ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณสาก์

เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ราชวรรค

๑. ฆฏิการสูตร

[๔๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จแวะออกจากทาง

แล้วได้ทรงแย้มพระสรวลในประเทศแห่งหนึ่ง. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้

มีความคิดว่า เหตุอะไรหนอ ปัจจัยอะไร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแย้ม-

พระสรวล พระตถาคตทั้งหลายจะทรงแย้มพระสรวลโดยหาเหตุมิได้นั้นไม่มี

ดังนี้. ท่านพระอานนท์จึงทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี

ไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ เหตุอะไรหนอ ปัจจัยอะไร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแย้มพระสรวล

พระตถาคตทั้งหลายจะทรงแย้มพระสรวลโดยหาเหตุมิได้นั้นไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

[๔๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เรื่องเคยมีมา

แล้ว ที่ประเทศนี้ได้มีนิคมชื่อเวภฬิคะ เป็นนิคมมั่งคั่งและเจริญ มีคนมาก

มีมนุษย์หนาแน่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าทรงอาศัยเวภฬิคนิคมอยู่. ดูก่อนอานนท์ ได้ยินว่า ที่นี้เป็นพระ

อารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้า. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งตรัสสอนภิกษุสงฆ์ที่นี้.

[๔๐๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ปูผ้าสังฆาฏิสี่ชั้นถวาย แล้ว

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับนั่งเถิด เมื่อเป็นเช่นนี้ ภูมิประเทศนี้จักได้เป็นส่วนที่พระ

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสองพระองค์ทรงบริโภค. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

นั่งบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูถวายแล้ว จึงตรัสกะพระอานนท์ว่า ดูก่อน

อานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในประเทศนี้มีนิคมชื่อเวภฬิคะ เป็นนิคมมั่งคั่ง

และเจริญ มีคนมาก มีมนุษย์หนาแน่น. ดูก่อนอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยเวภฬิคนิคม

อยู่. ได้ยินว่า ที่นี้เป็นพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป

ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม

ว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งตรัสสอนภิกษุสงฆ์ที่นี้.

และในเวภฬิคนิคม มีช่างหม้อชื่อฆฏิการะเป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอุปัฏฐากผู้เลิศ.

มีมาณพชื่อโชติปาละเป็นสหายของช่างหม้อชื่อฆฏิการะ เป็นสหายที่รัก. ครั้งนั้น

ฆฏิการะช่างหม้อเรียกโชติปาลมาณพมาว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

เจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี.

โชติปาลสมาทาน

[๔๐๖] ดูก่อนอานนท์ เมื่อฆฏิการะช่างหม้อกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติ-

ปาลมาณพได้กล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะ

ศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า. ดูก่อนอานนท์ แม้ครั้งที่สอง ฆฏิการะช่างหม้อ

ก็ได้กล่าวกะโชติปาลมาณพว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่า

การที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

สมมติกันว่าเป็นความดี แม้ครั้งที่สอง โชติปาลมาณพก็ได้กล่าวว่า อย่าเลย

เพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้ว

เล่า แม้ครั้งที่สาม ฆฏิการะช่างหม้อก็ได้กล่าวว่า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เรา

จักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี. ดูก่อนอานนท์ แม้ครั้งที่สาม

โชติปาลมาณพก็กล่าวว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระ-

สมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า.

ฆ. เพื่อนโชติปาละ ถ้าอย่างนั้น เรามาถือเอาเครื่องสำหรับสีตัวเมื่อ

เวลาอาบน้ำไปแม่น้ำเพื่ออาบน้ำกันเถิด. โชติปาลมาณพรับคำฆฏิการะช่างหม้อ

แล้ว.

[๔๐๗] ดูก่อนอานนท์ ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาล-

มาณพได้ถือเอาเครื่องสำหรับสีตัวเมื่อเวลาอาบน้ำไปยังแม่น้ำเพื่ออาบน้ำ. ครั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

นั้นแล ฆฏิการะช่างหม้อได้เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ

นี้ก็ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระ-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการ

ที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติ

กันว่าเป็นความดี.

[๔๐๘] ดูก่อนอานนท์ เมื่อฆฏิการะช่างหม้อกล่าวอย่างนี้แล้ว โชติ-

ปาลมาณพได้กล่าวกะฆฏิการะช่างหม้อว่า อย่าเลยเพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์

อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า. แม้ครั้งที่สอง...แม้ครั้งที่

สาม ฆฏิการะช่างหม้อก็ได้เรียกโชติปาลมาณพมากล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ไม่

ไกลพระอารามของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปผู้เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็น

ความดี. แม้ครั้งที่สาม โชติปาลมาณพก็ได้กล่าวกะฆฏิการะช่างหม้อว่า อย่าเลย

เพื่อนฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็น

แล้วเล่า.

[๔๐๙] ดูก่อนอานนท์ ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อได้จับโชติปาล-

มาณพที่ชายพกแล้วกล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ก็ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิด

เพื่อนโชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี. ลำดับนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

โชติปาลมาณพให้ฆฏิการะช่างหม้อปล่อยชายพกแล้วกล่าวว่า อย่าเลยเพื่อน

ฆฏิการะ จะมีประโยชน์อะไรด้วยพระสมณะศีรษะโล้นนั้นที่เราเห็นแล้วเล่า.

ดูก่อนอานนท์ ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อจับโชติปาละผู้อาบน้ำ

ดำเกล้าที่ผมแล้วกล่าวว่า เพื่อนโชติปาละ นี้ไม่ไกลพระอารามของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเถิดเพื่อน

โชติปาละ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระ

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าการที่เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น สมมติกันว่าเป็นความดี. ครั้งนั้น โชติปาล-

มาณพมีความคิดว่า น่าอัศจรรย์หนอท่าน ไม่เคยมีมาหนอท่าน ที่ฆฎิการะ

ช่างหม้อผู้มีชาติต่ำมาจับที่ผมของเราผู้อาบน้ำดำเกล้าแล้ว การที่เราจะไปนี้เห็น

จะไม่เป็นการไปเล็กน้อยหนอ ดังนี้แล้วได้กล่าวกะฆฏิการะช่างหม้อว่า เพื่อน

ฆฏิการะ การที่เพื่อนทำความพยายามตั้งแต่ชักชวนด้วยวาจา จับที่ชายพกจน

ล่วงเลยถึงจับที่ผมนั้น ก็เพื่อจะชวนให้กันไปในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เท่านั้นเองหรือ.

ฆ. เท่านั้นเองเพื่อนโชติปาละ จริงเช่นนั้นเพื่อน ก็การที่เราได้เห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นความดี.

โช. เพื่อนฆฏิการะ ถ้าอย่างนั้น จงปล่อยเถิด เราจักไป.

[๔๑๐] ดูก่อนอานนท์ ครั้นนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพ

ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ แล้วฆฏิการะช่างหม้อถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง. ส่วนโชติปาลมณพได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

พระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย

พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฆฏิการะช่างหม้อนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป

ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้โชติปาลมาณพ

เป็นสหายที่รักของข้าพระพุทธเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรม

แก่โชติปาลมาณพนี้เถิด.

[๔๑๑] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

กัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยังฆฏิการะช่างหม้อและโชติ-

ปาลมาณพให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.

ลำดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา เพลิดเพลินชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มี

พระภาคทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วลุกจาก

อาสนะ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระ

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำประทักษิณแล้วหลีกไป.

[๔๑๒] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น โชติปาลมาณพได้ถามฆฏิการะช่าง

หม้อว่า เพื่อนฆฏิการะ เมื่อท่านฟังธรรมนี้อยู่ และเมื่อเช่นนั้น ท่านจะออก

จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตหรือหนอ.

ฆ. เพื่อนโชติปาละ ท่านก็รู้อยู่ว่า เราต้องเลี้ยงมารดาบิดา ซึ่งเป็น

คนตาบอดผู้ชราแล้วมิใช่หรือ.

โช. เพื่อนฆฏิการะ ถ้าเช่นนั้น เราจักออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

โชติปาลบรรพชาอุปสมบท

[๔๑๓] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อและโชติปาลมาณพ

ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป

ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฆฏิการะ

ช่างหม้อได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้โชติปาลมาณพเป็นสหายที่รัก

ของข้าพระพุทธเจ้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้โชติปาลมาณพนี้บวชเถิด

ดังนี้. โชติปาลมาณพได้บรรพชาอุปสมบทแล้วในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ครั้นเมื่อโชติปาลมาณพ

อุปสมบทแล้วไม่นาน ประมาณกึ่งเดือน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

กัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมนาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ในเวภฬิคนิคมตามควร

แก่พระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จหลีกจาริกไปทางพระนครพาราณสี เสด็จจาริก

ไปโดยลำดับ ถึงพระนครพาราณสีแล้ว.

[๔๑๔] ดูก่อนอานนท์ ได้ยินว่า ในคราวนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่า

อิสิปตนมิคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้น พระเจ้ากาสีทรงพระนาม

ว่ากิกิได้ทรงสดับว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จถึงพระนครพาราณสี ประทับอยู่ ณ ป่า

อิสิปตนมิคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี. ครั้งนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชรับสั่ง

ให้เทียบราชยานที่ดี ๆ แล้วทรงราชยานอย่างดีเสด็จออกจากพระนครพาราณสี

ด้วยราชยานอย่างดี ด้วยราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จไปโดยเท่าที่ยาน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

จะไปได้แล้ว เสด็จลงจากราชยาน เสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๔๑๕] ดูก่อนอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยังพระเจ้ากิกิกาสิราชให้ทรงเห็นแจ้ง

ให้ทรงสมาทาน ให้ทรงอาจหาญ ให้ทรงร่าเริง ด้วยธรรมีกถา. ลำดับนั้น

พระเจ้ากิกิกาสิราชอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ทรงเห็นแจ้ง ให้ทรงสมาทาน ให้ทรงอาจหาญ ให้

ทรงร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตตาหารของหม่อมฉันในวัน

พรุ่งนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ทรงรับด้วยอาการดุษณีภาพ. พระเจ้ากิกิกาสิราชทรงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง

รับนิมนต์แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ ถวายบังคม ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จ

หลีกไป. พอล่วงราตรีนั้นไป พระเจ้ากิกิกาสิราชรับสั่งให้ตกแต่งขาทนีย

โภชนียะอันประณีต ล้วนแต่เป็นข้าวสาลีอันขาวและอ่อน มีสิ่งดำเก็บออก

หมดแล้ว มีแกงและกับเป็นอเนก ในพระราชนิเวศน์ของท้าวเธอ แล้วรับสั่ง

ให้ราชบุรุษไปกราบทูลภัตกาลว่า ได้เวลาแล้ว พระเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จ

แล้ว.

ว่าด้วยเสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์

[๔๑๖] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระนามว่ากัสสปผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

และจีวร เสด็จเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากิกิกาสิราช ประทับนั่ง

บนอาสนะที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. ลำดับนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราช

ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำเพียงพอด้วยของเคี้ยว

ของฉันอันประณีต ด้วยพระหัตถ์ของท้าวเธอ. ครั้นพระผู้มีพระภาคทรง

พระนามว่ากัสสป อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยเสร็จ วางพระหัตถ์จากบาตร

แล้ว พระเจ้ากิกิกาสิราช ทรงถืออาสนะต่ำอันหนึ่ง ประทับ นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงรับการอยู่จำพรรษา ณ เมืองพาราณสี ของหม่อมฉันเถิด

หม่อมฉันจักได้บำรุงพระสงฆ์เห็นปานนี้.

พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า

อย่าเลย มหาบพิตร อาตมภาพรับการอยู่จำพรรษาเสียแล้ว. แม้ครั้งที่สอง. . .

แม้ครั้งที่สาม พระเจ้ากิกิกาสิราชได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับการอยู่จำพรรษา ณ เมืองพาราณสีของหม่อมฉันเถิด

หม่อมฉันจักได้บำรุงพระสงฆ์เห็นปานนี้.

แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมา

สัมพุทธเจ้าก็ตรัสว่า อย่าเลย มหาบพิตร อาตมภาพรับการอยู่จำพรรษาเสียแล้ว.

ครั้งนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชทรงเสียพระทัย ทรงโทมนัสว่า พระผู้มีพระภาค

ทรงพระนามว่า กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงรับการอยู่จำพรรษา ณ

เมืองพาราณสีของเราเสียแล้ว ดังนี้ แล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

มีใครอื่นที่เป็นอุปัฏฐากยิ่งกว่าหม่อมฉันหรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

ว่าด้วยทรงสรรเสริญฆฏิการะ

[๔๑๗] มีอยู่ มหาบพิตร นิคมชื่อเวภฬิคะ ช่างหม้อชื่อฆฏิการะ อยู่

ในนิคมนั้น เขาเป็นอุปัฏฐากของอาตมภาพ นับเป็นอุปัฏฐากชั้นเลิศ พระองค์

แลทรงเสียพระทัยมีความโทมนัสว่า พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสป

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงรับการอยู่จำพรรษาในเมืองพาราณสีของเรา

เสียแล้ว ความเสียใจและความโทมนัสนี้นั้น ย่อมไม่มีและจักไม่มีในช่างหม้อ

ฆฏิการะ ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะแล ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม

พระสงฆ์ เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้น

ขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากน้ำเมาคือสุราและ

เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะ

เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม

ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยะเจ้าใคร่ ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อ

ฆฏิการะ เป็นผู้หมดสงสัยในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทา บริโภคภัตมื้อเดียว ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มี

กัลยาณธรรม ปล่อยวางแก้วมณีและทองคำ ปราศจากการใช้ทองและเงิน

ดูก่อนมหาบพิตร ช่างหม้อฆฏิการะแล ไม่ขุดแผ่นดินด้วยสากและด้วยมือ

ของตน นำมาแต่ดินตลิ่งพังหรือขุยหนูซึ่งมีอยู่ด้วยหาบ ทำเป็นภาชนะแล้ว

กล่าวอย่างนี้ว่า ในภาชนะนี้ ผู้ใดต้องการ ผู้นั้นจงวางถุงใส่ข้าวสาร ถุงใส่

ถั่วเขียว หรือถุงใส่ถั่วดำไว้ แล้วนำภาชนะที่ต้องการนั้นไปเถิด ดูก่อน

มหาบพิตรช่างหม้อฆฏิการะ เลี้ยงมารดาบิดา ผู้ชรา ตาบอด ช่างหม้อฆฏิการะ

เป็นอุปปาติกะ จะปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ห้าประการหมดสิ้นไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

[๔๑๘] ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่นิคมชื่อเวภฬิคะ

นั้นเอง เวลาเช้า อาตมภาพนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปหามารดาบิดา

ของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหน

เสียเล่า. มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อุปัฏฐากของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าวนี้

เอาแกงจากหม้อแกงนี้เสวยเถิด. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น อาตมภาพได้เอา

ข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ลำ-

ดับนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมา

เอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงบริโภคแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.

มารดาบิดาบอกว่า ดูก่อนพ่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเอาข้าวสุกจากหม้อข้าว เอาแกงจากหม้อแกงเสวยแล้ว

เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า เป็น

ลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

กัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา. ดูก่อน

มหาบพิตร ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละ

มารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน.

[๔๑๙] ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่เวภฬิคนิคมนั้น

เอง. ครั้นนั้นในเวลาเช้า อาตมภาพนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปหามารดาบิดา

ของฆฏิการะช่างหม้อถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูเถิด นี่คนหาอาหารไปไหนเสีย

เล่า. มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อตอบว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปัฏฐาก

ของพระองค์ออกไปเสียแล้ว ขอพระองค์จงเอาขนมสดจากกระเช้านี้ เอาแกงจาก

หม้อแกงเสวยเถิด. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น อาตมภาพได้เอาขนมสดจาก

กระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงฉันแล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป. ลำดับนั้น ฆฏิการะ

ช่างหม้อเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมาเอาขนมสดจากกระเช้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

เอาแกงจากหม้อแกงบริโภค แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป. มารดาบิดาบอกว่า ดูก่อน

พ่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรง

เอาขนมสดจากกระเช้า เอาแกงจากหม้อแกงเสวยแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีก

ไป. ครั้งนั้น ฆฎิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า เป็นลาภของเราหนอ เรา

ได้ดีแล้วหนอ ที่พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงคุ้นเคยอย่างยิ่ง เช่นนี้แก่เรา. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่

ละฆฏิการะช่างหม้อตลอดกึ่งเดือน ไม่ละมารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน.

[๔๒๐] ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งหนึ่ง อาตมภาพอยู่ที่เวภฬิคนิคมนั้น

เอง ก็สมัยนั้น กุฏิรั่ว. อาตมภาพจึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เธอทั้งหลายจงพากันไปดูหญิงที่นิเวศน์ของฆฏิการะช่างหม้อ. เมื่อ

อาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ หญ้าที่นิเวศน์ของฆฏิการะช่างหม้อไม่มี มีแต่หญ้าที่มุงหลังคาเรือน

ที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่เท่านั้น. อาตมภาพได้สั่งภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เธอทั้งหลายจงพากันไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือน ที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่

มาเถิด. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้นภิกษุเหล่านั้นได้ไปรื้อหญ้าที่มุงหลังคาเรือน

ที่ฆฏิการะช่างหม้ออยู่มาแล้ว. ลำดับนั้น มารดาบิดาของฆฏิการะช่างหม้อได้

กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือเล่า. ภิกษุทั้งหลายตอบ

ว่า ดูก่อนน้องหญิง กุฎีของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า รั่ว . มารดาบิดาฆฏิการะช่างหม้อได้กล่าวว่าเอาไปเถิดเจ้าข้า

เอาไปตามสะดวกเถิด ท่านผู้เจริญ. ครั้งนั้น ฆฏิการะช่างหม้อเข้าไปหามารดา

บิดาถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ใครมารื้อหญ้ามุงหลังคาเรือนเสียเล่า. มารดาบิดา

ตอบว่า ดูก่อนพ่อ ภิกษุทั้งหลายบอกว่า กุฎีของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า รั่ว. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

ฆฏิการะช่างหม้อมีความคิดเห็นว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ

ที่พระผู้มีพระภาคทรงพระนามว่ากัสสปอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงคุ้นเคย

อย่างยิ่งเช่นนี้แก่เรา. ดูก่อนมหาบพิตร ครั้งนั้น ปีติและสุขไม่ละฆฏิการะช่าง

หม้อตลอดกึ่งเดือนไม่ละมารดาบิดาตลอดเจ็ดวัน. และครั้งนั้น เรือนที่ฆฏิการะ

ช่างหม้ออยู่ทั้งหลังนั้นมีอากาศเป็นหลังคาอยู่ตลอดสามเดือน ถึงฝนตกก็ไม่รั่ว

ดูก่อนมหาบพิตร ฆฏิการะช่างหม้อมีคุณเห็นปานนี้.

กิกิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของฆฏิการะช่างหม้อแล้ว ฆฏิการะ

ช่างหม้อได้ดีแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคุ้นเคยอย่างยิ่งเช่นนี้แก่เขา.

[๔๒๑] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชได้ส่งเกวียน

บรรทุกข้าวสารข้าวปัณฑุมุฑิกสาลีประมาณห้าร้อยเล่ม และเครื่องแกงอัน

สมควรแก่ข้าวสารนั้น ไปพระราชทานแก่ฆฏิการะช่างหม้อ. ครั้งนั้น ราชบุรุษ

ทั้งหลายเข้าไปหาฆฏิการะช่างหม้อแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ นี้ข้าว

สารข้าวปัณฑุมุฑิกสาลีบรรทุกเกวียนประมาณห้าร้อยเล่ม และเครื่องแกงอัน

สมควรแก่ข้าวสารนั้น พระเจ้ากิกิกาสิราชส่งมาพระราชทานแก่ท่านแล้ว จงรับ

ของพระราชทานเหล่านั้นไว้เถิด.

ฆฏิการะช่างหม้อได้ตอบว่า พระราชามีพระราชกิจมาก มีราชกรณียะ

มาก ของที่พระราชทานมานี้ อย่าเป็นของข้าพเจ้าเลย จงเป็นของหลวงเถิด.

[๔๒๒] ดูก่อนอานนท์ เธอจะพึงมีความคิดเห็นว่า สมัยนั้น คนอื่น

ได้เป็นโชติปาลมาณพแน่นอน แต่ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นอย่างนั้น สมัยนั้นเรา

ได้เป็นโชติปาลมาณพ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์

ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.

จบ ฆฏิการสูตร ที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

ราชวรรควรรณนา

อรรถกถาฆฏิการสูตร

ฆฏิการสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในฆฏิการสูตรนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า สิต ปาตฺวากาสิ

ทรงกระทำความแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ดำเนินไปโดยมหามรรคา ทรงตรวจดูภูมิประเทศแห่งหนึ่ง แล้วทรงรำพึงว่า

เมื่อเราประพฤติจริยาอยู่ เคยอยู่ในที่นี้บ้างหรือหนอ ดังนี้ ทรงเห็นว่า เมื่อ

ศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า ที่นี้เป็นนิคมชื่อว่า เวภัลลิคะ ในกาลนั้น เรา

เป็นมาณพชื่อ โชติปาละ เรามีสหายเป็นช่างหม้อชื่อ ฆฏิการะ เรากับนาย

ฆฏิการะนั้นได้กระทำเหตุอันดีไว้อย่างหนึ่งในที่นี้ ความดีนั้นยังปกปิดอยู่ ยัง

ไม่ปรากฏแก่ภิกษุสงฆ์ เอาเถิด เราจะกระทำเรื่องนั้นให้ปรากฏแก่ภิกษุสงฆ์

ทรงดำริดังนี้แล้ว ทรงหลีกออกจากทางประทับยืนอยู่ ณ ประเทศหนึ่งเทียว

ทรงกระทำความแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ ทรงแย้มพระโอษฐ์. พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายย่อมไม่ทรงพระสรวล เหมือนอย่างพวกมนุษย์ชาวโลกีย์ ย่อมตีท้อง

หัวเราะว่า ที่ไหน ที่ไหน ดังนี้. ส่วนการยิ้มแย้มของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ปรากฏเพียงอาการยินดีร่าเริงเท่านั้น. อนึ่ง การหัวเราะนั้นมีได้ด้วยจิตที่เกิด

พร้อมด้วยโสมนัส ๑๓ ดวง. ในบรรดาจิตเหล่านั้น มหาชนชาวโลกย่อมหัวเราะ

ด้วยจิต ๘ ดวง คือ โดยอกุศลจิต ๔ ดวง โดยกามาวจรกุศลจิต ๔ ดวง.

พระเสกขบุคคลย่อมหัวเราะด้วยจิต ๖ ดวง นำจิตที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิฝ่ายอกุศล

ออก ๒ ดวง. พระขีณาสพย่อมยิ้มแย้มด้วยจิต ๕ ดวง คือ ด้วยกิริยาจิตที่เป็น

๑. ฉ เวคะลิงคะ. สี. เวหลิงคะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

สเหตุกะ ๔ ดวง ด้วยกิริยาจิตที่เป็นอเหตุกะ ๑ ดวง. แม้ในจิตเหล่านั้นเมื่อ

อารมณ์มีกำลังมาปรากฏย่อมยิ้มแย้มด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ ๒ ดวง. เมื่อ

อารมณ์ทุรพลมาปรากฏ ย่อมยิ้มแย้มด้วยจิต ๓ ดวง คือ ด้วยทุเหตุกจิต ๒

ดวง ด้วยอเหตุกะ ๑ ดวง. แต่ในที่นี้ จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสอันเป็นมโน

วิญญาณธาตุฝ่ายกิริยาอเหตุกจิตทำให้ความหัวเราะเพียงอาการยินดีร่าเริงให้เกิด

แต่ภวังค์เท่านั้น. อนึ่ง ความแย้มนี้นั้น ถึงมีประมาณเล็กน้อยอย่างนี้ ก็ได้

ปรากฏแก่พระเถระ. ถามว่า ปรากฏอย่างไร. ตอบว่า ธรรมดาในกาลเช่นนั้น

เกลียวรัศมีมีประมาณเท่าต้นตาลใหญ่ รุ่งเรืองแปลบปลาบประดุจสายฟ้ามีช่อตั้ง

๑๐๐ จากพระโอษฐ์ ประหนึ่งมหาเมฆที่จะยังฝนให้ตกในทวิปทั้ง ๔ ตั้งขึ้นจาก

พระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ กระทำประทักษิณพระเศียรอันประเสริฐ ๓ รอบ แล้วก็

อันตรธานหายไป ณ ปลายพระเขี้ยวแก้วนั่นแล. เพราะเหตุนั้นท่านพระอานนท์

ถึงจะเดินตามไปข้างพระปฤษฎางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทราบถึงความ

แย้มพระโอษฐ์ด้วยสัญญานั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า โส ภควนฺต เอตทโวจ นี้ ดังต่อไปนี้

นัยว่า ท่านพระอานนท์ คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ย่อม

ทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ ทรงกระทำการประกาศสัจจธรรมทั้ง ๔ เราจักให้พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าพอพระทัยประทับนั่ง ณ ที่นี้ ภูมิภาคนี้ จักเป็นอันพระพุทธเจ้า

ถึงสองพระองค์ทรงใช้สอย มหาชนจักบูชา ด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้

เป็นต้น จักกระทำเจดีย์สถานบำรุงอยู่ก็จักมีสวรรค์เป็นที่ไปในภายหน้า ดังนี้

แล้ว จึงได้กราบทูลคำว่า ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้

เป็นต้นนั้น.

บทว่า มุณฺฑเกน สมณเกน ความว่า จะเรียกคนศีรษะโล้นว่า

คนโล้นหรือเรียกสมณะว่า สมณะ ย่อมสมควร. ก็แลโชติปาละนี้ระอาอยู่ด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

โวหารที่ตนเรียนแล้ว ในพราหมณสกุล เพราะยังมีญาณไม่แก่กล้าแล้ว จึง

กล่าวอย่างนั้น. บทว่า โสตฺติสินาน ได้แก่ ผงบดที่ทำไว้สำหรับอาบน้ำ.

ที่เคล้าจุณหินสีดังพลอยแดงกับต่างทำแล้วท่านเรียกว่า ผงบด. ซึ่งท่านหมายเอา

กล่าวไว้ว่า เตน โข ปน สมเยน ฉพฺพคฺคิยา ภิกฺขู กุรุวินฺทิยสุตฺติกาย

นหายนฺติ ก็ครั้งนั้นแล ภิกษุฉัพพัคคีย์ อาบน้ำด้วยผงหินแดงสำหรับขัดสีตัว.

สหายทั้งสองนั้นถือเอาผงหินแดงสำหรับขีดสีตัวนั้นไปขัดสีตัว. บทว่า เอว

สมฺม ความว่า แม้ในปัจจุบันนี้ พวกมนุษย์ มิใครชวนว่า พวกเราไปไหว้

พระเจดีย์ ไปฟังธรรมกันเถอะ จะไม่กระทำความอุตสาหะ แต่ใคร ๆ ชวนว่า

พวกเราไปดูฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น กันเถอะ ดังนี้ จะรับคำด้วยการชักชวน

เพียงครั้งเดียวฉันใด โชติปาละก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อฆฏิการะชวนว่า ไป

อาบน้ำกันเถอะ ก็รับคำด้วยการชวนคำเดียว จึงตอบไปอย่างนั้น.

บทว่า โซติปาล มาณว อามนฺเตสิ ความว่า ฆฏิการะช่างหม้อ

อาบน้ำด้วยการบริหารอย่างดีที่ข้างหนึ่งแล้วขึ้นก่อนยืนรออยู่ เมื่อโชติปาละอาบ

อยู่ด้วยการบริหารอย่างผู้มีอิสริยยศอันใหญ่ จนอาบเสร็จแล้วเรียก โชติปาละ

ผู้นุ่งห่มแล้ว กำลังกระทำผมให้แห้งอยู่. ฆฏิการะเมื่อจะแนะนำจึงกล่าวว่า อย

เพราะโชติปาละมาณพอยู่ใกล้กัน.

บทว่า โอวฏฺฎิก วินิเวเตฺวา ความว่า พระโพธิสัตว์ผู้มีกำลังดุจ

ช้างสารเอนไปหน่อยหนึ่งกล่าวว่า ถอยไปสหาย ให้ฆฏิการะช่างหม้อปล่อยการ

จับที่จับไว้แล้ว. บทว่า เกเสสุ ปรามสิตฺวา เอตทโวจ ความว่า ได้ยิน

ว่า ฆฏิการะนั้น ดำริว่า มาณพโชติปาละนี้ เป็นคนมีปัญญาเมื่อได้เห็นครั้งเดียว

จักเลื่อมใสในการเห็นพระตถาคตด้วย จักเลื่อมใสในธรรมกถาด้วย ธรรมดา

ผู้ที่เลื่อมใสแล้วจักอาจทำอาการที่ได้เลื่อมใส ชื่อว่า มิตรย่อมมีคุณประโยชน์

๑. วิ. จุ ๗/๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

อันนี้ เราจักทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จับสหายผู้เสมอ ไปยังสำนักพระทศพลให้

จงได้ ดังนั้น จึงจับโชติปาลมาณพนั้นที่ผมแล้วได้กล่าวคำนั้น. บทว่า

อิตรชจฺโจ ความว่า ฆฏิการะ มีชาติเป็นอย่างอื่น คือ มีชาติไม่เสมอกัน

กับเรา หมายความว่า มีชาติต่ำ. บทว่า น วตีท นี้ ได้ถึงความตกลงใน

การจับนั่นแหละว่า การจับเรานี้ จักไม่เป็นการจับที่ทราม คือ ไม่ใช่การจับ

ที่เล็กน้อย จักเป็นการจับที่ใหญ่ คือ ฆฏิการะช่างหม้อนี้ มิได้จับด้วยกำลัง

ของตน จับด้วยพระกำลังของพระศาสดา ดังนี้. อักษร หิ อักษร และ

ปิ อักษรในคำว่า ยาวตโทหิปิ นี้ เป็นนิบาต ความว่า เท่านั้นเป็นอย่าง

ยิ่ง. คำนี้มีอรรถาธิบายว่า เรียกด้วยวาจา และจับที่ชายพก เลยไปจนถึงจับ

ผม ควรทำประโยคเพื่อการจับในข้อนั้น. บทว่า ธมฺมิยา กถาย ได้แก่ พึง

ทราบธรรมิกถาที่ปฏิสังยุตด้วยปุพเพนิวาสญาณเพื่อได้เฉพาะซึ่งสติในที่นี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสธรรมกถาเพื่อให้โซติปาละนั้นกลับได้

สติโดยนัยนี้ว่า ดูก่อนโชติปาละ ตัวท่านมิใช่สัตว์ผู้หยั่งลงสู่ฐานะอันต่ำทราม

แต่ท่านปรารถนาสัพพัญญุตญาณหยั่งลง ณ มหาโพธิบัลลังก์ ธรรมดาคนเช่น

ท่านไม่ควรอยู่ด้วยความประมาท ดังนี้. ฝ่ายพระเถระผู้อยู่ ณ สมุทรข้างโน้น

กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมิกถาว่า โชติปาละ เราบำเพ็ญบารมี ๑๐

ประการ ตรัสรู้สัพพัญญุตญาณ มีภิกษุสองหมื่นแวดล้อม เที่ยวไปในโลก

ด้วยประการใด แม้ตัวท่านก็จงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ แทงตลอดสัพพัญญุต-

ญาณ มีหมู่สมณะเป็นบริวาร ท่องเที่ยวไปในโลก ด้วยประการเช่นเดียวอย่าง

นั้นเถิด เราเห็นปานนี้ไม่สมควรจะต้องประมาท ดังนี้ จิตของโชติปาละนั้น

ย่อมน้อมไปในบรรพชาด้วยประการใด ก็ทรงสั่งสอนถึงโทษในกามทั้งหลาย

และอานิสงส์ในการออกบวชด้วยประการนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

บทว่า อลตฺถ โข อนนทฺท ปพฺพชฺช อลตฺถ อุปสมฺปท ความ

ว่า โชติปาลมาณพบวชแล้วได้กระทำอย่างไร ที่ผู้เป็นพระโพธิสัตว์จะพึงกระทำ.

ธรรมดาพระโพธิสัตว์ย่อมบรรพชาในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้ง

หลาย. ก็แลครั้นบวชแล้วย่อมไม่เป็นผู้มีเขาอันตกแล้วดุจสัตว์นอกนี้ ตั้งอยู่

ในจตุปาริสุทธิศีลแล้วเล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก สมาทาน

ธุดงค์ ๑๓ เข้าป่า บำเพ็ญคตวัตร และ ปัจจาคตวัตร กระทำสมณธรรม

เจริญวิปัสสนา จนถึงอนุโลมญาณจึงหยุด ไม่กระทำความพยายามเพื่อมรรคผล

ต่อไป แม้โชติปาลมาณพ ก็ได้กระทำอย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า อฑฺฒ-

มาสูปสมฺปนฺเน ความว่า ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังทารกแห่งตระกูล

ให้บวชแล้ว ไม่ประทับอยู่หนึ่งเดือน เสด็จไปแล้ว ความเศร้าโศกของมารดา

บิดาไม่สงบ. เขายังไม่รู้การถือบาตรและจีวร ความคุ้นเคยกับภิกษุหนุ่มและ

สามเณรทั้งหลายยังไม่เกิด ความเยื่อใยกับพระเถระทั้งหลายยังไม่มั่นคง ยังไม่

เกิดความยินดีในที่ที่ไปแล้ว ๆ แต่เมื่ออยู่ตลอดเวลามีประมาณเท่านี้ มารดา

บิดา ก็ย่อมได้เพื่อเห็น ด้วยเหตุนั้น ความโศกของมารดาและบิดานั้น ย่อม

เบาบางลง ย่อมรู้การถือบาตรและจีวร ย่อมเกิดความคุ้นเคยกับสามเณรและ

ภิกษุหนุ่มทั้งหลาย ความเยื่อใยกับพระเถระทั้งหลาย ย่อมตั้งมั่น ในที่ไปแล้วๆ

ย่อมมีความยินดียิ่ง ย่อมไม่กระสัน เพราะฉะนั้น จึงควรอยู่ตลอดกาลมีประมาณ

เพียงนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป ทรงประทับอยู่

สิ้นกึ่งเดือน ทรงหลีกไปแล้ว.

บทว่า ปณฺฑุมุทิกสฺส สาลิโน ได้แก่ ข้าวสาลีแดงที่กระทำให้

อ่อนนุ่มแห้งแล้ว. ได้ยินว่า ข้าวสาลีนั้นตั้งแต่หว่านไปมีการบริหาร ดังนี้

แปลงนา ต้องมีกระทำบริกรรมเป็นอย่างดี แล้วเอาพืชวางในที่นั้น รดด้วยน้ำ

หอม. ในเวลาหว่าน ผูกลำแพนมีผ้าอยู่เบื้องบน ท่าดุจเพดาน เวลาแก่ ก็

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

เกี่ยวรวงข้าวเปลือกทำเป็นกำ ๆ ผูกเชือกห้อยตากให้แห้ง ลาดจุณของหอมให้

เต็มฉางเก็บไว้แล้วเปิด ทุกสามปี. ข้าวสาลีแดงกลิ่นหอมที่เก็บไว้ถึงสามปีอย่าง

นี้ ซ้อมเป็นข้าวสารบริสุทธิ์ดี ไม่มีเมล็ดดำ จะตกแต่งเป็นของเคี้ยวชนิดต่าง ๆ

ก็ได้ เป็นข้าวสวยก็ได้. ท่านหมายเอาคำนั้น จึงกล่าวว่า ปณีตญฺจ ขาทนีย

โภชนีย ฯลฯ กาล อาโรจาเปสิ แปลว่า ตกแต่งขาทนียะโภชนียะอัน

ประณีต ฯเปฯ แล้วให้ราชบุรุษกราบทูลภัตตกาล ดังนี้.

สองบทว่า อธิวุฏฺโ เม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสป ตรัสหมายถึงอย่างไร ? ตรัสหมายถึงว่า ในเวลาพระองค์เสด็จออก

จากเวภัลลิคะ ฆฏิการะได้ถือเอาปฏิญญาเพื่อให้เสด็จประทับอยู่จำพรรษาใน

สำนักของคนนั้นเสียแล้ว. ตรัสหมายถึงการจำพรรษานั้น . บทว่า อหุเทว

อญฺถตฺต อหุ โทมนสุส ความว่า พระเจ้ากิกิกาสิราชทรงปรารภถึงความ

ไม่มีลาภ มีความเสียพระทัย มีจิตโทมนัสว่า เราไม่ได้เพื่อถวายทานตลอด

ไตรมาส และไม่ได้เพื่อฟังพระธรรม และไม่ได้เพื่อปฏิบัติพระภิกษุถึง ๒ หมื่น

รูป โดยทำนองนี้เสียแล้ว. ไม่ทรงปรารภพระตถาคต. ถามว่า เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพราะพระองค์เป็นพระโสดาบัน.

ได้ยินมาว่า แต่ก่อนพระเจ้ากิกิกาสิราชนั้นทรงนับถือพราหมณ์. ต่อ

มาสมัยหนึ่ง เมื่อชายแดนกำเริบขึ้น ทรงเสด็จไประงับ จึงตรัสสั่งธิดา พระนาม

ว่า อุรัจฉทา ว่า ลูกรัก เจ้าจงอย่าประมาทในเทวดา ของเรา. พวกพราหมณ์

ทั้งหลายเห็นราชธิดานั้นแล้ว ต่างหมดความสำคัญไป. ราชบุรุษทั้งหลายเมื่อ

พระนางถามว่า คนพวกนี้คือใคร ก็ตอบว่า เป็นเทวดาของพระองค์. พระ-

ราชธิดาตรัสถามว่า ชื่อว่า ภุมเทวดา มีรูปอย่างนี้เอง แล้วทรงเสด็จขึ้น

ปราสาท. วันหนึ่ง พระนางทรงยืนทอดพระเนตรถนนหลวง ทรงเห็นพระ

๑. ฎีกาว่า เตส สมญฺา สมัยนั้นเรียก พราหมณ์เหล่านั้นว่า ภุมเทวดา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

อัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป ทรงสั่งให้นิมนต์มาแล้ว

ถวายบิณฑบาต ทรงสดับอนุโมทนาอยู่เทียว ได้เป็นพระโสดาบัน จึงตรัส

ถามว่า ภิกษุรูปอื่น ๆ ยังมีอีกบ้างไหม ได้ทรงสดับว่า พระศาสดาพร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์สองหมื่นรูป เสด็จประทับ อยู่ ณ ป่าอิสิปตนะ จึงทรงให้ไปนิมนต์มา

แล้วทรงถวายทาน. พระราชาทรงยังพระราชอาณาเขตให้สงบแล้ว เสด็จกลับ

แล้ว. ทีนั้นพวกพราหมณ์ทั้งหลายมาเฝ้าพระราชาก่อนกว่าทีเดียว กล่าวโทษ

พระธิดาแล้วแตกกัน. แต่พระราชาได้ทรงประทานพรไว้ในเวลาพระราชธิดา

ประสูติ. พระญาติทั้งหลาย ขอพรถวายพระนางว่า ขอให้ครองราชย์ ๗ วัน.

ครั้งนั้นพระราชาจึงทรงมอบราชสมบัติให้พระราชธิดาสิ้น ๗ วัน. พระราชธิดา

ทรงยังพระศาสดาให้เสวยอยู่ สั่งให้เชิญพระราชาเสด็จประทับนั่ง ณ ภายนอก

ม่านแล้ว. พอพระราชาได้ทรงสดับอนุโมทนาของพระศาสดาก็ได้เป็นพระ-

โสดาบัน. ก็ธรรมดาพระโสดาบันจะไม่ทรงมีอาฆาตปรารภพระตถาคต. เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า น ตถาคต อารพฺถ แปลว่า ความเสียใจ ความ

โทมนัสใจ ไม่ได้ปรารภพระตถาคต.

บทว่า ย อิจฺฉติ ต หรตุ ความว่า ได้ยินว่า ฆฏิการะช่างหม้อ

ทำภาชนะทั้งหลายไว้ ไม่กระทำการซื้อและการขาย. ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว

จึงไปสู่ป่า เพื่อหาฟืนบ้าง เพื่อหาดินบ้าง เพื่อหาใบไม้บ้าง. มหาชนได้ยินว่า

ฆฏิการะช่างหม้อทำภาชนะเสร็จแล้ว จึงถือเอาข้าวสาร เกลือ นมส้ม น้ำมัน

และน้ำอ้อยที่อย่างดี ๆ เป็นต้นมา. ถ้าภาชนะมีค่ามาก มูลค่า มีน้อย. จะต้องให้

สิ่งของสมควรกันจึงค่อยเอาไป ฉะนั้นมหาชนจึงยังไม่เอาภาชนะนั้นไป. จะต้อง

ไปนำเอามูลค่ามาอีก ด้วยคิดว่า ฆฏิการะช่างหม้อเป็นพ่อค้า ประกอบด้วยธรรม

ปฏิบัติบำรุงมารดาบิดา บำรุงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อกุศลจักมีแก่เราเป็นอันมาก

ดังนี้. แต่ถ้าภาชนะมีค่าน้อย มูลค่าที่เขานำมามีมาก จะช่วยเก็บงำมูลค่าที่นำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

มาให้ดีเหมือนเจ้าของบ้านแล้วจึงไปด้วยคิดว่า ฆฏิการะช่างหม้อ เป็นพ่อค้าที่

ประกอบด้วยธรรม จักเป็นบุญของพวกเรา ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า กัสสป เมื่อจะทรงตัดขาดคลองแห่งพระดำรัสของพระราชาว่า ก็ฆฏิการะ

ช่างหม้อมีคุณถึงอย่างนี้ เหตุไรจึงยังไม่บวช จึงตรัสว่า ฆฏิการะช่างหม้อ

เลี้ยงมารดาบิดา ผู้ตาบอด ผู้แก่เฒ่า ดังนี้.

บทว่า โก นุ โข ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ฆฏิการะ

ช่างหม้อไปไหนละ. บทว่า กุมฺภิยา แปลว่า จากหม้อข้าว. บทว่า ปริโยคา

แปลว่า. จากหม้อแกง. บทว่า ปริภุญฺช แปลว่า จงบริโภคเถิด. ถามว่า

ก็มารดาบิดาของฆฏิการะกล่าวอย่างนั้นเพราะเหตุไร. ตอบว่า ได้ยินว่า

ฆฏิการะช่างหม้อหุงข้าวแล้วต้มแกงแล้ว ให้มารดาบิดาบริโภคแล้ว ตัวเองจึง

บริโภค แล้วตั้งข้าว ตั้งแกงที่ตักไว้ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ปูลาดอาสนะไว้

นำอาหารเข้าไปวางไว้ใกล้ ตั้งนำไว้ให้สัญญาแก่มารดาบิดาแล้วจึงไป

สู่ป่า เพราะฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อภิวิสฺสฏฺโ แปลว่า ทรงคุ้นเคย

อย่างยิ่ง. บทว่า ปีติสุข น วิชหิ ความว่า ฆฏิการะช่างหม้อไม่ละปิติสุข

ตลอดไป โดยแท้จริง ฆฏิการะช่างหม้อระลึกอยู่เนือง ๆ ไม่ว่าขณะใด ๆ เป็น

กลางคืนก็ตาม กลางวันก็ตาม ทั้งในบ้านทั้งในป่าว่า พระผู้ยอดบุคคลในโลก

ที่เรียกว่า พร้อมทั้งเทวโลก ทรงเข้ามาในบ้านเรา ถือเอาอามิสไปบริโภค

ช่างเป็นลาภของเราหนอ ปีติมีวรรณะ ๕ ย่อมเกิดขึ้นทุกขณะ ๆ. ท่านกล่าว

คำนั้นหมายถึงเรื่องนี้.

บทว่า กโฬปิยา แปลว่า จากกระเช้า. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงกระทำอย่างนี้ได้หรือ. ตอบว่า เป็นเหตุอันชอบธรรม เช่นเดียวกับข้าว

ในบาตรของภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกระทำอย่าง

นั้น. อนึ่ง การบัญญัติสิกขาบท ย่อมมีแก่พระสาวกทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

เขตแดนแห่งสิกขาบทย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เหมือนอย่างว่า

ดอกไม้และผลไม้ที่มีอยู่ในพระราชอุทยาน คนเหล่าอื่นเก็บดอกไม้แลผลไม้

เหล่านั้นไปย่อมมีโทษ ส่วนพระราชาทรงบริโภคได้ตามพระราชอัธยาศัย ข้อนี้

ก็มีอุปไมยเหมือนอย่างนั้น. ส่วนเถระผู้อยู่ ณ ฝั่งสมุทรข้างโน้น กล่าวว่า

ได้ยินว่า พวกเทวดาทั้งหลายจัดแจงถวายแล้ว ดังนี้.

บทว่า หรถ ภนฺเต ทรถ ภทฺรมุขา ความว่า ลูกของเรา

เมื่อถามว่า จะไปไหน. ก็ตอบว่า ไปสำนักพระทศพล. มัวไปที่ไหนเสีย

กระมังหนอ จึงไม่รู้ว่าที่ประทับของพระศาสดารั่ว เป็นผู้มีจิตยิน

ดีแล้วในการถือเอา มีความสำคัญว่าไม่มีความผิด จึงกล่าวอย่าง

นั้น. บทว่า เตมาส อากาสจฺฉทน อฏฺาสิ ความว่า ได้ยินว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลยไปเดือนหนึ่ง สำหรับฤดูฝน ๔ เดือน จึงทรงให้ภิกษุ

ไปนำหญ้ามุงมา เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น. อนึ่ง ความเฉพาะบทในเรื่อง

นี้ ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า มีอากาศเป็นเครื่องมุง เพราะอรรถว่า อากาศ

เป็นเครื่องมุงของเรือนนั้น. บทว่า น จาติวสฺสิ ความว่า มิใช่ว่า ฝนจะ

ไม่รั่วอย่างเดียว ตามธรรมดา หยดน้ำแม้สักหยดหนึ่ง มิได้รั่วแล้วในภายใน

ที่น้ำตก แห่งชายคาที่เรือนฆฏิการะช่างหม้อนี้ ฉันใด แม้ลมและแดดก็ไม่ทำ

ความเบียดเบียนเหมือนดังภายในเรือนที่มีเครื่องมุง อันแน่นหนา ฉันนั้น.

การแผ่ไปแห่งฤดูก็ได้มีตามธรรมดานั่นเอง. ในภายหลัง เมื่อนิคมนั้นแม้ร้างไป

แล้ว ที่ตรงนั้น ฝนก็ไม่ตกรดอยู่นั่นเทียว. พวกมนุษย์ เมื่อกระทำการงาน

ในเมื่อฝนตกก็จะเก็บผ้าสาฎกไว้ที่ตรงนั้นแล้วกระทำการงาน. ที่ตรงนั้นจักเป็น

เช่นนั้นเรื่อยไปตลอดการปรากฏกัปหนึ่ง. ก็อาการที่เป็นเช่นนั้นนั่นแล มิใช่

ด้วยอิทธานุภาพของพระตถาคต แต่ด้วยคุณสมบัติของมารดาและบิดาของ

๑. ฉ. น เทโวติวสฺสิ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

ฆฏิการะช่างหม้อนั้นนั่นเทียว. แท้จริง มารดาและบิดาของฆฏิการะช่างหม้อ

นั้น มิได้เกิดโทมนัส เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึง

ได้ในที่ไหนจึงทรงให้ทำการรื้อหลังคานิเวสน์ของเรา ผู้ตาบอดทั้งสองคน. แต่

เกิดความโสมนัสอย่างมีกำลังมิใช่น้อยแก่เขาว่า พระผู้ยอดบุคคลในโลกทั้งเทว

โลกให้มานำหญ้าจากนิเวศน์ของเราไปมุงพระคันธกฏี ดังนี้. บัณฑิตพึงทราบ

ว่า ปาฏิหาริย์นี้เกิดขึ้นด้วยคุณสมบัติของมารดาบิดาฆฏิการะช่างหม้อนั้นนั่น

เทียว ด้วยประการฉะนี้.

ในคำว่า ตณฺฑุลวาหสตาทิ นี้ พึงทราบว่า สองร้อยเกวียน เป็น

วาหะ หนึ่ง. คำว่า เครื่องแกง อันสมควรแก่ข้าวสารนั้น ความว่า

วัตถุมีน้ำมัน น้ำอ้อยเป็นต้นที่สมควรแก่ข้าวสารนั้นเพื่อสูปะ ได้ยินว่า พระราชา

ทรงส่งของมีประมาณเท่านี้ไปด้วย ทรงสำคัญว่า ภัตรจักมีแก่ภิกษุ พันรูป

เพื่อประโยชน์ไตรมาส. คำว่า อย่าเป็นของข้าพเจ้าเลย จงเป็นของหลวง

เถิด ฆฏิการะช่างหม้อ ปฏิเสธแล้ว เพราะเหตุไร. เพราะเป็นผู้บรรลุความ

มีความปรารถนาน้อย. ได้ยินว่า ฆฏิการะช่างหม้อนั้น มีความคิดอย่างนี้ว่า

พระราชาไม่เคยทรงเห็นเรา ส่งมาแล้วเพื่ออะไรหนอแล. แต่นั้นจึงดำริว่า

พระศาสดาเสด็จไปยังพระนครพาราณสี พระองค์เมื่อถูกพระราชาทูลวิงวอน

ให้อยู่จำพรรษาก็ตรัสบอกว่า ทรงรับปฏิญญาของเราไว้แล้วจะตรัสบอกคุณ

กถาของเราแน่แท้ ก็ผู้ที่มีลาภแห่งคุณกถาที่ได้แล้ว ย่อมเป็นเหมือนลาภที่คน

ฟ้อน ฟ้อนแล้วจึงได้ และเหมือนลาภที่คนขับ ขับแล้วได้แล้ว ประโยชน์

อะไรด้วยสิ่งนี้แก่เรา เราอาจกระทำการบำรุงทั้งมารดาและบิดา ทั้งพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยลาภที่เรากระทำการงานแล้วเกิดขึ้น ดังนี้. คำที่เหลือ

ในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาฆฏิการสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

๒. รัฏฐปาลสูตร

[๔๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวกุรุ พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงนิคมของชาวกุรุอันชื่อว่า ถุลลโกฏฐิตะ. พราหมณ์

และคฤหบดีทั้งหลายชาวนิคมถุลลโกฏฐิตะ ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดม-

ศากยบุตรทรงผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวกุรุ พร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงถุลลโกฏฐิตะแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระ-

สมณโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา

และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มี

ผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น

ผู้จำแนกพระธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองศ์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

สมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีคุณอันงามใน

เบื้องต้น มีคุณอันงามในท่ามกลาง มีคุณอันงามในที่สุด ทรงประกาศ

พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การ

เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นการดีดังนี้.

[๔๒๔] ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคม ได้เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนิ่งอยู่แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงยังพราหมณ์และคฤหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคม ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา.

รัฐปาละขอบรรพชา

[๔๒๕] สมัยนั้น กุลบุตรชื่อรัฐปาลรัฐปาละ เป็นบุตรของสกุลเลิศ ใน

ถุลลโกฏฐิตนิคมนั้น นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย. รัฐปาลกุลบุตร มีความคิดเห็น

ว่าด้วยประการอย่างไร ๆ แล เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงแล้ว การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้

บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผม

และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด. ครั้งนั้น

พวกพราหมณ์ คฤหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้

เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ชื่นชมยินดีพระภาษิต

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำ

ประทักษิณแล้วหลีกไป. เมื่อพราหมณ์และคฤหบดีชาวถุลลโกฏฐิตนิคมหลีกไป

ไม่นาน รัฐปาลกุลบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

พระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ด้วยประการไร ๆ แล ข้าพระพุทธเจ้าจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติ

พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย

ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

บวชเป็นบรรพชิต ขอข้าพระพุทธเจ้าพึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระ

ผู้มีพระภาคเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนรัฐปาละ ท่านเป็นผู้ที่

มารดาบิดาอนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้วหรือ.

รัฐปาลกุลบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า

เป็นผู้ที่มารดาบิดายังมิได้อนุญาตให้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเลย พระ-

เจ้าข้า.

ภ. ดูก่อนรัฐปาละ พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่บวชบุตรที่มารดา

บิดามิได้อนุญาต.

ร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มารดาบิดาจักอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้า

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยประการใด ข้าพระพุทธเจ้าจักกระทำ

ด้วยประการนั้น.

[๔๒๖] ครั้งนั้น รัฐปาลกุลบุตรลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วเข้าไปหามารดาบิดาถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า

ข้าแต่คุณแม่คุณพ่อ ด้วยประการอย่างไร ๆ แล ฉันจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติ

พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย

ฉันปรารถนาจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิต ขอคุณแม่คุณพ่อจงอนุญาตให้ฉันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.

การบอกลามารดาบิดา

[๘๒๗] เมื่อรัฐปาลกุลบุตรกล่าวเช่นนี้แล้ว มารดาบิดาของรัฐปาล-

กุลบุตรได้กล่าวว่า พ่อรัฐปาละ เจ้าเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของ

เราทั้งสองมีแต่ความสุข ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข พ่อรัฐปาละ เจ้าไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

รู้จักความทุกข์อะไรเลย มาเถิด พ่อรัฐปาละ พ่อจงบริโภค จงดื่ม จงให้

บำเรอเถิด เจ้ายังกำลังบริโภคได้ กำลังดื่มได้ กำลังให้บำเรอได้ จงยินดี

บริโภคกามทำบุญไปพลางเถิด เราทั้งสองจะอนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวช

เป็นบรรพชิตไม่ได้ ถึงเจ้าจะตาย เราทั้งสองก็ไม่ปรารถนาจะพลัดพรากจาก

เจ้า เหตุไฉน เราทั้งสองจักอนุญาตให้เจ้าซึ่งยังเป็นอยู่ ออกจากเรือนบวช

เป็นบรรพชิตเล่า. แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม รัฐปาลกุลบุตรก็กล่าวว่า

ข้าแต่คุณแม่คุณพ่อ ด้วยประการ ๆ แล ฉันจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ขอคุณแม่คุณพ่อจงอนุญาตให้ฉันออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิตเถิด. แม้ครั้งที่สาม มารดาบิดาของรัฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า พ่อ

รัฐปาละ เจ้าเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของมารดาบิดา มีแต่ความ

สุข ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข พ่อรัฐปาละ เจ้าไม่ได้รู้จักความทุกข์อะไรๆ

เลย มาเถิด พ่อรัฐปาละ พ่อจงบริโภค จงดื่ม จงให้บำเรอเถิด เจ้ายังกำลัง

บริโภคได้ กำลังดื่มได้ กำลังให้บำเรอได้ จงยินดีบริโภคกามทำบุญไปพลาง

เถิด มารดาบิดาจะอนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่ได้ ถึงเจ้า

จะตาย เราทั้งสองก็ไม่ปรารถนาจะพลัดพรากจากเจ้า เหตุไฉน เราทั้งสองจัก

อนุญาตให้เจ้าซึ่งยังเป็นอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า.

[๔๒๘] ครั้งนั้น รัฐปาลกุลบุตรน้อยใจว่า มารดาบิดาไม่อนุญาต

ให้เราออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ดังนี้ จึงนอนอยู่บนพื้นอันปราศจาก

เครื่องลาด ณ ที่นั้นเอง ด้วยตั้งใจว่า ที่นี้จักเป็นที่ตายหรือที่บวชของเรา

ไม่บริโภคอาหารตั้งแต่หนึ่งวัน สองวัน สามวัน สี่วัน ห้าวัน หกวัน

ตลอดถึงเจ็ดวัน.

[๔๒๙] ครั้งนั้น มารดาบิดาของรัฐปาลกุลบุตรได้กล่าวว่า พ่อรัฐ-

ปาละ เจ้าเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของเราทั้งสอง มีแต่ความสุข

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข พ่อรัฐปาละ เจ้าไม่ได้รู้จักความทุกข์อะไร ๆ เลย

เจ้าจงลุกขึ้น พ่อรัฐปาละ เจ้าจงบริโภค จงดื่ม จงให้บำเรอเถิด เจ้ายังกำลัง

บริโภคได้ กำลังดื่มได้ กำลังให้บำเรอได้ จงยินดีบริโภคกามทำบุญไปพลาง

เถิด เราทั้งสองจักอนุญาตให้เจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่ได้ ถึงเจ้า

จะตาย เราทั้งสองก็ไม่ปรารถนาจะพลัดพรากจากเจ้า เหตุไฉน เราทั้งสองจัก

อนุญาตให้เจ้าซึ่งยังเป็นอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า. เมื่อมารดาบิดา

กล่าวเช่นนี้แล้ว รัฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเสีย. แม้ครั้งที่สอง. . . แม้ครั้งที่สาม

มารดาบิดาของรัฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า พ่อรัฐปาละ เจ้าเป็นบุตรคนเดียว

เป็นที่รักที่ชอบใจของเราทั้งสอง มีแต่ความสุข ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข

พ่อรัฐปาละ เจ้าไม่ได้รู้จักความทุกข์อะไร ๆ เลย เจ้าจงลุกขึ้น พ่อรัฐปาละ

เจ้าจงบริโภค จงดื่ม จงให้บำเรอเถิด เจ้ายังกำลังบริโภคได้ กำลังดื่มได้

กำลังให้บำเรอได้ จงยินดีบริโภคกามทำบุญไปพลางเถิด แม้ครั้งที่สาม รัฐปาล

กุลบุตรก็ได้นิ่งเสีย.

การอ้อนวอนมารดาบิดา

[๔๓๐] ครั้งนั้น พวกสหายของรัฐปาลกุลบุตร พากันเข้าไปหา

รัฐปาลกุลบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า เพื่อนรัฐปาละ ท่านเป็นบุตรคนเดียว

เป็นที่รักที่ชอบใจของมารดาบิดา มีแต่ความสุข ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข

ท่านไม่ได้รู้จักความทุกข์อะไรๆเลย เชิญลุกขึ้น เพื่อนรัฐปาละ ท่านจงบริโภค

จงดื่ม จงให้บำเรอเถิด ท่านยังกำลังบริโภคได้ กำลังดื่มได้ กำลังให้บำเรอได้

จงยินดีบริโภคกามทำบุญไปพลางเถิด มารดาบิดาจะอนุญาตให้ท่านออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่ได้ ถึงท่านจะตาย มารดาบิดาก็ไม่ปรารถนาจะ

พลัดพรากจากท่าน เหตุไฉน มารดาบิดาจะอนุญาตให้ท่านซึ่งยังเป็นอยู่ออก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า. เมื่อสหายเหล่านั้นกล่าวเช่นนี้ รัฐปาลกุลบุตร

ก็ได้นิ่งเสีย. แม้ครั้งที่สอง. . . แม้ครั้งที่สาม พวกสหายของรัฐปาลกุลบุตรได้

กล่าวว่า เพื่อนรัฐปาละ ท่านเป็นบุตรคนเดียว เป็นที่รักที่ชอบใจของมารดา

บิดา มีแต่ความสุข ได้รับเลี้ยงดูมาด้วยความสุข ท่านไม่รู้จักความทุกข์อะไร ๆ

เลย เชิญลุกขึ้น เพื่อนรัฐปาละ ท่านจงบริโภค จงดื่ม จงให้บำเรอเถิด

ท่านยังกำลังบริโภคได้ กำลังดื่มได้ กำลังให้บำเรอได้ จงยินดีบริโภคกาม

ท่าบุญไปพลางเถิด แม้ครั้งที่สาม รัฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเสีย.

ลำดับนั้น พวกสหายพากันเข้าไปหามารดาบิดาของรัฐปาลกุลบุตรถึง

ที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่คุณแม่คุณพ่อ รัฐปาลกุลบุตรนี้ นอนอยู่ที่ฟื้นอัน

ปราศจากเครื่องลาด ณ ที่นั่นเอง ด้วยตั้งใจว่าที่นี้จักเป็นที่ตายหรือที่บวช

ของเรา ถ้าคุณแม่คุณพ่อจะไม่อนุญาตให้รัฐปาลกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิต ก็จักตายเสียในที่นั้นเอง แต่ถ้าคุณแม่คุณพ่อจะอนุญาตให้รัฐปาล-

กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คุณแม่คุณพ่อก็จักได้เห็นเขาแม้บวช

แล้ว หากรัฐปาลกุลบุตรจักยินดีในการบวชเป็นบรรพชิตไม่ได้ เขาจะไป

ไหนอื่น ก็จักกลับมาที่นี่เอง ขอคุณแม่คุณพ่ออนุญาตให้รัฐปาลกุลบุตรออก

จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.

[๔๓๑] มารดาบิดากล่าวว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เราอนุญาตให้

รัฐปาลกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต แต่เมื่อเขาบวชแล้วพึงมาเยี่ยม

มารดาบิดาบ้าง. ครั้งนั้น สหายทั้งหลายพากันเข้าไปหารัฐปาลกุลบุตรถึงที่อยู่

แล้วได้กล่าวว่า คุณแม่คุณพ่ออนุญาตให้ท่านออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

แล้ว แต่เมื่อท่านบวชแล้ว พึงมาเยี่ยมคุณแม่คุณพ่อบ้าง.

[๔๓๒] ครั้งนั้น รัฐปาลกุลบุตรลุกขึ้น บำรุงกายให้เกิดกำลังแล้ว

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มารดาบิดา

อนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด. รัฐปาลกุลบุตรได้บรรพชา ได้อุปสมบท

ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเมื่อท่านรัฐปาละอุปสมบทแล้วไม่นาน พอได้

กึ่งเดือน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในถุลลโกฏฐิตนิคมตามควรแล้ว เสด็จ

จาริกไปทางนครสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ได้เสด็จถึงนครสาวัตถีแล้ว.

รัฐปาละสำเร็จพระอรหัต

[๔๓๓] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท่าน

รัฐปาละหลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไป

แล้ว ไม่ช้านานเท่าไร ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย

ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ท่านพระรัฐปาละได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

[๔๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระรัฐปาละเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะไปเยี่ยมมารดาบิดา ถ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงอนุญาตกะข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการกำหนด

ใจของท่านพระรัฐปาละด้วยพระหฤทัยแล้ว ทรงทราบชัดว่า รัฐปาลกุลบุตร

ไม่สามารถที่จะบอกลาสิกขาสึกออกไปแล้ว. ลำดับนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อน

รัฐปาละ ท่านจงสำคัญกาลอันควร ณ บัดนี้เถิด. ท่านพระรัฐปาละลุกจาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

อาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว เก็บเสนาสนะถือ

บาตรและจีวรหลีกจาริกไปทางถุลลโกฏฐิตนิคม จาริกไปโดยลำดับ บรรลุถึง

ถุลลโกฏฐิตนิคมแล้ว.

[๔๓๕] ได้ยินว่า ท่านพระรัฐปาละพักอยู่ ณ พระราชอุทยาน ชื่อ

มิคาจีระของพระเจ้าโกรัพยะในถุลลโกฏฐิตนิคมนั้น. ครั้งนั้นเวลาเช้า ท่าน

พระรัฐปาละนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังถุลลโกฏฐิตนิคม.

เมื่อเที่ยวบิณฑบาตในถุลลโกฏฐิตนิคมตามลำดับตรอก ได้เข้าไปยังนิเวศน์ของ

บิดาท่าน. สมัยนั้น บิดาของท่านพระรัฐปาละ กำลังให้ช่างกัลบกสางผมอยู่ที่

ซุ้มประตูกลาง ได้เห็นท่านพระรัฐปาละกำลังมาแต่ไกล แล้วได้กล่าวว่า

พวกสมณะศีรษะโล้นเหล่านี้ บวชบุตรคนเดียวผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา.

ครั้งนั้น ท่านพระรัฐปาละไม่ได้การให้ ไม่ได้คำตอบที่บ้านบิดาของท่าน ที่แท้

ได้แต่คำด่าเท่านั้น.

บอกเรื่องพระรัฐปาละ

[๔๓๖] สมัยนั้น ทาสีแห่งญาติของท่านพระรัฐปาละปรารถนาจะเอา

ขนมกุมมาสที่บูดไปทิ้ง. ท่านพระรัฐปาละได้กล่าวกะทาสีของญาตินั้นว่า ดูก่อน

น้องหญิง ถ้าสิ่งนั้นจำต้องทิ้ง จงใส่ในบาตรของฉันนี้เถิด. ทาสีของญาติเมื่อ

เทขนมกุมมาสที่บูดนั้นลงในบาตรของท่านพระรัฐปาละ จำนิมิตแห่งมือเท้าและ

เสียงได้ แล้วได้เข้าไปหามารดาของท่านรัฐปาละ แล้วได้กล่าวว่า เดชะคุณ

แม่เจ้า แม่เจ้าพึงทราบว่า รัฐปาละลูกเจ้ามาแล้ว.

มารดาท่านพระรัฐปาละกล่าวว่า แม่คนใช้ ถ้าเจ้ากล่าวจริง ฉันจะ

ทำเจ้าไม่ให้เป็นทาสี.

ลำดับนั้น มารดาของท่านพระรัฐปาละเข้าไปหาบิดาถึงที่อยู่แล้วได้

กล่าวว่า เดชะท่านคฤหบดี ท่านพึงทราบว่า ได้ยินว่ารัฐปาลกุลบุตรมาถึงแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

[๔๓๗] ขณะนั้น ท่านพระรัฐปาละอาศัยฝาเรือนแห่งหนึ่งฉันขนม

กุมมาสบูดนั้นอยู่. บิดาเข้าไปหาท่านพระรัฐปาละถึงที่ใกล้ แล้วได้ถามว่า

มีอยู่หรือพ่อรัฐปาละ ที่พ่อจักกินขนมกุมมาสบูด พ่อควรไปเรือนของตัวมิใช่

หรือ.

ท่านพระรัฐปาละตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี เรือนของอาตมภาพผู้ออก

จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตจะมีที่ไหน อาตมภาพไม่มีเรือน อาตมภาพได้ไป

ถึงเรือนของท่านแล้ว แต่ที่เรือนของท่านนั้น อาตมภาพไม่ได้การให้ ไม่ได้

คำตอบเลย ได้เพียงคำด่าอย่างเดียวเท่านั้น.

มาไปเรือนกันเกิด พ่อรัฐปาละ.

อย่าเลยคฤหบดี วันนี้อาตมภาพทำภัตกิจเสร็จแล้ว.

พ่อรัฐปาละ ถ้าอย่างนั้น ขอท่านจงรับภัตตาหารเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้.

ท่านพระรัฐปาละรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพแล้ว.

เข้าไปนิเวศน์บิดา

[๔๓๘] ลำดับนั้น บิดาของท่านพระรัฐปาละทราบว่า ท่านพระ

รัฐปาละรับนิมนต์แล้ว เข้าไปยังนิเวศน์ของตน แล้วสั่งให้ฉาบไล้ที่แผ่นดิน

ด้วยโคมัยสดแล้วให้ขนเงินและทองมากองเป็นกองใหญ่ แบ่งเป็นสองกอง คือ

เงินกองหนึ่ง ทองกองหนึ่ง เป็นกองใหญ่อย่างที่บุรุษผู้ยืนข้างนี้ไม่เห็นบุรุษที่

ยืนข้างโน้น บุรุษที่ยืนข้างโน้นไม่เห็นบุรุษผู้ยืนข้างนี้ ฉะนั้น ให้ปิดกองเงิน

ทองนั้นด้วยเสื่อลำแพนให้ปูลาดอาสนะไว้ท่ามกลาง แล้วแวดวงด้วยม่าน แล้ว

เรียกหญิงทั้งหลายที่เป็นภรรยาเก่าของท่านพระรัฐปาละมาว่า ดูก่อนแม่สาว ๆ

ทั้งหลาย เจ้าทั้งหลายประดับด้วยเครื่องประดับชุดใดมา จึงเป็นที่รักที่

ชอบใจของรัฐปาละบุตรของเราแต่ก่อน จงประดับด้วยเครื่องประดับชุดนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

ครั้นล่วงราตรีนั้นไป บิดาของท่านพระรัฐปาละ ได้สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของ

ฉันอย่างประณีต แล้วใช้คนไปเรียนเวลาแก่ท่านพระรัฐปาละว่า ถึงเวลาแล้ว

พ่อรัฐปาละ ภัตตาหารสำเร็จแล้ว. ครั้งนั้น เวลาเช้าท่านพระรัฐปาละ นุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์แห่งบิดาท่าน แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งตั้ง

ไว้. บิดาขอท่านพระรัฐปาละสั่งให้เปิดกองเงินและทองนั้น แล้วได้กล่าวกะ

ท่านพระรัฐปาละว่า พ่อรัฐปาละ ทรัพย์กองนี้เป็นส่วนของมารดา กองอื่น

เป็นส่วนของบิดา ส่วนของปู่อีกกองหนึ่ง เป็นของพ่อผู้เดียว พ่ออาจจะใช้สอย

สมบัติและทำบุญได้ พ่อจงลาสิกขาสึกเป็นคฤหัสถ์มาใช้สอยสมบัติและทำบุญ

ไปเถิด.

ท่านพระรัฐปาละตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ถ้าท่านพึงทำตามคำของ

อาตมภาพได้ ท่านพึงให้เขาขนกองเงินกองทองนี้บรรทุกเกวียนให้เข็นไปจม

เสียที่กลางกระแสแม่น้ำคงคา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความโศก ความร่ำไร

ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส มีทรัพย์นั้นเป็นเหตุ จักเกิดขึ้นแก่ท่าน.

ลำดับนั้น ภรรยาเก่าของท่านพระรัฐปาละ ต่างจับที่เท้าแล้วถามว่า

พ่อผู้ลูกเจ้า นางฟ้าทั้งหลายผู้เป็นเหตุให้ท่านประพฤติพรหมจรรย์นั้นเป็น

เช่นไร.

ท่านพระรัฐปาละตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง เราทั้งหลายประพฤติ

พรหมจรรย์เพราะเหตุนางฟ้าทั้งหลายหามิได้.

หญิงเหล่านั้นเสียใจว่า รัฐปาละผู้ลูกเจ้าเรียกเราทั้งหลายด้วยวาทะว่า

น้องหญิง ดังนี้ สลบล้มอยู่ ณ ที่นั้น. ครั้งนั้น ท่านพระรัฐปาละได้กล่าวกะ

บิดาว่า ดูก่อนคฤหบดี ถ้าจะพึงให้โภชนะก็จงให้เถิด อย่าให้อาตมภาพลำบาก

เลย.

บริโภคเถิด พ่อรัฐปาละ ภัตตาหารสำเร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

ลำดับนั้นบิดาท่านพระรัฐปาละ ได้อังคาสท่านพระรัฐปาละด้วยของ

เคี้ยวของฉันอย่างประณีต ให้อิ่มหนำด้วยมือของตนเสร็จแล้ว.

[๔๓๙] ครั้งนั้น ท่านพระรัฐปาละฉันเสร็จชักมือออกจากบาตรแล้ว

ได้ยืนขึ้นกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

จงมาดูอัตภาพอันวิจิตร มีกายเป็น

แผล อันคุมกันอยู่แล้ว กระสับกระส่าย

เป็นที่ดำริของชนเป็นอันมาก ไม่มีความยั่ง

ยืนมั่นคง จงมาดูรูปอันวิจิตรด้วยแก้วมณี

และกุณฑล มีกระดูกอันหนังหุ้มห่อไว้

งามพร้อมด้วยผ้า [ของหญิง] เท้าที่ย่อม

ด้วยสีแดงสด หน้าที่ไล้ทาด้วยจุรณ พอ

จะหลอกคนโง่ให้หลงได้ แต่จะหลอกคน

ผู้แสวงหาฝั่งคือพระนิพพานไม่ได้ ผมที่

แต่งให้เป็นแปดลอนงามตา ที่เยิ้มด้วย

ยาหยอด พอจะหลอกคนโง่ให้หลงได้

แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่ง คือ พระ-

นิพพานไม่ได้ กายเน่า อันประดับด้วย

เครื่องอลังการ ประดุจทนานยาหยอดอัน

ใหม่วิจิตร พอจะหลอกคนโง่ให้หลงได้

แต่จะหลอกคนผู้แสวงหาฝั่งคือ พระนิพ-

พานไม่ได้ ท่านเป็นดังพรานเนื้อวางบ่วง

ไว้ แต่เนื้อไม่ติดบ่วง เมื่อพรานเนื้อกำลัง

คร่ำครวญอยู่ เรากินแต่อาหารแล้วก็ไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

ครั้นท่านพระรัฐปาละยืนกล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว จึงเข้าไปยังพระราช

อุทยานมิคาจีระของพระเจ้าโกรัพยะ แล้วนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง.

พระเจ้าโกรัพยะเสด็จเข้าไปหาพระรัฐปาละ

[๔๔๐] ครั้งนั้น พระเจ้าโกรัพยะ ตรัสเรียกพนักงานรักษาพระราช

อุทยานมาว่า ดูก่อนมิควะ ท่านจงชำระพื้นสวนมิคาจีระให้หมดจดสะอาด

เราจะไปดูพื้นสวนอันดี. นายมิควะทูลรับพระเจ้าโกรัพยะว่า อย่างนั้น ขอเดชะ

แล้วชำระพระราชาอุทยานมิคาจีระอยู่ ได้เห็นท่านพระรัฐปาละซึ่งนั่งพักกลางวัน

อยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าโกรัพยะ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ

พระราชอุทยานมิคาจีระของพระองค์หมดจดแล้ว และในพระราชอุทยานนี้มี

กุลบุตรชื่อรัฐปาละ ผู้เป็นบุตรแห่งตระกูลเลิศในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้ ที่พระองค์

ทรงสรรเสริญอยู่เสมอ ๆ นั้น เธอนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง.

พระเจ้าโกรัพยะตรัสว่า ดูก่อนเพื่อนมิควะ ถ้าเช่นนั้น ควรจะไปยัง

พื้นสวนเดี๋ยวนี้ เราทั้งสองจักเข้าไปหารัฐปาละผู้เจริญนั้นในบัดนี้.

ครั้งนั้น พระเจ้าโกรัพยะรับสั่งว่า ของควรเคี้ยวควรบริโภคสิ่งใดอันจะ

ตกแต่งไปในสวนนั้น ท่านทั้งหลายจงแจกจ่ายของสิ่งนั้นทั้งสิ้นเสียเถิด ดังนี้

แล้ว รับสั่งให้เทียมพระราชยานชั้นดี เสด็จออกจากถุลลโกฏฐิตนิคมด้วยพระ

ราชยานที่ดี ๆ ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ เพื่อจะพบท่านพระรัฐปาละ

ท้าวเธอเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนยานพระที่นั่งไปจนสุดทาง เสด็จลง

ทรงพระดำเนินด้วยบริษัทชนสูงๆ เข้าไปหาท่านพระรัฐปาละ แล้วทรงปราศรัย

กับท่านพระรัฐปาละ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ประทับ

ยืนอยู่ ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วรับสั่งว่า เชิญท่านรัฐปาละผู้เจริญนั่ง

บนเครื่องลาดนี้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

ท่านพระรัฐปาละถวายพระพรว่า ดูก่อนมหาบพิตร อย่าเลย เชิญ

มหาบพิตรนั่งเถิด อาตมภาพนั่งที่อาสนะของอาตมภาพดีแล้ว. พระเจ้าโกรัพยะ

ประทับนั่งบนอาสนะที่พนักงานจัดถวาย.

[๔๔๑] ครั้น พระเจ้าโกรัพยะประทับนั่งแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระรัฐ-

ปาละว่า ท่านรัฐปาละผู้เจริญ ความเสื่อมสี่ประการนี้ ที่คนบางพวกในโลกนี้

ถึงเข้าแล้ว ย่อมปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิต ความเสื่อม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน คือความเสื่อมเพราะชรา ๑

ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้ ๑ ความเสื่อมจากโภคสมบัติ ๑ ความเสื่อมจาก

ญาติ ๑.

ว่าด้วยความเสื่อมเพราะชราเป็นต้น

[๔๔๒] ท่านรัฐปาละ ความเสื่อมเพราะชราเป็นไฉน ท่านรัฐปาละ

คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนแก่แล้ว เป็นคนเฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่าน

วัยมาโดยลำดับ. เขาคิดเห็นดังนี้ว่า เดี๋ยวนี้เราเป็นคนแก่แล้ว เป็นคนเฒ่าแล้ว

เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติที่ยังไม่ได้

หรือการที่เราจะทำโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย

เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด.

เขาประกอบด้วยความเสื่อมเพราะชรานั้น จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า

กาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ดูก่อนท่านรัฐปาละ นี้เรียกว่า

ความเสื่อมเพราะชรา. ส่วนท่านรัฐปาละผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ก็ยังหนุ่มแน่น มีผมดำ

สนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มกำลังเจริญเป็นวัยแรก ไม่มีความเสื่อมเพราะ

ชรานั้นเลย. ท่านพระรัฐปาละรู้เห็น หรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวช

เป็นบรรพชิตเสียเล่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

[๔๔๓] ท่านรัฐปาละ ก็ความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้เป็นไฉน. ท่าน

รัฐปาละ คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนมีอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก. เขาคิด

เห็นดังนี้ว่า เดี๋ยวนี้เราเป็นคนมีอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ก็การที่เราจะได้

โภคสมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทำ

ได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่มห่มผ้ากาสายะ ออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด. เขาประกอบด้วยความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้นั้น

จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต นี้

เรียกว่าความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้. ส่วนท่านรัฐปาละ เดี๋ยวนี้เป็นผู้ไม่อาพาธ

ไม่มีทุกข์ ประกอบด้วยไฟธาตุที่ย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก

ไม่มีความเสื่อมเพราะความเจ็บไข้นั้นเลย. ท่านรัฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร

จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า.

[๔๔๔] ท่านรัฐปาละ ก็ความเสื่อมจากโภคสมบัติเป็นไฉน. ท่าน

รัฐปาละ คนบางคนในโลกนี้ เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก โภค

สมบัติเหล่านั้นของเขาถึงความสิ้นไปโดยลำดับ. เขาคิดเห็นดังนี้ว่า เมื่อก่อน

เราเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก โภคสมบัติเหล่านั้นของเราถึงความ

สิ้นไปโดยลำดับแล้ว ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะ

ทำโภคสมบัติที่ได้แล้วให้เจริญ ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผม

และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด ดังนี้. เขา

ประกอบด้วยความเสื่อมจากโภคสมบัตินั้น จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า

กาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ท่านรัฐปาละผู้เจริญ นี้เรียกว่าความ

เสื่อมจากโภคสมบัติ. ส่วนท่านรัฐปาละเป็นบุตรของตระกูลเลิศในถุลลโกฏฐิต

นิคมนี้ ไม่มีความเสื่อมจากโภคสมบัตินั้น. ท่านรัฐปาละรู้เห็นหรือได้ฟังอะไร

จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

[๔๔๕] ท่านรัฐปาละ ก็ความเสื่อมจากญาติเป็นไฉน. ท่านรัฐปาละ

คนบางคนในโลกนี้ มีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก ญาติเหล่านั้น

ของเขาถึงความสิ้นไปโดยลำดับ . เขาคิดเห็นดังนี้ว่า เมื่อก่อนเรามีมิตร อำมาตย์

ญาติสาโลหิตเป็นอันมาก [เดี๋ยวนี้] ญาติของเรานั้นถึงความสิ้นไปโดยลำดับ

ก็การที่เราจะได้โภคสมบัติที่ยังไม่ได้ หรือการที่เราจะทำโภคสมบัติที่ได้แล้วให้

เจริญ ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า

กาสายะอออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด ดังนี้ . เขาประกอบด้วยความ

เสื่อมจากญาตินั้นจึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิต ท่านรัฐปาละ นี้เรียกว่าความเสื่อมจากญาติ. ส่วนท่านรัฐปาละ

มีมิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้เป็นอันมาก ไม่ได้มีความ

เสื่อมจากญาติเลย. ท่านรัฐปาละ รู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวช

เป็นบรรพชิตเสียเล่า. ท่านรัฐปาละ ความเลื่อม ๔ ประการนี้ ที่คนบางพวก

ในโลกนี้ถึงเข้าแล้ว จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือน

บวชเป็นบรรพชิต ท่านรัฐปาละไม่ได้มีความเสื่อมเหล่านั้นเลย. ท่านรัฐปาละ

รู้เห็นหรือได้ฟังอะไร จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเสียเล่า.

ธัมมุทเทส ๔

[๔๔๖] ท่านพระรัฐปาละถวายพระพรว่า มีอยู่แล มหาบพิตร พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ทรงแสดงธัมมุทเทส ๔ ข้อ ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึง

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ธัมมุทเทส ๔ ข้อเป็นไฉน คือ

๑. ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่หนึ่งว่า โลกอันชราน่าเข้าไป

ไม่ยั่งยืน ดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟัง

แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

๒. ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่สองว่า โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่

เป็นใหญ่เฉพาะตนดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟัง

แล้วจึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

๓. ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่สามว่า โลกไม่มีอะไรเป็นของ

ตนจำต้องละสิ่งทั้งปวงไปดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้

ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้เห็น

และได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

๔. ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทสข้อที่สี่ว่า โลกบกพร่องอยู่เป็นนิตย์

ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหาดังนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้

ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่อาตมภาพรู้

เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

ดูก่อนมหาบพิตร ธัมมุทเทสสี่ข้อนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์

นั้นผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ที่

อาตมภาพรู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

[๔๔๗] ท่านรัฐปาละกล่าวว่า โลกอันชรานำไป ไม่ยั่งยืน ดังนี้

ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้จะพึงเห็นได้อย่างไร.

ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน

มหาบพิตรเมื่อมีพระชนมายุยี่สิบปีก็ดี ยี่สิบห้าปีก็ดี ในเพลงช้าก็ดี เพลงม้า

ก็ดี เพลงรถก็ดี เพลงธนูก็ดี เพลงอาวุธก็ดี ทรงศึกษาอย่างคล่องแคล่ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

ทรงมีกำลัง. พระเพลา มีกำลังพระพาหา มีพระกายสามารถ เคยทรงเข้า

สงความมาแล้วหรือ.

ท่านรัฐปาละ ข้าพเจ้าเมื่อมีอายุยี่สิบปีก็ดี ยี่สิบห้าปีก็ดี ในเพลงช้าง

ก็ดี เพลงม้าก็ดี เพลงรถก็ดี เพลงธนูก็ดี เพลงอาวุธก็ดี ได้ศึกษาอย่าง

คล่องแคล่ว มีกำลังขา มีกำลังแขน มีตนสามารถ เคยเข้าสงครามมาแล้ว

บางครั้งข้าพเจ้าสำคัญว่ามีฤทธิ์ ไม่เห็นใครจะเสมอด้วยกำลังของตน.

ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน

แม้เดี๋ยวนี้ มหาบพิตรก็ยังมีกำลังพระเพลา มีกำลังพระพาหา มีพระกายสามารถ

เข้าสงครามเหมือนฉะนั้นได้หรือ.

ท่านรัฐปาละ ข้อนี้หามิได้ เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าแก่แล้ว เจริญวัยแล้ว

เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับแล้ว วัยของข้าพเจ้าล่วงเข้าแปดสิบ

บางครั้งข้าพเจ้าคิดว่า จักย่างเท้าที่นี้ ก็ไพล่ย่างไปทางอื่น.

ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้

ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหมายถึง ตรัส

ธัมมุทเทสข้อที่หนึ่งว่า โลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืน ที่อาตมภาพรู้เห็นและ

ได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

ดูก่อนท่านรัฐปาละ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้อว่าโลกอันชรา

นำเข้าไป ไม่ยั่งยืนนี้ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสดีแล้ว ดูก่อนท่านรัฐปาละ เป็นความจริง

โลกอันชรานำเข้าไป ไม่ยั่งยืน ในราชสกุลนี้ มีหมู่ช้าง หมู่ม้า หมู่รถ และหมู่

คนเดินเท้า หมู่ใดจักครอบงำอันตรายของเราได้.

[๔๔๘] ท่านรัฐปาละกล่าวว่า โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่

เฉพาะตนดังนี้ ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จึงพึงเห็นได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน

มหาบพิตรเคยทรงประชวรหนักบ้างหรือไม่.

ดูก่อนรัฐปาละ ข้าพเจ้าเคยเจ็บหนักอยู่ บางครั้ง บรรดามิตร อำมาตย์

ญาติสาโลหิตแวดล้อมข้าพเจ้าอยู่ ด้วยสำคัญว่า พระเจ้าโกรัพยะจักสวรรคต

บัดนี้ พระเจ้าโกรัพยะจักสวรรคตบัดนี้ ดังนี้.

ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น เป็นไฉน

มหาบพิตรได้มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต [ที่มหาบพิตรจะขอร้อง] ว่า มิตร

อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ผู้เจริญของเราที่มีอยู่ทั้งหมด จงมาช่วยแบ่งเวทนานี้

ไป โดยให้เราได้เสวยเวทนาเบาลง ดังนี้ หรือว่ามหาบพิตรต้องเสวยเวทนา

แต่พระองค์เดียว.

ดูก่อนท่านรัฐปาละ ข้าพเจ้าจะได้มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต [ที่

ข้าพเจ้าจะขอร้อง] ว่า มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตที่มีอยู่ทั้งหมด จงมา

ช่วยแบ่งเวทนานี้ไป โดยให้เราได้เสวยเวทนาเบาลงไป ดังนี้ หามิได้ ที่แท้

ข้าพเจ้าต้องเสวยเวทนานั้นแต่ผู้เดียว.

ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้

ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหมายถึงตรัสธัมมุทเทส

ข้อที่สองว่า โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน ที่อาตมภาพรู้เห็น

และได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

ดูก่อนท่านรัฐปาละ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว ข้อว่า โลกไม่มีผู้

ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตนนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้

ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสดีแล้ว ท่านรัฐปาละ เป็น

ความจริง โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่เป็นใหญ่เฉพาะตน ในราชสกุลนี้ มีเงิน

และทองอยู่ที่พื้นดินและในอากาศมาก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

[๔๔๙] ท่านรัฐปาละกล่าวว่า โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้อง

ทิ้งสิ่งทั้งปวงไป ดังนี้ ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร.

ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน

เดี๋ยวนี้มหาบพิตรเอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอพระองค์อยู่ ฉันใด

มหาบพิตรจักได้สมพระราชประสงค์ว่า แม้ในโลกหน้า เราจักเป็นผู้เอิบอิ่ม

พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ ฉันนั้น หรือว่าชนเหล่าอื่นจักปกครอง

โภคสมบัตินี้ ส่วนมหาบพิตรก็จักเสด็จไปตามยถากรรม.

ท่านรัฐปาละ เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าเอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕

บำเรอตนอยู่ ฉันใด ข้าพเจ้าจักไม่ได้ความประสงค์ว่า แม้ในโลกหน้า เรา

จะเป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่ ฉันนั้น ที่แท้ ชน

เหล่าอื่นจักปกครองโภคสมบัตินี้ ส่วนข้าพเจ้าก็จักไปตามยถากรรม.

ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหมายถึงตรัสธัมมุทเทส

ข้อที่สามว่า โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป ที่อาตมภาพ

รู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

ดูก่อนท่านรัฐปาละ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว ข้อว่าโลกไม่มีอะไร

เป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไปนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมนาสัมพุทธเจ้า ตรัสดีแล้ว ท่านรัฐปาละ

เป็นความจริง โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป.

[๔๕๐] ท่านรัฐปาละกล่าวว่า โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม

เป็นทาสแห่งตัณหา ดังนี้ ก็เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร.

ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน มหา-

บพิตรทรงครอบครองกุรุรัฐอันเจริญอยู่หรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

อย่างนั้น ท่านรัฐปาละ ข้าพเจ้าครอบครองกุรุรัฐอันเจริญอยู่.

มหาบพิตรจักเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน ราชบุรุษของมหาบพิตร

ที่กุรุรัฐนี้ เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นคนมีเหตุ พึงมาจากทิศบูรพา เขาเข้ามาเฝ้า

มหาบพิตรแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะมหาราชเจ้า พระองค์พึงทรงทราบ

ว่า ข้าพระพุทธเจ้ามาจากทิศบูรพา ในทิศนั้น ข้าพระพุทธเจ้า ได้เห็น

ชนบทใหญ่ มั่งคั่งและเจริญ มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น ในชนบทนั้น

มีพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้ามาก มีสัตว์อชินะที่ฝึกแล้วมาก มีเงิน

และทองทั้งที่ยังไม่ได้ทำ ทั้งที่ทำแล้วก็มาก ในชนบทนั้น สตรีปกครอง

พระองค์อาจจะรบชนะได้ด้วยกำลังพลประมาณเท่านั้น ขอพระองค์จงไปรบ

เอาเถิด มหาราชเจ้า ดังนี้ มหาบพิตรจะทรงทำอย่างไรกะชนบทนั้น.

ดูก่อนท่านรัฐปาละ พวกเราก็ไปรบเอาชนบทนั้นมาครอบครองเสีย

น่ะชิ.

ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน

ราชบุรุษของมหาบพิตรที่กุรุรัฐนี้ เป็นที่เชื่อถือได้ เป็นคนมีเหตุ พึงมาจาก

ทิศปัจจิม... จากทิศอุดร... จากทิศทักษิณ... จากสมุทรฟากโน้น เขาเข้ามา

เฝ้ามหาบพิตร แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ มหาราชเจ้า พระองค์พึงทรง

ทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้ามาจากสมุทรฟากโน้น ณ ที่นั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็น

ชนบทใหญ่ มั่งคั่งและเจริญ มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น ในชนบทนั้น

มีพลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้ามาก มีสัตว์อชินะที่ฝึกแล้วมาก มีเงิน

และทองทั้งที่ยังไม่ได้ทำทั้งที่ทำแล้วมาก ในชนบทนั้น สตรีปกครอง

พระองค์อาจจะรบชนะได้ด้วยกำลังพลประมาณเท่านั้น ขอพระองค์จงไปรบ

เอาเถิด มหาราชเจ้า ดังนี้ มหาบพิตรจะทรงทำอย่างไรกะชนบทนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

ดูก่อนท่านรัฐปาละ พวกเราก็ไปรบเอาชนบทนั้นมาครอบครองเสีย

น่ะซิ.

ดูก่อนมหาบพิตร เนื้อความนี้แล อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงหมายถึงตรัสธัมมุทเทส

ข้อที่สี่ว่า โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา ที่อาตมภาพ

รู้เห็นและได้ฟังแล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

ดูก่อนท่านรัฐปาละ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้อว่า โลกพร่อง

อยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหานี้ อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสดีแล้ว ท่านรัฐปาละ

เป็นความจริง โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

[๔๕๑] ท่านรัฐปาละได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้ว ภายหลังได้กล่าว

คาถาประพันธ์นี้อื่นอีกว่า

เราเห็นมนุษย์ทั้งหลายในโลก ที่เป็น

ผู้มีทรัพย์ ได้ทรัพย์ แล้วย่อมไม่ให้เพราะ

ความหลง โลภแล้วย่อมทำการสั่งสม

ทรัพย์ และยังปรารถนากามทั้งหลายยิ่ง

ขึ้นไป พระราชาทรงแผ่อำนาจชำนะ

ตลอดแผ่นดิน ทรงครอบครองแผ่นดิน

มีสาครเป็นที่สุด มิได้ทรงรู้จักอิ่มเพียงฝั่ง

สมุทรข้างนี้ ยังทรงปรารถนาฝั่งสมุทร

ข้างโน้นอีก พระราชาและมนุษย์เหล่าอื่น

เป็นอันมาก ยังไม่สิ้นความทะเยอทะยาน

ย่อมเข้าถึงความเป็นผู้พร่องอยู่ ละร่างกาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

ไปแท้ ความอิ่มด้วยกามย่อมไม่มีในโลก

เลย อนึ่ง ญาติทั้งหลายพากันสยายผม

คร่ำครวญถึงผู้นั้น พากันกล่าวว่าได้ตาย

แล้วหนอ พวกญาตินำเอาผู้นั้นคลุมด้วย

ผ้าไปยกขึ้นเชิงตะกอน แต่นั้นก็เผากัน

ผู้นั้น เมื่อกำลังลูกเขาเผา ถูกแทงอยู่ด้วย

หลาวมีแต่ผ้าผืนเดียว ละโภคสมบัติไป

ญาติก็ดี มิตรก็ดี หรือสหายทั้งหลายเป็น

ที่ต้านทานของบุคคลผู้จะตายไม่มี ทายาท

ทั้งหลายก็ขนของเอาทรัพย์ของผู้นั้นไป ส่วน

สัตว์ย่อมไปตามกรรมที่ทำไว้ ทรัพย์อะไร ๆ

ย่อมติดตามคนตายไปไม่ได้ บุตร

ภรรยา ทรัพย์และแว่นแคว้นก็เช่นนั้น

บุคคลย่อมไม่ได้อายุยืนด้วยทรัพย์ และ

ย่อมไม่กำจัดชราได้ด้วยทรัพย์ นักปราชญ์

ทั้งหลายกล่าวชีวิตนี้ ว่าน้อยนัก ว่าไม่

เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ทั้ง-

คนมั่งมี ทั้งคนยากจน ย่อมกระทบผัสสะ

ทั้งคนพาล ทั้งนักปราชญ์ ก็กระทบผัสสะ

เหมือนกัน แต่คนพาล ย่อมนอนหวาดอยู่

เพราะความที่ตนเป็นพาล ส่วนนักปราชญ์

อันผัสสะถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว

เพราะเหตุนั้นแล ปัญญาจึงประเสริฐกว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

ทรัพย์ ปัญญาเป็นเหตุถึงที่สุดในโลกนี้ได้

คนเป็นอันมากทำบาปกรรมเพราะความ-

หลงในภพน้อยภพใหญ่ เพราะไม่มีปัญญา

เครื่องให้ถึงที่สุด สัตว์ที่ถึงการท่องเที่ยว

ไปมา ย่อมเข้าถึงครรภ์บ้าง ปรโลกบ้าง

ผู้อื่นนอกจากผู้มีปัญญานั้น ย่อมเชื่อได้ว่า

จะเข้าถึงครรภ์และปรโลก หมู่สัตว์ผู้มีบาป

ธรรม ละโลกนี้ไปแล้วย่อมเดือดร้อน

เพราะ กรรม ของ ตน เอง ใน โลก หน้า

เปรียบเสมือนโจรผู้มีความผิด ถูกจับเพราะ

โจรกรรม มีตัดช่อง เป็นต้น ย่อมเดือด-

ร้อนเพราะกรรมของตนเอง ฉะนั้น

ความจริง กามทั้งหลายวิจิตร รสอร่อย

เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิต ด้วยรูปมี

ประการต่าง ๆ มหาบพิตร อาตมภาพ

เห็นโทษในกามทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น

จงบวชเสีย ผลไม้ทั้งหลายยังไม่หล่นทีเดียว

มาณพทั้งหลาย ทั้งหนุ่มทั้งแก่ ย่อมมี

สรีระทำลายได้ มหาบพิตร อาตมภาพ

รู้เหตุนี้จึงบวช ความเป็นสมณะ เป็น

ข้อปฏิบัติอันไม่ผิด เป็นคุณประเสริฐแท้

ดังนี้แล.

จบ รัฏฐปาลสูตร ที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

อรรถกถารัฏฐปาลสูตร

รัฏฐปาลสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

พึงทราบวินิจฉัยในรัฏฐปาลสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ บทว่า ถุลฺลโกฏฺิติ

ได้แก่ แน่นยุ้ง คือ เต็มเปี่ยมเรือนยุ้ง. ได้ยินว่า ชนบทนั้น มีข้าวกล้าเป็น

นิตย์ คือ เมล็ดข้าวออกไปเข้าลานทุกเมื่อ. ด้วยเหตุนั้น ในนิคมนั้น ยุ้งทั้ง

หลายจึงเต็มอยู่เป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น ชนบทนั้นจึงนับได้ว่า ถุลลโกฏฐิตะ

แปลว่า มีข้าวแน่นยุ้งทีเดียว. เหตุไร ท่านพระรัฐปาล จึงชื่อว่า รัฐปาละ.

ที่ชื่อว่า รัฐปาละ เพราะเป็นผู้สามารถ ดำรงรักษารัฐที่แบ่งแยกได้. ถามว่า

ชื่อของท่านพระรัฐปาละนั้น เกิดขึ้น เมื่อไร. ตอบว่า เมื่อครั้งพระสัมมา

สัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ.

จริงอยู่ ปลาย ๑๐๐,๐๐๐ กัป ก่อนแต่กัปนี้ มนุษย์มีอายุ ๑๐๐,๐๐๐ ปี

พระศาสดาพระนามว่า ปทุมุตตระ อุบัติขึ้น มีภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร

เสด็จจาริก เพื่อโปรดโลกที่ท่านหมายเอากล่าวไว้ว่า

พระศาสดา พระนามว่า ปทุมุตตระ

มีพระชนก พระนามว่า พระเจ้าอานันทะ

พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา ณ

นคร หงสวดี.

ครั้น พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ยังไม่ทรงอุบัติ. กุฏุมพีสองคนแห่งกรุงหงสวดี

มีศรัทธาเลื่อมใส ทั้งโรงทานสำหรับคนเข็ญใจ คนเดินทางและยาจกเป็นต้น.

ครั้งนั้น ดาบส ๕๐๐ ตน ผู้อยู่ในภูเขา มาถึงกรุงหงสวดี. คนทั้งสองนั้น ก็

แบ่งดาบส คนละครึ่งบำรุงกัน. ดาบสทั้งหลาย อยู่ชั่วเวลานิดหน่อย ก็กลับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

ไปยังภูเขา. พระสังฆเถระทั้งสองก็แยกย้ายไป. ครั้งนั้น กุฏุมพีทั้งสองนั้น ก็

ทำการบำรุง ดาบสเหล่านั้น จนตลอดชีวิต. เมื่อเหล่าดาบสบริโภค แล้ว

อนุโมทนา รูปหนึ่งกล่าว พรรณนาคุณของภพท้าวสักกะ. รูปหนึ่งพรรณนา

คุณภพของนาคราช เจ้าแผ่นดิน. บรรดากุฏุมพีทั้งสอง คนหนึ่งปรารถนาภพ

ท้าวสักกะ ก็บังเกิดเป็นท้าวสักกะ. คนหนึ่งปรารถนาภพนาค ก็เป็นนาคราช

ชื่อปาลิตะ. ท้าวสักกะเห็นนาคนั้นมายังที่บำรุงของตน จึงถามว่า ท่านยังยินดี

ยิ่ง ในกำเนิดนาคอยู่หรือ. ปาลิตะ นาคราชนั้นตอบว่า เราไม่ยินดีดอก.

ท้าวสักกะบอกว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถวายทาน แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ปทุมุตตระสิ แล้วทำความปรารถนาจะอยู่ในที่นี้ เราทั้งสองจะอยู่เป็นสุข.

นาคราชนิมนต์พระศาสดา มาถวายมหาทาน ๗ วัน แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ซึ่งมี ภิกษุ ๑๐๐,๐๐๐ รูป เป็นบริวาร เห็นสามเณรโอรสของพระปทุมุตตร

ทศพล ชื่ออุปเรวตะ วันที่ ๗ ถวายผ้าทิพย์แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุขจึงปรารถนาตำแหน่งของสามเณร. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดู

อนาคตกาล ทรงเห็นว่าเขาจักเป็นราหุลกุมาร โอรสของพระพุทธเจ้าพระ-

นามว่าโคตมะ ในอาคตกาล จึงตรัสว่าความปรารถนาของท่านจักสำเร็จ.

นาคราชก็บอกความนั้นแก่ท้าวสักกะ. ท้าวสักกะฟังแล้วก็ถวายทาน ๗ วัน

อย่างนั้นเหมือนกัน เห็นกุลบุตรชื่อรัฐปาละผู้ธำรงรัฐที่แบ่งแยกกัน แล้วบวช

ด้วยศรัทธา จึงทั้งความปรารถนาว่า ในอาคตกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์

อุบัติในโลก แม้ข้าพระองค์ก็บังเกิดในตระกูลที่สามารถธำรงรักษารัฐที่แบ่ง

แยกกัน พึงมีชื่อว่า รัฐปาละผู้บวชด้วยศรัทธาเหมือนกุลบุตรผู้นี้. พระ-

ศาสดาทรงทราบว่าความปรารถนาสำเร็จ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

ตระกูลใดชื่อตระกูลรัฐปาละ จักมี

อยู่เพื่อเลี้ยงคนสี่วรรณะพร้อมทั้งพระราชา

กุลบุตรผู้นี้จักเกิดในตระกูลนั้น.

พึงทราบว่าชื่อนี้ ของท่านพระรัฐปาละนั้นเกิดขึ้น ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่า ปทุมุตตระด้วยประการฉะนี้.

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ความคิดอะไร ๆ ว่า ยถา ยถา โข

เป็นต้น ได้มีแล้ว. คำสังเขปในคำนั้นมีดังนี้. เราแลรู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยเหตุใด ๆ ก็เป็นอันเราพิจารณาใคร่ครวญแล้ว

ด้วยเหตุนั้น ๆ อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์ คือ สิกขา ๓ นั้นใด เราพึงประพฤติให้

บริบูรณ์โดยส่วนเดียว เพราะทำไม่ให้ขาดแม้วันหนึ่ง ให้ถึงจริมกจิต และพึง

ประพฤติให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียว ดังสังข์ขัด เช่น กับสังข์ที่ขัดสีแล้ว ได้แก่

เทียบกับสังข์ที่ชำระแล้ว เพราะทำให้ไม่มีมลทิน โดยมลทินคือกิเลสแม้ในวัน

หนึ่ง แล้วให้ถึงจริมกจิต. บทว่า อิท น สุกร อคาร อชฺฌาวสตา

ความว่า พรหมจรรย์นั้น อันผู้อยู่ท่ามกลางเรือนพระพฤติให้บริบูรณ์โดยส่วน

เดียว ฯลฯ กระทำไม่ได้ง่ายเลย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวดห่มผ้าอัน

เหมาะแก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ที่ชื่อว่า กาสายะ เพราะย้อมด้วยน้ำฝาด

ออกจากเรือนบวชไม่มีเรือน. บทว่า อจิรปกฺกนฺเตสุ ถุลฺลโกฏฺิตเกสุ

พฺราหฺมณคหปติเกสุ เยน ภควา เตนูปสงฺกมิ ความว่า ในเมื่อพรหมณ์

และคหบดี เหล่านั้นยังไม่ลุกไป รัฐปาลกุลบุตร ก็ไม่ทูลขอบรรพชาต่อพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะเหตุไร. เพราะญาติสาโลหิตมิตรทั้งหลาย ของเขาในที่

นั้นเป็นจำนวนมาก ก็หวังกันอยู่ คนเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านเป็นลูกคนเดียว

ของมารดาบิดา ท่านไม่ควรบวช แล้วพึงจับเขาที่แขนคร่ามา แต่นั้น บรรพชา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

ก็จักเป็นอันตราย. เขาลุกขึ้นไปพร้อมกับบริษัทเดินไปหน่อยหนึ่งแล้วก็กลับ

ทำเลสว่ามีกิจเนื่องอยู่ด้วย สรีระบางอย่าง แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูล

ขอบรรพชา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข รฏฺปาโล กุลปุตฺโต

อจิรวุฏฺิตาย ปริสาย ฯเปฯ ปพฺพาเชตฺ ม ภควา. ก็เพราะนับจำเดิม

แต่ราหุลกุมารบวชแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงบวชบุตร ที่มารดาบิดาไม่

อนุญาต ฉะนั้น จึงตรัสถามเขาว่า อนุญฺาโตสิ ปน ตฺว รฏฺปาล มา-

ตาปิตูหิ ฯลฯ ปพฺพชฺชาย. ในคำว่า อมฺม ตาต นี้ รัฐปาละเรียกมารดา

ว่า อมฺม เรียกบิดาว่า ตาต. บทว่า เอกปุตฺตโก แปลว่า บุตรน้อยคน

เดียวเท่านั้น บุตรไรๆ อื่นไม่ว่าพี่หรือน้องไม่มี. ก็ในคำนี้ เมื่อควรจะกล่าวว่า

เอกปุตฺโต ก็กล่าวว่า เอกปุตฺตโก ด้วยอำนาจความเอ็นดู. บทว่า ปิโย

แปลว่าเกิดปีติ. บทว่า มนาโป แปลว่า เจริญใจ. บทว่า สุเข ิโต

แปลว่าตั้งอยู่ในสุขนั่นแหละ อธิบายว่า จำเริญสุข. บทว่า สุขปริหโฏ แปล

ว่า บริหารด้วยความสุข. ตั้งแต่เวลาเกิดมา เขามีแม่นมโดยอุ้มไม่วางมือ

เล่นด้วยเครื่องเล่นของเด็กมีรถม้าน้อย ๆ เป็นต้น ให้บริโภคเเต่โภชนะที่มีรสดี

ชื่อว่า บริหารด้วยความสุข. บทว่า น ตฺว ตาต รฏฺปาล กสฺสจิ ทุกฺขสฺส

ชานาสิ ความว่า พ่อรัฐปาละ เจ้าไม่รู้ระลึกไม่ได้ถึงส่วนของความทุกข์แม้

ประมาณน้อย. บทว่า มรเณนปิ เต มย อกามกา วินา ภวิสฺสาม ความ

ว่า แม้ถ้าท่านจะพึงตายเสีย เมื่อพวกเรายังเป็นอยู่ไซร้ แม้เพราะความตาย

ของท่าน พวกเราไม่ต้องการ ไม่ปรารถนา ไม่ชอบใจตน ก็จำจักต้องพลัดพราก

หรือจักถึงความพลัดพรากท่านไป. บทว่า กึ ปน มย ต ความว่า เมื่อเป็น

เช่นนั้น เหตุที่เราจักอนุญาตให้ท่านเป็นอยู่ ชื่ออะไร. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบ

ความในคำว่า กึ ปน มยนฺต นี้อย่างนี้ว่า ด้วยเหตุไรพวกเราจึงจักอนุญาต

ให้ท่านมีชีวิตอยู่. บทว่า ตตฺเถว ความว่าในที่ที่มารดาบิดาไม่อนุญาตท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

ให้ดำรงอยู่. บทว่า อนนฺตรหิตาย ความว่า เพราะไม่ต้องการด้วยเครื่อง

ลาดอะไร ๆ. บทว่า ปริจาเรหิ ความว่าทะนุบำรุงดนตรีการฟ้อนและนักฟ้อน

เป็นต้น บำเรอตัวตามความสุขพร้อมด้วยเหล่าสหายในที่นั้น อธิบายว่า นำ

เข้าไปที่โน้นที่นี่. อีนัยหนึ่ง บทว่า ปริจาเรหิ ท่านอธิบายว่า ทะนุบำรุง

ดนตรีการฟ้อนและนักฟ้อนเเป็นต้น ร่าเริงยินดีเล่นกับเหล่าสหาย. บทว่า

กาเม ปริภุญฺชนฺโต ความว่า บริโภคโภคะพร้อมกับบุตรภริยาของตน. บทว่า

ปุญฺานิ กโรนฺโต ความว่า ปรารภพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

กระทำกุศลกรรมชำระทางไปสู่สุคติ มีการมอบถวายทานเป็นต้น. บทว่า ตุณฺหี

อฺโหส ได้แก่ ไม่พูดจาปราศรัย เพื่อตัดการพูดต่อไป. ครั้งนั้น มารดาบิดา

ของเขาพูด ๓ ครั้งไม่ได้แม้คำตอบ จึงให้เรียกสหายมาพูดว่า สหายของเจ้า

นั้นอยากจะบวช ห้ามเขาทีเถอะ. แม้สหายเหล่านั้นเข้าไปหาเขาแล้ว พูด ๓

ครั้ง. แม้สำหรับสหายเหล่านั้น เขาก็นิ่ง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข

รฏฺปาลสฺส กุลปุตฺตฺสฺส สหายกา ฯเปฯ ตุณฺหี อโหสิ.

ครั้งนั้น เหล่าสหายของเขาก็คิด อย่างนี้ว่า ถ้าเพื่อนผู้นี้ไม่ได้บวช

ก็จักตายไซร้ เราก็จักไม่ได้คุณอะไร ๆ แต่เขาบวชแล้ว ทั้งมารดาบิดาก็จัก

เห็นเป็นครั้งคราวทั้งเราก็จักเห็น ก็ธรรมดาว่าการบรรพชานี้เป็นของหนัก

เขาจะต้องถือบาตรเดินไป เที่ยวบิณฑบาตรทุกวัน ๆ พรหมจรรย์ที่มีการ

นอนหนเดียว กินหนเดียว หนักนักหนา ก็เพื่อนของเรานี้เป็นชาวเมือง

สุขุมาลชาติ เขาเมื่อไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์นั้นได้ ก็จะต้องมาในที่นี้อีก

แน่แท้ เอาเถอะเราจักให้มารดาบิดาของเขาอนุญาต. สหายเหล่านั้นได้กระทำ

อย่างนั้น . แม้มารดาบิดา กระทำกติกาสัญญานี้ว่า ก็เขาบวชแล้ว พึงอุทิศ

มารดาบิดา จึงอนุญาตเขา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข รฏฺปาลสฺส

กุลปุตฺตสฺส สหายา เยน รฏฺปาลสฺส กุลปุตฺตสฺส มาตาปิตโร ฯเปฯ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

อนุญฺาโตสิ มาตาปิตูหิ ฯเปฯ อุทฺทิสิตพฺพา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

อุทฺทิสิตพฺพา ความว่า พึงมาแสดงตนอย่างที่มารดาบิดาเห็นได้บางครั้งบาง

คราว. บทว่า พล คเหตฺวา ความว่า บริโภคโภชนะอันสบาย บำรุงกายด้วย

การขัดสี. เป็นต้น เกิดกำลังกายแล้ว ไหว้มารดาบิดา ละเครือญาติ ที่มีน้ำตา

นองหน้า เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า ฯล ฯ ขอพระผู้มีพระภาค

เจ้า โปรดบวชข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุรูปหนึ่งซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ สั่งว่า ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้รัฐปาละ

บรรพชาและอุปสมบท. ภิกษุนั้นรับพระพุทธพจน์ว่า สาธุ พระเจ้าข้า ได้

กุลบุตร ชื่อ รัฐปาละ ที่พระชินเจ้าประทานเป็นสัทธิวิหาริก ให้บรรพชา

และอุปสมบท. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อลตฺถ โข รฏฺปาโล

กุลปุตฺโต ภควโต สนฺติเก ปพฺพชฺช อลตฺถ อุปสมฺปท. บทว่า ปหิตตฺ-

โต วิหรนฺโต ความว่า อยู่อย่างนี้ ๑๒ ปี. จริงอยู่. ท่านผู้นี้เป็นไนยบุคคล

มีบุญแม้พร้อมด้วยบุญเก่าอยู่ ก็ต้องบำเพ็ญสมณธรรมด้วย ความมุ่งมั่นว่า

พระอรหัตวันนี้ พระอรหัตวันนี้ ปีที่ ๑๒ จึงบรรลุพระอรหัต. บทว่า เยน

ภควา เตนูปสงฺกมิ ความว่า พระเถระคิดว่า มารดา บิดาของเราอนุญาต

ให้บวช กล่าวว่า เจ้าต้องมาพบเราบางครั้งบางคราว แล้วจึงอนุญาต ก็มารดา

บิดาเป็นผู้กระทำกิจที่ทำได้ยาก ก็เราบวชด้วยอัธยาศรัย อันใด อัธยาศรัยอัน

นั้นอยู่เหนือกระหม่อมของเรา บัดนี้ เราจักทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า แสดง

ตัวแก่มารดาบิดา แล้วประสงค์จะทูลลา จึงเข้าเฝ้า. บทว่า มนสากาสิ

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใส่พระทัยว่า เมื่อพระรัฐปาละไปแล้ว จักมี

อุปสรรคไร ๆ ไหมหนอ. ทรงทราบว่า จักมีแน่ ทรงตรวจดูว่า พระรัฐปาละ

จักสามารถย่ำยีอุปสรรคนั้นหรือหนอ ทรงเห็นว่า พระรัฐบาละนั้นบรรลุพระ-

อรหัต ก็ทรงทราบว่า จักสามารถ จึงทรงอนุญาต . ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

ยถา ภควา อญฺาสิ ฯเปฯ กาล มญฺสิ ดังนี้. บทว่า มิคาจิเร ได้แก่

พระอุทยาน มีชื่ออย่างนี้. ก็พระราชอุทยานนั้น พระราชาพระราชทาน แก่

เหล่าบรรพชิตที่มาถึงในกาลมิใช่เวลา เป็นอันทรงอนุญาตอย่างนี้ว่า จงใช้

สอยอุทยานนี้ตามความสบายเถิด. เพราะฉะนั้น พระเถระไม่เกิดแม้ความ

คิดว่า เราจะบอกบิดามารดาว่า เรามาแล้ว มารดาบิดานั้นจักส่งน้ำ ล้างเท้า

น้ำมันทาเท้า เป็นต้นแก่เรา แล้วเข้าไปยังพระราชอุทยาน นั้นแล. บทว่า

ปิณฺฑาย ปาวิสิ ได้แก่ เข้าไปบิณฑบาตในวันที่ ๒. บทว่า มชฺณิมาย

ได้แก่ ซุ้มประตูกลางของเรือน มี ๗ ซุ้มประตู. บทว่า อุลฺลิกฺขาเปติ

ได้แก่ ให้ช่างสระผม. บทว่า เอตทโวจ ได้เเก่ บิดาคิดว่า สมณะเหล่านี้

ให้บุตรที่รักคนเดียวของเราบวช เราไม่เห็นแม้แต่วันเดียว เหมือนมอบไว้ใน

มือโจร สมณะเหล่านี้ กระทำการหยาบช้าอย่างนี้ ยังจะเข้าใจว่า ที่นี้ควรจะเข้ามา

อีก ควรจะคร่าไปเสียจากที่นี้ จึงกล่าวคิดว่า เอต อิเมหิ มุณฺฑเกหิ. บทว่า

าติทาสี ได้แก่ ทาสีของพวกญาติ. บทว่า อภิโทสิก ได้แก่ ขนม

ที่ค้างคืน คือขนมที่ล่วงคืนหนึ่งไปแล้ว เป็นของบูด. ในคำนั้นมีความของ

บทดังนี้. ชื่อว่า อาภิโทส เพราะถูกโทษ คือ ความบูดครอบงำแล้ว.

อภิโทสนั้นแล ก็คืออาภิโทสิก. นี้เป็นชื่อของขนมที่ล่วงเลยคืนหนึ่งไปแล้ว

คือขนมที่ค้างคืนอันนั้น. บทว่า กุมฺมาส ได้แก่ ขนมที่ทำด้วยข้าวเหนียว.

บทว่า ฉฑฺเฑตุกามา โหติ ความว่า เพราะเหตุที โดยที่สุด แม้แต่ทาส

กรรมกรทั้งโค ก็ไม่ควรกิน ฉะนั้น ทาสีประสงค์ก็จะทิ้งขนมนั้นไปในภายนอก

เหมือนขยะ. บทว่า สเจต ตัดบทว่า สเจ เอต. พระเถระ เรียกทาสี

นางนมของตนนั้น ด้วยอริยโวหารว่า ภคินิ. บทว่า ฉฑฺฑนิยธมฺม

ความว่า มีอันจะต้องทิ้งไปเป็นสภาวะ. ท่านอธิบายไว้ว่า ดูก่อนน้องหญิง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

ถ้าสิ่งนี้ มีอันจะต้องทิ้งไปในภายนอกเป็นธรรมดา ไม่หวงแหนไว้ไซร้ เจ้าจง

เกลี่ยลงในบาตรของเรานี้.

ถามว่า ทำไมพระเถระจึงได้กล่าวอย่างนี้ ไม่เป็นการขอหรือพูด

เหมือนขอหรือ. ตอบว่าไม่เป็น. เพระเหตุไร. เพราะเขาสละความหวงแหน

แล้ว. จริงอยู่ของใดมีอันจะต้องทิ้งไปเป็นธรรม เขาสละความหวงแหนแล้ว

เจ้าของไม่ใยดีในของใด ควรจะกล่าวว่า จงนำของนั้น มาให้ทั้งหมด จงเกลี่ยลง

ในบาตรนี้. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านพระรัฐปาละนี้ เป็นผู้ดำรงอยู่ในอริยวงศ์

อันเลิศอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า หตฺถาน ได้แก่ มือทั้งสองตั้งแต่ข้อมือ

ของพระเถระผู้น้อมบาตรเพื่อรับภิกษา. บทว่า ปาทาน ได้แก่ เท้าแม้

ทั้งสองทั้งแต่ชายผ้านุ่ง. บทว่า สรสฺส ได้แก่ เสียงที่เปล่งวาจาว่า น้องหญิง

ถ้าขอนั้นเป็นต้น. บทว่า นมิตฺต อคฺคเหสิ ความว่า นางทาสี เมื่อ

พิจารณาดูหลังมือเป็นต้น ก็ยึดคืน จำได้กำหนดอาการที่เคยกำหนดในเวลาที่

ท่านเป็นคฤหัสถ์ว่า หลังมือแลเท้าเหล่านี้ เช่นเดียวกับหลังเต่าทอง นิ้วมือที่

กลมดี เหมือนเกลียวหรดาล เสียงไพเราะเหมือนของรัฐบาลบุตรของเรา. ก็

เมื่อท่านพระรัฐบาลนั้น อยู่ป่าถึง ๑๒ ปี และบริโภคโภชนะคือคำข้าว

ผิวพรรณของร่างกาย จึงเห็นเป็นคนอื่นไป. ด้วยเหตุนั้น ทาสีของญาติเห็น

เถระนั้น จึงจำไม่ได้ แต่ยังถือนิมิตได้. บทว่า รฏฺปาลสฺส มาตร เอตทโวจ

ความว่า แม้เหล่านางนม ผู้ทะนุถนอมอวัยวะน้อยใหญ่ของพระเถระให้ดื่มน้ำนม

เลี้ยงมาจนเติบโต ก็ไม่อาจพูดกับบุตรนายผู้บวชแล้วถึงความเป็นพระมหา-

ขีณาสพ เป็นต้นว่า ท่านเจ้าข้า ท่านหรือหนอ คือรัฐปาละ บุตรของเรา

จึงรีบเข้าเรือนกล่าวคำนี้ กะมารดาของรัฐปาละ ศัพท์ว่า ยคฺเฆ เป็นนิบาตลง

ในอรรถ ว่าบอกกล่าว. ศัพท์ว่า เช ในคำว่า สเจ เช สจฺจ นี้ เป็น

นิบาต ในอรรถว่าร้องเรียก. จริงอยู่ คนทั้งหลายย่อมร้องเรียกคนที่เป็นทาส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

ทาสีในชนบทนั้น. เพราะเหตุนั้นแล พึงเห็นความในบทนี้อย่างนี้ว่า แม่ทาสี

ผู้เจริญ ถ้าเจ้าพูดจริง. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่าเหตุไร จึงเข้า ไป. นาง

คิดว่าสตรีทั้งหลายในสกุลใหญ่ เมื่อออกไปในภายนอก ย่อมได้รับการติเตียน

ก็นี้เป็นกิจด่วน จำเราจักบอกกิจนั้นแก่เศรษฐี เพราะฉะนั้น นางจึงเข้าไป.

บทว่า อญฺตร กุฑฺฑมูล ความว่า ได้ยินว่า ในที่นั้นมีศาลาอยู่ใกล้เรือน

ของทานบดี. ที่ศาลานั้น เขาจัดอาสนะไว้ น้ำและน้ำข้าวเขาก็จัดตั้งไว้ในศาลา

นั้น บรรพชิตทั้งหลายเที่ยวบิณฑบาตร แล้วนั่งฉัน. ถ้าว่าบรรพชิตทั้งหลาย

ปรารถนา ก็จะถือเอาสิ่งของแม้ของทานบดีทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แม้ที่นั้น

ก็พึงทราบว่า ใกล้ฝาแห่งหนึ่ง แห่งศาลาเช่นนี้ ของตระกูลตระกูลหนึ่ง. แท้จริง

บรรพชิตทั้งหลายหานั่งฉันในที่อันไม่สมควรอย่างมนุษย์ยากไร้ไม่. ศัพท์ว่า

อตฺถิ ในคำว่า อตฺถิ นาม ตาต นี้ ลงในอรรถว่า มีอยู่. ศัพท์ว่า นาม

เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ถามหรือ สำคัญ. ท่านอธิบายว่า บิดาพึงกล่าวว่า

ซึ่งเจ้าจักมาถึงในที่เช่นนี้ บริโภคขนมค้างคืนของเราใด พ่อรัฐปาละ พวกเรา

นั้นมีทรัพย์อยู่หนอ มิใช่ไม่มีทรัพย์. บิดาพึงกล่าวว่า อนึ่ง เจ้าพึงนั่งในที่

เช่นนี้ บริโภคขนมค้างคืนของพวกเราใด พวกเรานั้น ยังมีชีวิตอยู่หนอ

มิใช่ผู้ตายไปแล้ว . อนึ่ง เจ้าแม้ถูกเลี้ยงเติบโตมาด้วยรสโภชนะอันดี ไม่พิการ

จะบริโภคขนมค้างคืนที่น่าเกลียดอันนี้ใด ดังบริโภคอมฤต พ่อรัฐปาละ คุณ-

เครื่องเป็นสมณะอาศัยพระศาสนา แนบแน่นภายในของเจ้า ชรอยจะมีอยู่.

ก็คหบดีนั้น ไม่อาจกล่าวเนื้อความนี้ให้บริบูรณ์ได้ เพราะถูกทุกข์ทิ่มแทง แล้ว

กล่าวได้แต่เพียงเท่านี้ว่า พ่อรัฐปาละ มีหรือ ที่เจ้าจักบริโภคขนมค้างคืน.

ก็ในข้อนี้ นักคิดอักษรกล่าวลักษณะนี้ไว้. ท่านทำคำอนาคตกาลว่า ปรภุญฺ-

ชิสฺสสิ ใกล้บทในศัพท์ว่า อตฺถิ นี้ ด้วยอรรถอันไม่บริบูรณ์ ตามการ

กำหนดของตน. คำนั้นมีเนื้อความดังนี้ว่า มีอยู่หรือ พ่อรัฐปาละ ที่พ่อจะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

ฉันขนมกุมาสบูด แม้เราเห็นกับตาก็ไม่เชื่อ ทนไม่ได้. คฤหบดียืนจับที่

ขอบปากบาตรของพระเถระกล่าวคำมีประมาณเท่านี้ เมื่อบิดายืนจับที่ขอบปาก-

บาตรอยู่นั้นแล แม้พระเถระ ก็ฉันขนมบูดนั้น ที่ส่งกลิ่นบูดในที่ที่แตกเหมือน

ฟองไข่เน่า เป็นเช่นกับรากสุนัข . เล่าว่าปุถุชนก็ไม่อาจกินขนมเช่นนั้นได้. แต่

พระเถระดำรงอยู่ในอริยฤทธิ ฉันเหมือนกับฉันอมฤตรสทิพยโอชา รับน้ำด้วย

ธรรมกรก ล้างบาตร ปาก และมือเท้า กล่าวคำเป็นต้นว่า กุโต โน คหปติ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กุโต โน แปลว่า แต่ที่ไหนหนอ. บทว่า เนว

ทาน ความว่า ไม่ได้ทานโดยไทยธรรมเลย. บทว่า น ปจฺจกฺขาน

ความว่า ไม่ได้แม้คำเรียกขาน โดยปฏิสันถารอย่างนี้ว่า พ่อรัฐปาละ เจ้า

พอทนบ้างหรือ มาด้วยความลำบากเล็กน้อยบ้างหรือ พ่อไม่ฉันอาหารใน

เรือนก่อนหรือ.

ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงกล่าวอย่างนี้. เพราะอนุเคราะห์บิดา.

ได้ยินว่า พระเถระคิดอย่างนี้ว่า บิดานี้ พูดกะเราฉันใด เห็นที่จะพูดกะ

บรรพชิตแม้อื่นฉันนั้น ก็ในพระพุทธศาสนา ภายในของเหล่าภิกษุผู้ปกปิด

คุณเช่นเรา เหมือนดอกปทุมในระหว่างใบ เหมือนไฟที่เถ้าปิด เหมือน

แก่นจันทน์ที่กะพี้ปิด เหมือนแก้วมุกดาที่ดินปิด เหมือนดวงจันทร์ที่เมฆฝนปิด

ย่อมไม่มี ถ้อยคำเห็นปานนี้ จักเป็นไปในภิกษุเหล่านั้น บิดาก็จักตั้งอยู่ใน

ความระมัดระวัง เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวอย่างนี้ด้วยความอนุเคราะห์.

บทว่า อหิ ตาต ความว่า คหบดีพูดว่า พ่อเอ่ยเรือนของเจ้าไม่มีดอก มา

เราไปเรือนกัน. บทว่า อล ได้แก่ พระเถระเมื่อปฏิเสธจึงกล่าวอย่างนี้

เพราะเป็นผู้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์อย่างอุกฤษฏ์. บทว่า อธิวาเสสิ ความว่า

แต่พระเถระ โดยปกติเป็นผู้ถือสปทานจาริกังคธุดงค์อย่างอุกฤษฏ์ จึงไม่รับ

ภิกษา เพื่อฉันในวันรุ่งขึ้น แต่รับด้วยความอนุเคราะห์มารดา. ได้ยินว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

มารดาของพระเถระรำลึกแล้วรำลึกเล่าถึงพระเถระ ก็เกิดความโศกอย่างใหญ่

ร้องห่มร้องไห้มีดวงตาฟกช้ำ. เพราะฉะนั้น พระเถระคิดว่า ถ้าเราจักไม่ไป

เยี่ยมมารดานั้น หัวใจของมารดาจะพึงแตก จึงรับด้วยความอนุเคราะห์ บทว่า

การาเปตฺวา ความว่า ให้กระทำเป็น ๒ กอง คือ เงิน กองหนึ่ง ทอง กองหนึ่ง.

ถามว่าก็กองทรัพย์ใหญ่โตเพียงไร. ตอบว่าใหญ่เหมือนอย่างบุรุษยืนข้างนี้ ไม่

เห็นบุรุษ ขนาดสันทัดที่ยืนข้างโน้น. บิดาเมื่อแสดงกองกหาปณะ และกอง

ทอง จึงกล่าวว่า อิทนฺเต ตาต. บทว่า มตฺติก แปลว่า ทรัพย์มาข้างมารดา

อธิบายว่า ทรัพย์นี้เป็นของยายของเจ้า เมื่อมารดามาเรือนนี้ มารดาก็ให้ทรัพย์

เพื่อประโยชน์แก่ของหอม แลดอกไม้เป็นต้น . บทว่า อญฺ ปิตฺติก อฺ

ปิตามห ความว่า ทรัพย์ใดเป็นของบิดาและปู่ของเจ้า ทรัพย์นั้นที่เก็บไว้

และที่ใช้การงานอย่างอื่นมีมากเหลือเกิน. ก็ในคำนั้น คำว่า ปิตามห นี้พึง

ทราบว่า ลบตัทธิต. ปาฐะว่า เปตามห ก็มี. บทว่า สกฺกา ตาต รฏฺปาล

ความว่า พ่อรัฐบาล ไม่ใช่บรรพชิตอย่างเดียวที่สามารถทำบุญได้ แม้ผู้ครอง

เรือนบริโภคโภคะก็สามารถตั้งอยู่ในสรณะ ๓ สมาทานสิกขาบท ๕ ทำบุญมี

ทานเป็นต้น ยิ่ง ๆ ขึ้นไป มาเถอะพ่อ เจ้า ฯลฯ จงกระทำบุญ. พระเถระ

กล่าวอย่างนี้ว่า ตโตนิทาน หมายถึงความโสกเป็นต้นที่เกิดแก่ผู้รักษาทรัพย์

นั้น ๆ และผู้ถึงความสิ้นทรัพย์ ด้วยอำนาจราชภัยเป็นต้น เพราะทรัพย์เป็นเหตุ

เพราะทรัพย์เป็นปัจจัย. ครั้นพระเถระกล่าวอย่างนั้น เศรษฐีคฤหบดีคิดว่า

เรานำทรัพย์นี้มาด้วยหมายจะให้บุตรนี้สึก บัดนี้ บุตรนั้น กลับเริ่มสอนธรรม

แก่เรา อย่าเลย เขาจักไม่ทำตามคำของเราแน่ แล้วจักลุกขึ้นไปให้เปิดประตู

ห้องนางใน ของบุตรนั้น ส่งคนไปบอกว่า ผู้นี้เป็นสามี พวกเจ้าจงไป ทำ

อย่างใดอย่างหนึ่ง พยายามจับตัวมาให้ได้. นางรำทั้งหลายผู้อยู่ในวัยทั้งสามออก

ไปล้อมพระเถระไว้. ท่านกล่าวคำว่า ปุราณทุติยิกา เป็นต้น หมายถึงหญิง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

หัวหน้า ๒ คน ในบรรดานางรำเหล่านั้น. บทว่า ปจฺเจก ปาเทสุ คเหตฺวา

ได้แก่ จับพระเถระนั้นที่เท้าคนละข้าง. เพราะเหตุไร นางรำเหล่านั้น จึงกล่าว

อย่างนี้ว่า พระลูกเจ้าพ่อเอ่ย นางอัปสรเป็นเช่นไร. ได้ยินว่า ครั้งนั้นคน

ทั้งหลายเห็นเจ้าหนุ่มบ้าง พราหมณ์หนุ่มบ้าง ลูกเศรษฐีบ้าง เป็นอันมากละ

สมบัติใหญ่บวชกัน ไม่รู้คุณของบรรพชา จึงตั้งคำถามว่า เหตุไร คนเหล่านี้

จึงบวช. ที่นั้นคนเหล่าอื่นจึงกล่าวว่า เพราะเหตุแห่งเทพอัปสร เทพนาฏกะ.

ถ้อยคำนั้นได้แพร่ไปอย่างกว้างขวาง. นางฟ้อนรำเหล่านั้นทั้งหมด จำถ้อยคำ

นั้นได้แล้วจึงกล่าวอย่างนี้. พระเถระเมื่อจะปฏิเสธจึงกล่าวว่า น โข มย ภคินี

น้องหญิง เราไม่ใช่ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่ง นางอัปสร. บทว่า

สมุทาจรติ แปลว่า ย่อมร้องเรียก ย่อมกล่าว. บทว่า ตตฺเถว มุจฉิตา ปปตึสุ

ความว่า นางรำทั้งหลายเห็นพระเถระร้องเรียกด้วยวาทะว่าน้องหญิง จึงคิดว่า

พวกเรามิได้ออกไปข้างนอกถึง ๑๒ ปี ด้วยคิดว่า วันนี้ ลูกเจ้าจักมา พวกเรา

พึงเป็นอยู่ด้วยอำนาจของทารกเหล่าใด เราอาศัยท่านก็ไม่ได้ทารกเหล่านั้น

เราเป็นผู้เสื่อมทั้งข้างโน้นทั้งข้างอื่น ชื่อว่าโลกนี้เป็นของเราหรือ เพราะฉะนั้น

พวกนางรำแม้เหล่านั้น เมื่อคิดเพื่อตนว่า บัดนี้เราไม่มีที่พึงแล้ว ก็เกิดความ

โศกอย่างแรงว่า บัดนี้ท่านผู้นี้ไม่ต้องการพวกเรา และพวกเราก็ยังเป็นภริยาอยู่

เขาคงจะสำคัญเหมือนเด็กหญิง นอนอยู่ในท้องแม่คนเดียวกับตน จึงล้มสลบ

ลงในที่นั้นนั่นแหละ อธิบายว่า ล้มไป. บทว่า มา โน วเหเถ ความว่า

อย่าแสดงทรัพย์และส่งมาตุคามมาเบียดเบียนเราเลย.

ถามว่า พระเถระ กล่าวอย่างนั่นเพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะอนุเคราะห์

มารดาบิดา. เล่ากันว่า เศรษฐีนั้น สำคัญว่า ขึ้นชื่อว่า เพศบรรพชิต เศร้า

หมอง เราจักให้เปลื้องเพศบรรพชิตออกให้อาบน้ำ บริโภคร่วมกันสามคน

จึงไม่ถวาย ภิกษาแก่พระเถระ. พระเถระคิดว่า มารดาบิดาเหล่านี้กระทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

อันตรายในอาหารแก่พระขีณาสพ เช่นเราจะพึงประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก

จึงกล่าวอย่างนี้ ด้วยความอนุเคราะห์มารดาบิดานั้น. บทว่า คาถา อภาสิ

แปลว่า ได้กล่าวคาถาทั้งหลาย. บรรดาบทเหล่านั้นด้วยบทว่า ปสฺส พระเถระ

กล่าวหมายถึงคนที่อยู่ใกล้. บทว่า จิตฺต แปลว่า งดงามด้วยสิ่งที่ปัจจัยก่อขึ้น

บทว่า พิมฺพ แปลว่า อัตตภาพ. บทว่า อรุกาย ได้แก่ กลุ่มแผลคือ ปากแผล

ทั้ง ๙. บทว่า สมุสฺสิต ได้แก่ที่ผูกกระดูก ๓๐๐ ท่อนกับเอ็น ๙๐๐ ฉาบด้วย

ชิ้นเนื้อ ๙๐๐ ยกขึ้นโดยรอบ. บทว่า อาตุร ได้แก่ อาดูรเป็นนิจเพราะอาดูร

ด้วยชรา อาดูรด้วยโรค และอาดูรด้วยกิเลส. บทว่า พหุสงฺกปฺป ความว่า

มีความดำริอย่างมาก ด้วยความดำริคือความปรารถนาที่เกิดขึ้นแก่ศพเหล่าอื่น.

เป็นความจริง เหล่าบุรุษย่อมเกิดความดำริในร่างกายของสตรี เหล่าสตรีย่อม

เกิดความดำริในร่างกายของบุรุษเหล่านั้น. อนึ่ง เหล่ากาและสุนัขเป็นต้นย่อม

ปรารถนาร่างกายนั้น แม้ที่เป็นซากศพที่เขาทิ้งในป่าช้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

มีความดำริมาก. บทว่า ยสฺส นตฺถิ ธุว ิติ ความว่า กายใดไม่มีความตั้งมั่น

โดยส่วนเดียว เหมือนมายาพยัพแดดฟองน้ำต่อมน้ำเป็นต้น ความที่ร่างกายนั้น

มีอันแตกไปเป็นของธรรมดา เป็นของแน่นอน. บทว่า ตเจน โอนทฺธ ได้แก่

หุ้มด้วยหนังมนุษย์สด. บทว่า สห วตฺเถภิ โสภติ ความว่า แม้รูปที่แต่งให้

งดงามด้วยของหอมเป็นต้น ด้วยกุณฑลมณี ย่อมงดงามพร้อมด้วยผ้าที่แต่งรูป

เว้นผ้าเสียก็น่าเกลียดไม่ควรมองดู. บทว่า อลฺลตฺตกกตา ได้แก่ รดด้วยน้ำ

ครั่งสด. บทว่า จุณณกมกฺขิต ได้แก่ เอาปลายเมล็ดพรรณผักกาดเเคะต่อม

ที่ใบหน้าเป็นต้นออก เอาดินเค็มกำจัดเลือดร้าย เอาแป้งงาทำโลหิตให้ใส

เอาขมิ้นประเทืองผิว เอาแป้งผัดหน้า. ด้วยเหตุนั้น ร่างกายนั้นจึงงามอย่างยิ่ง.

ท่านกล่าวคำนั้นหมายเอากายนั้น. บทว่า อฏฺปทกตา ความว่า ทำด้วยน้ำ

ต่างลากไปกระทำให้เป็นวงกลม ๆ ชายหน้าผาก แต้มให้เป็นแปดลอน. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

อญฺชนี ได้แก่ หลอดหยอดตา. บทว่า โอทหิ แปลว่า ตั้งไว้. บทว่า ปาส

ได้แก่ ข่ายที่ทำด้วยป่าน. บทว่า นาสทา ได้แก่ ไม่กระทบ. บทว่า นิวาป

ได้แก่อาหารเช่นกับเหยื่อและหญ้าที่กล่าวไว้ใน นิวาปสูตร. บทว่า กนฺทนฺเต

แปลว่า ร่ำร้องรำพัน.

ก็พระเถระแสดงมารดาบิดาให้เป็นเหมือนพรานล่าเนื้อด้วยคาถานี้.

แสดงเหล่าญาตินอกนั้นเป็นเหมือนบริวารของพรานล่าเนื้อ เงินและทองเหมือน

ข่ายป่าน โภชนะที่ตนบริโภคเหมือนเหยื่อและหญ้า ตนเอง เหมือนเนื้อใหญ่.

เปรียบเหมือนเนื้อใหญ่เคี้ยวเหยื่อและหญ้าเป็นอาหารตามต้องการ ดื่มน้ำ

ชูคอ ตรวจดูบริวาร คิดว่า เราไปสู่ที่นี้จักปลอดภัย กระโดดขึ้นมิให้กระทบ

บ่วงของเหล่านายพรานเนื้อ ผู้กำลังคร่ำครวญอยู่เข้าป่าไป ถูกลมอ่อน ๆ โชย

อยู่ภายใต้พุ่มไม้ประดุจฉัตร มีเงาทึบ ยืนตรวจดูทางที่มาฉันใด พระเถระก็

ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นกล่าวคาถาเหล่านี้แล้ว ก็เหาะไปปรากฏที่พระราชอุทยาน

ชื่อว่ามิคาจิระ. ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระเถระจึงเหาะไป. ตอบว่า ได้ยินว่า

เศรษฐีบิดาของพระเถระนั้น ให้ทำลูกดาลไว้ที่ ซุ้มประตูทั้ง ๗ สั่งนักมวยปล้ำ

ไว้ว่า ถ้าพระเถระจักออกไป จงจับมือเท้าพระเถระไว้เปลื้องผ้ากาสายออกให้

ถือเพศคฤหัสถ์. เพราะฉะนั้น พระเถระจึงคิดว่า มารดาบิดานั้น จับมือเท้า

พระมหาขีณาสพเช่นเรา จะพึงประสบสิ่งมิใช่บุญ ข้อนั้น อย่าได้มีแก่มารดาบิดา

เลย จึงได้เหาะไป. ก็พระเถระชาวปรสมุทร ยังยืนกล่าวคาถาเหล่านี้แล้วเหาะ

ไปปรากฏที่พระราชอุทยาน มิคาจิระของพระเจ้าโกรัพยะ. แนวทางถ้อยคำมี

ดังนี้. คำว่า มิคฺคโว เป็นชื่อของคนเฝ้าพระอุทยานนั้น. บทว่า โสเธนฺโต

ได้แก่ กระทำทางไปพระราชอุทยานให้เสมอ ให้ถากสถานที่ที่ควรจะถาก ให้

กวาดสถานที่ที่ควรจะกวาดและกระทำการเกลียทรายโรยดอกไม้ตั้งหม้อน้ำเต็ม

ตั้งต้นกล้วยเป็นต้น ไว้ภายในพระราชอุทยาน. บทว่า เยน ราชา โกรโพฺย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

เตนูปสงฺกมิ ความว่า คนเฝ้าสวน คิดว่า พระราชาของเรา ตรัสชมกุลบุตร

ผู้นี้ทุกเมื่อ ทรงมีพระประสงค์จะพบแต่ไม่ทรงทราบว่า กุลบุตรผู้นั้นมาแล้ว

เพราะฉะนั้น บรรณาการนี้เป็นของยิ่งใหญ่ เราจักไปกราบทูลพระราช จึงเข้า

ไปเฝ้าพระเจ้าโกรัพยะ.

บทว่า กิตฺตยมาโน อโหสิ ความว่า ได้ยินว่า พระราชานั้น ระลึก

แล้วระลึกถึงพระเถระตรัส คุณว่า กุลบุตรผู้ละสมบัติใหญ่เห็นปานนั้นบวชแล้ว

กลับมาอีกก็ไม่ใยดี ทั้งในท่ามกลางหมู่พล ทั้งท่ามกลางนางรำ ชื่อว่า กระทำ

กิจที่ทำได้ยาก. พระเจ้าโกรัพยนี้ทรงถือเอาคุณข้อนั้นจึงตรัส อย่างนี้. บทว่า

วิสฺชเชถาติ วตฺวา ความว่า สิ่งใดสมควรแก่ผู้ใดในพวกคนสนิท มหา -

อำมาตย์และไพร่พลเป็นต้น ก็ให้พระราชทานสิ่งนั้นแก่ผู้นั้น. บทว่า อุสฺสตาย

อุสฺสตาย ความว่า ที่คับคั่งแล้วคับคั่งแล้ว. ทรงพาบริษัทที่คับคั่งด้วยมหา-

อำมาตย์ข้าราชการผู้ใหญ่เป็นต้นเข้าไปแล้ว. พระราชทรงสำคัญว่า เครื่องลาด

ไม้ยังบางจึงเป็นอันทรงกระทำให้ชั้นดอกไม้เป็นต้นหนา กำหนดไว้กว้าง ไม่

บอกกล่าวแล้วนั่งในที่เช่นนั้น ไม่ควรจึงกล่าวอย่างนี้ว่า อิธ ภว รฏฺปาโล

กฏฺตฺถเร นิสีทตุ พระรัฐปาละผู้เจริญ โปรดนั่งบนเครื่องลาด

ไม้ในที่นี้. บทว่า ปาริชุญฺานิ ความว่า ภาวะคือความเสื่อมได้แก่ความ

สิ้นไป. บทว่า ชิณฺโณ ได้แก่ แก่เพราะชรา. บทว่า วุฑฺโฒ คือ เจริญด้วยวัย.

บทว่า มหลฺลโก คือ แก่โดยชาติ. บทว่า อทฺธคโต คือ ล่วงกาลผ่านวัย.

บทว่า วโยอนุปฺปตฺโต คือถึงปัจฉิมวัยแล้ว. บทว่า ปพฺพชติ ได้แก่ไปวิหาร

ใกล้ ๆ ไหว้ภิกษุ ให้ท่านเกิดความการุณอ้อนวอนว่า ครั้งผมเป็นหนุ่ม ทำ

กุศลไว้มาก บัดนี้ เป็นคนแก่ ชื่อว่า การบรรพชานี้เป็นของคนแก่ กระผม

จักกวาดลานเจดีย์ กระทำการแผ้วถางเป็นอยู่ โปรดให้ผมบวชเถิดขอรับ.

พระเถระก็ให้บวช ด้วยความกรุณา. ท่านกล่าวคำนี้หมายถึงการบวชเมื่อแก่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

นั้น . แม้ในวารที่สอง ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อปฺปาพาโธ ได้แก่ ไม่มี

โรค. บทว่า อปฺปาตงฺโก ได้แก่ ไม่มีทุกข์. บทว่า สมเวปากินิยา ได้แก่

ประกอบด้วยไฟธาตุ ที่ย่อยอาหารสม่ำเสมอดี. บทว่า คหณิยา ได้แก่ เตโธ

ธาตุ ที่เกิดแต่กรรม. อาหารของผู้ใด ที่พอบริโภคแล้วย่อมย่อย ก็หรือว่า

ของผู้ใดย่อมตั้งอยู่อย่างนั้นเหมือนอาหารที่ยังเป็นห่ออยู่ ประกอบด้วยไฟธาตุ

ที่ย่อยสม่ำเสมอกันทั้งสองนั้น. ส่วนผู้ใดเวลาบริโภคแล้วก็เกิดความต้องการ

อาหาร ผู้นี้ชื่อว่าประกอบด้วยไฟธาตุที่ย่อยสม่ำเสมอดี. บทว่า นาติสีตาย

นาจฺจุณฺหาย ได้แก่. ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนักด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ. บทว่า

อนฺปพฺเพน ความว่า ตามลำดับเป็นต้นว่า พระราชาทรงพิจารณา. ในวาระ

ที่สองก็พึงทราบโดยลำดับ มีราชภัยโจรภัยและฉาตกภัยเป็นต้น. บทว่า

ธมฺมุทฺเทสา อุทฺทิฏา ได้แก่ ยกธรรมนิทเทสขึ้นแสดง. บทว่า อุปนียคิ

ได้แก่ ไปใกล้ชรามรณะ หรือ ถูกนำไปในชรามรณะนั้นด้วยความสิ้นอายุ.

บทว่า อทฺธุโว คือ เว้นจากการตั้งอยู่ยั่งยืน. บทว่า อตาโณ ได้แก่ เว้นจาก

ความสามารถที่จะต่อต้าน. บทว่า อนภิสฺสโร ได้แก่ ไม่มีสรณะ คือ

เว้นจากความสามารถที่จะมีสรณะให้ยิ่งแล้วเบาใจ. บทว่า อสฺสโก คือ ไม่มี

ของตน เว้นจากของที่เป็นของตน. บทว่า สพฺพ ปหาย คมนีย ได้แก่

โลกจำต้องละสิ่งทั้งปวง ที่กำหนดว่าเป็นของตนไป. บทว่า ตณฺหาทาโส

แปลว่า เป็นทาสแห่งตัณหา. บทว่า หตถิสฺมิ แปลว่า ในเพราะศิลปะช้าง.

บทว่า กตาวี ได้แก่ กระทำกิจเสร็จแล้ว ศึกษาเสร็จแล้ว อธิบายว่ามีศิลปะ

คล่องแคล่ว. ในบททั้งปวงก็นัยนี้. บทว่า อูรุพลี ได้แก่สมบูรณ์ด้วยกำลังขา.

จริงอยู่ ผู้ใดมีกำลังขาที่จะจับโล่และอาวุธ เข้าไปสู่กองทัพของปรปักษ์ ทำลาย

สิ่งที่ยังมิได้ทำลาย ธำรงสิ่งที่ทำลายไว้ได้แล้วนำราชสมบัติที่อยู่ในมือของ

ปรปักษ์มาได้. ผู้นี้ชื่อว่า มีกำลังขา. บทว่า พาหุพลี ได้แก่ สมบูรณ์ด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

กำลังแขน. คำที่เหลือ ก็เช่นกับนัยก่อนนั่นแล. บทว่า อลมตฺโต แปลว่า

มีอัตตภาพอันสามารถ. บทว่า ปริโยธาย วตฺติสฺสนฺติ ได้แก่ กำหนดถือ

เอาว่า จักครอบงำอันตรายที่เกิดขึ้นเป็นไป. พระราชานั้นทรงนำเหตุแห่ง

ธัมมุทเทศ ในเบื้องสูงมากล่าวคำนี้ว่า ท่านรัฐบาลผู้เจริญ เงินทองเป็นอันมาก

ในราชกูลนี้มีอยู่.

บทว่า อถาปร เอตทโวจ ความว่า พระเถระได้กล่าวลำดับ

ธัมมุทเทส ๔ โดยนัยเป็นต้นว่า เอต ปสฺสามิ โลเก. ในบทเหล่านั้น บทว่า

ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ ความว่า ปรารถนาวัตถุกามและกิเลสกามยิ่ง ๆ

ขึ้นไปอย่างนี้ว่า ได้หนึ่งอยากได้สอง ได้สองอยากได้สี่. บทว่า ปสยฺห ได้แก่

ข่มคุณสมบัติ. บทว่า สสาครนฺต ได้แก่พร้อมด้วยมีสาครเป็นที่สุด. บทว่า

โอร สมุททสฺส ความว่า ไม่อิ่มด้วยรัฐของตน มีสมุทรเป็นของเขต. บทว่า

น หตฺถิ ตัดบทว่า น หิ อตฺถิ แปลว่า ไม่มีเลย. บทว่า อโห วตาโน ตัด

บทว่า อโห วต นุ. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อมราติจาหุ

ตัดบทว่า อมรอิติ จ อาหุ. ท่านอธิบายว่า ญาติล้อมญาติผู้ตาย คร่ำครวญ

ชนทั้งหลายกล่าวคำเป็นต้นแม้ว่า โอ หนอ พี่ของเราตาย บุตรของเราตาย.

บทว่า ผุสนฺติ ผสฺ ส คือ ถูกต้องมรณผัสสะ. บทว่า ตเถว ผุฏฺโ ความว่า

คนโง่ฉันใด แม้นักปราชญ์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มรณผัสสะถูกต้องแล้ว ชื่อว่า

คนที่มรณผัสสะไม่ถูกต้องไม่มี. ข้อความแปลกันมีดังนี้ . บทว่า พาโล หิ

พาลฺยา วิธิโตว เสติ ความว่า คนโง่อาศัยมรณผัสสะ แทงแล้วนอนอยู่ เพราะ

ความเป็นคนพาลถูกมรณผัสสะ กระทบแล้วนอนอยู่ ย่อมหวั่นไหว ย่อมผันแปร

ด้วยความวิปฏิสารเป็นต้นว่า เราไม่ได้กระทำความดีไว้หนอ. บทว่า ธีโร จ

น เวธติ ความว่า คนฉลาดเห็นสุคตินิมิต ก็ไม่หวั่นไม่ไหว. บทว่า ยาย

โวสาน อิธาธิคจฺฉติ ความว่า บรรลุพระอรหัตที่สุดแห่งกิจทั้งปวงในโลกนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

ด้วยปัญญาอันใด ก็ปัญญาอันนั้นสูงสุดกว่าทรัพย์. บทว่า อโพฺยสิตตฺตา

ความว่า เพราะยังอยู่ไม่จบพรหมจรรย์ อธิบายว่า เพราะยังไม่มีการบรรลุ

อรหัต. บทว่า ภวาภเวสุ ได้แก่ ในภพเลวและประณีต. บทว่า อุเปติ

คพฺภญฺจ ปรญฺจ โลก ความว่า เมื่อคนเหล่านั้นกระทำบาปอยู่ สัตว์ผู้ใด

ผู้หนึ่งต้องประสบสังสารวัฏสืบ ๆ ไป ย่อมเข้าถึงครรภ์และโลกอื่น. บทว่า

ตสฺสปฺปปญฺโย ความว่า คนไม่มีปัญญาอื่นก็เชื่อถือคนไม่มีปัญญาเช่นนั้นนั้น.

บทว่า สกมฺมุนา หญฺติ ความว่า ย่อมเดือนร้อนด้วยกรรมกรณ์ มีตีด้วย

หวายเป็นต้น ด้วยอำนาจกรรมที่ตนเองทำไว้. บทว่า เปจฺจ ปรมฺหิ โลเก

ความว่า ไปจากโลกนี้แล้ว เดือดร้อนในอบายโลกอื่น. บทว่า วิรูปรูเปน

มีรูปต่าง ๆ อธิบายว่า มีสภาวะต่าง ๆ. บทว่า กามคุเณสุ ได้แก่ เห็น

อาทีนพในกามคุณทั้งปวงทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า. บทว่า ทหรา แปลว่า

อ่อน โดยที่สุดเพียงเป็นกลละ. บทว่า วุฑฺฒา คือเกินร้อยปี. บทว่า อปณฺณก

สามญฺเมว เสยฺโย ความว่า มหาราช อาตมภาพ บวชเพราะใคร่ครวญแล้วว่า

สามัญญผลเท่านั้นไม่ผัดไม่แยกเป็นสองนำสัตว์ออกจากทุกข์โดยส่วนเดียว เป็น

ธรรมอันยิ่งกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงเห็น ทรง

สดับอย่างไร จึงตรัสข้อใด จงจำอาตมภาพว่า อาตมภาพเห็นและฟังข้อนี้จึง

ออกบวช แล้วก็จบเทศนาแล.

จบ อรรถกถารัฏฐปาลสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

๓. มฆเทวสูตร

[๔๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อัมพวัน ของพระเจ้า

มฆเทวะ ใกล้เมืองมิถิลา. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแย้มพระสรวลให้

ปรากฏ ณ ประเทศแห่งหนึ่ง. ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้มีความคิดว่า

อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแย้มพระสรวล

พระตถาคตทั้งหลายไม่ทรงแย้มพระสรวลโดยหาเหตุมิได้ ดังนี้แล้ว จึงทำ

จีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ทูล

ถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ให้พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแย้มพระสรวล พระตถาคตทั้งหลายไม่ทรงแย้มพระสรวลโดย

หาเหตุมิได้.

[๔๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว

ในเมืองมิถิลานี้แหละ ได้มีพระราชาพระนามว่ามฆเทวะ ทรงประกอบในธรรม

เป็นพระธรรมราชา เป็นพระมหาราชาผู้ทรงทั้งอยู่ในธรรม ทรงประพฤติ

ราชธรรมในพราหมณคหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท ทรงรักษาอุโบสถ

ทุกวันที่สิบสี่สิบห้าและแปดคำแห่งปักษ์. ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น ด้วยล่วงปี

เป็นอันมาก ล่วงร้อยปีเป็นอันมาก ล่วงพันปีเป็นอันมาก พระเจ้ามฆเทวะ

รับสั่งกะช่างกัลบกว่า ดูก่อนเพื่อนกัลบก ท่านเห็นผมหงอกเกิดบนศีรษะของ

เราเมื่อใด พึงบอกเราเมื่อนั้น . ช่างกลบกทูลรับพระเจ้ามฆเทวะว่า อย่างนั้น

ขอเดชะ. ด้วยล่วงปีเป็นอันมาก ล่วงร้อยปีเป็นอันมาก ล่วงพันปีเป็น

อันมาก ช่างกัลบกได้เห็นพระเกศาหงอกเกิดบนพระเศียรของพระเจ้ามฆเทวะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

แล้วได้กราบทูลว่า เทวทูตปรากฏแก่พระองค์แล้ว พระเกศาหงอกเกิดบน

พระเศียรแล้วเห็นปรากฏอยู่.

พระเจ้ามฆเทวะตรัสว่า ดูก่อนเพื่อนกัลบก ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเอา

แหนบถอนผมหงอกนั้นให้ดี แล้ววางลงที่กระพุ่มมือของเราเถิด.

ช่างกัลบกทูลรับสั่งของพระเจ้ามฆเทวะ แล้วจึงเอาแหนบถอนพระ-

เกศาหงอกนั้นด้วยดี แล้ววางไว้ที่กระพุ่มพระหัตถ์ของพระเจ้ามฆเทวะ. ครั้งนั้น

พระเจ้ามฆเทวะพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบก แล้วโปรดให้พระราชทาน

กุมารผู้เป็นพระราชบุตรองค์ใหญ่มาเฝ้า แล้วรับสั่งว่า ดูก่อนพ่อกุมาร เทวทูต

ปรากฏแก่เราแล้ว ผมหงอกเกิดที่ศีรษะแล้วเห็นปรากฏอยู่ ก็กามทั้งหลายที่

เป็นของมนุษย์เราได้บริโภคแล้ว เวลานี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากามทั้งหลายที่

เป็นทิพย์ มาเถิดพ่อกุมาร เจ้าจงครองราชสมบัตินี้ ส่วนเราจักปลงผมและ

หนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ดูก่อนพ่อกุมาร

ส่วนเจ้า เมื่อใดพึงเห็นผมหงอกเกิดบนศีรษะ เมื่อนั้นเจ้าพึงให้บ้านส่วยแก่

ช่างกัลบก พึงพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นพระราชบุตรองค์ใหญ่ในการที่จะเป็น

พระราชาให้ดี แล้วปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช

เป็นบรรพชิตเถิด เจ้าพึงประพฤติตามวัตรอันงาม ที่เราตั้งไว้แล้วนี้ เจ้าอย่า

ได้เป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย เมื่อสมัยแห่งบุรุษใดเป็นไปอยู่ วัตรอันงาม

เห็นปานนี้ขาดสูญไป สมัยแห่งบุรุษนั้นชื่อว่า เป็นบุรุษคนสุดท้ายของราช-

บรรพชิตนั้น ดูก่อนพ่อกุมาร เจ้าจะพึงพระพฤติตามวัตรอันงามที่เราตั้งไว้

แล้วนี้ ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้กะเจ้าด้วยประการนั้น เจ้าอย่าได้

เป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

พระเจ้ามฆเทวะทรงผนวช

[๔๕๔] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้ามฆเทวะครั้นพระราชทาน

บ้านส่วยแก่ช่างกัลบก และทรงพร่ำสอนพระราชกุมารผู้เป็นพระราชบุตร

องค์ใหญ่ ในการที่จะเป็นพระราชาให้ดีแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ

ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะ เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ ทรงผนวชเป็นบรรพชิต

ที่มฆเทวัมพวันนี้และ ท้าวเธอทรงมีพระหฤทัยประกอบด้วยเมตตา ทรงแผ่ไป

ทั่วทิศหนึ่งอยู่ ในทิศที่สอง ในทิศที่สาม ในทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ทรงมีพระ-

หฤทัยประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร

ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก โดยมุ่งประโยชน์แก่สัตว์ทุกเหล่า ในที่

ทุกสถาน ทั้งในทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยประการฉะนี้. ทรงมี

พระหฤทัยประกอบด้วยกรุณา... ทรงมีพระหฤทัยประกอบด้วยมุทิตา... ทรงมี

พระหฤทัยประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปทั่วทิศหนึ่งอยู่. ในทิศที่สอง ในทิศที่สาม

ในทิศที่สี่ก็เหมือนกัน . ทรงมีพระหฤทัยประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็น

มหัคคตะหาประมาณมิได้. ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก โดยมุ่ง

ประโยชน์แก่สัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถานทั้งในทิศเบื้องบน เบื้องหน้า เบื้องขวาง

ด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนอานนท์ ก็พระเจ้ามฆเทวะทรงเล่นเป็นพระกุมารอยู่

แปดหมื่นสี่พันปี ทรงดำรงความเป็นอุปราชแปดหมื่นสี่พันปี เสวยราชสมบัติ

แปดหมื่นสี่พันปี เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ทรงผนวชเป็นบรรพชิต

ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวัมพวันนี้แลแปดหมื่นสี่พันปี. พระองค์ทรง

เจริญพรหมวิหารสี่แล้ว เมื่อสวรรคตได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก.

[๔๕๕] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น พระราชบุตรของพระเจ้ามฆเทวะ

โดยล่วงปีไปเป็นอันมาก ล่วงร้อยปีเป็นอันมาก ล่วงพันปีเป็นอันมาก รับสั่งกะ

ช่างกัลบกว่าดูก่อนเพื่อนกัลบก ท่านเห็นผมหงอกเกิดบนศีรษะของเราเมื่อใด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

พึงบอกแก่เราเมื่อนั้น. ครั้งนั้น ช่างกัลบกรับคำสั่งของพระราชบุตรแห่งพระเจ้า

มฬเทวะว่า อย่างนั้นขอเดชะ. ด้วยล่วงปีเป็นอันมาก ล่วงร้อยปีเป็นอันมาก

ล่วงพันปีเป็นอันมาก ช่างกัลบกได้เห็นพระเกศาหงอกเกิดบนพระเศียรของพระ-

ราชบุตรแห่งพระเจ้ามฆเทวะ แล้วได้กราบทูลว่า เทวทูตปรากฏแก่พระองค์

แล้ว พระเกศาหงอกเกิดบนพระเศียรเห็นปรากฏอยู่.

พระราชบุตรของพระเจ้ามฆเทวะตรัสว่า ดูก่อนเพื่อนกัลบก ถ้าอย่าง

นั้น ท่านจงเอาแหนบถอนผมหงอกนั้นให้ดี แล้ววางในกระพุ่มมือของเราเถิด.

ช่างกัลบกรับคำส่งของพระราชบุตรแห่งพระเจ้ามฆเทวะ แล้วจึงเอา

แหนบถอนพระเกศาหงอกนั้นด้วยดี แล้ววางไว้ในกระพุ่มพระหัตถ์ของพระราช

บุตรแห่งพระเจ้ามฆเทวะ. ครั้งนั้น พระราชบุตรของพระเจ้ามฆเทวะ พระราช

ทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบก. แล้วโปรดให้พระราชกุมารผู้เป็นพระราชบุตรองค์

ใหญ่มาเฝ้าแล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนพ่อกุมาร เทวทูตปรากฏแก่เราแล้ว ผมหงอก

เกิดบนศีรษะแล้วเห็นปรากฏอยู่ กามทั้งหลายที่เป็นของมนุษย์เราบริโภคแล้ว

เวลานี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากามอันเป็นทิพย์ มาเถิดพ่อกุมาร เจ้าจงครองราช

สมบัตินี้ ส่วนเราจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช

เป็นบรรพชิต ถ้าแม้เจ้าพึงเห็นผมหงอกเกิดบนศีรษะเมื่อใด เมื่อนั้น เจ้าพึง

ให้บ้านส่วยแก่ช่างกัลบกแล้วพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นบุตรคนใหญ่ในการที่จะ

เป็นพระราชาให้ดี แล้วพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิต พึงประพฤติตามวัตรอันงามนี้ที่เราตั้งไว้แล้ว เจ้า

อย่าได้เป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย เมื่อยุคแห่งบุรุษใดเป็นไปอยู่

วัตรอันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป ยุคแห่งบุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษคน

สุดท้าย ของราชบรรพชิตนั้น. ดูก่อนพ่อกุมาร เจ้าจะพึงประพฤติวัตรอันงาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

ที่เราตั้งไว้แล้วนี้ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้กะเจ้าด้วยประการนั้น เจ้า

อย่าได้เป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย.

พระราชบุตรของพระเจ้ามฆเทวผนวช

[๔๕๖] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น พระราชบุตรของพระเจ้ามฆเทวะ

ครั้น พระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบก ทรงพร่ำสอนพระราชกุมารผู้เป็นพระ-

ราชบุตรองค์ใหญ่ในการที่จะเป็นพระราชาให้ดีแล้ว ทรงปลงพระเกศาและ

พระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสายะ แล้วเสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ ทรงผนวช

เป็นบรรพชิตอยู่ในมฆเทวัมพวันนี้แล. ท้าวเธอมีพระหฤทัยประกอบด้วยเมตตา

ทรงแผ่ไปทั่วทิศหนึ่งอยู่. ในทิศที่สอง ในทิศที่สาม ในทิศที่สี่ก็เหมือนกัน.

มีพระหฤทัยประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มี

เวร ไม่มีความเบียดเบียนทรงแผ่ไปทั่วโลก โดยมุ่งประโยชน์แก่สัตว์ทุกเหล่า

ในที่ทุกสถาน ทั้งในทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยประการฉะนี้.

มีพระหฤทัยประกอบด้วยกรุณา. . . มีพระหฤทัยประกอบด้วยมุทิตา... มีพระ-

หฤทัยประกอบด้วยอุเบกขา ทรงแผ่ไปทั่วทิศหนึ่งอยู่. ในทิศที่สอง ในทิศที่สาม

ในทิศที่สี่เหมือนกัน. มีพระหฤทัยประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก โดยมุ่ง

ประโยชน์แก่สัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถานทั้งในทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง

ด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนอานนท์ พระราชบุตรของพระเจ้ามฆเทวะ ทรง

เล่นเป็นพระกุมารแปดหมื่นสี่พันปี ทรงดำรงความเป็นอุปราชแปดหมื่นสี่พันปี

เสวยราชสมบัติแปดหมื่นสี่พันปี เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ทรงผนวชเป็น

บรรพชิต ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวัมพวันนี้แล แปดหมื่นสี่พันปี.

พระองค์ทรงเจริญพรหมวิหารสี่แล้ว เมื่อสวรรคต ได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

[๔๕๗] ดูก่อนอานนท์ ก็พระราชบุตรพระราชนัดดาของพระเจ้า

มฆเทวะสืบวงศ์นั้นมาแปดหมื่นสี่พันชั่วกษัตริย์ ได้ปลงพระเกศาและมัสสุ ทรง

ครองผ้ากาสายะ เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ ทรงผนวชเป็นบรรพชิต ณ

มฆเทวัมพวันนี้แล. ท้าวเธอเหล่านั้นมีพระหฤทัยประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปทั่ว

ทิศหนึ่งอยู่. ในทิศที่สอง ในทิศที่สาม ในทิศที่สี่ก็เหมือนกัน. มีพระหฤทัย

ประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี

ความเบียดเบียนแผ่ไปทั่วโลก โดยมุ่งประโยชน์แก่สัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน

ทั้งในทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ด้วยประการฉะนี้. มีพระหฤทัยประกอบ

ด้วยกรุณา . . . มีพระหฤทัยประกอบด้วยมุทิตา... มีพระหฤทัยประกอบด้วย

อุเบกขาทรงแผ่ไปทั่วทิศหนึ่งอยู่. ในทิศที่สอง ในทิศที่สาม ในทิศที่สี่ก็

เหมือนกัน. ทรงมีพระหฤทัยประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลกทั้งปวง โดย

มุ่งประโยชน์แก่สัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ทั้งในทิศเบื้องบน เบื้องล่าง

เบื้องขวาง ด้วยประการฉะนี้. ท้าวเธอเหล่านั้น ทรงเล่นเป็นพระกุมารแปด

หมื่นสี่พันปี ดำรงความเป็นอุปราชแปดหมื่นสี่พันปี เสวยราชสมบัติแปดหมื่น

สี่พันปี เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ทรงผนวชเป็นบรรพชิตประพฤติ-

พรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวัมพวันนี้แล แปดหมื่นสี่พันปี. พระองค์ทรงเจริญ

พรหมวิหารสี่แล้ว เมื่อสวรรคตได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก. พระเจ้านิมิราชเป็น

พระราชาองค์สุดท้ายแห่งราชบรรพชิตเหล่านั้น เป็นพระราชาประกอบในธรรม

เป็นพระธรรมราชา เป็นพระมหาราชาผู้ทรงสถิตอยู่ในธรรม ทรงประพฤติ-

ธรรมในพราหมณคหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท ทรงรักษาอุโบสถทุกวันที่

สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักษ์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

[๔๕๘] ดูก่อนอานนท์ เรื่องเคยมีมาแล้ว อันตรากถานี้เกิดขึ้นแล้ว

แก่เทวดาชั้นดาวดึงส์ผู้นั่งประชุมกัน ณ สภาชื่อสุธรรมาว่า ดูก่อนผู้เจริญ เป็น

ลาภของชนชาววิเทหะหนอ ดูก่อนผู้เจริญ ชนชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่

พระเจ้านิมิราชของเขาเป็นพระราชาประกลบในธรรม เป็นพระธรรมราชา

เป็นพระมหาราชาผู้ทรงสถิตอยู่ในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณ์

คหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวันที่สิบสี่ ที่สิบห้า

และที่แปดแห่งปักษ์.

ท้าวสักกะเข้าเฝ้า

[๔๕๙] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพตรัสเรียกเทวดา

ชั้นดาวดึงส์มาว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายปรารถนาจะเห็น

พระเจ้านิมิราชหรือไม่.

เทวดาชั้นดาวดึงส์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ข้าพระองค์ทั้งหลาย

ปรารถนาจะเห็นพระเจ้านิมิราช.

ดูก่อนอานนท์ สมัยนั้น ในวันอุโบสถ ที่สิบห้า พระเจ้านิมิราช

ทรงสนานพระกายทั่วพระเศียรแล้ว ทรงรักษาอุโบสถ เสด็จขึ้นปราสาทอัน

ประเสริฐประทับนั่งอยู่ชั้นบน. ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงหายไปในหมู่

เทวดาชั้นดาวดึงส์ ไปปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระเจ้านิมิราช เปรียบเหมือน

บุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ออก หรือพึงคู้แขนที่เหยียดเข้า ฉะนั้น แล้ว

ได้ตรัสว่า ข้าแต่มหาราช เป็นลาภของพระองค์ ข้าแต่มหาราช พระองค์ได้

ดีแล้ว เทวดาชั้นดาวดึงส์ นั่งประชุมกันสรรเสริญอยู่ในสุธรรมาสภาว่า ดู

ก่อนท่านผู้เจริญ เป็นลาภของชนชาววิเทหะหนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญ ชนชาว

วิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้านิมิราชผู้ทรงธรรม เป็นพระธรรมราชา เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

พระมหาราชาผู้สถิตอยู่ในธรรม ทรงประพฤติธรรมในพราหมณคหบดี ชาว

นิคมและชาวชนบท และทรงรักษาอุโบสถทุกวันที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปด

แห่งปักษ์ ข้าแต่มหาราช เทวดาชั้นดาวดึงส์ปรารถนาจะเห็นพระองค์ หม่อม

ฉันจักส่งรถม้าอาชาไนยเทียมม้าพันหนึ่งมาให้พระองค์ พระองค์พึงขึ้นประทับ

ทิพยยานเถิด อย่าทรงหวั่นพระทัยเลย. พระเจ้านิมิราชทรงรับด้วยอาการนิ่งอยู่

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงทราบว่า พระเจ้านิมิราชทรงรับเชิญแล้ว ทรง

หายไปในที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้านิมิราช มาปรากฏในเทวดาชั้นดาวดึงส์

เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ออก หรือพึงคู้แขนที่เหยียดเข้า

ฉะนั้น.

นำเสด็จพระเจ้านิมิราชถึงสุธรรมาสภา

[๔๖๐] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสเรียก

มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้มาว่า ดูก่อนเพื่อนมาตลี มาเถิดท่าน จงเทียมรถม้า-

อาชาไนยอันเทียมม้าพันหนึ่ง แล้วเข้าไปเฝ้าพระเจ้านิมิราช จงทูลอย่างนี้ว่า

ข้าแต่มหาราช รถม้าอาชาไนยเทียมด้วยม้าพันหนึ่งนี้ ท้าวสักกะจอมเทพทรงส่ง

มารับพระองค์ พระองค์พึงเสด็จขึ้นประทับทิพยยานเถิด อย่าทรงหวั่นพระทัย

เลย. มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ทูลรับ รับสั่งของท้าวสักกะจอมเทพ แล้วเทียม

รถม้าอาชาไนย เทียมด้วยม้าพันหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระเจ้านิมิราชแล้วทูลว่า

ข้าแต่มหาราช รถม้าอาชาไนยอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่งนี้ ท้าวสักกะจอมเทพ

ทรงส่งมารับ พระองค์ เชิญเสด็จขึ้นประทับทิพยยานเถิด อย่าทรงหวั่นพระทัย

เลย อนึ่ง ทางสำหรับสัตว์ผู้มีกรรมอันลามก เสวยผลของกรรมอันลามกทาง

หนึ่ง ทางสำหรับสัตว์ผู้มีกรรมอันงามเสวยผลของกรรมอันงามทางหนึ่ง ข้า-

พระองค์จะเชิญเสด็จพระองค์โดยทางไหน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

พระเจ้านิมิราชตรัสว่า ดูก่อนมาตลี จงนำเราไปโดยทางทั้งสองนั้น

แหละ.

มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้ นำเสด็จพระเจ้านิมิราชถึงสุธรรมาสภา. ท้าว

สักกะจอมเทพทอดพระเนตร เห็นพระเจ้านิมิราชกำลังเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้

ตรัสว่า ข้าแต่มหาราช เชิญเสด็จมาเถิด ข้าแต่มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว

เทวดาชั้นดาวดึงส์ประชุมสรรเสริญอยู่ในสุธรรมาสภาว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ

เป็นลาภของชนชาววิเทหะหนอ ชนชาววิเทหะได้ดีแล้วหนอ ที่พระเจ้านิมิราช

ผู้ทรงธรรม เป็นพระธรรมราชา เป็นพระมหาราชาผู้สถิตอยู่ในธรรม ทรง

ประพฤติธรรมในพราหมณ์ คหบดี ชาวนิคมและชนบท และทรงรักษาอุโบสถ

ทุกวัน ที่สิบสี่ ที่สิบท้า และที่แปดแห่งปักษ์ ข้าแต่มหาราช เทวดาชั้นดาวดึงส์

ปรารถนาจะพบเห็นพระองค์ ขอเชิญพระองค์จงอภิรมย์อยู่ในเทวดาทั้งหลาย

ด้วยเทวานุภาพเถิด.

พระเจ้านิมิราชตรัสว่า อย่าเลย พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอจงนำหม่อมฉัน

กลับไปยังเมืองมิถิลาในมนุษยโลกนั้นเถิด หม่อมฉันจักได้ประพฤติธรรมอย่าง

นั้นในพราหมณ์ คหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท และจักได้รักษาอุโบสถ

ทุกวันที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักษ์.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพตรัสเรียกมาตลีเทพบุตรผู้รับใช้มาว่า

ดูก่อนเพื่อนมาตลี ท่านจงเทียมรถม้าอาชาไนยอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง แล้ว

นำพระเจ้านิมิราชกลับไปยังเมืองมิถิลาในมนุษยโลกนั้น. มาตลีเทพบุตรผู้รับใช้

ทูลรับคำสั่งของท้าวสักกะจอมเทพแล้ว เทียมรถม้าอาชาไนยอันเทียมด้วยม้า

พันหนึ่ง แล้วนำพระเจ้านิมิราชกลับไปยังเมืองมิถิลาในมนุษยโลกนั้น.

[๔๖๑] ดูก่อนอานนท์ ได้ยินว่า สมัยนั้น พระราชาผู้เป็นใหญ่ทรง

ประพฤติธรรมในพราหมณ์ คหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท และทรงรักษา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

อุโบสถทุกวันที่สิบสี่ ที่สิบห้า และที่แปดแห่งปักษ์. ครั้งนั้น ด้วยล่วงปีเป็น

อันมาก ล่วงร้อยปีเป็นอันมาก ล่วงพันปีเป็นอันมาก พระเจ้านิมิราชตรัสกะ

ช่างกลับกว่า ดูก่อนเพื่อนกัลบก ท่านเห็นผมหงอกเกิดขึ้นที่บนศีรษะของเรา

เมื่อใด พึงบอกแก่เราเมื่อนั้น. ช่างกัลบกทูลรับคำสั่งพระเจ้านิมิราชว่า อย่างนั้น

ขอเดชะ. ด้วยล่วงปีเป็นอันมาก ล่วงร้อยปีเป็นอันมาก ล่วงพันปีเป็นอันมาก

ช่างกัลบกได้เห็นพระเกศาหงอกเกิดขึ้นบนพระเศียรพระเจ้านิมิราช จึงได้กราบ

ทูลว่า เทวทูตปรากฏแก่พระองค์แล้ว พระเกศาหงอกเกิดขึ้นบนพระเศียรแล้ว

เห็นปรากฏอยู่.

พระเจ้านิมิราชตรัสว่า ดูก่อนเพื่อนกัลบก ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเอา

แหนบถอนผมหงอกนั้นให้ดี แล้ววางไว้ในกระพุ่มมือของเรา.

ช่างกัลบกทูลรับคำสั่งพระเจ้านิมิราช แล้วเอาแหนบถอนพระเกศา

หงอกนั้นด้วยดี วางไว้ในกระพุ่มพระหัตถ์ของพระเจ้านิมิราช. ครั้งนั้น

พระราชาพระราชทานบ้านส่วยแก่ช่างกัลบก แล้วโปรดให้พระราชกุมารผู้เป็น

ราชบุตรองค์ใหญ่มาเฝ้า แล้วตรัสว่า พ่อกุมาร เทวทูตปรากฏแก่เราแล้ว ผม-

หงอกเกิดขึ้นบนศีรษะแล้วเห็นปรากฏอยู่ ก็กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์เรา

บริโภคแล้ว เวลานี้เป็นสมัยที่เราจะแสวงหากามอันเป็นทิพย์ มาเถิดเจ้า เจ้าจง

ครองราชสมบัตินี้ ส่วนเราจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิต ดูก่อนกุมาร ถ้าแม้เจ้าพึงเห็นผมหงอกเกิดขึ้นบนศีรษะ

เมื่อใด เมื่อนั้น เจ้าพึงให้บ้านส่วยแก่ช่างกัลบก พร่ำสอนราชกุมารผู้เป็น

พระราชบุตรองค์ใหญ่ ในการที่จะเป็นพระราชาให้ดีแล้วปลงผมและหนวด

นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด พึงพระพฤติตามวัตร

อันงานที่เราตั้งไว้แล้วนี้ เจ้าอย่าได้เป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย เมื่อยุคแห่ง

บุรุษใดเป็นไปอยู่ วัตรอันงามเห็นปานนี้ขาดสูญไป ยุคแห่งบุรุษนั้นชื่อว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

บุรุษคนสุดท้ายแห่งราชบรรพชิตนั้น. ดูก่อนพ่อกุมาร เจ้าจะพึงประพฤติ

ตามวัตรอันงามที่เราตั้งไว้แล้วนี้ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้กะเจ้าด้วย

ประการนั้น เจ้าอย่าได้เป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย.

พระเจ้านิมิราชทรงผนวช

[๔๖๒] ดูก่อนอานนท์ ครั้งนั้น พระเจ้านิมิราชครั้นพระราชทาน

บ้านส่วยแก่ช่างกัลบก ทรงพร่ำสอนราชกุมารผู้เป็นพระราชบุตรองค์ใหญ่

ในการที่จะเป็นพระราชาให้ดีแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครอง

ผ้ากาสายะ เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ ทรงผนวชเป็นบรรพชิต อยู่ในเมฆ

เทวัมพวันนี้แล. ท้าวเธอมีพระหฤทัยประกอบด้วยเมตตา ทรงแผ่ไปทั่วทิศ

หนึ่งอยู่. ในทิศที่สอง ในทิศที่สาม ในทิศที่สี่ก็เหมือนกัน มีพระหฤทัย

ประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร

ไม่มีความเบียดเบียน ทรงแผ่ไปทั่วโลก โดยมุ่งประโยชน์แก่สัตว์ทุกเหล่าในที่

ทุกสถาน ทั้งในทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยประการฉะนี้ มี

พระหฤทัยประกอบด้วยกรุณา... มีพระหฤทัยประกอบด้วยมุทิตา... มีพระ-

หฤทัยประกอบด้วยอุเบกขา ทรงแผ่ไปทั่วทิศหนึ่งอยู่. ในทิศที่สอง ในทิศที่

สาม ในทิศที่สี่ก็เหมือนกัน . มีพระหฤทัยประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์

เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ทรงแผ่ไป

ทั่วโลก โดยมุ่งประโยชน์แก่สัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ทั้งในทิศเบื้องบน

เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนอานนท์ ก็พระเจ้านิมิราชทรง

เล่นเป็นพระกุมาร แปดหมื่นสี่พันปี ทรงดำรงความเป็นอุปราชแปดหมื่น.

สี่พันปี เสวยราชสมบัติแปดหมื่นสี่พันปี เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ ทรง-

ผนวชเป็นบรรพชิตประพฤติพรหมจรรย์อยู่ที่มฆเทวัมพวันนี้แล แปดหมื่น

สี่พันปี พระองค์เจริญพรหมวิหารสี่แล้ว เมื่อสวรรคตได้เสด็จเข้าถึงพรหมโลก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

บุรุษคนสุดท้าย

[๔๖๓] ดูก่อนอานนท์ ก็พระเจ้านิมิราชมีพระราชบุตรพระนามว่า

กฬารชนกะ. พระราชกุมารนั้นมิได้เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ ทรงผนวช

เป็นบรรพชิต ท้าวเธอทรงตัดกัลยาณวัตรนั้นเสีย ชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้าย

แห่งราชบรรพชิตนั้น . ดูก่อนอานนท์ เธอพึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า สมัยนั้น

พระเจ้ามฆเทวะซึ่งทรงตั้งกัลยาณวัตรนั้นเป็นผู้อื่นแน่. แต่ข้อนั้นเธอไม่พึงเห็น

อย่างนั้น สมัยนั้น เราเป็นพระเจ้ามฆเทวะ เราตั้งกัลยาวัตรนั้นไว้ ประชุม

ชนผู้เกิด ณ ภายหลังประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนั้น แต่กัลยาณวัตร

นั้นไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบ-

ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไปเพียงเพื่ออุบัติใน

พรหมโลกเท่านั้น. ส่วนกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้ในบัดนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ

เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง

เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว. ก็กัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้ในบัดนี้ ซึ่ง

เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว นั้นเป็นไฉน คือ

มรรคมีองค์ ๘ เป็นอริยะนี้แล คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ กัลยาณ-

วัตรที่เราตั้งไว้ในบัดนี้ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด

เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน

โดยส่วนเดียว. ดูก่อนอานนท์ เธอทั้งหลายจะพึงประพฤติตามกัลยาณวัตรที่

เราตั้งไว้แล้วนี้ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้กะเธอทั้งหลาย ด้วยประการ

นั้น เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย เมื่อยุคแห่งบุรุษใดเป็นไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

อยู่ กัลยาณวัตรเห็นปานนี้ขาดสูญไป ยุคแห่งบุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้าย

ของบุรุษเหล่านั้น เธอทั้งหลายจะพึงประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้

ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้กะเธอทั้งหลายด้วยประการนั้น เธอทั้งหลาย

อย่าได้ชื่อว่าเป็นคนสุดท้ายของเราเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ยินดี

ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล้ว.

จบ มฆเทวสูตร ที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

อรรถกถามฆเทวัมพสูตร

มฆเทวัมพสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มฆเทวมฺพวเน ความว่า แต่ปางก่อน

พระราชาพระนานว่า มฆเทพตรัสสั่งให้ปลูกสวนมะม่วงแห่งนั้นไว้. เมื่อต้นไม้

เหล่านั้นหักรานสิ้นไปแล้ว ต่อมาพระราชาทั้งหลายองค์อื่น ๆ ก็ได้รับสั่งให้ปลูก

ไว้อีก. ก็สวนนั้น ถึงการนับว่า มฆเทวัมพวัน เพราะการร้องเรียกกันมาแต่เดิม.

บทว่า สิต ปาตฺวากาสิ ความว่า ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริก

ไปในวิหาร ทรงเห็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ใจ จึงทรงรำพึงอยู่ว่า เราเคยอยู่ใน

ที่นี้มาหรือไม่หนอ จึงทรงเห็นว่า เมื่อก่อนเราเป็นพระราชา นามว่า มฆเทพ

ได้ปลูกสวนมะม่วงนี้ไว้. เราบวชในที่นี้แหละ เจริญพรหมวิหาร ๘ ไปบังเกิด

ในพรหมโลก ก็เหตุนี้นั่นแล ยังไม่ปรากฏแก่ภิกษุสงฆ์ เราจักกระทำให้ปรากฏ

เมื่อจะทรงแสดงไรพระทนต์อันเลิศ ได้ทรงกระทำการแย้มพระโอษฐ์ให้ปรากฏ

แล้ว.

ชื่อว่า ธัมมิก ผู้มีธรรม เพราะอรรถว่า ทรงมีธรรม. ชื่อว่า พระ-

ธรรมราชา เพราะอรรถว่า ทรงเป็นพระราชาโดยธรรม. คำว่า ทรงตั้งอยู่ใน

ธรรม คือ ทรงดำรงอยู่ในธรรมคือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการะ คำว่า ทรง

ประพฤติกรรม คือ ทรงประพฤติราชธรรม. ในบทเหล่านั้น บทว่า

พฺราหฺมณคหปติเกสุ ความว่าพระองค์ทรงเป็นที่รักทรงรักษาระเบียบประเพณี

ที่พระราชาองค์ก่อน ๆ ให้แล้วแก่พวกพราหมณ์ ไม่ทรงยังกิจนั้นให้เสื่อมหายไป

ทรงกระทำโดยปรกตินิยมตลอดมา. พวกคหบดีทั้งหลาย ก็ทรงปฏิบัติเช่นกัน.

๑. บาสี มฆเทวสุตฺต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

คำที่ท่านกล่าวหมายถึงเรื่องนี้. ด้วยบทว่า ปกฺขสฺส ท่านรวมแม้ปาฏิหาริก

ปักษ์เข้าด้วย. คือ บัณฑิตพึงทราบว่า วันเหล่านี้ ชื่อว่า ปาฏิหาริกปักษ์ คือ

วัน ๗ ค่ำ วัน ๙ ค่ำ ด้วยอำนาจแห่งวันรับวันส่งแห่งวันอุโบสถในดิถีที่ ๘ ค่ำ

วัน ๑๓ ค่ำ และวันปาฏิบท ด้วยสามารถแห่งวันรับวันส่ง แห่งวันอุโบสถที่

๑๔ ค่ำ ที่ ๑๕ ค่ำ, พระองค์ทรงเข้าอยู่ประจำอุโบสถในวันเหล่านั้นทุกวัน.

บทว่า เทวทูตา ความว่า มัจจุ ความตาย ชื่อว่า เทวะ ชื่อว่า

เทวทูต เพราะอรรถว่า เป็นทูตของความตายนั้น. คือ บุคคลเมื่อผมหงอก

ปรากฏแล้ว ก็เหมือนยืนอยู่ในสำนักของพระยามัจจุราช. เพราะฉะนั้น

ผมที่งอกแล้ว ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทูตของมัจจุเทวะ. ชื่อว่า เทวทูต เพราะ

อรรถว่า ทูตเหมือนเทวดาทั้งหลายก็มี. อุปมาเหมือนเมือเทวดาผู้ประดับแล้ว

ตกแต่งแล้ว มายืนอยู่ในอากาศ ร้องบอกว่า ในวันโน้นท่านจักตาย ดังนี้

เทวทูตนั้นก็เป็นเช่นนั้น เมื่อผมหงอกแล้ว ปรากฏแล้ว ก็เป็นเหมือนกับ

เทวดาพยากรณ์ให้ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น ผมที่หงอกแล้ว ท่านจึง

เรียกว่า ทูต เป็นเช่นเดียวกับเทวะ ดังนี้. ชื่อว่า เทวทูต เพราะอรรถว่า

เป็นทูตแห่งวิสุทธิเทพก็ได้. แท้จริง พระโพธิสัตว์ทุก ๆ พระองค์ ทรงเห็น

คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิตก่อน ทรงสังเวชจึงออกบวช.

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ขอถวายพระพร เราเห็นคนแก่ คน

มีทุกข์ คนเจ็บ และเห็นคนตาย สิ้นอายุ

ขัย และเห็นนักบวช ผู้นุ่งห่มผ้ากาสายะ

เหตุนั้น เราจึงออกบวช ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

โดยปริยายนี้ ผมที่หงอกแล้ว ท่านจึงเรียกว่า เทวทูต เพราะเป็น

ทูตแห่งวิสุทธิเทพ. บทว่า กปฺปกสฺส คามวร ทตฺวา ทรงพระราชทาน

บ้านส่วยแก่ช่างกัลบก ความว่า ทรงพระราชทานบ้านที่เจริญที่สุด มีส่วย

เกิดขึ้นถึงแสนหนึ่ง. ทรงพระราชทาน เพราะเหตุไร. เพราะทรงสลดพระทัย.

จริงอยู่ พระองค์ทรงเกิดความสลดพระทัย เพราะทรงเห็น ผมหงอกที่อยู่ที่นิ้ว

พระหัตถ์ จะทรงมีพระชนม์อีกถึง ๘๔,๐๐๐ ปี. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ทรง

สำคัญพระองค์เหมือนยืนอยู่ในสำนักของพระยามัจจุราชจึงทรงสลดพระทัย ทรง

พอพระทัยในบรรพชา. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระเจ้ามฆเทพ ผู้เป็นอธิบดีในทิศ

ผู้ปราชญ์ ทรงเห็นผมหงอกบนพระเศียร

ทรงสลดพระทัย ทรงยินดีในบรรพชาแล้ว.

ยังกล่าวไว้ต่อไปอีกว่า

ผมหงอกงอกขึ้นบนเศียรของเรา ก็

นำเอาความหนุ่มไปเสีย เทวทูตปรากฏ

แล้ว เป็นสมัยที่เราควรออกบวช.

บทว่า ปุริสยุเค เมื่อยุคบุรุษเป็นไปอยู่ คือ เมื่อยุคบุรุษที่สมภพ

ในวงศ์. คำว่า เกสมสฺสุ โอหาเรตฺวา ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ

ความว่า ก็แม้เมื่อจะบวชเป็นดาบส ก็ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุบวช.

ต่อแต่นั้นก็ทรงพันพระเกศาที่ยาวขึ้นมาไว้ ทรงชฏา เที่ยวไป. แม้พระโพธิ-

สัตว์ก็ทรงบวชเป็นดาบส. ก็ครั้นบวชแล้วก็ทรงไม่ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่ง

อเนสนา ยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยภิกษาที่นำมาจากพระราชวัง ทรงเจริญ

พรหมวิหารธรรม. เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวว่า พระองค์ ทรงมีพระ-

ทัยประกอบด้วยเมตตา ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

บทว่า กุมารกีฬิก กีฬิ พระราชโอรส... ทรงเล่นอย่างพระ

กุมาร ความว่า อันพระพี่เลี้ยงจับอุ้มอยู่ด้วยสะเอว ทรงเล่นอยู่แล้ว. ก็พระ-

พี่เลี้ยงทั้งหลาย ยกพระกุมารนั้นประดุจกำแห่งดอกไม้เที่ยวไปอยู่. บทว่า

รญฺโ มฆเทวสฺส ปุตฺโต ฯเปฯ ปพฺพชิ พระราชโอรสของพระเจ้ามฆเทพ

เสด็จออก ทรงผนวช ความว่า ในวันที่พระราชโอรสนี้ทรงผนวชได้เกิด

มงคลถึง ๕ ประการ คือ ทำมตกภัตรถวายพระเจ้ามฆเทวะ ๑ มงคล คือ

พระโอรสของพระเจ้ามฆเทวะออกบวช ๑ มงคล คือ พระราชบุตรของพระราชา

ยกเศวตฉัตรขึ้นครองราชย์ ๑ มงคล คือ พระราชบุตร ของพระราชา ที่ยก

เศวตฉัตรขึ้นครองราชย์ เป็นอุปราชย์ ๑ มงคล คือ ขนานพระนามพระราช

โอรสของพระราชา ผู้ยกเศวตฉัตร ๑. ประชาชนได้กระทำมงคล ๕ ประการ

รวมในคราวเดียวกัน. ในพื้นชมพูทวีปได้ยกไถขึ้น คือ ไม่ต้องทำไร่ไถนา

บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์.

บทว่า ปุตฺปปุตฺตกา ความว่า ความสืบต่อกันมาของพระราชบุตร

ของพระเจ้ามฆเทวะนั้น เป็นไปแล้วอย่างนี้ คือ พระราชบุตร และพระเจ้า

หลานต่อ ๆ กัน ไป. บทว่า ปจฺฉิมโก อโหสิ (พระเจ้านิมิเป็นองค์สุดท้าย)

ความว่า กษัตริย์องค์สุดท้ายที่ได้ทรงบรรพชาแล้ว. ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์

ทรงบังเกิดในพรหมโลกแล้ว ทรงรำพึงอยู่ว่า "กัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้ใน

มนุษยโลกนั้นยังเป็นไปหรือหนอ" ดังนี้ ก็ทรงเห็นว่า ยังเป็นไปตลอดกาลนาน

มีประมาณเท่านี้ แต่บัดนี้จักไม่เป็นไปแล้ว พระองค์ทรงดำริว่า " ก็เราจัก

มิให้เชื้อสายของเราขาดตอนเสีย" ดังนี้ จงทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ

พระอรรคมเหษีแห่งพระราชาที่เกิดในวงศ์ของตน มาทรงบังเกิดเหมือนสืบต่อ

๑. ฉ. กุมารกิฬิต กีฬิ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

กุ่มแห่งวงศ์ของตน. ด้วยเหตุนั้นแหละ พระราชกุมารนั้นจึงทรงมีพระนามว่า

นิมิ.

ด้วยประการฉะนี้ พระราชานั้นจึงเป็นพระราชาองค์สุดท้ายทั้งหมด

ของพระราชาที่ออกบวชแล้ว ผู้ที่ออกบวชคนสุดท้ายจึงมีโดยประการฉะนี้.

อนึ่ง เมื่อว่าโดยคุณ ก็มีคุณอย่างมากมาย. แต่คุณที่ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทุก

พระองค์ ของพระเจ้านิมิราชนั้น มีคุณอยู่ ๒ ประการ คือ พระองค์ทรงสละ

ทรัพย์ในประตูทั้ง ๔ ประตูละหนึ่งแสนทุกวัน และทรงห้ามผู้มีได้รักษาอุโบสถ

เข้าเฝ้า. คือ เมื่อผู้ที่มิได้รักษาอุโบสถ ตั้งใจว่าจะเข้าเฝ้าพระราชาจึงไปแล้ว

นายประตูจะถามว่า "ท่านรักษาอุโบสถหรือมิได้รักษา". ผู้ใดมิได้รักษาอุโบสถ

ก็จะห้ามผู้นั้นเสียว่า พระราชาไม่ทรงให้ผู้ที่มิได้รักบาอุโบสถเข้าเฝ้า. ในคน

เหล่านั้นไม่มีโอกาสที่จะพูดว่า พวกข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นชาวชนบทจักได้โภชนะ

ในกาลที่ไหน ดังนี้บ้าง. จริงอยู่ เจ้าพนักงานจะตกแต่งเตรียมโอ่งภัตรไว้หลายพัน

ที่ประตูทั้ง ๔ และที่พระลานหลวง. เพราะฉะนั้น มหาชนจะโกนหนวดอาบน้ำ

ผลัดเปลี่ยนผ้าบริโภคโภชนะได้ตามชอบใจ ในที่ที่ปรารถนาแล้ว ๆ อธิษฐาน

องค์อุโบสถไปยังประตูพระราชวังได้. เมื่อนายประตูถามแล้ว ๆ ว่า "ท่าน

รักษาอุโบสถหรือ" ก็ตอบว่า "จ๊ะ รักษา" ด้วยเหตุนั้นแล นายประตูจึงจะ

พูดว่า "มาได้ " แล้ว นำเข้าไปยังประตูพระราชวัง. พระเจ้านิมิราชทรงมี

พระคุณที่ยิ่งใหญ่กว่า ด้วยคุณ ๒ ประการเหล่านี้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้.

บทว่า เทวาน ตาวตึสาน ความว่า พวกเทวดาที่บังเกิดในภพ

ชั้นดาวดึงส์. ได้ยินว่า เทวดาเหล่านั้นตั้งอยู่ในโอวาทของพระราชาผู้เสวยราช

ณ พระนครมิถิลา ในวิเทหรัฐ รักษาเบญจศีล กระทำอุโบสถกรรม จึงไป

บังเกิดในชั้นนั้น จึงกล่าวสรรเสริญคุณของพระราชา. คำว่า พวกเทวดาชั้น

ดาวดึงส์ ท่านกล่าวหมายเอาเทวดาเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

บทว่า นิสินฺโน โหติ ความว่า พระราชาเสด็จขึ้นยังปราสาท

อันประเสริฐชั้นบน ประทับนั่งตรวจดูทาน และศีลอยู่. ได้ยินว่า ได้ทรง

มีพระดำริอย่างนี้ว่า ทานใหญ่กว่าศีล หรือศีลใหญ่กว่าทาน ถ้าทานใหญ่กว่า

เราก็จะท่วมทับ ให้แต่ท่านอย่างเดียว ถ้าหากศีลใหญ่กว่า ก็จักบำเพ็ญแต่ศีล

อย่างเดียว. เมื่อพระองค์ไม่อาจตกลงพระทัยได้ว่า อันนี้ใหญ่ สิ่งนี้ ใหญ่

ท้าวสักกะจึงเสด็จมาปรากฏเฉพาะพระพักตร์. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า

อถ โข อานนฺท ฯเปฯ สมฺมุเข ปาตุรโหสิ. ได้ยินว่า พระองค์

ทรงดำริอย่างนี้ว่า พระราชาเกิดความสงสัยขึ้นเพื่อจะตัดความสงสัยของพระองค์

ข้าพระองค์จะตอบปัญหาและจะถือเอาปฏิญญาเพื่อเสด็จมาในที่นี้. เพราะฉะนั้น

จึงมาปรากฏเฉพาะพระพักตร์. พระราชาทรงเห็นรูปที่ไม่เคยเห็นก็ทรงเกิด

ความกลัว พระโลมาชูชัน. ที่นั้นท้าวสักกะตรัสกะพระราชานั้นว่า " อย่าทรง

กลัวไปเลย มหาราช ถามมาเถอะ จะวิสัชชนาถวาย จักบรรเทาความสงสัยของ

พระองค์ให้" ดังนี้. พระราชาตรัสถามปัญหาว่า

ข้าแต่มหาราชผู้เป็นใหญ่กว่าสรรพ

สัตว์ ข้าพระองค์ ขอถามพระองค์ ทาน ๑

พรหมจรรย์ ๑ (ศีล) ข้อไหนจะมีผลมาก

กว่ากัน.

ท้าวสักกะตรัสว่า "ชื่อว่า ทานจะใหญ่อย่างไร ศีลเท่านั้นใหญ่

เพราะเป็นคุณอันประเสริฐที่สุด ข้าแต่มหาราช แม้ข้าพระองค์ได้ให้ทานแก่

ชฎิลถึงหมื่นคนอยู่หมื่นปี แต่ปางก่อนยังไม่พ้นจากเปตวิสัย แต่ท่านผู้มีศีล

บริโภคทานของข้าพเจ้าได้ไปบังเกิดในพรหมโลก" ดังนี้ แล้วตรัสคาถา ดัง

ต่อไปนี้ว่า

๑. ขุ. ๖/๑๐๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

บุคคลจะเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ด้วย

พรหมจรรย์อย่างต่ำ และจะเข้าถึงความ

เป็นเทพด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง จัก

บริสุทธิ์ได้ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง

เพราะผู้ไม่มีเรือนบำเพ็ญตบะทั้งหลายย่อม

เข้าถึงกายเหล่าใด กายเหล่านั้น อันใคร ๆ

ผู้บำเพ็ญเพียร ด้วยการอ้อนวอนได้โดย

ง่ายไม่ได้.

ท้าวสักกะทรงบรรเทาความสงสัยของพระราชาอย่างนี้แล้ว เพื่อจะให้ถือ

เอาปฏิญญาในการเสด็จไปยังเทวโลกจึงตรัสว่า ลาภา วต มหาราช ดังนี้

เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อวิกมฺปมาโน ความว่า ไม่ทรงเกรงกลัว.

บทว่า อธิวาเสสิ ความว่า พระราชาทรงรับเชิญแล้วด้วยพระดำรัสว่า

ข้าพระองค์ชักชวนมหาชนให้บำเพ็ญกุศล อันข้าพระองค์ได้มาเห็นที่เป็นที่อยู่

ของท่านผู้มีบุญทั้งหลายแล้ว ย่อมอาจเพื่อบอกกล่าวได้สะดวกในถิ่นแห่ง

มนุษย์ ดังนี้. บทว่า เอว ภทฺทนฺตวา ความว่า มาตลีเทพบุตร ทูลว่า

พระดำรัสของพระองค์เจริญ จงเป็นอย่างนั้น . บทว่า โยเชตฺวา ความว่า

เทียมรถม้าอาชาในยพันหนึ่งในยุคหนึ่งนั่นเทียว. แต่กิจที่พึงประกอบเฉพาะ

ส่วนหนึ่งของรถเหล่านั้นมิได้มี ย่อมอาลัยใจประกอบแล้วนั่นเทียว. ก็ทิพยรถ

นั้นใหญ่ยาวถึง ๒๕๐ โยชน์. จากสายเชือกถึงงอนรถ ๕๐โยชน์. ที่เนื่องกับ

เพลา ๕๐ โยชน์. ส่วนข้างหลังจำเดิมแต่ที่เนื่องกับเพลา ๕๐ โยชน์ ทั้งคันล้วน

แต่ประกอบด้วยรัตนะมีวรรณะเจ็ด. สูงเทียมเทวโลก. ต่ำเท่ามนุษยโลก

เพราะฉะนั้น ไม่พึงกำหนดว่า ส่งรถให้บ่ายหน้าไปภายใต้. เหมือนอย่างว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

ส่งไปสู่ทางเดินตามปรกติฉันใด พอพวกมนุษย์รับประทานข้าวในเวลาเย็นอิ่ม

เสร็จแล้ว ส่งไปทำให้เป็นคู่กับพระจันทร์ฉันนั้นทีเดียว. ได้เป็นเหมือน

พระจันทร์ตั้งขึ้นเป็นคู่กันฉะนั้น. มหาชนเห็นแล้ว ต่างพูดกันว่า พระจันทร์

ขึ้นเป็นคู่กัน. เมื่อใกล้เข้ามา ใกล้เข้ามาจึงรู้กันว่าไม่ใช่พระจันทร์เป็นคู่กัน

เป็นวิมาน วิมานหนึ่ง ไม่ใช่วิมานอันหนึ่ง แต่เป็นรถคันหนึ่ง. แม้รถพอ

ใกล้เข้ามาแล้วๆ ก็เป็นรถตามธรรมดานั่นเอง แม้ม้าก็มีประมาณเท่ากับม้าตาม

ธรรมดานั้นแหละ. ครั้นนำรถมาด้วยอาการอย่างนี้แล้ว กระทำประทักษิณ

ปราสาทของพระราชา แล้วกลับรถ ณ สีหบัญชรด้านปราจีน กระทำให้บ่าย

หน้าไปทางด้านที่มา จอดรถที่สีหบัญชรเตรียมเสด็จขึ้น ว่าข้าแต่มหาราช ขอ

พระองค์เสด็จขึ้นประทับเถิด.

พระราชาทรงดำริว่า ทิพยยานเราได้แล้ว จึงยังไม่เสด็จขึ้นทันทีทันใด.

แต่ทรงประทานโอวาทแก่ชาวพระนครว่า จงดูเถิด พ่อเจ้า แม่เจ้า ทั้งหลาย

ข้อที่ท้าวสักกะเทวราชทรงส่งรถมารับเรานั้น พระองค์มิได้ส่งมาเพราะอาศัยชาติ

และโคตร หรือตระกูลและประเทศ แต่เพราะทรงเลื่อมใสในคุณคือศีลาจารวัตร

ของเราจึงส่งมา ถ้าหากว่าพวกท่านทั้งหลายจะรักษาศีล ก็คงจะส่งมาแก่ท่าน

ทั้งหลาย ชื่อว่า ศีลนี้สมควรแล้วเพื่อรักษา เรามิได้ไปเที่ยวยังเทวโลก ขอ

ท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด. ทรงสอนมหาชนให้ตั้งอยู่ในศีลห้าแล้วจึง

เสด็จขึ้นรถ. แต่นั้นมาตลีสารถีแสดงทางเป็น ๒ ทางในอากาศคิดว่า แม้เราก็

จักการทำความที่สมควรแก่มหาราช จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อปิจ มหารา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กตเมน ความว่า ข้าแต่มหาราช ในบรรดาทางเหล่านี้

ทางหนึ่งไปนรก ทางหนึ่งไปสวรรค์ ข้าพระเจ้าจะนำพระองค์ไปทางไหนใน

ทางเหล่านั้น. บทว่า เยน ความว่า ไปแล้วโดยทางใด สัตว์ทั้งหลายทำกรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

อันลามก ย่อมเสวยผลแห่งกรรมอันลามก ในที่ใด ข้าพเจ้าย่อมอาจเพื่อเห็นที่

อันนั้น. แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยดังนี้. แม้ความแห่งคาถาในชาดกว่า

ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็น

ใหญ่ยิ่งทุกทิศ ข้าพเจ้าจะนำพระองค์ไป

ทางไหน สัตว์ผู้ทำกรรมชั่ว ไปทางหนึ่ง

สัตว์ผู้ทำกรรมดี ไปทางหนึ่งดังนี้.

เพราะเหตุนั้น พระเจ้านิมิราชจึงตรัสว่า

เราจักเห็นนรก อันเป็นที่อยู่แต่ง

ผู้ทำกรรมชั่วก่อน ซึ่งเป็นสถานที่ของผู้มี

กรรมชั่ว และเป็นทางไปของคนทุศีล.

บทว่า อุภเยเนว ม ความว่า ดูก่อนมาตลี ท่านจงนำเราไปโดยทางทั้งสอง

เราใคร่จะเห็นนรก แม้เทวโลก ก็อยากเห็น. ข้าพเจ้าจะนำพระองค์ไปทาง

ไหนก่อน. จงนำไปโดยทางนรกก่อน. ลำดับนั้น มาตลีจึงแสดงมหานรก ๑๕

ขุม แก่พระราชา ด้วยอานุภาพของตน. ในข้อนี้มีถ้อยคำกล่าวโดยพิสดาร

พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้ในชาดกว่า

มาตลีเทพบุตรแสดงเวตรณี นทีนรก

ที่ข้ามได้แสนยาก เดือดพล่านประกอบ

ด้วยน้ำกรด ร้อนแล้วเปรียบดังเปลวไฟ

แก่พระราชา.

มาตลีสารถี ครั้นแสดงนรกแล้วก็กลับรถบ่ายหน้าไปยังเทวโลก เมื่อแสดงวิมาน

ทั้งหลายของนางเทพธิดานามว่า ภรณี และของคณะเทพบุตรมีเทพบุตรนามว่า

โสณทินนะ เป็นหัวหน้า จึงนำไปยังเทวโลก. แม้ในข้อนั้นก็พึงทราบถ้อยคำ

อย่างพิสดารโดยนัยที่กล่าวไว้ ในชาดกนั่นแหละว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

ก็นางเทพธิดาทิพระองค์หมายถึงนั้น

ชื่อภรณี เมื่อมีชีวิตอยู่รนโลก (มนุษย์ )

เป็นทาสีเกิดแต่ทาสี ในเรือนของ

พราหมณ์ผู้หนึ่ง นางรู้แจ้งซึ่งแขก มีกาล

อันถึงแล้ว (ให้นั่งในอาสนะ อังคาสด้วย

สลากภัตร ที่ถึงแก่ตนโดยเคารพ ยินดีต่อ

ภิกษุนั้นเป็นนิจ) ดุจมารดายินดีต่อบุตร

ผู้จากไปนาน มาถึงในครั้งเดียวฉะนั้น

เป็นผู้สำรวม (มีศีล) เป็นผู้จำแนกทาน (มี

จาคะ) จึงมาบังเกิดรื่นเริงอยู่ในวิมาน.

ก็เมือพระโพธิสัตว์เสด็จไปอย่างนี้ พอกงรถกระทบพื้นธรณีซุ้มประตูจิตกูฏ

เทพนครก็มีความโกลาหล. หมู่เทพพากันละทิ้งท้าวสักกเทวราชไว้แต่พระองค์

เดียว ไปทำการต้อนรับพระมหาสัตว์. ท้าวสักกะทรงเห็นพระมหาสัตว์นั้นมา

ถึงเทวดาทั้งหลายแล้ว เมื่อไม่ทรงอาจธำรงพระทัยได้ จึงตรัสว่า ดูก่อน

มหาราช ขอพระองค์จงทรงอภิรมย์ในเทวโลกทั้งหลาย ด้วยเทวานุภาพเถิด.

ได้ยินว่า ท้าวสักกะนั้น ทรงมีพระดำริอย่างนี้ว่า พระราชานี้เสด็จมาในวันนี้แล้ว

ทรงทำหมู่เทพให้อยู่พร้อมหน้าตน เพียงวันเดียวเท่านั้น ถ้าจักประทับอยู่สิ้น

หนึ่งวันสองวัน พวกเทพก็จะไม่ดูแลเรา ดังนี้. ท้าวสักกะนั้น ทรงริษยา

จึงตรัสอย่างนั้น ด้วยพระประสงค์นี้ว่า ดูก่อนมหาราช การที่พระองค์ประทับ

อยู่ในเทวโลกนี้จะไม่มีบุญ ขอพระองค์จงประทับอยู่ด้วยบุญของพวกอื่นเถิด.

พระโพธิสัตว์เมื่อทรงปฏิเสธว่า ท้าวสักกะแก่ไม่อาจแล้ว เพื่อดำรงพระทัยได้

เพราะอาศัยผู้อื่น แต่เป็นเหมือนภัณฑะที่ได้มา เพราะขอเขาได้มาฉะนั้น

จึงตรัสว่า พอละท่านผู้นิรทุกข์ ดังนี้ เป็นต้น. แม้ในชาดกท่านก็กล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

สิ่งอันใดได้มาเพราะผู้อื่นให้ สิ่งนั้น

มีอุปมาเปรียบเทียบเหมือนอย่างยานที่ขอ

ยืมเขามา หรือทรัพย์ที่ยืมเขามา หม่อม

ฉันไม่ปรารถนา สิ่งที่ผู้อื่นให้

ควรกล่าวทุกเรื่อง.

ถามว่า ก็พระโพธิสัตว์เสด็จไปยังเทวโลกด้วยอัตตภาพมนุษย์กี่ครั้ง.

ตอบว่า สี่ครั้ง คือ เมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามัน ธาตุราชครั้งหนึ่ง เมื่อ

เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสาธินครั้งหนึ่ง เมื่อเสวยพระชาติเป็นคุตติลวีณวาทก

พราหมณ์ครั้งหนึ่ง เมื่อเสวยพระชาติเป็นพระเจ้านิมิตรั้งหนึ่ง. เมื่อครั้งเป็น

พระเจ้ามันธาตุ พระองค์ประทับอยู่ในเทวโลกสิ้นเวลาอสงไขยหนึ่ง. ก็เมื่อ

พระองค์ประทับ อยู่ในเทวโลกนั้น ท้าวสักกะเคลื่อนไปถึง ๓๖ พระองค์. เมื่อครั้ง

เป็นพระเจ้าสาธินราชประทับอยู่สัปดาห์หนึ่ง. ด้วยการนับอย่างมนุษย์ก็เป็น

๗๐๐ ปี. เมื่อครั้งเป็นคุตติลวีณวาทกะ และครั้งเป็นพระเจ้านิมิราช ประทับ

อยู่เพียงครู่เดียว. ด้วยการนับอย่างมนุษย์เป็น ๗ วัน. คำว่า ตตฺเถว มิถิล

ปฏิเนสิ ความว่า มาตลีสารถีได้นำกลับมาประดิษฐานไว้ ณ พระที่อันมีศิริ

ตามเดิมนั่นเทียว (ห้องประทับ).

คำว่า กฬารชนกะ เป็นพระนามของพระราชบุตรนั้น. อนึ่ง ชน

ทั้งหลายกล่าวว่ากฬารชนกะ เพราะมีจุดดำแดงเกิดขึ้น. คำว่า พระราช

กุมารนั้นมิได้เสด็จออกจากพระราชนิเวศนี้ ทรงผนวช ความว่า

พระองค์ได้ตรัสคำมีประมาณเพียงเท่านี้. คำที่เหลือทั้งหมดได้ปรากฏตามเดิม

นั้นเทียว. ในคำว่า สมุทฺเฉโท โหติ นี้พึงทราบวิภาคดังนี้ ใครตัด

กัลยาณวัตร ขาดสูญไปเพราะอะไร ใครให้เป็นไป ย่อมชื่อว่าอันใครให้เป็น

๑. ขุ. ชา ๒๘/๒๑๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

ไปแล้ว. ในข้อนั้น ภิกษุผู้มีศีลเมื่อไม่กระทำความเพียรด้วยคิดว่า เราไม่อาจ

ได้พระอรหัต ชื่อว่า ย่อมตัด. กัลยาณวัตร ย่อมชื่อว่าอันผู้ทุศีลตัดแล้ว

พระเสกบุคคลทั้ง ๗ ย่อมให้เป็นไป. ย่อมชื่อว่าอันพระขีณาสพให้เป็นไปแล้ว

คำที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถามฆเทวัมพสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

๔. มธุรสูตร

ปัญหาว่าด้วยวรรณะ ๔

[๔๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะ อยู่ที่ป่าคุนธาวันใกล้เมืองมธุรา.

พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตรได้ทรงสดับว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า

พระสมณะนามว่ากัจจานะ อยู่ที่ป่าคุนธาวันใกล้เมืองมธุรา กิตติศัพท์อันงาม

ของท่านกัจจานะนั้นขจรไปว่า เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต

มีถ้อยคำวิจิตร [แสดงธรรมได้กว้างขวาง] มีปฏิภาณงาม เป็นผู้ใหญ่และเป็น

พระอรหันต์ ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี ดังนี้.

ลำดับนั้น พระเจ้ามธุรราชอวันตีบุตร รับสั่งให้เทียมยานอย่างดี ๆ เสด็จขึ้น

ประทับยานอย่างดี เสด็จออกจากเมืองมธุราโดยกระบวนพระที่นั่งอย่างดี ๆ ด้วย

ราชานุภาพอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อจะพบเห็นท่านพระมหากัจจานะ เสด็จไปด้วยยาน

จนสุดทางแล้ว จึงเสด็จลงจากยานพระที่นั่ง ทรงดำเนินเข้าไปหาท่านพระ-

มหากัจจานะถึงที่อยู่ ทรงปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

แล้วได้ตรัสกะท่านพระมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านกัจจานะผู้เจริญ พราหมณ์

ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว

วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พวกพราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์

ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรของพรหมเป็นโอรส

เกิดแต่ปากพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมสร้าง เป็นทายาทของพรหมดังนี้

เรื่องนี้ท่านพระกัจจานะจะว่าอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

[๔๖๕] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า ดูก่อนมหาบพิตร วาทะ

ที่พวกพราหมณ์ กล่าวว่าวรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว

วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พวกพราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์

ผู้ที่มิใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์ทั้งหลายเป็นบุตรของพรหม เป็นโอรส

เกิดแต่ปากพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมสร้าง เป็นทายาทของพรหม ดังนี้

นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกเท่านั้น ดูก่อนมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า

วรรณะที่ประเสริฐคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ พราหมณ์เป็นทายาท

ของพรหม นั่นเป็นแต่คำโฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดย

ปริยายแม้นี้ ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้น เป็นไฉน

ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่กษัตริย์ ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือ

ทอง แม้กษัตริย์ ....พราหมณ์.... แพศย์... ศูทร. ..ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอน

หลัง คอยฟังรับใช้ พระพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อกษัตริย์นั้น

ราชา. ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จ

แก่กษัตริย์ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แม้กษัตริย์... พราหมณ์...

แพศย์...ศูทร...ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนที่หลัง คอยพึงรับใช้ พระพฤติ

ให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่กษัตริย์นั้น.

[๔๖๖] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็น

ไฉน ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่พราหมณ์ ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก

เงินหรือทอง แม้พราหมณ์...แพศย์...ศูทร...กษัตริย์...ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน

นอนทีหลัง คอยพึงรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่พราหมณ์นั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่

พราหมณ์ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แม้พราหมณ์...แพศย์...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

ศูทร...กษัตริย์...ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติ

ให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่พราหมณ์นั้น.

[๔๖๗] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็น

ไฉน ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่แพศย์ ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน

หรือทอง แม้แพศย์...ศูทร. ..กษัตริย์. ..พราหมณ์. .ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน

นอนทีหลัง คอยพึงรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่แพศย์นั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่แพศย์

ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แม้แพศย์. . .ศูทร. . . กษัตริย์. . .

พราหมณ์...ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูก

ใจ พูดไพเราะแก่แพศย์นั้น.

[๔๖๘] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็น

ไฉน ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่ศูทร ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน

หรือทอง แม้ศูทร. ..กษัตริย์.. .พราหมณ์...แพศย์. ..ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน

นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ ประพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะแก่ศูทรนั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ถ้าแม้ความปรารถนาจะพึงสำเร็จแก่ศูทร

ด้วยทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทอง แม้ศูทร...กษัตริย์. . .พราหมณ์...

แพศย์ ก็จ้ะลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยฟังรับใช้ พระพฤติให้ถูกใจ พูดไพเราะ

แก่ศูทรนั้น.

[๔๖๙] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็น

ไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสี่เหล่านั้นย่อมเป็นผู้เสมอกันหรือมิใช่ หรือ

มหาบพิตรจะทรงมีความเข้าพระทัยในวรรณะสี่เหล่านี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสี่เหล่านี้

เป็นผู้เสมอกันหมด ในวรรณะสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

[๔๗๐] ดูก่อนมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐ

คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว...พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั้น

เป็นแต่คำโฆษณาเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ดูก่อน

มหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ในโลกนี้

พึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พระพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด

พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป

พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกหรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะทรงมีความ

เข้าพระทัยในเรื่องนี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ความจริง ถึงเป็นกษัตริย์ เมื่อฆ่าสัตว์

ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ

มักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง ข้อนี้ข้าพเจ้าได้

ฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลายก็เช่นนั้น.

[๔๗๑] ดีละ ๆ มหาบพิตร เป็นความดีที่มหาบพิตรมีความเข้า

พระทัยข้อนี้อย่างนั้น และเป็นความดีที่มหาบพิตรได้ทรงสดับข้อนี้มาแต่พระ-

อรหันต์ทั้งหลาย ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น

เป็นไฉน พราหมณ์... แพศย์...ศูทร... ในโลกนี้ เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์

ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ

มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรกหรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะทรงมีความเข้าพระทัยในเรื่องนี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ความจริง ถึงจะเป็นพราหมณ์ . . .เป็น

แพศย์...เป็นศูทรก็ดี เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ

พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้าพเจ้ามีความเห็นใน

เรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลายก็เช่นนั้น.

[๔๗๒] ดีละ ๆ มหาบพิตร เป็นความดีที่มหาบพิตรมีความเข้าพระทัย

ข้อนี้อย่างนั้น อนึ่ง เป็นความดีที่มหาบพิตรได้ทรงสดับอันมาแต่พระอรหันต์

ทั้งหลาย ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน

ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณะสี่เหล่านี้เป็นผู้เสมอกันทั้งหมดหรือมิใช่ หรือ

มหาบพิตรจะทรงมีความเข้าพระทัยในวรรณะสี่เหล่านี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสี่เหล่านี้

ก็เป็นผู้เสมอกันหมด ในวรรณะสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

[๔๗๓] ดูก่อนมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐ

คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว...พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็น

แต่คำโฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ดูก่อน

มหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ในโลกนี้

พึงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการประพฤติ

ผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจาก

คำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ

เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะทรงเข้า

พระทัยในเรื่องนี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ความจริง ถึงเป็นกษัตริย์ เมื่อเว้นขาด

จากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการพระพฤติผิดในกาม

เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ เว้นขาด

จากคำเพ้อเจ้อ ไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป พึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง ข้อนี้ข้าพเจ้า

ได้ฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลายก็เช่นนั้น.

[๔๗๔] ดีละ ๆ มหาบพิตร เป็นความดีที่มหาบพิตรมีความเข้า

พระทัยข้อนี้อย่างนั้น และเป็นความดีที่มหาบพิตรได้ทรงสดับข้อนี้มาแต่พระ -

อรหันต์ทั้งหลาย ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้น

เป็นไฉน พราหมณ์...แพศย์ ...ศูทร ในโลกนี้ พึงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์

เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการพระพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการ

พูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ

ไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์หรือมิใช่ หรือมหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ความจริง ถึงเป็นพราหมณ์ . . .เป็นแพทย์

. . . เป็นศูทรก็ดี เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้น

ขาดจากการพระพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากคำส่อเสียด

เว้นขาดจากคำหยาบ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ ไม่มักโลภ มีจิตไม่พยาบาท

เป็นสัมมาทิฐิ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพเจ้ามีความเห็นใน

เรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง ข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแต่พระอรหันต์ทั้งหลายก็เช่นนั้น.

[๔๗๕] ดีละ ๆ มหาบพิตร เป็นความดีที่มหาบพิตรมีความเข้า

พระทัยข้อนี้อย่างนั้น และเป็นความดีที่มหาบพิตรได้ทรงสดับข้อนี้มาแต่พระ

อรหันต์ทั้งหลาย ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้น

เป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณะสี่เหล่านี้เป็นผู้เสมอกัน หรือมิใช่ หรือ

มหาบพิตรจะทรงมีความเข้าพระทัยในวรรณะสี่เหล่านี้อย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสี่เหล่านี้ก็

เป็นผู้เสมอกันหมด ในวรรณะสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน .

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

[๔๗๖] ดูก่อนมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐ

คือพราหมณ์เท่านั้น...พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คำโฆษณา

ในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ดูก่อนมหาบพิตร

มหาบพิตรจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ในโลกนี้ พึงตัดช่อง

หรือย่องเบา พึงทำการปล้นหรือดักคอยทำร้ายคนที่ทางเปลี่ยว หรือพึงคบหา

ภริยาของผู้อื่น ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงว่า ขอเดชะ ผู้นี้

เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงปรารถนาจะลงพระราชอาญา

สถานใดแก่โจรนี้ ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาญาสถานนั้นเถิด ดังนี้

มหาบพิตรจะพึงโปรดให้ทำอย่างไรกะโจรนั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็พึงให้ฆ่าเสียหรือพึงผ่าอกเสีย พึง

เนรเทศเสีย หรือพึงทำตามสมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อ

เมื่อก่อนของเขาว่ากษัตริย์นั้น หายไปเสียแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นโจร

นั่นเทียว.

[๔๗๗] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้น

เป็นไฉน พราหมณ์...แพทย์...ศูทรในโลกนี้ พึงตัดช่องหรือย่องเบา

พึงทำการปล้น หรือดักคอยทำร้ายคนที่ทางเปลี่ยว หรือพึงคบหาภริยาของผู้อื่น

ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้ แล้วฟังแสดงว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจร ประพฤติ

ผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงปรารถนาจะลงพระราชอาญาสถานใดแก่โจรนี้

ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาญาสถานนั้นเถิด ดังนี้ มหาบพิตรจะพึงโปรด

ให้ทำอย่างไรกะโจรนั้น .

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็พึงให้ฆ่าเสียหรือพึงให้ผ่าอกเสีย

พึงเนรเทศเสียหรือพึงทำตามสมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

เมื่อก่อนของเขาว่าศูทรนั้น หายไปเสียแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าเป็นโจร

นั่นเทียว.

[๔๗๘] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้น

เป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณะสี่เหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอกันหมดหรือมิใช่

หรือมหาบพิตรจะมีความเข้าพระทัยในวรรณะสี่เหล่านั้นอย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสี่เหล่านี้

ก็เป็นผู้เสมอกันหมด ในวรรณะสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

[๔๗๙] ดูก่อนมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวว่า วรรณะที่ประเสริฐ

คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ...พราหมณ์เป็นทายาทของพรหม นั่น

เป็นแต่คำโฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ดูก่อน

มหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน กษัตริย์ในโลกนี้

พึงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งห่มผ้ากาสายะเสด็จจากพระราชนิเวศน์

ทรงผนวชเป็นบรรพชิต ทรงเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ทรงเว้นขาดจากการ

ลักทรัพย์ ทรงเว้นจากจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารครั้งเดียว พระพฤติ

พรหมจรรย์ มีศีลมีกัลยาณธรรม มหาบพิตรจะทรงทำอย่างไรกะราชบรรพชิต

นั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงกราบไหว้บ้าง พึงลุกรับบ้าง

พึงเชื้อเชิญด้วยอาสนะบ้าง พึงบำรุงราชบรรพชิตนั้นด้วยจีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง พึงจัดการรักษาป้องกันคุ้มครอง

อันเป็นธรรมกะราชบรรพชิตนั้นบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อเมื่อก่อน

ของเขาว่ากษัตริย์นั้นหายไปแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าสมณะนั่นเทียว.

[๔๘๐] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็น

ไฉน พราหมณ์...แพศย์...ศูทรในโลกนี้ พึงปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้า-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

กาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาด

จากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารครั้งเดียว ประพฤติ

พรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม มหาบพิตร จะพึงทำอย่างไรกับบรรพชิตนั้น.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงกราบไหว้บ้าง พึงลุกรับบ้าง พึง

เชื้อเชิญด้วยอาสนะบ้าง พึงบำรุงบรรพชิตนั้น ๆ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง พึงจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอันเป็นธรรม

แก่บรรพชิตนั้น ๆ บ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อเมื่อก่อนของผู้นั้นว่า

ศูทร นั้นหายไปแล้ว เขาย่อมถึงการนับว่าสมณะนั่นเทียว.

[๔๘๑] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็น

ไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณะสี่เหล่านี้ก็เป็นผู้เสมอกันหมดหรือมิใช่ หรือ

ในวรรณะสีเหล่านี้ มหาบพิตรจะมีความเข้าพระทัยอย่างไร.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ แน่นอน เมื่อเป็นเช่นนี้ วรรณะสีเหล่านั้น

ก็เป็นผู้เสมอกันหมด ในวรรณะสี่เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นจะต่างอะไรกัน.

[๔๘๒] ดูก่อนมหาบพิตร คำที่อาตมภาพกล่าวนี้ว่า วรรณะที่ประเสริฐ

คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะ

อื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้มิใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้น

เป็นบุตรพรหม เป็นโอรสเกิดแต่ปากพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมนิรมิต

เป็นทายาทของพรหม นั่นเป็นแต่คำโฆษณาในโลกเท่านั้น ดังนี้ บัณฑิตพึง

ทราบโดยปริยายนี้.

[๔๘๓] เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามธุรราช

อวันตีบุตรได้ตรัสว่า ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคล

หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในทีมืด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระกัจจานะผู้เจริญประกาศธรรม

โดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ข้าพเจ้านี้ขอถึง

พระกัจจานะผู้เจริญ พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระกัจจานะ

ผู้เจริญ จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

[๔๘๔] ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรอย่าทรงถึงอาตมภาพว่าเป็น

สรณะเลย จงทรงถึงพระผู้มีพะระภาคเจ้าทีอาตมภาพถึงว่าเป็นสรณะ นั้นว่าเป็น

สรณะเถิด.

ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน

ดูก่อนมหาบพิตร เดี๋ยวนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว.

[๔๘๕] ข้าแต่พระกัจจานะผู้เจริญ ก็ถ้าข้าพเจ้าพึงได้ฟังว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น [ประทับอยู่] ในทางสิบโยชน์ ข้าพเจ้าก็พึงไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นทาง

สิบโยชน์. .. สามสิบโยชน์... สี่สิบโยชน์... ห้าสิบโยชน์... แม้ร้อยโยชน์

ข้าพเจ้าก็จะพึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์

นั้น แม้สิ้นทางร้อยโยชน์ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพาน

เสียแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อม

ทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระกัจจานะผู้เจริญ จงจำคำ

ข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบ มธุรสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

อรรถกถามธุรสูตร

มธุรสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

ในพระสูตรนั้น บทว่า มหากัจจานะ คือ บุตรของปุโรหิต แห่ง

พระเจ้าอุชเชนีก์ในกาลเป็นคฤหัสถ์ มีรูปงาม น่าดู นำมาซึ่งความเลื่อมใสและ

มีผิวดังทองคำ. บทว่า มธุราย คือ ในพระนครมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า

คุนฺธาวเน คือ ในพระราชอุทยาน ชื่อ กัณหกคุนธาวัน . บทว่า อวนฺติปุตฺโต

ได้แก่เป็นบุตรของธิดาแห่งพระราชาในอวันติรัฐ. คำว่า วุฑฺโฒ เจว อรหา

ความว่า ทั้งหนุ่ม ทั้งสมควร คือ มิได้ยกย่องอย่างคนแก่ฉะนั้น. ส่วน

พระเถระเป็นผู้เจริญด้วย เป็นพระอรหันต์ด้วย. คำว่า พฺราหฺมณา โภกจฺจาน

ความว่า ได้ยินว่า พระราชานั้น ถือลัทธิพราหมณ์ ฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนั้น.

ในคำเป็นต้นว่า พฺราหฺมณาว เสฏฺา วณฺณา ท่านแสดงว่า พราหมณ์เท่านั้น

เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในฐานะที่ปรากฏแห่งชาติและโคตรเป็นต้น. บทว่า หีโน

อญฺโ วณฺโณ วรรณะอื่นต่ำ ความว่า ท่านกล่าวว่าวรรณะสามนอกนี้เป็น

วรรณะต่ำชั่ว. บทว่า สุกฺโก แปลว่า ขาว. บทว่า กณฺโห แปลว่า ดำ.

บทว่า สุชฺฌนฺติ ความว่า บริสุทธิ์ในฐานะที่ปรากฏแห่งชาติและโคตรเป็นต้น.

บทว่า พฺรหฺมุโน ปุตตา ได้แก่ บุตรของมหาพรหม. บทว่า โอรสา

มุขโต ชาตา ความว่า อยู่ในอก ออกมาจากปาก ชื่อว่า โอรส เพราะ

อรรถว่า การทำไว้ที่อกให้เจริญดีแล้ว. บทว่า พฺรหฺมชา แปลว่า บังเกิด

จากพระพรหม. บทว่า พฺรหฺมนิมฺมิตา ได้แก่พระพรหมนิรมิตแล้ว. บทว่า

พฺรหฺมทายาทา คือ เป็นทายาทแห่งพระพรหม. บทว่า โฆโสเยว โข

เอโส นั้น เพียงเป็นโวหาร. บทว่า อิชฺเฌยฺย แปลว่า พึงสำเร็จ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

หมายความว่า ปรารถนาทรัพย์เป็นต้น มีประมาณเท่าใด มโนรถของเขา

ก็พึงเต็มด้วยทรัพย์เป็นต้น มีประมาณเพียงนั้น . บทว่า ขตฺติโยปิสฺส ตัด

บทว่า ขตฺติโย อปิ อสฺส คือ เป็นผู้ลุกขึ้นก่อนสำหรับผู้ถึงความเป็นใหญ่.

บทว่า น เตส เอตฺถ กิญฺจิ ความว่า ในวรรณะ ๔ เหล่านี้ ข้าพเจ้าไม่เห็น

จะต่างอะไรกัน. บทว่า อาสเนน วา นิมนฺเตยฺยาม ความว่า พึงปัด

อาสนะที่สำหรับนั่งแล้วเชิญว่า เชิญนั่งที่นี้. บทว่า อภินิมนฺเตยฺยาม วา ต

ความว่า นำอาสนะนั้นมาแล้ว เชื้อเชิญ. ในการเชื้อเชิญนั้น อภิหาร (ความ

เคารพ) มี ๒ อย่าง คือ ทั้งทางวาจา ทั้งทางกาย. คือ เมื่อพูดว่า ท่านมี

ความต้องการด้วยจีวรเป็นต้นอย่างใด ก็ขอจงบอกมาเถิดในขณะที่ท่านต้องการ

แล้ว ๆ ดังนี้ ชื่อว่า เชื้อเชิญ เคารพทางวาจา. แต่เมื่อกำหนดเห็นความวิการ

แห่งจีวรเป็นต้น กล่าวว่า ท่านจงเอาผืนนี้ไปเถิด ถวายจีวรเหล่านั้น ชื่อว่า

เคารพบูชาเชื้อเชิญทางกาย. ท่านกล่าวว่า อภินิมนฺเตยฺยาม วา ต ดังนี้

หมายเอาการเชื้อเชิญแม้ทั้งสองนั้น. บทว่า รกฺขาวรณคุตฺตึ ได้แก่ การ

คุ้มครอง กล่าวคือ การรักษา และกล่าวคือ การป้องกัน ก็การรักษาที่เขา

จัดตั้งบุคคลให้ถืออาวุธอยู่ ไม่ชื่อว่า การจัดแจงประกอบด้วยธรรม. ส่วนการ

จัดแจงห้ามมิให้คนหาฟืนและคนหาใบไม้เป็นต้น เข้าไปในเวลาที่ไม่ควร ห้าม

พรานเนื้อเป็นต้น มิให้จับเนื้อหรือปลาภายในเขตวิหาร ก็ชื่อว่า การจัดแจง

ที่ประกอบด้วยธรรม. ท่านกล่าวว่า ธมฺมิก เพราะหมายเอาการห้ามอันนั้น.

บทว่า เอว สนฺเต ความว่า เมื่อบรรพชิตทั้ง ๔ วรรณะเสมอกัน สักการะ

ว่าเป็นนักบวช มีอยู่. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถามธุรสูตรที่ ๔

๑. บาลี นาห เอตฺถ กิญฺจิ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

๕. โพธิราชกุมารสูตร

[๔๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬามิคทายวัน เขต-

นครสุงสุมารคิระ ในภัคคชนบท. ก็สมัยนั้น ปราสาทชื่อโกกนุท ของ

พระราชกุมารพระนามว่าโพธิ สร้างแล้วใหม่ ๆ สมณพราหมณ์หรือมนุษย์คน

ใดคนหนึ่งยังไม่ได้เข้าอยู่ ครั้งนั้น โพธิราชกุมารเรียกมาณพนามว่าสัญชิกาบุตร.

มาว่า มานี่แน่ เพื่อนสัญชิกาบุตร ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ แล้วจงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้

กระเปร่า มีพระกำลัง ทรงพระสำราญ ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ โพธิราชกุมารถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียร

เกล้า ทูลถามถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง

ทรงกระปรี้กระเปร่า มีพระกำลัง ทรงพระสำราญ และจงทูลอย่างนี้ว่า ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหารเพื่อ

เสวยในวันพรุ่งนี้ของโพธิราชกุมารเถิด. มาณพสัญชิกาบุตรรับคำสั่งโพธิราช-

กุมารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง.

ทรงรับนิมนต์

[๔๘๗] ครั้นมาณพสัญชิกาบุตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โพธิราชกุมารถวาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

บังคมพระบาทด้วยเศียรเกล้าและรับสั่งถามถึงพระโคดมผู้เจริญ ผู้มีพระอาพาธ

น้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงมีพระกำลัง ทรงพระสำราญ

และรับสั่งมาอย่างนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญกับพระภิกษุสงฆ์ จงรับภัตตาหาร

เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ของโพธิราชกุมารเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วย

พระอาการดุษณีภาพ ครั้งนั้น มาณพสัญชิกาบุตรทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรับนิมนต์แล้ว จึงลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าโพธิราชกุมาร แล้วทูลว่า เกล้า

กระหม่อมได้กราบทูลพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น ตามรับสั่งของพระองค์แล้ว

และพระสมณโคดมทรงรับนิมนต์แล้ว. พอล่วงราตรีนั้นไป โพธิราชกุมารรับ

สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอย่างประณีตในนิเวศน์ และรับสั่งให้เอาผ้าขาวปู

ลาดโกกนุทปราสาทตลอดถึงบันไดขั้นสุดแล้วตรัสเรียกมาณพสัญชิกาบุตรมาว่า

มานี่แน่ เพื่อนสัญชิกาบุตร ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ

แล้ว จงกราบทูลภัตตกาลว่า ได้เวลาแล้ว พระเจ้าข้า ภัตตาหารสำเร็จแล้ว.

มาณพสัญชิกาบุตรรับคำสั่งโพธิราชกุมารแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายัง

ที่ประทับ กราบทูลภัตตกาลว่า ได้เวลาแล้ว พระโคดมผู้เจริญ ภัตตาหาร

สำเร็จแล้ว.

[๔๘๘] ครั้งนั้น เป็นเวลาเข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอัน-

ตรวาสกแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของโพธิราชกุมาร.

สมัยนั้น โพธิราชกุมารประทับยืนคอยรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ที่ภายนอก

ซุ้มประตู ได้ทรงเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังเสด็จนาแต่ไกล จึงเสด็จออก

ต้อนรับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วเสด็จนำหน้าเข้าไปยังโกกนุท-

ปราสาท. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าหยุดประทับอยู่ที่บันไดขั้นสุด. โพธิ -

ราชกุมารจึงกราบทูลว่า ขอนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไป

เถิด พระเจ้าข้า ขอนิมนต์พระสุคตเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน. เมื่อ

โพธิราชกุมารกราบทูลเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่งเสีย. แม้ครั้งที่สอง

โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า ขอนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหยียบผ้าขาว

ไปเถิด พระเจ้าข้า ขอนิมนต์พระสุคตเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า

ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉันตลอดกาลนาน.

เมื่อโพธิราชกุมารทูลเช่นนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่งเสีย แม้ครั้งที่สาม

โพธิราชกุมารก็กราบทูลว่า ขอนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไป

เถิด พระเจ้าข้า ขอนิมนต์พระสุคตเจ้าทรงเหยียบผ้าขาวไปเถิด พระเจ้าข้า

ข้อนี้จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่หม่อมฉัน ตลอดกาลนาน.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทอดพระเนตรท่านพระอานนท์ ท่าน

พระอานนท์ได้ถวายพระพรว่า ดูก่อนพระราชกุมาร จงเก็บผ้าขาวเสียเถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงเหยียบแผ่นผ้า พระตถาคตเจ้าทรงแลดูประชุมชนผู้

เกิดในภายหลัง โพธิราชกุมาร รับสั่งให้เก็บผ้าแล้วให้ปูลาดอาสนะที่โกกนุท-

ปราสาทชั้นบน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นโกกนุทปราสาท แล้ว

ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. โพธิราชกุมารทรง

อังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้อิ่มหนำเพียงพอด้วยของเคี้ยวของ

ฉันอันประณีต ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ

วางพระหัตถ์จากบาตรแล้ว โพธิราชกุมารถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่งประทับนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ หม่อมฉันมีความเห็นอย่างนี้ว่า ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความ

สุขไม่มี ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความทุกข์แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

เสด็จเข้าไปหาอาฬาดาบส

[๔๘๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราชกุมาร ก่อนแต่ตรัสรู้

แม้เมื่ออาตมภาพยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็มีความคิดเห็นว่า ความ

สุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความสุขไม่มี ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยทุกข์

แล. ดูก่อนราชกุมาร สมัยต่อมา เมื่ออาตมภาพยังเป็นหนุ่ม มีผมดำสนิท

ประกอบด้วยวัยกำลังเจริญ เป็นปฐมวัย เมื่อมารดาบิดาไม่ปรารถนา [จะให้

บวช] ร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่ ได้ปลงผมและหนวด นุ่งห่าผ้ากาสายะ ออก

จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ครั้นบวชอย่างนี้แล้ว แสวงหาว่าอะไรจะเป็นกุศล

ค้นคว้าสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า จึงได้เข้าไปหาอาฬารดาบส

กาลามโคตร แล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะพระพฤติ

พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้แล้ว

อาฬารดาบส กาลามโคตรได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ท่านจงอยู่เถิด ธรรมนี้เป็น

เช่นเดียวกับธรรมที่บุรุษผู้ฉลาดพึงทำลัทธิของอาจารย์นั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญา

อันยิ่งเองแล้วบรรลุไม่นานเลย. อาตมภาพเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่

นานเลย. กล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจาเท่านั้น

อนึ่ง ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่าเรารู้เราเห็น. อาตมภาพนั้นมีความ

คิดว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร จะประกาศได้ว่า เราทำให้แจ้งชัดด้วย

ปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงศรัทธาเท่านั้น ดังนี้ ก็หาไม่

ที่จริง อาฬารดาบส กาลามโคตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้นแล้วอาตมภาพเข้าไปหา

อาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้

ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไร

หนอ. เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้แล้ว อาฬารดาบส กาลามโคตรได้ประกาศ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

อากิญจัญญายตนะ. อาตมภาพไค้มีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร

เท่านั้นมีศรัทธาหามิได้ ถือเราก็มีศรัทธา อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้น

มีความเพียร . . .มีสติ.. . มีสมาธิ . .มีปัญญา หามิได้ ถึงเราก็มีความเพียร...

มีสติ.. . มีสมาธิ ...มีปัญญา อย่ากระนั้นเลย เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทำธรรม

ที่อาฬารดาบส กาลามโคตรประกาศว่า ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว

เข้าถึงอยู่นั้นให้แจ้งเกิด. อาตมภาพนั้นทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้ว

บรรลุธรรมนั้นโดยฉับพลันไม่นานเลย ครั้นแล้วได้เข้าไปหาอาฬารดาบส

กาลามโคตรแล้วได้ถามว่า ดูก่อนกาลามะ ท่านทำไห้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง

เอง บรรลุธรรมนี้ประกาศให้ทราบ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ.

อาฬารดาบส กาลามโคตรตอบว่า ดูก่อนอาวุโส เราทำให้แจ้งชัดด้วย

ปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.

อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส แม้เราก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญา

อันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้ .

อาฬารดาบส กาลามโคตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เป็นลาภของเราทั้ง

หลายหนอ เราทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เราทั้งหลายได้พบท่านสพรหมจารีเช่นท่าน

เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ ท่าน

ก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนั้นแล้วประกาศให้ทราบ ท่าน

ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ เราก็

ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนั้นแล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้

เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้ เรา

เช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ดังนี้ . ดูก่อนอาวุโส บัด

นี้ เราทั้งสองจงมาอยู่ช่วยกันบริหารหมู่คณะนี้เถิด ดูก่อนราชกุมาร อาฬารดาบส

กาลามโคตร เป็นอาจารย์ของอาตมภาพยังตั้งให้อาตมภาพผู้เป็นอันเตวาสิกไว้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

เสมอตน และยังบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ด้วยประการฉะนี้.

อาตมภาพนั้นมีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลาย

กำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ย่อมเป็นไปเพียงให้อุปบัติในอากิญจัญญายตนพรหมเท่านั้น อาตมภาพไม่พอใจ

ธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นแล้วหลีกไปเสีย.

เสด็จเข้าไปหาอุทกดาบส

[๔๙๐] ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพแสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ค้น

คว้าสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่า จึงเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้ว

ได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ใน

ธรรมวินัยนี้. เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้ แล้ว อุทกดาบส รามบุตรได้กล่าวว่า อยู่

เถิดท่าน บุรุษผู้ฉลาดพึงทำให้แจ้งจัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ไม่นานเลยก็บรรลุ

ลัทธิของอาจารย์คนแล้วอยู่ในธรรมใด ธรรมนี้เช่นนั้น อาตมภาพเล่าเรียน

ธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย กล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการ

เพียงหุบปากเจรจาเท่านั้น อนึ่ง ทั้งอาตมภาพและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้เรา

เห็น. อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ท่านรามบุตรจะได้ประกาศว่า เราทำให้

แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยอาการเพียงศรัทธาเท่านั้น ดังนี้

ก็หาไม่ ที่จริงท่านรามบุตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้นแล้วอาตมภาพจึงเข้าไปหา

อุทกดาบส รามบุตร แล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัด

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุแล้วประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ.

เมื่ออาตมภาพกล่าวเช่นนี้ อุทกดาบส รามบุตรได้ประกาศเนวสัญญานา-

สัญญายตนะ. อาตมภาพมีความคิดเห็นว่าท่านรามะเท่านั้นมีศรัทธาหามิได้ ถึง

เราก็มีศรัทธา ท่านรามะเท่านั้น มีความเพียร...มีสติ. .มีสมาธิ ...มีปัญญา

หามิได้ ถึงเราก็มีความเพียร... มีสติ... มีสมาธิ... มีปัญญา อย่ากระนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

เลย เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทำธรรมที่ท่านรามะประกาศว่า ทำให้แจ้งชัดด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองแล้วบรรลุธรรมนั้นให้แจ้งเถิด. อาตมภาพได้ทำให้แจ้งชัด

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วบรรลุธรรมนั้นโดยฉับพลัน ไม่นานเลย. ครั้นแล้ว

อาตมภาพเข้าไปหาอุทกดาบส รามบุตรแล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านรามะ

ท่านทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้ว ประกาศให้ทราบ

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ.

อุทกดาบส รามบุตรตอบว่า ดูก่อนอาวุโส เราทำให้แจ้งชัดด้วย

ปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุธรรมนี้แล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้.

อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส แม้เราก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญา

อันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ .

อุทกดาบส รามบุตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เป็นลาภของเราทั้งหลาย

เราทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่เราทั้งหลายได้พบท่านสพรหมจารีเช่นท่าน รามะทำให้

แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุถึงธรรมใดแล้วประกาศให้ทราบ ท่านก็

ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุถึงธรรมนั้นอยู่ ท่านทำให้แจ้งชัดด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองบรรลุถึงธรรมใด รามะก็ทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองบรรลุ

ถึงธรรมนั้น แล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้ รามะรู้ยิ่งธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น

ท่านรู้ธรรมใด รามะก็รู้ยิ่งธรรมนั้น ดังนี้ รามะเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด

รามะก็เช่นนั้น ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส บัดนี้ เชิญท่านมาบริหารหมู่คณะนี้เถิด.

ดูก่อนราชกุมาร อุทกดาบสรามบุตรเป็นเพื่อนสพรหมจารีของอาตมภาพ ตั้ง

อาตมภาพไว้ในตำแหน่งอาจารย์ และบูชาอาตมภาพด้วยการบูชาอย่างยิ่ง.

อาตมภาพ มีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด

เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เป็นไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

เพียงให้อุปบัติในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมเท่านั้น. อาตมภาพไม่พอใจ

ธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป.

[๔๙๑] ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพแสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล

ค้นคว้าสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า เที่ยวจาริกไปในมคธชนบทโดย

ลำดับ บรรลุถึงอุรุเวลาเสนานิคม ณ ที่นั้น อาตมภาพได้เห็นภาคพื้นน่ารื่นรมย์

มีไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส มีแม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบ

น่ารื่นรมย์ และมีโคจรตามโดยรอบ. อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ภาคพื้น

น่ารื่นรมย์หนอ ไพรสณฑ์ ก็น่าเลื่อมใส แม่น้ำก็ไหล น้ำเย็นจืดสนิท ท่าน้ำ

ก็ราบเรียบ น่ารื่นรมย์ และโคจรคามก็มีโดยรอบ สถานที่เช่นนี้สมควรเป็นที่

ตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการความเพียรหนอ. ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพ

นั่งอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง ด้วยคิดเห็นว่า สถานที่เช่นนี้สมควรเป็นที่ทำความเพียร.

อุปมา ๓ ข้อ

[๔๙๒] ดูก่อนราชกุมาร ครั้งนั้น อุปมาสามข้อน่าอัศจรรย์ ไม่ได้

เคยฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ.

เปรียบเหมือนไม้สดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ ถ้าบุรุษพึงมาด้วย

หวังว่า จักถือเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ ดังนี้ ดูก่อน

ราชกุมาร พระองค์จะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สด

ชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือ.

โพธิราชกุมารทูลว่า ข้อนี้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะไม้ยังสดชุ่มด้วยยางทั้งตั้งอยู่ในน้ำ บุรุษนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลำบาก

กายเปล่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

ดูก่อนราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ก็ฉันนั้น มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจในกาม ยังเสน่หาในกาม

ยังหลงอยู่ในกาม ยังระหายในกาม ยังมีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้

ด้วยดี ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น

ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงจะ

ไม่ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อ

จะรู้เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูก่อนราชกุมาร

อุปมาข้อที่หนึ่งนี้แลน่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ.

[๔๙๓] ดูก่อนราชกุมาร อุปมาข้อที่สอง น่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟัง

มาในกาลก่อน มาปรากฏแก่อาตมภาพ เปรียบเหมือไม้สดชุ่มด้วยยางตั้งอยู่

บนบก ใกล้น้ำ ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จะเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ จักทำไฟ

ให้ปรากฏ ดูก่อนราชกุมาร พระองค์จะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษนั้นเอาไม้สดชุ่มด้วยยางตั้งอยู่บนบกไกลน้ำมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึงทำ

ไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือ.

ข้อนี้ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้นยังสด

ชุ่มด้วยยาง แม้จะตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ บุรุษนั้นก็จะพึงเหน็ดเหนื่อยลำบากกาย

เปล่า.

ดูก่อนราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

มีกายหลีกออกจากกาม แต่ยังมีความพอใจในกาม ยิ่งเสน่หาในกาม ยังหลง

อยู่ในกาม มีความระหายในกาม มีความเร่าร้อนเพราะกาม ยังละไม่ได้ด้วยดี

ยังให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะ

ได้เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงแม้จะไม่ได้

เสวยทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

เพื่อจะเห็น เพื่อปัญญา เครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. ดูก่อนราชกุมาร

อุปมาข้อที่สองนี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแก่

อาตมภาพ.

[๔๙๔] ดูก่อนราชกุมาร อุปมาข้อที่สามน่าอัศจรรย์ไม่เคยได้ฟังมา

ในกาลก่อนมาปรากฏแก่อาตมภาพ เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะทั้งตั้งอยู่บนบก

ไกลน้ำ ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักเอาไม้นั้นมาสีให้ไฟเกิด จักทำไฟให้

ปรากฏ ดังนี้ . ดูก่อนราชกุมาร พระองค์จะเข้าพระทัยความข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษนั้นเอาไม้แห้งเกราะทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำนั้นมาสีไฟ พึงให้ไฟเกิด พึง

ทำให้ไฟปรากฏได้บ้างหรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม้นั้นแห้งเกราะ

และทั้งตั้งอยู่บนบกไกลน้ำ.

ดูก่อนราชกุมาร ข้อนี้ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ก็ฉันนั้นแล มีกายหลีกออกจากกามแล้ว ไม่มีความพอใจในกาม ไม่เสน่หา

ในกาม ไม่หลงอยู่ในกาม ไม่ระหายในกาม ไม่เร่าร้อนเพราะกาม ละได้ด้วยดี

ให้สงบระงับด้วยดีในภายใน ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวย

ทุกขเวทนาที่กล้าเผ็ดร้อนอันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ถึงจะไม่ได้เสวยทุกข์

เวทนาที่กล้าเผ็ดร้อน อันเกิดเพราะความเพียรก็ดี ก็ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น

เพื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าได้. ดูก่อนราชกุมาร อุปมา

ข้อที่สามนี้น่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อนนี้แล มาปรากฏแก่อาตมภาพ.

ดูก่อนราชกุมาร อุปมาสามข้อน่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อนเหล่านี้แล

มาปรากฏแก่อาตมภาพ.

[๔๙๕] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร

เราพึงกดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยใจ บีบให้แน่น ให้ร้อนจัด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

แล้วอาตมภาพก็กดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่น

ให้ร้อนจัด. เมื่ออาตมภาพกดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต

บีบให้แน่น ให้เร่าร้อนอยู่ เหงื่อก็ไหลจากรักแร้. ดูก่อนราชกุมาร เปรียบ-

เหมือนบุรุษมีกำลังพึงจับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วกดบีบไว้

ให้เร่าร้อนก็ฉันนั้น เหงื่อไหลออกจากรักแร้. ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่

อาตมภาพปรารภแล้ว จะย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้ว จะฟั่นเฟือนก็

หามิได้ แก่การที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้น

แลเสียดแทง กระสับกระส่ายไม่สงบระงับ.

[๔๙๖] ดูก่อนราชกุมาร อาตมาภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร

เราพึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เกิด แล้วอาตมภาพก็กลั้นลม-

อัสสาสะปัสสาสะทั้งทางปากและทางจมูก เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ

ทั้งทางปากและทางจมูก เสียงลมที่ออกทางช่องหูทั้งสองดังเหลือประมาณ.

เปรียบเหมือนเสียงสูบของช่องทองที่กำลังสูบอยู่ดังเหลือประมาณ ฉันใด เมื่อ

อาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากและทางจมูก เสียงลมที่ออกทาง

ช่องหูทั้งสองก็ดังเหลือประมาณ ฉันนั้น. ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่

อาตมาภาพปรารภแล้วจะย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้วจะได้ฟั่นเฟือนก็หา

มิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแล

เสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

ฌานไม่มีลมปราณ

[๔๙๗] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไรเรา

พึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลมอัสสาสะ

ปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

ปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้ายิ่งย่อมเสียดแทงศีรษะ.

ดูก่อนราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเชือดศีรษะด้วยมีดโกนอันคม

ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู

ลมกล้ายิ่งย่อมเสียดแทงศีรษะ ฉันนั้น. ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่

อาตมภาพปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้แล้วจะได้ฟั่นเฟือน

ก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยาก

นั้นแลเสียดแทง ไม่สงบระงับแล้ว.

[๔๙๘] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร

เราพึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลม

อัสสาสะ ปัสสาสะทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู. เมื่ออาตมภาพกลั้นลม

อัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็ปวดศีรษะเหลือทน.

ดูก่อนราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงรัดศีรษะด้วยเชือกอันเขม็ง ฉันใด

เมื่ออาตมภาพกลั้นลมอัสสาสปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็ปวด

ศีรษะเหลือทน ฉันนั้น. ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมภาพปรารภ

แล้วจะได้ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้จะได้ฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่

ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแล เสียดแทง

ไม่สงบระงับแล้ว.

[๔๙๙] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร

เราพึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลม

อัสสาสปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้าเหลือประมาณ ย่อม

เสียดแทงท้อง ดูก่อนราชกุมาร เปรียบเหมือนนายโคฆาต หรือลูกมือนายโค

ฆาตผู้ขยัน พึงเชือดท้องโคด้วยมีดเชือดโคอันคม ฉันใด เมื่ออาตมภาพกลั้นลม

อัสสาสปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ลมกล้าเหลือประมาณ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

เสียดแทงท้อง ฉันนั้น. ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรทีอาตมภาพปรารภแล้ว

จะได้ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้จะได้ฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กายที่ปรารภ

ความเพียรของอาตมาภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแหละเสียดแทง ไม่สงบ

ระงับแล้ว.

[๕๐๐] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร

เราพึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด. แล้วอาตมภาพจึงกลั้นลม

อัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู. เมื่ออาตมภาพกลั้นลม

อัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความร้อนในกาย

เหลือทน. ดูก่อนราชกุมาร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังสองคน ช่วยกันจับ

บุรุษมีกำลังน้อยที่แขนคนละข้าง ย่างรมไว้ที่หลุมถ่านเพลิง ฉันใด เมื่อ

อาตมภาพกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ ทั้งทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มี

ความร้อนในกายเหลือทน ฉันนั้น. ดูก่อนราชกุมาร ก็ความเพียรที่อาตมาภาพ

ปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หามิได้ สติที่ตั้งไว้จะได้ฟั่นเฟือนก็หามิได้ แต่กาย

ที่ปรารภความเพียรของอาตมภาพ ผู้อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง

ไม่สงบระงับแล้ว.

[๕๐๑] ดูก่อนราชกุมาร โอ เทวดาทั้งหลายเห็นอาตมาภาพแล้ว

กล่าวกันอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทำกาละเสียแล้ว. เทวดาบางพวกกล่าวอย่าง

นี้ว่า พระสมณโคดมไม่ได้ทำกาละแล้ว แต่กำลังทำกาละ. เทวดาบางพวก

กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ได้ทำกาละแล้ว กำลังทำกาละก็หามิได้

พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ความอยู่เห็นปานนี้ นับว่าเป็นวิหารธรรม

ของพระอรหันต์.

[๕๐๒] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร

เราพึงปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเถิด. ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

เข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าปฏิบัติเพื่อ

ตัดอาหารเสียโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติเพื่อตัดอาหารเสียโดย

ประการทั้งปวง ข้าพเจ้าทั้งหลายจักแซกโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุมขนของท่าน

ท่านจักได้ยังชีวิตให้เป็นอยู่ด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้น. อาตมภาพได้มีความคิด

เห็นว่า เราเองด้วยพึงปฏิญาณการไม่บริโภคอาหารเคยประการทั้งปวง เทวดา

เหล่านี้ด้วยพึงแซกโอชาอันเป็นทิพย์ตามขุนขนของเรา เราพึงยังชีวิตให้เป็นไป

ด้วยโอชาอันเป็นทิพย์นั้นด้วย ข้อนั้นพึงเป็นมุสาแก่เรา ดังนี้. อาตมภาพ

บอกเลิกกะเทวดาเหล่านั้น จึงกล่าวว่าอย่าเลย. แล้วอาตมภาพได้มีความคิด

เห็นว่า ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อย ๆ คือ วันละฟายมือ

บ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อใน

เมล็ดบัวบ้าง. อาตมภาพจึงบริโภคอาหารลดลงวันละน้อย คือ วันละฟายมือบ้าง

เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง

เมื่อบริโภคอาหารลดลงวันละน้อย ๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง

เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายก็ผอมเหลือเกิน

[๕๐๓] เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง อวัยวะน้อยใหญ่ของ

อาตมภาพย่อมเป็นเหมือนเถาวัลย์มีข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อคำ ฉันนั้น ตะโพก

ของอาตมภาพเป็นเหมือนเท้าอูฐ ฉะนั้น กระดูกสันหลังของอาตมภาพผุดระกะ

เปรียบเหมือนเถาวัฏฏนาวฬี ซี่โครงของอาตมภาพขึ้นนูนเป็นร่อง ๆ ดังกลอน

ศาลาเก่ามีเครื่องมุงอันหล่นโทรมอยู่ ฉะนั้น ดวงตาของอาตมภาพถล่มลึกเข้า

ไปในเบ้าตา ประหนึ่งดวงดาวปรากฏในบ่อน้ำลึกฉะนั้น ผิวศีรษะของอาตมภาพ

ที่รับสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ดุจดังผลน้ำเต้าที่ตัดมาสด ๆ อันลมและแดดกระทบ

อยู่ก็เหี่ยวแห้ง ฉะนั้น. อาตมภาพคิดว่าจะลูบผิวหนังท้อง ก็จับถูกกระดูกสันหลัง

คิดว่าจะลูบกระดูกสันหลัง ก็จับถูกผิวหนังท้อง. ผิวหนังท้องกับกระดูกสันหลัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

ของอาตมภาพติคถึงกัน เมื่ออาตมภาพคิดว่าจะถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ ก็

เซซวนล้มลงในที่นั้นเอง เมื่อจะให้กายนี้แลมีความสบาย จึงเอาฝ่ามือลูบตัว

เมื่ออาตมภาพเอาฝ่ามือลูบตัว ขนทั้งหลายมีรากเน่าก็หล่นตกจากกาย มนุษย์

ทั้งหลายเห็นอาตมภาพแล้วกล่าวกันอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมดำไป. มนุษย์

บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ดำเป็นแต่คล้ำไป. มนุษย์บางพวก

กล่าวอย่างนี้ว่า จะว่าพระสมณโคดมดำไปก็ไม่ใช่ จะว่าคล้ำไปก็ไม่ใช่ เป็น

แต่พร้อยไป. ดูก่อนราชกุมาร ฉวีวรรณอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของอาตมภาพ

ถูกกำจัดเสียแล้ว เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง.

[๕๐๔] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่

เกิดเพราะความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะ

ความเพียรอย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ จักไม่ยิ่งไปกว่านี้. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ได้เสวยอยู่ซึ่งทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะ

ความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ จะไม่ยิ่งไปกว่านี้. แต่เราก็ไม่ได้บรรลุ

อุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัศนวิเสส [ความรู้ความเห็นของพระอริยะอัน

วิเศษอย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์] ด้วยทุกกรกิริยาที่เผ็ดร้อนนี้ จะ

พึงมีทางเพื่อตรัสรู้อย่างอื่นกระมังหนอ.

เสวยพระกระยาหาร

[๕๐๕] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า เราจำได้อยู่

เมื่องานวัปปมงคลของท้าวศากยะผู้พระบิดา เรานั่งอยู่ที่ร่มไม้หว้าอันเยือกเย็น

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้แลหนอ พึงเป็นทางเพื่อตรัสรู้. อาตมภาพได้มี

ความรู้สึกอันแล่นไปตามสติว่าทางนี้แหละ เป็นทางเพื่อตรัสรู้. อาตนภาพได้

มีความคิดเห็นว่า เราจะกลัวแต่สุขซึ่งเป็นสุขเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม

หรือ. และมีความคิดเห็นต่อไปว่า เราไม่กลัวแต่สุขซึ่งเป็นสุขเว้นจากกาม

เว้นจากอกุศลธรรมละ การที่บุคคลผู้มีกายผอมเหลือเกินอย่างนี้ จะถึงความสุข

นั้น ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงบริโภคอาหารหยาบคือข้าวสุก ขนมสดเถิด.

อาตมภาพจึงบริโภคอาหารหยาบคือข้าวสุก ขนมสด. ก็สมัยนั้น ปัญจวัคคีย์

ภิกษุ บำรุงอาตมภาพอยู่ด้วยหวังว่าพระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใด ก็จักบอก

ธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย นับแต่อาตมภาพบริโภคอาหารหยาบคือข้าวสุก

ขนมสด ปัญจวัคคีย์ภิกษุก็พากันเบื่อหน่ายจากอาตมภาพหลีกไปด้วยความเข้าใจ

ว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้

มักมากไปเสียแล้ว. ครั้นอาตมภาพบริโภคอาหารหยาบมีกำลังขึ้นแล้ว ก็สงัด

จากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มี

ปีติแล่สุขเกิดแต่วิเวกอยู่.

บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ

สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ตติยฌานนี้

เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข.

บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับ

โสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

[๕๐๖] อาตมภาพนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ. อาตมภาพนั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้

เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ อาตมภาพนั้น

ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย

ประการฉะนี้. ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่หนึ่งที่อาตมภาพได้บรรลุแล้ว

แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว

อยู่.

[๕๐๗] อาตมภาพนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้

โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย. อาตมภาพนั้นย่อมเห็นหมู่

สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม

ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัด

ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็นวิชชา

ที่สองที่อาตมภาพได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว

วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมภาพ

ผู้ไม่ประมาท มีความเพียรมีตนส่งไปแล้วอยู่.

[๕๐๘] อาตมภาพนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้

โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ. ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้

ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้

อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่ออาตมภาพนั้น

รู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จาก

อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้น

แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

อย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนราชกุมาร นี้เป็นวิชชาที่สามที่อาตมภาพได้บรรลุแล้วใน

ปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาถูกกำจัดแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดถูกกำจัด

แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่อาตมภาพผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตน

ส่งไปแล้วอยู่.

ความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย

[๕๐๙] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพนั้นได้มีความคิดเห็นว่า ธรรมที่

เราบรรลุแล้วนี้เป็นธรรมลึก ยากที่จะเห็นได้ สัตว์อื่นจะตรัสรู้ตามได้ยาก

เป็นธรรมสงบระงับ ประณีต ไม่เป็นวิสัยที่จะหยั่งลงได้ด้วยความตรึก เป็น

ธรรมละเอียด อันบัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง. ก็หมู่สัตว์นี้มีความอาลัยเป็นที่รื่นรมย์

ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย. ก็การที่หมู่สัตว์ผู้มีความอาลัย

เป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย จะเห็นรานะนี้ได้

โดยยาก คือ สภาพที่อาศัยกันเกิดขึ้นเพราะความมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย. แม้ฐานะ

นี้ก็เห็นได้ยาก คือ สภาพเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง

ความสิ้นตัณหา ความปราศจากความกำหนัด ความดับโดยไม่เหลือ นิพพาน.

ก็เราพึงแสดงธรรม และสัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่รู้ทั่วถึงธรรมของเรา นั้นจะพึง

เป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า เป็นความลำบากเปล่าของเรา. ดูก่อนราชกุมาร

ทีนั้น คาถาอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแจ่มแจ้ง

กะอาตมภาพว่า

บัดนี้ ยังไม่สมควรจะประกาศธรรม

ที่เราบรรลุได้โดยยาก ธรรมนี้อันสัตว์

ทั้งหลาย ผู้ถูกราคะโทสะครอบงำไม่-

ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ทั้งหลาย อันราคะย้อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

แล้ว อันกองมืดหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็น

ธรรม อันยังสัตว์ให้ไปทวนกระแส

ละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก เป็นอณู

ดั้งนี้.

ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพเห็นตระหนักอยู่ดังนี้ จิตของอาตมาภาพ

ก็น้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม.

[๕๑๐] ดูก่อนราชกุมาร ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม ทราบความ

ปริวิตกแห่งใจของอาตมภาพด้วยใจแล้ว ได้มีความปริวิตกว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ

โลกจะฉิบหายละหนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญ โลกจะฉิบทายละหนอ เพราะจิตของ

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าน้อมไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย

ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม. ครั้นแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมหายไปในพรหมโลก

มาปรากฏข้างหน้าของอาตมภาพ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง พึ่งเหยียดแขนที่

คู้ออก หรือพึงคู้แขนที่เหยียดเข้าฉะนั้น. ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม

ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีมาทางอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด

ขอพระสุคตจงทรงแสดงธรรมเถิด สัตว์ทั้งหลายผู้มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมีอยู่

ย่อมจะเสื่อมเพราะไม่ได้ฟังธรรม สัตว์ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักยังมีอยู่. ดูก่อน

ราชกุมาร ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคำนี้แล้ว ครั้นแล้ว ภายหลังได้กล่าว

คาถาประพันธ์อื่นนี้อีกว่า

ธรรมที่ผู้มีมลทินทั้งหลายคิดกันแล้ว

ไม่บริสุทธิ์ ได้ปรากฏในชนชาวมคธ

ทั้งหลายมาก่อนแล้ว ขอพระองค์จงเปิด

อริยมรรค อันเป็นประตูพระนิพพานเถิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

ขอสัตว์ทั้งหลายจงได้ฟังธรรมที่พระองค์ผู้

ปราศจากมลทิน ตรัสรู้แล้วเถิด ข้าแต่

พระองค์ผู้มีเมธาดี มีจักษุรอบคอบ ขอ

พระองค์ผู้ปราศจากความโศก จงเสด็จ

ขึ้นปัญญาปราสาทอันแล้วด้วยธรรม ทรง

พิจารณาดูประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นด้วย

ความโศก อันชาติชราครอบงำแล้ว

เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอด

ภูเขาหินล้วน พึงเห็นประชุมชนโดยรอบ

ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้กล้าทรงชนะ

สงความแล้ว ผู้นำสัตว์ออกจากกันดารผู้

ไม่เป็นหนี้ ขอจงเสด็จลุกขึ้นเที่ยวไปใน

โลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ธรรมเถิด สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงจักมีอยู่.

สัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๓ เหล่า

[๕๑๑] ดูก่อนราชกุมาร ครั้นอาตมภาพทราบว่าท้าวสหัมบดีพรหม

อาราธนาและอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย จึงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ.

เมื่ออาตมภาพตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีใน

จักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มีอินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อน

ก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้

ได้ยากก็มี บางพวกมีปรกติเห็นโทษในปรโลกโดยเป็นภัยอยู่ก็มี. เปรียบเหมือน

ในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

หรือดอกบัวขาว ซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ บางเหล่ายังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ

น้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ น้ำไม่ติด

ฉันใด. ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพตรวดดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ฉันนั้น

ได้เห็นหมู่สัตว์ซึ่งมีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยก็มี มีกิเลสดุจธุลีในจักษุมากก็มี มี

อินทรีย์แก่กล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการดีก็มี มีอาการเลวก็มี จะพึงสอน

ให้รู้ได้ง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวกมีปรกติเห็นโทษในปรโลก

โดยเป็นภัยอยู่ก็มี. ดูก่อนราชกุมารครั้งนั้น อาตมภาพได้กล่าวรับท้าวสหัมบดี

พรหมด้วยคาถาว่า

ดูก่อนพรหม เราเปิดประตูอมต-

นิพพานแล้ว เมื่อสัตว์ทั้งหลายผู้มีโสต

จงปล่อยศรัทธามาเถิด เราสำคัญว่าจะ

ลำบาก จึงไม่กล่าวธรรมอันคล่องแคล่ว

ประณีต ในมนุษย์ทั้งหลาย.

ลำดับนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิด

โอกาสเพื่อจะแสดงธรรมแล้ว จึงอภิวาทอาตมภาพ ทำประทักษิณแล้ว หายไป

ในที่นั้นเอง.

ทรงปรารภปฐมเทศนา

[๕๑๒] ดูก่อนราชกุมาร อาตมภาพได้มีความดำริว่า เราพึงแสดง

ธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน.ครั้นแล้ว อาตมภาพ

ได้มีความคิดเห็นว่า อาฬารดาบสกาลามโคตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาด มีเมธา

มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมานาน ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่อาฬารดาบส

กาลานโคตรก่อนเถิด เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้โดยฉับพลัน. ที่นั้น เทวดาทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

เข้ามาหาอาตมภาพแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาฬารดาบส

กาลามโคตร ทำการละเสียเจ็ดวันแล้ว. และความรู้ความเห็นก็เกิดขึ้นแก่อาตม -

ภาพว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรทำกาละเสียเจ็ดวันแล้ว. อาตมภาพได้มี

ความคิคเห็นว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรเป็นผู้เสื่อมใหญ่แล ก็ถ้าเธอพึงได้

ฟังธรรมนี้พึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลันทีเดียว. ครั้นแล้วอาตมาภาพได้มีความดำริว่า

เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน แล้ว

อาตมาภาพได้มีความคิดเห็นว่า อุทกดาบสรามบุตรนี้ เป็นบัณฑิต ฉลาด

มีเมธา มีกิเลสดุจธุลีในจักษุน้อยมานาน ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่

อุทกดาบสรามบุตรก่อนเถิด เธอจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน. ที่นั้น เทวดา

ทั้งหลายเข้ามาหาอาตมภาพ แล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุทกดาบส

รามบุตรทำกาละเสียแล้วเมื่อพลบค่ำนี้เอง. และความรู้ความเห็นก็เกิดขึ้นแก่

อาตมภาพว่า อุทกดาบสรามบุตร ทำกาละเสียแล้วเมื่อพลบค่ำนี้เอง. อาตมภาพ

ได้มีความคิดเห็นว่า อุทกดาบสรามบุตรเป็นผู้เสื่อมใหญ่แล ก็ถ้าเธอพึงได้ฟัง

ธรรมนี้ ก็จะพึงรู้ทั่วถึงได้ฉับพลันทีเดียว. ครั้นแล้ว อาตมภาพได้มีความ

ดำริว่า เราพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ใครจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้ได้ฉับพลัน.

แล้วอาตมภาพได้มีความคิดเห็นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะแก่เรามาก บำรุง

เราผู้มีตนส่งไปแล้ว เพื่อความเพียร ถ้ากระไร เราพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุ

ปัญจวัคคีย์ก่อนเถิด. แล้วอาตมภาพได้มีความดำริว่า เดี๋ยวนี้ภิกษุปัญจวัคคีย์

อยู่ที่ไหนหนอ. ก็ได้เห็นภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ใกล้เมือง

พาราณสี ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. ครั้นอาตมภาพอยู่ที่

ตำบลอุรุเวลาตามควรแล้ว จึงได้หลีกจาริกไปทางเมืองพาราณสี.

[๕๑๓] ดูก่อนราชกุมาร อุปกาชีวกได้พบอาตมภาพผู้เดินทางไกล

ที่ระหว่างแม่น้ำคยา และไม้โพธิ์ต่อกัน แล้วได้กล่าวกะอาตมภาพว่า ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

ผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวช

เฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาชอบท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร. ดูก่อน

ราชกุมาร เมื่ออุปกาชีวกกล่าวอย่างนี้แล้ว อาตมภาพได้กล่าวตอบอุปกาชีวก

ด้วยคาถาว่า

เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง เป็น

ผู้รู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหาและทิฐิไม่ติด

แล้วในธรรมทั้งปวง เป็นผู้ละธรรมทั้งปวง

น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว รู้

แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเอง จะพึงเจาะจง

ใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนผู้เช่นกับ

ด้วยเราก็ไม่มี บุคคลผู้เปรียบด้วยเรา ไม่

มีในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็น

พระอรหันต์ในโลก เป็นศาสดา ไม่มี

ศาสดาอันยิ่งขึ้นไปกว่า เราผู้เดียวตรัสรู้

เองโดยชอบ เป็นผู้เย็น เป็นผู้ดับสนิทแล้ว

เราจะไปยังเมืองกาสี เพื่อจะยังธรรมจักร

ให้เป็นไป เมื่อสัตวโลกเป็นผู้มืด เราได้

ตีกลองประกาศอมตธรรมแล้ว.

อุปกาชีวกถามว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านปฏิญาณว่า ท่านเป็นพระอรหันต์

อนันตชินะ (ผู้ชนะไม่มีที่สิ้นสุด) ฉะนั้นหรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

อาตมภาพตอบว่า

ชนทั้งหลายผู้ถึงธรรมที่สิ้นตัณหา

เช่นเราแหละ ชื่อว่าเป็นผู้ชนะ บาปธรรม

ทั้งหลายอันเราชนะแล้ว เหตุนั้นแหละ

อุปกะ เราจึงว่า ผู้ชนะ.

ดูก่อนราชกุมาร เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว อุปกาชีวก กล่าวว่า

พึงเป็นให้พอเถิดท่าน สั่นศีรษะแลบลิ้นแล้วหลีกไปคนละทาง.

เสด็จเข้าไปหาปัญจวัคคีย์

[๕๑๔] ครั้งนั้น อาตมภาพเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ได้เข้าไปหา

ภิกษุปัญจวัคคีย์ยังป่าอิสิปตนมิคทายวัน เขตเมืองพาราณสี. ดูก่อนราชกุมาร

ภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้เห็นอาตมภาพกำลังมาแต่ไกลเทียว แล้วไต่ตั้งกติกาสัญญา

กันไว้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคดมพระองค์นี้ เป็นผู้มักมาก

คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก กำลังมาอยู่ เราทั้งหลายไม่

พึงกราบไหว้ ไม่พึงลุกรับ ไม่พึงรับบาตรและจีวร แต่พึงแต่งตั้งอาสนะไว้

ถ้าเธอปรารถนาก็จักนั่ง. อาตมภาพเข้าไปใกล้ภิกษุปัญจวัคคีย์ ด้วยประการ

ใด ๆ ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ไม่อาจจะตั้งอยู่ในกติกาของตน ด้วยประการนั้น ๆ

บางรูปลุกรับอาตมาภาพ รับบาตรและจีวร บางรูปปูลาดอาสนะ บางรูปตั้งน้ำ

ล้างเท้า แต่ยังร้องเรียกอาตมาภาพโดยชื่อ และยังใช้คำว่า อาวุโส. เมื่อภิกษุ

ปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้ อานุภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

อย่าร้องเรียกตถาคตโดยชื่อ และใช้คำว่าอาวุโสเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด

เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

ปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อัน

ไม่มีธรรมอันยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดย

ชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่. ดูก่อนราชกุมาร

เมื่ออาตมภาพกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโคดม

แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น ท่านยังไม่ได้บรรลุ

อุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสสเลย ก็เดี๋ยวนี้ท่านเป็นคนมักมาก

คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม

อลมริยญาณทัสนวิเสสอย่างไรเล่า. เมื่อภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้แล้ว

อาตมภาพได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก คลาย

ความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต

เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจัก

สั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติ

ตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มี

ธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ

ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่. ดูก่อนราชกุมาร แม้ครั้ง

ที่สอง ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโคดม แม้ด้วยอิริยาบถนั้น

ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุกกรกิริยานั้น ท่านยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม

อลมริยญาณทัสนวิเสสเลย ก็เดี๋ยวนี้ ท่านเป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียน

มาเพื่อความเป็นผู้มักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสส

ได้อย่างไรเล่า. ดูก่อนราชกุมาร แม้ครั้งที่สอง อาตมภาพก็ได้กล่าวว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ได้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความ

เป็นผู้มักมากเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง

โดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่เราบรรลุแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่ ไม่ช้าเท่าไร

ก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตร

ทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน

ปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่. ดูก่อนราชกุมาร แม้ครั้งที่สาม ภิกษุปัญจวัคคีย์ก็ได้

กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโคดม แม้ด้วยอิริยาบถนั้น ด้วยปฏิปทานั้น ด้วยทุก-

กรกิริยานั้น ท่านยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญาณทัสนวิเสสเลย

ก็เดี๋ยวนี้ ท่านเป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรมอลมริยญานทัสนวิเสสได้อย่างไรเล่า. เมื่อภิกษุ

ปัญจวัคคีย์กล่าวเช่นนี้ อาตมาภาพได้กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจำได้หรือไม่ว่า

ในกาลก่อนแต่นี้ เราได้กล่าวคำเห็นปานนี้.

ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้ตอบว่า หามิได้ พระเจ้าข้า.

อาตมภาพจึงได้กล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ ท่านทั้งหลายจงเงี่ยโสตลงเถิด เราจะสั่งสอนอมตธรรมที่

เราบรรลุแล้ว เราจะแสดงธรรม เมื่อท่านทั้งหลายปฏิบัติตามที่เราสั่งสอนอยู่

ไม่ช้าเท่าไรก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่

กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญา

อันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่. ก่อนราชกุมาร อาตมภาพสามารถให้ภิกษุ

ปัญจวัคคีย์ยินยอมแล้ว. วันหนึ่ง อาตมาภาพกล่าวสอนภิกษุแต่สองรูป ภิกษุ

สามรูปไปเที่ยวบิณฑบาต. ภิกษุสามรูปไปเที่ยวบิณฑบาตได้สิ่งใดมา ภิกษุ

ทั้งหกรูปก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้น. อาตมภาพกล่าวสอนภิกษุแต่สามรูป.

ภิกษุสองรูปไปเที่ยวบิณฑบาต ได้สิ่งใดมา ภิกษุทั้งหกรูปก็ยังอัตภาพให้เป็น

ไปด้วยสิ่งนั้น. ครั้งนั้น ภิกษุปัญจวัคคีย์ที่อาตมภาพกล่าวสอน พร่ำสอนอยู่

เช่นนี้ ไม่นานเลย ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

ที่กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่.

[๕๑๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมาร ได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุได้พระตถาคต

เป็นผู้แนะนำโดยกาลนานเพียงไรหนอ จึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่

มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ

ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราชกุมาร ถ้ากระนั้น ในข้อนี้

อาตมภาพจักย้อนถามบพิตรก่อน บพิตรพึงตอบตามที่พอพระทัย บพิตรจัก

ทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บพิตรเป็นผู้ฉลาดในศิลปศาสตร์ คือ การขึ้น

ช้าง การถือขอหรือ.

โพธิราชกุมารทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดใน

ศิลปศาสตร์ คือการขึ้นช้าง การถือขอ.

[๕๑๖] ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจักทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษพึงมาในเมืองนี้ด้วยคิดว่า โพธิราชกุมารทรงรู้ศิลปศาสตร์ คือการขึ้นช้าง

การถือขอ เราจักศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนัก

โพธิราชกุมารนั้น. แต่เขาไม่มีศรัทธา จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีศรัทธา

พึงบรรลุ ๑ เขามีอาพาธมาก จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีอาพาธน้อยพึง

บรรลุ ๑ เขาเป็นคนโอ้อวด มีมายา จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้ไม่โอ้อวด

ไม่มีมายาพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้เกียจคร้าน จะไม่พึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้

ปรารภความเพียรพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้มีปัญญาทราม จะไม่พึงบรรลุผลที่

บุคคลผู้มีปัญญาพึงบรรลุ ๑ ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจะทรงสำคัญความข้อนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

เป็นไฉน บุรุษนั้นควรจะศึกษาศิลปศาสร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ใน

สำนักของบพิตรบ้างหรือหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้จะประกอบด้วยองค์เพียงองค์หนึ่ง

ก็ไม่ควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนักของหม่อม

ฉันจะป่วยกล่าวไปไยถึงครบองค์ห้าเล่า.

ตรัสถามถึงการขึ้นช้างเป็นต้น

[๕๑๗] ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจักทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษพึงมาในเมืองนี้ ด้วยคิดว่า โพธิราชกุมาร ทรงรู้ศิลปศาสตร์ คือ การ

ขึ้นช้าง การถือขอ เราจักศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ใน

สำนักโพธิราชกุมารนั้น. เขาเป็นผู้มีศรัทธา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มี

ศรัทธาพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้มีอาพาธน้อยจะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้มีอาพาธ

น้อยพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา จะพึงบรรลุผลเท่าที่บุคคลผู้

ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา พึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้ปรารภความเพียร จะพึงบรรลุ-

ผลเท่าที่บุคคลผู้ปรารภความเพียรพึงบรรลุ ๑ เขาเป็นผู้มีปัญญา จะพึงบรรลุ

ผลเท่าที่บุคคลผู้มีปัญญาพึงบรรลุ ๑. ดูก่อนราชกุมาร บพิตรจะทรงสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การ

ถือขอ ในสำนักของบพิตรบ้างหรือหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษนั้นแม้ประกอบด้วยองค์เพียงองค์หนึ่ง ก็

ควรจะศึกษาศิลปศาสตร์ คือ การขึ้นช้าง การถือขอ ในสำนักของหม่อมฉัน

ได้จะป่วยกล่าวไปไยถึงครบองค์ห้าเล่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

องค์ของผู้มีความเพียร ๕

[๕๑๘] ดูก่อนราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ เหล่านั้น ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน องค์ภิกษุผู้มีความเพียร ๕ เป็นไฉน.

๑. ดูก่อนราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เธอพระ-

ปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ

ไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็น

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระ

ธรรม.

๒. เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับ

ย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลางควรแก่ความเพียร.

๓. เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนตามความเป็นจริง ใน

พระศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูทั้งหลาย.

๔. เธอเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรม

ให้เข้าถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศล-

ธรรมทั้งหลาย.

๕. เธอเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิด

และดับเป็นอริยะ สามารถชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

ดูก่อนราชกุมาร องค์ของภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล. ภิกษุ

ผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล เมื่อได้ตถาคตเป็น

ผู้ออกแนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อัน ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุล-

บุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดปี. ดูก่อนราชกุมาร เจ็ดปี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

จงยกไว้. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อ

ได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำพึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไป

กว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญา

อันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าพึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] หกปี... ห้าปี... สี่

ปี...สามปี...สองปี...หนึ่งปี. ดูก่อนราชกุมาร หนึ่งปีจงยกไว้. ภิกษุผู้

ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้

แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตร

ผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน

ปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดเดือน. ดูก่อนราชกุมาร เจ็ด

เดือนจงยกไว้. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการยิ่ง

เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่ง

กว่าที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] หกเดือน... ห้าเดือน...

สี่เดือน...สามเดือน... สองเดือน...หนึ่งเดือน..ครึ่งเดือน. ดูก่อนราช-

กุมาร ครึ่งเดือนจงยกไว้ . ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕

ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่

มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้อง

การ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้เวลาเพียง] เจ็ดเดือน

เจ็ดวัน. ดูก่อนราชกุมาร เจ็ดคืนเจ็ดวันจงยกไว้. ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่ง

ภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่ง

ที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมยิ่งอื่นกว่า ที่กุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็น

พรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ได้ [ใช้

เวลาเพียง] หกคืนหกวัน... ห้าคืนห้าวัน... สี่คืนสี่วัน...สามคืนสามวัน...สอง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

คืนสองวัน. . . หนึ่งคืนหนึ่งวัน. ดูก่อนราชกุมาร หนึ่งคืนหนึ่งวันจงยกไว้.

ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ เมื่อได้ตถาคต

เป็นผู้แนะนำ ตถาคตสั่งสอนในเวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเช้า

ตถาคตสั่งสอนในเวลาเช้า จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น. เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โพธิราชกุมารได้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้ามีพระคุณ

เป็นอัศจรรย์ พระธรรมมีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสดีแล้วเป็นอัศจรรย์ เพราะภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนในเวลาเย็น

จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเช้า ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนในเวลาเช้า

จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น.

[๕๑๙] เมื่อโพธิราชกุมารตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพสัญชิกาบุตรได้ทูล

โพธิราชกุมารว่า ก็ท่านโพธิราชกุมารองค์นี้ ทรงประกาศไว้ว่า พระพุทธเจ้ามี

พระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมมีพระคุณเป็นอัศจรรย์ พระธรรมอันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เป็นอัศจรรย์อย่างนี้เท่านั้น ก็แต่ท่านหาได้ทรงถึงพระ-

โคดมผู้เจริญพระองค์นั้น พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสมณะไม่.

ว่าด้วยไตรสรณคมน์

[๕๒๐] โพธิราชกุมารตรัสว่า ดูก่อนเพื่อนสัญชิกาบุตร ท่านอย่าได้

กล่าวอย่างนั้น ดูก่อนเพื่อนสัญชิกาบุตร ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนั้น ดูก่อน

สัญชิกาบุตรเรื่องนั้นเราได้ฟังมา ได้รับมาต่อหน้าเจ้าแม่ของเราแล้ว คือครั้ง

หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้ง

นั้น เจ้าแม่ของเรากำลังทรงครรภ์ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลูกคนอยู่ในครรภ์ของหม่อมฉันนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

เป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม เขาย่อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระธรรมและ

พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำเขาว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง

สรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดูก่อนเพื่อนสัญชิกาบุตร ครั้งหนึ่ง

พระผู้มีภาคเจ้าประทับอยู่ในป่าเภสกฬามิคทายวันใกล้เมืองสุงสุมารคิระ ใน

ภัคคชนบทนี้แล ครั้งนั้น แม่นมอุ้มเราเข้าสะเอวพาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพธิราชกุมารพระองค์นี้ ย่อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำ

โพธิราชกุมารนั้นว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงรสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ดูก่อนเพื่อนสัญชิกาบุตร เรานี้ย่อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และ

พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ในครั้งที่สาม ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำ

หม่อมฉันว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนั้นแล.

จบ โพธิราชกุมารสูตร ที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

อรรถกถาโพธิราชกุมารสูตร

โพธิราชกุมารสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

ในสูตรนั้น บทว่า โกกนโท ความว่า ดอกปทุมท่านเรียกว่า

โกกนท. ก็ปราสาทอันเป็นมงคลนั้น ท่านสร้างแสดงให้เหมือนดอกปทุมที่มอง

เห็นอยู่ เพราะฉะนั้น จึงถึงการนับว่า โกกนทปราสาท.

แผ่นบันไดขั้นแรก ท่านเรียกว่า บันไดขั้นสุดท้าย ในคำว่า ยาว

ปจฺฉิมโสปานกเฬวรา นี้. บทว่า อทฺทสา โข ความว่า ผู้ที่ยืนอยู่ที่ซุ้ม

ประตูนั้นแล เพื่อต้องการดู ก็เห็นแล้ว. บทว่า ภควา ตุณฺหี อโหสิ ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงอยู่ว่า พระราชกุมารทรงกระทำสักการะใหญ่นี้

เพื่อประสงค์อะไรหนอ จึงทรงทราบว่า ทรงกระทำเพราะปรารถนาพระโอรส.

ก็พระราชกุมารนั้นไม่มีโอรสทรงปรารถนาพระโอรส ได้ยินว่า ชนทั้งหลาย

กระทำอธิการ การกระทำที่ยิ่งใหญ่ แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงจะได้สิ่งดังที่

ใจปรารถนา ดังนี้. พระองค์ทรงกระทำความปรารถนาว่า ถ้าเราจักได้บุตร

ไซร้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จักทรงเหยียบแผ่นผ้าน้อยของเรา ถ้าเราจักไม่ได้

ก็จักไม่ทรงเหยียบ จึงรับสั่งให้ลาดผ้าไว้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รำพึงว่า บุตรของพระราชานี้จักบังเกิดหรือไม่หนอ แล้วทรงเห็นว่า จักไม่

บังเกิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ได้ยินว่า ในปางก่อน พระราชานั้น

ทรงอยู่ในเกาะแห่งหนึ่ง ทรงกินลูกนก ด้วยมีฉันทะเสมอกัน. ถ้าหากมาตุคาม

ของพระองค์จะพึงมีจิตเป็นอย่างอื่นไซร้ ก็จะได้บุตร แต่คนทั้งสอง มีฉันทะ

เสมอกัน การทำบาปกรรมไว้ ฉะนั้น บุตรของเขาจึงไม่เกิด ดังนี้. แต่เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

เราเหยียบผ้า พระราชกุมารก็จะถือเอาผิดได้ว่า เสียงเล่าลือกันในโลกว่า บุคคล

ทำอธิการแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ย่อมจะได้สิ่งที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ

เราเองได้กระทำอภินิหารเสียมากมายด้วย เราก็ไม่ได้บุตรด้วย คำเล่าลือนี้ไม่

จริง. แม้พวกเดียรถีย์ทั้งหลายก็จะติเตียนว่า. ชื่อว่า สิ่งที่ไม่ควรทำของสมณะ

ทั้งหลายไม่มี พวกสมณะเหยียบย่ำผ้าน้อยเทียวไป ดังนี้. และเมื่อเหยียบไป

ในบัดนี้ ภิกษุเป็นอันมากเป็นผู้รู้จิตของคนอื่น ภิกษุเหล่านั้น ทราบว่าควร

ก็จักเหยียบ ที่ทราบว่าไม่ควรก็จักไม่เหยียบ ก็ในอนาคตจักมีอุปนิสัยน้อยชน

ทั้งหลายจักไม่รู้อนาคต. เมื่อภิกษุเหล่านั้นเหยียบ ถ้าสิ่งที่เขาปรารถนา สำเร็จ

ไซร้ ข้อนั้นก็จักว่าเป็นความดี ถ้าไม่สำเร็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

ปรารถนาจะเหยียบจึงทรงนิ่งเสีย ด้วยเหตุเหล่านี้ คือ พวกมนุษย์ จักมีความ

เดือดร้อนในภายหลังว่า แต่ก่อนบุคคลกระทำอภินิหารแก่ภิกษุสงฆ์ ย่อมได้สิ่ง

ที่ปรารถนาแล้ว ๆ การท่านั้น บัดนี้ หาได้ไม่ ภิกษุทั้งหลายที่ปฏิบัติบริบูรณ์

เห็นจะเป็นพวกภิกษุเหล่านั้น ภิกษุพวกนี้ ย่อมไม่อาจปฏิบัติให้สมบูรณ์ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง

เหยียบผืนผ้าน้อย. แต่เมื่อภิกษุทั้งหลายไม่ก้าวล่วงบทบัญญัติ เพื่อความเป็น

มงคล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงวางอนุบัญญัติเพื่อให้เหยียบได้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์ต้องการมงคลเราอนุญาตเพื่อความเป็นมงคล แก่คฤหัสถ์

ทั้งหลาย ดังนี้.

บทว่า ปจฺฉิม ชนต ตถาคโต อปโลเกติ ความว่าพระเถระกล่าว

หมายเอาเหตุที่ ๓ ในบรรดาเหตุที่กล่าวแล้ว. ท่านกล่าวคำว่า น โข สุโขน สุข

เพราะเหตุไร. ท่านสำคัญอยู่ว่า ชะรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีความสำคัญ

ในกามสุขัลลิกานุโยค จึงไม่ทรงเหยียบ เพราะฉะนั้น แม้เรา ก็จักมีฉันทะเสมอ

๑. วิ. ๔/๒๖๗ ๗/๔๙

๒. วิ. ๔/๒๖๘ ๗/๔๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

ด้วยพระศาสดา ดังนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า โส โข อห เป็นอาทิ

บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในมหาสัจจกะ จนถึง ยาว รตฺติยา

ปจฺฉิเม ยาเม. ต่อจากนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้ในปาสราสิสูตร ตั้ง

แต่ ปญฺจวคฺคิยาน อาสวกฺขยา.

บทว่า องฺกุสคณฺเห สิปฺเป ศิลปะของผู้ถือขอ. บทว่า

กุสโอ อห ความว่า เราเป็นผู้ฉลาด. ก็กุมารนี้ เรียนศิลปะในสำนักของ

ใคร. บิดาเรียนในสำนักของปู่ กุมารนี้ก็เรียนในสำนักบิดา.

ได้ยินมาว่า ในพระนครโกสัมพี พระราชาพระนามว่า ปรันตปะ

ทรงครองราชย์อยู่. พระราชมเหสีมีพระครรภ์แก่ทรงนั่งห่มผ้ากัมพลมีสีแดง

ผิงแดดอ่อนอยู่กับพระราชาที่ชายพระตำหนัก. มีนกหัสดีลิงค์ตัวหนึ่ง สำคัญว่า

เป็นชิ้นเนื้อบินมาโฉบเอา (พระนาง) ไปทางอากาศ. พระนางเกรงว่านกจะ

ทิ้งพระองค์ลง จึงทรงเงียบเสียงเสีย. นกนั้นพาพระนางไปลงที่ค่าคบไม้ ณ เชิง

เขาแห่งหนึ่ง. พระนางจึงทมพระหัตถ์ทำเสียงดังขึ้น. นกก็ตกใจหนีไปแล้ว

พระนางก็คลอดพระโอรสบนค่าคบไม้นั้นนั่นแล. เมื่อฝนตกลงมาในกลางคืน.

เวลายามสาม พระนางจึงเอาผ้ากัมพลห่มประทับนั่งอยู่. และในที่ไม่ไกลเชิงเขา

นั้น มีดาบสรูปหนึ่งอาศัยอยู่. ด้วยเสียงร้องของพระนางนั้น ดาบสจึงมายัง

โคนไม้เมื่ออรุณขึ้น ถามพระนางถึงชาติ แล้วพาดบันใดให้นางลงมา พาไป

ยังที่อยู่ของตนให้ดื่มข้าวยาคู. เพราะทารกถือเอาฤดูแห่งเมฆและฤดูแห่งภูเขา

เกิดแล้ว จึงตั้งชื่อว่า อุเทน. พระดาบสหาผลไม้มาเลี้ยงดูชนทั้ง ๒. วันหนึ่ง

พระนางกระทำการต้อนรับในเวลาดาบสกลับ แสดงมารยาของหญิงทำดาบสให้

ถึงสีลเภทแล้ว. เมื่อคนเหล่านั้นอยู่ร่วมกัน กาลเวลาก็ผ่านไป พระเจ้าปรันตปะ

๑. ม. ๑/๒๙๙ ๑๒/๒๓๔

๒. ม. ๑/๒๑๖ ๑๒/๒๓๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

สวรรคตแล้ว. ดาบสแหงนดูนักษัตรในเวลาราตรีก็รู้ว่าพระราชาสวรรคต จึง

ถามว่า พระราชาของท่านสวรรคตแล้ว ต้องการจะให้บุตรของท่านอยู่ในที่นี้

หรือ หรือจะให้ยกฉัตรในราชสมบัติของพระบิดา. พระนางจึงเล่าความเป็นมา

ทั้งหมดตั้งแต่ต้นมาแก่พระโอรสทราบว่า พระโอรสต้องการจะยกเศวตฉัตรของ

พระบิดา จึงบอกแก่ดาบส. ก็ดาบสรู้วิชาจับช้าง. ถามว่าวิชานั้นดาบสได้มา

แต่ไหน. ตอบว่า ได้มาแต่สำนักท้าวสักกะ. ได้ยินว่า ในกาลก่อนท้าวสักกะ

เสด็จมาบำรุงดาบสนั้น ได้ถามว่า พระคุณเจ้าลำบากด้วยเรื่องอะไรบ้าง

พระดาบสจึงทูลว่า มีอันตรายเกี่ยวกับช้าง. ท้าวสักกะจึงประทานวิชาจับช้าง

และพิณแก่ดาบสนั้น ตรัสสอนว่า เมื่อต้องการจะให้ช้างหนีจงดีดสายนี้แล้วร่าย

โศลกนี้ เมื่อมีความประสงค์จะให้ช้างมา ก็จงร่ายโสลกนี้ ดังนี้. ดาบสจึงสอน

ศิลปะนั้นแก่กุมาร. พระกุมารนั้นขึ้นต้นไม้ไทรต้นหนึ่ง เมื่อช้างทั้งหลาย

มาแล้ว ก็ดีดพิณร่ายโสลก. ช้างทั้งหลายกลัวหนีไปแล้ว พระกุมารทราบ

อานุภาพของศิลปะ วันรุ่งขึ้นจึงประกอบศิลปะเรียกช้าง. ช้างที่เป็นจ่าฝูงก็มา

น้อมคอเข้าไปใกล้. พระกุมารขึ้นคอช้างแล้วเลือกช้างหนุ่ม ๆ ที่พอจะรับได้

แล้ว ถือเอาผ้ากัมพลและพระธำมรงค์ไปไหว้มารดาบิดาออกไปโดยลำดับ เข้า

ไปยังหมู่บ้านนั้น ๆ รวบรวมคนบอกว่า เราเป็นโอรสของพระราชา ต้องการ

สมบัติจึงได้มา แล้วไปล้อมพระนครไว้แจ้งว่า เราเป็นโอรสของพระราชา

ขอท่านทั้งหลายจงมอบฉัตรแก่เรา เมื่อพวกเขาไม่เธออยู่ ก็แสดงผ้ากัมพลและ

พระธำมรงค์ให้ดู. ได้ยกฉัตรขึ้นครองราชย์แล้ว. พระราชานั้นมีพระทัยใส่แต่

ช้าง เมื่อเขาทูลว่าที่ตรงโน้นมีช้างงาม ก็ทรงเสด็จไปจับ . พระเจ้าจัณฑปัช-

โชตทรงดำริว่า เราจักเรียนศิลปะในสำนักของพระเจ้าอุเทนนั้น จึงรับสั่งให้

ประกอบช้างไม้ขึ้น จัดให้ทหารนั่งอยู่ภายในช้างไม้นั้น พอพระราชานั้นเสด็จ

มาเพื่อทรงจับช้าง ก็ถูกจับได้ ส่งพระธิดาไปเพื่อเรียนศิลปะจับช้างในสำนัก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

ของพระราชา. พระองค์ได้สำเร็จสังวาสกันกับพระธิดานั้น แล้วพากันหนีไป

ยังพระนครของพระองค์. พระโพธิราชกุมารนี้ทรงเกิดในพระครรภ์ของพระ-

ธิดานั้น จึงได้เรียนศิลปะ (มนต์) ในสำนักของพระชนกของพระองค์.

บทว่า ปธานิยงฺคานิ ความว่า ความเริ่มตั้ง ท่านเรียกว่า ปธานะ

(ความเพียร). ความเพียรของภิกษุนั้นมีอยู่ เหตุนั้นภิกษุนั้น ชื่อว่า ปธานียะ

ผู้มีความเพียร. องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร เหตุนั้น ชื่อว่า ปานิยังคะ.

บทว่า สทฺโธ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศรัทธา. ก็ศรัทธานั้นมี ๔ ประการ คือ

อาคมนศรัทธา ๑ อธิคมนศรัทธา ๑ โอกัปปนศรัทธา ๑ ปสาทศรัทธา ๑.

ในบรรดาศรัทธา ๔ อย่างนั้น ความเชื่อต่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ ชื่อว่า

อาคมนศรัทธา เพราะมาแล้วจำเดิมแต่ตั้งความปรารถนา. ชื่อว่า อธิคมนศรัทธา

เพราะบรรลุแล้วด้วยการแทงตลอดแห่งพระอริยสาวกทั้งหลาย. ความปลงใจ

เชื่อโดยความไม่หวั่นไหวเมื่อเขากล่าวว่า พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ชื่อว่า

โอกัปปนศรัทธา. ความบังเกิดขึ้นแห่งความเลื่อมใส ชื่อว่า ปสาทศรัทธา.

ในที่นี้ประสงค์เอาโอกัปปนศรัทธา. บทว่า โพธิ ได้แก่ มัคคญาณ ๔. บุคคล

ย่อมเชื่อว่า พระตถาคตทรงแทงตลอดมัคคฌาณ ๔ นั้นดีแล้ว. อนึ่ง คำนี้เป็น

ยอดแห่งเทศนาทีเดียว ก็ความเชื่อในพระรัตนะทั้ง ๓ ท่านประสงค์เอาแล้ว

ด้วยองค์นี้. คือ ผู้ใดมีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเป็นต้น อย่างแรงกล้า

ปธานวีริยะของผืนนี้ ย่อมสำเร็จ. บทว่า อปฺปาพาโธ ได้แก่ ความไม่มีโรค.

บทว่า อปฺปาตงฺโก ได้แก่ ความไม่มีทุกข์. บทว่า ลมเวปากินิยา ความว่า

มีวิปากเสมอกัน . บทว่า คหณิยา ได้แก่ เตโชธาตุ อันเกิดแต่กรรม. บทว่า

นาติสีตาย นาจฺจุณฺหาย ความว่า ก็ผู้มีธาตุอันเย็นจัด ก็กลัวความเย็น

ผู้มีธาตุร้อนจัด ก็กลัวความร้อน. ความเพียรของคนเหล่านั้นจะไม่สำเร็จ.

จะสำเร็จแก่ผู้มีธาตุเป็นกลาง ๆ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มชฺฌิมาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

ปธานกฺขมาย. บทว่า ยถาภูต อตฺตาน อาวิกตฺตา ความว่า ประกาศโทษ

ใช่คุณของตนตามเป็นจริง. บทว่า อุทยตฺถคามินิยา ความว่า สามารถเพื่อ

จะถึง คือ จะกำหนดถึงความเกิดและความดับ. ด้วยคำนี้ท่านกล่าวถึง

อุทยัพพยญาณอันกำหนดลักษณะ ๕๐. บทว่า อริยาย ได้แก่บริสุทธิ์. บทว่า

นิพฺเพธิกาย ความว่า สามารถชำแรกกองโลภเป็นต้นได้ในกาลก่อน บทว่า

สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา ความว่า ให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ที่จะต้องทำให้

สิ้นนั้น เพราะละกิเลสทั้งหลายเสียได้ด้วยตทังคปหาน. ด้วยบทเหล่านี้ทั้งหมด

ตรัสวิปัสสนาปัญญาอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ความเพียรย่อมไม่

สำเร็จแก่ผู้มีปัญญาทราม. อนึ่ง ด้วยคำนี้พึงทราบว่า องค์แห่งภิกษุผู้มีความ

เพียรทั้งห้าเป็นโลกิยะเท่านั้น.

บทว่า สายมนุสิฏฺ โ ปาโต วิเสสาธิคจฺฉติ สอนตอนเย็น บรรลุ

คุณวิเศษในตอนเช้า ความว่า เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคต ก็พร่ำสอน พออรุณ

ขึ้นก็บรรลุคุณวิเศษ. คำว่า ปาตมนุสิฏฺ โ สาย ความว่า พออรุณขึ้น ก็

พร่ำสอน ในเวลาพระอาทิตย์อัสดงคตก็บรรลุคุณวิเศษ. ก็แลพระเทศนานี้

ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งไนยบุคคล. จริงอยู่ ไนยบุคคลแม้มีปัญญาทรามก็

บรรลุอรหัตต์ได้โดย ๗ วัน. มีปัญญากล้าแข็ง โดยวันเดียว. พึงทราบคำที่

เหลือด้วยสามารถแห่งปัญญาพอกลาง ๆ. บทว่า อโห พุทฺโธ อโห ธมฺโม

อโห ธมฺมสฺส สฺวากฺขาตตา ความว่า เพราะ ภิกษุ ให้อาจารย์บอกกัมมัฏ-

ฐานในเวลาเช้า ในตอนเย็นบรรลุอรหัตต์ เพราะความที่ธรรมของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายมีคุณโอฬาร และเพราะความที่พระธรรมอันพระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว

ฉะนั้น เมื่อจะสรรเสริญจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า ยตฺร หิ นาม เป็นนิบาต

ใช้ในอรรถว่า น่าอัศจรรย์. บทว่า กุจฺฉิมติ ได้แก่ สัตว์ที่ใกล้จุติ. บทว่า

โย เม อย ภนฺเต กุจฺฉคโต ความว่า ก็สรณะย่อมเป็นอันถือเอาแล้วด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

อาการอย่างนี้หรือ. ยังไม่เป็นอันถือเอาแล้ว. ธรรมดาการถึงสรณะด้วยอจิตตกะ

ย่อมไม่มี. ส่วนการรักษาย่อมปรากฏเฉพาะแล้ว. ภายหลังมารดาบิดา ได้เตือน

กุมารนั้นให้ระลึกได้ว่า ดูก่อนลูก เมื่ออยู่ในครรภ์ก็ให้ถือเอาสรณะนั้น ดังนี้

เมื่อเวลาแก่ และพระกุมารนั้น ก็กำหนดได้แล้ว ยังสติให้เกิดขึ้นว่า เราเป็น

อุบาสกถึงสรณะแล้ว ดังนี้ ในกาลใด. ในกาลนั้น ย่อมชื่อว่า ถือสรณะ

แล้ว. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้นและ

จบอรรถกถาโพธิราชกุมารสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

๖. อังคุลิมาลสูตร

[๕๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้นแล ในแว่นแคว้น

ของพระเจ้าปเสนทิโกศล มีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีผ่ามือ

เปื้อนเลือด ปักใจมั่นในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย. องคุลิมาล

โจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำ

ชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง. เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวง

ทรงไว้.

ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร

และจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นแล้วในเวลาปัจฉาภัต

เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะ ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จ

ดำเนินไปตามทางที่องคุลิมาลโจรซุ่มอยู่. พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์

พวกชาวนาที่เดินมา ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปตามทางที่

องคุลิมาลโจรซุ่มอยู่ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่สมณะ

อย่าเดินไปทางนั้น ที่ทางนั้นมีโจรชื่อว่าองคุลิมาลเป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือ

เปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าดี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาล

โจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำ

ชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวง

ทรงไว้ ข้าแต่สมณะ พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคน

ก็ดี ย่อมรวมเป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ แม้บุรุษผู้นั้นก็ยังถึงความพินาศ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

เพราะมือขององคุลิมาลโจร เมื่อคนพวกนั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงนิ่ง ได้เสด็จไปแล้ว.

[๕๒๒] แม้ครั้งที่สอง พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวก

ชาวนาที่เดินมา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่สมณะ อย่าเดินไป

ทางนั้น ที่ทางนั้นมีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด

ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาลโจรนั้น กระทำ

บ้านไม้ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำชนบทไม่ให้

เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ข้าแต่

สมณะ พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ย่อม

รวมเป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ ข้าแต่สมณะ แม้บุรุษพวกนั้นก็ยังถึงความ

พินาศเพราะมือขององคุลิมาลโจร ดังนี้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่ง

ได้เสด็จไปแล้ว.

[๕๒๓] แม้ครั้งที่สาม พวกคนเลี้ยงโค พวกคนเลี้ยงปศุสัตว์ พวก

ชาวนาที่เดินมา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่สมณะ อย่าเดินไป

ทางนั้น ที่ทางนั้นมีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด

ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาลโจรนั้น กระทำ

บ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำชนบทไม่ให้

เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ข้าแต่

สมณะ พวกบุรุษสิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี ย่อมรวม

เป็นพวกเดียวกันเดินทางนี้ ข้าแต่สมณะ แม้บุรุษพวกนั้นก็ยังถึงความพินาศ

เพราะมือขององคุลิมาลโจร ดังนี้. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิ่ง ได้

เสด็จไปแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

ทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร

[๕๒๔] องคุลิมาโจรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล.

ครั้นแล้ว เขาได้มีความดำริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีเลย พวกบุรุษ

สิบคนก็ดี ยี่สิบคนก็ดี สามสิบคนก็ดี สี่สิบคนก็ดี. ก็ยังต้องรวมเป็นพวก

เดียวกันเดินทางนี้ แม้บุรุษพวกนั้นยังถึงความพินาศเพราะมือเรา เออก็สมณะ

นี้ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนชรอยจะมาข่ม ถ้ากระไร เราพึงปลงสมณะเสียจากชีวิต

เถิด. ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรถือดาบและโล่ผูกสอดแล่งธนู ติดตามพระผู้มี

พระภาคเจ้าไปทางพระปฤษฏางค์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบันดาล

อิทธาภิสังขาร โดยประการที่องคุลิมาลโจรจะวิ่งจนสุดกำลัง ก็ไม่อาจทัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จไปตามปกติ.

ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรได้มีความดำริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคย

มีเลย ด้วยว่าเมื่อก่อน แม้ช้างกำลังวิ่ง ม้ากำลังวิ่ง รถกำลังแล่น เนื้อกำลัง

วิ่ง เราก็ยังวิ่งตามจับได้ แต่ว่าเราวิ่งจนสุดกำลัง ยังไม่อาจทันสมณะนี้ซึ่งเดิน

ไปตามปรกติดังนี้ จึงหยุดยืนกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จงหยุดก่อนสมณะ

จงหยุดก่อนสมณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล

ท่านเล่า จงหยุดเถิด.

[๕๒๕] ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรดำริว่า สมณศากยบุตรเหล่านั้น

มักเป็นคนพูดจริง มีปฏิญญาจริง แต่สมณะรูปนี้เดินไปอยู่เทียว กลับพูดว่า

เราหยุดแล้วองคุลิมาล ท่านเล่าจงหยุดเถิด ถ้ากระไร เราพึงถามสมณะรูปนี้

เถิด. ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

ดูก่อนสมณะ ท่านกำลังเดินไป ยัง

กล่าวว่า เราหยุดแล้ว และท่านยังไม่หยุด

ยังกล่าวกะข้าพเจ้าผู้หยุดแล้วว่าไม่หยุด

ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้

กะท่าน ท่านทยุดแล้วเป็นอย่างไร ข้าพเจ้า

ยังไม่หยุดแล้วเป็นอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนองคุลิมาล เราวางอาชญาใน

สรรพสัตว์ได้แล้ว จึงชื่อว่าหยุดแล้วใน

กาลทุกเมื่อ ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์

ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุด

แล้ว ท่านยังไม่หยุด.

องคุลิมาลโจรทูลว่า

ดูก่อนสมณะ ท่านอันเทวดามนุษย์

บูชาแล้ว แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่มาถึง

ป่าใหญ่เพื่อจะสงเคราะห์ข้าพเจ้าสิ้นกาล-

นานหนอ ข้าพเจ้านั้นจักประพฤติละบาป

เพราะพึงคาถาอันประกอบด้วยธรรมของ

ท่าน องคุลิมาลโจรกล่าวดังนี้แล้ว ได้ทิ้ง

ดาบและอาวุธลงในเหวลึกมีหน้าผาชัน

องคุลิมาลโจรได้ถวายบังคมพระบาททั้งสอง

ของพระสุคต แล้วได้ทูลขอบรรพชากะ

พระสุคต ณ ที่นั้นเอง. ก็แลพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

ผู้ทรงประกอบด้วยพระกรุณา ทรงแสวง-

หาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นศาสดาของโลกกับ

ทั้งเทวโลก ได้ตรัสกะองคุลิมาลโจรใน

เวลานั้นว่า ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด อันนี้

แหละเป็นภิกษุภาวะขององคุลิมาลโจรนั้น

ดังนี้.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระองคุลิมาลเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จ

จาริกไปทางพระนครสาวัตถี เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงพระนครสาวัตถี

แล้ว.

เสด็จเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

[๕๒๖] ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ้ก็สมัยนั้น

หมู่มหาชนประชุมกันอยู่ที่ประทูพระราชวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล ส่งเสียง

อื้ออึงว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีโจรชื่อว่าองคุลิมาล

เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าดี ไม่มีความกรุณาใน

สัตว์ทั้งหลาย องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ให้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคม

ไม่ให้เป็นนิคมบ้าง กระทำชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเข่นฆ่าพวกมนุษย์

แล้วเอานิ้วมือร้อยเป็นพวงทรงไว้ ขอพระองค์จงกำจัดมันเสียเถิด.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จออกจากพระนครสาวัตถี ด้วย

กระบวนม้าประมาณ ๕๐๐ เสด็จเข้าไปทางพระอารามแต่ยังวันทีเดียว เสด็จไป

ด้วยพระยานจนสุดภูมิประเทศที่ยานจะไปได้ เสด็จลงจากพระยานแล้ว ทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

พระดำเนินด้วยพระบาทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๒๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับ

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระเจ้าแผ่นดินมคธ

จอมเสนา ทรงพระนามว่า พิมพิสาร ทรงทำให้พระองค์ทรงขัดเคืองหรือหนอ

หรือเจ้าลิจฉวี เมืองเวสาลี หรือว่าพระราชาผู้เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่น.

พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้า

แผ่นดินมคธ จอมเสนาทรงพระนามว่า พิมพิสาร มิได้ทรงทำหม่อมฉันให้

ขัดเคือง แม้เจ้าลิจฉวีเมืองเวสาลี ก็มิได้ทรงทำให้หม่อมฉันขัดเคือง แม้

พระราชาที่เป็นปฏิปักษ์เหล่าอื่น ก็มิได้ทำให้หม่อมฉันขัดเคือง ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญในแว่นแคว้นของหม่อมฉัน มีโจรชื่อว่าองคุลิมาล เป็นคนหยาบช้า

มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ปักใจในการฆ่าตี ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย

องคุลิมาลโจรนั้น กระทำบ้านไม่ไห้เป็นบ้านบ้าง กระทำนิคมไม่ให้เป็นนิคมบ้าง

กระทำชนบทไม่ให้เป็นชนบทบ้าง เขาเช่นฆ่าพวกมนุษย์แล้วเอานิ้วมือร้อย

เป็นพวงทรงไว้ หม่อมฉันจักกำจัดมันเสีย.

ภ. ดูก่อนมหาราช ถ้ามหาบพิตรพึงทอดพระเนตรองคุลิมาลผู้ปลงผม

และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เว้นจากการ

ฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการพูดเท็จ ฉันภัตตาหารหนเดียว

ประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม มหาบพิตรจะพึงทรงกระทำ

อย่างไรกะเขา.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงไหว้ พึงลุกรับ พึงเชื้อเชิญ

ด้วยอาสนะ พึงบำรุงเข้าด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช

บริขารหรือพึงจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม ข้าแต่พระองค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

ผู้เจริญ แต่องคุลิมาลโจรนั้น เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม จักมีความสำรวม

ด้วยศีลเห็นปานนี้ แต่ที่ไหน.

[๕๒๘] ก็สมัยนั้น ท่านพระองคุลิมาลนั่งอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค

เจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นชี้ตรัส บอกพระเจ้าปเสน-

ทิโกศลว่า ดูก่อนมหาบพิตร นั่นองคุลิมาล. ลำดับนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศล

ทรงมีความกลัว ทรงหวาดหวั่น พระโลมชาติชูชันแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกลัว ทรงหวาดหวั่น มีพระโลมชาติ

ชูชันแล้ว จึงได้ตรัสกะพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร

อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร ภัยแต่องคุลิมาลนี้ไม่มีแก่มหาบพิตร. ครั้งนั้น

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงระงับความกลัว ความหวาดหวั่น หรือโลมชาติชูชัน

ได้แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาท่านองคุลิมาลถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่าน

องคุลิมาลว่า ท่านผู้เจริญ พระองคุลิมาลผู้เป็นเจ้าของเรา.

ท่านพระองคุลิมาลถวายพระพรว่า อย่างนั้น มหาบพิตร.

ป. บิดาของพระผู้เป็นเจ้ามีโคตรอย่างไร มารดาของพระผู้เป็นเจ้า

มีโคตรอย่างไร.

อ. ดูก่อนมหาบพิตร บิดาชื่อ คัคคะ มารดาชื่อ มันตานี.

ป. ท่านผู้เจริญ ขอพระผู้เป็นเจ้าคัคคะมันตานีบุตร จงอภิรมย์เถิด

ข้าพเจ้าจักทำความขวนขวาย เพื่อจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย-

เภสัชบริขาร แก่พระผู้เป็นเจ้าคัคคะมันตานีบุตร.

ก็สมัยนั้น ท่านองคุลิมาล ถือการอยู่ในป่าเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑ-

บาตเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถือผ้าสามผืนเป็นวัตร. ครั้งนั้น ท่าน

องคุลิมาลได้ถวายพระพรพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า อย่าเลย มหาบพิตร ไตรจีวร

ของอาตมภาพบริบูรณ์แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

ทูลลากลับ

[๕๒๙] ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจึงประทับนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก

ไม่เคยมีมา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานได้ซึ่งบุคคลที่ใคร ๆ ทรมานไม่ได้

ทรงยังบุคคลที่ใคร ๆ ให้สงบไม่ได้ ให้สงบได้ ทรงยังบุคคลที่ใคร ๆ ให้ดับ

ไม่ได้ ให้ดับได้ เพราะว่าหม่อมฉันไม่สามารถจะทรมานผู้ใดได้ แม้ด้วย

อาชญา แม้ด้วยศาสตรา ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทรมานได้โดยไม่ต้องใช้

อาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอทูลลาไปใน

บัดนี้ หม่อมฉันมีกิจมาก มีกรณียะมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอมหา-

บพิตรจงทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศ

เสด็จลุกจากที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เสด็จหลีกไป.

[๕๓๐] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลครองอันตรวาสกแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี. กำลังเที่ยวบิณฑบาต

ตามลำดับตรอกอยู่ในพระนครสาวัตถี ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก

ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ สัตว์ทั้งหลายย่อม

เศร้าหมองหนอ ดังนี้. ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาลเที่ยวบิณฑบาตในพระ-

นครสาวัตถี เวลาปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส

เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต

ยังพระนครสาวัตถี กำลังเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกอยู่ในพระนคร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

สาวัตถี ได้เห็นสตรีคนหนึ่งมีครรภ์แก่หนัก ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า สัตว์

ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ ดังนี้.

[๕๓๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น

เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้นแล้วกล่าวกะสตรีนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่

เราเกิดมาแล้วจะได้รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้

ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด.

ท่านพระองคุลิมาลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อาการนั้น

จักเป็นอันข้าพระองค์กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่เป็นแน่ เพราะข้าพระองค์แกล้งปลงสัตว์

เสียจากชีวิตเป็นอันมาก.

ภ. ดูก่อนองคุลิมาล ถ้าอย่างนั้น เธอจงเข้าไปหาสตรีนั้น แล้ว

กล่าวกะสตรีนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนน้องหญิง ตั้งแต่เราเกิดแล้วในอริยชาติ จะได้

รู้สึกว่าแกล้งปลงสัตว์เสียจากชีวิตหามิได้ ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมี

แก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่านเถิด.

พระองคุลิมาลทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาหญิงนั้นถึงที่อยู่

ครั้นแล้วได้กล่าวกะหญิงนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนน้องหญิง ตังแต่เวลาที่ฉัน

เกิดแล้วในอริยชาติ จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตทั้งรู้หามิได้ ด้วย

สัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์

ของท่านเถิด.

ครั้งนั้น ความสวัสดีได้มีแก่หญิง ความสวัสดีได้มีแก่ครรภ์ของหญิง

แล้ว.

พระองคุลิมาลบรรลุพระอรหัตต์

[๕๓๒] ครั้งนั้นท่านพระองคุลิมาล หลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

ซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจาจเรือนบวช

เป็นบรรพชิตต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้อีกมิได้มีดังนี้. ก็ท่านพระองคุลิมาลได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่งใน

จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

[๕๓๓] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระองคุลิมาลนุ่งแล้ว ถือบาตรและ

จีวร เข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี. ก็เวลานั้นก้อนดิน... ท่อนไม้...

ก้อนกรวดที่บุคคลขว้างไปแม้โดยทางอื่นก็มาตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล.

ท่านพระองคุลิมาลศีรษะแตก โลหิตไหล บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ฉีกขาด

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตร

ท่านพระองคุลิมาลเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระองคุลิมาลว่า

เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์ เธอได้เสวย

ผลกรรมซึ่งเป็นเหตุจะให้เธอพึงหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดปีเป็นอันมาก ตลอด

ร้อยปีเป็นอันมาก ตลอดพันปีเป็นอัน มาก ในปัจจุบันนี้เท่านั้น.

พระองคุลิมาลอุทาน

[๕๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระองคุลิมาลไปในที่ลับเร้นอยู่ เสวยวิมุตติสุข

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ผู้ใด เมื่อก่อนประมาท ภายหลัง

ผู้นั้นไม่ประมาท เขาย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง

ดังพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น

ผู้ใดทำกรรมอันเป็นบาปแล้ว ย่อมปิดเสีย

ได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

ดุจพระจันทร์ซึ่งพ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น

ภิกษุใดแล ยังเป็นหนุ่ม ย่อมขวนขวาย

ในพระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นย่อมยังโลกนี้

ให้สว่าง ดุจพระจันทร์ซึงพ้นแล้วจากเมฆ

ฉะนั้น.

ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงพึงธรรม

กถาเถิด ขอศัตรูทั้งหลายของเราจงขวน-

ขวายในพระพุทธศาสนาเถิด อมนุษย์

ทั้งหลายที่เป็นศัตรูของเรา จงคบสัตบุรุษ

ผู้ชวนให้ถือธรรมเถิด.

ขอจงคบความผ่องแผ่ว คือ ขันติ

ความ สรรเสริญ คือ เมตตาเถิดขอจงพึง

ธรรมตามกาล และจงกระทำตามธรรมนั้น

เถิด ผู้ที่เป็นศัตรูนั้น ไม่พึงเบียดเบียนเรา

หรือใคร ๆ อื่นนั้นเลย ผู้ถึงความสงบ

อย่างยิ่งแล้วพึงรักษาไว้ซึงสัตว์ที่สะดุ้งและ

ที่มั่นคง

คนทดน้ำย่อมชักนำไปได้ ช่างศร

ย่อมดัดลูกศรได้ ช่างถากย่อมถากไม้ได้

ฉันใด บัณฑิตทั้งหลายย่อมทรมานตนได้

ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

คนบางพวกย่อมฝึกสัตว์ ด้วยท่อน

ไม้บ้าง ด้วยขอบ้าง ด้วยแส้บ้าง เราเป็น

ผู้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกแล้วโดยไม่

ต้องใช้อาชญาไม่ต้องใช้ศาสตรา เมื่อก่อน

เรามีชื่อว่าอหิงสกะ แต่ยังเบียดเบียนสัตว์

อยู่ วันนิเรามีชื่อตรงความจริงเราไม่เบียด

เบียนใคร ๆ เลย เมื่อก่อน เราเป็นโจร

ปรากฏชื่อว่าองคุลิมาล ถูกกิเลสดุจห้วง

น้ำใหญ่พัดไป มาถึงพระพุทธเจ้าเป็น

สรณะแล้ว เมื่อก่อนเรามีมือเปื้อนเลือด

ปรากฏชื่อว่า องคุลิมาล ถึงพระพุทธเจ้า

เป็นสรณะ จึงถอนตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ

เสียได้ เรากระทำกรรมที่จะให้ถึงทุคติ

เช่นนั้นไว้มาก อันวิบากของกรรมถูกต้อง

แล้ว เป็นผู้ไม่มีหนี้ บริโภคโภชนะ พวก

ชนที่เป็นพาลทรามปัญญา ย่อมประกอบ

ตามซึ่งความประมาท ส่วนนักปราชญ์ทั้ง

หลาย ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้

เหมือนทรัพย์อันประเสริญ ฉะนั้น ท่าน

ทั้งหลายจงอย่าประกอบตามซึ่งความประ-

มาท อย่าประกอบตามความชิดชมด้วย

สามารถความยินดีในกาม เพราะว่าผู้ไม่

ประมาทแล้ว เพ่งอยู่ ย่อมถึงความสุขอัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

ไพบูลย์ การที่เรามาสู่พระพุทธศาสนานี้

นั้นเป็นการมาดีแล้วไม่ปราศจากประโยชน์

ไม่เป็นการคิดผิด บรรดาธรรมทิพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ดีแล้ว เราก็ได้

เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุดแล้ว (นิพพาน)

การที่เราได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐสุดนี้

นั้น เป็นการถึงดีแล้ว ไม่ปราศจาก

ประโยชน์ ไม่เป็นการคิดผิด วิชชา ๓

เราบรรลุแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า

เรากระทำแล้วดังนี้.

จบ อังคุลิมาลสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

อรรถกถาอังคุลิมาลสูตร

อังคุลิมาลสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

ถามว่า ในพระสูตรนั้น คำว่า ทรงระเบียบแห่งนิ้วมือ ทรงไว้เพราะ

เหตุไร. ตอบว่าทรงไว้ตามคำของอาจารย์. ในข้อนั้น มีอนุปุพพิกถาดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า พระองคุลิมาลนี้ ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางพราหมณี

ชื่อ มันตานี แห่งปุโรหิตของพระเจ้าโกศล. นางพราหมณีได้คลอดบุตรออก

ในเวลากลางคืน. ในเวลาที่อังคุลิมาลนั้นคลอดออกจากครรภ์มารดา อาวุธทั้ง

หลายในนครทั้งสิ้นช่วงโชติขึ้น. แม้พระแสงที่เป็นมงคลของพระราชาแม้กระทั่ง

ฝักดาบ ที่อยู่ในห้องพระบรรทมอันเป็นศิริรุ่งเรือง. พราหมณ์จึงลุกออกมา

แหงนดูดาวนักษัตร ก็รู้ว่าบุตรเกิดโดยดาวฤกษ์โจร จึงเข้าเฝ้าพระราชาทูล

ถามถึงความบรรทมอัน เป็นสุข.

พระราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์ เราจะนอนเป็นสุขอยู่ได้แต่ไหน

อาวุธที่เป็นมงคลของเราส่องแสงรุ่งเรือง เห็นจะมีอันตรายแก่รัฐหรือแก่ชีวิต.

ปุโรหิตทูลว่า ข้าแต่มหาราช อย่าทรงกลัวเลย กุมารเกิดแล้วในเรือนของ

หม่อนฉัน อาวุธทั้งหลายมิใช่จะรุ่งเรืองด้วยอานุภาพของกุมารนั้น. จักมี

เหตุอะไร ท่านอาจารย์. ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เขาจักเป็นโจร เขาจะเป็นโจร

คนเดียวหรือว่าจะเป็นโจรประทุษร้ายราชสมบัติ. เขาจะเป็นโจรธรรมดาคนเดียว

พะยะค่ะ. ก็แลปุโรหิตครั้นทูลอย่างนั้นแล้ว เพื่อจะเอาพระทัยพระราชา

จึงทูลว่า จงฆ่ามันเสียเถอะ พระเจ้าค่ะ. พระราชา. เป็นโจรธรรมดาคนเดียว

จักทำอะไรได้ เหมือนรวงข้าวสาลีรวงเดียว ในนาตั้งพันกรีส จงบำรุงเขาไว้

เถอะ. เมื่อจะตั้งชื่อกุมารนั้น สิ่งของเหล่านี้คือ ฝักดาบอันเป็นมงคลที่วางไว้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

ณ ที่นอน ลูกศรที่วางไว้ที่มุม มีดน้อยสำหรับตัดขั้วตาลซึ่งวางไว้ในปุยฝ้าย

ต่างโพลงขึ้นส่องแสงแต่ไม่เบียดเบียนกัน ฉะนั้น จึงตั้งชื่อว่า อหิงสกะ. พอ

เวลาจะให้เรียนศิลปะก็ส่งเขายังเมืองตักกสิลา. อหิงสกะกุมารนั้น เป็นธัมมัน

เตวาสิก เริ่มเรียนศิลปะแล้ว. เป็นคนถึงพร้อมด้วยวัตร ตั้งใจคอยรับใช้

ประพฤติเป็นที่พอใจ พูดจาไพเราะ. ส่วนอันเตวาสิกที่เหลือ เป็นอันเตวาสิก

ภายนอก. อันเตวาสิกเหล่านั้น นั่งปรึกษากันว่า จำเดิมแต่เวลาที่อหิงสกมาณพ

มา พวกเราไม่ปรากฏเลย เราจะทำลายเขาได้อย่างไร จะพูดว่าเป็นคนโง่ ก็

พูดไม่ได้ เพราะมีปัญญายิ่งกว่าทุกคน จะว่ามีวัตรไม่ดีก็ไม่อาจพูด เพราะเป็นผู้

สมบูรณ์ด้วยวัตร จะว่ามีชาติต่ำ ก็พูดไม่ได้ เพราะสมบูรณ์ด้วยชาติ พวก

เราจักทำอย่างไรกัน ขณะนั้นปรึกษากับคนมีความคิดเฉียบแหลมคนหนึ่งว่า

เราจะกระทำช่องของอาจารย์ทำลายเขาเสีย แบ่งเป็นสามพวก พวกแรกต่างคน

ต่างเข้าไปหาอาจารย์ไหว้แล้วยืนอยู่. อาจารย์ถามว่า อะไรพ่อ. ก็บอกว่าพวก

กระผมได้ฟังเรื่องหนึ่งในเรือนนี้. เมื่ออาจารย์ถามว่า อะไรพ่อ. ก็กล่าวว่า

พวกเราทราบว่า อหิงสกมาณพจะประทุษร้ายระหว่างท่านอาจารย์. อาจารย์จึง

ก็ตะคอกไล่ออกมาว่า ออกไป เจ้าถ่อย เจ้าอย่าทำลายบุตรของเราในระหว่างเรา

เสียเลย. ต่อแต่นั้น ก็ไปอีกพวกหนึ่ง แต่นั้น ก็อีกพวกหนึ่ง ทั้งสามพวก

มากล่าวทำนองเดียวกัน แล้วก็กล่าวว่า เมื่ออาจารย์ไม่เชื่อพวกข้าพเจ้า ก็จง

ใคร่ครวญรู้เอาเองเถิด ดังนี้. ท่านอาจารย์เห็นศิษย์ทั้งหลายกล่าวว่าด้วยความ

ห่วงใย จึงตัดสินใจว่า เห็นจะมีความจริง จึงคิดว่า เราจะฆ่ามันเสีย.

ต่อไปจึงคิดอีกว่า ถ้าเราฆ่ามัน ใคร ๆ ที่คิดว่าท่านอาจารย์ทิสา

ปาโมกข์ ยังโทษให้เกิดขึ้นในมาณพผู้มาเรียนศิลปะยังสำนักของตนแล้ว ปลง

ชีวิตเสีย ดังนี้ ก็จักไม่มาเพื่อเล่าเรียนศิลปะอีก ด้วยอาการอย่างนี้ เราก็จะ

เสื่อมลาภ อย่ากระนั้นเลย เราจะบอกมันว่า ยังมีคำสำหรับศิลปะ วิชา ขั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

สุดท้ายอยู่ แล้วกล่าวว่า เจ้าจะต้องฆ่าคนให้ได้พันคน ในเรื่องนี้

เจ้าจะเป็นผู้เดียวลุกขึ้น ฆ่าเขาให้ได้ครบพัน. ทีนั้นอาจารย์จึงกล่าว

กะอหิงสกกุมารว่า มาเถอะพ่อ เจ้าจงฆ่าให้ได้พันคน เมื่อทำได้เช่นนี้ ก็จัก

เป็นอันกระทำอุปจาระแก่ศิลปะ การบูชาครู ดังนี้ . อหิงสกกุมารจึงกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลที่ไม่เบียดเบียน ข้าพเจ้าไม่อาจทำเช่น

นั้น. ศิลปะที่ไม่ได้ค่าบูชาครูก็จะไม่ให้ผลนะพ่อ. อหิงสกกุมารนั้นจึงถือ

อาวุธ ๕ ประการ ไหว้อาจารย์เข้าสู่ดงยืน ณ ที่คนจะเข้าไปสู่ดงบ้าง ที่ตรง

กลางดงบ้าง ตรงที่ที่คนจะออกจากดงบ้าง ฆ่าคนเสียเป็นอันมาก. ก็ไม่ถือเอา

ผ้าหรือผ้าโพกศีรษะ กระทำเพียงกำหนดว่า ๑,๒, ดังนี้เดินไป แม้การนับก็

กำหนดไม่ได้. แต่โดยธรรมดาอหิงสกกุมารนี้ เป็นคนมีปัญญา แต่จิตใจไม่

ดำรงอยู่ได้ เพราะปาณาติบาต ฉะนั้น จึงกำหนดแม้การนับไม่ได้ตามลำดับ.

เขาตัดนิ้วได้หนึ่ง ๆ ก็เก็บไว้. ในที่ที่เก็บไว้ นิ้วมือก็เสียหายไป. ต่อแต่นั้น

จึงร้อยทำเป็นมาลัยนิ้วมือคล้องคอไว้. ด้วยเหตุนั้นแล เขาจึงปรากฏชื่อว่า

องคุลิมาล. องคุลิมาลนั้นท่องเที่ยวไปยังป่าทั้งสิ้นจนไม่มีใครสามารถไปป่าเพื่อ

หาฟืนเป็นต้น . ในตอนกลางคืนก็เข้ามายังภายใบบ้านเอาเท้าถีบประตู. แต่นั้น

ก็ฆ่าคนที่นอนนั้นแหละกำหนดว่า ๑,๑, เดินไป. บ้านก็ร่นถอยไปตั้งในนิคม.

นิคมก็ร่นถอยไปตั้งอยู่ในเมือง. พวกมนุษย์ทิ้งบ้านเรือนจูงลูกเดินทางมาล้อม

พระนครสาวัตถี เป็นระยะทางถึงสามโยชน์ ตั้งค่ายพักประชุมกันที่ลานหลวง

ต่างคร่ำครวญกล่าวกันว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีโจรชื่อ

องคุลิมาลเป็นต้น . ในลำดับนั้น พราหมณ์รู้ว่า โจรองคุลิมาลนั้นจักเป็นบุตร

ของเรา จึงกล่าวกะนางพราหมณีว่า แนะนางผู้เจริญ เกิดโจรชื่อองคุลิมาลขึ้น

แล้ว โจรนั้นไม่ใช่ใครอื่น คืออหิงสกกุมารลูกของเจ้า บัดนี้ พระราชาจักเสด็จ

ออกไปจับเขา เราควรจะทำอย่างไร. นางพราหมณีพูดว่า นายท่านไปเถอะ จง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

ไปพาลูกของเรามา. พราหมณ์พูดว่า แน่ะนางผู้เจริญ ฉันไม่กล้าไป เพราะไม่

ควรวางใจในคน ๔ จำพวก คือโจรที่เป็นเพื่อนเก่าของเรามา ก็ไม่ควรไว้ใจ

เพื่อนฝูงที่เคยมีสันถวไมตรีกันมาก่อนของเราก็ไม่ควรไว้ใจ พระราชาก็ไม่ควร

ไว้ใจว่า นับถือเรา. หญิงก็ไม่ควรไว้ใจว่านับอยู่ในเครือญาติของเรา แต่หัวใจ

ของแม่เป็นหัวใจที่อ่อน ฉะนั้น นางพราหมณีจึงกล่าวว่า ฉันจะไปพาลูกของ

ฉันมา ดังนี้ ออกไปแล้ว.

และในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาปัจจุ-

สมัยใกล้รุ่ง ทรงเห็นองคุลิมาล จึงทรงพระดำริว่า เมื่อเราไปจักเป็นความ

สวัสดีแก่เธอ ผู้ที่อยู่ในป่าอันหาบ้านมิได้ครั้นได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยบท ๔

ออกบวชในสำนักของเราแล้ว จักกระทำให้แจ้งซึ่งอภิญญา ๖ ถ้าเราไม่ไป เธอ

จะผิดในมารดา จักเป็นผู้อันใคร ๆ ยกขึ้นไม่ได้ เราจักการทำความสงเคราะห์

เธอ ดังนี้แล้ว ทรงนุ่งเวลาเข้าแล้วเข้าไปเพื่อบิณฑบาต ทรงกระทำภัตตกิจ

เสร็จแล้ว ประสงค์จะสงเคราะห์เธอ จึงเสด็จออกไปจากวิหาร. เพื่อจะแสดง

ความข้อนี้ ท่านจึงกล่าวว่า "อถ โข ภควา" ดังนี้ เป็นต้น. คำว่า สงฺคริตฺ-

วา สงฺคริตฺวา ความว่า เป็นพวกๆ คอยสังเกต. บทว่า หตฺถตฺถ คจฺฉนฺติ

ความว่า ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ในมือ คือ พินาศไป. ถามว่า ก็คนเหล่านั้น

จำพระผู้มีพระภาคเจ้าได้แล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า จำไม่ได้ หรือ ? ตอบว่า จำ

ไม่ได้. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าจำแลงเพศ เสด็จไปเพียงพระองค์เดียว.

ในสมัยนั้น แม้โจรหงุดหงิดใจเพราะบริโภคอย่างฝืดเคือง และนอนลำบากมา

เป็นเวลานาน. อนึ่ง พวกมนุษย์ถูกโจรองคุลิมาลฆ่าไปเท่าไร. ถูกฆ่าไป

๙๙๙ คนแล้ว. ก็โจรนั้นมีความสำคัญว่า เดี๋ยวนี้ได้อีกคนเดียวก็จะครบพัน

ตั้งใจว่า เห็นผู้ใดก่อนก็จะฆ่าผู้นั้น ให้เต็มจำนวนกระทำอุปจาระแก่ศิลปะ (บูชา

ครู) โกนผมและหนวดแล้วอาบน้ำ ผลัดเปลี่ยนผ้าไปเห็นมารดาบิดา ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

จึงออกจากกลางดงมาสู่ปากดง ยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง ได้เห็นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว. เพื่อจะแสดงความข้อนี้ ท่านจึงกล่าวว่า "อทฺทสา โข" ดังนี้

เป็นต้น.

บทว่า อิทฺธาภิสงฺขาร อภิสงฺขาเรสิ ความว่า ทรงบันดาลให้

เป็นเหมือนแผ่นดินใหญ่มีคลื่นตั้งขึ้น แล้วทรงเหยียบอยู่อีกด้านหนึ่ง เกลียว

ในภายในออกมา. องคุลิมาลทิ้งเครื่องซัดลูกศรเสียเดินไป. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงเนินใหญ่อยู่ข้างหน้าแล้วพระองค์อยู่ตรงกลาง โจรอยู่ริมสุด. องคุลิ-

มาลนั้นคิดว่า เราจักทันจับได้ในบัดนี้ จึงรีบแล่นไปด้วยสรรพกำลัง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ริมสุดของเนิน โจรอยู่ตรงกลาง เขารีบแล่นมาโดย

เร็ว คิดว่า ทันจับได้ตรงนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงบันดาลเหมือง หรือ

แผ่นดินไว้ข้างหน้าเขาเสีย. โดยทำนองนี้ สิ้นทางไปถึงสามโยชน์. โจรเหนื่อย

น้ำลายในปากแห้ง เหงื่อไหลออกจากรักแร้. ครั้งนี้ได้มีความคิดดังนี้ แก่เขาว่า

น่าอัศจรรย์นักหนอ ท่านผู้เจริญ.

บทว่า มิคปิ ความว่า เนื้อไฉนยังจับได้. ในตอนที่หิวก็จับเอา

มาเป็นอาหารได้. ได้ยินว่า โจรนั้น เคาะที่พุ่มไม้แห่งหนึ่งให้เนื้อลุกขึ้นหนีไป.

ต่อนั้นก็จะติดตามเนื้อได้ดังใจปรารถนาแล้วปิ้งเคี้ยวกิน. บทว่า ปุจฺเฉยฺย

ความว่า ท่านผู้นี้กำลังเดินไปอยู่เทียว (ก็ว่า) หยุดแล้ว ส่วนตัวเราหยุดอยู่

แล้วก็ว่าไม่หยุด ด้วยเหตุใด ทำไฉนหนอ เราจะพึงถามเหตุนั้น ๆ กะสมณะ

นี้. บทว่า นิธาย ความว่า แม้อาชญาใดอันบุคคลพึงให้เป็นไปในสัตว์ทั้งหลาย

เพื่อเบียดเบียน เราวางอาชญานั้น คือ นำออกเสีย พิจารณาด้วยเมตตา ขันติ

ประพฤติไปในสาราณียธรรมทั้งหลายด้วย อวิหิงสา. บทว่า ตุวมฏฺิโตสิ ความ

ว่า เมื่อท่านฆ่าสัตว์มีประมาณพันหนึ่งนี้ เพราะไม่มีความสำรวมในสัตว์ มี

ปาณะทั้งหลาย เมตตาก็ดี ขันติก็ดี ปฏิสังขารก็ดี อวิหิงสาก็ดี สาราณียธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

ก็ดี ของท่านจึงไม่มี ฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า ยังไม่หยุด. มีคำอธิบายว่า แม้ถึง

หยุดแล้วด้วยอิริยาบถในขณะนี้ ท่านก็จักแล่นไปในนรก คือจักแล่นไปในกำหนด

ติรัจฉาน ในเปรตวิสัย หรือในอสุรกาย. ในลำดับนั้น โจรคิดว่า การบรรลือ

สีหนาทนี้ใหญ่ การบรรลืออันใหญ่นี้จักเป็นของผู้อื่นไปมิได้ การบรรลือนี้ต้อง

เป็นของพระสมณเจ้าพระนามว่า สิทธธัตถะ ผู้โอรสแห่งพระนางมหามายา เรา

เห็นจะเป็นผู้อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุคมกล้า ทรงเห็นแล้วหนอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาเพื่อทำการสงเคราะห์แก่เรา ดังนี้ จึงกล่าวว่า

จิรสฺส วต เม ดังนี้เป็นอาทิ.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหิโต ความว่า อันเทวดาและมนุษย์

เป็นต้นบูชาแล้วด้วยการบูชาด้วยปัจจัย ๔. บทว่า ปจฺจุปาทิ ความว่า ทรง

ดำเนินมาสู่ป่าใหญ่นี้เพื่อจะสงเคราะห์เราโดยล่วงกาลนานนัก. คำว่า ปชหิสฺส

ปาป ความว่า ข้าพระองค์จักละบาป. บทว่า อิจฺเจว แปลว่า กล่าวอย่าง

นี้แล้วเทียว. บทว่า อาวุธ ได้แก่ อาวุธ ๕ ประการะ บทว่า โสพฺเภ คือ

ที่ขาดไปข้างเดียว. บทว่า ปปาเต ได้แก่ ขาดข้างหนึ่ง. บทว่า นรเก คือ

ที่ที่แตกระแหง. อนึ่ง ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงป่าเท่านั้น ด้วยบททั้งสามนี้. บทว่า

อวกิริ ได้แก่ ซัดไป คือ ทิ้งไปแล้ว. บทว่า ตเมหิ ภิก ขูหิ ตทา อโวจ

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะยังอังคุลีมาลนี้ให้บวชก็ไม่มีกิจในการแสวง

หาว่า จักได้มีดน้อยที่ไหน จักได้บาตรจีวรที่ไหน ดังนี้. อนึ่ง ทรงตรวจ

ธรรม. ทีนั้นก็ทรงทราบว่า องคุลิมาลนั้น .ได้เคยถวายภัณฑะ คือ บริขาร

แปด แก่ท่านผู้มีศีลในปางก่อน จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ตรัสว่า.

เอหิ ภิกขุ สฺวากฺขาโต ธมฺโม จร พฺรหฺมจริย สมฺมาทุกฺขสฺส

อนฺตกิริยาย เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวไว้ดีแล้ว จงประพฤติ

พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด ดังนี้. องคุลีมาลนั้นได้เฉพาะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

ซึ่งบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ พร้อมกับพระดำรัสนั้นเทียว. ในทันใด

นั้นเพศคฤหัสถ์ของท่านอันตรธานไป สมณเพศปรากฏแล้ว.

บริขาร ๘ ดังที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม

ประคดเอว รวมเป็น ๘ กับ

ผ้ากรองน้ำ สมควรแก่ภิกษุผู้

ประกอบความเพียรแล้ว ดังนี้

เป็นของจำเป็นสำหรับตัว บังเกิดขึ้นแล้ว. คำว่า เอเสว ตสฺส อหุ ภิกฺขุ-

ภาโว ความว่า ความเป็นเอหิภิกขุ นี้ ได้เป็นภิกษุภาวะที่เข้าถึงพร้อมแก่

พระองคุลิมาลนั้น. ชื่อว่า การอุปสมบทต่างหากจากเอหิภิกษุ ไม่มีหามิได้.

บทว่า ปจฺฉาชมเณน ได้แก่ ปัจฉาสมณะผู้ถือภัณฑะ. ความว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าให้พระองคุลิมาลถือบาตรและจีวรของตน แล้วทรงทำพระองคุลีมาล

นั้นให้เป็นปัจฉาสมณะเสด็จไปแล้ว. ฝ่ายมารดาขององคุลิมาลนั้น ไม่รู้อยู่ เพราะ

อยู่ห่างกันประมาณ ๘ อสุภ เที่ยวร้องอยู่ว่า พ่ออหิงสกะ พ่อยืนอยู่ที่ไหน

พ่อนั่งอยู่ที่ไหน พ่อไปไหน ทำไม ไม่พูดกับแม่ละลูก ดังนี้ เมื่อไม่เห็น

จึงมาถึงที่นี้ทีเดียว.

บทว่า ปญฺจมตฺเตหิ อสฺสสเตหิ ความว่า ถ้าโจรจักปราชัย เรา

จักติดตามไปจับโจรนั้น ถ้าเราปราชัยเราจักรีบหนีไป ฉะนั้น จึงออกไปด้วย

กำลังอันเบาพร้อม. บทว่า เยน อาราโม ความว่า มาสู่พระอารามเพราะ

เหตุไร. ได้ยินว่า พระราชานั้นทรงกลัวโจร มิได้ประสงค์จะไป เพราะโจร

ทรงออกไปเพราะเกรงต่อคำครหา. เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงดำริว่า เรา

จักถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนั่งอยู่ พระองค์จักตรัสถามว่า พระองค์

พาพลออกมาเพราะเหตุไร ดังนี้ ที่นั้นเราจักทูลว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

สงเคราะห์ข้าพระองค์ด้วยประโยชน์ในสัมปรายิกภพอย่างเดียวเท่านั้น แม้ประ-

โยชน์ในปัจจุบันก็ทรงสงเคราะห์ด้วย พระผู้มีพระภาคเจ้าจักดำริว่า ถ้าเรา

ชัยชนะก็จักทรงเฉยเสีย ถ้าเราแพ้ก็จะตรัสว่า มหาบพิตรประโยชน์อะไรด้วยการ

เสด็จมาปรารภโจรคนเดียว แต่นั้น คนก็จะเข้าใจเราอย่างนี้ว่า พระราชาเสด็จ

ออกจับโจร แต่สัมระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงห้ามเสียแล้ว ดังนี้ เล็งเห็นว่าจะพ้น

คำครหาด้วยประการฉะนี้ จึงเสด็จไปแล้ว.

ถามว่า พระราชาตรัสว่า ก่อนคุลิมาลโจรนั้นมาจากไหนเพราะเหตุไร

ตอบว่า ตรัสเพื่อทรงเข้าใจพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เออก็ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตรวจดูอุปนิสัยขององคุลิมาลโจรนั้นแล้ว พึงทรงนำเขามาให้บวช. บทว่า

รญฺโ ความว่า พระราชาเท่านั้นทรงกลัวพระองค์เดียวก็หามิได้. มหาชน

แม้ที่เหลือ ก็กลัวทิ้งโล่และอาวุธ หลีกหนีในที่เผชิญหน้านั้นเทียวเข้าเมือง

ปิดประตู ขึ้นโรงป้อม ยืนแลดู และกล่าวอย่างนี้ว่า องคุลิมาลรู้ว่า พระราชา

เสด็จมาสู่สำนักของเราดังนี้แล้ว มานั่งที่พระเชตวันก่อน พระราชาถูกองคุลิมาล

โจรนั้นจับไปแล้ว แต่พวกเรา หนีพ้นแล้ว. บทว่า นตฺถิ เต อิโต ภิย ความว่า

ก็บัดนี้ องคุลิมาลนี้ไม่ฆ่ามดแดง ภัยจากสำนักขององคุลิมาลนี้ ย่อมไม่มีแก่

พระองค์.

ถามว่า ท่านกล่าวด้วยบทว่า กถ โภโต ดังนี้ เพราะเหตุไร. ตอบว่า

ท่านสำคัญอยู่ว่า การที่จะถือเอาชื่อที่เกิดขึ้นเพราะกรรมอันหยาบช้าแล้วร้อง

เรียกบรรพชิต ไม่สมควร เราจักร้องเรียกท่านด้วยสามารถแห่งโคตรของ

บิดามารดา ดังนี้ จึงถามแล้ว. บทว่า ปริกฺขาราน ความว่า เราจักกระ

ทำการขวนขวายเพื่อประโยชน์บริกขารเหล่านั้น และพระองค์กำลังกล่าวอยู่นั่น

เทียว ก็ทรงเปลื้องผ้าสาฎกที่คาดท้องวางไว้ ณ ที่ใกล้เท้าของพระเถระ

แล้ว. ธุดงค์ ๔ ข้อมีอัน อยู่ในป่าเป็นวัตรเป็นต้นมาแล้วในพระบาลี. แต่พระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

เถระได้สมาทานธุดงค์แล้วทั้ง ๑๓ ข้อทีเดียว เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อล

อย่าเลย ดังนี้ . ถามว่า ท่านหมายถึงอะไรจึงกล่าวว่า ยญฺหิ มย ภนฺเต ดังนี้.

ตอบว่า ท่านจับช้างเป็นต้นที่พระราชาส่งมาแล้วในที่ที่มาแล้วว่า เราติดตามจับ

แม้ช้างวิ่งอยู่ได้ อย่างนี้. แม้พระราชาก็ทรงส่งช้างเป็นต้น เป็นอันมาก

ไปหลายครั้งอย่างนี้ว่า จงเอาช้างไปล้อมเธอแล้วจับมา จงเอาม้าไปล้อม

จงเอารถไปล้อมแล้วจับมา. เมื่อคนเหล่านั้นไปแล้วอย่างนี้ เมื่อองคุลิมาลลุก

ขึ้นส่งเสียงว่า เฮ้ย เราองคุลิมาล แม้คนเดียวก็ไม่อาจร่ายอาวุธ. จะทุบคน

เหล่านั้นทั้งหมดฆ่าเสียแล้ว. ช้างก็เป็นช้างป่า ม้าก็เป็นม้าป่า รถก็หักแตก

ทำลายอยู่ตรงนั้นแหละ พระราชาหมายเอาเรื่องดังกล่าวมานี้ จึงตรัสอย่างนั้น.

บทว่า ปิณฺฑาย ปาวิสิ มิใช่พระองคุลิมาลเข้าไปครั้งแรก ก็คำนี้

ท่านกล่าวหมายเอาวันที่เห็นหญิง. แลพระองคุลิมาลนี้เข้าไปบิณฑบาต แม้ทุก

วันเหมือนกัน. แต่พวกมนุษย์เห็นท่านแล้วย่อมสะดุ้งบ้าง ย่อมหนีไปบ้าง

ย่อมปิดประตูบ้าง บางพวกพอได้ยินว่า องคุลิมาล ก็วิ่งหนีเข้าป่าไปบ้าง

เข้าเรือนปิดประตูเสียบ้าง. เมื่อไม่อาจหนีก็ยืนผินหลังให้. พระเถระไม่ได้แม้

ข้าวยาคูสักกระบวนหนึ่ง แม้ภัตสักทัพพีหนึ่ง ย่อมลำบากด้วยบิณฑบาต.

เมื่อไม่ได้ในภายนอกก็เข้าไปยังพระนคร ด้วยคิดว่าเมืองทั่วไปแก่คนทุกคน.

พอเข้าไปทางประตูนั้น ก็มีเหตุให้เสียงตะโกนระเบิดออกมาเป็นพัน ๆ เสียงว่า

องคุลิมาลมาแล้วๆ. บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ได้มีแล้วเพราะความบังเกิด

ขึ้นแห่งกรุณา. เมื่อองคุลิมาลฆ่าคนอยู่ถึงพันคนหย่อนหนึ่ง (๙๙๙) ก็มิได้มี

ความกรุณาสักคนเดียว แม้ในวันหนึ่ง เพียงแต่เห็นหญิงมีครรภ์หลงแล้ว

ความกรุณาเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นได้ด้วยกำลังแห่งบรรพชา. จริงอยู่ ความ

กรุณานั้นเป็นพลังแห่งบรรพชา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

บทว่า เตนหิ ความว่า เพราะเหตุที่ท่านเกิดความกรุณานั้น. บทว่า

อรยาย ชาติยา ความว่า ดูก่อนองคุลิมาล ท่านอย่าถือเอาเหตุนั้นเลย นั่น

ไม่ใช่ชาติของท่าน นั่นเป็นเวลาเมื่อเป็นคฤหัสถ์ ธรรมดาคฤหัสถ์ย่อมฆ่าสัตว์.

บ้าง ย่อมกระทำอทินนาทานเป็นต้นบ้าง. แต่บัดนี้ ชาติของท่านชื่อว่า อริยชาติ.

เพราะฉะนั้น ท่านถ้ารังเกียจจะพูดอย่างนี้ว่า ยโต อห ภคินิ ชาโต ไซร้

เพราะเหตุนั้นแหละ จึงทรงส่งไปแล้วด้วยพระดำรัสว่า ท่านจงกล่าวให้ต่าง

ออกไปอย่างนี้ว่า อริยาย ชาติยา ดังนี้.

คำว่า ต อิตฺถึ เอว อวจ ความว่า ธรรมดาการตลอดบุตร ของหญิง

ทั้งหลาย ผู้ชายไม่ควรจะเข้าไป พระเถระกระทำอะไร จึงบอกว่า พระองคุลิมาล

เถระนากระทำสัจจกิริยาเพื่อตลอดโดยสวัสดี. แต่นั้น ชนเหล่านั้นจึงกั้นม่านปูลาด

ตั่งไว้ภายนอกม่าน สำหรับพระเถระ. พระเถระนั่งบนตั่งนั้น กระทำสัจจกิริยาว่า

ยโต อห ภคินิ สพฺพญฺญูพุทฺธสฺส อริยาย ชาติยา ชาโต ดูก่อนน้องหญิง

จำเดิมแต่เราเกิดโดยอริยชาติแห่งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทารกก็ออกมาดุจน้ำ

ไหลจากธรมกรก พร้อมกับกล่าวคำสัตย์นั่นเที่ยว. ทั้งมารดาทั้งบุตรมีความ

สวัสดีแล้ว. ก็แลพระปริตรนี้ท่านกล่าวไว้ว่า นี้ชื่อว่า มหาปริต. จะไม่มี

อันตรายไร ๆ มาทำลายได้. ชนทั้งหลายได้กระทำตั่งไว้ตรงที่ที่พระเถระ

นั่งกระทำสัจจกิริยา. ชนทั้งหลายย่อมนำแม้ดิรัจฉานตัวเมียที่มีครรภ์หลงมาให้

นอนที่ตั่งนั้น. ในทันใดนั้นเอง ก็ตลอดออกได้โดยง่าย. ตัวใดทุรพลนำมาไม่ได้

ก็เอาน้ำล้างตั่งนั้นไปรดศีรษะ ก็คลอคออกได้ในขณะนั้นทีเดียว. แม้โรคอย่าง

อื่นก็สงบไป. ได้ยินว่า พระมหาปริตรนี้มีปาฏิหาริย์ตั้งอยู่ตลอดกัป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมให้พระเถระทำเวชกรรมหรือ. ตอบว่า

พระองค์มิได้ให้กระทำ. เพราะพวกมนุษย์พอเห็นพระเถระก็กลัวต่างหนี

กันไป. พระเถระย่อมลำบากด้วยภิกษาหาร ย่อมไม่อาจกระทำสมณธรรมได้.

ทรงให้กระทำสัจจกิริยา เพราะจะสงเคราะห์พระเถระนั้น.

ดังได้สดับมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้มีปริวิตกอย่างนี้ว่า บัดนี้

พระองคุลิมาลเถระกลับได้เมตตาจิต กระทำความสวัสดีให้แก่พวกมนุษย์ด้วย

สัจจกิริยา ฉะนั้น พวกมนุษย์ย่อมสำคัญว่าควรเข้าไปหาพระเถระ ต่อแต่นั้น

จักไม่ลำบากด้วยภิกษาหาร อาจกระทำสมณธรรมได้ จึงให้กระทำสัจจกิริยา

เพราะทรงอนุเคราะห์ด้วยประการฉะนี้. สัจจกิริยามิใช่เป็นเวชกรรม. อนึ่ง

เมื่อพระเถระเรียนมูลกัมมัฏฐานด้วยตั้งใจว่า จักกระทำสมณธรรมแล้วไปนั่ง ณ

ที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน จิตก็จะไม่ดำเนินไปเฉพาะพระกัมมัฏฐาน.

ย่อมปรากฏเฉพาะแต่ที่ที่ท่านยืนที่ดงแล้ว ฆ่าพวกมนุษย์เท่านั้น. อาการแห่ง

ถ้อยคำก็ดี ความวิการแห่งมือและเท้าก็ดี ของตนที่กลัวความตายว่า ข้าพเจ้า

เป็นคนเข็ญใจ ข้าพเจ้ายังมีบุตรเล็ก ๆ อยู่ โปรดให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าเถิดนาย

ดังนี้ ย่อมมาสู่คลอง มโนทวาราวัชชนะ. ท่านจะมีความเดือนร้อน ต้องลุก

ไปเสียจากที่นั้น. ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าให้กระทำสัจจกิริยาโดยอริยชาติ

ด้วยทรงเล็งเห็นว่า พระองคุลิมาลต้องกระทำชาตินั้นให้เป็นอัพโพหาริกเสียก่อน

แล้วเจริญวิปัสสนา จึงจักบรรลุพระอรหัตต์ได้. บทว่า เอโก วูปกฏฺโ เป็น

ต้น กล่าวไว้พิสดารแล้วในวัตถสูตร. บทว่า อญฺเนปิ เลฑฺฑุขิตฺโต

ความว่า ก้อนดินเป็นต้นที่คนซัดไปโดยทิศาภาคใด ๆ ก็ตาม ในที่นี้เพียง

ล้อมไว้โดยรอบ เพื่อกันกาสุนัขและสุกรเป็นต้น ให้กลับ ไป ก็มาตกลงที่กาย

ของพระเถระอยู่อีก. เป็นอยู่อย่างนี้ในที่มีประมาณเท่าไร บ่วงแร้วที่ดักไว้ยัง

อยู่ จนท่านเที่ยวบิณฑบาตลับแล้วก็สวมบ่วงจนได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

บทว่า ภินฺเนน สีเสน ความว่า ทำลายหนังกำพร้าแตกจนจดกระดูก.

บทว่า พฺราหฺมณ ท่านกล่าวหมายถึงความเป็นพระขีณาสพ. บทว่า ยสฺส โข

ตฺว พฺราหฺมณ กมฺมสฺส วิปาเกน นี้ ท่านกล่าวหมายเอาทิฏฐธรรมเวทนีย

กรรมที่เป็นสภาคกัน . จริงอยู่กรรมที่ท่านกระท่านั่นแหละย่อมยังส่วนทั้งสามให้

เต็ม ในบรรดาจิต ๗ ดวง ชวนจิตดวงแรกเป็นกุศลหรืออกุศล ก็ย่อมชื่อว่า

ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม. กรรมนั้น ย่อมให้ซึ่งวิบากในอัตภาพนี้เท่านั้น.

เมื่อไม่อาจเช่นนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นอโหสิกรรมไป ด้วยหมวดสามนี้คือ อโหสิ-

กรรม (นาโหสิ กมฺมวิปาโก) กรรมวิบากไม่ได้มีแล้ว (น ภวิสฺสติ กมฺม

วิปาโก) กรรมวิบากจักไม่มี (นตฺถิ กมฺมวิปาโก) ไม่มีกรรมวิบาก. ชวน

เจตนาดวงที่ ๗ อันให้สำเร็จประโยชน์ ชื่อว่า อุปปัชชเวทนียกรรม. กรรมนั้น

ย่อมให้ผลในอัตภาพถัดไป. เมื่อไม่อาจเช่นนั้น กรรมนั้นก็ชื่อว่าเป็นอโหสิ-

กรรม โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเทียว. ชวนเจตนา ๕ ดวง ในระหว่างกรรมทั้ง

สอง ย่อมชื่อว่า อปราปริยเวทนียกรรม. กรรมนั้น ย่อมได้โอกาสเมื่อใด

ย่อมให้ผลเมื่อนั้นในอนาคต. เมื่อยังมีการเวียนว่ายอยู่ในสงสาร ชื่อว่าอโหสิ-

กรรมย่อมไม่มี. ก็กรรมทั้ง ๒ เหล่านี้ ของพระเถระคือ อุปปัชชเวทนียกรรม ๑

อปราปริยเวทนียกรรม ๑ อันพระอรหัตตมรรคตัวกระทำกรรมให้สิ้นถอนขึ้น

เสร็จแล้ว. ยังมีแต่ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม. กรรมนั้นแม้ท่านถึงพระอรหัตต์

แล้ว ก็ยังให้ผลอยู่นั่นเทียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงกรรมนี้ จึง

ตรัสว่า ยสฺส โข ตฺว เป็นต้น. เพราะฉะนั้น ในคำว่า ยสฺส โข นี้ พึง

ทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ยาทิสสฺส โข ตฺว พฺราหฺมณ กมฺมสฺส วิปาเกน

ดูก่อนพราหมณ์ ด้วยผลแห่งกรรมเช่นใดแลท่าน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

บทว่า อพฺภา มุตฺโต นี้ สักว่าเป็นยอดแห่งเทศนา. ในที่นี้ท่าน

ประสงค์เอาว่าพระจันทร์พ้นจากเครื่องเศร้าหมองเหล่านี้ คือ หมอก น้ำค้าง

ควัน ธุลี ราหู. ภิกษุเป็นผู้พ้นแล้วจากกิเลส คือความประมาท เป็นผู้ไม่

ประมาทแล้ว ย่อมยังโลก คือขันธ์ อายตนะ และธาตุของตนนี้ให้ผ่องใส คือ

กระทำความมืด คือกิเลสอันตนขจัดเสียแล้ว เหมือนอย่างพระจันทร์ไม่มี

อุปกิเลส ดังกล่าวมานี้ ย่อมยังโลกให้สว่างไสวฉะนั้น. บทว่า กุสเลน ปิถิยฺยติ

ความว่า ย่อมปิดด้วยกุศล คือมรรค ได้แก่ กระทำมิให้มีปฏิสนธิอีก. บทว่า

ยุญฺชติ พุทฺธสาสเน ความว่า ประกอบแล้ว ประกอบทั่วแล้วด้วยกาย วาจา

และด้วยใจ อยู่ในพุทธศาสนา. คาถาทั้ง ๓ เหล่านี้ เรียกอุทานคาถาของ

พระเถระ. ได้ยินว่า พระเถระเมื่อจะกระทำอาการป้องกัน คนจึงกล่าวคำว่า

ทิสา หิ เม นี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิสา หิ เม ความว่า ชนพวกที่

เป็นศัตรูของเรา ย่อมติเตียนเราอย่างนี้ แม้พระองคุลิมาล จงเสวยทุกข์เหมือน

อย่างที่พวกเราทั้งหลายเสวยทุกข์ เพราะอำนาจพวกญาติถูกองคุลิมาลฆ่า

แล้วฉะนั้น หมายความว่า ชนเหล่านั้นจงได้ยินธรรมกถา คือ สัจจะ ๔ ของ

เราทุกทิศ. บทว่า ยุญฺชนฺตุ ความว่า ผู้ประกอบแล้ว ประกอบทั่วแล้ว

ด้วยกาย วาจาและใจอยู่. บทว่า เย ธมฺมเมวาทปยนฺติ สนฺโต ความว่า

คนดี คือสัปบุรุษเหล่าใด ย่อมยึดธรรมนั่นเทียว คือ สมาทาน คือ ถือเอา

ชนเหล่านั้น (ผู้เกิดแต่มนู) เป็นข้าศึกของเรา จงคบ จงเสพ หมายความว่า

จงมีรูปเป็นที่รักเถิด. บทว่า อวิโรธปสสน คือเมตตา ท่านเรียกว่า อวิโร

(ความไม่โกรธ) หมายความว่า ความเมตตาและความสรรเสริญ. บทว่า

สุณนฺตุ ธมฺม กาเลน ความว่า ขอจงฟังขันติธรรม เมตตาธรรม ปฏิสังขา-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

ธรรม และสาราณียธรรมทุก ๆ ขณะ. บทว่า ตญฺจ อนุวิธียนฺตุ ความว่า

และจงกระทำตามคือบำเพ็ญธรรมนั้นให้บริบูรณ์. บทว่า น หิ ชาตุ โส มม

หึเส ความว่า ผู้ใดเป็นผู้มุ่งร้ายต่อเรา ขอผู้นั้นอยู่าพึงเบียดเบียนเราโดย

ส่วนเดียวเทียว. บทว่า อฺ วา ปน กิญฺจิ น ความว่า จงอย่าเบียดเบียน

จงอย่าทำให้ลำบากซึ่งเราอย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ แม้บุคคลไร ๆ อื่นก็อย่า

เบียดเบียน อย่าทำให้ลำบาก. บทว่า ปปฺปุยฺย ปรม สนฺตึ ได้แก่ ถึง

พระนิพพานอันมีความสงบอย่างยิ่ง. บทว่า รกฺเขยฺย ตสถาวเร ความว่า

ผู้ยังมีตัณหา ท่านเรียกว่า ผู้มีความสะดุ้ง ผู้ไม่มีตัณหา ท่านเรียกว่า ผู้มั่นคง.

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ บุคคลใดถึงพระนิพพาน บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ที่

สามารถเพื่อรักษาความสะดุ้งเละความมั่นคงทั้งสิ้นได้ เพราะฉะนั้น บุคคลผู้

เช่นกับ ด้วยเราย่อมถึงพระนิพพาน ชนทั้งหลายย่อมเบียดเบียนเราโดยส่วนเดียว

หาได้ไม่ ดังนี้. ท่านกล่าวคาถาทั้งสามนี้ เพื่อป้องกันตน.

บัดนี้เมื่อจะแสดงความปฏิบัติของตนเอง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

อุทกญฺหิ น ยนฺติ เนตฺติกา บทว่า เนตฺติกา ในคาถานั้นความว่า

ชนเหล่าใด ชำระเหมืองให้สะอาดแล้วผูก (ทำนบ) ในที่ที่ควรผูกไขน้ำออกไป.

บทว่า อุสุการา ทมยนฺติ ความว่า (ช่างศร) ทาด้วยน้ำข้าวย่างที่ถ่านเพลิง

ดัดตรงที่โค้งทำให้ตรง. บทว่า เตชน ได้แก่ลูกธนู. ช่างศรย่อมดัดลูกศรนั้น

และให้คนอื่นดัด ฉะนั้น จึงเรียกว่า เตชน. บทว่า อตฺตาน ทมยนฺติ ความว่า

บัณฑิตย่อมฝึกตนคือกระทำให้ตรง คือกระทำให้หมดพยศ เหมือนอย่างผู้

ทดน้ำย่อมไขน้ำไปโดยทางตรง ช่างศรก็ทำศรให้ตรง และช่างถากไม้ก็ถากไม้

ให้ตรงฉะนั้น. บทว่า ตาทินา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้คงที่ด้วยอาการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

๕ อันไม่มีความผิดปกติในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น คือ พระศาสดา

ผู้ถึงลักษณะแห่งความคงที่อย่างนี้คือ ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะอรรถว่า คงที่ใน

อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ชื่อว่า ผู้คงที่เพราะอรรถว่า ตายเสียแล้ว ชื่อว่า

ผู้คงที่เพราะอรรถว่า สละแล้ว ชื่อว่า ผู้คงที่เพราะอรรถว่า ข้ามได้แล้ว ชื่อว่า

ผู้คงที่ เพราะแสดงออกซึ่งความคงที่นั้น. บทว่า ภวเนตฺติ ได้แก่ เชือก

แห่งภพ. คำนี้เป็นชื่อแห่งตัณหา. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายถูกตัณหานั้นผูกหทัย

ไว้นำไปสู่ภพนั้น ๆ ดุจโคที่เขาล่ามไว้ด้วยเชือกที่คอฉะนั้น เพราะฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า ภวเนติต (ตัณหาอันนำสัตว์ไปสู่ภพ). บทว่า ผุฏฺโ กมฺม-

วิปาเกน ความว่า ผู้อื่นมรรคเจตนาถูกต้องแล้ว. ก็เพราะกรรมอันมรรค

เจตนาเผา คือ แผดเผาไหม้ให้ถึงความสิ้นไป ฉะนั้น มรรคเจตนานั้นท่าน

จึงเรียกว่า "กรรมวิบาก" ก็ท่านพระองคุลิมาลนี้ อันกรรมวิบากนั้นถูก

ค้องแล้ว. บทว่า อนโณ ได้แก่เป็นผู้ไม่มีกิเลส ย่อมไม่เป็นไปเพื่อทุกขเวทนา.

อนึ่ง ในคำว่า อนโณ ภุญฺชามิ (เราเป็นผู้ไม่เป็นหนี้บริโภค) นี้พึงทราบ

การบริโภค ๔ อย่าง คือ เถยยบริโภค ๑ อิณบริโภค ๑ ทายัชชบริโภค ๑

สามิบริโภค ๑. ในบรรดาบริโภค ๔ อย่างนั้น การบริโภคของผู้ทุศีล ชื่อว่า

เถยยบริโภค. ก็ผู้ทุศีลนั้นขโมยปัจจัย ๔ บริโภค. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้

ตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอบริโภคก้อนข้าวของชาวเมือง

ด้วยความเป็นขโมย ดังนี้ . ส่วนการไม่พิจารณาแล้วบริโภคของท่านผู้มีศีล

ชื่อว่า อิณบริโภค (เป็นหนี้บริโภค) การบริโภคของพระเสขะ ๗ จำพวก

ชื่อว่า ทายัชชบริโภค (บริโภคโดยเป็นทายาท). การบริโภคของพระขีณาสพ

ชื่อว่า สามิบริโภค (บริโภคโดยความเป็นเจ้าของ). บทว่า ไม่มีหนี้ ในที่นี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

ท่านกล่าวหมายเอาความไม่มีหนี้ คือ กิเลส. ปาฐะว่า อนิโณ ดังนี้ก็มี. บทว่า

ภุญฺชามิ โภชน (เราจะฉันโภชนะ) ท่านกล่าวหมายเอาสามิบริโภค. บทว่า

กามรติสนฺถว ความว่า ท่านทั้งหลายอย่าประกอบเนือง ๆ คือ อย่ากระทำ

ความเชยชมด้วยความยินดีเพราะตัณหา. ในกามทั้งสอง. บทว่า นยิท

ทุมฺมนฺติต มม ความว่า ความที่เราเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วคิดว่า

เราจักบวช อันใด ความคิดของเรานั้น.มิใช่เป็นความคิดชั่วแล้ว. บทว่า

สุวิภตฺเตสุ ธมฺเมสุ ความว่า ในธรรมทีเราเกิดขึ้นในโลกอย่างนี้ว่า เราเป็น

ศาสดาจำแนกดีแล้วเหล่ำนั้น พระนิพพานเป็นธรรมประเสริฐที่สุดอันใด เรา

เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว ซึ่งพระนิพพานนั้นนั่นเทียว เพราะฉะนั้น การ

มาถึงของเรานี้เป็นการมาดีแล้ว ไม่ปราศจากประโยชน์. บทว่า ติสฺโส วิชฺชา

ได้แก่ ปุพเพนิวาสญาณ ทิพพจักขุญาณและอาสวักขยปัญญา. บทว่า กต

พุทฺธสฺส สาสน ความว่า กิจที่ควรกระทำในศาสนาของพระพุทธเจ้าอันใด

ยังมีอยู่ กิจอันนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ากระทำแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยัง

เทศนาให้ถึงที่สุด ด้วยวิชชาสามและโลกุตตรธรรมเก้า ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาอังคุลิมาลสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

๗. ปิยชาติกสูตร

[๕๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล บุตรน้อยคน

เดียวของคฤหบดีผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่รักที่ชอบใจได้กระทำกาละลง. เพราะการทำ

กาละของบุตรนั้น คนเดียวนั้น การงานย่อมไม่แจ่มแจ้ง อาหารย่อมไม่ปรากฏ.

คฤหบดีนั้นได้ไปยังป่าช้าแล้ว ๆ เล่า ๆ คร่ำครวญถึงบุตรว่า บุตรน้อยคนเดียว

อยู่ไหน บุตรน้อยคนเดียวอยู่ไหน. ครั้งนั้นแล คฤหบดีนั้น ได้เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะคฤหบดีผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง แล้วว่า ดูก่อนคฤหบดี อินทรีย์ไม่เป็นของท่านผู้ตั้งอยู่ในจิตของตน

ท่านมีอินทรีย์เป็นอย่างอื่นไป. คฤหบดีนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ทำไมข้าพระองค์จะไม่มีอินทรีย์เป็นอย่างอื่นเล่า เพราะว่าบุตรน้อยคนเดียวของ

ข้าพระองค์ ซึ่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจได้ทำกาละเสียแล้ว เพราะการทำกาละ

ของบุตรน้อยคนเดียวนั้นการงานย่อมไม่แจ้งแจ้ง อาหารย่อมไม่ปรากฏ

ข้าพระองค์ไปยังป่าช้าแล้ว ๆ เล่า ๆ คร่ำครวญถึงบุตรนั้นว่า บุตรน้อยคนเดียว

อยู่ไหน.

พ. ดูก่อนคฤหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนคฤหบดี ข้อนี้เป็น

อย่างนั้น เพราะว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสย่อมเกิดแต่ของ

ที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

ค. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัสและ

อุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักนั้น จักเป็นอย่างนั้นได้

อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความจริง ความยินดีและความโสมนัส ย่อม

เกิดแต่ของที่รักเป็นมาแต่ของที่รัก.

ครั้งนั้นแล คฤหบดีนั้น ไม่ยินดี ไม่คัดค้านพระภาษิตของพระผู้มี

พระภาคเจ้า ลุกจากที่นั่งแล้วหลีกไป.

[๕๓๗] ก็สมัยนั้นแล นักเลงสะกาเป็นอันมาก เล่นสะกากันอยู่ในที่

ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้น คฤหบดีนั้น เข้าไปหานักเลงสะกาเหล่านั้น

แล้วได้กล่าวกะนักเลงสะกาเหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอ

โอกาส ข้าพเจ้าได้เข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ ได้ถวายบังคมพระ

สมณโคดมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระ-

สมณโคดมได้ตรัสกะข้าพเจ้าผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ดูก่อนคฤหบดี อินทรีย์ไม่

เป็นของท่านผู้ทั้งอยู่ในจิตของตน ท่านมีอินทรีย์เป็นอย่างอื่นไป ดูก่อนท่าน

ผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อพระสมณโคดมตรัสอย่างนี้แล้ว ข้าพเจ้าได้กราบทูล

พระสมณโคดมว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทำไมข้าพระองค์จะไม่มีอินทรีย์เป็น

อย่างอื่นเล่า เพราะว่าบุตรน้อยคนเดียวของข้าพระองค์ ซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่

ชอบใจ ได้ทำกาละเสียแล้ว เพราะการทำกาละของบุตรน้อยคนเดียวนั้น การ

งานย่อมไม่แจ่มแจ้ง อาหารย่อมไม่ปรากฏ ข้าพระองค์ไปยังป่าช้าแล้ว ๆ เล่าๆ

คร่ำครวญถึงบุตรว่า บุตรน้อยคนเดียวอยู่ไหน บุตรน้อยคนเดียวอยู่ไหน เมื่อ

ข้าพเจ้าทูลอย่างนี้แล้ว พระสมณโคดมได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ข้อนี้เป็น

อย่างนั้น ดูก่อนคฤหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เพราะว่าโสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัสและอุปายาสย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก เมื่อพระสมณ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

โคดมตรัสอย่างนี้แล้ว ข้าพเจ้าได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ว่า

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส ย่อมเกิดมาแต่ของที่รัก เป็นมา

แต่ของที่รักนั้น จักเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความจริง

ความยินดีและความโสมนัสย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก ดูก่อน

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ครั้งนั้นข้าพเจ้ามิได้ยินดี มิได้คัดค้านพระภาษิตของพระ

สมณโคดมลุกจากที่นั่งแล้วหลีกไป. นักเลงสะกาเหล่านั้นได้กล่าวว่า ดูก่อน

คฤหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนคฤหบดี ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เพราะว่าความ

ยินดีและความโสมนัสย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก. ครั้งนั้นแล

คฤหบดีนั้นคิดว่า ความเห็นของเราสมกันกับนักเลงสะกาทั้งหลาย ดังนี้ แล้ว

หลีกไป.

[๕๓๘] ครั้งนั้นแล เรื่องที่พูดกันนี้ ได้แพร่เข้าไปถึงในพระราชวัง

โดยลำดับ. ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสเรียกพระนางมัลลิกาเทวี

มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนมัลลิกา คำว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ

อุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักดังนี้ พระสมณโคดมของเธอ

ตรัสหรือ. พระนางมัลลิกาเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช ถ้าคำนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจริง คำนั้นก็เป็นอย่างนั้น เพคะ.

ป. ก็พระนางมัลลิกานี้ อนุโมทนาตามพระดำรัสที่สมณโคดมตรัสเท่า

นั้นว่า ข้าแต่พระมหาราช ถ้าคำนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจริง คำนั้นก็เป็น

อย่างนั้น เพคะ. ดูก่อนมัลลิกา เธออนุโมทนาตามพระดำรัสที่พระสมณโคดม

ตรัสเท่านั้นว่า ข้าแต่พระมหาราช ถ้าคำนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจริง คำนั้น

ก็เป็นอย่างนั้น เปรียบเหมือนศิษย์อนุโมทนาตามคำที่อาจารย์กล่าวว่า ข้อนี้

เป็นอย่างนั้น ท่านอาจารย์ ฉะนั้น ดูก่อนมัลลิกา เธอจงหลบหน้าไปเสีย

เธอจงพินาศ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

ตรัสเรียกนาฬิชังฆพราหมณ์

[๕๓๙] ครั้งนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวีตรัสเรียกพราหมณ์ชื่อนาฬิ-

ชังฆะมาตรัสว่า มานี่แน่ะท่านพราหมณ์ ขอท่านจงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้า

แล้วทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกะปรี้กะเปร่า

มีพระกำลัง ทรงพระสำราญตามคำของฉันว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนาง-

มัลลิกาเทวีขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า

ทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบ้าง ทรงกะปรี้กะเปร่า มี

พระกำลัง ทรงพระสำราญ และท่านจงทูลถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระวาจาว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของ

ที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจริงหรือ พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างไร ท่านพึงเรียนพระดำรัสนั้นให้ดี แล้ว

มาบอกแก่ฉัน อันพระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสไม่ผิดพลาด.

นาฬิชังฆพราหมณ์รับพระเสาวณีย์พระนางมัลลิกาแล้ว ได้เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่าน

การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดม พระนางมัลลิกาเทวี ขอถวายบังคม พระ-

ยุคลบาทของพระโคดมด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มี

พระโรคเบาบาง ทรงกะปรี้กะเปร่า มีพระกำลัง ทรงพระสำราญ และรับสั่ง

ทูลถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวาจานี้ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก ดังนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจริงหรือ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์

ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น เพราะว่า โสกะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของ

ที่รัก. ดูก่อนพราหมณ์ ชื่อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส

ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักอย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้.

เรื่องเคยมีแล้ว

[๕๔๐] ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล

มารดาของหญิงคนหนึ่งได้ทำกาละ. เพราะการทำกาละของมารดานั้น หญิง

คนนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เข้าไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก

แล้วได้ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายได้พบมารดาของฉันบ้างไหม ท่านทั้งหลาย

ได้พบมารดาของฉันบ้างไหม. ดูก่อนพราหมณ์ ข่อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักอย่างไร

ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้. ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนคร

สาวัตถีนี้แล บิดาของหญิงคนหนึ่งได้ทำกาละ.... พี่น้องชาย พี่น้องหญิง

บุตร ธิดา สามีของหญิงคนหนึ่งได้ทำกาละ. เพราะการทำกาละของบิดา

เป็นต้นนั้น หญิงคนนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เข้าไปตามถนนทุกถนน ตาม

ตรอกทุกตรอก แล้วได้ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายได้พบบิดาเป็นต้นของฉัน

บ้างไหม ท่านทั้งหลายได้พบบิดาเป็นต้นของฉันบ้างไหม. ดูก่อนพราหมณ์

ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก

เป็นมาแต่ของที่รัก อย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้แล.

[๕๔๑] ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล

มารดาของชายคนหนึ่งได้ทำกาละลง. เพราะการทำกาละของมารดานั้น ชายคน

นั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เข้าไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก แล้ว

ได้ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม ท่านทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

ได้พบมารดาของข้าพเจ้าบ้างไหม. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รักอย่างไร

ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้. ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนคร

สาวัตถีนี้แล บิดาของชายคนหนึ่งได้ทำกาละ... พี่น้องชาย พี่น้องหญิง บุตร

ธิดา ภรรยาของชายคนหนึ่งทำกาละ เพราะการทำกาละของบิดาเป็นต้น นั้น

ชายคนนั้นเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน เข้าไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก

แล้วได้ถามอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายได้พบบิดาเป็นต้น ของข้าพเจ้าบ้างไหม ท่าน

ทั้งหลายได้พบบิดาเป็นต้นของข้าพเจ้าบ้างไหม. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อว่า โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของ

ทีรัก อย่างไร ท่านพึงทราบโดยปริยายแม้นี้.

[๕๔๒] ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้แล

หญิงคนหนึ่งได้ไปยังสกุลของญาติ พวกญาติของหญิงนั้น ใคร่จะพรากสามีของ

หญิงนั้น แล้วยกหญิงนั้นให้แก่ชายอื่น แต่หญิงนั้นไม่ปรารถนาชายคนนั้น.

ครั้งนั้นแล หญิงนั้น ได้บอกกับสามีว่า ข้าแต่ลูกเจ้า พวกญาติของดิฉัน ใคร่จะ

พรากท่านเสีย แล้วยกดิฉันให้แก่ชายอื่น แต่ฉันไม่ปรารถนาชายคนนั้น. ครั้ง

นั้นแล บุรุษผู้เป็นสามีได้ตัดหญิงผู้เป็นภรรยานั้นออกเป็นสองท่อน แล้วจึง

ผ่าตนด้วยความรักว่า เราทั้งสองจักตายไปด้วยกัน. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อว่า

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมา

แต่ของที่รัก อย่างไร ท่านพึงโปรดทราบโดยปริยายแม้นี้.

[๕๔๓] ลำดับนั้นแล นาฬิชังฆพราหมณ์ชื่นชม อนุโมทนาพระภาษิต

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วลุกจากที่นั่ง ได้เข้าไปเฝ้าพระนางมัลลิกาเทวียังที่

ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลถึงการที่ไค้เจรจาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทั้งหมดแก่พระนางมัลลิกาเทวี. ลำดับนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวี ได้เข้าไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

เฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ แล้วได้ทูลถามพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า

ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อททรงเข้าพระทัยความข้อนั้น เป็นไฉน พระกุมารี

พระนามว่าวชิรี เป็นที่รักของทูลกระหม่อมหรือ. พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัส

ตอบว่า. อย่างนั้นมัลลิกา วชิรีกุมารีเป็นที่รักของฉัน.

ม. ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น

เป็นไฉน เพราะพระวชิรีกุมารีแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่ทูลกระหม่อมหรือหาไม่ เพคะ.

ป. ดูก่อนมัลลิกา เพราะวชิรีกุมารีแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป แม้

ชีวิตของฉันก็พึงเป็นอย่างอื่นไป ทำไม โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ

อุปายาสจักไม่เกิดแก่ฉันเล่า.

ม. ข้าแต่พระมหาราช ข้อนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรง

เห็นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงมุ่งหมายเอา ตรัสไว้ว่า โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่

รัก เพคะ.

[๕๔๔] ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อ

นั้นเป็นไฉน พระนางวาสภขัตติยาเป็นที่รักของทูลกระหม่อมหรือ เพคะ.

ป. อย่างนั้น มัลลิกา พระนางวาสภขัตติยาเป็นที่รักของฉัน.

ม. ข้าแต่พระมหาราช เพราะพระนางวาสภขัตติยาแปรปรวนเป็น

อย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมันส และอุปายาส พึงเกิดขึ้นแก่

ทูลกระหม่อมหรือหาไม่ เพคะ.

ป. ดูก่อนมัลลิกา เพราะวาสภขัตติยาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป แม้

ชีวิตของฉันก็พึงเป็นอย่างอื่นไป ทำไมโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ

อุปายาสจักไม่เกิดแก่ฉันเล่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

ม. ข้าแด่พระมหาราช ข้อนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ ทรง

เห็นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงมุ่งหมายเอา ตรัสไว้ว่า โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของ

ที่รัก เพคะ.

ปิยปัญหา

[๕๔๕] ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความ

ข้อนั้นเป็นไฉน ท่านวิฑูฑภเสนาบดีเป็นที่รักของทลกระหม่อมหรือ เพคะ.

ป. อย่างนั้น มัลลิกา วิฑูฑภเสนาบดีเป็นที่รักของฉัน.

ม. ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น

เป็นไฉน เพราะท่านวิฑูฑภเสนาบดีแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจะพึงเกิดแก่ทูลกระหม่อมหรือหาไม่ เพคะ.

ป. ดูก่อนมัลลิกา เพราะวิฑูฑภเสนาบดีแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป

แม้ชีวิตของฉันก็พึงเป็นอย่างอื่นไป ทำไมโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ

อุปายาสจักไม่เกิดแก่ฉันเล่า.

ม. ข้าแต่พระมหาราช ข้อนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรง

เห็นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงมุ่งหมายเอา ตรัสรู้ไว้ว่า โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของ

ที่รัก เพคะ.

[๕๔๖] ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความ

ข้อนั้นเป็นไฉน หม่อมฉัน เป็นที่รักของทูลกระหม่อมหรือ เพคะ.

ป. อย่างนั้น มัลลิกา เธอเป็นที่รักของฉัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

ม. ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น

เป็นไฉน เพราะหม่อมฉันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดแก่ทูลกระหม่อมหรือหาไม่ เพคะ.

ป. ดูก่อนมัลลิกา เพราะเธอแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป แม้ชีวิตของ

ฉันก็พึงเป็นอย่างอื่นไป ทำไมโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปยาส

จักไม่เกิดแก่ฉันเล่า.

ม. ข้าแต่พระมหาราช ข้อนี้แล ที่พระผู้มีพระคาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรง

เห็นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงมุ่งหมายเอา ตรัสไว้ว่า โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของ

ที่รัก เพคะ.

[๕๔๗] ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความ

ข้อนั้นเป็นไฉน แคว้นกาสีและแคว้นโกศล เป็นที่รักของทูลกระหม่อมหรือ

เพคะ.

ป. อย่างนั้น มัลลิกา แคว้นกาสีและแคว้นโกศลเป็นที่รักของฉัน

เพราะอานุภาพแห่งแคว้นกาสีและแคว้นโกศล เราจึงได้ใช้สอยแก่นจันทน์อัน

เกิดแต่แคว้นกาสี ได้ทัดทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้.

ม. ข้าแต่พระมหาราช ทูลกระหม่อมจะทรงเข้าพระทัยความข้อนั้น

เป็นไฉน เพราะแคว้นกาสีและแคว้นโกศลแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จะพึงเกิดแก่ทูลกระหม่อมหรือหาไม่

เพคะ.

ป. ดูก่อนมัลลิกา เพราะแคว้นกาสีและแคว้นโกศลแปรปรวนเป็น

อย่างอื่น แม้ชีวิตของฉันก็พึงเป็นอย่างอื่นไป ทำไมโสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปยายาส จักไม่เกิดแก่ฉันเล่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

ข้าแต่พระมหาราช ข้อนี้แล ที่พระผู้มีพระเจ้าผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็น

พระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงมุ่งหมาย ตรัสไว้ว่า โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดแต่ของที่รัก เป็นมาแต่ของที่รัก เพคะ.

พระเจ้าปเสนทิโกศลเปล่งอุทาน

[๕๔๘] ป. ดูก่อนมัลลิกา น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา เท่าที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น คงจะทรงเห็นชัด แทงตลอดด้วยพระปัญญา มานี่เถิด

มัลลิกา ช่วยล้างมือให้ทีเถิด.

ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกขึ้นจากอาสน์ ทรงพระภูษา

เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

อยู่แล้วทรงเปล่งพระอุทานว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ดังนี้ ๓ ครั้ง ฉะนี้แล.

จบปิยชาติกสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

อรรถกถาปิยชาติกสูตร

ปิยชาติกสูตรมีคำเริมต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในบทเหล่านั้น บทว่า เนว กมฺมนฺตา ปฏิภนฺติ ความว่า การงานย่อม

ไม่ปรากฏทั้งสิ้นโดยประการทั้งปวงคือ ย่อมไม่ปรากฏโดยการกำหนดตามปรกติ.

แม้ในบทที่สองก็นัยนี้นั่นเทียว. ก็บทว่า น ปฏิภนฺติ ในพระสูตรนี้ แปล

ว่า ไม่ถูกใจ. บทว่า อาหฬน แปลว่า ป่าช้า. บทว่า อญฺถตฺต ได้แก่

ความเป็นโดยประการอื่น เพราะมิวรรณะแปลกไป. ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ

ชื่อว่า อินทรีย์. แต่คำนี้ ท่านกล่าวหมายถึงโอกาสที่อินทรีย์ตั้งอยู่แล้ว. บทว่า

ปิยชาติกา ความว่า ย่อมเกิดจากความรัก. บทว่า ปิยปฺปภิติกา ความ

ว่า มีมาแต่ของที่รัก. บทว่า สเจ ต มหาราช ความว่า แม้กำหนดความ

หมายของพระดำรัสนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น ด้วยความศรัทธาในพระศาสดา.

บทว่า จร ปิเร ความว่า เธอจงหลบไปทางอื่นเสีย หมายความว่า เธออย่า

ยืนอยู่ที่นี้ก็ได้. อนึ่ง บทว่า จร ปิเร คือ เธอจงไปทางอื่น อธิบายว่า อย่ายืน

ในที่นี้บ้าง. บทว่า ทฺวิธา เฉตฺวา ความว่า ตัดกระทำให้เป็น ๒ ส่วน ด้วย

ดาบ. บทว่า อตฺตาน อุปฺปาเลสิ ความว่า เอาดาบนั่นแหละแหวะท้องของ

ตน. ก็ถ้าหญิงนั้นไม่เป็นที่รักของชายนั้น บัดนี้ ชายนั้น ไม่พึงฆ่าคนด้วยคิดว่า

เราจักหาหญิงอื่น. แต่เพราะหญิงนั้นเป็นที่รักของชายนั้น ฉะนั้น ชายนั้น.

ปรารถนาความพร้อมเพรียงกับหญิงนั้นแม้ในปรโลก จึงได้กระทำอย่างนั้น .

คำว่า พระกุมาร พระนามว่า วชิรีเป็นที่โปรดปรานของพระ-

องค์หรือ ความว่า ได้ยินว่า พระนางนั้นได้มีคำริอย่างนี้ พระนางกล่าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

อย่างนั้น เพราะคิดว่า ถ้าเราจะพึงกล่าวถ้อยคำเป็นต้นว่า ข้าแต่มหาราช เรื่อง

เคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถีนี้ ยังมีหญิงอื่นอีก พระองค์จะพึงปฏิเสธเรา

ว่า ใครได้กระทำอย่างนั้นแก่เจ้า จงถอยไป ข้อนั้นย่อมไม่มี เราจักยังหญิง

นั้นให้เข้าใจด้วยอาการที่เป็นไปอยู่นั่นเทียว.

ในบทว่า วิปริณามญฺถาภาวา นี้ บัณฑิตพึงทราบความเปลี่ยน

แปลงเพราะความตาย คือ ความเป็นโดยประการอื่น ด้วยการหนีไปกับ ใคร ๆ

ก็ได้.

บทว่า วาสภาย ความว่า พระเทวีของพระราชาองค์หนึ่ง พระนาม

ว่า วาสภา ท่านกล่าวหมายถึงพระนางนั้น.

บทว่า ปิย เต อห ท่านกล่าวในภายหลังทั้งหมด เพราะเหตุไร.

ได้ยินว่า ความดำริอย่างนี้ได้มีแล้วแก่พระนางนั้น จึงทูลถาม ในภายหลังทั้ง

หมดเพื่อให้เป็นที่ตั้งแห่งถ้อยคำว่า พระราชานี้ทรงกริ้วเรา ถ้าเราจะพึงถาม

ก็อันคนอื่นทั้งหมดว่า หม่อมฉันเป็นที่รักของพระองค์หรือ พระองค์ก็จะพึง

ตรัสว่า เจ้ามิได้เป็นที่รักของเรา จงหลีกไปทางอื่น เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้อยคำก็จัก

ไม่ได้ตั้งขึ้น. บัณฑิตพึงทราบความเปลี่ยนแปลงโดยความเป็นผู้ถูกทิ้งไว้ใน

แคว้นกาสีโกศล ความเป็นโดยประการอื่นโดยอยู่ในเงื้อมมือพระราชาผู้เป็น

ปฏิปักษ์ทั้งหลาย (ราชศัตรู).

บทว่า อาจเมหิ ความว่า เจ้าจงเอาน้ำบ้วนปากมา. พระเจ้าปัสเสนทิ -

โกศลทรงบ้วนแล้ว ทรงล้างพระหัตถ์และพระบาทแล้ว ทรงกลั้วพระโอษฐ์

แล้วประสงค์จะนมัสการพระศาสดา จึงตรัสอย่างนั้น. คำที่เหลือ ในที่ทุกแห่ง

ตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปิยชาติสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

๘. พาหิติยสูตร

[๕๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า

ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังพระนครสาวัตถีเพื่อ

บิณฑบาต ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ภายหลังภัต กลับจาก

บิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังบุพพารามปราสาทของมิคารมารดาเพื่อพักกลางวัน.

[๕๕๐] ก็สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นประทับคอช้างชื่อ

ว่าบุณฑรีก เสด็จออกจากพระนครสาวัตถีในเวลากลางวัน ได้ทอดพระเนตร

เห็นท่านพระอานนท์กำลังมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสถามมหาอำมาตย์ชื่อ

สิริวัฑฒะว่า ดูก่อนเพื่อนสิริวัฑฒะ นั่นท่านพระอานนท์หรือมิใช่. สิริวัฑฒ-

มหาอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช นั่นท่านพระอานนท์ พระพุทธเจ้าข้า.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสเรียกบุรุษผู้หนึ่งมาตรัสว่า ดูก่อนบุรุษผู้.

เจริญ ท่านจงไป จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วจงกราบเท้าทั้งสองของ

ท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเจ้า

ปเสนทิโกศลทรงกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยพระเศียร และจง

เรียนท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ถ้าท่านพระอานนท์

ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่

สักครู่หนึ่งเถิด บุรุษนั้นรับพระราชดำรัสของพระเจ้าปเสนทิโกศลแล้ว ได้

เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาที่ท่านพระอานนท์แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบเรียนท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

ผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยพระ

เศียร และรับสั่งมาว่า ได้ยินว่า ถ้าท่านพระอานนท์ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร ขอ

ท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์รออยู่สักครู่หนึ่งเถิด ดังนี้ . ท่านพระ-

อานนท์ได้รับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.

ทรงดำเนินไปหาพระอานนท์

[๕๕๑] ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จพระราชดำเนิน

ด้วยคชสาร ไปจนสุดทางที่ช้างจะไปได้ แล้วเสด็จลงจากคชสาร ทรงดำเนิน

เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ทรงอภิวาทแล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านพระอานนท์

ไม่มีกิจรีบด่วนอะไร ขอโอกาสเถิด ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอานนท์จงอาศัย

ความอนุเคราะห์เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำอจิรวดีเถิด. ท่านพระอานนท์รับอาราธนาด้วย

ดุษณีภาพ. ครั้งนั้นท่านพระอานนท์ได้เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำอจิรวดี แล้วนั่งบน

อาสนะที่เข้าจัดถวาย ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง. พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จพระราช

ดำเนินด้วยคชสารไปจนสุดทางที่ช้างจะไปได้ แล้วเสด็จลงทรงดำเนินเข้าไปหา

ท่านพระอานนท์ ทรงอภิวาทแล้วประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอโอกาสเถิด ขอนิมนต์ท่าน

พระอานนท์นั่งบนเครื่องลาดไม้เถิด. ท่านพระอานนท์ทูลว่าอย่าเลย มหาบพิตร

เชิญมหาบพิตรประทับนั่งเถิด อาตมภาพนั่งบนอาสนะของอาตมภาพแล้ว.

พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงประทับนั่งบนพระราชอาสน์ที่เขาแต่งตั้งไว้.

[๕๕๒] ครั้นแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า

ข้าแต่ท่านอานนท์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พึงทรงประพฤติกาย

สมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนบ้างหรือหนอ. ท่านพระอานนท์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

ถวายพระพรว่า ดูก่อนมหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ไม่พึงทรง

พระพฤติกายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเลย ขอถวาย

พระพร.

ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พึงทรง

พระพฤติวจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ผู้รู้แจ้งทั้งหลายพึงติเตียน

บ้างหรือหนอ.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ไม่พึงทรง

ประพฤติมโนสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเลย ขอถวาย

พระพร.

ปัญหากายสมาจารเป็นต้น

[๕๕๓] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่

เคยมีมาแล้ว ก็เราทั้งหลายไม่สามารถจะยังข้อความที่ท่านพระอานนท์ให้บริ-

บูรณ์ด้วยการแก้ปัญหา ให้บริบูรณ์ด้วยปัญหาได้ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่า

ใดเป็นพาล ไม่ฉลาด ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาแล้ว ก็ยังกล่าวคุณหรือโทษ

ของชนเหล่าอื่นได้ เราทั้งหลายไม่ยึดถือการกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่านั้น

โดยความเป็นแก่นสาร ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ส่วนชนเหล่าใดเป็นบัณฑิต เป็น

ผู้ฉลาดเฉียบแหลม มีปัญญา ใคร่ครวญ พิจารณาแล้ว กล่าวคุณหรือโทษ

ของชนเหล่าอื่นเราทั้งหลายย่อมยึดถือการกล่าวคุณหรือโทษของชนเหล่านั้น

โดยความเป็นแก่นสาร ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่สมณ-

พราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่เป็นอกุศล ที่สมณพราหมณ์

ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียน ขอถวายพระพร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่เป็นอกุศลเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร การสมาจารที่มีโทษแล เป็นอกุศล ขอถวาย

พระพร.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่มีโทษเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่มีความเบียดเบียนแล เป็นกาย

สมาจารที่มีโทษ ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่มีความเบียดเบียนเป็นไฉน

อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบากแล เป็นกาย

สมาจารที่มีความเบียดเบียน ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบากเป็นไฉน

อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารใดแล ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียน

ตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสอง

ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งแก่บุคคลผู้มีกายสมาจารนั้น กุศล

ธรรมทั้งหลายย่อมเสื่อม ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารเห็นปานนี้แล สมณ

พราหมณ์ ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียน ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ก็วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจารที่สมณ-

พราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียนเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่เป็นอกุศลแล ที่สมณพราหมณ์

ทั้งหลายผู้รู้แจ้งพึงติเตียน ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่เป็นอกุศลเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่มีโทษแล เป็นอกุศล ขอถวาย

พระพร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่มีโทษเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่มีความเบียดเบียนแลเป็นมโน-

สมาจารที่มีโทษ ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่มีความเบียดเบียนเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบากแล เป็นมโน

สมาจารที่มีความเบียดเบียน ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่มีทุกข์เป็นวิบากเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารใดแล ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียน

ตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสอง

ฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเจริญยิ่งแก่บุคคลผู้มีมโนสมาจารนั้น กุศล

ธรรมย่อมเสื่อม ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารเห็นปานนี้แล สมณพราหมณ์

ทั้งหลาย ผู้รู้แจ้งพึงติเตียน ขอถวายพระพร.

[๕๕๔] ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้นทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมทั้งปวงทีเดียวหรือหนอ.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร พระตถาคตทรงละอกุศลธรรมได้ทั้งปวง ทรง

ประกอบด้วยกุศลธรรม ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่สมณพราหมณ์ทั้ง

หลายผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียนเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่เป็นกุศลแล สมณพราหมณ์ทั้ง

หลายผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่เป็นกุศลเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่ไม่มีโทษแล เป็นกุศล ขอถวาย

พระพร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่ไม่มีโทษเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียนแล เป็น

กายสมาจารที่ไม่มีโทษ ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียนเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่มีสุขเป็นวิบาก เป็นกาย

สมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็กายสมาจารที่มีสุขเป็นวิบากเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารใดแล ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียด

เบียนตนเองบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น

ทั้งสองฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายของบุคคลผู้มีกายสมาจารนั้นย่อมเสื่อมไป

กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารเห็นปานนี้แล

สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งไม่พึ่งติเตียน ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็วจีสมาจาร ฯลฯ มโนสมาจาร

ที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียน เป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารเป็นกุศลแล สมณพราหมณ์ทั้ง

หลายผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียน ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่เป็นกุศลเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่ไม่มีโทษแล เป็นมโนสมาจาร

เป็นกุศล ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่ไม่มีโทษเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียนแล เป็น

มโนสมาจารทีไม่มีโทษ ขอถวายพระพร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียนเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารที่มีสุขเป็นวิบากแล เป็นมโน

สมาจารที่ไม่มีความเบียดเบียน ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็มโนสมาจารที่มีสุขเป็นวิบากเป็นไฉน.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร มโนสมาจารใดแล ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียด

เบียนตนเองบ้าง ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ไม่เป็นไปเพื่อเบียด

เบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง อกุศลธรรมทั้งหลายของบุคคลผู้มีมโน

สมาจารนั้นย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมทั้งหลายย่อมเจริญ ดูก่อนมหาบพิตร

มโนสมาจารเห็นปานนี้แล สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้รู้แจ้งไม่พึงติเตียน ขอ

ถวายพระพร.

[๕๕๕] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ทรงสรรเสริญการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งปวงทีเดียวหรือหนอ.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร พระตถาคตทรงละอกุศลธรรมได้ทั้งปวง

ทรงประกอบด้วยกุศลธรรม ขอถวายพระพร.

ทรงชื่นชมยินดีภาษิต

[๕๕๖] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ไม่เคยมีมาแล้ว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระอานนท์กล่าวภาษิตนี้ดีเพียงใด เรา

ทั้งหลายมีใจชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง ด้วยภาษิตของท่านพระอานนท์นี้ ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายยินดีเป็นอย่างยิ่งด้วยภาษิตของท่านพระอานนท์อย่างนี้

ถ้าว่าช้างแก้วพึงควรแก่ท่านพระอานนท์ไซร้ แม้ช้างแก้ว เราทั้งหลายก็พึง

ถวายแก่ท่านพระอานนท์ ถ้าม้าแก้วพึงควรแก่ท่านพระอานนท์ไซร้ แม้ม้าแก้ว

เราทั้งหลายก็พึงถวายแก่ท่านพระอานนท์ ถ้าว่าบ้านส่วยพึงควรแก่ท่านพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

อานนท์ไซร้ แม้บ้านส่วย เราทั้งหลายก็พึงถวายแก่ท่านพระอานนท์ ก็แต่ว่า

เราทั้งหลายรู้อยู่ว่า นั่นไม่สมควรแก่ท่านพระอานนท์ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ผ้าพาหิติกาผืนนี้ โดยยาว ๑๖ ศอกถ้วน โดยกว้าง ๘ ศอกถ้วน พระเจ้าแผ่นดิน

มคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร ทรงใส่ในคันฉัตรส่งมาประทานแก่ข้าพเจ้า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอานนท์โปรดอนุเคราะห์รับผ้าพาหิติกานั้นเถิด.

อา. ดูก่อนมหาบพิตร อย่าเลย ไตรจีวรของอาตมภาพบริบูรณ์แล้ว

ขอถวายพระพร.

[๕๕๗] ป. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม่น้ำอจิรวดีนี้ ท่านพระอานนท์

และเราทั้งหลายเห็นแล้ว เปรียบเหมือนมหาเมฆยังฝนให้ตกเบื้องบนภูเขา .

ภายหลังแม่น้ำอจิรวดีนี้ ย่อมไหลล้นฝั่งทั้งสองฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน จักทำไตรจีวรของตน ด้วยผ้าพาหิติกานี้ และจักแจกไตรจีวร

อันเก่ากับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ทักษิณาของเราทั้งหลายนี้

คงจักแพร่หลายไปดังแม่น้ำล้นฝั่งฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านพระอานนท์

โปรดรับผ้าพาหิติกาเถิด.

ท่านพระอานนท์รับผ้าพาหิติกา. ลำดับแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้

ตรัสอำลาท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ เราทั้งหลายขอ

ลาไปบัดนี้ เราทั้งหลายมีกิจมาก มีกรณียะมาก. ท่านพระอานนท์ถวายพระพร

ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ขอมหาบพิตรทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด. ลำดับนั้น

พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงชื่นชมภาษิตของท่านพระอานนท์แล้ว เสด็จลุกขึ้นจาก

ที่ประทับทรงถวายอภิวาทท่านพระอานนท์ ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จ

กลับไป.

[๕๕๘] ลำดับนั้นแล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จกลับไปไม่นาน

ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

ผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถึงการ

เจรจาปราศรัยกับพระเจ้าปเสนทิโกศลทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และได้

ทูลถวายผ้าพาหิติกานั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดี

แล้วหนอ ที่ท้าวเธอได้เห็นอานนท์ และได้ประทับนั่งใกล้อานนท์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากัน

ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบพาหิติสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

อรรถกถาพาหิติยสูตร

พาหิติยสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในพระสูตรนั้น บทว่า เอกปุณฺฑริกนาค ได้แก่ ช้างที่มีชื่อ

อย่างนี้. ได้ยินว่า เหนือซี่โครงของพญาช้าง นั้นมีที่ขาวอยู่ประมาณเท่าผล

ตาล เพราะฉะนั้น เขาจึงตั้งชื่อพระยาช้างนั้นว่า เอกปุณฑริกะ. บทว่า

สิริวฑฺฒ มหามตฺต ได้แก่ มหาอำมาตย์มีชื่ออย่างนั้น ซึ่งขึ้นช้างอีก

เชือกหนึ่งต่างหากไปด้วย เพื่อจะสนทนาตามความผาสุก. บทว่า โน

ในคำว่า อายสฺมา โน นี้ เป็นนิบาตใช้ในการถาม. มหาอำมาตย์กำหนด

อาการที่พระเถระทรงสังฆาฏิและบาตรได้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช.

บทว่า โอปารมฺโภ ความว่า ควรติเตียน คือ ควรแก่อันยกโทษ.

พระราชาตรัสถามว่า เราจะถามอย่างไร. พระราชาตรัสถามว่า พระสูตรนี้

เกิดขึ้นในเรื่องที่งาม เราจะถามเรื่องนั้น. บทว่า ย หิ มย ภนฺเต

ความว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายไม่อาจถือเอาบทว่า "อันสมณพราหมณ์

ผู้รู้แจ้ง" นี้ใดให้บริบูรณ์ด้วยปัญหาได้ เหตุอันนั้น ท่านพระอานนท์ผู้กล่าว

อยู่อย่างนี้ให้บริบูรณ์แล้ว . บทว่า อกุสโล ได้แก่ อันเกิดแต่ความไม่ฉลาด.

บทว่า สาวชฺโช ความว่า เป็นไปกับด้วยโทษ. บทว่า สพฺยาปชฺโฌ

ความว่า เป็นไปกับด้วยทุกข์. ในบทว่า ทุกฺขวิปาโก นี้ ท่านกล่าวถึง

วิบากที่ไหลออก. บทว่า ตสฺส ความว่า แก่กายสมาจารที่เป็นไปแล้วเพื่อ

ประโยชน์แก่ความเบียดเบียนตนเองเป็นต้น ดังที่กล่าวแล้วนั้น. ในคำว่า

ดูก่อนมหาบพิตร พระตถาคตละอกุศลธรรมได้ทั้งหมดแล ประกอบด้วย

กุศลธรรม นี้ คือ ทรงสรรเสริญการละอกุศลธรรมสิ้นทุกอย่างนั้นเองแล

๑. ฉ. พาหิติกสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

เมื่อท่านกล่าวว่า "ขอถวายพระพรย่อมสรรเสริญ" คำถามย่อมมีด้วยประการใด

เป็นอันกล่าวอรรถด้วยประการนั้น อนึ่ง พยากรณ์อย่างนี้ ไม่พึงเป็นภาระ

เพราะแม้ผู้ที่ยังละอกุศลไม่ได้ ก็พึงสรรเสริญการละ อนึ่ง เพื่อแสดงว่า

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำอย่างไร ก็มีปรกติกล่าวอย่างนั้น เพราะทรงละ

อกุศลได้แล้ว จึงพยากรณ์อย่างนั้น. แม้ในฝ่ายขาวก็มีนัยนี้เหมือนกัน . บทว่า

พาหิติยานี้ เป็นชื่อของผ้าที่เกิดขึ้นในพาหิติรัฐ. คำว่า โดยยาว ๑๖ ศอก

ความว่า โดยยาวมีประมาณ ๑๖ ศอกถ้วน. คำว่า โดยกว้าง ๘ ศอก

ความว่า โดยกว้าง ๘ ศอกถ้วน. คำว่า ได้ทูลถวาย (ผ้าพาหิติกา)

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า ได้มอบถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ก็แลครั้นถวายแล้วได้ผูกทำเป็นเพดานในพระคันธกุฎี. ตั้งแต่นั้น พระคันธกุฎี

ก็งดงามโดยยิ่งกว่าประมาณ. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง ตื้นทั้งนั้นแหละ. อนึ่ง

เทศนาน จบแล้วด้วยสามารถแห่งไนยบุคคลแล.

จบอรรถกถาพาหิติยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

๙. ธรรมเจติยสูตร

[๕๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของพวกเจ้าศากยะ

อันมีชื่อว่าเมทฬุปะ ในแคว้นสักกะ. ก็สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จ

ไปถึงนครกนิคมด้วยพระราชกรณียะบางอย่าง. ครั้งนั้นท้าวเธอรับสั่งกะทีฆ

การายนะเสนาบดีว่า ดูก่อนการายนะผู้สหาย ท่านจงเทียมยานที่ดี ๆ ไว้ เรา

จะไปดูภูมิภาคอันดีในพื้นที่อุทยาน. ทีฆการายนะเสนาบดีรับสนองพระราช

ดำรัสแล้ว ให้เทียมราชยานที่ดี ๆ ไว้ แล้วกราบทูลแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า

ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าเทียมพระราชยานที่ดี ๆ ไว้ เพื่อใต้ฝ่าละอองธุลี

พระบาทพร้อมแล้ว ขอใต้ฝ่าพระบาททรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด

ขอเดชะ.

[๕๖๐] ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นทรงยานพระที่นั่ง

อย่างดีเสด็จออกจากนครกนิคม โดยกระบวนพระราชยานอย่างดี ๆ ด้วยพระ-

ราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ เสด็จไปยังสวนอันรื่นรมย์ เสด็จพระราชดำเนินด้วย

ยานพระที่นั่งจนสุดภูมิประเทศที่ยานพระที่นั่งจะไปได้ จึงเสด็จลงทรงพระ-

ดำเนินเข้าไปยังสวน เสด็จพระราชดำเนินเที่ยวไป ๆ มา ๆ เป็นการพักผ่อน

ได้ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้ล้วนน่าดู. ชวนให้เกิดความผ่องใส เงียบสงัด

ปราศจากเสียงอื้ออึง ปราศจากคนสัญจรไปมา ควรแก่การงานอันจะพึงทำใน

ที่ลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด ครั้นแล้วทรงเกิด

พระปีติปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าต้นไม้เหล่านี้นั้นล้วนน่าดู ชวนให้เกิด

ความผ่องใส เงียบสงัด ปราศจากเสียงอื้ออึง ปราศจากคนสัญจรไปมา ควร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

แก่การงานอันจะพึงทำในที่ลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความ

สงัด เหมือนดังว่าเป็นที่ ๆ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสสั่งกะทีฆการายนะเสนาบดีว่า ดูก่อนทีฆ-

การายนะผู้สหาย ต้นไม้เหล่านี้นั้นล้วนน่าดู ชวนให้เกิดความผ่องใส สมควร

เป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด เหมือนดังว่าเป็นที่ ๆ เราเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนทีฆการายนะผู้สหาย เดี๋ยวนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ.

ทีฆการายนะเสนาบดีกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช มีนิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อ

ว่าเมทฬุปะ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ประทับอยู่ ณ นิคมนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ป. ดูก่อนการายนะผู้สหาย ก็นิคมของพวกเจ้าศากยะชื่อว่าเมทฬุปะ

มีอยู่จากนิคมนครกะไกลเพียงไร.

ที. ข้าแต่มหาราช ไม่ไกลนัก ระยะทาง ๓ โยชน์ อาจเสด็จถึงได้

โดยไม่ถึงวัน ขอเดชะ.

ป. ดูก่อนการายนะผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเทียมยานที่ดี ๆ ไว้

เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ทีฆการายนะเสนาบดีทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วสั่งให้เทียมยานที่ดี ๆ

ไว้ แล้วกราบทูลแด่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้าเทียมยาน

ที่ดี ๆ ไว้พร้อมแล้ว พระเจ้าข้า ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้โปรดทรงทราบ

กาลอันควรในบัดนี้เถิด.

เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

[๕๖๑] ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จขึ้นทรงยานพระที่นั่ง

อย่างดี เสด็จจากนครกนิคมโดยกระบวนพระราชยานอย่างดี เสด็จไปยังนิคม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

ของพวกเจ้าศากยะชื่อว่าเมทฬุปะ เสด็จถึงนิคมนั้นโดยไม่ถึงวัน เสด็จเข้าไปยัง

สวน เสด็จพระราชดำเนินด้วยยานพระที่นั่งไปจนสุดภูมิประเทศที่ยานพระที่นั่ง

จะไปได้ เสด็จลงจากยานพระที่นั่งแล้วทรงดำเนินเข้าไปยังสวน. ก็สมัยนั้นแล

ภิกษุเป็นอันมากเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง. ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จ

เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ

เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ ที่ไหน ข้าพเจ้า

ประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. ภิกษุเหล่านั้นถวาย

พระพรว่า ดูก่อนมหาบพิตร นั่นพระวิหาร พระทวารปิดเสียแล้ว เชิญ

มหาบพิตรเงียบเสียงค่อย ๆ เสด็จเข้าไป ถึงระเบียงแล้ว ทรงกระแอมเคาะ

พระทวารเข้าเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงเปิดพระทวารรับมหาบพิตร

ขอถวายพระพร. ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมอบพระแสงขรรค์และ

พระอุณหิศเเก่ทีฆการายนะเสนาบดีในที่นั้น . ครั้งนั้น ทีฆการายนะเสนาบดีมี

ความดำริว่า บัดนี้ พระมหาราชจักทรงปรึกษาความลับ เราควรจะยืนอยู่ใน

ที่นี้แหละ. ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเงียบเสียง เสด็จเข้าไปทาง

พระวิหารซึ่งปิดพระทวาร ทรงค่อย ๆ เสด็จเข้าไปถึงพระระเบียง ทรงกระ-

แอมแล้วทรงเคาะพระทวาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าเปิดพระทวาร. ลำดับนั้น

พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ทรงซบพระเศียรลงแทบพระ-

ยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจูบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยพระโอษฐ์ ทรงนวดพระยุคลบาทด้วยพระหัตถ์ และทรงประกาศพระนาม

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ หม่อมฉันคือพระเจ้าปเสนทิโกศล. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรทรงเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงทรงกระทำการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

เคารพนอบน้อมเป็นอย่างยิ่งเห็นปานนี้ในสรีระนี้ และทรงแสดงอาการฉันท-

มิตร.

ความเลื่อมใสในธรรม

[๕๖๒] พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

หม่อมฉันมีความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระ-

วโรกาส หม่อมฉันเห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์กำหนดที่

สุดสิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง. สมัยต่อมา สมณพราหมณ์

เหล่านั้น อาบน้ำดำเกล้า ลูบไล้อย่างดี แต่งผมและหนวด บำเรอคนให้

เอิบเอิ่มพรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่หม่อมฉัน

ได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ พระพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ มี

ชีวิตเป็นที่สุดจนตลอดชีวิต. อนึ่ง หม่อมฉันมิได้เห็นพรหมจรรย์อื่นอันบริสุทธิ์

บริบูรณ์อย่างนี้ นอกจากธรรนวินัยนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็น

ความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อมฉันว่า พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์

สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว.

[๕๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระราชาก็ยังวิวาท

กับพระราชา แม้กษัตริย์ก็ยังวิวาทกับกษัตริย์ แม้พราหมณ์ก็ยังวิวาทกับ

พราหมณ์ แม้คฤหบดีก็วิวาทกับคฤหบดี แม้มารดาก็ยังวิวาทกับบุตร แม้บุตร

ก็ยังวิวาทกับมารดา แม้บิดาก็ยังวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ยังวิวาทกับบิดา แม้

พี่น้องชายก็ยังวิวาทกับพี่น้องหญิง แม้พี่น้องหญิงก็ยังวิวาทกับพี่น้องชาย แม้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

สหายก็ยังวิวาทกับสหายะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่หม่อมฉันได้เห็นภิกษุ

ทั้งหลายในธรรมวินัยนี้สมัครสมานกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เข้ากันได้สนิท

เหมือนน้ำกับน้ำนม มองดูกันและกันด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่. ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่เคยเห็นบริษัทอื่นที่สมัครสมานกันอย่างนี้ นอก

จากธรรมวินัยนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรม

ในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อนฉัน....

[๕๖๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเดินเที่ยว

ไปตามอารามทุกอาราม ตามอุทยานทุกอุทยานอยู่เนือง. ๆ ในที่นั้น ๆ หม่อม

ฉันได้เห็นสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ผ่องใส

ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ดูเหมือนว่าจะไม่ตั้งใจแลดูคน.

หม่อมฉันนั้นได้เกิดความคิดว่า ท่านเหล่านี้คงไม่ยินดีพระพฤติพรหมจรรย์เป็น

แน่ หรือว่าท่านเหล่านั้นมีบาปกรรมอะไรที่ทำแล้วปกปิดไว้ ท่านเหล่านั้นจึง

ซูบผอม เศร้าหมองมีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วย

เส้นเอ็น ดูเหมือนว่าไม่ตั้งใจแลดูคน. หม่อมฉันเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่า

นั้นแล้วถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เหตุไรหนอท่านทั้งหลายจึงซูบผอม

เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น

ดูเหมือนว่าไม่ตั้งใจแลดูคน. สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้ตอบอย่างนี้ว่า ดูก่อน

มหาบพิตร อาตมภาพทั้งหลายเป็นโรคพันธุกรรม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่

หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ร่าเริงยิ่งนัก มีใจชื่นบา น มีรูป

อันน่ายินดี มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีความขวนขวายน้อย มีขนอันดก เลี้ยงชีพ

ด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดังมฤคอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้มี

ความคิดว่า ท่านเหล่านี้ คงรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม ในพระศาสนาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแน่ ท่านเหล่านั้นจึงร่าเริงยิ่งนัก มีใจชื่นบาน มีรูปอัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

น่ายินดี มีอินทรีย์เอิบอิ่ม มีความขวนขวายน้อย มีขนอันดก เลี้ยงชีพด้วย

ของที่ผู้อื่นให้ มีใจดังมฤคอยู่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความ

เลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อมฉัน...

[๕๖๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันเป็นขัตติยราช

ได้มูรธาภิเษกแล้ว ย่อมสามารถจะให้ฆ่าคนที่ควรฆ่าได้ จะให้ริบคนที่ควรริบ

ก็ได้ จะให้เนรเทศคนที่ควรเนรเทศก็ได้. เมื่อหม่อมฉันนั่งอยู่ในที่วินิจฉัยความ

ก็ยังมีคนทั้งหลายพูดสอดขึ้นในระหว่าง ๆ หม่อมฉันจะห้ามว่า ดูก่อนท่าน

ผู้เจริญทั้งหลาย เมื่อเรานั่งอยู่ในที่วินิจฉัยความ ท่านทั้งหลายอย่าพูดสอดขึ้น

ในระหว่าง จงรอคอยให้สุดถ้อยคำของเราเสียก่อน ดังนี้ ก็ไม่ได้ คนทั้งหลาย

ก็ยังพูดสอดขึ้นในระหว่างถ้อยคำของหม่อมฉัน. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่

หม่อมฉันได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ในสมัยใด พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกทั้งหลายของพระผู้มี

พระภาคเจ้าไม่มีเสียงจามหรือเสียงไอเลย. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมี

มาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น

สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้ารูปหนึ่งได้ไอขึ้น. เพื่อนพรหมจรรย์รูปหนึ่ง ได้

เอาเข่ากระตุ้นเธอรูปนั้น ด้วยความประสงค์จะให้เธอรู้สึกตัวว่า ท่านจงเงียบ

เสียง อย่าได้ทำเสียงดังไป พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย

กำลังทรงแสดงธรรมอยู่. หม่อมฉันเกิดความคิดขึ้นว่า น่าอัศจรรย์หนอ

ไม่เคยมีมา ได้ยินว่า บริษัทจักเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกดีแล้วอย่างนี้

โดยไม่ต้องใช้อาชญา โดยไม่ต้องใช้ศาสตรา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน

ไม่เคยได้เห็นบริษัทอื่นที่ฝึกได้ดีอย่างนี้ นอกจากธรรมวินัยนี้. แม้ข้อนี้ ก็เป็น

ความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อมฉัน...

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

[๕๖๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็น

กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาด อาจย่ำยีถ้อยคำอันเป็นข้าศึก

ได้มีปัญญาสามารถยิงขนทรายได้. กษัตริย์เหล่านั้น เหมือนดังเที่ยวทำลายทิฐิ

ของผู้อื่นด้วยปัญญา. พอได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมจักเสด็จถึงบ้านหรือนิคม

ชื่อโน้น กษัตริย์เหล่านั้นก็พากันแต่งปัญหาด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักพากัน

เข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ ถ้าพระสมณโคดมอันพวกเราถาม

อย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระสมณ-

โคดม ถ้าแม้พระสมณโคดมอันเราทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่าง

นี้ไซร้ พวกเราก็จักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระสมณโคดม. กษัตริย์เหล่านั้น

ได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมเสด็จถึงบ้านหรือนิคมโน้นแล้ว ก็พากันไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้กษัตริย์

เหล่านั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา. กษัตริย์

เหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ไม่ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ไหน

จักยกวาทะแก่พระองค์เล่า ที่แท้ก็พากันยอมตนเข้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มี

พระภาคเจ้าของหม่อมฉัน...

[๕๖๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันได้เห็น

พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต ฯลฯ คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิต... สมณะผู้เป็นบัณฑิต

บางพวกในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาด อาจย่ำยีถ้อยคำอันเป็นข้าศึกได้ มีปัญญา

สามารถยิงขนทรายได้. สมณะเหล่านั้นเหมือนดังเที่ยวทำลายทิฐิของผู้อื่นด้วย

ปัญญา. พอได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดมจักเสด็จถึงบ้านหรือนิคมโน้น สมณะ

เหล่านั้นก็พากันแต่งปัญหาด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักพากันเข้าไปหาพระสมณ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

โคดมแล้วถามปัญหานี้ ถ้าพระสมณโคดมอันพวกเราถามอย่างนี้แล้ว จัก

พยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้ แก่พระสมณโคดม ถ้าแม้

พระสมณโคดมอันเราทั้งหลายถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเรา

ก็จักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระสมณโคดม. สมณะเหล่านั้นได้ยินข่าวว่า พระ-

สมณโคดมเสด็จถึงบ้านหรือนิคมโน้นแล้ว ก็พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ . พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้สมณะเหล่านั้นเห็นแจ้ง ให้

สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา. สมณะเหล่านั้น อันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วย

ธรรมีกถาแล้ว ไม่ทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ไหนจักยกวาทะแก่

พระองค์เล่า ที่แท้ย่อมขอโอกาสกะพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อขอออกบวชเป็น

บรรพชิต. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงให้เขาเหล่านั้นบวช. ครั้นเขาเหล่านั้นได้

บวชอย่างนี้แล้ว เป็นผู้หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไป

แล้ว อยู่ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตร

ทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน

ปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ท่านเหล่านั้นพากันกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย เราทั้งหลายย่อมไม่พินาศละซิหนอ ด้วยว่าเมื่อก่อนเราทั้งหลายไม่ได้

เป็นสมณะเลย ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ได้เป็นพราหมณ์เลย ก็ปฏิญาณว่า

เป็นพราหมณ์ ไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย ก็ปฏิญาณว่าเป็นพระอรหันต์ บัดนี้

พวกเราเป็นสมณะ เป็นพราหมณ์ เป็นพระอรหันต์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อมฉัน . . .

[๕๖๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง ช่างไม้สองคน

คนหนึ่งชื่ออิสิทันตะ คนหนึ่งชื่อปุราณะ หม่อนฉันชุบเลี้ยงไว้ ใช้ยวดยาน

ของหม่อมฉัน หม่อมฉันให้เครื่องเลี้ยงชีพแก่เขา นำยศมาให้เขา แต่ถึงกระนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

เขาจะได้ทำความเคารพนบนอบในหม่อมฉัน เหมือนในพระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็หาไม่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว หม่อมฉันยกกองทัพออกไป

เมื่อจะทดลองช่างไม้ชื่ออิสิทันตะและช่างไม้ปุราณะนี้ดู จึงเข้าพักอยู่ในที่พัก

อันคับแคบแห่งหนึ่ง. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ครั้งนั้นแล นายช่างอิสิทันตะและ

นายช่างปุราณะเหล่านี้ ยังกาลให้ล่วงไปด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก

ได้ฟังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ทิศใด เขาก็ผินศีรษะไปทางทิศนั้น

นอนเหยียดเท้ามาทางหม่อมฉัน. หม่อมฉันมีความคิดว่าท่านผู้เจริญทั้งหลาย

น่าอัศจรรย์นักหนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ นายช่างอิสิทันตะและนายช่างปุราณะ

เหล่านี้ เราชุบเลี้ยงไว้ ใช้ยวดยานก็ของเรา เราให้เครื่องเลี้ยงชีพแก่เขา

นำยศมาให้เขา แต่ถึงกระนั้น เขาจะได้ทำความเคารพนบนอบในเรา เหมือน

ในพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หาไม่. ท่านเหล่านี้คงจะรู้คุณวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม

ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นแน่. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

แม้ข้อนี้ ก็เป็นความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของหม่อมฉัน....

[๕๖๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง แม้พระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็เป็นกษัตริย์ แม้หม่อมฉันก็เป็นกษัตริย์ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็เป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี

พระชนมายุ ๘๐ ปี แม้หม่อมฉันก็มีอายุ ๘๐ ปี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ด้วยเหตุนี้แล หม่อมฉันจึงได้ทำความเคารพนบนอบเป็นอย่างยิ่งในพระผู้มี

พระภาคเจ้า และแสดงอาการเป็นฉันท์มิตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น

หม่อมฉันขอทูลลาไป ณ บัดนี้ หม่อมฉันมีกิจมาก มีกรณียะมาก. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจงทรงทราบกาลอันควรใน

บัดนี้เถิด. ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงถวาย

อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

ตรัสธรรมเจดีย์

[๕๗๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปแล้วไม่นาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระ-

เจ้าปเสนทิโกศลพระองค์นี้ ตรัสธรรมเจดีย์ คือพระวาจาเคารพธรรม ทรง

ลุกจากที่ประทับนั่งแล้วเสด็จหลีกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเรียน

ธรรมเจดีย์นี้ไว้ จงทรงจำธรรมเจดีย์นี้ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเจดีย์

ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นอาทิพรหมจรรย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากัน

ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบธรรมเจติยสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

อรรถกถาธรรมเจติยสูตร

ธรรมเจติยสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในพระสูตรนั้น คำว่า เมทลุป เป็นชื่อของนิคมนั้น. ก็ได้ยินว่า

นิคมนั้น มีแผ่นหินมีสีดุจมันข้น(๑) เกิดขึ้นหนาแน่นในที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น

จึงถึงการนับว่า เมทลุปะ. อนึ่ง เสนาสนะ ในนิคมนั้น ก็ไม่แน่นอน ฉะนั้น

จึงมิได้กล่าวไว้. บทว่า นครก ได้แก่นิคมหนึ่งของเจ้าศากยะมีชื่ออย่างนั้น.

คำว่า ด้วยพระราชกรณียะบางอย่าง คือ มิใช่ด้วยกรณียะอย่างอื่น แต่

พระเจ้าปเสนทิโกศลนี้ ตรัสสั่งว่าพวกเจ้าจงจับพันธุละเสนาบดี พร้อมด้วย

บุตร ๓๒ คน ให้ได้โดยวันเดียว. ก็ในวันนั้น นางมัลลิกาภริยาของ

พันธุละเสนาบดีนั้น ทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป.

พอภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เสด็จถึงเรือนประทับนั่งแล้ว

เจ้าหน้าที่ก็นำข่าวว่า ท่านเสนาบดีถึงอสัญกรรมแล้ว มาให้นางมัลลิกา.

นางรับหนังสือ ถามว่า เป็นข่าวดี (หรือร้าย). ก็เรียนว่า พระราชาทรงให้

จับเสนาบดีพร้อมด้วยบุตร ๓๒ คน ประหารชีวิตพร้อมกัน แม่เจ้า. นาง

กล่าวว่า พวกเจ้าอย่าได้กระทำให้แพร่งพรายแก่มหาชน แล้วเอาหนังสือใส่

ห่อพกไว้ อังคาสพระภิกษุสงฆ์. ในตอนนั้น เจ้าหน้าที่ยกหม้อสัปปิมาหม้อ

หนึ่ง (เผอิญ) หม้อสัปปินั้นกระทบธรณีประตูแตก จึงสั่งให้ไปนำหม้อ

อื่นมาอังคาสพระภิกษุสงฆ์.

พระศาสดาทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว จึงตรัสว่า นางไม่ควรคิด

เพราะเหตุหม้อสัปปิแตก เพื่อเป็นเหตุให้ตั้งกถาขึ้น. ขณะนั้น นางมัลลิกา

๑. ศิลามีสีอันแดงงามดุจหงอนไก่เทศ (ลิปิ)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

จึงนำหนังสือออกมาวางตรงหน้าพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี่เป็นข่าวการตายของเสนาบดีกับบุตร ๓๒ คน หม่อม-

ฉันมิได้คิดแม้เรื่องนี้ เหตุไรจะคิดเพราะเหตุหม้อสัปปี (แตก). พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถาให้ปฏิสังยุ่ตด้วยสามัญลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น

ว่า ดูก่อนนางมัลลิกา อย่าคิด (มาก) ไปเลย ธรรมดาในสังสารวัฏฏ์มีที่สุด

และเบื้องต้นอันใคร ๆ ไปตามอยู่ รู้ไม่ได้แล้ว ย่อมเป็นไปเช่นนั้น แล้วเสด็จ

กลับ. นางมัลลิกาเรียกลูกสะใภ้ ๓๒ คน มาให้โอวาท. พระราชารับสั่งให้

นางมัลลิกาเข้าเฝ้า ตรัสถามว่า ในระหว่างเสนาบดีกับเรา โทษที่แตกกันมีหรือ

ไม่มี.(๑) นางทูลว่า ไม่มี พะยะค่ะ. พระราชาทรงทราบว่า เสนาบดีนั้น

ไม่มีความผิดตามคำของนาง จึงมีความเดือนร้อนเกิดความเสียพระทัยอย่างล้น

พ้น. พระองค์ทรงรำพึงว่า ได้นำสหายผู้ยกย่องเราว่ากระทำสิ่งที่หาโทษมิได้

เห็นปานนี้มาแล้วให้พินาศแล้ว ตั้งแต่นั้นไป ก็ไม่ได้ความสบายพระทัยในปราสาท

หรือในเหล่านางสนม หรือความสุขในราชสมบัติทรงเริ่มเที่ยวไปในที่นั้น ๆ.

กิจอันนี้แหละได้มีแล้ว. หมายถึงเรื่องนี้ จึงกล่าวไว้ว่า ด้วยราชกรณียกิจ

อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้.

บทว่า ทีฆ การายน ความว่า ทีฆการายนะซึ่งเป็นหลานของ

พันธุละเสนาบดีคิดว่า พระราชาทรงฆ่าลุงของเรา ผู้มิได้ทำผิดนั้นโดยไม่มีเหตุ

พระราชาได้ทรงตั้งไว้ในคำแหน่งเสนาบดีแล้ว. คำนั้น ท่านกล่าวหมายถึง

เรื่องนี้. คำว่า มหจฺจราชานุภาเวน ความว่า ด้วยราชานุภาพอันใหญ่

หมายความว่า ด้วยหมู่พลมากมายงดงามด้วยเพศอันวิจิตร ดุจถล่มพื้นธรณี

ให้พินาศ ประหนึ่งจะยังสาครให้ป่วนปั่นฉะนั้น . บทว่า ปาสาทิกานิ ความว่า

อันให้เกิดความเลื่อมใสพร้อมทั้งน่าทัศนาทีเดียว. บทว่า ปาสาทนียานิ เป็น

๑. สี. จิตฺตโทโส.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

ไวพจน์ของคำนั้น. อีกนัยหนึ่ง บทว่า ปาลาทิกานิ ความว่า น่าดู (น่า

ทัศนา). บทว่า ปาสาทนียานิ ได้แก่ให้เกิดความเลื่อมใส. บทว่า อปฺปสทฺ-

ทานิ คือ ไม่มีเสียง. บทว่า อปฺปนิคฺโฆสานิ ความว่า เว้นจากเสียง

กึกก้อง เพราะอรรถว่า ไม่ปรากฏ. บทว่า วิชนวาตานิ ความว่า ปราศจาก

กลิ่นของคน. บทว่า มนุสฺสราหสฺเสยฺยกานิ ความว่า สมควรแก่งานที่จะ

พึงทำในที่ลับของมนุษย์ อรรถว่า สมควรแก่ผู้ที่ปรึกษาค้นคว้าอย่างลี้ลับ.

บทว่า ปฏิสลฺลานสารุปฺปานิ ความว่า สมควรแก่ความเป็นผู้เดียว

ซ่อนเร้นอยู่. บทว่า ยตฺถ สุท มย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้

เคยเสด็จไปในที่นั้น ในคำนี้มีอรรถดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าควรเสด็จเข้าไป

ในที่เช่นนั้น เพราะเป็นที่พวกเราทั้งหลายมีความสุข.

บทว่า อติถิ มหาราชา ความว่า เสนาบดีผู้ฉลาด ย่อมทราบว่า

พระราชาทรงนับถือพระผู้มีพระภาคเจ้า. เสนาบดีนั้น จะส่งจารบุรุษไป จนรู้ที่

ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ด้วยคิดว่า ถ้าพระราชาถามเราว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงประทับที่ไหน ก็ควรจะกราบทูลได้โดยมิชักช้า เพราะฉะนั้น

จึงกล่าวอย่างนั้น .

บทว่า อาราม ปาวิสิ ความว่า ทรงตั้งค่ายไว้นอกนิคมแล้ว เสด็จ

เข้าไปกับการายนะเสนาบดี. ท่านกล่าวว่า วิหาโร หมายเอาพระคันธกุฎี. บทว่า

อาฬินฺท แปลว่า หน้ามุข. บทว่า อุกฺกาสิตฺวา คือ กระทำเสียงกระแอม.

บทว่า อคฺคฬ คือ บานประตู. บทว่า อาโกฏฺเฏหิ ท่านกล่าวอธิบาย

ไว้ว่า ทรงเคาะที่ใกล้ช่องกุญแจค่อย ๆ ด้วยปลายพระนขา. ได้ยินว่า พวก

อมนุษย์ย่อมเคาะประตูสูงเกินไป ทีฆชาติก็เคาะต่ำเกินไป จึงไม่เคาะอย่างนั้น

คือเคาะที่ใกล้ช่องตรงกลาง นี้เป็นมรรยาทในการเคาะประตู ท่านโบราณาจารย์

กล่าวแสดงไว้ด้วยประการดังนี้. บทว่า ตตฺเถว คือในที่ที่ภิกษุทั้งหลายกล่าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

แล้วนั่นแหละ. คำว่า ขคฺคญฺจ อุณฺหีสญฺจ นั้นเป็นเพียงเทศนา. อนึ่ง

พระราชาทรงมอบราชกกุธภัณฑ์ ทั้ง ๕ ที่มาแล้ว คือ

พัดวาลวีชนี อุณหิส พระขรรค์ ฉัตร

และฉลองพระบาท พระราชาเสด็จลงจาก

ยานจอดซ่อนไว้.

ถามว่า ก็พระราชาทรงมอบเบญจราชกกุธภัณฑ์ เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะ

ไม่ควรเสด็จเข้าไปยังสำนักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพยิ่งด้วยเพศแห่ง

อิสริยยศ และทรงคิดว่าจะเข้าไปเฝ้าเพียงพระองค์เดียวจะได้สนทนาได้ตามพอ

พระทัยของพระองค์ ก็ในบรรดาราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕ พระองค์ให้กลับแล้ว ก็

ไม่ได้กล่าวว่าท่านจงกลับ. จะกลับไปเองทั้งหมดทีเดียว. พระราชาทรงมอบไป

ด้วยเหตุ ๒ ประการ ดังกล่าวมานี้. บทว่า รหายติ ความว่า ย่อมกระทำเร้นลับ

คือ ซ่อนเร้น ได้ยินว่า เสนาบดีนั้น มีประสงค์ดังนี้ว่า พระราชานี้ แม้คราว

ก่อนก็ปรึกษาจตุกัณณมนต์กับพระสมณโคดม แล้วให้จับลุงของเรากับบุตร

๓๒ คน แม้ครั้งนี้ ก็คงปรึกษาจตุกัณณมนต์ สั่งให้จับเราอีกกระมังหนอ

เสนาบดีนั้น ได้มีความคิดดังนี้ เพราะอำนาจแห่งความโกรธ.

บทว่า วิวริ ภควา ทฺวาร ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้

ทรงลุกขึ้นเปิดประตู. แต่ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า จงเปิดเถอะ. ต่อแต่นั้น

ประตูก็เปิดเองทีเดียว กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์เมื่อให้

ทานอยู่ในโกฏิแห่งกัปป์มิใช่น้อย มิได้เคยกระทำกรรมคือการกั้นประตูด้วยพระ-

หัตถ์ของพระองค์. ก็ประตูนั้น เพราะเปิดออกด้วยพระทัยของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เปิดประตู

แล้ว บทว่า วิหาร ปวิสิตฺวา ความว่า เข้าไปสู่พระคันธกุฏีแล้ว. ก็เมื่อ

พระราชาพอเสด็จเข้าไปแล้ว การายนะเสนาบดี ก็ถือเอาเบญจราชกุกธภัณฑ์

กลับค่าย เรียกวิฑูฑภะมาว่า เพื่อนรัก จงยกฉัตรขึ้น. วิฑูฑภะถามว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

พระชนกของข้าพเจ้าไปแล้วหรือ. ตอบว่า อย่าถามถึงพระชนกเลย ถ้าท่าน

ไม่ยก ข้าพเจ้าจะถือฉัตรนั้นยกขึ้นเอง. วิฑูฑภะจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะยก

เองสหาย. การายนะเสนาบดี ทิ้งม้าไว้ให้พระราชาตัวหนึ่ง ดาบเล่มหนึ่ง

นางสนมคนเดียวเท่านั้น สั่งว่า ถ้าพระราชาอยากจะมีชีวิตอยู่ ก็อย่าตามมา

แล้วยกฉัตรให้วิฑูฑภะ แล้วพาวิฑูฑภะนั้น ไปยังนครสาวัตถีทีเดียว. บทว่า

ธมฺมนฺวโย ความว่า รู้ตาม คือ อนุมาน คือ เข้าใจธรรม กล่าวคือ

ปัจจักขญาณ.

บัดนี้ คำว่า สมฺมาสมฺพุทโธ ภควา ดังนี้เป็นต้น ย่อมมีแก่

พระราชานั้นด้วยความรู้ตามธรรมอันใด เพื่อแสดงความรู้ตามธรรมอันนั้น จึง

กล่าวว่า อิธ ปนาห ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น ในบทเหล่านั้น บทว่า อา-

ปาณโกฏิต ความว่า ชีวิตชื่อว่า ปาณะ (ปราณ) การทำเขตแดนแห่งชีวิต

อันมีลมปราณเป็นที่สุดนั้นไว้ในภายใน ท่านอธิบายว่า แม้ในสมัยใกล้ตาย ก็

ยังท่องเที่ยวไปอยู่เที่ยว จึงก้าวล่วงชีวิตนั้น ไปไม่ได้. ปาฐะว่า อาปนโกฏิก(๑)

ดังนี้ก็มี. หมายความว่า มีชีวิตเป็นที่สุดรอบ. อธิบายว่า บางคนก้าวล่วงอยู่

ไม่กระทำชีวิตอันมีปราณเป็นที่สุดเที่ยวไป เพราะเหตุแห่งชีวิตฉันใด ภิกษุ

ทั้งหลายย่อมไม่เป็นอย่างนั้น. คำว่า อยมฺปิ โข เม ภนฺเต พระอรรถกถา-

จารย์ย่อมแสดงว่า ข้อนี้ย่อมเป็นอย่างนี้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ดีแล้ว

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วและพระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเลื่อมใสในธรรมในพระผู้มีพระภาคเจ้าของข้า

พระองค์นี้ย่อมเป็นอย่างนี้. ในบททุกบท ก็มีนัยดังนี้แล.

บทว่า น วิย มญฺเญ จกฺขุ พนฺธนฺเต (๒) (ดูเหมือนราวกะว่าไม่

ห่วงใยจักษุ) ความว่าเหมือนไม่ผูกพันจักษุ. เพราะมองดูเห็นอย่างไม่น่าเลื่อม

๑. ฉ. อปาณโกฎิก

๒. ฎีกา จกฺขุ อตฺตนิ พนฺธนฺต.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

ใสแล้วยังไม่ทำหน้าที่ในการแลดูอีก ฉะนั้น เขาจึงชื่อว่า ไม่ผูกพันจักษุ.

เห็นอย่างน่าเลื่อมใสแล้วยังทำกิจในการแลดูเนือง ๆ ฉะนั้นเขาชื่อว่า ผูกพัน

จักษุ. ก็ท่านเหล่านี้ เป็นผู้ไม่น่าเลื่อมใส ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า พนฺธุกโรโค โน ได้แก่ โรคแห่งตระกูล (โรคกรรมพันธุ์). อาจารย์

ทั้งหลายกล่าวว่า มีโรคเห็นปานนี้ เกิดในตระกูลของเราทั้งหลาย. บทว่า

อุฬาร คือมีศักดิ์ใหญ่. บทว่า ปุพฺเพนาปร ได้แก่เป็นอย่างอื่น คือแตก

ต่างจากก่อน. คือกระทำกสิณบริกรรมจนบังเกิดสมาบัติ ชื่อว่า รู้กว้างขวาง

คือ วิเศษกว่าก่อนในคำนั้น. กระทำสมาบัติให้เป็นปทัฏฐาน เจริญวิปัสสนา

ถือเอาพระอรหัตต์ ชื่อว่า รู้กว้างขวาง คือ วิเศษยิ่งกว่าแต่ก่อน. บทว่า

ฆาเฏตาย วา ฆาเฏตุ ความว่า เพื่อให้ฆ่าคนที่ควรฆ่า. บทว่า ชาเปตาย

วา ชาเปตุ ความว่า จะให้ริบคนที่ควรริบด้วยทรัพย์ คือ กระทำให้

เสื่อมสิ้นให้ไม่มีทรัพย์. บทว่า ปพฺพาเชตาย วา ปพฺพาเชตุ คือให้เนร-

เทศคนที่ควรเนรเทศเสียจากรัฐ. บทว่า อิสิทนฺตปุราณา คือ อิสิทันตะ

และบุราณะ. ในคนทั้ง ๒ นั้น คนหนึ่ง เป็นพรหมจารี คนหนึ่ง เป็นสทาร

สันโดษ (ยินดีแต่ภริยาของตน). บทว่า มมภตฺตา ความว่า ชื่อว่า มมภัตตา

เพราะอรรถว่า ภัตรอันเป็นของแห่งตนของชนเหล่านั้นมีอยู่. บทว่า มมยานา

ความว่า ชื่อว่า ยวดยานของเรา เพราะอรรถว่า ยวดยานอันเป็นของแห่งเรา

มีอยู่. บทว่า ชีวิต ทาตา ได้แก่ เป็นผู้ให้ความเป็นไปแห่งชีวิต. บทว่า

วีมสมาโน คือเมื่อจะทดลอง.

ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระราชามิได้ทรงบรรทมหลับเลย ทรงบรรทม

เหมือนหลับอยู่. ที่นั้นได้ตรัสถามช่างไม้เหล่านั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับทางทิศาภาคไหน ครั้นได้ทรงสดับว่า ทางทิศาภาคโน้น จึง

ปรึกษากันว่า พระราชาทรงหันพระเศียรไปยังทิศาภาคที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

ประทับ หันพระบาทนา (ทางนี้) ถ้าพระศาสดาทรงหันพระเศียรไปยังทิศาภาคที่

พระราชาประทับ หันพระบาทมา เราจักกระทำอย่างไรดี. แต่นั้น ช่างไม้

เหล่านั้น จึงคิดกันว่า พระราชาทรงขัดพระทัยอยู่ เคยทรงให้สิ่งใดแก่พวก

เรา ก็ทรงตัดสิ่งนั้นเสีย ช่างไม้ทั้งหลายพูดกันว่า ก็พวกเราไม่สามารถที่จะ

หันเท้าไปทางพระศาสดาได้ จึงหันเท้าไปทางพระราชาแล้ว จึงนอนแล้ว.

พระราชานี้ ทรงหมายถึงข้อนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า ปกฺกามิ ความว่า

พระราชาเสด็จออกจากพระคันธกุฎีแล้ว ทรงดำเนินไปถึงที่ที่การายนะอยู่

ไม่เห็นการายนะนั้นในที่นั้น จึงเสด็จไปยังค่ายที่พักพล. แม้ในที่นั้น ก็ไม่

เห็นใครอื่น จึงตรัสถามหญิงนั้น. หญิงนั้น จึงกราบทูลเรื่องราวทั้งสิ้นให้

ทรงทราบ. พระราชาทรงพระดำริว่า บัดนี้เราไม่ควรไปในพระนครนั้น แต่

ผู้เดียว เราจะไปยังพระนครราชคฤห์ กลับมากับหลานแล้ว ยึดราชสมบัติ

ของเรา ดังนี้ เมื่อเสด็จไปยังพระนครราชคฤห์ ได้ทรงเสวยพระกระยาหาร

ข้าวปลายเกรียน ทรงดื่มน้ำที่ขุ่นในระหว่างทาง. อาหารของพระองค์ ซึ่งมี

ปกติเป็นสุขุมาลชาติ ไม่ย่อยไปโดยง่าย. พระองค์แม้เสด็จถึงพระนครราช-

คฤห์ ก็เป็นเวลาวิกาล ถึงเมื่อประตูพระนครปิดเสียแล้ว. ทรงดำริว่า วันนี้

นอนที่ศาลา (นี้ ) ต่อพรุ่งนี้จึงเข้าไปหาหลานของเรา ดังนี้ จึงทรงบรรทมที่

ศาลาภายนอกพระนคร. พระองค์เสด็จลุกขึ้นตลอดราตรีเสด็จไปข้างนอกหลาย

ครั้ง. ตั้งแต่นั้น ก็ไม่อาจทรงพระดำเนินไปด้วยพระบาท ทรงบรรทมทั้งเหนือ

ตักของหญิงนั้น พอใกล้รุ่งก็ทรงสวรรคตแล้ว. หญิงทราบว่า พระราชา

สวรรคตแล้ว ก็เริ่มปริเทวนาด้วยการร้องไห้คร่ำครวญด้วยเสียงดังว่า บัดนี้

พระเจ้าโกศลสามีของเราเสวยราชสมบัติในรัฐทั้ง ๒ มานอนสวรรคตอย่างคน

อนาถา ที่ศาลาของคนไร้ที่พึ่งภายนอกพระนครของคนอื่น ดังนี้เป็นต้น.

พวกมนุษย์ได้สดับข่าวจึงมากราบทูลแด่พระราชา. พระราชาเสด็จมาทอดพระ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

เนตรแล้ว ทรงจำได้ ทรงทราบเหตุที่เสด็จมาแล้ว ทรงจัดทำสรีรกิจอย่าง

สมพระเกียรติทรงให้เจ้าพนักงานตีฆ้องร้องประกาศว่า เราจักจับพระเจ้า

วิฑูฑภะ ประชุมหมู่พลให้พรักพร้อมแล้ว. อำมาตย์ทั้งหลายพากันมา

หมอบแทบพระยุคลบาททูลว่า ขอเดชะ ถ้าหากพระเจ้าลุงของพระองค์ไม่มี

โรค พระองค์ก็ควรเสด็จ แต่บัดนี้ แม้พระเจ้าวิฑูฑภะ สมควรยกฉัตรขึ้น

เพราะอาศัยพระองค์ทีเดียว ทูลให้เข้าใจ ห้ามไว้แล้ว.

บทว่า ธมฺมเจติยานี เป็นคำบอกถึงการทำความเคารพพระธรรม.

จริงอยู่ เมื่อกระทำความเคารพในรัตนะหนึ่ง ในบรรดารัตนะทั้ง ๓ ก็ย่อมเป็น

อันกระทำในทุกรัตนะทีเดียว. เพราะฉะนั้น เมื่อกระทำความเคารพในพระผู้มี

พระภาคเจ้า ก็ย่อมเป็นอันกระทำความเคารพในพระธรรมด้วย เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ธรรมเจดีย์ทั้งหลาย. บทว่า อาทิพฺรหฺม-

จริยกานิ ความว่า อันเป็นเบื้องต้นของมรรคพรหมจรรย์ หมายความว่า

อันเป็นการปฏิบัติในส่วนเบื้องต้น. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาธรรมเจติยสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

๑๐. กรรณกัตถลสูตร

[๕๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ตำบลกรรณกัตถลมิคทาย-

วัน ใกล้อุทัญญานคร. ก็สมัยนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปถึงอุทัญญา

นครด้วยพระราชกรณียะบางอย่าง. ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสเรียก

บุรุษคนหนึ่งมาตรัสสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ มานี่แน่ะ ท่านจงเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้วถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยเศียรเกล้า จง-

ทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า มี

พระกำลัง ทรงพระสำราญ ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้า

ปเสนทิโกศลขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระเศียร

เกล้า ทลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระ-

เปร่า มีพระกำลัง ทรงพระสำราญ และจงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ทราบด้วยเกล้าว่า วันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว

เวลาบ่ายจักเสด็จเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า บุรุษนั้นทูลรับสนองพระบรม

ราชโองการแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้า-

ปเสนทิโกศล ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระเศียร

เกล้า ทรงทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้

กระเปร่า ทรงพระกำลัง ทรงพระสำราญ และรับสั่งมาทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ทราบว่า วันนี้พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเข้าแล้ว

เวลาบ่ายจักเสด็จมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

[๕๗๒] พระราชภคินีทรงพระนามว่าโสมา และพระราชภคินีทรง

พระนามว่าสกุลา ได้ทรงสดับข่าวว่า ได้ทราบว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลเสวย

พระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว เวลาบ่ายจะเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับ

นั้นแล พระราชภคินีพระนามว่าโสมา และพระราชภคินีพระนามว่าสกุลา

เสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลในที่เสวยพระกระยาหาร แล้วได้กราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์ทรงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้-

มีพระภาคเจ้าด้วยพระเศียรเกล้า จงทรงถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระ

โรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงพระกำลัง ทรงพระสำราญ ตามคำ

ของหม่อมฉันทั้งหลายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีนามว่าโสมาและภคินี

นามว่าสกุลา ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า

ทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า

ทรงพระกำลัง ทรงพระสำราญ.

[๕๗๓] ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวยพระกระยาหารเช้า

เสร็จแล้ว เวลาบ่ายเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีนามว่าโสมา

และพระภคินีนามว่าสกุลา ขอถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปร่า

ทรงพระกำลัง ทรงพระสำราญ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ดูก่อนมหาบพิตร ก็พระราชภคินีพระนามว่าโสมาและพระราชภคินีพระนามว่า

สกุลา ไม่ทรงได้ผู้อื่นเป็นทูตแล้วหรือ ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภคินีนามว่าโสมาและพระภคินีนามว่า

สกุลาได้สดับข่าวว่า วันนี้หม่อมฉันบริโภคอาหารเข้าแล้ว เวลาบ่ายจักมาเฝ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น พระภคินีพระนามว่าโสมาและพระภคินีพระ

นามว่าสกุลา ได้เข้ามาหาหม่อมฉันในที่บริโภคอาหาร แล้วตรัสสั่งว่า ข้าแต่

มหาราช ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์ทรงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ขอให้ทูลถามถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบา

บาง ทรงกระปรี้กระเปร่า ทรงพระกำลัง ทรงพระสำราญ ตามคำของหม่อม

ฉันว่า พระภคินีพระนามว่าโสมาและพระภคินีพระนามว่าสกุลาถวายบังคมพระ

ยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และทูลถามความมีพระอาพาธ

น้อย มีพระโรคเบาบาง ทรงกระปรี้กระเปล่า ทรงพระกำลัง ทรงพระสำราญ

พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ขอพระราชภคินีพระนามว่าโสมาและพระราช-

ภคินีพระนามว่าสกุลา จงทรงพระสำราญเถิด ขอถวายพระพร.

พระเจ้าปเสนทิโกศล ทูลถามวรรณะ ๔

[๕๗๔] ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค-

เจ้าว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้สดับมาว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้

ว่าสมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้ธรรมทั้งปวง ผู้เห็นธรรมทั้งปวง จักปฏิญาณความรู้

ความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือ ไม่มี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า สมณะหรือ

พราหมณ์ผู้รู้ธรรมทั้งปวง ผู้เห็นธรรมทั้งปวง จักปฏิญาณความรู้ความเห็นอัน

ไม่มีส่วนเหลือ ไม่มี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ชนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวตามที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วไม่เป็นอันกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง

และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม อนึ่ง การกล่าวและการกล่าวตามอันประกอบ

ด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะอันผู้รู้จะพึงติเตียนแลหรือ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนมหาบพิตร ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า

พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้รู้ธรรมทั้งปวง ผู้เห็นธรรม

ทั้งปวง จักปฏิญาณความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือไม่มี ข้อนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมี

ได้ดังนี้ ชนเหล่านั้นไม่เป็นอันกล่าวตามที่อาตมภาพกล่าวแล้ว และย่อมกล่าว

ตู่อาตมภาพด้วยคำอันไม่เป็นจริง ขอถวายพระพร.

[๕๗๕] ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงรับสั่งถาม วิฑูฑภ-

เสนาบดีว่า ดูก่อนเสนาบดี ใครหนอกล่าวเรื่องนี้ในภายในนคร วิฑูฑภเสนาบดี

กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พราหมณ์สญชัยอากาสโคตรกล่าวเรื่องนี้ ขอเดชะ.

ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า มานี่แน่ะ

บุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเชิญพราหมณ์สญชัยอากาสโคตรตามคำของเราว่า ดูก่อน

ท่านผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่งหาท่าน. บุรุษนั้นทูลรับสนองพระบรม-

ราชโองการแล้ว ได้เข้าไปหาพราหมณ์สญชัยอากาสโคตรถึงที่อยู่ แล้วกล่าวกะ

พราหมณ์สญชัยอากาสโคตรว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ พระเจ้าปเสนทิโกศลรับสั่ง

หาท่าน.

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสอย่างหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเนื้อความ

บางอย่างตรัสไว้ แต่คนอื่นกลับเข้าใจพระภาษิตนั้นเป็นอย่างอื่นไป พึงมีหรือ

หนอ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงจำพระดำรัสว่า ตรัสแล้วอย่างไรบ้างหรือ

พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพจำคำที่

กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์จักรู้ธรรมทั้งปวง จักเห็นธรรมทั้งปวง

ในคราวเดียวเท่านั้น ไม่มี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

ป. ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสภาพอันเป็นตัว

เหตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสภาพอันเป็นตัวผลพร้อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

ทั้งเหตุว่า สมณะหรือพราหมณ์จักรู้ธรรมทั้งปวง จักเห็นธรรมทั้งปวง ใน

คราวเดียวเท่านั้น ไม่มี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้จะพึงมีความแปลกกัน จะพึงมีการกระทำต่างกัน

กระมังหนอ.

[๕๗๖] พ. ดูก่อนมหาบพิตร วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ กษัตริย์

พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ดูก่อนมหาบพิตร บรรดาวรรณะ ๔ จำพวกนี้ วรรณะ

๒ จำพวก คือ กษัตริย์และพราหมณ์ อาตมาภาพกล่าวว่าเป็นผู้เลิศ คือ เป็น

ที่กราบไหว้ เป็นที่ลุกรับ เป็นที่กระทำอัญชลี เป็นที่กระทำสามีจิกรรม ขอ

ถวายพระพร.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันมิได้ทูลถามถึงความแปลกกันใน

ปัจจุบันกะพระผู้มีพระภาคเจ้า หม่อมฉันทูลถามถึงความแปลกกันในสัมปราย-

ภพกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวก

นี้จะพึงมีความแปลกกัน จะพึงมีการกระทำต่างกันกระมังหนอ พระเจ้าข้า.

องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕

[๕๗๗] พ. ดูก่อนมหาบพิตร องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประ-

การนี้. ๕ ประการเป็นไฉน. ดูก่อนมหาบพิตร

๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เธอพระปัญญาตรัสรู้ของ

พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระ-

อรหันต์. . . เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

๒. ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุ

สำหรับย่อยอาหารอันสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควร

แก่การทำความเพียร.

๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เปิดเผยตนตามความเป็นจริงในพระ-

ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู.

๔. เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้

ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิดและ

ความดับ เป็นอริยะ เป็นเครื่องชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

ดูก่อนมหาบพิตร องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล. ดู

ก่อนมหาบพิตร วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

ถ้าวรรณะ ๔ จำพวกนั้น จะพึงเป็นผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร

๕ ประการนี้ ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่วรรณะ

๘ จำพวกนั้นตลอดกาลนาน ขอถวายพระพร.

[๕๗๘] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ ๔ จำพวกนี้ คือ กษัตริย์

พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ถ้าวรรณะ ๔ จำพวกนั้น พึงเป็นผู้ประกอบด้วยองค์

แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ วรรณะ

๔ จำพวกนั้น จะพึงมีความแปลกกัน จะมีการกระทำต่างกันหรือ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ในข้อนี้ อาตมภาพกล่าวความต่างกันด้วย

ความเพียรแห่งวรรณะ ๔ จำพวกนั้น ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนสัตว์คู่

หนึ่ง เป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม

เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว คู่หนึ่งไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนำ ดูก่อนมหาบพิตร

มหาบพิตรจะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สัตว์คู่หนึ่งเป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

เป็นน้ำที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว

สัตว์คู่หนึ่งที่เขาฝึกแล้วเท่านั้นพึงถึงเหตุของสัตว์ที่ฝึกแล้ว พึงยังภูมิของสัตว์ที่

ฝึกแล้วให้ถึงพร้อมมิใช่หรือ ขอถวายพระพร.

ป. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ก็สัตว์คู่หนึ่งเป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้า

ที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนำ สัตว์คู่นั้น

ที่เขาไม่ได้ฝึกเลย จะพึงถึงเหตุของสัตว์ที่ฝึกแล้ว จะพึงยังภูมิของสัตว์ที่ฝึก

แล้วให้ถึงพร้อมเหมือนสัตว์คู่หนึ่ง เป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็

ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม ที่เขาฝึกดีแล้ว แนะนำดีแล้ว ฉะนั้นบ้างหรือไม่

ขอถวายพระพร.

ป. ไม่เป็นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล อิฐผลใดอันบุคคลผู้มี

ศรัทธา มีอาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ปรารภความเพียร มีปัญญา

พึงถึงอิฐผลนั้น บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา มีอาพาธมาก โอ้อวด มีมายา เกียจ

คร้าน มีปัญญาทราม จักถึงได้ ดังนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ขอถวาย

พระพร.

[๕๗๙] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสภาพอัน

เป็นเหตุและตรัสสภาพอันเป็นผลพร้อมกับเหตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะ

๔ จำพวกนี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ถ้าวรรณะ ๔ จำพวกเหล่า

นั้น พึงเป็นผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการ นี้ และมี

ความเพียรชอบเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในข้อนี้ วรรณะ ๔ จำพวก

นั้น พึงมีความแปลกกัน พึงมีการกระทำต่างกันหรือ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ในข้อนี้ อาตมภาพย่อมไม่กล่าวการกระทำต่าง

กันอย่างไร คือ วิมุตติกับวิมุตติ ของวรรณะ ๔ จำพวกนั้นขอถวายพระพร.

ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเก็บเอาไม้สาละแห้งมาใส่ไฟ พึงก่อไฟ

ให้โพลงขึ้น ต่อมา บุรุษอีกคนหนึ่งเก็บเอาไม้มะม่วงแห้งมาใส่ไฟ พึงก่อไฟให้

โพลงขึ้นและภายหลังบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บเอาไม้มะเดื่อแห้งมาใส่ไฟ พึงก่อไฟให้

โพลงขึ้น. ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตรจะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เปลวกับเปลว สีกับสีหรือแสงกับแสงของไฟที่เกิดขึ้นจากไม้ต่าง ๆ กันนั้น

จะพึงมีความแตกต่างกันอย่างไรหรือหนอ ขอถวายพระพร.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่พึงมีความแตกต่างกันเลย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล เดชอันใดอันความเพียร

ย่ำยีแล้วเกิดขึ้นด้วยความเพียร ในข้อนี้ อาตมภาพย่อมไม่กล่าวการกระทำต่าง

กันอย่างไรคือ วิมุตติกับวิมุตติ ขอถวายพระพร.

ปัญหาเรื่องเทวดา

[๕๘๐] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสภาพอัน

เป็นเหตุ และตรัสสภาพอันเป็นผลพร้อมกับเหตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็

เทวดามีจริงหรือ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ก็เพราะเหตุอะไรมหาบพิตรจึงตรัสถามอย่างนี้

ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เทวดามีจริงหรือ.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเทวดามีจริง เทวดาเหล่านั้นมาสู่โลกนี้

หรือไม่มาสู่โลกนี้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร เทวดาเหล่าใดมีทุกข์ เทวดาเหล่านั้น มาสู่

โลกนี้ เทวดาเหล่าใดไม่มีทุกข์ เทวดาเหล่านั้นไม่มาสู่โลกนี้ ขอถวายพระพร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

วิฑูฑภะทูลถาม

[๕๘๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วิฑูฑภเสนาบดี ได้

กราบทูลพระผู้มีภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทดาเหล่าใดมีทุกข์ มาสู่

โลกนี้ เทวดาเหล่านั้นจักยังเทวดาทั้งหลายผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มาสู่โลกนี้ ให้จุติ หรือ

จักขับไล่เสียจากที่นั้น.

ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่า วิฑูฑภเสนาบดีนี้ เป็น

พระราชโอรสของพระเจ้าปเสนทิโกศล เราเป็นโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้า

บัดนี้เป็นกาลอันสมควรที่โอรสจะพึงสนทนากัน. ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์

จึงกล่าวกะวิฑูฑภเสนาบดีว่า ดูก่อแสนาบดี ถ้าเช่นนั้น ในข้อนี้ อาตมาจะขอ

ย้อนถามท่านก่อน ปัญหาใดพึงพอใจแก่ท่านฉันใด ท่านพึงพยากรณ์ปัญหานั้น

ฉันนั้น ดูก่อนเสนาบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระราชอาณาจักร

ของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด และในพระราชอาณาจักรใด พระเจ้า

ปเสนทิโกศลเสวยราชสมบัติเป็นอิศราธิบดี ในพระราชอาณาจักรนั้น ท้าวเธอ

ย่อมทรงสามารถยังสมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีบุญหรือผู้ไม่มีบุญ ผู้มีพรหมจรรย์

หรือผู้ไม่มีพรหมจรรย์ให้เคลื่อนหรือทรงขับใล่เสียจากที่นั้นได้มิใช่หรือ. วิฑูฑภ

เสนาบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระราชอาณาจักรของพระเจ้าปเสนทิโกศล

มีประมาณเท่าใด และในพระราชาอาณาจักรใด พระเจ้าปเสนทิโกศลเสวย-

ราชสมบัติเป็นอิศราธิบดี ในพระราชอาณาจักรนั้นท้าวเธอย่อมทรงสามารถยัง

สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีบุญหรือผู้ไม่มีบุญ ผู้มีพรหมจรรย์หรือผู้ไม่มีพรหมจรรย์

ให้เคลื่อนหรือทรงขับไล่เสียจากที่นั้นได้.

อา. ดูก่อนเสนาบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ที่อันมิใช่

พระราชอาณาจักรของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด และในที่ใด

พระเจ้าปเสนทิโกศลมิได้เสวยราชสมบัติเป็นอิศราธิบดี ในที่นั้น ท้าวเธอย่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

ทรงสามารถยังสมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีบุญหรือผู้ไม่มีบุญ ผู้มีพรหมจรรย์

หรือผู้ไม่มีพรหมจรรย์ให้เคลื่อนหรือทรงขับไล่เสียจากที่นั้นได้หรือ.

วิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในที่อันมิใช่พระราชอาณาจักรของพระเจ้า-

ปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด และในที่ใด พระเจ้าปเสนทิโกศลมิได้เสวยราช

สมบัติเป็นอิศราธิบดี ในที่นั้น ท้าวเธอย่อมไม่ทรงสามารถจะยังสมณะหรือ

พราหมณ์ผู้มีบุญหรือผู้ไม่มีบุญ ผู้มีพรหมจรรย์หรือผู้ไม่มีพรหมจรรย์ ให้

เคลื่อนหรือทรงขับไล่จากที่นั้นได้.

อา. ดูก่อนเสนาบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาทั้ง

หลายชั้นดาวดึงส์ ท่านได้ฟังมาแล้วหรือ.

วิ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ เทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ข้าพเจ้าได้

ฟังมาแล้ว แม้ในบัดนี้ เทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้

ทรงสดับมาแล้ว.

อา. ดูก่อนเสนาบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้า

ปเสนทิโกศลย่อมทรงสามารถจะยังเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ให้เคลื่อนหรือ

จะทรงขับไล่เสียจากที่นั้นได้หรือ.

วิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้แต่จะทอดพระเนตรเทวดาทั้งหลายชั้น

ดาวดึงส์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ไม่ทรงสามารถ ที่ไหนเล่าจักทรงยังเทวดา

ทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ให้เคลื่อนหรือจักทรงขับไล่เสียจากที่นั้นได้.

อา. ดูก่อนเสนาบดี ฉันนั้นเหมือนกันแล เทวดาเหล่าใดมีทุกข์

ยังมาสู่โลกนี้ เทวดาเหล่านั้น ก็ย่อมไม่สามารถแม้เพื่อจะเห็นเทวดาผู้ไม่มีทุกข์

ผู้ไม่มาสู่โลกนี้ได้ ที่ไหนเล่าจักให้จุติหรือจักขับไล่เสียจากที่นั้นได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสตอบว่า ภิกษุรูปนี้ ชื่ออานนท์ ขอถวายพระพร.

[๕๘๒] ป. ชื่อของท่านน่ายินดีหนอ สภาพของท่านน่ายินดีจริงหนอ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์กล่าวสภาพอันเป็นเหตุ และกล่าวสภาพ

อันเป็นผลพร้อมด้วยเหตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรหมมีจริงหรือ.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร ก็เพราะเหตุไร มหาบพิตรจึงตรัสถามอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พรหมมีจริงหรือ.

ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพรหมมีจริง พรหมนั้นมาสู่โลกนี้

หรือไม่มาสู่โลกนี้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร พรหมใดมีทุกข์ พรหมนั้นมาสู่โลกนี้ พรหม

ใดไม่มีทุกข์ พรหมนั้นก็ไม่มาสู่โลกนี้ ขอถวายพระพร.

ลำดับนั้นแล บุรุษคนหนึ่งได้กราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ข้าแต่

มหาราช พราหมณ์สญชัยอากาสโคตรมาแล้ว พระเจ้าข้า. ครั้งนั้น พระเจ้า

ปเสนทิโกศลจึงตรัสถามพราหมณ์สญชัยอากาสโคตรว่า ดูก่อนพราหมณ์ ใคร-

หนอกล่าวเรื่องนี้ภายในพระนคร. พราหมณ์สญชัยอากาสโคตรกราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราช วิฑูฑภเสนาบดี พระพุทธเจ้าข้า. วิฑูฑภเสนาบดีได้กราบทูล

อย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช พราหมณ์สญชัยอากาสโคตร พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้นแล บุรุษคนหนึ่งได้กราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ข้าแต่มหาราช

บัดนี้ยานพาหนะพร้อมแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

ทรงชื่นชมภาษิตของพระพุทธเจ้า

[๕๘๓] ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้กราบทูลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงความเป็นสัพพัญญู พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์ความเป็นสัพพัญญู

แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้นย่อมชอบใจและควรแก่หม่อมฉัน และหม่อมฉัน

มีใจชื่นชมด้วยข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงคนที่จัดเป็นวรรณะ ๔ จำพวกที่บริสุทธิ์ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์คนที่จัดเป็นวรรณะ ๔ จำพวกที่บริสุทธิ์แล้ว และ

ข้อที่ทรงพยากรณ์นั้นย่อมชอบใจและควรแก่หม่อมฉัน และหม่อมฉันมีใจ

ชื่นชมด้วยข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเทวดาที่ยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์เทวดา

ที่ยิ่งแล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ย่อมชอบใจและควรแก่หม่อมฉัน และ

หม่อมฉันมีใจชื่นชมด้วยข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงพรหมที่ยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์

พรหมที่ยิ่งแล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ย่อมชอบใจและควรแก่หม่อมฉัน

และหม่อมฉันมีใจชื่นชมด้วยข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง

หม่อมฉัน ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงข้อใด ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรง

พยากรณ์ข้อนั้น ๆ แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ๆ ย่อมชอบใจและควรแก่

หม่อมฉัน และหม่อมฉันมีใจชื่นชมด้วยข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ๆ ข้าแต่พระองค์-

ผู้เจริญ หม่อมฉันขอทูลลาไป ณ บัดนี้ หม่อมฉันมีกิจมาก มีกรณียะมาก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า มหาบพิตรจงทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด

ขอถวายพระพร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุกจากที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงกระทำประทักษิณ แล้วเสด็จกลับไป ฉะนี้แล.

จบ กรรณกัตถลสูตร ที่ ๑๐

จบราชวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

อรรถกถากรรณกัตถลสูตร

กรรณกัตถลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในพระสูตรนั้น คำว่า อุทญฺาย(๑) นี้เป็นชื่อของทั้งรัฐ ทั้ง

พระนครนั้นว่า อุทัญญา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอุทัญญานครประทับ

อยู่. บทว่า กณฺณกตฺถเล มิคทาเย ความว่า ในที่ไม่ใกล้พระนครนั้น

มีภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แห่งหนึ่ง ชื่อว่า กรรณกัตถละ. ภูมิภาคนั้นเขาเรียกกันว่า

มิคทายวัน เพราะทรงพระราชทานไว้เพื่อให้อภัยแก่เนื้อทั้งหลาย. ณ ที่กรรณ-

กัตถลมิคทายวันนั้น. บทว่า เกนจิเทว กรณีเยน ความว่า ไม่ใช่กิจ

อย่างอื่น เป็นกรณียกิจอย่างที่ได้กล่าวไว้ในสูตรก่อนั่นแหละ. พระภคินี

ทั้งสองนี้คือ พระภคินีพระนามว่า โสมา และพระภคินีพระนามว่า สกุลา

ทรงเป็นประชาบดีของพระราชา. บทว่า ภตฺตาภิหาเร ได้แก่ในที่เสวย

พระกระยาหาร. ก็ที่เสวยพระกระยาหารของพระราชา นางในทุก ๆ คนจะต้อง

ถือทัพพีเป็นต้น ไปถวายงานพระราชา. พระนางทั้งสองนั้น ได้ไปแล้ว โดย

ทำนองนั้น .

บทว่า กึ ปน มหาราชา เป็นคำถามว่า เพราะเหตุไร จึง

ตรัสอย่างนั้น. ตอบว่า เพื่อจะเปลื้องคำครหาพระราชาเสีย. เพราะพวกบริษัท

จะพึงคิดกันอย่างนี้ว่า พระราชานี้เมื่อจะเสด็จมาก็ยังนำข่าวของมาตุคามมาทูล

ด้วย พวกเราสำคัญว่า มาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยธรรมดาของคน แต่

พระเจ้าอยู่หัวเอาข่าวของมาตุคานมาเห็นจะเป็นทาสของมาตุคามกระมัง แม้

คราวก่อนพระองค์ก็เสด็จมาด้วยเหตุนี้เหมือนกัน ดังนี้ . อนึ่ง พระราชา

นั้นถูกถามแล้วจักทูลถึงเหตุที่มาของตน คำครหาอันนี้จักไม่เกิดขึ้นแก่พระองค์

ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เพื่อจะทรงปลดเปลื้องคำครหาจึงตรัสอย่างนั้น.

๑. ฉ. อุรุญฺาย สี. อุชุญฺาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

บทว่า อพฺภุทาหาสิ แปลว่า กล่าวแล้ว. คำว่า ไม่มีสมณะ

หรือพราหมณ์ที่จะรู้ธรรมทั้งปวง และที่จะเห็นธรรมทั้งปวงในคราว

เดียวกัน ความว่า ผู้ใดจักรู้หรือจักเห็นธรรมทั้งปวงที่เป็นอดีต อนาคตและ

ปัจจุบันด้วยอาวัชชนะดวงเดียว ด้วยจิตดวงเดียว ด้วยชวนะดวงเดียว ผู้นั้น ย่อม

ไม่มี. จริงอยู่ ใคร ๆ แม้นึกแล้วว่า เราจักรู้เรื่องทุกอย่างทีเป็นอดีต ด้วยจิตดวง

เดียว ก็ไม่อาจจะรู้อดีตได้ทั้งหมด จะรู้ได้แต่เพียงวันเดียวเท่านั้น. ส่วนที่เป็น

อนาคตและปัจจุบัน ก็จะไม่รู้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วยจิตนั้น. ในบทนอกนี้ ก็นัยนี้.

ตรัสปัญหานี้ด้วยจิตดวงเดียวอย่างนี้แล. บทว่า เหตุรูป ได้แก่สภาวะแห่ง

เหตุ อันเกิดแต่เหตุ. บทว่า สเหตุรูป ได้แก่ อันเป็นชาติแห่งผลที่มีเหตุ.

บทว่า สมฺปรายิกาห ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

ขอทูลถามถึงคุณอันจะมีในเบื้องหน้า.

บทว่า ปญฺจีมานิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสองค์เป็นที่ตั้ง

แห่งความเพียร ๕ ให้เจือด้วยโลกุตตระในพระสูตรนี้. แต่พระจูฬสมุทเถระ

ผู้อยู่ ณ กวลังคณะ เมื่อเขาถามว่า พระคุณเจ้า ท่านชอบอะไร ดังนี้

ตอบว่า เราชอบใจโลกุตตระอย่างเดียว. บทว่า ปธานเวมตฺตต ได้แก่

ความต่างกันแห่งความเพียร. จริงอยู่ ความเพียรของปุถุชนก็เป็นอย่างอื่น

ของพระโสดาบัน ก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระสกทาคามี ก็เป็นอย่างหนึ่ง

ของพระอนาคามีก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระอรหันต์ก็เป็นอย่างหนึ่ง ของ

พระอสีติมหาสาวก ก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระอัครสาวกทั้งสองก็เป็นอย่าง

หนึ่ง ของพระปัจเจกพุทธเจ้าก็เป็นอย่างหนึ่ง ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า

ก็เป็นอย่างหนึ่ง. ความเพียรของปุถุชน ไม่ถึงความเพียรของพระโสดาบัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

ฯลฯ ความเพียรของพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ไม่ถึงความเพียรของพระสัพพัญญู-

พุทธเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปธานเวมตฺตต วทามิ แปลว่า

อาตมภาพกล่าวความต่างกันด้วยความเพียร ทรงหมายเอาเนื้อความข้อนี้.

บทว่า ทนฺตการณ คจฺเฉยฺยุ ความว่า ในบรรดาการฝึกทั้งหลาย

มีฝึกมิให้โกง ไม่ให้ทิ่มแทง ไม่ให้ทอดทิ้งธุระ เหตุอันใดย่อมปรากฏ

พึงเข้าถึงเหตุอันนั้น. บทว่า ทนฺตภูมี ได้แก่ สู่ภูมิสัตว์ที่ฝึกแล้ว

พึงไป. แม้บุคคล ๔ จำพวกคือ ปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระ

อนาคามีชื่อว่า ผู้ไม่มีศรัทธา ในบททั้งหลายว่า อสฺสทฺโธ เป็นต้น. จริง

อยู่ ปุถุชนชื่อว่าไม่มีศรัทธา เพราะยังไม่ถึงศรัทธาของพระโสดาบัน. พระ-

โสดาบัน... ของพระสกทาคามี. พระสกทาคามี... ของพระอนาคามี. พระ

อนาคามีชื่อว่าไม่มีศรัทธา เพราะยังไม่ถึงศรัทธาของพระอรหันต์. ความอาพาธ

ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่พระอรหันต์ เพราะฉะนั้น อาพาธแม้ทั้ง ๕ ย่อมชื่อว่า

เป็นอาพาธมาก. ก็พระอริยสาวกย่อมไม่มีชื่อว่า ผู้โอ้อวด ผู้มีมารยา. เพราะ

เหตุนั้นแหละ พระเถระจึงกล่าวว่า เราชอบใจที่ตรัสองค์แห่งความเพียร

๕ ให้เจือด้วยโลกุตตระ. ส่วนในอัสสขฬุงคสูตรตรัสไว้ว่า ชื่อว่า สัมโพธิ

แม้แห่งพระอริยสาวกมาแล้ว ในพระดำรัสนี้ว่า ตโย จ ภิกฺขเว อสฺส-

ขฬุงฺเค ตโย จ ปริสขฬุงฺเค เทสิสฺสามิ ด้วยอำนาจแห่งปุถุชนเป็นต้น

นั้น จึงตรัสว่า เจือด้วยโลกุตตระ.

ฝ่ายปุถุชน ยังไม่ถึงพร้อมซึ่งความเพียรในโสดาปัตติมรรค ฯลฯ

พระอนาคามี ยังไม่ถึงพร้อมซึ่งความเพียรในพระอรหัตตมรรค. แม้เป็น

ผู้เกียจคร้าน ก็มี ๔ เหมือนกัน ดุจผู้ไม่มีศรัทธา. ท่านผู้มีปัญญาทราม ก็

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

เหมือนกัน . อนึ่ง พึงทราบการเทียบเคียงด้วยข้ออุปมาในฝ่ายดำ ด้วยคำว่า

อทนฺตหตฺถิอาทโยวิย (เหมือนช้างที่ยังมิได้ฝึกเป็นต้น ) และในฝ่ายขาวด้วย

คำว่า ยถา ปน ทนฺตหตฺถิอาทโย (เหมือนอย่างช้างที่ฝึกแล้วเป็นต้น) ดังนี้

เป็นต้น. ก็บุคคลที่เว้นจากมรรคปธาน เปรียบเหมือนช้างเป็นต้นที่ยังมิได้ฝึก

ผู้มีมรรคปธาน เปรียบเหมือนช้างเป็นต้นที่ฝึกแล้ว. ช้างเป็นต้นที่ยังมิได้ฝึก ก็

ไม่อาจเพื่อจะไม่กระทำอาการโกง หนี สลัดธุระไปยังการฝึกแล้ว หรือถึงที่

ที่เขาฝึกแล้วได้ฉันใด ท่านผู้เว้นจากมรรคปธาน ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมไม่

อาจเพื่อบรรลุคุณที่ท่านผู้มีมรรคปธานพึงถึง หรือพึงยังคุณที่ผู้มีมรรคปธาน

พึงให้เกิดให้บังเกิดขึ้น.

อนึ่ง ช้างเป็นต้นที่ฝึกแล้ว ก็ไม่กระทำอาการโกง ไม่ทิ่มแทง

ไม่สลัดธุระ ย่อมอาจไปยังที่ที่สัตว์ฝึกแล้วพึงไป หรือพึงถึงภูมิที่สัตว์

ฝึกแล้วพึงถึงฉันใด ผู้มีมรรคปธาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ก็อาจบรรลุคุณที่ผู้มี

มรรคปธานพึงบรรลุ อาจยังคุณที่ผู้มีมรรคปธานพึงให้เกิดให้บังเกิดขึ้นได้.

ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ผู้มีโสดาปัตติมรรคปธาน ย่อมอาจบรรลุโอกาส

ที่ผู้มีโสดาปัตติมรรคปธานบรรลุ เพื่อจะยังคุณที่ผู้มีโสดาปัตติมรรคปธาน

พึงให้บังเกิด บังเกิดขึ้นได้ ฯลฯ ผู้มีอรหัตตมรรคปธาน ย่อมอาจเพื่อบรรลุ

โอกาสที่ผู้มีอรหัตตมรรคปธานบรรลุ เพื่อยังคุณที่ผู้มีอรหัตตมรรคปธานพึง

ให้บังเกิดขึ้น บังเกิดขึ้นได้.

บทว่า สมฺมปฺปธานา ได้แก่ ความเพียรชอบ คือ การกระทำต่อ

เนื่องด้วยมรรคปธาน. ข้อว่า อาตมภาพย่อมไม่กล่าวการกระทำต่างกัน

อย่างไร คือ วิมุตติกับวิมุตติ ความว่า การกระทำต่าง ๆ กันปรารภผล

วิมุตติของตนนอกนี้ กับผลวิมุตติของคนหนึ่ง ที่ควรจะกล่าวอันใด เราย่อม

ไม่กล่าวถึงการกระทำต่างกันที่ควรกล่าวนั้นอย่างไร คือ เรากล่าวว่า ไม่มีความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

ต่างกัน. คำว่า อจฺฉิยา วา อจฺฉึ ความว่า หรือเปลวไฟกับเปลวไฟ. แม้ใน

๒ บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บทว่า อจฺฉึ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ใน

อรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. บทว่า กึ ปน ตฺว มหาราช ความว่า ดูก่อนมหาราช

พระองค์ไม่ทรงทราบหรือว่า เทวดามีอยู่อย่างนี้คือ มีเทวดาชั้นจาตุมหาราช

มีเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ มีเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีเทวดาชั้นสูง ๆ ขึ้น

ไปอีก พระองค์ตรัสอย่างนี้ เพราะเหตุใด.

แต่นั้น พระราชาเมื่อจะตรัสถามคำนี้ว่า ข้าพระองค์รู้ว่ามี แต่เทวดา

ทั้งหลายมาสู่มนุษยโลกหรือไม่มาสู่มนุษยโลก จึงตรัสคำว่า ยทิ วา เต

ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น. บทว่า สพฺยาปชฺฌา ได้แก่มีทุกข์ คือยังละทุกข์

ทางใจไม่ได้ โดยละได้เด็ดขาด. บทว่า อาคนฺตาโร ความว่า ผู้มาโดย

อำนาจอุปบัติ. บทว่า อพฺยาปชฺฌา ได้แก่ ตัดความทุกข์ได้เด็ดขาด. บทว่า

อนาคนฺตาโร ได้แก่ผู้ไม่มาด้วยมสามารถแห่งอุปบัติ.

บทว่า ปโหติ แปลว่า ย่อมอาจ. จริงอยู่ พระราชาย่อมอาจกระ

ทำผู้ที่ถึงพร้อมด้วยลาภแลสักการะแม้มีบุญโดยที่ไม่มีใครจะเข้าไปใกล้ได้ให้

เคลื่อนจากฐานะนั้น. ย่อมอาจกระทำแม้ผู้ไม่มีบุญนั้น ผู้ไม่ได้สิ่งสักว่าเที่ยว

ไปสู่บ้านทั้งสิ้น เพื่อปิณฑะ แล้วยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ โดยประการที่จะ

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยลาภและสักการะให้เคลื่อนจากฐานะนั้น. ย่อมอาจเพื่อ

ประกอบแม้ผู้มีพรหมจรรย์กับหญิงให้ถึงศีลพินาศ ให้สึกโดยพลการหรือ

ให้เคลื่อนจากฐานะนั้น. ไม่ให้อำมาตย์ผู้เพียบพร้อมด้วยกามคุณ แม้มิได้

ประพฤติพรหมจรรย์ให้เข้าไปสู่เรือนจำ ไม่ให้เห็นแม้หน้าของหญิงทั้งหลาย

ชื่อว่า ย่อมให้เคลื่อนจากฐานะนั้น. แต่เมื่อให้เคลื่อนจากรัฐ ชื่อว่า ขับไล่

ไปตามต้องการ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

บทว่า ทสฺสนายปิ นปฺปโหนฺติ ความว่า เทพผู้มีทุกข์ ย่อมไม่

อาจแม้เพื่อจะเห็นด้วยจักษุวิญญาณ ซึ่งเทพผู้ไม่มีทุกข์ชั้นกามาวจรก่อน. ถาม

ว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่มีฐานะในภพนั้น โดยสมควร. แต่ย่อมอาจ

เพื่อจะเห็นด้วยจักษุวิญญาณ ซึ่งเทพชั้นรูปาวจรว่า ย่อมยืนอยู่ด้วย ย่อม

นั่งอยู่ด้วยในวิมานเดียวกันนั่นเทียว. แต่ไม่อาจเพื่อจะเห็น เพื่อจะกำหนด

เพื่อจะแทงตลอด ลักษณะที่เทพเหล่านี้ เห็นแล้ว กำหนดแล้ว แทงตลอด

แล้ว. ย่อมไม่อาจเพื่อจะเห็นด้วยญาณจักษุ (ด้วยประการฉะนี้). ทั้งไม่อาจเพื่อ

จะเห็นเทพที่สูง ๆ ขึ้นไป แม้ด้วยการเห็นด้วยจักษุวิญญาณแล. บทว่า โก

นาโม อย ภนฺเต ความว่า พระราชาแม้ทรงรู้จักพระเถระ ก็ตรัสถามเหมือน

ไม่รู้จัก. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะเป็นผู้ใคร่เพื่อทรงสรรเสริญ.

บทว่า อานนฺทรูโป ได้แก่มีสภาวะน่ายินดี. แม้การตรัสถามถึงพรหม ก็พึง

ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเทียว. บทว่า อถโข อญฺญตโร ปุริโส ความ

ว่า ได้ยินว่า ถ้อยคำนั้น วิฑูฑภะนั่นเอง ตรัสแล้ว. ชนเหล่านั้น โกรธ

แล้วว่า ท่านกล่าวแล้ว ท่านกล่าวแล้ว จึงให้หมู่พลของตน ๆ ลุกขึ้นกระ

ทำแม้การทะเลาะซึ่งกันและกัน ในที่นั้นนั่นเทียว ราชบุรุษนั้นได้กล่าวคำนั้น

เพื่อจะห้ามเสียด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น. อนึ่ง

เทศนานี้ จบลงแล้วด้วยสามารถแห่งไนยบุคคล ดังนี้แล.

จบอรรถกถากรรณกัตถลสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

รวมพระสูตรที่มีในราชวรรค

๑. ฆฏิการสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๒. รัฏฐปาลสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๓. มฆเทวสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๔. มธุรสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๕. โพธิราชกุมารสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๖. อังคุลิมาลสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๗. ปิยชาติกสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๘. พาหิติยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๙. ธรรมเจติยสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

๑๐. กรรณกัตถลสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

พราหมณวรรค

๑. พรหมายุสูตร

[๕๘๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในวิเทหชนบทพร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป. ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อพรหมายุอาศัย

อยู่ในเมืองมิถิลา เป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ มี

อายุ ๑๒๐ ปีแต่กำเนิด รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ

พร้อมทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เข้าใจตัวบท เข้าใจ

ไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ

พรหมายุพราหมณ์ได้ฟังข่าวมาว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจาก

ศากยสกุล เสด็จเที่ยวจาริกไปในวิเทหชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

ประมาณ ๕๐๐ รูป ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไป

แล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระ-

อรหันต์...เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้

พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของ

พระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม

ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์

สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นความดีแล.

[๕๘๕] ก็สมัยนั้นแล มาณพชื่อว่าอุตตระเป็นศิษย์ของพรหมายุ-

พราหมณ์เป็นผู้รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ พร้อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

ทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์

ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ ครั้งนั้น พรหมายุ-

พราหมณ์ได้เรียกอุทตรมาณพมาเล่าว่า พ่ออุตตระ พระสมณโคดมศากยบุตร

พระองค์นี้ ทรงผนวชจากศากยสกุล เสด็จเที่ยวไปในวิเทหชนบทพร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ก็กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมพระองค์นั้น

ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็น

พระอรหันต์ ฯลฯ ก็การได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นความดี

แล ไปเถิดพ่ออุตตระ พ่อจงไปเข้าเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วจงรู้

พระสมโคดมว่า กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไปแล้ว เป็น

จริงอย่างนั้นหรือว่าไม่เป็นจริงอย่างนั้น ท่านพระโคดมพระองค์นั้นเป็นเช่นนั้น

หรือว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราทั้งหลายจักเห็นแจ้งท่านพระโคดมพระองค์นั้นเพราะ

พ่ออุตตระ. อุตตรมาณพถามวา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าจักรู้ท่าน

พระโคดมพระองค์นั้นว่า กิตติศัพท์ของท่านพระโคดมขจรไปแล้ว เป็นอย่าง

นั้น ท่านพระโคดมพระองค์นั้นเป็นเช่นนั้น หรือว่าไม่เป็นเช่นนั้น ได้

อย่างไรเล่า.

พ. พ่ออุตตระ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ มาแล้วในมนต์ของ

เราทั้งหลาย ที่พระมหาบุรุษประกอบแล้วย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็น

อย่างอื่นคือ ถ้าอยู่ครอบครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม

เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีสมุทรสาคร ๔ เป็นขอบเขต

ทรงชนะแล้ว ทรงมีราชอาณาจักรอันมั่นคง ทรงมีความเป็นผู้แกล้วกล้า ทรง

สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นาง

แก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วน

กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

ทรงชำนะโดยธรรม ไม่ต้องใช้พระราชอาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา ทรงครอบ

ครองแผ่นดินนี้อันมีสาครเป็นขอบเขต ถ้าและเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต

จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก พ่อ

อุตตระ ฉันเป็นผู้สอนมนต์ ท่านเป็นผู้เรียนมนต์.

[๕๘๖] อุตตรมาณพรับคำพรหมายุพราหมณ์แล้ว ลุกจากที่นั่ง ไหว้

พรหมายุพราหมณ์ กระทำประทักษิณแล้ว หลีกจาริกไปทางที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับอยู่ ในวิเทหชนบท เที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ได้เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่าน

การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้พิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการโดยมาก ในพระกายของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เว้น อยู่ ๒ ประการ คือพระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก ๑ พระชิวหา

ใหญ่ จึงยังเคลือบแคลง สงสัยไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระมหาปุริส-

ลักษณะ ๒ ประการ.

[๕๘๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงมีพระดำริว่า อุตตร

มาณพนี้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของเราโดยมากเว้นอยู่ ๒ ประการ

คือคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก ๑ ชิวหาใหญ่ ๑ จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อม

ใจเธอ ไม่เลื่อมใส ในพระมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ ลำดับนั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้อุตตรมาณพได้เห็นพระ

คุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าช่องพระกรรณทั้งสอง

กลับไปมาสอดเข้าช่องพระนาสิกทั้งสองกลับไปมา ทรงแผ่พระชิวหาปิดมณฑล

พระนลาฏทั้งสิ้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

[๕๘๘] ครั้งนั้นแล อุตตรมาณพได้มีความคิดว่า พระสมณโคดม

ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อย่ากระนั้นเลย เราพึงติด

ตามพระสมณโคดม พึงดูพระอิริยาบถของพระองค์เถิด ครั้งนั้นแล อุตตร

มาณพได้ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปตลอด ๗ เดือน ดุจพระฉายาติดตาม

พระองค์ไปฉะนั้น. ครั้งนั้นอุตตรมาณพได้เที่ยวจาริกไปทางเมืองมิถิลา ใน

วิเทหชนบทโดยล่วงไป ๗ เดือน เมื่อเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ได้เข้าไปหา

พรหมณ์ที่เมืองมิถิลาไหว้พรหมายุพราหมณ์แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว พรหมายุพราหมณ์ได้ถามว่า พ่ออุตตรมาณพ กิตติศัพท์ของท่าน

พระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วเป็นจริงอย่างนั้นไม่เป็นอย่างอื่นหรือ ก็

ท่านพระโคดมพระองค์นั้นเป็นเช่นนั้นไม่เป็นเช่นอื่นแลหรือ.

มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

[๕๘๙] อุตตรมาณพตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กิตติศัพท์ของท่าน

พระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วเป็นจริงอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น และท่าน

พระโคดมพระองค์นั้นเป็นเช่นนั้นจริง ไม่เป็นอย่างอื่น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการคือ

๑. ท่านพระโคดมพระองค์นั้นมีพระบาทประดิษฐานอยู่

ด้วยดี แม้ข้อนี้ก็เป็นมหาปุริสลักษณะแห่งมหาบุรุษ ของท่านพระ-

โคดมพระองค์นั้น

๒. มีลายจักรอันมีกำพันหนึ่ง มีกงพันหนึ่ง มีดุมพันหนึ่ง

บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง เกิดภายใต้ฝ่าพระบาททั้งสอง

๓. ทรงมีพระส้นยาว

๔. ทรงมีพระองคุลียาว

๕. ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม

๖. ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทเป็นลายตาข่าย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

๗. ทรงมีพระบาทสูงนูน

๘. พระมีพระชงฆ์เรียวดังแข้งเนื้อทราย

๙. ทรงประทับยืนตรง ไม่ค้อมลง ฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบ

คลำพระชานุมณฑลทั้งสองได้

๑๐. ทรงมีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก

๑๑. ทรงมีพระฉวีรรณดังทองคำ

๑๒. ทรงมีพระฉวีละเอียดดังผิวทองคำเพราะทรงมีพระฉวี

ละเอียดฝุ่นละอองไม่ติดพระกาย

๑๓. ทรงมีพระโลมาขุมละเส้น

๑๔. ทรงมีพระโลมาปลายงอนขึ้นเบื้องบนทุกเส้น สีเขียว

ดังดอกอัญชัน ขอเป็นมณฑลทักษิณาวัฏ

๑๕. ทรงมีพระกายตรงดังกายพรหม

๑๖. ทรงมีพระกายเต็มในที่ ๗ แห่ง

๑๗. มีพระกายเต็มดังกึ่งกายเบื้องหน้าแห่งสีหะ

๑๘. ทรงมีพระปฤษฎางค์เต็ม

๑๙. ทรงมีปริมณฑลดังต้นนิโครธ มีพระกายกับวาเท่ากัน

๒๐. ทรงมีพระศอกลมเสมอ

๒๑. ทรงมีเส้นประสาทสำหรับรับรสหมดจดดี

๒๒. ทรงมีพระหนุดังคางราชสีห์

๒๓. ทรงมีพระทนต์ ๔๐ ซี่

๒๔. ทรงมีพระทนต์เสมอ

๒๕. ทรงมีพระทนต์ไม่ห่าง

๒๖. ทรงมีพระทาฐาอันขาวงาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

๒๗. ทรงมีพระชิวหาใหญ่ยาว

๒๘. ทรงมีพระสุรเสียงดังเสียพรหม

๒๙. ทรงมีพระเนตรดำสนิท

๓๐. ทรงมีดวงพระเนตรดังตาโค

๓๑. ทรงมีพระอุณาโลมขาวละเอียดอ่อนดังสำลี เกิด

ระหว่างพระโขนง

๓๒. มีพระเศียรกลมเป็นปริมณฑลดังประดับด้วยกรอบ

พระพักตร์.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงประกอบด้วย

มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนี้แล และท่านพระโคดมพระองค์นั้น เมื่อจะ

เสด็จดำเนิน ทรงก้าวพระบาทเบื้องขวาก่อน ไม่ทรงยกพระบาทไกลนัก ไม่ทรง

วางพระบาทใกล้นัก ไม่เสด็จดำเนินเร็วนัก ไม่เสด็จดำเนินช้านัก เสด็จ-

ดำเนินพระชานุไม่กระทบพระชานุ ข้อพระบาทไม่กระทบข้อพระบาท ไม่ทรง

ยกพระอุรุสูง ไม่ทรงทอดพระอุรุไปข้างหลัง ไม่ทรงกระแทกพระอุรุ ไม่ทรง

ส่ายพระอุรุ เมื่อเสด็จดำเนินพระกายส่วนบนไม่หวั่นไหว ไม่เสด็จดำเนินด้วย

กำลังพระกาย เมื่อทอดพระเนตร ก็ทอดพระเนตรด้วยพระกายทั้งหมด ไม่

ทอดพระเนตรขึ้นเบื้องบน ไม่ทอดพระเนตรลงเบื้องต่ำ เสด็จดำเนินไม่ทรง

เหลียวแล ทอดพระเนตรประมาณชั่วแอก ยิ่งกว่านั้น พระองค์ทรงมีพระ-

ญาณทัสสนะอันไม่มีอะไรกัน เมื่อเสด็จเข้าสู่ละแวกบ้าน ไม่ทรงยืดพระกาย

ไม่ทรงย่อพระกาย ไม่ทรงห่อพระกาย ไม่ทรงส่ายพระกาย เสด็จเข้าประทับ

นั่งอาสนะไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก ไม่ประทับนั่งเท้าพระหัตถ์ ไม่ทรงพิงพระกาย

ที่อาสนะ เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงคะนองพระหัตถ์ ไม่ทรงคะนอง

พระบาท ไม่ประทับนั่งชันพระชานุ ไม่ประทับนั่งซ้อนพระบาท ไม่ประทับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

นั่งยันพระหนุ เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน ไม่ทรงครั่นคร้าม ไม่ทรงหวั่นไหว

ไม่ทรงขลาด ไม่ทรงสะดุ้ง ทรงปราศจากโลมชาติชูชัน ทรงเวียนมาในวิเวก

เมื่อประทับนั่งในละแวกบ้าน เมื่อทรงรับน้ำล้างบาตร ไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ

ไม่ทรงลดบาตรลงรับ ไม่ทรงจ้องบาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรรับ ทรง

รับน้ำล้างบาตรไม่น้อยนัก ไม่มากนัก ไม่ทรงล้างบาตรดังขลุก ๆ ไม่ทรงหมุน

บาตรล้าง ไม่ทรงวางบาตรที่พื้น ทรงล้างบนพระหัตถ์ เมื่อทรงล้างพระหัตถ์

แล้ว ก็เป็นอันทรงล้างบาตรแล้ว เมื่อทรงล้างบาตรแล้ว เป็นอันทรงล้าง

พระหัตถ์แล้ว ทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก และทรงเทไม่ให้น้ำ

กระเซ็น เมื่อทรงรับข้าวสุก ไม่ทรงลดบาตรลงรับ ไม่ทรงลดบาตรลงรับ ไม่

ทรงจ้องบาตรคอยรับ ไม่ทรงแกว่งบาตรรับ ทรงรับข้าวสุกไม่น้อยนัก ไม่มาก

นัก ทรงรับกับข้าวเสวยอาหารพอประมาณกับข้าว ไม่ทรงน้อมคำข้าวให้เกิน

กว่ากับ ทรงเคี้ยวคำข้าวในพระโอษฐ์สองสามครั้งแล้วทรงกลืน เยื่อข้าวสุกยัง

ไม่ระคนกันดีเล็กน้อย ย่อมเข้าสู่พระกาย ไม่มีเยื่อข้าวสุกสักนิดหน่อยเหลืออยู่ใน

พระโอษฐ์ ทรงน้อมคำข้าวเข้าไปแต่กึ่งหนึ่ง ทรงทราบรสได้อย่างดีเสวยอาหาร

แต่ไม่ทรงทราบด้วยดีด้วยอำนาจความกำหนัดในรส เสวยอาหารประกอบด้วย

องค์ ๘ ประการ คือ ไม่เสวยเพื่อนเล่น ๑ ไม่เสวยเพื่อมัวเมา ๑ ไม่

เสวยเพื่อประดับ ๑ ไม่เสวยเพื่อตกแต่ง ๑ เสวยเพียงดำรงพระกาย

นี้ไว้ ๑ เพื่อยังพระชนมชีพให้เป็นไป ๑ เพื่อป้องกันความลำบาก ๑

เพื่อทรงอนุเคราะห์ ๑ ด้วยทรงพระดำริว่า เพียงเท่านี้ก็จักกำจัดเวทนาเก่า

ได้ จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ร่างกายของเราจักเป็นไปสะดวก จักไม่มีโทษ

และจักมีความอยู่สำราญ เมื่อเสวยภัตตาหารเสร็จแล้ว เมื่อจะทรงรับน้ำล้าง

บาตร ไม่ทรงชูบาตรขึ้นรับ ไม่ทรงลดบาตรลงรับ ไม่ทรงจ้องบาตรคอยรับ

ไม่ทรงแกว่งบาตรรับ ทรงรับน้ำล้างบาตรไม่น้อยนัก ไม่มากนัก ไม่ทรงล้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

บาตรดังขลุก ๆ ไม่ทรงหมุนบาตรล้าง ไม่ทรงวางบาตรที่พื้น ทรงล้างบนพระ-

หัตถ์แล้ว ก็เป็นอันทรงล้างบาตรแล้ว เมื่อทรงล้างบาตรแล้ว ก็เป็นอันล้าง

พระหัตต์แล้ว ทรงเทน้ำล้างบาตรไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นัก และทรงเทไม่ให้น้ำ

กระเซ็น เมื่อเสวยภัตตาหารเสร็จแล้ว ไม่ทรงวางบาตรที่พื้น ทรงวางในที่ไม่

ไกลนัก ไม่ใกล้นัก จะไม่ทรงต้องการบาตรก็หามิได้ แต่ก็ไม่ตามรักษาบาตรจน

เกินไป เมื่อเสวยเสร็จแล้ว ประทับนิ่งเฉยอยู่ครู่หนึ่ง แต่ไม่ทรงยังเวลาแห่ง

การอนุโมทนาให้ล่วงไป เสวยเสร็จแล้วก็ทรงอนุโมทนา ไม่ทรงติเตียนภัตนั้น

ไม่ทรงหวังภัตอื่น ทรงชี้แจงให้บริษัทนั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริง ด้วยธรรมกถา ครั้นแล้วทรงลุกจากอาสนะเสด็จไป ไม่เสด็จเร็วนัก

ไม่ผลุนผลันเสด็จไป ไม่ทรงจีวรสูงเกินไป ไม่ทรงจีวรต่ำเกินไป ไม่ทรงจีวร

แน่นติดพระกาย ไม่ทรงจีวรกระจุยกระจายจากพระกาย ทรงจีวรไม่ให้ลมพัด

แหวกได้ ฝุ่นละอองไม่ติดพระกาย เสด็จถึงพระอารามแล้วประทับนั่ง ครั้น

ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ถวายแล้ว จึงทรงล้างพระบาท ไม่ทรงประกอบ

การประดับพระบาท ทรงล้างพระบาทแล้ว ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกาย

ตรงดำรงพระสติไว้เบื้องพระพักตร์ ไม่ทรงดำริเพื่อเบียดเบียนพระองค์เอง ไม่

ทรงดำริเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทรงดำริเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย ประทับนั่ง

ทรงดำริแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่พระองค์ สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น สิ่งที่เป็น

ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่โลกทั้งปวง เนื้อประทับอยู่ใน

พระอารามทรงแสดงธรรมในบริษัท ไม่ทรงยอบริษัท ไม่ทรงรุกรานบริษัท

ทรงชี้แจงให้บริษัทเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา

ทรงมีพระสุรเสียงอันก้องเปล่งออกจากพระโอษฐ์ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

คือ สละสลวย ๑ รู้ได้ชัดเจน ๑ ไพเราะ ๑ ฟังง่าย ๑ กลมกล่อม ๑

ไม่พร่า ๑ พระสุรเสียงลึก ๑ มีกังวาล ๑ บริษัทจะอย่างไร ก็ทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

ให้เข้าใจด้วยพระสุรเสียงได้ พระสุรเสียงมิได้ก้องออกนอกบริษัท ชนทั้งหลาย

ที่ท่านพระโคดมทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง

ด้วยธรรมีกถา เมื่อลุกจากที่นั่งไป ยังเหลียวดูโดยไม่อยากจะละไป ต่างรำพึง

ว่า เราได้เห็นท่านพระโคดมพระองค์นั้นเสด็จดำเนิน ประทับยืน เสด็จเข้า

ละแวกบ้าน ประทับนั่งนิ่งในละแวกบ้าน กำลังเสวยภัตตาหารในละแวกบ้าน

เสวยเสด็จแล้วประทับนั่งนิ่ง เสวยเสร็จแล้วทรงอนุโมทนา เมื่อเสด็จกลับมา

ยังพระอาราม เมื่อเสด็จถึงพระอารามแล้วประทับนั่งนิ่งอยู่ เมื่อประทับอยู่ใน

พระอาราม กำลังทรงแสดงธรรมในบริษัท ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรง

พระคุณเช่นนี้ ๆ และทรงพระคุณยิ่งกว่าที่กล่าวแล้วนั้น.

[๕๙๐] เมื่ออุตตรมาณพกล่าวอย่างนี้แล้ว พรหมายุพราหมณ์ลุกจากที่

นั่งห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่

แล้วเปล่งอุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แล้วคิดว่า ไฉนหนอ เราจึงจะได้สมาคม

กับท่านพระโคดมพระองค์นั้น สักครั้งคราว ไฉนหนอ จะพึงได้เจรจาปราศรัย

สักหน่อยหนึ่ง.

[๕๙๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปในวิเทหชนบทโดย

ลำดับ เสด็จถึงเมืองมิถิลา ได้ทราบว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่

ณ มฆเทวอัมพวัน ใกล้เมืองมิถิลา พราหมณ์และคฤหบดีชาวเมืองมิถิลา ได้

สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยสกุล เสด็จเที่ยว

จารึกไปในวิเทหชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จ

ถึงเมืองมิถิลาแล้ว ประทับ อยู่ ณ มฆเทวอัมพวัน ใกล้เมืองมิถิลาแล้ว ก็

กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคคนพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้

เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

ผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก

มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรง

สอนหมู่สัตว์ พร้อมทั่งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตาม ทรงแสดง

ธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหม-

จรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้

เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนี้ย่อมเป็นความดีแล ลำดับนั้นแล พราหมณ์

เละคฤหบดีชาวเมืองมิถิลา ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ครั้นแล้ว บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้

ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมอัญชลีไป

ทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อ

และโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บาง

พวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๕๙๒] พรหมายุพราหมณ์ได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร

ทรงผนวชจากศากยสกุล ประทับอยู่ ณ มฆเทวอัมพวัน ใกล้เมืองมิถิลา

ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์พร้อมด้วยมาณพเป็นอันมาก พากันเข้าไปยัง

มฆเทวอัมพวัน ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์ ได้มีความคิดขึ้นในที่ไม่ไกล

มฆเทวอัมพวันว่า การที่เราไม่ทูลให้ทรงทราบเสียก่อน พึงเข้าไปเฝ้าพระสม-

โคดมไม่สมควรแก่เราเลย ลำดับนั้น พรหมายุพราหณ์เรียกมาณพคนหนึ่งมา

กล่าวว่า มานี่แน่ พ่อมาณเพ พ่อจงเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้ว

จึงทูลถามพระสมณโคดมถึงความมีพระอาพาธน้อย มีพระโรคเบาบาง ทรง

กระปรี้กระเปร่า มีพระกำลัง ทรงพระสำราญ ตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

พระโคดม พรหมายุพราหมณ์ทูลถามท่านพระโคดมถึงความมีพระอาพาธน้อย...

ทรงพระสำราญ และจงทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุพราหมณ์

เป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ มีอายุ ๑๒ ปี แต่

เกิดมา รู้จบไตรเพทพร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ พร้อมทั้งประ-

เภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เข้าใจตัวบท เข้าใจไว้ยากรณ์ ชำนาญ

ในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พราหมณ์

และคฤหบดีมีประมาณเท่าใด ย่อมอยู่อาศัยในเมืองมิถิลา พรหมายุพราหมณ์

ปรากฏว่าเลิศกว่าพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น เพราะโภคะ เพราะมนต์

เพราะอายุและยศ ท่านปรารถนาจะมาเฝ้าท่านพระโคดม.

[๕๙๓] มาณพนั้นรับดำพรหมายุพราหมณ์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม พรหมายุพราหมณ์ทูล

ถามท่านพระโคดมถึงความมีพระอาพาธน้อย... ทรงพระสำราญ ข้าแต่ท่าน

พระโคดม พรหมายุพราหมณ์เป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่... ท่านปรารถนาจะ

มาเฝ้าท่านพระโคดม พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มาณพ พรหมายุ

พราหมณ์ ย่อมรู้กาลอันควรในบัดนี้เถิด.

ครั้งนั้นแล มาณพนั้นจึงเจ้าไปหาพราหมณ์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้

กล่าวกะพรหมายุพราหมณ์ว่า ท่านเป็นผู้อันพระสมณโคดมประทานโอกาสแล้ว

จงรู้กาลอันควรในบัดนี้เถิด.

[๕๙๔] ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า บริษัทนั้นได้เห็นพรหมายุพราหมณ์มาแต่ไกล จึงรีบลุกขึ้นให้โอกาส

ตามสมควรแก่ผู้มีชื่อเสียง มียศ ครั้งนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้กล่าวกะบริษัท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

นั้นว่า อย่าเลยท่านผู้เจริญทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลายนั่งบนอาสนะของตน ๆ

เราจักนั่งในสำนักแห่งพระสมณโคดมนี้ ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

แล้วพิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ในพระกายของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ได้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการโดยมากเว้นอยู่ ๒ ประการ คือ

พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก ๑ พระชิวหาใหญ่ ๑ จึงยังเคลือบแคลง สงสัย

ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ ลำดับนั้น

พรหมายุพราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ข้าแต่พระโคดม มหาปุริสลักษณะ

อันข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ๓๒ ประการ แต่

ยังไม่เห็นอยู่ ๒ ประการในพระกายของ

พระองค์ท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดว่า

นรชน พระคุยหฐานของพระองค์ท่าน

เร้นอยู่ในฝัก ที่ผู้ฉลาดกล่าวว่า คล้ายนารี

หรือพระชิวหาได้นรลักษณ์หรือ พระองค์

มีพระชิวหาใหญ่หรือ ไฉนข้าพเจ้าจึงจะ

ทราบความข้อนั้น ขอพระองค์ทรงค่อยนำ

พระลักษณะนั้นออก ขอได้โปรดทรงกำจัด

ความสงสัยของข้าพเจ้าเถิด ข้าแต่ท่าน

ฤาษี ถ้าพระองค์ประทานโอกาส ข้าพเจ้า

จะขอทูลถามปัญหาที่ข้าพเจ้าปรารถนายิ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

อย่างหนึ่ง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน

และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ.

[๕๙๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดำริว่า พรหมายุ

พราหมณ์เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของเราโดยมาก เว้นอยู่ ๒ ประ-

การคือ คุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก ๑ ลิ้นใหญ่ ๑ ยังเคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อม

ใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ ลำดับนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้พรหมายุพราหมณ์ได้เห็นพระคุยหฐาน

อันเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าช่องพระกรรณทั้งสองกลับไป

มา สอดเข้าช่องพระนาสิกทั้งสองกลับไปมา ทรงแผ่ปิดทั่วมณฑลพระนลาฏ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า

ดูก่อนพราหมณ์ มหาปุริสลักษณะที่

ท่านได้สดับมาว่า ๓๒ ประการนั้น มีอยู่

ในกายของเราครบทุกอย่าง ท่านอย่าสงสัย

เลย ดูก่อนพราหมณ์ สิ่งที่ควรรู้ยิ่งเรารู้ยิ่ง

แล้ว สิ่งที่ควรเจริญเราเจริญแล้วและสิ่งที่

ควรละเราละได้แล้ว เพราะเหตุนั้น เราจึง

เป็นพุทธะท่านเป็นผู้อันเราให้โอกาสแล้ว

เชิญถามปัญหาที่ปรารถนายิ่งอย่างหนึ่ง

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบันและเพื่อ

ความสุขในสัมปรายภพเถิด.

[๕๙๖] ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์ได้มีความดำริว่า เราเป็นผู้

อันพระสมณโคดมประทานโอกาสแล้ว จะพึงทูลถามประโยชน์ในปัจจุบันหรือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

ประโยชน์ในสัมปรายภพหนอ ลำดับนั้นแล พรหมายุพราหมณ์ได้มีความ

คิดว่า เราเป็นผู้ฉลาดในประโยชน์ปัจจุบัน แม้คนอื่น ๆ ก็ถามเราถึงประโยชน์

ในปัจจุบัน ถ้ากระไร เราพึงทูลถามประโยชน์ในสัมปรายภพกะพระสมณโคดม

เถิด ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

ข้าแต่พระองค์เจริญ อย่างไรบุคคล

จึงชื่อว่าเป็นพราหมณ์ อย่างไรชื่อว่าเป็น

ผู้จบเวท อย่างไรชื่อว่าเป็นผู้มีวิชชา ๓

บัณฑิตกล่าวบุคคลเช่นไรชื่อว่าเป็นผู้มี

ความสวัสดี อย่างไรชื่อว่าเป็นพระอรหันต์

อย่างไรชื่อว่ามีคุณครบถ้วน อย่างไรชื่อว่า

เป็นมุนีและบัณฑิตกล่าวบุคคลเช่นไรว่า

เป็นพุทธะ.

[๕๙๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบพราหมณ์ด้วย

พระคาถาว่า

ผู้ใดรู้ระลึกชาติก่อน ๆ ได้ เห็น

สวรรค์และอบาย บรรลุถึงควานสิ้นชาติ

ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนีผู้รู้ยิ่งถึงที่สุด มุนีนั้น

ย่อมรู้จิตอันบริสุทธิ์อันพ้นแล้วจากราคะ

ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ละชาติ

และมรณะได้แล้ว ชื่อว่ามีคุณครบถ้วน

แห่งพรหมจรรย์ ชื่อว่าถึงฝั่งแห่งธรรมทั้ง

ปวง บัณฑิตกล่าวบุคคลผู้เช่นนั้นว่าเป็น

พุทธะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

[๕๙๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พรหมายุพราหมณ์

ลุกขึ้นจากที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบศีรษะลงแทบพระยุคลบาทของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จูบพระยุคลบาทด้วยปาก นวดด้วยฝ่ามือ และประกาศ

ชื่อของตนว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ. ครั้งนั้นแล

บริษัทนั้นเกิดความอัศจรรย์ใจว่า น่าอัศจรรย์นักหนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมา

หนอ ท่านผู้เจริญ พระสมณะเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พรหมายุ

พราหมณ์นี้เป็นผู้มีชื่อเสียง มียศยังทำความเคารพนบนอบอย่างยิ่งเห็นปานนี้

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพรหมายุพราหมณ์ว่า พอละ พราหมณ์

เชิญท่านลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งของตนเถิด เพราะจิตของท่านเลื่อมใสในเราแล้ว

ลำดับนั้น พรหมายุพราหมณ์จึงลุกขึ้นนั่งบนที่นั่งของตน.

[๕๙๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพพิกถาแก่พรหมายุ-

พราหมณ์ คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามทั้งหลาย

อันต่ำทราม เศร้าหมอง และอานิสงส์ในเนกขัมมะ เมื่อใด พระผู้มีพระ-

ภาคได้ทรงทราบว่า พรหมยุพราหมณ์มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน ปราศจากนิวรณ์

มีจิตสูงผ่องใส เมื่อนั้นจึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรม

จักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่พรหมายุพราหมณ์ ณ ที่นั่ง

นั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความ

ดับไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนผ้าขาวที่สะอาด ปราศจากดำ ควรรับน้ำย้อม

ด้วยดี ฉะนั้น.

[๖๐๐] ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์ผู้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรม

แล้ว รู้แจ้งธรรมแล้ว หยั่งทราบธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

จากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเธอผู้อื่นในคำสอนของพระ

ศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก. . . ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ

ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อนึ่ง ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุ

สงฆ์โปรดรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้เถิด พระเจ้าข้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยดุษณีภาพ.

[๖๐๑] ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รับอาราธนาแล้ว จึงลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทำประทักษิณ

แล้วหลีกไปครั้งนั้นพรหมายุพราหมณ์ได้สั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอย่าง

ประณีต ในนิเวศน์ของตนตลอดคืนยังรุ่ง แล้วใช้คนให้ไปกราบทูลเวลาภัตกาล

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว พระเจ้าข้า

ภัตตาหารสำเร็จแล้ว ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตร-

วาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของพรหมายุพราหมณ์

แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดไว้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้น พรหมายุ

พราหมณ์ได้อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำเพียงพอด้วย

ขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของคนตลอด ๗ วัน ครั้งนั้น พอล่วง ๗

วันนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในวิเทหชนบท.

[๖๐๒] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นาน

พรหมายุพราหมณ์ได้ทำกาละ ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมากพากันเข้าไปเฝ้าพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรหมายุพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

ทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นเช่นไร ภพเบื้องหน้าของเขาเป็นเช่นไร พระ

เจ้าข้า.

[๖๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุทั้งหลาย พรหมายุ

พราหมณ์เป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมตามลำดับธรรมไม่เบียดเบียนเราให้ลำบาก

เพราะเหตุแห่งธรรมเลย พรหมายุพราหมณ์เป็นอุปปาติกะ (อนาคามี) จัก

ปรินิพพานในภพนั้นมีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์เบื้อง

ต่ำ ๕ สิ้นไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่น

ชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบ พรหมายุสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

พราหมณวรรค

อรรถกถาพรหมายุสูตร

พรหมายุสูตร ขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในพรหมายุสูตรนั้น คำว่า ใหญ่ ในบทว่า พร้อมกับหมู่ภิกษุ

ใหญ่ นั้น ชื่อว่าใหญ่ เพราะความใหญ่ด้วยคุณบ้าง ใหญ่ด้วยจำนวนบ้าง.

จริงอยู่ หมู่ภิกษุนั้น เป็นหมู่ใหญ่ แม้ด้วยคุณทั้งหลาย. จัดว่าใหญ่เพราะ

ประกอบด้วยคุณมีความมักน้อยเป็นต้น และเพราะนับได้ถึง ๕๐๐ รูป. กับหมู่

แห่งพวกภิกษุ ชื่อว่าหมู่ภิกษุ. อธิบายว่า กับหมู่สมณะที่มีทิฏฐิสามัญญตา และ

สีลสามัญญตา เท่าเทียมกัน. คำว่า พร้อม คือ ด้วยกัน. คำว่า ภิกษุ

ประมาณ ๕๐๐ รูป คือ ชื่อว่ามีประมาณห้า เพราะประมาณห้าแห่งร้อย

ของภิกษุเหล่านั้น. ประมาณท่านเรียกว่า มาตรา. เพราะฉะนั้นจึงมีอธิบายว่า

ภิกษุรู้จักมาตราคือรู้จักประมาณในโภชนะ ที่ตรัสว่า เป็นผู้รู้จักประมาณใน

โภชนะ ฉันใด แม้ในที่นี้ก็พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า มาตราห้าได้แก่

ประมาณห้าแห่งร้อยของภิกษุเหล่านั้น ฉันนั้น. ร้อยทั้งหลายแห่งพวกภิกษุ

ชื่อว่าร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย. กับร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย มีประมาณห้าเหล่านั้น.

คำว่า มีปี ๑๒๐ คือ มีอายุ ๑๒๐ ปี. คำว่า แห่งเวททั้งสาม คือแห่ง

ฤคเวท ยชุรเวท และ สามเวท. ชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง เพราะถึงฝั่งด้วยอำนาจการ

ท่องคล่องปาก. พร้อมด้วย นิฆัณฑุ และเกฏุภะ ชื่อว่าพร้อมกับนิฆัณฑุ

และเกฏุภะ. ศาสตร์ที่ประกาศคำสำหรับใช้แทน นิฆัณฑุศาสตร์ และพฤกษ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

ศาสตร์เป็นต้น ชื่อสนิฆัณฑุ. เกฏุภะ ได้แก่การกำหนดกิริยาอาการที่เป็น

ศาสตร์สำหรับใช้เป็นเครื่องมือของพวกกวี. ชื่อว่าพร้อมทั้งประเภทอักษร

เพราะพร้อมกับประเภทอักษร. คำว่า ประเภทอักษร ได้แก่ สิกขาและนิรุตติ.

คำว่า มีประวัติศาสตร์เป็นที่ห้า คือมีประวัติศาสตร์ ซึ่งได้แก่เรื่องเก่าแก่

ที่ประกอบด้วยคำเช่นนี้ว่า เป็นอย่างนี้ เล่ากันมาว่าเช่นนี้ เป็นที่ห้าแห่ง

พระเวทที่จัดอาถรรพณเวทเป็นที่สี่เหล่านั้น ฉะนั้น จึงชื่อว่า มีประวัติศาสตร์

เป็นที่ห้า. มีประวัติศาสตร์เป็นที่ห้าแห่งพระเวทเหล่านั้น. ชื่อว่าผู้เข้าใจบท

ฉลาดในไวยากรณ์ เพราะถือเอาหรือแสดงบทและไวยากรณ์ที่นอกเหนือจาก

บทนั้นได้อย่างแจ่มแจ้ง. วิตัณฑวาทศาสตร์ เรียกว่า โลกายตะ. คำว่า

ลักษณมหาบุรุษ ได้แก่ตำราประมาณ ๑๒,๐๐๐ เล่ม ที่แสดงลักษณะบุรุษ

ผู้ยิ่งใหญ่ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น มีบทคาถาประมาณ ๑๖,๐๐๐ บท ที่มีชื่อว่า

พุทธมนท์ ซึ่งเป็นเหตุให้รู้ความแตกต่างอันนี้คือ ผู้ประกอบด้วยลักษณะ

เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยลักษณะนี้ เป็นพระอัคร

สาวกทั้งสองด้วยลักษณะนี้ เป็นพระสาวกผู้ใหญ่ แปดสิบท่าน ด้วยลักษณะ

นี้ เป็นพระพุทธมารดา, เป็นพระพุทธบิดา, เป็นอัครอุปัฏฐาก, เป็นอัคร

อุปัฏฐายิกา, เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ด้วยลักษณะนี้. คำว่า เป็นผู้ชำนาญ

ได้แก่ ผู้ทำให้บริบูรณ์ ไม่หย่อนในคัมภีร์โลกายตะ และตำราทายลักษณะ

มหาบุรุษ อธิบายว่า ได้แก่เป็นผู้ไม่ขาดตกบกพร่อง. ผู้ที่ไม่สามารถจำทรง

ทั้งใจความ และคัมภีร์ได้ ชื่อว่า ผู้ขาดตกบกพร่อง. คำที่จะต้องกล่าวในบท

เป็นต้นว่า ได้ยินแล้วแล ก็ได้กล่าวเสร็จแล้วในสาเลยยกสูตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

คำว่า นี้ พ่อ คือพรหมายุพราหมณ์นี้ เพราะเป็นคนแก่ไม่อาจไปได้

จึงเรียกมาณพมากล่าวอย่างนั้น. อนึ่ง พราหมณ์นี้คิดว่า ในโลกนี้ คนที่ถือ

เอาชื่อของผู้ที่ฟุ้งขจรไปว่า ข้าเป็นพุทธะ ข้าเป็นพุทธะ มากล่าวมีมากมาย

เพราะฉะนั้น เพียงแต่ได้ยินมาเท่านั้น เราจึงยังไม่ควรไปหา และเมื่อเข้าไป

หาบางคน หลีกไปเสียเฉย ๆ ก็เป็นเรื่องหนักใจ ทั้งจะเกิดความเสียหายด้วย

เป็นอันว่าทางที่ดี เราควรส่งศิษย์เรา เมื่อรู้ว่าเป็นพุทธะหรือไม่เป็นแล้ว จึง

ค่อยเข้าไปหาเขา เพราะฉะนั้น จึงเรียกมาณพมากล่าวคำเป็นต้นว่า นี้ พ่อ

ดังนี้. บทว่า ต ภควนฺต ได้แก่ ผู้เจริญนั้น. คำว่า เป็นอย่างนั้นจริง ๆ

คือ เป็นจริงอย่างนั้น. ก็คำว่า สนฺต นี้เป็นทุติยาวิภัติ ลงในอรรถว่าเป็น

เช่นนี้. ในคำว่า นี่เธอทำอย่างไรเราเล่า คือ นี่เธอก็เราจะรู้จักท่าน

พระโคดมนั้นได้อย่างไร อธิบายว่า เธอจงบอกเราโดยประการที่เราสามารถ

รู้จักพระโคดมนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โดยประการใด นี้เป็นเพียงคำที่ลง

แทรกเข้ามาเฉย ๆ ก็ได้. คำว่า อย่างไร นี้เป็นคำถามอาการ หมายความว่า

เราจะรู้จักท่านพระโคดมด้วยอาการอย่างไร.

ได้ยินว่า เมื่อลูกศิษย์ว่าอย่างนั้น อุปชฌาย์กล่าวกะเธอเป็นต้นว่า พ่อ

เจ้ายืนอยู่บนแผ่นดิน แล้วมาพูดคล้ายกะว่า ผมมองไม่เห็นแผ่นดิน ยืนอยู่ใน

แสงพระจันทร์และพระอาทิตย์แล้วกลับมาพูดคล้ายกะว่า ผมมองไม่เห็นพระ-

จันทร์และพระอาทิตย์หรือ เมื่อจะแสดงรายละเอียดความรู้ จึงกล่าวคำเป็นต้น

ว่า มาแล้วแล พ่อ. ในคำเหล่านั้น คำว่า มนต์ หมายถึงพระเวท. พวกเทพ

ชั้นสุทธาวาส บางท่าน ทราบว่า นัยว่า พระตถาคตเจ้าจะทรงอุบัติ จึงเอา

ลักษณะมาใส่ไว้ในพระเวท แล้วแปลงตัวเป็นพราหมณ์มาสอนพระเวทว่า

เหล่านี้ ชื่อพุทธมนต์ คิดว่าโดยทำนองนั้น พวกสัตว์ (คน) ผู้ยิ่งใหญ่ จะ

รู้จักพระตถาคตเจ้าได้. เพราะเหตุนั้น มหาปุริลักษณะ จึงมาในพระเวทตั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

แต่ก่อนมา. แต่เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว ก็ค่อย ๆ สูญหายไป.

ฉะนั้น บัดนี้ จึงไม่มี. คำว่า ของมหาบุรุษ คือของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ด้วยการ

ตั้งพระทัย การยึดมั่น ความรู้และความสงสารเป็นต้น. คำว่า สองทางเท่า

นั้น คือที่สุดสองอย่างเท่านั้น. ในเรื่องความรู้ทั่วไป คติศัพท์ เป็นไปใน

ประเภทภพในคำเป็นต้นว่า สารีบุตร ก็คติห้าอย่างเหล่านี้แล. เป็นไปในที่

เป็นที่อยู่ในคำเป็นต้นว่า ป่าใหญ่เป็นคติ (ที่อยู่) ของพวกเนื้อ. เป็นไปใน

ปัญญาในคำเป็นต้นว่า มีคติ (ปัญญา) มีประมาณยิ่ง อย่างนี้. เป็นไปใน

ความสละในคำเป็นต้นว่า ถึงคติ (ความสละ). แต่ในที่นี้พึงทราบว่าเป็นไป

ในความสำเร็จ (หรือที่สุด). แม้ถึงอย่างนั้น ในลักษณะเหล่านั้น ผู้ประกอบ

ด้วยลักษณะเหล่าใด เป็นพระราชา ก็ไม่ใช่ว่า เป็นพระพุทธเจ้าด้วยลักษณะ

เหล่านั้นเลย. แต่ท่านเรียกลักษณะเหล่านั้นเพราะความเสมอกันทางชาติเท่านั้น.

เพราะเหตุนั้น พรหมายุพราหมณ์จึงกล่าวว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่าใด.

คำว่า ถ้าอยู่ครองเรือน คือถ้าอยู่ในเรือน. คำว่า เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

ความว่า เพราะทำให้โลกยินดีด้วยสิ่งอัศจรรย์ ๔ อย่าง และสิ่งสำหรับยึดเหนี่ยว

น้ำใจ ๔ อย่าง จึงชื่อว่า ราชา. เพราะมีการหมุนจักรแก้ว หมุนไปด้วย

สมบัติจักรทั้ง ๔ ให้คนอื่นหมุนไปด้วยสมบัติจักรทั้ง ๔ นั้นด้วย และเพราะ

ทรงพระพฤติประโยชน์เกื้อกูลแก่คนอื่น และประพฤติเพื่อจักรอันได้แก่อิริยาบถ

จึงชื่อว่า จักรพรรดิ. และในที่นี้ คำว่า ราชา เป็นคำทั่ว ๆ ไป. คำว่า

จักรพรรดิ เป็นคำวิเศษณ์ (คุณศัพท์ขยายราชา). เพราะทรงประพฤติเป็น

ธรรม. จึงชื่อว่า ผู้ประกอบด้วยธรรม หมายความว่า ทรงประพฤติด้วยพระ-

ญาณที่ถูกต้อง. เพราะทรงได้รับราชย์โดยธรรม แล้วจึงเป็นราชา จึงชื่อว่า

ธรรมราชา. อีกอย่างหนึ่ง เพราะทรงกระทำเป็นธรรมเพื่อเกื้อกูลคนอื่น จึง

ชื่อว่า ทรงประกอบด้วยธรรม เพราะทรงกระทำเป็นธรรมเกื้อกูลพระองค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

จึงชื่อว่า พระธรรมราชา. เพราะเป็นใหญ่ในแผ่นดินอันมีทะเลหลวง ๔ เป็น

ขอบเขต จึงชื่อว่า จาตุรนต์ อธิบายว่า เป็นใหญ่ในแผ่นดินที่ประดับด้วย

ทวีปทั้งสี่ ซึ่งมีสมุทรทั้ง ๔ ทิศเป็นที่สุด. เพราะทรงชำนะข้าศึกมีความโกรธ

เป็นต้นในภายใน และพระราชาทั้งหมดในภายนอก จึงชื่อว่า ผู้ชำนะพิเศษ.

คำว่า ถึงความมั่นคงในชนบท ความว่า ถึงความแน่นอน ความมั่นคงใน

ชนบท ไม่มีใครทำให้กำเริบได้ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทรงถึงความมั่นคงใน

ชนบท เพราะทรงมีชนบทที่ถึงความมั่นคง ไม่ต้องทรงมีความขวนขวายยินดี

ในการงานของพระองค์ ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลนในชนบทนั้น. บทว่า

อย่างไรนี้ เป็นคำสำหรับลงแทรกเข้ามา. ความว่า แก้วเหล่านั้น ของพระเจ้า

จักรพรรดินั้น คืออะไรบ้าง. ในคำว่า จักรแก้ว เป็นต้น ชื่อว่าจักรแก้ว

เพราะสิ่งนั้นเป็นจักร และชื่อว่าเป็นแก้ว เพราะอรรถว่า ให้ความยินดี. ในทุก

บท ก็เช่นนี้ทั้งนั้น.

ก็ในบรรดารัตนะเหล่านี้ พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงชนะแว่นแคว้นที่ยัง

ไม่ชนะด้วยจักรรัตนะ. ทรงเที่ยวไปตามความสุขสะดวกในแว่นแคว้นด้วย

ช้างแก้ว และม้าแก้ว ทรงรักษาแว่นแคว้นได้ด้วยปริณายกแก้ว. ทรงเสวย

อุปโภคสุขด้วยรัตนะนอกนี้. ก็การประกอบด้วยอำนาจแห่งความอุสสาหะ

แห่งพระเจ้าจักรพรรดินั้น ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยรัตนะที่ ๑ ความประกอบด้วย

ศักดิ์แห่งเจ้า ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยช้างแก้ว ม้าแก้ว และคหบดีแก้ว การ

ประกอบด้วยอำนาจแห่งความฉลาด ย่อมบริบูรณ์ดีด้วยปริณายกแก้วสุดท้าย.

ผลแห่งการประกอบด้วยอำนาจสามประการ ย่อนบริบูรณ์ดีด้วยนางแก้ว และ

แก้วมณี. พระเจ้าจักรพรรดินั้น ทรงเสวยความสุขในการใช้สอยด้วยนางแก้ว

และแก้วมณี. ทรงเสวยอิสริยสุขด้วยรัตนะนอกนี้. อนึ่ง รัตนะ ๓ ข้างต้นของ

พระเจ้าจักรพรรดินั้น ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งกรรมอันกุศลมูลคือ อโทสะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

ให้เกิดแล้ว โดยพิเศษ. รัตนะกลาง ๆ ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งธรรมอัน

กุศลมูลคือ อโลภะให้เกิดแล้ว. รัตนะหลังอันเดียวพึงทราบว่า สำเร็จด้วย

อานุภาพแห่งกรรมอันกุศลมูล คือ อโมหะ ให้เกิดแล้ว ความย่อในรัตนะ

เหล่านี้เท่านี้.

ส่วนความพิสดารพึงถือเอาโดยอุปเทศแห่งรัตนสูตร ในโพชฌังคสังยุต.

อีกอย่างหนึ่ง การพรรณนาพร้อมกับลำดับแห่งการเกิดของรัตนะเหล่านี้ จักมา

ในพาลปัณฑิตสูตร.

บทว่า ปโรสหสฺส แปลว่า เกินกว่าพัน. บทว่า สูรา ความว่า

ผู้มีชาติแห่งคนกล้า. บทว่า วิรงฺครูปา ความว่า มีกายคล้ายเทพบุตร.

อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ก่อน. แต่ในเรื่องนี้มีสภาวะดังต่อไปนี้.

บทว่า วีรา ท่านกล่าวว่า มีความกล้าหาญอย่างสูงสุด. คุณแห่งผู้กล้าหาญ

ชื่อว่า วีรงฺค ท่านกล่าวอธิบายว่า เหตุแห่งผู้กล้า ชื่อวิริยะ... ชื่อว่า วีรังครูป

เพราะอรรถว่า มีรูปร่างองอาจกล้าหาญ ท่านกล่าวอธิบายว่า เหมือนมีร่างกาย

สำเร็จด้วยความกล้าหาญ. บทว่า ปรเสนปฺปมทฺทนา อธิบายว่า ถ้ากองทัพ

อันยืนเผชิญหน้าอยู่ ก็สามารถย่ำยีกองทัพนั้นได้. บทว่า ธมฺเมน ความว่า

ด้วยธรรมคือศีลห้ามีคำว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์ ดังนี้เป็นต้น.

ในคำว่า จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทเจ้า เปิดหลังคา

(คือกิเลส) ในโลกแล้วนี้ ชื่อว่า มีหลังคาอันเปิดแล้ว เพราะเปิดหลังคา

ในโลกอันมืดมนด้วยกิเลส ซึ่งถูกกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ

อวิชชาและทุจริตอันเสมือนหลังคาทั้ง ๗ ปิดแล้วนั้น ทำให้เกิดแสงสว่างโดย

รอบตั้งอยู่แล้ว. ในบรรดาบทเท่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวความเป็น

ผู้ควรแก่การบูชาด้วยบทแรก กล่าวเหตุแห่งความเป็นผู้ควรแก่การบูชานั้น ด้วย

๑. ส ๓/๘๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

บทที่ ๒ เพราะทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวความเป็นผู้มีหลังคาอันเปิด

แล้ว อันเป็นเหตุแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยบทที่ ๓. อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า

มีหลังคาอันเปิดแล้ว เพราะอรรถว่า ทั้งเปิดแล้วทั้งไม่มีเครื่องมุง ท่านกล่าว

อธิบายว่า เว้นจากวัฏฏะ และเว้นจากเครื่องมุงบัง. ด้วยคำนั้น ย่อมเป็นอัน

กล่าวเหตุทั้ง ๒ แห่งบทในเบื้องต้นทั้ง ๒ อย่างนี้ว่า ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์

เพราะไม่มีวัฏฏะ ชื่อว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะไม่มีเครื่องมุงบัง

(หลังคา). ก็ในข้อนั้น ความสำเร็จตอนต้น ย่อมมีด้วยเวสารัชญาณข้อที่ ๒

ความสำเร็จข้อที่ ๒ ย่อมมีด้วยเวสารัชญาณข้อที่ ๑ ความสำเร็จข้อที่ ๓ ย่อมมี

ด้วยเวสารัชญาณข้อที่ ๓ และ ๔. พึงทราบว่า ข้อที่ ๑ ให้สำเร็จธรรมจักษุ

ข้อที่ ๒ ให้สำเร็จพุทธจักษุ ข้อที่ ๓ ให้สำเร็จสมันตจักษุดังนี้บ้าง. ด้วยคำว่า

ตฺว มนฺตาน ปฏิคฺคเหตา นี้ ย่อมให้เกิดความกล้าแก่มาณพนั้น.

แม้อุตตรมาณพนั้น ปราศจากความเคลือบแคลงในลักษณะทั้งหลาย

ตามถ้อยคำของอาจารย์นั้น ตรวจดูพุทธมนต์อยู่ประดุจเกิดแสงเป็นอันเดียวกัน

จึงกล่าวว่า อย่างนั้นขอรับ ดังนี้ . เนื้อความแห่งคำนั้น ดังต่อไปนี้ ข้าแต่

อาจารย์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักกระทำเหมือนอย่างท่านอาจารย์สั่งข้าพเจ้า. บทว่า

สมนฺเนสิ ความว่า ได้ตรวจดูแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ตรวจดูนับอยู่ว่า ๑,๒

ดังนี้ . คำว่า อทฺทสา โข ถามว่า ได้เห็นอย่างไร. ตอบว่า ก็ใคร ๆ ย่อมไม่อาจ

แสวงหาลักษณะแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประทับนั่ง หรือบรรทมได้ แต่เมื่อทรง

ประทับยืน หรือทรงจงกรมอยู่ จึงจะอาจ. เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ครั้นเห็นผู้มาเพื่อจะตรวจดูลักษณะจึงทรงลุกจากอาสนะ. ประทับยืนบ้าง ทรง

อธิฏฐานจงกรมบ้าง. อุตตรมาณพได้เห็นแล้วซึ่งลักษณะแห่งพระองค์ผู้ทรงยัง

อิริยาบถอันสมควรแก่ที่จะเห็นลักษณะ เป็นไปอยู่ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า เยภุยฺเยน คือ โดยมาก หมายความว่า ได้เห็นลักษณะมาก

มิได้เห็นน้อย. แต่นั้น มิได้เห็นลักษณะอันใด จึงกล่าวว่า เปตฺวา เทฺว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

เว้น ๒ ลักษณะ เพื่อแสดงถึงลักษณะ ๒ เหล่านั้น. บทว่า กงฺขติ ความว่า

อุตตรมาณพเกิดความปรารถนาขึ้นว่า น่าอัศจรรย์หนอ เราพึงเห็น (ลักษณะ

อีก ๒ ประการ) . บทว่า วิจิกิจฺฉติ ความว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ซึ่งลักษณะ

เหล่านั้น จากลักษณะนั้น ๆ ย่อมลำบาก คือ ไม่อาจเพื่อจะเห็นได้. บทว่า

นาธิมุจฺจติ ความว่า ย่อมไม่ถึงความตกลงใจ เพราะความสงสัยอื่นนั้น.

บทว่า น สมฺปสีทติ ความว่า แต่นั้นจึงไม่เกิดความเลื่อมใสในพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าว่า พระองค์มีพระลักษณะสมบูรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวความ

สงสัยอย่างอ่อนด้วยความกังขา อย่างกลางด้วยความเคลือบแคลง อย่างแรงด้วย

ความไม่น้อมใจเชื่อ. เพราะยังไม่มีความเลื่อมใส จิตจึงมีความท้อแท้ ด้วยเหตุ

สามอย่างเหล่านั้น. บทว่า โกโสหิเต ได้แก่ อันฝักแห่งไส้ปิดแล้ว. บทว่า

วตฺถคุยฺเห ได้แก่ องคชาต. จริงอยู่ คุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝักของพระผู้มี

พระภาคเจ้า เสมอด้วยห้องปทุม มีสีดุจทอง ดุจคุยหฐานของช้าง. อุตตร-

มาณพนั้น เมื่อไม่เห็นพระคุยหฐานนั้น เพราะผ้าปิดไว้ และความเพียงพอ

แห่งพระชิวหาก็กำหนดไม่ได้ เพราะอยู่ในพระโอษฐ์ จึงมีความสงสัย เคลือบ

แคลงในลักษณะ ๒ นั้น. คำว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงพระดำริว่า ถ้าเราไม่แสดงลักษณะทั้ง ๒

เหล่านี้แก่อุตตรมาณพนี้ มาณพนั้นก็จักไม่หมดความสงสัย เมื่อเขายังมีความ

สงสัยอยู่ แม้อาจารย์ของเขาก็จักไม่หมดความสงสัย ทีนั้นเขาจักไม่มาหาเรา

เมื่อไม่มาก็จักไม่ได้ฟังธรรม เมื่อไม่ได้ฟังธรรม ก็จักมิได้กระทำให้แจ้งซึ่ง

สามัญญผล ๓ แต่เมื่อมาณพนั้นหมดความสงสัยแล้ว ทั้งอาจารย์ของเขาก็หมด

ความสงสัยเข้ามาหาเราแล้ว ฟังธรรมแล้ว ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งผล ๓ ได้ อนึ่ง

เราบำเพ็ญบารมีมากเพื่อประโยชน์อย่างนี้ เราจักแสดงลักษณะเหล่านั้น แก่

อุตตรมาณพนั้นดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขารเห็น

ปานนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

ทรงบันดาลมีรูปเป็นอย่างไร ในเรื่องนี้ มีถ้อยคำที่บุคคลอื่นพึงกล่าว

ได้อย่างไร. คำนั้นพระนาคเสนเถระอันพระเจ้ามิลินท์ถามแล้ว วิสัชนาไว้แล้ว.

ราชา. พระนาคเสนผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำขนาด

ถึงสิ่งที่ทำได้ยาก.

นาค. ทรงทำอะไร มหาบพิตร.

ราชา. พระคุณเจ้า พระองค์ทรงแสดงโอกาสที่ทำให้คนส่วนใหญ่อับ

อายแก่นายอุตตระศิษย์พรหมายุพราหมณ์ แก่พวกพราหมณ์

๑๖ คน ศิษย์ของพาวรี และแก่มาณพ ๓๐๐ คน ศิษย์ของ

เสลพราหมณ์อีกเล่า.

นาค. มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดงพระองคชาต

หรอก ทรงแสดงแต่เงา คือพระองค์ทรงสร้างขึ้นด้วยพระฤทธิ์

แล้วทรงแสดงเพียงรูปเป็นเงาที่อยู่ในผ้านุ่ง รัดสายประคตไว้

แล้วห่มจีวรทับ .

ราชา. เมื่อเห็นเงา ก็ชื่อว่าเห็นพระองคชาต มิใช่หรือครับ .

นาค. ข้อนั้น ยกไว้ก่อนเถิด มหาบพิตร คนเราต้องดูหัวใจให้เห็น

แล้ว จึงจะตรัสรู้ได้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จะต้องทรงเอา

เนื้อหัวใจออกมาแสดงด้วยกระนั้นหรือ.

ราชา. พระนาคเสน ท่านเก่งครับ .

บทว่า นินฺนาเมตฺวา ได้แก่ ทรงยื่น (พระชิวหา) ออก. บทว่า

ทรงสอด ได้แก่ ทรงสอดเข้าทำเหมือนสอดเข็มเย็บผ้ากฐินฉะนั้น . ก็ในข้อ

นั้น พึงทราบว่าประกาศความอ่อนด้วยการกระทำอย่างนั้น ประกาศความยาว

ด้วยการสอดเข้าช่องพระกรรณ ประกาศความบางด้วยการสอดเข้าช่องพระนาสิก

ประกาศความใหญ่ด้วยการปิดพระนลาฏ. อนึ่ง ในคำว่า ช่องพระกรรณ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

ทั้งสอง เป็นต้นนี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า มลทินก็ดี สะเก็ดก็ดี ในช่องพระ-

กรรณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี ย่อมเป็นเหมือนหลอดเงินที่เขาล้างแล้ว

วางไว้. ในช่องพระนาสิกก็เหมือนกัน. ก็แม้ช่องเหล่านั้น ย่อมเป็นเหมือน

หลอดทองที่เขาทำการตระเตรียมไว้เป็นอันดีและเหมือนกับหลอดแก้วมณีฉะนั้น

เพราะฉะนั้น จึงทรงแลบพระชิวหาออกม้วนเข้าไปในที่สุดพระโอษฐ์ไปข้างบน

กระทำดุจเข็มเย็บผ้ากฐิน สอดเข้าสู่ช่องพระกรรณข้างขวา นำออกจากช่องขวานั้น

สอดเข้าทางช่องพระกรรณซ้าย. นำออกจากช่องพระกรรณซ้าย สอดเข้าช่อง

พระนาสิกขวา นำออกจากช่องพระนาสิกขวา สอดเข้าช่องพระนาสิกาซ้ายได้.

ครั้นนำออกจากช่องพระนาสิกซ้ายแล้ว เมื่อจะแสดงความใหญ่ จึงปิดมณฑล

พระนลาฏตลอดทั้งสิ้นด้วยพระชิวหาซึ่งเป็นเหมือนสายฟ้าอันรุ่งเรื่องด้วยผืนผ้า

กัมพลแดง ดุจพระจันทร์ครึ่งซีก ถูกเมฆวลาหกสีแดงปิดไว้กึ่งหนึ่ง และ

ประดุจแผ่นทองฉะนั้น.

บทว่า ยนฺนูนาห ถามว่า เหตุไร อุตตรมาณพจึงคิด. ตอบว่า

อุตตรมาณพ คิดว่าก็เราตรวจดูมหาปุริสลักษณะแล้ว กลับไป หากอาจารย์

ถามว่า พ่ออุตตระ เจ้าเห็นมหาปุริสลักษณะแล้วหรือ ก็จักอาจบอกได้ว่า ขอรับ

ท่านอาจารย์ แต่ถ้าอาจารย์จักถามเราว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำกิริยา

เป็นเช่นไร เราก็ไม่อาจตอบคำถามนั้นได้ แต่เมื่อเราตอบว่า ไม่รู้ อาจารย์ก็

โกรธว่าเราส่งเจ้าไป เพื่อให้ตรวจดูให้รู้ลักษณะทั้งหมดนี้ มิใช่หรือ เหตุไร

ยังไม่รู้. แล้วจึงกลับมาเล่า ฉะนั้น จึงคิดว่า ทำไฉนหนอ แล้วติดตามไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำโอกาสในที่ที่เหลือทั้งหลาย เว้นฐานะ ๔ เหล่านี้

คือ ที่สรงน้ำ ที่ชำระพระโอษฐ์ ที่ชำระขัดสีพระวรกาย ที่ทรงประทับนั่ง

แวดล้อมด้วยนางห้ามของพระราชและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น โดย

ที่สุดแม้ในพระคันธกุฎีแห่งเดียว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

เมื่อกาลล่วงไปผ่านไป ก็ปรากฏว่า ได้ยินว่า มาณพของพรหมายุ-

พราหมณ์ชื่ออุตตระนี้ เที่ยวใคร่ครวญความเป็นพระพุทธเจ้าของพระตถาคตว่า

เป็นพระพุทธเจ้า หรือมิได้เป็น มาณพอุตตระนี้ ชื่อว่าเป็นคนสอบสวน

พระพุทธเจ้า. พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงประทับอยู่ในที่ใด ๆ ย่อมเป็นอันทรง

การทำกิจ ๕ ประการทีเดียว กิจเหล่านั้น ได้แสดงไว้แล้วในหนหลังนั่นเทียว.

ในบรรดากิจเหล่านั้น ในเวลาปัจฉาภัตร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งที่

ธรรมาสน์ ที่เขาตกแต่งแล้วทรงจับพัดอันวิจิตรที่ขจิตด้วยงา แสดงธรรมแก่

มหาชนอยู่ แม้อุตตรมาณพ ก็นั่งอยู่ ณ ที่ไม่ไกล. ในตอนสิ้นสุดการฟังธรรม

พวกคนผู้มีศรัทธา ก็นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเสวยพระกระยาหาร อันจะ

มีในวันพรุ่งนี้ ก็เข้าไปหามาณพด้วยกล่าวอย่างนี้ว่า พ่อ พวกเรานิมนต์พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตัวท่านก็จงมารับภัตรในเรือนของพวกเราพร้อมกับพระผู้มี

พระภาคเจ้า. ในวันรุ่งขึ้น พระตถาคตเจ้าอันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จ

เข้าไปสู่บ้าน. แม้อุตตรมาณพก็ติดสอยห้อยตามไปสำรวจ ทุก ๆ ฝีก้าว. ใน

เวลาที่ตรงเข้าไปสู่เรือนแห่งตระกูล มาณพนั่งตรวจดูอยู่ทุกประการ ตั้งแต่

การถือเอาน้ำเพื่อทักษิณาเป็นต้นไป. ในเวลาเสร็จภัตตกิจ ในเวลาพระตถาคต

เจ้าประทับนั่ง วางบาตรไว้ ณ เชิงบาตร พวกคนก็จัดแจงอาหารเช้าแก่มาณพ.

มาณพนั้น นั่งบริโภค ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง แล้วกลับมายืน ณ ที่ใกล้พระศาสดา

ฟังภัตตานุโมทนา กลับไปยังวิหารพร้อมกับพระผู้มีพระภาคเจ้าทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรอให้ภิกษุทั้งหลายเสร็จภัตตกิจ ประทับนั่ง

ณ ศาลาคันธมณฑลนั้น. ครั้นภิกษุทั้งหลายกระทำภัตตกิจเสร็จพากันเก็บบาตร

และจีวรมาไหว้ กราบทูลกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าคันธกุฎี. แม้

มาณพก็เข้าไปด้วยกัน กับพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน . พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ทรงสั่งสอนหมู่ภิกษุที่มาแวดล้อมแล้วให้แยก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

ย้ายกันไปแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี. มาณพก็เข้าไปด้วย พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงประทับนั่งที่เตียงเล็ก ชั่วเวลาเล็กน้อย. แม้มาณพก็นั่งพิจารณาดูอยู่

ในที่ไม่ไกล. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งชั่วครู่หนึ่ง จึงทรงแสดงการก้ม

พระเศียร.(๑) มาณพคิดว่า จักเป็นเวลาประทับพักผ่อนของพระโคดมผู้เจริญ

แล้วปิดประตูพระคันธกุฎี ออกไปนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. พวกคนถวายทาน

ในกาลก่อนแห่งภัตร บริโภคอาหารเข้าแล้ว สมาทานองค์อุโบสถ ห่มผ้าสะอาด

ถือดอกไม้และของหอมเป็นต้น มาสู่วิหารด้วยคิดว่า จักฟังธรรม เหมือนกับ

เป็นค่ายของพระเจ้าจักรพรรดิฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จสีหไสยาสน์ชั่วครู่หนึ่ง ทรงลุกขึ้น ทรง

กำหนดโดยส่วนเบื้องต้น เข้าสมาบัติ. ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ทราบว่ามหาชน

พากันมา จึงทรงออกจากพระคันธกุฎี อันมหาชนแวดล้อมแล้ว เสด็จไปยัง

ศาลาคันธมณฑล ประทับบนพุทธอาสน์อันประเสริฐที่เขาปูลาดไว้แล้ว ทรง

แสดงธรรมแก่บริษัท. ฝ่ายมาณพนั่งอยู่ ณ ที่ไม่ไกล กำหนดอักขระต่ออักขระ

บทต่อบท ด้วยคิดว่า พระสมณโคดม แสดงธรรม ยกย่องหรือรุกรานบริษัท

ด้วยอำนาจอาศัยเรือนหรือ หรือว่าไม่ทรงแสดงอย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ตรัสกถาอย่างนั้นเลย ทรงทราบกาล ทรงหยุดเทศนา. มาณพกำหนดอยู่

โดยทำนองนี้ เทียวไปแต่ผู้เดียวตลอด ๗ เดือน มิได้เห็นความผิดพลาดแม้

มีประมาณน้อยในกายทวารเป็นต้นของพระผู้มีพระเจ้า. ก็ข้อนี้ยังไม่น่าอัศจรรย์

ทีอุตตรมาณพเป็นมนุษย์มิได้เห็นความผิดพลาดของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์

ยังเป็นพระโพธิสัตว์ เทพบุตรผู้เป็นมาร เป็นอมนุษย์ ก็มิได้เห็น แม้มาตร

ว่าตรึก (วิตก) อาศัยเรือนในสถานที่ทรงบำเพ็ญความเพียรถึง ๖ ปี ยังติดตาม

๑. ฉฺ สีโสกฺกมน สฺ สีโสกมฺปน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

พระองค์ผู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วถึงหนึ่งปี ก็มิได้เห็นความผิดพลาดไร ๆ จึง

กล่าวคาถามีอาทิว่า

เราติดตามรอยพระบาทพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ถึง ๗ ปี ก็มิได้ประสบความ

ผิดพลาดของพระสัมพุทธเจ้าผู้มีสติ ดังนี้

แล้วหลีกไป. แต่นั้น มาณพจึงคิดว่า เราติดตามพระโคดมผู้เจริญอยู่ถึง ๗

เดือน ก็มิได้เห็นโทษไร ๆ แต่ถ้าเราจะพึงติดตามไป แม้อีกสัก ๗ เดือน หรือ

๗ ปี หรือ ๑๐๐ ปี หรือ ๑,๐๐๐ ปี ก็คงจะมิได้เห็นโทษของพระองค์ ก็

แต่ว่าอาจารย์ของเรานั้นก็แก่เฒ่า คงจะไม่อาจทราบความเกษมจากโยคะ เรา

จะบอกว่า พระสมณโคดมเป็นพระพุทธเจ้า ด้วยพระคุณตามที่เป็นจริงทีเดียว

แล้วเล่าเรื่องแก่อาจารย์ของเรา ดังนี้ แล้วทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า ไหว้

ภิกษุสงฆ์ออกไปแล้ว.

ก็แล อุตตรมาณพกลับไปยังสำนักของอาจารย์แล้ว ถูกอาจารย์ถามว่า

พ่ออุตตระ กิตติศัพท์ของพระโคดมผู้เจริญที่ขจรไปมีอยู่เช่นนั้นจริงหรือ จึง

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรจักรวาลคับแคบเกินไป ภวัคคพรหม

ก็ต่ำเกินไป หมู่คุณของพระโคดมผู้เจริญนั้น หาที่สุดมิได้ ประดุจอากาศ

ข้าแต่ท่านอาจารย์ผู้เจริญ กิตติศัพท์ของพระโคดมผู้เจริญนั้น มีอยู่เช่นนั้น

แท้จริง ดังนี้ เป็นต้น จึงบอกมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการตามที่ตนเห็นแล้ว

โดยลำดับแล้ว เล่าถึงกิริยสมาจาร. เพราะฉะนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์จึง

กล่าวว่า ครั้งนั้นแล อุตตรมาณพ ฯลฯ พระโคดมผู้เจริญ เป็นเช่นนี้ด้วย

เป็นเช่นนี้ด้วย และยิ่งกว่านั้น ดังนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุปติฏฺิตปาโท ความว่า เหมือน

อย่างว่า บุคคลทั้งหลายเหล่าอื่นวางเท้าไว้เหนือพื้นดิน ปลายเท้าก็ดี ส้นเท้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

ก็ดี ด้านข้างก็ดี จะถูกพื้นก่อน หรือว่า กลางเท้าเว้า เมื่อยกขึ้น ส่วนหนึ่ง

ที่ปลายเท้าเป็นต้น จะยกขึ้นก่อน แต่ของพระองค์มิได้เป็นอย่างนั้น. ฝ่าพระ-

บาททั้งสิ้นของพระองค์ จะถูกพื้นพร้อมกันทีเดียว ดุจพื้นลาดพระบาททอง

ฉะนั้น ยกจากพื้นก็พร้อมกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระโคดมผู้เจริญ

พระองค์นั้น มีพระบาทประดิษฐานอยู่เป็นอันดี.

ในข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดีนั้น มีข้อ

ที่น่าอัศจรรย์ดังต่อไปนี้ แม้หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่างพระบาทด้วย

ตั้งพระทัยว่า เราจักเหยียบเหวลึกถึงหลายร้อยชั่วคน ในทันใดนั้น ที่ที่ลุ่ม

ก็จะนูนขึ้นมาเสมอแผ่นดิน ประดุจเครื่องสูบของช่างทองเต็มด้วยลมฉะนั้น.

แม้ที่ตอนจะเข้าไปอยู่ภายใน เมื่อทรงย่างพระบาทด้วยตั้งพระทัยว่า เราจัก

เหยียบในที่ไกล ภูเขาแม้มีประมาณเท่าสิเนรุบรรพต ก็จะน้อมมาใกล้พระบาท

ประดุจหน่อหวายที่ชุ่มน้ำแล้วฉะนั้น. จริงอย่างนั้น เมื่อคราวพระองค์ทรง

กระทำยมกปาฏิหาริย์ ทรงย่างพระบาทด้วยตั้งพระทัยว่า จักเหยียบภูเขายุคนธร

ภูเขาก็น้อมมาใกล้พระบาท. พระองค์ทรงเหยียบภูเขานั้น ทรงย่างพระบาท

เหยียมภพดาวดึงส์ด้วยพระบาทที่สอง. ที่พระจักรลักษณะจะพึงประดิษฐาน

ไม่เสมอกันมิได้มี. ตอก็ดี หนามก็ดี ก้อนกรวดกระเบื้องก็ดี อุจจาระปัสสาวะ

ก็ดี น้ำลายน้ำมูกเป็นต้น ก็ดี ที่มีอยู่ก่อนเทียว ก็หายไป หรือจมหายเข้า

แผ่นดินในที่นั้น ๆ. จริงอยู่ ด้วยเดชแห่งศีล ปัญญา ธรรม อานุภาพแห่ง

บารมี ๑๐ ประการ ของพระตถาคตเจ้า มหาปฐพีนี้ย่อมเสมอ นุ่ม เกลื่อนกล่น

ด้วยบุปผชาติ. พระตถาคตเจ้าทรงทอดพระบาทเสมอ (และ) ทรงยกพระบาท

เท่ากัน ทรงสัมผัสแผ่นดินด้วยพื้นพระบาททุกส่วน.

บทว่า จกฺกานิ คือ ที่พระบาททั้ง ๒ ได้มีลายจักรข้างละ ๑ ลายจักร.

ท่านกล่าวไว้ในพระบาลีว่า ที่จักรนั้นมีกำ กง ดุม. ก็และด้วยบทว่า บริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

ด้วยอาการทั้งปวง นี้พึงทราบความต่างกัน ดังต่อไปนี้. ได้ยินว่า จักร

เหล่านั้น ย่อมปรากฏลายดุมตรงกลางพื้นพระบาท. ปรากฏลายเขียนวงกลม

รอบดุม. ที่ปากดุมก็ปรากฏวงกลม. ปรากฏเป็นปากช่อง. ปรากฏเป็นซี่กำ.

ปรากฏเป็นลวดลายกลมที่กำทั้งหลาย. ปรากฏเป็นกง. ปรากฏเป็นกงแก้ว . นี้

มาตามพระบาลีก่อนทีเดียว.

แต่วาระส่วนมากมิได้มาแล้ว. ก็วาระนั้น พึงทราบดังนี้. รูปหอก ๑

รูปโคขวัญ ๑ รูปแว่นส่องพระพักตร์ ๑ รูปสังข์ทักษิณาวัฏฏ์ ๑ รูปดอก

พุดซ้อน ๑ รูปเทริด ๑ รูปปลาทั้งคู่ ๑ รูปเก้าอี้ ๑ รูปปราสาท ๑ รูป

เสาค่าย ๑ รูปเศวตฉัตร ๑ รูปพระขรรค์ ๑ รูปพัดใบตาล ๑ รูปพัด

หางนกยูง ๑ รูปพัดหางนก ๑ รูปกรอบพระพักตร์ ๑ รูปธงชายผ้า ๑ รูป

พวงดอกไม้ ๑ รูปดอกบังเขียว ๑ รูปดอกบัวขาว ๑ รูปดอกบัว

แดง ๑ รูปดอกบัวหลวง ๑ รูปดอกบุณฑริก ๑ รูปหม้อเต็มด้วยน้ำ ๑

รูปถาดเต็มด้วยน้ำ ๑ รูปสมุทร ๑ รูปเขาจักรวาฬ ๑ รูปป่าหิมพานต์ ๑

๑ รูปเขาสิเนรุ ๑ รูปพระจันทร์ ๑ รูปพระอาทิตย์ ๑ รูปหมู่ดาว

นักษัตร ๑ รูปมหาทวีปทั้งสี่ ทวีปน้อย ๒ พัน ๑. โดยที่สุดบริวาร

แห่งจักรลักษณะทั้งสิ้น หมายเอาบริษัทของพระเจ้าจักรพรรดิ.

บทว่า มีพระส้นยาว คือ พระส้นยาว หมายความว่า มีพระส้น

บริบูรณ์. เหมือนอย่างว่าปลายเท้าของคนเหล่าอื่นยาว แข็งตั้งอยู่ ณ ที่สุด

ส้นเท้า ส้นย่อมปรากฏดุจถากตั้งไว้ แต่ของพระตถาคตเจ้าไม่เป็นอย่างนั้น .

สำหรับของพระตถาคตเจ้าใน ๔ ส่วน เป็นปลายเท้าเสีย ๒ ส่วน. แข้งตั้งอยู่

ส่วนที่สาม. ในส่วนที่ ๔ ส้นเท้าเป็นเช่นกับลูกกลมทำด้วยผ้ากัมพลแดงดุจหมุน

ติดอยู่ปลายเหล็กแหลมฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

บทว่า มีพระองคุลียาว ความว่า เหมือนอย่างว่า คนเหล่าอื่น

บางคนนิ้วยาว บางคนนิ้วสั้น ของพระตถาคตเจ้าไม่เป็นอย่างนั้น . ส่วนของ

พระตถาคตเจ้า นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทยาวโคนหนาเรียวเล็กขึ้นไปโดย

ลำดับจนถึงปลาย ดุจนิ้ววานร เป็นดุจลำเทียนที่ขยำด้วยน้ำมันยางไม้ปั้นไว้.

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า พระองคุลียาว.

บทว่า ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ได้แก่ชื่อว่า

มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม เพราะอรรถว่า อ่อนดุจปุยนุ่นที่เขายีถึง

๑๐๐ ครั้ง จุ่มด้วยเนยใสวางไว้ และมีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่นอยู่เป็นนิจ

ดุจของเด็กแรกเกิด.

บทว่า ทรงมีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทเป็นลายตาข่าย ได้แก่

ระหว่างนิ้วไม่ติดกับหนัง. ก็บุคคลเช่นนี้ มีมือดุจพังพานอันปุริสโทษขจัด

เสียแล้ว ย่อมไม่ได้แม้การบรรพชา. แต่ของพระตถาคตเจ้านิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔

นิ้วพระบาททั้ง ๕ มีขนาดเป็นอันเดียวกัน. เพราะนิ้วเหล่านั้นมีขนาดเป็นอัน

เดียวกัน ลักษณะจึงเบียดซึ่งกันและกันตั้งอยู่. ก็พระหัตถ์และพระบาท

ของพระตถาคตเจ้านั้น เช่นกับตาข่ายบานประตูหน้าต่างที่ช่างไม้ผู้ฉลาดขึง

ประกอบไว้. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาท

เป็นลายตาข่าย.

ชื่อว่า ทรงมีพระบาทสูงนูน เพราะอรรถว่าพระบาทของพระองค์สูงนูน.

เพราะมีข้อพระบาทตั้งอยู่ในเบื้องบน. แท้จริง ข้อเท้าของตนเหล่าอื่นมีที่

หลังเท้า. เพราะฉะนั้น เท้าของคนเหล่าอื่น กระด้างเหมือนตอกลิ่ม

ไม่หมุนได้ตามสะดวก. เมื่อเดินไปพื้นเท้าไม่ปรากฏ. แต่ของพระตถาคตเจ้า

ข้อพระบาทขึ้นอยู่เบื้องบน. เพราะฉะนั้น พระกายเบื้องบนของพระองค์ตั้งแต่

พระนาภีไป จึงไม่หวั่นไหวดุจสุวรรณปฏิมาที่อยู่บนเรือ พระกายเบื้องล่างเท่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

ไหว. พระบาทย่อมหมุนไปสะดวก. เมื่อคนยืนดูที่ข้างหน้าก็ดี ข้างหลังก็ดี

ที่ข้างทั้งสองก็ดี พื้นเท้าย่อมปรากฏ. ไม่ปรากฏข้างหลังเหมือนของช้างฉะนั้น.

บทว่า ทรงมีพระสงฆ์เรียวดังแข็งเนื้อทราย คือมีพระชงฆ์เต็ม

เพราะความนูนของเนื้อชื่อว่ามีพระชงฆ์เหมือนเนื้อทราย ไม่มีเนื้อเป็นก้อนติด

เป็นอันเดียวกัน. หมายความว่า ประกอบด้วยแข้งที่มีเนื้อได้ส่วนกันหุ้มแล้ว

กลมดีเช่นกับท้องข้าวสาลีฉะนั้น.

บทว่า อโนนมนฺโต คือไม่ค้อมลง. ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึงความที่

พระองค์ไม่เป็นคนแตระไม่เป็นคนค่อม. คือ คนอื่น ๆ เป็นคนแคระก็มี เป็น

คนค่อมก็มี. กายข้างหน้าของคนแคระไม่บริบูรณ์. กายท่อนหลังของคนค่อม

ไม่บริบูรณ์. คนเหล่านั้นก้มลงไม่ได้ ไม่อาจจะลูบเข่าได้ เพราะกายไม่บริบูรณ์.

สำหรับพระตถาคตเจ้า ชื่อว่าอาจลูบได้ เพราะมีพระกายทั้งสองแห่งบริบูรณ์.

ชื่อว่า ทรงมีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก เพราะอรรถว่า คุยหฐานตั้ง

ลง คือปิดอยู่ในฝัก เช่นกับฝักปทุมทองและดอกกัณณิการ์ เหมือนคุยหฐาน

ของโคอุสภะและช้างเป็นต้น . บทว่า วตฺถคุยฺห ได้แก่ สิ่งที่จะพึงซ่อนเร้น

ด้วยผ้าท่านเรียกว่า องคชาต.

บทว่า ทรงมีพระฉวีวรรณดังทองคำ ความว่า เช่นกับรูปเปรียบ

ทองคำแท่งที่เขาระบายด้วยชาดแดง ขัดด้วยเขี้ยวเสือ ทำการระบายสีแดงวา

ไว้. ด้วยคำนี้ท่านพระสังคีติกาจารย์ แสดงความที่พระองค์มีสรีระละเอียดสนิท

เป็นแต่งแล้ว จึงกล่าวว่า ทรงมีผิวพรรณผ่องใสดุจทอง ก็เพื่อแสดงถึงพระ-

ฉวีวรรณ. อีกนัยหนึ่งคำนี้เป็นไวพจน์ของคำก่อนนั้น.

บทว่า รโชชลฺล ได้แก่ ธุลีหรือมลทิน. บทว่า น อุปลิมฺปติ

ได้แก่ ไม่ติด ย่อมหายไปเหมือนหยาดน้ำกลิ้งไปจากใบบัว. ถึงกระนั้น พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงกระทำการล้างพระหัตถ์และล้างพระบาทเป็นต้น เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

รับไออุ่น และเพื่อผลบุญแก่ทายกทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ย่อมทรงกระทำโดย

เป็นกิจวัตรทีเดียว. ธรรมดาภิกษุผู้จะเข้าสู่เสนาสนะจะต้องล้างเท้าแล้วจึง

เข้าไปท่านกล่าวไว้เช่นนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อุทฺธคฺคโลโม ความว่า ชื่อว่ามีพระโลมาปลายงอนขึ้น

เพราะอรรถว่า พระโลมาของพระองค์มีปลายตั้งขึ้นที่ปลายผมเป็นม้วนกลมตั้ง

อยู่ เหมือนจะมองดูความงามแห่งดวงหน้า.

บทว่า ทรงมีพระกายตรงดังพรหม ความว่า มีพระกายตรงดุจ

พรหม คือมีพระสรีระสูงขึ้นไปตรงทีเดียว. ธรรมดาสัตว์โดยมากจะน้อมลงใน

ที่ ๓ แห่งคือ ที่คอ. ที่สะเอว. ที่เข่า. คนเหล่านั้น เมื่อน้อมไปที่สะเอว ก็จะ

เอนไปข้างหลัง ที่น้อมไปที่ที่ทั้งสองนอกนี้ก็จะเอนไปข้างหน้า. บางพวกมีร่าง

กายสูง มีสีข้างคด. บางพวกหน้าเชิดเที่ยวไป เหมือนคอยนับหมู่ดาวนักษัตร

อยู่ บางพวกมีเนื้อและเลือดน้อย ดุจหลาว เดินสั่นอยู่. แต่พระตถาคตเจ้า

ครั้งขึ้นไปส่งพอประมาณ เป็นเหมือนเสาค่ายทองที่เขายกขึ้น ณ เทพนคร

ฉะนั้น

บทว่า ทรงมีพระกายเต็มในที่ทั้ง ๗ คือ พระตถาคตเจ้านั้นมี

พระมังสะเต็มในที่ ๗ แห่งเหล่านี้คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ หลังพระบาททั้ง ๒

จงอยบ่าทั้ง ๒ พระศอ ๑ ฉะนั้น จึงชื่อว่ามีพระกายเต็มในที่ ๗ แห่ง. ส่วนของ

คนเหล่าอื่นปรากฏเส้นเอ็นเป็นร่างแหที่หลังมือหลังเท้า ที่จงอยบ่าและที่คอ

ตรงปลายเป็นกระดูก. คนเหล่านั้น ย่อมปรากฏดุจดังมนุษย์เปรต. พระตถาคต

เจ้าหาเป็นเช่นนั้นไม่. คือพระตถาคตเจ้าทรงมีพระศอเช่นกับเขาสัตว์ทอง ที่

ขัดด้วยหลังมือแล้ววางไว้ด้วยร่างแหเอ็นเป็นเครื่องปกปิด ชื่อว่าย่อมปรากฏ

เหมือนรูปศิลาและรูปจิตรกรรม เพราะมีพระมังสะเต็มในที่ ๗ แห่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

ชื่อว่ามีพระกายเต็มดังกึ่งกายท่อนหน้าแห่งสีหะ เพราะกายของพระองค์

ดุจท่อนหน้าแห่งสีหะ. คือกายท่อนหน้าแห่งสีหะบริบูรณ์ กายท่อนหลังไม่

บริบูรณ์. ส่วนของพระตถาคตเจ้าพระกายทั้งหมดบริบูรณ์ดุจกายท่อนหน้าของ

สีหะ. แม้พระกายนั้นใช่ว่าจะตั้งอยู่ไม่ดีไม่งาม เพราะโอนไปเอนไปเป็นต้น

ในที่นั้น ๆ ดุจของสีหะหามิได้. แต่ยาวในที่ที่ควรยาว. ในที่ที่ควรสั้น ควร

หนา ควรกลม ก็เป็นเช่นนั้นเทียว.

สมดังที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อผลของกรรมเป็นที่ชอบใจ

ปรากฏแล้ว ย่อมงามด้วยอวัยวะยาวเหล่าใด อวัยวะเหล่านั้นยาวก็ดำรงอยู่

ย่อมงามด้วยอวัยวะสั้นเหล่าใด อวัยวะสั้นเหล่านั้นก็ดำรงอยู่ ย่อมงามด้วยอวัยวะ

หนาเหล่าใด อวัยวะหนาเหล่านั้น ก็ดำรงอยู่ ย่อมงามด้วยอวัยวะบางเหล่าใด

อวัยวะบางเหล่านั้นก็ดำรงอยู่ ย่อมงามด้วยอวัยวะกลมเหล่าใด อวัยวะกลมเหล่า

นั้นก็ดำรงอยู่ อัตตภาพของพระตถาคตเจ้า ความวิจิตรต่าง ๆ สั่งสมแล้ว ด้วย

ความวิจิตรแห่งบุญ อันบารมี ๑๐ ตกแต่งแล้วด้วยประการฉะนี้ ช่างศิลป์ทั้ง

ปวง หรือผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงในโลก ก็ไม่อาจกระทำแม้รูปเปรียบแก่พระตถาคตเจ้า

ได้ดังนี้

บทว่า จิตนฺตรโส ความว่า ระหว่าสี่ข้างทั้งสอง ท่านเรียกว่ามีสี่ข้าง.

สีข้างนั้นของพระองค์งดงาม คือ บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า

จิตนฺรโส แปลว่า มีพระปฤษฎางค์เต็ม. ส่วนสี่ข้างของคนอื่นนั้นต่ำ.

สีข้างด้านหลังทั้งสองย่อมปรากฏแยกกัน . ส่วนของพระตถาคตเจ้าชั้นเนื้อตั้งแต่

สะเอวถึงพระศอขึ้นปิดหลังตั้งอยู่ ดุจแผ่นทองที่เขายกขึ้นไว้สูง.

บทว่า ทรงมีปริมณฑลดังต้นไทรย้อย ความว่า ทรงมีปริมณฑล

ดุจต้นไทรย้อย ต้นไทรย้อยมีลำต้นและกิ่งเท่ากัน ๕๐ ศอก บ้าง ๑๐๐ ศอกบ้าง

มีประมาณเท่ากันทั้งโดยยาว ทั้งโดยกว้างฉันใด มีประมาณเท่ากันทั้งทางพระกาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

บ้าง ทางวาบ้าง ฉันนั้น. ของคนเหล่าอื่น ทั้งกายทั้งวามีประมาณยาวไม่เท่า

กันอย่างนั้น. เพราะฉะนั้นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า ยาวตกฺวสฺส กาโย ดังนี้

เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตกฺวสฺส ตัดเป็น ยาวตโก อสฺส

(ของพระองค์เท่าใด).

บทว่า ทรงมีระศอกลมเสมอกัน คือมีพระศอกลมเสมอกัน. คน

บางพวกมีคอยาว มีคอคดและมีคอหนา เหมือนนกกะเรียน เหมือนนกยาง

ในเวลาพูดเส้นเอ็นบนศีรษะย่อมปรากฏ เสียงออกมาค่อย. ของพระตถาคตเจ้า

นั้นไม่เป็นอย่างนั้น คือของพระตถาคตเจ้ามีพระศอเช่นกับเขาสัตว์ทอง กลมดี.

ในเวลาตรัสเส้นเอ็นไม่ปรากฏ. มีเสียงดังดุจฟ้าร้อง ฉะนั้น .

บทว่า รสตฺตสคฺคี ความว่า ชื่อว่า รสติตสา เพราะอรรถว่า

ประสาทรับรสเลิศ. คำนั้นเป็นชื่อของประสาทเครื่องรับรสอาหาร. ชื่อว่า

รสตฺตสคฺคี เพราะอรรถว่า ประสาทเหล่านั้นของพระองค์เป็นเลิศ. ก็ประสาท

สำหรับรับรสอาหาร ๗,๐๐๐ ของพระตถาคตเจ้ามีปลายตั้งขึ้นต่อที่คอนั่นเอง

อาหารแม้มีประมาณเท่าเมล็ดงาวางบนปลายลิ้น ย่อมแผ่ไปทั่วพระกายทั้งสิ้น

เพราะเหตุนั้นแหละ เมื่อพระองค์ทรงตั้งความเพียรใหญ่ ทรงยังพระกายให้

เป็นไปแม้ด้วยข้าวสารเมล็ดหนึ่งเป็นต้นบ้าง ด้วยอาหารมีประมาณฟายมือ

หนึ่งแห่งยางถั่วดำบ้าง. แม้ด้วยอาหารมีประมาณฟายมือหนึ่งแห่งยางถั่วดำ

แต่ของตนเหล่าอื่น โอชาไม่แผ่ไปตลอดกายทั้งสิ้น เพราะไม่มีเช่นนั้น.

เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น จึงมีโรคมาก. ลักษณะนี้ย่อมปรากฏด้วยอำนาจ

แห่งผลที่ไหลออก กล่าวคือความมีอาพาธน้อย.

ชื่อว่า ทรงมีพระหนุดังคางราชสีห์ เพราะอรรถว่า คางของ

พระองค์ดุจคางแห่งสีหะ. ในบทนั้น คางล่างของราชสีห์ ย่อมเต็ม คางบน

ไม่เต็ม. ส่วนของพระตถาคตเจ้า ย่อมเต็มทั้ง ๒ ข้างดุจคางล่างของราชสีห์

ย่อมเป็นเช่นกับพระจันทร์แห่งปักษ์ ดิถีที่ ๑๒ ค่ำ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ เป็นต้น ชื่อว่า ทรง

มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ เพราะอรรถว่า มี ๒๐ ซี่ที่อยู่พระหนุข้างบน ๒๐ ซี่ที่พระหนุ

ด้านล่าง. คือ ของคนเหล่าอื่นแม้มีฟันเต็มก็มีฟัน ๓๒ ซี่. ส่วนของพระ-

ตถาคตเจ้ามี ๔๐ ซี่.

ของคนเหล่าอื่น มีฟันไม่เสมอกันคือ บางพวกมีฟันยาว บางพวกมี

ฟันสั้น. ส่วนของพระตถาคตเจ้า เสมอกันดุจตัวสังข์ที่เขาขัดไว้เป็นอันดี

ของคนเหล่าอื่น ฟันจะห่างเหมือนฟันจรเข้ เมื่อกินปลาและเนื้อ

เป็นต้นจะเต็มซอกฟัน. ส่วนของพระตถาคตเจ้าจะมีฟันไม่ห่าง ดุจแถวเพชร

ที่เรียงไว้ดีที่แผ่นลายกนก เหมือนกำหนดที่แสดงด้วยแปรง.

ส่วนฟันของคนเหล่าอื่น ฟันผุตั้งขึ้น. ด้วยเหตุนั้น บางคนเขี้ยวดำบ้าง

มีสีต่าง ๆ บ้าง. ส่วนพระตถาคตเจ้ามีพระเขี้ยวขาวสนิท พระเขี้ยวประกอบ

ด้วยแสงสุก ล่วงพ้นแม้ดาวประจำรุ่ง. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สุสุกฺก-

ทาโ ทรงมีพระเขี้ยวอันขาวงาม.

บทว่า ปหุตชิวฺโห ความว่า ลิ้นของคนเหล่าอื่น หนาบ้าง บางบ้าง

สั้นบ้าง ไม่เสมอบ้าง. ส่วนของพระตถาคตเจ้าอ่อน ยาว ใหญ่ สมบูรณ์ด้วย

วรรณะ. พระองค์ม้วนพระชิวหานั้นเหมือนเข็มกฐินสอดช่องนาสิกทั้งสองได้

เพราะเป็นชิวหาอ่อนเพื่อบรรเทาความสงสัยของผู้มาตรวจดูลักษณะนั้น . จะ

สอดช่องพระกรรณทั้งสองได้ เพราะพระชิวหายาว. จะปิดพระนลาฏแม้ทั้งสิ้น

อันมีชายพระเกศาเป็นที่สุดได้ เพราะพระชิวหาใหญ่. เมื่อประกาศว่า พระ-

ชิวหานั้นอ่อน ยาวและใหญ่ ย่อมบรรเทาความสงสัยได้ ด้วยประการฉะนี้.

ท่านพระสังคีติกาจารย์อาศัยชิวหาที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะสามประการฉะนี้ จึง

กล่าวว่า ปหุตชิวฺโห ดังนี้.

๑. ฉ. อยมฏฺฏฉินฺนสงฺขปล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

บทว่า พฺรหฺมสฺสโร ความว่า คนเหล่าอื่นมีเสียงขาดบ้าง มีเสียง

แตกบ้าง มีเสียงดุจกาบ้าง. ส่วนพระตถาคตเจ้า ทรงประกอบด้วยเสียงเช่น

กับเสียงมหาพรหม. คือเสียงของมหาพรหม ชื่อว่า แจ่มใส เพราะไม่ถูกดี

และเสมหะพัวพัน. กรรมที่พระตถาคตเจ้าทรงบำเพ็ญย่อมยิ่งวัตถุแห่งเสียงนั้น

ให้บริสุทธิ์. เสียงที่ตั้งขึ้น ตั้งแต่พระนาภี ย่อมแจ่มใส ประกอบด้วยองค์ ๘

ตั้งขึ้น เพราะวัตถุบริสุทธิ์. ชื่อว่าทรงมีพระดำรัสดังเสียงนกการเวก เพราะ

ตรัสดุจนกการเวก. หมายความว่ามีพระสุรเสียงไพเราะดุจนกการเวกร้องอย่าง

เมามัน.

ในข้อนั้น การเปล่งเสียงร้องของนกการเวกเป็นอุทาหรณ์. ได้ยินว่า

เมื่อนกการเวกจิกมะม่วงสุกอันมีรสหวานอร่อยด้วยจงอยปาก ลิ้มรสที่ไหลออก

แล้วให้จังหวะด้วยปีกกู้ก้องอยู่ สัตว์จตุบาทเป็นต้นย่อมเหมือนเคลิบเคลิ้มเริ่ม

งงงวย. สัตว์จตุบาทแม้ที่ขวนขวายหาอาหารก็ทิ้งหญ้าที่อยู่ในปากเสียฟังเสียงนก

นั้น. แม้พวกมฤค กำลังติดตามเนื้อน้อย ๆ อยู่ก็ไม่ย่างเท้าที่ยกขึ้นแล้วหยุดอยู่.

แม้เนื้อที่ถูกติดตามก็เลิกกลัวตายหยุดอยู่. แม้นกที่บินไปในอากาศก็ห่อปีก

หยุดบิน. ปลาในน้ำก็ไม่โบกครีบ ฟังแต่เสียงนั้นหยุดอยู่. นกการเวกร้อง

ไพเราะด้วยประการฉะนี้.

แม้พระเทวีของพระเจ้าธรรมาโศก พระนามว่า อสันธิมิตตา ถาม

พระสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ เสียงของใคร เหมือนกับพระสุรเสียงของพระ-

พุทธเจ้ามีบ้างหรือ.

พระสงฆ์. มีเสียงนกการเวก.

พระนาง. ท่านผู้เจริญ นกเหล่านั้นอยู่ที่ไหน.

พระสงฆ์. อยู่ที่ป่าหิมพานต์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

พระนางนั้นกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันใคร่จะ

เห็นนกการเวก. พระราชาทรงเปิดกรงทองตรัสว่า ขอนกการเวกจงมาจับอยู่

ที่กรงนี้. กรงจึงไปอยู่ข้างหน้านกการเวกตัวหนึ่ง. นกนั้นคิดว่า กรงมาตาม

พระราชโองการ ไม่อาจเพื่อจะไม่ไป จึงจับอยู่ที่กรงนั้น. กรงจึงมาอยู่ตรง

พระพักตร์ของพระราชา. แต่ใคร ๆ ก็ไม่อาจให้นกการเวกส่งเสียงได้. ลำดับนั้น

พระราชาตรัสว่า พนาย นกพวกนี้จะส่งเสียงร้องได้อย่างไร. อำมาตย์ทูลว่า

ขอเดชะ นกพวกนี้ เห็นพวกญาติแล้วจะส่งเสียงร้องได้. ทีนั้น พระราชาจึง

ทรงรับสั่งให้วงล้อมด้วยกระจก. นกนั้นครั้นเห็นเงาของตนเอง สำคัญว่าญาติ

ของเรามาแล้ว จึงให้จังหวะด้วยปีก ร้องด้วยเสียงอันไพเราะดุจคนเป่าปี่แก้ว

ฉะนั้น. พวกมนุษย์ในพระนครทั้งสิ้นงวยงงแล้วเหมือนคนเมา. พระนาง

อสันธิมิตตา คิดว่า สัตว์ดิรัจฉานนี้ยังมีเสียงไพเราะ เช่นนี้ก่อน เสียงของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ถึงสิริแห่งสัพพัญญุตญาณ จะไพเราะเพียงไหนหนอ

จึงเกิดปีติไม่ละปีตินั้น ทรงตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วยนางสนม ๗๐๐.

เสียงของนกการเวกไพเราะด้วยประการฉะนี้. พระสุรเสียงของพระตถาคตเจ้า

ยังไพเราะกว่านั้นถึงร้อยเท่า พันเท่า. แต่เพราะไม่มีเสียงไพเราะอย่างอื่นจาก

นกการเวกในโลก ท่านจึงกล่าวว่า กรวิกภาณี ดังนี้.

บทว่า ทรงมีดวงพระเนตรดำสนิท ความว่า มิใช่มีดวงพระเนตร

ดำทั้งสิ้นเทียว. แต่ดวงพระเนตรของพระองค์ประกอบด้วยสีดำในที่ที่ควรดำ

บริสุทธิ์ยิ่งดุจดอกผักตบ. ประกอบด้วยสีเหลืองเช่นกับดอกกรรณิกา ในที่ที่

ควรเหลือง. ประกอบด้วยสีแดง เช่นกับดอกชบาในที่ที่ควรแดง. ประกอบ

ด้วยสีขาว เช่นกับดาวประกายพรึก ในที่ที่ควรขาว. ประกอบด้วยสีดำ

เช่นกับเมล็ดประคำดีควายในที่ที่ควรดำ ย่อมปรากฏเช่นกับสีหบัญชรแก้วที่ยก

ขึ้นห้อยไว้ ณ วิมานทอง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

บทว่า ปขุม ในคำว่า โคปขุโม นี้ท่านประสงค์เอาดวงพระเนตร

ทั้งหมด. ดวงพระเนตรนั้นมีธาตุหนาของลูกโคดำ ใสแจ๋วคล้ายดวงตาของ

ลูกโคแดง หมายความว่า มีดวงพระเนตรเหมือนลูกโคแดงที่เกิดชั่วครู่นั้น.

ก็ดวงตาของคนเหล่าอื่นไม่เต็ม ประกอบด้วยนัยน์ตา เฉออกไปบ้าง ลึกไปบ้าง

เช่นเดียวกับนัยน์ตาของช้าง หนูและกาเป็นต้น. ส่วนของพระตถาคตเจ้ามี

พระเนตรที่อ่อนดำสนิท สุขุมตั้งอยู่ดุจคู่แก้วมณีที่เขาล้างขัดไว้ฉะนั้น.

บทว่า อุณฺณา ได้แก่พระอุณณาโลม (ขนขาว). บทว่า ภมุกนฺตเร

ความว่า พระอุณณาโลมเกิดเหมือนาสิกตรงกลางคิ้วทั้งสองนั่นเทียว แต่เกิดที่

กลางพระนลาฏสูงขึ้นไป. บทว่า โอทาตา ได้แก่บริสุทธิ์ มีสีดุจดาวประจำรุ่ง.

บทว่า มุทุ ความว่า เช่นกับปุยฝ่ายที่เขาจุ่มในเนยใส แล้วสลัดถึงร้อยครั้ง

ตั้งไว้. บทว่า ตูลสนฺนิภา ความว่า เสนอด้วยปุยดอกงิ้วและปุยลดา. นี้เป็น

ข้ออุปมาของความที่พระอุณณาโลมนั้นมีสีขาว. ก็พระอุณณาโลมนั้น เมื่อจับ

ที่ปลายดึงมา จะมีประมาณเท่ากึ่งแขน. ปล่อยไปแล้ว จะขดกลมมีปลายสูง

ขึ้นอยู่ โดยเป็นทักษิณาวัฏ. ย่อมรุ่งเรื่องด้วยศิริอันขึ้นใจยิ่ง เหมือนกับฟองเงิน

ที่เขาวางไว้ตรงกลางแผ่นทอง เหมือนสายน้ำนมที่ไหลออกจากหม้อทอง และ

เหมือนดาวประจำรุ่ง (ดาวพระศุกร์) ในท้องฟ้า อันรุ่งเรืองด้วยแสงอรุณฉะนั้น .

คำว่า อุณฺหิสสีโส นี้ ท่านกล่าวอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ

คือ มีพระนลาฏเต็ม ๑ มีพระเศียรเต็ม ๑. คือชั้นพระมังสะตั้งขึ้น ตั้งแต่หนวก

พระกรรณเบื้องขวาไปปิดพระนลาฎทั้งสิ้น เต็มไปจดหมวกพระกรรณเบื้องซ้าย

อยู่ รุ่งเรื่องดุจแผ่นกรอบพระพักตร์ ที่พระราชาทรงสวมไว้ ได้ยินว่า

นักปราชญ์ทราบลักษณะนี้ของพระโพธิสัตว์ในปัจฉิมภพ จึงได้กระทำแผ่น

พระอุณหิสถวายพระราชา. อรรถข้อหนึ่งเท่านี้ก่อน. ส่วนคนเหล่าอื่นมีศีรษะ

ไม่เต็ม. บางคนมีศีรษะดุจหัวลิง บางคนมีศีรษะดุจผลไม้ บางคนมีศีรษะดุจ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

กระดูก บางคนมีศีรษะดุจทนาน บางคนมีศีรษะงุ้ม ส่วนของพระตถาคคมี

พระเศียรเช่นกับฟองน้ำเต็มดี ดุจวนด้วยปลายเหล็กแหลมไว้. ชื่อว่ามีพระเศียร

กลมดังประดับด้วยกรอบพระพักตร์ เพราะอรรถว่า ส่วนแห่งพระเศียรโพกด้วย

แผ่นอุณหิสโดยนัยก่อนในพระสูตรนั้น. ชื่อว่ามีพระเศียรกลมดังประดับด้วย

กรอบพระพักตร์ เพราะอรรถว่า มีพระเศียรเป็นปริมณฑล ในทีทุกส่วนดุจ

กรอบพระพักตร์ ตามนัยที่สอง.

ก็มหาปุริสลักษณะเหล่านี้ ย่อมเป็นอันท่านแสดงส่วนทั้ง ๔ เหล่านี้

คือ กรรม ๑ ผลอันบุคคลพึงเห็นเสมอด้วยกรรม ๑ ลักษณะ ๑ อานิสงส์แห่ง

ลักษณะ ๑ ในลักษณะแต่ละอย่าง ๆ ท่านยกมากล่าวแสดงไว้เป็นอันกล่าวไว้

ดีแล้ว. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงแสดงกรรมเป็นต้นเหล่านี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ในลักขณสูตรแล้วกล่าวเถิด. เมื่อไม่อาจวินิจฉัยด้วยสามารถแห่งพระสตรี

ก็พึงถือเอาโดยนัยที่กล่าวไว้ในอรรถกถาแห่งพระสูตรนั่นเทียว ในอรรถกถา

ฑีฆนิกายชื่อสุมังคลวิลาสินี เทอญ.

บทว่า อิเมหิ โข โส โภ ภว โคตโม ความว่า อุตตรมาณพกล่าว

คำเป็นต้นว่า คจฺฉนฺโต โข ปน ดังนี้ เพื่อจะแสดงแม้เนื้อความนี้แล้ว

บอกถึงพระกิริยาและพระอาจาระว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ผู้เจริญ พระโคดม

ผู้เจริญพระองค์นั้น ทรงประกอบด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

เหล่านี้ ทรงเที่ยวไป ประหนึ่งเสาค่ายทองอันวิจิตรด้วยแก้ว ที่บุคคลยกขึ้น

ในเทพนคร ประดุจต้นปาริฉัตรมีดอกบานสะพรั่งสูงถึง ๑๐๐ โยชน์ ประดุจ

ต้นสาละมีดอกบานเต็มในระหว่างภูเขา ดุจพื้นท้องฟ้าที่เรียงรายไปด้วยหมู่ดาว

ประดุจทำโลกให้สว่างอยู่ด้วยศิริสมบัติของพระองค์ฉะนั้น .

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

บทว่า ทกฺขิเณน ความว่า ก็เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประทับยืน

ก็ดี ประทับนั่งก็ดี บรรทมก็ดี เมื่อจะทรงพระดำเนิน ทรงก้าวพระบาท

เบื้องขวาก่อน. ได้ยินว่า นี้เป็นพระปาฏิหาริย์โดย ๗ ส่วน. บทว่า นาติทูเร

ปาท อุทฺธรติ ความว่า ทรงยกพระบาทเบื้องขวานั้น ทรงพระดำริว่า จะไม่

ทรงวางพระบาทให้ไกลนัก. คือทรงยกพระบาทขวาไกลนัก พระบาทซ้ายจะ

ถูกลากไป แม้พระบาทเบื้องขวา ก็ไปไกลไม่ได้ จะพึงวางอยู่ชิด ๆ กันทีเดียว

เมื่อเป็นอย่างนี้ ย่อมชื่อว่า เป็นการจำกัดก้าวไป. แต่เมื่อย่างพระบาทเบื้อง

ขวาพอประมาณ แม้พระบาทเบื้องซ้าย ก็ย่อมยกขึ้นพอประมาณดุจกัน . เมื่อ

ยกพอประมาณ แม้ทรงวาง ก็วางได้พอประมาณเหมือนกัน. ด้วยการทรง

พระดำเนินอย่างนี้ หน้าที่ของพระบาทเบื้องขวาของพระตถาคตเจ้า ก็ย่อมเป็น

อันกำหนดแล้วด้วยพระบาทเบื้องซ้าย หน้าที่ของพระบาทเบื้องซ้ายก็เป็นอัน

กำหนดแล้วด้วยพระบาทเบื้องขวา บัณฑิตพึงทราบด้วยประการฉะนี้.

บทว่า นาติสีฆ ความว่า ไม่ทรงพระดำเนินเร็วเกินไปเหมือนภิกษุ

เดินไปเพื่อรับภัตรในวิหาร เมือเวลาจวนแจแล้ว. บทว่า นาติสนิก ความ

ว่า ไม่ทรงพระดำเนินช้านัก เหมือนอย่างภิกษุที่มาภายหลังย่อมไม่ได้โอกาส

ฉะนั้น. คำว่า อทฺธเวน อทฺธว คือ พระชันนุกระทบกับพระชันนุ เข่ากับ เข่า

กระทบกัน.

บทว่า น สตฺถึ ความว่า ทรงยกพระอูรุสูงขึ้นเหมือนเดินไปในน้ำ

ลึก. บทว่า น โอนาเมติ ความว่า ไม่ทรงทอดพระอูรุไปข้างหลัง เหมือน

การทอดเท้าไปข้างหลังของคนตัดกิ่งไม้. บทว่า ไม่ทรงเอนไป คือ ไม่ทรง

ทำให้ติดกัน เหมือนย่ำเท้ากับที่ซึ่งเปียกแล้ว. บทว่า ไม่ทรงโคลงไป คือ

๑. ฎีกา อุปกฏฺาย เวลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

ไม่ทรงโยกโย้ไปมาเหมือนชักหุ่นยนต์. บทว่า อารทฺธกาโยว ความว่า พระ-

กายด้านล่างเท่านั้นไม่โยกไป. พระกายส่วนบนไม่หวั่นไหว เหมือนรูป

ทองที่เขาวางไว้ในเรือ. ก็เมื่อบุคคลยืนแลดูอยู่ในที่ไกลจะไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายประทับยืน หรือทรงพระดำเนิน. บทว่า กายพเลน ความว่า ไม่

ทรงเหวี่ยงพระพาหา เสด็จพระดำเนินไปด้วยกำลังกายทั้งที่มีพระเสโทไหล

ออกจากพระสรีระ. บทว่า สพฺพกาเยน วา ความว่า ไม่หันพระศอเหลียว

หลังดู ด้วยสามารถแห่งการเหลียวดูดุจพระยาช้าง ดังที่กล่าวไว้ในราหุโลวาท

สูตร นั่นแล.

ในคำว่า น อุทฺธ เป็นต้น คือไม่ทรงแหงนดูเบื้องบน ดุจกำลังนับ

ดาวนักษัตรอยู่ ไม่ทรงก้มดูเบื้องต่ำ ดุจกำลังแสวงหากากณิก หรือมาสก

ที่หาย ไม่ทรงส่ายไปข้างโน้นข้างนี้ เหมือนกำลังมองดูช้างและม้าเป็นต้น.

บทว่า ยุคมตฺต ความว่า เมื่อทรงพระดำเนินทอดพระจักษุประมาณเก้าคืบ

ชื่อว่า ทอดพระเนตรประมาณชั่วแอก. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพระ

ดำเนินทอดพระเนตรมีประมาณเท่านี้ ดุจสัตว์อาชาไนยที่ฝึกดีแล้ว ที่เขาเทียม

แอกไว้ฉะนั้น. บทว่า ตโต จสฺส อุตฺตรึ ความว่า แต่ไม่ควรกล่าวว่าไม่ทรง

ดูเลยชั่วแอกไป. เพราะฝาก็ดี บานประตูก็ดี กอไม้ก็ดี เถาวัลย์ก็ดี ย่อมไม่

อาจกั้นไว้ได้. พันแห่งจักรวาลมิใช่น้อย ย่อมมีเนินเป็นอันเดียวกันทีเดียวแก่

พระองค์ผู้เป็นอนาวรณญาณนั้นโดยแท้แล. บทว่า อนฺตรฆร พึงทราบตั้งแต่

เสาเขื่อนไป ชื่อว่า ละแวกบ้าน ในมหาสกุลุทายิสูตรในหนหลัง แต่ในที่นี้พึง

ทราบว่าดังแต่ธรณีประตูบ้านไป ชื่อว่าละแวกบ้าน. บทว่า น กาย เป็นต้น

ท่านกล่าวเพื่อแสดงว่า ย่อมทรงเข้าไปโดยอิริยาบถตามปกตินั่นเอง. ก็แม้เมื่อ

พระตถาคตเจ้าทรงเสด็จเข้าบ้านที่เตี้ยของพวกคนจน หลังคาย่อมสูงขึ้นบ้าง

แผ่นดินย่อมทรุดลงบ้าง. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพระดำเนินไปโดยพระ

๑. ฉ. อธรกาโย วา ๒. เงินเท่ากากณิกหนึ่ง หรือมาสกหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

ดำเนินตามปกตินั่นเอง. บทว่า นาติทูเร ความว่า ก็ในที่ไกลเกินไป ก็ทรง

กลับถอยหลังก้าวหนึ่งหรือสองก้าวแล้วจึงค่อยประทับนั่งลง. ในที่ใกล้เกินไป

ก็ทรงก้าวเสด็จไปข้างหน้าก้าวหนึ่ง สองก้าว แล้วค่อยประทับนั่งลง. เพราะ

ฉะนั้น เมื่อประทับยืนที่ย่างพระบาทใด เสด็จทรงถอยข้างหน้าหรือมาข้างหลัง

แล้ว จึงจะประทับนั่งได้ ก็จะทรงเปลี่ยนที่ย่างพระบาทนั้น.

บทว่า ปาณินา ความว่า ไม่ทรงเอาพระหัตถ์จับอาสนะมาประทับนั่ง

เหมือนคนป่วย เพราะโรคลม. บทว่า ปกฺขิปติ ความว่า บุคคลใดกระทำ

การงานอะไร ๆ เหน็ดเหนื่อยจนล้มไปทั้งยืน แม้บุคคลใดนั่งพิงอวัยวะด้านหน้า

เอนกายไปจนถึงอวัยวะด้านหลัง หรือนั่งพิงอวัยวะด้านหลังเอนกายอย่างนั้น

จนถึงอวัยวะด้านหน้า ทั้งหมดนั้น ชื่อว่า พิงกายที่อาสนะ. ส่วนพระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่ทรงกระทำอย่างนั้น ประทับนั่งค่อย ๆ ดุจป้องกันของที่ห้อยอยู่ตรง

กลางอาสนะ ดุจวางปุยนุ่นไว้ฉะนั้น. บทว่า หตฺถกุกฺกุจฺจ ความว่า กระทำ

การเช็ดหยดน้ำที่ขอบปากบาตร คือ กระทำการที่ไม่ได้ระวัง โบกแมลงวัน

และใช้มือแคะเขี่ยหูเป็นต้น. บทว่า ปาทกุกฺกุจฺจ คือ การไม่ระวังเท้า เช่น

เอาเท้าถูพื้นเป็นต้น.

บทว่า น ฉมฺภติ แปลว่า ไม่กลัว. บทว่า น กมฺปติ แปลว่า

ไม่จมลง. บทว่า น เวธติ คือ ไม่หวั่นไหว. บทว่า น ปริตสฺสติ แปลว่า

ไม่สะดุ้ง ด้วยความสะดุ้งเพราะกลัวบ้าง ด้วยการสะดุ้งเพราะทะยานอยากบ้าง.

คือภิกษุบางรูปย่อมสะดุ้ง ด้วยความสะดุ้งเพราะกลัวว่า เมื่อพวกคนมาเพื่อ

ประโยชน์ธรรมกถาเป็นต้น ไหว้แล้วยืนอยู่ เราจักอาจเพื่อยึดใจของคนเหล่า

นั้น กล่าวธรรมหรือหนอ เมื่อถูกถามปัญหาแล้วจักอาจวิสัชนาได้ หรือจัก

อาจกระทำอนุโมทนาได้หรือ. ภิกษุบางรูปก็คิดว่าข้าวยาคูที่ชอบใจจะมาถึงเรา

หรือหนอ หรือว่าของเคี้ยวชนิดของว่างที่ชอบใจจะมาถึงเรา และก็สะดุ้งด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

ความสะดุ้งเพราะตัณหา. เพราะความสะดุ้ง ๒ อย่างนั้นของพระโคดมผู้เจริญ

นั้นไม่มี เพราะฉะนั้น พระโคดมผู้เจริญจึงไม่ทรงสะดุ้ง. บทว่า วิเวกวตฺโต

ความว่า เป็นผู้มีใจเวียนมาในวิเวกคือ พระนิพพาน ปาฐะว่า วิเวกวตฺโต

ดังนี้ ก็มี. ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยวัตร คือความสงัด. การเรียนมูล

กัมมัฏฐานแล้วนั่งคู้บัลลังก์ ในที่พักในเวลากลางวันของภิกษุผู้กระทำภัตกิจแล้ว

ด้วยสามารถแห่งสมถะ และวิปัสสนา ชื่อว่า วิเวกวัตร. เพราะอิริยาบถของ

ภิกษุผู้นั่งอย่างนี้ย่อมเข้าไปสงบระงับ.

ในบทว่า น ปตฺต อุนฺนาเมติ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า บางรูปย่อม

ชูบาตรขึ้นเหมือนรองน้ำจากขอบปากบาตร บางรูปลดบาตรลงเหมือนวางไว้ที่

หลังเท้า. บางรูปย่อมรับทำให้เนื่องกัน. บางรูปแกว่งไปทางโน้นทางนี้. ความ

ว่า ไม่กระทำอย่างนั้น รับด้วยมือทั้งสองน้อมไปนิดหน่อยรับน้ำ. บทว่า

น สมฺปริวตฺตก ความว่า ไม่หมุนบาตร ล้างหลังบาตรก่อน. บทว่า

นาติทูเร ความว่า ไม่เทน้ำล้างบาตร ให้ตกไปไกลจากอาสนะที่นั่ง. บทว่า

น อจฺจาสนฺเน ความว่า ไม่ทิ้งในที่ใกล้เท้านั่งเอง. บทว่า วิจฺฉฑฺฑิยมาโน

ความว่า กระเซ็นไป คือไม่เทโดยอาการที่ผู้รับจะเปียก.

บทว่า นาติโถก ความว่า ไม่รับเหมือนคนบางคนเป็นผู้มีความ

ปรารถนาลามก แสดงว่าเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยรับเพียงพอกับข้าวกำมือ

เดียวเท่านั้น. บทว่า อติพหุ คือ รับมากเกินไปกว่าที่จะยังอัตตภาพให้เป็น

ไป. บทว่า พฺยญฺชนมตฺตาย ความว่า ส่วนที่ ๔ แห่งข้าวสุกชื่อว่าพอ

ประมาณแก่กับข้าว. คือคนบางคน เมื่อภัตรถูกใจ ก็รับภัตรมาก เมื่อกับข้าว

ถูกใจ ก็รับกับข้าวมาก แต่พระศาสดาไม่ทรงรับอย่างนั้น. บทว่า น จ

พฺยญฺชเนน ความว่า ก็บริโภคแต่ภัตรอย่างเดียว เว้นกับข้าวที่ไม่ชอบใจ

หรือบริโภคแต่กับข้าวอย่างเดียว เว้นภัตร ชื่อว่า น้อมคำข้าวเกินกว่ากับข้าว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

พระศาสดาทรงรับภัตรมีสิ่งอื่นแกม ทั้งภัตรทั้งกับข้าวพอประมาณกัน . บทว่า

ทฺวตฺติกฺขตฺตุ ความว่า โภชนะที่พระชิวหาใหญ่ ของพระตถาคตเจ้านำเข้าไป

ย่อมเหมือนไล้ด้วยแป้งที่เขาทำให้ละเอียดพอพระทนต์บด ๒-๓ ครั้งเท่านั้น.

ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า มุเข อวสิฏฺา ความว่า ย่อมล่วง

เข้าไปสู่ลำคอเหมือนหยาดน้ำที่ตกลงในใบบัว เพราะฉะนั้น จึงไม่เหลืออยู่.

บทว่า รส ปฏิสเวเทติ คือ ทรงทราบรสมีหวานขม และเผ็ดเป็นต้น.

ก็สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเหมือนกับใส่ทิพยโอชะลงโดยที่สุดพร้อม

กับน้ำเสวย. เพราะฉะนั้น ย่อมปรากฏรสในอาหารทั้งหมดเทียว แก่พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย. แต่ความใคร่ในรสไม่มี. บทว่า อฏฺงฺคสมนฺนาคต คือ

ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการที่กล่าวไว้ว่า ไม่เสวยเพื่อเล่นเป็นต้น. คำวินิจฉัย

ของบทนั้นมาแล้วในวิสุทธิมรรค ฉะนั้น คำนี้ท่านกล่าวไว้ในสัพพาวสูตร.

ถามว่า ข้อว่า เมื่อทรงล้างพระหัตถ์แล้ว พระศาสดาทรงกระทำ

อย่างไร. ตอบว่า พระศาสดาทรงล้างส่วนที่พระหัตถ์จับบาตรก่อน. ทรง

จับบาตรที่ตรงนั้นแล้ว ส่งฝ่าพระหัตถ์ที่เป็นลายตาข่ายกลับไปมา ๒ ครั้ง.

อามิสทั้งหมดที่บาตรจะหลุดไปเหมือนน้ำในใบบัวที่ตกไปด้วยอาการเพียงเท่านี้.

บทว่า น จ อนตฺถิโก ความว่า เหมือนอย่างภิกษุบางรูปวางบาตรไว้ที่เชิง

บาตรไม่เช็ดน้ำที่บาตร เพ่งดูแต่ธุลีที่ตกไปฉันใด พระองค์ไม่ทรงกระทำ

อย่างนั้น. บทว่า น จ อติเวลานุรกฺขี ความว่า เหมือนอย่างภิกษุบางรูป

ตั้งการรักษาไว้เกินประมาณ หรือฉันแล้วเช็ดน้ำที่บาตรแล้วสอดเข้าไปใน

ระหว่างกลีบจีวร ถือบาตรแนบไปกับท้องนั่นเอง แต่พระศาสดาไม่ทรงการทำ

เหมือนอย่างนั้น.

๑. ม. ๑/๑๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

บทว่า น จ อนุโมทนสฺส ความว่า ก็ภิกษุใด พอฉันเสร็จแล้ว

เมื่อพวกเด็ก ๆ ร้องไห้อยู่ เพื่อจะกินข้าว พอเมื่อพวกคนหิว กินแล้วยังไม่

มาเลย ก็เริ่มอนุโมทนา. ต่อแต่นั้น บางพวกก็ทิ้งงานทิ้งสิ้นมา บางพวกยัง

ไม่ทันมา. ผู้นี้ย่อมยังเวลาให้ล่วงไปเร็วนัก. แม้บางรูปเมื่อพวกคนมาไหว้แล้ว

นั่งลง เพื่อประโยชน์แก่อนุโมทนา ก็ยังไม่กระทำอนุโมทนา ตั้งถ้อยคำเฉพาะ

เป็นต้นว่า เป็นอย่างไร ติสสะ ปุสสะเป็นอย่างไร สุมนเป็นอย่างไร พวกท่าน

ไม่เจ็บป่วยด้วยไข้หรือ ข้าวปลาดีไหม ดังนี้ ผู้นี้ชื่อว่า ทำเวลาแห่งการอนุ-

โมทนาให้เสียไป. แต่เมื่อกล่าวในเวลาที่พวกคนรู้เวลาอาราธนาแล้ว ชื่อว่า

ไม่ทำเวลาให้เสียเกินไป พระศาสดาทรงทำอย่างนั้น.

บทว่า น ต ภตฺต ความว่า ไม่กล่าวติเตียนเป็นต้นว่า นี่ข้าวอะไรกัน

สวยนัก แฉะนัก. บทว่า น อญฺ ภตฺต ความว่า ก็เมื่อจะกระทำอนุโมทนา

ด้วยคิดว่า เราจักยังภัตรให้เกิดขึ้นเพื่อการบริโภคอันจะมีในวันพรุ่งนี้ หรือ

เพื่อวันต่อไป ชื่อว่าย่อมหวังภัตรอื่น. หรือภิกษุใดคิดว่าเราจะกระทำอนุโมทนา

ต่อเมื่อพวกมาตุคามหุงข้าวสุกแล้ว แต่นั้นเมื่ออนุโมทนาของเรา พวกเขาจะให้

ข้าวหน่อยหนึ่งจากข้าวที่ตนหุง แล้วจึงขยายอนุโมทนา แม้ภิกษุนี้ ก็ชื่อว่า ย่อม

หวัง. พระศาสดาไม่ทรงกระทำอย่างนั้น. บทว่า น จ มุญฺจิตุกาโม ความว่า

ก็บางรูปทิ้งบริษัทไว้ไปเสีย พวกภิกษุทั้งหลายจะต้องติดตามไปโดยเร็ว. แต่

พระศาสดาไม่ทรงดำเนินไปอย่างนั้น. ทรงดำเนินไปอยู่ท่ามกลางบริษัท บทว่า

อจฺจุกกฏฺ ความว่า ก็รูปใดห่มจีวรยกขึ้นจนติดคาง รูปนั้น ชื่อว่า รุ่มร่าม.

รูปใดห่มจนคลุมข้อเท้าเทียว จีวรของรูปนั้น ชื่อว่า รุ่มร่าม. แม้รูปใดห่ม

ยกขึ้นจากข้างทั้งสองเปิดท้องไป จีวรของรูปนั้น ก็ชื่อว่า รุ่มร่าม. รูปใดกระทำ

เฉวียงบ่าข้างหนึ่งเปิดนมไป รูปนั้นก็ชื่อว่า รุ่มร่าม. พระศาลดาไม่ทรงกระทำ

อาการอย่างนั้นทุกอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

บทว่า อลฺลีน ความว่า จีวรของภิกษุเหล่าอื่นชุ่มด้วยเหงื่อติดอยู่

ฉันใด ของพระศาสดาย่อมไม่เป็นอย่างนั้น. บทว่า อปกฏฺ ความว่า พ้น

จากกายไม่อยู่เหมือนผ้าสาฎกลื่น. บทว่า วาโต ได้แก่ แม้ลมเวรัมภวาต

ตั้งขึ้นก็ไม่อาจจะให้ไหวได้. บทว่า ปาทมณฺฑนานุโยค ความว่า ประกอบ

การทำพระบาทให้สวยงามมีการขัดสีพระกายด้วยอิฐเป็นต้น. บทว่า ปกขา-

ลิตฺวา (ทรงล้างแล้ว) ความว่า ทรงล้างพระบาทด้วยพระบาทนั่นเทียว. ท่าน

กล่าว บทว่า โส เนว อตฺตพฺยาพาธาย ไม่เพื่อเบียดเบียนพระองค์เอง

เป็นต้น เพราะมีปุพเพนิวาสญาณและเจโตปริยญาณ. แต่เห็นความมีอิริยาบถ

สงบ จึงกล่าวด้วยความคาดคะเนเอา. บทว่า ธมฺม คือ ประยัติธรรม. บทว่า

น อุสฺสาเทติ ความว่า ไม่กล่าวคำมีอาทิว่า แม้ท่านพระราชา ท่านมหา

กฎุมพีเป็นต้น แล้วยกยอด้วยสามารถแห่งความรักอาศัยเรือน. บทว่า

อปสาเทติ ความว่า ไม่กล่าวคำมีอาทิว่า ท่านอุบาสก ท่านรู้ทางไปวิหาร

แล้วหรือ ท่านมาเพราะกลัวหรือ. ภิกษุไม่ปล้นของอะไรเอาหรอก ท่านอย่ากลัว

หรือว่า ท่านช่างมีชีวิตตระหนี่เหนียวแน่นอะไรอย่างนี้ แล้วรุกรานด้วยความ

รักอาศัยเรือน.

บทว่า วิสฺสฏฺโ ความว่า ไม่ข้อง คือไม่ขัด. บทว่า วิญฺเยฺโย

คือ พึงรู้ได้ชัด ปรากฏ. คือพระสุรเสียงนั้นรู้ได้ชัดเจน เพราะสละสลวย.

บทว่า มญฺชุ คือไพเราะ. บทว่า สวนีโย คือสะดวกหู ก็เสียงนั้น ชื่อว่า

น่าฟัง เพราะมีความไพเราะนั่นเอง. บทว่า พินฺทุ คือกลมกล่อม. บทว่า

อวิสารี คือไม่พร่า. ก็เสียงนั้นไม่พร่าเพราะมีความกลมกล่อมนั่นเอง. บทว่า

คมฺภีโร คือเกิดจากส่วนลึก. บทว่า นินฺนาที คือมีความกังวาล. ก็เสียงนั้น

ชื่อว่ามีความกังวาล เพราะเกิดจากส่วนลึก. บทว่า ยถา ปริส คือย่อมยัง

บริษัทที่เนื่องเป็นอันเดียวกันแม้มีจักรวาลเป็นที่สุด ให้เข้าใจได้. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

พหิทฺธา ความว่า ย่อมไม่ไปนอกจากบริษัท แม้มีประมาณเท่าองคุลี.

เพราะเหตุไร เพราะเสียงที่ไพเราะเห็นปานนั้น มิได้ศูนย์ไปโดยใช่เหตุ. เสียง

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมกระจายไปโดยที่สุดแห่งบริษัทด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อวโลกยมานา ความว่า. คนทั้งหลายวางอัญชลีไว้เหนือเศียร

แลดูพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังหันกลับมาไหว้ในที่ที่จะละการเห็นแล้วจึงไป. บทว่า

อวิชหนฺตา ความว่า ก็ผู้ใดฟังพระดำรัสแล้ว ลุกขึ้นยังกล่าวถ้อยคำที่ได้เห็น

และได้ฟังเป็นต้น อย่างอื่นจึงไป นี้ชื่อว่าละไปโดยภาวะของตน. คนใดกล่าว

สรรเสริญคุณธรรมกถาที่ได้ฟังแล้วจึงไป ผู้นี้ชื่อว่า ไม่ละ. ชื่อว่าย่อมหลีกไป

โดยไม่ละไปด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า คจฺฉนฺต ความว่า เสด็จไปอยู่ดุจ

แท่งทองสูงถึง ๑๐๐ ศอก ด้วยสามารถแห่งยนต์คือสายฟ้า. บทว่า อทฺทสาม

ิต ความว่า เราได้เห็นพระองค์ประทับยืนอยู่ประดุจภูเขาทองที่เขายกขึ้นตั้งไว้.

บทว่า ตโต จ ภิยฺโย ความว่า เมื่อไม่อาจจะกล่าวคุณให้พิสดารจึงย่อคุณ

ที่เหลือลง กระทำเหมือนแล่งธนูและเหมือนกลุ่มด้าย กล่าวอย่างนั้น. ในข้อ

นี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ พระคุณของพระโคดมผู้เจริญนั้น ยังมิได้กล่าวมีมาก

กว่าคุณที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว เปรียบเหมือนมหาปฐพีและมหาสมุทรเป็นต้น

หาที่สุดมิได้ หาประมาณมิได้ กว้างขวางประดุจอากาศฉะนั้นแล.

บทว่า อปฺปฏิสวิทิโต ความว่า การมาโดยมิได้ทูลให้ทรงทราบ.

ก็ผู้จะเข้าหาบรรพชิต เข้าไปหาในเวลาที่บริกรรมจีวรเป็นต้น หรือในเวลาที่

นุ่งผ้าผืนเดียวกำลังดัดสรีระ ก็จะต้องถอยกลับจากเหตุนั้นเทียว. แม้การ

ปฏิสันถารก็จักไม่เกิดขึ้น. แต่เมื่อโอกาสท่านกระทำก่อนแล้ว ภิกษุกวาดที่พัก

ในกลางวัน ห่มจีวรนั่งในที่อันสงัด. ผู้ที่มาเห็นอยู่ก็จะเลื่อมใสแม้ด้วยการ

เห็นท่าน การปฏิสันถารก็จะเกิดขึ้น. ก็จะได้ทั้งปัญหาพยากรณ์ ทั้งธรรมกถา.

เพราะฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงต้องรอโอกาส. และนั้นก็เป็นโอกาสอย่างใด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

อย่างหนึ่งของตนเหล่านั้น. เพราะฉะนั้น เขาจึงมีความติดอย่างนั้น. พรหมายุ-

พราหมณ์ไม่กล่าวถึงความที่ตนเป็นผู้สูงเป็นต้น กล่าวอย่างนี้ว่า ชิณฺโณ วุฑฺโฒ

เพราะเหตุไร. ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ทรงมีพระกรุณาเมื่อทรงทราบ

ว่าเป็นผู้แก่แล้ว จักประทานโอกาสให้โดยเร็ว ฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า

โอรมตฺถ โอกาสมกาสิ ความว่า บริษัทนั้นรีบลุกขึ้นแยกออกเป็น ๒ ฝ่าย

ให้โอกาส. บทว่า เย เม เท่ากับ เย มยา. บทว่า นารีสมานสวฺหยา

ความว่า มีชื่อเสมอด้วยนารีเป็นเพศหญิง ชื่อว่านารีสมานสวหยา เพราะ

อรรถว่า ร้องเรียกตามเพศแห่งหญิงนั้น พึงกล่าวามเพศแห่งหญิง ฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ เพราะเป็นผู้ฉลาดในโวหาร. บทว่า ปหุตชิวฺโห ได้แก่

มีพระชิวหาใหญ่. บทว่า นินฺนามเย แปลว่า ขอพระองค์โปรดนำพระ

ลักษณะนั้นออก. บทว่า เกวลี คือทรงสมบูรณ์ด้วยพระคุณทั้งสิ้น.

บทว่า ปจฺจภาสิ ความว่า เมื่อถูกถามเพียงครั้งเดียว ก็ทรงพยากรณ์

คือได้ตรัสตอบปัญหาถึง ๘ ข้อ. บทว่า โย เวที ความว่า ผู้ใดรู้ คือทราบ

ภพเป็นที่อยู่อาศัยในกาลก่อนของผู้ใด ปรากฏแล้ว. บทว่า สคฺคาปายญฺจ

ปสฺสติ ความว่า ท่านกล่าวถึงทิพยจักษุญาณ. บทว่า ชาติกฺขย ปตฺโต

ได้แก่ บรรลุพระอรหัตต์แล้ว. บทว่า อภิญญาโวสิโต ได้แก่ รู้ยิ่งแล้ว

ซึ่งพระอรหัตต์นั้น เสร็จกิจแล้ว คือถึงที่สุดแล้ว. บทว่า มุนี ได้แก่ประ-

กอบด้วยธรรมเครื่องความเป็นมุนีคือ อรหัตตญาณ.

บทว่า วสุทฺธ ได้แก่ อันผ่องใส. บทว่า มุตฺต ราเคหิ ความว่า พ้น

จากราคกิเลสทั้งหลาย. บทว่า ปหีนชาติมรโณ ได้แก่ ชื่อว่าผู้ละความเกิดได้

เพราะถึงความสิ้นชาติแล้ว ชื่อว่าผู้ละมรณะได้แล้ว เพราะละชาติได้นั่นเอง.

บทว่า พฺรหิมจริยสฺส เกวลี ความว่า ผู้ประกอบด้วยคุณล้วนแห่งพรหม

จรรย์ทั้งสิ้น หมายความว่า ผู้ปกติอยู่ประพฤติพรหมจรรย์คือมรรค ๔ ทั้งสิ้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

บทว่า ปารคู สพฺพธมฺมาน ความว่า ผู้ถึงฝั่งด้วยความรู้ยิ่งซึ่งโลกิยธรรม

และโลกกุตรธรรมทั้งปวง อธิบายว่า รู้ยิ่งซึ่งสรรพธรรมอยู่. อีกนัยหนึ่ง

บทว่า ปารคู ท่านกล่าวอรรถไว้ดังนี้ว่า ผู้ถึงฝั่งการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ผู้ถึงฝั่ง

ด้วยการละกิเลสทั้งปวง ผู้ถึงฝั่งด้วยภาวนา ซึ่งมรรค ๔ ผู้ถึงฝั่งด้วยการกระทำ

ให้แจ้งซึ่งนิโรธ ผู้ถึงฝั่งด้วยการถึงพร้อมซึ่งสมาบัติทั้งปวง ด้วยคำเพียงเท่านี้.

ท่านกล่าวการถึงฝั่งด้วยอภิญญา ด้วยคำว่า ธรรมทั้งปวง อีกแล. บทว่า

พุทฺโธ ตาที ปวุจฺจติ ความว่า ผู้เช่นนั้น คือผู้ถึงฝั่งด้วยอาการ ๖ ท่าน

เรียกว่า พระพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งสัจจธรรมทั้ง ๔ โดยอาการ

ทั้งปวง.

ก็ปัญหาย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวิสัชนาแล้วด้วยพระ

ดำรัสเพียงเท่านี้หรือ. ถูกแล้ว เป็นอันวิสัชนาเสร็จทุกข้อ. คือทรงวิสัชนา

ปัญหาข้อที่หนึ่ง เพราะเป็นผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว ชื่อว่า พราหมณ์ ด้วย

พระดำรัสว่า มุนีนั้นรู้จิตอันบริสุทธิ์ อันพ้นแล้วจากราคะทั้งหลายดังนี้.

ด้วยพระดำรัสว่า ถึงฝั่ง ชื่อว่าถึงเวท เพราะจบเวทแล้ว นี้ย่อมเป็นอัน

วิสัชนาปัญหาข้อที่สอง. ด้วยบทเป็นต้นว่า ปุพฺเพนิวาส ชื่อว่า ผู้มีวิชชาสาม

เพราะมีวิชชาสามเหล่านี้ ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่สาม. ด้วยพระ

ดำรัสนี้ว่า พ้นจากราคะทั้งหลายโดยประการทั้งปวง นี้ชื่อว่า ผู้มีความสวัสดี

เพราะสลัดบาปธรรมออกได้ ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่สี่. อนึ่ง ด้วย

พระดำรัสนี้ว่า บรรลุถึงความสิ้นชาติ นี้ชื่อว่า ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหา

ข้อที่ห้า เพราะตรัสถึงพระอรหัตต์นั่นเทียว. ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่

หก ด้วยพระดำรัสเหล่านี้คือว่า เป็นผู้เสร็จกิจแล้ว และว่า ชื่อว่าผู้มีคุณครบ

ถ้วนแห่งพรหมจรรย์. ด้วยพระดำรัสนี้ว่า ผู้นั้นชื่อว่า มุนี ผู้ยิ่งถึงที่สุดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่เจ็ด ด้วยพระดำรัสนี้ว่า ชื่อว่า ถึงฝั่งแห่งธรรม

ทั้งปวงบัณฑิตกล่าวว่า เป็นพุทธผู้คงที่ ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่แปด.

บทว่า ทานกถ เป็นต้น ท่านให้พิสดารแล้วในพระสูตรก่อนนั่น

เทียว. บทว่า ได้บรรลุ คือถึงเฉพาะแล้ว. บทว่า ธมฺม สานุธมฺม ความ

ว่า อรหัตตมรรค ชื่อว่าธรรม ในพระสูตรนี้ มรรค ๓ และสามัญญผล ๓

ชั้นต่ำ ชื่อ อนุธรรม สมควรแก่ธรรม อธิบายว่า ได้มรรคและผลเหล่านั้น

ตามลำดับ. ข้อว่า ไม่เบียดเบียนเราได้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรมเลย

ความว่า ไม่ยังเราให้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรมเลย อธิบายว่า ไม่ให้เราต้อง

กล่าวบ่อย ๆ. คำที่เหลือในบททั้งปวงตื้นทั้งนั้น. ก็ด้วยบทว่า ปรินิพฺพายิ

ในบทนั้น พระองค์ทรงถือเอายอดแห่งเทศนาด้วยพระอรหัตต์ทีเดียวแล

จบอรรถกถาพรหมายุสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

๒. เสลสูตร

[๖๐๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเทียวจาริกไปในอังคุตราปชนบท

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงนิคมของชนชาว

อังคุตราปะ อันชื่อว่าอาปณะ ชฎิลชื่อเกณิยะได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดม

ศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศายกสกุล เสด็จจาริกไปในอังคุตราปชนบท

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงอาปณนิคมแล้ว ก็

กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้

เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ...เป็นผู้

เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก

มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว

ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั่งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตาม ทรง

แสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ

พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง ก็การได้

เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อนเป็นความดีแล.

[๖๐๕] ครั้งนั้นแล เกณิยชฎิลได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง

กันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ชี้แจงให้เกณิยชฎิลเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมี

กถา ลำดับนั้นแล เกณิยชฎิลอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้

สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วได้กราบทูลพระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

พระภาคเจ้าว่า ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดทรงรับภัตตา-

หารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ พระเจ้าข้า เมื่อเกณิยชฎิลกราบทูลอย่างนี้แล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนเกณิยะ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มีภิกษุประมาณ

๑,๒๕๐ รูป และท่านก็เลื่อมใสในพราหมณ์ทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๒ เกณิยชฎิล

ก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

มีภิกษุประมาณ ๑,๒๕๐ รูป และข้าพระองค์เลื่อมใสในพราหมณ์ทั้งหลาย ก็จริง

ถึงกระนั้น ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดทรงรับภัตตาหารของ

ข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้ พระเจ้าข้า แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนเกณิยะ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ มีภิกษุประมาณ ๑,๒๕๐ รูป และท่านก็เลื่อม

ใสในพราหมณ์ทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ เกณิยชฎิลก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค

เจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ มีภิกษุประมาณ ๑,๒๕๐ รูป

และข้าพระองค์เลื่อมใสในพราหมณ์ทั้งหลาย ก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระโคดม

ผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดทรงรับภัตตาหารของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้

แหละ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล

เกณิยชฎิลทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาแล้ว จึงลุกจากที่นั่ง

เข้าไปยังอาศรมของตนแล้วเรียกมิตร อำมาตย์ และญาติสาโลหิตมาบอกว่า

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอมิตรอำมาตย์และญาติสาโลหิตทั้งหลายจงฟัง

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้านิมนต์พระสมณโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาฉันภัตตาหารใน

วันพรุ่งนี้ ขอท่านทั้งหลายพึงกระทำความขวนขวายด้วยกำลังกายเพื่อข้าพเจ้า

ด้วยเถิด มิตร อำมาตย์ และญาติสาโลหิตทั้งหลาย รับคำเกณิยชฎิลแล้ว บาง

พวกขุดเตา บางพวกฝ่าฟืน บางพวกล้างภาชนะ บางพวกตั้งหม้อน้ำ บางพวก

ปูลาดอาสนะ ส่วนเกณิยชฎิลจัดแจงโรงปะรำด้วยตนเอง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

[๖๐๖] ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าเสละ. อาศัยอยู่ในอาปณนิคม

เป็นผู้รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ พร้อมทั้งประเภท

อักษร มีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญใน

คัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ สอนมนต์ให้มาณพ ๓๐๐ คน

ก็สมัยนั้น เกณิยชฎิลเลื่อมใสในเสลพราหมณ์ ครั้งนั้น เสลพราหมณ์แวดล้อม

ด้วยมาณพ ๓๐๐ คน เดินเที่ยวไปมาเป็นการพักผ่อน ได้เข้าไปทางอาศรมของ

เกณิยชฎิล ได้เห็นชนทั้งหลายกำลังช่วยเกณิยชฎิลทำงานอยู่ บางพวกขุดเตา

บางพวกผ่าฟืน บางพวกล้างภาชนะ บางพวกตั้งหม้อน้ำ บางพวกปูลาดอาสนะ

ส่วนเกณิยชฎิลกำลังจัดแจงโรงปะรำด้วยตนเอง ครั้งแล้วจึงได้ถามเกณิยชฎิลว่า

ท่านเกณิยะ จักมีอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล หรือจักบูชามหายัญ หรือท่าน

ทูลอัญเชิญพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพ พระเจ้าแผ่นดินมคธ พร้อมด้วยพลนิกาย

มาเสวยพระกระยาหารในวันพรุ่งนี้ เกณิยชฎิลตอบว่า ข้าแต่ท่านเสละ ข้าพเจ้า

มิได้มีอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล และมิได้ทูลอัญเชิญเสด็จพระเจ้าพิมพิสาร

จอมทัพ พระเจ้าแผ่นดินมคธ พร้อมด้วยพลนิกาย มาเสวยพระกระยาหาร

ในวันพรุ่งนี้ แต่ข้าพเจ้าจักบูชามหายัญ คือ มีพระสมณโคดมศากยบุตร

เสด็จออกทรงผนวชจากศากยสกุลเสด็จจาริกมาในองคุตราปชนบท พร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ มีภิกษุประมาณ ๑,๒๕๐ รูป เสด็จถึงอาปณนิคม ก็กิตติศัพท์

อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์...เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น

ผู้จำแนกธรรม ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ข้าพเจ้าทูลนิมนต์แล้วเพื่อเสวย

ภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

เส. ท่านเกณิยะ ท่านกล่าวว่า พุทโธ ดังนี้หรือ

เก. ท่านเสละ ข้าพเจ้ากล่าวว่า พุทโธ.

เส. ท่านเกณิยะ ท่านกล่าวว่า พุทโธ ดังนี้หรือ.

เก. ท่านเสละ ข้าพเจ้ากล่าวว่า พุทโธ.

ครั้งนั้นแล เสลพราหมณ์ได้มีความคิดว่า แม้แต่เสียงว่า พุทโธ

นี้แล ก็ยากที่สัตว์จะพึงได้ในโลก ก็มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อันมาแล้ว

ในมนต์ของเราทั้งหลาย ที่พระมหาบุรุษประกอบแล้ว ย่อมมีคติเป็น ๒ เท่านั้น

ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าอยู่ครองเรือง จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม

เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต

ทรงชนะวิเศษ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ คือ

จักรแก้ว ๑ ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดี

แก้ว ปริณายกแก้ว ๑ พระองค์มีพระราชโอรสมากกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ

มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชนะ

โดยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้องใช้ศาสตรา ทรงครอบครองแผ่นดิน

นี้มีสมุทรสาครเป็นขอบเขต ๑ ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก ๑ ท่าน

เกณิยะ ก็ท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เดี๋ยวนี้ประทับ

อยู่ที่ไหน.

[๖๐๗] เมื่อเสลพราหมณ์กล่าวถามอย่างนี้แล้ว เกณิยชฎิลยกแขนขวา

ขึ้นชี้บอกเสลพราหมณ์ว่า ข้าแต่ท่านเสละ ท่านพระโคดมพระองค์นั้น เดี๋ยวนี้

ประทับอยู่ทางราวป่าอันเขียวนั่น ลำดับนั้นแล เสลพราหมณ์พร้อมด้วยมาณพ

๓๐๐ คน ได้เดินเข้าไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แล้วได้บอกมาณพ

เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจงเงียบเสียง จงเว้นระยะให้ไกลกันย่างเท้าหนึ่งเดินมา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

ท่านทั้งหลายจงเป็นเหมือนราชสีห์ตัวเดียวเที่ยวไปทุกเมื่อ และเมื่อกำลังเจรจา

กับท่านพระสมณโคดม ท่านทั้งหลายจงอย่าพูดสอดขึ้นในระหว่าง ๆ ขอจง

รอคอยให้จบถ้อยคำของเรา ลำดับนั้น เสลพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

สนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้พิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการในพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยมาก

เว้นอยู่ ๒ ประการ คือ พระคุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก ๑ พระชิวหาใหญ่ ๑

จึงยังเคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในเพราะมหาปุริสลักษณะ

๒ ประการ.

[๖๐๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริว่า เสลพราหมณ์

นี้เห็นมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของเราโดยมากเว้นอยู่ ๒ ประการ คือ

คุยหฐานอันเร้นอยู่ในฝัก ๑ ชิวหาใหญ่ ๑ จึงยังเคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อม

ใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในเพราะมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ ลำดับนั้นแล พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้เสลพราหมณ์ได้เห็นพระคุยหฐาน

อันเร้นอยู่ในฝัก และทรงแลบพระชิวหาสอดเข้าช่องพระกรรณทั้งสองกลับไปมา

สอดเข้าช่องพระนาสิกทั้งสองกลับไปมา ทรงแผ่เปิดทั่วมณฑลพระนลาฏ.

[๖๐๙] ครั้งนั้นแล เสลพราหมณ์ได้มีความดำริว่า พระสมณโคดม

ทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ บริบูรณ์ไม่บกพร่อง แต่เรา

ยังไม่ทราบชัดซึ่งพระองค์ว่าเป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ และเราได้สดับเรื่องนี้มา

แต่สำนักพราหมณ์ทั้งหลายซึ่งเป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ เป็นอาจารย์และปาจารย์

กล่าวกันว่า ท่านที่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมแสดง

พระองค์ให้ปรากฏในเมื่อผู้ใดผู้หนึ่งกล่าวพระคุณของพระองค์ ผิฉะนั้น เราพึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

ชมเชยพระสมณโคดมเฉพาะพระพักตร์ด้วยคาถาอันสมควรเถิด ลำดับนั้นแล

เสลพราหมณ์ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าเฉพาะพระพักตร์ด้วยคาถาอันสมควร

ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระกาย

บริบูรณ์ มีพระรัศมีรุ่งเรืองงาม มีพระ-

ชาติดี ผู้ได้เห็นแม้นานก็ไม่รู้อิ่ม มี

พระฉวีวรรณดังทองคำ มีพระทาฐะขาว

สะอาด มีพระวีริยภาพ มหาปุริสลักษณะ

อันเป็นเครื่องแตกต่างจากสามัญชน มีอยู่

ในพระกายของพระองค์ผู้เป็นนรสุชาติ

ครบถ้วน พระองค์มีพระเนตรผ่องใส มี

พระพักตร์งาม มีพระกายตรงดังกายพรหม

มีสง่าในท่ามกลางหมู่สมณะ เหมือนพระ

อาทิตย์ไพโรจน์ ฉะนั้น พระองค์เป็นภิกษุ

งามน่าชม มีพระตจะดังไล้ทาด้วยทองคำ

พระองค์มีพระคุณสมบัติอันสูงสุดอย่างนี้

จะต้องการอะไรด้วยความเป็นสมณะ

พระองค์ควรจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้

ประเสริฐ เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร

๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะวิเศษเป็นใหญ่

ในชมพูทวีป กษัตริย์ทั้งหลายผู้เป็นพระ-

ราชามหาศาลจงเป็นผู้ติดตามพระองค์

ข้าแต่พระโคดม ขอเชิญพระองค์ทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

ครองราชสมบัติเป็นราชาธิราชจอมมนุษย์

เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

เสลพราหมณ์ เราเป็นพระราชา

เป็นพระราชาโดยธรรม ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า

เราประกาศธรรมจักร อันเป็นจักรที่ใคร ๆ

ประกาศไม่ได้

ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรง

ปฏิญาณว่าเป็นสัมพุทธะ และตรัสว่า

เป็นธรรมราชา ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า ทรง

ประกาศธรรมจักร ดังนี้ ใครหนอเป็น

เสนาบดีของพระองค์ท่าน เป็นสาวกผู้

อำนวยการของพระศาสดา ใครหนอ

ประกาศธรรมจักรตามที่ พระองค์ ทรง

ประกาศแล้วมิได้.

ธรรมจักรอันไม่มีจักรอันยิ่งกว่าเป็น

จักรที่เราประกาศแล้ว สารบุตรผู้เถิดตาม

ตถาคต ย่อมประกาศตามได้ พราหมณ์

สิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เรารู้ยิ่งแล้ว สิ่งที่ควรเจริญ

เราเจริญแล้ว สิ่งที่ควรละเราละได้แล้ว

เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า

พราหมณ์ ท่านจงกำจัดความสงสัยในเรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

จงน้อมใจเชื่อเถิด การได้เห็นพระสัม-

พุทธเจ้าทั้งหลายเนือง ๆ เป็นการได้ยาก

ความปรากฏแห่งพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

เนือง ๆ เป็นการหาได้ยากในโลกแล

พราหมณ์ เราเป็นพระสัมพุทธเจ้าเป็นผู้

เชือดลูกศร ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นผู้

ประเสริฐ ไม่มีใครเปรียบ ย่ำยีเสียซึ่งมาร

และเสนาแห่งมาร ทำข้าศึกทั้งปวงให้อยู่

ในอำนาจ ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ บันเทิงใจ

อยู่.

ท่านผู่เจริญทั้งหลาย ขอท่านทั้ง-

หลายจงใคร่ครวญธรรมนี้ ตามที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุตรัสอยู่ พระผู้มี

พระภาคเจ้าเป็นผู้เชือดลูกศร เป็นพระ

มหาวีระ ดังราชสีห์บันลืออยู่ในป่า ฉะนั้น

ใครเล่าแม้เกิดในสกุลต่ำ ได้เห็นพระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ ไม่มีใครเปรียบ

ทรงย่ำยีเสียซึ่งมารและเสนามาร จะไม่พึง

เลื่อมใส ผู้ใดปรารถนา เชิญผู้นั้นตามเรา

ส่วนผู้ใดไม่ปรารถนา เชิญ ผู้นั้นอยู่เถิด

เราจักบวชในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มี

พระปัญญาอันประเสริฐนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

มาณพเหล่านั้นกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านพราหมณ ถ้าท่านผู้เจริญ

ชอบใจคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าอย่างนี้ แม้ข้าพเจ้าทั้งหลายจักบวช

ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระ-

ปัญญาอันประเสริฐ ดังนี้แล้วพราหมณ์

๓๐๐ คนเท่านั้น พากันประนมอัญชลี

ทูลขอบรรพชาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ข้าพระองค์ทั้งหลายจักประพฤติพรหม

จรรย์ในสำนักของพระองค์.

พรหมจรรย์อันเรากล่าวดีแล้ว อันผู้

ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล

เป็นเหตุทำให้บรรพชาของผู้ไม่ประมาท

ศึกษาอยู่ ไม่เป็นโมฆะ.

เสลพราหมณ์พร้อมทั้งบริษัท ได้บรรพชา ได้อุปสมบทในสำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๖๑๐] ครั้งนั้นแล เกณิยชฎิลสั่งให้จัดแจงขาทนียโภชนียาหารอย่าง

ประณีตในอาศรมของตนตลอดราตรีนั้นแล้ว ใช้ให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสำเร็จแล้ว

พระเจ้าข้า ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งอันตรวาสกแล้ว

ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังอาศรมของเกณิยชฎิล แล้วประทับนั่งบน

อาสนะที่เขาจัดไว้ถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ลำดับนั้น เกณิยชฎิลได้อังคาส

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้อิ่มหนำเพียงพอ ด้วยขาทนียโภชนียาหาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

อันประณีต ด้วยมือของตน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ละพระ-

หัตถ์จากบาตรแล้ว เกณิยฎิลถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่ง แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง.

[๖๑๑] ครั้นเกณิยชฎิลนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อนุโมทนาด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า

ยัญทั้งหลายมีการบูชาไฟเป็นประมุข

คัมภีร์สาวิตติศาสตร์ เป็นประมุขแห่ง

คัมภีร์ฉันท์ พระราชาเป็นประมุขแห่ง

มนุษย์ทั้งหลาย สาครเป็นประมุขของ

แม่น้ำทั้งหลาย ดวงจันทร์เป็นประมุขของ

ดวงดาวทั้งหลาย ดวงอาทิตย์เป็นประมุข

ของความร้อน พระสงฆ์เป็นประมุขของ

ผู้หวังบุญบูชาอยู่.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาด้วยพระคาถาเหล่านี้ แล้ว

เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้งนั้น แล ท่านพระเสละพร้อมด้วยบริษัท หลีก

ออกจากหมู่เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่ ไม่นานนัก ก็ได้

กระทำที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต

โดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว สิ่งอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระเสละพร้อมทั้งบริษัท ได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง

ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

[๖๑๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระเสละพร้อมทั้งบริษัท ได้เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่งประนมอัญชลีไปทาง

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลด้วยคาถาว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระ-

จักษุ นับแต่วันที่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้

ถึงพระองค์เป็นสรณะเป็นวันที่ ๘ เข้านี่

แล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้อันพระ

องค์ทรงฝึกแล้ว ในคำสั่งสอนของพระ

องค์โดย ๗ ราตรี พระองค์เป็นพระพุทธ

เจ้า เป็นพระศาสดา เป็นมุนีผู้ครอบงำ

มาร ทรงเป็นผู้ฉลาดในอนุสัย ทรงข้าม

ได้เองแล้ว ทรงยังหมู่สัตว์นี้ให้ห้ามได้ด้วย

พระองค์ทรงก้าวล่วงอุปธิทั้งหลายแล้ว

ทรงทำลายอาสวะทั้งหลายแล้ว ไม่ทรงยึด

มั่นเลย ทรงละภัยและความขลาดกลัวได้

แล้ว ดุจดังราชสีห์ ภิกษุ ๓๐๐ รูปนี้ ยืน

ประนมอัญชลีอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้มีความ

เพียร ขอได้ทรงโปรดเหยียดพระยุคลบาท

ออกเถิด ขอเชิญนาคทั้งหลายถวายบังคม

พระศาสดาเถิด.

จบ เสลสูตรที่ ๒.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

อรรถกถาเสลสูตร

เสลสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในเสลสูตรนั้น คำว่า ในอังคุตราปชนบท เป็นต้น ท่านกล่าวให้

พิสดารแล้วในโปตลิยสูตรเทียว. บทว่า อฑฺฒเตรเสหิ ได้แก่ ๑๓ ทั้งกึ่ง

ท่านกล่าวอธิบายว่า กับด้วยภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป. ก็ภิกษุทั้งหลายที่ประชุมกัน

ในสาวกสันนิบาตเหล่านั้น ล้วนเป็นพระขีณาสพ บรรพชาด้วยเอหิภิกขุบรรพชา

ทั้งนั้น. คำว่า เกณิโย เป็นชื่อของชฎิลนั้น . คำว่า ชฏิโล ได้แก่ ดาบส.

ได้ยินมาว่า ดาบสนั้นเป็นพราหมณ์มหาศาล แต่ถือบวชเป็นดาบส เพื่อต้อง

การรักษาทรัพย์ ถวายบรรณาการแด่พระราชา ถือเอาภูมิภาค แห่งหนึ่ง

สร้างอาศรมอยู่ในภูมิภาคนั้น ประกอบการค้าขายด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม เป็น.

ที่อาศัยของตระกูลถึง ๑,๐๐๐ ตระกูล. อนึ่ง พระโบราณจารย์กล่าวว่า ที่

อาศรมของดาบสนั้น มีต้นตาลต้นหนึ่ง ผลตาลสำเร็จด้วยทองหล่นมาวันละ

ผลหนึ่ง. ดาบสนั้น กลางวันทรงผ้ากาสายะและสวมชฎา กลางคืนเสวยกาม

สมบัติ. คำว่า ธมฺมิยา กถาย ได้แก่ ด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยอานิสงส์

แห่งน้ำปานะ. ก็เกณิยะนี้ ละอายที่มีมือเปล่าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า

น้ำสำหรับดื่ม ย่อมควรแม้แก่ผู้เว้นวิกาลโภชน์ จึงให้หาบน้ำปานะผลพุทราที่

ปรุงเป็นอย่างดีมาถึง ๕๐๐ หาบ. ก็เรื่องที่ชฎิลนั้นไปแล้วอย่างนี้. พระสังคีติกา-

จารย์ยกขึ้นสู่พระบาลีในเภสัชชักขันธกะ(๑) ว่า ครั้งนั้นแล เกณิยชฏิลได้มีความ

คิดดังนี้ว่า เราควรนำไปเพื่อพระสมณโคดมหรือไม่หนอ ดังนี้.

คำว่า ทุติยปิ โข ภควา ถามว่า ทรงปฏิเสธบ่อย ๆ เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพราะพะวกเดียรถีย์มีความเลื่อมใสในการปฏิเสธ. ข้อนั้นมิใช่เหตุ ความ

๑. วิ. ๓/๓๔๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

โกหกเห็นปานนี้ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเพราะปัจจัยเป็นเหตุ. แต่ดาบส

นี้เห็นภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป จัดแจงภิกษาเพื่อภิกษุมีประมาณเท่านี้ทีเดียว. วันรุ่งขึ้น

เสลพราหมณ์จักออกบวชกับบุรุษ ๓๐๐. ก็เราจะส่งภิกษุนวกะไปทางอื่น แล้ว

ไปกับภิกษุเหล่านี้เท่านั้น หรือว่าส่งภิกษุเหล่านี้ไปทางอื่น แล้วไปกับภิกษุนวกะ

ทั้งหลายไม่ควร. แม้หากว่าเราจะพาภิกษุไปทั้งหมด ภิกษาหารก็จะไม่พอ.

แต่นั้นเมื่อภิกษุทั้งหลาย เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต คนทั้งหลายจักติเตียนว่านานนัก

เกณิยะ นิมนต์พระสมณโคดม แต่ไม่อาจเพื่อจะถวายอาหารพอยังอัตตภาพ

ให้เป็นไปได้. เกณิยะเองจักมีความเดือนร้อน. แต่เมื่อทรงกระทำการปฏิเสธเสีย

แล้ว เกณิยะก็จะคิดว่า พระสมณโคดมจะถือเอาชื่อของพราหมณ์ทั้งหลายบ่อย ๆ

ว่าก็ตัวท่านเลื่อมใสยิ่งในพวกพราหมณ์แล้ว จักต้องการเชื้อเชิญแม้พวกพราหมณ์

ด้วย แต่นั้นพราหมณ์ก็จักเชื้อเชิญต่างหาก. ภิกษุเหล่านั้น อันพราหมณ์นั้น

นิมนต์แล้ว ก็จักฉัน ด้วยอาการอย่างนี้จักเป็นอันรักษาศรัทธาของพราหมณ์

นั้นไว้ ฉะนั้น จึงทรงปฏิเสธบ่อย ๆ. ด้วยคำว่า กิญฺจาปิ โภ นี้ย่อมแสดง

ถึงข้อนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเกิดขึ้น ถ้าหากว่า ข้าพระองค์เลื่อมใส

ยิ่งแล้วในพราหมณ์ทั้งหลาย พระโคดมผู้เจริญ ขอจงทรงรับนิมนต์ ข้าพระองค์

อาจถวายทั้งแก่พราหมณ์ ทั้งแก่พระองค์.

บทว่า กายเวยฺยาวตฺติก ได้แก่ การขวนขวายด้วยกาย. บทว่า

โรงกลม ได้แก่ มณฑปที่ดาษด้วยผ้า. การรับหญิงสาวมา ชื่อว่าอาวาหะ.

การส่งหญิงสาวไป ชื่อว่าวิวาหะ. คำว่า โส เม นิมนฺติโต ความว่า พระ-

สมณโคดมนั้นเรานิมนต์แล้ว. ครั้งนั้น พราหมณ์พอได้ฟังเสียงว่า พุทธะ เป็น

ผู้ดุจรดแล้วด้วยน้ำอมฤต เพราะเป็นผู้มีอุปนิสัยแก่กล้าแล้ว. เมื่อจะกระทำ

ให้แจ้งซึ่งความเลื่อมใส จึงกล่าวว่า ท่านเกณิยะ ท่านกล่าวว่า พุทโธ หรือ.

เกณิยะ เมื่อจะบอกตามความจริง จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านเสละ ข้าพเจ้ากล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

พุทโธ. แต่นั้นเสลพราหมณ์ จึงถามเกณิยพราหมณ์นั้นอีก เพื่อให้แน่ใจ

แม้เกณิยะนี้ ก็กล่าวอย่างนั้นนั่นเทียว.

ครั้งนั้น เมื่อพราหมณ์เห็นว่า เสียงว่า พุทโธ อันบุคคลพึงได้โดยยาก

แม้ด้วยพันแห่งกัปป์ จึงได้มีความคิดอย่างนั้น คือได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

แม้เสียงนั้นแลเป็นต้น. บทว่า นีลวนราชี ได้แก่ แถวต้นไม้มีสีเขียว คำว่า

ปเท ปท คือ เท้าที่ย่างไปตามธรรมดา ก็เมื่อย่างเท้าชิดเกินไปหรือห่าง

เกินไป เสียงจะดังขึ้น เมื่อจะห้ามมิให้มีเสียงดังนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น. คำว่า

สีโหว เอกจโร ความว่า สีหะมีปกติอยู่เป็นหมู่ ย่อมถึงความประมาทด้วย

ลูกสีหะเล็กเป็นต้น. ผู้เดียวเที่ยวไป ก็เป็นผู่ไม่ประมาท. เมื่อจะแสดงการ

อยู่ด้วยความไม่ประมาท จึงทำการเปรียบเทียบด้วยสีหะที่เที่ยวไปแต่ตัวเดียว

ด้วยประการฉะนี้. เมื่อจะให้ศึกษาอาจาระจึงกล่าวว่า มา เม โภนฺโต.

ในคำนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ ถ้าท่านไม่ได้วาระที่จะพูด สอดคำเข้าไปใน

ระหว่างคำของเรา ความครหาก็จักเกิดขึ้นแก่เราว่า ไม่อาจให้อันเตวาสิกศึกษา

ได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น เห็นโอกาสแล้วจึงค่อยพูดเถิด. คำว่า โน จ โข น

ชานามิ ความว่า แม้พระโพธิสัตว์พระนามว่า วิปัสสี มีบรรพชิตเถระถึง

๘๔,๐๐๐ เป็นบริวาร ทรงพระพฤติตอนเป็นพระโพธิสัตว์ถึง ๗ เดือน ได้เป็น

เหมือนพุทธุปบาทกาล. แม้พระโพธิสัตว์ของพวกเราทรงประพฤติตอนเป็น

พระโพธิสัตว์อยู่ถึง ๖ ปี. แม้ผู้ที่ประกอบพร้อมแล้วด้วยลักษณะแห่งสรีระอัน

สมบูรณ์อย่างนี้ ก็ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น พราหมณ์จึงกล่าวว่า

เราไม่รู้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ดังนี้.

บทว่า ปริปุณฺณกาโย ความว่า เป็นผู้มีสรีระบริบูรณ์โดยความ

บริบูรณ์ด้วยลักษณะทั้งหลาย และโดยมีอวัยวะไม่ทราม. บทว่า สุรุจิ ความว่า

มีรัศมีแห่งสรีระอันงดงาม. บทว่า สุชาโต ได้แก่ เกิดดีแล้ว ด้วยความถึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

พร้อมด้วยส่วนสูง ส่วนกว้าง และถึงพร้อมด้วยทรวดทรง. บทว่า จารุทสฺสโน

ได้แก่ ต่อให้ดูนาน ๆ ก็ยังชวนใจให้ดูไม่รู้จักอิ่ม. บทว่า มีผิวดุจทอง คือ

มีผิวคล้ายทอง. บทว่า สุสุกฺกทาโ ได้แก่ มีพระเขี้ยวชาวสนิท. บทว่า

มหาปุริสลกฺขโณ ความว่า เมื่อจะกล่าวย้ำพยัญชนะที่รู้แล้วทีแรกด้วยคำอื่น

จึงกล่าวอย่างนั้น.

บัดนี้ เสลพราหมณ์เมื่อถือเอาลักษณะที่ชอบใจของตนในบรรดา

ลักษณะเหล่านั้น แล้วชมเชย จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มีพระเนตรผ่องใส เป็นต้น.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า มีพระทัยผ่องใส เพราะทรงสมบูรณ์ด้วย

ประสาท ๕ อย่าง ชื่อว่า มีพระพักตร์งาม เพราะมีพระพักตร์คล้ายพระจันทร์

เต็มดวง (จันทร์เพ็ญ). ชื่อว่า เป็นผู้สง่างาม เพราะสมบูรณ์ด้วยทรวดทรง

ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอม ไม่อ้วน. ชื่อว่า มีพระกายทรง เพราะมีพระองค์

ทรงเหมือนพรหม. ชื่อว่า เป็นผู้มีพระเดชยิ่ง เพราะทรงมีความรุ่งเรือง. อนึ่ง

พระลักษณะอันใดในที่นี้ที่ได้กล่าวไว้ก่อนแล้ว พระลักษณะอันนั้น อันเสล-

พราหมณ์กล่าวชมเชยไว้อีก โดยปริยายนี้ว่า ทรงสง่างามในท่ามกลางหมู่สมณะ

ดังนี้ . ก็ผู้เช่นนี้ ย่อมรุ่งเรื่องด้วยประการดังกล่าวมานี้. แม้ในคาถาหลังก็นัยนี้

เหมือนกัน. บทว่า อุตฺตมวณฺณิโน ได้แก่ ทรงสมบูรณ์ด้วยวรรณอันอุดม.

บทว่า รเถสโภ ได้แก่ทรงเป็นสารถีผู้สูงสุด. บทว่า ชมฺพูสณฺฑสฺส ได้แก่

แห่งชมพูทวีป. เมื่อจะชมเชยความเป็นอิสระ โดยอาการที่ปรากฏจึงกล่าวแล้ว.

ก็พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นอิสระแห่งทวีปทั้งสี่.

บทว่า ขตฺติยา คือเป็นพระชาติกษัตริย์. บทว่า โภคา คือเป็นผู้มี

โภคะ. บทว่า ราชาโน ได้แก่ พระราชาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งทรง

ครองราชย์ บทว่า ราชาภิราชา ได้แก่ เป็นผู้อันพระราชาทั้งหลายทรงบูชา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

อธิบายว่า เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่คือพระเจ้าจักรพรรดิ. บทว่า มนุชินฺโท

คือเป็นผู้ใหญ่ยิ่งในหมู่มนุษย์ ผู้มีอิสระอย่างยิ่ง.

เมื่อเสลพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระดำริ

ว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมกระทำพระองค์ให้ปรากฏกะผู้กล่าวคุณ

ของตนอยู่ เมื่อจะยังมโนรถของเสลพราหมณ์นี้ให้เต็ม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า

เราเป็นราชา ดังนี้. ในพระดำรัสนั้นมีคำอธิบายดังต่อไปนี้

ดูก่อนเสละ ท่านอ้อนวอนกล่าวกะเราว่า พระองค์ควรจะเป็นพระราชา

ดังนี้. ขอท่านจงมีความขวนขวายน้อยในข้อนี้เถิด เราเป็นพระราชา แลเมื่อ

เป็นพระราชา อุปมาว่าพระราชาอื่นทรงปกครองร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง.

แม้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงปกครองเพียงแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็น

ขอบเขต แต่เรามิได้มีขอบเขตจำกัดเลย. คือเราเป็นพระราชาโดยธรรม ไม่มี

พระราชาอื่นยิ่งกว่า ปกครองโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ โดยส่วนขวาง

ตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมาถึงอเวจีเป็นที่สุด. ก็สัตว์ทั้งหลายต่างด้วยไม่มีเท้า

มีเท้า ๒ เป็นต้น มีประมาณเพียงใด เราเป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น.

ไม่มีใคร ๆ มีส่วนเปรียบด้วยศีล ฯลฯ หรือด้วยวิมุตติญาณทัสสนะของเรา.

เรานั้นแหละเป็นพระราชาโดยธรรม ที่ยอดเยี่ยม หมุนล้อธรรมอันต่างด้วยสติ

ปัฏฐานสี่เป็นต้น ที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ. เราได้หมุนล้ออำนาจว่า นี้ท่านจงละ

นี้ท่านจงเข้าถึงอยู่ หรือหมุนล้อธรรมด้วยปริยัติธรรมเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย

ก็นี้แลคือทุกขอริยสัจจ์. บทว่า จักรที่ปฏิวัติไม่ได้ ความว่า ล้อที่สมณะ ฯลฯ

หรือใคร ๆ ในโลกหมุนกลับไม่ได้.

เสลพราหมณ์ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์ด้วย

ประการดังนี้ จึงเกิดความปีติโสมนัส เพื่อจะกระทำให้มั่นคงอีกจึงกล่าว ๒

คาถาว่า ท่านยืนยันว่า เป็นสัมพุทธะ ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

ด้วยคำว่า ใครหนอเป็นเสนาบดี เสลพราหมณ์ทูลถามว่า เมื่อพระองค์เป็น

พระธรรมราชาหมุนล้อธรรมแล้ว ใครเป็นเสนาบดีหมุนตามล้อ.

ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งอยู่ ทางเบื้องขวาของพระผู้มี

พระภาคเจ้า งามด้วยศิริดุจแท่งทอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงชี้พระ-

สารีบุตรนั้น จึงตรัสคาถาว่า มยา ปวตฺติต เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า

อนุชาโต ตถาคต ความว่า ผู้เกิดเพราะพระตถาคตเจ้าเป็นเหตุ หมายความ

ว่า ผู้เกิดตามเพราะเหตุพระตถาคตเจ้า. อีกอย่างหนึ่ง บุตร ๓ จำพวกคือ

อนุชาตบุตร อวชาตบุตร อติชาตบุตร. ในบุตรเหล่านั้น อวชาตบุตร เป็น

ผู้ทุศีล เขาไม่ชื่อว่าเป็นบุตรของพระตถาคตเจ้า. ผู้ที่ยิ่งกว่าบิดาชื่อว่า อติชาต-

บุตร. บุตรแม้นั้นของพระตถาคตเจ้าไม่มี. แต่พระตถาคตเจ้ามีอนุชาตบุตร

จำพวกเดียวเท่านั้น. เมื่อทรงชี้บุตรนั้น จึงตรัสอย่างนั้น.

ครั้นพยาการณ์ปัญหาว่า ใครหนอเป็นเสนาบดี อย่างนี้แล้ว ซึ่งเสล

พราหมณ์กล่าวว่า พระองค์ทรงยืนยันว่าเป็นสัมพุทธะ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประสงค์จะกระทำพราหมณ์นั้นให้สิ้นสงสัย ในเพราะเหตุนั้น จึงตรัสคาถา

ว่า อภิญฺเยฺย เป็นต้น เพื่อแสดงให้พราหมณ์ทราบว่า เรามิได้ปฏิญาณ

ด้วยอาการเพียงรับ รู้เท่านั้น แต่ว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า เพราะเหตุนี้. ในคาถา

นั้น คำว่า อภิญฺเญยฺย เป็นต้น ได้แก่ วิชชา วิมุตติ มรรคสัจที่ควรเจริญ

และสมุทัยสัจที่ควรละ. อนึ่งแม้นิโรธสัจจ์และทุกขสัจจ์ อันเป็นผลแห่งสัจจะ

เหล่านั้น ย่อมเป็นอันตรัสแล้วทีเดียว เพราะผลสำเร็จด้วยการกล่าวถึงเหตุ.

คำนี้ว่า เราได้ทำให้แจ้งสิ่งที่พึงทำให้แจ้ง ได้กำหนดรู้สิ่งที่พึงกำหนดรู้แล้ว

อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมมาไว้ในที่นี้นั่นแหละ. เมื่อทรงแสดงจตุสัจจ-

ภาวนา สัจจภาวนา ผล และวิมุตติ ทรงยังพุทธภาจะให้สำเร็จ โดยเหตุ

อันสมควรว่า เราได้รู้ธรรมที่พึงรู้ เป็นพระพุทธเจ้าแล้วดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

พระมีพระภาคเจ้า ครั้นเปิดเผยพระองค์อย่างสิ้นเชิงอย่างนี้แล้ว เมื่อ

จะยังพราหมณ์ให้หยั่งลงยิ่ง เพื่อข้ามความสงสัยในพระองค์ จึงตรัสสองคาถา

ว่า วินยสฺสุ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า สลฺลกตฺโต ได้แก่ ผู้ถอนลูก

ศรคือราคะเป็นต้นได้แล้ว. บทว่า อนุตฺตโร ความว่า โรคที่หมอภายนอก

รักษาให้หายแล้ว ยังกำเริบได้ในอัตตภาพนี้ได้ฉันใด แต่โรคที่เรารักษาให้

หายแล้วไม่ใช่ฉันนั้น ย่อมไม่เกิดขึ้นในภพอื่นอีก. เพราะฉะนั้น เราจึงเป็น

ผู้ไม่มีใครอื่นยิ่งกว่า. บทว่า พฺรหฺมภูโต ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐที่สุด. บทว่า

เปรียบไม่ได้ คือล่วงการเปรียบเทียบ หมายความว่า เปรียบเทียบไม่ได้.

บทว่า มารเสนปฺปมทฺทโน ความว่า ทรงย่ำยีมารและเสนามาร ซึ่งมาแล้ว

อย่างนี้ว่า กามทั้งหลายเป็นเสนาที่ ๑ ของท่าน. บทว่า สพฺพามิตฺเต ได้แก่

ข้าศึกทั้งปวงกล่าวคือขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมารและเทวบุตต

มาร. คำว่า วสีกตฺวา ความว่า ให้เป็นไปในอำนาจของตนแล้ว. บทว่า

อกุโตภโย ควานว่า ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสด้วยประการดังนี้แล้ว เสลพราหมณ์เกิด

ความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าในทันทีนั้น เป็นผู้มุ่งต่อบรรพชาจึงกล่าว

สองคาถาว่า อิม โภนฺโต ดังนี้เป็นต้น. ในคาถานั้นคำว่า กณฺหาภิชาติโก

ได้แก่ ผู้เกิดในตระกูลต่ำมีจัณฑาลเป็นต้น. แต่นั้นแม้มาณพเหล่านั้น

ก็เป็นผู้หวังบรรพชา จึงกล่าวคาถาว่า ถ้าชอบใจท่านผู้เจริญอย่างนี้

เป็นต้น. ครั้งนั้น เสลพราหมณ์มีจิตยินดีในมาณพเหล่านั้น และขอให้มาณพ

เหล่านั้น ทูลขอบรรพชา จึงกล่าวคาถาว่า พฺราหฺมณา ดังนี้เป็นต้น.

ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยังมาณพเหล่านั้นทั้งหมด

ให้บรรพชาเป็นเอหิภิกขุบรรพชา จึงตรัสพระคาถาว่า สฺวากฺขาต ดังนี้เป็นต้น

เพราะเสลพราหมณ์ เคยเป็นหัวหน้าของคณะบุรุษ ๓๐๐ คนเหล่านั้นทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

ร่วมกันสร้างบริเวณกับคนเหล่านั้น กระทำบุญมีทานเป็นต้น ในศาสนาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ในอดีตชาติ ได้เสวยเทวสมบัติ

และมนุษย์สมบัติตามลำดับอยู่ ครั้นภพสุดท้ายจึงมาบังเกิดเป็นอาจารย์ของ

มาณพเหล่านั้นอีก และกรรมของคนเหล่านั้น แก่รอบแล้ว เพื่อบ่มวิมุตติและ

เป็นอุปนิสสัยแห่งความเป็นเอหิภิกขุนั้น. ในพระคาถานั้น บทว่า สนฺทิฏฐิก

ได้แก่ อันบุคคลพึงเห็นโดยประจักษ์ด้วยตนเอง. บทว่า อกาลิก ความว่า

ได้แก่ ผลที่จะพึงบรรลุแห่งผลที่เกิดขึ้นในระหว่างแห่งมรรคไม่ใช่ในกาลถัดไป.

บทว่า ยตฺถ อโมฆา ความว่า เมื่อไม่ประมาทอยู่ในมรรคพรหมจรรย์

ใด ศึกษาอยู่ด้วยการบำเพ็ญสิกขาสามให้บริบูรณ์ การบรรพชาก็ไม่เปล่า

ประโยชน์ หมายความว่า มีผลดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนี้

แล้ว จึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด

เป็นผู้ทรงบาตรและจีวร เหาะมาทางอากาศถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำดีแล้ว ดุจพระเถระผู้มีพรรษา ๑๐๐.

ท่านเป็นกล่าวว่า อลตฺถ โข เสโล ดังนี้เป็นต้น หมายถึงความที่

ภิกษุเหล่านั้น เอุหิภิกขุนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อิมาหิ ได้แก่ ด้วยคาถาอันเหมาะแก่จิตของเกณิยปริพาชก

เหล่านี้. ท่านกล่าวคำว่า อคฺคิหุตฺตมุขา ยฺา ในคาถานั้น เพราะ

พราหมณ์ทั้งหลายไม่มีการบูชายัญนอกจากการบำเรอไฟ. หมายความว่า มีการ

บูชาไฟเป็นสิ่งประเสริฐ มีการบูชาไฟเป็นประธาน. ท่านกล่าว สาวิตรีฉันท์

เป็นประมุขของฉันท์ เพราะเมื่อสาธยายพระเวท ก็ต้องร่ายบทนี้ก่อน. พระ-

ราชาท่านกล่าวว่า เป็นประธาน เพราะเป็นผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ทั้งหลาย.

สาครท่านก็กล่าวว่าเป็นประธาน เพราะเป็นที่ทรงไว้ซึ่งแม่น้ำทั้งหลายและเป็น

ที่พึ่งอาศัยแห่งสัตว์. ท่านกล่าวว่า พระจันทร์เป็นประธานแห่งนักษัตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

ทั้งหลาย เพราะกระทำแสงสว่าง และมีความเยือกเย็น เพราะให้รู้ได้ว่า วันนี้

เป็นกฤติกาฤกษ์ วันนี้เป็นโรหิณีนักษัตร เพราะประกอบด้วยพระจันท์. ท่าน

กล่าวพระอาทิตย์ว่า มีความร้อนเป็นประมุข เพราะเป็นเลิศของสิ่งที่ร้อนทั้งหลาย.

อนึ่ง ท่านกล่าวว่า พระสงฆ์แลเป็นประมุขของผู้หวังบุญบูชาอยู่โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งหมายถึงพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขในสมัยนั้น เพราะเป็นผู้เลิศ

แห่งทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น ท่านแสดงว่า พระสงฆ์เป็นทาง

เจริญแห่งบุญ ดังนี้.

ท่านกล่าวคาถาพยากรณ์อื่น ๆ ว่า ที่พึ่งนั้นใด. ความของคาถานั้น

ดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕ เพราะเราทั้งหลาย

ได้มาถึงสรณะนั้น ๆ ในวันที่ ๘ แต่วันนี้ ฉะนั้น จึงฝึกตนแล้ว ด้วยการฝึก

ที่ไม่มีการฝึกอื่นยิ่งกว่า ในศาสนาของพระองค์ น่าอัศจรรย์นัก อานุภาพแห่ง

สรณะของพระองค์. ต่อแต่นั้น ได้ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาอีก

๒ คาถา เมื่อขอไหว้เป็นครั้งที่สามจึงกล่าวว่า ภิกษุ ๓๐๐ รูปเหล่านั้น เป็น

ต้นแล.

จบอรรถกถาเสลสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

๓. อัสสลายนสูตร

[๖๑๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์ผู้

มาจากแคว้นต่าง ๆ ประมาณ ๕๐๐ คน พักอาศัยในพระนครสาวัตถีด้วยกรณียกิจ

บางอย่าง ครั้งนั้น พราหมณ์เหล่านั้นได้คิดกันว่า พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติ

ความบริสุทธิ์เกี่ยวกับวรรณะทั้ง ๔ ใครหนอพอจะสามารถเจรจาโต้ตอบกับพระ-

สมณโคดมในคำนั้นได้ ก็สมัยนั้นแล มาณพชื่อว่าอัสสลายนะอาศัยอยู่ในพระ-

นครสาวัตถี ยังเป็นเด็กโกนศีรษะมีอายุ ๑๖ ปีนับแต่เกิดมา เป็นผู้รู้จบไตรเพท

พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ พร้อมทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์-

อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ

และตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ ครั้งนั้น พราหมณ์เหล่านั้นคิดกันว่า อัส-

สลายนมาณพผู้นี้ อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี ยังเป็นเด็ก ฯลฯ ชำนาญใน

คัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ เขาคงสามารถจะเจรจาโต้ตอบ

กับพระสมณโคดมในคำนั้นได้.

[๖๑๔] ลำดับนั้นแล พราหมณ์เหล่านั้นพากันเข้าไปหาอัสสลายน-

มาณพถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะอัสสลายนมาณพว่า พ่ออัสสลายนมาณพผู้

เจริญ พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์เกี่ยวกับวรรณะทั้ง ๔ พ่อผู้

เจริญจงเข้าไปเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้น เมื่อพราหมณ์ทั้งหลาย

กล่าวแล้วอย่างนี้ อัสสลายนมาณพได้กล่าวกะพราหมณ์เหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคคมเป็นธรรมวาที ก็อันบุคคลผู้เป็นธรรมวาที

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

ย่อมเป็นผู้อันใคร ๆ จะพึงเจรจาโต้ตอบได้โดยยาก ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเจรจา

โต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้ แม้ครั้งที่ ๒ พราหมณ์เหล่านั้นได้กล่าว

กะอัสสลายนมาณพว่า พ่ออัสสลายนะผู้เจริญ พระสมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติ

ความบริสุทธิ์เกี่ยวกับวรรณะทั้ง ๔ พ่อผู้เจริญจงเข้าไปเจรจาโต้ตอบกับพระ-

สมณโคคมในคำนั้น แม้ครั้งที่ ๒ อัสสลายนมาณพได้กล่าวกะพราหมณ์เหล่านั้น

ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมเป็นธรรมวาที ก็อัน

บุคคลผู้เป็นธรรมวาที ย่อมเป็นผู้อันใคร ๆ จะพึงเจรจาโต้ตอบได้โดยยาก

ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้นได้ แม้ครั้งที่ ๓

พราหมณ์เหล่านั้นก็ได้กล่าวกะอัสสลายนมาณพว่า พ่ออัสสลายนะผู้เจริญ พระ-

สมณโคดมนี้ ทรงบัญญัติความบริสุทธิ์ทั่วไปแก่วรรณะทั้ง ๔ พ่อผู้เจริญจง

เข้าไปเจรจาโต้ตอบกับพระสมณโคดมในคำนั้น ก็พ่ออัสสลายนะผู้เจริญได้

ประพฤติวิธีบรรพชาของปริพาชกมาแล้ว พ่ออัสสลายนะอย่ากลัวแพ้ซึ่งยังไม่

ทันรบเลย เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพได้กล่าว

กะพราหมณ์เหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้ายอมไม่ได้แน่

ได้ทราบว่าพระสมณโคดมเป็นธรรมวาที ก็อันบุคคลผู้เป็นธรรมวาทีย่อมเป็น

ผู้อันใคร ๆ จะพึงเจรจาโต้ตอบได้โดยยาก ข้าพเจ้าไม่สามารถจะเจรจาโต้ตอบ

กับพระสมณโคดมในคำนั้นได้ ก็แต่ว่า ข้าพเจ้าจักไปตามคำของท่านทั้งหลาย

[๖๑๕] ลำดับนั้น อัสสลายนมาณพพร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่

พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วอัสสลายนมาณพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่าน

พระโคคม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะ

ประเสริฐ วรรณะอื่นเลว พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะขาว วรรณะอื่นดำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

พราหมณ์เท่านั้นย่อมบริสุทธิ์ คนที่มิใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้น

เป็นบุตรพรหม เป็นโอรสพรหม เกิดแต่ปากของพรหม เกิดแต่พรหม อัน

พรหมนิรมิต เป็นทายาทของพรหมในเรื่องนี้ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร.

[๖๑๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า อัสสลายนะ ก็นางพราหมณี

ของพราหมณ์ทั้งหลาย มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดบุตรบ้าง ให้บุตรดื่ม

น้ำนมบ้าง ปรากฏอยู่ ก็พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เกิดจากช่องคลอดเหมือนกัน ยัง

กล่าวอย่างนี้ว่าพราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ วรรณะอื่นเลว...อัน

พรหมนิรมิตเป็นทายาทของพรหม.

อ. ท่านพระโคดมตรัสอย่างนี้ก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลาย

ก็ยังเข้าใจอยู่อย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาท

ของพรหม.

[๖๑๗] พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ท่านได้ฟังมาแล้วหรือว่า ในแคว้นโยนก แคว้นกัมโพช และในปัจจันตชน-

บทอื่น ๆ มีวรรณะอยู่ ๒ วรรณะเท่านั้น คือ เจ้าและทาส เป็นเจ้าแล้วกลับ

เป็นทาส เป็นทาสแล้วกลับเป็นเจ้า.

อ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนั้นว่า ในแคว้น

โยนกแคว้นกัมโพช และในปัจจันตชนบทอื่น ๆ มีวรรณะอยู่ ๒ วรรณะเท่านั้น

คือ เจ้าและทาส เป็นเจ้าแล้วกลับเป็นทาส เป็นทาสแล้วกลับเป็นเจ้า.

พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็นความยินดี

ของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ

ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

อ. ท่านพระโคคมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้ง

หลายก็ยังเข้าใจอยู่อย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็น

ทายาทของพรหม.

[๖๑๘] พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

กษัตริย์ เท่านั้นหรือ เป็นผู้มีปรกติฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม

พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภมาก มีจิตพยาบาท มี

ความเห็นผิด เมื่อคายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พราหมณ์ไม่

เป็นอย่างนั้น แพศย์เท่านั้นหรือ.. .ศูทรเท่านั้นหรือ เป็นผู้มีปรกติฆ่าสัตว์

ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ

โลภมาก มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดเมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก พราหมณ์ไม่เป็นอย่างนั้น.

อ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม ข้าแต่ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์

ผู้มีปรกติฆ่าสัตว์...มีความเห็นผิด เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ข้าแต่ท่านพระโคดม แม้พราหมณ์ . . . แม้แพศย์. . . แม้ศูทร . .

ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ. ความจริง แม้วรรณะ ๔ ผู้มีปรกติฆ่าสัตว์. . .มีความ

เห็นผิด เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกทั้งหมด.

พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็นความ

ยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะ

ประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม.

อ. ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้ง

หลายก็ยังเข้าใจอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาท

ของพรหม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

[๖๑๙] พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

พราหมณ์เท่านั้นหรือหนอ ผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จาก

การประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำ

หยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภมาก ไม่มีจิตพยาบาท มีความเห็นชอบ

เมื่อตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ กษัตริย์ไม่พึงเป็นเช่นนั้น แพศย์ไม่พึง

เป็นเช่นนั้น ศูทรไม่พึงเป็นเช่นนั้น.

อ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคคม ข้าแต่ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์

ผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์. ..มี่ความเห็นชอบ เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ ข้าแต่ท่านพระโคคม แม้พราหมณ์. . . แม้แพศย์. . . แม้ศูทร. . .ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ความจริง แม้วรรณะ ๔ ผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์. . .มีความ

เห็นชอบ เมื่อตายไป ก็พึงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ทั้งหมด.

พ. อัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็นความยินดีของ

พราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็น

ทายาทของพรหม.

อ. ท่านพระโคดมตรัสอย่างนี้ก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ก็ยัง

เข้าใจอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาทของ

พรหม.

[๖๒๐] พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ในประเทศนั้น พราหมณ์เท่านั้นหรือหนอ ย่อมสามารถเจริญเมตตาจิตอัน

ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน [ส่วน] กษัตริย์ไม่สามารถ แพศย์ไม่สามารถ.

ศูทรไม่สามารถ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

อ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม ข้าแต่ท่านพระโคดม ในประเทศ

นั้น แม้กษัตริย์ก็สามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน

ข้าแต่ท่านพระโคดม แม้พราหมณ์ . . . แม้แพศย์. . . แม้ศูทร . . . ข้าแต่

ท่านพระโคดมผู้เจริญ ความจริงในประเทศนั้น แม้วรรณะ ๔ ก็สามารถเจริญ

เมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนได้ทั้งหมด.

พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็นความ

ยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะอัน

ประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม.

อ. ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์

ทั้งหลายก็ยังเข้าใจอย่างนี้ พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็น

ทายาทของพรหม.

[๖๒๑] พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

พราหมณ์เท่านั้นหรือหนอ ย่อมสามารถถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำ แล้ว

ลอยละอองและธุลีได้ กษัตริย์ไม่สามารถ แพศย์ไม่สามารถ ศูทรไม่สามารถ.

อ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม ข้าแต่ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์

ก็ย่อมสามารถถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำ แล้วลอยละอองและธุลีได้ ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ แม้พราหมณ์ . . . แม้แพศย์ . . แม้ศูทร . . ข้าแต่พระ-

โคดมผู้เจริญ ความจริง แม้วรรณะ ๔ ก็ย่อมสามารถถือเอาเครื่องสีตัวสำหรับ

อาบน้ำ แล้วลอยละอองและธุลีได้ทั้งหมด.

พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็นความ

ยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะ

ประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

อ. ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลาย

ก็ยังเข้าใจอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาท

ของพรหม.

[๖๒๒] พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

พระราชาในโลกนี้ เป็นกษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว จะพึ่งทรงเกณฑ์บุรุษ

ผู้มีชาติต่าง ๆ กัน ๑๐๐ คนให้มาประชุมกันแล้วตรัสว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย

ในจำนวนบุรุษเหล่านั้น บุรุษเหล่าใดเกิดแต่สกุลกษัตริย์ แต่สกุลพราหมณ์

แต่สกุลเจ้า บุรุษเหล่านั้นจงถือไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทร์ หรือไม้

ทับทิมเอามาทำเป็นไม้สีไฟ แล้วจงสีให้ไฟลุกโพลง อนึ่ง มาเถิดท่านทั้งหลาย

ในจำนวนบุรุษเหล่านั้น บุรุษเหล่าใดเกิดแต่สกุลจัณฑาล แต่สกุลพราน แต่

สกุลจักสาน แต่สกุลช่างรถ แต่สกุลคนเก็บขยะ บุรุษเหล่านั้นจงถือเอาไม้

รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่งเอามาทำเป็นไม้สีไฟ แล้ว

จงสีให้ไฟลุกโพลง ดูก่อนอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ไฟที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดแต่สกุลกษัตริย์ แต่สกุลพราหมณ์ แต่สกุลเจ้า ถือเอา

ไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม เอามาทำเป็นไม้สีไฟ

แล้วสีให้ไฟลุกโพลงขึ้นเท่านั้นหรือหนอ พึงเป็นไฟมีเปลว มีสี มีแสงสว่าง

และอาจทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นได้ ส่วนไฟที่บุรุษทั้งหลายผู้เกิดแต่สกุลจัณฑาล

แต่สกุลพราน แต่สกุลจักสาน แต่สกุลช่างรถ แต่สกุลคนกวาดถนน ถือเอา

ไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่ง เอามาทำเป็นไม้สีไฟ

แล้วสีไฟให้ลุกโพลงขึ้นนั้น พึงเป็นไฟไม่มีเปลว ไม่มีสี ไม่มีแสงสว่าง และ

ไม่อาจทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้น.

อ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคคม ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ แม้ไฟที่

บุรุษทั้งหลายผู้เกิดแต่สกุลกษัตริย์... แล้วสีให้ไฟลุกโพลงขึ้น ก็พึงเป็นไฟ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

มีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และอาจทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นได้ แม้ไฟที่บุรุษ

ทั้งหลายผู้เกิดแต่สกุลจัณฑาล ... แล้วสีให้ไฟลุกโพลงขึ้น ก็พึงเป็นไฟมีเปลว

มีสี มีแสงสว่าง และอาจทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นได้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ความจริง แม้ไฟทุกอย่างก็พึงเป็นไฟมีเปลว มีสี มีแสงสว่าง และอาจทำกิจ

ที่ต้องทำด้วยไฟนั้นได้หมด.

พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ในเรื่องนี้ อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็นความ

ยินดีของพราหมณ์ทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะ

ประเสริฐ... เป็นทายาทของพรหม.

อ. ท่านพระโคดมตรัสอย่างนั้นก็จริง แต่ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลาย

ก็ยังเข้าใจอยู่อย่างนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาท

ของพรหม.

[๖๒๓] พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ขัตติยกุมารในโลกนี้ พึงสำเร็จการอยู่ร่วมกับนางพราหมณี เพราะอาศัยการอยู่

ร่วมของคนทั้งสองนั้น พึงเกิดบุตรแต่นางพราหมณีกับขัตติยกุมารนั้น เหมือน

มารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ก็ควรกล่าวได้ว่าเป็นกษัตริย์บ้าง เป็นพราหมณ์

บ้างหรือ.

อ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุตรผู้เกิดแต่นางพราหมณีกับขันติยกุมาร

นั้น เหมือนมารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ก็ควรกล่าวได้ว่า เป็นกษัตริย์บ้าง

เป็นพราหมณ์บ้าง.

[๖๒๔] พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

พราหมณ์กุมารในโลกนี้ พึงสำเร็จการอยู่ร่วมกับนางกษัตริย์ เพราะอาศัยการ

อยู่ร่วมของคนทั้งสองนั้น พึงเกิดบุตร บุตรผู้เกิดแต่นางกษัตริย์กับพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

กุมารนั้นเหมือนมารดาก็ดี เหมือนบิดาก็ดี ก็ควรกล่าวได้ว่า เป็นกษัตริย์บ้าง

เป็นพราหมณ์บ้างหรือ.

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุตรผู้เกิดแต่นางกษัตริย์กับพราหมณ์กุมารนี้

ก็ควรกล่าวได้ว่า เป็นกษัตริย์บ้าง เป็นพราหมณ์บ้าง.

[๖๒๕] พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน

ในโลกนี้ เขาพึงผสมแม่ม้ากับพ่อพา เพราะอาศัยการผสมแม่ม้ากับพ่อฬานั้น

พึงเกิดลูกม้า แม้ลูกม้าที่เกิดแต่แม่ม้ากับพ่อฬานั้น เหมือนแม่ก็ดี เหมือนพ่อ

ก็ดี ก็ควรกล่าวได้ว่า เป็นม้าบ้าง เป็นฬาบ้างหรือ.

อ. ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ แม้ลูกผสมนั้นก็ย่อมเป็นม้าอัสดร ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ เรื่องของสัตว์นี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าต่างกัน แต่ในนัยต้น ใน

เรื่องของมนุษย์เหล่าโน้น ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่ต่างอะไรกัน.

[๖๒๖] พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน

ในโลกนี้ พึงมีมาณพสองคน เป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน คนหนึ่งเป็นคน

ศึกษาเล่าเรียน อันอาจารย์แนะนำ คนหนึ่งไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน อันอาจารย์

ไม่ได้แนะนำ ในสองคนนี้ พราหมณ์ทั้งหลายพึงเชื้อเชิญคนไหนให้บริโภคก่อน

ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธาก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ในการเลี้ยง

เพื่อบูชายัญก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี.

อ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในสองคนนี้ พราหมณ์ทั้งหลายพึงเชื้อ-

เชิญมาณพผู้ศึกษาเล่าเรียน ผู้ที่อาจารย์แนะนำ ให้บริโภคก่อน ในการเลี้ยง

ของผู้มีศรัทธาก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อเป็นบรรณาการก็ดี ให้การเลี้ยงเพื่อบูชายัญ

ก็ดี ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ ของที่ให้ในบุคคล

ผู้ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ผู้ที่อาจารย์มิได้แนะนำ จักมีผลมากได้อย่างไรเล่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

[๖๒๗] พ. ดูก่อนอัสสลายนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน

ในโลกนี้ พึงมีมาณพสองคน เป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน คนหนึ่งเป็นคน

ศึกษาเล่าเรียน อันอาจารย์แนะนำ แต่เป็นคนทุศีล มีธรรมอันลามก คนหนึ่ง

ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน อันอาจารย์มิได้แนะนำ แต่เป็นคนมีศีล มีกัลยาณธรรม

ในสองคนนี้ พราหมณ์ทั้งหลายพึงเชื้อเชิญคนไหนให้บริโภคก่อน ในการเลี้ยง

ของผู้มีศรัทธาก็ดี... ในการเลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี.

อ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในสองคนนี้ พราหมณ์ทั้งหลายพึง

เชื้อเชิญมาณพผู้ได้ได้ศึกษาเล่าเรียน ผู้ที่อาจารย์ไม่ได้แนะนำ แต่เป็นคนมีศีล

มีกัลยาณธรรม ให้บริโภคก่อน ในการเลี้ยงของผู้มีศรัทธาก็ดี. . ในการ

เลี้ยงเพื่อต้อนรับแขกก็ดี ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ของที่ให้ในบุคคลผู้ทุศีล

มีธรรมอันลามกจักมีผลมากอะไรเล่า.

พ. ดูก่อนอัสสลายนะ เมื่อก่อนท่านได้ไปยังชาติ ครั้นไปยังชาติ

แล้วได้ไปในมนต์ ครั้นไปในมนต์แล้ว กลับเว้นมนต์นั้นเสีย แล้วกลับมายัง

ความบริสุทธิ์เกี่ยวกับวรรณะทั้ง ๔ ที่เราบัญญัติไว้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพนิ่งเฉย

เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ.

[๖๒๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อัสสลายน

มาณพนิ่งเฉย เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงได้ตรัสกะ

อัสสลายนมาณพว่า ดูก่อนอัสสลายนะ เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์ฤาษี ๗

ตน มาประชุมกันที่กระท่อมอันมุงบังด้วยใบไม้ไนราวป่า เกิดมีทิฐิอันลามก

เห็นปานนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาทของ

พรหม ดูก่อนอัสสลายนะ อสิตเทวละฤาษีได้สดับข่าวว่า พราหมณ์ฤาษี ๗

ตน มาประชุมกันที่กระท่อมอันมุงบังด้วยใบไม้ เกิดทิฐิอันลามกเห็นปานนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ ฯลฯ เป็นทายาทของพรหม ดังนี้

ลำดับนั้นแล อสิตเทวละฤาษีปลงผมและหนวด นุ่งผ้าสีแดงอ่อน สวมรองเท้า

สองชั้น ถือไม้เท้าเลี่ยมทอง ไปปรากฏในบริเวณบรรณศาลาของพราหมณ์

ฤาษี ๗ ตน ดูก่อนอัสสลายนะ ครั้งนั้นแล อสิตเทวละฤาษีเดินไปมาอยู่ใน

บริเวณของพราหมณ์ฤาษี ๗ ตน กล่าวอย่างนี้ว่า เออท่านพราหมณ์ฤาษี

เหล่านี้ไปไหนกันหมดหนอ เออท่านพราหมณ์ฤาษีเหล่านี้ไปไหนกันหมดหนอ

ดูก่อนอัสสลายนะ ลำดับนั้นแล พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ได้กล่าวกะอสิตเทวละ

ฤาษีว่า ใครหนอนี่เหมือนเด็กชาวบ้านเดินไปมาอยู่ที่บริเวณบรรณศาลาของ

พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน กล่าวอย่างนี้ว่า เออท่านพราหมณ์ฤาษีเหล่านี้ไปไหน

กันหมด เออท่านพราหมณ์เหล่านี้ไปไหนกันหมด เอาละเราทั้งหลายจักสาป

แช่งมัน ดูก่อนอัลสลายนะ ลำดับนั้น พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน พากันสาปแช่ง

อสิตเทวละฤาษีว่า มันจงเป็นเถ้าเป็นจุณไป จงเป็นเถ้าเป็นจุณไป จะเป็น

เถ้าเป็นจุณไป ดูก่อนอัสสลายนะ พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน พากันสาปแช่งอสิต

เทวละฤาษีด้วยประการใด ๆ อสิตเทวละฤาษีกลับเป็นผู้มีรูปงามกว่า เป็นผู้น่า

ดูกว่า และเป็นผู้น่าเลื่อมใสกว่า ด้วยประการนั้น ๆ ดูก่อนอัสสลายนะ ครั้ง

นั้นแล พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ได้มีความคิดกันว่า ตบะของเราทั้งหลายเป็น

โมฆะหนอ พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายไม่มีผล ด้วยว่า เมื่อก่อนเราทั้งหลาย

สาปแช่งผู้ใดว่า เจ้าจงเป็นเถ้าเป็นจุณไป ผู้นั้นบางคนก็เป็นเถ้าไป แต่ผู้นี้เรา

ทั้งหลายสาปแช่งด้วยประการใด ๆ เขากลับเป็นผู้มีรูปงามกว่า เป็นผู้น่าดูกว่า

และเป็นผู้น่าเลื่อมใสกว่า ด้วยประการนั้น ๆ อสิตเทวละฤาษีกล่าวว่า ตบะ

ของท่านผู้เจริญทั้งหลายเป็นโมฆะก็หามิได้ และพรหมจรรย์ของท่านผู้เจริญ

ทั้งหลายไม่มีผลก็หามิได้ เชิญท่านผู้เจริญทั้งหลายจงละความคิดประทุษร้ายใน

เราเสียเถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

ฤา. เราทั้งหลายย่อมละความคิดประทุษร้าย ท่านเป็นใครหนอ.

เท. ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้ยินชื่ออสิตเทวละฤาษีหรือไม่.

ฤา. ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายได้ยินชื่ออย่างนั้น.

เท. ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เรานี่แหละอสิตเทวละฤาษีนั้น.

ดูก่อนอัสสลายนะ ลำดับนั้นแล พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน พากันเข้าไป

หาอสิตเทวละฤาษีเพื่อจะไหว้ อสิตเทวละฤาษีได้กล่าวกะพราหมณ์ฤาษี ๗ ตน

ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้สดับข่าวนี้มาว่า พราหมณ์ฤาษี ๗

ตน มาประชุมในกระท่อมอันมุงบังด้วยใบไม้ในราวป่า เกิดทิฐิอันลามกเห็น

ปานนี้ว่า พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ วรรณะอื่นเลว พราหมณ์

เท่านั้นเป็นวรรณะขาว วรรณอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้มิใช่พราหมณ์

ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตรของพรหม เป็นโอรสของพรหม เกิด

แต่ปากพรหม เกิดแต่พรหม อันพรหมนิรมิต เป็นทายาทของพรหม ดังนี้

จริงหรือ พราหมณ์ฤาษี ๗ ตน ตอบว่า จริงอย่างนั้นท่านผู้เจริญ.

เท. ก็ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า มารดาบังเกิดเกล้าได้แต่งงานกับ

พราหมณ์เท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกะชายผู้มีใช่พราหมณ์เลย.

ฤา. ข้อนี้ไม่ทราบเลย ท่านผู้เจริญ

เท. ก็ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า มารดาของมารดาบังเกิดเกล้า

ตลอด ๗ ชั่วย่ายายของมารดา ได้แต่งงานกับ พราหมณ์เท่านั้น ไม่ได้แต่งงาน

กะชายผู้มีใช่พราหมณ์เลย.

ฤา. ข้อนี้ไม่ทราบเลย ท่านผู้เจริญ.

เท. ก็ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า บิดาบังเกิดเกล้าได้แต่งงานกับ

นางพราหมณีเท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกะหญิงผู้มิใช่นางพราหมณีเลย.

ฤา. ข้อนี้ไม่ทราบเลย ท่านผู้เจริญ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

เท. ก็ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า บิดาของบิดาบังเกิดเกล้า ตลอด

๗ ชั่วปู่ตาของบิดา ได้แต่งงานกะนางพราหมณีเท่านั้น ไม่ได้แต่งงานกะหญิง

ผู้มิใช่นางพราหมณีเลย.

ฤา. ข้อนี้ไม่ทราบเลย ท่านผู้เจริญ.

เท. ก็ท่านผู้เจริญทั้งหลายรู้หรือว่า การตั้งครรภ์จะมีได้ด้วยอาการ

อย่างไร

ฤา. ดูก่อนท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายรู้ว่า การตั้งครรภ์จะมีได้

ด้วยอาการอย่างไร คือ ในโลกนี้ มารดาและบิดาอยู่ร่วมกัน ๑ มารดามี

ระดู ๑ สัตว์ผู้จะเกิดในครรภ์ปรากฏ ๑ การตั้งครรภ์ย่อมมีได้เพราะความประชุม

พร้อมแห่งเหตุ ๓ ประการอย่างนี้.

เท. ก็ท่านผู้เจริญทั้งหลายอ้อนวอนได้หรือว่า ได้โปรดเถิด ขอสัตว์

ที่เกิดในครรภ์จงเป็นกษัตริย์ จงเป็นพราหมณ์ จงเป็นแพศย์ หรือว่าจงเป็น

ศูทร.

ฤา. ดูก่อนท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายอ้อนวอนอย่างนั้นไม่ได้เลย.

เท. เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลายจะรู้ได้หรือว่า ท่าน

ทั้งหลายเป็นพวกไหน.

ฤา. ดูก่อนท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนั้นข้าพเจ้าทั้งหลายไม่รู้เลยว่า

ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นพวกไหน.

ดูก่อนอัสสลายนะ ก็พราหมณ์ฤาษี ๗ ตนนั้น อันอสิตเทวละฤาษี

ซักไซ้ไล่เลียง ไต่ถามในวาทะปรารภชาติของตนย่อมตอบไม่ได้ ก็บัดนี้ ท่าน

อันเราซักไซ้ไล่เลียง ไต่ถามในวาทะปรารภชาติของตน จะตอบได้อย่างไร

ท่านเป็นศิษย์มีอาจารย์ ยังรู้ไม่จบ เป็นแต่ถือทัพพี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

[๖๒๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อัสสลายนมาณพได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสกผู้

ถึงสรณะตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบ อัสสลายนสูตรที่ ๓.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

อรรถกถาอัสสลายนสูตร

อัสสลายนสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในพระสูตรนั้น คำว่า นานาเวรชฺชกาม ได้แก่ ผู้ที่มาจากแคว้น

ต่าง ๆ มีอังคะและมคธ เป็นต้น โดยประการต่าง ๆ กัน อีกอย่างหนึ่ง

ความว่า ผู้เกิดแล้วเจริญแล้ว ในแคว้นเหล่านั้นก็มี. บทว่า เกนจิเทว

คือด้วยกิจที่มิได้กำหนดมีการบูชายัญเป็นต้น. บทว่า จาตุวณฺณึ คือทั่วไป

แก่วรรณะ 4. ก็เราทั้งหลายกล่าวว่า พราหมณ์ทั้งหลายย่อมสาธยายมนต์เพื่อ

ชำระล้างให้บริสุทธิ์บ้าง เพื่อความบริสุทธิ์แห่งภาวนาบ้าง จึงสำคัญว่า พระ-

สมณโคดมกระทำแม้สิ่งที่ไม่สมควร จึงคิดกันอย่างนั้น. บทว่า วุตฺตสิโร คือ

ปลงผม. บทว่า ธมฺมวาที ความว่า พูดวามภาวะของตน. บทว่า ทุปฺปภิ-

มนฺติยา ความว่า อันผู้กล่าวไม่เป็นธรรมเช่นเราจะพึงโต้ตอบได้โดยยาก.

ท่านแสดงว่า ไม่อาจทำให้ผู้กล่าวเป็นธรรมแพ้ได้. บทว่า ปริพฺพาชก ได้แก่

วิธีบรรพชา. พราหมณ์เหล่านั้น สำคัญอยู่ว่า ผู้ที่เรียนพระเวทสามแล้วบวช

ในภายหลังคนอื่นทั้งหมด ย่อมบวชด้วยมนต์ใด ครั้นบวชแล้ว ย่อมบริหาร

มนต์เหล่าใด ย่อมประพฤติอาจาระใด สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นอันท่านผู้เจริญเรียน

แล้วศึกษาแล้ว เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจะไม่แพ้ ท่านจักมีแต่ชนะอย่างเดียว

ดังนี้ จึง กล่าวอย่างนั้น.

คำว่า ทิสฺสนฺเต โข ปน ดังนี้ เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อทำลายลัทธิ

ของพราหมณ์เหล่านั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺราหฺมณิโย ได้แก่ ใครๆ

ก็เห็นนางพราหมณีที่นำนาจากตระกูลเพื่อให้บุตรของพราหมณ์ (แต่งงาน) ด้วย

การอาวาหะ และวิวาหมงคล แต่นางนั้นโดยสมัยอื่นมีฤดู หมายความว่า เกิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

ประจำเดือน. บทว่า คพฺภินิโย ได้แก่ เกิดท้องขึ้น. บทว่า วิชายมานา

ได้แก่ ตลอดลูกชายหญิง. บทว่า ปายมานา คือให้เด็กดื่มน้ำนม. คำว่า

โยนิชาวสมานา ความว่า เกิดทางช่องคลอดของนางพราหมณี. คำว่า

เอวมาหสุ แปลว่า กล่าวอยู่อย่างนี้. ถามว่า กล่าวอย่างไร. ตอบว่า กล่าวว่า

พฺราหฺมโณว เสฏฺโ วณฺโณ ฯเปฯ พฺรหฺมทายาทา ดังนี้ . ก็ถ้าว่า

คำของตนเหล่านั้นพึงเป็นคำจริง ท้องนางพราหมณีก็พึงเป็นอกของมหาพรหม.

ช่องคลอดของนางพราหมณีก็พึงเป็นปากของมหาพรหม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

เราทั้งหลายอย่าได้กล่าวว่า อยู่ในอกของมหาพรหมออกจากของพรหม ฉะนั้น

จึงกล่าวคำตัดเรื่องชาติออกได้เต็มปาก. คำว่า เป็นเจ้าแล้วกลับเป็นทาส

เป็นทาสแล้วกลับเป็นเจ้า ความว่า พราหมณ์กับภริยาประกอบการค้าขาย

ไปยังแคว้นโยนก หรือแคว้นกัมโพช กระทำกาละ เมื่อบุตรผู้เจริญวัยในเรือน

เขาไม่มี นางพราหมณีก็สำเร็จสังวาสกับทาสหรือกรรมกร เกิดเด็กคนหนึ่ง

บุรุษนั้นเป็นทาส. เด็กที่เกิดของบุรุษนั้น ก็เป็นเจ้าของมรดก ชื่อว่าบริสุทธิ์

ฝ่ายมารดา ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายบิดา. บุรุษนั้นประกอบการค้าขายอยู่ ไปยังมัชฌิม

ประเทศพาลูกสาวของพราหมณ์ไป ได้ลูกชายในท้องของนางนั้น. ถึงลูกชาย

นั้นก็ย่อมบริสุทธิ์ฝ่ายมารดาตามเดิม ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายบิดา ด้วยอาการอย่างนี้

ความปนคละโดยชาติ ย่อมมีในลัทธิของพราหมณ์นั้นแหละ เพื่อแสดงความ

ดังกล่าวมานี้ จึงกล่าวคำนั้นไว้. คำว่า กึ พล โก อสฺสาโส ท่านแสดง

ว่า ในที่ใดพวกท่านเป็นทาส ทุกคนก็เป็นทาส ถ้าเป็นเจ้าทุกคนก็เป็นเจ้า ใน

ที่นี้อะไรเป็นกำลัง อะไรเป็นความยินดีของท่านทั้งหลายผู้กล่าวอย่างนี้ว่า

พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะประเสริฐ. คำว่า ขตฺติโย จ นุโข เป็นต้น เป็น

คำตัดฝ่ายขาวทิ้งเสีย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

บัดนี้ เมื่อจะแสดงความบริสุทธิ์อันมีวรรณะ ๔ จึงกล่าวคำว่า อิธ

ราชา ดังนี้เป็นต้น. บทว่า สาปานโทณิยา ได้แก่ รางน้ำข้าวแม้แห่งสุนัข.

บทว่า อคฺคิกรณีย ได้แก่หน้าที่ของไฟเป็นต้นว่า บรรเทาความหนาว ขจัด

ความมืด หุงต้มข้าว. ชื่อว่าผู้ทำกิจด้วยไฟในกิจทุกอย่างนี้ ชื่อว่า อัสสลายนะ

ในบทนี้.

บัดนี้ ในข้อที่พราหมณ์กล่าวว่า ความบริสุทธิ์เกี่ยวกับวรรณะ ๔

ความบริสุทธิ์เกี่ยวกับวรรณะ ๔ นี้ไม่มีความชี้ชัดลงไปว่า วรรณะ ๔ เพราะยังมี

วรรณะผสมเป็นที่ ๕ ฉะนั้น เพื่อจะแสดงความผิดพลาดในคำของพราหมณ์

เหล่านั้น โดยย่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ขัตติยกุมารในโลกนี้ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อมุตฺร จ ปน สาน. ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ก็แลเราไม่เห็นการกระทำอันต่างกันอะไร ๆ ของมาณพเหล่านี้ ในนัย

ก่อนโน้น . แต่แม้พราหมณ์เหล่านั้นยังมีการกระทำต่างกันเทียว. ก็ผู้ที่เกิดจาก

นางพราหมณีกับขัตติยกุมาร ก็ชื่อว่า ลูกผสมกษัตริย์. นอกนี้ชื่อว่าลูกผสม

พราหมณ์. เหล่านี้เป็นมาณพผู้มีชาติต่ำ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดง

โทษในวาทะของพราหมณ์เหล่านั้นว่า ความบริสุทธิ์เกี่ยวกับวรรณะ ๔ เพราะ

ยังมีวรรณะที่ ๕ อยู่อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะหยั่งลงในความบริสุทธิ์ เกี่ยวกับ

วรรณะ ๔ อีก จึงตรัสคำว่า ต กึ มญฺสิ เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สทฺเธ ได้แก่ภัตรเพื่อผู้ตาย. บทว่า ถาลิปาเก

ได้แก่ ภัตรเพื่อบรรณาการ. บทว่า ยญฺเ ได้แก่ภัตร เพื่อบูชายัญ. บทว่า

ปาหุเน ได้แก่ภัตรที่เขาทำเพื่อแขก. บทว่า กึ หิ คือย่อมแสดงว่า อันไหนจะมี

ผลมากหรือจะไม่มีผลมาก. บทว่า ภูตปุพฺพ ความว่า อัสสลายนะในกาลก่อน

เราต่ำกว่าโดยชาติ ท่านแม้ประเสริฐกว่าก็ไม่อาจแก้ปัญหาในวาทะปรารภชาติที่

เราถามแล้วได้ บัดนี้ท่านเป็นผู้ต่ำกว่าเรา ถามปัญหาวาทะปรารภชาติของตนแห่ง

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะแก้ได้หรือ การคิดในปัญหานั้น ก็พึงกระทำไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

เมื่อจะค้ำชูมาณพนั้น จึงปรารภการเทศนานี้ด้วยประการฉะนี้. ในบทเหล่านั้น

บทว่า อสิโต แปลว่า ดำ. คำว่า เทวโล เป็นชื่อของดาบสนั้น. โดยสมัยนั้น

ก็คือพระผู้มีพระภาคเจ้านี้แหละ. บทว่า อาคลิโย ได้แก่ รองเท้าสองชั้น.

บทว่า ปตฺติณฺฑิเล ได้แก่บริเวณบรรณศาลา. คำว่า โก นุ โข ได้แก่

ณ ที่ไหนหนอแล. คำว่า คามณฺฑรูโป วิย ได้แก่ เหมือนเด็กชายชาวบ้าน.

คำว่า โส ขฺวาห โภ โหมิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราเป็น

อสิเทวละ. ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระมหาสัตว์เป็นผู้ฝึกม้าที่ยังมิได้ฝึกเที่ยวไป.

คำว่า อภิวาเทตุ อุปกฺกมึสุ คือกระทำความพยายามจะไหว้. และต่อแต่

นั้น แม้ดาบสผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี ก็ไม่ไหว้ พราหมณ์กุมารผู้เกิดในวันนั้น เป็น

ผู้ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้ว.

คำว่า ชนิมาตา ความว่า หญิงใดให้ท่านเกิดมา หญิงนั้นก็เป็นแม่

ผู้เกิดกล้าของท่าน. บทว่า ชนิมาตุ คือ แห่งมารดาบังเกิดเกล้า. บทว่า

ชนิปิตา คือผู้ใดเป็นบิดาบังเกิดเกล้า. ปาฐะว่า โย ชนิปิตา ดังนี้ก็มี.

บทว่า อสิเตน ความว่า ฤาษีอสิตเทวละผู้ได้อภิญญา ๕ ถามปัญหา

ปรารภคนธรรพ์นี้ แล้วแก้ไม่ได้. บทว่า เยส ได้แก่ ฤาษี ๗ ตน เหล่าใด. คำว่า

ปุณฺโณ ทพฺพิคาโห ความว่า มาณพคนหนึ่ง ขอปุณณะจับทัพพีคั่วใบไม้

ให้ฤาษี ๗ ตนเหล่านั้น. ปุณณะนั้นรู้ศิลปะในการจับทัพพี แต่ปุณณะไม่ได้

เป็นอาจารย์ของฤาษีเหล่านั้น ท่านไม่รู้แม้เพียงศิลปะ คือการจับทัพพีที่ปุณณะ

นั้นรู้แล้ว. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

ก็อัสสลายนพราหมณ์นี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส ได้สร้าง

เจดีย์ไว้ในนิเวศน์ของตน. ผู้ที่เกิดในวงศ์ของอัสสลายนพราหมณ์ สร้าง

นิเวศน์แล้ว ก็สร้างเจดีย์ไว้ในภายในนิเวศน์จนคราบเท่าถึงวันนี้.

จบอรรถกถาอัสสลายนสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

๔. โฆฏมุขสูตร

[๖๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง ท่านพระอุเทนอยู่ ณ เขมิยอัมพวัน ใกล้เมืองพาราณสี

ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าโฆฏมุขะได้ไปถึงเมืองพาราณสีด้วยกรณียกิจ

บางอย่าง. ครั้งนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์เดินเที่ยวไปมาเป็นการพักผ่อน ได้เข้า

ไปยังเขมิยอัมพวัน . ก็สมัยนั้น ท่านพระอุเทนเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง. โฆฏ-

มุขพราหมณ์เข้าไปหาท่านพระอุเทนถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอุเทน

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้เดินตามท่านพระอุเทนผู้

กำลังเดินจงกรมอยู่ ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนสมณะผู้เจริญ การบวชอันชอบ

ธรรมย่อมไม่มี ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะบัณฑิตทั้งหลาย

เช่นท่านไม่เห็นข้อนั้น หรือไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้.

[๖๓๑] เมื่อโฆฏนุขพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุเทนลงจาก

ที่จงกรม เข้าไปยังวิหาร แล้วนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ แม้โฆฏมุขพราหมณ์ก็ลง

จากที่จงกรม เข้าไปยังวิหาร แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ท่านพระอุเทนได้กล่าวกะโฆฏมุขพราหมณ์ว่า พราหมณ์ อาสนะมีอยู่ ถ้าท่าน

ปรารถนาก็เชิญนั่งเถิด.

โฆ. ก็ข้าพเจ้ารอการเชื้อเชิญของท่านพระอุเทนนี้แล จึงยังไม่นั่ง

เพราะว่าคนเช่นข้าพเจ้า อันใครไม่เชื้อเชิญก่อนแล้ว จะพึงสำคัญการที่จะพึง

นั่งบนอาสนะอย่างไร.

ลำดับนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่ง แล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอุเทนว่า สมณะผู้เจริญ การ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

บวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี. ในเรื่องนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะบัณฑิต

ทั้งหลายเช่นท่านไม่เห็นข้อนั้น หรือไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้ ท่านพระอุเทน

กล่าวว่าพราหมณ์ ถ้าท่านพึงยอมคำที่ควรยอม และพึงคัดค้านคำที่ควรคัดค้าน

ของเรา อนึ่ง ท่านไม่พึงรู้เนื้อความแห่งภาษิตใด พึงซักถามเราในภาษิตนั้น

ให้ยิ่งไปว่า ท่านอุเทน ภาษิตนี้อย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน

เพราะทำได้อย่างนี้ เราทั้งสองพึงมีการเจรจาปราศรัยในเรื่องนี้กันได้

โฆ. ข้าพเจ้าจักยอมคำที่ควรยอม และจักคัดค้านคำที่ควรคัดค้านของ

ท่านอุเทน. อนึ่ง ข้าพเจ้าจักไม่รู้เนื้อความแห่งภาษิตของท่านอุเทนข้อใด

ข้าพเจ้าจักซักถามท่านอุเทนในภาษิตข้อนั้น ให้ยิ่งขึ้นไปว่า ท่านอุเทน ภาษิตนี้

อย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน เพราะทำได้อย่างนี้ เราทั้งสองจง

เจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.

[๖๓๒] อุ. พราหมณ์ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือนร้อน

ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือนร้อน ๑ บางคนเป็นผู้ทำผู้อื่นให้

เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ๑ บางคนเป็น

ผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทั้ง

เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือนร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือนร้อน ๑

บางคนไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำตน

ให้เดือนร้อน ทั้งไม่เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายใน

การทำผู้อื่นให้เดือนร้อน บุคคลผู้ไม่ทำคนให้เดือนร้อนและไม่ทำผู้อื่นให้

เดือนร้อนนั้น เป็นผู้ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตน

เป็นดังพรหมอยู่ ในปัจจุบัน ๑ พราหมณ์ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคล

ไหนย่อมยังจิตของท่านให้ยินดี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

โฆ. ท่านอุเทน บุคคลผู้ทำตนให้เดือนร้อน ประกอบความขวนขวาย

ในการทำคนให้เดือนร้อนนี้ ย่อมไม่ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี แม้บุคคลผู้ทำ

ผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือนร้อนนี้ ก็ไม่

ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี. ถึงบุคคลผู้ทำคนให้เดือนร้อน ประกอบความ

ขวนขวายในการทำคนให้เดือนร้อน ทั้งทำผู้อื่นให้เดือนร้อน ประกอบความ

ขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือนร้อนนี้ ก็ไม่ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี. ส่วน

บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือนร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้

เดือดร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้เดือนร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำ

ผู้อื่นให้เดือนร้อน ผู้ไม่ทำตนให้เดือนร้อนและไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น

เป็นผู้ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหม

อยู่ในปัจจุบันเทียว บุคคลนี้ย่อมยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี.

อุ. ดูก่อนพราหมณ์ ก็เพราะเหตุไร บุคคล ๓ จำพวกนี้ จึงไม่ยังจิต

ของท่านให้ยินดี.

โฆ. ท่านอุเทน บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวาย

ในการทำตนให้เดือดร้อน เขาย่อมทำคนผู้รักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือนร้อน ให้

เร่าร้อน เพราะเหตุนี้ บุคคลนี้จึงไม่ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี แม้บุคคลผู้ทำ

ผู้อื่นให้เดือนร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือนร้อน เขาก็

ย่อมทำผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือนร้อน ให้เร่าร้อน เพราะเหตุนี้ บุคคล

นี้จึงไม่ยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี. ถึงบุคคลผู้ทำคนให้เดือนร้อน ประกอบ

ความขวนขวายในการทำคนให้เดือดร้อน ทั้งทำผู้อื่นให้เดือนร้อน ประกอบ

ความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือนร้อน เขาก็ทำตนและผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียด

ทุกข์ให้เดือนร้อน ให้เร่าร้อน เพราะเหตุนี้ บุคคลนี้จึงไม่ยังจิตของข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

ให้ยินดี. ส่วนบุคคลผู้ไม่ทำคนให้เดือนร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายใน

การทำตนให้เดือดร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้เดือนร้อน ไม่ประกอบความขวนขวาย

ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำคนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือนร้อน

เป็นผู้ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหม

อยู่ในปัจจุบันเทียว เขาย่อมไม่ทำตนและผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือนร้อน

ให้เร่าร้อน เพราะเหตุนี้ บุคคลนี้จึงยังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี.

[๖๓๓] อุ. พราหมณ์ บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ

บริษัทพวกหนึ่งในโลกนี้ กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑล ย่อมแสวงหา

บุตรและภรรยา ทาสีและทาส นาและที่ดิน ทองและเงิน ส่วนบริษัทพวก

หนึ่งในโลกนี้ ไม่กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑล ละบุตรและภรรยา

ทาสิและทาส นาและที่ดิน ทองและเงิน แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต.

พราหมณ์ บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการ

ทำตนให้เดือนร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายใน

การทำผู้อื่นให้เดือนร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือนร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่

ในปัจจุบันเทียว ท่านเห็นบุคคลนี้ในบริษัทไหนมาก คือ ในบริษัทผู้กำหนัด

ยินดีในแก้วมณีและกุณฑล แสวงหาบุตรและภรรยา ทาสีและทาส นาและ

ที่ดิน ทองและเงิน และในบริษัทผู้ไม่กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑล

ละบุตรและภรรยา ทาสีและทาส นาและที่ดิน ทองและเงิน แล้วออกบวช

เป็นบรรพชิต.

โฆ. ดูก่อนท่านอุเทน บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือนร้อน ไม่ประกอบ

ความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือนร้อน ไม่ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

ความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำ

ผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข

มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว ข้าพเจ้าเห็นบุคคลนี้ มีมากในบริษัท

ผู้ไม่กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑล ละบุตรและภรรยา ทาสีและทาส

นาและที่ดิน ทองและเงิน แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต.

อุ. ดูก่อนพราหมณ์ ก็ในบัดนี้นั่นเองแล เราย่อมรู้คำที่ท่านกล่าวแล้ว

อย่างนี้ว่า ดูก่อนสมณะผู้เจริญ การบวชอันชอบธรรมย่อมไม่มี ข้าพเจ้ามีความ

เห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ เพราะบัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านไม่เห็นข้อนั้น หรือเพราะ

ไม่เห็นธรรมในเรื่องนี้.

โฆ. ดูก่อนท่านอุเทน วาจาที่ท่านกล่าวแก่ข้าพเจ้านั้น เป็นวาจามีเหตุ

สนับสนุนโดยแท้ การบวชอันชอบธรรมมีจริง ข้าพเจ้ามีความเห็นในเรื่องนี้

อย่างนี้ และขอท่านอุเทนโปรดจำข้าพเจ้าไว้อย่างนี้. อนึ่ง บุคคล ๔ จำพวกนี้

ท่านอุเทนกล่าวแล้วโดยย่อไม่จำแนกโดยพิสดาร ขอโอกาสเถิดท่าน ขอท่าน

อุเทนช่วยอนุเคราะห์จำแนกบุคคล ๔ จำพวกนี้โดยพิสดารแก่ข้าพเจ้าเถิด.

อุ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

โฆฏมุขพราหมณ์รับคำท่านพระอุเทนว่า อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.

[๖๓๔] ท่านพระอุเทนได้กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็บุคคลผู้ทำตน

ให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือนร้อนเป็นไฉน

พราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเปลือย ไร้มารยาท เลียมือ เขา

เชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมา

ให้ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดีรับนิมนต์ ไม่รับภิกษาจากปากหม้อ

ไม่รับภิกษาจากปากกระเช้า ไม่รับภิกษาคร่อมธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อม

ท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับภิกษาของคนสองคนกำลังบริโภคอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับ

ภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียชาย ไม่รับภิกษาที่แนะนำทำกันไว้ ไม่รับภิกษาใน

ที่ที่สุนัขเฝ้าชะแง้ดู ไม่รับภิกษาในที่ที่แมลงวันตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่

รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลัง

เดียว บริโภคคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง บริโภค ๒ คำบ้าง ฯลฯ

รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง บริโภค ๗ คำบ้าง เลี้ยงชีวิตด้วยภิกษาในถาดน้อย

ใบเดียวบ้าง ๒ บ้าง ฯลฯ ๗ บ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วัน

บ้าง ฯลฯ ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียน

มาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่าง

เป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่าย

เป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีข้าวไหม้เป็น

ภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้ามันและผลไม้

ในป่าเป็นอาหาร. บริโภคผลไม้หล่นเลี้ยงชีวิตบ้าง เขานุ่งห่มผ้าป่านบ้าง

ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนึ่งเสือบ้าง

หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกไม้กรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง

ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนก

เค้าบ้าง เป็นผู้ถือการถอนผมและหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการ

ถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ถือการยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้ถือ

กระหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการเดินกระหย่งบ้าง เป็นผู้ถือการนอน

บนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้ถือการอาบน้ำวันละ ๓

ครั้ง คือ ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ขวนขวายในการ

ประกอบเหตุเครื่องทำกายให้เดือนร้อน ให้เร่าร้อน ด้วยวิธีเป็นอันมากเช่นนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

อยู่ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความ

ขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน.

[๖๓๕] ดูก่อนพราหมณ์ ก็บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือนร้อน ประกอบ

ความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือนร้อน เป็นไฉน ดูก่อนพราหมณ์ บุคคล

บางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าหมูขายเลี้ยงชีพ เป็นคนฆ่านกขายเลี้ยงชีพ เป็น

คนฆ่าเนื้อขายเลี้ยงชีพ เป็นพราน เป็นคนฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนรับจ้าง

ฆ่าโจร เป็นใหญ่ในเรือนจำ หรือแม้ใคร ๆ อื่นผู้มีการงานอันหยาบช้า ดูก่อน

พราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า เป็นคนทำผู้อื่นให้เดือนร้อน ประกอบความขวน

ขวายในการทำผู้อื่นให้เดือนร้อน.

[๖๓๖] พราหมณ์ ก็บุคคลผู้ทำคนให้เดือดร้อน ประกอบความ

ขวนขวายในการทำตนให้เดือนร้อน ทั้งทำผู้อื่นให้เดือนร้อน ประกอบความ

ขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคน

ในโลกนี้ เป็นพระราชามหากษัตริย์ ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว หรือเป็นพราหมณ

มหาศาล เขาสั่งให้สร้างห้องประชุมใหม่ไว้ด้านตะวันออกแห่งนคร แล้วปลงผม

และหนวด นุ่งหนังเสือทั้งเล็บ เอาน้ำมันเจือเนยใสทากาย เกาหลังด้วยเขาสัตว์

เข้าไปยังห้องประชุมพร้อมด้วยมเหสีและพราหมณปุโรหิต เขานอนบนพื้นดิน

อันไม่มีเครื่องลาด ซึ่งไล้ทาด้วยของเขียวสด พระราชาเลี้ยงพระองค์ด้วยน้ำนม

ในเต้าที่หนึ่ง พระมเหสีเลี้ยงพระองค์ด้วยน้ำนมในเต้าที่ ๒ พราหมณปุโรหิต

เลี้ยงตัวด้วยน้ำนมในเต้าที่ ๓ บูชาไฟด้วยน้ำนมในเต้าที่ ๔ ลูกโคเลี้ยงชีวิต

ด้วยน้ำนมที่เหลือแห่งแม่โคลูกอ่อนตัวเดียว เขาสั่งอย่างนี้ว่า จงฆ่าโคผู้เท่านี้

ลูกโคผู้เท่านี้ ลูกโคเมียเท่านี้ แพะเท่านี้ แกะเท่านี้ เพื่อประโยชน์แก่การ

บูชายัญ จงตัดต้นไม้เท่านี้ เพื่อประโยชน์แก่การทำโรงบูชายัญ จงถอนหญ้า

เท่านี้เพื่อลาดพื้น ชนเหล่าใดเป็นทาสก็ดี เป็นคนใช้ก็ดี เป็นกรรมกรก็ดี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

ของพระราชาหรือพราหมณมหาศาลนั้นชนเหล่านั้นถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัย

คุกคาม ร้องไห้น้ำตานองหน้า ทำการงานตามกำหนดสั่ง ดูก่อนพราหมณ์

บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือนร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำ

ตนให้เดือดร้อน ทั้งทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำ

ผู้อื่นให้เดือดร้อน.

[๖๓๗] ดูก่อนพราหมณ์ ก็บุคคลผู้ไม่ทำคนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบ

ความขวนขวายในการทำตนให้เดือนร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้เดือนร้อน ไม่ประกอบ

ความขวนขวายในการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่น

ให้เดือนร้อน เป็นผู้ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตน

เป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว เป็นไฉน ดูก่อนพราหมณ์ พระตถาคตเจ้า

เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ...เป็นผู้เบิกบานแล้ว

เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อม

ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้อง

ต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ

ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี หรือ

บุคคลผู้เกิดภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ได้ฟังธรรมนั้น ครั้นได้ฟังธรรม

นั้นแล้ว ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตเจ้า เขาประกอบด้วยศรัทธานั้น ย่อม

เห็นตระหนักชัดว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี (คือกิเลส) บรรพชา

เป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้

บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่ขัดแล้วไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เรา

พึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

ต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ และเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและ

หนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาค ออกบวชเป็นบรรพชิต.

[๖๓๘] เมือเขาบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและอาชีพ

เสมอด้วยภิกษุทั้งหมด เป็นผู้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางท่อน

ไม้วางศาสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อ

กูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่. ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของ

ที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่พระพฤติตนเป็นขโมย มีตนสะอาดอยู่.

ละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ พระพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล

เว้นจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน. ละการกล่าวเท็จ เว้นขาดจากการกล่าว

เท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐานควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก.

ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น

เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้

คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียง

กันบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลิน

ในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน . ละคำหยาบ เว้น

ขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำไม่มีโทษ เพราะหูชวนให้รัก จับใจ เป็นคำ

ของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ. ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ

พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมี

หลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร. เธอ

เป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผู้ฉันหนเดียว เว้นการฉัน

ในราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้องการ

ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เป็นผู้เว้นขาดจากการทัด

ทรง ประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่

เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญชาติดิบ เว้นขาดจาก

การรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับหญิง และเด็กหญิง เว้นขาดจากการรับทาสี

และทาส เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร

เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้าและลา เว้นขาดจากการรับนาและที่ดิน เว้น

ขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับ ใช้ เว้นขาดจากการซื้อและการขาย

เว้นจากการฉ้อโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวง

วัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบตะแลง เว้นขาดจาก

การตัด การฆ่าการจองจำ ตีชิงการปล้นและกรรโชก เธอเป็นผู้สันโดษด้วย

จีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารต้อง จะไปทางทิศา

ภาคใด ๆ ก็ถือเอาไปได้เอง เปรียบเหมือนนก จะบินไปทางทิศาภาคใด ๆ

ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉะนั้น เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของ

พระอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่มีโทษเฉพาะตน. เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว

ไม่เป็นผู้ยึดถือนิมิตร ไม่ยึดถืออนุพยัญชนะย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์

ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และ

โทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟัง

เสียงด้วยหู...สูดกลิ่นด้วยจมูก.. .ลิ้มรสด้วยลิ้น ...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย

รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่เป็นผู้ยึดถือนิมิตร ไม่ยึดถืออนุพยัญชนะ ย่อม

ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรม

อันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ถึงความ

สำรวมในมนินทรีย์ เธอประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นของพระอริยะนี้ ย่อม

ได้เสวยสุขอันบริสุทธิ์ เฉพาะตน. เธอเป็นผู้กระทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป

ในการถอยกลับ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียวย่อมทำความรู้สึก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ย่อมทำความรู้สึกตัวในการทรงผ้าสังฆาฏิ

บาตรและจีวร ย่อมทำความรู้สึกตัวในการฉัน ในการดื่ม ในการเคี้ยว ใน

การลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวใน

การเดิน ในการยืน ในการนั่ง ในการหลับ ในการตื่น ในการพูด.

[๖๓๙] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอริยะด้วย

อินทรีย์สังวรอันเป็นของพระอริยะ และด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นของพระอริยะ

เช่นนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า

ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลังภัต นั่งคู้บัลลังก์

ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละอภิชฌาในโลก มีใจปราศจากอภิชฌา

อยู่. ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา. ละความประทุษร้ายคือพยาบาทไม่

คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่. ย่อมชำระ

จิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ ปราศจากถีนมิทธะ

มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์

จากถีนมิทธะ. ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบ ณ ภายในอยู่

ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ. ละวิจิกิจฉา ข้ามพ้นวิจิกิจฉา ไม่

มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.

[๖๔๐] ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ

ทำปัญญาให้ทุรพล เหล่านี้แล้ว สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมี

วิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌานอันมีความผ่องใส

แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร

สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและ

เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

[๖๔๑] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว

แล้วอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ เธอย่อมระลึกถึง

ชาติก่อนได้เป็นอันมากคือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง

สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติ

บ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏ-

กัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เราได้มีชื่อ

อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข

เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไป

เกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิว-

พรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้น ๆ มีกำหนด

อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึง

ชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

[๖๔๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ.. .ถึงความไม่หวั่น ไหวแล้วอย่าง

นี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอย่อมเห็นหมู่

สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม

ได้ดี ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่

สัตว์เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต ฯลฯ ติเตียนพระ-

อริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เมื่อตายไป จึง

ต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต

ฯลฯ ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมา-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

ทิฐิ เมื่อตายไป ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ

กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก

ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไป

ตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

[๖๔๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ... ถึงความไม่หวั่นไหวแล้วอย่าง

นี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อญาณเป็นเหตุสิ้นอาสวะ เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็น

จริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุ

เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอ

รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้

จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อม

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี. ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่

ทำคนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำคนให้เดือดร้อน ทั้ง

ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

เขาไม่ทำคนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท

เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว.

[๖๔๔] เมื่อท่านพระอุเทนกล่าวอย่างนี้แล้ว โฆฏมุขพราหมณ์ ได้

กล่าวกะท่านพระอุเทนว่า ข้าแต่ท่านอุเทน ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่

ท่านอุเทนภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านอุเทนประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย

เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตาม

ประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพเจ้านี้

ขอถึงท่านอุเทนกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านอุเทนทรง

จำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

อุ. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านอย่าได้ถึงอาตมาเป็นสรณะเลย เชิญท่าน

ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าที่อาตมาถึงเป็นสรณะเถิด.

โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน เดี๋ยวนี้ ท่านพระโคดมอรหัตสัมมาสัมพุทธ

เจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน.

อุ. ดูก่อนพราหมณ์ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว.

โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน ถ้าแหละข้าพเจ้าพึงได้ฟังว่า ท่านพระโคดม

พระองค์นั้น ประทับอยู่ในหนทางแม้ ๑๐ โยชน์ ข้าพเจ้าก็พึงไปเฝ้าท่านพระ-

โคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นหนทาง ๑๐ โยชน์ ถ้าแหละ

ข้าพเจ้าพึงได้ฟังว่า ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ประทับอยู่ในหนทาง ๒๐

โยชน์ ๓๐ โยชน์ ๔๐ โยชน์ ๕๐ โยชน์ แม้ ๑๐๐ โยชน์ ข้าพเจ้าก็พึง

ไปเฝ้าท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นหนทาง ๑๐๐

โยชน์ แต่ว่าท่านพระโคดมพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้าขอ

ถึงท่านพระโคดมพระองค์นั้น แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว กับทั้งพระธรรมและ

พระภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ ขอท่านอุเทนทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ

ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อนึ่ง มีเบี้ยเลี้ยงประจำ ที่พระเจ้าอังคราช

โปรดพระราชทานแก่ข้าพเจ้าทุกวัน ข้าพเจ้าขอถวายส่วนหนึ่งจากเบี้ยเลี้ยง

ประจำนั้นแก่ท่านอุเทน.

[๖๔๕] อุ. ดูก่อนพราหมณ์ ก็พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานอะไร

เป็นเบี้ยเลี้ยงประจำทุกวันแก่ท่าน.

โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานกหาปณะ

๕๐๐ เป็นเบี้ยเลี้ยงประจำแก่ข้าพเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

อุ. ดูก่อนพราหมณ์ การรับทองและเงิน ไม่สมควรแก่อาตมาทั้งหลาย.

โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน ถ้าทองและเงินนั้นไม่สมควร ข้าพเจ้าจะให้

สร้างวิหารถวายท่านอุเทน.

อุ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าแลท่านปรารถนาจะให้สร้างวิหารถวายอาตมา

ก็ขอให้สร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตรเถิด.

โฆ. ด้วยข้อที่ท่านอุเทนชักชวนข้าพเจ้าในสังฆทานนี้ ข้าพเจ้ามีใจ

ชื่นชมยินดีเหลือประมาณ ข้าแต่ท่านอุเทน ข้าพเจ้าจะให้สร้างโรงเลี้ยงถวาย

แก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ด้วย ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำ

ส่วนอื่นด้วย.

ครั้งนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์ให้จัดสร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมือง

ปาตลีบุตร ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้และส่วนอื่น โรงเลี้ยงนั้น เดี๋ยวนี้เรียกว่า

โฆฏมุขี ฉะนี้แล.

จบ โฆฏมุขสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

อรรถกถาโฆฏมุขสูตร

โฆฏมุขสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในพระสูตรนั้น บทว่า เขมิยัมพวัน ได้แก่ สวนมะม่วงอันมีชื่อ

อย่างนั้น. คำว่า การบวชประกอบด้วยธรรม ได้แก่ การงดเว้นอันประ-

กอบด้วยธรรม. บทว่า เพราะไม่เห็น ความว่า เพราะไม่เห็นบัณฑิตเช่น

กับท่าน. คำว่า ก็หรือว่าในเหตุนี้ มีธรรมใดเป็นสภาพ ความว่า ก็หรือ

ว่าธรรมคือสภาวะนั้นเอง อันใดในที่นี้ เพราะไม่เห็นสภาวะอันนั้น . ด้วยบท

นี้ ท่านแสดงว่า ถ้อยคำของเราไม่เป็นประมาณ ธรรมอย่างเดียวเป็นประมาณ.

แต่นั้น พระเถระคิดว่า ในที่นี้พึงมีการงานมากเหมือนในเรือนอุโบสถ หมู่

จึงหลีกออกจากที่จงกรม เข้าไปนั่ง ณ บรรณศาลานั่งแล้ว . เพื่อจะแสดงเรื่อง

นั้น ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อกล่าวแล้วอย่างนี้ ดังนี้เป็นต้น . คำว่า พราหมณ์

๔ คนเหล่านี้ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พราหมณ์

นี้กล่าวว่า ผู้เข้าถึงบรรพชาอันประกอบด้วยธรรมเป็นสมณะ หรือเป็นพราหมณ์

หามีไม่. พระเถระครั้นแสดงบุคคล ๔ และบริษัท ๒ แก่พราหมณ์นี้แล้ว

จึงเริ่มเทศนานี้ว่า เราจักถามบุคคลที่ ๔ ว่า ท่านเห็นมีมากในบริษัทไหน

พราหมณ์เมื่อรู้อยู่กล่าวว่า ในบริษัทของผู้ไม่ครองเรือน เราจักให้พราหมณ์

นั้นกล่าวด้วยปากของตนนั่นเทียวว่า การงดเว้นที่ประกอบด้วยธรรมมีอยู่ ด้วย

ประการฉะนี้.

๑. ส่วนนี้พระราชเทวีพระนามว่า เขมิยา ปลูกไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

ในบทเหล่านั้น บทว่า ผู้ยินดีแล้ว ยินดีแล้ว คือ กำหนัดนักแล้ว

เพราะราคะอันหนาแน่น. บทว่า กล่าวน่าเชื่อถือ คือ กล่าวมีเหตุ. สมดัง

คำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า ถ้อยคำของเราไม่เป็นประมาณ ธรรมอย่างเดียวเป็น

ประมาณ ด้วยคำว่า ประโยชน์อะไรแก่ท่านเล่า ท่านถามเพื่อจะเปลื้อง

เสียว่า ธรรมดาคฤหัสถ์พูดควรบ้าง ไม่ควรบ้าง.

บทว่า ให้ทำแล้ว ได้แก่ สร้างแล้ว ก็แล ครั้น ให้สร้างแล้ว กระทำ

กาละแล้วไปบังเกิดในสวรรค์. ได้ยินว่า ศิลปะที่ควรรู้ของเขานั้น ฆ่าทั้งมารดา

ฆ่าทั้งบิดาแล้ว ในบทว่า ตนพึงถูกศิลปะที่ควรรู้ฆ่า. ขึ้นชื่อว่าบุคคลรู้ศิลปะ

อย่างหนึ่ง สอนคนอื่นให้รู้ศิลปะนั้นแล้ว ไปเกิดในสวรรค์ไม่มี. ก็เทพบุตรนี้

อาศัยพระเถระกระทำบุญจึงไปบังเกิดในสวรรค์นั้น ก็แลครั้นบังเกิดแล้ว จึง

คิดว่า เรามาบังเกิดในที่นี้ด้วยกรรมอะไร ครั้นรู้ความจริงแล้ว เมื่อพระสงฆ์

ประชุมกันปฏิสังขรณ์โรงฉันที่เก่าแล้วในวันหนึ่ง จึงแปลงเพศเป็นมนุษย์มา

ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระสงฆ์ประชุมกันเพื่ออะไร.

ภิกษุ. เพื่อปฏิสังขรณ์โรงฉัน.

เทพ. ใครให้สร้างศาลานี้ไว้.

ภิกษุ. นายโฆฏมุขะ.

เทพ. บัดนี้เขาไปไหน.

ภิกษุ. เขาตายเสียแล้ว.

เทพ. ก็ญาติไร ๆ ของเขามีบ้างไหม.

ภิกษุ. มีน้องหญิงคนหนึ่ง.

เทพ. จงให้เรียกเธอมา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

ภิกษุทั้งหลายให้เรียกเธอมาแล้ว. เขาก็เข้าไปหาหญิงนั้น กล่าวว่า

เราเป็นพี่ชายของเจ้า ชื่อโฆฏมุขะให้สร้างศาลานี้ไว้แล้ว ไปเกิดในสวรรค์

ฉันฝังทรัพย์ไว้ตรงโน้นแห่งหนึ่ง ตรงโน้นแห่งหนึ่ง เจ้าจงไปเอาทรัพย์นั้นมา

ให้สร้างโรงฉันนี้ด้วย เลี้ยงดูเด็ก ๆ ด้วย แล้วไหว้พระภิกษุสงฆ์ลอยขึ้นยัง

เวหาสไปสู่เทวโลกตามเดิม. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล

จบอรรถกถาโฆฏมุขสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

๕. จังกีสูตร

[๖๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านพราหมณ์ของชนชาวโกศลชื่อว่า โอปาสาทะ

ได้ทราบว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละอันชื่อว่า

เทพวัน ทางทิศเหนือแห่งหมู่บ้านโอปาสาทะ ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่า

จังกีปกครองหมู่บ้านโอปาสาทะ อันคับคั่งด้วยประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมไปด้วย

หญ้า ไม้และน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร เป็นราชสมบัติอันพระเจ้าปเสนทิ-

โกศลโปรดพระราชทานเป็นรางวัลให้เป็นสิทธิ์.

[๖๔๗] พราหมณ์และคฤหบดี ชาวบ้านโอปาสาทะได้สดับข่าวว่า

พระสมณโคดมศากยบุตรเสด็จออกผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในโกศล

ชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงหมู่บ้านโอปาสาทะ ประทับอยู่

ณ ป่าไม้สาละอันชื่อว่าเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งหมู่บ้านโอปาสาทะ ก็กิตติศัพท์

อันงดงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น ได้ขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุ

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... เป็นผู้เบิกบานแล้ว

เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อม

ทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะทั้ง

พยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้0เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้น ย่อม

เป็นความดีแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

ครั้งนั้นแล พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านโอปาสาทะพากันออกจาก

หมู่บ้านโอปาสาทะเป็นหมู่ ๆ มุ่งหน้าไปทางทิศอุดร พากันไปทางป่าไม้สาละ

อันชื่อว่าเทพวัน ก็สมัยนั้นแล จังกีพราหมณ์นอนพักผ่อนกลางวันอยู่ใน

ปราสาทชั้นบน.

[๖๔๘] จังกีพราหมณ์ได้เห็นพราหมณ์ และคฤหบดีชาวบ้านโอปาสาทะ

พากันออกจากหมู่บ้านโอปาสาทะเป็นหมู่ มุ่งหน้าไปทางทิศอุดร พากันไปยังป่า-

ไม้สาละอันชื่อว่าเทพวัน ครั้นเห็นแล้วจึงเรียกนักการมา ถามว่า พ่อนักการ

พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านโอปาสาทะ พากันออกจากหมู่บ้านโอปาสาทะเป็น

หมู่ ๆ มุ่งหน้าไปทางทิศอุดร พากันไปยังป่าไม้สาละอันชื่อว่าเทพวัน ทำไมกัน

นักการตอบว่า ข้าแต่ท่านจังกี มีเรื่องอยู่. พระสมณโคดมศากยบุตรเสด็จออก

ผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่

เสด็จถึงหมู่บ้านโอปาสาทะ ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละอันชื่อว่าเทพวัน ทางทิศ

เหนือแห่งหมู่บ้านโอปาสาทะ ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น

ได้ขจรไปอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระ-

อรหันต์... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พราหมณ์และคฤหบดี

เหล่านั้น พากันไปเพื่อเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้น.

จังกี. พ่อนักการ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเข้าไปหาพราหมณ์และคฤหบดี

ชาวบ้านโอปาสาทะ แล้วจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย จังกี

พราหมณ์สั่งมาอย่างนี้ว่า ขอท่านผู้เจริญทั้งหลายจงรออยู่ก่อน แม้จังกีพราหมณ์

ก็จะไปเฝ้าพระสมณโคดม.

นักการรับคำจังกีพราหมณ์แล้ว เข้าไปหาพราหมณ์และคฤหบดี

ชาวบ้านโอปาสาทะ แล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย จังกีพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

สั่งมาอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงรอก่อน แม้จังกีพราหมณ์ก็จักไปเฝ้าพระ-

สมณโคดมด้วย.

[๖๔๙] ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์ต่างเมืองประมาณ ๕๐๐ พักอยู่ใน

หมู่บ้านโอปาสาทะ ด้วยกรณียกิจบางอย่าง พราหมณ์เหล่านั้นได้ฟังข่าวว่า

จังกีพราหมณ์จักไปเฝ้าพระสมณโคดม ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้นพากัน

เข้าไปหาจังกีพราหมณ์ถึงที่อยู่ แล้วได้ถามจังกีพราหมณ์ว่า ได้ทราบว่า ท่าน

จังก็จักไปเฝ้าพระสมณโคดมจริงหรือ จังกีพราหมณ์ตอบว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย เป็นความจริงอย่างนั้น แม้เราจักไปเฝ้าพระสมณโคดม.

พวกพราหมณ์. ท่านจังกีอย่าไปเฝ้าพระสมณโคดมเลย ท่านจังกีไม่สมควร

จะไปเฝ้าพระสมณโคดม พระสมณโคดมสมควรจะเสด็จมาหาท่านจังกี เพราะว่า

ท่านจังกีเป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายมารดาและบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจด

ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาติ แม้เพราะ

เหตุที่ท่านจังกีเป็นอุภโตสุชาติ... ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงชาตินี้

ท่านจังกีจึงไม่สมควรจะไปเฝ้าสมณโคดม แด่พระสมโคดมนั่นแล สมควร

เสด็จมาหาท่านจังกี ท่านจังกีแลเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก...

ท่านจังก็แลเป็นผู้รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ

พร้อมทั้งประเภทอักษรมีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์

ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ และตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ . . . ท่านจังกีแล

เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก มี

วรรณคล้ายพรหม มีสรีระคล้ายพรหม น่าดูน่าชมไม่น้อย . . . ท่านจังก็แล

เป็นผู้มีศีล มีศีลยั่งยืน ประกอบด้วยศีลยั่งยืน ท่านจังกีแลเป็นผู้มีวาจาไพเราะ

มีเสียงไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองสละสลวย ไม่มีโทษ ให้ผู้ฟัง

เข้าใจเนื้อความได้ชัด. . . ท่านจังกีแลเป็นอาจารย์และปาจารย์ของตนเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

อันมาก สอนมนต์ให้มาณพ ๓๐๐ คน... ท่านจังกีแลเป็นผู้อันพระเจ้าปเสน-

ทิโกศลทรงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม... ท่านจังกีแลเป็นผู้

อันพราหมณ์โปกขรสาติ สักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม...

ท่านจังก็แลปกครองหมู่บ้านโอปาสาทะ อันคับคั่งไปด้วยประชาชนและหมู่สัตว์

อุดมด้วยหญ้า ไม้และน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร เป็นราชสมบัติอันพระเจ้า

ปเสนทิโกศลโปรดพระราชทานเป็นรางวัลให้เป็นสิทธิ์ แม้เพราะเหตุที่ท่านจังกี

ปกครองหมู่บ้านโอปาสาทะ อันคับคั่งไปด้วยประชาชนและหมู่สัตว์ อุดมด้วย

หญ้า ไม้และน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร เป็นราชสมบัติอันพระเจ้าปเสนทิ-

โกศลโปรดพระราชทานเป็นรางวัลให้เป็นสิทธิ์นี้ ท่านจังกีจึงไม่สมควรจะไป

เฝ้าพระสมณโคดม แต่พระสมณโคดมสมควรจะเสด็จมาหาท่านจังกี.

[๖๕๐] เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้

กล่าวกะพราหมณ์เหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่าน

ทั้งหลายจงพึงข้าพเจ้าบ้าง เรานี้แหละสมควรจะไปเฝ้าพระสมณโคดมพระองค์

นั้นทุกประการ แต่ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น ไม่สมควรเสด็จมาหาเราเลย

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมทรงเป็นอุภโตสุชาติ

ทั้งฝ่ายพระมารดาทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดี

ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้โดยอ้างถึงพระชาติ แม้

เพราะเหตุที่พระสมณโคดมเป็นอุภโตสุชาติ ฯลฯ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนได้

โดยอ้างถึงพระชาตินี้ ท่านพระโคดมพระองค์นั้นจึงไม่สมควรจะเสด็จมาหาเรา

ทั้งหลาย ที่ถูกเราทั้งหลายนี่แหละสมควรจะไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้น

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ทราบว่า พระสมณโคดมทรงสละเงินและทอง

มากมาย ทั้งที่อยู่ในพื้นดิน ทั้งที่อยู่ในอากาศ เสด็จออกผนวช... พระ-

สมณโคดมกำลังรุ่น พระเกศาดำสนิท ยังหนุ่มแน่นตั้งอยู่ในปฐมวัย เสด็จ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

ออกทรงผนวชเป็นบรรพชิต... เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนา

ให้ทรงผนวช พระพักตร์อาบไปด้วยพระอัสสุชล ทรงกันแสงอยู่ พระสมณ-

โคดมทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้าย้อมน้ำฝาด เสด็จออกทรง

ผนวชเป็นบรรพชิต. . . พระสมณโคดมมีพระรูปงาม น่าดู. น่าเลื่อมใส

ประกอบด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก มีพระวรรณะคล้ายพรหม มีพระสรีระ

คล้ายพรหม น่าดูน่าชมมิใช่น้อย... พระสมณโคดมทรงมีศีล มีศีลเป็นอริยะ

มีศีลเป็นกุศล ทรงประกอบด้วยศีลเป็นกุศล ... พระสมณโคดมมีพระวาจา

ไพเราะ มีพระสำเนียงไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวยไม่มี

โทษ ยังผู้ฟังให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดแจ้ง... พระสมณโคดมทรงเป็นอาจารย์

และปาจารย์ของคนหมู่มาก.. . พระสมณโคดมทรงมีกามราคะสิ้นแล้ว ทรง

ปราศจากลูกศร (คือความโศก)... พระสมณโคดมทรงเป็นกรรมวาที เป็น

กิริยวาที ไม่ทรงมุ่งร้ายแก่พวกพราหมณ์... พระสมณโคดมเสด็จออกทรง.

ผนวชจากสกุลสูง คือ จากสกุลกษัตริย์อันไม่เจือปน... พระสมณโคดมเสด็จ.

ออกทรงผนวช จากสกุลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก... คนต่างรัฐ

ต่างชนบท พากันมาทูลถามปัญหาพระสมณโคดม... เทวดาหลายพันพากัน

มอบกายถวายชีวิตถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ... กิตติศัพท์อันงามของพระ-

สมณโคดม ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม...

พระสมณโคดมทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ... พระเจ้า

แผ่นดินมคธจอมทัพทรงพระนามว่าพิมพิสาร พร้อมทั้งพระโอรสและพระมเหสี

ทรงมอบกายถวายพระชนม์ถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ... พระเจ้าปเสนทิ

โกศลทรงมอบกายถวายพระชนม์ถึงพระสมณโคดมเป็นสรณะ... พราหมณ์

โปกขรสาติพร้อมด้วยบุตรและภรรยา มอบกายถวายชีวิตถึงพระสมณโคดม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

เป็นสรณะ... พระสมณโคดมเสด็จถึงหมู่บ้านโอปาสาทะ ประทับ อยู่ ณ ป่าไม้

สาละอันชื่อว่าเทพวัน ทางทิศเหนือแห่งหมู่บ้านโอปาสาทะ สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่งมาสู่เขตบ้านของเราทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น

ชื่อว่าเป็นแขกของเราทั้งหลาย และเป็นแขกที่เราทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ

นับถือ บูชา ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย แม้เพราะเหตุที่พระสมณโคดมเสด็จ

ถึงหมู่บ้านโอปาสาทะ ประทับอยู่ ณ ป่าไม้สาละอันชื่อว่าเทพวัน ทางทิศเหนือ

แห่งหมู่บ้านโอปาสาทะ ชื่อว่าเป็นแขกของเราทั้งหลาย และเป็นแขกที่เรา

ทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นี้ท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น

จึงไม่สมควรจะเสด็จมาหาเราทั้งหลาย ที่ถูก เราทั้งหลายนี่แหละสมควรไปเฝ้า

ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าทราบพระคุณของ

พระโคดมพระองค์นั้นได้เพียงเท่านี้ แต่ท่านพระโคดมพระองค์นั้น มีพระคุณ

เพียงเท่านี้หามิได้ ความจริง ท่านพระโคดมพระองค์นั้น มีพระคุณหาประมาณ

มิได้ ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถึงแม้ท่านพระโคดมพระองค์นั้นทรงประกอบ

ด้วยองค์คุณแต่ละอย่าง ๆ ก็ไม่สมควรจะเสด็จมาหาเราทั้งหลาย ที่ถูก เรา

ทั้งหลายนี้แหละ สมควรไปเฝ้าท่านพระโคดมพระองค์นั้น.

พวกพราหมณ์. ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เราทั้งปวง

เทียวจักไปเฝ้าพระสมณโคดม.

ครั้งนั้นแล จังกีพราหมณ์พร้อมด้วยคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ได้เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งตรัสปราศรัยถึงเรื่องบางเรื่อง พอให้

เป็นเครื่องระลึกถึงกันกับพราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่าอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

[๖๕๑] ก็สมัยนั้นแล มาณพชื่อว่ากาปทิกะ ยังเป็นเด็กโกนศีรษะ

มีอายุ ๑๖ ปีแต่กำเนิด เป็นผู้รู้จบไตรเพท.. . ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและ

ตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย เขาพูดสอดขึ้นใน

ระหว่าง ๆ เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่ากำลังเจรจาอยู่กับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามกาปทิกมาณพว่า เนื้อพราหมณ์ทั้งหลาย

ผู้แก่เฒ่ากำลังเจรจาอยู่ ท่านภารทวาชะอย่าพูดสอดขึ้นในระหว่าง ๆ ท่าน

ภารทวาชะจงรอให้จบเสียก่อน.

[๖๕๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมอย่าทรงห้ามกาปทิกมาณพเลย

กาปทิกมาณพเป็นบุตรของผู้มีสกุล เป็นพหูสุต เป็นบัณฑิต เจรจาถ้อยคำ

ไพเราะ และสามารถจะเจรจาโต้ตอบในคำนั้นกับท่านพระโคดมได้ ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริว่า กาปทิกมาณพจักสำเร็จการศึกษาในปาพจน์

คือ ไตรวิชาเป็นแน่แท้ พราหมณ์ทั้งหลายจึงยกย่องเขาถึงอย่างนั้น ครั้งนั้น

กาปทิกมาณพได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมจักทอดพระเนตรสบตาเราเมื่อใด

เราจักทูลถามปัญหากะพระสมณโคดมเมื่อนั้น ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของกาปทิกมาณพด้วยพระหฤทัยแล้ว ทรงทอด

พระเนตรไปทางกาปทิกมาณพ ครั้งนั้นแล กาปทิกมาณพได้มีความคิดว่า

พระสมณโคดมทรงใส่พระทัยเราอยู่ ผิฉะนั้น เราพึงทูลถามปัญหากะพระ-

สมณโคดมเถิด ลำดับนั้นแล กาปทิกมาณพได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่ท่านโคดม ก็ในบทมนต์อันเป็นของเก่าของพราหมณ์ทั้งหลาย โดยนำ

สืบต่อกันมาตามคัมภีร์ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมถึงความตกลงโดยส่วนเดียวว่า

สิ่งนี้แลจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมตรัสว่าอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

[๖๕๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภารทวาชะ ก็บรรดา

พราหมณ์ทั้งหลาย แม้พราหมณ์คนหนึ่งเป็นใครก็ตาม ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้

เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แลจริง สิ่งอื่นเปล่าดังนี้ มีอยู่หรือ

กา. ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ก็แม้อาจารย์ท่านหนึ่ง แม้ปาจารย์ท่านหนึ่ง

จนตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพราหมณ์ทั้งหลาย ที่กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เรารู้อยู่

ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แลจริง สิ่งอื่นเปล่าดังนี้ มีอยู่หรือ.

กา. ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ก็ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวก

พราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีวิศวามิตร ฤาษี-

ยมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ

ซึ่งเป็นผู้แต่งมนต์ เป็นผู้บอกมนต์ พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม

กล่าวตามซึ่งบทมนต์เก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้

ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ตามที่ท่านได้กล่าวไว้ บอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นก็

กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ข้อนี้เราทั้งหลายรู้อยู่ ข้อนี้เราทั้งหลายเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้

แลจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.

กา. ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ แม้อาจารย์ แม้ปาจารย์คนหนึ่งจะเป็นใครก็

ตาม ตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ ของพราหมณ์ทั้งหลาย ที่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้

เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ มีอยู่หรือ.

กา. ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ก็ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ ของพวก

พราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีวิศวามิตร ฤาษี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

ยมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ

เป็นผู้แต่งมนต์ เป็นผู้บอกมนต์ ได้สาธยายบทมนต์อัน เป็นของเก่า ได้บอก

มาแล้ว ได้รวบรวมไว้แล้ว เดี๋ยวนี้ พราหมณ์ทั้งหลายสาธยายตามนั้น กล่าว

ตามนั้น ภาษิตได้ตามที่ได้รับภาษิตไว้ บอกได้ตามที่ได้รับบอกไว้ แม้ท่าน

เหล่านั้นได้กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ข้อนี้เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แหละจริง

สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.

กา. ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.

[๖๕๔] พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ได้ทราบกันดังนี้ว่า บรรดาพราหมณ์

ทั้งหลาย ไม่มีพราหมณ์แม้คนหนึ่งจะเป็นใครก็ตาม ที่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้

เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ไม่มีใครแม้คนหนึ่ง

ซึ่งเป็นอาจารย์เป็นปาจารย์ของอาจารย์ ตลอด ๗ ชั่ว อาจารย์ของพราหมณ์

ทั้งหลาย ที่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แหละจริง

สิ่งอื่นเปล่า แม้ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ

ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีวิศวามิตร ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษี

ภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็นผู้แต่งมนต์ เป็นผู้

บอกมนต์ พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนต์เก่านี้

ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง

ตามที่ท่านได้กล่าวไว้ บอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า ข้อนี้

เรารู้อยู่ ข้อนี้เราเห็นอยู่ว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ ดูก่อนภารทวาชะ

เปรียบเหมือนแถวคนตาบอด ซึ่งเกาะกันต่อ ๆ ไป แม้คนต้นก็ไม่เห็น แม้

คนกลางก็ไม่เห็น แม้คนหลังก็ไม่เห็น ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์ทั้งหลาย

เห็นจะเปรียบได้กับแถวคนตาบอด ฉะนั้น คือ แม้คนชั้นต้นก็ไม่เห็น แม้คน

ชั้นกลางก็ไม่เห็น แม้คนชั้นหลังก็ไม่เห็น ดูก่อนภารทวาชะ ท่านจะเข้าใจ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

ความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเชื่อของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อม

หามูลมิได้มิใช่หรือ.

กา. ท่านพระโคดม ในข้อนี้ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมเล่าเรียนกันมา

มิใช่ด้วยความเชื่ออย่างเดียว แต่ย่อมเล่าเรียนด้วยการฟังตามกันมา.

[๖๕๕] พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ครั้งแรกท่านได้ไปสู่ความเชื่อ เดี๋ยวนี้

ท่านกล่าวการฟังตามกัน ดูก่อนภารทวาชะ ธรรม ๕ ประการนี้ มีวิบากเป็น

สองส่วนในปัจจุบัน ๕ ประการเป็นไฉน คือ ศรัทธาความเชื่อ ๑ รุจิ

ความชอบใจ ๑ อนุสสวะ การฟังตามกัน อาการปริวิตักกะ ความ

ตรึกตามอาการ ๑ ทิฐินิชฌานขันติ ความทนได้ซึ่งความเพ่งด้วยทิฐิ ๑

ธรรม ๕ ประการนี้แล มีวิบากเป็นสองส่วนในปัจจุบัน ดูก่อนภารทวาชะ

ถึงแม้สิ่งที่เชื่อกันด้วยดีทีเดียว แต่สิ่งนั้นเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี ถึงแม้

สิ่งที่ไม่เธอด้วยดีทีเดียว แต่สิ่งนั้นเป็นจริงเป็นแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี อนึ่ง สิ่งที่

ชอบใจทีเดียว... สิ่งที่ฟังตามกันมาด้วยดีทีเดียว... สิ่งที่ตรึกไว้ด้วยดีที

เดียว... สิ่งที่เพ่งแล้วด้วยดีทีเดียว เป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี ถึงแม้

สิ่งที่ไม่ได้เพ่งด้วยดีทีเดียว แต่สิ่งนั้นเป็นจริงเป็นแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี ดูก่อน

ภารทวาชะ บุรุษผู้รู้แจ้งเมื่อจะตามรักษาความจริง ไม่ควรจะถึงความตกลงใน

ข้อนั้นโดยส่วนเดียวว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า.

กา. ท่านพระโคดม ก็ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร จึงจะชื่อว่าเป็นการ

ตามรักษาสัจจะ บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้า

ขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการตามรักษาสัจจะ.

[๖๕๖] พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษมีศรัทธา เขากล่าวว่า

ศรัทธาของเราอย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความ

ตกลงโดยส่วนเดียวก่อนว่า สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดูก่อนภารทวาชะ การ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

ตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วย

ข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมปฏิบัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียง

เท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการตรัสรู้สัจจะก่อน ดูก่อนภารทวาชะ ถ้าแม้บุรุษ

มีความชอบใจ ... มีการฟังตามกัน... มีความตรึกตามอาการ... มีการ

ทนต่อการเพ่งด้วยทิฐิ เขากล่าวว่า การทนต่อการเพ่งด้วยทิฐิของเราอย่างนี้

ดังนี้ ชื่อว่าตามรักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึงความทุกใจโดยส่วนเดียวก่อนว่า

สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ดูก่อนภารทวาชะ การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วย

ข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และ

เราย่อมบัญญัติการตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็น

การตรัสรู้สัจจะก่อน.

กา. ท่านพระโคดม การตามรักษาสัจจะย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้

บุคคลชื่อว่าตามรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่ง-

เล็งการรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การตรัสรู้สัจจะ

ย่อมมีด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร

ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการตรัสรู้สัจจะ

[๖๕๗] พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ได้ยินว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไป

อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งหนึ่งอยู่ คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี เข้าไปหาภิกษุ

นั่นแล้ว ย่อมใคร่ครวญดูในธรรม ๓ ประการ คือ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง

ความโลภ ๑ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย ๑ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง

ความหลง ๑ ว่า ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ มีจิตอันธรรมเป็นที่

ตั้งแห่งความโลภครอบง่ำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็พึงกล่าวว่ารู้. เมื่อไม่เห็นก็พึงกล่าวว่า

เห็น และสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่

ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ได้หรือหนอ เมื่อเขาใคร่ครวญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

เธอนั้นอยู่ ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ไม่มี

จิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความโลภครอบงำ ท่านผู้นี้เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้.

เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล

เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ท่านผู้นี้พึงชักชวนผู้อื่น เพื่อความเป็นเช่นนั้น

ไม่มีเลย อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของ

บุคคลผู้ไม่โลภ ฉะนั้น ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็นได้ยากรู้

ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้

ธรรมนั้นอันคนโลภแสดงไม่ได้โดยง่าย เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อม

เห็นแจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งความโลภ เมื่อนั้น เขาย่อม

ใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายว่า ท่านผู้นี้มี

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษ

ร้ายครอบงำ เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใด

พึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวน

ผู้อื่นเพื่อความเป็นอย่างนั้น ได้หรือหนอ เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่

ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย

ไม่มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้ายครอบงำ เมื่อไม่รู้จะพึง

กล่าวว่ารู้. เมื่อไม่เห็นจะพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็น

อย่างนั้น ไม่มีเลย อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคล

ผู้ไม่ประทุษร้าย ฉะนั้น ท่านผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็นได้ยาก

รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิต

พึงรู้ธรรมนั้นอันบุคคลผู้ประทุษร้ายแสดงไม่ได้โดยง่าย. เมื่อใด เขาใคร่ครวญ

เธออยู่ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า เธอบริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความประทุษร้าย

เมื่อนั้น เขาย่อมใคร่ครวญเธอให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

ท่านผู้นี้มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง มีจิตอันธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง

ครอบงำ เมื่อไม่รู้พึงกล่าวว่ารู้ เมื่อไม่เห็นพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใด

พึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึง

ชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้น ได้หรือหนอ เมื่อเขาใคร่ครวญเธอนั้นอยู่

ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ไม่มีจิตอัน

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลงครอบงำ เมื่อไม่รู้จะพึงกล่าวว่ารู้เมื่อไม่เห็น

จะพึงกล่าวว่าเห็น หรือสิ่งใดพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์

สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อความเป็นเช่นนั้นไม่มีเลย อนึ่ง

ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนของบุคคลผู้ไม่หลง ฉะนั้น ก็ท่าน

ผู้นี้แสดงธรรมใด ธรรมนั้นลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต

ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้ ธรรมนั้นอันบุคคลผู้หลง

พึงแสดงไม่ได้โดยง่าย เมื่อใด เขาใคร่ครวญเธออยู่ ย่อมเห็นแจ้งชัดว่า เธอ

บริสุทธิ์จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง เมื่อนั้น เขาย่อมตั้งศรัทธาลงในเธอ

นั้นมั่นคง เขาเกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้

เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เขาเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังแล้วย่อม

ทรงจำธรรม พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้ เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่

ธรรมทั้งหลายย่อมควรแก่การเพ่ง เมื่อธรรมควรแก่การเพ่งมีอยู่ ย่อมเกิดฉันทะ

เกิดฉันทะแล้ว ย่อมขมักเขม้น ครั้นขมักเขม้นแล้ว ย่อมเทียบเคียง ครั้น

เทียบเคียงแล้วย่อมตั้งความเพียร เป็นผู้มีใจแน่วแน่ ย่อมทำปรมัตถสัจจะให้ .

แจ้งชัดด้วยกายและเห็นแจ้งแทงตลอดปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา ดูก่อนภาร-

ทวาชะ การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท้านี้แล บุคคลย่อมตรัสรู้

สัจจะได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมปฏิบัติการตรัสรู้สัจจะด้วยข้อ

ปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

กา. ท่านพระโคดม การตรัสรู้สัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้

บุคคลย่อมตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการ

ตรัสรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านพระโคดม ก็การบรรลุสัจจะย่อมมีได้

ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร

ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ.

[๖๕๘] พระ. ดูก่อนภารทวารชะ การเสพจนคุ้น การเจริญ การ

ทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแล ชื่อว่าเป็นการบรรลุสัจจะ ดูก่อนภารทวารชะ

การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อ

ปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมปฏิบัติการบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้.

กา. ท่านพระโคดม การบรรลุสัจจะย่อมมีได้ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้

บุคคลย่อมบรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราทั้งหลายย่อมเพ่งเล็งการ

บรรลุสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่

การบรรลุสัจจะเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะ

มากแก่การบรรลุสัจจะ

[๖๕๙] พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุ

สัจจะ ถ้าไม่พึงตั้งความเพียร ก็ไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะตั้งความเพียร

จึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียรจึงมิอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ

กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียรเป็นไฉน

ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความเพียร.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ปัญญาเครื่องพิจารณามีอุปการะมากแก่ความ

เพียร ถ้าไม่พึงพิจารณา ก็พึงตั้งความเพียรนี้ไม่ได้ แต่เพราะพิจารณาจึงตั้ง

ความเพียรได้ ฉะนั้น ปัญญาเครื่องพิจารณาจึงมีอุปการะมากแก่ความเพียร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องพิจารณา

เป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ปัญญา

เครื่องพิจารณา.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ความอุตสาหะเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่

ปัญญาเครื่องพิจารณา ถ้าไม่พึงอุตสาหะ ก็พึงพิจารณาไม่ได้ แต่เพราะ

อุตสาหะจึงพิจารณาได้ ฉะนั้น ความอุตสาหะจึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเป็น

เครื่องพิจารณา.

กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะเป็นไฉน

ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ฉันทะมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ ถ้า

ฉันทะไม่เกิด ก็พึงอุตสาหะไม่ได้ แต่เพราะฉันทะเกิดจึงอุตสาหะ ฉะนั้น

ฉันทะจึงมีอุปการะมากแก่ความอุตสาหะ.

กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ฉันทะเป็นไฉน

ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่ฉันทะ.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ธรรมที่ควรแก่การเพ่งมีอุปการะมากแก่ฉันทะ

ถ้าธรรมทั้งหลายไม่ควรแก่การเพ่ง ฉันทะก็ไม่เกิด แต่เพราะธรรมทั้งหลาย

ควรแก่การเพ่งฉันทะจึงเกิด ฉะนั้น ธรรมที่ควรแก่การเพ่งจึงมีอุปการะมาก

แก่ฉันทะ.

กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ธรรมที่ควรแก่การ

เพ่งเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมที่มีอุปการะมากแก่

ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ มีอุปการะ

มากแก่ธรรมที่ควรแก่การเพ่ง ถ้าไม่พึงใคร่ครวญเนื้อความนั้น ธรรมทั้งหลาย

ก็ไม่ควรแก่การเพ่ง แต่เพราะใคร่ครวญเนื้อความ ธรรมทั้งหลายจึงควรแก่

การเพ่ง ฉะนั้น ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ จึงมีอุปการะมากแก่ธรรม

ที่ควรแก่การเพ่ง.

กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่ปัญญา เครื่องใคร่

ครวญเนื้อความเป็นไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมที่มีอุปการะ

มากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การทรงจำธรรมไว้ มีอุปการะมากแก่ปัญญา

เครื่องใคร่ครวญเนื้อความ ถ้าไม่พึงทรงจำธรรมนั้น ก็พึงใคร่ครวญเนื้อความ

นี้ไม่ได้ แต่เพราะทรงจำธรรมไว้จึงใคร่ครวญเนื้อความได้ ฉะนั้น การทรง

จำธรรมไว้จึงมีอุปการะมากแก่ปัญญาเครื่องใคร่ครวญเนื้อความ.

กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรมเป็น

ไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำ

ธรรม.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การฟังธรรมมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม

ถ้าไม่พึงฟังธรรม ก็พึงทรงจำธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะฟังธรรมจึงทรงจำธรรม

ไว้ได้ ฉะนั้น การฟังธรรมจึงมีอุปการะมากแก่การทรงจำธรรม.

กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การฟังธรรมเป็นไฉน

ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การเงี่ยโสตลงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม

ถ้าไม่พึงเงี่ยโสตลง ก็พึงฟังธรรมนี้ไม่ได้ แต่เพราะเงี่ยโสตลงจึงฟังธรรมได้

ฉะนั้น. การเงี่ยโสตลงจึงมีอุปการะมากแก่การฟังธรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลงเป็นไฉน

ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การเข้าไปนั่งใกล้มีอุปการะมากแก่การเงี่ย

โสตลง ถ้าไม่เข้าไปนั่งใกล้ ก็พึงเงี่ยโสตลงไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปนั่งใกล้จึง

เงี่ยโสตลง ฉะนั้น การเข้าไปนั่งใกล้จึงมีอุปการะมากแก่การเงี่ยโสตลง.

กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้เป็น

ไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่ง

ใกล้.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ การเข้าไปหามีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่ง

ใกล้ ถ้าไม่พึงเข้าไปหา ก็พึงนั่งใกล้ไม่ได้ แต่เพราะเข้าไปหาจึงนั่งใกล้

ฉะนั้น การเข้าไปหาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปนั่งใกล้.

กา. ท่านพระโคดม ก็ธรรมที่มีอุปการะมากแก่การเข้าไปหาเป็น

ไฉน ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.

พระ. ดูก่อนภารทวาชะ ศรัทธามีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา ถ้า

ศรัทธาไม่เกิด ก็ไม่พึงเข้าไปหา แต่เพราะเกิดศรัทธาจึงเข้าไปหา ฉะนั้น

ศรัทธาจึงมีอุปการะมากแก่การเข้าไปหา.

[๖๖๐] กา. ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงการตามรักษาสัจจะ

ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้ง

ควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึง

การตรัสรู้สัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น

ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่าน

พระโคดมถึงการบรรลุสัจจะ ท่านพระโคดมทรงพยากรณ์ และข้อที่ทรง

พยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

ได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ท่านพระ

โคดมทรงพยากรณ์แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้งชอบใจทั้งควรแก่

ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าพเจ้าได้ทูลถามท่านพระโคดมถึงข้อใด ๆ

ท่านพระโคดมได้ทรงพยากรณ์ข้อนั้น ๆ แล้ว และข้อที่ทรงพยากรณ์นั้น ทั้ง

ชอบใจทั้งควรแก่ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ายินดีตามนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

เมื่อก่อนข้าพระองค์รู้อย่างนี้ว่า พวกสมณะหัวโล้นเชื้อสายคฤหบดีกัณหโคตร

เกิดจากพระบาทท้าวมหาพรหม จะแปลกอะไรและจะรู้ทั่วถึงธรรมที่ไหน

พระโคดมผู้เจริญได้ทรงทำความรักสมณะในสมณะ. ความเลื่อมใสสมณะในสมณะ

ความเคารพสมณะในสมณะ ให้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์แล้วหนอ ข้าแต่พระ-

โคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย

เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ

ตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระโคดม

ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็น

สรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ

ตลอดชีวิต นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.

จบจังกีสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

อรรถกถาจังกีสูตร

จังกีสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในจังกีสูตรนั้น คำว่า เทววเน สาลวเน ความว่า ได้ยินว่า

ประชาชนกระทำพลีกรรมแก่เทวดาในป่าสาละนั้น เพราะเหตุนั้น ป่าสาละนั้น

จึงเรียกว่า เทพวันบ้าง สาลวันบ้าง. คำว่า ปกครองหมู่บ้านชื่อว่า

โอปาสาทะ ความว่า จังกีพราหมณ์ ครอบครองอยู่ในหมู่บ้านพราหมณ์มี

ชื่อว่า โอปาสาทะ คือเป็นใหญ่ของหมู่บ้านนั้น ปกครองอยู่ในหมู่บ้านนั้นตลอด

เขตแดนที่พึงรับผิดชอบ. ก็ในคำว่า โอปาลาท อชฺฌาวสติ นี้พึงทราบว่า

ทุติยาวิภัติลงในความหมายเป็นสัตตมีวิภัติ เนื่องด้วยอุปสรรค. ในบทที่เหลือ

ในพระสูตรนั้น ควรขวนขวายหาลักษณะจากคัมภีร์ศัพทศาสตร์ เพราะการที่

ศัพท์นั้นเป็นทุติยาวิภัติ. บทว่า สตฺตุสฺสท หนาแน่นด้วยมนุษย์และสัตว์

ความว่า หนาแน่น คือ แออัดด้วยมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า มีคนมาก

มีมนุษย์เกลื่อนกล่น และพลุกพล่านด้วยสัตว์หลายชนิด มีช้างม้า นกยูง และ

เนื้อที่เลี้ยงไว้ เป็นต้น. ก็เพราะเหตุที่บ้านนั้นสมบูรณ์ด้วยหญ้าสำหรับช้าง

ม้าเป็นต้นกิน และหญ้าสำหรับมุงบ้านซึ่งเกิดรอบนอก อนึ่ง สมบูรณ์ด้วย

ไม้ฟืนและไม้เครื่องเรือน และเพราะเหตุที่ภายในบ้านนั้น มีสระโบกขรณี

มากมายมีทั้งสัณฐานกลมและสี่เหลี่ยมเป็นต้น และภายนอก (บ้าน) มีบึง

มิใช่น้อยวิจิตรงดงามด้วยดอกไม้ที่เกิดในน้ำ มีน้ำเต็มอยู่เป็นนิจทีเดียว เพราะ

เหตุนั้น จึงตรัสว่า มีหญ้า ไม้และน้ำ. ชื่อว่า มีธัญญาหาร เพราะเป็นไปกับ

ด้วยธัญญาหาร. อธิบายว่า สะสมธัญญาหารไว้มากมาย มีชนิดอาหารที่จะกิน

ก่อนและอาหารที่จะกินหลังเป็นต้น. ด้วยเหตุดังกล่าวมาเพียงเท่านี้ พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

จึงให้ยกเศวตรฉัตรอยู่อย่างพระราชาในบ้านนั้น และ ย่อมเป็นอันแสดงสมบัติ

ความพรั่งพร้อมของพราหมณ์นั้น. ทรัพย์ที่ได้จากพระราชา ชื่อว่า ราชทรัพย์.

หากจะถามว่า ใครประทาน. ตอบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลประทาน. บทว่า

ราชทาย รางวัลของหลวง แปลว่า เป็นรางวัลของพระราชา อธิบายว่า เป็น

ทรัพย์มรดก. บทว่า พฺรหฺมเทยฺย ให้เป็นพรหมไทย คือ เป็นทรัพย์ที่

พึงประทานให้อย่างประเสริฐ อธิบายว่า พราหมณ์ให้ยกเศวตรฉัตรขึ้นแล้ว

ใช้สอยอย่างพระราชา. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ราชโภคฺค ราชทรัพย์ ความว่า

พราหมณ์สั่งการตัดและการแบ่งทุกอย่าง เก็บส่วยที่ท่าน้ำและภูเขา ให้ยก

เศวตรฉัตรขึ้นเป็นพระราชาใช้สอย. ในคำว่า ราชทรัพย์ที่พระเจ้าปเสน-

ทิโกศลพระราชทานแล้ว นี้ ในพระสูตรนั้น ชื่อว่า รางวัลของหลวง

เพราะพระราชาประทาน. ท่านกล่าวคำนี้ว่า พระราชาปเสนทิโกศลพระ-

ราชทานแล้ว เพื่อแสดงพระราชาผู้ประทานรางวัลนั้น . บทว่า พฺรหฺมเทยฺย

พรหมไทย แปลว่า ให้เป็นทรัพย์ที่พระราชทานอย่างประเสริฐ อธิบายว่า

พระราชทานแล้วโดยประการที่พระราชทานแล้ว ไม่เป็นอันจะต้องเรียกคืน

เป็นอันสละแล้ว บริจาคแล้ว . ชื่อว่า เป็นหมู่ เพราะคนเป็นจำนวนมาก ๆ

มารวมกัน. ไม่เหมือนให้เฉพาะทิศใดทิศหนึ่ง. หมู่มีอยู่แก่พราหมณ์เหล่านั้น

เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าเป็นหมู่. ชื่อว่า เป็นคณะ เพราะในกาลก่อนไม่เป็นคณะ

(ตอนอยู่) ในบ้าน ออกไปภายนอกจึงเป็นคณะ. ชื่อว่า มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ

เพราะหันหน้าไปทางเหนือ. คำว่า เรียกนักการมา ความว่า มหาอำมาตย์ผู้

สามารถพยากรณ์ปัญหาที่ถามแล้วได้เรียกว่า นักการ เรียกนักการนั้นมาแล้ว.

บทว่า จงรอก่อน ความว่า จงยับยั้งอยู่สักครู่ อธิบายว่า จงคอยก่อน.

คำว่า ผู้เป็นชาวประเทศต่าง ๆ ความว่า ชื่อว่าชาวประเทศต่าง ๆ เพราะ

พวกเขาเกิดหรืออยู่ในประเทศต่าง ๆ คือรัฐอื่นมีแคว้นกาสีและโกศลเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

หรือมาจากประเทศต่าง ๆ นั้น. ผู้เป็นชาวประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น. บทว่า

อย่างใดอย่างหนึ่ง ความว่า ด้วยกิจบางอย่าง มีการบูชายัญเป็นต้น

ซึ่งไม่กำหนดแน่นอน. พราหมณ์เหล่านั้นได้ยินว่าท่านจังกีพราหมณ์จะไป จึง

พากันคิดว่า ท่านจังกีพราหมณ์นี้เป็นพราหมณ์ชั้นสูง ก็โดยมาก พราหมณ์

ทั้งหลายพวกอื่น ถึงพระสมณโคดมเป็นที่พึ่ง จังกีพราหมณ์นี้เท่านั้นยังไม่ได้

ไป หากจังกีพราหมณ์นั้นจักไป ณ ที่นั้นไซร้ ถูกพระสมณโคดมดลใจด้วย

เล่ห์สำหรับดลใจ ก็จักถึงสรณะ ต่อจากนั้นพวกพราหมณ์ก็จักไม่ประชุมกัน

ประตูบ้านของจังกีพราหมณ์นั้น เอาละพวกเราจักกระทำการขัดขวาง

การไปของจังกีพราหนณ์นั้น. ครั้นปรึกษากันแล้ว จึงรออยู่ ณ ที่นั้น . ท่าน

หมายเอาอาการนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์เหล่านั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า แต่ข้างทั้งสอง ได้แก่ แต่ทั้งสองข้าง

คือ ข้างฝ่ายมารดาและบิดา. อธิบายว่า มารดาเป็นนางพราหมณี ยายเป็น

พราหมณี แม้มารดาของยายก็เป็นนางพราหมณี บิดาเป็นพราหมณ์ ปู่เป็น

พราหมณ์ แม้บิดาของปู่ก็เป็นพราหมณ์ (จังกีพราหมณ์) ผู้เจริญเกิดดีแล้ว

จากทั้งสองฝ่าย คือ ข้างฝ่ายมารดาและข้างฝ่ายบิดา อย่างนี้ ด้วยประการ

ดังนี้. บทว่า ผู้มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดี ความว่า ครรภ์เป็น

ที่ถือปฏิสนธิทางฝ่ายมารดาของท่าน บริสุทธิ์ดี แม้ครรภ์เป็นที่ปฏิสนธิทางฝ่าย

บิดาของท่านก็บริสุทธิ์ดี. ในคำว่า จนถึงปิตามหยุดที่ ๗ นี้ ปู่ชื่อว่า

ปีตามหะ ยุคของปู่ชื่อว่า ปิตามหยุด. ประมาณอายุ เรียกว่า ยุค. ก็คำว่า

ยุคนี้ เป็นเพียงพูดกันเท่านั้น. แต่โดยความหมาย ปิตามหยุด ก็คือ ปีตามหะ

นั่นเอง. บรรพบุรุษแม้ทั้งหมดสูงในรูปกว่านั้น ก็ถือเอาด้วยศัพท์ว่า ปิตามหะ

นั่นแหละ. ผู้มีครรภ์เป็นที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีถึง ๗ ชั่วคนอย่างนี้. อีกอย่าง-

หนึ่ง แสดงว่า ไม่ถูกคัดค้านติเตียนด้วยการกล่าวอ้างถึงชาติ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

ไม่ถูกห้าม ความว่า ไม่ถูกคัดค้าน คือ ไม่ถูกโต้แย้งอย่างนี้ว่า จงนำผู้นี้

ออกไป ประโยชน์อะไรกับผู้นี้. บทว่า ไม่ถูกติเตียน ความว่า ไม่ถูก

ติเตียน คือไม่เคยถูกด่าหรือติเตียน. ถามว่า ด้วยเหตุอะไร. ตอบว่า ด้วย

การกล่าวอ้างถึงชาติ. อธิบายว่า ด้วยคำพูดเห็นปานนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้

ผู้นี้เป็นผู้มีชาติกำเนิดเลว. บทว่า ด้วยองค์นี้ ความว่า เพราะเหตุแม้นี้.

บทว่า มั่งคั่ง แปลว่า เป็นใหญ่. บทว่า มีทรัพย์มาก แปลว่า ประกอบ

ด้วยทรัพย์มาก. แสดงว่า ก็ในบ้านของจังกีพราหมณ์ผู้เจริญมีทรัพย์มาก

เหมือนฝุ่นและทรายบนแผ่นดิน ส่วนพระสมณโคดมไม่มีทรัพย์ ทำท้องให้

เต็มด้วยการขอ แล้วยังอัตภาพให้ดำเนินไป. บทว่า มีโภคะมาก คือ

เป็นผู้มีเครื่องอุปโภคมากเนื่องด้วยกามคุณ ๕. พวกพราหมณ์กล่าวคุณใด ๆ

ด้วยประการอย่างนี้ ย่อมกล่าวดูถูกว่า พวกเราจักกล่าวเฉพาะโทษของพระผู้มี

พระภาคเจ้า โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณนั้น ๆ. บทว่า มีรูปงาม ความว่า มี

รูปงามยิ่งกว่ามนุษย์อื่น. บทว่า ทสฺสนีโย ความว่า ควรแก่การดี เพราะ

ทำความไม่เบื่อแก่ผู้ดูอยู่ทั้งวัน . ชื่อว่า น่าเลื่อมใส เพราะทำความเลื่อมใส

ให้เกิดด้วยการดูเท่านั้น. ความงามเรียกว่า โปกขรตา. ความงามแห่งผิวพรรณ

ชื่อว่า วัณณโปกขรตา. ด้วยความงามแห่งผิวพรรณนั้น. อธิบายว่า ด้วยความ

ถึงพร้อมแห่งผิวพรรณ. ส่วนอาจารย์รุ่นเก่าเรียกสรีระว่า โปกขระ. วรรณะก็

คือผิวพรรณนั่นเอง. ตามมติของท่าน วรรณะและสรีระ ชื่อว่า วรรณะและ

สรีระ. ภาวะแห่งวรรณะและสรีระ ชื่อว่า ความเป็นแห่งวรรณและสรีระ.

คำว่า แม่เพราะเหตุนี้ มีผลงามอย่างยิ่ง ความว่า ด้วยวรรณะอันบริสุทธิ์

อย่างสูงสุด และด้วยความถึงพร้อมด้วยสรีรสัณฐาน. บทว่า มีวรรณะดุจ

พรหม แปลว่ามีวรรณะประเสริฐที่สุด. อธิบายว่า ประกอบด้วยวรรณะดุจ

ทองคำอันประเสริฐสุด แม้ในบรรดาวรรณะอันบริสุทธิ์ทั้งหลาย. คำว่า มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

สรีระดุจพรหม ได้แก่ประกอบด้วยสรีระดุจสรีระของท้าวมหาพรหม. คำว่า

อขุทฺทาวกาโส ทสฺสนาย ความว่า โอกาสแห่งการได้เห็นสรีระของ

ท่านผู้เจริญ ไม่เล็กน้อย คือ ใหญ่. ท่านแสดงว่า อวัยวะน้อยใหญ่ของ

ท่านทั้งหมดที่เดียวน่าดูด้วย ทั้งใหญ่โตด้วย. ชื่อว่า มีศีล เพราะอรรถว่า

ศีลของพราหมณ์นั้นมีอยู่. ชื่อว่า มีศีลยั่งยืน เพราะอรรถว่า ศีลของพราหมณ์

นั้นเบิกบานแล้ว คือเจริญแล้ว. บทว่า พุทฺธสีเลน แปลว่า ด้วยศีลอัน

เบิกบานแล้ว คือ เจริญแล้ว. บทว่า มาตามพร้อมแล้ว แปลว่า ประกอบ

แล้ว. คำนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า พุทฺธสีลี นั่นแหละ. พวกพราหมณ์กล่าว

คำ (ว่าศีล) ทั้งหมดนั้น หมายเอาเพียงศีลห้าเท่านั้น. ในคำว่า มีวาจางาน

เป็นต้น ที่ชื่อว่า มีวาจางาม เพราะอรรถว่า วาจาของพราหมณ์นั้น งามคือ

ดี ได้แก่มีบทและพยัญชนะกลมกล่อม. ชื่อว่า เปล่งเสียงไพเราะ เพราะอรรถ

ว่าการเปล่งเสียของพราหมณ์นั้นงาม คือ ไพเราะ. เสียงที่เปล่งออก

ชื่อว่า วากฺกรณ. ชื่อว่า มีวาจาเป็นของชาวเมือง เพราะเป็นวาจา

มีในเมือง โดยเป็นวาจาที่สมบูรณ์ด้วยคุณ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีวาจาดุจ

ของหญิงชาวเมือง เพราะอรรถว่ามีวาจาเหมือนวาจาของหญิงชาวเมืองนั้น

เพราะหญิงชาวเมือง ชื่อว่าชาวบุรี เพราะมีในเมือง เป็นผู้ละเอียดอ่อน.

ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองนั้น. บทว่า วิสฏฺาย ได้แก่ ไม่ติดขัด คือ

เว้นจากโทษมี เสียงสูงและเสียงต่ำเป็นต้น. บทว่า อเนลคฬาย ความว่า

เว้นจากโทษ. อธิบายว่า ก็เมื่อบุคคลบางคนกำลังพูดอยู่ โทษย่อมไหลออก

คือน้ำลายไหล หรือก้อนเขฬะกระเด็น วาจาของคนนั้นชื่อว่าเป็นวาจามีโทษ

ด้วยวาจาที่ตรงข้ามกับวาจาที่มีโทษนั้น. คำว่า อตฺถสฺส วิญฺาปนิยา ความ

ว่า สามารถทำเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดให้ปรากฏ ทำผู้ฟังให้เข้าใจชัดเนื้อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

ความที่กล่าว. คำที่เหลือในการพรรณนาคุณของพราหมณ์ในที่นี้ง่ายทั้งนั้น.

คำว่า เอว วุตฺเต แปลว่า เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้.

จังกีพราหมณ์คิดว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้น เข้าใจว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์

เมื่อกล่าวคุณของตนจะไม่ยินดี ย่อมไม่มี พวกเราจักกล่าวคุณของจังกีพราหมณ์

นั้น ห้าม (มิให้ไป) จึงกล่าวคุณของเราโดยอ้างถึงชาติเป็นต้น การยินดีใน

การพรรณนาคุณของตนเอง หาควรแก่เราไม่ เอาเถอะ เราจะทำลายวาทะของ

พราหมณ์เหล่านั้นเสีย ให้พวกเขารู้ว่า พระสมณโคดมเป็นให้ ทำให้พวกเขา

ไปในที่นั้น ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น

พวกท่านจงฟังเราบ้าง. ก็จังกีพราหมณ์รู้คุณทั้งหลายอันยิ่งกว่าคุณของตนว่า

บรรดาคุณเหล่านั้น คุณแม้ใดเช่นเดียวกับคุณของตนมีเป็นต้นว่า เกิดดีแล้วแต่

ทั้งสองฝ่าย คุณแม้นั้นมีความถึงพร้อมด้วยพระชาติเป็นต้น ก็ล้วนเป็นของพระ

สมณโคดมทั้งสิ้น จึงประกาศคุณทั้งหลายที่นอกเหนือขึ้นไป เพื่อแสดงว่าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นใหญ่โดยส่วนเดียวแท้. คำว่า พวกเราเท่านั้นย่อม

ควร ความว่า ก็เมื่อพราหมณ์กำหนดแน่ลงไปอย่างนี้ จึงแสดงคำนี้ไว้ในที่นี้

ว่าผิวว่าพระสมณโคดม ชื่อว่าเป็นผู้ที่เราควรจะเข้าไปหา เพราะทรงเป็นใหญ่

โดยพระคุณไซร้. เมล็ดพรรณผักกาด เทียมกันเขาพระสุเมรุ เป็นของนิดหน่อย

ต่ำทราม. น้ำในรอยเท้าโคเทียบกับน้ำมหาสมุทรเป็นของนิดหน่อย ต่ำต้อย.

หยาดน้ำค้างเทียบกับน้ำในสระใหญ่ทั้ง ๗ สระก็เป็นของนิดหน่อย ต่ำต้อยฉัน

ใด คุณของพวกเราเมื่อเทียบกับพระคุณมีชาติสมบัติเป็นต้น ของพระสมณ-

โคดม ก็เป็นของเล็กน้อย ต่ำทรามฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พวกเรา

เท่านั้นย่อมควรเข้าไปเฝ้าพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น . ในคำว่า ภูมิคตญฺจ

เวหาสฏฺญฺจ นี้ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดินทำสระโบกขรณีอันโบกด้วยปูนขาวให้

เต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ ทั้งในพระลานหลวง และในพระราชอุทยาน ชื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

ว่าทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน. ส่วนทรัพย์ที่เก็บไว้เต็มปราสาทและ. ที่เก็บรวบรวมไว้

เป็นต้น ชื่อว่าทรัพย์ตั้งอยู่ในอากาศ. ทรัพย์ที่มีมาตามวงศ์ตระกูลอย่างนี้ก่อน.

ส่วนเฉพาะในวันที่พระตถาคตเจ้าประสูติ มีขุมทรัพย์ผุดขึ้น ๔ ขุม คือขุมทรัพย์

สังขะ ขุมทรัพย์เอละ ขุมทรัพย์อุปปละ ขุมทรัพย์บุณฑริกะ. บรรดาขุม-

ทรัพย์เหล่านั้น ขุนทรัพย์กว้างหนึ่งคาวุต ชื่อสังขะ. ขุมทรัพย์กว้างกึ่งโยชน์

ชื่อเอละ. ขุมทรัพย์กว้าง ๓ คาวุต ชื่ออุปปละ. ขุนทรัพย์กว้าง ๑ โยชน์ ชื่อ

ปุณฑริกะ. ที่ที่หยิบเอาทรัพย์ ในขุมทรัพย์แม้เหล่านั้น คงเต็มอยู่ตามเดิม

พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเงินและทองมากมายออกผนวชด้วย

ประการดัง. คำว่า หนุ่ม ดังนี้เป็นต้น ข้าพเจ้าให้พิสดารแล้วในหนหลังนั่น

แหละ. ในคำว่า มีโอกาสไม่น้อย นี้ พึงทราบว่า (ได้แก่) โอกาสที่เห็นไม่มี

ประมาณในพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย ในข้อที่ว่า มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง.

ได้ยินมาว่า พราหมณ์คนใดคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ฟังมาว่า เขาเล่า

ลือกันว่า ใครๆ ไม่สามารถวัดประมาณ (ขนาด) ของพระสมณโคดมได้ จึงใน

เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปบิณฑบาต เขายืนถือไม่ไผ่ยาวหกสิบศอก .

อยู่ภายนอกประตูเมือง พอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึง จึงถือไม้ไผ่ยืน

อยู่ใกล้ ๆ. ไม้ไผ่ยาวเพียงพระชานุของพระผู้มีพระภาค. วันรุ่งขึ้น เขาเอาไม้

ไผ่ต่อเข้า ๒ ลำ แล้วได้ยืนเทียบอยู่ในที่ใกล้ ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พราหมณ์ ท่านทำอะไรปรากฏแต่เพียงไม้ไผ่ ๒ ลำ (ต่อ) บนไม้ไผ่ ๒ ลำ.

พ. ข้าพระองค์จะวัดขนาดของพระองค์.

ภ. พราหมณ์ แม้หากว่าท่านเอาไม้ไผ่มาต่อจนเต็มห้องจักรวาลทั้ง

สิ้นแล้ว ยืนเทียบอยู่ในที่ใกล้ ท่านก็ไม่อาจวัดขนาดของเราได้ เพราะเราบำเพ็ญ

บารมีมาสิ้นสี่อสงไขยแสนกัป โดยประการที่คนอื่นจะพึงวัดขนาดของเรานั้นหา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

มิได้ พระตถาคตนับคำนวณไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ดังนี้แล้วตรัสพระคาถาใน

พระธรรมบท. ในเวลาจบพระคาถา สัตว์แปดหมื่นสี่พันดื่มน้ำอมฤตแล้ว.

ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง. เขาว่า ท้าวอสุรินทราหูสูงถึงสีพันแปดร้อยโยชน์

ระหว่างแขนกว้างหนึ่งพันสองร้อยโยชน์. ฝ่ามือฝ่าเท้ากว้างสามร้อยโยชน์. ข้อ

นิ้วมือห้าสิบโยชน์. ระหว่างคิ้วกว้างห้าสิบโยชน์. หน้าผากกว้างสามร้อยโยชน์.

ศีรษะเก้าร้อยโยชน์. ท้าวราหูนั้นไม่มาเฝ้าด้วยคิดว่า เราสูง ไม่อาจก้มดูพระ

ศาสดา. วันหนึ่ง ได้ฟังการพรรณนาคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จมาเฝ้า

ด้วยความคิดเสียว่า จักดูตามแต่จะดูได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ

อัธยาศัยของท้าวเธอ จึงทรงพระดำริว่า เราจักแสดงโดยอิริยาบถไหนในบรรดา

อิริยาบถทั้ง ๔ แล้ว ทรงดำริสืบไปว่า ธรรมดาคนยืนแม้จะต่ำก็ปรากฏเหมือน

ว่าสูง เราจักนอนแสดงตนแก่ท้าวเธอ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า อานนท์ เธอจงลาด

เตียงน้อย ณ บริเวณพระคันธกุฎี แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาสน์บนเตียงน้อยนั้น.

ท้าวราหูเสด็จมา แล้วชะเง้อคอมองดูพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ทรงบรรทมอยู่.

เหมือนแหงนคอดูพระจันทร์เพ็ญในท่ามกลางนภากาศ ฉะนั้น. และเมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นี้อะไรกัน จอมอสูรก็กราบทูลว่า ข้าพระองค์

ไม่มาเฝ้าด้วยคิดว่า ข้าพระองค์ไม่อาจก้มดูพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดา

ตรัสว่า จอมอสูร เรามิได้บำเพ็ญบารมี เหมือนอย่างก้มหน้า เราให้ทาน

กระทำให้มีผลเลิศ ชั้นสูงทั้งนั้น. วันนั้น ท้าวราหูได้ถึงสรณะ. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงมีโอกาสมิใช่น้อยที่จะได้เห็นด้วยประการอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีศีลด้วยปาริสุทธิศีล ๔. ก็ศีลนั้น

เป็นอริยะ คือสูงสุดบริสุทธิ์. เพราะเหตุนั้น จังกีพราหมณ์จึงกล่าวว่า ทรงมี

ศีลเป็นอริยะ. ศีลนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า เป็นกุศล เพราะอรรถว่าไม่มีโทษ.

เพราะเหตุนั้น จังกีพราหมณ์จึงกล่าวว่า ทรงมีศีลเป็นกุศล. คำว่า มีศีลเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

กุศล นี้ เป็นไวพจน์ของคำว่า มีศีลเป็นกุศล นั้น. คำว่า พหุนฺน อาจริย-

ปาจริโย ทรงเป็นอาจารย์ และปาจารย์ของตนเป็นอันมาก ความว่า สัตว์

แปดหมื่นสี่พัน ทั้งเทวดาและมนุษย์ไม่มีประมาณ ดื่มอมตธรรมคือ มรรคผล

ด้วยพระธรรมเทศนากัณฑ์เดียว ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า เป็นปาจารย์ของชนเป็นอันมาก คือ ของ

อาจารย์ และสาวกเวไนย. ในคำว่า ทรงมีกามราคะสิ้นแล้ว นี้ กิเลสแม้

ทั้งปวงของพระผู้มีพระภาคเจ้าสิ้นไปแล้วโดยแท้ แต่พราหมณ์ไม่รู้จัก

กิเลสเหล่านั้น กล่าวคุณในฐานะที่ตนรู้เท่านั้น. บทว่า วิคตาจาปลฺโล

ปราศจากความโลเล ความว่า ทรงปราศจากความโลเลที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

ประดับบาตรประดับจีวรและเสนาสนะ อีกอย่างหนึ่ง การรัก การยึดถือ

กายอันเปื่อยเน่านี้. บทว่า อปาปปุเรกฺขาโร ไม่ทรงมุ่งความชั่ว คือ

ทรงมุ่งโลกุตตรธรรม ๙ อันไม่ชั่วร้ายเสด็จเที่ยวไป. คำว่า ชนที่เป็นพราหมณ์

ได้แก่พวกพราหมณ์แต่ละพวกมีพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และพระมหา-

กัสสปเป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่ทรงมุ่งร้าย ทรงทำหมู่ชน

นี้แหละไว้เบื้องหน้า. อธิบายว่า ก็หมู่ชนนี้กระทำพระสมณโคดมไว้เบื้องหน้า

เที่ยวไป. อีกอย่างหนึ่ง ไม่ประพฤติมุ่งความชั่ว คือ ไม่ประพฤติมุ่งความชั่ว

อธิบายว่า ไม่ปรารถนาความชั่ว. ถามว่า แก่ใคร. ตอบว่า แก่พวกพราหมณ์.

มีอธิบายว่า ไม่ทรงมุ่งร้าย คือทรงปรารถนาประโยชน์สุขต่อพราหมณ์ถ่ายเดียว

แม้ผู้มุ่งร้ายเฉพาะพระองค์. บทว่า ติโรรฏฺา ชนต่างรัฐ คือ คนรัฐอื่น.

บทว่า ติโรชนปทา ต่างชนบท คือ ชนบทอื่น. คำว่า สปุจฺฉตุ อาคจฺฉนฺติ

มาเพื่อทูลถามปัญหา ได้แก่ ชนทั้งหลายมีกษัตริย์และบัณฑิตเป็นต้น พราหมณ์

และคนธรรพ์ (นักขับร้อง) เป็นต้น แต่งปัญหามาด้วยหวังว่า จักทูลถาม

ปัญหา. บรรดาชนเหล่านั้น บางพวกกำหนดเห็นโทษของการถามปัญหา และ

ความที่ไม่สามารถในการแก้ปัญหาและการรับรองปัญหา จึงนั่งนิ่งไม่ถามเลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

บางพวกถาม. สำหรับบางพวก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำความอุตสาหะ

ในการถามปัญหาให้เกิดขึ้นแล้ว ทรงแก้. เมื่อเป็นอย่างนี้ ความสงสัยของคน

เหล่านั้นทั้งหมด พอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าก็หมดไป เหมือนคลื่นของ

มหาสมุทร พอถึงฝั่งก็ละลายหายไปฉะนั้น. คำที่เหลือในการพรรณนาคุณของ

พระตถาคตในอธิการนี้ง่ายทั้งนั้น. คำว่า อติถิโน เต โหนฺติ สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้นเป็นแขก ความว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็น

อาคันตุกะ. คือเป็นแขกของพวกเรา. บทว่า ปริยาปุณามิ ข้าพเจ้าทราบ

คือ ข้าพเจ้ารู้. บทว่า อปริมาณวณฺโณ มีพระคุณหาประมาณมิได้ ท่าน

แสดงความว่า มีพระคุณที่แม้พระสัพพัญญูเหมือน ๆ กัน ก็ประมาทไม่ได้

จะป่วยกล่าวไปใยกับคนเช่นเรา.

สมจริง ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

แม้พระพุทธเจ้าจะพึงกล่าวคุณของ

พระพุทธเจ้า หากกล่าวคุณของกันและกัน

ไปตลอดทั้งกัป กัปพึงสิ้นไปในระหว่าง

เป็นเวลาช้านาน พระคุณของพระตถาคต

หาสิ้นไม่ ดังนี้.

พราหมณ์เหล่านั้นได้ฟังถ้อยคำพรรณนาคุณนี้แล้วพากันคิดว่า จังกี-

พราหมณ์กล่าวคุณไร ๆ ของพระสมณโคดม พระสมโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น

ทรงมีพระคุณไม่ต่ำทรามด้วยประการใด ก็จังกีพราหมณ์นี้รู้พระคุณทั้งหลาย

ของพระสมณโคดมพระองค์นั้น จึงรั้งรออยู่เนิ่นนานด้วยประการนั้น เอาเถอะ

พวกเราจะอนุวรรตตามจังกีพราหมณ์นั้น ดังนี้ เมื่อพวกพราหมณ์จะอนุวรรต

ตาม จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ดังนี้. บทว่า โอปาเตติ

แปลว่า เข้าไป. บทว่า สปุรกฺขโรนฺติ ย่อมมุ่งดี คือ ย่อมมุ่งเสมอปูนลูก

ปูนหลานเที่ยวไป. บทว่า มนฺตปท บทมนต์ ความว่า บทมนต์ ก็คือมนต์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

นั่นแหละ อธิบายว่า พระเวท. ด้วยบทว่า อิติหิติหปรมฺปราย โดยสืบ ๆ กัน

มาอย่างนี้ ๆ นี้แสดงว่า บทมนต์มาโดยภาวะสืบ ๆ กันว่า เขาว่าอย่างนี้ เขาว่า

อย่างนี้. บทว่า ปิฏกสมฺปทาย ด้วยสมบัติคือตำรา ได้แก่ด้วยสมบัติ คือ คำพูด

ท่านแสดงว่า แต่งมาโดยการประพันธ์เป็นฉันท์มีสาวิตติฉันท์เป็นต้น และโดย

การประพันธ์ทั่วไป อย่างร้อยแก้ว. บทว่า นั้นด้วย แปลว่า ในบทมนต์นั้น.

บทว่า ผู้กล่าว แปลว่า เป็นผู้บอกมนต์.

บทว่า เหล่าใด แปลว่า อันเป็นของมีอยู่ ของพราหมณ์เหล่าใด.

บทว่า บทมนต์ ได้แก่ มนต์คือพระเวทนั่นแหละ. บทว่า เพลงขับ ความว่า

อันพราหมณ์แต่เก่าก่อนสิบคน มีพราหมณ์อัฏฐกะเป็นต้นสวดแล้ว เนื่องด้วย

ความถึงพร้อมด้วยเสียง. บทว่า กล่าวแล้ว ได้แก่บอกแล้ว อธิบายว่า กล่าว

แล้วแก่ผู้อื่น. บทว่า สมิหิต รวบรวมไว้แล้ว ความว่า รวมไว้ คือ ทำให้

เป็นหมวดหมู่ อธิบายว่า จัดตั้งไว้เป็นหมวด. บทว่า ตทนุคายนฺติ ขับตาม

บทมนต์นั้น ความว่า พราหมณ์ทั้งหลายในบัดนี้ ขับตาม คือสวดตามบทมนต์

นั้นซึ่งท่านเหล่านั้นขับแล้วในปางก่อน. บทว่า กล่าวตามบทนั้น แปลว่า

กล่าวตามบทมนต์นั้น . คำนี้เป็นไวพจน์ของคำก่อนนั่นแล. บทว่า กล่าวตาม

ภาษิต แปลว่า ท่องบ่นตามที่ท่านเหล่านั้นกล่าวแล้วท่องแล้ว. บทว่า บอก

ตามที่บอก แปลว่า บอกตามที่ท่านเหล่านั้นบอกแก่ผู้อื่น. คำว่า เสยฺยถีท

หมายความว่า ท่านเหล่านั้น คือ ท่านเหล่าไหน. คำว่า อัฏกะ เป็นต้น

เป็นชื่อของท่านเหล่านั้น. ได้สดับมาว่า ท่านเหล่านั้นตรวจดูด้วยตาทิพย์ ไม่

ทำการเบียดเบียนผู้อื่น เทียบเคียงกับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสป

สัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วร้อยกรองมนต์ทั้งหลายไว้. ส่วนพราหมณ์พวกอื่นเติม

การฆ่าสัตว์เป็นต้นเข้าไป ทำลายพระเวททั้งสามทำให้ผิดกับพระดำรัสของ

พระพุทธเจ้า. บทว่า ลำดับคนตาบอด แปลว่า แถวคนตาบอด. คือคน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

ตาบอดคนหนึ่ง จับปลายไม้เท้าที่คนตาดีคนหนึ่งถืออยู่. คนตาบอด ๕๐-๖๐ คน

ต่อกันตามลำดับอย่างนี้คือ คนตาบอดคนอื่นเกาะคนตาบอดคนนั้น คนอื่น

เกาะคนนั้น ต่อ ๆ ไป เรียกว่า แถวคนตาบอด. บทว่า ปรมฺปราสสตฺตา

เกาะกันต่อ ๆ ไป ความว่า เกาะกันแลกัน อธิบายว่า เว้นคนตาดีผู้ถือไม้เท้า

เขาว่านักเลงคนหนึ่งเห็นคณะคนตาบอดก็พูดปลุกใจว่า ในบ้านชื่อโน้น ของ

เคี้ยวของบริโภคหาได้ง่าย พวกคนตาบอดเหล่านั้นพูดว่า นายช่วยนำพวกฉัน

ไปที่บ้านนั้นเถิด พวกฉันจะให้สิ่งนี้แก่ท่าน เขารับเอาค่าจ้าง (พาไปถึงกลางทาง)

ก็แวะลงข้างทาง พาเดินตามกันรอบกอไม้ใหญ่ แล้วให้เอามือของคนตาบอด

คนแรกจับรักแร้ของตนตาบอดคนหลังแล้วพูดว่า ฉันมีงานบางอย่าง พวกท่าน

จงเดินไปก่อน ดังนี้ แล้วก็หนีไปเสีย. คนตาบอดเหล่านั้นพากันเดินทั้งวัน

ไม่พบทางไป ต่างคร่ำครวญว่า ท่านผู้เจริญ ! ไหนคนตาดี ไหนหนทาง

เมื่อไม่พบหนทางก็พากันตายอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแล คำว่า ปรมฺปราสตฺตา

เกาะกันต่อ ๆ ไป ตรัสหมายถึงคนตาบอดพวกนั้น.

บทว่า ปุริโมปิ แม้คนชั้นแรก ความว่า บรรดาพราหมณ์ ๑๐ คน

รุ่นแรก แม้พราหมณ์คนหนึ่ง. บทว่า มชฺฌิโมปิ แม้คนชั้นกลาง ความว่า

บรรดาอาจารย์และปาจารย์ในรุ่นกลาง แม้อาจารย์คนหนึ่ง. บทว่า ปจฺฉิโมปิ

แม้คนรุ่นหลัง ความว่า บรรดาพราหมณ์ทั้งหลายในบัดนี้ แม้พราหมณ์

คนหนึ่ง. บทว่า ปญฺจ โข ห้าแล ความว่า ตรัสเพิ่มธรรมอื่นที่คล้ายกัน

อีก ๓ ข้อ เข้าไปในธรรม ๒ ข้อ ซึ่งมีมาในพระบาลี. คำว่า ทฺวิธา วิปากา

มีวิบากเป็น ๒ ส่วน คือ มีวิบากที่เป็นจริง หรือมีวิบากที่ไม่เป็นจริง.

คำว่า นาลเมตฺถ ในข้อนี้ไม่ควร ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

แนวทางคำถามไว้อย่างสูงว่า ดูก่อนภารทวาชะวิญญูชนเมื่อปฏิบัติด้วยหวังว่า

จักตามรักษาสัจจะ ไม่ควร คือไม่สมควรที่จะถึงการตกลงโดยส่วนเดียวอย่าง

นี้ว่า สิ่งที่เรายึดถือเท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า. คำว่า อิธ ภารทฺวาช ภิกฺขุ

ภารทวาชะ ภิกษุในศาสนานี้ ความว่า ตรัสหมายถึงพระองค์เอง เหมือน

ในชีวกสูตรและมหาวัจฉสูตร. คำว่า โลภนีเยสุ ธมฺเมสุ ในธรรม

เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ คือ ในธรรมคือความโลภ. แม้ในสองบทที่เหลือ

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. คำว่า สทฺธ นิเวเสติ ย่อมตั้งลงชื่อศรัทธา คือ

ย่อมตั้งลงซึ่งศรัทธาที่ไว้ใจได้. บทว่า เข้าไป แปลว่า เข้าไปหา. บทว่า

ปยิรุปาสติ แปลว่า นั่งในที่ใกล้ บทว่า โสต ได้แก่ เงี่ยโสตประสาท.

บทว่า ธรรม คือ ฟังเทศนาธรรม. บทว่า ทรงไว้ ความว่า กระทำให้

คล่องแคล่วทรงไว้. บทว่า ย่อมไต่สวน คือพิจารณาโดยอัตถะและการณะ

คำว่า ย่อมควรการเพ่ง คือ ย่อมควรตรวจดู. อธิบายว่า ย่อมปรากฏ

ได้อย่างนี้ว่า ศีลตรัสไว้ในที่นี้ สมาธิตรัสไว้ในที่นี้. ความพอใจคือความ

ต้องการที่จะทำ ชื่อว่า ฉันทะ. บทว่า ย่อมอุตสาหะ คือ ย่อมพยายาม.

คำว่า ย่อมเทียบเคียง คือย่อมพิจารณาด้วยอำนาจอนิจจลักษณะเป็นต้น.

บทว่า ย่อมตั้งความเพียร คือย่อมตั้งความเพียรในมรรค. คำว่า ทำให้

แจ้งปรมัตถสัจจะด้วยกาย ความว่า ทำให้แจ้วพระนิพพานด้วยนามกายอัน

เป็นสหชาต และชำแหละกิเลสด้วยปัญญาเห็นแจ้งพระนิพพานนั้นนั่นแหละ

อย่างปรากฏชัดแจ้ง. บทว่า การตรัสรู้สัจจะ คือ การตรัสรู้มรรค. บทว่า

การบรรลุสัจจะ คือการทำให้แจ้งผล. บทว่า เหล่านั้นนั่นแหละ คือ ธรรม

๑๒ ประการ ที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ท่านย่อมอนุโลมการกล่าวถึงมรรค

อย่างยืดยาวอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีอธิบายอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

บทว่า เหล่านั้นนั่นแล ได้แก่ ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคเหล่านั้น.

ความเพียรในมรรคชื่อว่า ปธานความเพียร. ก็ความเพียรในมรรคนั้น มี

อุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะกล่าวคือ การทำให้แจ้งผล เพราะเมื่อมรรคไม่มี

ผลก็ไม่มี เหตุนั้นพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงโดยนัยนี้. คำที่เหลือในบท

ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาจังกีสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

๖. เอสุการีสูตร

[๖๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล เอสุการี

พราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง.

[๖๖๒] ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว เอสุการีพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบำเรอ ๔

ประการ คือ บัญญัติการบำเรอพราหมณ์ ๑ บัญญัติการบำเรอกษัตริย์ ๑

บัญญัติการบำเรอแพศย์ ๑ บัญญัติการบำเรอศูทร ๑ ท่านพระโคดม ในการ

บำเรอทั้ง ๔ ประการนั้น พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบำเรอพราหมณ์ไว้

ว่า พราหมณ์พึงบำเรอพราหมณ์ กษัตริย์พึงบำเรอพราหมณ์ แพศย์พึงบำเรอ

พราหมณ์ หรือศูทรพึงบำเรอพราหมณ์ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการ

บำเรอพราหมณ์ไว้เช่นนี้. พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบำเรอกษัตริย์ไว้ว่า

กษัตริย์พึงบำเรอกษัตริย์ แพศย์พึงบำเรอกษัตริย์ หรือศูทรพึงบำเรอกษัตริย์

พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบำเรอกษัตริย์ไว้เช่นนี้. พราหมณ์ทั้งหลาย

ย่อมบัญญัติการบำเรอแพศย์ไว้ว่า แพศย์พึงบำเรอแพศย์ หรือศูทรพึงบำเรอ

แพศย์ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบำเรอแพศย์ไว้เช่นนี้. พราหมณ์

ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบำเรอศูทรไว้ว่า ศูทรเท่านั้นพึงบำเรอศูทรด้วยกัน

ใครอื่นจักบำเรอศูทรเล่า. พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบำเรอศูทรไว้เช่น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

นี้. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติการบำเรอ ๔ ประการนี้

ท่านพระโคดมเล่าตรัสการบำเรอนี้อย่างไร

[๖๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ ก็โลกทั้งปวงยอม

อนุญาตข้อนั้นแก่พราหมณ์ทั้งหลายว่า จงบัญญัติการบำเรอ ๔ ประการนี้หรือ.

เอ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม.

พ. พราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษขัดสน ไม่มีของของตน ยากจน

ชนทั้งหลายพึงแขวนก้อนเนื้อไว้เพื่อบุรุษนั้นผู้ไม่ปรารถนาว่า บุรุษผู้เจริญ

ท่านพึงเคี้ยวกินก้อนเนื้ออันเสียและพึงใช้ต้นทุน ฉันใด พราหมณ์ทั้งหลายก็

ฉันนั้น ย่อมบัญญัติการบำเรอ ๔ ประการนี้แก่สมณพราหมณ์เหล่านั้น โดย

ไม่ได้รับปฏิญาณ. พราหมณ์ เราย่อมไม่กล่าวว่า พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง แต่

เราก็ไม่กล่าวว่า ไม่พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง ก็เมื่อบุคคลบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะ

เหตุแห่งการบำเรอ พึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดี เรากล่าวสิ่งนั้นว่าควร

บำเรอหามิได้ แต่เมื่อบุคคลบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ พึงมี

แต่ความดี ไม่มีความชั่ว เรากล่าวสิ่งนั้น ว่าควรบำเรอ. ถ้าแม้ชนทั้งหลายจะ

พึงถามกษัตริย์อย่างนี้ว่า เมื่อท่านบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ

พึงมีแต่ความชั่ว ไม่มีความดี หรือว่าเมื่อท่านบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่ง

บำเรอพึงมีแต่ความดี ไม่มีความชั่ว ในกรณีเช่นนี้ท่านจะพึงบำเรอสิ่งนั้น แม้

กษัตริย์เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า เมื่อข้าพเจ้าบำเรอ

สิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ พึงมีแต่ความชั่วไม่มีความดี ข้าพเจ้าไม่

พึงบำเรอสิ่งนั้น เมื่อข้าพเจ้าบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ พึงมี

แต่ความดี ไม่มีความชั่ว ข้าพเจ้าพึงบำเรอสิ่งนั้น ถ้าแม้ชนทั้งหลายพึงถาม

พราหมณ์ ... แพศย์.. .ศูทรอย่างนี้ว่า เมื่อท่านบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุ

แห่งการบำเรอ พึงมีแต่ความชั่ว ไม่พึงมีความดี ท่านพึงบำเรอสิ่งนั้น หรือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

ว่าเมื่อท่านบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ พึงมีแต่ความดี ไม่พึงมี

ความชั่ว ในกรณีเช่นนี้ ท่านจะพึงบำเรอสิ่งนั้น แม้ศูทรเมื่อจะพยากรณ์โดย

ชอบ ก็พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า เมื่อข้าพเจ้าบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการ

บำเรอ พึงมีแต่ความชั่ว ไม่พึงมีความดี ข้าพเจ้าไม่พึงบำเรอสิ่งนั้น ส่วนว่า

เมื่อข้าพเจ้าบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ พึงมีแต่ความดี ไม่พึง

มีความชั่ว ข้าพเจ้าพึงบำเรอสิ่งนั้น.

[๖๖๔] พราหมณ์ เราจะได้กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้เกิด

ในสกุลสูงก็หามิได้ แต่จะได้กล่าวว่า เลวทราม เพราะความเป็นผู้เกิดใน

สกุลสูงก็หามิได้ เราจะได้กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอัน

ยิ่งหามิได้ แต่จะได้กล่าวว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่งก็หามิได้

จะได้กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีโภคะมากหามิได้ แต่จะได้กล่าว

ว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้มีโภคะมากก็หามิได้. พราหมณ์ เพราะว่า บุคคล

บางตนในโลกนี้ แล้วเกิดในสกุลสูง ก็ยังเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติ

ผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มักโลภ มีจิต

พยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าประเสริฐเพราะความ

เป็นผู้เกิดในสกุลสูง บุคคลบางตนในโลกนี้ แม้เกิดในสกุลสูง ก็เป็นผู้เว้นจาก

การฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการพระพฤติผิดในกามเว้น

ขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ

เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เพราะ

ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าเลวทรามเพราะความเป็นผู้เกิดในสกุลสูง พราหมณ์

บุคคลบางตนในโลกนี้ แม้มีวรรณะอันยิ่งก็ยังเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติ

ผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความโลภ มี

จิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าประเสริฐเพราะ

ความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง. พราหมณ์ บุคคลบางตนในโลกนี้ แม้มีวรรณะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

อันยิ่ง ก็เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ

ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้น

ขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิต

พยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าเลวทรามเพราะความ

เป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง. พราหมณ์บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้มีโภคะมาก ก็ยัง

เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ พระพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูด

คำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความโลภ มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฐิ เพราะฉะนั้น

เราจึงไม่กล่าวว่าประเสริฐเพราะความเป็นผู้มีโภคะมาก พราหมณ์ บุคคลบาง

คนในโลกนี้ แม้มีโภคะมาก ก็เป็นผู้เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ

ลักทรัพย์ เว้นขาดจากประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้น

ขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูด

เพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ เพราะฉะนั้น เราจึง

ไม่กล่าวว่าเลวทราม เพราะความเป็นผู้มีโภคะมาก พราหมณ์ เราย่อมไม่

กล่าวว่า พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ไม่พึงบำเรอสิ่งทั้งปวง ก็เมื่อ

บุคคลบำเรอสิ่งใดอยู่ เพราะเหตุแห่งการบำเรอ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ

ปัญญาย่อมเจริญ สิ่งนั้นเรากล่าวว่าพึงบำเรอ.

[๖๖๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เอสุการีพราหมณ์ได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติ

ทรัพย์ ๔ ประการคือ ย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของพราหมณ์ ๑

ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของกษัตริย์ ๑ ทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของแพศย์ ๑ ทรัพย์

อันเป็นของมีอยู่ของศูทร ๑ ท่านพระโคดม ในข้อนั้น พราหมณ์ทั้งหลาย

ย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของพราหมณ์ คือ การเที่ยวไปเพื่อภิกษา

แต่พราหมณ์เมื่อดูหมิ่นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ คือ การเที่ยวไปเพื่อภิกษา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

ชื่อว่าเป็นผู้ทำกรรมมิใช่กิจ เหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้

ฉะนั้น พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของพราหมณ์นี้แล.

ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของกษัตริย์

คือ แล่งธนู แต่กษัตริย์เมื่อดูหมิ่นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ คือ แล่งธนู ชื่อ

ว่าเป็นผู้ทำกรรมมิใช่กิจ เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้

ฉะนั้น พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของกษัตริย์นี้แล.

ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของแพศย์

คือ กสิกรรมและโครักขกรรม แต่แพศย์เมื่อดูหมิ่นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ คือ

กสิกรรมและโครักขกรรม ชื่อว่าเป็นผู้ทำกรรมมิใช่กิจ เปรียบเหมือนคนเลี้ยง

โคถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ ฉะนั้น พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์

อันเป็นของมีอยู่ของแพศย์นี้แล. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อม

บัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของศูทร คือ เคียวและไม้คาน แต่ศูทรเมื่อ

ดูหมิ่นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ คือ เดียวและไม้คาน ชื่อว่าเป็นผู้ทำกรรมมิใช่

กิจ เปรียบเหมือนคนเลี้ยงโคถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้ ฉะนั้น พราหมณ์

ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของศูทรนี้แล. ท่านพระโคดม

พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการนี้ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดม

จะตรัสว่ากระไร.

[๖๖๖] พราหมณ์ ก็โลกทั้งปวงย่อมอนุญาตข้อนี้แก่พราหมณ์ทั้ง

หลายว่า จงบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการนี้หรือ.

เอ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม.

พ. พราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษขัดสน ไม่มีของของตน ยากจน

ชนทั้งหลายพึงแขวนก้อนเนื้อไว้ให้แก่บุรุษนั้นผู้ไม่ปรารถนาว่า บุรุษผู้เจริญ

ท่านพึงเคี้ยวกินก้อนเนื้อนี้เสียและพึงใช้ทุนฉันใด พราหมณ์ทั้งหลายก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

ย่อมบัญญัติทรัพย์ ๔ ประการนี้แก่สมณพราหมณ์เหล่านั้น โดยไม่ได้รับปฏิญาณ

พราหมณ์ เราย่อมบัญญัติโลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะ ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นของ

มีอยู่ของบุรุษ. เมื่อเขาระลึกถึงวงศ์สกุลเก่าอันเป็นของมารดาบิดา อัตภาพ

บังเกิดขึ้นในวงศ์สกุลใด ๆ บุรุษนั้น ย่อมถึงความนับตามวงศ์สกุลนั้น ๆ. ถ้า

อัตภาพบังเกิดในสกุลกษัตริย์ ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นกษัตริย์. ถ้าอัตภาพ

บังเกิดในสกุลพราหมณ์ ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นพราหมณ์. ถ้าอัตภาพบังเกิด

ในสกุลแพศย์ ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นแพศย์. ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลศูทร

ย่อมถึงความนับว่าเป็นศูทร เปรียบเหมือนไฟอาศัยปัจจัยใด ๆ ติดอยู่ ย่อม

ถึงความนับตามปัจจัยนั้น ๆ. ถ้าไฟอาศัยไม้คิดอยู่ ก็ย่อมถึงความนับว่าไฟติดไม้.

ถ้าไฟอาศัยหยากเยื่อติดอยู่ ก็ย่อมถึงความนับว่าไฟติดหยากเยื่อ. ถ้าไฟอาศัย

หญ้าติดอยู่ ก็ย่อมถึงความนับว่าไฟติดหญ้า. ถ้าไฟอาศัยโคมัยติดอยู่ ก็ย่อม

ถึงความนับว่าไฟติดโคมัน ฉันใด เราก็ฉันนั้นแล ย่อมบัญญัติโลกุตตรธรรม

อันเป็นอริยะ ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นของมีอยู่ของบุรุษ. เมื่อเขาระลึกถึงวงศ์

สกุลเก่าอันเป็นของมารดาบิดา อัตภาพบังเกิดในสกุลใด ๆ ก็ย่อมถึงความ

นับตามสกุลนั้น ๆ. ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลกษัตริย์ ก็ย่อมถึงความนับว่า

เป็นกษัตริย์. ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลพราหมณ์ ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็น

พราหมณ์. ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลแพศย์ ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นแพศย์.

ถ้าอัตภาพบังเกิดในสกุลศูทร ก็ย่อมถึงความนับว่าเป็นศูทร.

[๖๖๗] พราหมณ์ ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลกษัตริย์บวชเป็น

บรรพชิตและเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจาก

การฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหม-

จรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการ

พูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ ถ้าแม้กุลบุตรออกจาก

สกุลพราหมณ์...จากสกุลแพศย์ ...จากสกุลศูทร บวชเป็นบรรพชิตและเขา

อาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้น

ขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจาก

การพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้น

ขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ

ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ พราหมณ์ ! ท่านจะเข้าใจความข้อนั้น

เป็นไฉน พราหมณ์เท่านั้นหรือสามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความ

เบียดเบียน ในที่นั้น กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ.

เอ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ก็สามารถเจริญเมตตา

จิตอันไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียนในที่นั้นได้ แม้พราหมณ์ . . แม้แพศย์...

แม้ศูทร. . . แม้วรรณะ ๔ ทั้งหมด ก็สามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มี

ความเบียดเบียนในที่นั้นได้.

[๖๖๘] พ. พราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้กุลบุตรออก

จากสกุลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคต

ประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้น

ขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจาก

การพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ

ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออก

จากทุกข์ ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์... จากสกุลแพศย์ ... จากสกุล

ศูทรบวชเป็นบรรพชิต เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์เว้นขาดจากการลักทรัพย์

เว้นขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาด

จากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

ไม่มีความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออก

จากทุกข์ พราหมณ์ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์เท่านั้น

หรือสามารถถือเอาเครื่องสีสัตว์สำหรับอาบน้ำไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลี

กษัตริย์ แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ.

เอ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม แม้กษัตริย์ก็สามารถถือเอา

เครื่องสีตัวสำหรับอาบน้ำ ไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้ แม้พราหมณ์. . .

แม้แพศย์. . . แม้ศูทร แม้วรรณะ ๔ ทั้งหมด ก็สามารถถือเอาเครื่องสีตัว

สำหรับอาบน้ำ ไปยังแม่น้ำแล้วลอยละอองธุลีได้.

[๖๖๙] พ. พราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้กุลบุตรออก

จากสกุลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศ

แล้วย่อมเป็นผู้เว้น ขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจาก

กรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมณ์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด

เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มี

จิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ถ้าแม้

กุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์...จากสกุลแพศย์ ... จากสกุลศูทร บวชเป็น

บรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมเป็นผู้เว้น

ขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมเป็นข้าศึกแก่

พรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด

จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มีจิต

พยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ท่านจะ

เข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้

รับสั่งให้บุรุษซึ่งมีชาติต่าง ๆ กัน ๑๐๐ คนมาประชุมกันว่า จงมานี่แน่ะ

ท่านทั้งหลาย ในท่านทั้งหลาย ผู้ใดเกิดแต่สกุลกษัตริย์ แต่สกุลพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

แต่สกุลเจ้า ผู้นั้นจงเอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม

มาทำเป็นไม้สีไฟ จงสีไฟไห้เกิดขึ้น จงสีไฟให้ติด ส่วนท่านเหล่าใดเกิดแต่

สกุลคนจัณฑาล แต่สกุลนายพราน แต่สกุลช่างจักสาน แต่สกุลช่างรถ แต่

สกุลคนเทหยากเยื่อ ท่านเหล่านั้นจงเอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า

หรือไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ จงสีไฟให้เกิดขึ้น จงสีไฟให้ติด พราหมณ์

ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน ไฟที่บุคคลผู้เกิดแต่สกุลกษัตริย์ แต่สกุล

พราหมณ์ แต่สกุลเจ้า เอาไม้สัก ไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์ หรือไม้ทับทิม

มาทำเป็นไม้สีไฟ สีไฟเกิดลุกขึ้น ไฟนั้นเท่านั้นหรือเป็นไฟมีเปลว มีสี และ

มีแสง อาจทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นได้ ส่วนไฟที่คนเกิดแต่สกุลคนจัณฑาล

สกุลนายพราน แต่สกุลช่างจักสาน แต่สกุลช่างรถ แต่สกุลคนเทหยากเยื่อ

เอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ

สีไฟเกิดลุกขึ้น ไฟนั้นเป็นไฟไม่มีเปลว ไม่มีสี ไม่มีแสง และไม่อาจทำกิจ

ที่ต้องทำด้วยไฟนั้นหรือ.

เอ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม ไฟที่บุคคลเกิดแต่สกุลกษัตริย์

แต่สกุลพราหมณ์ แต่สกุลเจ้า เอาไม้สัก เอาไม้สาละ ไม้สน ไม้จันทน์

หรือไม้ทับทิม มาทำเป็นไม้สีไฟ สีไฟเกิดขึ้น ไฟนั้นเป็นไฟมีเปลว มีสี

มีแสง และอาจทำกิจที่ต้องทำด้วยไฟนั้นได้ แม้ไฟที่บุคคลเกิดแต่สกุลจัณฑาล

แต่สกุลนายพราน แต่สกุลช่างจักสาน แต่สกุลช่างรถ แต่สกุลคนเทหยากเยื่อ

เอาไม้รางสุนัข ไม้รางสุกร ไม้รางย้อมผ้า หรือไม้ละหุ่ง มาทำเป็นไม้สีไฟ

สีไฟเกิดลุกขึ้น ไฟนั้นก็เป็นไฟมีเปลว มีสี มีแสง และอาจทำกิจที่ต้องทำ

ด้วยไฟแม้ทั้งหมดได้.

[๖๗๐] พ. พราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้กุลบุตรออก

จากสกุลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

แล้ว ย่อมเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด

จากกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการ

พูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มี

ความโลภ ไม่มีจิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์

ถ้าแม้กุลบุตรออกจากสกุลพราหมณ์. .. จากสกุลแพศย์ . . . จากสกุลศูทร

บวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมเป็น

ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากกรรมเป็น

ข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด

เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความโลภ ไม่มี

จิตพยาบาท เป็นสัมมาทิฐิ ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ได้.

[๖๗๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เอสุการีพราหมณ์

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์

ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็น

รูปได้ ฉะนั้น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระองค์กับทั้ง

พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำ

ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.

จบเอสุการีสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

อรรถกถาเอสุกรีสูตร

เอสุการีสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า พึงแขวนส่วน คือพึงให้แขวนส่วน.

ทรงแสดงชื่อว่า สัตถธรรม คือธรรมของพ่อค้าเกวียนด้วยคำนี้ . ได้ยินว่า

พ่อค้าเกวียนเดินทางกันดารมาก. เมื่อโคตายในระหว่างทาง ก็ถือเอาเนื้อมัน

มาแล้ว แขวนไว้สำหรับผู้ต้องการเนื้อทั้งปวงว่า ใคร ๆ เคี้ยวกินเนื้อนี้ จง

ให้ราคาเท่านี้ . ธรรมดาว่าเนื้อโค คนกินได้ก็มี กินไม่ได้ก็มี ผู้สามารถให้

ต้นทุนก็มี ผู้ไม่สามารถก็มี. พ่อค้าเกวียนซื้อโคมาด้วยราคาใด เพื่อให้ราคานั้น

จึงให้ส่วนแก่คนทั้งปวงโดยพลการแล้ว เอาแต่ต้นทุน. นี้เป็นธรรมของพ่อค้า

เกวียน. เพื่อแสดงว่า แม้พราหมณ์ทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน ถือเอา

ปฏิญญาของชาวโลกแล้วบัญญัติการบำเรอ ๔ ประการโดยธรรมดาของตนเอง

ดังนี้ จึงตรัสว่า อย่างนั้นเหมือนกันแล ดังนี้เป็นต้น. คำว่า พึงมีแต่ความชั่ว

คือ พึงเป็นความชั่วช้าอย่างยิ่ง. คำว่า พึงมีแต่ความดี คือ พึงมีแต่ประโยชน์

เกื้อกูล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชั่ว คือ พึงเป็นอัตตภาพชั่ว คือ ลามก.

บทว่า ดี คือ ประเสริฐสุด. ได้แก่สูงสุด. บทว่า ประเสริฐ คือ ประเสริฐกว่า.

บทว่า เพราะความเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง คือ ประเสริฐ เพราะความ

เป็นผู้เกิดในตระกูลสูง. บทว่า ชั่วช้า คือ เลวทราม. ความเป็นผู้เกิดใน

ตระกลสูงเทียว ย่อมควรในตระกูลทั้งสอง คือ ตระกูลกษัตริย์ และตระกูล

พราหมณ์. ความเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่ง ย่อมควรในตระกูลทั้งสาม. เพราะแม้

แพศย์ก็ย่อมเป็นผู้มีวรรณะอันยิ่งได้. ความเป็นผู้มีโภคะมากย่อมควรแม้ใน

ตระกูลทั้ง ๔. เพราะแม้ศูทรจนชั้นที่สุดแม้คนจัณฑาล ก็ย่อมเป็นผู้มีโภคะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

มากได้เหมือนกัน. บทว่า เที่ยวไปเพื่อภิกษา ความว่า อันพราหมณ์แม้มี

ทรัพย์เป็นโกฏิก็ต้องเที่ยวขอภิกขา. พราหมณ์แต่เก่าก่อนแม้มีทรัพย์ตั้ง ๘๐ โกฏิ

ก็ย่อมเที่ยวภิกขาเพลาหนึ่ง. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า ข้อครหาว่า

เดี๋ยวนี้เริ่มเที่ยวขอภิกษา ดังนี้ จักไม่มีแก่โปราณกพราหมณ์ทั้งหลายในเวลา

เข็ญใจ. บทว่า ดูหมิ่น ความว่า พราหมณ์ละวงศ์ การเที่ยวภิกษาแล้ว

เลี้ยงชีวิตด้วยสัตถาชีพ (อาชีพชายศัสตรา) กสิกรรม และพาณิชกรรมเป็นต้นนี้

ชื่อว่าดูหมิ่น. บทว่า เหมือนคนเลี้ยงโค ความว่า เหมือนคนเลี้ยงโคลักของ

ที่ตนต้องรักษา เป็นผู้ทำในสิ่งที่มิใช่หน้าที่ฉะนั้น . พึงทราบเนื้อความในวาระ

ทั้งปวงโดยนัยนี้. บทว่า มีดและไม้คาน คือมีดสำหรับเกี่ยวหญ้า (คือเคียว)

และไม้คาน. บทว่า ระลึกถึง ความว่า ระลึกถึงวงศ์ตระกูลเก่าอันเป็นของ

มารดาบิดาที่คนเกิดนั้น. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเอสุการีสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

๗. ธนัญชานิสูตร

[๖๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันสวนที่

ใช้เลี้ยงกระแต เขตพระนครราชคฤห์. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเที่ยว

จาริกไปในทักขิณาคิรีชนบท พร้อมด้วยภิกษ์สงฆ์หมู่ใหญ่. ครั้งนั้น ภิกษุ

รูปหนึ่งจำพรรษาอยู่ในพระนครราชคฤห์ ได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงทัก-

ขิณาคิรีชนบท ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้

ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๖๗๓] ท่านพระสารีบุตรได้ถามภิกษุนั้นว่า ท่านผู้มีอายุ พระผู้มี

พระภาคเจ้าไม่ทรงพระประชวร และยังทรงพระกำลังอยู่หรือ.

ภิกษุนั้นกราบเรียนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพระประชวรและยัง

ทรงพระกำลังอยู่ ท่านผู้มีอายุ.

สา. ท่านผู้มีอายุ ก็ภิกษุสงฆ์ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่หรือ.

ภิ. แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่ ท่านผู้มีอายุ.

สา. ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์อยู่ที่ใกล้ประตูตัณฑุลปาละ ใน

พระนครราชคฤห์นั้น เขาไม่ป่วยไข้และยังมีกำลังอยู่หรือ.

ภิ. แม้ธนัญชานิพราหมณ์ก็ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังอยู่ ท่านผู้มี

อายุ.

สา. ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ยังเป็นผู้ไม่ประมาทหรือ.

ภิ. ที่ไหนได้ท่านผู้มีอายุ ธนัญชานิพราหมณ์ของเราจะไม่ประมาท.

เขาอาศัยพระราชา เที่ยวปล้นพวกพราหมณ์และคฤหบดี อาศัยพวกพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

และคฤหบดีปล้นพระราชา ภริยาของเขาผู้มีศรัทธา ซึ่งนำมาจากสกุลที่มีศรัทธา

ทำกาละเสียแล้ว เขาได้หญิงอื่นมาเป็นภริยาหาศรัทธามิได้ เขานำมาจากสกุลที่

ไม่มีศรัทธา.

สา. ท่านผู้มีอายุ เราได้ฟังว่าธนัญชานิพราหมณ์เป็นผู้ประมาท เป็น

อันได้ฟังชั่วหนอ ทำไฉน เราจะพึงได้พบกับธนัญชานิพราหมณ์บางครั้งบาง

คราว. ทำไฉน จะพึงได้เจรจาปราศรัยกันสักน้อยหนึ่ง

ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ในทักขิณาคิรีชนบทคามควรแล้ว จึง

หลีกจาริกไปทางพระนครราชคฤห์ เที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ได้ถึงพระนคร-

ราชคฤห์แล้ว.

[๖๗๔] ได้ยินว่า สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

สวนที่ใช้เลี้ยงกระแต ใกล้พระนครราชคฤห์. ครั้งนั้นเวลาเช้า ท่านพระสารี-

บุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังพระนครราชคฤห์ สมัยนั้น ธนัญชานิ

พราหมณ์ใช้คนให้รีดนมโคอยู่ที่คอกโค ภายนอกพระนคร ท่านพระสารีบุตร

เที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว

เข้าไปหาธนัญชานิพราหมณ์ถึงที่อยู่ธนัญชานิพราหมณ์ได้เห็นท่านพระสารีบุตร

กำลังมาแต่ไกล จึงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร แล้วได้กล่าวว่า นิมนต์ดื่มน้ำ

นมสดทางนี้เถิด ท่านพระสารีบุตร ท่านยังมีเวลาฉันอาหาร.

สา. อย่าเลยพราหมณ์ วันนี้ฉันทำภัตกิจเสร็จแล้ว ฉันจักพักกลาง

วันที่โคนต้นไม้โน้น ท่านพึงมาในที่นั้น ธนัญชานิพราหมณ์รับคำท่านพระสารี-

บุตรแล้ว. ครั้งนั้น ธนัญชานิพราหมณ์บริโภคอาหารเวลาเช้าเสร็จแล้ว ได้

เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

[๖๗๕] ท่านพระสารีบุตรได้ถามว่า ธนัญชานิ ท่านเป็นผู้ไม่

ประมาทหรือ.

ธนัญชานิพราหมณ์ได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ที่ไหนข้าพเจ้า

จะไม่ประมาท เพราะข้าพเจ้าต้องเลี้ยงมารดาบิดา ต้องเลี้ยงบุตรภริยา ต้อง

เลี้ยงพวกทาส กรรมกร และคนรับใช้ ต้องทำกิจสำหรับมิตรและอำมาตย์แก่

มิตรและอำมาตย์ ต้องทำกิจสำหรับญาติสาโลหิต ต้องทำกิจสำหรับแขกแก่แขก

ต้องทำบุญที่ควรทำแก่ปุพเปตชนส่งไปให้ปุพเปตชน ต้องทำการบวงสรวงแก่

พวกเทวดา ต้องทำราชการให้แก่หลวง แม้กายนี้ก็ต้องให้อิ่มหนำ ต้องให้

เจริญ.

[๖๗๖] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้น เป็นไฉน บุคคล

บางตนในโลกนี้ เป็นผู้พระพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุ

แห่งบิดามารดา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่ง

การประพฤติไม่ชอบธรรนและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา

หรือว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

มารดาบิดา ขอนายนิรยบาลอยู่พึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือมารดาบิดาของ

ผู้นั้นจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไป

นรกเลย.

ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านสารีบุตร ที่แท้ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมากมาย

นายนิรยบาลก็พึงโยนลงในนรกจนได้.

[๖๗๗] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

บางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุ

แห่งบุตรและภริยา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าผู้นั้นไปนรก เพราะเหตุแห่งการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

พระพฤติไม่ชอบธรรมและพระพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา

หรือหนอว่าเราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตร

และภริยา ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าบุตรและภริยา

ของผู้นั้น จะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรก

เลย.

ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญ

มากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนลงในนรกจนได้.

[๖๗๘] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

บางคนในโลกนี้ พระพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

ทาสกรรมกรและคนรับใช้ นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปนรก เพราะ

เหตุแห่งการพระพฤติไม่ชอบธรรมและพระพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความ

ปรารถนาหรือหนอว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิธรรม

เพราะเหตุแห่งทาส กรรมกรและคนรับ ใช้ ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเรา

ไปนรกเลย หรือว่าพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ของเขาจะพึงได้ตามความ

ปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

เราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.

ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญมาก

มาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

[๖๗๙] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้น เป็นไฉน บุคคล

บางคนในโลกนี้ พระพฤติไม่ชอบธรรม พระพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห ง

มิตรและอำมาตย์ นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้น ไปยังนรก เพราะเหตุแห่ง

การประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

หรือหนอว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุ

แห่งมิตรและอำมาตย์ ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่ามิตร

และอำมาตย์ของเขาพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม

ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่า

เขาไปนรกเลย.

ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญ

มากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

[๖๘๐] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

บางคนโนโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

ญาติสาโลหิต นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการ

ประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา

หรือหนอว่าเราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติ-

สาโลหิต ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าญาติสาโลหิตของ

เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม

เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.

ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญ

มากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

[๖๘๑] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

บางคนในโลกนี้ พระพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งแขก

นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่

ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า

เราพระพฤติไม่ชอบธรรม พระพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเขา ขอนาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

นิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าแขกของเขาจะพึงได้ตามความ

ปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเรา

ทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.

ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญ

มากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

[๖๘๒] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

บางคนในโลกนี้ พระพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

ปุพเปตชน นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการ

ประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา

หรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

ปุพเปตชน ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าปุพเปตชน

ของเขาจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไป

นรกเลย.

ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญ

มากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

[๖๘๓] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

บางคนในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม พระพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

เทวดา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการ

ประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา

หรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม พระพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

เทวดา ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าเทวดาของเขาจะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

พึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม

เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย.

ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญ

มากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

[๖๘๔] ส. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

บางคนในโลกนี้ พระพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

พระราชา นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการ

พระพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม เขาจะพึงได้ตามความปรารถนา

หรือหนอว่า เราพระพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่ง

พระราชา ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าพระราชาของ

ผู้นั้นจะพึงได้ตามความปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเราทั้งหลาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไป

นรกเลย.

ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญ

มากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

[๖๘๕] สา. ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติไม่ชอบธรรม พระพฤติผิดธรรม เพราะเหตุ

แห่งการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย นายนิรยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้น

ไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม

เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือหนอว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุการณ์เลี้ยงกาย เพราะเหตุการณ์ทำนุบำรุงกาย ขอนายนิรยบาล

อย่าพึงฉุดคร่าเราไปนรกเลย หรือว่าชนเหล่าอื่นของเขาจะพึงได้ตามความ

ปรารถนาว่า ผู้นี้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุการณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

เลี้ยงกาย เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย ขอนายนิรยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรก

เลย.

ธ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระสารีบุตร ที่แท้ ถึงผู้นั้นจะคร่ำครวญ

มากมาย นายนิรยบาลก็พึงโยนเขาลงในนรกจนได้.

[๖๘๖] สา. ดูก่อนธนัญชานี ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน

บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา

กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา

ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.

ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ผู้ที่ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ไม่ประเสริฐ ส่วนผู้ประพฤติชอบธรรม

ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติ

ชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรม

และการประพฤติผิดธรรม.

สา. ธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็น

เครื่องให้บุคคลอาจเลี้ยงมารดาบิดาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติ

ปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.

[๖๘๗] ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้

พระพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา กับ

บุคคลผู้พระพฤติชอบธรรม พระพฤติถูกธรรม เพราะเหตุบุตรและภริยา

ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.

ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติ

ชอบธรรม พระพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา ประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

ด้วยว่าการพระพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการ

พระพฤติไม่ชอบธรรม และการพระพฤติผิดธรรม.

ส. ธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็น

เครื่องให้บุคคลอาจเลี้ยงบุตรและภริยาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้

ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้. มีอยู่.

[๖๘๘] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

ผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกร

และคนรับใช้ กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม พระพฤติถูกธรรม เพราะเหตุ

แห่งพวกทาส กรรมกรและคนรับ ใช้ ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.

ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้พระพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ ไม่ประเสริฐ

ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพวกทาส

กรรมกรและคนรับใช้ ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติ

ถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม

สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม

เป็นเครื่องให้บุคคลอาจเลี้ยงพวกทาส กรรมกรและคนรับใช้ได้ ไม่ต้องกระทำ

กรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.

[๖๘๙] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

ผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์

กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม และประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมิตร

และอำมาตย์ ไหนจะประเสริฐกว่ากัน .

ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

ชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์ ประเสริฐ

ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการ

ประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติผิดธรรม.

สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตะ ประกอบด้วยธรรม

เป็นเครื่องให้บุคคลอาจทำกรณียกิจแก่มิตรและอำมาตย์ได้ ไม่ต้องทำกรรมอัน

ลามกและให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.

[๖๙๐] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้

ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต

กับบุคคลผู้พระพฤติชอบธรรม พระพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต

ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.

ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติ

ชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต ประเสริฐ ด้วยว่า

การประพฤติชอบธรรม และการพระพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการพระพฤติ

ไม่ชอบธรรม และการพระพฤติผิดธรรม.

สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม

เป็นเครื่องให้บุคคลอาจทำกรณียกิจแก่ญาติสาโลหิตได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก

และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่ .

[๖๙๑] ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้

พระพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งแขก กับบุคคลผู้

ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งแขก ไหนจะประเสริฐ

กว่ากัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหติแห่งแขก ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม

พระพฤติถูกธรรม ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติชอบธรรมและการประพฤติ

ถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรมและการพระพฤติผิดธรรม.

สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม เป็น

เครื่องให้บุคคลอาจทำกรณียกิจแก่แขกได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้

ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.

[๖๙๒] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

ผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน กับ

บุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรมเพราะเหตุแห่งปุพเปตชน

ไหนจะประเสริฐกว่ากัน .

ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งปุพเปตชน ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติ

ชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม ประเสริฐ ด้วยว่าการพระพฤติชอบธรรมและ

การประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติ

ผิดธรรม.

สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม

เป็นเครื่องให้บุคคลอาจทำกรณียกิจแก่ปุพเปตชนได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก

และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.

[๖๙๓] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

ผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา กับบุคคล

ผู้พระพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา ไหนจะ

ประเสริฐกว่ากัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม

ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งเทวดา ประเสริฐ ด้วยว่าการประพฤติ

ชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรม

และการประพฤติผิดธรรม.

สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม

เป็นเครื่องให้บุคคลอาจทำกรณียกิจแก่เทวดาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก

และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.

[๖๙๔] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

ผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม พระพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา กับบุคคล

ผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา ไหนจะ

ประเสริฐกว่ากัน.

ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา ไม่ประเสริฐ ส่วนบุคคลผู้ประพฤติ

ชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งพระราชา ประเสริฐ ด้วยว่า

การประพฤติชอบธรรมและการประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติ

ไม่ชอบธรรมและการพระพฤติผิดธรรม.

สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม

เป็นเครื่องให้บุคคลอาจทำกรณียกิจแห่งพระราชาได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก

และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.

[๖๙๕] ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคล

ผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

เหตุทำนุบำรุงกาย กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะ

เหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุการทำนุบำรุงกาย ไหนจะประเสริฐกว่ากัน.

ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติ

ผิดธรรม. เพราะเหตุการเลี้ยงกาย เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย ไม่ประเสริฐ

ส่วนบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุการเลี้ยงกาย

เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย ประเสริฐ ด้วยว่าการพระพฤติชอบธรรมและการ

ประพฤติถูกธรรม ประเสริฐกว่าการประพฤติไม่ชอบธรรมและการประพฤติ

ผิดธรรม.

สา. ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุ ประกอบด้วยธรรม

เป็นเครื่องให้บุคคลอาจเลี้ยงกาย ทำนุบำรุงกายได้ ไม่ต้องทำกรรมอันลามก

และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่.

ครั้งนั้นแล ธนัญชานิพราหมณ์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระ-

สารีบุตรลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว.

[๖๙๖] ครั้นสมัยต่อมา ธนัญชานิพราหมณ์เป็นผู้อาพาธ ได้รับทุกข์

เป็นไข้หนัก จึงเรียกบุรุษคนหนึ่งมาว่า บุรุษผู้เจริญ มานี่เถิดท่าน ท่านจง

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ จงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิ-

พราหมณ์อาพาธได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาขอถวายบังคมพระบาทของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ แล้วจง

ไหว้เท้าท่านพระสารีบุตรตามคำของเราว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธนัญชานิ-

พราหมณ์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาไหว้เท้าท่านพระสารีบุตรด้วย

เศียรเกล้า และจงเรียนท่านอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอโอกาส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิ-

พราหมณ์เถิด.

[๖๙๗] บุรุษนั้นรับคำธนัญชานิพราหมณ์แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์

อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยเศียรเกล้า แล้วได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระสารีบุตร

แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้เรียนท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์อาพาธได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาไหว้เท้าของ

ท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า

ขอโอกาส ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของ

ธนัญชานิพราหมณ์เถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยอาการดุษณีภาพ.

[๖๙๘] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้า

ไปยังนิเวศน์ของธนัญชานิพราหมณ์ แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย ได้ถาม

ธนัญชานิพราหมณ์ว่า ดูก่อนธนัญชานิ ท่านยังพอทนได้หรือ พอจะยังชีวิต

ให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาค่อยถอยลงไม่เจริญขึ้นหรือ อาการปรากฏค่อย

คลายไม่ทวีขึ้นหรือ.

[๖๙๙] ธนัญชานิพราหมณ์กราบเรียนว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร

ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก

เจริญขึ้นไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวียิ่งขึ้น ไม่ลดถอย ข้าแต่ท่านพระสารี-

บุตรผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เอาเหล็กแหลมคมกดศีรษะ ฉันใด

ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นแล ลมเสียดแทงศีรษะกล้านัก ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ข้าพเจ้า

ทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้านัก เจริญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

ขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวียิ่งขึ้นไม่ลดถอย เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง

เอาเส้นเชือกที่เขม็งมัดรัดศีรษะฉันใด เวทนาในศีรษะของข้าพเจ้าก็เหลือทน

ฉันนั้น ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้า

กล้านัก เจริญขึ้น ไม่ถอยเลยปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย ข้าแต่ท่านพระ-

สารีบุตร เปรียบเหมือนนายโคฆาตหรือลูกมือนายโคฆาตผู้ชำนาญ เอามีด

สำหรับเชื้อเนื้อโคอันคมมาเชือดท้องฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น ลมเสียดท้องกล้า

นัก ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพเจ้ากล้า

นัก เจริญยิ่งขึ้น ไม่ถอยเลย ปรากฏอากาวทวีขึ้น ไม่ลดถอย ข้าแต่ท่าน

พระสารีบุตร เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังสองคน ช่วยกันจับบุรุษมีกำลังน้อย

กว่าคนละแขน รมย่างไว้ที่หลุมถ่านเพลิง ฉันใด ในกายของข้าพเจ้าก็ร้อน

เหลือทน ฉันนั้น ข้าพเจ้าทนไม่ไหว จะยังชีวิตให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา

ของข้าพเจ้ากล้านัก ทวีขึ้นไม่ถอยเลย ปรากฏอาการทวีขึ้น ไม่ลดถอย.

[๗๐๐] สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน นรก

กับ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ไหนจะดีกว่ากัน.

ธ. กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานดีกว่านรก ท่านพระสารีบุตร.

สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน กำเนิดสัตว์

ดิรัจฉานกับปิตติวิสัย ไหนจะดีกว่ากัน.

ธ. ปิตติวิสัยดีกว่ากำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ท่านพระสารีบุตร.

สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนี้เป็นไฉน ปิตติวิสัยกับมนุษย์

ไหนจะดีกว่ากัน.

ธ. มนุษย์ดีกว่าปิตติวิสัย ท่านพระสารีบุตร.

สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน มนุษย์กับเทวดา

ชั้นจาตุมหาราช ไหนจะดีกว่ากัน .

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

ธ. เทวดาชั้นจาตุมหาราชดีกว่ามนุษย์ ท่านพระสารีบุตร.

สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นจาตุ-

มหาราชกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ ไหนจะดีกว่ากัน.

ธ. เทวดาชั้นดาวดึงส์ดีกว่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช ท่านพระสารีบุตร.

สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นดาว-

ดึงส์กับเทวดาชั้นยามา ไหนจะดีกว่ากัน.

ธ. เทวดาชั้นยามาดีกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ท่านพระสารีบุตร.

สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นยามา

กับเทวดาชั้นดุสิต ไหนจะดีกว่ากัน.

ธ. เทวดาชั้นดุสิตดีกว่าเทวดาชั้นยามา ท่านพระสารีบุตร.

สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจควานข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นดุสิตกับ

เทวดาชั้นนิมมานรดี ไหนจะดีกว่ากัน.

ธ. เทวดาชั้นนิมมานรดีดีกว่าเทวดาชั้นดุสิต ท่านพระสารีบุตร.

สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นนิมมา-

นรดีกับเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ไหนจะดีกว่ากัน.

ธ. เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดีดีกว่าเทวดาชั้นนิมมานรดี ท่านพระ-

สารีบุตร.

สา. ธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน เทวดาชั้นปรินิม-

มิตวสวัตดีกับพรหมโลก ไหนจะดีกว่ากัน.

ธ. ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า พรหมโลก ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า

พรหมโลก หรือ.

ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรมีความดำริว่า พราหมณ์เหล่านี้ น้อมใจ

ไปในพรหมโลก ถ้ากระไร เราพึงแสดงทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหมแก่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

ธนัญชานิพราหมณ์เถิด ดังนี้ แล้วจึงกล่าวว่า ธนัญชานิ เราจักแสดทาง

เพื่อความเป็นสหายกับพรหม ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี เราจักกล่าว ธนัญชานิ

พราหมณ์รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

[๗๐๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ธนัญชานิ ก็ทางเพื่อความเป็น

สหายกับพรหมเป็นไฉน ดูก่อนธนัญชานิ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบ

ด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตาม

นัยนี้ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า

เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอัน

ไพบูลเป็นมหัคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ แม้

ข้อนี้ก็เป็นทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม ธนัญชานิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุ

มีใจประกอบด้วยกรุณา... มีใจประกอบด้วยมุทิตา... มีใจประกอบด้วย

อุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัย

นี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า

เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขา

อันไพบูล เป็นมหัคคตะหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

นี้แล เป็นทางเพื่อความเป็นสหายกับพรหม.

ธ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงถวายบังคมพระบาท

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ตามคำของข้าพเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคม

พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า.

[๗๐๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้ประดิษฐานธนัญชานิ

พราหมณ์ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุก

จากอาสนะหลีกไปไม่นาน ธนัญชานิพราหมณ์ทำกาละแล้วไปบังเกิดยังพรหม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

โลก ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย

สารีบุตรนี้ได้ประดิษฐานธนัญชานิพราหมณ์ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อยังมี

กิจที่จะพึงทำให้ยิ่งขึ้นได้ แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป.

[๗๐๓] ครั้นนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว

ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธนัญชานิพราหมณ์ป่วย ได้รับทุกข์

เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตร ทำไมเธอจึงประดิษฐานธนัญชานิ

พราหมณ์ไว้ในพรหมโลกชั้นต่ำ ในเมื่อยังมีกิจอันพึงทำให้ยิ่งขึ้นไปได้ แล้ว

ลุกจากอาสนะหลีกไปเล่า.

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า

พราหมณ์เหล่านั้นน้อมใจไปพรหมโลก ถ้ากระไร เราพึงแสดงทางเพื่อความเป็น

สหายกับพรหมแก่ธนัญชานิพราหมณ์เกิด ดังนี้ พระเจ้าข้า.

พ. สารีบุตร ธนัญชานิพราหมณ์ทำกาละไปบังเกิดในพรหมโลกแล้ว

ฉะนั้นแล.

จบธนัญชานิสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

อรรถกถาธนัญชานิสูตร

ธนัญชานิสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ในทักขิณาคิรีชนบท ความว่า ภูเขา

ชื่อ คิรี. คำนี้เป็นชื่อของชนบทในด้านทิศทักษิณแห่งภูเขาที่ตั้งล้อมกรุง

ราชคฤห์. บทว่า ที่ประตูตัณฑุลปาละ ความว่า กรุงราชคฤห์มีประตูใหญ่

๓๒ ประตู ประตูเล็ก ๖๔ ประตู. บรรดาประตูเหล่านั้น ประตูแห่งหนึ่งชื่อว่า

ประตูตัณฑุปาละ. ท่านธรรมสังคาหกาจารย์ กล่าวหมายเอาประตูตัณฑุลปาละ

นั้น. คำว่า อาศัยพระราชา ความว่า ธนัญชานิพราหมณ์อันพระราชาทรง

ส่งไปว่า จงไปเก็บส่วนแบ่งข้าวกล้าโดยไม่เบียดเบียนประชาชน เขาไปเก็บ

เอาข้าวกล้ามาหมดเลย และเป็นผู้อันประชาชนพูดว่า ท่านผู้เจริญ อย่าทำ

พวกข้าพเจ้าให้ฉิบหาย กลับกล่าวว่า ข้าวกล้าที่หว่านไว้ในราชสกุลมีน้อย

พระราชาทรงสั่งเราอย่างนี้ในเวลาที่จะมาทีเดียว พวกท่านอย่าได้คร่ำครวญไป

เลย. ธนัญชานิพราหมณ์อาศัยพระราชาอย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมปล้นพราหมณ์และ

คหบดีทั้งหลาย. ข้าวเข้าบ้านตนโดยส่วนมาก ส่งเข้าราชสกุลมีประมาณ

น้อยแล. และถูกพระราชาตรัสถามว่า ท่านไม่ได้ทำการบีบบังคับพราหมณ์

และคหบดีทั้งหลายหรือ ก็กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่มหาราช ในวาระนี้

นามีข้าวกล้าน้อย เพราะฉะนั้น เมื่อข้าพระพุทธเจ้าไม่บีบบังคับเก็บเอา จึงไม่

มากแล. ธนัญชานิพราหมณ์อาศัยพราหมณ์และคหบดีทั้งหลายอย่างนี้ปล้น

พระราชา. คำว่า จงดื่มน้ำนมสด ความว่า จงดื่มน้ำนมสดอ่อน ๆ. คำว่า

แห่งภัตตาหารก่อน ความว่า เวลาภัตตาหารจักมีตราบเท่าที่ท่านนั่งดื่มนมสด.

ธนัญชานิพราหมณ์แสดงว่า ชนทั้งหลายจักนำอาหารเข้ามาเพื่อเราทั้งหลาย ณ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

ที่นี้แหละ. ในคำว่า มารดาและบิดา ดังนี้เป็นต้น พึงทราบเนื้อความโดยนัย

นี้ว่า บิดามารดาแก่เฒ่า อันบุตรพึงแสวงหาเครื่องปูลาดและเครื่องนุ่งห่มอ่อนๆ

ผ้าเนื้อละเอียด โภชนะที่มีรสอร่อย และของหอมกับพวงดอกไม้ที่หอมดีเป็นต้น

มาพอกเลี้ยง. บิดากระทำกิจทุกอย่างมีงานมงคลในการตั้งชื่อบุตรและธิดา พึง

เลี้ยงดูบุตรและภรรยา. ก็เมื่อไม่ทำอย่างนี้ การติเตียนย่อมเกิดขึ้น. บทว่า

เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม อธิบายว่า กรรมคือความเป็นผู้ไม่มีศีลห้า

หรือไม่มีศีลสิบ ชื่อว่าอธรรม ในที่นี้. บทว่า พึงฉุดคร่า คือ พึงฉุดเข้าไปสู่

นรกขุมนั้น ๆ เพื่อกระทำกรรมกรณ์ มีการจองจำ ๕ อย่างเป็นต้น. บทว่า

ผู้ประพฤติชอบธรรมคือ ผู้มีปรกติทำการงานมีการไถนา และการค้าขาย

เป็นต้นที่ชอบธรรม. บทว่า ย่อมลอยลง คือ สารีลง ได้แก่ คลายลง.

บทว่า กล้าขึ้น คือกำเริบขึ้น ได้แก่เพิ่มขึ้น. บทว่า ประเสริฐ แปลว่า

ประเสริฐกว่า. บทว่า เลว คือ ต่ำช้า ลามก. คำนี้ว่า สารีบุตร ก็พราหมณ์

กระทำกาละแล้ว ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระเถระด้วยพระประสงค์ว่า

เธอจงไป ณ ที่นั้นแล้วแสดงธรรมแก่พราหมณ์นั้น. แม้พระเถระก็ไปในขณะ

นั้นทันทีแล้วแสดงธรรมแก่มหาพราหมณ์. จำเดิมแต่นั้นไป เมื่อพระเถระแม้

กล่าวคาถา ๔ บาท ก็ไม่กล่าวถึงความหลุดพันด้วยสัจจะ ๔ แล.

จบอรรถกถาธนัญชานิสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

๘. วาเสฏฐสูตร

[๗๐๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละใกล้

หมู่บ้านอิจฉานังคละ. ก็สมัยนั้น พราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียงเป็นอันมาก คือ

จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุโสณิพราหมณ์

โตเทยยพราหมณ์ และพราหมณ์มหาศาลเหล่าอื่นที่มีชื่อเสียง อาศัยอยู่ใน

หมู่บ้านอิจฉานังคละ ครั้งนั้น วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพ เที่ยวเดินเล่น

เป็นการพักผ่อนอยู่ มีถ้อยคำพูดกัน ในระหว่างนี้เกิดขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ อย่างไร

บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ภารทวาชมาณพกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ

บุคคลเป็นผู้เกิดดีทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา มีครรภ์เป็นที่ถือ

ปฏิสนธิอันบริสุทธิ์ตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครคัดค้านติเตียนด้วยอ้างถึง

ชาติได้ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ วาเสฏฐมาณพ

กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุคคลเป็นผู้มีศีลและถึงพร้อมด้วยวัตรด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ภารทวาชมาณพไม่อาจให้

ว่าเสฏฐมาณพยินยอมได้ ถึงว่าเสฏฐมาณพก็ไม่อาจให้ภารทวาชมาณพยินยอม

ได้เหมือนกัน.

[๗๐๕] ครั้งนั้นแล ว่าเสฏฐมาณพได้ปรึกษากะภารทวาชมาณพว่า

ท่านภารทวาชะ พระสมณโคดมศากยบุตรนี้ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล

ประทับอยู่ ณ ราวป่าอิจฉานังคละ ใกล้หมู่บ้านอิจฉานังคละ ก็กิตติศัพท์อันงาม

ของท่านพระสมณโคดมนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มี

ตระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

วิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มี

ผู้อื่นยิ่งขึ้นไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว

เป็นผู้จำแนกธรรมมาเถิด เราจักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้วจักทูลถาม

เนื้อความนี้ พระสมณโคดมจักทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร เราจักทรงจำเนื้อ

ความนั้นไว้อย่างนั้น ภารทวาชมาณพรับคำวาเสฏฐมาณพแล้ว. .ลำดับนั้น

วาเสฏฐมาณพและภารทวาชมาณพได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป

แล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง

[๗๐๖] ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว วาเสฏฐมาณพได้ทูลถามพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วยคาถาทั้งหลายว่า

ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ทรงไตรเพท

อันอาจารย์อนุญาตแล้ว และปฏิญาณได้

เองว่า เป็นผู้ได้ศึกษาแล้ว ข้าพระองค์

เป็นศิษย์ท่านโปกขรสาติพราหมณ์มาณพ

ผู้นี้เป็นศิษย์ท่านตารุกพราหมณ์ ข้า-

พระองค์ทั้งสองเป็นผู้รู้จบในบทที่พราหมณ์

ผู้ทรงไตรเพทบอกแล้ว ข้าพระองค์ทั้งสอง

เป็นผู้มีข้อพยากรณ์แม่ยำตามบท เซ่น

เดียวกับอาจารย์ในสถานกล่าวมนต์ ข้าแต่

พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งสองมีการโต้เถียง

กันในการกล่าวถึงชาติ คือ ภารทวาชมาณพ

กล่าวว่า บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะ

ชาติ ส่วนข้าพระองค์กล่าวว่า บุคคลชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

เป็นพราหมณ์เพราะกรรม พระองค์ผู้มี

จักษุขอจงทรงทราบอย่างนี้ ข้าพระองค์

ทั้งสองนั้นไม่อาจจะให้กันและกันยินยอม

ได้ จึงได้มาเฝ้าเพื่อทูลถามพระผู้มีพระ-

ภาคสัมพุทธเจ้า ผู้ปรากฏด้วยอาการฉะนี้

ชนทั้งหลายเมื่อจะเข้าไปประณมมือถวาย

บังคม ก็จักถวายพระโคดมได้ทั่วโลก

เหมือนพระจันทร์เต็มดวง ฉะนั้น ข้า-

พระองค์ขอทูลถามพระโคดมผู้เป็นดวง

จักษุ อุบัติขึ้นในโลกว่า บุคคลชื่อว่าเป็น

พราหมณ์เพราะชาติ หรือว่าเป็นเพราะ

กรรม ขอจงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์

ทั้งสองผู้ไม่ทราบ ตามที่จะทราบบุคคลผู้

เป็นพราหมณ์นั้นเถิด.

[๗๐๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนวาเสฏฐะ เราจักพยากรณ์

การจำแนกชาติ ของสัตว์ทั้งทลาย ตาม

ลำดับ ตามสมควรแก่ท่านทั้งสองนั้น

เพราะมันมีชาติเป็นคนละอย่าง ๆ ท่านจงรู้

จักแม้ติณชาติและรุกขชาติ แม้จะปฏิญาณ

ตนไม่ได้ เพศของติณชาติและรุกขชาติ

นั้นก็สำเร็จด้วยชาติ เพราะมันมีชาติเป็น

คนละอย่าง ๆ แต่นั้นท่านจงรู้จักตั๊กแตน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

ผีเสื้อ ตลอดถึงมดดำและมดแดง เพศของ

สัตว์เหล่านั้นก็สำเร็จด้วยชาติ เพราะมันมี

ชาติเป็นคนละอย่าง ๆ อนึ่ง ท่านทั้งหลาย

จงรู้จักสัตว์สี่เท้า ทั้งเล็กทั้งใหญ่ เพศ

ของมันก็สำเร็จด้วยชาติ เพราะมันมีชาติ

เป็นคนละอย่าง ๆ อนึ่ง จงรู้จักสัตว์

มีท้องเป็นเท้า สัตว์ไปด้วยอก สัตว์มี

หลังยาว เพศของมันก็สำเร็จด้วยชาติ

เพราะมันมีชาติเป็นคนละอย่าง ๆ แต่นั้น

จงรู้จักปลา สัตว์เกิดในน้ำ สัตว์เที่ยวหากิน

ในน้ำ เพศของมันก็สำเร็จด้วยชาติ เพราะ

มันมีชาติเป็นคนละอย่าง ๆ แต่นั้นจงรู้จัก

นก สัตว์ไปได้ด้วยปีก สัตว์ที่ไปในอากาศ

เพศของมันก็สำเร็จด้วยชาติ เพราะมันมี

ข้าเป็นคนละอย่าง ๆ เพศอันสำเร็จด้วย

ชาติมีมากมาย ในชาติ ( สัตว์ ) เหล่านี้

ฉันใด เพศในมนุษย์ทั้งหลายอันสำเร็จ

ด้วยชาติมากมาย ฉันนั้น หามิได้ คือ

ไม่ใช่ด้วยผม ด้วยศีรษะ ด้วยหู ด้วย

นัยน์ตา ด้วยหน้า ด้วยจมูก ด้วยริมฝีปาก

ด้วยคิ้ว ด้วยคอ ด้วยบ่า ด้วยท้อง ด้วยหลัง

ด้วยตะโพก ด้วยอก ในที่แคบ ในที่

เมถุน ด้วยมือ ด้วยเท้า ด้วยนิ้ว ด้วยเล็บ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

ด้วยแข้ง ด้วยขา ด้วยวรรณะ ด้วยเสียง

(หามิได้) เพศอันสำเร็จด้วยชาติ (ของ

มนุษย์) ย่อมไม่เหมือนในชาติ (ของสัตว์)

เหล่าอื่น สิ่งเฉพาะตัวในสรีระ (ในชาติ

ของสัตว์อื่น) นั้น ของมนุษย์ไม่มี ก็ใน

หมู่มนุษย์ เขาเรียกต่างกันตามชื่อ ดูก่อน

วาเสฏฐะ ก็ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัยการ

รักษาโคเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า

ผู้นั้นเป็นชาวนา ไม่ใช่พราหมณ์ ดูก่อน

วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยง

ชีวิตด้วยศิลปะมากอย่าง ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า

ผู้นั้นเป็นศิลปิน ไม่ใช่พราหมณ์ ดูก่อน

วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยง

ชีวิตด้วยการรับใช้ผู้อื่น ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า

ผู้นั้นเป็นรับใช้ ไม่ใช่พราหมณ์ ดูก่อน

วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัย

ของที่เขาไม่ให้เลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้

ว่า ผู้นี้เป็นโจร ไม่ใช่พราหมณ์ ดูก่อน

วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดอาศัย

ศาสตราวุธเลี้ยงชีวิต ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

ผู้นั้นเป็นทหาร ไม่ใช่พวกพราหมณ์ ดูก่อน

วาเสฏฐะ อนึ่ง ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดเลี้ยง

ชีวิตด้วยการงานของปุโรหิต ท่านจงรู้

อย่างนี้ว่า ผู้นั้นเป็นเจ้าหน้าที่การบูชา

ไม่ใช่พราหมณ์ ดูก่อนวาเสฏฐะ อนึ่ง

ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดปกครองบ้านและเมือง

ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นพระราชาไม่ใช่

พราหมณ์ และเราก็ไม่เรียกบุคคลผู้เกิดใน

กำเนิดไหน ๆ หรือเกิดจากมารดา (เช่น

ใด ๆ ) ว่าเป็นพราหมณ์ บุคคลถึงจะ

เรียกกันว่า ท่านผู้เจริญ ผู้นั้นก็ยังเป็นผู้มี

กิเลสเครื่องกังวลอยู่นั่นเอง เราเรียกบุคคล

ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ยึดมั่นนั้นว่า

เป็นพราหมณ์ ผู้ใดแลตัดสังโยชน์ทั้งปวง

ได้แล้วไม่สะดุ้ง เราเรียกผู้นั้นผู้ล่วงกิเลส

เครื่องข้อง ไม่ประกอบด้วยสรรพกิเลส

ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ตัด

อุปนาหะดังชะเนาะ ตัณหาดังเชือกหนัง

ทิฐิดังเชือกบ่วง พร้อมทั้งทิฏฐานุสัยประดุจ

ปม มีอวิชชาดุจลิ่มสลักถอนขึ้นแล้ว

ผู้ตรัสรู้แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดไม่

ประทุษร้าย อดกลั้นคำด่า การทุบตีและ

การจองจำได้ เราเรียกผู้มีขันติเป็นกำลัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

ดังหมู่พลนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียก

บุคคลผู้ไม่โกรธ ผู้มีองค์ธรรมเป็นเครื่อง

กำจัด มีศีล ไม่มีกิเลสดุจฝ้า ฝึกฝนแล้ว

มีสรีระตั้งอยู่ในที่สุดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดไม่ติดในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำบน

ใบบัว หรือดังเมล็ดพันธุ์ผักกาดบนปลาย

เหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดรู้ธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ของตนในภพนี้

เอง เราเรียกผู้ปลงภาระผู้ไม่ประกอบ

แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียกบุคคล

ผู้มีปัญญาอันเป็นไปในอารมณ์อันลึก มี

เมธาฉลาดในอุบายอันเป็นทางและมิใช่ทาง

บรรลุประโยชน์อันสูงสุด ว่าเป็นพราหมณ์

เราเรียกบุคคลผู้ไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์

และบรรพชิตทั้งสองพวก ผู้ไปได้ด้วยไม่มี

ความอาลัย ผู้ไม่มีความปรารถนาว่าเป็น

พราหมณ์ ผู้ใดวางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย

ทั้งเป็นสัตว์ที่หวั่นหวาดและมั่นคงไม่ฆ่า

เอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า เราเรียกผู้นั้นว่า

พราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ไม่มีพิโรธตอบ

ในผู้พิโรธ ดับอาชญาในตนได้ในเมื่อสัตว์

ทั้งหลายมีความถือมั่น ไม่มีความถือมั่น ว่า

เป็นพราหมณ์ ผู้ใดทำราคะ โทสะ มานะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

และมักขะให้ตกไป ดังเมล็ดพันธุ์ผักกาด

ตกจากปลายเหล็กแหลม เราเรียกผู้นั้นว่า

เป็นพราหมณ์ ผู้ใดกล่าววาจาสัตย์ อัน

ไม่มีโทษให้ผู้อื่นรู้สึกได้ อันไม่เป็นเครื่อง

ขัดใจคน เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์

แม้ผู้ใดไม่ถือเอาภัณฑะทั้งยาวหรือสั้น

เล็กหรือใหญ่ งามหรือไม่งามที่เจ้าเจ้าของ

ไม่ให้ในโลก เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ใดไม่มีความหวังทั้งในโลกนี้ และโลก

หน้า เราเรียกผู้ไม่มีความหวัง ผู้ไม่

ประกอบแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใด

ไม่มีความอาลัย ไม่มีความสงสัยเพราะรู้

ทั่วถึง เราเรียกผู้บรรลุธรรมอันหยั่งลงใน

อมตธรรมนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใด

ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งสอง คือ บุญ

และบาปในโลกนี้ได้ เราเรียกผู้ไม่เศร้า-

โศก ปราศจากธุลี ผู้บริสุทธิ์นั้นว่าเป็น

พราหมณ์ เราเรียกบุคคลผู้ปราศจากมลทิน

บริสุทธิ์ผ่องใสไม่ขุ่นมัวดังดวงจันทร์

มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว ว่าเป็น

พราหมณ์ ผู้ใดล่วงอวิชชาประดุจทางลื่น

หรือดุจหล่มอันถอนได้ยาก เป็นเครื่องให้

ท่องเที่ยวให้หลงนี้ได้ ข้ามถึงฝั่งแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

มีความเพ่งอยู่ไม่หวั่นไหว ไม่มีความสงสัย

ดับแล้วเพราะไม่ถือมั่น เราเรียกผู้นั้นว่า

เป็นพราหมณ์ ผู้ใดละกามได้ขาดแล้ว

เป็นบรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้ เราเรียก

ผู้มีกามและภาพสิ้นรอบแล้วนั้น ว่าเป็น

พราหมณ์ ผู้ใดละตัณหาได้ขาดแล้ว เป็น

บรรพชิต เว้นรอบในโลกนี้ เราเรียกผู้มี

กามและภพสิ้นรอบแล้วนั้น ว่าเป็น

พราหมณ์ ผู้ใดละกามคุณอันเป็นของ

มนุษย์ ล่วงกามคุณอันเป็นของทิพย์แล้ว

เราเรียกผู้ไม่ประกอบด้วยกิเลสเครื่องประ-

กอบทั้งปวงนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียก

บุคคลผู้ละความยินดี และความไม่ยินดี

เป็นผู้เย็น ไม่มีอุปธิครอบงำโลกทั้งปวง

ผู้แกล้วกล้านั้น ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดรู้

จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดยประ-

การทั้งปวง เราเรียกผู้ไม่ข้อง ผู้ไปดี

ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เทวดา

คนธรรพ์และหมู่มนุษย์ไม่รู้คติของผู้ใด

เราเรียกผู้นั้นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว เป็นพระ-

อรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดไม่มีกิเลส

เครื่องกังวลทั้งข้างหน้า ข้างหลัง และ

ท่ามกลาง เราเรียกผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

ผู้ไม่ถือมั่นนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ เราเรียก

บุคคลผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้วกล้า

ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ผู้ชำนะแล้วโดยวิเศษ

ผู้ไม่หวั่นไหว อาบเสร็จแล้วตรัสรู้แล้วนั้น

ว่าเป็นพราหมณ์ ผู้ใดรู้ญาณเครื่องระลึก

ชาติก่อนได้ เห็นสวรรค์และอบาย และ

บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นชาติ เราเรียกผู้นั้นว่า

เป็นพราหมณ์ อันชื่อคือนามและโคตรที่

กำหนดตั้งไว้นี้ เป็นแต่สักว่าโวหารใน

โลก เพราะเกิดขึ้นมาตามชื่อที่กำหนดตั้ง

กันไว้ในกาลนั้น ๆ ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่ใน

หทัยสิ้นกาลนาน ของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้

เมื่อสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ก็พร่ำกล่าวว่าเป็น

พราหมณ์เพราะชาติ บุคคลจะชื่อว่าเป็น

คนชั่วเพราะชาติก็หาไม่ จะชื่อว่าเป็น

พราหมณ์เพราะชาติก็หาไม่ ที่แท้ ชื่อว่า

เป็นคนชั่วเพราะกรรม ชื่อว่าเป็นพราหมณ์

เพราะกรรม เป็นชาวนาเพราะกรรม เป็น

ศิลปินเพราะกรรม เป็นพ่อค้าเพราะกรรม

เป็นคนใช้เพราะกรรม แม้เป็นโจรก็เพราะ

กรรม แม้เป็นทหารก็เพราะกรรม เป็น

ปุโรหิตเพราะกรรม แม้เป็นพระราชา

ก็เพราะกรรม บัณฑิตทั้งหลายมีปรกติ

เห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

วิบาก ย่อมเห็นกรรมนั้นแจ้งชัดตามความ

เป็นจริงอย่างนี้ว่า โลกย่อมเป็นไปเพราะ

กรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม

สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ในกรรมเหมือนลิ่ม

สลักของรถที่กำลังแล่นไป ฉะนั้น

บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ด้วยกรรม

อันประเสริฐนี้ คือ ตบะ พรหมจรรย์

สัญญมะและทมะ กรรม ๔ อย่างนี้ เป็น

กรรมอันสูงสุดของพรหมทั้งหลาย ทำให้

ผู้ประพฤติถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ ระงับ

กิเลสได้ สิ้นภพใหม่แล้ว ดูก่อนวาเสฏฐะ

ท่านจงรู้อย่างนี้ว่า ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพรหม

เป็นท้าวสักกะ ของบัณฑิตผู้รู้แจ้งทั้งหลาย.

[๗๐๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วาเสฏฐมาณพและ

ภารทวาชมาณพ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงาย

ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ใน

ที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะได้เห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งสองนี้

ขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ

พระองค์โปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.

จบวาเสฏฐสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

อรรถกถาวาเสฏฐสูตร

ว่าเสฏฐสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับนาแล้วอย่างนี้ :-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ในราวป่าชื่ออิจฉานังคละ คือในราว

ป่าอันไม่ไกลอิจฉานังคลคาม. ชนแม้ทั้ง ๕ มีจังกีพราหมณ์เป็นต้น ต่างก็เป็น

ปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล ด้วยกันทั้งนั้น. คำว่า และพราหมณ์มหา-

ศาลเหล่าอื่น ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ พราหมณ์เหล่าอื่นเป็นอันมากมีชื่อเสียง

ได้ยินว่า พราหมณ์เหล่านั้นประชุมกันในที่ ๒ แห่งทุก ๆ ๖ เดือน. ในกาลใด

ต้องการจะชำระชาติให้บริสุทธิ์ ในกาลนั้นก็ประชุมกันที่อุกกัฏฐคามเพื่อชำระ

ชาติให้บริสุทธิ์ ในสำนักของท่านโปกขรสาติ. ในกาลใดต้องการจะชำระมนต์

ให้บริสุทธิ์ ในกาลนั้นก็ประชุมกันที่อิจฉานังคลคาม. ในกาลนี้ ประชุมกันที่

อิจฉานังคลคามนั้นเพื่อชำระมนต์ให้บริสุทธิ์. บทว่า ถ้อยคำที่พูดกันใน

ระหว่าง ความว่า มีถ้อยคำอย่างอื่นเกิดขึ้นในระหว่างถ้อยคำที่เหมาะต่อ

ความเป็นสหายกัน ที่คน ๒ คนเที่ยวเดินกล่าวตาม ๆ กัน. บทว่า มีศีล คือ

มีคุณ. บทว่า สมบูรณ์ด้วยวัตร คือ ถึงพร้อมด้วยความประพฤติ. คำว่า

อันอาจารย์อนุญาตและปฏิญาณได้เอง ความว่า อันอาจารย์อนุญาตอย่างนี้

ว่า เธอทั้งหลายศึกษาจบแล้ว. บทว่า พวกเราเป็นผู้ที่อาจารย์ให้ศึกษาแล้ว

ความว่า และตนเองปฏิญาณแล้วอย่างนี้. บทว่า อสฺม แปลว่า ย่อมเป็น.

ด้วยคำว่า ข้าพระองค์เป็นศิษย์ของท่านไปกขรสาติพราหมณ์ มาณพ

ผู้นี้เป็นศิษย์ของท่านตารุกขพราหมณ์ วาเสฏฐมาณพแสดงว่า ข้าพระองค์

เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ คือ เป็นศิษย์ชั้นเลิศของท่านโปกขรสาติพราหมณ์ มาณพผู้นี้

เป็นศิษย์ผู้ใหญ่ คือ เป็นศิษย์ชั้นเลิศของท่านตารุกขพราหมณ์. บทว่า ผู้ทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

วิชชา ๓ ได้แก่ พราหมณ์ผู้ทรงไตรเพท. คำว่า บทใดที่พราหมณ์ทั้งหลาย

บอกแล้ว ความว่า บทใดแม้บทเดียวที่พราหมณ์ทั้งหลายบอกแล้ว ทั้งโดย

อรรถะและพยัญชนะ. คำว่า เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในมนต์นั้น ความ

ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นผู้ถึงความสำเร็จในบทนั้น เพราะรู้บทนั้นทั้งสิ้น. บัดนี้

วาเสฏฐมาณพเมื่อจะทำให้แจ้งถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญ แม่นยำนั้นจึงกล่าวว่า

ปทกสฺม ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เช่นเดียวกับอาจารย์

ในสถานที่บอกมนต์ ความว่า ข้าพระองค์ทั้งสองเป็นเช่นเดียวกับอาจารย์

ในสถานที่กล่าว มนต์. บทว่า เพราะกรรม ได้แก่ เพราะกรรม คือ กุศล

กรรมบถ ๑๐ ก็วาเสฏฐมาณพนี้หมายเอากายกรรมและวจีกรรม ๗ ประการข้าง

ต้น จึงกล่าวว่า กาลใดแลท่านผู้เจริญมีศีล ดังนี้. หมายเอามโนกรรม ๓

จึงกล่าวว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร. ก็บุคคลผู้ประกอบมโนกรรม ๓ นั้น ย่อม

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระ. วาเสฏฐมาณพร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้

มีพระจักษุเพราะเป็นผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕. บทว่า ล่วงเลยความสิ้นไป ได้แก่

ล่วงเลยความพร่อง อธิบายว่าบริบูรณ์. บทว่า เข้าถึง ได้แก่ เข้าไปใกล้.

บทว่า จะนอบน้อม แปลว่า กระทำความนอบน้อม. คำว่า เป็นดวงจักษุ

อุบัติขึ้นแล้วในโลก ความว่า เป็นดวงจักษุโดยแสดงประโยชน์ปัจจุบันเป็น

ต้นของชาวโลก อุบัติขึ้น ขจัดความมืดนั้น ในโลกอันมืดเพราะอวิชชา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าอันวาเสฏฐมาณพชมเชยแล้วทูลอาราธนาอย่างนี้

เมื่อจะทรงสงเคราะห์ชนแม้ทั้งสองจึงตรัสพุทธพจน์มีอาทิว่า เราตถาคตจักบอก

ถ้อยคำอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอทั้งสองนั้น ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จัก

บอกอย่างชัดแจ้ง ได้แก่จักพยากรณ์. บทว่า ตามลำดับ ความว่า ความ

คิดของพราหมณ์จงพักไว้ก่อน เราจักบอกตามลำดับ คือโดยลำดับตั้งแต่หญ้า

ต้นไม้ แมลง และตั๊กแตน เป็นต้น. บทว่า การจำแนกชาติกำเนิด คือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

ความพิสดารของชาติกำเนิด. คำว่า เพราะชาติกำเนิดคนละอย่าง ความ

ว่า เพราะชาติกำเนิดของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ คนละอย่างคือ แต่ละอย่างต่าง ๆ

กัน. ด้วยบทว่า หญ้าและต้นไม้ ดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มพระเทศนา

นี้ว่า เราจักกล่าวชาติกำเนิดที่ไม่มีวิญญาณครอง แล้วจักกล่าวถึงชาติกำเนิด

ที่มีวิญญาณครองภายหลัง ความต่างกันแห่งชาติกำเนิดนั้น จักปรากฏอย่างนี้.

ก็พระมหาสิวเถระถูกถามว่า ท่านผู้เจริญ การกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่งที่ไม่มี

วิญญาณครอง ชื่อว่าเป็นของต่างกัน เพราะมีพืชต่างกัน สิ่งที่มีวิญญาณครอง

ก็ชื่อว่าเป็นของต่างกัน เพราะกรรมต่างกัน ดังนี้ ไม่ควรหรือ จึงตอบว่า เออ

ไม่ควร. เพราะกรรมซัดเข้าในกำเนิดสัตว์เหล่านี้มีพรรณต่าง ๆ กัน เพราะ

การปฏิสนธิในกำเนิด. ในบทว่า หญ้าและต้นไม้ นี้มีกระพี้อยู่ข้างใน แก่น

อยู่ข้างนอก ชั้นที่สุดแม้ตาลและมะพร้าวเป็นต้น ชื่อว่าหญ้าทั้งนั้น. ส่วนไม้ที่

มีแก่นอยู่ข้างใน กระพี้อยู่ข้างนอก ชื่อว่าต้นไม้ทั้งหมด. คำว่า แม้จะปฏิญาณ

ไม่ได้ ความว่า ย่อมไม่รู้อย่างนี้ว่า พวกเราเป็นหญ้า พวกเราเป็นต้นไม้

หรือว่า เราเป็นหญ้าเราเป็นต้นไม้. คำว่า เพศอันสำเร็จด้วยชาติกำเนิด

ได้แก่ ก็หญ้าและต้นไม้เหล่านั้น แม้ไม่รู้ (คือปฏิญาณไม่ได้) สัณฐานมันก็

สำเร็จมาแต่ชาติกำเนิดทั้งนั้น คือเป็นเหมือนหญ้าเป็นต้น ซึ่งเป็นเค้าเดิมของ

ตนนั่นเอง. เพราะเหตุไร. เพราะชาติกำเนิดมันต่าง ๆ กัน . คือ เพราะติณชาติ

ก็อย่างหนึ่ง รุกขชาติก็อย่างหนึ่ง แม้บรรดาติณชาติทั้งหลาย ชาติกำเนิดตาลก็

อย่างหนึ่ง ชาติกำเนิดมะพร้าวก็อย่างหนึ่ง. พึงขยายความให้กว้างขวางออกไปด้วย

ประการอย่างนี้ . ด้วยคำว่า ชาติกำเนิดต่างกัน นี้ทรงแสดงความหมายนี้ว่า

สิ่งใดต่างกันโดยชาติกำเนิด สิ่งนั้นแม้เว้นการปฏิญาณตนหรือการชี้บอกแนะนำ

ของตนอื่น ก็ย่อมถือเอาได้โดยพิเศษว่า (มันมี) ชาติกำเนิดคนละอย่าง. ก็หาก

ว่าคนพึงเป็นพราหมณ์แท้ ๆ โดยชาติกำเนิด แม้เขาเว้นการปฏิญาณตนหรือการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

บอกเล่าของตนอื่น พึงถือเอาโดยพิเศษแต่กษัตริย์ แพศย์ หรือศูทร แต่จะ

ถือเอาหาได้ไม่. เพราะฉะนั้น บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติกำเนิดก็

หาไม่. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงกระทำให้แจ้วซึ่งเนื้อความนี้ แห่งพระคาถา

ว่าในชาติกำเนิดเหล่านี้ ฉันใด ดังนี้ โดยทรงเปล่งพระวาจาไว้เท่านั้นข้างหน้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงชาติกำเนิดในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ

ครองอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงชาติกำเนิดในสิ่งที่มีวิญญาณครอง แต่นั้น

จึงตรัสคำนี้อาทิว่า ตั๊กแตน ดังนี้. คำว่า ตลอดถึงมดดำมดแดง ความว่า

ทรงทำมดดำมดแดงให้เป็นชาติสุดท้าย. ก็ในบรรดาสัตว์เหล่านี้ สัตว์ที่กระโดด

ไป ชื่อว่าตั๊กแตน. คำว่า เพราะชาติกำเนิดคนละอย่าง หมายความว่า

ชาติกำเนิดเนื่องด้วยสิ่งที่มีสีเขียวสีแดงเป็นต้นของสัตว์แม้เหล่านั้น ก็มี

ประการต่าง ๆ แท้. บทว่า ตัวเล็ก ได้แก่ กระรอกเป็นต้น. บทว่า ใหญ่

ได้แก่ งูและแมวเป็นต้น. บทว่า มีเท้าที่ท้อง แปลว่า มีท้องเป็นเท้า.

อธิบายว่า ท้องนั่นแหละเป็นเท้าของสัตว์เหล่าใด. บทว่า มีหลังยาว ความว่า

งูทั้งหลายมีหลังอย่างเดียว ตั้งแต่หัวจรดหาง เพราะฉะนั้น งูเหล่านั้นตรัส

เรียกว่า มีหลังยาว. บทว่า ในน้ำ คือเกิดในน้ำ.

บทว่า ปกฺขี ได้แก่ พวกนก. นกทั้งหลายชื่อว่า ไปด้วยปีก เพราะ

บินไปด้วยปีกเหล่านั้น. ชื่อว่า ไปทางอากาศ เพราะไปทางอากาศกลางหาว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงชาติกำเนิดแต่ละประเภทของสัตว์ที่ไปทางบก

ทางน้ำ และทางอากาศอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงกระทำพระประสงค์อัน

เป็นเครื่องแสดงถึงเรื่องชาติกำเนิดนั้นให้ชัดแจ้ง จึงตรัสพระคาถาว่า ในชาติ

กำเนิดเหล่านี้ฉันใด ดังนี้เป็นต้น. เนื้อความแห่งคาถานั้นทรงตรัสไว้โดยย่อ

ทีเดียว. แต่คำใดที่จะพึงตรัสในที่นี้โดยพิสดาร เมื่อจะทรงแสดงคำนั้นโดย

พระองค์เองจึงตรัสคำว่า มิใช่ด้วยผม ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้นมีการประกอบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

ความดังต่อไปนี้. คำใดที่กล่าวว่า ในหมู่มนุษย์ ไม่มีเพศที่สำเร็จด้วยชาติกำเนิด

มากมาย ดังนี้ คำนั้นพึงทราบว่า ไม่มีอย่างนี้. คืออย่างไร. คือ มิใช่ด้วย

ผมทั้งหลาย เพราะไม่มีการกำหนดไว้ว่า พวกพราหมณ์มีผมเช่นนี้ พวก

กษัตริย์เช่นนี้เหมือนผมของช้าง ม้า และเนื้อเป็นต้น. ก็พระดำรัสที่ว่า เพศ

อันสำเร็จด้วยชาติกำเนิด (ในมนุษย์ทั้งหลาย) ไม่เหมือนในชาติกำเนิดเหล่าอื่น

ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นคำกล่าวสรุปเนื้อความที่ตรัสไว้แล้วเท่านั้น บทนั้น

ประกอบความว่า เพราะเพศในมนุษย์ทั้งหลาย อันสำเร็จด้วยชาติเป็นอันมาก

ย่อมไม่มีด้วยผมเป็นต้นเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบ

เพศนั้นว่า ในมนุษย์ทั้งหลายที่ต่างกันโดยเป็นพราหมณ์เป็นต้น เพศที่สำเร็จ

ด้วยชาติกำเนิดหาเหมือนในชาติกำเนิดเหล่าอื่นไม่. บัดนี้ ในเมื่อความแตกต่าง

แห่งชาติกำเนิดแม้จะไม่มีอย่างนี้ เพื่อที่จะแสดงประการที่เกิดความต่างกันนี้

ที่ว่า พราหมณ์ กษัตริย์นั้น จึงตรัสคาถาว่า เป็นของเฉพาะตัว ดังนี้. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า โวการ ได้แก่ ความต่างกัน. ก็ในคำนี้มีใจความย่อ

ดังต่อไปนี้ เหมือนอย่างว่า สำหรับสัตว์เดียรัจฉานทั้งหลาย ความต่างกันโดย

สัณฐาน มีผมเป็นต้น สำเร็จมาแต่กำเนิดทีเดียว ฉันใด สำหรับพวกพราหมณ์

เป็นต้น ความต่างกันนั้นในสรีระของตนย่อมไม่มี ฉันนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้

ความต่างกันที่ว่า พราหมณ์ กษัตริย์ . ดังนี้นั้น ในหมู่มนุษย์เขาเรียกกันตาม

ชื่อ คือ เขาเรียกโดยสักว่าต่างกันเท่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มวาทะของ ภารทวาชมาณพ ด้วยพระ-

ดำรัสมีประมาณเท่านี้ บัดนี้ ถ้าหากว่าคนจะเป็นพราหมณ์ได้เพราะชาติไซร้

แม้คนที่มีอาชีพ ศีล และความประพฤติเสียหาย ก็จะเป็นพราหมณ์ได้ แต่

เพราะเหตุที่พราหมณ์แต่เก่าก่อน ไม่ปรารถนาความที่คนเสียหายนั้นมาเป็น

พราหมณ์ และคนที่เป็นบัณฑิตแม้อื่น ๆ ย่อมมีอยู่ในโลก เพราะฉะนั้น เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

จะทรงยกย่องวาทะของว่าเสฏฐมาณพ จึงตรัสคาถา ๘ คาถาว่า ก็บุคคลใดคน

หนึ่งในหมู่มนุษย์ ดังนี้เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า การรักษาโค คือ

การรักษานา. อธิบายว่า กสิกรรม. ก็คำว่าโคเป็นชื่อของแผ่นดิน เพราะฉะนั้น

จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า ด้วยศิลปะมากมาย ได้แก่ ศิลปะต่าง ๆ มีการงาน

ของช่างทอหูกเป็นต้น . บทว่า ค้าขาย ได้แก่ การค้าขาย. บทว่า ด้วยการ

รับใช้ผู้อื่น คือด้วยกรรม คือการขวนขวายช่วยเหลือคนอื่น. บทว่า อาศัย

ศัสตราเลี้ยงชีวิต คือการเป็นอยู่ด้วยอาวุธ อธิบายว่า (อาศัย) ลูกศรและ

ศัสตรา. บทว่า ด้วยความเป็นปุโรหิต คือด้วยการงานของปุโรหิต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศ ความที่คนเสียหายด้าน

อาชีพ ศีล และความประพฤติ ว่าไม่เป็นพราหมณ์ โดยลัทธิของพราหมณ์

และโดยโวหารของชาวโลกอย่างนี้แล้ว ทรงให้ยอมรับความถูกต้องนี้ โดย

ใจความอย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ คนย่อมไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่

เป็นพราหมณ์เพราะพวกคนวัยรุ่น เพราะฉะนั้น คนใดเกิดในตระกูลใด

ตระกูลหนึ่ง เป็นคนมีคุณความดี คนนั้นเป็นพราหมณ์ นี้เป็นความถูกต้องใน

อธิการที่ว่าด้วยเรื่องพราหมณ์นี้ ดังนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศความถูกต้อง

นั้น ด้วยการเปล่งคำพูดออกมา จึงตรัสว่า และเราก็ไม่เรียกว่าเป็นพราหมณ์

ดังนี้เป็นต้น. ใจความของพระดำรัสนั้นมีว่า เพราะเราไม่เรียกคนผู้เกิดใน

กำเนิดใดกำเนิดหนึ่ง บรรดากำเนิด ๔ หรือผู้ที่เกิดในมารดาที่พราหมณ์ยกย่อง

สรรเสริญโดยพิเศษในกำเนิด ๔ แม้นั้น ผู้เกิดแต่กำเนิด มีมารดาเป็นแดน

เกิดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ คือ เราไม่เรียกคนผู้ที่เขากล่าวว่าเกิดแต่กำเนิด

มีมารดาเป็นแดนเกิด เพราะเป็นผู้เกิดแต่กำเนิด โดยมารดาสมบัติก็ตาม

โดยชาติสมบัติก็ตาม ด้วยคำที่มานี้ว่า กำเนิดกล่าวคือ เพียงแต่ความบังเกิดขึ้น

อันบริสุทธิ์ของพราหมณ์ ที่พวกพราหมณ์กล่าวไว้ โดยนัยมีอาทิว่า ผู้เกิดดีแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

แต่ข้างทั้งสองฝ่าย มีครรภ์ที่ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์นั้น ผู้เกิดแต่กำเนิด มีมารดาเป็น

แดนเกิดนั้น ว่าเป็นพราหมณ์ด้วยเหตุสักว่าเกิดแต่กำเนิด มีมารดาเป็นแดน

เกิดนี้. เพราะเหตุไร. เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ชื่อว่า โภวาที มีวาทะว่าผู้เจริญ

เพราะเป็นผู้วิเศษกว่าคนเหล่าอื่น ผู้มีความกังวล ด้วยสักแต่กล่าวว่าผู้เจริญ

ผู้เจริญ บุคคลนั้นแลเป็นผู้มีความกังวล มีความห่วงใย. ส่วนบุคคลใดแม้จะ

เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ชื่อว่า ผู้ไม่มีความกังวล เพราะไม่มีกิเลสเครื่อง

กังวล มีราคะเป็นต้น ชื่อว่า ผู้ไม่ถือมั่น เพราะสละความยึดถือทั้งปวง เรา

เรียกบุคคลผู้ไม่มีความกังวล ผู้ไม่ยึดถือนั้น ว่าเป็นพราหมณ์. เพราะเหตุไร.

เพราะเป็นผู้ลอยบาปแล้ว. สูงขึ้นไปหน่อย คาถา ๒๗ เป็นต้น ว่า ตัดสังโยชน์

ทั้งปวง ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สังโยชน์ทั้งปวง ได้แก่ สังโยชน์

ทั้งหมด คือแม้ทั้ง ๑๐. บทว่า ย่อมไม่สะดุ้ง คือ ย่อมไม่สะดุ้งด้วยความสะดุ้ง

คือตัณหา. บทว่า ล่วงกิเลสเครื่องข้อง คือ ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องมีราคะ

เป็นต้น. บทว่า ผู้ไม่ประกอบ คือ ผู้ไม่ประกอบด้วยกำเนิด ๔ หรือด้วย

กิเลสทั้งปวง. บทว่า สายเชือกหนัง ได้แก่ อุปนาหะ ความผูกโกรธ. บทว่า

สายหนัง ได้แก่ ตัณหา. บทว่า. ที่ต่อ แปลว่า เชือกบ่วง. คำว่า เชือกบ่วง

นี้เป็นชื่อของกิเลสเครื่องกลุ้มรุม คือทิฐิ. ปมที่สอดเข้าในบ่วงเรียกว่า สายปม

ในคำว่า สหนุกฺกม นี้. คำนี้เป็นชื่อของ ทิฏฐิอนุสัย. ในคำว่า มีลิ่มสลัก

อันถอนขึ้นแล้วนี้ อวิชชา ชื่อว่า ดุจลิ่ม. บทว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว ได้แก่

ตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔. บทว่า ย่อมอดกลั้น คือ ย่อมอดทน. บทว่า ผู้มี

ขันติเป็นหมู่พล คือ มีอธิวาสนขันติเป็นหมู่พล ก็ขันตินั้น เกิดขึ้น

คราวเดียว ไม่ชื่อว่าเป็นกำลังดังหมู่พล ต่อเกิดบ่อย ๆ จึงเป็น. ชื่อว่า มีกำลัง

ดังหมู่พล เพราะมีอธิวาสนขันตินั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

บทว่า ผู้มีองค์ธรรมเครื่องจำกัด คือ มีธุดงควัตร. บทว่า

มีศีล คือ มีคุณความดี. บทว่า ผู้ไม่มีกิเลส เครื่องฟูขึ้น คือ ปราศจาก

กิเลสเครื่องฟูขึ้นมีราคะเป็นต้น. บาลีว่า อนุสฺสุต ดังนี้ก็มี. ความหมายว่า

ผู้ไม่ถูกกิเลสรั่วรด. บทว่า ผู้ฝึกแล้ว คือ หมดพยศ. บทว่า ย่อมไม่

ฉาบทา คือ ย่อมไม่ติด. บทว่า ในกามทั้งหลาย ได้แก่ในกิเลสกาม

และวัตถุกาม. พระอรหัต ท่านประสงค์เอาว่า ธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ในพระบาลี

นั้นว่า ย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์ในภพนี้เอง ดังนี้. บทว่า ย่อมรู้ชัด

หมายความว่า รู้ด้วยอำนาจการบรรลุ. บทว่า ผู้มีภาระอันปลงแล้ว คือ

ผู้มีภาระอันปลงลงแล้ว ได้แก่ ทำภาระคือขันธ์ กิเลส อภิสังขาร และ

กามคุณ ให้หยั่งลงตั้งอยู่. บทที่ไม่ประกอบแล้ว มีเนื้อความกล่าวไว้แล้วแล.

บทว่า มีปัญญาลึกซึ้ง คือ มีปัญญาอันไปแล้วในอารมณ์อันลึกซึ้ง. บทว่า

มีปรีชา ได้แก่ ผู้มีปัญญา ด้วยปัญญาตามปกติ. คำว่า (ด้วยคฤหัสถ์)

และบรรพชิตทั้งสองพวก ความว่า ผู้ไม่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์และบรรพชิต

อธิบายว่า ผู้ไม่คลุกคลีเด็ดขาดในชนทั้งสองพวก และด้วยคฤหัสถ์ และ

บรรพชิตแม้ทั้งสองพวกเหล่านั้น. ในบทว่า ผู้ไม่อาลัยเที่ยวไป ความว่า

ความอาลัยในกามคุณ ๕ เรียกว่า โอกะ ผู้ไม่ติดอาลัยคือกามคุณ ๕ นั้น.

บทว่า ผู้มีความปรารถนาน้อย คือ ผู้ไม่มีความปรารถนา. บทว่า

ผู้สั่นคลอน คือ ผู้มีตัณหา. บทว่า ผู้มั่นคง คือ ไม่มีตัณหา. บทว่า

ผู้มีอาชญาในตนคือ ผู้ถืออาชญา. บทว่า ผู้ดับแล้ว คือ ดับแล้ว

ด้วยการดับกิเลส. บทว่า ผู้มีความยึดถือ คือ ผู้มีความถือมั่น. บทว่า

ปลงลงแล้ว แปลว่า ให้ตกไป. บทว่า ไม่แข็งกระด้าง คือ ไม่มีโทษ.

เพราะแม้ต้นไม้ที่มีโทษก็เรียกว่า มีความแข็งกระด้าง. บทว่า อันยังผู้อื่น

ให้เข้าใจ คือ อันยิ่งคนอื่นให้เข้าใจ ได้แก่ ไม่ส่อเสียด. บทว่า จริง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

คือ ไม่คลาดเคลื่อน. บทว่า เปล่ง คือ กล่าว. คำว่า ไม่ทำให้คนอื่น

ข้องใจด้วยวาจาใด ความว่า ย่อมกล่าววาจาอัน ไม่หยาบ ไม่เป็นเหตุทำให้

คนอื่นติดใจหรือข้องใจเช่นนั้น. ทรงแสดงสิ่งของที่ร้อยด้ายไว้ ด้วยคำว่า

ยาว. ทรงแสดงสิ่งของที่กระจัดกระจายกันอยู่ ด้วยคำว่า สั้น. บทว่า

ละเอียด แปลว่าเล็ก. บทว่า หยาบ แปลว่าใหญ่. บทว่า งามไม่งาม

คือ ดี ไม่ดี. เพราะสิ่งของ (ที่ร้อยเป็นพวง) ยาว มีราคาน้อยบ้าง มากบ้าง.

แม้ในสิ่งของนั้น (คือกระจายกันอยู่) ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . ดังนั้น ด้วยพระ

ดำรัสมีประมาณเท่านี้ หาได้ทรงกำหนด ถือเอาสิ่งทั้งหมดไม่ แต่ทรงกำหนด

ถือเอาด้วยสิ่งของนี้ที่ว่า งามและไม่งาม. บทว่า ไม่มีความหวัง คือ

ไม่มีความหยาก. บทว่า ความอาลัย ได้แก่ความอาลัย คือ ตัณหา.

บทว่า เพราะรู้ทั่ว คือ เพราะรู้. บทว่า อันหยั่งลงสู่อมตธรรม คือ

อันเป็นภายในอมตธรรม. บทว่า ถึงแล้วโดยลำดับ ได้แก่ เข้าไปแล้ว

โดยลำดับ. บทว่า ธรรมเครื่องข้องทั้งสอง คือ ธรรมเครื่องข้องแม้

ทั้งสองนั้น. เพราะว่าบุญย่อมทำให้สัตว์ข้องในสวรรค์ บาปย่อมยังสัตว์ให้ข้อง

อยู่ในอบาย. เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า ธรรมเป็นเครื่องข้องแม้ทั้งสองนั้น . บทว่า

เลยแล้ว แปลว่า ล่วงไปแล้ว. บทว่า ไม่ขุ่นมัว คือ เว้นจากกิเลสที่

ทำให้ขุ่นมัว. บทว่า ผู้มีความเพลิดเพลินในภพสิ้นแล้ว ได้แก่ มีความ

เพลิดเพลินสิ้นไปแล้ว มีภพสิ้นไปแล้ว. ด้วยคาถาว่า โย อิม ความว่า

อวิชชานั่นแหละ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ดุจทางลื่น เพราะอรรถว่าทำให้

เคลื่อนคลาด ชื่อว่า ดุจหล่ม เพราะเป็นของอันถอนขึ้นได้ยากมาก ชื่อว่า

สังสาร เพราะอรรถว่าท่องเที่ยวไป (และ) ชื่อว่า โมหะ เพราะอรรถว่า

โง่เขลา. บทว่า ข้ามแล้ว คือ ข้ามโอฆะทั้ง ๔. คำว่า ถึงฝั่ง คือ

ถึงพระนิพพาน. บทว่า มีปรกติเพ่ง คือ มีปรกติเพ่งด้วยอำนาจเพ่งอารมณ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

และลักษณะ. บทว่า ผู้ไม่หวั่นไหว คือ ไม่มี ตัณหา. คำว่า ดับแล้ว

เพราะไม่ถือมั่น ได้แก่ ดับแล้ว ด้วยการดับกิเลสทั้งปวง เพราะไม่ยึดถือ

อะไร. บทว่า กามทั้งหลาย ได้แก่กามแม้ทั้งสอง. บทว่า ไม่มีเรือน

แปลว่า เป็นผู้ไม่มีเรือน. บทว่า เว้น แปลว่า ย่อมเว้นทุกด้าน. บทว่า

มีกามและภพสิ้นแล้ว คือ สิ้นกาม สิ้นภพ. คำว่า กิเลสเครื่อง

ประกอบของมนุษย์ ได้แก่กิเลสเครื่องประกอบ คือกามคุณ ๕ อันเป็นของ

มนุษย์. บทว่า กิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ คือ กิเลสเครื่อง

ประกอบ คือกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์. บทว่า ไม่ประกอบด้วยกิเลส

เครื่องประกอบทั้งปวง ความว่า ปราศจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวง.

บทว่า ยินดี คือ ยินดีกามคุณ ๕. บทว่า ไม่ยินดี ได้แก่ ไม่พอใจ

ในกุศลภาวนา. บทว่า ผู้แกล้วกล้า คือ มีความเพียร. บทว่า ผู้ไปดีแล้ว

คือ ไปสู่สถานที่ดี หรือดำเนินไปด้วยข้อปฏิบัติอันดี. บทว่า คติ คือ

ความสำเร็จ. บทว่า ข้างหน้า ได้แก่ ในอดีต. บทว่า ข้างหลัง

ได้แก่ ในอนาคต. บทว่า ในท่ามกลาง คือ ในปัจจุบัน . บทว่า เครื่อง

กังวล คือ กิเลสตัวที่ทำให้กังวล. บทว่า ผู้แสวงหาอันยิ่ง คือ ชื่อว่า

ผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง เพราะแสวงหาคุณอันใหญ่. บทว่า ผู้มีความชนะ คือ

ผู้มีความชนะอันชนะแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเฉพาะพระขีณาสพเท่านั้นว่า

เป็นพราหมณ์โดยคุณความดีอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า บุคคลใดกระทำ

การถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์เพราะชาติ ดังนี้ บุคคลนั้นไม่รู้การถือมั่นนี้

ทิฐิอันนั้น ของคนเหล่านั้น เป็นทิฐิชั่ว จึงตรัสสองคาถาว่า อันชื่อว่า

ดังนี้. เนื้อความของสองคาถานั้นมีว่า อันชื่อและโคตรที่เขาจัด แจงไว้ ตั้ง

ไว้ ปรุงแต่งไว้ว่า พราหมณ์ กษัตริย์ ภารทวาชะ วาเสฏฐะนั้นใด อันนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

เป็นชื่อ (เรียกกัน ) ในโลก อธิบายว่า เป็นเพียงเรียกกัน. เพราะเหตุไร.

เพราะสมมุติ เรียกกัน คือ มาโดยการหมายรู้กัน. พระชื่อและโคตรนั้น

ญาติสาโลหิตจัดแจงไว้ตั้งไว้ในเวลาที่เขาเกิดในที่นั้น ๆ. หากไม่กำหนดชื่อ

และโคตรนั้นไว้อย่างนั้น คนไร ๆ เห็นใคร ๆ ก็จะไม่รู้ว่าผู้นี้เป็นพราหมณ์

หรือว่า เป็นภารทวาชะ. ก็ขอและโคตรนั้นที่เขากำหนดไว้อย่างนั้น กำหนด

ไว้เพื่อความรู้สึกว่า ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่สิ้นกาลนาน ทิฐิอันนอนเนื่องอยู่สิ้น

กาลนานในหทัยของสัตว์ทั้งหลายผู้ไม่รู้ว่า นั่นสักแต่ว่าชื่อและโคตรที่เขากำหนด

ไว้เพื่อเรียกกัน อธิบายว่าเพราะทิฐินั้นนอนเนื่องอยู่ ผู้ไม่รู้ชื่อและโคตรนั้น

คือไม่รู้เลยว่า เป็นพราหมณ์ ก็เที่ยวพูดอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นพราหมณ์เพราะชาติ

ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุคคลผู้ถือมั่นว่า เป็นพราหมณ์โดย

ชาตินั้น ไม่รู้มาตรว่าการเรียกกันนี้ ทิฐิอันนั้นของคนเหล่านั้นเป็นทิฐิชั่ว ดัง

นี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงปฏิเสธวาทะว่าด้วยชาติอย่างเด็ดขาด และทรง

ตั้งวาทะว่าด้วยกรรม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า มิใช่เพราะชาติ ดังนี้ . เพื่อขยาย

ความของกึ่งคาถาที่ว่า เพราะกรรม ดังนี้ ในพระดำรัสนั้น จึงตรัสคำว่า

เป็นชาวนาเพราะการงาน ดังนี้เป็นต้น . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เพราะ

การงาน ได้แก่ เพราะกรรมคือเจตนาตัวบังเกิดการงานมีกสิกรรมเป็นต้น

อันเป็นปัจจุบัน. บทว่า ปฏิจจสมุปบาท ได้แก่มีปรกติเห็นปฏิจจสมุปบาท

อย่างนี้ว่า เป็นอย่างนี้เพราะปัจจัยนี้. บทว่า ผู้รู้ในกรรมและผลของกรรม

ความว่า ผู้ฉลาดในกรรมและผลของกรรมอย่างนี้ว่า ย่อมมีการอุบัติในตระกูล

อันควรแก่การนับถือและไม่นับถือ เพราะอำนาจกรรม ความเลวและความ

ประณีตแม้อื่น ๆ ย่อมมีในเมื่อกรรมเลว และประณีตให้ผล. ก็พระคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

ย่อมเป็นไปเพราะกรรม ดังนี้ มีความหมายเดียวเท่านั้นว่า ชาวโลกหรือหมู่

สัตว์ หรือว่าสัตว์. ต่างกันแต่สักว่าคำ. ก็ในพระคาถานี้ ด้วยบทแรก พึงทราบ

การปฏิเสธทิฐิว่า มีพรหม มหาพรหม ผู้ประเสริฐ เป็นผู้จัดแจง. ชาวโลก

ย่อมเป็นไปในคตินั้น ๆ เพราะกรรม ใครจะเป็นผู้จัดแจงโลกนั้น. ด้วยบทที่

สอง ทรงแสดงว่า แม้เกิดเพราะกรรมอย่างนี้ก็เป็นไปและย่อมเป็นไปเพราะ

กรรมอันต่างโดยเป็นกรรมปัจจุบัน และกรรมอันเป็นอดีต. เสวยสุขทุกข์และ

ถึงประเภทเลว และประณีตเป็นต้น เป็นไป. ด้วยบทที่สาม ทรงสรุปเนื้อ

ความนั้นนั่นแลว่า สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ที่กรรม หรือเป็นผู้อันกรรมผูกพันไว้

เป็นไปอยู่ แม้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้. มิใช่โดยประการอื่น. ด้วยบทที่ ๔

ทรงทำเนื้อความนั้นให้ชัดแจ้งด้วยการเปรียบเทียบ. เหมือนอย่างว่ารถที่กำลัง

แล่นไป เพราะยังมีลิ่มสลักอยู่ รถที่ลิ่มนั้นไม่สลักไว้ย่อมแล่นไปไม่ได้ ฉันใด

ชาวโลกผู้เกิดแล้วและเป็นไปแล้ว มีกรรมเป็นเครื่องผูกพัน ถ้ากรรมนั้นไม่

ผูกพันไว้ ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉันนั้น.

บัดนี้ เพราะเหตุที่ชาวโลกถูกผูกไว้ในเพราะกรรม เพราะเหตุนั้น

เมื่อจะทรงแสดงความเป็นผู้ประเสริฐเพราะกรรมอันประเสริฐ จึงตรัส ๒ คาถา

ว่า คือ เพราะตบะ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เพราะตบะ

ได้แก่ เพราะตบะ คือ ธุดงค์วัตร. บทว่า เพราะพรหมจรรย์ คือ เพราะ

เมถุนวิรัติ. บทว่า เพราะความสำรวม คือ เพราะศีล. บทว่า เพราะการฝึก

คือ เพราะการฝึกอินทรีย์. บทว่า นี้ ความว่า เป็นพราหมณ์เพราะกรรมอัน

ประเสริฐ คือ บริสุทธิ์ เป็นดุจพรหมนี้. เพราะเหตุไร. เพราะความเป็น

พราหมณ์นี้เป็นของสูงสุด อธิบายว่า เพราะกรรมนี้เป็นคุณความดีของพราหมณ์

อย่างสูงสุด. ก็ในคำว่าพราหมณ์นี้มีความหมายของคำดังต่อไปนี้. ชื่อว่า

พราหมณ์ เพราะอรรถว่า นำมาซึ่งพรหม อธิบายว่านำมาซึ่งความเป็นพราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

บทว่า ผู้สงบ ดังนี้ในคาถาที่ ๒ มีความว่า เป็นผู้มีกิเลสอันสงบแล้ว. คำ

ว่า เป็นพรหม เป็นท้าวสักกะ คือเป็นพระพรหม เป็นท้าวสักกะ อธิบาย

ว่า บุคคลเห็นปานนี้ ไม่ใช่เป็นพราหมณ์อย่างเดียว โดยที่แท้ บุคคลนั้น

เป็นพรหมและเป็นท้าวสักกะของบัณฑิต ผู้รู้แจ้งทั้งหลาย วาเสฏฐะ ท่านจง

รู้อย่างนี้. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาวาเสฏฐสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

๙. สุภสูตร

[๗๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้น สุภมาณพโตเทยย-

บุตรอาศัยอยู่ในนิเวศน์ของคฤหบดีผู้หนึ่ง ในพระนครสาวัตถี ด้วยกรณียกิจ

บางอย่าง. ครั้งนั้น สุภนาณพโตเทยยบุตร ได้กล่าวกะคฤหบดีที่ตนอาศัยใน

นิเวศน์ของเขานั้นว่า ท่านคฤหบดี ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า พระนครสาวัตถี

ไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายเลย วันนี้เราจะพึงเข้าไปนั่งใกล้สมณะหรือ

พราหมณ์ผู้ไหนหนอ.

คฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ

พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ท่านจงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเถิด.

[๗๑๐] ลำดับนั้น สุภมาณพโตเทยยบุตรรับคำคฤหบดีนั้นแล้ว เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกัน

อย่างนี้ว่า คฤหัสถ์เท่านั้นเป็นผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกไปจากทุกข์

บรรพชิตไม่เป็นผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกไปจากทุกข์ ในเรื่องนี้ ท่าน

พระโคดมตรัสว่าอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มาณพในเรื่องนี้ เราแยกออกกล่าว เรา

ไม่รวมกล่าว เราพรรณนาการปฏิบัติผิดของคฤหัสถ์หรือของบรรพชิต มาณพ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

จริงอยู่ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ไม่ยินดีกุศลธรรม

เครื่องนำออกไปจากทุกข์ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์คือการปฏิบัติผิด ดูก่อนมาณพ

เราพรรณนาการปฏิบัติชอบของคฤหัสถ์หรือของบรรพชิต จริงอยู่ คฤหัสถ์

หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้ยินดีกุศลธรรมเครื่องนำออกไปจาก

ทุกข์ เพราะเหตุแห่งอธิกรณ์ คือการปฏิบัติชอบ.

[๗๑๑] สุ. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวกันอย่างนี้ว่า

ฐานะแห่งการงานของฆราวาส มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก

มีการเริ่มมาก ย่อมมีผลมาก (ส่วน) ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชา มีความ

ต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย ย่อมมีผลน้อย ในเรื่อง

นี้ ท่านพระโคดมตรัสว่าอย่างไร.

พ. ดูก่อนมาณพ แม้ในเรื่องนี้ เราก็แยกออกกล่าว เราไม่รวมกล่าว

มาณพ ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มี

การเริ่มมาก เมื่อวิบัติ มีผลน้อยมีอยู่ ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก

มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ มีผลมากมีอยู่ ฐานะ

แห่งการงาน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย

เมื่อวิบัติ มีผลน้อยมีอยู่ ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย

มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ มีผลมากมีอยู่.

[๗๑๒] ดูก่อนมาณพ ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มี

กิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย เป็นไฉน.

ดูก่อนมาณพ ฐานะแห่งการงาน คือ การไถที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก

มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย ส่วนฐานะแห่งการงาน

ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ

ย่อมมีผลมาก เป็นไฉน. ฐานะแห่งการงาน คือ การไถนั่นแล ที่มีความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

ต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมี

ผลมาก อนึ่ง ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์

น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย เป็นไฉน. ฐานะแห่งการงาน

คือ การค้าขาย ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการ

เริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย

มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก

เป็นไฉน ฐานะแห่งการงาน คือ การค้าขายนั่นแล ที่มีความต้องการน้อย

มีอธิกรณ์น้อย มีกิจน้อย มีความเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติย่อมมีผลมาก.

[๗๑๓] ดูก่อนมาณพ เปรียบเหมือนฐานะคือกสิกรรม ที่มีความ

ต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีความเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย

ฉันใด ฐานะแห่งการงานของฆราวาสก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการมาก

มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฐานะคือ

กสิกรรมนั่นแล ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก

เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก ฉันใด ฐานะแห่งการงานของฆราวาสก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก

เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก การงานคือการค้าขาย ที่มีความต้องการน้อย

มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฉันใด

ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการน้อย มี

กิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย เมื่อวิบัติ ย่อมมีผลน้อย ฐานะแห่ง

การงานคือการค้าขายนั่นแล ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย

มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่าย

บรรพชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย

มีการเริ่มน้อย เมื่อเป็นสมบัติ ย่อมมีผลมาก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

[๗๑๔] สุ. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติธรรม ๕

ประการเพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศล.

พ. ดูก่อนมาณพ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติธรรม ๕ ประการ

เพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศลนั้นเหล่าไหน ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขอโอกาส

ขอท่านจงกล่าวธรรม ๕ ประการนั้นในบริษัทนี้เถิด.

ส. ท่านพระโคดม ณ ที่ที่พระองค์หรือท่านผู้เป็นดังพระองค์ประทับ

นั่งอยู่ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย.

พ. ถ้าอย่างนั้น เชิญกล่าวเถิดมาณพ.

[๗๑๕] สุ. ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติธรรมข้อ

ที่ ๑ คือ สัจจะ เพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศล ย่อมบัญญัติข้อที่ ๒ คือ ตบะ...

ข้อที่ ๓ คือ พรหมจรรย์... ข้อที่ ๔ คือ การเรียนมนต์... ข้อที่ ๕ คือ

การบริจาค เพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศล พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติธรรม ๕

ประการนี้ เพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศล ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมตรัสว่าอย่างไร.

[๗๑๖] ดูก่อนมาณพ ก็บรรดาพราหมณ์ทั้งหลาย แม้พราหมณ์

คนหนึ่งเป็นผู้ใดใครก็ตามที่กล่าวอย่างนี้ว่า เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่ง

ด้วยตนเองแล้ว เสวยผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้ มีอยู่หรือ.

สุ. ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม.

พ. ดูก่อนมาณพ ก็แม้อาจารย์คนหนึ่ง แม้อาจารย์ของอาจารย์

คนหนึ่งตลอด ๗ ชั่วอาจารย์ของพวกพราหมณ์ เป็นผู้ใดใครก็ตามที่กล่าวอย่าง

นี้ว่า เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว เสวยผลแห่งธรรม

๕ ประการนี้ มีอยู่หรือ.

สุ. ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

พ. ดูก่อนมาณพ ก็แม้ฤาษีทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์

คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ ฤาษีวามเทพ ฤาษีวิศวามิตร ฤาษียมตัคคิ

ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ ซึ่งเป็น

ผู้แต่งมนต์ เป็นผู้บอกมนต์ พราหมณ์ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม กล่าวตาม

ซึ่งบทมนต์เก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง

บอกได้ถูกต้อง ตามที่ท่านกล่าวไว้ บอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นได้กล่าวแล้ว

อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว เสวยผล

แห่งธรรม ๕ ประการนี้ มีอยู่หรือ.

สุ. ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม.

[๗๑๗] พ. ดูก่อนมาณพ ได้ทราบกันดังนี้ ว่า บรรดาพราหมณ์

ทั้งหลาย ไม่มีพราหมณ์แม้คนหนึ่งจะเป็นผู้ใดใครก็ตามที่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า

เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว เสวยผลแห่งธรรน ๕ ประการ

นี้ ไม่มีแม้อาจารย์คนหนึ่ง แม้ปาจารย์ของอาจารย์คนหนึ่ง ตลอด ๗ ชั่วอาจารย์

ของพวกพราหมณ์นี้ จะเป็นผู้ใดใครก็ตามทีได้กล่าวอย่างนี้ว่า เราทำให้แจ้งชัด

ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว เสวยผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้ แม้ฤาษี

ทั้งหลายผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะ

ฤาษีวามเทพ ฤาษีวิศวามิตร ฤาษียมตัคคิ ฤาษีอังคีรสะ ฤาษีภารทวาชะ

ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภคุ เป็นผู้แต่งมนต์ เป็นผู้บอกมนต์ พราหมณ์

ทั้งหลายในปัจจุบันนี้ขับตาม กล่าวตาม ซึ่งบทมนต์เก่านี้ ที่ท่านขับแล้ว

บอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ตามที่ท่านกล่าวไว้

บอกไว้ แม้ท่านเหล่านั้นก็ไม่ได้กล่าวอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายทำให้แจ้งชัดด้วย

ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว เสวยผลแห่งธรรม ๕ ประการนี้ ดูก่อนมาณพ

เปรียบเหมือนแถวคนตาบอดซึ่งเกาะกันต่อ ๆ ไป แม้คนต้นก็ไม่เห็น คนกลาง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

ก็ไม่เห็น คนหลังก็ไม่เห็น ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์ทั้งหลายเห็นจะเปรียบ

ได้กับแถวคนตาบอด ฉันนั้น คือ แม้คนชั้นต้นก็ไม่เห็น แม้คนชั้นกลางก็

ไม่เห็น แม้คนชั้นหลังก็ไม่เห็น.

[๗๑๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพโตเทยย-

บุตรถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเปรียบด้วยแถวคนตาบอด โกรธ ขัดใจ เมื่อ

จะด่าติเตียนว่ากล่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระสมณโคดม จักถึงความลามก

เสียแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระโคดม พราหมณ์โปกขรสาติ

โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน ได้กล่าวอย่างนี้ว่า อย่างนี้นั่นแหละ

ก็สมณพราหมณ์เหล่าไรนี้ ย่อมปฏิญาณญาณทัศนะวิเศษ ของพระอริยะอย่าง

สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ภาษิตนี้ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมถึง

ความเป็นภาษิต นำหัวเราะทีเดียวหรือ ย่อมถึงความเลวทรามทีเดียวหรือ

ย่อมถึงความว่างทีเดียวหรือ ย่อมถึงความเปล่าทีเดียวหรือ ถ้าเช่นนั้น มนุษย์

จักรู้ จักเห็น หรือจักทำให้แจ้งชัดซึ่งญาณทัศนะวิเศษของพระอริยะอย่าง

สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้อย่างไร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

พ. ดูก่อนมาณพ ก็พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่

ในสุภควัน กำหนดรู้ใจของสมณพราหนณ์ทั้งสิ้นด้วยใจของตนหรือ.

สุ. ท่านพระโคดม พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่

ในสุภควัน ย่อมกำหนดรู้ใจของนางปุณณิกาทาสีของตนด้วยใจของตนเอง

เท่านั้น ก็ที่ไหนจักกำหนดรู้ใจของสมณพราหมณ์ทั้งสิ้นด้วยใจของตนได้เล่า

[๗๑๙] พ. ดูก่อนมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กำเนิด เขา

ไม่เห็นรูปดำ รูปขาว ไม่เห็นรูปเขียว รูปเหลือง รูปแดง รูปสีชมพู รูปที่

เสมอและไม่เสมอ หมู่ดาว ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เจาพึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า

ไม่มีรูปดำ รูปขาว ไม่มีคนเห็นรูปดำรูปขาว ไม่มีรูปเขียว ไม่มีคนเห็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

รูปเขียว ไม่มีรูปเหลือง ไม่มีคนเห็นรูปเหลือง ไม่มีรูปแดง ไม่มีคนเห็น

รูปแดง ไม่มีรูปสีชมพู ไม่มีคนเห็นรูปสีชมพู ไม่มีรูปที่เสมอและไม่เสมอ

ไม่มีคนเห็นรูปที่เสมอและไม่เสมอ ไม่มีหมู่ดาว ไม่มีคนเห็นหมู่ดาว ไม่มี

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ไม่มีคนเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนั้น

เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นย่อมไม่มี เมื่อเขากล่าวดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบหรือมาณพ.

สุ. ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม รูปดำรูปขาวมี คนเห็นรูปดำ

รูปขาวก็มี รูปเขียวมี คนเห็นรูปเขียวก็มี รูปเหลืองมี คนเห็นรูปเหลืองก็มี

รูปแดงมี คนเห็นรูปแดงก็มี รูปสีชมพูมี คนเห็นรูปสีชมพูก็มี รูปที่เสมอ

และไม่เสมอ มีคนเห็นรูปเสมอและไม่เสมอก็มี หมู่ดาวมี คนเห็นหมู่ดาวก็มี

ดวงจันทร์ควงอาทิตย์มี คนเห็นควงจันทร์ควงอาทิตย์ก็มี เราไม่รู้ไม่เห็นสิ่งนี้ น

เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นย่อมไม่มี ผู้ที่กล่าวดังนี้ไม่ชื่อว่ากล่าวชอบท่านพระโคดม.

พ. ดูก่อนมาณพ พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่

ในสุภควัน ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นคนตาบอด ไม่มีจักษุ เขาจักรู้จักเห็น

จักทำให้แจ้งชัด ซึ่งญาณทัศนะวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถยิ่งกว่าธรรม

ของมนุษย์ได้หรือหนอ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๗๒๐] ดูก่อนมาณพ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมณ์

มหาศาลชาวโกศล คือ จังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์

ขาณุโสณีพราหมณ์ หรือโตเทยยพราหมณ์ บิดาของท่าน วาจาดีที่พราหมณ์

มหาศาลเหล่านั้นกล่าวตามสมมติ หรือไม่ทามสมมติ เป็นอย่างไหน.

สุ. ตามสมมติ ท่านพระโคดม.

พ. วาจาดีทีพราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นพิจารณาแล้วจึงกล่าว หรือไม่

พิจารณาแล้วจึงกล่าว เป็นอย่างไหน.

สุ. พิจารณาแล้ว ท่านพระโคดม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

พ. วาจาดีที่พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นรู้แล้วจึงกล่าว หรือว่าไม่รู้.

แล้วจึงกล่าว เป็นอย่างไหน.

สุ. รู้แล้ว ท่านพระโคดม.

พ. วาจาดีอันประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์

ที่พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้นกล่าว เป็นอย่างไหน.

สุ. ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านพระโคดม.

[๗๒๐] พ. ดูก่อนมาณพ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อ

เป็นเช่นนี้ พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน กล่าว

วาจาตามสมมติหรือไม่ตามสมมติ.

สุ. ตามสมมติ ท่านพระโคคดม.

พ. เป็นวาจาที่พิจารณาแล้วจึงกล่าว หรือเป็นวาจาที่ไม่ได้พิจารณา

แล้ว.

สุ. เป็นวาจาที่ไม่ได้พิจารณาแล้ว ท่านพระโคดม.

พ. เป็นวาจาที่รู้แล้วจึงกล่าวหรือเป็นวาจาที่ไม่รู้แล้ว.

สุ. เป็นวาจาที่ไม่รู้แล้ว ท่านพระโคดม.

พ. กล่าววาจาที่ประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์.

สุ. ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านพระโคดม.

[๗๒๒] พ. ดูก่อนมาณพ นิวรณ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์

วิจิกิจฉานิวรณ์ นิวรณ์ ๕ ประการนี้แล ดูก่อนมาณพ พราหมณ์โปกขรสาติ

โอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน ถูกนิวรณ์ ๕ ประการนี้ร้อยไว้แล้ว

รัดไว้แล้ว ปกคลุมไว้แล้ว หุ้มห่อไว้แล้ว เราจักรู้จักเห็นหรือจักทำให้แจ้งชัด

ซึ่งญาณทัศนะวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์หรือหนอ

ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

[๗๒๓] ดูก่อนมาณพ กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก

ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู...กลิ่นอันจะพึงรู้แจ้ง

ด้วยจมูก ...รสอันจะพึงรู้แจงด้วยลิ้น...โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่น่า

ปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด กามคุณ

๕ ประการนี้แล. ดูก่อนมาณพ พราหมณ์โปกขรสาติโอปมัญญโคตร ผู้เป็นใหญ่

ในสุภควัน กำหนัดแล้ว หมกมุ่นแล้วด้วยกามคุณ ๕ ประการนี้ ถูกกามคุณ

๕ ประการนี้ครอบงำแล้ว ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องถอนออก บริโภค

อยู่ เขาจักรู้จักเห็นหรือจักทำให้แจ้งชัด ซึ่งญาณทัศนะวิเศษของพระอริยะ

อย่างสามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์หรือหนอ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

[๗๒๔] ดูก่อนมาณพ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลพึง

อาศัยหญ้าและไม้เป็นเชื้อติดไฟขึ้น และพึงติดไฟที่ไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อ

ไฟไหนหนอพึงมีเปลว มีสี และมีแสง.

สุ. ท่านพระโคดม ถ้าการติดไฟอันไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อ เป็น

ฐานะที่จะมีได้ ไฟนั้นก็จะพึงมีเปลว มีสี และมีแสง.

พ. ดูก่อนมาณพ ข้อที่บุคคลจะพึงติดไฟอันไม่มีหญ้าและไม่เป็นเชื้อ

ขึ้นได้นี้ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส เว้นจากผู้มีฤทธิ์ ดูก่อนมาณพ เปรียบเหมือน

ไฟอาศัยหญ้าและไม้เป็นเชื้อติดอยู่ ฉันใด เรากล่าวปีติอันอาศัยเบญจกามคุณ

นี้เปรียบฉันนั้น เปรียบเหมือนไฟไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อติดอยู่ได้ ฉันใด

เรากล่าวปีติที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมเปรียบฉันนั้น. ก็ปีติที่เว้นจาก

กามเว้นจากอกุศลธรรมเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุสลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ปีติ

นี้แล เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ดูกรมาณพ อีกประการหนึ่ง ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

เข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก

ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ แม้ปีตินี้ก็

เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม.

[๗๒๕] ดูก่อนมาณพ ในธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ

เพื่อทำบุญเพื่อยินดีกุศลนี้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมข้อไหน เพื่อทำบุญ

เพื่อยินดีกุศล ว่ามีผลมากกว่า.

สุ. ท่านพระโคดม ในธรรม ๕ ประการที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ

เพื่อทำบุญเพื่อยินดีกุศลนี้ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติธรรม คือ จาคะ

เพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศล ว่ามีผลมากกว่า.

[๗๒๖] พ. ดูก่อนมาณพ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน ในการ

บริจาคทานนี้ จะพึงมีมหายัญเกิดขึ้นเฉพาะแก่พราหมณ์คนหนึ่ง ครั้งนั้น

พราหมณ์สองคนพึงมาด้วยหวังว่า จักเสวยมหายัญของพราหมณ์ชื่อนี้ ใน

พราหมณ์สองคนนั้น คนหนึ่งมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า โอหนอ เราเท่านั้น

พึงได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑะที่เลิศ ในโรงภัต พราหมณ์อื่นไม่พึงได้

อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑะที่เลิศ ในโรงภัต แต่ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้

คือ พราหมณ์คนอื่นพึงได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑะที่เลิศ ในโรงภัต

พราหมณ์ผู้นั้นไม่พึงได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑะที่เลิศ ในโรงภัต

พราหมณ์นั้นโกรธน้อยใจว่า พราหมณ์เหล่าอื่นได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑะ

ที่เลิศ ในโรงภัต เราไม่ได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑะที่เลิศ ในโรงภัต

ดูก่อนมาณพ ก็พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติวิบากอะไรของกรรมนี้.

สุ. ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมให้ทานด้วยคิด

อย่างนี้ว่า พราหมณ์นั้น อันพราหมณ์ผู้นี้แลทำให้โกรธให้น้อยใจดังนี้หามิได้

ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายย่อมให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์เท่านั้นโดยแท้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

พ. ดูก่อนมาณพ เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอัน

เป็นการอนุเคราะห์นี้ ก็เป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ ๖ ของพราหมณ์ทั้งหลายซิ.

สุ. ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทาน

อันเป็นการอนุเคราะห์นี้ ก็เป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ ๖ ของพราหมณ์ทั้งหลาย.

[๗๒๗] พ. ดูก่อนมาณพ ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย

บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศล ท่านพิจารณาเห็นมีมากที่ไหน.

สุ. ท่านพระโคดม ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย

บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศล ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต

มีน้อยในคฤหัสถ์ เพราะคฤหัสถ์มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก

มีการเริ่มมาก จะเป็นผู้พูดจริงเสมอร่ำไปไม่ได้ ส่วนบรรพชิตมีความต้องการ

น้อย มีกิจน้อย มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย จึงเป็นผู้พูดจริงเสมอร่ำไปได้

เพราะคฤหัสถ์มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีอธิกรณ์มาก มีการเริ่มมาก

จะเป็นผู้มีความเพียร...ประพฤติพรหมจรรย์...มากด้วยการสาธยาย...มากด้วย

การบริจาคเสมอร่ำไปไม่ได้ ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย มีกิจน้อย

มีอธิกรณ์น้อย มีการเริ่มน้อย จึงเป็นผู้มีความเพียร...ประพฤติพรหมจรรย์...

มากด้วยการสาธยาย...มากด้วยการบริจาคเสมอร่ำไปได้ ท่านพระโคดม

ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศล

ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต มีน้อยในคฤหัสถ์.

[๗๒๘] พ. ดูก่อนมาณพ ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย

บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศล เรากล่าวว่าเป็นบริขารของจิต เพื่ออบรมจิต

ไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน ดูก่อนมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น

ผู้พูดจริง เธอรู้สึกว่า เราเป็นผู้พูดจริง ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้

ธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์ประกอบด้วยธรรม ความปราโมทย์อันประกอบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

ด้วยกุศลนี้ เรากล่าวว่าเป็นบริขารของจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้

มีความเบียดเบียน ดูก่อนมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียร...

ประพฤติพรหมจรรย์... มากด้วยการสาธยาย... มากด้วยการบริจาค เธอ

รู้สึกว่าเราเป็นผู้มากด้วยการบริจาค ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม

ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ความปราโมทย์อันประกอบด้วย

กุศลนี้ เรากล่าวว่าเป็นบริขารของจิต เพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความ

เบียดเบียน ธรรม ๕ ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อ

ยินดีกุศลนี้ เรากล่าวว่าเป็นบริขารของจิตเพื่ออบรมจิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มี

ความเบียดเบียน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพโตเทยยบุตร

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า

พระสมณโคดมทรงรู้จักหนทางเพื่อความเป็นสหายของพรหม.

[๗๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาณพ ท่านจะเข้าใจความ

ข้อนั้นเป็นไฉน หมู่บ้านนฬการใกล้แต่ที่นี้ หมู่บ้านนฬการไม่ไกล ใกล้แต่ที่นี้

มิใช่หรือ.

สุภมาณพกราบทูลว่า อย่างนั้นท่านพระโคดม หมู่บ้านนฬการใกล้

แต่ที่นี้ หมู่บ้านนฬการไม่ไกลแต่ที่นี้.

พ. ดูก่อนมาณพ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้เกิดแล้ว

ทั้งเจริญแล้วในหมู่บ้านนฬการนี้แล เขาออกจากหมู่บ้านนฬการไปในขณะนั้น

พึงถูกถามถึงหนทางแห่งหมู่บ้านนฬการจะพึงชักช้าหรือตกประหม่าหรือหนอ.

สุ. ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษนั้น

ทั้งเกิดแล้วทั้งเจริญแล้วในหมู่บ้านนฬการ รู้จักทางของหมู่บ้านนฬการทุกแห่ง

ดีแล้ว .

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

พ. ดูก่อนมาณพ บุรุษผู้เกิดแล้วทั้งเจริญแล้วในหมู่บ้านนฬการนั้น

ถูกถามถึงทางของหมู่บ้านนฬการ ไม่พึงชักช้าหรือตกประหม่าแล ตถาคตถูก

ถามถึงพรหมโลก หรือปฏิปทาเครื่องให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่ชักช้าหรือตก

ประหม่าเช่นเดียวกัน ดูก่อนมาณพ เราย่อมรู้จักทั้งพรหมโลกและปฏิปทาเครื่อง

ให้ถึงพรหมโลก อนึ่ง ผู้ปฏิบัติด้วยประการใดจึงเข้าถึงพรหมโลก เราย่อมรู้ชัด

ซึ่งประการนั้นด้วย.

สุ. ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงแสดง

ทางเพื่อความเป็นสหายของพรหม ข้าพเจ้าขอโอกาส ขอท่านพระโคดมโปรด

ทรงแสดงทางเพื่อความเป็นสหายของพรหมแก่ข้าพเจ้าเถิด.

พ. ดูก่อนมาณพ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

สุภมาณพโตเทยยบุตรทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๗๓๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนมาณพ ก็ทางเพื่อความ

เป็นสหายของพรหมเป็นไฉน ดูก่อนมาณพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบ

ด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน

ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า

เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอัน

ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เมื่อ

เมตตาเจโตวิมุติอันภิกษุนั้นเจริญแล้วอย่างนี้ กรรมใดเป็นกามาพจรที่ภิกษุ

ทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมเป็นรูปาวจรนั้น ดูก่อนมาณพ

เปรียบเหมือนบุรุษเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงให้คนรู้ได้ตลอดทิศทั้งสี่โดยไม่ยาก ฉันใด

เมื่อเมตตาเจโตวิมุติที่ภิกษุนั้นเจริญแล้วอย่างนี้ ก็ฉันนั้น กรรมใดเป็นกามาพจร

ที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมเป็นรูปาวจรนั้น แม้

ข้อนี้ก็เป็นทางเพื่อความเป็นสหายของพรหม ดูก่อนมาณพ อีกประการหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา... มีใจประกอบด้วยมุทิตา... มีใจประกอบด้วย

อุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้

ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า เพื่อ

ประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอัน

ไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เมื่อ

อุเบกขาเจโตวิมุตติอันภิกษุนั้นเจริญแล้วอย่างนี้ กรรมใดเป็นกามาวจรที่ภิกษุ

ทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมเป็นรูปาวจรนั้น ดูก่อน

มาณพ เปรียบเหมือนบุรุษเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงให้คนรู้ได้ตลอดทิศทั้งสี่โดยไม่ยาก

ฉันใด เมื่ออุเบกขาเจโตวิมุตติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ก็ฉันนั้น กรรมใดเป็น

กามาวจรที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมเป็นรูปาวจร

นั้น แม้ข้อนี้ก็เป็นทางเพื่อความเป็นสหายของพรหม.

[๗๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพโตเทยยบุตร

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์

ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายเปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็น

รูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรม และพระ-

ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก

ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้า

พระองค์ขอทูลลาไป ณ บัดนี้ ข้าพระองค์มีกิจมาก มีกรณียะมาก พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาณพ ท่านจงสำคัญเวลาอันควร ณ บัดนี้เถิด

ครั้งนั้นแล สุภมาณพโตเทยยบุตรเพลิดเพลินพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว ลุกออกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว

กลับไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

[๗๓๒] สมัยนั้น ชาณุโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี โดย

รถอันเทียมด้วยม้าขาวทั้งหมด แต่ยังวัน ได้เห็นสุภมาณพโตเทยยบุตรกำลังมา

แต่ไกล แล้วได้ถามสุภมาณพโตเทยยบุตรว่า ท่านภารทวาชะไปไหนมาแต่วัน

สุภมาณพโตเทยยบุตรตอบว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจากสำนักพระสมณโคดม

มาที่นี่.

ชา. ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านภารทวาชะเห็นจะเป็น

บัณฑิต รู้พระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม.

สุ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใครและเป็นอะไรเล่า จึงจักรู้เท่า

พระปัญญาอันเฉียบแหลมของพระสมณโคดม ผู้ใดพึงรู้เท่าพระปัญญาอัน

เฉียบแหลมของพระสมณโคดม แม้ผู้นั้นก็พึงเป็นเช่นพระสมณโคดมเป็นแน่.

ชา. เพิ่งได้ฟัง ท่านภารทวาชะสรรเสริญพระสมณโคดมด้วยการ

สรรเสริญอย่างยิ่ง.

สุ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นใครเป็นอะไรเล่า จึงจักสรรเสริญพระ-

สมณโคดม ท่านพระโคดมอันเทวดาและมนุษย์สรรเสริญแล้ว ๆ ประเสริฐกว่า

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง ธรรม ๕ ประการนี้ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ

เพื่อทำบุญ เพื่อยินดีกุศล พระสมณโคดมตรัสว่าเป็นบริขารแห่งจิต เพื่ออบรม

จิตไม่ให้มีเวร ไม่ให้มีความเบียดเบียน.

[๗๓๓] เมื่อสุภมาณพโตเทยยบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ขาณุโสณี

พราหมณ์ลงจากรถอันเทียมด้วยม้าขาวทั้งหมด แล้วห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

น้อมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ แล้วเปล่งอุทานว่า เป็นลาภ

ของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงได้ดีแล้วหนอ ที่พระตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับในแว่นแคว้นของพระองค์ ฉะนี้แล.

จบสุภสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

อรรถกถาสุภสูตร

สุภสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

ในสุภสูตรนั้น บุตรของโตเทยยพราหมณ์ผู้อยู่ในตุทิคาม ชื่อว่า

โตเทยยบุตร. คำว่า เป็นผู้ยินดี คือเป็นผู้พรั่งพร้อมบริบูรณ์. คำว่าญายธรรม

คือ ธรรมอัน เป็นเหตุ. บทว่า เป็นกุศล คือ ไม่มีโทษ. บทว่า การ

ปฏิบัติผิด คือ ข้อปฏิบัติอันไม่เป็นกุศล ไม่เป็นเครื่องนำออกไปจากทุกข์.

บทว่า การปฏิบัติชอบ ได้แก่การปฏิบัติอัน เป็นกุศลอันเป็นเครื่องนำออกจาก

ทุกข์. ในบทว่า มีความต้องการมาก ดังนี้เป็นต้น มีวิเคราะห์ ดังต่อไปนี้

ชื่อว่า มีความต้องการมาก เพราะในฐานะนี้มีความต้องการด้วยการกระทำความ

ขวนขวาย หรือด้วยการช่วยเหลือมาก คือมากมาย. ชื่อว่า มีกิจมากเพราะ

ฐานะนี้มีกิจมากเช่นงานมงคลในการตั้งชื่อเป็นต้นมาก. ชื่อว่ามีเรื่องราวมาก

ที่จะต้องจัดการ มากเพราะในฐานะนี้มีเรื่องราว คือหน้าที่การงานมากอย่างนี้

คือ วันนี้ต้องทำสิ่งนี้ พรุ่งนี้ต้องทำสิ่งนี้. ชื่อว่า มีการลงมือทำมาก เพราะใน

ฐานะนี้มีการลงมือทำมาก คือ การบีบคั้นด้วยอำนาจการขวนขวายในการงาน

ของคนมาก. การงานของคนทางฝ่ายฆราวาส ชื่อว่า ฐานะการงานของฆราวาส.

พึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงด้วยประการอย่างนี้. ก็ในบรรดาการทำนาและ

การค้าขายนี้ ในการทำนา พึงทราบความต้องการมาก ด้วยการแสวงหาเครื่อง

อุปกรณ์ เริ่มแต่หางไถเป็นต้น ในการค้าขาย พึงทราบความต้องการน้อยด้วยการ

ถือเอาสินค้าตามสภาพเดิมแล้วมา จำหน่าย. บทว่า วิบัติ ความว่า กสิกรรม

ย่อมมีผลน้อยบ้าง ถึงการขาดทุนบ้าง เพราะฝนไม่ตกและตกมากเกินไปเป็นต้น

และพณิชยกรรม มีผลน้อยบ้าง ถึงการขาดทุนบ้าง เพราะความไม่ฉลาดเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

ในการดูแก้วมณีและทองเป็นต้น. โดยตรงกันข้าม ที่สมบูรณ์ย่อมมีผลมาก

เหมือนอันเตวาสิกของจุลลก. คำว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล ความว่า

ฐานะคือ กสิกรรมเมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อยฉันใด แม้ฐานะคือการงานของฆราวาส

ก็ฉันนั้น . เพราะบุคคลผู้ไม่กระทำกรรมงามไว้ ตายแล้วย่อมบังเกิดในนรก

ได้ยินว่า คนที่พราหมณ์เลี้ยงไว้ คนหนึ่ง ชื่อมหาทัตตเสนาบดี. ในสมัยที่

เขาจะตาย นรกปรากฏขึ้น.

พวกพราหมณ์กล่าวถามว่า ท่านเห็นอะไร เขากล่าวว่า เห็นเรือน

สีแดง เรือนเลือด.

พราหมณ์กล่าวว่า ผู้เจริญ นั่นแหละพรหมโลก. เขาถามว่า ท่านผู้

เจริญ พรหมโลกอยู่ที่ไหน. อยู่เบื้องบน. เขาพูดว่า ปรากฏแก่ข้าพเจ้า ณ เบื้อง

ล่าง. ความจริง เรือนสีแดงปรากฏเบื้องล่าง มิได้ปรากฏเบื้องบน. เขาตาย

แล้วเกิดในนรก. พวกพราหมณ์คิดว่า นายคนนี้เห็นโทษในยัญของเรา ดังนี้

จึงได้เอาทรัพย์พันหนึ่งมาให้เพื่อจะได้นำติดตัวไป. ส่วนฐานะคือ กสิกรรม

ที่สมบูรณ์ย่อมมีผลมาก. เพราะบุคคลผู้ทำกรรมงามไว้ ตายแล้วย่อมบังเกิดใน

สวรรค์. พึงแสดงคุตติลวิมานกถาทั้งหมด. เหมือนอย่างว่า ฐานะคือ พาณิชย-

กรรม เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อยฉันใด แม้ฐานะคือ บรรพชากรรมของภิกษุผู้

ไม่ทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบการแสวงหาอันไม่ควร ก็ฉันนั้น . เพราะภิกษุ

ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมไม่ได้สุขในฌานเป็นต้น ย่อมไม่ได้สุขในสวรรค์ และ

นิพพาน. ส่วนบรรพชากรรมที่สมบูรณ์ย่อมมีผลมาก. เพราะผู้ทำศีลให้บริบูรณ์

เจริญวิปัสสนาย่อมบรรลุพระอรหัต.

คำว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายดังนี้ ความว่า

มาณพย่อมทูลถามว่าข้าพระองค์ชื่อถามอะไร ณ ที่นี้ คือ ย่อมถามว่า พราหมณ์

ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า บรรพชิตชื่อว่าสามารถเพื่อบำเพ็ญธรรม ๕ ประการเหล่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

นี้ ย่อมไม่มี คฤหัสถ์เท่านั้นบำเพ็ญได้ ส่วนพระสมณโคดมย่อมตรัสบ่อย ๆ

ว่า มาณพ สำหรับคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ดังนี้ ย่อมไม่เปล่งวาจา ถึงบรรพชิต

เท่านั้น เห็นจะไม่ทรงกำหนดการถาม ของข้าพระองค์ เพราะเหตุนั้น ข้าพระ-

องค์ขอถามธรรม ๕ ประการ โดยมีจาคะเป็นสุดยอด (คือข้อท้าย). คำว่า

ถ้าท่านไม่หนักใจ ดังนี้ ความว่า ถ้าท่านไม่มีความหนักใจเพื่อที่จะกล่าวใน

ที่นี้โดยประการที่พวกพราหมณ์บัญญัติไว้นั้น. อธิบายว่า ถ้าไม่มีความหนัก

ใจไร ๆ ท่านก็จงกล่าว. มาณพกล่าวว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์

ไม่หนักใจเลย ดังนี้ หมายเอาอะไร. ก็การกล่าวในสำนักของบัณฑิตเทียม

ย่อมเป็นทุกข์. ท่านบัณฑิตเทียมเหล่านั้น ย่อมให้ เฉพาะโทษเท่านั้น

ในทุก ๆ บท ในทุก ๆ อักษร. ส่วนบัณฑิตแท้ ฟังถ้อยคำแล้วย่อม

สรรเสริญคำที่กล่าวถูก. เมื่อกล่าวผิด ในบรรดาบาลีบท อรรถ และพยัญชนะ

คำใด ๆ ผิด ย่อมให้ คำนั้น ๆ ให้ถูก. ก็ชื่อว่า บัณฑิตแท้เช่นกับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น มาณพจึงกล่าวว่า ข้าแต่พระโคคม

ผู้เจริญ ณ ที่ที่พระองค์หรือท่านผู้เป็นเหมือนพระองค์ประทับนั่งอยู่ ข้าพระองค์

ไม่มีความหนักใจเลย ดังนี้. บทว่า สัจจะ คือ พูดจริง. บทว่า ตบะ ได้แก่

การประพฤติตบะ.. บทว่า พรหมจรรย์ ได้แก่ การเว้นจากเมถุน. บทว่า การ

สาธยาย ได้แก่การเรียนมนต์. บทว่า จาคะ คือการบริจาคอานิส. คำว่า จักเป็น

ผู้ให้ถึง ความลามก คือ จักเป็นผู้ให้ถึงความไม่รู้. คำว่า ได้กล่าวคำนี้

ความว่า มาณพถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข่มด้วยการเปรียบเหมือนแถวคนตา

บอด เมื่อไม่อาจเพื่อตอบโต้คำนั้นได้ เมื่อจะอ้างถึงอาจารย์ เปรียบปานสุนัข

อ่อนกำลัง ต้อนเนื้อให้ตรงหน้าเจ้าของแล้ว ตนเองก็อ่อนล้าไปฉะนั้น จึงได้

กล่าวคำนั้นมีอาทิว่า พราหมณ์ดังนี้ .. คำว่า โปกขรสาติ นี้ ในคำว่า พราหมณ์

เป็นต้นนั้น เป็นชื่อของพราหมณ์นั้น. เรียกว่า โปกขรัสสาติ บ้างก็มี. ได้ยินว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

ร่างกายของพราหมณ์นั้นเหมือนบัวขาว งดงามเหมือนเสาระเนียดเงินที่ยกขึ้น

ในเทพนคร ส่วนศีรษะของพราหมณ์นั้นเหมือนทำด้วยแก้วอินทนิลสีดำ. แม้

หนวดก็ปรากฏเหมือนแถวเมฆดำในดวงจันทร์ นัยน์ตาทั้งสองข้างเหมือนดอก

อุบลเขียว. จมูกตั้งอยู่ดี บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนกล้องเงิน. ฝ่ามือฝ่าเท้าและ

ปากงามเหมือนย้อมด้วยน้ำครั่ง. อัตตภาพของพราหมณ์ถึงความงามอันเลิศ

อย่างยิ่ง สมควรตั้งให้เป็นราชาในฐานะที่ไม่ได้ เป็นราชา เพราะเหตุนั้น

ชนทั้งหลายจึงรู้จักพราหมณ์นั้นว่า โปกขรสาติ ด้วยประการดังนี้ เพราะ

พราหมณ์นี้เป็นผู้มีความสง่าอย่างนี้นั่นแล อนึ่ง พราหมณ์นั้นเกิดในดอกบัว

มิได้เกิดในต้องมารดา เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงรู้จักพราหมณ์นั้นว่า

โปกขรสาติ เพราะนอนอยู่ในดอกบัวด้วยประการดังนี้. บทว่า โอปมัญญะ

แปลว่า ผู้อุปมัญญโคตร. บทว่า ผู้เป็นใหญ่ในสุภควัน คือเป็นใหญ่ใน

สุภควันโดยอุกฤษฏ์. บทว่า น่าหัวเราะทีเดียว คือ ควรหัวเราะทีเทียว.

บทว่า เลวทรามทีเดียว ได้แก่ ลามกทีเดียว. ภาษิตนั้น ๆ เท่านั้นชื่อว่าว่าง

เพราะไม่มีประโยชน์และ ชื่อว่าเปล่าเพราะเป็นภาษิตว่าง.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะข่มสุภมาณพนั้นพร้อมทั้งอาจารย์

จึงตรัสคำว่า มาณพก็...หรือ ดังนี้เป็นต้น . บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า

วาจาเหล่าไหนของสมณพราหมณ์เหล่านั้นประเสริฐกว่า ดังนี้ ความ

ว่า วาจาเหล่าไหนของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่า อธิบายว่า

เป็นวาจาน่าสรรเสริญ ดีกว่า. บทว่า สมุจฺฉา แปลว่า ตามสมมติ

คือ ตามโวหารของชาวโลก. บทว่า รู้แล้ว คือ ไตร่ตรองแล้ว. บทว่า

พิจารณาแล้ว ได้แก่ รู้แล้ว. บทว่า ประกอบด้วยประโยชน์ คือ อาศัย

เหตุ. คำว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ความว่าเมื่อความที่วาจาอันบุคคลไม่ละโวหาร

ของชาวโลก ใคร่ครวญแล้ว รู้แล้ว กล่าวทำเหตุให้เป็นที่อาศัย เป็นวาจา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

ประเสริฐมีอยู่. บทว่า อาวุโต สอดแล้ว แปลว่า ร้อยไว้แล้ว. บทว่า

นิวุโต นุ่งแล้ว แปลว่า รัดไว้แล้ว. บทว่า โอผุโฏ ถูกต้องแล้ว แปลว่า

ปกคลุมแล้ว. บทว่า ปริโยนทฺโธ รวบรัดแล้ว แปลว่า หุ้มห่อแล้ว.

บททั้งหลายมีอาทิว่า คธิโต ผูกมัดแล้ว ดังนี้. มีเนื้อความกล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.

คำว่า พระโคดมผู้เจริญ ถ้าฐานะมีอยู่ ความว่า ถ้าเหตุนั้นมีอยู่. บทว่า

สฺวาสฺส ไฟนั้น...พึงเป็น ความว่า เพราะไม่มีควันและขี้เถ้าเป็นต้น

ไฟนั้นพึงมีเปลว มีสี และมีแสง. คำว่า ตถูปมาห มาณว มาณพเรา

เปรียบเหมือนอย่างนั้น ความว่า เรากล่าวเปรียบปีติอันอาศัยกามคุณนั้น.

อธิบายว่า เปรียบเหมือนไฟที่อาศัยหญ้าและไม้เป็นเชื้อติดโพลงอยู่ ย่อมเป็น

ไฟที่มีโทษ เพราะมีควันขี้เถ้า และถ่าน ฉันใด ปีติอันอาศัยกามคุณ ๕

เกิดขึ้น ย่อมมีโทษ เพราะมีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ และโสกะเป็นต้น

ฉันนั้น. อธิบายว่า ไฟชื่อว่าเป็นของบริสุทธิ์ เพราะไม่มีควันเป็นต้น ซึ่ง

ปราศจากเชื้อ คือ หญ้าและไม้ฉันใด ปีติอันประกอบด้วยโลกุตตรและฌาน

ทั้งสอง ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะไม่มีชาติเป็นต้นฉันนั้น.

บัดนี้ ธรรม ๕ ประการ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติด้วยจาคะอันเป็น

หัวข้อแม้นั้น เพราะเหตุที่ไม่คงอยู่เพียง ๕ ประการเท่านั้น เป็นธรรม

ไม่หวั่นไหวตั้งอยู่ หามิได้ คือย่อมไม่ถึงพร้อมกับความอนุเคราะห์ เพราะเหตุนั้น

เพื่อจะแสดงโทษนั้น จึงตรัสคำว่า มาณพ ธรรมเท่านั้นฉันใด ดังนี้ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า (ทาน) อันเป็นยารอนุเคราะห์ คือ มีความ

อนุเคราะห์เป็นสภาวะ. คำว่า ท่านเห็นมีมากในที่ไหน นี้ เพราะเหตุที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บรรพชิตนี้ชื่อว่า ผู้สามารถเพื่อบำเพ็ญธรรม ๕

ประการนี้ให้บริบูรณ์ ย่อมไม่มี คฤหัสถ์บำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้ เพราะเหตุนั้น

บรรพชิตเท่านั้นบำเพ็ญธรรม ๕ ประการนี้ให้บริบูรณ์ไม่ได้ คฤหัสถ์ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

สามารถเพื่อบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้ ย่อมไม่มี จึงตรัสถามเมื่อให้มาณพกล่าว

ตามแนวทางนั้นนั่นแหละ. ในคำว่า เป็นผู้พูดจริง สม่ำเสมอร่ำไป หามิได้

ดังนี้ เป็นต้น พึงเห็นความหมายอย่างนี้ว่า คฤหัสถ์ เมื่อเหตุอื่นไม่มีก็กระทำ

แม้มุสาวาทของผู้หลอกลวง. พวกบรรพชิตแม้เมื่อจะถูกตัดศีรษะด้วยดาบ

ก็ไม่กล่าวกลับคำ. อนึ่ง คฤหัสถ์ไม่อาจรักษาสิกขาบทแม้สักว่าตลอดภายใน

สามเดือน. บรรพชิตเป็นผู้มีตบะ มีศีล มีตบะเป็นที่อาศัย ตลอดกาลเป็นนิจ

ทีเดียว. คฤหัสถ์ย่อมไม่อาจกระทำอุโบสถกรรมสักว่า ๘ วันต่อเดือนบรรพชิต

ทั้งหลายเป็นผู้พระพฤติพรหมจรรย์ตลอดชีวิต. คฤหัสถ์เขียนแม้เพียงรัตนสูตร

และมงคลสูตรไว้ในสมุดแล้วก็วางไว้. บรรพชิตทั้งหลายท่องบ่นเป็นนิจ. คฤหัสถ์

ไม่อาจให้แม้สลากภัต (ให้เสมอไป) ไม่ให้ขาดตอน. บรรพชิตทั้งหลาย

เมื่อของอื่นไม่มี ก็ให้ก้อนข้าวแก่พวกกา และสุนัขเป็นต้น ย่อมใส่ในบาตร

แม้ของภิกษุหนุ่มผู้รับบาตรนั่นเอง. คำว่า เรากล่าวธรรมเท่านั้น (ว่าเป็น

บริขาร) ของจิต ความว่า เรากล่าวธรรม ๕ ประการเหล่านั้นว่าเป็นบริวาร

ของเมตตาจิต. บทว่า ชาตวฑฺโฒ เกิดแล้ว เจริญแล้ว แปลว่า ทั้งเกิดแล้ว

และเจริญแล้ว. ก็บุคคลใดเกิดในที่นั้น อย่างเดียวเท่านั้น (แต่) เติบโตที่

บ้านอื่น หนทางในบ้านรอบ ๆ ย่อมไม่ประจักษ์อย่างถ้วนทั่วแก่บุคคลนั้น

เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ทั้งเกิดทั้งเติบโตแล้ว ดังนี้. ก็บุคคลใดแม้เกิดแล้ว

เติบโตแล้ว แต่ออกไปเสียนาน หนทางก็ย่อมไม่ประจักษ์แจ้งโดยถ้วนทั่ว

แก่บุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า ตาวเทว อปสกฺก (ผู้ออกไปใน

ขณะนั้น). อธิบายว่า ออกไปในขณะนั้นทันที. บทว่า ชักช้า ความว่า

ชักช้าด้วยความสงสัยว่า ทางนี้หรือ ๆ ทางนี้. บทว่า ตกประหม่า ความว่า

สรีระของใคร ๆ ผู้ถูกคนตั้งพันถามถึงอรรถอันสุขุม ย่อมถึงภาวะอันกระด้าง

(คือตัวแข็ง) ฉันใด การถึงภาวะอันแข็งกระด้างฉันนั้น ย่อมไม่มีเลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่พระสัพพัญญุตญาณอันอะไร ๆ ไม่กระทบ

กระทั่งได้ด้วยบทว่า วิตฺถายิตตฺต นี้. ก็ความกระทบกระทั่ง ความรู้

พึงมีแก่บุรุษนั้นด้วยอำนาจมารดลใจเป็นต้น เพราะเหตุนั้น บุรุษนั้น พึงชักช้า

หรือพึงตกประหม่า. แต่พระสัพพัญญุตญาณไม่มีอะไรกระทบกระทั่งได้ ท่าน

แสดงว่า ใคร ๆ ไม่อาจทำอันตรายแก่พระสัพพัญญุตญาณนั้น.

บทว่า มีกำลัง ในคำนี้ว่า มาณพ คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง

แม้ฉันใด ดังนี้ ความว่า สมบูรณ์ด้วยกำลัง. บทว่า สงฺขธโม แปลว่า

คนเป่าสังข์. บทว่า อปฺปกสิเรน ได้แก่ โดยไม่ยาก คือ โดยไม่ลำบาก

ก็คนเป่าสังข์ผู้อ่อนแอ แม้เป่าสังข์อยู่ ก็ไม่อาจจะให้เสียงดังไปยังทิศทั้ง ๔

ได้ เสียงสังข์ของเขาไม่แผ่ไปโดยประการทั้งปวง. ส่วนของผู้มีกำลังย่อมแผ่ไป

เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่าผู้มีกำลัง. เมื่อกล่าวว่า ด้วยเมตตา ดังนี้ ในคำว่า

ด้วยเมตตาอันเป็นเจโตวิมุตติ นี้ ย่อมควรทั้งอุปจาร ทั้งอัปปนา.

แต่เมื่อกล่าวว่า เจโตวิมุตฺติยา ย่อมควรเฉพาะอัปปนาเท่านั้น. คำว่า

ย ปมาณกต กมฺม กรรมที่ทำไว้ประมาณเท่าใด ความว่า ชื่อว่ากรรม

ที่ทำประมาณได้ เรียกว่า กามาวจร. ชื่อว่ากรรมที่ทำประมาณไม่ได้เรียกว่า

รูปาวจรและอรูปาวจร. ในกรรมที่เป็นกามาวจร รูปาวจรและอรูปาวจรแม้เหล่านั้น กรรมคือ

พรหมวิหารเท่านั้น ทรงประสงค์เอาในที่นี้ . ก็พรหมวิหารกรรมนั้นเรียกว่า

กระทำหาประมาณมิได้ เพราะกระทำให้เจริญไปด้วยการแผ่ล่วงพ้นประมาณ

ไปยังทิศที่เจาะจงและไม่เจาะจง. คำว่า กามาวจรกรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่

จักไม่คงอยู่ในรูปาวจรกรรมนั้น ความว่า กามาวจรกรรมนั้น ย่อมไม่ติด

คือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาวจรและอรูปาวจรกรรมนั้น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า

กามาวจรกรรมนั่นย่อมไม่เกี่ยวข้องหรือตั้งอยู่ในระหว่าง แห่งรูปาวจรและอรูปาวจรกรรมนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

หรือแผ่ไปยังรูปาวจรกรรม และอรูปาวจรกรรมแล้ว ครอบงำถือเอาโอกาส

สำหรับตนตั้งอยู่. โดยที่แท้ รูปาวจรกรรมเท่านั้น แผ่ไปยังกามาวจรกรรม

เหมือนน้ำมากเอ่อท่วมน้ำน้อย ครอบงำถือเอาโอกาสสำหรับตนแล้วคงอยู่.

รูปาวจรกรรมห้ามวิบากของกามาวจรกรรมนั้นแล้ว เข้าถึงความเป็นสหายแห่ง

พรหมด้วยตนเอง. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาสุภสูตร ที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

๑๐. สคารวสูตร

[๗๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลพร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สมัยนั้น นางพราหมณีชื่อธนัญชานีอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน

ปัจจลกัปปะ เป็นผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

นางพลั้งพลาดแล้วเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

อรหัตตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจัาพระองค์นั้น.

[๗๓๕] ก็สมัยนั้นแล มาณพชื่อสคารวะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านปัจจล-

กัปปะ เป็นผู้รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิคัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ พร้อมทั้ง

ประเภทอักษร มีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์

ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะและตำราทำนายมหาปุริสลักษณะ เขาได้ฟังวาจาที่

นางธนัญชานีพราหมณีกล่าวอย่างนั้น ครั้นแล้วได้กล่าวกะนางธนัญชานี-

พราหมณีว่า นางธนัญชานีพราหมณีไม่เป็นมงคลเลย นางธนัญชานีเป็นคน

ฉิบหาย เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงไตรวิชามีอยู่ เออก็นางไปกล่าวสรรเสริญ

คุณของสมณะหัวโล้นนั้นทำไม นางธนัญชานีพราหมณีได้กล่าวว่า ดูก่อนพ่อผู้มี

พักตร์อันเจริญ ก็พ่อยังไม่รู้ซึ่งศีลและปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ถ้าพ่อพึงรู้ศีลและพระปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พ่อจะไม่พึง

สำคัญ. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นว่า เป็นผู้ควรด่า ควรบริภาษเลย

สคารวมาณพกล่าวว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น พระสมณะมาถึงบ้าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

ปัจจลกัปปะเมื่อใด พึงบอกแก่ฉันเมื่อนั้น นางธนัญชานีพราหมณีรับคำ

สคารวมาณพแล้ว.

[๗๓๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล

โดยลำดับ เสด็จไปถึงบ้านปัจจลกัปปะ ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ในสวนมะม่วงของพวกพราหมณ์ชาวบ้านตุทิ ใกล้หมู่บ้านปัจจลกัปปะ

นางธนัญชานีพราหมณีได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงหมู่บ้านปัจจล-

กัปปะ ประทับอยู่ในสวนมะม่วงของพราหมณ์ชาวบ้านตุทิ ใกล้บ้านปัจจลกัปปะ

นางจึงเข้าไปหาสคารวมาณพถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกะสคารวมาณพว่า ดูก่อนพ่อ

ผู้มีพักตร์อันเจริญ นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จมาถึงหมู่บ้าน

ปัจจลกัปปะ ประทับอยู่ในสวนมะม่วงของพวกพราหมณ์ชาวบ้านจุทิใกล้

หมู่บ้านปัจจลกัปปะ พ่อจงสำคัญกาลอันควร ณ บัดนี้ สคารวมาณพรับคำนาง

ธนัญชานีพราหมณีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย

กับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่งอยู่

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม

มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้ถึงบารมีชั้นสุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อม

ปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเป็น

ผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ ท่าน

พระโคดมเป็นคนไหนของจำนวนสมณพราหมณ์เหล่านั้น.

[๗๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภารทวาชะ เรากล่าวความ

ต่างกันแห่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน แม้

จะปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ได้. ดูก่อนภารทวาชะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง

เป็นผู้ฟังตามกันมาเพราะการฟังตามกันมานั้น จึงเป็นผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะ

รู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ เหมือนพวกพราหมณ์ผู้ทรงไตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

วิชาฉะนั้น. อนึ่ง มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้ถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่ง

ในปัจจุบัน ปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ เพราะเพียงแต่ความเธออย่างเดียว

เหมือนพวกพราหมณ์นักตรึกนักตรอง ฉะนั้น. มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง รู้ธรรม

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่ได้ฟังตามกันมาก่อน ถึงบารมีชั้น

ที่สุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์. ดูก่อนภารทวาชะ

ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในธรรมทั้งหลายทีไม่ได้ฟังตามกันมาในก่อนถึงบารมีชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่งใน

ปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ เราเป็นผู้หนึ่งของจำนวนสมณพราหมณ์

เหล่านั้น ข้อนี้พึงรู้ได้โดยบรรยายแม้นี้ เหมือนสมณพราหมณ์เหล่าใด รู้ธรรม

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่ได้ฟังตามกันมาในก่อน ถึงบารมี

ชั้นที่สุดเพราะรู้ยิ่งในปัจจุบัน ย่อมปฏิญาณอาทิพรหมจรรย์ เราเป็นผู้หนึ่ง

ของจำนวนสมพราหมณ์เหล่านั้น ฉะนั้น.

[๗๓๘] ดูก่อนภารทวาชะ ในโลกนี้ ก่อนแต่การตรัสรู้ เรายังไม่ได้

ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ได้มีความคิดเห็นว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมา

แห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติ

พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย

ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิตเถิด สมัยต่อมา เรานั้นยังเป็นหนุ่ม ผมดำสนิท ประกอบด้วยวัย

กำลังเจริญ เป็นปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ปรารถนา (จะให้บวช)

ทรงกันแสงพระเนตรนองด้วยอัสสุชล เราปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อเราบวชแล้วอย่างนี้แสวงหาว่าสิ่งไรจะเป็น

กุศล ค้นหาสันติวรบทอัน ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่าอยู่ จึงเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลาม

โคตรถึงสำนักแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภารทวาชะ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว

อาฬารดาบสกาลามโคตรได้กล่าวว่า อยู่เถิดท่าน วิญญูบุรุษทำลัทธิของอาจารย์

ตน ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งโดยไม่ช้าในธรรมใดแล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็

เช่นนั้น เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดยฉับพลันไม่นานเลย เรากล่าวญาณวาท

และเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปากเจรจา เพียงชั่วกาลที่พูดตอบเท่านั้น

อนึ่ง ทั้งเราและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้เราเห็น เรามีความคิดเห็นว่า

อาฬารดาบสกาลามโคตรจะประกาศว่า เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเองแล้ว เข้าถึงธรรมนี้ด้วยเหตุเพียงศรัทธาอย่างเดียวดังนี้หามิได้ ที่แท้

อาฬารดาบสกาลามโคตรรู้เห็นธรรมนี้อยู่ได้ถามว่า ท่านกาลามะ ครั้งนั้นเรา

จึงเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเองเข้าถึงแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ เมื่อเราถามอย่างนี้

อาฬารดาบสกาลามโคตรได้ประกาศอากิญจัญญายตนะ เราได้มีความคิดเห็นว่า

มิใช่อาฬารดาบสกาลามโคตรเท่านั้นมีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา มิใช่อาฬาร-

ดาบสกาลามโคตรเท่านั้นมีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา แม้เราก็มี

ความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ถ้ากระไร เราพึงตั้งความเพียร เพื่อ

จะทำให้แจ้งชัดซึ่งธรรมที่อาฬารดาบสกาลามโคตรประกาศว่า ทำให้แจ้งชัด

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่นั้นเถิด เรานั้นได้ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ โดยฉับพลันไม่นานเลย ลำดับนั้น เราได้เข้า

ไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร แล้วได้ถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำธรรมนี้

ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้

หรือหนอ อาฬารดาบสกาลามโคตรจอบว่า อาวุโส เราทำธรรมนี้ให้แจ้งชัด

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เราได้

กล่าวว่า แม้เราก็ทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ด้วยเหตุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

เพียงเท่านี้ อาฬารดาบสกาลามโคตรกล่าวว่า อาวุโส เป็นลาภของพวกเรา

พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราพบเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้มีอายุเช่นท่าน เราทำ

ธรรมใดให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้วประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำ

ธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ ท่านทำธรรมใดให้แจ้ง

ชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ เราก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญา

อันยิ่งเองเข้าถึงแล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้ เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น

ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้ เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด

เราก็เช่นนั้น ดังนี้ ดูก่อนอาวุโส บัดนี้เราทั้งสองจงมาอยู่ช่วยกันบริหารหมู่คณะ

นี้เถิด ดูก่อนภารทวาชะ อาฬารดาบสกาลามโคตรเป็นอาจารย์ของเรา ได้ตั้ง

เราผู้เป็นศิษย์ไว้เสมอกับคน และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เรามีความคิด

เห็นว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท

เพื่อสงบระงับ เพื่อควานรู้ยิ่ง เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไปเพียงเพื่ออุบัติใน

อากิญจัญญายตนพรหมเท่านั้น เราไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป.

[๗๓๙] ดูก่อนภารทวาชะ เราเป็นผู้แสวงหาอยู่ว่าอะไรจะเป็นกุศล

ค้นหาสันติวรบทอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าอยู่. จึงเข้าไปหาอุทกดาบสรามบุตรถึง

สำนักแล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์

ในธรรมวินัยนี้ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุทกดาบสรามบุตรได้กล่าวว่า อยู่

เถิดท่าน วิญญูบุรุษทำลัทธิของอาจารย์ตนให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งโดยไม่ช้า

ในธรรมใด แล้วเข้าถึงอยู่ ธรรมนี้ก็เช่นนั้น เรานั้นเล่าเรียนธรรมนั้นได้โดย

ฉับพลันไม่นานเลย ย่อมกล่าวญาณวาทและเถรวาทได้ด้วยอาการเพียงหุบปาก

เจรจา เพียงชั่วกาลที่พูดตอบเท่านั้น อนึ่ง เราและผู้อื่นปฏิญาณได้ว่า เรารู้

เราเห็น เรามีความคิดเห็นว่า รามะจะได้ประกาศธรรมนี้ว่า เราทำให้แจ้งชัด

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ด้วยเหตุเพียงศรัทธาอย่างเดียวแล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ หามิได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

ที่แท้ รามรู้เห็นธรรมนี้อยู่ ครั้งนั้น เราได้เข้าไปหาอุทกดาบสรามบุตรแล้ว

ได้ถามว่า ดูก่อนท่านรามะ ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

เข้าถึงแล้ว ประกาศให้ทราบด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว

อุทกดาบสรามบุตรได้ประกาศเนวสัญญานาสัญญายตนะ. เรานั้นได้มีความคิด

เห็นว่า มิใช่ท่านรามบุตรเท่านั้นมีศรัทธา แม้เราก็มีศรัทธา มิใช่ท่านรามบุตร

เท่านั้นมีความเพียร มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา แม้เราก็มีความเพียร มีสติ

มีสมาธิ มีปัญญา ถ้ากระไร เราพึงตั้งความเพียรเพื่อทำให้แจ้งชัด ซึ่งธรรม

ที่ท่านรามบุตรประกาศว่า เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่นั้น

เถิด เรานั้นได้ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ โดย

ฉับพลันไม่นานเลย ลำดับนั้น เราได้เข้าไปหาอุทกดาบสรามบุตรแล้วได้ถามว่า

ท่านรามะ. ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้หรือหนอ อุทกดาบสรามบุตรตอบว่า อาวุโส เราทำธรรมนี้ให้

แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้ว ประกาศได้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล เรา

กล่าวว่า อาวุโส แม้เราก็ทำธรรมนี้ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อุทกดาบสรามบุตรกล่าวว่า อาวุโส เป็นลาภของพวกเรา

พวกเราได้ดีแล้ว ที่พวกเราพบเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีอายุเช่นท่าน เราทำธรรม

ใดให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้ว ประกาศให้ทราบ ท่านก็ทำธรรม

นั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ ท่านทำธรรมใดให้แจ้งชัดด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ เราก็ทำธรรมนั้นให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

เข้าถึงแล้วประกาศให้ทราบ ดังนี้ เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้

ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น ดังนี้ เร็วเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เรา

ก็เช่นนั้น ดังนี้ อาวุโส บัดนี้ เชิญท่านมาบริหารหมู่คณะนี้เถิด ดูก่อนภาร-

ทวาชะ อุทกดาบสรามบุตรเป็นเพื่อนพรหมจรรย์ของเรา ได้ตั้งเราไว้ในฐานะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

อาจารย์ และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เรามีความคิดเห็นว่า ธรรมนี้ไม่

เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อ

ความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ย่อมเป็นไปเพียงเพื่ออุบัติในเนวสัญญา-

นาสัญญายตนพรหมเท่านั้น เราจึงไม่พอใจธรรมนั้น เบื่อจากธรรมนั้นหลีกไป.

[๗๔๐] ดูก่อนภารทวาชะ เรานั้นเป็นผู้แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล

ค้นหาสันติวรบทอันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งขึ้นไปกว่าอยู่ จึงเที่ยวจาริกไปในมคธชนบท

โดยลำดับบรรลุถึงอุรุเวลาเสนานิคม ณ ที่นั้น เราได้เห็นภูมิภาคน่ารื่นรมย์ มี

ไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส มีแม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบน่า

รื่นรมย์ มีโคจรตามโดยรอบ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ภูมิภาคน่ารื่นรมย์หนอ

ไพรสณฑ์น่าเลื่อมใส แม่น้ำไหลอยู่ น้ำเย็นจืดสนิท มีท่าราบเรียบน่ารื่นรมย์

ทั้งโคจรตามมีอยู่โดยรอบ สถานที่นี้สมควรเป็นตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้

ต้องการความเพียรหนอ เราจึงนั่งอยู่ ณ ที่นั้นเอง ด้วยคิดเห็นว่า สถานที่นี้

สมควรเป็นที่ทำความเพียร.

[๗๔๑] ดูก่อนภารทวาชะ อนึ่ง อุปมา ๓ ข้ออันน่าอัศจรรย์ ไม่

เคยฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏก็เราอุปมาข้อที่ ๑ ภารทวาชะ เปรียบเหมือน

ไม้สด ซุ่มด้วยยาง ทั้งแช่อยู่ในน้ำ ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักเอาไม้นั้น มาสี

ให้เกิดไฟ จักทำไฟให้ปรากฏ ดังนี้ ดูก่อนภารทวาชะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้น

เป็นไฉนบุรุษนั้น เอาไม้สด ชุ่มด้วยยาง ทั้งแช่อยู่ในน้ำ มาสีไฟ จะพึงให้ไฟเกิด

พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือหนอ.

สคารวมาณพกราบทูลว่า ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะไม้นั้นยังสดชุ่มด้วยยาง ทั้งแช่อยู่ในน้ำ บุรุษนั้นพึงมีส่วนแห่ง

ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่าเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภารทวาชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจ

ในกาม ความเสน่หาในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความระหายในกาม ความ

เร่าร้อนเพราะกาม อันคนยังละไม่ได้ด้วยดี ให้สงบระงับไม่ได้ด้วยดีในภายใน

ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถ้าหากจะเสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนเกิด

เพราะความเพียรก็ดี หากจะไม่ได้เสวยก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็นซึ่ง

ปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ดูก่อนภารทวาชะ อุปมาข้อที่ ๑ นี้

แลน่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏกะเรา.

[๗๔๒] ดูก่อนภารทวาชะ อุปมาข้อที่ ๒ อีกข้อหนึ่งน่าอัศจรรย์ ไม่

เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏกะเรา เปรียบเหมือนไม้สด ชุ่มด้วยยาง

ตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จักเอาไม้นั้นมาสีให้เกิดไฟ

จักทำไฟให้ปรากฏ ดูก่อนภารทวาชะ. ท่านจะเข้าใจควานข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษนั้นเอาไม้สด ชุ่มด้วยยาง ตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ มาสีไฟ จะพึงให้ไฟ

เกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือหนอ.

สคารวมาณพกราบทูลว่า ข้อนี้หามิได้ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะไม้นั้นยังสด ชุ่มด้วยยาง ถึงแม้จะตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ บุรุษนั้น

ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่าเท่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภารทวาชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้มีกายหลีกออกจากกามแล้ว แต่ยังมี

ความพอใจในกาม ความเสน่หาในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความระหายใน

กาม ความเร่าร้อนเพราะกาม อันตนยังละไม่ได้ด้วยดี ยังให้สงบระงับด้วยดีไม่

ได้ในภายใน ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

เผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความเพียรก็ดี จะไม่ได้เสวยก็ดี ก็ยังไม่ควรเพื่อจะรู้ เพื่อ

จะเห็นซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ดูก่อนภารทวาชะ อุปมา

ข้อที่ ๒ นี้แลน่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏกะเรา.

[๗๔๓] ดูก่อนภารทวาชะ อุปมาข้อที่ ๓ อีกข้อหนึ่ง น่าอัศจรรย์

ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏกะเรา เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ ทั้ง

ตั้งอยู่บนบก ใกล้น้ำ ถ้าบุรุษพึงมาด้วยหวังว่า จะเอาไม้นั้นมาสีไฟ จักให้ไฟ

เกิด จักทำไฟให้ปรากฏ ดังนี้ ดูก่อนภารทวาชะ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้น

เป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้แห้งเกราะ ทั้งตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ มาสีไฟ จะพึง

ให้ไฟเกิด พึงทำไฟให้ปรากฏได้บ้างหรือหนอ.

สคารวมาณพกราบทูลว่า อย่างนั้นท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะ

เหตุอะไร เพราะไม้นั้นแห้งเกราะ ทั้งตั้งอยู่บนบก ไกลน้ำ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภารทวาชะ ฉันนั้นเหมือนกันแล

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายหลีกออกจากกาม ทั้งความพอใจ

ในกาม ความเสน่หาในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความระหายในกาม ความ

เร่าร้อนเพราะกาม อันตนละได้ด้วยดี ให้สงบระงับด้วยดีแล้วในภายใน ท่าน

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงแม้จะได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะ

ความเพียรก็ดี ถึงแม้จะไม่ได้เสวยก็ดี ก็สมควรเพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็นซึ่งปัญญา

เครื่องตรัสรู้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ดูก่อนภารทวาชะ อุปมาข้อที่ ๓ นี้แล

น่าอัศจรรย์ ไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏกะเรา.

[๗๔๔] ภารทวาชะ. เรานั้นได้มีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึง

กดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบไว้ให้แน่น ให้เร่าร้อน

เถิดดังนี้ เราจึงกดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบไว้ให้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

แน่น ให้เร่าร้อนอยู่ เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้งสอง ดูก่อนภารทวาชะ

เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง จับบุรุษมีกำลังน้อยกว่าที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วกด

บีบไว้แน่น ให้ร้อนจัดฉันใด เมื่อเรากดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น ข่ม

จิตด้วยจิต บีบไว้แน่น ให้ร้อนจัด ก็ฉันนั้น เหงื่อย่อมไหลออกจากรักแร้

ทั้งสอง ถึงเช่นนั้น เราก็ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติมั่นไว้ ไม่

ฟั่นเฟือน แต่ว่ากายที่ปรารภความเพียรของเราอันความเพียรที่ทนได้ยากนั้น

แลเสียดแทง จึงกระสับกระส่าย ไม่สงบระงับ.

[๗๔๕] ดูก่อนภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึง

เพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด เราจึงกลั้นลมอัสสาสะ ปัสสาสะทั้ง

ทางปากและทางจมูกเมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะและปัสสาสะทั้งทางปากและทางจมูก

ก็มีเสียงออกทางช่องหูทั้งสองดังเหลือประมาณ เสียงลมในลำสูบของนายช่าง

ทองที่กำลังสูบอยู่ ดังเหลือประมาณ ฉันใด เมื่อเรากลั้น ลมอัสสาสะและปัสสาสะ

ทั้งทางปากและทางจมูก ก็มีเสียงลมออกทางช่องหูทั้งสองดังเหลือประมาณ

ฉันนั้น ถึงเช่นนั้น เราปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไว้มั่น ไม่ฟั่นเฟือน

แต่ว่ากายที่ปรารภความเพียรของเราอันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง

จึงกระสับกระส่าย ไม่สงบระงับ.

[๗๔๖] ดูก่อนภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึง

เพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด เราจึงกลั้นลมอัสสาสะและปัสสาสะทั้ง

ทางปากทางจมูก และทางช่องหู เมื่อเรากลั้นลมอัสสสาสะและปัสสาสะทั้งทางปาก

ทางจมูกและทางช่องหู ลมก็เสียดแทงศีรษะเหลือประมาณ บุรุษมีกำลังพึง

เชือดกระหม่อมด้วยมีดโกนอันคม ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะและปัสสาสะ

ทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู ลมก็เสียดแทงศีรษะเหลือประมาณ ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

ถึงเช่นนั้น เราก็ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไว้มั่น ไม่ฟั่นเฟือน

แต่ว่ากายที่ปรารภความเพียรของเราอันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง

จึงกระสับกระส่าย ไม่สงบระงับ.

[๗๔๗] ดูก่อนภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เรา

พึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด เราจึงกลั้นลมอัสสาสะและปัสสาสะ

ทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะและปัสสาสะทั้งทาง

ปากทางจมูกและทางช่องหู ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน บุรุษมีกำลังพึงเอาเส้นเชือก

เกลียวเขม็งรัดที่ศีรษะ ฉันใด เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะและปัสสาสะทั้งทางปาก

ทางจมูกและทางช่องหู ก็ให้ปวดศีรษะเหลือทน ฉันนั้น ถึงเช่นนั้นเราก็ปรารภ

ความเพียร ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไว้มั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่กายที่ปรารภความเพียร

ของเรา อันความเพียรที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง จึงกระสับกระส่าย ไม่สงบ

ระงับ.

[๗๔๘] ดูก่อนภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึง

เพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด เราจึงกลั้นลมอัสสาสะและปัสสาสะทั้ง

ทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะและปัสสาสะทั้งทางปาก

ทางจมูก และทางช่องหู ลมก็เสียดแทงพื้นท้องเหลือประมาณ นายโคฆาตหรือ

ลูกมือนายโคฆาตผู้ชำนาญพึงเชือดท้องด้วยมีดสำหรับเชือดเนื้อโค ฉันใด เมื่อ

เรากลั้น ลมอัสสาสะและปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู ลมก็เสียดแทง

พื้นท้องเหลือประมาณ ฉันนั้น ถึงเช่นนั้น เราก็ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน

ตั้งสติไว้มั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่กายที่ปรารภความเพียรของเราอันความเพียร

ที่ทนได้ยากนั้นแลเสียดแทง จึงกระสับกระส่าย ไม่สงบระงับ.

[๗๔๙] ดูก่อนภารทวาชะ. เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไรเรา

พึงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณเป็นอารมณ์เถิด เราจึงกลั้นลมอัสสาสะและปัสสาสะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

ทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรากลั้นลมอัสสาสะและปัสสาสะทั้งทาง

ปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความร้อนในกายเหลือทน บุรุษมีกำลังสองคน

จับบุรุษที่มีกำลังน้อยกว่าคนละแขน ย่างรมไว้ในหลุมถ่านเพลิง ฉันใด เมื่อ

เรากลั้นลมอัสสาสะและปัสสาสะทั้งทางปาก ทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความร้อน

ในกายเหลือทน ฉันนั้น ถึงเช่นนั้น เราก็ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน

ตั้งสติไว้มั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่กายทีปรารภความเพียรของเราอันความเพียร

ที่ตนได้ยากนั้นแลเสียดแทง จึงกระสับกระส่าย ไม่สงบระงับ ดูก่อนภารทวาชะ

โอ เทวดาทั้งหลาย เห็นเราแล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทำกาละ

แล้ว เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมยังไม่ทำกาละ แต่กำลัง

ทำกาละ เทวดาบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม แม้กำลังทำกาละ

ก็หามิได้ พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ ความอยู่เห็นปานนี้นั้น เป็น

วิหารธรรมของพระอรหันต์.

[๗๕๐] ดูก่อนภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เรา

พึงปฏิบัติเพื่ออดอาหารโดยประการทั้งปวงเกิด ทันใดนั้น เทวดาเหล่านั้น

ได้เข้ามาหาเราแล้วกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่าปฏิบัติเพื่ออดอาหาร

โดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติเพื่ออดอาหารโดยประการทั้งปวง

ข้าพเจ้าทั้งหลายจะแซกทิพโอชาลงตามขุมขนของท่าน ท่านจักได้เยียวยาชีวิตไว้

ด้วยทิพยโอชานั้น เรานั้นมีความคิดเห็นว่า เราเองปฏิญาณการไม่บริโภคอาหาร

โดยประการทั้งปวง แต่เทวดาเหล่านี้จะแซกทิพยโอชาลงตามขุมขนของเรา

ทั้งเราก็จะเยียวยาชีวิตไว้ได้ด้วยทิพยโอชานั้น ข้อนั้นพึงเป็นมุสาแก่เรา ดังนี้

เราบอกเลิกแก่เทวดาเหล่านั้น จึงกล่าวว่า อย่าเลย.

[๗๕๑] ดูก่อนภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า ถ้ากระไร เราพึง

กินอาหารผ่อนลงทีละน้อย ๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้างเถิด เราจึงกินอาหาร

ผ่อนลงทีละน้อย ๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพู

บ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง เมื่อเรากินอาหารผ่อนลงทีละ

น้อย ๆ คือ วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อ

ถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง กายก็ถึงความซูบผอมลงเหลือเกิน เพราะ

ความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง อวัยวะน้อยใหญ่ของเราเป็นเหมือนเถาวัลย์

มีข้อมาก หรือเถาวัลย์มีข้อดำ ฉะนั้น ตะโพกของเราเป็นเหมือนดังเท้าอูฐ

กระดูกสันหลังของเราผุดระกะเปรียบเหมือนเถาวัลย์ชื่อวัฏฏนาวฬี ฉะนั้น

ซี่โครงของเราขึ้นนูนเป็นร่องดังกลอนศาลาเก่า มีเครื่องมุงอันหล่นโทรมอยู่

ฉะนั้น ดวงตาของเราถล่มลึกไปในเบ้าตาปรากฏเหมือนดวงดาวในบ่อน้ำอันลึก

ฉะนั้น ผิวศีรษะของเราที่รับสัมผัสอยู่ก็เหี่ยวแห้ง ราวกับผลน้ำเต้าที่เขาตัดมา

แต่ยังสด ถูกลมและแดดแผดเผา ก็เหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น เราคิดว่าจักลูบ

ผิวหนังท้อง ก็จับถูกกระดูกสันหลังด้วย คิดว่าจักลูบกระดูกสันหลัง ก็จับถูก

ผิวหนังท้องด้วย ผิวหนังท้องของเรากับกระดูกสันหลังติดถึงกัน เรานั้นคิดว่า

จักถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็เซซวนล้มลง ณ ที่นั้นเอง เรานั้นเมื่อจะให้

กายนี้แลสบาย จึงเอาฝ่ามือลูบตัว เมื่อเราเอาฝ่ามือลูบตัว ขนอันมีรากเน่า

ก็ร่วงตกจากกายมนุษย์ทั้งหลายเห็นเราแล้วพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม

ดำไป บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่ดำเป็นแต่คล้ำไป บางพวก

กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมดำไปก็ไม่ใช่ จะว่าคล้ำไปก็ไม่ใช่ เป็นแต่

พร้อยไป ดูก่อนภารทวาชะ ผิวพรรณอันบริสุทธิ์ผุดผ่องของเรา ถูกกำจัด

เสียแล้ว เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อยนั่นเอง.

[๗๕๒] ดูก่อนภารทวาชะ เรานั้นมีความคิดเห็นว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต ได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เผ็ดร้อนที่เกิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

เพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ แม้สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคต จักเสวยทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะ

ความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ ถึงสมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่งในบัดนี้ ได้เสวยทุกขเวทนาอัน กล้าเผ็ดร้อนที่เกิดเพราะความ-

เพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ ถึงเช่นนั้น เราก็ไม่ได้บรรลุญาณ

ทัศนะอันวิเศษของพระอริยะอย่างสามารถ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกร

กิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ จะพึงมีทางอื่นเพื่อความตรัสรู้กระมังหนอ เรามีความ

คิดเห็นว่า ก็เราจำได้อยู่ ในงานของท้าวศากยะผู้พระบิดา เรานั่งอยู่ที่

ร่มไม้หว้ามีเงาอันเย็น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน

อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนี้กระมังหนอจะพึงเป็นทาง

เพื่อความตรัสรู้ เราได้มีวิญญาณอันแล่นไปตามสติว่า ทางนี้แหละเป็นทาง

เพื่อความตรัสรู้ เรามีความคิดเห็นว่า เรากลัวต่อสุขอันเว้นจากกามเว้นจาก

อกุศลธรรมนั้นหรือ จึงมีความคิดเห็นว่า เราไม่กลัวต่อสุขอันเว้นจากกาม

เว้นจากอกุศลธรรม.

[๗๕๓] ดูก่อนภารทวาชะ. เรานั้นมีความคิดเห็นว่า อันบุคคลผู้มี

กายอันถึงความซูบผอมเหลือทนอย่างนี้ จะบรรลุถึงความสุขนั้นไม่ใช่ทำได้ง่าย

ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารที่หยาบ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาสเถิด เราจึงกิน

อาหารหยาบ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส สมัยนั้น ภิกษุ (ปัญจวัคคีย์) ๕ รูป

บำรุงเราอยู่ด้วยหวังใจว่า พระสมณโคดมจักบรรลุธรรมใด จักบอกธรรม

นั้นแก่เราทั้งหลาย แต่เมื่อเรากินอาหารหยาบ คือ ข้าวสุกและขนมกุมมาส

พวกภิกษุ (ปัญจวัคคีย์) ๕ รูปนั้น เบื่อหน่ายเรา หลีกไปด้วยเข้าใจว่า พระ-

สมณโคดมเป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

[๗๕๔] ดูก่อนภารทวาชะ ครั้นเรากินอาหารหยาบมีกำลังดีแล้วจึง

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและ

สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าถึงทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก

ผุดขึ้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ

อยู่ เรามีอุเบกขา มีสติสัมชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป

เข้าถึงตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขามีสติ

อยู่เป็นสุข เราเข้าถึงจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ

ดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

[๗๕๕] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้

โน้มน้าวจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ เราย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก

คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง ฯลฯ เราย่อมระลึกถึงชาติท่อนได้เป็นอันมาก

พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภารทวาชะ นี้เป็น

วิชชาข้อที่ ๑ เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี. อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว

วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ไม่

ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่.

[๗๕๖] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้ม

น้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เราเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ

กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก

ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม

กรรม ฯลฯ ดูก่อนภารทวาชะ นี้เป็นวิชชาข้อที่ ๒ เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

แห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว

แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่อยู่

[๗๕๗] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ได้โน้ม

น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์

นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้

อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ

เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตหลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้

จากอวิชชาสวะ. เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภารทวาชะ นี้เป็นวิชชาข้อที่ ๓ เราบรรลุแล้ว

ในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืด

เรากำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ

แน่วแน่อยู่.

[๗๕๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สคารวมาณพได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ความเพียรอันไม่หยุดหย่อนได้มีแล้วแก่ท่าน

พระโคดมหนอ ความเพียรของสัตบุรุษได้มีแล้วแก่ท่านพระโคดมหนอ สมควร

เป็นพระอรหันสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าแต่ท่านพระโคดม เทวดามีหรือหนอแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภารทวาชะ ก็ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้

โดยฐานะ.

ส. ข้าแต่ท่านพระโคดม พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า เทวดามี

หรือหนอ ดังนี้ ตรัสตอบว่า ดูก่อนภารทวาชะ ก็ข้อที่ว่าเทวดามีนั้น รู้ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

โดยฐานะ ดังนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้อยคำของพระองค์เป็นถ้อยคำเปล่า เป็นมุสา

มิใช่หรือ.

พ. ดูก่อนภารทวาชะ ผู้ใดเมื่อถูกถามว่า เทวดามีอยู่หรือ พึงกล่าวว่า

ข้อทีว่า เทวดามีอยู่ เป็นอันรู้กันได้โดยฐานะ ก็เท่ากับกล่าวว่า เรารู้จักเทวดา

เมื่อเป็นเช่นนั้น วิญญูชนพึงถึงความตกลงในเรื่องนี้ว่า เทวดามีอยู่ ดังนี้

ได้โดยส่วนเดียวแท้.

ส. ก็ทำไม ท่านพระโคดมจึงไม่ทรงพยากรณ์แก่ข้าพเจ้าเสียด้วยคำ

แรกเล่า.

พ. ดูก่อนภารทวาชะ ข้อที่ว่าเทวดามีอยู่ดังนี้นั้น เขาสมมติกันในโลก

ด้วยศัพท์อันสูง.

[๗๕๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สคารวมาณพได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์

ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะได้

เห็นรูป ฉันนั้น ข้าพระองค์นี้ ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระ-

ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบายสก

ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนั้นแล.

จบ สคารวสูตร ที่ ๑๐

จบ พราหมณวรรค ที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

อรรถกถาสคารวสูตร

สราควสุตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ในบ้านชื่อปัจจลกัปปะ คือในบ้าน

อันมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า เลื่อมใสยิ่ง ได้แก่ เลื่อมใสด้วยความเลื่อมใสอัน

ไม่หวั่นไหว. ได้ยินว่านางพราหมณีนั้น เป็นอริยสาวิกาโสดาบัน เป็นภรรยา

ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร. เมื่อก่อนทีเดียว พราหมณ์นั้นเชิญพราหมณ์

ทั้งหลายมาแล้วการทำสักการะแก่พราหมณ์เหล่านั้นเสมอ ๆ. ตอนทำเอานาง

พราหมณีนี้มาสู่เรือนแล้วไม่อาจทำจิตให้โกรธต่อนางพราหมณีรูปงามมีตระกูล-

ใหญ่ ไม่อาจทำสักการะแก่พราหมณ์ทั้งหลาย. ครั้งนั้นพราหมณ์ทั้งหลายได้

ถากถางพราหมณ์นั้นในที่ที่เห็นทุกแห่งว่า บัดนี้ ท่านไม่ถือลัทธิพราหมณ์

จึงไม่ทำสักการะแม้สักอย่างหนึ่งแก่พวกพราหมณ์. พราหมณ์นั้นกลับมาเรือน

บอกเนื้อความนั้นแก่พราหมณ์ แล้วกล่าวว่า ถ้าเธอจะอาจรักษาหน้าฉัน ใน

วันหนึ่ง ฉันก็จะให้ภิกษาแก่พราหมณ์ทั้งหลายในวันหนึ่ง. นางพราหมณีว่า

ท่านจงให้ไทยธรรมของท่านในที่ที่ชอบใจเถิด ฉันจะมีประโยชน์อะไรเรื่องนี้.

พราหมณ์นั้นได้เชื้อเชิญพราหมณ์ทั้งหลายแล้ว ให้หุงข้าวปายาสน้ำน้อย เชิญ

ให้ขึ้นเรือน ตบแต่งอาสนะแล้วเชิญให้พราหมณ์ทั้งหลายนั่ง. นางพราหมณี

นุ่งห่มผ้าสาฏกผืนใหญ่ถือทัพพีเลี้ยงดูอยู่พลาด (สดุด) ที่ชายผ้า ไม่ได้กระทำ

ความสำคัญว่า เรากำลังเลี้ยงหมู่พราหมณ์ ระลึกถึงเฉพาะพระศาสดาเท่านั้น

พลันเปล่งอุทานขึ้นด้วยอำนาจความเคยชิน. พราหมณ์ทั้งหลายพึงอุทานแล้ว

โกรธว่า สหายของพระสมณโคดมผู้นี้เป็นคนสองฝ่าย พวกเราจักไม่รับไทย-

ธรรมของเขา ดังนี้ จึงทิ้งโภชนะทั้งหลายแล้วออกไปเสีย. พราหมณ์กล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

เราได้พูดกะท่านไว้แต่ทีแรกทีเดียวมิใช่หรือว่า วันนี้ขอให้ท่านรักษาหน้าฉัน

สักวัน ท่านทำนมสดและข้าวสารเป็นต้น มีประมาณเท่านี้ ให้ฉิบหายเสียแล้ว

(เขา) ลุอำนาจความโกรธเป็นอย่างยิ่ง กล่าวว่า ก็หญิงถ่อยคนนี้ กล่าวสรรเสริญ

สมณโคดมนั้นไม่เลือกที่ อย่างนี้ทีเดียว หญิงถ่อยบัดนี้เราจะยกวาทะต่อศาสดา

นั้นของเธอ. ทีนั้น นางพราหมณีจึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า ไปซิพราหมณ์

ไปซิพราหมณ์ ท่านแล้วไปแล้วจักรู้สึก ดังนี้แล้วกล่าวว่า ท่านพราหมณ์

เราย่อมไม่เห็นบุคคลผู้จะยกวาทะ ฯลฯ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา ดังนี้เป็นต้น.

พราหมณ์นั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามปัญหาว่า

ฆ่าอะไรซิ จึงจะอยู่เป็นสุข ฆ่า

อะไรซิ จึงจะไม่เศร้าโศก ท่านโคดม

ท่านชอบใจการฆ่าธรรมอะไรเป็นธรรม

เอก.

พระศาสดาตรัสตอบปัญหาว่า

ฆ่าความโกรธแล้วอยู่เป็นสุข ฆ่า

ความโกรธแล้วย่อมไม่เศร้าโศก พราหมณ์

พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมสรรเสริญการฆ่า

ความโกรธซึ่งมีรากเป็นพิษมียอดร่อย

เพราะฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมไม่

เศร้าโศก.

พราหมณ์นั้นบวชแล้วบรรลุพระอรหัต. น้องชายของพราหมณ์

นั่นแหละ ชื่ออักโกสกภารทวาชะได้ฟังข่าวว่า พี่ชายของเราบวชแล้ว จึงเข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแนะนำจึงบวชแล้วบรรลุพระอรหัต น้องชาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

เล็กของพราหมณ์นั้น อีกคนหนึ่ง ชื่อสุนทริกภารทวาชะ. แม้พราหมณ์นั้น ก็

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหา ได้ฟังแล้ว แก้ปัญหาบวชแล้ว ก็

บรรลุพระอรหัต. น้องชายคนเล็กของพราหมณ์นั้น ชื่อปิงคลภารทวาชะ.

เขาถามปัญหาในเวลาจบพยากรณ์ปัญหาบวชแล้วก็บรรลุพระอรหัต.

คำว่า มาณพชื่อสคารวะ มีความว่า มาณพนี้เป็นผู้อ่อนกว่า

พราหมณ์ทั้งหมด ของบรรดาพราหมณ์เหล่านั้นในวันนั้น ได้นั่งในโรงอาหาร

แห่งเดียวกันกับพวกพราหมณ์. บทว่า อวภูตา จ ความว่า เป็นผู้ไม่เจริญ

คือ เป็นผู้ไม่มีมงคลเลย. บทว่า เป็นผู้เสื่อม คือ เป็นผู้ถึงความพินาศเท่านั้น.

บทว่า เมื่อ มีอยู่ คือ ครั้นเมื่อ...มีอยู่. บทว่า ศีลและปัญญา ความว่า

ท่านไม่รู้ศีลและญาณ. บทว่า เป็นผู้ถึงบารมีอันเป็นที่สุด เพราะรู้ยิ่ง

ในปัจจุบัน ความว่า พราหมณ์ทั้งหลาย กล่าวว่า เราทั้งหลายเป็นผู้ถึงแล้ว

ซึ่งที่สุด บรรลุพระนิพพานอันเป็นคุณสมบัติยิ่งใหญ่แห่งธรรมทั้งปวง กล่าวคือ

บารมีเพราะรู้ยิ่งในอัตตภาพนี้นั่นแหละ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมปฏิญาณอาทิ

พรหมจรรย์ บทว่า อาทิพรมจรรย์ มีอธิบายว่า ย่อมปฏิญาณอย่างนี้ว่า

เป็นเบื้องต้น คือ เป็นอุปการะ เป็นผู้ทำให้เกิด พรหมจรรย์.

บทว่า นักตรึกตรอง คือ เป็นผู้มีปรกติถือเอาด้วยการคาดคะเน. บทว่า

มีปกติใคร่ครวญ ความว่า เป็นผู้ใคร่ครวญ คือ เป็นผู้มีปรกติใช้ปัญญา

ใคร่ครวญแล้ว กล่าวอย่างนี้. บทว่า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น เราเป็น

ความว่า เราเป็นสัมมาสัมพุทธองค์หนึ่ง บรรดาสัมมาสัมพุทธะเหล่านั้น.

เชื่อมบทว่า อฏฺิตะ ในบทสนธิว่า อฏฺิตวตา เข้ากับ บท ปธานะ เชื่อมบท

สปฺปุรสะ เข้ากับบท ปธานะ ก็เหมือนกัน. มีคำอธิบายนี้ว่า ความเพียร

อันไม่หยุดหย่อน ความเพียรของสัตบุรุษหนอ ได้มีแล้วแก่พระโคดมผู้เจริญ

คำว่า เป็นผู้ถูกทูลถามว่า เทวดามีหรือ ความว่า มาณพกล่าวคำนี้ด้วย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

สำคัญว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงทราบเลย ประกาศ. คำว่า เมื่อเป็น

เช่นนั้น ความว่า เมื่อความที่พระองค์ไม่ทรงทราบมีอยู่. คำว่า เป็นถ้อยคำ

เปล่า เป็นถ้อยคำเท็จ ความว่า ถ้อยคำของพระองค์เป็นถ้อยคำไม่มีผล คือ

ปราศจากผล. มาณพชื่อว่า ย่อมข่มพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาทะว่าพูดเท็จ

ด้วยประการอย่างนี้. บทว่า อันวิญญูชน ได้แก่อัน คนผู้เป็นบัณฑิต. ทรง

แสดงว่า ก็ท่านย่อมไม่รู้คำแม้ที่เราพยากรณ์ เพราะความเป็นผู้ไม่รู้. คำว่า

เขาสมมติกันด้วยศัพท์สูง คือ เขาสมมติ ได้แก่ ปรากฏในโลกด้วยศัพท์

ชั้นสูง. คำว่า เทวดามี อธิบายว่า ก็แม้เด็กหนุ่มสาวทั้งหลาย ชื่อว่าเทพก็มี

ชื่อว่าเทพีก็มี. ส่วนเทพทั้งหลายชื่อว่า อติเทพ คือ เป็นผู้ยิ่งกว่ามนุษย์ทั้งหลาย

ผู้ได้ชื่อว่า เทพ เทพี ในโลก. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสคารวสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๕

อรรถกถามัชฌิมปัณณาสกสูตรในอัฏฐกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนีจบ

อรรถกถาประมวลพระสูตร ๕๐ สูตร ประดับด้วย ๕ วรรคจบ.