ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สุญญตวรรค

๑. จูฬสุญญตสูตร

[๓๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา

มิคารมารดา ในวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์

ออกจากสถานทีหลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่ง

เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่สักยนิคมชื่อนครกะ ในสักกชนบท

ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับ ไค้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ดูก่อนอานนท์ บัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ อันข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว

ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

[๓๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งว่า ดูก่อนอานนท์ แน่นอน นั่นเธอ

สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูก่อนอานนท์

ทั่งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาท

ของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทอง

และเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะ

ภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด ดูก่อนอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจ

สัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า

จิตของเธอยู่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึง

รู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าบ้าน ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญา

ว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย

คือภาวะเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญา

ว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่ามีในว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว

เฉพาะสัญญาว่าบ้านเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้น

ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่

ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง

ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น .

ว่าด้วยปฐวีสัญญา

[๓๓๕] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญา

ว่ามนุษย์ไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน จิต

ของเธอยู่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน

เปรียบเหมือนหนังโคที่เขาขึงดีแล้วด้วยหลักตั้งร้อย เป็นของปราศจากรอยย่น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

ฉันใด ดูก่อนอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจแผ่นดินนี้ ซึ่งจะ

มีชั้นเชิง มีแม่น้ำลำธาร มีที่เต็มด้วยตอหนาม มีภูเขาและพื้นที่ไม่สม่ำเสมอ

ทั้งหมด ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดิน จิตของเธอย่อมแล่นไป

เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าแผ่นดิน เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า

ในสัญญาว่าแผ่นดินนี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์

และชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่า มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะ

เดียวเฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญา

ว่ามนุษย์ สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า และรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว

เฉพาะสัญญาว่าแผ่นดินเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่าง

นั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งทีเหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยัง

มีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความ

เป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น .

[๓๓๖] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่าป่า

ไม่ใส่ใจสัญญาว่าแผ่นดิน ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา

จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในอากาสานัญจายตน-

สัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากาสานัญจายตนสัญญานี้ ไม่มีความ

กระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าป่าและชนิดที่อาศัยสัญญาว่าแผ่นดิน มีอยู่

ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา

เท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าป่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่า

แผ่นดิน และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะอากาสานัญจายตนสัญญา

เท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ. เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน

สัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด

บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.

[๓๓๗] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจสัญญาว่า

แผ่นดิน ไม่ใส่ใจอากาสานัญจายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะวิญญาณัญ-

จายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ใน

วิญญาณัญจายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในวิญญาณัญจายตนสัญญานี้

ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาลัยสัญญาว่าแผ่นดิน และชนิดที่อาศัยอากา-

สานัญจายตนสัญญา มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวาย คือภาวะเดียวเฉพาะ

วิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าแผ่นดิน

สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญจายตนสัญญาและรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว

เฉพาะวิญญาณัญจายตนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็น

ความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้น

อันยังมีอยู่ ว่ามี ดูก่อนอานนที่แม้อย่างนี้ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความ

เป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ของภิกษุนั้น.

ว่าด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา

[๓๓๘] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากาสานัญ

จายตนสัญญา ไม่ใส่ใจวิญญาณัญจายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะอากิญ-

จัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่

ในอากิญจัญญายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในอากิญจัญญายตนสัญญานี้

ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากาสานัญจายตนสัญญาและชนิดที่อาศัย

วิญญาณัญจายตนสัญญา มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะ

อากิญจัญญายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากาสานัญจายตน-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

สัญญา สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา และรู้ชัดว่ามี ไม่ว่างอยู่ก็คือ

สิ่งเดียวเฉพาะอากิญจัญญายคนสัญญาเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณา

เห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ใน

สัญญานั้นอัน ยังมีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง

ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาดบริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.

[๓๓๙] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจวิญญาณัญ-

จายตนสัญญา ไม่ใส่ใจอากิญจัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะ

เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และ

นึกน้อมอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเนว

สัญญานาสัญญายตนสัญญานี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยวิญญาณัญ-

จายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญา มีอยู่ก็แค่เพียงความ

กระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาเท่านั้น เธอรู้

ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากวิญญาณัญจายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากอากิญจัญญายตน

สัญญาและรู้ชัดว่ามี ไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา

เท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน

สัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูก่อนอานนท์

แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด

บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น .

[๓๔๐] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญ-

ญายตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะ

เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อม

อยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในเจโตสมาธินี้ ไม่มีความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

กระวนกระวายชนิดที่อาศัยอากิญจัญญายตนสัญญาและชนิดที่อาศัยเนวสัญญา

นาสัญญายตนสัญญา มีอยู่แค่เพียงความกระวนกระวายคือความเกิดแห่งอายตนะ

๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากอากิญ-

จัญญายตนสัญญา สัญญานี้ว่างจากเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญาและรู้ชัดว่ามี

ไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย

ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโต

สมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูก่อน

อานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่

เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.

ว่าด้วยอนิมิตตเจโตสมาธิ

[๓๔๑] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญ-

จัญญายตนสัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียว

เฉพาะเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และ

นึกน้อมอยู่ในเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มี

นิมิตนี้แล ยังมีปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจ

ได้นั้น ไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้

จักย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิต

หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำไค้ทำเสร็จแล้ว กิจอันเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ

ชนิดที่อาศัยภวาสวะและชนิดที่อาศัยอวิชชาสวะ มีอยู่ก็แค่เพียงความกระวน

กระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่าง

จากอวิชชาสวะ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัยกาย

นี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึงพิจารณาเห็นความว่าง

นั้น ด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในเจโตสมาธินั้น

อันยังมีอยู่ ว่ามี ดูก่อนอานนท์ แม้อย่างนี้เป็นการก้าวลงสู่ความว่าง ตาม

ความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น.

ว่าด้วยสุญญตาวิหาร

[๓๔๒] ดูก่อนอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวก

ใด ๆ ที่เข้าถึงสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้เข้าถึง

สุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคต

กาลไม่ว่าพวกใด ๆ ที่จะเข้าถึงสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมด

นั้น ก็จักเข้าถึงสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือ

พราหมณ์ในบัดนี้ ไม่ว่าพวกใด ๆ ที่เข้าถึงสุญญตสมาบัติอัน บริสุทธิ์ เยี่ยมยอด

อยู่ ทั้งหมดนั้นย่อมเข้าถึงสุญญตสมาบัติอัน บริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูก่อน

อานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักเข้าถึง

สุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ จูฬสุญญตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

อรรถกถาสุญญตาวรรค

อรรถกถาจูฬสุญญตาสูตร

จูฬสุญญตาสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกมิท ความว่า ได้ยินว่า พระเถระกระทำ

วัตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไปสู่ที่พักกลางวันของตน กำหนดเวลาแล้ว.

นั่งเจริญสุญญตาผลสมาบัติ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วออกตามเวลาที่

กำหนด. ลำดับนั้น สังขารของท่านปรากฏโดยความเป็นของว่างเปล่า ท่าน

ใครสดับสุญญตากถา แล้วได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เรามีธุระยุ่งเหยิง ไม่อาจ

ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่าข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ได้โปรด

ตรัสสุญญตากถาแก่ข้าพระองค์ เอาละเราจะให้พระองค์ระลึกถึงข้อที่พระองค์

เข้าไปอาศัยนิคมชื่อนครกะ ตรัสกถาเรื่องหนึ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจักตรัส

สุญญตากถาแก่เราอย่างนี้. เมื่อพระอานนท์จะให้พระทศพลทรงระลึกได้

จึงกล่าวว่า เอกมิท เป็นต้น. บทว่า อิท ในบทว่า อเกมิท เป็นเพียง

นิบาตเท่านั้น. บทว่า กิจจิ เมต ภนฺเต ความว่า พระเถระจำไค้เพียงบทเดียว

ก็สามารถจะค้นคว้าทรงจำไว้ไค้ถึงหกหมื่นบท เพราะฉะนั้น ท่านจักไม่สามารถ

เพื่อจะมีสุญญตาวิหารธรรม แล้วทรงจำบทเพียงบทเดียว ฉะนั้น การที่ผู้

ประสงค์จะฟัง ทำเป็นเหมือนคนรู้แล้วถามไม่สมควร. พระเถระประสงค์จะฟัง

สุญญตากถาที่พระองค์ทรงแสดงไว้อย่างพิสดารให้แจ่มแจ้ง จึงกราบทูลอย่างนี้

เหมือนไม่รู้ บางคนแม้ไม่รู้ ก็ทำเป็นเหมือนคนรู้. พระเถระจะการทำการ

๑. พระสูตร. เป็น จูฬสุญญสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

หลอกลวงอย่างนี้ได้อย่างไรเล่า. พระเถระแสดงความเคารพต่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงกราบทูล คำเป็นต้นว่า กจฺจิ เมต แม้ในฐานะที่คนรู้.

บทว่า ปุพฺเพ ความว่า แม้ในเวลาที่เข้าไปอาศัยนิคมชื่อว่านครกะ ใน

ปฐมโพธิกาล บทว่า เอตรหิ แปลว่า แม้ในบัดนี้ . พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงมีพระพุทธดำริว่า อานนท์ประสงค์จะสดับ สุญญตา

กถา ก็คนบางคนสามารถสดับ แต่ไม่สามารถที่จะเรียน บางคนสามารถ

ทั้งสดับทั้งเรียน แต่ไม่อาจจะแสดง แต่สำหรับพระอานนท์ สามารถทั้งสดับ

ทั้งเรียน ทั้งแสดง เราจะกล่าวสุญญตากถาแก่เธอ. เมื่อจะตรัสสุญญตากถานั้น

จึงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุญฺโ หตฺถิคฺวาสฺสวฬเวน นั้น

ความว่า ช้างเป็นต้นที่เขาทำเป็นช้างไม้ ช้างดินปั้น ช้างภาพเขียน มีอยู่ใน

ปราสาทนั้น เงินทองที่ทำเป็นจิตรกรรมในที่ตั้งของท้าวเวสวัณ ท้าวมันธาตุราช

เป็นต้นบ้าง ทีเขาประกอบเป็นหน้าต่าง ประตู และเตียงตั้งที่ประดับด้วย

เงินทองนั้น ที่เก็บไว้เพื่อปฏิสังขรณ์ของเก่าก็มี. แม้หญิงชายที่มาฟังธรรม

และถามปัญหาเป็นต้น การทำด้วยรูปไม้เป็นต้นมีอยู่ ฉะนั้น ปราสาทนั้นจึง

ไม่ว่างจากหญิงและชายเหล่านั้น. ท่านกล่าวคำนี้ หมายถึงความไม่มีแห่งช้าง

เป็นต้นที่มีวิญญาณ เนื่องด้วยอินทรีย์ เงินและทองที่ใช้สอยในขณะต้องการ

และหญิงชายทีอยู่เป็นนิตย์. บทว่า ภิกฺขุสงฺฆ ปฏิจฺจ ความว่า ด้วยว่าถึง

แม้ภิกษุทั้งหลายจะเข้าไปบิณฑบาต ปราสาทนั้นก็ไม่ว่างจากภิกษุผู้ยินดีภัตรใน

วิหาร และภิกษุผู้เป็นใช้ ภิกษุพยาบาลใช้ ภิกษุนักศึกษา ภิกษุผู้ขวนขวาย

จีวรกรรมเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ เพราะมีภิกษุ

อยู่ประจำ. บทว่า เอกตฺต แปลว่า ความเป็นหนึ่ง อธิบายว่า ไม่ว่างเลย

ท่านอธิบายว่า มีความไม่ว่างอย่างเดียว. บทว่า อมนสิกริตฺวา แปลว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

ไม่กระทำไว้ในใจ. บทว่า อนาวชฺชิตวา แปลว่าไม่พิจารณา. บทว่า คามส ญฺ

ความว่า สัญญาว่าบ้านเกิดขึ้น โดยยึดว่าเป็นบ้าน หรือโดยเป็นกิเลส. แม้ใน

มนุสสสัญญาก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้แหละ. บทว่า อรญฺสญฺ ปฏิจฺจ

มนสิกโรติ เอกตฺต ความว่า การทำไว้ในใจซึ่งบ้านว่า เป็นอรัญญสัญญา

เพราะป่าอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้ภูเขา นี้ไพรสณฑ์ที่เขียว

ชะอุ่ม. บทว่า ปกฺขนฺทติ แปลว่า หยั่งลง. บทว่า อธิมุจฺจติ แปลว่า

น้อมไปว่าอย่างนี้. บทว่า เย อสฺสุ ทรถา ความว่า ความกระวน

กระวายที่เป็นไปแล้วก็ดี ความกระวนกระวายเพราะกิเลสก็ดี ที่จะพึงมีเพราะ

อาศัยคามสัญญาเหล่านั้น ย่อมไม่มีด้วยอรัญญสัญญาในป่านี้. แม้ในบทที่

สอง ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อตฺถิ เจวาย ความว่า แต่มีเพียงความ

กระวนกระวายที่เป็นไป ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยอรัญญสัญญาอย่างเดียว. บทว่า

ย หิ โข ตตฺถ น โหติ ความว่า ความกระวนกระวายที่เป็นไปแล้ว

และความกระวนกระวายเพราะกิเลสซึ่งเกิดขึ้นโดยคามสัญญา และมนุสสสัญญา

นั้นย่อมไม่มีในอรัญญสัญญานี้ เหมือนช้างเป็นต้นไม่มีในปราสาทของนางวิสาขา

มิคารมารดา. บทว่า ย ปน ตตฺถ อวสิฏฺ ความว่า จะมีเหลืออยู่

ก็เพียงแค่ความกระวนกระวายที่เป็นไปในอรัญญสัญญานั้น. เหมือนภิกษุสงฆ์

ที่อยู่ในปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา. บทว่า ต สนฺตมิท อตฺถีติ

ปชานาติ ความว่า รู้ชัดสิ่งนั้น ที่มีอยู่เท่านั้นว่าไม่มีอยู่. บทว่า สุญฺตรวกฺกนฺติ

แปลว่า ความบังเกิดขึ้นแห่งสุญญตา. บทว่า อมนสิกริตฺวา มนุสฺสสญฺ

คือ ไม่ถือเอาคามสัญญาในบทนี้ เพราะเหตุไร. เพราะได้ยินว่า ภิกษุนั้น

มีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะยังคามสัญญาให้เกิดด้วยมนุสสสัญญา ยังมนุสสสัญญา

ให้เกิดด้วยอรัญญสัญญา ยังอรัญญสัญญาให้เกิดด้วยปฐวีสัญญา ยังปฐวีสัญญา

ให้เกิดด้วยอากาสานัญจายตนสัญญา ฯลฯ ยังอากิญญจัญญายตนสัญญาให้เกิดด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

เนวสัญญานาสัญญายจนสัญญา ยังเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ให้เกิดด้วย

วิปัสสนา ยังวิปัสสนาให้เกิดด้วยมรรค จักแสดงอัจจันตสุญญตาโดยลำดับ

ฉะนั้น จึงเริ่มเทศนาอย่างนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปวีสญฺ ความว่า เพราะเหตุไรจึงละ

อรัญญสัญญาใส่ใจปฐวีสัญญา. เพราะบรรลุคุณพิเศษด้วยอรัญญสัญญา.

เปรียบเหมือนบุรุษเห็นที่นา ซึ่งน่ารื่นรมย์และที่นาตั้งเจ็ดครั้ง ด้วยคิดว่า

ข้าวสาลีเป็นต้น ที่หว่านลงในนานี้ จักสมบูรณ์ด้วยดี เราจักได้ลาภใหญ่

ข้าวสาลีเป็นต้น ย่อมไม่สมบูรณ์เลย แต่ถ้าเขาทำที่นั้น ให้ปราศจากหลักตอ

และหนามแล้ว ไถ หว่าน เมื่อเป็นอย่างนี้ ข้าวสาลีย่อมสมบูรณ์ ฉันใดภิกษุ

ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ใส่ใจป่านี้ให้เป็นอรัญญสัญญาถึงเจ็ดครั้งว่า นี้ป่า นี้ต้นไม้

นี้ภูเขา นี้ไพรสนฑ์เขียวชะอุ่ม ย่อมบรรลุอุปจารสมาธิ. สำหรับ ปฐวีสัญญา

ภิกษุนั้นกระทำปฐวีกสิณ บริกรรมให้เป็นกัมมัฏฐานประจำ ยังฌานให้เกิด

เจริญวิปัสสนา ซึ่งมีฌานเป็นปทัฎฐาน สามารถจะบรรลุพระอรหัตได้

เพราะฉะนั้น เธอย่อมละอรัญญสัญญาใส่ใจปฐวีสัญญา. บทว่า ปฏิจฺจ แปลว่า

อาศัยกันเกิดขึ้น.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงข้อเปรียบเทียบปฐวีกสิณที่ภิกษุมีความสำคัญว่าปฐวี

ในปฐวีกสิณ จึงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

อสุภสฺส เอต คือ โคผู้องอาจ ความว่า โคเหล่าอื่น ถึงจะมีฝีบ้าง รอย

ทิ่มแทงบ้าง หนังของโคเหล่านั้น เมื่อคลี่ออก ย่อมไม่มีริ้วรอย ตำหนิเหล่านั้น

ย่อมไม่เกิดแก่โคอุสภะ เพราะสมบูรณ์ด้วยลักษณะ. ฉะนั้น จึงถือเอาหนังของ

โคอุสภะนั้น บทว่า สกุสฺเตน ได้แก่ ขอร้อยเล่ม. บทว่า สุวิหต ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

เหยียดออกแล้ว ขูดจนเกลี้ยงเกลา. แท้จริงหนังโคที่เขาใช้ขอไม่ถึงร้อยเล่ม

ขูดออก ยังไม่เกลี้ยงเกลา ใช้ขอถึงร้อยเล่มย่อมเกลี้ยงเกลา เหมือนพื้นกลอง

เพราะฉะนั้นจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อุกฺกุลวิกุล แปลว่า สูง ๆ ต่ำ ๆ คือ

เป็นที่ดอนบ้าง เป็นที่ลุ่มบ้าง. บทว่า นทีวิทุคฺค ได้แก่ แม่น้ำและที่ซึ่ง

เดินไม่สะดวก บทว่า ปฐวีสญฺ ปฏจฺจ มนสิกโรติ เอกตฺต ความว่า

ใส่ใจสัญญาอย่างเดียวที่อาศัยกันเกิดขึ้นในปฐวีกสิณ. บทว่า ทรถมตฺตา

ความว่า จำเดิมแต่นี้ พึงทราบความกระวนกระวาย โดยความกระวนกระวาย

ที่เป็นไปในวาระทั้งปวง. บทว่า อนิมิตฺต เจโต สมาธึ ได้แก่ วิปัสสนา-

จิตตสมาธิ. เจโตสมาธิที่เว้น จากนิมิตว่าเที่ยงเป็นต้นนั้น ท่านกล่าวว่า อนิมิต.

บทว่า อิมเมวกาย ท่านแสดงวัตถุด้วยวิปัสสนา. ในบทเหล่านั้น บทว่า

อิมเมว ได้แก่ มหาภูตรูปทั้ง ๔ นี้. บทว่า สฬายตนิก แปลว่า ปฎิสังยุต

ด้วยสฬายตนะ. บทว่า ชีวิตปจฺจยา ความว่า ชีวิตยังเป็นอยู่ได้ ก็ชั่วชีวิต

ตินทรีย์ยังเป็นไป อธิบายว่า ปฐวีสัญญานั้น ยังมีความกระวนกระวายที่เป็นไป.

เพื่อจะทรงแสดงความเห็นแจ้งโดยเฉพาะของวิปัสสนา จึงตรัสว่า อนิมิตฺต อีก.

บทว่า กามาสว ปฏจฺจ แปลว่า อาศัยกามาสวะ. อธิบายว่า ความกระวน

กระวายที่จะเกิดขึ้นและที่เป็นไปแล้ว ไม่มีในที่นี้ คือไม่มีในอริยมรรคและ

อริยผล. บทว่า อมิเมว กาย นี้ ตรัสเพื่อแสดงความกระวนกระวายของ

เบ็ญจขันธ์ที่ยังเหลืออยู่. ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันทรงเปลี่ยนมนุสสสัญญาเป็น

คามสัญญา ฯลฯ มรรคเป็นวิปัสสนา แล้วทรงแสดงความว่างเปล่าล่วงส่วน

โดยลำดับ. บทว่า ปริสุทฺธ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า อนุตฺตร

แปลว่าเว้น จากสิ่งอื่นที่ยอดเยี่ยม คือประเสริฐสุดกว่าทุกอย่าง บทว่า สุญฺต

ได้แก่ สุญญตาผลสมาบัติ บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะสมณพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าในอดีตก็ดี

สมณพราหมณ์คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้า

ในอนาคตก็ดี สมณพราหมณ์คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวก

แห่งพระพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ดี เข้าสุญญตะอันบริสุทธิ์ยอดเยี่ยมนี้อยู่แล้ว จักอยู่

และกำลังอยู่ ฉะนั้นคำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาจูฬสุญญตาสูตร ที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

๒. มหาสุญญตสูตร

[๓๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม

กรุงกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งสบง

ทรงบาตรจีวรแล้ว เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ในเวลาเช้า ครั้น

เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยัง

วิหารของเจ้ากาฬเขมกะ ศากยะ มีเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกัน พระผู้มี

พระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นเสนาสนะที่แต่งตั้งไว้มากด้วยกันแล้ว จึงมีพระ-

ดำริดังนี้ว่า ในวิหารของเจ้ากาฬเขมกะ ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มาก

ด้วยกัน ที่นี้มีภิกษุอยู่มากมายหรือหนอ.

[๓๔๔] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์กับ ภิกษุมากรูป ทำจีวรกรรม

อยู่ในวิหารของเจ้าฆฏายะ ศากยะ ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จออกจากที่ทรงหลีกเร้นอยู่แล้ว จึงเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าฆฏายะ

ศากยะ แล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว

จึงตรัสสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ในวิหารของเจ้ากาฬเขมกะ

ศากยะ เขาแต่งตั้งเสนาสนะไว้มากด้วยกัน ที่นั่นมีภิกษุอยู่มากมายหรือ.

ท่านพระอานนท์ทูลว่า มากมาย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแด่พระองค์ผู้

เจริญ จีวรกาลสมัยของพวกพระองค์กำลังดำเนินอยู่.

ว่าด้วยฐานะและอฐานะ

[๓๔๕] พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการ

คลุกคลีกัน ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

ในหมู่ บันเทิงร่วมหนึ่ง ย่อมไม่งามเลย ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบ

คลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน

ชอบเป็นหมู่ยินดีในหมู่บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอจักเป็นผู้ได้สุขเกิดแค่เนกขัมมะ

สุเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้

ตามความปรารถนาโดยไม่ยากไม่ลำบาก นั้น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุ

เป็นผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่พึงหวังเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิด

แต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความ

ปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั้นเป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน

ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิง

ร่วมหมู่นั้นหนอ จักบรรลุเจโตวิมุตติอันปรารถนาเพียงชั่วสมัย หรือเจโตวิมุตติ

อันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั้นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้

ผู้เดียวหลีกออกจากหมู่อยู่ พึงหวังบรรลุเจโตวิมุตติอัน น่าปรารถนาเพียงชั่วสมัย

หรือเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบมิใช่เป็นไปชั่วสมัยอยู่ นั้นเป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนอานนท์ เราย่อมไม่พิจารณาเห็นแม้รูปอย่างหนึ่งซึ่งเป็นที่ไม่

เกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส เพราะความแปรปรวนและความ

เป็นอย่างอื่นของรูปตามที่เขากำหนัดกัน อย่างยิ่งซึ่งบุคคลกำหนัดแล้ว.

[๓๔๖] ดูก่อนอานนท์ ก็วิหารธรรมอันตถาคตตรัสรู้ในที่นั้น ๆ นี้แล

คือ ตถาคตเข้าถึงสุญญตสมาบัติภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่. ดูก่อน

อานนท์ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของ

พระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์เข้าไปหาตถาคตผู้มีโชคอยู่ด้วยวิหารธรรม

นี้ในที่นั้น ๆ ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก โน้นไปในวิเวก โอนไปในวิเวก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

หลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้วในเนกมักมะ มีภายในปราศจากธรรมเป็นทีตั้งแห่ง

อาสวะโดยประการทั้งปวง จะเป็นผู้ทำการเจรจาแต่ที่ชักชวนให้ออกเท่านั้น

ในบริษัทนั้น ๆ โดยแท้ ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุถ้าแม้หวังว่า

จะเข้าถึงสุญญตสมาบัติภายในอยู่ เธอพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ

ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่นเถระ.

ว่าด้วยสัมปชานะ

[๓๔๗] ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุจะดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ

ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่นได้อย่างไร ดูก่อนอานนท์

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

(๑) สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร

มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.

(๒) เข้าทุติยฌาณ มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอก

ผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุกเกิดแต่

สมาธิอยู่.

(๓) เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข

ด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ที่พระอริยะเรียกเธอได้อย่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่

เป็นสุข อยู่.

(๔) เจ้าจตตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์

และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่.

ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าย่อมดำรงจิตภายใน ให้จิตภายใน

สงบ ทำจิตภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในมั่น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

ภิกษุนั้น ย่อมใส่ใจความวางภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน

จิตยังแล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั่งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปในความว่าง

ภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่าง

ภายใน จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อมไปใน

ความว่างภายในด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายใน

นั้นได้. ภิกษุนั้น ย่อมใส่ใจความว่างภายนอก. ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่างทั้ง

ภายในและภายนอก. ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจ

อาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่นึกน้อม

ไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลัง

ใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตยังไม่แล่นไป ยังไม่เลื่อมใส ยังไม่ตั้งมั่น ยังไม่

นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่อง

อาเนญชสมาบัตินั้นได้.

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุนั้นพึงดำรงจิตภายใน ให้จิตภายในสงบ ทำจิต

ภายในให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตภายในให้มั่น ในสมาธินิมิตข้างต้นนั้นแล

เธออันใส่ใจความว่างภายใน เมื่อเธอกำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อม

แล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น

ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจความว่างภายใน จิตย่อมแล่นไป

เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในความว่างภายใน ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็น

อันเธอรู้สึกตัวในเรื่องความว่างภายในนั้นได้. ภิกษุนั้นย่อมใส่ใจความว่าง

ภายนอก ภิกษุนั้น ย่อมใส่ใจความว่างทั้งภายในและภายนอก ภิกษุนั้นย่อม

ใส่ใจอาเนญชสมาบัติ เมื่อเธอกำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อมแล่นไป

เลื่อมใส ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

ชัดอย่างนี้ว่า เมื่อเรากำลังใส่ใจอาเนญชสมาบัติ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส

ตั้งมั่น นึกน้อมไปในอาเนญชสมาบัติ ด้วยอาการนี้แล ย่อมเป็นอันเธอรู้สึกตัว

ในเรื่องอาเนญชสมาบัตินั้นได้.

[๓๔๘] ดูก่อนอานนท์ หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิต

ย่อมน้อมไปเพื่อจะจงกรม เธอย่อมจงกรมด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคือ

อภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำเราผู้จงกรมอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล

เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการจงกรม.

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะยืน เธอ

ย่อมยืนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ

เราผู้ยืนอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการยืน.

หากเมื่อภิกษุนั้น อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนั่ง เธอ

ย่อมนั่งด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่ครอบงำ

เราผู้นั่งอยู่แล้วอย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการนั่ง.

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะนอน

เธอย่อมนอนด้วยใส่ใจว่า อกุศลธรรมลามกคืออภิชฌาและโทมนัส จักไม่

ครอบงำ เราผู้นอนอยู่อย่างนี้ได้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่อง

การนอน.

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะพูด

เธอย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่พูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องเลวทราม

เป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นเรื่องของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องพระราชา

เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบกัน เรื่องข้าว

เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ

เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องคน

กล้าหาญ เรื่องถนนหนทาง เรื่องทาสีในสถานที่ตักน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว

เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยเหตุ

นั้นเหตุนี้ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด และเธอใส่ใจว่า

เราจักพูดเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบาย

แก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด

เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี

เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ

เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการพูด

หากเมื่อภิกษุนั้นอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ จิตย่อมน้อมไปเพื่อจะตรึก เธอ

ย่อมใส่ใจว่า เราจักไม่ตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกที่เลวทราม เป็น

ของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

ไม่เป็นไป เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบ

กิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ กามวิตก พยาบาท

วิตก วิหิงสาวิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องการตรึก และ

เธอใส่ใจว่า เราจักตรึกในวิตกเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นวิตกของพระอริยะ เป็น

เครื่องนำออก ที่นำออกเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ทำตาม คือ

เนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก อวิหิงสาวิตก ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้

สึกตัวในการตรึก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

[๓๔๙] ดูก่อนอานนท์ กามคุณนี้มี ๔ อย่างแล ๕ อย่างเป็นไฉน

คือ รูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประ-

กอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ด้วยโสด... กลิ่นที่รู้ได้ด้วย

ฆานะ... รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจเป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูก่อน

อานนท์ นี้แล กามคุณ ๕ อย่าง ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุพึงพิจารณาจิตของตนเนืองๆ

ว่า มีอยู่หรือหนอแล ที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้

อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง ดูก่อนอานนท์ ถ้า

ภิกษุพิจารณาอยู่ รู้ชัดอย่างนี้ว่า มีอยู่แลที่ความฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้นแก่เรา

เพราะกามคุณ ๕ นี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะอายตนะใดอายตนะหนึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความกำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้

แล เรายังละไม่ได้แล้ว แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่าไม่มีเลยที่ความ

ฟุ้งซ่านแห่งใจเกิดขึ้น แก่เราเพราะกามคุณ ๕ นี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะ

อายตนะใดอายตนะหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ความ

กำหนัดพอใจในกามคุณ ๕ นี้แล เราละได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอ

รู้สึกตัวในเรื่องกามคุณ ๕. .

[๓๕๐] ดูก่อนอานนท์ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้แล ซึ่งเป็นที่ที่ภิกษุ

พึงเป็นผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอยู่ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความ

เกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้น

แห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้น

แห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้น

แห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

แห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ เธอผู้พิจารณาเห็นทั้งความเกิด

และความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้อยู่ ย่อมละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕ ได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราละอัสมิมานะในอุปาทานขันธ์ ๕

ของเราได้แล้ว ด้วยอาการนี้แล เป็นอันเธอรู้สึกตัวในเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕.

ดูก่อนอานนท์ ธรรมนั้น ๆ เหล่านี้แล เนื่องมาแต่กุศลส่วนเดียว

ไกลจากข้าศึก เป็นโลกุตตระ อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่ได้ ดูก่อนอานนท์

เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สาวกมองเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงควร

ใกล้ชิดติดตามศาสดา.

ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของ

พวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเหตุ มี่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแบบ

อย่าง มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย ขอได้โปรดเถิดพระพุทธเจ้าข้า

เนื้อความแห่งพระภาษิตนี้แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ภิกษุทั้ง

หลายพึงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้.

ว่าด้วยกถาวัตถุ ๑๐

[๓๕๑] พ. ดูก่อนอานนท์ สาวกไม่ควรจะติดตามศาสดาเพียงเพื่อ

ฟังสุตตุ เคยยะ และไวยากรณ์เลย นั้น เพราะเหตุไร เพราะธรรมทั้งหลาย

อันพวกเธอสดับแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปากแล้ว เพ่งตามด้วยใจแล้ว แทง

ตลอดดีแล้วด้วยความเห็น เป็นเวลานาน ดูก่อนอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้

ชิดติดตามศาสดาเพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้ ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่าง

ยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว

เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่อง

ความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องปรารภความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ

เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ.

ดูก่อนอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น จะมีอุปัทวะของอาจารย์ อุปัทวะ

ของศิษย์ อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์.

[๓๕๒] ดูก่อนอานนท์ ก็อุปัทวะของอาจารย์ย่อมมีได้อย่างไร

ดูก่อนอานนท์ ศาสดาบางท่านในโลกนี้ ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า

โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้งและลอมฟาง

เมื่อศาสดานั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคม

และชาวชนบทจะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคม

และชาวชนบท พากัน เข้าไปหาแล้ว ศาสดานั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น

จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูก่อนอานนท์ ศาสดา

นี้เรียกว่า อาจารย์มีอุปัทวะด้วยอุปัทวะของอาจารย์ อกุศลธรรมอันลามก

เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก

เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะต่อไปได้ฆ่าศาสดานั้นเสียแล้ว ดูก่อนอานนท์

อย่างนี้แล อุปัทวะของอาจารย์ย่อมมีได้.

[๓๕๓] ดูก่อนอานนท์ ก็อุปัทวะของศิษย์ย่อมมีได้อย่างไร ดูก่อน

อานนท์ สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจ

เสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ

ที่แจ้งและลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้น อยู่พวกพราหมณ์และ

คฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และ

คฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นจะปรารถนา

อย่างหมกมุ่นจะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

อานนท์ สาวกนี้เรียกว่าศิษย์มีอุปัทวะด้วยอุปัทวะของศิษย์ อกุศลธรรม

อันลามก เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์

เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรามรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว

ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แลอุปัทวะของศิษย์ย่อมมีได้.

อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์

[๓๕๘] ดูก่อนอานนท์ ก็อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมี

ได้อย่างไร ดูก่อนอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส

รู้เองโดยชอบถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ. ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถี

ผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดา และมนุษย์

ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด

คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และ

ล้อมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี

ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเขาไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี

ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนา

อย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูก่อน

อานนท์ ส่วนสาวกของตถาคตผู้ศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามคถาคตผู้

ศาสดา ย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ

บนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้ว

อย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากัน

เข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้า

ไปหาแล้ว สาวกนั้นย่อมปรารถนาอย่างหมกมุ่น ถึงความวุ่นวาย เวียนมา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

เพื่อความเป็นผู้มักมาก ดูก่อนอานนท์ สาวกนี้เรียกว่าผู้ประพฤติพรหมจรรย์

มีอุปัทวะด้วยอุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ อกุศลธรรมอันลามก

เศร้าหมอง เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก

เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรามรณะต่อไป ได้ฆ่าสาวกนั้นเสียแล้ว ดูก่อนอานนท์

อย่างนี้แล อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมมีได้.

ดูก่อนอานนท์ ในอุปัทวะทั้ง ๓ นั้น อุปัทวะของผู้ประพฤติพรหม-

จรรย์นี้ มีวิบากเป็นทุกข์ มีวิบากเผ็ดร้อนกว่าอุปัทวะของอาจารย์และ

อุปัทวะของศิษย์ทั้งเป็นไปเพื่อความตกต่ำด้วย ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้น

แล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องเราด้วยความเป็น

ข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอด

กาลนาน.

[๓๕๕] ดูก่อนอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความ

เป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ศาสดา

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดู

แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี้เพื่อความ

สุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้นไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิต

รับรู้และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เหล่า

สาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความ

เป็นมิตร.

ว่าด้วยมิตรปฏิบัติ

[๓๕๖] ดูก่อนอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความ

เป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ศาสดา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

ในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดู

แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี้เพื่อ

ความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ

ตั้งจิตรับรู้และไม่ประพฤติหลีกเลียงคำสอนของศาสดา ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล

เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความ

เป็นข้าศึก.

ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความ

เป็นมิตร อย่าเรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน ดูก่อนอานนท์ เราจักไม่

ประคับประคองพวกเธอ เหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยัง

ดิบ ๆ อยู่ เราจักข่มแล้ว ๆ จึงบอก จักยกย่องแล้ว ๆ จึงบอก ผู้ใดมีแก่นสาร

ผืนนี้ จักตั้งอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ มหาสูญญตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

อรรถกถามหาสูญญตาสูตร

มหาสุญญตาสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาฬเขมกสฺส ความว่า เจ้าศากยะนั้น

มีผิวดำ. ก็คำว่า เขมโก เป็นชื่อของเจ้าศากยะนั้น. บทว่า วิหาโร หมายถึง

ที่พักซึ่งเจ้าศากยะล้อมรั้ว ณ ประเทศแห่งหนึ่ง ใกล้นิโครธารามนั้นแหละ

สร้างซุ้มประตู ประดิษฐานเสนาสนะรูปหงส์เป็นต้นและมาลมณฑลโรงฉัน

เป็นต้น สร้างไว้. บทว่า สมฺพหุลานิ เสนาสนานิ ได้แก่ เตียง ตั่ง

ฟูก หมอน เสื่อ ท่อนหนัง สันถัตที่ทำด้วยหญ้า สันถัดที่ทำด้วยใบไม้

สันถัดที่ทำด้วยฟางเป็นต้น ซึ่งเขาปูลาดไว้ คือ ตั้งเตียงจดเตียง ฯลฯ ตั้ง

สันถัดที่ทำด้วยฟาง จดสันถัดที่ทำด้วยฟางเหมือนกัน . ได้เป็นเหมือนที่อยู่ของ

ภิกษุที่อยู่กัน เป็นคณะ. บทว่า สมฺพหุลา นุโข ความว่า ขึ้นชื่อว่า ความ

สงสันย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพราะพระองค์ทรงถอนกิเลสทั้งปวงได้แล้ว

ที่โพธิบัลลังก็นั้นแล. ปุจฉาที่มีวิตกเป็นบุพภาคก็ดี และนุอักษรที่มีวิตกเป็น

บุพภาคก็ดี เป็นเพียงนิบาต เมื่อถึงวาระพระบาลี ย่อมเป็นอันไม่ต้องวินิจฉัย.

ได้ยินว่า ก่อนหน้าแต่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่เคยทอดพระเนตร

เห็นภิกษุทั้งหลายจะอยู่ในที่เดียวกัน ถึง ๑๐ รูป ๑๐ รูป.

ครั้งนั้น พระองค์ได้มีพระดำริดังนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า การอยู่เป็นคณะนี้

ได้ประพฤติปฏิบัติกัน มาในวัฏฏะแล้ว เหมือนน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำ และการอยู่

เป็นคณะก็ได้ประพฤติกันมาแล้วในนรก กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน ปิตติวิสัย

และอสุรกายก็มี ในมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลกก็มี นรกหมื่นโยชน์

แน่นไปด้วยสัตว์ทั้งหลาย เหมือนทะนานที่เต็มไปด้วยผงคีบุก เหล่าสัตว์ใน

๑. พระสูตรเป็น มหาสุญญตสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

สถานที่เขาลงโทษด้วยเครื่องจองจำ ๕ ประการ จะประมาณหรือกำหนดไม่ได้

เหล่าสัตว์ที่อยู่กัน เป็นคณะย่อมเดือนร้อน ในที่ซึ่งถูกมีดฟันเป็นต้น เหมือน

อย่างนั้น. ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน หมู่ปลวกในจอมปลวกแห่งหนึ่ง ย่อมจะ

ประมาณหรือกำหนดไม่ได้ และหมู่มดแดงเป็นต้น แม้ในรังแต่ละรังเป็นต้น

ก็เหมือนกัน และแม้ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานก็ย่อมอยู่รวมกันเป็นคณะ ก็

นครเปรตมีดาวุตหนึ่งก็มี ครึ่งโยชน์ก็มี เต็มไปด้วยเปรต แม้ในพวกเปรตก็

อยู่รวมกันเป็นคณะอย่างนี้แหละ. ภพอสูรมีประมาณหมื่นโยชน์เหมือนรูหูที่เอา

เข็มเสียบไว้ที่หู แม้ในอสุรกาย ก็ย่อมอยู่กันเป็นคณะอย่างนี้ . ในมนุษยโลก

เฉพาะกรุงสาวัตถี มีถึงห้าล้านเจ็ดแสนตระกูล. ในกรุงราชคฤห์ทั้งภายใน

ภายนอก มีมนุษย์อาศัยอยู่ ๑๘ โกฏิ ในฐานะแม้อื่น ๆ คือ แม้ในมนุษยโลก

ก็อยู่กันเป็นคณะเหมือนกัน. แม้ในเทวโลก และพรหมโลก ตั้งต้นแต่ภุมม-

เทวดาไป ก็อยู่กันเป็นคณะ. ก็เทวบุตรแต่ละองค์ย่อมมีเทพอักษรผู้ฟ้อนรำถึง

สองโกฏิครึ่ง บางองค์มีถึง ๙ โกฏิ ถึงพรหมจำนวนนับหมื่นก็อยู่รวมในที่

เดียวกัน. แต่นั้นทรงดำริว่า เราบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ ถึง ๔ อสงไขยแสนกัป

ก็เพื่อกำจัดการอยู่รวมเป็นคณะ แต่ภิกษุเหล่านี้ นับจำเดิมแต่นี้ไป ภิกษุเหล่านี้

ย่อมเกาะกลุ่มยินดีในหมู่ กระทำกรรมไม่สมควรเลย พระองค์ทรงเกิดธรรม

สังเวช เพราะภิกษุทั้งหลายเป็นเหตุ ทรงดำริว่า ถ้าเราจักบัญญัติสิกขาบทว่า

ภิกษุสองรูปไม่พึงอยู่ในที่เดียวกัน แต่ไม่สามารถจะบัญญัติได้ เอาละเราจะ

แสดงพระสูตรชื่อ มหาสุญญตาปฏิบัติ ซึ่งจักเป็นเหมือนการบัญญัติสิกขาบท

สำหรับกุลบุตรผู้ใคร่ต่อการศึกษา และเหมือนกระจกสำหรับส่องหมู่สัตว์ทุก

หมู่เหล่า ที่วางไว้ ณ ประตูเมือง แต่นั้นกษัตริย์เป็นต้น เห็นโทษของตนใน

กระจกบานหนึ่ง ละโทษนั้น ย่อมเป็นผู้หาโทษมิได้ ฉันใด แม้เมื่อเราปริ-

นิพพานแล้ว ล่วงไปถึง ๕,๐๐๐ ปี กุลบุตรทั้งหลายย่อมระลึกถึงพระสูตรนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

จักบรรเทาความเป็นหมู่ ยินดีในเอกีภาพ จักกระทำที่สุดแห่งวัฏฏทุกข์ได้.

กุลบุตรทั้งหลายระลึกถึงพระสูตรนี้แล้ว บรรเทาความเป็นหมู่ยังทุกข์ในวัฏฏะ

ให้สิ้นไป แล้วปรินิพพาน นับไม่ถ้วน เหมือนยังมโนรถของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ให้บริบูรณ์. ก็แม้ในวาลิกปิฏฐิวิหาร พระอภัยเถระผู้ชำนาญพระอภิธรรม

สาธยายพระสูตรครั้น รวมกับภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก ในวัสสูปนายิกสมัย

กล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโปรดให้ทำอย่างนี้ พวกเราจะทำอย่างไรกัน.

ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด บรรเทาควานอยู่รวมเป็นคณะ ยินดีในเอกีภาพ แล้ว

บรรลุพระอรหัตภายในพรรษา. พระสูตรนี้ชื่อว่า ทำลายความอยู่รวมเป็นคณะ

ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ฆฏายะ ได้แก่ เจ้าศากยะผู้มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า วิหาเร

ความว่า แม้ในวิหารนี้ พึงทราบว่า สร้างไว้ในเอกเทศของนิโครธารามนั้นเอง

เหมือนวิหารของเจ้าศากยะชื่อ กาฬเขมกะ. บทว่า จีวรกมฺม ความว่า การ

จัดแจงเอาผ้าเก่าเศร้าหมอง มาดามปะและชักเป็นต้นก็ดี ผ้าที่เกิดขึ้นเพื่อทำจีวร

จะยังไม่ได้กะ และยังไม่เย็บมาจัดแจงก็ดีก็ควร. แต่ในที่นี้ประสงค์เอาส่วนที่ยัง

ไม่ได้จัดทำ. ก็มนุษย์ทั้งหลายได้ถวายผ้าจีวรแก่พระอานนทเถระ. เพราะฉะนั้น

พระเถระจึงชวนภิกษุเป็นอันมาก ไปทำจีวรกรรมในวิหารนั้น. แม้ภิกษุเหล่านั้น

นั่งตั้งแต่เริ่มร้อยเข็มแต่เช้าตรู่ ลุกขึ้นในเวลาไม่ปรากฏ. เมื่อเย็บเสร็จแล้ว

ภิกษุเหล่านั้นคิดว่าจักจัดเสนาสนะแค่ยังไม่ได้จัด. บทว่า จีวรกาลสมโย โน

ความว่า ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงเห็นเสนาสนะ

ทั้งหลายที่ภิกษุเหล่านี้ ยังไม่ได้เก็บไว้แน่แท้ ด้วยประการฉะนี้ พระศาสดา.

จักไม่ทรงพอพระทัยประสงค์จะกำหราบ เราจักช่วยเหลือภิกษุเหล่านี้ เพราะ

ฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวอย่างนี้. ก็ในอันมีอธิบายดังนี้ พระอานนท์ทูลว่า

พระเจ้าข้า ภิกษุเหล่านี้ มิใช่มุ่งแต่การงานอย่างเดียวเท่านั้น แต่อยู่อย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

โดยจีวรกิจ. บทว่า น โข อานนฺท ความว่า ดูก่อนอานนท์ กัมมสมัยก็ดี

อกัมสมัยก็ดี จีวรกาลสมัยก็ดี อจีวรกาลสมัยก็ดี จงยกไว้ ภิกษุที่ยินดีด้วย

การคลุกคลี ย่อมไม่งามเลย เธออย่าได้ช่วยเหลือ ในฐานะที่ไม่ควรช่วยเหลือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺคณิกา เป็นบทรวมบริษัทของตน. บทว่า

คโณ เป็นบทรวมชนต่าง ๆ. ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุจะยินดีด้วยการคลุกคลี

ก็ตาม ยินดีในคณะก็ตาม ยินดีในความหมายแน่นของหมู่ เกี่ยวเนื่องด้วยหมู่

ย่อมไม่งามโดยประการทั้งปวง. แก่ภิกษุปัดกวาดที่พักกลางวัน ในเวลาหลังภัตร

แล้วล้างมือเท้าสะอาด รับมูลกัมมัฏฐาน ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้มี

อารมณ์เป็นหนึ่ง ย่อมงดงามในพระพุทธศาสนา.

บทว่า เนกฺขมฺมสุข ความว่า สุขของภิกษุผู้ออกจากกามแม้จะเป็นสุข

ที่เกิดแต่ความสงบ ก็จัดเป็นสุขเกิดแต่ความสงบจากกาม. ก็ที่ชื่อว่า อุปสมสุข

เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น. ชื่อว่า สัมโพธิสุข เพราะ

อรรถว่า เป็นไปเพื่อรู้พร้อมซึ่งมรรค. บทว่า นิกามลาภี แปลว่า ได้ตาม

ที่ต้องการ คือได้ตามที่ปรารถนา. บทว่า อกิจฺฉลาภี แปลว่า ได้โดยไม่ยาก.

บทว่า อกสิรลาภี แปลว่า ได้โดยง่าย. บทว่า สามายิก ได้แก่พ้นกิเลส

เป็นคราว ๆ. บทว่า กนฺต แปลว่า เป็นที่ชอบใจ. บทว่า เจโตวิมุตตึ

ได้แก่เจโตวิมุตติที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ฌาน ๔

และอรูปสมาบัติ ๔ นี้ จัดเป็นวิโมกข์ชั่วสมัย. บทว่า อสามายิต ความว่า

พ้นจากกิเลสโดยไม่เนื่องด้วยสมัย. อัจจันตวิมุตติจัดเป็นโลกุตตระแท้. สมดัง

ที่ตรัสไว้ว่า อริยมรรค ๔ สามัญญผล ๔ นี้ จัดเป็นวิโมกข์ที่ไม่เป็นไปชั่วสมัย.

บทว่า อกุปฺป แปลว่า ไม่ยังกิเลสให้กำเริบ. ตามที่อธิบายมานี้ ท่านกล่าว

หมายถึงอะไร. ภิกษุที่ชอบคลุกคลีกันและผูกพันเป็นคณะ ย่อมไม่อาจจะ

ยังโลกิยคุณและโลกุตตรคุณให้เกิดขึ้นได้. แต่ถ้าบรรเทาการอยู่เป็นคณะ ยินดี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

ในเอกีภาพ ก็อาจจะยังโลกิยคุณและโลกุตตรคุณให้เกิดได้ จริงอย่างนั้น

แม้พระวิปัสสีโพธิสัตว์ แวดล้อมไปด้วยบรรพชิต ๘๔,๐๐๐ รูป เที่ยวไป ๗ ปี

ก็ไม่อาจจะยังสัพพัญญุตญาณให้เกิดได้. ครั้นบรรเทาความเป็นอยู่เป็นคณะแล้ว

ยินดีในเอกีภาพ ขึ้นสู่โพธิมณฑล ๗ วัน. ยังคุณแห่งสัพพัญญูให้เกิดแล้ว.

พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลาย เที่ยวไปตลอด ๖ ปี กับภิกษุเบญจวัคคีย์ ก็ไม่

สามารถจะยังคุณแห่งพระสัพพัญญูให้เกิดขึ้นได้. เมื่อพระเบญจวัคคีย์หลีกไป

แล้ว ทรงยินดีในเอกีภาพ เสด็จขึ้นสู่โพธิมณฑล ยังคุณแห่งพระสัพพัญญู

ให้เกิดแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงว่า ผู้ที่ชอบคลุกคลีไม่มีทางที่จะ

บรรลุคุณพิเศษได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงความเกิดโทษ จึงตรัสว่า

นาห อานนฺท เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า รูป ได้แก่สรีระ. บทว่า

ยตฺถ รตฺตสฺส ได้แก่ ยินดีโดยกำหนัด ในรูปใด. บทว่า น อุปฺปชฺเชยฺยุ

ความว่า ไม่เกิดแก่ภิกษุผู้กำหนัดในรูปใด เราไม่พิจารณาเห็นรูปนั้น ที่แท้

ย่อมบังเกิดนี้ได้ เหมือนเกิดแก่ปริพพาชกชื่อว่า สัญชัย โดยความเป็น

อย่างอื่น คราวเมื่อพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเป็นสาวกของ

พระทศพล เหมือนเกิดแก่นิครนถ์นาฏบุตร คราวอุบาลีคฤหบดีเปลี่ยนใจ

และเหมือนเกิดแก่เศรษฐีเป็นต้น ในปิยชาติกสูตร.

บทว่า อย โข ปน อานนฺท เป็นบทเชื่อมความอันหนึ่ง. ก็ถ้า

ภิกษุผู้บวชใหม่ ผู้มีความรู้ต่ำบางรูป จักพึงกล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ดีแต่นำพวกเราออกจากหมู่ ประกอบไว้ในความโดดเดี่ยว เหมือนชาวนานำโค

ที่เข้าไปสู่นาออกจากนา ส่วนพระองค์เองแวดล้อมไปด้วยพระราชาและข้าราช.

บริพารเป็นต้น เพราะฉะนั้น พระตถาคตแม้จะประทับนั่งท่ามกลางบริษัทมี

จักรวาลเป็นที่สุด ก็ทรงเริ่มเทศนาน เพื่อจะทรงแสดงว่าเป็นผู้อยู่โดดเดี่ยว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

เพื่อจะไม่ให้โอกาสภิกษุบางรูปนั้นพูดจวงจาบได้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

สพฺพนิมิตฺตาน ได้แก่ นิมิตที่ปรุงแต่งแล้วมีรูปเป็นต้น. บทว่า อชฺฌตฺต

ความว่า ในภายในตน. บทว่า สุญฺต ได้แก่ สุญญตาผลสมาบัติ. บทว่า

ตตฺถ เจ เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. อธิบายว่า เท่ากับ

ต เจ. บทว่า ปุน ตตฺร ความว่า พระตถาคตประทับอยู่ท่ามกลางบริษัท

นั้น. บทว่า วิเวกนินฺเนน ได้แก่น้อมไปในพระนิพพาน. บทว่า พฺยนฺตีภูเตน

ความว่า ปราศจาก คือ สลัดออก ได้แก่ พรากจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ.

บทว่า อุยฺโยชนิกปฏิสยุตฺย ความว่า ประกอบด้วยวาจาที่ชักชวนอย่างนี้ว่า

ท่านทั้งหลายจงไปเถิด. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ เวลาไหน

ตอบว่า ตรัสในเวลาหลังภัตกิจบ้าง ในเวลาบำเพ็ญพุทธกิจในยามต้นบ้าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าสำเร็จสีหไสยาสน์ในพระคันกุฏี ภายหลังภัตตาหาร ออกจาก

สีหไสยาสน์แล้ว ประทับนั่งเข้าผลสมาบัติ. ในสมัยนั้น บริษัททั้งหลายย่อม

ประชุมกันเพื่อฟังธรรม. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเวลาแล้ว

เสด็จออกจากพระคันธกุฏี ตรงไปยังพุทธอาสน์อันประเสริฐ ทรงแสดงธรรม

ในให้เวลาล่วงผ่านไป เหมือนบุรุษผู้ถือเอาน้ำมันที่หุงไว้สำหรับประกอบยา

ทรงส่งบริษัทไปด้วยจิตที่โน้มไปในวิเวก. เมื่อปุริมยามผ่านไป ทรงส่งบริษัท

กลับ ด้วยพระดำรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ ราตรีผ่านไปแล้วแล บัดนี้

พวกท่านจงสำคัญกาลอันสมควรเถิด. นับจำเดิมแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายบรรลุ

พระโพธิญาณแล้ว แม้วิญญาณทั้ง ๑๐ ของพระองค์ ก็น้อมไปเพื่อพระนิพพาน

อย่างเดียว.

บทว่า ตสฺมาติหานนฺท ความว่า เพราะสุญญตาวิหาร สงบ

ประณีต ฉะนั้น. บทว่า อชฺฌตฺตเมว ได้แก่ ภายในโคจรนั่นแหละ.

ภายในของตนในบทนี้ว่า อชฺฌตฺต สุญฺต อธิบายว่า อาศัยเบญจขันธ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

ของตน. บทว่า สมฺปชาโน โหติ ความว่า รู้สึกตัว โดยรู้ว่ากัมมัฏฐาน

ยังไม่สมบูรณ์. บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ ในเบญจขันธ์ของผู้อื่น. บทว่า

อชฺฌตฺตพหิทฺธา ความว่า บางครั้งภายใน บางครั้งภายนอก. บทว่า อเนญฺช

ความว่า ใส่ใจ อเนญชสมาบัติคือ อรูปสมาบัติว่า เราจักเป็นอุภโตภาควิมุตติ.

บทว่า ตสฺมึเยว ปุริมสฺมึ ท่านกล่าวหมายถึงฌานที่เป็นบาท. ก็เมื่อภิกษุ

นั้นออกจากฌานที่เป็นบาท ที่ยังไม่คล่องแคล่ว ใส่ใจสุญญตาในภายใน

จิตย่อมไม่แล่นไปในสุญญตาสมาบัตินั้น. แต่นั้นใส่ใจไปในภายนอกว่า ใน

สันดานของผู้อื่นเป็นอย่างไรหนอ. จิตย่อมไม่แล่นไปในสุญญตาสมาบัติ นั้น.

แต่นั้น ใส่ใจทั้งภายในและภายนอกว่า ในสันดานของตนบางครั้งเป็นอย่างไร

ในสันดานของผู้อื่นบางครั้งเป็นอย่างไร. จิตย่อมไม่แล่นไป แม้ในสุญญตา

สมาบัตินั้น. แต่นั้น ผู้ประสงค์จะเป็นอุภโตภาควิมุตติ ใส่ใจอเนญชาสมาบัติ

ว่า ในอรูปสมาบัติเป็นอย่างไรหนอแล. จิตย่อมไม่แล่นไป แม้ในอเนญชา-

สมาบัตินั้น. ภิกษุผู้ละเพียร ไม่พึงพระพฤติตามหลังอุปัฏฐากเป็นต้น ด้วยคิดว่า

บัดนี้จิตของเรายังไม่แล่นไป แค่พึงใส่ใจถึงฌานอันเป็นบาทให้สม่ำเสมอด้วยดี

อย่างเดียว. เพื่อจะทรงแสดงว่า การใส่ใจพระกัมมัฏฐานย่อมแล่นไปสะดวก

เหมือนบุรุษจะตัดไม้ เมื่อขวานวิ่น ต้องลับขวานเสียก่อนแล้วจึงค่อยตัด

ขวานจึงจะคม ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตสฺมิญฺเว ดีนี้.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติอย่างนี้ การใส่ใจใน

สมาบัตินั้น ๆ ย่อมสมบูรณ์ จึงตรัสว่า ปกฺขนฺทติ. บทว่า อิมินา วิหาเรน

ได้แก่ด้วยวิหารธรรมคือสมถะและวิปัสสนา. บทว่า อิติ ตตฺถ สมฺปชาโน

ความว่า แม้เมื่อกำลังเดินจงกรมอยู่ ก็รู้ชัดว่า เมื่อกัมมัฏฐานนั้น สมบูรณ์

กัมมัฏฐานของเราก็สมบูรณ์. บทว่า สยติ แปลว่า ย่อมนอน. ในข้อนี้

ความว่า ภิกษุจะเดินจงกรมเวลาไหน ๆ ก็รู้ว่า บัดนี้เราอาจเดินจงกรมได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

ตลอดเวลามีประมาณเท่านี้ ไม่พักอิริยาบถเลย ดำรงอยู่. ในวาระทั้งปวง

ก็นัยนี้. บทว่า อิติห ตตฺถ ความว่า ย่อมรู้ตัวในอิริยาบถนั้น ๆ โดยรู้ว่า

เราจักไม่กล่าวอย่างนี้. ถึงในทุติยวาระ ภิกษุก็รู้ตัว โดยรู้ว่า เราจะกล่าว

ถ้อยคำเห็นปานนี้. ก็ภิกษุนี้ยังมีสมถวิปัสสนาอ่อนอยู่โดยแท้. เพื่อจะตาม

รักษาสมถวิปัสสนาเหล่านั้น พึงปรารถนาสัปปายะ ๗ อย่าง คือ

อาวาส ๑ โคจร ๑ การสนทนา ๑

บุคคล ๑ โภชนะ ๑ ฤดู ๑ อิริยาบถ ๑

เพื่อจะแสดงสัปปายะ ๗ เหล่านั้น จึงตรัสอย่างนี้. ในวิตักกวาระ

ทั้งหลาย พึงทราบความเป็นผู้รู้ตัว ทั้งอวิตกและวิตก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมรรคทั้งสองด้วยการละวิตกดังกล่าวมานี้แล้ว

บัดนี้ เพื่อจะตรัสบอกการเห็นแจ้ง ตติยมรรค จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปญฺจ โข

อิเม อานนฺท กามคุณา ดังนี้. บทว่า อายตเน ความว่า ในเหตุ

เกิดกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกามคุณเหล่านั้น. บทว่า สมุทาจาโร ได้แก่

กิเลสที่ยังละไม่ได้ เพราะยังฟุ้งซ่าน. บทว่า เอว สนฺต ความว่า มีอยู่

อย่างนี้แล. บทว่า สมฺปชาโน ได้แก่รู้ชัด โดยรู้ว่ากัมมัฏฐานยังไม่สมบูรณ์

ในทุติยวารมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า เอว สนฺต แปลว่า มีอยู่อย่างนี้.

บทว่า เอว สมฺปชาโน ได้แก่ รู้ชัด โดยรู้ว่า กัมมัฏฐานสมบูรณ์

ก็เมื่อภิกษุนี้พิจารณาอยู่ว่า ฉันทราคะในกามคุณทั้ง ๕ เราละได้แล้วหรือยังหนอ

ดังนี้ รู้ว่ายังละไม่ได้ ต้องประคองความเพียร จึงจะเพิกถอนฉันทราคะนั้นได้

ด้วยอนาคามิมรรค. แต่นั้น พิจารณาผลสมาบัติในลำดับแห่งมรรค ออกจาก

ผลสมาบัติแล้วพิจารณาอยู่จึงรู้ว่าละได้แล้ว. อธิบายว่า ย่อมรู้ชัด โดยรู้ว่า

ละฉันทราคะนั้นได้แล้ว.

บัดนี้ เมื่อจะตรัสบอกความเห็นแจ้งอรหัตตมรรค จึงตรัสคำมีอาทิว่า

ปญฺจ โข อิเม อานนฺท อุปาทานกฺขนฺธา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

บทว่า โส ปหียติ ความว่า ละมานะว่า มีในรูป ละฉันทะว่ามีในรูป

ละอนุสัยว่า มีในรูป. ความรู้ชัดในเวทนาเป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าว

แล้วอย่างนั้นนั่นและ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า อิเม โข เต อานนฺท

ธมฺมา ดังนี้ ทรงหมายถึงธรรมคือสมถวิปัสสนา มรรคและผลที่ตรัสแล้วใน

หนหลัง. บทว่า กุสลายตฺติกา แปลว่า มาแต่กุศล. ความจริง กุศลธรรม

ทั้งหลาย เป็นทั้งกุศล เป็นทั้งธรรมที่เนื่องมาแต่กุศล อากิญจัญญายตนฌาน

เป็นกุศล เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เป็นทั้งกุศล เป็นทั้งธรรมที่เนื่องมา

แต่กุศล เนวสัญญานาสัญญานฌานเป็นกุศล โสดาปัตติมรรคเป็นทั้ง

กุศล เป็นทั้งธรรมที่เนื่องมาแต่กุศล ฯลฯ อนาคามิมรรค เป็นกุศล อรหัตต

มรรค เป็นทั้งกุศล เป็นทั้งธรรมที่เนื่องมาแต่กุศล ปฐมฌานก็จัดเป็นกุศล

เหมือนกัน ธรรมที่สัมปยุตด้วยปฐมฌานนั้น เป็นทั้งกุศล เป็นทั้งธรรมที่

เนื่องมาแต่กุศล ฯลฯ อรหัตตมรรค เป็นกุศล ธรรมที่สัมปยุตด้วยอรหัตต

มรรคนั้น เป็นทั้งกุศล เป็นทั้งธรรมที่เนื่องมาแต่กุศล บทว่า อริยา แปลว่า

ไม่มีกิเลส คือบริสุทธิ์. บทว่า โลกุตฺตรา แปลว่า ยอดเยี่ยม คือบริสุทธิ์

ในโลก. บทว่า อนวกฺกนฺตา ปาปิมตา แปลว่า อันมารผู้มีบาปหยั่งลงไม่

ได้. ก็มารย่อมไม่เห็นจิตของภิกษุ ผู้นั่งเข้าสมาบัติ ๘ มีวิปัสสนาเป็นบาท

คือไม่อาจเพื่อจะรู้ว่าจิตของภิกษุนั้นอาศัยอารมณ์ชื่อนี้เป็นไป เพราะฉะนั้น

จึงตรัสว่า อนุวกฺกนฺตา. เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทนี้ว่า

ต กึ มญฺสิ. ความจริงในคณะก็มีอานิสงส์อย่างหนึ่ง เพื่อจะทรงแสดง

อานิสงส์นั้น จึงตรัสคำนี้. บทว่า อนุพนฺธิตุ แปลว่า ติดตามไป คือแวด

ล้อม. ในบทว่า น โข อานนฺท นี้ มีวินิจฉัยว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระอริยสาวกผู้ได้สดับ แล้ว แต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมละอกุศล

เจริญกุศล ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

ดังนี้ เป็นอันทำคนให้เป็นพหูสูต เหมือนทหารที่พรั่งพร้อมด้วยอาวุธ ๕

อย่าง. ก็เพราะภิกษุแม้ถึงจะเรียนสุตตปริยัติ แต่ไม่ปฏิบัติอนุโลมปฏิปทา

สมควรแก่สุตตปริยัตินั้น เธอย่อมชื่อว่า ไม่มีอาวุธนั้น ส่วนภิกษุใดปฏิบัติ

ภิกษุนั้นแหละตั้งชื่อว่ามีอาวุธ ฉะนั้น เมื่อจะแสดงความนี้ว่า ไม่ควรจะติด

ตาม จึงตรัสว่า น โข อานนฺท ดังนี้.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงเรื่องที่ควรติดตาม จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยา จ

โข ดังนี้เป็นต้น. กถาวัตถุ ๑๐ ในฐานะทั้ง ๓ มาในพระสูตรนี้ ด้วยประการ

ฉะนี้. มาด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นสัปปายะ และธรรมที่เป็นอสัปปายะ ดัง

ในประโยคว่า เราจึงกล่าวกถาเห็นปานนี้ด้วยประการฉะนี้. มาด้วยสามารถ

แห่งสุตตปริยัติ ดังในประโยค ว่า ยทิท สุตฺต เคยฺย แต่ในที่นี้มาแล้วโดย

บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น เมื่อจะตรัสกถาวัตถุ ๑๐ ในพระสูตรนี้ จึงตรัสรวม

ไว้ในฐานะนี้.

บัดนี้ เพราะเหตุที่ภิกษุบางพวกแม้จะอยู่รูปเดียว ก็ย่อมไม่เกิด

ประโยชน์ ฉะนั้นเพื่อจะทรงแสดงโทษในความอยู่โดดเดี่ยว. ทรงหมายถึงภิกษุ

บางพวกนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เอว สนฺเต โข อานนฺท ดังนี้. ในบท

เหล่านั้น บทว่า เอว สนฺเต ความว่า เมื่ออยู่อย่างโดดเดี่ยวอย่างนั้น มีอยู่.

บทว่า สตฺถา หมายเอาศาสดาเจ้าลัทธิ นอกศาสนา. บทว่า อนฺวาวตฺตนฺติ

แปลว่า คล้อยตามคือเข้าไปหา. บทว่า มุจฺจ นิกามยติ แปลว่า ปรารถนา

ความอยากพัน อธิบายว่า ให้เป็นไป. บทว่า อาจริยูปทฺทเวน ความว่า

ชื่อว่าอุปัททวะของอาจารย์ เพราะมีอันตรายคือกิเลสเกิดขึ้นในภายในของตน.

แม้ในอุปัททวะที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อวธึสุ น แปลว่า ฆ่า

ศาสดานั้นเสียแล้ว. ก็ท่านกล่าวถึงความตายจากความดี ด้วยบทว่า อวธึสุ น

นี้. บทว่า วินิปาตาย แปลว่า ให้ตกลงไปด้วยดี. ก็เพราะเหตุไร ท่านจึง

กล่าวอุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ว่า มีทุกข์เป็นวิบากกว่า มีผลเผ็ดร้อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

เป็นวิบากกว่า และเป็นไปเพื่อความตกต่ำ. แท้จริงการบวชภายนอกพระ

ศาสนามีลาภน้อย และในการบวชนอกศาสนานั้น ไม่มีทางจะให้เกิดคุณใหญ่

หลวงได้เลย จะมีก็เพียงแต่สมาบัติ ๘ อภิญญา ๕ เท่านั้น . เปรียบเหมือนผู้

ที่พลัดตกจากหลังลา ย่อมไม่มีทุกข์มาก จะมีก็เพียงแต่ตัวเปื้อนฝุ่นเท่านั้น

ฉันใด ในลัทธินอกศาสนาก็ฉันนั้น จะเสื่อมก็เพียงโลกิยคุณเท่านั้น ฉะนั้น

อุปัททวะสองอย่างข้างต้น ท่านจึงไม่กล่าวไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. แต่

การบวชในพระศาสนามีลาภมาก และในการบวชในพระศาสนานั้น มีคุณอัน

จะพึงได้บรรลุใหญ่หลวงนัก คือมรรค ๔ ผล นิพพาน ๑. ขัตติยกุมาร

ผู้อุภโตสุชาต ประทับบนคอช้าง เสด็จเลียบพระนคร เมื่อตกจากคอช้าง

ย่อมถึงทุกข์มาก ฉันใด ผู้ที่เสื่อมจากพระศาสนาก็ฉันนั้น ย่อมเสื่อมจาก

โลกุตตรคุณ ๙ ประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอุปัททวะของ

ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ไว้อย่างนี้.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะอุปัททวะของผู้ประพฤติพรหมจรรย์

มีทุกข์เป็นวิบากมากกว่า อุปัททวะที่เหลือ หรือเพราะข้อปฏิบัติของผู้เป็นศัตรู

ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ข้อปฏิบัติของผู้

เป็นมิตร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ ฉะนั้น พึงประกอบการเรียกร้องด้วย

ความเป็นมิตร และไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นศัตรู ด้วยอรรถทั้งก่อนแล

หลักอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ บทว่า มิตฺตวตฺตาย แปลว่า ด้วยการปฏิบัติ

ฉันมิตร. บทว่า สปตฺตวตฺตาย แปลว่า ด้วยการปฏิบัติอย่างศัตรู. บทว่า

โอกฺกมฺม จ สตฺถุ สาสเน ความว่า เมื่อจงใจล่วงอาบัติ แม้เพียงทุกกฏ

และทุพภาษิต ชื่อว่า ประพฤติหลีกเลี่ยง เมื่อไม่จงใจล่วงเช่นนั้น ชื่อว่า

ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยง. บทว่า น เต อห อานนฺท ตถา ปรกฺกมิสฺสามิ

ความว่า เราไม่ปฏิบัติในเธอทั้งหลายอย่างนั้น. บทว่า อามเก แปลว่า ยัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

ไม่สุก. บทว่า อามกมตฺเต แปลว่า ในภาชนะดิบ คือ ยังไม่แห้งดี. แท้จริง

ช่างหม้อ ค่อย ๆ เอามือทั้งสองประคองภาชนะดิบ ที่ยังไม่แห้งดี ยังไม่สุก

ด้วยคิดว่า อย่าแตกเลย. ขยายความว่า เราจักไม่ปฏิบัติในเธอทั้งหลาย

เหมือนช่างหม้อปฏิบัติในภาชนะดิบนั้น ด้วยประการฉะนี้. บทว่า นิคฺคยฺห

นิคฺคยฺห ความว่า เราจักไม่สั่งสอนหนเดียว แล้วนิ่งเสีย แต่จะตำหนิแล้ว

แล้วสั่งสอนคือพร่ำสอนบ่อย ๆ. บทว่า ปเวยฺห ปเวยฺห แปลว่า เราจักยก

ย่อง จักยกย่อง. เปรียบเหมือนช่างหม้อ คัดภาชนะที่เสีย ๆ ในภาชนะที่สุก

ออกรวมกองไว้ ทุบ ๆ คือเอาแต่ส่วนที่ดีเท่านั้น ฉัน ใด แม้เราก็ฉันนั้น

จักสนับสนุนยกย่อง กล่าวสอนตักเตือน พร่ำสอนบ่อย ๆ . บทว่า โย สาโร

โส สฺสติ ความว่า บรรดาเธอทั้งหลายที่เรากล่าวสอนอยู่ ผู้ใดมีแก่นสาร

คือ มรรคผล ผู้นั้น จักดำรงอยู่ได้ อีกอย่างหนึ่ง แม้โลกิยคุณ ก็ประสงค์

เอาว่า เป็นแก่นสารในที่นี้เหมือนกัน. คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามหาสุญญตาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

๓. อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร

[๓๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของ

อนาถบัณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันกลับจาก

บิณฑบาตภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา เกิดข้อ

สนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง

ไม่น่าเป็นไปได้เลย. ข้อที่พระตถาคตมีอิทธานุภาพมาก ซึ่งเป็นเหตุให้ทรง

ทราบพระพุทธเจ้าในอดีตผู้ปรินิพพานแล้ว ทรงตัดปปัญจธรรมแล้ว ทรงตัด

ตอวัฏฏะแล้ว ทรงครอบงำวัฏฏะแล้ว ทรงล่วงทุกข์ทั้งปวงแล้ว ว่าพระผู้มี-

พระภาคเจ้านั้น ๆ มีพระชาติอย่างนี้บ้าง มีพระนามอย่างนี้บ้าง มีโคตรอย่างนี้

บ้าง มีศีลอย่างนี้บ้าง มีธรรมอย่างนี้บ้าง มีปัญญาอย่างนี้บ้าง มีวิหารธรรม

อย่างนี้บ้าง มีวิมุตติอย่างนี้บ้าง เมื่อภิกษุเหล่านั้นสนทนากันอย่างนี้ ท่าน

พระอานนท์ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระ-

ตถาคตทั้งหลาย ทั้งน่าอัศจรรย์และประกอบด้วยธรรนน่าอัศจรรย์พระตถาคต

ทั้งหลาย ทั้งไม่น่าเป็นไปได้และประกอบด้วยธรรมไม่น่าเป็นไปได้ ข้อสนทนา

กันในระหว่างของภิกษุเหล่านั้น ค้างอยู่เพียงเท่านี้.

[๓๕๘] ฉะนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสถานที่ทรง

หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลานั่นแล้วจึงประทับนั่ง ณ

อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ แล้วตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไรกัน และพวกเธอสนทนาเรื่องอะไร

กันในระหว่างค้างอยู่แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ณ โอกาสนี้ พวกข้าพระ-

องค์กลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งประชุมกันในอุปัฏฐาน

ศาลา เกิดข้อสนทนากันขึ้นในระหว่างดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

น่าอัศจรรย์จริงไม่น่าเป็นไปได้เลย ข้อที่พระตถาคตมีอิทธานุภาพมาก ซึ่งเป็น

เหตุให้ทรงทราบพระพุทธเจ้าในอดีต ผู้ปรินิพพานแล้ว ทรงตัดปปัญจธรรม

แล้ว ทรงตัดตอวัฏฏะแล้ว ทรงครอบงำวัฏฏะแล้ว ทรงล่วงทุกข์ทั้งปวงแล้ว

ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ๆ มีพระชาติอย่างนี้บ้าง มีพระนามอย่างนี้บ้าง มี

พระโคตรอย่างนี้บ้าง มีศีลอย่างนี้บ้าง มีธรรมอย่างนี้บ้าง มีปัญญาอย่างนี้บ้าง

มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง มีวิมุตติอย่างนี้บ้าง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวก

ข้าพระองค์สนทนากันอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะพวกข้าพระองค์ดังนี้

ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลาย ทั้งน่าอัศจรรย์และ

ประกอบด้วยธรรมน่าอัศจรรย์ พระตถาคตทั้งหลาย ทั้งไม่น่าเป็นไปได้และ

ประกอบด้วยธรรมไม่น่าเป็นไปได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อสนทนากันใน

ระหว่างของพวกข้าพระองค์ค้างอยู่เท่านี้แล พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จ

มาถึง.

[๓๕๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า

ดูก่อนอานนท์ ถ้ากระนั้นแล ขอธรรมอันไม่น่าเป็นไปได้ อันน่าอัศจรรย์ของ

ตถาคต จงแจ่มแจ้งกะเธอโดยประมาณอันยิ่ง ๆ เถิด.

ว่าด้วยเข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต

[๓๖๐] ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระ

โพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ได้เข้าถึงหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระ-

พักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติ

สัมปชัญญะ ได้สถิตอยู่ในหมู่เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้

ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้

มีพระภาคเจ้า.

[๓๖๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ

พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์ได้สถิต

อยู่ในหมู่เทวดาชั้นดุสิตจนตลอดอายุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้

ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า.

[๓๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ

พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์มีสติ

สัมปชัญญะ จุติจากหมู่เทวดาชั้นดุสิตแล้วลงสู่พระครรภ์พระมารดา ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้

น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๖๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระ-

พักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์. ในกาลใดพระโพธิสัตว์จุติ

จากหมู่เทวดาชั้นดุสิตลงสู่พระครรภ์พระมารดา ในกาลนั้น แสงสว่างอย่าง

โอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏใน

โลก พร้อมทั้งเทวดามารพรหม และในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์

พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ แม้ในโลกันตริกนรกมีแต่ทุกข์ ซึ่งไม่ใช่ที่เปิดเผย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

มีแต่ความมืดมิด ซึ่งดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ มีอิทธานุภาพมากอย่างนี้ ส่อง

แสงไปไม่ถึง ก็ยังปรากฏแสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่ง

เทวานุภาพของเหล่าเทวดา ด้วยแสงสว่างนั้น แม้หมู่สัตว์ผู้อุปบัติในนรกนั้น

ก็รู้กันว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีเกิดในที่นี้ อนึ่ง หมื่นโลกธาตุนี้ย่อมสะเทือน

สะท้าน หวั่นไหว และแสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่ง

เทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้

ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า.

[๓๖๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ

พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิ

สัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น เทวบุตรทั้ง ๔ จะใกล้ชิด

พระโพธิสัตว์ถวายอารักขาใน ๔ ทิศ ด้วยคิดว่า มนุษย์ หรืออมนุษย์ หรือ

ใคร ๆ อย่าได้เบียดเบียนพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระโพธิสัตว์เลย

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่า

เป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระ-

พักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์

เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์

จะเป็นผู้มีศีลโดยปกติ คือ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน

เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากฐานะเป็นที่ตั้ง

แห่งความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา

[๓๖๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระ-

พักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์

เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์

มิได้พระหฤทัยใฝ่ฝันในกามคุณในบุรุษเกิดขึ้น และจะเป็นผู้ไม่ถูกบุรุษไร ๆ ที่มี

จิตกำหนัดแล้วล่วงเกินได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรง

จำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๖๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระ-

พักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์

เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์

จะเป็นผู้ได้เบญจกามคุณ คือ พระนางจะเพรียบพร้อม พรั่งพร้อมด้วยกาม

คุณ ๕ บำเรออยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า

เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระ-

พักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์

เสด็จสงสู่พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์

ไม่มีพระโรคาพาธไร ๆ เกิดขึ้น จะมีความสุข ไม่ลำบากพระกาย และจะทรง

เห็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ภายในพระอุทร มีพระอวัยวะน้อยใหญ่ครบ มี

อินทรีย์ไม่เสื่อมโทรมได้ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์งามโชติช่วงแปดเหลี่ยม

อันเขาเจียระไนดีแล้ว ในแก้วนั้นเขาร้อยด้ายสีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน สีแดง

สีขาว สีเหลืองแก่ เข้าไว้ บุรุษผู้มีตาดี วางแก้วนั้นในมือ พึงเห็นชัดได้ว่า

แก้วไพฑูรย์นี้งามโชติช่วงแปดเหลี่ยม อันเขาเจียระไนดีแล้ว ในแก้วนั้น

เขาร้อยด้ายสีเขียว หรือสีเหลืองอ่อน สีแดง สีขาว สีเหลืองแก่ เข้าไว้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

ฉันใด ดูก่อนอานนท์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด พระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่

พระครรภ์พระมารดาแล้ว ในกาลนั้น พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ไม่มี

พระโรคาพาธไร ๆ เกิดขึ้น จะมีความสุข ไม่ลำบากพระกาย และจะทรงเห็น

พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ภายในพระอุทร มีพระอวัยวะน้อยใหญ่ครบ มีอินทรีย์

ไม่เสื่อมโทรนได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า

เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๗๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระ-

พักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติ

แล้วได้ ๗ วัน พระมารดาของพระโพธิสัตว์จะเสด็จสวรรคต จะเข้าถึงหมู่

เทวดาชั้นดุสิต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า

เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ

พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระมารดาของพระ-

โพธิสัตว์ จะประสูติโพธิสัตว์ ไม่เหมือนอย่างหญิงอื่น ๆ ที่ตั้งครรภ์ ๙ เดือน

หรือ ๑๐ เดือนแล้วจึงตลอด คือ พระนางจะทรงครองพระโพธิสัตว์ด้วยพระ

อุทร ๑๐ เดือนถ้วนแล้วจึงประสูติ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์

ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๗๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ

พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระมารดาของพระ-

โพธิสัตว์จะประสูติพระโพธิสัตว์ไม่เหมือนอย่างหญิงอื่นๆ ที่นั่งหรือนอนตลอด

คือ พระนางจะประทับยืนท่าเดียวแล้วประสูติพระโพธิสัตว์ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้

น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

ประสูติจากพระอุธรของพระมารดา

[๓๗๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ

พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์

ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น พวกเทวดาจะรับก่อน พวก

มนุษย์จะรับทีหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า

เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๗๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ

พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์

ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ยังไม่ทันถึง

แผ่นดิน เทวบุตรทั้ง ๔ ก็รับ แล้ววางลงตรงพระพักตร์พระมารดาให้ทรงหมาย

รู้ว่า ขอพระเทวีจงมีพระทัยยินดีเถิด พระโอรสของพระองค์ผู้มีศักดิ์มากเสด็จ

อุปบัติแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็น

ธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ

พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์

ประสูติจากพระอุทรของพระมารคา ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประสูติอย่าง

บริสุทธิ์แท้ คือ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยเลือด ด้วยน้ำเหลือง

ด้วยของไม่สะอาดไร ๆ นับว่าหมดจดบริสุทธิ์ เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขา

วางลงบนผ้ากาสิกพัสตร์ ย่อมไม่เปื้อนผ้ากาสิกพัสตร์ แม้ผ้ากาสิกพัสตร์ก็ไม่

เปื้อนแก้วมณี นั้น เพราะเหตุไร เพราะของทั้งสองอย่างบริสุทธิ์ ฉันใด

ดูก่อนอานนท์ ฉันนั้น เหมือนกันแล ในกาลใด พระโพธิสัตว์ประสูติจาก

พระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น พระองค์ย่อมประสูติอย่างบริสุทธิ์แท้

คือ ไม่แปดเปื้อนด้วยน้ำ ด้วยเสมหะ ด้วยเลือด ด้วยน้ำเหลือง ด้วยของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

ไม่สะอาดไร ๆ นับว่าหมดจดบริสุทธิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้

ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๗๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับเฉพาะ

พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์

ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น ธารน้ำ ๒ สายย่อมปรากฏ

จากอากาศ สายหนึ่งเป็นธารน้ำเย็น สายหนึ่งเป็นธารน้ำอุ่น เป็นเครื่องทำการ

สนานพระโพธิสัตว์และพระมารดา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์

ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๗๗] ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ

พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์ในบัดดล

ที่ประสูติ ก็ประทับพระยุคลบาทอันเสมอบนแผ่นดิน และบ่ายพระพักตร์สู่ทิศ

อุดร เสด็จดำเนินไปด้วยย่างพระบาท ๗ ก้าว เมื่อเทพบุตรกั้นเศวตฉัตรตามไป

พระองค์จะทรงเหลียวดูทิศทั้งปวง และทรงเปล่งพระวาจาอย่างผู้องอาจว่า

เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐ.

สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ก็ทรงจำไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็น

ไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ

พระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ในกาลใด พระโพธิสัตว์

ประสูติจากพระอุทรของพระมารดา ในกาลนั้น แสงสว่างอย่างโอฬารหาประ-

มาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก พร้อมทั้ง

เทวดา มาร พรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้ง

เทวดาและมนุษย์ แม้ในโลกกันตริกนรกมีแต่ทุกข์ ซึ่งไม่ใช่ที่เปิดเผย มีแต่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

ความมืดมิด ซึ่งดวงจันทร์ควงอาทิตย์มีอิทธานุภาพมากอย่างนี้ ส่องแสงไป

ไม่ถึง ก็ยังปรากฏแสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพ

ของเหล่าเทวดา ด้วยแสงสว่างนั้น แม้หมู่สัตว์ผู้อุปบัติในนรกนั้น ก็รู้กันว่า

แม้สัตว์เหล่าอื่นก็มีเกิดในที่นี้ อนึ่ง หมื่นโลกธาตุนี้ย่อมสะเทือน สะท้าน

หวั่นไหว และแสงสว่างอย่างโอฬารหาประมาณมิได้ ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพ

ของเหล่าเทวดา ย่อมปรากฏในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์

ก็ทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๓๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล

เธอจงทรงจำธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของตถาคต แม้นี้ไว้เถิด

ดูก่อนอานนท์ ในเรื่องนี้ เวทนาของตถาคต ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่

ปรากฏถึงความดับไป สัญญาของตถาคตปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่. ปรากฏ

ถึงความดับไป วิตกของตถาคต ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ

ดับไป ดูก่อนอานนท์ แม้ข้อนี้แล เธอก็จงทรงจำไว้เถิดว่า เป็นธรรมไม่น่า

เป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของตถาคต.

ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อที่เวทนาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความดับไป

สัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึงความ

ดับไป วิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรากฏเกิดขึ้น ปรากฏตั้งอยู่ ปรากฏถึง

ความดับไป นี้ ข้าพระองค์ก็จะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้

น่าอัศจรรย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ท่านพระอานนท์กล่าวคำนี้จบแล้ว พระศาสดาได้ทรงโปรดปราน

ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์แล.

จบ อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

อรรถกถาอัจฉริยัพภูตสูตร

อัจฉริยัพภูตสูตร* มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺร หิ นาม เป็นนิบาตลงในอรรถว่า

อัศจรรย์ อธิบายว่า พระตถาคตพระองค์ใด. ที่ชื่อว่า ปปัญจธรรม ในบทว่า

ฉินฺนปปญฺเจ นี้ ได้เเก่ กิเลส ๓ อย่าง คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ.

กัมมวัฏที่เป็นกุศลและอกุศล ท่านเรียกว่า วัฏฏุมะ ในบทว่า ฉนฺนวฏฺฏุเม นี้.

บทว่า ปริยาทินฺนวฏฺเฏ เป็นไวพจน์ของ บทว่า ฉินฺนวฏฺฏุเม นั้นแหละ.

บทว่า สพฺพทุกฺขวีสติวฏฺเฏ ความว่า ล่วงทุกข์ กล่าวคือ วิปากวัฏทั้งปวง.

บทว่า อนุสฺสริสฺสติ นี้ เป็นคำกล่าวถึงอนาคตกาล โดยใช้นิบาตว่า ยตฺร.

แต่ในบทนี้ พึงทราบความว่า ท่านใช้หมายถึงอดีต. แท้จริงพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงระลึกถึงพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว มิใช่จักระลึกถึงในบัดนี้. บทว่า เอวฺ

ชจฺจา ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระวิปัสสีเป็นต้น มีพระชาติเป็น

กษัตริย์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระกกุสันธะเป็นต้น มีพระชาติเป็นพราหมณ์.

บทว่า เอวโคตฺตา ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เป็น

โกณฑัญญโคตร พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระกกุสันธะเป็นต้น เป็นกัสสปโคตร.

บทว่า เอวสีลา ความว่า มีศีลอย่างนี้ คือมีศีลเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ.

ในบทว่า เอวธมฺมา นี้ ท่านหมายเอาธรรมที่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งสมาธิ

อธิบายว่า มีสมาธิอย่างนี้ คือ มีสมาธิเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ. บทว่า

เอวปญฺา ความว่า มีปัญญาอย่างนี้ คือ มีทั้งปัญญาที่เป็นโลกิยะและ

โลกุตตระ. ก็ในบทว่า เอววิหารี นี้ ก็เพราะถือธรรมที่เป็นไปในฝ่ายสมาธิ

* พระสูตรเป็นอัจฉริยัพภูตธัมมสูตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

ไว้ในหนหลังแล้ว ก็เป็นอันถือวิหารธรรมไว้ด้วย หากจะมีผู้ท้วงว่าเหตุไร

ท่านจึงถือสิ่งที่ถือแล้วอีกเล่า. ตอบว่า ข้อนี้ท่านไม่ถืออย่างนั้นเลย. แท้จริง

การที่ท่านถือสิ่งที่ถือแล้วอีกนี้ ก็เพื่อจะแสดงถึงนิโรธสมาบัติ เพราะฉะนั้น

ในข้อนี้ ได้ความอย่างนี้ว่า มีปกติอยู่ด้วยนิโรธสมาบัติอย่างนี้.

ในบทว่า เอว วิมุตฺตานี้ ได้แก่ วิมุตติ ๕ อย่างคือ วิกขัมภนวิมุตติ ๑

ตทังตวิมุตติ ๑ สมุจเฉทวิมุตติ ๑ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ๑ นิสสรณวิมุตติ ๑ ในวิมุตติ

๕ เหล่านั้น สมาบัติ นับเป็นวิกขัมภนวิมุตติ เพราะพันแล้วจากกิเลสมีนิวรณ์

เป็นต้น ที่ตนข่มไว้แล้วเอง. อนุปัสสนา ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น นับเป็น

ตทังควิมุตติ เพราะสลัดพ้นแล้วจากนิจจสัญญาเป็นต้น ที่ตนสละแล้ว ด้วย

สามารถแห่งองค์ที่เป็นข้าศึกของมรรค นั้น ๆ. อริยมรรค ๔ นับเป็นสมุจเฉท

วิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายที่ตนถอนขึ้นแล้วเอง. สามัญญผล ๔

นับเป็นปฎิปัสสัทธิวิมุตติ เพราะกิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในที่สุดแห่งปฎิปัสสัทธิ

ด้วยอานุภาพแห่งมรรค. นิพพานนับเป็นนิสสรณวิมุตติ เพราะเป็นที่สลัดออก

ขจัดออก ตั้งอยู่ในที่ใกล้กิเลสทั้งปวง. ในข้อนี้พึงทราบความอย่างนี้ว่า หลุดพ้น

แล้วอย่างนี้ ด้วยสามารถแห่งวิมุตติ ๔ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า

ตสฺมาติห ความว่า เพราะเหตุที่ท่านกล่าวว่า พระตถาคตทั้งหลาย น่าอัศจรรย์

ฉะนั้น อัจฉริยภูตธรรมทั้งหลายของพระตถาคต จึงชัดแจ้งยิ่งกว่าประมาณ.

ในบทว่า สโต สมฺปชาโน นี้ ได้แก่ สัมปชัญญะ ๒ อย่าง คือ ทั้งใน

มนุษยโลก และเทวโลก. ในสัมปชัญญะ ๒ นั้น ในเวสสันดรชาดก พระ-

เวสสันดรให้พระโอรสทั้งสองแก่พราหมณ์แล้ว ในวันรุ่งขึ้น ถวายพระมเหสี

แก่ท้าวสักกะ เมื่อถือเอาพร ๘ อย่าง ที่ท้าวสักกะทรงเลื่อมใสประทานแล้ว

ได้เลือกถือเอาพรว่า เราจงถือปฏิสนธิในภพดุสิต อย่างนี้ว่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

เมื่อล่วงพ้นจากอัตภาพนี้ไป ขอจง

ไปสวรรค์ ไปถึงชั้นดุสิตอันเป็นชั้นวิเศษ

ไม่พึงกลับจากนั้น พรนี้เป็นพรที่ ๘.

จำเดิมแต่นั้นมา ก็รู้ว่าเราจักเกิดในดุสิตพิภพ. นี้จัดเป็นสัมปชัญญะ ใน

มนุษยโลก. ก็แลพระองค์ ทรงจุติจากอัตตภาพพระเวสสันดรแล้ว บังเกิดใน

ภาพดุสิต ได้รู้ตัวว่า เราเกิดแล้ว ดังนี้ เป็นสัมปชัญญะในเทวโลก.

ถามว่า ก็เทวดาที่เหลือทั้งหลายไม่รู้หรือ. ตอบว่า จะไม่รู้ก็หามิได้

แต่เทวดาเหล่านั้น ต้องแลดูต้นกัลปพฤกษ์ใกล้วิมานในอุทยาน ที่เหล่าเทพ

อัปสรผู้ฟ้อนรำปลุกให้ตื่นด้วยเสียงทิพยดุริยางค์ได้ระลึกว่า ท่านผู้นิรทุกข์ นี้เป็น

เทวโลก ท่านเกิดในเทวโลกนี้แล้ว ดังนี้ จึงจะรู้. พระโพธิสัตว์ไม่รู้ในปฐม

ชวนวาร. นับแต่ทุติยชวนวารไปถึงจะรู้. การรู้ของพระองค์ไม่สาธารณะทั่วไป

เหมือนคนอื่น ดังพรรณนามาฉะนี้. ในบทว่า อฏฺาสิ นี้ ความว่า แม้เทวดา

เหล่าอื่น ถึงจะดำรงอยู่ในภพนั้น ก็ย่อมรู้ตัวว่า พวกเราดำรงอยู่แล้ว ก็จริง

แต่เทวดาเหล่านั้น ถูกอิฏฐารมณ์ที่มีกำลังในทวารทั้ง ๖ ครอบงำอยู่ ขาดสติ

ไม่รู้แม้สิ่งที่คนบริโภคแล้ว ดื่มแล้ว ย่อมทำกาละเพราะขาดอาหาร.

ถามว่า พระโพธิสัตว์ไม่มีอารมณ์อย่างนั้นหรือ. ตอบว่า ไม่มีก็หา

มิได้. ด้วยว่าพระองค์ย่อมอยู่เหนือเทวดาที่เหลือโดยฐานะ ๑๐. ก็พระองค์ไม่

ย่อมให้อารมณ์ย่ำยีพระองค์ข่มอารมณ์นั้นตั้งอยู่ได้. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า

สโต สมฺปชาโน อานนฺท โพธิสตฺโต ดุสิเต กาเย อฏฺาสิ

บทว่า ยาวตายุก ถามว่า ในอัตภาพที่เหลือ พระโพธิสัตว์

ไม่ดำรงอยู่จนตลอดอายุหรือ. ตอบว่า ใช่แล้วไม่ดำรงอยู่ตลอดอายุ. ก็ใน

กาลอื่น ๆ พระโพธิสัตว์บังเกิดในเทวโลก ที่เทวดามีอายุยืน ไม่อาจบำเพ็ญ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

บารมีในเทวโลกนั้นได้ ฉะนั้น พระองค์ทรงลืมพระเนตรทั้งสอง กระทำ

อธิมุตตกาลกิริยา (กลั้นใจตาย) แล้วบังเกิดในมนุษยโลก กาลกิริยาอย่างนี้ ไม่มี

แก่เทวดาเหล่าอื่น. ก็ในครั้งนั้น ไม่มีการลักทรัพย์ ไม่มีผู้ไม่รักษาศีล พระองค์

ดำรงอยู่จนตลอดอายุ เพราะทรงบำเพ็ญบารมีทุกอย่างบริบูรณ์แล้ว. พระองค์

มีสติสัมปชัญญะ เคลื่อนจากหมู่เทวดาชั้นดุสิต สถิตอยู่ในพระครรภ์พระมารดา.

พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญพระบารมีครบทุกอย่างก่อน แล้วได้ดำรงอยู่จนตลอด

พระชนม์ชีพ ในครั้งนั้น ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็บุพนิมิต ๕ อย่างคือ ดอกไม้เหี่ยว ๑ ผ้าเศร้าหมอง ๑ เหงื่อออก

จากรักแร้ ๑ กายเริ่มเศร้าหมอง ๑ เทวดาไม่ดำรงอยู่บนอาสนะของเทวดา ๑ นี้

ย่อมบังเกิดแก่เทวดาทั้งหลาย เพื่อจะเตือนให้รู้ว่า บัดนี้ เหลืออีก ๗ วัน

จักต้องจุติโดยการนับวันอย่างของมนุษย์. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลา

ได้แก่ ดอกไม้ประดับ โดยนับวันเริ่มปฏิสนธิเป็นกำหนด. ได้ยินว่า ดอกไม้

เหล่านั้นจะไม่เหี่ยวแห้ง เป็นเวลาถึง ๕๗ โกฏิ กับอีก ๖๐ แสนปี

แต่จะเหี่ยวแห้งในครั้งนั้น. แม้ในผ้าทั้งหลาย ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็เทวดา

ทั้งหลาย ย่อมไม่รู้จักหนาว ไม่รู้จักร้อน ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ . แต่ใน

กาลนั้น เหงื่อจะไหลออกจากร่างกายเป็นเม็ด ๆ ก็ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้

ร่างกายของเทวดาเหล่านั้น ไม่เคยปรากฏว่า เศร้าหมอง เช่นเป็นต้นว่า

ฟันหัก หรือ ผมหงอกเลย. เทพธิดา จะปรากฏร่างเหมือนสาววัยรุ่น ๑๖

เทพบุตรจะปรากฏร่างเหมือนหนุ่มวัยรุ่น ๒๐. ในเวลาใกล้จะตายเทพบุตร

เหล่านั้น ย่อมมีอัตภาพเศร้าหมอง อนึ่ง เทพบุตรเหล่านั้น ไม่มีความ

กระสันในเทวโลกตลอดกาลประมาณเท่านี้ แต่ในเวลาใกล้ตายเทพบุตร ย่อม

เหนื่อยหน่ายสะดุ้ง หวั่นไหว ไม่ยินดีในอาสนะของตน. เหล่านั้นจัด เป็น

บุพนิมิต ๕ ประการ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

นิมิตทั้งหลาย มีลูกอุกกาบาตตก แผ่นดินไหว และจันทรคราส

เป็นต้น จะปรากฏเฉพาะผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ในโลก เช่นพระราชา อำมาตย์

ชั้นผู้ใหญ่เป็นต้นเท่านั้น ไม่ปรากฏแก่สามัญชนทั่วไปฉันใด บุพนิมิต ๕

ก็ฉันนั้นจะปรากฏเฉพาะเหล่าเทพผู้มีศักดิ์ใหญ่เท่านั้น ไม่ปรากฏแก่เทพทั่วไป.

ก็ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย โหรเป็นต้นเท่านั้น จึงจะรู้บุพนิมิตทั้งหลาย

คนทั่วไปไม่รู้ฉันใด หมู่เทพทั้งหลายก็ฉัน นั้น เทพทั่วไปแม้เหล่านั้น ย่อมไม่รู้

จะรู้ก็เฉพาะเทพที่ฉลาดเท่านั้น. ก็ในบรรดาเทพเหล่านั้น เทพบุตรผู้เกิดด้วย

กุศลกรรมเล็กน้อย เมื่อบุพนิมิตเกิดแล้ว ใครจะรู้ว่า บัดนี้ พวกเราจัก

ไปเกิดในที่ไหน จึงกลัว ฝ่ายเทพบุตรผู้มีบุญมาก คิดว่าพวกเราอาศัยทาน

ที่ให้ศีลที่รักษา ภาวนาที่เจริญแล้ว จักเสวยสมบัติในเทวโลกชั้นสูง ๆ ขึ้นไป

จึงไม่กลัว สำหรับพระโพธิสัตว์ทรงเห็นบุพนิมิตเหล่านั้นแล้ว คิดว่า บัดนี้

เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอัตภาพต่อไป จึงไม่กลัว. ครั้งนั้น เมื่อนิมิต

เหล่านั้น ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์แล้ว. เทวดาในหมื่นจักรวาลมาประชุมกัน

แล้วทูลอาราธนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทสบารมี

จะหวังสมบัติว่า จะเป็นท้าวสักกะก็หาไม่ จะหวังสมบัติว่า จักเป็นมาร

เป็นพรหม เป็นพระเจ้าจักรพรรดิก็หาไม่ แต่ทรงบำเพ็ญด้วยปรารถนาจะเป็น

พระพุทธเจ้า เพื่อรื้อถอนสัตวโลก ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ บัดนี้ เป็นกาล

อันสมควร เพื่อการตรัสรู้ของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ บัดนี้

เป็นสมัยอันสมควร เพื่อการตรัสรู้ของพระองค์.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ ยังไม่ทรงให้คำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย

ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการ คือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล

และการกำหนดอายุของพระมารดา. ในมหาวิโลกนะ ๕ ประการนั้น ทรง

ตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นเวลาสมควร หรือยังไม่สมควร เวลาที่คนทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

มีอายุยืนกว่าแสนปีขึ้นไป ชื่อว่า เวลาที่ยังไม่สมควร ในมหาวิโลกนะ ๕

ประการนั้น.

เพราะเหตุไร. เพราะในเวลานั้น ชาติ ชรา และมรณะ ย่อมไม่

ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย และขึ้นชื่อว่า การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

จะพ้นไปจากไตรลักษณ์ย่อมไม่มี เมื่อพระองค์ตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

คนทั้งหลายจะคิดว่า นี่ พระองค์ตรัสถึงอะไร แล้วไม่สนใจจะฟัง ไม่ยอมรับ

นับถือ หรือเธอฟัง แต่นั้นย่อมไม่มีการตรัสรู้มรรคผล เมื่อไม่มีการตรัสรู้

มรรคผล คำสอนย่อมไม่จัดเป็นนิยยานิกธรรม (คือนำสัตว์ออกจากภพ) ได้

เพราะฉะนั้น เวลานั้น จึงจัดเป็นเวลาที่ไม่สมควร. เวลาที่คนทั้งหลายมีอายุ

น้อยกว่าร้อยปี ก็ยังไม่จัดว่าเป็นกาลอันสมควร. เพราะเหตุไร. เพราะเวลานั้น

คนทั้งหลายยังมีกิเลสหนา และคำสอนที่ให้แก่คนที่มีกิเลสหนา ย่อมไม่ตั้งอยู่

ในฐานะแห่งโอวาท ย่อมสลายไปโดยพลัน เหมือนเอาท่อนไม้ขีดลงในน้ำ

เพราะฉะนั้น แม้เวลานั้น ก็ยังไม่จัดเป็นกาลอันสมควร. แต่กาลกำหนดอายุ

นับแต่แสนปีลงมา ตั้งแต่ร้อยปีในรูป จัดเป็นกาลอันสมควร. และในครั้งนั้น

เป็นเวลาที่สัตว์มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงพิจารณา

เห็นแล้วว่า เป็นกาลสมควรที่จะพึงมาเกิด.

แต่นั้นเมื่อจะทรงตรวจดูทวีป ได้ทรงพิจารณาดูทวีปทั้ง พร้อมทั้ง

ทวีปที่เป็นบริวาร ทรงเห็นว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่เกิดในทวีปทั้ง ๓

จะเกิดเฉพาะในชมพูทวีปเท่านั้น. แต่นั้นทรงตรวจดูประเทศว่า ขึ้นชื่อว่า

ชมพูทวีป จัดเป็นทวีปใหญ่ มีประมาณถึงหมื่นโยชน์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ย่อมมาเกิดในประเทศไหนหนอแล ทรงพิจารณาเห็นมัชฌิมประเทศแล้ว.

ที่ชื่อว่า มัชฌิมประเทศ ได้แก่ประเทศที่ท่านกล่าวไว้แล้วในพระวินัย โดยนัย

เป็นต้นว่า มีนิคมชื่อกชังคละอยู่ในทิศบูรพา ดังนี้. ก็มัชฌิมประเทศนั้น

มีกำหนดว่า ยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๙๐๐ โยชน์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

ก็สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขยแสนกัปบ้าง

๘ อสงไขยแสนกัปบ้าง ๑๖ อสงไขยแสนกัปบ้าง แล้วเสด็จอุบัติใน

ประเทศนี้. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมี ๒ อสงไขยแสนกัป

แล้วมาเกิด. พระมหาสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ

เป็นต้น บำเพ็ญบารมี ๑ อสงไขยแสนกัป แล้วมาเกิด. พระ เจ้าจักรพรรดิ

ผู้ปราบดาภิเษกเหนือทวีปใหญ่ทั้งสี่ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารย่อมเสด็จ

มาเกิด. อีกทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ และคฤหบดีผู้มหาศาล ผู้มีศักดิ์ใหญ่

เหล่าอื่นก็มาเกิดในประเทศนี้. ก็และในประเทศนี้ มีพระนครชื่อว่า กบิลพัสดุ์

เป็นราชธานี พระองค์จึงตกลงพระทัยว่า เราควรเกิดในนครกบิลพัสดุ์นั้น.

แต่นั้นทรงตรวจดูตระกูล พิจารณาตระกูลว่าธรรมดาพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ย่อมเกิดในตระกูลที่โลกสมมติ ก็บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์เป็นตระกล

ที่โลกสมมติ เราจักบังเกิดในตระกูลกษัตริย์นั้น พระราชาทรงพระนามว่า

สุทโธทนะ ก็เป็นพระบิดาของเรา. เเต่นั้นทรงตรวจดูพระมารดา ทรงพิจารณา

ว่า ขึ้นชื่อว่า พระพุทธมารดา ย่อมไม่เป็นหญิงเหลาะแหละ ไม่เป็นนักเลง

สุรา บำเพ็ญบารมีมาถึงแสนกัป นับแต่เกิด ย่อมมีศีล ๕ ไม่ขาด ก็พระเทวี

พระนามว่า มหามายา พระองค์นี้ มีลักษณะเป็นเช่นนี้ พระนางจักเป็นพระ-

มารดาของเรา แต่งพระนางจักมีอายุเท่าไร แล้วทรงเห็นว่า อายุของพระนาง

(หลังทรงพระครรภ์) ๑๐ เดือน (ปุระสูติแล้ว) จักมี ๗ วัน.

พระมหาสัตว์ครั้นทรงตรวจดู มหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้ ดังกล่าว

มานี้แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถึงเวลาที่เราจะเป็นพระพุทธเจ้า

แล้ว เมื่อจะทำการสงเคราะห์จึงให้คำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย ส่งเทวดา

เหล่านั้นไปด้วยพระดำรัสว่า จงกลับไปเถิดท่านทั้งหลาย แวดล้อมไปด้วย

เทวดาชั้นดุสิต เสด็จเข้าไปยังสวนนันทวันในดุสิตบุรี. ก็ในเทวโลกทุกชั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

ย่อมมีสวนนันทวันทั้งนั้น. แม้ในสวนนันทวันนั้น เทวดาทั้งหลายให้พระ-

โพธิสัตว์ระลึกถึงโอกาสแห่งกุศลกรรมที่เคยทำไว้ในชาติก่อนว่า พระองค์จงจุติ

จากดุสิตบุรีนี้ไปสู่สุคติ จงจุติจากดุสิตบุรีนี้ไปสู่สุคติ ดังนี้เที่ยวไป. พระโพธิสัตว์

แวดล้อมไปด้วยเทวดาผู้ช่วยให้ระลึกถึงกุศลกรรมอย่างนี้ เสด็จเที่ยวไปใน

นันทวันจุติแล้ว. ครั้นจุติอย่างนี้แล้ว ก็รู้ว่าเรากำลังจุติ ไม่ใช่รู้จุติจิต. แม้ถือ

ปฏิสนธิแล้ว ก็ไม่รู้ปฏิสนธิจิต. พระองค์รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราถือปฏิสนธิในที่นี้

ก็พระเถระบางพวกกล่าวว่า ควรจะได้อาวัชชนปริยาย พระมหาสัตว์จะรู้ใน

ทุติยจิตตวาร และในตติยจิตตวารเท่านั้น. แต่พระมหาสิวเถระผู้ทรงพระไตร-

ปิฎก กล่าวว่า ปฏิสนธิของพระมหาสัตว์ทั้งหลาย ไม่เหมือนปฏิสนธิของสัตว์อื่น

สติสัมปชัญญะของพระมหาสัตว์เหล่านั้นถึงที่สุดแล้ว ก็เพราะไม่อาจจะรู้จิต

ดวงนั้น ด้วยจิตดวงนั้นได้ ฉะนั้น พระมหาสัตว์จึงไม่รู้จุติจิต แม้ในขณะจุติ

ย่อมรู้ว่าเรากำลังจุติ ถือปฏิสนธิ ก็ไม่รู้ปฏิสนธิจิต รู้ชัดว่าเราถือปฏิสนธิ

ในที่ โน้น ในกาลนั้น หมื่นโลกธาตุย่อมหวั่นไหว ดังนี้ ก็เมื่อพระมหาสัตว์

ก้าวลงสู่พระครรภ์มารดาอย่างนี้ ทรงถือปฏิสนธิด้วยมหาวิบากจิต เหมือนกับ

อสังขาริกกุศลจิต ที่สหรคตด้วยโสมนัสและสัมปยุตด้วยญาณ มีเมตตาเป็น

บุพภาค ในบรรดาปฏิสนธิจิต ๑๙ ดวง. ฝ่ายพระมหาสิวเถระ กล่าวว่า

ด้วยมหาวิบากจิต ที่สหรคตด้วยอุเบกขา. ก็พระมหาสัตว์ เมื่อทรงถือปฏิสนธิ

ได้ถือปฏิสนธิในวันเพ็ญเดือน ๘ หลัง.

ดังได้สดับมา ครั้งนั้น พระนางมหามายา ทรงพระสำราญด้วยการ

เล่นนักษัตร อันสมบูรณ์ไปด้วยเครื่องดื่มที่ปราศจากสุรา ระเบียบของหอม

และเครื่องประดับ แต่วันที่ ๗ จากวันเพ็ญเดือน ๘ หน้า ครั้นในวันที่ ๗

เสด็จออกแต่เช้า สรงสนานด้วยน้ำหอมประดับพระวรกายด้วยเครื่องอลังการ

ทั้งปวง เสวยพระกริยาหารอันประเสริฐ อธิษฐานองค์อุโบสถ แล้วเสด็จ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

เข้าห้องอันมีสิริ บรรทมบนเตียงอันมีสิริ ทรงหลับไป ได้ทรงพระสุบินดังนี้ว่า

ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทรงยกพระนางพร้อมทั้งที่บรรทมนำไปสระอโนดาด แล้ว

วางไว้ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้นพระเทวีของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ได้มาให้

พระนางสรงสนานเพื่อชำระล้างมลทินของมนุษย์ แล้วให้นุ่งห่มผ้าทิพย์ลูบไล้

ด้วยของหอม ประดับผ้าทิพย์ ให้ทรงบรรทมรักษาศีลอยู่ในวิมานทอง ซึ่งมี

อยู่ภายในภูเขาเงิน อันตั้งอยู่ไม่ห่างจากสระอโนดาตนั้น. ครั้งนั้น พระโพธิ-

สัตว์เป็นช้างเผือกเที่ยวไปบนภูเขาทองลูกหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากสระอโนดาต

นั้น ลงจากภูเขาทองนั้นแล้ว ขึ้นสู่ภูเขาเงิน มาจากทิศอุดร เข้าไปยังวิมาน

ทอง กระทำประทักษิณพระมารดาแล้วได้เป็นประดุจแยกพระปรัศว์ขวาออก

แล้วเข้าไปสู่พระครรภ์.

ลำดับนั้น พระนางตื่นพระบรรทมแล้ว ได้กราบทูลพระสุบินนั้น

แด่พระราชา. ครั้นรุ่งสว่าง พระราชารับสั่งให้หัวหน้าพราหมณ์ประมาณ ๖๔ คน

เข้าเฝ้า จัดปูอาสนะมีค่ามาก บนภูมิภาคที่มีติณชาติเขียวขจี ตกแต่งแล้วด้วย

เครื่องสักการะอันเป็นมงคลที่กระทำด้วยข้าวตอกเป็นต้น แล้วนำข้าวปายาสอัน

ประเสริฐปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดใส่หม้อทอง หม้อเงินจนเต็ม

แล้วปิดด้วยหม้อทองหม้อเงินเช่นเดียวกัน พระราชทานแก่พราหมณ์ทั้งหลาย

ผู้อิ่มหนำสำราญแล้ว ทราบถึงพระสุบิน แล้วทรงถามว่า จักมีอะไรเกิดขึ้น.

พราหมณ์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์อย่าทรงพระวิตกเลย

พระเทวีของพระองค์ทรงตั้งครรภ์ และพระครรภ์นั้น ก็เป็นพระครรภ์

พระโอรส มิใช่ครรภ์พระธิดา พระองค์จักมีพระโอรส ถ้าพระโอรสนั้นจัก

อยู่ครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบวช จักเป็นพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

ผู้เพิกถอนกิเลสได้แล้วในโลก พระโพธิสัตว์มีสติและสัมปชัญญะ จุติจากหมู่

เทวดาชั้นดุสิต เข้าสู่พระครรภ์พระมารดาด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สโต สมฺปชาโน นี้ ท่านแสดงว่า

พระโพธิสัตว์ที่ก้าวลงโดยวิธีก้าวลงสู่พระครรภ์อย่างที่ ๔. ก็การก้าวลงสู่

พระครรภ์มี ๔ อย่าง ดังพระบาลีว่า พระเจ้าข้า การก้าวลงสู่ครรภ์มี ๔ อย่าง

ดังนี้.

พระเจ้าข้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ก้าวลงสู่ท้องมารดาก็ไม่รู้ตัว ตั้งอยู่

ในท้องมารดาก็ไม่รู้ตัว ออกจากท้องมารดาก็ไม่รู้ตัว นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์

อย่างที่ ๑.

ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้าข้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ ก้าวลงท้องมารดา

รู้ตัว ตั้งอยู่ในต้องมารดาไม่รู้ตัว ออกจากต้องมารดาก็ไม่รู้ตัว นี้เป็นการก้าว

ลงสู่ครรภ์อย่างที่ ๒.

ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้าข้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ ก้าวลงสู่ท้องมารดา

รู้ตัว ตั้งอยู่ในท้องมารดาก็รู้ตัว แต่ออกจากท้องมารดาไม่รู้ตัว นี้เป็นการก้าว

ลงสู่ครรภ์อย่างที่ ๓.

ข้ออื่นยังมีอีก พระเจ้าข้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ ก้าวลงสู่ท้องมารดา

ก็รู้ตัว ตั้งอยู่ในท้องมารดาก็รู้ตัว ทั้งออกจากท้องมารดาก็รู้ตัว นี้เป็นการก้าว

ลงสู่ครรภ์อย่างที่ ๔.

ใน ๔ อย่างเหล่านี้ อย่างที่หนึ่งเป็นของพวกโลกิยมนุษย์. อย่างที่

สอง เป็นของพระอสีติมหาสาวก. อย่างที่สาม เป็นของพระอัครสาวกทั้งสอง

และพระปัจเจกโพธิสัตว์ทั้งหลาย ได้ยินว่า บุคคล ๓ จำพวกเหล่านั้น เมื่อถูก

ลมกรรมชวาต พัดเอาเท้าขึ้นบน เอาหัวลงล่าง ออกจากของกำเนิดที่คับแคบ

เหลือเกิด ย่อมถึงทุกข์อย่างยอดยิ่ง อุปมาเหมือนถูกเขาจับเหวี่ยงลงในเหวลึก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

หลายชั่วร้อยคน หรือเหมือนช้างที่ต้องออกจากช่องลูกดาลฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น

ความรู้ตัวว่า เรากำลังออกจึงไม่มี แก่บุคคล ๓ จำพวกนั้น. การก้าวลงสู่

ครรภ์ล่างที่ ๔ ย่อมมีเฉพาะพระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญญูทั้งหลาย. แท้จริงพระ-

โพธิสัตว์ผู้สัพพัญญูทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อถือปฏิสนธิในครรภ์พระมารดาก็รู้

แม้เมื่ออยู่ในครรภ์พระมารดาก็รู้. แม้ในเวลาจะประสูติ ลมกรรมชวาต ไม่

สามารถจะพัดเอาพระบาทของพระโพธิสัตว์ผู้สัพพัญญูเหล่านั้นขึ้นบน เอาพระ-

เศียรลงข้างล่าง ท่านเหล่านั้นทรงเหยียดพระหัตถ์ทั้งสอง ลืมพระเนตรแล้ว

ประทับยืนเสด็จออก.

ในบทว่า มาตุกุจฺฉึ โอกฺกมติ นี้ มีอธิบายว่า ย่อมก้าวลงสู่ครรภ์

มารดา. แท้จริงเมื่อพระโพธิสัตว์นั้น ก้าวลงสู่ครรภ์พระมารดา ก็ย่อมมีเหตุ

อัศจรรย์อย่างนี้เมื่อไม่ก้าวลง ก็ไม่มีเหตุอัศจรรย์. บทว่า อปฺปมาโณ

แปลว่า มีประมาณอันเจริญ. อธิบายว่า ไพบูลย์. บทว่า เทวาน เทวานุภาว

นี้ มีอธิบายว่า อานุภาพของเทวดาทั้งหลาย มีดังนี้ คือ รัศมีของผ้าที่นุ่ง

ย้อมแผ่ไปได้ ๑๒ โยชน์ ของสรีระก็แผ่ไปได้อย่างนั้น ของเครื่องประดับก็

แผ่ไปได้อย่างนั้น ของวิมานก็แผ่ไปได้อย่างนั้น ล่วงซึ่งเทวานุภาพนั้น. บทว่า

โลกนฺตริกา ความว่า โลกันตริกนรกขุมหนึ่งย่อมมีในระหว่างจักรวาลทั้งสาม

ก็โลกันตริกนรกนั้น. มีประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์. เหมือนช่องว่างย่อมมีในท่าม

กลางของล้อเกวียน ๓ ล่อ หรือบาตร ๓ ลูก ที่ตั้งจดกันและกัน . บทว่า

อฆา แปลว่า เปิดแล้วเป็นนิตย์. บทว่า อสวุตา ความว่า แม้ในเบื้องล่าง

ก็ไม่มีที่พำนัก. บทว่า อนฺธการา แปลว่า มืดมิด. บทว่า อนฺธการติมิสา

ความว่า ประกอบด้วยเมฆหมอกอันกระทำความมืด เพราะห้ามความเกิดขึ้น

แห่งจักษุวิญญาณ. ได้ยินว่า จักษุวิญญาณย่อมไม่เกิดในโลกันตริกนรกนั้น.

บทว่า เอว มหิทฺธิกา ความว่า มีฤทธิอย่างนี้คือ ได้ยินว่าดวงจันทร์และ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

ดวงอาทิตย์ ย่อมปรากฏในทวีปทั้ง ๓ คราวเดียวพร้อมกัน. มีอานุภาพมาก

อย่างนี้ คือ กำจัดความมืดแล้วส่องสว่างไปได้ ทิศละแปดล้านหนึ่งแสนโยชน์.

บทว่า อาภาย นานุโภนฺติ แปลว่า แสงสว่างของตนไม่พอ. ได้ยินว่า

ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น ย่อมไม่ส่องแสงไปถึงท่ามกลางขุนเขาจักร-

วาลได้เลย. และโลกันตริกนรกก็อยู่เลยขุนเขาจักรวาลไป. เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงแสดงว่า ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น ไม่มีแสงสว่างพอส่องไปถึง

โลกันตริกนรกนั้น.

บทว่า เยปิ ตตฺถ สตฺตา ความว่า ถามว่า เหล่าสัตว์ผู้อุบัติในโลกัน-

ตริกนรกนั้น กระทำกรรมอะไรไว้ จึงบังเกิดในที่นั้น. ตอบว่า ทำกรรมหยาบ

ช้าทารุณต่อมารดาบิดาต่อสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมบ้าง ทำความผิดอย่าง

อื่นที่สูงขึ้นไปอีกบ้าง ทำกรรมสาหัส เช่น ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเป็นต้น เป็นประจำ

ทุก ๆ วันบ้าง จึงเกิดในโลกันตริกนรกนั้น ดังเช่น อภยโจร และนาคโจร

เป็นต้น ในตัมพปัณณิทวีป. อัตภาพของสัตว์เหล่านั้น มีประมาณ ๓ คาวุต.

มีเล็บยาวเหมือนเล็บค้างคาว. สัตว์เหล่านั้นจะใช้เล็บเกาะอยู่ที่เชิงเขาจักรวาล

เหมือนพวกค้างคาวเกาะอยู่ที่ต้นไม้ฉะนั้น. แต่เมื่อใดออกเลื้อยคลาน จะถูก

ช่วงมือของกันและกัน เมื่อนั้นต่างสำคัญว่า เราได้อาหารแล้ว วิ่งหมุนไป

รอบ ๆ ที่เชิงเขาจักรวาลนั้น แล้วตกลงในน้ำหนุนโลก. เนื้อลมพัดจะแตกตก

ลงในน้ำ เหมือนผลมะทราง. และพอตกลงไป ก็จะละลาย เหมือนก้อนแป้ง

ที่ตกลงไปในน้ำที่เค็มจัด.

บทว่า อญฺเปิ กิร โภ สนฺติ สตฺตา ความว่า ย่อมเห็นประจักษ์

ในวันนั้นว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นเมื่อเสวยทุกข์นี้ ก็เกิดในโลกันตริกนรกนี้

เหมือนอย่างพวกเราผู้กำลังเสวยทุกข์ใหญ่อยู่ฉะนั้น ก็โอกาสนี้ย่อมไม่ตั้งอยู่แม้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

เพียงชั่วขณะดื่มข้าวยาคูครั้งเดียว. จะมีเพียงชั่วเวลาที่หลับไปแล้วตื่นขึ้นรับรู้

อารมณ์เท่านั้น. ส่วนอาจารย์ผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกายกล่าวว่า โอภาสนั้นจะ

ปรากฏเฉพาะเพียงชั่วขณะปรบมือแล้วก็หายไป เหมือนแสงของสายฟ้าแลบแล้ว

พอคนทักว่า นี้อะไร ? ก็แวบหายไป. บทว่า สงฺกมฺปติ แปลว่า หวั่นไหว

โดยรอบ. สองบทนอกนี้เป็นไวพจน์ของบทแรกนั่นเอง เพื่อจะสรุปความ

ท่านจึงกล่าวคำว่า อปฺปมาโณ จ เป็นต้นไว้อีก

บทว่า จตฺตาโร ในประโยคว่า จตฺตาโร น เทวปุตฺตา จตุทฺทิส

อารกฺขาย อุปคจฺฉติ นี้ ท่านกล่าวหมายเอาท้าวมหาราชทั้ง ๔. ก็ในหมื่น

จักรวาล ย่อมมีท้าวมหาราช ๔ หมื่นอยู่ประจำ แยกกันอยู่จักรวาสละ ๔.

บรรดามหาราชเหล่านั้น มหาราชในจักรวาลนี้ทรงถือพระขรรค์เสด็จมาแล้ว

เข้าไปสู่ห้องอันทรงสิริ เพื่อจะถวายอารักขาพระโพธิสัตว์ นอกนี้แยกย้ายไป

ไล่หมู่ยักษ์มีปีศาจคลุกฝุ่นเป็นต้น ที่เขาขังไว้ให้หลีกไป แล้วถืออารักขาตั้งแต่

ประตูห้องจนถึงจักรวาล.

การมาเฝ้าถวายอารักขานี้ เพื่อประโยชน์อะไร เพราะนับจำเดิม

แต่เวลาที่เป็นกลละในขณะปฏิสนธิถึงจะมีมารตั้งแสนโกฏิ ยกเขาสิเนรุ

ตั้งแสนโกฏิลูก มาเพื่อทำอันตรายพระโพธิสัตว์ หรือพระมารดาของพระ

โพธิสัตว์ อันตรายทั้งปวง ก็พึงอันตรธานไปมิใช่หรือ. สมจริงดังคำที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ ในเรื่องที่พระเทวทัต ทำพระโลหิตให้ห้อ ดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลจะปลงพระชนม์ตถาคต ด้วยความพยายาม

ของผู้อื่นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส เพราะพระตถาคตทั้งหลาย จักไม่

ปรินิพพาน ด้วยความพยายามของผู้อื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไปอยู่

ตามที่เดิม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลายไม่ต้องมีอารักขา. การ

เป็นอย่างนี้ ฉะนั้น อันตรายแห่งชีวิต ย่อมไม่มีแก่พระตถาคตเหล่านั้น ด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

ความพยายามของผู้อื่น. เหล่าอมนุษย์ผู้มีรูปวิกล น่าเกลียด นกที่มีรูปน่ากลัว

ก็มีอยู่ ความกลัวหรือความสะดุ้ง จะพึงบังเกิดแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์

ได้ เพราะเห็นรูปหรือฟังเสียงของอมนุษย์เหล่าใด เพื่อห้ามเสียซึ่งอมนุษย์

เหล่านั้น จึงต้องวางอารักขาไว้. อีกประการหนึ่ง ท้าวมหาราชเหล่านั้น

มีความเคารพเกิดขึ้นด้วยเดชแห่งบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ ทั้งตนเองก็มี

ความเคารพเป็นพื้นอยู่แล้ว จึงกระทำอย่างนี้.

ถามว่า ก็ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เข้าไปยืนภายในห้องแล้วแสดงตนให้

ปรากฏแก่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ หรือไม่แสดง. ตอบว่าไม่แสดงตนให้

เวลาที่พระมารดาของพระโพธิสัตว์ทรงกระทำกิจส่วนพระองค์ เช่นสรงสนาน

ประดับตกแต่ง และเสวยเป็นต้น แต่จะแสดงในเวลาที่พระองค์เข้าห้องอัน

ทรงสิริแล้วบรรทมบนพระแท่นที่บรรทม. ก็ขึ้นชื่อว่าร่างของอมนุษย์ทั้งหลาย

ย่อมเป็นสิ่งที่น่ากลัวเฉพาะหน้าของมนุษย์ทั้งหลายในเวลานั้นก็จริง แต่สำหรับ

พระมารดาของพระโพธิสัตว์เห็นอมนุษย์เหล่านั้นแล้วย่อมไม่กลัว ด้วยอานุภาพ

แห่งบุญของพระองค์เองและพระโอรส. พระนางมีจิตในอมนุษย์เหล่านั้น

เหมือนเจ้าหน้าที่เฝ้าพระราชฐานทั่ว ๆ ไป.

บทว่า ปกติยา สีลวตี ความว่า ทรงถึงพร้อมด้วยศีล โดยสภาพ

นั่นเอง. เล่ากันว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ คนทั้งหลายพากันไปไหว้

นั่งกระโหย่งถือศีลในสำนักของดาบสและปริพาชกทั้งหลาย. แม้พระมารดา

พระโพธิสัตว์ ก็ถือศีลในสำนักของกาลเทวิลดาบส. แต่เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ใน

พระครรภ์ พระนางไม่อาจประทับนั่งใกล้บาทมูลของผู้อื่นได้ แม้ศีลอื่นพระองค์

ประทับนั่งบนอาสนะเสมอกันรับไว้ก็เป็นพิธีการเท่านั้น. เพราะเหตุนั้น จึงกล่าว

ไว้ดังนี้ว่า พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ได้สมาทานศีลด้วยพระองค์เองทีเดียว.

บทว่า ปุริเสสุ ความว่า จิตที่มีความประสงค์ในบุรุษย่อมไม่เกิดในมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

ทั้งหลาย เริ่มต้นแต่พระบิดาของพระโพธิสัตว์. ก็แลข้อนั้น เกิดโดยความ

เคารพในพระโพธิสัตว์มิใช่เกิดเพราะละกิเลสได้แล้ว. ก็ศิลปินทั้งหลายแม้จะ

ฉลาดหลักแหลม ก็ไม่สามารถจะวาดรูปพระมารดาของพระโพธิสัตว์ลงในแผ่น

ภาพวาดเป็นต้นได้. ใคร ๆ จึงไม่อาจพูดได้ว่า ความกำหนัดย่อมไม่เกิดแก่

บุรุษ เพราะเห็นรูปพระมารดาพระโพธิสัตว์นั้น และหากผู้มีจิตกำหนัด

ประสงค์จะเข้าไปหาพระนาง จะก้าวเท้าไม่ออก เหมือนถูกมัดตรึงไว้ด้วยโซ่

ทิพย์. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อนติกฺกมนียา ดังนี้ .

บทว่า ปญฺจนฺน กามคุณาน ความว่า การห้ามวัตถุ ด้วยสามารถ

แห่งความใฝ่ฝันในบุรุษ ท่านกล่าวไว้ก่อนแล้ว ด้วยบทว่า กามคุณูปสญฺหิต.

ในที่นี้แสดงเพียงการได้เฉพาะซึ่งอารมณ์. ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พระราชา

โดยทั่วไป ทราบข่าวว่า พระโอรสเห็นปานนี้ อุบัติในพระครรภ์ของพระเทวี

จึงส่งบรรณาการอันเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ของทวารทั้ง ๕ โดยเป็นเครื่องประดับ

มีราคามาก และเครื่องดนตรีเป็นต้น. สำหรับพระโพธิสัตว์และพระมารดา

ย่อมมีลาภสักการะหากำหนดประมาณมิได้ เพราะหนาแน่นไปด้วยกุศลสมภาร

ที่ทรงบำเพ็ญไว้แล้ว. บทว่า อกิลนฺตกายา ความว่า หญิงเหล่าอื่น ย่อม

ลำบากด้วยภาระในการบริหารครรภ์ทั้ง มือเท้าก็บวมฉันใด พระนางไม่มีความ

ลำบากอย่างใดเหมือนหญิงพวกนั้นเลย. บทว่า ติโร กุจฺฉิคต แปลว่า ประทับ

อยู่ภายในพระอุทร คือพ้นเวลาที่เป็นกลละเป็นต้นไปแล้ว ทรงเห็นพระโพธิสัตว์

มีองคาพยพสมบูรณ์ มีอินทรีย์ไม่เสื่อมโทรม.

ถามว่า ทรงดูเพื่อประโยชน์อะไร. ตอบว่า เพื่อให้อยู่อย่างสบาย

ก็ธรรมดามารดาทั้งหลายจะนั่งหรือนอนกับบุตรก็ตาม จะต้องมอง

ดูบุตรเพื่อให้อยู่อย่างสบายว่า เราจะยกมือและเท้าที่ห้อยลงให้ตั้งอยู่ด้วยดี

ฉันใด แม้มารดาของพระโพธิสัตว์ก็ฉันนั้น ทรงมองดูพระโพธิสัตว์ เพื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

ให้อยู่อย่างสบาย โดยพระดำริว่า ทุกข์อันใดที่เกิดแก่เด็กผู้อยู่ในท้องในเวลา

ที่แม่ลุกขึ้นเดินไป หมุนตัวและนั่งเป็นต้น ก็ดีในเวลาที่แม่กลืนอาหารที่ร้อน

ที่เย็น. ที่เค็ม ที่ขม และที่เผ็ดก็ดี ทุกข์อันนั้นมีแก่พระโอรสของเราบ้าง

หรือหนอ ก็ทรงเห็นพระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิแล้ว. ธรรมดาเด็กที่อยู่ในท้อง

เหล่าอื่น จะนั่งทับกะเพาะอาหารเก่า เทินกะเพาะอาหารใหม่ หันหลังเข้า

หาพื้นท้องแม่ นั่งยอง ๆ พิงกระดูกสันหลัง เอามือทั้งสองข้างยันคางไว้

เหมือนฝูงลิงนั่งอยู่ในโพรงไม้เวลาฝนตก แต่พระโพธิสัตว์ไม่เป็นเช่นนั้น.

ก็พระองค์ทรงพิงกระดูกสันหลังนั่งขัดสมาธิ หันพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา

เหมือนพระธรรมกถึกนั่งบนธรรมาสน์. ก็กรรมที่พระมารดาของพระโพธิสัตว์

ทำไว้ในกาลก่อน ย่อมยังวัตถุ (ที่ตั้งแห่งพระครรภ์) ของพระนางให้บริสุทธิ์

เมื่อวัตถุบริสุทธิ์ ลักษณะแห่งพระฉวีอันละเอียดอ่อนย่อมเกิด ครั้งนั้น หนังก็

ไม่สามารถจะปกปิดพระโพธิสัตว์ผู้อยู่ในพระครรภ์ได้ เมื่อมองดูจะปรากฏ

เหมือนประทับยืนอยู่ภายนอก.

เพื่อจะยังความข้อนั้น ให้แจ่มแจ้งด้วยอุปมา ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า

เสยฺยถาปิ ก็พระโพธิสัตว์ผู้อยู่ภายในพระครรภ์ ย่อมมองไม่เห็นพระมารดา

เพื่อจักษุวิญญาณย่อมไม่เกิดภายในพระครรภ์. บทว่า กาล กโรต ความว่า

ไม่ใช่เสด็จสวรรคตเพราะเหตุที่พระองค์ทรงประสูติกาล แต่เพราะสิ้นพระชน

มายุอย่างเดียว. แท้จริง ที่ซึ่งพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ย่อมเป็นเสมือนกุฏิใน

พระเจดีย์ ไม่ควรที่สัตว์เหล่าอื่น จะใช้ร่วม และใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะแยก

พระมารดาแห่งพระโพธิสัตว์ออก แล้วแต่งตั้งหญิงอื่นไว้ในตำแหน่งพระอัคร-

มเหสีได้ เหตุดังกล่าวมาเพียงนั้นเอง ย่อมเป็นประมาณแห่งอายุของพระ

มารดาพระโพธิสัตว์ เพราะฉะนั้น พระนางจึงเสด็จสวรรคตในเวลานั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

ถามว่า พระนางเสด็จสวรรคต ในวัยไหน. ตอบว่า ในมัชฌิมวัย.

ความจริง ในปฐมวัย อัตภาพของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีฉันทราคะ

รุนแรง. ด้วยเหตุนั้น สตรีตั้งครรภ์ในเวลานั้น ย่อมไม่สามารถจะถนอม

ครรภ์นั้นไว้ได้. ครรภ์ย่อมมีโรคมากมาย ครั้นเลยส่วนทั้งสองแห่งมัชฌิมวัย

ไปแล้ว วัตถุ (ที่ตั้งแห่งครรภ์) ย่อมบริสุทธิ์ ในส่วนที่ ๓ แห่งวัย เมื่อวัตถุ

บริสุทธิ์ ทารกที่เกิดก็ไม่มีโรค. เพราะฉะนั้น แม้พระมารดาของพระโพธิสัตว์

เสวยสมบัติในปฐมวัย ประสูติในส่วนที่ ๓ แห่งมัชฌิมวัย เสด็จสวรรคตแล้ว

ด้วยประการฉะนี้.

วาศัพท์ ในบทว่า นว วา ทส วา นี้ พึงทราบว่า ต้องรวมแม้บทมี

อาทิอย่างนี้ว่า สตฺต วา อฏฺ วา เอกาทสวา ทฺวาทส วา เข้ามาด้วย โดยเป็น

วิกัป. บรรดากำหนดเหล่านั้น สัตว์ที่อยู่ในครรภ์ได้ ๗ เดือนตลอดถึงจะรอด

แต่ก็ไม่ทนหนาวทนร้อนไปได้ ที่อยู่ในครรภ์ได้ ๘ เดือนตลอด ไม่รอด

นอกนั้นถึงจะรอด. บทว่า ิตาว แปลว่า ประทับยืนแล้วเทียว.

แม้พระนางมหามายาเทวี ทรงพระดำริว่า เราจักไปสู่เรือนแห่งตระกูล

พระญาติของเรา แล้วกราบทูลพระราชา. พระราชาทรงรับสั่งให้ประดับตก

แต่งทางที่จะเสด็จไป ตั้งแต่กรุงกบิลพัสดุ์จนถึงกรุงเทวทหะ แล้วให้พระเทวี

ประทับนั่งบนวอทอง. เจ้าศากยะผู้อยู่ในพระนครทั้งสิ้น แวดล้อมบูชาด้วย

ของหอมและดอกไม้เป็นต้น พาพระเทวีเสด็จไปแล้ว. พระนางทอดพระเนตร

เห็นลุมพินีสาลวโนทยาน ไม่ไกลพระนครเทวทหะ เกิดความพอพระทับจะ

ประพาสพระอุทยาน จึงให้สัญญาแก่พระราชา. พระราชารับสั่งให้ประดับตก

แต่งพระอุทยาน แล้วให้จัดอารักขา. พอพระเทวีเสด็จเข้าสู่พระอุทยาน ก็มี

พระกำลังอ่อนลง. ครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ได้ปูลาดที่บรรทมอันมีสิริ ที่โคนต้นรัง

อันเป็นมงคล แล้วกั้นม่านถวายพระนาง. พระนางเสด็จเข้าไปภายในม่านแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

เสด็จประทับยืนเหนี่ยวกิ่งไม้สาละ. ลำดับนั้น พระนางได้ประสูติพระโอรสใน

ทันใดนั่นเอง. บทว่า เทวา ปม ปฏิคฺคณฺหนฺติ ความว่า เหล่าพรหมชั้น

สุทธาวาสทั้งหลายผู้ขีณาสพ จะรับก่อน.

จะรับอย่างไร อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า เหล่าพรหมชั้นสุทธาวาสจะ

แปลงเพศเป็นเจ้าพนักงานผู้ถวายการประสูติ. ก็ท่านปฏิเสธข้อทักทวงนั้น แล้ว

กล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้. เวลานั้น พระมารดาพระโพธิสัตว์ ทรงนุ่งผ้าจิต

ด้วยทอง ทรงห่มผ้า ๒ ชั้น คล้ายตาปลา คลุมถึงฝ่าพระบาทประทับยืนแล้ว

และการประสูติพระโอรสของพระนางก็ง่าย คล้ายน้ำที่ไหลออกจากกระบอก

กรอง ขณะนั้นพรหมชั้นสุทธาวาสเหล่านั้น เข้าไปโดยเพศของพรหมตามปกติ

แล้วทรงรับพระโอรสด้วยข่ายทองก่อน. มนุษย์ทั้งหลายรับ ต่อจากพระหัตถ์ของ

พรหมเหล่านั้น ด้วยเทริด อย่างดี. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เทวดาทั้ง

หลายรับก่อน พวกมนุษย์รับทีหลัง.

บทว่า จตฺตาโร น เทวปุตฺตา หมายถึงท้าวมหาราชทั้ง ๔ บทว่า

ปฏิคฺคเหตฺวา ได้แก่ รับด้วยตาข่าย ที่ทำด้วยหนังเสือ. บทว่า มเหสกฺโข

แปลว่า มีเดชมาก คือมียศมาก อธิบายว่า สมบูรณ์ด้วยลักษณะ.

บทว่า วิสุทฺโธว นิกฺขมติ ความว่า ธรรมดาสัตว์เหล่าอื่น

มักจะติดอยู่ในช่องคลอดออกอย่างบอบช้ำ แต่พระมารดาพระโพธิสัตว์

ไม่เป็นอย่างนั้น. อธิบายว่า ประสูติง่ายไม่ติดอะไรเลย. บทว่า อุทิเทน

แปลว่า ด้วยน้ำ. บทว่า เกนจิ อสุจินา ความว่า ธรรมดาสัตว์เหล่าอื่น

จะมีลมกรรมชวาตพัดเอาเท้าขึ้นข้างบน เอาศีรษะลงข้างล่าง ผ่านช่องคลอด

เสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวง อุปมาเหมือนตกลงไปในเหวที่ลึกชั่วร้อยคน หรือ

เหมือนช้างที่เขาฉุดออกจากช่องลูกดาล แปดเปื้อนไปด้วยของไม่สะอาด นานับ

ประการ จึงจะออกได้ ฉันใด พระโพธิสัตว์ไม่เป็นเหมือนเช่นนั้น. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

ลมกรรมชวาตไม่สามารถจะทำพระโพธิสัตว์ให้มีพระบาทขึ้นข้างบนพระเศียรลง

ข้างล่างได้. พระองค์เหยียดพระหัตถ์ และพระบาททั้งสองออก แล้วเสด็จ

ประทับยืนอุปมาเหมือนพระธรรมกถึกก้าวลงจากธรรมาสน์ หรือเหมือนบุรุษ

ก้าวลงจากบันใดฉะนั้น ไม่แปดเปื้อนของไม่สะอาดบางประการที่เกิดในพระ

ครรภ์ของพระมารดาเลย แล้วประสูติ.

บทว่า อุทกสฺส ธารา แปลว่า สายน้ำ. ในธารน้ำเหล่านั้น ธาร

น้ำเย็นตกลงในหม้อทอง ธารน้ำอุ่นตกลงในหม้อเงิน. และท่านกล่าวความ

ข้อนี้ไว้ เพื่อจะแสดงว่า น้ำดื่ม น้ำใช้ของทั้งสองพระองค์ ไม่เจือปนด้วย

ของไม่สะอาดไร ๆ บนพื้นดิน และน้ำสำหรับเล่น ก็ไม่สาธารณ์ทั่วไปกับ

คนเหล่าอื่น. ก็น้ำอื่นที่จะพึงนำมาด้วยหม้อทอง หม้อเงินก็ดี น้ำที่อยู่ในสระ

โบกขรณีชื่อ หังสวัฏฏกะเป็นต้น ก็ดี ย่อมไม่มีกำหนด.

บทว่า สมฺปติชาโต แปลว่า ประสูติแล้วเพียงชั่วครู่. ก็ในพระบาลี

ท่านแสดงไว้ดุจว่า พระโพธิสัตว์ ทันทีที่ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา

ก็ประทับพระยุคลบาทอันเสมอลงบนแผ่นดิน แต่ไม่ควรเห็นอย่างนั้น ความ

จริง พอพระโพธิสัตว์เสด็จออก พรหมทั้งหลายก็เอาข่ายทองรับไว้ก่อน ท้าว

มหาราชทั้ง ๔ รับ ต่อจากพระหัตถ์ของท้าวมหาพรหมเหล่านั้น ด้วยตาข่ายที่

ทำด้วยหนังเสือ ซึ่งมีสัมผัสอันนุ่มสบายที่สมมติกันว่าเป็นมงคล มนุษย์ทั้งหลาย

จึงรับต่อจากพระหัตถ์ของท้าวมหาราชเหล่านั้น ด้วยเทริดอย่างดี พอพ้นจาก

มือมนุษย์ ก็ประทับยืนบนแผ่นดิน.

บทว่า เสตมฺหิ ฉตฺเต อนุหิรมาเน แปลว่า เมื่อเทพบุตรกั้นเศวต

ฉัตรอันเป็นทิพย์ แม้เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ มีพระขรรค์เป็นต้น อันเป็น

บริวารของฉัตรมาแล้ว ในที่นี้เหมือนกัน. แต่ในพระบาลีกล่าวถึงเพียงฉัตร

อย่างเดียว ดุจพระราชาที่เขากั้นฉัตรถวาย ในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

ในราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ เหล่านั้น ปรากฏแต่ฉัตรเท่านั้น ไม่ปรากฏคนถือ.

พระขรรค์ พัดใบตาล กำหางนกยุง พัดวาลวิชนี กรอบพระพักตร์ ก็ปรากฏ

เหมือนกัน. ไม่ปรากฏคนถือสิ่งเหล่านั้น. นัยว่าเทวดาทั้งหลายผู้ไม่ปรากฏคน

ถือเครื่องกกุธภัณฑ์เหล่านั้นไว้ครบทุกอย่าง. สมจริง ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เทวดาทั้งหลาย ถือฉัตร มีมณฑล

ตั้งพัน มีซี่ไม่น้อยอยู่กลางอากาศ จามร

ด้ามทองก็เคลื่อนผ่านไป แต่ผู้ถือจามร

และฉัตรไม่ปรากฏ.

บทว่า สพฺพา จ ทิสา ท่านกล่าวถึงการตรวจดูทิศทั้งปวง ดุจ

การแลดูทิศของบุรุษผู้ยืนเหนือพระมหาสัตว์ผู้กำลังย่างพระบาทไป ๗ ก้าว แต่

ข้อนี้ไม่ควรเห็นอย่างนั้น. แท้จริง พระมหาสัตว์พ้น จากมือของมนุษย์ทั้งหลาย

แล้ว ทรงแลดูทิศบูรพา. จักรวาลหลายพันได้ปรากฏเป็นเนินเดียวกัน.

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในจักรวาลเหล่านั้น พากันบูชาด้วยเครื่องสักการะมี

ของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วพูดว่า ข้าแต่พระมหาบุรุษ ในโลกนี้ไม่มี

แม้ผู้ที่จะเสมอกับพระองค์ได้ ที่ไหนจะมีผู้เหนือกว่าในรูปได้เล่า. พระมหา-

สัตว์ทรงตรวจดูทิศทั้ง ๑๐ คือ ทิศใหญ่ ๔ ทิศน้อย ๔ ทิศเบื้องล่าง ๑ ทิศ

เบื้องบน ๑ อย่างนี้ . มองไม่เห็นผู้เสมอด้วยพระองค์ ทรงกำหนดว่า นี้เป็น

ทิศอุดร แล้วเสด็จไปโดยย่างพระบาทไป ๗ ก้าว. ในเรื่องนี้ พึงเห็นความ

ดังพรรณนาอย่างนี้ . บทว่า อาสภึ แปลว่า สูงสุด. บทว่า อคฺโค แปลว่า

ประเสริฐที่สุด คือเจริญที่สุด ได้แก่เหนือคนทั้งหมด โดยคุณทั้งหลาย สอง

บทนอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า อคฺโค นั่นเอง. ท่านพยากร ์พระอรหัต

ที่จะพึงบรรลุในอัตภาพนี้ด้วยบททั้งสองว่า อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิ ทานิ

ปุนพฺภโว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

ก็ในอธิการนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ข้อที่พระองค์ประทับยืน

บนแผ่นดิน ด้วยพระบาทอันราบเรียบ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่ง

อิทธิบาท ๔ ข้อที่พระองค์ทรงหันพระพักตร์ไปทางทิศอุดร เป็นบุพนิมิต

แห่งการเสด็จไปอย่างผู้ยิ่งใหญ่เหนือมหาชน. ข้อที่พระองค์ทรงพระดำเนินไป.

ได้ ๗ ก้าว เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งรัตนะคือโพชฌงค์ ๗. ข้อที่

ทรงเศวตฉัตรอันเป็นทิพย์ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งฉัตรคือวิมุตติ

ราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ เป็นบุพนิมิตแห่งการหลุดพ้นด้วยวิมุตติ ๕ ประการ

ข้อที่ทรงมองดูทิศ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งอนาวรญาณ. ข้อที่

ทรงเปล่งอาสภิวาจาเป็นบุพนิมิตแห่งการประกาศธรรมจักรที่ใครๆ ให้หมุนกลับ

ไม่ได้. สีหนาทที่ทรงเปล่งว่า อยมนฺติมา ชาติ (ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย)

พึงทราบว่าเป็นบุพนิมิตแห่งปรินิพพาน ด้วยอันปาทิเสสนิพพานธาท . วาระ

ต่าง ๆ เหล่านี้. มาแล้วในพระบาลี. แต่สัมพหุลวาร ยังไม่มีมา จึงควรนำมา

แสดงเสียด้วย.

ก็ในวันที่พระมหาบุรุษประสูติ หมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว. เทวดา

ทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ ประชุมกันแล้ว ในจักรวาลหนึ่ง. เทวดาทั้งหลาย

รับก่อน พวกมนุษย์รับภายหลัง. พิณทั้งหลายที่ขึงด้วยเส้นด้าย และกลอง

ทั้งหลายที่เขาขึ้นด้วยหนึ่ง ไม่มีใคร ๆ ประโคมเลยก็ดังขึ้นเอง. เครื่องจองจำ

มีชื่อคา และโซ่ตรวนเป็นต้นของมนุษย์ทั้งหลายขาดออกเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่.

โรคทุกอย่างหายหมด ดุจสนิมสีแดงที่เขาขัดออกด้วยของเปรี้ยว. คนที่บอก

แต่กำเนิดก็เห็นรูปต่าง ๆ ได้. คนหนวกแต่กำเนิดก็ได้ยินเสียง. คนง่อยเปลี้ย

ก็กลับสมบูรณ์ด้วยกำลังวังชา. คนบ้าน้ำลาย แม้จะโง่มาแต่กำเนิด ก็กลับฟื้น

คืนสติ. เรือที่แล่นออกไปต่างประเทศ ก็ถึงท่าโดยสะดวก. รัตนะทั้งหลาย

ที่อยู่ในอากาศและบนภาคพื้นก็ได้ส่องแสงสว่างขึ้นเอง. ผู้ที่เป็นศัตรูกลับได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

เมตตาจิต. ไฟในอเวจีนรกก็ดับ. แสงสว่างเกิดขึ้นในโลกันตรนรก. น้ำใน

แม่น้ำทั้งหลายก็ไม่ไหล. ทั้งน้ำในมหาสมุทรได้กลายเป็นน้ำหวาน. มหาวาตภัย

ก็ไม่พัด นกที่บินไปในอากาศ และทีจับอยู่ตามต้นไม้ ภูเขา ก็ตกลงพื้นดิน.

พระจันทร์งามยิ่งนัก. พระอาทิตย์ก็ไม่ร้อน ไม่เย็นปราศจากมลทิน สมบูรณ์

ตามฤดูกาล. เทวดาทั้งหลายยืนอยู่ที่ประตูวิมานของตน ๆ พากัน เล่นมหากิฬา

เป็นต้นว่า ปรบมือ โห่ร้อง และโบกผ้า. มหาเมฆที่ตั้งขึ้นแต่ทิศทั้ง ๔

ยังฝนให้ตก. ความหิวและความกระหายไม่เบียดเบียนมหาชน. ประตูหน้าต่าง

ก็เปิดได้เอง. นี้ ไม้ที่จะมีดอกมีผลก็ได้ผลิดอกออกผลสะพรั่ง. ทั่วทั้งหมื่น-

โลกธาตุ ได้มีธงดอกไม้เป็นแนวเดียวกันหมด.

แม้ในข้อที่น่าอัศจรรย์นั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ความหวั่นไหว

แห่งหมื่นโลกธาตุเป็น. บุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งพระสัพพัญญุตญาณของ

พระมหาบุรุษ. ข้อที่เทวดาทั้งหลายมาประชุมกัน ในจักรวาลอันหนึ่ง เป็น

บุพนิมิตแห่งการร่วมประชุมรับพระสัทธรรมคราวเดียวกัน ในเวลาที่ทรง

ประกาศธรรมจักร. ข้อที่เทวดาทั้งหลายรับพระโพธิสัตว์ก่อน เป็นบุพนิมิต

แห่งการได้เฉพาะซึ่งรูปาวจรฌานทั้ง ๔. ข้อที่มนุษย์ทั้งหลายรับภายหลัง

เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งอรูปาวจรฌานทั้ง ๔. ข้อที่พิณซึ่งเขาขึงด้วย

เส้นด้าย ดังได้เอง เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งอนุปุพพวิหารธรรม.

ข้อที่กลองที่เขาขึ้นด้วยหนังดังเอง เป็นบุพนิมิตแห่งการพร่ำสอน ด้วย

ธรรมเภรีอันยิ่งใหญ่. ข้อที่เครื่องพันธนาการ มีชื่อคาและโซ่ตรวนเป็นต้น

ขาดออกจากกันเป็นบุพนิมิตแห่งการตัดอัสมิมานะได้เด็ดขาด. ข้อที่คนทั้งหลาย

หายจากโรคต่าง ๆ เป็นบุพนิมิตแห่งการปราศไปแห่งกิเลสทั้งปวง. ข้อที่

คนบอดแต่กำเนิด เห็นรูปได้ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งทิพยจักษุ.

ข้อที่คนหนวกแต่กำเนิดได้ยินเสียง เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เฉพาะซึ่งทิพย-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

โสตธาตุ. ข้อที่คนง่อยเปลี้ยสมบูรณ์ด้วยกำลัง เป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุซึ่ง

อิทธิบาททั้ง ๔. ข้อที่คนบ้าน้ำลาย กลับได้สติ เป็นบุพนิมิตแห่งการได้

เฉพาะซึ่งสติปัฏฐาน ๔. ข้อที่เรือทั้งหลายที่แล่นออกนอกประเทศถึงท่าโดย

สะดวก เป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุปฏิสัมภิทา ๔. ข้อที่รัตนะทั้งหลาย

ส่องสว่างได้เอง เป็นบุพนิมิตแห่งแสงสว่างของพระธรรม ที่พระองค์

ทรงแสดงแก่ชาวโลก. ข้อที่ศัตรูทั้งหลาย กลับได้เมตตาจิต เป็นบุพนิมิต

แห่งการได้เฉพาะซึ่งพรหมวิหาร ๔. ข้อที่ไฟในนรกอเวจีดับลง เป็นบุพนิมิต

แห่งการดับไฟ ๑๑ กองได้. ข้อที่โลกันตรนรก มีแสงสว่าง เป็นบุพนิมิต

แห่งการที่พระองค์ทรงกำจัดความมืดคืออวิชชา แล้วทรงเห็นแสงสว่างได้ด้วย

พระญาณ. ข้อที่น้ำของมหาสมุทรมีรสหวาน เป็นบุพนิมิตแห่งความที่

พระธรรมมีรสอย่างเดียวกัน. ข้อที่ไม่เกิดวาตภัย เป็นบุพนิมิตแห่งการที่

พุทธบริษัทไม่แตกแยกกันด้วยอำนาจทิฐิ ๖๒. ข้อที่นกทั้งหลายตกลงยัง

แผ่นดิน เป็นบุพนิมิตแห่งการที่มหาชนฟังคำสั่งสอนถึงสรณะด้วยชีวิต.

ข้อที่พระจันทร์งามยิ่งนัก เป็นบุพนิมิตแห่งการที่มหาชนสนใจพระธรรม.

ข้อที่พระอาทิตย์ไม่ร้อนไม่เย็น ให้ความสะดวกตามฤดู เป็นบุพนิมิตแห่งการที่

มหาชน ถึงความสุขกายสุขใจ. ข้อที่เทวดาทั้งหลาย เล่นกีฬามีการปรบมือ

เป็นต้นที่ประตูวิมาน เป็นบุพนิมิตแห่งการที่พระมหาสัตว์บรรลุถึงความเป็น

พระพุทธเจ้าแล้วทรงเปล่งอุทาน. ข้อที่มหาเมฆทั่ว ๔ ทิศ ยังฝนให้ตก เป็น

บุพนิมิตแห่งการที่สายน้ำคือพระธรรมตกลงเป็นอันมาก. ข้อที่มนุษย์ทั้งหลาย

ไม่ถูกความหิวเบียดเบียน เป็นบุพนิมิต แห่งการได้เฉพาะซึ่งอมตธรรมคือ

กายคตาสติ. ข้อที่มนุษย์ทั้งหลายไม่ถูกความกระหายเบียดเบียนเป็นบุพนิมิต

แห่งการที่พุทธบริษัทถึงความสุขแล้วด้วยวิมุตติสุข. ข้อที่ประตูหน้าต่างทั้งหลาย

เปิดได้เอง เป็นบุพนิมิตแห่งการเปิดประตูอัฏฐังคิกมรรค. ข้อที่ต้นไม้ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

ผลิดอกออกผล เป็นบุพนิมิตแห่งพระธรรมที่บานด้วยดอกคือวิมุตติ และ

เต็มแน่นด้วยสามัญญผล. ข้อที่หมื่นแห่งโลกธาตุมีธงเป็นระเบียบอย่างเดียวกัน

พึงทราบว่า เป็นบุพนิมิตแห่งการที่พุทธบริษัทมีธงของพระอริยเจ้าเป็นมาลัย.

นี้ ชื่อสัมพหุลวาร.

ในสัมพหุลวารนี้ มีตนเป็นอันมากถามเป็นปัญหาว่า ในเวลาที่มหา-

บุรุษเหยียบบนแผ่นดิน เสด็จพระดำเนินบ่ายหน้าไปทางทิศอุดร แล้วทรงเปล่ง

อาสภิวาจานั้น ทรงประทับยืนบนแผ่นดินหรืออยู่ในอากาศ ปรากฏพระองค์

หรือไม่ปรากฏ ไม่นุ่งผ้า หรือว่าประดับตกแต่งแล้วเป็นอย่างดี เป็นหนุ่ม

หรือแก่ แม้ภายหลังก็คงสภาพเช่นนั้น หรือเป็นเด็กอ่อน. ก็ครั้นต่อมา

ภายหลังพระจุลลาภัยเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก ได้วิสัชนาปัญหาข้อนี้ไว้แล้ว

ในที่ประชุม ณ โลหะปราสาท. ได้ยินว่าในข้อนี้พระเถระ กล่าวถึงเรื่องราว

ไว้เป็นอันมาก โดยเป็นนิยตวาทะ ปุพเพกตกัมมวาทะและอิสสรนิมมานวาทะ

ในชั้นสุดท้ายได้พยากรณ์ไว้อย่างนี้ว่า พระมหาบุรุษ ยืนบนแผ่นดิน แต่ได้

ปรากฏแก่มหาชน เหมือนเสด็จไปโดยอากาศ และเสด็จไปมีตนเห็น แต่ได้

ปรากฏแก่มหาชนเหมือนมองไม่เห็น. ไม่มีผ้านุ่งเสด็จไป แต่ปรากฏแก่มหาชน

เหมือนประดับตกแต่งไว้แล้วเป็นอย่างดี. ทั้งที่ยังเป็นเด็ก แต่ได้ปรากฏแก่

มหาชนเหมือนมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา. แต่ในภายหลัง คงเป็นเด็กอ่อน

ธรรมดา ไม่ได้เป็นเหมือนเช่นที่ปรากฏ. และเมื่อพระเถระกล่าวชี้แจงอย่างนี้แล้ว

บริษัททั้งหลายของท่านต่างพากันพอใจ โดยกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระเถระ

กล่าวแก้ปัญหาได้แจ่มแจ้งเหมือนพระพุทธเจ้าทีเดียว. โลกันตริกวาร มีนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นเอง. บทว่า วิทิตา แปลว่า ปรากฏแล้ว. แท้จริงพระสาวก

ทั้งหลายย่อมไม่สามารถจะหาช่องทางพิจารณาสังขารที่เป็นส่วนอดีต ในขณะที่

ไม่มีโอกาสเช่นเวลาอาบน้ำ ล้างหน้า เคี้ยว และดื่มเป็นต้นได้ จะพิจารณาได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

เฉพาะเมื่อมีโอกาสเท่านั้น ฉันใด พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เป็นเหมือนเช่นนั้น.

ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงพิจารณาสังขารที่ผ่านไปแล้วภายใน ๗ วัน ได้ตั้งแต่

ต้นทรงยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์แล้ว ย่อมทรงชี้แจงได้ ขึ้นชื่อว่า ธรรมที่ไม่

แจ่มแจ้งแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่มีเลย เพราะฉะนั้น ท่านจงกล่าวว่า

วิทิตา ทรงรู้แจ่มแจ้งแล้ว. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถา อัจฉริยัพภูตสูตร ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร

[๓๘๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง ท่านพระพักกุลเถระอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็นสถาน

ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่ออเจล-

กัสสปะ ผู้เป็นสหายของท่านพระพักกุละ ครั้งเป็นคฤหัสถ์ ในกาลก่อน เข้าไป

หาท่านพระพักกุละ ครั้นแล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระพักกุละ ครั้นผ่าน

คำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอ

นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระพักกุละดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระพักกุละ

ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว.

ท่านพระพักกุละตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอยู่ เราบวชมา ๘๐ พรรษา

แล้ว.

อเจล. ข้าแต่ท่านพระพักกุละ ชั่ว ๘๐ ปีนี้ ท่านเสพเมถุนธรรม

กี่ครั้ง.

[๓๘๑] พักกุละ ดูก่อนกัสสปะผู้มีอายุ ท่านไม่ควรถามเราอย่างนั้น

เลย แต่ควรจะถามเราอย่างนี้ว่า ก็ชั่ว ๘๐ ปีนี้ กามสัญญาเคยเกิดขึ้นแก่ท่าน

กี่ครั้ง ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา ไม่รู้สึกกาม

สัญญาเคยเกิดขึ้น.

อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกกามสัญญาเคยเกิดขึ้น ชั่วเวลา

๘๐ พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่า

อัศจรรย์ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

พักกุละ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา เรา

ไม่รู้สึกพยาบาทสัญญาเคยเกิดขึ้น.

อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกพยาบาทสัญญาเคยเกิดขึ้นชั่ว

เวลา ๘๐ พรรษานี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้

น่าอัศจรรย์ ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง.

พักกุละ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา เรา

ไม่รู้สึกวิหิงสาสัญญาเคยเกิดขึ้น.

อเจล. ข้อที่ท่านพักกุละ ไม่รู้สึกวิหิงสาสัญญาเคยเกิดขึ้นชั่วเวลา ๘๐

พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์

ของท่านพระพักกุละ. ประการหนึ่ง.

[๓๘๒] พักกุละ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา

เราไม่รู้สึกกามวิตกเคยเกิดขึ้น.

อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกกามวิตกเคยขึ้นชั่วเวลา ๘๐

พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์

ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง.

พักกุละ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา เรา

ไม่รู้สึกพยาบาทวิตก. . . วิหิงสาวิตกเคยเกิดเลย.

อเจล. ข้อทีท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกวิหญิงสาวิตกเคยเกิดขึ้นชั่วเวลา

๘๐ พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่า

อัศจรรย์ ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง.

[๓๘๓] พักกุละ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา

เราไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวร.

อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้สึกยินดีคหบดีจีวรชั่วเวลา ๘๐

พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์

ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

พักกุละ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา ไม่รู้

จักใช้ศาสตราตัดจีวร...ไม่รู้จักใช้เข็มเย็บจีวร...ไม่รู้จัก ใช้เครื่องย้อมจีวร...

ไม่รู้จักเย็บจีวรในสะดึง...ไม่รู้จักจัดทำจีวรของเพื่อนภิกษุร่วมประพฤติพรหม-

จรรย์ด้วยกัน ...ไม่รู้สึกยินดีกิจนิมนต์...ไม่รู้สึกเคยเกิดจิตเห็นปานนี้ว่า ขอ

ใคร ๆ พึงนิมนต์เราเถิด ... ไม่รู้จักนั่งในละแวกบ้าน...ไม่รู้จักฉันอาหารใน

ละแวกบ้าน...ไม่รู้จักถือเอานิมิตของมาตุคามโดยอนุพยัญชนะ ...ไม่รู้จัก

แสดงธรรมแก่มาตุคามแม้ที่สุดคาถา ๔ บาท ...ไม่รู้จักเข้าไปสู่สำนักของ

ภิกษุณี ...ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่ภิกษุณี...ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่สิกขมานา...

ไม่รู้จักแสดงธรรมแก่สามเณรี...ไม่รู้จักให้บรรพชา...ไม่รู้จักให้อุปสมบท...

ไม่รู้จักให้นิสสัย ...ไม่รู้จักใช้สามเณรอุปัฏฐาน...ไม่รู้จักอาบน้ำในเรือนไฟ

...ไม่รู้จักใช้จุณอาบน้ำ...ไม่รู้จักยินดีการนวดฟั้นตัวของเพื่อนภิกษุร่วมประ-

พฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน...ไม่รู้จักเคยเกิดอาพาธที่สุดแม้ชั่วขณะรีดนมโค

สำเร็จ... ไม่รู้จักฉันยาที่สุดแม้ชิ้นสมอ. . .ไม่รู้จักอิงพนัก. ..ไม่รู้จักสำเร็จการ

นอน.

อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้จักสำเร็จการนอนชั่วเวลา ๘๐

พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่าเป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้น่าอัศจรรย์

ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง.

ว่าด้วยความอัศจรรย์

[๓๘๔] ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อเราบวชมาตลอด ๘๐ พรรษา ไม่รู้

จักจำพรรษาในเสนาสนะในละแวกบ้าน.

อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ไม่รู้จักจำพรรษาในเสนาสนะในละแวก

บ้าน ชั่วเวลา ๘๐ พรรษา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็น

ไปได้ น่าอัศจรรย์ ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

พักกุละ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราได้เป็นผู้ยังมีกิเลสต้องรณรงค์ฉัน

บิณฑบาต ของชาวแว่นแคว้น เพียง ๗ วัน เท่านั้น ต่อวันที่ ๘ พระอรหัตผล

จึงเกิดขึ้น.

อเจล. ข้อที่ท่านพระพักกุละ ได้เป็นผู้ยังมีกิเลสต้องรณรงค์ฉัน

บิณฑบาต ของชาวแว่นแคว้นเพียง ๗ วันเท่านั้น ต่อวันที่ ๘ จึงเกิดพระอรหัต

ผลขึ้น นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์

ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง.

[๓๘๕] อเจล. ข้าแต่ท่านพระพักกุละ ขอข้าพเจ้าพึงได้บรรพชา

ได้อุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้เถิด.

ปริพาชกชื่ออเจลกัสสปะ ได้บรรพชา ได้อุปสมบทในพระธรรมวินัย

นี้แล้วแล ก็แหละท่านพระกัสสปะอุปสมบทแล้วไม่นาน เป็นผู้ผู้เดียวหลีกออก

ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งคนไปในธรรมอยู่ ไม่ช้าเท่าไร ก็ได้เข้าถึง

ประโยชน์ที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ

อันไม่มีประโยชน์อื่นยิ่งกว่า เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่ง

ด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่ ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่

จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แล

ท่านพระกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งแล้ว.

[๓๘๖] ครั้นสมัยต่อมา ท่านพระพักกุละ ถือลูกดาลเข้าไปยังวิหาร

ทุก ๆ หลัง แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด ๆ วันนี้จักเป็น

วันปรินิพพานของเรา.

ท่านพระกัสสปะกล่าวว่า ข้อที่ท่านพระพักกุละ ถือลูกดาลเข้าไปยัง

วิหารทุก ๆ หลัง แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า นิมนต์ท่านผู้มีอายุออกมาเถิด ๆ วันนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

จักเป็นวันปรินิพพานของเรา นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่า

เป็นไปได้ น่าอัศจรรย์ ของท่านพระพักกุละ ประการหนึ่ง.

ว่าด้วยที่สุดความอัศจรรย์

[๓๘๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระพักกุละ นั่งปรินิพพานแล้วในท่าม

กลางภิกษุสงฆ์.

ท่านพระกัสสปะกล่าวว่า ข้อที่ท่านพระพักกุละนั่งปรินิพพานแล้วใน

ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ นี้ พวกข้าพเจ้าจะทรงจำไว้ว่า เป็นธรรมไม่น่าเป็นไปได้

น่าอัศจรรย์ ของท่านพระพักกุละ อีกประการหนึ่ง.

จบ พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

อรรถกถาพักกุลสูตร

พักกุลสูตร* มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พกฺกุโล มีอธิบายว่า เปรียบเหมือน

เมื่อควรจะกล่าวคำเป็นต้นว่า ทฺวาวีสติ ทวตฺตึส คนทั้งหลายกลับกล่าวว่า

พาวีสติ พตฺตึส ดังนี้เป็นต้น ฉันใด บทนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ

เมื่อควรจะกล่าวว่า ทฺวิกฺกุโล หรือ ทวกฺกุโล กลับกล่าวว่า พกฺกุโล.

ก็พระเถระนั้น ได้มีตระกูลถึงสองตระกูล.

เล่ากันว่า ท่านจุติจากเทวโลก เกิดขึ้นตระกูลมหาเศรษฐี ชื่อนคร

โกสัมพี. ในวันที่ ๕ พวกพี่เลี้ยงพาท่านไปดำเกล้า แล้วลงเล่นในแม่น้ำคงคา

เมื่อพวกพี่เลี้ยงกำลังให้ทารกเล่นคำผุด ดำว่ายอยู่ ปลาตัวหนึ่งเห็นทารก

สำคัญว่าเป็นอาหาร จึงคาบเด็กไป. พวกพี่เลี้ยง ต่างก็ทิ้งเด็กหนีไป ปลา

กลืนเด็กแล้ว ธรรมดาสัตว์มีบุญไม่เดือดร้อนเลย. เขาได้เป็นเหมือนเข้าไปสู่

ห้องนอนแล้วนอนหลับไป. ด้วยเดชแห่งทารก ปลามีสภาพเหมือนกลืนกระ-

เบื้องที่ร้อนลงไป ถูกความร้อนแผดเผาอยู่ มีกำลังว่ายไปได้เพียง ๓๐ โยชน์

แล้วเข้าไปคิดข่ายของชาวประมง ชาวเมืองพาราณสี ก็ธรรมดาปลาใหญ่ที่

ติดข่าย เมื่อถูกนำไป ถึงจะตาย แต่ด้วยเดชแห่งทารก ปลาตัวนี้ พอเขา

นำออกจากข่ายก็ตายทันที. และธรรมดาชาวประมง ได้ปลาตัวใหญ่ ๆ แล้ว

ย่อมผ่าออกแบ่งขาย. แต่ด้วยอานุภาพของเด็ก ชาวประมงยังไม่ผ่าปลานั้น

ใช้คานหามไปทั้งตัว ร้องประกาศไปทั่วเมืองว่า จะขายราคาหนึ่งพัน ใคร ๆ

ก็ไม่ชื้อ.

๑. พระสูตรเป็น พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

ก็ในเมืองนั้นมีตระกูลเศรษฐี มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ไม่มีบุตรอยู่ตระกูลหนึ่ง

ครั้นถึงประตูเรือนเศรษฐีนั้น พอเขาถามว่า จะขายเท่าไร. กลับตอบว่า

ขายหนึ่งกหาปณะ. เขาให้เงินหนึ่งกหาปณะแล้วซื้อไว้. แม้ภริยาท่านเศรษฐี

ในวันอื่น ๆ จะไม่ชอบทำปลา แต่ในวันนั้น วางปลาไว้บนเขียง แล้วลงมือ

ผ่าเองทีเดียว. ก็ธรรมดาปลาต้องผ่าที่ท้อง. แต่นางผ่าข้างหลัง เห็นทารก

ผิวดังทองในท้องปลา ตะโกนลั่นว่า เราได้บุตรในท้องปลาแล้ว อุ้มเด็ก

ตรงไปยังสำนักของสามี ท่านเศรษฐีให้คนตีกลองประกาศข่าวไปทั่วในทันที

ทันใดนั้นเอง แล้วอุ้มทารกตรงไปยังราชสำนัก กราบทูลว่า ขอเดชะ

ข้าพระพุทธเจ้าได้ทารกในท้องปลา ข้าพระพุทธเจ้า จะทำประการใด. พระราชา

ตรัสว่า ทารกที่อยู่ในท้องปลาได้โดยปลอดภัยได้นี้มีบุญ ท่านจงเลี้ยงไว้เถิด.

ตระกูลนอกนี้ ได้ฟังข่าวว่า ในพระนครพาราณสี ตระกูลเศรษฐีตระกูลหนึ่ง

ได้ทารกในท้องปลา. พวกเขาจึงพากันไปในเนืองนั้น ขณะนั้นมารดาของเด็ก

เห็นเขากำลังแต่งตัวเด็ก แล้วให้เล่นอยู่ จึงตรงเข้าอุ้มด้วยคิดว่า เด็กคนนี้

น่ารักจริงหนอ แล้วบอกเล่าความเป็นไปต่าง ๆ

หญิงนอกนี้พูดว่า เด็กคนนี้เป็นลูกเรา.

หญิงนั้น ถามว่า ท่านได้มาจากไหน.

หญิงนอกนี้พูดว่า เราได้ในท้องปลา.

หญิงนั้นจึงพูดว่า เด็กคนนี้ไม่ใช่ลูกของท่าน เป็นลูกของเรา.

หญิงนอกนี้ ถามว่า ท่านได้ที่ไหน.

หญิงนั้น เล่าว่า เราอุ้มท้องเด็กคนนี้มาถึง ๑๐ เดือน คราวนั้นปลา

ได้กินเด็กที่พวกพี่เลี้ยงกำลังให้เล่นน้ำ.

หญิงนอกนี้ จึงแจ้งว่า ลูกของท่านชะรอยปลาอื่นจะกลืนไป แต่เด็ก

คนนี้ข้าพเจ้าได้ในต้องปลา. ทั้งสองฝ่ายจึงพากันไปยังราชสำนัก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

พระราชาตรัสว่า หญิงคนนี้ใคร ๆ ไม่สามารถจะปฏิเสธได้ว่าไม่ใช่

มารดา เพราะตั้งท้องมาถึง ๑๐ เดือน แม้พวกชาวประมงที่จับปลาได้ ก็ได้

ทำการชื้อขายเป็นต้น เสร็จสิ้นไปแล้ว จึงหมดสิทธิ เพราะฉะนั้น แม้หญิง

คนนี้ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไม่ใช่มารดา เพราะได้เด็กในท้องปลา ขอทั้งสองฝ่าย

จงเลี้ยงดูเด็กร่วมกันเถิด. แม้ทั้งสองตระกูล ก็เลี้ยงดูเด็กร่วมกันแล้ว เมื่อเด็ก

เจริญวัยแล้ว ตระกูลทั้งสองก็ได้ให้เขาสร้างปราสาท ไว้ในพระนครทั้งสอง

แล้ว ให้บำรุงบำเรอด้วยพวกหญิงฟ้อนรำ. เขาจะอยู่นครละ ๔ เดือน เมื่อเขา

อยู่ในนครหนึ่งครบ ๔ เดือนแล้ว ทั้งสองตระกูลให้ช่างสร้างมณฑปไว้ในเรือ

ที่ต่อขนานกัน แล้วให้เขาอยู่ในเรือนั้น พร้อมด้วยหญิงฟ้อนรำทั้งหลาย

เขาเสวยสมบัติเพลิน เดินทางไปอีกเมืองหนึ่ง. หญิงฟ้อนรำชาวพระนคร

ได้ไปส่งเขาถึงครึ่งทาง. หญิงเหล่านั้นต้อนรับห้อมล้อมแล้วนำเขาไปยังปราสาท

ของตน. หญิงฟ้อนรำชุดเก่าก็พากันกลับเมืองของตนเหมือนกัน เขาอยู่ใน

ปราสาทนั้นตลอด ๔ เดือน แล้วเดินทางกลับไปยังอีกเมืองหนึ่ง โดยทำนอง

นั้นแล. เขาเสวยสมบัติอยู่อย่างนี้ครบ ๙๐ ปีบริบูรณ์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จจาริกไปถึงพระนครพาราณสีแล้ว. เขาฟังธรรมในสำนักของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า เกิดศรัทธา บวชแล้ว ได้เป็นปุถุชนอยู่เพียง ๗ วัน เท่านั้น

ครั้นในวันที่ ๘ เขาได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ตระกูล

ทั้งสองเนื่องกับท่านอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้ชื่อว่า พักกุละ

บทว่า ปุราณคิหิสหาโย แปลว่า เคยเป็นสหายกันมา ในเวลา

ที่เป็นคฤหัสถ์. แม้ปริพาชกชื่อ อเจลกกัสสปะนี้ก็มีอายุยืนเหมือนกัน เมื่อจะ

ไปเยี่ยมพระเถระผู้บวชแล้ว ได้ไปในปีที่ ๙๐. บทว่า เมถุโน ธมฺโม

ความว่า คนโง่ผู้อยู่ในพวกสมณะเปลือย ถามไปอย่างโง่ ๆ ไม่ได้ถามโดยใช้

ถ้อยคำอิงศาสนโวหาร. เขาตั้งอยู่ในนัยที่พระเถระให้แล้วในบัดนี้ จึงถามด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

คำเป็นต้นว่า อิเมหิ ปน เต ดังนี้. พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย

กำหนดบททั้งหลายมีอาทิว่า ยมฺปายสฺมา ดังนี้ ตั้งไว้แล้ว ในสัพพวาร

ทั้งหลาย ก็ในสัพพวารเหล่านั้น สัญญาพอเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น วิตกก็จะทำลาย

กรรมบถ เพราะฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จะแยกจากกันทำไม

ทั้งสองอย่างนี้ ล้วนทำกรรมบถให้แตกทั้งนั้น.

บทว่า คหปติจีวร ได้แก่ จีวรของภิกษุผู้อยู่จำพรรษา. บทว่า

สตฺเถน ได้แก่ กรรไกร. บทว่า สูจิยา มีอธิบายว่า เราไม่ระลึกถึงข้อที่

จีวรจะต้องเย็บด้วยเข็ม. บทว่า กิเน จีวร ได้แก่ กฐินจีวร. ก็กฐินจีวร

มีคติอย่างเดียวกับผ้าจำนำพรรษาเท่านั้น เพราะฉะนั้น ในกฐินจีวรนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า สินฺเนตา ฯ เป ฯ นาภิชานามิ ดังนี้.

ถามว่า ก็เมื่อท่านพักกุลเถระนั้น ไม่ยินดีคหบดีจีวร ไม่กระทำ

นวกรรม มีการตัดและการเย็บเป็นต้น ตลอดเวลามีประมาณเท่านี้ จีวรจะเกิด

แต่ที่ไหน.

ตอบว่า เกิดจากพระนครทั้งสอง พระเถระมียศใหญ่ยิ่ง. บุตรธิดา

หลานเหลนของท่านให้คนทำจีวรด้วยผ้าสาฎกเนื้อละเอียดอ่อน ให้ย้อมแล้ว

ใส่ในผอบส่งไปถวาย. ในเวลาที่พระเถระอาบน้ำ เขาจะวางไว้ที่ประตู ห้องน้ำ

พระเถระนุ่งและห่มจีวรเหล่านั้น. ท่านจะให้จีวรเก่า แก่บรรพชิดทั้งหลาย

ที่ท่านพบ. พระเถระนุ่งห่มจีวรเหล่านั้นแล้ว ไม่ต้องกระทำนวกรรม. กิจกรรม

ที่จะต้องรวบรวมอะไร ๆ ก็ไม่มี. ท่านจะนั่งเข้าผลสมาบัติ เมื่อครบสี่เดือน

ไปแล้ว ขนก็หลุดลุ่ย คราวนั้น ลูก ๆ หลาน ๆ ก็จะส่งจีวรไปถวายท่าน

โดยทำนองนั้นแหละ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ท่านผลัดเปลี่ยนจีวรทุก ๆ

ครึ่งเดือน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

ก็ข้อที่พระเถระผู้มีบุญมาก มีอภิญญามาก บำเพ็ญบารมีมาถึงแสนกัป

ผลัดเปลี่ยนจีวรทุก ๆ กึ่งเดือนนั้น เป็นของไม่น่าอัศจรรย์เลย พระนิโครธ

เถระผู้อยู่ประจำราชสำนัก ของพระเจ้าอโศกธรรมราช ยังเปลี่ยนจีวรถึงวันละ

๓ ครั้ง. ก็เจ้าพนักงานจะวางไตรจีวรของท่านไว้บนคอช้าง นำมาถวายแต่เช้า

ครู่ พร้อมกับผอบใส่ของหอม ๕๐๐ ผอบใส่ดอกไม้ ๕๐๐ ถึงในเวลากลางวัน

และเวลาเย็น ก็ปฏิบัติเช่นนั้น. ได้ยินว่า พระราชาเมื่อให้ท่านเปลี่ยนผ้าวัน

ละ ๓ ครั้ง จะตรัสถามว่า พวกท่านนำจีวรไปถวายพระเถระแล้วหรือ. พอ

ทรงสดับว่า นำไปถวายแล้ว พระเจ้าเข้า จึงจะให้เปลี่ยน. แม้พระเถระก็ไม่

ผูกรวมเป็นห่อเก็บไว้. แต่ได้ถวายแก่เพื่อนพรหมจรรย์ที่ท่านพบแล้ว.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้น ภิกษุสงฆ์ในชมพูทวีปทั้งสิ้น โดยมากได้ใช้

ปัจจัยคือจีวรอันเป็นของพระนิโครธเถระทั้งนั้น. ในบทว่า อโห วต ม โกจิ

นิมนฺเตยฺย นี้ มีคำถามว่า เหตุไร การไม่ให้จิตบังเกิดขึ้น จึงเป็นของหนัก

และที่เกิดขึ้นแล้วก็ต้องละ.

ตอบว่า ขึ้นชื่อว่า จิต เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เพราะฉะนั้น การไม่

ให้จิตเกิดขึ้น จึงเป็นของหนัก แม้ถึงการละจิตที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นของหนัก

เช่นเดียวกัน . บทว่า อนฺตรฆเร ความว่า ในมหาสกุลุทายิสูตร ตั้งแต่ธรณี

ประตูไป เรียกว่า เรือน แต่ในที่นี้ ประสงค์เอาตั้งแต่ที่ตั้งแห่งน้ำตกจากชายคา.

ถามว่า ก็ภิกษาจะเกิดแก่ท่านได้แต่ที่ไหน.

ตอบว่า พระ เถระคนรู้จักกันทั่วสองพระนคร พอท่านมาถึงประตู

เรือนเท่านั้น คนจะพากันมารับบาตร ใส่โภชนะอันมีรสเลิศต่าง ๆ ถวาย.

ท่านจะกลับแต่ที่ซึ่งท่านได้รับอาหารแล้ว. แต่ที่สำหรับทำภัตภิจของท่าน

ได้มีประจำที่เดียว. บทว่า อนุพฺยญฺชนโส ความว่า ได้ยินว่า พระเถระ

ถือเอานิมิตในรูปแล้ว ไม่เคยมองดูมาตุคามเลย. บทว่า มาตุคามสฺส ธมฺม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

ความว่า จะแสดงธรรมแก่มาตุคามด้วยวาจาเพียง ๕-๖ ค่ำ ก็ควร แต่ถ้าถูก

ถามปัญหา จะกล่าวคาถาแม้ตั้งพัน ก็สมควรโดยแท้. ก็พระเถระไม่เคยทำสิ่ง

ที่เป็นกับปิยะให้เป็นอกัปปิยะเลย. แท้จริงการทำเช่นนั้น โดยมากจะมีแก่ภิกษุ

ผู้เข้าตระกูล. บทว่า ภิกฺขุนูปสฺสย แปลว่า สำนักของภิกษุณี. ก็ผู้ที่จะ

เยี่ยมไข้จะไปสำนักของภิกษุณีนั้น ก็ควร. ก็พระเถระไม่กระทำเฉพาะสิ่งที่เป็น

กัปปิยะ. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า จุณฺเณน ได้แก่ จุณแห่งดอกคำฝอย

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริกมฺเม ได้แก่ กระทำการนวดตัว.

บทว่า วิจาริตา แปลว่า ให้ประกอบแล้ว. บทว่า คทฺทูหนมตฺต ความว่า

แม้ชั่วขณะจับนมโค แล้วรีดเอาน้ำนมเพียงหยดเดียว.

ก็พระเถระไม่เคยอาพาธด้วยเหตุไร ๆ เลย. ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ. มีภิกษุหนึ่งแสนเป็นบริวาร เสด็จ

เที่ยวจาริกไป ต้นไม้ที่มีพิษในป่าหิมพานต์บานแล้ว . แม้ภิกษุทั้งแสนก็ป่วย

เป็นโรคเนื่องด้วยดอกหญ้าเป็นพิษ. ในสมัยนั้น พระเถระเป็นดาบสผู้มีฤทธิ์ .

ท่านเหาะไปเห็นภิกษุสงฆ์ จึงลงมาถามถึงโรคที่เป็น แล้วนำโอสถมาจากป่า

หิมพานต์จัดถวาย. พอกระทบยาเท่านั้น โรคก็สงบทันที. แม้ในศาสนาของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ท่านหยุดไถนาในวันแรกนา ให้

สร้างโรงครัว และเวจกุฏิ จัดยาถวายภิกษุสงฆ์เป็นประจำ ด้วยกรรมนี้ท่าน

จึงเป็นผู้ปราศจากอาพาธ. และเพราะท่านถือการนั่งเป็นวัตรอย่างอุกฤษฏ์ และ

การอยู่ป่าเป็นวัตรอย่างอุกฤษฏ์ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า นาภิชานามิ

อปสฺสยิตา.

บทว่า สรโณ แปลว่า ยังมีกิเลส. บทว่า อญฺา อุทปาทิ ความ

ว่า ไม่ควรพยากรณ์พระอรหัต แก่อนุปสัมบัน.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงได้พยากรณ์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

ตอบว่า พระเถระมิได้กล่าวว่า เราเป็นพระอรหัต แต่กล่าวว่า

พระอรหัตผล เกิดขึ้นแล้ว. อีกประการหนึ่ง ปรากฏว่า พระเถระได้เป็น

พระอรหัตแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า ปพฺพชฺช ความ

ว่า พระเถระไม่ได้ให้ปริพาชกชื่ออเจลกัสสปะ. บรรพชาและอุปสมบทด้วย

ตนเอง แต่ให้ภิกษุเหล่าอื่นบวชให้. บทว่า อปาปุรณ อาทาย แปลว่า ถือ

ลูกดาล บทว่า นิสินฺนโกว ปรินิพฺยายิ ความว่า พระเถระดำริว่า แม้เรา

มีชีวิตอยู่อย่าได้เป็นภาระแก่ภิกษุเหล่าอื่น สรีระของเราแม้ปรินิพานแล้ว อย่า

ให้ภิกษุสงฆ์ต้องเป็นกังวลเลย จึงเข้าเตโชธาตุปรินิพานแล้วเปลวไฟลุกขึ้นท่วม

สรีระ. ผิวหนัง เนื้อและโลหิตถูกเผาไหม้สิ้นไป เหมือนเนยใส. ยังคงเหลือ

อยู่แต่ธาตุ ที่มีลักษณะดังดอกมะลิตูม. คำที่เหลือในบททั้งปวง ชัดแล้วทั้งนั้น

ก็แลพระสูตรนี้ ท่านสงเคราะห์เข้าในทุติยสังคหวาร.

จบอรรถกถาพักกุลสูตรที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

๕. ทันตภูมิสูตร

[๓๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่พระหารเวฬุวัน อันเคย

เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์ สมัยนั้นแล สมณุท-

เทสอจิรวตะอยู่ในกระท่อมในป่า ครั้งนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงพระ

ดำเนินทอดพระชงฆ์เที่ยวเล่นไปโดยลำดับ เข้าไปหาสมณุทเทสอจิรวตะ ครั้น-

แล้วได้ตรัสทักทายปราศรัยกับสมณุทเทสอจิรวตะ. ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัย

พอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว ได้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๓๘๙] พระราชกุมารชยเสนะ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้รับ

สั่งกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้

สดับมาดังนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่ง

ไปแล้วพึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้.

สมณุทเทสอจิรวตะถวายพระพรว่า ดูก่อนพระราชกุมาร ข้อนั้นถูก

ต้องแล้ว ๆ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไป

แล้ว พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้.

ร. ดีแล้ว ขอท่าอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตาม

ที่ได้ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด.

[๓๙๐] อ. ดูก่อนพระราชกุมาร อาตมภาพไม่อาจจะแสดงธรรม

ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์ได้ เพราะถ้าอาตมาภาพพึงแสดง

ธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์ และพระองค์ไม่ทรงทราบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

อรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพได้ ข้อนั้นจะเป็นความยาก จะเป็นความลำบาก

ของอาตมภาพ.

ร. ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้

ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด บางทีข้าพเจ้าจะพึงทราบอรรถแห่งภาษิตของท่าน

อัคคิเวสสนะได้.

อ. ดูก่อนพระราชกุมาร อาตมภาพจะพึงแสดงธรรมตามที่ได้สดับ

ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์ ถ้าพระองค์ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของ

อาตมภาพได้นั้นเป็นความดี ถ้าไม้ทรงทราบ ขอพระองค์พึงดำรงอยู่ในภาวะ

ของพระองค์ตามที่ควรเถิด อย่าได้ซักถามอาตมภาพในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไปเลย.

ร. ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้

ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด ถ้าข้าพเจ้าทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะ

ได้ นั้นเป็นความดี ถ้าไม่ทราบ ข้าพเจ้าจักดำรงอยู่ในภาวะของตนตามที่ควร

ข้าพเจ้าจักไม่ซักถามท่านอัคคิเวสสนะในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไป.

ว่าด้วยการเข้าไปเฝ้าพระผู้มีประภาคเจ้า

[๓๙๑] ลำดับนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับ

ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระราชกุมารชยเสนะ เมื่อสมณุทเทสอจิรวตะกล่าวแล้ว

อย่างนั้น พระราชกุมารชยเสนะได้ตรัสกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า ข้าแต่

ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้อที่ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว

พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ต่อนั้น พระราชกุมาร-

ชยเสนะ ทรงประกาศความไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสแต่สมณุทเทสอจิรวตะแล้ว

ทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

ครั้งนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะ เมื่อพระราชกุมารชยเสนะเสด็จหลีก

ไปแล้วไม่นาน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มี

พระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล

เรื่องราวเท่าที่ได้สนทนากับพระราชกุมารชยเสนะทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า.

[๓๙๒] เมื่อสมณุทเทสอจิรวตะกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าได้ตรัสกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ พระราช-

กุมารจะพึงได้ความข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้

เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกัน ได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะ

ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกาม

เผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรง

ทำให้แจ้งความข้อนั้นได้ นั้นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

[๓๙๓] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่

ควรฝึกหรือโคที่ควรฝึก คู่หนึ่งที่เขาฝึกดี หัดดีแล้ว อีกคู่หนึ่งเขาไม่ได้ฝึก

ไม่ได้หัดเลย ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ช้างที่

ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขาฝึกดี หัดดีแล้วนั้น อัน

เขาฝึกแล้ว จึงเลียนเหตุการณ์ที่ฝึกแล้ว สำเร็จภูมิที่ฝึกแล้วได้ ใช่ไหม.

อ. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ส่วนช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขา

ไม่ได้ฝึกไม่ได้หัดแล้วนั้น อันเขาไม่ได้ฝึกเลย จะเลียนเหตุการณ์ที่ฝึกแล้ว

สำเร็จภูมิที่ฝึกแล้ว เหมือนอย่างคู่ที่ฝึกดี หัดดีแล้วนั้น ได้ไหม.

อ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

พ. ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้

เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกัน ได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะ

ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะ

กามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจัก

ทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้ นั้นไม่ใช่ฐานะที่มิได้.

ว่าด้วยอุปมาภูเขาใหญ่

[๓๙๔] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนภูเขาใหญ่ไม่ห่างไกลบ้าน

หรือนิคม สหาย ๒ คนออกจากบ้านหรือนิคมนั้นไปยังภูเขาลูกนั้นแล้ว จูงมือ

กันเข้าไปยังที่ตั้งภูเขา ครั้น แล้วสหายคนหนึ่ง ยืนที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง อีกคน

หนึ่งขึ้นไปข้างบนภูเขา สหายที่ยืนตรงเชิงภูเขาข้างล่าง เอ่ยถามสหายผู้ยืนบน

ภูเขานั้น อย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อนเท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขานั้น เพื่อนเห็นอะไร สหาย

คนนั้นตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค

และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ สหายข้างล่างกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน ข้อที่

เพื่อนยืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์

นั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย สหายที่ยืนบนภูเขา จึงลงมายังเชิงเขาข้างล่าง

แล้วจูงแขนสหายคนนั้นให้ในรูปบนภูเขาลูกนั้น ให้สบายใจครู่หนึ่งแล้ว เอ่ย

ถามสหายนั้นว่า แน่ะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้วเพื่อนเห็นอะไร สหาย

คนนั้น ตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย เรายืนบนภูเขาแล้วแลเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค

และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ สหายคนขึ้นไปก่อนกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน

เราเพิ่งรู้คำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย ข้อที่เพื่อนยืนบนภูเขา แล้วเห็น

สวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ นั่นไม่ใช่ฐานะ. ไม่ใช่

โอกาสเลย เดี๋ยวนี้เอง และสหายคนขึ้นไปที่หลังก็พูดว่า เราก็เพิ่งรู้คำที่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

กล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค

และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรนย์ เดี๋ยวนี้เหมือนกัน สหายคนขึ้นไปก่อนจึงพูด

อย่างนี้ว่า สหายเอ๋ย ความเป็นจริง เราถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้ จึงไม่แลเห็น

สิ่งที่ควรเห็น นี้ ฉันใด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล พระราช

กุมารชยเสนะ ถูกกองอวิชชาใหญ่ยีงกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ บังไว้ ปิดไว้ คลุม

ไว้แล้ว พระราชกุมารชยเสนะนั้นแลยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูก

กามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม

จักทรงรู้ หรือทรงเห็น หรือทรงทำให้แจ้งซึ่งความข้อที่เขารู้ เขาเห็น เขา

บรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ นั้น ไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ดูก่อนอัคคิ-

เวสสนะ ถ้าอุปมา ๒ ข้อนี้ จะพึงทำเธอให้แจ่มแจ้งเพื่อพระราชกุมารชยเสนะได้

พระราชกุมารชยเสนะจะพึงเลื่อมใสเธอ และเลื่อมใสแล้ว จะพึงทำอาการของ

บุคคลผู้เลื่อมใสต่อเธออย่างไม่น่าอัศจรรย์.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อุปมา ๒ ข้อนี้ จักแจ่มแจ้ง กะข้าพระองค์

ต่อพระกุมารชยเสนะได้แต่ที่ไหน เพราะอุปมาอันไม่น่าอัศจรรย์ ข้าพระองค์

ไม่เคยได้สดับมาในก่อน เหมือนที่ได้สดับ ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเลย.

ว่าด้วยอุปมาด้วยช้าง

[๓๙๕] พ. ดูก่อนอัคคิเวสสนะเปรียบเหมือนพระราชามหากษัตริย์

ผู้ทรงได้มูรธาภิเษกแล้ว ตรัสเรียกพรานนาควนิกมารับสั่งว่า มานี่แน่ะพ่อ

พรานเพื่อนยาก ท่านจงขี่ช้างหลวงเข้าไปยังป่าช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จงคล้อง

มันไว้ ให้มั่นคงที่คอช้างหลวงเถิด พรานนาควนิกรับสนองพระราชโองการ

แล้ว จึงขึ้นช้างหลวงเข้าไปยังป่าช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จึงคล้องไว้มั่นคงที่คอ

ช้างหลวง ช้างหลวงจึงนำช้างป่านั้น ออกมาสู่ที่กลางแจ้งได้ ดูก่อนอัคคิเวสสนะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

เพียงเท่านี้แล ช้างป่าจึงมาอยู่กลางแจ้ง ธรรมดาช้างป่าทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือ

ป่าช้างอยู่ พรานจึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระราชามหากษัตริย์ว่า ขอเดชะ ช้างป่า

ของพระองค์มาอยู่ที่กลางแจ้งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า พระราชามหากษัตริย์จึง

ตรัสเรียกควาญผู้ฝึกช้างมารับสั่งว่า มานี่แน่ะ ควาญช้างเพื่อนยาก ท่านจงฝึก

ช้างป่า จงไปแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไข

ความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อ

ให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปกติที่มนุษย์ต้องการเถิด

ควาญช้างรับสนองพระราชโองการแล้ว จึงฝังเสาตะลุงใหญ่ในแผ่นดิน ล่ามคอ

ช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า

แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า

เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปกติที่มนุษย์ต้องการ

ควาญช้างย่อมร้องเรียกช้างป่าเชือกนั้นด้วยวาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้

รักใคร่ จับ ใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนาและชอบใจเห็น

ปานนั้น ในเมื่อช้างป่าอันควาญช้างร้องเรียกอยู่ด้วยวาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะ

หู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมากปรารถนา

และชอบใจเห็นปานนั้นแล้ว จึงสำเหนียกด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ดังจิตรับรู้

ควาญช้างจึงเพิ่มอาหาร คือ หญ้าและน้ำให้ช้างนั้นยิ่งขึ้น ในเมื่อช้างป่ารับรู้

อาหาร คือ หญ้าและน้ำของควาญช้าง ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า คราวนี้

ช้างป่าจักเป็นอยู่ได้ละ จึงให้ช้างนั้น ทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่า รับพ่อ ทิ้งพ่อใน

เมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการ

รับและการทิ้ง ควาญช้างจึงให้ช้างนั้น ทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่า รุกพ่อ ถอยพ่อ

ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างให้

การรุกและการถอย ควาญช้างจึงให้ช้างนั้น ทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่ายืนพ่อ เทาพ่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างใน

การยืนและการเทา ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการณ์ชื่ออาเนญชะยิ่งขึ้น คือ ผูก

โล่ใหญ่เข้าที่งวงช้างนั้น จัดบุรุษถือหอกซัด นั่งบนคอ จัดบุรุษถือหอกซัด

หลายคนยืนล้อมรอบ และควาญช้างถือของ้าวยาว ยืนข้างหน้า ช้างนั้น ถูก

ควาญช้างให้ทำการณ์ชื่ออาเนญชะอยู่ จึงไม่เคลื่อนไหวเท้าหน้า ไม่เคลื่อน

ไหวเท้าหลัง ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหน้า ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหลัง ไม่

เคลื่อนไหวศีรษะ ไม่เคลื่อนไหวหู. ไม่เคลื่อนไหวงา ไม่เคลื่อนไหวหาง ไม่

เคลื่อนไหวงวง จึงเป็นช้างหลวงทนต่อการประหารด้วย หอก ดาบ ลูกศร

และเครื่องประหารของศัตรูอื่น ทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลองใหญ่ บัณเฑาะว์

สังข์ และกลองเล็ก กำจัดโทษคดโกงทุกอย่างได้ หมดพยศ ย่อมถึงความ

นับว่า เป็นช้างสมควรแก่พระราชา อันพระราชาควรใช้สอย เป็นองค์สมบัติ

ของพระราชา ฉันใด.

ว่าด้วยพระพุทธคุณ

[๓๙๖] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตอุบัติใน

โลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

ดำเป็นไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยีงกว่ามิได้

เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้คนแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคต

นั้นทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม

ทุกหมู่สัตว์ ทั้งสมณะ และพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว แสดง

ธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ

ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดี

ก็ดี คนที่เกิดภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นพึงแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

ย่อมได้ความเธอในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึง

พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่อง

ว่าง เรายังอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วน

เดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผม

และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัย

ต่อมา เขาละโภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง และวงศ์ญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง

ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เพียงเท่านี้แล เขาชื่อว่าเป็นอริยสาวก อยู่ในโอกาสอัน

ว่างแล้ว ความจริง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังห่วงถิ่น คือ กามคุณทั้ง

๕ อยู่ ตถาคตจึงแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจง

เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จง

เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด

ดูก่อนอัคคิเวสสนะ. ในเมื่ออริยสาวกเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร

ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ ย่อมเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย

สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้ ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งในรูปว่า ดูก่อน

ภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุ

แล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็น

เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้พิจารณา

เห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน

โลกเสียได้อยู่ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา...ย่อมเป็นผู้พิจารณา

เห็นจิตในจิต... ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว

๑. เหมือนข้อ ๙๕ ถึงข้อ ๙๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

[๓๙๗] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่

ลงในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปกติของสัตว์ป่า แก้ไขความ

ดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความ

เร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิง

ในปกติที่มนุษย์ต้องการ ฉันใด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้น เหมือนกันแล

สติปัฏฐาน ๔ นี้ ชื่อว่าเป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปกติ ชนิด

อาศัยบ้าน แก้ไขความดำริพล่านชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความกระวนกระวาย

ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจชนิดอาศัยบ้าน เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อ

ท่านิพพานให้แจ้ง.

ว่าด้วยจตุสติปัฏฐานเป็นต้น

[๓๙๘] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนภิกษุ มาเถิด

เธอจงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อยู่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย

จงเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ แต่อยู่ตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับ

เวทนา จงเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิต

จงเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรม

เธอยู่อมเข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุด

ขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่สมาธิ

อยู่ ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปิติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย

นามกาย เข้าตติยฌาน... ย่อมเข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะ

ละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่.

[๓๙๙] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง

ยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกขันธ์

ที่อยู่อาศัยในชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ

บ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอเนกประการ

พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศเช่นนี้.

[๔๐๐] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง

ยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความ

ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณของสัตว์ทั้งหลาย

มองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ

ทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ

ย่อมทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมเช่นนี้.

[๔๐๑] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่อง

ยียวน ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความ

ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริง

ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์ รู้ชัด

ตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทา

ให้ถึงที่ดับอาสวะ เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ

แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ. เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า

หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำ

เสร็จแล้ว กิจอันเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๔๐๒] ภิกษุนั้น เป็นผู้อดทน คือ มีปกติอกกลั้นต่อความหนาว

ความร้อน ความหิว และความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด

และสัตว์เลื้อยคลาน ต่อถ้อยคำ คำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำ

๑. เหมือนข้อ ๒๔ ฯ ๒. เหมือนข้อ ๒๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

สรีระที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่

ชอบใจพอจะสังหารชีวิตได้ เธอเป็นผู้กำจัดราคะ โทสะ โมหะทั้งปวงได้

หมดกิเลส เพียงดังน้ำฝาดแล้ว เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ

ควรแก่ทักขิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหา

แห่งอื่นเปรียบมิได้.

ว่าด้วยอุปมาด้วยช้าไม่ได้ฝึก

[๔๐๓] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด

ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวง

ปูนปานกลาง ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูน

ปานกลางล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด

ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงหนุ่ม ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ฉันใด ดู

ก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าภิกษุเถระยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละ

ลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุเถระทำกาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุ

มัชฌิมะยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุมัชฌิมะทำกาละ

ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุนวกะยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง ก็ถึงความนับ

ว่า ภิกษุนวกะ ทำกาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก.

[๔๐๔] ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง

ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ถ้าช้างหลวงปูนปานกลาง

ที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนปานกลางล้มตายไปอย่าง

ฝึกแล้ว ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้าง

หลวงปูนหนุ่มล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ฉันใด ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ฉันนั้น

เหมือนกันแล ถ้าภิกษุเถระสิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

เถระทำกาละตายอย่างฝึกแล้ว ถ้าภิกษุมัชฌิมะสิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง ก็ถึง

ความนับว่าภิกษุมัชฌิมะทำกาละ ตายอย่างฝึกแล้ว ถ้าภิกษุนวกะสิ้นอาสวะแล้ว

ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะทำกาละ ตายอย่างฝึกแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว สมณุทเทสอจิรวตะจึง

ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบทันตภูมิสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

อรรถกถาทันตภูมิสูตร

ทันตภูมิสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺกุฏิกาย ได้แก่ในเสนาสนะที่เขา

สร้างไว้ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร ในที่ซึ่งเงียบสงัดแห่งหนึ่งของ

พระวิหารเวฬุวันนั้นแล. บทว่า ราชกุมาโร หมายถึงพระราชกุมารชยเสนะ

ผู้เป็นราชบุตรของพระเจ้าพิมพิสาร.

บทว่า ผุเสยฺย แปลว่า พึงได้. บทว่า เอกคฺคต ความว่า พระราช-

กุมารตรัสว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมได้

สมาบัติ ชื่อว่าย่อมได้ฌาน. บทว่า กิลมโถ ได้แก่ ความลำบากกาย. ความ

ลำบากนั่นแหละเรียกว่า วิเหสา บ้าง. บทว่า ยถาสเก ติฏฺเยฺยาสิ ความว่า

ขอพระองค์พึงดำรงอยู่ในส่วนที่ไม่รู้ ของพระองค์เถิด.

บทว่า เทเสสิ ความว่า ย่อมได้อย่างนี้ คือ ได้จิตเตกัคคตา ได้แก่

ย่อมยังสมาบัติให้เกิดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ถึงอัปปนาสมาธิแต่อุปจารสมาธิ

แล้ว จึงกล่าวกสิณบริกรรมอย่างนี้. บทว่า ปเวทตฺวา แปลว่า ประกาศแล้ว.

บทว่า เนกฺขมฺเมน าตพฺพ ความว่า พึงรู้ด้วยคุณคือบรรพชา

อันเป็นเครื่องสลัดออกจากกาม. ข้อนั้นท่านกล่าวไว้โดยอธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า

เอกคฺคตา อันบุคคลผู้ตั้งอยู่ในคุณคือบรรพชาอันเป็นเครื่องสลัดออกจากกาม

พึงรู้. บทที่เหลือเป็นไวพจน์ของ บทว่า าตพฺพ นั้นแหละ. บทว่า กาเม

ปริภุญฺชนฺโต ได้แก่ บริโภคกามแม้ทั้งสองอย่าง.

บทว่า หตฺถิทมฺมา วา อสฺสทมฺมา วา โคทมฺมา วา นี้ มี

อธิบายว่า บุคคลผู้เว้นจากความเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ พึงเห็นเป็นเหมือนการฝึก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

ช้างที่ยังไม่เคยไค้รับการฝึกเป็นต้น บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มีจิตแน่ว

แน่ พึงเห็นเป็นเหมือนการฝึกช้างที่เคยฝึกแล้วเป็นต้น. เปรียบเหมือนสัตว์

พาหนะมีช้างเป็นต้น ที่ยังไม่ได้รับการฝึก ย่อมไม่สมควรจะไปสู่สนามฝึก

หรือถึงภูมิภาคอันสัตว์ผู้ฝึกแล้วพึงถึง โดยไม่ต้องทำเรือนยอด ไม้ต้องทอด

ทิ้งธุระฉันใด บุคคลที่ปราศจากความเป็นผู้มีจิตแน่วแน่ก็ฉันนั้น ย่อมไม่

สามารถที่จะยังคุณอันบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยเอกัคคตาจิตให้เกิดแล้ว ให้เกิดขึ้น

บทว่า หตฺถวิลงฺฆเกน แปลว่า จูงมือกันไป. บทว่า ทิฏฺเยฺย

แปลว่า ควรดู. บทว่า อาวุโฏ แปลว่า ปิดกั้นไว้. บทว่า นิวุโฏ แปลว่า

บังไว้. บทว่า โอผุโฏ แปลว่า คลุมไว้แล้ว.

บทว่า นาควนิก ความว่า ในหัตถิปโทปมสูตร ท่านเรียกบุรุษผู้

เที่ยวไปในนาควันว่า นาควิโก. ในข้อนี้ มีอธิบายว่า บุรุษผู้ฉลาดในการ

ฝึกช้าง ย่อมสามารถจะคล้องช้างได้. บทว่า อติปสฺสิตฺวา แปลว่า เห็นแล้ว.

บทว่า เอตฺถ เคธา ได้แก่ ความห่วงที่เป็นไปในนาควันนั้น. บทว่า

สรสงฺกปฺปาน แปลว่า ความดำริพล่าน. ในบทว่า มนุสฺสกนฺเตสุ สีเลสุ

สมาทปนาย มีอธิบายว่า ในเวลาใด สตรีและบุตร กุมารกุมารี จับที่

งวงเป็นต้น เล่นหัวอยู่ด้วย ช้างไม่แสดงอาการผิดปกติ คืออยู่อย่างสบาย

ในเวลานั้น ช้างนั้น ชื่อว่า ย่อมบรรเทิงใจ ตามปกติที่มนุษย์ต้องการ.

บทว่า เปมนียา ได้แก่ พูดว่า พ่อคุณ พระราชาโปรดพ่อแล้ว จัก

แต่งตั้งพ่อไว้ ในตำแหน่งมงคลหัตถีทีเดียว พ่อจักได้ของกินดี ๆ มีโภชนะ

เป็นต้นที่คู่ควรแก่พระราชา คำพูดเห็นปานนี้ เป็นคำพูดที่ช้างรัก. บทว่า

สุสฺสุสติ ความว่า ช้างย่อมประสงค์จะฟังถ้อยคำที่น่ารักเห็นปานนั้น. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

ติณฆาโสทก ได้แก่ เพิ่มอาหารคือหญ้าและน้ำ. บทว่า ติณฆาน แปลว่า

หญ้าที่พึงเคียว อธิบายว่า หญ้าที่พึงกิน.

บทว่า ปณฺฑโว แปลว่า มโหระทึก. บทว่า สพฺพวงฺกโทสนิหิ-

ตนินฺนิตกสาโว ได้แก่ ทั้งกำจัดโทษคือความคดโกงทุกอย่างได้ด้วย ทั้งหมด

พยศด้วย. บทว่า องฺคนฺเตว สขฺย คจฺฉติ ความว่า ย่อมจัดเป็นองคสมบัติ.

บทว่า เคหสิตสีลาน ได้แก่ ศีลที่อาศัยกามคุณ ๕. บทว่า ายสฺส ได้แก่

อัฏฐังคิกมรรค.

ในบทว่า อทนฺตมรณ มหลฺลโก รญฺโ นาโค มโต กาลกโต

นี้ ได้ความดังนี้ว่า ช้างแก่ของพระราชาล้ม ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ฝึก. ในบททั้ง

ปวง ก็มีนัยนี้. บทที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น ฉะนั้นแล.

จบอรรถกถาทันตภูมิสูตรที่ ๕.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

๖. ภูมิชสูตร

[๔๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคย

เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระ-

ภูมิชะ นุ่งสงบ ทรงบาตรจีวรเข้าไปยังวังของพระราชกุมารชยเสนะในเวลาเช้า

แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะเข้าไปหาท่าน

พระภูมิชะ แล้วได้ตรัสทักทายปราศรัยกับท่านพระภูมิชะ ครั้นผ่านคำทักทาย

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

[๔๐๖] พระราชกุมารชยเสนะ ประทับ นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้รับสั่ง

กะท่านพระภูมิชะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านภูมิชะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ

อย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ถ้าแม้บุคคลทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์

เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์

เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังและความไม่หวังแล้วพระพฤติ

พรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่

หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ในเรื่องนี้

ศาสดาของท่านภูมิชะมีวาทะอย่างไร มีความเห็นอย่างไร บอกไว้อย่างไร

[๔๐๗] ท่านภูมิชะกล่าวว่า ดูก่อนพระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพ

มิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย แค่ข้อที่เป็นฐานะมีได้

แล คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ถ้าแม้บุคคลทำความ

หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล

ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

จะบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วพระพฤติพรหมจรรย์

โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความ

ไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุ

ผล แต่ถ้าแม้ทำความหวังแล้วพระพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย เขาก็จะสามารถ

บรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย เขาก็จะ

สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์

โดยแยบคาย เขาจะสามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวัง

ก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย เขาก็จะสามารถบรรลุผล ดูก่อน

พระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเลย แต่ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงพยากรณ์อย่างนี้ นั่นเป็นฐานะ

ที่มีได้แล.

ร. ถ้าศาสดาของท่านภูมิชะมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ บอกไว้

อย่างนี้ ศาสดาของท่านภูมิชะ ชะรอยจะดำรงอยู่เหนือหัวของสมณพราหมณ์

จำนวนมากทั้งมวลโดยแท้.

ต่อนั้น พระราชกุมารชยเสนะทรงอังคาสท่านพระภูมิชะ ด้วยอาหาร

ในภาชนะส่วนของพระองค์.

ว่าด้วยเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

[๔๐๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระภูมิชะกลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลา

อาหารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพร-

ภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอกราบทูลให้

ทรงทราบ เมื่อเช้านี้ข้าพระองค์นุ่งสบง ทรงบาตรจีวรเข้าไปยังวังของพระราช-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

กุมารชยเสนะ แล้วได้นั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ ต่อนั้น พระราชกุมารชย-

เสนะได้เข้ามาหาข้าพระองค์ แล้วได้ตรัสทักทายปราศรัยกับข้าพระองค์ ครั้น

ผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว. ได้ประทับ นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง พอประทับ นั่งเรียบร้อยแล้วได้รับสั่งกะข้าพระองค์ดังนี้ว่า ข้าแต่

ท่านภูมิชะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า ถ้าแม้

บุคคลทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล

ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล

ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวัง แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่

สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติ-

พรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ในเรื่องนี้ ศาสดาของท่านภมิชะ

มีวาทะอย่างไร มีความเห็นอย่างไร บอกไว้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อพระราชกุมารรับสั่งแล้วอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพระ-

ราชกุมาร เรื่องนี้อาคมภาพมิได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า

เลย แต่ข้อที่เป็นฐานะมีได้แล คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงพยากรณ์

อย่างนี้ว่า ถ้าแม้บุคคลทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ โดยไม่แยบคาย

เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์

โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความ-

ไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบคาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล

ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่แยบ-

คาย เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล แต่ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหม-

จรรย์โดยแยบคาย เขาจะสามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้ว ประพฤติ-

พรหมจรรย์โดยแยบคาย เขาก็จะสามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังเเละ

ความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย เขาก็จะสามารถบรรลุผล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์โดยแยบคาย

เขาก็จะสามารถบรรลุผล ดูก่อนพระราชกุมาร เรื่องนี้อาตมภาพมิได้สดับรับมา

เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย แต่ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรง

พยากรณ์อย่างนี้ นั่น เป็นฐานะที่มีได้แล พระราชกุมารชยเสนะรับสั่งว่า

ถ้าศาสดาของท่านภูมิชะมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ บอกไว้อย่างนี้

ศาสดาของท่านภูมิชะ ชะรอยจะดำรงอยู่เหนือหัวของสมณพราหมณ์จำนวนมาก

ทั้งมวลโดยแท้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว เมื่อ

พยากรณ์อย่างนี้ จะเป็นผู้กล่าวตามพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่กล่าว

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และวาทะ

อนุวาทะไร ๆ อันชอบด้วยเหตุ จะไม่ถึงฐานะน่าตำหนิบ้างหรือ.

[๔๐๙] พ. ดูก่อนภูมิชะ เหมาะแล้ว เธอถูกถามอย่างนี้ เมื่อพยากรณ์

อย่างนี้ ย่อมเป็นผู้กล่าวตามถ้อยคำของเรา ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง พยากรณ์

ธรรมสมควรแก่ธรรม และวาทะอนุวาทะไ ร ๆ อันชอบด้วยเหตุ ย่อมไม่ถึง

ฐานะน่าตำหนิ ดูก่อนภูมิชะ ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่มี

ทิฐิผิด มีสังกัปปะผิด มีวาจาผิด มีกัมมันตะผิด มีอาชีวะผิด มีวายามะผิด

มีสติผิด มีสมาธิผิด ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่

สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่

สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่ห่วงแล้วประพฤติพรหม-

จรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่

แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล นั่น เพราะเหตุไร

ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

ว่าด้วยอุปมาด้วยบุรุษต้องการน้ำมัน

[๔๑๐] ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน แสวงหาน้ำมัน

จึงเที่ยวเสาะหาน้ำมัน เกลี่ยทรายลงในรางแล้วคนไป เอาน้ำพรมไป ๆ ถ้าแม้

ทำความหวังแล้ว เกลี่ยทรายลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไป ๆ เขาก็ไม่สามารถ

จะได้น้ำมัน ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วเกลี่ยทรายลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรม

ไป ๆ เขาก็ไม่สามารถจะได้น้ำมัน ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว

เกลี่ยทรายลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไป ๆ เขาก็ไม่สามารถจะได้น้ำมัน

ถ้าทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วเกลี่ยทรายลงในราง คั้นไป เอาน้ำ

พรมไป ๆ เขาก็ไม่สามารถจะได้น้ำมัน นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะ

เขาไม่สามารถจะได้น้ำมัน โดยวิธีไม่แยบคาย ฉันใด ดูก่อนภูมิชะ ฉันนั้น

เหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีทิฐิผิด มีสังกัปปะผิด

มีวาจาผิด มีกัมมันตะผิด มีอาชีวะผิด มีวายามะผิด มีสติผิด มีสมาธิผิด

ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้

ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้

ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะ

บรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์

เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่

สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย.

[๔๑๑] ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการนมสด แสวงหา

นมสด จึงเที่ยวเสาะหานมสด แต่รีดเอาจากเขาแม่โคลูกอ่อน ถ้าแม้ทำความหวัง

แล้วรีดเอาจากเขาแม่โคลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถจะได้นมสด ถ้าแม้ทำความ

ไม่หวังแล้วรีดเอาจากเขาแม่โคลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถจะได้นมสด ถ้าแม้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วรีดเอาจากเขาแม่โคลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถ

จะได้นมสด ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วรีดเอาจากเขาแม่โค

ลูกอ่อน เขาก็ไม่สามารถจะได้นมสด นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะ

เขาไม่สามารถจะได้นมสด โดยวิธีไม่แยบคาย ฉันใด ดูก่อนภูมิชะ ฉันนั้น

เหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีทิฐิผิด ฯลฯ มีสมาธิผิด

ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้

ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้

ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะ

บรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์

เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่

สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย.

[๔๑๒] ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการเนยขึ้น แสวงหา

เนยขึ้น จึงเทียวเสาะหาเนยข้น ใส่น้ำลงในอ่าง คนเข้ากับนมข้น ถ้าแม้

ทำความหวังแล้วใส่น้ำลงในอ่าง คนเข้ากับนมข้น เขาก็ไม่สามารถจะได้เนยขึ้น

ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วใส่น้ำลงในอ่าง คนเข้ากับนมข้น เขาก็ไม่สามารถจะ

ได้เนยข้น ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วใส่น้ำลงในอ่าง คนเข้ากับ

นมข้น เขาก็ไม่สามารถจะได้เนยข้น ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็

มิใช่แล้วใส่น้ำลงในอ่าง คนเข้ากับนมข้น เขาก็ไม่สามารถจะได้เนยขึ้น

นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ. เพราะเขาไม่สามารถจะได้เนยข้นโดยวิธีไม่

แยบคาย ฉันใด ดูก่อนภูมิชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์

พวกใดพวกหนึ่งที่มีทิฐิผิด ฯลฯ มีสมาธิผิด ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติ

พรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติ

พรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่

ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล นั่น

เพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่

แยบคาย.

[๔๑๓] ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการไฟ แสวงหาไฟ

จึงเที่ยวเสาะหาไฟ เอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ สีกัน ไป ถ้าแม้ทำความหวัง

แล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ สีกัน ไป เขาก็ไม่สามารถจะได้ไฟ ถ้าแม้

ทำความไม่หวังแล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ สีกันไป เขาก็ไม่สามารถจะ

ได้ไฟ ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว เอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ

สีกันไป เขาก็ไม่สามารถจะได้ไฟ ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ ความไม่หวัง

ก็มิใช่ แล้วเอาไม้สดที่มียางมาทำไม้สีไฟ สีกัน ไป เขาก็ไม่สามารถจะได้ไฟ

นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะได้ไฟโดยวิธีไม่แยบคาย

ฉันใด กูก่อนภูมิชุ ฉันนั้น เหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวก

หนึ่งที่มีทิฐิผิด ฯล ฯ มีสมาธิผิด ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์

เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์

เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติ

พรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวัง

ก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล นั่น เพราะเหตุไร

ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย

ว่าด้วยการบรรลุผล

[๔๑๔] ดูก่อนภูมิชะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มี

ทิฐิชอบ มีสังกัปปะชอบ มีวาจาชอบ มีกัมมันตะชอบ มีอาชีวะชอบ มี

วายามะชอบ มีสติชอบ มีสมาธิชอบ ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหม-

จรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้วประพฤติ-

พรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่

แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ

เพราะเขาสามารถบรรลุได้โดยอุบายแยบคาย.

[๔๑๕] ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน แสวงหา

น้ำมัน จึงเที่ยวเสาะหาน้ำมัน เกลี่ยงาป่นลงในรางแล้วคั้นไป เอาน้ำพรมไป ๆ

ถ้าแม้ทำความหวังแล้วเกลี่ยงาป่นลงในราง คั้นไป เอาน้ำพรมไป ๆ เขาก็

สามารถได้น้ำมัน ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้ว ... ถ้า แม้ทำทั้งความหวังและความ

ไม่หวังแล้ว ... ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้ว เกลี่ยงาป่นลง

ในรางคั้นไป เอาน้ำพรมไป ๆ เขาก็สามารถได้น้ำมัน นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อน

ภูมิชะ เพราะเขาสามารถได้น้ำมันโดยวิธีแยบคาย ฉันใด ดูก่อนภูมิชะ ฉันนั้น

เหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีทิฐิชอบ ฯลฯ มีสมาธิ

ชอบ ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้า

แม้ทำความไม่หวังแล้ว ... ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว ... ถ้าแม้

ทำความหวังก็มิใช่ความไม่ หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถ

บรรลุผล นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาสามารถบรรลุผลได้โดย

อุบายแยบคาย.

[๔๑๖] ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการนมสด แสวงหา

นมสดจึงเทียวเสาะหานมสด รีดเอาจากเต้านมแม่โคลูกอ่อน ถ้าแม้ทำความหวัง

แล้วรีดเอาจากเต้านมแม่โคลูกอ่อน เขาก็สามารถได้นมสด ถ้าแม้ทำความไม่

หวังแล้ว ... ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว... ถ้าแม้ทำความหวัง

ก็มิใช่ความไม่หวัง ก็มิใช่แล้วรีดเอาจากเต้านมแม่โคลูกอ่อน เขาก็สามารถได้

นมสด นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาสามารถได้นมสดโดยวิธีแยบ-

คาย ฉันใด ดูก่อนภูมิชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์พวกใด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

พวกหนึ่งที่มีทิฐิชอบ ฯลฯ มีสมาธิชอบ ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติ

พรหมจรรย์ เขาสามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้ว... ถ้าแม้ทำทั้ง

ความหวังและความไม่หวังแล้ว... ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่

แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อน

ภูมิชะ เพราะเขาสามารถบรรลุผลได้โดยอุบายแยบคาย.

ว่าด้วยบุรุษต้องการเนยข้น

[๔๑๗] ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการเนยข้น แสวงหา

เนยข้นจึงเที่ยวเสาะหาเนยข้น ใส่นมส้มลงในอ่าง คนเข้ากับนมข้น ถ้าแม้ทำ

ความหวังแล้วใส่นมส้มลงในอ่าง คนเข้ากับนมข้น เขาก็สามารถได้เนยข้น

ถ้าแม้ทำความไม่หวังแล้ว ... ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว. ถ้า

แม้ทำความหวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วใส่นมส้มลงในอ่าง คนเข้ากับนม-

ข้น เขาก็สามารถได้เนยข้น นั่น เพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาสามารถ

ได้เนยข้นโดยวิธีแยบคาย ฉันใด ดูก่อนภูมิชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะ

หรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีทิฐิชอบ ฯลฯ มีสมาธิชอบ ถ้าแม้ทำความ

หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวัง

แล้ว... ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว ... ถ้าแม้ทำความหวังก็มิใช่

ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาสามารถบรรลุผล นั่นเพราะ

เหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาสามารถบรรลุผลได้โดยอุบายแยบคาย.

[๔๑๘] ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการไฟ แสวงหาไฟ

จึงเที่ยวเสาะหาไฟ เอาไม้แห้งเกราะมาทำไม้สีไฟ สีกัน ไป ถ้าแม้ทำความหวัง

แล้วเอาไม้แห้งเกราะมาทำไม้สีไฟ สีกัน ไป เขาก็สามารถได้ไฟ ถ้าแม้ทำความ

ไม่หวังแล้ว ... ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและความไม่หวังแล้ว... ถ้าแม้ทำความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

หวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วเอาไม้แห้งเกราะมาทำไม้สีไฟ สีกันไป เขาก็

สามารถได้ไฟ นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาสามารถได้ไฟ โดย

วิธีแยบคาย ฉันใด ดูก่อนภูมิชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือ

พราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งที่มีทิฐิชอบ ฯลฯ มีสมาธิชอบ ถ้าแม้ทำความ

หวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความไม่หวัง

แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำทั้งความหวังและ

ความไม่หวังแล้วพระพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ทำความ

หวังก็มิใช่ความไม่หวังก็มิใช่แล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล

นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาสามารถบรรลุผลได้โดยอุบายแยบคาย.

ว่าด้วยการชื่นชมพระภาษิต

[๔๑๙] ดูก่อนภูมิชะ ถ้าอุปมา ๔ ข้อนี้ จะพึงแจ่มแจ้งแก่พระราช -

กุมารชยเสนะ พระราชกุมารชยเสนะจะพึงเลื่อมใสเธอ และเลื่อมใสแล้ว จะ

พึงทำอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสต่อเธออย่างไม่น่าอัศจรรย์.

ท่านพระภูมิชะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็อุปมา ๔ ข้อนี้จัก

แจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ต่อพระราชกุมารชยเสนะได้แต่ที่ไหน เพราะอุปมาไม่น่า

อัศจรรย์ ข้าพระองค์ไม่เคยได้สดับมาในก่อนเหมือนที่ได้สดับต่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระภูมิชะจึงชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ ภูมิชสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

อรรถกถาภูมิชสูตร

ภูมิชสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูมิโช ความว่า พระเถระนี้เป็นลุงของ

พระราชกุมาร ทรงพระนามว่า ชยเสน. บทว่า อาสญฺจ อนาสญฺจ ความว่า

บางครั้งก็หวัง บางครั้งก็ไม่หวัง. บทว่า สเกเนว ถาลิปาเกน ความว่า

ทรงอังคาสด้วยภิกษาที่เป็นไปแล้วตามปกติ คือด้วยภัตที่เขาจัดเตรียมไว้เพื่อ

พระองค์. บทที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น ฉะนั้นแล.

จบอรรถกถาภูมิชสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

๗. อนุรุทธสูตร

[๔๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะเรียก

บุรุษผู้หนึ่งมาสั่งว่า มาเถิด พ่อมหาจำเริญ พ่อจงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ

แล้วกราบเท้าท่านพระอนุรุทธะ ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้

เจริญ ช่างไม้ปัญจกังคะขอกราบเท้าท่านพระอนุรุทธะด้วยเศียรเกล้า และจง

กราบเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอนุรุทธะได้โปรดนับตนเอง

เป็นรูปที่ ๔ รับนิมนต์ฉันอาหารของช่างไม้ปัญจกังคะในวันพรุ่งนี้ และขอท่าน

พระอนุรุทธะได้โปรดมาแต่เช้า ๆ เพราะช่างไม้ปัญจกังค่ะมีกิจหน้าที่ด้วยราชการ

มาก บุรุษรับคำแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ ครั้นอภิวาทท่านพระ-

อนุรุทธะแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกราบเรียน

ท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ช่างไม้ปัญจกังคะขอกราบเท้าท่าน

พระอนุรุทธะด้วยเศียรเกล้า และบอกมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่าน

พระอนุรุทธะได้โปรดนับตนเองเป็นรูปที่ ๔ รับนิมนต์ฉันอาหารของช่างไม้

ปัญจกังคะในวันพรุ่งนี้ และขอท่านพระอนุรุทธะได้โปรดไปแต่เช้า ๆ เพราะ

ช่างไม้ปัญจกังคะมีกิจหน้าที่ด้วยรชการมาก ท่านพระอนุรุทธะรับนิมนต์ด้วย

ดุษณีภาพ.

[๔๒๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ พอล่วงราตรีนั้น จึงนุ่งสบง

ทรงบาตรจีวรเข้าไปยังที่อยู่อาศัยของช่างไม้ปัญจกังคะ ในเวลาเช้า ครั้นแล้ว

นั่ง ณ อาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้ ต่อนั้น ช่างไม้ปัญจกังคะให้ท่านพระอนุรุทธะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

อิ่มหนำสำราญ ด้วยของเคียวของฉัน อันประณีตด้วยมือของตน พอเห็นท่าน

พระอนุรุทธะฉันเสร็จวางบาตรในมือแล้ว จึงถืออาสนะต่ำที่หนึ่งมานั่งลง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้เรียนถามท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายมาหากระผมที่นี่แล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุตติที่หาประมาณมิได้เถิด พระเถระบางพวก

กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงเจริญเจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะเถิด

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรม ๒ ข้อนี้คือเจโตวิมุตติที่หาประมาณมิได้และเจโตวิมุตติ

ที่เป็นมหัคคตะ ต่างกันทั้งอรรถและพยัญชนะหรือ หรือว่ามีอรรถเป็นอัน

เดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น.

ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า ดูก่อนคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ปัญหาใน

ธรรม ๒ ข้อนี้จงแจ่มแจ้งกะท่านก่อน แต่นี้ไป ท่านจักได้มีความเข้าใจไม่ผิด.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า ธรรม ๒ ข้อนี้

คือ เจโตวิมุตติที่หาประมาณมิได้และเจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ มีเนื้อความเป็น

อันเดียวกัน ต่างกันแค่พยัญชนะเท่านั้น.

ว่าด้วยเจโตวิมุตติปัญหา

[๔๒๒] อ. ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๒ ข้อนี้ คือ เจโตวิมุตติที่หา

ประมาณมิได้ และเจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ ต่างกันทั้งอรรถและพยัญชนะ

ท่านพึงทราบประการที่ต่างกันนั้นโดยปริยายดังต่อไปนี้ ดูก่อนคฤหบดี ก็

เจโตวิมุตติที่หาประมาณมิได้เป็นไฉน ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้มี

ใจสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ แผ่ไปตลอดทิศที่สอง ทิศที่สาม

ทิศที่สี่อยู่ เช่นนั้นเหมือนกัน และแผ่ไปตลอดทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง

ทิศเบื้องขวางอยู่ ด้วยอาการเดียวกัน ชื่อว่ามีใจสหรคตด้วยเมตตาอย่างไพบูลย์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

เป็นมหัคคตะมีอารมณ์หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไป

ตลอดโลกอันมีสัตว์ทั้งปวงในที่ทุกสถาน โดยความมีอยู่ในที่ทั้งปวง มีใจ

สหรคตด้วยกรุณา...มีใจสหรคตด้วยมุทิตา... มีใจสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่

ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ แผ่ไปตลอดทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่อยู่ เช่นนั้น

เหมือนกัน และแผ่ไปตลอดทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องขวางอยู่

ด้วยอาการเดียวกัน ชื่อว่ามีใจสหรคตด้วยอุเบกขาอย่างไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ

มีอารมณ์หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลกอันมี

สัตว์ทั้งปวง ในที่ทุกสถาน โดยความมีอยู่ในที่ทั้งปวง ดูก่อนคฤหบดี นี้ เรียก

ว่า เจโตวิมุตติที่หาประมาณมิได้.

[๔๒๓] ดูก่อนคฤหบดี ก็เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะเป็นไฉน ดูก่อน

คฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้. เท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้แห่งหนึ่งว่า เป็น

แดนมหัคคตะอยู่ นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ และเท่าที่น้อมใจแผ่

ไปสู่โคนไม้สองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ นี้ เรียกว่า เจโต-

วิมุตติที่เป็นมหัคคตะ.

ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้าน

แห่งหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ นี้เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ และ

เท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านสองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่

นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตคะ.

ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณา-

จักรหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ

และเท่าที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรสองหรือสามมหาอาณาจักรว่า เป็นแดน

มหัคคตะอยู่ นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

ดูก่อนคฤหบดี อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เท่าที่น้อมใจแผ่ไปตลอด

ปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขตว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ นี้ก็เรียกว่า เจโตวิมุตติ

ที่เป็นมหัคคตะ.

ดูก่อนคฤหบดี โดยปริยายนี้แล ท่านพึงทราบประการที่ธรรม ๒

ข้อนี้ ต่างกันทั้งอรรถและพยัญชนะ.

ว่าด้วยการเข้าถึงภพ ๔ อย่าง

[๔๒๔] ดูก่อนคฤหบดี การเข้าถึงภพนี้มี อย่างแล ๔ อย่างเป็น

ไฉน ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มี

แสงสว่างเล็กน้อยอยู่ เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา

พวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่บางรูปน้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่างหาประมาณ

มิได้อยู่ เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีหา

ประมาณนี้ได้ บางรูปน้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่างเศร้าหมองอยู่ เธอตาย

ไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่บางรูป

น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่างบริสุทธิ์อยู่ เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความ

เป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีบริสุทธิ์ ดูก่อนคฤหบดี นี้แล การเข้าถึงภพ

๔ อย่าง.

[๔๒๕] ดูก่อนคฤหบดี มีสมัยที่พวกเทวดาประชุมร่วมกัน เทวดา

เหล่านั้น ย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีรัศมีต่างกัน ดูก่อนคฤหบดี

เปรียบเหมือนบุรุษตามประทีปน้ำมัน มากดวง เข้าไปสู่เรือนหลังหนึ่ง ประทีป

น้ำมันเหล่านั้นปรากฏมีเปลวต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีแสงสว่างต่างกัน ฉันใด

ดูก่อนคฤหบดี ฉันนั้นเหมือนกันแล มีสมัยที่พวกเทวดาประชุมร่วมกัน เทวดา

เหล่านั้น ย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน แต่ไม่ปรากฏมีรัศมีต่างกัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

[๔๒๖] ดูก่อนคฤหบดี มีสมัยที่พวกเทวดาแยกกันจากที่ประชุม

เทวดาเหล่านั้น ย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน และมีรัศมีต่างกัน ดูก่อนคฤหบดี

เปรียบเหมือนบุรุษนำประทีปน้ำมันมากดวงออกจากเรือนหลังนั้น ประทีปน้ำ

มันเหล่านั้นปรากฏมีเปลวต่างกัน และมีแสงสว่างต่างกัน ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี

ฉันนั้น เหมือนกันแล มีสมัยที่พวกเทวดาแยกกันจากที่ประชุม เทวดาเหล่านั้น

ย่อมปรากฏมีสีกายต่างกัน และมีรัศมีต่างกัน.

[๔๒๗] ดูก่อนคฤหบดี เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่มีความดำริอย่างนี้ เลย

ว่าสิ่งนี้ของพวกเราเพียง หรือยั่งยืน หรือแน่นอน แต่ว่าเทวดาเหล่านั้นย่อม

อภิรมย์เฉพาะแดนที่ตนอยู่อาศัยนั้น ๆ ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนแมลงที่

เขานำไปด้วยหาบหรือตะกร้า ย่อมไม่มีความดำริอย่างนี้ว่า หาบหรือตะกร้านี้ของ

พวกเราเที่ยง หรือยั่งยืน หรือแน่นอน แต่ว่าแมลงเหล่านั้น ย่อมอภิรมย์

เฉพาะแหล่งที่ตนอยู่อาศัยนั้น ๆ ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี ฉันนั้นเหมือนกันแล

เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่มีความดำริอย่างนี้เลยว่า สิ่งนี้ ของพวกเราเที่ยง หรือยั่ง

ยืน หรือแน่นอน แต่ว่าเทวดาเหล่านั้น ย่อมอภิรมย์เฉพาะแดนที่คนอยู่อาศัย

นั้น ๆ.

[๔๒๘] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอภิยะ

กัจจานะได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ

ที่ท่านพยากรณ์นั้นดีละ. แต่ในเรื่องนี้มีข้อที่กระผมจะพึงสอบถามให้ยิ่งขึ้นไป

คือพวกเทวดาที่มีรัศมีนั้นทั้งหมด เป็นผู้มีรัศมีเล็กน้อยหรือ หรือว่ามีบางพวก

ในพวกนั้นมีรัศมีหาประมาณมิได้.

อ. ดูก่อนท่านกัจจานะ โดยหลักแห่งการอุปบัตินั้นแล เทวดาใน

พวกนี้บางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แค้บางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

อภิยะ. ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็น

ปัจจัยให้บรรดาเทวดาที่เข้าถึงหมู่เทวดาหมู่เดียวกันแล้วเหล่านั้น บางพวกมี

รัศมีเล็กน้อย แต่บางพวกมีรัศมีหาประมาณมิได้.

ว่าด้วยการพยากรณ์เทวดา

[๔๒๙] อ. ดูก่อนท่านกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เราจะย้อนถามท่านใน

เรื่องนี้ ท่านพอใจอย่างไร พึงพยากรณ์อย่างนั้น ดูก่อนท่านกัจจานะ ท่าน

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้แห่งหนึ่งว่า เป็น

แดนมหัคคตะอยู่. กับภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้สองแห่งหรือสามแห่งว่า

เป็นแดนมหัคคตะอยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปนี้ จิตตภาวนา

อย่างไหนเป็นมหัคคตะยิ่งกว่ากัน.

อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปนี้

จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้สองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็น

แดนมหัคคตะอยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง.

[๔๓๐] อ. ดูก่อนท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่โคนไม้สองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่

กับภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านแห่งหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ บรรดา

จิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะยิ่งกว่า

กัน.

อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปนี้

จิตตภาวหาของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านแห่งหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ

อยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

[๔๓๑] อ. ดูก่อนท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านแห่งหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ กับภิกษุ

รูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านสองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่

บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะ

ยิ่งกว่ากัน .

อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปนี้

จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านสองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็น

แดนมหัคคตะอยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง.

[๔๓๒] ดูก่อนท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุ

รูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่เขตบ้านสองแห่งหรือสามแห่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ กับ

ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ บรรดา

จิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน เป็นมหัคคตะยิ่ง

กว่ากัน.

อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปนี้

จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะ

อยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง.

[๔๓๓] อ. ดูก่อนท่านกจัจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรหนึ่งว่า เป็นแดนมหัคคตะอยู่ กับภิกษุ

รูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรสองหรือสามมหาอาณาจักรว่า เป็นแดน

มหัคคตะอยู่ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปนี้ จิตตภาวนาอย่างไหน

เป็นมหัคคตะยิ่งกว่ากัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปนี้

จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรสองหรือสามมหาอาณาจักร

ว่าเป็นแดนมหัคคตะอยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง.

[๔๓๔ ] อ. ดูก่อนท่านกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน

ภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปสู่มหาอาณาจักรสองหรือสามมหาอาณาจักรว่า เป็นแดน

มหัคคตะอยู่ กับภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไปตลอดปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขตว่า เป็น

แดนมหัคคตะอยู่. บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปนี้ จิตตภาวนาอย่าง

ไหน เป็นมหัคคตะยิ่งกว่ากัน.

อภิยะ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บรรดาจิตตภาวนาของภิกษุทั้งสองรูปนี้

จิตตภาวนาของภิกษุรูปที่น้อมใจแผ่ไป. ตลอดปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขตว่า เป็น

แดนมหัคคตะอยู่ นี้เป็นมหัคคตะยิ่ง.

อ. ดูก่อนท่านกัจจานะ นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บรรดาเทวดา

ที่เข้าถึงหมู่เทวดาหมู่เดียวกันแล้วเหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเล็กน้อย แต่บาง

พวกมีรัศมีหาประมาณมิได้.

[๔๓๕] อภิยะ. ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ที่ท่านพยากรณ์นั้น

ดีละ แต่ในเรื่องนี้ มีข้อที่กระผมจะพึงสอบถามให้ยิ่งในรูป คือ พวกเทวดา

ที่มีรัศมีนั้นทั้งหมด เป็นผู้มีรัศมีเศร้าหมองหรือ หรือว่ามีบางพวกในพวกนั้น มี

รัศมีบริสุทธิ์.

อ. ดูก่อนท่านกัจจานะ โดยหลักแห่งการอุปบัตินั้นแล เทวดาใน

พวกนี้บางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง แต่บางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์.

อภิยะ. ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ

เป็นปัจจัยให้บรรดาเทวดา ที่เข้าถึงเทวดาหมู่เดียวกันแล้ว เหล่านั้น บางพวก

รัศมีเศร้าหมอง แต่บางพวกมีรัศมีบริสุทธิ์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

[๔๓๖] อ. ดูก่อนท่านกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เราจักเปรียบอุปมาแก่

ท่าน เพราะวิญญูบุรุษบางพวกในโลกนี้ ย่อมทราบอรรถแห่งภาษิตได้ด้วยอุปมา

ก็มี ดูก่อนท่านกัจจานะ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันติดไฟอยู่ มีทั้งน้ำมันทั้ง

ไส้ไม่บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้น ย่อมติดไฟอย่างริบหรี่ ๆ เพราะทั้งน้ำมันทั้งไส้

ไม่บริสุทธิ์ ฉันใด ดูก่อนท่านกัจจานะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุบางรูปใน

ธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่อารมณ์มีแสงสว่างเศร้าหมองอยู่ เธอในระงับความ

ชั่วหยาบทางกายให้ดี ไม่ถอนถิ่นมิทธะให้ดี ทั้งไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี

เธอย่อมรุ่งเรื่องอย่างริบหรี่ ๆ เพราะมิได้ระงับ ความชั่วหยาบทางกายให้ดี มิได้

ถอนถีนมิทธะให้ดี ทั้งไม่กำจัดอุทธัจจกุกกุจจะให้ดี เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้า

ถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีเศร้าหมอง ดูก่อนกัจจานะ. เปรียบ

เหมือนประทีปน้ำมันติดไฟอยู่ มีทั้งน้ำมัน ทั้งไส้บริสุทธิ์ ประทีปน้ำมันนั้น

ย่อมติดไฟอย่างไม่ริบหรี่ เพราะทั้งน้ำมันทั้งไส้บริสุทธิ์ ฉันใด ดูก่อนท่าน

กัจจานะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ น้อมใจแผ่ไปสู่

อารมณ์มีแสงสว่างบริสุทธิ์อยู่ เธอระงับความชั่วหยาบทางกายได้ดี ถอนถีน

มิทธะได้ดี ทั้งกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะได้ดี เธอย่อมรุ่งเรื่องอย่างไม่ริบหรี่ เพราะ

ระงับความชั่วหยาบทางกายได้ดี ถอนถีนมิทธะได้ดี ทั้งกำจัดอุทธัจจกุกกุจจะ

ได้ดี เธอตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกมีรัศมีบริสุทธิ์

ดูก่อนท่านกัจจานะ นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บรรดาเทวดาที่เข้าถึงหมู่

เทวดาหมู่เดียวกันแล้วเหล่านั้น บางพวกมีรัศมีเศร้าหมอง บางพวกมีรัศมี

บริสุทธิ์.

ว่าด้วยวาจาควรนำเข้าไป

[๔๓๗] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอภิยะกัจจานะ

ได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ที่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

พยากรณ์นั้นดีแล้ว เพราะท่านมิได้กล่าวอย่างนี้ว่า เราได้สดับมาอย่างนี้ หรือ

ว่าควรจะเป็นอย่างนี้ แต่ท่านกล่าวว่า เทวดาเหล่านั้น เป็นแม้อย่างนี้ เป็นแม้

ด้วยประการนี้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระ

อนุรุทธะคงจะเคยอยู่ร่วมเคยเจรจาร่วม และเคยร่วมสนทนากับเทวดาเหล่านั้น

เป็นแนะ

อ. ดูก่อนท่านกัจจานะ ท่านกล่าววาจาที่ควรนำเข้าไปยินดีนี้เหมาะ

เเล แต่ผมจักพยากรณ์แก่ท่านบ้าง ดูก่อนท่านกัจจานะ ผมเคยอยู่ร่วม เคย

เจรจาร่วม และเคยร่วมสนทนากับเทวดาเหล่านั้น มานานแล.

[๔๓๘] เมื่อท่านพระอนุรุทธะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระอภิยะ

กัจจานะได้กล่าวกะช่างไม้ปัญจกังคะดังนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี เป็นลาภของท่าน

ท่านได้ดีแล้วที่ละเหตุแห่งความสงสัยข้อนั้นได้ เราทั้งสองคนก็ได้ฟังธรรม

บรรยายนี้แล.

จบอนุรุทธสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

อรรถกถาอนุรุทธสูตร

อนุรุทธสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวมาหสุ ความว่า เข้าไปหาในเวลา

ที่อุบาสกนั้น ไม่สบาย จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อปณฺณถ แปลว่า ไม่ผิด

พลาด. บทว่า เอกตฺถ ได้แก่ เป็นทั้งเจโตวิมุตติ ที่หาประมาณมิได้ หรือ

เจโตวิมุตติที่เป็นมหัคคตะ. ท่านถือเอาคำนี้ว่าฌานก็เรียกอย่างนั้น เพราะความ

ที่จิตนั้น แหละมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

บทว่า ยาวตา เอก รุกฺขมูล มหคฺคตนฺติ ผริตฺวา อธิมุจฺจิตฺวา

วิหรติ ความว่า น้อมใจแผ่ไปสู่มหัคคตฌานในกสิณนิมิตนั้น ปกคลุมโคน

ต้นไม้แห่งหนึ่ง เป็นที่พอประมาณโดยกสิณนิมิตอยู่. บทว่า มหคฺคต ความว่า

ก็ความผูกใจไม่มีแก่ภิกษุนั้น ท่านจึงกล่าวบทนี้ไว้ด้วยสามารถแห่งความเป็น

ไปแห่งมหัคคตฌานอย่างเดียว. ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า อิมินา โข

เอต คหปติ ปริยาเยน ความว่า ด้วยเหตุนี้. ก็ในข้อนี้มีวินิจฉัยว่า ก็

นิมิตแห่งพรหมวิหารที่ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นอัปปมาณานี้ ย่อมไม่ควร คือยัง

ไม่เกิดการแผ่ขยาย และทั้งฌานเหล่านั้น ก็ยังไม่เป็นบาทแห่งอภิญญาหรือ

นิโรธ ก็ฌานที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา ย่อมเป็นทั้งบาทแห่งวัฏฏะ และเป็น

การก้าวลงสู่ภพ. แต่นิมิตแห่งฌานที่เป็นกสิณ ซึ่งท่านกล่าวว่า เป็นมหัคคตะ

ย่อมควร คือย่อมเกิดการแผ่ขยายออกไป และย่อมก้าวล่วงได้ ฌานที่เป็น

บาทแห่งอภิญญา ย่อมเป็นบาทแห่งนิโรธด้วย เป็นบาทแห่งวัฏฏะด้วย ทั้ง

ก้าวลงสู่ภพได้ด้วย. ธรรมเหล่านี้ มีอรรถต่างกันอย่างนี้ และมีพยัญชนะต่าง

กันอย่างนี้ คือ เป็นอัปปมาณา และเป็นมหัคคตะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

ก็บัดนี้ เมื่อจะแสดงเหตุแห่งการออกจากมหัคคตาสมาบัติแล้วเข้าสู่ภพ

ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า จตสฺโส โข อิมา ดังนี้. บทว่า ปริติตาภา

ความว่า ก็ความผูกใจของภิกษุผู้น้อมใจแผ่ไปแล้วรู้อยู่ ยังมีอยู่ แต่ภิกษุผู้ยัง

ต้องเจริญฌานอันเป็นเหตุแห่งการบังเกิดในหมู่เทพชั้นปริตตาภาทั้งหลาย ท่าน

จึงกล่าวไว้อย่างนี้ . ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้ เทพชั้นปริตตา มีแสงสว่างริบหรี่

ก็มี แสงสว่างจ้าก็นี้. เทพชั้นอัปปมาณาภา แสงสว่างริบหรี่ก็มี มีแสงสว่าง

จ้าก็มี.

ถามว่า ข้อนี้ เป็นอย่างไร. ตอบว่า ภิกษุทำบริกรรมในกสิณ มี

ประมาณเท่ากระด้ง หรือมีประมาณเท่าขัน ทำสมาบัติให้เกิดแล้ว มีความ

ชำนาญอันสะสมไว้แล้วโดยอาการทั้ง ๕ เพราะธรรมที่เป็นข้าศึกยังไม่บริสุทธิ์

ดีกัน. เธอใช้สอยสมาบัติที่ยังไม่ชำนาญนั่นแหละ แล้วตั้งอยู่ในฌานที่ยังไม่

คล่องแคล่ว ทำกาละแล้วย่อมเกิดในหมู่เทพชั้นปริตตาภาทั้งหลาย ทั้งวรรณะ

ของเธอก็น้อยและเศร้าหมอง. ส่วนภิกษุผู้มีความชำนาญ อันสั่งสมไว้แล้วโดย

อาการทั้ง ๕ ใช้สอยสมาบัติอันบริสุทธิ์ดี ดังอยู่ในฌานที่คล่องแคล่ว ทำกาละ

แล้ว ย่อมบังเกิดในเทพชั้นปริตตาภา เพราะธรรมที่เป็นข้าศึกบริสุทธิ์ดี ทั้ง

วรรณะของเธอมีนิดหน่อยและบริสุทธิ์. ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เทวดา

ชั้นปริตตาภา จึงจัดว่ามีทั้งแสงริบหรี่ มีทั้งแสงสว่างเจิดจ้า. ก็ข้อที่ภิกษุทำ

บริกรรมในกสิณอันไพบูลย์ แล้วยังสมาบัติให้เกิด มีความคล่องแคล่วอันสั่ง

แล้ว ด้วยอาการทั้ง ๕ ดังนี้ ทั้งหมดพึงทราบเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วใน

ก่อน. ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เทวดาชั้นอัปปมาณาภา จึงจัดว่า มีทั้งแสง

ริบหรี่ มีทั้งแสงสว่างเจิดจ้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

บทว่า วณฺณนานตฺต แปลว่า มีสีกายต่างกัน. บทว่า โน จ

อาภานตฺต ได้แก่. ไม่ปรากฏว่า มีแสงสว่างต่างกัน. บทว่า อจฺจินานตฺต

ความว่า มีเปลวต่างกัน คือ ยาวบ้าง สั้นบ้าง เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง.

บทว่า ยตฺถ ยตฺถ ความว่า อยู่อาศัย คืออยู่ประจำในที่ใดที่หนึ่ง

เช่น อุทยานวิมานต้นกัลปพฤกษ์ ริมน้ำ และสระโบกขรณี. บทว่า อภิรมนฺติ

แปลว่า ย่อมยินดี คือไม่เบื่อหน่าย. บทว่า การเชน ได้แก่ หาบอย่างใด

อย่างหนึ่ง เช่น หาบข้าวยาคู หาบภัต หาบน้ำมัน หาบน้ำอ้อย หาบปลา

และหาบเนื้อ. ปาฐะว่า กาเจน ดังนี้ ก็มี. ความก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า

ปิฏเกน แปลว่า ด้วยตะกร้า. บทว่า ตตฺถ ตตฺเถว ความว่า กลุ่มแมลงวัน

ที่เขานำออกจากแหล่งที่หาได้ง่าย เช่น เนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น แล้ว

นำไปสู่แหล่งที่หนาแน่นไปด้วยเกลือและปลาเน่าเป็นต้น ย่อมไม่เกิดความคิด

อย่างนี้ว่า เมื่อก่อนที่อยู่ของเราสบาย เราอยู่เป็นสุขในที่นั้น เกลือทำให้เรา

ลำบาก ในที่นี้ หรือว่า กลิ่นปลาเน่าทำให้เราปวดหัว ยอมยินดีในที่นั้น ๆ

ทีเดียว. บทว่า อาภา แปลว่า สมบูรณ์ด้วยแสงสว่าง. บทว่า ตทงฺเคน

ได้แก่ องค์แห่งการเข้าถึงภพนั้น อธิบายว่า ได้แก่ เหตุแห่งการเข้าถึงภพ.

บัดนี้ เมื่อจะถามถึงเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า โก นุ โข

ภนฺเต ดังนี้. บทว่า กายทุฏฺฐุลฺล ได้แก่ ความเกียจคร้านทางกาย. บทว่า

ฌายโต แปลว่า ไฟติดรุ่งเรืองอยู่. บทว่า ทีฆรตฺต โข เม ความว่า

ได้ยินว่า พระเถระบำเพ็ญบารมี บวชเป็นฤษี ยังสมาบัติให้เกิด ได้กำเนิด

ในพรหมโลก ๓๐๐ ครั้ง ติดต่อกันไป คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงพระเถระรูปนั้น

แหละ. สมดังที่ท่านกล่าวเป็นคาถาประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

เมื่อก่อนเราแสวงหาสังขตธรรม ที่

คงที่ (ไม่วุ่นวาย) บวชเป็นฤษี เที่ยวไป

แล้วตลอด ๓๐๐ ปี.

คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอนุรุทธสูตร ที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

๘. อุปักกิเลสสูตร

[๔๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารโฆสิตาราม กรุง

โกสัมพี สมัยนั้นแล พวกภิกษุในกรุงโกสัมพีเกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกัน เสียดสี

กันและกันด้วยฝีปากอยู่.

[๔๔๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืน

เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกภิกษุในกรุงโกสัมพีนี้ เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกัน เสียดสีกันและกันด้วย

ฝีปากอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ โปรดอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปยัง

ที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ ด้วยดุษณีภาพ ต่อนั้น

ได้เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้น ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง อย่าวิวาท

กันเลย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของ

ธรรม ทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบ

เนือง ๆ แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่

ด้วยการขัดใจ ทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาทกันเช่นนี้.

[๔๔๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นแม้ในวาระที่ ๒

ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง

อย่าวิวาทกันเลย ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ในวาระที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของธรรม

ทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนือง ๆ

แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการ

ขัดใจ ทะเลาะ แก่งแย่ง วิวาทกันเช่นนี้.

[๔๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นแม้ในวาระที่ ๓

ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าเลย อย่าขัดใจ อย่าทะเลาะ อย่าแก่งแย่ง

อย่าวิวาทกันเลย ภิกษุรูปนั้นก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ในวาระที่ ๓

ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเจ้าของธรรม

ทรงยับยั้งก่อน ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ทรงประกอบเนือง ๆ

แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการ

ขัดใจ ทะเลาะแก่งแย่ง วิวาทกันเช่นนี้.

ว่าด้วยภาษิตคาถา

[๔๔๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งสบง ทรงบาตร

จีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงโกสัมพีในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจาก

บิณฑบาต ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะ กำลังประทับ

ยืนอยู่นั่นแหละ ได้ตรัสพระคาถา ดังนี้ว่า

ภิกษุมีเสียงดังเสมอกัน ไม่มีใคร ๆ

สำคัญตัวว่าเป็นพาล เมื่อสงฆ์แตกกัน

ต่างก็มิได้สำคัญตัวกันเองให้ยิ่ง พวกที่

เป็นบัณฑิต ก็พากันหลงลืม มีปากพูด

ก็มีแต่ตำพูดเป็นอารมณ์พูดไป เท่าที่

ปรารถนาแสดงฝีปาก ไม่รู้เหตุที่ตนนำไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

ก็ชนเหล่าใดผูกโกรธเขาว่า คนโน้นได้

ด่าเรา คนโน้นได้ประหารเรา คนโน้น

ได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา

เวรของตนเหล่านั้น ย่อมไม่สงบ ส่วนชน

เหล่าใดไม่ผูกโกรธเขาว่า คนโน้นได้ด่า

เรา คนโน้นได้ประหารเรา ตนโน้นได้

ชนะเรา คนโน้นได้ลักของของเรา เวร

ของชนเหล่านั้น ย่อมเข้าไปสงบได้ เวรใน

โลกนี้ ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวรเลย ใน

กาลไหน ๆ แต่จะระงับได้ด้วยไม่มีเวรกัน

นี้เป็นธรรมดามีมาเก่าแก่ ก็คนพวกอื่น

ย่อมไม่รู่สึกว่า พวกเราจะย่อยยับในที่นี้

แต่ชนเหล่าใดที่นั้นรู้สึก ความมุ่งร้าย

กัน ย่อมสงบแต่ชนเหล่านั้นได้ คนพวกอื่น

ตัดกระดูกกัน ผลาญชีวิตกัน ลักโค ม้า

ทรัพย์กัน แม้ชิงแว่นแคว้นกัน ยังมีคืนดี

กันได้

เหตุไร พวกเธอจึงไม่มีเล่า ถ้าบุคคล

ได้สหายที่มีปัญญารักษาตัวร่วมทางจร

เป็นนักปราชญ์ มีปกติให้สำเร็จประโยชน์

อยู่ คุ้มอันตรายทั้งปวงได้ พึงชื่นชมมี

สติเที่ยวไปกับสหายนั้นเถิด ถ้าไม่ได้สหาย

ที่มีปัญญารักษาตัวร่วมทางจร เป็นนัก-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

ปราชญ์ มีปกติให้สำเร็จประโยชน์อยู่

พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนพระราชา

ที่ทรงสละราชสมบัติ และเหมือนช้างมา-

ตังคะในป่า ฉะนั้น การเที่ยวไปคนเดียว

ประเสริฐกว่า เพราะความเป็นสหายกันใน

คนพาลไม่มี พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป และ

ไม่พึงทำบาป เหมือนช้างมาตังคะมีความ

ขวนขวายน้อยในป่าฉะนั้น.

[๔๔๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นประทับยืนตรัสพระคาถา

นี้แล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังบ้านพาลกโลณการ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระภคุอยู่ใน

บ้านพาลกโลณการ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว

จึงแต่งตั้งอาสนะและน้ำสำหรับล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง

บนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้วทรงล้างพระบาท ท่านพระภคุถวายอภิวาทพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่าน

พระภคุผู้นั่งเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ พอทน พอเป็นไปได้หรือ

เธอไม่ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาตบ้างหรือ.

ท่านพระภคุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พอทน พอเป็น

ไปได้ และข้าพระองค์ไม่ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาตเลย พระพุทธเจ้าข้า ต่อนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ท่านพระภคุให้เห็น แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรมแล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จเข้าไปประทับ

นั่งยังป่าปาจีนวงสทายวัน .

[๔๔๕] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่าน

พระกิมพิละ อยู่ในป่าปาจีนวงสทายวัน คนรักษาป่าได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

ท่านสมณะ ท่านอย่าเข้าไปยังป่านี้ ในป่านี้ มีกุลบุตร ๓ คน กำลังหวังอัตตา

อยู่ ท่านอย่าได้ทำความไม่สำราญแก่เขาเลย ท่านพระอนุรุทธะได้ยินคนรักษาป่า

พูดกับพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ครั้นได้ยินแล้ว จึงบอกคนรักษาป่าดังนี้ ว่า

ดูก่อนท่านผู้รักษาป่า ท่านอย่าห้ามพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย พระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นพระศาสดาของพวกเราได้เสด็จถึงแล้วโดยลำดับ ต่อนั้น ท่านพระอนุรุทธะ

เข้าไปหาท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละยังที่อยู่ แล้วบอกดังนี้ว่า นิมนต์

ท่านทั้งสองไปข้างหน้า ๆ กันเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระศาสดาของ

พวกเรา เสด็จถึงแล้วโดยลำดับ ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระ-

นันทิยะ และท่านพระกิมพิละต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งรับบาตร

จีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า รูปหนึ่งแต่งตั้งอาสนะ รูปหนึ่งตั้งน้ำสำหรับ

ล้างพระบาท พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งแล้ว ทรงล้าง

พระบาท แม้ท่านทั้ง ๓ นั้นก็ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๔๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธะผู้นั่งเรียบร้อย

แล้ว ดังนี้ว่า ดูก่อนอนุรุทธะ เธอพอทน พอเป็นไปได้หรือ พวกเธอไม่

ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาตบ้างหรือ.

ท่านพระอนุรุทธะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พอทนได้

พอเป็นไปได้ พวกข้าพระองค์ไม่ลำบากด้วยเรื่องบิณฑบาตเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอนุรุทธะ...ก็พวกเธอพร้อมเพรียงกันยินดีต่อกัน ไม่วิวาท

กัน เข้ากันได้ดังนมสดกับน้ำ มองดูซึ่งกันและกันด้วยนัยน์ตาที่น่ารักอยู่หรือ.

อ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์พร้อมเพรียงกัน ยินดี

ต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดังนมสดกับน้ำ มองดูซึ่งกัน และกันด้วยนัยน์ตา

ที่น่ารักอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

พ. ดูก่อนอนุรุทธะ อย่างไรเล่า พวกเธอจึงพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน

ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดังนมสดกับน้ำ มองดูซึ่งกันและกันด้วยนัยน์ตาที่น่ารัก

อยู่ได้.

ว่าด้วยเอกจิต

[๔๔๗] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความ

ดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้วหนอที่อยู่กับเพื่อนภิกษุผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์ร่วมกันเห็นปานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นเข้าไปตั้ง

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านผู้มีอายุเหล่านี้

ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ และมีความดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงวางจิตของตน

ให้เป็นไปตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ข้าพระองค์นั้นแล จึงวางจิต

ของตนให้เป็นไปตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ก็พวกข้าพระองค์ต่าง

กันแต่กายเท่านั้น ส่วนจิตคงเป็นอันเดียวกัน.

[๔๔๘] แม้ท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมพิละ ก็กราบทูลพระผุ้มี-

พระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็มีความดำริอย่างนี้

ว่า เป็นลาภของเรา เราได้ดีแล้วหนอที่อยู่กับเพื่อนภิกษุผู้ประพฤติพรหมจรรย์

ร่วมกันเห็นปานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นเข้าไปตั้งกายกรรม

วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งในที่

แจ้ง ทั้งในที่ลับ และมีความดำริว่า ไฉนหนอ เราพึ่งวางจิตของตนให้เป็น

ไปตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ข้าพระองค์นั้นแล จึงวางจิตของตน

ให้เป็นไปตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ก็พวกข้าพระองค์ต่างกันแต่กาย

เท่านั้น ส่วนจิตคงเป็นอันเดียวกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อย่างนี้แลพวกข้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

พระองค์จึงพร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้ดังนมสดกับ

น้ำ มองดูซึ่งกันและกัน ด้วยนัยน์ตาที่น่ารักอยู่ได้.

[๔๔๙] พ. ดีละ ๆ อนุรุทธะ...ก็พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีตนส่งไปแล้วบ้างหรือ.

อ. แน่นอน พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ย่อมเป็นผู้ไม่ประมาท

มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว.

พ. ดูก่อนอนุรุทธะ...อย่างไรเล่า พวกเธอจึงเป็นผู้ไม่ประมาทมี

ความเพียร มีตนส่งไปแล้ว.

[๔๕๐] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ พวกข้าพระองค์รูปใด

กลับจากบิณฑบาตแต่หมู่บ้านก่อน รูปนั้นย่อมแต่งตั้งอาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้

และกระโถนไว้ รูปใดกลับทีหลัง ถ้ามีภัตที่ฉันเหลือยังปรารถนาอยู่ ก็ฉันไป

ถ้าไม่ปรารถนา ก็เทเสียในที่ปราศจากหญ้า หรือทิ้งเสียในน้ำที่ปราศจากตัว

สัตว์ รูปนั้นจะเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉันน้ำใช้และกระโถน กวาดโรงฉัน รูปใด

เห็นหม้อน้ำฉัน หรือหม้อน้ำในเวจกุฎีว่างเปล่า รูปนั้นจะตักใส่ไว้ ถ้ารูปนั้น

ไม่อาจ พวกข้าพระองค์จะกวักมือเรียกรูปที่สองมาแล้ว ช่วยกันตั้งหม้อน้ำฉัน

หรือหม้อน้ำใช้ไว้โดยช่วยกันหิ้วคนละมือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระ

องค์จะไม่ปริปาก เพราะเหตุนั้นเลย และพวกข้าพระองค์จะนั่งประชุมสนทนา

ธรรมกันคืนยังรุ่งทุก ๆ ห้าวัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อย่างนี้แล พวกข้า

พระองค์จึงเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว.

ว่าด้วยการให้สาธุการ

[๔๕๑] พ. ดีละ ๆ อนุรุทธะ... ก็พวกเธอผู้ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีตนส่งไปอย่างนี้ ย่อมมีคุณวิเศษคือ ญาณทัสสนะอันประเสริฐ

สามารถกว่าธรรมของมนุษย์อันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายอัน ได้บรรลุแล้วหรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ พวกข้าพระองค์ผู้ไม่ประมาท

มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้า

เท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของพวกข้าพระองค์ ย่อมหายไปได้

พวกข้าพระองค์ยังไม่แทงตลอดนิมิตนั้น.

[๔๕๒] พ. ดูก่อนอนุรุทธะ... พวกเธอต้องแทงตลอดนิมิตนั้น แล

แม้เราก็เคยมาแล้ว เมื่อก่อนตรัสรู ยังไม่รู้เองด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิ-

สัตว์อยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่าง

และการเห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไร

หนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้ ดูก่อน

อนุรุทธะ. ...เรานั้น ได้มีความรู้ดังนี้ว่า วิจิกิจฉาแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็

วิจิกิจฉาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ

การเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉาขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๕๓] ดูก่อนอนุรุทธะ...เรานั้นแลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี

ตนส่งไปแล้ว ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แม้ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่าง

และการเห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหาย ไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไร

หนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้

ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า อมนสิการแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ก็อมนสิการเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่าง

และการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา และอมนสิการขึ้นแก่

เราได้อีก.

[๔๕๔] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะ

เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ถีนมิทธะแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ถีนมิทธะเป็นเหตุ

สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

หายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ และถีนมิทธะขึ้นแก่เราได้

อีก.

[๔๕๕] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะ

เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ความหวาดเสียวแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความหวาด

เสียวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ

การเห็นรูปจึงหายไปได้ ดูก่อนอนุรุทธะ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล

เกิดมีคนปองร้ายเขาขึ้นที่สองข้างทาง เขาจึงเกิดความหวาดเสียว เพราะถูก

คนปองร้ายนั้นเป็นเหตุ ฉันใด ดูก่อนอนุรุทธะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความ

หวาดเสียวแลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความหวาดเสียวเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง

เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจัก

ทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมีทธะและความหวาดเสียวขึ้นแก่เราได้อีก.

ว่าด้วยเกิดความตื่นเต้น

[๔๕๖] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะ

เรานั้น ได้มีความรู้ดังนี้ว่า ความตื่นเต้นแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความตื่น

เต้นเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการ

เห็นรูปจึงหายไปได้ ดูก่อนอนุรุทธะเปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์

แห่งหนึ่ง พบแหล่งขุมทรัพย์เข้า ๕ แห่งในคราวเดียวกัน เขาจึงเกิดความตื่น

เต้น เพราะพบแหล่งชุมทรัพย์ ๕ แห่งนั้นเป็นเหตุ ฉัน ใด ดูก่อนอนุรุทธะ

ฉันนั้นเหมือนกันแล ความตื่นเต้นแลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความตื่นเต้นเป็น

เหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูป

จึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะความหวาดเสียว

และความตื่นเต้นขึ้นแก่เราได้อีก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

[๔๕๗] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะ

เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ความชั่วหยาบแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความชั่ว

หยาบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ

การเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ

ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น และความชั่วหยาบขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๕๘] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะ

เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ก็ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อน

แล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ ดูก่อนอนุรุทธะ เปรียบเหมือน

บุรุษเอามือทั้ง ๒ จับนกคุ่มไว้แน่น นกคุ่มนั้นต้องถึงความตายในมือนั้นเอง

ฉันใด ดูก่อนอนุรุทธะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ความเพียรที่ปรารภเกินไปแล

เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แลความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึง

เคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจัก

ทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น

ความชั่วหยาบ และความเพียรที่ปรารภเกินไปขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๕๙] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะ

เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่

เรา ก็ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิ

เคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ ดูก่อนอนุรุทธะ เปรียบ

เหมือนบุรุษจับนกคุ่มหลวม ๆ นกคุ่มนั้นต้องบินไปจากมือเขาได้ ฉันใด

ดูก่อนอนุรุทธะ ฉันนั้นเหมือนกันแลความเพียรที่ต่อหย่อนเกินไปแล เกิดขึ้น

แล้วแก่เรา ก็ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน

เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความ

ชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป และความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปขึ้น

แก่เราได้อีก.

[๔๖๐] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะ

เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ตัณหาที่คอยกระซิบแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็

ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว

แสงสว่างและการเห็นรู้แจ้งหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการ

ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภ

เกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป และตัณหาที่คอยกระซิบขึ้นแก่เราได้อีก

ว่าด้วยการเกิดตัณหาคอยกระซิบ

[๔๖๑] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูก่อนอนุรุทธะ

เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

ก็ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อน

แล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เรานั้นจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา

อมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความ

เพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ และ

ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๖๒] ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่ง

ไปแล้ว ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการ

เห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล

เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้ ดูก่อนอนุรุทธะ

เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

ก็ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อน

แล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมน-

สิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียร

ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ ความ

สำคัญสภาวะว่าต่างกัน และลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปขึ้นแก่เราได้อีก.

[๔๖๓] ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้นแลรู้ว่า วิจิกิจฉาเป็นเครื่องเกาะจิต

ให้เศร้าหมอง จึงละวิจิกิจฉาอันเกาะจิตไห้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่าอมนสิการ

เป็นเครื่องเกาะให้จิตเศร้าหมอง จึงละอมนสิการอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่าถีนมิทธะเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละถีนมิทธะอันเกาะจิตให้

เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ความหวาดเสียวเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึง

ละความหวาดเสียว อันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ความตื่นเต้นเป็น

เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงจะความตื่นเต้นอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้

รู้ว่า ความชั่วหยาบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความชั่วหยาบอันเกาะ

ให้เศร้าหมองเสียได้รู้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้

เศร้าหมอง จึงละความเพียรที่ปรารภเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า

ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละความเพียร

ย่อหย่อนเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้รู้ว่า ตัณหาที่คอยกระซิบเป็น

เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละตัณหาที่คอยกระซิบอันเกาะจิตให้เศร้าหมอง

เสียได้รู้ว่า ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึง

ละความสำคัญ สภาวะว่าต่างกันอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้ รู้ว่า ลักษณะ

ที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง จึงละลักษณะที่เพ่งเล็งรูป

เกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองเสียได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

ว่าด้วยการเกิดปริวิตก

[๔๖๔] ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตน

ส่งไปแล้ว ย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปอย่างเดียว

แล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้ง

กลางคืนและกลางวันบ้าง เรานั้น จึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ

เป็นปัจจัยให้เรารู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป เห็นรูปอย่างเดียว

แล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้ง

กลางคืนและกลางวันบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัยใด

เราไม่ใส่ใจ นิมิตหรือรูป ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้น เรารู้สึก

แสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป ส่วนสมัยใดเราไม่ใส่ใจนิมิตคือแสงสว่าง

ใส่ใจแต่นิมิตคือรูป สมัยนั้น เราย่อมเห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง

ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง.

ว่าด้วยสมาธิภาวนา ๓ อย่าง

[๔๖๕] ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้น รู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตน

ส่งไปแล้ว ย่อมรู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย และรู้ลึก

แสงสว่างอย่างหาประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืน

บ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง เราจึงมีความดำริ

ดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้เรารู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อย

เห็นรูปได้นิดหน่อย และรู้สึกแสงสว่างอย่างหาประมาณมิได้ เห็นรูปอย่างหา

ประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและ

กลางวันบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะ เรานั้น ได้มีความรู้ดังนี้ว่า สมัยใด เรามีสมาธิ

นิดหน่อย สมัยนั้น เราก็มีจักษุนิดหน่อย ด้วยจักษุนิดหน่อย เรานั้นจึงรู้สึก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

แสงสว่างเพียงนิดหน่อย เห็นรูปได้นิดหน่อย ส่วนสมัยใด เรามีสมาธิหา

ประมาณมิได้ สมัยนั้น เราก็มีจักษุหาประมาณมิได้ ด้วยจักษุหาประมาณมิได้

เรานั้น จึงรู้สึกแสงสว่างหาประมาณมิได้ แลเห็นรูปหาประมาณมิได้ ตลอด

กลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ เพราะเรารู้ว่าวิจิกิจฉาเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง

แล้ว เป็นอันละวิจิกิจฉาอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าอมนสิการเป็นเครื่อง

เกาะจิตให้เศร้าหมองแล้วเป็นอันละอมนสิการอัน เกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่า

ถีนมิทธะเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละถีนมิทธะอัน เกาะจิตให้

เศร้าหมองได้ รู้ว่าความหวาดเสียวเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็น

อันละความหวาดเสียวอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้รู้ว่า ความตื่นเต้นเป็นเครื่อง

เกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความตื่นเต้นอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้

รู้ว่าความชั่วหยาบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้วเป็นอันละความชั่วหยาบ

อันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเครื่องเกาะ

จิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความเพียรที่ปรารภเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้า

หมองได้ รู้ว่าความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตไห้เศร้าหมองแล้ว

เป็นอันละความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ รู้ว่าตัณหา

ที่คอยกระซิบเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละตัณหาที่คอย

กระซิบอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้รู้ว่า ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันเป็นเครื่อง

เกาะจิตให้เศร้าหมองแล้ว เป็นอันละความสำคัญสภาวะว่าต่างกันอันเกาะจิตให้

เศร้าหมองได้ รู้ว่า ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็นเครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมอง

แล้ว เป็นอันละลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปอันเกาะจิตให้เศร้าหมองได้ เรานั้น

จึงได้มีความรู้ดังนี้ว่า เครื่องเกาะจิตให้เศร้าหมองนั้น ๆ ของเรา เราละได้แล้วแล

ดังนี้ เราจึงเจริญสมาธิโดยส่วนสามได้ในบัดนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

[๔๖๖] ดูก่อนอนุรุทธะ... เรานั้นได้เจริญสมาธิมีวิตกมีวิจารบ้าง ได้

เจริญสมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจารบ้าง ได้เจริญสมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ได้

เจริญสมาธิมีปีติบ้าง ได้เจริญสมาธิไม่มีปิติบ้าง ได้เจริญสมาธิสหรคตด้วยสุข

บ้าง ได้เจริญสมาธิสหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ เพราะสมาธิชนิดที่มีวิตกมีวิจารบ้าง ชนิดที่ไม่มีวิตก

มีแต่วิจารบ้าง ชนิดที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจารบ้าง ชนิดที่มีปีติบ้าง ชนิดที่ไม่มีปีติ

บ้าง ชนิดที่สหรคตด้วยสุขบ้าง ชนิดที่สหรคตด้วยอุเบกขาบ้าง เป็นอันเกิด

เจริญแล้ว ฉะนั้นแล ความรู้ความเห็นจึงได้เกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่

กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้ความเกิดใหม่ย่อมไม่มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะ จึง

ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบอุปักกิเลสสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

อรรถกถาอุปักกิเลสสูตร

อุปักกิเลสสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตทโวจ ความว่า มิใช่กราบทูล

ด้วยความประสงค์จะให้แตกแยกกัน และมิใช่เพื่อจะประจบ แท้จริง ภิกษุนั้น

ได้ความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้เชื่อฟังเราแล้ว จักงดเว้น และธรรมดา

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงมุ่งอนุเคราะห์เพื่อประโยชน์สถานเดียว พระองค์จัก

ตรัสบอกเหตุอย่างหนึ่งแก่ภิกษุเหล่านี้เป็นแน่ ภิกษุเหล่านั้นฟังเหตุเหล่านั้นแล้ว

จักงดเว้น แต่นั้นภิกษุเหล่านั้น จักอยู่อย่างผาสุก. เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นจึง

กราบทูลคำมีอาทิว่า อิธ ภนฺเต ดังนี้. ในบทเป็นต้นว่า มา ภณฺฑน พึง

เติมปาฐะที่เหลือว่า อกตฺถ เป็นต้นเข้าไปด้วย แล้วถือเอาความอย่างนี้ว่า

มา ภณฺฑน อย่าทำการขัดแย้งกัน. บทว่า อญฺตโร ความว่า ได้ยินว่า

ภิกษุนั้น มุ่งประโยชน์ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า คือได้ยินว่า ภิกษุนั้นมีความ

ประสงค์อย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว จะไม่เชื่อฟัง

คำสอนของพระศาสดา ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อกล่าวสอนภิกษุเหล่านี้อยู่

อย่าทรงลำบากเลยดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงกราบทูลอย่างนี้.

บทว่า ปิณฺฑาย ปาวิสิ ความว่า มิใช่เสด็จเข้าไปเพื่อบิณฑบาต

อย่างเดียว แต่ได้ทรงอธิฏฐานพระหฤทัยว่า คนที่เห็นเราแล้ว จงเข้าเฝ้าเรา.

ถามว่า ทรงอธิฏานเพื่อประโยชน์อะไร.

ตอบว่า เพื่อทรงทรมานภิกษุเหล่านั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

กลับจากบิณฑบาตโดยอาการอย่างนั้นแล้ว ตรัสคาถามีอาทิว่า ปุถุสทฺโท

สมชโน ดังนี้แล้ว เสด็จออกจากกรุงโกสัมพีตรงไปยังพาลกโลณการคาม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

แต่นั้นเสด็จไปในปาจีนวังสมิคทายวัน ต่อนั้นเสด็จเข้าไปยังชัฏป่าชื่อว่าปาริเลย-

ยกะ. อันช้างตัวประเสริฐชื่อปาริเลยยกะบำรุงอยู่ ประทับอยู่ตลอดไตรมาส.

แม้ชาวพระนครคิดว่า พระศาสดาเสด็จเข้าไปสู่วิหารแล้ว พวกเราจะไปฟังธรรม

แล้ว ถือของหอมดอกไม้ตรงไปยังวิหาร ถามว่า ท่านเจ้าข้า พระศาสดาเสด็จ

ไปไหน. ภิกษุทั้งหลายบอกว่า พวกท่านจะเฝ้าพระศาสดาได้ที่ไหน พระองค์

เสด็จมาด้วยหวังว่า จักเกลี่ยกล่อมภิกษุเหล่านี้ให้สามัคคีกัน แต่ไม่อาจทำให้

สามัคคีกันไค้ จึงเสด็จออกไปแล้ว. พวกชาวเมืองทั้งหมดพากันคาดโทษว่า

พวกเราจะเสียเงินทั้งร้อยหรือพัน ก็ไม่สามารถจะนำพระศาสดามาได้ ถึงพวกเรา

จะไม่กราบทูลวิงวอน พระองค์ก็จะเสด็จมาเอง เพราะอาศัยภิกษุเหล่านี้ ทำให้

พวกเราไม่ได้สดับธรรมกถาเฉพาะพระพักตร์ของพระองค์ ภิกษุเหล่านั้น บวช

เจาะจงพระศาสดา แม้เมื่อพระองค์ทรงกระทำให้สามัคคีกัน ก็ไม่ยอมสมัครสมาน

สามัคคีกันเช่นนี้ จะเชื่อฟังใครเล่า พอกันที พวกเราอย่าถวายภิกษาแก่ภิกษุ

เหล่านี้. ครั้นวันรุ่งขึ้น ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวไปบิณฑบาต ทั่วทั้งพระนคร

ไม่ได้ภิกษาแม้สักทัพพีเดียว กลับวิหารแล้ว. แม้พวกอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย

กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอีกว่า พวกเราจะลงทัณฑกรรมเช่นนี้แหละแก่ท่านทั้งหลาย

จนกว่าพวกท่านจะให้พระศาสดาทรงอดโทษ. ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า พวกเรา

จักให้พระศาสดาอดโทษ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ทันเสด็จถึงพระนคร

สาวัตถี ได้ไปรอคอยอยู่ในเมืองสาวัตถีแล้ว พระศาสดาทรงแสดง เภทกรวัตถุ

๑๘ ประการ แก่ภิกษุเหล่านั้นแล้ว ในเรื่องนี้มีข้อความตามที่กล่าวไว้ในบาลี-

มุตตกะเพียงเท่านี้.

บัดนี้จะวินิจฉัยในคาถามีอาทิว่า ปุถุสทฺโท ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า

ปุถุสทฺโท เพราะอรรถว่า มีเสียงดัง เสียงใหญ่ทีเดียว. บทว่า สมชโน

ได้แก่ คนที่เหมือนกัน คือคล้าย ๆ คน คนเดียวกัน ท่านอธิบายว่า คน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

ผู้ทำการแตกร้าวกันทั้งหมดนี้ มีเสียงดังด้วย มีเสียงคล้ายกันด้วย โดยการ

เปล่งเสียงดังลั่นไปรอบ ๆ. บทว่า น พาโล โกจิ มญฺถ ความว่า

ในคนเหล่านั้น ไม่มีใครแม้แต่คนเดียว ที่จะสำคัญคนว่า เราเป็นคนพาล

ทุก ๆ คนเข้าใจตนว่า เป็นบัณฑิตทั้งนั้น. บทว่า นาญฺ ภิยฺโย อมญฺรุ

ได้แก่ ไม่มีใคร ๆ แม้คนเดียว สำคัญตนว่า เราเป็นพาล อธิบายว่า เมื่อสงฆ์

แตกกัน ต่างก็มิได้สำคัญเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ให้ยิ่งขึ้นไป คือไม่สำคัญถึงเหตุ

นี้ว่า สงฆ์แตกกันเพราะเราเป็นเหตุ. บทว่า ปริมุฏฺา แปลว่า มีสติหลงลืม.

บทว่า วาจาโคจรภาณิโน นี้ ท่านอาเทส ราอักษร ให้เป็น ร อักษร

ความก็ว่า พูดตามอารมณ์ ไม่มีสติปัฏฐานควบคุม ได้แก่พูดพล่อย ๆ. บทว่า

อายิจฺฉนฺติ มุขายาน ได้แก่ พูดไปเพียงเพื่อปรารถนาจะดีฝีปาก อธิบายว่า

แม้ภิกษุรูปเดียว ก็ไม่ยอมสงบปาก ด้วยความเคารพในสงฆ์. บทว่า เยน นีตา

ความว่า อันความทะเลาะใด นำไปสู่ความเป็นคนหน้าด้านนี้. บทว่า น ต วิทู

ความว่า ไม่รู้ถึงเหตุนั้นว่า การทะเลาะนี้ มีโทษอย่างนี้. บทว่า เย จ ต

อุปนยฺหนฺติ ความว่า คนเหล่าใดเข้าไปผูกโกรธเขา มีอาการเป็นต้นว่า

ผู้นี้ได้ด่าเราดังนี้. บทว่า สนฺตโน แปลว่า เป็นของเก่า. บทว่า ปเร

ความว่า ยกเว้นบัณฑิตทั้งหลายเสียแล้ว ผู้ก่อการทะเลาะเหล่าอื่น ชื่อว่า

คนเหล่าอื่นจากบัณฑิตนั้น คนเหล่านั้น เมื่อก่อการทะเลาะกันในท่ามกลางสงฆ์นี้

ย่อมไม่รู้ว่าพวกเราจะย่อยยับ คือจะฉิบหายใกล้ตายเข้าไปทุกขณะมิได้ขาด.

บทว่า เย จ วิชานนฺติ ความว่า บรรดาคนเหล่านั้น คนเหล่าใดเป็น

บัณฑิต รู้ตัวว่า พวกเราอยู่ใกล้มัจจุดังนี้. บทว่า ตโต สมฺมนฺติ เมธคา

ความว่า ก็บัณฑิตเหล่านั้น รู้อยู่อย่างนี้ เกิดโยนิโสมนสิการ ย่อมปฏิบัติ

เพื่อความเข้าไปสงบระงับ ความบาดหมางและความทะเลาะ. คาถาว่า อฏฺิจฺฉิทา

เป็นต้นนี้มีมาในชาดก ท่านกล่าวหมายถึง พระเจ้าพรหมทัตและทีฆาวุกุมาร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

ในพระคาถานี้ มีใจความดังต่อไปนี้ แม้คนเหล่านั้น คือคนที่จองเวรกัน

ถึงปานนั้น ยังคืนดีกันได้ เหตุใดพวกเธอจึงไม่คืนดีกันเล่า. เพราะพวกเธอ

ยังไม่ถึงกับแช่งชักหักกระดูกกัน ยังไม่ถึงกับล้างผลาญชีวิตกัน ยังไม่ถึงกับ

ลักโค ม้า และทรัพย์กัน. ตรัสพระคาถามีอาทิว่า สเจ ลเภถ ดังนี้ไว้ เพื่อ

จะทรงแสดงคุณและโทษแห่งสหายที่เป็นบัณฑิต และสหายที่เป็นพาล. บทว่า

อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ ความว่า พึงชื่นชม มีสติ เที่ยวไปกับ

สหายผู้คุ้มกันอันตรายทั้งที่ปรากฏและไม่ปรากฏได้นั้น. บทว่า ราชาว รฏฺ

วิชิต ความว่า พึงเที่ยวไปเหมือนพระมหาชนก และพระเจ้าอรินทมมหาราช

ที่ทรงละแว่นแคว้น ซึ่งพระองค์ทรงรบชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่ผู้เดียว.

บทว่า มาตงฺครญฺเว ความว่า เหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปในป่า

ฉะนั้น. ช้างธรรมดาท่านเรียกว่า มาตังคะ. บทว่า นาโค นี้ เป็นชื่อของ

ช้างใหญ่. ท่านจึงกล่าวไว้ดังนี้ว่าเที่ยวไปแต่ผู้เดียว ไม่กระทำความชั่วทั้งหลาย

เหมือนช้างมาตังคะตัวเลี้ยงแม่ เที่ยวไปในป่าแต่ตัวเดียว ไม่กระทำความชั่ว

และเหมือนช้างปาริเลยยกะฉะนั้น. บทว่า พาลกโลณการคาโม ได้แก่

บ้านส่วยของอุบาลีคฤหบดี. ในบทว่า เตนุปสงฺกมิ นี้ มีคำถามว่า เสด็จ

เข้าไปทำไม.

ตอบว่า ได้ยินว่า พระองค์ทรงเห็นโทษในการอยู่เป็นหมู่ของท่าน

พระภคุนั้น ทรงปรารถนาจะเห็นภิกษุอยู่อย่างโดดเดี่ยว ฉะนั้นจึงเสด็จเข้าไป

ในพาลกโลณการคาม เหมือนคนถูกความหนาวเป็นต้นเบียดเบียนแล้ว

ปรารถนาความอบอุ่นเป็นต้น ฉะนั้น. บทว่า ธมฺมิยา กถาย ความว่า

ปฏิสังยุตด้วยอานิสงส์ในความอยู่โดดเดี่ยว.

ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จเข้าไปใน

ปาจีนวังสทายวันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเ จ้า ทรงมีพุทธประสงค์จะพบภิกษุทั้งหลาย

ผู้ก่อการทะเลาะกัน แล้วกลับอยู่ด้วยความสมัครสมานสามัคคีกัน หลังแต่เห็น

โทษของความทะเลาะนั้น เพราะฉะนั้นจึงเสด็จเข้าไปในปาจีนวังสทายวันนั้น

ดุจคนถูกความหนาวเป็นต้นเบียดเบียนแล้ว ปรารถนาความอบอุ่นเป็นต้น

ฉะนั้น. บทว่า อายสฺมา จ อนุรุทฺโธ เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

บทว่า อตฺถิ ปน โว ความว่า พึงถามโลกุตตรธรรมด้วยคำถามครั้งหลังสุด.

ก็โลกุตตรธรรมนั้นไม่มีแก่พระเถระทั้งหลาย เพราะฉะนั้น การถามถึงโลกุตตร-

ธรรมจึงไม่สมควรเลย เพราะฉะนั้นท่านจึงถามถึงโอภาสแห่งบริกรรม.

บทว่า โอภาสเยว สญฺชานาม ได้แก่ รู้สึกแสงสว่างแห่งบริกรรม.

บทว่า ทสฺสนญฺจ รูปาน ได้แก่รู้ชัดการเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ. บทว่า

ตญฺจ นิมิตฺต น ปฏิวิชฌาม ความว่า ก็โอภาสและการเห็นรูป

ของข้าพระองค์ทั้งหลาย ย่อมหายไปด้วยเหตุใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย

ยังไม่รู้ซึ้งซึ่งเหตุนั้น. บทว่า ต โข ปน โว อนุรุทฺธา นิมิตฺต

ปฏิวิชฺฌิตพฺพ ความว่า พวกเธอควรรู้เหตุนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงปรารภเทศนานี้ ด้วยคำนี้อาทิว่า อหปิ สุท ดังนี้ ก็เพื่อจะทรงแสดงว่า

ดูก่อนอนุรุทธะ พวกเธอหม่นหมองอยู่หรือหนอ แม้เราก็เคยหม่นหมองมาแล้ว

ด้วยอุปกิเลส ๑๑ ประการเหล่านี้. ในบทว่า วิจิกิจฺฉา โข เม เป็นต้น ความ

ว่า พระมหาสัตว์ เจริญอาโลกกสิณแล้วเห็นรูปมีอย่างต่าง ๆ ด้วยทิพยจักษุ

จึงเกิดวิจิกิจฉาว่า นี้อะไรหนอ นี้อะไรหนอ. บทว่า สมาธิ จวิ ความว่า

บริกรรมสมาธิจึงเคลื่อน. บทว่า โอภาโส ความว่า แม้โอภาสแห่งบริกรรม

ก็หายไป คือไม่เห็นรูปแม้ด้วยทิพยจักษุ. บทว่า อมนสิกาโร ความว่า

วิจิกิจฉาย่อมเกิดแก่ผู้ที่เห็นรูป คือเกิดอมนสิการว่า บัดนี้เราจะไม่ใส่ใจอะไร ๆ.

บทว่า ถีนมิทฺธ ความว่า เมื่อไม่ใส่ใจถึงอะไร ๆ ถีนมิทธะก็เกิดขึ้น. บทว่า

ฉมฺภิตตฺต ความว่า ภิกษุเจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าไปทางหิมวันตประเทศ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

ได้เห็นสัตว์ต่าง ๆ เช่นยักษ์ ผีเสื้อน้ำ และงูเหลือมเป็นต้น ที่นั้น ความหวาด

เสียวเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ. บทว่า อุพฺพิล ความว่า เมื่อภิกษุคิดว่า สิ่งที่เรา

เห็นว่าน่ากลัว เวลาแลดูตามปกติย่อมไม่มี เมื่อไม่มี ทำไมจะต้องไปกลัวดังนี้

ความตื่นเต้นก็หมดไป. บทว่า สกึเทว ความว่าพึงพบชุมทรัพย์ ๕ ชุม ด้วย

การขุดค้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น. บทว่า ทุฏฺฐุลฺล ความว่า ความเพียรอัน

เราประคองไว้อย่างมั่นคง ได้ถูกความตื่นเต้นที่เกิดแก่เรานั้น กระทำให้ย่อ

หย่อน. แต่นั้นจะมีแต่ความกระวนกระวาย. บทว่า กายทุฏฺฐุลฺล ความว่า

ความกระวนกระวายคือภาวะที่ร่างกายเกียจคร้านก็เกิดขึ้น. บทว่า อจฺจารทฺ-

ธวิริย ความว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไป เกิดแล้วแก่ภิกษุผู้เริ่มตั้งความ

เพียรใหม่ ด้วยคิดว่า ความตื่นเต้นทำความเพียรของเราให้ย่อหย่อน ความ

ชั่วร้ายจึงเกิดขึ้นได้. บทว่า ปตเมยฺย แปลว่า พึงตาย. บทว่า อติลีนวิริย

ความว่าเมื่อเราประคองความเพียร ก็เป็นอย่างนี้ เมื่อทำความเพียรย่อหย่อน

ความเพียรที่หย่อนยาน ก็เกิดขึ้นได้อีก.

บทว่า อภิชปฺปา ความว่า เมื่อเราเจริญอาโลกกสิณ มุ่งตรงเฉพาะ

เทวโลก เห็นหมู่เทวดา ตัณหาก็เกิดขึ้น. บทว่า นานตฺตสญฺา ความว่า

เมื่อเราเจริญอาโลกกสิณ มุ่งตรงเฉพาะเทวโลกตามกาล แล้วใส่ใจถึงรูปมีอย่าง

ต่าง ๆ กัน ด้วยคิดว่า เมื่อเราใส่ใจถึงรูปที่มีกำเนิดอย่างเดียวกัน ตัณหา

กระซิบหูเกิดขึ้นแล้ว เราจะใส่ใจถึงรูปมีอย่างต่าง ๆ ดังนี้ ความสำคัญสภาวะว่า

ต่างกันก็เกิดขึ้น.

บทว่า อตินิชฺฌายิตตฺต ความว่า เมื่อเราใส่ใจถึงรูปมีอย่างต่าง ๆ

กัน ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันก็เกิดขึ้น เมื่อเราตั้งใจว่า จะใส่ใจถึงรูปที่มี

กำเนิดอย่างเดียวกัน จะน่าปรารถนาหรือไม่ก็ตามที แล้วใส่ใจอย่างนั้น รูปที่

มีการเพ่งเล็งเกินไปเป็นลักษณะก็เกิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

บทว่า โอภาสนิมิตฺต มนสิกโรมิ ความว่า เราได้มีความรู้ดังนี้

ว่า เราใส่ใจแต่แสงสว่างแห่งบริกรรมอย่างเดียว. บทว่า น จ รูปานิ ปสฺสามิ

ความว่า เราไม่เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ. บทว่า รูปนิมิตฺต มนสิกโรมิ ความว่า

เราใส่ใจถึงรูปที่เป็นอารมณ์เท่านั้น ด้วยทิพยจักษุ.

บทว่า ปริตฺตญฺเจว โอภาส ได้แก่ แสงสว่างในพระกัมมัฏฐาน

นิดหน่อย. บทว่า ปริตฺตานิ จ รูปานิ ได้แก่ รูปในพระกัมมัฏฐานนิด

หน่อย. บัณฑิตพึงทราบทุติยวาร โดยปริยายตรงกันข้าม. บทว่า ปริตฺโต

สมาธิ ได้แก่ โอภาสแห่งบริกรรมนิดหน่อย. แต่ในที่นี้ ท่านกล่าวบริกรรม

สมาธิว่า นิดหน่อยดังนี้ หมายถึงแสงสว่างเล็กน้อย. บทว่า ปริตฺต ตสฺมึ

สมเย ความว่า ในสมัยนั้น แม้ทิพยจักษุ ก็มีเล็กน้อย. แม้ในอัปปมาณวาร

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อวิตกฺกปิ วิจารมตฺต ได้แก่ สมาธิในทุติยฌานในปัญจกนัย.

บทว่า อวิตกฺกปิ อวิจาร ได้แก่ สมาธิในหมวด ๓ แห่งฌาน ทั้งในจตุกกนัย

ทั้งในปัญจกนัย. บทว่า สปฺปีติก ได้แก่ สมาธิในทุกฌาน และติกฌาน.

บทว่า นิปฺปีติก ได้แก่ สมาธิในทุกทุกฌาน. บทว่า สาตสหคตต

ได้แก่ สมาธิในติกจตุกกฌาน. บทว่า อุเปกฺขาสหคต นี้ ในจตุกกนัยได้

แก่ สมาธิในจตุตถฌาน ในปัญจกนัยได้แก่ สมาธิในปัญจมฌาน.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเจริญสมาธิมีอย่าง ๓ นี้ ในเวลาไหน.

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ณ ควงมหาโพธิพฤกษ์ ทรง

เจริญสมาธิอย่างนี้ในปัจฉิมยาม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

ก็ปฐมมรรค ได้เป็นองค์ประกอบแห่งปฐมฌานแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ทุติยมรรคเป็นต้น ก็ได้เป็นองค์ประกอบแห่งทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถ-

ฌาน. ในปัญจกนัย ปัญจมฌานไม่มีมรรค. คำว่า มรรคนั้น จัดเป็นโลกี

นี้ ท่านกล่าวหมายถึงมรรคที่เจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. คำที่เหลือในบททั้ง

ปวง ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอุปักกิเลสสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

๙. พาลบัณฑิตสูตร

[๔๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสแล้ว.

[๔๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ลักษณะเครื่องหมาย เครื่องอ้าง ว่าเป็นพาลของคนพาลนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่าง

เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลในโลกนี้มักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูด

คำพูดทีชั่ว มักทำการทำที่ชั่ว ถ้าคนพาลจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ชั่ว พูด

คำพูดที่ชั่ว และทำการทำที่ชั่ว บัณฑิตพวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่า ผู้นี้เป็น

คนพาล เป็นอสัตบุรุษ เพราะคนพาลมักคิดความคิดที่ชั่ว มักพูดคำพูดที่ชั่ว

และมักทำการทำที่ชั่ว ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้ได้ว่า นี้เป็นคนพาล เป็น

อสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแล ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส

๓ อย่างในปัจจุบัน.

[๔๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลนั่งในสภาก็ดี ริมถนนรถก็ดี

ริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในที่นั้น ๆ จะพูดถ้อยคำที่พอเหมาะพอสมแก่เขา ถ้า

คนพาลมักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มัก

ประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มีปกติตั้งอยู่ในความประมาทเพราะดื่มน้ำเมา

คือสุราและเมรัย ในเรื่องที่ชนพูดถ้อยคำที่พอเหมาะพอสมแก่เขานั้น แล

คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า สภาพเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏใน

สภาพเหล่านั้นด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกข์ โทมนัสข้อ

ที่หนึ่งนี้ในปัจจุบัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

ว่าด้วยกรรมกรณ์ ๒๖ อย่าง

[๔๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก คนพาลเห็นราชา

ทั้งหลายจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ

๑. โบยด้วยแส้

๒. โบยด้วยหวาย

๓. ตีด้วยตะบองสั้น

๔. ตัดมือ

๕. ตัดเท้า

๖. ตัดทั้งมือทั้งเท้า

๗. ตัดหู

๘. ตัดจมูก

๙. ตัดทั้งหูทั้งจมูก

๑๐. หม้อเคี่ยวน้ำส้ม

๑๑. ขอดสังข์

๑๒. ปากราหู

๑๓. มาลัยไฟ

๑๔. คบมือ

๑๕. ริ้วส่าย

๑๖. นุ่งเปลือกไม้

๑๗. ยืนกวาง

๑๘. เกี่ยวเหยื่อเบ็ด

๑๙. เหรียญกษาปณ์

๒๐. แปรงแสบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

๒๑. กางเวียน

๒๒. ตั้งฟาง

๒๓. ราดด้วยน้ำมันเดือด ๆ

๒๔. ให้สุนัขทึ้ง

๒๕. ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็น ๆ

๒๖. ตัดศีรษะด้วยดาบ.

ในขณะที่เห็นนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุแห่งกรรมชั่ว

ปานใดแล ราชาทั้งหลายจึงจับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์

บางชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ก็สภาพเหล่านั้น

มีอยู่ในเรา และเราก็ปรากฏในสภาพเหล่านั้นด้วย ถ้าแม้ราชาทั้งหลายรู้จักเรา

ก็จะจับเราแล้วสั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ให้นอน

หงายบนหลาวทั้งเป็น ๆ บ้าง ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คนพาลย่อมเสวยทุกข์โทมนัสข้อที่สองแม้นี้ในปัจจุบัน

ว่าด้วยพาลเสวยทุกข์ในปัจจุบัน

[๔๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก กรรมลามกที่

คนพาลทำไว้ในก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม

ครอบงำคนพาลผู้อยู่บนตั้ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น

เปรียบเหมือนเงายอดภูเขาใหญ่ ย่อมปกคลุม ครอบงำแผ่นดินในสมัยเวลาเย็น

ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล กรรมลามกที่คนพาลทำไว้

ในก่อน คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำคนพาล

ผู้อยู่บนตั้ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

ในสมัยนั้น คนพาลจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทำความดี ไม่ได้ทำกุศล

ไม่ได้ทำเครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ ทำแต่ความชั่ว ทำแต่ความร้าย

ทำแต่ความเลว ละโลกนี้ไปแล้ว จะไปสู่คติของคนที่ไม่ได้ทำความดี ไม่ได้

ทำกุศล ไม่ได้ทำเครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้ ซึ่งทำแต่ความชั่ว ความร้าย

และความเลว เป็นกำหนด คนพาลนั้นย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ คร่ำครวญ

ร่ำไห้ ทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลย่อมเสวยทุกข์

โทมนัสข้อที่สามนี้แลในปัจจุบัน.

[๔๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลประพฤติทุจริต

ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงอบาย ซึ่งเขาพูดหมายถึงนรก

นั่นแลโดยชอบ พึงกล่าวได้ว่าเป็นสถานที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่า

พอใจส่วนเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาจนถึงนรก

เป็นทุกข์ ก็ไม่ใช่ง่ายนัก.

[๔๗๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจเปรียบอุปมา

ได้หรือไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ อาจเปรียบได้ แล้วตรัส

ต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพวกราชบุรุษจับโจรผู้ประพฤติ

ผิดมาแสดงแต่พระราชาว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์. ขอ

พระองค์โปรดลงอาชญาที่ทรงพระราชประสงค์แก่มันเถิด พระราชาทรงสั่งการ

นั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกทานจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนี้ใน

เวลาเช้า พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้น ในเวลาเช้า ครั้นเวลา

กลางวัน พระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า พ่อมหาจำเริญ บุรุษนั้น เป็นอย่างไร

พวกราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ยังเป็นอยู่อย่างเดิมพระเจ้าข้า พระราชา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

ทรงสั่งการนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอกร้อยเล่มแทง

มันในเวลากลางวัน พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้นในเวลา

กลางวัน ครั้นเวลาเย็น พระราชาตรัสถามอย่างนี้ว่า พ่อมหาจำเริญ บุรุษนั้น

เป็นอย่างไร พวกราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ยังเป็นอยู่อย่างเดิมพระเจ้าข้า

พระราชาทรงสั่งการนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ไปเถิด พวกท่านจงเอาหอก

ร้อยเล่มแทงมันในเวลาเย็น พวกราชบุรุษจึงเอาหอกร้อยเล่มแทงบุรุษนั้น ใน

เวลาเย็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ

นั้นถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม พึงเสวยทุกข์โทมนัสเหตุที่ถูกแทงนั้น บ้าง

หรือหนอ.

ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้น ถูกแทง

ด้วยหอกแม้เล่มเดียว ก็เสวยทุกข์โทมนัสเหตุที่ถูกแทงนั้นได้ ป่วยการกล่าว

ถึงหอกตั้งสามร้อยเล่ม.

[๔๗๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยิบแผ่นหินย่อม ๆ

ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แผ่นหินย่อม ๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้กับ

ภูเขาหลวงหิมพานต์ อย่างไหนหนอแลใหญ่กว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นหินย่อม ๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้

มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความ

นับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแลทุกข์โทมนัสที่บุรุษถูก

แทงด้วยหอกสามร้อยเล่มเป็นเหตุ กำลังเสวยอยู่นั้น เปรียบเทียบ ทุกข์ของนรก

ยังไม่ถึงแม้ความนับ ยังไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ยังไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

ว่าด้วยการจองจำ ๕ ประการ

[๔๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะให้คนพาลนั้น

กระทำเหตุชื่อการจองจำ ๕ ประการคือ ตรึงตะปูเหล็กแดงที่มือข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒

ที่เท้าข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ และที่ทรวงอกตรงกลาง คนพาลนั้น จะเสวยเวทนาอัน

เป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่

สิ้นสุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะจับคนพาลนั้นขึงพืดแล้วเอา

ผึ่งถาก คนพาลนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้น

และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะจับคนพาลนั้นเอาเท้าขึ้นข้าง

บนเอาหัวลงข้างล่างแล้วถากด้วยพร้า คนพาลนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์

กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะเอาคนพาลนั้นเทียมรถแล้ว

ให้วิ่งกลับไปกลับ มาบนแผ่นดินทีมีไฟติดทั่ว ลุกโพลงโชติช่วง คนพาลนั้นจะ

เสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่า

บาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะให้คนพาลนั้นปีนขึ้นปีนลง

ซึ่งภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่มีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง คนพาลนั้น จะเสวย

เวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาป

กรรมยังไม่สิ้นสุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะจับคนพาลนั้น เอาเท้าขึ้นข้าง

บนเอาหัวลงข้างล่าง แล้วพุ่งลงไปในหม้อทองแดงที่ร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

โชติช่วง คนพาลนั้นจะเดือดเป็นฟองอยู่ในหม้อทองแดงนั้น เขาเมื่อเดือด

เป็นฟองอยู่ จะพล่านขึ้นข้างบนครั้งหนึ่งบ้าง พล่านลงข้างล่างครั้งหนึ่งบ้าง

พล่านไปด้านขวางครั้งหนึ่งบ้าง จะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่

ในหม้อทองแดงนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะโยนคนพาลนั้น เข้าไปในมหา

นรก ก็มหานรกนั้นแล

มีสี่มุมสี่ประตูแบ่งไว้โดยส่วนเท่ากันมีกำแพงเหล็กล้อมรอบครอบไว้

ด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของนรกใหญ่นั้น ล้วนแล้วด้วยเหล็กลุกโพลงประกอบด้วยไฟ

แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์รอบค้านประดิษฐานอยู่ทุกเมื่อ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องนรกแม้โดยอเนกปริยายแล เพียง

เท่านี้จะกล่าวให้ถึงกระทั่งนรกเป็นทุกข์ไม่ใช่ทำได้ง่าย.

[๔๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกมีหญ้า

เป็นภักษา สัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้น ย่อมใช้ฟันและเล่มกินหญ้าสด ก็เหล่าสัตว์

เดียรัจฉานจำพวกมีหญ้าเป็นภักษา คืออะไร คือ ม้า โค ลา แพะ เนื้อ

หรือแม้จำพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่มีหญ้าเป็นภักษา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คนพาลนั้นนั่นและกินอาหารด้วยความติดใจรสในเบื้องต้นในโลกนี้ ทำกรรม

ลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว. ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จำพวก

ที่มีหญ้าเป็นภักษาเหล่านั้น.

ว่าด้วยสัตว์เดียรัจฉาน

[๔๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกมีคูถเป็น

ภักษา สัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้น ได้กลิ่นคูถแต่ไกล ๆ แล้วย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

จักกินตรงนี้ เปรียบเหมือนพวกพราหมณ์เดินไปตามกลิ่นเครื่องบูชาด้วยตั้งใจ

ว่า จักกินตรงนี้ จักกินตรงนี้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือน

กันแล มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นภักษา สัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้น

ได้กลิ่นคูถแต่ไกล ๆ แล้ว ย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า จักกินตรงนี้ จักกินตรงนี้

ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นภักษา คืออะไร คือ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน

สุนัขป่า หรือแม้จำพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่มีคูถเป็นภักษา ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสในเบื้องต้นในโลกนี้

ทำกรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเช้าถึงความเป็นสหายของสัตว์

จำพวกมีคูถเป็นภักษาเหล่านั้น.

[๔๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่

ตายในที่มืด ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายในที่มืด คืออะไร คือ

ตั๊กแตน บุ้ง ไส้เดือน หรือแม้จำพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่เกิดแก่ตายใน

ที่มืด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลผู้กินอาหารด้วยความติดใจรส

ในเบื้องต้นในโลกนี้ ทำกรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเช้าถึงความ

เป็นสหายของสัตว์จำพวกเกิดแก่ตายในที่มืด.

[๔๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉาน จำพวกเกิดแก่

ตายในน้ำ ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายในน้ำ คืออะไร คือ ปลา

เต่า จรเข้ หรือแม้จำพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่เกิดแก่ตายในน้ำ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสในเบื้องต้นใน

โลกนี้ทำกรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของ

สัตว์จำพวกเกิดแก่ตายในน้ำ.

[๔๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตาย

ในของโสโครก ก็เหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิดแก่ตายในของโสโครก คือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

อะไร คือ เหล่าสัตว์จำพวกที่เกิดแก่ตายในปลาเน่าก็มี ในศพเน่าก็มี ในขนม

กุมาสเน่าก็มี ในน้ำครำก็มี ในหลุมโสโครกก็มี หรือแม้จำพวกอื่น ๆ ไม่ว่า

ชนิดไร ๆ ที่เกิดแก่ตายในของโสโครก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่น

และผู้กินอาหารด้วยความติดใจรสในเบื้องต้นในโลกนี้ ทำกรรมลามกไว้ในโลกนี้

เมือตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จำพวกเกิดแก่ตายในของ

โสโครก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเรื่องกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานแม้โดยอเนก-

ปริยายแล เพียงเท่านี้ จะกล่าวให้ถึงกระทั่งกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานเป็นทุกข์

ไม่ใช่ทำได้ง่าย.

ว่าด้วยบุรุษโยนทุ่น

[๔๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนทุ่นมีบ่วงตาเดียว

ไปในมหาสมุทร ทุ่นนั้นถูกลมตะวันออกพัดไปทางทิศตะวันตก ถูกลมตะวัน-

ตกพัดไปทางทิศตะวันออก ถูกลมเหนือพัดไปทางทิศใต้ ถูกลมใต้พัดไปทาง

ทิศเหนือ มีเต่าตาบอดอยู่ในมหาสมุทรนั้น ล่วงไปร้อยปีจึงจะผุดขึ้นครั้งหนึ่ง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดตัวนั้น

จะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วงตาเดียวโน้นได้บ้างไหมหนอ

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่

พระองค์เจริญ ถ้าจะเป็นไปได้บ้างในบางครั้งบางคราว ก็โดยล่วงระยะกาล

นานแน่นอน.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมี

บ่วงตาเดียวโน้นได้ ยังจะเร็วกว่า เรากล่าวความเป็นมนุษย์ที่คนพาลผู้ไปสู่

วินิบาตคราวหนึ่งแล้วจะพึงได้ ยังยากกว่านี้ นั้น เพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

ทั้งหลาย เพราะในตัวคนพาลนี้ไม่มีความประพฤติธรรม ความประพฤติสงบ

การทำกุศล การทำบุญ มีแต่การกินกันเอง การเบียดเบียนคนอ่อนแอ.

[๔๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแล ถ้าจะมาสู่ความเป็น

มนุษย์ในบางครั้งบางคราว ไม่ว่ากาลไหน ๆ โดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิด

ในสกุลต่ำ คือ สกุลคนจัณฑาล หรือสกุลพรานล่าเนื้อ หรือสกุลคนจักสาน

หรือสกุลช่างรถ หรือสกุลคนเทขยะ เห็นปานนั้น ในบั้นปลาย อันเป็นสกุล

คนจน มีข้าวน้ำและโภชนาหารน้อย มีชีวิตเป็นไปลำบาก ซึ่งเป็นสกุลที่จะ

ได้ของกิน และเครื่องนุ่งห่มโดยฝืดเคือง และเขาจะมีผิวพรรณทราม น่าเกลียด

ชัง ร่างม่อต้อ มีโรคมาก เป็นคนตาบอดบ้าง เป็นคนง่อยบ้าง เป็นคนกะ

จอกบ้าง เป็นคนเปลี้ยบ้าง ไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม

เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป เขาจะประพฤติกาย-

ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก.

[๔๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนนักเลงการพนัน เพราะเคราะห์

ร้าย ประการแรกเท่านั้น จึงต้องเสียลูกบ้าง เสียเมียบ้าง เสียสมบัติทุกอย่าง

บ้าง ยิ่งขึ้นไปอีก ต้องถึงถูกจองจำ เคราะห์ร้ายของนักเลงการพนันที่ต้องเสีย

ไปดังนั้น เพียงเล็กน้อย ที่แท้แลเคราะห์ร้ายอันใหญ่หลวงกว่านั้น คือ เคราะห์

ที่คนพาลนั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว ตายไป เช้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก นั่นเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ภูมิของคนพาลครบถ้วนบริบูรณ์.

[๔๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ เครื่องหมาย เครื่องอ้างว่า

เป็นบัณฑิตของบัณฑิตนี้มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัณฑิตในโลกนี้มักคิดความคิดที่ดี มักพูดคำพูดที่ดี มักทำการทำที่ดี ถ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

บัณฑิตจักไม่เป็นผู้คิดความคิดที่ดี พูดคำพูดที่ดี และทำการทำที่ดี บัณฑิต

พวกไหนจะพึงรู้จักเขาได้ว่าผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นสัตบุรุษ เพราะบัณฑิตมักคิด

ความคิดที่ดี มักพูดคำพูดที่ดี และมักทำการทำที่ดี ฉะนั้น พวกบัณฑิตจึงรู้

ด้วยว่า ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแล

ย่อมเสวยสุขโสมนัส ๓ อย่างในปัจจุบัน.

ว่าด้วยบัณฑิตเสวยสุขในปัจจุบัน

[๔๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตนั่งในสภาก็ดี ริมถนนรถก็ดี

ริมทางสามแพร่งก็ดี ชนในที่นั้น ๆ จะพูดถ้อยคำที่พอเหมาะพอสมแก่เขา ถ้า

บัณฑิตเป็นผู้ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจาก

กาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากเหตุเป็นที่ทั้งความประมาท

เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ในเรื่องที่ชนพูดถ้อยคำที่พอเหมาะพอสมแก่

เขานั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า สภาพเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเราก็

ปรากฏในสภาพเหล่านั้นด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัส

ข้อที่หนึ่งนี้ในปัจจุบัน.

[๔๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอันยังมีอีก บัณฑิตเห็นพระ

ราชาทั้งหลายจับ โจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด คือ

๑. โบยด้วยแส้

๒. โบยด้วยหวาย

๓. ตีด้วยตะบองสั้น

๔. ตัดมือ

๕. ตัดเท้า

๖. ตัดทั้งมือทั้งเท้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

๗. ตัดหู

๘. ตัดจมูก

๙. ตัดทั้งหูทั้งจมูก

๑๐. หม้อเคี่ยวน้ำส้ม

๑๑. ขอดสังข์

๑๒. ปากราหู

๑๓. มาลัยไฟ

๑๔. คบมือ

๑๕. ริ้วส่าย

๑๖. นุ่งเปลือกไม้

๑๗. ยืนกวาง

๑๘. เกี่ยวเหยื่อเบ็ด

๑๙. เหรียญกษาปณ์

๒๐. แปรงแสบ

๒๑. กางเวียน

๒๒. ตั่งฟาง

๒๓. น้ำมันเดือด

๒๔. ให้สุนัขทึ้ง

๒๕. ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็น ๆ

๒๖. ตัดศีรษะด้วยดาบ.

ในขณะที่เห็นนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เพราะเหตุแห่ง

กรรมชั่ว ปานใดแล พระราชาทั้งหลายจึงจับโจรผู้ประพฤติผิดมา แล้วสั่งลง

กรรมกรณ์ต่างชนิด คือ โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง สภาพ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

เหล่านั้นไม่มีอยู่ในเรา และเราก็ไม่ปรากฏในสภาพเหล่านั้นด้วย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสข้อที่สองนี้ในปัจจุบัน.

[๔๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอันยังมีอีก กรรมงามที่บัณฑิต

ทำไว้ในก่อน คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำ

บัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง หรือบนเตียง หรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น เปรียบ

เหมือนเงายอดภูเขา ย่อมปกคลุม ครอบงำแผ่นดินในสมัยเวลาเย็น ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล กรรมงามที่บัณฑิตทำไว้ในก่อน

คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ย่อมปกคลุม ครอบงำบัณฑิตผู้อยู่

บนตั่ง หรือบนเตียงหรือนอนบนพื้นดินในสมัยนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

สมัยนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทำความชั่ว ไม่ได้ทำความร้าย

ไม่ได้ทำความเลว ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล ทำแต่เครื่องป้องกันความหวาด

กลัวไว้ ละโลกนี้ไปแล้ว จะไปสู่คติของตนที่ไม่ได้ทำความชั่ว ไม่ได้ทำความ

เลว ทำแต่ความดี ทำแต่กุศล ทำแต่เครื่องป้องกันความหวาดกลัวไว้เป็น

กำหนด บัณฑิตนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ร่ำไห้ทุ่ม

อก ไม่ถึงความหลงพร้อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัส

ข้อที่สามดังนี้ในปัจจุบัน.

[๔๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแลประพฤติสุจริตทาง

กาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงสุดซึ่งเราพูดหมายถึงสวรรค์นั้นแลโดย

ชอบ พึงกล่าวได้ว่าเป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจส่วนเดียว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาจนถึงสวรรค์เป็นสุขก็ไม่ใช่

ง่ายนัก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

[๔๘๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจเปรียบอุปมา

ได้หรือไม่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ อาจเปรียบได้ แล้วตรัส

ต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบ

ด้วยแก้ว ๗ ประการและความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง จึงเสวยสุขโสมนัสอัน มีสิ่ง

ประกอบนั้นเป็นเหตุได้ พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ

เป็นไฉน.

ว่าด้วยจักรแก้ว

[๔๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชามหากษัตริย์ในโลกนี้ผู้ทรงได้

มูรธาภิเษกแล้ว ทรงสรงสนานพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่ง

วันนั้นเป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏ

จักรแก้วทิพมีกำตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง

ครั้น ทอดพระนครแล้วได้มีพระราชดำริดังนี้ว่า ก็เราได้สดับมาดังนี้แล พระ

ราชาพระองค์ใด ผู้ทรงได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงสรงสนานพระเศียร ทรงรักษา

อุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวันนั้น เป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาท

ชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้วทิพมีกำตั้งพัน พร้อมด้วยกงและคุม บริบูรณ์

ด้วยอาการทุกอย่าง พระราชานั้น ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราเป็นพระเจ้า

จักรพรรดิหรือหนอ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อนั้น พระองค์เสด็จลุกจากราชอาสน์ ทรงจับ

พระเต้าน้ำด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงหลั่งรดจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา รับสั่งว่า

จงพัดผันไปเถิดจักรแก้วผู้เจริญ จักรแก้วผู้เจริญจงพิชิตให้ยิ่งเถิด ลำดับนั้น

จักรแก้วนั้นก็พัดผันไปทางทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรง-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

คินีเสนาก็เสด็จตามไป จักรแก้วประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักร

พรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา บรรดา

พระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออก เข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูล

อย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิด มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราช ข้าแต่

มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงครอบครองเถิด พระเจ้า

จักพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควรลักทรัพย์ที่เจ้าของ

มิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา และ

ท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกัน ตามสภาพที่เป็นจริงเถิด บรรดาพระ-

ราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออกเหล่านั้นแล ได้กลายเป็นผู้สนับสนุน

พระเจ้าจักรพรรดิ ต่อนั้น จักรแก้วนั้นได้พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันออก

แล้วกลับ ขึ้นพัดผันไปทิศใต้ ฯลฯ พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศใต้แล้วกลับขึ้น

พัดผันไปทิศตะวันตก ฯลฯ พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันตก แล้วกลับขึ้น

พัดผันในทิศเหนือพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จตามไป

จักรแก้วประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ

ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาบรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือ

เข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิด มหาราช

พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์

ขอพระองค์จงครอบครอง พระเจ้าจักรพรรดิตรัสสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควร

ฆ่าสัตว์ไม่ควรลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควร

พูดเท็จ จะไม่ควรดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันตาม

สภาพที่เป็นจริงเถิด บรรดาพระราชาพี่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเหล่านั้นแล ได้

กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิ ก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล

จักรแก้วนั้นพิชิตยิ่งตลอดแผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขต แล้วกลับมาสู่ราชธานี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

เดิม ประดิษฐานอยู่เป็นเสมือนลิ่มสลักพระทวารภายในพระราชวังของพระเจ้า-

จักรพรรดิทำให้งดงามอย่างมั่นคงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏจักรแก้ว

เห็นปานนี้ แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.

[๔๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิ

ย่อมปรากฏมีช้างแก้ว เป็นช้างหลวงชื่ออุโบสถ เผือกทั่วสรรพางค์กาย มีที่ตั้ง

อวัยวะทั้งเจ็ดถูกต้องดี มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตร

เห็นแล้ว ย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปรานว่าจะเป็นยานช้างที่เจริญหนอ พ่อ

มหาจำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัด ต่อนั้น ช้างแก้วันนี้จึงสำเร็จการฝึกหัดเหมือน

ช้างอาชาไนยตัวเจริญ ที่ฝึกปรือเป็นเวลานาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคย

มีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองช้างแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงใน

เวลาเช้า เสด็จเวียนรอบปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขตแล้ว เสด็จกลับมาราชธานีเดิม

ทรงเสวยพระกระยาหารเช้าได้ทันเวลา ดูก่อนภิกษุทั้งหลายย่อมปรากฏช้างแก้ว

เห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.

[๔๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิ

ย่อมปรากฏมีม้าแก้ว เป็นอัศวราชชื่อวลาหก ขาวปลอด ศีรษะดำเหมือนกา

เส้นผมสลวยเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอด

พระเนตรเห็นแล้ว ย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปานว่า จะเป็นยานม้าที่เจริญ

หนอ พ่อมหาจำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัด ต่อนั้น ม้าแก้วนั้นจึงสำเร็จการ

ฝึกหัดม้าอาชาไนยตัวเจริญ ที่ฝึกปรือดีแล้วเป็นเวลานาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองม้าแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้น

ทรงในเวลาเช้า เสด็จเวียนรอบปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขตแล้ว เสด็จกลับมา

ราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระยาอาหารเช้าได้ทันเวลา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ย่อมปรากฏม้าแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

ว่าด้วยมณีแก้ว

[๔๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิ

ย่อมปรากฏมีมณีแก้ว เป็นแก้วไพฑูรย์ งามโชติช่วง แปดเหลี่ยม อันเจียระไน

ไว้อย่างดี มีแสงสว่างแผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคย

มาแล้ว. พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองมณีแก้วนั้น จึงสั่งให้จตุรงคินี-

เสนายกมณีขึ้นเป็นยอดธง แล้วให้เคลื่อนพลไปในความมืดทึบของราตรี ชาว-

บ้านที่อยู่รอบ ๆ พากัน ประกอบการงานด้วยแสงสว่างนั้น สำคัญว่าเป็นกลางวัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏมณีแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.

[๔๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิ

ย่อมปรากฏมีนางแก้วรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งผิว-

พรรณอย่างยิ่ง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่

ขาวนัก ล่วงผิวพรรณของมนุษย์ แต่ยังไม่ถึงผิวพรรณทิพย์ มีสัมผัสทางกาย

ปานประหนึ่งสัมผัสปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย นางแก้วนั้น มีตัวอุ่นในคราวหนาว มีตัว

เย็นในคราวร้อน มีกลิ่นดังกลิ่นจันทน์ฟุ้งไปแต่กาย มีกลิ่นดังกลิ่นอุบลฟุ้งไป

แต่ปาก นางแก้วนั้นมีปกติคนก่อนนอนที่หลัง คอยฟังคำบรรหาร ประพฤติ

ถูกพระทัย ทูลปราศรัยเป็นที่โปรดปรานต่อพระเจ้าจักรพรรดิ และไม่ประพฤติ

ล่วงพระเจ้าจักพรรดิแม้ทางใจ ไฉนเล่า จะมีประพฤติล่วงทางกายได้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏนางแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.

[๔๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิ

ย่อมปรากฏมีแต่คฤหบดีแก้ว ผู้มีจักษุเพียงดังทิพย์เกิดแต่วิบากของกรรมปรากฏ ซึ่ง

เป็นเหตุให้มองเห็นทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของ ทั้งที่ไม่มีเจ้าของได้ เขาเข้าเฝ้าพระ-

เจ้าจักรพรรดิ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พระองค์จงทรงเป็นผู้ขวนขวาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

น้อยเถิด ข้าพระองค์จักทำหน้าที่การคลังให้พระองค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่อง

เคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองคฤหบดีแก้วนั้น จึงเสด็จลง

เรือพระที่นั่งให้ลอยล่องกระแสน้ำกลางแม่น้ำคงคา แล้วตรัสสั่งกะคฤหบดีแก้ว

ดังนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีฉันต้องการเงินและทองคฤหบดีแก้วกราบทูลว่า ข้าแต่

มหาราช ถ้าเช่นนั้นโปรดเทียบเรือเข้าฝั่งข้างหนึ่งเกิด พระเจ้าจักรพรรดิตรัส

ว่า ดูก่อนคฤหบดี ฉันต้องการเงินและทองตรงนี้แหละ ทันใดนั้น คฤหบดี

แก้วจึ่งเอามือทั้ง ๒ หย่อนลงในนำ ยกหม้อเต็มด้วยเงินและทองขึ้นมา แล้ว

กราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ว่า ข้าแต่มหาราช พอหรือยังเพียงเท่านี้ ใช้

ได้หรือยังเพียงเท่านี้ บูชาได้หรือยังเพียงเท่านี้ พระเจ้าจักรพรรดิจึงตรัสสั่งอย่าง

นี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี พอละ ใช้ได้แล้วบูชาได้แล้วเพียงเท่านี้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ย่อมปรากฏคฤหบดีแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ.

ว่าด้วยปริณายกแก้ว

[๔๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิ

ย่อมปรากฏปริณายกแก้ว ปริณายกนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถ

ถวายข้อแนะนำให้พระองค์ทรงบำรุงผู้ที่ควรบำรุง ทรงถอดถอนผู้ที่ควรถอด

ถอน ทรงแต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้ง เขาเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วกราบทูล

อย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักสั่ง

การถวาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏปริณนายกแก้วเห็นปานนี้แก่พระ-

เจ้าจักรพรรดิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระจ้าจักรพรรดิย่อมทรงประกอบด้วยแก้ว ๗

ประการนี้ พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่างเป็น

ไฉน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

[๔๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ย่อมทรง

พระศิริโฉมงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งพระฉวีวรรณ

อย่างยิ่งเกินมนุษย์อื่น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบ

ด้วยความสัมฤทธิผลข้อแรกดังนี้.

[๔๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิ

ย่อมทรงพระชนมายุยืน ทรงดำรงอยู่นานเกินมนุษย์อื่น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๒ ดังนี้ .

[๔๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิ

ย่อมเป็นผู้มีพระโรคาพาธน้อย ไม่ทรงลำบาก ทรงประกอบด้วยพระเตโชธาตุ

ย่อยพระกระยาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เกินมนุษย์อื่น ๆ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๓

ดังนี้.

[๕๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักพรรดิย่อม

ทรงเป็นที่รักใคร่ พอใจ ของพราหมณ์และคฤหบดีเหมือนบิดาเป็นที่รักใคร่

พอใจของบุตรฉะนั้น พราหมณ์และคฤหบดีก็เป็นที่โปรดปราน พอพระราช-

หฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิ เหมือนบุตรเป็นที่รักใคร่พอใจของบิดา ฉะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา

ออกประพาสพระราชอุทาน ทันทีนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระองค์

แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์อย่ารีบด่วน โปรดเสด็จโดยอาการที่

พวกข้าพระองค์ได้ชมพระบารมีนานๆ เถิด แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงสั่งสารถีว่า

ดูก่อนสารถี ท่านอย่ารีบด่วน จงขับไปโดยอาการที่ฉันได้ชมบรรดาพราหมณ์

และคฤหบดีนาน ๆ เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักพรรดิทรงประกอบ

ด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๔ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัม-

ฤทธิผล ๔ อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน พระเจ้า

จักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ และความสัมฤทธิผล ๔ อย่างดังนี้

พึงเสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุบ้างไหมหนอ.

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจักรพรรดิ

ทรงประกอบด้วยแก้วแม้ประการหนึ่ง ๆ ก็ทรงเสวยสุขโสมนัสอันมีแก้วประการ

นั้น เป็นเหตุได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงแก้วทั้ง ๗ ประการ และความสัมฤทธิผล

ทั้ง ๔ อย่าง.

ว่าด้วยความสุขของพระเจ้าจักรพรรดิ

[๕๐๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหยิบแผ่นหินย่อม ๆ

ขนาดเท่าฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แผ่นหินย่อม ๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้กับ

ภูเขาหลวงหิมพานต์ อย่างไหนหนอแลใหญ่กว่ากัน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นหินย่อม ๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือ

นี้มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้

ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้.

พ. ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล พระเจ้าจักรพรรดินี้

ทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง ย่อมทรงเสวย

สุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุได้ สุขโสมนัสนั้นเปรียบเทียบ สุขอัน

เป็นทิพย์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้การนับ ย่อมไม่เข้าถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่

ถึงแม้การเทียบกันได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

[๕๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแล ถ้ามาสู่ความเป็น

มนุษย์ ในบางครั้งบางคราวไม่ว่ากาลไหน ๆ โดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อม

เกิดในสกุลสูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล หรือสกุลพราหมณ์มหาศาล หรือ

สกุลคฤหบดีมหาศาล เห็นปานนั้นในบั้นปลาย อันเป็นสกุลมั่งคั่งมีทรัพย์มาก

มีโภคะมาก มีทองและเงินอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจ และทรัพย์ธัญญาหารอย่าง

เพียงพอ และเขาจะเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงาม

แห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง มีปกติได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม

เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องตามประทีป เขาจะประพฤติกาย

สุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นแล้ว เมื่อตายไปจะเช้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

ว่าด้วยภูมิของบัณฑิตครบบริบูรณ์

[๕๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนนักเลงการพนัน เพราะฉวย

เอาชัยชนะได้ประการแรกเท่านั้น จึงบรรลุโภคสมบัติมากมาย การฉวยเอา

ชัยชนะของนักเลงการพนันที่บรรลุโภคสมบัติมากมายได้นั้นแล เพียงเล็กน้อย

ที่แท้แล การฉวยเอาชัยชนะใหญ่หลวงกว่านั้น คือ การฉวยเอาชัยชนะที่

บัณฑิตนั้น ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แล้วตายไป เข้าถึง

สุคติโลกสวรรค์นั่นเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้ภูมิของบัณฑิตครบถ้วนบริบูรณ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบพาลบัณฑิตสูตร ที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

อรรถกถาพาลบัณฑิตสูตร

พาลบัณฑิตสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลลกฺขณานิ ความว่า ที่ชื่อว่า

พาลลักขณะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกำหนด คือเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า

ผู้นี้เป็นคนพาล. พาลลักษณะเหล่านั้นแหละ ท่านเรียกว่า พาลนิมิต เพราะ

เป็นเหตุแห่งการหมายรู้ว่า ผู้นั้นเป็นคนพาล. เรียกว่า พาลาปทาน เพราะ

คนพาลประพฤติไม่ขาด. บทว่า ทุจฺจินฺติตฺจินฺตี ความว่า ธรรมดาคนพาล

แม้เมื่อคิดย่อมคิดแต่เรื่องชั่ว ๆ ด้วยอำนาจอภิชฌา พยาบาทและความเห็นผิด

ฝ่ายเดียว. บทว่า ทุพฺภาสิตภาสี ความว่า แม้เมื่อพูด ก็พูดแต่คำชั่ว ๆ

ต่างโดยวจีทุจริตมีมุสาวาทเป็นต้น. บทว่า ทุกฺกฏกมฺมการี ความว่าแม้

เมื่อทำก็ทำจำเพาะแต่กรรมชั่ว ๆ ด้วยสามารถแห่งกายทุจริต มีปาณาติบาต

เป็นต้น.

บทว่า ตตฺร เจ ได้แก่ ในบริษัทที่คนพาลนั่งแล้วนั้น. บทว่า ตชฺช

ตสฺสารุปฺป ความว่า จะพูดด้วยถ้อยคำที่พอเหมาะแก่เขา คือเหมาะสมแก่เขา

อธิบายว่า ได้แก่ถ้อยคำที่ปฏิสังยุตด้วยโทษ ทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน และ

สัมปรายิกภพของเวรทั้ง ๕. บทว่า ตตฺร ได้แก่ ถ้อยคำที่พูดถึงกันอยู่นั้น.

บทว่า พาล เป็นต้น เป็นทุติยาวิภัต ใช้ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ.

บทว่า โอลมฺพนฺติ ความว่า ย่อมเข้าไปตั้งอยู่. สองบทที่เหลือ

เป็นไวพจน์ของ บทว่า โอลมฺพนฺติ นั้น ลักษณะคนพาลเหล่านั้น ย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

ปรากฏโดยอาการที่การแผ่ไปเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า

ปวิยา โอลมฺพนฺติ ได้แก่ แผ่ไปบนพื้นดิน สองบทที่เหลือก็เป็นไวพจน์

ของบทนั้นแหละ. ก็ข้อนั้นเป็นอาการที่แผ่ไป. บทว่า ตตฺร ภิกฺขเว พาลสฺส

ความว่า เมื่อปรากฏการณ์นั้น มาถึง แต่นั้นคนพาลย่อมมีความคิดอย่างนี้.

บทว่า เอตทโวจ ความว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอนุสนธิคิดว่าใคร ๆ ไม่สามารถ

จะทำข้ออุปมาของนรกได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ตรัสไว้ แต่ตรัสว่า มิใช่

ของที่ทำได้โดยง่าย และถึงจะทำได้ง่ายก็ไม่มีผู้สามารถจะทำได้ เอาเถิด เราจะ

ทูลเชิญให้พระทศพลทรงกระทำข้ออุปนาดังนี้ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า เอต สกฺก

ภนฺเต ดังนี้.

บทว่า หเนยฺยุ ความว่า พึงฆ่าแบบแทงซ้ำสองครั้งในที่เดียวกัน ไม่

ให้ถึงตาย โดยวิธีแทงซ้ำแล้วก็ไป. เพราะฉะนั้นโจรนั้นจึงมีปากแผลถึง ๒๐๐

แห่ง. แม้บทที่มีจำนวนยิ่งไปกว่านี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ปาณิมตฺต

ได้แก่ มีขนาดเพียงตั้งอยู่ในฝ่ามือ. บทว่า สงฺขปิ น อุเปติ แปลว่า ไม่

ถึงขนาดที่พอจะนับได้. บทว่า กลฺลภาคมฺปิ ความว่า ไม่ถึงขั้นที่ควรจะ

กล่าวว่า เข้าถึงเสี้ยวที่ร้อย เสี้ยวที่พัน หรือเสี้ยวที่แสน. บทว่า อุปนิธปิ

ได้แก่ ไม่ถึงการเข้าไปเปรียบเทียบ คือไม่มีแม้แต่คนที่เหลียวมอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยขีล ความว่า จะให้สัตว์นรกผู้มี

อัตภาพ ๓ คาวุตนอนหงายบนแผ่นโลหะที่ลุกโพลง เอาหลาวเหล็กประมาณ

เท่าลำตาลสอดเข้าไปในมือข้างขวา ในมือซ้ายเป็นต้น ก็ทำอย่างนั้น แล้วให้

นอนคว่ำบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง ตะแคงซ้ายบ้าง โดยลงโทษเหมือนอย่าง

ที่นอนหงายแล้วลงโทษแบบเดียวกัน. บทว่า สเวสิตฺวา ความว่า นาย-

นิรยบาลจะจับสัตว์นรก ผู้มีอัตภาพ ๓ คาวุตให้นอนบนแผ่นโลหะที่ลุกโพลง.

บทว่า กุารีหิ ความว่า จะถากด้วยผึ่งใหญ่ขนาดครึ่งหลังคาเรือน. โลหิต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

จะไหลเป็นน้ำ โลหิตจะพลุ่งขึ้นจากแผ่นดินเป็นเปลวไฟจดถึงที่ ๆ เขาถากแล้ว.

ทุกข์อย่างให้หลวงจะเกิดขึ้น และเมื่อจะถากก็ถากทำให้เป็นเส้น บรรทัดถาก

ออกเป็น ๘ เสี่ยงบ้าง ๖ เสี่ยงบ้าง ดุจถากฟืน. บทว่า วาสีหิ ได้แก่ มีดที่

มีประมาณเท่ากระด้งขนาดใหญ่. เมื่อถากด้วยมีดเหล่านั้น ก็ถากตั้งแต่หนังไป

จนถึงกระดูก อวัยวะที่ถากออกแล้ว ๆ ย่อมกลับตั้งอยู่ตามปกติ. บทว่า รเถ

โยเชตฺวา ความว่า เทียมรถที่ลุกโพลงโดยประการทั้งปวง พร้อมทั้งเชือกคู่

ช่วงล้อ ธูป และปฏัก. บทว่า มหนฺต ได้แก่ มีประมาณเท่าเรือนยอด

ขนาดใหญ่. บทว่า อาโรเปนฺติ ความว่า นายนิรยบาลจะโบยด้วยฆ้อนเหล็ก

ที่ลุกโพลงแล้วบังคับให้สัตว์นรกปีนขึ้น. บทว่า สกึปิ อุทฺธ ความว่า เขา

จะพล่านขึ้นข้างบนบ้าง ข้างล่างบ้าง ด้านขวางบ้าง เหมือนเมล็ดข้าวสารที่

เขาใส่ไปในหม้อข้าวที่กำลังเดือดพล่าน.

บทว่า ภาคโส มิโต ได้แก่ แบ่งแยกไว้เป็นส่วนเท่า ๆ กัน. บท

ว่า ปริยนฺโต แปลว่า ล้อมรอบ. บทว่า อยสา ความว่า ข้างบนครอบ

ไว้ด้วยแผ่นเหล็ก. บทว่า สมนฺตา โยชนสต ผริตฺวา ติฏฺติ ความว่า

แผ่ไปแล้วอย่างนี้ ตั้งอยู่ เหมือนนัยน์ตาของผู้ที่ยืนมองดูอยู่ในที่ไกลประมาณ

๑๐๐ โยชน์โดยรอบ จะทะเล้นออกมาเหมือนลูกกลม ๆทั้งคู่. บทว่า น สุกร

อกฺขาเนน ปาปุณิตุ มีอธิบายว่า แม้ถึงจะกล่าวพรรณนาไปตั้ง ๑๐๐ ปี พัน

ปี จนถึงทีสุดว่า ขึ้นชื่อว่านรกเป็นทุกข์แม้อย่างนี้ ไม่ใช่เป็นของที่ทำได้โดย

ง่าย. บทว่า ทนฺตุลฺเลหก แปลว่า ใช้ฟันและเล็บอธิบายว่า ถอนขึ้นด้วย

ฟัน. บทว่า รสาโท ได้แก่ บริโภคด้วยคิดใจในรส โดยความอยากในรส

อาหาร. บทว่า อญฺมญฺขาทิกา แปลว่า มีแต่การกินกันเอง. บทว่า

ทุพฺพณฺโณ แปลว่า มีรูปทราม. บทว่า ทุทฺทสิโก ได้แก่มีรูปน่าเกลียด

ชังดุจยักษ์ที่เขาปั้นไว้เพื่อหลอกให้เด็กกลัว. บทว่า โอโกฏิมโก ได้แก่ เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

ร่างเตี้ย คอสั้น ท้องพลุ้ย. บทว่า กาโณ ได้แก่ เป็นคนตาบอดข้างเดียว

หรือตาบอดสองข้าง. บทว่า กุณี ได้แก่ คนที่มือด้วนข้างหนึ่ง หรือมีมือ

ด้วยสองข้าง. บทว่า ปกฺขหโต แปลว่า เป็นคนง่อยเปลี้ย. บทว่า โส

กาเยน เป็นต้นนี้ ท่านปรารภไว้เพื่อแสดงถึงการเข้าไปผูกพันกับความทุกข์

ของสัตว์นรกนั้น. บทว่า กลิคฺคเหน แปลว่า ด้วยความพ่ายแพ้. บทว่า

อธิพนฺธ นิคจฺเฉยฺย ความว่า เพราะสมบัติทุกอย่างเป็นจำนวนมากของผู้แพ้

ยังไม่พอให้ผู้ชนะ ฉะนั้นเขาจึงต้องถูกจองจำอีกด้วย. บทว่า เกวลา ปริปูรา

พาลภูมิ ความว่า คนพาลบำเพ็ญทุจริต ๓ อย่าง บริบูรณ์แล้ว ย่อมบังเกิด

ในนรก แต่ด้วยเศษแห่งกรรมที่เหลือในนรกนั้น แม้เขาจะได้กลับมาเกิดเป็น

มนุษย์ ก็ต้องเกิดในตระกูลต่ำทั้ง ๕ และถ้ายังทำทุจริต ๓ อีก ก็ต้องบังเกิด

ในนรก ทั้งหมดนี้เป็นพื้นของคนพาลอย่างสมบูรณ์.

บทมีอาทิว่า ปณฺฑิตลกฺขณานิ พึงทราบโดยทำนองดังกล่าวแล้ว

นั้นแหละ. ก็บททั้งหลายมีอาทิว่า สุจินฺติตจินฺตี ในนิเทศนี้พึงประกอบเข้า

ด้วยสามารถแห่งมโนสุจริตเป็นต้น. บทว่า สีสนหาตสฺส ได้แก่ ทรงสนาน

พระเศียรด้วยน้ำหอม. บทว่า อุโปสถิกสฺส ได้แก่ ทรงสมาทานองค์อุโบสถ

แล้ว. บทว่า อุปริปาสาทจรคตสฺส แปลว่า เมื่อประทับอยู่ในมหาปราสาท

ชั้นบน คือทรงเสวยสุธาโภชน์เสด็จเข้าสู่ห้องอันมีสิริ บนพื้นอันโอ่โถง เบื้อง

บนมหาปราสาททรงรำพึงถึงศีลทั้งหลายอยู่.

เล่ากันว่า ครั้งนั้น พระราชา พอรุ่งเช้าก็สละพระราชทรัพย์หนึ่งแสน

ถวายมหาทานสนานพระเศียรด้วยคันโธทก ครั้งละ ๑๖ หม้อ เสวยพระกระยา-

หารเช้าแล้ว ทรงเฉวียงบ่าด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ นั่งขัดสมาธิบนพระที่บรรทมอัน

มีสิริชั้นบนปราสาทประทับ นั่งรำพึงถึงกองบุญคือ ทาน ความข่มใจ และความ

สำรวมของพระองค์. นี้เป็นธรรมดาของพระเจ้าจักรพรรดิทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิเหล่านั้น กำลังพิจารณาถึงกองบุญอยู่นั่นเอง

ทิพยจักรรัตนะมีบุญกรรมมีประการดังกล่าวแล้วเป็นปัจจัย มีฤดูเป็นสมุฏฐาน

มีลักษณะคล้ายกับก้อนแก้วมณีสีเขียว ก็ปรากฏขึ้นดุจแหวกพื้นน้ำมหาสมุทรขึ้น

มาทางปาจีนทิศ อุปมาดังจะทำห้วงนภากาศให้งดงาม. ก็จักรัตนะนั้น ท่าน

เรียกว่า เป็นทิพย์ เพราะประกอบไปด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์. ขึ้นชื่อว่า

สหัสสาระเพราะมีกำตั้งพัน ชื่อว่า สนาภิก สเนมิก เพราะประกอบไปด้วย

กงและดุม. ชื่อว่า สพฺพาการปริปูร เพราะบริบูรณ์ไปด้วยอาการทุกอย่าง.

พึงทราบวินัยในอาการเหล่านั้นดังต่อไปนี้ ชื่อว่าจักรรัตนะ เพราะ

เป็นจักรและเป็นทั้งรัตนะ ด้วยอรรถว่ายังความยินดีในเกิด. ก็ดุมของจักรรัตนะ

ที่ท่านกล่าวว่า พร้อมไปด้วยดุมนี้นั้น ล้วนแล้วไปด้วยแก้วอินทนิล. ก็ตรง

กลางดุมนั้น มีช่องสำเร็จด้วยเงินงามผุดผาดเหมือนการยิ้มสรวลของมีระเบียบ

ฟันสะอาดแนบสนิทดี. และล้อมไปด้วยแผ่นเงินทั้งสองด้าน. คือทั้งด้านนอก

และด้านในดุจมณฑลแห่งควงจันทร์ที่มีช่องตรงกลางฉะนั้น. ก็ในที่ซึ่งแผ่นเงิน

แวดวงไปด้วยดุมและช่องเหล่านั้น ปรากฏว่ามีรอยเขียนที่กำหนดไว้ในฐานที่

เหมาะสม ได้ถูกจัดไว้แล้วเป็นอย่างดี นี้เป็นความบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง

ของดุมแห่งจักรรัตนะนั้น ก่อน.

ก็จักรรัตนะที่ท่านกล่าวว่ามีซี่ตั้งพัน ประกอบไปด้วยซี่เหล่าใด ซี่

เหล่านั้นสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ สมบูรณ์ด้วยรัศมี ดุจรัศมีแห่งควงอาทิตย์. แม้ซี่

เหล่านั้นก็ปรากฏว่าได้จำแนกไว้แล้วเป็นอย่างดีเหมือนกัน เช่นลายเขียนทีเขียน

เป็นหม้อน้ำแก้วมณีเป็นต้น. นี้เป็นความบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ของซี่ทั้ง

หลายแห่งจักรรัตนะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

ก็จักรรัตนะที่ท่านกล่าวว่าพร้อมด้วยกง ประกอบไปด้วยกงใด กงนั้น

สำเร็จแก้วประพาฬ มีสีแดงบริสุทธิ์ น่ารัก เหมือนจะเย้ยกลุ่มรัศมีแห่งดวง

อาทิตย์ที่กำลังทอแสงฉะนั้น.

ก็ที่ต่อของกงนั้น เป็นแผ่นทองชมพูนุทสีแดงมีชื่อเสียงน่าชื่นชมและ

มีลายเขียนเป็นวงกลมปรากฏว่า ท่านจัดแจงไว้แล้วเป็นอย่างดี นี้เป็นความ

บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่างของดุม แห่งทิพยจักรรัตนะนั้น.

ก็ด้านหลังมณฑลของดุมแห่งทิพยจักรรัตนะ มีไม้สำเร็จด้วยแก้ว

ปะพาฬ เหมือนหลอดไม้อ้อที่มีช่องข้างใน ประดับเป็นวงกลม ๆ อยู่ที่กำข้าง

ละสิบ ๆ ไม้สำเร็จด้วยแก้วประพาฬใด เวลาลมพัดโชยจะเปล่งเสียงไพเราะ

ก่อให้เกิดความรัญจวนใจ เพลิดเพลิน เหมือนเสียงของดนตรีมีองค์ ๕ ที่

บรรเลงโดยศิลปินผู้เชี่ยวชาญฉะนั้น. ก็ไม้สำเร็จด้วยแก้วประพาฬนั้นแหละ. มี

เศวตฉัตรอยู่ข้างบน มีพวงดอกโกสุมรวมกลุ่มเป็นระเบียบทั้งสองด้าน ด้วย

ประการดังพรรณนามานี้ จึงมีสีหบัญชรสองด้าน ภายในกำแห่งดุมทั้งสองของ

ทิพยจักรรัตนะอันแวดวงไปด้วยกง ที่เข้าไปเสริมความสง่างามด้วยไม้สำเร็จ

ด้วยแก้วประพาฬหนึ่งร้อย สำหรับทรงไว้ซึ่งเศวรฉัตรหนึ่งร้อย มีพวงโกสุมปก

คลุมเป็นระเบียบถึงสองร้อยเป็นบริวาร ซึ่งมีกลุ่มแห่งแก้วมุกดาทั้งสองห้อย

ย้อยอยู่ ดูประหนึ่งจะงามเกินความงามตามธรรมชาติของอากาศคงคา มีสิริ

ด้วยกลุ่มแสงจันทร์วันเพ็ญที่สาดแสงไปประมาณชั่วลำตาล สุดลงด้วยกลุ่มผ้า

กำพลสีแดงเหมือนแสงพระอาทิตย์อ่อน ๆ จักรทั้ง ๓ ปรากฏว่าเหมือนหมุนไป

พร้อม ๆ กัน โดยการหมุนผัดผันไปในอากาศพร้อมด้วยจักรรัตนะ. นี้เป็น

ความบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง โดยประการทั้งปวงของจักรรัตนะนั้น.

ก็เมื่อพวกมนุษย์บริโภคอาหารมื้อเย็น ตามปกติเสร็จแล้วนั่งบนอาสนะ.

ที่เขาปูไว้ บนประตูเรือนของตน ๆ สนทนากันอยู่ถึงเหตุการณ์เรื่องราวตามที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

เป็นไป เมื่อหมู่ทารกผู้ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป (รุ่นเยาว์) กำลังเล่นอยู่

ในถนนและทางสี่แพร่งเป็นต้น ทิพยจักรรัตนะนั้นแล ก็เดินทางมุ่งหน้ามายัง

ราชธานี ประดุจเข้าไปส่งเสริมความงาม กิ่งไม้ยอดไม้ เพิ่มบรรยากาศจน

สุดบริเวณในไพรสณฑ์ ชวนให้หมู่สัตว์เงี่ยโสดสดับ ด้วยเสียงอันไพเราะ พึงได้

ไกลถึง ๑๒ โยชน์ ชวนให้มองโดยมีแสงสีรุ่งเรืองเป็นเหตุให้เกิดรัศมีมีประการ

ต่าง ๆ เห็นได้ไกลโยชน์หนึ่ง ดุจประกาศบุญญานุภาพแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ.

ครั้นจักรรัตนะนั้น ส่งสำเนียงไปทั่วป่านั่นเอง คนเหล่านั้นครุ่นคิด

อยู่ว่า เสียงนี้มาแต่ไหนหนอ ต่างก็แหงนดูไปทางทิศบูรพาต่างคนต่างพูดกัน

อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงดูสิ่งอัศจรรย์ทุก ๆ คืนพระจันทร์เพ็ญขึ้น

ดวงเดียว แต่วันนี้ขึ้นสองดวง ก็ดวงจันทร์ทั้งคู่นี้ เคลื่อนคล้อยขึ้นไปสู่นภา-

กาศโดยมุ่งไปทางทิศบูรพา อุปมาเหมือนพญาหงส์ทั้งคู่ ร่อนอยู่ในนภากาศ

ฉะนั้น. อีกพวกหนึ่งกล่าวค้านว่า สหายท่านพูดอะไร พระจันทร์สองดวง

ขึ้นพร้อมกันท่านเคยเห็นที่ไหนบ้าง นั้นคือพระอาทิตย์ผู้ทรงไว้ซึ่งรัศมีอัน

แผดกล้า มีสีแดงเหลืองโผล่ขึ้นมาแล้วมิใช่หรือ อีกพวกหนึ่ง กล่าวถากถาง

เยาะเย้ยพวกนั้นว่า ท่านเป็นบ้าไปแล้วหรือ พระอาทิตย์เพิ่งจะตกไปเดี๋ยวนี้

เองมิใช่หรือ พระอาทิตย์นั้น จะขึ้นตานพระจันทร์เพ็ญดวงนี้ได้อย่างไร แต่

นี่จะต้องเป็นวิมานของท่านผู้มีบุญคนหนึ่ง จึงรุ่งเรื่องไปด้วยแสงสว่างแห่ง

รัตนะมิใช่น้อย. คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมดต่างฝ่ายต่างเห็นไปคนละอย่าง คนพวก

หลังจึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกท่านทั้งหลายพูดเพ้อเจ้อให้มากเรื่องไปทำไม นั่น

ไม่ใช่พระจันทร์เพ็ญ ไม่ใช่ควงอาทิตย์ ไม่ใช่วิมานของเทพ ที่แท้สิริสมบัติ

เห็นปานนี้ มิได้เกิดขึ้นเพื่อสิ่งเหล่านั้น แต่สิ่งนั้นชะรอยจักเป็นจักรรัตนะ.

เมื่อการเจรจาโต้เถียงยังดำเนินไปอยู่เช่นนี้ จักรรัตนะนั้นก็ละจีนท-

มณฑลมุ่งตรงมา. แต่นั้นเมื่อคนเหล่านั้นพูดกันว่า จักรรัตนะนี้ บังเกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

เพื่อใครหนอแล ก็มีผู้พูดขึ้นว่า จักรรัตนะนี้มิได้เกิดขึ้นแก่ผู้ใดใครอื่น

มหาราชของพวกเราทั้งหลายทรงบำเพ็ญความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิสมบูรณ์แล้ว

จักรรัตนะนี้บังเกิดเป็นคู่บุญบารมีของพระองค์แน่นอน.

ลำดับนั้น ทั้งมหาชนกลุ่มนั้น ทั้งคนอื่น ๆ ที่มองเห็น ทุก ๆ คน ก็

เดินตามจักรรัตนะไปเรื่อย ๆ. แม้จักรรัตนะนั้นก็เวียนรอบพระนครไปจนสุด

กำแพงที่เดียว เจ็ดรอบ เหมือนหนึ่งจะประกาศให้คนทั่วไปรู้ข้อที่คนลอยมา

เพื่อเป็นสมบัติของพระราชาพระองค์เดียว กระทำประทักษิณภายในพระราชวัง

ของพระราชาแล้ว ประดิษฐานอยู่ในที่คล้ายสีหบัญชรด้านทิศอุดรของพระ-

ราชวัง เหมือนถูกไม้สลักขัดไว้ เพื่อให้มหาชนบูชาด้วยเครื่องสักการะมีของ

หอมและดอกไม้เป็นต้นได้โดยสะดวก.

ก็เมื่อทิพยจักรรัตนะนั้น ตั้งอยู่ด้วยประการฉะนั้นแล้ว พระราชาธิบดี

เห็นกองรัศมี มีพระทัยปรารถนาที่จะทอดพระเนตรชมฉัตรแก้วที่เข้าไปทาง

ช่องแห่งสีหบัญชร กระทำให้ภายในปราสาทรุ่งเรืองด้วยรัศมีแก้ว ก่อให้เกิด

ความยินดีมีประการต่าง ๆ แม้หมู่ชนที่ห้อมล้อม ก็พากันกราบทูลมูลเหตุแห่ง

จักรรัตนะนั้น ด้วยถ้อยคำล้วนแต่น่ารัก กาลนั้นพระราชาธิบดีมีพระวรกาย

ท่วมล้นไปด้วยปิติปราโมทย์อย่างแรงกล้า มีพระอุตสาหะละเสียซึ่งบัลลังก์ ทรง

อุฏฐานการจากอาสนะ เสด็จไปสู่ที่ใกล้สีหบัญชรทอดพระเนตรเห็นจักรแก้วแล้ว

จึงทรงจินตนาการว่า ก็เราได้ยินคำโบราณท่านเล่ามาว่า ฯลฯ ดังนี้เป็นอาทิ.

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้วจึงทรงมีพระดำริว่า

ฯลฯ เราพึงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแน่นอนดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส โหติ ราชา จกฺกวตฺติ ความว่า

ถามว่าพระราชาย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

ตอบว่า ด้วยเหตุเพียงจักรรัตนะเหาะขึ้นสู่อากาศ เพียงองคุลีหนึ่งก็ได้

สององคุลีก็ได้.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงข้อที่พระราชาพึงการทำในวิธีปราบดาภิเษกเป็น

พระเจ้าจักรพรรดิ จึงตรัสดำมีอาทิว่า อถ โข ภิกฺขเว ดังนี้. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า อฏฺายาสนา ได้แก่ ทรงลุกจากอาสนะที่ประทับนั่งเสด็จ

มาใกล้จักรรัตนะ. บทว่า สุวณฺณภิงฺคาร คเหตฺวา ความว่า ทรงยกสุวรรณ

ภิงคาร มีช่องคล้ายงวงช้าง ทรงจับเต้าน้ำด้วยพระหัตถ์ซ้าย (ทรงหลั่งรด

จักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา) รับสั่งว่า จงพัดผันไปเถิดจักรแก้วผู้เจริญ จงมี

ชัยชนะอย่างผู้ยิ่งใหญ่เถิดจักรแก้วผู้เจริญ. บทว่า อนฺวเทว ราชา จกฺกวตฺติ

สิทฺธึ จาตุรงฺคินิยา เสนาย ความว่า ก็ในขณะที่พระราชาทรงหลั่งน้ำ มุ่ง

ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ แล้วรับสั่งว่า จงมีชัยชนะอย่างผู้ยิ่งใหญ่เถิด

จักรแก้วผู้เจริญนั่นแหละ จักรแก้วก็ลอยขึ้นสู่เวหาส พัดผันไป. พระราชานั้น

ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิตลอดเวลาที่จักรแก้วพัดผันไป. ก็เมื่อจักร

แก้วพัดผันไปแล้ว พระราชาผู้กำลังติดตามจักรแก้วนั้นไปเรื่อย ๆ ก็เสด็จขึ้นสู่

ยานอัน ประเสริฐของพระเจ้าจักรพรรดิ เหาะขึ้นสู่เวหาสด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น คนผู้เป็นบริวาร และข้าราชการในราชสำนักของพระองค์

ต่างก็ถือฉัตรและจามรเป็นต้น ถัดจากนั้นไปก็ถึงกลุ่มอิสรชนจำเดิมแต่อุปราช

เสนาบดี พรั่งพร้อมไปด้วยกำลังทัพของพระองค์ที่ตกแต่งเครื่องสนาม (ผูก

สอด) มีเสื้อเกราะและเกราะ ๖ ประการเป็นนี้ ประดับด้วยธงชัย ธงแผ่นผ้า

ที่ยกขึ้นโชติช่วงพร้อมไปด้วยแสงสีที่นำมาประดับหลายสิ่งหลายประการ ต่าง

เหาะขึ้นสู่เวหาสห้อมล้อมพระราชาเพียงผู้เดียว. ก็เพื่อจะสงเคราะห์ประชาชน

พวกพนักงานของพระราชา จึงป่าวประกาศไปทั่วทุกถนนในพระนครว่า พ่อแม่

ทั่งหลาย จักรแก้วเกิดแล้วแก่พระราชาของพวกเรา พวกท่านจงรีบจัดแจงแต่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

ตัวตามฐานานุรูปของตน ๆ เร่งมาประชุมกันเถิด. ก็มหาชนต่างละการงานทุก

อย่างที่ต้องทำตามปกติ ถือเครื่องสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ประชุม

กันแล้ว ตามเสียงแห่งจักรแก้วนั่นแหละ แม้มหาชนทั้งหมดนั้น ก็เหาะขึ้นสู่

เวหาส แวดล้อมพระราชาพระองค์เดียว คือผู้ใดประสงค์จะเดินทางร่วมไป

กับพระราชา ผู้นั้นก็ไปทางอากาศ ด้วยประการฉะนี้. จึงมีบริษัทมาประชุม

กันทั้งด้านยาว ด้านกว้างประมาณ ๑๒ โยชน์ ในบริษัทนั้นไม่มีแม้แต่คนเดี่ยว

ที่จะมีอวัยวะพิกลพิการ หรือนุ่งห่มเศร้าหมอง พระราชาจึงมีบริวารที่สะอาด

ธรรมดาบริษัทของพระเจ้าจักรพรรดิเดินทางไปทางอากาศ เหมือนบริษัทของ

วิทยาธร ย่อมเป็นเช่นกับรัตนะที่เกลื่อนกล่นอยู่บนพื้นแก้วอินทนิล เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวไว้ว่า พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจาตุรงคินีเสนา ก็เสด็จตามไป

แม้จักรรัตนะนั้นก็พัดผันไป โดยอากาศประเทศ ไม่สูงเกินไป อยู่

ในระดับยอดไม้ สามารถให้คนหมายรู้ได้ว่า นั่นพระราชา นั่นอุปราช นั่น

เสนาบดี อุปมาเหมือนคนที่ต้องการดอกไม้ ผลไม้ หรือใบไม้ ยืนอยู่ที่พื้นดิน

ก็สามารถจะเก็บเอาสิ่งของเหล่านั้นได้โดยสะดวก. ผู้ใดประสงค์จะไปในอิริยาบถ

ใด มียืนเป็นต้น ผู้นั้นก็ไปได้โดยอิริยาบถนั้น. ส่วนผู้ที่จะสนใจในศิลปะ

มีจิตรกรรมเป็นต้น ต่างก็ดำเนินธุรกิจของตน ๆ ไปได้ในอากาศนั้น. ที่พื้นดิน

เคยดำเนินธุรกิจอย่างใด ในอากาศก็สามารถดำเนินธุรกิจทุกอย่างได้ฉันนั้น

จักรรัตนะนั้น พาบริษัทของพระเจ้าจักรพรรดิ เลาะลัดเขาสิเนรุราชไปทาง

ด้านซ้ายผ่านพื้นมหาสมุทรไปจนถึงกรุงบุพวิเทหะ ประมาณได้ ๘,๐๐๐ โยชน์.

จักรรัตนะนั้นประดิษฐานอยู่บนอากาศ เหมือนถูกลิ่มสลักไว้เบื้องบนภูมิภาค

ทีเหมาะแก่การชุมนุมของบริษัทกว้าง ๑๒ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๓๖ โยชน์

หาอุปกรณ์ทำอาหารได้สะดวก สมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำมีพื้นที่สะอาดราบเรียบ

น่ารื่นรมย์ กาลนั้น มหาชนลงแล้วโดยสัญญาณนั้นทำกิจทุกอย่าง เช่นอาบน้ำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

บริโภคอาหารเป็นต้น อยู่กันตามใจชอบ. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

จักรแก้วประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ

ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจาตุรงคินีเสนา.

ก็เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเข้าไปประทับอยู่อย่างนี้ พระราชาใน

ประเทศนั้น ๆ พอได้สดับว่าจักรมาแล้ว ก็สั่งประชุมพลนิกายไม่เตรียมรบ

ก็ในระหว่างที่จักรรัตนะเกิดขึ้นแล้วนั้นแล ไม่มีผู้ใดจะกล้าหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้

พระราชาโดยหมายเป็นข้าศึก. นี่เป็นอานุภาพของจักรรัตนะ.

ด้วยอานุภาพของจักร อริราชศัตรู

ของพระราชาพระองค์นั้น ย่อมถึงความ

สงบไปโดยไม่เหลือ ด้วยเหตุนั่งเอง

จักรของพระราชาธิบดีพระองค์นั้น จึง

เรียกว่า อรินทมะ.

เพราะฉะนั้น พระราชาเหล่านั้นทุก ๆ พระองค์ ต่างก็ถือเอาสมบัติ

ที่สมควรแก่สิริราชสมบัติของตน ๆ น้อมเศียรสยบองค์พระเจ้าจักรพรรดิ กระทำ

การบูชาพระบาทของพระองค์ ด้วยวิธีปราบดาภิเษกด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณี

ที่พระโมฬีของตน ถึงการยอมจำนนด้วยกล่าวคำเป็นต้นว่า เชิญเสด็จเถิด

มหาราชดังนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ประดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออก เข้ามาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ

แล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิดมหาราชพระองค์มาดีแล้ว มหาราช แผ่นดินนี้

เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงทรงปกครองเถิด ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า สฺวาคต แปลว่า เสด็จมาดี. มีอธิบายว่า เมื่อพระราชาพวกหนึ่ง

เสด็จมา ชาวประชาโศกเศร้า เมื่อเสด็จไปชาวประชาชื่นชม เมื่อพระราชา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

บางพระองค์เสด็จมา ชาวประชาชื่นชม เมื่อเสด็จไป ชาวประชาโศกเศร้า

พระองค์เป็นเสมือนพระราชาประเภทหลัง คือเมื่อเวลาเสด็จมา ชาวประชา

ชื่นชม เวลาเสด็จไป ประชาชนโศกเศร้า เพราะฉะนั้น การเสด็จมาของ

พระองค์จึงชื่อว่า เสด็จมาดี. ก็เมื่อพวกเจ้าประเทศราชกราบทูลเช่นนี้แล้ว

แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็มิได้ตรัสว่า พวกท่านต้องส่งบรรณาการแก่เรา ตลอดเวลา

เท่านี้ปี ทั้งไม่ทรงริบสมบัติของคนหนึ่ง ๆ ไปให้อีกคนหนึ่ง แต่ทรง

เข้าไปกำหนดอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาตเป็นต้น ด้วยปัญญาอันสมควรแก่ภาวะ

ที่พระองค์เป็นธรรมราชา ทรงแสดงธรรมด้วยพระสุระเสียงอัน น่ารัก น่าชอบใจ

โดยนัยเป็นต้นว่า ขึ้นชื่อว่า ปาณาติบาตนี้ ใครส้องเสพ เจริญทำให้มาก

ย่อมเป็นไปเพื่อนรก แล้วประกาศพระโอวาทมีอาทิว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์ดังนี้.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระเจ้าจักรพรรดิตรัสสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคน

ไม่ควรฆ่าสัตว์ ฯลฯ ท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองตามที่เห็นควรเถิด

ดังนี้.

ถามว่า ก็พระราชาทุกพระองค์ยอมรับโอวาทนี้ของพระราชาธิบดีหรือ.

ตอบว่า พระราชาทุกพระองค์ไม่รับโอวาทนี้ของพระพุทธองค์มาก่อน

จักรับโอวาทของพระราชาอย่างไรได้ เพราะฉะนั้น พระราชาเหล่าใด เป็น

ผู้ฉลาดปราดเปรื่อง พระราชาเหล่านั้นยอมรับ และเมื่อพระราชาทุกพระองค์

ประพฤติตาม ย่อมเจริญ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า

เย โข ปน ภิกฺขเว ดังนี้. ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิ พระราชทานพระโอวาท

แก่ชาวเมืองบุพวิเทหะอย่างนี้ เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว จักรรัตนะนั้นก็

ทะยานขึ้นสู่เวหาสด้วยพลังของพระเจ้าจักรพรรดิ หยั่งลงสู่สมุทรด้านทิศบูรพา.

จักรรัตนะหยั่งลงด้วยประการใด ๆ ลงสู่พื้นมหาสมุทรประมาณโยชน์หนึ่งความ

กระจายของคลื่นลดลงเหมือนพญานาคสูดกลิ่นยาแล้วพังพานหด ตั้งอยู่เหมือน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

ฝาแก้วไพฑูรย์ในมหาสมุทรด้วยประการนั้น ๆ. ก็ในขณะนั้นเอง รัตนะต่าง ๆ

ที่เกลื่อนกล่นอยู่ในพื้นมหาสมุทรก็มาจากมหาสมุทรนั้น ทับถมจนเต็มประเทศ

นั้น ดุจจะเชิญชวนให้ชื่นชมมิ่งขวัญคือบุญของพระราชาธิบดีพระองค์นั้น.

ครั้น พระราชาและราชบุรุษ เห็นพื้นมหาสมุทรเต็มไปด้วยรัตนะมีประการต่าง ๆ

นั้น จึงต่างถือเอาเข้าพกเข้าห่อ คามชอบใจ ก็เมื่อบริษัทถือเอารัตนะ

ตามชอบใจจักรรัตนะนั้นก็หมุนกลับ และเมื่อจักรรัตนะนั้นหมุนกลับ บริษัท

จึงอยู่ข้างหน้า พระราชาอยู่ท่ามกลาง จักรรัตนะอยู่ในที่สุด แม้น้ำทะเลนั้น

เป็นเสมือนถูกรัศมีแห่งจักรรัตนะล่อไว้ (กันไว้) และเป็นเสมือนไม่อาจจะ

ทนอยู่ได้ จึงแยกออกจากจักรรัตนะนั้น และซัดเข้านาฟาดขอบวงจักรรัตนะ

อยู่ไม่ขาดสาย. พระเจ้าจักรพรรดิครั้นทรงมีชัยชนะอย่างยิ่งใหญ่ ต่อบุพวิเทห

ทวีป ที่มีมหาสมุทรด้านทิศตะวันออกเป็นขอบเขต ทรงมีพระประสงค์จะได้

ชัยชนะชมพูทวีป อันมีมหาสมุทรด้านทิศใต้เป็นขอบเขต จึงบ่ายพระพักตร์

ไปสู่สมุทรด้านทิศทักษิณ เคยบรรดาที่จักรรัตนะสำแดงแล้ว ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล จักรรัตนะนั้น

ได้พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันออก แล้วกลับพัดผันไปด้านทิศใต้.

ก็วิธีหมุนกลับของจักรรัตนะนั้นที่พัดผันไปอย่างนี้ การชุมนุมของ

หมู่เสนา การเสด็จไปของพระเจ้าประเทศราช การมอบอนุศาสน์แก่เจ้า

ประเทศราชเหล่านั้น การหยั่งลงสู่สมุทรด้านทิศทักษิณ การถือเอารัตนะที่

ไหลมาตามสายน้ำแห่งสมุทร เหล่านี้ทั้งหมดบัณฑิตพึงทราบโดยนัยก่อนนั้น

แหละ.

ก็จักรรัตนะนั้นครั้นมีชัยชนะแล้ว ก็พัดผันข้ามสมุทรด้านทักษิณ

มุ่งชมพูทวีปมีเนื้อที่ประมาณแสนโยชน์ แล้วหมุนไปโดยนัยดังกล่าวแล้วใน

ก่อนนั่นแหละ เพื่อพิชิตอมรโดยานทวีป ครั้นมีชัยชนะอมรโคยานทวีป ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

มีสมุทรเป็นชอบเขตนั้น โดยทำนองนั้นแหละ ก็พัดผันข้ามสมุทรด้านทิศปัจฉิม

ไปโดยวิธีนั่นแหละ เพื่อพิชิตอุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์

ครั้นมีชัยชนะอุตตรกุรุทวีป แม้นั้น ซึ่งมีสมุทรเป็นขอบเขตด้วยวิธีอย่างเดียวกัน

ก็พัดผันข้ามมาจากสมุทรด้านทิศอุดร. พระเจ้าจักรพรรดิทรงบรรลุความเป็น

ยิ่งใหญ่ในแผ่นดิน มีสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ด้วยประการดังพรรณนามานี้.

พระเจ้าจักรพรรดินั้นมีชัยชนะเด็ดขาดเช่นนี้แล้ว เพื่อจะทรงทอดพระ

เนตรสิริราชสมบัติของพระองค์ จึงทรงพร้อมด้วยบริษัทเหาะขึ้นสู่พื้นนภากาศ

ชั้นบน ตรวจดูทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๆ ทวีปล่ะ ๕๐๐ เป็นบริวาร

ดุจชาตสระทั้ง ๔ ทิศงามไปด้วยหมู่ไม้ต่าง ๆ เช่น ปทุม อุบลและบุณฑริกที่

แย้มดอกบานสล้างฉะนั้น แล้วเสด็จกลับราชธานีเดิมของพระองค์ ตามลำดับ

โดยบรรดาที่แสดงไว้แล้วในจักกุทเทลนั่นแล.

ครั้งนั้นจักรรัตนะนั้น ประดิษฐานอยู่เหมือนเป็นเครื่องเสริมความงาม

ให้ประตูพระราชวัง ก็เมื่อจักรรัตนะนั้นประดิษฐานอยู่เช่นนี้ กิจที่จะพึงกระทำ

เกี่ยวกับคบเพลิงก็ดี การตามประทีปก็ดี ไม่จำต้องมีในพระราชวัง แสงสว่าง

แห่งจักรรัตนะนั้นแหละกำจัด ความมืดในยามราตรีได้ ส่วนคนเหล่าใดต้องการ

ความมืด คนเหล่านั้นก็ได้ความมืด ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกฺขิณสมุทฺท

อชฺโฌคาเหตฺวา ฯเปฯ เอวรูป จกฺกรตน ปาตุภวติ ดังนี้.

ก็อำมาตย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้มีจักรรัตนะปรากฏแล้วอย่างนี้

สั่งให้ทำความสะอาดภูมิภาค อันเป็นที่อยู่ของมงคลหัตถีโดยปกติ ให้ลูบไล้

ด้วยของหอมที่ชวนดมมีจันทน์แดงเป็นต้น เบื้องล่างให้เกลื่อนกล่นไปด้วย

โกสุมที่ชวนชมมีวรรณะอันวิจิตร เบื้องบนตบแต่งด้วยดาวทอง มีเพดาน

ประดับไปด้วยพวงโกสุมน่าชินชม รวมอยู่เป็นกลุ่ม ในระหว่างดาวทอง แต่ง

ให้งดงามดุจเทพวิมานแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอพระองค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

จงทรงจินตนาการถึงการมาของช้างแก้วชื่อเห็นปานนี้. ท้าวเธอบำเพ็ญมหาทาน

สมาทานศีล ประทับนั่งรำพึงถึงบุญสมบัตินั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อน

นั่นแหละ.

ลำดับนั้น ช้างตัวประเสริฐ อันอานุภาพแห่งบุญของพระเจ้าจักร

พรรดิ ตักเตือนแล้วประสงค์จะเสวยสักการะพิเศษนั้น จากตระกูลช้างฉัททันต์

หรือจากตระกูลช้างอุโบสถ มีร่างเผือกผ่องบริสุทธิ์ ประดับด้วยผ้าคชาภรณ์

สำหรับคลุมคอและหน้าสีแดงเข้มดุจดวงพระอาทิตย์อ่อน ๆ มีที่ตั้งอวัยวะทั้ง ๗

ถูกลักษณะ คือมีอวัยวะน้อยใหญ่ตั้งถูกส่วนสัด มีปลายงวงแดงเหมือนปทุมทอง

สีแดงที่แย้มบาน สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ เหมือนพระโยคีผู้มีฤทธิ์

เป็นช้างประเสริฐที่สุดดุจภูเขาเงิน ที่มียอดฉาบด้วยจุณแห่งมโนศิลา ประดิษ-

ฐานอยู่ในประเทศนั้น ช้างตัวประเสริฐนั้น เมื่อมาจากตระกูลช้างฉัททันต์

ก็มาแต่ตัวยังเล็กกว่าช้างทั้งปวง เมื่อมาจากตระกูลช้างอุโบสถ ก็มาอย่างช้าง

ผู้ประเสริฐกว่าช้างทั้งปวง แต่ในพระบาลีระบุว่า มาในลักษณะพญาช้าง ชื่อ

อุโบสถ. เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิผู้บำเพ็ญวัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ สมบูรณ์แล้ว

ทรงจินตนาการอยู่โดยนัยดังกล่าวแล้วในพระสูตรนั่นเอง. ช้างอุโบสถก็เดินมา

มิใช่มาเพื่อคนเหล่าอื่น ครั้นมาถึงโรงช้างมงคลหัตถีธรรมดาก็นำช้างมงคลหัตถี

ออก แล้วเข้าไปยืนแทนในโรงช้างนั้น ด้วยตนเองทีเดียว ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ฯลฯ

เป็นช้างหลวงชื่ออุโบสถ.

ก็ควาญช้างเป็นต้น เห็นหัตถิรัตนะนั้น ปรากฏเช่นนั้นแล้ว ต่างรื่นเริง

ยินดี รีบไปกราบทูลให้พระราชาธิบดีทรงทราบโดยเร็ว ท้าวเธอเสด็จมาอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

รีบด่วน ทอดพระเนตรเห็นแล้วมีพระราชหฤทัยโปรดปราน ทรงพระดำริว่า

จะเป็นยานช้างที่เจริญหนอ พ่อมหาจำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัดแล้วทรงเหยียด

พระหัตถ์ออก. ครั้งนั้นช้างแก้วทำหูผึ่ง เหมือนลูกโคที่ติดแม่โคนมในเรือน

เมื่อจะแสดงความที่คนเป็นสัตว์กล้าหาญ จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา พระองค์มี

ประสงค์จะประทับทรงช้างแก้วนั้น ครั้งนั้น บริวารชนทราบความประสงค์

ของพระองค์แล้ว จึงแต่งช้างแก้วนั้นด้วยธงทอง เครื่องอลังการทอง คลุม

ด้วยตาข่ายทอง แล้วนำเข้าไปถวาย. พระราชาทรงทำช้างแก้วให้สงบ ขึ้น

ประทับโดยบันได สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพระทัยมุ่งหมายจะเสด็จไป

ทางอากาศ พร้อมกับที่พระราชาธิบดีทรงดำรินั่นแหละ พญาช้างนั้นก็ทะยาน

ขึ้นสู่พื้นนภากาศสีเขียวครามด้วยข่ายทอง รุ้งด้วยแสงแห่งแก้วอินทนิลและแก้ว

มณี ดุจพญาหงส์. แต่นั้นบริษัทของพระราชาทั้งหมด ก็ติดตามไปโดยนัย

ดังกล่าวแล้วในการท่องเที่ยวไปของจักระ พระราชาพร้อมด้วยบริษัท เสด็จ

ท่องเที่ยวไปทั่วพื้นปฐพีทั้งสิ้น แล้วเสด็จกลับถึงราชธานี ทันเวลาเสวยพระ

กระยาหารเช้า ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ มีฤทธิ์มากอย่างนี้ ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทิสฺวา ฯลฯ ปาตุรโหสิ ดังนี้.

บริษัทของพระเจ้าจักรพรรดิผู้มีหัตถิรัตนะปรากฏแล้วเช่นนี้ แล้วช่วย

กันแผ้วถางโรงม้ามงคลให้สะอาด มีพื้นราบเรียบประดับประดาแล้ว กราบ

ทูลเตือนพระราชา ให้มีพระอุตสาหะ จินตนาการถึงการมาของอัสสรัตนะนั้น

ท้าวเธอทรงบำเพ็ญทานสักการะ สมาทานศีล ประทับนั่งบนพื้นปราสาทชั้น

บน ทรงน้อมระลึกถึงบุญสมบัติโดยนัยก่อนนั่นแหละ ครั้งนั้นพญาม้าชื่อ

พลาหก อันอานุภาพแห่งบุญของพระเจ้าจักรพรรดินั้นตักเตือนแล้ว มีความ

สง่างามสีหมอกเหมือนกลุ่มวลาหกขาวในสรทกาลอันคาดด้วยสายฟ้า มีเท้าแดง

ปากแดง มีร่างประกอบด้วยข้อลำล้วนสนิทแนบเนียน เหมือนกลุ่มแสงดวง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

จันทร์ มีศีรษะคล้ายศีรษะกา เพราะประกอบด้วยศีรษะมีสีดำ เหมือนคอกา

และเหมือนมณีแกมแก้วอินทนิล มีเส้นผมสลวยเหมือนหญ้าปล้อง เพราะ

ประกอบไปด้วยเส้นผมที่มีปอยละเอียดเหยียดตรงคล้ายกับหญ้าปล้องที่เขาบรรจง

วางเรียงไว้ เหาะไปในอากาศได้ มาจากตระกูลม้าสินธพ ประดิษฐานอยู่ในที่

นั้น คำที่เหลือทุกอย่างพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในหัตถิรัตนะนั้นแล. ทรง

หมายเอา อัสสรัตนะเห็นปานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน

จปร ดังนี้

เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิมีรัตนะปรากฏเช่นนี้ ก็มีมณีรัตนะลอยมาจาก

ภูเขาเวบุลบรรพตยาวประมาณ ๔ ศอก มีสัณฐานประมาณขนาดดุมเกวียน

ที่สุดสองข้างล้อมไปด้วยกรรณิกา ประดับด้วยประทุมทองสองข้าง มีกลุ่ม

มุกดาสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน เป็นดุจดวงจันทร์วันเพ็ญ ที่แวดล้อมไป

ด้วยดวงดาวน้อยใหญ่ทอแสงแผ่รัศมีไปฉะนั้น เนื้อแก้วมณีนั้นลอยมาอย่างนี้

แล้ว เขาก็ใช้ไม้ไผ่ต่อ ๆ กัน ยกขึ้นสู่อากาศ สูงประมาณ ๖๐ ศอก โดย

เว้นข่ายแห่งแก้วมุกดาไว้ ในกลางคืนจะมีแสงแผ่ไปทั่วบริเวณประมาณโยชน์

หนึ่งโดยรอบ มณีรัตนะที่ให้เกิดแสงสว่างทั่วบริเวณทั้งหมด ดุจแสงสว่างใน

เวลาพระอาทิตย์ขึ้น นั้นเป็นผลให้ชาวนาประกอบกสิกรรมได้ พ่อค้าพาณิช

ติดต่อซื้อขายกันได้ในท้องตลาด ผู้ที่ถนัดอาชีพแต่ละสาขา ต่างสำคัญว่า เป็น

กลางวัน ดำเนินธุรกิจการงานของตนได้ตามหน้าที่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ฯลฯ มณีรัตนะ

ย่อมปรากฏดังนี้.

อิตถีรัตนะอันเป็นเหตุให้เกิดความสุขพิเศษตามเพศวิสัย ย่อมบังเกิด

แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้มีมณีรัตนะปรากฏแล้วเช่นนี้. ก็ชาวประชาย่อมน่าอัคร

มเหสีมาแต่ตระกูลมัททราช ถวายองค์พระเจ้าจักรพรรดิบ้าง อัครมเหสีเสด็จ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

มาเองจากอุตตรกุรุทวีป ด้วยบุญญานุภาพบ้าง. ก็คุณสมบัติที่เหลือของอัคร-

มเหสีนั้น มีมาแล้วในพระบาลีทั้งหมดโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ประการอื่นยังมีอีก นางแก้วรูปงาม น่าดูย่อมปรากแก่พระเจ้าจักรพรรดิ

ดังนี้. ในบทที่มาในพระบาลีเหล่านั้น มีวินิจฉัยดังนี้ ที่ชื่อว่า อภิรูปา

เพราะมีรูปงาม โดยสมบูรณ์ด้วยทรวดทรง. ก็เมื่อจะมองดู ก็อิ่มตา (มองได้

เต็มตา) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทัสสนียา เพราะต้องพักกิจอย่างอื่นไว้แล้ว

เหลียวมามอง. และชื่อว่า ปาสาทิกา เพราะเมื่อมอง ก็นำให้มีจิตชื่นชม

โสมนัส. บทว่า ปรมาย ความว่า ชื่อว่า สูงสุด เพราะนำความเลื่อมใสมา

ให้อย่างนี้ . บทว่า วณฺณโปกิขรตาย แปลว่า มีผิวพรรณงาม. บทว่า

สมนฺนาคตา แปลว่า เข้าถึง. อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า มีรูปงาม เพราะ

ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ชื่อว่า น่าดู เพราะไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ชื่อว่า

น่าเลื่อมใส เพราะไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก ชื่อว่าประกอบด้วยความงามแห่งผิว

พรรณอย่างยิ่ง เพราะล่วงผิวพรรณของมนุษย์ แต่ยังไม่ถึงขั้นผิวพรรณทิพย์

ความจริง ผิวพรรณของมนุษย์ทั้งหลายยังไม่มีแสงสว่างสร้านไปภายนอก ส่วน

ผิวพรรณของเทวดาสร้านออกไปได้ไกลมาก. แต่แสงสว่างแห่งเรือนร่างของ

นางแก้วนั้น สว่างไปทั่วบริเวณประมาณ ๑๒ ศอก ก็ในบรรดาคุณสมบัติมี

ความเป็นผู้ไม่สูงนักเป็นต้น ท่านกล่าวอาโรหสมบัติไว้ด้วยคุณสมบัติคู่แรก

กล่าวปริณาหสมบัติไว้ด้วยคุณสมบัติคู่ที่สอง กล่าววรรณสมบัติไว้ด้วย

คุณสมบัติคู่ที่สาม. อีกประการหนึ่งด้วยคุณสมบัติ ๖ ประการเหล่านี้ อัคร-

มเหสีไม่มีความบกพร่องทางกายเลย.

กายสมบัติ ตรัสไว้ด้วยบทนี้ว่า อติกิกนฺตา มนุสฺสวณฺณ บทว่า

ตูลปิจุโน วา กปฺปาสปิจุโน วา ความว่า มีสัมผัสทางกายปานประหนึ่ง

สัมผัสปุยนุ่น หรือปุยฝ้ายที่เขาใส่ไว้ในเนยใส แล้วสลัดทิ้งตั้ง ๑๐๐ ครั้ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

บทว่า สีเต ได้แก่ ในคราวที่พระราชาธิบดีหนาว. บทว่า อุณฺเห ได้แก่

ในคราวที่พระราชาธิบดีร้อน. บทว่า จนฺทนคนฺโธ ความว่า กลิ่นจันทน์

ที่เขาบดอยู่ตลอดเวลา (จนละเอียด) หมู่เอี่ยมนำมาเคล้ากับชาติทั้ง ๔ ย่อมฟุ้ง

ออกจากกาย. บทว่า อุปฺปลคนฺโธ ความว่า กลิ่นที่หอมอบอวลของนีล

อุบลที่เขาเด็ดดอกในขณะนั้น ย่อมหอมฟุ้งออกจากปากในเวลาแย้ม สรวลหรือ

เจรจา. ก็เพื่อจะแสดงถึงมรรยาทอันสมควรแก่สรีรสมบัติของนางแก้ว เพราะ

ประกอบด้วยคันธสมบัติเห็นปานนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ต โข ปน ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น ดังนี้ ที่ชื่อว่า ปุพฺพุฏฺายินี (ตื่นก่อน)

เพราะจะต้องลุกขึ้นก่อนทีเดียว ดุจระแวงว่าพระราชาทรงเห็นแล้ว จะกริ้ว

ดังไฟไหม้ แต่ราชอาสน์. ชื่อว่า ปจฺฉานิปาตินี (นอนที่หลัง) เพราะเมื่อ

พระราชาประทับนั่ง จะต้องอยู่เวรถวายงานพัดสมเด็จพระราชาธิบดีก่อนแล้ว

จึงจะนอนหรือพักได้ในภายหลัง. ที่ชื่อว่า กึการปฏิสฺสาวินี (คอยฟัง

บรรหารคำรับสั่ง) เพราะจะต้องรับสนองพระโอฐด้วยวาจาว่า ขอเดชะ

หม่อมฉัน จะต้องทำอะไร. ที่ชื่อว่า มนาปจารินี (ประพฤติถูกพระทัย) เพราะ

จะต้องประพฤติคือกระทำให้ถูกพระทัยพระราชา. ที่ชื่อว่า ปิยวาทินี (ทูล

ปราศัยเป็นที่โปรดปราน) เพราะพระราชาโปรดอย่างใด จะต้องทูลอย่างนั้น.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า นางแก้วนั้นต้องมีอาจาระบริสุทธิ์ผุดผ่อง โดย

ถ่ายเดียว ไม่มีมายาสาไถย จึงตรัสคำมีอาทิว่า ต โข ปน ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน อติจรติ ได้แก่ ไม่ประพฤตินอกใจ

อธิบายว่า ไม่ปรารถนาชายอื่นแม้ด้วยใจ. ในบรรดาคุณสมบัติเหล่านั้น คุณ

สมบัติเหล่าใดที่ตรัสไว้ในตอนต้นว่า ต้องมีรูปงามเป็นต้นก็ดี ที่ตรัสไว้ใน

ตอนท้ายว่า ต้องลุกก่อนเป็นต้นก็ดี คุณสมบัติเหล่านั้น ตรัสว่าเป็นคุณสมบัติ

ธรรมดาเท่านั้น ก็บทเป็นต้นว่า อติกฺกนฺตา มนุสฺสาน พึงทราบว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

เจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย ย่อมบังเกิดด้วยอานุภาพแห่งกรรมเก่า นับแต่

จักรรัตนะปรากฏ เพราะต้องอาศัยบุญบารมี. อีกประการหนึ่ง จำเดิมแต่

จักรรัตนะปรากฏ แม้ความเป็นผู้มีรูปงามเป็นต้น บังเกิดบริบูรณ์ไปทุกสิ่ง

ทุกอย่าง. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิตถีรัตนะเห็นปานนี้

ย่อมบังเกิด ดังนี้.

คฤหบดีรัตนะย่อมปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้มีอิตถีรัตนะปรากฏ

แล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกเกี่ยวกับกิจการด้านท้องพระคลัง ตามพระราช

อัธยาศัย ผู้ที่มีโภคะมากตามปกติก็ดี ผู้ที่เกิดในตระกูลมีโภคะมากก็ดี มีส่วน

ช่วยให้กิจการท้องพระคลังของพระราชาเจริญรุ่งเรื่อง จึงจะเป็นเศรษฐีคฤหบดี

ได้. ก็จักษุเพียงดังทิพย์เกิดแต่วิบากกรรมพร้อมที่จะอำนวยประโยชน์ ย่อม

ปรากฏแก่คฤหบดีแก้วนั้นทีเดียว เป็นเหตุให้มองเห็นทรัพย์ภายในแผ่นดินได้

ในรัศมี ๑ โยชน์ เขาเห็นสมบัตินั้นแล้วดีใจ ไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ รับ

อาสาทำหน้าที่การคลังให้พระราชา ดำเนินธุรกิจการคลังทุกอย่างให้สมบูรณ์.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมี

อีก ฯลฯ คหบดีรัตนะเห็นปานนี้ ย่อมปรากฏดังนี้.

ก็ปริณายกรัตนะสามารถจัดแจงกิจการทุกสิ่งทุกอย่างให้สำเร็จ ย่อม

ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิผู้มีคฤหบดีแก้วปรากฏแล้วพระองค์นั้น ด้วย

ประการฉะนี้. ปริณายกนั้น ย่อมเป็นเสมือนราชบุตรคนโตของพระเจ้าจักรพรรดิ

เป็นบัณฑิตฉลาด มีปัญญาโดยปกติทีเดียว ก็ปรจิตตญาณ (ญาณกำหนดรู้ใจ

คนอื่น) ย่อมบังเกิดแก่ปริณายกรัตนะนั้น ด้วยอานุภาพแห่งกรรมของตนเอง

เพราะอาศัยบุญญานุภาพของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นเหตุให้สามารถรู้วาระจิต

ของข้าราชบริพารได้ประมาณ ๑๒ โยชน์ แล้วกำหนดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

และสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับพระราชาได้. แม้ปริณายกนั้น เห็นอานุภาพ

ของตนนั้นแล้วดีใจ รับอาสาพระราชา โดยสั่งการแทนในกิจการทุกอย่าง.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก

ปริณายกรัตนะย่อมปรากฏ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปตพฺพ เปตุ ได้แก่ เพื่อทรงแต่งตั้ง

ผู้ที่ควรแต่งตั้งในตำแหน่งนั้น ๆ. บทว่า สมเวปากินิยา เป็นต้น ท่านกล่าว

ไว้แล้วในหนหลังแล. บทว่า กฏคฺคาเหน แปลว่า เพราะฉวยเอาชัยชนะ

ไว้ได้. บทว่า มหนฺตโภคกฺขนธ ความว่า จะพึงได้เงินสองหรือสามแสน

ด้วยการฉวยเอาชัยชนะได้ครั้งเดียวเท่านั้น. บทว่า เกวลา ปริปูรา ปณฺฑิต-

ภูมิ ความว่า บัณฑิตบำเพ็ญสุจริตสามย่อมบังเกิดในสวรรค์. จากนั้น เมื่อ

มาสู่มนุษยโลก ย่อมบังเกิดในที่ซึ่งมีความสมบูรณ์ด้วยตระกูล รูปและโภคะ

เขาตั้งอยู่ในสมบัตินั้นแล้ว บำเพ็ญสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ ย่อมได้ไปบังเกิดใน

สวรรค์อีก. ตามที่พรรณนามานี้ จึงจัดได้ว่าเป็นภูมิของบัณฑิตอย่างครบถ้วน

บริบูรณ์. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาพาลบัณฑิตสูตร ที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

๑๐. เทวทูตสูตร

[๕๐๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว.

[๕๐๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนเรือน ๒ หลังมีประตูตรงกัน บุรุษผู้มีตาดียืนอยู่ระหว่างกลางเรือน

๒ หลังนั้น พึงเห็นมนุษย์กำลังเข้าเรือนบ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลัง

เดินมาบ้าง กำลังเดินไปบ้างฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล

เราย่อมมองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติกำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มี

ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

ย่อมทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้ว่า สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านั้น

ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็น

สัมมาทิฏฐิ เชื่อมันกรรมด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิเมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ก็มี สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต

มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ เธอมั่นกรรมด้วยอำนาจ

สัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไปแล้ว บังเกิดในหมู่มนุษย์ก็มี สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้

ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉา-

ทิฏฐิ เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงปิตติวิสัยก็มี

สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เธอมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อ

ตายไปแล้ว เข้าถึงกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานก็มี สัตว์ผู้กำลังเป็นอยู่เหล่านั้น ประกอบ

ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ

เชื่อมั่นกรรมด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรกก็มี.

[๕๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะจับสัตว์นั้นที่ส่วน

ต่าง ๆ ของแขนไปแสดงแก่พระยายมว่า ข้าแต่พระองค์ บุรุษนี้ไม่ปฏิบัติชอบ

ในมารดา ไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ไม่อ่อนน้อม

ต่อผู้ใหญ่ในสกุล ขอพระองค์จงลงอาชญาแก่บุรุษนี้เถิด.

ว่าด้วยเทวทูตที่ ๑

[๕๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระยายมจะปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๑ กะสัตว์นั้นว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็น

เทวทูตที่ ๑ ปรากฏในหมู่มนุษย์หรือ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นเลยเจ้าข้า.

พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นเด็ก

แดง ๆ ยังอ่อนนอนแบ เปื้อนมูตรคูถของตนอยู่ในหมู่มนุษย์หรือ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า เห็น เจ้าข้า.

พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านนั้นรู้ความ มีสติ

เป็นผู้ใหญ่แล้ว ได้มีความดำริดังนี้บ้างไหมว่า แม้ตัวเราแล ก็มีความเกิดเป็น

ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเกิดไปได้ ควรที่เราจะทำความดีทางกาย ทางวาจา

และทางใจ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า มัวประมาทเสียเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้ทำความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจไว้ เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น เหล่านาย

นิรยบาลจักลงโทษโดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว ก็บาปกรรมนั้นแล ไม่ใช่

มารดาทำให้ท่าน ไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้อง

หญิงทำให้ท่าน ไม่ใช่มิตรอำมาตย์ทำให้ท่าน ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้ท่าน

ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ทำให้ท่าน ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน ตัวท่านเองทำเข้า

ไว้ ท่านเท่านั้นจักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้.

[๕๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๑ กะสัตว์นั้นแล้ว จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ ไต่ถาม

เทวทูตที่ ๒ ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๒ ปรากฏใน

หมู่มนุษย์หรือ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า.

พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นหญิงหรือ

ชายมีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี นับแต่เกิดมา ผู้แก่ ซี่โครงคด หลังงอ

ถือไม้เท้า งกเงิ่น เดินไป กระสับกระส่าย ล่วงวัยหนุ่มสาว ฟันหัก ผมหงอก

หนังย่น ศีรษะล้าน เหี่ยว ตัวตกกระ ในหมู่มนุษย์หรือ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า เห็น เจ้าข้า.

พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านนั้นรู้ความ มีสติ

เป็นผู่ใหญ่แล้ว ได้มีความดำริดังนี้บ้างไหมว่า แม้ตัวเราแล ก็มีความแก่เป็น

ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ควรที่เราจะทำความดีทางกาย ทางวาจา

และทางใจ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า มัวประมาทเสีย เจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้ทำดีทางกาย

ทางวาจา และทางใจไว้ เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น เหล่านายนิรยบาลจัก

ลงโทษโดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว ก็บาปกรรมนี้นั่นแล ไม่ใช่มารดาทำให้

ท่าน ไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องหญิงทำให้

ท่าน ไม่ใช่มิตรอำมาตย์ทำให้ท่าน ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้ท่าน ไม่ใช่สมณะ

และพราหมณ์ทำให้ท่าน ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน ตัวท่านเองทำเข้าไว้ ท่าน

เท่านั้นจักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้.

ว่าด้วยเทวทูตที่ ๓

[๕๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๒ กะสัตว์นั้นแล้ว จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ ไต่ถามถึง

เทวทูตที่ ๓ ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๓ ปรากฏใน

หมู่มนุษย์หรือ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า.

พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นหญิง

หรือชาย ผู้ป่วย ทนทุกข์เป็นไข้หนัก นอนเปื้อนมูตรคูถของตน มีคนอื่น

คอยพยุงลุกพยุงเดิน ในหมู่มนุษย์หรือ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า เห็น เจ้าข้า.

พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านนั้นรู้ความมีสติ

เป็นผู้ใหญ่แล้ว ได้มีความดำริดังนี้บ้างไหมว่า แม้ตัวเราแล ก็มีความเจ็บป่วย

เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้ ควรที่เราจะทำความดีทางกาย

ทางวาจา และทางใจ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

สัตว์นั้น ทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า มัวประมาทเสีย เจ้าข้า.

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้ทำความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจไว้ เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น เหล่านาย

นิรยบาลจักลงโทษโดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว ก็บาปกรรมนี้นั่นแล ไม่ใช่

มารดาทำให้ท่าน ไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่

น้องหญิงทำให้ท่าน ไม่ใช่มิตรอำมาตย์ทำให้ท่าน ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้

ท่าน ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ทำให้ท่าน ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน ตัวท่านเอง

ทำเข้าไว้ ท่านเท่านั้นจักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้.

[๕๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๓ กะสัตว์นั้นแล้ว จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ ไต่ถามถึง

เทวทูตที่ ๔ ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๔ ปรากฏใน

หมู่มนุษย์หรือ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า.

พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นพระราชา

ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้ว สั่งลงกรรมกรณ์ต่างชนิด

บ้างหรือ คือ

๑. โบยด้วยแส้

๒. โบยด้วยหวาย

๓. ตีด้วยตะบองสั้น

๔. ตัดมือ

๕. ตัดเท้า

๖. ตัดทั้งมือตัดทั้งเท้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

๗. ตัดหู

๘. ตัดจมูก

๙. ตัดทั้งหูทั้งจมูก

๑๐. หม้อเคี่ยวน้ำส้ม

๑๑. ขอดสังข์

๑๒. ปากราหู

๑๓. มาลัยไฟ

๑๔. คบมือ

๑๕. ริ้วส่าย

๑๖. นุ่งเปลือกไม้

๑๗. ยืนกวาง

๑๘. เกี่ยวเหยื่อเบ็ด

๑๙. เหรียญกษาปณ์

๒๐. แปรงแสบ

๒๑. กางเวียน

๒๒. ตั่งฟาง

๒๓. ราดด้วยน้ำมันเดือด ๆ

๒๔. ให้สุนัขทึ้ง

๒๕. ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็น ๆ

๒๖. ตัดศีรษะด้วยดาบ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า เห็น เจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเจริญ ท่านนั้น รู้ความ มีสติ

เป็นผู้ใหญ่แล้ว ได้มีความดำริดังนี้บ้างไหมว่า จำเริญละ เป็นอันว่า สัตว์ที่

ทำกรรมลามกไว้นั้น ๆ ย่อมถูกลงกรรมกรณ์ต่างชนิดเห็นปานนี้ในปัจจุบัน จะ

ป่วยกล่าวไปไยถึงชาติหน้า ควรที่เราจะทำความดีทางกาย ทางวาจา และทาง

ใจ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า มัวประมาทเสีย เจ้าข้า.

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้ทำความดี

ทางกาย ทางวาจา และทางใจไว้ เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น เหล่านาย

นิรยบาลจักลงโทษโดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว ก็บาปกรรมนี้นั่นแล ไม่ใช่

มารดาทำให้ท่าน ไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่

น้องหญิงทำให้ท่าน ไม่ใช่มิตรอำมาตย์ทำให้ท่าน ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้

ท่าน ไม่ใช่สมณะและพราหมณ์ทำให้ท่าน ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน ตัวท่านเอง

ทำเข้าไว้ ท่านเท่านั้นจักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้.

ว่าด้วยเทวทูตที่ ๕

[๕๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ

ไต่ถามถึงเทวทูตที่ ๔ กะสัตว์นั้นแล้ว จึงปลอบโยน เอาอกเอาใจ ไต่ถามถึง

เทวทูตที่ ๕ ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นเทวทูตที่ ๕ ปรากฏใน

หมู่มนุษย์หรือ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นเลย เจ้าข้า.

พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้เห็นหญิง

หรือชายที่ตายแล้ววันหนึ่ง หรือสองวัน หรือสามวัน ขึ้นพอง เขียวช้ำ มี

น้ำเหลืองเยิ้มในหมู่มนุษย์หรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า เห็น เจ้าข้า.

พระยายมถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านนั้นรู้ความ มีสติ

เป็นผู้ใหญ่แล้ว ได้มีความดำริดังนี้บ้างไหมว่า แม้ตัวเราแล ก็มีความตายเป็น

ธรรมดาไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ควรที่เราจะทำความดีทางกาย ทางวาจา

และทางใจ.

สัตว์นั้นทูลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่อาจ เจ้าข้า มัวประมาทเสีย เจ้าข้า.

พระยายมกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ท่านไม่ได้ทำความดีทาง

กาย ทางวาจา และทางใจไว้ เพราะมัวประมาทเสีย ดังนั้น เหล่านายนิรย-

บาลจักลงโทษโดยอาการที่ท่านประมาทแล้ว ก็บาปกรรนนี้นั้นแล ไม่ใช่มารดา

ทำให้ท่าน ไม่ใช่บิดาทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องชายทำให้ท่าน ไม่ใช่พี่น้องหญิง

ทำให้ท่าน ไม่ใช่มิตรอำมาตย์ทำให้ท่าน ไม่ใช่ญาติสาโลหิตทำให้ ไม่ใช่

สมณะและพราหมณ์ทำให้ท่าน ไม่ใช่เทวดาทำให้ท่าน ตัวท่านเองทำเข้าไว้

ท่านเท่านั้นจักเสวยวิบากของบาปกรรมนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระยายมครั้นปลอบโยน เอาอกเอาใจ ไต่ถาม

ถึงเทวทูตที่ ๕ กะสัตว์นั้นแล้ว ก็ดุษณีอยู่.

[๕๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านิรยบาลจะให้สัตว์นั้นกระทำเหตุ

ชื่อการจองจำ ๕ ประการ คือตรึงตะปูเหล็กแดงที่มือข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ ที่เท้า

ข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ และที่ทรวงอกตรงกลาง สัตว์นั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์

กล้า เจ็บแสบอยู่ในนรกนั้น และยังไม่ตายทราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.

[๕๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านิรยบาลจะจับสัตว์นั้นขึงพืดแล้ว

เอาผึ่งถาก... จะจับสัตว์นั้น เอาเท้าขึ้นข้างบน เอาหัวลงข้างล่างแล้วถากด้วย

พร้า ... จะเอาสัตว์นั้นเทียมรถแล้วให้วิ่งกลับไปกลับ มาบนแผ่นดินที่มีไฟติดทั่ว

ลุกโพลงโชติช่วง... จะให้สัตว์นั้นบินขึ้นบินลงซึ่งภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ที่มีไฟ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

ติดทั่ว ลูกโพลง โชติช่วง ... จะจับสัตว์นั้น เอาเท้าขึ้นข้างบนเอาหัวลงข้างล่าง

แล้วพุ่งลงไปในหม้อทองแดง ที่มีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง สัตว์นั้นจะ

เดือดพล่านเป็นฟองอยู่ในหม้อทองแดงนั้น เขาเมื่อเดือดเป็นฟองอยู่ จะพล่าน

ขึ้นข้างบนครั้งหนึ่งบ้าง พล่านลงข้างล่างครั้งหนึ่งบ้าง พล่านไปด้านขวางครั้ง

หนึ่งบ้าง จะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในหม้อทองแดงนั้น

และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.

ว่าด้วยมหานรก

[๕๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะโยนสัตว์นั้นเข้าไป

ในมหานรก ก็มหานรกนั้นแล

มีสี่มุม สี่ประตู แบ่งไว้โดยส่วนเท่า

กัน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบครอบไว้ด้วย

แผ่นเหล็ก พื้นของนรกใหญ่นั้นล้วนแล้ว

ด้วยเหล็ก ลุกโพลง แผ่ไปตลอดร้อย

โยชน์รอบด้านประดิษฐานอยู่ทุกเมื่อ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และมหานรกนั้น มีเปลวไฟพลุ่งจากฝาด้านหน้า

จดฝาด้านหลัง พลุ่งจากฝาด้านหลังจดฝาด้านหน้า พลุ่งจากฝาด้านเหนือจดฝา

ด้านได้ พลุ่งจากฝาด้านได้จดฝาด้านเหนือ พลุ่งขึ้นจากข้างล่างจดข้างบน พลุ่ง

จากข้างบนจดข้างล่าง สัตว์นั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่

ในมหานรกนั้น และยังไม่ตายครบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด.

[๕๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีสมัยที่ในบางครั้งบางคราว โดย

ล่วงระยะกาลนาน ประตูด้านหน้าของมหานรกเปิด. สัตว์นั้น จะรีบวิ่งไปยัง

ประตูนั้น โดยเร็ว ย่อมถูกไฟไหม้ผิว ไหม้หนัง ไหม้เนื้อ ไหม้เอ็น แม้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

กระดูกทั้งหลายก็เป็นควันตลบ แต่อวัยวะที่สัตว์นั้นยกขึ้นแล้ว จะกลับคงรูป

เดิมทันที และในขณะที่สัตว์นั้น ใกล้จะถึงประตู ประตูนั้นจะปิด สัตว์นั้น

ย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในมหานรกนั้น และยังไม่ตาย

ตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.

[๕๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีสมัยที่ในบางครั้งบางคราว โดย

ล่วงระยะกาลนาน ประตูด้านหลังของมหานรกนั้นเปิด ฯลฯ ประตูด้านเหนือ

เปิด ฯลฯ ประตูด้านใต้เปิด สัตว์นั้นจะรีบวิ่งไปยังประตูนั้นโดยเร็ว ย่อมถูก

ไฟไหม้ผิว ไหม้หนัง ไหม้เนื้อ ไหม้เอ็น แม้กระดูกทั้งหลายก็เป็นควันตลบ

แต่อวัยวะที่สัตว์นั้นยกขึ้นแล้วจะกลับคงรูปเดิมทันที และในขณะที่สัตว์นั้นใกล้

จะถึงประตู ประตูนั้นจะปิด สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บ

แสบ อยู่ในมหานรกนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.

[๕๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีสมัยที่ในบางครั้งบางคราว โดย

ล่วงระยะกาลนาน ประตูด้านหน้าของมหานรกนั้นเปิด สัตว์นั้นจะรีบวิ่งไปยัง

ประตูนั้น โดยเร็ว ย่อมถูกไฟไหม้ผิว ไหม้หนัง ไหม้เนื้อ ไหม้เอ็น แม้

กระดูกทั้งหลายก็เป็นควันตลบ แต่อวัยวะที่สัตว์นั้นยกขึ้นแล้ว จะกลับคงรูป

เดิมทันที สัตว์นั้นจะออกทางประตูนั้นได้ แต่ว่ามหานรกนั้นแล มีนรกเต็ม

ด้วยคูถใหญ่ประกอบอยู่รอบด้าน สัตว์นั้นจะตกลงในนรกคูถนั้น และในนรก

คูถนั้นแล มีหมู่สัตว์ปากดังเข็มคอยเฉือดเฉือนผิว แล้วเฉือดเฉือนหนัง แล้ว

เฉือดเฉือนเนื้อ แล้วเฉือดเฉือนเอ็น แล้วเฉือดเฉือนกระดูก แล้วกินเยื่อใน

กระดูก สัตว์นั้น ย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกคูถนั้น

และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

ว่าด้วยกุกกุลนรก

[๕๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และนรกคูถนั้น มีนรกเต็มด้วยเถ้า

รึง ใหญ่ประกอบอยู่รอบด้าน สัตว์นั้นจะตกลงไปในนรกเถ้ารึงนั้น สัตว์นั้น

ย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในนรกเถ้ารึงนั้น และยังไม่

ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.

[๕๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และนรกเถ้ารึงนั้น มีป่างิ้วใหญ่ประกอบ

อยู่รอบด้าน ต้นสูงชลูดขึ้นไปโยชน์หนึ่ง มีหนามยาว ๑๖ องคุลี มีไฟติดทั่ว

ลุกโพลง โชติช่วง เหล่านายนิรยบาลจะบังคับให้สัตว์นั้นขึ้น ๆ ลง ๆ ที่ต้นงิ้ว

นั้น สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ที่ต้นงิ้วนั้น และ

ยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้น ยังไม่สิ้นสุด.

[๕๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และป่างิ้วนั้น มีป่าต้นไม้ใบเป็นดาบ

ใหญ่ประกอบอยู่รอบด้าน สัตว์นั้นจะเข้าไปในป่านั้น จะถูกใบไม้ที่ลมพัด

ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง และตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง

ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ

อยู่ที่ป่าต้นไม้มีใบเป็นดาบนั้น และยังไม่ตายทราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.

[๕๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และป่าต้นไม้มีใบเป็นดาบนั้น มีแม่น้ำ

ใหญ่น้ำเป็นด่าง ประกอบอยู่รอบด้าน สัตว์นั้นจะตกลงไปในแม่น้ำนั้น จะลอย

อยู่ในแม่น้ำนั้น ตามกระแสบ้าง ทวนกระแสบ้าง ทั้งตามและทวนกระแส

บ้าง สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ในแม่น้ำนั้น และ

ยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.

[๕๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลพากันเอาเบ็ดเกี่ยว

สัตว์นั้น ขึ้นวางบนบก แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ เจ้าต้องการ

๑. เถ้ารึง คือ ถ่านที่ติดไฟดุมีขี้เถ้าปิดข้างนอกอยู่รอบด้าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

อะไร สัตว์นั้นบอกอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าหิว เจ้าข้า เหล่านายนิรยบาลจึงเอา

ขอเหล็กร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง เปิดปากออก แล้วใส่ก้อนโลหะ

ร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง เข้าในปาก ก้อนโลหะนั้นจะไหม้ริมฝีปาก

บ้าง ปากบ้าง คอบ้าง ท้องบ้าง ของสัตว์นั้น พาเอาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง

ออกมาทางส่วนเบื้องล่าง สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ

อยู่ ณ ที่นั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด.

[๕๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลกล่าวกะสัตว์นั้น อย่าง

นี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ เจ้าต้องการอะไร สัตว์นั้นบอกอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

กระหาย เจ้าข้า เหล่านายนิรยบาลจึงเอาขอเหล็กร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง

โชติช่วง เปิดปากออกแล้วเอาน้ำทองแดงร้อนมีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง

กรอกเข้าไปในปาก น้ำทองแดงนั้นจะไหม้ริมฝีปากบ้าง ปากบ้าง คอบ้าง

ท้องบ้าง ของสัตว์นั้น พาเอาไส้ใหญ่บ้าง ไส้น้อยบ้าง ออกมาทางส่วน

เบื้องล่าง สัตว์นั้นย่อมเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ อยู่ ณ ที่นั้น

และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมนั้นยังไม่สิ้นสุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเหล่านาย

นิรยบาลจะโยนสัตว์นั้นเข้าไปในมหานรกอีก.

ว่าด้วยเรื่องเคยมีมาแล้ว

[๕๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระยายมได้มีความ

ดำริอย่างนี้ว่า พ่อเจ้าประคุณเอ๋ย เป็นอันว่าเหล่าสัตว์ที่กรรมลามกไว้ในโลก

ย่อมถูกนายนิรยบาลลงกรรมกรณ์ ต่างชนิดเห็นปานนี้ โอหนอ ขอเราพึงได้

ความเป็นมนุษย์ ขอพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพึงเสด็จอุบัติในโลก

ขอเราพึงได้นั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้นพึงทรงแสดงธรรมแก่เรา และขอเราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรื่องนั้น เรามิได้ฟังต่อสมณะหรือพราหมณ์

อื่น ๆ แล้วจึงบอก ก็แล เราบอกเรื่องที่รู้เอง เห็นเอง ปรากฏเองทั้งนั้น.

นิคมคาถา

[๕๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตดังนี้ ครั้นแล้ว

พระสุคตผู้ศาสดา ก็ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกดังนี้ ว่า

นรชนเหล่าใดยังเป็นมาณพ อัน

เทวทูตตักเตือนแล้ว ประมาทอยู่ นรชน

เหล่านั้นจะเข้าถึงหมู่สัตว์เลว เศร้าโศก

สิ้นกาลนาน ส่วนนรชนเหล่าใด เป็น

สัตบุรุษผู้สงบระบับในโลกนี้ อันเทวทูต

ตักเตือนแล้ว ย่อมไม่ประมาทในธรรม

ของพระอริยะในกาลไหน ๆ เห็นภัยใน

ความถือมั่นอันเป็นเหตุ แห่งชาติและมรณะ

แล้ว ไม่ถือมั่น หลุดพ้นในธรรมเป็นที่สิ้น

ชาติและมรณะได้ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ถึง

ความเกษม มีสุข ดับสนิทในปัจจุบัน

ล่วงเวรและภัยทั้งปวงและเข้าไปล่วงทุกข์

ทั้งปวงได้.

จบเทวทูตสูตร ที่ ๑๐

จบสุญญตวรรค ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

อรรถกถาเทวทูตสูตร

เทวทูตสูตร มีบทเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-

ในบทเหล่านั้น คำเป็นต้นว่า เทฺว อคารา ให้พิสดารไว้แล้วใน

อัสสบุรสูตร. บทว่า นิรย อุปปนฺนา ความว่า ในบางครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงยังเทศนาตั้งแต่นรกให้จบลงด้วยเทวโลก. บางครั้งตั้งแต่เทวโลกทรงให้

จบลงด้วยนรก. ถ้าประสงค์จะตรัสสวรรค์สมบัติให้พิสดาร ตรัสถึงทุกข์ในนรก

โดยเอกเทศ ทุกข์ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ทุกข์ในปิตติวิสัย ตรัสถึงสมบัติใน

มนุษยโลก โดยเอกเทศ. ถ้าว่าประสงค์จะตรัสทุกข์ในนรกให้พิสดาร ย่อม

ตรัสถึงสมบัติในเทวโลกมนุษยโลก และทุกข์ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานและปิตติ-

วิสัยโดยเอกเทศ ชื่อว่า ยังทุกข์ในนรกให้พิสดาร ในพระสูตรนี้ พระองค์

ประสงค์จะทรงยังทุกข์ในนรกให้พิสดาร เพราะฉะนั้น ทรงยังเทศนาตั้งแต่

เทวโลกให้จบลงด้วยนรก เพื่อจะตรัสถึงสมบัติในเทวโลกมนุษยโลก และทุกข์

ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานและในปิตติวิสัย โดยเอกเทศ แล้วตรัสถึงทุกข์ในนรก

โดยพิสดาร จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตเมน ภิกฺขเว นิรยปาลา. ในบทนั้น

พระเถระบางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า นายนิรยบาล ไม่มี กรรมเท่านั้นย่อมก่อเหตุ

เหมือนหุ่นยนต์. กรรมนั้นถูกปฏิเสธไว้ในอภิธรรม โดยนัยเป็นต้นว่า เออนาย

นิรยบาลในนรกมีและผู้ก่อเหตุก็มี. เหมือนอย่างว่า ในมนุษย์โลกนี้ผู้ลงโทษ

ด้วยกรรมกรณ์ ฉันใด นายนิรยบาลก็มีอยู่ในนรก ฉันนั้น.

บทว่า ยมสฺส รญฺโ ได้แก่พระราชาเวมานิกเปรต ชื่อว่า พญายม

ในเวลาหนึ่งเสวยต้นกัลปพฤษทิพย์ อุทยานทิพย์ นักฟ้อนรำทิพย์ สมบัติทิพย์

ในวิมานทิพย์ ในเวลาหนึ่งเป็นพระราชาผู้ทรงธรรมเสวยผลกรรม แต่ไม่ใช่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

เวลาเดียวกัน. ส่วนที่ประตูทั้ง ๔ มีคนอยู่ ๔ คน. บทว่า นาทฺทส ความว่า

ท่านหมายเอาเทวทูตคนใดคนหนึ่งที่ถูกเขาส่งไปไว้ในสำนักของตน จึงกล่าว

อย่างนี้ ครั้งนั้นพญายมรู้ว่า ผู้นี้ไม่กำหนดเนื้อความแห่งภาษิต ประสงค์จะ

ให้เขากำหนด จึงกล่าวคำว่า อมฺโภ. บทว่า ชาติธมฺโม คือมีความเกิด

เป็นสภาพ ไม่พ้นจากความเกิดไปได้ ชื่อว่า ชาติ ย่อมเป็นไปในภายในของเรา.

แม้ในบทเป็นต้นว่า ปรโต ชราธมฺโม ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในบทว่า ปม

เทวทูต สมนุยุญฺชิตฺวา ความว่า กุมารหนุ่ม ย่อมกล่าวอย่างนี้ โดยเนื้อ

ความว่า ผู้เจริญจงดูเรา แม้เราก็มีมือและเท้าเหมือนพวกท่าน แต่เรา

เกลือกกลั้วอยู่ในมูตรคูถของตน ไม่อาจเพื่อจะลุกขึ้นอาบน้ำตามธรรมดาของ

คนได้ เราเป็นผู้มีกายสกปรกแล้ว ไม่อาจเพื่อจะบอกว่าอาบน้ำให้เรา เราชื่อว่า

เป็นเช่นนี้ เพราะไม่พ้นจากความก็ดี แต่ก็ไม่ใช่เราเท่านั้น แม้ท่านทั้งหลาย

ก็ไม่พ้นจากความเกิด ความเกิดจักมาถึงแม้แก่ท่านทั้งหลายเหมือนเรา ท่าน

จงทำความดีไว้ ตั้งแต่ก่อนเกิดนั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้นแล กุมาร-

หนุ่มนั้น ชื่อว่า เทวทูต. แต่เนื้อความแห่งถ้อยคำท่านกล่าวไว้ในมาฆเทวสูตร

แม้ในบทว่า ทุตย เทวทูต ความว่า สัตว์แก่เฒ่า ชื่อว่า ย่อม

กล่าวอย่างนี้ โดยเนื้อความว่า ผู้เจริญ พวกท่านจงดู แม้เราก็เคยเป็นหนุ่มสมบูรณ์

ด้วยกำลังขา กำลังแขนและว่องไวเหมือนท่าน ความถึงพร้อมด้วยกำลังและ

ความว่องไวเหล่านั้นของเรานั้น หมดไปเสียแล้ว แม้มือและเท้าของเรามีอยู่

ทำกิจด้วยมือและเท้าไม่ได้ เราชื่อว่า เป็นเช่นนี้ เพราะไม่พ้นจากชรา ไม่ใช่

แต่เราเท่านั้น แม้ท่านทั้งหลาย ก็ไม่พ้นไปจากชรา ความชราจักมาถึงแม้แก่

ท่านทั้งหลายเหมือนเรา ท่านทั้งหลายจงทำความดีไว้ก่อน แต่ชรานั้นจะมาถึง

ก่อน ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้นแล สัตว์แก่เฒ่านั้น ชื่อว่า เทวทูต.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

แม้ในบทว่า ตติย เทวทูต นี้ ความว่า สัตว์ผู้เจ็บไข้ ชื่อว่า ย่อม

กล่าวอย่างนี้ โดยเนื้อความว่า ผู้เจริญพวกท่านจงดู แม้เราก็เป็นผู้ไม่มีโรค

เหมือนท่าน เรานั้นบัดนี้ ถูกพยาธิครอบงำเกลือกอยู่ในมูตรและคูถของคน

ไม่อาจแม้เพื่อจะลุกขึ้น แม้มือและเท้าของเรามีอยู่ ทำกิจด้วยมือและเท้าไม่ได้

เราเป็นเช่นนี้ เพราะไม่พ้นจากพยาธิ ไม่ใช่แต่เราเท่านั้น แม้ท่านทั้งหลาย

ก็ไม่พ้นจากพยาธิ พยาธิจักมาถึงแม้แก่ท่านทั้งหลายเหมือนเรา ท่านจงทำ

ความดีไว้ก่อน แต่พยาธิจะมาถึง ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น สัตว์

ผู้เจ็บไข้นั้น ชื่อว่า เทวทูต.

ก็ในบทว่า จตุตฺถ เทวทูต นี้ กรรมกรณ์หรือผู้ลงโทษว่า เทวทูต.

ในสองบทนั้น ในฝ่ายกรรมกรณ์ กรรมกรณ์ ๓๒ ก่อน ย่อมกล่าวอย่างนี้

โดยอรรถว่า พวกเราเมื่อบังเกิด ย่อมไม่บังเกิดที่ต้นไม้หรือแผ่นหิน ย่อม

บังเกิดในสรีระของคนเช่นท่าน ด้วยประการฉะนี้ ท่านจงทำความดีไว้ก่อน

เราเกิด เพราะเหตุนั้น กรรมกรณ์เหล่านั้น จึงชื่อว่า เทวทูต. แม้ผู้ลงโทษ

ย่อมกล่าวอย่างนี้ โดยอรรถว่า พวกเราเมื่อจะลงกรรมกรณ์ ๓๒ อย่าง ไม่ได้

ลงที่ต้นไม้เป็นต้น ย่อมลงในสัตว์อย่างพวกท่านนั่นแหละ. ด้วยประการฉะนี้

พวกท่านจงทำความดีก่อนที่เราจะลงโทษ. เพราะเหตุนั้น เเม้ผู้ลงโทษเหล่านั้น

ชื่อว่า เทวทูต. ในบทว่า ปญฺจม เทวทูต นี้ ความว่า สัตว์ผู้ตายแล้ว

ย่อมกล่าวอย่างนี้โดยอรรถว่า ผู้เจริญพวกท่านจงดูเราที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้าผีดิบ

ถึงความเป็นผู้ขึ้นอืดเป็นต้น เราก็เป็นเช่นนี้ เพราะไม่พ้นจากความตาย แต่

ไม่ใช่เราเท่านั้น แม้พวกท่านก็ไม่พ้นจากความตายเหมือนกัน ความตายจักมา

ถึงแก่ท่านทั้งหลายเหมือนเรา พวกท่านจงทำความดีก่อนความตายนั้นจะมาถึง

เพราะฉะนั้น สัตว์ผู้ตายนั้น ชื่อว่า เทวทูต.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

ถามว่า ใคร จะได้ประโยชน์ของเทวทูตนี้ ใครไม่ได้. ตอบว่า

ผู้ใดทำกรรมมาก ผู้นั้นไปเกิดในนรก. ผู้ใดทำบาปกรรมนิดหนึ่ง ผู้นั้นย่อมได้.

ชนทั้งหลายจับโจรพร้อมด้วยภัณฑะย่อมกระทำสิ่งที่ควรทำ ไม่วินิจฉัย แต่

นำโจรที่ถูกสอบสวนจับไว้ไปสู่โรงศาล เขาได้การตัดสินฉันใด ข้อเปรียบเทียบก็

ฉันนั้น ก็ผู้มีบาปกรรมนิดหนึ่ง ย่อมระลึกได้ตามธรรมดาของตน แม้ถูกเขา

ให้ระลึกได้. ในข้อนั้น มีทมิฬชื่อ ฑีฆทันตะ ระลึกได้ตามธรรมดา

ของคน. ได้ยินว่า ทมิฬนั้นเอาผ้าสีแดงบูชาอากาศเจดีย์ในสุมนคีริวิหาร.

ครั้งนั้น เขาเกิดใกล้อุสสุทนรก ได้ยินเสียงเปลวไฟ ระลึกถึงผ้าที่คนบูชาไว้.

เขาจึงไปเกิดบนสวรรค์. อีกคนหนึ่ง ถวายผ้าสาฏกเนื้อหยาบแก่ภิกษุหนุ่ม

เป็นบุตรวางไว้ใกล้เท้า. ในเวลาใกล้ตาย เขาถือนิมิตในเสียงว่า ปฏะ ปฏะ แม้

เขาเกิดใกล้อุสสุทนรก ก็ระลึกถึงผ้านั้น เพราะเสียงเปลวไฟจึงไปเกิดบนสวรรค์.

เขาระลึกถึงกุศลกรรมตามธรรมดาของคนก่อนอย่างนี้ จึงบังเกิดบนสวรรค์.

สู่เมื่อระลึกตามธรรมดาของคนไม่ได้ จึงถามเทวทูตทั้ง ๕. ในเทวทูต ทั้ง ๕

นั้น บางคนระลึกได้ด้วยเทวทูตที่หนึ่ง. บางคน ระลึกได้ด้วยเทวทูตที่สอง

เป็นต้น. ส่วนผู้ใด ย่อมระลึกไม่ได้ด้วยเทวทูตทั้ง ๕ พญายมให้ผู้นั้น ระลึก

ได้เอง. ได้ยินว่า อำมาตย์คนหนึ่ง บูชาหาเจดีย์ด้วยหม้อดอกมะลิ ได้ให้

ส่วนบุญแก่พญายม. นายนิรยบาล นำอำมาตย์นั้นผู้เกิดในนรกเพราะอกุศลกรรม

ไปหาพญายม. เมื่ออำมาตย์นั้น ระลึกไม่ได้ ด้วยเทวทูตทั้ง ๕ พญายมตรวจ

ดูเองเห็นแล้วให้ระลึกว่าท่านบูชามหาเจดีย์ด้วยหม้อดอกมะลิแล้ว แผ่ส่วนบุญ

ไห้เรามิใช่หรือ. เขาระลึกได้ในเวลานั้นแล้ว ไปสู่เทวโลก ก็แต่ว่า พญายม

แม้ตรวจดูเองก็ไม่เห็น ดำริว่า สัตว์ผู้นี้จักเสวยทุกข์ให้ จึงนิ่งเสีย.

บทว่า มหานิรเย ได้แก่ อเวจีมหานรก ถามว่า อเวจีมหานรกนั้น

ประมาณภายในเท่าไร. ตอบว่า แผ่นดินโลหะหลังคาโลหะโดยยาว และโดยกวาง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

ประมาณ ๙๐๐ โยชน์ ฝาข้างหนึ่ง ๆ ประมาณ ๘๑ โยชน์. เปลวไฟนั้นตั้งขึ้น

ในทิศบูรพาจดฝาทิศประฉิมทะลุฝานั้นไปข้างหน้า ๑๐๐ โยชน์. แม้ในทิศ

ที่เหลือ ก็มีนัยนี้แล. ด้วยประการฉะนี้ โดยส่วนยาวและส่วนกว้าง ด้วยที่สุด

ของเปลวไฟ มีประมาณ ๓๑๘ โยชน์. แต่โดยรอบ ๆ มีประมาณ ๙๕๔ โยชน์.

ส่วนโดยรอบกับอุสสุทประมาณหมื่นโยชน์. ในบทว่า อุพฺภต ตาทิสเมว โหติ

นี้ ความว่า ไม่สามารถจะยกเท้าที่เหยียบจนถึงกระดูกให้มั่นคงได้. ก็ในบทนี้

มีอธิบายดังนี้ ถูกเผาไหม้ทั้งข้างล่างข้างบน. ด้วยประการฉะนี้ ในเวลาเหยียบ

ปรากฏถูกเปลวไฟเผาไหม้ในเวลายกขึ้น ก็เป็นเช่นนั้น . เพราะฉะนั้นท่านจึง

กล่าวอย่างนี้. บทว่า พหุสมฺปตฺโต คือถึงหลายแสนปี

ถามว่า เพราะเหตุไร นรกนี้จึงชื่อว่า อเวจี. ตอบว่า ท่านเรียก

ระหว่างว่าคลื่น. ในนรกนั้น ไม่มีระหว่างของเปลวไฟของสัตว์หรือของทุกข์

เพราะฉะนั้น นรกนั้น จึงชื่อว่า อเวจี. เปลวไฟตั้งขึ้นแค่ฝาด้านทิศบูรพาของ

นรกนั้น พลุ่งไป ๑๐๐ โยชน์ ทะลุฝาไปข้างหน้า ๑๐๐ โยชน์. แม้ในทิศที่เหลือ

ก็มีนัยนี้แล. เทวทัตเกิดในท่ามกลางแห่งเปลวไฟทั้ง ๖ เหล่านี้. เทวทัตมี

อัตภาพประมาณ ๑๐๐ โยชน์. เท้าทั้งสองเข้าไปสู่โลหะแผ่นดินถึงข้อเท้า

มือทั้งสองเข้าไปสู่ฝาโลหะถึงข้อมือ. ศีรษะจดหลังคาโลหะถึงกระดูกดิ้ว. หลาว

โลหะอันหนึ่งเข้าไปโดยส่วนล่างทะลุกายไปจดหลังคา. หลาวออกจากฝาด้านทิศ

ปราจีนทะลุหัวใจ เข้าไปฝาด้านทิศประฉิม หลาวออกจากฝาด้านทิศอุดร

ทะลุซี่โครงไปจดฝาด้านทิศทักษิณ เทวทัต เป็นเช่นนี้ เพราะผลกรรมที่ว่า

เทวทัตหมกไหม้อยู่เพราะผิดในพระตถาคตผู้ไม่หวั่นไหว. ด้วยประการฉะนี้

นรกชื่อว่า อเวจี เพราะเปลวไฟไม่หยุดยั้ง. ในภายในนรกนั้น ในที่ประมาณ

๑๐๐ โยชน์. สัตว์ยัดเหยียดกันเหมือนแป้งที่เขายัดใส่ไว้ในทะนาน ไม่ควร

กล่าวว่า ในที่นี้ มีสัตว์ ในที่นี้ไม่มี. สัตว์เดิน ยืน นั่ง และนอนไม่มีที่สุด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

สัตว์ทั้งหลายเมื่อเดิน ยืน นั่ง หรือนอน ย่อมไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน

ชื่อว่า อเวจี เพราะสัตว์ทั้งหลายยัดเหยียดกันอย่างนี้. ส่วนในกายทวาร จิต-

สหรคตด้วยอุเบกขา ๖ ดวง ย่อมเกิดขึ้น ดวงหนึ่งสหรคตด้วยทุกข์. แม้เมื่อ

เป็นอย่างนี้ เมื่อบุคคลวางหยดน้ำหวาน ๖ หยดไว้ที่ปลายลิ้น หยดหนึ่งวางไว้

ที่ตัมพโลหะ เพราะถูกเผาผลาญกำลังหยดน้ำนั้นย่อมปรากฏ นอกนี้เป็นอัพโพ-

หาริก ฉันใด ทุกข์ในนรกนี้ ไม่มีระหว่าง เพราะมีเผาไหม้เป็นกำลัง ทุกข์

นอกนี้เป็นอัพโพหาริก ฉันนั้น. ชื่อว่า อเวจี เพราะเต็มไปด้วยทุกข์อย่างนี้แล

บทว่า มหนฺโต คือประมาณ ๑๐๐ โยชน์. บทว่า โส ตตฺถ ปตติ

ความว่า เท้าข้างหนึ่งอยู่ในมหานรก. ข้างหนึ่ง ตกไปในคูถนรก บทว่า

สุจิมุขา คือมีปากคล้ายเข็ม สัตว์เหล่านั้นมีคอเท่าช้าง และเท่าเรือโกลน

ลำหนึ่ง. บทว่า กุกฺกุลนิรโย ความว่า นรกเถ้าถ่านร้อนเต็มไปด้วยเถ้า

ปราศจากไฟขนาดภายในเรือนยอด ประมาณ ๑๐๐ โยชน์. สัตว์ที่ตกไปในนรก

ถึงพื้นล่างเหมือนเมล็ดผักกาด ในกองผักกาดที่เขาเหวี่ยงไปในหลุมถ่านเพลิง.

บทว่า อาโรเปนฺติ ความว่า เอาท่อนเหล็กโบยยกขึ้น. ในเวลายกท่อนเหล็ก

เหล่านั้นขึ้น หนามเหล็กอยู่ข้างล่าง เวลายกลงหนามเหล็กอยู่ข้างบน. บทว่า

วาเตริตานิ ได้แก่ เที่ยวไปด้วยกรรม. บทว่า หตฺถปิ ฉินฺทนฺติ ความว่า

ได้แก่ ทุบเฉือนเหมือนเฉือนเนื้อบนเขียง. ถ้าลุกขึ้นหนีไปได้ กำแพงเหล็ก

โผล่ขึ้นมาล้อมไว้ คมมีดโกนก็ดังขึ้นข้างล่าง. บทว่า ขาโรทกา นที

ได้แก่ แม่น้ำทองแดงชื่อว่า เวตตรณี ในบทนั้น ทรายหยาบสำเร็จด้วยเหล็ก

ใบบัวข้างล่างมีคมมีดโกนที่ฝั่งสองข้างมีเถาหวายและหญ้าคา. บทว่า โส ตตฺถ

ทุกฺขา ติปฺปา ขรา ความว่า สัตว์นรกนั้นลอยขึ้นข้างบนและลงไปข้างล่าง

ในนรกขาดในใบบัว. ถูกหนามทรายหยาบมีสัณฐานเป็นกากบาดถูกผ่าด้วย

มีดโกนคม ย่อมขีดด้วยหญ้าคาที่ฝั่งทั้งสองข้าง. คร่ามาด้วยเถาหวาย. ถูกผ่า

ด้วยศัสตราอันคม. บทว่า ตตฺเตน อโยสงฺกุนา ความว่า เมื่อสัตว์นรก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

กล่าวว่า เราหิว นายนิรยบาลเหล่านั้น เอางบโลหะบรรจุกระเช้าโลหะใหญ่

เอาเข้าไปให้เขา. เขารู้ว่าเป็นงบโลหะแตะที่ฟัน ครั้งนั้น นายนิรยบาลเอา

ขอเหล็กร้อนงัดปากของเขา. เอาน้ำทองแดงใส่เข้าไปในหม้อทองแดงใหญ่แล้ว

กระทำอย่างนั้นแหละ. บทว่า ปุน มหานิรเย ความว่า นายนิรยบาลให้

ลงโทษตั้งแต่เครื่องจองจำ ๕ ประการ ตลอดถึงดื่มน้ำทองแดงอย่างนี้ ตั้งแต่

ดื่มน้ำทองแดงให้ลงเครื่องจองจำ ๕ ประการเป็นต้นอีก โยนลงไปในมหานรก.

ในมหานรกนั้น บางคนพ้นเครื่องจองจำ ๕ ประการ บางคนพ้นครั้งที่สอง

บางตนพ้น ครั้งที่สาม บางคนพ้นด้วยการดื่มน้ำทองแดง. ก็เมื่อยังไม่สิ้นกรรม

นายนิรยบาลก็โยนลงไปในมหานรกอีก. ก็ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เมื่อเรียนพระสูตร

นี้ กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เมื่อสัตว์นรกเสวยทุกข์เท่านี้แล้ว นายนิรยบาล

ยังโยนเขาไปในมหานรกอีกหรือ ภิกษุกล่าวว่าท่านผู้เจริญ อุทเทสจงยกไว้

ท่านจงบอกกัมมัฏฐานแก่กระผม ให้พระเถระบอกกัมมัฏฐานแล้ว เป็นพระ

โสดาบันอาศัยเรียนอุทเทส. ชนแม้เหล่าอื่นเว้นอุทเทสประเทศนี้บรรลุอรหัต

ไม่มีจำนวน. ก็พระสูตรนี้ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงเว้นเลย. บทว่า

หีนกายูปคา ได้แก่เป็นผู้เข้าถึงพวกเลว. บทว่า อุปาทาเน คือ ยึดถือ

ด้วยตัณหาและทิฐิ. บทว่า ชาติมรณสมฺภเว ได้แก่เป็นเหตุแห่งความเกิด

และความตาย. บทว่า อนุปาทา ได้แก่ ไม่ยึดถือด้วยอุปาทาน ๔. บทว่า

ชาติมาณสขเย คือ ย่อมพ้นในเพราะนิพพานกล่าวคือเป็นที่สิ้นชาติและมรณะ.

บทว่า ทิฏฺธมฺมาภินิพฺพุตา ความว่า ดับแล้วด้วยความดับกิเลสทั้งปวง

ในทิฏฐธรรมคือในอัตภาพนี้เอง. บทว่า สพฺพทุกฺข อุปจฺจคู คือ ชื่อว่า

ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้.

จบอรรถกถาเทวทูตสูตร ที่ ๑๐

จบวรรค ที่ ๓.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

รวมพระสูตรใน สุญญตวรรค

๑. จูฬสุญญตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๒. มหาสุญญตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๓. อัจฉริยัพภูตธรรมสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๔. พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๕. ทันตภูมิสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๖. ภูมิชสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๗. อนุรุทธสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๘. อุปักกิเลสสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๙. พาลบัณฑิตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๑๐. เทวทูตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

วิภังควรรค

๑. ภัทเทกรัตตสูตร

ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๕๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่าง:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำตรัส

แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอุเทศ

และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงอุเทศและ

วิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๕๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง

ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ

สิ่งที่ยังไม่มาถึงก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล

ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่

คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคลนั้น

พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิด

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใคร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความ

ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อม

ไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อม

เรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความ

เพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลาง

คืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

[๕๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

อย่างไรคือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ใน

กาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่

ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่

ล่วงแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

[๕๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

อย่างไรคือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้

ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาล

ที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วง

แล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว .

[๕๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่าง

ไรคือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ใน

กาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต

พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

[๕๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง

อย่างไรคือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่าง

นี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาล

อนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

[๕๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน

อย่างไรคือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาด

ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ

ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูป

โดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็ง

เห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่า

มีเวทนาบ้าง เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมเล็ง

เห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง เล็งเห็นสัญญา

ในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็น

อัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง เล็งเห็น

อัตตาในสังขารบ้าง ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็น

อัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณ

บ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน

อย่างไร คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาด

ในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ

ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็ง

เห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง

ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็น

สัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้าง ไม่เล็งเห็น

สัญญาในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นสังขาร

โดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง ไม่เล็งเห็นสังขาร

ในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดย

ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณใน

อัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๓๔] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง

ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ

สิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล

ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่

คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคลนั้น

พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิด

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่า

จะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความ

ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อม

ไม่มีแต่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อม

เรียกบุคคลผู้มาปกติอยู่อย่างนี้ มีความ

เพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลาง

คืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวไว้ว่า เราจักแสดงอุเทศและวิภังค์

ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เธอทั้งหลายนั้น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าว

แล้วด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบภัทเทกรัตตสูตร ที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

วิภังควัคควัณณนา

อรรถกถาภัทเทกรัตตสูตร

ภัทเทกรัตตสูตร มีคำขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในภัทเทกรัตตสูตรนั้น บทว่า ภทฺเทกรตฺตสฺส ความว่า ชื่อว่า ผู้มี

ราตรีหนึ่งเจริญ เพราะความที่เขาเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยการตามประกอบวิปัสสนา.

บทว่า อุทฺเทส ได้แก่ มาติกา. บทว่า วิภงฺค ได้แก่ บทที่พึงแจกแจง

โดยพิสดาร. บทว่า อตีต ได้แก่ในขันธ์ห้าที่ล่วงแล้ว. บทว่า นานฺวาคเมยฺย

ความว่า ไม่ควรนึกถึงด้วยตัณหาและทิฐิทั้งหลาย. บทว่า นปฺปฏิกงฺเข

ความว่า ไม่พึงปรารถนาด้วยตัณหาและทิฐิทั้งหลาย. บทว่า ยทตีต

นี้ในคาถานี้เป็นการกล่าวถึงเหตุ. เพราะสิ่งใดล่วงไปแล้ว สิ่งนั้นก็ละไปแล้ว

ดับแล้ว ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่

ล่วงไปแล้วนั้นอีก. อนึ่ง เพราะสิ่งใดยังไม่มาถึง สิ่งนั้นก็ยังไม่ถึง ยังไม่เกิด

ยังไม่บังเกิด เพราะฉะนั้น บุคคลไม่พึงปรารถนาสิ่งที่ยังไม่มาถึงแม้นั้น บทว่า

ตตฺถ ตตฺถ ความว่า บุคคลผู้เข้าถึงธรรมแม้ปัจจุบันในธรรมใด ๆ เห็นแจ้ง

ธรรมนั้น ด้วยอนุปัสสนา ๗ อย่าง มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ในธรรมนั้น ๆ

เที่ยว. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเห็นแจ้งในธรรมนั้น ๆ ในที่ทั้งหลายมีป่าเป็นต้น .

บทว่า อสหิร อสงฺกุปฺป นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อทรงแสดงวิปัสสนา

และปฏิวิปัสสนา. จริงอยู่วิปัสสนาย่อมไม่ง่อนแง่น ย่อมไม่คลอนแคลนด้วย

กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เพราะฉะนั้น วิปัสสนานั้น ชื่อว่า อสหิร ไม่

ง่อนแง่น ชื่อว่า อสกุปฺป ไม่คลอนแคลน. ท่านกล่าวอธิบายว่า บุคคลพึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

พอกพูน พึงเจริญ พึงเห็นแจ้งเฉพาะวิปัสสนานั้น. อีกประการหนึ่ง นิพพาน

ย่อมไม่ง่อนแง่น ย่อมไม่คลอนแคลนด้วยกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เพราะ

ฉะนั้น นิพพานนั้น จึงชื่อว่า อสหิร อสกุปฺป แปลว่า ไม่ง่อนแง่น ไม่

คลอนแคลน. อธิบายว่า ภิกษุผู้บัณฑิตรู้แจ้งแล้ว พึงพอกพูนนิพพานนั้น คือ

เมื่อยังไม่บรรลุผลสมาบัติซึ่งมีนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ ก็พึงเจริญบ่อย ๆ. ก็

เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุผู้พอกพูนนั้น. บทว่า อชฺเชว กิจฺจ อาตปฺป ความ

ว่า ความเพียรที่ได้ชื่อว่า อาตัปปะ เพราะเผากิเลสทั้งหลายหรือยังกิเลสทั้งหลาย

ให้เร่าร้อนทั่ว พึงทำในวันนี้แหละ. บาทคาถาว่า โก ชญฺา มรณ สุเว

ความว่า ใครเล่าจะรู้ความเป็นอยู่ หรือความตายในวันพรุ่ง. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงว่า พึงทำความเพียรอย่างนี้ว่า ก็ความเนิ่นช้าย่อมมีในวันนี้

เท่านั้นว่า เราจักทำทาน หรือจักรักษาศีล ก็หรือจักทำกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในวันนี้แหละ เราไม่ยังจิตให้เกิดขึ้นว่า เราจักรู้ในวันพรุ่งหรือในวันมะรืน

จักทำในวันนี้แหละ. บทว่า มหาเสเนน ความว่า ก็การณ์แห่งความตาย มี

หลายอย่างมีไฟ ยาพิษ และศัสตรา เป็นต้น คือ เสนาของมัจจุราชนั้น ความ

ผิดเพี้ยนกล่าวคือ การทำสันถวไมตรีอย่างนี้ว่า ท่านจงรอสอง - สามวันก่อน

จนกว่าข้าพเจ้าจะทำกรรมเป็นที่พึงของคนมีการบูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือ

กล่าวคือ การให้สินจ้างอย่างนี้ว่า ท่านจงถือเอาหนึ่งร้อย หรือ หนึ่งแสนนี้

แล้ว รอสอง - สามวัน หรือ กล่าวคือ กองพลอย่างนี้ว่า เราจักต้านทานด้วย

กองพลนี้ ดังนี้ กับมัจจุราชเห็นปานนี้ ซึ่งมีเสนาใหญ่ ด้วยอำนาจแห่งเสนา

ใหญ่นั้น ย่อมไม่มี. ก็บทว่า สงฺคโร ความผิดเพี้ยนนั้น เป็นชื่อแห่งการทำ

สันถวไมตรี การให้สินจ้างและกองพล. เพราะฉะนั้น เนื้อความนี้ได้กล่าว

แล้ว. บทว่า อตนฺทิต ได้แก่ ผู้ไม่เกียจคร้าน คือขยัน. บุคคลนั้น ชื่อว่า

ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ เพราะความที่บุคคลนั้นเป็นผู้ปฏิบัติอย่างนี้ เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

บุคคลนั้น ชื่อว่า ภทฺเทกรตฺโต ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ. พระมุนีคือ พระพุทธ-

เจ้า ชื่อว่า ทรงสงบแล้ว เพราะความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น สงบแล้ว

ตรัสเรียกบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้นั้นว่า บุคคลนี้ ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ด้วยประการ

ฉะนี้.

ในบททั้งหลาย มีอาทิว่า เอวรูโป แม้มีรูปคำมีวรรณะดุจแก้วมณี

อินทนีล. หรือ บทว่า อโหสึ ความว่าเรามีรูปอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งรูปอัน

พึงพอใจอย่างนี้นั้นเทียว. เรามีเวทนาอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและ

โสมนัสเวทนาอันเป็นกุศล มีสัญญาอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งธรรมทั้งหลาย มี

สัญญาเป็นต้น ซึ่งประกอบพร้อมด้วยเวทนานั้นเทียว มีสังขารอย่างนี้ มี

วิญญาณอย่างนี้. บทว่า อตีตมาทฺธาน ความว่า รำพึงถึงความเพลิดเพลิน

ในเรื่องนั้น ๆ ได้แก่ รำพึง คล้อยตามตัณหาในรูปเป็นต้นเหล่านั้น. ย่อมไม่

สำคัญว่า เราเป็นผู้มีรูปอย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งรูปที่เลวเป็นต้น ฯสฯ มีวิญญาณ

อย่างนี้. บทว่า นนฺทึ น สมนฺวาเนติ ความว่า ตัณหา หรือ ทิฐิอัน

สัมปยุตด้วยตัณหา อันบุคคลย่อมไม่ให้เป็นไป. พึงทราบความรำพึงถึงความ

เพลิดเพลิน กล่าวคือ ความเป็นไปแห่งตัณหาและทิฐิ ด้วยอำนาจแห่งรูปอัน

ประณีต และพึงพอใจเป็นต้นเทียว แม้ในบทว่า เอวรูโป สิย เป็นต้น

บทว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ปจฺจุปนฺเนสุ ธมฺเมสุ สหรต นี้ ตรัสเพื่อทรง

แสดงขยายอุทเทสว่า ก็บุคคลเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันในธรรมนั้น ๆ อันไม่

ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน. ก็บทว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ปจฺจุปฺปนฺน ธมฺม

น วิปสฺสติ เป็นต้น พึงตรัสไว้ในพระสูตรนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ยังตรัส

ถึงวิปัสสนาว่า ไม่ง่อนแง่นและว่าไม่คลอนแคลน เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

ความมีและความไม่มีแห่งวิปัสสนานั้นเทียว จึงทรงยกมาติกาว่า บุคคลง่อนแง่น

ไม่ง่อนแง่น ดังนี้ แล้วตรัสความพิสดาร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหรติ

ความว่า บุคคลชื่อว่า ถูกตัณหาและทิฐิคร่าไป เพราะไม่มีวิปัสสนา. บทว่า

น สหรติ ความว่า ชื่อว่าไม่ถูกตัณหาและทิฐิคร่าไป เพราะมีวิปัสสนา.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาภัทเทกรัตตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร

ว่าด้วยผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๕๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์

สนทนากะภิกษุทั้งหลายในอุปัฏฐานศาลา ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถา

ประกอบด้วยธรรมและกล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

[๕๓๖] ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ทรง

หลีกเร้นเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ครั้นแล้วจึงประทับ นั่ง ณ อาสนะที่เขา

แต่งตั้งไว้ พอประทับ นั่งเรียบร้อยแล้ว จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ใครหนอแล สนทนากะพวกภิกษุในอุปัฏฐานศาลา ชักชวน

ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม และกล่าวอุเทศและวิภังค์ของ

บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ท่านพระอานนท์ พระพุทธเจ้าข้า

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน

อานนท์ เธอสนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประ-

กอบด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างไร

เล่า.

[๕๓๗] ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า

พระองค์ สนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบ

ด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง

ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ

สิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็

บุคคลใดเห็นแจ้ง ธรรมปัจจุบันไม่ง่อน-

แง่น ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้

บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้

ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้

แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง

เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนา

ใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระ

มุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ผู้มีปกติอยู่

อย่างนี้ มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้ง

กลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรี

หนึ่งเจริญ.

[๕๓๘] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วง

แล้วอย่างไร คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า เราได้มีรูป

อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้

ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ใน

กาลที่ล่วงแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า คำนึงถึงสิ่งที่

ล่วงแล้ว.

[๕๓๙] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วง

แล้วอย่างไร คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า เราได้มีรูป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

อย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่าง

นี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้

ในกาลที่ล่วงแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่คำนึงถึง

สิ่งที่ล่วงแล้ว.

[๕๔๐] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มา

ถึงอย่างไร คือ รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า ขอเราพึงมีรูป

อย่างนี้ ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้

ในกาลอนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาล

อนาคต ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

[๕๔๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่

มาถึงอย่างไร คือ ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า ขอเราพึงมี

รูปอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้

ในกาลอนาคต พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาล

อนาคต. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มา

ถึง.

[๕๔๒] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรม

ปัจจุบัน อย่างไร คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระ

อริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่

ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูป

ในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา

บ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็น

สังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

บ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็น

อัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ง่อนแง่น

ในธรรมปัจจุบัน.

[๕๔๓] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นใน

ธรรมปัจจุบันอย่างไร คือ อริยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็น

พระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้

เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็น

อัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็ง

เห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อม

ไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดย

ความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่

เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็น

อัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่ง่อน

แง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๔๔] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใด

ล่วงไปแล้ว สิ่งนั้น ก็เป็นอันละไปแล้ว

และสิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันไม่ถึง ก็

บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อน-

แง่น ไม่คลอนแคลน ในธรรมนั้น ๆ

ได้ บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ

ให้ปรุโปร่งเถิด พึงทำความเพียรเสีย

ในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้ความตายใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

วันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับ

มัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อมไม่มีแก่

เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบย่อมเรียก

บุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความเพียร

ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน

นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวน

ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของ

บุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญอย่างนี้แล.

[๕๔๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ดีแล้ว ๆ เธอ

สนทนากะภิกษุทั้งหลาย ชักชวนให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยกถาประกอบด้วยธรรม

ได้กล่าวอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล...

นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ดังนี้ ถูก

แล้ว.

[๕๔๖] ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร

ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร ฯลฯ ดู

ก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร ฯลฯ ดู

ก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร ฯลฯ ดู

ก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร ฯลฯ

ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร ฯลฯ

ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๔๗] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งล่วงแล้ว ฯลฯ

พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล ...นั้นแลว่า

ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ก็ชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ อานันทภัทเทกรัตตสูตร ที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

อรรถกถาอานันทภัทเทกรัตตสูตร

อานันทภัทเทกรัตตสูตรมีคำขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต โดยความว่า เสด็จ

ออกจากผลสมาบัติ. บทว่า โก นุโข ภิกฺขเว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรู้อยู่นั้นเทียว ตรัสถามเพื่อทรงตั้งเรื่องขึ้น. บทว่า สาธุ สาธุ

ความว่า ทรงประทานสาธุการแก่พระเถระ. บทว่า สาธุ โข ตฺว ความว่า

ทรงสรรเสริญเทศนาแล้วตรัส เพราะความที่เทศนาอันพระเถระแสดงด้วยบท

และพยัญชนะทั้งหลาย กลมกล่อม บริสุทธิ์ดี. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่าย

ทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอานันทภัทเทกรัตตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

๓. มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารตโปทาราม เขต-

พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิลุกขึ้นในราตรีตอนใกล้รุ่ง

เข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรงสนานร่างกาย. ครั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงกลับ

ขึ้นมานุ่งสบงผืนเดียว ยืนผึ่งตัวให้แห้งอยู่. ฉะนั้นล่วงปฐมยามไปแล้ว มี

เทวดาตนหนึ่ง มีรัศมีงาม ส่องสระตโปทะให้สว่างทั่ว เข้าไปหาท่านพระ

สมิทธิยังที่ที่ยืนอยู่นั้น แล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๔๙] เทวดานั้น พอยืนเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะท่านพระสมิทธิ

ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านทรงจำอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ได้ไหม.

ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่าน

ทรงจำได้หรือ.

เท. ดูก่อนภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้ และท่านทรงจำคาถา

แสดงราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม.

ส. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ.

เท. ดูก่อนภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้ ขอท่านจงเล่าเรียน และ

ทรงจำอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเถิด เพราะอุเทศและวิภังค์

ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์เป็นเบื้องต้นแห่งพรหม-

จรรย์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

เทวดานั้น กล่าวดังนี้แล้ว จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง.

[๕๕๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิ พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว จึง

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อคืนนี้ตอนใกล้รุ่ง ข้าพระองค์

ลุกขึ้นเข้าไปยังสระตโปทะเพื่อสรงสนานร่างกาย ครั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึง

กลับมานุ่งแต่สบงผืนเดียวยืนผึ่งตัวให้แห้งอยู่. ขณะนั้นล่วงปฐมยามไปแล้ว

เทวดาองค์หนึ่ง มีรัศมีงามส่องสระตโปทะให้สว่างทั่ว เข้าไปหาข้าพระองค์ยัง

ที่ที่ยืนอยู่นั้น แล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าว

กะข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านทรงจำอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มี

ราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเทวดานั้นกล่าวแล้วอย่างนี้

ข้าพระองค์ได้กล่าวกะเทวดานั้นดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้

ท่านทรงจำได้หรือ. เทวดานั้นกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุแม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้

และท่านทรงจำคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม. ข้าพระองค์ตอบว่า ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ. เทวดานั้นกล่าวว่า ดูก่อน

ภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้ ขอท่านจงเล่าเรียน และทรงจำอุเทศและ

วิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเถิด เพราะอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มี

ราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์.

เทวดานั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงหายไป ณ ที่นั้นเอง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดแสดงอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่ง

เจริญ แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าเช่นนั้น เธอจงพึง จงใส่

ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป. ท่านพระสมิทธิทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบ

แล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๕๕๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง

ไปแล้ว สิ่งนั้นเป็นอันละไปแล้ว และ

สิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็

บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น

ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคล

นั้น พึงเจริญธรรมนั้นเนื่อง ๆ ให้ปรุโปร่ง

เถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ

ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่า

ความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น

ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลายพระมุนีผู้สงบย่อม

เรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความ

เพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน

นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ ครั้นแล้วพระสุคตจึงทรง

ลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปยังพระวิหาร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

พวกภิกษุปรึกษากันถึงอุเทศ

[๕๕๒] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ภิกษุเหล่า

นั้นจึงได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเราว่า.

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง

ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้วและสิ่ง

ที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล

ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่

คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆได้ บุคคลนั้น

พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิด

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใคร

เล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความ

ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น ย่อม

ไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบ ย่อม

เรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความ

เพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน

นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

ดังนี้แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็ทรงลุกออกจาก

อาสนะเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ใครหนอแลจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้. ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น

ได้มีความคิดอย่างนี้ว่าท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวกภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

ผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระ-

มหากัจจานะ พอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

โดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยัง

ที่อยู่แล้ว พึงสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะเถิด.

[๕๕๓] ต่อนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะ

ยังที่อยู่ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านคำทักทาย

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบ

ร้อยแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า ดูก่อนท่านกัจจานะ พระผู้มี

พระเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกกระผมว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล...นั้น

แลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ดังนี้แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็ทรงลุกจากอาสนะเสด็จเข้าไป

ยังพระวิหาร ดูก่อนท่านกัจจานะ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้ว

ไม่นาน พวกกระผมนั้นได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้ง

หลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเราว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล...นั้น

แลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ดังนี้แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็ทรงลุกจากอาสนะเสด็จเข้าไป

ยังพระวิหาร ใครหนอแลจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ดูก่อนท่านกัจจานะ พวกกระผมนั้นได้มีความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

คิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวกภิกษุผู้ร่วม

ประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมหา-

กัจจานะ พอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดย

ย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่

แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะเถิด ขอท่านพระมหา-

กัจจานะโปรดจำแนกเนื้อความเถิด.

อุปมาด้วยผู้ต้องการไม้แก่น

[๕๕๔] ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้

พึงสำคัญแก่นของต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นตั้งอยู่ว่า ควรหาได้ที่กิ่งและใบ ละเลย

รากและลำต้นเสีย ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่

พร้อมหน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านพากันสำคัญเนื้อความนั้นว่า พึงสอบ

ถามเราได้ ล่วงเลยพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเสีย ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้ง

หลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้. ทรงเห็นธรรม

ที่ควรเห็น ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรม มีความประเสริฐ ตรัส บอก นำออก

ซึ่งประโยชน์ ประทานอมตธรรม ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงดำเนินตามนั้น

และก็เป็นกาลสมควรแก่พระองค์แล้วที่ท่านทั้งหลายจะพึงสอบถามเนื้อความนี้

กะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่เราอย่างใด พวก

ท่านพึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด.

ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูก่อนท่านกัจจานะ แท้จริง พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าย่อมทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ทรงมีจักษุ มี

ญาณ มีธรรม มีความประเสริฐ ตรัส บอก นำออกซึ่งประโยชน์ ประทาน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

อมตธรรม ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงดำเนินตามนั้น และก็เป็นกาลสมควร

แก่พระองค์แล้วที่พวกกระผมจะพึงสอบถามเนื้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่พวกกระผมอย่างใด พวกกระผมพึงทรงจำ

ได้อย่างนั้น แต่ว่าท่านพระมหากัจจานะ อันพระศาสดาและพระภิกษุผู้ร่วม

ประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว และท่านพอจะจำ

แนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้

ขอท่านพระมหากัจจานะอย่าทำความหนักใจ โปรดจำแนกเนื้อความเถิด.

กัจจานะ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงฟัง จง

ใส่ใจให้ดีข้าพเจ้าจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหากัจจานะว่า

ชอบแล้วท่านผู้มีอายุ.

[๕๕๕] ท่านพระมหากัจจานะจึงได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุเทศโดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล...นั้น

แลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ดังนี้ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จเข้าไป

ยังพระวิหาร นี้แล ข้าพเจ้าทราบเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ .

[๕๕๖] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

อย่างไร คือ มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า จักษุของเรา

ได้เป็นดังนี้ รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกเนื่องด้วย

ฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่า คำนึงถึง

สิ่งที่ล่วงแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียงว่า โสตของเราได้เป็น

ดังนี้ เสียงได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่นว่า ฆานะของเราได้

เป็นดังนี้ กลิ่นได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรสว่า ชิวหาของเราได้

เป็นดังนี้ รสได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะว่า กายของเรา

ได้เป็นดังนี้ โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ว่า มโนของ

เราได้เป็นดังนี้ ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึก

เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลินมโมและธรรมารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลิน

จึงชื่อว่า คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า

คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

[๕๕๗] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วง

แล้วอย่างไร คือ มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปว่า จักษุ

ของเราได้เป็นดังนี้ รูปได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึกไม่

เนื่องด้วยฉันทราคะจึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึง

ชื่อว่า ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว .

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียงว่า โสตของเราได้

เป็นดังนี้ เสียงได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่นว่า ฆานะของเรา

ได้เป็นดังนี้ กลิ่นได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรสว่า ชิวหาของเรา

ได้เป็นดังนี้ รสได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะว่า กายของ

เราได้เป็นดังนี้ โผฏฐัพพะได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและธรรมารมณ์ว่า มโนของ

เราได้เป็นดังนี้ ธรรมารมณ์ได้เป็นดังนี้ ในกาลที่ล่วงแล้ว เพราะความรู้สึก

ไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่

เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

[๕๕๘] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มา

ถึงอย่างไร คือ บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่คนยังไม่ได้ว่า ขอจักษุของเราพึง

เป็นดังนี้ ขอรูปพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย

จึงเพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

บุคคลทั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่คนยังไม่ได้ว่า ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้

ขอเสียงพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่คนยังไม่ได้ว่า ขอฆานะของเราพึงเป็นดังนี้

ขอกลิ่นพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอชิวหาของเราพึงเป็นดังนี้

ขอรสพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้

ขอโผฏฐัพพะพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

บุคคลตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอมโนของเราพึงเป็นดังนี้

ขอธรรมารมณ์พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความตั้งใจเป็นปัจจัย จึง

เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์ เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มา

ถึง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

[๕๕๙] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่

มาถึงอย่างไร คือ บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอจักษุของเรา

พึงเป็นดังนี้ ขอรูปพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความไม่ตั้งใจเป็นปัจจัย

จึงไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่า ไม่มุ่งหวังสิ่งที่

ยังไม่มาถึง.

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอโสตของเราพึงเป็นดังนี้

ขอเลียงพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอฆานะของเราพึงเป็น

ดังนี้ ขอกลิ่นพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต.

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอชิวหาของเราพึงเป็น

ดังนี้ ขอรสพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต...

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอกายของเราพึงเป็นดังนี้

ขอโผฏฐัพพะพึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต ...

บุคคลไม่ตั้งจิตเพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ว่า ขอมโนของเราพึงเป็น

ดังนี้ ขอธรรมารมณ์พึงเป็นดังนี้ ในกาลอนาคต เพราะความไม่จงใจเป็น

ปัจจัย จึงไม่เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่า

ไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่

มุ่งหวังสิ่งที่ยังมาไม่ถึง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

ผู้ไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน

[๕๖๐] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรม

ปัจจุบันอย่างไร คือ มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง ๒ อย่าง

ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลิน

จักษุและรูปนั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง.. .

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส. . .

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ. . .

มีความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะในมโนและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่างที่

เป็นปัจจุบันด้วยกันแล เพราะความรู้สึกเนื่องด้วยฉันทราคะ จึงเพลิดเพลิน

มโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อเพลิดเพลิน จึงชื่อว่าง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แลชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๖๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรม.

ปัจจุบันอย่างไร คือ มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในจักษุและรูปทั้ง ๒

อย่างที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึง

ไม่เพลิดเพลินจักษุและรูปนั้น เมื่อไม่เพลิดเพลินจึงชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรม

ปัจจุบัน.

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในโสตและเสียง...

มีความร้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในฆานะและกลิ่น...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในชิวหาและรส...

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในกายและโผฏฐัพพะ...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

มีความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะในมโนแลธรรมารมณ์ทั้ง ๒ อย่าง

ที่เป็นปัจจุบันด้วยกันนั้นแล เพราะความรู้สึกไม่เนื่องด้วยฉันทราคะ จึงไม่

เพลิดเพลินมโนและธรรมารมณ์นั้น เมื่อไม่เพลิดเพลิน จึงชื่อว่าไม่ง่อนแง่น

ในธรรมปัจจุบัน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่น

ในธรรมปัจจุบัน.

[๕๖๒] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงอุเทศ โดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล...

นั้นแลว่า ผู้มีราตีหนึ่งเจริญ

ดังนี้ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้า

ไปยังพระวิหารนี้แล ข้าพเจ้าทราบเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้ ก็แหละท่าน

ทั้งหลายหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลสอบถามเนื้อความ

นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายอย่างใด พวกท่าน

พึงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนั้น.

[๕๖๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่าน

พระมหากัจจานะแล้วลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ

ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่ง

เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกข้าพระองค์ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ฯลฯ พระมุนีผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคล...

นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

ดังนี้ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้า

ไปยังพระวิหาร พอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวกข้า

พระองค์นั้น ได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเราว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง

ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ

สิ่งที่ยังมีมาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคล

ใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่

คลอนแคลนในธรรมนั้นๆได้ บุคคลนั้น

พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ให้ปรุโปร่งเถิด

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใครเล่า

จะรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความ

ผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่ นั้นย่อม

ไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบ ย่อม

เรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ มีความ

เพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลาง-

คืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ

ดังนี้แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็ทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้า

ไปยังพระวิหาร ใครหนอแลจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์นั้น

ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

ภิกษุร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้อันวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็ท่าน

พระกัจจานะนี้พอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

โดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยัง

ที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะเถิด ลำดับนั้นแล

พวกข้าพระองค์จึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความ

นั้นกะท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะ จำแนกเนื้อความแก่

พวกข้าพระองค์นั้นแล้วโดยอาการดังนี้ โดยบทดังนี้ โดยพยัญชนะดังนี้.

[๕๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะ

เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากพวกเธอสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา เราก็

จะพยากร์เนื้อความนั้นอย่างเดียวกับที่มหากัจจานะพยากรณ์แล้วเหมือนกัน ก็

แหละเนื้อความของอุเทศนั้นเป็นดังนี้แล พวกเธอจงทรงจำเนื้อความนั้นไว้

อย่างนั้นเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม

ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ มหากัจจนภัทเทกรัตตสูตร ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

อรรถกถามหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร

มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับ มาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตโปทาราเม ความว่า ในอารามที่มีชื่อ

อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งสระชื่อ ตโปทะ คือ มีน้ำร้อน. ได้ยินว่า ภายใต้

เวภารบรรพตมีภพนาคประมาณห้าร้อยโยชน์ของนาคที่อยู่ ในแผ่นดินทั้งหลาย

เป็นเช่นกับเทวโลก ถึงพร้อมด้วยพื้นอันสำเร็จด้วยแก้วมณี และสวนอันเป็น

ที่รื่นรมย์ทั้งหลาย. ในสถานที่เป็นที่เล่นของนาคทั้งหลายในภพนาคนั้น มี

สระน้ำให้ แม่น้ำชื่อ ตโปทา มีน้ำร้อนเดือดพล่านไหลจากสระนั้น. ก็เพราะ

เหตุไร แม่น้ำนั้นจึงเป็นเช่นนี้. ได้ยินว่า โลกแห่งเปรตใหญ่ล้อมกรุงราชคฤห์.

แม่น้ำตโปทา นี้มาในระหว่างมหาโลหกุมภีนรก ทั้งสองในมหาเปรต โลกนั้น.

เพราะฉะนั้น แม่น้ำตโปทานั้น จึงเดือดพล่านไหลมา. สมจริงดังพระดำรัส

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำตโปทานี้ย่อม

ไหลโดยประการที่สระนั้น มีน้ำใสสะอาด. เย็น ขาว มีท่าดี รื่นรมย์ มีปลาและ

เต่ามาก และมีปทุมประมาณวงล้อบานสะพรั่ง อนึ่ง แม่น้ำตโปทานี้ ไหลผ่าน

ระหว่างมหานรกทั้งสอง เพราะเหตุนั้น แม่น้ำตโปทานี้จึงเดือดพล่านไหลมา

ดังนี้. ก็สระน้ำใหญ่ เกิดข้างหน้าพระอารามนี้ ด้วยอำนาจแห่งชื่อ สระน้ำ

ใหญ่นั้น วิหารนี้ จึงเรียกว่า ตโปทาราม. บทว่า สมิทฺธิ ความว่า นัยว่า

อัตภาพของพระเถระนั้น ละเอียด มีรูปสวย น่าเลื่อมใส เพราะฉะนั้น จึงถึง

อันนับว่า สมิทธิ. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยโก ได้แก่เป็นเบื้องต้นแห่งมรรค

พรหมจรรย์ คือเป็นข้อปฏิบัติ ในส่วนเบื้องต้น. บทว่า อท ว วา สุคโต

อฏฺายาสนา เป็นต้น พึงให้พิสดารโดยนัยที่กล่าวแล้วในมธุบิณฑิกสูตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

บทว่า อิติ เม จกฺขุ ความว่า นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งมาติกา ด้วย

อำนาจแห่งอายตนะ ๑๒ ในสูตรนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำมาติกาและ

วิภังค์ด้วยอำนาจแห่งขันธ์ห้า ในสามสูตรนี้ คือ ในหนก่อนสองสูตร และ

ในข้างหน้าหนึ่งสูตรซึ่งเป็นสูตรที่สี่ แต่ในสูตรนี้ ฝ่ายพระเถระได้นัยว่า

มาติกาว ปิตา จึงกล่าวอย่างนี้ เพื่อจำแนกอายตนะสิบสอง. ก็พระเถระ

เมื่อได้นัยนี้ได้ทำภาระหนัก. คือ แสดงรอยเท้าในที่ไม่มีรอยเท้า การทำรอย

เท้าในอากาศด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงพระสูตรนี้ นั้นเทียว

จึงทรงตั้งพระเถระนั้น ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหา-

กัจจานะเป็นผู้เลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสาวกของเราที่จำแนกเนื้อความแห่ง

ภาษิตโดยย่อ ให้พิสดารได้.

ก็ในสูตรนี้ บทว่า จกฺขุ ได้แก่ จักษุประสาท. บทว่า รูปา ได้แก่

รูปทั้งหลายอันมีสมุฏฐานสี่. พึงทราบแม้อายตนะที่เหลือ โดยนัยนี้ บทว่า

วิญฺาณ ได้แก่ วิญญาณอันเที่ยง. บทว่า ตทภินนฺทติ ความว่า เพลิด-

เพลินจักษุและรูปนั้น ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฐิ. บทว่า อนฺวาคเมติ

ความว่า ไปตามด้วยตัณหาและทิฐิทั้งหลาย. ก็ในบทว่า อิติ เม มโน อโหสิ

อิติ ธมฺมา นั้นบทว่า มโน ได้แก่ ภวังคจิต. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ธัม-

มารมณ์อันเป็นไปในภูมิสาม. บทว่า ปณิทหติ คือตั้งไว้ด้วยอำนาจแห่งความ

ปรารถนา บทว่า ปณิธานปจฺจยา ได้แก่ เพราะตั้งความปรารถนาไว้ คือ

เพราะเหตุ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามหากัจจานภัทเทกรัตตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

๔.โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร

ว่าด้วยลักษณะผู้มีราตรีเดียวเจริญ

[๕๖๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระโลมสกัง-

คิยะอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท. ครั้ง

นั้นแล ล่วงปฐมยามไปแล้ว จันทนเทวบุตร มีรัศมีงามยิ่ง ส่องพระวิหาร

นิโครธารามให้สว่างทั่ว เข้าไปหาท่านพระโลมสกังคิยะยังที่อยู่ แล้วได้ยืน ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๖๖] จันทนเทวบุตรพอยืนเรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวกะท่านพระโลม-

สกังคิยะดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านทรงจำอุเทศและวิภังค์ ของบุคคลผู้มีราตรี

หนึ่งเจริญได้ไหม.

ท่านพระโลมสกังคิยะกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็

ท่านทรงจำได้หรือ.

จันทนะ. ดูก่อนภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้ และท่านทรงจำคาถา

แสดงราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม.

โลม. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ.

จันทนะ. ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจำได้.

โลม. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็ท่านทรงจำได้อย่างไรเล่า.

[๕๖๗] จันทนะ. ดูก่อนภิกษุสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

อยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่ควงไม้ปาริฉัตร ในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

ณ ที่นั้นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่ง

เจริญแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วงไป

แล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และสิ่งที่

ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็บุคคลใด

เห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น ไม่

คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคลนั้น

พึงเจริญธรรมนั้นเนือง ๆ ไห้ปรุโปร่งเถิด

พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ ใคร

เล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่า

ความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น

ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้สงบ

ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติเป็นอยู่อย่างนี้มี

ความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและ

กลางคน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

[๕๖๘] ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจำคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญได้

อย่างนี้แล ขอท่านจงเล่าเรียน และทรงจำอุเทศและวิภังค์ของบุรุษผู้มีราตรีหนึ่ง

เจริญเถิด เพราะอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วย

ประโยชน์เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ จันทนเทวบุตรกล่าวดังนี้แล้ว จึงหาย

ไป ณ ที่นั้นเอง.

[๕๖๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระโลมสกังคิยะ. พอล่วงราตรีนั้น ไปแล้ว

จึงเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรมุ่งจาริกไปยังพระนครสาวัตถี. เมื่อจาริกไปโดย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

ลำดับ ถึงพระนครสาวัตถี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ประทับ

พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ข้าพระ-

องค์อยู่ที่พระวิหารนิโครธารามเขตพระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท ขณะนั้น

ล่วงปฐมยามไปแล้ว เทวบุตรองค์หนึ่ง มีรัศมีงามยิ่ง ส่องพระวิหารนิโครธาราม

ให้สว่างทั่ว เข้าไปหาข้าพระองค์ยังที่อยู่ แล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พอยืนเรียบร้อยแล้วได้กล่าวกะข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านทรงจำ

อุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญได้ไหม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อเทวบุตรนั้นกล่าวแล้วอย่างนี้ ข้าพระองค์ได้กล่าวกะเทวบุตรนั้นดังนี้ว่า

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรงจำได้หรือ เทวบุตรนั้นกล่าวว่า

ดูก่อนภิกษุ แม้ข้าพเจ้าก็ทรงจำไม่ได้และท่านทรงจำคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญ

ได้ไหม ข้าพระองค์ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทรงจำไม่ได้ ก็ท่านทรง

จำได้หรือ เทวบุตรนั้น กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจำได้ ข้าพระองค์

ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านทรงจำได้อย่างไรเล่า เทวบุตรนั้นกล่าวว่า

ดูก่อนภิกษุ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์

ที่ดวงไม้ปาริฉัตร ในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล...นั้น

แลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้าทรงจำคาถาแสดงราตรีหนึ่งเจริญได้อย่างนี้แล ท่านจงเล่า

เรียนและทรงจำอุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญเถิด เพราะอุเทศ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

และวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้น

แห่งพรหมจรรย์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวบุตรนั้นกล่าวดังนี้แล้ว จึงหายไป

ณ ที่นั้นเอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดแสดง

อุเทศและวิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญแก่ข้าพระองค์เถิด.

[๕๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ก็เธอรู้จักเทวดา

นั้นหรือไม่.

ท่านพระโลมสกังคิยะกราบทูลว่า ไม่รู้จักเลย พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ เทวบุตรนั้นชื่อว่าจันทนะ จันทนเทวบุตรย่อมมุ่ง

ประโยชน์ใส่ใจ เอาใจฝักใฝ่สิ่งทั้งปวง เงี่ยโสตลงฟังธรรม ดูก่อนภิกษุ

ถ้าเช่นนั้น เธอจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุนั้นทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๕๗๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า

บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง สิ่งใดล่วง

ไปแล้ว สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว และ

สิ่งที่ยังไม่มาถึง ก็เป็นอันยังไม่ถึง ก็

บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบันไม่ง่อนแง่น

ไม่คลอนแคลนในธรรมนั้น ๆ ได้ บุคคล

นั้นพึงเจริญธรรมนั้น เนือง ๆ ให้ปรุโปร่ง

เถิด พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ

ใครเล่าจะพึงรู้ความตายในวันพรุ่ง เพราะ

ว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่

นั้น ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย พระมุนีผู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปกติอยู่อย่างนี้

มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและ

กลางคืน นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

[๕๗๒] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลย่อมคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ

รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว.

ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มี

สังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ดูก่อน

ภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่า คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

[๕๗๓] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างไร คือ

ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า เราได้มีรูปอย่างนี้ในกาลที่ล่วง

แล้ว ได้มีเวทนาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีสัญญาอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว

ได้มีสังขารอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว ได้มีวิญญาณอย่างนี้ในกาลที่ล่วงแล้ว

ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว.

[๕๗๔] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลจะมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ

รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาลอนาคต

พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสังขาร

อย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้

แล ชื่อว่ามุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

[๕๗๕] ดูก่อนภิกษุก็ภิกษุจะไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างไร คือ

ไม่รำพึงถึงความเพลิดเพลินในเรื่องนั้น ๆ ว่า ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ในกาล

อนาคต พึงมีเวทนาอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีสัญญาอย่างนี้ในกาลอนาคต

พึงมีสังขารอย่างนี้ในกาลอนาคต พึงมีวิญญาณอย่างนี้ในกาลอนาคต. ดูก่อน

ภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่าไม่มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

[๕๗๖] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลย่อมง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร

คือ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดใน

ธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่

ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดย

ความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็ง

เห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมเล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อม

เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นสังขารโดยความเป็น

อัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่า

มีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง

ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่า ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบัน.

[๕๗๗] ดูก่อนภิกษุ ก็บุคคลย่อมไม่ง่อนแง่นในธรรมปัจจุบันอย่างไร

คือ อรยสาวกผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดใน

ธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาด

ในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดย

ความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง

ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ

ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดย

ความเป็นอัตตาบ้าง ฯลฯ ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง

ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็น

อัตตาในวิญญาณบ้าง. ดูก่อนภิกษุ อย่างนี้แล ชื่อว่า ไม่ง่อนแง่นในธรรม

ปัจจุบัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

[๕๗๘] บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว

ฯลฯ พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกบุคคล...

นั้นแลว่า ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระโลมสกังคิยะจึง

ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

อรรถกาโลมสกังคยภัทเทกรัตตสูตร

โลมสกังคิยภัตเทกรัตตสูตร มีคำขึ้นต้น ว่าข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลมสกงฺคิโย คือ ได้ยินว่า โลมสกังคิยะ

นั้น เป็นชื่อพระอังคเถระ. ก็พระเถระนั้น ปรากฏชื่อว่า โลมสกังคิยะ เพราะ

ความที่กายมีอาการแห่งขน นิดหน่อย. บทว่า จนฺทโน เทวปุตฺโต ความว่า

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะอุบาสกชื่อว่า

จันทนะ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก บูชาพระรัตนะทั้งสาม ด้วยปัจจัยสี่

ตายไปเกิดในเทวโลก ถึงอันนับว่า จันทนเทพบุตรโดยชื่อที่มีในชาติก่อน.

บทว่า ปณฺฑุกัมพลศิลาอาสน์. ได้แก่ ณ กัมพลศิลาอาสน์สีแดง. ได้ยินว่า

สีของกัมพลศิลาอาสน์สีแดงนั้น มีสีเหมือนกองดอกชบา เพราะฉะนั้น จึง

เรียกว่า ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์. ถามว่า ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ประทับ ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์นั้นในกาลใด. ตอบว่า ในปีที่เจ็ดจากการ

ตรัสรู้ ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ ในท่ามกลางแห่งบริษัทประมาณสิบสอง

โยชน์ ในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ใกล้กรุงสาวัตถี เสด็จลงประทับ นั่ง ณ

พุทธาสนะที่ปูไว้แล้วใกล้โคนต้นคัณฑามพะ ทรงถอนมหาชนออกจากทุกข์

ใหญ่ ด้วยพระธรรมเทศนา เพราะธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ครั้นทรง

ทำปาฏิหาริย์แล้ว จะไม่ประทับอยู่ในถิ่นมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงทรงทำให้

พ้นจากขนมาเฝ้า เสด็จไปจำพระพรรษา ณ ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใกล้

ต้น ปาริฉัตร ในภพดาวดึงส์ ประทับอยู่ในสมัยนั้น.

บทว่า ตตฺร ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับ อยู่ ณ

ภพดาวดึงส์นั้น อันเทวดาหมื่นจักรวาลโดยมาก มาประชุมแวดล้อมแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกแก่พระมารดาให้เป็นกายสักขี ได้ตรัสอุทเทสและ

วิภังค์ของบุคคลผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ ตามลำดับ เพื่อทรงให้เกิดความสังเวชแก่

ทวยเทพที่ไม่อาจเพื่อแทงตลอดซึ่งกถาที่กำหนดรูปและอรูป อันลึกซึ่งละเอียด

ประกอบด้วยไตรลักษณ์. ณ ที่นั้น เทวบุตร เมื่อจะเรียน ได้เรียนคาถา

เหล่านี้ พร้อมกับวิภังค์ แต่เพราะความที่เทวบุตรตั้งอยู่ในความประมาท ถูก

อารมณ์อันเป็นทิพย์ทั้งหลายครอบงำ จึงลืมพระสูตรโดยลำดับ ทรงจำได้

เพียงคาถาเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น เทวบุตรจึงกล่าวว่า ดูก่อนภิกษุ ข้าพเจ้า

ทรงจำคาถาราตรีเดียวเจริญอย่างนี้แล. ในบทว่า อคฺคณฺห ตฺว เป็นต้น

เป็นผู้นิ่ง นั่ง ฟัง ชื่อว่า เรียน. เมื่อกระทำการสาธยายด้วยวาจา ชื่อว่า

เล่าเรียน. เมื่อบอกแก่บุคคลเหล่าอื่น ชื่อว่า ทรงจำ. บทที่เหลือในสูตรนี้

ง่ายทั้งนั้นแล.

อรรถกถาโสมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร

ว่าด้วยกฏแห่งกรรม

[๕๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยย

บุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๘๐] สุภมาณพ โตเทยยบุตร พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ

เป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต

มนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิว

พรรณทราม มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะ

มาก เกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา ข้าแต่พระโคดม-

ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ไห้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่

ปรากฏความเลวและความประณีต.

[๕๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมี

กรรมเป็นของคน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็น

เผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึงอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้

สุภ. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศที่พระ-

โคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ ขอพระโคดม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

ผู้เจริญ ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึง

ทราบเนื้อความ แห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด.

พ. ดูก่อนมาณพ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะ

กล่าวต่อไป. สุภมาณพ โตเทยยบุตร ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว

พระเจ้าข้า.

[๕๘๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนมาณพ บุคคล

บางตนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง

เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดู

ในเหล่าสัตว์มีชีวิต เขาตายไปจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ

กรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะ

เป็นคนมีอายุสั้น. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้

มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการ

ประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต.

ว่าด้วยการละขาดจากปาณาติบาต

[๕๘๓] ดูก่อนมาณพ ส่วนบุคคลบางตนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม

บุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา

วางศาสตราได้มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลใน

สรรพสัตว์และภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น

อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง ละเป็นคนมีอายุยืน. ดูก่อน

มาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืนนี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

ขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศาสตราได้ มีความละอาย ถึงความ

เอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่.

[๕๘๔] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางตนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ

ก็ตาม เป็นผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้

หรือศาสตรา. เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรม

นั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะ

เป็นคนมีโรคมาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมากนี้ คือ เป็น

ผู้มีปกติเบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา.

[๕๘๕] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางตนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตามบุรุษ

ก็ตาม เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วยฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้

หรือศาสตรา. เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขา

ให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้า

มาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ. ในภายหลัง จะเป็นคนมีโรคน้อย. ดูก่อนมาณพ

ปฏิปทาเป็นไป เพื่อมีโรคน้อยนี้ คือ เป็นผู้มีปกติไม่เบียดเบียนสัตว์ด้วย

ฝ่ามือ หรือก้อนดิน หรือท่อนไม้ หรือศาสตรา.

[๕๘๖] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ

ก็ตาม เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ

โกรธเคือง พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียด

ให้ปรากฏ. เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น

อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตาย ป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง. จะเป็นคนมี

ผิวพรรณทราม. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทรามนี้ คือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง

พยาบาท มาดร้าย ทำความโกรธ ความร้ายและความขึ้งเคียดให้ปรากฏ.

ความเป็นผู้ไม่มักโกรธ

[๕๘๗] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางตนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ

ก็ตาม เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ

ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย และ

ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ. เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น

อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนน่าเลื่อมใส. ดูก่อน

มาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใสนี้ คือ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่

มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่ามากก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธเคือง ไม่พยาบาท

ไม่มาดร้าย ไม่ทำความโกรธ ความร้าย ความขึ้งเคียดให้ปรากฏ.

[๕๘๘] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ

ก็ตาม มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ

ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของตนอื่น. เขาตายไป จะเข้ถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ

ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดาน้อย. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไป

เพื่อมีศักดาน้อยนี้ คือ มีใจริษยา ย่อมริษยา มุ่งร้าย ผูกใจอิจฉาในลาภ

สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของคนอื่น.

[๕๘๙] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ

ก็ตาม เป็นผู้มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจอิจฉาในลาภ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

สักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของตนอื่น เขา

ตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม

สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์

เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีศักดามาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทา

เป็นไปเพื่อมีศักดามากนี้คือ มีใจไม่ริษยา ย่อมไม่ริษยา ไม่มุ่งร้าย ไม่ผูกใจ

อิจฉาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของ

คนอื่น.

[๕๙๐] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ

ก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ไห้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้

ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์. เขาตายไป จะเข้า

ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทาน

ไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์

เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะน้อย. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทา

เป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม

เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์.

การให้ข้าวเป็นต้น

[๕๙๑] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ

ก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้

ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์. เขาตายไป

จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้

อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใด ๆ

ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

มากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน

ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์.

[๕๙๒] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็น สตรีก็ตาม บุรุษ

ก็ตาม เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่

ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คน

ที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่

นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา. เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด

ที่ ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไป

เพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่

ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ

ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่

ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา.

[๕๙๓] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ

ก็ตาม เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้

ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่

สมควรแก่ทาง สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคน

ที่ควรนับถือ บูชาคนที่ควรบูชา. เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะ

กรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป. ไม่เข้าถึง

สุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็น

คนเกิดในสกุลสูง. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีสกุลสูงนี้ คือ

เป็นคนไม่กระด้าง ไม่เย่อหยิ่ง ย่อมกราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ลุกรับคน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

ที่ควรลุกรับ ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง

สักการะคนที่ควรสักการะ เคารพคนที่ควรเคารพ นับถือคนที่ควรนับถือ

บูชาคนที่ควรบูชา.

ความไม่สอบถาม

[๕๙๔] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ

ก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็น

กุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่

ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า

อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน.

เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้

พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญาทราม.

ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทรามนี้ คือ ไม่เป็นผู้เข้าไปหาสมณะ

หรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ

อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไป

เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่า อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน.

[๕๙๕] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษ

ก็ตาม ย่อมเป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไรเป็นกุศล

อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ อะไรไม่ควรเสพ

อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่าอะไร

เมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน. เขาตายไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้

อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ

ในภายหลัง จะเป็นคนมีปัญญามาก. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมี

ปัญญามากนี้ คือ เป็นผู้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์แล้วสอบถามว่า อะไร

เป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเสพ

อะไรไม่ควรเสพ อะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน

หรือว่าอะไรเมื่อทำ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน.

[๕๙๖] ดูก่อนมาณพ ด้วยประการฉะนั้นแล ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมี

อายุสั้น ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุสั้น ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุยืน

ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็นคนมีอายุยืน ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคมาก ย่อมนำ

เข้าไปสู่ความเป็นคนมีโรคมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโรคน้อย ย่อมนำเข้าไป

สู่ความเป็นคนมีโรคน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีผิวพรรณทราม ย่อมนำเข้าไป

สู่ความเป็นคนมีผิวพรรณทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเป็นผู้น่าเลื่อมใส ย่อมนำ

เข้าไปสู่ความเป็นคนน่าเลื่อมใส ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดาน้อย ย่อมนำเข้าไป

สู่ความเป็นคนมีศักดาน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีศักดามาก ย่อมนำเข้าไปสู่

ความเป็นคนมีศักดามาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อย ย่อมนำเข้าไปสู่ความ

เป็นคนมีโภคะน้อย ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็น

คนมีโภคะมาก ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลต่ำ ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็น

คนเกิดในสกุลต่ำ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อเกิดในสกุลสูง ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็น

คนเกิดในสกุลสูง ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญาทราม ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็น

คนมีปัญญาทราม ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีปัญญามาก ย่อมนำเข้าไปสู่ความเป็น

คนมีปัญญามาก. ดูก่อนมาณภพ สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

ทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง

อาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีต.

[๕๙๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ สุภมาณพ โตเทยย

บุตรได้กราลทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า แจ่มแจ้ง

แล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยปริยายมิใช่น้อย

เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอกทางแก่คนหลงทาง

หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีตาดีจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้

ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดม

ผู้เจริญ จงทรงจำ ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่

บัดนี้ เป็นต้นไป.

จบ จูฬกัมมวิภังคสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

อรรถกถาสุภสูตร

สุภสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในสูตรนั้น บทว่า สุโภ ความว่า ได้ยินว่า เขาเป็นคนน่าดู

น่าเลื่อมใส. ด้วยเหตุนั้นญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อเขาว่า สุภะ เพราะความที่เขามี

อวัยวะงาม แต่ได้เรียกเขาว่า มาณพในกาลเป็นหนุ่ม. เขาถูกเรียกโดยโวหาร

นั้นแล แม้ในกาลเป็นคนแก่. บทว่า โตเทยฺยปุตฺโต ได้แก่บุตรของพราหมณ์

ปุโรหิต ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อว่า โตเทยยะ. ได้ยินว่า เขาถึงอัน

นับว่าโตเทยยะ เพราะเขาเป็นใหญ่แห่งบ้านชื่อว่า ตุทิคาม ซึ่งมีอยู่ใกล้กรุง

สาวัตถี. ก็เขาเป็นผู้มีทรัพย์มาก มีสมบัติ ถึง ๘๗ โกฏิ แต่มีความตระหนี่จัด.

เมื่อจะให้ก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่า ความไม่สิ้นเปลืองของโภคะทั้งหลายไม่มี จึงไม่ให้

อะไรแก่ใคร ๆ. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บัณฑิตเห็นความสิ้นไปแห่งยาหยอด

ตาทั้งหลาย การสะสมของตัวปลวกทั้ง

หลาย และการรวบรวมของตัวผึ้งทั้งหลาย

แล้ว พึงอยู่ครองเรือน.

เขาให้สำคัญอย่างนี้ ตลอดกาลนานทีเดียว. เขาไม่ให้วัตถุสักว่ายาคูกระบวยหนึ่ง

หรือภัตสักทัพพีแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประทับอยู่ในวิหารใกล้ ทำกาละ

ด้วยความโลภในทรัพย์ ไปเกิดเป็นสุนัขในเรือนนั้นเทียว. สุภะรักสุนัขนั้นมา

เหลือเกิน ให้กินภัตที่คนบริโภคนั้นแหละ ยกขึ้นให้นอนในที่นอนอันประเสริฐ.

๑. บาลีว่า จูฬกัมมวิภังคสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

อยู่มาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ในสมัยใกล้รุ่ง

ทรงเห็นสุนัขนั้นแล้ว ทรงดำริว่า โตเทยยพราหมณ์ตายไปเกิดเป็นสุนัขใน

เรือนของตนเทียว เพราะความโลภในทรัพย์ วันนี้ เมื่อเราไปสู่เรือนของสุภะ

สุนัขเห็นเราแล้ว จักทำการเห่าหอน ลำดับนั้น เราจักกล่าวคำหนึ่งแก่สุนัขนั้น

สุนัขนั้นจะรู้เราว่าเป็นสมณโคดม แล้วไปนอนในที่เตาไฟ เพราะข้อนั้นเป็น

เหตุ สุภะจักมีการสนทนาอย่างหนึ่งกับเรา สุภะนั้นฟังธรรมแล้ว จักตั้งอยู่ใน

สรณะทั้งหลาย ส่วนสุนัขตายไปแล้วจักเกิดในนรก ดังนี้. พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงรู้ความที่มาณพจะตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลายนี้แล้ว ในวันนั้น ทรงปฏิบัติ

พระสรีระ เสด็จไปสู่เรือนนั้นเพื่อทรงบิณฑบาต โดยขณะเดียวกันกับมาณพ

ออกไปสู่บ้าน. สุนัขเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทำการเห่าหอน ไปใกล้

พระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ กะสุนัขนั้นว่า แนะ

โตเทยยะ เจ้าเคยกล่าวกะเราว่า ผู้เจริญ ๆ ไปเกิดเป็นสุนัข แม้บัดนี้ ทำการ

เห่าหอนแล้ว จักไปสู่อเวจี ดังนี้. สุนัขฟังพระดำรัสนั้นแล้ว รู้เราว่าเป็น

สมณโคดม มีความเดือนร้อน ก้มคอไปนอนในขี้เถ้า ในระหว่างเตาไฟ.

มนุษย์ไม่อาจเพื่อจะยกขึ้นให้นอนบนที่นอนอันประเสริฐได้. สุภะมาแล้วพูดว่า

ใครยกสุนัขขึ้นลงจากที่นอนเล่า. มนุษย์พูดว่า ไม่มีใคร แล้วบอกเรื่องราว

เป็นมานั้น . มาณพฟังแล้วโกรธว่า บิดาของเราไปเกิดในพรหมโลก ไม่มี

สุนัขชื่อโตเทยยะ แต่พระสมณโคดมทรงทำบิดาให้เป็นสุนัข พระสมณโคดม

นั้น พูดพล่อย ๆ ดังนี้ เป็นผู้ใคร่จะข่มพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำเท็จ จึงไป

สู่วิหารทูลถามประวัตินั้น.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนั้นเทียวแก่สุภมาณพนั้น เพื่อไม่ให้

โต้เถียงกัน จึงตรัสว่า ดูก่อนมาณพ ก็ทรัพย์ที่บิดาของเธอไม่ได้บอกไว้มีอยู่

หรือ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ มีหมวกทองคำราคาหนึ่งแสน รองเท้าทองคำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

ราคาหนึ่งแสน และกหาปณะหนึ่งแสน. เจ้าจงไป จงถามสุนัขนั้นในเวลาให้

กินข้าวปายาสมีน้ำน้อย แล้วยกขึ้นในที่นอนก้าวสู่ความหลับนิดหน่อย มันจะ

บอกทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้า ลำดับนั้น เจ้าจะพึงรู้สุนัขนั้นว่า มันเป็นบิดาของ

เรา. มาณพดีใจแล้วด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ถ้าจักเป็นความจริง เราจะได้

ทรัพย์ ถ้าไม่เป็นความจริง เราจักข่มพระสมณโคดมด้วยคำเท็จ ดังนี้ แล้ว

ไปทำอย่างนั้น. สุนัขรู้ว่า เราอันมาณพนี้รู้แล้ว ทำเสียงร้อง หุง หุง ไป

สู่สถานที่ฝังทรัพย์ ตะกุยแผ่นดินด้วยเท้าแล้ว ให้สัญญา. มาณพถือเอาทรัพย์

แล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ธรรมดาสถานที่ปกปิดทรัพย์

ปรากฏเป็นของละเอียด อยู่ในระหว่างปฏิสนธิอย่างนี้ นั้นเป็นสัพพัญญูของ

พระสมณโคดมแน่แท้ จึงรวบรวมปัญหา ๑๔ ปัญหา. นัยว่า มาณพนั้นเป็น

นักปาฐกในวิชาทางร่างกาย. ด้วยเหตุนั้น มาณพนั้น จึงมีความคิดว่า เรา

ถือธรรมบรรณาการนี้แล้ว จักทูลถามปัญหากะพระสมณโคดม. โดยการไป

ครั้งที่สอง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. แต่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแก้ปัญหาทั้งหลายที่มาณพนั้นทูลถามแก่เขา เพียงครั้งเดียวเท่านั้น จึง

ตรัสว่า กมฺมสฺสกา เป็นต้น. ในบทนั้น กรรมเป็นของสัตว์เหล่านั้น คือ

เป็นภัณฑะของตน เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า มีกรรมเป็นของคน.

สัตว์ทั้งหลายเป็นทายาทแห่งกรรม เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า เป็น

ทายาทแห่งกรรม อธิบายว่า กรรมเป็นทายาทคือเป็นภัณฑะของสัตว์เหล่านั้น.

กรรมเป็นกำเนิดคือเป็นเหตุของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น.

ชื่อว่า มีกรรมเป็นกำเนิด. กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น

สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ อธิบายว่า มีกรรมเป็นญาติ. กรรม

เป็นที่พึ่งอาศัย คือ เป็นที่ตั้งของสัตว์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้น

ชื่อว่า มีกรรมเป็นที่พึงอาศัย. บทว่า ยทิท หีนปฺปณีตตาย ความว่า กรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

ใด จำแนกโดยให้เลว และประณีตอย่างนี้ว่า ท่านเลว ท่านประณีต ท่าน

มีอายุน้อย ท่านมีอายุยืน ท่านมีปัญญาทราม ท่านมีปัญญา ดังนี้ ใครอื่น

ไม่ทำกรรมนั้น กรรมนั้นเทียว ย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้. มาณพไม่รู้

เนื้อความแห่งอุเทศที่ทรงแสดง. เป็นเหมือนพันปากของมาณพนั้นด้วยแผ่นผ้า

เนื้อหนาแล้ววางของหวานไว้ข้างหน้า. ได้ยินว่า มาณพนั้นอาศัยมานะ ถือ

ตัวว่า เป็นบัณฑิตย่อมพิจารณาเห็นตน.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงหักมานะของมาณพนั้นว่า

มานะนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอะไร เราย่อมรู้สิ่งที่ตรัสนั้นแล อย่าได้มีดังนี้

จึงตรัสทำให้แทงตลอดได้โดยยากว่า เราจักแสดง ทำให้แทงตลอดได้ยากตั้งแต่

เบื้องต้นเทียว แต่นั้น มาณพจักขอเราว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์

ไม่รู้ ขอพระองค์จงทรงแสดงทำให้ปรากฏแก่ข้าพระองค์โดยพิสดาร ลำดับนั้น

เราจักแสดงแก่เขาในเวลาร้องขอ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จักเป็นประโยชน์แก่มาณพ

นั้น ดังนี้. บัดนี้ มาณพนั้น เมื่อจะประกาศความที่ตนเป็นผู้ไม่แทงตลอด

จึงทูลว่า น โขห ดังนี้เป็นต้น. บทว่า สมตฺเตน ได้แก่ บริบูรณ์. บทว่า

สมาทินฺเนน ได้แก่ ถือเอาแล้ว คือ ลูบคลำแล้ว. บทว่า อปฺปายุกสวตฺต-

นิกา เอสา มาณว ปฏิปทา ยทิท ปาณาติปาตี ความว่า กรรมในการ

ยังชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงนี้ใด นั้นปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น.

ก็ปฏิปทานั้น ย่อมทำให้มีอายุสั้นอย่างไร. ก็กรรมมี ประเภท คือ

อุปปีฬกกรรม อุปัจเฉทกกรรม ชนกกรรม อุปัตถัมภกกรรม. ก็อุปปีฬกกรรม

ในประวัติที่เกิดด้วยกรรมอันมีกำลัง มาพูดโดยเนื้อความอย่างนี้ว่า ถ้าเราพึง

รู้ก่อน ไม่พึงให้กรรมนั้นเกิดในที่นี้ พึงให้มันเกิดในอบายทั้งสี่ จงยกไว้ เจ้า

เกิดในที่ใดที่หนึ่ง เราบีบคั้นกรรมที่ชื่อว่า อุปปีฬกกรรมนั้น จักทำให้ปราศ-

จากรสปราศจากยางเหนียวให้ไร้ค่า จำเดิมแต่นั้น จะทำมันให้เป็นเช่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

ทำอย่างไร คือ นำอันตรายเข้ามายังโภคะให้พินาศ. ในเพราะกรรมนั้น จำเดิม

แต่กาลที่ทารกเกิดในต้องมารดา มารดาย่อมไม่มีความเบาใจ หรือไม่มีความสุข

และความบีบคั้นย่อมเกิดแก่บิดามารดา ย่อมนำอันตรายเข้ามาอย่างนี้. ก็จำเดิม

แต่กาลที่ทารกเกิดในท้องมารดา โภคะทั้งหลายในเรือน ย่อมฉิบหายด้วยอำนาจ

แห่งราชาเป็นต้น เหมือนเกลือถูกน้ำ. แม่โคทั้งหลายที่รีดนมลงในภาชนะก็ไม่

ให้น้ำมัน ฝูงโคจะกล้าดุร้าย มีตาบอดเป็นง่อย โรคจะระบาดในคอกโค บริวาร

ชนมีทาสเป็นต้น ไม่เชื่อฟัง ข้าวกล้าที่หว่านไว้จะไม่เกิด ข้าวกล้าที่อยู่ในเรือน

ย่อมพินาศในเรือน ที่อยู่ในป่าก็พินาศในป่า วัตถุสักว่าบำบัดความหิวกระหาย

ก็หาได้ยาก โดยลำดับ. เครื่องบริหารครรภ์ก็ไม่มี. เวลาทารกคลอดแล้ว

น้ำนมของมารดาก็จะขาด. ทารกเมื่อไม่ได้บริหาร ก็ถูกบีบคั้น ปราศจากรส

เหี่ยวแห้ง ไร้ค่า นี้ชื่อว่า อุปปีฬกกรรม. ส่วนเมื่อบุคคลเกิดแล้ว ด้วยกรรม

ที่ทำให้มีอายุยืน อุปัจเฉทกกรรมก็มาตัดรอนอายุ. เหมือนบุรุษทำการไปสู่วัว

ผู้แปดตัว ยิงลูกศร อีกคนก็ดีลูกศรนั้น ที่สักว่าหลุดออกจากแห่งธนู ด้วยไม้

ค้อนให้ตกลงในที่นั้น ฉันใด อุปัจเฉทกกรรมย่อมตัดรอนอายุของคนที่เกิดแล้ว

ด้วยกรรมที่ทำให้มีอายุยืน ฉันนั้น. ทำอย่างไร. โจรให้บุคคลนั้นเข้าไปสู่ดง

ให้ลุยน้ำที่มีปลาร้าย. ก็หรือนำเข้าสู่สถานที่อันตรายอื่น. นี้ชื่อว่า อุปัจเฉทุก-

กรรม อุปัจเฉทกกรรมนั้นเทียว นี้ชื่อว่า อุปฆาฏกกรรม ดังนี้บ้าง. ส่วนกรรม

ที่ให้เกิดปฏิสนธิ ชื่อว่า ชนกกรรม. กรรมที่อุ้มชูด้วยการทำให้ถึงพร้อมด้วย

โภคะเป็นต้น แก่บุคคลผู้เกิดในตระกูลทั้งหลาย มีตระกูลมีโภคะน้อยเป็นต้น

ชื่อว่า อุปัตถัมภกกรรม.

ในกรรม ๔ ประเภทนี้ กรรม ๒ ประเภทข้างต้น เป็นอกุศลอย่าง

เดียว ในกรรมเหล่านั้น ปาณาติบาตกรรมย่อมเป็นไปเพื่อมีอายุสั้น ด้วยความ

เป็นอุปัจเฉทกกรรม. หรือ กุศลกรรมที่บุคคลนี้ปกติยิ่งชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ย่อม

ไม่โอฬาร ย่อมไม่อาจเพื่อยังปฏิสนธิที่มีอายุยืนเกิดขึ้น. ปาณาติบาตย่อมเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

ไปเพื่อให้อายุสั้นด้วยประการฉะนี้. หรือกำหนดปฏิสนธิเท่านั้น ทำให้มีอายุสั้น

หรือย่อมเกิดในนรกด้วยสันนิฏฐานเจตนา. เป็นเหตุให้มีอายุสั้นโดยนัยกล่าว

แล้ว ด้วยบุพเจตนาและอปรเจตนา.

ในบทว่า ทีฆายุตสวตฺตนิกา เอสา มาณว ปฏิปทา นี้ กรรม

ที่งดเว้นจากปาณาติบาตอย่างนี้ ในประวัติ ซึ่งเกิดด้วยกรรมนิดหน่อย มากล่าว

อย่างนี้ โดยเนื้อความว่า ถ้าเรารู้ก่อน ไม่พึงให้เจ้าเกิดในที่นี้ จะพึงให้เจ้าเกิด

ในเทวโลกเท่านั้น ช่างเถิด เจ้าจะเกิดในที่ใดก็ตาม เราจักทำการอุ้มชู. ทำ

อย่างไร. คือ ยังอันตรายให้พินาศ ยังโภคะทั้งหลายให้เกิดขึ้น. ในเพราะอุปัต-

ถัมภกกรรมนั้น บิดามารดาย่อมมีความสุขอย่างเดี่ยว ย่อมเบาใจอย่างเดียว

จำเดิมแต่กาลที่ทารกเกิดในท้องมารดา. อันตรายจากมนุษย์และอมนุษย์ โดย

ปกติแม้เหล่าใด อันตรายเหล่านั้น ทั้งหมดย่อมไปปราศ. ย่อมยังอันตรายให้

พินาศอย่างนี้. ประมาณแห่งโภคะทั้งหลายในเรือน ย่อมไม่มีจำเดิมแต่กาลที่

ทารกเกิดในท้องมารดา. ขุมทรัพย์ทั้งหลายย่อมมารวมอยู่ในเรือน ทั้งข้างหน้า

ทั้งข้างหลัง. บิดามารดาย่อมไปสู่ความพร้อมหน้ากับทรัพย์ที่บุคคลเหล่านั้นนำ

มาวางไว้. แม่โคนมทั้งหลายย่อมมีน้ำนมมาก. ฝูงโคย่อมอยู่เป็นสุข. ข้าวกล้า

ทั้งหลายในที่หว่านย่อมสมบูรณ์. บุคคลทั้งหลายที่ไม่มีใครเตือน ย่อมนำทรัพย์

ที่ประกอบด้วยความเจริญ หรือทรัพย์ที่เขาให้ชั่วคราวมาให้เองแล. บริวาร

ชนทั้งหลายมีทาสเป็นต้น ก็จะเป็นผู้ว่าง่าย. การงานทั้งหลายก็ไม่เสื่อมเสีย

ทารกย้อมได้บริหารจำเดิมแต่อยู่ในครรภ์. แพทย์เกี่ยวกับเด็กทั้งหลายก็จะมา

ชุมนุน. ทารกที่เกิดในตระกูลคหบดีจะได้ตำแหน่งเศรษฐี ที่เกิดในตระกูล

ทั้งหลายมีตระกูลอำมาตย์เป็นต้น ก็จะได้ตำแหน่งทั้งหลาย มีตำแหน่งเสนาบดี

เป็นต้น. ย่อมให้โภคะทั้งหลายเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้. เขาไม่มีอันตรายมีโภคะ

ย่อมมีชีวิตนาน. กรรมคือการไม่ฆ่าสัตว์ ย่อมเป็นไปเพื่อให้มีอายุยืนอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

หรือ กุศลแม้อื่น อันบุคคลผู้ไม่ฆ่าสัตว์ทำไว้ ย่อมโอฬาร. ย่อมอาจเพื่อยัง

ปฏิสนธิที่ให้มีอายุยืนเกิดขึ้น. ย่อมเป็นไปเพื่อให้มีอายุยืนแม้อย่างนี้. หรือ

กำหนดปฏิสนธิเท่านั้น ทำให้มีอายุยืน. หรือย่อมเกิดในเทวโลก ด้วยสันนิฏ-

ฐานเจตนา. ย่อมให้มีอายุยืนโดยนัยกล่าวแล้ว ด้วยบุพเจตนา. พึงทราบ

เนื้อความในการแก้ปัญหาทั้งปวง โดยนัยนี้.

ก็กรรมทั้งหลายแม้มีการเบียดเบียนเป็นต้น มาในปวัตตกาลแล้ว เป็น

เหมือนกล่าวอย่างนี้ โดยเนื้อความ ย่อมทำกิจทั้งหลายมีความอาพาธมากเป็นต้น

ด้วยเหตุทั้งหลายมีการยังโรคให้เกิดขึ้นเป็นต้น แก่บุคคลผู้ถึงความปราศจาก

โภคะด้วยการบีบคั้น ไม่ได้การปฏิบัติ หรือ ด้วยความที่กุศลอันบุคคลผู้เบียด-

เบียนเป็นต้นทำแล้วเป็นธรรมชาติไม่โอฬาร หรือด้วยการกำหนดปฏิสนธิตั้งแต่

เบื้องต้นเทียว หรือด้วยอำนาจแห่งบุพเจตนา และอปรเจตนา โดยนัยกล่าว

แล้วนั้นเทียว กรรมทั้งหลายมีการไม่เบียดเบียนเป็นต้น ย่อมทำแม้ซึ่งความ

เป็นผู้มีอาพาธน้อยทั้งหลาย ดุจการไม่ฆ่าสัตว์ฉะนั้น. ก็ในบทเหล่านั้น บทว่า

อิสฺสามนโก ได้แก่ มีจิตประกอบด้วยความริษยา. บทว่า อุปทุสฺสติ ความ

ว่า ด่าด้วยอำนาจแห่งความริษยานั้นเทียวประทุษร้ายอยู่. บทว่า อิสฺส พนฺธติ

ความว่า ย่อมตั้งริษยาไว้เหมือนผูกกำข้าว เหมือนผูกโดยประการไม่ให้เสื่อม

เสีย. บทว่า อปฺเปสกฺโข ความว่า มีบริวารน้อย คือ ไม่ปรากฏเหมือน

ลูกศรที่ยิงในกลางคืน. มีมือสกปรกนั่งแล้ว ย่อมไม่ได้ซึ่งผู้ให้น้ำ. บทว่า น

ทาตา โหติ ความว่า เป็นผู้ไม่ให้ด้วยอำนาจแห่งความตระหนี่. บทว่า

เตน กมฺเมน ได้แก่ กรรมคือความตระหนี่นั้น. บทว่า อภิวาเทตพฺพ คือ

พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือ พระอริยสาวก ผู้สมควรแก่การอภิวาท.

ในบททั้งหลายแม้มีผู้ควรลุกขึ้นต้อนรับเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ไม่ควรถือ

อุปปีฬกกรรม และอุปัตถัมภกกรรมในการแก้ปัญหานี้. เพราะไม่อาจเพื่อทำแก่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

ผู้มีตระกูลต่ำ ผู้มีตระกูลสูงในปวัตตกาล. แต่กรรมของผู้เกิดในตระกูลต่ำ

กำหนดปฏิสนธิเทียว ให้เกิดในตระกูลต่ำ กรรมที่อำนวยให้เกิดในตระกูลสูง

ย่อมให้เกิดในตระกูลสูง. ย่อมเกิดในนรกด้วยการไม่ได้ไต่ถามในบทนี้ว่า น

ปริปุจฺฉิตา โหติ. ก็ผู้ไม่ไต่ถามย่อมไม่รู้ว่า นี้ควรทำ นี้ไม่ควรทำ. เมื่อไม่รู้

ย่อมไม่ทำสิ่งที่ควรทำ ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควร ย่อมเกิดในนรกด้วยกรรมนั้น.

บุคคลนอกนี้ ย่อมเกิดในสวรรค์.

บทว่า อิติ โข มาณว ฯเปฯ ยทิท หีนปฺปณีตตาย ความว่า

พระศาสดาทรงยังเทศนาให้จบตามอนุสนธิ. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสุภสูตรที่ ๘

จุลลกัมมวิภังคสูตรก็เรียก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

๖. มหากัมมวิภังคสูตร

[๕๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็น

สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. สมัยนั้นแล ท่าน

พระสมิทธิอยู่ในกระท่อมในป่า. ครั้งนั้น ปริพาชกโปตลิบุตรเดินเล่นไปโดย

ลำดับเข้าไปหาท่านพระสมิทธิยังที่อยู่แล้ว ได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระสมิทธิ

ครั้น ผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง.

[๕๙๙] ปริพาชกโปตลิบุตร พอนึ่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่าน

พระสมิทธิดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ ข้าพเจ้าได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์

พระสมณโคดมดังนี้ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ มโนกรรม

เท่านั้น จริง และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ นั้น มีอยู่.

ท่านพระสมิทธิกล่าวว่า ดูก่อนโปตลิบุตรผู้มีอายุ ท่านอย่ากล่าวอย่าง

นี้ อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสอย่างนี้ว่า กายกรรมเป็นโมฆะ วจีกรรมเป็นโมฆะ

มโนกรรมเท่านั้น จริง และว่าสมาบัติที่บุคคลเข้าแล้วไม่เสวยเวทนาอะไร ๆ

นั้น มีอยู่.

ปริพาชก. ดูก่อนท่านสมิทธิ ท่านบวชมานานเท่าไรแล้ว.

สมิทธิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ไม่นาน เพียง ๓ พรรษา.

ปริพาชก. ในเมื่อภิกษุไหนเข้าใจการระแวดระวังศาสดาถึงอย่างนี้แล้ว

คราวนี้พวกเราจักพูดอะไรก่อนภิกษุผู้เถระได้ ดูก่อนท่านสมิทธิ บุคคลทำกรรม

ชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาจะเสวยอะไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

สมิทธิ. ดูก่อนโปตลิบุตรผู้มีอายุ เขาจะเสวยทุกข์

ลำดับนั้น ปริพาชกโปตลิบุตรไม่ยินดี ไม่คัดค้านภาษิตของท่านพระ

สมิทธิ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.

[๖๐๐] ครั้นปริพาชกโปตลิบุตรหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระสมิทธิ

เข้าไปหาท่านพระอานนท์ยังที่อยู่ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระอานนท์

ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงบอกเรื่องเท่าที่ได้สนทนา กับ ปริพาชกโปตลิบุตร

ทั้งหมด แก่ท่านพระอานนท์. เมื่อท่านพระสมิทธิบอกแล้วอย่างนี้ ท่านพระ-

อานนท์จึงได้กล่าวกะท่านพระสมิทธิดังนี้ว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ เรื่องนี้มีเค้าพอ

จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ มาเถิด เราทั้งสองพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ยังที่ประทับ แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่เรา

อย่างไร เราพึงทรงจำคำพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น . ท่านพระสมิทธิรับคำท่าน

พระอานนท์ว่า ชอบแล้วท่านผู้มีอายุ.

ต่อจากนั้น ท่านพระสมิทธิและท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องเท่าที่ท่านพระ-

สมิทธิ ได้สนทนากับปริพาชกโปตลิบุตรทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๖๐๑] เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสกะพระอานนท์ดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์แม้ความเห็นของปริพาชกโปตลิ-

บุตร เราก็ไม่ทราบชัด ไฉนเล่า จะทราบชัดการสนทนากันเห็นปานนี้ ได้

โมฆบุรุษสมิทธินี้แล ได้พยากรณ์ปัญหาที่ควรแยกแยะพยากรณ์ของปริพาชก-

โปตลิบุตรแต่แง่เดียว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอุทายีได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ถ้าท่านพระสมิทธิกล่าว

หมายทุกข์นี้แล้ว ไม่ว่าการเสวยอารมณ์ใด ๆ ต้องจัดเข้าในทุกข์ทั้งนั้น.

[๖๐๒] เมื่อท่านพระอุทายีกล่าวแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเห็นความนอกลู่นอกทางของ

โมฆบุรุษอุทายีนี้เถิด เรารู้แล้วละ เดี๋ยวนี้แหละ โมฆบุรุษอุทายีนี้โพล่งขึ้น

โดยไม่แยบคาย ดูก่อนอานนท์ เบื้องต้นทีเดียว ปริพาชกโปตลิบุตรถามถึง

เวทนา ๓ ถ้าโมฆบุรุษสมิทธิผู้ถูกถามนี้ จะพึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อน

โปตลิบุตรผู้มีอายุ บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย

ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็นสุข เขาย่อมเสวยสุข บุคคลทำกรรมชนิดที่

ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลเป็นทุกข์

เขาย่อมเสวยทุกข์ บุคคลทำกรรมชนิดที่ประกอบด้วยความจงใจแล้ว ด้วยกาย

ด้วยวาจา ด้วยใจ อันให้ผลไม่ทุกข์ไม่สุข เขาย่อมเสวยอทุกขมสุข ดูก่อนอานนท์

โมฆบุรุษสมิทธิเมื่อพยากรณ์อย่างนี้แล ชื่อว่าพยากรณ์โดยชอบแก่ปริพาชก-

โปตลิบุตร ก็แต่ว่าพวกปริพาชกผู้ถือลัทธิอื่นนั้น เป็นคนโง่ ไม่ฉลาด ใคร

เล่าจักรู้มหากัมมวิภังค์ของตถาคต ถ้าพวกเธอฟังตถาคตจำแนกมหากัมมวิภังค์

อยู่.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พระสุคต เป็น

กาลสมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงจำแนกมหากัมมวิภังค์ ภิกษุทั้งหลาย

สดับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักได้ทรงจำไว้.

พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ต่อไป. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระ

พุทธเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

[๖๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ บุคคล

๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก. ๔ จำพวกเหล่าไหน คือ

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป มัก

ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อ

เสียด มักพูดคำหยาบ มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มี

ความเห็นผิดอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก ก็มี.

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป มัก

ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูดส่อ

เสียด มักพูดคำหยาบ มักเจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความ

เห็นผิดอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็มี.

(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาด

จากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาด

จากพูดส่อเสียด เว้นขาดจากพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่

มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว

ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็มี.

(๔) บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาด

จากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาด

จากพูดส่อเสียด เว้นขาดจากพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่

มากด้วยอภิชฌา มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบอยู่ในโลกนี้ เขาตายไปแล้ว

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็มี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

[๖๐๔] ดูก่อนอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัย

ความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนือง ๆ ความไม่

ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิตตั้งมั่น

แล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่

เจ้าของมิได้ให้ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดส่อเสียด มักพูดคำหยาบ มัก

เจรจาเพ้อเจ้อ มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดในโลกนี้ และ

เล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกได้ ด้วยจักษุเพียง

ดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าว

อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่ากรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี ข้าพเจ้าได้

เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ และ

ผู้นั้นตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น แล้ว กล่าวต่อ

ไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มี

ความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้วย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้น ชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความ.

รู้ของชนเหล่านั้นผิด. สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง

เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ. ในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่

ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า.

[๖๐๕] ดูก่อนอานนท์ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้

อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนือง ๆ ความ

ไม่ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธินี้รูปทำนองที่เมื่อจิต

ตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความ

เห็นผิดในโลกนี้ และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้ ด้วย

จักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ สมณะหรือพราหมณ์นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่ากรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี

ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดใน

โลกนี้ และผู้นั้นตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อ

ไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่าผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มี

ความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ชนเหล่าใด

รู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของ

ชนเหล่านั้นผิด. สมณะหรือพราหมณ์นั้น จะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง

เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ ในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความ

แน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า.

[๖๐๖] ดูก่อนอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัย

ความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจมั่น ความประกอบเนือง ๆ ความไม่

ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิตตั้งมั่น

แล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตเว้นขาดจากอทินนาทาน

เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากพูดส่อเสียด

เว้นขาดจากพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ไม่มากด้วยอภิชฌา

มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบในโลกนี้ และเล็งเห็นผู้นั้นเมื่อตายไปแล้ว

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ

มนุษย์. สมณะหรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า

กรรมดีมี วิบากของสุจริตมี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณา-

ติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า

ผู้ใดเว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ

ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด. สมณะหรือพราหมณ์

นั้น จะพูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ

ในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า.

[๖๐๗] ดูก่อนอานนท์ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้

อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ความตั้งใจนั้น ความประกอบเนือง ๆ ความ

ไม่ประมาท ความใส่ใจโดยชอบ ย่อมถูกต้องเจโตสมาธิมีรูปทำนองที่เมื่อจิต

ตั้งมั่นแล้ว ย่อมเล็งเห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความ

เห็นชอบในโลกนี้ และเล็งเห็นผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรกได้ ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์ อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. สมณะ

หรือพราหมณ์นั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า กรรมดีไม่มี

วิบากของสุจริตไม่มี ข้าพเจ้าได้เห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปานาจิบาต ฯลฯ

มีความเห็นชอบในโลกนี้ และผู้นั้นตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ข้าพเจ้าก็เห็น แล้วกล่าวต่อไปอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาด

จากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้น ทุกคนตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก. ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใด

รู้โดยประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด. สมณะหรือพราหมณ์นั้นจะพูด

ปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง โดยประการนั้นแหละ ในที่

นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า.

[๖๐๘] ดูก่อนอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ ๘ จำพวกนั้น เรา

อนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า

กรรมชั่วมี วิบากของทุจริตมี แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้

และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เรา

ก็อนุมัติ ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใด

มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อม

เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เรายังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่กล่าว

อย่างนี้ว่า ชนเหล่าได้รู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดย

ประการอื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขา

ที่พูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั้นแหละในที่นั้น ๆ ตาม

กำลังและความแน่ใจว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั้น

เพราะเหตุไร ดูก่อนอานนท์ เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น

[๖๐๙] ดูก่อนอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ จำพวกนั้น เรา

ไม่อนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า

กรรมชั่วไม่มี วิบากของทุจริตไม่มี แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

ได้เห็นบุคคลโน้น ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้

และผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราอนุมัติ

ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดมักทำชีวิตสัตว์

ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ นี้เรายังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดรู้

อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของ

ชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขา

รู้เอง เห็นเอง ทราบเองนั้นแหละ ในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนอานนท์

เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น.

[๖๑๐] ดูก่อนอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ ๕ จำพวกนั้น เรา

อนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า

กรรมดีมี วิบากของสุจริตมี แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเห็น

บุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ และ

ผู้นั้นตายไปแล้ว เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เราก็อนุมัติ ส่วน

วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้นขาดจาก

ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ นี้เรายังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใด

รู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้น ชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการอื่น ความรู้ของ

ชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่พูดปักลงไปถึงเรื่องที่เขา

รู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั่นแหละในที่นั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจว่า

นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนอานนท์

เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น.

[๖๑๑] ดูก่อนอานนท์ ในสมณะหรือพราหมณ์ จำพวกนั้น เรา

ไม่อนุมัติวาทะของสมณะหรือพราหมณ์ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญเป็นอันว่า

กรรมดีไม่มี วิบากของสุจริตไม่มี แต่วาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

ได้เห็นบุคคลโน้น ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้

และผู้นั้นตายไปแล้วเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้าก็เห็น นี้เรา

อนุมัติ ส่วนวาทะของเขาที่กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เป็นอันว่า ผู้ใดเว้น

ขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นทุกคนตายไปแล้วย่อมเข้าถึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เรายังไม่อนุมติ แม้วาทะของเขาที่กล่าวอย่าง

นี้ว่า ชนเหล่าใดรู้อย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่ารู้ชอบ ชนเหล่าใดรู้โดยประการ

อื่น ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ แม้วาทะของเขาที่พูดปัก

ลงไปถึงเรื่องที่เขารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง นั้นแหละ ในที่นั้น ๆ ตามกำลัง

และความแน่ใจว่านี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า นี้เราก็ยังไม่อนุมัติ นั่นเพราะเหตุไร

ดูก่อนอานนท์ เพราะตถาคตมีญาณในมหากัมมวิภังค์เป็นอย่างอื่น.

[๖๑๒] ดูก่อนอานนท์ ในบุคคล จำพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มักทำ

ชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก เป็นอันว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาล

ก่อน หรือในกาลภายหลัง หรือว่ามีมิจฉาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลา

จะตาย เพราะฉะนั้น เขาตายไป จึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็

แหละบุคคลที่เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้นั้น

เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้ หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.

[๖๑๓] ดูก่อนอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เป็นผู้มัก

ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้ ตายไปแล้ว เช้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์นี้ เป็นอันว่า เขาทำกรรมดีที่ไห้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อน ๆ หรือ

ในกาลภายหลัง หรือว่ามีสัมมาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย

เพราะฉะนั้น เขาตายไปจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็แหละบุคคลที่เป็นผู้มักทำ

ชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง ฯลฯ มีความเห็นผิดในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของ

กรรมนั้นในชาตินี้ หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.

[๖๑๔] ดูก่อนอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เว้นขาดจาก

ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้วเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

นี้ เป็นอันว่า เขาทำกรรมดีที่ให้ผลเป็นสุขไว้ในกาลก่อน ๆ หรือในกาลภาย

หลัง หรือว่ามีสัมมาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย เพราะฉะนั้น

เขาตายไป จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็แหละบุคคลที่เว้นขาดจากปาณาติบาต

ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวยวิบากของกรรมนั้นในชาตินี้

หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.

[๖๑๕] ดูก่อนอานนท์ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลที่เว้นขาดจาก

ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้ ตายไปแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก นี้ เป็นอันว่า เขาทำกรรมชั่วที่ให้ผลเป็นทุกข์ไว้ในกาลก่อนๆ

หรือในกาลภายหลัง หรือว่ามีมิจฉาทิฐิพรั่งพร้อม สมาทานแล้วในเวลาจะตาย

เพราะฉะนั้น เขาตายไปจึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ก็แหละบุคคล

ที่เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบในโลกนี้นั้น เขาย่อมเสวย

วิบาก ของกรรมนั้นในชาตินี้ หรือในชาติหน้า หรือในชาติต่อไป.

[๖๑๖] ดูก่อนอานนท์ ด้วยประการนี้แล กรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่า

ไม่ควรก็มี. กรรมไม่ควร ส่องให้เห็นว่าควรก็มี กรรมที่ควรแท้และส่องให้

เห็นว่าควรก็มี กรรมที่ควรส่องให้เห็นว่าไม่ควรก็มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชม

ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ มหากัมมวิภังคสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

อรรถกถามหากัมมวิภังคสูตร

มหากัมมวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในสูตรนั้น บทว่า โมฆ ได้แก่ ว่างเปล่า ไม่มีผล. บทว่า สจฺจ

ได้แก่ แท้ มีจริง. ก็ข้อนี้อันปริพาชกโปตลิบุตรนั้น ไม่ได้ฟังมา เฉพาะ

พระพักตร์. แต่มโนกรรมอันมีโทษมากกว่าได้บัญญัติไว้แล้วในอุปาลิสูตร คำ

นี้ว่า กายกรรมไม่เป็นอย่างนั้น วจีกรรมไม่เป็นอย่างนั้น แห่งการทำกรรมชั่ว

แห่งความเป็นไปของกรรมชั่ว เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วมีอยู่ กถา

นั้นเกิดปรากฏในระหว่างเดียรถีย์ทั้งหลาย. ปริพาชกโปตลิบุตรคือเอากถานั้น

กล่าว. กล่าวคำนี้ว่า ก็สมาบัตินั้น มีอยู่ ดังนี้ หมายถึง อภิสัญญานิโรธกถา

ที่เกิดแล้ว ในโปฏฐปทสูตรว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ อภิสัญญานิโรธมีอย่างไร

หนอแล. บทว่า กิญฺจิ เวทยติ ความว่า ไม่เสวยแม้เวทนาหนึ่ง. บทว่า

อตฺถิ จ โข ความว่า พระเถระย่อมรับรู้หมายถึงนิโรธสมาบัติ. บทว่า

ปริรกฺขติพฺพ ความว่า พึงรักษาด้วยการเปลื้องจากคำติเตียน. ความจงใจ

แห่งกรรมนั้นมีอยู่ เพราะฉะนั้น กรรมนั้นชื่อว่า สญฺเจตนิก แปลว่า ประ-

กอบด้วยความจงใจ อันมีความมุ่งหมาย. บทว่า ทุกฺข ความว่า พระเถระ

หมายถึงอุกุศลเท่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้ ด้วยสำคัญว่าปริพาชกจะถาม บทว่า

ทสฺสนปิ โข อห ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นสังขารแม้เพียง

เมล็ดงาในที่ประมาณหนึ่งโยชน์โดยรอบ ในที่มืดแม้มีองค์สี่ ด้วยมังสจักษุ

เทียว. ก็ปริพาชกนี้อยู่ในที่ไม่ไกล ในภายในประมาณคาวุต . ถามว่าเพราะ

เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้น. ตอบว่า เพราะตรัสมุ่งถึงการเห็น

สมาคมเท่านั้น. บทว่า อุทายี คือ พระโลลุทายี. บทว่า ต ทุกฺขสฺมึ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

ได้แก่ ทุกข์นั้นทั้งหมดเทียว. กล่าวว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงมีภาษิตไซร้

ดังนี้ หมายถึง วัฏฏทุกข์ กิเลสทุกข์ และสังขารทุกข์นี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อุมฺมงฺค ได้แก่การปรากฏออกมาของปัญญา. บทว่า อมฺมุชฺชมาโน

ได้แก่ ยื่นศีรษะ. บทว่า อโยนิโส อุมฺมุชฺชิสฺสติ ได้แก่ โผล่ศีรษะโดย

ไม่มีอุบาย.

ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เรื่องนี้ ไม่ใช่ทรงรู้ด้วยทิพยจักษุ

เจโตปริยญาณ และสัพพัญญุตญาณ. แต่ทรงรู้ด้วยอธิบายเท่านั้น. ก็เมื่อกล่าว

ธรรมดาอธิบายก็รู้ได้โดยง่าย ผู้ประสงค์จะกล่าวย่อมยืดคอ สั้นคาง ปากของ

เขาก็ขมุบขมิบ ไม่อาจเพื่อสงบนิ่งได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอาการนั้น

ของพระอุทายีนั้นแล้ว ทรงดูแล้วว่า อุทายีนี้ ไม่อาจเพื่อจะสงบนิ่งได้จักกล่าว

ถ้อยคำที่ไม่เป็นจริงนั้นแล ได้ทรงรู้แล้ว. บทว่า อาทึเยว คือในเบื้องต้นนั้น

เทียว. บทว่า ติสฺโสว เทวทนา ความว่า ปริพาชกโปตลิบุตร เมื่อจะถาม

ว่า บุคคลนั้นจะเสวยอะไรก็กำหนดอย่างนี้ว่า เราจะถามเวทนาสามดังนี้ แล้ว

จึงถามเวทนาสาม. บทว่า สุขเวทนีย ได้แก่ อันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เช่นเดียวกัน. ก็ในที่นี้ ชื่อว่า กรรมอันให้ผลเป็นสุข

เพราะเกิดสุขเวทนาในปฏิสนธิและประวัติอย่างนี้คือ เจตนาสี่ ซึ่งสัมปยุตด้วย

จิตที่สหรคตด้วยโสมนัส โดยกามาวจรกุศล เจตนาในฌานหมวดสามเบื้องต่ำ

ก็ในที่นี้ กามาวจรย่อมยังสุขโดยส่วนเดียวให้เกิดขึ้นในปฏิสนธินั้นเทียว ย่อม

ยังอทุกขมสุขให้เกิดขึ้นในมัชฌัตตารมณ์อัน น่าปรารถนาที่เป็นไปแล้ว. อกุศล

เจตนา ชื่อว่าให้ผลเป็นทุกข์ เพราะเกิดทุกข์เท่านั้นในปฏิสนธิและประวัติ

ก็ครั้นกายทวารเป็นไปแล้ว ก็ยังทุกข์โดยส่วนเดียวนั้นให้เกิดขึ้น. ย่อมยังอทุกขม

สุขให้เกิดขึ้นในวาระอื่น. ก็เวทนานั้น ถึงอันนับว่า ทุกข์นั้นเทียว เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

เกิดขึ้นในอารมณ์ทั้งหลาย อันปานกลางที่ไม่น่าปรารถนา ก็ชื่อว่า กรรมให้

ผลเป็นอทุกขมสุข เพราะเกิดเวทนาที่สามในปฏิสนธิและประวัติอย่างนี้ คือ

เวทนาสี่ที่สัมปยุตด้วยจิตอันสหรคตด้วยอุเบกขา โดยกามาวจรกุศล เวทนาใน

จตุตถฌานโดยรูปาวจรกุศล. ก็ยังอทุกขมสุขโดยส่วนเดียวให้เกิดในกามาวจร

ปฏิสนธินั้นเทียว. ยังแม้สุขให้เกิดในอิฏฐารมณ์ที่เป็นไปแล้ว. อนึ่ง กรรมที่

ให้ผลเป็นสุข ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งความเป็นไปแห่งปฏิสนธิ กรรมที่

ให้ผลเป็นอทุกขมสุขย่อนเป็นไปเหมือนกัน กรรมที่ให้ผลเป็นทุกข์ ย่อมเป็น

ไปด้วยอำนาจแห่งความเป็นไปเหมือนกัน. ก็ด้วยอำนาจแห่งทุกข์เวทนียกรรม

นั้น กรรมทั้งหมดย่อมเป็นไปด้วยอำนาจแห่งความเป็นไปนั้น เทียว.

บทว่า เอตสฺส ภควา ความว่า พระตถาคตทรงแสดงอาลัย เพื่อ

ทรงแสดงมหากัมมวิภังค์ เราทูลขอพระตถาคตแล้ว จักกระทำมหาวิภังคญาณ

ให้ปรากฏแก่พระภิกษุสงฆ์ดังนี้ แล้วกล่าวอย่างนี้ เพราะความที่คนฉลาดใน

การเชื่อมความ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหากมฺมวิภงฺค ได้แก่ การ

จำแนกมหากรรม. คำว่า บุคคลสี่เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ บุคคลบางคนใน

โลกนี้ ฯลฯ ย่อมเข้าถึงนรกนี้ เป็นมหากัมมวิภังคญาณภาชนะ แต่ก็เป็นมาติ-

กาฐปนะ เพื่อประโยชน์แก่มหากัมมวิภังคญาณภาชนะ. คำว่า ดูก่อนอานนท์

สมณะบางคนในโลกนี้ แต่ละคำเป็นอนุสนธิ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ปรารภถึงอนุสนธินี้ เพื่อทรงประกาศว่า สมณะหรือ พราหมณ์ทั้งหลายผู้มี

จักษุเพียงดังทิพย์ ทำอนุสนธินี้เป็นอารมณ์ได้ปัจจัยนี้ ถือทัสสนะนี้. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า อาตปฺป เป็นต้นเป็นชื่อของความเพียร ๕ ประการนั้น

เทียว. บทว่า เจโต สมาธึ ได้แก่ ทิพยจักษุสมาธิ. บทว่า ปสฺสติ ความ

ว่า ย่อมเล็งเห็นว่า สัตว์นั้น เกิดแล้ว แม้ในที่ไหน. บทว่า เย อยฺถา

ความว่า ย่อมกล่าวว่า ชนเหล่าใดย่อมรู้ว่า บุคคลนั้น เข้าถึงนรก เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

ความที่กุศลกรรมบถสิบอันตนพระพฤติแล้ว ความรู้ของชนเหล่านั้นผิด. พึง

ทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยนัยนี้. บทว่า วิทิต ได้แก่ ปรากฏ. บทว่า

ถามสา ได้แก่ ด้วยกำลังทิฐิ. บทว่า ปรามาสา ได้แก่ ลูบคลำด้วย

ทิฐิ. บทว่า อภินิวิสฺส โวหรติ ความว่า พูดปักลงไปยึดถือ. ก็บทว่า

ตตฺรานนฺท นี้ เป็นบทจำแนกมหากัมมวิภังคญาณ ถึงกระนั้น ก็ยังเป็นบท

ตั้งมาติกาด้วย. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบทนี้ว่า วาทะมีประมาณ

เท่านี้ เราอนุมัติ วาทะมีประมาณเท่านี้ เราไม่อนุมัติ ตามคำของสมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้น ผู้มีจักษุเพียงดังทิพย์. บทว่า ตฺตร ตฺตร คือในสมณะ

หรือพราหมณ์สี่เหล่านี้. บทว่า อิทมสฺส ตัดบทเป็น อิท วจน อสฺส แปล

ว่า คำนี้จะพึงมี. บทว่า อญฺถา คือ โดยอาการอื่น. พึงทราบวาทะที่ทรง

อนุมัติ ไม่ทรงอนุมัติ ในบททั้งปวงอย่างนี้ว่า ทรงอนุมัติในฐานะ ๒ อย่าง

ไม่ทรงอนุมัติในฐานะ ๓ อย่าง ในวาทะของสมณะหรือพราหมณ์เหล่านี้

ด้วยประการฉะนี้ .

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอนุมัติ และไม่อนุมัติตามคำของ

สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีจักษุเพียงดังทิพย์อย่างนี้แล้วบัดนี้ เมื่อจะทรง

จำแนกญาณในมหากัมมวิภังค์ จึงตรัสว่า ตตฺรานนฺท ยฺวาย ปุคฺคโล ดัง

นี้เป็นต้น . บทว่า ปุพฺเพ วสฺสสต กต โหติ ความว่า บุคคลผู้ทำกรรม

ใด อันสมณะหรือพราหมณ์นี้ ผู้มีจักษุเพียงดังทิพย์เห็นแล้ว. ก็กรรมอัน

บุคคลทำแล้วในกาลก่อนแต่นั้น บุคคลย่อมเกิดในนรกด้วยกรรมที่คนทำแล้ว

ในกาลก่อนบ้าง ย่อมเกิดด้วยกรรมที่คนทำในภายหลังบ้าง. ก็แลในมรณกาล

ก็ย่อมเกิดเหมือนกัน แม้ด้วยการเห็นผิดเป็นต้นว่า พระขันธ์ประเสริฐที่สุด

พระศิวะประเสริฐที่สุด พระพรหมประเสริฐที่สุด หรือโลกประเสริฐพิเศษด้วย

อิสระเป็นต้น. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ความว่า กรรมใดพึงให้ผลในปัจจุบัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

นั้น บุคคลย่อมได้เสวยผลของกรรมนั้น ในปัจจุบันเทียว กรรมใดให้ผลเมื่อ

อุบัติ บุคคลอุบัติแล้วย่อมได้เสวยผลของกรรมนั้น กรรมใดให้ผลในลำดับถัด

ไป ย่อมได้เสวยผลของกรรมนั้น ในลำดับถัดไป. สมณะ หรือ พราหมณ์นี้ได้

เห็นกองแห่งกรรม ๑ อย่าง และกองแห่งวิบาก ๑ อย่าง ด้วยประการฉะนี้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นกองแห่งกรรม ๓ อย่างและกองแห่งวิบาก ๒ อย่าง

ซึ่งสมณะหรือพราหมณ์นี้ไม่เห็นแล้ว แต่ทรงเห็นกองแห่งกรรม ๔ อย่างและ

กองแห่งวิบาก ๓ อย่าง ซึ่งสมณะหรือพราหมณ์นี้เห็นแล้ว. ญาณในการรู้

ฐานะทั้ง ๗ อย่างนี้ ชื่อว่า ญาณในมหากัมมวิภังค์ ของพระตถาคต สมณะ

หรือพราหมณ์ ผู้มีจักษุเพียงดังทิพย์ไม่เห็นอะไรในวาระที่สอง ก็ญาณในการ

รู้ฐานะ ๕ อย่างแม้นี้ คือ กองแห่งกรรม ๓ อย่าง กองแห่งวิบาก ๒ อย่าง

อันพระตถาคตทรงเห็นแล้วดังนี้ ชื่อว่า ญาณในมหากัมมวิภังค์ของพระตคาคต

แม้ในวาระ ๒ อย่างที่เหลือ ก็มีนัยนี้เช่นเดียวกัน. บทว่า อภพฺพ ได้แก่

เว้นจากความจริง คือเป็นอกุศล. บทว่า อภพฺพาภาส ความว่า กรรมไม่

ควรย่อมส่องให้เห็น คือย่อมครอบงำ อธิบายว่าย่อมห้าม. ก็ครั้นเมื่ออกุศล.

กรรมมีมาก อันบุคคลทำไว้แล้ว กรรมอันมีกำลังห้ามวิบากของกรรมที่ไม่มี

กำลังย่อมทำโอกาสให้แก่วิบากของตน กรรมนี้ ชื่อว่า กรรมไม่ควรส่องให้

เห็นว่า ไม่ควร. ส่วนบุคคลทำกุศลกรรมแล้ว ทำอกุศลกรรมในเวลาใกล้ตาย.

อกุศลกรรมนั้น ห้ามวิบากของกุศลกรรม ทำโอกาสให้แก่วิบากของตน กรรมนี้

ชื่อว่า กรรมไม่ควรส่องให้เห็นว่าควร ครั้นเมื่อกุศลมากอันบุคคลแม้ทำไว้แล้ว

กรรมมีกำลัง ห้ามวิบากของกรรมที่ไม่มีกำลัง ย่อมทำโอกาสแก่วิบากของตน

กรรมนี้ ชื่อว่า กรรมควรและส่องให้เห็นว่าควร ส่วนบุคคลทำอกุศลแล้ว

ทำกุศลในเวลาใกล้ตาย กุศลกรรมนั้น ห้ามวิบากของอกุศลกรรม ทำโอกาส

ให้แก่วิบากของตน กรรมนี้ ชื่อว่า กรรมควรและส่องให้เห็นว่า ไม่ควร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

อนึ่ง พึงทราบเนื้อความในที่นี้ โดยอาการที่ปรากฏ. ก็มีอธิบายดัง

นี้ กรรมใดย่อมส่องให้เห็น คือ ย่อมปรากฏโดยไม่ควร เพราะฉะนั้น กรรม

นั้น ชื่อว่า ส่องให้เห็นว่าไม่ควร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุคคลสี่พวก โดย

นัยเป็นต้นว่า ในบุคคลสี่พวกนั้น บุคคลนี้ใดในโลกนี้ ผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้

ตกล่วง ดังนี้. ในบุคคลสี่พวกนั้น กรรมของบุคคลพวกที่หนึ่ง ชื่อว่า กรรม

ไม่ควรส่องให้เห็นว่าไม่ควร. ก็กรรมนี้ ชื่อว่า ไม่ควร เพราะเป็นอกุศล.

กรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรกนั้น ชื่อว่า เป็นอกุศลปรากฏ เพราะความที่บุคคล

พวกที่หนึ่งนั้นเกิดในนรก. กรรมของบุคคลพวกที่สอง ชื่อว่า กรรมไม่ควร

ของให้เห็นว่า ควร. ก็กรรมนั้น ชื่อว่า ไม่ควร เพราะเป็นอกุศล. ก็กรรม

ที่เป็นเหตุให้เกิดในสวรรค์ของอัญเดียรถีย์ทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นกุศลปรากฏ

เพราะความที่บุคคลพวกที่สองเกิดในสวรรค์. กรรม ๒ อย่าง แม้นอกนี้ ก็มี

นัยเช่นเดียวกัน บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามหากัมมวิภังคสูตรที่ ๖.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๖๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส

แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง

สฬายตนวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงสฬายตนวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี

เราจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระ

พุทธเจ้าข้า.

[๖๑๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบ

อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖

ความนึกหน่วงของใจ ๑๘ ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ ใน ๓๖ นั้น พวกเธอ

จงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ และพึงทราบการตั้งสติ

ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่

อันเราเรียกว่าสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นี้เป็น

อุเทศแห่งสฬายตนวิภังค์.

[๖๑๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั้น เรา

อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อาตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือฆานะ

อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ ว่า

พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั้น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

[๖๒๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั้น

เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือ

กลิ่น อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์. ข้อที่

เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั้น เราอาศัยอายตนะนี้

กล่าวแล้ว.

[๖๒๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เรา

อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา

วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวด

วิญญาณ ๖ นั้น เราอาศัยวิญญาณนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๒๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั้น เรา

อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่จักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส

กายสัมผัส มโนสัมผัส. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น

เราอาศัยสัมผัสนี้กล่าวแล้ว.

[๖๒๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘

นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ใจย่อมนึกหน่วง

รูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส นึกหน่วงรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงรูปเป็น

ที่ตั้งแห่งอุเบกขา.

เพราะฟังเสียงด้วยโสต...

เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ...

เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา...

เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ใจย่อมนึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้ง

แห่งโสมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส นึกหน่วงธรรมารมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา. ฉะนั้น เป็นความนึกหน่วงฝ่ายโสมนัส ๖ ฝ่ายโทมนัส

๖ ฝ่ายอุเบกขา ๖. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบความนึกหน่วงของใจ ๑๘

นั้น เราอาศัยความนึกหน่วงนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๒๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น

เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ โสมนัสอาศัยเรือน ๖ โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖

โทมนัสอาศัยเรือน ๖ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖

อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖.

[๖๒๕] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน. คือ

บุคคลเนื้อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของอันตน

ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับ

ไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้ นี้เราเรียกว่า

โสมนัสอาศัยเรือน.

บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต...

บุคคลเนื้อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ...

บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา...

บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย...

บุคคลเมื่อเล็งเห็นการได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส

โดยเป็นของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมณ์ที่เคยได้เฉพาะใน

ก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น

โสมนัสเช่นนี้ นี้เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โสมนัสอาศัยเรือน ๖.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

[๖๒๖] ใน ๓๖ ประการนั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน.

คือ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความ

ดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

รูปในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็น

ธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ.

บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ

ความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล ...

บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ

ความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล ...

บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ

ความดับของรสทั้งหลายนั้นแล ...

บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ

ความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั่นและ..

บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ

ความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั้นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความ

เป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยงเป็น

ทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดโสมนัสขึ้น โสมนัสเช่น

นี่เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖.

[๖๒๗] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน. คือ

บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็นของ

อันทนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะในก่อน อันล่วงไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

แล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัสเช่นนี้ นี่เรา

เรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน.

บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งเสียง...

บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งกลิ่น...

บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรส...

บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งโผฏฐัพพะ...

บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อัน

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส

โดยเป็นของอันคนไม่ได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงธรรมารมย์ที่ไม่เคยได้เฉพาะ

ในก่อน อันล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส

โทมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน เหล่านี้โทมนัสอาศัยเรือน ๖

[๖๒๘] ใน ๓๖ ประการนั้น โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน

คือ บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความดับ

ของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

รูปในก่อน และในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวน

เป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ เมื่อเข้าไป

ตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเราจึงจักบรรลุอายตนะ

ที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทมนัสเพราะความ

ปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัสเช่นนี้ นี่เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ

บุคคลทราบความไม่เทียง ความแปรปรวน ความคลาย และความ

ดับ ของเสียงทั้งหลายนั่นแล...

บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความ

ดับ ของกลิ่นทั้งหลายนั่นแล...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความ

ดับ ของรสทั้งหลายนั้นแล...

บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความ

ดับ ของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั้นแล...

บุคคลทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความ

ดับ ของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั้นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็น

จริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์

มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตร-

วิโมกข์ เนื้อเข้าไปตั้งความปรารถนาในอนุตตรวิโมกข์ดังนี้ว่า เมื่อไร ตัวเรา

จึงจักบรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายได้บรรลุอยู่ในบัดนี้เล่า ย่อมเกิดโทม-

นัสเพราะความปรารถนาเป็นปัจจัยขึ้น โทมนัสเช่นนี้ นี่เรียกว่า โทมนัสอาศัย

เนกขัมมะ เหล่านี้ โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ.

[๖๒๙] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน. คือ

เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะ

กิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขา

เช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัย

เรือน.

เพราะฟังเสียงด้วยโสต...

เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ...

เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา...

เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา

ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า

อุเบกขาอาศัยเรือน เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเรือน ๖.

[๖๓๐] ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน.

คือ บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และความ

ดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน

เป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้

เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ.

บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ

ความดับของเสียงทั้งหลายนั่นแล. . .

บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ

ความดับของกลิ่นทั้งหลายนั่นและ. . .

บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ

ความดับของรสทั้งหลายนั้นแล . . .

บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ

ความดับของโผฏฐัพพะทั้งหลายนั้นแล. . .

บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลาย และ

ความดับของธรรมารมณ์ทั้งหลายนั้นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความ

เป็นจริงอย่างนี้ว่า ธรรมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ทั้งหมดนั้น ไม่เที่ยง เป็น

ทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้

นั้น ไม่ล่วงเลยธรรมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัย

เนกขัมมะ เหล่านี้อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบ

ทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น เราอาศัยทางดำเนินนี้ กล่าวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

[๖๓๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวก

เธอจงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยอะไร

กล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิง

โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้น ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเรือน ๖

นั้น ๆ อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละโสมนัสนั้น ๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้น ๆ ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโทมนัสอาศัย

เนกขัมมะ ๖ นั้น ๆ แล้วละคือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเรือน ๖ นั้นๆ อย่างนี้

ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้นๆได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้น ๆ ได้. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ

๖ นั้น ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาอาศัยเรือน ๖ นั้น ๆ อย่างนี้ ย่อม

เป็นอันละอุเบกขานั้น ๆ ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานั้น ๆ ได้. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ใน ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ

๖ นั้น ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้น ๆ อย่างนี้

ย่อมเป็นอันละโทมนัสนั้น ๆ ได้ เป็นอันล่วงโทมนัสนั้น ๆ ได้. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ใน ๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัย คืออิงอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ

๖ นั้น ๆ แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ นั้น ๆ อย่างนี้ ย่อม

เป็นอันละโสมนัสนั้น ๆ ได้ เป็นอันล่วงโสมนัสนั้น ๆ ได้.

[๖๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาที่มีความเป็นต่าง ๆ อาศัย

อารมณ์ต่าง ๆ ก็มีอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งก็มี.

ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่าง ๆ อาศัยอารมณ์ต่าง ๆ เป็นไฉน. คือ

อุเบกขาที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ นี้อุเบกขาที่

ความเป็นต่าง ๆ อาศัยอารมณ์ต่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

ก็อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นไฉน. คือ

อุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนะ อาศัยวิญญาณัญจายตนะ อาศัยอากิญ-

จัญญายตนะ อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง

อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โนอุเบกขา ๒ อย่าง พวกเธอจงอาศัย คืออิง

อุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น แล้วละ คือล่วงเสียซึ่ง

อุเบกขาที่มีความเป็นต่าง ๆ อาศัยอารมณ์ต่าง ๆ นั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละ

อุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วงอุเบกขานี้ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัย

คืออิงความเป็นผู้ไม่มีตัณหา แล้วละ คือล่วงเสียซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นหนึ่ง

อาศัยอารมณ์เป็นหนึ่งนั้น อย่างนี้ ย่อมเป็นอันละอุเบกขานี้ได้ เป็นอันล่วง

อุเบกขานี้ได้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั้น พวกเธอ

จงอาศัยทางดำเนินของสัตว์นี้ ละทางดำเนินของสัตว์นี้ นั่นเราอาศัยการละ

การล่วง นี้ กล่าวแล้ว.

[๖๓๓] ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบการตั้งสติ ๓ ประการที่

พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่ นั้น เรา

อาศัยอะไรกล่าวแล้ว.

[๖๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสดาเป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงประ-

โยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์

เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ. เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อม

ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้ และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอน

ของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวย

ความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

นี้ เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๑ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ ชื่อว่าเป็น

ศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่.

[๖๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้อนุ-

เคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวกทั้ง

หลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ. เหล่า

สาวกของศาสดานั้น บางพวกย่อมไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้

และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา. บางพวกย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ

ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

ข้อนั้น ตถาคตไม่เป็นผู้ชื่นชม ไม่เสวยความชื่นชม ทั้งไม่เป็นผู้ไม่ชื่นชม

ไม่เสวยความไม่ชื่นชม เว้นทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมทั้งสองอย่างนั้น

แล้ว เป็นผู้วางเฉย ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียก

ว่าการตั้งสติประการที่ ๒ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่า เป็นศาสดาควร

เพื่อสั่งสอนหมู่.

[๖๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ศาสดาเป็นผู้

อนุเคราะห์แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดูแสดงธรรมแก่สาวก

ทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี่เพื่อความสุขแก่พวกเธอ.

เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้ ไม่ประพฤติ

หลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ตถาคตเป็นผู้

ชื่นชม เสวยความชื่นชม และไม่ระคายเคือง ย่อมมีสติสัมปชัญญะอยู่ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าการตั้งสติประการที่ ๓ ที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพ

ชื่อว่า เป็นศาสดาควรเพื่อสั่งสอนหมู่. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า และพึงทราบ

การตั้งสติ ๓ ประการที่พระอริยะเสพ ซึ่งเมื่อเสพชื่อว่าเป็นศาสดาควรเพื่อ

สั่งสอนหมู่ นั้นเราอาศัยเหตุนี้ กล่าวแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

[๖๓๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่า สารถีฝึกบุรุษ

ที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกช้างไสให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้

ทิศเดียวเท่านั้น คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือ

ทิศใต้. ม้าที่ควรฝึก อันอาจารย์ฝึกม้าขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน

คือ ทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้. โคที่ควรฝึก

อันอาจารย์ฝึกโคขับให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทิศเดียวเหมือนกัน คือ ทิศตะวันออก

หรือทิศตะวันตก หรือทิศเหนือ หรือทิศใต้. แต่บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคต

ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้วิ่ง ย่อมวิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศ คือ ผู้ที่มีรูป

ย่อมเห็นรูปทั้งหลายได้ นี้ทิศที่ ๑. ผู้ที่มีสัญญาในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูป

ทั้งหลายภายนอกได้ นี้ทิศที่ ๒. ย่อมเป็นผู้น้อมใจว่างามทั้งนั้น นี้ทิศที่ ๓.

ย่อมเข้าอากาสานัญจายตนะอยู่ด้วยใส่ใจว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูป

สัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่ใส่ใจมานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๔.

ย่อมเข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่ ด้วยใส่ใจว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วง

อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๕. ย่อมเข้าอากิญจัญญายตนะ

อยู่ด้วยใส่ใจว่า ไม่มีสักน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการ

ทั้งปวง นี้ทิศที่ ๖. ย่อมเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ เพราะล่วงอากิญ-

จัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๗. ย่อมเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่

เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง นี้ทิศที่ ๘. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึก อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้วิ่ง ย่อม

วิ่งไปได้ทั่วทั้ง ๘ ทิศดังนี้ . ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ศาสดานั้นเราเรียกว่าสารถี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ยอดเยี่ยมกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย นั่นเราอาศัยเหตุดังนี้

กล่าวแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ สฬายตนวิภังคสูตร ที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

อรรถกถาสฬตนวิภังคสูตร

สฬายตนวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวทิตพฺพานิ ความว่า พึงรู้ด้วยมรรค

อันมีวิปัสสนา. บทว่า มโนปวิจารา ได้แก่ วิตกและวิจาร. จริงมนะที่ยัง

วิตกให้เกิดขึ้น ท่านประสงค์ว่า มนะ ในที่นี้. ชื่อว่า มโนปวิจารา เพราะ

อรรถว่า เป็นความนึกหน่วงของใจ. บทว่า สตฺตปทา ได้แก่ ทางดำเนิน

ของสัตว์ทั้งหลาย ที่อาศัยวัฏฏะและวิวัฏฏะ. ก็ในที่นี้ ทางดำเนินสู่วัฏฏะมี

๑๘ ประการ ทางดำเนินสู่วิวัฏฏะมี ๑๘ ประการ. ทางดำเนินแม้เหล่านั้น

พึงทราบด้วยมรรคอันมีวิปัสสนานั้นแล. บทว่า โยคาจริยาน ความว่า ผู้

ให้ศึกษาอาจาระมี หัตถิโยคะ เป็นต้น ได้แก่ ผู้ฝึกบุคคลที่ควรฝึก. บทที่

เหลือจักแจ่มแจ้งในวิภังค์นั้นเทียว. บทว่า อยมุทฺเทโส นี้ เป็นบทตั้งมาติกา.

อายตนะทั้งหลายมีจักษุอายตนะเป็นต้น ให้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า

จกฺขุวิญฺาณ ได้แก่ จักษะวิญญาณทั้งสอง โดยวิบากของกรรมที่เป็นกุศลและ

อกุศล. แม้ในปสาทวิญญาณที่เหลือทั้งหลายก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็วิญญาณที่

เหลือเว้น วิญญาณ ๕ ประการนี้ ชื่อว่า มโนวิญญาณในที่นี้. บทว่า จกฺขุ-

สมฺผสฺโส ได้แก่ สัมผัสในจักษุ. นั้นเป็นชื่อของสัมผัสที่ประกอบด้วยจักษุ

วิญญาณ. ในสัมผัสทั้งหลายแม้ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า จกฺขุนา รูป

ทิสฺวา ความว่า เพราะเห็นรูปด้วยจักษุวิญญาณ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน

บทว่า โสมนสฺสฏฺานีย ได้แก่ เป็นเหตุด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ของโสมนัส.

บทว่า อปวิจรติ ความว่า ใจย่อมนึกหน่วง ด้วยความเป็นไปของวิตก ใน

ความนึกหน่วงของใจนั้น. พึงทราบความนึกหน่วงของใจ กล่าวคือ วิตก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

วิจาร ๑๘ ประการ โดยนัยนี้ว่า วิตกฺโก ต สมฺปยุตฺโต จ. ก็ชื่อว่า

โสมนัสสูปวิจาร เพราะอรรถว่า นึกหน่วงพร้อมกับโสมนัสในบทว่า ฉ

โสมนสฺสูปวิจารา นี้. แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า เคหสิตานิ ได้แก่ อาศัย กามคุณ. บทว่า เนกฺขมฺมสิตานิ

ได้แก่ อาศัยวิปัสสนา. บทว่า อิฏฺาน ได้แก่ อันแสวงหาแล้ว. บทว่า

กนฺตาน ได้แก่ ให้ความใคร่ บทว่า มโนรมาน ความว่า ใจย่อมยินดี

ในธรรมารมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น ธรรมารมณ์เหล่านั้น จึงชื่อว่า เป็นที่มา

ยินดีของใจ ธรรมารมณ์เหล่านั้น เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ. บทว่า โลกามิส-

ปฏิสยุตฺตาน คือ ประกอบด้วยตัณหา. บทว่า อตีต คือ อันได้เฉพาะแล้ว.

ถามว่า โสมนัส ปรารภปัจจุบันเกิดขึ้นก่อนจะเกิดขึ้นในอดีตอย่างไร. ตอบว่า

โสมนัสอันมีกำลัง ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้หวนระลึก แม้ในอดีตว่า เราเสวย

อิฏฐารมณ์ในบัดนี้ฉันใด เราเสวยแล้วแม้ในกาลก่อนฉันนั้น. บทว่า อนิจฺจต

ได้แก่ อาการอันไม่เที่ยง. บทว่า วิปริณามวิราคนิโรธ ความว่า ชื่อว่า

ความแปรปรวน เพราะละปกติ ชื่อว่า ความคลายไป เพราะไปปราศจาก

ชื่อว่า ความดับ เพราะดับไป. บทว่า สมฺมปฺปญฺาย ได้แก่ วิปัสสนา-

ปัญญา. บทว่า อิท วุจฺจติ เนกฺขมฺมสิตโสมนสฺส ความว่า โสมนัสนี้

เกิดขึ้นแล้ว แก่บุคคลผู้นั่งเจริญวิปัสสนา เห็นความแตกดับของสังขารทั้งหลาย

เหมือนพระราชาทรงเห็นศิริสมบัติของพระองค์ฉะนั้น ในเมื่อวิปัสสนาญาณ

อันแข็งกล้า ถึงสังขารนำไปอยู่ เราเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ สมดัง

คาถาประพันธ์ที่ตรัสไว้ดังนี้ว่า

ความยินดีอันไม่ใช่มนุษย์ ย่อมมีแก่

ภิกษุ ผู้เข้าสู่เรือนว่างเปล่า มีจิตสงบแล้ว

เห็นแจ้งธรรมโดยชอบอยู่ ภิกษุเห็นความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

เกิดและความดับของขันธ์ทั้งหลาย ในกาล

ใด ๆ ย่อมได้ความปิติและปราโมทย์ใน

กาลนั้น ๆ อมตะนั้นอันภิกษุรู้แล้ว.

บทว่า อิมานิ ความว่า เหล่านั้น โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ อย่าง

เกิดแล้ว แก่บุคคล ผู้นั่งเจริญวิปัสสนา ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น

ในเมื่ออิฏฐารมณ์ไปสู่คลองในทวาร ๖. บทว่า อตีต ความว่า โทมนัส

จงเกิดแก่บุคคลผู้ปรารถนาไม่ได้อิฏฐารมณ์ปัจจุบันก่อน จะเกิดในอดีต

อย่างไร. โทมนัสอันมีกำลัง ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้หวนระลึก แม้ในอดีตว่า

เราปรารถนาแล้วไม่ได้อิฏฐารมณ์ในบัดนี้ ฉันใด เราปรารถนาแล้ว ไม่ได้

แม้ในกาลก่อนก็ฉันนั้น. บทว่า อนุตฺตเรสุ วิโมกฺเขสุ คือ อรหัต ชื่อว่า

อนุตตรวิโมกข์. อธิบายว่า ตั้งความปรารถนาในอรหัต. บทว่า อายตน

ได้แก่ อายตนะคือ อรหัต. บทว่า ปิห อุปฏฺาปยโต ความว่า

ตั้งความปรารถนา. ก็อายตนะนั้นย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ตั้งความปรารถนานั้น.

อธิบายว่า ผู้เข้าไปทั้งความปรารถนา เพราะความที่อายตนะเป็นมูลรากของ

ความปรารถนา ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อิมานิ ฉ เนกฺขมฺมสิตานิ

โทมนสฺสานิ ความว่า โทมนัสอันเกิดแก่บุคคลผู้ตั้งความปรารถนาในอรหัต

ในเมื่ออิฏฐารมณ์ไปสู่คลองในทวาร. ๖ อย่างนี้ ไม่อาจเพื่อจะดังวิปัสสนาให้

เจริญขึ้นด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น เพื่อบรรลุอรหัตนั้น ดุจพระ-

มหาสิวเถระ ผู้อยู่ในเงื้อมใกล้บ้าน เศร้าโศกว่า เราไม่อาจแล้ว เพื่อบรรลุ

อรหัต ตลอดปักษ์นี้บ้าง ตลอดเดือนนี้บ้าง ตลอดปีนี้บ้าง ด้วยอำนาจ

ความเป็นไปแห่งสายน้ำตาเหล่านี้ พึงทราบว่า โทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖

ก็เรื่องราว ได้ให้พิสดารแล้วในสักกปัญหวัณณนา ในอรรถกถาทีฆนิกาย

ชื่อ สุมังคลวิลาสินี. ผู้ประสงค์พึงถือเอาจากอรรถกถานั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

อุเบกขาในอัญญาณ ชื่อว่า อุเบกขา ในบทนี้ว่า อุเปกฺขา. บทว่า

อโนธิชินสฺส ความว่า ขีณาสพ ชื่อว่า โอธิชินะ เพราะความที่พระขีณาสพ

ชนะข้าศึกคือกิเลสแล้วดำรงอยู่ เพราะฉะนั้นบทนี้ ได้แก่ปุถุชนผู้ไม่สิ้นอาสวะ.

ขีณาสพแล ชื่อว่าวิปากชินะ เพราะความที่พระขีณาสพชนะวิบากต่อไป

ดำรงอยู่ แม้ในบทนี้ว่า อวิปากชินสฺส เพราะฉะนั้น ผู้ไม่สิ้นอาสวะนั้นเทียว.

บทว่า อนาทีนวทสฺสาวิโน ได้แก่ ผู้ไม่เห็นโดยความเป็นโทษ. บทว่า

อิมา ฉ เคหสิตา อุเปกฺขา ความว่า อุเบกขาที่ไม่กลับสู่รูปเป็นต้น

ดุจแมลงวันที่จับงบน้ำอ้อย เมื่ออิฏฐารมณ์ไปสู่คลองในทวาร ๖ อย่างนี้ทิศอยู่

ในรูปเป็นต้นนั้น เกิดขึ้นนี้ พึงทราบว่า อุเบกขาอาศัยเรือน ๖. บทว่า

รูป สา สาติวตฺตติ ความว่า อุเบกขานั้นไม่ล่วงเลยรูป. ไม่ตั้งอยู่ด้วย

อำนาจความเบื่อหน่ายในรูปนั้น. บทว่า อิมา ฉ เนกฺขมฺมสิตา อุเปกฺขา

ความว่าอุเบกขาเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ยินดีในอิฏฐารมณ์ ไม่ยินร้ายในอนิฏฐารมณ์

เมื่ออารมณ์ที่น่าปรารถนาเป็นต้น ไปสู่คลองในทวาร ๖ อย่างนี้ ไม่หลุ่มหลง

ด้วยการพิจารณาไม่รอบคอบ ประกอบด้วยอุเบกขาญาณเหล่านั้น พึงทราบว่า

อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖. บทว่า ตตฺถ อิท นิสฺสาย อิท ปชหถ

ความว่า ในทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ ประการนั้น พวกเธอจงอาศัยทางดำเนิน

๑๘ ประการ ละทางดำเนิน ๑๘ ประการ. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ตตฺร ภิกฺขเว ยานิ ฉ เนกฺขมฺมสิตานิ ดังนี้เป็นต้น. บทว่า

นิสฺสาย อาคมฺม ได้แก่อาศัยและอิง ด้วยอำนาจความเป็นไป. บทว่า

เอวเมเตส สมติกฺกโม โหติ ความว่า ชื่อว่า ล่วงเลยอุเบกขาอาศัยเรือ

เพราะความเป็นไปแห่งอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ละธรรมที่คล้ายกัน ด้วยธรรมที่คล้ายกัน

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงให้ละธรรมที่ไม่มีกำลัง ด้วยธรรมที่มีกำลัง จึงตรัส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

อีกว่า ตฺตร ภิกฺขเว ยานิ ฉ เนกฺขมฺมสิตานิ โสมนสฺสานิ ดังนี้ป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้ละโทมนัสอาศัยเนกขัมมะ ด้วยโสมนัสอาศัยเนกขันมะ

และโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ด้วยอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะอย่างนี้ จึงตรัสการละ

ธรรมที่ไม่มีกำลัง ด้วยธรรมที่มีกำลัง. ก็บัณฑิตตั้งอยู่ในการละนั้น พึงกล่าว

อุเบกขา. ก็บุพภาควิปัสสนาของภิกษุ ๘ รูป ผู้ปรารภวิปัสสนา ทำฌาน ๓

มีปฐมฌานเป็นต้น ในสมาบัติ ๘ และสังขารบริสุทธิ์ทั้งหลายให้เป็นบาท ย่อม

สหรคตด้วยโสมนัสหรือสหรคตด้วยอุเบกขา. ส่วนวุฏฐานคามินี สหรคตด้วย

โสมนัสเทียว. บุพภาควิปัสสนาของภิกษุ ๕ รูป ผู้ปรารภวิปัสสนาทำฌานทั้งหลาย

มีจตุตถฌานเป็นต้นให้เป็นบาท ก็เป็นอันเดียวกับนัยก่อน. ก็วุฏฐานคามินี

เป็นอันสหรคตด้วยอุเบกขา. ทรงหมายถึงบทนี้ จึงตรัสว่า อุเบกขาอาศัย

เนกขัมมะ ๖ ใด พวกเธออาศัยอุเบกขาเหล่านั้น อิงอุเบกขาเหล่านั้น จงละ

โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ ๖ ดังนี้ . ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมมีคุณวิเศษ ด้วย

อำนาจแห่งเวทนา ด้วยวิปัสสนานี้อย่างเดียวก็หามิได้. คุณวิเศษ แม้แห่งองค์

ของฌาน โพชฌงค์ และองค์ของมรรคย่อมมีแม้ในอริยมรรค. ก็อะไรกำหนด

คุณวิเศษนั้น. เถระบางพวกกล่าวก่อนว่า ฌานซึ่งมีวิปัสสนาเป็นบาท ย่อม

กำหนด. บางพวกกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายอันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ย่อม

กำหนด. บางพวกว่า อัธยาศัยของบุคคลย่อมกำหนด. ในวาทะของเถระ

แม้เหล่านั้น วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี ในบุพภาคนี้เทียว พึงทราบว่า

ย่อมกำหนด. ส่วนวินิจฉัยกถาในข้อนี้ ได้กล่าวแล้วในสังขารูเปกขานิเทศใน

วิสุทธิมรรคเทียว.

บทว่า นานตฺตา ได้แก่ต่าง ๆ มาก มีประมาณมิใช่หนึ่ง. บทว่า

นานตฺตสิตา ได้แก่อาศัยอารมณ์ต่างๆ. บทว่า เอกตฺตา ได้แก่หนึ่ง. บทว่า

เอกตฺตสิตา ได้แก่อาศัยอารมณ์หนึ่ง. ถามว่า ก็อุเบกขานี้เป็นไฉน. ตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

ได้ตรัสอัญญาณูเบกขา ไว้ในหนก่อน. จะตรัสฉฬังคุเบกขาในข้างหน้า ทรงถือ

เอาอุเบกขา ๒ อย่าง คือ สมถอุเบกขา วิปัสสนูเบกขา แม้ในที่นี้. ในอุเบกขา

๒ อย่างนั้นเพราะอุเบกขาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง อุเบกขาในเสียงเป็นต้นอย่างหนึ่ง.

ก็อุเบกขาในรูปย่อมไม่มีในเสียงเป็นต้น. อุเบกขาในรูปเท่านั้น ทำรูปเท่านั้นให้

เป็นอารมณ์. เสียงเป็นต้นย่อมไม่ทำรูปและความเป็นอุเบกขาให้ เป็นอารมณ์.

สมถอุเบกขาอื่น ๆ ก็คือ อุเบกขาที่ทำปฐวีกสิณให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น. อุเบกขา

อื่น ๆ คือ อุเบกขาที่เกิดขึ้นเพราะทำอาโปกสิณเป็นต้นให้เป็นอารมณ์. เพราะ

ฉะนั้น เมื่อจะทรงจำแนกความเป็นต่าง ๆ และอาศัยอารมณ์ต่าง ๆ จึงตรัสว่า

อตฺถิ ภิกฺขเว อุเปกฺขา รูเป เป็นต้น ก็เพราะอากาสานัญจายตนะ หรือ

วิญญาณัญจายตนะ เป็นต้น ไม่มีสอง หรือสาม. เพราะฉะนั้น เมื่อทรง

จำแนกอาศัยอารมณ์หนึ่งจึงตรัสว่า อตฺถิ ภิกฺขเว อุเปกขา อากาสานญฺ-

จายตนนิสฺสิตา ดังนี้เป็นต้น. บรรดาอุเบกขาเหล่านั้น อากาสานัญจายตนู-

เบกขา อาศัยอากาสานัญจายตนะ ด้วยอำนาจที่เป็นสัมปยุต วิปัสสนูเบกขา

ของภิกษุผู้เห็นแจ้งอากาสานัญจายตนขันธ์อาลัยอากาสานัญจายตนะ ด้วยอำนาจ

แห่งอารมณ์. ในอุเบกขาแม้ที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน . ทรงให้ละรูปาวจร

กุศลสมาบัติอุเบกขา ด้วยอริปาวจรสมาบัติอุเบกขา ทรงให้อรูปาวจรวิปัสสนู-

เบกขา ด้วยอรูปาวจรวิปัสสนูเบกขา ในบทนี้ว่า ต ปชหถ ดังนี้ ตันหา

ชื่อว่า ตมฺมยตา ในบทนี้ว่า อตมฺมยต. วิปัสสนาอันให้ถึงการออกจากการ

กลุ้มรุม ของตัณหานั้น เรียกว่า อตมฺมยตา. ย่อมละอรูปาวจรสมาบัติ

อุเบกขาและวิปัสสนูเบกขา ด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนา ในบทนี้ว่า ต ปชหถ.

บทว่า ยทริโย ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นอริยเจ้า ย่อมทรง

เสพสติปัฏฐานเหล่าใด. ทรงตั้งพระสติในฐานะ ๓ อย่างนั้น พึงทราบว่า

ทรงเสพสติปัฏฐาน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

บทว่า น สุสฺสุสนฺติ ความว่า ไม่ปรารถนาเพื่อเชื่อฟัง. บทว่า

น อญฺา ความว่า ไม่ตั้งจิตเพื่อประโยชน์แก่การรู้. บทว่า โวกมฺม ได้แก่

ก้าวล่วง. บทว่า สตฺถุ สาสน ความว่า ไม่สำคัญซึ่งโอวาทของพระศาสดา

ที่ควรถือเอา ควรให้เต็ม. บทว่า เนว อตฺตมโน คือ ไม่มีใจเป็นของตน.

แต่ในที่นี้ ไม่ควรเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ไม่ระคายเคือง ด้วยอำนาจโทมนัส

อาศัยเรือน. แต่ตรัสบทนั้นเพราะไม่มีเหตุแห่งความชื่นชม ในเหล่าสาวกผู้ไม่

ปฏิบัติ. บทว่า อนวสฺสุโต คือ ไม่ขวนขวายด้วยอำนาจขวนขวายความแค้น

เคือง. บทว่า สโต สมฺปชาโน ความว่า ถึงพร้อมด้วยสติ และญาณ

บทว่า อุเปกฺโข ความว่า วางเฉยด้วยฉฬังคูเบกขา. ไม่พึงทราบเนื้อความ

อย่างนี้ว่า มีความดีใจด้วยอำนาจโสมนัสอาศัยเรือน ในบทแม้นี้ว่า อตฺตมโน.

บทนั้น ตรัสแล้วด้วยความมีเหตุแห่งความชื่นชมในเหล่าสาวกผู้ปฏิบัติ. บทว่า

อนวสฺสุโต ได้แก่ ไม่ขวนขวาย ด้วยอำนาจขวนขวายด้วยราคะ. บทว่า

สาริโต ได้แก่ ฝึกแล้ว. บทว่า เอกเยว ทิส ธาวติ ความว่า เมื่อไม่ให้

กลับวิ่งไป ชื่อว่า วิ่งไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น. แต่ย่อมอาจเพื่อให้กลับวิ่งไปสู่ทิศ

อื่น. บทว่า อฏฺทิสา วิธาวติ ความว่า นั่งโดยบัลลังก์หนึ่ง ไม่กลับด้วย

กาย วิ่งทั่วทั้ง ๘ ทิศ ด้วยครั้งเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจแห่งวิโมกข์. อธิบาย

ว่า ทรงมุ่งพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก หรือทิศใต้เป็นต้น ทิศใดทิศหนึ่ง

ประทับนั่งเข้าสมาบัติทั้ง ๘ นั้นเทียว. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

๘. อุทเทสวิภังคสูตร

[๖๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส

แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงอุเทส-

วิภังค์แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงอุเทสวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

ต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๖๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป

ภายนอก ไม่ทั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้

ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น

ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป. พระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตดังนี้ ครั้นแล้วพระองค์ผู้สุคตจึงเสด็จลุกจาก

อาสนะ เข้าไปยังพระวิหาร.

[๖๔๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วไม่นาน ภิกษุเหล่านั้น

จึงได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเราว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดย

อาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภาย

ใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก

ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป ดังนี้แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดย

พิสดาร ก็เสด็จเข้าไปยังพระวิหารแล้ว ใครหนอแลจะพึงจำแนกเนื้อความแห่ง

เทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้. ครั้งนั้นแล ภิกษุ

เหล่านั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและ

พวกภิกษุผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว ก็

ท่านพระมหากัจจานะ พอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหา-

กัจจานะยังที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะท่านพระมหากัจจานะเถิด.

[๖๔๑] ต่อจากนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงพากันเข้าไปหาท่านพระมหา-

กัจจานะยังที่อยู่ แล้วได้ทักทายปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านคำ

ทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่ง

เรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจานะดังนี้ว่า ดูก่อนท่านกัจจานะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุเทศโดยย่อแก่พวกกระผมว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไป

ภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึก

ไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือ

มั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป ดังนี้

แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร

ดูก่อนท่านกัจจานะ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน พวก

กระผมนั้น ได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกเราว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึง

พิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป

ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อม

ไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป ดังนี้แล มิได้

ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร ใคร

หนอแล จะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ

นี้ให้พิสดารได้ ดูก่อนท่านกัจจานะ พวกกระผมนั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวกภิกษุผู้ร่วมประพฤติพรหม-

จรรย์ผู้เป็นวิญญูชนยกย่องสรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมหากัจจานะพอจำแนก

เนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้า

กระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วพึงสอบถามเนื้อ

ความนั้นกะท่านพระมหากัจจานะเถิด ขอท่านพระมหากัจจานะโปรดจำแนกเนื้อ

ความเถิด.

[๖๔๒] ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

เปรียบเหมือนบุรุษผู้ต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้

พึงสำคัญแก่นของต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นตั้งอยู่ว่า ควรหาได้ที่กิ่งและใบ ละเลย

รากและลำต้นเสียฉันใด ข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่

พร้อมหน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านพากันสำคัญเนื้อความนั้นว่าพึงสอบ

ถามเราได้ ล่วงเลยพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเสีย ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้ง

หลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควร

เห็น ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรม มีความประเสริฐ ตรัส บอก ทรงนำ

ออกซึ่งประโยชน์ ประทานอมตธรรม ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงดำเนิน

นั้น และก็เป็นกาลสมควรแก่พระองค์แล้วที่ท่านทั้งหลายจะพึงสอบถามเนื้อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

ความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่เราอย่างใด

พวกท่านพึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด.

ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูก่อนกัจจานะ แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ทรงมีจักษุ มีญาณ มีธรรม

มีความประเสริฐ ตรัส บอก ทรงนำออกซึ่งประโยชน์ ประทานอมตธรรม

ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงดำเนินตามนั้น และก็เป็นกาลสมควรแก่พระองค์

แล้วที่พวกกระผมจะพึงสอบถามเนื้อความนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่พวกกระผมอย่างใด พวกกระผมพึงทรงจำไว้อย่างนั้น

แต่ว่าท่านพระมหากัจจานะ อันพระศาสดาและพวกภิกษุผู้ร่วมประพฤติพรหม-

จรรย์ผู้เป็นวิญญูชนยกย่อง สรรเสริญแล้ว และท่านพอจะจำแนกเนื้อความแห่ง

อุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อนี้ ให้พิสดารได้ ขอท่านพระมหา

กัจจานะอย่าทำความหนักใจ โปรดจำแนกเนื้อความเถิด

กัจจานะ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย. ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงฟัง

จงใส่ใจให้ดี ข้าพเจ้าจักกล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหากัจจานะ

ว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ.

[๖๔๓] ท่านพระมหากกัจจานะจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงอุเทศโดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป

ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อ

ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้ง

เพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัย

ต่อไป ดังนี้ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะ

เข้าไปยังพระวิหาร นี้แล ข้าพเจ้าทราบเนื้อความโดยพิสดารอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

[๖๔๔] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่าความรู้สึกฟุ้งไป

ซ่านไปภายนอก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ แล่นไปตามนิมิตคือรูป กำหนัดด้วยยินดีนิมิต

คือรูป ผูกพันด้วยยินดีนิมิตคือรูป ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีนิมิต

คือรูป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก.

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน

แล่นไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ กำหนัดด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ผูกพัน

ด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีนิมิตคือ

ธรรมารมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภายนอก.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่าความรู้สึกฟุ้งไป ซ่านไปภาย

นอก

[๖๔๕] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า ความรู้สึกไม่

ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ไม่แล่นไปตามนิมิตคือรูป ไม่กำหนัด

ด้วยยินดีนิมิตคือรูป ไม่ผูกพันด้วยยินดีนิมิตคือรูป ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์

คือความยินดีนิมิตคือรูป พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป

ไม่ซ่านไปภายนอก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน

ไม่แล่นไปตามนิมิตคือธรรมารมณ์ ไม่กำหนัดด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์

ไม่ผูกพันด้วยยินดีนิมิตคือธรรมารมณ์ ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดี

นิมิตคือธรรมารมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป

ไม่ซ่านไปภายนอก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เรียกว่า ความรู้

สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก.

[๖๔๖] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่

ภายใน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น แล่นไปตามปีติและสุขเกิดแต่วิเวก กำหนัดด้วยยินดี

ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ประกอบด้วย

สัญโญชน์คือความยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า

จิตตั้งสงบอยู่ภายใน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้นเพราะสงบวิตกและ

วิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่

ภิกษุนั้น แล่นไปตามปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ กำหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิด

แต่สมาธิ ผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ประกอบด้วยสัญโญชน์คือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

ความยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า จิตตั้งสงบอยู่

ภายใน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉย

เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าตติยฌาน

ที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุ

นั้น แล่นไปตามอุเบกขา กำหนัดด้วยยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา ผูกพันด้วยยินดี

สุขเกิดแต่อุเบกขา ประกอบด้วยสัญโญชน์ คือ ความยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน

อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ

ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น แล่นไปตาม

อทุกขมสุขเวทนา กำหนัดด้วยยินดีอทุกขมสุขเวทนา ผูกพันด้วยยินดีอทุกขม

สุขเวทนา ประกอบด้วยสัญโญชน์ คือความยินดีอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

อย่างนี้แล เรียกว่า จิตตั้งสงบอยู่ภายใน.

[๖๔๗] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบ

อยู่ภายใน ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่น

ไปตามปิติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่กำหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก

ผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยิน

ปีติและสุขเกิดแต่วิเวก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าทุติยฌาน ฯลฯ

อยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่นไปตามปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

กำหนัดด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่ผูกพันด้วยยินดีปีติและสุขเกิดแต่

สมาธิ ไม่ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นผู้วางเฉย

เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน

ฯลฯ อยู่ ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่นไปตามอุเบกขา ไม่กำหนัดด้วย

ยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา ไม่ผูกพันด้วยยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา ไม่ประกอบด้วย

สัญโญชน์คือความยินดีสุขเกิดแต่อุเบกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า

จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเข้าจตุตถฌาน

ฯลฯ อยู่ความรู้สึกที่มีแก่ภิกษุนั้น ไม่แล่นไปตามอทุกขมสุขเวทนา ไม่

กำหนัดด้วยยินดีอทุกขมสุขเวทนา ไม่ผูกพันด้วยยินดีอทุกขมสุขเวทนา ไม่

ประกอบด้วยสัญโญชน์คือความยินดีอทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล

เรียกว่า จิตไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน.

[๖๔๘] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายก็อย่างไร ย่อมเป็นอันสะดุ้งเพราะ

ตามถือมั่น ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ เป็น

ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของ

พระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกใน

ธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูป

บ้าง เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง รูปนั้นของเขาย่อม

แปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้. เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของรูป เขาย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

มีความรู้สึกปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของรูป. ความสะดุ้งและความเกิด

ขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเกิดแต่ความปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของรูป

ย่อมตั้งครอบงำจิตของเขาได้ เพราะจิตถูกครอบงำ เขาจึงเป็นผู้หวาดเสียว

คับแค้น ห่วงใย และสะดุ้งเพราะตามถือมั่น. ย่อมเล็งเห็นเวทนา ... ย่อม

เล็งเห็นสัญญา ... ย่อมเล็งเห็นสังขาร ... ย่อมเล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็น

อัตตาบ้าง เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง เล็งเห็น

อัตตาในวิญญาณบ้าง. วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้

เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของวิญญาณ เขาย่อมมีความรู้สึกปรวนแปร

ไปตามความแปรปรวนของวิญญาณ ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งอกุศล-

ธรรม อันเกิดแต่ความปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของวิญญาณ ย่อมตั้ง

ครอบงำจิตของเขาได้ เพราะจิตถูกครอบงำ เขาจึงเป็นผู้หวาดเสียว คับแค้น

ห่วงใย และสะดุ้งเพราะตามถือมั่น . ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล

เป็นอันสะดุ้งเพราะตามถือมั่น.

[๖๔๙] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรย่อมเป็นอันไม่สะดุ้ง

เพราะไม่ถือมั่น ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลายอริยสาวก ผู้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้ฝึกดีแล้วในธรรม

ของพระอริยะ ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรม

ของสัตบุรุษ ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามี

รูปบ้าง ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง. รูปนั้นของ

ท่านย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้. เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่นของรูป

ท่านย่อมมีความรู้สึกไม่ปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของรูป ความสะดุ้ง

และความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเกิดความปรวนแปรไปตามความแปรปรวน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

ของรูป ย่อมไม่ตั้งครอบงำจิตของท่านได้. เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ ท่านจึง

เป็นผู้ไม่หวาดเสียว ไม่คับแค้น ไม่ห่วงใยและไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น. ย่อม

ไม่เล็งเห็นเวทนา. . . ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญา . . . ย่อมไม่เล็งเห็นสังขาร. . .

ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ

บ้าง ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง. วิญญาณ

ของท่านย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นได้ เพราะความแปรปรวนเป็นอย่างอื่น

ของวิญญาณ ท่านย่อมมีความรู้สึกไม่ปรวนแปรไปตามความแปรปรวนของ

วิญญาณ ความสะดุ้งและความเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเกิดแต่ความ

แปรปรวนไปตามความปรวนแปรของวิญญาณ ย่อมไม่ตั้งครอบงำจิตของท่าน

ได้ เพราะจิตไม่ถูกครอบงำ ท่านจึงเป็นผู้ไม่หวาดเสียวไม่คับแค้น ไม่ห่วงใย

ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล เป็นอันไม่

สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น.

[๖๕๐] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงอุเทศ โดยย่อแก่เราทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณา

โดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้ลึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้ง

สงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่

ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมไม่มี

ความเกิดแห่งชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป มิได้ทรงจำแนก

เนื้อความโดยพิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้ายังพระวิหาร นี้แล ข้าพเจ้า

ทราบเนื้อความได้โดยพิสดารอย่างนี้ ก็แหละท่านทั้งหลายหวังอยู่ พึงเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามเนื้อความนั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายอย่างใด พวกท่านพึงทรงจำคำพยากรณ์นั้น ไว้อย่าง

นั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

[๖๕๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่าน

พระมหากัจจานะแล้ว ลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ

ครั้น แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่ง

เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อแก่พวกข้าพระองค์ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป

ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อ

ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายในและไม่สะดุ้งเพราะ

ไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่ง ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป

ดังนี้ มิได้ทรงจำแนกเนื้อความโดยพิสดารแล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยัง

พระวิหาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้ว

ไม่นาน พวกข้าพระองค์นั้นได้มีข้อปรึกษากันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อแก่พวกเราว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุพึงพิจารณาโดยอาการที่เมื่อพิจารณาอยู่ ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป

ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบอยู่ภายใน และไม่พึงสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น เมื่อ

ความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปภายนอก ไม่ตั้งสงบภายใน และไม่สะดุ้งเพราะ

ไม่ถือมั่น ย่อมไม่มีความเกิดแห่ง ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ และสมุทัยต่อไป

ดังนี้แล มิได้ทรงจำแนกเนื้อความ โดยพิสดาร ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยัง

พระวิหาร ใครหนอแลจะพึงจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงโดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์นั้น.

มีความคิดอย่างนี้ว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้แล อันพระศาสดาและพวกภิกษุ

ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนยกย่องสรรเสริญแล้ว ก็ท่านพระมห-

กัจจานะนี้ พอจะจำแนกเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

โดยย่อนี้ให้พิสดารได้ ถ้ากระไร พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยัง

ที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนั้นกะท่านพระมหากัจจานะเถิด ต่อแต่นั้นแล

พวกข้าพระองค์จึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความ

ก็ท่านแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะจำแนกเนื้อความแก่

พวกข้าพระองค์นั้นแล้ว โดยอาการดังนี้ โดยบทดังนี้ และโดยพยัญชนะดังนี้.

[๖๕๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจานะ

เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากพวกเธอสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา เราก็

จะพึงพยากรณ์เนื้อความนั้น อย่างเดียวกับที่มหากัจจานะพยากรณ์แล้ว เหมือนกัน

ก็แหละเนื้อความอุเทศนั้น เป็นดังนี้แล พวกเธอจงทรงจำเนื้อความนั้นไว้อย่างนี้

เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ อุทเทสวิภังคสูตร ที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

อรรถกถาอุทเทสวิภังคสูตร

อุทเทสวิภังคสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺเทสวิภงฺค ได้แก่ อุเทศ และ

วิภังค์. อธิบายว่า มาติกาและการจำแนก. บทว่า อุปปริกฺเขยฺย ความว่า

พึงเทียบเคียง พึงพิจารณา พึงถือเอา พึงกำหนด. บทว่า พหิทฺธา ได้แก่

ในอารมณ์ภายนอกทั้งหลาย. บทว่า อวิกฺขิตฺต อวิสฏ ความว่า ความ

ตั้งมั่นในอารมณ์ ด้วยอำนาจความใคร่ ฟุ้งไป ชื่อว่า ซ่านไป. เมื่อทรง

ปฏิเสธความรู้สึกซ่านไปนั้น จึงตรัสอย่างนี้ . บทว่า อชฺฌตฺต อสณฺิต

ความว่า ไม่ตั้งสงบอยู่ด้วยอำนาจแห่งความใคร่ในอารมณ์ภายใน. บทว่า อนุ-

ปาทาย น ปริตสฺเสยฺย มีอธิบายว่า ความรู้สึกนั้นไม่สะดุ้ง เพราะไม่

ถือมั่น คือไม่ถือเอาความรู้สึกไม่ฟุ้งไป ไม่ซ่านไปในภายนอก ไม่สงบอยู่ใน

ภายใน ไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่นฉันใด ภิกษุพึงพิจารณาฉันนั้น. บทว่า ชาติ-

ชรา มรณทุกฺขสมุทยสมฺภโว ความว่า ย่อมไม่มีความเกิดแห่งชาติ ชรา

มรณะ และทุกข์ที่เหลือ. บทว่า รูปนิมิตฺตานุสารี ได้แก่ชื่อว่า แล่นไป

ตามนิมิต คือ รูป เพราะอรรถว่า แล่นไป วิ่งไป ตามนิมิต คือ รูป. บทว่า

เอว โข อาวุโส อชฺฌตฺต จิตฺต อสณฺิต ความว่า ไม่สงบอยู่ด้วย

อำนาจแห่งความใคร่. ก็จิตไม่ตั้งมั่นอยู่ด้วยอำนาจแห่งความใคร่ย่อมไม่เป็น

ส่วนในการละ แต่เป็นส่วนในคุณวิเศษอย่างเดียว. บทว่า อนุปาทาปริตสุ-

สนา ความว่า พระศาสดาทรงแสดงความสะดุ้งเพราะยึดถือ และความ

สะดุ้ง เพราะไม่ยึดถือ ในขันติยวรรคอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจัก

แสดงความสะดุ้งเพราะถือมั่น และความไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น. พระมหาเถร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

เมื่อจะแสดงความสะดุ้งนั้น ทำความสะดุ้งเพราะความถือมั่น ไห้เป็นความสะดุ้ง

เพราะไม่ถือมั่น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ความสะดุ้งเพราะ

ไม่ถือมั่นเป็นอย่างไร. เพราะไม่มีสังขารที่พึงถือมั่น ก็ผิว่า สังขารไร ๆ เป็น

ของเที่ยง หรือมั่นคง ไซร้ ก็จักเป็นของควรยึดถือว่า เป็นคน หรือ เนื่อง

กับตน. ความสะดุ้งนี้ เป็นความสะดุ้งเพราะตามถือมั่น. ก็เพราะธรรมดาสังขาร

ที่ควรถือมั่นอย่างนี้ ไม่มี เพราะฉะนั้น สังขารทั้งหลายแม้มีใจครองมีรูป

เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า รูป อัตตา ก็เป็นของไม่ควรถือมั่นแท้. ความสะดุ้ง

นั้น แม้เป็นความสะดุ้งเพราะถือมั่นอย่างนี้เทียว โดยเนื้อความพึงทราบว่า

เป็นความสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น.

บทว่า อยฺถา โหติ ความว่า รูปแปรปรวนไป. แต่ก็พินาศไป

เพราะการละปกติ. บทว่า รูปวิปริณามานุปริวตฺติ ความว่า กรรมวิญญาณ

ย่อมแปรปรวนไปตามความแตกสลายของรูปโดยนัยมีอาทิว่า รูปของเราแปร-

ปรวนไปแล้ว หรือว่า รูปใดมีอยู่ รูปนั้นแลของเราไม่มี ดังนี้. บทว่า

วิปริณามานุปริวตฺตชา ความว่า อันเกิดแต่ความแปรปรวนไปตามความ

แปรปรวน คือ แต่จิตซึ่งมีอารมณ์มีความแปรปรวน. บทว่า ปริตสฺสนา

ธมฺมสมุปฺปาทา ได้แก่ ความสะดุ้งเพราะตัณหา และความเกิดขึ้นแห่ง

อกุศลธรรม. บทว่า จิตฺต ปริยาทาย ติฏฺนฺติ ความว่า ย่อมตั้งครอบงำ

คือ ยึดถือ เวี่ยงไป ซึ่งอกุศลจิต. บทว่า อุตฺตาสวา ความว่า เขามีความ

หวาดเสียว เพราะความสะดุ้งจากภัยบ้าง มีความหวาดเสียว เพราะความสะดุ้ง

จากตัณหาบ้าง. บทว่า วิฆาฏวา ได้แก่ มีความคับแค้น มีทุกข์. บทว่า

อเปกฺขวา ได้แก่ มีอาลัย มีความห่วงใย. บทว่า เอว โข อาวุโส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

อนุปาทาปริตสฺสนา โหติ ความว่า ความสะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ย่อมมีแก่

เขาเหมือนถือผอบเปล่าด้วยสำคัญว่า ผอบแก้วมณีอย่างนี้ ครั้นเมื่อผอบนั้น

พินาศแล้ว จึงถึงความคับแค้นในภายหลังฉะนั้น. บทว่า น รูปวิปริณา-

มานุปริวตฺติ ความว่า กรรมวิญญาณของขีณาสพนั้นเทียว ย่อมไม่มี. เพราะ

ฉะนั้น จึงสมควรเพื่อกล่าวว่า ความแปรปรวนไปตามความแตกสลายของรูป

ไม่มี ดังนี้. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอุทเทสวิภังคสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

๙. อรณวิภังคสูตร

[๖๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัส

แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง

อรณวิภังค์แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงอรณวิภังค์นั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก

กล่าวต่อไป. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธ

เจ้าข้า.

[๖๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนือง ๆ

ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระ-

อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียร

เครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์ ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อัน

ตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็น

ไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน. พึงรู้

จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดง

แต่ธรรมเท่านั้น พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่ง

ความสุขภายใน ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า พึง

เป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วง

เลยคำพูดสามัญเสีย นี้อุเทศแห่งอรณวิภังค์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

[๖๕๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งสุขอาศัย

กามอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตน

ให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นั่น

เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ความประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุข

โดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ

มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด. การไม่ตามประกอบ ความประกอบ

เนืองๆ ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน

เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรม

ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความ

ปฏิบัติชอบ. ความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของ

พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความ

แค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด. การไม่ตามประกอบความเพียร

เครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่

มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งสุขอาศัยกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่

ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงประกอบเนืองๆ ซึ่งความ

เพียรเครื่องประกอบคนให้ลำบาก อัน เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่

ประกอบด้วยประโยชน์ นั้น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๕๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้

ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ

ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว มรรคมีองค์ ๘ อัน

ประเสริฐนี้แล คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ

การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ข้อ

ที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด ๒ อย่างนี้นั้น อัน

ตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ

ในรูปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั่น

เราอาศัยมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐดังนี้ กล่าวแล้ว.

ความยกย่องเป็นต้น

[๖๕๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ

ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เรา

อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเป็นการยกย่อง เป็นการ

ตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม คือ เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดตามประกอบ

ความประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว

เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ ชนเหล่านั้น ทั้งหมดมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มี

ความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า

ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุข

โดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ

ไม่มีความแค้นใจ ไม่ความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่ายกย่อง

ชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

ประกอบคนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความ

เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า ชน

เหล่าใดไม่ตามประกอบความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์

ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์

ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้

ชื่อว่า ยกย่องชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละสัญโญชน์

ในภพไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ

มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิดดังนี้ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละสัญโญชน์ในภพได้แล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์

ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ

ดังนี้ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล เป็นการ

ยกย่อง เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม.

[๖๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ไม่เป็นการยกย่อง ไม่เป็น

การตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้ คือ ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดตาม

ประกอบความประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม

อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ

มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด. กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล

เป็นธรรม มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความ

ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น. ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใด

ไม่ตามประกอบความประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบ

ต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ

ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ. กล่าวอยู่ว่า อันความ

ไม่ตามประกอบนี้แล เป็นธรรม ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ

ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่า แสดงแต่ธรรมเท่านั้น

ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบ

คนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีด้วยความแค้นใจ มีความเร่าร้อน

เป็นผู้ปฏิบัติผิด. กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็นธรรมมีทุกข์

มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด ดังนี้

ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น. ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบ

ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้น ทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ

ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ. กล่าวอยู่ว่า อัน

ความไม่ตามประกอบนี้แล เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มี

ความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่าแสดง

แต่ธรรมเท่านั้น. ไม่กล่าวอย่างนี้ว่าชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละสัญโญชน์ในภพ

ไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้น ทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มี

ความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด. กล่าวอยู่ว่า เมื่อยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้

แล้วแล ภพย่อมเป็นอันละไม่ได้ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น ไม่กล่าว

อย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละสัญโญชน์ในภพได้แล้ว ชนเหล่านั้น ทั้งหมด

ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้

ปฏิบัติชอบ. กล่าวอยู่ว่าก็ เมื่อละสัญโญชน์ในภพได้แล้วแล ภพย่อมเป็นอัน

สู่ได้ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

ไม่เป็นการยกย่อง ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้. ข้อที่เรากล่าว

ดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้วไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ

พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

ความรู้ตัดสินความสุข

[๖๕๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว.

พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขภายใน นั่น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้มี ๕ อย่างแล ๕ อย่าง เป็นไฉน คือ รูปที่รู้

ได้ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม

เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ...

รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด นี้แล

กามคุณ ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ ๕ เหล่านี้

เกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้ เรียกว่าสุขอาศัยกาม สุขของปุถุชน สุขอากูล ไม่ใช่

สุขของพระอริยะ. เรากล่าวว่า ไม่พึงเสพ ไม่พึงให้เจริญ ไม่พึงทำให้มาก

พึงกลัวสุขนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุสลธรรม

เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่. เข้าทุติยฌาน

มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและ

วิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉย

เพราะหน่ายปีติมีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน...

อยู่ เข้าจตุตถฌาน ... อยู่ นี้เรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ. สุขเกิดแค่ความสุข

สุขเกิดแต่ความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ เรากล่าวว่า พึงเสพให้มาก

ให้เจริญ พึงทำให้มาก ไม่พึงกลัวสุขนี้ . ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้ตัดสิน-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

ความสุข ครั้นรู้แล้ว พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขภายใน นั่น เราอาศัย

เนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๖๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าว

คำล่วงเกินต่อหน้า นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

ประการแรกนั้น พึงรู้วาทะลับหลังใด ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ ไม่พึงกล่าววาทะลับหลังนั้นเป็นอันขาด แม้รู้วาทะลับหลังใดจริง

แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อจะไม่กล่าววาทะลับหลัง

นั้น และรู้วาทะลับหลังใด จริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น

พึงเป็นผู้รู้จักกาล เพื่อจะกล่าววาทะลับหลังนั้น . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

ประการหลังนั้น พึงรู้คำล่วงเกินต่อหน้าใด ไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์ ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้นเป็นอันขาด แม้รู้คำล่วงเกิน

ต่อหน้าใด จริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็พึงสำเหนียกเพื่อจะไม่

กล่าวคำล่วงเกินต่อหน้านั้น และรู้คำล่วงเกินต่อหน้าใด จริง แท้ ประกอบ

ด้วยประโยชน์ ในเรื่องนั้น พึงเป็นผู้รู้จักกาลเพื่อจะกล่าวคำล่วงเกินต่อหน้า

นั้น ข้อที่กล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกินต่อ

หน้า นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๖๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบ

ด่วนนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในประการแรกนั้น

เมื่อรีบด่วนพูด กายก็ลำบาก จิตก็แกว่ง เสียงก็พร่า คอก็เครือ แม้คำพูด

ของผู้ที่รีบด่วนพูดก็ไม่สละสลวย ไม่พึงรู้ชัดได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน

ประการหลังนั้น เมื่อไม่รีบด่วนพูด กายไม่ลำบาก จิตก็ไม่แกว่ง เสียงก็ไม่

พร่า คอก็ไม่เครือ แม้คำพูดของผู้ที่ไม่รีบด่วนพูด ก็สละสลวย พึงรู้ชัดได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่าพูดรีบด่วน นั่น เราอาศัย

เนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๖๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึง

ล่วงเลยคำพูดสามัญเสีย นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็อย่างไรเล่า เป็นการปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการล่วงเลยคำพูดสามัญ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภาชนะนั้น แลในโลกนี้ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปาตี

ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิฏฐะ

ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโรสะ

ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หนะ

ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ. ภิกษุพูดปรักปรำโดยประการที่ชนทั้ง

หลายหมายรู้เรื่องภาชนะนั้นกันดังนี้ ในชนบทนั้น ๆ ตามกำลังและความแน่ใจ

ว่า นี้เท่านั้นจริง อื่นเปล่า อย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นการปรักปรำภาษาชนบท

และเป็นการล่วงเลยคำพูดสามัญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า เป็นการ

ไม่ปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ. ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภาชนะนั่นแลในโลกนี้ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปาตี ในบาง-

ชนบท เขาหมายรู้ว่า ปัตตะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิฏฐะ ในบาง-

ชนบท เขาหมายรู้ว่า สราวะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หโรสะ ในบาง-

ชนบท เขาหมายรู้ว่า โปณะ ในบางชนบท เขาหมายรู้ว่า หนะ ในบาง-

ชนบท เขาหมายรู้ว่า ปิปิละ. ภิกษุพูดโดยประการที่ชนทั้งหลาย หมาย

รู้เรื่องภาชนะกันดังนี้ ในชนบทนั้น ๆ อย่างไม่ใช่ความแน่ใจว่า เป็นอันทำ

ผู้มีอายุทั้งหลาย พูดแก่ข้าพเจ้าหมายถึงภาชนะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้

แล ชื่อว่าเป็นการไม่ปรักปรำภาษาชนบท และเป็นการไม่ล่วงเลยคำพูดสามัญ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงปรักปรำภาษาชนบท ไม่พึงล่วงเลยคำพูดสามัญ

นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ความประกอบเนืองๆ

ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขเพราะสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็น

ของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์

มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะ

ฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แต่การไม่ตามประกอบความประ-

กอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของตนทีมีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของ

ชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้

เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน

เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ความเพียรเครื่อง

ประกอบคนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน

เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แต่การ

ไม่ตามประกอบความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่

ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความ

คับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะ-

ฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น ความปฏิบัติปาน

กลาง อันตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้

มีญาณเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

นิพพาน นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มี

ความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้อง

รณรงค์.

[๖๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การยกย่อง การ

ตำหนิ และไม่ใช่เป็นการแสดงธรรม นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มี

ความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้

จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์ แต่การไม่ยกย่อง การไม่ตำหนิ การแสดงแต่ธรรม

เท่านั้น นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มี

ความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้อง

รณรงค์.

[๖๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น กามสุขนี้ใด เป็น

สุขอากูล สุขของปุถุชน สุขไม่ประเสริฐ ธรรมนั้นมีทุกข์ มีความคับใจ มี

ความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึง

มีกิเลสต้องรณรงค์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น สุขอาศัยเนกขัมมะ

สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ นี้เป็นธรรม

ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะ-

ฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น วาทะลับหลังซึ่งไม่

เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ

มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้

จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แม้วาทะลับหลังซึ่งจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้ก็ยังมีกิเลสต้องรณรงค์ ส่วนวาทะ

ลับหลังซึ่งจริง แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มี

ความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ

เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น คำกล่าวล่วงเกินต่อ

หน้าซึ่งไม่เป็นจริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มี

ความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะ-

ฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แม้คำกล่าวล่วงเกินต่อหน้าซึ่งจริง

แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความ

แค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมี

กิเลสต้องรณรงค์. แต่คำกล่าวล่วงเกินต่อหน้าซึ่งจริง แท้ ประกอบด้วย

ประโยชน์ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มี

ความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้อง

รณรงค์.

[๖๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น คำที่ผู้รีบด่วนพูด นี้

เป็นธรรมมีทุกข์ มิความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความ

ปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมีกิเลสต้องรณรงค์. แต่คำที่ผู้ไม่รีบ

ด่วนพูด นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความ

เร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์.

[๖๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอรณวิภังค์นั้น การปรักปรำภาษา

ชนบทและการล่วงเลยคำพูดสามัญ นี้เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความ

แค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงยังมี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

กิเลสต้องรณรงค์ แต่การไม่ปรักปรำภาษาชนบท และการไม่ล่วงเลยคำพูด

สามัญ นี้เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความ

เร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น ธรรมนี้จึงไม่มีกิเลสต้องรณรงค์

[๖๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้

แลว่า เราทั้งหลายจักรู้ธรรมยังมีกิเลสต้องรณรงค์ และรู้ธรรมไม่มีกิเลสต้อง

รณรงค์ ครั้นรู้แล้ว จักปฏิบัติปฏิปทา ไม่มีกิเลสต้องรณรงค์ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็แหละกุลบุตรสุภูติ ปฏิบัติปฏิปทาไม่มีกิเลสต้องรณรงค์แล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส พระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม

ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ อรณวิภังคสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

อรรถกถาอรณวิภังคสูตร

อรณวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในบทเหล่านั้น บทว่า เนวุสฺสาเทยฺย น อปสาเทยฺย ความว่า

ไม่ยกยอ ไม่พึงตำหนิบุคคลใด ด้วยอำนาจอาศัยเรือน. บทว่า ธมฺมเมว

เทเสยฺย คือ พึงพูดแต่ความจริงเท่านั้น. บทว่า สุขวินิจฺฉย ได้แก่สุขที่

ตัดสินแล้ว. บทว่า รโห วาท ได้แก่ กล่าวโทษลับหลัง อธิบายว่า

กล่าวคำส่อเสียด. บทว่า สุมฺมุขา นาติขีณ ความว่า ไม่พึงกล่าวคำล่วงเกิน

คำฟุ่มเฟือย คำสกปรกต่อหน้า. บทว่า นาภินิเวเสยฺย ความว่า ไม่พึงพูด

รีบด่วนเอาแต่ได้. บทว่า สมญฺ ได้แก่ โลกสมัญญาคือ โลกบัญญัติ.

บทว่า นาติธาเวยฺย คือ ไม่พึงล่วงละเมิด. บทว่า กามปฏิสนฺธิสุขิโน

ความว่า ผู้มีความสุข ด้วยความสุขโดยสืบต่อกาม คือ ประกอบด้วยกาม

บทว่า สทุกฺโข ได้แก่มีทุกข์ ด้วยวิบากทุกข์บ้าง ด้วยกิเลสทุกข์บ้าง บทว่า

สอุปฆาโฏ ได้แก่มีความคับใจ ด้วยความคับใจในวิบากและความคับใจใน

กิเลสนั้นเทียว มีความเร่าร้อนเหมือนอย่างนั้น. บทว่า มิจฺฉาปฏิปทา ได้แก่

ความปฏิบัติไม่เป็นความจริง คือ ความปฏิบัติอันเป็นอกุศล. บทว่า อิตฺเถเก

อปสาเทติ ความว่า ตำหนิบุคคลบางพวก ด้วยอำนาจอาศัยเรือนอย่างนี้

แม้ในการยกยอก็มีนัยนี้เช่นกัน. บทว่า ภวสโยชน ได้แก่ ผูกพันในภพ

นั่นเป็นชื่อของตัณหา. ได้ยินว่า พระสุภูติเถระ อาศัยจตุกะนี้ ดำรงอยู่ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะ. จริงอยู่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ ความ

ยกยอและการตำหนิย่อมปรากฏแก่บุคคลทั้งหลาย. เมื่อพระเถระทั้งหลายมีพระ-

สารีบุตรเถระเป็นต้นแสดงธรรม ความยกยอและการตำหนิก็ปรากฏอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

แต่ธรรมเทศนาของสุภูติเถระไม่มีว่า บุคคลนี้ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติผิด หรือว่าบุคคล

นี้มีศีล มีคุณ มียางอาย มีศีลเป็นที่รัก ถึงพร้อมด้วยมรรยาท ดังนี้. ก็ธรรม

เทศนาของพระสุภูติเถระนั้น ย่อมปรากฏว่า นี้เป็นการปฏิบัติผิด นี้เป็นการปฏิบัติ

ชอบดังนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สุภูติเป็นเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของเรา ผู้มีปกติอยู่ด้วยความสงบ.

บทว่า กาลญฺญู อสฺส ความว่า ไม่กล่าวในกาลที่ยังไม่ถึง และที่ล่วงแล้ว

และกล่าวถึงกาลที่ควรประกอบความเพียร อันควรกล่าวในบัดนี้ว่า มหาชนจัก

ถือเอา ไม่พึงกล่าววาทะลับหลัง. แม้ในขีณาวาทะก็มีนัยเช่นเดียวกัน. บทว่า

อุปหญฺติ ได้แก่ กระทบกระทั่ง. บทว่า สโร อุปหญฺติ คือ แม้เสียงย่อม

แตกพร่า. บทว่า อาตุริยติ ได้แก่ เป็นผู้เดือดร้อน. ถึงความเป็นผู้เจ็บไข้

ได้อาพาธ. บทว่า อวิสฏฺ ได้แก่ คำไม่สละสลวย คือ คลุมเคลือ. บทว่า

ตเทว ได้แก่ ภาชนะนั้นเทียว. บทว่า อภินิวิสฺส โวหรติ ความว่า ปุถุชน

คนโง่ ไปสู่ชนบทที่รู้จำว่า ปัตตะ ฟังว่า พวกเจ้าจงนำมา จงล้างปัตตะ

รีบพูดว่า นี้ไม่ใช่ปัตตะ นั้นชื่อว่าปาตี เจ้าจงพูดอย่างนี้. พึงประกอบด้วย

บททั้งหลายในที่ทั้งปวงอย่างนี้. บทว่า อติสาโร ได้แก่ อภิวาทนะ. บทว่า

ตถา ตถา โวหรติ อปราปร ความว่า ภาชนะในชนบทของพวกเราเรียก

ว่าปาตี. ส่วนชนเหล่านี้ กล่าวภาชนะนั้น ว่า ปัตตะ. จำเดิมแต่นั้นแก้คำพูดของ

ชนบทกล่าวเนือง ๆ ว่า ปัตตะ ปัตตะ ดังนี้เทียว. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้

เช่นกัน.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงกระทำบทมริยาทภาชนียะ จึง

ตรัสว่า ตตฺร ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรโณ

ได้แก่ มีธุลี มีกิเลส. บทว่า อรโณ ได้แก่ ไม่มีธุลีปราศจากกิเลส. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

สุภูติ จ ปน ภิกขเว ความว่า พระเถระนี้ ขึ้นสู่ตำแหน่งเอตทัคคะ ๒

อย่าง คือ สุภูติเลิศในทางอรณวิหารี และเลิศในทางทักขิไณย. ได้ยินว่า

พระธรรมเสนาบดี ยังวัตถุให้บริสุทธิ์. สุภูติเถระยังทักขิณาให้บริสุทธิ์. จริง

อย่างนั้น พระธรรมเสนาบดีเที่ยวบิณฑบาต ยืนอยู่ใกล้ประตูเรือน กำหนดใน

บุพภาคแล้ว เข้านิโรธจนกว่าบุคคลทั้งหลายนำภิกษามาถวาย. ออกจากนิโรธ

แล้ว รับไทยธรรม. พระสุภูติเถระเข้าเมตตาฌานเหมือนอย่างนั้น. ออกจาก

เมตตาฌานแล้วรับไทยธรรม. ถามว่า ก็พระเถระอาจทำอย่างนี้หรือ. ตอบว่า

เออ อาจ. การที่พระสาวกทั้งหลายผู้ถึงมหาภิญญา พึงทำอย่างนี้ นั้นไม่น่า

อัศจรรย์เลย. จริงอยู่ ในกาลแห่งโบราณกราชในตัมพปัณณิทวีปนั้น พระ-

เถระชื่อปิงคลพุทธรักขิต อยู่อาศัยอุตตรคาม. ในอุตตรคามนั้น มีตระกูล ๗๐๐

ตระกูล. พระเถระไม่เคยเข้าสมาบัติที่ประตูตระกูลใด ประตูตระกูลนั้นแม้หนึ่ง

ก็ไม่มี. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอรณวิภังคสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

[๖๗๓า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรง-

แวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้ว

ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพัก

อยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มี

ความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้น

อนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด.

[๖๗๔] ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศรัทธา. ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่

ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้า

ไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้า

ไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. ท่านปุกกุสาติ

ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพัก

ตามสบายเถิด.

[๖๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว

ทรงลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง

ดำรงพระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก.

แม้ท่านปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน . ครั้งนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควร

ถามดูบ้าง. ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

ท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่าใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรม

ของใคร.

[๖๗๖] ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดม

ผู้ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์งามฟุ้งไป อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วย

วิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหา

คนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้

แจกธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้าบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เดี่ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน.

ปุ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศ

เหนือ เดี่ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับ

อยู่ที่นั่น.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นหรือ

และท่านเห็นแล้วจะรู้จักไหม.

ปุ. ดูก่อนผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

เลย ถึงเห็นแล้ว ก็ไม่รู้จัก .

[๖๗๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตร

นี้บวชอุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา. แต่นั้น พระองค์จึงตรัสเรียก

ท่านปุกกุสาติว่า ดูก่อนภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงพึงธรรมนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

จงใส่ใจให้ดี. เราจักกล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ.

[๖๗๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้

มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ใน

ใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่อง

หมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็น

ไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตาม

รักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก.

[๖๗๙] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น

เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่างนี้ คือ ปฐวีธาตุ

อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ. ข้อที่เรากล่าวดัง

นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว .

[๖๘๐] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖

นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน

เป็นแดนสัมผัส. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส.

นั่น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๘๑] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึก

ของใจ ๑๘ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว

ย่อมหน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วง

นึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูป

เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว . . . ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้ม

รสด้วยชิวหาแล้ว. . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว. . . รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน

แล้ว ย่อมหน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

ที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วง

นึกโสมนัส ๖ หน่วงนึกโทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึก

นี้ กล่าวแล้ว.

[๖๘๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควร

ตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้ง

ไว้ในใจ มีสัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ

มีอุปสมะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้

มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั้น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๘๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษา

สัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว.

ดูก่อนภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖

คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ.

[๖๘๔] ดูก่อนภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี

ภายนอกก็มี. ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่แข่นแข็ง กำหนดได้มีใน

ตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื้อในกระดูก

ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า

หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่แข่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน

นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน. ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุ

ทั้งนั้น. พึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น

ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่าย

ปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

[๖๘๕] ดูก่อนภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน. คืออาโปธาตุภายในก็มี

ภายนอกก็มี. ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป

กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มัน

ข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิด

ไร ๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโป

ธาตุภายใน. ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น.

พึงเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของ

เรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโป

ธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุได้.

[๖๘๖] ดูก่อนภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน. คือ เตโชธาตุภายในก็มี

ภายนอกก็มี. ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน

กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกาย

ให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม

ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่

อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุ

ภายใน. ก็เตโชธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น. พึง

เห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา

นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ

และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้.

[๖๘๗] ดูก่อนภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน. คือ วาโยธาตุภายในก็มี

ภายนอกก็มี. ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้

มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง

ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน

นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน. ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็น

วาโยธาตุทั้งนั้น . พึงเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่าง

นี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว

จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้.

[๖๘๘] ดูก่อนภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี

ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้

มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน

ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม. เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทาง

ระบายของที่กิน ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น

ไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า

อากาสธาตุภายใน. ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุ

ทั้งนั้น. พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั้น

ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่าย

อากาสธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้.

[๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง

บุคคลย่อมรู้อะไร ๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง

ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง. ดูก่อนภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อม

เกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนา

อยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวย

อารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง

แห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่ง

ทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น แลดับไป

ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิด

เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะ

อาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคล

นั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่

เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความเสวย

อารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็น

ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ.

[๖๙๐] ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะ

ไม้สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อม

เข้าไปสงบ เพราะไม้สองท่อนนั้น เองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉัน ใด ดูก่อน

ภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อม

เกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนา

อยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวย

อารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง

แห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่ง

ทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า

กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป

ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิด

เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะ

อาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคล

นั้น เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่

เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

เสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะ

เป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลือ

อยู่อีกก็คือ อุเบกขา อัน บริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงานและผ่องแผ้ว.

[๖๙๑] ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนาย

ช่างทองผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป

สังเกตดูไปเป็นระยะ ๆ ทองนั้น จะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน

สลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใด ๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู

เครื่องประดับคอ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้น

ได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อัน

บริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงาน และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้ชัด

อย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสา-

นัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขา

องเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจาย

ตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์

ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่

ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญ-

จายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้า

เราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน

และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะ

เป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น ดำรง

อยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้า

ไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญาย-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

ตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน.

บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้

เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็

เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่

วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ

ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน

และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้

อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ

จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่

คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่น

อะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อม

ปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ

แล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขา

เสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ

ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง

อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า

อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวย

สุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย

ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็น

ที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิต

เป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้า

แต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วใน

โลกนี้แล จักเป็นของสงบ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

[๖๙๒] ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้

จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น

ย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล

บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกาย

เป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิต

เป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวย-

อารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้น

ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม

ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์

ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ

เป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ

สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อม

ด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ

อย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา

เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึง

เป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้ว

ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความ

ไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่า

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะ

นี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั้น แล

ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท

ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศล

ธรรมนั้น ๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

แล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น

ผู้ถึงพร้อมด้วยความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็น

ธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ

โทสะ โมหะ เป็นอุปสนะอันประเสริฐอย่างยิ่ง. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึง

ประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น.

นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

[๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔

อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม

เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่

บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อน

ภิกษุ ความสำคัญคนมีอยู่ดังนี้ ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจัก

ไม่เป็น เราจักต้องเป็นสัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็น

สัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา

ก็มิใช่มีสัญญาก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวผี เป็น

ลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนีผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตน

ได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อมไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ.

ไม่ทะเยอทะยาน. แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิดเมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร

เมื้อไม่แก่ จักตายได้อย่าง ไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ

จักทะเยอทะยานได้อย่างไร. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้

ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่อง

หมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม

ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่นเราอาศัยเนื้อความ

กล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ของเราไว้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

[๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา

พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะ

ทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้อง

ข้าพระองค์เข้าแล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญ ถ้อยคำ

ที่เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด.

[๖๙๕] พ. ดูก่อนภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มี

อาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญ ถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูก่อน

ท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืน

ตามธรรม เราขอรับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษ

ล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้

นั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสนบทในสำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.

พ. ดูก่อนภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ.

ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยัง

ไม่ครบอุปสมบทไม่ได้เลย.

[๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำ

ประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร. ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่าน

ปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหาบาตรจีวรอยู่. ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วย

พระโอวาทย่อ ๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพ

อย่างไร.

[๖๙๗] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้

บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้น

สัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่

กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

อรรถกถาธาตุวิภังคสูตร

ธาตุวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับอย่างนี้:-

ในบทเหล่านั้น บทว่า จาริก ได้แก่ จาริกไปโดยรีบด่วน. บทว่า

สเจ เต อครุ ความว่า ถ้าไม่เป็นความหนักใจ คือ ไม่ผาสุกอะไรแก่ท่าน

บทว่า สเจ โส อนุชานาติ ความว่า ได้ยินว่า ภัคควะมีความคิดอย่างนี้ว่า

ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลาย ย่อมมีอัธยาศัยต่างกัน คนหนึ่งมีหมู่เป็นที่มายินดี

คนหนึ่งยินดีอยู่คนเดียว ถ้าคนนั้นยินดีอยู่คนเดียว จักกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ

ท่านอย่าเข้ามา ข้าพเจ้าได้ศาลาแล้ว ถ้าคนนี้ยินดีอยู่คนเดียว ก็จักพูดว่า ดูก่อน

ผู้มีอายุ ท่านจงออกไป ข้าพเจ้าได้ศาลาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จักเป็น

เหตุให้คนทั้งสองทำการทะเลาะกัน ธรรมดาสิ่งที่ให้แล้ว ก็ควรเป็นอันให้แล้ว

เทียว สิ่งที่ทำแล้ว ก็ควรเป็นอันทำแล้วแล. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า กุลปุตฺโต ได้แก่ กุลบุตรโดยชาติบ้าง กุลบุตรโดยมรรยาทบ้าง. บท

ว่า วาสูปคโต ได้แก่เข้าไปอยู่แล้ว. ถามว่า กุลบุตรนั้น มาจากไหน. ตอบว่า

จากนครตักกศิลา. ในเรื่องนั้นมีการเล่าโดยลำดับดังนี้.

ได้ยินว่า ครั้นเมื่อพระเจ้าพิมพิสารเสวยราชสมบัติในพระนครราชคฤห์

ในมัชฌิมประเทศ พระเจ้าปุกกุสาติเสวยราชสมบัติในพระนครตักกศิลา ในปัจ-

จันตประเทศ. ครั้งนั้น พ่อค้าทั้งหลายต่างก็เอาสินค้าจากพระนครตักกศิลามา

สู่พระนครราชคฤห์ นำบรรณาการไปถวายแต่พระราชา. พระราชาตรัสถามพ่อค้า

เหล่านั้น ผู้ยืนถวายบังคมว่า พวกท่านอยู่ที่ไหน. ขอเดชะ อยู่ในพระนคร.

ตักกศิลา. ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามถึงความเกษม และความที่ภิกษาหาได้

ง่ายเป็นต้น ของชนบทและประวัติแห่งพระนครกะพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว ตรัสถาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

ว่า พระราชาของพวกท่านมีพระนามอย่างไร. พระนามว่า ปุกกุสาติ พระพุทธ

เจ้าข้า. ทรงดำรงอยู่ในธรรมหรือ. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ทรงดำรงอยู่ใน

ธรรม ทรงสงเคราะห์ชนด้วยสังคหวัตถุสี่ ทรงดำรงอยู่ในฐานะมารดาบิดาของ

โลก ทรงยังชนดุจทารกนอนบนตักให้ยินดี. ทรงมีวัยเท่าใด. ลำดับนั้น พวก

พ่อค้าทูลบอกวัยแด่พระราชานั้น. ทรงมีวัยเท่ากับพระเจ้าพิมพิสาร. ครั้งนั้น

พระราชาตรัสกะพ่อค้าเหล่านั้นว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย พระราชาของพวกท่าน

ดำรงอยู่ในธรรม และทรงมีวัยเท่ากับเรา พวกท่านพึงอาจเพื่อทำพระราชา

ของพวกท่านให้เป็นมิตรกับเราหรือ. อาจ พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาทรงสละ

ภาษีแก่พ่อค้าเหล่านั้น ทรงไห้พระราชทานเรือนแล้วตรัสว่า พวกท่านประสงค์

ในเวลาขายสินค้ากลับไป พวกท่านพึงพบเราแล้วจึงกลับไปดังนี้. พ่อค้าเหล่า

นั้น ทำอย่างนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระราชาในเวลากลับ. พระราชาตรัสว่า พวก

ท่านจงกลับ ไป พวกท่านจงทูลถามถึงความไม่มีพระโรคบ่อย ๆ ตามคำของเรา

แล้วทูลว่า พระราชาทรงพระประสงค์มิตรภาพกับพระองค์. พ่อค้าเหล่านั้น

ทูลรับพระราชโองการแล้ว ไปรวบรวมสินค้า รับประทานอาหารเช้าแล้ว

เข้าไปถวายบังคมพระราชา. พระราชาตรัสถามว่า แนะพนาย พวกท่านไปไหน

ไม่เห็นหลายวันแล้ว. พวกพ่อค้าทูลบอกเรื่องราวทั้งหมดแด่พระราชา. พระ-

ราชาทรงมีพระหฤทัยยินดีว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เป็นการดีเช่นกับเรา พระราชา

ในมัชฌิมประเทศได้มิตรแล้วเพราะอาศัยพวกท่าน.

ในเวลาต่อมา พ่อค้าทั้งหลายแม้อยู่ในพระนครราชคฤห์ ก็ไปสู่

พระนครตักกศิลา. พระเจ้าปุกกุสาติตรัสถามพ่อค้าเหล่านั้น ผู้ถือบรรณา-

การมาว่า พวกท่านมาจากไหน. พระราชาทรงสดับว่าจากพระนคร

ราชคฤห์จึงตรัสว่า พวกท่านมาจากพระนครของพระสหายเรา. อย่างนั้น

พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามถึงความไม่มีพระโรคว่า พระสหายของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

เราไม่มีพระโรคหรือ แล้วทรงให้ตีกลองประกาศว่า จำเดิมแต่วันนี้ พวกพ่อ

ค้าเดินเท้า หรือ พวกเกวียนเหล่าใด มาจากพระนครของพระสหายเรา จำเดิม

แต่กาลที่พ่อค้าทั้งปวง เข้ามาสู่เขตแดนของเรา จงไห้เรือนเป็นที่พักอาศัยและ

เสบียงจากพระคลังหลวง จงสละภาษี อย่าทำอันตรายใด ๆ แก่พ่อค้าเหล่านั้น

ดังนี้. ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงให้ตีกลองประกาศเช่นนี้ เหมือนกันในพระนคร

ของพระองค์. ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงส่งพระบรรณาการแก่พระเจ้า

ปุกกุสาติว่า รัตนะทั้งหลายมีแก้วมณีและมุกดาเป็นต้น ย่อมเกิดในปัจจันตประเทศ

รัตนะใดที่ควรเห็น หรือควรฟัง เกิดขึ้นในราชสมบัติแห่งพระสหายของเรา

ขอพระสหายเราจงอย่าทรงตระหนี่ในรัตนะนั้น . ฝ่ายพระเจ้าปุกกุสาติ ก็ทรง

ส่งพระราชบรรณาการตอบไปว่า ธรรมดามัชฌิมประเทศเป็นมหาชนบท รัตนะ

เห็นปานนี้ใด ย่อมเกิดในมหาชนบทนั้น ขอพระสหายของเราจงอย่าทรง

ตระหนี่ในรัตนะนั้น. เนื้อกาลล่วงไป ๆ อย่างนี้ พระราชาเหล่านั้น แม้ไม่

ทรงเห็นกัน ก็เป็นมิตรแน่นแฟ้น. เมื่อพระราชาทั้งสองพระองค์นั้น ทรงทำ

การตรัสอยู่อย่างนี้ บรรณาการย่อมเกิดแก่พระเจ้าปุกกุสาติก่อน. ได้ยินว่า

พระราชาทรงได้ผ้ากัมพล ๘ ผืน อันหาค่ามิได้ มีห้าสี. พระราชานั้นทรง

พระดำริว่า ผ้ากัมพลเหล่านี้งามอย่างยิ่ง เราจักส่งให้พระสหายของเรา. ทรง

ส่งอำมาตย์ทั้งหลายด้วยพระดำรัสว่า พวกท่านจงให้ทำผอบแข็งแรง ๘ ผอบ

เท่าก้อนครั่งใส่ผ้ากัมพลเหล่านั้น ในผอบเหล่านั้น ให้ประทับด้วยครั้งพันด้วยผ้า

ขาว ใส่ในหีบพันด้วยผ้า ประทับด้วยตราพระราชลัญจกรแล้วถวายแก่พระสหาย

ของเรา และได้พระราชทานพระราชสาส์นว่า บรรณาการนี้ อันเราผู้อำมาตย์

เป็นต้น แวดล้อมแล้ว เห็นในท่ามกลางพระนคร. อำมาตย์เหล่านั้น ไปทูลถวาย

แด่พระเจ้าพิมพิสาร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

พระเจ้าพิมพิสารนั้น ทรงสดับพระราชสาส์น ทรงให้ตีกลองประกาศว่า

ชนทั้งหลายมีอำมาตย์เป็นต้น จงประชุม ดังนี้ อันอำมาตย์เป็นต้นแวดล้อม

แล้วในท่ามกลางพระนคร ทรงมีพระเศวตฉัตรกั้นประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์

อันประเสริฐ ทรงทำลายรอยประทับ เปิดผ้าออก เปิดผอบ แก้เครื่องภายใน

ทรงเห็นก้อนครั่ง ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของเรา คง

สำคัญว่า พระสหายของเรามีพระราชหฤทัยรุ่งเรือง จึงทรงส่งพระราชบรรณา

การนี้ไปให้ดังนี้. ทรงจับก้อนอันหนึ่งแล้วทรงทุบด้วยพระหัตถ์ พิจารณาดู

ก็ไม่ทรงทราบว่า ภายในมีเครื่องผ้า. ลำดับนั้น ทรงที่ก้อนนั้นที่เชิงพระราช-

บัลลังก์. ทันใดนั้น ครั่งก็แตกออก. พระองค์ทรงเปิดผอบด้วยพระนขา ทรง

เห็นกัมพลรัตนะภายในแล้ว ทรงให้เปิดผอบทั้งหลาย แม้นอกนี้. แม้ทั้งหมด

ก็เป็นผ้ากัมพล. ลำดับนั้น ทรงให้คลีผ้ากัมพลเหล่านั้น. ผ้ากัมพลเหล่านั้น

ถึงพร้อมด้วยสี ถึงพร้อมด้วยผัสสะ ยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอก. มหาชนทั้ง

หลาย เห็นแล้วกระดิกนิ้ว ทำการยกผ้าเล็ก ๆ ขึ้น พากันดีใจว่า พระเจ้า

ปุกกุสาติ พระสหายไม่เคยพบเห็นของพระราชาแห่งพวกเรา ไม่ทรงเห็นกัน

เลย ยังทรงส่งพระราชบรรณาการเห็นปานนี้ สมควรแท้เพื่อทำพระราชาเห็น

ปานนี้ให้เป็นมิตร. พระราชาทรงให้ตีราคาผ้ากัมพลแต่ละผืน. ผ้ากัมพลทุกผืน

หาค่ามิได้. ในผ้ากัมพลแปดผืนนั้น ทรงถวายสี่ผืนแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ทรงไว้ใช้สี่ผืนในพระราชวังของพระองค์. แต่นั้น ทรงพระราชดำริว่า การที่

เราเมื่อจะส่งภายหลัง ก็ควรส่งบรรณาการดีกว่าบรรณาการที่ส่งแล้วก่อน ก็

พระสหายได้ส่งบรรณาการอันหาค่ามิได้แก่เรา เราจะส่งอะไรดีหนอ. ก็ในกรุง

ราชคฤห์ไม่มีวัตถุที่ดียิ่งกว่านั้นหรือ. ไม่มีหามิได้พระราชาทรงมีบุญมาก ก็อีก

ประการหนึ่ง จำเดิมแต่กาลที่พระองค์ทรงเป็นพระโสดาบันแล้ว เว้นจากพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

รัตนตรัยแล้ว ไม่มีสิ่งใดอื่น ที่ชื่อว่า สามารถเพื่อยังพระโสมนัสให้เกิดขึ้นได้.

พระองค์จึงทรงปรารภเพื่อทรงเลือกรัตนะ.

ธรรมดารัตนะ มี ๒ อย่างคือ มีวิญญาณ ไม่มีวิญญาณ. ในรัตนะ

๒ อย่างนั้น รัตนะที่ไม่มีวิญญาณ ได้แก่ ทอง และเงินเป็นต้น ที่มีวิญญาณ

ได้แก่สิ่งที่เนื่องกับ อินทรีย์. รัตนะที่ไม่มีวิญญาณเป็นเครื่องใช้ ด้วยสามารถ

แห่งเครื่องประดับ เป็นต้น ของรัตนะที่มีวิญญาณนั้นเทียว. ในรัตนะ ๒ อย่าง

นี้ รัตนะที่มีวิญญาณประเสริฐที่สุด. รัตนะแม้มีวิญญาณมี ๒ อย่าง คือ ติรัจ-

ฉานรัตนะ มนุษยรัตนะ. ในรัตนะ ๒ อย่างนั้น ดิรัจฉานรัตนะ ได้แก่ ช้าง

แก้วและม้าแก้ว. ดิรัจฉานรัตนะแม้นั้น เกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องใช้ของมนุษย์

ทั้งหลายนั้นเทียว. ในรัตนะ ๒ อย่างนั้น มนุษยรัตนะประเสริฐที่สุดด้วยประการ

ฉะนี้ . แม้มนุษยรัตนะก็มี ๒ อย่างคือ อิตถีรัตนะ ปุริสรัตนะ. ในรัตนะ ๒

อย่างนั้น แม้อิตถีรัตนะ ซึ่งเกิดแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเป็นอุปโ ภคของ

บุรุษแล. ในรัตนะ ๒ อย่างนี้ ปุริสรัตนะเทียว ประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้.

แม้ปุริสรัตนะก็มี ๒ อย่างคือ อาคาริกรัตนะ ๑ อนาคาริกรัตนะ ๑. แม้ใน

อาคาริกรัตนะนั้น พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงนมัสการสามเณรที่บวชในวันนี้

ด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์. ในรัตนะทั้ง ๒ อย่างแม้นี้ อนาคาริกรัตนะเท่านั้น

ประเสริฐที่สุด. แม้อนาคาริกรัตนะก็มี ๒ อย่างคือ เสกขรัตนะ ๑ อเสกรัตนะ ๑.

ในอนาคาริกรัตนะ ๒ อย่างนั้น พระเสกขะตั้งแสนย่อมไม่ถึงส่วนแห่งพระอเสกขะ.

ในรัตนะ ๒ อย่างแม้นี้ อเสกขรัตนะเท่านั้น ประเสริฐที่สุด. อเสกขรัตนะ

แม้นั้น ก็มี ๒ อย่างคือ พุทธรัตนะ สาวกรัตนะ. ในอเสกขรัตนะนั้น

สาวกรัตนะแม้ตั้งแสน ก็ไม่ถึงส่วนของพุทธรัตนะ. ในรัตนะ ๒ อย่างแม้นี้

พุทธรัตนะเท่านั้น ประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้. แม้พุทธรัตนะก็มี ๒ อย่าง

ชื่อ ปัจเจกพุทธรัตนะ สัพพัญญูพุทธรัตนะ ในพุทธรัตนะนั้น ปัจเจก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

พุทธรัตนะแม้ตั้งแสน ก็ไม่ถึงส่วนของสัพพัญญูพุทธเจ้า. ในรัตนะ ๒ อย่าง

แม้นี้ สัพพัญญูพุทธรัตนะเท่านั้น ประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้. ก็ขึ้นชื่อว่า

รัตนะที่เสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มีในโลกพร้อมทั้งเทวโลก. เพราะฉะนั้น

จึงทรงพระราชดำริว่า เราจักส่งรัตนะที่ไม่มีอะไรเสมอเท่านั้น แก่พระสหาย

ของเรา จึงตรัสถามพวกพ่อค้าชาวนครตักกศิลาว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย รัตนะ

๓ อย่างนี้คือ พุทธะ ธรรมะ สังฆะ ย่อมปรากฏในชนบทของพวกท่านหรือ.

ข้าแต่มหาราช แม้เสียงก็ไม่มีในชนบทนั้น ก็การเห็นจักมีแต่ที่ไหนเล่า.

พระราชาทรงยินดีแล้ว ทรงพระราชดำริว่า เราอาจเพื่อจะส่ง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสู่สถานที่เป็นที่อยู่ของพระสหายเรา เพื่อประโยชน์แก่

การสงเคราะห์ชน แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะไม่ทรงแรมคืนในปัจจันตชนบท

ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระศาสดาจะไม่อาจเสด็จไป พึงอาจส่งพระมหาสาวก

มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น แต่เราฟังมาว่า พระเถระทั้งหลาย

อยู่ในปัจจันตชนบทสมควรเพื่อส่งคนทั้งหลายไปนำพระเถระเหล่านั้นมาสู่ที่ใกล้

ตนแล้ว บำรุงเทียว เพราะฉะนั้น แม้พระเถระทั้งหลายไม่อาจไป ครั้นส่ง

สาส์นไปแล้ว ด้วยบรรณาการใด พระศาสดาและพระมหาสาวกทั้งหลายก็เป็น

เหมือนไปแล้ว เราจักส่งสาส์นด้วยบรรณาการนั้น ดังนี้ ทรงพระราชดำริอีกว่า

เราให้ทำแผ่นทองคำ ยาว สี่ศอก กว้างประมาณ หนึ่งคืบ หนาพอควร.

ไม่บางนัก ไม่หนานัก แล้วจักลิขิตอักษรลงในแผ่นทองคำนั้นในวันนี้ ทรง

สนานพระเศียรตั้งแต่เช้าตรู่ ทรงอธิษฐานองค์พระอุโบสถทรงเสวยพระยาหาร

เช้า ทรงเปลื้องพระสุคนธมาลาและอาภรณ์ออก ทรงถือชาดสีแดงด้วยพระ-

ขันทอง ทรงปิดพระทวารทั้งหลาย ตั้งแต่ชั้นล่าง เสด็จขึ้นพระปราสาท

ทรงเปิดพระสีหบัญชรด้านทิศตะวันออก ประทับนั่งบนพื้นอากาศ ทรงลิขิต

พระอักษรลงในแผ่นทองคำ ทรงลิขิตพระพุทธคุณโดยเอกเทศก่อนว่า พระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ

ไปดี ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกตนอย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของ

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงตื่นแล้ว ทรงจำแนกพระธรรม เสด็จอุบัติ

ในโลกนี้ ดังนี้.

ต่อแต่นั้น ทรงลิขิตว่า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ

อย่างนี้ ทรงจุติจากชั้นดุสิต ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา การ

เปิดโลกได้มีแล้วอย่างนี้ เมื่อทรงอยู่ในพระครรภ์มารดา ชื่อนี้ได้มีแล้ว เมื่อ

ทรงอยู่ครอบครองเรือน ชื่อนี้ได้มีแล้ว เมื่อเสด็จออกพระมหาภิเนษกรมณ์

อย่างนี้ ทรงเริ่มตั้งความเพียรอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างนี้

เสด็จขึ้นสู่ควงมหาโพธิ ประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์แล้ว ทรงแทงตลอด

สัพพัญญูตญาณ เมื่อทรงแทงตลอดสัพพัญญูตญาณ เป็นอันมีการเปิดโลก

แล้วอย่างนี้ ในชื่อว่ารัตนะเห็นปานนี้ อื่นไม่มีในโลกพร้อมกับเทวโลก ดังนี้

ทรงลิขิตพระพุทธคุณทั้งหลายโดยเอกเทศอย่างนี้ว่า

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่าง-

หนึ่งในโลกนี้ หรือโลกอื่น หรือรัตนะใด

อันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้น

เสมอด้วยพระตถาคตไม่มี พุทธรัตนะแม้นี้

เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยคำสัตย์นี้

ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้

เมื่อจะทรงชมเชยธรรมรัตนะที่สองว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดี

แล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้แล้ว ทรงลิขิตโพธิปัก-

ขิยธรรม ๓๗ ประการ โดยเอกเทศว่า สติปัฏฐานสี่ ฯลฯ มรรคมีองค์แปด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

อันประเสริฐ ชื่อว่า พระธรรมอันพระศาสดาทรงแสดงแล้ว เห็นปานนี้และ

เห็นปานนี้ ดังนี้ แล้วทรงลิขิตพระธรรมคุณทั้งหลายโดยเอกเทศว่า

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรง

สรรเสริญแล้ว ซึ่งสมาธิใดว่าเป็นธรรม

อันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าว ซึ่งสมาธิ

ใดว่า ให้ผลในลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วย

สมาธินั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็น

รัตนะอันประณีต ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความ

สวัสดีจงมี ดังนี้

ต่อแต่นั้น เมื่อจะทรงชมเชยพระสังฆรัตนะที่สามว่า พระสงฆ์สาวกของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ดังนี้ ทรงลิขิต

จุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีลโดยเอกเทศว่า ธรรมดากุลบุตรทั้งหลาย

ฟังธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว ออกบวชอย่างนี้ บางพวกละเศวตฉัตรบวช

บางพวกละความเป็นอุปราชบวช บางพวกละตำแหน่งทั้งหลายมีตำแหน่งเสนาบดี

เป็นต้นบวช ก็แล ครั้นบวชแล้ว บำเพ็ญปฏิบัตินี้ ทรงลิขิตการสำรวมใน

ทวารหก สติสัมปชัญญะ ความยินดีในการเจริญสันโดษด้วยปัจจัยสี่ การละนีวรณ์

บริกรรมฌานและอภิญญา กรรมฐาน ๓๘ ประการ จนถึงความสิ้นไปแห่ง

อาสวะโดยเอกเทศ ทรงลิขิตอานาปานสติกรรมฐาน ๖ ประการ โดยพิสดาร

เทียว ทรงลิขิตพระสังฆคุณทั้งหลายโดยเอกเทศว่า ชื่อว่า พระสงฆ์สาวกของ

พระศาสดาถึงพร้อมด้วยคุณทั้งหลายเห็นปานนี้ และเห็นปานนี้

บุคคลเหล่าใด ๘ จำพวก ๔ คู่ อัน

สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

เหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวก

ของพระสุคต ทานทั้งหลายอันบุคคล

ถวายแล้ว ในท่านเหล่านั้นย่อมมีผลมาก

สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย

คำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

ทรงลิขิตว่า ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสดีแล้ว เป็นศาสนา

นำสัตว์ออกจากทุกข์ ถ้าพระสหายของเราจะอาจไซร้ ขอได้เสด็จออกทรงผนวช

เถิด ดังนี้ ทรงม้วนแผ่นทองคำ พันด้วยผ้ากัมพลเนื้อละเอียด ทรงใส่ในหีบ

อันแข็งแรง ทรงวางหีบนั้นในหีบทองคำ ทรงวางหีบทองคำลงในหีบเงิน

ทรงวางหีบเงินลงในหีบแก้วมณี ทรงวางหีบแก้วมณีลงในหีบแก้วประพาฬ

ทรงวางหีบแก้วประพาฬลงในหีบทับทิม ทรงวางหีบทับทิมลงในหีบแก้วมรกต

ทรงวางหีบแก้วมรกตลงในหีบแก้วผลึก ทรงวางหีบแก้วผลึกลงในหีบงา ทรง

วางหีบงาลงในหีบรัตนะทุกอย่าง ทรงวางหีบรัตนะทุกอย่างลงในหีบเสื่อลำแพน

ทรงวางหีบเสื่อลำแพนลงในผอบแข็งแรง

ทรงวางผอบแข็งแรงลงในผอบทองอีก ทรงนำไปโดยนัยก่อนนั้นเทียว

กรงวางผอบที่ทำด้วยรัตนะทุกอย่างลงในผอบที่ทำด้วยเสื่อลำแพน. แต่นั้น

กรงวางผอบที่ทำด้วยเสื่อลำแพนลงในหีบที่ทำด้วยไม้แก่น ทรงนำไปโดย

นัยกล่าวแล้วอีกนั้นเทียว ทรงวางหีบที่ทำด้วยรัตนะทุกชนิดลงในหีบที่ทำด้วย

เสื่อลำแพน ข้างนอกทรงพันด้วยผ้าประทับตราพระราชลัญจกร ตรัสสั่งอำมาตย์

ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงตกแต่งทางในสถานที่ซึ่งอยู่ในอำนาจของเรา

ทำให้กว้างแปดอุสภะ สถานที่สี่อุสภะ ต้องให้งามเสมอ ท่านทั้งหลายจงตก

แต่งสถานที่สี่อุสภะ ในท่ามกลางด้วยอานุภาพของพระราชา. แต่นั้น ทรงส่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

ทูตด่วน แก่ข้าราชการภายในว่า จงประดับช้างมงคล จัดบัลลังก์บนช้างนั้น

ยกเศวตฉัตร ทำถนนพระนครให้สวยงาม ประดับประดาอย่างดี ด้วยธงปฏาก

อันงดงาม ต้นกล้วย หม้อน้ำที่เต็ม ของหอม ธูป และดอกไม้เป็นต้น จง

ทำบูชาเห็นปานนี้ ในสถานที่ครอบครองของตน ๆ ดังนี้ ส่วนพระองค์ทรง

ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง อันกองกำลังพร้อมกับดนตรีทุกชนิดแวด-

ล้อม ทรงพระราชดำริว่า เราจะส่งบรรณาการไปดังนี้ เสด็จไปจนสุดพระราช

อาณาเขตของพระองค์แล้ว ได้พระราชทานพระราชสาส์นสำคัญแก่อำมาตย์

แล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของเรา เมื่อจะทรงรับ

บรรณาการนี้ อย่ารับในท่ามกลางตำหนักนางสนมกำนัล จงเสด็จขึ้นพระ

ปราสาทแล้วทรงรับเถิด. ครั้นพระราชทานพระราชสาส์นนี้แล้ว ทรงพระราช

ดำริว่า พระศาสดาเสด็จไปสู่ปัจจันตประเทศ ทรงนมัสการด้วยพระเบญจางค-

ประดิษฐ์แล้วเสด็จกลับ. ส่วนข้าราชการภายในทั้งหลาย ตกแต่งทางโดย

ทำนองนั้นเทียว นำไปซึ่งพระราชบรรณาการ.

ฝ่ายพระเจ้าปุกกุสาติ ทรงตกแต่งทางโดยทำนองนั้น ตั้งแต่รัชสีมา

ของพระองค์ ทรงให้ประดับประดาพระนคร ได้ทรงกระทำการต้อนรับพระ-

ราชบรรณาการ. พระราชบรรณาการเมื่อถึงพระนครตักกศิลา ได้ถึงในวัน

อุโบสถ. ฝ่ายอำมาตย์ผู้รับพระราชบรรณการไปทูลบอกพระราชสาส์นที่กล่าว

แต่พระราชา. พระราชาทรงสดับพระราชสาส์นนั้นแล้ว ทรงพิจารณากิจ

ควรทำแก่อำมาตย์ทั้งหลายผู้มาพร้อมกับพระราชบรรณาการ ทรงถือพระราช

บรรณาการ เสด็จขึ้นสู่พระปราสาทแล้วตรัสว่า ใคร ๆ อย่าเข้ามาในที่นี้

ทรงให้ทำการรักษาที่พระทวาร ทรงเปิดพระสีหบัญชร ทรงวางพระราช

บรรณาการ บนที่พระบรรทมสูง ส่วนพระองค์ประทับนั่งบนอาสนะต่ำ ทรง

ทำลายรอยประทับ ทรงเปลื้องเครื่องห่อหุ้ม เมื่อทรงเปิดโดยลำดับจำเดิมแต่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

หีบเสื่อลำแพน ทรงเห็นหีบซึ่งทำด้วยแก่นจันทร์ ทรงพระราชดำริว่า ชื่อว่า

มหาบริวารนี้ จักไม่มีแก่รัตนะอื่น รัตนะที่ควรฟังได้เกิดขึ้นแล้ว ในมัชฌิม

ประเทศแน่แท้. ลำดับนั้น ทรงเปิดหีบนั้นแล้ว ทรงทำลายรอยประทับ พระ-

ราชลัญจนะ ทรงเปิดผ้ากัมพลอันละเอียดทั้งสองข้าง ทรงเห็นแผ่นทองคำ.

พระองค์ทรงคลี่แผ่นทองคำนั้นออก ทรงพระราชดำริว่า พระอักษรทั้งหลาย

น่าพอใจจริงหนอ มีหัวเท่ากัน มีระเบียบเรียบร้อย มีมุมสี่ ดังนี้ ทรงปรารภ

เพื่อจะทรงอ่านจำเดิมแต่ต้น . พระโสมนัสอัน มีกำลังได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ที่

ทรงอ่านแล้วอ่านอีกซึ่งพระพุทธคุณทั้งหลายว่า พระตถาคตทรงอุบัติขึ้นแล้ว

ในโลกนี้ ขุมพระโลมาเก้าหมื่นเก้าพันขุม ก็มีปลายพระโลมชูชันขึ้น. พระ-

องค์ไม่ทรงทราบถึงความที่พระองค์ ประทับยืน หรือประทับนั่ง. ลำดับนั้น

พระปีติอันมีกำลังอย่างยิ่งได้บังเกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า เราได้ฟังพระศาสนาที่หา

ได้โดยยากนี้ แม้โดยแสนโกฏิกัป. เพราะอาศัยพระสหาย. พระองค์เมื่อไม่อาจ

เพื่อทรงอ่านต่อไป ก็ประทับนั่งจนกว่ากำลังปีติสงบระงับ แล้วทรงปรารภ

พระธรรมคุณทั้งหลายต่อไปว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วดังนี้.

พระองค์ก็ทรงมีพระปีติอย่างนั้นแม้ในพระธรรมคุณนั้นเทียว. พระองค์ประทับ

นั่งอีกจนกว่าความสงบแห่งกำลังปีติ ทรงปรารภพระสังฆคุณทั้งหลายต่อไปว่า

พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ปฏิบัติดี. ในพระสังฆคุณแม้นั้น พระองค์ก็ทรงมีพระปีติ

อย่างนั้นเหมือนกัน. ลำดับนั้น ทรงอ่านอานาปานสติกัมมัฏฐาน ในลำดับ

สุดท้าย ทรงยังฌานหมวดสี่และหมวดห้าให้เกิดขึ้น. พระองค์ทรงยังเวลาให้

ล่วงไป ด้วยความสุขในฌานนั้นและ. ใครอื่นย่อมไม่ได้เพื่อเห็น. มหาดเล็ก

ประจำพระองค์คนเดียวเท่านั้น ย่อมเข้าไปได้. ทรงยังเวลาประมาณกึ่งเดือน

ให้ผ่านไปด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

ชาวพระนครทั้งหลายประชุมกันในพระลานหลวง ได้ทำการโห่ร้อง

ตะโกนว่า จำเดิมแต่วันที่พระราชาทรงรับพระราชบรรณาการแล้ว ไม่มีการ

ทอดพระเนตรพระนคร หรือ การทอดพระเนตรดูนางฟ้อนรำ ไม่มีการพระ

ราชทานวินิจฉัย พระราชาจงทรงพระราชทานพระราชบรรณาการที่พระสหาย

ส่งมาให้แก่ผู้รับไปเถิด ธรรมดาพระราชาทั้งหลาย ย่อมทรงพยายามเพื่อหลอก

ลวงแม้ด้วยเครื่องบรรณาการ ยึดพระราชสมบัติของพระราชาบางพระองค์ให้

แก่ตน พระราชาของพวกเราทรงทำอะไรหนอ ดังนี้. พระราชาทรงสดับ

เสียงทะโกนแล้วทรงพระราชดำริว่า เราจะธำรงไว้ซึ่งราชสมบัติหรือพระศาสดา.

ลำดับนั้น พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ประธานและมหาอำมาตย์ของประธาน

ย่อมไม่อาจเพื่อจะนับความที่เราเสวยราชสมบัติได้ เราจักธำรงไว้ซึ่งพระศาสนา

ของพระศาสดา ดังนี้. ทรงจับพระแสงดาบที่ทรงวางไว้บนพระที่บรรทม ตัด

พระเกศาแล้วทรงเปิดพระสีหบัญชร ทรงยังกำพระเกศาพร้อมกับพระจุฑามณี

ให้ตกลงในท่ามกลางบริษัทว่า ท่านทั้งหลายถือเอากำเกศานี้ครองราชสมบัติ

เถิด. มหาชนยกกำพระเกศานั้นขึ้นแล้ว ร้องเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้าแต่พระ-

สมมติเทพ พระราชาทั้งหลายชื่อว่าได้พระราชบรรณาการจากสำนักพระสหาย

แล้ว ย่อมเป็นเช่นกับพระองค์. พระเกศาและพระมัสสุประมาณสององคุลีแม้

ของพระราชาได้มีแล้ว. ได้ยินว่า พระเกศาและพระมัสสุเกิดเป็นเช่นกับ

บรรพชาของพระโพธิสัตว์นั้นแล. ลำดับนั้น ทรงส่งมหาดเล็กประจำพระองค์

ให้นำผ้ากาสาวพัสตร์สองผืน และบาตรดินจากในตลาดทรงอุทิศต่อพระศาสดา

ว่า พระอรหันต์เหล่าใดในโลก เราบวชอุทิศพระอรหันต์เหล่านั้น ดังนี้

แล้วทรงนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ทรงห่มผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ทรงสะพายบาตรทรง

ถือธารพระกร ทรงจงกรมไปมา สอง-สามครั้ง ในพื้นใหญ่ด้วยพระราชดำริ

ว่า บรรพชาของเรางามหรือไม่ ดังนี้ ทรงทราบว่า บรรพชาของเรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

ดังนี้แล้ว ทรงเปิดพระทวาร เสด็จลงจากพระปราสาท. ก็ประชาชนทั้งหลาย

เห็นนางฟ้อนผู้ยืน ที่ประตูทั้งสามเป็นต้น แต่จำพระราชานั้นซึ่งเสด็จลงมาไม่

ได้. ได้ยินว่า พากันคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง มาเพื่อแสดงธรรม

กถาแก่พระราชาของพวกเรา. แต่ครั้นขึ้นบนพระปราสาทแล้ว เห็นแต่ที่

ประทับยืนและที่ประทับนั่งเป็นต้นของพระราชารู้ว่า พระราชาเสด็จไปเสียแล้ว

จึงพากันร้องพร้อมกันทีเดียว เหมือนชนในเรือกำลังอับปางจมน้ำ ในท่าม

กลางสมุทรฉะนั้น. เสนีทั้งสิบแปด ชาวนครทั้งหมด และพลกายทั้งหลาย

พากันแวดล้อมกุลบุตร ผู้สักว่าเสด็จลงสู่พื้นแผ่นดินแล้ว ร้องเสียงดัง.

ฝ่ายอำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลแด่กุลบุตรนั้นว่า ข้าแต่เทวะ ธรรมดา

พระราชาทั้งหลายในมัชฌิมประเทศทรงมีมายามาก ขอพระองค์ได้โปรดส่ง

พระราชสาส์นไปว่า ขึ้นชื่อว่าพุทธรัตนะ ได้เกิดขึ้นในโลกแล้วหรือไม่ ทรง

ทราบแล้วจักเสด็จไป ขอเดชะ ขอพระองค์จงเสด็จกลับเถิด. เราเธอพระ

สหายของเรา เรากับพระสหายนั้นไม่มีความต่างกัน พวกเจ้าจงหยุดเถิด

อำมาตย์เหล่านั้น ก็ติดตามเสด็จนั้นเทียว. กุลบุตรทรงเอาธารพระกรขีดเป็น

ตัวหนังสือ ตรัสว่า ราชสมบัตินี้เป็นของใคร. ของพระองค์ ขอเดชะ ผู้ใด

ทำตัวหนังสือนี้ในระหว่าง บุคคลนั้น พึงให้เสวยพระราชอำนาจ. พระเทวี

พระนามว่า สีวลี เมื่อไม่ทรงอาจเพื่อทำพระอักษรที่พระโพธิสัตว์กระทำแล้ว

ในมหาชนกชาดก ให้มีระหว่างก็เสด็จกลับไป. มหาชนก็ได้ไปตามทางที่พระ-

เทวีเสด็จไป. ก็มหาชนไม่อาจเพื่อทำพระอักษรนั้นให้มีในระหว่าง. ชาว

นครทำพระอักษรนี้ไว้เหนือศีรษะกลับ ไปร้องแล้ว. มหาชนคิดว่ากุลบุตรนี้จัก

ให้ไม้สีฟันหรือน้ำบ้วนปาก ในสถานที่เราไปแล้ว ดังนี้ เมื่อไม่ได้อะไร

โดยที่สุดแม้เศษผ้าก็หลีกไป. ได้ยินว่า กุลบุตรนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า พระ

ศาสดาของเราเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงบรรพชาพระองค์เดียว เสด็จ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

ไปพระองค์เดียว เราละอายต่อพระศาสดา ได้ยินว่า พระศาสดาของเราทรง

บรรพชาแล้ว ไม่เสด็จขึ้นยาน และไม่ทรงสวมฉลองพระบาท โดยที่สุด

แม้ชั้นเดียวไม่ทรงกั้นร่มกระดาษ. มหาชนขึ้นต้นไม้กำแพง และป้อมเป็นต้น

แลดูว่า พระราชาของเราเสด็จไปดังนี้. กุลบุตรคิดว่า เราเดินทางไกล ไม่

อาจเพื่อจะไปทางหนึ่งได้ จึงเสด็จติดตามพ่อค้าพวกหนึ่ง. เมื่อกุลบุตรผู้สุขุม

มาลไปในแผ่นดินที่ร้อนระอุ พื้นพระบาททั้งสองข้าง ก็กลัดหนองแตกเป็น

แผล. ทุกข์เวทนาก็เกิดขึ้น.

ครั้นเมื่อพวกพ่อค้าตั้งค่ายพักนั่งแล้ว กุลบุตรก็ลงจากทาง นั่ง ณ

โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง. ชื่อว่าผู้ทำบริกรรมเท้า หรือนวดหลังในที่นั่ง ไม่มี.

กุลบุตรเข้าอานาปานจตุตถฌาน ข่มความลำบากในทางความเหน็จเหนื่อยและ

ความเร่าร้อน ยังเวลาให้ผ่านไปด้วยความยินดีในฌาน. ในวันรุ่งขึ้น เมื่อ

อรุณขึ้นแล้วทำการปฏิบัติสรีระ เดินติดตามพวกพ่อค้าอีก. ในเวลาอาหารเช้า

พวกพ่อค้ารับบาตรของกุลบุตรแล้วใส่ขาทนียะและโภชนียะลงในบาตรถวาย.

ขาทนียะและโภชนียะนั้นเป็นข้าวสารดิบบ้าง เศร้าหมองบ้าง. แข็งเสมอกับก้อน

กรวดบ้าง จืด และเค็มจัดบ้าง. กุลบุตรพิจารณาสถานที่พัก บริโภคขาทนียะ

และโภชนียะนั้นดุจอมฤตโดยทำนองนั้น เดินไปสิ้นทาง ๒๐๐ โยชน์ ต่ำกว่า

๘ โยชน์ (๑๙๒ โยชน์) แม้จะเดินไปใกล้ซุ้มประตูพระเชตวันก็ตาม แต่ก็ไม่

ถามว่า พระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่ไหน. เพราะเหตุไร. เพราะเคารพใน

พระศาสดา และเพราะอำนาจแห่งพระราชสาส์น ที่พระราชาทรงส่งไป. ก็

พระราชาทรงส่งพระราชสาส์นไป ทรงทำดุจพระศาสดาทรงอุบัติในกรุงราชคฤห์

ว่า พระตถาคตทรงอุบัติในโลกนี้. เพราะฉะนั้น จึงไม่ถาม เดินทางไปสิ้น

๕ โยชน์. ในเวลาพระอาทิตย์ตก กุลบุตรนั้นไปถึงกรุงราชคฤห์ จึงถามว่า

พระศาสดาทรงประทับ ณ ที่ไหน. ท่านมาจากที่ไหนขอรับ. จากอุตตรประ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

เทศนี้ พระนครชื่อว่า สาวัตถี มีอยู่ในทางที่ท่านมา ไกลจากพระนครราช-

คฤห์นี้ประมาณ ๔๕ โยชน์ พระศาสดาประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถีนั้น. กุลบุตร

นั้นคิดว่า บัดนี้ไม่ใช่กาล เราไม่อาจกลับ วันนี้เราพักอยู่ในที่นี้ก่อน พรุ่งนี้จัก

ไปสู่สำนักพระศาสดา. แต่นั้นจึงถามว่า เหล่าบรรพชิตที่มาถึงในยามวิกาล

พัก ณ ที่ไหน. พัก ณ ศาลานายช่างหม้อนี้ ท่าน. ลำดับนั้น กุลบุตรนั้น

ขอพักกะนายช่างหม้อนั้นแล้ว เข้าไปนั่งเพื่อประโยชน์แก่การพักอาศัยในศาลา

ของนายช่างหม้อนั้น .

ในเวลาใกล้รุ่งวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ทรงเห็น

กุลบุตรชื่อว่า ปุกกุสาติ ทรงพระดำริว่า กุลบุตรนี้อ่านเพียงสาส์นที่พระสหาย

ส่งไป ละราชสมบัติใหญ่ เกินร้อยโยชน์ บวชอุทิศเจาะจงเรา เดินทางสิ้น

๑๙๒ โยชน์ ถึงกรุงราชคฤห์ ก็เมื่อเราไม่ไปจักไม่แทงตลอดสามัญญผล ๓

จะทำกาลกิริยาไร้ที่พึ่ง โดยการพักคืนเดียว แต่ครั้นเมื่อเราไปแล้ว จักแทง

ตลอดสามัญญผล ๓ ก็เราบำเพ็ญบารมีทั้งหลายสิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป

เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชนเท่านั้น เราจักทำการสงเคราะห์แก่กุลบุตร

ปุกกุสาตินั้น ดังนี้ ทรงทำการปฏิบัติพระสรีระ แต่เช้าตรู่ มีพระภิกษุสงฆ์

แวดล้อม เสด็จบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาต

เสด็จเข้าพระคันธกุฏิ ทรงระงับความลำบากในการเดินทางครู่หนึ่ง ทรงพระ-

ดำริว่า กุลบุตรได้ทำกิจที่ทำได้ยากเพราะความเคารพในเรา ละราชสมบัติเกิน

หนึ่งร้อยโยชน์ ไม่ถือเศษผ้า โดยที่สุดแม้คนผู้ให้น้ำบ้วนปาก ออกไปเพียงคน

เดียว ดังนี้ ไม่ตรัสอะไรในพระเถระทั้งหลายมีพระสารีบุตรและพระโมคคัล-

ลานะเป็นต้น พระองค์เองทรงถือบาตรและจีวรของพระองค์เสด็จออกไปเพียง

พระองค์เดียว และเมื่อเสด็จไป ก็ไม่ได้ทรงเหาะไป ไม่ทรงย่นแผ่นดิน. ทรง

พระดำริอีกว่า กุลบุตรละอายต่อเราไม่นั่งแม้ในยานหนึ่ง ในบรรดาช้าง ม้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

รถ และวอทองเป็นต้น โดยที่สุด ไม่สวมรองเท้าชั้นเดียว ไม่กางร่มกระดาษ

ออกไป แม้เราก็ควรไปด้วยเท้าเท่านั้น ดังนี้ จึงเสด็จไปด้วยพระบาท.

พระองค์ทรงปกปิดพระพุทธสิรินี้ คือ อนุพยัญชนะ ๘๐ รัศมี ๑ วา มหาปุริส

ลักษณะ ๓๒ ประการ เสด็จไปด้วยเพศของภิกษุรูปหนึ่ง ดุจพระจันทร์เพ็ญ

ที่หมอกเมฆปกปิดไว้ฉะนั้น โดยปัจฉาภัตเดียวเท่านั้น ก็เสด็จไปได้ ๔๕ โยชน์

ในเวลาพระอาทิตย์ตก ก็เสด็จถึงศาลาของนายช่างหม้อนั้น ในขณะที่กุลบุตร

เข้าไปแล้วนั้นแล. ท่านหมายถึงศาลาของนายช่างหม้อนั้น จึงกล่าวว่า ก็โดย

สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อว่าปุกกุสาติ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาเข้าไปพักในนิเวศน์ของนายช่างหม้อนั้นก่อน ดังนี้

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ครั้นเสด็จไปอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ทรงข่มขู่ว่า

เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จไปยังศาลาของนายช่างหม้อประทับ ยืนที่

ประตูนั้นแล เมื่อจะให้กุลบุตรทำโอกาส จึงตรัสว่า สเจ เต ภิกฺขุ ดังนี้

เป็นต้น. บทว่า อุรุทฺท ได้แก่ สงัดไม่คับแคบ. บทว่า วิหรตายสฺมา

ยถาสุข ความว่า กุลบุตรทำโอกาสว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอยู่เป็นสุข ตาม

อิริยาบถที่มีความผาสุกเถิด. ก็กุลบุตรละราชสมบัติเกินหนึ่งร้อยโยชน์แล้วบวช

จักตระหนี่ศาลาของนายช่างหม้อที่คนอื่นทอดทิ้ง เพื่อพรหมจารีอื่นหรือ.

ก็โมฆบุรุษบางพวกบวชในศาสนาแล้ว ถูกความตระหนี่ทั้งหลายมีความตระหนี่

เพราะอาวาสเป็นต้นครอบงำ ย่อมตะเกียกตะกาย เพราะอาวาสของบุคคลเหล่า

อื่นว่า สถานที่อยู่ของตน เป็นกุฏิของเรา เป็นบริเวณของเรา ดังนี้. บทว่า

นิสีทิ ความว่า พระโลกนาถทรงสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ทรงละพระคันธกุฏิเป็น

เช่นกับ เทพวิมาน ทรงปูลาดสันถัต คือ หญ้า ในศาลาช่างหม้อ ซึ่งมีขี้เถ้า

เรี่ยราดไปทั่ว สกปรกด้วยภาชนะแตก หญ้าแห้ง ขี้ไก่และขี้สุกรเป็นต้น

เป็นเช่นกับที่ทิ้งขยะ ทรงปูปังสุกุลจีวรประทับนั่ง ดุจเสด็จเข้าพระมหาคันธ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

กุฏิ อันมีกลิ่นทิพย์เช่นกับเทพวิมานแล้วประทบนั่งฉะนั้น. ด้วยประการฉะนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอุบัติในพระมหาสัมมตวงศ์อันไม่เจือปน แม้กุลบุตร

ก็เจริญแล้วในขัตติยครรภ์. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงถึงพร้อมด้วยพระ-

อภินิหาร แม้กุลบุตรก็ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี กุลบุตร

ก็ดี ต่างก็ทรงสละราชสมบัติทรงผนวช. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระ-

วรรณะดุจทอง แม้กุลบุตรก็มีวรรณะดุจทอง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี กุลบุตร

ก็ดี ทรงมีลาภคือสมาบัติ. ทั้งสองก็ทรงเป็นกษัตริย์ ทั้งสองก็ทรงถึงพร้อม

ด้วยพระอภินิหาร ทั้งสองก็ทรงผนวชจากราชตระกูล ทั้งสองทรงมีพระวรรณะ

ดุจทอง ทั้งสองทรงมีลาภ คือ สมาบัติ เสด็จเข้าสู่ศาลาของช่างหม้อแล้ว

ประทับนั่ง ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น ศาลาช่างหม้อ จึงงดงามอย่างยิ่ง.

พึงนำสถานที่ทั้งหลายเป็นต้นว่า ถ้ำที่พญาสัตว์ทั้งสองมีสีหะเป็นต้นเข้าไป

แสดงเปรียบเทียบเถิด.

ก็ในบุคคลทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยังแม้พระหฤทัยให้

เกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้สุขุมาล เดินทางมาสิ้น ๔๕ โยชน์ โดยเวลาหลังภัตเดียว

ควรสำเร็จสีหไสยาสักครู่ก่อน ให้หายเหนื่อยจากการเดินทาง ดังนี้ ประทับ

นั่งเข้าผลสมาบัติเทียว. ฝ่ายกุลบุตรก็ไม่ยังจิตให้เกิดขึ้นว่า เราเดินทางมาสิ้น

๑๙๒ โยชน์ ควรนอนพักบรรเทาความเหนื่อยในการเดินทางสักครู่ก่อน ก็นั่ง

เข้าอานาปานจตุตถฌานแล. ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัตินั้น จึงกล่าวว่า

อถโข ภควา พหุเทว รตฺตึ เป็นต้น. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา

ด้วยพระดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่กุลบุตรมิใช่หรือ เพราะเหตุไร จึงไม่

ทรงแสดงเล่า. ตอบว่า ไม่ทรงแสดงเพราะเหตุว่า กุลบุตรมีความเหน็จเหนื่อย

ในการเดินทางยังไม่สงบระงับ จักไม่อาจเพื่อรับพระธรรมเทศนาได้ ขอให้

ความเหน็จเหนื่อยในการเดินทางนั้นของกุลบุตรสงบระงับก่อน. อาจารย์พวก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

อื่นกล่าวว่า ธรรมดานครราชคฤห์เกลือนกล่นด้วยมนุษย์ ไม่สงัดจากเสียง ๑๐

อย่าง เสียงนั้นจะสงบโดยประมาณสองยามครึ่ง พระองค์ทรงรอการสงบเสียง

นั้นจึงไม่ทรงแสดง. นั้นไม่ใช่การณ์. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสามารถเพื่อ

ยังเสียง แม้ประมาณพรหมโลกให้สงบระงับได้ ด้วยอานุภาพของพระองค์.

พระองค์ทรงรอความสงบระงับจากความเหน็จเหนื่อยในการเดินทางก่อน จึงไม่

ทรงแสดง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุเทว รตฺตึ ได้แก่ประมาณสองยาม

ครึ่ง. บทว่า เอตทโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากผล

สมาบัติแล้ว ทรงลืมพระเนตรที่ประดับประดาด้วยประสาทห้าอย่าง ทรงแลดู

ดุจทรงเปิดสีหบัญชรแก้วมณี ในวิมานทองฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระองค์ทรงเห็นกุลบุตรปราศจากการคะนองมือ การ

คะนองเท้าและการสั่นศีรษะ นั่งเหมือนเสาเขื่อนที่ฝังไว้อย่างดีแล้ว เหมือน

พระพุทธรูปทองไม่หวั่นไหว เป็นนิตย์ จึงตรัสว่า เอต ปาสาทิก นุโข

เป็นต้น . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาสาทิโก คือนำมาซึ่งความเลื่อมใส.

ก็คำนั้นเป็นภาวนปุงสกลิงค์. ในคำนั้นมีเนื้อความดังนี้ว่า กุลบุตรย่อมเป็นไป

ด้วยอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส เพราะฉะนั้น อิริยาบถเป็นกิริยาที่น่าเลื่อมใสโดย

ประการใด ก็ย่อมเป็นไปโดยประการนั้น. ในอิริยาบถทั้ง ๔ อย่าง อิริยาบถ

๓ อย่างย่อมไม่งาม. จริงอยู่ ภิกษุเดินไป มือทั้งหลายย่อมแกว่งเท้าทั้งหลาย

ย่อมเคลื่อนไป ศีรษะย่อมสั่น. กายของภิกษุผู้ยืน ย่อมแข็งกระด้าง. อิริยาบถ

แม้ของภิกษุผ้นอน ย่อมไม่น่าพอใจ. แต่เมื่อภิกษุปัดกวาดที่พักกลางวัน ใน

ปัจฉาภัต ปูแผ่นหนัง มีมือและเท้าชำระล้างดีแล้ว นั่งขัดสมาธิอันประกอบ

ด้วยสนธิสี่นั้นเทียว อิริยาบถย่อมงาม. ก็กุลบุตรนี้ขัดสมาธินั่งเข้าอานาปาน-

จตุตถฌาน. กุลบุตรประกอบด้วยอิริยาบถด้วยประการฉะนี้แล. พระผู้มีพร-

ภาคเจ้าทรงปริวิตกว่า กุลบุตรน่าเลื่อมใสหนอแล. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

ทรงปริวิตกว่า เอาเถิดเราควรจะถามดูบ้าง แล้วตรัสถาม เพราะเหตุไร พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงรู้ความที่กุลบุตรนั้น เป็นผู้บวชอุทิศพระองค์หรือ. ตอบ

ว่า ไม่ทรงรู้หามิได้ แต่เมื่อไม่ตรัสถาม ถ้อยคำก็ไม่ตั้งขึ้น เมื่อถ้อยคำไม่ตั้ง

ขึ้นแล้ว การแสดงย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสถาม เพื่อเริ่มตั้งถ้อยคำ

ขึ้น. บทว่า ทิสฺวาปาห น ชาเนยฺย ความว่า ชนทั้งหมดย่อมรู้พระตถาคต

ผู้รุ่งโรจน์ด้วยพุทธสิริว่านี้พระพุทธเจ้า. การรู้นั้นไม่น่าอัศจรรย์. แต่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงปกปิดพระพุทธรัศมีเสด็จไปด้วยอำนาจของภิกษุผู้บิณฑบาตรูป

หนึ่ง จึงรู้ได้ยาก ท่านปุกกุสาติกล่าวสภาพตามเป็นจริงว่า เราไม่รู้ด้วยประการ

ฉะนี้. ความจริงเป็นอย่างนั้น ท่านปุกสุสาติไม่รู้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น แม้

ประทับนั่ง ณ ศาลาช่างหม้อด้วยกัน.

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความเหน็จ-

เหนื่อยในการเดินทางสงบระงับแล้ว ทรงมีพระดำริ. บทว่า เอวมาวุโส

ความว่า กุลบุตรได้อ่านสักว่าสาส์นที่พระสหายส่งไป สละราชสมบัติออกบวช

ด้วยคิดว่าเราจักได้ฟังพระธรรมเทศนาอันไพเราะของพระทศพลครั้น บรรพชา

แล้วก็เดินทางไกลประมาณนี้ ก็ไม่ได้พระศาสดา ผู้ตรัสสักบทว่า ดูก่อนภิกษุ

เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน กุลบุตรนั้นจักไม่ฟังคำที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เราจัก

แสดงธรรมแก่ท่าน โดยเคารพหรือ. กุลบุตรนี้เป็นเหมือนนักเลงสุราที่กระหาย

และเหมือนช้างที่ตกมันฉะนั้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรเมื่อปฏิญาณถึงการฟังโดย

ความเคารพ จึงทูลว่า เอวมาวุโส ดังนี้. บทว่า ฉธาตุโร อย ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้นแก่กุลบุตร แต่ทรงปรารภเพื่อ

ตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะเท่านั้น ซึ่งมีความว่างเปล่าอย่างยิ่งอัน เป็นปทัฏฐาน

แห่งพระอรหัต แต่เบื้องต้น. จริงอยู่ บุพภาคปฏิปทาของผู้ใด ยังไม่บริสุทธิ์

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกบุพภาคปฏิปทานี้ คือ ศีลสังวร ความคุ้มครอง

ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ การประกอบเนือง ๆ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น สัทธรรม ๗ ฌาน ๘ แก่ผู้นั้นก่อนเทียว. แต่

บุพภาคปฏิปทานั้น ของผู้ใด บริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ตรัสบุพ-

ภาคปฏิปทานั้น แต่จักตรัสบอกวิปัสสนานั้นแล ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัต

แก่ผู้นั้น ก็บุพภาคปฏิปทาของกุลบุตรบริสุทธิ์แล้ว. จริงอย่างนั้น กุลบุตร

นั้นอ่านพระสาส์นแล้วขึ้นปราสาทอันประเสริฐนั้นเทียว ยังอานาปานจตุตถฌาน

ให้เกิดขึ้นแล้ว จึงเดินทางไปตลอด ๑๙๒ โยชน์ ยังกิจในยานให้สำเร็จ. แม้

สามเณรศีลของกุลบุตรนั้นก็บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่

ตรัสบุพภาคปฏิปทา แต่ทรงปรารภเพื่อจะตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะอันมีความ

ว่างเปล่าอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตเท่านั้น แก่กุลบุตรนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉธาตุโร ได้แก่ ธาตุ ๖ มีอยู่ บุรุษไม่มี.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสิ่งที่ไม่มี ด้วยสิ่งที่มีในที่ไหน ทรงแสดง

สิ่งที่มีด้วยสิ่งที่ไม่มีในที่ไหน ทรงแสดงสิ่งที่มีด้วยสิ่งที่มีในที่ไหน ทรงแสดงสิ่ง

ที่ไม่มีด้วยสิ่งที่ไม่มีในที่ไหน คำดังกล่าวมานี้พึงให้พิสดารโดยนัยที่กล่าวแล้วใน

สัพพาสวสูตรนี้นั้นแล. แต่ในธาตุวิภังคสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง

สิ่งที่มีด้วยสิ่งที่ไม่มี จึงตรัสอย่างนั้น. ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสละบัญญัติว่า

บุรุษ ตรัสว่า ธาตุเท่านั้นแล้วทรงวางพระหฤทัย กุลบุตรก็พึงทำความสนเท่ห์

ถึงความงงงวยไม่อาจเพื่อรับเทศนาได้. เพราะฉะนั้น พระตถาคตจึงทรงละบัญญัติ

ว่า บุรุษโดยลำดับ ตรัสสักว่า บัญญัติว่า สัตว์ หรือ บุรุษ หรือ บุคคล เท่านั้น

โดยปรมัตถ์ ชื่อว่า สัตว์ ไม่มี ทรงวางพระทัยในธรรมสักว่า ธาตุเท่านั้น

ตรัสไว้ในอนังคณสูตรว่า เราจักให้แทงตลอดผลสาม ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอย่างนี้ ดุจอาจารย์ให้เรียนศิลปะด้วยภาษานั้น เพราะเป็นผู้ฉลาดในภาษา

อื่น. ในธาตุวิภังคสูตรนั้น ธาตุ ๖ ของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึง

ชื่อว่ามีธาตุ ๖. มีอธิบายว่า ท่านย่อมจำบุคคลใดว่า บุรุษ บุคคลนั้นมีธาตุ

๖ ก็ในที่นี้โดยปรมัตถ์ก็มีเพียงธาตุเท่านั้น. ก็บทว่า ปุริโส คือ เป็นเพียง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

บัญญัติ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ปติฏฐาน เรียกว่า อธิษฐาน

ในบทนี้ว่า จตุราธิฏฺาโน ความว่า มีอธิษฐานสี่. มีอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุ

บุรุษนี้นั้นมีธาตุ ๖ มีผัสสอายตนะ ๖ มีมโนปวิจาร ๑๘ ดังนี้. กุลบุตรนั้น

เวียนกลับจากธาตุนี้เทียว ถือเอาอรหัตอันเป็นสิทธิที่สูงสุด ดำรงอยู่ในฐานะ

๔ นี้ ถือเอาพระอรหัต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีอธิษฐาน ๔. บทว่า ยตฺถฏฺิต

ได้แก่ ดำรงอยู่ในอธิษฐานเหล่าใด. บทว่า มญฺสฺสวา นปฺปวตฺตนฺต

ได้แก่ ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญคนเป็นไป. บทว่า มุนิ สนฺโตติ วุจฺจติ ได้แก่

มุนี ผู้พระขีณาสพ เรียกว่า สงบแล้ว คับแล้ว.

บทว่า ปญฺ นปฺปมชฺเชยฺย ความว่า ไม่พึงประมาท สมาธิปัญญา

และวิปัสสนาปัญญา ตั้งแต่ต้นเทียว เพื่อแทงตลอดอรหัตผลปัญญา. บทว่า

สจฺจมนุรกฺเขยฺย ความว่า พึงรักษาวจีสัจ ตั้งแต่ต้นเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง

ปรมัตถสัจ คือ นิพพาน. บทว่า จาคมนุพฺรูเหยฺย ความว่า พึงพอกพูน

การเสียสละกิเลสแต่ต้นเทียว เพื่อทำการสละกิเลสทั้งปวง ด้วยอรหัตมรรค.

บทว่า สนฺติเมว โส สิกฺเขยฺย ความว่า พึงศึกษาการสงบระงับ กิเลส

ตั้งแต่ต้นเทียว เพื่อสงบระงับกิเลสทั้งหมด ด้วยอรหัตมรรค. พระผู้มีพระภาค.

เจ้าตรัสบุพภาคาธิษฐานทั้งหลาย มีสมถวิปัสสนาปัญญาเป็นต้นนี้ เพื่อ

ประโยชน์แก่การบรรลุอธิษฐานทั้งหลายมีปัญญาธิษฐานเป็นต้น ด้วยประการ

ฉะนี้. บุทว่า ผสฺสายตน ความว่า อายตนะ คือ อาการของผัสสะ. บทว่า

ปญฺาธิฏฺาโน เป็นต้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัญญาทั้งหลายมีอรหัตผล

ปัญญาเป็นต้น ซึ่งได้กล่าวแล้วในบทก่อน. บัดนี้ เป็นอันกล่าวถึงบทว่า อัน

เป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเครื่องหมักหมม

เป็นไปด้วยอำนาจแห่งมาติกาที่ตั้งไว้แล้ว. แต่ครั้น บรรลุอรหัตแล้ว กิจด้วย

คำว่า ไม่พึงประมาทปัญญาเป็นต้น ย่อมไม่มีอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวาง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

มาติกาที่มีธาตุกลับกันแล้ว เมื่อจะทรงจำแนกวิภังค์ด้วยอำนาจตามธรรม

เท่านั้น จึงตรัสคำว่า ไม่พึงประมาทปัญญา ดังนี้เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ในบาทคาถานั้น ใครประมาทปัญญา ใครไม่ประมาทปัญญา.

ตอบว่า บุคคลใดบวชในศาสนานี้ก่อนแล้ว สำเร็จชีวิตด้วยอเนสนา ๒๑ วิธี

ด้วยอำนาจกรรมมีเวชกรรม เป็นต้น ไม่อาจเพื่อตั้งจิตตุปบาทโดยสมควรแก่

บรรพชา บุคคลนี้ชื่อว่า ประมาทปัญญา. ส่วนบุคคลใดบวชในศาสนาแล้ว

ตั้งอยู่ในศีล เล่าเรียนพระพุทธพจน์ สมาทานธุดงค์อันเป็นที่สบาย ถือ

กัมมัฏฐานอันชอบจิต อาศัยเสนาสนะอันสงัด กระทำกสิณบริกรรม ยังสมาบัติ

ให้เกิดขึ้น เจริญวิปัสสนาว่าในวันนี้แล พระอรหัตดังนี้ เที่ยวไป บุคคลนี้

ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา. แต่ในสูตรนี้ ได้ตรัสถึงความไม่ประมาทปัญญานั้น

ด้วยอำนาจแห่งธาตุกัมมัฏฐาน. ส่วนคำใดพึงกล่าวในธาตุกัมมัฏฐานนั้น คำนั้น

ได้กล่าวไว้แล้วในสูตรทั้งหลาย มีหัตถิปโทปมสูตรเป็นต้น ในหนก่อนนั้นแล.

ในสูตรนี้ มีอนุสนธิ โดยเฉพาะว่า ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีก คือวิญญาณ

ดังนี้. เพราะได้ตรัสรูปกัมมัฏฐานในหนก่อนแล้ว.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงเปลี่ยนแสดงอรูปกัมมัฏฐาน ด้วย

อำนาจเวทนา จึงทรงปรารภเทศนานี้. ก็หรืออรูปกัมมัฏฐานนี้ใด อันเป็นวิญญาณ

ผู้กระทำกรรม ด้วยอำนาจวิปัสสนาที่ภิกษุนี้ พึงถึงในธาตุทั้งหลายมีปฐวีธาตุ

เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เมื่อจะทรงจำแนกแสดงอรูปกัมมัฏฐานนั้นด้วย

อำนาจวิญญาณธาตุ จึงทรงปรารภเทศนานี้ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อว-

สิสฺสติ ความว่าจะเหลือเพื่อประโยชน์อะไร. จะเหลือเพื่อประโยชน์แก่การ

แสดงของพระศาสดา และเพื่อประโยชน์แก่การแทงตลอดของกุลบุตร. บท

ปริสุทธ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า ปริโยทาต ได้แก่ ประภัสสร.

บทว่า สุขนฺติปิ ปชานาติ ความว่า ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราเสวยสุข ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

เสวยสุขเวทนา. แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าเวทนากถานี้

ไม่ได้ตรัสไว้ในหนก่อนไซร้ ก็ควรเป็นไปเพื่อตรัสไว้ในสูตรนี้ ก็เวทนากถา

นั้นได้ตรัสไว้แล้วในสติปัฏฐานนั้นเทียว เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าว

แล้วในสติปัฏฐานนั้นแล. บทเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุขเวทนีย ได้กล่าวไว้แล้ว

เพื่อแสดงความเกิดขึ้นและความดับ ด้วยอำนาจปัจจัย. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า สุขเวทนีย คือ เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย

ก็นัยนี้เหมือนกัน บทว่า อุเปกฺขาเยว อวสิสฺสติ ความว่า ก็ศิษย์จับมุกดา

ที่อาจารย์ผู้ทำแก้วมณีผู้ฉลาด ร้อยเพชรด้วยเข็มเอามาวางแล้ว วางอีกให้ใน

แผ่นหนังเมื่อทำการร้อยด้วยด้าย ชื่อว่า ทำเครื่องประดับมีตุ้มหูแก้วมุกดาและ

ข่ายแก้วมุกดาเป็นต้น ชื่อฉันใด กุลบุตรนี้เมื่อมนสิการซึ่งกัมมัฏฐานที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสให้แล้ว ชื่อว่า ได้กระทำให้คล่องแคล่ว ฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะฉะนั้น รูปกัมมัฏฐานก็ดี อรูปกัมมัฏฐานก็ดี ได้เกิดคล่องแคล้ว ด้วย

ประการเท่านี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่ คือ

อุเบกขา ดังนี้. ถามว่าจะเหลือเพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อการทรงแสดงของ

พระศาสดา. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพื่อแทงตลอดของกุลบุตรดังนี้บ้าง.

คำนั้นไม่ควรถือเอา. กุลบุตรได้อ่านสาส์นของพระสหายได้ยืนอยู่บนพื้นปราสาท

ยังอานาปานจตุตถฌาณให้เกิดแล้ว ก็อานาปานจตุตถฌานนั้น ย่อมยังยานกิจ

ของกุลบุตรนั้น ผู้เดินทางมาประมาณนี้ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงเหลือเพื่อ

การตรัสของพระศาสดาเท่านั้น. ก็ในฐานะนี้พระศาสดาตรัสคุณในรูปาวจรฌาน

แก่กุลบุตร. เพราะได้ตรัสว่าดูก่อนภิกษุ รูปาวจรจตุตถฌานนี้คล่องแคล้ว

ก่อน ดังนี้. บทว่า ปริสุทฺธา เป็นต้น เป็นการแสดงคุณแห่งอุเบกขา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

นั้นเทียว. บทว่า อกฺก พนฺเธยฺย คือ เตรียมเบ้าเพลิง. บทว่า อาลิมฺเปยฺย

ความว่า ใส่ถ่านเพลิงลงในเบ้านั้นแล้วจุดไฟ เป่าด้วยสูบให้ไฟลุกโพลง.

บทว่า อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ความว่า คีบถ่านเพลิงวางไว้บนถ่านเพลิง

หรือใส่ถ่านเพลิงบนถ่านเพลิงนั้น. บทว่า นีหต คือ มีมลทินอันนำออกไป

แล้ว. บทว่า นินฺนิตกสาว ได้แก่ มีน้ำฝาดออกแล้ว. บทว่า เอวเมว โข

ความว่า ทรงแสดงคุณว่า จตุตถฌานเปกขานี้ ก่อน ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่

ธรรมที่ท่านปรารถนา ในบรรดาธรรมนี้คือ วิปัสสนา อภิญญา นิโรธ

ภโวกกันติ เหมือนทองนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อชนิดแห่งเครื่องประดับ ที่ปรารถนา

และต้องการแล้วฉะนั้น . ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่

ตรัสโทษ เพื่อความผ่องแผ้วจากความใคร่ในรูปาวจรจตุตถฌานแม้นี้ แต่ตรัส

คุณเล่า. ตอบว่า เพราะการยึดมั่นความใคร่ในจตุตถฌานของกุลบุตร มีกำลัง.

ถ้าจะพึงตรัสโทษไซร้ กุลบุตรก็จะพึงถึงความสงสัย ความงงงวยว่า เมื่อเรา

บวชแล้ว เดินทางมาตลอด ๑๙๒ โยชน์ จตุตถฌานนี้ยังยานกิจให้สำเร็จได้

เรามาสู่หนทางประมาณเท่านี้ ก็มาแล้วเพื่อความยินดีในฌานสุข ด้วยฌานสุข

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโทษแห่งธรรมอันประณีตเห็นปานนี้ ทรงรู้หนอแล

จึงตรัส หรือไม่ทรงรู้ จึงตรัส ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสคุณ. ในบทนี้ว่า ตทนุธมฺม ดังนี้ อรูปาวจรฌาน ชื่อว่า ธรรม.

รูปาวจรฌาน เรียกว่าอนุธรรม เพราะเป็นธรรมคล้อยตามอรูปาวจรฌานนั้น

อีกประการหนึ่ง วิปากฌาน ชื่อว่า ธรรม กุศลฌาน ชื่อว่า อนุธรรม.

บทว่า ตทุปาทานา คือ การถือเอาธรรมนั้น. บทว่า จิร ทีฆมทฺธาน

ได้แก่ ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัป. ก็คำนั้น ตรัสด้วยอำนาจแห่งวิบาก. แม้

นอกจากนี้ก็มีนัยเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคุณของอรูปาวจรฌาน โดยวาระ ๔ อย่าง

นี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงโทษแห่งอรูปาวจรฌานนั้น จึงตรัสว่า เธอรู้

ัชัดย่างนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขตเมต ความว่า

ในปฐมพรหมโลกนั้น มีอายุ ๒๐,๐๐๐ กัป แม้ก็จริง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงกระทำจิตนั้นไห้เป็นการปรับปรุง คือความสำเร็จ ความพอกพูน

ก็ย่อมทรงกระทำ. อายุนั้นไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน ชั่วคราว มีการ

เคลื่อนไป แตกดับ และกระจัดกระจายเป็นธรรมดาคล้อยตามความเกิด ถูก

ชราบันทอน อันมรณะครอบงำ ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่เป็น

ที่เร้นลับ ไม่เป็นที่พึ่ง ไม่เป็นที่พึงพาอาศัย. แม้ในวิญญาณายตนะเป็นต้น

ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บัดนี้ เมื่อจะทรงถือเอาเทศนาด้วยยอดคือ อรหัต จึงตรัสว่า บุคคล

นั้น จะไม่คำนึง ดังนี้เป็นต้น. เหมือนหมอ ผู้ฉลาดเห็นความเปลี่ยน.

แปลงแห่งพิษแล้ว กระทำใจให้พิษเคลื่อนจากฐานให้ขึ้นข้างบน ไม่ให้เพื่อ

จับคอหรือศีรษะ ให้พิษตกลงในแผ่นดินฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

คุณในอรูปาวจรฌานแก่กุลบุตรฉันนั้นเหมือนกัน. กุลบุตรครั้นฟังอรูปา-

วจรฌานนั้นแล้ว ครอบงำความใคร่ในรูปาวจรฌาน ตั้งความปรารถนาใน

อรูปาวจรฌาน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความที่กุลบุตรนั้นครอบงำความใคร่

ในรูปาวจรฌานนั้นแล้ว จึงทรงแสดงโทษนั้นทั้งหมด ด้วยบทเดียวเท่านั้นว่า

สงฺขตเมต แก่ภิกษุ ผู้ยังไม่บรรลุ ยังไม่ได้อรูปาวจรฌานนั้นว่า ชื่อว่า

สมบัติในอากาสานัญจายตนะเป็นต้นนั้นมีอยู่ ก็อายุของผู้ได้อากาสานัญจายตนะ

เป็นต้นนั้น ในพรหมโลกที่หนึ่ง มี ๒๐,๐๐๐ กัป ในพรหมโลกที่สองมี

๔๐,๐๐๐ กัป ในพรหมโลกที่สามมี ๖๐,๐๐๐ กัป ในพรหมโลกที่สี่ มี

๘๔,๐๐๐ กัป แต่อายุนั้น ไม่เทียง ไม่ยังยืน ไม่แน่นอน เป็นไปชั่วคราว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

มีการเคลื่อนไป แตกดับ และกระจัดกระจายเป็นธรรมดา คล้อยตามความเกิด

ถูกชราบันทอน อันมรณะครอบงำ ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่เป็น

ที่เร้นลับ ไม่เป็นที่พึ่ง ไม่เป็นที่พึ่งพาอาศัย แม้ได้เสวยสมบัติในพรหมโลก

นั้น ตลอดกาลประมาณเท่านี้ ทำกาลกิริยาอย่างปุถุชนแล้ว พึงตกในอบายสี่อีก.

กุลบุตรได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว ยึดมั่นความใคร่ในอรูปาวจรฌาณ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงทราบความที่กุลบุตรนั้น เป็นผู้ยึดมั่น

ความใคร่ในรูปาวจร และอรูปาวจรแล้ว เมื่อจะทรงถือยอดคืออรหัต จึง

ตรัสว่า บุคคลนั้นจะไม่คำนึง ดังนี้เป็นต้น. ก็หรือว่ามหาโยธะ (นายทหาร

ผู้ใหญ่) คนหนึ่ง ยังพระราชาพระองค์หนึ่งให้พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้

บ้านส่วย ซึ่งมีรายได้หนึ่งแสน. พระราชาทรงระลึกถึงอานุภาพของมหาโยธะ

นั้นว่า โยธะมีอานุภาพมาก เขาได้ทรัพย์น้อย ดังนี้ จึงพระราชทานอีกว่า

ดูก่อนพ่อ บ้านนี้ไม่สมควรแก่ท่าน ท่านจงรับเอาบ้านอื่น ซึ่งมีรายได้ตั้ง

สี่แสน. เขารับสนองพระบรมราชโอการว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า ละบ้านนั้น

แล้วรับเอาบ้านนี้. พระราชาตรัสสั่งให้เรียกมหาโยธะนั้น ผู้ยังไม่ถึงบ้านนั้นแล

ทรงส่งไปว่า ท่านจะมีประโยชน์อะไรด้วยบ้านนั้น อหิวาตกโรค กำลังเกิด

ในบ้านนั้น แต่ในที่โน้น มีนครใหญ่ ท่านพึงยกฉัตรเสวยราชย์ในนครนั้น เถิด

ดังนี้. มหาโยธะนั้น พึงเสวยราชย์อย่างนั้น. ในข้อนั้น พึงเห็นพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าเหมือนพระราชา. ปุกกุสาติกุลบุตรเหมือนมหาโยธะ. อานาปาน-

จตุตถฌาน เหมือนบ้านที่ได้ครั้งแรก. การให้การทำการยึดมั่น ซึ่งความใคร่

ในอานาปานฌานแล้วตรัสอรูป เหมือนกาลให้มหาโยธะสละบ้านนั้น แล้ว.

ตรัสว่า เจ้าจงถือเอาบ้านนี้ . การที่ให้กุลบุตรนั้นเปลี่ยนการปรารถนาในสมาบัติ

เหล่านั้น ที่ยังไม่ถึง ด้วยการทรงแสดงโทษในอรูปว่า สงฺขตเมต แล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

ทรงถือเอาเทศนาด้วยยอดคืออรหัตในเบื้องสูง เหมือนกาลที่ตรัสสั่งให้เรียก

มหาโยธะ ซึ่งยังไม่ถึงบ้านนั้นแล้ว ตรัสว่า ท่านจะมีประโยชน์อะไร ด้วย

บ้านนั้น อหิวาตกโรคกำลังเกิดในบ้านนั้น ในที่โน้นมีนคร ท่านจงยกฉัตร

เสวยราชย์ในนครนั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนว อภิสงฺขโรติ คือไม่สั่งสม ได้แก่

ไม่ทำให้เป็นกอง. บทว่า น อภิสญฺเจตยติ คือ ไม่ให้สำเร็จ บทว่า

ภวาย วา วิภวาย วา ได้แก่ เพื่อความเจริญ หรือเพื่อความเสื่อม พึง

ประกอบแม้ด้วยอำนาจแห่งสัสสตะและอุจเฉทะ. บทว่า น กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ

ความว่า ไม่ถือ ไม่ลูบคลำ แม้ธรรมหนึ่งอะไร ๆ ในธรรมทั้งหลายมีรูป

เป็นต้นในโลก ด้วยตัณหา. บทว่า นาปร อิตฺถตฺตายาติ ปชานาติ

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งอยู่ในพุทธวิสัยของพระองค์ ทรงถือยอด

คืออรหัต ด้วยเทศนา. ส่วนกุลบุตรแทงตลอดสามัญผล ๓ ตามอุปนิสัยของตน.

พระราชาเสวยโภชนะมีรสต่างๆ ด้วยภาชนะทองคำทรงปั้นก้อนข้าวโดยประมาณ

ของพระองค์ ครั้นเมื่อพระราชกุมารประทับนั่ง ณ พระเพลา แสดงความ

อาลัยในก้อนข้าวพึงทรงน้อมก้อนข้าวนั้น. กุมารทรงทำคำข้าว โดยประมาณ

พระโอษฐ์ของพระองค์ พระราชาทรงเสวยคำข้าวที่เหลือด้วยพระองค์เองหรือ

ทรงใส่ในจานฉันใด พระตถาคตผู้ธรรมราชาก็ฉันนั้น เมื่อทรงถือยอดคือ

พระอรหัต โดยประมาณพระองค์ ทรงแสดงเทศนา. กุลบุตรแทงตลอด

สามัญญผล ๓ ตามอุปนิสัยของตน. ก็ในกาลก่อนแต่นี้ กุลบุตรนั้นแสดงกถา

อันประกอบด้วยไตรลักษณ์ อันมีความว่างเปล่าอย่างยิ่ง เห็นปานนี้ว่า ขันธ์

ธาตุ อายตนะ ทั้งหลาย ย่อมไม่กังขา ย่อมไม่สงสัยว่า นัยว่าไม่เป็นอย่างนั้น

ข้อนั้นอาจารย์ของเรากล่าวแล้วอย่างนี้ ทราบว่า ความเป็นคนเขลา ความเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

ผู้ผิด ไม่มีด้วยประการฉะนี้. ได้ยินว่า ในฐานะบางอย่าง พระพุทธเจ้าทั้ง

หลาย เสด็จไปด้วยเพศอันบุคคลไม่รู้ได้. ได้มีความสงสัย มีความเคลือบแคลง

ว่า นั่นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนอแล. เพราะกุลบุตรนี้แทงตลอดอนาคามิ

ผลแล้วในกาลนั้น จึงถึงความตกลงว่า บุคคลนี้คือ พระศาสดาของเรา. ถามว่า

เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร กุลบุตรจึงไม่แสดงโทษล่วงเกินเล่า. ตอบว่า

เพราะไม่มีโอกาส. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำวาระอันไม่ตัดแล้วด้วยมาติกา

ตามที่ทรงยกขึ้นแล้ว จึงทรงแสดงพระเทศนา ดุจทรงให้หยั่งลงสู่อากาศคงคา

ฉะนั้นแล.

บทว่า โส คือ พระอรหันต์นั้น. บทว่า อนชฺโฌสิตา ความว่า

รู้ชัดว่า ไม่ควรแล้ว เพื่อกลืน ติดใจ ถือเอา. บทว่า อนภินนฺทิตา คือ

รู้ชัดว่า ไม่ควรแล้วเพื่อเพลิดเพลินด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฐิ. บทว่า

วิสยุตฺโต น เวนิยติ ความว่า ก็ถ้าว่า ราคานุสัยเพราะปรารภสุขเวทนา

ปฏิฆานุสัยเพราะปรารภทุกขเวทนา อวิชชานุสัยเพราะปรารภเวทนา

นอกนี้ พึงเกิดแก่บุคคลนั้นไซร้ บุคคลนั้นก็ชื่อว่า ประกอบพร้อมแล้วเสวย.

แต่เพราะไม่เกิดจึงชื่อว่าไม่ประกอบเสวยคือสลัดออกแล้ว พ้นวิเศษแล้ว.

บทว่า กายปริยนฺติก ความว่า เวทนา ซึ่งเกิดขึ้นมีกายเป็นที่สุด จนถึง

ความเป็นไปแห่งกาย ต่อแต่นั้น ก็ไม่เกิด. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อภินนฺทิตานิ สีติภวิสฺสนฺติ ความว่า ความเสวยอารมณ์ทั้งหมด

เป็นอันชื่อว่าไม่ยินดีแล้ว เพราะความที่กิเลสทั้งหลายไม่มีพิเศษ ในอายตนะ

สิบสอง จักดับในอายตนะสิบสองนี้นั้นเทียว. ก็กิเลสทั้งหลายแม้ดับแล้วเพราะ

มาถึงนิพพาน ย่อมไม่มีในที่ใด เรียกว่า ดับแล้วในที่นั้น. เนื้อความนี้นั้น.

พึงแสดงด้วยสมุทยปัญหาว่า ตัณหานั้น เมื่อจะดับย่อมดับในที่นั้น. เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดแม้เป็นธรรม

ชาติสงบแล้ว เพราะอาศัยนิพพาน จักเป็นของสงบในโลกนี้แล. ถามว่า ก็

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเสวยอารมณ์ทั้งหลาย ในที่นี้มิใช่หรือ ทำไมจึง

ไม่ตรัสกิเลสทั้งหลายเล่า. ตอบว่า เพราะแม้ความเสวยอารมณ์ทั้งหลาย จะ

เป็นของสงบ เพราะไม่มีกิเลสนั้นเทียว. ธรรมดาความที่ความเสวยอารมณ์ทั้ง

หลายเป็นของสงบ ไม่มีในฐานะนอกนี้ เพราะฉะนั้น คำนั้นกล่าวดีแล้ว. นี้

เป็นการเปรียบเทียบอุปมาในบทนี้ว่า เอวเมว โข เหมือนบุรุษคนหนึ่ง เมื่อ

ประทีปน้ำมัน ไหม้อยู่ ครั้นน้ำมันหมดแล้ว ก็เติมน้ำมันเหล่านั้น เมื่อไส้หมด

ก็ใส่ไส้ เมื่อเป็นเช่นนั้นเปลวประทีปก็ไม่ดับฉันใด ปุถุชนก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ตั้งอยู่ในภพหนึ่ง ย่อมทำกุศลและอกุศล เขาก็จะเกิดในสุคติและในอบายทั้ง

หลาย เพราะกุศลและอกุศลนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เวทนาทั้งหลายก็ยังไม่ขาด

สูญนั้นเทียว. อนึ่ง คนหนึ่งกระสันในเปลวประทีปแอบซ่อนด้วยคิดว่า เพราะ

อาศัยบุรุษนี้ เปลวประทีปจึงไม่ดับ ดังนี้ พึงตัดศีรษะของบุรุษนั้น. เพราะ

ไม่ใส่ไส้และไม่เติมน้ำมันอย่างนี้ เปลวประทีปที่หมดเชื้อ ก็ย่อมดับฉันใด

พระโยคาวจรผู้กระสันในปวัตติกาลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตัดขาดกุศลและ

อกุศล ด้วยอรหัตมรรค. เพราะความที่กุศลนั้น ถูกตัดขาดแล้ว ความเสวย

อารมณ์ทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้นอีกแก่ภิกษุผู้ขีณาสพ เพราะความแตกแห่งกาย

ดังนี้

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะอรหัตผลปัญญา ยิ่งกว่าสมาธิปัญญา

และวิปัสสนาปัญญาในเบื้องต้น . บทว่า เอว สมนฺนาคโต ความว่า ผู้

ประกอบพร้อมด้วยอรหัตผลปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ อันสูงสุดนี้.

ญาณในอรหัตมรรค ชื่อว่า ญาณในความสิ้นไปซึ่งทุกข์ทั้งปวง แต่ในสูตรนี้

ทรงประสงค์ญาณในอรหัตผล. เพราะเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า ความหลุดพ้น

ของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดังนี้. ก็ในบทเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ อรหัตผลวิมุตติ. บทว่า สจฺจ ได้แก่ ปรมัตถสัจ

คือ นิพพาน. ความหลุดพ้นนั้นตรัสว่า ไม่กำเริบ เพราะทำอารมณ์อันไม่

กำเริบด้วยประการฉะนี้ . บทว่า มุสา ได้แก่ ไม่จริง. บทว่า โมสธมฺม

ได้แก่ สภาพที่พินาศ. บทว่า ต สจฺจ ความว่า สัจจะนั้นเป็นของแท้มีสภาพ.

บทว่า อโมสธมฺม ได้แก่มีสภาพไม่พินาศ. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะ

ปรมัตถสัจ คือ นิพพานนั้นแล สูงกว่าวจีสัจบ้าง ทุกขสัจและสมุทัยสัจบ้าง

ด้วยอำนาจแห่งสมถะและวิปัสสนาแต่ต้น. บทว่า เอว สมนฺนาคโต ความว่า

ผู้ประกอบพร้อมด้วยปรมัตถสัจจาธิษฐานอันสูงสุดนี้. บทว่า ปุพฺเพ คือ ใน

กาลเป็นปุถุชน. บทว่า อปธี โหนฺติ ได้แก่ อุปธิ เหล่านั้นคือ ขันธูปธิ

กิเลสูปธิ อภิสังขารูปธิ ปัญจกามคุณูปธิ. บทว่า สมตฺตา สมาทินฺนา

ความว่า บริบูรณ์คือถือเอาแล้ว ได้แก่ลูบคลำแล้ว. บทว่า ตสฺมา ความ

ว่า เพราะการสละกิเลสด้วยอรหัตมรรคนั้นแลดีกว่าการสละกิเลสด้วยอำนาจ

แห่งสมถะ และวิปัสสนาแต่ต้น และกว่าการสละกิเลสด้วยโสดาปัตติมรรคเป็น

ต้น. บทว่า เอว สมนฺนาคโต คือ ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยจาคาธิษฐาน

อันสูงสุดนี้. ชื่อว่า อาฆาฏะ ด้วยอำนาจแห่งการทำการล้างผลาญ ในคำเป็น

ต้นว่า อาฆาโฏ. ชื่อว่า พยาบาทด้วยอำนาจแห่งการปองร้าย. ชื่อว่า สัมปโทสะ

ด้วยอำนาจแห่งการประทุษร้ายทุกอย่าง. ท่านกล่าวอกุศลมูลเท่านั้น ด้วยบท

ทั้ง ๓. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการสงบระงับกิเลสด้วยอรหัตมรรคนั้น

แล สูงกว่าการสงบระงับกิเลสด้วยอำนาจแห่งสมถะและวิปัสสนาแต่เบื้องต้น.

และการสงบระงับกิเลสด้วยโสดาปัตตมรรคเป็นต้น . บทว่า เอว สมนฺนาคโต

ความว่า ผู้ประกอบพร้อมด้วยอุปสมาธิษฐานอันอุดมนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

บทว่า มญฺิตเมต ความว่าความสำคัญ แม้ ๓ อย่างคือ ตัณหามัญญิตะ

มานมัญญิตะ ทิฏฐิมัญญิตะ ย่อมเป็นไป. ก็บทนี้ว่า อสฺสมห ในบทนี้ว่า

อหมสฺมิ คือความสำคัญตัณหานั้นเทียว ย่อมเป็นไป. ชื่อว่า โรค เพราะ

อรรถว่า เบียดเบียน ในบทว่า โรโค เป็นต้น. ชื่อว่า คัณฑะ เพราะ

อรรถว่า ประทุษร้ายในภายใน. ชื่อว่า สัลละ เพราะอรรถว่าเสียดแทงเนือง ๆ.

บทว่า มุนิ สนฺโตติ วุจฺจติ ความว่าบุคคลนั้นเรียกว่า มุนีผู้พระขีณาสพ

ผู้สงบแล้ว คือ ผู้สงบระงับแล้วดับทุกข์แล้ว. บทว่า ยตฺถ ิต คือ ตั้งอยู่

ในฐานะใด. บทว่า สงฺขิตฺเตน ความว่า ก็พระธรรมเทศนาแม้ทั้งหมด ของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ย่อแล้วเทียว. ชื่อว่า เทศนาโดยพิสดารไม่มี. แม้สมันต-

ปัฏฐานกถาก็ย่อแล้วนั้นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเทศนาให้ถึงตามอนุสนธิ

ด้วยประการฉะนี้. ก็ในบุคคล ๔ จำพวก มีอุคฆฏิตัญญูเป็นต้น ปุกกุสาตีกุล-

บุตร เป็นวิปัจจิตัญญู พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธาตุวิภังคสูตรนี้ ด้วย

อำนาจแห่งวิปัจจิตัญญู ด้วยประการฉะนี้. ในบทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

บาตร และ จีวรของข้าพระองค์ ยังไม่ครบแล มีคำถามว่า เพราะเหตุไร

บาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์จึงไม่เกิดขึ้นแก่กุลบุตรเล่า. ตอบว่า เพราะความ

ที่บริขาร ๘ อย่าง อันกุลบุตรไม่เคยให้ทานแล้วในกาลก่อน. กุลบุตรมีทานเคย

ถวายแล้ว มีอภินิหารได้กระทำแล้ว จึงไม่ควรกล่าวว่า เพราะความที่ทานไม่

เคยให้แล้ว. ก็บาตรและจีวรอันสำเร็จแต่ฤทธิ์ ย่อมเกิดแก่สาวกทั้งหลายผู้มีภพ

สุดท้ายเท่านั้น. ส่วนกุลบุตรนี้ยังมีปฏิสนธิอีก. เพราะฉะนั้น บาตรและจีวรที่

สำเร็จด้วยฤทธิ์ จึงไม่เกิดขึ้น. ถามว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้

มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงแสวงหาด้วยพระองค์เองให้ถึงพร้อมเล่า. ตอบว่าเพราะ

พระองค์ไม่มีโอกาส. อายุของกุลบุตรก็สิ้นแล้ว. มหาพรหมผู้อนาคามีชั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

สุทธาวาส ก็เป็นราวกะมาสู่ศาลาช่างหม้อแล้วนั่งอยู่. เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรง

แสวงหาด้วยพระองค์เอง. บทว่า ปตฺตจีวร ปริเยสน ปกฺกามิ ความว่า

ท่านปุกกุสาติหลีกไปในเวลานั้น เมื่ออรุณขึ้นแล้ว.

ได้ยินว่า การจบพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า การขึ้นแห่ง

อรุณ และการเปล่งพระรัศมี ได้มีในขณะเดียวกัน. นัยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงจบพระเทศนาแล้ว ทรงเปล่งพระรัศมี มีสี ๖ ประการ. นิเวศน์แห่งช่าง

หม้อทั้งสิ้น ก็โชติช่วงเป็นอันเดียวกัน. พระฉัพพัณณรัศมี ชัชวาลย์แผ่ไป

เป็นกลุ่ม ๆ ทำทิศทางทั้งปวงให้เป็นดุจปกคลุมด้วยแผ่นทองคำ และดุจรุ่งเรื่อง

ด้วยดอกดำและรัตนะอันประเสริฐซึ่งมีสีต่าง ๆ. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อธิษฐานว่า ขอให้ชาวพระนครทั้งหลาย จงเห็นเรา ดังนี้. ชาวพระนครทั้ง-

หลายเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ต่างก็บอกต่อๆ กันว่า ได้ยินว่า พระศาสดา

เสด็จมาแล้ว นัยว่า ประทับ นั่ง ณ ศาลาช่างหม้อ แล้วกราบทูลแด่พระราชา.

พระราชาเสด็จไปถวายบังคมพระศาสดาแล้วตรัสถามว่า พระองค์เสด็จมาแล้ว

เมื่อไร. เมื่อเวลาพระอาทิตย์ตกวานนี้ มหาบพิตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

มาด้วยกรรมอะไร. พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของพระองค์ทรงฟังพระราช

สาส์นที่มหาบพิตรส่งไปแล้ว เสด็จออกบวช เสด็จมาเจาะจงอาตมาภาพ ล่วง

เลยกรุงสาวัตถีเสด็จมาสิ้น ๕ โยชน์. เสด็จเข้าสู่ศาลาช่างหม้อนี้แล้วประทับ นั่ง

อาตมภาพจึงมา เพื่อสงเคราะห์พระสหายของมหาบพิตร ได้แสดงธรรมกถา

กุลบุตรทรงแทงตลอดผล ๓ มหาบพิตร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ พระ-

เจ้าปุกกุสาติประทับ อยู่ที่ไหน พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระเจ้า

ปุกกุสาติกุลบุตรทรงขออุปสมบทแล้ว เสด็จไปเพื่อทรงแสวงหาบาตรและจีวร

เพราะบุตรและจีวรยังไม่ครบบริบูรณ์. พระราชาเสด็จไปทางทิศทางที่กุลบุตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

เสด็จไป. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเหาะไปปรากฏ ณ พระคันธกุฏีในพระ-

เชตวันนั้นแล. แม้กุลบุตรเมื่อแสวงหาบาตรและจีวร ก็ไม่ไปสู่สำนักของพระ-

เจ้าพิมพิสาร และของพวกพ่อค้าเดินเท้า ชาวเมืองตักกศิลา. ได้ยินว่า กุลบุตร

นั้นคิดอย่างนี้ว่า การที่เลือกแสวงหาบาตรและจีวรที่พอใจและไม่พอใจในสำนัก

นั้น ๆ แล ไม่สมควรแก่เราผู้ดุจไก่ พระนครใหญ่ จำเราจักแสวงหาที่ท่าน้ำ

ป่าช้า กองขยะ และตามตรอก ดังนี้. กุลบุตรปรารภเพื่อแสวงหาเศษผ้าที่

กองขยะในตรอกก่อน.

บทว่า ชีวิตา โวโรเปสิ ความว่า แม่โคลูกอ่อนหมุนไปวิ่งมา ขวิด

กุลบุตรนั้น ผู้กำลังแลดูเศษผ้าในกองขยะแห่งหนึ่ง ให้กระเด็นขึ้นถึงความตาย

กุลบุตรผู้ถูกความหิวครอบงำ ถึงความสิ้นอายุในอากาศนั่นเทียว ตกลงมา

นอนคว่ำหน้าในที่กองขยะ เป็นเหมือนรูปทองคำฉะนั้น. ก็แลทำกาละแล้วไป

เกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา. พอเกิดแล้วก็บรรลุพระอรหัต. ได้ยินว่า ชนที่

สักว่าเกิดแล้วในอวิหาพรหมโลกมี ๗ คน ได้บรรลุพระอรหัต สมจริง

ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ภิกษุ รูป เข้าถึงอวิหาพรหมโลก

แล้ว หลุดพ้น มีราคะและโทสะสิ้นแล้ว

ข้ามตัณหาในโลก และท่านเหล่านั้น ข้าม

เปลือกตม บ่วงมัจจุราช ซึ่งข้ามได้แสน

ยาก ท่านเหล่านั้นละโยคะ ของมนุษย์

แล้ว เข้าถึงโยคะอันเป็นทิพย์.

ท่านเหล่านั้น คือ อุปกะ ๑ ปล-

คัณฑะ ๑ ปุกกุสาติ ๑ รวม ๓ ภัททิยะ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

ขันฑเทวะ ๑ พาหุทัตติ ๑ ปิงคิยะ ๑

ท่านเหล่านั้น ละโยคะของมนุษย์แล้ว

เข้าถึงโยคะอันเป็นทิพย์ ดังนี้.

ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารทรงพระราชดำริว่า พระสหายของเราได้อ่าน

สักว่าสาล์นที่เราส่งไป ทรงสละราชสมบัติ ที่อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ เสด็จมาทาง

ไกลประมาณเท่านี้ กิจที่ทำได้ยากอันกุลบุตรได้ทำแล้ว เราจักสักการะเข้า

ด้วยเครื่องสักการะของบรรพชิต ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า พวกท่านจงไปตามหา

พระสหายของเรา ดังนี้. ราชบริวารทั้งหลายที่ถูกส่งไปในที่นั้น ๆ ได้เห็น

กุลบุตรนั้น. เห็นเขาล้มลงที่กองขยะ กลับมาทูลแด่พระราชา. พระราชาเสด็จ

ไปทรงเห็นกุลบุตรแล้ว ทรงคร่ำครวญว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราไม่ได้เพื่อ

ทำสักการะแก่พระสหายหนอ พระสหายของเราไม่มีที่พึ่งแล้ว ตรัสสั่งให้นำ

กุลบุตรด้วยเตียง ทรงตั้งไว้ในโอกาสอันสมควร ตรัสสั่งให้เรียกผู้อาบน้ำให้

และช่างกัลบกเป็นต้น โดยให้รู้ถึงการทำสักการะแก่กุลบุตรผู้ยังไม่ได้อุปสมบท

ทรงให้อาบพระเศียรของกุลบุตร ทรงไห้นุ่งผ้าอันบริสุทธิ์เป็นต้น ทรงให้ตก

แต่งด้วยเพศของพระราชา ทรงยกขึ้นสู่วอทอง ทรงให้ทำการบูชา ด้วยวัตถุ

ทั้งหลายมีดนตรี ของหอมและมาลาทุกอย่างเป็นต้น ทรงนำออกจากพระนคร

ทรงให้ทำมหาจิตกาธาน ด้วยไม้หอมเป็นอันมาก ครั้นทรงทำสรีรกิจของกุล-

บุตรแล้ว ทรงนำเอาพระธาตุมาประดิษฐ์ไว้ในพระเจดีย์. คำที่เหลือในบททั้ง

ปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาธาตุวิภังคสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

๑๑. สัจจวิภังคสูตร

[๖๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขต

เมืองพาราณสี. สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว.

[๖๙๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศธรรมจักรอัน ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือ

เทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้ทรง

บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔

อริยสัจ ๔ เหล่าไหน คือ ทรงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

ทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธ-

คามินีปฏิปทาอริยสัจ ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศธรรมจักร

อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ

หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก

ยังไม่เคยประกาศ ได้ทรง บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ นี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเสพ จงคบสารี

บุตรและโมคคัลลานะเถิด ทั้งสองรูปนี้เป็นบัณฑิตภิกษุ ผู้อนุเคราะห์ผู้ร่วม

ประพฤติพรหมจรรย์ สารีบุตรเปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด โมคคัลลานะเปรียบ

เหมือนผู้บำรุงเลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว สารีบุตรย่อมแนะนำโสดาปัตติผล โมคคัล-

ลานะ ย่อมแนะนำในผลชั้นสูง สารีบุตรพอที่จะบอก แสดงบัญญัติ แต่งตั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้พระสุคต ได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปยังพระวิหาร.

[๗๐๐] ขณะนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน

พระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่า

นั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนท่าน

ผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศธรรมจักร

อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ

หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก ยัง

ไม่เคยประกาศ ได้ทรงบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

ทำให้ง่ายซึ่งอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เหล่าไหน คือ ทรงบอก แสดง บัญญัติ

แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัยอริยสัจ

ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๗๐๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน คือ

ชาติก็เป็นทุกข์ ชราก็เป็นทุกข์ มรณะก็เป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดย

ประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ได้แก่ ความเกิด ความ

เกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่ง

ขันธ์ ความได้เฉพาะซึ่งอายตนะ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ

นี้เรียกว่า ชาติ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชราเป็นไฉน ได้แก่ ความแก่ ความ

คร่ำคร่า ความเป็นผู้มีฟันหัก มีผมหงอก มีหนังย่น ความเสื่อมอายุ ความ

หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ นี้เรียกว่า ชรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มรณะเป็นไฉน ได้แก่ ความจุติ ความ

เคลื่อนไปความแตก ความอันตรธาน ความตาย ความมรณะ การทำกาละ

ความสลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่าง ความขาดชีวิตนทรีย์ จากหมู่สัตว์

นั้น ๆ ของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็โสกะเป็นไฉน ได้แก่ ความโศก

ความเศร้า ความเหี่ยวแห้งใจ ความเที่ยวแห้งภายใน ความเที่ยวแห้งรอบใน

ภายใน ของบุคคลผู้ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์

อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่า โสกะ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปริเทวะเป็นไฉน ได้แก่ ความรำพัน

ความร่ำไร้ กิริยารำพัน กิริยาร่ำไร ลักษณะที่รำพัน ลักษณะที่ร่ำไร ของ

บุคคลที่ประจวบกับความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง

หนึ่งถูกต้องแล้ว นี้เรียกว่า ปริเทวะ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขะเป็นไฉน ได้แก่ ความลำบากกาย

ความไม่สบายกาย ความเสวยอารมณ์ที่ลำบาก ที่ไม่สบาย อันเกิดแต่สัมผัส

ทางกาย นี้เรียกว่า ทุกขะ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็โทมนัสเป็นไฉน ได้แก่ ความลำบากใจ

ความไม่สบายใจ ความเสวยอารมณ์ที่ลำบาก ที่ไม่สบาย อันเกิดแต่สัมผัส

ทางใจ นี้เรียกว่า โทมนัส.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปายาสเป็นไฉน ได้แก่ ความคับใจ

ความแค้นใจ ลักษณะที่คับใจ ลักษณะที่แค้นใจ ของบุคคลผู้ประจวบกับ

ความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว

นี้ เรียกว่า อุปายาส.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์เป็น

ไฉน ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้น

อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องเกิดเป็นธรรมดา และความเกิดอย่าพึงมาถึง

เราเลย อันข้อนี้ ใคร ๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า

ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา เกิด

ความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องแก่เป็นธรรมดา และ

ความแก่อย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใคร ๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่

ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความ

เจ็บไข้เป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้อง

เจ็บไข้เป็นธรรมดา และความเจ็บไข้อย่าพึงมาถึงเราเลย อันข้อนี้ ใคร ๆ

จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่ได้สมปรารถนา

เป็นทุกข์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความตายเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่าง

นี้ว่า โอหนอ ขอเราอย่าต้องตายเป็นธรรมดา และความตายอย่าพึงมาถึงเรา

เลย อันข้อนี้ ใคร ๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า

ความไม่ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ

โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ

ขอเราอย่าต้องมีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดา

และโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาสอย่าพึงมาถึงเราเลย อัน

ข้อนี้ ใคร ๆ จะสำเร็จตามความปรารถนาไม่ได้เลย แม้นี้ก็ชื่อว่า ความไม่

ได้สมปรารถนาเป็นทุกข์.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็โดยประมวลแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็น

ทุกข์ เป็นไฉน คืออย่างนี้ อุปาทานขันธ์ คือรูป คือเวทนา คือสัญญา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

คือสังขาร คือวิญญาณ เหล่านั้น โดยประมวลแล้ว ชื่อว่า อุปาทานขันธ์ ๕

เป็นทุกข์.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ.

[๗๐๒] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน

ได้แก่ตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความ

ยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา

วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.

[๗๐๓] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน

ได้แก่ ความดับด้วยอำนาจคลายกำหนัดไม่มีส่วนเหลือ ความสละ ความสลัด

คืน ความปล่อย ความไม่มีอาลัย ซึ่งตัณหานั้นนั่นแล นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ

อริยสัจ.

[๗๐๔] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

เป็นไฉน ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐนี้แล ซึ่งมีดังนี้ (๑) สัมมาทิฐิ

(๒) สัมมาสังกัปปะ (๓) สัมมาวาจา (๔) สัมมากัมมันตะ (๕) สัมมาอาชีวะ

(๖) สัมมาวายามะ (๗) สัมมาสติ (๘) สัมมาสมาธิ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ได้แก่ ความรู้ใน

ทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุก นิโรธคามินี

ปฏิปทา นี้เรียกว่าสัมมาทิฐิ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ได้แก่ความดำริ

ในเนกขัมมะ ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้

เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน ได้แก่ เจตนา

เป็นเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ จากพูดส่อเสียด จากพูดคำหยาบ จากเจรจา.

เพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ได้แก่ เจตนา

เป็นเครื่องงดเว้น จากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร นี้

เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน คือ อริยสาวก

ในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาชีพแล้ว สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ นี้เรียกว่า

สัมมาอาชีวะ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาวายามะเป็นไฉน คือ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต

ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดได้เกิดขึ้น ๑ เพื่อละอกุศล

ธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วเสีย ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้น.

เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฝือ เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ และบริบูรณ์ของกุศล-

ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา

เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตะ. เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความ

เพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ นี้เรียกว่า

สัมมาสติ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน คือ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร

มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน . . . อยู่ เป็นผู้วางเฉย เพราะ

หน่ายปีติ มีสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน. . .อยู่

เข้าจตุตถฌาน . . .อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคานินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๗๐๕] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ได้ทรงประกาศธรรมจักรอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ป่าอิสิปตน

มิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร

หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก ยังไม่เคยประกาศ ได้แก่ ทรงบอก ทรง

แสดง ทรงบัญญัติ ทรงแต่งตั้ง ทรงเปิดเผย ทรงจำแนก ทรงทำให้ง่ายซึ่ง

อริยสัจ ๔ นี้.

ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีภาษิต

ของท่านพระสารีบุตรแล.

จบ สัจจวิภังคสูตร ที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

อรรถกถาสัจจวิภังคสูตร

สัจจวิภังคสูตร เริมต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาจิกฺขนา ความว่า นี้ชื่อว่า ทุกข์

อริยสัจ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. แม้ในบทที่เหลือ

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อนึ่ง ในที่นี้ การตั้งสัจจะมีทุกขสัจเป็นต้น ชื่อว่า การ

บัญญัติ. ก็บุคคลทั้งอาสนะ เรียกว่า บัญญัติอาสนะ. บทว่า ปฏฺปนา คือ

การบัญญัติ. บทว่า วิวรณา คือ การทำเปิดเผย. บทว่า วิภชฺนา คือ

ทำการจำแนก. บทว่า อุตฺตานีกมฺม ได้แก่ทำให้ปรากฏ. บทว่า อนุคฺครหกา

ความว่า อนุเคราะห์ด้วยการสงเคราะห์ แม้ ๒ อย่าง คือ อามิสสงเคราะห์

ธรรมสงเคราะห์. บทว่า ชเนตา คือ มารดาผู้ให้เกิด. บทว่า อาปาเทตา

คือ ผู้เลี้ยง ทรงแสดงว่า โมคคัลลานะดุจมารดาผู้เลี้ยง. ก็มารดาผู้ให้เกิด.

งดเว้นของเค็มและของเปรี้ยวเป็นต้น ตลอด ๙ เดือนหรือ ๑๐ เดือน ทรง

ทารกไว้ในท้อง ให้มารดาเลี้ยง คือ แม่นม รับทารกที่ออกจากท้อง. มารดานั้น

เลี้ยงทารกด้วยน้ำนม และเนยสด เป็นต้นให้เจริญ. ทารกนั้นอาศัยความเจริญ

เที่ยวไปตามสบาย. พระสารีบุตรเถระก็เป็นอย่างนั้น สังเคราะห์บรรพชิต

ทั้งหลาย ในสำนักของตน หรือของภิกษุเหล่าอื่น ด้วยการสงเคราะห์ ๒ อย่าง

ปฏิบัติบรรพชิตผู้ไข้ ชักชวนในกัมมัฏฐาน รู้ความเป็นพระโสดาบันแล้ว

จำเดิมแต่กาลบรรพชิตเหล่านั้นออกจากภัยในอบายทั้งหลาย บัดนี้ ก็เป็นผู้ไม่

สนใจในบรรพชิตเหล่านั้นว่า พวกเขาจักยังมรรคเบื้องสูงให้เกิดขึ้นด้วยการ

กระทำของบุรุษ เฉพาะตนแล้ว กล่าวสั่งสอนบรรพชิตใหม่ ๆ เหล่าอื่น. ฝ่าย

พระมหาโมคคัลลานะ สงเคราะห์บรรพชิตทั้งหลายในสำนักของตน หรือของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

ภิกษุเหล่าอื่นเช่นนั้นเหมือนกัน ชักชวนในกัมมัฏฐาน ย่อมไม่ถึงความเป็นผู้

ไม่สนใจในบรรพชิตทั้งหลาย แม้บรรลุแล้วซึ่งผล ๓ ในเบื้องต่ำ. ทราบว่า

เพราะเหตุไร พระมหาโมคคัลลานะนั้น จึงมีความคิดอย่างนี้. สมดังพระดำรัส

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คูถแม้มีประมาณน้อยก็มี

กลิ่นเหม็น มูตร น้ำลาย น้ำหนอง เลือด แม้มีประมาณน้อยก็มีกลิ่นเหม็น

แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่สรรเสริญภพแม้มีประมาณน้อย

โดยที่สุด แม้สักว่าแอบอิงนางฟ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้. เพราะฉะนั้น

พระมหาโมคคัลลานะจึงไม่ถึงความเป็นผู้ไม่สนใจในบรรพชิตเหล่านั้น จนกว่า

พวกเขายังไม่บรรลุอรหัต ย่อมถึงความเป็นผู้ไม่สนใจในบรรพชิตทั้งหลาย

แม้ผู้บรรลุอรหัตแล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สารีบุตรเหมือนมารดาผู้บังเกิดเกล้า โมคคัลลานะเหมือนมารดาเลี้ยง

ทารกที่เกิดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมแนะนำในโสดาปัตติผล

โมคคัลลานะย่อมแนะนำในผลที่สูงขึ้นไป ดังนี้.

บทว่า ปโหติ ได้แก่ ย่อมอาจ. บทว่า ทุกฺเข าณ ได้แก่

ญาณในการแทงตลอดด้วยการฟังและการพิจารณา. ในทุกขสมุทัยก็เหมือน

อย่างนั้น. ปฏิเวธญาณในการฟัง ย่อมควรในทุกขนิโรธ. ย่อมควรในทุกขนิโรธ

คามินีปฏิปทาเหมือนกัน. ในสังกัปปะทั้งหลายมีเนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น ความ

ดำริว่า สังกัปปะเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้พิจารณากาม ด้วยอรรถว่า กามเป็นข้าศึก

หรือโดยความสลัดออกจากกามก็ดี สังกัปปะทำการกำจัดกาม คือ ความเข้าไป

สงบระงับกามเกิดขึ้นแล้วก็ดี สังกัปปะเกิด ขึ้นในที่สุดแห่งการสงบจากกามก็ดี

ชื่อว่า เนกขัมมสังกัปปะ. แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน . ก็สังกัปปะ

เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ในบุพภาคได้ในจิตต่าง ๆ ในขณะแห่งมรรคย่อมได้ใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

จิตเดียว จริงอยู่ ย่อมได้สังกัปปะเดียวเท่านั้น ที่ทำลายมิจฉาสังกัปปะ

เจตนาในเอกจิตนั้น ย่อมไม่ได้สังกัปปะต่างๆ. แม้สัมมาวาจาเป็นต้น ก็ย่อมได้

ในนิดเดียว ในขณะแห่งมรรคโดยนัยกล่าวแล้ว ในบรรดาจิตต่าง ๆ ในบุพภาค

ในที่นี้ มีความสังเขปเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารได้กล่าวแล้วในสัจจกถา

วิสุทธิมรรค และในสัมมาทิฏฐิสูตรนั้นเทียวแล.

จบอรรถกถาสัจจวิภังคสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

๑๒. ทักษิณาวิภังคสูตร

[๗๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารนิโครธาราม เขต

พระนครกบิลพัสดุ์ ในสักกชนบท. สมัยนั้นแล พระนางมหาปชาบดีโคตมี

ทรงถือผ้าคู่หนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาท

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอประทับนั่งเรียบร้อย

แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่

คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงอาศัยความอนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่ของหม่อมฉันเถิด.

[๗๐๗] เมื่อพระนางกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ดังนี้ว่า ดูก่อนโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอัน

พระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้ หม่อมฉันกรอด้าย

ทอเอง ตั้งใจอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความ

อนุเคราะห์ โปรดรับผ้าใหม่ทั้งคู่นี้ของหม่อมฉันเถิด แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ใน

ครั้งที่ ๓ แล พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสกะพระนาง แม้ในครั้งที่ ๒ แม้ใน

ครั้งที่ ๓ ดังนี้ว่า ดูก่อนโคตมี พระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อถวายสงฆ์แล้ว

จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์.

[๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค-

เจ้า โปรดรับผ้าทั้งคู่ ของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเถิด พระนางมหาปชาบดี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

โคตมี มีอุปการะมาก เป็นพระมาตุจฉาผู้ทรงบำรุงเลี้ยง ประทานพระขีรรส

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระชนนีสวรรคตแล้ว ได้โปรดให้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงดื่มเต้าพระถัน แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงมีอุปการะมากแก่

พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระนางทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงถึง

พระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงงดเว้น จากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท

จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้ ทรง

อาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหว

ในพระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมาย

ได้ ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ ในทุกข-

สมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงมีพระอุปการะมากแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี.

[๗๐๙] พ. ถูกแล้ว ๆ อานนท์ จริงอยู่ บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว

เป็นผู้ถึงพระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะได้ เราไม่กล่าวการที่

บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำ

สามีจิกรรมด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร

บุคคลใดอาศัยบุคคลใดแล้ว งดเว้น จากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จาก

กาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเพราะ

ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนต่อบุคคลนี้ด้วย

ดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑ-

บาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร. บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็น

ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในพระพุทธะ พระธรรม พระสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะมุ่งหมายได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทน

บุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้

จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร. บุคคลอาศัยบุคคล

ใดแล้ว เป็นผู้หมดความสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทาได้ เราไม่กล่าวการที่บุคคลนี้ตอบแทนบุคคลนี้ด้วยดี เพียงกราบไหว้

ลุกรับ ทำอัญชลี ทำสามีจิกรรม ด้วยเพิ่มให้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ

คิลานปัจจยเภสัชบริขาร.

[๗๑๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาเป็นปาฏิปุคคลิกมี ๑๔ อย่าง คือ

ให้ทานในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ

ที่ ๑. ให้ทานในพระปัจเจกสัมพุทธะ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๒.

ให้ทานในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ

ที่ ๓. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุค-

คลิกประการที่ ๔. ให้ทานแก่พระอนาคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการ

ที่ ๕. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็นทักษิณาปาฏิ-

ปุคคลิกประการที่ ๖. ให้ทานแก่พระสาทกคามี นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิก

ประการที่ ๗. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง นี้เป็น

ทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๘. ให้ทานในพระโสดาบัน นี้เป็นทักษิณาปาฏิ-

ปุคคลิกประการที่ ๙. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง นี้

เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๐. ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจาก

ความกำหนัดในกาม นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๑. ให้ทานใน

ปุถุชนผู้มีศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๒. ให้ทานในปุถุชน

ผู้ทุศีล นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๓ ให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน

นี้เป็นทักษิณาปาฏิปุคคลิกประการที่ ๑๔.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

[๗๑๑] ดูก่อนอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น บุคคลให้ทานในสัตว์

เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผล

ทักษิณาได้พันเท่า ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า.

ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้

แสนโกฏิเท่า. ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผล

ทักษิณาจะนับไม่ได้ จะประมาณไม่ได้ จะป่วยกล่าวไปไยในพระโสดาบัน

ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง ในพระสกทาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติ

เพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง ในพระอนาคามี ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผล

ให้แจ้ง ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ในปัจเจกสัมพุทธะ และใน

ตถาคตอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้า.

[๗๑๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์มี ๗ อย่าง คือ ให้

ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

ประการที่ ๑. ให้ทานในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว เป็น

ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว นี้เป็น

ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๒. ให้ทานในภิกษุสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่

ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๓. ให้ทานในภิกษุณีสงฆ์ นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้ว

ในสงฆ์ประการที่ ๔. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุและภิกษุณีจำนวน

เท่านี้ ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้าแล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์

ประการที่ ๕. เผดียงสงฆ์ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่

ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน นี้เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๖. เผดียงสงฆ์

ว่า ขอได้โปรดจัดภิกษุณีจำนวนเท่านี้ขึ้นเป็นสงฆ์แก่ข้าพเจ้า แล้วให้ทาน

เป็นทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์ประการที่ ๗.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

[๗๑๓] ดูก่อนอานนท์ ก็ในอนาคตกาล จักมีแต่เหล่าภิกษุโคตรภู

มีผ้ากาสาวะพันคอ เป็นคนทุศีล มีธรรมลามก คนทั้งหลายจักถวายทานเฉพาะ

สงฆ์ได้ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ใน

เวลานั้นเราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุค-

คลิกทานว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ เลย

[๗๑๔] ดูก่อนอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณานี้มี ๔ อย่าง. ๔

อย่าง เป็นไฉน. ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์

ฝ่ายปฏิคาหก บางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก บางอย่างฝ่าย

ทายกก็ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์ บางอย่างบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและ

ฝ่ายปฏิคาหก.

[๗๑๕] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทาหก ไม่บริสุทธิ์

ฝ่ายปฏิคาหกอย่างไร ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกมีศีล มีธรรมงาม ปฏิ-

คาหกเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก

ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก.

[๗๑๖] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่

บริสุทธิ์ฝ่ายทายกอย่างไร. ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกเป็นผู้ทุศีล มีธรรม

ลามก ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่าย

ปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก.

[๗๑๗] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่าย

ปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์อย่างไร. ดูก่อนอานนท์ ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้ทุศีล มี

ธรรมลามก ปฏิคาหกก็เป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่า

ฝ่ายทายกก็ไม่บริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคาหกก็ไม่บริสุทธิ์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

[๗๑๘] ดูก่อนอานนท์ ก็ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก และฝ่าย

ปฏิคาหกอย่างไร. ดูก่อนอานนท์ในข้อนี้ ทายกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม

ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีล มีธรรมงาม อย่างนี้แล ทักษิณาชื่อว่าบริสุทธิ์ทั้งฝ่าย

ทายกและฝ่ายปฏิคาหก.

ดูก่อนอานนท์ นี้แล ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา ๔ อย่าง.

[๗๑๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้

แล้วได้ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ ต่อไปอีกว่า

(๑) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม

มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลแห่งธรรม

อย่างยิ่ง ให้ทานในคนทุศีล ทักษิณาของ

ผู้นั้น ชื่อว่าบริสุทธิ์ฝ่ายทายก.

(๒) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่

เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมไสไม่เชื่อธรรม

และผลของธรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคน

มีศีล ทักษิณาของผู้นั้นชื่อว่า บริสุทธิ์ฝ่าย

ปฏิคาหก.

(๓) ผู้ใดทุศีล ได้ของมาโดยไม่

เป็นธรรม มีจิตไม่เลื่อมใสไม่เชื่อกรรม

และผลของธรรมอย่างยิ่ง ให้ทานในคน

ทุศีล เราไม่กล่าวทานของผู้นั้นว่า มีผล

ไพบูลย์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

(๔) ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม

มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรม

อย่างยิ่ง ให้ทานในคนมีศีล เรากล่าว

ทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์.

(๕) ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้

ของมาโดยธรรม มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อ

กรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง ให้ทาน

ในผู้ปราศจากราคะ ทานของผู้นั้นนั่นแล

เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย.

จบ ทักขิณาวิภังคสูตร ที่ ๑๒

จบ วิภังควรรค ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

อรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร

ทักขิณาวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในทักขิณาวิภังคสูตรนั้น บทว่า มหาปชาปตี โคตมี ได้แก่

พระโคตรว่า โคตมี. ก็ในวันขนานพระนาม พราหมณ์ทั้งหลายได้รับสักการะ

แล้ว เห็นพระลักษณสมบัติของพระนางแล้ว ได้พยากรณ์ว่า ถ้าพระนางนี้

จักได้พระธิดา พระธิดาจักเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าจักได้พระ

โอรส พระโอรสจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ พระปชาของพระนาง จักเป็น

ผู้ยิ่งใหญ่ โดยประการแม้ทั้งสองนั้นเทียว ดังนี้. พระญาติทั้งหลายจึงได้

ขนานพระนามของพระนางว่า ปชาบดี ด้วยประการฉะนี้. แต่ในสูตรนี้

ท่านรวมเอาพระโคตรด้วย จึงกล่าวว่า มหาปชาบดีโคตมี. บทว่า

นว ได้แก่ ใหม่. บทว่า สาม วายิต คือทรงทอเองด้วยพระหัตถ์. ก็ใน

วันนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี อันหมู่พระพี่เลี้ยงนางนม แวดล้อมแล้ว

เสด็จมาสู่โรงงานทอผ้าของศิลปินทั้งหลาย ทรงจับปลายกระสวย ได้ทรงทำ

อาการแห่งการทอผ้า. คำนั้น ท่านกล่าวหมายถึงการทอผ้านั้น. ถามว่า พระ

นางโคตมีทรงเกิดพระทัย เพื่อถวายผ้าคู่หนึ่ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาล

ไหน. ตอบว่า ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้ว

เสด็จมาสู่กรุงกบิลพัสดุ์ โดยการเสด็จครั้งแรก. จริงอย่างนั้น พระเจ้าสุทโธทน-

มหาราชทรงพาพระศาสดาซึ่งเสด็จบิณฑบาต ให้เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ของ

พระองค์. ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงเห็นพระรูปโสภาของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทรงพระดำริว่า พระอัตภาพของบุตรเรางดงามหนอ

ดังนี้ . ลำดับนั้น พระนางก็เกิดพระโสมนัสเป็นกำลัง. แต่นั้น ทรงพระดำริว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

เมื่อบุตรของเราอยู่ในท่ามกลางวัง ตลอด ๒๙ ปี วัตถุที่เราให้แล้วโดยที่สุด

แม้สักว่าผลกล้วยนั้นเทียว ไม่มีเลย แม้บัดนี้เราจักถวายผ้าจีวรแก่บุตรนั้น.

ทรงยังพระหฤทัยให้เกิดขึ้นว่า ก็ในกรุงราชคฤห์นี้มีผ้าราคาแพงมาก ผ้าเหล่า-

นั้น ย่อมไม่ยังเราให้ดีใจ ผ้าที่เราทำเองนั้นแล ย่อมยังเราให้ดีใจได้ เราจำจะ

ต้องทำผ้าเองถวาย ดังนี้.

ครั้งนั้น พระนางทรงให้นำฝ้ายมาจากตลาด ทรงขยำทรงยีด้วย

พระหัตถ์ กรอด้ายอย่างละเอียด ทรงให้สร้างโรงงานทอผ้าในภายในพระราช-

วังนั้นเทียว ทรงให้เรียกช่างศิลป์ทั้งหลาย พระราชทานเครื่องบริโภค ขาทนียะ

และโภชนียะ ของพระองค์นั้นแลให้แก่ช่างศิลป์ทั้งหลายแล้วทรงให้ทอผ้า.

ก็พระนางอันคณะพระพี่เลี้ยงนางนม แวดล้อมแล้ว เสด็จไปจับปลายกระสวย

ตามสมควรแก่กาลเวลา. ในกาลที่ผ้านั้นทอเสร็จแล้ว ทรงทำการสักการะใหญ่

แก่ช่างศิลป์ทั้งหลายแล้ว ทรงใส่ผ้าคู่หนึ่งในหีบอันมีกลิ่นหอม ทรงให้ถือผ้า

ทูลแด่พระราชาว่า หม่อมฉันจักถือผ้าจีวรไปถวายแก่บุตรเรา. พระราชาตรัส

สั่งให้เตรียมทางเสด็จ. ราชบริวารทั้งหลายปัดกวาดถนน ตั้งหม้อน้ำเต็ม

ยกธงผ้าทั้งหลาย ตกแต่งทางตั้งแต่พระทวารพระราชวัง จนถึงพระวิหาร

นิโครธาราม ทำทางให้เกลื่อนกล่นด้วยดอกไม้. ฝ่ายพระนางมหาปชาบดีทรง

ประดับเครื่องอลังการทุกอย่าง ผู้อันคณะพระพี่เลี้ยงนางนมแวดล้อมแล้ว

ทรงทูลหีบผ้า เสด็จไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้าใหม่คู่นี้เป็นของหม่อมฉัน ดังนี้เป็นต้น บทว่า

ทุติยมฺปิ ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโคตมี พระนาง

จงถวายสงฆ์เถิด พระนางมหาปชาบดีโคตมีได้กราบทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันอาจเพื่อถวายผ้าจีวรทั้งหลายจากคลังผ้าแก่ภิกษุ

ร้อยรูปบ้าง พันรูปบ้าง ก็ผ้าใหม่คู่นี้หม่อมฉันกรอด้ายเอง ทอเอง ตั้งใจอุทิศ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับผ้า

ใหม่คู่นั้นของหม่อมฉันเถิด. พระนางกราบทูลอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง. แม้พระผู้มี

พระภาคเจ้าก็ตรัสห้ามอย่างนั้นเทียว. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงทรงให้ถวายผ้าใหม่คู่ที่พระนางจะถวายแด่พระองค์ แก่พระภิกษุสงฆ์

เล่า. ตอบว่า เพราะเพื่อทรงอนุเคราะห์พระมารดา. ก็ได้ยินว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระดำริว่า เจตนา ๓ อย่างคือ บุพเจตนา

มุญจนเจตนา อปราปรเจตนา ของพระนางมหาปชาบดีนี้ เกิดขึ้นปรารภเรา

แล้ว จงเกิดขึ้นปรารภพระภิกษุสงฆ์บ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ เจตนาทั้ง ๖ อย่าง

ก็จะรวมเป็นอันเดียวกัน จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ตลอด

กาลนานแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีนั้น ดังนี้. ฝ่ายวิตัณฑวาที (ผู้พูดให้

หลงเชื่อ) กล่าวว่า ทานที่ถวายสงฆ์มีผลมาก. พึงท้วงติงวิตัณฑวาทีนั้น ว่า

เพราะเหตุไรจึงกล่าวอย่างนั้น ท่านย่อมกล่าวถึงทานที่ถวายสงฆ์ มีผลมากกว่า

ทานที่ถวายแก่พระศาสดาหรือ. เออขอรับ เรากล่าว. ท่านจงอ้างพระสูตรมา.

ท่านวิตัณฑวาทีอ้างพระสูตรว่า ดูก่อนโคตมี พระนางถวายสงฆ์เถิด เมื่อ

ถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์. ก็พระสูตรนี้

มีเนื้อความเพียงเท่านี้หรือ. เออ เพียงเท่านี้. ผิว่าเป็นเช่นนั้น ทานที่ให้แก่

คนกินเดนทั้งหลายก็พึงมีผลมาก ตามพระดำรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้น

เธอจงให้ขนมแก่คนกินเดนทั้งหลาย และว่า ดูก่อนกัจจานะ ถ้าอย่างนั้น เธอ

จงให้งบน้ำอ้อยแก่คนกินเดนทั้งหลาย ดังนี้. ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น พระศาสดา

จึงทรงยังผ้าที่จะถวายพระองค์ให้ถึงสงฆ์แล้ว ดังนี้. ก็ชนทั้งหลายแม้มีพระราชา

และมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น ย่อมสั่งให้บรรณาการที่นำมาเพื่อ

ให้แก่ชนทั้งหลายมีตนเลี้ยงช้างเป็นต้น ชนเหล่านั้นก็พึงใหญ่กว่าพระราชา

เป็นต้น. จริงอยู่ ทักขิไณยบุคคลที่ยอดเยี่ยมกว่าพระศาสดาไม่มี ตามพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

บาลีว่า เพราะฉะนั้น ท่านอย่าถืออย่างนั้น ทักขิไณยบุคคลที่ถึงความเป็น

ผู้เลิศแห่งอาหุไนยบุคคลทั้งหลาย ผู้ต้องการบุญ แสวงผลไพบูลย์ที่ประเสริฐ

ที่สุด เช่นกับ พระพุทธเจ้าไม่มีในโลกนี้ หรือในโลกอื่น. พระเจตนา ๖ ประการ

ของพระนางมหาปชาบดีโคตมี นั้นรวมเข้ากันแล้ว จักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกุล

เพื่อความสุข ตลอดกาลนานอย่างนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามถึง ๓ ครั้งแล้ว ทรงให้ถวายแก่สงฆ์

ทรงมุ่งหมายอะไร. ตรัสอย่างนั้น เพื่อชนรุ่นหลัง และเพื่อทรงให้เกิดความ

ยำเกรงในสงฆ์ด้วย. นัยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำริอย่างนี้ว่า เราไม่

ดำรงอยู่นาน แต่ศาสนาของเราจักตั้งอยู่ในพระภิกษุสงฆ์ ชนรุ่นหลังจงยังความ

ยำเกรงในสงฆ์ให้เกิดขึ้น ดังนี้ จึงทรงห้ามถึง ๓ ครั้งแล้ว ทรงให้ถวายสงฆ์

ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดาจึงทรงให้ถวายผ้าใหม่คู่หนึ่ง แม้ที่พระนางจะ

ถวายแด่พระองค์ให้แก่สงฆ์ ทักขิไณยบุคคลชื่อว่า สงฆ์ เพราะฉะนั้น ชน

รุ่นหลังยังความยำเกรงให้เกิดขึ้นในสงฆ์ จักสำคัญปัจจัยสี่เป็นสิ่งพึงถวายสงฆ์

เมื่อไม่ลำบากด้วยปัจจัยสี่ จักเรียนพระพุทธวจนะทำสมณธรรม เมื่อเป็นอย่าง

นั้น ศาสนาของเราจักตั้งอยู่ถึง ๕,๐๐๐ ปี ดังนี้. ก็คำว่า ธรรมดา ทักขิไณย

บุคคลที่ยอดเยี่ยมกว่าพระศาสดาไม่มีนั้น ควรกล่าวแม้โดยคำว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับเถิด ดังนี้ ก็พระอานนทเถระไม่มี

ความอาฆาต หรือเวรในพระนางมหาปชาบดี ทั้งพระเถระไม่ต้องการว่า

ทักขิณาของพระนางอย่าได้มีผลมาก. จริงอยู่ พระเถระเป็นบัณฑิต พหูสูต

บรรลุเสกขปฏิปทา พระเถระนั้น เมื่อเห็นความที่ผ้าใหม่คู่หนึ่งที่พระนางถวาย

พระศาสดานั้นมีผลมาก จึงกราบทูลขอเพื่อทรงรับว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับเถิด ดังนี้. วิตัณฑวาทีกล่าวอีกว่า พระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

ทรงนับเนื่องกับสงฆ์ เพราะพระดำรัสว่า เมื่อถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอัน

พระนางได้บูชาทั้งอาตมภาพและสงฆ์ดังนี้. วิตัณฑวาทีนั้น ควรถูกท้วงติงว่า

ก็ท่านรู้หรือว่า สรณะมีเท่าไร ความเลื่อมใสแน่นแฟ้นมีเท่าไร. วิตัณฑวาที

เมื่อรู้ ก็จะกล่าวว่า สรณะมี ๓ ความเลื่อมใสแน่นแฟ้นมี ๓. แต่นั้น ก็ควรถูก

กล่าวว่า ตามลัทธิของท่านสรณะก็คงมี ๒ อย่างเท่านั้น เพราะความที่พระ

ศาสดานับเนื่องกับสงฆ์. เมื่อเป็นอย่างนั้น บรรพชาที่ทรงอนุญาตอย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบรรพชาอุปสมบท ด้วยไตรสรณคมน์ ดังนี้

แม้อุปสมบทก็ไม่เจริญขึ้น. แต่นั้น ท่านก็จะไม่เป็นบรรพชิต คงเป็นคฤหัสถ์.

ครั้นแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่ง ณ พระคันธกุฎี ภิกษุทั้งหลายกระทำ

อุโบสถบ้าง ปวารณาบ้าง สังฆกรรมทั้งหลายบ้าง กรรมเหล่านั้นก็พึงกำเริบ

เพราะความที่พระศาสดาทรงนับเนื่องกับสงฆ์ และจะไม่มี. เพราะฉะนั้นจึง

ไม่ควรกล่าวคำนี้ว่า พระศาสดาทรงนับเนื่องกับสงฆ์. บทว่า อาปาทิตา

ได้แก่ ทรงให้เจริญพร้อมแล้ว อธิบายว่า ครั้น พระหัตถ์และพระบาทของ

พระองค์ไม่ยังกิจด้วยพระหัตถ์และพระบาทให้สำเร็จ พระนางก็ทรงให้พระหัตถ์

และพระบาทให้เจริญปรนปฏิบัติ. บทว่า โปสิกา ความว่า พระนางทรงเลี้ยง

พระองค์ โดยให้อาบน้ำ ทรงให้เสวย ทรงให้ดื่ม วันละ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง.

บทว่า ถญฺ ปาเยสิ ความว่า ได้ยินว่า นันทกุมารโพธิสัตว์ ทรงเป็นหนุ่ม

เพียงสอง - สามวันเท่านั้น ครั้น เมื่อนันทกุมารประสูติแล้ว พระนางมหาปชาบดี

ทรงไห้พระโอรสของพระองค์ ให้แก่พระพี่เลี้ยงนางนม พระองค์เองให้หน้าที่

นางนมให้สำเร็จ ประทานพระขีรรสแด่พระโพธิสัตว์ พระเถระหมายถึงการ

ประทานพระขีรรสนั้น จึงกราบทูลอย่างนี้.

พระเถระครั้นแสดงความที่พระนางมหาปชาบดีทรงมีพระอุปการะมาก

ด้วยประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงความที่พระตถาคตทรงมีพระอุปการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

มาก จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภควนฺต อาคมฺม คือ ทรงอาศัย คือ

ทรงพึ่งพา ทรงมุ่งหมายพระผู้มีพระภาคเจ้า. ลำดับ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงอนุโมทนาถึงพระอุปการะยิ่ง ๆ ขึ้นไป ในพระอุปการะทั้งสอง จึง

ตรัสว่า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย หานนฺท

ปุคฺคโล ปุคฺคล อาคมฺม ความว่า บุคคลผู้อันเตวาสิกอาศัยบุคคลผู้อาจารย์

ใด. บทว่า อิมสฺสานนฺท ปุคฺคลสฺส อิมินา ปุคฺคเลน ความว่า บุคคล

ผู้อันเตวาสิกนี้ตอบแทนต่อบุคคลผู้อาจารย์นี้. บทว่า น สุปฏิการ วทามิ

ความว่า เราไม่กล่าวการตอบแทนอุปการะเป็นการทำด้วยดี. ในกรรมทั้งหลาย

มีการอภิวาทนะเป็นต้น การเห็นอาจารย์แล้วทำการกราบไหว้ ชื่อว่า

อภิวาทนะ ได้แก่ เมื่อจะสำเร็จอิริยาบถทั้งหลาย ผินหน้าไปทางทิศาภาคที่

อาจารย์อยู่ ไหว้แล้วเดิน ไหว้แล้วยืน ไหว้แล้วนั่ง ไหว้แล้วนอน ส่วน

การเห็นอาจารย์แต่ที่ไกลแล้ว ลุกขึ้นทำการต้อนรับ ชื่อว่า ปัจจุฏฐานะ. ก็

กรรมนี้คือ เห็นอาจารย์แล้ว ประคองอัญชลีไว้เหนือศีรษะ นมัสการอาจารย์

หรือแม้ผินหน้าไปทางทิศาภาคที่อาจารย์นั้นอยู่ นมัสการอย่างนั้นแล เดินไป

ก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ประคองอัญชลีแล้วนมัสการนั้นเทียว ชื่อว่า

อัญชลีกรรม. การทำกรรมอันสมควร ชื่อว่า สามีจิกรรม. ในวัตถุทั้งหลาย

มีจีวรเป็นต้น เมื่อจะถวายจีวร ไม่ถวายตามมีตามเกิด. ถวายจีวรอันมีค่ามาก

มีมูลค่า ๑๐๐ บ้าง ๒๐๐ บ้าง ๑,๐๐๐ บ้าง. ในวัตถุทั้งหลายแม้มีบิณฑบาต

เป็นต้น มีนัยนี้เหมือนกัน . ด้วยปัจจัยมากอย่างไร. แม้เมื่อยังระหว่างจักรวาล

ให้เต็มด้วยปัจจัยอันประณีต ๔ ถือเอายอดเท่าสิเนรุบรรพตถวาย ย่อมไม่อาจ

เพื่อทำกิริยาที่สมควรแก่อาจารย์เลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภว่า ก็ทักขิณา ๑๔

นี้แล. สูตรนี้เกิดขึ้นปรารภทักขิณาเป็นปาฏิบุคคลิก. ฝ่ายพระอานนทเถระถือ

ทักขิณาเป็นปาฏิบุคคลิกอย่างเดียวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าโปรดรับ ดังนี้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนี้ เพื่อทรง

แสดงว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว ในฐานะสิบสี่ชื่อว่า เป็นปาฏิบุคคลิก. บทว่า

อย ปมา ความว่า ทักขิณานี้ประการที่ ๑ ด้วยอำนาจคุณบ้าง ด้วยอำนาจ

เป็นทักขิณาเจริญที่สุดบ้าง จริงอยู่ ทักขิณานี้ ที่หนึ่งคือ ประเสริฐ ได้แก่

เจริญที่สุด ชื่อว่า ประมาณแห่งทักขิณานี้ ไม่มี. ทักขิณาแม้ประการที่ ๒๓

เป็นทักขิณาอย่างยิ่งเหมือนกัน. ทักขิณาทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่ถึงความเป็น

ทักขิณาอย่างยิ่งได้. บทว่า พาหิรเก กาเมสุ วีตราเค ได้แก่ ผู้กัมมวาที

ผู้กิริยวาที ผู้มีอภิญญา ๕ อันเป็นโลกิยะ. บทว่า ปุถุชฺชนสีลวา ความว่า

ปุถุชนผู้มีศีล โดยชื่อเป็นผู้มีศีลเป็นพื้นไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่เบียดเบียน

คนอื่น สำเร็จชีวิตด้วยกสิกรรมหรือพาณิชกรรม โดยธรรม โดยชอบ. บทว่า

ปุถุชฺชนทุสฺสีเล ความว่าบุคคลทั้งหลายมีนายเกวัฏฏะ และผู้จับปลาเป็นต้น

ชื่อว่า ปุถุชนผู้ทุศีล. เลี้ยงชีวิต ด้วยการเบียดเบียนสัตว์อื่น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงกำหนดวิบากของทักขิณา เป็น

ปาฏิบุคคลิก จึงตรัสว่า ตตฺรานนฺท เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า

ติรจฺฉานคเต ความว่า ทานใดที่บุคคลให้แล้ว เพื่อเลี้ยงด้วยอำนาจแห่งคุณ

ด้วยอำนาจแห่งอุปการะ ทานนี้ไม่ถือเอา. ทานแม้ใดสักว่าข้าวคำหนึ่งหรือ

ครึ่งคำอันบุคคลให้แล้ว ทานแม้นั้น ไม่ถือเอาแล้ว. ส่วนทานใดอันบุคคล

หวังผลแล้วให้ตามความต้องการแก่สัตว์ทั้งหลายมีสุนัข สุกร ไก่ และกาเป็นนี้

ตัวใดตัวหนึ่งที่มาถึง ทรงหมายถึงทานนี้ จึงตรัสว่า ให้ทานในสัตว์ดิรัจฉาน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

ดังนี้. บทว่า สตคุณา ได้แก่มีอานิสงส์ร้อยเท่า. บทว่า ปาฏิกงฺขิตพฺพา

คือ พึงปรารถนา. มีอธิบายว่า ทักขิณานี้ย่อมให้อานิสงส์ห้าร้อยเท่า คือ

อายุร้อยเท่า วรรณะร้อยเท่า สุขร้อยเท่า พละร้อยเท่า ปฏิภาณร้อยเท่า.

ทักขิณาให้อายุในร้อยอัตภาพ ชื่อว่า อายุร้อยเท่า ให้วรรณะในร้อยอัตภาพ

ชื่อว่า วรรณะร้อยเท่า ให้สุขในร้อยอัตภาพ ชื่อว่า สุขร้อยเท่า ให้พละใน

ร้อยอัตภาพ ชื่อว่า พละร้อยเท่า ให้ปฏิภาณ ทำความไม่สะดุ้งในร้อย-

อัตภาพ ชื่อว่า ปฏิภาณร้อยเท่า. แม้ในภพร้อยเท่าที่กล่าวแล้ว ก็มีเนื้อความ

อย่างนี้แล. พึงทราบนัยทุกบท ด้วยทำนองนี้. ในบทนี้ว่า ผู้ปฏิบัติ เพื่อทำ

ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล แม้อุบาสกผู้ถึงไตรสรณะโดยที่สุดเบื้องต่ำ ชื่อว่า

ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. แม้ทานที่ให้ในอุบาสก ผู้ปฏิบัติเพื่อทำ

ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลนั้น นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้. ส่วนทานที่ให้แก่บุคคล

ผู้ตั้งอยู่ในศีลห้า มีผลมากกว่านั้น ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศิลสิบ มีผล

มากกว่านั้นอีก. ทานที่ถวายแก่สามเณรที่บวชในวันนั้น มีผลมากกว่านั้น ทาน

ที่ถวายแก่ภิกษุผู้อุปสมบท มีผลมากกว่านั้น ทานที่ถวายแก่ภิกษุผู้อุปสมบท

นั้นแล ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตรมีผลมากกว่านั้น ทานให้แก่ผู้ปรารภวิปัสสนา มี

ผลมากกว่านั้น. ก็สำหรับผู้มรรคสมังคีโดยที่สุดชั้นสูง ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง

ซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่า ปฏิบัติแล้ว. ทานที่ให้แก่บุคคลนั้น มีผลมากกว่า

นั้นอีก ถามว่า ก็อาจเพื่อให้ทานแก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี หรือ. ตอบว่า เออ

อาจเพื่อให้. ก็ภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา ถือบาตรและจีวร เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต

เมื่อภิกษุผู้มรรคสมังคีนั้น ยืนที่ประตูบ้าน ชนทั้งหลายรับบาตรจากมือก็ใส่

ขาทนียะและโภชนียะ. การออกจากมรรคของภิกษุย่อมมีในขณะนั้น.

ทานนี้ชื่อว่า เป็นอันให้แล้วแก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี. ก็อีกประการหนึ่ง ภิกษุ

นั้นนั่ง ณ โรงฉัน. มนุษย์ทั้งหลายไปแล้ววางขาทนียะ โภชนียะในบาตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

การออกจากมรรคของภิกษุนั้น ย่อมมีในขณะนั้น. ทานแม้นี้ ชื่อว่าให้แล้ว

แก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นนั่ง ณ วิหาร หรือ โรงฉัน

อุบาสกทั้งหลายถือบาตรไปสู่เรือนของตนแล้ว ใส่ขาทนียะและโภชนียะ. การ

ออกจากมรรคของภิกษุนั้น ย่อมมีในขณะนั้น . ทานแม้นี้ ชื่อว่าให้แล้วแก่ภิกษุ

ผู้มรรคสมังคี. พึงทราบความที่ทานอันบุคคลให้แล้วแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง

ซึ่งโสดาปัตติผลนั้น เหมือนน้ำในลำรางไม่อาจนับได้ฉะนั้น. พึงทราบความที่

ทานอันบุคคลให้แล้วในบุคคลทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้น ดุจน้ำในมหา-

สมุทรแล ในบรรดามหานทีนั้น ๆ เป็นอันนับไม่ได้. พึงแสดงเนื้อความนี้

แม้โดยความที่ทำฝุ่นในสถานสักว่าลานข้าวแห่งแผ่นดินเป็นต้น จนถึงฝุ่นทั้ง

แผ่นดิน อันประมาณไม่ได้.

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภว่า ก็ทักขิณา ๗ อย่างนี้.

ทรงปรารภเทศนานี้ ที่ตรัสว่า ดูก่อนโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อ

ถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมาภาพและสงฆ์ เพื่อทรง

แสดงว่า ทานที่ให้ในฐานะ ๗ นั้น เป็นอันชื่อว่าถวายสงฆ์แล้ว. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า พุทฺธปฺปมุเข อุภโตสงฺเฆ ความว่า สงฆ์นี้คือ ภิกษุสงฆ์

ฝ่ายหนึ่ง ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายหนึ่ง พระศาสดาประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง ชื่อว่า

สงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. บทว่า อย ปมา ความว่า ชื่อว่า

ทักขิณา มีประมาณเสมอด้วยทักขิณานี้ไม่มี. ก็ทักขิณาทั้งหลายมีทักขิณาที่สอง

เป็นต้น ย่อมไม่ถึงทักขิณาแม้นั้น. ถามว่า ก็เมือพระตถาคตปรินิพพานแล้ว

อาจเพื่อถวายทานแด่พระสงฆ์ ๒ ฝ่ายมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขหรือ. ตอบว่า

อาจ. อย่างไร. ก็พึงตั้งพระพุทธรูปที่มีพระธาตุในฐานะประมุขของสงฆ์ ๒ ฝ่าย

ในอาสนะ วางตั้ง ถวายวัตถุทั้งหมดมีทักขิโณทกเป็นต้นแด่พระศาสดาก่อนแล้ว

ถวายแด่พระสงฆ์ ๒ ฝ่าย. ทานเป็นอันชื่อว่าถวายสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

เป็นประมุข ด้วยประการฉะนี้. ถามว่า ในพระสงฆ์ ๒ ฝ่ายนั้น ทานใด

ถวายพระศาสดา ทานนั้นพึงทำอย่างไร. ตอบว่า พึงถวายภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วย

วัตร ผู้ปฏิบัติพระศาสดา ด้วยว่า ทรัพย์อันเป็นของบิดาย่อมถึงแก่บุตร

แม้การถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ ก็ควร. ก็ถือเนยใสและน้ำมัน พึงตามประทีป

ถือผ้าสาฏกพึงยกธงปฏาก. บทว่า ภิกฺขุสงฺเฆ ได้แก่ ภิกษุสงฆ์ส่วนมากยัง

ไม่ขาดสาย. แม้ในภิกษุณีสงฆ์ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า โคตฺรภุโน ได้แก่

เสวยสักว่า โคตรเท่านั้น อธิบายว่า เป็นสมณะแต่ชื่อ. บทว่า กาสาวกณฺา

คือผู้มีชื่อว่ามีผ้ากาสาวะพันคอ. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นพันผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง

ที่มือ หรือที่คอเที่ยวไป. ก็ประตูบ้าน แม้กรรมมีบุตรภริยากสิกรรมและ

วณิชกรรม เป็นต้นทั้งหลาย ของภิกษุผู้ทุศีลเหล่านั้น ก็จักเป็นปกติเทียว.

ไม่ได้ตรัสว่า สงฆ์ทุศีล ในบทนี้ว่า คนทั้งหลายจักถวายทาน เฉพาะสงฆ์ได้

ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น จริงอยู่ สงฆ์ชื่อว่าทุศีลไม่มี แต่อุบาสกทั้งหลายชื่อว่า

ทุศีล จักถวายทานด้วยคิดว่า เราจักถวายเฉพาะสงฆ์ในเหล่าภิกษุทุศีลนั้น

แม้ทักขิณาที่ถวายสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข อันพระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า มีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ ด้วยประการฉะนี้. แม้ทักขิณาที่

ให้ในสงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะพันคอ ตรัสว่ามีผลนับไม่ได้ ด้วยการนับคุณ

เหมือนกัน. ก็ทักขิณาที่ถึงสงฆ์ย่อมมีแก่บุคคลผู้อาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์

แต่ความยำเกรงในสงฆ์ ทำได้ยาก. ก็บุคคลได้เตรียมไทยธรรมด้วยคิดว่า

เราจักให้ทักขิณาถึงสงฆ์ ไปวิหารแล้วเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจง

ให้พระเถระรูปหนึ่งเจาะจงสงฆ์เถิด. ลำดับนั้น ได้สามเณรจากสงฆ์ย่อมถึง

ความเป็นประการอื่นว่า เราได้สามเณรแล้ว ดังนี้. ทักขิณาของบุคคลนั้น

ย่อมไม่ถึงสงฆ์. เมื่อได้พระมหาเถระแม้เกิดความโสมนัสว่า เราได้มหาเถระ

แล้ว ดังนี้ ทักขิณาก็ไม่ถึงสงฆ์เหมือนกัน. ส่วนบุคคลใดได้สามเณร ผู้อุป-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

สมบทแล้ว ภิกษุหนุ่ม หรือเถระ ผู้พาลหรือ บัณฑิต รูปใดรูปหนึ่งจาก

สงฆ์แล้ว ไม่สงสัย ย่อมอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ว่า เราจะถวายสงฆ์.

ทักขิณาของบุคคลนั้นเป็นอัน ชื่อว่าถึงสงฆ์แล้ว. ได้ยินว่า พวกอุบาสกชาว

สมุทรฝังโน้น กระทำอย่างนี้. ก็ในอุบาสกเหล่านั้น คนหนึ่งเป็นเจ้าของวัด

เป็นกุฏุมพี เจาะจงจากสงฆ์ว่า เราจักถวายทักขิณาที่ถึงสงฆ์ จึงเรียนว่า

ขอท่านจงให้ภิกษุรูปหนึ่ง. อุบาสกนั้น ได้ภิกษุทุศีลรูปหนึ่ง พาไปสู่สถานที่นั่ง

ปูอาสนะผูกเพดานเบื้องบน บูชาด้วยของหอม ธูป และดอกไม้ ล้างเท้า

ทาด้วยน้ำมัน ได้ถวายไทยธรรมด้วยความยำเกรงในสงฆ์ ดุจทำความนอบน้อม

แด่พระพุทธเจ้า. ภิกษุรูปนั้น มาสู่ประตูเรือนว่าท่านจงให้จอบเพื่อประโยชน์

แก่การปฏิบัติวัดในภายหลังภัต. อุบาสกนั่งเขี่ยจอบด้วยเท้าแล้วให้ว่า จงรับไป.

มนุษย์ทั้งหลายได้กล่าวกะเขานั้นว่า ท่านได้ทำสักการะแก่ภิกษุนี้แต่เช้าตรู่เทียว

ไม่อาจเพื่อจะกล่าว บัดนี้ แม้สักว่า อุปจาระ (มรรยาท) ก็ไม่มีนี้ชื่อว่าอะไร

ดังนี้. อุบาสก กล่าวว่า แนะนาย ความยำเกรงนั้นมีต่อสงฆ์ ไม่มี

แก่ภิกษุนั้น. ถามว่า ก็ใครย่อมยังทักขิณาที่ถวายสงฆ์ ซึ่งมีภิกษุมีผ้ากาสาวะ

พันคอให้หมดจด. ตอบว่า พระมหาเถระ ๘๐ รูปมีพระสารีบุตรและพระ-

โมคคัลลานะเป็นต้น ย่อมให้หมดจดได้. อนึ่ง พระเถระทั้งหลายปรินิพพาน

นานแล้ว พระขีณาสพทั้งหลายที่ยังมีชีวิตอยู่ตั้งแต่พระเถระเป็นต้น จนถึงทุก

วันนี้ ย่อมให้หมดจดเหมือนกัน.

ในบทนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ แต่ว่า เราไม่กล่าวปาฏิบุคคลิก

ทานว่ามีผลมากกว่าทักขิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไร ๆ เลย

สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมีอยู่ สงฆ์ปัจจุบันนี้มีอยู่ สงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้า

กาสาวะพันคอในอนาคตก็มีอยู่ สงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขไม่พึงนำเข้า

ไปกับสงฆ์ในปัจจุบันนี้ สงฆ์ในปัจจุบันนี้ก็ไม่พึงนำเข้าไปกับสงฆ์ซึ่งมีภิกษุมีผ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

กาสาวะพันคอในอนาคต พึงกล่าวตามสมัยนั้นเท่านั้น. ก็สมณปุถุชนซึ่งนำไป

เฉพาะจากสงฆ์ เป็นปาฏิบุคคลิกโสดาบัน เมื่อบุคคลอาจเพื่อทำความยำเกรง

ในสงฆ์ ทานที่ให้ในสมณะผู้ปุถุชน มีผลมากกว่า. ในคำแม้มีอาทิว่า โสดาบัน

อันทายกถือเอาเจาะจง เป็นปาฏิบุคคลิกสทาคามี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่

เมื่อบุคคลอาจเพื่อทำความยำเกรงในสงฆ์ ให้ทานแม้ในภิกษุทุศีล

ซึ่งเจาะจงถือเอา มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายในพระขีณาสพนั้น

แล. ก็คำใดที่กล่าวว่า ดูก่อนมหาบพิตร ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลแล มีผลมาก

ทานที่ให้ในผู้ทุศีลหามีผลมากอย่างนั้นไม่ คำนั้นพึงละนัยนี้แล้ว พึงเห็นใน

จตุกะนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณานี้มี ๔ อย่าง.

บทว่า ทายกโต วิสุชฺฌติ ความว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ โดยความมี

ผลมาก อธิบายว่า เป็นทาน มีผลมาก. บทว่า กลฺยาณธมฺโม ได้แก่ มีสุจิธรรม

บทว่า ปาปธมฺโม คือมีธรรมอันชั่ว. ก็พึงแสดงพระเวสสันดรมหาราชใน

บทนี้ว่า ทักขิณาบางอย่างบริสุทธิ์ฝ่ายทายก. ก็พระเวสสันดรมหาราชนั้น ทรง

ให้พระโอรสพระธิดาแก่พราหมณ์ชูชกแล้ว ยังแผ่นดินให้หวั่นไหว พึงแสดง

นายเกวัฏฏะ ผู้อาศัยอยู่ที่ประตูปากน้ำกัลยาณนทีในคำนี้ว่า ทักขิณาบางอย่าง

บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก. ได้ยินว่า เกวัฏฏะนั้น ได้ถวายบิณฑบาตแก่พระทีฆ-

โสมเถระถึง ๓ ครั้ง นอนบนเตียงเป็นที่ตายได้กล่าวว่า บิณฑบาตที่ถวายแก่

พระผู้เป็นเจ้าทีฆโสมเถระ ย่อมยกข้าพเจ้าขึ้น. พึงแสดงถึงพรานผู้อยู่ใน

วัฑฒมานะในบทว่า เนว ทายกโต นี้. ได้ยินว่า นายพรานนั้นเมื่อให้ทุกขิณา

อุทิศถึงผู้ตายได้ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลรูปหนึ่งนั้น แลถึง ๓ ครั้ง. ในครั้งที่ ๓ อมนุษย์

ร้องขึ้นว่า ผู้ทุศีลปล้นฉัน ดังนี้. ในเวลาที่พรานนั้นถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูป

หนึ่งมาถึง ผลของทักขิณาก็ถึงแก่เขา. พึงแสดงอสทิสทานในคำนี้ว่า ทักขิณา

บางอย่างบริสุทธิ์ ฝ่ายทายกเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

ในคำว่า ทักขิณานั้นบริสุทธิ์ฝ่ายทายกนี้ พึงทราบความบริสุทธิ์แห่ง

ทานในบททั้งปวง โดยทำนองนี้ว่า ชาวนาผู้ฉลาดได้นาแม้ไม่ดี ไถในสมัย

กำจัดฝุ่น ปลูกพืชที่มีสาระ ดูแลตลอดคืนวัน เมื่อไม่ถึงความประมาท ย่อมได้

ข้าวดีกว่านาที่ไม่ดูแลของคนอื่น ชื่อฉันใด ผู้มีศีลแม้ให้ทานแก่ผู้ทุศีลย่อมได้ผล

มากฉันนั้น. ในบทว่า วีตราโค วีตราเคสุ พระอนาคามี ชื่อว่า ปราศ

จากราคะ ส่วนพระอรหันที่เป็นผู้ปราศจากราคะโดยสิ้นเชิงทีเดียว เพราะฉะนั้น

ทานที่พระอรหันต์ให้แก่พระอรหันต์นั่นแหละ เป็นทานอันเลิศ. เพราะเหตุไร.

เพราะไม่มีความปรารถนาภพของผู้อาลัยในภพ. ถามว่า พระขีณาสพย่อมไม่

เชื่อผลทานมิใช่หรือ. ตอบว่า บุคคลทั้งหลายเธอผลทาน ที่เป็นเช่นกับพระ-

ขีณาสพเทียว ไม่มี ก็กรรมที่พระขีณาสพทำแล้ว ไม่เป็นกุศล หรืออกุศล

เพราะเป็นผู้ปราศจากฉันทราคะแล้ว ย่อมตั้งอยู่ในฐานกิริยา ด้วยเหตุนั้น

บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่า ทานของพระขีณาสพนั้นมีผลเลิศ ดังนี้. ถามว่า

ก็ทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้แก่พระสารีบุตรเถระมีผลมาก หรือว่าทาน

ที่พระสารีบุตรเถระถวายแด่พระสัมมมาสัมพุทธเจ้ามีผลมาก. ตอบว่า บัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวว่าทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้แก่พระสารีบุตรมีผลมาก.

เพราะเหตุไร. เพราะบุคคลอื่นเว้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าสามารถให้ผล

ทานให้เกิดขึ้นไม่มี. จริงอย่างนั้น ทานย่อมให้ผลแก่ผู้อาจเพื่อทำด้วยสัมปทา ๔

ในอัตภาพนั้นแล. สัมปทาในสูตรนี้มีดังนี้ คือความที่ไทยธรรมไม่เบียดเบียน

ผู้อื่นเกิดขึ้น โดยธรรม โดยชอบ, ความที่เจตนาด้วยอำนาจแห่งบุพเจตนา

เป็นต้น เป็นธรรมใหญ่, ความเป็นผู้มีคุณอันเลิศยิ่ง โดยความเป็นพระขีณาสพ.

ความถึงพร้อมด้วยวัตถุ โดยความเป็นผู้ออกแล้ว จากนิโรธในวันนั้น ดังนี้.

จบอรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตรที่ ๑๒

จบวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

รวมพระสูตรและอรรถกถาในวิภังควรรค

๑. ภัทเทกรัตตสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๒. อานันทภัทเทกรัตตสูตร "

๓. มหากัจจานภัตเทกรัตตสูตร "

๔. โลมสกังคิยภัทเทกรัตตสูตร "

๕. จูฬกัมมวิภังคสูตร "

๖. มหากัมมวิภังคสูตร "

๗. สฬายตนวิภังคสูตร "

๘. อุทเทสวิภังคสูตร "

๙. อรณวิภังคสูตร "

๑๐. ธาตุวิภังคสูตร "

๑๑. สัจจวิภังคสูตร "

๑๒. ทักขิณาวิภังคสูตร "

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

สฬายตนวรรค

๑. อนาถปิณฑิโกวาทสูตร

[๗๒๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อนาถบิณฑิก

คฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า มา

เถิดพ่อมหาจำเริญ พ่อจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วจง

ถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา แล้วจง

กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทน

ทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

เศียรเกล้า อนึ่ง จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรยังที่อยู่ แล้วจงกราบเท้าท่าน

พระสารีบุตรตามคำของเรา และเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถ-

บิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนาเป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่านพระสารีบุตร

ด้วยเศียรเกล้า และเรียนอย่างนี้อีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเหมาะแล้ว

ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์ เข้าไปยังนิเวศน์ของอนาถบิณฑิก

คฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๒๑] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก

ขอถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ต่อนั้น เข้าไปหาท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

พระสารีบุตรยังที่อยู่ กราบท่านพระสารีบุตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พอนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก ขอกราบเท้าท่าน

พระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าและสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาส

เหมาะแล้ว ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของ

อนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล

ท่านพระสารีบุตรนั่งสบงทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ

เข้าไปยังนิเวศน์ชองอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้งไว้

[๗๒๒] พอนั่งเรียบรอยแล้ว จึงกล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีดังนี้ว่า

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพอทน พอเป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ

ปรากฏความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความกำเริบละหรือ.

อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว

ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด

ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

ความเป็นไปแห่งอาพาธ

[๗๒๓] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณกระทบขม่อม

ของกระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อมฉะนั้น กระผม

จึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา

ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๒๔] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะ

กระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังขันศีรษะด้วยชะเนาะมั่นฉะนั้น กระผมจึงทน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏ

มีความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๒๕] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ลมเหลือประมาณปั่นป่วนท้อง

ของกระผมอยู่ เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาดเอามีดแล่โคอัน

คมคว้านท้อง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของ

กระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความ

ทุเลาเลย.

[๗๒๖] ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ความร้อนในกายของกระผม

เหลือประมาณ เหมือนบุรุษมีกำลัง ๒ คน จับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่อวัยวะ

ป้องกัน ตัวต่าง ๆ แล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ฉะนั้น กระผมจึงทน

ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏ

ความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๒๗] สา. ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียก

อย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นจักษุ และวิญญาณที่อาศัยจักษุจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสต และวิญญาณที่อาศัยโสต

จักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานะ และวิญญาณที่อาศัย

ฆานะจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหา และวิญญาณที่อาศัย

ชิวหาจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกาย และวิญญาณที่อาศัยกาย

จักไม่มีแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโน และวิญญาณที่อาศัยมโน

จักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

ว่าด้วยพาหิรายตนะ

[๗๒๘] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า

เราจักไม่ยึดมั่นรูป และวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเสียง และวิญญาณที่อาศัยเสียง

จักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกลิ่น และวิญญาณที่อาศัยกลิ่น

จักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นรส และวิญญาณที่อาศัยรส

จักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโผฏฐัพพะ และวิญญาณที่

อาศัยโผฏฐัพพะจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์ และวิญญาณที่

อาศัยธรรมารมณ์จักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี พ่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

[๗๒๙] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า

เราจักไม่ยึดมั่นจักษุวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัยจักษุวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตวิญญาณ และวิญญาณที่

อาศัยโสตวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานวิญญาณ และวิญญาณที่

อาศัยฆานวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นชิวหาวิญญาณ และวิญญาณที่

อาศัยชิวหาวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายวิญญาณ และวิญญาณที่

อาศัยกายวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนวิญญาณ และวิญญาณที่

อาศัยมโนวิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

[๗๓๐] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า

เราจักไม่ยึดมั่นจักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยจักษุสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโสตสัมผัส และวิญญาณที่

อาศัยโสตสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นฆานสัมผัส และวิญญาณที่

อาศัยฆานสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมันชิวหาสัมผัส และวิญญาณที่

อาศัยชิวหาสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นกายสัมผัส และวิญญาณที่อาศัย

กายสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นมโนสัมผัส และวิญญาณที่อาศัย

มโนสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

[๗๓๑] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า

เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่จักษุสัมผัส และวิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่จักษุ

สัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสและ

วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่โสตสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัส และ

วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่ฆานสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น เวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัส และ

วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่ชิวหาสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนาเกิดแต่กายสัมผัส และ

วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่กายสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น เวทนาเกิดแต่มโนสัมผัส และ

วิญญาณที่อาศัยเวทนาเกิดแต่มโนสัมผัสจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

[๗๓๒] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า

เราจักไม่ยึดมั่นปฐวีธาตุ และวิญญาณที่อาศัยปฐวีธาตุจักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น อาโปธาตุ และวิญญาณที่อาศัย

อาโปธาตุจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น เตโชธาตุ และวิญญาณที่อาศัย

เตโชธาตุจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่น วาโยธาตุ และวิญญาณที่อาศัย

วาโยธาตุจักไม่มีแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากาสธาตุ และวิญญาณที่

อาศัยอากาสธาตุจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

[๗๓๓] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า

เราจัก ไม่ยึดมั่นรูปและวิญญาณที่อาศัยรูปจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเวทนา และวิญญาณที่อาศัย

เวทนาจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสัญญา และวิญญาณที่อาศัย

สัญญาจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นสังขาร และวิญญาณที่อาศัย

สังขารจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณ และวิญญาณที่อาศัย

วิญญาณจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสำเนียกไว้อย่างนี้เถิด.

ว่าด้วยอรูป ๔

[๗๓๔] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า

เราจักไม่ยึดมั่นอากาสานัญจายตนฌาน และวิญญาณที่อาศัยอากาสานัญจายตนะ

ฌานจักไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นวิญญาณัญจายคนฌานและ

วิญญาณที่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานจัก ไม่มีแก่เรา.

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นอากิญจัญญายตนฌานและ

วิญญาณที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานจักไม่มีแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานและ

วิญญาณที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานจักไม่มีแก่เรา.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

[๗๓๕] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า

เราจักไม่ยึดมั่นโลกนี้ และวิญญาณที่อาศัยโลกนี้จักไม่มีแก่เรา

พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักไม่ยึดมั่นโลกหน้า และวิญญาณที่อาลัย

โลกหน้าจักไม่มีแก่เรา. ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด

[๗๓๖] ดูก่อนคฤหบดี เพราะฉะนั้นแล ท่านพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า

อารมณ์ใดที่เราได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้แสวงหา ได้พิจารณา

ด้วยใจแล้ว เราจักไม่ยึดมั่นอารมณ์แม้นั้น และวิญญาณที่อาศัยอารมณ์นั้นจัก

ไม่มีแก่เรา ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เถิด.

[๗๓๗] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้ อนาถบิณฑิกคฤหบดี

ร้องไห้ น้ำตาไหล ขณะนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะนาถบัณฑิกคฤหบดี

ดังนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านยังอาลัยใจจดใจจ่ออยู่หรือ.

อ. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมมิได้อาลัย มิได้ใจจดใจจ่อ

แต่ว่ากระผมได้นั่งใกล้พระศาสดาและหมู่ภิกษุที่น่าเจริญใจมาแล้วนาน ไม่เคย

ได้สดับธรรมมีกถาเห็นป่านนี้.

อา. ดูก่อนคฤหบดี ธรรมกถาเห็นปานนี้ มิได้แจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์

ผู้นุ่งผ้าขาว แต่แจ่มแจ้งแก่บรรพชิต

อ. ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอธรรมีกถาเห็นปานนี้

จงแจ่มแจ้งแก่คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวบ้างเถิด เพราะมีกุลบุตรผู้เกิดมามีกิเลส-

ธุสีในควงตาน้อย จะเสื่อมคลายจากธรรม จะเป็นผู้ไม่รู้ธรรม โดยมิได้สดับ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

ครั้นนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์กล่าวสอนอนาถ-

บิณฑิกคฤหบดีด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป.

การเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

[๗๓๘] ต่อนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเมื่อท่านพระสารีบุตรและท่าน

พระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน ก็ได้ทำกาลกิริยาเข้าถึงชั้นดุสิตแล ครั้งนั้น

ล่วงปฐมยามไปแล้ว อนาถบิณฑิกเทพบุตรมีรัศมีงามส่องพระวิหารเชตวัน ให้

สว่างทั่ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มี-

พระภาคเจ้ายืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระเชตวันนี้มีประโยชน์ อันสงฆ์ผู้

แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว อันพระองค์ผู้เป็น

ธรรมราชาประทับ เป็นที่เกิดปิติแก่ข้า-

พระองค์ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์ด้วย

ธรรม ๕ อย่างนี้ คือ กรรม ๑ วิชชา ๑

ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑ ไม่ใช่บริสุทธิ์

ด้วยใครหรือด้วยทรัพย์ เพราะฉะนั้นแล

บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเล็งเห็นประโยชน์

ของตน พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย

จะบริสุทธิ์ในธรรมนั้นได้ด้วยอาการนี้

พระสารีบุตรนั้นแล ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วย

ปัญญา ด้วยศีล และด้วยความสงบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

ความจริง ภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้ว จะอย่างยิ่ง

ก็เท่าพระสารีบุตรนี้.

อนาถบิณฑิกเทวบุตรกล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัยต่อนั้น

อนาถบิณฑิกเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัยจึงถวายอภิวาทพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกระทำประทักษิณ หายตัวไป ณ ที่นั้นเอง.

[๗๓๙] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ล่วงปฐมยามไปแล้ว

มีเทวบุตรตนหนึ่ง มีรัศมีงาม ส่องพระวิหารเชตวันให้สว่างทั่ว เข้ามาหาเรา

ยังที่อยู่ อภิวาทแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว

ได้กล่าวกะเราด้วยคาถามีว่า

พระวิหารเชตวันนี้มีประโยชน์ อัน

สงฆ์ผู้แสวงบุญอยู่อาศัยแล้ว อันพระองค์

ผู้เป็นธรรมราชาประทับ อยู่เป็นที่เกิดปิติ

แก่ข้าพระองค์ สัตว์ทั้งหลายย่อมบริสุทธิ์

ได้ด้วยธรรม อย่างนี้ คือ ธรรม ๑

วิชชา ๑ ธรรม ๑ ศีล ๑ ชีวิตอุดม ๑

ไม่ใช่บริสุทธิด้วยโคตร หรือด้วยทรัพย์

เพราะฉะนั้นแล บุคคลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อ

เล็งเห็นประโยชน์ของตน พึงเลือกเฟ้น

ธรรมโดยแยบคาย จะบริสุทธิ์ในธรรมนั้น

ได้ด้วยอาการนี้ พระสารีบุตรนั้นแล ย่อม

บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ด้วยศีล และด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

ความสงบ ความจริง ภิกษุผู้ถึงฝั่งแล้ว

จะอย่างยิ่งก็เท่าพระสารีบุตรนี้.

ภิกษุทั้งหลาย เทวบุตรนั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว รู้ว่าพระศาสดาทรงพอ

พระทัย จึงอภิวาทเรา แล้วกระทำประทักษิณ หายตัวไป ณ ที่นั้นแล.

[๗๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวบุตรนั้น คง

จักเป็นอนาถบิณฑิกเทวบุตรแน่ เพราะอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้เป็นผู้เลื่อมใส

แล้วในท่านพระสารีบุตร.

พ. ดูก่อนอานนท์ ถูกแล้ว ๆ เท่าที่คาดคะเนนั้นแล เธอลำดับเรื่อง

ถูกแล้ว เทวบุตรนั้นคืออนาถบิณฑิกเทวบุตร มิใช่อื่น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชม

ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ อนาถปิณฑิโกวาทสูตร ที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

สฬายตนวรรค

อรรถกถาอนาถปิณฑิโกวาทสูตร

อนาถบิณฑิโกวาทสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-.

ในบทเหล่านั้น คำว่า ป่วยหนัก คือป่วยเหลือขนาด เข้าถึงการ

นอนรอความตาย. คำว่า เรียกหาแล้ว คือ เล่ากันมาว่า ตราบใดที่เท้า

ของคฤหบดี ยังพาไปได้ ตราบนั้น คฤหบดี ก็ได้ทำการบำรุง พระพุทธเจ้า

วันละครั้งสองครั้งหรือสามครั้งไม่ขาด และท่านบำรุงพระศาสดาเท่าใด ก็บำรุง

พวกพระมหาเถระเท่านั้นเหมือนกัน วันนี้ ท่านเข้าถึงการนอนชนิดที่ไม่มีการ

ลุกขึ้นอีก เพราะเท้าเดินไม่ได้แล้ว อยากส่งข่าวไปจึงเรียกหาชายคนใดคนหนึ่ง

มา. คำว่า เข้าไปแล้วโดยส่วนแห่งทิศนั้น คือครั้นทูลอำลาพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว ก็เข้าไปหาในเวลาพระอาทิตย์ตก. คำว่า ค่อยยังชั่ว คือ ทุเลา

เบาลง. คำว่า หนักขึ้น คือ เจริญยิ่งได้แก่เพียบลง คือเป็นเวทนาที่กล้าแข็ง

คำว่า. มีแต่ความหนักขึ้นเป็นที่สุดปรากฏ ไม่มีความทุเลาลง คือก็ใน

สมัยที่เกิดเวทนาชนิดที่มีความตายเป็นที่สุดขึ้นมานั้น ย่อมเป็นเหมือนกระพือ

ลมบนไฟที่ลุกโพลง ตลอดเวลาที่ไออุ่นยังไม่ดับ ต่อให้ใช้ความเพียรใหญ่

ขนาดไหน ก็ไม่อาจทำให้เวทนานั้นระงับไปได้ แต่จะระงับไปได้ก็คือเมื่อไอ

อุ่นดับไปแล้ว ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรคิดว่า เวทนาของมหาเศรษฐี เป็น

เวทนาชนิดมีความตายเป็นที่สุด ไม่มีใครสามารถห้ามได้ ถ้อยคำที่เหลือ ใช้

ประโยชน์ไม่ได้ เราจักกล่าวธรรมกถาแก่มหาเศรษฐีนั้น.

และแล้วเมื่อกล่าวธรรมกถามานี้ กะคฤหบดีนั้น จึงกล่าวขึ้นต้น ว่า

เพราะเห็นในกรณีนี้. ในคำเหล่านั้น คำว่า เพราะฉะนั้น คือเพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

ขึ้นชื่อว่าผู้ที่ถือเอาจักษุด้วยการถือเอาทั้งสามอย่างอยู่ สามารถป้องกันเวทนาที่

ีมีความตายเป็นที่สุดที่บังเกิดขึ้นแล้วไม่มี. คำว่า จักไม่ยึดมั่นจักษุ คือจัก

ไม่ถือเอาจักษุด้วยการถือเอาทั้งสามอย่าง. คำว่า และความรู้แจ้งที่อาศัยจักษุ

ของเราก็ไม่มี คือ และความรู้แจ้งที่อาศัยจักษุของเราก็จักไม่มี. รูปในอายตนะ

ท่านได้แสดงในหนหลังว่า รูป ก็ไม่มี แล้ว. ในที่นี้เมื่อจะแสดงแม้รูปใน

กามภพทั้งหมด ท่านจึงกล่าวอย่างนี้.

คำว่า โลกนี้ ก็ไม่มี หมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย หรือ

อาหารการกินตลอดถึงเครื่องนุ่งห่ม กระผมไม่ยึดติดทั้งนั้น. ก็แหละคำนี้ท่าน

แสดงเพื่อการไม่มีความสะดุ้งในปัจจัยทั้งหลาย. ส่วนในคำว่า โลกหน้า ก็ไม่

นี้ หมายความว่า ยกโลกมนุษย์ออกแล้ว ที่เหลือ ชื่อว่า โลกหน้า หรือโลก

อื่น คำนี้ ท่านกล่าวเพื่อการละความสะดุ้งนี้ว่าเรา เมื่อเกิดในเทวโลกโน้นแล้ว

จะเป็นในฐานะชื่อโน้น เราจะขบจะกินจะนุ่งจะห่ม สิ่งชื่อนี้. พระเถระปลด

เปลื้องจากความยึดถือทั้งสามอย่าง อย่างนี้ว่า ถึงสิ่งนั้น กระผมก็จะไม่ยึดติด

และความรู้แจ้งที่อาศัยความยึดติดนั้น ก็จะไม่มีแก่กระผมด้วย แล้วจึงจบเทศน์

ลงด้วยยอดคือ พระอรหัต.

คำว่า แช่ลง คือ ท่านได้เห็นสมบัติของตนแล้ว ย่อมเกิด ย่อม

แช่แฉะในอารมณ์ทั้งหลาย. เมื่อท่านพระอานนท์ว่าดังที่กล่าวมานี้แล้ว ก็สำคัญ

อยู่ว่า ขนาดคฤหบดีนี้ ซึ่งมีความเชื่อความเลื่อมใสอย่างนี้ ยังกลัวตาย แล้ว

คนอื่นใครเล่า จะไม่กลัว เมื่อจะทำให้แน่ใจแล้วให้โอวาทแก่คฤหบดีนั้นจึงได้

กล่าวอย่างนี้. คำว่า ธรรมกถาทำนองนี้ กระผมยังไม่เคยได้ฟังเลย.

คือ อุบาสกนี้กล่าวว่า ธรรมกถาทำนองนี้ แม้จากสำนักพระศาสดา กระผม

ก็ยังไม่เคยได้ฟังเลย. ถามว่า พระศาสดาไม่ทรงแสดงถ้อยคำที่ละเอียดลึกซึ้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

แบบนี้หรือ. ตอบว่า ไม่ทรงแสดงก็หาไม่. แต่ทว่าถ้อยคำที่ทรงแสดงถึง

อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ พวกวิญญาณ ๖ พวกผัสสะ ๖ พวก

เวทนา ๖ ธาตุ ๖ ขันธ์ ๕ อรูป ๔ โลกนี้และโลกหน้า แล้วตรัสใส่ไว้ในความ

เป็นพระอรหันต์ด้วยอำนาจรูปที่ตาได้เห็นแล้ว เสียงที่หูได้ยินแล้ว กลิ่นรส-

โผฏฐัพพะที่จมูกลิ้นกายได้ทราบแล้วและธรรมารมณ์ที่ใจได้รู้แจ้งแล้ว ท่าน

คฤหบดีนี้ยังไม่เคยฟัง. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง อุบาสกนี้ ยินดียิ่งในทาน เมื่อจะไปสำนักพระ-

พุทธเจ้าจึงไม่เคยไปมือเปล่า เมื่อจะไปก่อนฉันก็ให้คนเอาข้าวต้มและ

ของขบเคี้ยวเป็นต้นแล้วจึงไป เมื่อจะไปหลังฉันแล้ว ก็ให้เอาเนยใส น้ำผึ้ง

และน้ำอ้อยเป็นต้นแล้วจึงไป เมื่อไม่มีสิ่งนั้น ก็ให้แบกหามทรายเอาไปเกลี่ย

ลงในบริเวณพระคันธกุฎี ครั้นให้ทาน รักษาศีลเสร็จแล้วจึงกลับไปสู่เรือน.

เล่ากันว่า อุบาสกนี้มีคติแบบโพธิสัตว์ ฉะนั้น ตลอดเวลา ๒๔ ปี โดยมาก

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส แต่ทานกถาเท่านั้นแก่อุบาสกว่า อุบาสก ธรรมดา

ว่าทานนี้ เป็นทางดำเนินของเหล่าโพธิสัตว์ เป็นทางดำเนินของเราด้วย เรา

ได้ให้ทานมาเป็นเวลาสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ท่านก็ชื่อว่าดำเนินตามทางที่เรา

ได้ดำเนินมาแล้วโดยแท้. ถึงพระมหาสาวกมีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้น ในเวลา

ที่อุบาสกมาสู่สำนักของตน ๆ ก็แสดงแต่ทานกถาแก่ท่านเหมือนกัน . เพราะเหตุ

นั้นแล ท่านจึงว่า คฤหบดีธรรมกถาเห็นปานนี้ ย่อมไม่ปรากฏแก่พวกคฤหัสถ์

ผู้นุ่งห่มขาวเลย. มีคำที่ท่านอธิบายไว้อย่างนี้ว่า คฤหบดีสำหรับ พวกคฤหัสถ์

มีความพัวพันเหนียวแน่นแต่ในนา สวน เงิน ทอง คนใช้หญิง ชาย บุตร

และภรรยาเป็นต้น เอาแต่ความพอใจและความกลุ้มรุมอย่างแรง ถ้อยคำว่า

อย่าทำความอาลัยใยดีในสิ่งเหล่านี้ อย่าไปทำความพออกพอใจ ดังนี้ จึงไม่

ปรากฏ คือ ย่อมไม่ชอบใจแก่คฤหัสถ์เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

คำว่า เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ความว่า

ทำไมจึงเข้าไปเฝ้า. เล่ากันมาว่า พอคฤหบดีนั้นเกิดในชั้นดุสิตเท่านั้น ก็เห็น

อัตภาพขนาดสามคาวุต โชติช่วงเหมือนกองทอง และสมบัติมีอุทยานและวิมาน

เป็นต้น จึงสำรวจดูว่า สมบัติของเรานี้ยิ่งใหญ่ เราได้ทำอะไรไว้ในถิ่นมนุษย์

หนอแล เห็นการกระทำอย่างยิ่งในไตรรัตน์ จึงคิดว่า ความเป็นเทพนี้เป็น

ที่ตั้งแห่งความประมาท เพราะว่าเมื่อเรามัวชื่นชมสมบัตินี้ ก็จะต้องมีความ

หลงลืมสติบ้างก็ได้ เอาล่ะ เราจะไปกล่าวชมพระเชตวันของเรา พระภิกษุสงฆ์

พระตถาคตเจ้า อริยมรรค และพระสารีบุตรเถระ มาจากนั้นแล้วจึงจะค่อย

เสวยสมบัติ เทพบุตรนั้นจึงได้ทำอย่างนั้น. เพื่อแสดงข้อความนั้น ท่านจึง

กล่าวคำว่า ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกะ เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า

ที่พวกฤษีสร้องเสพแล้ว ได้แก่ ที่หมู่ภิกษุสร้องเสพแล้ว.

ครั้น กล่าวชมพระเชตวันด้วยคาถาแรกอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะกล่าวชม

อริยมรรค จึงได้กล่าวคำว่า การงานและความรู้ เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น

คำว่า การงาน หมายถึงมรรคเจตนา. คำว่า ความรู้ หมายถึงมรรคปัญญา.

คำว่า ธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งสมาธิ. ท่านแสดงว่า ชีวิตของ

ผู้ที่ตั้งอยู่ในศีลว่าเป็นชีวิตที่สูงสุด ด้วยคำว่า ศีล ชีวิตที่สูงสุด.

อีกอย่างหนึ่ง ความเห็นและความดำริ ชื่อว่า ความรู้. ความพยายาม

ความระลึก และความตั้งใจมั่น ชื่อว่า ธรรม. การพูด การงาน และการ

เลี้ยงชีพ ชื่อว่า ศีล. ชีวิตของผู้ตั้งอยู่ในศีลนี้ เป็นชีวิตที่สูงสุด ชื่อว่า ชีวิต

อุดม. คำว่า หมู่สัตว์ย่อมหมดจดด้วยสิ่งนี้ คือ หมู่สัตว์ย่อมบริสุทธิ์ ด้วย

มรรคที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

คำว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะเหตุที่หมดจดด้วยมรรค มิใช่

เพราะด้วยโคตรหรือทรัพย์. บาทคาถาว่า พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยอุบายที่

แยบคาย คือพึงเลือกเฟ้นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งสมาธิอย่างแนบเนียน.

บาทคาถาว่า อย่างนี้จงจะหมดจดในธรรมนั้น คือด้วยลักษณะเช่นนี้จึง

จะหมดจดในอริยมรรคนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บาทคาถาว่า พึงเลือกเฟ้นธรรม

โดยอุบายที่แยบคาย คือ พึงเลือกเฟ้นธรรมคือขันธ์ ๕ อย่างแนบเนียน.

บาทคาถาว่า อย่างนี้จึงจะหมดจดในธรรมนั้น คือ อย่างนี้จึงจะหมดจด

ในสัจจะทั้ง ๔ ข้อนั้น.

บัดนี้ อนาถบิณฑิกเทพบุตร เมื่อจะกล่าวชมพระสารีบุตรเถระ จึง

ได้กล่าวว่า พระสารีบุตรนั่นแหละ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น คำว่า พระ-

สารีบุตรนั่นแหละ เป็นคำอวธารณะ (ห้ามข้อความอื่น) อนาถบิณฑิก

เทพบุตรย่อมกล่าวว่า พระสารีบุตรเท่านั้น เป็นผู้เลิศด้วยปัญญาเป็นต้นเหล่านี้.

คำว่า ด้วยความสงบระงับ คือ ด้วยความเข้าไปสงบกิเลส. คำว่า ถึงฝั่ง

คือถึงพระนิพพาน. อนาถบิณฑิกเทพบุตรย่อมกล่าวว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

บรรลุพระนิพพาน ภิกษุรูปนั้นอย่างมากก็เท่านี้ ไม่มีใครที่เกินเลยพระเถระ

ไปได้. ที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอนาถปิณฑิโกวาทสูตร ที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

๒. ฉันโนวาทสูตร

[๗๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคย

เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล

ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาจุนทะ และท่านพระฉันนะ อยู่บนภูเขา

คิชฌกูฏ เฉพาะท่านพระฉันนะอาพาธ ทนทุกขเวทนา เป็นไข้หนัก.

[๗๔๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น

เข้าไปหาท่านพระมหาจุนทะยังที่อยู่ แล้วได้กล่าวกะท่านพระมหาจุนทะดังนี้ว่า

ดูก่อนท่านจุนทะ มาเถิด เราจะเข้าไปหาท่านพระฉันนะยังที่อยู่ ได้ถามถึง

ความไข้ ท่านพระมหาจุนทะรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ต่อนั้น ท่านพระ-

สารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ ได้เข้าไปหาท่านพระฉันนะยังที่อยู่ แล้ว

ทักทายปราศรัยกับท่านพระฉันนะ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระสารีบุตร

ได้กล่าวกะท่านพระฉันนะดังนี้ว่า ดูก่อนท่านฉันนะ ท่านพอทน พอเป็นไป

ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบ ปรากฏความทุเลาเป็นที่สุด ไม่ปรากฏ

ความกำเริบหรือ.

ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว

ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด

ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๔๓] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณกระทบขม่อมของ

กระผม เหมือนบุรุษมีกำลังเอาของแหลมคมทิ่มขม่อม ฉะนั้น กระผมจึงทน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

ไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏ

ความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๔๔] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณเวียนศีรษะของ

กระผมอยู่ เหมือนบุรุษมีกำลังให้การขันศีรษะด้วยชะเนาะอย่างมั่น ฉะนั้น

กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ

ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย.

[๗๔๕] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ลมเหลือประมาณปั่นป่วนท้องของ

กระผม เหมือนคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด เอามีดแล่โคอันคม

คว้านท้อง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผม

หนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความกำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย

[๗๔๖] ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ความร้อนในกายของกระผมเหลือ

ประมาณ เหมือนบุรุษมีกำลัง ๒ คน จับบุรุษมีกำลังน้อยที่อวัยวะป้องกันตัว

ต่าง ๆ แล้ว นาบ ย่าง ในหลุมถ่านเพลิง ฉะนั้น กระผมจึงทนไม่ไหว

เป็นไปไม่ไหว ทุกขเวทนาของกระผมหนัก กำเริบ ไม่ทุเลา ปรากฏความ

กำเริบเป็นที่สุด ไม่ปรากฏความทุเลาเลย ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมจัก

หาศาสตรามาฆ่าตัว ไม่อยากจะได้เป็นอยู่เลย.

[๗๔๗] สา. ท่านฉันนะอย่าได้หาศาสตรามาฆ่าตัวเลย จงเป็นอยู่

ก่อนเถิด พวกเรายังปรารถนาให้ท่านฉันนะเป็นอยู่ ถ้าท่านฉันนะไม่มีโภชนะ

เป็นที่สบาย ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีเภสัชเป็นที่สบาย ผมจัก

แสวงหามาให้ ถ้าท่านฉันนะไม่มีคนบำรุงที่สมควร ผมจักคอยบำรุงท่านเอง

ท่านฉันนะอย่าได้หาศาสตรามาฆ่าตัวเลย จงเป็นอยู่ก่อนเถิด พวกเรายัง

ปรารถนาให้ท่านฉันนะเป็นอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

[๗๔๘] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ไม่ใช่กระผมไม่มีโภชนะเป็นที่

สบาย ไม่ใช่ไม่มีเภสัชเป็นที่สบาย ไม่ใช่ไม่มีตนบำรุงที่สมควร ก็แหละกระผม

ได้ปรนนิบัติพระศาสดามาตลอดกาลนาน ด้วยความพอพระทัย มิใช่ด้วย

ความไม่พอพระทัย ความจริง การที่ภิกษุปรนนิบัติพระศาสดาด้วยความพอ

พระทัย มิใช่ด้วยความไม่พอพระทัย นั้นเป็นการสมควรแก่สาวก ข้าแต่ท่าน

พระสารีบุตร ขอท่านจงทรงจำไว้อย่างนี้ว่า ฉันภิกษุจักหาศาสตรามาฆ่าตัว

อย่างมิให้ถูกตำหนิได้.

สา. พวกเราจักชื่อถามปัญหาท่านฉันนะสักเล็กน้อย ถ้าท่านฉันนะ

เปิดโอกาสพยากรณ์ปัญหาได้.

ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โปรดถามเถิด กระผมฟังแล้วจึงจักรู้.

[๗๔๙] ดูก่อนท่านฉันนะ ท่านพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ

ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเราหรือ.

ท่านพิจารณาเห็นโสต โสตวิญญาณ...

ท่านพิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ...

ท่านพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ...

ท่านพิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ...

ท่านพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณว่า

นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเราหรือ.

ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ

ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตา

ของเรา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

กระผมพิจารณาเห็นโสต โสตวิญญาณ...

กระผมพิจารณาเห็นฆานะ ฆานวิญญาณ...

กระผมพิจารณาเห็นชิวหา ชิวหาวิญญาณ...

กระผมพิจารณาเห็นกาย กายวิญญาณ...

กระผมพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ

ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

ปัญหาของพระสารีบุตร

[๗๕๐] สา. ดูก่อนท่านฉันนะ ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร

ในจักษุ ในจักษุวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็น

จักษุ จักษุวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่

ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในโสต ในโสตวิญญาณ...

ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในฆานะ ในฆานวิญญาณ...

ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ...

ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในกาย ในกายวิญญาณ...

ท่านเห็นได้อย่างไร รู้ได้อย่างไร ในมโน มโนวิญญาณ ในธรรม

ที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วย

มโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในจักษุ

ในจักษุวิญญาณ ในธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นจักษุ จักษุ

วิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่น

ไม่ใช่อัตตาของเรา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในโสต ในโสตวิญญาณ...

กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในฆานะ ในฆานวิญญาณ...

กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในชิวหา ในชิวหาวิญญาณ...

กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในกาย ในกายวิญญาณ

กระผมเห็นความดับ รู้ความดับในมโน ในมโนวิญญาณ ในธรรม

ที่รู้ได้ด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นมโน มโนวิญญาณ ธรรมที่รู้ได้ด้วย

มโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

[๗๕๑] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระมหาจุนทะได้

กล่าวกะท่านพระฉันนะดังนี้ว่า ดูก่อนท่านฉันนะ เพราะฉะนั้นแล ท่านควร

ใส่ใจคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไว้ตลอดกาลเนืองนิตย์แม้ดังนี้ว่า

บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัยอยู่แล้ว ย่อมมีความหวั่นไหว สำหรับผู้ไม่มี

ตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มีความหวั่นไหว เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความ

สงบ เมื่อมีความสงบก็ไม่มีตัณหานำไปสู่ภพ เมื่อไม่มีตัณหานำไปสู่ภพ ก็ไม่มี

การมาเกิด ไปเกิด เมื่อไม่มีการมาเกิดไปเกิด ก็ไม่มีจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีจุติ

และอุปบัติก็ไม่มีโลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีระหว่างกลางทั้งสองโลก นี้แหละ

ที่สุดแห่งทุกข์ ครั้นท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ กล่าวสอนท่าน

พระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ หลีกไป.

[๗๕๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระฉันนะ เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่าน

พระมหาจุนทะหลีกไปแล้วไม่นาน ได้หาศาสตรามาฆ่าตัวเสียทันทีนั้น ท่าน

พระสารีบุตรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะหาศาสตรา

มาฆ่าตัวเสียแล้ว ท่านจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ฉันนภิกษุพยากรณ์

ความเป็นผู้ไม่ด้วยตำหนิต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ.

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบ้านในแคว้นวัชชีนามว่าปุพพชิระ

ที่หมู่บ้านนั้น ท่านพระฉันนะยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลคนที่คอย

ตำหนิอยู่.

[๗๕๓] พ. ดูก่อนสารีบุตร ฉันนภิกษุยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย

และสกุลที่คอยตำหนิอยู่ก็จริง แต่เราหาเรียกบุคคลว่า ควรถูกตำหนิด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ไม่ ดูก่อนสารีบุตร บุคคลใดแล ทั้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น

บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุ

หาศาสตรามาฆ่าตัวอย่างไม่ควรถูกตำหนิ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึง

ชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ ฉันโนวาทสูตร ที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

อรรถกถาฉันโนวาทสูตร

ฉันโนวาทสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ในคำเหล่านั้น คำว่า ฉันนะ ได้แก่พระเถระมีชื่ออย่างนั้น ไม่ใช่

เป็นพระเถระที่ออกไปด้วยกันกับพระพุทธเจ้า ตอนออกอภิเนษกรมณ์. คำว่า

จากการหลีกเร้น คือจากผลสมาบัติ. คำว่า ไต่ถามถึงความเป็นไข้ ได้แก่

การบำรุงภิกษุไข้ ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ ทรงพรรณนาไว้เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. คำว่า ศัสตรา ได้แก่ศัสตราที่คร่าชีวิต. คำว่า ไม่หวัง

คือไม่อยาก. คำว่า ไม่เข้าไปถึง คือไม่เกิด ไม่มีปฏิสนธิ. คำว่า นั่นของเรา

เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจความยึดถือด้วยตัณหา มานะและทิฐิ. คำว่า

เห็นความดับอย่างสิ้นเชิง คือทราบความสิ้นและความเสื่อมไป. คำว่า

ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัว

ตนของเรา คือข้าพเจ้าพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน คำ

ว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะเหตุที่พระเถระกล่าวว่า เมื่อข้าพเจ้าอดกลั้น

เวทนาที่มีความตายเป็นที่สุดไม่ได้. จึงได้นำเอาศัสตรามานั้น ท่านเป็นปุถุชน

จึงชี้แจงว่า เพราะฉะนั้น ท่านจงใส่ใจแม้ข้อนี้. คำว่า ตลอดกาลเนืองนิตย์

คือนิจกาล. คำว่า ที่อาศัยแล้ว คือตัณหาและทิฐิอิงแล้ว. คำว่า หวั่นไหว

ได้แก่เป็นของกวัดแกว่ง. คำว่า ความสงบ คือความสงบกายสงบจิต อธิบายว่า

ถึงความสงบกิเลส ก็ย่อมมี. คำว่า นติ ได้แก่ตัณหา. คำว่า นติยา อสติ คือ

เมื่อไม่มีความกลุ้มรุมเพราะความอาลัยใยดีเพื่อประโยชน์แก่ภพ. คำว่า ไม่มี

การมาและการไป คือ ชื่อว่าการมาด้วยอำนาจปฏิสนธิ ย่อมไม่มี ชื่อว่า

การไปด้วยอำนาจจุติ ก็ย่อมไม่มี. คำว่า จุติและอุปบัติ คือ ชื่อว่าจุติด้วย

อำนาจความเคลื่อน ชื่อว่าอุปบัติด้วยอำนาจการเกิดขึ้น. คำว่า ไม่มีในโลกนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

ไม่มีในโลกหน้า ไม่มีโดยระหว่างโลกทั้งสอง คือในโลกนี้ก็ไม่มี ใน

โลกหน้าก็ไม่มี ในโลกทั้งสองก็ไม่มี. คำว่า นี่แลเป็นที่สุดของทุกข์ คือ

นี้เท่านั้นเป็นที่สุดของวัฏทุกข์และกิเลสทุกข์ นี้เป็นกำหนดโดยรอบ เป็นทาง

โดยรอบ. เพราะนี้เท่านั้นเป็นความประสงค์ในข้อนี้. สำหรับท่านผู้ใดถือคำว่า

ไม่มีโดยระหว่างโลกทั้งสอง แล้วต้องการระหว่างภพ ข้อคำที่ยิ่งไปสำหรับ

ท่านเหล่านั้น ก็กล่าวในหนหลังเสร็จแล้วแล. คำว่า นำศัสตรามาแล้ว คือ

เอาศัสตราสำหรับคร่าชีวิตมาแล้ว ตัดก้านคอแล้ว.

ก็ขณะนั้น ความกลัวตายของท่านก็ก้าวลง คตินิมิตปรากฏขึ้น. ท่าน

รู้ว่าตัวยังเป็นปุถุชน เกิดสลดใจ ตั้งวิปัสสนา พิจารณาสังขาร สำเร็จเป็น

พระอรหันต์ เป็นสมสีสีแล้วก็ปรินิพพาน. คำว่า ทรงพยากรณ์ความไม่

เกิดต่อหน้าที่เดียว คือ ถึงแม้ว่าการพยากรณ์นี้ มีในเวลาที่พระเถระยังเป็น

ปุถุชนก็จริง ถึงอย่างนั้น การปรินิพพานที่ไม่มีอะไรมาแทรกแซงได้ของท่านก็

ได้มีตามคำพยากรณ์นี้ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงถือเอาคำพยากรณ์

นั่นแหละมาตรัส. คำว่า ตระกูลที่พึงเข้าไป คือตระกูลที่ควรเข้าไป ด้วย

คำว่า ตระกูลที่พึงเข้าไป นี้ พระเถระย่อมทูลถามว่า พระเจ้าข้า เมื่อยังมี

พวกอุปัฏฐากและพวกอุปัฏฐายิกาอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้น จะปรินิพพานในพระ-

ศาสนาของพระองค์หรือ ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงความที่

ภิกษุนั้น ไม่มีความคลุกคลีในตระกุลทั้งหลาย จึงตรัสคำว่า สารีบุตร ก็แล

เหล่านี้ ย่อมมี ดังนี้เป็นต้น. เล่ากันมาว่า ในฐานะนี้ ความไม่ข้องเกี่ยว

ในตระกูลทั้งหลายของพระเถระได้เป็นที่ปรากฏแล้ว. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง

ตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาฉันโนวาทสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

๓. ปุณโณวาทสูตร

[๗๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะ

ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้ว

ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าได้โปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ด้วยพระโอวาทย่อ ๆ พอที่ข้าพระองค์ได้

สดับ ธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจะเป็นผู้ ๆ เดียวหลีกออก ไม่ประมาท

มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนปุณณะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงพึง

จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ท่านปุณณะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบ

แล้ว พระพุทธเจ้าข้า

[๗๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนปุณณะ มีรูปที่

รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วย

กาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอยู่แล้ว ถ้าภิกษุเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่

ด้วยความติดใจรูปนั้น นันทิย่อมเกิดขึ้นแก่เธอผู้เพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่

ด้วยความติดใจรูปนั้นได้ เพราะนันทิเกิด เราจึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดนะ ปุณณะ.

ดูก่อนปุณณะ มีเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต...

ดูก่อนปุณณะ มีกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ...

ดูก่อนปุณณะ มีรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา...

ดูก่อนปุณณะ มีโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

ดูก่อนปุณณะ มีธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอยู่แล ถ้า

ภิกษุเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยติดใจธรรมารมณ์นั้น นันทิย่อมเกิดแก่

เธอผู้เพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจธรรมารมณ์นั้นได้ เพราะ

เหตุคือนันที่เกิด เราจึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดนะ ปุณณะ.

[๗๕๖] ดูก่อนปุณณะ มีรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุอัน น่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด อยู่แล ถ้า

ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้น นันทิของเธอ

ผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจรูปนั้น ย่อมดับไป

เพราะนันทิดับ เราจึงกล่าวว่า ทุกข์ดับนะ ปุณณะ.

ดูก่อนปุณณะ มีเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต...

ดูก่อนปุณณะ มีกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ...

ดูก่อนปุณณะ มีรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา...

ดูก่อนปุณณะ มีโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย...

ดูก่อนปุณณะ มีธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน อันน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอยู่แล ถ้า

ภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจธรรมารมณ์นั้น นันทิ

ของเธอผู้ไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจธรรมารมณ์นั้น

ย่อมดับไป เพราะนันทิดับ เราจึงกล่าวว่า ทุกข์ดับนะ ปุณณะ.

ดูก่อนปุณณะ ก็เธออันเรากล่าวสอนด้วยโอวาทย่อ ๆ นี้แล้ว จักอยู่

ในชนบทไหน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

สั่งสอนด้วยโอวาทย่อ ๆ นี้แล้ว มีชนบทชื่อสุนาปรันตะ เป็นที่ที่ข้าพระองค์

จักไปอยู่.

[๗๕๗] พ. ดูก่อนปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้าย

หยาบช้านัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จักบริภาษเธอ เธอจัก

มีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า

จักบริภาษข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์

ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยฝ่ามือ ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ข้าพระองค์มีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้.

[๗๕๘] พ. ดูก่อนปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจัก

ให้การประหารเธอด้วยฝ่ามือ เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักให้

การประหารข้าพระองค์ด้วยฝ่ามือ ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า

พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วย

ก้อนดิน ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์

พวกนั้น อย่างนี้.

[๗๕๙] พ. ดูก่อนปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท

จักให้การประหารเธอด้วยก้อนดิน เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จักให้

การประหารข้าพระองค์ด้วยก้อนดิน ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่าง

นี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีหนักหนาที่ไม่ให้การประหารเรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

ด้วยท่อนไม้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์

พวกนั้นอย่างนี้.

ทรงแสดงความดุร้าย

[๗๖๐] พ. ดูก่อนปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท

จัก ให้การประหารเธอด้วยท่อนไม้ เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จัก

ให้การประหารข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขา

อย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหาร

เราด้วยศาสตรา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิดใน

มนุษย์พวกนั้นอย่างนี้.

[๗๖๑] พ. ดูก่อนปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท

จักให้การประหารเธอด้วยศาสตรา เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบท จัก

ให้การประหารข้าพระองค์ด้วยศาสตรา ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขา

อย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ปลิดชีพเราเสีย

ด้วยศาสตราอันคม ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ข้าพระองค์จักมีความคิด

ในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้.

[๗๖๒] พ. ดูก่อนปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจัก

ปลิดชีพเธอเสียด้วยศาสตราอันคม เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น.

ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจัก

ปลิดชีพข้าพระองค์ด้วยศาสตราอันคม ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขา

อย่างนี้ว่า มีเหล่าสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่อึดอัดเกลียดชังร่างกายและ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

ชีวิต พากันแสวงหาศาสตราสังหารชีพอยู่แล เราไม่ต้องแสวงหาสิ่งดังนั้นเลย

ก็ได้ศาสตราสังหารชีพแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต ข้าพระองค์จักมี

ความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้.

[๗๖๓] พ. ดีละ ๆ ปุณณะ. เธอประกอบด้วยทมะและอุปสมะดังนี้

แล้ว จักอาจเพื่อจะอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้แล ดูก่อนปุณณะ เธอจงสำคัญ

กาลที่ควรในบัดนี้เถิด.

ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะยินดีอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณ

แล้วเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรเดินทางจาริกไปยังที่ตั้งสุนาปรันตชนบท เมื่อ

จาริกไปโดยลำดับ ได้ลุถึงสุนาปรันตชนบทแล้ว.

[๗๖๔] เป็นอันว่า ท่านพระปุณณะอยู่ในสุนาปรันตชนบทนั้น ครั้ง

นั้นแล ท่านพระปุณณะได้ให้พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทกลับใจแสดงตน

เป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน ภายในพรรษานั้นเอง กลับใจแสดงตนเป็น

อุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน ภายในพรรษานั้นเอง และตัวท่านได้ทำให้แจ้ง

ซึ่งวิชชา ๓ ภายในพรรษานั้นเหมือนกัน ครั้นสมัยต่อมา ท่านได้ปรินิพพาน

แล้ว.

ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ

แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่ง

เรียบร้อยแล้ว ได้กราบ ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

กุลบุตรชื่อปุณณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนด้วยพระโอวาทย่อ ๆ นั้น

ทำกาละเสียแล้ว เธอมีคติเป็นอย่างไร มีสัมปรายภพเป็นอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

ทรงแสดงถึงปรินิพพาน

[๗๖๕] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณกุลบุตร เป็นบัณฑิต ได้

บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณกุลบุตรปรินิพพานแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ ปุณโณวาทสูตร ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

อรรถกถาปุณโณวาทสูตร

ปุณโณวาทสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ในพระสูตรนั้น ความอยู่ผู้เดียว ชื่อว่า การหลีกเร้น. คำว่า ถ้า

หากว่า นั้น ได้แก่ ตาและรูปนั้น. คำว่า เพราะความเพลินเกิด ทุกข์

จึงเกิดขึ้น คือการรวมเอาทุกข์ในขันธ์ ๕ ย่อมมีด้วยการรวมเอาความเพลิน

อันได้แก่ตัณหามาอยู่ด้วยกัน. ด้วยประการฉะนี้ ก็เป็นอันทรงทำให้วัฏฏะถึง

ที่สุดด้วยอำนาจแห่งสัจจะทั้ง ๒ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ในทวารทั้ง ๖

แล้วจึงทรงแสดง. ในนัยที่ ๒ ทรงทำวิวัฏฏะ ให้ถึงที่สุดด้วยอำนาจสัจจะ ๒

ข้อคือ นิโรธ มรรค แล้วจึงทรงแสดง. อนุสนธิที่แยกไว้โดยเฉพาะ. คือคำว่า

และด้วยอาการอย่างนี้ ปุณณะเธอ. ครั้นทรงใส่เทศนาด้วยอำนาจวัฏฏะ

และวิวัฏฏะในพระอรหัตอย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงให้ท่าน

ปุณณเถระเปล่งสีหนาทในฐานทั้ง ๗ จึงได้ตรัสคำว่า และด้วยอาการอย่าง

นี้ เธอ ดังนี้เป็นต้น. คำว่า ดุ คือดุร้าย ร้ายกาจ. คำว่า หยาบคาย

คือหยาบช้า. คำว่า ย่อมด่า คือย่อมด่าด้วยเรื่องสำหรับด่า ๑๐ อย่าง. คำว่า

ย่อมตะคอก คือย่อมขู่ตะคอกว่า แกนี่เป็นสมณะได้อย่างไร ข้าจะเล่นงาน

แกอย่างนี้และอย่างนี้. คำว่า อย่างนี้ในกรณีนี้ คือสิ่งอย่างนี้ ในกรณีนี้

จะมีแก่ข้าพระพุทธเจ้า. คำว่า ด้วยกระบอง คือด้วยกระบองยาว ๔ ศอก

หรือด้วยท่อนไม้และไม้ค้อน. คำว่า ด้วยศัสตรา คือด้วยอาวุธที่มีคมข้างเดียว

เป็นต้น. คำว่า แสวงหาเครื่องประหารคือศัสตรา คือ แสวงหาศัสตรา

เครื่องคร่าชีวิต. ข้อนี้พระเถระกล่าวหมายถึงพวกภิกษุที่ฟังเรื่องไม่งามในวัตถุ

แห่งปาราชิกข้อที่ ๓ เกิดความสะอิดสะเอียนร่างกาย แล้วแสวงหาเครื่องคร่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

ชีวิตคือศัสตรา. คำว่า ข่มใจ ในคำว่า ด้วยความข่มใจและความเข้า

ไปสงบ นี้ เป็นชื่อแห่งการสำรวมอินทรีย์เป็นต้น. จริงอยู่ ความสำรวม

อินทรีย์ในคำว่า ข่มแล้วด้วยสัจจะเข้าถึงการข่มใจ ถึงที่สุดพระเวท

อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว นี้ ท่านกล่าวว่าเป็นความข่มใจ. ปัญญาในคำว่า

หากยังมีอะไรที่ยิ่งกว่า สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติในกรณีนี้ นี้ ท่าน

กล่าวว่าเป็นความข่มใจ. อุโบสถกรรมในคำว่า ด้วยทาน ด้วยทมะ ด้วย

สัญญมะ ด้วยการกล่าวคำจริง นี้ ท่านกล่าวว่า เป็นความข่มใจ แต่

ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า ความอดทน คือความข่มใจ. คำว่า ความเข้า-

ไประงับ เป็นคำใช้แทน คำว่า ความข่มใจ นั้นเอง.

คำว่า ครั้งนั้นแล ท่านปุณณะ ความว่า อยากทราบว่าก็ท่านปุณณะ

นี้เป็นใคร และทำไมจึงอยากไปในที่นั้น. ท่านรูปนี้ ก็คือชาวเมืองสุนาปรันตะ

นั่นแหละ. ก็ท่านกำหนดว่า ในกรุงสาวัตถี อยู่ไม่สบาย จึงอยากจะไปเมือง

สุนาปรันตะนั้น . ต่อไปนี้ เป็นลำดับถ้อยคำในเรื่องนั้น.

เล่ามาว่า ในแคว้นสุนาปรันตะ มีสองพี่น้องในหมู่บ้านพ่อค้าแห่งหนึ่ง

ในสองพี่น้องนั้น บางทีพี่ชายก็นำเกวียน ๕๐๐ เล่ม ไปชนบทแล้วก็บรรทุก

สินค้ามา. บางทีก็น้องชาย. ส่วนในอันนี้ พี่ชายให้น้องชายอยู่เฝ้าบ้าน

แล้วตัวเองก็นำเอาเกวียน ๕๐๐ เล่ม เที่ยวไปตามหัวเมือง มาถึงกรุงสาวัตถี

โดยลำดับ พักกองเกวียนอยู่ใกล้ ๆ พระเชตวัน กินอาหารมื้อเช้าแล้ว อันผู้

ติดตามล้อมแล้วนั่งพักผ่อนตามสบาย.

ก็แลสมัยนั้น ชาวกรุงสาวัตถี กินอาหารมื้อเช้าแล้ว อธิษฐานองค์

อุโปสถสวมเสื้อสะอาด ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น โน้มน้อมโอนเงื้อมไป

ยังที่ซึ่งมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ แล้วพากันออกไปทาง

ประตูทิศใต้ไปสู่พระเชตวัน. เมื่อเขาเห็นคนเหล่านั้น จึงถามชายคนหนึ่งว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

พวกนี้ไปไหนกัน. นี่นาย คุณไม่รู้อะไรเลยหรือ แก้วคือพระพุทธะ พระธรรม

พระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก เพราะเหตุนี้ มหาชนนี้ จึงพากันไปฟังธรรม.

กถาในสำนักของพระศาสดา. คำว่า พุทธะ ของชายคนนั้น ทำลายผิวหนัง

เป็นต้น เข้าไปจรดเยื่อกระดูก ตั้งอยู่. ต่อมา เขามีบริวารของตนแวดล้อม

ได้ไปสู่วิหารกับบริษัทนั้น ยืนอยู่ท้ายสุดของบริษัทฟังธรรมของพระศาสดาที่

กำลังแสดงธรรมอยู่ด้วยพระสูตรเสียงที่ไพเราะ แล้วเกิดความคิดอยากจะบวช

ขึ้นมา. เมื่อบริษัทที่พระตถาคตเจ้าทรงทราบเวลาแล้วส่งไปแล้ว ก็เข้าเฝ้า

พระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลอาราธนาเสวยพระกระยาหารในวันพรุ่ง ในวัน

ที่สองให้สร้างปะรำ แต่งตั้งอาสนะ ถวายมหาทานแต่พระสงฆ์มีองค์พระพุทธ-

เจ้าเป็นพระประมุขในที่สุดภัตกิจ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาเสด็จกลับ

รับประทานอาหารเช้าแล้วอธิฐานองค์อุโบสถ แล้วให้เรียกเจ้าหน้าที่คุมของมา

บอกทุกสิ่งทุกอย่างว่า ของเท่านี้ได้จำหน่ายไปแล้ว ได้มอบหมายทุกสิ่งทุกอย่าง

ว่า จงให้สมบัตินี้แก่น้องชายฉัน แล้วก็บวชในสำนักพระศาสดา ตั้งหน้าตั้งตา

ทำกัมมัฏฐาน. ครั้งนั้น เมื่อท่านเอาใจใส่ทำกัมมัฏฐานอยู่กัมมัฏฐานก็ไม่ปรากฏ

ต่อมาท่านจึงคิดว่า ชนบทนี้ไม่สะดวกแก่เรา อย่างไรเสี่ย เราต้องรับกัมมัฏฐาน

ในสำนักพระศาสดาแล้วไปสู่ถิ่นเดิมของเรา จึงเมื่อท่านเที่ยวบิณฑบาตใน

ตอนเช้าแล้วออกจากการหลีกเร้นในตอนบ่ายแล้ว ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ขอให้ทรงบอกกัมมัฏฐาน ได้เปล่งสีหนาท ๗ อย่างแล้วจึงหลีกไป. เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะ ฯลฯ อยู่ ดังนี้.

ก็ท่านปุณณะนี้ อยู่ที่ไหน. ท่านอยู่ในที่ แห่ง. ตอนแรกท่านเข้าสู่

แคว้นสุนาปรันตะแล้วเข้าไปสู่อัมพหัฏฐบรรพ เข้าสู่หมู่บ้านพ่อค้าเพื่อ

บิณฑบาต ทีนั้นน้องชายจำท่านได้ จึงถวายอาหาร แล้วเรียนท่านว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

ครับ ท่านไม่ต้องไปที่อื่น นิมนต์อยู่ที่นี้แหละ ให้ท่านรับคำแล้วก็นิมนต์ให้

อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ.

ต่อจากนั้น ท่านได้ไปสู่วัดสมุทรคิรี. ในที่นั้นมีที่สำหรับ เดินจงกรม

ที่เขาตัดเอาแผ่นหินที่เสียบเหล็กไว้ตรงปลายมาทำ. ไม่มีใครเดินเหยียบแผ่นหิน

นั้นได้. ในที่นั้น คลื่นทะเลซัดมากระทบแผ่นหินที่เสียบเหล็กตรงปลายเกิด

เสียงดังมาก. พระเถระคิดว่าจงเป็นที่อยู่สำราญสำหรับผู้เอาใจใส่ทำกัมมัฏฐาน

เถิด แล้วก็อธิษฐานทำให้ทะเลสงบเสียง.

ต่อจากนั้นท่านได้ไปยังมาตุลคิรี. ในที่นั้นมีพวกนกชุกชุม เสียงอึกทึก

ทั้งคืนทั้งวัน. พระเถระคิดว่า ที่นี้ไม่สำราญ ต่อจากนั้นก็ไปวัดมกุฬการาม.

วัดนั้นอยู่ไม่ไกล ไม่ใกล้หมู่บ้านพ่อค้ามากนัก ไปมาสะดวกเงียบ ไม่มีเสียง.

พระเถระคิดว่า ที่นี้สำราญ จึงให้สร้างที่พักกลางคืนและกลางวันพร้อมกับที่

จงกรม เป็นต้นแล้ว ก็เข้าจำพรรษาในที่นั้น. ท่านอยู่ในที่แห่ง ดังกล่าวมานี้.

ต่อมาอีกวันหนึ่ง ภายในพรรษานั่งเอง มีพ่อค้า ๕๐๐ คน ตั้งใจ

ว่า พวกเราจะไปทะเลอื่น จึงเอาสินค้าบรรทุกลงเรือ ในวันลงเรือ น้องชาย

ของพระเถระเลี้ยงพระเถระแล้วรับสิกขาบทในสำนักพระเถระไหว้เสร็จแล้ว เมื่อ

จะไปได้เรียนท่านว่า ท่านขอรับ ขึ้นชื่อว่าทะเลหลวงมีอันตรายมากมายเหลือ

จะประมาณได้ ขอให้ท่านช่วยสอดส่องพวกกระผมด้วย แล้วก็ลงเรือ. เรือก็

แล่นไปด้วยความเร็วสูงจนถึงเกาะหนึ่ง. พวกคนคิดว่า พวกเราจะกินอาหารเช้า

แล้วก็พากัน ขึ้นเกาะ. บนเกาะนั้นอะไร ๆ อย่างอื่น หามีไม่ มีแต่ป่าจันทน์ทั้ง

นั้น. ตอนนั้น คนหนึ่งเอามีดฟันต้นไม้ ก็รู้ว่าเป็นจันทน์แดง จึงกล่าวว่านี่

แน่ะ. พวกเราไปสู่ทะเลอื่นเพื่อประโยชน์แก่ลาภ ขึ้นชื่อว่าลาภที่ยิ่งกว่านี้ไม่มี

อีกแล้ว ไม้ท่อนขนาดยาว ๔ นิ้ว ก็ราคาตั้งแสนแล้ว เราเอาแต่ของที่ควรแก่

ของที่จะต้องเอาไปแล้ว ก็เอาไม้จันทน์บรรทุกให้เต็ม. พวกเขาก็กระทำอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

พวกอมนุษย์ที่สิ่งในป่าจันทน์โกรธ พากันคิดว่า คนพวกนี้มัน ทำป่า

จันทน์ของพวกเราให้ฉิบหายแล้ว พวกเราจะฆ่าพวกมัน แล้วพูดว่า เมื่อพวก

มันถูกฆ่าในที่นี้ ป่าทั้งหมดก็จะกลายเป็นซากศพไปหนึ่งป่าที่เทียว พวกเราจะ

ให้เรือมันจมกลางทะเล. แล้วต่อมาในเวลาที่คนพวกนั้นขึ้นเรือแล้วแล่นไปได้ครู่

เดียวเท่านั้น ก็ทำให้เกิดพายุลมอย่างแรง แล้วพวกอมนุษย์เหล่านั้นเองก็พากัน

แสดงรูปที่น่ากลัวต่าง ๆ นานา. พวกคนก็กลัวพากัน ไหว้เทพเจ้าของตน ๆ.

จูฬปุณณกุฎุมพี น้องชายพระเถระคิดว่า ขอให้พี่ชายของข้าจงเป็นที่พึ่งด้วย

เถิดแล้วก็ยืนระลึกถึงพระเถระอยู่.

ได้ยินว่า ในขณะนั่งเอง พระเถระพิจารณาดูก็ได้ทราบว่าพวกเขา

กำลังตกอยู่ในความฉิบหาย จึงเหาะขึ้นสู่ฟ้ามายืนอยู่ตรงหน้า. พวกอมนุษย์

เห็นพระเถระพูดว่า พระคุณเจ้า ปุณณเถระมา แล้วพากันหลีกไป. พายุร้าย

ก็สงบทันที. พระเถระปลอบคนเหล่านั้นว่า ไม่ต้องกลัว แล้วถามว่า อยากจะไป

ไหนกัน . พวกกระผมจะไปที่เดิมของตัวเองนั่นแหละครับท่าน. พระเถระเหยียบ

แผ่นเรือแล้วอธิษฐานว่า จงไปสู่ที่ที่คนพวกนี้ต้องการ. พวกพ่อค้าเมื่อไปถึงที่

ของตนแล้ว ก็เล่าเรื่องนั้นให้ลูกเมียฟังแล้วชวนว่า มาเถิด พวกเราจงถึงพระ

เถระเป็นที่พึ่งเถิด จึงทั้ง ๕๐๐ คน พร้อมกับพวกแม่บ้านของตนอีก ๕๐๐ คน

ตั้งอยู่ในสรณะสาม ประกาศตัวเป็นอุบาสก. ต่อจากนั้นก็ให้ขนสินค้าลงจากเรือ

แบ่งถวายพระเถระส่วนหนึ่งเรียนท่านว่าท่านครับ นี้เป็นส่วนของพระคุณท่าน.

พระเถระตอบว่า อาตมาไม่มีกิจด้วยส่วนหนึ่งต่างหากหรือก็ แต่พวกคุณเคย

เห็นพระศาสดาแล้วหรือ. ยังไม่เคยเห็นเลยท่าน. ถ้าอย่างนั้น ขอให้พวกคุณเอา

ส่วนนี้ไปสร้างโรงปะรำถวายพระศาสดา แล้วพวกคุณจะได้เห็นพระศาสดาด้วย

อาการอย่างนี้. พวกนั้นก็รับว่าดีแล้วท่าน แล้วก็เริ่มสร้างโรงปะรำด้วยส่วนนั้น

และด้วยส่วนของตนอีกมาก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

เล่ากันว่า แม้พระศาสดา ก็ได้ทรงกระทำการบริโภคตั้งแต่เวลาเริ่ม

งาน. พวกคนยามได้เห็นแสงในเวลากลางคืนเข้าใจกันว่า มีเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่

พวกอุบาสกช่วยกันสร้างโรงปะรำและเสนาสนะสำหรับพระภิกษุสงฆ์จนสำเร็จ

แล้วเตรียมเครื่องทาน แล้วกราบเรียนพระเถระว่า พระคุณเจ้า พวกกระผม

ได้ทำกิจเสร็จแล้ว ขอให้พระคุณเจ้าโปรดทูลพระศาสดามาเถิด. ตอนบ่าย

พระเถระไปถึงกรุงสาวัตถีด้วยฤทธิ์ แล้วกราบทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ชาวหมู่บ้านพ่อค้าอยากเฝ้าพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ได้โปรดกระทำ

อนุเคราะห์แก่พวกเขาเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว พระเถระทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ แล้วก็กลับไปยังถีนของตนตามเดิม.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสเรียกพระอานนทเถระมาสั่งว่า อานนท์

พรุ่งนี้พวกเราจะเที่ยวบิณฑบาตที่หมู่บ้านพ่อค้าในแคว้นสุนาปรันตะ เธอจง

ให้สลากแก่ภิกษุ ๔๙๙ รูป. พระเถระสนองพระพุทธบัญชาว่า ดีแล้ว พระ-

เจ้าข้า บอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วพูดว่า ขอให้พวกภิกษุที่เที่ยวไปบิณฑบาต

จงอย่าจับสลาก. ในวันนั้น ท่านกุณฑธานเถระ. ได้จับสลากแรก. ฝ่ายชาวหมู่

บ้านพ่อค้าทราบว่า นัยว่าพรุ่งนี้ พระศาสดาจะเสด็จมาถึง จึงสร้างปะรำกลาง

บ้าน ตระเตรียมของถวายทานชั้นเลิศ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการ

ปฏิบัติพระสรีระตั้งแต่เช้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ประทับนั่งเข้าผลสมาบัติ.

ปัณฑุกัมพลสิลาสนะของท้าวสักกะเกิดร้อนขึ้นมา. ท้าวสักกะนั้นทรงพิจารณา

ว่า อะไรนี้ ทรงเห็นว่าพระศาสดาจะเสด็จไปแคว้น สุนาปรันตะ จึงรับสั่งเรียก

พระวิศวกรรมมาสั่งว่า พ่อ วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จเที่ยวบิณฑบาต

ระยะทางไกลประมาณสามร้อยโยชน์ พ่อจงเนรมิตเรือนยอดไว้ ๕๐๐ หลัง

ทำการเตรียมระยะทางเสด็จที่ท้ายสุดซุ้มประตูพระเชตวัน ตั้งไว้ให้พร้อมพระ-

๑. กมฺพุช. สามพันโยชน์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

วิศวกรรมนั้นได้การทำอย่างนั้นแล้ว. เรือนยอดสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้ามี

๔ มุข. ของสองพระอัศรสาวก มี ๒ มุข. ที่เหลือมีมุขเดียว. พระศาสดา

เสด็จออกจากพระคันธกุฎี ทรงเข้าสู่เรือนยอดอันประเสริฐในหมู่เรือนยอดที่ทั้ง

ไว้ตามลำดับ. เหล่าภิกษุ ๔๙๙ รูปเริ่มแต่พระอัครสาวกทั้งสองต่างก็ไปสู่เรือน

ยอด ๔๙๙ หลัง. มีเรือนยอดว่างอยู่หลังหนึ่ง. เรือนยอดทั้ง ๕๐๐ หลัง

ลอยไปในอากาศ.

พระศาสดา เสด็จถึงภูเขาชื่อ สัจจพันธ์ แล้วทรงหยุดเรือนยอดไว้ใน

อากาศ. ที่ภูเขานั้น มีดาบสมิจฉาทิฐิ ชื่อว่า สัจจพันธ์ ทำให้มหาชนถือเอา

ความเห็นผิดเป็นผู้ถึงลาภเลิศและยศเลิศอยู่. ก็ภายในตัวดาบสนั้นมีอุปนิสัยแห่ง

พระอรหัต โชติช่วงอยู่เหมือนประทีปที่อยู่ในตุ่ม. ครั้นทรงเห็นดาบสนั้นแล้ว

ทรงพระดำริว่า เราจะแสดงธรรมแก่เขา จึงเสด็จไปทรงแสดงธรรม. เมื่อทรง

เทศน์จบ ดาบสก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์. อภิญญาของท่านก็มากับมรรคนั่น

เอง. ท่านเป็นเอหิภิกษุ ทรงบาตรจีวรที่สำเร็จเพราะฤทธิ์แล้วเข้าสู่เรือนยอด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปถึงหมู่บ้านพ่อค้าพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป

ที่อยู่ในเรือนยอด ทรงทำให้ใครๆ มองไม่เห็นเรือนยอดแล้วเสด็จไปสู่หมู่บ้าน

พ่อค้า. พวกพ่อค้าได้ถวายทานใหญ่แก่หมู่ภิกษุซึ่งมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข

แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาเสด็จไปยังมกุฬการาม. พระศาสดาทรงเข้าสู่โรง

ปะรำ. มหาชนรอเวลาจนพระศาสดาดับความกระวนกระวายเกี่ยวกับพระอาหาร

ให้สงบต่างรับประทานอาหารมื้อเช้าเสร็จแล้วสมาทานองค์อุโบสถถือของหอม.

และดอกไม้เป็นอันมากกลับมาวัดเพื่อต้องการฟังธรรม. พระศาสดาทรงแสดง

ธรรม. การหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกเกิดแก่มหาชนแล้ว. ความโกลาหล

เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ขนานใหญ่ได้มีแล้ว.

เพื่อสงเคราะห์มหาชน พระศาสดา ประทับ ๒ - ๓ วัน ในที่นั้นเอง.

และก็ทรงยังอรุณให้ตั้งขึ้นในพระมหาคันธกุฎีนั่นแหละ. เมื่อประทับในที่นั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

๒ - ๓ วันแล้ว ก็เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านพ่อค้าแล้วตรัสสั่งให้พระปุณณะ

เถระกลับว่าเธอจงอยู่ในที่นี้แหละ ในระหว่างทางมีแม่น้ำชื่อ นิมมทา ได้เสด็จ

ไปถึงฝั่งของแม่น้ำนั้น. นิมมทานาคราชถวายการต้อนรับ พระศาสดาทูลเสด็จ

เข้าสู่ภพนาคได้กระทำสักการะพระรัตนตรัยแล้ว. พระศาสดาทรงแสดงธรรม

แก่นาคราชนั้นแล้ว ก็เสด็จออกจากภพนาค. นาคราชนั้นกราบทูลขอว่าได้โปรด

ประทานสิ่งที่พึงบำเรอแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาค.

เจ้า จึงทรงแสดงบทเจดีย์ รอยพระบาท ไว้ที่ฝั่งแม่น้ำนิมมทา รอยพระบาท

นั้น เมื่อคลื่นซัดมาก็ถูกปิด เมื่อคลื่นเลยไปแล้วก็ถูกเปิด. กลายเป็นรอย

พระบาทที่ถึงสักการะอย่างใหญ่. เมื่อพระศาสดาทรงออกจากนั้นแล้วก็เสด็จถึง

ภูเขาสัจจพันธ์ ตรัสกับพระสัจจพันธ์ว่า มหาชนถูกเธอทำให้จมลงในทาง

อบาย เธอต้องอยู่ในที่นี้แหละ แก้ลัทธิของพวกคนเหล่านี้เสีย แล้วให้พวกเขา

ดำรงอยู่ในทางพระนิพพาน. แม้ท่านพระสัจจพันธ์นั้น ก็ทูลชื่อสิ่งที่จะต้องบำรุง.

พระศาสดาก็ทรงแสดงรอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบเหมือนประทับตรา

ไว้บนก้อนดินเหนียวสด ๆ ฉะนั้น. ต่อจากนั้นก็เสด็จไปถึงพระเชตวันที่

เดียว. ท่านหมายเอาข้อความนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ด้วยภายในพรรษานั้นเอง

ดังนี้.

คำว่า ปรินิพพานแล้ว คือปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน-

ธาตุ. มหาชน ทำการบูชาสรีระของพระเถระตลอด ๗ วัน แล้วเอาไม้หอม

เป็นอันมากมากองเผาสรีระ เก็บธาตุ (กระดูก) แล้วสร้างเจดีย์ บรรจุ คำ

ว่า ภิกษุมากหลาย คือพวกภิกษุที่อยู่ในที่ฌาปนกิจศพของพระเถระ คำที่

เหลือในที่ทุกแห่งล้วนแต่ตื้น ๆ ทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปุณโณวาทสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

๔. นันทโกวาทสูตร

[๗๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระมหาปชาบดี

โคตมี พร้อมด้วยภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายัง

ที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พอยืนเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงโอวาทสั่งสอนพวกภิกษุณี จงตรัสสั่ง

แสดงธรรมแก่พวกภิกษุณีเถิด.

[๗๖๗] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ย่อมโอวาทพวกภิกษุณี

โดยเป็นเวรกัน แต่ท่านพระนันทกะ ไม่ปรารถนาจะโอวาทพวกภิกษุณีโดย

เป็นเวรกัน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า

ดูก่อนอานนท์ วันนี้ เวรโอวาทภิกษุณีโดยเป็นเวรกัน ของใครหนอแล.

ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งปวงทำ

เวรโอวาทภิกษุณีโดยเป็นเวรกัน หมดแล้ว แต่ท่านพระนันทกะรูปนี้ ไม่

ปรารถนาจะโอวาทพวกภิกษุณีโดยเป็นเวรกัน ต่อนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

กะท่านพระนันทกะว่า ดูก่อนนันทกะ เธอจงโอวาทสั่งสอนพวกภิกษุณี ดูก่อน

พราหมณ์ เธอจงกล่าวแสดงธรรมกถาแก่พวกภิกษุณีเถิด ท่านพระนันทกะ

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วนุ่งสบงทรงบาตร

จีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นกลับจากบิณฑบาต

ภายหลังเวลาอาหารแล้ว เข้าไปยังวิหารราชการามแต่รูปเดียว ภิกษุณีเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

ได้เห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล พากันแต่งตั้งอาสนะและตั้งน้ำสำหรับ

ล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้ว จึงล้างเท้า แม้

ภิกษุณีเหล่านั้น ก็ถวายอภิวาทท่านพระนันทกะ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๖๘] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระนันทกะได้กล่าวดังนี้ว่า ดูก่อน

น้องหญิงทั้งหลาย จักต้องมีข้อสอบถามกันแล ในข้อสอบถามนั้น น้องหญิง

ทั้งหลายรู้อยู่ พึงตอบว่ารู้ ไม่รู้อยู่. ก็พึงตอบว่าไม่รู้. หรือน้องหญิงรูปใด

มีความเคลือบแคลงสงสัย น้องหญิงรูปนั้น พึงทวนถามข้าพเจ้าในเรื่องนั้นว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อนี้เป็นอย่างไร ข้อนี้มีเนื้อความอย่างไร.

ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันย่อมพอใจ

ยินดีต่อพระผู้เป็นเจ้านันทกะ ด้วยเหตุที่พระผู้เป็นเจ้านันทกะ ปวารณาแก่

พวกดิฉันเช่นนี้.

ว่าด้วยอายตนะภายใน

[๗๖๙] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน จักษุเพียงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

โสตเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ

ตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้

เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละ ๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย

ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๗๐] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เสียงเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. กลิ่นเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. โผฏฐัพพะเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า

น. นั่นเพราะเหตุไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ

ตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเราไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้

เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละ ๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้

ด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

ว่าด้วยกองแห่งวิญญาณ

[๗๗๑] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน จักษุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่น ของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

โสตวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. ฆานวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ.

น. ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ.

น. กายวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ.

น. มโนวิญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง. เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควร เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ

ตามความเป็นจริงว่า หมวดวิญญาณ ๖ ของเราไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้

เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละ ๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย

ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๗๒] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน

กำลังติดไฟอยู่ มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง

แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา

แสงสว่างก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใด

กล่าวอย่างนี้ว่า ประทีปน้ำมันที่กำลังติดไฟอยู่โน้น มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง

แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟ

ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีปนั้นแล เที่ยง

ยั่นยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้นชื่อว่า

พึงกล่าวชอบหรือหนอแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั้นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะประทีปน้ำมันที่กำลังติดไฟอยู่โน้น

มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่างของประทีป

นั้น ก็ต้องไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เช่นกัน.

[๗๗๓] ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใด

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะ

ภายในเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม

เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

บุคคลผู้กล่าวอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวชอบหรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้นๆ

อาศัยปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้น ๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะปัจจัยที่

เกิดแต่อายตนะภายในนั้น ๆ ดับ เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้น ๆ จึง

ดับไป.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละ ๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย

ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๗๔] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มี

แก่นตั้งอยู่ มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง

แปรปรวนไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา

เงาก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดพึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

กล่าวอย่างนี้ว่า ต้นไม้ไหญ่ มีแก่นตั้งอยู่โน้น มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไป

เป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง

แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แต่ว่าเงาของต้นไม้นั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไป

ติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวอยู่นั้นชื่อว่าพึงกล่าวชอบ

หรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะต้นไม้ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่โน้น

มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไป

เป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เงาของต้นไม้

ก็ต้องไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เช่นกัน

ว่าด้วยอายตนะภายนอก ๖

[๗๗๕] พ. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคล

ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัย

อายตนะภายนอกเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่

สุขก็ตาม เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา บุคคลผู้กล่าวนั้นชื่อว่า กล่าวชอบหรือหนอแล

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอก

นั้น ๆ อาศัยปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้น ๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

ปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้น ๆ ดับ เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอก

นั้น ๆ จึงดับไป.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละ ๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย

ปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๗๖] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือ

ลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้ว ใช้มีดแล่โคอันคมชำแหละโค แยก

ส่วนเนื้อข้างใน แยกส่วนหนังข้างนอกไว้ ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใดเป็นเนื้อ

ล่ำในระหว่าง เอ็นในระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง ก็ใช้มีดแล่โคอันคมเถือ

แล่คว้านส่วนนั้น ๆ ครั้นแล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออก เอาปิดโคนั้นไว้ แล้ว

กล่าวอย่างนี้ว่า โคตัวนี้ประกอบด้วยหนังผืนนี้ เหมือนอย่างเดิมนั่นเอง

น้องหญิงทั้งหลายคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้กล่าวนั้นชื่อว่า กล่าว

ชอบหรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่น เพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะคนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโค

ผู้ฉลาดโน้น ฆ่าโคแล้ว ใช้มีดแล่โคอันคมชำแหละโค แยกส่วนเนื้อข้างใน

แยกส่วนหนังข้างนอกไว้ ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใดเป็นเนื้อล่ำในระหว่าง เอ็นใน

ระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง ก็ใช้มีดแล่โคอันคมเถือ แล่ คว้านส่วนนั้นๆ

ครั้นแล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออก เอาปิดโคนั้นไว้ แม้เขาจะกล่าวอย่างนี้ว่า

โคตัวนี้ประกอบด้วยหนังผืนนี้ เหมือนอย่างเดิมนั่นเอง ก็จริง ถึงกระนั้นแล

โคนั้นก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้น.

[๗๗๗] น. น้องหญิงทั้งหลาย เราเปรียบอุปมานี้เพื่อให้เข้าใจเนื้อ

ความชัด เนื้อความในอุปมานั้น มีดังต่อไปนี้ น้องหญิงทั้งหลาย ข้อว่าส่วน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

เนื้อข้างในนั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ส่วนหนังข้างนอกนั้น เป็นชื่อ

ของอายตนะภายนอก ๖ เนื้อล่ำในระหว่าง เอ็นในระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง

นั้นเป็นชื่อของนันทิราคะ มีดแล่โคอันคมนั้น เป็นชื่อของปัญญาอันประเสริฐ

ซึ่งใช้เถือ แล่ คว้านกิเลสในระหว่าง สัญโญชน์ในระหว่างเครื่องผูกในระหว่าง

ได้.

ว่าด้วยโพชฌงค์ ๗

[๗๗๘] ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย โพชฌงค์ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้

มากแล้ว เป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่

เหล่านี้ มี ๗ อย่างแล ๗ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย คือ ภิกษุ

ในพระธรรมวินัยนี้.

(๑) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย

นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

(๒) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์...

(๓) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์...

(๔) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์...

(๕) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...

(๖) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์...

(๗) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เหล่านั้นแล

โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะ

รู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

[๗๗๙] ครั้นท่านพระนันทกะกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนี้

แล้ว จึงส่งไปด้วยคำว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงไปเถิด สมควร

แก่เวลาแล้ว ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระ-

นันทกะแล้ว ลุกจากอาสนะ อภิวาทท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า

ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย พวกเธอจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว ต่อนั้น

ภิกษุณีเหล่านั้น ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้ว

หลีกไป.

[๗๘๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นหลีก

ไปแล้วไม่นาน ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทุกวัน

อุโบสถ ๑๔ ค่ำนั้น ชนเป็นอันมากไม่มีความเคลือบแคลง หรือสงสัยว่า

ดวงจันทร์พร่องหรือเต็มหนอ แต่แท้ที่จริง ดวงจันทร์ก็ยังพร่องอยู่ที่เดียว

ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ชื่นชมธรรมเทศนา

ของนันทกะ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีความดำริบริบูรณ์เลย ฉันนั้นเหมือนกันแล ใน

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระนันทกะว่า ดูก่อนนันทกะ

ถ้าเช่นนั้น วันพรุ่งนี้ เธอก็พึงกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้นด้วยโอวาทนั้น เหมือนกัน

ท่านพระนันทกะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๗๘๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระนันทกะ พอล่วงราตรีนั้นไปแล้ว ถึง

เวลาเช้า จึงนุ่งสบงทรงบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้น

กลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว เข้าไปยังวิหารราชการามแต่

รูปเดียว ภิกษุณีเหล่านั้นได้เห็นท่านพระนันทกะเดินมาแต่ไกล จึงพากันแต่ง

ตั้งอาสนะและตั้งน้ำล้างเท้าไว้ ท่านพระนันทกะนั่งบนอาสนะที่แต่งตั้งไว้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

จึงล้างเท้า แม้ภิกษุณีเหล่านั้นก็อภิวาทท่านพระนันทกะแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๘๒] พอนึ่งเรียบร้อยแล้ว ท่านพระนันทกะได้กล่าวดังนี้ว่า

ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย จักต้องมีข้อสอบถามกันแล ในข้อสอบถามนั้น

น้องหญิงทั้งหลายรู้อยู่ พึงตอบว่ารู้ ไม่รู้อยู่ ก็พึงตอบว่าไม่รู้ หรือน้องหญิง

รูปใด มีความเคลือบแคลงสงสัย น้องหญิงรูปนั้น พึงทวนถามข้าพเจ้าในเรื่อง

นั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อนี้เป็นอย่างไร ข้อนี้มีเนื้อความอย่างไรเถิด.

ภิกษุณีเหล่านั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันย่อมพอใจ

ยินดีต่อพระผู้เป็นเจ้านันทกะ ด้วยเหตุที่พระผู้เป็นเจ้านันทกะปวารณาแก่พวก

ดิฉัน เช่นนี้.

ว่าด้วยอายตนะภายใน ๖

[๗๘๓] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

โสตเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ.

น. ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ.

น. ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ.

น. กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. มโนเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ

ตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้

เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกล่ะ ๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้

ด้วยปัญญาชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๘๔] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้น.

เป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เสียงเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. กลิ่นเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. รสเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า ฯลฯ

น. โผฏฐัพพะเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า. ฯลฯ

น. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ

ตามความเป็นจริงว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้

เจ้าข้า.

น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย ถูกละๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วย

ปัญญาชอบ ตามเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

ว่าด้วยกองแห่งวิญญาณ ๖

[๗๘๕] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน จักษุวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน โสต

วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ฆานวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ชิวหาวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. กายวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ภิกษุณี. ไม่เที่ยง เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ภิกษุณี. เป็นทุกข์ เจ้าข้า.

น. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ภิกษุณี. ไม่ควรเลย เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. เพราะเมื่อก่อน พวกดิฉันมิได้เห็นข้อนั้นดีด้วยปัญญาชอบ

ตามความเป็นจริงว่า กองวิญญาณ ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แม้เพราะเหตุนี้

เจ้าข้า.

น. น้องหญิงทั้งหลาย ถูกละ ๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วยปัญญา

ชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๘๖] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันกำลังติดไฟ

อยู่ มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรนดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวน

ไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่าง

ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา น้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า

ประทีปน้ำมันที่กำลังติดไฟอยู่โน้น มีน้ำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา

ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา แต่ว่าแสงสว่างของประทีป นั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มี

ความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้น ชื่อว่า พึงกล่าวชอบหรือหนอแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะอะไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะประทีปน้ำมัน ที่กำลังติดไฟอยู่โน้น

มีนำมันก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไส้ก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา เปลวไฟก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา แสงสว่างของประทีป

นั้นก็ต้องไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เช่นกัน.

[๗๘๗] น. น้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใดพึง

กล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายใน ๖ ของเรา ไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะ

ภายในเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม

เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

บุคคลผู้กล่าวนั้น ชื่อว่า กล่าวชอบหรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้น ๆ

อาศัยปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้น ๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะปัจจัยที่เกิด

แต่อายตนะภายในนั้น ๆ ดับ เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายในนั้น ๆ จึงดับไป.

น. น้องหญิงทั้งหลายถูกละ ๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วยปัญญา

ชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๘๘] น้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่

มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรนดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เงาก็ไม่เที่ยง แปร

ปรวนไปเป็นธรรมดา น้องหญิงทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้ไม้ใหญ่

มีแก่นตั้งอยู่โน้น มีรากก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำนี้ก็ไม่เที่ยง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

แปรปรวนไปเป็นธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา

แต่ว่าเงาของต้นไม้นั้นแล เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวน

ไปเป็นธรรมดา ผู้ที่กล่าวนั้น ชื่อว่า พึงกล่าวชอบหรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะต้นไม้ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่โน้น

มีรากก็ไม่เทียง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ลำต้นก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็น

ธรรมดา กิ่งและใบก็ไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เงาของต้นไม้นั้น

ก็ต้องไม่เที่ยง แปรปรวนไปเป็นธรรมดาเช่นกัน.

ว่าด้วยอายตนะภายนอก ๖

[๗๘๙] น. น้องหญิงทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลใด

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า อายตนะภายนอก ๖ ของเราไม่เที่ยง แต่เราอาศัยอายตนะ

ภายนอกเสวยเวทนาใด เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม

เวทนานั้น เที่ยง ยั่งยืน เป็นไปติดต่อ ไม่มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

บุคคลผู้กล่าวนั้น ชื่อว่า กล่าวชอบหรือหนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะเวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอก

นั้น ๆ อาศัยปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้น ๆ แล้ว จึงเกิดขึ้นได้ เพราะ

ปัจจัยที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้น ๆ ดับ เวทนาที่เกิดแต่อายตนะภายนอกนั้นๆ

จึงดับไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

น. น้องหญิงทั้งหลาย ถูกละ ๆ พระอริยสาวกผู้เห็นเรื่องนี้ด้วยปัญญา

ชอบ ตามความเป็นจริง ย่อมมีความเห็นอย่างนี้แล.

[๗๙๐] ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เปรียบเหมือนคนฆ่าโค หรือลูก

มือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าโคแล้ว ใช้มีดแล่โคอันคมชำแหละโค แยกส่วน

เนื้อข้างในแยกส่วนข้างนอกไว้ ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใดเป็นเนื้อล่ำในระหว่าง

เอ็นในระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง ก็ใช้มีดแล่โคอันคมเถือ แล่ คว้านส่วน

นั้น ๆ ครั้นแล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออก เอาปิดโคนั้นไว้ แล้วกล่าวอย่างนี้

ว่า โคตัวนี้ประกอบด้วยหนังผืนนี้ เหมือนอย่างเดิมนั้นเอง ดูก่อนน้องหญิง

ทั้งหลาย คนฆ่าโคหรือลูกมือของตนฆ่าโคผู้กล่าวนั้น ชื่อว่า กล่าวชอบหรือ

หนอแล.

ภิกษุณี. หามิได้ เจ้าข้า.

น. นั่นเพราะเหตุไร.

ภิกษุณี. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะคนฆ่าโค หรือลูกมือของตนฆ่าโค

ผู้ฉลาดโน้น ฆ่าโคแล้ว ใช้มีดแล่โคอันคมชำแหละโค แยกส่วนเนื้อข้างใน

แยกส่วนหนังข้างนอกไว้ ในส่วนเนื้อนั้น ส่วนใดเป็นเนื้อล่ำในระหว่า เอ็นใน

ระหว่าง เครื่องผูกในระหว่าง ก็ใช้มีดแล่โคอันคมเถือ แล่ คว้านส่วนนั้นๆ

ครั้น แล้วคลี่ส่วนหนังข้างนอกออก เอาปิดโคนั้นไว้ แม้เขาจะกล่าวอย่างนี้ว่า

โคตัวนี้ประกอบด้วยหนังผืนนี้ เหมือนอย่างเดิมนั่นเอง ก็จริง ถึงกระนั้นแล

โคนั้น ก็แยกกันแล้วจากหนังผืนนั้น.

[๗๙๑] น. ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เราเปรียบอุปมาน เพื่อให้เข้าใจ

เนื้อความชัด เนื้อความในอุปมานั้น มีดังต่อไปนี้ ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย

ข้อว่าส่วนเนื้อข้างในนั้น เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ ส่วนหนังข้างนอกนั้น

เป็นชื่อของอายตนะภายนอก ๖ เนื้อล่ำในระหว่าง เอ็นในระหว่าง เครื่องผูก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

ในระหว่าง นั้นเป็นชื่อของนันทิราคะ มีดแล่โคอันคมนั้น เป็นชื่อของปัญญา

อันประเสริฐ ซึ่งใช้เถือ แล่ คว้านกิเลสในระหว่าง สัญโญชน์ในระหว่าง

เครื่องผูกในระหว่างได้.

ว่าด้วยโพชฌงค์ ๗

[๗๙๒] ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย โพชฌงค์ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้

มากแล้ว เป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่

เหล่านี้ มี ๗ อย่างแล ๗ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย คือ ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้.

(๑) ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย

นิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย

(๒) ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์...

(๓) ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์...

(๔) ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์...

(๕) ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...

(๖) ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์...

(๗) ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย เหล่านี้แล

โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วเป็นเหตุ ย่อมเข้าถึงเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ทำให้แจ้งเพราะ

รู้ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

[๗๙๓] ครั้นท่านพระนันทกะกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้น ด้วยโอวาทนี้

แล้ว จึงส่งไปด้วยคำว่า ดูก่อนน้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงไปเถิดสมควร

แก่เวลาแล้ว ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้น ยินดีอนุโมทนาภาษิตของท่านพระ

นันทกะแล้ว ลุกจากอาสนะ อภิวาทท่านพระนันทกะ กระทำประทักษิณ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า

ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอยืนเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย พวกเธอจงไปเถิด สมควรแก่เวลาแล้ว ต่อนั้น

ภิกษุณีเหล่านั้นได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า การทำประทักษิณแล้ว

หลีกไป.

[๗๙๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นหลีก

ไปแล้วไม่นาน ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทุกวัน

อุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ชนเป็นอันมากไม่มีความเคลือบแคลง หรือสงสัยว่า

ดวงจันทร์พร่องหรือเต็มหนอ แต่แท้ที่จริงดวงจันทร์ก็เต็มแล้วที่เดียว ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นย่อมเป็นผู้ชื่นชมธรรมเทศนาของนันทกะ

และมีความดำริบริบูรณ์แล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บรรดาภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูปนั้น รูปสุดท้ายยังเป็นถึงพระโสดาบัน มีความไม่

ตกต่ำเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ นันทโกวาทสูตร ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

อรรถกถานันทโกวาทสูตร

นันทโกวาทสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ในสูตรนั้น คำว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ความว่า เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงได้รับการขอร้องจากพระมหาปชาบดีโคตมีแล้ว ก็ทรงส่งภิกษุณีสงฆ์

ไป. แล้วรับสั่งให้ภิกษุสงฆ์เข้าประชุม ทรงกระทำการแก่สงฆ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย

ที่เป็นเถระจงเปลี่ยนเวรกันสอนพวกภิกษุณี พระอานนท์กล่าวหมายเอาความ

ข้อนั้น จึงกล่าวคำว่านี้. ในสูตรนั้น คำว่า ปริยาเยน หมายถึงโดยวาระ.

คำว่า ไม่ปรารถนา คือเมื่อถึงเวรของตนแล้ว ผู้สอนภิกษุณีจะไปบ้านไกล

หรือเอาเข็มมาเย็บผ้าเป็นต้น แล้วสูงให้พูดแทนว่า นี้คงจะเป็นความล่าช้าของ

ภิกษุนั้น แต่การเปลี่ยนเวรกันสอนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำการะ

เพราะเหตุแห่งพระนันทกเถระเท่านั้น. เพราะเหตุไร เพราะเมื่อพวกภิกษุณี

เหล่านี้ได้เห็นพระเถระแล้ว จิตก็จะเลื่อมใสแน่วแน่. เพราะเหตุนั้น พวกนาง

ภิกษุณีเหล่านั้นจึงอยากรับคำสอนของท่าน ประสงค์จะฟังธรรมกถา ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงทำโอวาทโดยวาระว่า เมื่อถึงเวรของคนแล้ว

นันทกะจะแสดงโอวาทจะกล่าวธรรมกถา ฝ่ายพระเถระไม่ยอมทำเวรของตน.

หากมีคำถามว่า เพราะเหตุไร ก็ตอบว่า นัยว่าภิกษุณีเหล่านั้น เมื่อพระเถระ

เสวยราชสมบัติในชมพูทวีปเมื่อชาติก่อน เป็นนางสนม. พระเถระได้ทราบ

เหตุการณ์นั้นด้วยบุพเพนิวาสญาณ จึงคิดว่า ภิกษุอื่นที่ได้บุพเพนิวาสญาณ

เมื่อได้เห็นเรานั่งกลางภิกษุณีสงฆ์นี้ชักเอาข้อเปรียบเทียบและเหตุการณ์ต่าง ๆ

มากล่าวธรรมอยู่ ก็จะพึงมองเหตุการณ์นี้แล้วสำคัญคำที่จะพึงกล่าวว่า ท่าน

นันทกะไม่ยอมทั้งพวกนางสนมจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ท่านนันทกะที่มีนางสนม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 472

ห้อมล้อมนี้ ช่างงามแท้. เมื่อพิจารณาเห็นความข้อนี้ พระเถระจึงไม่ยอมทำ

เวรของตน. และเล่ากันมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ธรรมเทศนา

ของพระเถระเท่านั้น จึงจะเป็นที่สบายแก่ภิกษุณีเหล่านั้น จึงรับสั่งเรียกพระ-

นันทกะมาในครั้งนั้นแล. เพื่อรู้ว่าภิกษุณีเหล่านั้นเมื่อชาติก่อนเป็นนางสนม

ของพระเถระมา จึงมีเรื่องดังต่อไปนี้.

มีเรื่องเล่ากันมาว่า ครั้งก่อน ที่กรุงพาราณสีมีพวกทำงานด้วยลำแข้ง

อยู่ ๑,๐๐๐ คน คือ ทาส ๕๐๐ คน ทาสี ๕๐๐ คน ทำงานด้วยกัน พักอยู่ใน

ที่เดียวกัน . พระนันทกเถระนี้เป็นหัวหน้าทาสในเวลานั้น พระโคตมีเป็น

หัวหน้าทาสี นางเป็นภรรยาที่ฉลาดสามารถของหัวหน้าทาส. แม้พวกทำงาน

ด้วยลำแข้งทั้ง ๑,๐๐๐ คน เมื่อจะทำบุญกรรม ก็ทำด้วยกัน ต่อมาเวลาเช้า

พรรษา มีพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕ องค์ จากเงื้อมเขานันทมูลกะมาลงที่อิสิปตนะ

เที่ยวบิณฑบาตในกรุงแล้วก็ไปสู่อิสิปตนะนั่นแหละ คิดว่า พวกเราจะขอ

หัตถกรรมเพื่อประโยชน์แก่กุฏิอยู่จำพรรษา ห่มจีวรเข้าไปสู่กรุงในตอนเย็น

ยืนที่ประตูเรือนเศรษฐี. นางหัวหน้าทาสี กระเคียดหม้อน้ำไปท่าน้ำได้เห็นพวก

พระปัจเจกพุทธเจ้าที่กำลังเข้าสู่กรุง. เศรษฐีได้ฟังเหตุการณ์ที่พระปัจเจก

พุทธเจ้าเหล่านั้นมา ก็พูดว่า พวกเราไม่มีเวลาว่างนิมนต์ไปเถอะ.

ครั้งนั้น นางหัวหน้าทาสี กำลังทูนหม้อน้ำเข้าไปก็เห็นพวกพระปัจเจก

พุทธเจ้าเหล่านั้น กำลังออกมาจากกรุง จึงยกหม้อน้ำลง น้อมไหว้ ปิดหน้าแล้ว

ทูลถามว่า พวกพระผู้เป็นเจ้าสักว่าเข้าสู่กรุงแล้วก็ออกมา อะไรกันหนอ.

ปัจ. พวกอาตมา มาเพื่อขอหัตถกรรมแห่งกุฏิจำพรรษา.

ทา. ได้หรือเปล่า เจ้าคะ.

ปัจ. ไม่ได้หรอก อุบาสิกา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 473

ทา. ก็แหละกุฏินั้น พวกคนใหญ่คนโตเท่านั้น จึงจะทำได้ หรือแม้

แต่พวกคนยากจนก็ทำได้.

ปัจ. ใครผู้ใดผู้หนึ่งอาจทำได้.

ทา. ดีล่ะ เจ้าค่ะ พวกดิฉันจะทำถวาย พรุ่งนี้นิมนต์รับภิกษาของ

ดิฉันนะคะ นิมนต์ไว้แล้วก็เอาน้ำไป แล้วกระเดียดหม้อน้ำมายืนที่ทางท่าน้ำอีก

พูดกับพวกทาสีที่เหลือซึ่งพากันมาแล้วว่า พวกเธอจงอยู่นี้แหละ ในเวลาที่ทุก

คนมาแล้วก็พูดว่า แม่ นี่พวกเธอจะทำงานเป็นขี้ข้าคนอื่นตลอดไปหรือ หรือ

อยากจะพ้นจากความเป็นขี้ข้า. พวกทาสีตอบว่า อยากจะพ้นในวันนี้แหละ แม่

เจ้า นางจึงว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น พรุ่งนี้ฉันได้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้ง ๕ องค์ที่ไม่ได้หัตถกรรมมาฉัน ขอให้พวกเธอจงให้พวกสามีของพวกเธอ

ให้หัตถกรรมสักวันเถิด. พวกนางเหล่านั้น ก็รับว่า ได้ แล้วก็บอกแก่สามีใน

เวลาที่มาจากดงในตอนเย็น.

พวกเขาก็รับว่า ตกลง แล้วก็พากันไปประชุมที่ประตูเรือนของพวกหัว

หน้าทาสี. ลำดับนั้น นางหัวหน้าทาสีกล่าวก็พวกเขาเหล่านั้นว่า พ่อทั้งหลาย

พรุ่งนี้ขอให้พวกคุณจงให้หัตถกรรมแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเถิดนะคะ

แล้วก็บอกอานิสงส์ ขู่แล้ว ปกป้องพวกที่ไม่อยากทำด้วยโอวาทที่หนักแน่น

วันรุ่งขึ้น นางได้ถวายอาหารแต่พวกพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วให้สัญญาณแก่พวก

ลูกทาสทุกคน. ทันใดนั้น พวกลูกทาสเหล่านั้นก็เข้าป่า รวบรวมเครื่องเครา

ร้อยก็ทั้งร้อยสร้างกุฏิกัน แต่ละหลัง ๆ มีบริวารคือที่จงกรมเป็นต้น หลังละแห่ง ๆ

วางเตียง ตั่ง น้ำดื่มและภาชนะสำหรับใส่ของที่ต้องฉันเป็นต้นไว้ ขอให้พวก

พระปัจเจกพุทธเจ้าทำปฏิญญาเพื่อประโยชน์อยู่ในกุฏินั้นตลอดสามเดือน แล้ว

ตั้งเวรถวายอาหารกัน . ในวันเวรตน ใครไม่สามารถ นางหัวหน้าทาสีก็ขน

เอาจากเรือนั่งเองมาถวายแทนผู้นั้น. เมื่อนางหัวหน้าทาสีปรนนิบัติตลอดสาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

เดือนอย่างนี้เสร็จแล้ว ก็ให้ทาสแต่ละคนสละผ้ากันคนละผืน ได้ผ้าเนื้อหยาบ

๕๐๐ ผืน ให้พลิกแพลงผ้าเหล่านั้น ทำเป็นไตรจีวรถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้ง ๕ องค์. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็หลีกไปตามสำราญ. แม้คนผู้ทำงาน

ด้วยลำแข้งทั่งพันคนนั้นได้ทำกุศลมาด้วยกัน ตายแล้วก็เกิดในเทวโลก. แม่

บ้านทั้ง ๕๐๐ คนนั้น บางทีก็เป็นภรรยาของชายทั้ง ๕๐๐ คนนั้น. บางทีแม้

ทั้งหมดก็เป็นภรรยาของลูกทาสผู้เป็นหัวหน้าเท่านั้น. ต่อมา ในกาลครั้งหนึ่ง

ลูกหัวหน้าทาสเคลื่อนจากเทวโลกมาบังเกิดในราชตระกูล. ถึงเทวกัญญาทั้ง

๕๐๐ นั้น ก็มาเกิดในตระกูลที่มีสมบัติมาก เมื่อเจ้าชายนั้นได้เสวยราชย์ก็ไป

สู่พระราชวัง เป็นนางสนม. เมื่อพวกนางท่องเที่ยวอยู่โดยทำนองนี้ ใน

กาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ก็มาเกิดในตระกูลกษัตริย์ในโกลิยนคร

บ้าง ในเทวทหนครบ้าง.

แม้พระนันทกะเล่า เมื่อบวชแล้วก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์. ลูกสาว

หัวหน้าทาสี เจริญวัยแล้ว ก็ดำรงอยู่ในตำแหน่งอัครมเหสี ของพระเจ้า

สุทโธทนมหาราช. ถึงหญิงนอกนี้ก็ไปสู่วัง (คือเป็นพระชายา) ของราชบุตร

เหล่านั้น. เจ้าชาย ๕๐๐ องค์ ซึ่งเป็นพระสวามีของพวกพระนางเหล่านั้น ได้

ทรงฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาในเพราะการทะเลาะกันเกี่ยวกับแย่งน้ำ

แล้วก็ทรงผนวช. พวกเจ้าหญิงก็ทรงส่งพระสาส์น เพื่อให้พวกเจ้าชายเหล่านั้น

กระสัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพาพวกท่านผู้กระสันเหล่านั้นไปสระดุเหว่าแล้ว

ทรงให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ในวันประชุมใหญ่ก็ทรงให้ตั้งอยู่ในความ

เป็นพระอรหันต์. แม้เจ้าหญิงทั้ง ๕๐๐ องค์นั้นเล่า ก็พากันออกไปบวชใน

สำนักพระมหาประชาบดี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 475

พึงแสดงเรื่องนี้อย่างนี้ว่า หัวหน้าทาสนี้คือ ท่านพระนันทกะ นาง

ทาสีเหล่านี้แหละ คือภิกษุณีเหล่านั้น ดังนี้. คำว่า ราชการาโม ได้แก่ วัดที่

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสร้างไว้ในสถานที่คล้ายถูปาราม ที่ส่วนทิศใต้ของ

พระนคร คำว่า สมฺมปฺปญฺาย สุทฏฺ คือที่เห็นตามเหตุ ตามการณ์

ด้วยวิปัสสนาปัญญา คือตามความเป็นจริง. คำว่า ตชฺช ตชฺช คือมีปัจจัย

นั้นเป็นตัวแท้ มีปัจจัยนั้นเป็นสภาพ. มีคำที่อธิบายว่า ก็แล เวทนานั้น ๆ

เพราะอาศัยปัจจัยนั้น ๆ จึงเกิดขึ้น. คำว่า ปเควสฺส ฉายา ความว่า

ความที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยรากเป็นต้นก็ไม่เที่ยง ทั้งแต่เริ่มแรกทีเดียว คำว่า

อนุปหจฺจ คือไม่เข้าไปประหาร บุคคลทำเนื้อให้เห็นก่อน ๆ แล้วปล่อย

ให้หนังห้อยย้อยมา ชื่อว่าย่อมเข้าไปกำจัดกายคือเนื้อ ในคำว่า ไม่เข้าไป

กำจัด นั้น บุคคลทำให้หนังติดกันเป็นพืด แล้วปล่อยให้เนื้อทั้งหลาย

ห้อยย้อยมาชื่อว่าย่อมเข้าไปกำจัดกายคือหนัง ไม่ทำอย่างนั้น. คำว่า

วิลิมสมหารุ พนฺธน ได้แก่ เนื้อที่พอกที่ติดที่หนังทั้งหมดนั่นเอง. ท่าน

กล่าวหมายเอากิเลสในระหว่างทุกอย่างนั้นแหละว่า มีเครื่องผูกคือกิเลส

สังโยชน์ในระหว่างดังนี้.

ถามว่า ทำไม ท่านจึงกล่าวคำว่า ก็เจ็ดอย่างเหล่านี้แล. ตอบว่า

เพราะปัญญาใดที่ท่านว่า ปัญญานี้ย่อมตัดกิเลสทั้งหลายได้ ปัญญานั้น ลำพัง

อย่างเดียวแท้ ๆ ไม่อาจตัดได้โดยธรรมดาของคน. ก็เหมือนอย่างว่า. ขวาน

โดยธรรมดาของตนแล้วจะตัดสิ่งที่ต้องตัดให้ขาดไม่ได้ ต่อเมื่ออาศัยความ

พยายามที่เกิดจากคนนั้นของบุรุษแล้ว จึงจะตัดได้ฉันใด เว้นจากโพชฌงค์

อีก ๖ ข้อแล้ว ปัญญาก็ไม่สามารถจะตัดกิเลสทั้งหลายได้ ฉันนั้น เหมือนกัน

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. คำว่า ถ้าอย่างนั้น ความว่า เธอแสดง

อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ กองวิญญาณ ๖ การเทียบประทีป เทียบต้นไม้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 476

และเทียบโค แล้วจบเทศนาลงด้วยความสิ้นไปแห่งอาสวะด้วยโพชฌงค์

๗ อย่าง เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น แม้พรุ่งนี้ เธอก็พึงสั่งสอนพวกภิกษุณี

เหล่านั้นด้วยโอวาทนั้นแล.

คำว่า สา โสตาปนฺนา ความว่า ภิกษุณีที่ต่ำกว่าเขาหมดทางคุณ

ธรรมก็เป็นโสดาบัน. ที่เหลือก็เป็นสกทาคามินี อนาคามินี และขีณาสพ. ถาม

ว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น จะมีความดำริบริบูรณ์ได้อย่างไร. ตอบว่า จะมีความ

ดำริบริบูรณ์ได้ด้วยความบริบูรณ์แห่งอัธยาศัย. จริงอยู่ภิกษุณีรูปใดมีความคิด

อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอแล เรากำลังฟังธรรมเทศนาของพระคุณเจ้านันทกะ

พึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผลในอาสนะนั่นแล. ภิกษุณีนั้นก็ได้ทำให้แจ้งโสดา

ปัตติผล. ภิกษุณีรูปใดมีความคิดว่า สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล

นางภิกษุณีรูปนั้น ก็ทำความเป็นพระอรหันต์ให้แจ่มแจ้ง. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นผู้ชื่นใจและมีความดำริที่บริบูรณ์แล้วแล.

จบอรรถกถานันโกวาทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 477

๕. จูฬราหุโลวาทสูตร

[๗๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหลีกเร้นประทับอยู่ในที่รโหฐาน ได้เกิดพระปริวิตกทางพระหฤทัยขึ้นอย่าง

นี้ว่า ราหุลมีธรรมที่บ่มวิมุตติแก่กล้าแล้วแล ถ้ากระไร เราพึงแนะนำราหุล

ในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นเถิด.

[๗๙๖] ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองสบง ทรงบาตรจีวร

เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถีในเวลาเช้า ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาต

ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ราหุล เธอจง

ถือผ้ารองนั่ง เราจักเข้าไปยังป่าอันธวัน เพื่อพักผ่อนกลางวันกัน ท่านพระราหุล

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า แล้วจึงถือผ้ารองนั่ง

ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ก็สมัยนั้นแล เทวดา

หลายพันคนได้ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปด้วยทราบว่า วันนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้น ครั้งนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าถึงป่าอันธวันแล้ว จึงประทับนั่ง ณ อาสนะที่ท่าน

พระราหุลปูลาด ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระราหุลก็ถวายอภิวาทพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๗๙๗] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า

ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 478

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

[๗๙๘] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปร ปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

[๗๙๙] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุวิญญาณ

เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

[๘๐๐] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน จักษุสัมผัส

เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 479

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พ. สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ

ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

ว่าด้วยเวทนาเป็นต้น

[๘๐๑] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยแม้นั้น เที่ยง

หรือไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เทียง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้า.

[๘๐๒] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน โสตเที่ยง

หรือไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฆานะเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ชิวหาเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 480

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้า ฯลฯ

พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กายเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า ฯลฯ

[๘๐๓] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนเที่ยงหรือ

ไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา. นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

[๘๐๔] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมารมณ์

เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา.

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

[๘๐๕] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโนวิญญาณ

เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 481

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

[๘๐๖] พ. ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน มโน

สัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

[๘๐๗] พ. ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้น เที่ยง

หรือไม่เที่ยง.

ร. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข

ร. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร

หรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

ร. ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า.

[๘๐๘] พ. ราหุล อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ-

หน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุวิญญาณ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 482

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น.

ความเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อ

หน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้

ใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยนั้น.

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ

หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง

นี้มีได้มี.

[๘๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุล

จึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าและ

ก็แหละเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้อยู่ จิตของท่าน

พระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น และเทวดาหลาย

พันองค์นั้น ได้เกิดดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีหมดมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.

จบ จูฬราหุโลวาทสูตร ที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

อรรถกถาราหุโลวาทสูตร

ราหุโลวาทสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ในพระสูตรนั้น คำว่า บ่มวิมุตติ มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า

บ่มวิมุตติ ก็เพราะทำวิมุตติให้สุกงอม. คำว่า ธรรม ได้แก่ ธรรม

๑๕ อย่าง. ธรรมเหล่านั้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งของความหมดจดแห่ง

อินทรีย์มีความเชื่อเป็นต้น . สมจริง ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

(๑) อินทรีย์คือความเธอย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ

ก. เว้นบุคคลผู้ไม่มีความเชื่อ.

ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้ บุคคลผู้มีความเชื่อ.

ค. พิจารณาสูตรที่เป็นเหตุให้เกิดความเลื่อมใส.

(๒) อินทรีย์คือความเพียรย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ

ก. เว้นบุคคลเกียจคร้าน.

ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร.

ค. พิจารณาถึงความเพียรชอบ.

(๓) อินทรีย์คือความระลึกย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านั้น คือ

ก. เว้นบุคคลผู้หลงลืมสติ.

ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งสติมั่น.

ค. พิจารณาหลักการตั้งสติ (สติปัฏฐาน).

(๔) อินทรีย์คือความตั้งใจมั่นย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านั้น

คือ

ก. เว้นบุคคลผู้ไม่ตั้งใจมั่น.

๑. บาลี จูฬราหุโลวาทสูตฺต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 484

ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้ตั้งใจมั่น.

ค. พิจารณาฌานและวิโมกข์.

(๕) อินทรีย์คือความรู้ชัดย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ

ก. เว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม.

ข. เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญา.

ค. พิจารณาญาณจริยาที่ลึกซึ้ง.

เมื่อเว้นบุคคล ๕ พวก เสพ คบ เข้านั่งใกล้บุคคล ๕ พวก พิจารณา

กองสูตร ๕ กองเหล่านี้ ดังว่ามานี้ ด้วยอาการ ๑๕ อย่างเหล่านี้ อินทรีย์ทั้ง

๕ อย่างก็ย่อมหมดจด. ยังมีธรรมสำหรับ บ่มวิมุตติอีก ๑๕ อย่างคือ อินทรีย์

มีความเธอเป็นต้น เหล่านั้น ๕ อย่าง ความสำคัญอันเป็นส่วนแห่งการแทงตลอด

(นิพเพธภาคิยสัญญา) ๕ อย่างเหล่านี้คือ ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ความสำคัญว่า

เป็นทุกข์ในสิ่งที่ไม่เที่ยง ความสำคัญว่าไม่ใช่ตัวตนในสิ่งที่เป็นทุกข์ ความ

สำคัญในการละ ความสำคัญในวิราคะ และธรรมอีก ๕ อย่างมีความเป็น

ผู้มีมิตรดีงามเป็นต้น ที่ตรัสแก้พระเมฆิยเถระ.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำริอย่างนี้ในเวลาใดเล่า.

ตอบว่า เมื่อพระองค์ทรงตรวจดูโลก ในสมัยใกล้สว่าง ก็ทรงมีพระดำริอย่างนี้.

คำว่า เทวดาหลายพันองค์ ความว่า ทานพระราหุลตั้งความปรารถนาไว้

แทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ในครั้งที่เป็น

พญานาคชื่อปาลิต พร้อมกับเทวดาที่ตั้งความปรารถนาไว้เหมือนกัน. ก็แหละ

บรรดาเทวดาเหล่านั้น บางพวกก็เป็นเทวดาอยู่บนแผ่นดิน. บางพวกก็เกิดใน

อากาศ. บางพวกก็อยู่จาตุมหาราชิกา. บางพวกก็อยู่ในเทวโลก. บางพวกก็

เกิดในพรหมโลก. แต่ในวันนี้ เทวดาทั้งหมดมาประชุมกันในป่า อันธวัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

นั่นแลในทีเดียวกัน . คำว่า ดวงตาเห็นธรรม ความว่า ปฐมมรรค (โสดา

ปัตติมรรค) ท่านเรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม ในอุปาลีโอวาทสูตร และทีฆนขสูตร.

ผลทั้งสามท่านเรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม ในพรหมายุสูตร. ในสูตรนี้ มรรค ๘

ผล ๔ พึงทราบว่าเป็น ดวงตาเห็นธรรม. ก็แหละ ในบรรดาเทวดาเหล่านั้น

เทวดาบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน . บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกก็

เป็นอนาคามี บางพวกก็เป็นพระขีณาสพ. และก็การกำหนดด้วยอำนาจนับ

จำนวนเทวดาเหล่านั้นว่าเท่านั้น เท่านี้ไม่มี. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาราหุโลวาทสูตร ที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 486

๖. ฉฉักกสูตร

[๘๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัส

แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม

แก่เธอทั้งหลาย อันไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลางในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ

ทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คือ ธรรมหมวด

หก ๖ หมวด พวกเธอจงพึงธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุ

เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๘๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า พวกเธอพึงทราบ

อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖ หมวดวิญญาณ ๖ หมวดผัสสะ ๖

หมวดเวทนา ๖ หมวดตัณหา ๖.

[๘๑๒] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั้น เรา

อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือจักษุ อายตนะคือโสต อายตนะคือ

ฆานะ อายตนะคือชิวหา อายตนะคือกาย อายตนะคือมโน ข้อที่เรากล่าว

ดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายใน ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้วนี้

ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๑.

[๘๑๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เรา

อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ได้แก่ อายตนะคือรูป อายตนะคือเสียง อายตนะคือกลิ่น

อายตนะคือรส อายตนะคือโผฏฐัพพะ อายตนะคือธรรมารมณ์ ข้อที่เรากล่าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

ดังนี้ว่า พึงทราบอายตนะภายนอก ๖ นั่น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้ว

นี้ธรรมหมวด ๖ หมวดที่ ๑.

[๘๑๔] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั่น เรา

อาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักษุวิญญาณ อาศัย

โสตและเสียง จึงเกิดโสตวิญญาณ อาศัยฆานะและกลิ่น จึงเกิดฆานวิญญาณ

อาศัยชิวหาและรส จึงเกิดชิวหาวิญญาณ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ จึงเกิดกาย

วิญญาณ อาศัยมโนและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า

พึงทราบหมวดวิญญาณ ๖ นั้น เราอาศัยวิญญาณนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรม

หมวดหก หมวดที่ ๓.

[๘๑๕] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัย

อะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความประจวบ

ของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยโสตและเสียงเกิดโสตวิญญาณ ความประ-

จวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ ความ

ประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะอาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณความ

ประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ

ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโน

วิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า

พึงทราบหมวดผัสสะ ๖ นั่น เราอาศัยผัสสะนี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก

หมวดที่ ๔.

[๘๑๖] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เรา

อาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความ

ประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 488

อาศัยโสตและเสียงเกิดโสตวิญญาณ. . .

อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ. . .

อาศัยชิวหาและรสเกิดชิวหาวิญญาณ . . .

อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ. . .

อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรม

ทั้ง ๓ เป็นผัสสะ. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า

พึงทราบหมวดเวทนา ๖ นั่น เราอาศัยเวทนานี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก

หมวดที่ ๕.

ว่าด้วยกองแห่งตัณหา

[๘๑๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เรา

อาศัยอะไรกล่าวแล้ว คือ บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ ความ

ประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาเพราะ

เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

อาศัยโสตและเสียงเกิดโสตวิญญาณ...

อาศัยฆานะและกลิ่นเกิดฆานวิญญาณ...

อาศัยชิวหาและลิ้นเกิดชิวหาวิญญาณ ...

อาศัยกายและโผฏฐัพพะเกิดกายวิญญาณ...

อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดมโนวิญญาณ ความประจวบของธรรม

ทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

จึงมีตัณหา ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบหมวดตัณหา ๖ นั่น เราอาศัยตัณหา

นี้ กล่าวแล้ว นี้ธรรมหมวดหก หมวดที่ ๖.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

[๘๑๘] ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร

จักษุย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด

แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

จักษุจึงเป็นอัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร รูปย่อมปรากฏแม้

ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น

คำของผู้ที่กล่าวว่า รูปเป็นอนัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็น

อนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้น ไม่ควร จักษุ

วิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด

แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วย

ประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็น

อนัตตา

ผู้ใดกล่าวว่า จักษุสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุสัมผัส

ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้

ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิด ในแลเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุสัมผัสเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วย

ประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็น

อนัตตา จักษุสัมผัสจึงเป็นอนัตตา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อม

ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ

เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ

ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าเวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้

จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตาจักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัส

จึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏ

แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

สิ่งนั้น ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น

คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุ

จึงเป็นอนัตตา รูปจึงเป็นอนัตตา จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา จักษุสัมผัสจึง

เป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา.

ว่าด้วยอนัตตา

[๘๑๙] ผู้ใดกล่าวว่า โสตเป็นอัตตา...

ผู้ใดกล่าวว่า ฆานะเป็นอัตตาะ...

ผู้ใดกล่าวว่า ชิวหาเป็นอัตตา...

ผู้ใดกล่าวว่า กายเป็นอัตตา...

ผู้ใดกล่าวว่า มโนเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโนย่อมปรากฏแม้

ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

สิ่งนั้น ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น

คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนเป็นอัตตานั้น จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึง

เป็นอนัตตา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 491

ผู้ใดกล่าวว่า ธรรมารมณ์เป็นอัตตา คำของผู้นั้น ไม่ควรธรรมารมณ์

ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้

ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่าธรรมารมณ์เป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วย

ประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร มโน

วิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด

แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร

ด้วยประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณ

จึงเป็นอนัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา คำของผู้นั้น ไม่ควร มโนสัมผัส

ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด

แม้ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป

เพราะฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า มโนสัมผัสเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วย

ประการฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณ

จึงเป็นอนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา.

ผู้ใดกล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร เวทนาย่อม

ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความ

เสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ

ฉะนั้น คำของผู้ที่กล่าวว่า เวทนาเป็นอัตตา นั้น จึงไม่ควร ด้วยประการ

ฉะนี้ มโนจึงเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็น

อนัตตา มโนสัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

ผู้ใดกล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา คำของผู้นั้น ไม่ควร ตัณหาย่อมปรากฏ

แม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

สิ่งนั้น ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น

คำของผู้ที่กล่าวว่า ตัณหาเป็นอัตตา นั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ มโนจึง

เป็นอนัตตา ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา มโน-

สัมผัสจึงเป็นอนัตตา เวทนาจึงเป็นอนัตตา ตัณหาจึงเป็นอนัตตา.

ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสักกายะ

[๘๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความตั้งขึ้นแห่งสัก-

กายะดังต่อไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

เล็งเห็นรูปว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า

นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นของเรา นั่น

เรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา นั่น เรา นั่น อัตตาของเรา

เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นโสตว่า นั่น

ของเรา. . . เล็งเห็นฆานะว่า นั่นของเรา . . . เล็งเห็นชิวหาว่า นั่นของเรา . . .

เล็งเห็นกายว่า นั่นของเรา . . . เล็งเห็นมโนว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่น

อัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา

เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นมโน-

สัมผัสว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นของ

เรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา เล็งเห็นตัณหาว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่น

อัตตาของเรา.

[๘๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาอันให้ถึงความดับสักกายะ ดัง

ต่อไปนี้แล บุคคลเล็งเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

ของเรา เล็งเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

เล็งเห็นจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

เล็งเห็นจักษุสัมผัสว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็ง

เห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เล็งเห็น

โสตว่า นั่นไม่ใช่ของเรา... เล็งเห็นฆานะว่า นั่นไม่ใช่ของเรา... เล็งเห็นกายว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา... เล็งเห็นมโนว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่

อัตตาของเรา เล็งเห็นธรรมารมณ์ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่

อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่

อัตตาของเรา เล็งเห็นมโนสัมผัสว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่

อัตตาของเรา เล็งเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตา

ของเราเล็งเห็นตัณหาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.

ว่าด้วยความเป็นอฐานะ

[๘๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุ-

วิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย

ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง

เขาอันสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ

มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก

ร่ำไห้ คร่ำครวญทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม มีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่

อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ

โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอน

เนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 494

ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนอวิชชานุสัยเพราะอทุกขม

สุขเวทนา ยังไม่ทำวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย และจักเป็นผู้กระทำที่

สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตแลเสียง เกิดโสตวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและรส เกิดชิวหาวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโน-

วิญญาณ ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อม

เกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขา

อันสุขเวทานาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ

จึงมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ลำบาก

ร่ำไห้ คร่ำครวญทุ่มอก ถึงความหลงพร้อม จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อัน

อทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ

โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอน

เนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นยังไม่ละราคานุสัยเพราะสุขเวทนา

ยังไม่บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ยังไม่ถอนวิชชานุสัยเพราะอทุกขม

สุขเวทนา ยังไม่ทำวิชชาให้เกิดเพราะไม่ละอวิชชาเสีย แล้วจักเป็นผู้กระทำที่

สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้.

[๘๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยจักษุและรูปเกิดจักษุวิญญาณ

ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ

เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุข

เวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 495

จึงไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มี

ปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความ

ตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็น

จริง จึงไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้นละ

ราคานุสัยเพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัย

เพราะอทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็น

ผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั่น เป็นฐานะที่มีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยโสตและเสียง เกิดโสตวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยฆานะและกลิ่น เกิดฆานวิญญาณ ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยชิวหาและลิ้น เกิดชิวหาวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยกายและโผฏฐัพพะ เกิดกายวิญญาณ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยมโนและธรรมารมณ์ เกิดมโนวิญญาณ

ความประจวบของธรรมทั้ง ๓ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความ

เสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง เขาอันสุขเวทนา

ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พูดถึง ไม่ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึง

ไม่มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่

ลำบาก ไม่ร่ำไห้ ไม่คร่ำครวญทุ่มอก ไม่ถึงความหลงพร้อม จึงไม่มีปฏิฆา-

นุสัยนอนเนื่องอยู่ อันอทุกขมสุขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมทราบชัดความตั้งขึ้น

ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริงจึง

ไม่มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลนั้น ละราคานุสัย

เพราะสุขเวทนา บรรเทาปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนา ถอนอวิชชานุสัยเพราะ

อทุกขมสุขเวทนา ยังวิชชาให้เกิดขึ้นเพราะละอวิชชาเสียได้ แล้วจักเป็นผู้

กระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันได้ นั้นเป็นฐานะที่มีได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 496

[๘๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ

วิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อม

เบื่อหน่ายแม้ในตัณหา

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียง...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่น ...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรส ...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะ...

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์ ย่อมเบื่อ-

หน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่าย

แม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะ

คลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ

แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังตรัส

ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ

เพราะไม่ถือมั่นแล.

จบ ฉฉักกสูตร ที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 497

อรรถกถาฉฉักกสูตร

ฉฉักกสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อาทิกลฺยาณ ความว่า เราจะทำให้

ไพเราะคือให้ปราศจากโทษ ให้ดีในเบื้องต้น แล้วแสดง. แม้ที่ไพเราะใน

ท่ามกลางและที่สุดก็ทำนองเดียวกันนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชมเชยอริยวงศ-

สูตรด้วย ๙ บท มหาสติปัฏฐานสูตรด้วย ๗ บท มหาอัสสปุรสูตรด้วย ๗ บท

เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้ . สำหรับพระสูตรนี้ ทรงชมเชยด้วย ๙ บท

คำว่า พึงทราบ คือพึงทราบด้วยมรรคพร้อมกับวิปัสสนา. จิตที่เป็น

ไปในภูมิสามเท่านั้นทรงแสดงด้วยมนายตนะ. และธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓

ข้างนอกทรงแสดงด้วยธรรมายตนะ. ยกเว้นทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๕ คู่

รวม ๑๐ ดวง) โลกิยวิบากจิต ๒๐ ดวงที่เหลือ ทรงแสดงด้วยมโนวิญญาณ.

ผัสสะและเวทนาเป็นธรรมที่สัมปยุตด้วยวิบากวิญญาณตามที่กล่าวไว้แล้ว คำว่า

ตัณหา ได้แก่ตัณหาที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนะ อันมีวิบากเวทนาเป็นปัจจัย

คำว่า จักษุเป็นตัวตน มีคำเชื่อมต่อเป็นแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. ก็แลเพื่อแสดง

ความที่สัจจะ ๒ ข้อที่ตรัสไว้ในหนหลังไม่เป็นตัวตน จึงทรงเริ่มเทศนานี้ ใน

บทเหล่านั้น บทว่า ไม่ควร หมายถึงไม่เหมาะ. คำว่า เสื่อมไป คือ

ปราศไป ดับไป. คำว่า อย โข ปน ภิกฺขเว คือ แม้นี้ก็เป็นคำเชื่อมต่อที่

เป็นแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. จริงอยู่ เพื่อทรงแสดงวัฏฏะด้วยอำนาจความถือมั่น

๓ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนานี้. บางท่านว่า เพื่อทรงแสดง

วัฏฏะด้วยสัจจะ ๒ ข้อ คือ ทุกข์ สมุทัย ดังนี้ก็มีเหมือนกัน. ในคำว่า

นั่นของเรา เป็นต้น พึงทราบความถือมั่น ด้วยตัณหามานะ และทิฐินั่นแล.

คำว่า ย่อมเล็งเห็น คือย่อมเห็นด้วยอำนาจความถือมั่นทั้ง ๓ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 498

ครั้นทรงแสดงวัฏฏะอย่างนี้แล้ว คราวนี้ เพื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะด้วย

อำนาจปฏิปักษ์ต่อความถือมั่นทั้ง ๓ อย่าง หรือเพื่อทรงแสดงวิวัฏฏะด้วยอำนาจ

สัจจะ ๒ ข้อ คือ นิโรธ มรรค เหล่านั้น จึงตรัสว่า อย โข ปน ดังนี้ เป็นต้น.

คำว่านั่นไม่ใช่ของเรา เป็นต้น เป็นคำปฏิเสธตัณหาเป็นต้น. คำว่า ย่อม

เล็งเห็น คือ ย่อมเห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตน.

ครั้นทรงแสดงวิวัฏฏะอย่างนี้แล้ว คราวนี้ เพื่อจะทรงแสดงวัฏฏะด้วย

อำนาจอนุสัยทั้งสามอย่างอีก จึงตรัสคำเป็นต้นว่า จกฺขุญฺจ ภิกฺขเว

ในคำเหล่านั้น คำเป็นต้นว่า ย่อมเพลิดเพลิน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ด้วยอำนาจตัณหาและทิฐิเท่านั้น. คำว่า นอนเนือง คือยังละไม่ได้. คำว่า

แห่งทุกข์ ได้แก่แห่งวัฏฏทุกข์และกิเลสทุกข์.

ครั้นทรงแสดงวัฏฏะด้วยอำนาจอนุสัยสามอย่างอย่างนี้แล้ว คราวนี้เมื่อ

จะทรงแสดงวิวัฏฏะด้วยอำนาจเป็นนัยที่ตรงกันข้ามแห่งอนุสัยทั้งสามอย่างนั้น

จึงตรัสคำเป็นต้นว่า จกฺขุญฺจ อีกครั้งหนึ่ง. คำว่า ละอวิชชา คือ

ละความไม่รู้อันเป็นรากเง่าของวัฏฏะได้แล้ว. คำว่า ยังวิชชา คือยังความรู้

คืออรหัตตมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว.

คำว่า นั่น ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือด้วยกถามรรคเพียงเท่านี้แหละ

พระองค์ก็ทรงเทศนาด้วยอำนาจวัฏฏะและวิวัฏฏะให้ถึงยอดได้แล้ว เมื่อจะทรง

รวบรวมพระธรรมเทศนานั้นเอง ก็ได้ตรัสคำเป็นต้นว่า เอว ปสฺส ภิกฺขเว

อีกครั้งหนึ่ง. ในคำว่า ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป นี้ นั้นไม่น่าอัศจรรย์

เลย ที่เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงแสดงเองแท้ ๆ ภิกษุ ๖๐ รูป ได้สำเร็จเป็น

พระอรหันต์. เพราะว่า แม้เมื่อท่านธรรมเสนาบดีแสดงสูตรนี้ ก็มีภิกษุ ๖๐

รูปบรรลุเป็นพระอรหันต์ ถึงแม้พระมหาโมคคัลลานะแสดงก็ดี พระมหาเถระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

๘๐ รูป แสดงก็ดี ก็มีภิกษุ ๖๐ รูป สำเร็จเหมือนกันนั่นแหละ แม้ข้อนี้ก็ไม่

น่าอัศจรรย์. เพราะพระสาวกเหล่านั้น ท่านบรรลุอภิญญาใหญ่ (กันทั้งนั้น ).

ก็แลในเวลาภายหลัง พระมาไลยเทพเถระในเกาะลังกา ก็ได้แสดง

พระสูตรนี้ภายใต้โลหปราสาท. ถึงครั้งนั้นก็มีภิกษุ ๖๐ รูปสำเร็จเป็นพระอรหันต์.

และพระเถระก็แสดงพระสูตรนี้ในประรำใหญ่เหมือนพระมาไลยเทพเถระแสดง

ในโลหปราสาทเหมือนกัน. พระเถระเมื่อออกจากมหาวิหารแล้วก็ไปเจดียบรรพต

ในที่นั้น ท่านก็แสดงเหมือนกัน. ต่อจากนั้น ท่านก็ไปแสดงที่วัดสากิยวงก์

ที่วัดกูฏาสี ที่ระหว่างหนอง ที่ลานมุกดา ที่เขาปาตกา ที่ปาจีนฆรกะ (เรือน

ตะวันออก) ทีฆวาปี (หนองแวง) ที่ซอกเขาหมู่บ้านและพื้นที่เลี้ยงแพะ

แม้ในที่เหล่านั้น . ก็มีภิกษุ ๖๐ รูป ๆ สำเร็จเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน .

และเมื่อออกจากที่นั้นแล้วพระเถระก็ไปสู่จิตตลบรรพต. และคราวนั้น ที่วัด

จิตตลบรรพต มีพระมหาเถระมีพรรษากว่า ๖๐. ใกล้สระบัวใหญ่มีท่าลึก

ชื่อว่า ท่ากุรุวัก. ที่ท่านั้นพระเถระคิดว่าเราจะอาบน้ำจึงลงไป. พระเทวเถระ

ไปหาท่านแล้ว เรียนว่า กระผมจะตักน้ำสรงถวายท่าน ขอรับ. ด้วยการปฏิ-

สันถารนั่นเอง พระเถระก็ทราบได้ว่า พวกคนเขาว่า มีพระมหาเถระชื่อ

มาไลยเทพ ท่านคงเป็นท่านรูปนี้ จึงถามว่า ท่านเป็นท่านเทพหรือ. ครับท่าน

คุณไม่มีใครที่ใช้มือถูร่างของเราตั้ง ๖๐ ปีแล้ว แต่คุณกลับจะอาบน้ำให้เรา

แล้วก็ขึ้นไปนั่งที่ตลิ่ง.

พระเถระก็ทำบริกรรมมือและเท้าจนทั่วแล้วก็สรงน้ำถวายพระมหาเถระ.

และวันนั้นเป็นวันฟังธรรม. ที่นั้น พระมหาเถระจึงว่า คุณเทพ คุณควรให้ธรรม

ทานแก่เราทั้งหลาย. พระเถระรับว่า ตกลง ครับท่าน. ครั้นเมื่อพระอาทิตย์

ตกแล้ว พวกคนก็ไปป่าวร้องฟังธรรมกัน. พวกท่านพระมหาเถระ ๖๐ รูป ล้วน

แต่เลย ๖๐ พรรษาทั้งนั้น ได้พากันมาฟังธรรม. พระเทพเถระ ก็เริ่มสูตรนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

เมื่อจบสวดทำนองแล้ว. และเมื่อจบพระสูตร พระมหาเถระ ๖๐ รูป ก็ได้

สำเร็จเป็นพระอรหันต์. ต่อจากนั้นท่านก็ไปแสดงที่ติสสมหาวิหาร. แม้ในวัด

นั้นก็มีพระเถระ ๖๐ รูป (ได้เป็นพระอรหันต์). ต่อจากนั้นก็แสดงที่นาคมหา-

วิหาร ใกล้หมู่บ้านกลกัจฉะ. แม้ในที่นั้นก็มีพระเถระ ๖๐. รูป (ได้เป็นพระ

อรหันต์). ต่อจากนั้น ก็ไปวัดกัลยาณี ในวัดนั้นท่านก็แสดงภายใต้ปราสาท

ในวันที่ ๑๔ ค่ำ. แม้ในที่นั้นก็มีพระเถระ ๖๐ รูป (ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์).

ในวันอุโบสถก็แสดงบนปราสาท. ที่บนปราสาทนั้น ก็มีพระเถระ ๖๐ รูป

(สำเร็จเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน ) เมื่อพระเทพเถระนั่นแล แสดงพระสูตรนี้

อย่างนี้ ในที่ ๖๐ แห่ง ก็มีผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แห่งละ ๖๐ รูป ด้วย

ประการฉะนี้.

แต่เมื่อท่านจุลลนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก แสดงพระสูตรนี้ในวัด

อัมพิลกฬกวิหาร มีบริษัทคนสามคาวุต. บริษัทเทวดาหนึ่งโยชน์. เมื่อจบ

พระสูตร มีภิกษุหนึ่งพันรูปได้เป็นพระอรหันต์. ส่วนในหมู่เทวดาจาก

จำนวนนั้น ๆ แต่ละจำนวน มีปุถุชนเพียงจำนวน ๑ องค์เท่านั้นแล.

จบอรรถกถาฉฉักกสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 501

๗. สฬายตนวิภังคสูตร

[๘๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่อง

ด้วยมหาสฬายตนะแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี

เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว

พระพุทธเจ้าข้า.

[๘๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายบุคคล

เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามควานเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็น

จริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ

สัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม

เป็นทุกข์ก็ตาม นิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย

ตามความเป็นจริงย่อมกำหนัดในจักษุ กำหนัดในรูป กำหนัดในจักษุวิญญาณ

กำหนัดในจักษุสัมผัส กำหนัดในความเสวยอารมณ์เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็

ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล

นั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมี

อุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูนต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่

สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์

นั้น ๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

ความเดือดร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย

แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อมเสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง.

[๘๒๗] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นโสต ตามความเป็น

จริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นฆานะ ตามความเป็นจริง ...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นชิวหา ตามความเป็นจริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นกาย ตามความเป็นจริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อ

ไม่รู้ไม่เห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนวิญญาณ ตาม

ความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็น

ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่

เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมกำหนัดในมโน

กำหนัดในธรรมารมณ์ กำหนัดในมโนวิญญาณ กำหนัดในมโนสัมผัส กำหนัด

ในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม

ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบ

พร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความพอกพูน

ต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัด ด้วย

อำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ เจริญทั่ว จะมีความ

กระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเดือนร้อนแม้ทางกาย

แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมีความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว เขาย่อม

เสวยทุกข์ทางกายบ้าง ทุกข์ทางใจบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 503

ว่าด้วยมรรคบริบูรณ์ด้วยความเจริญ

[๘๒๘] ภิกษุทั้งหลาย ส่วนบุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุ ตามความเป็น

จริง เมื่อรู้เมื่อเห็นรูป ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุวิญญาณ ตาม

ความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นจักษุสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็น

ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่

เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในจักษุ

ไม่กำหนัดในรูป ไม่กำหนัดในจักษุวิญญาณ ไม่กำหนัดในจักษุสัมผัส ไม่

กำหนัดในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุข

ก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดนักแล้ว

ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อมมีอุปาทานขันธ์ ๕

ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่ สหรคตด้วย

ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้

จะละความกระวนกระวาย แม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเดือดร้อนแม้

ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ เขาย่อม

เสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด

ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด ความดำริอันนั้นย่อมเป็น

สันมาสังกัปปะ มีความพยายามอันใด ความพยายามอันนั้น ย่อมเป็นสัมมา-

วายามะ มีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสติ มีความ

ตั้งใจมั่นอันใด ความตั้งใจมั่นอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกายกรรม วจี

กรรม อาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้

เขาชื่อว่ามีอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์.

[๘๒๙] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐนี้อยู่อย่างนี้ชื่อ

ว่ามีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ๕ โพชฌงค์ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือสมถะและวิปัสสนา

คู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ละ

ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้

แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน ข้อ

ที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ เหล่านั้นชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา

และภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะ

และวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ

วิชชาและวิมุตติ เหล่านั้นชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

[๘๓๐] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้ เมื่อเห็นโสต ตามความเป็น

จริง.

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นฆานะ ตามความเป็นจริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นชิวหา ตามความเป็นจริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นกาย ตามความเป็นจริง...

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อรู้เมื่อเห็นมโน ตามความเป็นจริง เมื่อรู้

เมื่อเห็นธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนวิญญาณ ตามความ

เป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นมโนสัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อรู้เมื่อเห็นความ

เสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช้ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 505

เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง ย่อมไม่กำหนัดในมโน ไม่

กำหนัดในธรรมารมณ์ ไม่กำหนัดในมโนวิญญาณ ไม่กำหนัดในมโนสัมผัส

ไม่กำหนัด. ในความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุข

ก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ตามความเป็นจริง เมื่อบุคคลนั้น

ไม่กำหนัดนักแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว ไม่ลุ่มหลง เล็งเห็นโทษอยู่ ย่อม

มีอุปาทานขันธ์ ๕ ถึงความไม่พอกพูนต่อไป และเขาจะละตัณหาที่นำไปสู่ภพ

ใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลิน

ในอารมณ์ ๆ ได้. จะละความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละ

ความเดือนร้อนแม้ทางกาย แม้ทางใจได้ จะละความเร่าร้อนแม้ทางกาย แม้

ทางใจได้ เขาย่อมเสวยสุขทางกายบ้าง สุขทางใจบ้าง บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว

มีความเห็นอันใด ความเห็นอันนั้นย่อมเป็นสัมมาทิฐิ มีความดำริอันใด

ความดำริอันนั้น ย่อมเป็นสัมมาสังกัปปะ. มีความพยายามอันใด ความพยายาม

อันนั้นย่อมเป็นสัมมาวายามะมีความระลึกอันใด ความระลึกอันนั้นย่อมเป็น

สันมาสติ มีความทั้งใจอันใด ความตั้งใจอันนั้นย่อมเป็นสัมมาสมาธิ ส่วนกาย

กรรม วจีกรรม อาชีวะของเขาย่อมบริสุทธิ์ในเบื้องต้นเทียว ด้วยอาการอย่างนี้

เขาชื่อว่ามีอฏัฐังคิกมรรคอันประเสริฐถึงความเจริญบริบูรณ์.

[๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อ

ว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕

โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญสมบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ

สมถะและปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วย

ปัญญาอันยิ่ง ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วย

ปัญญาอันยิ่ง ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 506

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน มีข้อ

ที่เรากล่าวไว้ว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คืออวิชชา

และภวตัณหา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือสมถะ

และวิปัสสนา เหล่านี้ชื่อว่าธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.

ภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน คือ

วิชชาและวิมุตติ เหล่านี้ ชื่อว่าธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ สฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 507

อรรถกถามหาสฬายตนสูตร

มหาสฬายตนสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ในพระสูตรนั้น คำว่า มหาสฬายตนิก เป็นธรรมบรรยายส่อง

ถึงอายตนะที่สำคัญทั้ง ๖ อย่าง. คำว่า เมื่อไม่รู้ คือไม่รู้ด้วยมรรคที่พร้อมกับ

วิปัสสนา. คำว่า ถึงความพอกพูน คือย่อมถึงความเจริญ หมายความ

ว่า ย่อมถึงความชำนิชำนาญ คำว่า ทางกาย ได้แก่ ความกระสับกระส่าย

ทางทวารทั้ง ๕. คำว่า ทางใจ ได้แก่ ความกระสับกระส่ายทางมโนทวาร.

แม้ในคำว่า ความเร่าร้อน เป็นต้น ก็ทำนองเดียวกันนี้เหมือนกัน. บทว่า สุข

ทางกาย ได้แก่ สุขทางทวาร ๕. คำว่า สุขทางใจ ได้แก่สุขทางมโนทวาร.

และในคำว่า สุขทางใจ นี้ ไม่มีการเข้าหรือการออกด้วยชวนะทางทวาร ๕. คือ

ความสุขทางใจนี้สักว่าเกิดขึ้นเท่านั้นเอง. ทุกอย่างย่อมมีได้ทางมโนทวาร.

ก็แหละวิปัสสนาที่มีกำลังนี้ย่อมเป็นปัจจัยแก่มรรควุฏฐาน. วิปัสสนาที่มีกำลังนั้น

จึงมีได้ทางมโนทวารเหมือนกัน .

คำว่า ตถาภูตสฺส คือ เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความสุขทางใจ ที่

ประกอบพร้อมด้วยกุศลจิต. คำว่า ปุพฺเพว โข ปนสฺส คือ วาจา

การงานและอาชีพ ของภิกษุนั้น ชื่อว่า สะอาดมาก่อนแล้ว คือย่อมเป็นของ

หมดจดตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนอีก ๕ องค์ คือความเห็น ความดำริ ความพยายาม

ความระลึก ความตั้งมั่น ชื่อว่าเป็นองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณี. ด้วยประการ

ฉะนี้ โลกุตตรมรรค จึงมีองค์ ๘ หรือองค์ ๗ ก็ได้. ส่วนผู้ที่ชอบพูดเคาะ

(แซว) จับเอาเนื้อพระสูตรนี้แหละว่า ความเห็นของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้นใด

๑. บาลี เป็นสฬายตนวิภังคสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 508

แล้วกล่าวว่า โลกุตตรมรรคมีองค์ ๕ ก็ไม่มี. พึงคัดค้านผู้ชอบพูดเคาะนั้น

ด้วยคำพูดสวนทันควันนี้ว่า อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ของเธอนี้ ย่อมถึง

ความบริบูรณ์แห่งการอบรมด้วยอาการอย่างนี้. และก็พึงให้ตกลงยิ่ง ๆ ขึ้นไป

อย่างนี้ . ขึ้นชื่อว่าโลกุตตรมรรคนั้นมีองค์ ๕ ไม่มีหรือก็ส่วนองค์ที่สนับสนุนใน

ทุกกรณีเหล่านี้ ย่อมให้เต็มด้วยอำนาจวิรติเจตสิกในขณะแห่งมรรค เพราะว่า

วิรติเจตสิกในวิรติเจตสิกที่กล่าวอย่างนี้ว่า ความงดเว้นจากวจีทุจริตทั้ง ๔ อัน

ใด ย่อมละการพูดผิด ทำการพูดชอบให้เจริญ เมื่ออบรมวาจาชอบ

อยู่อย่างนี้ องค์ทั้ง ๕ ก็ไม่ขาดตกบกพร่อง ย่อมบริบูรณ์พร้อมกับความงดเว้น

นั้นเอง. แม้ในการงานชอบและในการเลี้ยงชีพชอบก็ทำนองนี้แหละ. ด้วย

ประการฉะนี้ วจีกรรมเป็นต้น ก็เป็นของหมดจดตั้งแต่แรกเริ่มทีเดียว.

ส่วนองค์ที่สนับสนุนในทุกกรณีทั้ง ๕ เหล่านั้นย่อมบริบูรณ์ด้วยอำนาจ

วิรติเจตสิก. จึงเป็นอันว่า มรรคที่มีองค์ ๕ ไม่มี. และแม้ในสุภัททสูตร

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ว่า สุภัททะในธรรมวินัยใดแล มีอริยมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘. และพระสูตรอื่นทั้งหลายร้อยสูตร ก็มาแล้วแต่มรรคที่

มีองค์ ๘ เท่านั้น. คำว่า สติปัฏฐานแม้ ๔ อย่าง คือสติปัฏฐาน ๔

ที่ประกอบพร้อมด้วยมรรคนั่นเอง. แม้ในความพยายามชอบเป็นต้น ก็ทำนอง

เดียวกันนี้แหละ. คำว่า ยุคนทฺธา คือ คู่เคียง ประกอบด้วยขณะเดียวกัน.

ธรรมะเหล่านั้น แม้จะมีขณะต่างกันอย่างนี้ คือ ในขณะหนึ่งเป็นสมาบัติ

ในขณะอื่นเป็นวิปัสสนา. แต่ในอริยมรรค ธรรมเหล่านั้นประกอบในขณะ

เดียวกัน. คำว่า วิชชา และ วิมุตติ ได้แก่วิชชาในอรหัตตมรรค และ

ผลวิมุตติ. คำที่เหลือทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามหาสฬายตนสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

๘. นครวินเทยยสูตร

[๘๓๒] ข้าพเจ้าได้สดับอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงแวะยังบ้านพราหมณ์แห่งโกศลชนบทชื่อว่านคร

วินทะ พวกพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะได้ทราบข่าวว่า พระสมณะผู้

ศากยบุตรเสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว เสด็จจาริกไปในโกศลชน-

บทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงบ้านนครวินทะโดยลำดับ พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์งามฟุ้งไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดัง

นี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้เองโดยชอบ

ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่

ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น

ผู้ตื้นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทำให้แจ้งด้วยปัญญา

อันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์ทั้งสมณะและ

พราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้รู้ทั่ว ทรงแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น

ในท่ามกลาง ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ทรงประกาศพรหมจรรย์

บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็น

การดีแล ครั้งนั้นแล พราหมณ์ คฤหบดีชาวบ้านนครวินทะ พากันเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ครั้นแล้วบางพวกถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประณมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตรใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกมี

อาการเฉย ๆ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ว่าด้วยความเป็นผู้ไม่ควรสักการะ

[๘๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพราหมณ์คฤหบดีชาวบ้านนคร

วินทะผู้นั่งเรียบร้อยแล้วดังนี้ว่า คฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถาม

ท่านทั้งหลายอย่างนี้ว่า คฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร ไม่ควรสักการะ

เคารพ นับถือ บูชา ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูป

ที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ

ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ

เคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเราก็ยังมีความกำหนัด

ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในรูป ที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิต

ไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อ

เราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป

ดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ

บูชา.

สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความ

ลุ่มหลง ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต ไม่ไปปราศแล้ว...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความ

ลุ่มหลง ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ไม่ไปปราศแล้ว ...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความ

ลุ่มหลง ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา ไม่ไปปราศแล้ว ...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความ

ลุ่มหลง ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ไม่ไปปราศแล้ว...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความ

ลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน

ยังพระพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้

ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเรา

ก็ยังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลงในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน

ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย

ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความพระพฤติสงบของสมณ-

พราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึง

ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่ปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด.

[๘๓๔] ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่าน

ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร ควรสักการะ

เคารพ นับถือ บูชา ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความลุ่มหลง

ในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุแล้ว มีจิตสงบแล้วภายใน ประพฤติสงบทางกาย ทางวาจา

ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นั่น

เพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเรายังมีความกำหนัด ความขัดเคือง ความ

ลุ่มหลงในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ ไม่ไปปราศแล้ว ยังมีจิตไม่สงบภายใน ยัง

ประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ ก็เมื่อเราทั้งหลายเห็น

แม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้นที่ยิ่งขึ้นไป ดังนี้ ฉะนั้น

ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ

ลุ่มหลง ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสตแล้ว...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ

ลุ่มหลง ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะแล้ว...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ

ลุ่มหลง ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหาแล้ว ...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ

ลุ่มหลง ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายแล้ว...

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ

ลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนแล้ว มีจิตสงบแล้วภายใน ประพฤติสงบ

ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ควรสักการะ เคารพ

นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเรายังมีความกำหนัด ความ

ขัดเคือง ความลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมี

จิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่

ก็เมื่อเราทั้งหลายเห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้น ที่ยิ่งขึ้นไป

ดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ

บูชา ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์

แก่ปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด.

ว่าด้วยอาการและอันวยปัญหา

[๘๓๕] ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่าน

ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ก็อาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายเช่นไร

จึงเป็นเหตุให้พวกท่านกล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ

เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศราคะแน่ เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว

หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโมหะแน่ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์

อย่างนี้ว่า ความจริง ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมเสพเฉพาะเสนาสนะอันสงัด คือ

ป่าดง เป็นที่ไม่มีรูปอันรู้ได้ด้วยจักษุ ซึ่งคนทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จะพึงยินดี

เช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีเสียงอันรู้ได้ด้วยโสต ซึ่งคนทั้งหลายพึงแล้ว ๆ จะพึง

ยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีกลิ่นอันรู้ได้ด้วยฆานะ ซึ่งคนทั้งหลายดมแล้ว ๆ

จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีรสอันรู้ได้ด้วยชิวหา ซึ่งคนทั้งหลายลิ้มแล้ว ๆ

จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีโผฏฐัพพะอันรู้ได้ด้วยกาย ซึ่งคนทั้งหลาย

สัมผัสแล้ว ๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย นี้แลอาการและความเป็นไปของท่านผู้มี

อายุทั้งหลายของพวกข้าพเจ้า ซึ่งเป็นเหตุให้พวกข้าพเจ้ากล่าวถึงท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลายได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือ

ปฏิบัติเพื่อนำปราศราคะแน่ เป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำ

ปราศโทสะแน่ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโมหะแน่

ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่

ปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด.

[๘๓๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์คฤหบดี

ชาวบ้านนครวินทะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว

พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดย

ปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอก

ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูป

ทั้งหลายได้ ฉะนั้น พวกข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม

และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำพวกข้าพระองค์

ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

จบ นครวินเทยยสูตร ที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 514

อรรถกถานครวินเทยยสูตร

นครวินเทยยสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับแล้วอย่างนี้:-

ในสูตรนั้น คำว่า สมวิสม จรนฺติ ได้แก่ บางครั้งก็ประพฤติ

เรียบร้อย บางครั้งก็ไม่เรียบร้อย. คำว่า สมจริยปิ เหต ตัดบทเป็น

สมจริยปิ หิ เอต แปลว่า ก็แหละแม้นี้ ก็เป็นความพระพฤติที่เรียบร้อย.

คำว่า อาการเหล่าไหน คือเหตุเหล่าไหน. คำว่า เก อนฺวยา แปลว่า อะไร

ที่พึงตามรู้. ทำไมท่านจึงว่า ก็แหละในป่าดงนั้นไม่มีเลย กามคุณ ๕ มีรูป

เป็นต้น ที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ด้วยอำนาจหญ้าเขียว และป่าจำปาเป็นต้นก็มีอยู่ในป่า

มิใช่หรือ. ไม่ใช่ไม่มี. แต่คำนี้ ท่านไม่ได้แสดงด้วยป่าดง. หากแต่ท่านหมาย

เอารูปผู้หญิงเป็นต้น จึงกล่าวคำนี้. ก็รูปของผู้หญิงเป็นต้นเหล่านั้น ยึดจิต

ของผู้ชายแล้วตั้งอยู่. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย

เราเองยังไม่มองเห็นรูปอย่างอื่นแม้สักรูปเดียวที่ยึดจิตชายตั้งอยู่อย่างนี้ เหมือน

รูปหญิงนี้เลยนะ ภิกษุทั้งหลาย รูปผู้หญิงยึดจิตชายแล้วตั้งอยู่ พึงขยายให้

พิสดาร. คำที่เหลือทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถานครวินเทยยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 515

๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

[๘๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคย

เป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล

ท่านพระสารีบุตรออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ยังที่ประทับถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า สารีบุตร เธอมีอินทรีย์

ผ่องใส มีผิวพรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง เธออยู่ด้วยวิหารธรรมอะไรเป็นส่วนมาก

ในบัดนี้.

ท่านพระสารีบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อยู่ด้วย

วิหารธรรมคือสุญญตสมาบัติแลเป็นส่วนมากในบัดนี้.

[๘๓๘] พ. สารีบุตร ดีละ ๆ เป็นอันว่าเธออยู่ด้วยวิหารธรรมของ

มหาบุรุษเป็นส่วนมากในบัดนี้ เพราะวิหารธรรมของมหาบุรุษนี้ก็คือสุญญต-

สมาบัติ เพราะฉะนั้นแล สารีบุตร ภิกษุถ้าหวังว่าจะอยู่ด้วยวิหารธรรมคือ

สุญญตสมาบัติเป็นส่วนมาก ภิกษุนั้นพึงพิจารณาดังนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาต

ยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้าน

ทางใด ในทางและประเทศนั้น ๆ เรามีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือ

ความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในรูปที่รู้

ได้ด้วยจักษุบ้างไหม สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไป

บิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑ-

บาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้น ๆ เรามีความพอใจ หรือความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 516

กำหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่ง

ทางใจในรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุอยู่ ภิกษุนั้นพึงพยายามละอกุศลธรรมอันลามกเหล่า

นั้นเสีย สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยัง

บ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้าน

ทางใด ในทางและประเทศนั้น ๆ เราไม่มีความพอใจ หรือความกำหนัด

หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในรูป

ที่รู้ได้ด้วยจักษุ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ใน

กุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ได้ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๓๙] สารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เรา

เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจาก

บิณฑบาตแต่บ้านทางใด ในทางและประเทศนั้น ๆ เรามีความพอใจ หรือ

ความกำหนัด หรือความขัดเคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบ

กระทั่งทางใจในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต... ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ ... ในรสที่รู้

ได้ด้วยชิวหา... ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย... ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน

บ้างไหม สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน

ทางใด เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด

ในทางและประเทศนั้น ๆ เรามีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือความขัด

เคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในธรรมารมณ์ที่รู้

ได้ด้วยมโนอยู่ ภิกษุนั้นพึงพยายามละอกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นเสีย สารี

เที่ยวบิณฑบาตไปในประเทศใด และกลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทางใด ใน

ทางและประเทศนั้น ๆ เราไม่มีความพอใจ หรือความกำหนัด หรือความขัด

เคือง หรือความลุ่มหลง หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจในธรรมารมณ์ที่รู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 517

ได้ด้วยมโน ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศล

ธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นและ.

[๘๔๐] สารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เรา

ละกามคุณ ๕ ได้แล้วหรือหนอ สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เรา

ยังละกามคุณ ๕ ไม่ได้เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามละกามคุณ ๕ สารีบุตร แต่ถ้า

ภิกษุพิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราละกามคุณ ๕ ได้แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษา

เนือง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและ

ปราโมทย์นั้นนั่นแล.

ว่าด้วยนีวรณปัญหา

[๘๔๑] สารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เรา

ละนีวรณ์ ๕ ได้แล้วหรือหนอ ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังละ

นีวรณ์ ๕ ไม่ได้เลย ภิกษุนั้น พึงพยายามละนีวรณ์ ๕ สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุ

พิจารณาอยู่รู้อย่างนี้ว่า เราละนีวรณ์ ๕ ได้แล้ว ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ

ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้น

นั่นแล.

[๘๔๒] สารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เรา

กำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้วหรือหนอ สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้

อย่างนี้ว่า เรายังกำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ไม่ได้เลย ภิกษุนั้นพึงพยายาม

กำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรา

กำหนดรู้อุปาทานขันธ์ ๕ ได้แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ ทั้งกลางวัน

และกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นและ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 518

[๘๔๓] สารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เรา

เจริญสติปัฏฐาน ๘ แล้วหรือหนอ สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า

เรายังไม่ได้เจริญสติปัฏฐานเลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญสติปัฏฐาน ๔

สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว

ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๔๔] สารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า เรา

เจริญสัมมัปปธาน ๔ แล้วหรือหนอ สารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้

ว่าเรายังไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน ๔ เลยภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญสัมมัปปธาน ๔

สารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญสัมมัปปธาน ๔ แล้ว

ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๔๕] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า

เราเจริญอิทธิบาท ๘ แล้วหรือหนอ ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่

รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญอิทธิบาท ๔ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญอิทธิ

บาท ๔ ดูก่อนสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญอิทธิ-

บาท ๔ แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ใน

กุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

ว่าด้วยอินทริยปัญหา

[๘๔๖] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า

เราเจริญอินทรีย์ ๕ แล้วหรือหนอแล ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่

รู้อย่างนี้ว่าเรายังไม่ได้เจริญอินทรีย์ ๕ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญอินทรีย์ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 519

ดูก่อนสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญอินทรีย์ ๕ แล้ว

ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๔๗] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า

เราเจริญพละ ๕ แล้วหรือหนอ ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า

เรายังไม่ได้เจริญพละ ๕ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญพละ ๕ ดูก่อนสารีบุตร

แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญพละ ๕ แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้

ศึกษาเนือง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและ

ปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๔๘] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า

เราเจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วหรือหนอ ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่

รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญโพชฌงค์ ๗ เลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญ

โพชฌงค์ ๗ ดูก่อนสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญ

โพชฌงค์ ๗ แล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน

ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๔๙] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า

เราเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐแล้วหรือหนอ ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุ

พิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐเลย

ภิกษุนั้น พึงพยายามเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐ ดูก่อนสารีบุตร แต่ถ้า

ภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เราเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐแล้ว ภิกษุ

นั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย

อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๕๐] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า

เราเจริญสมถะและวิปัสสนาแล้วหรือหนอ ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 520

รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้เจริญสมถะและวิปัสสนาเลย ภิกษุนั้นพึงพยายามเจริญ

สมถะและวิปัสสนา ดูก่อนสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรา

เจริญสมถะและวิปัสสนาแล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ ทั้งกลางวันและ

กลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๕๑] ดูก่อนสารีบุตร ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุพึงพิจารณาดังนี้ว่า

เราทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้งแล้ว หรือหนอแล ดูก่อนสารีบุตร ถ้าภิกษุพิจารณา

อยู่ รู้อย่างนี้ว่า เรายังไม่ได้ทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้งเลย ภิกษุนั้นพึงพยายาม

ทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้ง ดูก่อนสารีบุตร แต่ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้อย่างนี้ว่า

เราทำวิชชาและวิมุตติให้แจ้งแล้ว ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ศึกษาเนือง ๆ ทั้งกลางวัน

และกลางคืนในกุศลธรรมทั้งหลาย อยู่ด้วยปีติและปราโมทย์นั้นนั่นแล.

[๘๕๒] ดูก่อนสารีบุตร ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ผู้ทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ แล้วในอดีตกาล ทั้งหมดนั้น พิจารณาแล้ว ๆ อย่างนี้

เทียว จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ผู้จักทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ในอนาคตกาล ทั้งหมดนั้น ต้องพิจารณาแล้ว ๆ

อย่างนี้เทียว จึงจักทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้ สมณะหรือพราหมณ์เหล่า

ใดเหล่าหนึ่ง ผู้กำลังทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์อยู่ในบัดนี้ ทั้งหมดนั้น ย่อม

พิจารณาแล้ว ๆ อย่างนี้เทียว จึงทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ได้ เพราะฉะนั้นแล

พวกเธอพึงสำเหนียกว่า จักพิจารณาแล้ว ๆ ทำบิณฑบาตให้บริสุทธิ์ ดูก่อน

สารีบุตร พวกเธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

จบ ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 521

อรรถกถาปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร

บิณฑปาทปาริสุทธิสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

ในบทเหล่านั้น คำว่า จากการหลีกเร้น คือจากผลสมาบัติ. คำว่า

ผ่องใสแล้วนี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจโอภาส. จริงอยู่ภิกษุที่ออกจากผลสมาบัติ

มีโอภาสที่ประสาททั้ง ๕ ทั้งอยู่ผ่องใสผิวพรรณก็หมดจด เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวอย่างนั้น. คำว่า ด้วยสุญญตวิหาร คือด้วยธรรมเครื่องอยู่ คือ

ผลสมาบัติที่มีความว่างเปล่าเป็นอารมณ์. คำว่า มหาปุริสวิหาร ได้แก่

ธรรมเครื่องอยู่ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกผู้ใหญ่ของ

พระตถาคตเจ้าผู้เป็นมหาบุรุษ. ในคำเป็นต้น ว่า เยน จาห มคฺเคน ได้แก่

ทางที่เริ่มตั้งแต่วัดไปจนถึงเสาเขื่อนแห่งบ้าน นี้ชื่อว่าทางเข้า. ประเทศที่เข้าไป

ภายในหมู่บ้านเที่ยวไปตามลำดับเรือนจนถึงออกทางประเมือง นี้ชื่อว่าประเทศ

ที่พึงเที่ยวไป. ตั้งแต่นอกเสาเขื่อนมาจนถึงวัด นี้ชื่อว่าทางกลับ. คำว่า

หรือแม้ความกระทบกระทั่งทางใจ ความว่า อะไร ๆ ที่เกิดจากกิเลส

เหตุให้กระทบกระทั่งจิต มีหรือไม่มี. คำว่า ผู้ศึกษาเนื่อง ๆ ทั้งกลางวัน

และกลางคืน คือผู้ตามศึกษาอยู่ตลอดวันและตลอดคืน.

ในคำเป็นต้นว่า เราละกามคุณ ๕ แล้วหรือหนอแล ความว่า

การพิจารณาของภิกษุรูปหนึ่งก็แตกต่างกันไป. การพิจารณาของภิกษุอื่น ๆ

ก็ไม่เหมือนกัน. อย่างไร. จริงอยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง กลับมาจากบิณฑบาต

ในปัจฉาภัตเก็บบาตรจีวรมานั่งในโอกาสอันเงียบสงัด แล้วพิจารณาอยู่ว่า เรา

ได้ละกามคุณ ๕ แล้วหรือหนอแล. เธอทราบว่ายังละไม่ได้ จึงประคองความเพียร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 522

ถอนราคะที่เกี่ยวกับกามคุณทั้ง ๕ ด้วยอนาคามิมรรค ออกจากนั้นแล้วก็พิจารณา

ผลถัดจากมรรค พิจารณามรรคถัดจากผลอยู่ รู้ดีว่า ละได้แล้ว. แม้ในนีวรณ์

เป็นต้น ก็นัยเดียวกันนี้แหละ. แต่การละนีวรณ์เหล่านี้ เป็นต้น ย่อมมีด้วย

อรหัตมรรค. การพิจารณาต่างๆของภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมมีด้วยวิธีนี้. สำหรับ

ในการพิจารณาเหล่านี้ ภิกษุรูปอื่นย่อมพิจารณาหลักสำหรับ พิจารณาอย่างหนึ่ง

ภิกษุรูปอื่นก็อีกอย่างหนึ่ง ดังกล่าวมานี้. การพิจารณาต่าง ๆ ของภิกษุต่างรูป

กัน ย่อมมีด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือทุกแห่งตื้นแล.

จบอรรถกถาปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร ที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 523

๑๐. อินทริยภาวหาสูตร

[๘๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา

ครั้งนั้นแล อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการทัก

ทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

[๘๕๔] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามดังนี้ว่า

อุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า

อุ. แสดง พระโคดมผู้เจริญ.

พ. อุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด.

อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดง

การเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยิน

เสียงด้วยโสต.

พ. อุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของ

ปาราสิริยพราหมณ์ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอด

ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแล้วอย่างนี้ อุตตรมาณพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นั่งนิ่ง เก้อเขิน

คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ.

[๘๕๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อุตตรมาณพ

ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับ

สั่งกะท่านพระอานนที่ว่า อานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงการเจริญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 524

อินทรีย์ แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่ง

กว่าในวินัยของพระอริยะ ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง.

ท่านพระอานนที่ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต เป็นการ

สมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่น

ยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ ภิกษุทั้งหลายพึงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จัก

ทรงจำไว้.

พ. อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป

ท่านพระอานนที่ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

[๘๕๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า อานนท์ ก็การเจริญ

อินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่

ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ

ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและมีชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็น

สังขตะ หยาบอาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา

เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อัน

เกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความ

ชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่าง

นี้ ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากเหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา ฉะนั้น

อุเบกขาย่อมดำรงมั่น อานนท์นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ได้

ด้วยจักษุ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.

[๘๕๗] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ

ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต เธอ

รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 525

ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยัง

มีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่

ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึง

ดำรงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง

ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่

ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น อานนท์

นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า

ในวินัยของพระอริยะ.

ว่าด้วยการเจริญอินทรีย์

[๘๕๘] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ

ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ เธอรู้ชัด

อย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ

ขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่

ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง

ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจ

และไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้ว อย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือน

อย่างหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง ฉะนั้น

อานนท์ เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ. อย่างไม่มี

วิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.

[๘๕๙] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ

ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา เธอรู้ชัด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 526

อย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ

ขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้น แลเป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่

ละเอียด ประณีต นั้น คืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ

ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น

อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจ

และไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที เคยไม่ลำบาก เหมือน

อย่างบุรุษมีกำลังตล่อมก้อนเขฬะไว้ตรงปลายลิ้น แล้วถ่มไปโดยไม่ลำบาก

ฉะนั้น อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหา อย่าง

ไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.

[๘๖๐] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ

ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย

เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและ

ไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น

ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั้นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่

ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึง

ดำรงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง

ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ได้โดยเร็วพลันทันที โดย

ไม่ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดโดยไม่

ลำบาก ฉะนั้น อานนท์ นี้เราเรียกว่า กำเจริญอินทรีย์ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้

ด้วยกาย อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.

[๘๖๑] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ

ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอ

รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 527

และไม่ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น

ยังมีสิ่งละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่

ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึง

ดำรงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง

ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก

อย่างนี้ เหมือนบุรุษมีกำลัง หยดหยาดน้ำสองหรือสามหยาดลงในกะทะเหล็ก

ที่ร้อนจัดตลอดวัน ความหยดลงแห่งหยาดน้ำยังช้า ทันทีนั้น หยาดน้ำนั้นจะ

ถึงความสิ้นไป แห้งไปเร็วทีเดียว ฉะนั้น อานนท์ นี้เราเรียกว่า การเจริญ

อินทรีย์ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนอย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัย ของพระ

อริยะ.

อานนท์ อย่างนี้แลเป็นการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัย

ของพระอริยะ.

[๘๖๒] ดูก่อนอานนท์ ก็พระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไร ดูก่อน

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความ

ชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่าย

เกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อัน

เกิดขึ้นแล้วนั้น เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่

ชอบใจ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต... เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ... เพราะ

ลิ้มรสด้วยชิวหา ... เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... เพราะรู้ธรรมารมณ์

ด้วยมโน... เธอย่อมอึดอัด เบื่อหน่ายเกลียดชังความชอบใจ ความไม่ชอบ

ใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้น ดูก่อนอานนท์ อย่าง

นี้แล ชื่อว่าพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 528

[๘๖๓] ดูก่อนอานนท์ ก็พระอริยะผู้เจริญอินทรีย์แล้ว เป็นอย่างไร

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง

ความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอถ้าหวังว่าจะมีความ

สำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญ ในสิ่งนั้น ๆ

ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของ

ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้า

หวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่า เป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อม

เป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความ

สำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญ

ในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและ

ไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้น ๆ

อยู่อย่างนี้สติสัมปชัญญะได้.

[๘๖๘] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ

ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต...

เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ... เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา... เพราะถูกต้องโผฏ-

ฐัพพะด้วยกาย... เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน เธอ ถ้าหวังว่าจะมีความ

สำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้น ๆ

ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นของ

ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้า

หวังว่าจะมีความสำคัญในสิ่งทั้งปฎิกูลและไม่ปฎิกูลว่าเป็นของไม่ปฎิกูลอยู่ ก็

ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะมี

ความสำคัญในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูลและปฏิกูลว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมมีความสำคัญ

ในสิ่งนั้น ๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้ ถ้าหวังว่าจะวางเฉยเว้นเสียซึ่งสิ่งปฏิกูลและ

ไม่ปฏิกูลทั้งสองนั้น อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 529

อยู่อย่างมีสติสัมปชัญญะได้ ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะผู้เจริญ

อินทรีย์แล้ว.

[๘๖๕] ดูก่อนอานนท์ เราแสดงการเจริญอินทรีย์อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่ง

กว่าในวินัยของพระอริยะ แสดงพระเสขะผู้ยังปฏิบัติอยู่ แสดงพระอริยะผู้เจริญ

อินทรีย์แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนอานนท์ กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหา

ประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์ อาศัยความอนุเคราะห์พึงทำแก่สาวกทั้งหลาย

กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ ดูก่อนอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอ

ทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าได้ประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือนร้อนในภายหลัง นี้

เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนที่จึงชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าฉะนี้แล.

จบ อินทรียภาวนาสูตร ที่ ๑๐

จบ สฬายตนวรรค ที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 530

อรรถกถาอินทริยภานาสูตร

อินทริยภาวนาสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

ในพระสูตรนั้น คำว่า ใน ชังกลา คือในจังหวัดมีชื่ออย่างนั้น.

คำว่า ที่ป่าไผ่ ได้แก่ ต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อเวฬุ (คือต้นไผ่). มีชัฎป่าใหญ่ที่ต้น

เวฬุเหล่านั้นปกคลุมแล้ว ประทับอยู่ในราวป่านั้น. คำว่า ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ

ไม่ยินเสียงด้วยโสต ท่านกล่าวอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดง

อย่างนี้ว่า ไม่พึงดูรูปด้วยตา ไม่พึงฟังเสียงด้วยหู. พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ

จะทรงแสดงการอบรมอินทรีย์ที่ไม่เหมือนในศาสนาของพระองค์จึงได้ทรงทำ

อาลัยด้วยบทนี้ว่า ในวินัยของพระอริยเจ้าเป็นอย่างอื่น. ท่านพระอานนที่

คิดว่า พระศาสดาทรงแสดงอาลัย เอาละเราจะขอให้ทรงกระทำถ้อยคำเกี่ยวกับ

การอบรมอินทรีย์ แก่หมู่ภิกษุในบริษัทนี้แล้ว เมื่อจะทูลขอร้องพระศาสดา

จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า เอตสฺส ภควา. ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

จะทรงแสดงการอบรมอินทรีย์แก่ท่าน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ถ้าอย่างนั้น

อานนท์. ในพระสูตรนั้น คำว่า นี้คืออุเบกขา คือ ชื่อว่าวิปัสสนูเปกขา

นี้ใด วิปัสสนูเปกขานี้สงบระงับ วิปัสสนูเปกขานี้ประณีต อธิบายว่า ไม่ทำให้

เดือนร้อน. ภิกษุนี้ ไม่ให้จิตพอใจในอารมณ์ที่น่าปรารถนาในรูปารมณ์ ในจักษุ

ทวาร ไม่พอใจในอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา และพอใจไม่พอใจในอารมณ์

กลาง ๆ ไม่ให้เพื่อกำหนัด เพื่อประทุษร้าย หรือเพื่อหลงใหลแก่จิตนั้น

กำหนดเอาแล้ว ตั้งวิปัสสนาในความเป็นกลาง. คำว่า ผู้มีดวงตา คือมีจักษุ

สมบูรณ์ มีดวงเนตรหมดจด. จริงอยู่ ผู้ที่เจ็บตาจะลืมหรือหลับตาไปข้างบน

๑. บาลี กชฺชงฺคา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 531

ไม่ได้. เพราะฉะนั้นจึงไม่ถือเอาคนนั้น. คำว่า อีสกโปเณ คือ ชูขึ้นตั้ง

อยู่เหมือนงอนรถ.

ในคำว่า เป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งน่าเกลียดว่าไม่น่าเกลียด

เป็นต้น ด้วยการแผ่เมตตาหรือด้วยการเอาธาตุมาเทียบเคียงกัน ในสิ่ง

ที่น่าเกลียด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่น่าเกลียดได้. ด้วยการแผ่ความ

ไม่งาม หรือด้วยการน้อมเข้าไปด้วยความเป็นของไม่เที่ยง ในสิ่งที่ไม่น่าเกลียด

ก็จะเป็นผู้มีความสำคัญ ว่าน่าเกลียดได้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล. เมื่อเว้นสิ่ง

ทั้งสองส่วนนั้นได้เด็ดขาดอย่างยิ่งแล้ว เป็นผู้วางตัวเป็นกลาง ใคร่เพื่อจะอยู่

ทำอะไร. เมื่อสิ่งน่าปรารถนา และสิ่งไม่น่าปรารถนามาสู่คลอง ก็จะกลาย

เป็นผู้ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย. สมจริงดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสว่า

ภิกษุผู้มีความสำคัญ ในสิ่งที่น่าเกลียดว่าไม่น่าเกลียดอย่างไร คือ ภิกษุ

ย่อมแผ่เมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยเป็นธาตุในวัตถุที่ไม่น่าปรารถนา ภิกษุย่อม

เป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งที่น่าเกลียดว่า ไม่น่าเกลียดอย่างนี้ . ภิกษุมีความสำคัญ

ในสิ่งที่ไม่น่าเกลียดว่าน่าเกลียดอย่างไร คือ ภิกษุแผ่ไปด้วยอสุภ หรือน้อมนำ

เข้าไปโดยความไม่เที่ยง ในวัตถุที่น่าปรารถนา ภิกษุย่อมมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่

น่าเกลียดว่า น่าเกลียดอย่างนี้. ภิกษุเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่งที่น่าเกลียด

และไม่น่าเกลียดว่า ไม่น่าเกลียดอย่างไร คือภิกษุย่อมแผ่เมตตาไป หรือน้อม

เข้าไปโดยความเป็นธาตุ ทั้งในวัตถุที่ไม่น่าปรารถนาและน่าปรารถนา อย่างนี้

ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำคัญ ในสิ่งที่น่าเกลียด และไม่น่าเกลียดว่า ไม่น่าเกลียด.

อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีความมีสำคัญ ในสิ่งที่ไม่น่าเกลียดและน่าเกลียดว่า

น่าเกลียด คือภิกษุแผ่อสุภไปหรือน้อมนำไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในวัตถุ

ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาอย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้มีความสำคัญ ในสิ่งไม่

น่าเกลียดและน่าเกลียดว่าน่าเกลียด. อย่างไรชื่อว่าภิกษุเป็นผู้วางเฉย มีสติสัม-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 532

ปชัญญะ เว้นสิ่งที่น่าเกลียด ไม่น่าเกลียด และสิ่งทั้งสองอย่างนั้น ได้อย่างเด็ดขาด

เป็นอย่างยิ่ง. คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาไม่ยินดี ไม่ยินร้าย เป็น

ผู้เฉย ๆ มีสติสัมปชัญญะ ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย

เป็นผู้เฉย ๆ มีสติสัมปชัญญะ อย่างนี้ชื่อว่า เป็นผู้เว้น สิ่งน่าเกลียดไม่น่าเกลียด

และสิ่งทั้งสองอย่างนั้นได้เด็ดขาดอย่างยิ่ง เป็นผู้เฉย ๆ มีสติสัมปชัญญะอยู่.

ก็แหละความเศร้าหมองคือความพอใจ ไม่พอใจทั้งพอใจและไม่พอใจ

ย่อมใช้ได้ในนัยแรก ในบรรดานัยทั้ง ๓ เหล่านี้ ความไม่เศร้าหมองก็ย่อมใช้ได้.

ในนัยที่ ๒ สังกิเลสย่อมใช้ได้. ในนัยที่ ๓ ความเศร้าหมองย่อมใช้ได้. มีคำที่-

ท่านกล่าวไว้อีกว่า ความเศร้าหมองที่หนึ่งย่อมใช้ได้ ความเศร้าหมองและ

ความไม่เศร้าหมองที่สองก็ใช้ได้ ความไม่เศร้าหมองที่สาม เท่านั้นจึงใช้ได้.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอินทริยภาวนาสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๕

จบอรรถกถาอปุริปัณณาสกสูตรในอรรถกถาปัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี

จบทวิปัณณาสกสุตตันตสังคหัฏฐกถา อันประดับด้วย ๕ วรรค

ก็แลมัชฌิมนิกายที่เรียกว่า ชื่อว่ามหาวิปัสสนานี้ มีความงามสาม

อย่างคือ ชื่อว่ามีความงามในเบื้องต้น เพราะความที่ทรงเริ่มว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราจะแสดงบรรยายรากเง่าของธรรมทั้งปวงแก่ท่านทั้งหลาย ในท่าม

กลาง ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลาง เพราะคำว่า สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ

คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ ชื่อว่างามในที่สุด

เพราะคำว่า พระอริยะ ผู้มีอินทรีย์ที่อบรมแล้ว อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

แล้วนี้ใด มัชฌิมนิกายนั้น เป็นอันจบสมบูรณ์ด้วยอำนาจการขยายความแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 533

คำลงท้าย

แล้วก็ด้วยถ้อยคำมีประมาณเท่านี้ ข้าพเจ้า อันพระคุณท่านพุทธมิตร

เถระ. ผู้มีความรู้ดี เคยอยู่ด้วยกันมาที่ท่ามยูรสูตร ขอร้องแล้ว ได้เริ่มทำ

อรรถกถาชื่อปปัญจสูทนี แห่งมัชฌิมนิกายอันประเสริฐ สำหรับกำจัดวาทะของ

ผู้อื่น ก็แลปปัญจสูทนีนั้น ถือเอาสาระจากมหาอรรถกถาจบลงแล้ว.

ก็อรรถกถาชื่อว่า ปปัญจสูทนีนั่น จบลงแล้วด้วยภาณวารทั้งหลาย

แห่งบาลีประมาณ ๑๐๗. แม้วิสุทธิมรรคอันมีประมาณ ๕๙ อันข้าพเจ้ารจนา

คัมภีร์ไว้ ก็เพื่อประโยชน์แห่งการประกาศเนื้อความ โดยภาณวารทั้งหลาย

เพราะเหตุนั้น อรรถกถานี้พร้อมทั้งวิสุทธิมรรคนั้น ด้วยนัยแห่งการนับคาถา

พึงรู้ว่ามี ๑๖๖ คาถา ว่าโดยภาณวารมีประมาณ ๑๖๖ ภาณวาร ด้วยประการ

ฉะนี้. ข้าพเจ้าถือเอาสาระในมูลอรรถกถา อันประกาศลัทธิแห่งพระเถระผู้อยู่

ในมหาวิหารรจนาอรรถกถานี้ ได้เข้าไปก่อบุญใดไว้ ด้วยบุญนั้น ขอชาวโลก

จงมีสุขทุกเมื่อเถิด.

อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนีนี้ อันพระเถระ ผู้ประดับ

ประดาด้วยความเชื่อ ความรู้และความเพียรที่หมดจดอย่างยิ่ง ผู้อันเหตุให้

เกิดขึ้นพร้อมแห่งคุณ มีศีล อาจาระ ความซื่อตรง และความอ่อนโยนเป็นต้น

ให้เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ผู้สามารถหยั่งลงในรกชัฏ คือลัทธิของคนและลัทธิของ

ผู้อื่น ผู้ประกอบด้วยความรู้แจ่มแจ้งและความเฉลียวฉลาด ผู้มีประภาพแห่ง

ความรู้ที่ไม่มีอะไรหรือใครมาขัดขวางได้ ในศาสนาของพระศาสดา พร้อมทั้ง

อรรถกถาที่แตกต่างด้วยการเล่าเรียนปิฎกสาม เป็นนักไวยากรณ์ผู้ยิ่งใหญ่

ผู้ประกอบด้วยความเพริดพริ้ง แห่งคำพูดที่เปล่งมาไพเราะหวาน ให้เกิดความสุข

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 534

ด้วยการถึงพร้อมแห่งการกระทำ ผู้มีวาทะที่เปล่งอย่างถูกต้อง ผู้ประเสริฐ

กว่าพวกนักพูด เป็นมหากวี ผู้เป็นเครื่องประดับวงศ์ แห่งพวกชาวมหาวิหาร

ผู้เป็นเถระดวงประทีปแห่งเถรวงศ์ ผู้มีความรู้ที่ตั้งมั่นดีแล้ว ในอุตตริมนุสส-

ธรรม ที่ประดับประดาด้วยคุณต่างด้วยอภิญญาหกเป็นต้น มีปัญญาเครื่อง

แตกฉานเฉพาะที่แตกฉานแล้วเป็นบริวาร ผู้มีความรู้หมดจดกว้างขวาง

ผู้มีนามไธยอันพวกครูถือเอาแล้วว่า พุทธโฆษะ ไค้กระทำ (แต่ง) ไว้แล้ว.

แม้พระนามว่า พุทธะ ของพระ-

พุทธเจ้า ผู้มีพระหฤทัยสะอาด ผู้คงที่

ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้แสวงหาคุณอันยิง-

ใหญ่ ยังเป็นไปในโลกอยู่ตราบใด ขอ

ปปัญจสูทนีนี้ แสดงนัยแต่ง ความหมดจด

แห่งความเห็น ของพวกกุลบุตรผู้แสวงหา

คุณ เครื่องรื้อถอนไปจากโลก จงดำรง

อยู่ในโลกตราบนั้น.

ขออรรถกถาชื่อปปัญจสูทนีนี้ เข้า

ถึงสถานอันบริสุทธิ์ปราศจากอันตราย ขอ

ความดำริทั้งหลายอันอาศัยธรรมของเหล่า

สัตว์ จงสำเร็จอย่างนั้น เทอญ.

จบ อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อ ปปัญจสูทนี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 535

รวมพระสูตรในสฬายตนวรรคนี้

๑. อนาถบิณฑิโกวาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๒. ฉันโนวาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๓. ปุณโณวาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๔. นันทโกวาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๕. จูฬราหุโลวาทสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๖. ฉฉักกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๗. สฬายตนวิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๘. นครวินเทยยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๙. ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๑๐. อินทริยภาวนาสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา