราทั้งหลายผู้มีอาวุธในมือจักฆ่าซึ่งกันและกัน

จักยังแม่น้ำคือโลหิตให้ไหลไป พวกเราทั้งหลายก็จักไม่เห็นบุตรและพี่ชาย

น้องชายของพวกเรา จักไม่เห็นแม้ประตูบ้าน การนำข่าวสาส์นและการตอบ

ข่าวสาส์นของพวกเราก็จักไม่ได้มีแล้ว ชีวิตของพวกเราได้แล้ว เพราะอาศัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

พระศาสดา ก็ถ้าว่าพระศาสดาได้อยู่ครอบครองราชสมบัติไซร้ บริวารสองพัน

ทวีปก็จักอยู่ในพระหัตถ์ (ในอำนาจ) ของพระองค์ซึ่งเสวยราชสมบัติในทวีป

ทั้ง ๔ ทั้งบุตรของพระองค์ก็พึงมีเกินพันแน่ คราวนั้นแหละ พระองค์ก็จักมี

กษัตริย์เป็นบริวารเที่ยวเสด็จไป ก็แต่ว่า พระองค์ทรงสละราชสมบัตินั้นแล้ว

แลเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ บรรลุสัมโพธิญาณแล้ว แม้ในบัดนี้ก็ขอให้

พระองค์มีกษัตริย์เป็นบริวารเสด็จเที่ยวไปเถิด ดังนี้ แล้วถวายพระกุมาร

ตระกูลละ ๒๕๐ องค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระกุมารเหล่านั้นให้บวชแล้วเสด็จไปสู่

มหาวัน (ป่าใหญ่) ครั้งนั้น ความไม่ยินดียิ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้

บวชด้วยความเคารพตามความพอใจของตน. แม้ภรรยาเก่าของท่านเหล่านั้นก็

คิดว่า การครองเรือนอยู่ลำบาก ขอพระลูกเจ้าจงสึกเถิด เป็นต้น แล้วส่งข่าว

นั้นไป. ภิกษุเหล่านั้นมีความกระวนกระวายใจเป็นอันมาก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใคร่ครวญอยู่ทรงทราบแล้ว ซึ่งความที่ภิกษุ

เหล่านั้นไม่มีความยินดี ทรงพระดำริว่า พวกภิกษุเหล่านี้อยู่ร่วมกับพระพุทธเจ้า

ผู้เช่นกับด้วยเรายังกระสันอยู่ (อยากสึก) เอาเถอะ เราจักพรรณนาถึงทะเลสาบ

แห่งนกดุเหว่าแก่ภิกษุเหล่านั้นแล้วนำไปในที่นั้น ก็จักบรรเทาความไม่ยินดีได้

ดังนี้ แล้วได้กล่าวพรรณนาถึงทะเลสาบอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งนกดุเหว่านั้นแก่

ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นใคร่เพื่อจะเห็นทะเลสาบแห่งนกนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอใคร่เพื่อ

จะเห็นหรือ.

พวกภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ใคร่

เพื่อจะเห็น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ถ้าพวกเธอประสงค์อย่างนี้ ก็จงมา เราจักไป.

ภิกษุ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์จักไปสู่ที่เป็นที่เข้าถึง

ของบุคคลผู้มีฤทธิ์ได้อย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. พวกเธอใคร่จะไป เราก็จักพาไปด้วยอานุภาพ

ของเรา.

พระภิกษุ. ดีแล้ว พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพาภิกษุ ๕๐๐ รูป เหาะขึ้นไปในอากาศแล้ว

หยุดลงที่ทะเลสาบอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพวกนกดุเหว่า แล้วตรัสกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทะเลสาบอันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งนกดุเหว่านี้

พวกเธอยังไม่รู้จักชื่อปลาเหล่าใด จงถามเราดังนี้ ภิกษุเหล่านั้นทูลถามแล้ว ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกคำอันพวกภิกษุเหล่านั้นทูลถามแล้ว ๆ อนึ่ง

ทรงอนุญาตให้พวกภิกษุเหล่านั้นทูลถามชื่อปลาเหล่านั้นเท่านั้นก็หาไม่ ให้

ทูลถามถึงชื่อแห่งต้นไม้ทั้งหลายในไพรสณฑ์นั้นบ้าง ชื่อแห่งพวกนกมีสองเท้า

และสี่เท้าบ้าง และก็ตรัสบอกแล้ว.

ลำดับนั้น นกดุเหว่าผู้เป็นสกุณราช เกาะที่ท่อนไม้อันพวกนกเหล่านั้น

ใช้จงอยปากคาบถือเอาไว้แวดล้อมมาอยู่ด้วยหมู่แห่งนกทั้งสองข้าง คือ ทั้ง

ข้างหน้าและข้างหลัง. พวกภิกษุเห็นนกนั้นแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ย่อมสำคัญว่า นกดุเหว่าตัวนั้นจักเป็นราชาแห่งพวก

นกเหล่านี้ พวกนกเหล่านี้จักเป็นบริวารของนกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

อย่างนั้นนั่นแหละ แม้ข้อนี้ก็เป็นเช่นวงศ์ของพวกเรา เป็นประเพณีของเรา

เหมือนกัน. ภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ พวกข้าพระองค์

เห็นนกเหล่านี้เท่านั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำใดว่า แม้นี้ก็เป็นวงศ์

ของเราเป็นประเพณีของเราเหมือนกัน ดังนี้ พวกข้าพระองค์ใคร่เพื่อจะสดับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

ฟังพระดำรัสนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

ต้องการจะฟังหรือ. พวกภิกษุรับพระดำรัสว่า พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงพึง. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

กุณาลชาดก อันประดับด้วยพระคาถา ๓๐๐ คาถา ทรงบรรเทาแล้วซึ่งความ

ไม่ยินดียิ่งของพวกภิกษุเหล่านั้น. ในเวลาจบเทศนา ภิกษุแม้ทั้งหมด (๕๐๐)

ตั้งอยู่เฉพาะแล้วในโสดาปัตติผล. แม้ฤทธิ์ของภิกษุเหล่านั้นก็มาแล้ว (สำเร็จ

แล้ว) ด้วยมรรคนั้นนั่นแหละ. เรื่องของภิกษุทั้งหลาย ขอหยุดไว้เพียงเท่านี้

ก่อน จากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นไป ในอากาศได้เสด็จไปสู่มหาวัน

แล้วทีเดียว. แม้ภิกษุเหล่านั้น ในเวลาไป ได้ไปด้วยอานุภาพของพระทศพล

ในเวลามาได้แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้ามาหยั่งลงในมหาวัน ด้วยอานุภาพ

ของตน.

พระองค์เสด็จประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วตรัสเรียกภิกษุ

เหล่านั้นมาด้วยคำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงมานั่ง เราจักบอก

กรรมฐานแก่พวกเธอซึ่งยังมีกิเลสที่ควรฆ่าด้วยมรรค ๓ เบื้องบน ดังนี้ แล้ว

ตรัสบอกกรรมฐาน. ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึง

ความที่พวกเรามีความไม่ยินดียิ่ง จึงทรงนำมายังทะเลสาบอันเป็นที่อาศัยอยู่

แห่งพวกนกดุเหว่า ทรงบรรเทาความไม่ยินดี โดยตรัสกุณาลชาดก เมื่อพวก

เราบรรลุโสดาปัตติผลในที่นั้นแล้ว บัดนี้ ได้ประทานกรรมฐานเพื่อบรรลุ

มรรค ๓ ในที่มหาวันนี้ ก็การที่พวกเราให้เวลาผ่านไปโดยคิดว่า พวกเราเข้า

ถึงกระแสธรรมแล้ว ดังนี้. ย่อมไม่สมควรเลย การที่พวกเราเป็นเช่นกับพวก

ชนทั้งหลายก็ไม่สมควร ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นจึงถวายบังคมพระยุคลบาทพระ-

ศาสดาแล้วลุกขึ้นจับผ้าสิสีทนะสำหรับนั่งสะบัดแล้วปูนั่งในที่เฉพาะตน และนั่ง

แล้วที่โคนไม้ใกล้เงื้อมเขา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า แม้ว่า ภิกษุเหล่านี้จะมีการงานยัง

ไม่คุ้นแล้ว ตามปกติ แต่ชื่อว่าเหตุที่ทำให้ลำบากของภิกษุผู้ได้อุบายแล้ว ย่อม

ไม่มี เมื่อภิกษุเหล่านี้แยกย้ายกันไปปฏิบัติ เริ่มตั้งวิปัสสนาบรรลุอรหัต

แล้วก็จักมาสู่สำนักของเรา ด้วยประสงค์ว่า พวกเราจักบอกคุณวิเศษที่ตนแทง

ตลอดแล้ว ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านี้มาแล้ว พวกเทวดาในหมื่นจักรวาลจักประชุม

กันในจักรวาลหนึ่ง (นี้) มหาสมัย คือ การประชุมใหญ่ จักมี เราจึงควร

นั่งในโอกาสอันสงัด ดังนี้. ลำดับนั้น จึงเสด็จประทับนั่ง ณ พุทธอาสนะใน

ที่อันสงัด.

พระเถระผู้ไปถือเอากรรมฐานก่อนกว่าภิกษุทั้งหมด บรรลุแล้วซึ่ง

พระอรหัต พร้อมกับปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ต่อจากนั้น ภิกษุอื่นอีก ๆ โดย

ทำนองนี้ ขยายออกไปจนถึง ๕๐๐ รูป บรรลุพระอรหัตพร้อมกับปฏิสัมภิทา

ทั้งหลาย เหมือนดอกปทุมทั้งหลายขยายออกไปจากกอปทุม ฉะนั้น.

ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตก่อนกว่าภิกษุทั้งปวง คิดว่า เราจักกราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ จึงแยกบัลลังก์แล้วลุกขึ้นจับผ้านิสีทนะสะบัดแล้วได้

มุ่งหน้าต่อพระทศพลไปแล้ว. ภิกษุอื่นอีก ๆ ด้วยอาการอย่างนี้แม้ทั้ง ๕๐๐ รูป

ได้ไปแล้วโดยลำดับเทียว ราวกะว่า เข้าไปสู่ โรงฉันอาหาร ภิกษุผู้มา

ก่อนถวายบังคมแล้วปูผ้านิสีทนะ (ผ้าสำหรับรองนั่ง) แล้วก็นั่ง ณ ที่

สมควรส่วนข้างหนึ่งเป็นผู้ใคร่เพื่อจะบอกคุณวิเศษที่ตนแทงตลอดแล้ว และ

เหลียวกลับแลดูทางที่ตนมา ด้วยคิดว่า ใคร ๆ อื่นมีอยู่หรือไม่หนอ ดังนี้

ไม่เห็นแล้วแม้บุคคลอื่นเลย เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้น แม้ทั้งหมดมาแล้ว

นั่งแล้ว ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ๆ ภิกษุนี้มาอยู่ก็ไม่บอกแก่ภิกษุนี้ แม้ภิกษุ

นี้มาแล้วก็ไม่บอกแก่ภิกษุนี้เหมือนกัน ได้ยินว่าอาการ ๒ อย่าง ย่อมมี แก่

พระขีณาสพทั้งหลาย คือ ท่านยังจิตให้เกิดขึ้นว่า โอหนอ สัตว์โลก พร้อม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

ทั้งเทวโลกพึงแทงตลอดซึ่งคุณอันเราแทงตลอดได้โดยพลันเหมือนกันเถิด ดังนี้

และพระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่ประสงค์จะบอกคุณวิเศษแก่กันและกัน

เหมือนบุรุษผู้ได้ขุมทรัพย์แล้วไม่บอกขุมทรัพย์อันตนรู้เฉพาะแล้วนั้น.

ก็ครั้นเมื่ออริยมณฑล คือ มรรคอันยังผลให้เกิดขึ้นอย่างนี้ เกิดขึ้น

แล้ว มณฑลแห่งพระจันทร์เพ็ญก็ปราศจากเครื่องเศร้าหมองเหล่านี้ คือ หมอก

น่าค้าง ควันไฟ ธุลี และราหู (เจ้าแห่งพวกอสูร) โดยรอบเทือกเขายุคันธร

แห่งทิศปราจีน อันประกอบด้วยสิริดุจล้ออันสำเร็จด้วยเงินที่บุคคลจับให้หมุน

ไปอยู่โลดแล่นขึ้นดำเนินไปสู่กลางหาว (ท้องฟ้า) เหมือนมณฑลแห่งแว่นใหญ่

อันสำเร็จแล้วด้วยเงินที่ยกขึ้นไว้ทางทิศปราจีน เพื่อแสดงถึงสิ่งซึ่งเป็นที่น่า

เพลิดเพลินของโลกที่ประดับด้วยพุทธุปบาทนี้ ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ในสักกชนบทชั่วขณะหนึ่ง คือเป็น

เวลาชั่วระยะหนึ่ง ครู่หนึ่งกับด้วยหมู่แห่งภิกษุ ๕๐๐ รูปซึ่งเป็นหมู่ใหญ่ในป่าใหญ่

ใกล้พระนครกบิลพัสดุ์ ภิกษุทั้งหมดนั่นแหละเป็นพระอรหันต์ดังพรรณนามา

ฉะนี้. พึงทราบความต่อไปอีกว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นในวงศ์แห่ง

พระเจ้ามหาสมมต แม้พวกภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นก็เกิดในตระกูลของพระเจ้า

มหาสมมต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดในครรภ์แห่งกษัตริย์ แม้ภิกษุเหล่านั้นก็

เกิดในครรภ์แห่งกษัตริย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นราชบรรพชิต แม้ภิกษุเหล่านั้น

ก็เป็นราชบรรพชิต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเศวตฉัตรสละความเป็นพระเจ้า

จักรพรรดิอันอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ผนวชแล้ว แม้ภิกษุเหล่านั้นก็ละเศวตฉัตร

สละความเป็นพระราชาทั้งหลายอันอยู่ในเงื้อมมือบวชแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วโดยพระองค์เอง ในโอกาส

อันบริสุทธิ์แล้วในส่วนแห่งราตรีอันบริสุทธิ์แล้ว ทรงมีบริวารอันบริสุทธิ์แล้ว

ทรงมีราคะปราศจากไปแล้ว มีบริวารซึ่งมีราคะปราศจากไปแล้ว มีโทสะ

ปราศจากไปแล้ว มีบริวารซึ่งมีโทสะปราศจากไปแล้ว มีโมหะปราศ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

จากไปแล้ว มีบริวารซึ่งมีโมหะปราศจากไปแล้ว มีตัณหาออกแล้ว มีบริวาร

ผู้มีตัณหาออกแล้ว ไม่มีกิเลส มีบริวารผู้ไม่มีกิเลส ทรงสงบระงับแล้ว มีบริวาร

ผู้สงบระงับแล้ว ทรงฝึกดีแล้ว มีบริวารที่ฝึกดีแล้ว ทรงเป็นผู้พ้นแล้ว มี

บริวารผู้พ้นแล้ว จึงรุ่งโรจน์ยิ่งในป่าใหญ่นั้น ดังนี้ . คำว่า สักกะ นี้มีมาก

ประมาณเพียงไร บัณฑิตพึงกล่าวเพียงนั้น นี้ชื่อว่า วรรณภูมิ. คำว่า ภิกษุ

มีประมาณ ๕๐๐ รูปล้วนเป็นพระอรหันต์ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาภิกษุเหล่านี้

ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า เยภุยฺเยน แปลว่า โดยมาก คือได้แก่ พวกเทวดาทั้งหลาย

ที่ประชุมกันมีมาก พวกที่ไม่ได้ประประชุมกันมีน้อย คือ พวกที่เป็นอสัญญ-

สัตว์และเกิดในอรูปาวจรเท่านั้น.

พวกเทวดาหมื่นจักรวาลประชุมกัน

พึงทราบลำดับแห่งเทวดาทั้งหลายที่มาประชมกันในป่ามหาวัน ดังต่อ

ไปนี้

ได้ยินว่า พวกเทวดาผู้อาศัยอยู่รอบ ๆ ป่ามหาวัน ส่งเสียงดังว่า ข้า

แต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกเราจงมา ชื่อว่าการเห็นพระพุทธเจ้ามีอุปการะมาก

การฟังธรรมมีอุปการะมาก การเห็นพระสงฆ์ก็มีอุปการะมาก พวกเราทั้งหลาย

จงมา ๆ เถิด ดังนี้ จึงมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระขีณาสพซึ่ง

บรรลุพระอรหัตในครู่นั้นแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. โดยอุบาย

นี้นั่นแหละ พวกเทวดาทั้งหลายพึงเสียงเทวดาเหล่านั้นสิ้นสามครั้งในหิมวันต์อัน

แผ่ออกไปสามพันโยชน์ด้วยสามารถแห่งเสียงมีเสียงระหว่างกึ่งคาวุต หนึ่ง คาวุต

กึ่งโยชน์ หนึ่งโยชน์เป็นต้น พวกเทวดาในชมพูทวีปทั้งสิ้น คือผู้อาศัยอยู่ใน

พระนคร ๖๓ พัน ที่ลำรางน้ำ ๙๙ แสน ที่เมืองท่า ๙๖ แสน และในที่เป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

ที่เกิดแห่งรัตนะ คือทะเล ๕๖ แสน ในจักรวาลทั้งสิ้น คือ ในบุพวิเทหะ

อมรโคยานะ อุตตรกุรุและในทวีปเล็ก ๒ พัน ต่อจากนั้น เทวดาที่อยู่ใน

จักรวาลที่สอง โดยทำนองนี้แหละ. บัณฑิตพึงทราบว่าพวกเทวดาทั้งหลายใน

หมื่นจักรวาลนาประชุมกันแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ก็หมื่นจักรวาลในที่นี้ ท่านประสงค์เอาโลกธาตุสิบ ด้วยเหตุนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทสหิ จ โลกธาตูหิ เทวตา เยภุยฺเยน สนฺนิปติกา

โหนฺติ (แปลว่า ก็เทวดานาแต่โลกธาตุสิบแล้วประชุมกันโดยมาก) ครั้นเมื่อ

ความเป็นอย่างนี้ ห้องแห่งจักรวาลทั้งสิ้น ก็เต็มไปด้วยเทวดาทั้งหลายผู้มา

ประชุมกันแล้วตั้งแต่พรหมโลกมา ราวกะเข็มที่บุคคลทะยอยใส่ในกล่องเข็มโดย

ไม่ขาดระยะฉะนั้น. ในที่นี้นั้น พึงทราบความสูงของพรหมโลก อย่างนี้ว่า

ได้ยินว่า ในโลหปราสาท มีก้อนหินเท่าเรือนยอดแห่งบรรพต ตั้งอยู่

ในพรหมโลก ทิ้งก้อนหินนั้นลงมายังโลกมนุษย์นี้ ๔ เดือน จึงตกถึงแผ่นดิน.

ในโอกาส คือที่ว่างอันกว้างใหญ่อย่างนี้ บุคคลยืนอยู่ข้างล่างขว้างปาดอกไม้

หรือต้นไม้ย่อมไม่ได้เพื่อไปในเบื้องบน หรือยืนอยู่เบื้องบนเอาเมล็ดพรรณผัก

กาดโยนไปข้างล่าง ย่อมไม่ได้ช่องเพื่อตกไปในเบื้องล่างได้ ด้วยอาการอย่างนี้

เทวดาทั้งหลายได้มาไม่ขาดระยะจนหาที่ว่างมิได้.

อนึ่ง ที่เป็นที่ประทับนั่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมไม่คับแคบ

กษัตริย์ทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่เสด็จมาแล้ว ๆ ย่อมได้โอกาส คือช่องว่าง ที่เดียว

ความคับแคบยิ่งข้างนี้และข้างนี้ย่อมไม่มีฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นแหละ ที่เป็นที่

ประทับนั่งของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่คับแคบ ไม่มีสิ่งขัดขวาง พวกเทวดาผู้มี

ศักดิ์ใหญ่ และพวกพรหมทั้งหลายมาแล้ว ๆ ยังที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมไม่มีสิ่งขัดขวางย่อมได้โอกาส คือ ช่องว่างทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

ได้ยินว่า พวกเทพทั้งหลาย ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง เนรมิตอัตภาพ

ให้เล็ก แล้วอยู่ในที่สักว่าเจาะเข้าไปเท่าปลายขน ณ ที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี.

พวกเทพ ๖๐ พวก ได้ยืนอยู่ข้างหน้าของเทวดาทั้งปวง. บทว่า สุทฺธาวา-

สกายิกาน แปลว่า ผู้อยู่ในสุทธาวาส. พรหมโลก ๕ ชั้น อันเป็นที่อยู่แห่ง

พระอนาคามีและพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า สุทธาวาส. บทว่า เอตทโหสิ

แปลว่า พวกพรหมได้มีความดำริ. ถามว่า เพราะเหตุไร พวกพรหมจึงมี

ความดำริ. ตอบว่า ได้ยินว่า พวกพรหมเหล่านั้นเข้าสมาบัติและก็ออกตามที่

กำหนดไว้ แล้วแลดูภพของพรหมทั้งหลายได้เห็นความว่างเปล่า เหมือนเรือน

ภัตในเวลาที่บุคคลกินแล้ว (ในเวลาภายหลังแห่งภัต) ทีนั้น จึงพิจารณาดูว่า

พวกพรหมเหล่านั้นไปไหน ทราบแล้วซึ่งสมาคมใหญ่ว่า สมาคมนี้ พวกเรา

โดยมากซึ่งถูกปล่อยทิ้งไว้ข้างหลังแล้ว ก็โอกาสของบุคคลผู้ล้าหลังย่อมหาได้ยาก

เพราะฉะนั้น พวกเราเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า ควรแต่งคาถาองค์ละคาถา

แล้วจักไป พวกเราจักให้เขารู้ซึ่งความที่ตนมาแล้วในสมาคมใหญ่ ด้วยคาถานี้

และจะกล่าวพรรณนาคุณของพระทศพล ดังนี้ด้วยประการฉะนี้ ความดำรินี้

จึงได้มีแล้ว เพราะความที่พวกพรหมเหล่านั้นออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณา.

พระบาลีว่า ภควโต ปุรโต ปาตุรหสุ แปลความว่า มาปรากฏ

อยู่เฉพาะหน้าของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือได้แก่ พวกพรหมที่กล่าวคาถาใน

สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนหยั่งลงในที่เฉพาะหน้า. ก็เนื้อความอย่างนี้

ในที่นี้ไม่พึงเข้าใจอย่างนั้น ก็พวกพรหมเหล่านั้นดำรงอยู่ในพรหมโลกนั่นแหละ

ร้อยกรองคาถาทั้งหลายแล้ว องค์หนึ่งหยั่งลงที่ขอบจักรวาลค้านปุรัตถิมทิศ

(ทิศตะวันออก) องค์หนึ่งหยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านทิกษิณ (ทิศใต้) องค์หนึ่ง

หยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านปัจฉิม (ทิศตะวันตก) องค์หนึ่งหยั่งลงที่ชอบจักรวาล

ด้านอุดร (ทิศเหนือ).

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

ลำดับนั้น พระพรหมผู้หยั่งลงที่ชอบจักรวาลด้านปุรัตถิมทิศ เข้า

สมาบัติมีนีลกสิณ เป็นอารมณ์แล้วปล่อยรัศมีสีเขียว ยังเทวดาในหมื่นจักรวาล

ให้รู้ซึ่งความที่ตนมาแล้ว เหมือนบุคคลสวมใส่อยู่ซึ่งหนังสำเร็จแล้วด้วยแก้วมณี

ธรรมดาว่า พุทธวิถีใคร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อจะให้ยิ่งกว่า เพราะฉะนั้น พรหมจึง

มาตามพุทธวิถีอันตนไม่สามารถผ่านไป ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้

ยืนอยู่. ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้วก็ได้ภาษิต

คาถาที่ตนแต่งมา.

พระพรหมองค์หนึ่งซึ่งหยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านทักษิณ เข้าสมาบัติ

มีปิตกสิณเป็นอารมณ์เดียว ปล่อยรัศมีสีทอง ยังพวกเทวดาในหมื่นจักรวาล

ให้รู้ซึ่งความที่ตนมาแล้ว เหมือนบุคคลห่มผ้าสีทองอยู่ แล้วได้กระทำเหมือน

อย่างนั้นนั่นแหละ (เหมือนองค์ก่อน).

พระพรหมผู้หยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านปัจฉิม เข้าสมาบัติมีโลหิตกสิณ

เป็นอารมณ์ แล้วปล่อยรัศมีสีแดง ยังพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลให้รู้ซึ่งความ

ที่ตนมาแล้ว เหมือนบุคคลพันกายอยู่ด้วยผ้ากัมพลอันประเสริฐซึ่งมีสีแดง แล้ว

กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.

พระพรหมผู้หยั่งลงที่ขอบจักรวาลด้านอุดร เข้าสมาบัติโอทาตกสิณ

แล้วปล่อยรัศมีสีขาว ยังพวกเทวดาในหมื่นจักรวาลให้รู้ซึ่งความที่ตนมาแล้ว

เหมือนบุคคลห่มอยู่ซึ่งแผ่นผ้าดอกมะลิ แล้วได้ทำเหมือนอย่างนั้นเหมือนกัน.

แต่ในพระบาลีกล่าวว่า ในครั้งนั้นแหละ พวกเทวดา ๔ องค์นั้น

ได้หายจากหมู่พรหมชั้นสุทธาวาส มาปรากฏอยู่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วน

ข้างหนึ่ง ดังนี้ ราวกะในขณะเดียวกันทั้ง ๔ องค์ คือว่า ความปรากฏเฉพาะ

พระพักตร์ด้วย ความเป็นคือถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วน

ข้างหนึ่งด้วย ที่แท้นั้น พระพรหมนั้นได้มีแล้ว โดยลำดับตามที่กล่าวแล้วนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

ท่านกล่าวแสดงกระทำรวมกัน. ก็การกล่าวคาถาของเทวดาทั้ง ๔ นั้น แม้

ในพระบาลีท่านก็กล่าวไว้คนละส่วนเหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาสมโย แก้เป็น มหาสมูโห แปลว่า

การประชุมใหญ่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก ป่าใหญ่ ว่าไพรสณฑ์. แม้

ด้วยคำทั้งสองนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า การประชุมกัน คือการประชุม-

ใหญ่ในไพรสณฑ์ ในวันนี้ ดังนี้. ลำดับนั้น เพื่อแสดงถึงเทวดาที่ประชุมกัน

จึงกล่าวว่า เทวกายา สมาคตา แปลว่า พวกเทวดามาประชุมกันแล้ว.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เทวกายา แก้เป็น เทวฆฏา แปลว่า

พวกเทวดา. บทว่า อาคตมฺห อิม ธมฺมสมย แปลว่า พวกข้าพเจ้า

มาแล้วสู่ที่ชุมนุมอันเป็นธรรมนี้ ความว่า เพราะเห็นหมู่เทวดามาประชุมกัน

แล้วอย่างนี้ แม้พวกข้าพเจ้าก็มาแล้ว สู่ที่ประชุมอันเป็นธรรมนี้. ถามว่า

เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะเพื่อจะเยี่ยมพระสงฆ์ผู้อันใคร ๆ ให้แพ้ไม่ได้.

บทว่า ทกฺขิตาเยว อปราชิตสฆ แปลว่า เพื่อจะเยี่ยมหมู่พระอันใคร ๆ

ให้แพ้ไม่ได้นี้ อธิบายว่า พวกข้าพเจ้ามาแล้วเพื่อจะเห็นพระสงฆ์ผู้อันใคร ๆ

ให้แพ้ไม่ได้ ผู้มีสงครามอันตนย่ำยีมารทั้งสามชนะได้แล้วในวันนี้แล.

ก็พรหมนั้น ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วได้ยืนอยู่ ขอบจักรวาลด้านปุรัตถิมทิศ. ลำดับนั้น พรหมองค์ที่สอง

ก็มาแล้วโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ได้กล่าวคาถาว่า ตตฺร ภิกฺขโว

สมาทหสฺ เป รกฺขนฺติ ปณฺฑฺตา แปลความว่า

ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้นตั้งมั่น

แล้ว ได้ทำจิตของตนให้ตรงแล้ว ภิกษุ

ทั้งปวงนั้นเป็นบัณฑิต ย่อมรักษาอินทรีย์

ทั้งหลาย ดุจดังว่านายสารถีถือบังเหียน

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร ภิกฺขโว แก้เป็น ตสฺมึ

สนฺนิปาตฏฺาเน ภิกฺขู แปลว่า ภิกษุทั้งหลายในที่ประชุมนั้น. บทว่า

สมาทหสุ เเปลว่า ตั้งจิตมั่นแล้ว คือได้แก่ ประกอบแล้วด้วยสมาธิ. บทว่า

อตฺตโน อุชุกมกสุ แปลว่า ได้ทำจิตของตนให้ตรงแล้ว อธิบายว่า

ละแล้วซึ่งจิตทั้งปวงของตน อันเป็นส่วนที่คดโค้งที่ไม่ตรงแล้ว ทำให้ตรง.

บทว่า สารถีว เนตฺตานิ คเหตฺวา แปลว่า นายสารถีถือบังเหียน

อธิบายว่า เมื่อม้าสินธพวิ่งไปดีแล้ว นายสารถีผู้มีปะฏักห้อยลงแล้ว ถือเอาซึ่ง

บังเหียนทั้งปวงแล้ว ไม่เตือนอยู่ ไม่เหยียดปะฏักออกอยู่ ถือบังเหียนมั่นอยู่

ฉันใด ภิกษุ ๕๐๐ รูป ทั้งหมดเหล่านี้ ประกอบด้วยฉฬังคุเบกขา มีทวาร

อันคุ้มครองแล้ว เป็นบัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย ฉันนั้น ด้วยอาการ

อย่างนี้แหละ เทวดาทั้งหลายจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้า-

พระองค์มาแล้วในที่นี้เพื่อเห็นภิกษุเหล่านั้น. แม้เทวดาองค์นั้น ไปแล้วก็ยืนอยู่

ในที่สมควรนั่นแหละ.

ลำดับนั้น พรหม องค์ที่สามก็มาแล้วโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ

ได้กล่าวคาถาว่า เฉตฺวา ขีล เฉตฺวา ปลีฆ ฯเปฯ สุสู นาคา แปลว่า

ภิกษุทั้งหลายนั้นตัดกิเลสดังตะปู

เสียแล้ว ตัดกิเลสดังว่าลิ่มลลักเสียแล้ว

ถอนกิเลสดังว่าเสาเขื่อนเสียแล้ว มิได้มี

ความหวั่นไหว เป็นผู้หมดจด ปราศจาก

มลทิน อันพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุทรงฝึกดี

แล้ว เป็นหมู่นาคหนุ่มไปอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เฉตฺวา ขีล แปลว่า ตัดกิเลสดัง

ตะปูเสียแล้ว คือว่า ตัดราคะโทสะและโมหะเพียงดังตะปูเสียแล้ว. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

ปลีฆ แปลว่า ลิ่มสลัก ได้แก่ ราคะโทสะและโมหะนั่นแหละเป็นดังลิ่มสลัก

บทว่า อินฺทขีล แปลว่า เสาเขื่อน ได้แก่ ราคะโทสะและโมหะนั่นแหละ

เป็นดังเสาเขื่อน. บทว่า โอหจฺจมเนชา แปลว่า มิได้มีความหวั่นไหว

อธิบายว่า ภิกษุเหล่านี้มิได้มีความหวั่นไหว ด้วยความหวั่นไหว คือ ตัณหา

เป็นผู้ดึงขึ้นแล้ว ถอนขึ้นแล้วซึ่งตัณหา เพียงดัง เสาเขื่อน. บทว่า เต จรนฺติ

แปลว่า ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวไปอยู่ อธิบายว่า ย่อมเที่ยวจาริกไปโดยไม่ถูก

กระทบกระเทือนแล้วในทิศทั้ง ๔. บุทว่า สุทฺธา แปลว่า เป็นผู้หมดจด

ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีอุปกิเลส. บทว่า วิมลา แปลว่า ปราศจากมลทิน คือ

ไม่มีมลทิน. คำว่า ปราศจากมลทินนี้เป็นไวพจน์ของคำว่า เป็นผู้หมดจด

แล้วนั้นนั่นแหละ บทว่า จกฺขุมา แปลว่า ผู้มีจักษุ คือได้แก่ ผู้มีจักษุ ๕

บทว่า สุทนฺตา แปลว่า ฝึกดีแล้ว ได้แก่ ฝึกแล้วทางจักษุบ้าง ทางโสตบ้าง

ทางฆานะบ้าง ทางชิวหาบ้าง ทางกายบ้าง และทางใจบ้าง. บทว่า สุสู นาคา

แปลว่า เป็นหมู่นาคหนุ่ม ได้แก่ เป็นนาครุ่นหนุ่ม.

พึงทราบวจนัตถะในคำว่า นาคะนั้น ดังนี้.

ฉนฺทาทีห น คจฺฉนฺตีติ นาคา

ชนเหล่าใด ย่อมไม่ลำเอียง ด้วยอคติทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น เหตุนั้น

ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า นาคา.

เตน เตน มคฺเคน ปหีเน กิเลเส น อาคจฺฉนฺตีติ นาคา

ชนเหล่าใด ย่อมไม่มาสู่กิเลสทั้งหลายอันมรรคนั้น ๆ ละแล้ว เหตุนั้น

ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า นาคา.

นานปฺปการ อาคุ น กโรนฺตีติ นาคา

ชนเหล่าใด ย่อมไม่กระทำความผิดมีประการต่าง ๆ เหตุนั้น ชน

เหล่านั้น จึงชื่อว่า นาคา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

นี้เป็นเนื้อความย่อในคำว่า นาคะ นี้ ส่วนความพิสดาร พึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวไว้ในมหานิทเทส.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ในที่นี้ว่า บุคคลย่อมไม่ทำ

ความชั่ว ย่อมไม่ติดในเครื่องผูกอันประกอบไว้ในโลกอย่างใด ๆ ในที่ทั้งปวง

เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ท่านเรียกว่า นาคะ คือ ผู้คงที่มั่นคง. ในบทว่า สุสู

นาคา นี้อธิบายว่า หมู่นาคหนุ่ม ถึงแล้วซึ่งสมบัติแห่งความเป็นนาคะ ดังนี้.

พวกเทวดาเหล่านั้น กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์มา

แล้วเพื่อเยี่ยมพวกนาคหนุ่มอันอาจารย์ผู้มีความเพียรชั้นยอดเห็นปานนี้ฝึกแล้ว

แม้พรหมองค์นั้นก็ได้ไปยืนอยู่ในที่สมควรนั่นแหละ.

ลำดับนั้น พรหมองค์ที่ ๔ มาแล้วโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละได้กล่าว

คาถาว่า เยเกจิ พุทฺธ สรณ คตเส เป็นต้น แปลความว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงแล้วซึ่ง

พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นจักไม่

ไปสู่อบายภูมิ ละร่างกายอันเป็นของ

มนุษย์แล้วจักยังหมู่เทวดาให้บริบูรณ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คตาเส แปลว่า ถึงแล้ว ได้แก่ ถึงสรณคมน์

อันปราศจากความแคลงใจ. แม้พรหมนั้นก็ได้ยืนอยู่ในที่สมควรนั่นแหละ

ดังนี้แล.

จบอรรถกถาสมยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

๘. สกลิกสูตร

เทวดาสรรเสริญความอดทน

[๑๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ มิคทายวัน ในสวน

มัททกุจฉิ กรุงราชคฤห์ ก็โดยสมัยนั้นแล พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถูกสะเก็ดหินกระทบแล้ว ได้ยินว่า เวทนาทั้งหลาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

มาก เป็นความลำบากมีในพระสรีระ กล้าแข้ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่

ทรงสบาย ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนา

ทั้งหลาย ไม่ทรงเดือดร้อน ในครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ปูผ้า

สังฆาฏิสี่ชั้น ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อม

ด้วยพระบาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอยู่.

[๑๒๓] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลล-

ปกายิกาเจ็ดร้อย มีวรรณะงาม ยังสวนมัททกุจฉิทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ยืนอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๒๔] เทวดาองค์หนึ่งครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นนาค

หนอ ก็แหละพระสมณโคดม ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นซึ่งเวทนา

ทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน

ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นนาค มิได้ทรง

เดือดร้อน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

[๑๒๕] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นสีหะหนอ ก็แหละพระสมณโคดม

ทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้นแล้ว

เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วยความที่

พระสมณโคดมเป็นสีหะ มิได้ทรงเดือดร้อน.

[๑๒๖] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนักพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นอาชาไนยหนอ ก็แหละพระสมณ

โคดมทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิดขึ้น

แล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย ด้วย

ความที่พระสมณโคดมเป็นอาชาไนย มิได้ทรงเดือดร้อน.

[๑๒๗] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้องอาจหนอ ก็แหละ

พระสมณโคดมทรงมีพระสดิสัมปชัญญะอดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลาย อันมีใน

พระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่

ทรงสบาย ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นผู้องอาจ มิได้ทรงเดือดร้อน.

[๑๒๘] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้ใฝ่ธุระหนอ ก็แหละพระ-

สมณโคดมทรงมีพระสติสัมปชัญญะอดกลั้นเวทนาทั้งหลายอันมีในพระสรีระเกิด

ขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่ทรงสบาย

ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นผู้ใฝ่ธุระ มิได้ทรงเดือดร้อน.

[๑๒๙] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้ฝึกแล้วหนอ ก็แหละ

พระสมณโคดมทรงมีพระสติสัมปชัญญะ อดกลั้นซึ่งเวทนาทั้งหลายอันมีใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

พระสรีระเกิดขึ้นแล้ว เป็นความลำบาก กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่สำราญ ไม่

ทรงสบาย ด้วยความที่พระสมณโคดมเป็นผู้ฝึกแล้ว มิได้ทรงเดือดร้อน.

[๑๓๐] ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก. ได้เปล่งอุทานนี้ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านทั้งหลายจงดูสมาธิที่พระสมณโคดมให้เจริญดีแล้ว

อนึ่ง จิตพระสมณโคดมให้พ้นดีแล้ว อนึ่ง จิตเป็นไปตามราคะ พระสมณโคดม

ไม่ให้น้อมไปเฉพาะแล้ว อนึ่ง จิตเป็นไปตามโทสะ พระสมณโคดมไม่ให้

กลับมาแล้ว อนึ่ง จิตพระสมณโคดมหาต้องตั้งใจข่ม ต้องคอยห้ามกันไม่

บุคคลใดพึงสำคัญพระสมณโคดมผู้เป็นบุรุษนาค เป็นบุรุษสีหะ เป็นบุรุษ

อาชาไนย เป็นบุรุษองอาจ เป็นบุรุษใฝ่ธุระ เป็นบุรุษฝึกแล้วเห็นปานนี้ว่า

เป็นผู้อันตนพึงล่วงเกิน บุคคลนั้นจะเป็นอะไรนอกจากไม่มีตา.

เทวดานั้นครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ว่า

พราหมณ์ทั้งหลายมีเวทห้า มีตบะ

ประพฤติอยู่ตั้งร้อยปี แต่จิตของพราหมณ์

เหล่านั้นไม่พ้นแล้วโดยชอบ พราหมณ์

เหล่านั้นมีจิตเลว ย่อมไม่ลุถึงฝั่ง.

พราหมณ์เหล่านั้น เป็นผู้อันตัณหา

ครอบงำแล้ว เกี่ยวข้องด้วยพรตและศีล

ประพฤติตบะอันเศร้าหมองอยู่ตั้งร้อยปี

แต่จิตของพราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นแล้ว

โดยชอบ พราหมณ์เหล่านั้นมีจิตเลว

ย่อมไม่ลุถึงฝั่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

ความฝึกฝนย่อมไม่มีบุคคลที่ใคร่

มานะ ความรู้ย่อมไม่มีแก่บุคคลที่มีจิตไม่

ตั้งมั่น บุคคลผู้เดียวเมื่ออยู่ในป่า ประมาท

อยู่แล้ว ไม่พึงข้ามพ้นฝั่งแห่งแดนมัจจุได้.

บุคคลละมานะแล้ว มีจิตตั้งมั่นดี

แล้ว มีจิตดี พ้นในธรรมทั้งปวงแล้ว

ผู้เดียวอยู่ในป่า ไม่ประมาทแล้ว บุคคล

นั้นพึงข้ามพ้นฝั่งแห่งแดนมัจจุได้.

อรรถกถาสกลิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสกิกสูตรที่ ๘ ต่อไป :-

บทว่า มัททกุจฉิ ได้แก่ สวนอันมีชื่ออย่างนี้. จริงอยู่ สวนนั้น

เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูบังเกิดในครรภ์แล้ว พระมารดาของพระเจ้าอชาตศัตรูนั้น

มีความประสงค์จะให้ครรภ์ตกไป ด้วยทรงดำริว่า ครรภ์อันอยู่ในท้องของเรานี้

จักเป็นศัตรูของพระราชา จะมีประโยชน์อะไรด้วยครรภ์นี้ ดังนี้ จึงให้ทำลาย

ครรภ์ในสวนนั้น เพราะเหตุนั้น สวนนั้น จึงชื่อว่า มัททกุจฉิ ดังนี้. ก็ป่า

ที่ท่านเรียกว่า มิคทาย เพราะความที่ป่านั้น อันพระราชาพระราชทาน เพื่อ

ความปลอดภัยแห่งเนื้อทั้งหลาย. ในบทว่า ก็โดยสมัยนั้นแล นี้เป็นอนุปุพพิกถา

คือ วาจาเป็นเครื่องกล่าวโดยลำดับ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

ก็พระเทวทัตอาศัยพระเจ้าอชาตศัตรูแล้ว แม้ส่งนายขมังธนูทั้งหลาย

และช้างธนปาลกะไปแล้ว ก็ไม่อาจเพื่อทำอันตรายชีวิตของพระตถาคตได้ จึง

คิดว่า เราจักยังพระตถาคตให้ตายด้วยมือของเราทีเดียว ดังนี้ ขึ้นสู่ภูเขาคิชฌ-

กูฎแล้วยกศิลาใหญ่ประมาณเรือนยอดขว้างไป ด้วยคิดว่า พระสมณโคดม จง

แหลกละเอียด ดังนี้. ได้ยินว่า พระเทวทัตนั้นมีกำลังมาก ย่อมทรงกำลังถึง

ช้างพลายห้าเชือก. ก็แล อันตรายแห่งชีวิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะพึงมี

ได้ด้วยความพยายามของบุคคลอื่น ข้อนั้นแลเป็นอฐานะ คือเป็นสิ่งที่เป็นไป

ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ศิลาอื่นจึงตั้งขึ้นในอากาศแล้วรับศิลาก้อนนั้นซึ่งมาอยู่

ตรงพระสรีระของพระตถาคต. สะเก็ดแผ่นหินอันใหญ่ตั้งขึ้นแล้ว เพราะศิลา

ทั้งสองกระทบกัน จึงกระเด็นไปถูกที่สุดแห่งหลังพระบาทของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. พระบาทมีพระโลหิตห้อขึ้นราวกะถูกประหารด้วยขวานใหญ่ ราวกะ

ย้อมด้วยน้ำเหลวของครั่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูเบื้องบนแล้วได้ตรัสกะพระเทวทัตว่า ท่าน

ใด มีจิตประทุษร้ายแล้ว มีจิตฆ่าทำโลหิตของตถาคตให้ตั้งขึ้น (ให้ห้อ) ดู

ก่อนโมฆบุรุษ ท่านนั้นประกอบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมากดังนี้ ตั้งแต่นั้นมา

ความไม่ผาสุกได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พวกภิกษุคิดว่า วิหารนี้เป็นที่ดอน ไม่เรียบ ไม่เหมาะแก่ชนจำนวน

มากมีกษัตริย์เป็นต้น และแก่บรรพชิตทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นจึงช่วยกันหาม

พระตถาคตด้วยเสลี่ยงแห่งเตียงน้อยนำไปสู่สวนชื่อว่า มัททกุจฉิ.

ด้วยเหตุนั้นแหละ ท่านพระอานนทเถระ จึงกล่าวว่า ก็โดยสมัยนั้น

แหละ พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกสะเก็ดหินกระทบแล้ว. บทว่า ภูสา

แปลว่า มาก คือ มีกำลังยิ่ง. บทว่า สุท สักว่า เป็นนิบาติ. บทว่า ทุกฺขา

แปลว่า ลำบาก ได้แก่ไม่มีความสุข. บทว่า ติปฺปา แปลว่า กล้า ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

มีมาก. บทว่า ขรา แปลว่า แข็ง ได้แก่ หยาบ. บทว่า กฏุกา แปลว่า

เผ็ดร้อน ได้แก่ กล้าแข็ง. บทว่า อาสาตา แปลว่า ไม่สำราญ ได้แก่

ไม่ชุ่มชื่น. ชื่อว่า ไม่ทรงสบาย เพราะอรรถว่า ใจย่อมไม่แนบสนิทในอารมณ์

เหล่านั้น อารมณ์เหล่านั้นไม่ยังใจให้เอิบอาบ คือไม่ให้เจริญ. บทว่า สโต

สมฺปชาโน แปลว่า มีพระสติสัมปชัญญะ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยพระสติ

และสัมปชัญญะอดกลั้นในเวทนา. บทว่า อวิหญฺมาโนปิ แปลว่า ไม่ทรง

เดือดร้อน คือไม่ถูกบีบคั้นอยู่ ไม่ไปสู่อำนาจแห่งเวทนาทั้งหลายอันให้เป็นไป.

ในบทว่า สีหเสยฺย นี้ ได้แก่ การนอน ๔ อย่างคือ

กามโภคีเสยฺยา คือการนอนของผู้มีปกติเสพกาม

เปตเสยฺยา คือการนอนของเปรต (ผู้ตายแล้ว)

สีหเสยฺยา คือการนอนของสีหะ

ตถาคตเสยฺยา คือการนอนของพระตถาคต.

ในการนอน ๔ เหล่านั้น การนอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้บริโภคกามโดยมากย่อมนอนโดยข้างเบื้องซ้าย (ตะแคง

ซ้าย) นี้ชื่อว่า กามโภคีไสยา. จริงอยู่ในบรรดาสัตว์ผู้บริโภคกามเหล่านั้น

ชื่อว่า การนอนโดยข้างเบื้องขวา (ตะแคงขวา) มีไม่มาก.

การนอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรต

ทั้งหลาย โดยมากย่อมนอนหงาย นี้ชื่อว่า เปตเสยยา. จริงอยู่ เปรตทั้งหลาย

ย่อมไม่อาจเพื่อนอนโดยข้างหนึ่งได้ เพราะความที่ตนมีเนื้อและเลือดน้อย

เพราะความที่โครงกระดูกยุ่งเหยิง จึงนอนหงายเท่านั้น.

การนอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีห

มิคราช โดยมาก ให้หางของตนเข้าไปในระหว่างขาอ่อน แล้วนอนตะแคง

ขวา นี้ชื่อว่า สีหไสยา. จริงอยู่ สีหมิคราชมีอำนาจมาก เมื่อจะนอนก็วาง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

เท้าหน้า ๒ เท้าไว้ที่หนึ่ง วาง ๒ เท้าหลังไว้ที่หนึ่ง แล้วเอาหางใส่ไว้ระหว่าง

ขาอ่อน กำหนดโอกาสที่วางเท้าหน้า เท้าหลังและหางไว้ แล้ววางศีรษะไว้

บนเท้าหน้าทั้งสองแล้วนอน คุรั้นนอนแม้ทั้งวัน เมื่อตื่นก็ไม่ตกใจตื่น คือว่า

ยกศีรษะขึ้นกำหนดโอกาสที่วางเท้าหน้าเป็นต้น ถ้าอะไร ๆ ตั้งผิดไป ก็จะไม่

มีใจเป็นของ ๆ ตนจะเสียใจว่า เหตุนี้ ไม่สมควรแก่ชาติของท่าน (ของตน)

ทั้งไม่สมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญ ดังนี้ ย่อมนอนเหมือนอย่างนั้น ไม่ยอม

ไปหาอาหาร ก็แต่เมื่ออวัยวะมีเท้าหน้าเป็นต้นตั้งไว้เรียบร้อย ก็จะมีใจร่าเริงว่า

เหตุนั้น สมควรแก่ชาติของท่าน และสมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญ ลุกขึ้น

บิดกายแบบราชสีห์ สะบัดขนสร้อยคอบันลือสีหนาทแล้วก็ออกไปโคจร (หา

อาหาร).

การนอนในฌานที่ ๔ ตรัสเรียกว่า ตถาคตไสยา. ในการนอนทั้ง ๔

นั้น การนอนดังสีหะมาในสูตรนี้. จริงอยู่ การนอนนี้ ชื่อว่า การนอนอัน

อุดม เพราะความที่การนอนนั้นเป็นอิริยาบถอันมีอำนาจมาก. บทว่า ปาเท ปท

ได้แก่ วางเท้าซ้ายบนเท้าขวา. บทว่า อจฺจาธาย แปลว่า ซ้อนเท้า ได้แก่

เหลื่อมเท้ากันหน่อยหนึ่ง เพราะว่า ข้อเท้ากระทบกับข้อเท้า เข่ากระทบกับเข่า

เวทนาย่อมเกิดบ่อย ๆ จิตก็จะไม่ตั้งมั่น การนอนก็ไม่ผาสุก คือว่า การนอน

ย่อมไม่ติดต่อกัน การเหลื่อมเท้าแล้ววางอย่างนี้ เวทนาย่อมไม่เกิด จิตย่อมตั้ง

มั่น เพราะฉะนั้น จึงนอนอย่างนี้. บทว่า สโต สมฺปชาโน ได้แก่ มีสติ-

สัมปชัญญะกำหนดในการนอน. ก็บทว่า อุฏฺานสญฺ แปลว่า มีความ

สำคัญในการที่จะลุกขึ้นนี้ ท่านไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้. ก็การสำเร็จสีหไสยาของ

พระตถาคตนั้น เป็นการนอนเพราะประชวร.

ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว พวกเทวดาสตุลลปกายิกาเจ็ดร้อย

มีวรรณะงามยังสวนมัททกุจฉิทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

บทว่า สตฺตสตา แปลว่า เจ็ดร้อย คือ เทวดาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

ในพระสูตรนี้ มาสู่ที่เป็นที่บรรทมประชวร. บทว่า อุทาน อุทาเนสิ แปล

ว่า ได้เปล่งอุทาน ได้แก่ พวกเทวดาผู้มาสู่ที่บรรทมประชวรแล้ว จะพึงมี

โทมนัสนั่นแหละได้เปล่งแล้ว อธิบายว่า ก็พวกเทวดาเหล่านั้น เห็นความอด

กลั้นต่อเวทนาของพระตถาคตแล้วจึงเปล่งอุทานว่า โอ ความที่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายมีอานุภาพมาก เมื่อเวทนาชื่อเห็นปานนี้เป็นไปอยู่แม้สักว่าการครางก็มี

ได้มี ทรงบรรทมด้วยพระวรกายอันไม่หวั่นไหวราวกะรูปอันสำเร็จด้วยทองที่

บุคคลประดับแล้วตั้งไว้บนที่นอนอันเป็นสิริ บัดนี้ พระสรีระของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าย่อมรุ่งโรจน์ยิ่ง ดุจพระจันทร์เพ็ญสมบูรณ์ด้วยรัศมี พระพักตร์

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็งดงาม ดุจดอกปทุมกำลังแย้มบาน ในขณะนี้ แม้

วรรณะเเห่งพระวรกายก็ผ่องใส ดุจทองคำที่หลอมดีแล้ว ดังนี้.

ก็ในบทว่า นาโค วต โภ แปลว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็น

นาคหนอ นี้เป็นคำร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยธรรม. อธิบายว่า ชื่อว่า

นาคะ เพราะอรรถว่ามีกำลัง. บทว่า นาควตา แก้เป็น นาคภาเวน แปล

ว่า เพราะความเป็นนาคะ ในครั้งนั้นแล เทวดาอื่นอีก ได้เปล่งอุทานนี้ใน

สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระสมณโคดม ทรงเป็นสีหะหนอ...

พระสมณโคดม ทรงเป็นอาชาไนยหนอ..

พระสมณโคดม ทรงเป็นผู้อาจหนอ...

พระสมณโคดม ทรงเป็นผู้ใฝ่ธุระหนอ...

พระสมณโคดม ทรงเป็นผู้ฝึกแล้วหนอ...

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า สีโห วต เป็นต้น ชื่อว่า สีหะ เพราะ

อรรถว่า เป็นผู้ไม่สะดุ้งตกใจ. ชื่อว่า อาชาไนย เพราะอรรถว่าปฏิบัติหน้าที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

ด้วยความเฉลียวฉลาด หรือเพราะรู้ถึงเหตุ. ชื่อว่า นิสภะ คือ ผู้องอาจ

เพราะอรรถว่า หาผู้เปรียบเสมอมิได้. จริงอยู่ โคอุสภะเป็นสัตว์ประเสริฐเป็น

หัวหน้าในฝูงแห่งโคร้อยตัว โคอาสภะ เป็นสัตว์ประเสริฐสุดเป็นหัวหน้าในฝูง

แห่งโคพันตัว โคนิสภะ บัณฑิต กล่าวว่าเป็นสัตว์ประเสริฐสุดกว่าฝูงแห่งโค

ร้อยตัวและพันตัว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฎิญญา คือรับรองอาสภฐาน

(ฐานะอันประเสริฐ) เพราะอรรถว่าหาผู้เปรียบเสมอมิได้. ในที่นี้ เทวดา

กล่าวคำว่า นิสภศัพท์ ด้วยอรรถนั้นนั่นแหละ. ชื่อว่า เป็นผู้ใฝ่ธุระ เพราะ

อรรถว่านำธุระไป. ชื่อว่า เป็นผู้ฝึกแล้ว เพราะอรรถว่า มีการเสพผิด

ออกแล้ว. บทว่า ปสฺส แปลว่า จงดู ได้แก่ เป็นคำสั่งที่ไม่มีกำหนด

บทว่า สมาธึ ได้แก่ สมาธิในอรหัตผล. บทว่า สุวิมุตฺติ แปลว่า

ให้พ้นดีแล้ว ได้แก่ ให้พ้นดีแล้วด้วยความพ้นของผลจิต. อนึ่ง จิตเป็น

ไปตามราคะพระสมณโคดมไม่ให้น้อมไปแล้ว และจิตเป็นไปตามโทสะ พระ-

สมณโคดมไม่ให้กลับมาแล้วนี้ เทวดากล่าวว่า ไม่ให้น้อมไปเฉพาะแล้ว

และไม่ให้กลับมาแล้ว เพราะความไม่มีจิตทั้งสองนั้น.

บทว่า น จ สสงฺขารนิคฺคยฺห วาริตวต ได้แก่ ไม่ต้องข่ม

ไม่ต้องห้ามกิเลสทั้งหลายอันเป็นไปกับสัมปโยคะ อันเป็นไปกับด้วยสังขาร.

คือ จิตตั้งมั่นเป็นไปกับด้วยผลสมาธิ เพราะท่านตัดกิเลสทั้งหลายแล้ว. บทว่า

อติกฺกมิตพฺพ แปลว่า เป็นผู้อันตนพึงล่วงเกิน คือว่า พึงเป็นผู้อันตนข่มได้

อันตนพึงเบียดเบียนได้. บทว่า อทสฺสนา ได้แก่ ไม่มีญาณ จริงอยู่

บุคคลผู้ไม่มีญาณ ก็ต้องเป็นอันธพาลเท่านั้น. คำว่า เอวรูเป สตฺถริ

ปรชฺเฌยฺย ความว่า เทวดาทั้งหลายย่อมกล่าวติเตียนพระเทวทัตว่า เมื่อ

พระศาสดามีคุณเห็นปานนี้ ท่านยังทำอันตรายไค้ ดังนี้. บทว่า ปญฺจเวทา

แปลว่า มีเวท ๕ ได้แก่ เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งเวททั้งหลาย มีอิติหาสเวทเป็นที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

(คือความรู้ทางประเพณีเป็นที่ ๕). บทว่า สต สม แก้เป็น วสฺสสต

แปลว่า ร้อยปี. บทว่า ตปสฺสี แปลว่า มีตบะ ได้แก่ อาศัยตบะ.

บทว่า จร แก้เป็น จรนฺตา แปลว่า ประพฤติอยู่. บทว่า น สมฺมา วิมุตฺต

แปลว่า ไม่พ้นแล้วโดยชอบ อธิบายว่า แม้พราหมณ์ทั้งหลายเห็นปานนี้

พระพฤติพรตอยู่ตั้งร้อยปี ถึงอย่างนั้นจิตของพราหมณ์นั้นก็ไม่พ้นแล้วโดยชอบ.

บทว่า หีนตฺตรูปา น ปาร คมา เต แปลว่า พราหมณ์

เหล่านั้นมีรูปอันเลว ย่อมไม่ลุถึงฝั่ง อธิบายว่า พราหมณ์เหล่านั้นมีสภาวะ

อันเลว ย่อมไม่ลุถึงพระนิพพาน. พระบาลีว่า หีนตฺถรูปา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า

พราหมณ์เหล่านั้นมีชาติอันเลว มีประโยชน์อันเสื่อมรอบแล้ว. บทว่า

คณฺหาธิปนฺนา แก้เป็น ตณฺหาย อชฺโฌตฺถตา แปลว่า พราหมณ์

เหล่านั้น เป็นผู้อันตัณหาครอบงำแล้ว. บทว่า วตฺตสีลพทฺธา แปลว่า

เกี่ยวข้องแล้วด้วยพรตและศีล อธิบายว่า พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้อันพรต

ทั้งหลาย มีความประพฤติดังแพะ และประพฤติดังสุนัข เป็นต้น และศีล

ทั้งหลายเช่นนั้นแหละผูกพันไว้แล้ว. บทว่า ลูข ตป แปลว่า ตบะอันเศร้า

หมอง ได้แก่ ตบะซึ่งมีความพอใจในการย่างตน ๕ อย่าง มีการนอนบน

หนาม เป็นต้น.

บัดนี้ เทวดานั้น เมื่อจะกล่าวถึงความที่ศาสนาเป็นนิยานิกธรรม

จึงกล่าวคำว่า น มานกามสฺส เป็นอาทิ. คำนั้น มีเนื้อความได้กล่าวไว้

แล้วแล.

จบอรรถกถาสกลิกสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร

คาถาของธิดาท้าวปัชชุนนะ

[๑๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลาในป่า

มหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ธิดาของท้าวปัชชุนนะ

ชื่อโกกนทา มีวรรณะงาม ยังป่ามหาวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๓๒] ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

หม่อมฉันชื่อว่าโกกนทา เป็นธิดา

ของท้าวปัชชุนนะ ย่อมไหว้เฉพาะพระ-

สัมพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ผู้เสด็จอยู่ในป่า

กรุงเวสาลี สุนทรพจน์ว่า ธรรมอันพระ-

สัมพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาจักษุ ตาม

ตรัสรู้แล้วดังนี้ หม่อมฉันได้ยินแล้วใน

กาลก่อน แท้จริง หม่อมฉันนั้น เมื่อ

พระสุคตผู้เป็นมุนีทรงแสดงอยู่ ย่อมรู้

ประจักษ์ในกาลนี้ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งมี

ปัญญาทราม ติเตียนธรรมอันประเสริฐ

เที่ยวไปอยู่ ชนเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงโรรุว-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

นรกอันร้ายกาจ ประสบทุกข์ตลอดกาล-

นาน ส่วนชนทั้งหลายเหล่าใดแล ประกอบ

ด้วยความอดทนและความสงบในธรรมอัน

ประเสริฐ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ละร่างกาย

อันเป็นของมนุษย์ แล้วจักยังหมู่เทวดาให้

บริบูรณ์.

อรรถกถาปัชชุนนธีตุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า ปชฺชุนฺนสฺส ธีตา แปลว่า ธิดาของท้าวปัชชุนนะ อธิบายว่า

ธิดาของท้าวจาตุมหาราชิกาผู้เป็นเทวราชของวัสสวลาหก ชื่อว่า ท้าวปัชชุนนะ.

บทว่า อภิวนฺเท แปลว่า ย่อมไหว้ อธิบายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

หม่อมฉันย่อมไหว้พระยุคลบาทของพระองค์. บทว่า จกฺขุมตา แปลว่า

ผู้มีจักษุ อธิบายว่า เทพธิดากล่าวว่า สุนทรพจน์ว่า ธรรมอันพระตถาคต

ผู้มีจักษุด้วยจักษุ* ๕ ตามตรัสรู้แล้ว หม่อมฉันได้ยินแล้วในสำนักแห่งชน

เหล่าอื่นอย่างเดียวเท่านั้น. บทว่า สาหทานิ ตัดบทเป็น สา อห อิทานิ

แปลว่า หม่อมฉันนั้น...ในกาลบัดนี้. บทว่า สกฺขิ ชานามิ แปลว่า

ย่อมรู้ประจักษ์ คือว่า ย่อมรู้ประจักษ์ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด. บทว่า

วิครหนฺตา แปลว่า ติเตียน คือได้แก่ ติเตียนอย่างนี้ว่า ธรรมนี้มีบทแห่ง

อักขระและพยัญชนะอันเลว หรือว่า ธรรมนี้ไม่เป็นนิยยานิกะ. บทว่า โรรุว

* จักษุ ๕ คือ มังสจักษุ, ทิพยจักษุ, ปัญญาจักษุ พุทธจักษุ, และ สมันตจักษุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

แปลว่า โรรุวนรก อธิบายว่า โรรุวนรก มี ๒ คือ ธูมโรรุวนรก และ

ชาลโรรุวนรก. ในนรก ๒ นั้น ธูมโรรุวนรกมีอยู่ส่วนหนึ่ง ก็คำว่า ชาล-

โรรุวนรกนั้น เป็นชื่อของอเวจีมหานรก. เพราะว่า ในโรรุวนรกนั้น เมื่อ

ไฟโพลงอยู่ ๆ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมร้องบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น นรกนั้น ท่านจึง

เรียกว่า โรรุวะ ดังนี้. บทว่า โฆร แปลว่า ร้ายกาจ ได้แก่ ทารุณ.

บทว่า ขนฺติยา อุปสเมน อุเปตา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความอดทน

และความสงบ อธิบายว่า ครั้นชอบใจแล้ว ครั้นอดทนแล้ว จึงชื่อว่า

ประกอบแล้วด้วยขันติเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและความสงบจากกิเลสมีราคะเป็นต้น

ดังนี้แล.

จบอรรถกถาปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร

คาถาของธิดาท้ายปัชชุนนะ

[๑๓๓] ข้าพเจ้าไค้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาในป่า

มหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ธิดาของท้าวปัชชุนนะ

ชื่อจุลลโกกนทา มีวรรณะงาม ยังป่ามหาวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๓๔] ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อจุลลโกกนทา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวคาถาทั้งหลายในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา

มีวรรณะสว่างดังสายฟ้ามาแล้วในที่นี้ไหว้

พระพุทธเจ้า และพระธรรม ได้กล่าวแล้ว

ซึ่งคาถาทั้งหลายนี้มีประโยชน์เที่ยว หม่อม

ฉันพึงจำแนกธรรมนั้นโดยปริยายแม้มาก

ธรรมเช่นนั้นมีอยู่โดยปริยาย ธรรมเท่าใด

ที่หม่อมฉันศึกษาแล้วด้วยใจ หม่อมฉัน

จักกล่าวอรรถกถาอันลามกด้วยวาจา ด้วยใจ

ไม่ควรทำกรรมอันลามกด้วยวาจา ด้วยใจ

หรือด้วยกายอย่างไร ๆ ในโลกทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ใคร ๆ ละกามทั้งหลายแล้ว มีสติสัม-

ปชัญญะ ไม่พึงเสพทุกข์อันไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์.

จบ สตุลลปกายิกวรรค ที่ ๔

อรรถกถาทุติยปัชชุนนธีตุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า ธมฺม จ อธิบายว่า ธิดาของท้าวปัชชุนนะชื่อ จุลลโกกนทา

กล่าวว่า หม่อมฉันมาในที่นี้ ไหว้อยู่ซึ่งพระรัตนตรัย คือ ซึ่งพระสงฆ์ด้วย

คำว่า จ ศัพท์ คือว่า ซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์. บทว่า อตฺถวตี

แปลว่า มีประโยชน์. บทว่า พหุนาปิ โข ต ความว่า ได้แก่เทพธิดาชื่อจุลล-

โกกนทานั้น ได้กล่าวธรรมใด แม้ธรรมนั้น หม่อมฉันก็พึงจำแนกได้โดยปริยาย

มาก. บทว่า ตาทิโส ธมฺโม แปลว่า ธรรมเช่นนั้น อธิบายว่า เทพธิดา

ชื่อจุลลโกกนทา ย่อมแสดงว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ธรรมนี้มีการ

ดำรงอยู่อย่างนั้น มีส่วนเปรียบได้ดี เป็นธรรมควรแก่การจำแนกโดยปริยาย

ทั้งหลายมาก ดังนี้.

บทว่า ลปยิสฺสามิ แก้เป็น กถยิสฺสามิ อธิบายว่า เทพธิดา

จุลลโกกนทา กล่าวว่าธรรมอันหม่อมฉันศึกษาด้วยใจมีประมาณเท่าไร คือว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

ธรรมมีประมาณมากเพียงใดที่หม่อมฉันเรียนด้วยใจ จักไม่กล่าวถึงประโยชน์

ของธรรมนั้นตลอดวัน คือ จักกล่าวโดยย่อ สักว่าครู่หนึ่งเท่านั้นเหมือนบุคคล

บีบคั้นรังผึ้ง ฉะนั้น. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๑๐

และจบสตุลลปกายิกวรรคที่ ๔

รวมสูตรที่กล่าวในสตุลลปกายิกวรรค คือ

๑. สัพภิสูตร ๒. มัจฉริสูตร ๓. สาธุสูตร ๔. นสันติสูตร

๕. อุชฌานสัญญิสูตร ๖. สัทธาสูตร ๗. สมยสูตร ๘. สกลิกสูตร

๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร ๑๐. ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร รวมสูตร ๑๐ สูตรพร้อมทั้ง

อรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

อาทิตตวรรคที่ ๕

๑. อาทิตตสูตร

ว่าด้วยผลของการให้ทาน

[๑๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว

เทวดาองค์หนึ่ง ซึ่งมีวรรณะงาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืนอยู่ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๓๖] เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถา

เหล่านี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

เมื่อเรือนลูกไฟไหม้แล้ว เจ้าของ

เรือนขนเอาภาชนะได้ออกไปได้ ภาชนะ

นั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา ส่วนสิ่งของ

ที่มิได้ขนออกไป ย่อมไหม้ในไฟนั้น

ฉันใด.

โลก (คือหมู่สัตว์) อันชราและมรณะ

เผาแล้ว ก็ฉันนั้น ควรนำออก (ซึ่งโภค-

สมบัติ) ด้วยการให้ทาน เพราะทานวัตถุ

ที่บุคคลให้แล้ว ได้ชื่อว่านำออกดีแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

ทานวัตถุที่บุคคลให้แล้วนั้นย่อมมีสุข

เป็นผล ที่ยังมิได้ให้ย่อมไม่เป็นเหมือน

เช่นนั้น โจรยังปล้นได้ พระราชายังริบได้

เพลิงยังไหม้ได้ หรือสูญหายไปได้.

อนึ่ง บุคคลจำต้องละร่างกายพร้อม

ด้วยสิ่งเครื่องอาศัยด้วยตายจากไป ผู้มี

ปัญญารู้ชัด ดั่งนี้แล้ว ควรใช้สอยและ

ให้ทาน.

เมื่อได้ให้ทานและใช้สอยตามควร

แล้ว จะไม่ถูกติฉิน เข้าถึงสถานที่อัน

เป็นสวรรค์.

อรรถกถาอาทิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวรรคที่ ๕ แห่งอาทิตตสูตรที่ ๑ ต่อไป :-

บทว่า ชราย มรเณน จ นี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนา อธิบายว่า

โลกคือหมู่สัตว์ถูกไฟทั้งหลาย ๑๑ กอง* มีราคะเป็นต้น แผดเผาแล้วเทียว.

บทว่า ทาเนน ได้แก่มีเจตนาในการให้ทาน. บทว่า ทินฺน โหติ สุนีภต

ความว่า เจตนาอันเป็นบุญในการให้ย่อมมีแก่ทายกนั่นแหละ เหมือนสิ่งของ

อันเจ้าของเรือนนำออกแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า โจรา หรนฺติ

* ไฟ ๑๑ กองคือ ราคะ, โทสะ, โมหะ, ชาติ, ชรา, มรณะ, โสกะ, ปริเทวะ, ทุกข์, โทมนัส,

อุปายาส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

อธิบายว่า เมื่อโภคะอันตนไม่ได้ให้แล้ว แม้โจรทั้งหลายก็ปล้นได้ แม้พระ-

ราชาทั้งหลายยังริบได้ แม้ไฟยังไหม้ได้ หรือสูญหายไป แม้ในที่อันตนเก็บ

ไว้แล้ว. บทว่า อนฺเตน แปลว่า ด้วยการตาย. บทว่า สรีร สปริคฺคห

อธิบายว่า ร่างกายและโภคะไม่พินาศไปด้วยสามารถแห่งอันตรายทั้งหลายมีโจร

เป็นต้น. บทว่า สคฺคมุเปติ อธิบายว่า ย่อมบังเกิดในสวรรค์เหมือนสาธุชน

ทั้งหลาย มีพระเวสสันดรผู้เป็นมหาราชเป็นต้น.

จบอรรถกถาอาทิตตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

๒. กินททสูตร

ว่าด้วยเทวตาปัญหา ๕ ข้อ

[๑๓๗] เทวดาทูลถามว่า

บุคคลให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้กำลัง ให้

สิ่งอะไรชื่อว่าให้วรรณะ ให้สิ่งอะไรชื่อว่า

ให้ความสุข ให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้จักษุ

และบุคคลเช่นไรชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง

ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์ ขอพระองค์

ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.

[๑๓๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุคคลให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง ให้ผ้า

ชื่อว่าให้วรรณะ ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้

ความสุข ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ

และผู้ที่ให้ที่พักพาอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่ง

ทุกอย่าง ส่วนผู้ที่พร่ำสอนธรรมชื่อว่าให้

อมฤตธรรม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

อรรถกถากินททสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกินททสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า อนฺนโท อธิบายว่า บุคคลแม้มีกำลังมากแต่ไม่ได้กินอาหาร

หลาย ๆ วัน (สองสามวัน) ก็ไม่อาจเพื่อจะลุกขึ้น ส่วนบุคคลผู้มีกำลังทราม

ได้กินอาหารแล้ว ก็ย่อมถึงพร้อมด้วยกำลังได้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง ดังนี้. บทว่า

วตฺถโท อธิบายว่า บุคคลแม้มีรูปงาม แต่มีผ้าสกปรก ดังผ้าขี้ริ้ว หรือไม่มี

ผ้าเลยย่อมเป็นผู้น่าเกลียด ถูกเหยียดหยาม ไม่น่าดู. บุคคลมีผ้าปกปิดดีแล้ว

ย่อมงามราวกะเทพบุตร เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ ดังนี้. บทว่า ยานโท ได้แก่ ยานทั้งหลาย

มีหัตถิยาน (ยานช้าง) เป็นต้น ก็แต่ว่าในบรรดายานเหล่านั้น ยานช้าง ยานม้า

ย่อมไม่สมควรแก่สมณะ การให้ไปด้วยรถก็ไม่สมควรเหมือนกัน ยานที่สมควร

แก่สมณะก็คือ รองเท้าสำหรับสมณะผู้รักษาอยู่ซึ่งศีลขันธ์ เพราะฉะนั้น บุคคล

ให้รองเท้า ไม้เท้าคนแก่ เตียง ตั่ง อนึ่ง บุคคลใดย่อมชำระหนทาง ย่อม

ทำบันได ย่อมทำสะพาน ย่อมมอบเรือให้แม้ทั้งหมดนี้ ก็ชื่อว่า ให้ยาน

เหมือนกัน. บทว่า สุขโท โหติ คือชื่อว่า ให้ความสุข ก็เพราะนำความสุข

ในยานมาให้. บทว่า จกฺขุโท โหติ อธิบายว่า ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่า

ให้จักษุ เพราะความที่บุคคลทั้งหลาย ถึงแม้มีตาก็ไม่สามารถมองเห็นในที่มืดได้

ผู้ให้ประทีปโคมไฟนั้นย่อมได้แม้ซึ่งความถึงพร้อมเห่งทิพยจักษุเหมือนพระ-

อนุรุทธเถระ. บทว่า สพฺพโท โหติ อธิบายว่า ผู้ให้ทุกสิ่งทุกอย่างดังที่

กล่าวแล้วนั่นแหละ คือมีการให้กำลังเป็นต้น คือว่า เมื่อภิกษุเที่ยวบิณฑบาต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

ไปสองสามบ้านไม่ได้อะไร ๆ มาอยู่ก็ดี เมื่ออาบน้ำในสระโบกขรณีอันเย็น

แล้วเข้าไปสู่ที่พักอาศัย นอนในเตียงครู่หนึ่งแล้วลุกขึ้นมานั่งก็ดี ย่อมได้กำลัง

ราวกะบุคคลอื่นนำมาใส่ให้ในร่างกาย. ก็บุคคลเที่ยวไปในภายนอก ผิวพรรณ

ในกายย่อมคล้าไปด้วยลมและแดด เมื่อเข้าไปสู่ที่พักอาศัยปิดประตูแล้วนอน

สักครู่หนึ่ง ความสืบต่อแห่งวิสภาคะย่อมเข้าไปสงบระงับ ความสืบต่อแห่ง

สภาคะย่อมก้าวลง ย่อมได้ผิวพรรณวรรณะ ราวกะบุคคลนำใส่ไว้ให้. ก็เมื่อ

บุคคลเที่ยวไปภายนอก หนามย่อมทิ่มแทง ตอไม้ย่อมกระทบ อันตราย

ทั้งหลายมีงูเป็นต้นและโจรภัย ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเข้าไปสู่ที่พักอาศัยปิดประตู

นอนแล้ว อันตรายทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมไม่มี เมื่อสาธยายยอยู่ ปีติและความสุข

ในธรรมย่อมเกิดขึ้น เมื่อทำกรรมฐานไว้ในใจอยู่ ความสุขอันสงบย่อมเกิดขึ้น

เมื่อบุคคลเที่ยวไปภายนอกเหงื่อทั้งหลายย่อมไหลออก ตาทั้งสองย่อมฝ้าฟาง

ในเวลาที่เข้าไปสู่เสนาสนะย่อมเป็นราวกะว่าตกลงไปในหลุม เตียงและตั่งย่อม

ไม่ปรากฏ ก็เมื่อบุคคลนอนพักสักครู่หนึ่ง ความผ่องใสแห่งตาก็จะมีได้ ราว

กะว่าบุคคลนำมาใส่ไว้ให้ ช่องลมประตูหน้าต่างและเตียงตั่งย่อมปรากฏ ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โส จ สพฺพทโท โหติ โย ททาติ

อุปสฺสย แปลว่า ก็บุคคลใดให้ที่พักพาอาศัย บุคคลนั้น ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง

ดังนี้.

บทว่า อมต ทโท จ โส โหติ อธิบายว่า เมื่อบุคคลยังบิณฑบาต

ให้เต็มด้วยโภชนะอันประณีต แล้วถวายอยู่ ชื่อว่า ให้ความไม่ตาย. บทว่า

โย ธมฺมมนุสาสติ อธิบายว่า บุคคลใด ย่อมพร่ำสอนธรรม ย่อมบอก

อรรถกถา ย่อมสอนบาลี ย่อมแก้ปัญหาที่ถามแล้ว ย่อมบอกกรรมฐาน

ย่อมทำธรรมสวนะ แม้ทั้งหมดนี้ ชื่อว่า ย่อมพร่ำสอนธรรม. อนึ่ง การให้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

ธรรมนี้เท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่าเป็นเลิศกว่าการให้ทั้งหมด ข้อนี้ สมจริง

ดังที่ตรัสไว้ว่า

สพฺพทาน ธมฺมทาน ชินาติ สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ

สพฺพรส ธมฺมรโส ชินาติ ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺข ชินาติ.

การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง

ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดี

ทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง

ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.

จบอรรถกถากินททสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

๓. อันนสูตร

ว่าด้วยผลของการให้อาหาร

[๑๓๙] เทวดากราบทูลว่า

เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างก็

พอใจอาหารด้วยกันทั้งนั้น เออ ก็ผู้ที่ไม่

พอใจอาหารชื่อว่ายักษ์โดยแท้.

[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชนเหล่าใดมีใจผ่องใสแล้ว ให้

อาหารนั้นด้วยศรัทธา อาหารนั้นแลย่อม

พะนอเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เพราะ

เหตุนั้น บุคคลพึงนำความตระหนี่

ออกไปเสีย พึงข่มความตระหนี่ซึ่งเป็น

ตัวมลทินแล้วให้ทาน เพราะบุญทั้งหลาย

เป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ในโลกหน้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

อรรถกถาอันนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอันนสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า อภินนฺทติ แปลว่า ย่อมปรารถนา. บทว่า ภชติ แปลว่า

ย่อมมาถึงเขา คือว่า อานิสงส์นั้นย่อมติดตามไปข้างหลัง ราวกะอานิสงส์ที่ติดตาม

จิตตคหบดี และพระสีวลีเถระเป็นต้น. บทว่า ตสฺมา อธิบายว่า เพราะ

การให้อาหารนั่นแหละ ย่อมงามไปในโลกนี้และในโลกหน้า เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลพึงนำความตระหนี่ออก พึงข่มความ

ตระหนี่ซึ่งเป็นมลทินแล้วให้ทาน. คำที่เหลือ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอันนสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

๔. เอกมูลสูตร

ว่าด้วยปริศนาธรรม

[๑๔๑] เทวดากราบทูลว่า

บาดาล มีรากอันเดียว มีความ

วนสอง มีมลทินสาม มีเครื่องลาดห้า เป็น

ทะเล หมุนไปได้สิบสองด้าน ฤาษีข้ามพ้น

แล้ว.

อรรถกถาเอกมูลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเอกมูลสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า เอกมูล ได้แก่อวิชชาเป็นราก (มูล) แห่งตัณหา ทั้งตัณหา

ก็เป็นราก (มูล) แห่งอวิชชา แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาตัณหา. ก็ตัณหานั้น

ย่อมหมุนเป็นไปสองอย่าง คือ ด้วยสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิ เพราะเหตุนั้น

ตัณหานั้น จึงชื่อว่า มีความหมุนเป็นสอง. ตัณหานั้น ชื่อว่า มีมลทินสาม

มีราคะเป็นต้น. โมหะ ก็ชื่อว่ามีมลทินในที่นั้นเพราะเป็นเงื่อนแห่งสหชาตของ

ตัณหานั้น. ราคะโทสะ มีกามคุณห้าเป็นเครื่องลาดของตัณหานั้น เพราะเป็น

เงื่อนแห่งอุปนิสสยะ (คือที่อาศัยอย่างมั่นคง). ตัณหานั้นแหละแผ่ไปในธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีเครื่องลาด ๕. ก็ตัณหานั่นแหละ ชื่อว่า

เป็นสมุทร (ทะเล) เพราะอรรถว่า ไม่รู้จักเต็ม. ตัณหานั้น ย่อมหมุนเวียน

เปลี่ยนไปในอายตนะ ๑๒ ทั้งภายในและภายนอก เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้น

จึงชื่อว่าหมุนไปได้ ๑๒ ด้าน. ก็ตัณหานั้น ท่านเรียกว่า บาดาล เพราะ

อรรถว่า ไม่ตั้งมั่น. ฤาษีข้ามแล้ว ข้ามขึ้นแล้ว ย่อมก้าวล่วงซึ่งบาดาล

(ตัณหา) นั้นซึ่งมีรากเดียว ฯลฯ.

จบอรรถกถาเอกมูลสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

๕. อโนมิยสูตร

ว่าด้วยเทวดาสรรเสริญ

[๑๔๒] เทวดากราบทูลว่า

ท่านทั้งหลายเชิญดูพระพุทธเจ้าพระ-

องค์นั้น ผู้มีพระนามไม่ทราม ผู้ทรงเห็น

ประโยชน์อันละเอียด ผู้ให้ซึ่งปัญญา

ไม่ทรงข้องอยู่ในอาลัยคือกาม ตรัสรู้ธรรม

ทุกอย่าง มีพระปรีชาดี ทรงก้าวไปในทาง

อันประเสริฐ ผู้ทรงแสวงคุณอันใหญ่.

อรรถกถาอโนมิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอโนมิยสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า อโนมนาม อธิบายว่า มีพระนามอันไม่บกพร่อง มีพระนาม

บริบูรณ์ เพราะความที่พระองค์ทรงประกอบด้วยคุณทั้งปวง. บทว่า นิปุณตฺถ-

ทสฺส อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นประโยชน์ทั้งหลายละเอียดโดยมี

ความแตกต่างกันแห่งขันธ์เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทรงเห็นประโยชน์

อันละเอียด. บทว่า ปญฺาทท อธิบายว่า ชื่อว่า ผู้ให้ซึ่งปัญญา เพราะสามารถ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

บอกปฏิปทาเพื่อให้บรรลุถึงปัญญา. บทว่า กามาลเย อสตฺต ได้แก่ ไม่ทรง

ข้องในอาลัย คือกามคุณ ๕. บทว่า กมมาน อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงถึงความผ่องใสที่มหาโพธิ์นั่นแหละ ด้วยอริยมรรค มิใช่ทรงถึงใน

บัดนี้. ก็คำนี้ ท่านกล่าวหมายเอาอดีตกาล. บทว่า มเหสึ ได้แก่ ผู้ค้นหา

ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ คือ สีลขันธ์เป็นต้น ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอโนมิยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

๖. อัจฉราสูตร

ว่าด้วยยานไปพระนิพพาน

[๑๔๓] เทวดาทูลถามว่า

ป่าชัฏชื่อโมหนะ อันหมู่นางอัปสร

ประโคมแล้ว อันหมู่ปีศาจสิงอยู่แล้ว

ทำไฉนจึงจะหนีไปได้.

[๑๔๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ทางนั้นชื่อว่าเป็นทางตรง ทิศนั้น

ชื่อว่าไม่มีภัย รถชื่อว่าไม่มีเสียงดัง ประ-

กอบด้วยล้อคือธรรม หิริเป็นฝาของรถนั้น

สติเป็นเกราะกั้นของรถนั้น เรากล่าวธรรม

มีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่าเป็นสารถี ยานชนิด

นี้มีอยู่แก่ผู้ใด จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม

เขา (ย่อมไป) ในสำนักพระนิพพานด้วย

ยานนี้แหละ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

อรรถกถาอัจฉราสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัจฉราสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า อจฺฉราคณสงฺฆุฏฺ ความว่า ได้ยินว่า เทวบุตรนี้บวชใน

พระศาสนาของพระศาสดา บำเพ็ญวัตรปฏิบัติอยู่ ปวารณาแล้วในกาลแห่งตน

มีพรรษา ๕ ทำมาติกาทั้งสองให้แคล่วคล่องแล้ว ศึกษาแล้วถึงสิ่งที่ควรทำและ

ไม่ควรทำ เรียนพระกรรมฐานอันเป็นที่พอใจแล้ว เป็นผู้ประพฤติเบาพร้อม

เข้าไปสู่ป่า คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าอนุญาตว่า มัชฌิมยามอันใด เป็นส่วน

แห่งการนอนดังนี้ แม้เมื่อมัชฌิมยามนั้นถึงพร้อมแล้ว เราก็ยังกลัวต่อความ

ประมาท ดังนี้ จึงสละเตียงนอนแล้ว พยายามทั้งกลางคืนและกลางวันทำ

กรรมฐานนั่นแหละไว้ในใจ.

ลำดับนั้น ลมทั้งหลายเพียงดังศัสตราเกิดขึ้นในภายในแห่งภิกษุนั้น

ทำลายชีวิตเสียแล้ว. ภิกษุนั้นได้ทำกาละในเพราะธุระ คือความเพียรนั่นแหละ.

อนึ่ง ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จงกรมอยู่ในเพราะการจงกรมก็ตาม ยืนอยู่เพราะ

อาศัยส่วนที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไว้ก็ตาม วางจีวรไว้ที่สุดแห่งที่จงกรมเหนือ

ศรีษะแล้วนั่งหรือนอนก็ตาม กำลังแสดงธรรมบนธรรมาสน์อันเขาตกแต่งใน

ท่ามกลางแห่งบริษัทก็ตาม ย่อมกระทำกาละ ภิกษุนั้นทั้งหมดชื่อว่ากระทำกาละ

ในเพราะธุระ คือความเพียร. แม้ภิกษุนี้ก็ทำกาละแล้ว ในที่เป็นที่จงกรม

เพราะความที่ตนเป็นผู้มีอุปนิสัยน้อยจึงยังมิได้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ได้ถือ

ปฏิสนธิในภพดาวดึงส์ที่ประตูวิมานใหญ่ ราวกะว่าหลับแล้วตื่นขึ้นฉะนั้น

อัตภาพของเทวบุตรนั้นมีสามคาวุตเกิดขึ้น เหมือนเสาระเนียดปิดทองในขณะ

นั้นนั่นแหละ. ภายในวิมานนางอัปสรประมาณหนึ่งพันเห็นเทวบุตรนั้น แล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

กล่าวว่า เทวบุตรผู้เป็นเจ้าของวิมานมาแล้ว พวกเราจักให้เทวบุตรนั้นพอใจ

ดังนี้ จึงถือเอาเครื่องดนตรีมาแวดล้อมแล้ว.

เทวบุตรนั้น ย่อมไม่รู้ซึ่งความที่ตนเป็นผู้จุติแล้วก่อน ยังสำคัญว่าตน

เป็นบรรพชิตอยู่นั่นแหละ จึงเกิดความละอายเพราะเห็นหญิงทั้งหลายมาเที่ยว

ถึงที่อยู่ จึงเอาผ้าปิดเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ดุจภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเอาผ้าที่วางกอง

ไว้ข้างบนมาทำเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง สำรวมอินทรีย์ทั้งหลายแล้วได้ยืนก้มหน้าอยู่.

พวกนางอัปสรเหล่านั้นทราบว่า เทวบุตรนี้เป็นเทวบุตรมาแต่สมณะ

โดยเห็นการเคลื่อนไหวกายของเทวบุตรนั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่

เทวบุตรผู้เป็นเจ้า นี้ชื่อว่า เทวโลก ขณะนี้มิใช่โอกาสที่จะทำสมณธรรม ที่นี้

เป็นโอกาสที่จะเสวยสมบัติ ดังนี้. เทวบุตรนั้น ได้ยืนอยู่เหมือนอย่างนั้น

นั่นแหละ. นางอัปสรเหล่านั้นคิดว่า เทวบุตรนี้ยังกำหนดไม่ได้ ดังนี้ จึง

บรรเลงดนตรีทั้งหลาย. เทวบุตรนั้นก็ยังไม่แลดูอยู่นั่นแหละ ได้ยืนอยู่แล้ว

เหมือนอย่างนั้น. ลำดับนั้น เทพธิดาทั้งหลายเหล่านั้นจึงวางกระจกอันให้เห็น

กายทั้งหมดไว้ข้างหน้า.

เทวบุตรนั้นเห็นเงาในกระจกแล้วจึงทราบความที่ตนเป็นผู้จุติแล้ว

ได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนเพราะสมบัติ ด้วยอันคิดว่า เราทำสมณธรรมมิได้

ปรารถนาฐานะเช่นนี้ เราปรารถนาพระอรหัตอันเป็นอุดมประโยชน์ ดังนี้.

เทวบุตรนั้น พิจารณาดูแผ่นผ้าดังสีทอง จึงคิดว่า ชื่อว่า สมบัติในสวรรค์นี้

เป็นของหาได้ง่าย ความปรากฏแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายหาได้ยาก ราวกะ

นักมวยปล้ำหยั่งลงสู่ที่ที่รบกัน (ย่อมต้องการของมีค่า) แต่กลับได้กำแห่งหัวมัน

ดังนี้ จึงมิได้เข้าไปสู่วิมานเลย ผู้อันหมู่แห่งนางอัปสรแวดล้อมแล้ว ด้วยทั้ง

ศีลยังมิได้ทำลายนั่นแหละมาสู่สำนักของพระทศพล ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวคาถานี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉราคณสงฺฆุฏฺ ความว่า อันหมู่

แห่งนางอัปสรให้กึกก้องแล้วด้วยการขับร้องและดนตรี. บทว่า ปิสาจคณเสวิต

อธิบายว่า เทวบุตรนั้น ย่อมกล่าวทำหมู่แห่งนางอัปสรนั้นนั่นแหละว่าเป็นหมู่

แห่งปีศาจ. บทว่า วน ความว่า เทวบุตรนั้นกล่าวหมายเอาสวนชื่อ นันทนวัน.

จริงอยู่ เทวบุตรนี้ย่อมไม่ชอบใจที่จะกล่าว หมู่แห่งเทวดาว่าเป็นหมู่แห่งเทวดา

ย่อมกล่าวหมู่แห่งเทวดาว่าเป็นหมู่แห่งปีศาจ ดังนี้ ก็เพราะจิตตนิยาม โดย

ความเป็นผู้หนักแน่นของตน. และไม่กล่าว สวนนันทนวันว่าเป็นสวนนันทนวัน

ย่อมกล่าวสวนนันทนวันว่าเป็นบ่า โมหนะ (ป่าเป็นที่หลง). บทว่า กถ

ยาตฺรา ภวิสฺสติ อธิบายว่า การออกไปจักมีได้อย่างไร การก้าวออกไปจักมี

ได้อย่างไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกวิปัสสนาอันเป็น

ปทัฏฐาน (เหตุใกล้) แห่งพระอรหัตแก่ข้าพระองค์.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพิจารณาอยู่ว่า เหตุที่เทวบุตร

นี้กำหนดอยู่นั่นแหละเป็นอะไรหนอ ดังนี้ ทรงทราบแล้วซึ่งความที่เทวบุตร

นั้นเป็นบรรพชิตในศาสนาของพระองค์ จึงทรงดำริว่า เทวบุตรนี้ ทำกาละ

เพราะความเพียรอันแรงกล้าแล้วเกิดในเทวโลกทั้งอัตภาพของเธอนั้นในที่เป็น

ที่จงกรมนั่นแหละ แม้ในวันนี้ก็มิได้ทำลายศีลมาแล้ว ดังนี้.

ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมตรัสบอกปฏิปทาอันเป็นส่วน

เบื้องต้นก่อนว่า เธอจงชำระศีลให้บริสุทธิ์ก่อน จงเจริญสมาธิ จงทำกัมมัสสกต

ปัญญาให้ทรง ดังนี้ ราวกะนายช่างจิตรกรทำการตกแต่งฝาผนัง บอกแก่อัน-

เตวาสิกผู้ไม่มั่นใจในการกระทำ ผู้เริ่มทำครั้งแรก ผู้ไม่ชำนาญในการทำ ฉะนั้น

แต่ว่า เมื่อบุคคลผู้กระทำเคยประกอบแล้วประกอบทั่วแล้ว พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายย่อมตรัสบอกสุญญตาวิปัสสนาทีเดียวซึ่งเป็นภาวะสุขุมลึกซึ้งอันเป็น

ปทัฏฐานแห่งพระอรหัตมรรค.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าพระทัยดีว่า เทวบุตรนี้ เป็นผู้กระทำ

ผู้มีศีลยังมิได้ทำลาย ก็มรรคหนึ่งจักมีแก่เทวบุตรนี้ในอนาคต ดังนี้ เมื่อจะทรง

บอกสุญญตาวิปัสสนา จึงตรัสคำว่า อุชุโก นาม เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุชุโก อธิบายว่า มรรคประกอบด้วย

องค์แปดชื่อว่า ทางตรง เพราะความที่ทางนั้นไม่มีการคดทั้งหลาย มีการคด

ทางกายเป็นต้น. บทว่า อภยา นาม สาทิสา พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส

หมายเอาพระนิพพาน. จริงอยู่ ในพระนิพพานนั้น ภัยอะไร ๆ ก็ไม่มี หรือว่า

ภัยนั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้ถึงพระนิพพานแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า อภยา นาม สาทิสา แปลว่า ทิศนั้นชื่อว่าไม่มีภัย.

บทว่า รโถ อกุชชโน ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประสงค์

เอาอัฏฐังคิกมรรค. เหมือนอย่างว่า เมื่อเพลาแห่งรถไม่มีน้ำมันหยอด หรือว่า

เมื่อคนขึ้นมากเกินไป ธรรมดารถก็ต้องมีเสียงดัง คือย่อมส่งเสียงดัง ฉันใด

รถคืออริยมรรค ฉันนั้นหามิได้ จริงอยู่ รถ คือ อริยมรรคนั้นแม้สัตว์ตั้งแปด

หมื่นสี่พันขึ้นอยู่โดยการนำไปคราวเดียวกัน ย่อมไม่ดัง ย่อมไม่ส่งเสียง เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อกุชฺชโน แปลว่า ไม่มีเสียงดัง. บทว่า

ธมฺมจกฺเกหิ สยุโต อธิบายว่า ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยล้อคือธรรมทั้ง

หลาย กล่าวคือความเพียรอันเป็นไปทางกายและทางใจ. บทว่า หิริ นี้ แม้

โอตตัปปะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า หิริ นั่นแหละ.

บทว่า ตสฺส อปาลมฺโพ อธิบายว่า เมื่อนักรบทั้งหลายยืนอยู่บนรถอันมีใน

ภายนอก ย่อมมีฝาที่ทำด้วยไม้เพื่อต้องการแก่อันมิให้ตกไป ฉันใด หิริ และ

โอตตัปปะแห่งรถคือมรรคนี้อันมีทั้งภายในและภายนอกเป็นสมุฏฐานเป็นเครื่อง

ป้องกัน ฉันนั้น. บทว่า สตฺยสฺส ปริวารณ อธิบายว่า สติอันสัมปยุต

ด้วยรถคือมรรคแม้นี้เป็นเกราะกำบัง ราวกะรถของนักรบที่หุ้มด้วยวัตถุทั้งหลาย

มีหนังสีหะเป็นต้น. บทว่า ธมฺม ได้แก่ โลกกุตรมรรค.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

บทว่า สมฺมาทิฏฺิปุเร ชว อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนา น่า

หน้าไป คือเป็นเครื่องดำเนินไปก่อน (เป็นประธาน) แห่งมรรคนั้นมีอยู่

เพราะเหตุนั้น มรรคนั้น จึงชื่อว่า มีสัมมาทิฏฐินำหน้า. ธรรมมีสัมมาทิฏฐิ

นำหน้านั้น คือเหมือนอย่างว่า เมื่อราชบุรุษทั้งหลายทำหนทางให้สะอาดโดย

การนำชนทั้งหลายมีคนบอดคนง่อยเป็นต้นออกไปก่อน แล้วพระราชาจึงเสด็จ

มาในภายหลัง ฉันใด ครั้นเมื่อธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น อันสัมมาทิฏฐิ

แห่งวิปัสสนาชำระให้หมดจดแล้วด้วยสามารถแห่งความเห็นโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยงเป็นต้น สัมมาทิฏฐิแห่งมรรคอันกำหนดรู้อยู่ซึ่งวัฏฎะได้แล้วในภูมิ จึง

เกิดขึ้นในภายหลัง ฉันนั้นนั่นแหละ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า ธมฺมาห สารถึ พฺรูมิ สมฺมาทิฏฺิปุเร ชว แปลว่า เรากล่าวธรรม

มีสัมมาทิฏฐินำหน้าว่า เป็นสารถี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นให้เทศนาสำเร็จด้วยประการฉะนั้นแล้ว ในที่

สุดทรงแสดงสัจจะ ๔ ในเวลาที่สุดลงแห่งเทศนา เทวบุตรตั้งอยู่เฉพาะแล้วใน

โสดาปัตติผล. เหมือนอย่างว่า ในเวลาที่พระราชาเสวยพระกระยาหาร พระองค์

ก็ยกขึ้นเสวยโดยประมาณของพระองค์ บุตรที่นั่งอยู่ที่ตักก็ย่อมทำคำข้าวโดย

ประมาณแก่ปากของตน ฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้นนั่นแหละ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

แม้ทรงแสดงเทศนาอันสุดยอดคือพระอรหัตอยู่ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมบรรลุธรรม

ทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้นโดยสมควรแก่ธรรมเป็นอุปนิสัยของตน ฉะนั้น.

แม้เทวบุตรนี้ก็บรรลุโสดาปัตติผลแล้วบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวัดถุ

ทั้งหลายมีของหอมเป็นต้น แล้วหลีกไป.

จบอรรถกถาอัจฉราสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

๗. วนโรปสูตร

ว่าด้วยเจริญบุญได้ทุกเวลา

[๑๔๕] เทวดาทูลถามว่า

ชนพวกไหนมีบุญ เจริญในกาลทุก

เมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน ชนพวกไหน

ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นผู้ไป

สวรรค์.

[๑๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ชนเหล่าใดสร้างอาราม (สวนไม้

ดอกไม้ผล) ปลูกหมู่ไม้ (ใช่ร่มเงา) สร้าง

สะพาน และชนเหล่าใดให้โรงน้ำเป็นทาน

และบ่อน้ำทั้งบ้านที่พักอาศัย ชนเหล่านั้น

ย่อมมีบุญ เจริญในกาลทุกเมื่อทั้งกลางวัน

และกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม

สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์.

อรรถกถาวนโรปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวนโรปสูตรที่ ๗ ต่อไป ;-

บทว่า ธมฺมฏฺา สีลสมฺปนฺนา แปลว่า เทวดา ย่อมทูลถามว่า

ชนพวกไหนตั้งอยู่ในธรรมสมบูรณ์ด้วยศีล ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

จะทรงแสดงปัญหานี้โดยวัตถุก่อน จึงตรัสว่า อารามโรปา เป็นอาทิ. บรรดา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

บทเหล่านั้น บทว่า อารามโรปา แปลว่า ปลูกสวนดอกไม้และสวนผลไม้.

บทว่า วนโรปา อธิบายว่า ทำการล้อมเขตแดนในป่าธรรมชาติที่เกิดขึ้นเอง

แล้ว ทำเจดีย์ ปลูกต้นโพธิ์ ทำที่จงกรม ทำมณฑป กุฏิ ที่หลีกเร้น และที่พัก

ในเวลากลางวันและกลางคืน. เมื่อบุคคลปลูกต้นไม้อาศัยร่มเงาให้อาศัยอยู่ ก็

ชื่อว่า การปลกหมู่ไม้. บทว่า เสตุการกา ได้แก่ชนทั้งหลายสร้างสะพาน

ในที่อันไม่เสมอกันหรือ ย่อมมอบเรือให้ไป. บทว่า ปป ได้แก่ โรงที่ให้

น้ำดื่ม. บทว่า อุทปาน ได้แก่ ที่ใดที่หนึ่งมีสระโบกขรณีและบ่อที่มีน้ำเป็น

ต้น. บทว่า อปสฺสย ได้แก่ บ้านที่พักอาศัย พระบาลีว่า อุปาสย ก็มี

แปลว่า ให้เข้าไปอาศัย. บทว่า สทา ปุญฺ ปวฑฺฒติ อธิบายว่า เมื่อ

ไม่ตรึกถึงอกุศลวิตก หรือเมื่อไม่หลับ บุญย่อมเจริญ. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า บุญย่อมเจริญทุกเมื่อ ดังนี้ ทรงหมายเอาเนื้อความนี้ว่า ก็ในกาลใด

ย่อมระลึกถึง ในกาลนั้น บุญย่อมเจริญ ดังนี้. บทว่า ธมฺมฏฺา สีลสมฺปนฺนา

อธิบายว่า ชื่อว่า ตั้งอยู่แล้วในธรรม เพราะความที่บุคคลนั้นดำรงอยู่ในธรรม

ชื่อว่า สมบูรณ์แล้วด้วยศีล เพราะความที่บุคคลนั้นถึงพร้อมแล้วด้วยศีลแม้นั้น.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลทั้งหลายทำบุญทั้งหลายเห็นปานนี้ ชื่อว่า ย่อมบำเพ็ญ

กุศลธรรมสิบ คือว่าบุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ตั้งอยู่แล้วในธรรม เพราะความที่

บุคคลเหล่านั้น ตั้งอยู่ในกุศลธรรมสิบเหล่านั้น และชื่อว่า สมบูรณ์แล้วด้วยศีล

เพราะความที่บุคคลเหล่านั้นถึงพร้อมแล้วด้วยศีลนั้นนั่นแหละ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาวนโรปสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

๘. เชตวนสูตร

ว่าด้วยสัตว์บริสุทธิ์ด้วยธรรม ๕

[๑๔๗] เทวดากราบทูลว่า

ก็พระเชตวันมหาวิหารนี้นั้น อันหมู่

แห่งท่านผู้แสวงคุณอยู่อาศัยแล้ว อัน

พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาประทับ

อยู่แล้ว เป็นแหล่งที่เกิดปีติของข้าพระองค์

กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิต

อันอุดม ๑ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วย

คุณธรรม ๕ นี้ หาบริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือ

ด้วยทรัพย์ไม่. เพราะเหตุนั้นแหละ คน

ผู้ฉลาด เมื่อเห็นประโยชน์ของตน ควร

เลือกเฟ้นธรรมโดยอุบายอันแยบคาย

เพราะเมื่อเลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อมหมดจดได้

ในธรรมเหล่านั้น.

พระสารีบุตรรูปเดียวเท่านั้น (เป็นผู้

ประเสริฐ) ด้วยปัญญา ศีล และความสงบ

ภิกษุใดเป็นผู้ถึงซึ่งฝั่ง ภิกษุนั้นก็มีท่าน

พระสารีบุตรนั้นเป็นเยี่ยม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

อรรถกถาเชตวนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเชตวนสูตรที่ ๘ ต่อไป:-

ในบทว่า อิท หิ ต เชตวน ความว่า อนาถบิณฑิกเทวบุตร

มากล่าวอย่างนี้ เพื่อชมเชยพระเชตวันและพระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า อิสิสฆนิเสวิต ได้แก่ อันหมู่แห่งภิกษุอยู่อาศัยแล้ว

อนาถบิณฑิกเทวบุตรนั้น ครั้นกล่าวชมเชยพระเชตวันด้วยคาถาที่หนึ่งอย่างนี้

แล้ว บัดนี้ เมื่อจะกล่าวถึงอริยมรรค จึงกล่าวคำว่า กมฺม วิชฺชา เป็นต้น

แปลความว่า

กรรม ๑ วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑

ชีวิตอันอุดม ๑ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์

ด้วยคุณธรรม ๕ นี้ หาได้บริสุทธิ์ด้วยโคตร

หรือด้วยทรัพย์ไม่.

เหตุนั้นแหละ คนผู้ฉลาดเมื่อเห็น

ประโยชน์ของตนควรเลือกเฟ้นธรรมโดย

อุบายอันแยบคาย เลือกเฟ้นเช่นนี้ ย่อม

หมดจดในธรรมเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺม ได้แก่ มรรคเจตนา. บทว่า

วิชฺชา ได้แก่ มรรคปัญญา. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมทั้งหลายอันเป็น

ฝ่ายสมาธิ. บทว่า สีล ชีวิตมุตฺตม อธิบายว่า เทวดานั้นย่อมแสดงชีวิต

อันสูงสุดของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิชฺชา ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ

และสัมมาสมาธิ. บทว่า สีล ได้แก่ สัมมาวาจา และสัมมากัมมันตะ. บทว่า

ชีวิตมุตฺตม ได้แก่ ชีวิตของผู้ตั้งอยู่ในศีลนี้เป็นชีวิตสูงสุด. บทว่า เอเตน

มจฺจา สุชฺฌนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยมรรคอันประกอบ

ด้วยองค์แปดนี้.

บทว่า ตสฺมา ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยมรรค เหตุใด

เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่บริสุทธิ์ได้ด้วยโคตร และด้วยทรัพย์.

บทว่า โยนิโส วิจิเน ธมฺม อธิบายว่า พึงวินิจฉัยธรรมอันเป็นฝ่ายสมาธิโดย

อุบาย. บทว่า เอว ตตฺถ วิสุชฺฌติ ได้แก่ เลือกธรรมนั้นอย่างนี้

ย่อมหมดจดได้ด้วยอริยมรรค. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โยนิโส วิจิเน ธมฺม

ได้แก่ พึงวินิจฉัยธรรม ๕ กองโดยอุบาย. บทว่า เอว ตตฺถ วิสุชฺฌติ

ได้แก่ ย่อมบริสุทธิ์ในสัจจะ ๔ เหล่านั้นได้อย่างไร.

บัดนี้ อนาถบิณฑิกเทวบุตรนั้น เมื่อจะกล่าวชมเชยพระสารีบุตรเถระ

จึงกล่าวคำว่า สาริปุตฺโตว เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาริปุตฺโตว

นี้เป็นคำกล่าวถึงตำแหน่ง อธิบายว่า อนาถบิณฑิกเทวบุตรนั้นย่อมกล่าวว่า

พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยธรรมเหล่านี้มีปัญญาเป็นต้น. บทว่า

อุปสเมน ได้แก่ ความสงบจากกิเลส. บทว่า ปารคโต แปลว่า ผู้ถึง

พระนิพพาน. อธิบายว่า เทวดานั้นย่อมกล่าวว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งบรรลุ

พระนิพพาน ภิกษุนั้นเป็นเยี่ยม คือว่า ชื่อว่า เยี่ยมกว่าพระสารีบุตรเถระย่อม

ไม่มี ดังนี้. คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเชตวนสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

๙. มัจฉริสูตร

ว่าด้วยวิบากของคนตระหนี่

[๑๔๘] เทวดาทูลถามว่า

คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่

เหนียวแน่น ดีแต่ว่าเขา ทำการกีดขวาง

คนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่. วิบากของคนพวกนั้น

จะเป็นเช่นไร และสัมปรายภพของเขา

จะเป็นเช่นไร. ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้า ไฉนข้าพระองค์จึงจะ

รู้ความข้อนั้น.

[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่

เหนียวแน่น ดีแต่ว่าเขา ทำการกีดขวาง

คนเหล่าอื่นผู้ให้อยู่. คนเหล่านั้นย่อมเข้า

ถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือยมโลก

ถ้าหากถึงความเป็นมนุษย์ ก็เกิดในสกุล

คนยากจน ซึ่งจะหาท่อนผ้า อาหาร ความ

ร่าเริงและความสนุกสนานได้โดยยาก.

คนพาลเหล่านั้นต้องประสงค์สิ่งใดแต่ผู้อื่น

เขาย่อมไม่ได้แม้สิ่งนั้น สมความปรารถนา

นั่นเป็นผลในภพนี้ และภพหน้าก็ยังเป็น

ทุคติอีกด้วย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

[๑๕๐] เทวดาทูลถามว่า

ก็ข้อนี้ข้าพระองค์เข้าใจชัดอย่างนี้

(แต่) จะทูลถามข้ออื่นกะพระโคดม ชน

เหล่าใดในโลกมิได้ความเป็นมนุษย์แล้วรู้

ถ้อยคำ ปราศจากความตระหนี่ เลื่อมใส

ในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์

เป็นผู้มีความเคารพแรงกล้า วิบากของ

ชนเหล่านั้นจะเป็นเช่นไร และสัมปรายภพ

ของเขาจะเป็นเช่นไร ข้าพระองค์มาเพื่อ

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ไฉนข้าพระ-

องค์จึงจะรู้ความข้อนั้น.

[๑๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ชนเหล่าใดในโลกนี้ได้ความเป็น

มนุษย์แล้ว รู้ถ้อยคำ ปราศจากความ

ตระหนี่ เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระ-

ธรรมและพระสงฆ์ เป็นผู้มีความเคารพ

แรงกล้า ชนเหล่านี้ย่อมปรากฏในสวรรค์

อันเป็นที่อุบัติ หากถึงความเป็นมนุษย์

ย่อมเกิดในสกุลที่มั่งคั่ง ได้ผ้าอาหารความ

ร่าเริงและความสนุกสนานโดยไม่ยาก พึง

มีอำนาจแผ่ไปในโภคทรัพย์ที่ผู้อื่นหา

สะสมไว้ บันเทิงใจอยู่ นั่นเป็นวิบากใน

ภพนี้ ทั้งภพหน้าก็เป็นสุคติ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

อรรถกถามัจฉริสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมัจฉริสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า มจฺฉริโน แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความตระหนี่. จริงอยู่

คนบางคนไม่ยอมเหยียดมือออกไหว้แม้ภิกษุทั้งหลายในที่เป็นที่อยู่ของตน คือว่า

อุบาสกคนหนึ่งไปในที่อื่นเข้าไปสู่วิหารไหว้โดยเคารพแล้ว ทำการทักทาย

ปราศรัย กับภิกษุด้วยถ้อยคำอันไพเราะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลาย

ย่อมไม่มาสู่ที่เป็นที่อยู่ของพวกกระผม ที่นั้น เป็นประเทศอันสมบูรณ์ พวก

กระผมสามารถเพื่อทำการบำรุงพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายด้วยาคูและภัตเป็นต้น.

ภิกษุคิคว่าอุบาสกนี้มีศรัทธาจะสงเคราะห์พวกเราด้วยข้าวยาคูเป็นต้น . ลำดับนั้น

พระเถระรูปหนึ่งเข้าไปบ้านนั้น เพื่อเที่ยวไปบิณฑบาต. ฝ่ายอุบาสกนั้นเห็น

พระเถระนั้นแล้ว ย่อมเลี่ยงไปทางอื่น หรือเข้าไปสู่เรือน คิดว่า ถ้าพระเถระ

มาประจัญหน้า เราก็ต้องยกมือไหว้ แล้วก็ต้องถวายภิกษาแก่พระผู้เป็นเจ้า

อย่ากระนั้นเลย เราจะไปด้วยการงานอะไรสักอย่างหนึ่ง ดังนี้แล้วหลบหลีกไป

พระเถระเที่ยวไปสู่บ้านทั้งสิ้น เป็นผู้มีบาตรเปล่าเทียวออกมาแล้ว. ข้อนี้

ชื่อว่า ความตระหนี่อย่างอ่อน (มุทุมัจฉริยะ).

บุคคลแม้มิใช่ทายก ย่อมทำราวกะว่าเป็นทายก คือเป็นผู้ประกอบ

ด้วยเหตุอันใดนั้น ในที่นี้ท่านประสงค์เอาบุคคลผู้มีความตระหนี่จัด (ถัทธ-

มัจฉริยะ) คือว่า อุบาสกนั้นประกอบด้วยมัจฉริยะอันใด เมื่อมีผู้กล่าวว่า

ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเพื่อบิณฑบาต พระเถระทั้งหลายยืนอยู่แล้ว ดังนี้

ก็จะพูดว่า เท้าของเราเจ็บมิใช่หรือ จะเป็นผู้กระด้างยืนอยู่ ดุจเสาหิน หรือ

ดุจตอไม้ ย่อมไม่กระทำแม้สามีจิกรรม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

บทว่า กทริยา ความเหนียวแน่น นี้เป็นไวพจน์ของความตระหนี่

นั่นแหละ เพราะว่า ความตระหนี่อย่างอ่อน ท่านเรียกว่า มัจฉริยะ ส่วนความ

ตระหนี่จัด ท่านเรียกว่า กัทริยะ. คำว่า ปริภาสกา ดีแต่ว่าเขา คือว่า

เห็นภิกษุทั้งหลาย ยืนอยู่ที่ประตูบ้าน ก็จะคุกคามด้วยคำว่า พวกท่านไถนา

มาหรือ หรือหว่านข้าวมา จึงมาเร็วนัก แม้พวกเราก็ยังไม่ได้เพื่อตน จักได้

อาหารเพื่อท่านแต่ที่ไหน ดังนี้เป็นต้น. คำว่า อนฺตรายกรา แปลว่า

ทำการกีดขวาง คือ เป็นผู้ทำอันตรายทั้งหลายของชนเหล่านี้คือ ทำอันตราย

สวรรค์ของทายก ทำอันตรายลาภของปฏิคาหก และทำลายตัวเอง. คำว่า

สมฺปราโย ได้แก่ ปรโลก.

คำว่า รติ ได้แก่ ความร่าเริงในกามคุณ ๕.

คำว่า ขิฑฺฑา ได้แก่ ความสนุกสนาน ๓ อย่าง มีความสนุก-

สนานทางกายเป็นต้น.

คำว่า ทิฏฺเ ธมฺเม ส วิปาโก ได้แก่ นั่นเป็นวิบากในภพ

ปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ ๆ คนเกิดแล้ว ๆ.

คำว่า สมฺปราโย จ ทุคฺคติ ได้แก่ บุคคลเหล่านั้น ย่อม

เข้าถึงยมโลก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภพหน้าก็เป็นทุคติ.

คำว่า วทญฺญู รู้ถ้อยคำ ความว่า ภิกษุทั้งหลายยืนอยู่ที่ประตูบ้าน

ถึงจะเป็นผู้นิ่งแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ชื่อว่า ย่อมกล่าวว่า ขอพวกท่านจง

ให้ภิกษาเพื่อประโยชน์ ดังนี้ คือว่า ชนเหล่าใด ย่อมแบ่งไทยธรรม

โดยกล่าวว่า พวกเราจะหุงภัต ชนพวกนี้ย่อมไม่หุง เมื่อเราไม่หุงอยู่ พวกภิกษุ

จักได้ภัตแต่ที่ไหน ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า วทัญญู

แปลว่า รู้ถ้อยคำ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

คำว่า ปกาเสนฺติ ย่อมปรากฏ คือว่า ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยรัศมีแห่ง

วิมาน. คำว่า ปรสมฺภเตสุ แปลว่า โภคทรัพย์ที่ผู้อื่นหาสะสมไว้ ได้แก่

ที่ผู้อื่นรวบรวมไว้. คำว่า ทั้งภพหน้าก็เป็นสุคติ ความว่า สัมปรายภพที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ว่า เอเต มคฺคา ดังนี้ ชื่อว่า สุคติ.

อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เมื่อชนเหล่านั้นแม้ทั้งสองพวกเคลื่อนแล้วจากที่นั้น

ภพหน้าอีก ย่อมเป็นทุคติ และสุคติ ดังนี้แล.

จบอรรถกถามัจฉริสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

๑๐. ฆฏิกรสูตร

ว่าด้วยภิกษุ ๗ รูป ตัดเครื่องผูก

[๑๕๒] ฆฏิกรพรหมกราบทูลว่า

ภิกษุ ๗ รูปผู้เข้าถึงพรหมโลกชื่อว่า

อวิหา เป็นผู้หลุดพ้นแล้วมีราคะ โทสะ

สิ้นแล้ว ข้ามเครื่องเกาะเกี่ยวในโลกได้

แล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ก็ภิกษุเหล่านั้นคือผู้ใดบ้าง ผู้ข้าม

เครื่องข้องเป็นบ่วงของมารที่ข้ามได้แสน-

ยาก ละกายของมนุษย์แล้วก้าวล่วงซึ่ง

ทิพยโยคะ.

ฆฏิกรพรหมกราบทูลว่า

คือท่านอุปกะ ๑ ท่านผลคัณฑะ ๑

ท่านปุกกุสาติ ๑ รวมเป็น ๓ ท่าน ท่าน

ภัททิยะ ๑ ท่านขัณฑเทวะ ๑ ท่านพหุทันตี

๑ ท่านสิงคิยะ ๑ (รวมเป็น ๗ ท่าน)

ท่านเหล่านั้นล้วนแต่ละกายของมนุษย์

ก้าวล่วงทิพยโยคะได้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

[๑๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ท่านเป็นผู้มีความฉลาด กล่าว

สรรเสริญภิกษุเหล่านั้น ผู้ละบ่วงมารได้

แล้ว ภิกษุเหล่านั้นตรัสรู้ธรรมของใครเล่า

จึงตัดเครื่องผูกคือภพเสียได้.

[๑๕๔] ฆฏิกรพรหมกราบทูลว่า

ท่านเหล่านั้น ตรัสรู้ธรรมของผู้ใด

จึงตัดเครื่องผูกคือภพเสียได้ ผู้นั้นไม่มีอื่น

ไปจากพระผู้มีพระภาคเจ้า และธรรมนั้น

ไม่มีอื่นไปจากคำสั่งสอนของพระองค์.

นามและรูปดับไม่เหลือในธรรมใด

ท่านเหล่านั้นได้รู้ธรรมนั้นในพระศาสนา

นี้ จึงตัดเครื่องผูกคือภพเสียได้.

[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ท่านกล่าววาจาลึกรู้ได้ยาก เข้าใจ

ให้ดีได้ยาก ท่านรู้ธรรมของใคร จึงกล่าว

วาจาเช่นนี้ได้.

[๑๕๖] ฆฏิกรพรหมกราบทูลว่า

เมื่อก่อนข้าพระองค์เป็นช่างหม้อ

ทำหม้ออยู่ในเวภฬิงคชนบทเป็นผู้เลี้ยง

มารดาและบิดา ได้เป็นอุบาสกของพระ-

กัสสปพุทธเจ้า เป็นผู้เว้นจากเมถุนธรรม

เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เกี่ยวด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

อามิส ได้เคยเป็นคนร่วมบ้านกับพระองค์

ทั้งได้เคยเป็นสหายของพระองค์ในกาล

ปางก่อน ข้าพระองค์รู้จักภิกษุ ๗ รูป

เหล่านี้ ผู้หลุดพ้นแล้ว มีราคะและโทสะ

สิ้นแล้ว ผู้ข้ามเครื่องข้องในโลกได้แล้ว.

[๑๕๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

แนะนายช่างหม้อ ท่านกล่าวเรื่อง

อย่างใด เรื่องนั้นได้เป็นจริงแล้วอย่างนั้น

ในกาลนั้น เมื่อก่อนท่านเคยเป็นช่างหม้อ

ทำหม้ออยู่ในเวภฬิงคชนบท เป็นผู้เลี้ยง

มารดาและบิดา เป็นอุบาสกของพระ-

กัสสปพุทธเจ้า เป็นผู้เว้นจากเมถุนธรรม

เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เกี่ยวด้วย

อามิส ได้เป็นคนเคยร่วมบ้านกันกับเรา

ทั้งได้เคยเป็นสหายของเราในปางก่อน.

พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า

สหายเก่าทั้งสอง ผู้มีตนอันอบรม

แล้ว ทรงไว้ซึ่งสรีระมีในที่สุด ได้มา

พบกันด้วยอาการอย่างนี้.

จบฆฏิกรสูตร

จบ อาทิตตวรรค ที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

อรรถกถาฆฏิกรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในฆฏิกรสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า ผู้เข้าถึง ได้แก่ เข้าถึงแล้วด้วยอำนาจแห่งความเกิดขึ้น.

บทว่า เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ได้แก่ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ด้วยความหลุดพ้น

แห่งพระอรหัตผลในระหว่างแห่งเวลาใกล้ชิดกับความอุบัติขึ้นในอวิหาพรหม

โลก.

ในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่างนี้ว่า มานุส

เทห แปลว่ากายของมนุษย์. ตรัสสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ อย่าง ด้วย

บทว่า ทิพฺพโยค แปลว่า ทิพยโยคะ นี้. บทว่า อุปจฺจคุ แปลว่า ก้าว

ล่วงแล้ว. บทว่า ท่านอุปกะ เป็นต้น เป็นชื่อของพระเถระเหล่านั้น. บทว่า

ความฉลาด ในคำว่า ท่านเป็นผู้มีความฉลาด กล่าวสรรเสริญภิกษุเหล่า

นั้น นี้มีอยู่แก่บุคคลนี้ใด เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า มีความฉลาด

อธิบายว่า ท่านเป็นผู้มีความฉลาด มีวาจาไม่มีโทษกล่าวชมเชยสรรเสริญ

พระเถระเหล่านั้น คือว่า ตรัสว่า ดูก่อนเทวบุตร ท่านเป็นผู้ฉลาด. บทว่า

ต เต ธมฺม อิธญฺาย ความว่า พระเถระเหล่านั้นรู้ธรรมนั้นในพระศาสนา

ของพระองค์นี้. บทว่า คมฺภีร ได้แก่ มีอรรถอันลึก. บทว่า ผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์ไม่เกี่ยวด้วยอามิส ความว่า ชื่อว่า ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่

เกี่ยวด้วยอามิส คือ พระอนาคามี. อธิบายว่า ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีแล้ว.

บทว่า อหุวา แปลว่า ได้เคยเป็นแล้ว. บทว่า สคาเมยฺโย แปลว่า ได้เคย

เป็นคนร่วมบ้านกับพระองค์. ปริโยสานคาถา พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าว.

จบอรรถกถาฆฏิกรสูตรที่ ๑๐

จบอาฑิตตวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

สูตรที่กล่าวในอาทิตตวรรคนั้น คือ

๑. อาทิตตสูตร ๒. กินททสูตร ๓. อันนสูตร ๔. เอกมูลสูตร

๕. อโนมิยสูตร ๖. อัจฉราสูตร ๗. วนโรปสูตร ๘. เชตวนสูตร

๙. มัจฉริสูตร ๑๐. ฆฏิกรสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

ชราวรรคที่ ๖

๑. ชราสูตร

[๑๕๘] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอ ยังประโยชน์ให้สำเร็จจน

กระทั่งชรา อะไรหนอ ตั้งมั่นแล้วยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จ อะไรหนอ เป็นรัตนะ

ของคนทั้งหลาย อะไรหนอ โจรลักไปไม่

ได้.

[๑๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จจนกระทั่ง

ชรา ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้

สำเร็จ ปัญญาเป็นรัตนะของคนทั้งหลาย

บุญอันโจรลักไปไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

อรรถกถาชราสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๑ แห่งชราวรรคที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า สาธุ ความว่า ย่อมให้บรรลุประโยชน์อันดี. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงคำว่า สาธุ นี้ ด้วยบทว่า สีล ยาว ชรา นี้ ก็

เครื่องประดับ ทั้งหลายมีแก้วมุกดาแก้วมณีและผ้าเป็นต้น ย่อมงามแก่บุคคลใน

เวลาที่ยังเป็นหนุ่มสาวเท่านั้น เมื่อบุคคลทรงเครื่องประดับเหล่านั้นในเวลาที่

ตนเป็นผู้แก่คร่ำคร่าแล้วเพราะชรา ก็จะประสบถ้อยคำอันบุคคลพึงกล่าวว่า

บุคคลนี้ย่อมปรารถนาจะเป็นเด็กแม้ในวันนี้ เห็นจะเป็นบ้า ดังนี้ ส่วนศีลหา

เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะว่า ศีลย่อมงามตลอดกาลเป็นนิตย์ ชนทั้งหลายย่อม

รักษาศีลในวัยเด็กก็ดี ในวัยกลางคนก็ดี ในวัยแก่ก็ดี ย่อมไม่มีผู้ที่จะกล่าวว่า

มีประโยชน์อะไรด้วยศีลของบุคคลนี้ ดังนี้. บทว่า ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จ อธิบายว่า ชื่อว่า ศรัทธาตั้งมั่นอันมาแล้วด้วยมรรค

ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ เหมือนศรัทธาของชนทั้งหลายมีหัตถกะอุบาสก

ชาวอาฬวกะและจิตตคหบดี เป็นต้น. ในคำว่า ปัญญาเป็นรัตนะของคน

ทั้งหลาย นี้บัณฑิตพึงทราบว่าเป็น รัตนะ เพราะชนทั้งหลายทำความยำเกรง.

สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าว่ารัตนะ คือบุคคลผู้อันบุคคล

พึงทำความยำเกรงไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นบุรุษเพียงดังสีหะ ก็เป็นผู้อัน

บุคคลพึงทำความยำเกรงมิใช่หรือ แม้ชนทั้งหลายผู้ควรยำเกรงในโลกมีอยู่ ชน

เหล่านั้น ควรทำความยำเกรงในพระผู้มีพระภาคเจ้า ผิว่า รัตนะ คือบุคคล

ผู้ประกอบความยินดีไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นบุรุษเพียงดังสีหะ ก็เป็นผู้

อันบุคคลพึงทำความยินดีมิใช่หรือ เพราะเมื่อพระพฤติตามคำของพระองค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

ย่อมอภิรมย์ด้วยความสุข อันเกิดแต่ความพอใจในฌาน และความสุขอันเกิด

แต่ความยินดี ผิว่า รัตนะ คือ เป็นผู้ไม่มีใครเสมอไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เป็นบุรุษเพียงสีหะ ก็ไม่มีบุคคลเสมอ (มีคุณอันบุคคลชั่งไม่ได้) มิใช่หรือ

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระบารมีอันเป็นความดียิ่งกว่าความดีทั้งหลาย

ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะเสมอ (ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อชั่งได้) ผิว่า รัตนะ คือ เป็น

บุคคลหาได้โดยยาก พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นบุรุษเพียงดังสีหะ ก็เป็นบุคคลที่

หาได้โดยยาก มิใช่หรือ ผิว่า รัตนะ คือเครื่องใช้สอยของสัตว์อันไม่ทราม

พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เป็นผู้ไม่ทรามด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณ-

ทัสสนะ มิใช่หรือ. แต่ในที่นี้ ตรัสว่า ปัญญาเป็นรัตนะ เพราะอรรถว่า

เป็นความปรากฏแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าอันบุคคลหาได้โดยยาก.

บทว่า บุญ ได้แก่ บุญเจตนา (เจตนาอันเป็นบุญ) เพราะว่า

เจตนานั้นถึงความเป็นภาวะมิใช่รูป อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อนำไปได้ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาชรสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

๒. อชรสาสูตร

[๑๖๐] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอ เพราะไม่ชำรุดจึงยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จ อะไรหนอ ดำรงมั่น

แล้ว ยังประโยชน์ให้สำเร็จ อะไรหนอ

เป็นรัตนะของชนทั้งหลาย อะไรหนอ

บุคคลพึงนำให้พ้นจากพวกโจรได้.

[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ศีล เพราะไม่ชำรุดจึงยังประโยชน์

ให้สำเร็จ ศรัทธา ดำรงมั่นแล้ว ยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จ ปัญญา เป็นรัตนะของ

คนทั้งหลาย บุญ อันบุคคลพึงนำไปให้

พ้นจากพวกโจรได้.

อรรถกถาอชราสาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอชรสาสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า อชรสา แปลว่า เพราะไม่ชำรุด คือไม่วิบัติ. เพราะว่าศีล

อันไม่วิบัตินั่นแหละ ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ. ชนทั้งหลายแม้จะเป็นอาจารย์

และอุปัชฌาย์เป็นต้น ย่อมไม่สงเคราะห์บุคคลผู้มีศีลวิบัติแล้ว ดังนั้น บุคคล

พึงฝึกตนในที่ ๆ ตนไปแล้ว ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอชราสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

๓. มิตตสูตร

[๑๖๒] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอเป็นมิตรของคนเดินทาง

อะไรหนอเป็นมิตรในเรือนของตน อะไร

เป็นมิตรของคนมีธุระเกิดขึ้น อะไรเป็น

มิตรติดตามไปถึงภพหน้า.

[๑๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

พวกเกวียน พวกโคต่างเป็นมิตร

ของคนเดินทาง มารดาเป็นมิตรในเรือน

ของตน สหายเป็นมิตรของคนผู้มีธุระเกิด

ขึ้นเนืองๆ บุญที่ตนทำเองเป็นมิตรติดตาม

ไปถึงภพหน้า.

อรรถกถามิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมิตตสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า สตฺโถ ได้แก่ คนเดินทางร่วมกัน หรือเดินทางด้วยลำแข้ง

หรือว่าคนเดินทางด้วยเกวียน. บทว่า มิตฺต ได้แก่ เมื่อโรคเกิดขึ้นแล้ว

บุคคลชื่อว่า เป็นมิตร เพราะนำไปด้วยวอ หรือว่าด้วยยานอื่นให้ถึงที่ด้วย

ความปลอดภัย. บทว่า ในเรือนของตน ความว่า เมื่อโรคเห็นปานนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

เกิดขึ้นแล้วในบ้านของตน ชนทั้งหลายมีบุตรและภรรยาเป็นต้น ย่อมรังเกียจ

แต่มารดา ย่อมสำคัญแม้ซึ่งของไม่สะอาดของบุตร ราวกะว่าท่อนจันทน์

เพราะฉะนั้น มารดานั้น จึงชื่อว่า เป็นทั้งมิตรทั้งสหายในเรือนของตน. บทว่า

อตฺถชาตสฺส แปลว่า ของบุคคลผู้มีธุระเกิดขึ้น อธิบายว่า บุคคลใด ย่อม

นำกิจนั้นไป ทำให้สำเร็จ บุคคลนั้นชื่อว่า สหาย ชื่อว่า มิตร เพราะความ

เป็นคือให้กิจทั้งหลายสำเร็จร่วมกัน. แต่ว่า ชนทั้งหลายผู้เป็นสหายในการดื่ม

น้ำเมา มีสุราเป็นต้น ไม่ชื่อว่า เป็นมิตร. บทว่า สมฺปรายิก ได้แก่ เป็น

ประโยชน์เกื้อกูลในภพหน้า.

จบอรรถกถามิตตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

๔. วัตถุสูตร

[๑๖๔] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้ง-

หลาย อะไรหนอเป็นสหายอย่างยิ่งในโลกนี้

เหล่าสัตว์มีชีวิตที่อาศัยแผ่นดิน อาศัย

อะไรหนอเลี้ยงชีพ.

[๑๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุตรเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย

ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง เหล่าสัตว์มีชีวิต

ที่อาศัยแผ่นดิน อาศัยฝนเลี้ยงชีพอยู่.

อรรถกถาวัตถุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวัตถุสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า ปุตฺตา วตฺถู อธิบายว่า บุตรทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นที่ตั้ง

เพราะอรรถว่าปฏิบัติในเวลาที่มารดาบิดาเป็นคนแก่. บทว่า ปรมา ความว่า

ภรรยา ชื่อว่า เป็นเพื่อนอย่างยิ่ง เพราะความที่ความลับแม้ตนไม่บอกบุคคล

อื่น ก็ต้องบอกแก่ภรรยา ดังนี้แล.

จบอรรถกถาวัตถุสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

๕. ปฐมชนสูตร

[๑๖๖] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอยังคนให้เกิด อะไรหนอ

ของเขาย่อมวิ่งพล่าน อะไรหนอเวียนว่าย

ไปยังสงสาร อะไรหนอเป็นภัยใหญ่

ของเขา.

[๑๖๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อม

วิ่งพล่าน สัตว์เวียนว่ายไปยังสงสาร ทุกข์

เป็นภัยใหญ่ของเขา.

อรรถกถาปฐมชนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมชนสูตรที่ ๕ เป็นต้น :-

บทว่า วิธาวติ ได้แก่ ย่อมวิ่งไปทางนี้และทางนี้ ด้วยอำนาจแห่ง

การไปในที่ต่าง ๆ มีสมุทรเป็นต้น. บทว่า ทุกฺขา ได้แก่ จากวัฏทุกข์.

บทว่า ปรายน ได้แก่ ความเกิดขึ้นแห่งวิบาก เป็นที่พึ่ง.

จบอรรถกถาปฐมชนสูตรที่ ๕ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

๖. ทุติยชนสูตร

[๑๖๘] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอยังคนให้เกิด อะไรหนอ

ของเขาย่อมวิ่งพล่าน อะไรหนอเวียนว่าย

ไปยังสงสาร สัตว์ย่อมไม่หลุดพ้นจาก

อะไร.

[๑๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อม

วิ่งพล่าน สัตว์เวียนว่ายไปยังสงสาร สัตว์

ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์.

๗. ตติยชนสูตร

[๑๗๐] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอยังคนให้เกิด อะไรหนอ

ของเขาย่อมวิ่งพล่าน อะไรหนอเวียนว่าย

ไปยังสงสาร อะไรหนอเป็นที่พำนักของ

สัตว์นั้น.

[๑๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อม

วิ่งพล่าน สัตว์เวียนว่ายไปยังสงสาร กรรม

เป็นที่พำนักของสัตว์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

๘. อุปปถสูตร

[๑๗๒] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอบัณฑิตกล่าวว่าเป็นทางผิด

อะไรหนอสิ้นไปตามคืนและวัน อะไรหนอ

เป็นมลทินของพรหมจรรย์ อะไรหนอ

มิใช่น้ำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง.

[๑๗๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ราคะบัณฑิตกล่าวว่าเป็นทางผิด

วัยสิ้นไปตามคืนและวัน หญิงเป็นมลทิน

ของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ย่อมติดอยู่ใน

หญิงนี้ ตบะและพรหมจรรย์นั้น มิใช่น้ำ

แต่เป็นเครื่องชำระล้าง.

อรรถกถาอุปปถสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุปปถสูตรที่ ๘ ต่อไป :-

บทว่า ราโค อุปฺปโถ ความว่า ราคะนั้นมิใช่ทางของผู้ไปสู่สุคติ

และพระนิพพาน. บทว่า รตฺติทิวกฺขโย ได้แก่ ย่อมสิ้นไปทั้งกลางคืนและ

กลางวัน. บทว่า อิตฺถี อธิบายว่า มลทินภายนอกที่เหลือ (นอกจากมลทิน

ของพรหมจรรย์) บุคคลอาจเพื่อชำระล้างให้สะอาดได้โดยการตกแต่งแก้ไขให้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

ปราศจากไปเป็นต้น ส่วนผู้ที่ถูกต้องมลทิน คือ มาตุคาม ไม่อาจเพื่อให้

บริสุทธิ์ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หญิงเป็นมลทิน

ดังนี้. บทว่า เอตฺถ แปลว่า หมู่สัตว์ย่อมติดอยู่ในหญิงนี้. บทว่า ตโป

ความว่า เป็นชื่อของอินทรีย์สังวร ธุดงคคุณ และทุกกรกิริยา แต่ในที่นี้

ยกเว้นทุกกรกิริยาเสีย จึงสมควรเป็นปฏิปทาที่เผากิเลสแม้ทั้งหมด. บทว่า

พฺรหฺมจริย ได้แก่ เมถุนวิรัติ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอุปปถสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

๙. ทุติยสูตร

[๑๗๔] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอเป็นเพื่อนของคน อะไร

หนอย่อมปกครองคนนั้น และสัตว์ยินดี

ในอะไรจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

[๑๗๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ศรัทธาเป็นเพื่อนของคน ปัญญา

ย่อมปกครองคนนั้น สัตว์ยินดีในพระ-

นิพพานจึงพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

อรรถกถาทุติยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า กิสฺส จาภิรโต แปลว่า ยินดีในอะไร. บทว่า ทุติยา

แปลว่า เป็นเพื่อนของผู้ไปสู่สวรรค์และพระนิพพาน. บทว่า ปญฺา เจน

ปสาสติ อธิบายว่า ปัญญา ย่อมแนะนำว่า เจ้าจงกระทำสิ่งนี้ อย่ากระทำ

สิ่งนี้กะคนนั้น ดังนี้.

จบอรรถกถาทุติยสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

๑๐. กวิสูตร

[๑๗๖] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอเป็นต้นเหตุของคาถา

อะไรหนอเป็นเครื่องปรากฏ (พยัญชนะ)

ของคาถาเหล่านั้น คาถาอาศัยอะไรหนอ

อะไรหนอเป็นที่อาศัยของคาถา.

[๑๗๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ฉันท์เป็นต้นเหตุของคาถา อักขระ

เป็นเครื่องปรากฏ (พยัญชนะ) ของคาถา

คาถาอาศัยแล้วซึ่งชื่อ กวีเป็นที่อาศัยของ

คาถา.

อรรถกถากวิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกวิสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า ฉนฺโท นิทาน ความว่า ฉันท์อันมีคายติฉันท์ (ขับร้อง)

เป็นอาทิ เป็นต้นเหตุของคาถาทั้งหลาย อธิบายว่า กวีเมื่อเริ่มคาถา อันตั้ง

ขึ้นในเบื้องต้น ก็ย่อมเริ่มว่า ขอคาถาจงมีอยู่โดยฉันท์อันเราทำแล้วดังนี้.

บทว่า วิยญูชน ได้แก่ การให้เกิดขึ้น. เพราะว่าอักขระย่อมยังบทให้เกิด

บทก็ย่อมยังคาถาให้เกิด. คาถาย่อมส่องถึงเนื้อความ. บทว่า นามสนฺนิสฺสิตา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

ได้แก่ อาศัยการตั้งชื่อเช่นมีคำว่า สมุทรเป็นต้น อธิบายว่า คาถาเมื่อเริ่มก็

ต้องอาศัยนาม (ชื่อ) อย่างใดอย่างหนึ่ง มีสมุทร แผ่นดินเป็นต้นนั่นแหละ

แล้วจึงเริ่ม. บทว่า อาสโย แปลว่า เป็นที่อาศัย อธิบายว่า เพราะคาถา

ทั้งหลายย่อมเป็นไปเพราะกวี ทั้งกวีนั้นก็เป็นที่อาศัยของคาถาทั้งหลาย ดังนี้.

จบอรรถกถากวิสูตรที่ ๑๐

และจบชราวรรคที่ ๖

รวมพระสูตรในชราวรรคที่ ๖

๑. ชราสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๒. อชรสาสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๓. มิตตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๔. วัตถุสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๕. ปฐมชนสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๖. ทุติยชนสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๗. ตติยชนสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๘. อุปปถสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๙. ทุติยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๑๐. กวิสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

อันธวรรคที่ ๗

๑. นามสูตร

ว่าด้วยเทวตาปัญหา ๓ ข้อ

[๑๗๘] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอครอบงำสิ่งทั้งปวง สิ่ง

ทั้งปวงที่ยิ่งขึ้นไปกว่าสิ่งอะไร ย่อมไม่มี

สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามอำนาจของธรรมอัน

หนึ่ง คืออะไร.

[๑๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ชื่อย่อมครอบงำสิ่งทั้งปวง สิ่ง

ทั้งปวงที่ยิ่งขึ้นไปกว่าชื่อไม่มี สิ่งทั้งปวง

เป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือชื่อ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

อรรถกถานามสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนามสูตรที่ ๑ แห่งอันธวรรค ต่อไป :-

บทว่า นาม สพฺพ อนฺธภวิ แปลว่า นามย่อมครอบงำสิ่งทั้งปวง

คือ ย่อมเกิดขึ้น อธิบายว่า สัตว์หรือว่าสังขารที่พ้นจากนามอันเป็นกิตติศัพท์

ในภายนอกเกิดขึ้น ย่อมไม่มี. จริงอยู่ ชนทั้งหลายย่อมไม่รู้นามคือชื่ออันนี้

แห่งต้นไม่ใด หรือว่าแผ่นดินใด คำไม่มีชื่อนั่นแหละ ก็เป็นนาม (ชื่อ) ของ

สิ่งนั้นได้.

จบอรรถกถานามสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

๒. จิตตสูตร

[๑๘๐] เทวดาทูลถามว่า

โลกอันอะไรย่อมนำไป อันอะไร

หนอย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมดเป็นไป

ตามอำนาจของธรรมอันหนึ่ง คืออะไร.

[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อม

เสือกไสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตามอำนาจ

ของธรรมอันหนึ่งคือ จิต.

อรรถกถาจิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจิตตสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า สพฺเพว จ สมนฺวตุ ความว่า ธรรมเหล่าใดย่อมไปสู่อำนาจ

ของจิต จิตนี้ย่อมครอบงำธรรมเหล่านั้นนั่นแหละทั้งสิ้น.

จบอรรถกถาจิตตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

๓. ตัณหาสูตร

[๑๘๒] เทวดาทูลถามว่า

โลกอันอะไรหนอย่อมนำไป อัน

อะไรหนอย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมด

เป็นไปตามอำนาจของธรรมอันหนึ่งคือ

อะไร.

[๑๘๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

โลกอันตัณหาย่อมนำไป อันตัณหา

ย่อมเสือกไสไป โลกทั้งหมดเป็นไปตาม

อำนาจของธรรมอันหนึ่ง คือตัณหา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

๔. สัญโญชนสูตร

[๑๘๔] เทวดาทูลถามว่า

โลกมีอะไรหนอเป็นเครื่องประกอบ

ไว้ อะไรหนอเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลก

นั้น เพราะละขาดซึ่งธรรมอะไรจึงเรียกว่า

นิพพาน.

[๑๘๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่อง

ประกอบไว้ วิตกเป็นเครื่องเที่ยวไปของ

โลกนั้น เพราะละตัณหาเสียได้ขาด จึง

เรียกว่านิพพาน.

อรรถกถาสัญโญชนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัญโญชนสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า กึสุ สโยชโน ความว่า อะไรเป็นสังโยชน์ อะไรเป็น

เครื่องผูกไว้. บทว่า วิจรณ ได้แก่ เท้าทั้งหลายเป็นเครื่องเที่ยวไป. บทว่า

วิจรณ นี้เป็นคำเอกพจน์ใช้ในอรรถแห่งพหูพจน์. บทว่า วิตกฺกสฺส วิจรณา

ได้แก่ วิตก เป็นเท้าของโลก.

จบอรรถกถาสัญโญชนสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

๕. พันธนสูตร

[๑๘๖] เทวดาทูลถามว่า

โลกมีอะไรหนอเป็นเครื่องผูกไว้

อะไรหนอเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น

เพราะละเสียได้ซึ่งอะไร จึงตัดเครื่องผูก

ได้หมด.

[๑๘๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

โลกมีความเพลิดเพลินเป็นเครื่องผูก

ไว้ วิตกเป็นเครื่องเที่ยวไปของโลกนั้น

เพราะละตัณหาเสียได้ขาด จึงตัดเครื่องผูก

ได้หมด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

๖. อัพภาหตสูตร

[๑๘๘] เทวดาทูลถามว่า

โลกอันอะไรหนอกำจัดแล้ว อัน

อะไรหนอล้อมไว้แล้ว อันลูกศรคืออะไร

เสียบแล้ว อันอะไรเผาแล้วในกาลทุกเมื่อ.

[๑๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

โลกอันมฤตยูกำจัดแล้ว อันชราล้อม

ไว้แล้ว อันลูกศรคือตัณหาเสียบแล้ว อัน

ความอยากเผาให้ร้อนแล้วในกาลทุกเมื่อ.

อรรถกถาอัพภาหตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัพภาหตสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า เกนสฺสุ อพฺภาหโต แก้เป็น เกน อพฺภาหโต แปลว่า

อะไร กำจัดแล้ว. สุ อักษรเป็นเพียงนิบาต.

บทว่า อิจฺฉาธูมายิโต แก้เป็น อิจฺฉาย อาทิตฺโต แปลว่า อัน

ความอยากเผาให้ร้อนแล้ว.

จบอรรถกถาอัพภาหตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

๗. อุฑฑิตสูตร

[๑๙๐] เทวดาทูลถามว่า

โลกอันอะไรหนอดักไว้ อันอะไร

หนอล้อมไว้ โลกอันอะไรหนอปิดไว้ โลก

ตั้งอยู่แล้วในอะไร.

[๑๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

โลกอันตัณหาดักไว้ อันชราล้อมไว้

โลกอันมฤตยูปิดไว้ โลกตั้งอยู่แล้วในทุกข์.

อรรถกถาอุฑฑิตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุฑฑิตสูตรที่ ๗ ต่อไป:-

บทว่า ตณฺหาย อุฑฺฑิโต แก้เป็น ตณฺหาย อุลฺลงฺฆิโต แปล

ว่า อันตัณหาดักไว้ อธิบายว่า ก็เชือก คือ ตัณหาร้อยรัดมัดจักษุให้ติดกับ

หลักคือรูป ร้อยรัดโสตเป็นต้น กับเสียงเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โลกอันตัณหาดักไว้แล้ว ดังนี้. บทว่า มจฺจุนา ปิหิโต

แปลว่า อันมฤตยูปิดแล้ว อธิบายว่า กรรมกระทำอัตภาพให้ติดกันไปเป็นพืด

ก็สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่รู้ความเกิดคิดต่อกัน ไปแห่งจิตดวงหนึ่งที่ไม่ห่างกัน

เพราะถูกเวทนาในเวลาใ่กล้ต่อความตายที่มีกำลังปิดบังไว้ (ท่วมทับแล้ว) ราว

กะถูกภูเขาปิดบังอยู่ ย่อมไม่รู้ความตายอันนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า โลกอันมฤตยูปิดบังไว้ ดังนี้.

จบอรรถกถาอุฑฑิตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

๘. ปิหิตสูตร

[๑๙๒] เทวดาทูลถามว่า

โลกอันอะไรหนอปิดไว้ โลกตั้งอยู่

แล้วในอะไร โลกอันอะไรหนอดักไว้ อัน

อะไรหนอล้อมไว้.

[๑๙๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า

โลกอันมฤตยูปิดไว้ โลกตั้งอยู่แล้ว

ในทุกข์ โลกอันตัณหาดักไว้ อันชราล้อม

ไว้.

ในปิหิตสูตรที่ ๘ ก็คือปัญหาที่ ๗ นั้นนั่นแหละ เทวดาทูลถามด้วย

สามารถแห่งปัญหาอันกำหนดเอาเนื้อความข้างล่างสลับกับเนื้อความข้างบน.

๙. อิจฉาสูตร

[๑๙๔] เทวดาทูลถามว่า

โลกอันอะไรผูกไว้ เพราะกำจัดอะไร

เสียจึงจะหลุดพ้น เพราะละอะไรได้ขาด

จึงตัดเครื่องผูกได้ทุกอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

[๑๙๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

โลกอันความอยากผูกไว้ เพราะ

กำจัดความอยากเสียได้ จึงหลุดพ้น เพราะ

ละความอยากได้ขาด จึงตัดเครื่องผูกได้

ทั้งหมด.

บททั้งปวงในอิจฉาสูตรที่ ๙ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

๑๐. โลกสูตร

[๑๙๖] เทวดาทูลถามว่า

เมื่ออะไรเกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลก

ย่อมชมเชยในอะไร โลกยึดถือซึ่งอะไร

โลกย่อมเดือดร้อนเพราะอะไร.

[๑๙๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

เมื่ออายตนะ ๖ เกิดขึ้น โลกจึงเกิด

ขึ้น โลกย่อมทำความชมเชยในอายตนะ ๖

โลกยึดถืออายตนะ ๖ นั่นแหละ โลกย่อม

เดือดร้อนเพราะอายตนะ ๖

จบโลกสูตร

จบ อันธวรรค ที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

อรรถกถาโลกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโลกสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

ในคำว่า กิสฺมึ โลโก สมุปฺปนฺโน นี้เทวดาทูลถามว่า เมื่ออะไร

เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น บทว่า ฉสุ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เมื่อ

อายตนะภายใน ๖ เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น. บทว่า ฉสุ กุพฺพติ ได้แก่ ย่อม

ทำความชมเชยในอายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นแหละ. บทว่า อุปาทาย อธิบายว่า

ก็โลกยึดถือ คือ อาศัยแล้ว เกี่ยวเนื่องแล้วซึ่งอายตนะเหล่านั้นนั่นแหละเป็น

ไป. บทว่า วิหญฺติ แปลว่า ย่อมเดือดร้อน คือย่อมบีบคั้น ในเพราะ

อายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นเอง อธิบายว่า ปัญหานี้มาด้วยสามารถแห่งอายตนะ

อันเป็นภายในด้วยประการฉะนี้ ส่วนการนำมาด้วยสามารถแห่งอายตนะทั้งภาย

ในและภายนอก ก็ย่อมสมควร. เพราะว่า เมื่ออายตนะภายใน ๖ เกิดขึ้นแล้ว

อายตนะภายนอกนี้ก็ชื่อว่าเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

โลกย่อมทำความชมเชยในอายตนะภายนอก ๖ โลกยึดถืออายตนะภายใน ๖ โลก

ย่อมเดือดร้อน ในเพราะอายตนะภายนอก ๖ ดังนี้.

จบอรรถกถาโลกสูตรที่ ๑๐

จบอันธวรรคที่ ๗

สูตรที่กล่าวในอันธวรรคนั้น คือ

๑. นามสูตร ๒. จิตตสูตร ๓. ตัณหาสูตร ๔. สัญโญชนสูตร ๕.

พันธนสูตร ๖. อัพภาหตสูตร ๗. อุฑฑิตสูตร ๘. ปิหิตสูตร ๙. อิจฉาสูตร

๑๐. โลกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

ฆัตวาวรรคที่ ๘

๑. ฆัตวาสูตร

ว่าด้วยเทวตาปัญหา ๓ ข้อ

[๑๙๘] เทวดานั้น ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ฆ่าอะไรหนอจึงอยู่เป็นสุข ฆ่า

อะไรหนอจึงไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม

พระองค์ชอบฆ่าอะไรซึ่งเป็นธรรมอันเดียว.

[๑๙๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ฆ่าความโกรธเสียได้จึงอยู่เป็นสุข

ฆ่าความโกรธเสียจึงไม่เศร้าโศก แน่ะ

เทวดา พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญ

การฆ่าความโกรธ ซึ่งมีรากเป็นพิษ มี

ยอดหวาน เพราะฆ่าความโกรธนั้นเสีย

แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

อรรถกถาฆัตวาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในฆัตวาสูตรที่ ๑ แห่งฆัตวาวรรคต่อไป :-

บทว่า ฆตฺวา แปลว่า ฆ่าแล้ว. บทว่า สุข เสติ เเปลว่า อยู่

เป็นสุข อธิบายว่า ชื่อว่า อยู่เป็นสุขเพราะไม่ต้องถูกแผดเผาด้วยความเร่าร้อน

คือ ความโกรธ. บทว่า น โสจติ แปลว่า ไม่เศร้าโศก อธิบายว่า ชื่อว่า

ไม่เศร้าโศก เพราะความที่โทมนัส คือความโกรธพินาศไปแล้ว. บทว่า

วิสมูลสฺส แปลว่า มีรากเป็นพิษ คือ มีวิบากเป็นทุกข์. บทว่า มธุรคฺคสฺส

แปลว่า มียอดหวาน อธิบายว่า เพราะค่าตอบบุคคลผู้ด่าแล้ว เพราะประหาร

ตอบบุคคลผู้ประหารแล้ว ความสบายย่อมเกิดขึ้น. ความโกรธนั้น ท่านกล่าว

ว่า มียอดหวาน หมายเอาความสุขนั้น. ในที่นี้ความสิ้นสุด ท่านกล่าวว่า ยอด

ดังนี้. บทว่า อริยา ได้แก่ พระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.

จบอรรถกถาฆัตวาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

๒. รถสูตร

[๒๐๐] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอเป็นสง่าของรถ อะไร

หนอเป็นเครื่องปรากฏของไฟ อะไรหนอ

เป็นสง่าของแว่นแคว้น อะไรหนอเป็น

สง่าของสตรี.

[๒๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ธงเป็นสง่าของรถ ควันเป็นเครื่อง

ปรากฏของไฟ พระราชาเป็นสง่าของ

แว่นแคว้น ภัสดาเป็นสง่าของสตรี.

อรรถกถารถสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในรถสูตรที่ ๒ ต่อไปนี้ :-

ธงชื่อว่า เป็นสง่า เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องปรากฏ (แห่งรถ

นั้น). บทว่า ธโช รถสฺส ความว่า ก็นักรบนั้นเห็นธงแต่ที่ไกล คือ

บนยอดแห่งสงครามใหญ่ ย่อมทราบว่ารถนี้ เป็นของพระราชาพระนามโน้น

เพราะฉะนั้น รถนั้นจึงปรากฏได้ (ด้วยธงนั้น) ด้วยคำนั้นแหละ พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธโช รถสฺส ปญฺาณ แปลว่า ธงเป็นความสง่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

ของรถ ดังนี้. แม้ไฟ ก็ย่อมปรากฏด้วยควันแต่ที่ไกลเหมือนกัน. แม้แว่นแคว้น

คือแคว้นโจฬะ แคว้นปัณฑุ ก็ย่อมสง่าปรากฏด้วยพระราชา. ส่วนหญิง แม้เป็น

พระธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ย่อมสง่าปรากฏด้วยภัสดาว่า ผู้นี้เป็นภรรยาของ

ผู้นี้ นั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธูโม ปญฺาณ-

มคฺคิโน เป็นอาทิ แปลว่า ควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ เป็นต้น ดังนี้.

จบอรรถกถารถสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

๓. วิตตสูตร

[๒๐๒] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

อย่างประเสริฐของคนในโลกนี้ อะไรหนอ

ที่บุคคลประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้

อะไรหนอเป็นรสดีกว่าบรรดารสทั้งหลาย

คนมีชีวิตเป็นอยู่อย่างไร นักปราชญ์

ทั้งหลายกล่าวว่า มีชีวิตประเสริฐ.

[๒๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่าง

ประเสริฐของคนในโลกนี้ ธรรมที่บุคคล

ประพฤติดีแล้วนำความสุขมาให้ ความ

จริงเท่านั้นเป็นรสที่ดียิ่งกว่ารสทั้งหลาย

คนที่เป็นอยู่ด้วยปัญญานักปราชญ์ทั้งหลาย

กล่าวว่า มีชีวิตประเสริฐ.

อรรถกถาวิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิตตสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า สทฺธีธ วิตฺต แปลว่า ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจใน

โลกนี้ อธิบายว่า คนมีศรัทธา ย่อมได้เครื่องปลื้มใจทั้งหลาย แม้มีแก้วมุกดา

เป็นต้น บุคคลถึงซึ่งกุลสัมปทา (คือการถึงพร้อมด้วยสกุล) ๓ กามสวรรค์ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

พรหมโลก ๙ แล้วในที่สุดย่อมได้แม้การเห็นอมตมหานิพพาน เพราะเหตุนั้น

ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันประเสริฐยิ่งกว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันมี

แก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐.

บทว่า สุขมาวหาติ แปลว่า นำความสุขมาให้ คือว่า ย่อมนำซึ่งอาสวะ

ออกไปจากผู้มีสัพพอาสวะ ให้มีความสุข ปราศจากเครื่องเศร้าหมอง. บทว่า

สาธุตร แปลว่า รสดียิ่งกว่า คือว่า สัจจะ (ความจริง) เท่านั้น เป็นรส

ดีกว่ารสทั้งปวงอันมีรสเค็มและรสเปรี้ยวเป็นต้น อธิบายว่า บุคคลตั้งอยู่ใน

สัจจะ ย่อมยังแม้แม่น้ำอันไหลเชี่ยวให้ไหลกลับได้ ย่อมนำพิษร้าย

ออกได้ ย่อมห้ามแม้ไฟ ย่อมยังฝนให้ตกก็ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สัจจะนั้นเป็นรสดี ยิ่งกว่ารสทั้งปวง ดังนี้.

บทว่า ปญฺาชีวี ชีวิตมาหุ เสฏฺ แปลว่า คนที่เป็นอยู่ด้วย

ปัญญานักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่ามีชีวิตประเสริฐ ความว่า บุคคลใดเป็นอยู่

ด้วยปัญญา เป็นคฤหัสถ์ย่อมดำรงอยู่ในศีล ๕ เริ่มตั้งสลากภัตเป็นต้น จึงชื่อว่า

เป็นอยู่ด้วยปัญญา หรือว่าเป็นบรรพชิต เมื่อปัจจัยเกิดขึ้นแล้วโดยธรรม ก็

ย่อมพิจารณาสิ่งที่มีอยู่นี้แล้วจึงบริโภค ถือเอากรรมฐาน เริ่มตั้งวิปัสสนา ชื่อว่า

เป็นอยู่ด้วยปัญญา เพราะสามารถบรรลุอริยผลได้ ด้วยเหตุนั้น นักปราชญ์

ทั้งหลายจึงกล่าวว่า บุคคลผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญานั้น มีชีวิตเป็นอยู่อันประเสริฐ

ดังนี้แล.

จบอรรถกถาวิตตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

๔. วุฏฐิสูตร

[๒๐๔] เทวดาทูลถามว่า

บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น สิ่งอะไรหนอ

ประเสริฐ บรรดาสิ่งที่ตกไปอะไรหนอ

ประเสริฐ บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า ใคร

เป็นผู้ประเสริฐ บรรดาชนผู้แถลงคารม

ใครเป็นผู้ประเสริฐ.

[๒๐๕] เทวดาผู้หนึ่งแก้ว่า

บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ข้าวกล้าเป็น

ประเสริฐ บรรดาสิ่งที่ตกไป ฝนเป็น

ประเสริฐ บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า เหล่า

โคเป็นประเสริฐ บรรดาชนผู้แถลงคารม

บุตรเป็นประเสริฐ.

[๒๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น ความรู้เป็น

ประเสริฐ บรรดาสิ่งที่ตกไป อวิชชาเป็น

ประเสริฐ บรรดาสัตว์ที่เดินด้วยเท้า

พระสงฆ์เป็นประเสริฐ บรรดาชนผู้แถลง

คารม พระพุทธเจ้าเป็นประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

อรรถกถาวุฏฐิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยยในวุฎริสูตรที่ ๔ ต่อไป:-

บทว่า พีช ได้แก่ ธัญญพืช ๗ ชนิด ชื่อว่าประเสริฐกว่าพืชทั้งหลาย

ที่เกิดขึ้น เพราะว่า เมื่อธัญญพืชนั้นงอกขึ้นแล้ว ชนบทย่อมเป็นแดนเกษม

คือมีภิกษาหาได้โดยง่าย. บทว่า นิปตต ความว่า แม้บรรดาสิ่งที่ตกไป

ทั้งหลาย เมฆฝนประเสริฐเพราะเมื่อเมฆฝนมีอยู่ ข้าวกล้าทั้งหลาย ชนิดต่าง ๆ

ย่อมเกิดงอกขึ้น ชนบทย่อมเจริญเป็นแดนเกษม มีภิกษาหาได้โดยง่าย. บทว่า

ปวชฺชมานาน ความว่า บรรดาสัตว์เดินด้วยลำแข้ง คือ ไปด้วยเท้าทั้งหลาย

โคประเสริฐ เพราะสัตว์ทั้งหลายได้อาศัยบริโภคเบญจโครสแล้ว ย่อมอยู่สบาย.

บทว่า ปวทต แปลว่า บรรดาผู้แถลงคารม อธิบายว่า บุคคลผู้พูดในที่

ทั้งหลายมีท่ามกลางแห่งราชสกุลเป็นต้น บุตรประเสริฐ เพราะบุตรนั้นย่อม

ไม่กล่าวร้ายให้มารดาบิดา.

ได้ยินว่า เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ฟังปัญหานั้นก่อนที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จะตรัสตอบว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้นวิชาประเสริฐ ดังนี้ ได้กล่าว

แก้ปัญหาตามลัทธิของตนว่า ดูก่อนเทวดา เพราะเหตุไร ท่านจึงถามปัญหานี้

กะพระทศพล เราจักบอกแก่ท่านเอง ดังนี้.

ลำดับนั้น เทวดานอกนี้จึงกล่าวกะเทวดานั้นว่า ดูก่อนเทวดา ผู้กำจัด

ทุกอย่าง ผู้คนองปาก (ปากจัด ) ตลอดเรื่องเราจะถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวแก่เรา ดังนี้ แล้วกลับไปทูลถาม

ปัญหานั้นกะพระทศพล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหานั้น จึงตรัสคำว่า

วิชฺชา อุปฺปตต เป็นอาทิ แปลว่า

บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น วิชชา (ความรู้)

เป็นประเสริฐ บรรดาสิ่งที่ตกไป อวิชชา

เป็นประเสริฐ บรรดาสิ่งที่เดินด้วยเท้า

พระสงฆ์เป็นประเสริฐ บรรดาชนผู้แถลง

คารม พระพุทธเจ้าเป็นประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชฺชา ได้แก่วิชชาในมรรค ๔ เพราะ

ว่าวิชชานั้น เมื่อเกิดย่อมถอนขึ้นซึ่งอกุศลธรรมทั้งปวง ฉะนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิชฺชา อุปฺปตต เสฏฺา แปลว่า บรรดาสิ่งที่งอกขึ้น

วิชชาเป็นประเสริฐ. บทว่า อวิชฺชา ได้แก่ มหาอวิชชาอันมีวัฏฏะเป็นมูล

เพราะอวิชชาที่ตกไป นั่นเป็นสิ่งประเสริฐกว่าสิ่งที่ตกไป คือที่จมลงไป. บทว่า

ปวชฺชมานาน ได้แก่ บรรดาสัตว์ผู้ไปด้วยเท้า คือผู้ไปด้วยลำแข้ง พระสงฆ์

ผู้เป็นนาบุญอันไม่ทรามเป็นผู้ประเสริฐ เพราะว่า สัตว์ทั้งหลายเห็นพระสงฆ์

นั้นในที่นั้น ๆ แล้ว ย่อมถึงความสวัสดี. บทว่า พุทฺโธ อธิบายว่า บุตร

หรือว่าบุคคลอื่น ๆ จงพักไว้ก่อน บรรดาชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้แถลงคารม

พระพุทธเจ้าเป็นผู้ยอดเยี่ยม เพราะว่าเหล่าสัตว์ทั้งหลายจำนวนหลายแสนอาศัย

การแสดงธรรมของพระองค์แล้ว ก็หลุดพ้นจากเครื่องผูกได้ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาวุฏฐิสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

๕. ภีตสูตร

[๒๐๗] เทวดาทูลถามว่า

ประชุมชนเป็นอันมากในโลกนี้ กลัว

อะไรหนอ มรรคเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัส

ไว้ด้วยเหตุมิใช่น้อย ข้าแต่พระโคดมผู้มี

ปัญญาดุจแผ่นดิน ข้าพระองค์ขอถามถึง

เหตุนั้น ว่าบุคคลตั้งอยู่ในอะไรแล้ว ไม่

พึงกลัวปรโลก.

[๒๐๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุคคลตั้งวาจาและใจไว้โดยชอบ

มิได้ทำบาปด้วยกาย อยู่ครอบครองเรือน

ที่มีข้าวและน้ำมาก เป็นผู้มีศรัทธา เป็น

ผู้อ่อนโยน มีปกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทราบ

ถ้อยคำ ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ๔ อย่างเหล่านี้

ชื่อว่าผู้ดำรงในธรรม ไม่ต้องกลัวปรโลก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

อรรถกถภีตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภีตสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า กึสูธ ภีตา แก้เป็น กึ ภีตา แปลว่า กลัวอะไร. บทว่า

มคฺโค วเนกายตน ปวุตฺโต แปลว่า มรรคเท่านั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้

ด้วยเหตุมิใช่น้อย อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ด้วยเหตุเป็นเครื่อง

กระทำมิใช่น้อย ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ ๓๘ ครั้นเมื่อเป็นเช่นนั้น เทวดาจึง

กล่าวว่า ประชุมชนนี้ยึดถือทิฐิ ๖๒ กลัวแล้วต่ออะไร ดังนี้. บทว่า ภูริปญฺา

แปลว่า มีปัญญาดุจแผ่นดิน ชื่อว่า มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น. บทว่า

ปรโลก น ภาเย แปลว่า ไม่พึงกลัวปรโลก คือว่า เมื่อไปสู่ปรโลก จาก

โลกนี้ ไม่พึงกลัว. บทว่า ปณิธาย แปลว่า ตั้งไว้แล้ว. บทว่า ฆรมาวสนฺโต

แปลว่า อยู่ครอบครองเรือน อธิบายว่า บุคคลผู้อยู่ครอบครองเรือนที่มีข้าว

และน้ำมาก ดุจชนทั้งหลาย มีอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้น. บทว่า สวิภาคี

แปลว่า มีปกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อธิบายว่า เป็นผู้ยังวัตถุแม้อันตนถือเอาเพียง

นิ้วมือ ก็ยังแบ่งด้วยเล็บให้แก่คนอื่นแล้วจึงบริโภค. บทว่า วทญฺญู มีเนื้อ

ความได้กล่าวไว้แล้ว.

บัดนี้ พึงยกองค์ (ส่วนประกอบ) แห่งคาถาขึ้นแสดงต่อไป. จริง

อยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวาจาสุจริต ๔ อย่าง ที่บุคคลศึกษาแล้ว ด้วยคำ

ว่า วาจา นี้ และตรัสมโนสุจริต ๓ ด้วยคำว่า ใจ. ตรัสกายสุจริต ๓ อย่าง

ด้วยคำว่า ด้วยกาย. กุศลกรรมบถ ๑๐ เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นองค์ ที่บริสุทธิ์ใน

เบื้องต้น ด้วยประการฉะนี้. ด้วยบทว่า อยู่ครอบครองเรือนที่มีข้าวและน้ำมาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาสิ่งที่นำมาเป็นเครื่องบูชาอันสำเร็จแล้วด้วย

การให้. บทว่า ศรัทธา เป็นองค์อันหนึ่ง. บทว่า ผู้อ่อนโยน เป็นองค์

อันหนึ่ง. บทว่า เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นองค์อันหนึ่ง. บทว่า วทญฺญู (ผู้

ทราบถ้อยคำ) เป็นองค์อันหนึ่ง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ๔ เหล่านี้ หมายเอาองค์ ๔ เหล่านี้.

อีกปริยายหนึ่ง บทว่า วาจา เป็นต้น เป็นองค์ ๓. อนึ่ง ด้วย

บทว่า มีข้าวและน้ำมาก นี้ทรงถือเอาสิ่งที่เขานำมาเป็นเครื่องบูชา. เป็นผู้มี

ศรัทธาเป็นผู้อ่อนโยน มีปกติเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทราบถ้อยคำ ทั้ง ๔ นี้ เป็นองค์

อันหนึ่ง. ชื่อว่านัยที่สองอีกปริยายหนึ่ง คือ บทว่า วาจา หรือว่า ใจ นี้

เป็นองค์หนึ่ง. บทว่า มิได้ทำบาปด้วยกาย อยู่ครอบครองเรือนที่มีข้าว

และน้ำมาก นี้เป็นองค์อันหนึ่ง. บทว่า มีศรัทธา มีความอ่อนโยน เป็น

องค์อันหนึ่ง. บทว่า มีปกติ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทราบถ้อยคำ นี้เป็นองค์

อันหนึ่ง. ผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ชื่อว่า ผู้ดำรงอยู่ในธรรม. ก็

บุคคลนั้น เมื่อไปสู่ปรโลกจึงไม่กลัว ดังนี้.

จบอรรถกถาภีตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

๖. นชีรติสูตร

[๒๐๙] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอย่อมทรุดโทรม อะไรไม่

ทรุดโทรม อะไรหนอท่านเรียกว่าทางผิด

อะไรหนอเป็นอันตรายแห่งธรรม อะไร

หนอสิ้นไปตามคืนและวัน อะไรหนอเป็น

มลทินของพรหมจรรย์ อะไรไม่ใช่น้ำแต่

เป็นเครื่องชำระล้าง ในโลกมีช่องกี่ช่องที่จิต

ไม่ตั้งอยู่ได้ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ไฉนข้าพระองค์จะรู้ความ

อันนั้นได้.

[๒๑๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

รูปของสัตว์ทั้งหลายย่อมทรุดโทรม

นามและโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม ราคะท่าน

เรียกว่าทางผิด ความโลภเป็นอันตรายของ

ธรรม วัยสิ้นไปตามคืนและวัน หญิงเป็น

มลทินของพรหมจรรย์ หมู่สัตว์นี้ย่อมข้อง

อยู่ในหญิงนี้ ตบะและพรหมจรรย์ทั้งสอง

นั้น มิใช่นำแต่เป็นเครื่องชำระล้าง ใน

โลกมีช่องอยู่ ๖ ช่องที่จิตไม่ตั้งอยู่ได้ คือ

ความเกียจคร้าน ๑ ความประมาณ ๑ ความ

ไม่หมั่น ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความมักหลับ ๑.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

ความอ้างเลศไม่ทำงาน ๑ พึงเว้นช่องทั้ง

๖ เหล่านั้นเสียโดยประการทั้งปวงเถิด.

อรรถกถานชีรติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนชีรติสูตร ที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า นามแลโคตรย่อมไม่ทรุดโทรม ความว่า นามและโคตร

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต จนถึงทุกวันนี้ บัณฑิตยังกล่าวอยู่ เพราะ

ฉะนั้น นามและโคตรนั้น จึงตรัสว่า ย่อมไม่ทรุดโทรม. อนึ่ง โบราณาจารย์

กล่าวว่า เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ นามและโคตรนั้นจักไม่ปรากฏ แต่สภาวะ

ที่ทรุดโทรมย่อมไม่มีเลย. บทว่า อาลสฺย แปลว่า ความเกียจคร้าน คือว่า

ด้วยความเกียจคร้านอันใด ดุจบุคคลผู้ยืนอยู่ในที่อันตนยืนอยู่นั่นแหละ นั่งแล้ว

ก็นั่งอยู่นั่นแหละ ถึงผมทั้งหลายอันตั้งอยู่ในที่สูงเปียกชุ่มอยู่ก็ไม่กระทำ (ไม่

สนใจทำ). บทว่า ปมาโท ความว่า ชื่อว่า ความประมาทเพราะหลับหรือด้วย

อำนาจแห่งกิเลส. บทว่า อนุฏฺาน ได้แก่ ไม่มีความเพียรเป็นเครื่องทำ

การงานในเวลาแห่งการงาน. บทว่า อุสญฺโม คือว่า ไม่มีความระวังศีล

มีอาจาระอันทอดทิ้งเสียแล้ว. บทว่า นิทฺทา อธิบายว่า เมื่อเดินก็ดี ยืนอยู่

ก็ดี นั่งแล้วก็ดี ย่อมหลับ เพราะความเป็นผู้มากด้วยความหลับ ก็จะป่วย

กล่าวไปไยถึงการนอนเล่า. บทว่า ตนฺที ได้แก่ ความเกียจคร้านอันจรมา

ด้วยอำนาจแห่งความกระหายจัดเป็นต้น. บทว่า เต นิทฺเท แปลว่า ช่อง

เหล่านั้น ได้แก่ ช่องทั้ง ๖. บทว่า สพฺพโส แปลว่า โดยประการทั้งปวง.

บทว่า ต แปลว่า สักว่า เป็นนิบาต. บทว่า วิวชฺชเย แปลว่า พึงเว้น

คือ พึงละเสีย.

จบอรรถกถานชีรติสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

๗. อิสสรสูตร

[๒๑๑] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอเป็นใหญ่ในโลก อะไร

หนอเป็นสูงสุดแต่งภัณฑะทั้งหลาย อะไร

หนอเป็นดังสนิมศัสตราในโลก อะไรหนอ

เป็นเสนียดในโลก ใครหนอนำของไปอยู่

ย่อมถูกห้าม แต่ใครนำไปกลับเป็นที่รัก

ใครหนอมาหาบ่อย ๆ บัณฑิตย่อมยินดี

ต้อนรับ.

[๒๑๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

อำนาจเป็นใหญ่ในโลก หญิงเป็น

สูงสุดแห่งภัณฑะทั้งหลาย ความโกรธเป็น

ดังสนิมศัสตราในโลก พวกโจรเป็นเสนียด

ในโลก โจรนำของไปอยู่ย่อมถูกห้าม แต่

สมณะนำไปกลับเป็นที่รัก สมณะมาหา

บ่อย ๆ บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

อรรถกถาอิสสรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอิสสรสูตรที่ ๗ ต่อไป:-

บทว่า สตฺถมล ได้แก่ ศัสตราที่มีสนิมเกาะแล้ว. บทว่า กึสุ

หรนฺต วาเรนฺติ คือย่อมป้องกันมิให้นำไป. บทว่า วโส ได้แก่ ความ

เป็นไปทั่วแห่งอำนาจ. บทว่า อิตฺถี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

หญิง เป็นสูงสุดแห่งภัทฑะทั้งหลายคือเป็นภัณฑะอันประเสริฐ เพราะเป็น

ภัณฑะที่ไม่พึงทอดทิ้ง. อีกอย่างหนึ่ง พระโพธิสัตว์ทั้งหลายและพระเจ้า

จักรพรรดิแม้ทั้งหมด ย่อมเกิดในท้องของมารดาเท่านั้น เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หญิงเป็นสูงสุด แห่งภัณฑะทั้งหลาย ดังนี้.

บทว่า โกโธ สตฺถมล อธิบายว่า ความโกรธเช่นกับด้วยศัสตรา

อันสนิมเกาะกินแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง เป็นสนิมของศัสตราคือ ปัญญา เพราะฉะนั้น

จึงตรัสว่า สนิมของศัสตรา ดังนี้. บทว่า อพฺพุท ได้แก่ เป็นเหตุแห่ง

ความพินาศ อธิบายว่า พวกโจรเป็นผู้ทำความพินาศในโลก. บทว่า หรนฺโต

ความว่า ถือเอาวัตถุทั้งหลายมีสลากภัตเป็นต้นไปอยู่. จริงอย่างนั้น สมณะ

เมื่อนำวัตถุทั้งหลายมีสลากภัตเป็นต้นเหล่านั้นอันมนุษย์ทั้งหลาย สละถวายแล้ว

ในเวลาที่ตั้งไว้นั่นแหละไป ชื่อว่า ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์เหล่านั้น. เมื่อ

สมณะไม่นำวัตถุไป พวกมนุษย์ย่อมเป็นผู้วิปปฏิสาร (เดือดร้อน) เพราะ

อาศัยความเสื่อมจากบุญ (ที่จะได้).

จบอรรถกถาอิสสรสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

๘. กามสูตร

[๒๑๓] เทวดาทูลถามว่า

กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ไม่ควรให้สิ่ง

อะไร คนไม่ควรสละอะไร อะไรหนอที่

เป็นส่วนดีงามควรปล่อย แต่ที่เป็นส่วน

ลามกไม่ควรปล่อย.

[๒๑๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน ไม่พึงสละซึ่ง-

ตน วาจาที่ดีควรปล่อย แต่วาจาที่ลามก

ไม่ควรปล่อย.

อรรถกถากามสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกามสูตรที่ ๘ ต่อไป :-

บทว่า ไม่พึงให้ซึ่งตน นี้ ท่านอธิบายว่า ยกเว้นพระโพธิสัตว์

ทั้งหลายแล้ว บุคคลไม่พึงให้ซึ่งตนโดยการทำตนให้เป็นทาสของผู้อื่น. บทว่า

น ปริจฺจเช อธิบายว่า ยกเว้นพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนั่นแหละ บุคคลไม่พึง

สละซึ่งตนให้แก่สัตว์ทั้งหลายมีสีหะและพยัคฆ์ร้ายเป็นต้น. บทว่า กลฺยาณิ

ได้แก่ วาจาสุภาพอ่อนโยน. บทว่า ปาปิก คือ วาจาหยาบคาย.

จบอรรถกถากามาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

๙. ปาเถยยสูตร

[๒๑๕] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอย่อมรวบรวมไว้ซึ่งสะเบียง

อะไรหนอ เป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์

ทั้งหลาย อะไรหนอ ย่อมเสือกไสนรชน

ไป อะไรหนอ ละได้ยากในโลก สัตว์เป็น

อันมากติดอยู่ในอะไร เหมือนนกติดบ่วง.

[๒๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ศรัทธาย่อมรวบรวมไว้ซึ่งสะเบียงสิริ

(คือมิ่งขวัญ) เป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์

ทั้งหลาย ความอยากย่อมเสือกไสนรชนไป

ความอยากละได้ยากในโลก สัตว์เป็น

อันมากคิดอยู่ในความอยาก เหมือนนก

ติดบ่วง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

อรรถกถาปาเถยยสูตา

พึงทราบวินิจฉัยในปาเถยยสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า ศรัทธาย่อมรวบรวมไว้ซึ่งสะเบียง อธิบายว่า บุคคล

ยังศรัทธาให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้ทาน ย่อมรักษาศีล ย่อมทำอุโบสถกรรม

ด้วยเหตุนี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ศรัทธาย่อมรวบรวมไว้ซึ่ง

สะเบียง ดังนี้. บทว่า สิริ ได้แก่ ความเป็นใหญ่. บทว่า อาสโย ได้แก่

เป็นที่อาศัย. จริงอยู่ โภคะทั้งหลายย่อมมาจากทางบกบ้าง ทางน้ำบ้าง

มุ่งหน้าเฉพาะผู้เป็นใหญ่เท่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

สิริเป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์ ดังนี้. บทว่า ปริกสฺสติ ได้แก่ ย่อม

ฉุดคร่าไป.

จบอรรถกถาปาเถยยสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

๑๐. ปัชโชตสูตร

[๒๑๗] เทวดาทูลถามว่า

อะไรหนอ เป็นแสงสว่างในโลก อะไร

หนอ เป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก อะไร

หนอ เป็นสหายในการงานของผู้เป็นอยู่

ด้วยการงาน อะไรหนอ เป็นเครื่องสืบต่อ

ชีวิตของเขา อะไรหนอบุคคลผู้เกียจคร้าน

บ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง ย่อมพะนอเลี้ยง

ดุจมารดาเลี้ยงดูบุตร เหล่าสัตว์มีชีวิตที่

อาศัยแผ่นดินอาศัยอะไรหนอเลี้ยงชีวิต.

[๒๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก สติ

เป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก ฝูงใดเป็น

สหายในการงานของผู้เป็นอยู่ด้วยการงาน

ไถเป็นเครื่องต่อชีวิตของเขา ฝนย่อมเลี้ยง

บุคคลผู้เกียจคร้านบ้าง ไม่เกียจคร้านบ้าง

เหมือนมารดาเลี้ยงบุตร เหล่าสัตว์มีชีวิตที่

อาศัยแผ่นดิน อาศัยฝนเลี้ยงชีวิต.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

อรรถกาปัชโชตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัชโชตสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า แสงสว่าง ได้แก่แสงสว่างดุจประทีป. บทว่า เครื่องตื่นอยู่

ได้แก่ ย่อมเป็นดุจชาคริกพราหมณ์ (พราหมณ์ผู้ตื่นอยู่). บทว่า ฝูงโคเป็น

สหายในการงานของผู้เป็นอยู่ อธิบายว่า ฝูงโคเท่านั้นเป็นสหายในการงาน

ชื่อว่า มีการงานเป็นเพื่อนสอง ในการงานของพวกชนที่มีชีวิตอยู่กับการงาน

คือว่า พวกเขา ย่อมยังกสิกรรมเป็นต้นให้สำเร็จกับด้วยโคมณฑลทั้งหลาย.

บทว่า สิตฺสฺส อิริยาปโถ ได้แก่ ไถเป็นอิริยาบถ คือเป็นเครื่องสืบต่อ

แห่งชีวิตของหมู่สัตว์นั้น. บทว่า สิต แปลว่า คันไถ. เพราะว่า นาของ

ชาวนาคนใด แม้มีประมาณน้อย ย่อมไม่ทำการไถแล้ว เขาย่อมกล่าวว่า

เราจักเป็นอยู่ได้อย่างไร ดังนี้.

จบอรรถกถาปัชโชติสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

๑๑. อรณสูตร

[๒๑๙] เทวดาทูลถามว่า

คนพวกไหนหนอไม่เป็นข้าศึกใน

โลกนี้ พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้วของชน

พวกไหน ย่อมไม่เสื่อม คนพวกไหนกำ-

หนดรู้ความอยากได้ในโลกนี้ ความเป็น

ไทมีแก่คนพวกไหนทุกเมื่อ มารดาบิดา

หรือพี่น้องย่อมไหว้บุคคลนั้น ผู้ตั้งมั่นใน

ศีล คือ ใครหนอ พวกกษัตริย์ ย่อมอภิ-

วาทใครหนอในธรรมวินัยนี้ ผู้มีชาติต่ำ.

[๒๒๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

สมณะทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ไม่

เป็นข้าศึกในโลก พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้ว

ของสมณะทั้งหลายย่อมไม่เสื่อม สมณะ

ทั้งหลายย่อมกำหนดรู้ความอยากได้ ความ

เป็นไทย่อมมีแก่สมณะทั้งหลายทุกเมื่อ

มารดาบิดาหรือพี่น้องย่อมไหว้บุคคลนั้น

ผู้ตั้งมั่น (ในศีล) คือสมณะ ถึงพวก

กษัตริย์ก็อภิวาทสมณะในธรรมวินัยนี้ ผู้มี

ชาติต่ำ.

จบ อรณสูตรที่ ๑๑

จบ ฆัตวาวรรคที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

อรรถกถาอรณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอรณสูตรที่ ๑๑ ต่อไป :-

บทว่า ไม่เป็นข้าศึก คือได้แก่ ไม่มีกิเลส. บทว่า วุสิต แปลว่า

อยู่จบแล้ว. บทว่า โภชิสิย ได้แก่ ความไม่เป็นทาส. บทว่า สมณะทั้ง

หลาย ได้แก่ สมณะผู้มีอาสวะสิ้นแล้วทั้งหลาย. เพราะว่าสมณะผู้ขีณาสพ

เหล่านั้น ชื่อว่า ไม่มีกิเลสโดยสิ้นเชิง. บทว่า พรหมจรรย์ที่อยู่จบแล้ว

ของสมณะย่อมไม่เสื่อม อธิบายว่า การอยู่ด้วยอริยมรรค ย่อมไม่เสื่อม

ไป. บทว่า ปริชานนฺติ อธิบายว่า พระเสกขะทั้งหลาย จำเดิมแต่เป็น

กัลยาณปุถุชน ชื่อว่า ย่อมกำหนดรู้ด้วยปริญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ.

บทว่า โภชิสิย อธิบายว่า ชื่อว่า ความเป็นไท ตลอดกาลเป็นนิตย์ ย่อม

มีแก่สมณะผู้เป็นพระขีณาสพเท่านั้น. บทว่า วนฺทติ ความว่า ย่อมไหว้ตั้ง

แต่วันบวช. บทว่า ปติฏฺิต ได้แก่ ตั้งมั่นในศีล. บทว่า สมณีธ แปลว่า

ซึ่งสมณะในโลกนี้. บทว่า ชาติหีน ได้แก่ บวชมาจากตระกูลจัณฑาลก็มี.

บทว่า พวกกษัตริย์ อธิบายว่า พวกกษัตริย์ เท่านั้นก็หาไม่ แม้พวกเทพ

ก็ย่อมอภิวาทสมณะผู้สมบูรณ์แล้วด้วยศีลเหมือนกัน ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอรณสูตรที่ ๑๑

และจบ ฆัตวาวรรคที่ ๘

พรรณนาเทวดาสังยุตแห่งอรรถกถาสารัตถปกาสินี

สังยุตตนิกาย จบเพียงเท่านี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

รวมสูตรที่กล่าวในฆัตวาวรรค คือ

๑. ฆัตวาสูตร ๒. รถสูตร ๓. วิตตสูตร ๔. วุฏฐิสูตร ๕. ภีตสูตร

๖. นชีรติสูตร ๗. อิสสรสูตร ๘. กามสูตร ๙. ปาเถยยสูตร ๑๐. ปัชโชตสูตร

๑๑. อรณสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

จบ เทวตาสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

เทวปุตตสังยุต

วรรคที่ ๑

๑. ปฐมกัสสปสูตร

[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น กัสสปเทวบุตร เมื่อสิ้นราตรีปฐมยาม มีวรรณะอันงามยิ่งนัก

ทำพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม

แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กัสสปเทวบุตรได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศภิกษุไว้แล้ว แต่ไม่ทรงประกาศคำสั่งสอน

ของภิกษุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปเทวบุตร ถ้าอย่างนั้นคำสั่ง

สอนนั้น จงแจ่มแจ้ง ณ ที่นี้เถิด.

[๒๒๒] กัสสปเทวบุตร ได้ทูลว่า

บุคคลพึงศึกษาคำสุภาษิต ศึกษาการ

เข้าไปนั่งใกล้สมณะ ศึกษาการนั่งในที่เร้น

ลับแต่ผู้เดียว และศึกษาการสงบาระงับจิต.

พระศาสดาได้ทรงพอพระทัย.

ลำดับนั้น กัสสปเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงโปรดเราแล้ว จึง

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

อรรถกถาปฐมกัสสปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกัสสปสูสที่ ๑ วรรคที่ ๑ ต่อไป :-

บทว่า เทวปุตฺโต ความว่า บุรุษผู้เกิดที่ตักเทวดา ชื่อว่า เทพ-

บุตร สตรีผู้เกิดที่ตักเทวดา ชื่อว่า เทพธิดา. เทวดาที่ไม่ปรากฏนามท่าน

เรียกว่า เทวดาองค์หนึ่ง เทพที่ปรากฏนาม ท่านเรียกว่า เทพบุตรมีชื่ออย่างนี้.

เพราะฉะนั้น เทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในหนหลังแล้ว ในสูตรนี้

จึงกล่าวว่า เทพบุตร. บทว่า อนุสาส แปลว่า คำสั่งสอน. เขาว่า เทพบุตร

องค์นี้ได้ฟังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำยมกปาฎิหาริย์ในพรรษาที่ ๗ นับแต่

ตรัสรู้ ทรงเข้าจำพรรษา ณ เทวบุรี (ดาวดึงส์) แสดงพระอภิธรรม ตรัส

ภิกขุนิทเทสไว้ในฌานวิภังค์อย่างนี้ว่า บทว่า ภิกฺขุ ได้แก่ ชื่อว่า ภิกษุ

เพราะสมัญญา ชื่อว่า ภิกษุ เพราะปฏิญญา แต่เทพบุตรนั้น ไม่ได้ฟัง

คำโอวาทภิกษุ คำสั่งสอนภิกษุ อย่างนี้ว่า พวกเธอจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึก

อย่างนี้ จงใส่ใจอย่างนี้ อย่าใส่ใจอย่างนี้ จงละข้อนี้ จงเข้าถึงข้อนี้อยู่. เทพ

บุตรนั้น หมายเอาข้อนั้น จึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศภิกษุไว้

ไม่ทรงประกาศคำสั่งสอนของภิกษุ.

บทว่า เตนหิ ความว่า ก็เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เราไม่ประกาศคำสั่งสอนของภิกษุฉะนั้น. บทว่า ตญฺเเวตฺถปฏิภาตุ ความ

ว่า การประกาศคำสั่งสอนนี้จงปรากฏแก่ท่านผู้เดียว. ความจริง ผู้ใดประสงค์

จะกล่าวปัญหา ก็ไม่อาจจะกล่าวเทียบกับพระสัพพัญญุญาณได้ หรือว่า ผู้ใด

ไม่ประสงค์จะกล่าว ก็อาจจะกล่าวปัญหาได้ หรือว่า ผู้ใดไม่ประสงค์จะกล่าว

ทั้งไม่อาจจะกล่าวด้วย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่ทรงทำปัญหาของคนเหล่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

นั้นทั้งหมดให้เป็นภาระ แต่เทพบุตรองค์นี้ ประสงค์จะกล่าวด้วย ทั้งอาจกล่าว

ได้ด้วย. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทำปัญหาให้เป็นภาระของ

เทพบุตรนั้นผู้เดียว จึงตรัสอย่างนี้. แม้เทพบุตรนั้น ก็กล่าวปัญหา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภาสิตสฺส สิกฺเขถ ความว่า พึง

ศึกษาคำสุภาษิต คือพึงศึกษาวจีสุจริต ๔ อย่าง ที่อิงอาศัยสัจจะ ๔ อิงอาศัย

กถาวัตถุ ๑๐ อิงอาศัยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ เท่านั้น. บทว่า สมณูปาสนสฺส จ

ความว่า การเข้าถึงความสงบ อันสมณะทั้งหลายพึงเสพ คือพึงศึกษา พึงเจริญ

กัมมัฎฐาน ๓๘ ประเภท. อีกอย่างหนึ่ง แม้การเข้าไปหาเหล่าภิกษุผู้เป็นพหูสูต

ก็ชื่อว่า การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ. อธิบายว่า พึงศึกษาประโยชน์แห่งความรู้

ด้วยปัญญา โดยการถามปัญหาว่า ท่านเจ้าข้า แม้ข้อนั้นก็เป็นกุศลหรือ ดังนี้

เป็นต้น. บทว่า จิตฺตวูปสมสฺส จ ความว่า และพึงศึกษาความสงบจิต

ด้วยอำนาจสมาบัติ ๘. ดังนั้น สิกขา ๓ เป็นอันเทพบุตรกล่าวแล้ว. จริงอยู่

เทพบุตรนั้นกล่าวอธิศีลสิกขาด้วยบทแรก กล่าวอธิปัญญาสิกขาด้วยบทที่ ๒

กล่าวอธิจิตตสิกขา ด้วยการสงบจิต เพราะฉะนั้น คำสอนแม้ทั้งสิ้น จึง

เป็นอันเทพบุตรนั้นประกาศแล้ว ด้วยคาถานี้แล.

จบอรรถกถากัสสปสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

๒. ทุติยกัสสปสูตร

[๒๒๓]. . . อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. . .

กัสสปเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ภิกษุพึงเป็นผู้เพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้น

แล้ว พึงหวังธรรมอันไม่เป็นที่เกิดขึ้นแห่ง

หฤทัย อนึ่ง ภิกษุผู้มุ่งต่อพระอรหัตนั้น

พึงรู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่ง

โลก พึงมีใจดี อันตัณหาและทิฎฐิไม่อิง

อาศัยแล้ว.

อรรถกถาทุติยกัสสปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกัสสปสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า ฌายี ได้แก่เป็นผู้เพ่งพินิจ ด้วยฌานทั้ง ๒ [คืออารัมมณู-

ปนิชฌาน และ ลักขณูปนิชฌาน]. บทว่า วิมุตฺตจิตฺโต ได้แก่มีจิตหลุด

พ้นแล้วด้วยกัมมัฏฐาน. บทว่า หทยสฺสานุปฺปตฺตึ ได้แก่ พระอรหัต.

บทว่า โลกสฺส ได้แก่ สังขารโลก. บทว่า อนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อันตัณหา

และทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ไม่อิงอาศัยตัณหาและทิฐิ. บทว่า

ตทานิสโส ได้แก่ ผู้มุ่งต่อพระอรหัต. ท่านอธิบายว่า ภิกษุผู้มุ่งต่อพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

อรหัต เมื่อปรารถนาพระอรหัต พึงเป็นผู้เพ่งพินิจ พึงมีจิตหลุดพ้น พึง

ทราบความเกิด และความดับไปแห่งโลกแล้ว ไม่มีตัณหาและทิฐิอาศัยแล้ว.

ก็ตันติธรรม ธรรมที่เป็นแบบแผน เป็นบุพภาคส่วนเบื้องต้นแห่งธรรมทั้ง

ปวงในพระศาสนาแล.

จบอรรถกถากัสสปสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

๓. มาฆสูตร

[๒๒๔]. . . อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถีครั้งนั้น

มาฆเทวบุตร เมื่อสิ้นราตรีปฐมยามแล้ว มีวรรณะอันงามยิ่งนัก ทำพระวิหาร

เชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

[๒๒๕] มาฆเทวบุตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

บุคคลฆ่าอะไร จึงจะอยู่เป็นสุข ฆ่า

อะไร จึงจะไม่เศร้าโศก ข้าแต่พระโคดม

พระองค์ทรงชอบการฆ่าธรรมอะไร ซึ่ง

เป็นธรรมอันเอก.

[๒๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุคคลฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมอยู่

เป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมไม่เศร้า

โศก ดูก่อนท้าววัตรภู พระอริยะทั้งหลาย

สรรเสริญการฆ่าความโกรธ ซึ่งมีรากเป็น

พิษ มียอดหวาน ด้วยว่า บุคคลฆ่าความ

โกรธนั้นได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

อรรถกถามาฆสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมาฆสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

คำว่า มาฆะ นี้เป็นนามของท้าวสักกะ. ท้าวสักกะนั้นแล ชื่อว่า

วัตรภู เพราะอรรถว่า ครอบงำผู้อื่นด้วยวัตรแล้วถึงความเป็นใหญ่ อีกอย่าง

หนึ่ง ชื่อว่า วัตรภู เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำอสูรที่ชื่อว่าวัตรภู.

จบอรรถกถามาฆสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

๔. มาคธสูตร

[๒๒๗] มาคธเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

แสงสว่างในโลก มีอย่าง ข้า

พระองค์มาเพื่อทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว ไฉนจะพึงทราบอันนี้ได้.

[๒๒๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

แสงสว่างในโลกมี ๔ อย่าง อย่างที่

๕ ไม่มีในโลกนี้ พระอาทิตย์ส่องสว่างใน

กลางวัน พระจันทร์ส่องสว่างในกลางคืน

ส่วนไฟส่องสว่างในที่นั้น ๆ ทั้งกลางวัน

และกลางคืน พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุด

ว่าแสงสว่างทั้งหลาย แสงสว่างนี้เป็น

ยอดเยี่ยม.

อรรถกถามาคธสูตรที่ ๔ มีเนื้อความเหมือนที่กล่าวมาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

๕. ทามลิสูตร

[๒๒๙] . . . อารามแห่งอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น

ทามลิเทวบุตร เมื่อสิ้นราตรีปฐมยาม มีวรรณะงามยิ่งนัก ทำพระวิหารเชตวัน

ให้สว่างทั่วแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้ยืน ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

[๒๓๐] ทามลิเทวบุตร. . . ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า

พราหมณ์ผู้ไม่เกียจคร้าน พึงทำ

ความเพียรนี้ เขาไม่ปรารถนาภพด้วย

เหตุนั้น เพราะละกามได้ขาด.

[๒๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ทามลิ กิจไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะว่า

พราหมณ์ทำกิจเสร็จแล้ว สัตว์เกิดยังไม่ได้

ท่าจอดในแม่น้ำทั้งหลาย เพียงใด เขาต้อง

พยายามด้วยตัวทุกอย่าง เพียงนั้น ก็ผู้นั้น

ได้ท่าที่จอดแล้ว ยืนอยู่บนบก ไม่ต้อง

พยายาม เพราะว่า เขาถึงฝั่งแล้ว.

ดูก่อนทามลิเทวบุตร นี้เป็นข้อ

อุปมาแห่งพราหมณ์ ผู้สิ้นอาสวะแล้ว มี

ปัญญาเพ่งพินิจ พราหมณ์นั้น ถึงที่สุด

แห่งชาติและมรณะแล้ว ไม่ต้องพยายาม

เพราะถึงฝั่งแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

อรรถกถาทามลิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทามลิสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า น เตนาสึสเต ภว ความว่า เขาไม่ปรารถนาภพใดภพ

หนึ่ง ด้วยเหตุนั้น. เทพบุตรผู้มีความเพียรติดต่อองค์นี้ คิดว่า ความสิ้นสุด

กิจของพระขีณาสพไม่มี ด้วยว่า พระขีณาสพ ทำความเพียรมาตั้งแต่ต้น

เพื่อบรรลุพระอรหัต ต่อมา ก็บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่าน

จงอย่านิ่งเสีย จงทำความเพียร จงบากบั่นในที่นั้น ๆ นั้นแล ดังนี้แล้ว

จึงกล่าวอย่างนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า เทพบุตรองค์นี้ไม่กล่าว

การจบกิจของพระขีณาสพ กล่าวแต่คำสอนของเราว่าเป็นอนิยยานิก ไม่นำสัตว์

ออกจากทุกข์ เราจักแสดงการจบกิจของพระขีณาสพนั้น ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า

นตฺถิ กิจฺจ ดังนี้เป็นต้น. ได้ยินว่า ในปิฎกทั้งสาม คาถานี้ ไม่แตกต่าง

กัน. ด้วยว่า ขึ้นชื่อว่า โทษของความเพียร พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดง

ไว้ในที่อื่น. แต่ในทามลิสูตรนี้ ทรงปฏิเสธเทพบุตรองค์นี้ จึงตรัสอย่างนี้

เพื่อทรงแสดงการจบกิจของพระขีณาสพว่า เบื้องต้นภิกษุอยู่ป่า ถือเอากัมมัฏ-

ฐานทำความเพียร เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะสำเร็จเป็นพระขีณาสพ [สิ้นกิเลส

หมด] แล้ว ต่อมา ถ้าเธอประสงค์จะทำความเพียรก็ทำ ถ้าไม่ประสงค์ เธอ

จะอยู่ตามสบาย ก็ได้ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาธ แปลว่า

ท่าเป็นที่จอด.

จบอรรถกถาทามลิสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

๖. กามทสูตร

[๒๓๒] กามทเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การทำสมณธรรมทำได้

โดยยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การทำสมณธรรมทำได้โดยแสนยาก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชนทั้งหลาย ผู้ตั้งมั่นแล้วด้วยศีล

แห่งพระเสขะ มีตนตั้งมั่นแล้ว ย่อมกระ-

ทำสมณธรรม แม้ที่ทำได้โดยยาก ความ

ยินดี ย่อมนำสุขมาให้แก่บุคคลผู้เข้าถึง

แล้ว ซึ่งการบวชไม่มีเรือน.

[๒๓๓] กามทเทวบุตรทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อที่หาได้

ยาก คือ สันตุฏฐี ความสันโดษ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชนเหล่าใด ขึ้นดีแล้วในความสงบ

แห่งจิต ชนเหล่าใด มีใจยินดีแล้วใน

ภาวนา ทั้งกลางวันและกลางคืน ชน-

เหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมได้แม้ซึ่งสิ่งที่ได้

โดยยาก.

[๒๓๔] กามทเทวบุตรทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมชาติที่

ตั้งมั่นได้ยาก คือ จิต.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบ

อินทรีย์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าย่อมตั้งมั่นซึ่งจิต

ที่ตั้งมั่นได้ยาก ดูก่อนกามทเทวบุตร อริยะ

ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมตัดข่ายแห่งมัจจุไป.

[๒๓๕] กามทเทวบุตรทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทางที่ไปได้

ยาก คือ ทางที่ไม่เรียบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนกามทเทวบุตร พระอริยะ

ทั้งหลาย ย่อมไปได้ แม้ในทางที่ไม่เรียบ

ที่ไปได้ยาก ผู้มิใช่อริยะ ย่อมเป็นผู้บ่าย

ศีรษะลงต่ำเบื้องต่ำ ตกไปในทางอันไม่เรียบ

ทางนั้นย่อมสม่ำเสมอสำหรับอริยะทั้งหลาย

เพราะอริยะทั้งหลาย เป็นผู้สม่ำเสมอ ใน

ทางอันไม่เรียบ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

อรรถกถากามทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกามทสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า ทุกฺกร ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรองค์นี้ เคยเป็นพระ-

โยคาวจร ข่มกิเลสทั้งหลาย ด้วยความพากเพียร เพราะเป็นผู้มีกิเลสหนา

กระทำสมณธรรม ก็ยังไม่บรรลุอริยภูมิ เพราะมีอุปนิสัยในปางก่อนน้อย

กระทำกาละ [ตาย] แล้วไปบังเกิดในเทวโลก ไปยังสำนักพระตถาคตมา

ด้วยหวังจะทูลบอกว่า. สมณธรรมทำได้ยาก จึงทูลอย่างนี้. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า ทุกฺกร ความว่า ขึ้นชื่อว่า การกระทำสมณธรรมให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว

ตลอด ๑๐ ปีบ้าง ฯลฯ ๖๐ ปีบ้าง ชื่อว่ากระทำได้ยาก. บทว่า เสกฺขา ได้แก่

พระเสขะ ๗. บทว่า สีลสมาหิตา แปลว่า ตั้งมั่นเข้าประกอบแล้วด้วยศีล.

บทว่า ิตตฺตา แปลว่า สภาวะที่ตั้งมั่นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรง

แก้ปัญหาที่เทพบุตรทูลถามอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงตั้งปัญหาให้สูงขึ้น

ไปอีก จึงตรัสว่า อนคาริยุเปตสฺส เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

อนคาริยุเปตสฺส ได้แก่ ผู้เข้าถึงความไม่มีเรือน คือปราศจากเรือน. จริงอยู่

ภิกษุอยู่บนปราสาทแม้ ๗ ชั้น เมื่อถูกพระภิกษุผู้แก่กว่ามาบอกว่า เสนาสนะ

นี้ตกถึงผม ดังนี้ ย่อมถือเอาบาตรจีวรออกไปโดยดี เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ผู้เข้าถึงความไม่มีเรือน. บทว่า ตุฏฺิ ได้แก่

ความสันโดษด้วยปัจจัย ๔. บทว่า ภาวนาย ได้แก่ ในการอบรมความสงบ

แห่งจิต.

บทว่า เต เฉตฺวา มจฺจุโน ชาล ความว่า พระอริยะเหล่าใด

ยินดีแล้วในความสงบแห่งอินทรีย์ ทั้งกลางวันและกลางคืน พระอริยะเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

ย่อมตั้งมั่นจิตที่ตั้งมั่นได้ยาก. พระอริยะเหล่าใด มีจิตตั้งมั่นแล้ว พระอริยะ

เหล่านั้น ทำความสันโดษในปัจจัย ๔ ให้บริบูรณ์ ย่อมไม่ลำบาก พระอริยะ

เหล่าใดสันโดษแล้ว พระอริยเหล่านั้น ทำศีลให้บริบูรณ์ ย่อมไม่ลำบาก

พระอริยเหล่าใดตั้งมั่นในศีล พระอริยะเหล่านั้น คือพระเสขะ ๗ ตัดข่ายคือ

กิเลส ที่เรียกว่า ข่ายมัจจุไป. คำทั้งหมดว่า ทุคฺคโม นี้ ท่านอธิบายว่า

เทพบุตรทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอริยะเหล่าใด ยินดีในอินทรีย์

อันสงบ พระอริยะเหล่านั้น ย่อมตั้งมั่นจิตที่ตั้งมั่นได้ยาก พระอริยะเหล่าใด

ตั้งมั่นในศีล พระอริยะเหล่านั้นตัดข่ายมัจจุไปได้ ก็บุคคลนี้จักไปได้อย่างไร

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทางนี้เป็นทางที่ไปได้ยาก เป็นทางที่ไม่เรียบ

มิใช่หรือ ดังนี้ ในข้อนั้น อริยมรรคไม่เป็นทางที่ไปได้ยาก ไม่เป็นทางที่

ไม่เรียบ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น อันตรายเป็นอันมาก ย่อมมีแก่บุคคลนั้น

เพราะปฏิปทาเป็นบุพภาคส่วนเบื้องต้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า อวสิรา ได้แก่ เป็นผู้บ่ายศีรษะลง เพราะศีรษะ

คือญาณ ย่อมตกไป และเพราะไม่อาจยกขึ้นสู่อริยมรรคได้ ชนเหล่านั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ตกไปในทางอันไม่เรียบ. บทว่า อริยาน

สโม มคฺโค ความว่า ทางนั้นนั่นแล ย่อมเป็นทางเรียบของพระอริยะทั้งหลาย.

บทว่า วิสเม สมา ความว่า แท้จริง พระอริยะทั้งหลายเป็นผู้เรียบอย่าง

เดียว ในหมู่สัตว์ที่ไม่เรียบ.

จบอรรถกถามทสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

๗.ปัญจาลจัณฑสูตร

[๒๓๖] ปัญจาลจัณฑเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บุคคลผู้มีปัญญามาก ได้พบโอกาส

ช่องทางในที่คับแคบหนอ ผู้ใดได้รู้ฌาน

เป็นผู้ตื่น ผู้นั้นเป็นผู้องอาจในการเร้น

เป็นมุนี.

[๒๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนปัญจาลจัณเทวบุตร ชนเหล่า

ใด แม้อยู่ในที่คับแคบ แต่กลับได้ซึ่งสติ

เพื่อการบรรลุธรรม คือพระนิพพาน

ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ตั้งมั่นดีแล้วโดยชอบ.

อรรถกถาปัญจาลจัณฑสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗ ต่อไป :-

ในบทว่า สมฺพาเธ ที่คับแคบมี ๒ ได้แก่ ที่คับแคบ คือ นิวรณ์ ที่

คับแคบ คือ กามคุณ. ในที่คับแคบทั้งสองนั้น ในพระสูตรนี้ ท่านประสงค์

เอาที่คับแคบ คือ นิวรณ์. คำว่า โอกาโส นี้เป็นชื่อของฌาน. บทว่า

ปฏิลีนนิสโภ แปลว่า เป็นผู้หลีกออกได้ประเสริฐสุด. ผู้ละมานะได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

ตรัสเรียกชื่อว่า ผู้หลีกออก เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ภิกษุเป็นผู้หลีกออกเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มี

อัสมิมานะ [ความถือว่าเป็นเรา] อันละได้แล้ว มีมูลอันถอนเสียแล้ว ทำเป็น

ดุจต้นตาลมีรากอันถอนแล้ว ทำให้ไม่มี ไม่มีการเกิดขึ้นต่อไป ดังนี้. บทว่า

ปจฺจลทฺธสุ แปลว่า ได้เฉพาะแล้ว. ด้วยบทว่า สมฺมา เต ท่านกล่าวฌาน

ผสมกันไว้ว่า ชนเหล่าใดได้เฉพาะสติ เพื่อบรรลุพระนิพพาน ชนเหล่านั้น

เป็นผู้ตั้งมั่นดีแล้ว แม้ด้วยโลกุตรสมาธิ.

จบอรรถกถาปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

๘. ตายนสูตร

[๒๓๘] ครั้งนั้น ตายนเทวบุตรผู้เป็นเจ้าลัทธิมาเก่าก่อน เมื่อสิ้น

ราตรีปฐมยาม มีวรรณะอันงามยิ่งนัก ทำพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่วแล้ว เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๒๓๙] ตายนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าว

คาถาเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ท่านจงพยายามตักกระแสตัณหา จง

บรรเทากามเสียเถิดพราหมณ์.

มุนีไม่ละกาม ย่อมเข้าไม่ถึงความที่

จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ถ้าบุคคลจะพึง

ทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริง ๆ

พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น เพราะ

ว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน ยิ่งโปรย

โทษดุจธุลี.

ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า

ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.

ก็กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนใน

ภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้ว

ประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี

ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

ความเป็นสมณะ. อันบุคคลปฏิบัติ

ไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปในนรก ฉันนั้น.

กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง

วัตรอันใด ที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่

น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก.

ตายนเทวบุตร ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง.

[๒๔๐] ครั้งนั้น โดยล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวบุตรนามว่าตายนะ

ผู้เป็นเจ้าลัทธิแต่เก่าก่อนเมื่อสิ้นราตรีปฐมยาม มีวรรณะงามยิ่งนัก ทำพระวิหาร

เชตวันให้สว่าง เข้ามาหาเรา อภิวาทเราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง-

หนึ่ง ตายนเทวบุตร กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของเราว่า

ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จง

บรรเทากามเสียเถิดพราหมณ์.

มุนีไม่ละกาม ย่อมเข้าไม่ถึงความที่

จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ถ้าบุคคลจะพึง

ทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริง ๆ

พึงบากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น เพราะ

ว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติย่อหย่อน ยิ่งโปรย

โทษดุจธุลี.

ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า

ความชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนใน

ภายหลัง กรรมนั้นเป็นความดี ทำแล้ว

ประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี

ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด.

ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติ

ไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปในนรก ฉันนั้น.

กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง

วัตรอันใดที่เศร้าหมอง และพรหมจรรย์ที่

น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตายนเทวบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อภิวาท

เราทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้ง

หลาย จงศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำตายนคาถาไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตายนคาถาประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์.

อรรถกถาตายนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตายนสูตรที่ ๘ ต่อไป :-

บทว่า ปุราณติตฺถกโร แปลว่า ผู้เป็นเจ้าลัทธิมาแต่ก่อน. ในคำว่า

ปุราณติตฺถกโร นั้น ทิฎฐิ ๖๒ ชื่อว่า ลัทธิ [ติตถ]. ศาสดาผู้ก่อกำเนิด

ลัทธิเหล่านั้น ชื่อว่า เจ้าลัทธิ คือใคร. คือ นันทะ มัจฉะ กิสะ สังกิจจะ

และที่ชื่อว่า เดียรถีย์ทั้งหลาย มีปุรณะเป็นต้น. ถามว่า ก็ตายนเทพบุตรนี้

ก่อทิฎฐิขึ้นแล้วบังเกิดในสวรรค์ได้อย่างไร. ตอบว่า เพราะเป็นกัมมวาที.

ได้ยินว่า ตายนเทพบุตรนี้ ได้ให้อาหารในวันอุโบสถเป็นต้น เริ่มตั้งอาหาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

ไว้สำหรับคนอนาถา ทำที่พัก ให้ขุดสระโบกขรณีทั้งหลายได้ทำความดีมาก

แม้อย่างอื่น. เพราะผลวิบากแห่งความดีนั้น เขาจึงบังเกิดในสวรรค์ แต่เขา

ไม่รู้ว่า พระศาสนาเป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์. เขามายังสำนักพระตถาคต

ด้วยประสงค์จะกล่าวคาถาคำร้อยกรอง ประกอบด้วยความเพียรอันเหมาะแก่

พระศาสนา จึงกล่าวคาถาว่า ฉินฺท โสต ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉินฺท เป็นคำสั่งที่ไม่แน่นอน. บทว่า

โสต ได้แก่กระแสตัณหา. บทว่า ปรกฺกม ได้แก่ ทำความเพียร. บทว่า

กาเม ได้แก่ กิเลสกามบ้าง วัตถุกามบ้าง. บทว่า ปนูท แปลว่า จงนำออก.

บทว่า เอกตฺต ได้แก่ ฌาน. ท่านอธิบายว่า มุนีไม่ละกามทั้งหลาย ย่อมไม่

เข้าถึง คือ ไม่ได้ฌาน. บทว่า กยิรา เจ กยิราเถน ความว่า ถ้าบุคคล

พึงทำความเพียรไซร้ ก็ไม่พึงท้อถอยความเพียรนั้น. บทว่า ทฬฺหเมน

ปรกฺกเม ความว่า พึงทำความเพียรนั้นให้มั่นคง. บทว่า สิถิโล หิ ปริพฺ-

พาโช ได้แก่ บรรพชาที่ถือไว้หย่อน ๆ. บทว่า ภิยฺโย อากรเต รช

แปลว่า พึงโปรยธุลี คือกิเลสไว้เบื้องบนมากมาย. บทว่า อกต ทุกฺกฏ

เสยฺโย แปลว่า ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า. บทว่า ยงฺกิญฺจิ ความว่า

มิใช่แต่สามัญญผล คุณเครื่องเป็นสมณะ ที่ผู้บวชทำชั่วทำไว้อย่างเดียว แม้

กิจกรรมอย่างอื่นอะไร ๆ ที่ผู้บวชทำย่อหย่อน ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน. บทว่า

สงฺกิลิฏฺ ความว่า วัตรที่ทำได้ยาก คือ ธุดงควัตร ที่สมาทานเพราะ

ปัจจัยลาภเป็นเหตุในพระศาสนานี้ ก็เศร้าหมองทั้งนั้น. บทว่า สงฺกสฺสร

ได้แก่ ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ คือที่สงสัย รังเกียจอย่างนี้ว่า แม้ข้อนี้ ก็จัก

เป็นข้อที่ผู้นี้กระทำแล้ว แม้ข้อนี้ก็จักเป็นข้อที่นี้กระทำแล้ว. บทว่า อาทิ-

พฺรหฺมจริยกา ได้แก่ เป็นเบื้องต้น คือ เป็นที่ปรากฏแห่งมรรคพรหมจรรย์.

จบอรรถกถาตายนสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

๙. จันทิมสูตร

[๒๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ . . . กรุงสาวัตถี สมัยนั้น

จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้นจันทิมเทวบุตรระลึกถึง

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า

ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอ

ความนอบน้อมจงมีแต่พระองค์ พระองค์

เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้า

พระองค์ถึงฐานะอันดับขัน ของพระองค์

จงเป็นที่พึงแห่งข้าพระองค์นั้น.

[๒๔๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภจันทิมเทวบุตร

ได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาวา

จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็น

พระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่ง ดูก่อนราหู

ท่านจงปล่อยจันทิมเทวบุตร พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายเป็นผู้อนุเคราะห์โลก.

[๒๔๓] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยจันทิมเทวบุตรแล้ว เร่งรีบ

เข้าไปหาท้าวเวปจิตติจอมอสูร แล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๒๔๔] ท้าวเวปจิตติจอมอสูตร ได้กล่าวกะอสุรินทราหูด้วยคาถาว่า

ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึง

เร่งรีบปล่อยพระจันทร์เสีย ทำไมหนอ

ท่านจึงมีรูปสลด มายืนกลัวอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

[๒๔๕] อสุรินทราหูกล่าวว่า

ข้าพเจ้าถูกขับ ด้วยคาถาของ

พระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึงปล่อย

จันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตก

เจ็ดเสี่ยงมีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้ความสุข.

อรรถกถาจันทิมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจันทิมสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า จนฺทิมา คือเทพบุตรผู้สถิตอยู่ ณ จันทรวิมาน. บทว่า

สพฺพธิ ได้แก่ ในขันธ์อายตนะ เป็นต้นทั้งหมด. บทว่า โลกานุกมฺปกา

ได้แก่ เป็นผู้อนุเคราะห์ ทั้งท่าน ทั้งจันทรเทพบุตร เช่นเดียวกัน. บทว่า

สนฺตรมาโน ได้แก่ ดุจรีบด่วน. คำว่า ปมุญฺจสิ เป็นปัจจุปันกาล

ลงในอรรถอดีตกาล.

จบอรรถกถาจันทิมสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

๑๐. สุริยสูตร

[๒๘๖] สมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น

สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า

ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอ

ความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์

เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้า

พระองค์ถึงฐานะอันดับขัน ขอพระองค์

จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น.

[๒๔๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภสุริยเทวบุตรได้

ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า

สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระ-

อรหันต์ ว่าเป็นที่พึง ดูก่อนราหู ท่านจง

ปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้

อนุเคราะห์โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง

กระทำความสว่างในที่มืดมิด มีสัณฐาน

เป็นวงกลม มีเดชสูง ดูก่อนราหู ท่าน

จงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา.

[๒๔๘] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว เร่งรีบ

เข้าไปหาท้าวเวปจิตติจอมอสูร แล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

[๒๔๙] ท้าวเวปจิตติจอมอสูร ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ด้วยคาถาว่า

ดูก่อนราหู ทำไมหนอ ท่านจึงเร่ง

รีบ ปล่อยพระสุริยะเสีย ทำไมหนอ ท่าน

จึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่.

[๒๕๐] อสุรินทราหู กล่าวว่า

ข้าพเจ้าถูกขับ ด้วยคาถาของ

พระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระ-

สุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง

มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข.

จบสุริยสูตร

จบ วรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

อรรถกถาสุริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุริยสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า สุริโย คือ เทวบุตร ผู้สถิตอยู่ ณ สุริยวิมาน. บทว่า อนฺธ-

กาเร ได้แก่ ในการทำความมืดดุจตาบอด เพราะห้ามความเกิดแห่งจักษุ

วิญญาณ. บทว่า เวโรจโน แปลว่า ส่องสว่าง. บทว่า มณฺฑลี ได้แก่

มีสัณฐานกลม ด้วยบทว่า มา ราหุ คิลี จรมนฺตลิกฺเข ดังนี้ พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราหู ท่านอย่ากลืนสุริยะผู้โคจรไปในอากาศเลย. ถามว่า

ก็ราหูนั้นกลืนสุริยะนั้นได้หรือ. ตอบว่า กลืนได้สิ เพราะว่า ราหูมี

อัตภาพใหญ่ ว่าโดยส่วนสูง สูงถึง ๔,๘๐๐ โยชน์ ช่วงแขน ยาว ๑,๒๐๐

โยชน์ ว่าโดยส่วนหนา ๖๐๐ โยชน์ ศีรษะ ๙๐๐ โยชน์ หน้าผาก ๓๐๐ โยชน์

ระหว่างคิ้ว ๕๐ โยชน์ คิ้ว ๒๐๐ โยชน์ ปาก ๒๐๐ โยชน์ จมูก ๓๐๐ โยชน์

ขอบปากลึก ๓๐๐ โยชน์ ฝ่ามือฝ่าเท้าหนา ๒๐๐ โยชน์ ข้อนิ้ว ๑๕ โยชน์.

ราหูนั้นเห็นจันทระและสุริยะ ส่องสว่างอยู่ มีความริษยาเป็นปกติอยู่แล้ว ก็ลงสู่

วิถีโคจรของจันทรและสุริยะนั้น ยืนอ้าปากอยู่. จันทรวิมานหรือสุริยวิมานก็เป็น

ประหนึ่งถูกใส่เข้าไปในมหานรก ๓๐๐ โยชน์ เทวดาทั้งหลายที่สถิตอยู่ในวิมาน

ถูกมรณภัยคุกคาม ก็ร้องเป็นอันเดียวกัน ราหูนั้น บางคราวก็เอามือบังวิมาน

บางคราวก็ใส่ไว้ใต้คาง บางคราวก็เอาลิ้นเลีย บางคราวก็วางในกระพุ้งแก้ม

เหมือนกินทำแก้มตุ่ย แต่ราหูนั้น ไม่อาจชลอความเร็วได้ คิดว่าเราจักฆ่าเสีย ก็

ยืนอมทำแก้มตุ่ย หรือคิดว่าขมองของเทพบุตรนั้นจักแตกออกไป ราหูก็คร่าวิมาน

นั้นน้อมเข้ามา. เพราะฉะนั้น เทพบุตรนั้น จึงไปพร้อมด้วยกันกับวิมาน. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

ปช มม ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรแม้ทั้งสองคือ จันทระและสุริยะ บรรลุ

โสดาปัตติผล ในวันที่ตรัสมหาสมยสูตร. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า ปช มม อธิบาย นั่นเป็นบุตรของเรา.

จบอรรถกถาสุริยสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรในวรรคนี้

๑. ปฐมกัสสปสูตร ๒. ทุติยกัสสปสูตร ๓. มาฆสูตร ๔. มาคธสูตร

๕. ทามลิสูตร ๖. กามทสตร ๗. ปัญจาลจัณฑสูตร ๘. ตายนสูตร ๙. จัน-

ทิมสูตร ๑๐. สุริยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒

๑. จันทิมสูตร

ว่าด้วยผู้ถึงฝั่ง

[๒๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น จันทิมสเทวบุตร เมื่อสิ้น

ปฐมยาม มีวรรณะงามยิ่งนัก ทำพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่วแล้ว เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๒๕๒] จันทิมสเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ก็ชนเหล่าใด เข้าถึงฌาน มีจิตเป็น

สมาธิ มีปัญญา มีสติ ชนเหล่านั้น จักถึง

ความสวัสดี ประดุจเนื้อในชะวากเขา ไร้

ริ้นยุง ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ก็ชนเหล่าใด เข้าถึงฌาน ไม่ประ-

มาท ละกิเลสได้ ชนเหล่านั้น จักถึงฝั่ง

คือ นิพพาน ประดุจปลา ทำลายข่ายได้

แล้ว ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

อนาถปิณฑิกวรรคที่ ๒

อรรถกถาจันทิมสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจันทิมสสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า กจฺเฉว แปลว่า ประดุจชะวาก ชะวากเขาก็ดี ชะวากไม้และน้ำ

ก็ดี ชื่อว่า ชะวาก. บทว่า เอโกพินิปทา ได้แก่ประกอบด้วยจิตต์มีอารมณ์

เดียว และปัญหาเครื่องรักษาตัว. บทว่า สตา แปลว่า มีสติ. ท่านอธิบาย

ว่า ชนเหล่าใดได้ฌาน มีจิตมีอารมณ์อันเดียวผุดขึ้น มีปัญญาเครื่องรักษาตัว

มีสติอยู่ ชนเหล่านั้น จักถึงความสวัสดี เหมือนเหล่ามฤค ในชะวากเขา หรือ

ชะวากแม่น้ำ ที่ไม่มียุง. บทว่า ปาร ได้แก่พระนิพพาน บทว่า อมฺพุโช

แปลว่า ปลา. บทว่า รณ ชหา แปลว่า ละกิเลส. ท่านอธิบายว่า ชน

เหล่าใดได้ฌานไม่ประมาท ย่อมละกิเลสได้ ชนเหล่านั้น ก็จักถึงพระนิพพาน

เหมือนปลาทำลายข่ายที่ทำด้วยด้ายฉะนั้น.

จบอรรถกถาจันทิมสสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

๒. เวณฑุสูตร

[๒๕๔] เวณฑุเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าว

คาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ชนเหล่าใด นั่งใกล้พระสุคต

ประกอบความเพียรในศาสนาของพระ-

โคดม ไม่ประมาทแล้ว ตามศึกษาอยู่

ชนเหล่านั้น มีความสุขหนอ.

[๒๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชนเหล่าใด เป็นผู่เพ่งพินิจ ตาม

ศึกษาในข้อสั่งสอน อันเรากล่าวไว้แล้ว

ชนเหล่านั้น ไม่ประมาทอยู่ในกาล ก็ไม่

พึงตกอยู่ในอำนาจแห่งมัจจุ.

อรรถกถาเวณาฑุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเวณฑุสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

คำว่า เวณฑะ [บาลีว่า เวณฑุ] เป็นชื่อของเทพบุตรองค์นั้น. บทว่า

ปยิรุปาสิย ได้แก่ เข้าไปนั่งใกล้. บทว่า อนุสิกฺขเร ได้แก่ ศึกษา.

บทว่า สตฺถปเท ได้แก่ บท คือ คำสั่งสอน. บทว่า กาเล เต อปฺปมชฺ-

ชนฺตา ได้แก่ กระทำความไม่ประมาทในกาล.

จบอรรถกถาเวณฑุสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

๓. ทีฆลักฐิสูตร

[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อัน

เป็นที่ประทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ทีฆลัฏฐิเทวบุตร เมื่อสิ้น

ราตรีปฐมยาม มีวรรณะอันงามยิ่งนัก ทำพระวิหารเวฬุวันให้สว่างทั่วแล้ว

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๒๕๗] ทีฆลัฏฐิเทวบุตร ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า

ภิกษุพึงเป็นผู้มีปกติเพ่งพินิจฌาน

มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวังความไม่เกิดขึ้น

แห่งหทัย คือพระอรหัตผล รู้ความเกิดขึ้น

และควานเสื่อมไปแห่งโลกแล้ว มีใจดี

อันตัณหาและทิฐิไม่อิงอาศัยแล้ว มีพระ-

อรหัตผลนั้นเป็นอานิสงส์.

อรรถกถาทีฆลัฏฐิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทีฆลัฏฐิสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า ทีฆลฏฺิ ความว่า เหล่าเทพในเทวโลก มีพฤตินัยว่า มี

ขนาดเท่ากันหมด ส่วนทีฆลัฏฐิเทพบุตรนั้น มีชื่ออย่างนี้ ก็เพราะเมื่ออยู่ใน

มนุษยโลกมีตัวสูง. เขาทำบุญทั้งหลาย แม้บังเกิดในเทวโลก ก็ปรากฏชื่อ

อย่างนั้นนั่นแหละ.

จบอรรถกถาทีฆทัฏฐิสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

๔. นันทนสูตร

[๒๕๘] นันทนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ข้าแต่พระโคดม ผู้มีพระปัญญา

กว้างขวาง ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์

ถึงญาณทัสสนะ อันไม่มีอะไรขวางกั้น

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตทั้งหลาย

เรียกบุคคลชนิดไรว่า เป็นผู้มีศีล เรียก

บุคคลชนิดไรว่า เป็นผู้มีปัญญา บุคคล

ชนิดไรล่วงทุกข์อยู่ได้ เทวดาทั้งหลาย

บูชาบุคคลชนิดไร.

[๒๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

บุคคลใด มีศีล มีปัญญา อบรม

ตนแล้ว มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ

ปราศจากความโศกทั้งหมด ละได้ขาดสิ้น

อาสวะแล้ว ทรงไว้ซึ่งร่างกายสุดท้าย

บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลชนิดนั้นว่า

เป็นผู้มีศีล เรียกบุคคลชนิดนั้นว่า เป็นผู้

มีปัญญา บุคคลชนิดนั้นล่วงทุกข์อยู่ได้

เทวดาทั้งหลายบูชาบุคคลชนิดนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

อรรถกถานันทนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนันทนสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

นันทนเทพบุตร เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพระโคตรว่า โคตม.

บทว่า อนาวฏ ความว่า เมื่อพระตถาคตทรงส่งพระสัพพัญญุคญาณ ต้นไม้

หรือภูเขา ไม่สามารถจะขวางกั้นได้เลย เพราะฉะนั้น นันทนเทพบุตรจึง

กล่าวว่า อนาวฏ. ครั้นชมพระตถาคตดังนั้นแล้ว เมื่อจะถามปัญหาซึ่งแต่งไว้

ในเทวโลก จึงทูลถามว่า กถวิธ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

ทุกฺขมติจฺจ อิริยติ แปลว่า ล่วงทุกข์อยู่. บทว่า สีลวา ได้แก่ พระ-

ขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยศีล ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. ปัญญา เป็นต้น ก็

พึงทราบว่า ระคนกันเหมือนกัน. บทว่า ปูชยนฺติ ความว่า บูชาด้วยของ

หอมและดอกไม้เป็นต้น.

จบอรรถกถานันทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

๕. จันทนสูตร

[๒๖๐] จันทนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

บุคคลผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืน

และกลางวัน จะข้ามโอฆะได้อย่างไร

ใครไม่จมในห่วงน้ำลึก อันไม่มีที่พึ่ง ไม่

มีที่ยึดเหนี่ยว.

[๒๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ทุกเมื่อ มี

ปัญญา มีใจตั้งมั่นดีแล้ว ปรารภความ

เพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมข้ามโอฆะที่ข้าม

ได้ยาก เขาเว้นขาดแล้วจากกามสัญญา

ล่วงรูปสัญโญชน์ได้ สิ้นภพเป็นที่เพลิด

เพลินแล้ว ย่อมไม่จมในห้วงน้ำลึก.

อรรถกถาจันทนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจันทนสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า อปฺปติฏฺเ อนาลมเพ ได้แก่ ไม่มีที่พึ่งในเบื้องต่ำ ไม่มี

ที่ยึดในเบื้องบน. บทว่า สุสมาหิโต ได้แก่ ตั้งมั่นด้วยดี ด้วยอัปปนาสมาธิ

บ้าง ด้วยอุปจารสมาธิบ้าง. บทว่า ปหิตตฺโต แปลว่า มีตนส่งไปแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

บทว่า นนฺทิภวปริกฺขีโณ แปลว่า สิ้นภพเป็นที่เพลิดเพลินแล้ว. อภิสังขาร

คือกรรม ๓ [ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร] ชื่อว่า

ภพเป็นที่เพลิดเพลิน. ดังนั้น ในพระคาถานี้ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า กามสัญญา สังโยชน์เบื้องบน ๕ ทรงถือเอา

ด้วยศัพท์ว่า รูปสังโยชน์ อภิสังขาร คือกรรม ๓ ทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า

นันทิภพ. ผู้ใดละสังโยชน์ ๑๐ และอภิสังขารคือกรรม ๓ ได้อย่างนี้ ผู้นั้น

ย่อมไม่จมลงในโอฆะใหญ่ที่ลึก. อีกนัยหนึ่ง กามภพทรงถือเอาด้วยกามสัญญา

รูปภพทรงถือเอาด้วยรูปสังโยชน์ อรูปภพทรงถือเอาด้วยศัพท์ทั้งสองนั้น

อภิสังขารคือกรรม ๓ ทรงถือเอาด้วยนันทิภพ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงแสดงแม้ว่า ผู้ใดไม่มีสังขาร ๓ ในภพ ๓ อย่างนี้ ผู้นั้น ย่อมไม่จม

ลงในห้วงน้ำลึก ดังนี้.

จบอรรถกถาจันทนสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

๖. วาสุทัตตสูตร

[๒๖๒] วาสุทัตตเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ภิกษุพึงมีสติเพื่อละกามราคะ งด

เว้นเสีย ประดุจบุคคลถูกแทงด้วยหอก

ประดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่.

[๒๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ภิกษุพึงมีสติเพื่อการละสักกายทิฏฐิ

งดเว้นเสีย ประดุจบุคคลถูกแทงด้วยหอก

ประดุจบุคคลถูกไฟไหม้ศีรษะอยู่.

อรรถกถา

วาสุทัตตสูตรที่ ๖ มีเนื้อความกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

๗. อพรหมสูตร

[๒๖๙] สุพรหมเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้หวาด

เสียวอยู่เป็นนิตย์ ทั้งเมื่อกิจไม่เกิดขึ้นทั้ง

เกิดขึ้นแล้วก็ตาม ถ้าความไม่สะดุ้งกลัวมี

อยู่ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว โปรดตรัส

บอกความไม่สะดุ้งนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

[๒๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เรายังมองไม่เห็นความสวัสดีแห่ง

สัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญาและความ

เพียร นอกจากความสำรวมอินทรีย์ นอก

จากความสละวางทุกสิ่งทุกอย่าง.

สุพรหมเทวบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว ฯลฯ ก็อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

อรรถกถาสุพรหมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุพรหมสูตรที่ ๗ ต่อไป :-

บทว่า สุพฺรหฺมา ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรนั้น อันเหล่าเทพ

อัปสรห้อมล้อมแล้ว ไปยังสนามกีฬานันทนวัน นั่ง ณ อาสนะที่จัดไว้ ได้

โคนต้นปาริฉัตร เหล่าเทพธิดา ๕๐๐ ก็นั่งล้อมเทพบุตรนั้น. เหล่าเทพธิดา

๕๐๐ ก็ปืนขึ้นต้นไม้. ถามว่า ก็ต้นไม้แม้สูง ๑๐๐ โยชน์ ก็น้อมลงมาถึงมือ

ด้วยอำนาจจิตของเหล่าเทวดามิใช่หรือ เหตุไร เทพธิดาเหล่านั้น จึงต้องปืน

ขึ้นเล่า. ตอบว่า เพราะเทพธิดาเหล่านั้นสนใจแต่จะเล่น แต่ครั้นปีนขึ้นไป

แล้ว ก็ขับเพลงด้วยเสียงอันไพเราะทำดอกไม้ทั้งหลายให้หล่นลง เหล่าเทพธิดา

นอกนี้ (ที่ไม่ได้ปีนขึ้น) เก็บดอกไม้เหล่านั้น เอามาร้อยทำเป็นพวงมาลัยขั้ว

เดียวกันเป็นต้น. ครั้งนั้น เหล่าเทพธิดา ที่ปีนขึ้นต้นไม้ ก็ทำกาละ (จุติ)

ด้วยอำนาจอุปัจเฉทกกรรมประหารครั้งเดียวเท่านั้น ไปบังเกิดในอเวจีนรก

เสวยทุกข์ใหญ่.

เมื่อเวลาล่วงไป เทพบุตรก็นึกรำพึงว่า ไม่ได้ยินเสียงเทพธิดาเหล่า

นั้น ดอกไม้ก็ไม่หล่น เขาไปไหนกันหนอ. ก็เห็นไปบังเกิดในนรก เกิดรันทด

ใจ เพราะความโศกในของรัก จึงดำริว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เหล่าเทพธิดา

ก็ไปตามกรรม ตัวเราจะมีอายุสังขารเท่าไรกันเล่า เทพบุตรนั้น ดำริว่า ใน

วันที่ ๗ เราก็จะพึงทำกาละ พร้อมกับเหล่าเทพธิดา ๕๐๐ ส่วนที่เหลือพากันไป

บังเกิดในนรกนั้นเหมือนกัน รันทดระทมเพราะความโศกที่รุนแรง. เทพบุตร

นั้น ก็ดำริว่า ในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก นอกจากพระตถาคตแล้ว ก็ไม่มี

ใครสามารถดับความโศกของเรานี้ได้ จึงไปเฝ้ากล่าวคาถาว่า นิจฺจมุตฺรสุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อิท เทพบุตรนั้น แสดง

จิตของตน. บทที่ ๒ เป็นไวพจน์ของบทต้นนั่นแหละ. ก็บทว่า นิจฺจ ไม่

พึงถือเอาความว่า จำเดิมแต่กาลที่บังเกิดในเทวโลก. พึงทราบความนั้นว่าเป็น

นิตย์ จำเดิมแต่เวลาที่สะเทือนใจ. บทว่า อนุปฺปนฺเนสุ กิจฺเจสุ ได้แก่ใน

ทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น โดยล่วงไป ๗ วัน แต่วันนี้. ด้วยบทว่า อโถ

อุปฺปตฺติเตสุ จ เทพบุตรนั้นแสดงว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในทุกข์ทั้ง

หลายที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่เกิดขึ้นเหล่านี้ อย่างนี้ คือ ในทุกข์ที่ข้าพระองค์

เห็นนางอัปสร ๕๐๐ บังเกิดในนรก จิตของข้าพระองค์ก็หวาดสะดุ้งเป็นนิตย์

ข้าพระองค์เป็นประหนึ่งถูกไฟเผาอยู่ในอก.

บทว่า นาญฺตฺร โพชฺฌงฺคตปสา ความว่า นอกจากการเจริญ

โพชฌงค์และ คุณคือตปะ เรามองไม่เห็นความสวัสดีในที่อื่น. บทว่า

สพฺพนิสฺสคฺคา ได้แก่ พระนิพพาน. ก็ในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ถือเอาการเจริญโพชฌงค์ก่อน ภายหลังก็ทรงถือเอาอินทรียสังวรก็จริงอยู่ ถึง

อย่างนั้น โดยใจความอินทรียสังวร ก็พึงทราบว่า ทรงถือเอาก่อน ด้วยว่า

เมื่อภิกษุถือเอาอินทรียสังวรแล้ว ก็เป็นอันถือเอาจตุปาริสุทธิศีลด้วย. ภิกษุตั้ง

อยู่ในจตุปาริสุทธิศีลนั้น เป็นนิสสัยมุตตกะ (พ้นจากการถือนิสสัยกับอุปัชฌาย์

หรืออาจารย์) สมาทานตปคุณ กล่าวคือธุดงค์เข้าป่าเจริญกัมมัฏฐาน ย่อมทำ

โพชฌงค์ให้เกิดมีพร้อมกับวิปัสสนา. อริยมรรคของภิกษุนั้น ทำนิพพานธรรม

อันใดเป็นอารมณ์แล้วเกิดขึ้น นิพพานธรรมอันนั้น ชื่อว่า สัพพนิสสัคคะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปลี่ยนเทศนาเป็นสัจจะ ๔. เมื่อจบเทศนา เทพบุตรก็

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

จบอรรถกถาสุพรหมสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

๘. กกุธสูตร

[๒๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระอัญชนวัน ที่

พระราชทานอภัยแก่เนื้อ เมืองสาเกต ครั้งนั้น กกุธเทวบุตร เมื่อสิ้นราตรี

ปฐมยาม มีวรรณะงามยิ่งนัก ทำอัญชนวันให้สว่างทั่วแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้

ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๒๖๗] กกุธเทวบุตร ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระสมณะ

พระองค์ทรงยินดีอยู่หรือ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เราได้

อะไรจึงจะยินดี. กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้นพระองค์

ทรงเศร้าโศกอยู่หรือ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เราเสื่อมอะไร

จึงจะเศร้าโศก. กกุธเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ถ้าอย่างนั้นพระองค์

ไม่ทรงยินดีเลย ไม่ทรงเศร้าโศกเลยหรือ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น

เช่นนั้น ผู้มีอายุ.

[๒๖๘] กกุธเทวบุตร กราบทูลว่า

ข้าแต่ภิกษุ พระองค์ไม่มีทุกข์บ้าง

หรือ ความเพลิดเพลินไม่มีบ้างหรือ ความ

เบื่อหน่ายไม่ครอบงำพระองค์ผู้ประทับนั่ง

แต่พระองค์เดียวบ้างหรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

[๒๖๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนท่านผู้อันคนบูชา เราไม่ทุกข์

เลย และความเพลิดเพลินก็ไม่มี อนึ่ง

ความเบื่อหน่าย ก็ไม่ครอบงำเราผู้นั่งแต่

ผู้เดียว.

[๒๗๐] กกุธเทวบุตรทูลถามว่า

ข้าแต่ภิกษุ ทำไมพระองค์จึงไม่มี

ทุกข์ ทำไมความเพลิดเพลินจึงไม่มี ทำไม

ความเบื่อหน่าย จึงไม่ครอบงำพระองค์ผู้

นั่งแต่ผู้เดียว.

[๒๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ผู้มีทุกข์นั่นแหละ จึงมีความเพลิด-

เพลิน ผู้มีความเพลิดเพลินนั่นแหละ จึงมี

ทุกข์ ภิกษุย่อมเป็นผู้ไม่มีความเพลิดเพลิน

ไม่มีทุกข์ ท่านจงรู้อย่างนี้เถิด ผู้มีอายุ.

[๒๗๒] กกุธเทวบุตรทูลว่า

นานหนอ ข้าพระองค์เพิ่งพบเห็น

ภิกษุ ผู้เป็นพราหมณ์ดับสนิทแล้ว ไม่มี

ความยินดี ไม่มีทุกข์ ข้ามพ้นเครื่องข้อง

ในโลกแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

อรรถกถากกุธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกกุธสูตรที่ ๘ ต่อไป :-

บทว่า กกุโธ เทวปุตฺโต ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรองค์นี้

เป็นบุตรอุปัฏฐากของพระมหาโมคคัลลานเถระ ในโกฬนคร เมื่อวัยรุ่นอยู่ใน

สำนักของพระเถระ ทำฌานให้เกิดแล้ว ทำกาละ [ตาย] ไปอุบัติในพรหมโลก

แม้ในพรหมโลกนั้น เหล่าพรหมก็รู้จักเขาว่ากกุธพรหมนั่นแล. บทว่า นนฺทสิ

แปลว่า ยินดี. บทว่า กึ ลทฺธา ความว่า บุคคลได้ของที่พอใจไร ๆ ชื่อว่า

ผู้ยินดี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า กึ ชิยิตฺถ

ความว่า ก็ผู้ใดเสื่อมเสียสิ่งของมีผ้าเป็นต้นที่พอใจไร ๆ ผู้นั้นย่อมเศร้าโศก

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า อรติ นาภิกีรติ

ความว่า ความระอาย่อมไม่ครอบงำ. บทว่า อฆชาตสฺส ความว่า ผู้เกิดทุกข์

คือตั้งอยู่ในวัฏทุกข์. บทว่า นนฺทิชาตสฺส ได้แก่ ผู้เกิดตัณหา. จริงอยู่

วัฏทุกข์ของบุคคลเห็นปานนั้นก็มา [เรียก] ว่า อฆะ. สมจริง ดังคำที่

ท่านกล่าวว่า ผู้เป็นทุกข์ ย่อมปรารถนาสุข. ดังนั้น ความยินดี จึงมีแก่ผู้

เกิดทุกข์. ส่วนทุกข์ก็มาเหมือนกัน เมื่อสุขแปรปรวนไป เหตุนั้น ทุกข์จึงมี

แก่ผู้เกิดความยินดี.

จบอรรถกถากกุธสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

๙. อุตตรสูตร

[๒๗๓] ราชคฤหนิทาน. อุตตรเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ชีวิตมีอายุน้อย ถูกชราต้อนเข้าไป

ชีวิตที่ถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมต้าน

ทานไม่ได้ บุคคลเล็งเห็นภัยในมรณะนี้

แล้ว พึงทำบุญอันจะนำความสุขมาให้.

[๒๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ชีวิตมีอายุน้อย ถูกชราต้อนเข้าไป

ชีวิตที่ถูกชราต้อนเข้าไปแล้ว ย่อมต้าน

ทานไม่ได้ ผู้เห็นภัยในความตายนี้มุ่งต่อ

สันติ พึงละโลกามิสเสีย.

อรรถกถา

อุตตรสูตรที่ ๙ มีเนื้อความกล่าวมาแล้วเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

๑๐. อนาถปิณฑิกสูตร

[๒๗๕] อนาถบิณฑิกเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ก็พระเชตวันนี้นั้น อันหมู่แห่งท่าน

ผู้แสวงคุณพำนักอยู่ พระธรรมราชาก็

ประทับอยู่แล้ว เป็นที่ให้เกิดปีติแก่ข้า

พระองค์. สัตว์ทั้งหลาย ย่อมบริสุทธิ์ด้วย

ส่วน ๕ นี้ คือ กรรม วิชชา ธรรม ศีล

และชีวิตอันอุดม หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตร

หรือทรัพย์ไม่. เพราะเหตุนั่นแหละ บุรุษ

ผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของ

ตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคายอย่างนี้

จึงจะบริสุทธิ์ในธรรมนั้น พระสารีบุตรรูป

เดียวเท่านั้น เป็นผู้ประเสริฐด้วยปัญญา

ศีล และอุปสมธรรม เครื่องสงบระงับ

ภิกษุใดเป็นผู้ถึงซึ่งฝั่ง คือนิพพาน ภิกษุ

นั้นก็พึงเทียบเท่าท่านพระสารีบุตรนั้น.

อนาถบิณฑิกเทวบุตร ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง.

[๒๗๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อล่วงราตรีนั้นแล้ว

จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้เทวบุตรองค์หนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

เมื่อสิ้นราตรีปฐมยาม มีวรรณะงามยิ่งนัก ทำพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่วแล้ว

เข้ามาหาเรา อภิวาทเราแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เทวบุตรนั้น

ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักเราว่า

ก็พระเชตวันนี้นั้น อันหมู่แห่งท่าน

ผู้แสวงคุณพำนักอยู่ พระธรรมราชาก็

ประทับอยู่แล้ว เป็นที่ให้เกิดปีติแก่ข้า

พระองค์.

สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วยส่วน ๕

นี้ คือ กรรม วิชชา ธรรม ศีล และ

ชีวิตอันอุดม หาใช่บริสุทธิ์ด้วยโคตรหรือ

ทรัพย์ไม่.

เพราะเหตุนั้นแล คนผู้เป็นบัณฑิต

เมื่อเห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้น

ธรรมโดยแยบคาย อย่างนี้ จึงจะบริสุทธิ์

ในธรรมนั้น พระสารีบุตรรูปเดียวเท่านั้น

เป็นผู้ประเสริฐด้วยปัญญา ศีล และ

อุปสมธรรมเครื่องสงบระงับ ภิกษุใดเป็น

ผู้ถึงซึ่งฝั่ง ภิกษุนั้นก็พึงเยี่ยมเท่าท่าน

พระสารีบุตรนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรนั้นครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อภิวาทเรา

ทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

[๒๗๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์

ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวบุตรนั้นเห็นจะเป็น

อนาถบิณฑิกเทวบุตรแน่ อนาถบิณฑิกคฤหบดีได้เลื่อมใสยิ่งนักในท่านพระ-

สารีบุตร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ดีละ ๆ ข้อที่จะพึงคาดถึง

เธอคาดถูกแท้ ดูก่อนอานนท์ เทวบุตรนั้น ก็คือ อนาถบิณฑิกเทวบุตร.

จบ อนาถปิณฑิกสูตรที่ ๑๐

จบ อนาถบิณฑิกวรรคที่ ๒

อรรถกถา

ในอนาถบิณฑิกสูตรที่ ๑๐ พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า เทวบุตรองค์ใด

องค์หนึ่ง ดังนี้ เพื่อประกาศความรู้โดยอนุมานของพระอานันทเถระ.

จบอรรถกถาอนาถปิณฑิกสูตรที่ ๑๐

จบ วรรคที่ ๒

รวมพระสูตรในอนาถบิณฑิกวรรคที่ ๒

๑. จันทิมสสูตร ๒. เวณฑุสูตร ๓. ทีฆลัฏฐิสูตร ๔. นันทนสูตร

๕. จันทนสูตร ๖. วาสุทัตตสูตร ๗. สุพรหมสูตร ๘. กกุธสูตร ๙. อุตตสูตร

๑๐. อนาถบิณฑิกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

นานาติตถิยวรรคที่ ๓

๑. สิวสูตร

ว่าด้วยการสมาคมกับสัตบุรุษ

[๒๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว อย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อล่วงปฐมยามแล้ว

สิวเทวบุตร มีวรรณะงามยิ่งนัก ทำพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่วแล้ว เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๒๗๙] สิวเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

กล่าวคาถาเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษ

เท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวก

สัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของ

พวกสัตบุรุษแล้ว ก็เป็นคนดี ไม่เป็น

คนชั่ว บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษ

เท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวก

สัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของ

พวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมได้ปัญญา ไม่ได้

อย่างอื่น บุคคลควรสมาคมกับพวกสัต-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

บุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับ

พวกสัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงพระสัทธรรม

ของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

ท่ามกลางความเศร้าโศก บุคคลควร

สมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำ

ความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ บุคคลรู้

ทั่วถึงพระสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว

ย่อมรุ่งโรจน์ท่ามกลางหมู่ญาติ บุคคลควร

สมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำ

ความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ เหล่าสัตว์

รู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว

ย่อมถึงสุคติ บุคคลควรสมาคมกับพวก

สัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับ

พวกสัตบุรุษ เหล่าสัตว์รู้ทั่วถึงพระสัทธรรม

ของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมดำรงอยู่ได้

ยั่งยืน.

[๒๘๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบสิวเทวบุตรด้วย

พระคาถาว่า

บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษ

เท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวก

สัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงสัทธรรมของพวก

สัตบุรุษแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

นานาติตถิยวรรคที่ ๓

อรรถกถาสิวสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ มีเนื้อความกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

๒. ขมสูตร

[๒๘๑] เขมเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าว

คาถาเหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประ-

พฤติกับตัวเองดังศัตรู ย่อมทำกรรมชั่วที่

มีผลเผ็ดร้อน บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อม

เดือดร้อนภายหลัง มีหน้านองด้วยน้ำตา

ร้องไห้อยู่ เสวยผลแห่งกรรมใด กรรม

นั้นทำแล้วไม่ดีเลย บุคคลทำกรรมใดแล้ว

ไม่เดือดร้อนในภายหลัง มีหัวใจแช่มชื่น

เบิกบานเสวยผลแห่งกรรมใด กรรมนั้น

ทำแล้วเป็นการดี บุคคลรู้กรรมใดว่าเป็น

ประโยชน์แก่ตน ควรลงมือกระทำกรรม

นั้นก่อนทีเดียว อย่างพยายามเป็นนักปราชญ์

เจ้าความรู้ ด้วยความคิดอย่างพ่อค้าเกวียน

พ่อค้าเกวียนละหนทางสายใหญ่ที่เรียบเสีย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

ไปทางไม่เรียบ เพลาเกวียนก็หักสะบั้น

ต้องซบเซา ฉันใด บุคคลออกนอกธรรม

หันไปประพฤติตามอธรรม ก็ฉันนั้น เป็น

คนเขลาเบาปัญญา ดำเนินไปทางมฤตยู

ต้องซบเซาอยู่ เหมือนพ่อค้าเกวียนมีเพลา

เกวียนหัก ฉะนั้น.

อรรถกถาเขมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเขมสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า ปฏิกจฺเจว แปลว่า ก่อนทีเดียว. บทว่า อกฺขจฺฉินฺโนว

ฌายติ ความว่า พ่อค้าเกวียน มีเพลาเกวียนหักเสียแล้ว ย่อมซบเซา คือ

ต้องใช้ความคิดมาก. ในคาถาที่ ๒. บทว่า อกฺขจฺฉินฺโนว แปลว่า เหมือน

พ่อค้าเกวียนมีเพลาเกวียนหักเสียแล้ว.

จบอรรถกถาเขมสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

๓. เสรีสูตร

[๒๘๒] เสรีเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กล่าว

คาถาทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

เทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่าง

ยินดีข่าวและน้ำด้วยกันทั้งนั้น เออ ก็ผู้

ที่ไม่ยินดีข้าวและน้ำชื่อว่ายักษ์โดยแท้.

[๒๘๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบเสรีเทพบุตร ด้วยพระคาถาว่า

ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและ

น้ำนั้นด้วยศรัทธา ข้าวและน้ำนั้นแล ย่อม

พะนอชนเหล่านั้นในโลกนี้และโลกหน้า

เพราะเหตุนั้น พึงเปลื้องความตระหนี่เสีย

ครอบงำมลทินคือความตระหนี่เสีย ให้

ทาน บุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของเหล่า

สัตว์ในโลกหน้า.

[๒๘๔] ส. น่าอัศจรรย์พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระ-

ดำรัสนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วว่า

ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและ

น้ำนั้นด้วยศรัทธา ข้าวและน้ำนั้นแล ย่อม

พะนอชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลก

หน้าเพราะเหตุนั้น พึงเปลื้องความตระหนี่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

เสีย ครอบงำมลทินคือความตระหนี่เสีย

ให้ทาน บุญเท่านั้นเป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์

ในโลกหน้า.

[๒๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์ได้เป็น

พระเจ้าแผ่นดิน มีนามว่าเสรี เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้สรรเสริญการ

ให้ทาน. ที่ประตูทั้ง ๔ ด้าน ข้าพระองค์ได้ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คน

กำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจกทั้งหลาย ครั้นต่อมา พวกฝ่ายใน

พากันเข้าไปหาข้าพระองค์ ได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ทรงบำเพ็ญทาน แต่

พวกหม่อมฉันไม่ได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกหม่อมฉันจะได้อาศัยฝ่าพระบาท

ให้ทานกระทำบุญ ข้าพระองค์จึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี

เป็นผู้สรรเสริญการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกหม่อมฉันจะให้ทาน เราจะว่า

อะไร แล้วจึงมอบประตูด้านแรกให้เเก่พวกฝ่ายในไป เขาพากันให้ทานในที่

นั้น ทานของข้าพระองค์ก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อมา พวก

เจ้าพระราชวงศ์พากันเข้าไปหาข้าพระองค์ ได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ทรง

บำเพ็ญทาน พวกฝ่ายในก็บำเพ็ญทาน แต่พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ให้ทาน

เป็นการชอบที่พวกข้าพระพุทธเจ้าจะได้อาศัยฝ่าพระบาทให้ทานกระทำบุญ ข้า

พระองค์ก็คิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้สรรเสริญการให้

ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทาน เราจะว่าอะไร แล้วจึงมอบ

ประตูด้านที่สองให้แก่พวกเจ้าพระราชวงศ์ไป พวกเจ้าพระราชวงศ์ต่างก็พากัน

ให้ทานในที่นั้น ทานของข้าพระองค์ก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นต่อ

มา พวกฝ่ายทหาร เข้าไปหาข้าพระองค์ได้พูดปรารภขึ้นว่า พระองค์ก็ทรง

บำเพ็ญพระราชกุศล พวกฝ่ายในก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกเจ้าพระราชวงศ์ก็

ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกข้าพระเจ้ามิได้ให้ทานเป็นการชอบที่พวกข้าพระเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

จะได้อาศัยฝ่าพระบาทให้ทานกระทำบุญ ข้าพระองค์จึงคิดเห็นว่า เราเองก็

เป็นทายกเป็นทานบดี เป็นผู้สรรเสริญการให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพระเจ้า

จะให้ทาน เราจะว่าอะไรแล้วจึงมอบประตูด้านที่สามให้พวกฝ่ายทหารไป เข้า

ก็พากันให้ทาน ในที่นั้น ทานของข้าพระองค์ก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ครั้นต่อมา มีพวกพราหมณ์คฤหบดี เข้าไปหาหม่อมฉันได้พูดปรารภขึ้นว่า

พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พวกฝ่ายในก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกเจ้า

พระราชวงศ์ก็ทรงบำเพ็ญพระกุศล พวกฝ่ายทหารก็ให้ทาน แต่พวกข้าพเจ้า

ไม่ได้ให้ทาน เป็นการชอบที่พวกข้าพระเจ้าจะได้อาศัยฝ่าพระบาทให้ทานกระทำ

บุญ ข้าพระองค์จึงคิดเห็นว่า เราเองก็เป็นทายก เป็นทานบดี เป็นผู้สรรเสริญ

การให้ทาน เมื่อมีผู้พูดว่า พวกข้าพเจ้าจะให้ทาน เราจะว่าอะไร แล้วจึง

มอบประตูด้านที่สี่ให้พวกพราหมณ์คฤหบดีไป เขาต่างก็พากันให้ทานในที่นั้น

ทานของข้าพระองค์ก็ลดไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกเจ้าหน้าที่ทั้งหลายต่าง

พากันเข้าไปหาข้าพระองค์แล้ว ได้ทูลขึ้นว่า บัดนี้พระองค์จะไม่ทรงบำเพ็ญ

ทานในที่ไหน ๆ อีกหรือ เมื่อเขาทูลอย่างนี้ ข้าพระองค์จึงกล่าวตอบไปว่า

ท่านทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ในท้องถิ่นชนบทนอก ๆ ออกไป มีรายได้ใด ๆ

เกิดขึ้น พวกท่านจงรวบรวมรายได้นั้น ๆ ส่งเข้าไปในเมือง (เข้าท้องพระคลัง)

เสียกึ่งหนึ่ง อีกกึ่งหนึ่งพวกท่านจงให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดิน

ทางไกล วณิพกและยาจกทั้งหลายในชนบทนั้นเถิด ข้าพระองค์จึงยังไม่ถึงที่สุด

แห่งบุญที่ได้บำเพ็ญไว้ แห่งกุศลที่ได้ก่อสร้างไว้ตลอดกาลนานอย่างนี้ โดยที่

จะมาคำนึงถึงว่า เท่านี้ก็เป็นบุญแล้ว เท่านี้ก็เป็นผลของบุญแล้ว หรือเท่านี้ที่

เราก็พึงตั้งอยู่ในสามัคคีธรรมได้.

[๒๘๖] ส. น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระดำรัส

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

ชนเหล่าใดมีใจผ่องใส ให้ข้าวและ

น้ำด้วยความศรัทธา ข้าวและน้ำนั้นแล

ย่อมพะนอชนเหล่านั้นทั้งในโลกนี้และโลก

หน้า เพราะเหตุนั้น พึงเปลื้องความตระหนี่

เสีย ครอบงำมลทินคือความตระหนี่เสีย

ให้ทาน บุญเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่งของเหล่า

สัตว์ในโลกหน้า.

อรรถกถาเสรีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเสรีสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า ทายโก แปลว่า ผู้ให้ทานเป็นปกติ. บทว่า ทานปติ ได้แก่

เป็นเจ้าแห่งทานที่ให้แล้วให้ ไม่ใช่เป็นทาส ไม่ใช่เป็นสหาย. จริงอยู่ ผู้ใด

บริโภคของอร่อยด้วยตนเอง และให้ของไม่อร่อยแก่คนอื่น ผู้นั้น ชื่อว่า เป็น

ทาสแห่งไทยธรรม กล่าวคือทาน ให้ทาน [ทาสทาน]. ก็ผู้ใดบริโภคของใดด้วย

ตนเองให้ของนั้นนั่นแหละ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสหายให้ทาน [สหายทาน]. ส่วน

ผู้ใดดำรงชีวิตด้วยของนั้นใดด้วยตนเอง และให้ของอร่อยแก่ผู้อื่น ผู้นั้น ชื่อว่า

เป็นเจ้า เป็นใหญ่ เป็นนายให้ทาน [ทานบดี]. เสรีเทพบุตรนั้นกล่าวว่า

ข้าพระองค์ได้เป็นเช่นนั้น.

บทว่า จตูสุ ทฺวาเรสุ ความว่า ได้ยินว่า พระราชาพระองค์นั้น

ได้มีรัฐ ๒ รัฐ คือ สินธวรัฐ และ โสวีรกรัฐ. มีนครชื่อโรรุวนครที่ประตู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

แต่ละประตูแห่งนครนั้น เกิดทรัพย์แสนหนึ่งทุก ๆ วัน ณ สถานที่วินิจฉัย-

คดี ภายในนคร ก็เกิดทรัพย์แสนหนึ่ง. ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นกองเงิน

กองทองเป็นอันมาก ทำให้เกิดกัมมัสสกตาญาณ โปรดให้สร้างโรงทานทั้ง ๔

ประตู แต่งตั้งอมาตย์ เจ้าหน้าที่ไว้สั่งว่า พวกเจ้าจงเอารายได้ที่เกิดขึ้น ณ ประตู

นั้น ๆ ให้ทาน ด้วยเหตุนั้น เสรีเทพบุตรนั้นจึงกล่าวว่า ให้ทานทั้ง ๔ ประตู

ในคำว่า สมณพฺราหฺมรณกปณทฺธิกวณิพฺพกยาจกาน นี้ ผู้ถือบวช

ชื่อว่า สมณะ ผู้มีปกติทูลว่าผู้เจริญ ชื่อว่าพราหมณ์ แต่สมณพราหมณ์ที่ว่า

นี้ ไม่ได้ในสมณพราหมณ์ ผู้สงบบาปและผู้ลอยบาป คนเข็ญใจ คนยากจน

มีคนตาบอด คนง่อยเป็นต้น ชื่อว่า กปณะ. คนกำพร้า คนเดินทาง ชื่อว่า

อัทธิกะ. คนเหล่าใด เที่ยวสรรเสริญทานโดยนัยว่า ให้ทานที่น่าปรารถนา น่า

ใคร่ น่าพอใจ ให้ตามกาลให้ทานที่ไม่มีโทษ ทำจิตให้ผ่องใส ท่านผู้เจริญ

ก็จะไปพรหมโลกดังนี้เป็นต้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า วณิพก. ชนเหล่าใดกล่าว

ว่า โปรดให้สักฟายมือเถิด โปรดให้สักขันจอกเกิด ดังนี้เป็นต้น เที่ยวขอไป

ชนเหล่านั้น ชื่อว่ายาจก. บทว่า อิฏฺาคารสฺส ทาน ทิยิตฺถ ความว่า

พวกฝ่ายในได้ให้ทานมากกว่าทานที่พระราชาพระราชทาน เพราะเติมทรัพย์แม้

ส่วนอื่นลงในทรัพย์แสนหนึ่ง ซึ่งเกิดที่ประตูนั้น เพราะได้รับประตูแรก ถอน

อมาตย์ของพระราชาเสียตั้งอมาตย์ของตนทำหน้าที่แทน. เสรีเทพบุตรหมายเอา

ข้อนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า มม ทาน ปฏิกฺกมิ ความว่า ทานของ

ข้าพระองค์ที่ให้ ณ ประตูนั้น ก็เปลี่ยนไป แม้ในประตูที่เหลือก็นัยนี้เหมือน

กัน. บทว่า โกจิ แปลว่า ในที่ไหน ๆ. บทว่า ทีฆรตฺต ได้แก่ ๘๐,๐๐๐

ปี ได้ยินว่า ทานของพระราชาพระองค์นั้น ปรากฏตลอดกาลประมาณเท่านั้น.

จบอรรถกถาเสรีสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

๔. ฆฏิการสูตร*

[๒๘๗] ฆฏิการเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้กล่าวคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ภิกษุ ๗ รูป ผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้น

อวิหาเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว สิ้นราคะโทสะ

แล้ว ข้ามพ้นตัณหาที่ซ่านไปในโลกเสีย

ได้แล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ก็ภิกษุเหล่านั้น คือใครบ้างผู้ข้าม

พ้นเครื่องข้องแห่งมัจจุมาร อันแสนยากที่

จะข้ามได้ ละกายของมนุษย์แล้ว ก้าวล่วง

เครื่องประกอบอันเป็นทิพย์.

ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า

คือ ท่านอุปกะ ๑ ท่านผลคัณฑะ ๑

ท่านปุกกุสาติ ๑ รวมเป็น ๓ ท่าน ท่าน

ภัททิยะ ๑ ท่านขัณฑเทวะ ๑ ท่านพาหุ-

รัคคิ ๑ ท่านสิงคิยะ ๑ (รวมเป็น ๗ ท่าน)

ท่านเหล่านั้นล้วนแต่ละกายของมนุษย์

ก้าวล่วงเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ได้

แล้ว.

* ในอาทิตตวรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑๐ เป็นฆฏิกรสูตร

ม. เป็นฆฏิการสูตร เหมือนกันทั้ง ๒ สูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

[๒๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ท่านเป็นเทพมีความฉลาด กล่าว

สรรเสริญภิกษุเหล่านั้น ผู้ละบ่วงมารได้

แล้ว ภิกษุเหล่านั้นรู้ทั่วถึงธรรมของใคร

จึงได้ตัดเครื่องผูกคือภพเสียได้.

[๒๘๙] ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า

ท่านเหล่านั้น รู้ทั่วถึงธรรมของผู้ใด

จึงตัดเครื่องผูกคือภพเสียได้ ผู้นั้นนอก

จากพระผู้มีพระภาคเจ้า และธรรมนั้น

นอกจากคำสอนของพระองค์แล้วเป็นไม่มี.

นามและรูปดับไม่เหลือในธรรมใด

ท่านเหล่านั้นได้รู้ทั่วถึงธรรมนั้น จึงตัด

เครื่องผูกคือ ภพได้.

[๒๙๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ท่านกล่าววาจาล้ำลึก รู้ได้ยาก

เข้าใจได้แสนยาก ท่านรู้ทั่วถึงธรรมของ

ใคร จึงกล่าววาจาเช่นนี้ได้.

[๒๙๑] ฆฏิการเทพบุตรกราบทูลว่า

ครั้งก่อนข้าพเจ้าเป็นช่างหม้อ ทำ

หม้ออยู่ในเวภฬิงคชนบท เป็นผู้เลี้ยงดู

มารดาบิดา เป็นอุบาสกของพระกัสสป

พุทธเจ้า เว้นขาดจากเมถุนธรรม ประพฤติ

พรหมจรรย์ ไม่มีอามิส ได้เคยเป็นคน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

ร่วมบ้านกับพระองค์ ทั้งเคยได้เป็นสหาย

ของพระองค์ในปางก่อน ข้าพเจ้ารู้จัก

ภิกษุทั้ง ๗ รูปเหล่านี้ ผู้หลุดพ้นแล้ว สิ้น

ราคะโทสะแล้ว ข้ามพ้นเครื่องข้องต่าง ๆ

ในโลกได้แล้ว.

[๒๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

แน่ นายช่างหม้อ ท่านพูดอย่างใด

ก็ได้เป็นจริงแล้วอย่างนั้น ในกาลนั้น

ครั้งก่อนท่านเป็นช่างหม้อ ทำหม้ออยู่ใน

เวภฬิงคชนบท เป็นผู้เลี้ยงดูมารดาบิดา

เป็นอุบาสกของพระกัสสปพุทธเจ้า งดเว้น

จากเมถุนธรรม ประพฤติพรหมจรรย์

ไม่มีอามิส ได้เป็นคนเคยร่วมบ้านกันกับ

เราทั้งได้เคยเป็นสหายของเราในปางก่อน.

พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า

สหายเก่าทั้งสอง ผู้อบรมตนแล้ว

ทรงไว้ซึ่งสรีระครั้งสุดท้าย ได้มาพบกัน

ด้วยอาการอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

อรรถกถา

ฆฏิการสูตรที่ ๔ มีเนื้อความกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

๕. ชันตุสูตร

[๒๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ภิกษุเป็นจำนวนมากอยู่ในกุฎีอันตั้งอยู่ในป่าข้างเขาหิมวันต์

แคว้นโกศล เป็นผู้ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง ฟุ้งเฟ้อ ปากกล้า วาจาพล่อย ๆ

หลงลืม ขาดสัมปชัญญะ ไม่มั่นคง มีจิตคิดนอกทาง ปล่อยตัวเยี่ยงคฤหัสถ์.

[๒๙๔] วันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ชันตุเทพบุตรเข้าไปหาพวก

ภิกษุเหล่านั้น แล้วจึงได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นด้วยคาถาทั้งหลายว่า

แต่ก่อน พวกภิกษุสาวกพระโคดม

เป็นอยู่ง่าย ๆ ไม่มักได้แสวงหาบิณฑบาต

ไม่มักได้แสวงหาที่นอนที่นั่ง.

ท่านรู้ว่าสิ่งทั้งปวงในโลกไม่เที่ยง

กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

ส่วนท่านเหล่านี้ ทำตนให้เป็นคน

เลี้ยงยากเหมือนนายบ้านในตำบลบ้าน

กิน ๆ แล้วก็นอน ชอบประจบไปในเรือน

ของคนอื่น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

ข้าพเจ้าขอทำอัญชลีต่อท่าน ขอพูด

ท่านบางพวกในที่นี้ว่า พวกท่านถูกเขา

ทอดทิ้งหมดที่พึ่ง เป็นเหมือนเปรต.

ที่ข้าพเจ้ากล่าวนี้หมายเอาบุคคล

จำพวกที่อยู่ประมาท ส่วนท่านพวกใดอยู่

ไม่ประมาท ข้าพเจ้าขอนมัสการท่านพวก

นั้น.

อรรถกถาชันตุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในชันตุสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า โกสเลสุ วิหรนฺติ ความว่า เหล่าภิกษุเป็นอันมาก รับ

กัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พากันไปอยู่แคว้นโกศล. บทว่า

อุทฺธตา ได้แก่ เป็นผู้มีปกติฟุ้งซ่าน เพราะสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร

สำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร สำคัญในที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ สำคัญในสิ่งที่มีโทษ

ว่าไม่มีโทษ. บทว่า อุนฺนฬา ได้แก่ มีมานะดุจไม้อ้อที่ชูขึ้น ท่านอธิบายว่า

ยกมานะที่เปล่า ๆ ขึ้น. บทว่า จปลา ได้แก่ ประกอบด้วยความฟุ้งเฟ้อ

มีแต่งบาตรจีวรเป็นต้น. บทว่า มุขรา แปลว่า ปากกล้า ท่านอธิบายว่า

มีถ้อยคำกร้าว. บทว่า วิกิณฺณวาจา ได้แก่ ไม่ประหยัดถ้อยคำ [เพ้อเจ้อ]

เจรจาถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์ได้ทั้งวัน. บทว่า มุฏฺสฺสติ ได้แก่ มีสติหายไป

เว้นจากสติ กิจที่ทำในที่นี้ ภิกษุทั้งหลายก็หลงลืมเสียในที่นี้. บทว่า อสมฺป-

ชานา ได้แก่ ปราศจากความรอบรู้. บทว่า อสมาหิตา ได้แก่ เว้นจาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

สมาธิที่เป็นอัปปนาและอุปจาระ เสมือนเรือที่ผูกไว้ในกระแสน้ำเชี่ยว. บทว่า

วิพฺภนฺตจิตฺตา ได้แก่ มีจิตไม่มั่นคง เสมือนมฤคร้ายที่ขึ้นทาง. บทว่า

ปากตินฺทฺริยา ได้แก่ มีอินทรีย์เปิดเหมือนครั้งเป็นคฤหัสถ์ เพราะไม่มี

ความสำรวม. บทว่า ชนฺตุ ได้แก่ เทพบุตรมีนามอย่างนี้. บทว่า ตทหุ

โปสเถ ได้แก่ ในอุโบสถวันนั้น อธิบายว่า ในวันอุโบสถ. ศัพท์ว่า ปณฺณรเส

ห้ามวันอุโบสถ ๑๔ ค่ำเป็นต้นเสีย. บทว่า อุปสงฺกมิ ได้แก่ เข้าไปหาเพื่อ

ทักท้วง ได้ยินว่า ชันตุเทพบุตรนั้นคิดว่า ภิกษุเหล่านี้รับกัมมัฏฐานในสำนัก

ของพระศาสดาแล้ว พากันออกไป บัดนี้ ก็อยู่เป็นผู้ประมาท ก็แก่ภิกษุเหล่านี้

ถูกเราทักท้วงในสถานที่นั่งแยก ๆ กัน จัก ไม่ถือคำเรา จำเราจักทักท้วงในเวลา

ที่มารวมกันถึงวันอุโบสถ รู้ว่าภิกษุเหล่านั้นประชุมกัน แล้วจึงเข้าไปหา. บทว่า

คาถาย อชฺฌภาสิ ความว่า เทพบุตรยืนอยู่ท่ามกลางเหล่าภิกษุทั้งหมด

ได้กล่าวด้วยคาถาทั้งหลาย ในคาถาเหล่านั้น เพราะเหตุที่สภาพมิใช่คุณ [โทษ]

ของผู้ไร้คุณ ย่อมปรากฏพร้อมกับการกล่าวคุณ ฉะนั้น เทพบุตรเมื่อกล่าวถึง

คุณก่อน จึงกล่าวคาถาว่า สุขชีวิโน ปุเร อาสุ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า สุขชีวิโน ปุเร อาสุ ความว่า พวกภิกษุแต่ก่อน เป็นผู้บำรุงเลี้ยงง่าย

เทพบุตรกล่าวอย่างนี้ โดยอธิบายว่า พวกภิกษุแต่ก่อน ยังชีพให้เป็นไปด้วย

อาหารคลุกกัน ซึ่งเที่ยวไปตามลำดับตรอกในตระกูลสูงและต่ำได้มา. บทว่า

อนิจฺฉา ได้แก่ ปราศจากตัณหา เทพบุตรครั้นกล่าวคุณของเหล่าภิกษุเก่าก่อน

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะกล่าวโทษของภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ทุปฺโปส

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า คาเม คามณิกา วิย เทพบุตร

กล่าวอธิบายว่า เปรียบเหมือนนายบ้าน เยี่ยมประชาชนในตำบลบ้าน ให้

ลูกบ้านนำนมสดนมส้มข้าวสาร เป็นต้น มากิน ฉันใด แม้พวกท่าน ตั้งอยู่ใน

อเนสนา แสวงหาไม่สมควร มาเลี้ยงชีวิตของพวกท่าน ก็ฉันนั้น. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

นิปชฺชนฺติ ได้แก่ ไม่ต้องการด้วยการเรียนอุเทศ สอบถาม และใส่ใจ

กัมมัฏฐาน นอนปล่อยมือเท้าอยู่บนที่นอน. บทว่า ปราคาเรสุ ความว่า

ในเรือนของผู้อื่น คือในเรือนสะใภ้ของตระกูลเป็นต้น. บทว่า มุจฺฉิตา ได้แก่

หมกมุ่น ด้วยอำนาจกิเลส. บทว่า เอกจฺเจ ได้แก่ พวกที่ควรจะกล่าวถึง

นี่แหละ. บทว่า อปวิฏฺา ได้แก่ ที่เขาทอดทิ้งแล้ว. บทว่า อนาถา ได้แก่

ไม่มีที่พึ่ง. บทว่า เปตา ได้แก่ คนที่ตายแล้ว เขาทิ้งในป่าช้า เปรียบเหมือน

คนตายที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ย่อมถูกนกต่าง ๆ เป็นต้นจิกกิน แม้เหล่าญาติก็

เป็นที่พึ่งของคนเหล่านั้นไม่ได้ รักษาไม่ได้ คุ้มครองไม่ได้ ฉันใด ภิกษุ

ทั้งหลายเห็นปานนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่ได้รับโอวาทและคำพร่ำสอน

แต่สำนักของอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น เพราะฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงถูก

ทอดทิ้งไม่มีที่พึ่ง เป็นเหมือนคนตายที่เขาละทิ้งแล้ว ฉะนั้น.

จบอรรถกถาชันตุสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

๖. โรหิตัสสสูตร

[๒๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น เมื่อล่วงปฐมยาม โรหิตัสสเทวบุตรมีวรรณะงานยิ่งนัก ทำ

พระวิหารเชตวันให้สว่างทั่วแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ครั้น แล้วจึงถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

โรหิตัสสเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้ทูลพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสใดหนอ บุคคลจึงจะไม่เกิด ไม่แก่

ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อันบุคคลอาจ หรือบรรลุ

ที่สุดโลกได้ด้วยการเดินทางได้บ้างไหมหนอ.

[๒๙๖] พระผู้มีพระภาคเจ้า. ผู้มีอายุ โอกาสใดบุคคลไม่เกิด ไม่แก่

ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เราไม่เรียกโอกาสนั้นว่าที่สุดของโลกว่า ที่ควรรู้

ควรเห็น ควรบรรลุด้วยการเดินทาง.

ร. น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า. พระดำรัสนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วว่า ผู้มีอายุ โอกาสใดบุคคลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย

ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เราไม่เรียกโอกาศนั้นว่าที่สุดของโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น

ควรบรรลุด้วยการเดินทาง.

[๒๙๗] ร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่ปางก่อน ข้าพระองค์เป็นฤาษี

ชื่อโรหิตัสสะ เป็นบุตรของอิสรชน มีฤทธิ์ เหาะไปในอากาศได้ มีความเร็ว

ประดุจอาจารย์สอนศิลปธนู จับธนูมั่น ชาญศึกษา ชำนาญมือ เคยประลอง

ยิงธนูมาแล้ว ยิงผ่านเงาตาลตามขวางได้ด้วยลูกศรขนาดเบาโดยสะดวกดาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

ย่างเท้าของข้าพระองค์เห็นปานนี้ ประดุจจากมหาสมุทรด้านทิศบูรพา ก้าวถึง

มหาสมุทรด้านทิศประจิม ข้าพระองค์มาประสงค์อยู่แต่เพียงว่า เราจักบรรลุ

ถึงที่สุดของโลกด้วยการเดินทาง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ประกอบ

ด้วยความเร็วขนาดนี้ ด้วยย่างเท้าขนาดนี้ เว้นจากการกิน การขบเคี้ยว และ

การลิ้มรสอาหาร เว้นจากการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ. เว้นจากระงับความ

เหน็ดเหนื่อยด้วยการหลับนอน มีอายุถึงร้อยปี ดำรงชีพอยู่ถึงร้อยปี เดินทาง

ตลอดร้อยปี ก็ยังไม่ถึงที่สุดของโลกได้ แต่มาทำกาลกิริยาเสียในระหว่าง น่า-

อัศจรรย์นัก พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า พระดำรัสนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสดีแล้วว่า ผู้มีอายุ ณ โอกาสใดบุคคลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย

ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เราไม่เรียกโอกาสนั้นว่าที่สุดของโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น

ควรบรรลุ ด้วยการเดินทาง.

[๒๙๘] พ. ดูก่อนผู้มีอายุ ณ โอกาสใดบุคคลไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย

ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เราไม่เรียกโอกาสนั้นว่าที่สุดของโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น

ควรบรรลุ ด้วยการเดินทาง ก็ถ้าหากเรายังไม่บรรลุถึงที่สุดของโลกแล้ว ก็จะ

ไม่กล่าวถึงการกระทำที่สุดทุกข์ ก็แต่ว่าเราบัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก การ

ดับของโลก และทางให้ถึงความดับโลก ในเรือนร่าง มีประมาณวาหนึ่งนี้

และพร้อมทั้งสัญญา พร้อมทั้งใจครอง.

แต่ไหนแต่ไรมา ยังไม่มีใครบรรลุถึงที่

สุดโลกด้วยการเดินทาง และเพราะที่ยังบรรลุ

ถึงที่สุดโลกไม่ได้ จึงไม่พ้นไปจากทุกข์.

เหตุนั้นแล คนมีปัญญาดี รู้แจ้งโลกถึง

ที่สุดโลกได้ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว รู้ที่สุดโลก

แล้ว เป็นผู้สงบแล้ว จึงไม่หวังโลกนี้และโลกอื่น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

อรรถกถาโรหิตัสสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโรหิตัสสสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า ยตฺถ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในโอกาสหนึ่งแห่งโลกจักรวาล.

คำว่า น จวติ น อุปปชฺชติ นี้ ท่านถือเอาด้วยอำนาจ การจุติปฏิสนธิ

ในภพต่อ ๆ ไป. บทว่า คมเนน ได้แก่ ด้วยการเดินไปด้วยเท้า พระ-

ศาสดาตรัสว่า นาหนฺต โลกสฺส อนฺต ดังนี้ ทรงหมายถึงที่สุดแห่งสังขารโลก.

ในบทว่า าเตยฺย เป็นต้น ความว่า พึงรู้พึงเห็นพึงถึง เทพบุตรทูลถาม

ถึงที่สุดแห่งโลกจักรวาล ด้วยประการฉะนี้ พระศาสดาตรัสถึงที่สุดแห่งสังขาร

โลก. แต่เทพบุตรนั้นร่าเริงด้วยสำคัญว่า คำพยากรณ์ของพระศาสดา สมกับ

ปัญหาของตน จึงกล่าวว่า น่าอัศจรรย์เป็นต้น. บทว่า ทฬฺหธมฺโม แปลว่า

มีธนูมั่น คือประกอบด้วยธนูขนาดเยี่ยม. บทว่า ธนฺคฺคโห แปลว่า อาจารย์

ฝึกธนู. บทว่า สุสิกฺขิโต ได้แก่ ศึกษาศิลปธนูมา ๑๒ ปี. บทว่า กตหตฺโถ

ได้แก่ ชื่อว่า ชำนาญมือ เพราะสามารถยิงปลายขนทรายได้ แม้ในระยะ

อุสภะหนึ่ง. บทว่า กตุปาสุโน ได้แก่ยิงธนูชำนาญ ประลองศิลปะมาแล้ว.

บทว่า อสเนน ได้แก่ลูกธนู. บทว่า อติปาเตยฺย ได้แก่พึงผ่าน. เทพบุตร

แสดงคุณสมบัติคือความเร็วของตนว่า ลูกธนูนั้นพึงผ่านเงาตาลเพียงใด

ข้าพระองค์ก็ผ่านจักรวาลไปโดยกาล [ชั่วขณะ] เพียงนั้น. ด้วยบทว่า ปุริมา

สมุทฺทา ปจฺฉิโม เทพบุตรกล่าวว่า ข้าพระองค์ย่างเท้าก้าวได้ไกล ทำนอง

ไกลจากสมุทรด้านตะวันออกจดสมุทรด้านตะวันตก. ได้ยินว่า เทพบุตรนั้น

ยืนที่ขอบปากจักรวาลทิศตะวันออก ย่างเท้าแรกก้าวเลยขอบปากจักรวาลทิศ-

ตะวันตกไป ย่างเท้าที่สองออก ก็ก้าวเลยขอบปากจักรวาลอื่น ๆ ไป. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

อิจฺฉาคต แปลว่า ความอยากได้นั่นเอง. เทพบุตรแสดงความไม่ชักช้าด้วย

บทว่า อญฺเตฺรว ได้ยินว่า โรหิตัสสฤษีนั้น ในเวลาไปภิกขาจาร เคี้ยว

ไม้ชำระฟัน ชื่อนี้คลดาแล้วบ้วนปากที่สระอโนดาด ถึงอุตตรกุรุทวีปแล้วออก

หาอาหาร นั่งที่ชอบปากจักรวาล ฉันอาหาร ณ ที่นั้น พักชั่วครู่ก็เหาะไปเร็วอีก.

บทว่า วสฺสสตายุโก ได้แก่ ยุคนั้น เป็นยุคที่มนุษย์มีอายุยืน. แต่โรหิตัสสฤษี

นี้ เริ่มเดินทางเมื่ออายุเหลือ ๑๐๐ ปี. บทว่า วสฺสสตชีวี ได้แก่เป็นอยู่

โดยไม่มีอันตรายตลอด ๑๐๐ ปีนั้น. บทว่า อนฺตราว กาลกโต ได้แก่ยัง

ไม่ทันถึงที่สุดโลกจักรวาลก็ตายเสียในระหว่าง ก็โรหิตตัสสฤษีนั้นแม้ทำกาละใน

ภพนั้น ก็มาบังเกิดในจักรวาลนี้นี่แล. บทว่า อปฺปตฺวา ได้แก่ ยังไม่ถึงที่

สุดแห่งสังขารโลก. บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ วัฏทุกข์. บทว่า อนฺตกิริย

ได้แก่ การทำที่สุด. บทว่า กเฬวเร ได้แก่ ในอัตภาพ. บทว่า สสญฺมฺหิ

สมนเก ได้แก่มีสัญญา มีจิต. บทว่า โลก ได้แก่ทุกขสัจ. บทว่า โลกสมุทย

ได้แก่ สมุทัยสัจ. บทว่า โลกนิโรธ ได้แก่ นิโรธสัจ. บทว่า ปฏิปท

ได้แก่ มรรคสัจ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อน

ผู้มีอายุ เราไม่บัญญัติสัจจะ ๔ นี้ลงในหญ้าและไม้เป็นต้น แต่เราบัญญัติลงใน

กายที่ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้เท่านั้น. บทว่า สมิตาวี ได้แก่สงบบาป.

บทว่า นาสึสติ ได้แก่ ไม่ปรารถนา.

จบอรรถกถาโรหิตัสสสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

๗. นันทสูตร

[๒๙๙] นันทเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้

กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป

ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป บุคคลเล็งเห็น

ภัยในมรณะนี้ ควรทำบุญอันนำความสุข

มาให้.

[๓๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป

ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป บุคคลเล็งเห็น

ภัยในมรณะนี้ มุ่งต่อสันติ ควรละโลกา-

มิสเสีย.

๘. นันทิวิสาลสูตร

[๓๐๑] นันทิวิสาลเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

จึงได้กล่าวคาถาทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมหาวีรบุรุษ

สรีรยนต์ มีจักร ๔ มีทวาร ๙ เต็มไป

ด้วยของไม่สะอาด ประกอบด้วยความ

โลก ย่อมเป็นประดุจเปือกตม ไฉนจักมี

ความออกไปจากทุกข์ได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

[๓๐๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

บุคคลตัดความผูกโกรธด้วย กิเลส

เป็นเครื่องรัดด้วย ความปรารถนาและ

ความโลภอันชั่วช้าด้วย ถอนตัณหาพร้อม

ทั้งอวิชชาอันเป็นมูลรากเสียได้ อย่างนี้

จึงออกไปจากทุกข์ได้.

อรรถกถา

นันทสูตรที่ ๗ และนันทิวิสาลสูตรที่ ๘ มีเนื้อความกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

๙. สุสิมสูตร

[๓๐๓] สาวัตถีนิทาน.

ณ กาลครั้งหนึ่ง ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอชอบ

สารีบุตรหรือไม่.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ

ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร เพราะ

ท่านเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญาแน่นหนา มีปัญญาชวนร่าเริง มี

ปัญญาไว มีปัญญาแหลม มีปัญญาคม มักน้อย สันโดษ สงัดกาย สงัดใจ

ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ โจทก์ท้วง

คนผิด ตำหนิคนชั่ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คน

มุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านสารีบุตร.

[๓๐๔] พ. อย่างนั้น ๆ อานนท์ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คน

มุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร เพราะสารี

บุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญาแน่นหนา มีปัญญาชวนร่าเริง มี

ปัญญาเร็ว มีปัญญาแหลม มีปัญญาคม มักน้อย สันโดษ สงัดกาย สงัดใจ

ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ โจทก์ท้วง

คนผิด ตำหนิคนชั่ว อานนท์ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่

ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

[๓๐๕] ณ กาลครั้งนั้น สุสิมเทพบุตร แวดล้อมไปด้วยเทพบุตร

บริษัทเป็นอันมาก ขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าและอานนท์เถระ กำลังกล่าว

สรรเสริญคุณท่านพระสารีบุตรอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายอภิวาท

แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จริงอย่างนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงอย่างนั้น พระสุคต อันใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คน

มุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร เพราะ

ท่านเป็นบัณฑิต ฯลฯ ตำหนิคนชั่ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะข้าพระองค์

ได้เข้าร่วมประชุมเทพบุตรบริษัทใด ๆ ก็ได้ยินเสียงแน่นหนาว่า ท่านพระสารี

บุตรเป็นบัณฑิตฯลฯ ตำหนิคนชั่ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล

ไม่ไช่คนทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารี-

บุตร.

[๓๐๖] ครั้งนั้น เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร ขณะที่สุสิมเทพ-

บุตรกำลังกล่าวสรรเสริญท่านพระสารีบุตรอยู่ เป็นผู้ปลื้มใจ เบิกบาน เกิด

ปีติโสมนัส มีรัศมีแห่งผิวพรรณแพรวพราวอยู่.

[๓๐๗] เปรียบเหมือนแก้วมณีและแก้วไพฑูรย์ อันงาม โชติช่วง

แปดเหลี่ยมอันเขาเจียรไนเรียบร้อยแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง ย่อมส่อง

แสงแพรวพราวรุ้งร่วง ฉันใด เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร ขณะที่สุสิม

เทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญท่านพระสารีบุตรอยู่ เป็นผู้ปลื้มใจ เบิกบาน

เกิดปีติโสมนัส ก็มีรัศมีแห่งผิวพรรณแพรวพราวอยู่ ฉันนั้น.

[๓๐๘] เปรียบเสมือนแท่งทองชมพูนุท ที่บุตรนายช่างทองผู้ขยันหมั่น

ใส่เบ้าหลอมไล่ราคีจนสิ้นแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง ย่อมขึ้นสีผุดผ่อง

เปล่งปลั่ง ฉันใด เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร ขณะที่สุสิมเทพบุตร

กำลังกล่าวสรรเสริญท่านพระสารีบุตรอยู่ เป็นผู้ปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติ-

โสมนัส มีรัศมีแห่งผิวพรรณแพรวพราวอยู่ ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

[๓๐๙] เปรียบเหมือนดาวประกายพฤกษ์ ขณะที่อากาศปลอดโปร่ง

ปราศจากหมู่เมฆในฤดูสรทกาล ย่อมส่องแสงสุกสกาววาวระยับ ฉันใด

เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร ขณะที่สุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญ

ท่านพระสารีบุตรอยู่ เป็นผู้ปลื้มใจ เบิกบาน เกิดปีติโสมนัส มีรัศมีแห่ง

ผิวพรรณแพรวพราวอยู่ ฉันนั้น.

[๓๑๐] เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ขณะที่อากาศปลอดโปร่ง ปราศจาก

หมู่เมฆในฤดูสรทกาล พวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ขจัดความมืดที่มีอยู่ในอากาศทั้ง

ปวง ย่อมแผดแสงแจ่มจ้ารุ่งโรจน์ ฉันใด เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร

ขณะที่สุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญท่านพระสารีบุตรอยู่ เป็นผู้ปลื้มใจ

เบิกบาน เกิดปีติโสมนัส มีรัศมีแห่งผิวพรรณแพรวพราวอยู่ ฉันนั้น.

[๓๑๑] ครั้งนั้น สุสิมเทพบุตร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มี

พระภาคเจ้าปรารภถึงท่านพระสารีบุตรว่า

ท่านพระสารีบุตรคนรู้จักท่านดีว่า

เป็นบัณฑิตไม่ใช่คนมักโกรธ มักน้อย

สงบเสงี่ยม ฝึกฝนมาดี มีคุณงามอันพระ-

ศาสดาทรงนำมาสรรเสริญ เป็นผู้แสวงคุณ.

[๓๑๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคาถาตอบสุสิมเทพบุตรปรารภถึง

ท่านพระสารีบุตรว่า

สารีบุตรใคร ๆ ก็รู้จักว่าเป็นบัณฑิต

ไม่ใช่คนมักโกรธ มักน้อย สงบเสงี่ยม

อบรม ฝึกฝนมาดี จำนงอยู่ก็แต่กาลเป็น

ที่ปรินิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

อรรถกถาสุสิมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุสิมสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า ตุยฺหปิ โน อานนฺท สารีปุตฺโต รุจฺจติ ความว่า

พระศาสดามีพระประสงค์จะตรัสคุณของพระเถระ ก็ธรรมดาว่าคุณนี้ ไม่

สมควรกล่าวในสำนักของบุคคลที่ไม่ชอบกัน เพราะว่า คุณที่กล่าวในสำนัก

ของบุคคลที่ไม่ชอบกันนั้น จะกล่าวไม่ทันจบ. จริงอยู่ บุคคลผู้ไม่ชอบกันนั้น

เมื่อเขากล่าวคุณว่า ภิกษุชื่อโน้นมีศีล ก็จะกล่าวคำว่า ศีลของภิกษุนั้นเป็น

อย่างไร ภิกษุนั้นมีศีลอย่างใดหรือ ภิกษุอื่นที่มีศีลท่านไม่เคยเห็นหรือ เมื่อ

เขากล่าวคุณว่า ภิกษุชื่อโน้นมีปัญญา ก็จะกล่าวคำเป็นต้นว่า ปัญญาเป็น

อย่างไร ภิกษุอื่นที่มีปัญญานั้น ท่านไม่เคยเห็นหรือ ดังนี้ ก็จะทำอันตราย

แก่คาถาพรรณนาคุณ. ส่วนพระอานนทเถระ เป็นผู้ชอบพอของพระสารีบุตร

เถระ ได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้นอันประณีต ก็ถวายแก่พระเถระ ให้เด็กของ

อุปัฏฐากตนบรรพชา ให้ถืออุปัชฌาย์ในสำนักพระเถระ. แม้พระสารีบุตร

ก็กระทำเท่าพระอานนทเถระอย่างนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุไร เพราะเลื่อมใส

ในคุณทั้งหลายของกันและกัน. จริงอยู่ พระอานนทเถระ ดำริว่า พี่ชายของ

พวกเราบำเพ็ญบารมีมาถึงหนึ่งอสงไขยแสนกัป แทงตลอดปัญญา ๑๖ อย่าง

ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรม เลื่อมใสในคุณทั้งหลาย

ของพระเถระ จึงชอบใจรักใคร่พระเถระ. ฝ่ายพระสารีบุตรเถระก็ดำริว่า

พระอานนท์ทำกิจทุกอย่าง มีถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์เป็นต้น ที่เราพึงทำแด่

พระสัมมาสัมพุทธะ อาศัยอานนท์ เราจึงได้เข้าสมาบัติตามที่ปรารถนา ๆ แล้ว

เลื่อมใสในคุณทั้งหลายของท่าน จึงชอบใจรักใคร่พระอานนทเถระ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะตรัสคุณของพระสารีบุตร-

เถระ จึงทรงเริ่มในสำนักของพระอานนทเถระ. บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า

ตุยฺหปิ ปิอักษรลงในอรรถว่าประมวลความ. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ดูก่อน

อานนท์ สารีบุตรมีอาจาระ โคจร วิหารธรรม การก้าวไป การถอยกลับ

การแลเหลียว การคู้ การเหยียด ชอบใจเรา ชอบใจพระอสีติมหาสาวก

ชอบใจมนุษยโลกทั้งเทวโลก ชอบใจแม้แก่เธอ. แต่นั้น พระเถระก็มีใจยินดี

ประหนึ่งนักมวยปล้ำที่มีกำลัง ได้ช่องในช่องผ้า ดำริว่า พระศาสดามีพระ-

ประสงค์จะให้กล่าวคุณของสหายเรา เราจักได้กล่าวคุณของพระสารีบุตรเถระ

ของพวกเรา เหมือนถอนต้นหว้าใหญ่ อันเป็นธงแห่งชมพูทวีปเสียในวันนี้

เหมือนนำดวงจันทร์ออกจากช่องพลาหก [เมฆฝน] แสดงอยู่ฉะนั้น เมื่อจะนำ

คำสนทนาของบุคคลทั้งหลาย ด้วยบททั้ง ๔ ก่อนคำอื่นมา จึงทูลว่า กสฺส หิ

นาม ภนฺเต อพาลสฺส ดังนี้เป็นต้น จริงอยู่ คนเขลา ชื่อว่า คนโกรธ

เพราะเขลา ชื่อว่า คนหลง เพราะเป็นคนมีโทสะ. ชื่อว่า มีจิตวิปลาส คือ บ้า

เพราะโมหะ ย่อมไม่รู้คุณว่าคุณ โทษว่าโทษ หรือว่า ผู้นี้เป็นพระพุทธเจ้า

ผู้นี้เป็นสาวก. ธรรมดาว่า คนที่ไม่เขลาเป็นต้น ย่อมรู้. เพราะฉะนั้น พระ-

อานนท์เถระจึงทูลว่า อพาลสฺส เป็นต้น. บทว่า น รุเจยฺย ความว่า

ก็พระเถระนั้น ไม่พึงชอบใจแก่เหล่าคนเขลาเป็นต้นเท่านั้น พระเถระไม่พึง

ชอบใจแก่ใครอื่น พระอานนทเถระ ครั้นนำถ้อยคำสนทนาของบุคคลมาฉะนี้

แล้ว เมื่อจะกล่าวคุณตามเป็นจริง ด้วยบท ๑๖ บท จึงทูลว่า ปณฺฑิโต ภนฺเต

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความ

เป็นบัณฑิต คำนี้เป็นชื่อของท่านผู้ตั้งอยู่ในความฉลาด ๔ อย่าง. สมจริงดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ โดยเหตุใดแล ภิกษุย่อม

เป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอายตนะ ๑ เป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

เป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ ๑ ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเพียงนั้นแล

ภิกษุนั้น ควรเรียกว่า ภิกษุบัณฑิต ดังนี้. ในบทว่า มหาปญฺโ เป็นต้น

ความว่า ประกอบด้วยมหาปัญญาเป็นต้น. ความมีปัญญามากเป็นต้น ในบทว่า

มหาปญฺโ เป็นต้นนั้น ต่างกันดังนี้. มหาปัญญาเป็นไฉน ชื่อว่า มหาปัญญา

เพราะกำหนดถือศีลขันธ์อย่างใหญ่ ชื่อว่า มหาปัญญา เพราะกำหนดถือ

สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์อย่างใหญ่ ชื่อว่า

มหาปัญญา เพราะกำหนดถือฐานะและอฐานะอย่างใหญ่ วิหารสมาบัติอย่าง

ใหญ่ อริยสัจอย่างใหญ่ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาทอย่างใหญ่

อินทรีย์และโพชฌงค์อย่างใหญ่ อริยมรรคอย่างใหญ่ สามัญญผลอย่างใหญ่

อภิญญาอย่างใหญ่ ปรมัตถนิพพานอย่างใหญ่ ก็มหาปัญญานั้นปรากฏแก่

พระเถระ เมื่อพระศาสดา เสด็จลงจากเทวโลก ประทับยืน ณ ประตู

สังกัสสนคร ตรัสถามปัญหา ชื่อว่า ปุถุชนปัญจกะ แล้วทูลถวายวิสัชนา

ปัญหานั้น. ปุถุปัญญาเป็นไฉน. ชื่อว่า ปุถุปัญญา เพราะญาณเป็นไปในขันธ์

ต่าง ๆ แน่นหนา. . . เป็นไปในธาตุต่าง ๆ แน่นหนา . . . ในอรรถต่าง ๆ

แน่นหนา. . . ในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ แน่นหนา. . . ในความหน่วงสุญญตา

ต่าง ๆ แน่นหนา. . . ในอรรถธรรมนิรุกติปฏิภาณแน่นหนา. . . ในสีลขันธ์

ต่าง ๆ แน่นหนา. . . ในสมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ

ทัสสนขันธ์ต่าง ๆ แน่นหนา. . . ในฐานะและอฐานะต่าง ๆ แน่นหนา. . . ใน

วิหารสมาบัติต่าง ๆ แน่นหนา. . . ในอริยสัจต่าง ๆ แน่นหนา. . . ในสติ-

ปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ต่าง ๆ แน่นหนา. . .

ในอริยมรรค สามัญญผล อภิญญาต่าง ๆ แน่นหนา. . . ญาณเป็นไปใน

ปรมัตถนิพพาน ล่วงธรรมที่ทั่วไปแก่ชนต่าง ๆ แน่นหนา. ชื่อว่า หาสปัญญา

เป็นไฉน ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริง แช่มชื่น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

ยินดี ปราโมทย์ บำเพ็ญศีล บำเพ็ญอินทรียสังวร บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา

ชาคริยานุโยค สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ

ทัสสนขันธ์. ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง ปราโมทย์

แทงตลอดฐานะและอฐานะ. ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง

บำเพ็ญวิหารสมาบัติ. ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง

แทงตลอดอริยสัจ. ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะอบรมสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน

อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค. ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะเป็น

ผู้มากด้วยความร่าเริง กระทำให้แจ้งสามัญญผล แทงตลอดอภิญญา. ชื่อว่า

หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง มากด้วยความแช่มชื่น ยินดี

ปราโมทย์ กระทำให้แจ้งปรมัตถนิพพาน. ชื่อว่า หาสปัญญา ก็เพราะพระเถระ

ครั้งเป็นดาบส ชื่อนารท กระทำความปรารถนาเป็นพระอัครสาวกแทบเบื้อง

พระบาท ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี นับตั้งแต่ครั้งนั้นมา

ก็เป็นผู้มากด้วยความร่าเริง กระทำการบำเพ็ญศีลเป็นต้น. ชวนปัญญาเป็นไฉน

ก็เพราะปัญญาพิจารณาเห็นรูป อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต

ปัจจุบัน ทั้งไกล ทั้งใกล้ รูปทั้งหมดโดยเป็นของไม่เที่ยง แล่นไปเร็ว. ชื่อว่า

ชวนปัญญา ก็เพราะปัญญาพิจารณาเห็นรูป โดยความเป็นทุกข์ แล่นไปเร็ว

โดยความเป็นอนัตตา แล่นไปเร็ว. ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาเห็น

เวทนา ฯลฯ วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน

วิญญาณทั้งหมด โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล่นไปเร็ว.

ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาจักษุ ฯลฯ ชรามรณะ ทั้งที่เป็นอดีต

อนาคต ปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล่น

ไปเร็ว. ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาใคร่ครวญแจ่มชัดจะแจ้งว่า รูป

ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะอรรถสิ้นไป ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

ทุกข์ เพราะอรรถว่าน่ากลัว ชื่อว่า อนัตตา เพราะหาแก่นสารมิได้ แล่นไปเร็วใน

พระนิพพานเป็นส่วนดับแห่งรูป. ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาใคร่ครวญ

แจ่มชัดจะแจ้งว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรามรณะ

ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป ฯลฯ แล่น

ไปเร็วในพระนิพพาน เป็นส่วนดับแห่งชรามรณะ. ชื่อว่าชวนปัญญาก็เพราะ

พิจารณาใคร่ควรญแจ่มชัดจะแจ้งว่า รูป ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน ฯลฯ

วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรามรณะ ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิด

ขึ้น มีอันสิ้นไป เสื่อมไป ดับไปเป็นธรรมดา แล่นไปเร็วในพระนิพพานเป็น

ส่วนดับแห่งชรามรณะ. ติกขปัญญาเป็นไฉน. ชื่อว่า ติกขปัญญา เพราะตัดกิเลส

ทั้งหลายได้เร็ว. ชื่อว่า ติกขปัญญา เพราะไม่พักไว้ซึ่งกามวิตก พยาบาทวิตก

วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ไม่พักอกุศลบาปธรรมที่เกิดขึ้นอีก ไม่พัก ละ บรรเทา

ทำให้สิ้น ทำให้ไม่มี ซึ่งราคะโทสะโมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ

อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ

ที่เกิดขึ้นแล้ว กิเลสทุจริตทั้งหมด อภิสังขารทั้งหมด กรรมที่ให้ถึงสังสารภพ

ทั้งหมด. ชื่อว่า ติกขปัญญาเพราะปัญญาที่บรรลุ กระทำให้แจ้งสัมผัสมรรค ๔

สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ณ ที่นั่งแห่งเดียว. เมื่อพระผู้มีพระ.

ภาคเจ้ากำลังทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตรแก่ทีฆนขปริพาชก หลานชาย พระ-

เถระยืนถวายงานพัด ก็ตัดกิเลสได้ทั้งหมด ชื่อว่ามีปัญญาแหลม ตั้งแต่แทง

ตลอดสาวกบารมีญาณ. ด้วยเหตุนั้น พระอานนท์เถระจึงทูลว่า ติกฺขปญฺโ

ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรมีปัญญาแหลม

ดังนี้. นิพเพธิกปัญญา เป็นไฉน ชื่อว่านิพเพธิกปัญญา เพราะบางคนใน

โลกนี้ มากด้วยความหวาดสะดุ้งเอือมระอาไม่ยินดีนัก เบือนหน้าหนีไม่ไยดี

ในสังขารทั้งปวง เจาะทำลายกองโลภะ ที่ไม่เคยเจาะไม่เคยทำลาย ในสังขาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

ทั้งปวง. ชื่อว่า นิพเพธิกปัญญา เพราะเจาะทำลายกองโทสะกองโมหะ โกธะ

อุปนาหะ ฯลฯ ที่ไม่เคยเจาะไม่เคยทำลายกรรมที่ให้ถึงภพทั้งหมด. บทว่า

อปฺปิจฺโฉ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะอย่างนี้ว่า ปกปิดคุณที่มีอยู่ รู้จัก

ประมาณในการรับ นี่เป็นลักษณะของผู้มีความมักน้อย. บทว่า สนฺตุฏฺโ ได้แก่

เป็นผู้ประกอบด้วยสันโดษ ๓ ในปัจจัย ๔ คือ ยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ

ยถาสารุปปสันโดษ. บทว่า ปวิวิตฺโต ได้แก่ผู้ได้วิเวก ๓ เหล่านี้ คือ กายวิเวก

ของผู้มีกายตั้งอยู่ในความสงัด ผู้ยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวก ของผู้มีจิตบริสุทธิ์

ผู้ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง และอุปธิวิเวก ของเหล่าบุคคลผู้ไร้อุปธิผู้ถึงวิสังขาร.

บทว่า อสสฏฺโ ได้แก่ผู้เว้นจากการคลุกคลี ๕ อย่างเหล่านี้ คือ คลุกคลีด้วย

การฟัง คลุกคลีด้วยการเห็น คลุกคลีด้วยการสนทนา คลุกคลีด้วยการบริโภค

คลุกคลีด้วยกาย. การคลุกคลี ๕ อย่างนี้ ย่อมเกิดกับบุคคล ๘ จำพวก คือ พระ-

ราชา อมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ

ภิกษุณี ความคลุกคลีแม้ทั้งหมดนั้นไม่มีแก่พระเถระ เหตุนั้น พระเถระจึงว่าผู้ไม่

คลุกคลี. บทว่า อารทฺธวิริโย ได้แก่ เป็นผู้ประคองความเพียร มีความเพียร

บริบูรณ์ในข้อนั้น ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะเดิน

ติดมาถึงขณะยืน ไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะยืน ติดมาถึงขณะนั่ง ไม่ยอมให้กิเลส

ที่เกิดขณะนั่ง ติดมาถึงขณะนอน. กิเลสเกิดในที่นั้น ๆ ก็ข่มไว้ได้ในที่นั้น ๆ นั่น

แหละ. ก็พระเถระมิได้เหยียดหลังบนเตียงมาถึง ๔๘ ปี. พระอานนทเถระ

หมายถึงข้อนั้นจึงทูลว่า อารทฺธวิริโย ผู้ปรารภความเพียร. บทว่า วตฺตา

ได้แก่เป็นผู้กล่าวกำจัดโทษ. พระเถระเห็นความประพฤติทรามของเหล่าภิกษุ

ก็ไม่ผัดเพี้ยนว่า ค่อยพูดกันวันนี้ พูดกันวันพรุ่งนี้ อธิบายว่า ท่านสั่งสอน

พร่ำสอนในที่นั้น ๆ เลย. บทว่า วจนกฺขโม ได้แก่ ย่อมทนฟังคำของผู้

อื่น จริงอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งชอบสอนผู้อื่น แต่ตัวเองถูกผู้อื่นสอนเข้า ก็โกรธ.

ส่วนพระเถระให้โอวาทแก่ผู้อื่นด้วย ตัวเองแม้ถูกโอวาท ก็ยอมรับด้วยเศียร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

เกล้า เล่ากันมาว่า วันหนึ่ง สามเณรอายุ ๗ ขวบ เรียนพระสารีบุตรเถระว่า

ท่านสารีบุตรขอรับ ชายผ้านุ่งของท่านห้อยลงมาแน่ะ. พระเถระไม่พูดอะไรเลย

ไป ณ ที่เหมาะแห่งหนึ่ง นุ่งเรียบร้อยแล้วก็มา ยืนประณมมือพูดว่า เท่านี้

เหมาะไหม อาจารย์ พระเถระกล่าวว่า ผู้บวชในวันนั้น เป็นคนดี อายุ ๗ ขวบ

โดยกำเนิด ถึงผู้นั้นพึงสั่งสอนเรา เราก็ยอมรับด้วยกระหม่อมดังนี้. บทว่า

โจทโก ได้แก่สั่งสอนตามแบบธรรมเนียมว่า ธรรมดาว่าภิกษุ เห็นวิติกกมโทษ

ในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม พึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่มอย่างนี้

เดินอย่างนี้ ยืนอย่างนี้ นั่งอย่างนี้ เคี้ยวอย่างนี้ ฉันอย่างนี้. บทว่า ปาปครหี

ได้แก่ไม่เห็นแก่คนชั่ว ไม่ฟังคำคนชั่วเหล่านั้น ไม่ยอมอยู่ในจักรวาลเดียวกับ

คนชั่วเหล่านั้น. พระอานนทเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรตำหนิ

บาป ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ตำหนิคนชั่วอย่างนี้บ้างว่า

มา เม กทาจิ ปาปิจฺโฉ กุสีโต หีนวีริโย

อปฺปสฺสุโต อนาทาโน สมนฺตา กตฺถจิ อหุ

ในกาลไหน ๆ ขอเพื่อนสพรหมจารี

ของเราอย่าเป็นผู้มีความปรารถนาลามก

เกียจคร้าน หย่อนความเพียร มีสุตะน้อย

ไม่ยึดถือรอบด้านไม่มีในที่ไหน ๆ เลย.

ตำหนิธรรมฝ่ายชั่วอย่างนี้บ้างว่า ธรรมดาว่าสมณะไม่พึงตกอยู่ใน

อำนาจราคะ ในอำนาจโทสะและโมหะ ราคะโทสะโมหะ ที่เกิดขึ้นแล้ว พึง

ละเสีย ดังนี้. เมื่อท่านพระอานนท์กระทำการประกาศคุณตามความเป็นจริง

ของพระเถระด้วยบท ๑๖ บท อย่างนี้แล้ว บุคคลชั่วไร ๆ ก็อย่าได้กล่าวว่า

ทำไมพระอานนท์ไม่ได้กล่าวคุณสหายที่รักของตน คำอะไรที่พระอานนท์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

กล่าวแล้ว ก็เป็นอย่างนั้นนั่นแล. พระอานนท์นั้นเป็นสัพพัญญู หรือพระ-

ศาสดา เมื่อทรงกระทำการกล่าวคุณนั้น ที่ไม่กำเริบเป็นคำตรัสของพระ

สัพพัญญูพุทธะ ก็เท่ากับประทับแหวนตราชินลัญจกร [ตราพระชินเจ้า] จึง

ตรัสว่า เอวเมต ดังนี้เป็นต้น. เมื่อพระตถาคตและพระอานนท์เถระกำลัง

กล่าวคุณของพระมหาสาวกอยู่ เหล่าภุมมเทวดา เทวดาผู้อยู่ภาคพื้นดินก็ลุกขึ้น

กล่าวคุณด้วยบท ๑๖ บทเหล่านั้นเหมือนกัน. แต่นั้นเหล่าอากาสัฏฐกเทวดา

คือ เทวดาผู้อยู่ในอากาศ เทวดาฝนเย็น เทวดาฝนร้อน เทวดาชั้นจาตุม-

มหาราชตลอดถึงอกนิฏฐพรหมโลก ก็ลุกขึ้นกล่าวคุณด้วยบท ๑๖ บทเหล่า

นั้นเหมือนกัน. เทวดาในหมื่นจักรวาลตั้งต้นแต่จักรวาลหนึ่ง ก็ลุกขึ้นกล่าว

โดยอุบายนั้น. ครั้งนั้น สุสิมเทพบุตร สัทธิวิหาริกของท่านพระสารีบุตร

ดำริว่า เทพบุตรเหล่านี้ ละกิฬาในงานนักษัตรของตน ๆ เสียแล้วดำรงอยู่ใน

ที่นั้น กล่าวคุณอุปัชฌาย์ของเราเท่านั้น จำเราจะไปสำนักพระตถาคต กระทำ

การกล่าวคุณนั้นนั่นแหละ ซึ่งเป็นคำของเทวดา. เทพบุตรนั้น ก็ได้กระทำ

อย่างนั้น เพื่อจะแสดงความข้อนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข สุสิโม เทวปุตฺโต

ดังนี้เป็นต้น. ในบทว่า อุจฺจาวจา ในที่อื่น ๆ ประณีต ท่านเรียกว่าอุจจะ

(สูง) เลวท่านเรียกว่า อวจะ (ต่ำ) แต่ในสูตรนี้ บทว่า อุจฺจาวจา ได้แก่วรรณะ

และรัศมีของวรรณะ ต่าง ๆ อย่าง. เขาว่า รัศมีแห่งวรรณะของเทวบริษัทนั้น

ปรากฏชัดมี ๔ อย่าง คือที่เขียวก็เขียวจัด ที่เหลืองก็เหลืองจัด ที่แดงก็แดง

จัด ที่ขาวก็ขาวจัด ด้วยเหตุนั้นนั่นแล อุปมา ๔ ข้อจึงมาว่า เสยฺยถาปินาม

เป็นต้น. ในอุปมา ๔ ข้อนั้น บทว่า สุโภ แปลว่าดี. บทว่า ชาติมา

แปลว่า ถึงพร้อมด้วยชาติ. บทว่า สุปริกมฺมกโต ได้แก่เจียระนัยดีแล้ว

ด้วยบริกรรมมีล้างเป็นต้นวางไว้บนผ้ากัมพลเหลือง. บทว่า เอวเมว ความว่า

มณีทั้งหมดเริ่มส่องประกายพร้อมกัน ดังมณีที่วางบนผ้ากัมพลแดง. บทว่า

เนกฺข ได้แก่เครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำเกินเนื้อห้า. จริงอยู่ เครื่องประดับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

นั้น ย่อมเหมาะแก่การย้ำและชัด. บทว่า ชมฺโพนท ได้แก่ทองที่เกิดในแม่

น้ำที่ไหลไปทางกึ่งชมพู่ใหญ่ หรือเมื่อรสผลชมพู่ใหญ่จมดิน หน่อทองคำผุดขึ้น

อธิบายว่า เครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำนั้น. บทว่า กมฺมารปุตฺต อุกฺกามุ-

เขสุ กุสล สมฺปหฏฺ ได้แก่ ที่บุตรช่างทองผู้ฉลาด หลอมทางปากเบ้า

สุกคว้างแล้ว. ในคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ท่านถือเอาทองชมพูนุท ที่ยังไม่ทำรูปพรรณ.

แต่ในพระสูตรนี้ ท่านถือเอาทองที่ทำรูปพรรณแล้ว. บทว่า วิทฺเธ แปลว่า

อยู่ไกล. บทว่า เทเว ได้แก่ อากาศ. บทว่า นภ อพฺภุสฺสุกฺกมาโน

ได้แก่ โลดขึ้นสู่อากาศ. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงภาพดวงอาทิตย์อ่อน ๆ. บทว่า

โสรโต ได้แก่ ประกอบด้วยความสงบเสงี่ยม. บทว่า ทนฺโต ได้แก่

หมดพยศ. บทว่า สตฺถุวณฺณภโต แปลว่า มีคุณที่พระศาสดาทรงนำมาแล้ว.

จริงอยู่ พระศาสดาประทับนั่งท่ามกลางบริษัท ๘ ทรงนำคุณของพระเถระมา

โดยนัยว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะ ดังนี้

เป็นต้น. พระเถระก็ชื่อว่า เป็นผู้มีคุณที่พระศาสดาทรงนำมาแล้ว. บทว่า

กาล กงฺขติ ได้แก่ ปรารถนากาลเป็นที่ปรินิพพาน. จริงอยู่ พระขีณาสพ

ย่อมไม่กระหยิ่มยินดีความตาย ไม่มุ่งหมายความเป็น แต่ปรารถนา อธิบายว่า

ยืนคอยดูกาลเวลา เหมือนบุรุษยืนคอยค่าจ้างไปวันหนึ่ง ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า

นาภินนฺทามิ มรณ นาภินนฺทามิ ชีวิต

กาล จ ปาฏิกงฺขามิ นิพฺพิส กติโก ยถา

เราไม่ยินดีความตาย เราไม่ยินดี

ความเป็นอยู่ แต่เรารอเวลา [ปรินิพพาน]

เหมือนลูกจ้าง รอค่าจ้างฉะนั้น.

จบอรรถกถาสุสิมสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

๑๐. นานาติตถิยสูตร

[๓๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อัน

เป็นที่ให้เหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์ ณ กาลครั้งหนึ่ง เมื่อล่วงปฐมยาม

พวกเทพบุตรผู้เป็นสาวกเดียรถีย์ต่าง ๆ เป็นอันมาก คือ อสมเทพบุตร

สหลีเทพบุตร นิกเทพบุตร อาโกฏกเทพบุตร เวฏัมพรีเทพบุตร มาณวคามิย-

เทพบุตร มีวรรณะงามยิ่ง ทำพระวิหารเวฬุวันให้สว่างทั่วแล้ว เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงอภิวาท แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง.

[๓๑๔] อสมเทพบุตร ครั้นยืนอยู่ ณ ส่วนที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ได้

กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรารภถึงท่านปูรณะกัสสปว่า

ครูปูรณะกัสสป เพียงแต่มองไม่เห็น

บาปหรือบุญของตน เพราะเหตุทสัตว์ถูก

ฟัน ถูกฆ่า ถูกโบย เสื่อมเสีย ในโลกนี้

เท่านั้น ท่านบอกให้วางใจเสีย ท่านย่อม

ควรที่จะได้รับยกย่องว่าเป็นศาสดา.

[๓๑๕] สหลีเทพบุตร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

ปรารภถึงท่านมักขลิโคศาล ต่อไปว่า

ครูมักขลิโคศาล สำรวมตนดีแล้ว

เพราะรังเกียจบาปด้วยตบะ ละวาจาที่ก่อ

ให้เกิดความทะเลาะกับคนเสีย เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

สม่ำเสมอ งดเว้นจากสิ่งที่มีโทษ พูดจริง

ท่านมักขลิโคศาล จัดว่าเป็นผู้คงที่ ไม่

กระทำบาปโดยแท้.

[๓๑๖] นิกเทพบุตร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

ปรารภถึงท่านนิครนถ์ นาฏบุตร ต่อไปว่า

ครูนิครนถ์ นาฏบุตร เป็นผู้เกลียด

บาป มีปัญญารักษาตัว เห็นภัยในสงสาร

เป็นผู้ระมัดระวังทั้ง ๔ ยาม บอกสิ่งที่ตน

เห็นแล้วและฟังแล้ว น่าจะไม่ใช่ผู้หยาบช้า

โดยแท้.

[๓๑๗] อาโกฏกเทพบุตร ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

ปรารภถึงพวกเดียรถีย์ต่าง ๆ ต่อไปอีกว่า

ท่านปกุธะกัจจายนะ ท่านนิครนถ์

นาฏบุตร และพวกท่านมักขลิโคศาล

ท่านปูรณะกัสสปเหล่านี้ ล้วนแต่เป็น

ศาสดาของหมู่ บรรลุผลแห่งสมณธรรม

แล้ว ท่านเหล่านั้นคงเป็นผู้ไม่ไกลไปจาก

สัตบุรุษแน่นอน.

[๓๑๘] เวฏัมพรีเทพบุตร ได้กล่าวตอบอาโกฏกเทพบุตรด้วยคาถาว่า

สุนัขจิ้งจอกสัตว์เลว ๆ ใคร่จะตีตน

เสมอราชสีห์ แม้จะไม่ใช่สัตว์ขี้เรื้อน แต่

ก็มีบางคราวที่ทำตนเทียมราชสีห์ ครูของ

หมู่เปลือยกาย พูดคำเท็จ มีมรรยาทน่า-

รังเกียจ จะเทียบกับสัตบุรุษย่อมไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

[๓๑๙] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าสิงเวฏัมพรีเทพบุตรแล้วได้กล่าว

คาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

สัตว์เหล่าใด ขวนขวาย ในความเกลียด

บาปด้วยตบะ รักษาความสงบสงัดอยู่ ติด

อยู่ในรูป ปรารถนาเทวโลก สัตว์เหล่านั้น

ย่อมสั่งสอนชอบ เพื่อปรโลกโดยแท้.

[๓๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี้เป็นมารตัว

ร้ายกาจ จึงได้ตรัสคาถาตอบมารผู้มีบาปว่า

รูปใด ๆ จะอยู่ในโลกนี้หรือโลกอื่น

และจะอยู่ในอากาศ มีรัศมีรุ่งเรืองก็ตามที่

รูปทั้งหมดเหล่านั้น อันมารสรรเสริญแล้ว

วางดักสัตว์ไว้แล้ว เหมือนเขาใส่เหยื่อล่อ

เพื่อฆ่าปลา ฉะนั้น.

[๓๒๑] ลำดับนั้น มาณวคามิยเทพบุตร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ใน

สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ภูเขาเวปุละ เขากล่าวกันว่า สูงเป็น

เยี่ยมกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในกรุงราชคฤห์

เสตบรรพตเป็นเลิศกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในป่า

หิมวันต์ ดวงอาทิตย์เป็นเลิศกว่าสิ่งที่ไป

ในอากาศ มหาสมุทรเป็นเลิศกว่าห้วงน้ำ

ทั้งหลาย ดวงจันทร์เป็นเลิศกว่าดวงดาว

ทั้งหลาย พระพุทธเจ้ากล่าวกันว่าเป็นเลิศ

กว่าประชุมในทั้งโลก พร้อมทั้งเทวโลก.

จบนานาติตถิยสูตร

จบ นานาติตถิยวรรค ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

อรรถกถานานาติตถิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนานาติตถิยสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า นานาติตฺถิยสาวกา ความว่า เทพบุตรสาวกของเดียรถีย์

ต่าง ๆ เหล่านั้น เป็นกัมมวาที นับถือกรรม เพราะฉะนั้น จึงกระทำบุญ

ทั้งหลายมีทานเป็นต้น บังเกิดในสวรรค์ เทพบุตรเหล่านั้น สำคัญว่าเรา

บังเกิดในสวรรค์ เพราะเลื่อมใสในศาสดาของตน จึงมาด้วยหมายใจว่าเราจะ

ไปยืนในสำนักของพระทศพล กล่าวคุณศาสดาของเรา แล้วกล่าวด้วยคาถา

องค์ละ ๑ คาถา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉินฺทิตมาริเต จ หตชานีสุ

ได้แก่ ในการโบย และในการเสื่อมทรัพย์ทั้งหลาย. ด้วยบทว่า ปุญฺ วา

ปน อสมเทพบุตร ไม่ตามพิจารณาแม้แต่บุญของตน กล่าวโดยย่อว่า วิบาก

ของบุญและบาปไม่มี ดังนี้. บทว่า ส เว วิสฺสาสมาจิกฺขิ ความ อสม-

เทพบุตรนั้นแล เมื่อกล่าวว่า วิบาก ทั้งของบาปที่ทำแล้ว ทั้งของบุญที่ทำแล้ว

ไม่มี ดังนี้ จึงบอกที่พักอาศัย ที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า

ศาสดาปุรณกัสสป ควรแก่การนับถือ การไหว้ การบูชา. บทว่า ตโปชิคุจฺฉาย

ได้แก่ เพราะเกลียดบาป ด้วยตปะคือการทำกายให้ลำบาก. บทว่า สฺสวุโต

ได้แก่ ประกอบแล้ว หรือปิดแล้ว. บทว่า เชคุจฺฉี ได้แก่ เกลียดบาป

ด้วยตปะ. บทว่า นิปโก ได้แก่ บัณฑิต. บทว่า จาตุยามสุสวุโต ได้แก่

สำรวมด้วยดีด้วยาม ๔ ส่วนทั้ง ๔ เหล่านี้ คือ ผู้ห้ามน้ำทั้งปวง ผู้ประกอบ

ในการห้ามบาปทั้งปวง ผู้กำจัดบาปทั้งปวง ผู้ห้ามบาปทั้งปวงถูกต้อง ชื่อว่า

ยาม ๔. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพวาริวาริโต จ ได้แก่ ห้ามน้ำ

ทั้งหมด อธิบายว่า น้ำเย็นทั้งหมดห้ามขาด เขาว่านิครนถนาฏบุตรนั้น สำคัญ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

ว่ามีตัวสัตว์ในน้ำเย็น เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช้น้ำเย็นนั้น. บทว่า สพฺพวาริ-

ยุตฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยการห้ามบาปทุกอย่าง. บทว่า สพฺพวาริธุโต

ได้แก่ กำจัดบาปเสียแล้ว ด้วยการห้ามบาปทุกอย่าง. บทว่า สพฺพวาริผุฏฺโ

ได้แก่ ผู้อันการห้ามบาปทั้งปวงถูกต้องแล้ว. บทว่า ทิฏฺ สุตญฺจ อาจิกฺข

ได้แก่ บอกว่าสิ่งที่เห็นเราเห็นแล้ว ข้อที่ฟัง เราฟังแล้วไม่ปิดเลย. บทว่า

นหิ นูน กิพฺพิสี ความว่า ศาสดาเห็นปานนั้น ย่อมชื่อว่า เป็นผู้กระทำ

ความชั่วร้าย. บทว่า นานาติตฺถิเย ความว่า เขาว่า อาโกฏกเทพบุตรนั้น

เป็นอุปัฏฐากของเหล่าเดียรถีย์ต่าง ๆ นั้นแล เพราะฉะนั้น เขาจึงกล่าวปรารภ

เดียรถีย์เหล่านั้น. บทว่า ปกุทฺธโก กาติยาโน ได้แก่ ศาสดาชื่อปกุธ-

กัจจายนะ. บทว่า นิคนฺโถ ได้แก่ ศาสดาชื่อนาฎบุตร. บทว่า มกฺขลิปูรณาเส

ได้แก่ ศาสดาชื่อมักขลิ และชื่อปูรณะ. บทว่า สามญฺปฺปตฺตา ได้แก่

ถึงที่สุดในสมณธรรม. ด้วยบทว่า นหิ นูน เต อาโกฏกเทพบุตรกล่าวว่า

ศาสดาเหล่านั้นไม่ไกลไปจากสัตบุรุษทั้งหลายเลย ศาสดาเหล่านั้นนั่นแล จึง

ชอบที่จะเป็นสัตบุรุษในโลก. บทว่า ปจฺจภาสิ ความว่า เวฏันพรีเทพบุตร

คิดว่า อาโกฏกเทพบุตรผู้นี้ ยืนกล่าวคุณของศาสดาชีเปลือย ผู้ไร้สิริเหล่านี้

ในสำนักของพระทศพล ดังนั้น เราจักกล่าวโทษของศาสดาเหล่านั้น แล้วจึง

กล่าวโต้ตอบ. บทว่า สห รจิตมตฺเตน ได้แก่ พร้อมด้วยเหตุเพียงแต่ง

ถ้อยคำ. บทว่า ฉโว สิงฺคาโล ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกตาบอด ต่ำทราม.

บทว่า โกฏฺโก เป็นไวพจน์ของคำนั้นนั่นแหละ. บทว่า สงฺกสฺสราจาโร

ได้แก่ มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ. บทว่า น สต สริกฺขโก ความว่า

ศาสดาของท่านจะเทียมสัตบุรุษผู้เป็นบัณฑิตหาได้ไม่ ท่านก็เสมือนสุนัขจิ้งจอก

ตาบอด ยังจะทำเดียรถีย์ให้เป็นราชสีห์หรือ. บทว่า อนฺวาวิสิตฺวา ความว่า

มารผู้มีบาป ดำริว่า เวฎัมพรีเทพบุตรผู้นี้ กล่าวโทษของเหล่าศาสดาเห็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

ปานนั้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ เราจะให้เขากล่าวคุณด้วยปากนั่นแหละ จึงเข้า

สิงในร่างของเวฎัมพรีเทพบุตรนั้น น้อมใจตามไป ชื่อว่า เข้าไปอาศัยอยู่ ด้วย

ประการฉะนี้. บทว่า อายุตฺตา ได้แก่ ขวนขวายขมักเขม้น ในอันเกลียดตปะ.

บทว่า ปาลย ปวิเวก แปลว่า รักษาความสงัด ได้ยินว่า เดียรถีย์เหล่านั้น

ถอนผมตนเอง ด้วยคิดว่า เราจักรักษาความสงัดจากการแต่งผม เปลือยกาย

เที่ยวไป ด้วยคิดว่า เราจักรักษาความสงัดจากผ้า กินอาหารที่พื้นดินหรือที่มือ

ดุจสุนัข ด้วยคิดว่า เราจักรักษาความสงัดจากอาหาร นอนบนหนามเป็นต้น

ด้วยคิดว่า เราจักรักษาความสงัดจากที่นั่งที่นอน. บทว่า รูเป นิวิฏฺา

ได้แก่ ตั้งอยู่ในรูป ด้วยตัณหาและทิฐิ. บทว่า เทวโลกาภินนฺทิโน

ได้แก่ ปรารถนาเทวโลก. บทว่า มาติยา ได้แก่ สัตว์ที่ต้องตาย มารผู้มีบาป

กล่าวว่า เหล่าเดียรถีย์ย่อมสั่งสอนสัตว์ที่จะต้องตายเหล่านั้นแหละ โดยชอบ

เพื่อประโยชน์แก่ปรโลก. บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงระลึกว่า เทพบุตรผู้นี้ กล่าวโทษของศาสดาเหล่านี้ก่อนแล้ว บัดนี้ กลับ

มากล่าวคุณ ผู้นี้เป็นใครหนอ แล้วก็ทรงทราบ. บทว่า เย จนฺตลิกฺขสฺมิ

ปภาสวณฺณา ความว่า บรรดารูปรัศมีดวงจันทร์ รัศมีดวงอาทิตย์ ประกาย

เพชรพลอย รุ้งกินน้ำ และดวงดาวทั้งหลาย รูปเหล่าใดมีวรรณะสว่างไสว

ในท้องฟ้า. บทว่า สพฺเพว เต เต ได้แก่ รูปเหล่านั้นทั้งหมด อันท่าน

สรรเสริญแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกมารว่า นมุจิ. ด้วยบทว่า อามิสว

มจฺฉาน วธาย ขิตฺตา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มารย่อมเหวี่ยงเหยื่อ

ติดปลายเบ็ด เพื่อต้องการฆ่าปลาทั้งหลาย ฉันใด ท่านกล่าวสรรเสริญ

หว่านรูปเหล่านั้นก็เพื่อมัดสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น. บทว่า มาณวคามิโย

ความว่า ได้ยินว่า เทพบุตรองค์นี้ เป็นพุทธอุปัฏฐาก. บทว่า ราชคหิยาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

ได้แก่ ภูเขาในกรุงราชคฤห์. บทว่า เสโต ได้แก่ เขาไกรลาส. บทว่า

อฆคามิน ได้แก่ ที่โคจรไปในอากาศ. บทว่า อุทธีน ได้แก่ รองรับน้ำ.

ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภูเขาวิบูลบรรพตประเสริฐสุด แห่งบรรดาภูเขาที่ตั้งอยู่

ในกรุงราชคฤห์ ภูเขาไกรลาสประเสริฐสุด แห่งบรรดาภูเขาในป่าหิมพานต์

ดวงอาทิตย์ประเสริฐสุด แห่งบรรดาสภาวะที่โคจรไปในอากาศ สมุทร [ทะเล]

ประเสริฐสุด แห่งบรรดาสภาวะที่รองรับน้ำ ดวงจันทร์ประเสริฐสุด แห่ง

บรรดาดวงดาวทั้งหลาย ฉันใด พระพุทธเจ้าก็ประเสริฐสุด แห่งโลกพร้อม

ทั้งเทวโลก ฉันนั้น.

จบอรรถกถานานาติตถิยสูตร ที่ ๑๐

วรรคที่ ๓

เทวปุตตสังยุตจบเพียงเท่านี้

พระสูตรในนานาติตถิยวรรคที่ ๓ นี้ คือ

๑. สิวสูตร ๒. เขมสูตร ๓. เสรีสูตร ๔. ฆฏิการสูตร ๕. ชันตุสูตร

๖. โรหิตัสสสูตร ๗. นันทสูตร ๘. นันทิวิสาลสูตร ๙. สุสิมสูตร

๑๐. นานาติตถิยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

จบ เทวปุตตสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

โกสลสังยุต

ปฐมวรรค

๑. ทหรสูตร

ว่าด้วยของ ๔ อย่างไม่ควรดูหมิ่น

[๓๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศล

ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงได้ทรงปราศรัยกับพระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงประทับนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๓๒๓] พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า แม้

ท่านพระโคดมทรงปฏิญาณหรือไม่ว่า ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอย่างยอด

เยี่ยม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนมหาบพิตร ก็พระองค์เมื่อจะ

ตรัสโดยชอบก็พึงตรัสถึงอาตมภาพว่า ตถาคตได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ

อย่างยอดเยี่ยม ดูก่อนมหาบพิตร เพราะว่าอาตมาภาพได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ

อย่างยอดเยี่ยมแล้ว.

[๓๒๔] พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ แม้สมณพราหมณ์บางพวก เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

คณาจารย์ มีชื่อเสียง มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนส่วนมากยกย่องว่าดี คือ

ปูรณกัสสป มักขลิโคศาล นิครนถนาฏบุตร สัญชัยเวลัฏฐบุตร ปกุธกัจจายนะ

อชิตเกสกัมพล.

สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์ถามว่า ท่านทั้งหลาย

ย่อมปฏิญาณได้หรือว่า เราได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณดังนี้ ก็ยัง

ไม่ปฏิญาณตนได้ว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ส่วนพระโคดมผู้

เจริญยังทรงเป็นหนุ่มโดยกำเนิดและยังทรงเป็นผู้ใหม่โดยบรรพชา ไฉนจึง

ปฏิญาณได้เล่า.

[๓๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนมหาบพิตร ของ

๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย ๔ อย่างเป็นไฉน ของ ๔ อย่าง

คือ

๑. กษัตริย์ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์

๒. งู ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก

๓. ไฟ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย

๔. ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม

ดูก่อนมหาบพิตร ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็ก

น้อย.

[๓๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำ

ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่น กษัตริย์ผู้

ถึงพร้อมด้วยพระชาติ มีพระชาติสูง ผู้

ทรงพระยศว่ายังทรงพระเยาว์ เพราะเหตุ

ว่า พระองค์เป็นจอมมนุษย์ ได้เสวยราช-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

สมบัติแล้ว ทรงพระพิโรธขึ้น ย่อมทรงลง

พระราชอาญาอย่างหนักแก่เขาได้ เพราะ

ฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน พึงงดเว้นการ

หมิ่นพระบรมเดชานุภาพกษัตริย์นั้นเสีย.

นรชนเห็นงูที่บ้านหรือที่ป่าก็ตาม ไม่ว่า

พึงดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก (เพราะเหตุว่า)

งูเป็นสัตว์มีพิษ (เดช) ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์

ไร ๆ งูนั้นพึงฉกกัดชายหญิงผู้เขลาในบาง

คราว เพราะฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน

พึงงดเว้นการดูหมิ่นงูนั้นเสีย.

นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่นไฟที่กินเชื้อ

มาก ลุกเป็นเปลว มีทางดำ (ที่ๆไฟไหม้

ไปดำ) ว่าเล็กน้อย เพราะว่าไฟนั้นได้เชื้อ

แล้วก็เป็นกองไฟใหญ่ พึงลามไหม้ชาย

หญิงผู้เขลาในบางคราว เพราะฉะนั้น ผู้

รักษาชีวิตของตน พึงงดเว้นการดูหมิ่นไฟ

นั้นเสีย.

(แต่ว่า) ป่าใดที่ถูกไฟไหม้จนดำไป

แล้ว เมื่อวันคืนล่วงไป ๆ พันธุ์หญ้าหรือ

ต้นไม้ยังงอกขึ้นที่ป่านั้นได้ ส่วนผู้ใดถูก

ภิกษุผู้มีศีลแผดเผา ด้วยเดช บุตรธิดาและ

ปศุสัตว์ของผู้นั้นย่อมพินาศ ทายาทของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

เขาก็ย่อมไม่ได้รับทรัพย์มรดก เขาเป็นผู้

ไม่มีพันธุ์ ย่อมเป็นเหมือนตาลยอดด้วน.

เพราะฉะนั้นบุคคลผู้เป็นบัณฑิต

พิจารณาเห็นงู ไฟ กษัตริย์ผู้ทรงยศ และ

ภิกษุผู้มีศีล ว่าเป็นภัยแก่ตน พึงประพฤติ

ต่อโดยชอบทีเดียว.

[๓๒๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจบลงแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศล

ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่ม

แจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก บุคคลหงาย

ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วย

หวังว่า ผู้มีจักษุจะได้เห็นรูป ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม

โดยปริยายเป็นอันมาก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณคมน์จน

ตลอดชีวิตทั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

โกสลสังยุต

อรรถกถาทหรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทหรสูตรที่ ๑ ต่อไป:-

บทว่า ภควตา สทฺธึ สมฺโมทิ ความว่า แม้พระเจ้าปเสนทิโกศล

ก็ทรงมีความยินดีร่วมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการอย่างเดียวกับพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสถามถึงขันธปัญจกพอทนได้เป็นต้น ยินดีกับท้าวเธอ คือทรง

นำความยินดีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนน้ำเย็นกับน้ำร้อน ฉะนั้น อนึ่ง

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยินดี [บันเทิง] ด้วยถ้อยคำอันใดเป็นต้นว่า ท่าน

พระโคดม พอทนหรือ พอเป็นไปได้หรือ ท่านพระโคดมและเหล่าสาวกของ

พระโคดมมีอาพาธน้อย มีโรคน้อย คล่องแคล่ว มีเรี่ยวแรง อยู่เป็นสุขอยู่

หรือ ทรงนำถ้อยคำนั้น ที่น่ายินดี น่าให้ระลึกถึงกันล่วงไป ให้ถึงที่สุด คือ

จบลงด้วยปริยายเป็นอันมากอย่างนี้ คือ ชื่อว่า สัมโมทนียะ เพราะให้เกิดความ

ยินดีกล่าวคือ ปีติปราโมทย์ และควรที่จะยินดี ชื่อว่า สาราณียะ เพราะมี

อรรถพยัญชนะไพเราะ และเพราะเป็นถ้อยคำที่ควรระลึก โดยควรที่จะให้

ระลึกถึงตลอดกาลนาน ๆ คือเป็นไปเป็นนิตย์ ไม่ทรงทราบความลึก หรือความ

ตื้น โดยคุณและโทษ เพราะไม่เคยพบพระตถาคต จึงประทับนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อประทับนั่งแล้ว ก็ตรัสว่า ภวปิ โน เป็นต้นเพื่อจะทูลถาม

ปัญหาเรื่องการสลัดออกจากโลกและการลงสู่ภพคือ ความเป็นพระสัมมาสัม-

พุทธะของศาสดา ที่ท้าวเธอเสด็จมาทำเป็นโอวัฏฏิกสารปัญหา คือปัญหาที่มี

สาระวกวน. ศัพท์ว่า ภวมฺปิ ในคำทูลถามนั้น เป็นนิบาตลงในอรรถว่า

ประมวล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงประมวลศาสดาทั้ง ๖ ด้วยศัพท์นั้น. อธิบาย

ว่า ท่านพระโคดมก็ปฏิญาณ เหมือนศาสดาทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้น ที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

ปฏิญญาว่าเราเป็นสัมมาสัมพุทธะหรือ แต่พระราชามิได้ทูลถามปัญหานี้ โดย

ลัทธิของพระองค์เอง ตรัสถามโดยอำนาจปฏิญญาที่มหาชนในโลกถือกัน. ครั้ง

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงบันลือพุทธสีหนาท จึงตรัสว่า ย หิ ต

มหาราช ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อห หิ มหาราช ความ

ว่า เราตถาคตตรัสรู้ยิ่งซึ่งสัมมาสัมโพธิกล่าวคือพระสัพพัญญุตญาณ อันยอด

เยี่ยม ประเสริฐสุดแห่งญาณทั้งหมด. บทว่า สมณพฺราหฺมณา ได้แก่ชื่อว่า

สมณะ เพราะเข้าบวช ชื่อว่าพราหมณ์ โดยกำเนิด. ในบทว่า สงฺฆิโน เป็น

ต้น ที่ชื่อว่า สังฆี เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น มีสงฆ์กล่าวคือชุมนุมนัก

บวช. ที่ชื่อว่า คณี ก็เพราะสมณพราหมณ์ มีคณะนั้นนั่นแหละ ที่ชื่อว่า

คณาจารย์ ก็เพราะเป็นอาจารย์ของคณะนั้น โดยให้ศึกษาอาจาระ. บทว่า

าตา แปลว่าที่เขารู้จักกันทั่ว คือปรากฏแล้ว. ที่ชื่อว่า ยสฺสฺสิ [มียศ]

ก็เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น มียศ [เกียรติยศ] ฟุ้งขจรอย่างนี้ว่า ท่าน

เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ไม่นุ่งแม้แต่ผ้า เพราะเป็นผู้มักน้อย. บทว่า ติตฺถกรา

แปลว่าเจ้าลัทธิ. บทว่า สาธุสมฺมตา ได้แก่ที่เขาสมมติอย่างนี้ว่าเป็นคนสงบ

เป็นคนดี. บทว่า พหุชนสฺส ได้แก่ปุถุชนคนอันธพาล ผู้มิได้สดับฟัง

[ศึกษา]. คำว่า ปูรณะ เป็นต้น เป็นชื่อตัวและโคตร [สกุล] ของเจ้าลัทธิ

เหล่านั้น. จริงอยู่ คำว่าปูรณะเป็นชื่อตัวเท่านั้น. คำว่า มักขลิ ก็เหมือน

กัน. ก็มักขลินั้น เรียกกันว่า โคสาล ก็เพราะเกิดในโรง [คอก] โค.

บทว่า นาฏปุตฺโต แปลว่า บุตรของนักรำ. บทว่า เวลฏฺปุตฺโต แปล

ว่า บุตรของช่างสานเสื่อลำแพน. บทว่า กจฺจายโน เป็นโคตร [สกุล]

ของเดียรถีย์ชื่อ ปกุทธะ. เรียกกันว่า อชิต เกสกัมพล ก็เพราะครองผ้า

กัมพลทำด้วยผมคน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

บทว่า เตปิ มยา ความว่า หลาหล* มี ๓ คือ กัปปหลาหล

พุทธหลาหล จักกวัตติหลาหล. บรรดาหลาหลทั้ง ๓ นั้น หลาหลที่ว่า กัป

จักปรากฏที่สุดแสนปี ชื่อว่า กัปปหลาหล. เหล่าเทวดาเที่ยวป่าวร้องในถิ่น

มนุษย์ว่า ในที่สุดแสนปีแต่นี้ไป โลกจักพินาศ ผู้นิรทุกข์ทั้งหลายจงเจริญเมตตา

กรุณา มุทิตา อุเบกขากันเถิด. ส่วนหลาหลที่ว่า พระพุทธเจ้าจักอุบัติ

ในที่สุดพันปี ชื่อว่า พุทธหลาหล. เหล่าเทวดาป่าวร้องว่า ในที่สุดพันปีแต่นี้

ไป พระพุทธเจ้าจักเสด็จอุบัติขึ้น อันพระสังฆรัตนะผู้ปฏิบัติธรรมสมควร

แก่ธรรมแวดล้อมแล้ว จักเสด็จจาริกแสดงธรรมโปรด. ส่วนหลาหลที่ว่า ใน

ที่สุดร้อยปี พระเจ้าจักรพรรดิจักอุบัติ ชื่อว่า จักกวัตติหลาหล. เหล่าเทวดา

ป่าวร้องว่า ในที่สุดร้อยปีแต่นี้ไป พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้สมบูรณ์ด้วยรัตนะ

๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ มีพระราชโอรสกว่าพันองค์เป็นบริวาร

เสด็จไปทางอากาศได้ [เหาะได้] จักทรงอุบัติ ดังนี้. ก็ในหลาหลทั้ง ๓ นี้

ศาสดาทั้ง ๖ เหล่านี้ ได้ยินเรื่องพุทธหลาหล ก็เข้าไปหาอาจารย์เล่าเรียนวิชา

ว่าด้วยแก้วสารพัดนึกเป็นต้น แล้วก็ปฏิญญาว่า เราเป็นพุทธะ มหาชน

ห้อมล้อมจาริกไปตลอดชนบท มาถึงกรุงสาวัตถีตามลำดับ. เหล่าอุปัฏฐากคน

บำรุง ของศาสดาเหล่านั้น ก็เข้าไปเฝ้าพระราชา กราบบังคมทูลว่า ข้าแต่

พระมหาราชเจ้า ได้ยินว่า ท่านปูรณกัสสป ฯลฯ อชิตเกสกัมพล เป็นพุทธะ

เป็นสัพพัญญู.

พระราชาตรัสสั่งว่า พวกท่านจงนิมนต์ศาสดาเหล่านั้นเข้ามา ศาสดา

ทั้ง ๖ นั้น อันอุปัฏฐากเหล่านั้นบอกว่า พระราชานิมนต์พวกท่าน โปรดไป

รับอาหารในพระราชวังเถิด ดังนี้ ก็ไม่กล้าไป เมื่อถูกรบเร้าบ่อย ๆ เข้า ก็รับ

เพื่อต้องการรักษาน้ำใจของเหล่าอุปัฏฐาก ก็ไปพร้อมกันทั้งหมด พระราชา

* คำว่า หลาหล มี ๓ คือ กัปปหลาหล พุทธหลาหล จักกวัตติหลาหลนี้ อรรถกถาของพม่า

ใช้คำว่า โกลาหล ๓ คือ กัปปโกลาหล พุทธโกลาหล จักกวัตติโกลาหล. . .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

โปรดให้จัดปูอาสนะ รับสั่งให้นั่ง. พระราชอำนาจแผ่สร้านไปทั่วตัวเหล่า

นิครนถ์. นิครนถ์เหล่านั้น ไม่อาจนั่งเหนืออาสนะที่สมควรอย่างใหญ่ได้ ก็

นั่งบนแผ่นกระดานและพื้นดิน. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้นี่แล พระราชาก็ตรัสว่า

ธรรมอันสะอาดภายในของนิครนถ์เหล่านั้นไม่มี จึงไม่พระราชทานอาหาร

ตรัสถามว่า พวกท่านเป็นพุทธะ หรือไม่ใช่พุทธะ ประหนึ่งทรงเอาค้อนตี

ผลตาลหล่นจากต้นตาล ฉะนั้น นิครนถ์เหล่านั้นคิดว่า ถ้าทูลว่า เราเป็นพุทธะ

พระราชาตรัสถามในพุทธวิสัย เราก็ไม่อาจทูลตอบได้ ท้าวเธอก็จะตรัสว่า

พวกท่านเที่ยวลวงมหาชนว่าเราเป็นพุทธะ ก็จะพึงโปรดให้ตัดลิ้นเสีย พึงทำ

ความพินาศแม้อย่างอื่น ดังนี้แล้ว จึงกล่าวปฏิญญาของตนอย่างเดียวว่า ข้าพเจ้า

ไม่ได้เป็นพุทธะ ดังนั้น พระราชาจึงให้ลากตัวนิครนถ์เหล่านั้น ไปเสียจาก

พระราชวัง. พวกนิครนถ์เหล่านั้น ออกจากพระราชวังแล้ว เหล่าอุปัฏฐาก

ก็พากันถามว่า ท่านอาจารย์ พระราชาตรัสถามปัญหาแล้ว ได้ทรงกระทำ

สักการะและสัมมานะอะไร. เหล่านิครนถ์กล่าวว่า พระราชาตรัสถามว่า พวก

ท่านเป็นพุทธะ หรือไม่ใช่พุทธะ ต่อนั้น พวกเราคิดว่า ถ้าพระราชาพระองค์นี้

ไม่ทรงทราบปัญหาที่ตรัสถามในพุทธวิสัย ก็จักขัดพระทัยในพวกเรา จักทรง

ประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก เพราะความเอ็นดูพระราชา พวกเราจึงไม่

ทูลว่า พวกเราเป็นพุทธะ แต่ความจริงพวกเราก็เป็นพุทธะนั่นแหละ ความ

เป็นพุทธะของพวกเรา ใคร ๆ ก็ไม่อาจเอาน้ำล้างออกไปได้ ดังนั้น พวกเรา

จึงเป็นพุทธะภายนอก. พวกนิครนถ์ไม่ทูลในสำนักของพระราชาว่า พวกเรา

เป็นพุทธะ พระราชาทรงถือเอาข้อนี้ จึงตรัสอย่างนี้. ในข้อนั้น พระราชา

ทรงถือปฏิญญาของพระองค์ จึงตรัสคำนี้ว่า ท่านพระโคดม ยังหนุ่มโดยกำเนิด

และยังใหม่ โดยการบวช ทำไมจึงทรงปฏิญาณว่า ตรัสรู้ยิ่งพระอนุตตระ

สัมมาสัมโพธิเล่า. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ เป็นคำปฏิเสธ. นิครนถ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

เหล่านั้น โดยกำเนิดก็เป็นคนแก่ และบวชมานาน ยังไม่ปฏิญาณว่าเราเป็น

พุทธะ ท่านพระโคดม โดยกำเนิดก็ยังหนุ่ม และโดยบรรพชาก็ยังใหม่ ทำไม

จึงปฏิญญาณ อธิบายว่า ก็อย่าปฏิญาณสิ. บทว่า น อุญฺาตพฺพา ได้แก่

ไม่พึงดูหมิ่น. บทว่า น ปริโภตพฺพา ได้แก่ ไม่พึงดูแคลน. บทว่า

กตเม จตฺตาโร เป็น กเถตุกมฺยตสปุจฉา ถามเองตอบเอง. บทว่า

ขตฺติโย ได้แก่ พระราชกุมาร. บทว่า อุรโค แปลว่า งูพิษ บทว่า

อคฺคิ ก็แปลว่า ไฟนั่นแหละ. ก็ในบทว่า ภิกฺขุ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงถึงบรรพชิตผู้มีศีล ยกพระองค์เป็นภายใน [ตัวอย่าง] เพราะทรง

ฉลาดในเทศนาวิธี. ในสภาวะ ๔ อย่างนั้น บุคคลพบพระราชกุมารหนุ่ม

ทรงดำเนินสวนทาง ไม่ถวายทาง ไม่ลดผ้าห่ม ไม่ลุกจากที่นั่งที่นั่งอยู่ ไม่ลง

จากหลังช้างเป็นต้น กระทำความประพฤติที่ไม่สมควรเห็นปานนั้นแม้อย่างอื่น

โดยดูหมิ่นว่าอยู่ในที่ต่ำ ชื่อว่า ดูหมิ่นกษัตริย์. เมื่อกล่าวว่า พระราชกุมาร

ผู้น่ารักพระองค์นี้ พระปรางยุ้ยอุทรพลุ้ย จักทรงสามารถระงับโจรผู้ร้าย ทรง

ปกครองราชกิจในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งได้หรือ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า ดูแคลน.

เอาลูกงูพิษแม้ขนาดเท่าไม้ป้ายยาตามาประดับหูเป็นต้น ให้มันกัดนิ้วมือก็ดี

ลิ้นก็ดี ชื่อว่า ดูหมิ่นงู. เมื่อกล่าวคำว่า งูพิษตัวนี้น่าเอ็นดูหนอ เหมือนงูน้ำ

จักสามารถกัดอะไร ๆ ได้หรือ จักสามารถแผ่พิษไปในร่างกายของใคร ๆ ได้

หรือ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า ดูแคลนงู. จับไฟแม้เท่าหิ่งห้อย เล่นด้วยมือ

เหวี่ยงไปที่หม้อสิ่งของ เหวี่ยงไปที่มวยผมก็ดี ที่หลังที่นอนผ้ากระสอบเป็นต้น

ก็ดี ชื่อว่า ดูหมิ่นไฟ. กล่าวว่า ไฟนี้น่าเอ็นดูหนอ จักหุงต้มข้าวต้มข้าวสวย

อะไรได้บ้างหนอ จักปิ้งปลาและเนื้ออะไรได้บ้าง จักบรรเทาความหนาวของ

ใครได้ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า ดูแคลน. อนึ่ง บุคคลพบภิกษุหนุ่มและสามเณร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

เดินสวนทางแล้วไม่ถวายทาง กระทำความประพฤติที่ไม่สมควร ซึ่งกล่าวไว้

แล้วในเรื่องพระราชกุมาร ชื่อว่า ดูหมิ่นภิกษุ. กล่าวว่า สามเณรรูปนี้น่า-

เอ็นดูหนอ แก้มยุ้ย ท้องพลุ้ย จักสามารถเรียนพระพุทธวจนะอย่างใดอย่าง

หนึ่งได้ จักสามารถยึดป่าแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ได้ จักเป็นที่น่าพอใจในเวลาเป็น

พระสังฆเถระได้หรือ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า ดูแคลน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงแสดงว่า ข้อนั้นแม้ทุกข้อไม่ควรทำ จึงตรัสว่า ไม่ควรดูหมิ่น ไม่ควร

ดูแคลน. บทว่า เอตทโวจ ความว่า ได้ตรัสคำที่ผูกเป็นคาถานี้ ก็ชื่อว่า

คาถาเหล่านี้ ย่อมแสดงความข้อนั้นบ้าง แสดงความที่แปลกออกไปบ้าง.

บรรดาคาถาเหล่านั้น คาถาเหล่านี้ ย่อมแสดงทั้งความข้อนั้น ทั้งความแปลก

ออกไปทีเดียว. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะและ

ภารทวาชะ ท่านผู้เป็นเจ้าแห่งที่ดินทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงเกิดอักขระที่

๒ ขึ้นว่า กษัตริย์ ๆ ดังนี้. บทว่า ชาติสมฺปนฺน ได้แก่ สนบูรณ์ด้วยชาติ

โดยชาติกษัตริย์ โดยชาติกษัตริย์นั้นแล. บทว่า อภิชาต ได้แก่ เกิดสูง

เกินตระกูลทั้ง ๓ [คือ ขัตติยมหาศาล พราหมณมหาศาล และคหปติมหาศาล].

บทว่า าน แปลว่า มีเหตุ. บทว่า มนุสฺสินฺโท ได้แก่ เป็น

หัวหน้ามนุษย์. บทว่า ราชทณฺเฑน ได้แก่ ด้วยอาชญาที่พระราชายกขึ้น

ราชอาชญานั้น ไม่ชื่อว่า เล็กน้อย คือ ปรับไหมหมื่นหนึ่ง สองหมื่น

ทีเดียว. บทว่า ตสฺมึ ปกฺกมเต ภุส ได้แก่ พยายามลงโทษอย่างร้ายแรง

ในบุคคลนั้น. บทว่า รกฺข ชีวิตมตฺตโน ได้แก่ เมื่อรักษาชีวิตตน ก็

พึงละเว้น ไม่กระทบกระทั่งกษัตริย์นั้นเลย.

บทว่า อุจฺจาวเจหิ ได้แก่ ต่าง ๆ อย่าง. บทว่า วณฺเณหิ ได้

แก่ ด้วยทรวดทรงทั้งหลาย. จริงอยู่ งูนั้น เมื่อท่องเที่ยวด้วยเพศอย่างใดอย่าง

หนึ่ง จึงจะได้เหยื่อ งูทั้งหลายจึงเที่ยวไปด้วยเพศงูธรรมดาบ้าง งูน้ำบ้าง งู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

เรือนบ้าง โดยที่สุดแม้ด้วยเพศกระแต. บทว่า อาสชฺช แปลว่า ถึง. บทว่า

พาล ความว่า งูถูกคนเขลาผู้ใดกระทบแล้ว ก็พึงกัดคนเขลาผู้นั้นไม่ว่า ชาย

หรือหญิง. บทว่า ปหฺตพฺภกฺข แปลว่ามีอาหาร [เชื้อ] มาก. ความจริง

ชื่อว่าอาหารของไฟไม่มีดอก. บทว่า ชาลิน แปลว่า ลุกโชน. บทว่า ปาจก

แปลว่าไฟ. ปาฐะ ว่า ปาวก ก็มี. บทว่า กณฺหวตฺตนึ ความว่า ทางชื่อ

ว่าวัตตนี ทางที่ไฟไปแล้ว ย่อมดำ ๆ เพราะฉะนั้น ไฟท่านจึงเรียกว่า กัณห-

วัตตนี ทางดำ. บทว่า มหา หุตฺวา แปลว่า เป็นของใหญ่ ไฟบางครั้งก็

มีขนาดเท่าพรหมโลก. บทว่า ชายนฺติ ตตฺถ ปาโรหา ความว่า ในป่าที่

ไฟไหม้แล้วนั้น ต้นไม้ใบหญ้าย่อมเกิดขึ้น ต้นไม้ใบหญ้าเป็นต้น ท่านเรียกว่า

ปาโรหา. จริงอยู่ ต้นไม้ใบหญ้าเหล่านั้น ในที่ ๆ ไฟไหม้แล้ว ยังเหลือแม้

เพียงหัว ก็งอก เกิด เจริญได้จากหัวนั้น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ปาโรหา.

อีกนัยหนึ่ง ต้นไม้ใบหญ้าชื่อว่า ปาโรหา เพราะอรรถว่างอกได้อีก. บทว่า

อโหรตฺตานมฺจฺจเย แปลว่าในกาลล่วงไปแห่งวันและคืนทั้งหลาย. แม้เมื่อ

ฝนแล้ง พอฝนตก ต้นไม้ใบหญ้าก็เกิด.

ในบทว่า ภิกฺขุ ฑหติ เตปสา นี้ ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ด่าตอบภิกษุผู้

ด่า ทะเลาะตอบผู้ทะเลาะ ประหารตอบผู้ประหาร ย่อมไม่สามารถเอาเดชเผา

ภิกษุไรๆ ได้. ส่วนภิกษุรูปใด ไม่ด่าตอบผู้ด่า ไม่ทะเลาะตอบผู้ทะเลาะ ไม่

ประหารตอบผู้ประหาร ไม่ผิดในภิกษุนั้น ด้วยเดชแห่งศีลของภิกษุนั้น ย่อม

เผาภิกษุนั้นได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น ตสฺส ปุตฺตา

ปสโว ดังนี้ อธิบายว่า ทั้งบุตรธิดาของผู้นั้น ทั้งโคกระบือไก่สุกรเป็นต้น

ก็ไม่มี พินาศหมด. บทว่า ทายาทา วินฺทเร ธน ความว่า แม้ทายาทของผู้

นั้น ก็ไม่ได้ทรัพย์. บทว่า ตาลวตฺถุ ภวนฺติ เต ความว่า ชนเหล่านั้น

ถูกเดชภิกษุเผาแล้ว ก็เป็นเหมือนต้นตาลขาดยอด คงเหลือเพียงลำต้น คือ ย่อม

ไม่เจริญด้วยบุตรธิดาเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

บทว่า ตสฺมา แปลว่า ก็เพราะชนเหล่านั้น ถูกเดชของสมณะเผาแล้ว

มีอันไม่งอกงามเป็นธรรมดา เหมือนต้นตาลขาดยอดฉะนั้น. บทว่า สมฺมเทว

สมาจเร แปลว่า พึงประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ. ถามว่า อะไร อันผู้ประพฤติ

เอื้อเฟื้อโดยชอบพึงทำ. ตอบว่า ก่อนอื่นเมื่อพิจารณาเห็นอานิสงส์มีตำบล

แขวงยานพาหนะเป็นต้นที่ได้มา เพราะอาศัยพระมหากษัตริย์ อานิสงส์มีผ้าเงิน

ทองเป็นต้นที่พึงได้ด้วยการให้งูนั้นเล่นกีฬา เพราะอาศัยงู อานิสงส์มีต้ม

หุงข้าวต้มข้าวสวยและบรรเทาความหนาวเป็นต้น ที่พึงได้ปรารภด้วยอำนาจ

ของไฟนั้น เพราะอาศัยไฟ อานิสงส์มีได้ฟังเรื่องที่ยังไม่ได้ฟัง ทำเรื่องที่ฟังแล้ว

ให้แจ่มแจ้ง และการบรรลุมรรคของตนเป็นต้น ที่พึงถึงด้วยอำนาจภิกษุนั้น

เพราะอาศัยภิกษุ. พึงละโทษมีประการที่กล่าวมาแต่ก่อน เพราะอาศัยสภาวะ

ทั้ง ๔ เหล่านี้เสีย แต่ไม่พึงละโดยประการทั้งปวงด้วยคิดว่า จะมีประโยชน์

อะไรกับสิ่งเหล่านี้ อันผู้ต้องการจะเป็นใหญ่ ไม่ทำการดูหมิ่นดูแคลนดังกล่าว

แล้ว พึงทำขัตติยกุมารให้ทรงยินดีด้วยอุบาย มีตื่นก่อนนอนหลังเป็นต้น แต่

นั้นก็จักถึงความเป็นใหญ่ ด้วยประการฉะนี้. อันหมองู ไม่พึงทำความสนิท

สนมในงู ร่ายวิชามนต์งูเอาไม้สองง่าม [เท้าแพะ] ยันคอ เอารากไม้ถอน

พิษล้างเขี้ยวงูแล้วใส่ไว้ในลุ้ง ให้มันเล่นกีฬา อาศัยงูนั้นก็จักได้อาหารและผ้า

เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ อันผู้ประสงค์จะต้มข้าวเป็นต้น. ไม่ใส่ไฟลงใน

หม้อใส่ของ ไม่จับต้องด้วยมือ ก่อไฟด้วยโคมัย [ขี้ไต้] ละเอียดเป็นต้น

พึงต้มข้าวต้มเป็นต้น อาศัยไฟนั้น ก็จักได้รับผลดีด้วยประการฉะนี้. อันผู้

ประสงค์จะฟังเรื่องที่ยังไม่ได้ฟังเป็นต้น คุ้นเคยสนิทกับภิกษุ ไม่ใช้ท่านให้ทำ

ตัวเป็นหมอ รับใช้ก่อสร้างเป็นต้น พึงบำรุงด้วยปัจจัย ๘ โดยเคารพ อาศัย

ภิกษุนั้น ก็จักได้พระพุทธพจน์ที่ไม่เคยฟัง ด้วยประการฉะนี้. บุคคลถึงการ

วินิจฉัยปัญหาที่ไม่เคยฟัง ประโยชน์ในปัจจุบันและภายหน้า กุลสมบัติ ๓

กามาวจรสวรรค์ ๖ พรหมโลก ๙ แล้วจักได้การเห็นอมตมหานิพพาน พระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

พระภาคเจ้าทรงหมายถึงประโยชน์ดังกล่าวมานี้ จึงตรัสว่า สมฺมเทว สมาจเร

ดังนี้.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงฟังพระธรรม

เทศนาแล้วทรงเลื่อมใส จะทรงทำความเสื่อมใสให้ชัดเจนแล้ว จึงตรัสคำว่า

อภิกฺกนฺต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิกฺกนฺต แปลว่า น่า

ใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจอย่างยิ่ง อธิบายว่า ดีเหลือเกิน. พระเจ้าปเสน-

ทิโกศล ทรงชมเทศนาด้วยอภิกกันตศัพท์ ๆ หนึ่ง ในคำว่า อภิกฺกนฺต เป็น

ต้นนั้นว่า พระเจ้าข้า พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าน่าฟังจริง ๆ ทรง

ชมความเสื่อมใสของพระองค์ ด้วยอภิกกันตศัพท์อีกศัพท์หนึ่งว่า พระเจ้าข้า

น่าชื่นใจจริง ๆ ที่ข้าพระองค์อาศัยพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

จึงเลื่อมใส.

ต่อจากนั้น ก็ทรงชมพระธรรมเทศนาด้วยอุปมา ๔ ข้อ. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิต แปลว่าของที่วางคร่ำหน้าหรือเอาหน้าไว้ล่าง.

บทว่า อุกฺกุชฺเชยฺย แปลว่าพึงทำหน้าไว้ข้างบน [หงาย]. บทว่า ปฏิจฺฉนฺน

แปลว่าของที่ปิดไว้ด้วยหญ้าเป็นต้น. บทว่า วิวเรยฺย แปลว่า พึงเพิก [เปิด].

บทว่า มุฬฺหสฺส แปลว่า คนหลงทิศ [ทาง]. บทว่า มคฺค อาจิกฺเขยฺย

ได้แก่จับมือบอกว่า นั่นทาง. บทว่า อนฺธกาเร ได้แก่ในความมืด ๔ อย่าง

คือ แรม ๑๔ ค่ำ, เที่ยงคืน, ป่าทึบและแผ่นเมฆ ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงยกข้าพระองค์ ซึ่งตกไปในอสัทธรรมหันหน้าหนีจาก

สัทธรรม ไว้ในสัทธรรม เหมือนใคร ๆ หงายของที่คว่ำ ทรงเปิดพระศาสนา

ที่การถือมิจฉาทิฏฐิปิดไว้ ตั้งแต่พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสปอันตรธานไป เหมือนทรงเปิดของที่ปิดทรงกระทำทางสวรรค์และนิพพาน

ให้ชัดแจ้งแก่ข้าพระองค์ ผู้ดำเนินทางชั่วทางผิด เหมือนทรงบอกทางแก่ผู้หลง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

ทาง ทรงชูดวงประทีปคือพระธรรมเทศนาที่กำจัดความมืด คือโมหะอันปิด

พระศาสนานั้น แก่ข้าพระองค์ผู้จมลงในความมืด คือโมหะ ผู้ไม่เห็นรูปคือ

พระรัตนะมีพระพุทธรัตนะเป็นต้น เหมือนทรงส่องประทีปน้ำมัน ในความมืด

ทรงประกาศธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยปริยายเป็นอันมาก เพราะทรงประกาศ

ด้วยปริยายเหล่านั้น.

พระเจ้าปเสนทิโกศล ครั้นทรงชมพระธรรมเทศนาอย่างนี้แล้วมีพระ-

ทัยเลื่อมใสในพระรัตนตรัยด้วยเทศนานี้ เมื่อทรงทำอาการของผู้เลื่อมใส จึง

ตรัสว่า เอสาห ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสาห แยก

สนธิว่า เอโส อห แปลว่า ข้าพระองค์นั้น. บทว่า ภควนฺต สรณ คจฺฉามิ

ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ แปลว่า ขอถึงพระรัตนตรัยนี้ คือ พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ. บทว่า อุปาสก ม ภนฺเต ภควา

ธาเรตุ ความว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงจำ รับรู้ข้าพระองค์อย่าง

นี้ว่า ผู้นี้เป็นอุบาสก. บทว่า อชฺชตคฺเค แปลว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

อีกอย่างหนึ่ง. ปาฐะว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้ก็มี. ทอักษร ทำสนธิบท. ความ

ว่า ตั้งต้นแต่วันนี้ไป. บทว่า ปาณุเปต แปลว่า เข้าถึงด้วยปราณคือชีวิต.

สังเขปความในข้อนี้อย่างนี้ว่า ชีวิตของข้าพระองค์ยังดำเนินไปเพียงใด ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ทำแต่สิ่งที่สมควร

ผู้ถึงสรณะด้วยสรณคมน์ ๓ ไม่นับถือศาสดาอื่น เข้าถึงด้วยชีวิตเพียงนั้น. ส่วน

ความพิสดาร กล่าวไว้แล้วทุกอาการในสามัญญผลสูตร ในอรรถกถาทีฆนิกาย

ชื่อสุมังคลวิลาสินีแล.

จบอรรถกถาทหรสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

๒. ปุริสสูตร

[๓๒๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

แห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ครั้นแล้วจึงทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วประทับนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้ทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมก็อย่างเมื่อบังเกิดขึ้นใน

ภายในของบุคคล ย่อมบังเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์

เพื่อความอยู่ไม่สบาย.

[๓๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓

อย่าง เมื่อบังเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมบังเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็น

ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สบาย ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน

ธรรม ๓ อย่าง คือ.

๑. โลภะ

๒. โทสะ

๓. โมหะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ อย่างนี้แล เมื่อบังเกิดขึ้นในภายในของ

บุคคล ย่อมบังเกิดขึ้นเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เพื่อความ

อยู่ไม่สบาย.

[๓๓๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์

คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

โลภะ โทสะ และโมหะ ที่เกิดขึ้น

ในตนย่อมฆ่าบุคคลผู้ใจบาป เหมือนขุย

ไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น.

อรรถกถาปุริสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปุริสสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า อภิวาเทตฺวา ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงอภิวาท

ในสูตรนี้ ก็เพราะทรงถึงสรณะแล้วในสูตรก่อน. บทว่า อชฺฌตฺต ได้แก่

ภายในตัวเอง อธิบายว่า เกิดขึ้นในสันดานของตน. บรรดาอกุศลมูล ๓ มี

โลภะเป็นต้น โลภะมีลักษณะละโมบ โทสะมีลักษณะขัดเคือง โมหะมีลักษณะ

ลุ่มหลง. บทว่า หึสนฺติ ได้แก่ เบียดเบียน ทำให้เสียหาย ทำให้พินาศ.

บทว่า อตฺตสมฺภูตา แปลว่า เกิดแล้วในตน. บทว่า ตจสารว สมฺผล

ความว่า ผลของตัวเอง ย่อมเบียน คือ ทำต้นไม้ที่มีเปลือกเป็นแก่น ไม่ว่า

ต้นไผ่หรือต้นอ้อให้พินาศ ฉันใด อกุศลมูลทั้งหลาย ก็เบียน คือทำให้พินาศ

ฉันนั้น.

จบอรรถกถาปริสสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

๓. ราชสูตร

[๓๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

แห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ครั้นแล้วจึงทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วประทับนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ผู้ที่เกิดมาแล้วที่พ้นจากชราและมรณะมีอยู่บ้างหรือไม่.

[๓๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนมหาบพิตร คนเกิด

มาแล้วที่จะพ้นจากชรามรณะไม่มีเลย แม้กษัตริย์มหาศาลซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มี

ทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มีทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากมาย

มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ก็ไม่พ้นจากชรามรณะ แม้พราหมณ์มหาศาล

ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง ฯลฯ ก็ไม่พ้นจากชรามรณะ แม้คฤหบดีมหาศาล ก็ไม่พ้นจาก

ชรามรณะ ภิกษุแม้ทุกรูป ซึ่งเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบ

พรหมจรรย์แล้ว กระทำกรณียะเสร็จแล้ว วางภาระหนักลงได้แล้ว ได้บรรลุ

ประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว

เพราะรู้โดยชอบ ร่างกายนี้แม้แห่งพระอรหันต์เหล่านั้น ก็เป็นสภาพแตกดับ

ต้องทอดทิ้งเป็นธรรมดา.

[๓๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์

คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

ราชรถอันวิจิตรดีย่อมคร่ำคร่าโดยแท้

อนึ่ง แม้สรีระก็ย่อมเข้าถึงชรา แต่ว่า

ธรรมของสัตบุรุษหาเข้าถึงชราไม่ สัตบุรุษ

กับสัตบุรุษเท่านั้น ย่อมรู้กันได้.

อรรถกถาราชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในราชสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า อญฺตฺร ชรามรณา ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล

ทูลถามว่า คนที่พ้นจากชรามรณะมีอยู่หรือ. บทว่า ขตฺติยมหาสาลา แปลว่า

กษัตริย์มหาศาล คือกษัตริย์ที่ถึงความเป็นผู้มีสารสมบัติมาก. จริงอยู่ กษัตริย์

เหล่าใด มีทรัพย์เก็บไว้ ๑๐๐ โกฎิเป็นอย่างต่ำ มีกหาปณะ ๓ หม้อ จัดกอง

ไว้กลางคฤหะ (เรือน) สำหรับใช้สอย กษัตริย์เหล่านั้น ชื่อว่า กษัตริย์มหาศาล.

พราหมณ์เหล่าใด มีทรัพย์เก็บไว้ ๘๐ โกฏิ มีกหาปณะหม้อครึ่ง จัดกองไว้

กลางคฤหะ สำหรับใช้สอย พราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า พราหมณมหาศาล.

คฤหบดีเหล่าใด มีทรัพย์เก็บไว้ ๔๐ โกฏิ มีกหาปณะหม้อหนึ่ง จัดกองไว้

กลางคฤหะ ส่าหรับใช้สอย คฤหบดีเหล่านั้น ชื่อว่า คฤหบดีมหาศาล.

บทว่า อฑฺฒา ได้แก่ เป็นใหญ่. ชื่อว่า มีทรัพย์มาก ก็เพราะ

ทรัพย์ที่เก็บไว้มีมาก. ชื่อว่า มีโภคะมาก ก็เพราะของใช้สอยมีภาชนะทอง

เงินเป็นต้นมีมาก. ชื่อว่า มีทองและเงินมากพอ ก็เพราะทองและเงินที่ยังไม่

ได้เก็บไว้มีมากพอ. ชื่อว่า มีอุปกรณ์ทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากพอ ก็เพราะมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

อุปกรณ์ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ คือเหตุแห่งความยินดีมีมากพอ. ชื่อว่า มีทรัพย์

และข้าวเปลือกมากพอ ก็เพราะทรัพย์คือโคเป็นต้น และข้าวเปลือก ๗ อย่าง

มีมากพอ. บทว่า เตสมปิ ชาตาน นตฺถิ อญฺตฺร ชรามรณา ความว่า

อิสรชน ดังกล่าวมาแม้เหล่านั้น เกิดมาแล้ว คือบังเกิดแล้วจะละเว้นจากชรา

มรณะไม่มี คือชื่อว่า พ้นจากชรามรณะ เพราะเกิดมาแล้วนั่นแลไม่มี อิสรชน

เหล่านั้น ตกอยู่ภายในชรามรณะนั่นเทียว.

ในบทว่า อรหนฺโต เป็นต้น เหล่าภิกษุชื่อว่า อรหันต์ เพราะไกลจาก

กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า ขีณาสพ ก็เพราะภิกษุเหล่านั้น สิ้นอาสวะ ๔ แล้ว ชื่อว่า

วุสิตวันตะ ก็เพราะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว คือ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว.

ชื่อว่า กตกรณียะ เพราะภิกษุเหล่านั้น มีกิจที่ควรทำด้วยมรรค ๔ ทำเสร็จ

แล้ว. ชื่อว่า โอหิตภาระ เพราะภิกษุเหล่านั้น ปลงภาระเหล่านี้ คือ ขันธภาระ

กิเลสภาระ อภิสังขารภาระ กามคุณภาระเสียแล้ว. ชื่อว่า อนุปปัตตสทัตถะ

ก็เพราะภิกษุเหล่านั้นบรรลุประโยชน์ของตน กล่าวคือพระอรหัตแล้ว ชื่อว่า

ภวปริกขีณสังโยชนะ เพราะภิกษุเหล่านั้นสิ้นภวสังโยชน์ทั้ง ๑๐ แล้ว ชื่อว่า

สัมมทัญญาวิมุตตะ เพราะภิกษุเหล่านั้นหลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ คือ

โดยเหตุ อธิบายว่า รู้สัจธรรม ๔ ด้วยมรรคปัญญาแล้ว หลุดพ้นโดยผล-

วิมุตติ. บทว่า เภทนธมฺโม แปลว่า มีอันแตกไปเป็นสภาพ. บทว่า

นิกฺเขปนธมฺโม แปลว่า มีอันจะพึงทอดทิ้งเป็นสภาพ. จริงอยู่ แม้ธรรม

คือความไม่ชราของพระขีณาสพมีอยู่ คือพระนิพพานที่ท่านแทงตลอดโดย

อารมณ์ แท้จริง พระนิพพานนั้น ย่อมไม่ชรา แต่ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงแสดงธรรม คือความชราของพระขีณาสพนั้น จึงตรัสอย่างนี้. ได้ยินว่า

การตั้งพระสูตร มีอัตถุปัตติ เหตุเกิดเรื่อง ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เป็นเรื่องที่นั่งพูดกันที่โรงเก็บวอ. ณ ที่นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นยาน คือรถเป็นต้น อันงดงาม จึงทรงทำสิ่งที่

ทรงเห็นนั่นแหละ ให้เป็นข้อเปรียบเทียบ ตรัสพระคาถาว่า ชีรนฺติ เว

ราชรถา สุจิตฺตา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชีรนฺติ ได้แก่ เข้าถึงชรา. บทว่า

ราชรถา ได้แก่ รถอันงดงามของพระราชา. บทว่า สุจิตฺตา ได้แก่ อัน

งามดีด้วยทองและเงินเป็นต้น. บทว่า อโถ สรีรมฺปิ ชร อุเปติ ความว่า

เมื่อรถทั้งหลายอันทำด้วยไม้แก่น ไม่มีใจครองเห็นปานนี้ คร่ำคร่าไป คำอะไรๆ

ที่จะพึงกล่าวในสรีระ ที่ทำด้วยเนื้อและเลือดเป็นต้น ซึ่งมีใจครองอันเป็น

ภายในนี้ คือ สรีระก็ถึงความชราทั้งนั้น. บทว่า สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวท-

ยนฺติ ความว่า เหล่าสัตบุรุษ ย่อมรู้กันกับเหล่าสัตบุรุษอย่างนี้ว่า ธรรมของ

เหล่าสัตบุรุษไม่ถึงความชรา พระนิพพาน ชื่อว่า ธรรมของเหล่าสัตบุรุษ

พระนิพพานนั้นไม่ชรา. อธิบายว่า เหล่าสัตบุรุษกล่าวอย่างนี้ว่า พระนิพพาน

ไม่แก่ ไม่ตาย. อีกอย่างหนึ่ง ก็เพราะอาศัยพระนิพพาน กิเลสทั้งหลายที่มี

สภาพจมจึงแตกไป ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า สพฺภิ. พระผู้มี

พระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงเหตุ ของบทต้น จึงตรัสว่า สนฺโต หเว สพฺภิ

ปเวทยนฺติ. จริงอยู่ ท่านอธิบายไว้ดังนี้ ว่าธรรมของเหล่าสัตบุรุษ ย่อมไม่

เข้าถึงชรา. เพราะเหตุไร เพราะเหล่าสัตบุรุษ ย่อมประกาศกับเหล่าสัตบุรุษ.

อธิบายว่า ย่อมบอกกันว่า พระนิพพานที่ไม่แก่ ชื่อว่า ธรรมของเหล่าสัตบุรุษ

อีกนัยหนึ่ง คำว่า สัพภิ นี้ เป็นชื่อที่ดี อธิบายว่า เหล่าสัตบุรุษย่อมประกาศ

บอกพระนิพพาน ที่เป็นสัพภิธรรม สัพภิธรรมของสัตบุรุษอันใด ธรรมของ

เหล่าสัตบุรุษอันนั้น ย่อมไม่เข้าถึงความชรา.

จบอรรถกถาราชสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

ปิยสูตรที่ ๔

[๓๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

แห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว จึงทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

(วันนี้) ข้าพระองค์เข้าห้องส่วนตัวพักผ่อนอยู่ ได้เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า ชน

เหล่าไหนหนอแลชื่อว่ารักตน ชนเหล่าไหนชื่อว่าไม่รักตน ข้าพระองค์จึงได้เกิด

ความคิดต่อไปว่า ก็ชนเหล่าใดแลย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชน

เหล่านั้นชื่อว่าไม่รักตน ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรารักตน ถึง

เช่นนั้น ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าไม่รักตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่ า

ชนผู้ไม่รักใคร่กันย่อมทำความเสียหายให้แก่ผู้ไม่รักใคร่กันได้โดยประการใด

ชนเหล่านั้นย่อมทำความเสียหายให้แก่ตนด้วยตนเองได้โดยประการนั้น ฉะนั้น

ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักตน ส่วนว่าชนเหล่าใดแล ย่อมประพฤติสุจริตด้วย

กาย วาจา ใจ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักตน ถึงแม้ชนเหล่านั้นจะพึงกล่าวอย่างนี้

ว่า เราไม่รักตน ถึงเช่นนั้นชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

ก็เพราะเหตุว่า ชนผู้ที่รักใคร่กันย่อมทำความดีความเจริญ ให้แก่ผู้ที่รักใคร่กัน

ได้โดยประการใด ชนเหล่านั้นย่อมทำความดีความเจริญ ให้แก่ตนด้วยตนเอง

ได้โดยประการนั้น ฉะนั้น ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักตน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

[๓๓๕] พระผู้มีพระเจ้าตรัสว่า ถูกแล้ว ๆ มหาบพิตร เพราะว่าชน

บางพวกย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่ารักตน ถึง

แม้พวกเขาจะกล่าวอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายมีความรักตน ถึงเช่นนั้นพวกเขาก็

ชื่อว่าไม่มีความรักตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่า ชนผู้ไม่รักใคร่

กันย่อมทำความเสียหายให้แก่ผู้ไม่รักได้โดยประการใด พวกเขาเหล่านั้นย่อมทำ

ความเสียหายแก่ตนด้วยตนเองได้โดยประการนั้น พวกเขาเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่

รักตน ส่วนว่าชนบางพวกย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ พวกเหล่า

นั้นชื่อว่ารักตน ถึงแม้พวกเขาจะกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่รักตน ถึงเช่นนั้นพวก

เหล่านั้นก็ชื่อว่ารักตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่าชนผู้รักใคร่กัน

ย่อมทำความดีความเจริญให้แก่ชนผู้ที่รักใคร่กันได้โดยประการใด พวกเหล่า

นั้นย่อมทำความดีความเจริญแก่ตนด้วยตนเองได้โดยประการนั้น ฉะนั้น พวก

เหล่านั้นจึงชื่อว่ารักตน.

[๓๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำ

ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้ ก็ไม่

พึงประกอบด้วยบาป เพราะว่าความสุขนั้น

เป็นผลที่บุคคลผู้ทำชั่วจะไม่ได้โดยง่ายเลย.

เมื่อความตายเข้าถึงตัวแล้ว บุคคล

ย่อมละทิ้งภพมนุษย์ไป ก็อะไรเป็นสมบัติ

ของเขา และเขาจะพาเอาอะไรไปได้ อนึ่ง

อะไรเล่าจะติดตามเขาไปประดุจเงาติดตาม

ตนไป ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

มัจจาผู้ที่มาเกิดแล้วจำจะต้องตายใน

โลกนี้ ย่อมทำกรรมอันใดไว้ คือบุญและ

บาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแล

บาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแล

และบาปนั้นไป อนึ่ง บุญและบาปนั้นย่อม

เป็นของติดตามเขาไปประดุจเงาติดตาม

ตนไป ฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น บุคคลพึงทำกัลยาณ

กรรมสะสมไว้เป็นสมบัติในปรโลก ด้วย

ว่า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้ง

หลายในปรโลก.

อรรถกถาปิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปิยสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

บทว่า รโคตสฺส แปลว่า ไป [อยู่] ในที่ลับ. บทว่า ปฏิสลฺ-

ลีนสฺส ได้แก่เร้นอยู่ผู้เดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงนำสูตรนี้ ให้เป็น

คำตรัสของพระสัพพัญญู จึงตรัสในสูตรนี้ว่า เอวเมต มหาราช ดังนี้.

บทว่า อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส แปลว่า ผู้ถูกความตายครอบงำแล้ว.

จบอรรถกถาปิยสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

๕. อัตตรักขิตสูตร

[๓๓๗] พระเจ้าปเสนทิโกศล ประทับนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ข้าพระองค์ได้เข้าห้อง

ส่วนตัวพักผ่อนอยู่ ได้เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า ชนพวกไหนหนอ ชื่อว่าเป็น

ผู้รักษาตน ชนพวกไหนหนอ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษาตน ข้าพระองค์ได้คิดต่อ

ไปว่า ก็ชนบางพวกย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่า

เป็นผู้ไม่รักษาตน ถึงแม้พลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า จะพึงรักษา

เขา ถึงเช่นนั้นชนพวกนั้น ก็ชื่อว่าไม่เป็นผู้รักษาตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร

ก็เพราะเหตุว่า การรักษาเช่นนั้น เป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษา

ภายใน ฉะนั้น ชนพวกนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษาตน ส่วนว่าชนบางพวกย่อม

ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน ถึงแม้ว่า

พลช้าง พลม้า พลรถหรือพลเดินเท้า จะไม่รักษาเขา ถึงเช่นนั้นชนพวกนั้น

ก็ชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่าการรักษาเช่น

นั้น เป็นการรักษาภายใน มิใช่เป็นการรักษาภายนอก ฉะนั้น ชนพวกนั้นจึง

ชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน.

[๓๓๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ถูกแล้ว ๆ มหาบพิตร ก็ชน

บางพวกย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่รักษา

คน ถึงแม้ชนพวกนั้นจะมีพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า คอยรักษา

ถึงเช่นนั้นชนพวกนั้นก็ชื่อว่าไม่รักษาตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุ

ว่าการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ฉะนั้น

ชนพวกนั้นจึงชื่อว่าไม่รักษาตน ส่วนว่าชนบางพวกย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

วาจา ใจ ชนพวกนั้นชื่อว่าเป็นผู้รักษาตน ถึงแม้ชนพวกนั้นจะไม่มีพลช้าง

พลน้ำ พลรถ หรือพลเดินเท้า คอยรักษา ถึงเช่นนั้นชนพวกนั้นก็ชื่อว่ารักษา

ตน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ก็เพราะเหตุว่าการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษา

ภายใน มิใช่เป็นการรักษาภายนอก ฉะนั้น ซนพวกนั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้รักษา

ตน.

[๓๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำ

ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

การสำรวมทางกายเป็นการดี การ

สำรวมทางวาจาเป็นการดี การสำรวมทาง

ใจเป็นการดี การสำรวมในที่ทั้งปวงเป็น

การดี บุคคลสำรวมในที่ทั้งปวงแล้วมี

ความละอายต่อบาป เรากล่าวว่าเป็นผู้

รักษาตน.

อรรถกถาอัตตรักขิตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัตตรักขิตสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า หตฺถิกาโย ได้แก่ หมู่พลช้าง. แม้ในหมู่พลที่เหลือก็นัยนี้

เหมือนกัน. บทว่า สวโร ได้แก่ ปิด. ด้วยบทว่า สาธุ สพฺพตฺถ สวโร

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความสำรวมแห่งกรรมที่ยังไม่ถึงความแตก

แห่งกรรมบถ. บทว่า ลชฺชี แปลว่า ผู้มีหิริละอาย แม้โอตตัปปะ ก็เป็น

อันทรงถือเอาแล้วด้วย ลัชชี ศัพท์ในบทนี้.

จบอรรถกถาอัตตรักขิตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

๖. อัปปกสูตร

[๓๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

แห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง.

พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูล พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

วันนี้ หม่อมฉันได้เข้าห้องส่วนตัวพักผ่อนอยู่ได้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า สัตว์เหล่า

ใดได้โภคทรัพย์ยิ่ง ๆ แล้ว ย่อมไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่ติดอยู่ในกามคุณ

และไม่พระพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนน้อยในโลก ส่วนว่า

สัตว์เหล่าใดได้โภคทรัพย์ยิ่ง ๆ แล้วย่อมมัวเมา ประมาท ติดอยู่ในกามคุณ

และประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นแลมีจำนวนมากมายในโลก.

[๓๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ถูกแล้ว ๆ มหาบพิตร สัตว์

เหล่าใดได้โภคทรัพย์ยิ่ง ๆ แล้ว ย่อมไม่มัวเมา ไม่ประมาท ไม่ติดอยู่ในกาม

คุณ และไม่ประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนน้อยในโลก ส่วน

ว่าสัตว์เหล่าใดได้โภคทรัพย์ยิ่ง ๆ แล้ว ย่อมมัวเมา ประมาท ติดอยู่ในกาม

คุณ และประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลาย สัตว์เหล่านั้นมีจำนวนมากมายในโลก.

[๓๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำ

ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าใน

โภคทรัพย์ที่น่าใคร่ มักมากหมกมุ่นใน

กามคุณย่อมไม่รู้สึกตัวว่าละเมิด (ประพฤติ

ผิดในสัตว์พวกอื่น) เหมือนพวกเนื้อไม่รู้

สึกตัวว่ามีแร้วโก่งดักไว้ ฉะนั้น ผลเผ็ด

ร้อนย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง

เพราะว่ากรรมนั้นมีวิบากเลวทราม.

อรรถกถาอัปปกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัปปกสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า อุฬาเร อุฬาเร ได้แก่อันประณีตและมาก. บทว่า มชฺชนฺติ

ได้แก่เมาด้วยความเมาด้วยมานะ. บทว่า อติสาร ได้แก่ล่วงเข้าไป. บทว่า

กูฏ ได้แก่บ่วง. บทว่า ปจฺฉาส แยกออกว่า ปจฺฉา เตส.

จบอรรถกถาอัปปกสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

๗. อัตถกรณสูตร

[๓๔๓] พระเจ้าปเสนทิโกศล ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ หม่อมฉันได้นั่ง ณ ศาล

พิจารณาคดี เห็นกษัตริยมหาศาลบ้าง พราหมณมหาศาลบ้าง คฤหบดีมหาศาล

บ้าง ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมากมาย มี

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจมากมาย. มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ยังกล่าวมุสาทั้งที่

รู้สึกอยู่ เพราะเหตุแห่งกาม เพราะเรื่องกาม เพราะมีกามเป็นเค้ามูล หม่อมฉัน

ได้เกิดความนึกคิดอย่างนี้ว่า เป็นการไม่สมควรที่เราจะพิจารณาคดีในบัดนี้

(เพราะ) บัดนี้ ราชโอรสนามว่าวิฑูฑภะผู้มีหน้าชื่นบาน จักมาพิจารณาคดี.

[๓๔๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ชอบแล้ว ๆ มหาบพิตร

กษัตริยมหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาล แม้บางพวกเป็นผู้มั่งคั่ง

มีทรัพย์มาก ฯลฯ มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย ยังจักกล่าวมุสาทั้งที่รู้สึกอยู่

เพราะเหตุแห่งกาม เพราะเรื่องกาม เพราะมีกามเป็นเค้ามูล ข้อนั้นจักเป็นไป

เพื่อความเสื่อมประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่พวกเขาตลอดกาลนาน.

[๓๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์

คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้กำหนัดกล้าใน

โภคทรัพย์ที่น่าใคร่ มักมาก หมกมุ่นใน

กามคุณ ย่อมไม่รู้สึกตัวว่าก้าวล่วง เหมือน

พวกปลากำลังเข้าไปสู่เครื่องดัก ซึ่งอ้าดัก

อยู่ ไม่รู้สึกตัวฉะนั้น ผลอันเผ็ดร้อน

ย่อมมีแก่สัตว์พวกนั้นในภายหลัง ด้วยว่า

กรรมนั้นมีวิบากเลวทราม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

อรรถกถาอัตถกรณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัตถกรณสูตรที่ ๗ ต่อไป :-

บทว่า กามเหตุ ได้แก่ มีกามเป็นมูล. บทว่า กามนิทาน ได้แก่

มีกามเป็นปัจจัย. บทว่า กามาธิกรณ ได้แก่มีกามเป็นเหตุ หมดทุกบทนั้น

เป็นคำไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า ภทฺรมุโข แปลว่า หน้าดี. ได้ยินว่า

วันหนึ่ง พระราชาเสด็จออกประทับนั่ง ฟังการพิจารณาคดีความ. ในคดีนั้น

พวกอมาตย์รับสินบนเข้ามาก่อนนั่งวินิจฉัยคดี ก็ตัดสินให้ผู้มีใช้เจ้าของทรัพย์สิน

กลายเป็นเจ้าของทรัพย์สินไป. พระราชาทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงพระดำริ

ว่า ต่อหน้าเราผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน อำมาตย์พวกนี้ยังกระทำถึงเพียงนี้

ลับหลังเรา เขาจักไม่ทำกระไรได้ บัดนี้ วิฑูฑภเสนาบดีจักปรากฏเป็นพระราชา

เอง ประโยชน์อะไรของเราจะนั่งที่เดียวกับพวกอมาตย์กินสินบน พูดมดเท็จ

เห็นปานนี้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า ขิปฺปว โอฑฺฑิต ได้แก่

เหมือนปลาเข้าไปสู่เครื่องดัก อธิบายว่า ปลาทั้งหลายเข้าไปสู่เครื่องดักที่เขา

ดักไว้ยังไม่รู้สึกตัวฉันใด สัตว์ทั้งหลายล่วงเข้าไปสู่วัตถุกาม ด้วยกิเลสกาม

ก็ไม่รู้สึกตัว ฉันนั้น.

จบอรรถกถาอัตถกรณสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

๘. มัลลิกาสูตร

[๓๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน อาราม

แห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลกับพระนางมัลลิการาชเทวีได้ประทับ

ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสกับพระนางมัลลิการาชเทวีว่า

มัลลิกา คนซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตน มีแก่เธอบ้างไหม.

พระนางมัลลิกาได้ทูลสนองว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า คนซึ่งเป็นที่รักยิ่ง

กว่าตน ไม่มีแก่หม่อมฉันดอก มีแก่พระองค์บ้างหรือ.

พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า แน่ะมัลลิกา คนซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตน

ย่อมไม่มีแม้แก่ฉัน.

[๓๔๗] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลงจากปราสาทเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคม แล้วประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ วันนี้ ข้าพระองค์ได้อยู่ที่ปราสาทอันประเสริฐชั้นบนกับพระนางมัลลิกา-

ราชเทวี ได้พูดกับพระนางมัลลิการาชเทวีว่า แน่ะมัลลิกา คนซึ่งเป็นที่รักยิ่ง

กว่าตน มีอยู่แก่เธอบ้างไหม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางมัลลิการาชเทวี

ได้ตอบว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า คนซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตน ไม่มีแก่หม่อมฉัน

ดอก มีอยู่แก่พระองค์บ้างไหม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้พูดกับ

พระนางมัลลิการาชเทวีว่า แน่ะมัลลิกา คนซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตน ไม่มีแม้

แก่ฉันเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

[๓๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึง

ได้ตรัสพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า

บุคคลค้นหาด้วยจิตตลอดทุกทิศ

ไม่ได้พบใครซึ่งเป็นที่รัก ยิ่งกว่าตนในที่

ไหน ๆ เลย สัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นก็รัก

คนมากเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น

ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น.

อรถกถามัลลิกาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมัลลิกาสูตรที่ ๘ ต่อไป :-

เพราะเหตุไร พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสถามว่า อตฺถิ โข เต

มลฺลิเก เป็นต้น. ได้ยินว่า พระนางมัลลิกานี้ เป็นธิดาของนายช่างทำดอกไม้

ผู้เข็ญใจ วันหนึ่ง ถือขนมจากตลาด คิดว่าจักไปสวนดอกไม้แล้วจึงจักกินขนม

เดินไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้า มีภิกษุเป็นบริวาร เสด็จเข้าไปแสวงหาอาหาร

สวนทางกัน ก็มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายขนมนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงอาการจะประทับนั่ง. พระอานนทเถระจึงได้ปูผ้าถวาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ณ ที่นั้นแล้วเสวยขนม ล้างพระโอษฐ์แล้ว

ได้ทรงทำความแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ. พระเถระทูลถามว่า ด้วยการถวาย

ขนมนี้ จักมีผลอะไร พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ วันนี้

นี่แหละ นางมัลลิกานั้นได้ถวายโภชนะแก่ตถาคตเป็นคนแรก วันนี้นี่แหละ

นางก็จักได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าโกศล วันนั้นนั่นแล พระราชาผู้อัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

พระเจ้าหลาน (พระเจ้าอชาตศัตรู) ทรงให้ปราชัยในการรบที่หมู่บ้านกาสี (กาสิก

คาม) พ่ายหนีไป กลับมาสู่พระนคร เสด็จเข้าไปยังสวนดอกไม้ ทรงคอย

หมู่ทหารกลับมา. นางมัลลิกานั้น ได้ทำการปรนนิบัติถวายท้าวเธอ. พระเจ้า

ปเสนทิโกศล ทรงเลื่อมใสในข้อวัตรปฏิบัติที่นางทำถวาย จึงโปรดให้นำนาง

เข้าไปภายในพระบุรี ทรงสถาปนานางไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี.

ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระดำริว่า เราให้อิศริยยศ

อย่างใหญ่แก่ธิดาของตระกูลที่เข็ญใจผู้นี้ ถ้ากระไร เราจะควรถามนางว่า

ใครเป็นที่รักของเจ้า. นางจะตอบว่า พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงเป็นที่รัก

ของหม่อมฉัน แล้วจักถามเราอีกว่า เมื่อเป็นดังนั้น เราจะบอกแก่นางว่า

เจ้าคนเดียวเป็นที่รักของเรา ดังนี้. พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น เมื่อจะตรัสพระ-

วาจาที่บันเทิง เพื่อให้เกิดความสนิทสนมกะกันแลกัน จึงถาม. ส่วนพระนาง

มัลลิกาเทวีนั้น เป็นบัณฑิต เป็นอุปัฏฐายิกาของพระพุทธเจ้า เป็นอุปัฏฐายิกา

ของพระสงฆ์ มีปัญญามาก เพราะฉะนั้น พระนางจึงทรงดำริอย่างนี้ว่า เรา

ไม่พึงเห็นแก่หน้าพระราชา ตอบปัญหานี้. ครั้นตรัสตอบตามรสนิยมของตน

แล้ว ก็ทูลถามพระราชาบ้าง. พระราชาเมื่อกลับพระวาจาไม่ได้ เพราะพระนาง

ตรัสตามรสนิยมของพระนางเอง แม้พระองค์เองก็ตรัสตามรสนิยมเหมือนกัน

ทรงพระดำริว่า จักให้พระนางกราบทูลเหตุนี้แด่พระตถาคต ดังนี้แล้ว ก็เสด็จ

ไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า เนวชฺฌคา แปลว่า ไม่พบ.

บทว่า เอว ปิโย ปุถุ อตฺตา ปเรส ความว่า คนเป็นที่รักของตนเท่านั้น

ฉันใด คนอื่นก็เป็นที่รักของคนอื่น ๆ แม้เป็นอันมาก ฉันนั้น.

จบอรรถกถามัลลิการสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

๙. ยัญญสูตร

[๓๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

แห่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตระเตรียมการบูชามหายัญโคผู้ ๕๐๐

ตัว ลูกโคผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ แพะ ๕๐๐ ตัว และแกะ ๕๐๐

ตัว ถูกนำไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ แม้ชนบางคนของพระเจ้าปเสนทิโกศล

นั้น เป็นทาส คนใช้หรือกรรมกรที่มีอยู่ แม้ชนเหล่านั้นก็ถูกอาชญา ถูกภัย

คุกคาม มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้พลาง กระทำบริกรรมไปพลาง.

[๓๕๐] ครั้งนั้นแล พวกภิกษุหลายรูปครองผ้าเรียบร้อยแล้วในเวลา

เช้าถือบาตรและจีวรเข้าไปสู่กรุงสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตใน

เวลาหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตระเตรียมการบูชามหายัญโคผู้ ๕๐๐ ตัว ลูกโคผู้

๕๐๐ ตัว ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ ตัว แพะ ๕๐๐ ตัว และแกะ ๕๐๐ ตัว ถูกนำ

ไปผูกไว้ที่หลักเพื่อบูชายัญ แม้ชนบางคนของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น เป็นทาส

คนใช้หรือกรรมกรที่มีอยู่ ชนแม้เหล่านั้นก็ถูกอาชญา ถูกภัยคุกคาม มีหน้า

นองด้วยน้ำตาร้องไห้พลาง กระทำบริกรรมไปพลาง.

[๓๕๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึง

ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

มหายัญที่มีการตระเตรียมมาก มีการ

ฆ่าแพะ แกะ โค และสัตว์ชนิดต่าง ๆ

คือ อัศวเมธ ปุริสเมธ สัมมาปาสะ

วาชเปยยะ นิรัคคฬะ มหายัญเหล่านั้น

เป็นยัญไม่มีผลมาก (เพราะ) พระพุทธเจ้า

เป็นต้นผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้ดำเนิน

ปฏิปทาอันชอบ ย่อมไม่แนะนำยัญนั้น.

๑. อัศวเมธ ได้แก่การฆ่าม้าบูชายัญ แต่ชื่อนี้หมายความกว้างกว่านั้น คือ หมายถึง

ยัญที่บูชาด้วยสมบัติทุกอย่าง เว้นที่ดินแลคน ซึ่งเขาตั้งเสายัญ ๒๑ เสา สำหรับผูกปศุสัตว์ที่จะ

ต้องฆ่าประมาณ ๕๙๗ ชนิด เพื่อบูชายัญ แล้วทำการบูชาอยู่หลายวันกว่าจะเสร็จพิธี แต่ฉบับ

พม่าเพี้ยนไปเป็น สสฺสเมธ แปลว่าสัสสเมธ เป็นยัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรง

แสดงแก่พระเจ้ามหาวิชิตราชในกูฏทันตสูตร หมายความว่าการเก็บค่านาตามธัญญาหารที่สำเร็จ

ผลสิบส่วน เก็บไว้เป็นส่วนหลวงส่วนหนึ่ง นี่เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่งของพระเจ้าจักรพรรดิ

ไม่ตรงกับเรื่องในพระสูตรนี้.

๒. ปุริสเมธ ได้แก่การฆ่าคนบูชายัญ แต่ความจริงหมายเฉพาะยัญที่บูชาด้วยสมบัติ

ต่าง ๆ อย่างอัศวเมธนั้น แต่รวมที่ดินเข้าด้วย แต่ในพระพุทธศาสนา หมายถึงการพระราช-

ทานทรัพย์เป็นเบี้ยเลี้ยงและบำเหน็จบำนาญแก่ทวยหาญทุก ๖ เดือน เป็นสังคหวัตถุของพระเจ้า

จักรพรรดิประการหนึ่ง.

๓. สัมมาปาสะ ได้แก่การผูกสัตว์บูชายัญ โดยเขาทำพิธีเหวี่ยงท่อนไม้สำหรับต้อน

สัตว์เข้าไปที่หลักบูชาเพลิงทั้งคู่ แล้วร่ายเวทตรงที่ท่อนไม้นั้นตก ทำการบูชาตามพิธีผู้บูชาต้อง

เป็นคนได้เดินทางย้อนไปตามแม่น้ำสวัสดีแล้วด้วย จึงจะเข้าพิธีได้ แต่ที่ในพระพุทธศาสนาจัด

เป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงการเรียกหนังสือสารกรรมธรรม์กู้แต่ชาวเมืองที่

ขัดสนแล้วพระราชทานทรัพย์ให้กู้ โดยไม่เรียกดอกเบี้ยเป็นเวลา ๓ ปี.

๔. วาชเปยยะ ได้แก่ยัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งเขาผูกปศุสัตว์ ๗ ชนิดบูชา แต่ที่เป็น

สังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงการตรัสพระวาจาอันอ่อนหวาน เป็นที่ดูดดื่มน้ำใจ

ของประชาชน

๕. นิรัคคฬะ ได้แก่ยัญที่ไม่ต้องมีหลักยัญสำหรับบูชา หมายถึงพิธีชนิดเดียวกับ

อัศวเมธ แต่บูชาด้วยสมบัติทุกอย่าง ไม่มียกเว้นอะไร ฉะนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

สรรพเมธ แต่ที่ในพระพุทธศาสนาจัดเป็นสังคหวัตถุของพระเจ้าจักรพรรดิ หมายถึงผลที่

พระมหากษัตริย์สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ ข้างต้นนั้น ที่เป็นเหตุให้รัฐมั่งคั่งสมบูรณ์ ไม่มี

โจรผู้ร้ายและประชาราษฎร์บันเทิงใจเป็นอยู่ อย่างที่กล่าวว่า ประตูเรือนไม่ต้องลงลิ่มกลอน

ระวังก็ได้ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

ส่วนยัญใด มีการตระเตรียมน้อย

ไม่มีการฆ่า แพะ แกะ โค และสัตว์

ชนิดต่าง ๆ ซึ่งบุคคลบูชาสืบตระกูลคุณอัน

พระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้แสวงหาคุณอัน

ยิ่งใหญ่ ผู้ดำเนินปฏิปทาอันชอบ ย่อม

แนะนำยัญนั้น.

ผู้มีปัญญาควรบูชายัญนั้น ยัญนั้น

เป็นยัญมีผลมาก เมื่อบุคคลบูชายัญนั้น

นั่นแหละ ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความ

ชั่วช้าเลวทราม ยัญก็เป็นยัญอย่างไพบูลย์

และเทวดาย่อมเลื่อมใส.

อรรถกถายัญญสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในยัญญสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า ถุนุปนีตานิ ได้แก่นำเข้าไปยังหลัก ผูกไว้กับหลัก. บทว่า

ปริกมฺมานิ กโรนฺติ ได้แก่ ยัญที่พระราชาทรงเริ่ม ถูกภิกษุเหล่านั้น กราบ

ทูลแด่พระตถาคต ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. ก็เพราะเหตุไร พระราชาจึงทรง

เริ่มยัญนี้. ก็เพราะจะทรงกำจัดฝันร้าย. เล่ากันว่า วันหนึ่ง พระราชาประดับ

เครื่องอลังการทุกอย่าง ประทับบนคอช้างต้นตัวดี เลียบพระนคร ทอดพระ

เนตรเห็นสตรีผู้หนึ่งเปิดหน้าต่างมองดู (กระบวน) มีพระทัยปฏิพัทธ์ต่อนาง

เสด็จกลับจากที่นั้นทันทีเข้าสู่พระราชวังตรัสบอกความนั้นแก่ราชบุรุษคนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

แล้วทรงส่งเขาไป สั่งให้สืบว่า สตรีผู้นั้น มีสามีหรือยังไม่มีสามี ราชบุรุษนั้นก็

ไปถามสตรีผู้นั้น. สตรีผู้นั้นก็แสดงว่า นั่นสามีของดิฉันนั่งที่ตลาด ราชบุรุษ

ก็กลับมาทูลความนั้นแด่พระราชา พระราชาโปรดให้เรียกบุรุษผู้ [สามี] นั้นมา

สั่งว่า เจ้าจงปรนนิบัติเรา [เป็นองครักษ์] ถูกบุรุษนั้นทูล ทัดทานว่า

ขอเดชะ ข้าพระองค์ไม่รู้ที่จะปรนนิบัติ พระเจ้าข้า รับสั่งว่า ธรรมดาว่าการ

ปรนนิบัติ ไม่จำต้องเล่าเรียนในสำนักอาจารย์ดอกแล้วทรงให้เขาถืออาวุธและโล่

โดยพลการ ตั้งเขาให้ทำหน้าที่คนปรนนิบัติ บุรุษนั้นพอปรนนิบัติแล้วก็กลับ

บ้านเลย โปรดให้เรียกเขามาอีก รับสั่งว่า ธรรมดาว่าผู้ปรนนิบัติ จะต้องทำ

ตามคำสั่งของพระราชา. เจ้าจงไปสระโบกขรณีสำหรับชำระศีรษะของเรา ที่

หนทางโยชน์หนึ่งจากที่นี้มีอยู่ จงเอาดินสีแดงเรื่อและดอกอุบลสีแดงจากสระนั้น

มา ถ้าเจ้ามาไม่ทันวันนี้ เราจักลงราชอาชญาเจ้าแล้วทรงส่งเขาไป บุรุษนั้นก็

ออกไป เพราะกลัวราชภัย.

เมื่อบุรุษนั้นไปแล้ว แม้พระราชา ก็ให้เรียกนายประตูเมืองมาสั่งว่า

วันนี้ พอตกเย็นก็ปิดประตูเมืองเลย แม้จะมีคนบอกว่า เราเป็นราชทูต หรือ

อุปทูตก็อย่าเปิด บุรุษนั้น ได้ดินและดอกอุบลแล้วก็มาถึง เมื่อประตูเมืองปิด

พอดี แม้จะพูดมากมายอย่างไรก็เข้าไม่ได้ จึงเลยไปยังวัดพระเชตวัน เพราะ

กลัวอันตราย. ถึงพระราชาเองก็ถูกความรุ่มร้อนอย่างแรงครอบงำ เดี๋ยวนั่ง

เดี๋ยวยืน เดี๋ยวบรรทม. เมื่อตกลงพระทัยไม่ได้ ก็ประทับนั่ง ณ ที่แห่งใดแห่ง

หนึ่ง หลับแบบลิงหลับ [ทรงเคลิ้มไป].

แม้ยุคก่อน บุตรเศรษฐี ๔ คนในพระนครนั้นนั่นแหละทำปรทารก-

กรรม บังเกิดในนรกโลหกุมภี ชื่อนันโทปนันทา. สัตว์นรกเหล่านั้น

ถูกเคี่ยวร่างเป็นฟอง ๓๐,๐๐๐ ปี จึงลงไปถึงก้นหม้ออีก ๓๐,๐๐๐ ปีจึงขึ้นถึง

ปากหม้อ. วันหนึ่ง พวกเขาเห็นแสงสว่าง ประสงค์จะกล่าวคาถาตนละคาถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

เพราะกลัวกรรมที่ทำชั่ว แต่ก็ไม่อาจจะกล่าวได้ กล่าวได้เพียงคนละอักษร

เท่านั้น ตนหนึ่งกล่าว * อักษร ตนหนึ่งกล่าว โส อักษร ตนหนึ่งกล่าว

อักษร ตนหนึ่งกล่าว ทุ อักษร พระราชา จำเดิมแต่ได้ยินเสียงของสัตว์นรก

เหล่านั้น ก็ไม่ได้ความสุข ปล่อยเวลาที่เหลือของราตรีนั้นให้ล่วงไป. เมื่อรุ่ง

อรุณ ปุโรหิตมาทูลถามถึงความบรรทมเป็นสุข. ท้าวเธอก็รับสั่งว่า เราจะเป็น

สุขได้แต่ที่ไหนเล่า อาจารย์ จึงตรัสเล่าว่า เราฝันว่าได้ยินเสียงอย่างนี้. พราหมณ์

คิดว่า เพราะพระสุบินนี้ของพระราชาพระองค์นี้ ความเจริญหรือความเสื่อมคง

ไม่มี ก็แต่ว่า สิ่งใดมีในเรือนหลวงนี้ สิ่งนั้นก็จะตกแก่พระสมณโคดม ตก

แก่สาวกของพระสมณโคดม แม้พวกพราหมณ์ก็จะไม่ได้อะไรๆ เลย จำเราจะ

ทำอาหารให้เกิดขึ้นแก่พวกพราหมณ์ ดังนี้แล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหา-

ราชเจ้า พระสุบินร้ายนักในความเสื่อม ๓ อย่าง จักปรากฏความเสื่อมอย่างหนึ่ง

คือ จักมีอันตรายแก่ราชสมบัติ จักมีอันตรายแก่พระชนม์ชีพ หรือใต้ฝ่าพระบาท

จักประทับอยู่ไม่ได้ พระเจ้าข้า. รับสั่งถามว่า ความสวัสดีจะพึงมีได้อย่างไรเล่า

อาจารย์ กราบทูลว่า ต้องปรึกษากันจะรู้ได้ พระเจ้าข้า รับสั่งว่า ไปปรึกษา

กับพวกอาจารย์แล้ว มาทำความสวัสดีแก่เรา.

พราหมณ์ปุโรหิตนั้น ประชุมพวกพราหมณ์ที่โรงเก็บวอ [ยานพาหนะ]

บอกความนั้นแล้ว ทำให้เป็น ๓ พวกด้วยตกลงกันว่า ต่างคนต่างไปกราบทูล

อย่างนี้. พราหมณ์ทั้งหลายก็ไปเข้าเฝ้า ทูลถามพระราชาถึงการบรรทมเป็นสุข

พระราชาก็ตรัสโดยทำนองที่ตรัสแก่พราหมณ์ปุโรหิตนั้นแล้วรับสั่งถามว่า ความ

สวัสดีจะพึงมีได้อย่างไรเล่า อาจารย์ พวกพราหมณ์ผู้ใหญ่พากันกราบทูลว่า

เพราะทรงบูชายัญอย่างละ ๕๐๐ ทุกอย่าง พระองค์ก็จะพึงมีความสวัสดี อาจารย์

ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ พระเจ้าข้า. พระราชาทรงฟังพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว

ไม่ทรงรับ ไม่ทรงปฏิเสธ นิ่งเสีย ลำดับนั้น แม้พราหมณ์พวกที่ ๒ ก็มากราบ

ทูลอย่างนั้นเหมือนกัน. แม้พราหมณ์พวกที่ ๓ ก็อย่างนั้น ครั้งนั้นพระราชา

* คาถาสัตว์นรก ๔ ตน ในที่อื่นกล่าวว่า ทุ. ส. น. โส. ก็มี. . .

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

มีพระราชโองการสั่งว่า พวกเจ้าหน้าที่จงจัดทำยัญทั้งหลาย. นับแต่นั้น พวก

พราหมณ์ก็ให้นำสัตว์มีชีวิตเช่นโคเป็นต้นมา. ในพระนครก็เกิดเสียงอื้ออึง

ขนานใหญ่ พระนางมัลลิกาทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ก็ทรงชักนำพระราชาไปยัง

สำนักของพระตถาคต ท้าวเธอเสด็จไปถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท้าว

เธอว่า ถวายพระพร มหาบพิตรเสด็จไปไหนมาแต่วัน. พระราชาทูลว่า

พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝันไป ได้ยินเสียง ๔ เสียง จึงถามพวกพราหมณ์

พวกพราหมณ์บอกว่า ฝันร้าย พวกเขาจะทำการบูชายัญ อย่างละ ๕๐๐ ทุกอย่าง

จึงจะแก้ได้ ดังนั้น พวกเขาจึงเริ่มยัญ. ตรัสถามว่า มหาบพิตรได้ยินเสียงว่า

กระไร. ท้าวเธอก็ทูลตามที่ทรงได้ยิน ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะ

ท้าวเธอว่า ถวายพระพร แต่กาลก่อน ในพระนครที่นี้แหละ บุตรเศรษฐี ๔ คน

กระทำความผิดในภรรยาผู้อื่น บังเกิดในโลหกุมภีนรก ขุมนันโทปนันทา จมลง

สุด ๖๐,๐๐๐ ปี บรรดาสัตว์นรก ๔ ตนนั้น ตนหนึ่งต้องการจะกล่าวคาถาหนึ่งว่า

สฏฺิวสฺสสหสฺสานิ ปริปุณฺณนิ สพฺพโส

นิรเย ปจฺจมานาน กทา อนฺโต ภวิสฺสติ

เราไหม้อยู่ในนรกตั้ง ๖๐,๐๐๐ ปีเต็ม

ครบทุกอย่าง เมื่อไร จักสิ้นสุดกันเสียที.

ตนที่ ๒ ต้องการจะกล่าวคาถาหนึ่งว่า

โสห นูน อิโต คนฺตฺวา โยนึ ลทฺธาน มานุสึ

วทญฺญู สีลสมฺปนิโน กาหามิ กุสล พหุ

เรานั้นพ้นไปจากโลหกุมภีนี้แล้ว ได้

กำเนิดเป็นมนุษย์ รู้ถ้อยคำของยาจก (ให้

ทาน) มีศีลลมบูรณ์ จักต้องสร้างกุศลไว้ให้

มาก เป็นแน่แท้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

ตนที่ ๓ ต้องการจะกล่าวคาถาหนึ่งว่า

นตฺถิ อนฺโต กุโต อนุโต น อนฺโต ปฏิทิสฺสติ

ตทา หิ ปกต ปาป มม ตุมฺหญฺจ มาริสา

ไม่มีสิ้นสุด จะสิ้นสุดได้แต่ที่ไหน

ความสิ้นสุดไม่ปรากฏเลย ดูราพวกเราเอ๋ย

ก็เพราะข้ากับเจ้าทำบาปกรรมไว้มาก ใน

ครั้งนั้น.

ตนที่ ๔ ต้องการจะกล่าวคาถาหนึ่งว่า

ทุชฺชีวิตมชีวมฺหา เยส เตน ททมฺห เส

วิชฺชมาเนสุ โภเคสุ ทีปนฺนากมฺห อตฺตโน

พวกเราเมื่อมีโภคสมบัติอยู่ ไม่ได้

ให้ทานเลย ไม่ได้ทำที่พึ่งสำหรับตนเลย

จัดว่ามีชีวิตอยู่อย่างชั่วชาติ.

สัตว์นรกเหล่านั้น ไม่อาจกล่าวคาถาเหล่านี้ได้ กล่าวอักษรได้ตนละ

อักษรเท่านั้นเอง แล้วก็จมหายไปอย่างนั้นนั่นแหละ ถวายพระพร สัตว์นรก

เหล่านั้น พากันร้องด้วยประการฉะนี้ เพราะทรงได้ยินเสียงนั้นเป็นเหตุ

ความเสื่อมหรือความเจริญ มิได้มีแก่นหาบพิตรดอก แต่กรรมคือการเข่นฆ่า

ปศุสัตว์เห็นปานนี้สิ หนักนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขู่ด้วยภัยในนรกแล้ว

ก็ตรัสธรรมกถา. พระราชาทรงเลื่อมใสในพระทศพล ทูลว่า ข้าพระองค์จะ

ปล่อย จะให้ชีวิตแก่ปศุสัตว์เหล่านั้น คนทั้งหลายจงให้ของเขียวและหญ้า

ปศุสัตว์เหล่านั้น จงให้ดื่มน้ำที่เย็นสนิท ลมจงโชยแก่ปศุสัตว์เหล่านั้นแล้ว ทรง

สั่งคนทั้งหลายให้ไปนำปศุสัตว์ออกไป คนเหล่านั้นไปไล่พวกพราหมณ์ให้หนี

ไปแล้ว ปลดฝูงสัตว์ออกจากเครื่องจองจำแล้วให้ตีธรรมเภรีกลองประกาศธรรม

ในพระนคร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ขณะนั้น พระราชาประทับนั่งในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลว่า

พระเจ้าข้า ธรรมดาว่าคืนหนึ่งมี ๓ ยาม แต่วันนี้ ๒ คืน ปรากฏแก่ข้าพระองค์

เหมือนติดต่อกันเป็นคืนเดียว. บุรุษ (สามีนางผู้นั้น ) แม้นั่น นั่งอยู่ในที่นั้นด้วย

ก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาว่าโยชน์หนึ่ง ก็มี ๓ คาวุต

แต่วันนี้ ๒ โยชน์ปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนติดต่อกันเป็นโยชน์เดียว. ลำดับ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คืนหนึ่งปรากฏยาวนานสำหรับคนตื่นนอนไม่

หลับก่อนอื่น โยชน์หนึ่งปรากฏยาวไกลสำหรับคนเดินล้า แก่สังสารวัฏ ที่มี

เบื้องต้นตามไปไม่รู้แล้ว ยืดยาวส่วนเดียวเท่านั้น สำหรับปุถุชนผู้เขลา ซึ่ง

ตกอยู่ในวัฏฏะ ทรงปรารภพระราชา บุรุษผู้นั้น และเหล่าสัตว์นรกแล้ว

ได้ตรัสคาถานี้ในคัมภีร์พระธรรมบทว่า

ทีฆา ชาครโต รตฺติ ทีฆ สนฺตสฺส โยชน

ทีโฆ พาลาน สสาโร สทฺธมฺม อวิชานต

คืนหนึ่งยาวนานสำหรับคนนอนไม่หลับ

โยชน์หนึ่งยาวไกล สำหรับคนเมื่อยล้า

สังสารวัฏยืดยาวสำหรับเหล่าคนเขลาผู้ไม่รู้

พระสัทธรรม ดังนี้.

เมื่อจบพระคาถา บุรุษผู้เป็นสามีของสตรีแม้นั้น ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติ

ผล. บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา แปลว่า ทรงทราบเหตุนั้น.

บทว่า สสฺสเมธ ความว่า ได้ยินว่า ในรัชสมัยของพระราชาแต่

โบราณ ได้มีสังคหวัตถุ ๔ คือ สัสสเมธะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ

ที่พระราชาทั้งหลายทรงสงเคราะห์โลก. บรรดาสังคหวัตถุ ๔ นั้น การถือเอา

ส่วนที่ ๑๐ จากข้าวกล้าที่สำเร็จแล้ว ชื่อว่า สัสสเมธะ อธิบายว่า ความเป็น

ผู้ฉลาดในอุบายอันจะทำข้าวกล้าให้สมบูรณ์. การมอบให้ค่าจ้างบำเหน็จประจำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

๖ เดือน แก่เหล่านักรบใหญ่ ชื่อว่า ปุริสเมธะ อธิบายว่า ความเป็นผู้ฉลาด

โดยการสงเคราะห์บุรุษ. การรับหนังสือ (เอกสารการกู้ยืม) จากมือของเหล่า

ผู้คนที่ยากจน แล้วมอบให้ทรัพย์หนึ่งพันสองพัน ปลอดดอกเบี้ย ๓ ปี ชื่อว่า

สัมมาปาสะ. จริงอยู่ กิจอันนั้น ย่อมคล้องเหล่าผู้คนไว้โดยชอบ เหมือนผูกใจไว้

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาปาสะ. ส่วนการพูดวาจาไพเราะ โดยนัยว่า

พ่อ ลุง เป็นต้น ชื่อว่า วาชเปยยะ อธิบายว่า วาจาน่ารัก (ควรดื่มไว้ในใจ)

รัฐคือแว่นแคว้น ที่สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔ อย่างนี้ ย่อมมั่นคง แผ่ขยาย

มีข้าวน้ำมาก มีความเกษม ไร้ภยันตราย ผู้คนทั้งหลาย ก็ร่าเริงบันเทิงใจ

ให้ลูกร่ายรำอยู่บนอก ไม่ต้องปิดประตูบ้านเรือนอยู่กัน. ข้อที่เรียกว่า นิรัคคฬะ

เพราะไม่มีลูกกลอนใส่ประตูบ้านเรือน. นี้เป็นประเพณีโบราณ.

แต่ต่อมาครั้งพระเจ้าโอกกากราช พวกพราหมณ์เปลี่ยนสังคหวัตถุ ๔

เหล่านี้ และสมบัติของรัฐเสีย แล้วขนานชื่อยัญ ๕ มี อัสสเมธะ ปุริสเมธะ

เป็นต้น ทำให้มีมูลค่าสูงขึ้น. บรรดายัญ ๕ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า อัสสเมธะ

(อัศวเมธ) เพราะฆ่าม้าในยัญนั้น คำนี้เป็นชื่อยัญที่ทำทักษิณาสมบัติทุกอย่าง

ที่เหลือเว้นที่ดินและบุรุษ มีเสา ๒๑ เสา ที่พึงบูชาด้วยปริยัญทั้ง ๒ มีการฆ่า

ปศุสัตว์ ๕๙๗ ตัวที่น่าสะพึงกลัว ในวันกลางวันหนึ่งเท่านั้น. ที่ชื่อว่าปุริสเมธะ

เพราะฆ่าบุรุษในยัญนั้น คำนี้เป็นชื่อยัญ ที่ทำทักษิณาสมบัติดังกล่าวแล้วใน

อัสสเมธะ พร้อมทั้งที่ดิน ที่พึงบูชาด้วยปริยัญทั้ง ๔. ที่ชื่อว่า สัมมาปาสะ

เพราะคล้องท่อนไม้ในยัญนั้น. คำนี้เป็นชื่อสัตตยาคะ (ของที่บูชา ๗ อย่าง)

ที่คนเหวี่ยงท่อนไม้ กล่าวคือไม้สอดเข้าไปในช่องแอกทุก ๆ วันแล้ว ร่ายเวท

ในโอกาสที่ท่อนไม้นั้นตก เดินย้อนกลับตั้งแต่โอกาสที่ดำลงในแม่น้ำสรัสวดี

พึงบูชาด้วยเสาเป็นต้น ที่เคลื่อนที่ได้ (ยกเอาไปได้). ที่ชื่อว่า วาชเปยยะ

เพราะดื่มวาชะ (กำลังหรือสงคราม) ในยัญนั้น คำนี้เป็นชื่อยัญ ที่ทำของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

ทักษิณา มีรส ๗ อย่าง ใช้เสาไม้มะตูม ที่พึงบูชาด้วยเหล่าปศุสัตว์ มีรส

๗ ชนิด ด้วยปริยัญอย่างหนึ่ง. ที่ชื่อว่า นิรัคคฬะ เพราะไม่มีลิ่มกลอนใน

ยัญนั้น คำนี้เป็นชื่อยัญที่กำหนดไว้ในอัสสเมธะ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

สรรพเมธะ ที่ทำทักษิณาสมบัติดังกล่าวไว้ในอัสสเมธะ พร้อมทั้งที่ดินและ

เหล่าบุรุษ ที่พึงบูชาด้วยปริยัญ ๙. บทว่า มหารมฺภา ได้แก่ มีกิจมาก

มีกรณียะมาก. บทว่า สมฺมคฺคตา ได้แก่ ผู้ดำเนินไปโดยชอบ มีพระพุทธเจ้า

เป็นต้น. บทว่า นิภรมฺภา ได้แก่ มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย. บทว่า

ยชนฺตานุกุล ได้แก่ บูชาตามตระกูล. อธิบายว่า พวกผู้คนไม่เข้าไปตัดทาน

มีนิตยภัตเป็นต้น ที่บุรพบุรุษตั้งไว้แล้วให้ทานสืบ ๆ ต่อไป.

จบอรรถกถายัญญสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

๑๐. พันธนสูตร

ว่าด้วยเครื่องจองจำที่มั่นคง

[๓๕๒] สมัยนั้น หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิโกศลให้จองจำไว้แล้ว

บางพวกถูกจองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา บางพวกถูกจองจำ

ด้วยโซ่ตรวน.

ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปครองผ้าเรียบร้อยแล้วในเวลาเช้าถือบาตรและ

จีวรเข้าไปสู่กรุงสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต ครั้นกลับจากบิณฑบาตในเวลาหลัง

ภัตตาหารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคม แล้วได้นั่งอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พวกภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ วันนี้หมู่มหาชนถูกพระเจ้าปเสนทิโกศลให้จองจำไว้แล้ว บางพวกถูก

จองจำด้วยเชือก บางพวกถูกจองจำด้วยขื่อคา บางพวกถูกจองจำด้วยโซ่ตรวน.

[๓๕๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึง

ได้ตรัสพระคาถาเหล่านั้นในเวลานั้นว่า

นักปราชญ์ทั้งหลายไม่ได้กล่าวว่า

เครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็ก ทำด้วยไม้

และทำด้วยหญ้า (เชือก) เป็นเครื่องจองจำ

ที่มั่น นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่าความรัก

ใคร่นักในแก้วมณีและกุณฑล และความ

อาลัยในบุตรและภรรยาทั้งหลายว่าเป็นเครื่อง

จองจำที่มั่น พาให้ตกต่ำ เป็นเครื่องจองจำที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

หย่อน ๆ แต่แก้ยาก นักปราชญ์ทั้งหลาย

ตัดเครื่องจองจำแม้เช่นนั้นออกบวช เป็น

ผู้ไม่มีความอาลัย ละกามสุขเสียแล้ว.

จบ ปฐมวรรค

อรรถกถาพันธนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในพันธนสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

ภิกษุเหล่านั้น ทูลเหตุที่พระอานนทเถระกระทำดีในมนุษย์เหล่านั้น

ดังนี้ว่า อิธ ภนฺเต รญฺา. ได้ยินว่า แก้วมณี ๘ เหลี่ยม ที่ท้าวสักกะประทาน

แก่พระเจ้ากุสราช มาสืบ ๆ กัน ตามประเพณี. เวลาทรงประดับ พระราชาตรัส

สั่งให้นำแก้วมณีนั้นมา. มนุษย์ทั้งหลาย กราบทูลว่า พวกข้าพระองค์ไม่พบใน

ที่เก็บ. พระราชาจึงให้จองจำพนักงานที่ปฏิบัติงานภายในพระราชนิเวศน์ไว้ สั่ง

ว่า พวกเจ้าจงเสาะหาแก้วมณีนั้นมาให้. พระอานนทเถระเห็นคนเหล่านั้นแล้ว

ก็ให้กั้นม่านไว้ แล้วบอกอุบายแก่พวกคนเก็บรักษา. คนเหล่านั้น ก็กราบทูล

แด่พระราชา. พระราชารับสั่งว่า พระเถระเป็นบัณฑิต พวกเจ้าจงทำตาม

พระเถระ พวกคนเก็บรักษา ก็ตั้งหม้อน้ำไว้ที่พระลานหลวงกั้นม่านไว้ แล้ว

บอกผู้คนเหล่านั้นว่า พวกท่านจงห่มผ้าแล้วไปที่นั้นจงจุ่นมือลง. คนขโมยแก้ว

มณีคิดว่า เราไม่อาจจำหน่ายหรือใช้สอยของของพระราชาได้กลับไปเรือน เอา

แก้วมณีหนีบรักแร้ห่มผ้ามาแล้วใส่ลงในหม้อน้ำ แล้วก็หลีกไป. เมื่อมหาชน

กลับไปแล้ว พวกคนของพระราชา เอามือควานในหม้อน้ำก็พบแก้วมณีแล้ว

นำไปถวายแด่พระราชา. ได้ยินว่า พระอานนทเถระเห็นแก้วมณี โดยนัยที่แสดง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

แล้ว. มหาชนก็โกลาหลแตกตื่น. ภิกษุเหล่านั้น เมื่อกราบทูลเหตุที่พระอานนท์

เถระทำดีนั้น แด่พระตถาคต จึงกราบทูลเรื่องนี้. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ไม่อัศจรรย์เลย ที่อานนท์ให้นำแก้วมณี ที่ตกอยู่ในมือพวก

มนุษย์มาได้ พวกบัณฑิตแต่ก่อน ตั้งอยู่ในญาณของตนแล้วก็ให้นำสิ่งของที่

ตกอยู่ในความครอบครอง แม้ของสัตว์ดิรัจฉานซึ่งบังเกิดในอเหตุกปฏิสนธิ

มาถวายแด่พระราชาได้ แล้วตรัสมหาสารชาดกว่า

อุกฺกุฏฺเ สูรมิจฺฉนฺติ มนฺเตสุ อกุตูหล

ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิต

ในคราวคับขันต้องการคนกล้า ใน

คราวปรึกษาต้องการคนไม่พูดพล่าม ใน

คราวมีข้าวน้ำต้องการคนรัก ในคราวเกิด

คดี ต้องการบัณฑิต.

บทว่า น ต ทฬฺห ความว่าปราชญ์ทั้งหลายไม่กล่าวว่าเครื่องจอง

จำนั่นมั่นคง. บทว่า ยทายส ได้แก่ เครื่องจองจำใดทำด้วยเหล็ก. บทว่า

สารตฺตรตฺตา ได้แก่ ยินดีแล้วยินดีเล่าด้วยดี หรือยินดีแล้ว โดยยินดีนัก

แล้ว อธิบายว่า ยินดีแล้วด้วยความสำคัญว่าสิ่งนี้เป็นสาระ. บทว่า อเปกฺขา

ได้แก่ความอาลัย ความเยื่อใย. บทว่า อาหุ แปลว่ากล่าว. บทว่า โอหาริน

ได้แก่ คร่าไปในอบาย ๔. บทว่า สิถิล ได้แก่ ไม่ห้ามอิริยาบถ เหมือน

อย่างเครื่องจองจำมีเหล็กเป็นต้น. จริงอยู่ เหล่าคนที่ถูกจองจำด้วยเครื่อง

จองจำนั้น ย่อมไปประเทศอื่นก็ได้ สมุทรอื่นก็ได้ทั้งนั้น. บทว่า ทุปฺปมุญฺจ

ได้แก่ ไม่อาจแก้ได้ เว้นแต่โลกุตรญาณ.

จบอรรถกถาพันธนสูตรที่ ๑๐

จบปฐมวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

รวมพระสูตรในปฐมวรรค คือ

๑. ทหรสูตร ๒. ปุริสสูตร ๓. ราชสูตร ๔. ปียสูตร ๕ อัตตรัก-

ขิตสูตร ๖. อัปปกสูตร ๗. อัตถกรณสูตร ๘. มัลลิกาสูตร ๙. ยัญญสูตร

๑๐. พันธนสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. ชฏิลสูตร

ไม่ควรวางใจ เพราะเห็นครู่เดียว

[๓๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-

บุพพารามปราสาทของมิคารมารดา กรุงสาวัตถี.

สมัยนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นแล้ว

ประทับนั่งที่นอกซุ้มประตู.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๓๕๕] สมัยนั้น ชฏิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอก-

สาฎกนิครนถ์ ๗ คน ปริพาชก ๗ คน ผู้มีขนรักแร้ เล็บ และขนยาว ถือ

เครื่องบริขารต่าง ๆ เดินผ่านไปในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทันใดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เสด็จลุกจากอาสนะทรงกระทำพระ-

ภูษาเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงจดพระชานุมณฑลเบื้องขวา ณ พื้นแผ่นดิน

ทรงประณมอัญชลีไปทางชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอก-

สาฎก ๗ คน ปริพาชก ๗ คน เหล่านั้นแล้ว ทรงประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือ พระราชาปเสนทิโกศล . . . ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า คือ

พระราชาปเสนทิโกศล.

ลำดับนั้น เมื่อชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอก-

สาฎก ๗ คน ปริพาชก ๗ คนเหล่านั้น เดินผ่านไปได้ไม่นาน พระเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

ปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พวกนักบวชเหล่านั้น คงเป็นพระอรหันต์ หรือท่านผู้บรรลุ

พระอรหัตมรรคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก.

[๓๕๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เป็น

คฤหัสถ์บริโภคกาม ครอบครองเรือน บรรทมเบียดพระโอรสและพระชายา

ทาจุรณจันทน์อันมาแต่แคว้นกาสี ทรงมาลาของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดี

เงินและทอง ยากที่จะรู้เรื่องนี้ว่า คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือคนพวกนี้

บรรลุอรหัตมรรค.

ดูก่อนมหาบพิตร ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ก็ศีลนั้นจะพึงรู้ได้

โดยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจก็ไม่รู้ ผู้มี

ปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้.

ดูก่อนมหาบพิตร ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยการงาน ก็ความสะอาดนั้น

จะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจก็ไม่

รู้ ผู้มีปัญญาจึงรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้.

ดูก่อนมหาบพิตร กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย ก็กำลังใจนั้น

จะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจก็

ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้.

ดูก่อนมหาบพิตร ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ก็ปัญญานั้นจะพึงรู้

ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้ใส่ใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่ใส่ใจก็ไม่รู้ ผู้

มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

[๓๕๗] พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่า

อัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องไม่เคยมีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เท่า

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์ บริโภค

กาม... ยากที่จะรู้เรื่องนี้... ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ดัง

นี้ เป็นอันตรัสดีแล้ว.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเหล่านั้นเป็นคนของข้าพระองค์ เป็น

จารบุรุษ เป็นคนสืบข่าวลับ เที่ยวสอดแนมไปยังชนบทแล้วพากันมา ในภาย

หลังข้าพระองค์จึงจะรู้เรื่องราวที่คนเหล่านั้นสืบได้ก่อน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้คนเหล่านั้น ชำระล้างละอองธุลีนั้นแล้ว

อาบัติ ประเทืองผิวดี โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้าขาว เอิบอิ่มเพรียบ

พร้อมด้วยเบญจกามคุณ บำเรอข้าพระองค์อยู่.

[๓๕๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความนี้แล้ว จึงได้

ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

คนผู้เกิดมาดี ไม่ควรไว้วางใจเพราะ

ผิวพรรณและรูปร่างไม่ควรไว้วางใจเพราะ

การเห็นกันชั่วครู่เดียว เพราะว่านักบวชผู้

ไม่สำรวมทั้งหลาย ย่อมเที่ยวไปยังโลกนี้

ด้วยเครื่องบริขารของเหล่านักบวชผู้สำรวม

ดีแล้ว ประดุจกุณฑลดิน และมาสกโลหะ

หุ้มด้วยทองคำปลอมไว้ คนทั้งหลายไม่

บริสุทธิ์ในภายใน งามแต่ภายนอก แวด

ล้อมด้วยบริวารท่องเที่ยวอยู่ในโลก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

อรรถกถาชฏิลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในชฎิลสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุปาสาเท ได้แก่บนปราสาทของ

นางวิสาขา มารดาของมิคารเศรษฐี ในวิหารที่ชื่อว่าปุพพาราม. ในเรื่องปุพพา-

รามนั้น ลำดับความดังนี้

เรื่อง ปุพพาราม

ครั้งอดีตกาล เมื่อสุดแสนกัป อุบาสิกาผู้หนึ่งนิมนต์พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ถวายทานแก่ภิกษุแสนรูป มีพระพุทธเจ้า

เป็นประธาน หมอบอยู่แทบเบื้องบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำความปรารถนา

ว่า ข้าพระองค์ขอเป็นอุปัฏฐายิกาผู้เลิศของพระพุทธเจ้า เช่นกับพระองค์ใน

อนาคตกาลด้วยเถิด. ต่อมา นางท่องเที่ยว [เวียนว่ายตายเกิด] ในเหล่าเทวดา

และมนุษย์ถึงแสนกัป ถือปฏิสนธิในครรภ์นางสุมนเทวี ในเรือนของธนัญชัย

เศรษฐี บุตรเมณฑกเศรษฐีในภัททิยนคร ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ของเรา. เวลาเกิดบิดามารดาขนานนามว่า วิสาขา. คราวใด พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จภัตทิยนคร คราวนั้น นางพร้อมด้วยเด็กหญิงห้าร้อยคน ก็จะรับเสด็จพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ได้เป็นโสดาบัน ในการพบครั้งแรกเลยทีเดียว. ต่อมานาง

ไปสู่เรือน [มีเรือน] ของปุณณวัฒนกุมาร บุตรมิคารเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ณ ที่นั้น มิคารเศรษฐีสถาปนานางไว้ในตำแหน่งมารดา เพราะฉะนั้น นางจึง

ถูกเรียกว่า มิคารมารดา. ในปราสาทที่มิคารมารดาสร้างแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

บทว่า พหิทฺวารโกฏฺเก แปลว่า ภายนอกซุ้มประตูปราสาท ไม่

ใช่ภายนอกซุ้มประตูพระวิหาร. ได้ยินว่า ปราสาทนั้นล้อมด้วยกำแพง ซึ่ง

ประกอบซุ้มประตูไว้ ๔ ประตู โดยรอบเหมือนโลหประสาท. บรรดาซุ้มประตู

ทั้ง ๔ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันประเสริฐตรวจดู

โลกธาตุด้านทิศตะวันออก ที่ร่มเงาของปราสาทภายนอกซุ้มประตู่ด้านตะวันออก.

บทว่า ปรุฬฺหกจฺฉนขโลมา ได้แก่มีขนรักแร้งอกแล้ว มีเล็บงอก

แล้ว มีขนงอกแล้ว อธิบายว่า มีขนยาวที่รักแร้เป็นต้น และมีเล็บยาว. บทว่า

ขาริวิวิธ แปลว่าบริขารต่าง ๆ ได้แก่สิ่งของที่เป็นบริขารของนักบวชต่าง ๆ

ชนิด. บทว่า อวิทูเร อติกฺกมนฺติ ได้แก่เข้าไปยังพระนครโดยทางนี้ไม่

ไกล. บทว่า ราชาห ภนฺเต ความว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า คือ

พระเจ้าปเสนทิโกศล ขอท่านทั้งหลายจงทราบนามของข้าพเจ้าเถิด.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระราชาประทับนั่งในสำนักของบุคคลผู้เลิศแล้ว จึงยัง

ทรงประคองอัญชลี แก่นักบวชเปลือยผู้ไร้สิริเห็นปานนั้นเล่า. ตอบว่า เพราะ

เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์. แท้จริง พระราชานั้น ทรงพระดำริอย่างนี้

ว่า ถ้าเราจักไม่ทำอัญชลีแม้เพียงเท่านี้ แก่นักบวชเหล่านั้นไซร้ นักบวชเหล่า

นั้น ก็จักคิดว่า เสียแรงเราละลูกเมียไปเสวยทุกข์มีกินลำบากนอนลำเค็ญ

เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ พระราชาพระองค์นี้ก็ยังไม่ทำเพียงอัญชลี

แก่เราดังนี้แล้ว ก็จักปกปิดสิ่งที่เห็นที่ฟังมาด้วยตนเองแล้วไม่ยอมบอก แต่เมื่อ

เราทำอัญชลีอย่างนี้แล้ว พวกเขาก็จักไม่ปกปิดยอมบอก เพราะฉะนั้น พระ-

ราชาจึงทูลอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ทรงทำอย่างนี้ ก็เพื่อที่จะทรงทราบอัธยาศัย

ของพระศาสดา.

บทว่า กาสิกจนฺทน ได้แก่ พร้อมทั้งจันทน์อันละเอียด. บทว่า

มาลาคนฺธวิเลปน ได้แก่ ทัดทรงดอกไม้เพื่อประโยชน์แก่สีและกลิ่น ของหอม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นของหอม และเครื่องลูบไล้ ก็เพื่อประโยชน์แก่สีและ

กลิ่น.

บทว่า สวาเสน แปลว่า โดยการอยู่ร่วมกัน. บทว่า สีล เวทิตพฺพ

ได้แก่เมื่ออยู่ร่วมกัน ใกล้ชิดกันก็พึงทราบได้ว่าผู้นี้มีศีล คือปกติ หรือปกติ

ชั่ว. บทว่า ตญฺจ โข ทีเฆน อทฺธุนา น อิตร ความว่า ก็ศีลนั้น

บุคคลพึงรู้โดยกาลนาน ๆ ไม่ใช่นิดหน่อย. เป็นความจริง อาการสำรวม และ

อาการของผู้สำรวมอินทรีย์ อาจแสดงออกมา ๒-๓ วัน. บทว่า มนสิกโรตา

ความว่า ศีลแม้นั้น ผู้ใส่ใจ พิจารณาดูว่า เราจักกำหนดถือศีลของผู้นั้น ก็

อาจรู้ได้ นอกนี้ก็รู้ไม่ได้. บทว่า ปญฺวตา ความว่า ศีลนั้น อัน

บัณฑิตผู้มีปัญญาเท่านั้นจึงจะรู้ได้ เพราะว่า คนเขลาถึงใส่ใจก็ไม่สามารถจะ

รู้ได้.

บทว่า สโวหาเรน แปลว่า ด้วยการสนทนากัน. โวหารในคำนี้ว่า

โย หิ โกจิ มนุสฺเสสุ โวหาร อุปชีวติ

เอว วาเสฏฺ ชานาหิ วาณิชโช โส น พฺราหฺมโณ

ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่ง อาศัยการ

ซื้อขายเลี้ยงชีวิต ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่าน

จงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นพานิช ไม่ใช่

พราหมณ์ ดังนี้

ชื่อว่า สังโวหาร. โวหาร ในคำนี้ว่า อริยโวหาร ๔ อนริยโวหาร ๔

ชื่อว่า เจตนาโวหาร. โวหาร ในคำนี้ว่า สังขา การนับ สมัญญา การตั้งชื่อ

บัญญัติโวหาร โวหาร คือการบัญญัติ ชื่อว่า บัญญัตติโวหาร. โวหารใน

คำนี้ว่า ผู้นั้นพึงพูด โดยสักว่าโวหาร ชื่อว่า กถาโวหาร. แม้ในที่นี้

ก็ประสงค์เอากถาโวหารนี้เท่านั้น. จริงอยู่ คำพูดต่อหน้าของคนบางคน ไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

สมกับคำพูดลับหลัง และคำพูดลับหลังไม่สมกับคำพูดต่อหน้า คำพูดคำก่อนกับ

คำพูดคำหลัง และคำพูดคำหลังกับคำพูดคำก่อน ก็เหมือนกัน ผู้นั้น อันผู้พูด

ด้วยเท่านั้น อาจรู้ได้ว่าบุคคลนี้ไม่สะอาด. ส่วนคำก่อนกับคำหลังของผู้มีความ

สะอาดเป็นปกติ และคำหลังกับคำก่อน ที่เขาพูดต่อหน้าย่อมสมกับคำที่เขาพูด

ลับหลัง และคำพูดลับหลัง ก็สมกับคำพูดที่เขาพูดต่อหน้า เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศว่า ผู้พูดอาจรู้ความเป็นผู้สะอาดได้ จึง

ตรัสอย่างนี้.

บทว่า ถาโม ได้แก่ กำลังแห่งญาณ. จริงอยู่ กำลังญาณของผู้ใด

ไม่มี เมื่อเกิดอุปัทวันตรายขึ้น ผู้นั้นก็มองไม่เห็นการถือสิ่งที่ควรถือ กิจ

ที่ควรทำ ย่อมประพฤติเหมือนดังเข้าไปยังเรือนที่มืดตื้อ ด้วยเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพร บุคคลพึงรู้กำลัง [ญาณ] ได้ก็ในคราวมี

อันตราย. บทว่า สากจฺฉาย ได้แก่ การสนาทนากัน. จริงอยู่ ถ้อยคำ

ของคนทรามปัญญา ย่อมเลื่อนลอย เหมือนลูกยางลอยน้ำ ปฎิภาณของผู้มี

ปัญญาพูดไม่มีที่สิ้นสุด. เป็นความจริง โดยอาการที่น้ำไหว เขาก็รู้ได้ว่า ปลา

ตัวเล็กหรือตัวโต. บทว่า โอจรกา ได้แก่ประพฤติเบื้องต่ำ [ใต้ดิน] จริงอยู่

พวกจารบุรุษ แม้จะพระพฤติอยู่ตามยอดเขา ก็ชื่อว่าประพฤติต่ำทั้งนั้น. บทว่า

โอจริติวา ได้แก่พระพฤติต่ำ สอดแนม สอดรู้เรื่องนั้น ๆ. บทว่า รโชชลฺล

ได้แก่ ธุลีและน้ำ. บทว่า วณฺณรูเปน ได้แก่ โดยวรรณะและทรวดทรง.

บทว่า อิตรทสฺสเนน ได้แก่ การเห็นกันนิดหน่อย. บทว่า วิยญฺชเนน

ได้แก่เครื่องบริขาร. บทว่า ปฏิรูปโก มตฺติกกุณฺฑโล จ ได้แก่ ตุ้มหู

ทองเทียม ตุ้มหูดิน. บทว่า โลหฑฺฒมาโส ได้แก่ มาสกทำด้วยโลหะ.

จบอรรถกถาชฏิลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

๒. ปัญจราชสูตร

ว่าด้วยยอดกาม

[๓๕๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ... กรุงสาวัตถี.

สมัยนั้น พระราชา ๕ พระองค์ มีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นประมุขผู้

เอิบอิ่มเพรียบพร้อมได้รับบำเรออยู่ด้วยเบญจพิธกามคุณ เกิดกล่าวถามใน

ระหว่างสนทนาขึ้นว่า อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย.

บรรดาพระราชาเหล่านั้น บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า รูปทั้งหลายเป็น

ยอดแห่งกามทั้งหลาย.

บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า เสียงทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย.

บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่นทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย.

บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า รสทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย.

บางองค์ได้ตรัสอย่างนี้ว่า โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย.

เพราะเหตุที่พระราชาเหล่านั้น ไม่อาจทรงยังกันและกันให้เข้าพระทัย

ได้ พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงได้ตรัสกะพระราชาเหล่านั้นว่า มาเถิดท่านสหาย

ทั้งหลาย เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทูลถามความข้อนี้กะพระผู้มี-

พระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงพยากรณ์แก่เราทั้งหลายอย่างใด เรา

ทั้งหลายพึงจำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้นเถิด.

พระราชาเหล่านั้น ทรงรับพระดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว.

[๓๖๐] ครั้งนั้น พระราชา ๕ พระองค์เหล่านั้น มีพระเจ้าปเสนทิ-

โกศลเป็นประมุข เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วก็ถวายบังคม

ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายในที่นี้ เป็นราชาทั้ง ๕ คน เอิบอิ่ม

เพรียบพร้อมได้รับบำเรออยู่ด้วยเบญจกามคุณ เกิดกล่าวถามกันระหว่างสนทนา

ขึ้นว่า

อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย บางท่านกล่าวอย่างนี้ว่า รูปทั้งหลาย

เป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย บางท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เสียงทั้งหลายเป็นยอดแห่ง

กามทั้งหลาย บางท่านกล่าวอย่างนี้ว่า กลิ่นทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย

บางท่านกล่าวอย่างนี้ว่า รสทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย บางท่านกล่าว

อย่างนี้ว่า โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อะไรเป็นยอดแห่งกามทั้งหลาย.

[๓๖๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ที่สุดแห่ง

ความพอใจนั่นแหละ อาตมาภาพกล่าวว่าเป็นยอดในเบญจกามคุณ ดูก่อน

มหาบพิตร รูปเหล่าใดเป็นที่พอใจของคนบางคน รูปเหล่านั้นไม่เป็นที่พอใจ

ของคนบางคน เขาดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยรูปเหล่าใด รูปอื่นจากรูป

เหล่านั้น จะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา รูปเหล่านั้นเป็น

อย่างยิ่งสำหรับเขา รูปเหล่านั้นเป็นยอดเยี่ยมสำหรับเขา ดูก่อนมหาบพิตร

เสียงเหล่าใด. . . ดูก่อนมหาบพิตร กลิ่นเหล่าใด. . . ดูก่อนมหาบพิตร

รสเหล่าใด. . . ดูก่อนมหาบพิตร โผฏฐัพพะเหล่าใด เป็นที่พอใจของคน

บางคน โผฏฐัพพะเหล่านั้น ไม่เป็นที่พอใจของคนบางคน เขาดีใจ มีความ

ดำริบริบูรณ์ด้วยโผฏฐัพพะเหล่าใด โผฏฐัพพะอื่นจากโผฏฐัพพะเหล่านั้น

จะยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เขาก็ไม่ปรารถนา โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นอย่างยิ่ง

สำหรับเขา โผฏฐัพพะเหล่านั้นเป็นยอดเยี่ยมสำหรับเขา.

[๓๖๒] สมัยนั้น จันทนังคลิกอุบาสกนั่งอยู่ในบริษัทนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสกลุกจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่า

ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุอย่างหนึ่ง ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต

เหตุอย่างหนึ่งย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจันทนังคลิกะ ขอเหตุนั่นจงแจ่ม-

แจ้งเถิด.

ลำดับนั้น จันทนังคลิกอุบาสก ได้สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าเฉพาะ

พระพักตร์ ด้วยคาถาที่สมควรแก่เหตุนั้นว่า

ดอกปทุมชื่อโกกนุท บานในเวลาเช้า

ยังไม่สิ้นกลิ่น ยังมีกลิ่นหอมอยู่ ฉันใด

ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่ดุจ

ดวงอาทิตย์ รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉันนั้น.

[๓๖๓] ลำดับนั้น พระราชา ๕ พระองค์เหล่านั้น ทรงให้จันทนัง-

คลิกอุบาสกห่มด้วยผ้า ๕ ผืน (คือพระราชทานผ้าห่ม ๕ ผืน).

ทันใดนั้น จันทนังคลิกอุบาสก ก็ถวายให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห่ม

ด้วยผ้า ๕ ผืนเหล่านั้น.

อรรถกถาปัญจราชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัญจราชสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า รูปา ได้แก่ อารมณ์คือรูป ต่างโดยรูปสีเขียวสีเหลืองเป็นต้น.

บทว่า กามาน อคฺค ความว่า ผู้หนักในรูปก็กล่าวรูปนั้นว่า สูงสุด

ประเสริฐสุดแห่งกามทั้งหลาย แม้ในอารมณ์ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า มนาปปริยนฺต ได้แก่ ทำอารมณ์ที่น่า

พอใจให้เสร็จชื่อว่าเป็นยอดอารมณ์ที่น่าพอใจ. ในคำว่า มนาปปริยนฺต นั้น

อารมณ์ที่น่าพอใจมี ๒ คือ อารมณ์ที่น่าพอใจของบุคคล อารมณ์ที่น่าพอใจ

โดยสมมติ สิ่งใด เป็นของที่น่าปรารถนา น่าใคร่ของบุคคลคนหนึ่ง สิ่งนั้น

นั่นแหละ ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ของบุคคลอื่น ชื่อว่าสิ่งที่น่าพอใจของบุคคล.

เป็นความจริง ไส้เดือน ย่อมเป็นของที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ของ

ชาวปัจจันตประเทศ แต่ชาวมัชฌิมประเทศเกลียดนัก. ส่วนเนื้อนกยูงเป็นต้น

เป็นที่น่าปรารถนาของชาวมัชฌิมประเทศเหล่านั้น แต่สำหรับชาวปัจจันต-

ประเทศนอกนี้เกลียดนัก. นี้คือสิ่งที่น่าพอใจของบุคคล. สิ่งที่น่าพอใจโดยสมมติ

เป็นอย่างไร.

ชื่อว่า อิฏฐารมณ์ (น่าปรารถนา) และอนิฏฐารมณ์ (ที่ไม่น่า

ปรารถนา) ที่แยกกันในโลกไม่มีเลย แต่ก็พึงจำแนกแสดง. แต่เมื่อจะ

จำแนกก็จำต้องยกพระเจ้ามหาสมมติปฐมกษัตริย์ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ

และพระเจ้าธรรมาโศกราช เป็นต้น จำแนกแยกแยะ. จริงอยู่ อารมณ์

แม้สำเร็จจากทิพย์ ก็ปรากฏว่า ไม่สมพระทัย ของกษัตริย์เหล่านั้น

แต่ไม่พึงจำแนก โดยยกเอาข้าวน้ำที่หายาก สำหรับคนเข็ญใจอย่างยิ่ง. จริงอยู่

คนเข็ญใจอย่างยิ่งเหล่านั้น เมล็ดข้าวสวยปลายเกวียนก็ดี รสเนื้อเน่าก็ดี ก็มี

รสอร่อยเหลือเกิน เสมือนอมฤตรส. แต่พึงจำแนก โดยยกคนปานกลาง

เช่นหัวหน้าหมู่ มหาอำมาตย์ เศรษฐี กุฎุมพีและพาณิชเป็นต้น ซึ่งบางคราว

ก็ได้สิ่งที่น่าปรารถนา บางคราวก็ได้สิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ก็แต่ว่า สิ่งที่น่า

ปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนานั้น ก็ไม่อาจกำหนดชวนจิตในอารมณ์ได้.

จริงอยู่ ชวนจิต ย่อมยินดีในสิ่งที่น่าปรารถนาก็มี ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาก็มี

ยินร้ายในสิ่งที่น่าปรารถนาก็มี ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาก็มี. ด้วยว่า วิบากจิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ย่อมกำหนดอารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา โดยอารมณ์อันเดียว

กัน. จริงอยู่ พวกมิจฉาทิฏฐิเห็นพระพุทธเจ้าก็ดี พระสงฆ์ก็ดี อารมณ์

อันโอฬารมีมหาเจดีย์เป็นต้นก็ดี ย่อมปิดตา ประสบความเสียใจ ได้ยินเสียง

แสดงธรรม ก็ปิดหูทั้งสอง แต่จักขุวิญญาณและโสตวิญญาณ ก็เป็นกุศลวิบาก

ของพวกเขา. สุกรกินคูถเป็นต้น ได้กลิ่นคูถก็เกิดความดีใจว่า เราจักกินคูถ

ดังนี้ ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้นจักขุวิญญาณของมันในการเห็นคูถ ฆานวิญญาณ

ในการดมกลิ่นคูถนั้น และชิวหาวิญญาณในการลิ้มรส ย่อมเป็นอกุศลวิบาก

โดยแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาความเป็นสิ่งที่น่าพอใจของบุคคล

จึงตรัสว่า เต จ มหาราช รูปา เป็นต้น.

คำว่า จนฺทนงฺคลิโย* นี้ เป็นชื่อของอุบาสกนั้น. บทว่า ปฏิภาติ ม

ภควา ความว่า เหตุอย่างหนึ่ง ย่อมปรากฏแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์. จันทนัง-

คลิกอุบาสกนั้น เห็นพระราชาทั้ง ๕ พระองค์ทรงสวมกุณฑลมณี แม้เสด็จมา

ด้วยพระอิสริยยศและสมบัติอย่างเยี่ยม ด้วยราชานุภาพอย่างใหญ่ โดยประทับ

นั่งรวมกัน ณ พื้นที่สำหรับดื่ม ซึ่งจัดไว้ ต่างก็สิ้นสง่าสิ้นความงาม ตั้งแต่

ประทับยืน ณ สำนักของพระทศพลเหมือนดวงประทีปเวลากลางวัน เหมือน

ถ่านไฟที่เอาน้ำรก และเหมือนหญิงห้อย เวลาพระอาทิตย์ จึงเกิดปฏิภาณ

ขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ ธรรมดาว่าพระพุทธะทั้งหลายใหญ่หนอ เพราะฉะนั้น

เขาจึงกล่าวอย่างนี้.

คำว่า โกกนท นี้ เป็นไวพจน์ขอปทุมนั่นเอง. บทว่า ปาโต

ได้แก่ ต่อกาลเทียว. บทว่า สิยา แปลว่า พึงมี. บทว่า อวีตคนฺธ ได้แก่

ไม่ปราศจากกลิ่น. บทว่า องฺคีรส ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. จริงอยู่

พระรัศมีทั้งหลาย ย่อมซ่านออกจากพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะ

ฉะนั้น จึงเรียกว่า องฺคีรโส พระอังคีรส. ความย่อในคำนี้ มีดังนี้ว่า

* บาลีเป็น จนฺทนงฺคลิโก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

ดอกปทุม กล่าวคือดอกโกกนท บานแต่เช้าตรู่ ยังไม่ปราศจากกลิ่น หอมระรื่น

ฉันใด ท่านจงดูพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อังคีรส ทรงรุ่งโรจน์ดุจดวง

อาทิตย์ ส่องแสงจ้า กลางนภากาศ ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า ภควนฺต

อจฺฉาเทสิ ความว่า ได้ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่ว่าโดยโวหารโลก

ในข้อนี้ คำก็มีเช่นนี้. ได้ยินว่า อุบาสกนั้นคิดว่า พระราชาเหล่านี้ ทรง

เลื่อมใสในพระคุณทั้งหลายของพระตถาคต พระราชทานผ้าห่มแก่เราถึง ๕ ผืน

จำเราจักถวายผ้าห่มเหล่านั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแต่พระองค์เดียว ดังนี้

จึงได้ถวาย.

จบอรรถกถาปัญจราชสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

๓. โทณปากสูตร

คาถากันบริโภคอาหารมาก

[๓๖๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่. . . กรุงสาวัตถี.

สมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระสุธาหารหุงด้วยข้าวสารหนึ่ง-

ทะนาน เสวยแล้วทรงอึดอัด เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๓๖๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิ-

โกศลนั้นเสวยแล้วทรงอึดอัด จึงได้ตรัสพระคาถานี้ในเวลานั้นว่า

มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประมาณ

ในโภชนะที่ได้มา ย่อมมีเวทนาเบาบาง

เขาย่อมแก่ช้า อายุยืน.

[๓๖๖] สมัยนั้น มหาดเล็กหนุ่มชื่อสุทัศนะ ยืนอยู่เบื้องพระ-

ปฤษฎางค์พระเจ้าปเสนทิโกศล.

ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสเรียกสุทัศนมาณพมารับสั่งว่ามานี้

สุทัศนะ เจ้าจงเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจงกล่าวในเวลา

เราบริโภคอาหาร อนึ่ง เราจะให้ค่าอาหารแก่เจ้าวันละ ๑๐๐ กหาปณะทุกวัน.

สุทัศนมาณพรับสนองพระดำรัสพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า เป็นพระมหา

กรุณาอย่างยิ่ง พระเจ้าข้า ดังนี้ แล้วเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วกล่าวในเวลาที่พระเจ้าปเสนทิโกศล เสวยพระกระยาหารว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

มนุษย์ผู้มีสติอยู่ทุกเมื่อ รู้จักประ-

มาณในโภชนะที่ได้มา ย่อมมีเวทนาเบา

บาง เขาย่อมแก่ช้า อายุยืน.

[๓๖๗] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงดำรงอยู่โดยมีพระกระ-

ยาหารหนึ่งทะนานข้างสุกเป็นอย่างมากเป็นลำดับมา.

ในลำดับต่อมา พระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระวรกายกระปรี้กระเปร่าดี

ทรงลูบพระวรกายด้วยฝ่าพระหัตถ์ ทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า พระผู้

มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงอนุเคราะห์เราด้วยประโยชน์ทั้ง ๒ คือประโยชน์

ปัจจุบันและประโยชน์ภายหน้าหนอ.

อรรถกถาโทณปากสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโทษปากสูตรที่ ๓ ต่อไป :-

บทว่า โทณปากสุท ได้แก่ พระกระยาหาร คือข้าวสุกแห่งข้าว

สารทะนานหนึ่ง. อธิบายว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาร

ทะนานหนึ่ง และแกงกับที่เหมาะแก่ข้าวสุกนั้น. บทว่า ภุตฺตาวี ความว่า

ทรงบรรเทาความเมาในพระกระยาหารก่อนแล้วพักผ่อนครู่หนึ่งแล้วจึงเสด็จไป

เฝ้าพระพุทธองค์ แต่วันนั้น ท้าวเธอกำลังเสวย ระลึกถึงพระทศพล ก็ล้าง

พระหัตถ์แล้วเสด็จไป. บทว่า มหสฺสาสี ความว่า ท้าวเธอกำลังเสด็จไปก็

เกิดความกระวนกระวายเพราะพระกระยาหาร อย่างรุนแรง เพราะฉะนั้น จึง

ทรงหายใจ ด้วยพระอัสสาสะอย่างแรง หยาดพระเสโทก็ไกลออกจากพระวรกาย

ของพระองค์ พวกราชบุรุษต้องยืนประคองทั้งสองข้าง พัดวีพระองค์ด้วยขั้วใบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

ตาลคู่ แต่ท้าวเธอก็ไม่อาจบรรทม เพราะทรงคารวะในพระพุทธองค์. ท่านหมาย

เอาข้อนี้จึงกล่าวว่า มหสฺสาสี. บทว่า อิม คาถ อภาสิ ความว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงพระดำริว่า พระราชาทรงลำบาก เพราะไม่ทรงรู้จักประมาณใน

โภชนะ เราจักทำพระองค์ให้อยู่ผาสุก ณ บัดนี้ แล้วจึงได้ตรัส [พระคาถานี้].

บทว่า มนุชสฺส แปลว่า สัตว์. บทว่า กหาปณสต ได้แก่ ๑๐๐ กหาปณะ

อย่างนี้คือ เวลาพระกระยาหารเช้า ๕๐ เวลาพระกระยาหารเย็น ๕๐. บทว่า

ปาปุณิตฺวา ความว่าไปกับพระราชาได้หน่อยหนึ่ง ก็ทูลว่าขอเดชะข้าพระบาท

จะให้พระแสงดาบมงคลเล่มนี้แก่ใคร พระเจ้าข้า เมื่อท้าวเธอรับสั่งว่า ให้แก่คน

โน้น สุทัศนมาณพนั้น ก็ให้ดาบนั้น กลับมาสำนักพระทศพล ยืนถวาย

บังคมแล้วทูลว่า ท่านพระโคดมเจ้าข้า โปรดตรัสพระคาถาแล้วก็เรียนพระคาถา

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว. ถามว่า ได้ยินว่า สุทัศนมาณพกล่าวพระ-

คาถาทุกเวลาที่เทียบพระเครื่องกล่าวอย่างไร. ตอบว่า กล่าวโดยทำนองที่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอน. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนมาณพนั้นอย่าง

นี้ว่า ดูก่อนมาณพ เจ้าอย่ากล่าวคาถานี้พร่ำเพรื่อ ในที่ไปถึง ๆ (เหมือนนัก

ร้องนักรำ) จงยืนใกล้ที่เสวยของพระราชา อย่ากล่าวเมื่อเสวยพระกระยาหารก้อน

แรก พึงกล่าวเมื่อทรงถือก้อนสุดท้าย พระราชาทรงได้ยินแล้ว จักทรงทิ้งก้อน

ข้าว เมื่อเป็นดังนั้น เมื่อทรงล้างพระหัตถ์แล้ว ก็พึงชักถาดออกมานับเมล็ดข้าว

[ได้เท่าใด] รู้จักกับแกล้มที่ผสมกับข้าวนั้น [แยกกับข้าวออก] วันรุ่งขึ้น ก็

พึงลดข้าวสารเสียเพียงเท่านั้น พึงกล่าวเฉพาะในเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า

อย่ากล่าวในเวลาเสวยพระกระยาหารเย็น มาณพนั้นรับพระพุทธดำรัสแล้ว ได้

กล่าวคาถาโดยทำนองที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนในเวลาเสวยพระกระยา-

หารเย็น เพราะในวันนั้นพระราชาเสวยพระกระยาหารเช้าเสร็จเสด็จไปเสีย

แล้ว. พระราชาทรงระลึกถึงพระดำรัสของพระทศพล ก็ทิ้งก้อนข้าวลงในถาด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

นั่นแหละ เมื่อทรงล้างพระหัตถ์แล้ว มาณพก็ชักถาดออกมานับเมล็ดข้าว [ได้

เท่าใด] วันรุ่งขึ้น ก็ลดข้าวสารเสียเท่านั้น.

บทว่า นาฬิโกทนปรมตาย สณฺาสิ ความว่า ได้ยินว่า มาณพ

นั้น ไปสำนักพระตถาคตทุกวันเป็นผู้คุ้นกับพระทศพล. ต่อมาวันหนึ่ง พระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสถามมาณพนั้นว่า พระราชาเสวยเท่าไร. มาณพนั้นทูลตอบว่า

ข้าวสุกทะนานหนึ่ง พระเจ้าข้า ตรัสว่าด้วยปริมาณเพียงเท่านี้ ส่วนของบุรุษนี้

นับว่าเหมาะ ตั้งแต่นี้ไป เจ้าอย่ากล่าวคาถาเลย. ดั่งนั้น พระราชาจึงดำรงอยู่

ในปริมาณนั้นนั่นแล ในคำว่า ทิฏฺธมฺมิเกน เจว อตฺเถน สมฺปรายิเกน จ

นี้ความที่พระราชามีพระสรีระ สละสลวย ชื่อว่าเป็นประโยชน์ปัจจุบัน. ศีลชื่อว่า

ประโยชน์ภายหน้า. ด้วยว่า ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ย่อมชื่อว่าเป็น

องค์ [ส่วน] ของศีลแล.

จบอรรถกถาโทณปากสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

๔. ปฐมสังคามวัตถุสูตร

ผู้ชนะย่อมก่อเวร

[๓๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ . . . กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงแต่งจตุรง-

คินีเสนา ยกไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศล ทางด้านแคว้นกาสี.

พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงสดับข่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู

เวเทหิบุตร ทรงแต่งจตุรงคินีเสนายกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี.

ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงแต่งจตุรงคินีเสนา ยกออกไป

ต่อสู้กับพระเจ้าแผ่นดินมคธ อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ป้องกันแคว้นกาสี.

ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร กับพระเจ้า-

ปเสนทิโกศล ทรงทำสงครามต่อกัน แต่ในสงครามครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดิน

มคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตรทรงชำนะพระเจ้าปเสนทิโกศล.

ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ปราชัย ก็เสด็จล่าทัพกลับกรุงสาวัตถีราชธานี

ของพระองค์.

[๓๖๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า ภิกษุเป็นจำนวนมากนุ่งห่มแล้ว ถือบาตร

และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถีแล้วในเวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต

แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง

อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ภิกษุเหล่านั้น ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงแต่งจตุรงคินีเสนา ยก

มารุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงสดับ

ข่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงแต่งจตุรงคินีเสนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

ยกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น พระเจ้า-

ปเสนทิโกศล จึงทรงแต่งจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้พระเจ้าแผ่นดินมคธ-

อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้นพระเจ้าแผ่นมคธอชาตศัตรู

เวเทหิบุตร กับพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทำสงครามต่อกัน แต่ในสงครามครั้ง

นั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงชำนะพระเจ้าปเสนทิโกศล

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ปราชัย ก็เสด็จล่าทัพกลับ

กรุงสาวัตถีราชธานีของพระองค์.

[๓๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้า

แผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร มีมิตรเลวทราม มีสหายเลวทราม มี

พระทัยน้อมไปในคนเลวทราม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศล

มีมิตรดีงาม มีสหายดีงาม มีพระทัยน้อมไปในคนดีงาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

วันนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงแพ้มาแล้วอย่างนี้ จักบรรทมเป็นทุกข์ตลอด

ราตรีนี้.

[๓๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำ

ร้อยแก้วจบลงแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

ผู้ชำนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอน

เป็นทุกข์ บุคคลละความชนะและความ

แพ้เสียแล้ว จึงสงบระงับ นอนเป็นสุข.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

อรรถกถาปฐมสังคามวัตถุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยยในปฐมสังคามวัตถุสูตรที่ ๔ ต่อไป :-

คำว่า เวเทหิ ในคำว่า เวเทหิปุตฺโต นี้ เป็นชื่อของบัณฑิต อธิบาย

ว่า บุตรของสตรีผู้เป็นบัณฑิต. บทว่า จตุรงฺคินึ ได้แก่ประกอบด้วยองค์ ๔

กล่าวคือ ทัพช้าง ทัพม้า ทัพรถ ทัพพลเดินเท่า [ราบ]. บทว่า สนฺนยฺหิตฺวา

ได้แก่ให้กระทำเกราะด้วยการสวมหนึ่งเป็นต้น. บทว่า สงฺคาเมสุ แปลว่า

รบกัน. รบกันเพราะเหตุอะไร. ได้ยินว่า พระเจ้ามหาโกศล [พระชนกของพระเจ้า

ปเสนทิโกศล] เมื่อยกพระธิดาถวายพระเจ้าพิมพิสาร ได้พระราชทานกาสิคาม

[หมู่บ้านกาสี] ซึ่งมีรายได้เกิดขึ้นวันละแสน ในระหว่างพระราชาทั้งสองแก่

พระราชธิดา. แต่เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระชนกแล้ว แม้พระ-

ชนนีของพระองค์ก็ทิวงคต ต่อมาไม่นาน เพราะทรงเศร้าเหตุวิโยคพลัดพราก

พระราชา. ต่อนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระดำริว่า เจ้าอชาตศัตรู ทำ

พระชนกชนนีให้ทิวงคตแล้ว หมู่บ้านซึ่งเป็นสมบัติของพระชนกเรา ก็ต้อง

กลับเป็นของเราสิ แล้วทรงก่อคดีความเมือง เพื่อต้องการหมู่บ้านนั้น. แม้

พระเจ้าอชาตศัตรูก็ทรงเถียงว่า หมู่บ้าน เป็นสมบัติของพระชนนีเรา ก็ต้อง

เป็นของเราสิ. ดังนั้น สองลุงและหลานจึงรบกัน เพื่อต้องการหมู่บ้านนั้น.

พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นมีมิตรเช่น พระเทวทัตเป็นต้นชั่ว เพราะเหตุนั้น

จึงทรงชื่อว่า มีมิตรชั่ว. ทรงมีคนชั่วเหล่านั้นเป็นสหาย เพราะเหตุนั้น จึง

ชื่อว่า ทรงมีพระสหายชั่ว. ทรงมีพระทัยน้อมคล้อยไปตามชนเหล่านั้นนั่นแล

เพราะเหตุนั้น จึงทรงชื่อว่า มีผู้คล้อยตามชั่ว. พึงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

ทรงมีมิตรดี [กัลยาณมิตร] ก็โดยยกพระสารีบุตรเถระเป็นต้น [เป็นมิตร].

บทว่า ทุกฺข เสสฺสติ ได้แก่เมื่อทรงเศร้าโศกถึงช้างเป็นต้นที่พระเจ้าอชาต-

ศัตรทรงชนะไป ก็จักบรรทมเป็นทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเหตุแห่ง

ชัยชนะของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นอีก จึงตรัสคำนี้. บทว่า ชย เวร ปสวติ

ได้แก่ ผู้ชนะ ย่อมประสบเวร คือได้บุคคลที่เป็นไพรี.

จบอรรถกถาปฐมสังคามวัตถุสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

๖. ทุติยสังคามวัตถุสูตร

[๓๗๒] ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรง

แต่งจตุรงคินีเสนา ยกไปรุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี.

พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงสดับข่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู

เวเทหิบุตร ทรงแต่งจตุรงคินีเสนา ยกมารุกรานเราทางแคว้นกาสี.

ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงแต่งจตุรงคินีเสนา ยกออกไป

ต่อสู้พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู. เวทหิบุตร ป้องกันแคว้นกาสี.

ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร กับพระเจ้า-

ปเสนทิโกศลทรงทำสงครามต่อกัน แต่ในสงครามครั้งนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล

ทรงชำนะพระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร และได้ทรงจับพระองค์

เป็นเชลยศึก.

[๓๗๓] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มีพระดำริว่า ถึงแม้พระเจ้า

แผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตรนี้ จะประทุษร้ายเราผู้มิได้ประทุษร้าย แต่

เธอก็ยังเป็นพระภาคิไนยของเรา อย่ากระนั้นเลย เราควรยึดพลช้างทั้งหมด

ยึดพลม้าทั้งหมด ยึดพลรถทั้งหมด ยึดพลเดินเท้าทั้งหมดของพระเจ้าแผ่นดิน

มคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร แล้วปล่อยพระองค์ไปทั้งยังมีพระชนม์อยู่เถิด.

ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยึดพลช้างทั้งหมด ทรงยึดพลม้า

ทั้งหมด ทรงยึดพลรถทั้งหมด ทรงยึดพลเดินเท้าทั้งหมด ของพระเจ้าแผ่นดิน

มคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร แล้วทรงปล่อยพระองค์ไปทั้งยังมีพระชนม์อยู่.

[๓๗๔] ครั้งนั้น เวลาเช้า ภิกษุเป็นจำนวนมาก นุ่งแล้ว ถือบาตร

และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในกรุงสาวัตถีแล้ว

ในเวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงแต่งจตุรงคินีเสนา ยก

มารุกรานพระเจ้าปเสนทิโกศลทางแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงสดับ

ข่าวว่า พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร ทรงแต่งจตุรงคินีเสนา

ยกมารุกรานเราถึงแคว้นกาสี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น พระเจ้าปเสน-

ทิโกศลจึงทรงจัดจตุรงคินีเสนา ยกออกไปต่อสู้พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู

เวเทหิบุตร ป้องกันแคว้นกาสี ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู

เวเทหิบุตรกับพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงทำสงครามกันแล้ว ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ แต่ในสงครามครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชำนะพระเจ้าแผ่นดิน

มคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร และทรงจับพระองค์เป็นเชลยศึกได้ด้วย ครั้งนั้น

พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มีพระดำริว่า ถึงแม้พระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู

เวเทหิบุตรนี้ จะประทุษร้ายเราผู้มีได้ประทุษร้าย แต่เธอก็ยังเป็นพระภาคิไนย

ของเรา อย่ากระนั้นเลย เราควรยึดพลช้างทั้งหมด ยึดพลม้าทั้งหมด ยึดพลรถ

ทั้งหมด ยึดพลเดินเท้าทั้งหมด ของพระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร

แล้วปล่อยพระองค์ไปทั้งยังมีพระชนม์อยู่เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้น

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงยึดพลช้างทั้งหมด ทรงยึดพลม้าทั้งหมด ทรงยึดพล

รถทั้งหมด ทรงยึดพลเดินเท้าทั้งหมด ของพระเจ้าแผ่นดินมคธอชาตศัตรู

เวเทหิบุตร แล้วทรงปล่อยพระองค์ไปทั้งยังมีพระชนม์อยู่.

[๓๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้วจึง

ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

บุรุษจะแย่งชิงเขาได้ ก็ชั่วกาลที่กาล

แย่งชิงของเขายังพอสำเร็จได้ แต่เมื่อใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

คนเหล่าอื่นย่อมแย่งชิง ผู้แย่งชิงนั้น ย่อม

กลับถูกเขาแย่งชิงเมื่อนั้น.

เพราะว่า คนพาลย่อมสำคัญว่าเป็น

ฐานะ ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล แต่บาป

ให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมประสบทุกข์เมื่อ

นั้น.

ผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ ผู้ชำนะ

ย่อมได้รับการชนะตอบ ผู้ด่าย่อมได้รับการ

ด่าตอบ และผู้ขึ้งเคียดย่อมได้รับความขึ้ง

เคียดตอบ ฉะนั้น เพราะความหมุนกลับ

แห่งกรรม ผู้แย่งชิงนั้น ย่อมถูกเขา

แย่งชิง.

อรรถกถาทุติยสังคามวัตถุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสังคามวัตถุสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า อพฺภุยฺยาสิ ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสั่งว่าพวกเจ้าน่า

ตำหนิในการพ่ายแพ้ จงไปวัดฟังการสนทนาของเหล่าพระภิกษุ ทรงสดับเหตุ

แห่งชัยชนะที่ภิกษุพุทธรักขิต ผู้บวชต่อแก่พูดแก่ภิกษุธรรมรักขิต ผู้บวชต่อ

แก่ในเวลากลางคืนว่า ถ้าพระราชาทรงทำอุบายอย่างนี้เสด็จไป ก็จะพึงชนะอีก

แล้วจัดทัพไปรุกราน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

บทว่า ยาวสฺส อุปกปฺปติ ความว่า ตราบเท่าความช่วงชิง จะพอ

สำเร็จได้. บทว่า ยทา จญฺเ ความว่า ก็เมื่อใด คนอื่น ๆ จะปล้นบุคคล

ที่ปล้นเขามาแล้วนั้น. บทว่า วิลุมฺปติ ได้แก่ ย่อมถูกเขาปล้น.

บทว่า านญฺหิ มญฺติ ความว่า ก็ย่อมสำคัญว่ามีเหตุ. บทว่า

ยทา แปลว่า ในกาลใด. บทว่า เชตาร ลภเต ชย ความว่า บุคคล

ผู้ชนะ ย่อมได้ผู้ชำนะภายหลัง. บทว่า โรเสตาร ได้แก่ ซึ่งผู้โกรธ. บทว่า

โรสโก ได้แก่ ผู้โกรธ. บทว่า กมฺมวิวฏฺเฏน ได้แก่ ด้วยความแปรปรวน

แห่งกรรม คือด้วยการให้วิบากแห่งกรรมคือการปล้นนั่น. บทว่า โส วิลุตฺโต

วิลุมฺปติ ได้แก่ ผู้ปล้นนั้น ก็จะถูกเขาปล้น.

จบอรรถกถาทุติยสังคามวัตถุสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

๖. ธีตุสูตร

ว่าด้วยสตรีก็เป็นผู้ประเสริฐได้

[๓๗๖] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น ราชบุรุษเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้วกราบทูล ณ

ที่ใกล้พระกรรณของพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ

พระนางมัลลิกาเทวีประสูติพระธิดาแล้ว.

เมื่อบุรุษกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ไม่ทรงเบิกบาน

พระทัย.

[๓๗๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิ-

โกศลไม่ทรงเบิกบานพระทัย จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

ดูก่อนมหาบพิตร ผู้เป็นใหญ่ยิ่งกว่า

ปวงชน แท้จริง แม้สตรีบางคนก็เป็นผู้

ประเสริฐ พระองค์จงชุบเลี้ยงไว้ สตรีที่

มีปัญญา มีศีล ปฏิบัติแม้ผัวพ่อผัวดัง

เทวดา จงรักสามี.

บุรุษที่เกิดจากสตรีนั้น ย่อมเป็นคน

แกล้วกล้า เป็นเจ้าแห่งทิศได้ บุตรของ

ภริยาดีเช่นนั้น ก็ครองแม้ราชสมบัติได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

อรรถกถาธีตุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในธีตุสูตรที่ ๖ ต่อไป :-

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลโปรดให้จัดเรือน

ประสูติ เวลาพระนางมัลลิกาเทวีประสูติ พระราชทานการอารักขาแล้วเสด็จ

ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อนตฺตมโน อโหสิ ความว่า ทรง

เสียพระทัยว่า เราให้อิสริยะอย่างใหญ่ แก่ธิดาของตระกูลที่เข็ญใจ ถ้านาง

ได้ลูกชาย ก็จักประสบสักการะอย่างใหญ่แน่แท้ บัดนี้ นางสูญสิ้นจากสักการะ

นั้นไปเสียแล้ว. บทว่า เสยฺยา ความว่า สตรีบางคนถึงจะเสมอกับผู้มีปัญญา

ชักช้า ก็ยังประเสริฐกว่าลูกเป็นใบ้. บทว่า โปส แปลว่า โปรดทรงชุบเลี้ยงไว้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระราชาผู้ปกครองประชาชนว่า ชนาธิป. บทว่า

สลฺสุเทวา ได้แก่ แม่ผัวและพ่อผัวเป็นดังเทวดา. บทว่า ทิสมฺปติ

ได้แก่ ผู้เป็นใหญ่ในทิศ. บทว่า ตาทิสา สุภริยา แปลว่า ของภริยาที่ดี

เช่นนั้น.

จบอรรถกถาธีตุสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

๗. ปฐมอัปปมาทสูตร

[๓๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ. . . กรุงสาวัตถี. . . พระเจ้า-

ปเสนทิโกศล ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ

ประโยชน์ปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภายหน้า มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึด

ไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั่ง ๒ คือ ประโยชน์ปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภายหน้า

มีอยู่.

พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่ง

ที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ปัจจุบันนี้ และประโยชน์ใน

ภายหน้า คืออะไร.

[๓๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร คือ ความ

ไม่ประมาท.

ดูก่อนมหาบพิตร รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่สัญจรไปบนแผ่นดิน

ชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอย

เท้าช้าง ย่อมกล่าวกันว่า เป็นเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นของใหญ่

ข้อนี้มีอุปนา ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งที่ยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์

ทั้ง ๒ คือ ประโยชน์ปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า คือความไม่ประมาท

ก็มีอุปไมยฉันนั้น.

[๓๘๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์

คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

บุคคลปรารถนาอยู่ซึ่งอายุ ความไม่

มีโรค วรรณะ สวรรค์ ความเกิดใน

ตระกูลสูง และความยินดีอันโอฬารต่อ ๆ

ไป พึงบำเพ็ญความไม่ประมาท บัณฑิต

ทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทใน

บุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิตผู้ไม่ประมาท

ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง ๒ คือ ประ-

โยชน์ปัจจุบันนี้ และประโยชน์ในภพหน้า

เพราะยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์นั้น ผู้มีปัญญา

ท่านจึงเรียกว่า "บัณฑิต".

อรรถกถาปฐมอัปปมาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗ ต่อไป :-

บทว่า สมติคฺคยฺห แปลว่า ยึดไว้ได้ อธิบายว่า ถือไว้ได้. อัปปมาท

ธรรมที่หนุนให้ทำบุญ ชื่อว่า อัปปมาท ความไม่ประมาท. บทว่า สโมธาน

ได้แก่ ตั้งลงพร้อม คือ รวมลง. ด้วยบทว่า เอวเมว โข พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงว่า การาปกอัปปมาท (ความไม่ประมาทอันอุดหนุนบุคคลผู้กระทำ

ตาม) เหมือนรอยเท้าช้าง กุศลธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ ที่เหลือ ก็เหมือน

รอยเท้าสัตว์ที่เหลือ กุศลธรรมเหล่านั้น ย่อมประชุมลงในอัปปมาทธรรม

เป็นไปภายในอัปปมาทธรรม เหมือนรอยเท้าสัตว์ที่เหลือรวมลงในรอยเท้าช้าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

อนึ่ง รอยเท้าช้างเลิศ ประเสริฐสุด ใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ที่เหลือ ฉันใด

อัปปมาทธรรม ก็เลิศประเสริฐสุด ใหญ่กว่าธรรมทั้งหลายที่เหลือ ฉันนั้น.

จริงอยู่ อัปปมาทธรรมนั้น แม้เป็นโลกิยะอยู่ ก็ยังเลิศอยู่นั่นเอง เพราะ

อรรถว่าเป็นเหตุให้ได้ธรรมที่เป็นมหัคคตะและโลกุตระ.

บทว่า อปฺปมาท ปสสนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย ย่อม

สรรเสริญความไม่ประมาทเท่านั้นว่า ผู้ปรารถนาอายุเป็นต้นเหล่านั้น พึงทำ

ความไม่ประมาทอย่างเดียว. อีกอย่างหนึ่ง ก็เพราะบัณฑิตทั้งหลาย สรรเสริญ

ความไม่ประมาทในการกระทำบุญทั้งหลาย ฉะนั้น ผู้ปรารถนาอายุเป็นต้น

พึงทำความไม่ประมาทโดยแท้. บทว่า อตฺถาภิสมยา ได้แก่ เพราะได้

ประโยชน์.

จบอรรถกถาปฐมอัปปมาทสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

๘. ทุติยอัปปมาทสูตร

[๓๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ. . . กรุงสาวัตถี. . . พระเจ้า

ปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปริวิตกแห่งใจบังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ผู้เข้า

ห้องส่วนตัวพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วนั่นแหละ

สำหรับผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรชั่ว

มีสหายชั่ว มีจิตน้อมไปในคนที่ชั่ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น

ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ธรรมที่อาตมาภาพกล่าวดีแล้วนั่นแหละ

สำหรับผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนดี ไม่ใช่สำหรับผู้มีมิตรชั่ว

มีสหายชั่ว มีจิตน้อมไปในคนที่ชั่ว.

[๓๘๒] ดูก่อนมหาบพิตร สมัยหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมของหมู่

เจ้าศากยะ ชื่อว่านครกะ สักกชนบท ครั้งนั้น ภิกษุอานนท์ เข้าไปหาอาตมภาพ

อภิวาท แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดูก่อนมหาบพิตร ภิกษุอานนท์

ได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี

มีจิตน้อมไปในคนที่ดี เป็นคุณกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์ ดูก่อนมหาบพิตร

เมื่อภิกษุอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวกะภิกษุอานนท์ว่า ดูก่อน

อานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น ดูก่อนอานนท์ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี

มีจิตน้อมไปในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดเลย ดูก่อนอานนท์ นี่ภิกษุ

ผู้มีมิตรดีพึงปรารถนา ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี จัก

เจริญอริยมรรคมีองค์แปด จักกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

[๓๘๓] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปใน

คนที่ดี ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์แปด ย่อมกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้

มากได้อย่างไร.

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละคืน ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ...

ย่อมเจริญสัมมาวาจา. . . ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ. . . ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ...

ย่อมเจริญสัมมาวายามะ. . . ย่อมเจริญสัมมาสติ. . . ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสละคืน.

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี

ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์แปด ย่อมกระทำซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้มากได้

อย่างนี้แล.

ดูก่อนอานนท์ โดยปริยายแม้นี้ พึงทราบว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี

มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมดทีเดียว.

ดูก่อนอานนท์ ด้วยว่าอาศัยเราเป็นมิตรดี สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิด

เป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความเกิดได้ สัตว์ทั้งหลายผู้มีด้วยามแก่เป็น

ธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความแก่ได้ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บป่วยเป็น

ธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความเจ็บป่วยได้ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตายเป็น

ธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจากความตายได้ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความโศก ความร่ำไร

ความทุกข์ ความเสียใจ และความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมหลุดพ้นจาก

ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความเสียใจ และความคับแค้นใจได้.

ดูก่อนอานนท์ โดยปริยายนี้แล พึงทราบว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี

มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

[๓๘๔] ดูก่อนมหาบพิตร เพราะเหตุนั้นแหละ พระองค์พึงทรง

สำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี

ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์พึงทรงสำเหนียกอย่างนี้แล.

ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอย่างหนึ่งนี้ คือความไม่ประมาทในกุศลธรรม

ทั้งหลาย พระองค์ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี พึงทรงอาศัย

อยู่เถิด.

ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท

หมู่นางสนมผู้ตามเสด็จจักมีความคิดอย่างนี้ว่า พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท

อาศัยความไม่ประมาท ถ้ากระนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัย

ความไม่ประมาท.

ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท

แม้กษัตริย์ทั้งหลายผู้ตามเสด็จจักมีความคิดอย่างนี้ว่า พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท

อาศัยความไม่ประมาท ถ้ากระนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัย

ความไม่ประมาท.

ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท

แม้กองทัพ (ข้าราชการฝ่ายทหาร) ก็จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พระราชาเป็นผู้

ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท ถ้ากระนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่

ประมาท อาศัยความไม่ประมาท.

ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท

แม้ชาวนิคมและชาวชนบทก็จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พระราชาเป็นผู้ไม่ประมาท

อาศัยความไม่ประมาท ถ้ากระนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ไม่ประมาท อาศัย

ความไม่ประมาท.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อพระองค์ไม่ประมาท อาศัยความไม่ประมาท

แม้พระองค์เองก็จักเป็นผู้ได้รับคุ้มครองแล้ว ได้รับรักษาแล้ว แม้หมู่นางสนม

ก็จักเป็นผู้ได้รับคุ้มครองแล้ว ได้รับรักษาแล้ว แม้เรือนคลังก็จักเป็นอันได้

รับคุ้มครองแล้ว ได้รับรักษาแล้ว.

[๓๘๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์

คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

บุคคลผู้ปรารถนาโภคะอันโอฬาร

ต่อ ๆ ไป พึงบำเพ็ญความไม่ประมาท

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่

ประมาทในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิตผู้

ไม่ประมาทย่อมยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์ทั้ง

๒ คือประโยชน์ปัจจุบัน และประโยชน์

ในภพหน้า เพราะยึดไว้ได้ซึ่งประโยชน์

นั้น ผู้มีปัญญาท่านจึงเรียกว่า "บัณฑิต".

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

อรรถกถาทุติยอัปปมาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในที่อัปปมาทสูตรที่ ๘ ต่อไป :-

บทว่า โส จ โข กลฺยาณมิตฺตสฺส ความว่า ก็ธรรมนี้นั้น ย่อม

ชื่อว่า สวากขาตธรรมของผู้มีมิตรดีเท่านั้น หาใช่สวากขาตธรรมของผู้มีมิตร

ชั่วไม่ จริงอยู่. ธรรมเป็นสวากขาตธรรม แม้ของทุกคนก็จริง ถึงอย่างนั้น

ย่อมทำประโยชน์ให้เต็มแก่ผู้มีมิตรดี ผู้ตั้งใจฟังด้วยดี ผู้เชื่อถือ เหมือนยา

เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้ หาเป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่ใช้ไม่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ พึงทราบว่าเทศนาธรรมในคำว่า ธมฺโม นี้.

บทว่า อุปฑฺฒมิท ความว่า ได้ยินว่า พระเถระเจ้าไปในที่ลับคิด

ว่า เมื่อมิตรดีผู้โอวาทพร่ำสอนมีอยู่ สมณธรรมนี้ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ผู้ตั้ง

อยู่ในความพยายามเฉพาะตัว ดังนั้น พรหมจรรย์กึ่งหนึ่งมาจากมิตรดี กึ่งหนึ่ง

มาจากความพยายามเฉพาะตัว. ครั้งนั้น พระเถระดำริว่า เราอยู่ในปเทสญาณ

(ญาณในธรรมบางส่วน) รู้บางส่วน ไม่อาจคิดได้หมดทุกส่วน จำต้องทูลถาม

พระศาสดา จึงจักหมดสงสัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว

กล่าวอย่างนั้น.

บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส ได้แก่ อริยมรรค. บทว่า ยทิท กลฺยาณ-

มิตฺตตา ความว่า ความเป็นผู้มีมิตรดีที่ได้ ย่อมมาสู่พรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง

จากพรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง. ดังนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า อริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็น

ต้นครึ่งหนึ่ง ย่อมมาจากความเป็นผู้มีมิตรดี อีกครั้งหนึ่ง ย่อมมาจากความ

พยายามเฉพาะตัว. ก็จริงอยู่ นี้เป็นความปรารถนาของพระเถระ แท้จริง

แม้ในที่นี้ ธรรมที่แบ่งแยกไม่ได้นี้ ก็ไม่อาจแบ่งแยกได้ว่า บรรดาอริยมรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

มีสัมมาสัมทิฏฐิเป็นต้น เท่านี้เกิดจากความมีมิตรดี เท่านี้เกิดจากความพยายาม

เฉพาะตน เปรียบเหมือนเมื่อคนมากคนยกเสาหิน ก็แบ่งแยกไม่ได้ว่า ที่เท่านี้

คนโน้นยก ที่เท่านี้คนโน้นยก และเหมือนอย่างว่า เมื่อบุตรอาศัยมารดาบิดา

เกิดขึ้น ก็แบ่งแยกไม่ได้ว่าเกิดจากมารดาเท่านี้ เกิดจากบิดาเท่านี้ ฉะนั้น. ถึง

กระนั้น พรหมจรรย์ชื่อว่ากึ่งหนึ่ง ตามอัธยาศัยของพระเถระว่า เพราะเป็นผู้

มีมิตรดี ก็ได้คุณกึ่งหนึ่ง พรหมจรรย์ชื่อว่าทั้งสิ้น ตามอัธยาศัยของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าว่า ก็ได้คุณทั้งสิ้น. ก็ดีว่า กลฺยาณมิตฺตตา นี้ท่านถือว่า ชื่อว่า

ได้คุณที่เป็นส่วนเบื้องต้น ว่าโดยใจความ ก็ได้แก่ขันธ์ ๔ คือ ศีลขันธ์ สมาธิ

ขันธ์ วิปัสสนาขันธ์ อันอาศัยกัลยาณมิตรได้มา อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

สังขารขันธ์ก็มี.

บทว่า มา เหว อานนฺท ความว่า อยู่าพูดอย่างนี้ เธอเป็นพหูสูต

บรรลุปฏิสัมภิทาฝ่ายเสขะ รับพร ๘ ประการแล้วอุปัฏฐากเรา เธอผู้ประกอบ

ด้วยอัจฉริยัพภูตธรรม ๔ ประการ ไม่ควรกล่าวอย่างนี้ แก่บุคคลเช่นนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดำนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ความมีมิตรดี ความมีสหายดี

ความมีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ดังนี้ ทรงหมายว่า มรรค ๔ ผล ๔

วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ทั้งหมด มีมิตรดีเป็นมูลทั้งนั้น. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง

เหตุ โดยการเปล่งพระวาจานั่นแล จึงตรัสดำว่า กลฺยาณมิตฺตสฺเสต เป็น

ต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาฏิกงฺข ความว่า พึงหวัง พึงปรารถนา

ว่ามีอยู่แท้. บทว่า อิธ เเปลว่า ในศาสนานี้. ก่อนอื่น อาทิบททั้ง ๘ ใน

คำว่า สมฺมาทิฏฺึ ภาเวติ เป็นต้น มีพรรณนาสังเขปดังนี้. สัมมาทิฏฐิมี

ลักษณะเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ มีลักษณะยกสหชาตธรรมขึ้นสู่อารมณ์ชอบ

สัมมาวาจา มีลักษณะกำหนดอารมณ์ชอบ สัมมากัมมันตะ มีลักษณะตั้งตนไว้

ชอบ. สัมมาอาชีวะ มีลักษณะทำอารมณ์ให้ผ่องแผ้วชอบ. สัมมาวายามะ มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

ลักษณะประคองชอบ สัมมาสติ มีลักษณะปรากฏชอบ สัมมาสมาธิ มีลักษณะ

ตั้งมั่นชอบ บรรดามรรคมีองค์ ๘ นั้น มรรคองค์หนึ่ง ๆ มีกิจ ๓ คือ ก่อนอื่น

สัมมาทิฏฐิ ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ พร้อมกับเหล่ากิเลสที่เป็นข้าสึกของตนอย่างอื่นๆ ๑

ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ๑ และเห็นสัมปยุตธรรมเพราะไม่ลุ่มหลง โดยกำจัด

โมหะอันปกปิดสัมปยุตธรรมนั้น ๑ แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ก็ละมิจฉาสัง-

กัปปะเป็นต้น และทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน แต่โดยเฉพาะ

อย่างยิ่ง ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะ ย่อมยกอารมณ์ขึ้นสู่สหชาต-

ธรรม.

สัมมาวาจา ย่อมกำหนดถือเอาชอบ สัมมากัมมันตะ ย่อมตั้งตนไว้

ชอบ สัมมาอาชีวะ ย่อมผ่องแผ้วชอบ สัมมาวายามะ ย่อมประคองความ

เพียรๆ ชอบ สัมมาสติ ย่อมตั้งไว้ชอบ สัมมาสมาธิ ย่อมตั้งมั่นชอบ.

อนึ่งเล่า ธรรดาสัมมาทิฏฐินี้ ในส่วนเบื้องต้น ย่อมมีขณะต่าง ๆ มี

อารมณ์ต่าง ๆ แต่ในขณะมรรคจิตมีขณะอันเดียว มีอารมณ์อย่างเดียว. แต่

ว่าโดยกิจ ย่อมได้ชื่อ ๔ ชื่อ มี ทุกฺเข าณ รู้ในทุกข์ดังนี้เป็นต้น แม้

สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้น ก็มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน แต่

ในขณะแห่งมรรคจิต ย่อมมีขณะอันเดียว มีอารมณ์อย่างเดียว. ในมรรคมี

องค์ ๘ นั้น สัมมาสังกัปปะว่าโดยกิจ ย่อมได้ชื่อ ๓ ชื่อ มีเนกขัมมสังกัปปะ

เป็นต้น. สัมมาวาจาเป็นต้น ย่อมเป็นวิรัติ ๓ บ้าง เป็นเจตนาเป็นต้นบ้าง

แต่ในขณะแห่งมรรคจิต ก็เป็นวิรัติเท่านั้น.

สัมมาวายามะและสัมมาสติทั้งสองดังว่ามานี้ ว่าโดยกิจ ก็ได้ชื่อ ๔ ชื่อโดย

สัมมัปปธาน ๔ สติปัฏฐาน ๔. ส่วนสัมมาสมาธิ ทั้งในส่วนเบื้องต้น ทั้งในขณะ

แห่งมรรคจิต ก็สมาธิอย่างเดียว. ครั้นทราบการพรรณนาอาทิบททั้ง ๘ ที่ท่าน

กล่าวโดยนัยว่า สมฺมทิฏฺึ ดังนี้เป็นต้นอย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ พึงทราบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

ความ ในคำว่า ภาเวติ วิเวกนิสฺสิต เป็นต้น ดังนี้. บทว่า ภาเวติ

แปลว่าเจริญ. อธิบายว่า ทำให้เกิด บังเกิดในจิตสันดานของตน. บทว่า

วิเวกนิสฺสิต แปลว่า อาศัยวิเวก. บทว่า วิเวโก ได้แก่ ความเป็นผู้สงัด

พึงทราบความดังนี้ว่า ความเป็นผู้สงัดนี้ ได้แก่ วิเวก ๕ อย่างคือ ตทังค-

วิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจุเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก นิสสรณวิเวก.

วิเวกมี ๕ อย่างดังนี้. บทว่า วิเวกนิสฺสิต ก็ได้แก่ เจริญสัมมาทิฏฐิ ที่อาศัย

ตทังควิเวก อาศัยสมุจเฉทวิเวก และอาศัยนิสสรณจะวก อนึ่งเล่า พระโยคี

[โยคาวจร] ผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอริยมรรคภาวนานี้ ในขณะเจริญวิปัสสนา

ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ ที่อาศัยตทังควิเวก โดยกิจ ที่อาศัยนิสสรณวิเวกโดย

อัธยาศัย แต่ในขณะแห่งมรรคจิต ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิที่อาศัยสมุจเฉทวิเวกโดย

กิจ ที่อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์ ในบทว่าที่อาศัยวิราคะเป็นต้น ก็นัยนี้.

ก็วิราคะเป็นต้น ก็มีวิเวกความสงัดเป็นอรรถนั่นแหละ ก็ในที่นี้อย่าง

เดียว โวสสัคคะ มี ๒ อย่างคือ ปริจาคโวสสัคคะ และปักขันทนโวสสัคคะ.

บรรดาโวสสัคคะ ๒ อย่างนั้น การละกิเลสด้วยอำนาจตทังคปหานในขณะเจริญ

วิปัสสนา และการละกิเลสด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน ในขณะแห่งมรรคจิตชื่อ

ว่าปริจาคโวสสัคคะ. ในขณะเจริญวิปัสสนา ก็แล่นไปสู่พระนิพพานด้วยความ

เป็นผู้น้อมไปในพระนิพพานนั้น แต่ในขณะแห่งมรรคจิต ก็แล่นไปสู่พระ-

นิพพาน ด้วยการทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่าปักขันทนโวสสัคคะ.

โวสสัคคะแม้ทั้งสองนั้น ย่อมควรในอรรถกถานัย ที่ผสมทั้งโลกิยะและโลกุตระ

นี้. จริงอย่างนั้น สัมมาทิฏฐินี้ ย่อมสละกิเลสและแล่นไปสู่พระนิพพาน โดย

ประการตามที่กล่าวแล้ว ด้วยคำทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึ ท่านอธิบายไว้

ดังนี้ว่า กำลังน้อมไปและน้อมไปแล้ว กำลังบ่มและบ่มสุกแล้ว เพื่อโวสสัคคะ.

จริงอยู่ ภิกษุผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งอริยมรรคภาวนานี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

โดยอาการที่สัมมาทิฏฐินั้น กำลังบ่มเพื่อโวสสัคคะคือการสละกิเลส และเพื่อ

โวสสัคคะ คือการแล่นไปสู่พระนิพพาน และโดยอาการที่สัมมาทิฏฐินั้นบ่มสุก

แล้ว. ในองค์มรรคที่เหลือก็นัยนี้.

บทว่า อาคมฺม ได้แก่ ปรารภหมายถึง อาศัยแล้ว. บทว่า ชาติ-

ธมฺมา ได้แก่มีการเกิดเป็นสภาวะ คือมีการเกิดเป็นปกติ [ธรรมดา]. บทว่า

ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่แม้อริยมรรคทั้งสิ้นอาศัยกัลยาณมิตรจึงได้ ฉะนั้น

ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเชื้อเชิญ. บทว่า อปฺปมาท

ปสสนฺติ ได้แก่ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท เพราะฉะนั้น

จึงควรทำความไม่ประมาท. บทว่า อตฺถาภิสมยา แปลว่า เพราะได้ประโยชน์.

จบอรรถกถาทุติยอัปปมาทสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

๙. ปฐมาปุตตกสูตร

[๓๘๖] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ใน

เวลาเที่ยงวัน ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า เชิญเถิดมหาบพิตร

พระองค์เสด็จจากไหนมาในเวลาเที่ยงวัน.

พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบคีผู้เป็น

เศรษฐีในกรุงสาวัตถีนี้ กระทำกาลกิริยาแล้ว ข้าพระองค์ให้ขนทรัพย์สมบัติ

อันไม่มีบุตรรับมรดกนั้น มาไว้ในพระราชวังแล้วก็มา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เฉพาะเงินเท่านั้นมี ๘,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องรูปิยะไม่ต้องพูดถึง ก็แต่คฤหบดีผู้

เป็นเศรษฐีนั้น ได้บริโภคอาหารเห็นปานนี้ คือบริโภคปลายข้าวกับน้ำส้มพะอูม

ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเห็นปานนี้ คือนุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัดเป็นสามชิ้นเย็บ

ติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเห็นปานนี้ คือใช้รถเก่า ๆ กั้นร่มทำด้วยใบไม้.

[๓๘๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็น

อย่างนั้น ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนมหาบพิตร อสัตบุรุษ

ได้โภคะอันโอฬารแล้ว ไม่ทำตนให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำเลย

ไม่ทำมารดาและบิดาให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ทำบุตรและ

ภรรยาให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ทำทาสกรรมกรให้ได้รับ

ความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ทำมิตรเละอำมาตย์ให้ได้รับความสุข

ให้ได้รับความอิ่มหนำ ไม่ทำทักษิณาอันมีผลในเบื้องบน มีอารมณ์ดี มีวิบาก

เป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ ให้ตั้งอยู่ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย โภคะเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

ของเขาที่มิได้ใช้สอยโดยชอบอย่างนี้ พระราชาทั้งหลายเอาไปบ้าง โจรทั้งหลาย

เอาไปบ้าง ไฟไหม้เสียบ้าง น้ำพัดไปเสียบ้าง ทายาททั้งหลายผู้ไม่เป็นที่รัก

เอาไปบ้าง.

ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะที่มิได้ใช้สอยโดยชอบของเขา

เหล่านั้น ย่อมหมดสิ้นไปเปล่าโดยไม่มีการบริโภคใช้สอย.

ดูก่อนมหาบพิตร ในที่ของอมนุษย์ มีสระโบกขรณีซึ่งมีน้ำใส มี

น้ำเย็น มีน้ำจืดสนิท ใสตลอด มีท่าดี น่ารื่นรมย์ น้ำนั้นคนไม่พึงตักเอา

ไปเลย ไม่พึงดื่ม ไม่พึงอาบ หรือไม่พึงกระทำตามที่ต้องการ ดูก่อนมหาบพิตร

ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ น้ำที่มิได้บริโภคโดยชอบนั้น พึงถึงความหมดสิ้นไปเปล่า โดย

ไม่มีการบริโภค แม้ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร อสัตบุรุษได้โภคะอันโอฬารแล้ว

ไม่ทำตนให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำเลย ฯลฯ ดูก่อนมหาบพิตร

เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะที่มิได้บริโภคโดยชอบของเขาเหล่านั้น ย่อมถึงความหมดสิ้น

ไปเปล่าโดยไม่มีการบริโภค ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๓๘๘] ดูก่อนมหาบพิตร ส่วนสัตบุรุษได้โภคะอันโอฬารแล้ว ย่อม

ทำตนให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อมทำมารดาและบิดาให้ได้

รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อมทำบุตรและภรรยาให้ได้รับความสุข

ให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อมทำทาสกรรมกรให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความ

อิ่มหนำ ย่อมทำมิตรและสหายให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ย่อม

ประดิษฐานซึ่งทักษิณาอันมีผลในเบื้องบน มีอารมณ์ดี มีวิบากเป็นสุข เป็นไป

เพื่อสวรรค์ ไว้ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย โภคะเหล่านั้นของเขา ที่บริโภค

โดยชอบอยู่อย่างนี้ พระราชาทั้งหลายก็เอาไปไม่ได้ โจรทั้งหลายก็เอาไปไม่ได้

ไฟก็ไม่ไหม้ น้ำก็ไม่พัดไป ทายาททั้งหลายผู้ไม่เป็นที่รักก็เอาไปไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

ดูก่อนมหาบพิตร เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะที่บริโภคอยู่โดยชอบของเขา

เหล่านั้น ย่อมมีการบริโภค ไม่หมดสิ้นไปเปล่า.

ดูก่อนมหาบพิตร ในที่ไม่ใกล้คามหรือนิคม มีสระโบกขรณี ซึ่งมี

น้ำใส มีน้ำเย็น มีน้ำจืดสนิท ใสตลอด มีท่าดี น่ารื่นรมย์ น้ำนั้นคนพึงตัก

ไปบ้าง พึงดื่มบ้าง พึงอาบบ้าง พึงกระทำตามที่ต้องการบ้าง ดูก่อนมหาบพิตร

ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ น้ำที่บริโภคอยู่โดยชอบนั้น พึงมีการบริโภค ไม่หมดสิ้นไป

เปล่า แม้ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร สัตบุรุษได้โภคะอันโอฬารแล้ว ย่อมยังตน

ให้ได้รับความสุข ให้ได้รับความอิ่มหนำ ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ โภคะที่บริโภค

อยู่โดยชอบของเขาเหล่านั้น ย่อมมีการบริโภค ไม่หมดสิ้นไปเปล่า ฉันนั้น

เหมือนกัน.

[๓๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์

คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

น้ำมีอยู่ในถิ่นของอมนุษย์ คนย่อม

งดน้ำที่ไม่พึงดื่มนั้น ฉันใด คนชั่วได้

ทรัพย์แล้ว ย่อมไม่บริโภคด้วยตนเอง

ย่อมไม่ให้ทาน ฉันนั้น ส่วนวิญญูชนผู้มี

ปัญญา ได้โภคะแล้ว เขาย่อมบริโภค

และทำกิจ เขาเป็นคนอาจหาญ เลี้ยงดู

หมู่ญาติ ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงแดน

สวรรค์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

อรรถกถาปฐมาปุตตกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมาปุตตกสูตรที่ ๙ ต่อไป :-

บทว่า ทิวาทิวสฺส แปลว่า วันแห่งวัน อธิบายว่า เวลากลางวัน

(เที่ยงวัน). บทว่า สาปเตยฺย แปลว่า ทรัพย์. บทว่า โก ปน วาโท

รูปิยสฺส ความว่า ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงสิ่ง ทั้งที่ทำเป็นแท่ง ต่างโดยเป็น

เงิน ทองแดง เหล็ก สำริดเป็นต้น ทั้งที่เป็นรูปิยภัณฑ์ ต่างโดยเป็นภาชนะ

ใช้สอยเป็นต้น คือจะพูดกำหนดอะไรกันว่า ชื่อมีเท่านี้. บทว่า กณาชก

ได้แก่ ข้าวมีรำ (ข้าวกล้อง). บทว่า ทิลงฺคทุติย แปลว่า มีน้ำส้มพะอูม

เป็นที่สอง. บทว่า สาณ ได้แก่ ผ้าที่ทำด้วยเปลือกป่าน. บทว่า ติปกฺข-

วสน ได้แก่ ผ้าที่ตัดเป็น ๓ ชิ้น เย็บริมทั้งสองติดกัน.

บทว่า อสปฺปุริโส แปลว่า บุรุษผู้เลว. ทักษิณาชื่อว่า อุทฺธคฺคิกา

ในคำว่า อุทฺธคฺคิก เป็นต้น เพราะมีผลในเบื้องบน (สูง) โดยให้ผลใน

ภูมิสูง ๆ ขึ้นไป. ชื่อว่า โสวคฺคิกา เพราะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สวรรค์

เหตุให้อุบัติในสวรรค์นั้น. ชื่อว่า สุขวิปากา เพราะทักษิณานั้นมีสุขเป็นวิบาก

ในที่บังเกิดแล้วบังเกิดเล่า. ชื่อว่า สคฺคสวตฺตนิกา เพราะเป็นที่บังเกิดของ

วิเศษ มีวรรณะทิพย์เป็นต้นอันเลิศดี. อธิบายว่า ทักษิณาทานเห็นปานนี้

ย่อมประดิษฐานอยู่.

บทว่า สาโตทกา ได้แก่ มีน้ำรสอร่อย. บทว่า เสตกา ได้แก่

น้ำอันขาว เพราะน้ำในที่คลื่นแตกกระจาย สีขาว. บทว่า. สุปติตฺถา แปลว่า

มีท่าอันดี. บทว่า ตญฺชโน ความว่า น้ำที่จืดสนิท โดยน่าชนิดใด ชนหา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

พึงบรรจุน้ำชนิดนั้นใส่ภาชนะนำไปได้ไม่. บทว่า น ยถาปจฺจย กเรยฺย

ความว่า กิจด้วยน้ำใด ๆ บุคคลพึงทำด้วยน้ำ เขาหาพึงทำกิจด้วยน้ำนั้น ๆ

ได้ไม่. บทว่า ตทเปยฺยมาน แปลว่า น้ำนั้นเขาดื่มไม่ได้. บทว่า กิจฺจกโร

จ โหติ ความว่า ผู้ทำกิจคือการงาน และผู้ทำกิจคือกุศลของตน ย่อมบริโภค

ย่อมประกอบการงานและให้ทาน.

จบอรรถกถาปฐมาปุตตกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

๑๐. ทุติยาปุตตกสูตร

[๓๙๐] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าในเวลาเที่ยงวัน ถวายบังคมแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลว่าเชิญเถิดมหาบพิตร

พระองค์เสด็จจากไหนมา ในเวลาเที่ยงวัน.

พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐี

ในกรุงสาวัตถีนี้ กระทำกาลกิริยาแล้ว ข้าพระองค์ให้ขนทรัพย์สมบัติอันไม่มี

บุตรรับมรดกนั้น มาไว้ในวังแล้วก็มา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เฉพาะเงิน

เท่านั้นมี ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ ส่วนเครื่องรูปิยะไม่ต้องพูดถึง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ก็คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้บริโภคอาหารเห็นปานนี้ คือบริโภคปลายข้าว

กับน้ำส้มพะอูม ได้ใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มเห็นปานนี้ คือนุ่งห่มผ้าเนื้อหยาบที่ตัด

เป็นสามชิ้นเย็บติดกัน ได้ใช้ยานพาหนะเห็นปานนี้ คือใช้รถเก่า ๆ กั้นร่มทำ

ด้วยใบไม้.

[๓๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็น

อย่างนั้น ดูก่อนมหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนมหาบพิตร เรื่องเคยมี

มาแล้ว คฤหบคีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ได้สั่งให้จัดบิณฑบาตถวายพระปัจเจก-

สัมพุทธะ นามว่า ตครสิขี ว่าท่านทั้งหลาย จงถวายบิณฑะแก่สมณะแล้วลุก

จากอาสนะเดินหลีกไป แต่ครั้นถวายแล้ว ภายหลังได้มีความเสียดายว่า

บิณฑบาตนี้ ทาสหรือกรรมกรพึงบริโภคยังดีกว่า นอกจากนี้เขายังปลงชีวิต

บุตรน้อยคนเดียวของพี่ชาย เพราะเหตุทรัพย์สมบัติอีก ดูก่อนมหาบพิตร

การที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น สั่งให้จัดบิณฑบาตถวายพระตครสิขีปัจเจก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

สัมพุทธะ ด้วยวิบากของกรรมนั้น เขาจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๗ ครั้ง ด้วย

วิบากอันเป็นส่วนเหลือของกรรมนั้นเหมือนกัน ได้ครองความเป็นเศรษฐีใน

กรุงสาวัตถีนี้แหละถึง ๗ ครั้ง.

ดูก่อนมหาบพิตร การที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นถวายแล้วภายหลังได้

มีความเสียดายว่า บิณฑบาตนี้ทาสหรือกรรมกรพึงบริโภคยังดีกว่า ด้วยวิบาก

ของกรรมนั้น จิตของเขาจึงไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอันโอฬาร จิตของเขา

จึงไม่น้อมไป เพื่อใช้ผ้าเครื่องนุ่งห่มอันโอฬาร จิตของเขาไม่น้อมไปเพื่อ

ใช้ยานพาหนะอันโอฬาร จิตของเขาจึงไม่น้อมไปเพื่อบริโภคเบญจกามคุณอัน

โอฬาร.

ดูก่อนมหาบพิตร ก็แหละการที่คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้น ปลงชีวิต

บุตรน้อยคนเดียวของพี่ชาย เพราะเหตุทรัพย์สมบัติ ด้วยวิบากของกรรมนั้น

เขาจึงถูกไฟเผาอยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี ด้วย

วิบากอันเป็นส่วนเหลือของกรรมนั้นเหมือนกัน ทรัพย์สมบัติอันไม่มีบุตรรับ

มรดกของเขานี้ จึงถูกขนเข้าพระคลังหลวงเป็นครั้งที่ ๗.

ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุญเก่าของคฤหบดีผู้เป็นเศรษฐีนั้นหมดสิ้นแล้ว

และบุญใหม่ก็ไม่ได้สะสมไว้.

ดูก่อนมหาบพิตร ก็ในวันนี้ คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐี ถูกไฟเผาอยู่ใน

มหาโรรุวนรก.

พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีผู้เป็น

เศรษฐี เข้าถึงมหาโรรุวนรกอย่างนั้นหรือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่างนั้น มหาบพิตร คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐี

เข้าถึงมหาโรรุวนรกแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

[๓๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำ

ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง หรือ

ข้าวของ ที่หวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่

ทาส กรรมกร คนใช้ และผู้อาศัยของ

เขา พึงพาเอาไปไม่ได้ทั้งหมด จะต้องละ

ทิ้งไว้ทั้งหมด.

ก็บุคคลทำกรรมใด ด้วยกาย ด้วย

วาจา หรือด้วยใจ กรรมนั่นแหละ เป็น

ของ ๆ เขา และเขาย่อมพาเอากรรมนั้น

ไป อนึ่งกรรมนั้นย่อมติดตามเขาไป

เหมือนเงาติดตามตน ฉะนั้น เพราะ

ฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี สั่งสมไว้

สำหรับภายหน้า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่ง

ของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก.

จบ ทุติยาปุตตกสูตร

จบทุติยวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

อรรถกถาทุติยาปุตตกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐ ต่อไป :-

บทว่า ปิณฺฑปาเตน ปฏิปาเทสิ ได้แก่ประกอบไว้กับบิณฑบาต

อธิบายว่า ได้ถวายบิณฑบาต. บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ไปโดยกิจบางอย่างคือ

โดยกิจมีเข้าเฝ้าพระราชาเป็นต้น. บทว่า ปจฺฉา วิปฺปฏิสารี อโหสิ ความ

ว่า ได้ยินว่า เศรษฐีนั้นพบพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้ในวันอื่นๆ

แต่เขามิได้เกิดจิตคิดจะถวายทาน. ในวันนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนาม

ว่า ตครสิขี บุตรคนที่ ๓ ของนางปทุมวดีเทวี พระองค์นี้ ยับยั้งอยู่ด้วยสุข

เกิดแต่ผลสมาบัติ ณ ภูเขาคันธมาทน์ ลุกขึ้น ณ เวลาเช้า บ้วนโอษฐ์ ณ

สระอโนดาด นุ่งสบงสีแดงดังน้ำชาด คาดประคดเอว ถือบาตรจีวร เข้า

จตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา เหาะไปด้วยฤทธิ์ลงที่ประตูนครห่มจีวรแล้ว

ถือบาตร ถึงประตูเรือนของเศรษฐีตามลำดับ ด้วยอากัปปะอาการมีก้าวไปเป็น

ต้นที่น่าเลื่อมใสประหนึ่งวางของมีค่าพันหนึ่งที่ประตูนครสำหรับชาวนครทั้ง

หลาย วันนั้น เศรษฐีตื่นแต่เช้าตรู่ บริโภคอาหารอันประณีต ปูอาสนะ ณ

ซุ้มประตูเรือน นั่งทำความสะอาดฟันอยู่ เศรษฐีนั้นเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

แล้ว เกิดจิตคิดจะถวายทาน เพราะวันนั้นเศรษฐีบริโภคอาหารเช้าแล้วนั่งอยู่

จึงเรียกภรรยามาสั่งว่า เจ้าจงถวายบิณฑบาตแก่สมณะผู้นี้แล้วก็หลีกไป.

ภรรยาเศรษฐีคิดว่า โดยเวลาถึงเพียงเท่านี้ เราไม่เคยได้ยินคำว่าเจ้าจง

ถวายทานแก่ผู้นี้ แต่วันนี้ เศรษฐี แม้เมื่อสั่งให้ถวายทาน ก็มิได้สั่งให้ถวายแก่ผู้

นั้นผู้นี้ แต่ให้ถวายทานแก่พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้ปราศจากราคโทสและโมหะ

ผู้คายกิเลส ผู้ปลงภาระแล้ว จำเราจักไม่ถวายทานสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่จักถวายบิณ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

ฑบาตอันประณีต นางออกจากเรือนแล้วไหว้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าด้วยเบญ-

จางคประดิษฐ์แล้วรับบาตรนิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้ ณ ภายในนิเวศน์

ปรุงอาหารด้วยข้าวสารข้าวสาลีอันบริสุทธิ์ดี กำหนดกับที่ควรเคี้ยวและแกงที่พอ

สมกับ ประดับของหอมไว้ข้างนอกบรรจงวางไว้ในมือทั้งสองของพระปัจเจก

พุทธเจ้าแล้วไหว้ พระปัจเจกพุทธเจ้ายังไม่ฉันด้วยคิดจะทำการสงเคราะห์ พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ จึงกระทำอนุโมทนาแล้วหลีกไป. เศรษฐีแม้นั้นแล

กำลังเดินมาแต่ข้างนอกเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าถามว่า เราสั่งให้เขาถวาย

บิณฑบาตแก่ท่านแล้วหลีกไป ท่านได้บิณฑบาตแล้วหรือ. พระปัจเจกพุทธเจ้า

ตอบว่า ถูกละ เศรษฐี เราได้แล้ว เศรษฐีหมายใจว่าจะดู จึงชะเง้อคอขึ้นดู.

ขณะนั้นเองกลิ่นบิณฑบาตของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นก็พลุ่งขึ้นกระทบโพรงจมูก.

เขาไม่อาจสำรวมจิตได้ ภายหลังก็มีวิปปฏิสารร้อนใจ

คำว่า วรเมต เป็นต้น เป็นการแสดงอาการของความร้อนใจที่เกิด

ขึ้น แต่เขาก็ฆ่าบุตรคนเดียวของพี่ชายเสีย เพราะเหตุแห่งทรัพย์สมบัติ. ได้

ยินว่า ครั้งนั้น เมื่อกองทรัพย์ยังมิได้แบ่งกัน มารดาบิดาและพี่ชายของเขา

ก็ตายไป เขาจึงอยู่ร่วมกับภรรยาของพี่ชาย. แต่พี่ชายของเขามีบุตรอยู่คนหนึ่ง.

เด็กนั้นกำลังเล่นอยู่ที่ถนน คนทั้งหลายก็พูดกันว่า นี้ทาส นี้ทาสี นี้ยาน นี้ทรัพย์

เป็นของ ๆ เจ้า เด็กนั้นก็จับคำของคนเหล่านั้นเอามาพูดว่า บัดนี้ นี้เป็นของ ๆ

เราดังนี้เป็นต้น.

ฝ่ายอาของเด็กนั้นคิดว่า เดี๋ยวนี้ เด็กนี้ยังพูดอย่างนี้ เมื่อแก่ตัวเขาก็

จะพึงตัดกองทรัพย์เสียระหว่างกลาง บัดนี้นี่แหละ เราจำจักต้องทำการที่จะพึง

ทำแก่เด็กนี้. วันหนึ่ง เขาถือมีดสั่งว่า มานี่แน่ลูก เราจะไปป่ากัน แล้วนำเด็ก

นั้นไปป่าฆ่าเด็กนั้น ซึ่งกำลังร้องโหยหวน โยนลงในบ่อกลบด้วยฝุ่น. ท่าน

หมายเอาข้อนี้จึงกล่าวคำนี้. บทว่า สตฺตกฺขตฺตุ แปลว่า ๗ ครั้ง. ก็ในคำนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

พึงทราบความ โดยเจตนาต้นและเจตนาหลัง. จริงอยู่ ในการถวายบิณฑบาต

ครั้งหนึ่ง เจตนาคราวเดียว ย่อมไม่ให้ปฏิสนธิสองครั้ง. ก็เศรษฐีนั้น บังเกิด

ในสวรรค์ ๗ ครั้ง ในตระกูลเศรษฐี ๗ ครั้ง ก็ด้วยเจตนาต้นและเจตนาหลัง.

บทว่า ปุราณ ได้แก่ กรรมคือเจตนาในบิณฑบาตทานที่ถวายแก่พระปัจเจก

พุทธเจ้า.

บทว่า ปริคฺคห ได้แก่ สิ่งของที่หวงแหน. บทว่า อนุชีวิโน

ได้แก่ เหล่าตระกูล จำนวน ๕๐ บ้าง ๖๐ บ้าง อาศัยตระกูลใหญ่ตระกูลหนึ่งเลี้ยง

ชีพอยู่. ท่านหมายเอาคนเหล่านั้น จึงกล่าวคำนี้.

บทว่า สพฺพนฺนาทาย คนฺตพฺพ ได้แก่ พาเอาทรัพย์นั้นทั้งหมด

ไปไม่ได้. บทว่า นิกฺขีปคามิน ได้แก่ทรัพย์นั้น ทั้งหมดมีอันต้องทิ้งไว้เป็น

สภาพ อธิบายว่า มีอันจำต้องสละเป็นสภาวะทั้งนั้น.

จบอรรถกถาทุติยาปุตตกสูตรที่ ๑๐

จบทุติยวรรคที่ ๒

พระสูตรในวรรคที่ ๒ นี้ คือ

๑. ชฎิลสูตร ๒. ปัญจราชสูตร ๓. โทณปากสูตร ๔. ปฐมสังคาม

วัตถุสูตร ๕. ทุติยสังคามวัตถุสูตร ๖. ธีตุสูตร ๗. ปฐมอัปปมาทสูตร

๘. ทุติยอัปปมาทสูตร ๙. ปฐมาปุตตกสูตร ๑๐. ทุติยาปุตตกสูตร

พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

ตติยวรรคที่ ๓

๑. ปุคคลสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ ประเภท

[๓๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท้าวเธอว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคล

๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกเป็นไฉน บุคคล ๔ จำพวก

คือ บุคคลผู้มืดมามืดไปจำพวก ๑ บุคคลผู้มืดมากลับสว่างไปจำพวก ๑ บุคคล

ผู้สว่างมาแล้วกลับมืดไปจำพวก ๑ บุคคลผู้สว่างมาแล้วสว่างไปจำพวก ๑.

[๓๙๔] ดูก่อนมหาบพิตร ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่ามืดมามืดไป

ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาภายหลังในตระกูลอันต่ำ คือ

ตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูล

คนเทหยากเยื่อ ซึ่งขัดสน มีข้าวน้ำโภชนาหารน้อย เป็นอยู่ฝืดเคือง เป็น

ตระกูลที่หาอาหารและผ้านุ่งห่มได้โดยยาก และเขาเป็นคนที่มีผิวพรรณทราม

ไม่น่าดูไม่น่าชม เป็นคนเล็กแคระ มีอาพาธมาก เป็นคนเสียจักษุ เป็นง่อย

เป็นคนกระจอกหรือเป็นเปลี้ย มักหาข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยวดยาน ดอกไม้

๑. คนกระจอก คือเดินขาเขยก ฯ คนเปลี้ย คือเป็นอัมพาต ตายแถบหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องประทีปไม่ใคร่ได้ เขาซ้ำ

ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นเขาประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ

แล้ว ครั้นตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนมหาบพิตร

เปรียบเหมือนบุรุษพึงไปจากความมืดมิดสู่ความมืดมิด หรือพึงไปจากความ

มืดมัวสู่ความมืดมัว หรือพึงไปจากโลหิตอันมีมลทินสู่โลหิตอันมีมลทิน ฉันใด

ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้ มีอุปไมยฉันนั้น ดูก่อนมหาบพิตร

อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มืดมามืดไป.

[๓๙๕] ดูก่อนมหาบพิตร ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มืดมาแล้ว

กลับสว่างไป ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเกิดมาภายหลัง

ในตระกูลอันต่ำทราม คือตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างจักสาน ตระกูลพราน

ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทหยากเยื่อ ขัดสน มีข้าวน้ำโภชนาหารน้อย

มีความเป็นอยู่ฝืดเคือง เป็นตระกูลที่หาอาหารและผ้านุ่งห่มได้โดยยาก และ

เขาเป็นคนมีผิวพรรณทราม ไม่น่าดูไม่น่าชม เป็นคนเล็กแคระ มีอาพาธมาก

เป็นคนเสียจักษุ เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นคนเปลี้ย มักหาข้าว

น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และ

เครื่องประทีปไม่ใคร่ได้ แม้กระนั้น เขาก็ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ

ครั้นเขาประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ-

โลกสวรรค์ ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษพึงขึ้นจากแผ่นดินสู่บัลลังก์

หรือพึงขึ้นจากบัลลังก์สู่หลังม้า หรือพึงขึ้นจากหลังม้าสู่คอช้าง หรือพึงขึ้นจาก

คอช้างสู่ปราสาท แม้ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคตย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้

มีอุปไมยฉันนั้น ดูก่อนมหาบพิตร อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้มืดมาแล้ว

กลับสว่างไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

[๓๙๖] ดูก่อนมหาบพิตร ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้สว่างมาแล้ว

กลับมืดไป ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เกิดมาภายหลัง

ในตระกูลสูง คือตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณมหาศาล หรือตระกูล

คฤหบดีมหาศาล มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงินมากมาย

มีของใช้น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย และเขาเป็นคนมี

รูปงาม น่าดูน่าชม ประกอบด้วยความงามแห่งผิวเป็นเยี่ยม มักหาข้าว น้ำ

ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และ

เครื่องประทีปได้สะดวก แต่เขากลับประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้น

เขาพระพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษลงจากปราสาทสู่คอช้าง

หรือลงจากคอช้างสู่หลังม้า หรือลงจากหลังม้าสู่บัลลังก์ หรือลงจากบัลลังก์

สู่พื้นดิน หรือจากพื้นดินเข้าไปสู่ที่มืด แม้ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร ตถาคต

กล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น ดูก่อนมหาบพิตร อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่า

เป็นผู้สว่างมาแล้วกลับมืดไป.

[๓๙๗] ดูก่อนมหาบพิตร ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้สว่างมาแล้ว

สว่างไป ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเกิดมาภายหลังใน

ตระกูลสูง คือตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณมหาศาล หรือตระกูล

คฤหบดีมหาศาล อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก มีทองและเงิน

มากมาย มีของใช้น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมากมาย และเขา

เป็นคนมีรูปสวย น่าดูน่าชม ประกอบด้วยความงามแห่งผิวเป็นเยี่ยม มักหา

ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย

และเครื่องประทีปได้สะดวก เขาย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้น

เขาประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษพึงก้าวไปด้วยดีจากบัลลังก์สู่บัลลังก์

หรือพึงก้าวไปด้วยดีจากหลังม้าสู่หลังม้า หรือพึงก้าวไปด้วยดีจากคอช้างสู่

คอช้าง หรือพึงก้าวไปด้วยดีจากปราสาทสู่ปราสาท แม้ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร

ตถาคตย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น ดูก่อนมหาบพิตร อย่างนี้แล

บุคคลชื่อว่าเป็นผู้สว่างมาแล้วสว่างไป. ดูก่อนมหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวก

นี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ดังนี้.

[๓๙๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์

คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

ดูก่อนมหาบพิตร บุรุษเข็ญใจไม่มี

ศรัทธา เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มี

ความดำริชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความ

เอื้อเฟื้อ ย่อมด่าย่อมบริภาษสมณะหรือ

พราหมณ์หรือวณิพกอื่น ๆ เขาเป็นคนไม่

มีประโยชน์ เป็นคนมักขึ้งเคียด ย่อมห้าม

คนที่กำลังจะให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ

ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งประชา-

ราษฎร์ คนเช่นนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้า

ถึงนรกอันโหดร้าย นี่ชื่อว่าผู้มืดแล้วมืดไป.

ดูก่อนมหาบพิตร บุรุษ (บางคน)

เป็นคนเข็ญใจ (แต่) เป็นคนมีศรัทธา ไม่

มีความตระหนี่ เขามีความดำริประเสริฐ

มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน ย่อมลุกรับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

สมณะหรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ

ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย ไม่

ห้ามคนที่กำลังจะให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ

ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งประชา-

ราษฎร์ คนเช่นนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง

ไตรทิพสถาน นี่ชื่อว่าผู้มืดแล้วกลับสว่าง

ไป.

ดูก่อนมหาบพิตร บุรุษ (บางคน)

ถึงหากจะมั่งมี (แต่) ไม่มีศรัทธา เป็นคน

มีความตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ ย่อมด่า

ย่อมบริภาษสมณะหรือพราหมณ์ หรือ

วณิพกอื่น ๆ เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์

เป็นคนมักขึ้งเคียด ย่อมห้ามคนที่กำลัง

จะให้โภชนาหารแก่คนที่ขอ ดูก่อน

มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งประชาราษฎร์

คนเช่นนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก

อันโหดร้าย นี้ชื่อว่า ผู้สว่างมาแล้วกลับ

มืดไป.

ดูก่อนมหาบพิตร บุรุษ (บางคน)

ถึงหากจะมั่งมี ก็เป็นคนมีศรัทธา ไม่มี

ความตระหนี่ เขามีความดำริประเสริฐ

มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมไม่ทาน ย่อมลุกรับ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

สมณะหรือพราหมณ์ หรือแม้วณิพกอื่น ๆ

ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย ไม่

ห้ามคนที่กำลังจะให้โภชนาหารแก่ผู้ที่

ขอ ดูก่อนมหาบพิตรผู้เป็นใหญ่แห่งประ-

ชาราษฎร์ คนเช่นนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้า

ถึงไตรทิพสถาน นี่ชื่อว่าผู้สว่างมาแล้ว

สว่างไป ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

อรรถกถาปุคคลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๓ ต่อไป :-

บุคคลชื่อว่า ตมะ มืดมา เพราะประกอบด้วยความมืดมีชาติเป็นต้น

ในภายหลัง ในตระกูลที่ต่ำ ที่ชื่อว่า ตมปรายนะ มืดไป เพราะเข้าถึง

ความมืดคือนรกซ้ำอีก ด้วยกายทุจริตเป็นต้น. ดังนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าว

ถึงความมืดคือขันธ์ แม้ด้วยบททั้งสอง ที่ชื่อว่า โชติ สว่างมาก็เพราะ

ประกอบด้วยความสว่างมีชาติเป็นต้นในภายหลังในตระกูลมั่งมี. ท่านอธิบายว่า

เป็นผู้สว่าง. ที่ชื่อว่า โชติปรายนะ สว่างไป เพราะเข้าถึงความสว่างคือการ

เข้าถึงสวรรค์อีกต่อ ด้วยกายสุจริตเป็นต้น. พึงทราบบุคคลทั้งสอง แม้

นอกนี้โดยนัยนี้.

บทว่า เวณกุเล ได้แก่ตระกูลช่างสาน. บทว่า เนสาทกุเล ได้แก่

ตระกูลของพวกพรานล่าเนื้อเป็นต้น. บทว่า รถการกุเล ได้แก่ตระกูลช่าง

หนัง. บทว่า ปุกฺกุสกุเล ได้แก่ตระกูลคนทิ้งดอกไม้เป็นต้น. บทว่า

กสิรวุตฺติเก ได้แก่ดำรงชีพลำเข็ญ. บทว่า ทุพฺพณฺโณ ได้แก่ มีผิวดัง

ตอไฟไหม้ เหมือนปีศาจุคลุกฝุ่น.

บทว่า ทุทฺทสฺสิโก ได้เเก่ ผู้พบเห็นไม่ชอบใจ แม้แต่แม่บังเกิดเกล้า.

บทว่า โอโกฏิมาโก ได้แก่ เป็นคนเตี้ย. บทว่า กาโณ ได้แก่ เป็น

คนตาบอดข้างเดียวหรือตาบอดสองข้าง. บทว่า กุณี ได้แก่ มือง่อยข้างเดียว

หรือมือง่อยสองข้าง. บทว่า ขญฺโช ได้แก่ มีเท้าง่อยข้างเดียวหรือเท้าง่อย

สองข้าง. บทว่า ปกฺขหโต ได้แก่ คนมีสีข้าง ถูกลมขจัดเสียแล้ว คือคน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

เปลี้ย [อัมพาต]. บทว่า ปทีเปยฺยสฺส ได้แก่เครื่องอุปกรณ์แห่งประทีป

มีน้ำและภาชนะน้ำมันเป็นต้น. ในคำว่า เอว โข มหาราช นี้ท่านกล่าวว่า

บุคคลคนหนึ่ง ไม่ทันเห็นแสงสว่างภายนอกก็มาตายเสียในท้องแม่นั่นเอง

บังเกิดในอบาย ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกัปแม้ทั้งสิ้น บุคคลแม้นั้น ชื่อว่ามืดมา

มืดไปแท้. ก็บุคคลผู้มืดมามืดไปนั้น พึงเป็นบุคคลหลอกลวง ด้วยว่าบุคคล

หลอกลวง ย่อมได้รับผลิตผลเห็นปานนี้.

ก็ในคำนี้ ท่านแสดงถึงความวิบัติแห่งการมา และความวิบัติแห่ง

ปัจจัยที่เกิดขึ้นในอดีต ด้วยคำว่า นีจกุเล ปจฺฉา ชาโต โหติ จณฺฑาล-

กุเลวา เป็นต้น. แสดงถึงความวิบัติแห่งปัจจัยในปัจจุบัน ด้วยคำว่า ทลิทฺเท

เป็นต้น. แสดงถึงความวิบัติแห่งอัตภาพ ด้วยคำว่า กสิรวุตฺติเก เป็นต้น.

แสดงถึงการประจวบเหตุแห่งทุกข์ ด้วยคำว่า พหฺวาพาโธ เป็นต้น. แสดง

ถึงความวิบัติเหตุแห่งสุข และความวิบัติแห่งเครื่องอุปโภค ด้วยคำว่า น ลาภี

เป็นต้น. แสดงถึงการประจวบเหตุแห่งความเป็นผู้มืดไป ด้วยคำว่า กาเยน

ทุจฺจริต เป็นต้น. แสดงถึงความเข้าถึงความมืดที่เป็นไปภายภาคหน้า ด้วยคำ

ว่า กายสฺส เภทา เป็นต้น. พึงทราบฝ่ายขาวโดยนัยตรงข้ามกับฝ่ายดำที่กล่าว

มาแล้ว.

บทว่า อกฺโกสติ ได้แก่ ด่าด้วยเรื่องที่ใช้ด่า ๑๐ เรื่อง. บทว่า

ปริภาสติ ได้แก่ บริภาษด่ากระทบกระเทียบ ด้วยคำตะคอกว่า เหตุไร

พวกเจ้าจึงหยุดงานกสิกรรมเป็นต้นของข้า พวกเจ้าทำกันแล้วหรือดังนี้เป็นต้นต้น.

บทว่า อพฺยคฺคมนโส ได้แก่ มีจิตมีอารมณ์อันเดียว.

จบอรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

๒. อัยยิกาสูตร

[๓๙๙] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้นเป็นเวลากลางวัน พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท้าวเธอว่า เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์

เสด็จจากไหนมาแต่วัน.

พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระอัยยิกาของข้าพระ-

องค์ ผู้ทรงชรา เป็นผู้เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัย มีพระชนม์ ๑๒๐

พรรษา ได้เสด็จทิวงคตเสียแล้ว ท่านเป็นที่รัก เป็นที่พอใจของข้าพระองค์

มาก พระเจ้าข้า หากข้าพระองค์จะพึงได้สมหวังว่า ขอพระอัยยิกาเจ้าของเรา

อย่าได้เสด็จทิวงคตเลย ดังนี้ แม้ด้วยใช้ช้างแก้วแลกไซร้ ข้าพระองค์พึงให้แม้

ซึ่งช้างแก้วเพื่อให้ได้สมหวัง ดังนี้ พระเจ้าข้า หากข้าพระองค์พึงได้สมหวัง

ว่า ขอพระอัยยิกาเจ้าของเราอย่าได้เสด็จทิวงคตเลย แม้ด้วยใช้ม้าแก้วแลกไซร้

ข้าพระองค์พึงให้แม้ซึ่งม้าแก้วเพื่อให้ได้สมหวัง พระเจ้าข้า หากข้าพระองค์พึง

ได้สมหวังว่า ขอพระอัยยิกาเจ้าของเราอย่าได้เสด็จทิวงคตเลย ดังนี้ แม้ด้วย

ใช้บ้านส่วยแลกไซร้ ข้าพระองค์พึงให้แม้ซึ่งบ้านส่วยเพื่อให้ได้สมหวัง พระ-

เจ้าข้า หากข้าพระองค์พึงได้สมหวังว่า ขอพระอัยยิกาเจ้าของเราอย่าได้เสด็จ

ทิวงคตเลย ดังนี้ แม้ด้วยใช้ชนบทแลกไซร้ ข้าพระองค์พึงให้แม้ซึ่งชนบทเพื่อ

ให้ได้สมหวัง พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า สัตว์ทั้งหลาย

ทั้งปวง มีมรณะเป็นธรรมดา มีมรณะเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นมรณะไปได้เลย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

ดังนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำที่ตรัสนั้น เป็น

คำตรัสที่ชอบ เป็นของอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว.

[๔๐๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น มหาบพิตร

ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น มหาบพิตร สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีความตายเป็นธรรมดา

มีความตายเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้เลย ดูก่อนมหาบพิตร ภาชนะ

ดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งที่ดิบทั้งที่สุก ภาชนะดินเหล่านั้นทั้งหมด มีความ

แตกเป็นธรรมดา มีความแตกเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความแตกไปได้เลย แม้

ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง มีความตายเป็นธรรมดา มี

ความตายเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้เลย ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๔๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณคำ

ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

สัตว์ทั้งปวงจักตาย เพราะชีวิตมี

ความตายเป็นที่สุด สัตว์ทั้งหลายจักไปตาม

กรรม เข้าถึงผลแห่งบุญและบาป คือผู้มี

กรรมเป็นบาป จักไปสู่นรก ส่วนผู้มีกรรม

เป็นบุญ จักไปสู่สุคติ.

เพราะฉะนั้น เมื่อสั่งสมกรรมอันมี

ผลในภายหน้าพึงทำแต่กรรมงามนี้ บุญ

ทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย

ในปรโลก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

อรรถกถาอัยยิกาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัยยิกาสูตรที่ ๒ ต่อไป :-

บทว่า ชิณฺณา ได้แก่ แก่เพราะชรา. บทว่า วุฑฺฒา ได้แก่

เจริญโดยวัย. บทว่า มหลฺลิกา ได้แก่ แก่เฒ่าโดยชาติ. บทว่า อทฺธคตา

ได้แก่ ล่วงกาลไกล คือกาลนาน. บทว่า วโยอนุปฺปตฺตา ได้แก่ถึงปัจฉิมวัย.

บทว่า ปิย มนาปา ความว่า ได้ยินว่า เมื่อพระชนนีของพระราชาทิวงคต

แล้ว พระราชาก็ทรงสถาปนาพระอัยยิกาไว้ในตำแหน่งพระชนนีแล้วทรงทนุ-

บำรุง ด้วยเหตุนั้น ท้าวเธอจึงทรงมีความรักแรงกล้าในพระอัยยิกา เพราะ

ฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า หตฺถิรตเนน ความว่า ช้างมีค่าแสนหนึ่ง

ประดับด้วยเครื่องประดับมีค่าแสนหนึ่ง ชื่อว่า หัตถิรัตนะ. แม้ในอัสสรัตนะ

ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้บ้านส่วย ก็คือหมู่บ้านที่มีรายได้เกิดขึ้นแสนหนึ่งนั่นเอง.

บทว่า สพฺพานิ ตานิ เภทนธมฺมานิ ความว่า บรรดาภาชนะของช่างหม้อ

เหล่านั้น ภาชนะบางอันที่ช่างหม้อกำลังทำอยู่นั่นแหละ ย่อมแตกได้ บางอัน

ทำเสร็จแล้ว เอาออกจากแป้นหมุนก็แตก บางอันเอาออกแล้วพอวางลงที่พื้น

ก็แตก บางอันอยู่ได้เกินไปกว่านั้นก็แตก แม้ในสัตว์ทั้งหลาย ก็อย่างนั้นเหมือน

กัน บางคนเมื่อมารดาตายทั้งกลม ไม่ทันออกจากท้องมารดาก็ตาย บางคนพอ

ตลอดก็ตาย บางคนอยู่ได้เกินไปกว่านั้นก็ตาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้.

จบอรรถกถาอัยยิกาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

๓. โลกสูตร

[๔๐๒] สาวัตถีนิทาน.

พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ทูลพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ธรรมเท่าไรหนอแลเมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิด

ขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

[๔๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ อย่าง

เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ

ความอยู่ไม่สำราญ ธรรม ๓ อย่างเป็นไฉน.

๑. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโลภะความโลภ เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

๒. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโทสะความโกรธ เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

๓. ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมคือโมหะความหลง เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ อย่างนี้แล เมื่อเกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิด

ขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่สำราญ.

[๔๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำ

ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

โลภะ โทสะ และโมหะ อันบังเกิด

แก่ตนย่อมทำลายบุรุษ ผู้มีใจบาป ดุจ

ขุยไผ่ทำลายต้นไฝ่ ฉะนั้น.

อรรถกถาโลกสูตร

ในโลกสูตรที่ ๓ คำทั้งหมดมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

๔. อิสสัตถสูตร

[๔๐๕] สาวัตถีนิทาน.

พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทาน บุคคลควรให้ในที่ไหนหนอ.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ควรให้ในที่ที่จิตเลื่อมใส.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ และทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก.

[๔๐๖] พ. ดูก่อนมหาบพิตร ทานควรให้ในที่ไหนนั่นเป็นข้อหนึ่ง

และทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก นั่นเป็นอีกข้อหนึ่ง ดูก่อนมหาบพิตร

ทานที่ให้แล้วแก่ผู้มีศีลแลมีผลมาก ทานที่ให้แล้วในผู้ทุศีลหามีผลมากไม่

ดูก่อนมหาบพิตร ด้วยเหตุนั้น อาตมภาพจักย้อนถามมหาบพิตรในปัญหาข้อ

นั้นบ้าง. มหาบพิตรพอพระทัยอย่างใด พึงพยากรณ์อย่างนั้น

[๔๐๗] มหาบพิตรจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ณ ที่นี้การยุทธ์

พึงปรากฏเฉพาะหน้าแด่พระองค์ สงครามพึงประชิดกัน ถ้าว่าเจ้าหนุ่ม ๆ ผู้ไม่

ได้ศึกษา ไม่ได้หัดมือ ไม่มีความชำนาญ ไม่ได้ประลองการยิง เป็นคน

ขี้ขลาด หวาดสะดุ้ง มักวิ่งหนี พึงมาอาสาไซร้ พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษ

นั้นหรือ และพระองค์ยังจะทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่พึงชุบเลี้ยงบุรุษเช่นนั้น

และหม่อมฉันไม่ต้องการบุรุษเช่นนั้นเลย.

พ. ถ้าว่า พราหมณ์หนุ่ม ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ

ถ้าว่าแพศย์หนุ่ม ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ ถ้าว่าศูทรหนุ่ม

ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ

และพระองค์ยังจะทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่พึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และ

หม่อมฉันไม่พึงต้องการบุรุษเช่นนั้นแล.

[๔๐๘] พ. ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน ณ ที่นี้การยุทธพึงปรากฏแก่พระองค์ สงครามพึงประชิดกัน ถ้าว่า

เจ้าหนุ่ม ๆ ผู้ศึกษาดีแล้ว ได้หัดมือแล้ว มีความชำนาญแล้ว ได้ประลอง

การยิงมาแล้ว ไม่เป็นคนขี้ขลาด ไม่หวาดสะดุ้ง ไม่วิ่งหนี พึงมาอาสาไซร้

พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และพระองค์พึงทรงต้องการบุรุษเช่น

นั้นหรือ.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และ

หม่อมฉันพึงต้องการบุรุษเช่นนั้น.

พ. ถ้าว่าพราหมณ์หนุ่ม ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ

ถ้าว่า แพศย์หนุ่ม ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ ถ้าว่า ศูทรหนุ่ม

ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ พระองค์จะพึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ

และพระองค์จะพึงทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และ

หม่อมฉันพึงต้องการบุรุษเช่นนั้น.

[๔๐๙] พ. ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร แม้หากว่า กุลบุตรออกจาก

เรือนไม่มีเรือน บวชจากตระกูลไร ๆ และกุลบุตรนั้น เป็นผู้ละองค์ ๕ ได้

แล้ว เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรนั้น ย่อมมีผลมาก

องค์ ๕ อันกุลบุตรนั้นละได้แล้วเป็นไฉน กามฉันทะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว

พยาบาทอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว ถีนมิทธะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว อุทธัจจ-

กุกกุจจะอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว วิจิกิจฉาอันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว องค์ ๕

เหล่านี้อันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นไฉน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยสีลขันธ์ ของพระอเสขะ ประกอบด้วยสมาธิขันธ์

ของพระอเสขะ ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ของพระอเสขะ ประกอบด้วยวิมุตติ-

ขันธ์ของพระอเสขะ ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ของพระอเสขะ

กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ เหล่านี้ ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรผู้

ละองค์ ๕ ได้แล้ว ผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ ดังนี้ ย่อมมีผลมาก.

[๕๑๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์

คำร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

ศิลปะธนู กำลังเข้มแข็ง และความ

กล้าหาญมีอยู่ในชายหนุ่มผู้ใด พระราช

ผู้ทรงการยุทธ์ พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่ม

เช่นนั้น ไม่พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้ไม่

กล้าหาญ เพราะเหตุแห่งชาติ ฉันใด.

ธรรมะคือขันติ และโสรัจจะ ตั้งอยู่

แล้วในบุคคลใด บุคคลพึงบูชาบุคคลนั้น

ผู้มีปัญญา มีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ

แม้มาชาติต่ำ ฉันนั้นเหมือนกัน.

พึงสร้างอาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์

อาราธนาพระพหูสูตทั้งหลายให้อยู่ ณ ที่นั้น

พึงสร้างบ่อน้ำไว้ในป่าที่กันดารน้ำ และ

สร้างสะพานในที่เป็นหล่ม พึงถวาย ข้าว

น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะในท่าน

ผู้ซื่อตรงทั้งหลาย ด้วยน้ำใจอันผ่องใส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

เมฆมีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ (เมฆอัน

ประกอบด้วยถ่องแถวแห่งสายฟ้า) มียอด

ตั้งร้อยกระหึ่มอยู่ ทำแผ่นดินให้โชกชุ่มอยู่

ย่อมทำที่ดอนและที่ลุ่มให้เต็ม แม้ฉันใด.

ทายกผู้มีศรัทธา เป็นบัณฑิตได้ฟัง

แล้ว ตกแต่งโภชนาหารเลี้ยงวณิพก ด้วย

ข้าวน้ำให้อิ่มหนำ บันเทิงใจ เที่ยวไปใน

โรงทาน สั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ท่าน

ทั้งหลายจงให้ ดังนี้ และทายกนั้นบันลือ

เสียงเหมือนเสียงกระหึ่มแห่งเมฆ เมื่อฝน

กำลังตก ธารแห่งบุญอันไพบูลย์นั้น

ย่อมหลั่งรดทายกผู้ให้ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

อรรถกถาอิสสัตถสูตร

การตั้งขึ้นแห่งอิสสัตถสูตรที่ ๔ มีอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องดังนี้ :-

ได้ยินว่า ในปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์มีลาภ

สักการะเกิดขึ้นเป็นอันมาก. เหล่าเดียรถีย์เสื่อมลาภสักการะ ก็เที่ยวพูดไปใน

ตระกูลทั้งหลาย อย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวอย่างนี้ว่า พึงให้ทานแก่เรา

เท่านั้น ไม่พึงให้ทานแก่พวกอื่น พึงให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่พึง

ให้ทานแก่เหล่าสาวกของพวกอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่ให้

แก่พวกอื่น ไม่มีผลมาก ทานที่ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น มีผลมาก ทานที่ให้

แก่เหล่าสาวกของพวกอื่น ไม่มีผลมาก. แม้ทั้งที่ตนเองก็ยังอาศัยภิกขาจาร

ควรละหรือที่มาทำอันตรายแก่ปัจจัย ๔ ของพวกอื่น ซึ่งก็อาศัยภิกขาจาร

เหมือนกัน พระสมณโคดมทำไม่ถูก ไม่สมควรเลย ถ้อยคำนั้นก็แผ่กระจาย

ไปถึงราชสกุล. พระราชาทรงสดับแล้ว ทรงพระดำริว่า มิใช่ฐานะเลย (เป็น

ไปไม่ได้) ที่พระตถาคตจะพึงทรงทำอันตรายแก่สาวกของตนพวกอื่น มีแต่

คนอื่นเหล่านั้น กระเสือกกระสน เพื่อไม่ให้มีลาภ เพื่อไม่ให้มียศแก่พระตถาคต

ถ้าเรายังอยู่ในที่นี้นี่แหละ ก็จะพึงพูดว่า พวกท่านอย่าพูดอย่างนี้ พระศาสดา

ย่อมไม่ตรัสอย่างนั้น ถ้อยคำนั้น ไม่พึงถึงความไม่มีมลทินโทษ เราจักทำ

ถ้อยคำนั้นให้หมดมลทิน ในเวลาที่มหาชนนี้ชุมนุมกัน จึงทรงนิ่งรอคอยวัน

มหรสพวันหนึ่งอยู่.

สมัยต่อมา เมื่อมหาชนชุมนุมกัน พระราชาทรงพระดำริว่า เวลานี้

เป็นกาลแห่งมหรสพนี้ แล้วโปรดให้ตีกลองประกาศไปในพระนครว่า คน

ทั้งหลายไม่ว่ามีศรัทธาหรือไม่มีศรัทธา เป็นสัมมาทิฏฐิ หรือมิจฉาทิฏฐิ ยกเว้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

เด็กหรือสตรีเฝ้าเรือน ต้องไปยังพระวิหาร ผู้ใดไม่ไปจะต้องถูกปรับไหม

๕๐ กหาปณะ แม้พระองค์เอง ก็ทรงสรงสนานแต่เช้าตรู่ เสวยพระกระยาหาร

เช้าแล้ว ทรงประดับพระองค์ด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง แล้วได้เสด็จไปยัง

พระวิหาร พร้อมด้วยหมู่ทหารหมู่ใหญ่ เมื่อกำลังเสด็จ ทรงพระดำริว่า

เราจักทูลถามปัญหาที่ไม่ควรจะถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เขาว่า

พระองค์ตรัสว่า พึงให้ทานแก่เราเท่านั้น ฯลฯ ทานที่ให้แก่เหล่าสาวกของ

คนพวกอื่น ไม่มีผลมาก ดังนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบปัญหาของเรา

ก็จักทรงทำลายวาทะของเหล่าเดียรถีย์ได้ในที่สุด ท้าวเธอเมื่อทรงทูลถามปัญหา

จึงตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลควรให้ทานในที่ไหนหนอ. บทว่า

ยตฺถ ความว่า จิตเลื่อมใสในบุคคลใด พึงให้ทานในบุคคลนั้น หรือพึงให้

แก่บุคคลนั้น.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ พระราชาก็ทอดพระเนตรดูเหล่า

ผู้คนที่บอกกล่าวคำของเหล่าเดียรถีย์. ผู้คนเหล่านั้นพอสบพระเนตรพระราชา

ก็เก้อเขิน ก้มหน้ายืนเอาหัวนิ้วเท้าขุดพื้นดิน. พระราชาเมื่อจะทรงประกาศ

แก่มหาชน ก็ได้ตรัสด้วยพระสุรเสียงอันดัง บทเดียวเท่านั้นว่า พวกเดียรถีย์ถูก

ขจัดแล้ว ครั้นตรัสพระดำรัสอย่างนี้แล้ว จึงทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ขึ้นชื่อว่า จิตย่อมเลื่อมใสในเหล่านิครนถ์อเจลกและปริพาชกเป็นต้น

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ทานที่ให้แล้วในคนพวกไหนเล่ามีผลมาก. บทว่า อญฺ

โข เอต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายพระพร มหาบพิตรตรัสถาม

ครั้งแรกอย่างหนึ่ง ครั้งหลังก็ทรงกำหนดอีกอย่างหนึ่ง แม้การตอบปัญหานี้

ก็เป็นภาระหน้าที่ของอาตมภาพ จึงตรัสว่า สีลวโต โข เป็นต้น. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า อิธ ตฺยสฺส แยกเป็น อิธ เต อสฺส การยุทธ์พึงปรากฏ

ต่อมหาบพิตรในที่นี้. บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห แปลว่า ปะทะกันเป็นกลุ่ม ๆ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

บทว่า อสิกฺขิโต ได้แก่ ไม่ศึกษาในธนูศิลป์. บทว่า อกตหตฺโถ ได้แก่

มีมือยังไม่พร้อม โดยการพันมือเป็นต้น. บทว่า อกตโยคฺโค ได้แก่ ยังฝึก

ไม่ชำนาญ ในการกองหญ้ากองดินเป็นต้น. บทว่า อกตุปาสโน ได้แก่

ฝีมือยิงธนูยังมิได้แสดง [ประลอง] ต่อพระราชาและมหาอมาตย์ของพระราชา.

บทว่า ฉมฺภี ได้แก่ มีกายสั่นเทา.

ในบทว่า กามฉนฺโท ปหีโน เป็นต้น กามฉันทะ เป็นอันละได้

ด้วยพระอรหัตมรรค. พยาบาท ละได้ด้วยอนาคามิมรรค. ถีนมิทธะและ

อุทธัจจะ ก็ละได้ด้วยอรหัตมรรคเหมือนกัน กุกกุจจะ ละได้ด้วยมรรคที่ ๓

เหมือนกัน วิจิกิจฉา เป็นอันละได้ด้วยมรรคแรก. บทว่า อเสกฺเขน สีลกฺ-

ขนฺเธน ความว่า สีลขันธ์ของพระอเสกขะ ชื่อว่า สีลขันธ์ ฝ่ายอเสกขะ.

ในบททุกบท ก็นัยนี้. ก็บรรดาบทเหล่านั้น สีลสมาธิปัญญาและวิมุตติ ทั้ง

โลกิยะและโลกุตระ ท่านกล่าวด้วย ๔ บทต้น วิมุตติญาณทัสสนะ ย่อมเป็น

ปัจจเวกขณญาณ ปัจจเวกขณญาณนั้น เป็นโลกิยะเท่านั้น.

บทว่า อิสฺสตฺถ ได้แก่ ธนูศิลป์. ในบทว่า พลวิริย นี้ วาโยธาตุ

ชื่อว่า พละ วิริยะก็คือความเพียรทางกายทางจิต. บทว่า ภเร แปลว่า พึงเลี้ยง.

บทว่า นาสูร ชาติปจฺจยา ความว่า ไม่พึงเลี้ยงคนไม่กล้า เพราะถือชาติ

เป็นเหตุ อย่างนี้ว่า ผู้นี้สมบูรณ์ด้วยชาติ.

อธิวาสนขันติ ชื่อว่า ขันติ ในคำว่า ขนฺติโสรจฺจ นี้. บทว่า

โสรจฺจ ได้แก่ พระอรหัต. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมทั้งสองนี้. บทว่า

อสฺสเม แปลว่า ที่อยู่. บทว่า วิวเน แปลว่า ที่เป็นป่า อธิบายว่า พึง

สร้างสระโบกขรณี ๔ เหลี่ยมเป็นต้นในป่าที่ไม่มีน้ำ. บทว่า ทุคฺเค ได้แก่

ในที่ขลุขละ. บทว่า สงฺกมนานิ ความว่า พึงทำทางเดิน มีทรายสะอาด

เกลี่ยเรียบ ๕๐-๖๐ ศอก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

บัดนี้ เมื่อจะตรัสบอกธรรมเนียมภิกขาจาร ของเหล่าภิกษุผู้อยู่ใน

เสนาสนะป่าเหล่านั้น จึงตรัสว่า อนฺนปาน เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า เสนาสนานิ ได้แก่ เตียงและตั่งเป็นต้น. บทว่า วิปฺปสนฺเนน

ความว่า แม้เมื่อจะถวายแก่พระขีณาสพ ไม่ถวายด้วยจิตมีความสงสัย มีมลทิน

คือกิเลส พึงถวายด้วยจิตที่ผ่องใสเท่านั้น. บทว่า ถนย ได้แก่ คำราม.

บทว่า สตกฺกุกฺกุ ได้แก่ มีปลายร้อยหนึ่ง อธิบายว่า มียอดเป็นอันมาก.

บทว่า อภิสงฺขจฺจ ได้แก่ ปรุงแต่ง คือรวบรวมทำเป็นอาหาร.

บทว่า อนุโมทมาโน ได้แก่ เป็นผู้มีใจยินดี. บทว่า ปกิเรติ

ได้แก่ เที่ยวในโรงทาน หรือประหนึ่งโปรยให้ทาน. บทว่า ปุญฺธรา ได้แก่

ธารแห่งบุญที่สำเร็จมาแต่ทานเจตนามิใช่น้อย. บทว่า ทาตาร อภิวสฺสติ

ความว่า สายน้ำที่หลั่งออกจากเมฆ ซึ่งตั้งในในอากาศ ย่อมตกรดแผ่นดิน

เปียกชุ่ม ฉันใด ธารแห่งบุญที่เกิดในภายในทายกแม้นี้ ก็หลั่งรดภายในทายก

นั้นให้ชุ่มเต็มเปี่ยม ฉันนั้นเหมือนกัน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า ทาตาร อภิวสฺสติ.

จบอรรถกถาอิสสัตถสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

๕. ปัพพโตปมสูตร

[๔๑๑] สาวัตถีนิทาน.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ในตอนกลางวัน ครั้นแล้วได้ทรงอภิวาท แล้วประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสกะท้าวเธอว่า เชิญเถิดมหาบพิตร

พระองค์เสด็จไปไหนมา แต่วัน.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชากษัตริย์ผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว

ผู้เมาแล้วเพราะความเมาในความเป็นใหญ่ ถูกความกำหนัดในกามรุมแล้ว

ถึงแล้วซึ่งความมั่นคงในชนบท ชนะปฐพีมณฑลอันใหญ่แล้วครอบครองอยู่

ย่อมมีราชกรณียะอันใด บัดนี้ ข้าพระองค์ก็ขวนขวายในราชกรณียะเหล่านั้น.

[๔๑๒] พ. ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน ณ ที่นี้ข้าราชการของพระองค์ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน

พึงมาแต่ทิศตะวันออก เข้ามาเฝ้าพระองค์ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่

พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์พึงทรงทราบฝ่าละอองพระบาท ข้าพระเจ้ามาจาก

ทิศตะวันออก ณ ที่นั้น ได้เห็นภูเขาใหญ่สูงเทียมเมฆ กำลังกลิ้งบดปวงสัตว์มา

พระเจ้าข้า สิ่งใดที่พระองค์จะพึงทรงกระทำ ขอได้โปรดกระทำเสีย ลำดับนั้น

ข้าราชการคนที่ ๒ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน พึงมาแต่ทิศใต้ ฯลฯ

ต่อจากนั้น ข้าราชการคนที่ ๓ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็นหลักฐาน พึงมาจากทิศ

ตะวันตก ฯลฯ ต่อจากนั้น ข้าราชการคนที่ ๔ ผู้ควรเชื่อถือ มีวาจาเป็น

หลักฐาน มาจากทิศเหนือ เข้ามาเฝ้าพระองค์แล้ว พึงกราบทูลอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงทราบฝ่าละอองพระบาท ข้าพเจ้า

มาจากทิศเหนือ ณ ที่นั้น ได้เห็นภูเขาใหญ่สูงเทียนเมฆ กำลังกลิ้งบดปวงสัตว์

มา พระเจ้าข้า สิ่งใดที่พระองค์จะพึงทรงกระทำ ขอได้โปรดกระทำเสียเถิด.

ดูก่อนมหาบพิตร ครั้นเมื่อมหาภัยอันร้ายกาจ ที่ใหญ่โตถึงเพียงนี้

บังเกิดขึ้นแล้วแก่พระองค์ อะไรเล่า ที่พระองค์จะพึงทรงการทำในความเป็น

มนุษย์ที่ได้ยาก สมัยจะสิ้นมนุษย์.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นเมื่อมหาภัยอันร้ายกาจ ที่ใหญ่โต

ถึงเพียงนั้น บังเกิดขึ้นแก่หม่อมฉัน อะไรจะพึงเป็นกิจที่หม่อมฉันพึงกระทำ

ในความเป็นมนุษย์ที่ได้ยากสมัยสิ้นมนุษย์เล่า นอกจากประพฤติธรรม นอกจาก

พระพฤติสม่ำเสมอ นอกจากทำกุศล นอกจากทำบุญ.

[๙๑๓] พ. ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพขอบอกกล่าว ขอเตือน

ให้ทรงทราบ ดูก่อนมหาบพิตร ชราและมรณะย่อมครอบงำพระองค์ ดูก่อน

มหาบพิตรก็และเมื่อชรามรณะครอบงำพระองค์อยู่ อะไรเล่า จะพึงเป็นกิจที่

มหาบพิตรพึงกระทำ.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็และเมื่อชรามรณะครอบงำข้าพระองค์อยู่

อะไรเล่าจะพึงเป็นกิจที่หม่อมฉันควรจะทำ นอกจากประพฤติธรรม นอกจาก

ประพฤติสม่ำเสมอ นอกจากทำกุศล นอกจากทำบุญ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระราชากษัตริย์ ผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว ผู้เมาแล้วเพราะความเมาในความเป็น

ใหญ่ ถูกความกำหนัดในกามรุมแล้ว ผู้ถึงความมั่นคงในชนบท ผู้ชำนะ

ปฐพีมณฑลอันใหญ่ แล้วครอบครองอยู่ ทรงทำการรบด้วยทัพช้างเหล่าใด

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อชรามรณะครอบงำอยู่ ก็ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบ

ด้วยทัพช้างแม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชากษัตริย์ ผู้ได้มูรธา-

๑. สุดวิสัยที่จะรบด้วยช้าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

ภิเษกแล้ว ผู้เมาแล้วเพราะความเมาในความเป็นใหญ่ ผู้ถูกความกำหนัดใน

กามรุมแล้ว ผู้ถึงความมั่นคงในชนบท ผู้ชำนะปฐพีมณฑลอันใหญ่แล้วครอบ

ครองอยู่ ทรงทำการรบด้วยทัพม้าแม้เหล่าใด ฯลฯ รบด้วยทัพรถแม้เหล่าใดฯลฯ

รบด้วยทัพทหารเดินเท้าแม้เหล่าใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อมรณะครอบงำอยู่

ก็ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบด้วยทัพทหารเดินเท้าแม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญในราชสกุลนี้ มหาอำมาตย์มีผู้มนต์ ซึ่งสามารถจะใช้มนต์ทำลายข้าศึกที่

ยกมา ก็มีอยู่เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่เมื่อชรามรณะครอบงำสิ

ก็ไม่ใช่คติวิสัยที่จะทำการรบด้วยมนต์ แม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง

ในราชสกุลนี้ เงินทองทั้งที่อยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ในเวหาส ซึ่งพวกข้าพระองค์

สามารถจะใช้เป็นเครื่องมือยุแหย่ให้ข้าศึกที่ยกมาแตกกันก็มีอยู่เป็นอันมาก ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ แต่เมื่อชรามรณะครอบงำ ก็ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบด้วย

ทรัพย์แม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แลเมื่อมรณะครอบงำอยู่ อะไรเล่า

จะพึงเป็นกิจที่หม่อมฉันควรทำ นอกจากประพฤติธรรม นอกจากประพฤติ

สม่ำเสมอ นอกจากทำกุศล นอกจากการทำบุญ.

[๔๑๔] ป. ถูกแล้ว ๆ มหาบพิตร ก็เมื่อชรามรณะครอบงำอยู่

อะไรเล่าจะพึงเป็นกิจที่พระองค์ควรทำนอกจากประพฤติธรรม นอกจาก

ประพฤติสม่ำเสมอ นอกจากทำกุศล นอกจากการทำบุญ.

[๔๑๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์คำ

ร้อยแก้วนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาคำร้อยกรองต่อไปอีกว่า

ภูเขาใหญ่ล้วนแล้วด้วยศีลา จดท้อง

ฟ้า กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ แม้

ฉันใด ชราและมัจจุก็ฉันนั้น ย่อมครอบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

งำสัตว์ทั้งหลาย คือ พวกกษัตริย์ พวก

พราหมณ์ พวกแพศย์ พวกศูทร พวก

จัณฑาล และคนเทมูลฝอย ไม่เว้นใครๆ

ไว้เลย ย่อมย่ำยีเสียสิ้น ณ ที่นั้น ไม่มียุทธ

ภูมิสำหรับพลช้าง ไม่มียุทธภูมิสำหรับ

พลรถ ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลราบ และ

ไม่อาจจะเอาชนะแม้ด้วยการรบด้วยมนต์

หรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล บุรุษผู้

เป็นบัณฑิตมีปัญญา เมื่อเห็นประโยชน์ตน

พึงตั้งศรัทธาไว้ในพระพุทธเจ้า ในพระ-

ธรรมและในพระสงฆ์ ผู้ใดมีปกติประพฤติ

ธรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ

บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญผู้นั้น ใน

โลกนี้นั่นเทียว ผู้นั้นละโลกนี้ไป ย่อม

บันเทิงในสวรรค์.

จบปัพพโตปมสูตร

จบ โกสลสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

อรรถกถาปัพพโตปมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัพพโตปมสูตรที่ ๕ ต่อไป :-

บทว่า มุทฺธาวสิตาน ได้แก่ ผู้อันเขารดน้ำแล้วบนพระเศียรด้วย

อภิเษกเป็นกษัตริย์ ชื่อว่าผู้อันเขาทำการอภิเษกแล้ว. บทว่า กามเคธปริยุฏฺี-

ตาน แปลว่า ผู้อันความกำหนัดในกามทั้งหลายกลุ้มรุม คือครอบงำแล้ว.

บทว่า ชนปทถาวริยปฺปตฺตาน แปลว่า ผู้ถึงความมั่นคงในชนบท. บท

ว่า ราชกรณียานิ แปลว่า การงานของพระราชา คือกิจที่พระราชาพึงทรง

กระทำ. บทว่า เตสฺวาห ตัดเป็น เตสุ อห. บทว่า อุสฺสุก อาปนฺโน

แปลว่า ถึงความขวนขวาย ได้ยินว่า พระราชานั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

วันละ ๓ ครั้ง เสด็จไประหว่างนั้น ก็หลายครั้ง เมื่อท้าวเธอเสด็จไปเป็น

ประจำ หมู่ทหารก็มากบ้าง น้อยบ้าง ต่อมาวันหนึ่ง โจร ๕๐๐ คิดกันว่า

พระราชาพระองค์นี้ เสด็จไปเฝ้าพระสมณโคดม โดยหมู่พลจำนวนน้อย ใน

เวลาไม่สมควร จำเราจักดักระหว่างทางยึดสมบัติ. โจรเหล่านั้นก็พากันไปซุ่ม

ซ่อนอยู่ในป่าอันธวัน. ก็ธรรมดาพระราชาทั้งหลายย่อมเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก.

ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่งออกไปจากกลุ่มโจรเหล่านั้นนั่นแหละ กราบทูลแด่พระราชา.

พระราชาก็พาหมู่ทหารจำนวนมาก ไปล้อมป่าอันธวัน จับโจรเหล่านั้นได้หมด

โปรดให้ปักหลาวไว้ใกล้สองข้างทางตั้งแต่อันธวันจนถึงประตูพระนคร ให้เหล่า

โจรหวาดเสียวที่หลาวทั้งหลาย โดยประการที่เหล่าโจรได้แต่เอาตาจดจ้องมอง

ตากันและกัน พระราชาทรงหมายถึงเรื่องนี้ จึงตรัสอย่างนั้น.

ครั้งนั้นพระศาสดาทรงพระดำริว่า ถ้าเราจะกล่าวว่า ถวายพระพร

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นเราอยู่ ณ วิหารใกล้ ๆ กรรมอันทารุณที่มหา-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

บพิตรทรงทำแล้ว ไม่สมควรมหาบพิตรก็ทรงทำเสียแล้ว ดังนี้ เมื่อเป็นดังนั้น

พระราชาพระองค์นี้ ก็จะทรงเก้อเขิน ไม่อาจเหนี่ยวรั้งพระทัยได้ เมื่อเรากำลัง

กล่าวธรรมโดยปริยายก็จักทรงกำหนดไม่ได้ เมื่อทรงเริ่มพระธรรมเทศนา จึง

ตรัสว่า ต กึ มญฺสิ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธายิโก

ความว่า ผู้ที่ท่านพึงเชื่อฟังคำ. คำว่า ปจฺจยิโก เป็นไวพจน์ของคำว่า

สทฺธายิโก นั้นนั่นแหละ อธิบายว่า ผู้ที่ท่านพึงเธอถือคำ. บทว่า อพฺภสม

ได้แก่ เสมออากาศ. บทว่า นิปฺโปเถนฺโต อาคจฺฉติ ความว่า ภูเขา

ใหญ่สูงเทียมเมฆ กลิ้งมาตั้งแต่พื้นแผ่นดินจดอกนิฎฐพรหมโลก บดสัตว์ทั้ง

สิ้นทำให้แหลกละเอียดเหมือนผงงา.

บทว่า อญฺตฺร ธมฺมจริยาย ความว่า เว้นธรรมจริยา การ

ประพฤติธรรมเสีย ก็ไม่มีกรรมอย่างอื่นที่ควรทำ การประพฤติธรรมกล่าวคือ

กุศลกรรมบถ ๑๐ เท่านั้น ควรทำพระเจ้าข้า. บทว่า สมจริยา เป็นต้นเป็น

ไวพจน์ของบทว่า ธมฺมจริยา นั้นนั่นแหละ. บทว่า อาโรเจมิ แปลว่า

บอก. บทว่า ปฏิเวทยามิ ได้แก่ ให้รู้. บทว่า อธิวตฺตติ ได้แก่

ท่วมทับ. บทว่า หตฺถิยุทฺธานิ ได้แก่ กิจที่ควรขึ้นช้างที่ประดับศีรษะด้วย

ข่ายทอง เช่นช้างนาฬาคิรีแล้วรบ. บทว่า คติ ได้แก่ ความสำเร็จ. บทว่า

วิสโย ได้แก่โอกาสหรือสมรรถภาพ จริงอยู่ใคร ๆ ก็ไม่อาจต่อต้านชรามรณะ

ด้วยทัพเหล่านั้นได้. บทว่า มนฺติโน มหามตฺตา ได้แก่มหาอำมาตย์ เช่น

มโหสถบัณฑิตและวิธุรบัณฑิต ผู้พรั่งพร้อมด้วยปัญญา. บทว่า ภูมิคต ได้

แก่เงินทองที่เขาบรรจุหม้อเหล็กใหญ่วางไว้บนดิน. บทว่า เวหาสฏฺ ได้แก่

ที่เขาบรรจุในกระสอบหนังแขวนไว้ที่ขื่อและจันทันเป็นต้น และที่บรรจุวางไว้

ที่หอคอยเป็นต้น. บทว่า อุปลาเปตุ ได้แก่เพื่อทำลายกันและกัน คือเพื่อทำ

โดยอาการที่คนสองคนไม่ไปทางเดียวกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

บทว่า นภ อาหจฺจ ได้แก่ เต็มอากาศ. บทว่า เอว ชรา จ

มจฺจุ จ ในสูตรนี้ ทรงถือเอาภูเขา ๒ เท่านั้น ส่วนในราโชวาท ภูเขามา ๔

ลูกคือ ชรา มรณะ พยาธิ วิบัติ อย่างนี้ว่า ชรามาถึงแล้วก็ปล้นวัยหนุ่มสาว

เสียสั้น. บทว่า ตสฺมา ได้แก่ ก็เพราะเหตุที่ใคร ๆ ก็ไม่สามารถเอาชนะชรา

มรณะได้ด้วยการต่อยุทธ์ด้วยทัพช้างเป็นต้น ฉะนั้น. บทว่า สทฺธ นิเวสเย

ได้แก่ พึงดำรงพึงตั้งไว้ซึ่งศรัทธา.

จบอรรถกถาปัพพโตปมสูตรที่ ๕

จบวรรคที่ ๓ โกสลสังยุต

เพียงเท่านี้

รวมพระสูตรในตติยวรรคที่ ๓

๑. ปุคคลสูตร ๒. อัยยิกาสูตร ๓. โลกสูตร ๔. อิสสัตถสูตร

๕. ปัพพโตปมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา โกสลสังยุตวรรคนี้มี ๕ สูตร

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ สุคตตรัสเทศนาแล้ว.