ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑ คหปติวรรค

๑. กันทรกสูตร

สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมสำหรับผู้ยังต้องศึกษา

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ฝั่งสระโบกขรณี ชื่อ

คัคครา เขตนครจัมปา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ครั้งนั้นบุตรนายหัตถา-

จารย์ชื่อเปสสะและปริพาชกชื่อกันทรกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับ ครั้นแล้ว นายเปสสหัตถาโรหบุตร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ส่วนกันทรกปริพาชกได้ปราศรัยกับพระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วเหลียวดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งเงียบอยู่ แล้วได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า น่าอัศจรรย์ ท่านพระโคดม ไม่เคยมี ท่านพระโคดม เพียง

เท่านี้ ท่านพระโคดมชื่อว่าทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบแล้ว ท่านพระโคดม

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดได้มีแล้วในอดีตกาล แม้พระผู้มีพระภาค-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

เจ้าเหล่านั้น ก็ทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งเพียงเท่านี้ เหมือนท่าน

พระโคดมทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบในบัดนี้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

เหล่าใด จักมีในอนาคตกาล แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็จักทรงให้

ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งเพียงเท่านี้ เหมือนท่านพระโคดมทรงให้

ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบในบัดนี้.

[๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกันทรกะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น

ดูก่อนกันทรกะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ได้มี

แล้วในอดีตกาล แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็ทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบ

เป็นอย่างยิ่งเพียงเท่านี้ เหมือนเราให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบในบัดนี้.

ดูก่อนกันทรกะ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด จักมีในอนาคต-

กาล แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็จักทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่าง

ยิ่งเพียงเท่านี้ เหมือนเราให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบในบัดนี้.

ดูก่อนกันทรกะ ก็ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายผู้อรหันตขีณาสพอยู่

จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์

ตนถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ มี

อยู่ ดูก่อนกันทรกะ อนึ่ง ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายผู้ยังต้องศึกษา มีปรกติ

สงบ มีความประพฤติสงบ มีปัญญา เลี้ยงชีพด้วยปัญญามีอยู่ เธอเหล่านั้นมีจิต

ตั้งมั่นดีแล้ว ในสติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนกันทรกะ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นภายในกายอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัม-

ปชัญญะ กำจัดอภิชฌา ละโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนา ใน

เวทนาอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก

เสียได้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ กำจัด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

อภิชฌาและโสมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร

มีสติ มีสัมปชัญญะ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายเปสสหัตถาโรหบุตร

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าข้า ไม่เคยมี พระ

พุทธเจ้าข้า สติปัฏฐาน ๔ นี้ พระองค์ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว เพื่อความบริสุทธิ์

ของสัตว์ทั้งหลายเพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ำไร เพื่อความดับแห่งทุกข์

และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ที่จริง แม้

พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว ก็ยังมีจิตตั้งมั่นดีแล้วใน

สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อยู่ตามกาลที่สมควร ขอประทานพระวโรกาส พวก

ข้าพระพุทธเจ้าพิจารณาเห็นภายในกายอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มี

ความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัม-

ปชัญญะ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าข้า

ไม่เคยมี พระพุทธเจ้าข้า เพียงเท่านี้ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า

ย่อมทรงทราบประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์รกชัฏ

เป็นไปอย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์เดนกาก เป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์โอ้อวด

เป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็สิ่งที่รกชัฏคือมนุษย์ สิ่งที่ตื้นคือสัตว์ พระพุทธเจ้าข้า

ด้วยว่าข้าพระพุทธเจ้าสามารถจะให้ช้างที่พอฝึกแล้วแล่นไปได้ ช้างนั้น

จักทำนครจัมปา ให้เป็นที่ไปมาโดยระหว่าง ๆ จักทำความโอ้อวด ความโกง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

ความคด ความงอนั้นทั้งหมดให้ปรากฏด้วย ส่วนมนุษย์ คือทาส คนใช้

หรือกรรมกรของข้าพระพุทธเจ้า ย่อมพระพฤติด้วยกายเป็นอย่างหนึ่ง ด้วยวาจา

เป็นอย่างหนึ่ง และจิตของเขาเป็นอย่างหนึ่ง น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าข้า ไม่

เคยมี พระพุทธเจ้าข้า เพียงเท่านี้ พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า

ย่อมทรงทราบประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลายในเมื่อมนุษย์รกชัฏ

เป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์เดนกาก เป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์

โอ้อวด เป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็สิ่งที่รกชัฏคือมนุษย์ สิ่งที่ตื้นคือสัตว์.

บุคคล ๔ จำพวก

[๘] พ. ดูก่อนเปสสะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนเปสสะ ข้อนี้เป็น

อย่างนั้น ก็สิ่งที่รกชัฏ คือมนุษย์ สิ่งที่ตื้น คือสัตว์ ดูก่อนเปสสะ บุคคล ๔

จำพวกนี้มีอยู่ หาได้อยู่ในโลก ๔ จำพวกนั้นเป็นไฉน.

๑. ดูก่อนเปสสะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำตนให้เดือดร้อน

ประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน.

๒. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนและประ-

กอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำตนให้เดือดร้อน และประกอบ

ความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และประกอบ

ความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

๔. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประ-

กอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่

ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น ไม่มีความ

หิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน

ดูก่อนเปสสะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ จำพวกไหนจะยังจิตของท่านให้ยินดี.

[๕] เป. พระพุทธเจ้าข้า บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความ

ขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อนนี้ ไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้

แม้บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือด

ร้อน ก็ไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้ แม้บุคคลทำตนให้เดือดร้อน และ

ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และ

ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ก็ไม่ยังจิตของข้าพระพุทธ

เจ้าให้ยินดีได้ ส่วนบุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวาย

ในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวาย

ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้นไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือด

ร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหม

อยู่ในปัจจุบัน บุคคลนี้ย่อมยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดี.

พ. ดูก่อนเปสสะ ก็เพราะเหตุไรเล่า บุคคล ๓ จำพวกนี้ จึงยังจิต

ของท่านให้ยินดีไม่ได้.

[๖] เป. พระพุทธเจ้าข้า บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความ

ขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อนนี้ เขาย่อมทำตนซึ่งรักสุข เกลียดทุกข์ ให้

เดือดร้อน เร่าร้อน ด้วยเหตุนี้ บุคคลนี้จึงไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้

แม้บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือด

ร้อน เขาก็ย่อมทำผู้อื่นซึ่งรักสุข เกลียดทุกข์ ให้เดือดร้อน เร่าร้อน ด้วยเหตุ

นี้ บุคคลนี้จึงไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้ แม้บุคคลผู้ทำตนให้เดือด

ร้อน และประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

ร้อน และประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาก็ย่อมทำตน

และผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน เร่าร้อน ด้วยเหตุนี้ บุคคลนี้จึง

ไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้ ก็แลบุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่

ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน เขาไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือด

ร้อนไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่

ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันนี้ ด้วยเหตุนี้ บุคคลนี้ ย่อมยังจิต

ของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้ พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจะขอลาไป

ณ บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่ต้องทำมาก.

พ. ดูก่อนเปสสะ บัดนี้ ท่านจงทราบกาลอันควรเถิด.

ลำดับนั้น นายเปสสหัตถาโรหบุตรชื่นชมอนุโมทนาภาษิตพระผู้มี-

พระภาคเจ้า แล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ

ประทักษิณ แล้วหลีกไป.

[๗] ครั้งนั้น เมื่อนายเปสสหัตถาโรหบุตรหลีกไปไม่นาน พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายเปสสหัตถา-

โรหบุตรเป็นบัณฑิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายเปสสหัตถาโรหบุตรมีปัญญามาก

ถ้านายเปสสหัตถาโรหบุตรพึงนั่งอยู่ครู่หนึ่ง ชั่วเวลาที่เราจำแนกบุคคล ๔

จำพวกนี้โดยพิสดารแก่เขา เขาจักเป็นผู้ประกอบด้วยประโยชน์ใหญ่ อนึ่ง แม้

ด้วยการฟังโดยสังเขปเพียงเท่านี้ นายเปสสหัตถาโรหบุตรยังประกอบด้วย

ประโยชน์ใหญ่ พวกภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นกาล

ข้าแต่พระสุคต นี้เป็นกาลของการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า จะพึงทรงจำแนก

บุคคล ๔ จำพวก นี้โดยพิสดาร ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

โดยพิสดารแล้วจักทรงจำไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอ

ทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้จงดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว.

[๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ทำ

ตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน เป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางตนในโลกนี้ เป็นคนเปลือย ทอดทิ้ง

มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษา ก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุด ก็ไม่หยุด ไม่

ยินดีรับภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีรับภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดีรับภิกษา

ที่เขานิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปากกระเช้า ไม่รับภิกษา

คร่อมธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับภิกษา

ของคน ๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษา

ของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษา

ที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่เขาเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวัน

ไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำ

หมักดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียวเยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับ

ภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง รับภิกขาที่เรือน ๓

หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๓ คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๔ หลัง เยียวยาอัตภาพ

ด้วยข้าว ๔ คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๕ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๕ คำ

บ้าง รับภิกษาที่เรือน ๖ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๖ คำบ้าง รับภิกษาที่

เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษา

ในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๓ ใบบ้าง ๔ ใบบ้าง ๕ ใบบ้าง ๖ ใบบ้าง

๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

๕ วันบ้าง ๖ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภค

ภัตที่เวียนมากึ่งเดือนบ้าง แม้เช่นนี้ด้วยประการฉะนี้อยู่ เขาเป็นผู้มีผักดองเป็น

ภักษาบ้างมีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษา

บ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง

มีข้าวไหม้เป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้า

มันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้ที่หล่นเองเยียวยาอัตภาพ.

เขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสกุลบ้าง

ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้า

เปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพล

ทำด้วยขนสัตว์บ้าง ทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือประ-

กอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือห้ามอาสนะ

บ้าง เป็นผู้กระหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการกระหย่ง [คือเดินกระ-

หย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า] บ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือสำเร็จการนอนบน

หนามบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำ

บ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการทำกายให้เดือดร้อนเร่าร้อนหลาย

อย่างเห็นปานนี้อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทำตนให้

เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน.

[๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบ

ความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะเลี้ยงชีวิต ฆ่า

สุกรเลี้ยงชีวิต ฆ่านกเลี้ยงชีวิต ฆ่าเนื้อเลี้ยงชีวิต เป็นคนเหี้ยมโหด เป็นคน

ฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนปกครองเรือนจำ หรือบุคคลเหล่าอื่น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

บางพวกเป็นผู้ทำการงานอันทารุณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่า

เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือด

ร้อน.

[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ทำตนให้เดือดร้อน และประ-

กอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือนร้อน และ ะ

ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นพระราชามหากษัตริย์

ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วก็ดี เป็นพราหมณ์มหาศาลก็ดี พระราชาหรือพราหมณ์นั้น

โปรดให้ทำโรงที่บูชายัญขึ้นใหม่ทางด้านบูรพาแห่งนคร แล้วทรงจำเริญพระ-

เกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งหนังเสือทั้งเล็บ ทรงทาพระกายด้วยเนยใสและ

น้ำมันงา ทรงเกาพระปฤษฎางค์ด้วยเขามฤค เข้าไปยังโรงที่บูชายัญใหม่ พร้อม

ด้วยพระมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บรรทมบนพื้นดิน อันมิได้ลาดด้วยเครื่อง

ลาด เขาทาด้วยโคมัยสด น้ำนมในเท้าที่หนึ่งแห่งโคแม่ลูกอ่อนตัวเดียวมีเท่าใด

พระราชาทรงเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนมในเต้าที่ ๒ มีเท่าใด

พระมเหสีทรงเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนมในเต้าที่ ๓ มีเท่าใด

พราหมณ์ปุโรหิต ย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนมในเท้าที่ ๔ มี

เท่าใด ก็บูชาไฟด้วยน้ำนมเท่านั้น ลูกโคเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมที่เหลือ

พระราชาหรือพราหมณ์นั้นตรัสอย่างนี้ว่า เพื่อต้องการบูชายัญ จงฆ่าโคผู้ประ-

มาณเท่านี้ ลูกโคผู้ประมาณเท่านี้ ลูกโคเมียประมาณเท่านี้ แพะประมาณเท่านี้

ม้าประมาณเท่านี้ จงตัดต้นไม้ประมาณเท่านี้ เพื่อต้องการทำเป็นเสายัญ จง

เกี่ยวหญ้าประมาณเท่านี้ เพื่อต้องการลาดพื้น ชนเหล่าที่เป็นทาสก็ดี เป็น

คนใช้ก็ดี เป็นกรรมกรก็ดี ของพระราชาหรือพราหมณ์นั้น ชนเหล่านั้นถูก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

อาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ ทำการงานตามกำหนด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่า ผู้ทำคนให้เดือดร้อน ประกอบ

ความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน และทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประ-

กอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

กถาว่าด้วยพระพุทธคุณ

[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่

ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือด-

ร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่

ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน เป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติโนโลกนี้ เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้ง

โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระ-

องค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ได้แจ้งชัด ด้วย

ปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม

ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริ-

บูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง

ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้วได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว

ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสดับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

ปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์

ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผม

และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา

เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด

นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

ความถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ

[๑๒] เขาบวชอย่างนี้แล้ว ถึงพร้อมด้วยสิกขาและอาชีพ เสมอด้วย

ภิกษุทั้งหลาย.

๑. ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศัสตรา

มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.

๒. ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขา

ให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่.

๓. ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์

ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน.

๔. ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง

ดำรงคำสัตย์มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก.

๕. ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไป

บอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอก

ข้างนี้เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริม

คนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อม

เพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อม

เพรียงกัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

๖. ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะ

หู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ.

๗. ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่

เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำที่มีหลักฐาน มีที่อ้าง

มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร.

๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.

๙. ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล.

๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และการเล่น

อันเป็นข้าศึกแก่กุศล.

๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้

ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.

๑๒. เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.

๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน.

๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.

๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ

๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.

๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.

๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.

๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.

๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา .

๒๑. เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

๒๒. เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.

๒๓. เว้นขาดจากการซื้อการขาย.

๒๔. เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม และ

การโกงด้วยเครื่องตวงวัด.

๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.

๒๖. เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น

และกรรโชก.

เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็น

เครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบิน

ไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็มีปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล

เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหาร

ท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง.

ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศ-

จากโทษในภายใน เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ

เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศล

ธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า

ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ เธอฟังเสียงด้วยโสตะ. . . ดมกลิ่นด้วยฆานะ. . .

ลิ้มรสด้วยชิวหา . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ

แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อ

ไม่สำรวมเเล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบ

งำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วย

อินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสภายใน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัว ในการก้าวไป ในการถอยกลับ ใน

การแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ

บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น

การพูด การนิ่ง.

การละนิวรณ์

[๑๓] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติและสัมปชัญญะ

อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา

ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับ

จากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความ

เพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความ

เพ่งเล็ง ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวัง

ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ

พยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนด

หมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีน-

มิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อม

ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา

ไม่มีความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก

วิจิกิจฉาได้.

ฌาน ๔

[๑๔] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ

อันทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

ฌานมีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌานมีความผ่อง

ใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก

วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและเสวย

สุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลาย

สรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌานไม่มี

ทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้มี

อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

บุพเพนิวาสานุสสติญาณ

[๑๕] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศ

จากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม

จิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ

ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบ

ชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติ

บ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัป

เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น

มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่าง

นั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเรานั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น

แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร

อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติ

จากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก

พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

จุตูปปาตญาณ

[๑๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อม

โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ

กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม

กรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน

พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้า

แต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้

ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัม-

มาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก

เขาเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว

ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วย

ประการฉะนี้.

อาสวักขยญาณ

[๑๗] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อม

โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์

นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสว-

สมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

ย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิต

หลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่

ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่

ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน

ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข

มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำเป็นไวยากรณ์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม

ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.

จบกันทรกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

ปปัญจสูทนี

อรรถกถามัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

อรรถกถาคหปติวรรค

๑. อรรถกถากันทรกสูตร

กันทรกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมา

อย่างนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า จมฺปาย คือในนครมีชื่ออย่างนั้น. เพราะนคร .

นั้นได้มีต้นจำปาขึ้นหนาแน่นในที่นั้น ๆ มีสวนและสระโบกขรณีเป็นต้น . ฉะนั้น

จึงได้ชื่อว่า นครจัมปา. บทว่า คฺคคราย โปกฺขรณิยา ตีเร ณ ฝั่งสระโบก-

ขรณี ชื่อว่า คัคครา คือ ณ ที่ไม่ไกลนครจัมปานั้นมีสระโบกขรณี ชื่อว่า

คัคครา เพราะพระราชมเหสีพระนามว่า คัคครา ทรงขุดไว้. ณ ฝั่งสระโบก-

ขรณีนั้นมีสวนจำปาขนาดใหญ่ประดับด้วยดอกมี ๕ สีมีสีเขียวเป็นต้นโดยรอบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวนจำปาอันมีกลิ่นดอกไม้หอมนั้น.

พระอานนทเถระหมายถึงสวนจำปานั้นจึงกล่าวว่า คคฺคราย โปกฺขรณิยา

ตีเร ดังนี้.

บทว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ คือ

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มิได้กำหนดจำนวนไว้. บทว่า เปสฺโส เป็นชื่อ

ของบุตรนายหัตถาจารย์นั้น. บทว่า หตฺถาโรหปุตฺ โต คือบุตรของนายหัตถา-

จารย์ (ควาญช้าง). บทว่า กนฺทรโก ปริพฺพาชโก คือ ปริพาชกผู้นุ่งผ้าจึง

มีชื่ออย่างนี้ว่า กันทรกะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

บทว่า อภิวาเทตฺวา คือ เป็นผู้เสมือนเข้าไปในระหว่างพระพุทธ-

รัศมีหนาทึบประกอบด้วยวรรณะ ๖ ประการ แล้วดำลงในน้ำครั่งใสสะอาด

หรือเสมือนคลี่ผ้าซึ่งมีสีดังสีทองคลุมลงบนศีรษะ หรือสวมศีรษะด้วยเครื่อง

ประดับทำด้วยดอกจำปาซึ่งถึงพร้อมด้วยสีและกลิ่น หรือว่า เสมือนพระจันทร์

วันเพ็ญซึ่งโคจรเข้าไปยังเชิงภูเขาสิเนรุ ฉะนั้น แล้วถวายบังคมพระบาทของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า อันประกอบด้วยพระสิริ ดังดอกจำปาสีสดกำลังบาน อัน

ประดับด้วยจักรลักษณะ. บทว่า เอกมนฺต นิสีทิ คือ นั่งในโอกาสหนึ่งอัน

เว้นโทษของการนั่ง ๖ ประการ.

บทว่า ตุณฺหีภูต ตุณฺหึภูต คือเหลียวดูภิกษุสงฆ์นั่งนิ่งเงียบ. เพราะ

ณ ที่นั้นภิกษุแม้รูปหนึ่งก็มิได้มีความรำคาญด้วยมือและเท้า. ภิกษุทุกรูปมิได้

คุยกัน ด้วยความเคารพแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และเพราะตนได้รับการศึกษา

แล้วเป็นอย่าง ดี โดยที่สุดไม่ทำแม้เสียงไอ แม้กายก็ไม่ไหว แม้ใจก็ไม่

ฟุ้งซ่าน ดุจเสาเขื่อนที่ฝั่งไว้อย่างดี ดุจน้ำในมหาสมุทรสงบเงียบในที่ที่ไม่มี

ลม นั่งล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจรัตตวลาหกล้อมยอดภูเขาสิเนรุฉะนั้น. ปีติ

และโสมนัสอันยิ่งใหญ่ได้เกิดแก่ปริพาชกเพราะเห็นบริษัทสงบเงียบอย่างนั้น.

ก็แลปริพาชกไม่อาจสงบปีติโสมนัสอันเกิดแล้วในภายในหทัยให้เงียบอยู่ได้จึง

เปล่งวาจาอันน่ารัก กล่าวคำมีอาทิว่า อจฺฉริย โภ โคตม น่าอัศจรรย์พระ-

โคดมผู้เจริญ. ชื่อว่า อัจฉริยะ น่าอัศจรรย์เพราะย่อมไม่มีเป็นนิจดุจคนตาบอด

ขึ้นภูเขาได้ฉะนั้น พึงทราบว่า นี้เป็นตันตินัย (แบบแผน, ประเพณี) ไว้ก่อน.

ส่วนอรรถกถานัยพึงทราบดังต่อไปนี้. ชื่อว่า อจฺฉริย เพราะประกอบ

แก่นิ้วมือ. อธิบายว่า ควรประกอบการดีดนิ้วมือ. ชื่อว่า อพฺภูติ เพราะไม่เคย

มีมาก่อน. แม้ทั้งสองบทก็อย่างเดียวกัน. บทว่า อพฺภูติ นี้เป็นชื่อของการนำ

มาซึ่งความพิศวง. ส่วนบทว่า อจฺฉริย นี้นั้นมี ๒ อย่างคือ ครหอัจฉริยะ

(อัศจรรย์ในการติเตียน) ๑ ปสังสาอัจฉริยะ (อัศจรรย์ในการสรรเสริญ) ๑.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

ในอัจฉริยะทั้งสองนั้น พระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ น่าอัศ-

จรรย์ ดูก่อนโมคคัลลานะ ไม่เคยมี โมฆบุรุษนั้นจักมาหา ก็ต่อเมื่อจับแขนมา

นี้ชื่อว่า ครหอัจฉริยะ. พระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนนันทมารดา น่าอัศจรรย์

ดูก่อนนันทมารดา ไม่เคยมี แม้จิตตุปบาท ก็ชำระให้บริสุทธิ์ได้ นี้ชื่อว่า ปสัง-

สาอัจฉริยะ. ในที่นี้ท่านประสงค์เอาปสังสาอัจฉริยะ นี้แหละ. เพราะปริ-

พาชกนี้เมื่อสรรเสริญจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อิท ในบทว่า ยาวญฺจิท นี้ เป็น

เพียงนิบาต. บทว่า ยาว กำหนดประมาณคือ ทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็น

อย่างยิ่ง. ท่านอธิบายว่า ไม่สามารถจะพรรณนาถึงประมาณที่ให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติ

ชอบ นี้จึงน่าอัศจรรย์ นี้จึงไม่เคยมี โดยแท้แล.

บทว่า เอตปรมเยว ชื่อว่า เอตปรโม เพราะให้ภิกษุสงฆ์นั้น

ปฏิบัติชอบอย่างนั้น เป็นอย่างยิ่งของภิกษุแม้นั้น. ชื่อว่า ปฏิบัติชอบเป็น

อย่างยิ่งเพียงเท่านี้ อธิบายว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเคยให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติ

ฉันใด ก็ทำให้ภิกษุสงฆ์นี้ปฏิบัติเหมือนกันฉันนั้นไม่ยิ่งไปกว่านี้. ในนัยที่ ๒ พึง

ประกอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจักให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติอย่างนี้ไม่ให้ยิ่งไปกว่านี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปฏิปาทิโต ให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติคือให้ประกอบ

ในข้อปฏิบัติอันไม่เป็นข้าศึกโดยชอบ เพราะทำอภิสมาจาริกวัตรให้เป็นเบื้อง-

ต้น. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ปริพาชกนี้จึงอ้างถึงพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายในอดีตและอนาคตเล่า. ปริพาชกนั้นมีญาณกำหนดรู้กาลทั้ง ๓ หรือ.

ตอบว่า ไม่มีแม้ในการถือเอานัย.

บทว่า นิปกา มีปัญญาเฉลียวฉลาด คือ ภิกษุทั้งหลายมีปัญญาประ-

กอบด้วยความเฉลียวฉลาด มีปัญญา เลี้ยงชีพด้วยปัญญา สำเร็จการเลี้ยงชีวิต

เพราะตั้งอยู่ในปัญญา เหมือนอย่างภิกษุบางรูป แม้บวชในศาสนา เที่ยวไปใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

อโคจร ๖ เพราะเหตุแห่งชีวิต เที่ยวไปหาหญิงแพศยา เที่ยวไปหาหญิงหม้าย

หญิงสาวเทื้อ บัณเฑาะก์ โรงสุราและภิกษุณี คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์

ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ คลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร

สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยการแสวงหาอันไม่สมควร ๒๑ อย่างคือ ทำเวชกรรม

ทำทูตกรรม ทำการส่งข่าว ฝ่าฝี ให้ยาพอกฝี ให้ยาระบายอย่างแรง ให้ยาระ-

บายอย่างอ่อน หุงน้ำมันสำหรับนัตถุ์ หุงน้ำมันสำหรับดื่ม ให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้

ดอกไม้ ผลไม้ น้ำอาบ ไม้สีฟัน น้ำบ้วนปาก ให้ดินผงขัดตัว พูดให้เขารัก

พูดที่เล่นทีจริง ช่วยเลี้ยงดูเด็ก ช่วยส่งข่าวสาร ชื่อว่า ไม่เลี้ยงชีพด้วยปัญญา

เฉลียวฉลาด คือสำเร็จการเลี้ยงชีวิตเพราะไม่ตั้งอยู่ด้วยปัญญา.

จากนั้นครั้นทำกาลกิริยาแล้วก็จะเป็นสมณยักษ์ เสวยทุกข์ใหญ่โดยนัย

ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า แม้สังฆาฏิของภิกษุนั้นก็รุ่มร้อนเร้ารุม ภิกษุไม่เป็น

อย่างนี้ไม่ล่วงสิกขาบทแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ดำรงอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล เล่า

เรียนพระพุทธพจน์ตามกำลัง บำเพ็ญอริยปฏิปทาเหล่านี้ คือ รถวินีตปฏิปทา

มหาโคสิงคปฏิปทา มหาสุญญทาปฏิปทา อนังคณปฏิปทา ธรรมทายาทปฏิปทา

นาลกปฏิปทา ตุวัฏฏกปฏิปทา จันโทปมปฏิปทา เป็นกายสักขี ในอริยวังส-

ปฏิปทาคือมีความสันโดษด้วยปัจจัย ๔ และมีความยินดีตามความมีอยู่ของตน

เป็นผู้อยู่โดดเดี่ยวในการเที่ยวไปเป็นต้น ดุจช้างพ้นจากข้าศึก ดุจสีหะสละจาก

ฝูง และดุจมหานาวา ไม่มีเรือติดตามไปข้างหลัง เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาตั้งความ

อุตสาหะอยู่ว่า เราจักบรรลุพระอรหัตในวันนี้ให้จงได้.

บทว่า สุปติฏฺิตจิตฺตา มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว คือ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วย

ดีในสติปัฏฐาน ๔. สติปัฏฐานกถาที่เหลือกล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง ส่วน

ในที่นี้ท่านกล่าวถึงสติปัฏฐานเจือกันทั้งโลกิยะและโลกุตตระ. ด้วยเหตุเพียงเท่า

นี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงเหตุที่ภิกษุสงฆ์เข้าไปสงบแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

บทว่า ยาว สุปญฺตฺตา คือสติปัฏฐาน ๔ พระองค์ทรงตั้งไว้ด้วยดี

แล้ว คือ ทรงแสดงดีแล้ว. ด้วยบทว่า มยปี หิ ภนฺเต นี้ เปสสะบุตรควาญ

ช้างนั้นแสดงถึงความที่ตนเป็นผู้ทำการงาน และยกภิกษุสงฆ์ขึ้น. ในข้อนี้มีอธิ-

บายดังต่อไปนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่จริงแม้พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์นุ่ง

ผ้าขาว ฯ ล ฯ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้วอยู่. การไถ พืช แอก คันไถและผาลไถนา

นี้มิได้มีแก่ภิกษุสงฆ์ เพราะฉะนั้นภิกษุสงฆ์จึงมุ่งต่อสติปัฏฐานตลอดกาล.

ส่วนพวกข้าพระองค์ได้โอกาสตามกาลสมควรแล้วจึงทำมนสิการนี้. แม้พวก

ข้าพระองค์จะเป็นผู้ทำการงาน ก็ไม่สละกรรมฐานด้วยประการทั้งปวง.

บทว่า มนุสฺสคหเน มนุษย์รกชัฏ คือ เพราะถือเอาความรกชัฏ

ของอัธยาศัยแห่งมนุษย์ทั้งหลาย. พึงทราบว่าความที่ถือเอาแม้อัธยาศัยของ

มนุษย์เหล่านั้นด้วยความรกชัฏด้วยกิเลส. แม้ในอัธยาศัยเดนกากและอัธยาศัย

โอ้อวดก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในอัธยาศัยเหล่านั้น พึงทราบความที่อัธยาศัยชื่อว่า

เดนกาก เพราะอรรถว่าไม่บริสุทธิ์. อัธยาศัยชื่อว่า โอ้อวด เพราะอรรถว่า

หลอกลวง.

บทว่า สตฺตาน หิตาหิต ชานาติ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงรู้

ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลายคือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ

ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของมนุษย์ทั้งหลายด้วยดี เหมือนอย่างทรงทราบ

รกชัฏ เดนกากและความหลอกลวงของมนุษย์ฉะนั้น. ในบทว่า ยทิท ปสโว

นี้ท่านประสงค์เอาสัตว์ ๒ เท้าแม้ทั้งหมด.

บทว่า ปโหมิ คือสามารถ. บทว่า ยาวตฺตเกน อนฺตเรน โดยระหว่าง

ประมาณเท่าใด คือโดยขณะเท่าไร. บทว่า จมฺป คตาคต กริสฺสติ จัก

ทำนครจัมปาให้เป็นที่ไปมาคือจักทำการไปและการมาตั้งแต่โรงม้าจนถึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

ประตูนครเมืองจัมปา. บทว่า สาเยฺยานิ คือความเป็นผู้โอ้อวด. บทว่า

กูเฏยฺยานิ คือความเป็นผู้โกง. บทว่า วงฺเกยฺยานิ คือความเป็นผู้คด. บทว่า

ชิมฺเหยฺยานิ คือความเป็นผู้งอ. บทว่า ปาตุกริสฺสติ จักทำให้ปรากฏคือจัก

ประกาศ จักแสดง. เพราะไม่สามารถเพื่อจะแสดงความโอ้อวดเป็นต้นเหล่านั้น

โดยระหว่างประมาณเท่านี้ได้.

พึงทราบวินิจฉัยในความโอ้อวดเป็นต้นดังต่อไปนี้ เมื่อภิกษุสงฆ์จะยืน

อยู่ในที่ไหน ๆ ทั้ง ๆ เป็นที่ไม่มีภัยเฉพาะหน้าของมนุษย์ คิดว่า เราจักไปข้าง

หน้าแล้วยืนลวง จึงไปยืนทำเป็นไม่เคลื่อนไหวเหมือนเสาที่ฝังไว้ในที่ที่ประ-

สงค์จะตั้งไว้ ภิกษุนี้ชื่อว่าโอ้อวด. เมื่อภิกษุประสงค์จะกั้นในที่ไหน ๆ แล้ว

ก้มลำตัวขวางไว้ทั้ง ๆ ที่เป็นที่ไม่มีภัยเฉพาะหน้าของมนุษย์ทั้งหลายคิดว่า เรา

จักไปข้างหน้าแล้วก้มลวง จึงก้มตัวลวงในที่นั้น ภิกษุนี้ชื่อว่าโกง. เมื่อภิกษุ

ประสงค์จะหลีกจากทางในที่ไหน ๆ แล้วกลับเดินสวนทางทั้ง ๆ เป็นที่ไม่มีภัย

เฉพาะหน้าของมนุษย์ทั้งหลายคิดว่าเราจักไปข้างหน้าแล้วลวงทำอย่างนี้ จึงหลีก

จากทางในที่นั้นแล้วกลับเดินสวนทาง ภิกษุนี้ชื่อว่า คด. เมื่อภิกษุประสงค์จะ

ไปตามทางตรงตามเวลา จากซ้ายตามเวลา จากขวาตามเวลา ทั้ง ๆ เป็นที่ไม่มี

ภัยเฉพาะหน้าของมนุษย์ทั้งหลาย คิดว่า เราจักไปข้างหน้าแล้วลวงทำอย่างนี้

จึงไปทางตรงตามเวลาจากซ้ายตามเวลาจากขวาตามเวลาในที่นั้น . อนึ่งที่นี้เขา

กวาดไว้เตียน จอแจด้วยมนุษย์ น่ารื่นรมย์ไม่ควรทำกรรมเห็นปานนี้ในที่นี้

ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้ประสงค์จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะด้วยคิดว่าเราจักไปข้าง

หน้าแล้วทำในที่ที่ปกปิด จึงทำในที่นั้น ภิกษุนี้ชื่อว่า งอ. ท่านกล่าวไว้ดังนี้

หมายถึงกิริยาแม้ ๔ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

ช้างนั้นจักทำ ความโอ้อวด ความโกง ความคด ความงอ เหล่านั้น

ทั้งหมดให้ปรากฏได้. สัณฐานเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทำอยู่อย่างนี้ ก็ชื่อว่าย่อมทำ

ความโอ้อวดเป็นต้นเหล่านั้นให้ปรากฏ.

ครั้งนายเปสสะบุตรครวญช้างแสดงความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ตื้น

บัดนี้เมื่อจะแสดงความที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่รกชัฏจึงกราบทูลบทมีอาทิว่า

อมฺหาก ปน ภนฺเต.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทาสา ได้แก่ ทาสเกิดภายใน ทาสไถ่มาด้วย

ทรัพย์ ทาสเป็นเชลยหรือถึงความเป็นทาสรับใช้. บทว่า เปสฺสา คือคนรับ

ใช้. บทว่า กมฺมกรา คือคนเลี้ยงชีวิตด้วยอาหารและค่าจ้าง. บทว่า อญฺตา

จ กาเยน ด้วยกายเป็นอย่างหนึ่ง ท่านแสดงว่า ทาสเป็นต้นย่อมประพฤติ

ด้วยกายโดยอาการอย่างหนึ่ง ด้วยวาจาโดยอาการอย่างหนึ่ง และจิตของทาส

เป็นต้นเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่โดยอาการอย่างหนึ่ง. ในทาสเหล่านั้นทาสใดเห็น

นายเฉพาะหน้าแล้วลุกขึ้นต้อนรับ รับของจากมือ ปล่อยสิ่งนี้ถือเอาสิ่งนี้ ทำ

กิจทั้งหมดแม้ที่เหลือมีปูที่นั่ง พัด และล้างเท้าเป็นต้น แต่พอลับหลัง แม้

น้ำมันไหลก็ไม่เหลียวแล การงานแม้ขาดทุนตั้งร้อยตั้งพันเสียหายไป ก็ไม่

ปรารถนาจะกลับมาเหลียวแล ทาสเหล่านี้ชื่อว่าประพฤติด้วยกายอย่างอื่น. อนึ่ง

ทาสเหล่าใดต่อหน้าพูดสรรเสริญเป็นต้นว่าเขาเป็นเจ้านายของฉัน พอลับหลัง

คำที่พูดไม่ได้ไม่มีเลย ย่อมพูดคำที่ต้องการพูด ทาสเหล่านี้ชื่อว่าพระพฤติด้วย

วาจาอย่างหนึ่ง.

บทว่า จตฺตาโรเม เปสฺส ปุคฺคลา ดูก่อนเปสสะ บุคคล ๔ จำพวก

เหล่านี้มีอยู่ แม้บุคคลนี้ก็เป็นการสืบต่อเฉพาะตัว.

เปสสะนี้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง

ทราบประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์รกชัฏเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

ไปอยู่อย่างนี้ในเมื่อมนุษย์เดนกากเป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์โอ้อวดเป็น

ไปอยู่อย่างนี้.

บุคคล ๓ จำพวกก่อนเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาไม่เป็นประโยชน์ บุคคลจำ-

พวกที่ ๔ เป็นผู้ปฏิบัติเป็นประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงว่า เรารู้

ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้ จึงทรงปรารภเทศนานี้.

แม้การประกอบกับถ้อยคำของกันทรกปริพาชกในหนหลังก็ควร. ด้วยเหตุนี้

กันทรกปริพาชกจึงกล่าวว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ เพียงเท่านี้ ท่านพระโคดม

ชื่อว่า ทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบแล้วดังนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อทรงแสดงแก่นายเปสสะนั้นว่า

เราเว้นบุคคล ๓ จำพวกก่อน แล้วให้บุคคลจำพวกที่ ๔ เบื้องบนปฏิบัติใน

ปฏิปทาเป็นประโยชน์นั่นแหละจึงทรงปรารภเทศนานี้.

บทว่า สนฺโต นี้เป็นไวพจน์ของบทว่า สวิชฺชมานา มีอยู่. จริง

อยู่ ความดับสนิทในบทนี้ว่า สนฺตา โหนฺติ สมิตา วูปสนฺตา ท่านกล่าว

ว่า สนฺตา สงบแล้ว. ท่านกล่าวว่า นิพฺพุตา ดับแล้วในบทนี้ว่า สนฺตา

เอเต วิหารา อริยสฺส วินเย วุจฺจนฺติ ท่านกล่าววิหารเหล่านี้สงบในวินัย

ของพระอริยะ. ท่านกล่าวว่า บัณฑิต ในบทนี้ว่า สนฺโต หเว สพฺภิ

ปเวทยนฺติ สัตบุรุษทั้งหลายย่อมประกาศด้วยความเป็นสัตบุรุษ. บัณฑิต

ทั้งหลายมีอยู่ในโลกนี้. อธิบายว่า พอหาได้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ทำตนให้เดือดร้อนชื่อว่า อตฺตนฺตโป

เพราะทำตนให้เดือนร้อน ให้ถึงทุกข์. ประกอบการขวนขวายในการทำตนให้

เดือดร้อน ชื่อว่า อตฺตปริตาปนานุโยค. ชื่อว่า ปรนฺตโป เพราะทำผู้อื่น

ให้เดือดร้อน ให้ถึงทุกข์. ประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

ชื่อว่า ปรปริตาปนานุโยค. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม คือในอัตภาพนี้แหละ.

บทว่า นิจฺฉาโต ไม่มีความหิว ตัณหาท่านเรียกว่า ฉาต. ชื่อว่า นิจฺฉาโต

เพราะไม่มีความอยาก. ชื่อว่า นิพฺพุโต เพราะดับกิเลสได้ทั้งหมด. ชื่อว่า

สีติภูโต เพราะเป็นผู้เย็นเพราะไม่มีกิเลสอันทำให้เดือดร้อนในภายใน. ชื่อว่า

สุขปฏิสเวที เพราะเสวยสุขเกิดแต่ฌานมรรคผลและนิพพาน. บทว่า พฺรหฺม-

ภูเตน อตฺตนา มีตนเป็นดังพรหมคือมีตนประเสริฐ.

บทว่า จิตฺต อาราเธติ ยังจิตให้ยินดี คือยังจิตให้ถึงพร้อม ให้

บริบูรณ์. อธิบายว่า ให้เลื่อมใส. บทว่า ทุกฺขปฏิกฺกูล เกลียดทุกข์ คือ

ทุกข์เป็นสิ่งน่าเกลียดตั้งอยู่ในความเป็นข้าศึก. อธิบายว่า ไม่ปรารถนาทุกข์.

ในบทว่า ปณฺฑิโต นี้ ไม่ควรกล่าวว่าเป็นบัณฑิตด้วยเหตุ ๔ ประ-

การ. แต่ควรกล่าวว่าเป็นบัณฑิตเพราะทำกรรมใน สติปัฏฐาน แม้บทนี้ว่า

มหาปญฺโ ก็ไม่ควรกล่าวด้วยลักษณะของมหาปัญญาด้วยบทมีอาทิว่า

มหนฺเต อตฺเถ ปริคณฺหติ ถือเอาประโยชน์ใหญ่. แต่ควรกล่าวว่าเป็นผู้มี

ปัญญามากเพราะประกอบด้วยปัญญากำหนดถือเอา สติปัฏฐาน. บทว่า มหตา

อตฺเถน สยุตฺโต อภวิสฺส เขาจักเป็นผู้ประกอบด้วยประโยชน์ใหญ่ คือพึง

เป็นผู้ประกอบ เป็นผู้ถึงด้วยประโยชน์ใหญ่ ความว่า พึงบรรลุโสดาปัตติผล.

ถามว่า ก็แม้เมื่อตั้งอยู่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะมี

อันตรายแก่มรรคผลหรือ. ตอบว่า มีซิ. แต่มิได้มีเพราะอาศัยพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย. โดยที่แท้ย่อมมีได้เพราะความเสื่อมของกิริยาหรือเพราะปาปมิตร. ใน

อันตรายทั้งสองนั้น ชื่อว่าย่อมมีเพราะความเสื่อมของกิริยาดังต่อไปนี้. หากว่า

พระธรรมเสนาบดีรู้อัธยาศัยของธนัญชานิยพราหมณ์แล้ว ได้แสดงธรรม

พราหมณ์นั้นจักได้เป็นพระโสดาบัน. อย่างนี้ชื่อว่าย่อมมีเพราะความเสื่อมแห่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

กิริยา. ชื่อว่าย่อมมีเพราะปาปมิตรมีอธิบายดังนี้. หากว่าพระเจ้าอชาตศัตรูเชื่อ

คำของเทวทัตแล้วไม่ทำปิตุฆาต. พระเจ้าอชาตศัตรูจักได้เป็นโสดาบันในวันที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสามัญญผลสูตรนั่นเอง. แต่เพราะพระเจ้าอชาตศัตรู

เชื่อคำของเทวทัตนั้นแล้วทำปิตุฆาต จึงไม่ได้เป็นโสดาบัน. อย่างนี้ชื่อว่า

อันตรายย่อมมีเพราะปาปมิตร. ความเสื่อมแห่งกิริยาเกิดแก่อุบาสกแม้นี้ เมื่อ

เทศนายังไม่จบพราหมณ์ลุกหลีกไปเสีย.

บทว่า อปิจ ภิกฺขเว เอตฺตาวตาปิ เปสฺโส หตฺถาโรหปุตฺโต

มหตา อตฺเถน สยุตฺโต อนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ด้วยการฟังโดย

สังเขปเพียงเท่านี้ นายเปสสะควาญช้างยังประกอบด้วยประโยชน์ใหญ่. ถามว่า

ด้วยประโยชน์ใหญ่เป็นไฉน. ตอบว่า คือด้วยอานิสงส์ ๒ ประการ. นัยว่าอุบาสก

เลื่อมใสในพระสงฆ์ และนัยใหม่ยิ่งเกิดแก่อุบาสกนั้นเพื่อกำหนดถือเอาสติปัฏ-

ฐาน ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มหตา อตฺเถน สยุตฺโต

เป็นผู้ประกอบด้วยประโยชน์ใหญ่. กันทรกปริพาชกได้ความเลื่อมใสในพระสงฆ์

เท่านั้น. บทว่า เอตสฺส ภควา กาโล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นกาล

แห่งการแสดงธรรมนั้น ความว่า นี้เป็นกาลแห่งการกล่าวธรรมหรือว่าแห่งการ

จำแนกบุคคล ๔ จำพวก.

พึงทราบความในบทมีอาทิ โอรพฺภิโก ฆ่าแพะเลี้ยงชีวิตดังต่อไปนี้

แพะท่านเรียกว่า อุรพฺภะ ชื่อว่า โอรพฺภิโก เพราะฆ่าแพะ. แม้ในบทมี

อาทิว่า สูกริโก ฆ่าสุกรเลี้ยงชีวิตก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ลุทฺโท คือ

เหี้ยมโหดหยาบคาย. บทว่า มจฺฉฆาฏโก คือพรานเบ็ดผู้ผูกปลา. บทว่า

พนฺธนาคาริโก คือคนปกครองเรือนจำ. บทว่า กุรูรกมฺมนฺตา คือทำการ

งานทารุณ. บทว่า มุทฺธาวสิตฺโต คือพระราชาได้รับมุรธาภิเษกด้วยการ

อภิเษกเป็นกษัตริย์. บทว่า ปุรตฺถิเมน นครสฺส คือทางทิศบูรพาจาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

พระนคร. บทว่า สนฺถาคาร คือโรงบูชายัญ. บทว่า ขราชิน นิวาเสตฺวา

คือทรงนุ่งหนังเสือทั้งเล็บ. บทว่า สปฺปิเตเลน ด้วยเนยใสและน้ำมัน . น้ำมัน

อย่างใดอย่างหนึ่งที่เหลือเว้นเนยใส ท่านเรียกว่า เตล น้ำมัน. บทว่า กณฺฑว-

มาโน ทรงเกาคือทรงเกาด้วยเขาในเวลาที่ต้องเกาเพราะเล็บกุด. บทว่า

อนนฺตรหิตาย คือมิได้ลาดด้วยเครื่องลาด. บทว่า สรูปวจฺฉาย แห่งใดผู้

มีรูปเช่นเดียวกับแม่โค คือ ถ้าแม่โคขาว ลูกโคก็ขาวด้วย ถ้าแม่โคต่างหรือแดง

ลูกโคก็เป็นเช่นนั้นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สรูปวจฺฉา ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า โส เอวมาห พระราชานั้นตรัสอย่างนี้. บทว่า วจฺฉตรา ลูกโคมีกำลัง

ผู้ถึงความมีกำลังเกินความเป็นลูกโคหนุ่ม แม้ในบทว่า วจฺฉตรี ลูกโคเมียก็มี

นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ปริสณฺาย เพื่อลาดพื้นคือเพื่อต้องการทำเครื่อง

ล้อม และเพื่อต้องการลาดบนพื้นบูชายัญ. บทที่เหลือง่ายทั้งนั้นเพราะกล่าวไว้

พิสดารแล้วในบทนั้น ๆ ในหนหลัง.

จบอรรถกถากันทรกสูตรที่ ๑

๒. อัฏฐกนาครสูตร

ว่าด้วยทสมคฤหบดี

[๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม เขตนครเวสาลี ก็สมัย

นั้นคฤหบดีชื่อว่า ทสมะ เป็นชาวเมืองอัฏฐกะ ไปยังเมืองปาตลีบุตร ด้วย

กรณียกิจอย่างหนึ่ง ครั้งนั้น ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เข้าไปหาภิกษุรูป

หนึ่งที่กุกกุฏาราม ไหว้ภิกษุนั้นแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ถามภิกษุนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

ว่า ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน ด้วยว่าข้าพเจ้าใคร่จะพบท่าน

พระอานนท์. ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านพระอานนท์อยู่ ณ บ้าน

เวฬุวคาม เขตนครเวสาลี ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ทำกรณีย-

กิจนั้นให้สำเร็จที่เมืองปาตลีบุตรแล้ว ไปยังนครเวสาลี ถึงบ้านเวฬุวคาม เข้าไป

หาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๙] ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว

ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอันหนึ่ง ที่

เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อม

หลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป และย่อมบรรลุถึงธรรม

ที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่ยังไม่

บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดย

ชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้มีอยู่แลหรือ.

ท่านพระอานนท์ตอบว่า มีอยู่ คฤหบดี . . .

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ก็ธรรมอันหนึ่ง เป็นไฉน. . .

รูปฌาน ๔

[๒๐] ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ปฐมฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น

ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง

มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอทั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนา

นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

หลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะ

ความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะจะปรินิพพาน

ในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มี

ความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลาย

ที่ยังไม่สิ้นย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็น

เครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาค-

เจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส

แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร

สงบไป มิปิติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้

ทุติยฌานนี้อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุ

ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

เธอตั้งอยู่ในธรรมคือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลิน

ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

เธอย่อมเป็นโอปปาติกะจะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็น

ธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุไม่ประมาท มีความ

เพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่

สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่อง

ประกอบอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้

เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ

และเสวยสุขด้วยนามกาย ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอ

พิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ตติยฌานนี้อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อ

สร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง

มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น

ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้น

ไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะจะปรินิพพานในที่นั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยัง

ไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมะที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่อง

ประกอบไว้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้

ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น

เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้จตุตถฌานนี้ อัน

เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น

ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรม

คือสมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและ

วิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็น

โอปปาติกะจะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่

สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่อง

ประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้รู้ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

อัปปมัญญา ๔

[๒๑] ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตา

แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบไปด้วย

เมตตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด

เบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า

โดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้

ย่อมรู้ชัดว่าแม้เมตตาเจโตวิมุตตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็

สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความ

ดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ย่อมถึงความสิ้น

ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความ

ยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่ง

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอัน

ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มี

ความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลาย

ที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

เครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาค-

เจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปสู่

ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยกรุณา

อันไพบูลย์ เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไป

ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตน

ทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า

แม้กรุณาเจโตวิมุตตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา

ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความกำหนัด

เพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจาก

โลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เพื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยัง

ไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็น

เครื่องประกอบไว้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไป

สู่ทิศหนึ่ง ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยมุทิตา อัน

ไพบูลย์ เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตน

ทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัด

ว่า แม้มุทิตาเจโตวิมุตตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่

เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา

นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง

หลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะ

ความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพาน

ในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยัง

ไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่อง

ประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้

ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่

ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยอุเบกขา

อันไพบูลย์ เป็นมหัคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่

ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความ

มีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อม

รู้ชัดว่าแม้อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็

สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความ

ดับไปเป็นธรรมดาดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึง

ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

เพราะความยินดีเพลินเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้น

ไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความ

เพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยัง

ไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่อง

ประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้

อรูปฌาน ๔

[๒๒] ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจาย-

ตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับ

ปฏิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่ เธอ

พิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้ อันเหตุปัจจัย

ปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้าง

ขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือ

สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลินเพลินในธรรมคือสมถะและ

วิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็น

โอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มี

ความเพียรมีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

ยังไม่สิ้นย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็น

เครื่องประกอบไว้อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาค-

เจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

ดูก่อนคหฤบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุเข้าถึงวิญญาณัญจายตนฌานด้วย

มนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการ

ทั้งปวงอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่าแม้วิญญาณัญจายตนสมาบัตินี้

อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง

ขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่

ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า

ไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือ

สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อม

เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มี

ความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลาย

ที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็น

เครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

ดูก่อนคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วย

มนสิการว่า อะไร ๆ ก็ไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง

เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้ อันเหตุ

ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้าง

ขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในธรรมคือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึง

ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือ

สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อม

เป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา.

ดูก่อนคฤหบดี แม้ธรรมอันหนึ่งนี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มี

ความเพียร มีตนส่งไปอยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลาย

ที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็น

เครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาค-

เจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้.

อุปมา ๒ อย่าง

[๒๓] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคฤหบดี ชาวเมือง

อัฏฐกะ ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ บุรุษ

กำลังแสวงหาขุมทรัพย์ขุมหนึ่ง ได้พบขุมทรัพย์ถึง ๑๑ ขุมในคราวเดียวกัน

ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น กำลังแสวงหาประตูอมประตูหนึ่ง ได้พบประตู

อมตะถึง ๑๑ ประตูในคราวเดียวกัน โดยการฟังเท่านั้น.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เรือนของบุรุษมีประตู ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูก

ไฟไหม้ บุรุษเจ้าของเรือนอาจทำตนให้สวัสดี โดยประตูแม้ประตูหนึ่ง ๆ ได้

ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้น จักอาจทำตนให้สวัสดีได้โดยประตูอมตะ แม้ประตู

หนึ่ง ๆ แห่งประตูอมตะ ๑๑ ประตูนี้.

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อันชื่อว่าอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ จักแสวงหาทรัพย์

สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์ ก็ไฉน ข้าพเจ้าจักไม่ทำการบูชาท่านพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

อานนท์เล่า ลำดับนั้น ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ให้ประชุมภิกษุสงฆ์ผู้

อยู่ในเมืองปาตลีบุตร และเมืองเวสาลี พร้อมกันแล้ว ให้อิ่มหนำเพียงพอ

ด้วยขาทนียะ โภชนียะ อันประณีต ด้วยมือของตน ให้ภิกษุครองคู่ผ้ารูปละ

คู่ ๆ และได้ให้ท่านพระอานนท์ครองไตรจีวร แล้วให้สร้างวิหารราคา ๕๐๐

ถวายท่านพระอานนท์ ดังนี้แล.

จบอัฏฐกนาครสูตรที่ ๒

๒. อรรถกถาอัฏฐกนาครสูตร

อัฏฐกนาครสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้ฟังมา

แล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุวคามเก ความว่ายังมีหมู่บ้านชื่อ

เวฬุวคาม ไม่ไกล อยู่ทางทิศใต้แห่งเมืองเวสาลี ท่านพระอานนท์กระทำ

เวฬุวคามนั้นให้เป็นโคจรคาม. บทว่า ทสโม ความว่า คฤหบดีแม้นั้น นับ

เข้าในฐานะที่ ๑๐ โดยชาติและตระกูล และโดยการนับตระกูลที่ถึงความเป็น

ตระกูลมหาศาล ด้วยเหตุนั้น คฤหบดีนั้น จึงชื่อว่า ทสมะ. บทว่า

อฏฺกนาคโร แปลว่า ชาวอัฏฐกนคร. บทว่า กุกฺกุฏาราโม แปลว่า

อารามที่กุกกุฏเศรษฐีสร้าง.

ในบาลีนี้ว่า เตน ภควตา ฯ เป ฯ อกฺขาโต มีความสังเขปดังนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน ทรงหักกิเลส

ทั้งปวง ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น ทรงรู้อัธยาศัยและอนุสัยของเหล่าสัตว์นั้นๆ ทรงเห็นไญยธรรมทั้งปวงนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

ดุจผลมะขามป้อมอันวางไว้บนฝ่ามือ. อีกอย่างหนึ่ง ทรงรู้ด้วยปุพเพนิวาสญาณ

เป็นต้น ทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ. ก็หรือว่า ทรงรู้ด้วยวิชชา ๓ หรือ อภิญญา ๖

ทรงเห็นด้วยสมันตจักษุ อันอะไร ๆ ไม่ขัดขวางในธรรมทั้งปวง. ทรงรู้ด้วย

ปัญญาอันสามารถรู้ธรรมทั้งปวง. ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่ล่วงจักษุวิสัยของสัตว์

ทั้งปวง หรือที่อยู่นอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยมังสจักษุอันบริสุทธิ์ยิ่ง. ทรงรู้

ด้วยปัญญา อันให้สำเร็จประโยชน์ส่วนพระองค์ ทรงเห็นด้วยเทศนาปัญญา

อันมีพระกรุณาเป็นปทัฏฐาน อันให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้อื่น. ชื่อว่าพระอร-

หันต์ เพราะทรงกำจัดข้าศึกเสียได้ และเพราะควรแก้การสักการะมีปัจจัย

เป็นต้น. ส่วนชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้สัจจะ ๔ โดยชอบ และ

ด้วยพระองค์เอง. อีกอย่างหนึ่ง ทรงรู้อันตรายยิกธรรม ทรงเห็นนิยยานิกธรรม

เป็นพระอรหันต์ เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลส เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะ

ตรัสรู้ธรรมทั้งปวงด้วยพระองค์เอง รวมความว่า พระองค์ถูกสดุดีด้วยเหตุ ๔

คือ เวสารัชชธรรม ๔ อย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ธรรมอันเอกมีอยู่หรือหนอ ?

บทว่า อภิสงฺขต แปลว่า อันปัจจัยกระทำแล้ว ให้เกิดแล้ว.

บทว่า อภิสญฺเจตยิต ความว่า ก่อให้สำเร็จแล้ว. คำว่า โส ตตฺถ ิโต

ความว่า คฤหบดีนั้นตั้งอยู่แล้วในธรรมคือสมถะ และ วิปัสสนานั้น. ด้วย

สองบทว่า ธมฺมราเคน ธมฺมนนฺทิยา พระองค์ตรัสฉันทราคะในสมถะ

และวิปัสสนา. จริงอยู่ บุคคลเมื่อสามารถครอบงำฉันทราคะโดยประการทั้งปวง

ในสมถะและวิปัสสนาย่อมเป็นพระอรหันต์ เมื่อไม่สามารถก็จักเป็นพระอนาคามี

เธอย่อมบังเกิดในชั้นสุทธาวาส ด้วยเจตนาอันสัมปยุตด้วยจตุตถฌาน เพราะ

ยังละฉันทราคะในสมถะและวิปัสสนาไม่ได้. นี้เป็นกถาสำหรับอาจารย์ทั้งหลาย.

ก็นักชอบพูดเคาะ พูดว่า "พระอนาคามีบังเกิดในสุทธาวาสเพราะอกุศล ตาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

พระบาลีว่า เตเนว ธมฺมราเคน ผู้นั้นจะพึงถูกกล่าวว่า จงชักพระสูตรมา

ผู้นั้นเมื่อไม่เห็นบาลีอื่นก็จะชักบาลีนี่แหละมาเป็นแน่ ดังนั้น ผู้นั้น พึงถูกต่อ

ว่าว่า ก็พระสูตรนี้ มีอรรถที่ควรอธิบาย มีอรรถที่อธิบายมาแล้วหรือ. ผู้นั้น

ก็จักกล่าวว่า มีอรรถที่ท่านอธิบายไว้แล้วเป็นแน่ ต่อนั้นเขาจะพึงพูดต่อว่า

เมื่อเป็นเช่นนั้น ความติดด้วยอำนาจความพอใจ ในสมถะและวิปัสสนา ก็จัก

เป็นกิเลสที่ผู้ต้องการอนาคามีผลพึงกระทำ เมื่อทำให้เกิดฉันทราคะขึ้น ก็จัก

แทงตลอดอนากามิผล. ท่านอย่าแสดงลอย ๆ ว่า ข้าพเจ้าได้สูตรมาแล้ว ผู้แก้

ปัญหาควรเรียนในสำนักของพระอริยเจ้า จนรู้แจ้งอรรถรสแล้วจึงแก้ปัญหา.

ด้วยว่า ชื่อว่า การปฏิสนธิในสวรรค์ด้วยอกุศล หรือว่าในอบายด้วยกุศลไม่มี

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมปรากฏด้วยกรรมที่

เกิดแต่โลภะ เกิดแต่โทสะ และเกิดแต่โมหะหามิได้ ก็หรือว่าสุคติแม้อื่น

อย่างใดอย่างหนึ่งก็เหมือนกัน โดยที่แท้ นรก กำเนิดเดียรัจฉาน และปิตติ-

วิสัย ย่อมปรากฏด้วยกรรมที่เกิดแต่โลภะ โทสะ และโมหะ ก็หรือทุคติอย่างใด

อย่างหนึ่งก็เหมือนกัน.

เข้าผู้นั้นก็จะพึงถูกทำให้เข้าใจอย่างนี้ว่า หากว่า ท่านเข้าใจได้ก็จง

เข้าใจไปเถิด หากไม่เข้าใจ ก็จะต้องถูกส่งกลับวัดให้ฉันข้าวต้มแต่เช้าๆ. ท่าน

กล่าวสมถะและวิปัสสนาไว้ในมหามาลุงกโยวาทสูตรบ้าง มหาสติปัฏฐานสูตร

บ้าง กายคตาสติสูตรบ้าง เหมือนในพระสูตรนี้.

ในบรรดาพระสูตรเหล่านั้น ในพระสูตรนี้พระองค์ตรัสหมายถึง ธุระ

คือวิปัสสนาธุระเท่านั้น สำหรับภิกษุผู้ทั้งดำเนินไปด้วยสามารถแห่งสมถธุระทั้ง

ดำเนินไปด้วยสามารถแห่งวิปัสสนาธุระ. ใน มหามาลุงกโยวาทสูตร พระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

องค์ตรัสหมายถึงธุระคือวิปัสสนาธุระ ส่วนใน มหาสติปัฏฐานสูตร พระ-

องค์ตรัสหมายถึงธุระคือวิปัสสนาธุระอันเยี่ยม. ใน กายคตาสติสูตร พระ-

องค์ตรัสหมายถึงธุระคือสมถธุระอันเยี่ยม.

ธรรมแม้ทั้ง ๑๑ อย่าง ชื่อว่าเป็นธรรมเอก เพราะเป็นการถามถึง

ธรรมอันเอกว่า อย โข คหปติ ฯ เป ฯ เอกธมฺโม อกฺขาโต จึงแสดง

เป็นปุจฉาอย่างนี้ว่า แม้นี้ก็จัดเป็นธรรมเอก จริงอยู่ ในมหาสกุลุทายีสูตร มี

ปุจฉาถึง ๑๙ ปุจฉาทั้งหมดก็จัดเป็นธรรมเอกโดยปฏิปทา. ธรรม ๑๑ อย่างใน

ที่นี้มาว่าเป็นธรรมเอกโดยปุจฉา. อีกอย่างหนึ่ง ควรจะกล่าวว่า แม้ทั้งหมด

ก็ชื่อว่าธรรมเอกโดยอรรถว่า ทำให้เกิดอมตธรรม.

บทว่า นิธิมุข คเวสนฺโต แปลว่า แสวงหาขุมทรัพย์. บทว่า

สกิเทว แปลว่า โดยการประกอบครั้งเดียวเท่านั้น. ถามว่า ก็การได้ขุมทรัพย์

๑๑ อย่าง โดยการประกอบครั้งเดียวมีได้อย่างไร ? ตอบว่า บุคคลบางคนใน

โลกนี้ เที่ยวแสวงหาขุมทรัพย์ในป่า ผู้เสวงหาทรัพย์อีกคนหนึ่ง พบคนนั้น

แล้วถามว่า พ่อมหาจำเริญ ท่านเที่ยวไปทำไม ? เขาตอบว่า ข้าพเจ้าแสวงหา

ทรัพย์เครื่องเลี้ยงชีวิต. อีกคนหนึ่งบอกว่า เพื่อน ถ้าอย่างนั้น มาไปพลิกหิน

ก้อนนั้น เขาพลิกหินก้อนนั้นแล้ว พบหม้อทรัพย์ ๑๑ หม้อ ที่วางซ้อน ๆ กัน

หรือที่วางเรียงกันไว้. การได้ขุมทรัพย์ ๑๑ ขุม ด้วยการประกอบครั้งเดียว มีได้

อย่างนี้. บทว่า อาจริยธน ปริเยสิสฺสนฺติ ความว่า ก็อัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย

เรียนศิลปะในสำนักของอาจารย์ใด นำทรัพย์ออกจากเรือนมอบให้อาจารย์นั้น

ก่อน หลัง หรือ ระหว่างเรียนศิลปศาสตร์. คนที่ไม่มีทรัพย์ในเรือนย่อม

แสวงหาทรัพย์จากญาติ หรือจากผู้ที่ชอบพอกัน เมื่อไม่ได้อย่างนั้นก็ต้อง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

ขอเขาให้ ท่านหมายเอาทรัพย์นั้น จึงกล่าวคำนี้ . บทว่า กิมงฺคมฺปนาห

ความว่า ก่อนอื่น คนภายนอกศาสนาแสวงหาทรัพย์ เพื่ออาจารย์ผู้ให้เพียง

ศิลปะในศาสนาแม้ที่มิใช่เป็นนิยยานิกธรรม ก็ไฉนเราจักไม่กระทำการบูชา

อาจารย์ผู้แสดงปฏิปทาที่ให้เกิดอมตธรรม ๑๑ อย่าง ในศาสนาที่เป็นนิยยานิกะ

ธรรมเล่า. เขาจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักทำการบูชาทีเดียว. บทว่า ปจฺเจก

ทุสฺสยุเคน อจฺฉาเทส ความว่า เราได้ถวายคู่ผ้าแก่ภิกษุแต่ละองค์ องค์ละคู่.

ในที่นี้คำที่เปล่งขึ้น ก็อย่างนั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า อจฺฉาเทสิ. คำว่า

ปญฺจสต วิหาร ความว่า ได้สร้างบรรณศาลาราคา ๕๐๐ คำที่เหลือในทุก ๆ

บท ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอัฏฐกนาครสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

๓. เสขปฏิปทาสูตร

เจ้าศากยะสร้างสัณฐาคารใหม่

[๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ นิโครธาราม เขตเมือง

กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้น สัณฐาคารใหม่ที่พวกเจ้าศากยะเมือง

กบิลพัสดุ์ให้สร้างแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์หรือมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งยังมิได้

เคยอยู่เลย ครั้งนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส

สัณฐาคารใหม่อันพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้สร้างแล้วไม่นาน อันสมณ-

พราหมณ์หรือมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งยังมิได้เคยอยู่เลย ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบริโภคสัณฐาคารนั้นเป็นปฐมฤกษ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบริโภคเป็น

ปฐมฤกษ์แล้ว พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์จักบริโภคภายหลัง ข้อนั้น พึงมี

เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์สิ้นกาลนาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ.

ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ทราบการรับของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประ-

ทักษิณแล้วเข้าไปยังสัณฐาคารใหม่ แล้วสั่งให้ปูลาดสัณฐาคารให้มีเครื่องลาด

ทุกแห่ง ให้แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้งหม้อน้ำ ให้ตามประทีปน้ำมัน แล้วเข้าไป

เผ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายปูลาดสัณฐาคารให้มีเครื่องลาดทุกแห่ง แต่งตั้งอาสนะ

ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว บัดนี้ขอพระผู้พระภาคเจ้าจงทรงทราบกาล

อันควรเถิด.

[๒๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและ

จีวรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคาร ทรงชำระพระบาทยุคลแล้ว

เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ตรงทิศบูรพา

แม้ภิกษุสงฆ์ชำระเท้าแล้ว เข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้วนั่งพิงฝาด้านทิศปัศจิม ผิน

หน้าเฉพาะทิศบูรพาแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พวกเจ้าศากยะเมืองกบิล-

พัสดุ์ชำระพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงฝาด้านทิศบูรพา

ผินพักตร์เฉพาะทิศปัศจิม แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้

เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอัน

มากแล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาว่า ดูก่อนอานนท์ ปฏิปทาของเสขบุคคล

จงแจ่มแจ้งกะเธอ เพื่อพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์เถิด เราเมื่อยหลัง เราจัก

เหยียดหลังนั้น ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าโปรดให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น สำเร็จสีหไสยา ด้วยพระปรัศว์

เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรง

มนสิการสัญญาในอันที่จะเสด็จลุกขึ้น.

ธรรม ๖ อย่าง

[๒๖] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เชิญท้าวมหานามศากยะมาว่า ดู

ก่อนมหานาม อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครอง

ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเครื่องตื่น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ได้ฌาน ๔ อันเป็นธรรมอาศัย

ซึ่งจิตอันยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้

โดยไม่ยากไม่ลำบาก.

[๒๗] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยศีล อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์

ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน

ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็น

ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.

[๒๘] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครอง

ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่

ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำ

รวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น

ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยโสตะ

แล้ว. . . ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว . . .ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะ

ด้วยกายแล้ว . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ

เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่ไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม

อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึง

ความสำรวมในมนินทรีย์ ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้

คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.

[๒๙] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณ

ในโภชนะ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกิน

อาหารไม่ใช่เพื่อจะเล่น เพื่อจะมัวเมา เพื่อความผ่องใส เพื่อความงดงาม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

เพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้. เพื่อบำบัดความอยาก

อาหาร เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จักกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จัก

ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไปแห่งอิริยาบถ ความเป็นผู้ไม่มีโทษ

และความอยู่เป็นผาสุกจักมีแก่เรา ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อ

ว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.

[๓๐] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบ

ความเพียรเครื่องตื่น อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เวลากลางวันชำระจิตให้

บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง. เวลากลางคืน ในปฐม

ยาม ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง. เวลา

กลางคืน ในมัชฌิมยาม สำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อม

เท้า มีสติสัมปชัญญะ มนสิการสัญญาในอันที่จะลุกขึ้น. เวลากลางคืน ในปัจ-

ฉิมยาม ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน

การนั่ง ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียร

เครื่องตื่น.

[๓๑] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย

สัปปุริสธรรม ๗ ประการ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะ

เหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ

ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ

ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้

เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

๒. เป็นผู้มีหิริ คือละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอาย

ต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก.

๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือสะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโน-

ทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก.

๔. เป็นพหูสูต ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว

ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหม-

จรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรม

ทั้งหลายเห็นปานนั้น อันท่านได้สดับมามาก ทรงจำไว้ได้ สั่งสมด้วยวาจา

ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น.

๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อถึงพร้อมแห่ง

อกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในอกุศลธรรม

ทั้งหลาย.

๖. เป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง

ระลึกได้ ตามระลึกได้ แม้ซึ่งกิจการที่ทำไว้แล้วนาน แม้ซึ่งถ้อยคำที่พูดไว้แล้ว

นาน.

๗. เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและ

ความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนมหา

นาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการ.

[๓๒] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌาน

ทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตาม

ความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มี

อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุ

ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ

อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ

ดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อน

มหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัย

ซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมตามความปรารถนา เป็นผู้ได้

โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก.

เสขปฏิปทา

[๓๓] ดูก่อนมหานาม เพราะอริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้

คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้ ประ-

กอบความเพียรเครื่องดื่มอย่างนี้ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ อย่างนี้ เป็น

ผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน

ทิฏฐธรรมตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก อย่างนี้ บัณฑิต

จึงกล่าวอริยสาวกนี้ว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจ

ฟองไก่ที่ไม่เน่า ควรจะชำแรกกิเลส ควรจะตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอัน

ปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนมหานาม เปรียบเหมือนฟองไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง

ฟองไก่เหล่านั้น แม่ไก่นอนทับ กก อบให้ได้ไออุ่นดีแล้ว ถึงแม่ไก่นั้นจะ

ไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอลูกไก่เหล่านี้พึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลาย

เล็บเท้า หรือด้วยจงอยปาก ออกได้โดยสะดวกเถิด ดังนี้ ลูกไก่ภายใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

เปลือกไข่นั้น ก็คงทำลายเปลือกไข่ออกได้โดยสวัสดี ฉันใด ดูก่อนมหานาม

อริยสาวกก็ฉันนั้น เพราะท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ คุ้มครองทวารใน

อินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้ ประกอบความเพียร

เครื่องตื่นอย่างนี้ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ อย่างนี้ เป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔

อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความ

ปรารถนา เป็นผู้เป็นได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก อย่างนี้ บัณฑิตจึงกล่าวอริยสาวก

นี้ว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจฟองไก่ที่ไม่เน่า

ควรจะชำแรกกิเลส ควรจะตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากกิเลส

เครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.

ดูก่อนมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้

สติบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว ย่ามระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก

คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง

สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง

ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง

ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพ

โน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น

เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น

แล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร

อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ

มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอ

ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย

ประการฉะนี้ ข้อนี้เป็นความแตกฉานแห่งฌานข้อที่หนึ่งของอริยสาวกนั้น

เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออกฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

ดูก่อนมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้

สติบริสุทธิ์อยู่ ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง

อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตาม

กรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน

พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้อง-

หน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วน

สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระ-

อริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่

ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์

กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี

ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์

ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ข้อนี้ เป็นความแตกฉานแห่งฌานข้อ

ที่สองของอริยสาวกนั้น เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น.

ดูก่อนมหานาม อริยสาวกนั้นอาศัยจตุตถฌาน มีอุเบกขาเป็นเหตุให้

สติบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่านี้อย่างเดียว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-

วิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ข้อนี้เป็นความแตกฉานแห่งฌานข้อที่สามของอริยสาวกนั้น

เปรียบเหมือนลูกไก่เจาะเปลือกไข่ออก ฉะนั้น.

ความเป็นผู้มีวิชชาและจรณะ

[๓๔] ดูก่อนมหานาม แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลนี้ ก็

เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลายนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้รู้ประมาณ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

ในโภชนะนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ประกอบ

ความเพียรเครื่องตื่นนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวก

เป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ประการนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง

แม้ข้อที่อริยสาวกเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็น

เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่

ลำบากนี้ ก็เป็นจรณะของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกระลึกชาติก่อน ๆ

ได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง

ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อย-

ชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด

วิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรา

มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข

เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้

ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มี

ผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนด

อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึง

ชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง แม้ข้อที่อริยสาวกเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ

กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก

ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไป

ตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน

พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้า

แต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์

เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า

เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

กายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลัง

จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี

ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์

ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ นี้ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง แม้

ข้อที่อริยสาวกทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ซึ่งปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ นี้

ก็เป็นวิชชาของเธอประการหนึ่ง.

คาถาสนังกุมารพรหม

ดูก่อนมหานาม อริยสาวกนี้ บัณฑิตสรรเสริญว่า เป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยวิชชาเเม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะแม้เพราะเหตุนี้ เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยวิชชาและจรณะแม้เพราะเหตุนี้ แม้สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถา

ไว้ว่า

ในชุมชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร

กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ในหมู่เทวดาและ

มนุษย์ ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

เป็นผู้ประเสริฐสุด.

[๓๕] ดูก่อนมหานาม คาถานั้น สนังกุมารพรหมขับดีแล้ว มิใช่ขับ

ชั่ว กล่าวดีแล้ว มิใช่กล่าวชั่ว ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุมัติแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จลุกขึ้นแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า สาธุ ๆ อานนท์ เธอได้กล่าว

เสขปฏิปทาแก่พวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ดีแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

ท่านพระอานนท์ได้กล่าวภาษิตนี้จบลงแล้ว พระศาสดาทรงยินดี พวก

เจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระอานนท์ ดังนี้แล.

จบเสขปฏิทาสูตรที่ ๓

๓. อรรถกถาเสขปฏิปทาสูตร

เสขปฏิปทาสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้ฟัง

มาแล้วอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้นคำว่า นว สนฺถาคาร คือ สันถาคารที่สร้างเสร็จ

มาไม่นาน อธิบายว่า ศาลาใหญ่หลังหนึ่ง. แท้จริงในเวลาจัดกระบวนรับเสด็จ

เป็นต้น เขาจัดระเบียบกั้นเขตอย่างนี้ คือ พวกเจ้าที่อยู่ในที่นั้น อยู่ข้างหน้าเท่า

นี้ อยู่ข้างหลังเท่านี้ สองข้างเท่านี้ ขี่ช้างเท่านี้ ขี่ม้าเท่านี้ ยืนบนรถเท่านี้ เพราะ

ฉะนั้นที่นั้นเขาจึงเรียกว่า สันถาคาร อนึ่งคนทั้งหลายมาจากที่กระบวนรับ

เสด็จ กระทำการฉาบทาด้วยโคมัยสดเป็นต้น ที่บ้านเรือนทั้งหลาย ตราบใด

พวกเจ้าเหล่านั้น ก็อนุเคราะห์อยู่ในที่นั้น ๒-๓ วันตราบนั้น. แม้เพราะเหตุ

นั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า สันถาคาร อาคารเป็นที่สั่งการด้วยตนเองของเจ้า

เหล่านั้น แม้เพราะเหตุนั้น อาคารนั้นจึงชื่อว่า สันถาคาร แท้จริงคนเหล่า

นั้นเป็นคณะเจ้า เพราะฉะนั้น กิจที่เกิดขึ้น จึงเด็ดขาดด้วยอำนาจเจ้าองค์เดียว

ควรจะได้ฉันทะพอใจของเจ้าทั้งหมด เพราะฉะนั้น เจ้าทุกพระองค์จึงประชุม

สั่งการในที่นั้น ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวว่า อาคารเป็นที่สั่งการ ด้วยตนเอง

แม้เพราะเหตุนั้น อาคารนั้นจึงชื่อว่า สันถาคาร แต่เจ้าเหล่านั้นประชุมกัน

ในที่นั้น ย่อมปรึกษากันถึงกิจการฝ่ายฆราวาส โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า เวลา

๑. ในอรรถกถา เรียกว่า เสขสูตร ส่วนบาลี เรียกว่า เสขปฏิปทาสูตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

นี้ควรไถ เวลานี้ควรหว่าน เพราะฉะนั้น เจ้าทั้งหลายกระจายกิจการฆราวาส

ออกเป็นส่วนย่อย ๆ ในที่นั้น แม้เพราะเหตุนั้น ที่นั้นจึงชื่อว่า สันถาคาร.

คำว่า สร้างไม่นาน คือสร้างเสร็จไม่นาน ประหนึ่งเทพวิมาน อันตกแต่ง

ดีแล้วด้วยงานไม้งานหินและงานจิตรกรรมเป็นต้น. ในคำว่า สมเณน วา

เป็นต้น เพราะเหตุที่ในเวลากำหนดพื้นที่สร้างเรือน เทวดาทั้งหลายย่อมถือว่า

เป็นสถานที่อยู่ของตน ฉะนั้นพวกเจ้าศากยะจึงไม่กล่าวว่า อันเทวดาหรือ แต่

กล่าวว่า อันสมณะหรือพราหมณ์ หรือมนุษย์ไร ๆ (ไม่เคยเข้ามาอยู่ก่อน).

คำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า พวกเจ้าศากยะได้ฟัง

ว่า สันถาคารเสร็จแล้ว ก็ใคร่จะไปดูสันถาคารนั้น จึงไปตรวจดูหมดทั้งแค่

ซุ้มประตู ก็คิดว่า สันถาคารนี้น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง มีสิริเฉกเช่นเทพวิมาน ใคร

เล่าใช้ก่อน จะพึงเป็นประโยชน์สุขแก่เราไปนาน จึงปรึกษาตกลงกันว่า

สันถาคารนี้เหมาะแก่พระศาสดาเท่านั้น ในเมื่อเราถวายเป็นปฐมแก่พระญาติ ผู้

ประเสริฐสุดของเราเหมาะแก่พระศาสดาเท่านั้น ในเมื่อเราถวายด้วยอำนาจที่

พระองค์ทรงเป็นทักขิไณยบุคคล เพราะฉะนั้น เราจักอาราธนาพระศาสดาให้

ทรงใช้เป็นปฐมฤกษ์ จักอาราธนาพระภิกษุสงฆ์มา เมื่อพระภิกษุสงฆ์มา ก็จักเท่า

กับพระไตรปิฎกพุทธวจนะมาด้วย เราจักอาราธนาพระศาสดาให้ตรัสธรรมกถา

สอนเราตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ดังนั้นสันถาคารนี้ก็เป็นอันพระรัตนตรัย

ใช้สอยแล้ว เราจักใช้สอยในภายหลัง อย่างนี้ก็จักเป็นประโยชน์สุขแก่เราตลอด

กาลนาน แล้วก็พากันไปเฝ้า. คำว่า เยน สนฺถาคาร เตนุปสงฺกมึสุ ความ

ว่า เขาว่า วันนั้นสันถาคารจะเป็นที่ ๆ ตกแต่งจัดแจงไว้เพื่อให้พวกราชสกุล

ทอดพระเนตรก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่ได้จัดให้สมควรแก่พระพุทธองค์ ด้วยธรรมดา

ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอัธยาศัยชอบป่า ยินดีแต่ป่า จะประทับอยู่ภายใน

หมู่บ้านหรือไม่หนอ เพราะฉะนั้นพวกเจ้าศากยะจึงคิดว่า จักรู้พระอัธยาศัย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อนแล้วจึงจะปูลาด เพราะเหตุนั้น จึงพากันไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

แต่มาบัดนี้ พวกเจ้าศากยะทรงทราบพระอัธยาศัยแล้วทรงประสงค์จะ

ปูลาดจึงพากันไปยังสันถาคาร. คำว่า สพฺพสนฺถริสนฺถต สนฺถาคาร

สนฺถราเปตฺวา ความว่า ให้ลาดสันถัตไว้ทุกแห่ง. คำว่า สพฺพปม ตาว

โคมยนฺนาม สพฺพมงฺคเลสุ วฏฺฏติ ความว่า พวกเจ้าศากยะให้เอาโคมัยสด

โบกทับพื้นที่ ๆ แม้โบกด้วยปูนขาวไว้แล้ว รู้ว่าหมดจดแล้ว ก็ชโลมด้วย

คันธชาติ ๔ ชนิดโดยไม่ให้รอยพระบาทปรากฏในที่ ๆ ย่างพระบาท ลาดเสื่อ

ลำแพนมีสีต่าง ๆ ไว้ข้างบน ให้ปูปิดช่องว่างทุกแห่งที่ควรปู ด้วยเครื่องปูลาด

ทั้งหลายมีสีสรรต่าง ๆ กัน เช่นเครื่องปูลาดลายช้าง ลายม้า ลายราชสีห์ ลายเสือ

ลายพระจันทร์ ลายพระอาทิตย์ ลายจิตรกรรมเป็นต้น ตั้งต้นแต่ผ้าโกเชาว์

กั้นหลังผืนใหญ่ ไว้ข้างบนเสื่อลำแพนเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

สพฺพสนฺถริสนฺถต สนฺถาคาร สนฺถราเปตฺวา ดังนี้. คำว่า อาสนานิ

ปญฺาเปตฺวา ความว่า ปูลาดพุทธอาสน์ที่มีค่ามาก พิงเสามงคลที่ตรง

กลางก่อนแล้ว ลาดปัจถรณ์ซึ่งอ่อนละมุนน่ารื่นรมย์บนพุทธอาสน์นั้น วาง

พระเขนยที่น่าพอตา มีสีแดงสองข้างไว้ ติดเพดานอันวิจิตรด้วยดาวทอง ดาว

เงินไว้เบื้องบน ประดับพวงของหอมพวงดอกไม้และพวงมุกดาเป็นต้น ทำ

ข่ายด้วยดอกไม้ในที่ ๑๒ ศอกโดยรอบ เอาม่านล้อมที่ราว ๓๐ ศอก ตั้งตั่ง

บัลลังก์ ตั่งพิง และตั่งโล้นไว้ ให้ปูลาดปัจถรณ์สีขาวไว้ข้างบน สำหรับภิกษุ

สงฆ์พิงฝาด้านหลัง ปูลาดผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่ให้วางพระเขนยที่บรรจุด้วยขนหงส์

เป็นต้นไว้ สำหรับตนพิงฝาด้านหน้า ด้วยดำริว่า พวกเราไม่ลำบากจักฟัง

ธรรมได้ตลอดทั้งคืนอย่างนี้. ท่านหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า อาสนานิ ปญฺ-

เปตฺวา ดังนี้. คำว่า อุทกมณิก ได้แก่หม้อน้ำที่มีกระพุ้งใหญ่. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

ปติฏฺเปตฺวา ความว่า พวกเจ้าศากยะคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุ

สงฆ์ จักล้างพระหัตถ์หรือพระบาทหรือบ้วนพระโอษฐ์ตามพอพระทัยอย่างนี้

จึงบรรจุหม้อด้วยน้ำใสสีดังแก้วมณีใส่ดอกไม้ต่าง ๆ และผงอบน้ำเพื่อประโยชน์

อบน้ำให้หอม ปิดด้วยใบกล้วยตั้งไว้ในที่นั้น ๆ ท่านหมายเอาข้อนี้จึงกล่าวว่า

ปติฏฺเปตฺวา. คำว่า เตลปฺปทีป อาโรเปตฺวา ความว่า ตามประทีป

น้ำมันที่ตะเกียงมีด้ามทำด้วยเงินและทองเป็นต้น และที่ภาชนะอันทำด้วยทอง

และเงินเป็นต้น ที่เขาตั้งไว้ในมือของรูปชาวโยนกและรูปกินนรเป็นอาทิ.

ก็ในบาลีนี้ว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ พึงทราบความดังนี้ พวก

เจ้าศากยะเหล่านั้น ให้จัดตกแต่งสันถาคารอย่างเดียวหามิได้ ที่แท้ให้ตีกลอง

ร้องป่าวประกาศว่า ท่านทั้งหลายจงให้กวาดถนนนครรอบ ๆ กรุงกบิลพัศดุ์

โยชน์หนึ่ง ให้ยกธง ให้ตั้งหม้อน้ำ และตันกล้วยที่ประตูเรือน กระทำทั่ว

พระนคร ประหนึ่งดวงดาวเกลื่อนกล่นด้วยประทีปและมาลัยเป็นต้น ให้ทารก

ที่ยังดื่มนม ให้ดื่มนมเสีย ให้เด็กรุ่นรีบกินข้าวแล้วให้นอนเสีย อย่าทำเสียง

ดัง วันนี้พระศาสดาจักประทับอยู่ภายในหมู่บ้านตลอดคืนหนึ่ง ด้วยธรรมดา

พระพุทธเจ้าทั้งหลายคือต้องการเสียงเงียบ แล้วตนเองก็ถือประทีปมีด้ามเข้าเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

พระบาลีว่า อถโข ภควา นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวร อาทาย สทฺธึ

ภิกฺขุสงฺเฆน เยน นว สนฺถาคาร เตนูปสงฺกมิ พึงทราบความดังนี้.

นัยว่าเมื่อพวกเจ้าศากยะกราบทูลเวลาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบเวลาอันควร ณ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

จัดผ้าแดง สีดังดอกทองหลาง แดงชุ่มด้วยน้ำครั่ง ประหนึ่งตัดดอกปทุมด้วย

กรรไกร ทรงนุ่งอันตรวาสกปกปิดมณฑลทั้งสาม ทรงคาดรัดประคดมีสิริดัง

สายฟ้า ประหนึ่งคาดกำปทุมด้วยสายสร้อยทอง ทรงห่มบังสุกุลจีวรอันประ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

เสริฐสีแดง มีวรรณะละม้ายยอดอ่อนแห่งต้นไทร ที่ทำให้มหาปฐพีที่ประกอบ

ด้วยขุนเขาสิเนรุและเขายุคนธรแห่งจักรวาล ให้ไหวแล้วจับไว้ ประหนึ่งคลุม

ตระพองช้างด้วยผ้ากัมพลแดง ประหนึ่งโปรยข่ายแก้วประพาฬในที่สูง ๑๐๐

ศอก ที่มีด่าดังทอง ประหนึ่งเปลื้องเสื้อกัมพลแดงที่สุวรรณเจดีย์ ประหนึ่งปิด

ดวงจันทร์เพ็ญที่กำลังโคจรด้วยฝนแดง ประหนึ่งรดน้ำครั่งที่สุกดีบนยอด

กาญจนบรรพต ประหนึ่งล้อมยอดเขาจิตรกูฏด้วยสายฟ้า เสด็จออกจากประตู

พระคันธกุฎี ดั่งหนึ่งราชสีห์ออกจากถ้ำทอง และดังดวงจันทร์เพ็ญโผล่ออก

จากยอดอุทัยบรรพต. ก็แหละครั้นเสด็จออกแล้ว ก็ประทับยืนที่หน้าพระคันธ-

กุฎี. ครั้งนั้น พระรัศมีที่แผ่ออกจากพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ประหนึ่ง

กลุ่มสายฟ้าลอดออกจากช่องเมฆ กระทำให้พฤกษชาติในพระอาราม ประหนึ่ง

มีใบดอกผลและค่าคบเรื่อเลื่อมด้วยพรายน้ำทองราดรด พร้อมกันนั้น ภิกษุ

สงฆ์หมู่ใหญ่ก็ถือบาตรและจีวรของตนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็แลภิกษุ

ทั้งหลายที่ยืนล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ก็เป็นผู้มักน้อยสันโดษ สงัด ไม่

คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร มีวัตรอดทนถือคำสั่งสอน เตือนกัน ตำหนิ

ความชั่ว ถึงพร้อมด้วยศีลและสมาธิ ถึงพร้อมด้วยปัญญาวิมุตติและวิมุตติญาณ-

ทัสสนะ เห็นปานฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ก็

งามสง่าประดุจก้อนทองที่ล้อมไว้ด้วยผ้ากัมพลแดง ประดุจนาวาทองที่แล่นไป

กลางดงปทุมแดง และประดุจปราสาททองที่ล้อมด้วยเรือนแก้วประพาฬ แม้

พระมหาเถระทั้งหลาย มีท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะเป็นต้น

ก็ห่มบังสกุลจีวรมีสีดังเมฆ ล้วนเป็นผู้คายราคะ ทำลายกิเลส สางชัฏได้แล้ว

ตัดเครื่องผูกพันแล้ว ไม่ติดข้องในสกุลหรือหมู่ ยืนแวดล้อมประดุจช้างใหญ่

ที่มีผิวหนังคลุมด้วยหนังแก้วมณี พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เอง ก็ทรง

ปราศจากราคะ อันเหล่าภิกษุที่ปราศจากราคะ แวดล้อมแล้ว ทรงปราศจาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

โทสะ อันเหล่าภิกษุที่ปราศจากโทสะแวดล้อมแล้ว ทรงปราศจากโมหะ อัน

เหล่าภิกษุที่ปราศจากโมหะแวดล้อมแล้ว ทรงไม่มีตัณหา อันเหล่าภิกษุที่ไม่มี

ตัณหาแวดล้อมแล้ว ทรงไม่มีกิเลส อันเหล่าภิกษุที่ไม่มีกิเลสแวดล้อมแล้วเป็น

ผู้ตรัสรู้เอง อันเหล่าภิกษุผู้ตรัสรู้เพราะเป็นพหูสูตแวดล้อมแล้ว ประดุจไกรสร-

ราชสีห์ อันฝูงมฤคแวดล้อมแล้ว ประดุจดอกกรรณิการ์ที่เกสรล้อมไว้ ประดุจ

พระยาช้างชื่อฉัททันต์ อันโขลงช้างแปดพันแวดล้อมแล้ว ประดุจพระยาหงส์

ชื่อ ธตรฐ อันฝูงหงส์เก้าหมื่นแวดล้อมแล้ว ประดุจองค์จักรพรรดิ อันเสนางค-

นิกรแวดล้อมแล้ว ประดุจท้าวสักกเทวราช อันทวยเทพแวดล้อมแล้ว ประดุจ

ท้าวหาริตมหาพรหม อันเหล่าพรหมแวดล้อมแล้ว ประดุจดวงจันทร์เพ็ญ อัน

กลุ่มดาวแวดล้อมแล้ว เสด็จเดินทางไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ด้วยเพศของพระพุทธ

เจ้าซึ่งไม่มีผู้ใดเสมอ ด้วยท่วงทีอันสง่า ของพระพุทธเจ้า ที่หาประมาณมิได้

ด้วยประการฉะนี้.

ครั้งนั้น พระรัศมีอันมีพรรณดังทอง พลุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า

ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นกินพื้นที่ระยะแปดสิบศอก. พระรัศมีอันมีพรรณดั่ง

ทองพลุ่งออกจากพระวรกายเบื้องหลัง เบื้องขวา เบื้องซ้าย ก็กินพื้นที่ระยะ

แปดสิบศอก พระรัศมีอันมีพรรณดังแววหางนกยูง พลุ่งออกจากวนพระเกศา

ทั้งหมดตั้งแต่ปลายพระเกศาเบื้องบน กินพื้นที่ระยะแปดสิบศอก ณ พื้นอัมพร

พระรัศมีอันมีพรรณดังแก้วประพาฬพลุ่งออกจากพื้นพระบาท เบื้องล่าง กิน

พื้นที่ระยะแปดสิบศอก ณ แผ่นพื้นปฐพีอันทึบ พระพุทธรัศมีมีพรรณ ๖ โชติ

ช่วง แผ่พวยพุ่งไปตลอดพื้นที่ระยะแปดสิบศอก โดยรอบ ประดุจแสงไฟที่

พุ่งออกจากดวงประทีปด้ามทองขึ้นไปสู่อากาศ ประดุจสายฟ้าที่พุ่งออกจากเมฆ

ก้อนใหญ่ ทั้งสี่ทิศ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

พระพุทธรัศมีกระจายแผ่ไปทุกทิศาภาค ประหนึ่งเกลื่อนกล่นด้วยดอก

จำปาทอง ประหนึ่งราดด้วยสายน้ำทองที่ออกจากหม้อทอง ประหนึ่งล้อมไว้

ด้วยแผ่นทองที่คลี่แล้ว ประหนึ่งดารดาษด้วยละอองดอกทองกวาวและดอก

กรรณิการ์ ที่ลมเวรัมภาก่อให้เกิดขึ้น.

พระสรีระแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็รุ่งเรืองด้วยพระวรลักษณ์สาม-

สิบสอง ประดับด้วยพระอนุพยัญชนะแปดสิบและพระรัศมีวาหนึ่ง สง่างามประ

หนึ่งพื้นนภากาศ ซึ่งมีดวงดาวสะพรั่ง ประหนึ่งป่าปทุมที่บานแล้ว ประหนึ่ง

ปาริฉัตรสูงร้อยโยชน์ที่มีดอกบานสะพรั่งไปทั้งต้น ประหนึ่งเอาสิริครอบงำสิริ

ของพระจันทร์สามสิบสองดวง พระอาทิตย์สามสิบสองดวง พระเจ้าจักรพรรดิ

สามสิบสองพระองค์ ราชาแห่งเทวดาสามสิบสององค์ มหาพรหมสามสิบสอง

องค์ ซึ่งสถิตอยู่ตามลำดับ เหมือนอย่างทานที่ทรงถวาย ศีลที่ทรงรักษา

กัลยาณกรรมที่ทรงกระทำตลอดสี่อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ประดับด้วยทศบารมี

ทศอุปบารมี ทศปรมัตถบารมี รวมเป็นบารมีสามสิบถ้วน ที่ทรงบำเพ็ญ

มาด้วยดีแล้ว ก็มาประชุมลงในอัตภาพอันเดียว ไม่ได้ฐานะที่จะให้วิบาก

เป็นเหมือนตกอยู่ในที่คับแคบ เป็นเหมือนประหนึ่งเวลายกสิ่งของจากพันลำเรือ

ลงสู่เรือลำเดียว ประหนึ่งเวลายกสิ่งของจากพันเล่มเกวียนลงสู่เกวียนเล่มเดียว

ประหนึ่งเวลาเอาแม่น้ำยี่สิบห้าสาย รวมกองเป็นสายเดียวกัน ที่ประตูทางร่วม

(ชุมทาง) แห่งโอฆะ คนทั้งหลายยกประทีปมีด้ามหลายพันดวงไว้เบื้องหน้า

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ที่กำลังเปล่งโอภาสด้วยพระพุทธสิรินี้. เบื้องหลัง

ทางซ้าย ข้างขวา ก็อย่างนั้นเหมือนกัน ฝนทั้งหลายที่ปล่อยเมฆทั้งสี่ทิศของ

ดอกมะลิซ้อน ดอกจำปา ดอกมะลิป่า ดอกอุบลแดง อุบลขาว กำยานและ

ยางทราย และดอกไม้ที่มีสีเขียว สีเหลืองเป็นต้น มีกลิ่นหอมและละเอียด ก็

กระจายไปเหมือนละอองน้ำ เสียงกึกก้องของดนตรี มีองค์ห้า และกึกก้อง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

แห่งเสียงสดุดี อันประกอบด้วยคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ก็

ตามไปทุกทิศ ดวงตาของเหล่าเทวดา มนุษย์นาค สุบรรณ คนธรรพ์ และยักษ์

เป็นต้นก็ได้เห็นเหมือนดื่มน้าอมฤต แต่จะอยู่ในฐานะที่กล่าวพรรณนาการเสด็จ

พระพุทธดำเนินด้วยโศลกพันบท ก็ควร ในข้อนั้นจะกล่าวพอเป็นทางดังนี้.

พระผู้นำโลก สมบูรณ์ด้วยพระสรร-

พางค์อย่างนี้ ทรงทำมหาปฐพีให้ไหว ไม่

ทรงเบียดเบียนสัตว์เสด็จไป พระนราสภ ผู้

สูงสุดกว่าบรรดาสัตว์สองเท้า ยกพระบาท

ขวา ก้าวแรกเสด็จพระพุทธดำเนิน ก็

สมบูรณ์ด้วยสิริ สง่างาม เมื่อพระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐสุดเสด็จพระพุทธดำเนิน ฝ่า

พระบาทอันอ่อนนุ่มสัมผัสพื้นดินที่เรียบก็ไม่

เปื้อนด้วยละออง. เมื่อพระผู้เป็นนายกแห่ง

โลก เสด็จพระพุทธดำเนินที่ลุ่มก็ดอนขึ้น

ที่ดอนก็ราบเรียบ แผ่นดิน แผ่นหิน ก้อน

กรวด กระเบื้อง ตอและหนามทุกอย่าง

ไม่มีจิตใจก็เว้นทางถวาย เมื่อพระผู้เป็นนายก

แห่งโลกเสด็จพระพุทธดำเนิน ก็ไม่ต้อง

ยกพระบาทก้าวยาวในที่ไกล ไม่ต้องยก

พระบาทก้าวสั้นในที่ใกล้ ไม่ทรงอึดอัด

พระทัย เสด็จพุทธดำเนิน พระมุนีผู้มีจรณะ

สมบูรณ์ ก็ไม่ยกพระชานุทั้งสองและข้อ

พระบาท เสด็จไปเร็วนัก. พระผู้มีพระทัย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

ตั้งมั่น เมื่อเสด็จพระพุทธดำเนินก็ไม่ต้อง

เสด็จไปช้านัก พระองค์มิได้ทรงจ้องมอง

เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ทิศใหญ่

ทิศน้อย อย่างนั้น เสด็จไป ทอดพระเนตร

เพียงชั่วแอก พระชินเจ้าพระองค์นั้นทรงมี

อาจาระน่าชม ดังพระยาช้าง สง่างามใน

อาการเสด็จพระพุทธดำเนิน พระผู้เป็นเลิศ

แห่งโลก เสด็จพระพุทธดำเนินงามนัก ทรง

ยังมนุษยโลกกับทั้งเทวโลกให้ร่าเริงสง่างาม

ดังพระยาอุสุภราช ดังไกรสรราชสีห์ ที่เที่ยว

ไปทั้งสี่ทิศ ทรงยังสัตว์เป็นอันมากให้ยินดี

เสด็จถึงบุรีอันประเสริฐสุด ดังนี้.

นัยว่า เวลานี้เป็นเวลาแห่งพรรณนา. เรี่ยวแรงเท่านี้ เป็นข้อสำคัญ

สำหรับพระธรรมกถึกในการพรรณนาพระสรีระหรือพรรณนาพระคุณของพระ-

พุทธเจ้าในกาลทั้งหลายอย่างนี้. ยังสามารถพรรณนาด้วยคำร้อยแก้ว หรือคำร้อย

กรองได้เท่าใด ก็ควรกล่าวเท่านั้น ไม่ควรพูดว่า กล่าวยาก. แท้จริงพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลาย มีพระคุณหาประมาณมิได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าด้วยกันเอง ก็ยังไม่

สามารถพรรณนาคุณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยไม่ให้หลงเหลือได้ จะป่วย

กล่าวไปไยถึงหมู่สัตว์นอกจากนี้เล่า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าสู่พระบุรีของ

ศากยราช อันประดับตกแต่งด้วยสิริวิลาสอย่างนี้ อันชนมีจิตเลื่อมใสบูชาด้วยของ

หอมธูปเครื่องอบและจุรณเป็นต้น เสด็จเข้าสู่สันถาคาร เพราะเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า อถ โข ภควา นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวร อาทาย สทฺธึ ภิกฺขุสงฺเฆน

เยน นว สนฺถาคาร เตนุปสงฺกมิ ดังนี้. คำว่า ภควนฺต เยว ปุรกฺขตฺวา

ความว่า กระทำพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ข้างหน้า ณ สันถาคารนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับนั่งกลางเหล่าภิกษุและเหล่าอุบาสก ทรงรุ่งโรจน์อย่างยิ่ง เสมือน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

รูปปฏิมาที่หล่อด้วยทองคำแท่งสีแดงที่บุคคลสรงสนานด้วยน้ำหอม เช็ดทำสะอาด

ด้วยผ้าเทริดจนแห้งแล้ว ฉาบทาด้วยชาดสีแดง ตั้งไว้บนตั่งที่คลุมด้วยผ้า

กัมพลแดงฉะนั้น แนวทางพรรณนาพระคุณของท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายใน

ข้อนี้มีดังนี้.

พระผู้เลิศแห่งโลก มีจรณะ น่าชม

ดังพระยาช้าง เสด็จไปสู่โรงมณฑล (พิธี)

เปล่งพระรัศมี ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์

อันประเสริฐ พระผู้เป็นสารถีฝึกคนที่ควร

ฝึก เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ มีพระบุณยลักษณ์

ร้อยหนึ่ง ประทับนั่ง ณ ที่นั้น อยู่ท่ามกลาง

พุทธอาสน์ทรงรุ่งเรือง เสมือนแท่งทองอัน

บุคคลวางไว้ บนผ้ากัมพลเหลืองฉะนั้น

พระผู้ปราศจากมลทินสง่างามเหมือน

แท่งทองชมพูนุท ที่เขาวางไว้บนผ้ากัมพลสี

เหลือง เหมือนแก้วมณีส่องประกายอยู่ฉะนั้น

ทรงสง่างามเหมือนต้นสาละใหญ่ ออกดอก

สะพรั่ง อันเป็นเครื่องประดับของขุนเขาเมรุ

ราชฉะนั้น เปล่งแสงเหมือนปราสาททอง

เหมือนดอกปทุมโกกนทเหมือนต้นประทีป

ส่องสว่าง เหมือนดวงอัคคีบนยอดเขา

เหมือนต้นปาริฉัตรของทวยเทพอันดอกบาน

สะพรั่งฉะนั้น.

ปกิณณกกถาที่ประกอบด้วยการอนุโมทนาฉลองสันถาคาร พึงทราบว่า

ชื่อธรรมีกถา ในที่นี้ว่า กาปิลวตฺถุเก สกฺเย พหูเทว รตฺตึ ธมฺมิยา

กถาย. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปกิณณกกถา ที่นำประโยชน์สุขมา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

ให้พวกเจ้าศากยะชาวกรุงกบิลพัสดุ์ ประดุจทรงยังพวกเจ้าศากยะให้ข้ามอากาศ

คงคา ประดุจทรงควักโอชะแห่งปฐพีมาให้ ประดุจทรงจับต้นหว้าใหญ่สั่น

ประดุจทรงกวาดรวงผึ้งขนาดโยชน์หนึ่ง ด้วยจักรยนต์ ให้พวกเจ้าศากยะดื่ม

น้ำผึ้งฉะนั้นว่า ดูก่อนมหาบพิตร การถวายที่อยู่เป็นทานใหญ่ ที่อยู่ของพวกท่าน

เราตถาคตก็ใช้สอยแล้ว ภิกษุสงฆ์ก็ใช้สอยแล้ว ที่อยู่ที่เราตถาคตและภิกษุสงฆ์

ใช้สอยแล้ว ก็เป็นอันพระธรรมรัตนะ ก็ใช้สอยแล้วเหมือนกัน เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า พระรัตนะทั้งสามใช้สอยแล้ว ก็เมื่อพวกท่านถวายอาวาสทานแล้ว

ทานทั้งปวง ก็เป็นอันพวกท่านถวายแล้วเหมือนกัน ธรรมดาอานิสงส์ของ

บรรณศาลาที่ตั้งอยู่บนพื้นดินก็ดี มณฑปที่ตั้งอยู่บนกิ่งไม้ก็ดี ใคร ๆ ก็ไม่

สามารถกำหนดได้ ครั้นตรัสธรรมกถาเป็นอันมาก มีนัยวิจิตรนานาประการ

แล้ว ก็ตรัสพระคาถา (วิหารทานคาถา) ว่า

วิหารย่อมป้องกันหนาวร้อนและ

สัตว์ร้ายทั้งหลาย งูและยุงและฝนทั้งหลาย

ในฤดูหนาว แต่นั้นลมและแดดอันร้ายที่เกิด

เอง ย่อมบรรเทาไป. การถวายวิหารแก่สงฆ์

เพื่ออยู่เร้น เพื่อสุข เพื่อเพ่งฌาน เพื่อเจริญ

วิปัสสนา พระพุทธะทั้งหลายสรรเสริญว่า

เป็นทานอันเลิศ เพราะฉะนั้นแล คนผู้เป็น

บัณฑิตเมื่อพิจารณาเห็นสุของตน พึงสร้าง

วิหารที่น่ารื่นรมย์ให้ภิกษุพวกพหูสูตอยู่อา-

ศัย. อนึ่งพึงถวายข้าวน้ำ ผ้าและเสนาสนะ

แก่ภิกษุเหล่านั้น มีใจเลื่อมใสในท่านผู้

ปฏิบัติตรง เขารู้ทั่วถึงธรรมอันใด ใน

๑. ดูอธิบายในอรรถกถาโปตลิยสูตร ต่อจากสูตรนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

ธรรมวินัยนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาลวะ ปรินิพ-

พาน ภิกษุพหูสูตเหล่านั้น ย่อมแสดงธรรม

เครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขาแล.

อานิสงส์ในอาวาสทานแม้นี้ ก็มีด้วยประการฉะนี้. คำว่า อยมฺปิจานิ-

สโส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอานิสังสกถาในอาวาสทาน ตลอดราตรี

เป็นอันมาก คือเกินสองยามครึ่ง. ในพระบาลีนั้น คาถาเหล่านี้เท่านั้น ท่าน

ยกขึ้นสู่สังคีติ (สังคายนา) ส่วนปกิณณกธรรมเทศนาหาขึ้นสู่สังคีติไม่. คำว่า

สนฺทสฺเสมิ เป็นต้น มีเนื้อความที่กล่าวแล้วทั้งนั้น. คำว่า อายสฺมนฺต

อานนฺท อามนฺเตสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะให้

ท่านพระอานนท์กล่าวธรรมกถา จึงรับสั่งให้ทราบ. ถามว่า ก็เมื่อพระมหาเถระ

ผู้เป็นพระอสีติมหาสาวก เช่นท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะและ

ท่านพระมหากัสสปะเป็นต้น ก็มีอยู่ เหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงมอบภาระ

ให้ท่านพระอานนทเถระเล่า ? ตอบว่า เพราะอำนาจอัธยาศัยของบริษัท เป็น

ความจริงท่านพระอานนท์มีชื่อเสียงปรากฏ ไปในฝ่ายเจ้าศากยะว่า เป็นยอดของ

เหล่าภิกษุผู้เป็นพหูสูต สามารถจะกล่าวธรรมกถาได้ไพเราะ ด้วยบทพยัญชนะ

ที่กลมกล่อม เหล่าเจ้าศากยะแม้เสด็จไปพระวิหาร ก็เคยฟังธรรมกถาของ

ท่าน ส่วนฝ่ายในแห่งเจ้าศากยะเหล่านั้น ไม่ได้โอกาสที่จะไปยังพระวิหารได้

ตามความพอใจ เจ้าศากยะเหล่านั้นจึงได้ดำริอยู่แต่ในใจว่า น่าที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจะตรัสธรรมกถาแต่น้อย ๆ แล้วทรงมอบภาระให้ท่านพระอานนท์ พระ

ญาติผู้ประเสริฐของเรา. เพราะอำนาจอัธยาศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงทรงมอบภาระให้ท่านพระอานนท์นั้นแต่องค์เดียว. คำว่า เสโข

ปฏิปโท ได้แก่ เป็นเสขสมณะผู้ปฏิบัติพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสว่า เสข-

ปฏิปทาจงแจ่มแจ้ง ปรากฏแก่เธอ เธอจงแสดงปฏิปทาของเสขสมณะนั้น ทรง

กำหนดบุคคลแสดงด้วยปฏิปทา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกำหนดปฏิปทานี้.

ตอบว่า เพราะเหตุหลายอย่าง.

ก่อนอื่นเจ้าศากยะเหล่านี้ มุ่งหวังมงคล ปรารถนาความเจริญแก่

มงคลศาลา อนึ่ง เสขปฏิปทานี้ เป็นมงคลปฏิปทา เป็นปฏิปทาของผู้เจริญ

อยู่ในพระศาสนาของเรา เเม้เพราะเหตุนี้ จึงทรงกำหนดปฏิปทานี้ อนึ่ง

พระเสขบุคคลเป็นอันมาก นั่งอยู่ในบริษัทของพระองค์ เมื่อพระองค์ตรัส

ฐานะที่ทรงแทงตลอดด้วยพระองค์เองแล้ว พระเสขบุคคลเหล่านั้น จักกำหนด

ได้อย่างไม่ลำบากเลย แม้เพราะเหตุนี้จึงทรงกำหนดปฏิปทานี้ อนึ่งเล่า ท่าน

พระอานนท์ก็บรรลุเสขปฏิสัมภิทา ท่านกล่าวในฐานะอันประจักษ์ที่ท่านแทง

ตลอดแล้วด้วยตนเอง ก็ไม่ลำบาก จักสามารถทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ แม้เพราะ

เหตุนี้ จึงทรงกำหนดปฏิปทานี้ อนึ่ง สิกขาแม้ทั้งสามก็รวมอยู่ในเสขปฏิปทา

แล้ว ในสิกขาทั้งสามนั้น เมื่อท่านกล่าวอธิศีลสิกขา วินัยปิฎกทั้งหมด ก็

เป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว เมื่อกล่าวอธิจิตตสิกขา สุตตันตปิฎกทั้งหมด ก็เป็น

อันท่านกล่าวไว้แล้ว เมื่อกล่าวอธิปัญญาสิกขา อภิธรรมปิฎกทั้งหมด ก็เป็น

อันท่านกล่าวไว้แล้ว. อนึ่ง พระอานนท์เป็นพหูสูตทรงพระไตรปิฎก ท่าน

สามารถจะกล่าวสิกขาทั้งสามด้วยปิฎกทั้งสามได้ เมื่อท่านกล่าวอย่างนี้ มงคล

และความเจริญอย่างเดียว จักมีแก่เหล่าเจ้าศากยะ แม้เพราะเหตุนี้ จึงทรง

กำหนดปฏิปทานี้.

ถามว่า ในพระบาลีว่า หลังของเราไม่ค่อยสบายนี้ เหตุไร พระ-

ปฤษฎางค์จึงไม่สบาย.

ตอบว่า เพราะเมื่อทรงตั้งความเพียรอยู่ ๖ ปี ทุกข์ทางพระวรกายก็

มีมาก ต่อมาภายหลังครั้งทรงพระชรา ลมเบื้องพระปฤษฎางค์ก็เกิดแก่พระองค์.

หรือว่า ข้อนั้นยังไม่เป็นสาเหตุ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงสามารถ

เพื่อจะข่มเวทนาที่เกิดขึ้น ประทับนั่งโดยอิริยาบถเดียวได้ถึงสัปดาห์หนึ่งบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

สองสัปดาห์บ้าง แต่มีพระพุทธประสงค์จงทรงใช้ศาลาสันถาคารด้วยอิริยาบถ

ทั้งสี่ จึงได้ทรงพุทธดำเนินตั้งแต่ที่ชำระพระหัตถ์และพระบาท จนประทับนั่ง

เหนืออาสนะ แสดงธรรม เสด็จพระพุทธดำเนินในที่เช่นนี้ ถึงอาสนะแสดง

ธรรม ค่อย ๆ ประทับยืนแล้วประทับนั่ง ประทับนั่งเหนืออาสนะแสดงธรรม

สองยามครึ่ง ในที่เช่นนี้ สำเร็จการประทับนั่งในที่เช่นนี้ บัดนี้ เมื่อทรง

บรรทม โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ก็สำเร็จการบรรทม พระผู้มีพระภาคเจ้ามี

พระพุทธประสงค์จะทรงใช้ด้วยอิริยาบถสี่ ดังกล่าวมาด้วยประการฉะนี้ ไม่

ควรกล่าวว่า ก็ธรรมดาสรีระที่มีวิญญาณครองของเรา ไม่สบายดังนี้ เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาความไม่สบายแม้เล็กน้อย ที่เกิดจาก

ประทับนั่งนาน จึงตรัสอย่างนี้.

คำว่า สงฺฆาฏึ ปญฺเปตฺวา ความว่า นัยว่าพวกเจ้าศากยะเหล่านั้น

ให้กั้นม่านผ้าไว้ที่ส่วนข้างหนึ่งของสันถาคาร ให้จัดตั้งเตียงที่สมควร แล้วลาด

ด้วยเครื่องลาดที่สมควรแล้วติดเพดานประดับด้วยดาวทอง พวงมาลัยหอม ไว้

ข้างบน ตามประทีปน้ำมันหอมไว้ ด้วยทรงดำริว่า ไฉนหนอพระศาสดาจัก

เสด็จลุกขึ้นจากธรรมาสน์ แล้วพักหน่อยหนึ่ง จะทรงบรรทม ณ ที่นี้ เมื่อ

เป็นเช่นนี้ สันถาคารนี้ เป็นอันพระศาสดาทรงใช้แล้วด้วยอิริยาบถ ๔ ก็จัก

เป็นประโยชน์สุขแก่พวกเรา ตลอดกาลนาน. แม้พระศาสดาก็ทรงทราบอัธยาศัย

นั้นนั่นแล จึงทรงปูสังฆาฏิบรรทม ณ ที่นั้น. คำว่า อุฏฺานสญฺ มนสิกริ-

ตฺวา ความว่า ทรงตั้งอุฏฐานสัญญาไว้ในใจว่า ล่วงเวลาเท่านี้ เราจักลุกขึ้น.

คำว่า มหานาม สกฺก อามนฺเตสิ ความว่า นัยว่า ในเวลานั้นเจ้ามหานาม

ศากยะเป็นหัวหน้าสูงสุดในบริษัทนั้น เมื่อท่านพระอานนท์สงเคราะห์เจ้ามหา-

นามนั้นแล้ว ก็เป็นอันสงเคราะห์บริษัทส่วนที่เหลือด้วย เพราะเหตุนั้น

พระเถระจึงเรียกเฉพาะเจ้ามหานามศากยะนั้นองค์เดียว. คำว่า สีลสมฺปนโน

แปลว่า ถึงพร้อมด้วยศีล. อธิบายว่า มีศีลสมบูรณ์ มีศีลบริบูรณ์. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

สทฺธมฺเมหิ แปลว่า ด้วยธรรมอันดี หรือด้วยธรรมของคนดี คือสัตบุรุษ.

ด้วยคำว่า กถ จ มหานาม นี้ พระเถระประสงค์จะตั้งแม่บทแห่งเสขปฏิปทา

ด้วยฐานะเท่านี้แล้ว อธิบายให้พิศดารโดยลำดับ จึงกล่าวอย่างนี้. คำว่า

สีลสมฺปนฺโน เป็นต้น ในพระบาลีนั้นบัณฑิตพึงทราบตามนัยที่ตรัสไว้แล้ว

ในอากังเขยยสูตร เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์

อยู่เถิดดังนี้. ในคำว่า กายทุจฺจริเตน เป็นต้น เป็นตติยาวิภัตติ ลงใน

อรรถทุติยาวิภัตติ. อธิบายว่า ละอาย เกลียด กายทุจริตเป็นต้น ที่ควรละอาย.

คำว่า กายทุจฺจริเตน เป็นตติยาวิภัตติ ลงในอรรถเหตุ ในนิทเทสแห่ง

โอตตัปปะ. อธิบายว่า เกรงกลัว แต่กายทุจริตเป็นต้น อันเป็นตัวเหตุแห่ง

โอตตัปปะ. คำว่า อารทฺธวิริโย คือ ผู้มีความเพียรอันประคองไว้ มีใจ

ไม่ย่อหย่อน. คำว่า ปหานาย คือเพื่อประโยชน์แก่การละ. คำว่า อุปสมฺปทาย

คือ เพื่อประโยชน์แก่การกลับได้. คำว่า ถามว่า คือผู้ประกอบด้วยเรี่ยวแรง

คือความเพียร. คำว่า ทฬฺหปรกฺกโม คือ ผู้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง.

คำว่า อนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความว่า ผู้มีธุระอันไม่ทอดทิ้ง มี

ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนในกุศลธรรม. คำว่า ปรเมน คือ สูงสุด. คำว่า

สติเนปกฺเกน คือ ด้วยสติและความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ปัญญาจึงมาในบทภาชนีย์ของสติ.

ตอบว่า เพื่อแสดงความที่สติมีกำลัง. แท้จริงสติที่ปราศจากปัญญา

ย่อมอ่อนกำลัง สติที่ประกอบด้วยปัญญาย่อมมีกำลัง.

คำว่า จิรกตปิ ความว่า การบำเพ็ญข้อปฏิบัติคือมหาวัตร ๘๐ มี

เจติยังคณวัตรเป็นต้น อันตนเองหรือคนอื่น กระทำด้วยกายมานาน. คำว่า

จิรภาสิตปิ ความว่า คำที่ตนเองหรือผู้อื่นกล่าวด้วยวาจามานาน ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

กถาที่ว่าด้วยการอุทิศเอง การให้ผู้อื่นอุทิศ การประชุมธรรม การแสดงธรรม

และเลียบเคียงด้วยความเคารพ คือ วจีกรรม ที่เป็นไปด้วยอำนาจ ถ้อยคำ

ที่ควรอนุโมทนาเป็นต้น. คำว่า สริตา อนุสฺสริตา ความว่า เมื่อกายกรรม

นั้น กระทำมานานด้วยกาย ชื่อว่า กายเป็นกายวิญญัติ เมื่อวจีกรรมกล่าว

มานาน . ชื่อว่า วาจา เป็นวจีวิญญัติ แม้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นรูปจิตและ

เจตสิกที่ยังรูปนั้นให้ตั้งขึ้นเป็นรูป ย่อมระลึกและตามระลึกว่า รูปธรรมและ

อรูปธรรมเหล่านี้ เกิดขึ้นอย่างนี้ ดับไปอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. อธิบายว่า

ยังสติสัมโพชฌงค์ให้ตั้งขึ้น แท้จริงในที่นี้ท่านประสงค์เอาสติที่ยังโพชฌงค์ให้

ตั้งขึ้น ด้วยสตินั้น อริยสาวกนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า สริตา เพราะระลึกได้

ครั้งเดียว ชื่อว่า อนุสฺสริตา เพราะระลึกได้บ่อย ๆ.

คำว่า อุทยตฺถคามินิยา ความว่า อันถึงความเกิดและความเสื่อม

คือ สามารถเพื่อจะรู้ชัด ซึ่งความเกิดและความเสื่อมแห่งขันธ์ทั้งห้า. คำว่า

อริยาย ความว่า หมดจด เพราะตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งหลาย โดยข่มไว้ และ

โดยตัดได้ขาด. คำว่า ปญฺาย สมนฺนาคโต คือ เป็นผู้พร้อมด้วยวิปัสสนา

ปัญญา และมรรคปัญญา. ในคำว่า นิพฺเพธิกาย ความว่า วิปัสสนา-

ปัญญา และมรรคปัญญานั้นแล ท่านเรียกว่า นิพเพธิกา เพราะเป็นเครื่อง

แทงตลอด. อธิบายว่า ประกอบด้วยนิพเพธิกปัญญานั้น. บรรดาวิปัสสนา

ปัญญาและมรรคปัญญาทั้งสองนั้น มรรคปัญญาชื่อว่า นิพเพธิกา เพราะ

อรรถวิเคราะห์ว่า เจาะแทง คือ ทำลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะ

ที่ไม่เคยเจาะแทงที่ไม่เคยทำลายเสียได้ โดยตัดได้ขาด วิปัสสนาปัญญาชื่อว่า

นิพเพธิกา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เจาะแทงทำลายกองโลภะเป็นต้นได้

โดยเจาะแทงทำลายได้ชั่วขณะ และเพราะเป็นไปเพื่อได้มาซึ่งมรรคปัญญา อัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

เป็นเครื่องเจาะแทง เพราะเหตุนั้น วิปัสสนาปัญญาจะรียกว่า นิพเพธิกา

ก็ควร. มรรคปัญญาทำทุกข์ในวัฏฏะให้สิ้นไปโดยชอบ คือ โดยเหตุ โดยนัย

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ

แม้ในคำว่า สมฺมาทุกฺขกฺขยคามินิยา วิปัสสนาทำทุกข์ในวัฏฏะและทุกข์

เพราะกิเลสให้สิ้นไป ด้วยอำนาจตทังคปหาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็น

ข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนานั้นก็พึงทราบว่า

เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ แม้เพราะเป็นไปเพื่อได้มาซึ่งมรรค-

ปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์.

คำว่า อภิเจตสิกาน ความว่า อันอิงอาศัยจิตอันยิ่ง จิตอันประเสริฐ.

คำว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาราน ความว่า อันเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งสุขในขณะที่

เอิบอิ่ม. คำว่า นิกามลาภี ความว่า เข้าสมาบัติในขณะที่ต้องการ ๆ. คำว่า

อกิจฺฉลาภี คือได้ไม่ยาก. คำว่า อกสิรลาภี คือได้อย่างไพบูลย์. พระ-

อริยสาวกรูปหนึ่ง สามารถเข้าสมาบัติได้ ในขณะที่ต้องการ. เพราะเป็นผู้

คล่องแเคล่ว แต่อีกรูปหนึ่ง ไม่ลำบาก แต่ไม่สามารถข่มธรรมที่เป็นอันตราย

แห่งสมาธิไว้ได้ เธอก็ออกจากสมาบัติไปทันที เพราะตนไม่ปรารถนาไม่สามารถ

ดำรงสมาบัติไว้ได้ โดยเวลาตามที่กำหนดไว้ อริยสาวกนี้ชื่อว่า ได้ยาก ได้

ลำบาก ส่วนอริยสาวกรูปหนึ่ง สามารถเข้าสมาบัติได้ในขณะที่ต้องการ ทิ้ง

ไม่ลำบาก ในธรรมที่มีสมาธิบริสุทธิ์ ก็ข่มใจไว้ได้ เธอสามารถออกจาก

สมาบัติโดยเวลาตามที่กำหนดไว้ได้ อริยสาวกนี้ชื่อว่า ได้โดยไม่ยาก ทั้งชื่อว่า

ได้โดยไม่ลำบาก. ด้วยคำว่า อย วุจฺจติ มหานาม อริยสาวโก เสโข ปาฏิ-

ปโท นี้ พระเถระแสดงว่า ดูก่อนท่านมหานาม อริยสาวกผู้ปฏิบัติเสขปฏิปทา

ท่านเรียกว่า ผู้ประกอบด้วยข้อปฏิบัติ อันเป็นไปเพื่อห้องแห่งวิปัสสนา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

คำว่า อปุจฺจณฺฑตาย คือ เพราะความเป็นกะเปาะไข่ที่ไม่เสีย. คำว่า

ภพฺโพ อภินิพฺภิทาย คือ ควรเพื่อกระเทาะออกด้วยอำนาจฌาน. คำว่า

สมฺโพธาย คือ เพื่ออริยมรรค. ด้วยคำว่า อนุตฺตรสฺส โยคกฺเขมสฺส นี้

พระเถระแสดงว่า พระอรหัตชื่อว่า ธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม

เป็นผู้ควรเพื่อบรรลุธรรมนั้น ข้ออุปมาที่ท่านนำมาเพื่อแสดงข้อความในพระ-

สูตรนี้ บัณฑิตพึงทราบ ตามนัยที่ท่านกล่าวไว้ในเจโตขีลสูตรนั่นแล. ก็การ

เทียบเคียงข้ออุปมาอันใด มาในเจโตขีลสูตรนั้น อย่างที่ว่า ความเพียรยิ่งของ

ภิกษุนี้ คือความที่ภิกษุนี้เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ นั้น ก็เหมือนการกระทำ

กิริยา ๓ อย่างในกะเปาะไข่ของแม่ไก่นั้น การเทียบเคียงข้ออุปมานั้น บัณฑิต

พึงประกอบความอย่างนี้ว่า ความที่ภิกษุนี้ พร้อมด้วยธรรม ๑๕ มีความเป็น

ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้น ก็เหมือนการกระทำกิริยา ๓ อย่าง ในกะเปาะไข่

ของแม่ไก่นั้น แล้วพึงทราบอย่างเดียวกัน เพราะพระบาลีว่า ภิกษุในธรรม-

วินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้เป็นต้น คำที่เหลือก็เช่นเดียวกับ

คำที่ท่านกล่าวไว้ในที่ทั้งปวงนั่นและ คำว่า อิมเยว อนุตฺตร อุเปกฺขา

สติปาริสุทฺธึ ความว่า อันเป็นจตุตถฌานอันสูงสุด ไม่เหมือนกับปฐมฌาน

เป็นต้น อันนี้. คำว่า ปมา อภินิพฺภิทา คือการทำลายด้วยฌาณ ครั้งแรก

แม้ในครั้งที่สองเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ก็ลูกไก่เกิดสองครั้ง คือออก

จากท้องแม่ ครั้งหนึ่ง ออกจากกะเปาะไข่ครั้งหนึ่ง, อริยสาวกเกิดสามครั้ง

ด้วยวิชชาสาม คือ บรรเทาความมืดที่ปกปิดขันธ์ที่เคยอาศัยในปางก่อน เกิด

ครั้งที่หนึ่งด้วยปุพเพนิวาสญาณ บรรเทาความมืดที่ปกปิดจุติปฏิสนธิ ของสัตว์

ทั้งหลาย แล้วเกิดครั้งที่สองด้วยทิพยจักษุญาณ บรรเทาความมืดที่ปกปิดสัจจะ

ทั้งสี่ แล้วเกิดครั้งที่สามด้วยอาสวักขยญาณ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

คำว่า อิท ปิสฺส โหติ จรณสฺมึ ความว่า แม้อันนี้ก็ย่อมชื่อว่า

จรณะของภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่า จรณะมีมากมิใช่อย่างเดียว ได้แก้ ธรรม ๑๕ มีศีล

เป็นต้น . อธิบายว่า ในธรรม ๑๕ นั้น แม้ศีลนี้ก็เป็นจรณะอย่างหนึ่ง แต่

โดยใจความเฉพาะบท ผู้ใดเที่ยว คือไปสู่ทิศที่ไม่เคยไปด้วยคุณชาตินี้ เหตุ

นั้นคุณชาตินี้ชื่อว่า จรณะ เครื่องเที่ยวไป. ในที่ทุกแห่ง ก็มีนัยนี้. คำว่า

อิท ปิสฺส โหติ วิชฺชาย ความว่า ปุพเพนิวาสญาณนี้ ย่อมชื่อว่า วิชชา

ของภิกษุนั้น. ชื่อว่า วิชชามีมาก มิใช่อย่างเดียว ได้แก่ ญาณ ๘ มีวิปัสสนา-

ญาณเป็นต้น . อธิบายว่า ในญาณ ๘ นั้น ญาณแม้นี้ ก็ชื่อว่า วิชชาอย่าง

หนึ่ง แต่โดยใจความเฉพาะบท ผู้ใดรู้แจ้งแทงตลอดด้วยคุณชาตนี้ เหตุนั้น

คุณชาตินี้ชื่อว่า วิชชา เครื่องรู้แจ้งแทงตลอด. คำว่า วิชฺชาสมฺปนฺโน อติปิ

ความว่า ถึงพร้อมด้วยวิชชา ๓ เรียกว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาดังนี้บ้าง. คำว่า

จรณสมฺปนฺโน อิติปิ ความว่า ถึงพร้อมด้วยธรรม ๑๕ เรียกว่า ผู้สมบูรณ์

ด้วยจรณะดังนี้บ้าง. คำว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน อิติปิ ความว่า ส่วนผู้

ถึงพร้อมด้วยทั้งสองอย่างนั้น เรียกว่า ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะดังนี้บ้าง.

คำว่า สนฺนงฺกุมาเรน คือ เด็กโบราณ ที่ปรากฏชื่อว่า กุมารมาตั้งแต่กาล

ไกลโน้น เล่ากันว่า ในถิ่นมนุษย์สันนังกุมารนั้น ทำฌานให้บังเกิดครั้งยังเป็น

เด็กไว้จุก ๕ จุก ฌานก็ไม่เสื่อม ไปบังเกิดในพรหมโลก อัตภาพของเขาน่ารัก

น่าพอใจ เพราะฉะนั้นเขาจึงเที่ยวไปด้วยอัตภาพเช่นนั้น ด้วยเหตุนั้น คน

ทั้งหลายจึงให้สมญานามเขาว่า สันนังกุมาร. คำว่า ชเนตสฺมึ คือ ในหมู่ชน.

อธิบายว่า ในหมู่ประซาชน. คำว่า เย โคตฺตปฏิสารโน ความว่า ชนเหล่า

ใดยึดถือโคตร ในชนหมู่นั้นว่าเราเป็นโคตมะ เราเป็นกัสสปะ ในหมู่คนที่

ยึดถือเรื่องโคตรนั้น กษัตริย์ก็เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก. คำว่า อนุมตา

๑. บาลีเป็นสนังกุมาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

ภควตา ความว่า คาถานี้เราเทียบเคียงแสดงพร้อมด้วยปัญหาพยากรณ์ของเรา.

ในอัมพัฏฐสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า ดูก่อนอัมพัฏฐะ ถึงเราก็

กล่าวอย่างนี้ว่า

ในหมู่ชนที่ยังยึดถือในเรื่องโคตร

กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด คนที่สมบูรณ์ด้วย

วิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่

เทวดาและมนุษย์.

ก็ทรงอนุมัติ คือทรงอนุโมทนา. ตามคาถานี้ คำว่า สาธุ สาธุ

อานนฺท ความว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่หยั่งลงสู่นิทรารมณ์มา

ตั้งแต่ต้นทรงสดับพระสูตรนี้ ทรงทราบว่า อานนท์จับยึดเอายอดเสขปฏิปทา

จึงเสด็จลุกขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิ ได้ประทานสาธุการรับรอง ดังนั้นพระสูตรนี้

ด้วยพระวาจาเพียงเท่านี้ จึงเกิดชื่อว่า เป็นภาษิตของพระชินเจ้า. คำที่เหลือ

ในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเสขปฏิปทาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

๔. โปตลิยสูตร

ว่าด้วยโปตลิยคฤหบดี

[๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในอังคุตตราปชนบท

ในนิคมของชาวอังคุตตราปะ ชื่อว่าอาปณะ ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปณนิคม

ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในอาปณนิคมแล้วภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาต

แล้ว เสด็จเข้าไปยังไพรสัณฑ์แห่งหนึ่ง เพื่อทรงพักกลางวัน เสด็จถึงไพรสนฑ์

นั้นแล้ว ประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง แม้โปตลิยคฤหบดี มี

ผ้านุ่งผ้าห่มสมบูรณ์ ถือร่ม สวมรองเท้า เดินเที่ยวไปมาเป็นการพักผ่อนอยู่

เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้นแล้ว ครั้นถึงไพรสณฑ์นั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย

พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่านประสงค์เชิญนั่งเถิด. เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระ-

สมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดี แล้วได้นิ่งเสีย. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสกะโปตลิยคฤหบดีเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ดูก่อนคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้าท่าน

ประสงค์เชิญนั่งเถิด. โปตลิยคฤหบดีโกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดมตรัส

เรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดี ได้นิ่งเสียเป็นครั้งที่ ๒. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

กะโปตลิยคฤหบดีเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ดูก่อนคฤหบดี อาสนะมีอยู่ ถ้า

ท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

ประสงค์ เชิญนั่งเถิด. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว โปตลิยคฤหบดี

โกรธ น้อยใจว่า พระสมณโคดมตรัสเรียกเราด้วยคำว่า คฤหบดี แล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม พระดำรัสที่พระองค์ตรัสเรียก

ข้าพเจ้าด้วยคำว่า คฤหบดีนั้น ไม่เหมาะ ไม่สมควรเลย.

พ. ดูก่อนคฤหบดี ก็อาการของท่าน เพศของท่าน เครื่องหมายของ

ท่านเหล่านั้น เป็นเหมือนคฤหบดีทั้งนั้น.

โป. จริงเช่นนั้น ท่านพระโคดม ก็แต่ว่าการงานทั้งปวง ข้าพเจ้า

ห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว.

ดูก่อนคฤหบดี ก็การงานทั้งปวง ท่านห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง

ท่านตัดขาดแล้วอย่างไรเล่า.

ท่านพระโคดม ขอประทานโอกาส สิ่งใดของข้าพเจ้าที่มี เป็นทรัพย์

ก็ดี เป็นข้าวเปลือกก็ดี เป็นเงินก็ดี เป็นทองก็ดี สิ่งนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้า

มอบให้เป็นมรดกแก่บุตรทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้สอน มิได้ว่าเขาในสิ่งนั้น ๆ

ข้าพเจ้ามีอาหารและเครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างยิ่งอยู่ ท่านพระโคดม การงานทั้งปวง

ข้าพเจ้าห้ามเสียแล้ว โวหารทั้งปวง ข้าพเจ้าตัดขาดแล้ว ด้วยประการอย่างนี้

แล.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านกล่าวการตัดขาดโวหาร เป็นอย่างหนึ่ง ส่วนการ

ตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ เป็นอีกอย่างหนึ่ง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะเป็น

อย่างไรเล่า ดีละ พระองค์ผู้เจริญ การตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ มี

อยู่ด้วยประการใด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย

ประการนั้นเถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

ดูก่อนคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

ธรรมเครื่องตัดโวหาร ๘ ประการ

[๓๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๘ ประ-

การนี้ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ. ๘ ประการเป็นไฉน

คือ ปาณาติบาตพึงละได้เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์ อทินนาทาน พึงละได้เพราะ

อาศัยการถือเอาแต่ของที่เขาให้ มุสาวาทพึงละได้เพราะอาศัยวาจาสัตย์

ปิสุณาวาจาพึงละได้เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด ความโลภด้วยสามารถความ

กำหนัดพึงละได้เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด ความโกรธ

ด้วยสามารถแห่งการนินทาพึงละได้เพราะความไม่โกรธ ด้วยสามารถแห่งการ

นินทา ความคับแค้นด้วยความสามารถแห่งความโกรธพึงละได้เพราะอาศัย

ความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ ความดูหมิ่นท่านพึงละได้เพราะอาศัย

ความไม่ดูหมิ่นท่าน ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๘ ประการนี้แล เรากล่าวโดยย่อ

ยังมิได้จำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม ๘ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

โดยย่อมิได้ทรงจำแนกโดยพิสดาร ย่อมเป็นไปเพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของ

พระอริยะ ดีละ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยความกรุณา

จำแนกธรรม ๘ ประการนี้ โดยพิสดารแก่ข้าพเจ้าเถิด.

ดูก่อนคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

[๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ก็คำที่เรากล่าว

ดังนี้ว่า ปาณาติบาตพึงละได้เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์ เรากล่าวเพราะอาศัย

อะไร ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เรา

พึงทำปาณาติบาตเพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัด

สังโยชน์เหล่านั้น อนึ่งเราพึงทำปาณาติบาต แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้เพราะ

ปาณาติบาตเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะปาณาติบาต

เป็นปัจจัย. เมื่อตายไปทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย ปาณา-

ติบาตนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุ

คับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย เมื่อ

บุคคลงดเว้นจากปาณาติบาตแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวาย

เหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปาณาติบาตพึงละได้เพราะอาศัย

การไม่ฆ่าสัตว์ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๐] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทานพึงละได้เพราะอาศัยการ

ถือเอาแต่ของที่เขาให้ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวก

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้ เพราะ

เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น. อนึ่ง

เราพึงถือเอาของที่เขามิได้ให้ แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะอทินนาทาน

เป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย.

เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย. อทินนาทานนี้

นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้น

และกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะอทินนาทานเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล

งดเว้นจากอทินนาทานแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

นั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า อทินนาทานพึงละได้ เพราะอาศัยการ

ถือเอาแต่ของที่เขาให้ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๑] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสาวาทพึงละได้ เพราะอาศัยวาจา

สัตย์ เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อม

พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าวมุสาเพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด. เราปฏิบัติ

เพื่อละเพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงกล่าวมุสา แม้ตนเองพึงติเตียน

ตนได้เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะ

มุสาวาทเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย

มุสาวาทนี้นั่นแหละเป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์.. อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุ

คับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะมุสาวาทเป็นปัจจัย เมื่อ

บุคคลงดเว้นจากมุสาวาทแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวาย

เหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า มุสาวาทพึงละได้ เพราะอาศัยวาจา

สัตย์ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๒] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจาพึงละได้ เพราะอาศัยวาจา

ไม่ส่อเสียด เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรม

วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงกล่าววาจาส่อเสียด เพราะเหตุแห่ง

สังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์ เหล่านั้น อนึ่ง เราพึง

กล่าววาจาส่อเสียด แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย.

วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย. เมื่อตาย

ไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย ปิสุณาวาจานี้นั่นแหละ

เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์. อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระ-

วายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะวาจาส่อเสียดเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลงดเว้นจาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

วาจาส่อเสียดแล้ว อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อม

ไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ปิสุณาวาจาพึงละได้ เพราะอาศัยวาจาไม่ส่อเสียด

เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๓] ก็คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด

พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด เรากล่าวเพราะ

อาศัยอะไร. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้

ว่า เราพึงมีความโลภด้วยสามารถความกำหนัด เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด

เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงมีความโลภด้วยสามารถ

ความกำหนัด แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความโลภด้วยสามารถแห่ง

ความกำหนัดเป็นปัจจัย. วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะความโลภ

ด้วยสามารถแห่งความกำหนัดเป็นปัจจัย. เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้

เพราะความโลภด้วยสามารถความกำหนัดเป็นปัจจัย ความโลภด้วยสามารถ

ความกำหนัดนี่นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์เป็นตัวนิวรณ์. อนึ่ง อาสวะที่เป็น

เหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้นเพราะความโลภด้วยสามารถ

ความกำหนัดเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่โลภด้วยสามารถความกำหนัด อาสวะที่

เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า

ความโลภด้วยสามารถความกำหนัด พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โลภด้วย

สามารถความกำหนัด เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๔] ก็คำที่กล่าวดังนี้ว่า ความโกรธด้วยความสามารถแห่งการนินทา

พึงละได้ เพราะอาศัยความไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา คำนี้เรากล่าว

เพราะอาศัยอะไร ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา

เห็นดังนี้ว่า เราพึงโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา เพราะเหตุแห่งสังโยชน์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

เหล่าใด เราปฏิบัติ เพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงโกรธด้วย

สามารถแห่งการนินทาแม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความโกรธด้วยสามารถ

แห่งการนินทาเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้วพึงติเตียนได้ เพราะความโกรธ

ด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะ

ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทาเป็นปัจจัย ความโกรธด้วยสามารถแห่ง

การนินทานี้นั่นเหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็น

เหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้น เพราะความโกรธด้วยสามารถ

แห่งการนินทาเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา

อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าว

ดังนี้ว่า ความโกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา พึงละได้ เพราะอาศัยความ

ไม่โกรธด้วยสามารถแห่งการนินทา เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๕] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ

พึงละได้เพราะอาศัยความไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ เรากล่าวเพราะ

อาศัยอะไร ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้

ว่า เราพึงคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด

เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงคับแค้นด้วยสามารถ

ความโกรธ แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความคับแค้นด้วยสามารถแห่ง

ความโกรธเป็นปัจจัย วิญญูชนพิจารณาแล้ว พึงติเตียนได้ เพราะความคับแค้น

ด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย เมื่อตายไป ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะ

ความคับแค้นด้วยสามารถแห่งความโกรธเป็นปัจจัย ความคับแค้นด้วยสามารถ

แห่งความโกรธนี้นั่นแหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่

เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่าใด พึงเกิดขึ้น เพราะความคับแค้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

ด้วยสามารถความโกรธเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลไม่คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ

อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าว

ดังนี้ว่า ความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธพึงละได้ เพราะอาศัยความไม่

คับแค้นด้วยสามารถความโกรธ เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

[๔๖] คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้ เพราะอาศัย

ความไม่ดูหมิ่นท่าน เรากล่าวเพราะอาศัยอะไร ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราพึงดูหมิ่นท่าน เพราะเหตุแห่ง

สังโยชน์เหล่าใด เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้น อนึ่ง เราพึงดู

หมิ่นท่าน แม้ตนเองพึงติเตียนตนได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย วิญญูชน

พิจารณาแล้วพึงติเตียนตนได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย เมื่อตายไป

ทุคติเป็นอันหวังได้ เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย ความดูหมิ่นท่านนี้นั่น

แหละ เป็นตัวสังโยชน์ เป็นตัวนิวรณ์ อนึ่ง อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและ

กระวนกระวายเหล่าใดพึงเกิดขึ้น เพราะความดูหมิ่นท่านเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล

ไม่ดูหมิ่นท่าน อาสวะที่เป็นเหตุคับแค้นและกระวนกระวายเหล่านั้น

ย่อมไม่มี คำที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความดูหมิ่นท่าน พึงละได้เพราะอาศัยความ

ไม่ดูหมิ่นท่าน เรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้.

ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๘ ประการที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ได้จำแนกโดย

พิศดาร ย่อมเป็นไปเพื่อละ เพื่อตัดขาดโวหารในวินัยของพระอริยะนั้น เหล่า

นี้แล ดูก่อนคฤหบดี แต่เพียงเท่านี้จะได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น

ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ หามิได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ก็อย่างไรเล่า จึงจะ

ได้ชื่อว่าเป็นการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

วินัยของพระอริยะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่ง

ทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ มีด้วยประการใด ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า ด้วยประการนั้นเถิด.

ดูก่อนคฤหบดี ถ้าอย่างนั้น ท่านจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

โปตลิยคฤหบดีทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว .

อุปมา ๗ อย่าง

[๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี

เปรียบเหมือนสุนัขอันความเพลียเพราะความหิวเบียดเบียนแล้ว พึงเข้าไปยืน

อยู่ใกล้เคียงของนายโคฆาต นายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด พึง

โยนร่างกระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อแล้ว เปื้อนแต่เลือดไปยังสุนัข

ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สุนัขนั้นแทะร่าง

กระดูกที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด จะพึงบำบัดความเพลีย

เพราะความหิวได้บ้างหรือ.

ไม่ได้เลยพระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นร่างกระดูก

ที่เชือดชำแหละออกจนหมดเนื้อ เปื้อนแต่เลือด และสุนัขนั้นพึงมีแต่ส่วนแห่ง

ความเหน็ดเหนื่อยคับแค้นเท่านั้น.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก

มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความ

เป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็น

ต่าง ๆ อาศัยความเป็นต่าง ๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิสโดยประการ

ทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๔๘] ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนแร้งก็ดี นกตะกรุมก็ดี เหยี่ยว

ก็ดี พาชิ้นเนื้อบินไป แร้งทั้งหลาย นกตะกรุมทั้งหลาย หรือเหยี่ยวทั้งหลาย

จะพึงโผเข้ารุมจิกแย่งชิ้นเนื้อนั้น ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าแร้ง นกตะกรุม หรือเหยี่ยวตัวนั้น ไม่ริบปล่อยชิ้นเนื้อ

นั้นเสีย มันจะถึงตาย หรือถึงทุกข์ปางตายเพราะชิ้นเนื้อนั้นเป็นเหตุ.

อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ มีทุกข์มาก มี

ความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความ

เป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็น

ต่าง ๆ อาศัยความเป็นต่าง ๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว

อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการ

ทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๔๙] ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงถือคบเพลิงหญ้าอันไฟ

ติดทั่วแล้ว เดินทวนลมไป ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน ถ้าบุรุษนั้นไม่รีบปล่อยคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วนั้นเสีย คบเพลิง-

หญ้าอันไฟติดทั่วนั้น พึงไหม้มือ ไหม้แขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่แห่งใด

แห่งหนึ่งของบุรุษนั้น บุรุษนั้นจะถึงตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะคบเพลิง

นั้นเป็นเหตุ.

อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กาม

ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก

มีความคับแค้นมาก ในการนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความ

เป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็น

ต่าง ๆ อาศัยความเป็นต่าง ๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว

อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการ

ทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๕๐] ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าชั่วบุรุษ

หนึ่ง เต็มด้วยถ่านเพลิงอันปราศจากเปลว ปราศจากควัน บุรุษผู้รักชีวิต

ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงมา บุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับแขน

บุรุษนั้นข้างละคน ฉุดเข้าไปยังหลุมถ่านเพลิง ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี ท่าน

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงน้อมกายเข้าไปด้วยคิดเห็นว่า

อย่างนี้ ๆ บ้างหรือ.

ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษ

นั้นรู้ว่า เราจักตกลงยังหลุมถ่านเพลิงนี้ จักถึงตาย หรือถึงทุกข์ปางตาย

เพราะการตกลงยังหลุมถ่านเพลิงเป็นเหตุ.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง มี

ทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกาม

นี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขา

ที่มีความเป็นต่าง ๆ อาศัยความเป็นต่าง ๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็น

อารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส

โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

[๕๑] ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึ่งฝันเห็นสวนอันน่า

รื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ ภาคพื้นอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์

บุรุษนั้นตื่นขึ้นแล้ว ไม่พึงเห็นอะไร ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉัน

นั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในการนี้มีโทษอย่างยิ่ง

ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อม

เว้นขาดซึ่งอุเบกขา ที่มีความเป็นต่าง ๆ อาศัยความเป็นต่าง ๆ แล้วเจริญ

อุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับ

ความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หาส่วนเหลือมิได้.

[๕๒] ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษพึงยืมโภคสมบัติ คือ

แก้วมณี และกุณฑลอย่างดีบรรทุกยานไป เขาแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติที่ตน

ยืมมา พึงเดินไปภายในตลาด คนเห็นเขาเข้าแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อน

ท่านผู้เจริญ บุรุษผู้นี้มีโภคสมบัติหนอ ได้ยินว่าชนทั้งหลายผู้มีโภคสมบัติ

ย่อมใช้สอยโภคสมบัติอย่างนี้ ดังนี้ พวกเจ้าของพึงพบบุรุษนั้น ณ ที่ใด ๆ พึง

นำเอาของตนคืนไปในที่นั้น ๆ ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อ

นั้นเป็นไฉน จะสมควรหรือหนอ เพื่อความที่บุรุษนั้นจะเป็นอย่างอื่นไป.

ไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเจ้าของ

ย่อมจะนำเอาของตนคืนไปได้.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กาม-

ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยของยืม มีทุกข์มาก มีความ

คับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็น

จริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่าง ๆ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

อาศัยความเป็นต่าง ๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัยความ

เป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง หา

ส่วนเหลือมิได้.

[๕๓] ดูก่อนคฤหบดี เปรียบเหมือนราวป่าใหญ่ ในที่ไม่ไกลบ้าน

หรือนิคม ต้นไม้ในราวป่านั้น พึงมีผลรสอร่อย ทั้งมีผลตก แต่ไม่มีผลหล่น

ลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว บุรุษผู้ต้องการผลไม้ พึงเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้

เขาแวะยังราวป่านั้น เห็นต้นไม้อันมีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่าง

นี้ว่า ต้นไม้นี้มีผลรสอร่อย มีผลตก แต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว

แต่เรารู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอ เราพึงขึ้นต้นไม้นี้แล้วกินพออิ่ม และห่อพก

ไปบ้าง เขาขึ้นต้นไม้นั้นแล้ว กินจนอิ่ม และห่อพกไว้. ลำดับนั้น บุรุษคน

ที่สองต้องการผลไม้ . ถือขวานอันคมเที่ยวมาเสาะแสวงหาผลไม้ เขาแวะยังราว

ป่านั้นแล้ว เห็นต้นไม้มีผลรสอร่อย มีผลดกนั้น เขาพึงคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้

นี้มีผลรสอร่อย มีผลดกแต่ไม่มีผลหล่นลง ณ ภาคพื้นสักผลเดียว และเราก็ไม่

รู้เพื่อขึ้นต้นไม้ ไฉนหนอเราพึงตัดต้นไม้นี้แต่โคนต้น แล้วกินพออิ่ม และ

ห่อพกไปบ้าง เขาพึงตัดต้นไม้นั้นแต่โคนต้นฉันใด ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษคนโน้นซึ่งขึ้นต้นไม้ก่อนนั้น ถ้าแลเขาไม่รีบ

ลง ต้นไม้นั้นจะพึงล้มลง หักมือหักเท้า หรือหักอวัยวะน้อยใหญ่แห่งใด

แห่งหนึ่งของบุรุษนั้น บุรุษนั้นพึงถึงตายหรือถึงทุกข์ปางตาย เพราะต้นไม้

นั้นล้มเป็นเหตุ.

เป็นอย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กาม-

ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก มีความ

คับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง ครั้นเห็นโทษแห่งกามนี้ตามความเป็นจริง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้นขาดซึ่งอุเบกขาที่มีความเป็นต่าง ๆ

อาศัยความเป็นต่าง ๆ แล้วเจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอารมณ์เดียว อาศัย

ความเป็นอารมณ์เดียว อันเป็นที่ดับความถือมั่นโลกามิส โดยประการทั้งปวง

หาส่วนเหลือมิได้.

วิชชา ๓

[๕๔] ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยอุเบกขาเป็นเหตุให้

สติบริสุทธิ์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่านี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากคือ

ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบ

ชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติ

บ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัป

เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่าง

นั้นโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์

อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดใน

ภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่าง

นั้นมีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น

ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอัน

มากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกนี้นั้นแล อาศัยอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์

ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่านี้แหละ เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต

มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยากด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง

จักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบ

ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

ถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้า

ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจี-

สุจริต มโนสุจริต ไม่มีติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ

ด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิว

พรรณดี มิผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ

ของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกนี้แล อาศัยอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์

ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่านี้แหละ เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้า

ถึงอยู่.

โปตลิยคฤหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก

[๕๕] ดูก่อนคฤหบดี ด้วยอาการเพียงเท่านี้แล ชื่อว่าเป็นการตัดขาด

โวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ ดู

ก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านเห็นการตัดขาดโวหาร

ทั้งสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะเห็นปานนั้น

ในตนบ้างหรือหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าก็กระไร ๆ อยู่ การตัดขาดโวหารทั้ง

สิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง ในวินัยของพระอริยะ อันใด ข้าพเจ้า

ยังห่างไกลจากการตัดขาดโวหารทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยประการทั้งปวง

ในวินัยของพระอริยะ อันนั้น เพราะเมื่อก่อนพวกข้าพเจ้าได้สำคัญพวกอัญญ-

เดียรถีย์ ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่งถึง ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง ได้คบหาพวกอัญญเดียรถีย์ปริพา-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

ชกผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้รู้เหตุผลพึงคบหา ได้เทิดทูนพวกอัญญ-

เดียรถีย์ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้รู้ทั่วถึง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่

พวกข้าพเจ้าได้สำคัญภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง ได้คบหาภิกษุ

ทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้ไม่รู้เหตุผลพึงคบหา ได้ทั้งภิกษุทั้งหลาย

ผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้ไม่รู้ทั่วถึง แต่บัดนี้ พวกข้าพเจ้าจักรู้พวกอัญญเดียรถีย์

ปริพาชกผู้ไม่รู้ตัวถึง ว่าเป็นผู้ไม่รู้ทั่วถึง จักคบหาพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

ผู้ไม่รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคลผู้ไม่รู้เหตุผลพึงคบหา จักตั้งพวกอัญญเดียรถีย์

ปริพาชกผู้ไม่รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้ไม่รู้ทั่วถึง พวกข้าพเจ้าจักรู้ภิกษุทั้งหลาย

ผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้รู้ทั่วถึง จักคบหาภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง ว่าเป็นผู้อันบุคคล

ผู้รู้เหตุผลพึงคบหา จักเทิดทูนภิกษุทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึงไว้ในฐานะของผู้รู้ทั่วถึง

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ยังความรักสมณะในหมู่สมณะ ได้

ยังความเลื่อมใสสมณะในหมู่สมณะ ได้ยังความเคารพสมณะในหมู่สมณะ ให้

เกิดแก่ข้าพเจ้าแล้วหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ

เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้

มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนก-

ปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มี-

พระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น

ไป ดังนี้แล.

จบโปตลิยสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

๔. อรรถกถาโปตลิยสูตร

โปตลิยสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว

อย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า องฺคุตฺตราเปสุ ความว่า ชนบทที่ชื่อว่า

อังคุตตราปะนั้น ก็คือแคว้นอังคะนั่นเอง แอ่งน้ำที่อยู่เหนือแม่น้ำมหี เรียก

กันว่า อังคุตตราปะก็มี เพราะอยู่ไม่ไกลแอ่งน้ำนั้น.

ถามว่า แอ่งน้ำนั้นอยู่ทิศเหนือแม่น้ำมหีไหน ?

ตอบว่า แม่น้ำมหีสายใหญ่ ในข้อนี้จะแถลงให้แจ่มแจ้งดังต่อไปนี้.

เล่ากันว่า ชมพูทวีปนี้ มีเนื้อที่ประมาณ หมื่นโยชน์ ในหมื่นโยชน์

นั้น เนื้อที่ประมาณสี่พันโยชน์คลุมด้วยน้ำ นับได้ว่าเป็นทะเล มนุษย์อาศัย

อยู่ในเนื้อที่ประมาณสามพันโยชน์ ภูเขาหิมพานต์ก็ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ

สามพันโยชน์ สูงร้อยห้าโยชน์ ประดับด้วยยอด แปดหมื่นสี่พันยอดงดงาม

ด้วยแม่น้ำห้าร้อยสาย ไหลอยู่โดยรอบ มีสระใหญ่ตั้งอยู่ ๗ สระ คือ สระ-

อโนดาต สระกรรณมุณฑะ สระรถการะ สระฉัททันตะ สระกุณาละ สระ

หงสปปาตะ สระมันทากินี สระสีหปปาตะะ ยาว กว้างและลึกห้าสิบโยชน์ กลม

สองร้อยห้าสิบโยชน์ ในสระทั้ง ๗ นั้น สระอโนดาต ล้อมด้วยภูเขา ๕ ลูก

คือ สุทัศนกูฏ จิตรกูฎ กาฬกูฎ คันธมาทนกูฏ ไกรลาสกูฏ ในภูเขา ๕ ลูก

นั้น สุทัศนกูฏ เป็นภูเขาทอง สูงสองร้อยโยชน์ ข้างในโค้ง สัณฐานเหมือน

ปากกา ตั้งปิดสระนั้นนั่นแล. จิตรกูฏเป็นภูเขารัตนะทั้งหมด กาพกูฏเป็นภูเขา

แร่พลวง คันธมาทนกูฎ เป็นยอดเขาที่มีพื้นราบเรียบ หนาแน่นไปด้วยคันธ-

ชาติทั้งสิบ คือ ไม้รากหอม ไม้แก่นหอม กระพี้หอม ไม้เปลือกหอม ไม้สะเก็ด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

หอม ไม้รสหอม ไม้ใบหอม ไม้ดอกหอม ผลหอม ไม้ลำต้นหอม ดาดาษด้วย

โอสถนานาประการ วันอุโบสถข้างแรมจะเรืองแสงเหมือนถ่านไฟคุ. ไกรลาสกูฎ

เป็นภูเขาเงิน ภูเขาทั้งหมดมีส่วนสูง และสัณฐานเสมอกับสุทัศนกูฏ ตั้งปิดสระ

นั้นนั่นแล ภูเขาทั้งหมดนั้น ยังอยู่ได้ด้วยอานุภาพเทวดาและนาค แม่น้ำทั้ง

หลาย ย่อมไหลไปที่ภูเขาเหล่านั้น น้ำทั้งหมดนั้นก็ไหลไปสู่สระอโนดาตแห่ง

เดียว. ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โคจรไปทางใต้บ้าง ทางเหนือบ้าง. ส่องแสง

ไปที่สระนั้นทางหว่างภูเขาไม่โคจรไปตรงๆ ด้วยเหตุนั้นนั่นแล สระนั้นจึงเกิด

ชื่อว่า อโนดาต ในสระอโนดาตนั้น ธรรมชาติจัดไว้อย่างดี มีแผ่นมโนศิลา

และหรดาล ปราศจากเต่าปลา มีน้ำใสแจ๋วดังแก้วผลึก มีท่าลงสนาน ซึ่งเป็นที่

ที่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตขีณาสพ และเหล่าฤษีผู้มีฤทธิ์

ลงสรงสนาน ทั้งเหล่าเทวดา และยักษ์มาเล่นน้ำกัน ที่ข้างของสระอโนดาต

นั้นมีปากทางสี่ทาง คือ ปากทางราชสีห์ ปากทางช้าง ปากทางม้า ปากทาง

โคอุสภะ ซึ่งเป็นทางไหลของแม่น้ำสี่สาย ฝูงราชสีห์มีมาก อยู่ริมฝั่งแม่น้ำ

ทีไหลออกจากปากทางราชสีห์ มีโขลงช้าง ฝูงม้า ฝูงโคอยู่มาก ทางริมฝั่ง

แม่น้ำที่ไหลออกจากปากทางช้างเป็นต้น แม่น้ำที่ไหลออกไปทางทิศตะวันออก

เลี้ยวขวาสระอโนดาตสามเลี้ยว ไม่ข้องแวะกับแม่น้ำอีกสามสาย ไหลผ่านถิ่น

อมนุษย์ทางภูเขาหิมพานต์ ด้านทิศตะวันออก ลงสู่มหาสมุทร ส่วนแม่น้ำที่

ไหลออกทางทิศใต้ เลี้ยวขวาสระอโนดาตนั้นสามเลี้ยว ไหลตรงไปทิศใต้หกสิบ

โยชน์ ทางหลังแผ่นหินนั่นแล เจาะภูเขาทะลุออก มีกระแสน้ำประมาณ

สามสิบคาวุตล้อมไว้ ผ่านทางอากาศหกสิบโยชน์ ไปตกลงบนแผ่นหินชื่อ

ติยัคคฬะ แผ่นหินก็แตกด้วยความแรงของกระแสน้ำ ณ ที่แผ่นหินชื่อติยัคคฬะ

นั้น ก็เกิดสระโบกขรณีชื่อ ติยัคคฬา ประมาณห้าสิบโยชน์ กระแสน้ำพังที่

ฝั่งสระโบกขรณีทะลุหินไปหกสิบโยชน์ ต่อนั้น ก็พังแผ่นดินทึบไปหกสิบโยชน์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

ทางอุโมงค์ กระแทกติรัจฉานบรรพตชื่อ วิชฌะ ไปเป็นกระแสน้ำห้าสาย เช่น

เดียวกับนิ้วมือห้านิ้ว กระแสน้ำนั้นในที่ ๆ เลี้ยวขวาสระอโนดาต ไปสามเลี้ยว

เรียกกันว่า อาวัฏฏคงคา ในที่ที่ไหลตรงไปหกสิบโยชน์ ทางหลังหิน เรียก

กันว่า กรรณคงคา ในที่ ๆ ไหลไปหกสิบโยชน์ทางอากาศ เรียกกันว่า

อากาศคงคา ที่ตั้งอยู่ในอากาศหกสิบโยชน์ที่หลังหินชื่อติยัคคฬะ เรียกกันว่า

ติยัคคฬโบกขรณี ในที่ ๆ พังฝั่งสระทะลุหินเข้าไปหกสิบโยชน์ เรียกกันว่า

พหลคงคา ในที่ ๆ ไหลไปหกสิบโยชน์ทางอุโมงค์ เรียกกันว่า อุมมังค-

คงคา ส่วนในที่ ๆ กระแทกติรัจฉานบรรพต ชื่อวิชฌะ แยกเป็นกระแสน้ำ

ห้าสายก็กลายเป็นแม่น้ำทั้งห้า คือ คงคา ยุมนา อจิรวดี สรภู มหี. มหานที

๕ สายเหล่านี้ย่อมเกิดมาแต่หิมวันตบรรพต ด้วยประการฉะนี้. ในมหานที ๕

สายนั้น มหานทีสายที่ ๕ ชื่อมหี ท่านหมายเอาว่า มหีมหานที ในที่นี้

แอ่งน้ำใดอยู่ทางทิศเหนือมหานทีชื่อ มหี นั้น ชนบทนั้นพึงทราบว่า ชื่อ

อังคุตตราปะ เพราะอยู่ไม่ไกลแอ่งน้ำนั้น. ในชนบทชื่อ อังคุตตราปะนั้น.

คำว่า อาปณ นาม ความว่า ได้ยินว่า ในนิคมนั้นมีตลาดที่สำคัญ ๆ

แยกได้ถึงสองหมื่นตลาด แม้เพราะเหตุที่นิคมนั้นมีตลาดหนาแน่น จึงถือ

ได้ว่าเป็น อาปณะ (ตลาด) ส่วนภูมิภาคที่มีเงาทึบน่ารื่นรมย์ ริมฝั่ง

แม่น้ำไม่ไกลนิคมนั้น ชื่อว่า แนวป่ามหาวัน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ

แนวป่ามหาวันนั้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

กำหนดสถานที่อยู่ ณ แนวป่ามหาวันนั้น คำว่า เยนญฺตโร วนสณฺโฑ

เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงส่งภิกษุสงฆ์ไปยังสถานที่อยู่

เสด็จเข้าไปแต่พระองค์เดียว ท่านหมายถึง โปตลิยคฤหบดี จึงกล่าวว่า โปตลิ-

โยปิ โข คหปติ คฤหบดีชื่อมีอย่างนี้ว่า โปตลิยะ. บทว่า สมฺปนฺนนิวาส-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

นปารุปโน แปลว่า มีผ้านุ่งผ้าห่ม บริบูรณ์ อธิบายว่า นุ่งผ้าชายยาวผืน

หนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง. บทว่า ฉตฺตูปาหนานิ ได้แก่ กั้นร่ม สวมรองเท้า.

บทว่า อาสนานิ ได้แก่ อาสนะ มีตั่งทำไว้เป็นบัลลังก์และตั่งทำด้วยฟาง

เป็นต้น. แท้จริง โดยที่สุดแม้กิ่งไม้หัก ๆ ก็เรียกว่า อาสนะ ได้ทั้งนั้น. บทว่า

คหปติวาเทน แปลว่า ด้วยคำนี้ว่า คฤหบดี. บทว่า สมุทาจรติ แปลว่า

เรียก. คำว่า ภควนฺต เอตทโวจ ความว่า โปตลิยคฤหบดี ไม่อาจรับ

คำว่า คฤหบดี ครั้งที่สามได้ จึงทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ตยิท โภ โคตม

ดังนี้เป็นต้น . ในคำเหล่านั้น คำว่า นจฺฉนน แปลว่า ไม่เหมาะ. คำว่า

นปฺปฏิรูป แปลว่า ไม่ควร. คำว่า อาการา เป็นต้นทั้งหมด เป็นไวพจน์

ของเหตุ. แท้จริง การนุ่งผ้าชายยาว การไว้ผม ไว้หนวด ไว้เล็บ ชื่อว่า

อาการ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เพศคฤหัสถ์ทั้งหมดนั้นแลกระทำภาวะคฤหัสถ์

ของโปตลิยคฤหบดีให้ปรากฏ อาการเหล่านั้น ท่านเรียกว่า เพศ เพราะตั้ง

อยู่โดยทรวดทรงของคฤหัสถ์ เรียกว่า นิมิต เพราะเป็นเครื่องหมายบอกให้

เข้าใจถึงภาวะของคฤหัสถ์. ด้วยคำว่า ยถาต คหปติสฺส พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมทรงแสดงว่า อาการ เพศ และเครื่องหมาย พึงมีแก่คฤหบดี ฉันใด

อาการ เพศ และเครื่องหมายเหล่านั้นก็มีแก่ท่านฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น เราจึง

เรียกอย่างนี้. ครั้งนั้น โปตลิยคฤหบดี ไม่ยอมรับคำว่า คฤหบดี ด้วยเหตุ

อันใด เมื่อจะปร ะกาศเหตุอันนั้น จึงทูลว่า ตถา หิ ปน เม ดังนี้เป็นต้น.

คำว่า นิยฺยาต แปลว่า ทรัพย์มรดกที่ได้รับมอบ. คำว่า อโนวาที ความ

ว่า คนผู้กล่าวสอนโดยนัยเป็นต้นว่า พ่อเอย พวกเจ้าจงไถ จงหว่าน จง

ประกอบด้วยการค้าขาย พวกเจ้าจักเป็นอยู่ หรือเลี้ยงลูกเมียได้อย่างไร ดังนี้

ชื่อว่า ผู้กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่กระทำทั้งสองอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น โปตลิย-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

คฤหบดีจึงแสดงว่า ในเรื่องนั้น ข้าพเจ้าไม่ใช่ผู้กล่าวสอน ไม่ใช่ผู้ว่ากล่าว.

ด้วยคำว่า ฆาสจฺฉาทนปรโม วิหรามิ โปตลิยคฤหบดี แสดงว่าข้าพเจ้า

กระทำงานเพียงเพื่ออาหาร และเพียงเพื่อเครื่องนุ่งห่ม เป็นอย่างยิ่ง เท่านั้นอยู่

ไม่ปรารถนานอกเหนือไปจากนี้ คำว่า คิทฺธิ โลโภ ปหาตพฺโพ ได้แก่ความ

โลภ อันเป็นตัวติดข้อง ควรละเสีย. คำว่า อนินฺทาโรโส ได้แก่การไม่

นินทาและไม่กระทบกระทั่ง. คำว่า นินฺทาโรโส ได้แก่ การนินทาและการ

กระทบกระทั่ง. การเรียกชื่อ การบัญญัติชื่อ คำพูด และเจตนาก็ดี ชื่อว่า

โวหารในบาลีนี้ว่า โวหารสมุจฺเฉทาย บรรดาโวหารเหล่านั้น โวหารนี้ว่า

ในหมู่มนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่ง อาศัยการเรียกชื่อว่า ดูก่อนวาเสฏฐะ ท่านจงรู้อย่างนี้

ผู้นั้นเป็นพ่อค้ามิใช่พราหมณ์. โวหารว่า การนับชื่อ การตั้งชื่อ การบัญญัติชื่อ

การเรียกชื่อ นี้ชื่อว่า บัญญัติโวหาร. โวหารว่า ย่อมพูด ย่อมไม่ปรามาส

โดยประการนั้น ๆ นี้ชื่อว่า วจนโวหาร. ในโวหารว่า อริยโวหาร ๘ อนริย-

โวหาร ๘ นี้ชื่อว่า เจตนาโวหาร. ในที่นี้ท่านหมายถึงเจตนาโวหารนี้. อีกอย่าง

หนึ่ง จำเดิมตั้งแต่เวลาบวช เจตนาว่าคฤหัสถ์ไม่มี เจตนาว่าสมณะมีอยู่ คำว่า

คฤหัสถ์ ไม่มี คำว่า สมณะ มีอยู่ บัญญัติว่า คฤหัสถ์ ไม่มี บัญญัติว่า

สมณะมีอยู่ การกล่าวเรียกว่า คฤหัสถ์ ไม่มี การกล่าวเรียกว่า สมณะ มีอยู่

เพราะฉะนั้น จึงได้โวหารแม้ทั้งหมด.

ในคำว่า เยส โข อห สโยชนาน เหตุ ปาณาติปาตี นี้ ปาณา-

ติบาตเท่านั้น ชื่อว่า สังโยชน์ จริงอยู่ ผู้ชื่อว่าทำปาณาติบาต ก็เพราะเหตุแห่ง

ปาณาติบาตเท่านั้น คือ เพราะมีปาณาติบาตเป็นปัจจัย แต่ที่ตรัสว่า เยส โข

อห เป็นต้น ก็เพราะปาณาติบาตมีมาก. คำว่า เตสาห สโยชนาน แปลว่า

เราปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดขาดเครื่องผูกพัน คือปาณาติบาตเหล่านั้น. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

ปหานาย สมุจฺเฉทาย ปฏิปนฺโน ความว่า เราปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่

การละเพื่อประโยชน์แก่การตัดขาด ด้วยศีลสังวรทางกาย กล่าวคือ ไม่ทำ

ปาณาติบาตนี้. คำว่า อตฺตาปิ ม อุปวเทยฺย ความว่า แม้ตนเอง ก็พึงติ

เราอย่างนี้ว่า เราบวชในศาสนาของผู้ไม่ปลงชีวิตสัตว์แม้แต่มดดำมดแดง ยัง

ไม่อาจงดเว้น แม้เพียงจากปาณาติบาตได้ เราบวชทำไม. คำว่า อนุวิจฺจาปิ

วิญฺญู ครเหบฺยุ ความว่า วิญญูชน คือบัณฑิต แม้เหล่าอื่น ใคร่ครวญ

คือพินิจพิจารณาแล้วก็พึงติเตียนอย่างนี้ว่า เขาบวชในศาสนาเห็นปานนี้แล้ว

ยังไม่งดเว้นแม้เพียงปาณาติบาต เขาบวชทำไมกัน.

คำว่า เอตเทว โข ปน สโยชน เอต นีวรณ นี้ แม้จะไม่นับ

เนื่องเข้าในสังโยชน์ ๑๐ นิวรณ์ ๕ แต่ก็ตรัสด้วยอำนาจเทศนาว่า เป็นเครื่อง

ปิดกั้น ๘ อย่าง เครื่องปิดกั้น ๘ อย่างนั้น ตรัสเรียกว่า สังโยชน์บ้าง นีวรณ์

บ้าง ก็เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องผูกไว้ และเพราะอรรถว่า ปกปิดไว้ใน

วัฏฏะอย่างนี้. คำว่า อาสวา คือ อวิชชาสวะ อย่างเดียวย่อมเกิดเพราะ

ปาณาติบาตเป็นเหตุ.

คำว่า วิฆาตปริฬาหา แปลว่า ความคับแค้น และความเร่าร้อน.

ในคำนั้น ทรงถือเอาทุกข์เพราะกิเลส และทุกข์ที่เป็นวิบาก ด้วยศัพท์ว่า

วิฆาต. ทรงถือเอาความเร่าร้อนที่เป็นวิบาก ด้วยศัพท์ว่า ปริฬาห. บัณฑิต

พึงทราบความในที่ทุกแห่งโดยอุบายอย่างนี้. แต่ความแผกกัน มีดังนี้ พึงประ-

กอบความในวาระทั้งหมดอย่างนี้ว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่การละ เพื่อประ-

โยชน์แก่การตัดขาด ด้วยศีลสังวรทางกายกล่าวคือ อทินนาทาน (ไม่ลักทรัพย์)

ด้วยศีลสังวรทางวาจา กล่าวคือสัจวาจา (พูดคำจริง) ด้วยศีลสังวรทางวาจา

กล่าวาคือปิสุณาวาจา (ไม่พูดส่อเสียด) ด้วยศีลสังวรทางใจ กล่าวคืออคิทธโลภะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

(ไม่หมกมุ่นและละโมบ) ด้วยศีลสังวรทางกายและทางวาจา กล่าวคือ อนินทา-

โรสะ (ไม่นินทาและไม่กระทบกระทั่ง) ด้วยศีลสังวรทางใจ กล่าวคือ ความ

ไม่โกรธและคับแค้นใจด้วยศีลสังวรด้วยใจ กล่าวคือ ความไม่ดูหมิ่น

ส่วนในบทเหล่านี้ว่า อตฺตาปิ ม อุปวเทยฺย อนุวิจฺจาปิ วิญฺญู

ครเหยฺยุ พึงประกอบความทุกวาระ อย่างนี้ว่า แม้ตนเองก็พึงติเตียนเราอย่าง

นี้ว่า เราบวชในพระศาสนาที่สอนไม่ให้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ แม้แต่

เส้นหญ้า ยังไม่อาจงดเว้นแม่เพียงอทินนาทานได้ เราบวชทำไม. วิญญูชน

แม้ใคร่ครวญแล้ว ก็พึงติเตียนอย่างนี้ว่า คนที่บวชในศาสนาเห็นปานนี้แล้ว ยัง

ไม่อาจงดเว้นแม้เพียงแต่อทินนาทานได้ คนนี้บวชทำไม แม้ตนเองก็พึงติเตียน

ตนอย่างนี้ว่า เราบวชในศาสนาที่สอนไม่ให้กระทำมุสาวาท แม้ด้วยมุ่งหวังให้

หัวเราะ หรือหมายจะเล่น บวชในศาสนาที่สอนไม่ให้ทำการพูดส่อเสียดโดย

อาการทั้งปวง บวชในศาสนาที่สอนไม่ให้กระทำความโลภหรือความติดข้องแม้

มีประมาณน้อย บวชในพระศาสนาที่สอนไม่ให้กระการนินทาและกระทบ

กระทั่งผู้อื่น ในเมื่อแม้เขาเอาเลื่อยครูดตัว บวชในพระศาสนาที่สอนไม่ให้กระทำ

ความโกรธและความคับแค้น แม้เมื่อตอและหนามตำเอาเป็นต้น บวชในศาสนา

ที่สอนไม่ให้ถือตัว แม้เพียงสำคัญผิด ก็ยังไม่อาจละแม้ความสำคัญผิดได้ เราบวช

ทำไม วิญญูชน แม่ใคร่ครวญก็พึงติเตียนอย่างนี้ว่า คนนี้บวชในพระศาสนา

เห็นปานนี้แล้ว ยังไม่อาจละ (มุสาวาท ปิสุณาวาจา คิทธิโลภะ นินทาโรสะ

โกธะ และอุปายาส) ความสำคัญผิดได้ คนนี้บวชทำไม ดังนี้.

ส่วนบทว่า อาสวา นี้ พึงทราบความเกิดแห่งอาสวะอย่างนี้ คือ

อาสวะ ๓ คือ อาสวะคือกาม อาสวะคือทิฏฐิ อาสวะคืออวิชชา ย่อมเกิด

เพราะอทินนาทานเป็นเหตุ เกิดเพราะมุสาวาทเป็นเหตุ และเพราะปิสุณาวาจา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

เป็นเหตุ ก็อย่างนั้นเหมือนกัน. ทิฏฐาสวะ และอวิชชาสวะ เกิดเพราะ

คิทธิโลภะเป็นเหตุ อวิชชาอย่างเดียวเกิดเพราะนินทาโรสะเป็นเหตุ เกิดเพราะ

โกธะและอุปายาสเป็นเหตุ ก็เหมือนอย่างนั้น. อาสวะ ๒ คือ ภวาสวะ และ

อวิชชาสวะ เกิดเพราะอติมานะเป็นเหตุ. แต่เพื่อไม่ให้ฉงนไม่วาระแม้ทั้ง ๘

นี้ วินิจฉัยสังเขปมีดังนี้ . ควรกล่าวว่า เราไม่อาจงดเว้นในวาระ ๔ นี้ก่อน

ควรกล่าวว่า เราไม่อาจละ ในวาระเบื้องปลาย. อวิชชาสวะอย่างเดียวเท่านั้น

มีในปาณาติบาต นินทาโรสะ โกธะและอุปายาสะ. กามาสวะ ทิฏอาสวะ

อวิชชาสวะ มีในอทินนาทาน มุสาวาท ปิสุณาวาจา. ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะมี

โนคิทธิโลภะ. ภวาสวะ อวิชชาสวะ มีในอติมานะ. อปาณาติบาต อนทินนาทาน

เป็นศีลทางกาย. อมุสาวาท อปิสุณาวาจา เป็นศีลทางวาจา. ที่เหลือ ๓ เว้น

อนินทาโรสะ เป็นศีลทางใจ. แต่บุคคลย่อมขึ้งเคียดขุ่นเคืองกันด้วยกายบ้าง

ขึ้งเคียดขุ่นเคืองกันด้วยวาจาบ้าง เพราะฉะนั้น อนินทาโรสะ จึงมีฐานะ ๒

คือ เป็นศีลทางกายบ้าง เป็นศีลทางวาจาบ้าง.

ถามว่า ศีลอะไร ท่านจึงกล่าวไว้ด้วยประมาณเพียงเท่านี้.

ตอบว่า ปาฏิโมกขสังวรศีล. ก็การตัดขาดการตรัสถึงคฤหัสถ์ด้วย

อำนาจการพิจารณาและการละ พึงทราบว่า ตรัสไว้ สำหรับภิกษุผู้อยู่ใน

ปาฏิโมกขสังวรศีล.

เทศนาโดยพิศดาร มีดังต่อไปนี้. บทว่า ตเมน ทกฺโข พึงทราบ

สัมพันธ์กับบทนี้ว่า อุปจฺจมฺเกยฺย ท่านอธิบายว่า คนฆ่าโค หรือลูกมือ

คนฆ่าโค พึงโยนกระดูกนั้นไปยังสุนัข อธิบายว่า พึงโยนไปใกล้ ๆ สุนัข

นั้น. บทว่า อฏฺิกงฺล ร่างกระดูก คือกระดูกอก กระดูกสันหลัง หรือ

๑. บาล สูตรว่า อุปจฺฉูเภยฺย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

กระดูกหัว แท้จริงร่างกระดูกนั้น เรียกกันว่าร่างกระดูกเพราะไม่มีเนื้อ. คำว่า

สุนิกนฺต นิกนฺต คือ ร่างกระดูกที่เฉือนขูดเนื้อออกหมดแล้ว. อธิบายว่า

เนื้อสดอันใด มีอยู่ที่กระดูกนั้น ก็ขูดเนื้อนั้นออกหมด มีแต่เพียงกระดูกเท่า

นั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปราศจากเนื้อ แต่ร่างกระดูก

นั้น ยังเปื้อนเลือดอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า โลหิตมกฺขิต ยังเปื้อนเลือด.

คำว่า พหุทุกฺขา พหุปายาสา ความว่า กามทั้งหลายชื่อว่าทุกข์มาก ก็

เพราะมากด้วยทุกข์ทั้งปัจจุบันทั้งภายหน้า. ชื่อว่า มีความคับแค้นมาก ก็เพราะ

มากด้วยความเศร้าหมองด้วยความคับแค้น. คำว่า ยาย อุเปกฺขา นานตฺตา

นานตฺตสิตา ความว่า อุเบกขาในกามคุณ ๕ นี้ อันใดเรียกว่ามีสภาวะต่าง ๆ

กัน ก็ด้วยอำนาจอารมณ์คือกามคุณ ๕ และเรียกว่า นานตฺตสิตา ก็เพราะ

อาศัยอารมณ์เหล่านั้นนั่นแล. ภิกษุเว้นขาดอุเบกขานั้นเสีย. คำว่า เอกตฺตา

เอกตฺตสิตา ได้แก่ อุเบกขาในจตุตถฌาน. แท้จริง อุเบกขาในจตุตถฌาน

นั้นชื่อว่า มีสภาวะอันเดียว เพราะเกิดขึ้นในอารมณ์อันเดียวทั้งวัน. ชื่อว่า

เอกตฺตสิตา เพราะอาศัยอารมณ์อันเดียวนั้นนั่นแล. คำว่า ยสฺส สพฺพโส

โลกามิสูปาทานา อปริเสสา นิรุชฺฌนฺติ ความว่า อามิส คือกามคุณ ๕

กล่าวคือ โลกามิสอิงอาศัยอุเบกขาอันใด ย่อมดับไปหมดสิ้นไม่หลงเหลือใน

อุเบกขาจตุตถฌานอันใด. ก็คำว่า ปญฺจกามคุณามิสา ได้แก่ความ

กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ซึ่งมีกามคุณเป็นอารมณ์. ก็กามคุณ ๕ นั้น

นั่นแลท่านเรียกว่า อุปาทานก็มี เพราะอรรถว่า ยึดไว้. คำว่า ตเมวูเปกฺข

ภาเวติ ความว่า ย่อมเจริญในอุเบกขาจตุตถฌาน อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปาทาน

ที่อาศัยโลกามิสนั้นนั่นแล. คำว่า อุยฺเยยฺย แปลว่า พึงโดดขึ้นไป. คำว่า

๑. บาลีว่า อุฑฺฑเยยฺย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

อนุปติตฺวา แปลว่า ติดตาม. คำว่า วิตจฺเฉยฺยุ คือ พึงจิกด้วยจะงอยปาก.

คำว่า วิภเชยฺยุ คือ ยื้อชิ้นเนื้อด้วยเล็บให้ตกไป. คำว่า ยาน โอโรเปยฺย คือ

บรรทุกยานที่เหมาะแก่บุรุษ. คำว่า ปวรมณิกุณฺฑล คือแก้วมณีมีค่าสูง และ

ตุ้มหูมีอย่างต่าง ๆ. คำว่า สานิ หรนฺติ คือ ถือเอาสิ่งของ ๆ ตน. คำว่า

สมฺปนฺนผล คือ มีผลอร่อย. คำว่า อุปฺปนฺนผล คือ ติดผล มีผลดก.

คำว่า อนุตฺตรา คือ สูงสุด มีปภัสสร ปราศจากอุปกิเลส คำว่า อารกา

อห ภนฺเต ความว่า ข้าพเจ้ายังห่างไกลยิ่งนักเหมือนแผ่นดินกับแผ่นฟ้า และ

เหมือนทะเลกับฝั่งนี้ฝั่งโน้น . คำว่า อนาชานีเย คือ ผู้ไม่รู้เหตุแห่งการตัด

ขาดโวหารของคฤหัสถ์. คำว่า อาชานียโภชน คือ โภชนะที่เหล่าผู้รู้เหตุ

พึงบริโภค. คำว่า อนาชานียโภชน คือ โภชนะที่เหล่าผู้ไม่รู้เหตุพึงบริโภค.

คำนอกนั้นในที่ทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโปตลิยสูตรที่ ๔

๑. ม. ยาน วา โปริเสย.ย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

๕. ชีวกสูตร

ว่าด้วยหมอชีวกโกมารภัจจ์

[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพวันของทมอชีวก

โกมารภัจจ์ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม

พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ

ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่า

สัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ยังเสวยเนื้อที่

เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่า กล่าวตรงกับที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำอันไม่เป็นจริง

ชื่อว่ายืนยันธรรมอันสมควรแก่ธรรม การกล่าวและกล่าวตามที่ชอบธรรมจะไม่

ถึงข้อติเตียนละหรือ.

เนื้อที่ไม่ควรบริโภค และควรบริโภค ๓ อย่าง

[๕๗] พ. ดูก่อนชีวก ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่า

สัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังเสวยเนื้อ

สัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำ ดังนี้ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตรงกับที่

เรากล่าวหามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่ด้วยคำอันไม่เป็นจริง ดูก่อนชีวก เรากล่าว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

เนื้อว่าเป็นของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนเห็น

เนื้อที่ตนได้ยินเนื้อที่ตนรังเกียจ ๑ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่าเป็น

ของไม่ควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล. ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็น

ของควรบริโภคด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ เนื้อที่ตนไม่ได้เห็น เนื้อที่ตนไม่ได้

ยิน เนื้อที่ตนไม่ได้รังเกียจ ดูก่อนชีวก เรากล่าวเนื้อว่า เป็นของควรบริโภค

ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้แล.

การแผ่เมตตา

[๕๘] ดูก่อนชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใด

แห่งหนึ่งอยู่ เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่

๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไป

ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไปในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบ

ด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี

ความเบียดเบียนอยู่ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี เขาไปหาเธอแล้วนิมนต์ด้วย

ภัต เพื่อให้ฉันในวันรุ่งขึ้น ดูก่อนชีวก เมื่อภิกษุหวังอยู่ ก็รับนิมนต์ พอ

ล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า ภิกษุนั้นนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์

ของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดี แล้วนั่งลงบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ คฤหบดี

หรือบุตรของคฤหบดีนั้น อังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต ความดำริว่า

ดีหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเราอยู่ด้วยบิณฑบาตอันประณีต

ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ แม้ความดำริว่า โอหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้

พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีตเช่นนี้ แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอ

เธอไม่กำหนด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น มีปรกติเห็นโทษ มีปัญญา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

เครื่องถอนตน บริโภคอยู่ ดูก่อนชีวก ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉนว่า

ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นย่อมติดเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือ

เพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย บ้างหรือ.

ไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ดูก่อนชีวก สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษมิใช่หรือ.

อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้

สดับมาว่า พรหมมีปรกติอยู่ด้วยเมตตา คำนั้นเป็นแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับ

มา คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นองค์พยานปรากฏแล้ว ด้วยว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงมีปรกติอยู่ด้วยเมตตา.

ดูก่อนชีวก บุคคลพึงมีความพยาบาท เพราะราคะ โทสะ โมหะใด

ราคะ โทสะ โมหะนั้น ตถาคตละแล้ว มีมูลอันขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอด

ด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ดูก่อนชีวก ถ้าแลท่าน

กล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นนี้ เราอนุญาตการกล่าวเช่น

นั้นแก่ท่าน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมายเอาการละราคะ

โทสะและโมหะ เป็นต้นนี้.

การแผ่กรุณา มุทิตา อุเบกขา

[๕๙] ดูก่อนชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใด

แห่งหนึ่งอยู่ เธอมีใจประกอบด้วยกรุณา. . .มีใจประกอบด้วยมุทิตา. . . มีใจ

ประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็

เหมือนกัน ตามวินัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไปในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขา

อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียด-

เบียน คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีเข้าไปหาเธอ แล้วนิมนต์ด้วยภัต เพื่อให้ฉันใน

วันรุ่งขึ้น ดูก่อนชีวก เมื่อภิกษุหวังอยู่ ย่อมรับนิมนต์. พอล่วงราตรีนั้นไป

เวลาเช้า ภิกษุนั้นนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของคฤหบดีหรือ

บุตรคฤหบดี แล้วนั่งลงบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้.

คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น อังคาสเธอด้วยบิณฑบาตอันประณีต

ความดำริว่า ดีหนอ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้นี้ อังคาสเราอยู่ด้วยบิณฑบาต

อันประณีตดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เธอ แม้ความดำริว่า โอหนอ คฤหบดีหรือบุตร

คฤหบดีผู้นี้พึงอังคาสเราด้วยบิณฑบาตอันประณีตนี้ แม้ต่อไป ดังนี้ ก็ไม่มี

แก่เธอ เธอไม่กำหนด ไม่สยบ ไม่รีบกลืนบิณฑบาตนั้น มีปรกติเห็นโทษ มี

ปัญญาเครื่องถอนตน บริโภคอยู่ ดูก่อนชีวก ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็น

ไฉนว่า ในสมัยนั้นภิกษุย่อมคิดเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น หรือ

เพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย บ้างหรือ.

ไม่เป็นเช่นนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

ดูก่อนชีวก สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าฉันอาหารอันไม่มีโทษมิใช่หรือ.

อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้

สดับมาว่า พรหมมีปรกติอยู่ด้วยอุเบกขา คำนั้นเป็นแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับ

มา คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นองค์พยานปรากฏแล้ว ด้วยว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงมีปรกติอยู่ด้วยอุเบกขา.

ดูก่อนชีวก บุคคลพึงมีความเบียดเบียน มีความไม่ยินดี มีความกระ

ทบกระทั่งเพราะราคะ โทสะ โมหะใด ราคะ โทสะ โมหะนั้น ตถาคตละ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

แล้วมีมูลอันขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไป

เป็นธรรมดา ดูก่อนชีวก ถ้าแลท่านกล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ โมหะ

เป็นต้นนี้ เราอนุญาตการกล่าวเช่นนั้นแก่ท่าน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวหมายเอาการละราคะ โทสะ

โมหะ เป็นต้นนี้.

ฆ่าสัตว์ทำบุญได้บาปด้วยเหตุ ๕ ประการ

[๖๐] ดูก่อนชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้

นั้นย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ ๕ ประการ คือ ผู้นั้นกล่าว

อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา ดังนี้ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่

บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๑ นี้. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้

เสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่า ย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประ

การที่ ๒ นี้. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ ชื่อว่าย่อมประสบ

บาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๓ นี้. สัตว์นั้นเมื่อเขากำลังฆ่า

ย่อมเสวยทุกข์โทมนัส ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุ

ประการที่ ๔ นี้. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็น

อกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยเหตุประการที่ ๕

นี้. ดูก่อนชีวก ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคตหรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบ

บาปมิใช่บุญเป็นอันมากด้วยเหตุ ๕ ประการนี้.

[๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายย่อมฉันอาหารอัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

ไม่มีโทษหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของ

ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีบในที่มืด ด้วยคิด

ว่า ผู้มีจักษุ จักเห็นรูปฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนก-

ปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มี-

พระภาคเจ้า พระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้น

ไป ดังนี้แล.

จบชีวกสูตรที่ ๕

๕. อรรถกถาชีวกสูตร

ชีวกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว

อย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น พระบาลีนี้ว่า ตสฺส ชีวกสฺส โกมารภจฺจสฺส

อมฺพวเน ที่ชื่อว่า ชีวก เพราะยังเป็นอยู่ (มีชีวิตอยู่). ที่ชื่อว่า โกมารภัจจ์

เพราะอันพระราชกุมารชุบเลี้ยงไว้ ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระกุมาร (หมายถึง

อภัยราชกุมาร) ตรัสถามว่า นั่นอะไร พนาย ฝูงกาจึงเกลื่อนกลาด.

พวกราชบุรุษทูลว่า ทารก พระเจ้าค่ะ. ตรัสถามว่า ยังเป็นอยู่หรือ พนาย.

ทูลตอบว่า ยังเป็นอยู่พระเจ้าค่ะ. จึงตรัสสั่งให้นำทารกเข้าวัง มอบให้แม่นม

เลี้ยงดู. คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อทารกนั้นว่า ชีวก เพราะยังเป็นอยู่และตั้งสร้อย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

ชื่อว่า โกมารภัจจ์ เพราะพระราชกุมารให้ชุบเลี้ยงไว้ ในพระสูตรนี้มีความสัง-

เขปดังกล่าวมานี้ ส่วนเรื่องโดยพิสดารมาในชีวกวัตถุขันธกวินัย แม้คำวินิจฉัย

เรื่องหมอชีวกโกมารภัจจ์นั้นท่านก็กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาพระวินัย ชื่อสมันต-

ปาสาทิกา. หรือชีวกโกมารภัจจ์ผู้นี้ ถวายพระโอสถระบายอ่อนๆ ระบายพระ-

กายที่มากไปด้วยโทษของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล เวลา

จบอนุโมทนา ถวายผ้าคู่ที่ได้มาจากแคว้นสีพี. ดำริว่า เราต้องไปเฝ้าอุปัฏฐาก

พระพุทธองค์ วันละ ๒- ๓ ครั้ง พระเวฬุวันนี้ ก็อยู่ใกล้เกินไป สวนมะม่วง

ของเรายังใกล้กว่า อย่าเลย เราจะสร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ในสวน

มะม่วงของเรานี้แหละ ดังนั้น จึงให้สร้างที่เร้น กุฎี และมณฑปเป็นต้น สำ-

หรับพักกลางคืน และพักกลางวัน สร้างพระคันธกุฎี ที่เหมาะแก่ที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ในสวนอัมพวันนั้น สร้างกำแพงสีใบไม้แดงสูง ๑๘ ศอก ล้อมสวน

อัมพวันไว้ อังคาสเลี้ยงภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยภัตตาหาร

พร้อมจีวรแล้วหลั่งทักษิโณทก มอบถวายวิหาร ท่านหมายเอาสวนอัมพวันนั้น

จึงกล่าวว่า ชีวกสฺส โกมารภจฺจสฺส อมฺพวเน ดังนี้.

คำว่า อารภนฺติ แปลว่า ฆ่า. คำว่า อุทฺทิสฺส กต แปลว่า กระทำ

เจาะจง. คำว่า ปฏิจฺจ กมฺม แปลว่า กระทำเจาะจงตน. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า

ปฏิจฺจ กมฺม นี้เป็นชื่อของนิมิตตกรรม. กรรมที่อาศัยตนเป็นเหตุกระทำมี

อยู่ในเนื้อนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงอธิบายว่า กรรมมีอยู่เพราะอาศัยเนื้อ. ลัทธิ

(ความเชื่อถือ) ของคนเหล่านั้นมีอยู่ว่า ผู้ใดบริโภคเนื้อเช่นนั้น (อุทิศมังสะ)

ผู้นั้นก็ต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นด้วย ปาณฆาตกรรม จึงมีแม้แก่คนนั้น

เหมือนกับฆ่าเอง. คำว่า ธมฺมสฺส อนุธมฺม พฺยากโรนฺติ ความว่า

ย่อมกล่าวเหตุตามเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคำนั้น การบริโภคเนื้อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

โดยส่วน ๓ ชื่อว่า เหตุ การพยากรณ์อย่างนั้นของมหาชนชื่อว่า ตามเหตุ. แต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่เสวยเนื้อที่เขาทำเจาะจง (อุทิศมังสะ) เพราะฉะนั้น

ข้อนั้นไม่ชื่อว่าเหตุ. การกระทำอย่างนั้นของพวกเดียรถีย์ก็ไม่ชื่อว่า ตามเหตุ.

คำว่า สหธมฺมิโก วาทานุวาโท ความว่า การกล่าวหรือการกล่าวตาม

ของพวกท่านมีเหตุ โดยเหตุที่คนอื่น ๆ กล่าวแล้ว เป็นเหตุที่ผู้รู้ทั้งหลายพึง

ติเตียนวาทะอะไร ๆ เล็กน้อย จะมาถึงหรือหนอ ท่านอธิบายว่า เหตุที่จะพึง

ติเตียนในวาทะของพวกท่านย่อมไม่มีโดยอาการทั้งหมดหรือ. คำว่า อพฺภา-

จิกฺขนฺติ แปลว่า กล่าวข่ม (ตู่). คำว่า าเนหิ คือ โดยเหตุทั้งหลาย.

บรรดาส่วนทั้ง ๓ มีส่วนที่เห็นแล้วเป็นต้น เห็นเขาฆ่าเนื้อและปลา

แล้วเอามา (ทำอาหาร) ถวายภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ส่วนที่เห็นแล้ว. ได้ยิน

มาว่า ชื่อว่า ส่วนที่สงสัยมี ๓ อย่าง คือส่วนที่สงสัยว่า ได้เห็นมา ส่วนที่

สงสัยว่า ได้ยินมา ส่วนที่สงสัยอันนอกไปจากทั้งสองอย่างนั้น. ในส่วนที่สงสัย

ทั้ง ๓ นั้น มีวินิจฉัยรวบรัด ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลายในพระศาสนานี้ เห็นคนทั้งหลายถือตาข่าย และเห

เป็นต้น กำลังออกไปจากบ้านหรือกำลังเที่ยวอยู่ในป่า แต่วันรุ่งขึ้น เมื่อภิกษุ

เหล่านั้น เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้นก็นำบิณฑบาต (อาหาร) ที่มี

เนื้อปลาถวาย ภิกษุเหล่านั้น ก็สงสัยโดยการเห็นนั้นว่า เนื้อปลาเขาทำมา

เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือหนอ. นี้ชื่อว่าสงสัยโดยเห็น รับอาหารที่

สงสัยโดยการเห็นนั้น ไม่ควร. อาหารใด ภิกษุไม่ได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหาร

นั้นก็ควร. ก็ถ้าคนเหล่านั้นถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่รับ

ฟังคำตอบของพวกภิกษุแล้ว ก็กล่าวว่า อาหารนี้ พวกเรา มิได้ทำเพื่อ

ประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือ

เพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก รับอาหารนั้นก็ควร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

ภิกษุทั้งหลายไม่เห็นอย่างนั้นเลย แต่ได้ยินมาว่า เขาว่าคนทั้งหลาย

ถือตาข่ายและแหเป็นต้น ออกจากบ้านไป หรือเที่ยวไปในป่า รุ่งขึ้น เมื่อภิกษุ

เหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านนั้น คนเหล่านั้น ก็นำบิณฑบาตที่มีเนื้อปลา

มาถวายภิกษุเหล่านั้น ก็สงสัยโดยการได้ยินนั้นว่า เขาทำเพื่อประโยชน์ แก่

ภิกษุทั้งหลายหรือหนอ. นี้ชื่อว่า สงสัยโดยได้ยินมา. รับอาหารนั้น ไม่ควร.

อาหารใด มิได้สงสัยอย่างนั้น รับอาหารนั้นก็ควร. แต่ถ้าคนเหล่านั้นถามว่า

ท่านเจ้าข้า เหตุไร พระคุณเจ้า จึงไม่รับ ฟังคำตอบของภิกษุเหล่านั้นแล้ว

ก็กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า อาหารนี้ พวกเรามิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย

ดอก แต่พวกเราทำเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่พวก

ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก รับอาหารนั้นก็ควร.

อนึ่ง ภิกษุไม่เห็น ไม่ได้ยินมา เมื่อภิกษุเหล่านั้นเข้าไปบิณฑบาตยัง

บ้านนั้นคนทั้งหลายรับบาตรเอาไปตกแต่งบิณฑบาตที่มีเนื้อปลา นำไปถวาย

ภิกษุเหล่านั้น ก็สงสัยว่า เขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายหรือ นี้ชื่อว่า

สงสัยนอกไปจากทั้งสองอย่างนั้น. รับอาหารแม้นั้นก็ไม่ควร อาหารใดมิได้สงสัย

อย่างนั้นรับอาหารนั้นก็ควร. แล้วถ้าคนเหล่านั้น ถามว่า ท่านเจ้าข้า เหตุไร

พระคุณเจ้าจึงไม่รับ ฟังคำตอบของพวกภิกษุแล้ว ก็กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า อาหาร

นี้ พวกเรามิได้ทำประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายดอก เราทำเพื่อประโยชน์

แก่ตนเอง หรือ เพื่อประโยชน์แก่ข้าราชการเป็นต้นต่างหาก หรือว่า พวกเรา

ได้ปวัตตมังสะ (เนื้อที่เขามีอยู่แล้ว) เป็นของกัปปิยะ (ควร) ทั้งนั้น จึงตก

แต่งเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย รับอาหารนั้นก็ควร. ในอาหารที่เขาทำเพื่อ

ประโยชน์เป็นเปตกิจ (อุทิศ) สำหรับคนที่ตายไปแล้ว หรือเพื่อประโยชน์แก่

การมงคลเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. แท้จริงอาหารใด ๆ เขามิได้กระทำเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

ประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายก็มิได้เคลือบแคลง สงสัยใน

อาหารอันใด รับอาหารนั้นทุกอย่างก็ควร. แต่ถ้าอาหารเขาทำอุทิศภิกษุทั้งหลาย

ในวัดหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ไม่รู้ว่าเขาทำเพื่อประโยชน์แก่ตน ภิกษุเหล่าอื่นรู้

ภิกษุเหล่าใดรู้ อาหารนั้นก็ไม่ควรแก่ภิกษุเหล่านั้น ควรแก่ภิกษุนอกจากนี้

ภิกษุเหล่าอื่นไม่รู้ ภิกษุเหล่านั้นเท่านั้นที่รู้ อาหารนั้นก็ไม่ควรแก่ภิกษุเหล่า

นั้น ควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น แม้ภิกษุเหล่านั้นรู้ว่า เขาทำเพื่อประโยชน์แก่พวก

เรา แม้ภิกษุเหล่าอื่นก็รู้ว่าเขาทำเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุเหล่านั้น อาหารนั้นก็

ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหมด ภิกษุทั้งหมดไม่รู้ ก็ควรแก่ภิกษุทั้งหมดนั่นแหละ.

บรรดาสหธรรมิก ๕ รูป อาหารที่เขาทำอุทิศแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

ย่อมไม่สมควรแก่สหธรรมิกหมดทุกรูป ก็ถ้าบางคนฆ่าสัตว์เจาะจงภิกษุรูปหนึ่ง

แล้วบรรจุบาตรเต็มด้วยเนื้อสัตว์นั้นถวาย แม้ภิกษุนั้นก็รู้อยู่ว่า เขาทำเพื่อประ-

โยชน์แก่ตน ครั้นรับแล้ว ก็ถวายแก่ภิกษุรูปอื่น ภิกษุนั้นก็ฉันด้วยความเชื่อ

ถือภิกษุนั้น. ถามว่า ใครเป็นอาบัติ. ตอบว่า ไม่เป็นอาบัติทั้งสองรูป เพราะ

ว่า อาหารใด เขาทำเจาะจงแก่เธอ เธอก็ไม่เป็นอาบัติเพราะเธอไม่ฉันอาหาร

นั้น อีกรูปหนึ่ง (ฉัน ) ก็ไม่เป็นอาบัติเพราะไม่รู้ ในการรับกัปปิยมังสะ (เนื้อ

ที่สมควรแก่สมณะ) ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอุทิศมังสะ มารู้ภายหลังที่

ฉันแล้ว ก็ไม่มีกิจ คือ การแสดงอาบัติ. ส่วนภิกษุไม่รู้ว่า เป็นอกัปปิยมังสะ

มารู้ภายหลังฉันแล้ว ต้องแสดงอาบัติ ภิกษุรู้ว่า เป็นอุทิศมังสะแล้วฉันเป็น

อาบัติ แม้ภิกษุไม่รู้ว่าเป็นอกัปปิยมังสะ แล้วฉัน ก็เป็นอาบัติทั้งนั้น เพราะ

ฉะนั้นภิกษุผู้กลัวอาบัติ แม้กำหนดรูปเป็นอารมณ์อยู่ ถามแล้ว ค่อยรับมังสะ

หรือเธอรับด้วยคิดว่าจักถามแล้วฉัน ในเวลาฉันถามแล้วค่อยฉัน. ถามว่าเพราะ

อะไร. ตอบว่า เพราะเป็นของที่ได้ยาก จริงอยู่ เนื้อหมีก็เหมือนๆ กับเนื้อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

หมู แม้เนื้อเสือเหลืองเป็นต้น ก็คล้ายกับเนื้อมฤค เพราะฉะนั้น พระ-

อาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า ถามแล้วค่อยรับจึงควร. คำว่าไม่เห็น คือไม่

เห็นเนื้อที่เขาฆ่าแล้วเอามาเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย. คำว่า ไม่ได้ยิน คือ

ไม่ได้ยินว่า เขาฆ่าแล้ว เอามาเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย. คำว่า ไม่สงสัย

คือไม่สงสัย ด้วยอำนาจสงสัยว่าเห็นมาเป็นต้น. คำว่า ปริโภคนฺติ วทามิ

ความว่า มังสะที่บริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๓ ประการนี้ ชื่อว่าบริสุทธิ์ โดยส่วน ๓ จริง

อยู่ การฉันมังสะที่บริสุทธิ์โดยส่วน ๓ นั้น ก็เช่นเดียวกับฉันกับข้าวและผักดอง

ที่เกิดเองในป่า ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา ฉันมังสะเช่นนั้นย่อมไม่มีโทษ เพราะ

ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ก็มังสะนั้นควรฉันได้.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงความที่ภิกษุผู้อยู่ด้วยเมตตา ไม่มีโทษในการ

ฉันมังสะเช่นนั้น จึงตรัสว่า อิธ ชีวก ภิกฺขุ ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้น ถึง

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงกำหนดแล้วตรัสว่า. ภิกฺขุ ก็จริง ที่แท้พึงทราบ

ว่า ทรงหมายถึง พระองค์นั่นแลจึงตรัสอย่างนี้ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหมายถึงพระองค์เท่านั้นใน ๓ อาคตสถาน คือในมหาวัจฉโคตตสูตร ใน

จังกีสูตร และในสูตรนี้. ในอนังคณสูตร หนหลังที่ว่า ปณีเตน ปิณฺฑ-

ปาเตน ท่านหมายเอาว่า บิณฑบาตที่มีค่ามากทุกชนิด ชื่อว่าบิณฑบาตอัน

ประณีต แต่ในสูตรนี้. หมายเอามังสะที่สุก. คำว่า อคธิโต คือ ไม่ตะกราม

ด้วยความอยาก. คำว่า อมุจฺฉิโต คือ ไม่หมกมุ่นด้วยการหมกมุ่นด้วยความ

อยาก. คำว่า อนชฺฌาปนฺโน คือ ไม่ถูกความอยากครอบงำ อธิบายว่า

ไม่เป็นดังกาที่ต้องการขะม้ำทั้งหมดกลืนลงคอ ด้วยการจิกทีเดียวเท่านั้น. คำว่า

อาทีนวทสฺสาวี คือ เห็นโทษโดยนัยเป็นต้นว่า อาหารนี้กักอุ่นอยู่ที่พื้นท้อง

คืนหนึ่ง แล้วก็ออกไปทางปากแผล. (ทวาร) ทั้ง ๙. คำว่า นิสฺสรณปญฺโ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

ปริภุญฺชติ คือกำหนดด้วยปัญญาว่า การบริโภคอาหารก็เพื่อประโยชน์อันนี้

แล้วบริโภค. คำว่า อตฺตพฺยาพาธาย วา เจเตติ คือ คิดเพื่อทำทุกข์

แก่ตน. คำว่า สุต เม ต คือ เรื่องนั้นเราได้ยินมา พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงว่า แต่ก่อน เรื่องนั้น เราเพียงแต่ได้ยินมาเท่านั้น. คำว่า สเจ โข

เต ชีวก อิท สนฺธาย ภาสิต ความว่า ดูก่อนชีวก ห้าวมหาพรหมละ

พยาบาทเป็นต้น ด้วยวิกขัมภนปหาน ละด้วยอำนาจการข่มไว้ ด้วยเหตุนั้น

ท้าวมหาพรหมนั้น จึงชื่อว่า อยู่ด้วยเมตตา ถ้าท่านกล่าวหมายถึงข้อนี้ด้วย

สมุจเฉทปหานละอย่างเด็ดขาดของเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็อนุมัติคำนี้ของท่าน

หมอชีวกก็รับ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงพรรณนาเทศนาให้ยิ่ง

ขึ้นไป แม้ด้วยอำนาจพรหมวิหารที่เหลือแก่หมอชีวกนั้น จึงตรัสว่า อิธ ชีวก

ภิกฺขุ ดังนี้เป็นต้น คำนอกนั้นมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

อรรถว่า โย โข ชีวก นี้เป็นอนุสนธิที่แยกแสดงต่างหาก จริง

อยู่ ในฐานะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปิดประตู ทรงแสดงความเอ็นดูสัตว์

ก็ถ้าคนทั้งหลายถวายบิณฑบาตมีรสอย่างยิ่ง แก่ภิกษุไร ๆ นั้น อย่างนี้แล้ว

กลับได้สวรรค์ถึงแสนกัปไซร้ เขาก็จะพึงทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ทำ

ผู้อื่นให้ตายแล้ว ถวายบิณฑบาตมีรสได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงปฏิเสธความข้อนั้น จึงตรัสว่า โย โข ชีวก ตถาคต ดังนี้เป็นต้น.

ในคำนั้น คำว่า อิมินา ปเมน าเนน ได้แก่ด้วยเหตุที่หนึ่ง ซึ่งเป็น

เพียงคำสั่งเท่านั้น อันนี้ก่อน. คำว่า คลปฺปเวเกน ได้แก่สัตว์ที่ถูกเชือก

ผูกคอลากมาหรือสัตว์ที่มีคอถูกผูกลากมา. คำว่า อารภิยมาโน ได้แก่ถูกเขา

ทำให้ตาย. คำว่า อกปฺปิเยน อสฺสาเทติ ความว่า คนที่ให้ภิกษุฉันเนื้อ

หมีด้วยสำคัญว่า เนื้อหมู ฉันเนื้อเสือเหลืองด้วยสำคัญว่าเนื้อมฤค ก็พูด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

เสียดสีว่า ท่านยังชื่อว่าสมณะหรือ ท่านฉันอกัปปิยมังสะ. ส่วนคนเหล่าใดรู้

ว่า เนื้อหมีเหมือนเนื้อหมู เนื้อเสือเหลืองเหมือนเนื้อมฤค ในยามอาหารหา

ยาก หรือใช้เยียวยาความเจ็บไข้ได้ก็พูดว่า นี้เนื้อหมู นี้เนื้อมฤค ให้ภิกษุ

ฉันด้วยอัธยาศัยเกื้อกูล พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทรงหมายถึงคนเหล่านั้น

ตรัสคำนี้ เพราะคนเหล่านั้นย่อมได้บุญเป็นอันมาก บุคคลผู้นี้กล่าวว่า พระ-

เจ้าข้า ข้าพระบาทนี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งพระธรรม ทั้งพระภิกษุสงฆ์

ว่าเป็นสรณะ ชื่อว่าเป็นอริยสาวกผู้ประสบผล ผู้รู้คำสั่งสอนเป็นผู้เห็นสัจจะ

แล้ว ส่วนหมอชีวกหยั่งซึ้งพระธรรมเทศนานี้ เกิดความเลื่อมใส กระทำการ

ชมเชย (สดุดี) ธรรมกถา จึงกล่าวอย่างนี้. คำนอกนี้ในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้น.

จบอรรถกถาชีวกสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

๖. อุปาลิวาทสูตร

ว่าด้วยอุปาลิคฤหบดี

[๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน ใกล้

เมือง นาลันทา สมัยนั้น นิครนถ์นาฏบุตรอาศัยอยู่ ณ เมืองนาลันทาพร้อม

ด้วยบริษัทนิครนถ์เป็นอันมาก ครั้งนั้นแล นิครนถ์ชื่อว่าทีฆตปัสสี เที่ยว

บิณฑบาตไปในเมืองนาลันทา เวลาภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงปาวาริกัมพวัน ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ กะทีฆตปัสสีนิครนถ์ ว่า

ดูก่อนทีฆตปัสสี อาสนะมีอยู่ถ้าท่านประสงค์ก็จงนั่งเถิด เมื่อพระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆตปัสสีนิครนถ์ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่งนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง.

กรรม ๓ ของนิครนถ์นาฏบุตร

[๖๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้กะทีฆตปัสสีนิครนถ์

ว่า ดูก่อนทีฆตปัสสี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรม ใน

การเป็นไปแห่งบาปกรรม ไว้เท่าไร. ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้ทูลว่า ท่านพระ-

โคดม นิครนถ์นาฏบุตร จะบัญญัติว่ากรรม ๆ ดังนี้ เป็นอาจิณหามิได้ ท่าน

พระโคดม นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติว่า ทัณฑะ ๆ ดังนี้แล เป็นอาจิณ.

พ. ดูก่อนทีฆตปัสสี ก็นิครนถ์นาฎบุตรย่อมบัญญัติทัณฑะ ในการ

ทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ที. ท่านพระโคดม นิครนถ์นาฏบุตรย่อมบัญญัติทัณฑะในการทำ

บาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้ ๓ ประการ คือ กายทัณฑะ ๑

วจีทัณฑะ ๑ มโนทัณฑะ ๑.

ดูก่อนตปัสสี ก็กายทัณฑะอย่างหนึ่ง วจีทัณฑะอย่างหนึ่ง มโนทัณฑะ

อย่างหนึ่งหรือ.

ท่านพระโคดม กายทัณฑะอย่างหนึ่ง วจีทัณฑะอย่างหนึ่ง มโน-

ทัณฑะอย่างหนึ่ง.

ดูก่อนตปัสสี ก็บรรดาทัณฑะทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็น

ส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ ทัณฑะไหน คือ กายทัณฑะ วจีทัณฑะ หรือ

มโนทัณฑะ ที่นิครนถ์นาฎบุตรบัญญัติว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม

ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม.

ท่านพระโคดม บรรดาทัณฑะทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็น

ส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติว่ากายทัณฑะมีโทษมากกว่า

ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม จะบัญญัติวจีทัณฑะ มโน-

ทัณฑะว่ามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะหามิได้.

ดูก่อนตปัสสี ท่านกล่าวว่ากายทัณฑะหรือ.

ท่านพระโคดม ข้าพเจ้ากล่าวว่ากายทัณฑะ.

ดูก่อนตปัสสี ท่านกล่าวว่ากายทัณฑะหรือ.

ท่านพระโคดม ข้าพเจ้ากล่าวว่ากายทัณฑะ.

ดูก่อนตปัสสี ท่านกล่าวว่ากายทัณฑะหรือ.

ท่านพระโคดม ข้าพเจ้ากล่าวว่ากายทัณฑะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ยืนยันในเรื่องที่พูดนี้ถึง

๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

[๖๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้

กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดม พระองค์เล่าย่อมบัญญัติ

ทัณฑะ ในการเป็นไปแห่งบาปกรรมไว้เท่าไร.

ดูก่อนตปัสสี ตถาคตจะบัญญัติว่า ทัณฑะ ๆ ดังนี้เป็นอาจิณหามิได้

ดูก่อนตปัสสี ตถาคตบัญญัติว่า กรรม ๆ ดังนี้เป็นอาจิณ.

ท่านพระโคดม ก็พระองค์ย่อมบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรม ใน

การเป็นไปแห่งบาปกรรม ไว้เท่าไร.

ดูก่อนตปัสสี เราย่อมบัญญัติกรรม ในการทำบาปกรรม ในการ

เป็นไปแห่งบาปกรรมไว้ ๓ ประการ คือ กายกรรม ๑ วจีกรรม ๑ มโนกรรม

๑.

พระโคดม ก็กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรม

อย่างหนึ่งมิใช่หรือ.

ดูก่อนตปัสสี กายกรรมอย่างหนึ่ง วจีกรรมอย่างหนึ่ง มโนกรรม

อย่างหนึ่ง.

ท่านพระโคดม ก็บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็น

ส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ กรรมไหน คือ กายกรรม วจีกรรม หรือมโน-

กรรม ที่พระองค์บัญญัติว่ามีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็น

ไปแห่งบาปกรรม.

ดูก่อนตปัสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำแนกออกแล้วเป็น

ส่วนละอย่างต่างกันเหล่านี้ เราบัญญัติมโนกรรมว่ามีโทษมากกว่า ในการทำ

บาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม เราจะบัญญัติกายกรรม วจีกรรมว่า

ว่ามีโทษมากเหมือนมโนกรรมหามิได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ.

ดูก่อนตปัสสี เรากล่าวว่ามโนกรรม.

ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ.

ดูก่อนตปัสสี เรากล่าวว่ามโนกรรม.

ท่านพระโคดม พระองค์ตรัสว่ามโนกรรมหรือ.

ดูก่อนตปัสสี เรากล่าวว่ามโนกรรม.

ทีฆตปัสสีนิครนถ์ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยืนยันในเรื่องที่ตรัสนี้ถึง.

๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปหานิครนถ์นาฎบุตรถึงที่

อยู่.

[๖๕] ก็สมัยนั้น นิครนถ์นาฏบุตรนั่งอยู่พร้อมด้วยคฤหัสถ์บริษัท

เป็นอันมากผู้มีความเขลา มีอุบาลีคฤหบดีเป็นประมุข ได้เห็นทีฆตปัสสีนิครนถ์

มาแต่ไกล จึงได้กล่าวกะทีฆตปัสสีนิครนถ์ว่า ดูก่อนตปัสสี ดูเถอะ ท่านมา

จากไหน แต่ยังวันเทียวหนอ.

ทีฆตปัสสีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระสมณ-

โคดมนี้เอง.

นา. ดูก่อนตปัสสี ก็ท่านได้เจรจาปราศรัยกับพระสมณโคดมเรื่องอะไร

บ้างหรือ.

ที. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้เจรจาปราศรัยกับพระสมณโคดมมา

บ้าง.

ดูก่อนตปัสสี ก็ท่านได้เจรจาปราศรัยกับพระสมณโคดมมาอย่างไร.

ลำดับนั้น ทีฆตปัสสีนิครนถ์บอกเรื่องการเจรจาปราศรัยกับพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจนหมดสิ้น แก่นิครนถ์นาฏบุตร เมื่อทีฆตปัสสีกล่าวอย่างนี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

นิครนถ์นาฏบุตรได้กล่าวกะทีฆตปัสสีนิครนถ์ว่า ดูก่อนตปัสสี ดีละ ๆ ข้อที่

ทีฆตปัสสีนิครนถ์พยากรณ์แก่พระสมณโคดม ตรงตามที่สาวกผู้ฟัง ผู้รู้ทั่วถึง

คำสอนของศาสดาโดยชอบ มโนทัณฑะอันต่ำทราม จะงามอะไรเล่า เมื่อ

เทียบกับกายทัณฑะอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ โดยที่แท้ กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมาก

กว่าในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ

หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.

[๖๖] เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาลีคฤหบดีได้กล่าว

กะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทีฆตปัสสีพยากรณ์ดีแล้ว ๆ ข้อที่

ท่านทีฆตปัสสีพยากรณ์แก่พระสมณโคดมตรงตามที่สาวกผู้ฟังผู้รู้ทั่วถึงคำสอน

ของศาสดาโดยชอบ มโนทัณฑะอันต่ำทรามจะงามอะไรเล่า เมื่อเทียบกับกาย

ทัณฑะอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ โดยที่แท้ กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการ

ทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ หามีโทษ

มากเหมือนกายทัณฑะไม่ ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะไป จักยกวาทะ

ในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม ถ้าพระสมณโคดมจักยืนยันแก่ข้าพเจ้าเหมือน

อย่างที่ยืนกับท่านตปัสสีไซร้ ข้าพเจ้าจักฉุดกระชากลากไปมาซึ่งวาทะด้วยวาทะ

กะพระสมณโคดม เหมือนบุรุษมีกำลังพึงจับแกะมีขนยาวที่ขนแล้ว ฉุดกระ-

ชากลากไปมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักฉุดกระชากลากไปมา ซึ่งวาทะด้วยวาทะกะ

พระสมณโคดมเหมือนบุรุษมีกำลังผู้ทำการงานโรงสุรา พึงทิ้งกระสอบเครื่อง

ประกอบสุราใหญ่ไว้ในห้วงน้ำลึกแล้ว จับที่มุมฉุดกระชากลากไปมา ฉะนั้น

ข้าพเจ้าจักขจัด ขยี้ บด ซึ่งวาทะด้วยวาทะกะพระสมณโคดม เหมือนบุรุษที่มี

กำลัง เป็นนักเลงสุรา พึงจับถ้วยสุราที่หูถ้วยแล้ว พลิกลง พลิกขึ้น ไสไป

ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักเล่นดังเล่นล้างเปลือกป่าน กะพระสมณโคดมเหมือนช้างแก่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

อายุ ๖๐ ปี ลงไปยังสระลึกเล่นล้างเปลือกป่านฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เอา

เถอะ ข้าพเจ้าจะไป จักยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม.

นา. ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงไป จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณ-

โคดม ดูก่อนคฤหบดี เราก็ได้ ทีฆตปัสสีนิครนถ์ก็ได้ ท่านก็ได้ พึงยกวาทะ

แก่พระสมณโคดม.

[๖๗] เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้

กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงยก

วาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย ด้วยว่า พระสมณโคดม

เป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์.

นา. ดูก่อนตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของ

พระสมณโคดม มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึง

ความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดี เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนคฤหบดี ท่าน

จงไป จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้

ท่านก็ได้ พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม.

ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวเตือนนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๒ ว่าข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้า

ไม่ชอบใจเลย ด้วยพระสมณโคดมเป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจ

สาวกของพวกอัญญเดียรถีย์.

นา. ดูก่อนตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของ

พระสมณโคดม มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึง

ความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดี เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนคฤหบดี ท่านจง

ไป จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณโคดม เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้

ท่านก็ได้ พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวเตือนนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้า

ไม่ชอบใจเลย ด้วยพระสมณโคดมเป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจ

สาวกของพวกอัญญเดียรถีย์.

นา. ดูก่อนปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของ

พระสมณโคดม มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้าถึง

ความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดี เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนคฤหบดี ท่าน

จงไป จงยกวาทะในเรื่องที่พูดนี้แก่พระสมณะโคดม เราก็ได้ ทีฆตปัสสีก็ได้

ท่านก็ได้ พึงยกวาทะแก่พระสมณโคดม.

[๖๘] อุบาลีคฤหบดีรับคำนิครนถ์นาฏบุตรแล้ว ลุกจากยาสนะไหว้

นิครนถ์นาฏบุตร ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงปาวาริ-

กัมพวัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ทูล

ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้มา ณ

ที่นี้หรือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ทีฆตปัสสีนิครนถ์

ได้มา ณ ที่นี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์ได้เจรจาปราศรัย เรื่องอะไร ๆ กับ

ทีฆตปัสสีนิครนถ์บ้างหรือ.

ดูก่อนคฤหบดี เราได้เจรจาปราศรัยกับทีฆตปัสสีนิครนถ์บ้าง

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์ได้เจรจาปราศรัยกับทีฆตปัสสีนิครนถ์

อย่างไรบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกเรื่องการเจรจาปราศรัยกับ

ทีฆตปัสสีนิครนถ์จนหมดสิ้นแก่อุบาลีคฤหบดี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

บอกอย่างนี้แล้วอุบาลีคฤหบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ทีฆตปัสสีพยากรณ์ดีแล้ว ๆ ข้อที่ทีฆปัสสีพยากรณ์แก่พระผู้มีพระภาค-

เจ้านั้น ตรงตามที่สาวกผู้ฟัง ผู้รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยชอบ มโน-

ทัณฑะอันต่ำทรามนั้นจะงามอะไรเล่าเมื่อเทียบกับกายทัณฑะนี้ อันยิ่งใหญ่อย่าง

นี้ โดยที่แท้ กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการ

เป็นไปแห่งบาปกรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะหามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.

ดูก่อนคฤหบดี ถ้าแลท่านจะพึงมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน เราทั้งสอง

พึงเจรจาปราศรัยกันได้ในเรื่องนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอเราทั้ง

สองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย้อนถามปัญหากรรม ๓

[๖๙] ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญในความข้อนั้นเป็นไฉน นิครนถ์

ในโลกนี้เป็นคนอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ห้ามน้ำเย็น ดื่มแต่น้ำร้อน เมื่อ

เขาไม่ได้น้ำเย็นจะต้องตาย ดูก่อนคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฎบุตรบัญญัติความเกิด

ของนิครนถ์ผู้นั้นไหนเล่า.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาชื่อว่ามโนสัตว์มีอยู่ นิครนถ์นั้นย่อมเกิด

ในเทวดาจำพวกนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะนิครนถ์

ผู้นั้นเป็นผู้มีใจเกาะเกี่ยวทำกาละ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้ว จงพยากรณ์ คำหลังกับ

คำก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่านไม่ต่อกันเลย ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่าน

กล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจาต่อกัน

ขอเราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่าง

นั้นกายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรมในการเป็นไปแห่งบาป

กรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.

[๗๐] ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นิคนรถ์

ในโลกนี้พึงเป็นผู้สำรวมด้วยการสังวรโดยส่วน ๔ คือห้ามน้ำทั้งปวง ประกอบ

ด้วยการห้ามบาปทั้งปวง กำจัดบาปด้วยการห้ามบาปทั้งปวง อันการห้ามบาป

ทั้งปวงถูกต้องแล้วเมื่อเขาก้าวไป ถอยหลัง ย่อมถึงการฆ่าสัตว์ตัวเล็ก ๆ เป็น

อันมาก ดูก่อนคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติวิบากเช่นไรแก่นิครนถ์ผู้นี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรมิได้บัญญัติกรรม อันเป็นไป

โดยไม่จงใจว่ามีโทษมากเลย.

ดูก่อนคฤหบดี ก็ถ้าจงใจเล่า.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นกรรมมีโทษมาก.

ดูก่อนคฤหบดี ก็นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติเจตนาลงในส่วนไหน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรบัญญัติเจตนาลงในส่วนมโน-

ทัณฑะ.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้ว จงพยากรณ์ คำหลังกับ

คำก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่านไม่ต่อกันเลย ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่าน

กล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอ

เราทั้งสองจงเจรจาปราศัยกันในเรื่องนี้เถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาป

กรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บ้านนาลันทานี้

เป็นบ้านมั่งคั่ง เป็นบ้านเจริญ มีขนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า บ้านนาลันทา เป็นบ้านมั่งคั่ง เป็นบ้านเจริญ

มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ในบ้านนาลันทานี้

พึงมีบุรุษคนหนึ่งเงื้อดาบมา เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ใน

บ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดย

ขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ

นั้นจะสามารถทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้อเดียวกัน ให้

เป็นกองเนื้อเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้หรือ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษ ๑๐ คนก็ดี ๒๐ คนก็ดี ๓๐ คนก็ดี ๔๐ คน

ก็ดี ๕๐ คนก็ดี ไม่สามารถจะทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลาน

เนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้ พระ

เจ้าข้า บุรุษผู้ต่ำทรามคนเดียว จะงามอะไรเล่า.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณะหรือพราหมณ์

ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิต พึงมาในบ้านนาลันทานี้ สมณะหรือ

พราหมณ์นั้น พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจ

คิดประทุษร้ายดวงเดียว ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญในทางจิตนั้น จะสามารถ

ทำบ้านนาลันทานี้ให้เป็นเถ้า ด้วยใจประทุษร้ายดวงหนึ่งได้หรือหนอ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บ้านนาลันทา ๑๐ บ้านก็ดี ๒๐ บ้านก็ดี ๓๐

บ้านก็ดี ๔๐ บ้านก็ดี ๕๐ บ้านก็ดี สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็น

ผู้ชำนาญในทางจิตนั้น สามารถจะทำให้เป็นเถ้าได้ด้วยใจประทุษร้ายดวงหนึ่ง

บ้านนาลันทาอันต่ำทรามบ้านเดียวจะงามอะไรเล่า.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์ คำหลังกับคำ

ก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่านไม่ต่อกันเลย ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่าน

กล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรจากัน ขอ

เราทั้งสองจงเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

กายทัณฑะเท่านั้นมีโทษมากกว่า ในการทำบาปกรรม ในการเป็นไปแห่งบาป

กรรม วจีทัณฑะ มโนทัณฑะ หามีโทษมากเหมือนกายทัณฑะไม่.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ป่าทัณฑกี ป่า

กาลิงคะ ป่าเมชฌะ ปามาตังคะ เกิดเป็นป่าไป ท่านได้ฟังมาแล้วหรือ.

อย่างนั้น พระองค์ผู้เจริญ ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ ป่าเมชฌะ ป่า

มาตังคะ เกิดเป็นป่าไป ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ป่าทัณฑกี ป่า

กาลิงคะ ป่าเมชฌะ ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไป ท่านได้ฟังมาว่าอย่างไร เกิด

เป็นป่าไป เพราะเหตุไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาว่า ป่าทัณฑกี ป่ากาลิงคะ

ป่าเมชฌะ ป่ามาตังคะ เกิดเป็นป่าไปนั้น เพราะใจประทุษร้าย อันพวกเทวดา

ทำเพื่อฤาษี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงมนสิการ ครั้นแล้วจงพยากรณ์ คำหลังกับคำ

ก่อนก็ดี คำก่อนกับคำหลังก็ดี ของท่านไม่ต่อกันเลย ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่าน

ได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะมั่นอยู่ในคำสัตย์เจรากัน

ขอเราทั้งสองเจรจาปราศรัยกันในเรื่องนี้เถิด.

อุบาลีคฤหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก

[๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าชื่นชมยินดีต่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าด้วยข้ออุปมาข้อแรก แต่ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะฟังปฏิภาณการ

พยากรณ์ปัญหาอันวิจิตร ของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ฉะนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจึง

ยังแกล้งทำเป็นดุจถือตรงกันข้ามอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คน

ที่หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และ

พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า

เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป.

[๗๒] ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ การที่

มนุษย์ผู้มีชื่อเสียงเช่นท่าน ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำเป็นความดี.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วยเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะข้าพระ-

พุทธเจ้าอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ การ

ที่มนุษย์ผู้มีชื่อเสียงเช่นท่านใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำเป็นความดีนี้ ข้าพระ-

พุทธเจ้ายิ่งชื่นชมยินดีต่อพระผู้มีพระภาคเจ้ามากขึ้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

ด้วยว่าพวกอัญญเดียรถีย์ได้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นสาวกแล้ว จะพึงยกธงปฏากเที่ยว

ไปตลอดบ้านนาลันทาทั้งสิ้นซึ่งเป็นเหตุจะได้รู้กันว่า อุบาลีคฤหบดี ถึงความ

เป็นสาวกของพวกเราดังนี้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะข้าพระพุทธเจ้าอย่างนี้

ว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำ ด้วยว่ามนุษย์ผู้มีชื่อ

เสียเช่นท่าน ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงทำเป็นความดี ดังนี้ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์

ว่าเป็นสรณะเป็นครั้งที่ ๒ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า

เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

[๗๓] ดูก่อนคฤหบดี ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำของนิครนถ์

มานานแล้ว ท่านพึงสำคัญบิณฑบาตอันท่านพึงให้แก่นิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไป

ถึง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะข้า-

พระพุทธเจ้าอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ตระกูลของท่านเป็นดุจบ่อน้ำของพวก

นิครนถ์มานานแล้ว ท่านพึงสำคัญบิณฑบาตอันท่านพึงให้แก่นิครนถ์เหล่านั้น

ผู้เข้าไปถึงนี้ ข้าพระพุทธเจ้ายิ่งชื่นชมยินดีต่อพระผู้มีพระภาคเจ้ามากขึ้น ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคำนี้มาว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า

ควรให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้ทานแก่คนเหล่าอื่น ควรให้ทานแก่สาวก

ทั้งหลายของเราเท่านั้น ไม่ควรให้ทานแก่สาวกของผู้อื่น ทานที่บุคคลให้แก่

เราเท่านั้นมีผลมาก ทานที่บุคคลให้แก่สาวกของผู้อื่นไม่มีผลมาก แต่ความจริง

พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงชักชวนข้าพระพุทธเจ้าในการให้ทาน แม้ในพวก

นิครนถ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็แต่ว่าข้าพระพุทธเจ้าจักทราบกาลอันควรใน

การให้ทานนี้ ข้าพระพุทธเจ้านี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นครั้งที่ ๓ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระ-

พุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

ทรงแสดงอนุบุพพิกถา

[๗๔] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุบุพพิกถาแก่อุบาลี

คฤหบดี คือ ทรงประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกามอันต่ำทราม

เศร้าหมอง อานิสงส์ในเนกขัมมะ เมื่อใดพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบ

อุบาลีคฤหบดีว่ามีจิตควรมีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใส

เมื่อนั้น จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้น

แสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เปรียบเหมือนผ้าขาว

สะอาดปราศจากดำ ควรได้รับน้ำย้อมด้วยดี ฉันใด ธรรมจักษุอันปราศจาก

ธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่อุบาลีคฤหบดีที่อาสนะนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ฉัน

นั้นเหมือนกัน.

ลำดับนั้น อุบาลีคฤหบดีมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรมอันบรรลุแล้ว

มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงมั่นแล้ว ข้ามวิจิกิจฉาแล้ว ปราศจาก

ความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของ

พระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ-

พุทธเจ้าขอทูลลาไป ณ บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก.

ดูก่อนคฤหบดี ท่านจงรู้กาลอันสมควร ณ บัดนี้เถิด.

[๗๕] ครั้งนั้นแล อุบาลีคฤหบดีชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

เข้าไปยังนิเวศน์ของตน เรียกนายประตูมาว่า ดูก่อนนายประตูผู้สหาย ตั้งแต่

วันนี้เป็นต้นไปเราปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์ และเปิด

ประตูเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าคือ ภิกษุ ภิกษุณี

อุบายสก อุบาสิกา ถ้านิครนถ์คนใดคนหนึ่งมา ท่านพึงว่ากะนิครนถ์คนนั้นอย่าง

นี้ว่า จงหยุดท่านผู้เจริญ อย่าเข้าไปเลย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลีคฤหบดี

เข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว ท่านปิดประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่

พวกนางนิครนถ์ ท่านเปิดประตูเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า สาวกของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านมีความต้อง

การด้วยอาหาร ท่านจงหยุดอยู่ที่นี่แหละ ชนทั้งหลายจักนำมาเพื่อท่านในที่นี้

นายประตูรับคำอุบาลีคฤหบดีแล้ว.

[๗๖] ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้ฟังข่าวว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็น

สาวกของพระสมณโคดมแล้ว ลำดับนั้น จึงเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่

ได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังข่าวนี้มาว่า

อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว.

นา. ดูก่อนตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของ

พระสมณโคดมนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้า

ถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

ทีฆตปัสสีนิครนถ์ได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังข่าวนี้มาว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของ

พระสมณโคดมแล้ว.

นา. ดูก่อนตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดี จะพึงเข้าถึงความเป็นสาวก

ของพระสมณโคดมนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดม จะ

พึงเข้าถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้กล่าวกะนิครถ์นาฏบุตรเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังข่าวนี้มาว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของ

พระสมณโคดมแล้ว .

นา. ดูก่อนตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของ

พระสมณโคดมนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้า

ถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

ที. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เอาเถอะ ข้าพเจ้าจะไป เพียงเพื่อจะทราบว่า

อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว หรือหาไม่.

นา. ดูก่อนตปัสสี ท่านจงไป จงรู้ว่า อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็น

สาวกของพระสมณโคดม หรือหาไม่.

ห้ามพวกเดียรถีย์เข้าบ้าน

[๗๗] ครั้งนั้น ทีฆตปัสสีนิครนถ์ จึงเข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาลี

คฤหบดี นายประตูได้เห็นทีฆตปัสสีนิครนถ์มาแต่ไกลเทียว ครั้นแล้วจึงกล่าว

ว่า จงหยุดเถิดท่านผู้เจริญ อย่าเข้ามาเลย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อุบาลี

คฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว ท่านปิดประตูแก่พวก

นิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์ เปิดประตูเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าและสาวกของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ท่านผู้เจริญ ถ้าท่าน

มีความต้องการอาหาร จงหยุดอยู่ที่นี้แหละ ชนทั้งหลายจักนำมาเพื่อท่าน ณ

ที่นี้.

ทีฆตปัสสีกล่าวว่า ผู้มีอายุ เรายังไม่ต้องการอาหารดอก แล้วกลับ

จากที่นั้น เข้าไปหานิครนถ์นาฎบุตรถึงที่อยู่ แล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

เจริญ ข้อที่อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั้น เป็น

ความจริงทีเดียว ข้าพเจ้าไม่ได้คำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึง

ยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย ด้วยว่า พระสมณโคดม

เป็นคนมีมายา ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์ ดังนี้

จากท่าน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อุบาลีคฤหบดีของท่าน ถูกพระสมณโคดมกลับใจ

ด้วยมายาอันเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้ว.

นา. ดูก่อนตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะเข้าถึงความเป็นสาวกของ

พระสมณโคดมนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดม จะพึงเข้า

ถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

ทีฆตปัสสีนิครนถ์ ได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อ

ที่อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณะโคดมนั้น เป็นความจริง

ทีเดียว ข้าพเจ้าไม่ได้คำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า ข้อที่อุบาลีคฤหบดีจะพึงยกวาทะแก่

พระสมณโคดมนั้น ข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย ด้วยว่าพระสมณโคดมเป็นคนมีมายา

ย่อมรู้มายาเป็นเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์ ดังนี้ จากท่าน ข้า

แต่ท่านผู้เจริญ อุบาลีคฤหบดีของท่าน ถูกพระสมณโคดมกลับใจ ด้วยมายา

อันเป็นเครื่องกลับใจเสียแล้ว.

นา. ดูก่อนตปัสสี ข้อที่อุบาลีคฤหบดี จะพึงเข้าถึงความเป็นสาวกของ

พระสมณโคดมนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส แต่ข้อที่พระสมณโคดมจะพึงเข้า

ถึงความเป็นสาวกของอุบาลีคฤหบดีนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ แล้วกล่าวต่อไป

ว่า เอาเถอะ ตปัสสี เราจะไป เพียงเพื่อจะรู้เองทีเดียวว่า อุบาลีคฤหบดี

เข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมจริงหรือไม่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

[๗๘] ลำดับนั้น นิครนถ์นาฏบุตร พร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทเป็น

อันมาก เข้าไปยังนิเวศน์ของอุบาลีคฤหบดี นายประตูได้เห็นนิครนถ์นาฏบุตร

มาแต่ไกล ได้กล่าวว่า จงหยุดเถิด ท่านผู้เจริญ อย่าเข้ามา ตั้งแต่วันนี้เป็น

ต้นไป อุบาลีคฤหบดีเข้าถึงความเป็นสาวกของพระสมณโคดมแล้ว ท่านปิด

ประตูแก่พวกนิครนถ์ แก่พวกนางนิครนถ์แล้ว ท่านเปิดประตูเพื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าและสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบา-

สิกา ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านต้องการอาหาร จงหยุดอยู่ที่นี่แหละ ชนทั้งหลาย

จักนำมาเพื่อท่าน ณ ที่นี้.

นา. นายประตูผู้เป็นสหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเข้าไปหาอุบาลีคฤหบดี

แล้วจงกล่าวอย่างนี้ว่า นิครนถ์นาฏบุตรพร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทเป็นอันมาก

มายืนอยู่ที่ซุ้มประตูข้างนอก เขาอยากจะพบท่าน. นายประตูรับคำนิครนถ์

นาฏบุตรแล้ว เข้าไปหาอุบาลีคฤหบดี แล้วได้เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

นิครนถ์นาฏบุตรพร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทเป็นอันมาก มายืนอยู่ที่ซุ้มประตูข้าง

นอก เขาอยากจะพบท่าน.

อุ. ดูก่อนนายประตูเป็นสหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงปูลาดอาสนะไว้

ที่ศาลาประตูกลาง นายประตูรับคำอุบาลีคฤหบดีแล้ว ปูลาดอาสนะไว้ที่ศาลา

ประตูกลาง แล้วเข้าไปหาอุบาลีคฤหบดี แล้วได้เรียนว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า

ปูอาสนะไว้ที่ศาลาประตูกลางแล้ว ท่านย่อมสำคัญกาลอันควร ณ บัดนี้. ลำดับ

นั้นอุบาลีคฤหบดี เข้าไปยังประตูกลาง แล้วนั่งบนอาสนะอันเลิศ ประเสริฐ

อุดม และประณีต อันมีอยู่ ณ ที่นั้นเสียเอง แล้วเรียกนายประตูมาว่า นาย-

ประตูผู้เป็นสหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตร จงกล่าวอย่าง

นี้ว่า ท่านผู้เจริญ อุบาลีคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ว่า เชิญท่านเข้าไปเถิด ถ้าท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

จำนง. นายประตูรับคำอุบาลีคฤหบดี เข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตร แล้วได้กล่าว

ว่าท่านผู้เจริญ อุบาลีคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เชิญท่านเข้าไปเถิด

ถ้าท่านจำนง. ลำดับนั้น นิครนถ์นาฏบุตรพร้อมด้วยนิครนถ์บริษัทเป็นอันมาก

เข้าไปยังศาลาประตูกลาง.

[๗๙] ครั้งนั้นแล ได้ยินว่า แต่ก่อนอุบาลีคฤหบดีเห็นนาฎบุตรมา

แต่ไกลเท่าใด แล้วต้อนรับแต่ที่เท่านั้น เอาผ้าห่มกวาดอาสนะที่เลิศ ประเสริฐ

อุดม และประณีต อันมีอยู่ ณ ที่นั้น แล้วกำหนดให้นั่ง บัดนี้ ท่านอุบาลี-

คฤหบดีนั่งบนอาสนะที่เลิศ ประเสริฐ อุดม และประณีต อันมีอยู่ ณ ที่นั้น

เสียเอง แล้วได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ท่านผู้เจริญ อาสนะมีอยู่

ถ้าท่านหวังเชิญนั่งเถิด. เมื่ออุบาลีคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครนถ์นาฏบุตร

ได้กล่าวว่า ท่านเป็นบ้าเสียแล้วหรือ คฤหบดี ท่านเป็นคนเขลาเสียแล้วหรือ

คฤหบดี ท่านกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจะไป จักยกวาทะแก่พระ-

สมณโคดม ครั้นไปแล้ว กลับถูกวาทะดุจไม้ขื่ออันใหญ่สวมมาแล้วหรือ ดูก่อน

คฤหบดี เปรียบเหมือนบุรุษผู้นำอัณฑะไป ถูกควักอัณฑะออก กลับมาฉันใด

ดูก่อนคฤหบดี อนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษนำดวงตาไป ถูกควักดวงตากลับมา

ฉันใด ดูก่อนคฤหบดี ท่านก็ฉันนั้นแล กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า

จะไป จักยกวาทะแก่พระสมณโคดม ครั้นไปแล้ว กลับถูกวาทะดุจไม้ขื่ออัน

ใหญ่สวมมาแล้ว ท่านถูกพระสมณโคดมกลับใจ ด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจ

เสียแล้วหรือ.

มายาเรื่องกลับใจ

[๘๐] อุ. ท่านผู้เจริญ มายาอันเป็นเครื่องกลับใจนี้ดี ท่านผู้เจริญ

มายาอันเป็นเครื่องกลับใจนี้งาม ท่านผู้เจริญ ญาติสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

จะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อ

กูลเพื่อความสุขแก่ญาติสาโลหิตผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญ

แม้ถ้ากษัตริย์ทั้งปวงจะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็น

ไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กษัตริย์แม้ทั้งปวง สิ้นกาลนาน ท่าน

ผู้เจริญ แม้ถ้าพราหมณ์ทั้งปวงจะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อนั้น

จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พราหมณ์แม้ทั้งปวง สิ้นกาล

นาน ท่านผู้เจริญ แม้ถ้าแพศย์ทั้งปวงจะพึงกลับใจด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้ ข้อ

นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่แพศย์แม้ทั้งปวง สิ้นกาล

นาน ท่านผู้เจริญ แม้ถ้าศูทรทั้งปวงจะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่องกลับใจนี้

ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ศูทรแม้ทั้งปวง สิ้นกาล

นาน ท่านผู้เจริญ แม้ถ้าโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ จะพึงกลับใจได้ด้วยมายาเครื่อง

กลับใจนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่โลก พร้อม

ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แก่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา

และมนุษย์ สิ้นกาลนาน ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจักทำอุปมาแก่ท่าน

วิญญูชน บางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้อรรถแห่งภาษิตได้ แม้ด้วยการเปรียบเทียบ.

[๘๑] ท่านผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว นางมาณวิกาสาว เป็นภริยา

ของพราหมณ์แก่ผู้เฒ่าผู้ใหญ่คนหนึ่ง มีครรภ์ใกล้จะตลอด ครั้งนั้น นางมาณ-

วิกานั้นได้กล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปซื้อลูกวานรจาก

ตลาดมาไว้ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกเรา ท่านผู้เจริญ เมื่อนางมาณวิกากล่าว

อย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นได้กล่าวว่า นางผู้เจริญ จงรอจนกว่าเธอจะคลอด

เสียก่อนเถิด ถ้าเธอคลอดลูกชาย ฉันจักซื้อลูกวานรตัวผู้จากตลาดมาให้เธอ จัก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

ได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกชายของเธอ แต่ถ้าเธอตลอดลูกเป็นหญิง ฉันจักซื้อลูก

วานรตัวเมียจากตลาดมาให้เธอ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกหญิงของเธอ.

ท่านผู้เจริญ นางมาณวิกานั้นได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ท่านพราหมณ์

ท่านจงไปซื้อลูกวานรจากตลาดมาไว้ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกเรา ท่านผู้

เจริญ. พราหมณ์ก็ได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๒ ว่า นางผู้เจริญ จงรอจนกว่าเธอจะคลอด

เสียก่อนเถิด ถ้าเธอคลอดลูกเป็นชาย ฉันจักซื้อลูกวานรตัวผู้จากตลาดมาให้เธอ

เพื่อจักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกชายของเธอ แต่ถ้าเธอคลอดลูกเป็นผู้หญิง ฉัน

จักซื้อลูกวานรตัวเมียจากตลาดมาให้เธอ เพื่อจักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกหญิงของ

เธอ ท่านผู้เจริญ. นางมาณวิกาได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ท่านพราหมณ์ ท่าน

จงไปซื้อลูกวานรจากตลาดมาไว้ จักได้เป็นเพื่อนเล่นของลูกเรา ท่านผู้เจริญ.

ลำดับนั้น พราหมณ์ผู้นั้นกำหนัดมาก มีจิตปฏิพัทธ์ในนางมาณวิกานั้น จึงซื้อลูก

วานรมาจากตลาด แล้วได้กล่าวว่า นางผู้เจริญ ฉันซื้อลูกวานรจากตลาดมาให้

เธอแล้ว จักเป็นเพื่อนเล่นของลูกเธอ เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว นางมาณ-

วิกานั้นได้กล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ท่านจงไป จงอุ้มลูกวานรตัวนี้เข้าไปหาบุตร

ช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อม แล้วจงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อนผู้ชำนาญการย้อม

ฉันอยากจะให้ท่านย้อมลูกวานรตัวนี้ให้เป็นสีน้ำย้อม ให้น้าย้อมจับดี ทุบแล้ว

ทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง. ลำดับนั้น พราหมณ์นั้นกำหนัดมาก มีจิตปฏิพัทธ์

ในนางมาณวิกานั้น จึงอุ้มลูกวานรเข้าไปหาบุตรช่างย้อม ผู้ชำนาญการย้อม

แล้วได้กล่าวว่า แน่ะเพื่อนผู้ชำนาญการย้อม ฉันอยากจะให้ท่านย้อมลูกวานรนี้

ให้เป็นสีน้ำย้อม ให้น้ำย้อมจับดี ทุบแล้วทุบอีกให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง เมื่อ

พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ บุตรช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อมได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ

ลูกวานรของท่านตัวนี้ ควรแต่จะย้อมเท่านั้น แต่ไม่ควรจะทุบ ไม่ควรจะขัดสี

ฉันใด ท่านผู้เจริญ วาทะของนิครนถ์ผู้เขลา ก็ฉันนั้น ควรเป็นที่ยินดีของคน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

เขลาเท่านั้น ไม่ควรเป็นที่ยินดี ไม่ควรซักไซร้ ไม่ควรพิจารณาของบัณฑิต

ทั้งหลาย.

ท่านผู้เจริญ ครั้นสมัยต่อมา พราหมณ์นั้นถือคู่ผ้าใหม่เข้าไปหาบุตร

ช่างย้อมผู้ชำนาญการย้อม แล้วได้กล่าวว่า แน่ะเพื่อนผู้ชำนาญการย้อม ฉัน

อยากจะให้ท่านย้อมคู่ผ้าใหม่นี้ให้เป็นสีน้ำย้อม ให้น้ำย้อมจับดี ทุบแล้วทุบอีก

ให้เกลี้ยงดีทั้งสองข้าง เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว บุตรช่างย้อมผู้ชำนาญ

การย้อมได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ คู่ผ้าใหม่ของท่านนี้ ควรจะย้อม ควรจะทุบ

ควรจะขัดสีฉันใด ท่านผู้เจริญ วาทะของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ควรเป็นที่ยินดีของบัณฑิตทั้งหลายฉันนั้น แต่ไม่ควรซัก

ไซร้ และไม่ควรพิจารณาของคนเขลาทั้งหลาย.

นา. ดูก่อนคฤหบดี บริษัทพร้อมทั้งพระราชา รู้จักท่านอย่างนี้ว่า

อุบาลีคฤหบดีเป็นสาวกของนิครนถ์นาฏบุตร ดังนี้ เราทั้งหลายจะทรงจำท่าน

ว่าเป็นสาวกของใครเล่า.

อุบาลีคฤหบดีประกาศตนเป็นสาวก

[๘๒] เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว อุบาลีคฤหบดี ลุกจาก

อาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับแล้วได้กล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านจง

ฟังพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนักปราชญ์ ปราศจาก

โมหะ ทรงทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจได้ ทรงชำนะมาร ไม่มีทุกข์ มีจิตเสมอ

ด้วยดี มีมารยาทอันเจริญ มีพระปัญญาดี ทรงข้ามกิเลสอันปราศจากความ

เสมอได้ ปราศจากมลทิน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไม่มีความสงสัย มีพระทัย

ดี ทรงคายโลกามิสได้แล้ว ทรงบันเทิง ทรงมีสมณธรรมอันทำสำเร็จแล้ว ทรง

เกิดเป็นมนุษย์ มีพระสรีระเป็นที่สุด เป็นนระไม่มีผู้เปรียบได้ ปราศจากธุลี.

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไม่มีความสงสัย ทรงเฉียบ

แหลม ทรงแนะนำสัตว์ เป็นสารถีอันประเสริฐ ไม่มีผู้อื่นยิ่งไปกว่า มีธรรมอัน

งาม หมดความเคลือบแคลง ทรงนำแสงสว่าง ทรงตัดมานะเสียได้ ทรงมี

พระวิริยะ.

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้องอาจ ไม่มีใครประมาณ

ได้ พระคุณลึกซึ่ง บรรลุถึงญาณ ทรงทำความเกษม ทรงมีพระญาณ ทรง

ตั้งอยู่ในธรรม ทรงสำรวมพระองค์ดี ทรงล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ผู้พ้นแล้ว.

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประเสริฐ ทรงมีเสนาสนะ

อันสงัด มีสังโยชน์สิ้นแล้ว ผู้พ้นแล้ว ทรงมีพระปัญญาเครื่องคิดอ่าน ทรง

มีพระญาณเครื่องรู้ ผู้ลดธงคือมานะเสียได้ ปราศจากราคะ ผู้ฝึกแล้ว ผู้ไม่

มีธรรมเครื่องหน่วง.

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระฤาษีที่ ๗ ผู้ไม่ลวง

โลก ทรงไตรวิชชา เป็นสัตว์ประเสริฐ ทรงล้างกิเลสแล้ว ทรงฉลาด ประสม

อักษรให้เป็นบทคาถา ทรงระงับแล้ว มีพระญาณอันรู้แล้ว ทรงให้ธรรมทาน

ก่อนทั้งหมด ทรงสามารถ.

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระอริยะ มีพระองค์

อบรมแล้ว ทรงบรรลุคุณที่ควรบรรลุ ทรงแสดงอรรถให้พิสดาร ทรงมีสติ

ทรงเห็นแจ้ง ไม่ทรงยุบลง ไม่ทรงฟูขึ้น ไม่ทรงหวั่นไหว ทรงบรรลุความ

เป็นผู้ชำนาญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสด็จไปดี ทรงมีฌาน ไม่

ทรงปล่อยจิตไปตาม ทรงบริสุทธิ์ ไม่ทรงสะดุ้ง ปราศจากความกลัว สงัดทั่ว

ทรงบรรลุธรรมอันเลิศ ทรงข้ามได้เอง ทรงยังสัตว์อื่นให้ข้ามได้.

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สงบแล้ว มีพระปัญญา

กว้างใหญ่เสมอด้วยแผ่นดิน มีพระปัญญาใหญ่หลวง ปราศจากโลภะ ทรงดำ-

เนินปฏิปทาเหมือนพระพุทธเจ้าในปางก่อน เสด็จไปดีแล้ว ไม่มีบุคคลเปรียบ

ไม่มีผู้เสมอเหมือน ทรงแกล้วกล้า ผู้ละเอียดสุขุม.

ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ตัดตัณหาได้ขาด ทรงตื่น

อยู่ ปราศจากควัน ผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่ฉาบทาได้ ผู้ควรรับการบูชา ทรงได้

พระนามว่ายักขะ เป็นอุดมบุคคล มีพระคุณไม่มีใครชั่งได้ เป็นผู้ใหญ่ ทรง

ถึงยศอย่างอุดมยอดเยี่ยม.

[๘๓] นา. ดูก่อนคฤหบดี ท่านประมวลถ้อยคำสำหรับพรรณนาคุณ

ของพระสมณโคดมไว้แต่เมื่อไร.

อุ. ดูก่อนท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนช่างดอกไม้ หรือลูกมือช่างดอกไม้

คนขยัน พึงร้อยกรองดอกไม้ต่าง ๆ กองใหญ่ ให้เป็นพวงมาลาอันวิจิตรได้

ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นก็ฉันนั้น ทรงมีพระคุณควรพรรณนา

เป็นอเนก ทรงมีพระคุณควรพรรณนาตั้งหลายร้อย ก็ใครจักไม่ทำการพรรณนา

พระคุณของพระองค์ผู้ควรพรรณนาพระคุณได้เล่า.

ครั้งนั้น เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรทนดูสักการะของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ได้ โลหิตอันร้อนได้พลุ่งออกจากปากในที่นั้นเอง ดังนี้แล.

จบอุปาลิวาทสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

๖. อรรถกถาอุปาลิวาทสูตร

อุปาลิวาทสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว

อย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาลนฺทาย ความว่า ณ นครมีชื่ออย่างนี้

ว่า นาลันทา เพราะกระทำนครนั้น ให้เป็นโคจรคาม บ้านสำหรับโคจร.

คำว่า ปาวาริกมฺพวเน แปลว่า สวนมะม่วงของทุสสปาวาริกเศรษฐี ได้ยิน

ว่า สวนมะม่วงนั้นเป็นสวนของปาวาริกเศรษฐีนั้น. เศรษฐีนั้นฟังพระธรรม

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเลื่อมใส สร้างวิหารอันประดับด้วยกุฏิ ที่เร้น

และมณฑปเป็นต้นในสวนนั้น แล้วมอบถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. วิหาร

นั้นจึงได้ชื่อว่า ปาวาริกัมพวัน เหมือนวิหาร ชื่อว่า ชีวกัมพวันฉะนั้น. อธิบาย

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปาวาริกัมพวันนั้น.

เดียรถีย์ที่ได้ชื่ออย่างนี้ว่า ฑีฆตปัสสี เพราะเป็นผู้บำเพ็ญตบะมา

นาน.

คำว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต แปลว่า กลับจากบิณฑบาต. แท้จริง

โวหารว่า บิณฑบาต ไม่มีในลัทธิภายนอกเหมือนในพระพุทธศาสนา. คำว่า

ปญฺเปติ แปลว่า แสดงตั้งไว้. ฑีฆตปสสีเดียรถีย์ถามตามลัทธินิครนถ์

จึงกล่าวคำนี้ว่า ทณฺฑานิ ปญฺเปติ. ในคำนี้ว่า กายทณฺฑ วจีทณฺฑ

มโนทณฺฑ พวกนิครนถ์บัญญัติ ๒ ทัณฑะเบื้องต้นว่า เล็กน้อย ว่าไม่มีจิต

เขาว่า เมื่อลมพัด กิ่งไม้ก็ไหว น้ำก็กระเพื่อม เพราะกิ่งไม้และน้ำนั้นไม่

มีจิตฉันใด แม้กายทัณฑะก็ไม่มีจิตฉันนั้น. อนึ่ง เมื่อลมพัดกิ่งไม้มีใบตาล

เป็นต้น จึงมีเสียง น้ำจึงมีเสียง เพราะกิ่งไม้และน้ำนั้นไม่มีจิต ฉันใด แม้

๑. อรรถกถาเป็นอุปาลิสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

วจีทัณฑะก็ไม่มีจิตฉันนั้น พวกนิครนถ์บัญญัติทัณฑะทั้งสองนี้ว่า ไม่มีจิต

ดังกล่าวมาฉะนี้. บัญญัติว่า แต่จิตเป็นมโนทัณฑะ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้ามีพระพุทธประสงค์จะให้ทีฆตปัสสีนิครนถ์ยืนยันถ้อยคำนั้นไว้ จึงตรัสถาม

ว่า กึ ปน ตปสฺสี เป็นต้น ในพระบาลีนั้นถ้อยคำนั่นแลชื่อว่า กถาวัตถุ

ในคำที่ว่า กถาวตฺถุสฺมึ อธิบายว่า ทรงให้เขาตั้งอยู่ในถ้อยคำ.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงกระทำอย่างนี้.

ตอบว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า ฑีฆตปัสสีนิครนถ์ นี้

จักเอาถ้อยคำนี้ไปบอกนิครนถ์ใหญ่ผู้เป็นศาสดาของตนและอุบาลีคฤหบดีนั่งอยู่

ในบริษัทของนิครนถ์นั้น เขาฟังคำนี้แล้ว ก็จักมายกวาทะของเราขึ้นได้ เรา

จักแสดงธรรมแก่เขา เขาจักถึงสรณะ ๓ ครั้ง แต่นั้นเราก็จักประกาศสัจจะ ๔

ด้วยอำนาจการประกาศสัจจะ เขาก็จักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. แท้จริง เรา

บำเพ็ญบารมีทั้งหลายก็เพื่อสงเคราะห์บุคคลอื่น ๆ เท่านั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงเห็นประโยชน์ข้อนี้ จึงได้ทรงกระทำอย่างนี้.

นิครนถ์ ถาม ตาม ลัทธิของ พระพุทธเจ้าพึง กล่าวคำนี้ ว่า กมฺมานิ

ปญฺเปสิ. ในคำนี้ว่า กายกมฺม วจีกมฺม มโนกมฺม ได้แก่ เจตนา ๒๐ คือ

คือเจตนาฝ่ายกามาวจรกุคล ๘ เจตนาฝ่ายอกุศล ๑๒ ที่ถึงการยึดถือ การรับ

การปล่อย และการเคลื่อนไหวในกายทวาร ชื่อว่า กายกรรม. เจตนา ๒๐

นั้นแล ที่ไม่ถึงการยึดถือเป็นต้นในกายทวาร ที่ให้ถึงการเปล่งวาจาเกิดขึ้นใน

วจีทวาร ชื่อว่า วจีกรรม. เจตนาฝ่ายกุศลและอกุศล ๒๙ ที่ไม่ถึงความไหว

ในทวารทั้งสองที่เกิดขึ้นในมโนทวารชื่อว่า มโนกรรม.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยสังเขป กายทุจริต ๓ ชื่อว่า กายกรรม, วจี-

ทุจริต ๔ ชื่อว่า วจีกรรม, มโนทุจริต ๓ ชื่อว่า มโนกรรม. แต่ในพระสูตรนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

กรรม ชื่อว่า ธุระ. เจตนา แม้ที่จะถึงในพระสูตรลำดับต่อไป อย่างนี้ว่า

บุญกรรม ๔ เหล่านี้ เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองประกาศแล้ว ชื่อว่า

ธุระ. เจตนาที่เป็นไปในกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ มีประเภทเช่น กรรมดำ

มีวิบากดำ เป็นต้น. แม้ในนิทเทสวารแห่งกรรมนั้น ท่านก็กล่าวเจตานานั้น

ไว้โดยนัยว่า ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร พร้อมทั้งความเบียดเบียน ดังนี้เป็นต้น.

ส่วนเจตนาที่เป็นไปในกายทวาร ท่านหมายเอาว่ากายกรรมในสูตรนี้. เจตนาที่

เป็นไปในวจีทวาร เป็นวจีกรรม. เจตนาที่เป็นไปในมโนทวารเป็นมโนกรรม

เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า กรรม ในพระสูตรนี้ชื่อว่า ธุระ, เจตนาในพระ

สูตรลำดับต่อไป ก็ชื่อว่า ธุระ. แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติกรรม

ว่ากรรม เหมือนอย่าง แม้เจตนาในพระสูตรนี้นี่แล ก็ชื่อว่า กรรมเหมือน

กัน. สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนา

ว่ากรรม เพราะคนคิดแล้วจึงทำกรรม.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงตรัสเรียก เจตนาว่ากรรม.

ตอบว่า เพราะกรรมมีเจตนาเป็นมูล.

ก็ในอกุศลและกุศลทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสกายกรรม

วจีกรรม ที่ถึงอกุศลว่าเป็นใหญ่ ดังนี้ ย่อมไม่ลำบาก ตรัสมโนกรรมฝ่ายกุศล

ว่า เป็นใหญ่ ดังนี้ ก็ไม่ลำบาก จริงอย่างนั้น บุคคลพยายามด้วยกายอย่าง

เดียวกระทำกรรม ๔ (อนันตริยกรรม) มีมาตุฆาตเป็นต้น ก็ด้วยกายเท่านั้น

บุคคลกระทำกรรมคือ สังฆเภท (ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน) อันจะยังผลให้บุคคล

ตั้งอยู่ในนรกถึงกัปหนึ่ง ก็ด้วยวจีทวาร ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

กายกรรม วจีกรรม ฝ่ายอกุศลว่าเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า ไม่ลำบาก. ส่วนเจตนา

ในฌานอย่างเดียวย่อมนำสวรรค์สมบัติมาให้ถึง ๘๔,๐๐๐ กัป เจตนาในมรรค

อย่างเดียวเพิกถอนอกุศลทุกอย่างย่อมถือเอาพระอรหัตได้ ดังนั้น พระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

ภาคเจ้าเมื่อตรัสมโนกรรมฝ่ายกุศลว่าใหญ่ จึงชื่อว่าไม่ลำบาก. แต่ในที่นี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสมโนกรรมฝ่ายอกุศลว่า มีโทษมากจึงตรัสหมายถึงนิยต-

มิจฉาทิฏฐิ. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามองไม่เห็น

ธรรมอย่างหนึ่ง อันอื่นที่มีโทษมาก เหมือน

อย่างมิจฉาทิฏฐิเลย กระบวนโทษทั้งหลาย

มิจฉาทิฏฐิมีโทษอย่างยิ่ง.

บัดนี้ แม้นิครนถ์ เมื่อจะเดินทางที่พระตถาคตเจ้าทรงดำเนินแล้ว

ถึงมองไม่เห็นความสำเร็จประโยชน์อะไร ก็ทูลถามว่า กึ ปนาวุโส โคตม

ดังนี้เป็นต้น . คำว่า พาลกิมิยา ความว่า บ้านชื่อว่าพาลกคามของอุบาลีคฤหบดี

มีอยู่. คนทั้งหลาย ยึดถือนิครนถ์ผู้ใดมาแต่บ้านนั้น นิครนถ์ผู้นั้นถูกบริษัท

นั้นห้อมล้อมด้วยคิดว่า พวกเราจักเยี่ยมเยียนนิครนถ์ใหญ่ผู้เป็นศาสดาของพวก

เราในหมู่นั้นก็ไปที่พาลกคามนั้น ท่านหมายถึงพาลกคามนั้น จึงกล่าวว่า พาล-

กิมิยา ปริสาย. อธิบายว่า อันบริษัทผู้อาศัยอยู่ในพาลกคาม. คำว่า อุปาลิปฺ-

ปมุขาย แปลว่า มีอุบาลีคฤหบดีเป็นหัวหน้า. อีกนัยหนึ่งคำว่า พาลกิมิยา

แปลว่า ผู้โง่เขลา อธิบายว่าหนาแน่น. คำว่า อุปาลิปฺปมุขาย ความว่า

ในบริษัทนั้น อุบาลีคฤหบดีเท่านั้นเป็นคนมีปัญญาอยู่หน่อย อุบายลีคฤหบดี

นั้นเป็นประมุข คือหัวหน้าของคนเหล่านั้น แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว

ว่า อุปาลิปฺปมุขาย. ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า กล่าว

เชิญ. ศัพท์ว่า ฉโว แปลว่า ทราม. ศัพท์ว่า โอฬาริกสฺส แปลว่า

ใหญ่. ศัพท์ว่า อุปนิธาย แปลว่า ยกขึ้นมา ท่านอธิบายไว้ว่า นิครนถ์

แสดงว่า กายทัณฑะที่ยกขึ้นมามองเห็นได้อย่างนี้ว่า กายทัณฑะนี้หนอใหญ่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

กายทัณฑะเป็นใหญ่ มโนทัณฑะต่ำ จะงามอะไร จักงามแต่ไหน ไม่งามเลย

แม้เพียงแต่ยกขึ้นมาก็ไม่เพียงพอ.

คำว่า สาธุ สาธุ ภนฺเต ตปสฺสึ ความว่า อุบาลีคฤหบดีเมื่อให้

สาธุการแก่ตปัสสีนิครนถ์ ก็เรียกศาสดานาฎบุตรว่า ภนฺเต. บทว่า น โข เมต

ภนฺเต รุจฺจต ความว่า ฑีฆตปัสสีนิครนถ์ คัดค้านว่า ท่านเจ้าข้า ข้อนี้

จะให้อุบาลีคฤหบดีไปโต้วาทะกับพระสมณโคดมนั้น ไม่ชอบใจข้าพเจ้าเสียเลย.

ศัพท์ว่า มายาวี แปลว่า ผู้ทำกลลวง (นักเล่นกล). ศัพท์ว่า อาวฏฺฏนิมาย

แปลว่า มายาคือการกลับใจ. ศัพท์ว่า อาวฏฺเฏติ แปลว่า ลวง ล้อมจับไว้.

คำว่า คจฺฉ ตฺว คหปติ ความว่า เหตุไรนิครนถ์ใหญ่จะส่งอุบาลีคฤหบดี

ไปถึง ๓ ครั้ง ส่วนฑีฆตปัสสีนิครนถ์ก็คัดค้านทุกครั้ง ก็เพราะว่า นิครนถ์

ใหญ่ถึงจะอาศัยอยู่นครเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ไม่เคยเห็นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. ด้วยว่า ผู้ใดย่อมปฏิญาณตนด้วยวาทะว่า เป็นศาสดา ผู้นั้นยัง

ไม่ละปฏิญาณนั้น ก็ไม่สมควรเห็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น นิครนถ์นาฎบุตร

นั้น ไม่รู้ถึงสมบัติ คือ การเห็นและภาวะคือกถาที่แสดงนิยยานิกธรรมของพระ-

ทศพลเจ้า เพราะไม่เคยได้เห็นพระพุทธเจ้า จึงยืนยันจะส่งอุบาลีคฤหบดีไป

ถึง ๓ ครั้ง. ส่วนฑีฆตปัสสีนิครนถ์ บางครั้งบางคราว เข้าเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ยืนบ้าง นั่งบ้าง ถามปัญหาบ้าง เขารู้ถึงสมบัติคือการเห็นบ้าง ภาวะ

คือกถาแสดงนิยยานิกธรรมบ้าง ของพระตถาคตเจ้า. ครั้งนั้น เขาจึงวิตกว่า

อุบาลีนี้ เป็นคฤหบดีผู้บัณฑิต ไปสำนักพระสมณโคดมแล้วก็จะพึงเลื่อมใส

เพราะเห็นบ้าง เลื่อมใสเพราะพึงกถาแสดงนิยยานิกธรรมบ้าง ดังนั้น อุบาลี

ก็จะไม่พึงกลับมาสำนักของพวกเราอีกเลย. เพราะฉะนั้น เขาจึงคัดค้านถึง ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

ครั้ง เหมือนกัน. ศัพท์ว่า อภิวาเทตฺวา แปลว่า ไหว้. ความจริง คน

ทั้งหลาย เห็นพระตถาคตเจ้าแล้ว ทั้งผู้ที่เลื่อมใส ทั้งผู้ที่ไม่เลื่อมใส ส่วนมาก

ไหว้กันทั้งนั้น ผู้ไม่ไหว้มีเป็นส่วนน้อย เพราะเหตุอะไร คนที่เกิดในตระกูล

อันสูงยิ่ง แม้ครองเรือนก็ไหว้กันทั้งนั้น. ส่วนคฤหบดีผู้นี้ ไหว้เพราะเป็น

คนเลื่อมใส เขาว่าพอเห็นเข้าเท่านั้น ก็เลื่อมใสเสียแล้ว. คำว่า อาตมา

นุขฺวิธ แยกสนธิเป็น อาคมา นุ โข อิธ. คำว่า สาธุ สาธุ

ภนฺเต ตปสฺส ความว่า อุบาลีคฤหบดี เมื่อจะให้สาธุการแก่ฑีฆตปัสสี

นิครนถ์ ก็เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภนฺเต. คำว่า สจฺเจ ปติฏฺาย

ความว่า ตั้งอยู่ในวจีสัตย์ไม่สั่นคลอนเหมือนหลักที่ปักลงในกองแกลบ. คำว่า

สิยา โน แปลว่า พึงมีแก่พวกเรา. ศัพท์ว่า อิธ แปลว่า ในโลกนี้.

ศัพท์ว่า อสฺส แปลว่า พึงมี. คำว่า สีโตทก ปฏิกฺขิตฺโต ความว่า

นิครนถ์ห้ามน้ำเย็นด้วยเข้าใจว่า มีตัวสัตว์. คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงน้ำที่มีตัว

สัตว์.

คำว่า มโนสตฺตา นาม เทวา ความว่า เทพทั้งหลาย ผู้ติด ผู้ข้อง

ผู้เกี่ยวข้องแล้วในใจ. คำว่า มโนปฏิพนฺโธ ความว่า อุบาลีคฤหบดีแสดงว่า

บุคคลผู้ติดพันอยู่ในใจย่อมกระทำกาละ (ตาย) เพราะเหตุนั้น เขาจึงเกิดในเทพ

เหล่ามโนสัตว์. แท้จริง โรคที่เกิดแต่จิตจักมีแก่เขา เพราะเหตุนั้น การดื่ม

น้ำร้อน หรือนำน้ำร้อนเข้าไป เพื่อประโยชน์แก่การล้างมือและเท้าเป็นต้นหรือ

เพื่อประโยชน์แก่การรดอาบตนเองและคนอื่น จึงไม่ควรแก่เขาโรคจะกำเริบ.

น้ำเย็นจึงควร ระงับโรคได้. ก็นิครนถ์นี้เสพแต่น้ำร้อนเท่านั้น เมื่อไม่ได้น้ำร้อน

ก็เสพแต่น้ำข้าวและน้ำผักดองแทน เขาต้องการดื่ม และต้องการบริโภคน้ำเย็น

นั้นแม้ด้วยจิต เพราะเหตุนั้น มโนทัณฑะของเขาจึงแตก เพราะไม่ได้ดื่ม และ

บริโภคน้ำเย็นนั้น เขาไม่อาจจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะรักษากายทัณฑะและวจีทัณฑะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าต้องการดื่ม หรือต้องการบริโภคน้ำเย็น ขอท่านโปรด

ให้แต่น้ำเย็นเท่านั้นเถิด. กายทัณฑะและวจีทัณฑะของเขาแม้รักษาไว้อย่างนี้ ก็

ไม่สามารถจะชักจุติและปฏิสนธิได้. ส่วนมโนทัณฑะ แม้แตกไปแล้วก็ยังชักจุติ

และปฏิสนธิได้อยู่นั่นเอง ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะเขาว่า กายทัณฑะ

และวจีทัณฑะ ต่ำ ทราม มีกำลังอ่อน มโนทัณฑะ กำลังใหญ่ แม้อุบาสกนั้น

ก็วิตกว่าเขากำหนดด้วยอำนาจ. คำถามว่า ก็อัสสาสะและปัสสาสะของอสัญญี-

สัตว์ย่อมเป็นไปไม่ได้ แม้ทั้ง ๗ วัน แต่อสัญญีสัตว์เหล่านั้นเขาไม่เรียกว่าตาย

เพราะเพียงมีแต่ความเป็นไปแห่งสันตติของจิตเท่านั้น เมื่อใดจิตของอสัญญี-

สัตว์เหล่านั้นไม่เป็นไป เมื่อนั้นจึงตาย. จะถึงความเป็นผู้ที่เขาควรกล่าวว่า

จงนำสัตว์เหล่านั้นไปเผาเสีย กายทัณฑะ ปราศจากการไป ไม่ขวนขวาย

วจีทัณฑะก็เหมือนกัน แต่สัตว์เหล่านั้นยังจุติบ้าง ปฏิสนธิบ้าง ก็ด้วยจิตอย่าง

เดียว แม้เพราะเหตุนี้ มโนทัณฑะจึงใหญ่ มโนทัณฑะเท่านั้นชื่อว่าใหญ่ ก็เพราะ

จิตแม้แตกไปแล้ว ก็ยังชักจุติและปฏิสนธิได้ ส่วนถ้อยคำของนิครนถ์ใหญ่ศาสดา

ของเรา เป็นถ้อยคำที่ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้จริง. แต่อุบาลีคฤหบดีนั้นต้อง

การจะฟังปัญหาปฏิภาณอันวิจิตร ของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่คล้อยตามเสีย

ก่อน. คำว่า น โข เตสนฺธิยติ แปลว่า คำของท่านไม่เชื่อมกัน. คำว่า

ปุริเมน วา ปจฺฉิม ความว่า คำนี้ว่า มโนทัณฑะใหญ่ ณ บัดนี้ กับคำ

ก่อนที่ว่า กายทัณฑะใหญ่ไม่เชื่อมกัน. คำว่า ปจฺฉิเมน วา ปุริม ความว่า

คำก่อนโน้นกับคำหลังไม่เชื่อมกัน.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเหตุแม้อย่างอื่นๆ มาแก่อุบาลีคฤหบดี

นั้น จึงตรัสถามว่า ต กึ มญฺสิ เป็นต้น . ในคำเหล่านั้นคำว่า จตุยามสวร-

สวุโต ความว่า ผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวม ๔ ส่วน คือไม่ฆ่าสัตว์เอง ไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

ใช้ให้เขาฆ่าสัตว์ ไม่ชอบใจต่อผู้ฆ่าสัตว์ส่วนหนึ่ง ไม่ลักทรัพย์เอง ไม่ใช้ให้

เขาลักทรัพย์ ไม่ชอบใจต่อผู้ลักทรัพย์ส่วนหนึ่ง ไม่พูดเท็จเอง ไม่ใช้ให้เขาพูด

เท็จ ไม่ชอบใจต่อผู้พูดเท็จส่วนหนึ่ง ไม่หวังกามคุณเอง ไม่ใช้ให้เขาหวังใน

กามคุณ ไม่ชอบใจต่อผู้หวังกามคุณส่วนหนึ่ง. ในคำเหล่านั้น คำว่า ภาวิต

เขาหมายความว่า กามคุณ ๕ . คำว่า สพฺพวาริวาริโต แปลว่า ห้ามน้ำทิ้ง

หมด อธิบายว่าน้ำเย็นทั้งหมดเขาห้าม. เป็นความจริง นิครนถ์นั้นสำคัญว่า

มีตัวสัตว์ในน้ำเย็น เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่ใช้น้ำเย็น. อีกนัยหนึ่ง คำว่า

สพฺพวาริวาริโต หมายความว่า ห้ามบาป ด้วยการเว้นบาปทั้งหมด. คำว่า

สพฺพวารุยุตฺโต หมายความว่า ประกอบด้วยการห้ามบาปทั้งหมด. คำว่า

สพฺพวาริธุโต หมายความว่า กำจัดบาปด้วยการเว้นบาปนั้นหมด. คำว่า

สพฺพวาริผุโฏ หมายความว่า ถูกต้องด้วยการห้ามบาปทั้งหมด. คำว่า ขุทฺทเก

ปาเณ สฆาต อาปาเทติ ความว่า ทำสัตว์เล็ก ๆ ให้ถึงฆาต.

เขาว่า นิครนถ์นั้น บัญญัติสัตว์มีอินทรีย์เดียวว่า ปาณะ (สัตว์มีชีวิต)

บัญญัติสัตว์มี ๒ อินทรีย์ว่า ปาณะ บัญญัติแม้ใบไม้แห้ง ใบไม้เก่า ๆ ก้อน

กรวด กระเบื้องแตกว่า ปาณะ ทั้งนั้น. ในปาณะเหล่านั้น เขาสำคัญว่า

หยาดน้ำน้อย ๆ ก็ใหญ่ ก้อนหินเล็ก ๆ ก็ใหญ่. คำนั้น ท่านกล่าวหมายถึง

ข้อนั้น. คำว่า กสฺมึ ปญฺเปติ ความว่า บัญญัติไว้ที่ส่วนนั้น คือ ส่วน

ไหน. มโนทณฺฑสฺมึ คือ ในส่วนที่เป็นมโนทัณฑะ. อุบาสกนี้เมื่อกล่าวว่า

ภนฺเต ก็กำหนดรู้ด้วยตนเองว่า นิครนถ์ใหญ่ของเราบัญญัติกรรมที่ไม่จงใจ

ทำว่ามีโทษน้อย กรรมที่จงใจว่ามีโทษมาก แล้วบัญญัติเจตนาว่า มโนฑัณฑะ

ถ้อยคำของเขา ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์จริง ส่วนถ้อยคำของพระผู้มีพระ-

๑. บาลีว่า ผุฎฺโ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

ภาคเจ้า นำสัตว์ออกจากทุกข์ได้จริง. คำว่า อิทฺธา แปลว่า มั่งคั่ง.

คำว่า ผีตา แปลว่า มั่งคั่งเหลือเกิน เหมือนดอกไม้บานสะพรั่งทั้งต้น. บทว่า

อากิณฺณมนุสฺสา แปลว่า เกลื่อนกล่นด้วยผู้คน. บทว่า ปาณา ได้แก่

สัตว์ดิรัจฉานมีช้าง ม้า เป็นต้น และมนุษย์มีหญิง ชายและทารกเป็นต้น. บทว่า

เอกมสขล ได้แก่ กองเนื้อกองเดียว. บทว่า ปุญฺช เป็นไวพจน์ของคำว่า

เอกมสุขล นั่นเอง. บทว่า อิทฺธิมา คือ ผู้ถึงพร้อมด้วยอานุภาพ. บทว่า

เจโตวสปฺปตฺโต คือผู้ถึงความชำนาญในจิต. บทว่า ภสฺม กริสฺสามิ

แปลว่า จักกระทำให้เป็นเถ้า. บทว่า กิญฺหิ โสภติ เอกา ฉวา นาลนฺทา

ความว่า คฤหบดีนั้น แม้เมื่อกล่าวคำนี้ก็กำหนดได้ว่า ด้วยกายประโยค แม้

มนุษย์ ๕๐ คน ก็ไม่อาจทำเมืองนาลันทาเมืองเดียวให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน

ได้ ส่วนผู้มีฤทธิ์คนเดียวก็สามารถทำเมืองนาลันทาให้เป็นเถ้าได้ด้วยความประ-

ทุษร้ายทางใจอย่างเดียวเท่านั้น. ถ้อยคำของนิครนถ์ใหญ่ของเราไม่นำสัตว์ออก

จากทุกข์ ถ้อยคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้จริง.

คำว่า อรญฺ อรญฺญฺภูต ความว่า มิให้เป็นบ้าน คือเป็นป่านั่นเอง

ชื่อว่า เกิดเป็นป่า. คำว่า อิสีน มโนปโทเสน ความว่า ด้วยการประทุษร้าย

ทางใจของฤาษีทั้งหลายทำให้พินาศแล้ว . รัฐทั้งหลายเหล่านั้น อันเทวดาผู้ไม่

อดกลั้นความประทุษร้ายทางใจนั้นทำให้พินาศแล้ว ก็ชาวโลกสำคัญว่าผู้มีใจ

ประทุษร้ายทำให้พินาศแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ฤาษีทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พึง

ทราบว่า เขาตั้งอยู่ ในวาทะของโลกอันนี้ จึงยกวาทะนี้ขึ้นกระทำแล้ว. ในข้อ

นั้นพึงทราบว่า ป่าทัณฑกีเป็นต้น กลายเป็นป่าดังต่อไปนี้.

เรื่องป่าทัณฑกี

เมื่อบริษัทของพระสรภังคดาบสโพธิสัตว์แผ่ขยายไพบูลย์แล้ว ดาบส

ชื่อ กีสวัจฉะ ศิษย์ของพระโพธิสัตว์ ประสงค์จะอยู่อย่างสงัด จึงละหมู่ไป

อาศัยนครชื่อ กุมภปุระ ของพระเจ้าทัณฑกี แคว้นกาลิงคะ ต่อจาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

ฝั่งแม่น้ำโคธาวารี เจริญความสงัดอยู่ในพระราชอุทยาน เสนาบดีของพระ-

เจ้าทัณฑกีนั้นเป็นอุปัฏฐาก. ครั้งนั้น นางคณิกาคนหนึ่ง ขึ้นรถมีหญิง

๕๐๐ เป็นบริวาร ทำนครให้งดงามเที่ยวไป. มหาชนมองเห็น ก็ห้อมล้อม

นางเที่ยวตามไป จนถนนในพระนครไม่พอ. พระราชาเผยพระแกลประทับ

ยืนเห็นนาง จึงตรัสถามพวกราชบุรุษว่า หญิงผู้นั้นเป็นใคร. พวกราช

บุรุษทูลว่า ขอเดชะ หญิงนครโสภิณีของพระองค์ พระพุทธเจ้าข้า. ท้าว

เธอเกิดริษยา ทรงพระดำริว่า นครที่หญิงผู้นี้ทำให้งาม จักงามได้อย่างไร

แล้วตรัสสั่งให้ตัดฐานันดรนั้นเสีย. ตั้งแต่นั้นมา นางคณิกานั้นก็ทำการชมเชย

กับคนนั้น ๆ เสาะหาฐานันดรเรื่อยไป วันหนึ่ง เข้าไปยังพระราชอุทยานพบ

ดาบสนั่งบนแผ่นหิน พิงแผ่นหินที่ย้อยลงมา ใกล้ปลายที่จงกรม จึงคิดว่า

ดาบสผู้นี้สกปรกจริงหนอ นั่งไม่ไหวติง เขี้ยวงอกออกมาปิดปาก หนวดเครา

ปิดอก รักแร้สองข้างขนรุงรัง ครั้งนั้น นางเกิดความเสียใจว่า เราเที่ยวไป

ด้วยกิจอย่างหนึ่ง ก็มาพบกับคนกาลกัณณี (กาลกิณี) นี้เข้า ท่านทั้งหลายนำ

น้ำมา เราจักล้างลูกตา ให้เขาเอาน้ำและไม้สีฟันมาแล้ว ก็เคี้ยวไม้สีฟัน ถ่ม

น้ำลายเป็นก้อน ๆ ลงไปบนเนื้อตัวของดาบสนั้น แล้วโยนไม้สีฟันลงบนกลาง

เซิงผม บ้วนปากตัวเองแล้ว เอาน้ำราดบนศีรษะของดาบส คิดว่า เราล้าง

ลูกตาที่เห็นคนกาลกัณณีแล้ว กลีโทษเราก็ลอยเสียแล้ว ก็ออกไปจากพระราช

อุทยาน. ในวันนั้นเอง พระราชาทรงขึ้นได้ก็ตรัสถามว่า พ่อมหาจำเริญ

หญิงนครโสภิณีอยู่ไหน. พวกราชบุรุษตอบว่า อยู่ในพระนครนี้เอง พระเจ้าข้า.

ตรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงให้ฐานันดรเป็นปกติแก่นางอย่างเดิม แล้วทรงสั่งให้คืน

ฐานันดร. นางอาศัยกรรมที่ทำดีมาก่อน จึงได้ฐานันดร แต่นางเข้าใจไปเสีย

ว่า ได้เพราะถ่มน้ำลายลงที่เนื้อตัวของดาบส. ต่อจากวันนั้นไปเล็กน้อย พระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

ราชาทรงถอดฐานันดรของพราหมณ์ปุโรหิต เขาจึงไปยังสำนักหญิงนครโสภินี

สอบถามว่า น้องหญิง เธอทำอะไรจึงกลับได้ฐานันดร. นางก็กล่าวว่า ท่าน

พราหมณ์ จะอะไรเสียอีกเล่า ชฎิลขี้โกงคนหนึ่ง เป็นตัวกาลกัณณีที่ไม่ไหวติง

อยู่ในพระราชอุทยาน ท่านจงถ่มน้ำลายลงที่ตัวของดาบสนั้น ก็จักได้ฐานันดร

อย่างนี้. ปุโรหิตนั้น ก็กล่าวว่า ข้าจักทำอย่างนั้นนะน้องหญิง แล้วก็ไปที่

พระราชอุทยานนั้น กระทำอย่างที่นางบอกทุกประการแล้วก็ออกจากพระราช

อุทยานไป. ในวันนั้นนั่นเอง พระราชาทรงนึกขึ้นได้ก็ตรัสถามว่า พ่อมหา-

จำเริญ พราหมณ์อยู่ไหน ได้รับคำทูลตอบว่า อยู่ในพระนครนี้เอง พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงมีพระดำรัสว่า เราไม่ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ พวกเจ้าจงคืน

ฐานันดรให้เขา แล้วตรัสสั่งให้คืนฐานันดรแก่พรหมณ์นั้น. ถึงพราหมณ์นั้น

ได้ฐานันดร เพราะกำลังบุญแต่ก่อน ก็เข้าใจไปเสียว่าได้ฐานันดรเพราะถ่ม

น้ำลายลงที่ตัวของดาบส. ต่อจากวันนั้นไปเล็กน้อย ชนบทชายแดนของพระ-

ราชาเกิดกบฏ. พระราชาตรัสว่า เราจักไปปราบกบฏชายแดน จึงเสด็จไป

พร้อมด้วยกองทัพ ๔ เหล่า พราหมณ์ปุโรหิตจึงไปยืนอยู่เบื้องพระพักตร์ของ

พระราชา ถวายพระพรว่า ชยตุ มหาราชา จงได้ชัยชนะเถิด พระมหา-

ราชเจ้า แล้วทูลถามว่า พระองค์จะเสด็จไปเพื่อชัยชนะ หรือพระมหาราชเจ้า.

ตรัสตอบว่า อย่างนั้นซิ พราหมณ์. ทูลว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ชฎิลขี้โกงผู้หนึ่ง

เป็นคนกาลกัณณี ผู้ไม่ไหวติง พำนักอยู่ในพระราชอุทยาน โปรดทรงถ่ม

เขฬะลงที่ตัวของชฎิลผู้นั้นเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาทรงรับคำของพราหมณ์

ปุโรหิตนั้น สั่งให้กระทำเหมือนอย่างที่หญิงคณิกาและพราหมณ์ปุโรหิตนั้นทำ

ทุกอย่าง แล้วตรัสสั่งให้เจ้านายฝ่ายในถ่มเขฬะลงที่ตัวของชลิฎขี้โกงนั้น ต่อ

จากนั้น ทั้งฝ่ายใน ทั้งเจ้าหน้าที่ผู้คุ้มครองฝ่ายในก็กระทำตามอย่างนั้นเหมือน

กัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

ครั้งนั้น พระราชาทรงสั่งให้ตั้งกองรักษาการณ์ไว้ใกล้ประตูพระราช-

อุทยาน แล้วสั่งว่า ผู้ตามเสด็จไม่ถ่มน้ำลายลงที่ตัวดาบสให้ทั่วแล้วออกไปไม่

ได้. คราวนั้น นายพันนายกองทั้งหมดก็นำน้ำลาย ไม้สีฟัน และน้ำบ้วนปาก

เอาไปไว้บนตัวดาบสโดยท่านองนั้นนั่นแล. น้ำลายและไม้สีฟันก็ท่วมทั่วตัว.

เสนาบดี (ผู้อุปัฏฐาก) รู้เรื่องภายหลังเขาหมด ก็ครุ่นคิดว่า เขาว่า คนทั้ง

หลาย ทำร้ายพระผู้มีพระภาคเจ้าศาสดาของเรา ซึ่งเป็นเนื้อนาบุญ เป็นบันได

สวรรค์อย่างนี้ หัวใจก็ร้อนระอุ ต้องหายใจทางปาก จึงรุดไปยังพระราช

อุทยาน เห็นฤษีประสบความย่อยยับอย่างนั้น ก็นุ่งหยักรั้ง เอามือทั้งสองกวาด

ไม้สีฟัน ยกขึ้นให้นั่งให้นำน้ำมาอาบ ชะโลมด้วยยาทุกชนิด และของหอม ๔

ชนิด เช็ดด้วยผ้าละเอียด ยืนประนมมืออยู่ข้างหน้า พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ

พวกมนุษย์ทำไม่สมควร อะไรจักมีแก่พวกเขา. ดาบสกล่าวว่า ท่านเสนาบดี

เทวดาแบ่งกันเป็น ๓ พวก พวกหนึ่งกล่าวว่า จักทำพระราชาพระองค์เดียว

ให้พินาศ. พวกหนึ่งกล่าวว่า จักทำพระราชาพร้อมด้วยบริษัทให้พินาศ, พวก

หนึ่งกล่าวว่า จักทำแว่นแคว้นทั้งหมดของพระราชาให้พินาศ ก็แลครั้นกล่าว

ดังนี้แล้ว ดาบสมิได้แสดงอาการโกรธแม้แต่น้อย เมื่อจะบอกอุบายสันติแห่งโลก

กล่าวว่า ความผิดมีอยู่. แต่เมื่อรู้แสดงความผ่อนโทษเสีย เหตุการณ์ก็จะเป็นปกติ

อย่างเดิม. เสนาบดีได้นัยแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระราชา ถวายบังคมแล้วกราบทูล

ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงพระพฤติผิดในท่านดาบสผู้ไม่ผิด ผู้มี

ฤทธิ์มาก ทรงกระทำกรรมอย่างหนัก ท่านว่า เทวดาแบ่งเป็น ๓ พวก กล่าว

กันอย่างนี้ ทูลเรื่องทั้งหมดแล้วกราบทูลว่า ท่านว่าเมื่อพระองค์ทรงขอขมาเสีย

แล้ว แว่นแคว้นก็จะเป็นปกติ ขอพระองค์อย่าทรงทำให้แว่นแคว้นพินาศเสีย

เลย ขอพระมหาราชเจ้า โปรดขอขมาท่านดาบสเสียเถิด พระเจ้าข้า. เสนาบดี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

กราบทูลถึง ๓ ครั้ง พระราชาก็ไม่ทรงปรารถนาจะขอขมา จึงกราบทูลว่า ข้า

แต่พระมหาราชเจ้า ข้าพเจ้าทราบกำลังของดาบส ดาบสนั้นมิใช่พูดไม่จริง

ทั้งก็ไม่โกรธด้วย แต่ท่านพูดอย่างนี้ ก็ด้วยความเอ็นดู อนุเคราะห์สัตว์ ขอ

ได้โปรดขอขมาท่านดาบสนั้นเสียเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาก็ทรงยืนกราน

ว่า เราไม่ขอขมา. เสนาบดีจึงกราบทูลว่า ถ้าอย่างนั้น ขอได้โปรดพระราช-

ทานตำแหน่งเสนาบดีแก่คนอื่นเถิด ข้าพเจ้าจักไม่อยู่ในพระราชอาณาเขตของ

พระองค์ต่อไปละ. พระราชาตรัสว่า ท่านจะไปก็ตามที เราจักได้เสนาบดีของ

เราใหม่. แต่นั้น เสนาบดีก็ไปสำนักดาบส ไหว้แล้วก็กล่าวว่า ข้าพเจ้าปฏิบัติ

ตามคำของท่านแล้ว ท่านเจ้าข้า. ดาบสกล่าวว่า ท่านเสนาบดี คนที่เชื่อฟัง

จงพาทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งเครื่องใช้ ทั้งทรัพย์ ทั้งสัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า ออกไป

เสียนอกพระราชอาณาเขตภายใน ๗ วัน เทวดาพิโรธหนัก จักเบียดเบียน

แว่นแคว้นแน่นอน. เสนาบดีก็กระทำตาม พระราชาก็ทรงมัวเมาอย่างเดียว

ทรงปราบข้าศึก ทำชนบทชายแดนให้สงบแล้ว ก็เสด็จมาพัก ณ ค่ายฉลองชัย

ทรงจัดการพระนครนั้น ๆ แล้ว เสด็จเข้าสู่พระราชนิเวศน์. ครั้งแรกทีเดียว

เหล่าเทวดาบันดาลฝนน้ำให้ตกลงมา. มหาชนก็ดีใจว่า ตั้งแต่ทำผิดใน

ชฎิลขี้โกงมา พระราชาของเราก็เจริญอย่างเดียว ทรงปราบข้าศึกได้ ในวัน

เสด็จกลับฝนก็ตกลงมา. ต่อมา เหล่าเทวดาก็บันดาลฝนดอกมะลิตกลงมา

มหาชนก็ดีใจยิ่งขึ้นไปอีก ต่อมาเหล่าเทวดาก็บันดาลฝนมาสก ฝนกหาปณะ

ให้ตกลงมา เข้าใจว่าคนทั้งหลายจะออกมาเก็บ จึงบันดาลฝนเครื่องประดับมือ

ประดับเท้า ประดับเอว เป็นต้น ให้ตกลงมา มหาชนก็ลงมายังปราสาท ๗ ชั้น

ทางข้างหลัง ต่างประดับอาภรณ์ ดีใจว่า การถ่มน้ำลายรดชฎิลขี้โกง สมควร

แท้หนอ ตั้งแต่ถ่มน้ำลายลงบนชฎิลขี้โกงนั้น พระราชาของเราก็เจริญ ทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

ปราบข้าศึกสำเร็จ วันเสด็จกลับฝนยังตกลงมา ต่อนั้น ฝน ๔ อย่าง คือ ฝน

ดอกมะลิ ฝนมาสก ฝนกหาปณะ ฝนเครื่องประดับเอว ก็เกิด เปล่งวาจา

ดีใจอย่างนี้แล้ว ก็อิ่มเอิบในกรรมที่พระราชาทรงทำผิด. สมัยนั้น เหล่าเทวดา

ก็บันดาลอาวุธต่าง ๆ ที่มีคมข้างเดียว สองข้าง เป็นต้น ให้ตกลงมาปานเชือด

เนื้อมหาชนบนแผ่นเขียง ต่อจากนั้น ก็บันดาลถ่านเพลิงมีสีดังดอกทองกวาว

ปราศจากเถ้าและควัน บันดาลก้อนหินขนาดเรือนยอด บันดาลทรายละเอียด

ที่กอบกำไม่อยู่ให้ตกลงมา ถมพื้นที่สูงขึ้นถึง ๘๐ ศอก. ในแว่นแคว้นของ

พระราชา มนุษย์ ๓ คน คือ ท่านกีสวัจฉดาบส ท่านเสนาบดี และคนที่ยินดี

เลี้ยงดูมารดา เป็นผู้ไม่มีโรค. ในแหล่งน้ำดื่ม ก็ไม่มีน้ำดื่ม ในแหล่งหญ้า

ก็ไม่มีหญ้า สำหรับสัตว์ดิรัจฉานที่เหลือ ผู้ไม่ได้ร่วมในกรรมนั้น. สัตว์

ดิรัจฉานเหล่านั้น ก็ไปยังแหล่งที่มีน้ำดื่ม มีหญ้า ไม่ทันถึง ๗ วัน ก็พากัน

ไปนอกราชอาณาจักร.

เพราะเหตุนั้น สรภังคโพธิสัตว์ จึงกล่าวว่า

กีสญฺหิ วจฺฉ อวกฺรีย ทณฺฑกี

อุจฺฉินฺนมูโล สชโน สรฏฺโ

กุกฺกุลนาเม นิรยมฺหิ ปจฺจตี

ตสฺส ผุลฺลิตานิ ปตนฺติ กาเย.

พระเจ้าทัณฑกี ทรงให้ร้ายกีสวัจฉ-

ดาบส ทรงขาดคุณธรรมเบื้องต้น พร้อมทั้ง

มหาชน พร้อมทั้งแว่นแคว้น ก็ตกนรกขุม

กุกกุละ ถ่านไฟคุโชนก็ตกไปที่พระกายของ

ท้าวเธอ ดังนี้.

พึงทราบว่า ป่าทัณฑกี เป็นป่าไปดังกล่าวมาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

เรื่องป่ากลิงคะ

ดังได้สดับมา ครั้งพระเจ้านาฬิกีระทรงราชย์ ณ แคว้นกลิงคะ ดาบส

๕๐๐ รูป ณ ป่าหิมพานต์ ผู้ไม่เคยได้กลิ่นสตรี ทรงหนังเสือเหลืองชฎาและผ้า

เปลือกไม้ มีรากไม้ผลไม้ป่าเป็นอาหารอยู่มานาน ประสงค์จะเสพอาหารมีรส

เปรี้ยว เค็มก็พากันมายังถิ่นมนุษย์ ถึงนครของพระเจ้านาฬิกีระ แคว้นกลิงคะตาม

ลำดับ ดาบสเหล่านั้นทรงชฎาหนังเสือเหลืองและผ้าเปลือกไม้แสดงกิริยาอันสงบ

สมควรแก่เพศนักบวช เข้าไปขออาหารยังนคร. ครั้งพระพุทธเจ้ายังไม่เกิด คน

ทั้งหลายเห็นดาบสนักบวชก็เลื่อมใส จัดแจงที่นั่งและที่ยืน มีมือถือภาชนะใส่

อาหาร นิมนต์ให้นั่งแล้ว จัดอาหารถวาย. เหล่าดาบสบริโภคอาหารเสร็จแล้ว

ก็อนุโมทนาคนทั้งหลายได้ฟังแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใส ถามว่า พระผู้เจริญทั้งหลาย

จะไปไหน. ดาบสตอบว่า จะไปตามที่ที่มีความผาสุก. คนเหล่านั้นก็พูดเชิงนิมนต์

ว่า พระคุณเจ้าไม่ควรไปที่อื่น อยู่เสียที่พระราชอุทยานเถิด พวกเรากินอาหาร

เช้าแล้ว จักมาฟังธรรมกถา. เหล่าดาบสก็รับ ไปยังพระราชอุทยาน. ชาวเมือง

กินอาหารแล้ว ก็นุ่งผ้าสะอาด ห่มผ้าสะอาด หมายจะฟังธรรมกถาเดินกันไป

เป็นหมู่ ๆ มุ่งหน้าไปยังพระราชอุทยาน. พระราชาประทับยืนบนปราสาท ทอด

พระเนตรเห็นคนเหล่านั้น กำลังเดินไป จึงตรัสถามเจ้าหน้าที่ผู้รับใช้ว่า พนาย

ทำไม ชาวเมืองเหล่านั้น จึงนุ่งห่มผ้าสะอาด เดินมุ่งหน้าไปยังสวน ที่สวน

นั้น เขามีการชุมนุมหรือฟ้อนรำกันหรือ. เจ้าหน้าที่กราบทูลว่า ไม่มีดอก

พระเจ้าข้า พวกเขาต้องการจะไปฟังธรรมกถาในสำนักเหล่าดาบส. ตรัสว่า

ถ้าอย่างนั้น เราจะไปด้วย บอกให้พวกเขาไปกับเรา. เจ้าหน้าที่ก็ไปบอกแก่

คนเหล่านั้นว่า พระราชาก็มีพระราชประสงค์จะเสด็จไป พวกท่านจงแวดล้อม

พระราชากันเถิด. โดยปกติ พวกชาวเมืองดีใจกันอยู่แล้ว ครั้นฟังคำนั้น ก็

๑. บาลีเป็นกาลิงคะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

ดีใจยิ่งขึ้นไปว่า พระราชาของเราไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ทุศีล เหล่าดาบส

มีธรรม อาศัยดาบสเหล่านั้น พระราชาจักตั้งอยู่ในธรรมก็ได้. พระราชาเสด็จ

ออก มีชาวเมืองแวดล้อม เสด็จไปยังพระราชอุทยานทรงปฏิสันถารกับเหล่า

ดาบส แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. เหล่าดาบสเห็นพระราชาก็มอบ

หมายให้ดาบสรูปหนึ่งผู้ฉลาด กล่าวธรรมกถาถวายพระราชา ด้วยถ้อยคำ

ละเมียดละไม ดาบสมองดูหมิ่นคน เมื่อจะกล่าวโทษในเวรทั้ง ๕ และอานิสงส์ใน

ศีล ๕ จึงกล่าวโทษในเวรทั้ง ๕ ว่า ไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควรลักทรัพย์ ไม่

ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา ขึ้นชื่อว่าปาณาติบาต

ย่อมส่งผลให้เกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย อทินนาทาน

เป็นต้นก็เหมือนกัน เมื่อหมกไหม้ในนรกแล้ว มาสู่มนุษยโลก ปาณาติบาต

ก็ส่งผลให้เป็นผู้มีอายุสั้น ด้วยเศษแห่งวิบาก อทินนาทานก็ส่งผลให้เป็นผู้มี

โภคทรัพย์น้อย มิจฉาจารก็ส่งผลให้เป็นผู้มีศัตรูมาก มุสาวาทก็ส่งผลให้เป็น

ผู้ถูกกล่าวตู่ (ใส่ความ) มัชชปานะ (ดื่มน้ำเมา) ก็ส่งผลให้เป็นคนบ้า. แม้

โดยปกติ พระราชาก็เป็นผู้ไม่มีความเชื่อ ไม่เลื่อมใสเป็นผู้ทุศีล ธรรมดาว่า

สีลกถา เป็นทุกถา (คำเลว) สำหรับคนทุศีล จึงเป็นเสมือนหอกทิ่มหู เพราะ

ฉะนั้น ท้าวเธอจึงทรงดำริว่า เรามาหมายจะยกย่องดาบสเหล่านี้ แต่ดาบส

เหล่านี้กลับพูดกระทบกระเทือนทิ่มแทงเราผู้เดียว ท่ามกลางบริษัท ตั้งแต่เรา

มา เราจักกระทำให้สาสมแก่ดาบสเหล่านั้น. เมื่อจบธรรมกถา ท้าวเธอก็

นิมนต์ว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย พรุ่งนี้ขอได้โปรดรับอาหารที่บ้านโยม แล้ว

เสด็จกลับ. วันรุ่งขึ้นท้าวเธอให้นำไหขนาดใหญ่ ๆ มาแล้วบรรจุคูถ (อุจจาระ)

จนเต็มแล้ว เอาใบกล้วยมาผูกปากไหเหล่านั้นไว้ ให้เอาไปตั้งไว้ ณ ที่นั้น ๆ

ใส่น้ำผึ้ง น้ำมันยาง ต้นกากะทิง และหนามงิ้วหนา ๆ เป็นต้น จนเต็มหม้อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

วางไว้หัวบันได ทั้งให้พวกนักมวยร่างใหญ่ผูกสายรัดเอว ถือค้อนคอยทีในที่

นั้นแหละ ประทับยืนกล่าวว่า พวกดาบสขี้โกงเบียดเบียนเรายิ่งนัก ตั้งแต่

ดาบสเหล่านั้นลงจากปราสาท พวกเจ้าจงเอาหม้อสาดหนามงิ้วไปที่หัวบันได

เอาค้อนตีศีรษะ จับคอเหวี่ยงไปที่บันได. ที่เชิงบันไดก็ให้ผูกสุนัขดุ ๆ เอาไว้.

ฝ่ายเหล่าดาบสก็คิดว่า พวกเราจักบริโภคอาหารในเรือนหลวง วัน

พรุ่งนี้ก็สอนซึ่งกันและกันว่า ขึ้นชื่อว่าเรือนหลวง น่าสงสัย น่ามีภัย ธรรมดา

บรรพชิตพึงสำรวมในทวารทั้ง ๖ ไม่ควรถือนิมิตในอารมณ์ที่เห็นแล้ว ๆ พึงตั้ง

เฉพาะความสำรวมในจักษุทวาร วันรุ่งขึ้น เหล่าดาบสก็กำหนดรู้เวลาทำอาหาร

จึงนุ่งผ้าเปลือกไม้ ห่มหนังเสือเหลืองเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง มุ่นชฎา ถือภาชนะใส่

อาหาร ขึ้นสู่พระราชนิเวศน์ตามลำดับ พระราชาทรงทราบว่า ดาบสขึ้นมาแล้ว

ก็ให้นำเอาใบกล้วยออกจากปากไหคูถ กลิ่นเหม็นก็กระทบโพรงจมูกของดาบส

ถึงอาการประหนึ่งเยื่อสมองตกล่วงไป. ดาบสผู้ใหญ่ก็จ้องมองพระราชา

พระราชาตรัสว่า มาซิ ท่านผู้เจริญ จงฉัน จงนำไปตามความต้องการ นั่นเป็น

ของเหมาะแก่พวกท่าน เมื่อวานเรามาหมายจะยกย่องพวกท่าน แต่พวกท่าน

กลับพูดกระทบเสียดแทงเราผู้เดียว ท่ามกลางบริษัท พวกท่านจงฉันของที่

เหมาะแก่พวกท่าน แล้วสั่งให้เอากระบวย ตักคูถไปถวายดาบสผู้ใหญ่ ดาบสก็

ได้แต่พูดว่า ชิชิ แล้วก็กลับไป. พระราชาตรัสว่า พวกท่านต้องไปทางนี้ทาง

เดียว แล้วให้สัญญาณแก่คนทั้งหลาย ให้เอาหม้อ สาดหนามงิ้วที่บันได.

พวกนักมวยก็เอาค้อนตีศีรษะ จับคอเหวี่ยงไปทำบันใด ดาบสแม้รูปเดียว ก็

ไม่อาจยืนได้ที่บันได. ดาบสทั้งหลายก็กลิ้งลงมาถึงเชิงบันได เมื่อถึงเชิงบันได

แล้ว ฝูงสุนัขดุคิดว่าแผ่นผ้า ๆ ก็รุมกันกัดกิน บรรดาดาบสเหล่านั้น แม้

รูปใดลุกขึ้นหนีไปได้ รูปนั้นก็ต้องตกลงไปในหลุม ฝูงสุนัขก็ตามไปกัดกิน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

ดาบสนั้นในหลุมนั้นนั่นแหละ ดังนั้น ร่างกระดูกของดาบสเหล่านั้น จึงไม่

หลงเหลืออยู่เลย. พระราชา ทรงปลงชีวิตดาบส ๕๐๐ รูป ผู้สมบูรณ์ด้วย

ตบะลงด้วยเวลาวันเดียวเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. ครั้งนั้น เหล่าเทวดา

บันดาลฝน ๙ ชนิด ให้ตกลงมาอีกในแว่นแคว้นของพระราชาพระองค์นั้นโดย

นัยก่อนนั้นแล แคว้นของพระราชาพระองค์นั้น ถูกกลบด้วยกองทรายสูงถึง

๖๐ โยชน์ เพราะเหตุนั้น สรภังคโพธิสัตว์ จึงกล่าวว่า

โย สญฺเต ปพฺพชิโต อวญฺจยิ

ธมฺม ภณนฺเต สมเณ อทูสเก

ตนฺนาฬิกีร สฺนขา ปรตฺถ

สงฺคมฺม ขาทนฺติ วิผนฺทมาน.

พระเจ้านาฬิกีระพระองค์ใด ทรง

ลวงเหล่านักบวชผู้สำรวม ผู้กล่าวธรรม ผู้

สงบ ไม่เบียดเบียนใคร ฝูงสุนัขย่อมรุมกัน

กัดกินพระเจ้านาฬิกีระพระองค์นั้น ผู้ซึ่ง

กลัวตัวสั่นอยู่ในโลกอื่น.

พึงทราบว่า ป่ากาลิงคะ เป็นป่าไปด้วยประการฉะนี้.

เรื่องป่ามาตังคะ

ในอดีตกาล ณ นครพาราณสี เศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติ ๔๐ โกฏิ มี

ธิดาคนหนึ่งชื่อ ทิฏฐมังคลิกา สะสวยน่ารักน่าชม นางเป็นที่ปรารถนาของ

คนเป็นอันมาก เพราะนางเพียบพร้อม ด้วยรูปสมบัติ โภคสมบัติ และกุล

๑. บาลีสรภังคชาดกว่า อเหยิ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

สมบัติ ชายใดส่งคนไปสู่ขอนาง นางเห็นชายนั้นแล้ว ก็จะยกเรื่องชาติ

มิฉะนั้น ก็เรื่องมือ เท้า เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นข้อตำหนิ กล่าวว่า

ผู้นั้นเป็นใคร เกิดไม่ดี ทรวดทรงไม่ดี ดังนี้เป็นต้นแล้ว ก็สั่งให้เชิญเขา

กลับไปเสีย แล้วพูดสั่งว่า ถ้าข้าได้เห็นคนเช่นนี้ พวกเจ้าจงเอาน้ำมา ข้าจัก

ล้างตา แล้วก็ล้างตา. เพราะเหตุที่นางมีอาการผิดปกติที่เขาเห็น ๆ กัน สั่งให้

เชิญชายไปเสีย ฉะนั้น จึงเกิดเรียกชื่อนางว่า ทิฏฐมังคลิกา ชื่อเดิมหายไป.

วันหนึ่ง นางตั้งใจจะลงเล่นน้ำในแม่น้ำคงคา จึงสั่งให้จัดตกแต่งท่าน้ำ บรร-

ทุกของเคี้ยวของกินเป็นอันมากเต็มเล่มเกวียน เอาของหอมและดอกไม้เป็นต้น

ไปขึ้นยานปิดมิดชิด มีหมู่ญาติแวดล้อมออกจากคฤหาสน์ไป. สมัยนั้น พระ-

มหาบุรุษเกิดในกำเนิดคนจัณฑาล อาศัยอยู่ในเรือนที่มุงหนังนอกพระนคร

เขาชื่อว่า มาตังคะ เขาอายุ ๑๖ ปี ต้องการจะเข้าไปในพระนคร ด้วยกิจ

บางอย่าง จึงนุ่งผ้าเก่า สีเขียวผืนหนึ่ง ผูกข้อมือผืนหนึ่ง มือข้างหนึ่งถือ

กระเช้า ข้างหนึ่งถือกระดิ่ง ห้ามคนนั้น ๆ เพื่อให้เขารู้ว่า นายเจ้าข้า โปรด

ระลึกไว้ว่า ข้าเป็นจัณฑาล เจียมเนื้อเจียมตัว นบนอบคนทั้งหลายที่เขา

พบ เข้าไปยังพระนครเดินถนนใหญ่.

นางทิฏฐมังคลิกา ได้ยินเสียงกระดิ่ง ก็มองทางช่องม่าน เห็นนาย

มาตังคะเดินมาแต่ไกล ถามว่านั่นอะไร. คนของนางตอบว่า นายมาตังคะจ๊ะ

นาย. นางพูดว่า ข้าทำอะไรไม่ดีไว้หนอ นี้เป็นผลของกรรมอะไร ความ

ย่อยยับจึงปรากฏแก่ข้าหนอ ข้ากำลังไปด้วยกิจที่เป็นมงคล กลับได้พบคน

จัณฑาล รังเกียจจนตัวสั่น ถ่มน้ำลายแล้วบอกพี่เลี้ยง ให้รีบนำน้ำมา ข้าจักล้าง

ลูกตาที่เห็นคนจัณฑาล บ้วนปากที่เอ่ยชื่อ แล้วก็ล้างตาและปาก ให้กลับรถ

ส่งสิ่งของที่เตรียมไว้ไปยังคฤหาสน์ ตัวเองก็ขึ้นไปสู่ปราสาท. พวกนักเลงสุรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

เป็นต้น และเหล่าคนที่บำรุงนางถามกันว่า นางทิฏฐมังคลิกาไปไหน จึงไม่

มาในเวลานี้ ฟังเรื่องราวแล้วก็เดียดแค้นว่า อาศัยเจ้าจัณฑาล พวกเราจึงไม่

ได้รับรางวัลใหญ่ เช่นสุรา เนื้อ ของหอม ดอกไม้เป็นต้น จงจับเจ้าจัณฑาล

กันเถอะ แล้วเสาะหาจนพบสถานที่โปตะคอกขู่มาตังคะบัณฑิตผู้ไม่ผิดว่า เฮ้ย

เจ้ามาตังคะ เพราะอาศัยเจ้า พวกข้าจงไม่ได้รางวัลอันนี้ ๆ ว่าแล้ว ก็จับผม

กระชากล้มลงที่พื้น กระแทกด้วยข้อศอก และก้อนหินเป็นต้น สำคัญว่าตาย

จึงพากันจับลากไปทิ้งไว้ที่กองขยะ.

ฝ่ายมหาบุรุษรู้สึกตัว คลำมือเท้าดูคิดว่า ทุกข์อันนี้ อาศัยใครหนอ

จึงเกิด ขึ้นได้ ไม่ใช่อาศัยใครอื่น ต้องอาศัยนางทิฏฐมังคลิกาแน่จึงเกิดขึ้น เรา

เป็นลูกผู้ชายจักต้องให้นางซบลงแทบเท้าให้ได้ โกรธตัวสั่นอยู่ ไปยังประตูบ้าน

ตระกูลของนางทิฏฐมังคลิกา นอนที่ลานบ้านด้วยตั้งใจว่า เราได้นางทิฏฐ -

มังคลิกาจึงจะลุก เมื่อไม่ได้ก็จะตายเสียที่นี้นี่แหละ. สมัยนั้น ชมพูทวีป มี

ประเพณีว่า คนจัณฑาลโกรธนอนตายใกล้ประตูห้องของผู้ใด คนที่อยู่ในห้อง

ของผู้นั้นทั้งหมดต้องตกเป็นจัณฑาล เมื่อเขาตายกลางเรือน คนที่อยู่

ในเรือนทั้งหมดต้องเป็นจัณฑาล เมื่อเขาตายที่ประตูเรือน คนที่อยู่ในเรือน

ระหว่างสองข้าง ต้องเป็นจัณฑาล เมื่อเขาตายที่ลานบ้าน คนที่อยู่ในเรือน

ทั้ง ๑๔ หลัง ข้างโน้น ๗ ข้างนี้ ๗ ทั้งหมดต้องตกเป็นจัณฑาล แต่พระโพธิสัตว์

นอนที่ลานบ้าน คนทั้งหลายจึงบอกแก่เศรษฐีว่า นายขอรับ นายมาตังคะนอน

ที่ลานบ้านของนาย. เศรษฐีพูดว่า ไปซีพนาย เพราะเหตุอะไรกัน พวกเจ้า

จงให้ทรัพย์มันมาสกหนึ่ง ให้มันลุกไป. คนเหล่านั้นออกไปบอกว่า ลุกขึ้นรับ

มาสกนี้ ลุกขึ้นไปเสีย. นายมาตังคะบอกว่า ข้าไม่ได้นอนเพื่อต้องการมาสก

แต่ข้านอนเพื่อต้องการนางทิฏฐมังคลิกา. คนทั้งหลายถาม นางทิฏฐมังคลิกา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

มีโทษอะไรหรือ. เขาตอบว่า พวกท่านมองไม่เห็นโทษอะไร ๆ ของนางดอก

ข้าไม่มีความผิด พวกคนของนางทำข้าย่อยยับ ข้าได้นางจึงจะลุก เมื่อไม่ได้ก็ไม่

ลุก. คนเหล่านั้น จึงพากันไปบอกเศรษฐี เศรษฐีรู้โทษของธิดา จึงส่งคนไป

พร้อมกับบอกว่า พวกเจ้าจงไปให้มันกหาปณะหนึ่ง. นายมาตังคะนั้นก็บอกว่า

ข้าไม่ปรารถนากหาปณะ แต่ปรารถนานางคนเดียว. เศรษฐีและภริยาได้ฟังก็

ได้แต่สังเวชว่า ธิดาที่เป็นที่รักของเรามีคนเดียว ก็มาทำลายประเพณีเสีย แม้

เด็กอื่นก็ไม่มี จึงบอกคนทั้งหลายว่า ไปซี พ่อคุณ เดี๋ยวใคร ๆ จะปลิดชีวิต

มันเสียหรอก เมื่อมันตาย เราทุกคนก็จะฉิบหายกัน พวกเจ้าจงอารักขามันไว้

แล้วก็ห้อมล้อมจัดแจงอารักขา ส่งข้าวต้มข้าวสวยทรัพย์ไปให้ ถึงอย่างนั้นนาย

มาตังกะนั้นก็ปฏิเสธทุกอย่าง เวลาก็ล่วงไปวันหนึ่ง สอง- สาม- สี่-ห้าวัน คน

ที่อยู่เรือนแห่งละ ๗ ต่อจากเรือนนั้น ๆ ก็ลุกขึ้นพูดว่า พวกเราไม่อาจจะกลาย

เป็นจัณฑาล เพราะพวกท่านได้ พวกท่านอย่าทำให้เราฉิบหายกันเลย จงให้

ทิฏฐมังคลิกา แล้วให้นายมาตังคะลุกขึ้น. เศรษฐีและภริยานั้นก็ส่งทรัพย์ไปให้

เขาร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง แสนหนึ่งบ้าง นายมาตังคะนั้นก็ปฏิเสธอย่าง

เดียว หกวันก็ล่วงไปอย่างนี้ ถึงวันที่เจ็ด คนที่อยู่ในเรือนทั้ง ๑๔ สองข้าง

ก็ประชุมกันอีกว่า เราไม่อาจกลายเป็นจัณฑาลทั้งที่พวกท่านก็ไม่ต้องการ เรา

จักให้ทิฏฐมังคลิกาแก่นายมาตังคะนั้นละ. มารดาบิดาของนางเพียบด้วยความ

โศกศัลย์ ถึงกับแน่นิ่งล้มลงบนที่นอน.

คนที่อยู่ในเรือนทั้ง ๑๔ หลัง สองข้าง ก็พากันขึ้นปราสาท เปลื้อง

เครื่องประดับทุกอย่างของนาง ประหนึ่งเก็บกิ่งทองกวาวที่ดอกบานแล้ว เอา

เล็บทำแสกแล้วผูกผมไว้ ให้นุ่งผ้าเขียวเก่า ๆ ผูกชิ้นผ้าเขียวเก่า ๆ ไว้ที่มือ

ให้ประดับตุ้มหูดีบุกไว้ที่หูสองข้าง มอบกระเช้าใบตาล ให้ลงจากปราสาท จับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

แขนทั้งสองข้างไว้ ไปมอบให้มหาบุรุษพร้อมกับกล่าวว่า จงพาสามีของเจ้าไป

ทิฏฐมังคลิกาเป็นเด็กหญิงสุขุมาลชาติ ไม่เคยยกของหนักที่ว่าแม้แต่ดอกบัวขาบ

ก็หนักเสียเหลือเกิน ก็พูดว่า ลุกขึ้นซินาย ไปกันเถอะ. พระโพธิสัตว์ก็นอน

เฉยพูดว่าเราไม่ลุก. นางย้อนถามว่า จะให้พูดว่าอะไรเล่า. นายมาตังคะก็สอนว่า

เจ้าจงพูดกะเราว่า ท่านมาตังคะจงลุกขึ้นซิ เจ้านาย. นางก็พูดอย่างนั้น. นาย

มาตังคะบอกว่า พวกคนของเจ้าใช่ไหม ทำให้เราไม่สามารถลุกขึ้น เจ้าจับแขน

เราฉุดให้ลุกขึ้นซิ. นางก็กระทำตาม พระโพธิสัตว์ทำที่ว่าลุก แต่ก็กลิ้งล้มลง

ไปที่พื้น ร้องลั่นว่า แม่มหาจำเริญทิฏฐมังคลิกา ใช้ผู้คนทุบจนยับเยินก่อน

แล้ว บัดนี้ตัวเองยังจะทุบอีก. นางพูดว่า ข้าจะทำอย่างไรเล่าเจ้านาย. จงจับ

สองมือฉุดให้ลุกขึ้น. นางฉุดให้ลุกขึ้นได้แล้ว พูดว่าเราไปกันเถอะนาย. พระ-

โพธิสัตว์กล่าวว่า ธรรมดาว่า สัตว์ดิรัจฉานมีอยู่ในป่า นี่เราเป็นมนุษย์ ข้าถูก

คนของเจ้าทุบบอบช้ำ ไม่สามารถเดินไปด้วยเท้าได้ เจ้าจงเอาหลังแบกข้าไป.

นางก็น้อมตัวลงก้มหลังให้ พระโพธิสัตว์ก็ขึ้นหลัง นางพาไปยังประตูเมืองด้าน

ตะวันออก แล้วถามว่า ที่อยู่ของนายอยู่ที่นี้หรือ. เขาตอบว่า ที่ประตูเมือง

ด้านตะวันออก พวกลูกจัณฑาลอยู่ไม่ได้ดอก. เขาไม่บอกที่อยู่ของตน ให้

นางแบกไปยังทุกประตู. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เขาคิดว่า เรา

จะทำมานะนางที่ขึ้นถึงยอดภพให้ลดลงให้ลดลงให้จงได้. มหาชนกระทำการแซ่ซ้องกึก-

ก้องว่า นอกจากคนเช่นท่าน ไม่มีคนอื่นที่จะทำลายมานะของนางได้. ถึง

ประตูเมืองด้านตะวันตก นางถามว่า ที่อยู่ของนายอยู่ที่นี้หรือนาย. เขากลับ

ย้อนถามว่า นั่นที่ไหน. นางตอบว่า ประตูเมืองด้านตะวันตกนาย. เขา

บอกว่า ออกทางประตูเมืองด้านตะวันตกแล้ว มองเห็นเรือนมุงหนัง ก็ไป

เถอะ. นางเดินไปถึงแล้วก็ถามว่า เรือนมุงหนังหลังนี้เป็นที่อยู่ของนายหรือ.

เขาตอบว่า จ้ะ แล้วก็ลงจากหลังนางเดินเข้าไปยังเรือนมุงหนัง. พระโพธิสัตว์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

ผู้เป็นปราชญ์แสวงหาพระสัพพัญญุตญาณอยู่ในเรือนหลังนั้น ๗-๘ วัน มิได้

ทำการระคนด้วยชาติ (สมสู่) ไม่วันเหล่านั้น. เขาคิดแล้วคิดอีกว่าถ้าธิดาของ

สกุลใหญ่อาศัยเราจะไม่ประสบยศ (เกียรติ, อิสริยะ บริวาร) ยิ่งใหญ่ เราอยู่

ในสำนักพระพุทธเจ้าถึง ๒๔ พระองค์ ก็ยังไม่สามารถทำกิจคืออภิเษกพระราชา

ทั้งหลายในสกลชมพูทวีป ด้วยน้ำชำระเท้าของนางได้ ต่อแต่นั้นก็ดำริว่า เรา

อยู่ท่ามกลางเรือน (เป็นคฤหัสถ์) คงไม่สามารถ แต่บวชแล้วจึงจักสามารถ

แล้วก็เรียกนางสั่งว่า เจ้าทิฏฐมังคลิกา แต่ก่อน ข้าอยู่คนเดียว ทำงานบ้าง

ก็พอเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ แต่เดี๋ยวนี้ข้ามีภริยา ไม่ทำงาน ไม่อาจจะมีชีวิตอยู่ได้

เจ้าอย่ากระสันไปเลยจนกว่าข้าจะกลับมา พระโพธิสัตว์เข้าไปป่า เก็บเอาผ้า

เปื้อน ๆ ที่ป่าช้าเป็นต้น มาทำผ้านุ่งผ้าห่ม บวชเป็นสมณะเที่ยวไปคนเดียว

ได้ความสงัดกาย บริกรรมกสิณ ทำสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว

ดำริว่า บัดนี้ เราอาจเป็นที่พึ่งอาศัยของนางทิฏฐมังคลิกาได้ จึงเดินมุ่งหน้า

ไปยังกรุงพาราณสี ห่มจีวรเที่ยวภิกขาจาร เดินตรงไปยังเรือนของนางทิฏฐ-

มังคลิกา.

นางเห็นพระโพธิสัตว์ยืนอยู่ใกล้ประตู จำไม่ได้ก็บอกว่า โปรดไปข้าง

หน้าเถิดเจ้าข้า นี้ที่อยู่ของพวกคนจัณฑาล พระโพธิสัตว์ก็ยืนอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ

นางดูแล้วดูอีก ก็จำได้ เอามือทุกอก ร้องลั่นล้มลงใกล้ ๆ เท้า กล่าวว่า นาย

ถ้านายยังมีจิตใจอยู่เช่นนี้ เหตุไรนายจึงทำข้าให้เสื่อมจากยศใหญ่ ทำข้าให้ขาด

ที่พึ่ง แล้วก็คร่ำครวญไปต่าง ๆ เช็ดตาสองข้างลุกขึ้น รับภาชนะอาหารนิมนต์ให้

เข้าไปนั่งภายในเรือนถวายอาหาร. พระมหาบุรุษฉันแล้วก็กล่าวว่า ทิฏฐมังคลิกา

เจ้าอย่าโศกเศร้า อย่าคร่ำครวญไปเลย เราสามารถทำให้กิจคือ การอภิเษก

พระราชาทั้งหลายในสกลชมพูทวีป ด้วยน้ำชำระเท้าของเจ้า แต่เจ้าต้องทำตาม

คำของเราอย่างหนึ่ง เจ้าจงเข้าไปยังพระนคร ป่าวประกาศไปให้ทั่วพระนครว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

สามีของข้าไม่ใช่จัณฑาล แต่เป็นท้าวมหาพรหม เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอย่าง

นั้นแล้วนางทิฏฐมังคลิกาก็พูดว่า นาย แม้โดยปกติ ข้าก็ถึงความย่อยยับ เพราะ

โทษแห่งปากจึงไม่อาจจะพูดได้. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ก็เมื่อเรายังอยู่ในเรือน

เจ้าเคยได้ยินคำพูดเหลวไหลหรือ เราไม่พูดเหลวไหลแม้ในครั้งนั้น บัดนี้เรา

บวชแล้ว จะพูดเหลวไหลได้อย่างไร เราชื่อว่าเป็นบุรุษ พูดแต่คำจริง แล้ว

กล่าวต่อไปว่า วันนี้เป็นวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ เจ้าจงป่าวประกาศว่า ในวันอุโบสถ

ล่วงไป ๗ วัน นับแต่วันนี้ ท้าวมหาพรหมสามีของข้า จักทำลายวงพระจันทร์

แล้วมายังสำนักของข้า ครั้นกล่าวแล้วก็หลีกไป. นางเชื่อ ร่าเริงยินดี กล้าหาญ

เข้าไปยังพระนคร ในเวลาเช้าเย็นป่าวประกาศอย่างนั้น คนทั้งหลายก็ปรบมือ

หัวเราะ เย้ยหยันว่า ดูเอาเถิด นางทิฏฐมังคลิกาของพวกเรา ทำลูกจัณฑาลให้

เป็นท้าวมหาพรหม. แม้วันรุ่งขึ้น นางก็เข้าไปเช้าเย็น ป่าวประกาศอย่างนั้น

นั่นแหละว่า บัดนี้ ล่วงไป ๑ วัน ๒ วัน ๓ วัน วัน ๕ วัน ๖ วัน บัดนี้

ท้าวมหาพรหมสามีของข้า จักทำลายวงพระจันทร์ มายังสำนักของข้า. พราหมณ์

ทั้งหลายคิดกันว่า นางทิฏฐมังคลิกานี้กล้าหาญเกินตัวพูดออกไป บางคราว

น่าจะมีจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ มาเถิดเราจักจัดแจงที่อยู่ของนางทิฏฐมังคลิกา แล้ว

ช่วยกันแผ้วถางไปรอบ ๆ ภายนอกเรือนมุงหนัง โรยทรายไว้ แม้นางก็เข้าไป

ยังพระนครแต่เช้าในวันอุโบสถ ป่าวประกาศว่า ได้ยินว่าวันนี้ สามีของข้าจักมา.

พราหมณ์ทั้งหลายก็ติดกันว่า นางทิฏฐมังคลิกาผู้นี้อ้างไม่ไกลเลย ได้ยินว่าวันนี้

ท้าวมหาพรหมจักมา พวกเราช่วยจัดแจงที่อยู่กันเถอะ แล้วก็ปัดกวาดเรือนมุง

หนังให้สะอาด ทำพื้นที่ให้เขียวชะอุ่ม แวดล้อมด้วยผ้าใหม่ ๆ ลาดบัลลังก์ที่

สมควรขนาดใหญ่ ระบายเพดานผ้าไว้ข้างบน ห้อยของหอมและพวงดอกไม้

เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นกำลังจัดแจงอยู่ ดวงอาทิตย์ก็ตก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

พอดวงจันทร์ขึ้นพระมหาบุรุษก็เข้าปาทกฌานและอภิญญา ออกจาก

อภิญญาแล้วก็บริกรรม ด้วยจิตฝ่ายกามาวจร เนรมิตอัตภาพพรหมประมาณ

๑๒ โยชน์ ด้วยจิตที่ประกอบด้วยฤทธิ์ เหาะขึ้นสู่เวหาส เข้าไปภายในจันทร-

วิมาน ทำลายวงพระจันทร์ ซึ่งกำลังลอยขึ้นจากชายป่า ละจันทรวิมาน

แล้ว ก็อยู่ข้างหน้า อธิษฐานว่า ขอมหาชนจงเห็นเรา มหาชนเห็นแล้ว

ก็กล่าวว่า ผู้เจริญทั้งหลาย คำของนางทิฏฐมังคลิกาเป็นจริง ท้าวมหา-

พรหมเสด็จมา พวกเราจักบูชาท่าน แล้วถือเอาของหอมและพวงดอกไม้ยืน

ล้อมเรือนของนางทิฎฐมังคลิกาไว้. พระมหาบุรุษเหาะเวียนไปรอบ ๆ กรุง

พาราณสี ๗ ครั้งเหนือศีรษะ รู้ว่ามหาชนเห็นแล้วละอัตภาพประมาณ ๑๒ โยชน์

เสีย แล้วเนรมิตอัตภาพเท่าคนธรรมดา เมื่อมหาชนกำลังดูอยู่ ก็เข้ายังเรือน

มุงหนัง. มหาชนเห็นแล้วก็พูดว่า ท้าวมหาพรหมของพวกเราเสด็จมาแล้ว

พวกเจ้าจงนำม่านมา วงนิเวศน์ไว้ด้วยม่านขนาดใหญ่ยืนล้อมไว้ แม้พระมหา-

บุรุษก็นั่งกลางที่นอนอันมีสิริ นางทิฏฐมังคลิกาก็ยืนอยู่ใกล้ ๆ. ครั้งนั้น พระ-

มหาบุรุษก็ถามนางว่า ดูก่อน ทิฏฐมังคลิกา เจ้ามีระดูหรือ. นางตอบว่า จ้ะ

นาย. พระมหาบุรุษกล่าวว่า เจ้าจงรับบุตรที่เราให้ไว้ แล้วเอาปลายนิ้วมือ

แตะบริเวณท้อง. ด้วยการแตะท้องเท่านั้น นางก็ตั้งครรภ์. พระมหาบุรุษ

กล่าวว่า ดูก่อนทิฏฐมังคลิกา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ น้ำชำระเท้าของเจ้า จัก

เป็นน้ำอภิเษกพระราชาทั้งหลายในสกลชมพูทวีป เจ้าจงยืนขึ้น ดังนี้แล้วเนรมิต

อัตภาพพรหม เมื่อมหาชนกำลังดูอยู่ก็ออกจากเรือนเหาะขึ้นสู่เวหาส เข้าไปยัง

วงพระจันทร์นั่นแล. ตั้งแต่ก่อนที่ นางได้ชื่อว่า พรหมปชาบดี ชื่อว่าผู้ที่

จะได้น้ำสำหรับล้างเท้าไม่มี. พวกพราหมณ์ปรึกษากันว่าพวกเราจักเชิญพรหม-

ปชาบดีให้เข้าไปอยู่ภายในพระนคร หามไปด้วยวอทอง ไม่ให้คนที่มีชาติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

ไม่บริสุทธิ์ ๗ ชั่วคนหามวอ. พราหมณ์ผู้มีชาติและมนต์ ๑๖ คน หามไป. คน

ที่เหลือบูชาด้วยของหอม และดอกไม้เป็นต้น เข้าไปสู่พระนคร ปรึกษากัน

ว่า ผู้เจริญทั้งหลาย พรหมปชาบดี ไม่อาจอยู่ในเรือนที่ตนเคยอยู่มาได้แล้ว

พวกเราจักหาที่ดินสร้างเรือนแก่นาง นางจงอยู่ที่มณฑป ที่พวกเรากำลังสร้าง

อยู่ ดังนี้ แล้วจัดให้นางอยู่ที่มณฑป. ตั้งแต่นั้นมา คนทั้งหลายได้แต่ยืนอยู่

พอเห็นนาง ผู้ต้องการไหว้ก็ต้องให้กหาปณะหนึ่งจึงจะไหว้ได้, ผู้ต้องการไหว้

ในที่รอบ ๆ พอได้ยินเสียง ต้องให้ร้อยกหปณะ จึงไหว้ได้, ผู้ต้องการไหว้

ในที่ใกล้ ซึ่งเป็นที่ได้ยินเสียงพูดตามปกติ ต้องให้ห้าร้อยกหาปณะ จึง

ไหว้ได้ ผู้ต้องการวางศีรษะที่เท้าแล้วไหว้ ต้องให้หนึ่งพันกหาปณะ, ผู้

ปรารถนาน้ำชำระเท้า ต้องให้หมื่นกหาปณะ จึงได้. นางมาแต่ ภายนอก

พระนครจนถึงมณฑปภายในพระนคร ได้ทรัพย์ประมาณร้อยโกฏิ. สกล

ชมพูทวีปก็เลื่องลือกัน. พระราชาทั้งปวงคิดว่า เราจักทำการอภิเษกด้วย

น้ำชำระเท้าของพรหมปชาบดี ทรงส่งทรัพย์ไปแสนกหาปณะจึงได้น้ำมา.

นางกำลังอยู่ในมณฑปนั้นแล ก็คลอดบุตรออกมา กุมารที่อาศัยพระมหาบุรุษ

ได้มาก็ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยลักษณะ. สกลชมพูทวีป ก็โกลาหลเป็นอันเดียว

กันว่า บุตรของท้าวมหาพรหมเกิดแล้ว ทรัพย์ที่ได้มาแต่คนนั้น ๆ ก็ประมาณ

พันโกฏิ ด้วยประสงค์ว่าจะเป็นค่า ขีรมณี (คือค่าน้ำนม) ของกุมาร แม้

นิเวศน์ (ที่อยู่) ก็สำเร็จด้วยทรัพย์มีประมาณเพียงเท่านั้น. คนทั้งหลาย

ปรึกษากันว่า พวกเราจักขนานนามของกุมาร แล้วตกแต่งนิเวศน์ให้กุมารสรง

สนานด้วยน้ำหอม ประดับประดาแล้ว ก็ขนานนามว่า มัณฑพยะ เพราะ

เกิดในมณฑป กุมารจำเริญมาด้วยความสุข ก็ถึงวัยเล่าเรียนศิลปะ ปราชญ์ผู้

รู้ศิลป์ในสกลชมพูทวีปก็มายังสำนักของกุมาร ให้กุมารศึกษาศิลป กุมารเฉลียว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

ฉลาดมีปัญญา ก็เล่าเรียนศิลปะที่สดับ ๆ มาแล้วได้เหมือนร้อยแก้วมุกดาฉะนั้น

ศิลปะที่เล่าเรียน ๆ ไว้แล้ว ก็ทรงจำไว้ประหนึ่งน้ำมันที่ใส่ในหม้อทองฉะนั้น

ตราบจนปริยัติคล่องปาก เพราะเหตุนั้น ปริยัติที่ชื่อว่าไม่เล่าเรียนไม่มี.

พราหมณ์ทั้งหลายก็ห้อมล้อมกุมารนั้น เที่ยวไป แม้กุมารนั้นก็เป็นผู้ที่พราหมณ์

เลี้ยงดูแล้ว. พราหมณ์แปดหมื่นคน รับนิตยภัตในเรือน แม้เรือนข้องกุมารนั้น

ก็ใหญ่โต มีซุ้มประตูถึง ๗ ซุ้ม. ทรัพย์ที่ชาวชมพูทวีปส่งให้ในวันมงคลใน

เรือนก็ตกประมาณแสนโกฏิ.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ระบุว่า กุมารประมาทหรือไม่ประมาทหนอ ก็ทราบ

เรื่องราวของกุมารนั้นตลอด ดำริว่า กุมารที่เกิดแล้ว พราหมณ์เลี้ยงไว้ ทาน

ที่ให้ในเขตใดมีผลมาก เขายังไม่รู้ถึงเขตนั้น เราจะไปทรมานเขา แล้วก็ห่ม

จีวรถือภาชนะใส่อาหาร คิดว่าซุ้มประตูทั้งหลายคับแคบนัก เราไม่อาจเข้าไป

ทางซุ้มประตูได้ จึงมาทางอากาศ ลง ณ น่านอากาศ ในที่ ๆ พวกพราหมณ์

๘๐,๐๐๐ คน บริโภคอาหาร แม้มัณฑพยกุมารก็ให้คนจับทัพพีทองอังคาสตน

โดยสั่งว่าพวกเจ้าจงให้กับข้าวตรงนี้ ให้ข้าวตรงนี้ ครั้นเห็นพระโพธิสัตว์ก็โกรธ

ประหนึ่งงูพิษถูกตีด้วยท่อนไม้ จึงกล่าวคาถานี้ว่า.

กุโต นุ อาคจฺฉสิ ทุมฺมวาสี

โอคลฺลโก ปสุปิสาจโกว

สงฺการโจล ปฏิมุญฺจ กณฺเ

โก เร ตุว โหสิ อทกฺขิเณยฺโย.

เจ้านุ่งห่มผ้าเก่า ๆ เข็ญใจ รูปร่างดัง

ปิศาจคลุกฝุ่น คล้องผ้าที่ได้มาในกองขยะ

ไว้ที่คอ เฮ้ย. . . เจ้าเป็นใคร เจ้าไม่ใช่ทักขิ

ไณยบุคคลนี่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

พระโพธิสัตว์ไม่โกรธ จึงกล่าวสอนเขาว่า

อนฺน ตวยิท ปกต ยสสฺสิ

ต ขชฺชเร ภุญฺชเร ปิยฺยเร จ

ชานาสิ ม ตฺว ปรทตฺตูปชีวึ

อุตฺติฏฺปิณฺฑ ลภต สปาโก.

ข้าวที่ท่านจัดไว้สำหรับพวกมียศ พวก

มียศย่อมเคี้ยวย่อมกินข้าวนั้นและดื่มน้ำนั้น.

ท่านย่อมรู้จักเรา ผู้ซึ่งเลี้ยงชีวิตด้วยทานที่

คนอื่นให้ คนจัณฑาล ควรจะได้อาหารที่

คนลุกขึ้นยืนยื่นให้.

มัณฑพยกุมารนั้น เมื่อแสดงว่า ข้าวนี้ไม่ได้จัดไว้ สำหรับคนเช่นท่าน

จึงกล่าวว่า

อนฺน มมยิท ปกต พฺราหฺณาน

อตฺตตฺถิยา สทฺทหโต มมยิท

อเปหิ เอตฺโต กิมิธกฺิโตสิ

น มาทิสา ตุยฺห ททนฺติ ชมฺม.

ข้าวนี้เราจัดไว้สำหรับพราหมณ์ทั้งหลาย

ข้าวนี้เราผู้มีศรัทธา จัดไว้ เพื่อประโยชน์

ของตนเอง จงออกไปเสียจากที่นี้ ยังคง

ยืนอยู่ในที่นี่ทำไมเล่า คนอย่างเราไม่ให้ทาน

แก่เจ้าดอก คนถ่อย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เพื่อแสดงว่า ธรรมดาว่าทานควรให้แก่ผู้ใด

ผู้หนึ่ง ทั้งที่มีคุณธรรมทั้งที่ไม่มีคุณธรรม เหมือนอย่างว่า พืชที่เขาปลูกลง

ในที่ลุ่มก็ดี ที่ดอนก็ดี อาศัยรสดินและรสน้ำ ย่อมงอกออกผล ฉันใด ทาน

ที่ชื่อว่า ไร้ผลย่อมไม่มีฉันนั้น ทานที่ให้แก่ผู้มีคุณธรรม ย่อมมีผลมากเหมือน

พืชที่หว่านลงในเนื้อที่นาดีฉะนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ถเล จ นินฺเน จ วปนฺติ พีช

อนูปเขตฺเต ผลมาสมานา

เอตาย สทฺธาย ททาหิ ทาน

อปฺเปว อาราธเย ทกฺขิเณยฺเย.

คนทั้งหลายผู้หวังผล ย่อมหว่านพืช

ลงในเนื้อที่นาดอน นาลุ่ม และนาไม่ลุ่ม

ไม่ดอนฉันใด ท่านจงให้ทานด้วยศรัทธา

นั้น ฉันนั้น ทำไฉน จะพึงได้ผู้ที่ควร

รับทาน.

ครั้งนั้น กุมารโกรธจัด ตะคอกคนรักษาประตูเป็นต้นว่า ใครให้

เจ้าคนหัวโล้นนี้เข้ามา แล้วกล่าวคาถาว่า

เขตฺตานิ มยฺห วิทิตานิ โลเก

เยสฺวาห พีชานิ ปติฏฺเปมิ

เย พฺราหฺมณา ชาติมนฺตูปปนฺนา

ตานีธ เขตฺตานิ สุเปสลานิ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

เนื้อนาที่จะปลูกพืชในโลก เรารู้แล้ว

พราหมณ์เหล่าใดสมบูรณ์ด้วยชาติและมนต์

พราหมณ์เหล่านั้นคือเนื้อนาในที่นี้ มีศีล

เป็นที่รักทั้งนั้น ดังนี้.

แล้วสั่งว่า พวกเจ้าจงโบยเจ้าคนถ่อยผู้นี้ด้วยไม้ ลากเขาที่คอให้ออกไปข้างนอกให้

พ้นซุ้มประตู ทั้ง ๗ ซุ้ม. ครั้งนั้น พระมหาบุรุษจึงกล่าวกะมัณฑพยกุมารนั้นว่า

คิรึ นเขน ขนสิ อโย ทนฺเตภิ ขาทสิ

ชาตเวท ปทหสิ โย อิสึ ปริภาสสิ.

เจ้าผู้ใดบริภาษฤษี เจ้าผู้นั้นก็เหมือน

ขุดขุนเขาด้วยเล็บ เคี้ยวเหล็กด้วยฟัน กลืน

ไฟลงไปในลำคอฉะนั้น.

ครั้นกล่าวดังนั้นแล้ว ดำริว่า ถ้ากุมารนี้จะพึงให้เราจับที่มือที่เท้า ก็

จะทำทุกข์ให้เกิดขึ้น จะพึงประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก แล้วก็เหาะขึ้นสู่

เวหาส เพราะความเอ็นดูสัตว์ ไปลงที่ระหว่างถนน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เมื่อจะทรงประกาศ

ความข้อนั้นจึงตรัสคาถานี้ว่า

อิท วตฺวา มาตงฺโค อิสึ สจฺจปรกฺกโม

อนฺตลิกฺขสฺมึ ปกฺกามิ พฺราหฺมณาน อุทิกฺขต.

มาตังคฤษี ผู้มีสัจจะเป็นเบื้องหน้า ครั้น

กล่าวคำนี้แล้ว ก็หลีกไปในอากาศ ต่อหน้า

พราหมณ์ผู้มองดูอยู่ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

ทันใดนั้นนั่นเอง ท้าวเทวราชผู้เป็นหัวหน้าแห่งเหล่าเทวดาผู้รักษา

พระนคร ก็บิดคอมัณฑพยกุมาร. หน้าของเขาก็หันไปอยู่ข้างหลัง ตาก็กลับ

น้ำลายไหลยืดทางปากตัวก็แข็ง ดังถูกหลาวเสียบฉะนั้น เหล่ายักษ์ที่เป็นข้า

จำนวน ๘๐,๐๐๐ คน ก็กระทำแก่พราหมณ์ ๘๐,๐๐๐ คนอย่างนั้นเหมือนกัน

คนทั้งหลาย ก็รีบไปบอกแก่พรหมปชาบดี นางรีบรุดมาเห็นอาการอันแปลก

นั้นแล้ว ก็กล่าวอย่างนี้ว่า

อาเวิต ปิฏฺิโต อุตฺตมงฺค์

พาห ปสาเรติ อกมฺมเนยฺย

เสตานิ อกฺขีนิ ยถา มตสฺส

โก เม อิม ปุตฺตมกาสิ เอว.

หัวถูกบิดไปอยู่ข้างหลัง เหยียดแขน

ไปทำอะไรก็ไม่ได้ ลูกตาก็ขาวเหมือนคน

ตาย ใครทำแก่บุตรนี้ของเราอย่างนี้.

คนทั้งหลายก็บอกแก่นางว่า

อิธาคมา สมโณ ทุมฺมวาสี

โอคลฺลโก ปสุปิสาจโกว

สงฺการโจล ปริมุญฺจ กณฺเ

โส เต อิม ปุตฺตมกาสิ เอว.

สมณะนุ่งผ้าเก่าเข็ญใจ รูปร่างดังปีศาจ

คลุกฝุ่น คล้องผ้าที่เก็บมาแต่กองขยะไว้ที่

คอ มาที่นี้ สมณะนั้น ทำแก่บุตรของท่าน

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

นางได้ฟังแล้วก็รู้ชัดว่า เจ้านายผู้ให้ยศแก่เรารู้ว่า บุตรประมาท คง

จักมาเพื่ออนุเคราะห์ต่อบุตรนั้น จึงถามคนบำรุงเลี้ยงว่า

กตม ทิส อคมา ภูริปญฺโ

อกฺขาถ เม มาณวา เอตมตฺถ

คนฺตฺวาน ต ปฏิกเรมุ อจฺจย

อปฺเปว น ปุตฺต ลเภมุ ชีวีต.

ผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ไปทางทิศ

ไหน มาณพทั้งหลาย พวกเจ้าจงบอกความ

นี้แก่เรา เราจะไปขอขมาโทษท่าน ทำไฉน

บุตรของเราจะพึงได้ชีวิต.

คนเหล่านั้น ก็บอกว่า

เวหาสย อคมา ภูริปญฺโ

ปถทฺธุโน ปณฺณรเสว จนฺโท

อถาปิ โส ปุริม ทิส อคญฺฉิ

สจฺจปฺปฏิญฺโ อิสิ สาธุรูโป.

ท่านผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน เหาะไป

ในเวหาส ไปได้ตลอด เหมือนดวงจันทร์

วันเพ็ญ ทั้งท่านก็ไปทางทิศตะวันออก

ท่านเป็นฤษี ปฏิญญาในสัจจะ เป็นคนดี.

แม้พระมหาบุรุษก็อธิษฐานว่า ตั้งแต่สถานที่ลงระหว่างถนน รอยเท้า

ของเราอย่าหายไปด้วยอำนาจของช้างม้าเป็นต้นเลย ทิฏฐมังคลิกาคนเดียว

จงเห็นเรา คนอื่นอย่าเห็น แล้วออกเที่ยวขออาหาร รับข้าวสุกคลุกพอประทัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

ชีวิต นั่งบริโภคที่ศาลาพักคนเดินทาง วางอาหารที่เหลือบริโภคหน่อยหนึ่งไว้

ในภาชนะใส่อาหารนั้นแล. แม้นางทิฏฐมังคลิกา ลงจากปราสาทเดินไปตาม

ระหว่างถนน พบรอยเท้าก็รู้ว่า นี้รอยเท้าของเจ้านาย ที่ให้ยศเรา ก็เดินไป

ตามรอยเท้า (พบแล้ว) ไหว้แล้วกล่าวว่า ท่านเจ้าขา ขอท่านโปรดยกโทษ

ผิด ที่ทาสของเจ้านายทำไว้ให้ข้าด้วยเถิด ก็ท่านชื่อว่า ไม่อยู่ในอำนาจของ

ความโกรธ โปรดให้ชีวิตแก่บุตรของข้าด้วยเถิด แล้วก็กล่าวเป็นคาถาว่า

อาเวิต ปิฏฺิโต อุตฺตมงฺค

พาห ปสาเรติ อกมฺมเนยฺย

เสตานิ อกฺขีนิ ยถา มตสฺส

โก เม อิม ปุตฺตมกาสิ เอว.

หัวก็ถูกบิดไปอยู่ข้างหลัง เหยียดแขน

ไปทำอะไรก็ไม่ได้ ลูกตาทั้งสองก็ขาว

เหมือนคนตาย ใครทำแก่บุตรนี้ของข้า

อย่างนี้.

พระมหาบุรุษกล่าวว่า เราไม่ทำอย่างนั้นดอก แต่เมื่อเหล่าภูตยักษ์

และเทวดาผู้เคารพในนักบวช เห็นผู้เบียดเบียนนักบวช จักทำก็ได้กระมัง.

นางกล่าวว่า ท่านเจ้าขา ท่านคงไม่มีใจคิดประทุษร้ายสิ้นเชิง คงเป็นพวก

เทวดาทำแน่ พวกเทวดาขอขมาง่ายไหม ข้าจะปฏิบัติอย่างไรเล่า ท่านเจ้าขา.

พระมหาบุรุษกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นเราจะบอกยาแก่เจ้า อาหารที่เหลือเรากิน

ยังมีอยู่ในภาชนะใส่อาหารของเรา เจ้าจงเทน้ำหน่อยหนึ่งลงในภาชนะนั้น

แล้วถือเอาหน่อยหนึ่งใส่ปากบุตรของเจ้า ส่วนที่เหลือเอาลงคนในภาชนะน้ำแล้ว

เอาใส่ปากพวกพราหมณ์แปดหมื่นคน. นางก็รับคำว่า จะทำตาม ถืออาหารไหว้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

พระมหาบุรุษแล้ว ก็ไปทำตามที่สั่ง พออาหารถูกใส่ลงในปาก ท้าวเทวราช

ผู้เป็นหัวหน้ารู้ว่า เมื่อเจ้านายทำยาเสียเอง พวกเราก็ไม่อาจทำอะไรได้ แล้ว

ก็ปล่อยกุมาร กุมารนั้นกลืนอาหารแล้ว ก็มีอาการเป็นปกติเสมือนไม่เคยทุกข์

อะไร ๆ เลย. ครั้งนั้น มารดาก็กล่าวกะกุมารนั้นว่า พ่อเอ๋ย เจ้าจงดูอาการ

อันแปลกของพวกพราหมณ์ประจำตระกูลของเจ้า ที่ปราศจากหิริโอตตัปปะนี่สิ

เป็นสมณะไม่น่าจะเป็นอย่างนี้เลย เจ้าให้พวกสมณะฉันเสียสิ พ่อ. ต่อนั้นนาง

ก็ให้คนอาหารส่วนที่เหลือลงในภาชนะน้ำให้ใส่ลงในปากพราหมณ์ทั้งหลาย

เหล่ายักษ์ก็ปล่อยทันที แล้วหนีไป พวกพราหมณ์กลืนอาหารแล้ว ก็ลุกขึ้น

ถามว่า เอาอะไรใส่ปากพวกเรา. นางตอบว่า อาหารเดนของมาตังคฤษี.

พราหมณ์เหล่านั้น ไม่แสดงความเสมอภาคว่า พวกเราถูกบังคับให้กินอาหาร

เดนของคนจัณฑาล ไม่เป็นพราหมณ์แล้ว บัดนี้ พราหมณ์เหล่านี้ ไม่ใช่

พราหมณ์บริสุทธิ์ แต่นั้น จึงพากันหนีออกจากที่นั้น ไปยังแคว้นเมชฌะ

รำพึงว่า พวกเราชื่อว่า พราหมณ์ผู้ต้องหวาดสะดุ้ง (หลังหวะ) ในนครของ

พระเจ้าเมชฌะ. ดังนี้แล้ว ก็บริโภคอยู่แต่ในกรุงราชคฤห์.

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ เที่ยวกระทำการข่มคนชั่ว ทรมานคนถือ

มานะอยู่. ครั้งนั้นดาบสรูปหนึ่งชื่อ ชาติมันตะ เข้าใจตนเองว่า ไม่มีใคร

เสมอเรา ไม่ยอมแม้แต่จะเข้าใจคนอื่น ๆ พระโพธิสัตว์พบดาบสนั้น อาศัย

อยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ก็เดินไปในที่นั้น ด้วยหมายจะข่มมานะของดาบสนั้น .

ชาติมันตดาบสจึงถามว่า พ่อมหาจำเริญ เป็นชาติอะไร. พระโพธิสัตว์ตอบ

ว่า ข้าเป็นชาติจัณฑาล ท่านอาจารย์. ดาบสก็ตะเพิดว่า ไป ไป เจ้าจัณฑาล

จงอยู่เสียทางใต้แม่น้ำคงคา อย่าทำน้ำทางเหนือแม่น้ำคงคาให้เป็นเดนเลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

พระโพธิสัตว์ก็ตอบรับว่า ดีละ ท่านอาจารย์ ข้าจักอยู่ในที่ท่านบอก แล้วก็

ไปอยู่ทางใต้แม่น้ำคงคา อธิษฐานว่า น้ำของแม่น้ำคงคาจงไหลทวนกระแส.

เช้าตรู่ ชาติมันตดาบสก็ลงไปยังแม่น้ำคงคา บ้วนปากล้างหน้า ชำระชฎา

(ผมที่มวยไว้) พระโพธิสัตว์นั้นเคี้ยวไม้สีฟัน ถ่มเขฬะเป็นก้อน ๆ ลงในแม่น้ำ

ไม้สีฟันและเขฬะที่ถ่มก็ลอยไปที่ดาบสนั้น พระโพธิสัตว์อธิษฐานว่า ไม้สีฟัน

และเขฬะนั้น อย่าติดในที่อื่น ให้ติดอยู่ที่ชฎาของดาบสนั้นผู้เดียว ทั้งเขฬะ

ทั้งไม้สีฟันก็ติดอยู่ที่ชฎาของดาบสนั้นเท่านั้น. ดาบสก็เดือดร้อนรำคาญใจว่า

การกระทำนี่ ต้องเป็นของเจ้าจัณฑาลแน่ จึงเดินไปถามว่า พ่อมหาจำเริญ

จัณฑาล น้ำของแม่น้ำคงคานี้ เจ้าทำให้มันไหลทวนกระแสหรือ. ขอรับ

ท่านอาจารย์. ถ้าอย่างนั้น เจ้าอย่าอยู่ทางใต้แม่คงคาเลย จงอยู่เสียทางเหนือ

แม่น้ำคงคาเถอะ. พระโพธิสัตว์ก็รับคำว่า ขอรับ ท่านอาจารย์ ข้าจักอยู่ในที่ตาม

ที่ท่านบอก แล้วก็อยู่ ณ ที่นั้น คลายฤทธิ์เสีย น้ำก็ไหลตามปกติ ดาบสก็

ประสบความย่อยยับนั้นอีก จึงไปถามพระโพธิสัตว์ว่า พ่อมหาจำเริญจัณฑาล

น้ำของแม่คงคานี้ เจ้าทำให้มันไหลทวนกระแส บางครั้งก็ทำให้มันไหลตาม

กระแสหรือ. ขอรับ ท่านอาจารย์. ดาบสจึงสาปว่า เจ้าไม่ให้นักบวชผู้อยู่เป็น

ปกติสุข อยู่โดยสะดวกเลย ศีรษะของเจ้าจักแตกออก ๗ เสี่ยง ในวันที่ครบ

๗ นับแต่วันนี้ไป. ดีละ ท่านอาจารย์ ส่วนข้าก็ไม่ให้ดวงอาทิตย์ขึ้น. ครั้งนั้น

มหาสัตว์คิดว่า คำสาปแช่ง จักตกลงเบื้องบนของดาบสนั้นเท่านั้น เราจำต้อง

รักษาดาบสนั้นไว้. วันรุ่งขึ้น ก็ไม่ให้ดวงอาทิตย์ขึ้นด้วยฤทธิ์ เพราะเอ็นดูสัตว์

ธรรมดาอิทธิวิสัยของผู้มีฤทธิ์เป็นอจินไตย (ไม่ควรคิด) ตั้งแต่นั้นมา ก็ไม่

ปรากฏว่า ดวงอาทิตย์ขึ้น ก็กำหนดกลางคืนกลางวันกันไม่ได้ ไม่มีผู้ประกอบ

การงาน เช่น ทำนา ค้าขายเป็นต้น คนทั้งหลายก็ประสบอันตราย ด้วยไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

รู้ว่า นี้ยักษ์บันดาล หรือภูตผี เทวดา นาค ครุฑ บันดาล คิดกันว่า จะ

ควรทำอย่างไรกันหนอ ปรึกษากันว่า ธรรมดาว่า ราชสกุลมีปัญญามาก จะ

ไม่อาจคิดถึงประโยชน์ของโลกหรือ มาพวกเราไปราชสกุลกันเถิด แล้วก็พา

กันไปยังราชสกุลร้องทุกข์.

พระราชา สดับแล้วแม้จะทรงกลัว ก็ทำเป็นไม่กลัว ตรัสว่า อย่า

กลัวกันไปเลย พ่อเอ๋ย ดาบสชื่อชาติมันตะอยู่ริมฝั่งแม่คงคา คงจักรู้เหตุอัน

นั้น เราจักไปถามท่านให้หายสงสัย พอ ๒ - ๓ วัน ก็เสด็จพร้อมด้วยพวกคน

ผู้บำเพ็ญประโยชน์เข้าไปหาดาบส ได้รับปฏิสันถารแล้ว ก็ตรัสถามเรื่องนั้น.

ดาบสก็ทูลว่า ถวายพระพร มหาบพิตร มีจัณฑาลอยู่คนหนึ่ง เขาทำน้ำของ

แม่น้ำคงคานี้บางครั้งก็ให้ไหลตามกระแส บางครั้งก็ให้ไหลทวนกระแส คำ

อะไร ๆ ที่อาตมากล่าวเพื่อประโยชน์นั้น ก็มีอยู่ ขอได้โปรดตรัสถามจัณฑาล

คนนั้น เขาคงจะรู้. พระราชาเสด็จไปยังสำนักของมาตังคฤษี ตรัสถามว่า

ท่านผู้เจริญ ท่านไม่ให้ดวงอาทิตย์ขึ้นหรือ. ถวายพระพร มหาบพิตร.

เพราะเหตุไรเล่า เจ้าข้า. เพราะชาติมันตดาบสสาปแช่งอาตมาภาพผู้ไม่ผิด

อาตมาภาพจักให้ดวงอาทิตย์ขึ้น ก็ต่อเมื่อชาติมันตดาบสนั้น มาไหว้อาตมาภาพ

ขอขมาแล้ว ถวายพระพร. พระราชาก็เสด็จไปตรัสชวนว่า มาเถิดท่านอาจารย์

ขอขมาดาบสเสีย. ทูลว่า มหาบพิตร อาตมาไม่ไหว้จัณฑาลดอก. ตรัสว่า

อย่าทำอย่างนี้ซิ ท่านอาจารย์ โปรดเห็นแก่หน้าชาวแคว้นเถิด. ชาติมันตดาบส

นั้น ก็ปฏิเสธอย่างนั้นอีก. พระราชาก็เสด็จเข้าไปหาพระโพธิสัตว์ตรัสว่า ท่าน

อาจารย์ ท่านชาติมันตดาบสไม่ปรารถนาขอขมานี่. พระโพธิสัตว์ทูลว่า เมื่อ

ชาติมันตดาบสไม่ขอขมา อาตมาภาพก็ไม่ปล่อยดวงอาทิตย์. พระราชาทรง

ดำริว่า ชาติมันตดาบสผู้นี้ไม่ยอมขอขมามาตังคฤษีนี้ เมื่อชาติมันตดาบสไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

ขอขมาก็ไม่ยอมปล่อยดวงอาทิตย์ ประโยชน์อะไรแก่พวกเรา ด้วยดาบสนั้น เรา

จักเห็นแก่ชาวโลก แล้วตรัสสั่งคนทั้งหลายว่า ท่านผู้เจริญ พวกท่านจงไป

จับมือเท้าชาติมันตดาบสนั้น มายังสำนักของดาบส (มาตังคฤษี) ให้นำชาติ-

มันตดาบสนั้นมาแล้ว ให้หมอบแทบเท้าของมาตังคฤษี ตรัสว่า โปรดเอ็นดูชาว

แว่นแคว้นขอขมามาตังคฤษีนั้นเสีย. พระโพธิสัตว์ทูลว่า อาตมาภาพงดโทษ

กะผู้ขอขมา ก็แต่ว่าคำสาปของชาติมันตดาบสนั้น ก็จักตกบนศีรษะของชาติ-

มันตดาบสนั้นนั่นเอง เมื่ออาตมาปล่อยดวงอาทิตย์แล้ว แสงของดวงอาทิตย์

จักตกบนศีรษะของชาติมันตดาบสนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ศีรษะของดาบสนั้น

จักแตกออก ๗ เสี่ยง ขอดาบสนั้นอย่าประสบความย่อยยับนั้นเสีย มาเถิดท่าน

จักลงน้ำประมาณเพียงคอ จงวางก้อนดินเหนียวขนาดใหญ่ไว้บนศีรษะ เราจัก

ปล่อยดวงอาทิตย์ แสงของดวงอาทิตย์ตกต้องที่ก้อนดินเหนียว จักทำลายก้อนดิน

เหนียวนั้นแตกเป็น ๗ เสี่ยง. เมื่อดาบสนั้นทิ้งก้อนดินเหนียวเสีย แล้วดำน้ำไป

โผล่ขึ้นทางท่าอื่น ท่านทั้งหลายจงบอกดาบสนั้นดังนี้ ดาบสนั้นจักมีความสวัสดี

ปลอดภัย. คนทั้งหลายก็รับคำว่า จักทำอย่างนั้น แล้วก็ทำตามสั่งทุกประการ.

ความสวัสดีก็มีแก่ดาบสนั้นนั่นเอง เหมือนอย่างนั้น. ตั้งแต่นั้นมา ชาติมันต-

ดาบสนั้นก็ได้คิดว่า ขึ้นชื่อว่าชาติไม่เป็นเหตุ คุณภายใจของเหล่านักบวชต่าง

หากเป็นเหตุ ก็ละมานะความถือชาติและโคตร ไม่มัวเมาอีกเลย. ดังนั้น เมื่อ

ชาติมันตดาบสถูกทรมานแล้ว มหาชนก็ได้รู้ถึงเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ เกิด

โกลาหลเอิกเกริกเป็นการใหญ่ พระราชาตรัสวอนขอให้พระโพธิสัตว์ไปยัง

พระนครของพระองค์. พระโพธิสัตว์ก็ถวายปฏิญญารับคำขอ ดำริว่า จัก

ทรมานพราหมณ์แปดหมื่นคนนั้น และจักเปลื้องปฏิญญา แล้วไปยังพระนคร

ของพระเจ้าเมชฌะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

พราหมณ์ทั้งหลาย เห็นพระโพธิสัตว์เท่านั้น ก็ปรึกษากันว่า ท่าน

ผู้เจริญ นี้มหาโจรผู้นั้นแหละมาแล้ว บัดนี้จักทำพวกเราให้ปรากฏ (เปิดโปง)

ว่า พวกเราทั้งหมดนี้กินเดนไม่เป็นพราหมณ์แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็

จักอยู่แม้ในที่นี้ไม่ได้ จักฆ่ามันก่อนละ แล้วพากันไปเฝ้าพระราชาทูลว่า ขอ

ถวายพระพร ขอมหาบพิตรโปรดอย่าทรงสำคัญนักบวชจัณฑาลผู้นี้ว่าเป็นคนดี

เลย นักบวชจัณฑาลผู้นี้รู้มนต์หนัก จับแผ่นดินทำให้เป็นอากาศก็ได้ จับ

อากาศทำให้เป็นแผ่นดินก็ได้ จับที่ไกลทำให้ใกล้ก็ได้ จับที่ใกล้ทำให้ไกลก็ได้

กลับแม่คงคาทำให้ไหลขึ้นก็ได้ เมื่อปรารถนาอาจพลิกแผ่นดินก็ได้ ทำอันตราย

พระชนม์ชีพก็ได้ หรือว่าขึ้นชื่อว่า จิตของคนอื่นไม่อาจยึดไว้ได้ทุกเวลา

นักบวชจัณฑาลผู้นี้ เมื่อได้ที่พึ่งในนครนี้ ก็จะพึงทำแม้ราชสมบัติของมหา-

บพิตรให้พินาศก็ได้ ทำอันตรายพระชนมชีพก็ได้ ตัดขาดพระราชวงศ์ก็ได้

ขอมหาบพิตรโปรดเชื่อคำของพวกอาตมาเถิด จะฆ่าเขาเสียได้ในวันนี้ก็ควร

ขอถวายพระพร. ขึ้นชื่อว่าพระราชาทั้งหลาย ย่อมมีปรปักษ์ ดังนั้น ท้าวเธอ

จึงตกลงพระทัย ด้วยอำนาจถ้อยคำของพราหมณ์เหล่านั้น. ฝ่ายพระโพธิสัตว์

เที่ยวขออาหารไปในพระนคร เดินไปยังพระราชอุทยาน ปราศจากความสงสัย

เพราะเป็นผู้ไม่มีความผิด นั่งบนแผ่นศิลาอันเป็นมงคล. สติระลึกไม่ได้เลย

ในเวลาเพียงครู่เดียว เพราะญาณที่สามารถระลึกได้ ๘๐ กัป คือ อดีต ๔๐ กัป

อนาคต ๔๐ กัป ระลึกไม่ได้. พระราชาไม่ให้คนอื่นล่วงรู้เสด็จไปด้วยพระองค์

เอง ทรงเอาพระแสงดาบฟันพระมหาบุรุษ ซึ่งนั่งเผลอตัว เพราะระลึกไม่ได้

ขาด ๒ ท่อน. ฝนคือพืชโลหะที่ ๘ ฝนคือโคลนตมที่ ๙ ก็ตกลงในแว่นแคว้น

ของพระราชาพระองค์นั้น ฝน ๙ ชนิดตกลงในแว่นแคว้นของพระราชาแม้

พระองค์นี้ด้วยประการฉะนี้. พระราชาพระองค์นั้นพร้อมทั้งบริษัท ก็บังเกิด

ในมหานรก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

ด้วยเหตุนั้น สังกิจจบัณฑิต จึงกล่าวว่า

อุปหจฺจ มน เมชฺโฌ มาตงฺคสฺมึ ยสฺสสิเน

สปาริสชฺโช อุจฺฉินฺโน เมชฺฌารญฺ ตทา อหุ.

พระเจ้าเมชฌะพร้อมทั้งบริษัททรงขาด

คุณธรรม ทรงกระทบพระทัย ในเพราะ

มาตังคะฤษีผู้มีเกียรติยศ ป่าชื่อว่าเมชณะ

จึงได้มีมาแต่ครั้งนั้น.

พึงทราบว่าป่าเมชฌะกลายเป็นป่าไปด้วยประการฉะนี้. แต่ป่าเมชฌะ

นั้น ท่านเรียกว่า ป่ามาตังคะ เพราะอำนาจของฤษีชื่อมาตังคะ.

บทว่า ปญฺทาปฏิภาณานิ คือปัญหาพยากรณ์. บทว่า ปจฺจนีกาตพฺพ

ความว่า สำคัญว่า ควรทำให้เป็นข้าศึก คือเป็นเสมือนว่าถือว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม.

บทว่า อนุวิจฺจการ ท่านอธิบายว่า จงกระทำให้เป็นข้อที่พึงพิจารณา คือ

ใคร่ครวญแล้วจึงทำ. คำว่า สาธุ โหติ แปลว่า เป็นการดี. พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงว่า ก็เมื่อคนเช่นท่านพบเรา ถึงเราว่าเป็นสรณะ ครั้นพบนิครนถ์

แล้วก็ถึงนิครนถ์เป็นสรณะ คำครหาก็ย่อมจะเกิดขึ้นได้ว่า อุบาลีผู้นี้ถึงทุกคนที่

ตนพบเห็นนั่นแลเป็นสรณะหรือ เพราะฉะนั้น การใคร่ครวญเสียก่อนแล้วทำ

จึงเป็นการดีสำหรับคนเช่นท่าน. คำว่า ปฏาก ปริหเรยฺยุ ความว่า เขาว่า

พวกนิครนถ์เหล่านั้น ได้สาวกเห็นปานนั้นแล้ว ก็ยกธง (โอ้อวด) เที่ยวป่าว

ประกาศว่า พระราชา อำมาตย์ของพระราชา หรือ เศรษฐีชื่อโน้น ๆ เป็น

สาวก ถึงเราเป็นสรณะ.

ถามว่า เพราะเหตุไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

ตอบว่า เพราะว่า ความที่พวกเราเป็นใหญ่ จักปรากฏชัดแจ้ง ด้วย

วิธีการอย่างนี้ และเพราะว่า ถ้าเขาจะพึงเกิดวิปปฏิสารเดือดร้อนสำคัญว่า เรา

ถึงสรณะด้วยเหตุอะไร หรือเขาก็จะบรรเทาความเดือดร้อนรำคาญแม้อันนั้นว่า

คนเหล่านั้นทั้งหมดส่วนมาก รู้ถึงความที่ตนมีการถึงสรณะแล้ว มาบัดนี้ ไม่

กลับเป็นทุกข์ ในการที่จะถอนคนกลับไป. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ปฏาก ปริหเรยยฺยุ ดังนี้.

คำว่า โอปานภูต แปลว่า ทั้งอยู่เหนือบ่อน้ำที่จัดไว้. คำว่า กุล

คือ นิเวศน์ของท่าน. คำว่า ทาตพฺพ มญฺเยฺยาสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงโอวาทว่า เห็นคน ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง ๖๐ คนบ้าง ผู้มาแล้ว อย่างพูด

ว่าไม่มี ให้เถิด อย่าตัดไทยธรรมสำหรับนิครนถ์เหล่านี้ ด้วยเพียงเหตุที่ถึง

เราเป็นสรณะ ณ บัดนี้ แท้จริง ควรให้แก่พวกเขาที่มาถึงแล้ว โดยแท้. คำว่า

สุตเมต ภนฺเต ความว่า อุบาลีคฤหบดีทูลถามว่า ทรงได้ยินมาจากไหน

พระเจ้าข้า. ตรัสตอบว่า จากสำนักของนิครนถ์ทั้งหลาย เขาว่านิครนถ์เหล่า

นั้น ประกาศในเรือนของสกุลทั้งหลายอย่างนี้ว่า พวกเรากล่าวว่า ควรให้แก่

คนใดคนหนึ่งที่มาถึงแล้ว ส่วนพระสมณโคดมกล่าวว่า ควรให้ทานแก่เราเท่า

นั้น ฯ ล ฯ ทานที่ให้แก่สาวกพวกอื่นไม่มีผลมากเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

หมายเอาคำนั้น จึงตรัสว่า อย คหปติ สุตเมต ดังนี้.

คำว่า อนุปุพฺพกถ คือกถาที่กล่าวตามลำดับอย่างนี้คือ ศีลลำดับจาก

ทาน สวรรค์ลำดับจากศีลโทษของกามทั้งหลายลำดับจากสวรรค์.ในอนุบุพพิกถา

นั้น คำว่า ทานกถ คือ กถาที่ประกอบด้วยคุณ คือ ทาน เป็นต้นอย่างนี้ว่า

ธรรมดาว่า ชื่อว่าทานนี้ เป็นเหตุแห่งสุขทั้งหลาย, เป็นมูลรากของสมบัติทั้งหลาย

เป็นที่ตั้งแห่งโภคสมบัติทั้งหลาย, เป็นที่ป้องกัน ที่เร้น ที่ไป ที่ไปเบื้องหน้าของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

คนที่เดินทางไม่เรียบ ที่พึ่งพา ที่ตั้ง ที่หน่วงเหนี่ยว ที่ป้องกัน ที่เร้น ที่ไป

ที่ไปเบื้องหน้า เช่นกับทาน ไม่มีในโลกนี้และโลกอื่น. ด้วยว่า ทานนี้เป็น

เช่นกับสิงหาสน์ (ที่นั่งรูปสิงห์) ทำด้วยรัตนะ เพราะอรรถว่า เป็นที่พึ่งพา.

เป็นเช่นกับแผ่นดินผืนใหญ่ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. เป็นเช่นเดียวกับเชือกโยง

เพราะอรรถว่า เป็นที่หน่วงเหนี่ยว. แท้จริง ทานนี้ เป็นประดุจนาวา เพราะ

อรรถว่า ข้ามทุกข์ได้. เป็นประดุจผู้องอาจในสงคราม เพราะอรรถว่า โล่งใจ

เป็นประดุจพระนครที่ปรับปรุงดีแล้ว เพราะอรรถว่า ป้องกันภัยได้. เป็นประ

ดุจปทุม เพราะอรรถว่า อันมลทินคือความตะหนี่เป็นต้นไม่ซึมเข้าไป. เป็น

ประดุจอัคคี เพราะอรรถว่า เผามลทินเหล่านั้น. เป็นประดุจงูพิษ เพราะอรรถ

ว่า ต้องนั่งไกล ๆ. เป็นประดุจราชสีห์ เพราะอรรถว่า ไม่หวาดกลัว. เป็น

ประดุจช้าง เพราะอรรถว่ามีกำลัง. เป็นประดุจพญาโคเผือก เพราะอรรถว่า

สมมติกันว่าเป็นมิ่งมงคลยิ่ง. เป็นประดุจพญาม้าที่ชื่อวลาหก เพราะอรรถว่า.

ให้ไปถึงแผ่นดินอันเกษม (ปลอดภัย). ธรรมดาว่า ทานนั้นเป็นทางที่เราดำ

เนินแล้ว เป็นวงศ์ของเราเท่านั้น เป็นมหายัญของเวลามพราหมณ์ เป็นมหายัญ

ของมหาโควินทศาสดา เป็นมหายัญของพระเจ้ามหาสุทัศนจอมจักรพรรดิ เป็น

มหายัญของพระเวสสันดร เป็นมหายัญเป็นอเนก ที่เราผู้บำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ

บำเพ็ญมาพรั่งพร้อมแล้ว เป็นทานที่เรา สมัยที่เป็นกระต่าย ยอมทอดตัว

ลงในกองเพลิงที่ลุกโชน ยึดจิตใจของพวกยาจกที่มาถึงแล้วได้ แท้จริง ทาน

ย่อมให้สัคคสมบัติในโลก ให้มารสมบัติ ให้พรหมสมบัติ ให้จักรพรรดิสมบัติ

ให้สาวกบารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ อภิสัมโพธิญาณ ก็บุคคลเมื่อให้ทาน ย่อม

อาจสมาทานศีลได้ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสศีลกถาไว้ในลำดับ

จากทานนั้น. คำว่า สีลกถ คือ กถาที่ประกอบด้วยคุณคือศีล เป็นต้น อย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

นี้ว่า ธรรมดาว่าศีลนี้ เป็นที่พึ่งพา ที่ตั้ง ที่หน่วงเหนี่ยว ที่ป้องกัน ที่เร้น

ที่ไป ที่ไปเบื้องหน้า ธรรมดาว่า ศีลนี้เป็นวงศ์ของเรา เราบำเพ็ญศีลบริบูรณ์

ในอัตภาพทั้งหลายไม่มีที่สุด คือ ครั้งเป็นพญานาคชื่อ สังขปาละ ครั้งเป็น

พญานาคชื่อ ภูริทัตตะ ครั้งเป็นพญานาคชื่อ จัมเปยยะ ครั้งเป็นพญานาค

ชื่อ สีลวะ ครั้งเป็นพญาช้างผู้เลี้ยงมารดา ครั้งเป็นพญาช้างชื่อ ฉัททันตะ

แท้จริงที่พึ่งอาศัยแห่งสมบัติทั้งหลายในโลกนี้และโลกอื่น เช่นกับศีล ที่ตั้ง ที่

หน่วงเหนี่ยว ที่ป้องกัน ที่เร้น ที่ไป ที่ไปเบื้องหน้าเช่นกับศีลไม่มี เครื่อง

ประดับเช่นกับเครื่องประดับคือศีลไม่มี ดอกไม้เช่นกับดอกไม้คือศีลไม่มี กลิ่น

เช่นกับกลิ่นคือศีลไม่มี โลกแม้ทั้งเทวโลกมองดูผู้ประดับด้วยเครื่องประดับคือ

ศีล ผู้มีดอกไม้คือศีลเป็นเครื่องประดับ ผู้อันกลิ่นคือศีลซึมซาบแล้ว ย่อมไม่

รู้สึกอิ่ม เพื่อจะทรงแสดงว่า ก็บุคคลอาศัยศีลนี้ ย่อมได้สวรรค์นี้ดังนี้ จึง

ตรัสสัคคกถาลำดับจากศีลนั้น. คำว่า สคฺคกถ ได้แก่ กถาที่ประกอบด้วยคุณ

คือสวรรค์เป็นต้น อย่างนี้ว่า ธรรมดาว่า สวรรค์นี้ น่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ ในสวรรค์นั้น มีการเล่นเป็นนิตย์ ได้สมบัติทั้งหลายเป็นนิตย์

เทวดาชั้นจาตุมหาราชเสวยทิพยสุขทิพยสมบัติ ๙ โกฏิปี ชั้นดาวดึงส์ ๓ โกฏิปี

และ๖ โกฏิปี. พระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้กำลังตรัสถึงสวรรค์สมบัติ

ก็ไม่มีเพียงพอ สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เป็นต้นว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราจะพึงกล่าวสัคคกถาด้วยปริยายเป็นอเนก ดังนี้. พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เมื่อทรงประเล้าประโลมด้วยสัคคกถาอย่างนี้แล้ว เป็นประดุจทรง

ประดับช้างแล้ว ตัดงวงของช้างนั้นเสียอีก ทรงแสดงว่าสวรรค์แม้นี้ ไม่เที่ยง

ไม่ยั่งยืน ไม่ควรทำความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสวรรค์นั้น จึงตรัส

โทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลายโดยนัยเป็นต้นว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

กามทั้งหลาย มีรสอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกาม

เหล่านั้นมียิ่งขึ้น. ในคำเหล่านั้น คำว่า อาทีนโว แปลว่า โทษ. คำว่า

โอกาโร แปลว่า ต่ำ ทราม. คำว่า สงฺกิเลโส คือ ความเศร้าหมองใน

สังสารวัฏของสัตว์ทั้งหลาย เพราะกามเหล่านั้น เหมือนที่ตรัสว่า ผู้เจริญ สัตว์

ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองหนอ. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงขู่ด้วยโทษของกาม

อย่างนี้แล้ว จึงทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ การหลีกออกจากกาม. คำว่า

กลฺลจิตฺต คือจิตไม่เสีย. คำว่า สามุกฺกสิกา คือ ที่ทรงยกขึ้นเอง คือที่

ทรงยกขึ้น ถือเอาด้วยพระองค์เอง อธิบายว่า ที่ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ

ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น. ถามว่า นั่นคืออะไร. ตอบว่า คืออริยสัจเทศนา. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. คำว่า วิรช วีตมล

ความว่า ที่ชื่อว่า ปราศจากธุลี เพราะไม่มีธุลีคือราคะเป็นต้น ที่ชื่อว่าปราศ-

จากมลทิน เพราะปราศจากมลทินคือราคะเป็นต้น . คำว่า ธมฺมจกฺขุ นี้เป็นชื่อ

ของมรรค ๓ ในพรหมายุสูตร ข้างหน้าและอาสวักขยญาณในจุลลราหุโลวาท

สูตร. ส่วนในที่นี้ ทรงประสงค์เอาโสดาปัตติมรรค. เพื่อทรงแสดงอาการเกิด

ขึ้นของธรรมจักษุนั้น จึงตรัสว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

สิ่งนั้นทั้งหมดก็มีความดับไปเป็นธรรมดา. ก็ธรรมจักษุนั้น ทำนิโรธ ให้เป็น

อารมณ์แล้ว แทงตลอดสังขตธรรมทั้งปวง ด้วยอำนาจกิจนั่นแลเกิดขึ้น.

อริยสัจธรรมอันผู้นั้นเห็นแล้ว เหตุนั้นผู้นั้นชื่อว่า มีธรรมอันเห็นแล้ว. แม้

ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ความสงสัยอันผู้นั้นข้ามเสียแล้ว เหตุนั้น ผู้

นั้นชื่อว่า มีความสงสัยอันข้ามเสียแล้ว. คำกล่าวว่า อย่างไร ของผู้นั้น ไป

ปราศแล้ว เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่ามีคำกล่าวว่าอย่างไรไปปราศแล้ว. ผู้นั้นถึงแล้ว

ซึ่งความแกล้วกล้า เหตุนั้นผู้นั้นชื่อว่าถึงความแกล้วกล้า. ผู้นั้นไม่มีผู้อื่นเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

ปัจจัยในคำสอนของพระศาสดา คือ ไม่เป็นไปในคำสอนของพระศาสดานั้น

ด้วยการเชื่อผู้อื่น เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย. อุบาลี

คฤหบดีรับเอาด้วยจิต เพลิดเพลินแล้ว สรรเสริญด้วยวาจา บันเทิงใจแล้ว.

คำว่า อาวรามิ แปลว่า กั้น ปิด. คำว่า อนาวฏ ได้แก่ ไม่ห้าม คือ

เปิดประตูแล้ว.

คำว่า อสฺโสสิ โข ฑีฆตปสฺสี ความว่า ได้ยินว่า ฑีฆตปัสสี

นิครนถ์นั้น ตั้งแต่อุบาลีคฤหบดีนั้นไปแล้ว ก็เที่ยวเงี่ยหูฟังว่า คฤหบดีผู้

บัณฑิต กับพระสมณโคดมผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะมีถ้อยคำนำสัตว์ออกจากทุกข์

จักเลื่อมใส แม้เพราะเหตุอุบาลีบัณฑิตนั้น จักเลื่อมใสเพราะธรรมกถา ครั้น

เลื่อมใสได้แล้ว จักถึงสรณะเพราะเหตุนั้น หรือ ไม่ถึงสมณะเพราะเหตุนั้น

ก่อนหนอ. เพราะฉะนั้น ฑีฆตปัสสีนิครนถ์ได้ฟังเป็นครั้งแรกทีเดียว. คำว่า

เตนหิ สมฺม ความว่า ฑีฆตปัสสีนิครนถ์ ถูกความเศร้าใจอย่างแรงครอบงำ

แม้ได้ยินคำว่า จงหยุดอยู่ในที่นั้นนั่นแล แต่กำหนดใจความไม่ได้ จึงเจรจา

กับคนเฝ้าประตูอยู่นั่นแหละ คำว่า มชฺฌิมาย ทฺวารสาลาย ความว่า

เรือนหลังใดมี ๗ ซุ้มประตู ซุ้มประตูที่ ๔ ของเรือนหลังนั้น นับแต่ซุ้มประตู

ในทั้งหมด ชื่อว่า ศาลาใกล้ประตูกลาง เรือนหลังใดมี ๕ ซุ้มประตู ซุ้ม

ประตูที่ ๓ ของเรือนหลังนั้น ชื่อว่าศาลาใกล้ประตูกลาง เรือนหลังใดมี ๓ ซุ้ม

ประตู ซุ้มประตูที่ ๒ ของเรือนหลังนั้น ชื่อว่า ศาลาใกล้ประตูกลาง ส่วนเรือน

ที่มีซุ้มประตูเดียว ซุ้มที่อาศัยเสามงคลทรงกลาง ชื่อว่า ศาลาใกล้ประตูกลาง

แต่เรือนของอุบาลีคฤหบดีนั้น มีซุ้มประตู ๗ ซุ้ม. ท่านกล่าวว่า ๕ ซุ้มก็มี.

คำทั้งหมด มีคำว่า อคฺค เป็นต้น เป็นไวพจน์ของกันและกัน.

ในคำว่า ย สุท นี้ คำว่า ย หมายถึงนาฏบุตรใด. คำว่า สุท เป็นเพียง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

นิบาต. คำว่า ปริคฺคเหตฺวา ความว่า เอาผ้าห่มผืนนั้นนั่นแหละคลุมท้องไว้.

คำว่า นิสีทาเปติ ความว่า เชิญให้นั่งว่า ค่อย ๆ อาจารย์ ค่อย ๆ อาจารย์.

ประหนึ่งวางหม้อน้ำมันขนาดใหญ่ ฉะนั้น คำว่า ทตฺโตสิ ความว่า

ท่านเกิดโง่ไปแล้วหรือ. คำว่า ปฏิมุกฺโก ความว่า ใส่ที่ศีรษะไว้

(สวม). คำว่า อณฺฑหารโก เป็นต้น แม้เป็นคำหยาบ ฑีฆปัสสีนิครนถ์

ก็กำหนดไม่ได้ว่า พูดคำนี้หยาบ ก็พูดออกไป เพราะเกิดความเศร้าใจอย่างแรง

เพราะเหตุอุบาลีกลายเป็นอื่น. คำว่า ภทฺทิกา ภนฺเต อาวฏฺฏนี ความว่า

นิครนถ์พูดหมายถึงมายานั่นแล อุบาลีบรรลุโสดาปัตติมรรค แทงตลอดด้วย

ตนเอง. คำว่า เตนหิ นี้เป็นเพียงศัพท์นิบาต ความว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า

จักทำคำเปรียบเทียบแก่ท่าน. อีกอย่างหนึ่ง เป็นคำบอกเหตุ. ท่านอธิบายว่า

คำสั่งสอนของพวกท่าน มิใช่ธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์ ด้วยเหตุอันใดข้าพเจ้า

จักทำคำเปรียบเทียบแก่ท่าน ด้วยเหตุนั้น. คำว่า อุปวิชญฺา แปลว่า ใกล้

เวลาคลอด. คำว่า มกฺกฏจฺฉาปก แปลว่า ลูกลิง. คำว่า วิกิณิตฺวา

อาเนหิ ความว่า จงให้มูลค่านำมา (ซื้อมา). แท้จริง ในท้องตลาด พ่อค้า

แม่ค้า ย่อมขายของเล่นสำหรับลิง ทั้งที่มีวิญญาณ ทั้งที่ไม่มีวิญญาณ ภริยา

สาวของพราหมณ์แก่นั้น พูดหมายถึงของเล่นนั้น . คำว่า รชิต ความว่า เรา

ต้องการของนี้ที่เขาเอาสีย้อม ย้อมไล้ด้วยสีเหลืองหนาๆ ให้. คำว่า อาโกฏฺฏิต-

ปุจจาโกฏฺฏิต ความว่า ที่เขาทุบกลับไปกลับมาบ่อย ๆ. คำว่า อุภโต ภาค-

วิมฏฺฐ ความว่า ที่มีผิวอันเขาขัดเกลี้ยงเกลาดีทั้งสองข้างแล้วด้วยไม้ไผ่, มณี

และหิน. คำว่า รงฺคกฺขโม หิ โข ความว่า ของเล่นทั้งที่มีวิญญาณ ทั้งที่ไม่มี

วิญญาณ ย่อมดูดสีย้อม เพราะฉะนั้นจึงกล่าวอย่างนี้. คำว่า โน อาโกฏฺฏนกฺขโม

ความว่า เมื่อของเล่นมีวิญญาณ เขาเอาวางลงที่แผ่นกระดานสำหรับทุบ ทุบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

ที่ท้องก่อน ท้องก็แตก ขี้ก็ไหลออก ทุบที่หัว หัวก็แตก มันสมองก็ไหล

ออก ของเล่นที่ไม่มีวิญญาณ ก็แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพราะฉะนั้น จึง

กล่าวอย่างนี้. คำว่า วิมชฺชนกฺขโม ความว่า ของเล่นที่มีวิญญาณ ที่เขา

ขัดด้วยมณีและหิน ก็ไร้ขนไร้ผิว ของเล่นที่ไม่มีวิญญาณ ก็แตกละเอียด

จึงกล่าวอย่างนี้. คำว่า รงฺคกฺขโม หิ โข พาลาน ความว่า ผู้ควรแก่

การย้อม ย่อมให้เกิดเพียงราคะ เป็นที่รักของเหล่าคนเขลา มีความรู้ทราม

ส่วนวาทะของนิครนถ์ก็ดี กถามรรคอื่น ๆ ที่ไร้ประโยชน์เช่นเรื่องภารตยุทธ

และรามายนะเป็นต้นก็ดี ไม่เป็นที่รักของเหล่าบัณฑิตเลย. คำว่า โน อนุโย-

คกฺขโม โน วิมชฺชนกฺขโม ความว่า ไม่ทนการประกอบตาม หรือการ

พิจารณาย่อมว่างเปล่า เหมือนฝัดแกลบหาข้าวสาร และเหมือนหาแก่นไม้ใน

ต้นกล้วย. คำว่า รงฺคกฺขโม เจว ปณฺฑิตาน ความว่า แท้จริง กถาที่

ว่าด้วยอริยสัจ ๔ ย่อมเป็นที่รักของเหล่าบัณฑิต ฟังอยู่ถึงร้อยปี ก็ไม่รู้สึกอิ่ม.

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. ก็พุทธวจนะ ย่อมลึกซึ้งอย่างเดียวเหมือนมหา-

สมุทร โดยประการที่หยั่งลงได้ เพราะเหตุนั้นอุบาลีคฤหบดีจึงกล่าวว่า

อนุโยคกฺขโม จ วิมชฺชนฺขโม จ. คำว่า สุณาหิ ความว่า อุบาลีคฤหบดี

เริ่มกล่าวพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระศาสดา

พระองค์ใด โปรดจงฟังพระคุณทั้งหลาย ของพระศาสดาพระองค์นั้น.

บัณฑิตเรียกว่า ธีระ ในบทว่า ธีรสฺส. พึงทราบความสัมพันธ์ใน

บททั้งปวงอย่างนี้ว่า ปัญญา ความรอบรู้ ฯลฯ ความเห็นชอบอันใด ข้าพเจ้า

เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงประกอบด้วยปัญญาอันนั้น ผู้ทรงเป็นบัณฑิต

ฉลาดในธาตุอายตนะ ปฏิจจสมุปบาท ฐานะและอฐานะ พระพุทธเจ้าพระองค์

นั้น ทรงเป็นพระศาสดาของข้าพเจ้า. คำว่า ปภินฺนขีลสฺส แปลว่า ผู้มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

กิเลสดุจตะปูตรึงใจอันทำลายได้แล้ว . สภาวะเหล่าใด ชนะแล้ว ชนะอยู่ จัก

ชนะซึ่งปุถุชนทั้งปวง เหตุนั้น สภาวะเหล่านั้น ชื่อว่าผู้ชนะ. ถามว่า สภาวะ

เหล่านั้นคืออะไร ตอบว่า คือ มัจจุมาร กิเลสมาร และเทวปุตตมาร มาร

ผู้ชนะเหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงชนะแล้ว เพราะเหตุนั้น พระ-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น จึงชื่อว่า ผู้มีมารอันทรงชนะแล้ว คือพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้มีมารผู้ชนะอันทรงชนะแล้วพระองค์นั้น. คำว่า อนีฆสฺส แปลว่า ผู้ไม่มี

ทุกข์ ทั้งทุกข์ที่เกิดจากกิเลส ทั้งทุกข์ที่เป็นวิบาก. คำว่า สุสมจิตฺตสฺส คือ

ผู้มีจิตสม่ำเสมอด้วยดีในพระเทวทัต ช้างชื่อ ธนปาลกะ พระองคุลิมาล และ

พระราหุลเถระเป็นต้น. คำว่า พุทฺธสีลสฺส แปลว่า ผู้มีอาจาระ ความ

ประพฤติอันเจริญแล้ว. คำว่า สาธุปญฺสฺส แปลว่า ผู้มีปัญญาดี. คำว่า

วิสมนฺตรสฺส แปลว่า ผู้ข้ามที่อันไม่สม่ำเสมอมีราคะเป็นต้น ยืนหยัดอยู่

แล้ว. คำว่า วิมลสฺส แปลว่า ผู้มีมลทิน มีราคะเป็นต้น ไปปราศจาก

แล้ว. คำว่า ตุสิตสฺส แปลว่า ผู้มีจิตยินดีแล้ว. คำว่า วนฺตโลกามิสสฺส

คือผู้มีกามคุณอันคายเสียแล้ว. คำว่า มุทิตสฺส คือ ผู้พลอยยินดีแล้ว ด้วย

อำนาจวิหารธรรม คือ มุทิตา. อีกอย่างหนึ่ง คำนี้ อุบาลีคฤหบดี กล่าวซ้ำ

นั่นเอง. เป็นความจริง อุบาลีคฤหบดีกล่าวพระคุณแม้อย่างเดียวอยู่บ่อย ๆ

โดยความเสื่อมใสนั่นแล. คำว่า กตสมณสฺส แปลว่า ผู้มีคุณเครื่องเป็น

สมณะอันทรงกระทำแล้ว อธิบายว่า ทรงบรรลุที่สุดของสมณธรรม. คำว่า

มนฺชสฺส แปลว่า ผู้เป็นสัตว์ผู้หนึ่ง ด้วยอำนาจโวหารโลก. อุบาลีคฤหบดี

กล่าวซ้ำอีกว่า ผู้เป็นนระ (คน) เมื่อเขากล่าวโดยประการอื่น พระคุณ ๑๐

ประการ กล่าวด้วยคาถาหนึ่ง ๆ ย่อมไม่พอ. คำว่า เวนยิกสฺส แปลว่า ผู้

นำของสัตว์ทั้งหลาย. คำว่า รุจิรธมฺมสฺส แปลว่า ผู้มีธรรมสะอาด. คำว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

ปภาสกสฺส แปลว่า ผู้กระทำแสงสว่าง. คำว่า วีรสฺส คือ ถึงพร้อมด้วย

ความเพียร. คำว่า นิสภสฺส คือบรรดาโค ชั้นอุสภะ ชั้นวสภะเป็นโคชั้น

นิสภะ ด้วยอรรถว่า ไม่มีผู้เทียบได้ในที่ทั้งปวง. คำว่า คมฺภีรสฺส แปลว่า

ทรงมีพระคุณลึกซึ้งหรือผู้ทรงลึกซึ้งด้วยพระคุณทั้งหลาย. คำว่า โมนปตฺตสฺส

คือผู้บรรลุญาณ. ญาณ ความรู้ ชื่อว่า เวท ในคำว่า เวทสฺล. ผู้ทรงเพียบ

พร้อมด้วยความรู้ที่เรียกว่าเวทนั้น. คำว่า ธมฺมฏฺสฺส แปลว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม.

คำว่า สวุตตฺสฺส ผู้มีตนสำรวมแล้ว คือ ผู้มีตนอันปิดแล้ว. คำว่า นาคสฺส

แปลว่า ผู้ประเสริฐ ด้วยเหตุ ๔ ประการ. คำว่า ปนฺตเสนสฺส แปลว่า

ผู้มีที่นอนและที่นั่งอันสงัด. คำว่า ปฏิมนฺตกสฺส แปลว่ ผู้เพียบพร้อมด้วย

ปัญญา ตอบโต้พระเวท. ความรู้เรียกว่า โมนะ ในคำว่า โมนสฺส ทรง

เพียบพร้อมด้วยความรู้นั้น หรือผู้มีกิเลสอันขจัดได้แล้ว. คำว่า ทนฺตสฺส คือ

ผู้หมดพยศ. คำว่า อิสิสตฺตมสฺส คือ ทรงเป็นฤษีองค์ที่ ๗ นับต่อจากฤษี

๖ พระองค์ มีวิปัสสีฤษีเป็นต้น. คำว่า พฺรหฺมสตฺตสฺส แปลว่า ผู้เป็นสัตว์

ประเสริฐ. คำว่า นหาตกสฺส แปลว่า ผู้มีกิเลสอันล้างแล้ว. คำว่า ปทกรณสฺส

คือผู้ฉลาดในการรวบรวมอักษรทั้งหลายแล้วเอามาทำบทคาถา (ร้อยกรอง).

คำว่า วิทิตเวทสฺส แปลว่า ผู้มีญาณอันรู้แจ้ง. คำว่า ปุรินฺททสฺส แปลว่า

ผู้ประทานธรรมทานก่อนผู้อื่นทั้งหมด. คำว่า สกฺกสฺส แปลว่า ผู้สามารถ.

คำว่า ปตฺติปตฺตสฺส แปลว่า ผู้บรรลุคุณที่ควรบรรลุ. คำว่า เวยฺยากรณสฺส

แปลว่า ผู้แสดงเนื้อความได้กว้างขวาง. ความจริง บทว่า พฺยากตนฺนาเมต

ไม่มี. ความของบททั้งปวงพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว . คำว่า วิปสฺสิสฺส

แปลว่า ผู้ทรงเห็นแจ้ง. คำว่า อนกิณตสฺส แปลว่า มิใช่ผู้สาธยายมนต์. คำว่า

๑. บาลี อุปาลิวาทสูตร เป็น ปทกสฺส.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

โน อปณตสฺส หมายถึงผู้ไม่ยืนตาม ไม่เดินตาม คือมีจิตไม่ไปตามกิเลส

ทั้งหลาย. คำว่า อสตฺตสฺส คือไม่ข้อง. แผ่นดินเรียกว่า ภูริ ในคำว่า

ภูริปญฺสฺส อธิบายว่า ผู้เพียบพร้อมด้วยปัญญาอันไพบูลย์ ใหญ่ กว้าง เสมอ

แผ่นดินนั้น. คำว่า มหาปญฺสฺส คือเพียบพร้อมด้วยปัญญาอันใหญ่. คำว่า

อนูปลิตฺตสฺส คือผู้อันเครื่องฉาบทา คือ ตัณหาและทิฏฐิ ไม่ฉาบทาแล้ว.

คำว่า อาหุเนยฺยสฺส คือผู้ควรรับของบูชา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระ

นามว่า ยักขะ ในคำว่า ยกฺขสฺส ก็เพราะอรรถว่า ทรงแสดงอานุภาพได้

หรือเพราะอรรถว่า อันใคร ๆ มองไม่เห็น (ไม่ปรากฏพระองค์). เพราะเหตุ

นั้นอุบาลีคฤหบดีจึงกล่าวว่า ยกฺขสฺส. คำว่า มหโต แปลว่า ใหญ่ คำว่า

ตสฺส สาวโกมฺหมสฺมิ ความว่า ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระศาสดา ผู้มี

พระคุณมีประการดังนั้น พระองค์นั้น ปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานของอุบาสก

มาถึงด้วยโสดาปัตติมรรคนั่นแล.

ดังนั้น อุบาลีคฤหบดี ดำรงอยู่ในวิสัยแห่งปัญญาแตกฉานแล้ว เมื่อ

จะกล่าวพระคุณของพระทศพลในการละกิเลสร้อยบท จึงวิสัชนาความของปัญหา

ที่ว่า ท่านคฤหบดี พวกเรา (พวกนิครนถ์นาฎบุตร) จะทรงจำตัวท่านว่าเป็น

สาวกของใคร. คำว่า กทา สญฺญุฬฺหา แปลว่า รวบรวมไว้เมื่อไร ได้ยินว่า

นิครนถ์นาฏบุตรนั้น คิดอย่างนี้ว่า อุบาลีคฤหบดีนี้ไปสำนักพระสมณโคดมมา

เดี๋ยวนี้นี่เอง เขารวบรวมคุณเหล่านั้นไว้ตั้งแต่เมื่อไรกัน เพราะฉะนั้น นิครนถ์

นาฏบุตรจึงกล่าวอย่างนี้. คำว่า วิจิตฺตมาล คนฺเถยฺย ความว่า นายช่าง

ทำดอกไม้ หรือลูกมือนายช่างทำดอกไม้ พึงร้อยระเบียบดอกไม้อันวิจิตร ต่าง

โดยเป็นระเบียบดอกไม้ มีขั้วเดียวกันเป็นต้น ด้วยความเป็นคนขยันเองบ้าง

ด้วยความที่ดอกไม้ทั้งหลายมีสีต่าง ๆ กันบ้าง. ในคำว่า เอวเมว โย ภนฺเต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

นี้ พึงเห็นการรวบรวมการพรรณนาพระคุณมีประการต่าง ๆ ของพระผู้มี

พระภาคเจ้าเท่าขุนเขาสิเนรุ เหมือนกองดอกไม้กองใหญ่ ในบรรดาดอกไม้

ทั้งหลายนานาชนิด. อุบาลีคฤหบดีเปรียบเหมือนนายช่างทำดอกไม้ผู้ฉลาด

การร้อยกรองพระคุณอันวิจิตรของพระตถาคตเจ้าของคฤหบดี เปรียบเหมือน

การร้อยกรองระเบียบดอกไม้อันวิจิตรของนายช่างทำดอกไม้.

คำว่า อุณฺห โลหิต มุขโต อุคฺคญฺฉิ ความว่า นิครนถ์นาฏบุตร

นั้น ทนดูสักการะของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ ก็คิดมากกว่า ตั้งแต่พรุ่งนี้ เรา

ก็พาคณะ ๕๐-๖๐ คน เข้าไปบ้านเขา บริโภคอาหารไม่ได้ หม้อข้าวของเรา

แตกเสียแล้ว. ครั้งนั้น นิครนถ์นาฏบุตรนั้น ก็เกิดความโศกอย่างแรง เพราะ

การแปรเปลี่ยนของผู้ทำนุบำรุง. ความจริงสัตว์เหล่านี้ คิดเพื่อตนอย่างเดียว.

เมื่อความโศกนั้น เกิดแก่นิครนถ์นาฏบุตรนั้นแล้ว ความร้อนภายในก็มี โลหิต

ก็ละลาย. โลหิตนั้นถูกกองลมใหญ่พัดดันขึ้นก็พลุ่งออกจากปาก ประมาณบาตร

หนึ่ง เหมือนน้ำย้อมที่ใส่ลงในหม้อ. ก็สัตว์จำนวนน้อย สำรอกโลหิตที่คั่งออก

แล้ว ยังอาจมีชีวิตอยู่ได้. นิครนถ์คุกเข่า (เข่าอ่อน) ล้มลงในที่นั้นนั่นเอง.

พนักงานคานหาม ก็นำนิครนถ์นาฏบุตรนั้นออกนอกพระนครพาไปด้วยคันหาม

๕ คน พลันมาถึงนครปาวา. ต่อมาไม่นานนัก นิครนถ์นาฏบุตรก็ทำกาละ

(ตาย) ณ นครปาวา. พระธรรมเทศนาในพระสูตรนี้ ก็สำเร็จลงด้วยอำนาจ

บุคคลผู้เป็นอุคฆฏิตัญญูแล

จบอรรถกถาอุปาลิวาทสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

๗. กุกกุโรวาทสูตร

ว่าด้วยปุณณโกลิยบุตรและเสนิยอเจละ

[๘๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพุระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในโกลิยชนบท ทรงทำ

นิคมของชาวโกลิยะ ชื่อว่าหลิททวสนะให้เป็นโคจรคาม ครั้งนั้นปุณณโก-

ลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค และเสนิยอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดัง

โค ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฝ่ายเสนิย-

อเจละผู้พระพฤติวัตรดังสุนัข ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ก็คุ้ยเขี่ยดุจสุนัขแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เสนิยอเจละนี้ ประพฤติวัตรดังสุนัข ทำกรรมยากที่ผู้อื่น

จะทำได้ บริโภคโภชนะที่วางไว้ ณ พื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่าง

บริบูรณ์ สิ้นกาลนาน คติของเขาจะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย ปุณณะ จงงดข้อนี้เสียเถิด

อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย. ปุณณโกลิยบุตรผู้ประพฤติวัตรดังโค ได้ทูลถามพระผู้-

มีพระภาคเจ้าเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เสนิยอเจละ ประพฤติ

วัตรดังสุนัข ทำกรรมยากที่ผู้อื่นจะทำได้ บริโภคโภชนะที่วางไว้ ณ พื้นดิน

เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่างบริบูรณ์สิ้นกาลนานคติของเขาจะเป็นอย่างไร

ภพหน้าของเขาจะเป็นอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า อย่าเลย ปุณณะ

จงงดข้อนี้เสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนี้เลย. ปุณณโกลิยบุตร ผู้ประพฤติวัตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

ดังโค ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นครั้งที่ ๓ ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เสนิยอเจละ พระพฤติวัตรดังสุนัข ทำกรรมยากที่ผู้อื่นจะทำได้ บริโภคโภชนะ

ที่วางไว้ ณ พื้นดิน เขาสมาทานกุกกุรวัตรนั้นอย่างบริบูรณ์สิ้นกาลนาน คติของ

เขาจักเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจักเป็นอย่างไร.

[๘๕] พ. ดูก่อนปุณณะ เราไม่ได้จากท่านเป็นแน่ซึ่งคำนี้ว่า อย่า

เลยปุณณะ จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย ดังนี้ แต่เราจัก

พยากรณ์แก่ท่าน ดูก่อนปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้บำเพ็ญกุกกุรวัตร

บำเพ็ญปกติของสุนัข บำเพ็ญกิริยาอาการของสุนัขให้บริบูรณ์ ไม่ขาดสาย ครั้น

แล้วเมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข อนึ่ง ถ้าเขามีความ

เห็นอย่างนี้ว่า เราจักเป็นเทวดาหรือเทพองค์ในองค์หนึ่ง ด้วยศีล วัตร ตบะ

หรือพรหมจรรย์นี้ ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ดูก่อนปุณณะ เรา

กล่าวคติของผู้เห็นผิดว่ามี ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอย่างใด

อย่างหนึ่ง ดูก่อนปุณณะ กุกกุรวัตรเมื่อถึงพร้อม ย่อมนำเข้าถึงความเป็น

สหายของสุนัข เมื่อวิบัติย่อมนำเข้าถึงนรก ด้วยประการฉะนี้. เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เสนิยอเจละผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข ร้องให้น้ำตา

ไหล.

คติของผู้ประพฤติวัตรดังโค

[๘๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะปุณณโกลิยบุตรผู้

ประพฤติวัตรดังโคว่า ดูก่อนปุณณะ เราไม่ได้คำนี้จากท่านว่า อย่าเลยปุณณะ

จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย ดังนี้. เสนิยอเจละทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามิได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

ตรัสกะข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าได้สมาทานกุกกุรวัตรนี้อย่างบริบูรณ์มาช้านานแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปุณณโกลิยบุตร ประพฤติวัตรดังโค เขาสมาทานโค-

วัตรนั้นอย่างบริบูรณ์มาช้านาน คติของเขาจะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาจะ

เป็นอย่างไร.

พ. อย่าเลย เสนิยะ จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย.

เสนิยอเจละทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นครั้งที่ ๒. . . เป็นครั้งที่ ๓

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปุณณโกลิยบุตรนี้ ประพฤติวัตรดังโค เขาสมาทาน

โควัตรนั้นอย่างบริบูรณ์มาช้านาน คติของเขาจะเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขา

จะเป็นอย่างไร.

พ. ดูก่อนเสนิยะ เราไม่ได้จากท่านเป็นแน่ซึ่งคำนี้ว่า อย่าเลยเสนิยะ

จงงดข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย ดังนี้ แต่เราจักพยากรณ์แก่ท่าน

ดูก่อนเสนิยะ บุคคลบางคนในโลกนี้ บำเพ็ญโควัตร บำเพ็ญปกติของโค

บำเพ็ญกิริยาอาการของโคอย่างบริบูรณ์ ไม่ขาดสาย ครั้นแล้วเมื่อตายไปย่อมเข้า

ถึงความเป็นสหายของโค อนึ่ง ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักเป็นเทวดา

หรือเทพองค์โคองค์หนึ่ง ด้วยศีล วัตร ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ ความ

เห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด ดูก่อนเสนิยะ เรากล่าวคติของผู้เห็นผิดว่ามี

๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดูก่อนเสนิยะ

โควัตรเมื่อถึงพร้อม ย่อมนำเข้าถึงความเป็นสหายของโค เมื่อวิบัติย่อมนำเข้า

ถึงนรก ด้วยประการฉะนี้. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปุณณ-

โกลิยบุตร ผู้ประพฤติวัตรดังโค ร้องไห้น้ำตาไหล.

[๘๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเสนิยอเจละ ผู้ประพฤติ

วัตรดังสุนัขว่า ดูก่อนเสนิยะ เราไม่ได้คำนี้จากท่านว่า อย่าเลยเสนิยะ จงงด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

ข้อนั้นเสียเถิด อย่าถามเราถึงข้อนั้นเลย ดังนี้ ปุณณโกลิยบุตรทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ร้องไห้ถึงการพยากรณ์นั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกะข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าสมาทานโควัตรนี้อย่างบริบูรณ์มาช้านาน ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงสามารถแสดงธรรมโดยประการที่ให้ข้าพเจ้าพึงละโควัตรนี้ได้

และเสนิยอเจละผู้ประพฤติวัตรดังสุนัข พึงละกุกกุรวัตรนั้นได้.

ดูก่อนปุณณะ ถ้ากระนั้น ท่านจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว

ปุณณโกลิยบุตร ผู้พระพฤติวัตรดังโค ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

กรรมดำกรรมขาว ๔

[๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนปุณณะ

กรรม ๔ ประการนี้ เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้

ตาม ๔ ประการนั้นเป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ กรรมดำมีวิบากดำมีอยู่ กรรม

ขาวมีวิบากขาวมีอยู่ กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวมีอยู่ กรรมไม่

ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่.

ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมดำมีวิบากดำ เป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันมีความทุกข์ ประมวลวจีสังขาร

อันมีความทุกข์ ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์ ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้า

ถึงโลกอันมีความทุกข์ ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลกอันมีทุกข์ เขาอันผัสสะ

ประกอบด้วยทุกข์ถูกต้อง ย่อมเสวยเวทนาอันประกอบด้วยทุกข์ อันเป็นทุกข์

โดยส่วนเดียว ดุจสัตว์นรก ฉะนั้น ดูก่อนปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล

ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูก่อนปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า

สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้ เรากล่าวว่า กรรมดำมีวิบากดำ.

ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมขาว มีวิบากขาว เป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ประมวลวจี-

สังขาร อันไม่มีความทุกข์ ประมวลมโนสังขาร อันไม่มีความทุกข์ ครั้นแล้ว

เขาย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ ผัสสะอันไม่มีความทุกข์ ย่อมถูกต้องเขา

ผู้เข้าถึงโลกอันไม่มีความทุกข์ เขาอันผัสสะไม่มีความทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อม

เสวยเวทนาอันไม่มีความทุกข์ เป็นสุขโดยส่วนเดียว ดุจเทพชั้นสุภกิณหาฉะนั้น

ดูก่อนปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี สัตว์ทำกรรม

ใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงแล้ว ดูก่อน

ปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท ข้อนี้ เรา

กล่าวว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.

ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว เป็น

ไฉน ดูก่อนปุณณะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ประมวลกายสังขาร อันมีความ

ทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ประมวลวจีสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มี

ความทุกข์บ้าง ประมวลมโนสังขาร อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง

ครั้นแล้ว เขาย่อมเข้าถึงโลกอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ผัสสะ

อันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง ย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึงโลก อันมี

ความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง เขาอันผัสสะที่มีความทุกข์บ้าง ไม่มีความ

ทุกข์บ้างถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันมีความทุกข์บ้าง ไม่มีความทุกข์บ้าง

มีทั้งสุขและทุกข์ระคนกัน ดุจพวกมนุษย์ เทพบางเหล่าและสัตว์วินิบาตบาง

เหล่าฉะนั้น ดูก่อนปุณณะ เพราะกรรมที่มีดังนี้แล ความอุปบัติของสัตว์จึงมี

สัตว์ทำกรรมใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมนั้น ผัสสะย่อมถูกต้องเขาผู้เข้าถึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

แล้ว ดูก่อนปุณณะ แม้เพราะอย่างนี้ เราจึงกล่าวว่า สัตว์มีกรรมเป็นทายาท

ข้อนี้เรากล่าวว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.

ดูก่อนปุณณะ ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อม

เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมนั้นเป็นไฉน ดูก่อนปุณณะ บรรดากรรม ๓

ประการนั้น เจตนาเพื่อละกรรมดำ มีวิบากดำ เจตนาเพื่อละกรรมขาว มี

วิบากขาว เจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวนั้นเสีย ข้อนี้

เรากล่าวว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความ

สิ้นกรรม ดูก่อนปุณณะ กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งชัดด้วยปัญญา

อันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม.

ปุณณโกลิยบุตรแสดงคนเป็นอุบาสก

[๘๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปุณณโกลิยบุตรผู้

พระพฤติวัตรดังโค ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่

คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้

ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและ

พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็น

อุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ทั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

เสนิยอเจละขอบรรพชาอุปสมบท

เสนิยอเจละ ผู้ประพฤติวัตรดังสุนัขได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

องค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก

ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป

ดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้น

เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

ธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พึงได้

บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พ. ดูก่อนเสนิยะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังการบรรพชาอุปสม

บทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือนก่อน ต่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุ

ทั้งหลาย มีจิตอันอัญญเดียรถีย์ให้ยินดีแล้ว จึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเพื่อ

ความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่า เราทราบความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้.

ติตถิยปริวาส

[๙๐] เส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์มาก่อน

หวังการบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือนก่อน

ต่อล่วง ๔ เดือน ภิกษุมีจิตอันอัญญเดียรถีย์ให้ยินดีแล้วจึงให้บรรพชาอุปสมบท

เพื่อความเป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสถึง ๔ ปี ต่อล่วง ๔ ปี ภิกษุ

ทั้งหลายมีจิตอันข้าพระองค์ให้ยินดีแล้ว จึงให้ข้าพระองค์บรรพชาอุปสมบท

เพื่อความเป็นภิกษุเถิด.

เสนิยอเจละผู้พระพฤติกุกกุรวัตร ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เมื่อท่านเสนิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่

แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่ ไม่นานนัก ทำให้

แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้มีความต้อง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

การ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ใน

ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ท่านพระเสนิยะได้เป็นพระ-

อรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

จบกุกกุโรวาทสูตรที่ ๗

๗. อรรถกถากุกกุโรวาทสูตร

กุกกุโรวาทสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้ฟังมา

แล้วอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกลิเยสุ คือชนบทที่มีชื่ออย่างนี้.

โกลิยะนั้นเป็นชนบทหนึ่ง เรียกกันอย่างนี้ก็เพราะว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของเหล่าพระ-

ราชกุมารฝ่ายโกลิยวงศ์ซึ่งดำรงอยู่ ณ นครโกลิยะ ในชนบทชื่อ โกลิยะ นั้น.

คำว่า หลิทฺทวสน ความว่า คนทั้งหลายนุ่งห่มผ้าสีเหลือง เล่นนักขัตฤกษ์

ในคราวสร้างนิคมนั้น สิ้นสุดการเล่นนักขัตฤกษ์แล้ว พวกเขาก็ยกชื่อนิคมขนาน

นามว่า หลิททวสนะ. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำหลิททวสนะ

นิคมนั้นให้เป็นโคจรคาม ประทับอยู่. ก็ที่อยู่ในหลิททวสนนิคมนั้น ยังไม่ได้

กำหนดกันไว้ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้นก็พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

อยู่ ณ เสนาสนะอันสมควรแก่พระพุทธะทั้งหลาย. คำว่า โควตฺติโก ความว่า

ผู้สมาทานโควัตร การพระพฤติอย่างโค คือตั้งเขาทั้งสองเขาบนศีรษะ ผูกหาง

๑. อรรถกถาเรียก กุกกุรวัตติยสตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

เที่ยวเคี้ยวหญ้ากับเหล่าโค. คำว่า อเจโล แปลว่า เปลือย ไม่มีผ้า. คำว่า

เสนิโย เป็นชื่อของเขา. คำว่า กุกฺกุรวตฺติโก ความว่า ผู้สมาทานกุกกุรวัตร

การประพฤติอย่างสุนัข ทำกิริยาของสุนัขทุกอย่าง. ปุณณะ กับ เสนิยะ ทั้ง

สองนั้น. เป็นสหายเล่นฝุ่นด้วยกันมา. คำว่า กุกฺกุโรว ปลิกุญิตฺวา ความ

ว่า ขึ้นชื่อว่าสุนัข เมื่อนั่งใกล้ ๆ นาย เอาเท้าทั้งสองข้างตะกุยที่พื้นนั่งเห่า

เสียงสุนัข เสนิยะ คิดว่า แม้เราจักกระทำดุจกิริยาเเห่งสุนัข ครั้นกล่าวทักทาย

ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็เอาเท้าทั้งสองข้างตะกุยพื้น สลัดศีรษะ

ทำเสียงภุภุ นั่งคู้มือและเท้าเหมือนสุนัข. คำว่า ฉมาย นิกฺขิตฺวา แปลว่า ที่เขา

วางไว้ที่พื้นดิน. คำว่า สมตฺต สมาทินฺน แปลว่า ที่ยึดอย่างบริบูรณ์. คำว่า

กา คติ คือผลสำเร็จเป็นอย่างไร. คำว่า โก อภิสมฺปรายโน หมายถึงภาย

ภาคหน้า คือบังเกิดในที่ไหน. คำว่า อล ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ห้ามถึง ๓ ครั้ง ด้วยทรงพระดำริว่า สิ่งที่ไม่น่ารักจักมีแก่เขา. คำว่า กุกฺกุรวตฺต

คือการถือเอาอากัปกิริยาของสุนัข . คำว่า ภาเวติ แปลว่า ทำให้เจริญ. คำว่า

ปริปุณฺณ คือไม่พร่อง. คำว่า อพฺโพกิณฺณ คือไม่ว่างเว้น. คำว่า

กุกฺกุรสีล คือความพระพฤติของสุนัข. คำว่า กุกฺกุรจิตฺต คือ เกิดความคิด

อย่างนี้ว่า ตั้งแต่วันนี้ เราจักกระทำการที่สุนัขทั้งหลายพึงกระทำ. คำว่า

กุกฺกุรากปฺป ความว่า อาการเดินของเหล่าสุนัขมีอยู่ อาการที่เห็นสุนัขเหล่า

อื่นแล้วแยกเขี้ยวเดินไป อาการนี้ชื่อว่า อาการของสุนัข. เขาทำอาการของ

สุนัขนั้นให้ปรากฏ. ในคำว่า อิมินาห สีเลน เป็นต้น ความว่า ข้าพระองค์

จักเป็นเทวดาหรือเทวดาองค์หนึ่งด้วยความประพฤติ ด้วยการสมาทานวัตร ด้วย

การประพฤติตบะที่ทำได้ยากหรือด้วยพรหมจรรย์คือการเว้นเมถุนนี้.คำว่า เทโว

คือบรรดาเทวดาทั้งหลาย มีท้าวสักกะ ท้าวสุยามะเป็นต้น เป็นเทวดาองค์ใด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

องค์หนึ่ง. คำว่า เทวญฺตโร คือบรรดาเทวดาเหล่านั้นเป็นเทวดาองค์ใด

องค์หนึ่งในฐานะที่ ๒ ที่ ๓ เป็นต้น. คำว่า มิจฺฉาทิฏิ ความว่า ความ

เห็นนั้นของเขา ชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ เพราะการยึดถือทางที่มิใช่ทางไปสู่เทวโลกว่า

เป็นทางไปสู่เทวโลก. คำว่า อญฺตร คตึ วทามิ ความว่า ก็คติของเขา

เป็นอื่นไปจากนรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้. คำว่า สมฺปชฺชมาน คือกุกกุรวัตรที่เขาปฏิบัติอยู่ ไม่

เจือด้วยทิฏฐิ. คำว่า นาห ภนฺเต เอต โรทามิ ย ม ภนฺเต ภควา เอวมาห

ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำพยากรณ์อันใดกะ

ข้าพเจ้าอย่างนี้ ข้าพระองค์มิได้ร้องไห้ มิได้คร่ำครวญ มิได้ทอดถอนถึงคำ

พยากรณ์อันนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าดอก. บัณฑิตพึงทราบความข้อนั้น

ด้วยอำนาจกรรมของตนเอง ด้วยประการฉะนี้. ไม่พึงทราบความด้วยอาการ

เพียงน้ำตาไหล. ก็ในข้อนี้ มีการประกอบความดังนี้ว่า

มต วา อมฺมา โรทนฺติ โย วา ชีว น ทิสฺสติ

ชีวนฺต อมฺม ปสฺสนฺตี กสฺมา ม อมฺม โรทสิ.

แม่จ๋า คนทั้งหลาย เขาร้องไห้ถึง

แต่คนที่ตายแล้ว หรือคนที่ยังเป็นอยู่แต่ไม่

พบกัน เมื่อแม่เห็นฉันยังเป็นอยู่ เหตุไร แม่

จึงร้องไห้ถึงฉันเล่า แม่จ๋า. . .(คำของสานุ

สามเณร)

คำว่า อปิจ เม อิท ภนฺเต ความว่า นายเสนิยะ กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่งเล่ากุกกุรวัตรนี้ ข้าพเจ้าสมาทานมาเป็นเวลายาว

นาน แม้เมื่อปฏิบัติกุกกุรวัตรนั้น ก็ไม่มีความเจริญ เมื่อปฏิบัติผิดก็ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

ความเสื่อม (จัญไร) กรรมที่ข้าพเจ้ากระทำมาเป็นเวลาเพียงนี้ก็เกิดเป็นโมฆะ

(ไม่มีผล) เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าเมื่อพิจารณาเห็น ความวิบัติของตัวเอง จึง

ร้องไห้ พระเจ้าข้า. คำว่า โควตฺต เป็นต้น ก็พึงทราบตามนัยที่กล่าวมา

แล้วในกุกกุรวัตรเป็นอาทินั่นแล. คำว่า คฺวากปฺป แยกสนธิเป็น โคอากปฺป

แปลว่า อาการของโค. คำที่เหลือก็เป็นเช่นเดียวกับคำที่กล่าวมาแล้วในอาการ

ของสุนัขนั่นแหละ เห็นเหล่าสุนัขตัวอื่น ๆ แล้วแยกเขี้ยวเดินไปในกุกกุรวัตร

นั้น ฉันใด ก็พึงทราบอาการที่โคเห็นโคตัวอื่น ๆ แล้วยกหูทั้งสองเดินไป

ในโควัตรนี้ก็ฉันนั้น. คำนอกนั้นก็เหมือนกันนั่นแหละ.

คำว่า จตฺตารีมานิ ปุณฺณ กมฺมานิ ความว่า เหตุไร พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงทรงปรารภพระธรรมเทศนานี้. ก็เพราะเทศนานี้มาด้วยอำนาจ

การกระทำกรรมบางอย่าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรม ๔ หมวดนี้แล้ว

การกระทำของคนเหล่านี้จักปรากฏ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง

ปรารภเทศนานี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงทราบว่าคนทั้งสองนี้จักเข้าใจ

กรรม ๔ หมวด ที่กำลังทรงแสดงนี้เท่านั้น ต่อนั้น คนหนึ่งจักถึงสรณะ คน

หนึ่งจักบวชแล้วบรรลุพระอรหัต ดังนั้น เทศนานี้เท่านั้นเป็นสัปปายะของ

พวกเขา จึงทรงปรารภเทศนานี้. บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า กณฺห แปลว่า

ดำ ได้แก่กรรมที่เป็นอกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า กณฺหวิปาก คือมีวิบากดำ

เพราะทำให้บังเกิดในอบาย. บทว่า สุกฺก แปลว่า ขาว ได้แก่กรรมที่เป็น

กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า สุกกวิปาก คือมีวิบากขาว เพราะทำให้บังเกิด

ในสวรรค์. บทว่า กณฺหสุกฺก คือกรรมที่คละกัน. บทว่า กณฺหสุกฺกวิปาก

คือมีสุขและทุกข์เป็นวิบาก. แท้จริง บุคคลทำกรรมคละกันแล้ว เกิดในกำเนิด

สัตว์ดิรัจฉาน ในตำแหน่งช้างมิ่งมงคลเป็นต้น ด้วยอกุศลกรรม ก็เสวยสุขใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

ปวัตติกาลด้วยกุศลกรรม. แม้เขาเกิดในราชตระกูล ด้วยกุศลกรรม ก็เสวย

ทุกข์ในปวัตติกาลด้วยอกุศลกรรม. กรรมคือเจตนาในมรรค ๔ อันกระทำให้

สิ้นกรรมทรงประสงค์เอาว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว. ก็ผิว่า กรรมนั้นพึงเป็นกรรม

ดำไซร้ ก็จะพึงให้วิบากดำ ผิว่าเป็นกรรมขาวไซร้ ก็จะพึงให้วิบากขาว.

ส่วนเจตนากรรมในมรรค ๔ ตรัสว่า ไม่ดำไม่ขาว ก็เพราะมีวิบากไม่ดำไม่ขาว

เหตุไม่ให้วิบากทั้งสอง. ความในอุเทศเท่านี้ก่อน.

ส่วนในนิเทศพึงทราบความดังต่อไปนี้. บทว่า สพฺยาปชฺฌ แปลว่า

มีทุกข์. ในกายสังขารเป็นต้น อกุศลเจตนา ๑๒ ที่ถึงความไหว้ด้วยอำนาจการ

จับถือเป็นต้น ในกายทวาร ชื่อว่า กายสังขารมีทุกข์. อกุศลเจตนา ๑๒

นั้นนั่นแล ที่ทำให้การเปล่งคำเป็นไปได้ด้วยอำนาจการเคลื่อนไหวลูกคาง

ในวจีทวาร ชื่อว่า วจีสังขาร. อกุศลเจตนา ที่ยังไม่ถึงความไหวทั้งสองที่

เป็นไปในมโนทวาร สำหรับคนที่กำลังคิดอยู่ลับ ๆชื่อว่า มโนสังขาร. ดังนี้ น

อกุศลเจตนาเท่านั้น ที่ต่างโดยเป็นกายทุจริตเป็นต้นในทวารแม้ทั้งสาม พึง

ทราบว่า สังขาร.

แท้จริง ในพระสูตรนี้ เจตนา ชื่อว่า ธุระ. ในอุปาลิ (วาท) สูตร

เจตนา ชื่อว่า กรรม. บทว่า อภิสงฺขริตฺวา คือ ชักมา. อธิบายว่า ประ-

มวลมา. บทว่า สพฺยาปชฺฌ โลก คือเข้าถึงโลกที่มีทุกข์. บทว่า สพฺยา-

ปชฺฌา ผสฺสา ผุสนฺติ คือผัสสะที่มีทุกข์เป็นวิบาก ย่อมถูกต้อง. คำว่า

เอกนฺตทุกฺข ได้แก่ ทุกข์หาระหว่างมิได้. คำว่า ภูตา เป็นปัญจมีวิภัติ ลง

ในอรรถว่า เหตุ. ความเข้าถึง (อุปบัติ) ของสัตว์ที่เกิดแล้ว ย่อมมีเพราะ

กรรมที่มีแล้ว. ท่านอธิบายว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมทำกรรมที่มีแล้วอย่างไร ความ

เข้าถึงของสัตว์เหล่านั้น ย่อมมีด้วยอำนาจกรรมที่มีส่วนเสมอกัน กับกรรมที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

มีแล้วอย่างไร. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สัตว์ทำกรรม

อันใดไว้ ย่อมเข้าถึงเพราะกรรมอันนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน

ความว่า สัตว์ทั้งหลาย พระองค์ตรัสว่า เหมือนเกิดเพราะกรรม แต่ชื่อว่า

การอุปบัติ ย่อมมีเพราะวิบาก ก็เพราะกรรมเป็นเหตุแห่งวิบาก ฉะนั้นสัตว์

ย่อมเกิดเพราะกรรมอันเป็นมูลเหตุนั้น. บทว่า ผสฺสา ผุสนฺติ ความว่า

สัตว์ทั้งหลายบังเกิดเพราะผลของกรรมอันใด ผัสสะย่อมถูกต้องผลของกรรม

อันนั้น. บทว่า กมฺมทายาทา คือ ทายาทของกรรม, เรากล่าวกรรมนั่นแหละ

ว่าเป็นทายาท คือเป็นมรดกของสัตว์เหล่านี้.

บทว่า อพฺยาปชฺฌ แปลว่า ไม่มีทุกข์. ในวาระนี้ (นิทเทสวาร)

เจตนาฝ่ายกามาวจรกุศล ๘ ที่เป็นไปในกายทวาร ชื่อว่ากายสังขาร. เจตนา

ฝ่ายกามาวจรกุศล ๘ นั้นนั่นแหละ ที่เป็นไปในวจีทวาร ชื่อว่า วจีสังขาร.

เจตนาฝ่ายกามาวจรกุศล ๘ ที่เป็นไปในมโนทวาร และเจตนาในฌานเบื้องต่ำ

๓ ชื่อว่า อัพยาปัชฌมโนสังขาร.

ถามว่า เจตนาในฌาน จงยกไว้ก่อน ทำไมกามาวจรจึงชื่อว่า

อัพยาปัชฌมโนสังขาร.

ตอบว่า อัพยาปัชฌมโนสังขาร ย่อมเกิดได้ในขณะเข้ากสิณ และ

ขณะเสพกสิณเนือง ๆ เจตนาฝ่ายกามาวจรต่อกับเจตนาปฐมฌาน เจตนาใน

จตุตถฌาน ต่อกับเจตนาในตติยฌาน. ดังนั้น กุศลเจตนาต่างโดยกายสุจริต

เป็นต้นเท่านั้น แม้ในทวารทั้งสาม พึงทราบว่า สังขาร. วาระที่สามก็พึง

ทราบด้วยอำนาจที่คละกันทั้งสองอย่าง. ในคำว่า เสยฺยถาปิ มนุสฺสา เป็นต้น

พึงทราบว่า สำหรับพวกมนุษย์ก่อน ปรากฏว่าบางคราวก็สุข บางคราวก็ทุกข์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

ส่วนในเหล่าเทวดาทั้งหลาย เหล่าภุมมเทวดา ในเหล่าวินิปาติกสัตว์ทั้งหลาย

เหล่าเวมานิกเปรต บางครั้งก็สุข บางครั้งก็ทุกข์. สุขย่อมเกิดได้แม้ในเหล่า

สัตว์ดิรัจฉานเช่นช้างเป็นต้น. บทว่า ตตฺร แปลว่า ในกรรมทั้ง ๓ นั้น.

บทว่า ตสฺส ปหานาย ยา เจตนา ความว่า เจตนาในมรรค ก็เพื่อ

ประโยชน์แก่การละกรรมนั้น. แต่ถึงกรรมแล้วชื่อว่า ธรรมอย่างอื่นที่ขาวกว่า

เจตนาในมรรคไม่มี. ฝ่ายอกุศลเจตนา ๑๐ ถึงกรรม ๔ หมวดนี้แล้ว ชื่อว่า ดำ.

กุศลเจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า ขาว. มรรคเจตนามาแล้วว่า ไม่ดำไม่ขาว.

นายเสนิยะนั้นคิดว่า ตัวเราเหมือนจะเปลี่ยนความคิดว่า เราประกอบตัวไว้ใน

ฝ่ายธรรมที่ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์มาเป็นเวลานานแล้วหนอ ทำตนให้ลำบาก

เปล่า จักอาบน้ำที่ริมฝั่งแม่น้ำที่แห้ง เป็นเหมือนคนปักหลักลงในแกลบไม่ทำ

ประโยชน์อะไร ๆ ให้สำเร็จเลย เอาเถิด เราจะประกอบตัวไว้ในความเพียร

ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคำนี้ว่า ลเภยฺยาห ภนฺเต.

ครั้งนั้น ติตถิยปริวาส (การอยู่อบรมสำหรับเดียรถีย์) อันใด พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วในขันธกวินัยว่า ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ตั้งอยู่ใน

ภูมิของสามเณรแล้วสมาทานอยู่ปริวาส โดยนัยว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ามีชื่อนี้

เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ประสงค์จะอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้า

นั้นขอปริวาส ๔ เดือนกะสงฆ์ ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา

ติตถิยปริวาสนั้น จึงตรัสเป็นต้นว่า โย โข เสนิย อญฺติตฺถิยปุพฺโพ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชฺช ตรัสด้วยอำนาจความที่ทรงมีพระวาจาอ่อน

หวาน. แม้ที่จริง เสนิยะนั้นไม่อยู่ปริวาสก็ได้บรรพชา. แต่เขาต้องการอุปสมบท

บำเพ็ญวัตร ๘ ประการ มีการเข้าบ้านเป็นต้น พึงอยู่ปริวาส เกินกาลกำหนด.

บทว่า อารทฺธจิตฺตา คือมีจิตยินดีแล้วด้วยการบำเพ็ญวัตร ๘ ประการ. นี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

เป็นความย่อในเรื่องติตถิยปริวาสนั้น. ส่วนความพิสดารของติตถิยปริวาสนั้น

พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในกถาปัพพัชชาขันธกะ คัมภีร์อรรถกถาวินัย

ชื่อสมันตปาสาทิกา. คำว่า อปิจ เมตฺถ แยกสนธิว่า อปิจ เม เอตฺถ. คำว่า

ปุคฺคลเวมตฺตตา วิทิตา คือรู้ความที่บุคคลเป็นต่าง ๆ กัน. พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงว่า คำนี้ปรากฏแก่เราว่า บุคคลนี้ควรอยู่ปริวาส บุคคลนี้ไม่ควร

อยู่ปริวาส. ต่อจากนั้น เสนิยะคิดว่า โอ พระพุทธศาสนาน่าอัศจรรย์จริง

ที่คนขัดสีทุบอย่างนี้แล้ว ก็ยึดเอาแต่ที่ควร ที่ไม่ควรก็ทิ้งไป. ต่อแต่นั้น

เขาก็เกิดอุตสาหะในการบรรพชาว่าดีกว่า จึงกราบทูลว่า สเจ โข ภนฺเต ดังนี้.

คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความที่เขามีฉันทะแรงกล้า ทรงดำริ

ว่า เสนิยะไม่ควรอยู่ปริวาส. จึงตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาว่า ภิกษุ เธอไปให้

เสนิยะอาบนำแล้วให้บรรพชา แล้วนำตัวมา. ภิกษุนั้นก็กระทำอย่างนั้น ให้

เขาบรรพชาแล้วนำมายังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

นั่งกลางหมู่สงฆ์ ให้เขาอุปสมบทแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เสนิย-

นิครนถ์ผู้ถือกุกกุรวัตร ก็ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า อจิรูปสมฺปนฺโน แปลว่า อุปสมบทแล้วไม่นาน. บทว่า วูปกฏฺโ

คือปลีกกายและจิต ออกจากวัตถุกามและกิเลสกาม. บทว่า อปฺปมตฺโต คือ

ผู้ไม่ละสติในกัมมัฏฐาน. บทว่า อาตาปี คือผู้มีคุณเครื่องเผากิเลส ด้วย

คุณเครื่องเผากิเลสคือความเพียร ที่นับได้ว่าเป็นไปทางกายและทางจิต. บทว่า

ปหิตตฺโต คือผู้มีตนอันส่งไป มีอัตภาพอันสละแล้ว เพราะเป็นผู้ไม่เยื่อใย

ในร่างกายและชีวิต. คำว่า ยสฺสตฺถาย แยกสนธิว่า ยสฺส อตฺถาย. บทว่า

กุลปุตฺตา คือ บุตรผู้มีมรรยาทและสกุล. บทว่า สมฺมเทว คือ โดยเหตุ

โดยการณ์. คำว่า ตทนุตฺตร แยกสนธิว่า ต อนุตฺตร. บทว่า พฺรหฺม-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

จริยปริโยสาน คือ อรหัตผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์. จริงแล้ว

กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมบวชเพื่อประโยชน์แก่มรรคพรหมจรรย์นั้น. สองบทว่า

ทิฏฺเว ธมฺเม คือ ในอัตภาพนี้นี่แล. บทว่า สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา

คือ กระทำให้ประจักษ์ด้วยปัญญา ด้วยตัวเอง. อธิบายว่า ผู้ไม่มีผู้อื่นเป็น

ปัจจัย (ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น). บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหาสิ คือ บรรลุแล้ว

ให้ถึงพร้อมแล้วอยู่. ผู้อยู่อย่างนี้แล รู้ยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว ฯ ล ฯ. พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงปัจจเวกขณภูมิ (ญาณ) แก่เสนิยะนั้นอย่างนี้แล้ว

เพื่อทรงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคือพระอรหัต ท่านจึงกล่าวว่า ก็ท่านเสนิยะเป็น

พระอรหันต์องค์หนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลายบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

อญฺตโร คือ องค์หนึ่ง. บทว่า อรหต คือ แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย ใน

ข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า บรรดาพระอรหันตสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ท่านเสนิยะเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากุกกุโรวาทสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

๘. อภยราชกุมารสูตร

ว่าด้วยอภัยราชกุมาร

[๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน

เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระราชกุมารพระนามว่า อภัย เสด็จเข้า

ไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทนิครนถ์นาฏบุตรแล้ว ประทับนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๙๒] นิครนถ์นาฏบุตรได้ทูลอภัยราชกุมารว่า ไปเถิด พระราชกุมาร

เชิญพระองค์ทรงยกวาทะแก่พระสมณโคดม เมื่อพระองค์ทรงยกวาทะแก่สมณ-

โคดมอย่างนี้แล้ว กิตติศัพท์อันงามของพระองค์จักระบือไปว่า อภัยราชกุมาร

ทรงยกวาทะแก่สมณโคดมผู้มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้.

อภัยราชกุมารตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าจะยกวาทะแก่พระ-

สมณโคดม ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างนี้ ได้อย่างไร.

นิครนถ์นาฏบุตรทูลว่า ไปเถิด พระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จ

เข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วจงทูลถามพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจาอันไม่เป็นที่ชอบใจของคน

อื่นบ้างหรือหนอ ถ้าพระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้ว จะทรงพยากรณ์อย่าง

นี้ว่า ดูก่อนราชกุมาร ตถาคตพึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ

ของคนอื่น ดังนี้ไซร้ พระองค์พึงทูลพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนั้น การกระทำของพระองค์จะต่างอะไรจากปุถุชนเล่า

เพราะแม้ปุถุชนก็พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ถ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

พระสมณโคดมถูกถามอย่างนี้แล้ว จะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนราชกุมาร

ตถาคตไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น ดังนี้ไซร้

พระองค์พึงทูลพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่าง

นั้น อย่างไรพระองค์จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า เทวทัตจักเกิดในอบาย

จักเกิดในนรก ตั้งอยู่สิ้นกัปหนึ่ง เป็นผู้อันใครๆ เยียวยาไม่ได้ ดังนี้ เพราะ

พระวาจาของพระองค์นั้น พระเทวทัตโกรธ เสียใจ ดูก่อนพระราชกุมาร

พระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามปัญหาสองเงื่อนนี้แล้ว จะไม่อาจกลืนเข้า ไม่

อาจคายออกได้เลย เปรียบเหมือนกะจับเหล็กที่ติดอยู่ในคอของบุรุษ บุรุษนั้น

จะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้ ฉันใด ดูก่อนราชกุมาร พระสมณ-

โคดมก็ฉันนั้น ถูกพระองค์ทูลถามปัญหาสองเงื่อนนี้แล้วจะไม่อาจกลืนเข้า ไม่

อาจคายออกได้เลย.

อภัยราชกุมารรับคำนิครนถ์นาฏบุตรแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ ทรง

อภิวาทนิครนถ์นาฏบุตร ทรงทำประทักษิณแล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ทรงแหงนดูพระอาทิตย์ทรงพระดำริว่า วันนี้มิใช่

กาลจะยกวาทะแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า วันพรุ่งนี้เถิด เราจักยกวาทะแก่พระผู้

มีพระภาคเจ้าในนิเวศน์ของเราดังนี้แล้ว จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระองค์เป็นที่ ๔ จงทรงรับ

ภัตตาหารของหม่อมฉัน เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ

ด้วยดุษณีภาพ ลำดับนั้น อภัยราชกุมารทรงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรับแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่ประทัก-

ษิณแล้ว เสด็จหลีกไป ครั้งนั้น พอล่วงราตรีนั้นไป เวลาเช้า พระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

พระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของอภัย

ราชกุมารประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ลำดับนั้น อภัยราชกุมารทรง

อังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยขาทนียโภชนียะอันประณีต ให้อิ่มหนำเพียง

พอด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ ทรงชัก

พระหัตถ์จากบาตรแล้ว อภัยราชกุมารทรงถืออาสนะต่ำอันหนึ่ง ประทับนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

วาจาที่ไม่เป็นที่รัก

[๙๓] อภัยราชกุมารประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูล

ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจา

อันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่นบ้างหรือหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนราชกุมาร ในปัญหาข้อนี้ จะ

วิสัชนาโดยส่วนเดียวมิได้.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ได้ฉิบหาย

แล้ว.

พ. ดูก่อนราชกุมาร เหตุไฉนพระองค์จึงตรัสอย่างนี้เล่า.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะปัญหาข้อนี้ พวกนิครนถ์ได้ฉิบหายแล้ว

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส หม่อมฉันเข้าไปหานิครนถ์

นาฏบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง นิครนถ์นาฏบุตรได้

บอกว่า ไปเถิด พระราชกุมาร เชิญพระองค์เสด็จไปยกวาทะแก่พระสมณโคดม

เถิด เมื่อพระองค์ยกวาทะแก่พระสมณโคดมอย่างนี้ กิตติศัพท์อันงามของ

พระองค์จักระบือไปว่า อภัยราชกุมารยกวาทะแก่พระสมณโคดม ผู้มีฤทธิ์มาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

มีอานุภาพมากอย่างนี้ เมื่อนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวอย่างนี้ หม่อมฉันได้ถามว่า

ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าจะยกวาทะแก่พระสมณโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพ

มากอย่างนี้ได้อย่างไร. นิครนถ์นาฎบุตรตอบว่า ไปเถิด พระราชกุมาร เชิญ

พระองค์เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดมถึงที่ประทับ แล้วจงทูลถามอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตจะพึงตรัสพระวาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น

ที่ชอบใจของผู้อื่นบ้างหรือหนอ ถ้าพระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามอย่างนี้

แล้ว จะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนราชกุมาร ตถาคตพึงกล่าววาจาอันไม่

เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ดังนี้ไซร้ พระองค์พึงทูลพระสมณโคดม

อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนั้น การกระทำของพระองค์

จะต่างอะไรจากปุถุชนเล่า เพราะแม้ปุถุชนก็กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ไม่เป็น

ที่ชอบใจของผู้อื่น แต่ถ้าพระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามอย่างนี้แล้ว จะ

ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูก่อนราชกุมาร ตถาคตไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่

รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ดังนี้ไซร้ พระองค์พึงทูลพระสมณโคดมอย่าง

นี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นอย่างนั้น อย่างไรพระองค์จึงทรงพยากรณ์

เทวทัตว่า เทวทัตจักเกิดในอบาย จักเกิดในนรก ตั้งอยู่สิ้นกัปหนึ่ง เป็นผู้

อันใคร ๆ เยียวยาไม่ได้ ดังนี้ เพราะพระวาจาของพระองค์นั้น พระเทวทัต

โกรธ เสียใจ ดูก่อนพระราชกุมาร พระสมณโคดมถูกพระองค์ทูลถามปัญหา

สองเงื่อนนี้แล้ว จะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้เลย เปรียบเหมือน

กะจับเหล็กติดอยู่ในคอของบุรุษ บุรุษนั้นจะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออก

ได้ ฉันใด ดูก่อนราชกุมาร พระสมณโคดมก็ฉันนั้น ถูกพระองค์ทูล

ถามปัญหาสองเงื่อนนี้แล้ว จะไม่อาจกลืนเข้า ไม่อาจคายออกได้เลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

วาจาที่ประกอบด้วยประโยชน์

[๙๔] สมัยนั้นแล เด็กอ่อนได้แต่นอน นั่งอยู่บนตักของอภัยราชกุมาร

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอภัยราชกุมารว่า ดูก่อนราชกุมาร ท่าน

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้ากุมารนี้อาศัยความเผลอของพระองค์ หรือ

ของหญิงพี่เลี้ยง พึงนำไม้หรือก้อนกรวดมาใส่ในปาก พระองค์จะพึงทำเด็กนั้น

อย่างไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะพึงนำออกเสีย ถ้าหม่อมฉันไม่อาจ

จะนำออกได้แต่ทีแรก หม่อมฉันก็จะเอามือซ้ายประคองศีรษะแล้วอนิ้วมือขวา

ควักไม้หรือก้อนกรวดแม้พร้อมด้วยเลือดออกเสีย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

หม่อมฉันมีความเอ็นดูในกุมาร.

ดูก่อนราชกุมาร ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่

แท้ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้

อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ แต่ไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์ และวาจาไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่

กล่าววาจานั้น อนึ่ง ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ และประกอบด้วยประโยชน์

แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาล

ที่จะพยากรณ์วาจานั้น ตถาคตย่อมรู้วาจาที่ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น.

ตถาคตย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่วาจา

นั้นเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น อนึ่ง ตถาคต

ย่อมรู้วาจาที่จริง ที่แท้และประกอบด้วยประโยชน์ และวาจานั้นเป็นที่รัก เป็น

ที่ชอบใจของผู้อื่น ในข้อนั้น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะพยากรณ์วาจานั้น ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

พุทธปฏิภาณ

[๙๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กษัตริย์ผู้บัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้บัณฑิต

ก็ดี คฤหบดีผู้บัณฑิตก็ดี สมณะผู้บัณฑิตก็ดี ผูกปัญหาแล้วเข้ามาเฝ้าทูลถาม

พระตถาคต การพยากรณ์ปัญหาของบัณฑิตเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรึก

ด้วยพระหฤทัยไว้ก่อนว่า บัณฑิตทั้งหลายจักเข้ามาเฝ้าเราแล้วทูลถามอย่างนี้

เราอันบัณฑิตเหล่านั้นทูลถามอย่างนี้แล้ว จักพยากรณ์อย่างนี้ หรือว่าพยากรณ์

นั้นมาปรากฏแจ่มแจ้งกะพระตถาคตโดยทันที.

ดูก่อนราชกุมาร ถ้าอย่างนั้น ในข้อนี้ อาตมภาพจักกลับถามพระองค์

บ้าง ข้อนี้ควรแก่พระองค์อย่างใด พระองค์พึงพยากรณ์ข้อนั้นอย่างนั้น ดูก่อน

ราชกุมาร พระองค์จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระองค์เป็นผู้ฉลาดในส่วน

น้อยใหญ่ของรถหรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า หม่อมฉันเป็นผู้ฉลาดในส่วนน้อยใหญ่ของรถ.

พ. ดูก่อนราชกุมาร พระองค์จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ชนทั้ง

หลายเข้าไปเฝ้าพระองค์แล้วพึงทูลถามอย่างนี้ว่า ส่วนน้อยใหญ่ของรถอันนี้ ชื่อ

อะไรการพยากรณ์ปัญหาของชนเหล่านั้น พระองค์ตรึกด้วยใจไว้ก่อนว่า ชนทั้ง

หลายเข้ามาหาเราแล้ว จักถามอย่างนี้ เราอันชนเหล่านั้นถามอย่างนี้ จักพยา-

กรณ์อย่างนี้ หรือว่าการพยากรณ์นั้นพึงแจ่มแจ้งกะพระองค์โดยทันที.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะหม่อมฉันเป็นทหารรถ รู้จักดี ฉลาด

ในส่วนน้อยใหญ่ของรถ ส่วนน้อยใหญ่ของรถทั้งหมดหม่อมฉันทราบดีแล้ว

ฉะนั้นการพยากรณ์ปัญหานั้น แจ่มแจ้งกะหม่อมฉันโดยทันทีทีเดียว.

ฉันนั้นเหมือนกันแล ราชกุมาร กษัตริย์ผู้บัณฑิตก็ดีพราหมณ์ผู้บัณฑิต

ก็ดี คฤหบดีผู้บัณฑิตก็ดี สมณะผู้บัณฑิตก็ดี ผูกปัญหาแล้วจักเข้ามาถามตถาคต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

การพยากรณ์ปัญหานั้น ย่อมแจ่มแจ้งกะตถาคตโดยทันที ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะความที่ธรรมธาตุนั้น ตถาคตแทงตลอดดีแล้ว การพยากรณ์ปัญหานั้น

จึงแจ่มแจ้งกะตถาคตโดยทันที.

อภัยราชกุมารแสดงตนเป็นอุบาสก

[๙๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อภัยราชกุมารได้กราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิด

ของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุ

จักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย

ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำ

หม่อมฉัน ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.

จบอภยราชกุมารสูตรที่ ๘

๘. อรรถกถาอภัยราชกุมารสูตร

อภัยราชกุมารสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้ฟัง

มาแล้วอย่างนี้.

ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อภยะ เป็นพระนามของพระราชกุมาร

พระองค์นั้น. คำว่า ราชกุมาร คือเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร.

๑. อรรถกถาเรียก อภยสูตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

บทว่า วาท อาโรเปหิ คือ จงยกโทษในวาทะ. คำว่า เนรยิโก แปลว่า

ผู้บังเกิดในนรก. คำว่า กปฺปฏฺโ แปลว่า ตั้งอยู่ตลอดกัป. คำว่า อเตกิจฺโฉ

คือแม้พระพุทธเจ้าพันพระองค์ก็ไม่อาจแก้ไขได้. คำว่า โอคฺคิลิตุ คือ

พระตถาคต เมื่อไม่อาจกล่าวแก้ปัญหาสองเงื่อนได้ ก็ไม่อาจคาย คือ นำออก

ข้างนอกได้. คำว่า อุคฺคิลิตุ คือ เมื่อไม่อาจให้นำโทษแห่งคำถาม (ปัญหา)

ออกไปเสีย ก็ไม่อาจกลืน คือเอาเข้าไปข้างในได้. คำว่า เอว ภนฺเต ความว่า

ได้ยินว่า นิครนถ์คิดว่า พระสมณโคดมทำลายสาวกของเราแล้วรับเอาไว้เอง

เอาเถิด เราจะแต่งปัญหาข้อหนึ่ง ซึ่งพระสมณโคดมถูกถามแล้วจะต้องนั่งกระ-

โหย่งไม่สามารถลุกได้. นิครนถ์นั้น รับอาหารมาจากวังของอภัยราชกุมารแล้ว

ฉันโภชนะอันโอชะ แต่งปัญหาไว้เป็นอันมาก คิดว่า พระสมณโคดมเห็นโทษ

อันนี้ในปัญหานี้ในข้อนั้นก็เป็นเสนียด แล้วละการทั้งปวงเสีย ได้ครุ่นคิดปัญหา

นี้ในสมองถึง ๔ เดือน. ครั้งนั้นนิครนถ์คิดว่า พระสมณโคดม ไม่อาจให้โทษ

ในการถามหรือตอบปัญหานี้ได้ ปัญหานี้ชื่อ โอวัฏฏิกสาระ (คือปัญหาวนเวียน)

ใครหนอจะรับผูกวาทะแก่พระสมณโคดมได้. ต่อแต่นั้น ก็ตกลงใจว่า อภัย-

ราชกุมารเป็นบัณฑิต เขาจักสามารถ เหตุนั้น เราจะให้อภัยราชกุมารเรียน

ปัญหานั้นแล้วให้อภัยราชกุมารเรียน. อภัยราชกุมารนั้น มีอัธยาศัยชอบยกวาทะ

จึงรับคำนิครนถ์นั้น ตรัสว่า อย่างนั้นสิ ท่านอาจารย์. ทรงเข้าพระทัยว่า

ปัญหานี้อาจารย์แต่งใช้เวลา ๔ เดือน เมื่อรับเอาปัญหานี้ไปให้พระสมณโคดม

ตอบ เวลาคงไม่พอ จึงทรงดำริอย่างนี้ว่า วันนี้ไม่เหมาะ.

คำว่า โสทานิ แยกสนธิว่า เสฺว ทานิ. บทว่า อตฺตจตุตฺโถ

ความว่า เหตุไร อภัยราชกุมาร จึงไม่นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้มากรูป. ได้ยิน

ว่า อภัยราชกุมารนั้น ทรงดำริอย่างนี้ว่า เมื่อภิกษุมากรูปนั่งกันแล้ว พระผู้-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

มีพระภาคเจ้า จะทรงชักพระสูตรอื่น เหตุอื่น หรือเรื่องทำนองนั้นอย่างอื่น

มาแสดงแก่เรา ซึ่งถวายของนิดหน่อย กำลังพูดอยู่ เมื่อเป็นดังนี้ ก็จักมีแต่

การทะเลาะการวุ่นวายเท่านั้น แม้อย่างนั้น เราจักนิมนต์แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์เดียว ก็จักเกิดการติเตียนเราว่า อภัยราชกุมารนี้ ช่างตระหนี่ ทั้งที่

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาตพร้อมด้วยภิกษุร้อยรูปบ้าง พันรูป

บ้างทุก ๆ วัน ก็ยังนิมนต์แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียว ก็โทษอย่างนั้น

จักไม่มี. จึงนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นองค์ที่ ๔ กับภิกษุอื่นอีก ๓ รูป.

คำว่า น เขฺวตฺถ ราชกุมาร เอกเสน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนราชกุมาร ในเรื่องนี้ จะไม่มีการตอบปัญหา โดยเงื่อนเดียว.

อธิบายว่า ก็ตถาคตจะพึงกล่าวก็ดี ไม่พึงกล่าวก็ดี ซึ่งวาจาเห็นปานนั้น ตถาคต

เห็นประโยชน์โดยปัจจัยแห่งภาษิต จึงกล่าว ไม่เห็นประโยชน์ก็ไม่กล่าว. ดัง

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงย่อยปัญหาที่นิครนถ์แต่งมา ๔ เดือน ด้วยพระ

ดำรัสคำเดียวเท่านั้น ประหนึ่งอสนีบาตฟาดยอดบรรพต ฉะนั้น.

สองบทว่า อนสฺสุ นิคนฺถา แปลว่า นิครนถ์ทั้งหลายฉิบหายแล้ว.

บทว่า องฺเก นิสินฺโน โหติ คือ นั่งบนพระเพลา. แท้จริง นักพูดโดย

เลศทั้งหลาย ตั้งวาทะขึ้นมาก็นั่งจับของบางอย่าง เช่นผลไม้ หรือดอกไม้

หรือคัมภีร์ เมื่อตนชนะก็ทับถมผู้อื่น. เมื่อตนแพ้ก็แสดงกิริยาซัดส่าย (แก้

ขวย) ประหนึ่งกินผลไม้ ประหนึ่งดมดอกไม้ ประหนึ่งอ่านคัมภีร์ ฉะนั้น.

ส่วนอภัยราชกุมารนี้ ทรงดำริว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเข้าสงครามย่ำยี

วาทะของผู้อื่น ถ้าเราชนะก็ดีไป ถ้าไม่ชนะก็หยิกเด็กให้ร้อง ต่อนั้น เราก็จัก

พูดว่า ดูซิ ท่านผู้เจริญ เด็กนี่ร้อง ลุกขึ้นก่อน ภายหลังค่อยรู้กัน เพราะ

ฉะนั้น จึงทรงพาเด็กมาประทับนั่ง. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นนักพูดประ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

เสริฐกว่าอภัยราชกุมารพันเท่าแสนเท่า ทรงพระพุทธดำริว่า จักทรงทำเด็กนี้

แหละให้เป็นข้ออุปมา ทำลายวาทะของอภัยราชกุมารนั้นเสีย จึงตรัสว่า

กึ มญฺสิ ราชกุมาร เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุเข อาหเรยฺย แปลว่า ตั้งไว้ในปาก.

คำว่า อาหเรยฺยสฺสาห แก้เป็น อปเนยฺย อสฺส อห. บทว่า อาทิเกเนว

แปลว่า ด้วยประโยคแรกเท่านั้น. บทว่า อภูต แปลว่า มีใจความไม่เป็น

จริง. บทว่า อตจฺฉ แปลว่า ไม่เปล่าประโยชน์. บทว่า อนตฺถสญฺหิต

แปลว่า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่อาศัยความเจริญ. บทว่า อปฺปิยา

อมนาปา แปลว่า ไม่น่ารัก ไม่น่าพอใจ. พึงทราบความในที่ทุกแห่ง โดย

นัยนี้นี่แล. บรรดาวาจาสองฝ่ายนั้น ในฝ่ายวาจาไม่เป็นที่รัก วาจาแรกที่เป็น

ไป ตู่คนที่ไม่ใช่โจรว่าโจร ตู่คนที่ไม่ใช่ทาสว่าทาส ตู่คนที่ไม่ใช่ผู้ประกอบ

กรรมชั่วว่า คนประกอบกรรมชั่ว ตถาคตไม่กล่าวาจานั้น วาจาที่สองเป็นไป

ด้วยอำนาจวาจาที่ชี้ผู้เป็นโจรเท่านั้นว่า ผู้นี้โจร ดังนี้เป็นต้น ตถาคตไม่

กล่าววาจาแม้นั้น บัดนี้พึงทราบวาจาที่สาม คือวาจาที่กล่าวด้วยมุ่งประโยชน์

เป็นเบื้องหน้า ด้วยมุ่งธรรมเป็นเบื้องหน้า ด้วยมุ่งสั่งสอนเป็นเบื้องหน้าแก่

มหาชนอย่างนี้ว่า เพราะความที่ท่านไม่ได้ทำบุญไว้ ท่านจึงยากจน มีผิว-

พรรณทราม มีอำนาจน้อย แม้ดำรงอยู่ในโลกนี้แล้วก็ยังไม่ทำบุญอีก ใน

อัตภาพที่สอง ท่านจะพ้นจากอบาย ๔ ได้อย่างไร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

กาลญฺญู ตถาคโต ความว่า ตถาคตเป็นผู้รู้กาล เพื่อประโยชน์แก่การ

พยากรณ์วาจานั้น ในการพยากรณ์ที่สามนั้น อธิบายว่า ตถาคตรู้กาลที่ถือ

เอาของที่ควรถือกาลที่ยอมรับของมหาชนแล้วจึงพยากรณ์ ในฝ่ายวาจาเป็นที่รัก

วาจาแรกชื่อว่า ถ้อยคำที่ไม่ควรตั้งไว้ ถ้อยคำที่ไม่ควรตั้งไว้นั้นพึงทราบอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

ดังได้ยินมา ชายแก่ชาวบ้านคนหนึ่งมายังพระนคร ดื่มเหล้าอยู่ใน

โรงเหล้า พวกนักเลงเหล้าเป็นอันมากต้องการจะลวงแก จึงยืนใกล้ที่แกดื่ม

เหล้า แล้วก็ดื่มเหล้ากับแก คิดในใจว่า จะเอาทั้งผ้านุ่งผ้าห่มของชายแก่คนนี้

ทั้งสิ่งของในมือให้หมด จึงทำกติกาสัญญากันว่าเราจะเล่าเรื่องที่ประจักษ์แก่ตน

คนละเรื่อง ผู้ใดพูดว่าไม่จริงหรือไม่เชื่อเรื่องที่พูด เราจะเอาผู้นั้นไปเป็นทาส.

จึงถามชายแก่คนนั้นว่า ถูกใจไหมล่ะ พ่อลุง. ชายแก่ตอบว่า ตกลงพ่อหนุ่ม.

นักเลงเหล้าคนหนึ่งจึงเล่าว่า พ่อมหาจำเริญ เมื่อข้าอยู่ในท้องแม่ข้า

แม่แพ้ท้องอยากจะกินลูกมะขวิด แม่หาคนนำลูกมะขวิดมาไม่ได้ จึงสั่งข้าไป

ข้าขึ้นต้นไม้ไม่ได้ก็จับเท้าตัวเองโยนขึ้นไปบนต้นไม้เหมือนกับโยนค้อน แล้ว

ก็ไต่จากกิ่งโน้นมากิ่งนี้เก็บลูกมะขวิด แต่แล้วก็เกิดลงไม่ได้ ต้องกลับไปบ้าน

เอาบันไดมาพาดจึงลงได้ แล้วไปหาแม่ให้ลูกมะขวิดแก่แม่ แต่ว่าเจ้าลูกมะขวิด

เหล่านั้นมันใหญ่โตขนาดตุ่ม แต่นั้น แม่ข้าก็นั่งบนที่นั่งอันหนึ่ง กินลูกมะขวิด

เข้าไปตั้ง ๖๐ ลูกถ้วน ในจำนวนลูกมะขวิดที่ข้านำมาด้วยสะเอวข้างเดียว ลูก

มะขวิดที่เหลือ ๆ ก็เป็นของเด็กของคนแก่ในบ้าน ของตระกูล เรือนของเรา

ขนาด ๑๖ ศอก. ขนสิ่งของเครื่องใช้ที่เหลือออกไป ลูกมะขวิดก็เต็มไปจนถึง

หลังคา ส่วนที่เกินไปจากหลังคา ก็กองไว้ใกล้ประตูเรือน มันสูง ๘๐ ศอก

เหมือนภูเขาเลากา ท่านผู้เจริญ เชื่อเรื่องเช่นนี้ไหม.

ชายแก่ชาวบ้านนั่งนิ่ง ถูกพวกนักเลงถาม เมื่อจบเรื่องก็ตอบว่า มัน

เป็นได้อย่างนั้น พ่อหนุ่ม แว่นแคว้นออกใหญ่โต ข้าเชื่อซิ เพราะแว่นแคว้น

มันใหญ่. เมื่อเหล่านักเลงเหล้าที่เหลือเล่าเรื่องที่ปราศจากเหตุคล้าย ๆ กัน

เหมือนที่นักเลงเหล้าคนนั้นเล่าแล้ว ชายแก่ชาวบ้านก็บอกว่า ฟังข้าบ้างพ่อหนุ่ม

ตระกูลของพวกเจ้ายังไม่ใหญ่ดอก ตระกูลของข้าสิใหญ่จริง ๆ ไร่ของข้าก็ใหญ่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

กว่าไร่ไหน ๆ กลางไร่ฝ้ายที่เนื้อที่หลายร้อยกรีสนั้น มีต้นฝ้ายต้นหนึ่งสูงถึง ๘๐

ศอก ขนาดใหญ่ มันมีกิ่งอยู่ ๕ กิ่ง ทั้ง ๕ กิ่งนั้น กิ่งอื่น ๆ ไม่ติดลูก กิ่ง

ที่อยู่ด้านทิศตะวันออกมีอยู่ลูกเดียว ลูกโตเท่าตุ่มขนาดใหญ่ ลูกนั้นมี ๖ พู

ฝักฝ้าย ๖ ฝัก ก็ผลิออกในพูทั้ง ๖ นั้น ข้าจึงให้เขาแต่งหนวด แล้วอาบน้ำ

ชะโลมตัวเองแล้วก็ไปไร่ ยืนดูดอกฝ้ายเหล่านั้นผลิแตกออกแล้ว จึงยื่นมือเข้า

ไปจับ เจ้าฝักฝ้ายเหล่านั้นมีเรี่ยวแรงกลายเป็นทาสไป เจ้าพวกทาสเหล่านั้น

ก็ผละหนีข้าไปทีละคน ข้าไม่พบทาสเหล่านั้นจนบัดนี้ วันนี้ข้าพบพวกเจ้าแล้ว.

ก็ระบุชื่อว่า เจ้าชื่อนันทะ เจ้าชื่อปุณณะ เจ้าชื่อวัฑฒมานะ เจ้าชื่อฉัตตะ

เจ้าชื่อมังคละ เจ้าชื่อเหฏฐิยะ แล้วก็ลุกขึ้นจับพวกนักเลงเหล้าที่ผมจุกแล้ว

ยืนขึ้น นักเลงเหล้านั้นไม่สามารถแม้แต่จะปฏิเสธว่า พวกข้าไม่ใช่ทาส.

ครั้งนั้น ชายแก่ชาวบ้านคนนั้น ก็คว้าตัวนักเลงเหล่านั้นไปขึ้นโรงศาล ยก

ลักษณะทาสขึ้นฟ้อง ทำเขาให้ตกเป็นทาสใช้สอยไปตลอดชีวิต. ตถาคตไม่

กล่าวถ้อยคำเห็นปานฉะนี้.

วาจาที่สอง เป็นเถนวาจา (วาจาของขโมย) สำหรับคนอื่นมีประการ

ต่าง ๆ เพราะเห็นแก่อามิส หรือเพราะอำนาจความอยากดื่มเหล้าเป็นต้น และ

เป็นดิรัจฉานกถา ที่เป็นไปโดยนัยว่า เรื่องโจร เรื่องพระราชา เป็นต้น

ตถาคตไม่กล่าววาจาแม้นั้น. วาจาที่สามเป็นกถาที่อิงอาศัยอริยสัจ ซึ่งเหล่า

บัณฑิตพึงแม้ร้อยปีก็ไม่รู้สึกอิ่ม. ดังนั้น ตถาคตจึงไม่กล่าววาจาจริงทั้งที่ไม่เป็น

ที่รัก ทั้งที่เป็นที่รัก กล่าวแต่วาจาที่สาม. ไม่ให้เวลาที่ควรจะกล่าววาจาที่สาม

ล่วงเลยไป. พึงทราบว่า ข้ออุปมาด้วยเรื่องเด็กหนุ่มอันมาแล้วแต่หนหลัง.

ในที่นั้นหมายเอาวาจาที่ไม่น่ารักวาจาที่สาม. คำว่า อุทาหุ านโสเวต ความ

ว่า อภัยราชกุมารทูลถามว่า หรือว่าข้อนั้นปรากฏแก่พระตถาคตเจ้าในทันที

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

ทันใด ด้วยพระญาณที่เกิดขึ้นแล้วฉับพลัน. คำว่า ปญฺาโต แปลว่า เขา

รู้แล้ว เขารู้กันทั่วแล้ว ปรากฏแล้ว. คำว่า ธมฺมธาตุ หมายถึงสภาวะแห่ง

ธรรม คำนี้เป็นชื่อของพระสัพพัญญุตญาณ. แท้จริง พระสัพพัญญุตญาณนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าแทงตลอดด้วยดีแล้ว คือ อยู่ในพระหัตถ์ของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว เพราะฉะนั้น พระองค์ทรงประสงค์ข้อใด ๆ ข้อนั้น ๆ ทั้งหมด

ก็แจ่มแจ้งฉับพลันทันที. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งตื้นทั้งนั้น ก็พระธรรมเทศนา

นี้จบลงด้วยอำนาจแห่งเวไนยบุคคลแล

จบอรรถกถาอภยราชกุมารสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

๙. พหุเวทนิยสูตร

ว่าด้วยช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ

[๙๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวนาราม ของอนาถ-

บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น นายช่างไม้ชื่อ ปัญจกังคะ

เข้าไปหาท่านพระอุทายี นมัสการแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

กถาว่าด้วยเวทนา

[๙๘] นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว

ได้กล่าวกะท่านพระอุทายีว่า ท่านพระอุทายี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนา

ไว้เท่าไร ท่านพระอุทายีตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนา

ไว้ ๓ ประการ คือสุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูก่อน

คฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้แล.

ป. ข้าแต่ท่านพระอุทายี พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓

ประการ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกข-

เวทนา ๑ เพราะอทุกขมสุขเวทนาพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสุขอันสงบ อัน

ประณีตแล้ว.

ท่านพระอุทายีได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาไว้ ๓

ประการ คือสุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูก่อนคฤหบดี

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ได้กล่าวยืนคำเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่ท่าน

พระอุทายี พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ เพราะ

อทฺกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในสุขอันสงบ อันประณีตแล้ว.

ท่านพระอุทายีได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๒ ประการ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนาไว้ ๓

ประการ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูก่อนคฤหบดี

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการนี้แล.

นางช่างไม้ชื่อปัญจกังคะได้กล่าวเป็นครั้งที่ ๓ ว่า ท่านพระอุทายี พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสเวทนาไว้ ๓ ประการ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเวทนา

ไว้ ๒ ประการ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ เพราะอทุกขมสุขเวทนา พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ในสุขอันสงบ อันประณีตแล้ว.

ท่านพระอุทายีไม่สามารถจะให้นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะยินยอมได้ นาย

ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะก็ไม่สามารถจะให้ท่านพระอุทายียินยอมได้.

[๙๙] ท่านพระอานนท์ได้สดับถ้อยคำเจรจาของท่านพระอุทายีกับนาย

ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลถ้อยคำเจรจา

ของท่านพระอุทายีกับนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน

อานนท์ นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะไม่ยอมตามบรรยายอันมีอยู่ของพระอุทายี

และพระอุทายีก็ไม่ยอนตามบรรยายอันมีอยู่ของนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

อานนท์ แม้เวทนา ๒ เราได้กล่าวแล้วโดยปริยาย ถึงเวทนา ๓ เวทนา ๔

เวทนา ๕ เวทนา ๖ เวทนา ๑๘ เวทนา ๓๖ เวทนา ๑๐๘ เราก็กล่าวแล้วโดยปริยาย

ดูก่อนอานนท์ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้แล ผู้ใดไม่รู้ตามด้วย

ดี ไม่สำคัญตามด้วยดี ไม่ยินดีตามด้วยดี ซึ่งคำที่กล่าวดี พูดดี ของกันและ

กัน ในธรรมที่เราแสดงโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผลอันนี้ คือ จัก

บาดหมาง ทะเลาะวิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ดูก่อนอานนท์

ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ผู้ใดรู้ตามด้วยดี สำคัญตามด้วยดี ยินดี

ตามด้วยดี ซึ่งคำที่กล่าวดี พูดดี ของกันแลกัน ในธรรมที่เราแสดงโดยปริ-

ยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผลอันนี้ คือ จักพร้อมเพรียง บันเทิง ไม่วิวาท

กัน เป็นเหมือนน้ำนมระคนกับน้ำ แลดูกันด้วยสายตาเป็นที่อยู่.

กามคุณ ๕

[๑๐๐] ดูก่อนอานนท์ กามคุณ ๕ นี้เป็นไฉน คือ รูปอันจะพึงรู้

ด้วยจักษุ อันสัตว์ปรารถนา ใคร่ พอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้ง

แห่งความกำหนัด เสียงอันจะพึงรู้โดยโสตะ. . .กลิ่นอันจะพึงรู้ด้วยฆานะ. . . รส

อันจะพึงรู้ด้วยชิวหา . . . โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้ด้วยกาย อันสัตว์ปรารถนา ใคร่

พอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูก่อนอานนท์

นี้แลกามคุณ ๕ สุขโสมนัสอันใดย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ นี้ สุขและ

โสมนัสนี้ เรากล่าวว่ากามสุข.

สุขในรูปฌานและอรูปฌาน

[๑๐๑] ดูก่อนอานนท์ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า

สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนี้เพราะเหตุไร

เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูก่อน

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมบรรลุปฐมฌาน

มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่า

และประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่น

ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.

ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูก่อน

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ

สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เรา

ไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มี

กามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีต

กว่าสุขนี้ยังมีอยู่.

ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูก่อน

อานนท์ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยน้ำมันกาย

เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้

เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีต

กว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุข

โสมนัสมีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและ

ประณีตกว่าสุขนี้ ยังมีอยู่.

ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูก่อน

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

ละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

นี้แลอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของ

ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อ

นั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.

ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูก่อน

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า

อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆ-

สัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่า

และประณีตกว่าสุขนี้.

ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูก่อน

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญ-

ญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล

อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.

ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูก่อน

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ

ก็ไม่มีเพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์

สุขอื่นอันดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.

ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูก่อน

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วง

อากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่า

และประณีตกว่าสุขนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

[๑๐๒] ดูก่อนอานนท์ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้กล่าวอย่างนี้ว่า

สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร

ดูก่อนอานนท์ เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ ยังมีอยู่.

ดูก่อนอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูก่อน

อานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญา-

นาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและ

ประณีตกว่าสุขนี้.

ดูก่อนอานนท์ ข้อที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระ-

สมณโคดมตรัสสัญญาเวทยิตนิโรธไว้แล้ว แต่บัญญัติลงในสุข ข้อนี้นั้นจะเป็น

ไฉนเล่า ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไรเล่า ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนอานนท์

อัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ท่านควรจะกล่าวตอบว่า ดูก่อนอาวุโส

พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงหมายสุขเวทนาอย่างเดียว แล้วบัญญัติไว้ในสุขหามิ

ได้ แต่บุคคลได้สุขในที่ใด ๆ พระตถาคตย่อมบัญญัติที่นั้น ๆ ไว้ในสุข.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบพหุเวทนิยสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

๙. อรรถกถาพหุเวทนิสูตร

พหุเวทนิยสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้ฟังมา

แล้วอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ปัญจกังคะ ในคำว่า ปญฺจกงฺโค

ถปติ เป็นชื่อของนายช่างไม้นั้น. เขารู้กันทั่วไปว่า ปัญจกังคะ ก็เพราะ

เป็นผู้ประกอบด้วยเครื่องมือ ๕ อย่าง กล่าวคือ มีด ขวาน สิ่ว ค้อน และ

สายบรรทัด. คำว่า นายช่างไม้ คือเป็นหัวหน้าช่างไม้. คำว่า อุทายี คือ

ท่านพระอุทายีเถระผู้เป็นบัณฑิต. คำว่า ปริยาย แปลว่า เหตุ. คำว่า เทฺวปา-

นนฺท แยกสนธิว่า เทฺวปิ อานนฺท. คำว่า ปริยาเยน คือ ด้วยเหตุ.

ก็บรรดาเวทนาเหล่านั้น พึงทราบว่า เวทนามี ๒ คือ เวทนาที่เป็น

ไปทางกาย และเป็นไปทางใจ. มี ๓ มีสุขเวทนาเป็นต้น. ว่าโดยอินทรีย์มี ๕

มีสุขินทรีย์เป็นต้น. ว่าโดยทวารมี ๖ มีจักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น, ว่าโดย

อุปวิจารมี ๑๘ เป็นต้นว่า เห็นรูปด้วยจักษุแล้วก็ควรพิจารณารูป ที่เป็นที่ตั้ง

แห่งโสมนัส ดังนี้. มี ๓๖ อย่างนี้คือ โสมนัสที่อาศัยเรือน ๖ โสมนัสที่อาศัย

เนกขัมมะ ๖ โทมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ ๖ โทมนัสที่อาศัยเรือน ๖ อุเบกขาที่

อาศัยเรือน ๖ อุเบกขาที่อาศัยเนกขัมมะ ๖. พึงทราบว่าเวทนาเหล่านั้น คือ

อดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ ปัจจุบัน ๓๖ รวมเป็น ๑๐๘.

พระวาจาว่า ปญฺจ โข อิเม อานนฺท กามคุณา นี้เป็นอนุสนธิ

แยกคนละส่วน แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า มิใช่ทรงบัญญัติเวทนาตั้งต้นเพียง

๒ เท่านั้น ยังตรัสเวทนาแม้เพียง ๑ ไว้โดยปริยายก็มี เมื่อจะทรงแสดงเวทนานั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

จึงทรงเริ่มเทศนานี้ เพื่อสนับสนุนวาทะของนายช่างไม้ที่ชื่อปัญจกังคะ. คำว่า

อภิกฺกนฺตตร แปลว่า ดีกว่า. คำว่า ปณีตตร แปลว่า สมควรกว่า. ใน

เวทนาเหล่านั้นนั่นแลตรัสเรียกว่า อทุกขมสุขเวทนา ตั้งแต่จตุตถฌาน. อทุก-

ขมสุขเวทนาแม้นั้น ตรัสเรียกว่า สุข เพราะอรรถว่า สงบ และเพราะ

อรรถว่า ประณีต. โสมนัสที่อาศัยเรือน ๖ ตรัสเรียกว่า สุข. นิโรธ ชื่อว่า

สุข โดยเป็นสุขที่ไม่มีผู้เสวย. แท้จริง สุขที่เกิดด้วยอำนาจกามคุณ ๕ และด้วย

อำนาจสมาบัติ ๘ ชื่อว่า สุขที่มีผู้เสวย. นิโรธ จึงชื่อว่า สุขที่ไม่มีผู้เสวย.

ดังนั้น ไม่ว่าสุขที่มีผู้เสวยก็ตาม สุขที่ไม่มีผู้เสวยก็ตาม ก็จัดว่าสุขอย่างหนึ่งนั่น

เอง เพราะอรรถว่าเป็นสุข กล่าวคือภาวะที่ไม่มีทุกข์. คำว่า ยตฺถ ยตฺถ แปล

ว่า ในที่ใด ๆ. คำว่า สุข อุปลพฺภติ ความว่า ย่อมเกิดสุขที่มีผู้เสวยบ้าง

สุขที่ไม่มีผู้เสวยบ้าง. คำว่า ตถาคตย่อมบัญญัติสุขนั้น ๆ ไว้ในสุข คือ

ตถาคตย่อมบัญญัติภาวะที่ไม่มีทุกข์ทั้งหมดนั้นไว้ในสุขอย่างเดียว. ในพระสูตร

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำนิโรธสมาบัติให้เป็นประธาน แล้วจบเทศนาลง

ด้วยยอดธรรม คือ พระอรหัต ด้วยอำนาจเวไนยบุคคล ดังนี้.

จบอรรถกถาพหุเวทนียสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

๑๐. อปัณณกสูตร

ว่าด้วยพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลา

[๑๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงพราหมณคามนามว่าศาลา ของชนชาวโกศล

พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลาได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร

ผู้เจริญ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกมาในโกศลชนบท พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงบ้านศาลาแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามแห่งพระ-

โคดมผู้เจริญนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ

จรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่ง

กว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้

จำแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้ง

เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์

เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม

ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ

พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การ

ได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนี้ ย่อมเป็นความดี.

ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีข่าวบ้านศาลาพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศัยพอให้ระลึกถึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

กันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและ

โคตรในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่ง

นิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

อปัณณกธรรม

[๑๐๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้าน

ศาลาผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ศาสดาคนใดคนหนึ่ง ซึ่ง

เป็นที่ชอบใจของท่านทั้งหลาย เป็นที่ให้ท่านทั้งหลายได้ศรัทธาอันมีเหตุ มี

อยู่หรือ.

พราหมณ์และคฤหบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ศาสดาคน

ใดคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ชอบใจของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นที่ให้ข้าพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลายได้ศรัทธาอันมีเหตุ หามีไม่.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายยังไม่ได้ศาสดา

ที่ชอบใจ พึงสมาทานอปัณณกธรรมนี้แล้วประพฤติ ด้วยว่าอปัณณกธรรมที่

ท่านทั้งหลายสมาทานให้บริบูรณ์เเล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ

ความสุขแก่ท่านทั้งหลายสิ้นกาลนาน ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็

อปัณณกธรรมนั้นเป็นไฉน.

วาทะที่เป็นข้าศึกกัน

[๑๐๕] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวก

หนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานทีให้แล้วไม่มีผล การบวง-

สรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

นี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี อุปปาติกสัตว์ไม่มี สมณะพราหมณ์

ที่ไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเอง แล้วประกาศให้รู้ทั่ว ไม่มีในโลก.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ

เป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น เขากล่าวอย่างนี้ว่า ทานที่ให้

แล้วมีผล การบวงสรวงมีผล การบูชามีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำชั่ว

ทำดีมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี อุปปาติกสัตว์มี สมณพราหมณ์

ที่ไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่ว มีอยู่ในโลก ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณพราหมณ์เหล่านี้ มีวาทะเป็น

ข้าศึกโดยตรงต่อกันและกันมิใช่หรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๑๐๖] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์

สองพวกนั้น สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้

แล้วไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่

สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี

อุปปาติกสัตว์ไม่มี สมณพราหมณ์ที่ไปโดยชอบ ปฏิบัติโดยชอบ ทำโลกนี้

และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ทั่ว ไม่มีในโลก

ดังนี้ เป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือจักเว้นกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือกายสุจริต

วจีสุจริต มโนสุจริต จักสมาทานอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กายทุจริต

วจีทุจริต มโนทุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะท่านสมณพรา-

หมณ์เหล่านั้นไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นฝ่ายขาวแห่งกุศลธรรม ก็โลกหน้ามีอยู่จริง

ความเห็นของผู้นั้นว่า โลกหน้าไม่มี ความเห็นของเขานั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็

โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขาดำริว่า โลกหน้าไม่มี ความดำริของเขานั้นเป็น

มิจฉาสังกัปปะ ก็โลกหน้ามีอยู่จริง แต่เขากล่าววาจาว่า โลกหน้าไม่มี วาจา

ของเขานั้นเป็นมิจฉาวาจา ก็โลกหน้ามีอยู่จริง เขากล่าวว่า โลกหน้าไม่มี ผู้

นี้ย่อมทำตนเป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ผู้รู้แจ้งโลกหน้า ก็โลกหน้ามีอยู่จริง เขา

ยังผู้อื่นให้เข้าใจว่า โลกหน้าไม่มี การให้ผู้อื่นเข้าใจของเขานี้เป็นการให้เข้า

ใจผิดโดยไม่ชอบธรรม เขายังยกตนและข่มผู้อื่น ด้วยการให้ผู้อื่นเข้าใจผิด

โดยไม่ชอบธรรมนั้นด้วย เขาละคุณคือเป็นคนมีศีลแล้วก่อนเทียว ตั้งไว้เฉพาะ

แต่โทษ คือความเป็นคนทุศีลไว้ ด้วยประการฉะนี้ อกุศลธรรมอันลามก

เป็นอเนกเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็น

ข้าศึกต่อพระอริยะ การให้ผู้อื่นเข้าใจผิดโดยไม่ชอบธรรม การยกตน การ

ข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

อปัณณกธรรมที่ถือไว้ชั่ว

[๑๐๗] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณ-

พราหมณ์เหล่านั้น บุรุษผู้รู้แจ้งย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าโลกหน้าไม่มี เมื่อ

เป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักทำตนให้สวัสดีได้ ถ้าโลกหน้า

มี เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก อนึ่ง โลกหน้าอย่าได้มีจริง คำของท่านสมณพราหมณ์เหล่า

นั้นจงเป็นคำจริง เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ เป็นผู้อันวิญญูชน

ติเตียนได้ในปัจจุบันว่า เป็นบุรุษบุคคลทุศีล เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นนัตถิกวาทะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

ถ้าโลกหน้ามีจริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้ ปราชัยในโลกทั้งสอง คือ

ในปัจจุบัน ถูกวิญญูชนติเตียน เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก ด้วยประการฉะนี้ อปัณณกธรรมนี้ ที่ผู้นั้นถือไว้ชั่ว สมาทานชั่ว

ย่อมแผ่ไปโดยส่วนเดียว ย่อมละเหตุแห่งกุศลเสีย ด้วยประการฉะนี้.

[๑๐๘] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณ-

พราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้

ว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีผล ฯลฯ สมณพราหมณ์ที่ไปโดยชอบ ปฏิบัติชอบ

ทำโลกนี้และโลกหน้าให้ชัดแจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้รู้ทั่ว มี

อยู่ในโลก สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังข้อมิได้ คือจักเว้นอกุศลธรรม

ทั้ง ๓ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต จักสมาทานกุศลธรรมทั้ง ๓ คือ

กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นเห็นโทษความต่ำทราม ความเศร้าหมอง แห่ง

อกุศลธรรม เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นฝ่ายขาวแห่งกุศลธรรม ก็โลก

หน้ามีอยู่จริง ความเห็นของผู้นั้นว่า โลกหน้ามีอยู่ ความเห็นของเขานั้นเป็น

ความเห็นชอบ ก็โลกหน้ามีจริง เขาดำริว่า โลกหน้ามีจริง ความดำริของ

เขานั้นเป็นความดำริชอบ ก็โลกหน้ามีจริง เขากล่าวว่า โลกหน้ามีจริง วาจา

ของเขานั้นเป็นวาจาชอบ ก็โลกหน้ามีจริง เขากล่าวว่า โลกหน้ามีจริง ชื่อว่า

ไม่ทำตนเป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ ผู้รู้แจ้งโลกหน้า ก็โลกหน้ามีจริง เขาให้

ผู้อื่นเข้าใจว่า โลกหน้ามีจริง การให้ผู้อื่นเข้าใจของเขานั้น เป็นการให้ผู้อื่น

เข้าใจโดยสัทธรรม และเขาย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยการที่ให้ผู้อื่นเข้าใจ

โดยสัทธรรมนั้นด้วย เขาละโทษคือความเป็นคนทุศีล ตั้งไว้เฉพาะแต่คุณคือ

ความเป็นคนมีศีลไว้ก่อนเทียว ด้วยประการฉะนี้ กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

คือสัมมาทิฏฐิ. สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา ความไม่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ

การให้ผู้อื่น เข้าใจโดยสัทธรรม การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น ย่อมมี

เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

อปัณณกธรรมที่บุคคลถือไว้ดี

[๑๐๙] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณ-

พราหมณ์เหล่านั้น บุรุษผู้รู้แจ้ง ย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าโลกหน้ามีอยู่จริง

เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

อนึ่ง โลกหน้าอย่าได้มีจริง คำของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นจงเป็นคำจริง

เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ ก็เป็นผู้อันวิญญูชนสรรเสริญในปัจจุบัน

ว่า เป็นบุรุษบุคคลมีศีล มีสัมมาทิฏฐิ เป็นอัตถิกวาทะ ถ้าโลกหน้ามีจริง

ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้อย่างนี้ เป็นความมีชัยในโลกทั้งสอง คือใน

ปัจจุบัน วิญญูชนสรรเสริญ เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ด้วย

ประการฉะนี้ อปัณณกธรรมที่ผู้นั้นถือไว้ดี สมาทานดีนี้ ย่อมแผ่ไปโดยส่วน

สอง ย่อมละเหตุแห่งอกุศลเสีย ด้วยประการฉะนี้.

วาทะเป็นข้าศึกกัน

[๑๑๐] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวก

หนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง หรือใช้ให้ผู้อื่น

ทำ ตัดเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเองหรือใช้ให้ผู้อื่นเผาผลาญ. ทำ

สัตว์ให้เศร้าโศกเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำสัตว์ให้เศร้าโศก ทำสัตว์ให้ลำบากเอง

หรือใช้ผู้อื่นทำสัตว์ให้ลำบาก ทำสัตว์ให้ดิ้นรนเองหรือให้ผู้อื่นทำสัตว์ให้ดิ้นรน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ลักทรัพย์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ลัก ตัดช่อง ปล้น

ใหญ่ ทำการปล้นเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ในทางเปลี่ยว คบทาภรรยาของผู้อื่น

พูดเท็จ บาปที่บุคคลทำอยู่ ย่อมไม่ชื่อว่าเป็นอันทำ แม้หากผู้ใดพึงทำสัตว์

ในแผ่นดินนี้ ให้เป็นลานเนื้อแห่งเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อกองเดียวกัน ด้วย

จักรมีคมโดยรอบเช่นคมมีดโกน บาปซึ่งมีการทำสัตว์ให้เป็นลานเนื้อแห่งเดียว

กันเป็นเหตุย่อมไม่มี ไม่มีบาปมาถึง แม้บุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา

ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ตัด เผาผลาญของหรือใช้

ผู้อื่นให้เผาผลาญ บาปซึ่งมีการฆ่าสัตว์เป็นต้นเป็นเหตุย่อมไม่มี ไม่มีบาปมา

ถึง ถึงแม้บุคคลพึงไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้ทานเองหรือใช้ให้ผู้อื่นให้

บูชาเองหรือใช้ผู้อื่นให้บูชา บุญอันมีการให้ทานเป็นต้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มี

บุญย่อมไม่มีมาถึง บุญย่อมไม่มี บุญย่อมไม่มีมาถึง เพราะการให้ เพราะ

การข่มใจ เพราะความสำรวม เพราะกล่าวคำสัตย์ ดูก่อนพราหมณ์และ

คฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณะ-

พราหมณ์เหล่านั้น เขากล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ

ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ตัด เผาผลาญเองหรือใช้ผู้อื่นให้เผาผลาญ ทำสัตว์ให้

เศร้าโศกเองหรือให้ผู้อื่นให้ทำสัตว์ให้เศร้าโศก ทำสัตว์ให้ลำบากเองหรือให้

ผู้อื่นให้ทำสัตว์ให้ลำบาก ทำสัตว์ให้ดิ้นรนเอง หรือให้ผู้อื่นให้ทำสัตว์ให้

ดิ้นรน ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ลักทรัพย์เองหรือใช้ให้ผู้อื่นลักทรัพย์

ตัดช่องปล้นใหญ่ ทำการปล้นเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ในทางเปลี่ยว คบหาภรรยา

ของผู้อื่น พูดเท็จ บาปที่บุคคลทำอยู่ ย่อมชื่อว่าเป็นอันทำ แม้หากผู้ใดพึงทำ

สัตว์ในแผ่นดินนี้ให้เป็นลานเนื้อแห่งเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อกองเดียวกัน

ด้วยจักรมีคมโดยรอบ เช่นคมมีดโกน บาปซึ่งมีการทำสัตว์ให้เป็นลานเนื้อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

แห่งเดียวกันเป็นเหตุย่อมมี บาปย่อมมีมาถึง ถึงแม้บุคคลนั้นจะไปยังฝั่งขวาแห่ง

แม่น้ำคงคา ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ตัด เผาผลาญ

เองหรือใช้ผู้อื่นให้เผาผลาญ บาปซึ่งมีการฆ่าสัตว์เป็นต้นเป็นเหตุ ย่อมมี บาป

ย่อมมีมาถึง ถึงแม้บุคคลพึงไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้ทานเองหรือใช้

ผู้อื่นให้ให้ บูชาเองหรือใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญอันมีการให้ทานเป็นต้นเป็นเหตุ

ย่อมมี บุญย่อมมีมาถึง บุญย่อมมี บุญย่อมมีมาถึง เพราะการให้ทาน เพราะ

การฝึกฝน เพราะความสำรวม เพราะกล่าวคำสัตย์ ดูก่อนพราหมณ์และ

คฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณพราหมณ์

เหล่านี้ มีวาทะเป็นข้าศึกแก่กันและกันโดยตรงมิใช่หรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ความเห็นที่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ

[๑๑๑] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณะ-

พราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเองหรือใช้

ผู้อื่นให้ทำ ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ตัด เผาผลาญเองหรือให้ผู้อื่นให้เผาผลาญ

ทำสัตว์ให้เศร้าโศกเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำสัตว์ให้เศร้าโศก ทำสัตว์ให้ลำบากเอง

หรือใช้ผู้อื่นให้ทำสัตว์ให้ลำบาก ทำสัตว์ให้ดิ้นรนเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำสัตว์ให้

ดิ้นรน ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ลักทรัพย์เอง หรือใช้ผู้อื่นให้ลัก ตัด

ช่อง ปล้นใหญ่ ทำการปล้นในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ในทางเปลี่ยว คบหา

ภรรยาของผู้อื่น พูดเท็จ บาปที่บุคคลทำอยู่ ย่อมไม่ชื่อว่าเป็นอันทำ ถึงหาก

ผู้ใดพึงทำสัตว์ในแผ่นดินนี้ให้เป็นลานเนื้อแห่งเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อกอง

เดียวกัน ด้วยจักรมีคมโดยรอบเช่นคมมีดโกน บาปซึ่งมีการทำสัตว์ให้เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

ลานเนื้อแห่งเดียวกันเป็นเหตุย่อมไม่มี ไม่มีบาปมาถึง ถึงแม้บุคคลจะไปยัง

ฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้

ตัด เผาผลาญเองหรือใช้ผู้อื่นให้เผาผลาญ บาปซึ่งมีการฆ่าสัตว์เป็นต้นเป็น

เหตุ ย่อมไม่มี ไม่มีบาปมาถึง ถึงแม้บุคคลพึงไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา

ให้ทานเองหรือใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเองหรือใช้ผู้อื่นให้บูชา บุญอันมีการให้ทาน

เป็นต้นเป็นเหตุย่อมไม่มี บุญย่อมไม่มีมาถึง บุญย่อมไม่มี บุญไม่มีมาถึง

เพราะการให้ เพราะการข่มใจ เพราะความสำรวม เพราะกล่าวคำสัตย์ ดังนี้

สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังข้อนี้ได้คือ จักเว้นกุศลธรรม ๓ ประการนี้

คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต จักสมาทานอกุศลธรรม ๓ ประการนี้

คือกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง

แห่งอกุศลธรรม ไม่เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นธรรมฝ่ายขวาแห่งกุศล

ธรรม ก็ความทำมีอยู่ แต่ผู้นั้นมีความเห็นว่า ความทำไม่มี ความเห็นของ

เขานั้นเป็นความเห็นผิด ก็ความทำมีอยู่ ผู้นั้นดำริว่าความทำไม่มี ความดำริ

ของเขานั้น เป็นความดำริผิด ก็ความทำมีอยู่ ผู้นั้นกล่าววาจาว่าความทำไม่มี

วาจาของเขานั้นเป็นมิจฉาวาจา ก็ความทำมีอยู่ ผู้นั้นกล่าวว่าความทำไม่มี

ผู้นี้ย่อมทำตนให้เป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ ผู้มีวาทะว่า กรรมที่บุคคลทำอยู่

เป็นอันทำ ก็ความทำมีอยู่ ผู้นั้นให้บุคคลอื่นสำคัญผิดว่าความทำไม่มี การที่

ให้ผู้อื่นสำคัญผิดของเขานั้น เป็นการให้ผู้อื่นสำคัญผิดโดยไม่ชอบธรรม และ

เพราะการที่ให้ผู้อื่นสำคัญผิดโดยไม่ชอบธรรมนั้น เขาย่อมยกตน ข่มผู้อื่น เขา

ละคุณคือความเป็นผู้มีศีล ตั้งไว้แต่โทษคือความเป็นผู้ทุศีลขึ้นก่อนทีเดียว

ด้วยประการฉะนี้ ส่วนอกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่านี้ คือ ความเห็นผิด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

ความดำริผิด วาจาผิด ความเป็นข้าศึกต่อพระอริยะ กิริยาที่ให้ผู้อื่นสำคัญผิด

โดยไม่ชอบธรรม การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย

ด้วยประการฉะนี้.

อปัณณกรรมที่ถือไว้ชั่ว

[๑๑๒] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสรณ-

พราหมณ์เหล่านั้น บุรุษผู้รู้แจ้งย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าแลความทำไม่มี

เมื่อเป็นอย่างนี้ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักทำตนให้เป็นผู้มีความสวัสดี

ได้ ถ้าแลความทำมีอยู่ เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จัก

เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง ความทำอย่าได้มีจริง คำของท่าน

สมณพราหมณ์เหล่านั้นจงเป็นคำจริง เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้

ย่อมถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันว่า เป็นบุรุษบุคคลทุศีล มีความเห็นผิด

มีวาทะว่ากรรมที่บุคคลทำอยู่ไม่เป็นอันทำ ถ้าแลความทำมีอยู่จริง ความยึดถือ

ของท่านบุรุษบุคคลนี้ อย่างนี้ เป็นความปราชัยในโลกทั้งสอง คือในปัจจุบัน

วิญญูชนติเตียน เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อปัณณก-

ธรรมนี้ที่บุคคลถือไว้ชั่ว สมาทานชั่วอย่างนี้ย่อมแผ่ไปโดยส่วนเดียว ย่อมละ

เหตุแห่งกุศลเสีย.

ความเห็นที่ไม่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ

[๑๑๓] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณ-

พราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า

เมื่อบุคคลทำเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำ ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้ตัด เผาผลาญเอง

หรือใช้ผู้อื่นให้เผาผลาญ ทำสัตว์ให้เศร้าโศกเองหรือใช้ผู้อื่นให้ทำสัตว์ให้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

เศร้าโศก ทำสัตว์ให้ลำบากเองหรือใช้ผู้อื่นทำสัตว์ให้ลำบาก ทำสัตว์ให้ดิ้นรน

เองหรือใช้ผู้อื่นทำสัตว์ให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ลักทรัพย์

ตัดช่อง ปล้นใหญ่ ทำการปล้นในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ในทางเปลี่ยว

คบหาภรรยาของผู้อื่น พูดเท็จ บาปที่บุคคลทำอยู่ ย่อมชื่อว่าเป็นอันทำ แม้

หากผู้ใดพึงทำสัตว์ในแผ่นดินนี้ ให้เป็นลานเนื้อแห่งเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้อ

กองเดียวกัน ด้วยจักรมีคมโดยรอบเช่นคมมีดโกน บาปอันมีกรรมทำสัตว์ให้

เป็นลานเนื้อแห่งเดียวกันเป็นเหตุ ย่อมมี บาปย่อมมีมาถึง แม้ถ้าบุคคลจะไปยัง

ฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าสัตว์เองหรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า ตัดเองหรือใช้ผู้อื่นให้

ตัด เผาผลาญเองหรือใช้ผู้อื่นให้เผาผลาญ บาปอันมีการฆ่าสัตว์เป็นต้นเป็น

เหตุ ย่อมมี บาปย่อมมีมาถึง ถ้าแม้บุคคลจะพึงไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้

ทานเองหรือใช้ให้ผู้ยื่นให้ บูชาเองหรือใช้ผู้อื่นให้บูชา บุญอันมีการให้ทาน

เป็นต้นเป็นเหตุ ย่อมมี. บุญย่อมมีมาถึง บุญย่อมมี บุญย่อมมีมาถึง เพราะ

การให้ เพราะการข่มใจ เพราะความสำรวม เพราะกล่าวคำสัตย์ ดังนี้ สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังข้อนี้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต จักสมาทานกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กาย

สุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่าน

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง แห่ง

อกุศลธรรม ย่อมเห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นธรรมฝ่ายขาว แห่งกุศล-

ธรรม. ก็ความทำมีอยู่จริง และเขามีความเห็นว่า ความทำมีอยู่ ความเห็น

ของเขานั้นเป็นความเห็นชอบ. ความทำมีอยู่จริง ผู้นั้นดำริว่า ความทำมีอยู่

ความดำริของเขานั้นเป็นความดำริชอบ. ก็ความทำมีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าววาจาว่า

ความทำมีอยู่ วาจาของเขานั้นเป็นวาจาชอบ. ก็ความทำมีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าว

ว่า ความทำมีอยู่ ผู้นี้ย่อมไม่ทำตนให้เป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ผู้มีวาทะว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

กรรมที่บุคคลทำอยู่เป็นอันทำ. ก็ความทำมีอยู่จริง ผู้นั้นให้ผู้อื่นสำคัญว่าความ

ทำมีอยู่ การที่ให้ผู้อื่นสำคัญของเขานั้น เป็นกิริยาที่ให้สำคัญโดยชอบธรรม

และเพราะการที่ให้ผู้อื่นสำคัญโดยชอบธรรมนั้น เขาย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น

เขาละโทษาถือความเป็นผู้ทุศีลก่อนทีเดียว ตั้งไว้แต่คุณคือความเป็นผู้มีศีล

ด้วยประการฉะนี้. และกุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้คือ ความเห็นชอบ ความ

ดำริชอบ วาจาชอบ ความไม่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ การที่ให้ผู้อื่นสำคัญโดย

ธรรม การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วย

ประการฉะนี้.

อปัณณกธรรมที่ถือไว้ดี

[๑๑๔] ดูก่อนพราหมณ์ และคฤหบดี ทั้ง หลาย ในลัทธิ ของ สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้น บุรุษผู้รู้แจ้งย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าแลความทำมีอยู่

จริง ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ หากความทำ

อย่าได้มี คำของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จงเป็นคำจริง และเมื่อเป็น

อย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ ย่อมเป็นผู้อันวิญญูชนสรรเสริญในปัจจุบันว่า

เป็นบุรุษบุคคลมีศีล มีความเห็นชอบ มีวาทะว่า กรรมที่บุคคลทำอยู่เป็นอัน

ทำ ดังนี้. ถ้าแลความทำมีอยู่จริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้อย่างนี้

เป็นความชนะในโลกทั้ง ๒ คือ ในปัจจุบันวิญญูชนสรรเสริญ เมื่อตายไป

จักเข้าถึงสุด โลกสวรรค์. อปัณณกธรรมที่บุคคลนั้นถือดี สมาทานดี อย่าง

นี้ ย่อมแผ่ไปโดยส่วน ๒ ย่อมละเหตุแห่งอกุศลเสีย.

วาทะที่เป็นข้าศึกกัน

[๑๑๕] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวก

หนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

เศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมเศร้าหมอง

เอง เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย

ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมบริสุทธิ์เอง กำลังไม่มี ความเพียรไม่มี เรี่ยวแรง

ของบุรุษไม่มี ความบากบั่นของบุรุษไม่มี สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูต

ทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร เป็นแต่แปร-

ปรวนไปโดยเคราะห์กรรม ความเกิด และตามภาวะ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ใน

อภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มี

วาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณพราหมณ์เหล่านั้น เขากล่าวอย่างนี้ว่า เหตุมี

ปัจจัยมี เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย

จึงเศร้าหมอง เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์

ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย จึงบริสุทธิ์ กำลังมีอยู่ ความเพียรมีอยู่ เรี่ยวแรง

ของบุรุษมีอยู่ ความบากบั่นของบุรุษมีอยู่ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูต

ทั้งปวง ชีวะทั้งปวง มีอำนาจ มีกำลัง มีความเพียร แปรปรวนไปโดยเคราะห์

กรรม ความเกิด และตามภาวะ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

สมณพราหมณ์เหล่านี้มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อกันและกันมิใช่หรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ความเห็นที่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ

[๑๑๖] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณ-

พราหมณ์นั้น สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี

๑. อภิชาติ ๖ คือ กัณหาภิชาติ นีลาภิชาติ โลหิตาภิชาติ หลิททาภิชาติ สุกกาภิชาติ ปฐม-

สุกกภิชาติ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

ปัจจัยไม่มี เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่

มีปัจจัย ย่อมเศร้าหมองเอง เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์

ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมบริสุทธิ์เอง กำลังไม่มี

ความเพียรไม่มี เรี่ยวแรงของบุรุษไม่มี ความบากบั่นของบุรุษไม่มี สัตว์ทั้ง

ปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี

ความเพียร แปรปรวนไปโดยเคราะห์กรรม ความเกิด และตามภาวะ ย่อม

เสวยสุข และทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอัน

หวังข้อนี้ คือ จักเว้นกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กายสุจริต วจีสุจริต

มโนสุจริต จักสมาทานอกุศลธรรม ๓ ประการนี้ คือ กายทุจริต วจีทุจริต

มโนทุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านสมณพราหมณ์

เหล่านั้น ไม่เห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรม ไม่

เห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะอันเป็นธรรมฝ่ายขาวแห่งกุศลธรรม ก็เหตุมีอยู่จริง

แต่ผู้นั้นมีความเห็นว่า เหตุไม่มี ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด. ก็

เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นดำริว่าเหตุไม่มี ความดำริของเขานั้นเป็นดำริผิด ก็

เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าววาจาว่า เหตุไม่มี วาจาของเขานั้นเป็นวาจาผิด.

ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าวว่าเหตุไม่มี ผู้นี้ย่อมทำตนให้เป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์

ผู้กล่าวเหตุ. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นให้ผู้อื่นสำคัญผิดว่าเหตุไม่มี การให้ผู้อื่น

สำคัญของเขานั้น เป็นกิริยาที่ให้สำคัญโดยไม่ชอบธรรม และเพราะการที่ให้

ผู้อื่นสำคัญโดยไม่ชอบธรรมนั้น เขาย่อมยกตน ข่มผู้อื่น เขาละคุณคือความเป็น

ผู้มีศีลแต่ก่อนทีเดียว ตั้งไว้แต่โทษ คือความเป็นผู้ทุศีลขึ้นตั้งไว้ ด้วยประการ

ฉะนี้ อกุศลธรรมอันลามกเป็นอเนกเหล่านี้ คือ ความเห็นผิด ความดำริผิด

วาจาผิด ความเป็นข้าศึกต่อพระอริยะ การที่ให้ผู้อื่นสำคัญโดยไม่ชอบธรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

การยกตน การข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการ

ฉะนี้.

อปัณณกธรรมที่ถือไว้ชั่ว

[๑๑๗] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณ-

พราหมณ์นั้น บุรุษผู้รู้แจ้ง ย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าแลว่าเหตุไม่มี เมื่อ

เป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักทำตนให้มีความสวัสดีได้ ถ้า

เหตุมีอยู่จริง เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จักเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก อนึ่ง หากเหตุอย่ามีจริง คำของท่านสมณพราหมณ์นั้น

จงเป็นคำจริง ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ อันวิญญูชนพึงติเตียน

ได้ในปัจจุบันว่า เป็นบุรุษบุคคลทุศีล มีความเห็นผิด มีวาทะว่าหาเหตุมิได้

ถ้าแลเหตุมีอยู่จริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้ อย่างนี้ เป็นความ

ปราชัยในโลกทั้งสอง คือ ในปัจจุบันวิญญูชนติเตียน เมื่อตายไป จักเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นถือชั่ว สมาทาน

ชั่ว อย่างนี้ ย่อมแผ่ไปโดยส่วนเดียว ย่อมละเหตุแห่งกุศลเสีย.

ความเห็นที่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ

[๑๑๘] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณ-

พราหมณ์นั้น สมณพราหมณ์ผู้มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เหตุมี

ปัจจัยมี เพื่อความเศร้าหมองของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย

ย่อมเศร้าหมองเอง เหตุมี ปัจจัยมี เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์

ทั้งหลายมีเหตุ มีปัจจัย ย่อมบริสุทธิ์เอง กำลังมีอยู่ ความเพียรมีอยู่ เรี่ยว-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

แรงของบุรุษมีอยู่ ความบากบั่นของบุรุษมีอยู่ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง

ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง มีอำนาจ มีกำลัง มีความเพียร แปรปรวนไปโดยเคราะห์

กรรมความเกิดและตามภาวะ ย่อมเสวยสุขและทุกข์ในอภิชาติทั้ง ๖ เท่านั้น

สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นอันหวังข้อนี้ได้ คือ จักเว้นอกุศลธรรม ๓ ประการ

นี้ คือกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต จักสมาทานกุศลกรรม ๓ ประการนี้

คือกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แล้วประพฤติ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ

ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมเห็นโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง

ของอกุศลธรรม ย่อมเห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นธรรมฝ่ายขาว แห่ง

กุศลธรรม. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นมีความเห็นว่า เหตุมี ความเห็นของเขานั้น

เป็นความเห็นชอบ. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นดำริว่า เหตุมี ความดำริของเขานั้น

เป็นความดำริชอบ. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าววาจาว่า เหตุมี วาจาของเขา

นั้นเป็นวาจาชอบ. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นกล่าวว่า เหตุมี ผู้นี้ย่อมไม่ทำตนให้

เป็นข้าศึกต่อพระอรหันต์ผู้มีวาทะว่า เหตุมี. ก็เหตุมีอยู่จริง ผู้นั้นให้ผู้อื่น

สำคัญว่ามีเหตุ การที่ให้ผู้อื่นสำคัญของเขานั้น เป็นการที่ให้สำคัญโดยชอบ

ธรรม และเพราะการที่ให้ผู้อื่นสำคัญโดยชอบธรรมนั้น เขาย่อมไม่ยกตน

ย่อมไม่ข่มผู้อื่น เขาละโทษ คือความเป็นผู้ทุศีลก่อนทีเดียว ตั้งไว้เฉพาะแต่

ความเป็นผู้มีศีล ด้วยประการฉะนี้. กุศลธรรมเป็นอเนกเหล่านี้ คือ ความ

เห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ ความไม่เป็นข้าศึกต่อพระอริยะ การที่

ให้ผู้อื่นสำคัญโดยชอบธรรม การไม่ยกตน การไม่ข่มผู้อื่น ย่อมมี เพราะ

สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

อปัณณกธรรมที่ถือไว้ดี

[๑๑๙] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณ-

พราหมณ์นั้น บุรุษผู้เป็นวิญญูชนย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ถ้าเหตุมีอยู่จริง

เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านบุรุษบุคคลนี้ เมื่อตายไป จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

ก็ถ้าเหตุอย่าได้มีจริง วาจาของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้นจงเป็นคำสัตย์ ก็

เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านบุรุษบุคคลนี้ ย่อมเป็นผู้อันวิญญูชนสรรเสริญในปัจจุบัน

ว่า เป็นบุรุษบุคคลผู้มีศีล มีความเห็นชอบ มีวาทะว่ามีเหตุ และถ้าเหตุมี

อยู่จริง ความยึดถือของท่านบุรุษบุคคลนี้ อย่างนี้เป็นความชนะในโลกทั้งสอง

คือในปัจจุบัน ย่อมเป็นผู้อันวิญญูชนสรรเสริญ เมื่อตายไป จักเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ อปัณณกธรรมนี้ ที่บุคคลนั้นยึดถือดี สมาทานดี อย่างนี้ย่อม

แผ่ไปโดยส่วน ๒ ย่อมละเหตุแห่งอกุศลเสีย.

วาทะว่าอรูปพรหมไม่มี

[๑๒๐] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวก

หนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อรูปพรหมย่อมไม่มีด้วยอาการ

ทั้งปวง. สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณพราหมณ์

พวกนั้น เขากล่าวอย่างนี้ว่า อรูปพรหมมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวง ดูก่อนพราหมณ์

และคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สมณพราหมณ์

เหล่านี้มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อกันและกันมิใช่หรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์นั้น

บุรุษผู้เป็นวิญญูชนย่อมเห็นตระหนักดังนี้ว่า ข้อที่ว่าท่านสมณพราหมณ์มีวาทะ

อย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อรูปพรหมไม่มีด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เรา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

ไม่เห็น แม้ข้อที่ว่า ท่านสมณพราหมณ์ มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้

ว่า อรูปพรหมมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เราไม่รู้ ส่วนเราเองเล่า เมื่อ

ไม่รู้ เมื่อไม่เห็น จะพึงถือเอาโดยส่วนเดียวแล้วกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง

สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้ ข้อนั้นพึงเป็นการสมควรแก่เราหามิได้ ถ้าคำของท่านสมณ-

พราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อรูปพรหมไม่มีด้วยอาการทั้งปวง

ดังนี้ เป็นคำจริง ข้อที่เราจักเกิดขึ้นในเหล่าเทวดาที่มีรูป สำเร็จด้วยใจ ซึ่ง

ไม่เป็นความผิด นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ถ้าคำของท่านสมณพราหมณ์ที่มีวาทะ

อย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อรูปพรหมมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เป็น

คำจริง ข้อที่เราจักเกิดขึ้นในเหล่าเทวดาที่ไม่มีรูปสำเร็จด้วยสัญญา ซึ่งไม่เป็น

ความผิด นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. อนึ่งการถือท่อนไม้ การถือศัสตรา การ

ทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท การกล่าวว่ามึง ๆ การกล่าวส่อเสียด และ

มุสาวาท ซึ่งมีรูปเป็นเหตุ ย่อมปรากฏ แต่ข้อนี้ย่อมไม่มีในอรูปพรหมด้วย

อาการทั้งปวง ดังนี้ บุรุษผู้เป็นวิญญูนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อม

ปฏิบัติเพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิทแห่งรูปอย่างเดียว.

วาทะว่าความดังแห่งภพไม่มี

[๑๒๑] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวก

หนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพ ไม่มีด้วย

อาการทั้งปวง สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อสมณ-

พราหมณ์เหล่านั้น เขากล่าวอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่ด้วยอาการ

ทั้งปวง. ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อ

นั้นเป็นไฉน สมณพราหมณ์เหล่านี้ มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อกันและกัน

มิใช่หรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ในลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่า

นั้น บุรุษผู้เป็นวิญญูย่อมเห็นตระหนักดังนี้ว่า ข้อที่ท่านสมณพราหมณ์มีวาทะ

อย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพไม่มีด้วยอาการทั้งปวง ดัง

นี้ เราไม่เห็นแม้ข้อที่ท่านสมณพรหมณ์มีวาทะอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพ

มีอยู่ด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ สิ่งนี้เราไม่รู้ ส่วนเราเองเล่า เมื่อไม่รู้ เมื่อไม่เห็น

จะพึงถือเอาโดยส่วนเดียว แล้วกล่าวว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าดังนี้ ข้อนั้น

พึงเป็นการสมควรแก่เราหามิได้ ถ้าคำของท่านสมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้

มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพไม่มีด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เป็น

คำจริง ข้อที่เราจักเกิดขึ้นในเหล่าเทวดาที่ไม่มีรูป สำเร็จด้วยสัญญา ซึ่งไม่เป็น

ความผิด นี้เป็นฐานะที่มีได้ อนึ่ง ถ้าคำของท่านสมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้

มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวง ดังนี้ เป็นคำ

จริง ข้อที่เราจักปรินิพพานในปัจจุบันนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ความเห็นของท่าน

สมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพไม่

มีด้วยอาการทั้งปวงนี้ ใกล้ต่อธรรมเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ต่อธรรม

เครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ต่อธรรมเครื่องเพลิดเพลิน ใกล้ต่อธรรมเครื่องสยบ

ใกล้ต่อธรรมเครื่องถือมั่น ส่วนความเห็นของท่านสมณพราหมณ์ที่มีวาทะอย่าง

นี้ว่า ความดับสนิทแห่งภพมีอยู่ด้วยอาการทั้งปวงนี้ ใกล้ต่อธรรมอันไม่เป็นไป

กับด้วยราคะ ใกล้ต่อธรรมอันมิใช่ธรรมประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ต่อธรรมอันมิใช่

เครื่องเพลิดเพลิน ใกล้ต่อธรรมอันมิใช่เครื่องสยบ ใกล้ต่อธรรมอันไม่เป็น

เครื่องยึดมั่น บุรุษผู้เป็นวิญญูนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมปฏิบัติ

เพื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับสนิทแห่งภพเท่านั้น.

ื้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

บุคคล ๔ จำพวก

[๑๒๒] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีอยู่

หาได้อยู่ในโลก. ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ประกอบความ

ขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน.

๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบการ

ขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อนและประกอบการ

ขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนและประกอบการ

ขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อนและไม่ประ

กอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อนและไม่

ประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

นั้น ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหม

อยู่ในปัจจุบันเทียว.

[๑๒๓] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ทำตนให้

เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อนเป็นไฉน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคน

เปลือย ทอดทิ้งมารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุดก็

ไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ยินดีภิกษาที่เขาทำเฉพาะ ไม่ยินดีภิกษา

ที่เขานิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปากกระเช้า ไม่รับภิกษาคร่อม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับภิกษาของ

คน ๒ คนที่กำลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิง

ผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะ

กันทำไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่เขาเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอม

เป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง

เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้า รับภิกษาที่

เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๓ หลัง

เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๓ คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๔ หลัง เยียวยาอัตภาพ

ด้วยข้าว ๔ คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๕ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๕ คำบ้าง

รับภิกษาที่เรือน ๖ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๖ คำบ้าง รับภิกษาที่เรือน

๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาด

น้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๓ ใบบ้าง ๔ ใบบ้าง ๕ ใบบ้าง ๖ ใบบ้าง ๗ ใบบ้าง

กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้าง ๕ วันบ้าง

๖ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียน

มาตลอดกึ่งเดือนแม้เช่นนี้ด้วยประการฉะนี้ เขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง

มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มี

สาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีข้าวไหม้

เป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้

ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพ.

เขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสกุลบ้าง ผ้า

เปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอ

กรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

สัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือประกอบ

การขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือห้ามอาสนะ เป็นผู้

กระโหย่ง คือประกอบความเพียรในการกระโหย่ง [คือเดินกระโหย่งเหยียบพื้น

ไม่เต็มเท้าบ้าง] เป็นผู้นอนบนหนาม คือสำเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้

อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือประกอบการขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ประกอบ

การขวนขวายในการทำกายให้เดือดร้อนเร่าร้อนหลายอย่างเห็นปานนี้อยู่ ดูก่อน

พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน

ประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือด

ร้อนประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อนเป็นไฉน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะ

เลี้ยงชีวิต ฆ่าสุกรเลี้ยงชีวิต ฆ่านกเลี้ยงชีวิต ฆ่าเนื้อเลี้ยงชีวิต เป็นคนเหี้ยม

โหด เป็นคนฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนปกครองเรือนจำ หรือ

บุคคลเหล่าอื่นบางพวกเป็นผู้ทำการงานอันทารุณ ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดี

ทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบการขวนขวาย

ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน

และประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

และประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อนเป็นไฉน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น

พระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วก็ดี เป็นพราหมณ์มหาศาลก็ดี

พระราชาหรือพราหมณ์นั้นโปรดให้ทำโรงที่บูชายัญขึ้นใหม่ทางด้านบูรพาแห่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

พระนคร แล้วทรงจำเริญพระเกศาและมัสสุ ทรงนุ่งหนังเสือทั้งเล็บ ทรงทา

พระกายด้วยเนยใสและน้ำมันงา ทรงเกาพระปฤษฎางค์ด้วยเขามฤค เข้าไปยัง

โรงบูชายัญใหม่ พร้อมด้วยพระมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บรรทมบนพื้น

ดินอันมิได้ลาดด้วยเครื่องลาด ทาด้วยโคมัยสด น้ำนมในเท้าที่หนึ่ง แห่งโค

แม่ลูกอ่อนตัวเดียวมีเท่าใด พระราชาทรงเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำ

นมในเต้าที่ ๒ มีเท่าใดพระมเหสีทรงเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนม

ในเต้าที่ ๓ มีเท่าใดพราหมณ์ปุโรหิตย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำ

นมในเต้าที่ ๔ มีเท่าใดก็บูชาไฟด้วยน้ำนมเท่านั้น ลูกโคเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำ

นมที่เหลือ พระราชาหรือพราหมณ์นั้นตรัสอย่างนี้ว่า เพื่อต้องการบูชายัญ

จงฆ่าโคผู้ประมาณเท่านี้ จงฆ่าโคเมียประมาณเท่านี้ ลูกโคผู้ประมาณเท่านี้

ลูกโคเมียประมาณเท่านี้ แพะประมาณเท่านี้ แกะประมาณเท่านี้ ม้าประมาณ

เท่านี้ จงตัดต้นไม้ประมาณเท่านี้ เพื่อต้องการทำเป็นเสายัญ จงเกี่ยว

หญ้าประมาณเท่านี้ เพื่อต้องการลาดพื้น ชนเหล่าใดที่เป็นทาสก็ดี เป็นคน

ใช้ก็ดี เป็นกรรมกรก็ดี ของพระราชาหรือพราหมณ์นั้น ชนเหล่านั้นถูก

อาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ทำการงานตามกำหนด

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือด-

ร้อน และประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

และประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือด-

ร้อนและไม่ประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้

เดือดร้อนและไม่ประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้

เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว เป็นไฉน.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้

เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จ

ไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา

ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม

พระตถาคตพระองค์นั้นทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์แล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

สมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อม

ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดีหรือผู้เกิดเฉพาะ

ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้งฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระ-

ตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทาง

มาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติ

พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้า

กระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต

สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผม

และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต.

เขาบวชอย่างนี้ แล้ว ถึงพร้อมด้วยสิกขาและอาชีพเสมอด้วยภิกษุทั้ง-

หลาย

๑. ละการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศัสตรา มีความละอาย มีความ

เอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

๒. ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้

ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่.

๓. ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประ-

พฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน.

๔. ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำ

สัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก.

๕. ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไป

บอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอก

ข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริม

คนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อม-

เพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมพร้อมกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อม-

เพรียงกัน.

๖. ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะ

หู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ.

๗. ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่

เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำที่มีหลักฐาน มีที่

อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร.

๘. เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.

๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลา

วิกาล.

๑๐. เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการ

เล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรง ประดับและตกแต่งร่างกายด้วย

ดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.

๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.

๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.

๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.

๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.

๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.

๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.

๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.

๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.

๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.

๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.

๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการับใช้.

๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อและการขาย.

๒๔. เธอเว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม

และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.

๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.

๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การ

ปล้นและกรรโชก.

เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็น

เครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไป

ทางทิศาภาคใด ๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหาร

ท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง.

ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศ-

จากโทษในภายใน เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ

เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศล

ธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์

ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ เธอฟังเสียงด้วยโสตะ...ดมกลิ่นด้วยฆานะ...

ลิ้มรสด้วยชิวหา. . .ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยการ. . .รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว

ไม่ถือนิรมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่

สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำ

นั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบ

ด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสใน

ภายใน.

ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัว ในการก้าวไป ในการถอยกลับ ใน

การแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ

บาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระ

ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การ

ตื่น การพูด การนิ่ง.

ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติและสัมปชัญญะ อัน

เป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา

ซอกเขา ถ้า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับ

จากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

ความเพ่งเล็งโนโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์

จากความเพ่งเล็ง ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความ

กรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประ-

ทุษร้ายคือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความ

กำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก

ถีนมิทธะ ละอุทัธจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่

ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา

ไม่มีความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก

วิจิกิจฉา.

ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ อันทำ

ปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน

มีวิตก มีวิจาร มิปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส

แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก

วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และ

เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย

สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน

ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศ-

จากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม-

น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก

คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง

ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง

ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพ

โน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่าง

นั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจะติจากภพ

นั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่าง

นั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ

มีกำหนดอายุเพียงนั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ไม่มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม

ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ

ฉะนี้.

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม

จิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง

อุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม

ว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ

กายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบ

ด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ

ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว

ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วย

ประการฉะนี้.

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศ-

จากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้ม

น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข-

สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย

นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุด

พ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้น

แล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่

จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.

ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ไม่

ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบการขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำ

ผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบการขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขา

ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท

เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว.

พราหมณ์และคฤหบดีแสดงตนเป็นอุบาสก

[๑๒๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และคฤห-

บดีทั้งหลายชาวบ้านศาลาได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ

ตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด พระโคดม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

ผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายนี้ ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ

ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะ

ตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.

จบอปัณณกสูตรที่ ๑๐

จบคหปติวรรคที่ ๑

๑๐. อรรถกถาอปัณณกสูตร

อปัณณกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว

อย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาริก คือ จาริกไป ไม่รีบด่วน.

เหตุไรท่านจึงกล่าวว่า อตฺถิ ปน โว คหปตโย. ดังได้สดับมา บ้านนั้นตั้ง

อยู่ใกล้ปากดง เหล่าสมณพราหมณ์ประเภทต่าง ๆ เดินทางมาตลอดวัน ย่อม

เข้าไปหมู่บ้านนั้น เพื่อพักอาศัยในเวลาเย็นบ้าง เช้าบ้าง ชาวบ้านทั้งหลายก็

ลาดเตียง ตั่ง ถวายสมณพราหมณ์เหล่านั้น ล้างเท้า ทาเท้า ถวายน้ำดื่มอัน

สมควร. วันรุ่งขึ้น ก็นิมนต์ถวายทาน. สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็มีจิตผ่องใส

สนทนากับชาวบ้านเหล่านั้น พูดอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ทรรศนะ

ไร ๆ ที่ท่านทั้งหลายยึดถือไว้ มีอยู่หรือ ? ชาวบ้านก็ตอบว่า ไม่มีหรอก

ท่านเจ้าข้า. สมณพราหมณ์ก็พูดว่า ท่านคฤหบดีทั้งหลาย เว้นทรรศนะเสีย โลก

ก็ดำเนินไปไม่ได้ พวกท่านชอบใจทรรศนะอย่างหนึ่ง เห็นสมควรรับไว้ ก็

ควร. พวกท่านจงถือทรรศนะอย่างหนึ่งว่า โลกเที่ยง ดังนี้ก็พากันหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

วันต่อ ๆ มา สมณพราหมณ์เหล่าอื่นก็มา แล้วก็ถามเหมือนอย่างนั้นนั่นแล.

ชาวบ้านเหล่านั้น ก็ตอบสมณพราหมณ์นั้นว่า ขอรับ เจ้าข้า แล้วก็บอกว่า

วันก่อน ๆ เหล่าสมณพราหมณ์เช่นเดียวกับพวกท่าน มาบอกให้พวกเราถือ

ทรรศนะว่า โลกเที่ยง ดังนี้ก็ไป. สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็ว่า พวกนั้นมัน

โง่ จะรู้อะไร โลกนี้ขาดสูญต่างหาก พวกท่านจงถือทรรศนะว่า ขาดสูญ ให้

ชาวบ้านแม้เหล่านั้นถือทรรศนะว่า ขาดสูญ อย่างนี้ แล้วก็หลีกไป. โดย

ทำนองนี้ สมณพราหมณ์ทั้งหลายก็ให้ถือทิฏฐิ ๖๒ อย่างนี้ คือ พวกหนึ่งให้

ถือทิฏฐิว่า โลกเที่ยงบางอย่าง พวกหนึ่งให้ถือทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด โลกไม่มี

ที่สุด พวกหนึ่งให้ถือทิฏฐิดิ้นได้ ไม่ตายตัว. แต่ว่าชาวบ้านเหล่านั้น ไม่อาจ

ตั้งอยู่ในทิฏฐิแม้สักอย่างเดียวได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปภายหลัง

สมณพราหมณ์ทั้งหมด. ตรัสถาม เพื่อประโยชน์ของชาวบ้านเหล่านั้น จึง

ตรัสว่า อตฺถิ ปน โข คหปตโย เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

อาการวตี แปลว่า มีการณ์ มีเหตุ. บทว่า อปณฺณโก แปลว่า ไม่ผิด

ไม่ถึงทางสองแพร่ง ยึดถือได้โดยส่วนเดียว.

มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดอันมีวัตถุ ๑๐ มีว่า นตฺถิ ทินฺน คือ ทานที่

ให้แล้ว ไม่มีผลดังนี้เป็นต้น ท่านกล่าวไว้พิศดารแล้วในสาเลยยกสูตร ในหน

หลัง สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบที่เป็นข้าศึกต่อความเห็นผิดนั้น ก็เหมือนกัน.

บทว่า เนกฺขมฺเม อานิสส ความว่า อานิสงส์อันใด ในความที่คนเหล่านั้น

ออกจากอกุศล และฝ่ายธรรมขาว ฝ่ายธรรมบริสุทธิ์อันใด คนเหล่านั้น ย่อมไม่

เห็นอานิสงส์และธรรมฝ่ายขาวอันนั้น. บทว่า อสทฺธมฺมปญฺ ตฺติ แปลว่า

การบัญญัติธรรมอันไม่จริง. บทว่า อตฺตาน อุกฺกเสติ ความว่า ยกตนว่า

เว้นเราเสีย คนอื่นใครเล่า ยังจะสามารถนำให้คนอื่น ๆ ยึดถือทรรศนะของ

๑ บาลีข้อ ๑๐๖. ว่า อสทฺธมฺมสญฺตฺติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

ตนได้. บทว่า ปร วมฺเภติ ความว่า เขี่ยคนอื่นไว้เบื้องหลังอย่างนี้ว่า ใน

ชนทั้งหลายจำนวนถึงเท่านี้ แม้สักคนหนึ่ง ก็ไม่สามารถทำคนอื่น ๆ ให้ยึดถือ

ทรรศนะของตนได้. คำว่า ปุพฺเพว โข ปน ความว่า เมื่อคนยึดถือความ

เห็นมาก่อนนั่นแล ก็เป็นอันละความเป็นผู้มีศีลอันดีเสีย ปรากฏชัดแต่ความ

เป็นผู้ทุศีล. คำว่า เอวมสฺสเม ความว่า ธรรม ๗ อย่าง มีมิจฉาทิฏฐิ

เป็นต้นเหล่านี้ ย่อมมีแก่เขาอย่างนี้. แต่ธรรมฝ่ายบาปอกุศลเป็นอเนก ที่มี

มิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่าเกิดขึ้นด้วยอำนาจการเกิดขึ้นแล้ว ๆ

เล่า ๆ.

บทว่า ตตฺร แปลว่า นั้น คือในลัทธิทั้งหลายของสมณพราหมณ์

เหล่านั้น. บทว่า กลิคฺคาโห แปลว่า ถือเอาความพ่ายแพ้. บทว่า ทุสฺสมุตฺโต

ทุสฺสมาทินฺโน แปลว่า ถือเอาชั่ว ถือเอาผิด. บทว่า เอกส ผริตฺวา

ติฏฺติ ความว่า แผ่ขยายวาทะของตนนั่นแลไปข้างหนึ่ง ส่วนหนึ่งตั้งอยู่.

ถ้าเมื่อถืออย่างนี้ว่า โลกอื่นไม่มี ก็จะนำมาซึ่งสวัสดิภาพ. บทว่า ริญฺฉติ

แปลว่า ย่อมละ. สทฺธมฺมปญฺตฺติ ความว่า บัญญัติธรรมที่เป็นจริง.

กฏคฺคาโห ความว่า ความมีชัย. บทว่า สุสมตฺโต สุมาทินฺโน แปลว่า

ถือเอาดี จับต้องดี. บทว่า อุภย สผริตฺวา ติฏฺติ ความว่า แผ่ขยายวาทะของ

ตนและวาทะของผู้อื่นไปสองข้าง สองส่วนตั้งอยู่. ถ้าเมื่อถืออยู่อย่างนี้ว่า โลก

อื่นไม่มี ก็จะนำมาซึ่งสวัสดิภาพเทียว พึงทราบความในปัญหาส่วนเดียวและ

สองส่วน แม้ของฝ่ายอื่นก็โดยนัยนี้ . บทว่า กโรโต คือกระทำด้วยมือของ

ตน.ะ บทว่า การยโต คือใช้ให้คนอื่นกระทำ. บทว่า ฉินฺทโต คือตัดมือ

เป็นต้นของคนอื่น ๆ. บทว่า ปจโต คือเบียดเบียนหรือคุกคามเขาด้วยของ

ร้อน (ไฟ) บทว่า โสจยโต คือกระทำเองก็ดีใช้ให้ผู้อื่นกระทำก็ดี ซึ่งความ

๑. บาลีว่า สจฺจวชฺเชน. ๒. บางแห่งเป็น ริญฺจติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

โศกเศร้าแก่คนอื่นด้วยการลักทรัพย์เป็นต้น . บทว่า กิลมยโต คือลำบาก

เองก็ดี ทำให้คนอื่นลำบากก็ดี ด้วยการตัดอาหาร และกักขังในเรือนจำเป็นต้น.

บทว่า ผนฺทโต ผนฺทาปยโต คือดิ้นรนเองก็ดี ทำผู้อื่นให้ดิ้นรนก็ดี ใน

เวลามัดคนอื่นซึ่งกำลังดิ้นรน. บทว่า ปาณมติปาตยโต คือ ฆ่าเองก็ดี

ใช้ผู้อื่นฆ่าก็ดี ซึ่งสัตว์มีชีวิต. พึงทราบความในที่ทุกแห่ง โดยการทำเองและ

ใช้ให้คนอื่นทำ โดยนัยที่กล่าวมานี้. บทว่า สนฺธึ คือ ตัดช่อง (ย่องเบา).

นิลโลป คือ ปล้นสดมภ์. บทว่า เอภาคาริก คือ ล้อมเรือนหลังเดียว

เท่านั้น ปล้น. บทว่า ปริปนฺเถ ติฏฺโต คือ ยืนดักที่หนทางเพื่อชิงทรัพย์

ของคนเดินทาง. บทว่า กโรโต น กริยติ ปาป ความว่า บาปของคนที่

แม้กระทำด้วยเข้าใจว่า เราทำบาปอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าไม่กระทำบาป

ไม่มี ก็สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าใจอย่างนี้ว่า เรากระทำ. บทว่า ขุรปริยนฺเตน

คือ ปลายคม. บทว่า เอก มสขล คือ กองเนื้อกองหนึ่ง. บทว่า ปุญฺช

เป็นไวพจน์ของคำว่า เอก มสขล นั้นแล. บทว่า ตโตนิทาน แปลว่า

มีเหตุจากการกระทำให้เป็นกองเนื้อกองหนึ่งนั้น. เหล่าคนทางฝั่งใต้เป็นพวก

กักขละ ทารุณ ท่านหมายเอาคนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า หนนฺโต เป็นต้น.

เหล่าคนทางฝั่งเหนือ มีศรัทธา เลื่อมใสนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา

พระธรรมว่าเป็นของเรา พระสงฆ์ว่าเป็นของเรา ท่านหมายเอาคนเหล่านั้น

จึงกล่าวว่า ททนฺโต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยชนฺโต คือกระทำการบูชาใหญ่. บทว่า

ทเมน คือด้วยการฝึกอินทรีย์ คือ อุโบสถกรรม. บทว่า สยเมน คือ ด้วย

การสำรวมในศีล. บทว่า สจฺจวาเจน คือด้วยกล่าวคำสัตย์. การมา อธิบาย

ว่า ความเป็นไปชื่อว่า อาคม. สมณพราหมณ์บางพวกปฏิเสธการทำบาปและ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

บุญทั้งหลาย แม้โดยประการทั้งปวง. แม้ในฝ่ายธรรมขาว (ฝ่ายดี) ก็พึงทราบ

ความโดยนัยที่กล่าวแล้ว . คำที่เหลือในฝ่ายดีนั้น ก็เหมือนคำที่กล่าวมาแล้ว

ในวาระก่อน. ในคำว่า นตฺถิ เหตุ นตฺถี ปจฺจโย นี้ ปัจจัยเป็นคำไวพจน์

ของเหตุ. สมณพราหมณ์บางพวกย่อมปฏิเสธปัจจัยแห่งความเศร้าหมอง มีกาย

ทุจริตเป็นต้น ปัจจัยแห่งความหมดจดมีกายสุจริตเป็นต้น ที่มีอยู่ แม้ด้วยเหตุ

และปัจจัยทั้งสอง

บทว่า นตฺถิ พล นตฺถิ วิริย นตฺถิ ปุริสตฺถาโม นตฺถิ

ปุริสปรกฺถโม ความว่า กำลังก็ดี ความเพียรก็ดี เรี่ยวแรงของบุรุษก็ดี ความ

บากบั่นของบุรุษก็ดี ชื่อว่า อันบุรุษพึงทำ เพื่อความเศร้าหมองหรือเพื่อความ

หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มี. สมณพราหมณ์บางพวกแสดงถึงสัตว์ทั้งหลายมี

อูฐ โค และแพะเป็นต้นไม่ให้เหลือ ด้วยคำว่า สพฺเพ สตฺตา. กล่าวโดยอำนาจ

คำเป็นต้นว่า สัตว์มีชีวิตอินทรีย์เดียว สัตว์มีชีวิตสองอินทรีย์ ด้วยคำว่า สพฺเพ

ปาณา กล่าวหมายถึงสัตว์มีปาณะทั้งสิ้น. สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวหมาย

ถึงสัตว์ผู้แสวงหาภพเกิด ในฟองไข่และในมดลูกด้วยคำว่า สพฺเพ ภูตา.

กล่าวหมายถึงธัญชาติมีข้าวสาลี ข้าวเหนียว ข้าวละมานเป็นต้น ด้วยคำว่า

สพฺเพ ชีวา. ด้วยว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีความเข้าใจว่า ในธัญชาติ

เหล่านั้น มีชีวะ เพราะงอกได้. คำว่า อวสา อพลา อวิริยา ความว่า

เหล่านั้นไม่มีอำนาจ กำลัง หรือความเพียรเป็นของตน. ในคำว่า นิยติสงฺค-

ติภาวปริณตา นี้ การประสพเคราะห์กรรม ชื่อว่า นิยติ ความไปในที่

นั้น ๆ แห่งอภิชาติทั้ง ๖ ชื่อว่า สงฺคติ ความชุมนุมกัน. สภาพนั้นชื่อว่า

ภาว สมณพราหมณ์บางพวกแสดงว่าสัตว์ทั้งปวง แปรปรวนไป คือ ถึงความ

เป็นประการต่าง ๆ ก็เพราะการประสพเคราะห์กรรม เพราะความชุมนุมกันและ

เพราะสภาวะด้วยประการฉะนี้ สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมแสดงว่าสภาวะใด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

พึงอย่างใด สภาวะนั้นก็ย่อมมีอย่างนั้น. สภาวะใดไม่มี สภาวะนั้น ก็ไม่มี

ด้วย. คำว่า ฉเสฺววาภิชาตีสุ ความว่า สมณพราหมณ์บางพวกแสดงว่า สัตว์

ทั้งปวงตั้งอยู่ในอภิชาติ ๖ เท่านั้น จึงเสวยสุขและทุกข์ได้ ภูมิแห่งสุขและทุกข์

อื่นไม่มี.

ในคำว่า ฉเสฺววาภิชาตีสุ นั้น ชื่อว่า อภิชาติ ๖ คือ กัณหาภิชาติ

(อภิชาติดำ) นีลาภิชาติ (อภิชาติเขียว) โลหิตาภิชาติ (อภิชาติแดง) หลิททา-

ภิชาติ (อภิชาติเหลือง) สุกกาภิชาติ (อภิชาติขาว) ปรมสุกกาภิชาติ (อภิชาติ

ขาวอย่างยิ่ง). บรรดาอภิชาติ ๖ นั้น คนฆ่านก คนฆ่าหมู พราน คนฆ่าปลา

โจร คนฆ่าโจร ก็หรือว่า คนที่มีงานหยาบช้าบางพวกแม้เหล่าอื่น นี้ชื่อว่า

กัณหาภิชาติ. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า พวกภิกษุชื่อว่า นีลาภิชาติ.

สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีลัทธิอย่างนี้ว่า เขาว่าภิกษุเหล่านั้นใส่หนามลงในปัจจัย

๔ กิน ภิกษุจึงชื่อว่า ประพฤติกัณฏกวัตร. อีกนัยหนึ่ง สมณพราหมณ์ บาง

พวกกล่าวว่า บรรพชิตพวกหนึ่งชื่อว่า ประพฤติกัณฏกวัตรนั่นเทียว. จริงอยู่

แม้คำว่า สมณะ ผู้ประพฤติกัณฏกวัตร ก็เป็นลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น.

สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า พวกนิครนถ์ผู้ชอบเพ้อลัทธิของตน

ฝ่ายเดียวชื่อว่า โลหิตาภิชาต. เขาว่า นิครนถ์เหล่านั้นยังขาวกว่าสองพวก

ก่อน. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า คฤหัสถ์สาวกของชีเปลือย ชื่อว่า

หลิททาภิชาต ดังนั้น สาวกของชีเปลือยจึงตั้งคนที่ให้ปัจจัยแก่ตนเป็นใหญ่

แม้กว่านิครนถ์ทั้งหลาย. สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวว่า นันทะ วัจฉะ สังกิจจะ

นี้ชื่อว่า สุกกากชาติ. เขาว่า คนเหล่านั้น ยังขาวกว่าสี่พวกก่อน. สมณพราหมณ์

บางพวกกล่าวว่า ส่วนอาชีวก ชื่อว่า ปรมสุกกาภิชาติ. เขาว่า อาชีวกเหล่า

นั้น ขาวกว่าทุกพวก. สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีลัทธิอย่างนี้ว่า บรรดาอภิชาติ

๖ นั้น สัตว์ทั้งปวง มีคนฆ่านกเป็นต้นก่อน. พวกสมณศากยบุตรยังบริสุทธิ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

กว่าคนฆ่านกเป็นต้นนั้น พวกนิครนถ์ยังบริสุทธิ์กว่า พวกสมณศากยบุตรนั้น.

สาวกของอาชีวกยังบริสุทธิ์กว่าพวกนิครนถ์นั้น. นันทะเป็นต้น ยังบริสุทธิ์กว่า

พวกสาวกของอาชีวก อาชีวกยังบริสุทธิ์กว่านันทะเป็นต้นนั้น. พึงทราบฝ่าย

ขาว โดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว. คำที่เหล่าแม้ในที่นี้ก็เช่นเดียวกับที่

กล่าวไว้แล้วในวาระก่อน.

ก็บรรดาทิฏฐิทั้ง ๓ นี้ นัตถิกทิฏฐิ ห้ามวิบาก อกิริยทิฏฐิ ห้ามกรรม

อเหตุกทิฏฐิ ห้ามแม้ทั้งสอง (คือทั้งกรรมและวิบาก) ในกรรมและบากทั้งสอง

นั้น วาทะที่แม้ห้ามกรรม ก็เป็นอันห้ามวิบากด้วย วาทะที่แม้ห้ามวิบาก ก็เป็น

อันห้ามกรรมด้วย ดังนั้น โดยอรรถ วาทะเหล่านั้น แม้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น

อเหตุกวาทะ อกิริยวาทะและนัตถิวาทะ ย่อมห้ามกรรมและวิบากทั้งสอง. ก็คน

เหล่าใดถือลัทธิของสมณพราหมณ์เหล่านั้น นั่งท่องพิจารณาในที่พักกลางคืน

และกลางวัน มิจฉาสติของคนเหล่านั้นย่อมตั้งมั่นในอารมณ์นั้นว่า ทานที่ให้

แล้วไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล บาปของคนที่ทำแล้วไม่เป็นอันทำ เหตุไม่มี

ปัจจัยไม่มี จิตก็มีอารมณ์อันเดียว ชวนะทั้งหลายก็แล่นไป. ในชวนะที่หนึ่ง ยัง

พอแก้ไขได้. ในชวนะที่สองเป็นต้นก็เหมือนกัน. ในชวนะที่เจ็ด แม้พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายก็แก้ไขไม่ได้ เป็นผู้ไม่หวนกลับเช่นเดียวกับอริฏฐะและ

กัณฏกภิกษุ ในชวนะเหล่านั้นบางคนก็หยั่งลงทรรศนะเดียวบ้าง บางคน

สองทรรศนะบ้าง บางคนสามทรรศนะบ้าง เมื่อเขาหยั่งลงทรรศนะหนึ่ง

สองสามทรรศนะก็เป็นอันหยั่งลงแล้ว เขาก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ ชนิดดิ่งทีเดียว ห้าม

ทางสวรรค์ ทางพระนิพพาน ไม่ควรไปสวรรค์ ในอันดับแห่งอัตภาพนั้น

จะป่วยกล่าวไปไยถึงพระนิพพาน. สัตว์นี้เป็นผู้เฝ้าแผ่นดิน ชื่อว่า เป็นตอ

แห่งวัฏฏะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

ถามว่า ก็มิจฉาทิฏฐิสัตว์นี้ ดิ่งอยู่ในอัตภาพเดียวเท่านั้น หรือใน

อัตภาพอื่นด้วย. ตอบว่า ดิ่งอยู่ในอัตภาพเดียวเท่านั้น. แต่ถ้าเขายังชอบใจ

ทิฏฐินั้น ๆ อยู่ในระหว่างภพด้วยอำนาจการเสพบ่อย ๆ คนเช่นนั้น โดยมาก

ก็ออกไปจากภพไม่ได้.

ตสฺมา อกลฺยาณชน อาสีวิสม้โวรค

อารกา ปริวชฺเชยฺย ภูติกาโม วิจกฺขโณ

เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์

ต้องการความเจริญ พึงงดเว้นคนไม่ดี ที่

เป็นดังงูพิษ เสียให้ห่างไกล.

บทว่า นตฺถิ สพฺพโส อารุปฺปา ความว่า ชื่อว่า ฝ่ายอรูปพรหมโลก

ย่อมไม่มีโดยอาการทั้งปวง. บทว่า มโนมยา คือ สำเร็จด้วยจิตอันประกอบ

ด้วยฌาน. บทว่า สญฺามยา คือ สำเร็จด้วยสัญญาโดยสัญญาในอรูปฌาน.

บทว่า รูปานเยว นิพฺพิทาย วิราคาย นิโรธาย ปฏิปนฺโน โหติ ความว่าผู้

นี้เป็นผู้ได้ก็มี เป็นผู้ตรึกก็มี. ผู้ได้รูปาวจรฌาน ชื่อว่า ผู้ได้. ผู้ได้รูปาวจรฌาน

นั้น ไม่มีความสงสัยในรูปาวจรฌาน ยังมีความสงสัยในโลกฝ่ายอรูปาวจรอยู่.

ผู้ได้ฌานนั้น ย่อมปฏิบัติอย่างนั้น ด้วยเข้าใจว่า เราฟังผู้กล่าวว่า อรูปพรหม

ทั้งหลายมีอยู่ก็มี ผู้กล่าวว่า ไม่มีก็มี แต่เราไม่รู้ว่ามี หรือ ไม่มี เราจักทำ

จตุตถฌานให้เป็นปทัฏฐานแล้ว ทำอรูปาวจรฌานให้เกิด ถ้าอรูปพรหมทั้งหลาย

มีอยู่ เราจักบังเกิดในอรูปพรหมนั้น ถ้าไม่มี เราก็จักบังเกิดในโลกฝ่ายรูปาวจร-

พรหม ธรรมอันไม่ผิดของเรา จักเป็นธรรมไม่ผิด ไม่พลาด ด้วยการปฏิบัติ

อย่างนี้. ส่วนผู้ตรึกผู้ไม่ได้ฌาน แม้เขาจะไม่มีความสงสัยในรูปฌาน แต่ก็ยังมี

ความสงสัยในโลกฝ่ายอรูปพรหม. ผู้ตรึกนั้น ย่อมปฏิบัติอย่างนั้น ด้วยเข้าใจว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

เราฟังผู้กล่าวอรูปพรหมทั้งหลายว่าไม่มีก็มี ผู้กล่าวว่า มีก็มี แต่เราไม่รู้ว่า มี

หรือไม่มี เราจักทำบริกรรมในกสิณ ยังจตุตถฌานให้เกิดแล้ว ทำจตุตถฌาน

นั้นให้เป็นปทัฏฐาน จักยังอรูปาวจรฌานให้เกิด ถ้าอรูปพรหมทั้งหลายมีอยู่

เราก็จักบังเกิดในอรูปพรหมนั้น ถ้าไม่มี เราก็จักบังเกิดในโลกฝ่ายรูปาวจร

พรหม ธรรมอันไม่ผิด จักเป็นธรรมไม่ผิด ไม่พลาดด้วยการปฏิบัติอย่างนี้

นี่แหละ. บทว่า ภวนิโรโธ คือพระนิพพาน. บทว่า สราคาย สนฺติเก

คือใกล้ความยินดีในวัฏฏะ ด้วยอำนาจความกำหนัด. บทว่า สโยคาย คือ

ใกล้ความประกอบตนไว้ ด้วยตัณหาความทะยานอยาก. บทว่า อภินนฺทนาย

คือใกล้ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ปฏิปนฺโน

โหติ ความว่า แม้ผู้นี้ เป็นผู้ได้ก็มี เป็นผู้ตรึกก็มี. ผู้ได้สมาบัติ ๘ ชื่อว่า

ผู้ได้. ผู้ได้สมาบัติ ๘ นั้น ไม่มีความสงสัยในอรูปพรหม ยังมีความสงสัยใน

พระนิพพาน. เขาปฏิบัติอย่างนี้ด้วยเข้าใจว่า เราฟังเขาพูดว่านิโรธมีก็มี ไม่มี

ก็มี เราไม่รู้เอง เราจักทำสมาบัติให้เป็นบาทแล้วเจริญวิปัสสนา ถ้านิโรธจักมี

ไซร้ เราก็จักบรรลุพระอรหัตปรินิพพาน ถ้าไม่มี เราก็จักบังเกิดในอรูปพรหม

ส่วนผู้ตรึกไม่ได้แม้แค่สมาบัติสักอย่างหนึ่ง. แต่เขาก็ไม่มีความสงสัยในอรูป

พรหม ยังมีความสงสัยในภวนิโรธ (พระนิพพาน) อยู่. เขาปฏิบัติอย่างนี้ ด้วย

เข้าใจว่า เราฟังเขาพูดว่า นิโรธมีก็มี ไม่มีก็มี เราไม่รู้เอง เราจักกระทำ

บริกรรมในกสิณ แล้วทำสมาบัติ ๘ ให้เกิด เจริญวิปัสสนา มีสมาบัติเป็น

ปทัฏฐาน ถ้านิโรธจักมีไซร้ เราจักบรรลุพระอรหัตปรินิพพาน ถ้าไม่มี เรา

ก็จักบังเกิดในอรูปพรหม.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในพระสูตรนั้น คำว่า ทานที่

ให้แล้วมีผล ดังนี้เป็นต้นเป็นคำไม่ผิด ก็แล้วไปเถิด ส่วนคำว่า ทานที่ให้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

แล้วไม่มีผล ดังนี้เป็นต้น ไม่ผิด ด้วยอย่างไรเล่า. ตอบว่า ด้วยอำนาจความ

ยึดถือกัน. จริงอยู่ คำเหล่านั้น ที่เกิดเชื่อว่า ไม่ผิด ก็เพราะเขายึดถือไว้

อย่างนี้ว่า . ไม่ผิด ไม่ผิด. ศัพท์ว่า จตฺตาโรเม นี้ แยกกันคนละส่วน แต่

ข้อความเชื่อมโยงกัน. บุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้คือ นัตถิกวาทะ อกิริยวาทะ

อเหตุกวาทะและ ๒ จำพวกที่มีวาทะอย่างนี้ว่า อรูปพรหมไม่มี นิโรธไม่มี

บุคคล ๓ จำพวกหลังเท่านั้นมีอยู่ บุคคล ๕ จำพวกมีอัตถิกวาทะเป็นต้น บุคคล

จำพวกที่ ๔ จำพวกเดียวเท่านั้น. เพื่อจะทรงแสดงความข้อนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนานี้. โดยอรรถ คำทั้งหมด ในวาทะนั้นตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอปัณณกสูตรที่ ๑๐

จบคหปติวรรคที่ ๑

รามพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กันทรกสูตร ๒. อัฏฐกนาครสูตร

๓. เสขปฏิปทาสูตร ๔. โปตลิยสูตร

๕. ชีวกสูตร ๖. อุปาลิวาทสูตร

๗. กุกกุโรวาทสูตร ๘. อภยราชกุมารสูตร

๙. พหุเวทนิยสูตร ๑๐. อปัณณกสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

๒. ภิกขุวรรค

๑. จูฬราหุโลวาทสูตร

ทรงโอวาทพระราหุล

[๑๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-

ทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระราหุลอยู่ ณ

ปราสาทชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ออกจากที่เร้นอยู่แล้ว เสด็จเข้าไปยังอัมพลัฏฐิกา ปราสาทที่ท่านพระราหุลอยู่

ท่านพระราหุลได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงปูลาดอาสนะและ

ตั้งน้ำสำหรับล้างพระบาทไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาด

ไว้ แล้วทรงล้างพระบาท ท่านพระราหุลถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๒๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเหลือน้ำไว้ในภาชนะน้ำหน่อย

หนึ่งแล้วตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นน้ำเหลือหน่อยหนึ่งอยู่

ในภาชนะน้ำนี้หรือ.

ท่านพระราหุลกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า.

ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา

ทั้งรู้อยู่ก็มีน้อยเหมือนกันฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทน้าที่เหลือหน่อยหนึ่งนั้นเสีย แล้ว

ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นน้ำหน่อยหนึ่งที่เราเทเสียแล้ว

หรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

รา. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าว

มุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาทิ้งเสียแล้ว เหมือนกันฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคว่ำภาชนะน้ำนั้น แล้วตรัสกะท่าน

พระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำที่คว่ำนี้หรือ.

รา. เห็น พระเจ้าข้า.

พ . ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าว

มุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของที่เขาคว่ำเสียแล้วเหมือนกันฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหงายภาชนะน้ำนั้นขึ้น แล้วตรัสกะ

ท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล เธอเห็นภาชนะน้ำอันว่างเปล่านี้หรือ.

รา. เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนราหุล สมณธรรมของบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าว

มุสาทั้งรู้อยู่ ก็เป็นของว่างเปล่าเหมือนกันฉะนั้น.

[๑๒๗] พ. ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนช้างต้นมีงางอนงาม เป็น

พาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดี เคยเข้าสงคราม ช้างนั้นเข้าสงครามแล้ว

ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้อง

หน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงา

ทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น เพราะการที่ช้างรักษา

แต่งวงนั้น ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ช้างต้นนี้แลมีงาอันงอนงาม

เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดีเคยเข้าสงคราม เข้าสงครามแล้ว ย่อมทำ

กรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง

ด้วยการเบื้องหน้าบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

ด้วยหางบ้าง ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยังไม่ยอมสละ

แล ดูก่อนราหุล เมื่อใดแลช้างต้นมีงาอันงอนงามเป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มี

กำเนิดดี เคยเข้าสงครามแล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้า

หลังทั้งสองบ้าง ด้วยกายเบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง

ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วยงาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง เพราะการที่

ช้างทำกรรมด้วยงวงนั้น ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ก็ช้างต้นนี้แลมีงา

อันงอนงาม เป็นพาหนะที่เจริญยิ่งนัก มีกำเนิดดีเคยเข้าสงคราม เข้าสงคราม

แล้ว ย่อมทำกรรมด้วยเท้าหน้าทั้งสองบ้าง ด้วยเท้าหลังทั้งสองบ้าง ด้วยกาย

เบื้องหน้าบ้าง ด้วยกายเบื้องหลังบ้าง ด้วยศีรษะบ้าง ด้วยหูทั้งสองบ้าง ด้วย

งาทั้งสองบ้าง ด้วยหางบ้าง ด้วยงวงบ้าง ชีวิตชื่อว่าอันช้างต้นยอมสละแล้ว

บัดนี้ไม่มีอะไรที่ช้างต้นจะพึงทำไม่ได้ ฉันใด ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคล

ผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสาทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่ง

ไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า เราจัก

ไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูก่อนราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล.

[๑๒๘] ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แว่นมี

ประโยชน์อย่างไร.

มีประโยชน์สำหรับส่องดู พระเจ้าข้า.

ฉันนั้นเหมือนกันแล ราหุล บุคคลควรพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงทำ

กรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

กรรม ๓

[๑๒๙] ดูก่อนราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรม

นั้นเธอพึงพิจารณาเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมนี้ใดด้วยกาย กายกรรม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

ของเรานี้พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียด

เบียนทั้งตนทั้งผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น

วิบากกระมังหนอ ดูก่อนราหุล ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เรา

ปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียน

ตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเบียดเบียนทั้งคนทั้งผู้อื่น กายกรรมนี้เป็น

อกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ กรรมเห็นปานนี้ เธอไม่

พึงทำด้วยกายโดยส่วนเดียว แต่ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เรา

ปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียน

ตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเบียดเบียนทั้งตนทั้งผู้อื่น กายกรรมนี้เป็นกุศล

มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ กายกรรมเห็นปานนั้น เธอพึงทำด้วย

กาย แม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมด้วยกาย เธอก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแหละว่า

เรากำลังทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน

บ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กาย-

กรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ ถ้าเมื่อเธอ

พิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อม

เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียน

ทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก

ดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกกายกรรมเห็นปานนั้นเสีย แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้

อย่างนี้ว่า เราทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อ

เบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น

บ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึง

เพิ่มกายกรรมเห็นปานนั้น ดูก่อนราหุล แม้เธอทำกรรมด้วยกายแล้ว เธอก็

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

พึงพิจารณากายกรรมนั้นแหละว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยกาย กายกรรม

ของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อ

เบียดเบียนทั้งตนเละผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์

เป็นวิบากกระมังหนอ ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่ง

กายกรรมใด กายกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียด

เบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล

มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ กายกรรมเห็นปานนั้น เธอพึง

แสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ในพระศาสนาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย

ผู้วิญญู แล้วพึงสำรวมต่อไป แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำ

แล้วซึ่งกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน

บ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรม

นี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงมีปีติและปราโมทย์

ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ด้วยกายกรรมนั้นแหละ.

[๑๓๐] ดูก่อนราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา เธอพึง

พิจารณาวจีกรรมนั้นเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรม

ขอเรานี้พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อ

เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์

เป็นวิบากกระมังหนอ ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนาจะทำ

กรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อ

เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็น

อกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ วจีกรรมเห็นปานนั้น

เธอไม่ควรทำโดยส่วนเดียว แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

จะทำกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนคนบ้าง

เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งคนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้

เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นผลดังนี้ไซร้ วจีกรรมเห็นปานนั้น เธอ

ควรทำ ดูก่อนราหุล แม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมด้วยวาจา เธอก็พึงพิจารณา

วจีกรรมนั้นแหละว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อม

เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียน

ทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก

กระมังหนอ ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา

วจีกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น และ

เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์

เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกวจีกรรมเห็นปานนั้นเสีย แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่

พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็น

ไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตน

และผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้

เธอพึงเพิ่มวจีกรรมเห็นปานนั้น ดูก่อนราหุล แม้เธอทำกรรมด้วยวาจาแล้ว

เธอก็พึงพิจารณาวจีกรรมนั้นแหละว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจี-

กรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง

เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มี

ทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้ว

ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อ

เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล

มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ วจีกรรมเห็นปานนั้น เธอพึงแสดง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

เปิดเผย ทำให้ตื้นในพระศาสนา หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้วิญญู

ครั้นแล้วพึงสำรวมต่อไป แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้ว

ซึ่งกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง

เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็น

กุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงมีปีติและปราโมทย์

ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยวจีกรรมนั้นแหละ.

[๑๓๑] ดูก่อนราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยใจ เธอพึง

พิจารณามโนกรรมนั้นเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยใจ มโนกรรม

ของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อ

เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มี

ทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนา

จะทำกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง

เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็น

อกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ มโนกรรรมเห็นปานนี้

เธอไม่ควรทำโดยส่วยเดียว แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราปรารถนา

จะทำกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมเองเรานี้ ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง

เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็น

กุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ มโนกรรมเห็นปานนั้น เธอ

ควรทำ ดูก่อนราหุล แม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมใดด้วยใจ เธอก็พึงพิจารณา

มโนกรรมนั้นแหละว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ ย่อม

เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียดผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตน

และผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

กระมังหนอ ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ

มโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น

บ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็น

กำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกมโนกรรมเห็นปานนั้นเสีย แต่ถ้า

เธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำอยู่ซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของ

เรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อ

เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุข

เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงเพิ่มมโนกรรมเห็นปานนั้น ดูก่อนราหุล แม้เธอ

ทำกรรมใดด้วยใจแล้ว เธอก็พึงพิจารณากรรมนั้นแหละว่า เราได้ทำกรรมใด

ด้วยใจแล้ว มโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อ

เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล

มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้

ว่า เราทำได้แล้วซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโนกรรมของเรานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

เบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง

มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึง

กระดาก ละอาย เกลียดในมโนกรรมเห็นปานนั้น ครั้นแล้วพึงสำรวมต่อไป

แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยใจ มโน-

กรรมของเรานี้ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง

เพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มี

สุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึงมีปีติและปราโมทย์ ศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลาย

ทั้งกลางวันและกลางคืน อยู่ด้วยมโนกรรมนั้นแหละ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

[๑๓๒] ดูก่อนราหุล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีต-

กาล ได้ชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้ง

หมดนั้น พิจารณา ๆ อย่างนี้นั่นเอง แล้วจึงชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

แม้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักชำระกายกรรม

วจีกรรม มโนกรรม สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ก็จักพิจารณา ๆ อย่าง

นี้นั่นเอง แล้วจึงชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ถึงสมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน กำลังชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอยู่

สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ก็พิจารณา ๆ อย่างนี้นั่นเอง แล้วจึงชำระ

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เพราะเหตุนั้นแหละ ราหุล เธอพึงศึกษาว่า

เราจักพิจารณา ๆ แล้วจึงชำระกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ดูก่อนราหุล

เธอพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดี

ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบจูฬราหุโลวาทสูตรที่ ๑

อรรถกถาภิกขุวรรค

๑. อรรถกถาอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตร

อัมพลัฏิกราหุโลวาทสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วอย่างนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพลฏฺิกาย วิหรติ ท่านพระราหุลอยู่ ณ

ปราสาทชื่อว่า อัมพลัฏิกา คือ เมื่อเขาสร้างย่อส่วนของเรือนตั้งไว้ท้าย

๑. บาลีเป็น จูฬราหุโลวาทสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

พระเวฬุวันวิหาร เพื่อเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด พระราหุลเจริญปริเวก

อยู่ ณ ปราสาทอันมีชื่ออย่างนี้ว่า อัมพลัฏฐิกา. ชื่อว่า หนามย่อมแหลม

ตั้งแต่เกิด. แม้ท่านพระราหุลนี้ก็เหมือนอย่างนั้น เจริญปวิเวกอยู่ ณ ที่นั้น

ครั้งเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา. บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น คือ เสด็จออกจากผลสมาบัติ. บทว่า

อาสน คือ ณ ที่นี้ก็มีอาสนะที่ปูลาดไว้เป็นปรกติอยู่แล้ว พระราหุลก็ยังปัด

อาสนะนั้นตั้งไว้. บทว่า อุทกาทาเน คือ ภาชนะใส่น้ำ. ปาฐะว่า อุทกาธาน

บ้าง.

บทว่า อายสฺมนฺต ราหุล อามนฺเตสิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกท่านพระราหุล คือ ตรัสเรียกเพื่อประทานโอวาท. จริงอยู่ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาไว้มากแก่พระราหุลเถระ. พระองค์ตรัส

สามเณรปัญหาแก่พระเถระไว้เช่นกัน. อนึ่ง พระองค์ตรัสราหุลสังยุต มหา-

ราหุโลวาทสูตร จุลลราหุโลวาทสูตร รวมทั้งอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรนี้เข้า

ด้วยกัน.

จริงอยู่ ท่านพระราหุลนี้ เมื่อพระชนม์ ๗ พรรษา ทรงจับชายจีวร

ทูลขอมรดกกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอได้ทรงประทาน

มรดกแก่ข้าพระองค์เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมอบให้แก่พระธรรมเสนาบดี

สารีบุตรเถระบวชให้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า ชื่อว่า เด็กหนุ่มย่อมพูด

ถ้อยคำที่ควรและไม่ควร เราจะให้โอวาทแก่ราหุล ดังนี้แล้วตรัสเรียกพระราหุล

เถระ มีพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนราหุล ชื่อว่า สามเณรไม่ควรกล่าวติรัจฉาน

กถา. เธอเมื่อจะกล่าว ควรกล่าวกถาเห็นปานนี้ คือ คำถาม ๑๐ ข้อ การแก้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

๕๕ ข้อ ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ ฯ ล ฯ ปัญหา ๑๐

อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ อันพระพุทธเจ้าทั้งปวงไม่ทรงละแล้ว. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสสามเณรปัญหานี้ว่า เอกนฺนาม กึ อะไรชื่อว่า ๑ สพฺเพ

สตฺตา อาหารฏฺิติกา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร ฯลฯ

ทส นาม กึ อะไรชื่อว่า ๑๐ ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหาติ วุจฺจติ

ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ เรากล่าวว่าเป็นอรหันต์. พระพุทธองค์ทรงดำริต่อไป

ว่า ชื่อว่า เด็กหนุ่มย่อมกล่าวเท็จด้วยคำน่ารัก ย่อมกล่าวสิ่งที่ไม่เห็นว่า เรา

ได้เห็นแล้ว กล่าวสิ่งที่เห็นว่า เราไม่เห็น เราจะให้โอวาทแก่ราหุลนั้น แม้

แลดูด้วยตาก็เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย จึงทรงแสดงอุปมาด้วยภาชนะใส่น้ำ ๔ ก่อน

จากนั้นทรงแสดงอุปมาด้วยช้าง ๒ จากนั้นทรงแสดงอุปมาด้วยแว่น ๑ แล้ว

จึงตรัสพระสูตรนี้. ทรงแสดงการเว้นตัณหาในปัจจัย ๔ การละฉันทราคะใน

กามคุณ ๕ และความที่อุปนิสัยแห่งกัลยาณมิตรเป็นคุณยิ่งใหญ่ แล้วจึงตรัส

ราหุลสูตร. เพื่อทรงแสดงว่า ไม่ควรทำฉันทราคะในภพทั้งหลาย ในที่ที่มา

แล้ว ๆจึงตรัสราหุลสังยุต. เพื่อทรงแสดงว่า ไม่ควรทำฉันทราคะ

อันอาศัยเรือน อาศัยอัตภาพว่า เรางาม วรรณะของเราผ่องใส. แล้วจึงตรัส

มหาราหุโลวาทสูตร. ในมหาราหุโลวาทสูตรนั้น ไม่ควรกล่าวว่า ราหุลสูตร

ท่านกล่าวไว้แล้วในกาลนี้. เพราะราหุลสูตรนั้นท่านกล่าวด้วยโอวาทเนือง ๆ.

ท่านตรัสราหุลสังยุต ตั้งแต่พระราหุลมีพระชนม์ได้ ๗ พรรษาจนถึงเป็น

ภิกษุยังไม่มีพรรษา. ท่านตรัสมหาราหุโลวาทสูตรในเมื่อพระราหุลเป็นสามเณร

มีพระชนม์ ๑๘ พรรษา ท่านตรัสจุลลราหุโลวาทสูตรในเมื่อพระราหุลเป็น

ภิกษุได้ครึ่งพรรษา. ท่านตรัสกุมารกปัญหา และอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรนี้

ในเมื่อพระราหุลเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

ในพระสูตรเหล่านั้น ท่านตรัสราหุโลวาทสูตร เพื่อโอวาทเนือง ๆ

ตรัสราหุลสังยุต เพื่อถือเอาห้องวิปัสสนาของพระเถระ ตรัสมหาราหุโลวาทสูตร

เพื่อกำจัดฉันทราคะที่อาศัยเรือน ตรัสจุลลราหุโลวาทสูตร เพื่อยึดเอาพระ-

อรหัต ในเวลาที่ธรรมเจริญด้วยวิมุตติ ๑๕ ของพระเถระแก่กล้าแล้ว . พระราหุล-

เถระหมายถึงพระสูตรนี้ เมื่อจะสรรเสริญพระคุณของพระตถาคตในท่ามกลาง

ภิกษุสงฆ์ จึงกล่าวคาถานี้ว่า.

กิกีว พีช รกฺเขยฺย จมรี วาลมุตฺตม

นิปโก สีลสมฺปนฺโน มม รกฺขิ ตถาคโต

พระตถาคตผู้มีพระปัญญาเฉลียวฉลาด

ทรงสมบูรณ์ด้วยศีล ทรงรักษาเราเหมือน

นกต้อยตีวิด พึงรักษาพืชพันธุ์ เหมือน

เนื้อจามรีรักษาขนหางสูงสุดฉะนั้น.

ท่านตรัสสามเณรปัญหา เพื่อละถ้อยคำอันไม่ควรตรัส ในอัมพลัฏฐิก-

ราหุโลวาทสูตรนี้ เพื่อมิให้ทำสัมปชานมุสาวาท (พูดเท็จทั้ง ๆ ที่รู้อยู่).

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสสิ โน แก้เป็น ปสฺสนิ นุ คือ เธอ

เห็นหรือหนอ. บทว่า ปริตฺต คือหน่อยหนึ่ง. บทว่า สามญฺ คือ สมณธรรม.

บทว่า นิกฺกุชฺชิตฺวา คือคว่ำ. บทว่า อุกฺกุชฺชิตฺวา คือหงาย. บทว่า

เสยฺยถาปิ ราหุล รญฺโ นาโค ดูก่อนราหุล เหมือนช้างต้นของพระราชา

ท่านกล่าวอุปมานี้ เพื่อแสดงความเปรียบเทียบของผู้ไม่มีสังวรในการกล่าวเท็จ

ทั้งรู้อยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อีสาทนฺโต มีงาอันงอนงาม คือ มีงาเช่นกับ

งอนไถ. บทว่า อุรุฬฺหวา เป็นพาหนะที่เจริญยิ่ง คือน่าขี่. บทว่า อภิชาโต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

คือ มีกำเนิดดี สมบูรณ์ด้วยชาติ. บทว่า สงฺคามาวจโร คือ เคยเข้าสงคราม.

บทว่า กมฺม กโรติ ย่อมทำกรรม คือ ประหารข้าศึกที่เข้ามาแล้ว ๆ ให้

ล้มลง. อนึ่ง พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ด้วยกายเบื้องหน้า ดังนี้ คือ

ยังซุ้มแผ่นกระดานและกำแพงโล้นให้ล้มลงด้วยกายเบื้องหน้าก่อน. ด้วยกาย

เบื้องหลังก็เหมือนกัน. กำหนดกรรมด้วยศีรษะแล้วกลับแลดูด้วยคิดว่า เราจัก

ย่ำยีประเทศนี้. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็ทำลายสิ่งตั้งร้อยตั้งพันให้ออกเป็นสองส่วน

ชื่อว่าทำกรรมด้วยศีรษะ การประหารลูกศรที่มาแล้ว ๆ ให้ตกไปด้วยหู ชื่อว่า

ทำกรรมด้วยหู. การทิ่มแทงเท้าช้างข้าศึก ม้าข้าศึก กองช้าง กองม้า และ

พลเดินเท้าเป็นต้น ชื่อว่าทำกรรมด้วยงา. การตัดทำลายด้วยไม้ยาวหรือด้วย

สากเหล็กที่ผูกไว้ที่หาง ชื่อว่าทำกรรมด้วยหาง. บทว่า รกฺขเตว โสณฺฑ

ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น คือ ใส่งวงไว้ในปากรักษาไว้. บทว่า ตตฺถ คือ

ในการที่ช้างรักษางวงนั้น. บทว่า อปริจฺจตฺต คือ ไม่ยอมสละ ถึงจะเห็น

ผู้อื่นชนะและเราแพ้.

บทว่า โสณฺฑายปิ กมฺม กโรติ ย่อมทำกรรมแม้ด้วยงวง คือ

จับค้อนเหล็ก หรือสากไม้ตะเคียน แล้วย่ำยีที่ประมาณ ๑๘ ศอกได้โดยรอบ

บทว่า ปริจฺจตฺต ยอมเสียสละแล้ว คือ บัดนี้ไม่กลัวแต่อะไร ๆ อีกแล้ว

ในกองทัพช้างเป็นต้น ย่อมเห็นชัยชนะของเรา.

บทว่า นาหนฺตสฺส กิญฺจิ ปาป บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการ

กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี ความว่า บุคคลนั้น

จะไม่พึงทำกรรมน้อยหนึ่งในการล่วงอาบัติทุกกฏเป็นต้น หรือในกรรมมีมาตุ-

ฆาตเป็นต้นไม่มี บทว่า ตสฺมา ติห เต ความว่า เพราะผู้กล่าวเท็จทั้งที่

รู้อยู่จะไม่ทำบาปไม่มี ฉะนั้นเธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวเท็จแม้เพราะหัวเราะ

แม้เพราะใคร่จะเล่น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

บทว่า ปจฺจเวกฺขณตฺโถ คือ มีประโยชน์สำหรับส่องดู. อธิบายว่า

มีประโยชน์ส่องดูโทษที่ใบหน้า. บทว่า ปจฺจเวกฺขิตฺวา ปจฺจเวกฺขิตฺวา คือ

ตรวจดูแล้ว ตรวจดูอีก. บทว่า สสกฺก น กรณีย คือ ไม่พึงทำโดยส่วนเดียว

เท่านั้น. บทว่า ปฏิสหเรยฺยาสิ พึงเลิก คือ พึงกลับอย่าพึงทำ. บทว่า

อนุปทชฺเชยฺยาสิ พึงเพิ่ม คือพึงให้เกิดขึ้น พึงค้ำจุนไว้ พึงทำบ่อย ๆ. บทว่า

อโหรตฺตานุสิกฺขิตา คือศึกษาทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน. บทว่า อฏฺฏิยิตพฺพ

พึงกระดาก คือ พึงระอา พึงบีบคั้น. บทว่า หรายิตพฺพ คือพึงละอาย. บทว่า

ชิคุจฺฉิตพฺพ พึงเกลียด คือ พึงให้เกิดความเกลียดดุจเห็นคูถ. อนึ่ง เพราะ

มโนกรรมมิใช่วัตถุแห่งเทศนาอันควรแสดงไว้ในที่นี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงไม่

กล่าวไว้. ก็ในฐานะอย่างไรเล่า จึงควรชำระกายกรรมและวจีกรรม. ในฐานะ

อย่างไรจึงควรชำระมโนกรรม. ควรชำระกายกรรมและวจีกรรม ในเวลาก่อน

อาหารครั้งหนึ่งก่อน เมื่อฉันอาหารแล้วควรนั่งในที่พักกลางวันพิจารณาว่า ตั้ง

แต่อรุณขึ้นจนถึงนั่งในที่นี้ กายกรรม หรือวจีกรรมอันไม่สมควรแก่ผู้อื่นใน

ระหว่างนี้ มีอยู่แก่เราหรือไม่หนอ. หากรู้ว่ามี ควรแสดงข้อที่ควรแสดง ควร

ทำให้แจ้งข้อที่ควรทำให้แจ้ง. หากไม่มี ควรมีปีติปราโมทย์. อนึ่ง ควรชำระ

มโนกรรม ในที่แสวงหาบิณฑบาตครั้งหนึ่ง, ชำระอย่างไร. ควรชำระว่า วันนี้

ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความคับแค้นก็ดี ในรูปเป็นต้นในที่แสวงหา

บิณฑบาตมีอยู่หรือหนอ. หากมี ควรตั้งจิตว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีก. หากไม่มี

ควรมีปีติปราโมทย์.

บทว่า สมณา วา พฺราหฺมณา วา ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจก-

พุทธเจ้า หรือ พระสาวกของพระตถาคต. บทว่า ตสฺมา ติห ความว่า

เพราะสมณพราหมณ์ทั้งหลาย แม้ในอดีตก็ชำระแล้วอย่างนี้ แม้ในอนาคตก็จัก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ชำระอย่างนี้ แม้ในปัจจุบันก็ย่อมชำระอย่างนี้ ฉะนั้นแม้พวกเธอ เมื่อศึกษา

ตามสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็พึงศึกษาอย่างนี้. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่าย

ทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระธรรมเทศนานี้ให้จบลงด้วยสามารถแห่ง

บุคคลที่ควรแนะนำ ดุจเทวดาผู้วิเศษถือเอายอดแห่งกองรัตนะอันตั้งขึ้น

จนถึงภวัคคพรหม ด้วยกองแห่งแก้วมณีที่ประกอบกัน.

จบอรรถกถาอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

๒. มหาราหุโลวาทสูตร

ทรงโอวาทพระราหุล

[๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเวลาเช้า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาต

ยังนครสาวัตถี เวลาเช้า แม้ท่านพระราหุลก็ครองอันตรวาสก แล้วถือบาตร

และจีวรตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ครั้งนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงผินพักตร์ไปรับสั่งกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล รูปอย่างใด

อย่างหนึ่งเป็นอดีต เป็นอนาคตและเป็นปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอก

ก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้

ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ เธอพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น

ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.

พระราหุลทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่

พระสุคตเจ้า รูปเท่านั้นหรือ.

พ. ดูก่อนราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร ทั้งวิญญาณ.

[๑๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า วันนี้ ใครหนออันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงโอวาท ด้วยโอวาทในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วจักเข้าบ้านเพื่อ

บิณฑบาตเล่า ดังนี้แล้ว กลับจากที่นั้นแล้วนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติ

ไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้ แห่งหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรได้เห็นท่านพระราหุลผู้

นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

บอกกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล ท่านจงเจริญอานาปานสติเถิด ด้วยว่า

อานาปานสติภาวนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์

มาก. ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระราหุลออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติ

อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์

มาก.

ธาตุ ๕

[๑๓๕] ดูก่อนราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นภายใน อาศัยตน

เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ผม

ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด

ไต ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

อย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรม

และกิเลสเข้าไปยึดมั่น อาศัยตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรม

ก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด ปฐวีธาตุนั้น ก็เป็นปฐวีธาตุเหมือนกัน ปฐวีธาตุ

นั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เรา

ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วย

ปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ จิตย่อมคลาย

กำหนัดในปฐวีธาตุ.

[๑๓๖] ดูก่อนราหุล ก็อาโปธาตุเป็นไฉน อาโปธาตุเป็นภายในก็มี

เป็นภายนอกก็มี ก็อาโปธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน

เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ดี เสลด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร

หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ

อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอาโปธาตุเป็นภายใน ก็อาโปธาตุ

เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อาโปธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญา

อันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตน

ของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง

อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ.

[๑๓๗] ดูก่อนราหุล ก็เตโชธาตุเป็นไฉน เตโชธาตุเป็นภายในก็มี

เป็นภายนอกก็มี ก็เตโชธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัย

ตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ไฟที่ยัง

กายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย และ

ไฟที่เผาอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ให้ย่อยไปโดยชอบ หรือสิ่งใดสิ่ง

หนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรม

และกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าเตโชธาตุ เป็นภายใน. ก็เตโชธาตุเป็น

ภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด เตโชธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุเหมือนกัน

เตโชธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่

ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นเตโช-

ธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ

จิตย่อมคลายกำหนัดในเตโชธาตุ.

[๑๓๘] ดูก่อนราหุล วาโยธาตุเป็นไฉน วาโยธาตุเป็นภายในก็มี

เป็นภายนอกก็มี ก็วาโยธาตุเป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน

เป็นวาโย มีลักษณะพัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ลมพัด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

ขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะ

น้อยใหญ่ ลมหายใจ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน

เป็นวาโย พัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่า วาโยธาตุ

เป็นภายใน ก็วาโยธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด วาโยธาตุนั้น

เป็นวาโยธาตุเหมือนกัน วาโยธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็น

จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้

เพราะบุคคลเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อม

เบื่อหน่ายในวาโยธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ.

[๑๓๙] ดูก่อนราหุล ก็อากาศธาตุเป็นไฉน อากาศธาตุเป็นภายใน

ก็มี เป็นภายนอกก็มี อากาศธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน

อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ

ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องคอสำหรับกลืนอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว

ที่ลิ้ม ช่องท้องสำหรับเก็บอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และช่องสำหรับ

ถ่ายอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ออกเบื้องล่าง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง

อื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง ไม่ทึบ มีลักษณะ

ไม่ทึบ เป็นช่อง มีลักษณะเป็นช่อง อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน

อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอากาศธาตุ เป็นภายใน ก็อากาศ

ธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อากาศธาตุนั้น เป็นอากาศธาตุ

เหมือนกัน อากาศธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้

ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคล

เห็นอากาศธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย

ในอากาศธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอากาศธาตุ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕

[๑๔๐] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนา [อบรมจิต] เสมอด้วย

แผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่

ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ ดูก่อนราหุล

เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทั้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง

น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือ

ระอา หรือเกลียดด้วยของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วย

แผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอัน

เป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

[๑๔๑] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อ

เธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิด

ขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของ

สะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง

เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดด้วยของนั้นก็หาไม่

ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา

เสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่

ครอบงำจิตได้.

[๑๔๒] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะ

เมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่

เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนไฟย่อมเผาของ

สะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง นำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง

เลือดบ้าง ไฟจะอืดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

เจริญภาวนาเสมอด้วยไฟ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟ

อยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

[๑๔๓] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลมเถิด เพราะ

เมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่

เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตของเธอได้ ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนลมย่อม

พัดต้องของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง

น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดด้วยของนั้นก็หา

ไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลม ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญ

ภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว

จักไม่ครอบงำจิตได้.

[๑๔๔] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศเถิด เพราะ

เมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ

ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ ดูก่อนราหุล เปรียบเหมือนอากาศไม่ตั้ง

อยู่ในที่ไหน ๆ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศ ฉันนั้นแล เพราะ

เมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ

ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

การเจริญภาวนาธรรม ๖ อย่าง

[๑๔๕] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอ

เจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาทได้ เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด เพราะ

เมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละวิหิงสาได้ เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด

เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จักละอรติได้ เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จักละปฏิฆะได้ เธอจงเจริญ

อสุภภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละราคะได้ เธอจงเจริญ

อนิจจสัญญาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละ

อัสมิมานะได้.

อานาปานสติภาวนา

[๑๔๖] ดูก่อนราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติภาวนาเถิด เพราะ

อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผล มีอานิสงส์ใหญ่

ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มี

อานิสงส์ใหญ่ ดูก่อนราหุล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้

ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอ

มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออก

ยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัด

ว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า

จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลม

ทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อม

สำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปิติ

หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า

จักกำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อม

สำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนด

รู้จิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อม

สำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า

จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้ร่าเริงหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักดำรงจิตมั่น

หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จัก

เปลื้องจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง

หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจออก ย่อมสำเหนียก

ว่า จักพิจารณาธรรมอันปราศจากราคะหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จัก

พิจารณาธรรมเป็นที่ดับสนิทหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรม

เป็นที่ดับสนิทหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืน

หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาธรรมเป็นที่สละคืนหายใจเข้า ดูก่อน

ราหุล อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมี

ผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ดูก่อนราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว

อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ อันมีในภายหลัง อัน

บุคคลผู้เจริญอานาปานสติทราบชัดแล้ว ย่อมดับไป จะเป็นอันบุคคลผู้เจริญ

อานาปานสติไม่ทราบชัดแล้ว ดับไปหามิได้ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดี

ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบมหาราหุโลวาทสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

๒. อรรถกถามหาราหุโลวาทสูตร

มหาราหุโลราทสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับ

มาอย่างนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต อนุพนฺธิ พระราหุลได้ตาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ความว่า พระราหุลไม่ละสายตา

ตามไปเบื้องพระปฤษฎางค์ไม่ขาดระยะด้วยการตามไปทุกอิริยาบถ. ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่างพระบาทไปข้างหน้าด้วยความงดงาม. พระราหุลเถระ

เดินตามเสด็จพระทศพลไป ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปท่ามกลางป่าไม้

สาละมีดอกบานสะพรั่ง ทรงรุ่งเรืองดุจช้างตัวประเสริฐตกมันออกไปเพื่อหยั่ง

ลงสู่สมรภูมิ. พระราหุลภัททะรุ่งเรืองดุจลูกช้างตามไปข้างหลังช้างตัวประเสริฐ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรุ่งเรืองดุจไกรสรสีหราชออกจากาถ้ำแก้วไปแสวงหา

อาหารในเวลาเย็น. พระราหุลภัททะรุ่งเรืองดุจละกสีหะออกติดตามสีหมฤคราช.

พระผู้มีพระภาคเจ้าดุจพญาเสือโคร่งมีกำลังที่เขี้ยวออกจากไพรสัณฑ์มณีบรรพต

อันมีสง่า. พระราหุลภัททะดุจลูกพญาเสือโคร่งติดตามพญาเสือโคร่ง. พระผู้มี

พระภาคเจ้าดุจพญาครุฑออกจากสระสิมพลี. พระราหุลภัททะดุจลูกพญาครุฑ

ตามไปข้างหลังพญาครุฑ. พระผู้มีพระภาคเจ้าดุจพญาหงส์ทองบินร่อนไปบน

ท้องฟ้าจากภูเขาจิตตกูฎ. พระราหุลภัททะดุจลูกหงส์บินร่อนตามพญาหงส์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าดุจมหานาวาทองเคลื่อนลงสู่สระใหญ่. พระราหุลภัททะดุจ

เรือลำเล็กผูกติดช้างหลังแล่นตามเรือทอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าดุจพระเจ้า

จักรพรรดิเสด็จไปบนท้องฟ้าด้วยอานุภาพจักรแก้ว. พระราหุลภัททะดุจ

ปริณายกแก้วติดตามพระเจ้าจักรพรรดิ. พระผู้มีพระภาคเจ้าดุจดวงดาวลอยบน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

ท้องฟ้าซึ่งปราศจากฝน. พระราหุลภัททะดุจดาวประกายพรึกบริสุทธิ์ลอยไป

ตามดาวอธิบดี. เเม้พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระราหุลภัททะก็ทรงอุบัติในราช-

วงศ์โอกกากราชสืบเธอพระวงศ์จากพระเจ้ามหาสมมต. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า

แม้พระราหุลภัททะก็ทรงอุบัติในตระกูลกษัตริย์มีพระชาติบริสุทธิ์ เช่นกับ

น้ำนมที่ใส่ไว้ในสังข์. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พระราหุลภัททะก็ทรงสละ

ราชสมบัติออกทรงผนวช. พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าประดับด้วยมหา-

ปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ แม้ของพระราหุลภัททะก็เป็นที่น่ารักอย่างยิ่ง ดุจ

ซุ้มประตูแก้วอันตั้งขึ้นในเทพนครและดุจดอกไม้สวรรค์บานแผ่ไปในที่ทั้งปวง.

ด้วยประการฉะนี้ แม้ทั้งสองพระองค์สมบูรณ์ด้วยอภินีหาร เป็นราช-

บรรพชิตเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ มีพระฉวีดุจทองคำสมบูรณ์ด้วยลักษณะ เสด็จ

ดำเนินไปทางเดียวกัน รุ่งเรืองดุจครอบงำสริ แห่งสิริของจันทมณฑลทั้งสอง

สุริยมณฑลทั้งสอง ท้าวสักกะ ท้าวสุยามะ ท้าวสันตุสิตะ ปรนิมมิตวสวัตดี และ

มหาพรหมเป็นต้นทั้งสองซึ่งไปตามลำดับ. ในขณะนั้นท่านพระราหุลเสด็จไป

ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูพระตถาคตตั้งแต่พื้น

พระบาทจนถึงปลายพระเกสา. ท่านพระราหุลนั้นทอดพระเนตรเห็นความงดงาม

ของเพศพระพุทธเจ้าของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงมีพระสรีระวิจิตรด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการงดงาม ได้เป็นดุจเสด็จ

ไปท่ามกลางผงทองคำอันกระจัดกระจาย เพราะแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง

ดุจกนกบรรพตอันแวดล้อมด้วยสายฟ้า ดุจทองคำมีค่าวิจิตรด้วยรัตนะอันฉุดคร่า

ด้วยยนต์ แม้ทรงห่มคลุมด้วยผ้าบังสกุลจีวรสีแดง ก็ทรงงามดุจภูเขาทองอัน

ปกคลุมด้วยผ้ากัมพลแดง ดุจทองคำมีค่าประดับด้วยสายแก้วประพาฬ ดุจเจดีย์

ทองคำที่เขาบูชาด้วยผงชาด ดุจเสาทองฉาบด้วยน้ำครั่ง ดุจดวงจันทร์วันเพ็ญ

โผล่ขึ้นในขณะนั้นไปในระหว่างฝนสีแดง. สิริสมบัติของอัตภาพที่ได้เตรียมไว้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

ด้วยอานุภาพแห่งสมติงสบารมี. จากนั้นพระราหุลเถระก็ตรวจดูตนบ้าง ทรง

ดำริว่า แม้เราก็งาม หากพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงครองความเป็นพระเจ้า

จักรพรรดิในมหาทวีปทั้ง ๔ ได้ทรงประทานตำแหน่งปริณายกแก่เรา เมื่อเป็น

เช่นนั้น. ภาคพื้นชมพูทวีปจักงามยิ่งนัก จึงเกิดฉันทราคะอันอาศัยเรือน

เพราะอาศัยอัตภาพ

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเบื้องหน้าก็ทรงดำริว่า บัดนี้

ราหุลมีร่างกายสมบูรณ์ด้วยผิวเนื้อและโลหิตแล้ว. เป็นเวลาที่จิตฟุ้งซ่านไปใน

รูปารมณ์เป็นต้นอันน่ากำหนัด. ราหุลยังกาลให้ล่วงไปเพราะเป็นผู้มักมากหรือ

หนอ. ครั้นแล้วพร้อมกับทรงคำนึงได้ทรงเห็นจิตตุปบาทของราหุลนั้น ดุจเห็น

ปลาในน้ำใสและดุจเห็นเงาหน้าในพื้นกระจกอันบริสุทธิ์. ก็ครั้นทรงเห็นแล้ว

ได้ทรงทำพระอัธยาศัยว่า ราหุลนี้เป็นโอรสของเรา เดินตามหลังเรา มาเกิด

ฉันทราคะอันอาศัยเรือนเพราะอาศัยอัตภาพว่า เรางาม ผิวพรรณของเราผ่อง

ใส. ราหุลแล่นไปในที่มิใช่น่าดำเนิน ไปนอกทาง เที่ยวไปในโคจร ไปยังทิศ

ที่ไม่ควรไปดุจคนเดินทางหลงทิศ. อนึ่งกิเลสของราหุลนี้เติบโตขึ้นในภายใน

ย่อมไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน แม้ประโยชน์ผู้อื่น แม้ประโยชน์ทั้งสองตามความ

เป็นจริง. จากนั้นจักถือปฏิสนธิในนรกบ้าง ในกำเนิดเดียรัจฉานบ้าง ในปิตติ-

วิสัยบ้าง ในครรภ์มารดาอันคับแคบบ้าง เพราะเหตุนั้นจักตกไปในสังสาร-

วัฏอันไม่รู้เบื้องต้นที่สุด. เพราะ

ความโลภนี้ยังความพินาศให้เกิด

ความโลภยังจิตให้กำเริบ ภัยเกิดแต่ภายใน

ชนย่อมไม่รู้สึกถึงภัยนั้น คนโลภย่อมไม่รู้

อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม ความมืด

ตื้อย่อมมีในกาลที่ความโลภครองงำคน.

t แม้พระผู้้มีพระภาคเจ้าเสด็จคำเนิร.Aไปเบ่ ว.ิ งห.น า ก็.ทะงดำริว่า บัดนี้

ร่ าหุลมีร่างาr ายสมบูรณ์ด้วยผิวเนื้อและโลหิตแล้ว. เบในเวลาที่จิตพ ุ่ง ่P นไปใน

รูปา)๒มณ์เป็นต้นอัน น่ากำหนัด. ราหุลยังกาลให้ล่วงไปเพราะเป็น.ผู้มัก์มาก หรือ

หนอ. ครั้นแล้วพร้อมกับท.รงคำนี้ึงไค่ ทรงเห นจิตคุปบาทของราหุลนั้น ดุจเห็น

ปาเ า นน้ำใสและดุจเห็นเงา Aนา ในห 4นกระจกอันบริสุทธิ์ . กีครั้นทรงเห็นแล้ว

า7้ทรงทำพระอัธยาศัยว่า ราหุลน้เป็นโอรสขอะเรา เดินคามา ลังเรา รJาเกิf

ฉ ันทราคะอันวค าศัยเรือนเพราะอาศัยL'่วัดคภาพว่า เรางา I ผิวพร์รณของเราผ่อง

ใ.ส. ราหุรษ แล่นไปในทีมิใช่น่าดำเนิน ไปนอกท' ง เทียวไปในอโคจร ไปยังทิศA

ทีไม่ควรไปางุจคนเกPินทางหลงทิศ. อนึ่งกิเลสของราหุลน้เทิบโทขึ้นในภายใน

ย่อมไไj่เห็นแม้ประโยชน์์คน แม้ประโยชน์น์ผู้อีน แ J้ประโยชน์์ทั้งสองคามควา j ่่่

เป็นจริง. จากนั้น จักถือปฏิสนธิในนรกบ้าง โนกำเนิดเดียรัจฉานบ้าง นบิ่คติ0 .ส

วิสัยบ้่]ง ในครรภ์มารดาอันคับแคบบ้าง เพราะเหตุนั้นจักทกไปในสังสาร lII.

วัฏอันไม่รู้เบื้องต้นทีสุค เพราะ I .่ ่

ความใลภนั้ยังความพ้นาศให้เถิด .่่่

ความโ ภยังจ้ตให้กำเร้บ ภัยเ้ ดแต่ภายใน I.่่่

นย่อมไม่รู้สืกถึงภัยน้นั คนโลภย่อมไม่รู้

อรรถ คนใลกย่อมไม่เห็นธรรม ความมิด I

ติอยู่อมมีในกาลทิความใลภครอบงำคน. ้ I

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

เราไม่ควรเพิกเฉยราหุลนี้เหมือนอย่างเรือลำใหญ่เต็มไปด้วยรัตนะมาก

มายบรรจุน้ำไปในระหว่างกระดานแตก นายเรือไม่ควรเพิกเฉยแม้เพียงครู่เดียว

ฉะนั้น. เราจักข่มราหุลนั้นตราบเท่าที่กิเลสนี้ยังไม่ทำให้ศีลรัตนะเป็นต้นใน

ภายในของราหุลนั้นพินาศไปเสียก่อน. ในฐานะเห็นปานนี้ เป็นธรรมดาของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงเหลียวดูดุจพญาช้าง. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงทรงประทับยืนหมุนพระวรกายทั้งสิ้น ดุจปฏิมาทองหมุนกลับตรัส

เรียกพระราหุลภัททะ. พระอานนทเถระหมายถึงพระราหุลภัททะนั้นจึงกล่าว

คำมีอาทิว่า อถ โข ภควา อวโลเกตฺวา ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงผินพระพักตร์ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทมีอาทิว่า ย กิญฺจิ รูป รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง

พิสดารแล้วในขันธนิเทศในวิสุทธิมรรคโดยอาการทั้งปวง. บทมีอาทิว่า

เนต มม นั่นไม่ใช่ของเรา ท่านกล่าวไว้แล้วในมหาหัตถิปโทปมสูตร.

เพราะเหตุไร พระราหุลจึงทูลถามว่า รูปเมว นุโข ถควา ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า รูปเท่านั้นหรือพระเจ้าข้า. นัยว่าพระราหุลนั้นเกิดนัยขึ้น

เพราะสดับว่า รูปทั้งปวงนั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของ

เรา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอพึงเห็นรูปทั้งปวงอย่างนี้ด้วยวิปัสสนาปัญญา

ในเวทนาเป็นต้นจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ. เพราะฉะนั้นพระราหุลตั้งอยู่ในนัย

นั้นจึงทูลถาม. จริงอยู่ท่านพระราหุลนี้เป็นผู้ฉลาดในนัย เมื่อพระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่าสิ่งนี้ไม่ควรทำ ย่อมแทงตลอดแม้ตั้งร้อยนัยพันนัยว่า สิ่งนี้ควรทำ

สิ่งนี้ไม่ควรทำ. แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สิ่งนี้ควรทำก็มีนัยนี้เหมือน

กัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

จริงอยู่ ท่านพระราหุลนี้เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา เกลี่ยทรายประมาณ

บาตรหนึ่งในบริเวณพระคันธกุฎีแต่เช้าตรู่ด้วยคิดว่า วันนี้เราจะได้รับโอวาท

ประมาณเท่านี้ ได้การตักเตือนประมาณเท่านี้ จากสำนักของพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า จากสำนักของพระอุปัชฌาย์. แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงตั้งพระ-

ราหุลไว้ในเอตทัคคะ จึงทรงตั้งให้เป็นผู้เลิศในการศึกษาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้ใคร่ต่อการศึกษา ราหุลเป็นผู้เลิศของภิกษุเหล่านั้น.

แม้ท่านพระราหุลนั้นก็ได้บันลือสีหนาท ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์อย่าง

นั้นเหมือนกันว่า

พระธรรมราชาผู้เป็นพระชนกของเรา

ทรงตั้งเราไว้ในเอตทัคคะเฉพาะหน้าภิกษุ

สงฆ์ เพื่อความรู้ยิ่งสิ่งทั้งปวงนี้. พระธรรม

ราชาทรงยกย่องเราว่าเป็นผู้เลิศของภิกษุทั้ง

หลายผู้ใคร่การศึกษา และของภิกษุทั้งหลาย

ผู้บวชด้วยศรัทธา. พระธรรมราชาผู้ประ-

เสริฐ ผู้เป็นพระสหาย เป็นพระชนกของ

เรา และพระสารีบุตรผู้รักษาธรรม ผู้มีความ

อิ่มใจ เป็นพระอุปัชฌาย์ของเรา ทั้งหมด

เป็นคำสอนของพระชินเจ้า.

ลำดับนั้น เพราะไม่พึงเห็นแต่รูปอย่างเดียวเท่านั้น แม้เวทนาเป็นต้น

ก็พึงเห็นอย่างนั้น ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสแก่พระราหุลว่า รูปปิ

ราหุล เป็นอาทิ. บทว่า โกนุชฺช ตัดบทว่า โก นุ อชฺช วันนี้ใครหนอ

นัยว่า พระเถระได้มีปริวิตกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรามิได้ตรัสกถาโดย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

ปริยายว่า ชื่อว่าสมณะพึงรู้ฉันทราคะอาศัยอัตภาพแล้วไม่พึงตรึกถึงวิตกเห็น

ปานนี้. มิได้ทรงส่งทูตไปว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงไป จงบอกราหุลว่า ท่านอย่า

ตรึกถึงวิตกเห็นปานนี้อีกเลย ตั้งเราไว้เฉพาะหน้าแล้วทรงประทานสุคโตวาท

เฉพาะหน้าดุจจับโจรพร้อมด้วยภัณฑะที่จุก. ชื่อว่าสุคโตวาทหาได้ยากโดย

อสงไขยกัป. ใครหนอเป็นผู้มีชาติแห่งบัณฑิต วิญญูชนได้รับโอวาทเฉพาะ

พระพักตร์พระพุทธเจ้าเห็นปานนี้แล้ว วันนี้จักเข้าไปยังบ้านเพื่อบิณฑบาต.

ลำดับนั้น ท่านพระราหุลสละอาหารกิจและกลับจากที่อันผู้อยู่ ณ ที่นั่ง

ได้รับโอวาทแล้ว นั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงเห็นท่าน

พระราหุลกลับ ก็มิได้ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนราหุล เป็นเวลาภิกขาจารของเรา

เธออย่ากลับเลย เพราะเหตุไร. นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นได้มี

พระดำริว่า วันนี้ราหุลพิงบริโภคอมตโภชนะคือกายคตาสติก่อน.

บทว่า อทฺทสา โข อายสฺมา สารีปุตฺโต ท่านพระสารีบุตรได้เห็น

แล้วแล คือเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วท่านพระสารีบุตรไปภายหลังได้

เห็นแล้ว . ได้ยินว่า เมื่อท่านพระสารีบุตรอยู่รูปเดียว ก็มีวัตรอย่างหนึ่ง. เมื่อ

อยู่กับพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มีวัตรอย่างหนึ่ง. ในกาลใดพระอัครสาวกทั้งสองอยู่

ตามลำพัง. ในกาลนั้นท่านทั้งสองกวาดเสนาสนะแต่เช้าตรู่ชำระร่างกาย นั่งเข้า

สมาบัติ แล้วไปภิกษาจารตามความชอบใจของตน ๆ. อนึ่ง พระเถระทั้งสอง

เมื่ออยู่กับพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทำอย่างนั้น. ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปภิกษาจารก่อน. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ไปแล้ว พระเถระออกจากเสนาสนะของตน ดำริว่า ในที่ที่ภิกษุอยู่กันมาก ๆ

ภิกษุทั้งหมดสามารถจะทำให้เลื่อมใส หรือไม่สามารถ จึงไปในที่นั้น ๆ แล้ว

กวาดที่ที่ยังมิได้กวาด. หากว่า หยากเยื่อยังไม่ได้ทิ้ง ก็เอาทิ้งเสีย. เมื่อยังไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

มีหม้อน้ำดื่ม ในที่ที่ควรตั้งน้ำดื่มไว้ก็ตั้งหม้อน้ำดื่มไว้. ไปเยี่ยมภิกษุไข้แล้ว

ถามว่า อาวุโส ผมจะนำอะไรมาถวายท่าน. ท่านต้องการอะไร. ไปหาภิกษุหนุ่ม

ที่ยังไม่ได้พรรษาแล้วสอนว่า อาวุโสทั้งหลาย ขอท่านจงยินดียิ่งเถิด. จงอย่า

เบื่อหน่ายพระพุทธศาสนาอันมีสาระในการปฏิบัติเลย. ครั้นทำอย่างนี้แล้วก็ไป

ภิกษาจารภายหลังภิกษุทั้งหมด. เหมือนอย่างว่า พระเจ้าจักรพรรดิ มีพระ

ประสงค์จะเสด็จไป ณ ที่ไหน ๆ ทรงแวดล้อมด้วยเสนาเสด็จไปก่อน. ปริณายก

แก้วจัดกองทัพออกไปภายหลัง ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นจักรพรรดิ

แห่งพระสัทธรรมก็ฉันนั้นทรงแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จออกไปก่อน พระ-

ธรรมเสนาบดีผู้เป็นปริณายกแก้ว ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทำกิจนี้-

เสร็จแล้ว จึงออกไปภายหลังภิกษุทั้งหมด. พระเถระนั้นออกไปอย่างนี้แล้วใน

วันนั้นได้เห็นพระราหุลภัททะนั่ง ณ โคนค้นไม้ต้นหนึ่ง. ด้วยเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า ปจฺฉา คจฺฉนฺโต อทฺทส ท่านพระสารีบุตรไปภายหลังได้เห็น

แล้ว .

เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านพระสารีบุตรจึงชักชวนในอานาปาน-

สติเล่า. เพราะสมควรแก่การนั่ง. ได้ยินว่า พระเถระมิได้นึกถึงว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสรูปกรรมฐานแก่พระราหุลนั้นแล้ว คิดว่า กรรมฐานนี้สมควร-

แก่การนั่งนี้ของพระราหุลนั้น โดยอาการที่พระราหุลนี้นั่งติดอยู่กับอาสนะอันไม่

ไหวติงจึงกล่าวอย่างนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อานาปานสตึ ท่านพระสารีบุตรแสดงว่า

ท่านจงกำหนดลมหายใจเข้าลมหายใจออกแล้วยังฌาน หมวด ๔ หมวด ๕ ให้

เกิดในอานาปานสตินั้น แล้วเจริญวิปัสสนา ถือเอาพระอรหัต. บทว่า มหปฺผลา

โหติ มีผลมาก. มีผลมากอย่างไร. ภิกษุในศาสนานี้ ขวนขวายอานาปานสติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

นั่งเหนืออาสนะหนึ่ง ยังอาสวะทั้งหมดให้สิ้นไปแล้วบรรลุพระอรหัต. เมื่อไม่

สามารถอย่างนั้นก็เป็น สมสีสี (สิ้นชีวิตพร้อมทั้งสิ้นกิเลส) ในเวลาตาย.

เมื่อไม่สามารถอย่างนั้น ก็บังเกิดในเทวโลก ครั้นฟังธรรมของเทพบุตรผู้เป็น

ธรรมกถึกแล้วได้บรรลุพระอรหัต. พลาดไปจากนั้นเมื่อยังไม่เกิดพุทธุปบาทกาล

ย่อมทำให้แจ้งปัจเจกโพธิ. เมื่อยังไม่ทำให้แจ้งปัจเจกโพธินั้น ย่อมเป็น

ขิปปาภิญญา (รู้ได้เร็ว) เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดุจพระ-

พาหิยเถระเป็นต้นฉะนั้น ย่อมมีผลมากด้วยประการฉะนี้. บทว่า มหานิสสา

เป็นไวพจน์ของบทว่า มหปฺผลา. แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า

อานาปานสฺสติ ยสฺส ปริปุณฺณา สุภาวิตา

อนุปุพฺพปริจีตา ยถา พุทฺเธน เทสิตา

โสม โลก ปกาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.

ผู้ใดเจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ สะ-

สมไว้โดยลำดับ เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้า

ทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมทำโลกให้สว่างไสว

ดุจพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น.

พระเถระ เมื่อเห็นความที่อานาปานสติมีผลมากนี้ จึงได้ชักชวนสัทธิ-

วิหาริกในอานาปานสตินั้น. ด้วยประการฉะนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบอกรูป

กรรมฐาน พระเถระบอกอานาปานสติ เพราะเหตุนั้น แม้ทั้งสองท่านบอกกรรม

ฐานแล้วก็ไป. พระราหุลภัททะเป็นผู้ถูกทิ้งไว้ในวิหารนั่นแหละ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า แม้ทรงรู้ว่าพระราหุลภัททะถูกทิ้งไว้ ไม่ทรงรับขาทนียะโภชนียะด้วย

พระองค์เองแล้วก็มิได้เสด็จไป. มิได้ทรงส่งในมือของพระอานนทเถระ มิได้

ทรงให้สัญญาแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลมหาราชและอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

เพราะชนเหล่านั้นได้เพียงสัญญาก็จะพึงนำของใส่หาบมา. แม้พระสารีบุตรเถระ

ก็มิได้ทำอะไร ๆ อย่างเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้าฉันนั้น.

พระราหุลเถระอดอาหาร ขาดภัต. แต่ท่านพระราหุลนั้น แม้จิตก็มิ

ได้เกิดขึ้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงทราบว่าเราออกจากวิหาร ทรงรับ

บิณฑบาตที่พระองค์ได้แล้วด้วยพระองค์เองก็มิได้เสด็จมา. มิได้ทรงส่งไปในมือ

ของผู้อื่น. มิได้ทรงให้สัญญาแก่มนุษย์ทั้งหลาย. แม้พระอุปัชฌาย์ของเราก็รู้ว่า

เราถูกทิ้งไว้ ก็มิได้ทำอะไร ๆ อย่างนั้นเลย. ความเย่อหยิ่งหรือความดูหมิ่น

เพราะการทำนั้นเป็นปัจจัยจักมีแต่ไหน. อนึ่ง พระราหุลมนสิการเป็นลำดับถึง

กรรมฐานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบอก แม้ก่อนภัต แม้ภายหลังภัตว่า รูปไม่

เที่ยงอย่างนี้ เป็นทุกข์แม้อย่างนี้ เป็นอสุภะแม้อย่างนี้ เป็นอนัตตาแม้อย่างนี้

ดุจผู้ปรารถนาอยากได้ไฟในเวลาเย็นจึงคิดว่า พระอุปัชฌาย์บอกเราว่า ท่านจง

เจริญอานาปานสติ เราจักเชื่อท่าน. เพราะผู้ไม่เชื่ออาจารย์และอุปัชฌาย์ ชื่อว่า

เป็นผู้ว่ายาก. เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า ความบีบคั้นอันหยาบคายว่าเพราะการ

เกิดขึ้นแห่งการติเตียนว่า พระราหุลเป็นผู้ว่ายาก ไม่กระทำตามคำของอุปัชฌาย์

ดังนี้ ย่อมไม่มี.

พระราหุลประสงค์จะทูลถามถึงวิธีของภาวนาจึงได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. เพื่อแสดงความนั้น พระอานนท์เถระจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อถ โข

อายสฺมา ราหุโล ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า ปฏิสลฺลานา จากที่เร้น คือ

จากความเป็นผู้เดียว. คำว่า ย กิญฺจิ ราหุล ความว่า เพราะเหตุไรพระราหุล

ทูลถามถึงอานาปานสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสรูปกรรมฐานเล่า. ตอบว่า เพื่อ

ละฉันทราคะในรูป. นัยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงมีพระดำริว่า ฉันทราคะเกิด

ขึ้นแก่พระราหุล เพราะอาศัยอัตภาพ. แม้ในหนหลังพระองค์ก็ได้ตรัสรูปกรรม-

ฐานไว้โดยย่อแก่พระราหุลนั้น, บัดนี้เราจักจำแนกไม่ปรุงแต่งอัตภาพโดยอาการ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

๔๐ แล้วยังฉันทราคะอาศัยอัตภาพนั้นอันยังไม่เกิดเป็นธรรมดาให้เกิดแก่ราหุล

นั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงทำอากาศธาตุให้พิสดารเล่า. เพื่อแสดง

อุปาทารูป. เพราะท่านกล่าวถึงมหาภูตรูป ๔ ไว้แล้วในหนหลัง. ไม่ได้กล่าวถึง

อุปาทารูป. ฉะนั้นเพื่อแสดงอุปาทารูปนั้นโดยมุขนี้ จึงยังอากาศธาตุให้พิสดาร.

อีกอย่างหนึ่งแม้ปริจฉินนรูป (รูปที่กำหนดไว้) ก็มาปรากฏด้วยอากาศภายใน.

เพื่อความปรากฏแจ่มแจ้งของรูปที่กำ-

หนดไว้ด้วยอากาศ เท่าที่ประดับไว้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายก จึงทรงประกาศ

รูปนั้น.

บทที่ควรกล่าวในธาตุ ๔ ในสูตรนี้และสูตรก่อน ได้กล่าวไว้แล้วใน

มหาหัตถิปโทปมสูตร.

พึงทราบวินิจฉัยในอากาศธาตุดังต่อไปนี้. บทว่า อากาสคต มีลักษณะ

ว่าง คือ เป็นสภาวธรรม. บทว่า อุปาทินฺน อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึด

มั่น ความว่า ยึดมั่นถือมั่นกอดรัดตั้งอยู่ในสรีระ. บทว่า กณฺณฉิทฺท คือ

ช่องหู ไม่สัมผัสด้วยเนื้อและเลือด. แม้ในบทว่า นาสจฺฉิทฺท ช่องจมูกเป็น

ต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เยน จ คือโดยช่องใด. บทว่า อชฺโฌหรติ

ย่อมกลืนให้เข้าไปภายใน. บทนี้ท่านกล่าวหมายถึงที่ที่เป็นช่อง ๑ คืบ ๔ นิ้ว

ของมนุษย์ทั้งหลายตั้งแต่โคนลิ้นถึงพื้นท้อง. บทว่า ยตฺถ จ คือในโอกาสใด.

บทว่า สติฏฺติ คือตั้งอยู่. บทนี้ท่านกล่าวหมายถึงพื้นท้องใหญ่ อันเป็นดังผ้า

กรองน้ำผืนใหญ่ของมนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า อโธภาค นิกฺขมติ คือถ่ายออก

เบื้องล่าง. บทนี้ท่านกล่าวหมายถึง ไส้ใหญ่ ไส้หนึ่งประมาณ ๓๒ ศอกในที่

๒๑ แห่ง. ด้วยบทนี้ว่า ย วา ปน อญฺปิ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น ท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

แสดงถึงอากาศอัน. ไปในระหว่างหทัยและเนื้อเป็นต้น และอันตั้งอยู่โดยความ

เป็นขุมขน. คำที่เหลือในบทนี้พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในปฐวีธาตุเป็นต้น.

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสบอกถึงลักษณะแห่งความเป็นผู้คงที่

แก่พระราหุลนั้นจึงตรัสบทมีอาทิว่า ปวีสม เสมอด้วยแผ่นดิน. บุคคลผู้ไม่

กำหนัด ไม่ประทุษร้ายในอารมณ์อันน่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ชื่อว่า

ตาทีบุคคล (ผู้คงที่) ในบทว่า มนาปามนาปา นี้พึงทราบความดังต่อไป

นี้. ผัสสะสัมปยุตด้วยจิตสหรคตด้วยโลภะ ๘ ชื่อว่า มนาปา เป็นที่ชอบใจ.

ผัสสะสัมปยุตด้วยโทมนัสจิต ๒ ชื่อว่า อมนาปา ไม่เป็นที่ชอบใจ. บทว่า

จิตฺต น ปริยาทาย สฺสนฺติ ผัสสะจักไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ได้ ความว่า

ผัสสะเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วจักไม่สามารถครอบงำจิตของท่าน ดุจจะทำให้อยู่ใน

กำมือได้. ฉันทราคะจักไม่เกิดเพราะอาศัยอัตภาพอีกว่า เรางาม ผิวพรรณของ

เราผ่องใสดังนี้. คูถนั้นแหละชื่อว่า คูถคต ในบทมีอาทิว่า คูถคต. ในบท

ทั้งปวงก็อย่างนี้.

บทว่า น กตฺถจิ ปติฎฺิโต เหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ๆ

คือ ไม่ตั้งอยู่แม้ในที่เดียวมีในแผ่นดินภูเขาและต้นไม้เป็นต้น. ผิว่า อากาศพึง

ตั้งอยู่บนแผ่นดินเมื่อแผ่นดินทำลายก็จะพึงทำลายไปด้วยกัน. เมื่อภูเขาพังก็จะ

พังไปด้วยกัน. เมื่อต้นไม้หักก็จะหักไปด้วยกันเท่านั้น.

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภ ว่า เมตฺต ราหุล.

เพื่อแสดงเหตุแห่งความเป็นผู้คงที่. เพราะทรงแสดงเหตุแห่งความเป็นผู้คงที่

ไว้แล้วในหนหลัง. ใคร ๆ ไม่สามารถเพื่อเจริญ เพราะมิใช่เหตุว่า เราเป็น

ผู้คงที่. ใคร ๆ มิใช่ชื่อว่าเป็นผู้คงที่ด้วยเหตุเหล่านี้ว่า เราเป็นผู้ขวนขวายใน

ตระกูลสูง เป็นพหุสูต เป็นผู้มีลาภ. พระราชามหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

ย่อมคบเรา. เราเป็นผู้คงที่ก็หามิได้. แต่เป็นผู้คงที่ด้วยการเจริญเมตตาเป็นต้น

เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงปรารภเทศนานี้เพื่อแสดงเหตุแห่ง

ความเป็นผู้คงที่.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ภาวยโต เจริญ คือ ยิ่งอุปจารภาวนาหรือ

อัปปนาภาวนาให้ถึง. บทว่า โย พยาปาโท พยาบาท คือ จักละความโกรธ

ในสัตว์ได้. บทว่า วิเหสา ความเบียดเบียน คือ เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย

ด้วยฝ่ามือเป็นต้น. บทว่า อรติ ความไม่ยินดี คือ ความเป็นผู้เบื่อหน่าย

ในเสนาสนะเป็นสงัด และในธรรมเป็นอธิกุศล. บทว่า ปฏิโฆ ความขุ่นเคือง

คือ กิเลสเป็นเครื่องให้เดือดร้อนในทุก ๆ แห่ง. บทว่า อสุภ ไม่งาม คือ

เจริญอุปจาระและอัปปนาในซากศพที่พองอืดเป็นต้น. บทว่า อุทฺธุมาตกา

ซากศพพองอืด อสุภภาวนานี้ท่านกล่าวไว้โดยพิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.

บทว่า ราโค ได้แก่ ราคะประกอบด้วยกามคุณ ๕. บทว่า อนิจฺจสญฺ

อนิจจสัญญาภาวนา คือ สัญญาอันเกิดพร้อมกับอนิจจานุปัสสนา หรือวิปัสสนา

นั่นแหละ. แม้ความไม่มีสัญญาท่านก็กล่าวว่า สัญญา ด้วยหัวข้อแห่งสัญญา.

บทว่า อสฺมินาโน ถือว่าเรามีอยู่ คือ มีมานะว่า เรามีอยู่ในรูปเป็นต้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะยังปัญหาที่พระเถระถามให้พิสดารจึงกล่าวบท

มีอาทิว่า อานาปานสฺสติ ดังนี้. กรรมฐานนี้ กรรมฐานภาวนา และอรรถ

แห่งบาลี พร้อมด้วยอานิสงส์กถา ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในอนุสสตินิเทศใน

วิสุทธิมรรคโดยอาการครบถ้วนทุกประการ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบพระ

ธรรมเทศนานี้ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้พึงแนะนำนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถามหาราหุโลวาทสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

๓. จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร

ทรงโอวาทพระมาลุงกยบุตร

[๑๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมาลุง.

กยบุตรไปในที่ลับ เร้นอยู่ เกิดความดำริแห่งจิตอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงพยากรณ์ ทรงงด ทรงห้ามทิฏฐิเหล่านี้ คือ โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง

โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระ

อย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มีไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่

ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรานั้น

เราไม่ชอบใจ ไม่ควรแก่เรา เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูล

ถามเนื้อความนั้น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงพยากรณ์แก่เรา ฯ ล ฯ เราก็

จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ทรง

พยากรณ์ ฯลฯ เราก็จักลาสิกขามาเป็นคฤหัสถ์.

พระนาลุงกยบุตรบอกความปริวิตก

[๑๔๘] ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมาลุงกยบุตรออกจากที่เร้น เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์ไปในที่ลับเร้นอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

เกิดความดำริแห่งจิตอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ ทรงงด

ทรงห้ามทิฏฐิเหล่านี้ คือ โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด

ชีพอันนั้น สรีระก่อนนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายไปมีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี

ไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ข้อที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่ทรงพยากรณ์ทิฏฐิเหล่านั้นแก่เรานั้น เราไม่ชอบใจ ไม่ควรแก่

เรา เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามเนื้อความนั้น ถ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าจักทรงพยากรณ์ ฯลฯ เราก็จักประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ทรงพยากรณ์ ฯ ล ฯ เราจักลาสิกขามาเป็น

คฤหัสถ์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าโลกเที่ยง ขอจงทรงพยากรณ์แก่

ข้าพระองค์เถิดว่าโลกเที่ยง ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า โลกไม่เที่ยง

ขอจงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่าโลกไม่เที่ยง ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

ทรงทราบว่าโลกเที่ยงหรือโลกไม่เที่ยง เมื่อไม่ทรงรู้ไม่ทรงเห็น ก็ขอจงตรัสบอก

ตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เราไม่เห็น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าโลกมี

ที่สุด ขอจงทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า โลกมีที่สุด ถ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงทราบว่า โลกไม่มีที่สุด ขอจงทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า

โลกไม่มีที่สุด ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทราบว่าโลกมีที่สุดหรือโลกไม่มีที่

สุด เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอตรัสบอกตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เราไม่

เห็น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ขอจง

ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ถ้าพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงทราบว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ขอจงทรงพยากรณ์แก่

ข้าพระองค์เถิดว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

ทรงทราบว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่าง

หนึ่ง เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอจงตรัสบอกตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ ไม่

เห็น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ขอจง

ทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ถ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ขอจงทรงพยากรณ์

แก่ข้าพระองค์เถิดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป

ไม่มีอยู่ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอจงตรัสบอกตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เรา

ไม่เห็น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี

ไม่มีอยู่ก็มี ขอจงทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป

มีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย

ไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ขอจงทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์เถิดว่า สัตว์

เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรง

ทราบว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี หรือว่าสัตว์เบื้อหน้า

แต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ เมื่อไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ก็ขอจงตรัสบอก

ตรง ๆ เถิดว่า เราไม่รู้ เราไม่เห็น.

[๑๔๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาลุงกยบุตร เราได้พูด

ไว้อย่างนี้กะเธอหรือว่า เธอจงมาประพฤติพรหมจรรย์ในเราเถิด เราจัก

พยากรณ์ทิฏฐิ ๑๐ แก่เธอ ฯ ล ฯ

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ก็หรือว่า ท่านได้พูดไว้กะเราอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า

พระองค์จักพระพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

จักทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์ ฯ ล ฯ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร ได้ยินว่า เรามิได้พูดไว้กะเธอดังนี้ว่า เธอจงมา

ประพฤติพรหมจรรย์ในเราเถิด เราจักพยากรณ์แก่เธอ ฯ ล ฯ ได้ยินว่า แม้

เธอก็มิได้พูดไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักประพฤติพรหมจรรย์

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงพยากรณ์แก่ข้าพระองค์

ฯ ล ฯ ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอเป็นอะไร จะมาทวงกะใครเล่า.

เปรียบคนที่ถูกลูกศร

[๑๕๐] ดูก่อนมาลุงกยบุตร บุคคลใดแลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ทรงพยากรณ์แก่เรา ฯ ล ฯ เพียงใด เราจักไม่ประพฤติ

พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพียงนั้น ตถาคตไม่พึงพยากรณ์ข้อนั้นเลย

และบุคคลนั้นพึงทำกาละไปโดยแท้ ดูก่อนมาลุงกยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษ

ต้องศรอันอาบยาพิษที่ฉาบทาไว้หนา มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้น

พึงไปหานายแพทย์ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมาผ่า บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่าง

นี้ว่า เรายังไม่รู้จักบุรุษผู้ยิงเรานั้นว่า เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือ

ศูทร. . . มีชื่อว่าอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้. . . สูงต่ำหรือปานกลาง . . . ดำขาว

หรือผิวสองสี . . . อยู่บ้าน นิคม หรือนครโน้น เพียงใด เราจักไม่นำลูกศร

นี้ออกเพียงนั้น บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักธนูที่ใช้ยิง

เรานั้นว่าเป็นชนิดมีแล่งหรือเกาทัณฑ์ . . . สายที่ยิงเรานั้นเป็นลายทำด้วยปอผิว

ไม้ไผ่ เอ็น ป่านหรือเยื่อไม้ ลูกธนูที่ยิงเรานั้น ทำด้วยไม้ที่เกิดเองหรือไม้

ปลูก หางเกาทัณฑ์ที่ยิงเรานั้น เขาเสียบด้วยขนปีกนกแร้ง นกตะกรุม เหยี่ยว

๑. ไม่ใช่ผู้ขอร้อง หรือผู้ถูกขอร้อง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

นกยูง หรือนกชื่อว่า สิถิลหนุ [คางหย่อน] . . . เกาทัณฑ์นั้นเขาพันด้วย

เอ็นวัว ควาย ต่างหรือลิง. . . ลูกธนที่ยิงเรานั้น เป็นชนิดอะไร ดังนี้

เพียงใด เราจักไม่นำลูกศรนี้ออกเพียงนั้น ดูก่อนมาลุงกยบุตร บุรุษนั้นพึงรู้

ข้อนั้นไม่ได้เลย โดยที่แท้ บุรุษนั้นพึงทำกาละไป ฉันใด ดูก่อนมาลุงกยบุตร

บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ทรงพยากรณ์ทิฏฐิ ๑๐

นั้น ฯ ล ฯ แก่เราเพียงใด เราจักไม่พระพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพียงนั้น ข้อนั้นตถาคตไม่พยากรณ์เลย โดยที่แท้ บุคคลนั้นพึงทำกาละไป

ฉันนั้น.

[๑๕๑] ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ดังนี้ จักได้

มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกไม่เที่ยง ดังนี้ จักไม่มีการ

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า โลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยง

อยู่ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็

คงที่อยู่ทีเดียว เราจึงบัญญัติความเพิกถอนชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า

โลกมีที่สุด ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกไม่มีที่สุด ดังนี้ จักได้มีการ

อยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด หรือว่า โลกไม่มี

ที่สุดอยู่ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็คง

มีอยู่ทีเดียว เราจึงบัญญัติความเพิกถอนชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพ

ก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็ไม่

ใช่อย่างนั้น.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง

ดังนี้ จักได้มีการประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือ

ว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่งอยู่ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส และอุปายาส ก็คงมีอยู่ทีเดียว เราจึงบัญญัติความเพิกถอนชาติ

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในปัจจุบัน

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ดังนี้ จักได้มี

การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็มิใช่อย่างนั้น.

ก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่

ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่

หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็คงมีอยู่ทีเดียว เราจึงบัญญัติความเพิกถอน

ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี

ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ก็

มิใช่ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้น

ก็ไม่ใช่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี

ไม่มีอยู่ก็มี หรือว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ดังนี้

ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็คงมีอยู่ทีเดียว

เราจึงบัญญัติความเพิกถอน ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาสในปัจจุบัน.

ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์และไม่ทรงพยากรณ์

[๑๕๒] ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย จง

ทรงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจง

ทรงจำปัญหาที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด ดูก่อน

มาลุงกยบุตร อะไรเล่าที่ไม่พยากรณ์ ดูก่อนมาลุงยบุตร ทิฏฐิว่า โลกเที่ยง

โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่าง

หนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไป

ไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย

ไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ดังนี้ เราไม่พยากรณ์ ดูก่อนมาลุงกยบุตร

ก็เพราะเหตุไร ข้อนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประ-

โยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความ

คลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้

เพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ข้อนั้น ดูก่อนมาลุงกยบุตร อะไรเล่า

ที่เราพยากรณ์ ดูก่อนมาลุงกยบุตร ความเห็นว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์

นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้ เราพยากรณ์ ก็เพราะ

เหตุไร เราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะข้อนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ

ความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

เหตุนั้นเราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงทรงจำปัญหา

ที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงทรงจำปัญหา

ที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตร ยินดี

ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบจูฬมาลุงกยโอวาทสูตรที่ ๓

๓. อรรถกถาจูฬมาลุงกยโอวาทสูตร

จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้

สดับมาอย่างนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า มาลุงฺกฺยปุตฺตสฺส พระเถระมีชื่ออย่างนี้.

บทว่า. ปิตานิ ปฏิกฺขิตฺตานิ ทรงงดทรงห้ามคือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

งดทรงห้ามอย่างนี้ว่าทิฏฐิทั้งหลายไม่ควรพยากรณ์. บทว่า ตถาคโต คือสัตว์.

บทว่า ตมฺเม น รุจฺจติ คือการไม่พยากรณ์นั้นไม่ชอบใจแก่เรา. บท ว่า สกฺข

ปจฺจกฺขาย เราจะลาสิกขา. บทว่า โก สนฺโต ก ปจฺจาจิกฺขสิ เธอเป็น

อะไร จะมาทวงกะใครเล่า ความว่า ผู้ขอพึงทวงกะผู้ยืม หรือผู้ยืมควรทวงกะ

ผู้ขอ ท่านมิใช่ผู้ขอ มิใช่ผู้ยืม บัดนี้ท่านเป็นอะไร จะมาทวงกะใครเล่า. บทว่า

วิทฺโธ อสฺส บุรุษถูกแทงด้วยศร คือถูกข้าศึกแทงเอา. บทว่า คาฬฺหเลปเนน

๑. อรรถกถาเรียก มาลุงกยสูตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

คือด้วยศรอันอาบยาพิษที่ฉาบทาไว้หนา. บทว่า ภิสกฺก คือแพทย์ผู้ชำนาญ.

บทว่า สลฺลกตฺต คือทำการผ่าตัดเย็บบาดแผล. บทว่า อกฺกสฺส แปลว่า ปอ

คือ เอาปอทำสายธนู. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อกฺกสฺส ทำด้วยปอ. บทว่า

สณฺสฺส คือผิวไม้ไผ่. ชนทั้งหลายทำป่านและเยื่อไม้ด้วยปอนั่นเอง. ด้วย

เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ยทิ วา มรุวาย ยทิ วา ขิรปณฺณฺโน ด้วยป่านหรือ

เยื่อไม้ดังนี้ . บทว่า คจฺฉ ไม้ที่เกิดเองคือเกิดที่หลืบภูเขาหรือสายน้ำ. บทว่า

โรปิม ไม้ปลูก คือไม้ปลูกที่งอกงามทำเป็นศร. บทว่า สิถิลหนุโน เป็น

ชื่อของนกที่มีชื่อว่า สิถิลหนุ. บทว่า โรรุวรสฺส ได้แก่ ต่าง. บทว่า

เสมฺทารสฺส ได้แก่ ลิง. บทว่า เอว โน ไม่ใช่อย่างนั้น ความว่า เมื่อทิฏฐิ

มีอยู่อย่างนั้นก็ไม่ใช่. บทว่า อตฺเถว ชาติ ชาติยังมีอยู่ คือเมื่อมีทิฏฐิอย่าง

นั้นการอยู่พรหมจรรย์ย่อมไม่มี. แต่ชาติยังมีอยู่. อนึ่งท่านแสดงถึงชราและ

มรณะเป็นต้นด้วย. บทว่า เยสาห ตัดบทเป็น เยส อห. บทว่า นิฆาต ความ

เพิกถอน คือเข้าไปกำจัดให้พินาศ. อธิบายว่า เพราะสาวกทั้งหลายของเรา

เบื่อหน่ายในชราและมรณะเป็นต้นเหล่านั้น จึงบรรลุนิพพานในศาสนานี้แหละ.

บทว่า ตสฺมาติห ความว่า เพราะฉะนั้นแหละ ข้อนั้นเราไม่พยากรณ์เลย เรา

พยากรณ์อริยสัจ ๔ เท่านั้น.

บทว่า นเหต มาลุงฺกฺยปุตฺต อตฺถสญฺหิต ดูก่อนมาลุงกยบุตร

ข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย คือทิฏฐินี้ก็ดีพยากรณ์นี้ก็ดี มิได้อาศัยเหตุ

เลย. บทว่า น อาทิพฺรหฺมจริยก ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์คือแม้เพียง

เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ก็ไม่มี แม้เพียงศีลในส่วนเบื้องต้นก็ไม่มี. ในบทว่า

น นิพฺพิทาย ไม่เป็นไปเพื่อความหน่ายเป็นต้นมีความดังต่อไปนี้ ไม่เป็นไป

เพื่อความหน่ายในวัฏฏะ เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อดับวัฏฏะ เพื่อสงบราคะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

เป็นต้น เพื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้มรรค ๔ หรือเพื่อทำให้แจ้ง

นิพพานอันเป็นอสังขตธรรม. บทว่า เอตญฺหิ คือ การพยากรณ์อริยสัจ ๔ นี้.

บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยา คือเป็นเบื้องหน้าเป็นพื้นฐานของพรหมจรรย์. บทที่

เหลือพึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงจบ

พระธรรมเทศนาแม้นี้ด้วยสามารถบุคคลที่ควรแนะนำได้.

จบอรรถกถาจูฬลุงกยโอวาทสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

๔. มหามาลุงกยโอวาทสูตร

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับพระ

ดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายยังจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดงแล้วได้หรือ

ไม่. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตรได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์

๕ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร ก็เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่เราแสดง

แล้วว่าอย่างไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ คือ

สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามฉันทะ พยาบาท ที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังจำได้ซึ่งโอรัม-

ภาคิยสังโยชน์ ๕ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้.

[๑๕๔] ดูก่อนมาลุงกยบุตร เธอจำโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เหล่านี้

ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แก่ใครหนอ ดูก่อนมาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญ-

เดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบด้วยเด็กนี้ได้ มิใช่หรือว่า แม้แต่

ความคิดว่า กายของตน ดังนี้ ย่อมมีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

สักกายทิฏฐิจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน. ส่วนสักกายทิฏฐิอันเป็นอนุสัยเท่านั้น

ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิดว่า ธรรมทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่

เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความสงสัยในธรรมทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่

เด็กนั้นแต่ที่ไหน. ส่วนวิจิกิจฉาอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น.

แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลาย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอน

หงายอยู่ สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลาย จักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน. ส่วน

สีลัพพัตตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น. แม้แต่ความ

คิดว่า กามทั้งหลาย ดังนี้ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็กามฉันทะ

ในกามทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นที่ไหน ส่วนการราคะอันเป็นอนุสัยเท่านั้น

ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น แม้แต่ความคิดว่า สัตว์ทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็ก-

กุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ ก็ความพยาบาทในสัตว์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็ก

นั้นที่ไหน. ส่วนพยาบาทอันเป็นอนุสัยเท่านั้น ย่อมนอนตามแก่เด็กนั้น ดูก่อน

มาลุงกยบุตร นักบวช พวกอัญญเดียรถีย์จักโต้เถียง ด้วยคำโต้เถียงอันเปรียบ

ด้วยเด็กอ่อนนี้ได้มิใช่หรือ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระ-

อานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เวลานี้

เป็นกาลสมควร ข้าแต่พระสุคต เวลานี้เป็นกาลสมควรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วจักทรงจำไว้.

ดูก่อนอานนท์ ถ้ากระนั้น เธอจงพึง จงมนสิการให้ดี เราจักกล่าว.

ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

อุบายเครื่องละสังโยชน์

[๑๕๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ปุถุชนในโลก

นี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้

รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ

ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อัน

สักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบาย

เป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐินั้น ก็เป็นของมีกำลัง

อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์. ปุถุชนนั้นมีจิตอัน

วิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อันวิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว

ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉานั้นก็เป็น

ของมีกำลังอันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์. ปุถุชน

นั้นมีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาสครอบงำแล้วอยู่

และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้

ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาสนั้น ก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนบรรเทา

ไม่ได้แล้วชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์. ปุถุชนนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว

อันกามราคะครอบงำ และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่อง

สลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้น

บรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์. ปุถุชนนั้นมีจิตอันพยาบาท

กลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อม

ไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง พยาบาทนั้นก็เป็นของมี

กำลังอันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

ดูก่อนอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะเป็นผู้

ฉลาดในธรรมของพระอริยะได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว ได้เห็น

สัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว

มีจิตอันสักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสัก-

กายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง

สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิตอัน

วิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้น

แล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉาพร้อมทั้ง

อนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้น มีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่

ได้อันสีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว

ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามเป็นจริง สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้ง

อนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้

อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็น

เครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวก

นั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาทครอบงำ

ไม่ได้อยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้

ตามความเป็นจริง พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.

มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์

[๑๕๖] ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่

เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภา-

คิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

ข้อที่ว่า ไม่ถูกเปลือกไม่ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจักถาก

แก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทา

ที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัม-

ภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูก่อนอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อละ

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕

นั้นได้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่าถากเปลือก

ถากกะพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะ

มีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็

เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น.

ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง

กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่าตัดขวาง

กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้ เขาไม่อาจจะว่ายตัด

ขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด ดูก่อนอานนท์

จิตของบางคน ไม่เล่นไป ไม่เลื่อมใส ในธรรมที่เราแสดง เพื่อดับสักกาย-

ทิฏฐิ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่หลุดพ้น ฉันนั้นเหมือนกัน บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น

ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือน

แม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง

พึงมาด้วยหวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดย

สวัสดี ดังนี้ เขาอาจจะว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดย

สวัสดีได้ ฉันใด ดูก่อนอานนท์ เมื่อธรรมอันผู้แสดง ๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

ดับสักกายทิฏฐิ. จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง ย่อมหลุดพ้น ฉันนั้น

เหมือนกันแล บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือน

กัน.

รูปฌาน ๔

[๑๕๗] ดูก่อนอานนท์ มรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสัง-

โยชน์ ๕ เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรมเพราะอุปธิวิเวก เพราะละอกุศลธรรมได้ เพราะระงับความ

คร้านกายได้โดยประการทั้งปวง บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและ

สุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา

สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีอยู่ในภายในสมาบัตินั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวผี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นไข้

เป็นอื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของมิใช่ตัวตน เธอย่อมเปลื้อง

จิตจากธรรมเหล่านั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุว่าธรรมชาตินี้สงบ ธรรม

ชาตินี้ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง

เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่ดับกิเลส และ

กองทุกข์ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนา อันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น ย่อมบรรลุ

ธรรม เป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลาย ย่อมเป็นโอปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับ

จากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความยินดี ความเพลิดเพลินในธรรมนั้น และ

เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ดูก่อนอานนท์ มรรคแม้นี้แล

ปฏิปทาแม้นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕.

๑. พระอนาคามี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความ

ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ

วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่

และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย

สรรเสริญว่า ผู้ใดฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีปีติ อยู่เป็นสุข.

ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

อรูปฌาน ๔

[๑๕๘] ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากาสานัญ-

จายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะ

ดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง.

ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน

ด้วยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดย

ประการทั้งปวง.

ดูก่อนอานนท์ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน

ด้วยบริกรรมว่า อะไร ๆก็ไม่มี เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการ

ทั้งปวง.

[๑๕๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไป

เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวก

ในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุตติ บางพวกเป็นปัญญาวิมุตติเล่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

ดูก่อนอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของ

ภิกษุเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจยินดี

ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบมหามาลุงกยโอวาทสูตรที่ ๔

๔. อรรถกถามหามาลุงกยโอวาทสูตร

มหามาลุงกยโอวาทสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้า

ได้สดับมาอย่างนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า โอรมฺภาคิยานิ คือ สังโยชน์อันเป็นไปใน

ส่วนเบื้องต่ำ ยังสัตว์ให้เป็นไป คือ เกิดในกามภพ. บทว่า สโยชนานิ คือ

เครื่องผูก. บทว่า กสฺส โข นาม แก่ใครหนอ คือ เธอจำโอรัมภาคิย-

สังโยชน์ที่เราแสดงแก่ใคร คือ แก่เทวดา หรือแก่มนุษย์. เธอผู้เดียวเท่านั้น

ได้ฟัง ใคร ๆ อื่นมิได้ฟังหรือ. บทว่า อนุเสติ ย่อมนอนตาม คือชื่อว่า

ย่อมนอนตามเพราะยังละไม่ได้. ชื่อว่า สังโยชน์ คือ การนอนตาม. อนึ่ง

ในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสังโยชน์. แม้พระเถระก็พยากรณ์สังโยชน์

เท่านั้น. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกโทษในวาทะของใคร.

เพราะเหตุไร จึงทรงยกโทษพระเถระนั้นเล่า. เพราะพระเถระถือลัทธิอย่างนั้น.

เพราะนี้เป็นลัทธิของพระเถระนั้น. พระเถระเป็นผู้ชื่อว่าประกอบด้วยกิเลสใน

ขณะประพฤตินั่นเอง. ไม่ประกอบในขณะนอกนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าจึงทรงยกโทษแก่พระเถระนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่ม

พระธรรมเทศนาโดยธรรมดาของพระองค์ว่า เราจักแสดงธรรมแก่ภิกษุสงฆ์.

ภิกษุแม้ไม่ฉลาดนี้กล่าวตู่พระธรรมเทศนานั้น ช่างเถิดเราจะทูลวิงวอนพระผู้มี-

พระภาคเจ้า แล้วให้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย. ท่านพระอานนท์ได้ทำ

อย่างนั้นแล้ว . เพื่อแสดงความนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอว วุตฺเต

อายสฺมา อานนฺโท เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สกฺกายทิฏฺิปริยุฏฺิเตน มีจิตอันสักกายทิฏฐิ

กลุ้มรุมแล้ว คือ อันสักกายทิฏฐิยึดไว้ ครอบงำแล้ว. บทว่า สกฺกายทิฏฺิ-

ปุเรเตน อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้ว คือ อันสักกายทิฏฐิตามไปแล้ว. บทว่า

นิสฺสรณ อุบายเป็นเครื่องสลัดออก ได้แก่ นิพพานๆ ชื่อว่า อุบายเป็นเครื่อง

สลัดออกแห่งทิฏฐิ. ไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกนั้น ตามความเป็นจริง.

บทว่า อปฺปฏิวินีตา คือ อันปุถุชนบรรเทาไม่ได้แล้ว นำออกไปไม่ได้แล้ว.

บทว่า โอรมฺภาคิยสโยชน ได้แก่ สังโยชน์เป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ. แม้

ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน . ธรรมฝ่ายขาวมีอรรถง่ายทั้งนั้น.

อนึ่ง ในสูตรนี้เพราะบาลีว่า สานุสยา ปหียติ สักกายทิฏฐิพร้อม

ด้วยอนุสัย อันพระอริยบุคคลละได้แล้ว อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สังโยชน์

เป็นอย่างหนึ่ง อนุสัยเป็นอย่างหนึ่ง. เหมือนเมื่อกล่าวว่า ภัตพร้อมด้วยกับ.

กับข้าวเป็นอย่างอื่นจากภัตฉันใด. ลัทธิของอาจารย์เหล่านั้นว่า อนุสัยพึงเป็น

อย่างอื่นจากสักกายทิฏฐิอันกลุ้มรุม เพราะบาลีว่า สานุสยา พร้อมด้วยอนุสัย

ก็ฉันนั้น. อาจารย์เหล่านั้นปฏิเสธด้วยบทมีอาทิว่า สสีส ปารุเปติวา คลุม

ตลอดศีรษะ. เพราะคน อื่นไปจากศีรษะย่อมไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

ถ้าเช่นนั้นพึงมีคำถามว่า ผิว่า สังโยชน์เป็นอย่างนั้น อนุสัยไม่เป็น

อย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกพระเถระ อุปมาด้วยเคน

หนุ่มก็เป็นการปรารมภ์ที่ไม่ดีน่ะซิ. มิใช่ยกขึ้นไม่ดี. เพราะบทนี้ว่า เอว

ลทฺธิกตฺตา เพราะมีลัทธิอย่างนี้ กล่าวพิสดารแล้ว. ฉะนั้น กิเลสนั้นชื่อว่า

สังโยชน์ เพราะเป็นเครื่องผูก ชื่อว่า อนุสัย เพราะละไม่ได้. เพราะเหตุนั้น

พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ สานุสยา ปหียติ สักกายทิฏฐิ

พร้อมด้วยอนุสัยอันพระอริยบุคคลละได้. หมายเอาความนี้.

ในบทมีอาทิว่า ตจ เฉตฺวา ถากเปลือก บทนี้แสดงความเปรียบ

เทียบ. พึงเห็นว่าสมาบัติดุจการถากเปลือก. พึงเห็นวิปัสสนาดุจการถากกระพี้.

พึงเห็นมรรคดุจการถากแก่น. อนึ่ง ปฏิปทาเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระนั่น

แหละจึงควร.

บทว่า เอวเมเต ทฏฺพฺพา คือ พึงเห็นบุคคลเห็นปานนั้น ฉันนั้น.

บทว่า อุปธิวิเวกา คือ เพราะอุปธิวิเวก. ด้วยบทนี้ท่านกล่าวถึงความสงัด

จากกามคุณ ๕. ด้วยบทนี้ว่า อกุสลาน ธมฺมาน ปหานา เพราะละ

อกุศลธรรมได้ ท่านกล่าวถึงการละนิวรณ์. ด้วยบทนี้ว่า กายทุฏฺฐุลฺลาน

ปฏิปสฺสทฺธิยา ท่านกล่าวถึงการระงับความคร้านกาย. บทว่า วิวิจฺเจว

กาเมหิ สงัดจากกาม คือ เป็นผู้เว้นจากกามด้วยอุปธิวิเวก. บทว่า วิวิจฺจ

อกุสเลหิ สงัดจากอกุศล คือ เป็นผู้เว้นจากอกุศล ด้วยการละอกุศลธรรมและ

ด้วยการระงับความคร้าน.

บทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ คือ ธรรมชาติมีรูปเป็นต้น อันตั้งอยู่

ในสมาบัติ ย่อมมีในภายในสมาบัตินั้นและในขณะแห่งสมาบัติ. บทว่า เต

ธมฺเม ได้แก่ ธรรมเหล่านั้นมีรูปเป็นต้น ดังกล่าวแล้วโดยนัยมีอาทิว่า รูปคต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

คือ รูป. บทว่า อนิจฺจโต โดยความเป็นของไม่เที่ยง คือ โดยความเป็น

ของเที่ยงหามิได้. บทว่า ทุกฺขโต โดยความเป็นทุกข์ คือ โดยความเป็น

สุขหามิได้.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า โรคโต ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า โดยความ

เป็นโรค เพราะอรรถว่าเจ็บป่วย. ชื่อว่า โดยเป็นดังหัวฝี เพราะอรรถว่า

มีโทษในภายใน. ชื่อว่า โดยเป็นดังลูกศร เพราะอรรถว่าเข้าไปเสียบแทง

และเพราะอรรถว่าให้เกิดทุกข์. ชื่อว่า โดยเป็นความลำบาก เพราะอรรถว่า

เป็นทุกข์. ชื่อว่า โดยเป็นไข้ เพราะอรรถว่าเป็นโรค. ชื่อว่า โดยเป็นอื่น

เพราะอรรถว่าไม่เป็นของตน. ชื่อว่า โดยเป็นของทรุดโทรม เพราะอรรถว่า

สลายไป. ชื่อว่า โดยเป็นของสูญ เพราะอรรถว่ามิใช่สัตว์. ชื่อว่า โดยเป็น

ของมิใช่ตัวตน เพราะอรรถว่าไม่เป็นตัวตน.

ในบทเหล่านั้น ท่านกล่าวถึงอนิจจลักษณะด้วย ๒ บทคือ อนิจฺจโต

ปโลกโต โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นของทรุดโทรม. ท่าน

กล่าวถึงทุกขลักษณะด้วย ๖ บทมีอาทิคือ ทุกฺขโต โดยความเป็นทุกข์. ท่าน

กล่าวถึงอนัตตลักษณะด้วย ๓ บทว่า ปรโต สุญฺโต อนตฺตโต โดยความ

เป็นอื่น โดยความเป็นของสูญ โดยความไม่เป็นตัวตน. บทว่า โส เตหิ

ธมฺเมหิ เธอย่อมเปลื้องจิตจากธรรมเหล่านั้น ความว่า เธอย่อมเปลื้องจิต

จากธรรม คือ ขันธ์ ๕ ในภายในสมาบัติที่ยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อันตนเห็น

แล้วเหล่านั้นอย่างนี้. บทว่า จิตฺต ปฏิปาเทติ เปลื้องจิต คือ ปล่อยจิตนำจิต

ออกไป. บทว่า อุปสหรติ น้อมจิตไป คือ น้อมจิตไปในอมตธาตุอันเป็น

อสังขตะอย่างนี้ว่า วิปัสสนาจิตเป็นความดับอันสงบด้วยการฟัง การสรรเสริญ

การเรียน การบัญญัติ. ย่อมไม่กล่าวอย่างนี้ว่า โรคจิตเป็นความสงบ เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

ความประณีตด้วยการทำนิพพานให้เป็นอารมณ์. อนึ่ง มีอธิบายว่า เมื่อแทง

ตลอดธรรมชาตินั้นโดยอาการนี้ ย่อมน้อมจิตไปในอมตธาตุนั้น.

บทว่า โส ตตฺถ ิโต คือ เธอตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีไตรลักษณ์

เป็นอารมณ์นั้น. บทว่า อาสฺวาน ขย ปาปฺณาติ ย่อมบรรลุธรรมเป็นที่

สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย คือ เจริญมรรค ๔ โดยลำดับแล้วจึงบรรลุ. บทว่า

เตเนว ธมฺมราเคน เพราะความยินดีในธรรมนั้น คือ เพราะความพอใจ

ยินดีในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา. จริงอยู่ เมื่อสามารถถือเอาความพอใจ

และความยินดีในสมถะและวิปัสสนาโดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุพระอรหัต.

เมื่อไม่สามารถย่อมเป็นพระอนาคามี.

บทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ เวทนาคต คือ เวทนาย่อมมีในสมาบัติ

นั้น ในบทนี้ท่านไม่ถือเอารูป. เพราะเหตุไร. เพราะล่วงเลยไปแล้ว . จริงอยู่

ภิกษุนี้เข้าถึงรูปาวจรฌานในหนหลัง แล้วก้าวล่วงรูป เป็นผู้เข้าถึงอรูปาวจร-

สมาบัติ เพราะเหตุนั้น รูปจึงก้าวล่วงไปด้วยอำนาจสมถะ ครั้นพิจารณารูป

ในหนหลังแล้ว ก้าวล่วงรูปนั้น ในบัดนี้ย่อมพิจารณาอรูป เพราะเหตุนั้น

รูปจึงก้าวล่วงไปด้วยอำนาจวิปัสสนา แต่ในอรูปย่อมไม่มีรูป แม้โดยประการ

ทั้งปวง เพราะเหตุนั้น แม้ท่านหมายถึงอรูปนั้น ในที่นี้ก็ไม่ถือเอารูป. ไม่ถือ

เอาโดยชอบ.

บทว่า อถ กิญฺจรหิ เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร. พระอานนท์

ทูลถามว่า ข้าพระองค์ขอทูลถามว่า เพราะอะไร. พระเถระมิได้มีความสงสัย

ในข้อนี้ว่า ธุระคือความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เดียว ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไปด้วย

อำนาจแห่งสมถะ ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นเจโควิมุต ธุระคือปัญญาย่อมมีแก่ภิกษุ

ผู้ไปด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา. ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นปัญญาวิมุต. พระเถระทูล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

ถามว่า ภิกษุนี้เป็นบุรุษควรฝึกทั้งนั้น แต่เมื่อภิกษุทั้งหลายไปด้วยอำนาจสมถะ

รูปหนึ่งเป็นเจโตวิมุต. แม้เมื่อไปด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา รูปหนึ่งชื่อว่าเป็น

ปัญญาวิมุต รูปหนึ่งเป็นเจโตวิมุต. อะไรเป็นเหตุในข้อนี้. บทว่า อินฺทฺริย-

เวมตฺตต วทามิ คือ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์. ท่านอธิบายว่า

ดูก่อนอานนท์ เธอบำเพ็ญบารมี ๑๐ แล้วยังไม่บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.

เพราะเหตุนั้น พระสัพพัญญุตญาณนั้นจึงไม่ปรากฏแก่เธอ. แต่เราแทงตลอด

แล้ว . ด้วยเหตุนั้น พระสัพพัญญุตญาณนั้นจึงปรากฏ แก่เรา. ความต่างแห่ง

อินทรีย์เป็นเหตุในข้อนี้แหละ. เพราะเมื่อภิกษุทั้งหลายไปด้วยอำนาจแห่งสมถะ

ธุระคือความเป็นผู้มีจิตดวงเดียว จึงมีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น

เจโตวิมุต. ธุระคือปัญญาย่อมมีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นปัญญาวิมุต.

อนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหลายไปด้วยอำนาจวิปัสสนา ธุระคือปัญญาย่อมมีแก่ภิกษุ

รูปหนึ่ง ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นปัญญาวิมุต. ธุระคือความเป็นผู้มีจิตดวงเดียว

ย่อมมีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นเจโตวิมุต. พระอัครสาวกทั้งสอง

บรรลุพระอรหัตด้วยธุระ คือ สมถะและวิปัสสนา. ในท่านทั้งสองนั้นพระธรรม

เสนาบดีเป็นปัญญาวิมุต. พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นเจโตวิมุต. พึงทราบว่า

ความต่างแห่งอินทรีย์เป็นเหตุในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลือในบท

ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถามหามาลุงกยโอวาทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

๕. ภัททาลิสูตร

คุณแห่งการฉันอาหารหนเดียว

[๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัส

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว เมื่อเราฉันอาหารในเวลาภัต

ครั้งเดียว ย่อมรู้สึกคุณ คือ ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กายเบา

มีกำลัง และอยู่สำราญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายจงมา จงฉันอาหาร

ในเวลาก่อนภัตครั้งเดียว จักรู้สึกคุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคบางเบา

กายเบา มีกำลัง และอยู่สำราญ.

พระภัททาลิฉันอาหารหนเดียวไม่ได้

[๑๖๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิ

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถ

จะฉันอาหารในเวลาก่อนภัตครั้งเดียวได้ เพราะเมื่อข้าพระองค์ฉันอาหารใน

เวลาก่อนภัตครั้งเดียว จะพึงมีความรำคาญ ความเดือดร้อน.

ดูก่อนภัตทาลิ ถ้าอย่างนั้น เธอรับนิมนต์ ณ ที่ใดแล้ว พึงฉัน ณ ที่

นั้นเสียส่วนหนึ่ง แล้วนำส่วนหนึ่งมาฉันอีกก็ได้ เมื่อเธอฉันได้ แม้อย่างนี้

ก็จักยังชีวิตให้เป็นไปได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถจะฉันแม้ด้วยอาการอย่าง

นั้นได้ เพราะเมื่อข้าพระองค์ฉันแม้ด้วยอาการอย่างนั้น จะพึงมีความรำคาญ

ความเดือดร้อน ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว

ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังจะทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมา-

ทานอยู่ซึ่งสิกขา ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิไม่ได้ให้ตนประสบพระพักตร์

พระผู้มี พระภาคเจ้าตลอดไตรมาสนั้นทั้งหมด เหมือนภิกษุอื่นผู้ไม่ทำความ

บริบูรณ์ในสิกขาในพระศาสนาของพระศาสดาฉะนั้น.

พระภัททาลิขอขมาพระพุทธเจ้า

[๑๖๒] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันช่วยกันทำจีวรกรรมสำหรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จ

เที่ยวจาริกไปโดยล่วงไตรมาส ครั้งนั้น ท่านพระภัททาลิเข้าไปหาภิกษุเหล่า

นั้นถึงที่อยู่ โดยปราศรัยกับภิกษุเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง

กันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวว่า ดูก่อนภัททาลิ

ผู้มีอายุ จีวรกรรมนี้แล ภิกษุทั้งหลายช่วยกันทำสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยตั้งใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จเที่ยวจาริกไปโดย

ล่วงไตรมาส ดูก่อนภัททาลิผู้มีอายุ เราขอเตือนท่าน ท่านจงมนสิการความผิด

นี้ให้ดีเถิด ความกระทำที่ยากกว่าอย่าได้มีแก่ท่านในภายหลังเลย.

ท่านพระภัททาลิรับคำของภิกษุเหล่านั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็น

คนพาล เป็นคนหลงไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่ง

สิกขา ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น โดยความเป็น

โทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.

[๑๖๓] ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล

เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะแล้ว ในเมื่อเรากำลัง

จะบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ดูก่อนภัททาลิ แม้

เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่ทำให้บริบูรณ์ใน

สิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว ดู

ก่อนภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า ภิกษุมากด้วยกันเข้าจำพรรษาอยู่ใน

พระนครสาวัตถี แม้ภิกษุเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ ไม่ทำให้บริบูรณ์

ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว

ดูก่อนภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า ภิกษุณีมากด้วยกันเข้าจำพรรษา

อยู่ในพระนครสาวัตถี แม้ภิกษุณีเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ ไม่ทำให้

บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทง

ตลอดมาแล้ว ดูก่อนภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า อุบาสกมากด้วยกัน

อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้อุบาสกเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิไม่

ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสนาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทง

ตลอดแล้ว ดูก่อนภัททาลิ เหตุที่เธอต้องแทงตลอดว่า อุบาสิกามากด้วยกัน

อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี แม้อุบาสิกาเหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุซึ่งภัททาลิไม่

ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดาดังนี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้

แทงตลอดว่าสมณพราหมณ์ต่างลัทธิมากด้วยกันเข้าอยู่กาลฝนในพระนครสาวัตถี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

แม้สมณพราหมณ์เหล่านั้นจักรู้เราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ สาวกของพระสมณโคดม

เป็นพระเถระองค์หนึ่ง ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดาดัง

นี้ เหตุแม้นี้แล เธอก็มิได้แทงตลอดแล้ว.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ ผู้เป็นคนพาล

เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับโทษของข้าพระองค์นั้น

โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.

[๑๖๔] ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน โทษครอบงำเธอผู้เป็นคนพาล

เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความอุตสาหะขึ้นแล้ว ในเมื่อเรากำลังจะ

บัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ดูก่อนภัททาลิ เธอ

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอริยบุคคลชื่ออุภโต-

ภาควิมุต เราพึงกล่าวกะภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มดัง

นี้ ภิกษุนั้นพึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือพึงกล่าวปฏิเสธ

บ้างหรือ.

ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัย

นี้เป็นอริยบุคคลชื่อปัญญาวิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อกายสักขี เป็นอริยบุคคลชื่อ

ทิฏฐิปัตตะ เป็นอริยบุคคลชื่อสัทธาวิมุต เป็นอริยบุคคลชื่อธรรมานุสารี

เป็นอริยบุคคลชื่อสัทธานุสารี เราพึงกล่าวกะภิกษุอย่างนี้ว่า มาเถิดภิกษุ เราจะ

ก้าวไปในหล่มดังนี้ ภิกษุนั้น พึงก้าวไป หรือพึงน้อมกายไปด้วยอาการอื่น หรือ

พึงกล่าวปฏิเสธบ้างหรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

ไม่มีเลย พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภัททาลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยนั้น เธอ

เป็นพระอริยบุคคลชื่อว่าอุภโตภาควิมุต ปัญญาวิมุต กายสักขี ทิฏฐิปัตตะ

สัทธาวิมุต ธรรมานุสารี หรือสัทธานุสารี บ้างหรือหนอ.

มิได้เป็นเลย พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภัททาลิ ในสมัยนั้น เธอยังเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิดมิใช่

หรือ.

เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบงำ

ข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะ

ขึ้นแล้ว ในเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์

กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรง

รับโทษของข้าพระองค์นั้นโดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมต่อไปเถิด.

[๑๖๕] ดูก่อนภัททาลิ เราขอเตือน โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคน

พาล เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ซึ่งได้ประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้วบัญญัติ

สิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์กำลังสมาทานอยู่ซึ่งสิกขา แต่เพราะเธอเห็นโทษโดย

ความเป็นโทษ แล้วทำคืนตามธรรม เราจึงรับโทษของเธอนั้น ข้อที่บุคคล

เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไป นี้เป็น

ความเจริญในวินัยของพระอริยะ.

ผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

[๑๖๖] ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ทำให้

บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร

เราพึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

ที่แจ้ง ลอมฟางเถิด บางทีเราพึงทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือความรู้ความเห็น

ของพระอริยะผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ดังนี้ เธอเสพเสนาสนะอันสงัด

คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เมื่อ

เธอหลีกออกอยู่ด้วยประการนั้น พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้ เพื่อนพรหมจรรย์

ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้ เทวดาก็ติเตียนได้ แม้ตนเองก็ติเตียน

ตนได้ เธออันพระศาสดาติเตียนบ้าง เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายติเตียนบ้าง

เทวดาติเตียนบ้าง ตนเองติเตียนตนบ้าง ก็ไม่ทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษคือความรู้

ความเห็นของพระอริยะผู้สามารถ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร ดูก่อนภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาใน

ศาสนาของพระศาสดา

ผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา

[๑๖๗] ดูก่อนภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้

กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา เธอมีความดำริอย่างนี้ว่า

ถ้ากระไรเราพึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า

ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง บางทีเราพึงทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือความรู้ความ

เห็นของพระอริยะผู้สามารถ ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้ ดังนี้ เธอเสพเสนา-

สนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอม

ฟาง เมื่อเธอหลีกออกอยู่ด้วยประการนั้น แม้พระศาสดาก็ไม่ทรงติเตียน แม้

เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายใคร่ครวญแล้วก็ไม่ติเตียน แม้เทวดาก็ไม่

ติเตียน แม้ตนเองก็ติเตียนตนไม่ได้ เธอแม้อันพระศาสดาไม่ทรงติเตียน แม้

เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายไม่ติเตียน แม้เทวดาไม่ติเตียน แม้ตนเองติเตียน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

ตนไม่ได้ ย่อมทำให้เจ้งชัดซึ่งคุณวิเศษ คือความรู้ความเห็นของพระอริยะผู้

สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์.

ภิกษุนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน ศาสดา

ไม่ทรงติเตียน แม้เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้ทั้งหลายไม่ติเตียน แม้เทวดาไม่ติเตียน

แม้ตนเองติเตียนตนไม่ได้ ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งคุณวิเศษมีความรู้ความเห็น

ของพระอริยะผู้สามารถยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์.

ภิกษุนั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาณ มีวิตก

มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ ข้อ

นั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา

ดูก่อนภัททาลิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส

แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร

สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ ข้อ

นั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา.

ดูก่อนภัททาลิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ

เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลาย

สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร ดูก่อนภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนา

ของพระศาสดา.

ดูก่อนภัททาลิ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น

เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะ

ภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

ญาณ ๓

[๑๖๘] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อม

โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น

อันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง

ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ

ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมาก

บ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันบ้างว่า ใน

ภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร

อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจาก

ภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร

อย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ

มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม

ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ

ฉะนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์

ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา.

ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิต

ไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง

อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม

กรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนสุจริต ติเตียน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้อง

หน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วน

สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริย-

เจ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ. ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ. เบื้องหน้าแต่ตาย

เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลัง

จุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตก

ยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็น

ไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภัททาลิ ข้อนั้นเป็น

เพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในพระศาสนาของพระศาสดา.

ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิต

ไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ

นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น ครั้นเมื่อจิต

หลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำ

เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อน

ภัททาลิ ข้อนั้นเป็นเพราะภิกษุทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของพระศาสดา.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลาย

จะข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้แล้วทำเป็นเหตุ ก็อะไรเป็น

เหตุ เป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายจะไม่ข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปใน

พระธรรมวินัยนี้แล้วทำเป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

การระงับอธิกรณ์

[๑๖๙] ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องอาบัติ

เนือง ๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประ-

พฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น นำเอาถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ทำความ

โกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ ไม่ประพฤติโดยชอบ

ไม่ทำขนให้ตก ไม่ประพฤติถอนตนออก ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความ

พอใจของสงฆ์ ดูก่อนภัททาลิ ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น ภิกษุทั้งหลาย

จึงมีวาจาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ

เป็นผู้มากด้วยอาบัติ เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนพระพฤติ

อย่างอื่นด้วยอาการอื่น นำเอาถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ทำความโกรธ

ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อมให้ปรากฏ ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่ทำ

ขนให้ตก ไม่ประพฤติถอนตนออก ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจ

ของสงฆ์ ดีละหนอ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดย

ประการที่อธิกรณ์นี้ไม่พึงระงับโดยเร็วฉะนั้นเถิด ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้ง

หลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยประการที่อธิกรณ์นี้จะไม่ระงับโดยเร็ว

ฉะนั้น.

ดูก่อนภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปไม่ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องอาบัติ

เนือง ๆ เป็นผู้มากด้วยอาบัติ เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ย่อมไม่ฝ่าฝืน

พระพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น ไม่นำถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่ทำ

ความโกรธความขัดเคือง และความอ่อนน้อม ให้ปรากฏ ประพฤติชอบ ทำ

ขนให้ตก ประพฤติถอนตนออก กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของ

สงฆ์ ดูก่อนภัททาลิ ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงมีวาจาอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

นี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้เป็นผู้ต้องอาบัติเนือง ๆ เป็นผู้มาก

ด้วยอาบัติ เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ย่อมไม่พระพฤติฝ่าฝืนอย่างอื่น

ด้วยอาการอื่น ไม่นำถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่ทำความโกรธ ความ

ขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ ประพฤติชอบ ทำขนให้ตก

ประพฤติถอนตนออก กล่าวว่าข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์ ดีละหนอ

ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยประการที่อธิกรณ์นี้

จะพึงระงับโดยเร็วฉะนั้นเถิด ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมพิจารณา

โทษของภิกษุนั้น โดยประการที่อธิกรณ์นี้จะระงับได้โดยเร็วฉะนั้น.

[๑๗๐] ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องอาบัติ

เป็นบางครั้ง ไม่มากด้วยอาบัติ เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ก็ยังฝ่าฝืน

ประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอื่น นำเอาถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ทำ

ความโกรธ ความขัดเคืองและความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ ไม่ประพฤติ

ชอบ ไม่ทำขนให้ตก ไม่ประพฤติถอนตนออก ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำ

ตามความพอใจของสงฆ์ ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่ายากนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงมีวาจา

อย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง ไม่มาก

ด้วยอาบัติ เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ก็ยังฝ่าฝืนประพฤติอย่างอื่นด้วย

อาการอื่น นำเอาถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ทำความโกรธ ความขัด-

เคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ ไม่ประพฤติโดยชอบ ไม่ทำขนให้

ตก ไม่ประพฤติถอนตนออก ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของ

สงฆ์ ดีละหนอ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดย

ประการที่อธิกรณ์จะไม่พึงระงับโดยเร็วฉะนั้นเถิด ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุ

ทั้งหลายจึงพิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยประการที่อธิกรณ์นี้จะไม่ระงับโดย

เร็วฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

ดูก่อนภัททาลิ ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ต้องอาบัติเป็น

บางครั้ง ไม่มากด้วยอาบัติ เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ย่อมไม่ฝ่าฝืน

ประพฤติอย่างอื่นด้วยอาการอย่างอื่น ไม่นำถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน

ไม่ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ ประพฤติ

ชอบ ทำขนให้ตก ประพฤติถอนตนออก กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความ

พอใจของสงฆ์ ดูก่อนภัททาลิ ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่ายนั้น ภิกษุทั้งหลาย

จึงมีวาจาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง

ไม่มากด้วยอาบัติ เธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ ย่อมไม่พระพฤติฝ่าฝืนอย่าง

อื่นด้วยอาการอื่น ไม่นำถ้อยคำในภายนอกมากลบเกลื่อน ไม่ทำความโกรธ

ความขัดเคือง และความไม่อ่อนน้อม ให้ปรากฏ ประพฤติชอบ ทำขนให้

ตก ประพฤติถอนตนออก กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะทำตามความพอใจของสงฆ์

ดีละหนอ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงพิจารณาโทษของภิกษุนี้ โดยประการที่

อธิกรณ์นี้พึงระงับได้โดยเร็วฉะนั้นเถิด ด้วยประการอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายจึง

พิจารณาโทษของภิกษุนั้น โดยประการที่อธิกรณ์นี้จะระงับได้โดยเร็วฉะนั้น.

[๑๗๑] ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ นำชีวิตไปด้วย

ศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ดูก่อนภัททาลิ ในเหตุที่ภิกษุ

เป็นผู้นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณนั้น ภิกษุ

ทั้งหลายจึงมีวาจาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้นำชีวิตไปด้วย

ศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ถ้าเราทั้งหลายจักข่มแล้วข่มเล่า

ซึ่งภิกษุนี้แล้วให้ทำเหตุ ด้วยความตั้งใจว่า ศรัทธาพอประมาณ ความรักพอ

ประมาณ ของเธอนั้น อย่าเสื่อมไปจากเธอเลย ดูก่อนภัททาลิ เปรียบเหมือน

ชนผู้เป็นมิตรอำมาตย์ญาติสายโลหิตของบุรุษผู้มีนัยน์ตาข้างเดียว พึงรักษา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

นัยน์ตาข้างเดียวนั้นไว้ ด้วยความตั้งใจว่า นัยน์ตาข้างเดียวของเขานั้น อย่า

ได้เสื่อมไปจากเขาเลย ฉันใด ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็

ฉันนั้น นำชีวิตไปด้วยความศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ

ในเหตุที่ภิกษุเป็นผู้นำชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ

นั้น ภิกษุทั้งหลายจึงเจวาจาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้นำ

ชีวิตไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ถ้าเราทั้งหลายจัก

ข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุนี้แล้วให้ทำเหตุ ด้วยความตั้งใจว่า ศรัทธาพอประมาณ

ความรักพอประมาณ ของเธออย่าได้เสื่อมไปจากเธอเลย ดูก่อนภัททาลิ นี้แล

เป็นเหตุเป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลายที่จะข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปใน

ธรรมวินัยนี้แล้วให้ทำเหตุ อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย สำหรับภิกษุทั้งหลาย

ที่จะข่มแล้วข่มเล่าซึ่งภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้แล้วให้ทำเหตุ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เมื่อก่อน

ได้มีสิกขาบทน้อยนักเทียว แต่ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผลเป็นอันมาก และอะไร

เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เดี๋ยวนี้ ได้มีสิกขาบทเป็นอันมาก แต่ภิกษุดำรงอยู่ใน

อรหัตผลน้อยนัก.

อาสวัฏฐานิยธรรม

[๑๗๒] ดูก่อนภัททาลิ ข้อนี้เป็นจริงอย่างนั้น เมื่อสัตว์ทั้งหลาย

กำลังเสื่อม พระสัทธรรมกำลังอันตรธาน สิกขาบทมีอยู่มากมาย แต่ภิกษุ

ดำรงอยู่ในอรหัตผลน้อยนัก พระศาสดายังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้ง

หลาย ตราบเท่าที่อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ ในธรรม

วินัยนี้ ต่อเมื่อใด อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าปรากฏขึ้นในสงฆ์ ในธรรมวินัย

นี้ เมื่อนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

อาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์

ในธรรมวินัยนี้ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ ต่อเมื่อใด สงฆ์

ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ เมื่อนั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าจึงจะปรากฏในสงฆ์

ในธรรมวินัยนี้ ครั้งนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย

เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น อาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่ายังไม่ปรากฏ

ในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ ตราบเท่าที่สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ . . . .

ยังไม่ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ . . . ยังไม่ถึงความเป็นพหูสูต . . . ยังไม่ถึงความ

เป็นรัตตัญญู ต่อเมื่อใด สงฆ์ถึงความเป็นรัตตัญญู เมื่อนั้น อาสวัฏฐานิย-

ธรรมบางเหล่าจึงปรากฏในสงฆ์ ในธรรมวินัยนี้ ครั้งนั้นพระศาสดาจึงทรง

บัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น.

[๑๗๓] ดูก่อนภัททาลิ ณ สมัยที่เราแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วย

อาชาไนยหนุ่ม แก่เธอทั้งหลาย ณ สมัยนั้น เธอทั้งหลายได้มีอยู่น้อย เธอยัง

ระลึกถึงธรรมปริยายนั้นได้อยู่หรือ.

ข้าพระองค์ระลึกถึงธรรมปริยายข้อนั้นไม่ได้ พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภัททาลิ ในการระลึกไม่ได้นั้น เธออาศัยอะไรเป็นเหตุเล่า.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะข้าพระองค์นั้นมิได้ทำให้บริสุทธิ์ในสิกขา

ในศาสนาของพระศาสดา เป็นเวลานานเป็นแน่ พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภัททาลิ ความเป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานี้ จะเป็นเหตุ

เป็นปัจจัย หามิได้ แต่เรากำหนดใจด้วยใจ รู้เธอมานานแล้วว่า โมฆบุรุษ

นี้ เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ไม่ต้องการ ไม่ใส่ใจ ไม่รวบรวมด้วยใจทั้งปวง

ไม่เงี่ยโสตลงฟังธรรม แต่ก็เราจักแสดงธรรมปริยายเปรียบด้วยม้าอาชาไนย

หนุ่มแก่เธอ เธอจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. ท่านพระภัททาลิ

ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

ธรรม ๑๐ ประการ

[๑๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภัททาลิ เปรียบเหมือน

นายสารถีฝึกม้าคนขยัน ได้ม้าอาชาไนยตัวงามมาแล้ว ครั้งแรกทีเดียว ฝึกให้

รู้เหตุในการใส่บังเหียน เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุในการใส่บังเหียน ความ

ประพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการยังมีอยู่ทีเดียว

เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึก ฉะนั้น มันจะสงบลงได้ใน

การพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ

ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้

เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ นายสารถีฝึกม้า จึงฝึกให้มันรู้เหตุ

ยิ่งขึ้นไป ในการเทียมแอก เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุในการเทียมเอก

ความพระพฤติเป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการยังมีอยู่ที

เดียว เหมือนของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้ให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึก ฉะนั้น มันจะสงบ

ลงได้ ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึก

ให้รู้โดยลำดับ ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ ในการพยศนั้น เพราะ

นายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ นายสารถีผู้ฝึกม้า

จึงฝึกให้มันรู้เหตุยิ่งขึ้นไป ในการก้าวย่าง ในการวิ่งเป็นวงกลม ในการ

จรดกีบ ในการวิ่ง ในประโยชน์ต่อเสียงร้อง ในการฝึกไม่ให้ตื่นตกใจ

เพราะเสียงกึกก้องต่าง ๆ ในการเป็นม้ามีคุณที่พระราชาพึงรู้ ในวงศ์พญาม้า

ในความว่องไวชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อน

หวานชั้นเยี่ยม เมื่อนายสารถีฝึกให้มันรู้เหตุ ในการว่องไวชั้นเยี่ยม ในการ

เป็นม้าชั้นเยี่ยม ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้นเยี่ยม ความประพฤติ

๑. ในการยกและวางเท้าทั้ง ๔ ครั้งเดียวกัน ๒. ในการสามารถให้คนนั่งบนหลัง เก็บอาวุธที่

ตกภาคพื้นได้ ๓. ในการประสงค์จะให้เดินเบา ไม่ให้ข้าศึกได้ยินเสียงฝีเท้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

เป็นข้าศึก การพยศ การดิ้นรนบางอย่างบางประการ ยังมีอยู่ทีเดียว เหมือน

ของม้าที่นายสารถีฝึกให้รู้เหตุที่ยังไม่เคยฝึก ฉะนั้น มันย่อมสงบลงได้ในการ

พยศนั้น. เพราะนายสารถีฝึกให้รู้เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ

ในการที่ม้าอาชาไนยตัวงามสงบลงได้ในการพยศนั้น เพราะนายสารถีฝึกให้รู้

เนือง ๆ เพราะนายสารถีฝึกให้รู้โดยลำดับ สารถีผู้ฝึกม้าย่อมเพิ่มให้ซึ่งเหตุ

เป็นที่ตั้งแห่งคุณและเหตุเป็นที่ตั้งแห่งพละยิ่งขึ้นไป ดูก่อนภัททาลิ ม้าอาชาไนย

ตัวงาม ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นพาหนะควรแก่พระราชา

เป็นพาหนะสำหรับใช้สอยของพระราชา นับได้ว่าเป็นองค์ของพระราชา ฉันใด

ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้

ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควร

อัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญยิ่งกว่า ธรรม ๑๐ ประการเป็น

ไฉน ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ

สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ อันเป็นของพระอเสขะ

ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควร

ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรแก่

อัญชลีกรรม เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิชื่นชมยินดี

พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบภัททาลิสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

๕. อรรถกถาภัททาลิสูตร

ภัททาลิสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่าง

ในบทเหล่านั้นบทว่า เอกาสนโภชน ได้แก่ ฉันอาหารในเวลาก่อน

ภัตหนเดียว ความว่าอาหารที่ควรฉัน. บทมีอาทิว่า อปฺปาพาธต ความเป็น

ผู้มีอาพาธน้อยกล่าวไว้พิสดารแล้วในกกโจปมสูตร. บทว่า น อุสฺสหามิ คือ

ไม่สามารถ. บทว่า สิยา กุกฺกุจฺจ สิยา วิปฺปฏิสาโร พึงมีความรำคาญ พึง

มีความเดือดร้อน ความว่า เมื่อฉันอย่างนี้จะพึงมีความเดือดร้อนรำคาญแก่เรา

ว่า เราจักสามารถพระพฤติพรหมจรรย์ได้ตลอดชีวิตหรือไม่หนอ. บทว่า

เอกเทส ภุฺชิตฺวา พึงฉันส่วนหนึ่ง ความว่า ได้ยินว่าพระเถระแต่ก่อนเมื่อ

ทายกใส่อาหารลงในบาตรแล้วถวายเนยใส ฉันเนยใสร้อนหน่อยหนึ่งแล้ว

ล้างมือนำส่วนที่เหลือไปภายนอก นั่งฉันในที่มีร่มไม้และน้ำสบาย. พระศาสดา

ตรัสหมายถึงอย่างนั้น. แต่ท่านพระภัททาลิคิดว่า หากภิกษุฉันอาหารที่ทายก

ถวายเต็มบาตรคราวเดียวแล้วลา้งบาตรนำอาหารที่ได้เต็มด้วยข้าวสุกไปในภาย

นอกแล้วพึงฉันในที่มีร่มไม้และน้ำสบาย. พึงควรอย่างนี้. นอกไปจากนี้ใคร

เล่าจะสามารถ. เพราะฉะนั้นท่านพระภัททาลิจึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ไม่สามารถฉันอาหารแม้อย่างนี้ได้.

ได้ยินว่า ในอดีตท่านพระภัททาลินี้เกิดในกำเนิดกา ในชาติเป็นลำดับ

มา. ธรรมดา กาทั้งหลายเป็นสัตว์ที่หิวบ่อย. เพราะฉะนั้นพระเถระจึงชื่อว่า

เป็นผู้หิว. ก็เมื่อพระเถระนั้นโอดครวญอยู่พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงข่มทับถม

พระเถระนั้นแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุใดพึงเคี้ยวก็ดี พึงบริโภคก็ดี ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

ของเคี้ยวของบริโภค ในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ด้วยเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระภัททาลิประกาศความไม่อุตสาหะขึ้นแล้วในเมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงบัญญัติสิกขาบท ในเมื่อภิกษุสงฆ์สมาทานาอยู่ซึ่ง

สิกขา. บทว่า ยถาต ความว่า ท่านพระภัททาลิไม่ได้ให้เหมือนภิกษุอื่นผู้ไม่

ทำความบริบูรณ์ในสิกขา แม้อยู่ในวัดเดียวกันก็ไม่พึงให้ตนประสบพระพักตร์

พระศาสดา. ไม่ไปอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า. ไม่ไปยังที่แสดงธรรม. ไม่ไป

โรงตรึก ไม่ปฏิบัติเพียงภิกขาจารครั้งเดียว. ไม่ยืนแม้ที่ประตูของตระกูลที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนิ่ง. หากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังที่อยู่ของ

พระภัททาลินั้น. พระภัททาลิรู้ก่อนก็ไปเสียในที่อื่น. นัยว่าท่านพระภัททาลิ

นั้นเป็นกุลบุตรบวชด้วยศรัทธามีศีลบริสุทธิ์. ด้วยเหตุนั้นวิตกอย่างอื่นมิได้มี

แก่ท่านพระภัททาลินั้น. ได้มีวิตกนี้เท่านั้นว่า เราคัดค้านการบัญญัติสิกขาบท

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุแห่งท้อง. เราทำกรรมไม่สมควร. เพราะ

ฉะนั้น ท่านพระภัททาลิแม้อยู่ในวัดเดียวกันก็ไม่ได้ให้ตนประสบพระพักตร์

พระศาสดา.

บทว่า จีวรกมฺม กโรนฺติ ภิกษุทั้งหลายทำจีวรกรรม ความว่าพวก

มนุษย์ได้ถวายผ้าสาฎกทำจีวรแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ภิกษุทั้งหลายจึงถือเอา

จีวรสาฎกนั้นทำจีวร. บทว่า เอต เทส ความผิดนี้ ความว่าท่านจงมนสิการ

โอกาสนี้ ความผิดนี้คือเหตุที่ท่านคัดค้านการบัญญัติสิกขาบทของพระศาสดาให้

ดี. บทว่า ทุกฺกรตร การทำที่ยากกว่า ความว่า พวกภิกษุถามภิกษุทั้งหลายผู้อยู่

จำพรรษาแล้วหลีกออกไปตามทิศว่า ท่านทั้งหลายอยู่ ณ ที่ไหน. เมื่อภิกษุทั้ง

หลายบอกว่าอยู่ ณ พระเชตวัน . ภิกษุเหล่านั้นก็จะเป็นผู้ถามว่า อาวุโสทั้งหลาย

ในภายในพรรษานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสชาดกอะไร. ตรัสพระสูตรอะไร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

ทรงบัญญัติสิกขาบทอะไร. ภิกษุทั้งหลายจักบอกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติวิกาลโภชนสิกขาบท. แต่พระเถระรูปหนึ่งชื่อว่าภัททาลิได้คัดค้าน. ภิกษุ

ทั้งหลายได้ฟังดังนั้นจึงพากันกล่าวว่า ธรรมดาแม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

บัญญัติสิกขาบทมิใช่เหตุอันไม่ควรคัดค้าน. ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่าความผิดของ

ท่านนี้ปรากฏในระหว่างมหาชนอย่างนี้ จักถึงความเป็นผู้ทำคืนได้ยากจึงกล่าว

อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุแม้เหล่าอื่นครั้นออกพรรษาแล้วจักพากันไปเฝ้า

พระศาสดา. เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจักประชุมสงฆ์ด้วยกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลายเมื่อ

ผมยังพระศาสดาให้ทรงยกโทษในความผิดนี้ขอพวกท่านจงเป็นเพื่อนผมด้วย

เถิด. อาคันตุกภิกษุทั้งหลาย ณ ที่นั้นจักถามว่า อาวุโส ภิกษุนี้ทำอะไรเล่า.

ครั้นพวกอาคันตุกภิกษุฟังความนั้นแล้วจักกล่าวว่า ภิกษุทำกรรมหนัก. กรรม

นี้ไม่สมควรเลยที่ภิกษุจักคัดค้านพระทศพล. ภิกษุทั้งหลายแม้สำคัญอยู่ว่า ความ

ผิดของท่านนี้ปรากฏในระหว่างมหาชนแม้อย่างนี้ จักถึงความเป็นผู้ทำคืนได้ยาก

จึงกล่าวอย่างนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นออกพรรษาแล้วจักทรงหลีกไป

จาริก. เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจักประชุมสงฆ์เพื่อขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยก

โทษในที่ที่เสด็จไปแล้ว. ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในทิศ ณ ที่นั้นจักถามว่า อาวุโส

ทั้งหลายภิกษุนี้ทำกรรมอะไรไว้ ฯ ล ฯ แม้สำคัญอยู่ว่าความผิดนี้จักถึงความเป็น

ผู้ทำคืนได้ยากจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า เอตทโวจ ท่านพระภัททาลิได้กล่าวคำ

นั้นความว่า ท่านพระภัททาลิแม้สำคัญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักยกโทษแก่เรา

ได้กล่าวคำนี้มีอาทิว่า อจฺจโย ม ภนฺเต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษได้ครอบ

งำข้าพระองค์ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

ในบทเหล่านั้นบทว่า อจฺจโย คือ โทษ. บทว่า ม อจฺจคมา ได้

ครอบงำข้าพระองค์คือโทษได้ล่วงล้ำครอบงำข้าพระองค์เป็นไปแล้ว. บทว่า

ปฏิคฺคณฺหาตุ คือขอจงทรงยกโทษ. บทว่า อายตึ สวราย เพื่อความสำรวม

ต่อไป คือ เพื่อต้องการความสำรวมในอนาคต เพื่อไม่ทำความผิดความพลั้ง-

พลาดเห็นปานนี้อีก. บทว่า ตคฺฆ คือโดยแน่นอน. บทว่า ยถาธมฺม ปฏิกโรสิ

เธอทำคืนตามชอบธรรม คือ เธอดำรงอยู่ ในธรรมอย่างใดจงทำอย่างนั้น.

อธิบายว่า ให้ยกโทษ. บทว่า ตนฺเต มย ปฏิคฺคณฺหาม คือเรายกโทษของ

ท่านนั้น. บทว่า วุฑฺฒิ เหสา ภทฺทาลิ อริยสฺส วินเย ความว่า ดูก่อน

ภัททาลิ นี้ชื่อว่าเป็นความเจริญในวินัยของพระอริยเจ้า คือในศาสนาของพระ-

ผู้มีพระภาคพุทธเจ้า. การเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามสมควรแก่

ธรรมแล้วถึงความสำรวมต่อไปเป็นอย่างไร. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุ

ใดทำเทศนาให้เป็นบุคลาธิษฐาน เห็นโทษโดยความเป็นโทษ แล้วทำคืนตาม

สมควรแก่ธรรม ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมถึงความสำรวมต่อไป.

บทว่า สมโยปิ โข เต ภทฺทาลิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า

ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุหนึ่งอันควรที่เธอพึงแทงตลอดมีอยู่. เธอก็มิได้แทง

ตลอด มิได้กำหนดไว้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อุภโตภาควิมุตฺโต พระอริยบุคคล

ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตเป็นต้น ดังต่อไปนี้. บุคคลทั้งหลายผู้มีความพร้อมเพรียง

ด้วยมรรคในขณะจิตหนึ่ง ๒ จำพวกคือ พระอริยบุคคลชื่อธรรมานุสารี ๑

พระอริยบุคคลชื่อสัทธานุสารี ๑. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงให้พระอริย-

บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้ทำตามคำสั่งก็ไม่ควร. เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงออกคำสั่งแล้ว พระอริยบุคคลเหล่านั้นก็ไม่ควรเพื่อทำอย่างนั้น. อนึ่งเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

แสดงความที่พระอริยบุคคลทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่ายด้วยการกำหนดมิใช่ฐานะและ

เพื่อแสดงความที่พระภัททาลิเถระเป็นผู้ว่ายาก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทนี้.

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภเทศนาว่า อปิ นุ ตว

ตสฺมึ สมเย อุกโตภาควิมุตฺโต ในสมัยนั้นเธอเป็นพระอริยบุคคลชื่อว่า

อุภโตภาควิมุต บ้างหรือหนอ. เพื่อข่มพระภัททาลิ. ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไป

นี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ พระอริยบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้เป็นทักขิไณยบุคคลใน

โลกเป็นเจ้าของในศาสนาของเรา เมื่อเราบัญญัติสิกขาบท เมื่อมีเหตุอันควรที่

พระอริยบุคคลจะพึงคัดค้าน การคัดค้านของพระอริยบุคคลเหล่านั้นจึงควร. แต่

เธอเป็นคนภายนอกจากศาสนาของเรา เมื่อเราบัญญัติสิกขาบท เธอไม่ควร

คัดค้าน. บทว่า วิตฺโต ตุจฺโฉ เธอเป็นคนว่างคนเปล่า คือ พระภัททาลิเป็น

คนว่างคนเปล่าเพราะไม่มีอริยคุณในภายใน ไม่มีอะไรๆ ในคำพูดเป็นอิสระ.

บทว่า สตฺถาปิ อุปวทติ แม้พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้ ความว่า

ภิกษุผู้อยู่วัดโน้นเป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระรูปโน้น ภิกษุชื่อนี้เป็นอันเตวาสิก

ของพระเถระรูปโน้น เข้าไปสู่ป่าเพื่อยังโลกุตตรธรรมให้เกิด แล้วทรงติเตียน

อย่างนี้ว่าเพราะเหตุไรภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของเรา ด้วยการ

อยู่ป่าของภิกษุนั้น . แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. โดยที่แท้เทวดาไม่ติ-

เตียนอย่างเดียว ยังแสดงอารมณ์น่ากลัวแล้วทำให้หนีไปอีกด้วย. บทว่า อตฺตาปิ

อตฺตาน แม้ตนก็ติเตียนตน ความว่า เมื่อภิกษุนึกถึงศีล ฐานะอันเศร้าหมอง

ย่อมปรากฏ. จิตย่อมแล่นไป กรรมฐานย่อมไม่ติด. ภิกษุนั้นมีความรำคาญ

ว่าประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ป่าของภิกษุเช่นเรา ลุกหลีกไป. บทว่า อตฺตาปิ

อตฺตาน อุปวทิโต แม้ตนเองก็ติเตียนตนได้ คือตนเองติเตียนแม้ด้วยตน.

ปาฐะเป็นอย่างนี้แหละ พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทมีอาทิว่า โส วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุนั้น

สงัดจากกาม เพื่อแสดงบทว่า เอว สจฺฉิกโรติ ภิกษุย่อมทำให้แจ้งอย่างนี้.

บทว่า ปวยฺห ปวยฺห การณ กาเรนติ ภิกษุทั้งหลายข่มแล้วข่มเล่าแล้วทำให้

เป็นเหตุ คือ ข่มโทษแม้มีประมาณน้อยแล้วทำบ่อย ๆ. บทว่า โน ตถา ไม่ข่ม

อย่างนั้น คือไม่ข่มความผิดแม้ใหญ่เหมือนภิกษุนอกนี้แล้วทำเป็นเหตุ.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูก่อนภัททาลิผู้มีอายุ ท่านอย่าคิดไปเลย

ชื่อว่ากรรมเห็นปานนี้ย่อมมี ท่านจงมาขอให้พระศาสดาทรงยกโทษเถิด แล้วส่ง

ภิกษุรูปหนึ่งจากหมู่ภิกษุให้เรียกพระภัททาลิมาหาตน หวังการอนุเคราะห์จาก

สำนักของพระศาสดาอย่างนี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ เธออย่าคิดไปเลย กรรมเห็น

ปานนี้ย่อมมี. จากนั้น ท่านพระภัททาลิคิดว่า แม้ภิกษุสงฆ์ แม้พระศาสดา

ก็มิได้ปลอบเราเลยแล้วจึงกล่าวอย่างนี้.

ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงว่า แม้ภิกษุสงฆ์ แม้พระ-

ศาสดาก็ย่อมที่สั่งสอนและสอนผู้ที่ควรสั่งสอน มิได้ทรงสั่งสอนและสอนนอก

ไปจากนี้จึงตรัสบทมีอาทิว่า อิธ ภทฺทาลิ เอกจฺโจ ดูก่อนภัททาลิ ภิกษุบางรูป

ในธรรมวินัยนี้. ในบทเหล่านั้นบทมีอาทิว่า อญฺเนญฺ อย่างอื่นด้วยอาการ

อย่างอื่น ท่านกล่าวพิสดารแล้วในอนุมานสูตร. บทว่า น สมฺมา วตฺตติ ไม่

ประพฤติโดยชอบ คือไม่ประพฤติในวัตรโดยชอบ. บทว่า น โลม วตฺเตติ

ไม่ทำขนให้ตก ได้แก่ไม่ประพฤติในอนุโลมวัตรคือถือเอาย้อนขน. บทว่า

นิตฺถาร วตฺตติ ไม่ประพฤติถอนตนออก คือไม่ประพฤติในวัตรคือการถอน

ตนออก ไม่พอใจรีบด่วนเพื่อออกจากอาบัติ. บทว่า ตตฺร คือในเหตุแห่ง

การว่ายากนั้น. บทว่า อภิณฺหาปตฺติโก คือเป็นผู้ต้องอาบัติเนื่อง ๆ. บทว่า

อาปตฺติพหุโล เป็นผู้มากด้วยอาบัติ. คือเวลาต้องอาบัติมีมาก เวลาบริสุทธิ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

ไม่ต้องอาบัติมีน้อย. บทว่า น ขิปฺปเมว วูปสมติ คือ อธิกรณ์ไม่ระงับ

เร็ว เป็นผู้นอนหลับนาน.

พระวินัยธรทั้งหลายกล่าวกะภิกษุผู้มาในเวลาล้างเท้าว่า อาวุโส จงไป

ได้เวลาปฏิบัติแล้ว. กล่าวกะภิกษุผู้รู้เวลามาแล้วอีกมีอาทิว่า อาวุโส จงไปได้

เวลากวาดวัดแล้ว ได้เวลาสอนสามเณรเป็นต้นแล้ว . ได้เวลาอาบน้ำของเรา

แล้ว. ได้เวลาอุปัฏฐากพระเถระแล้ว. ได้เวลาล้างหน้าแล้ว. แล้วส่งภิกษุผู้มา

ในตอนกลางวันบ้าง ในตอนกลางคืนบ้างไป. เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านขอรับ

จักมีโอกาสในเวลาไหนอีก, จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อาวุโส จงไปเถิด. ท่านย่อม

รู้ถึงฐานะนี้. พระเถระผู้เป็นวินัยธร รูปโน้นจะดื่มน้ำมัน. รูปโน้นจะให้ทำ

การสวน. (สวนทวาร) เพราะเหตุไรท่านจึงรีบร้อนนักเล่า. แล้วนอนหลับ

นานต่อไป. บทว่า ขิปฺปเมว วูปสมติ อธิกรณ์ย่อมระงับเร็ว. คือ ระงับ

เร็ว ไม่นอนหลับนาน.

ภิกษุทั้งหลายผู้มีความขวนขวายกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้

เป็นผู้ว่าง่าย. ชื่อว่าภิกษุผู้อยู่ในชนบท ย่อมไม่มีความผาสุก มีการอยู่ การยืน

และการนั่งเป็นต้น ในเสนาสนะท้ายบ้าน. แม้ภิกขาจารก็ลำบาก. อธิกรณ์

ของภิกษุรูปนั้นระงับได้เร็ว แล้วประชุมกันให้ภิกษุนั้นออกจากอาบัติ ให้ตั้ง

อยู่ในความบริสุทธิ์.

บทว่า อาธิจฺจาปตฺติโก คือ ภิกษุเป็นผู้ต้องอาบัติเป็นบางครั้ง.

ภิกษุนั้นแม้เป็นผู้มีความละอาย เรียบร้อยก็จริง. แต่เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ว่ายาก

ภิกษุทั้งหลายจึงต้องปฏิบัติอย่างนั้น.

บทว่า สทฺธามตฺตเกน วหติ เปมมตฺตเกน ภิกษุบางรูปนำชีวิต

ไปด้วยศรัทธาพอประมาณ ด้วยความรักพอประมาณ ความว่า ภิกษุบางรูป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

ยังชีวิตให้เป็นไปในอาจารย์และอุปัชฌาย์ทั้งหลาย ด้วยศรัทธาเกี่ยวกับครอบ-

ครัวมีประมาณน้อย ด้วยความรักเกี่ยวกับครอบครัวมีประมาณน้อย. ชื่อว่า

บรรพชา นี้เช่นกับถือเอาปฏิสนธิ. ภิกษุบวชใหม่ยังไม่รู้คุณของบรรพชา ยัง

ชีวิตให้เป็นไปด้วยความรักพอประมาณในอาจารย์และอุปัชฌาย์. เพราะฉะนั้น

ควรสงเคราะห์ ควรอนุเคราะห์ ภิกษุเห็นปานนี้. เพราะภิกษุทั้งหลายครั้นได้

สงเคราะห์ แม้มีประมาณน้อย แล้วตั้งอยู่ในบรรพชา จักเป็นมหาสมณะสำเร็จ

อภิญญา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความข้อนี้ไว้ว่า พระศาสดาย่อมทรง

สั่งสอนผู้ที่ควรสั่งสอน ด้วยกถามรรคประมาณเท่านี้. นอกนี้ไม่ทรงสั่งสอน.

บทว่า อญฺาย สณฺหึสุ คือ ภิกษุดำรงอยู่ในอรหัตผล.

บทว่า สตฺเตสุ หายมาเนสุ เมื่อสัตว์ทั้งหลายกำลังเสื่อม คือ เมื่อ

การปฏิบัติเสื่อม สัตว์ก็ชื่อว่า เสื่อม. บทว่า สทฺธมฺเม อนฺตรธายมาเน

เมื่อพระสัทธรรมกำลังอันตรธาน คือ เมื่อปฏิบัติสัทธรรม กำลังอันตรธาน.

จริงอยู่ เมื่อไม่มีสัตว์ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติ แม้ปฏิบัติสัทธรรม ก็ชื่อว่าอันตรธาน.

บทว่า อาสวฏฺานียา คือ ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะทั้งหลาย. อธิบายว่า

อาสวะทั้งหลายมีการติเตียนผู้อื่น ความเดือดร้อน การฆ่า และการจองจำ

เป็นต้น และเป็นความพิเศษแห่งทุกข์ในอบาย ย่อมตั้งอยู่ในธรรมเหล่าใด.

เพราะฉะนั้น เหตุนั้นย่อมมีแก่ธรรมเหล่านั้น. ในบทนี้โยชนาแก้ไว้ว่า

วีติกกมธรรม (ธรรมคือความก้าวล่วง) อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะเหล่านั้น ยัง

ไม่ปรากฏในสงฆ์เพียงใด. พระศาสดายังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย

เพียงนั้น . บทว่า ยโต จ โข ภทฺทาลิ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง

อกาละอย่างนี้แล้ว จึงทรงแสดงถึงกาละต่อไป ตรัสคำมีอาทิว่า ยโต จ โข

ภทฺทาลิ ในบทเหล่านั้นบทว่า ยโต คือ ในกาลใด. บทที่เหลือพึงทราบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

โดยท่านองเดียวกันดังได้กล่าวแล้วนั่นแหละ. อีกอย่างหนึ่ง ความสังเขปในบท

นี้มีดังนี้. ในกาลใดวีติกกมโทษอันนับว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะปรากฏใน

สงฆ์. ในกาลนั้น พระศาสดาจึงทรงบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย. เพราะเหตุไร.

เพราะเพื่อกำจัดวีติกกมโทษ อันได้แก่ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะเหล่านั้นนั่น

แหละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสถึงอกาละแห่งกาลบัญญัติสิกขาบท อันยัง

ไม่เกิดธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะอย่างนี้ และกาละอันเกิดขึ้นแห่งธรรมอันเป็น

ที่ตั้งแห่งอาสวะ แล้วบัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงกาละอันยังไม่เกิดธรรมเหล่านั้น

และกาละอันเกิดธรรมเหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า น ตาว ภทฺทาลิ อิเธกจฺเจ

คือ ธรรมเป็นที่ทั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในธรรมวินัยนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า มหตฺต คือ ความเป็นใหญ่. จริงอยู่ สงฆ์

เป็นผู้ถึงความเป็นใหญ่ด้วยอำนาจแห่งพระนวกะ พระมัชฌิมะ และพระเถระ

ทั้งหลาย เพียงใด. เสนาสนะย่อมมีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า

ยังไม่เกิดขึ้นในศาสนา เพียงนั้น. แต่เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นใหญ่ ธรรมเหล่า

นั้นจึงเกิดขึ้น. เมื่อเป็นดังนั้นพระศาสดาย่อมทรงบัญญัติสิกขาบท. เมื่อสงฆ์

ถึงความเป็นใหญ่ พึงทราบสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้โดยนัยนี้ว่า ภิกษุนอน

ร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๒-๓ ราตรีขึ้นไป ต้องปาจิตตีย์. ภิกษุณียังภิกษุผู้ยิ่งไม่

มีพรรษาให้ลุกออกไป เป็นปาจิตตีย์. ภิกษุณียังภิกษุหนึ่งพรรษา สองพรรษา

ให้ลุกไป เป็นปาจิตตีย์.

บทว่า ลาภคฺค คือ ความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ. จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่

ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ เพียงใด. ธรรมเป็นที่ดังแห่งอาสวะยังไม่เกิดขึ้น

เพราะอาศัยลาภเพียงนั้น. แต่เมื่อสงฆ์ถึงแล้ว ธรรมเหล่านั้นจึงเกิด. เมื่อเป็น

เช่นนั้นพระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุให้ของเคี้ยวของฉันแก่อเจลก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

ก็ดี แก่ปริพาชกก็ดี แก่ปริพาชิกาก็ดี ด้วยมือตนเองต้องปาจิตตีย์. เพราะ

เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบท

นี้. บทว่า ยสคฺค คือ ความเป็นผู้เลิศด้วยยศ. จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความ

เป็นผู้เลิศด้วยยศเพียงใด. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะยังไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัย

ยศเพียงนั้น. แต่เมื่อสงฆ์ถึงแล้วธรรมเหล่านั้นจึงเกิดขึ้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น

พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ภิกษุดื่มน้ำเมาท้องปาจิตตีย์. เพราะเมื่อ

สงฆ์ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยยศ พระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทนี้. บทว่า

พาหุสจฺจ คือ ความเป็นพหูสูต. จริงอยู่ สงฆ์ยังไม่ถึงความเป็นพหูสูต

เพียงใด. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะจึงยังไม่เกิดเพียงนั้น. แต่เมื่อสงฆ์ถึงความ

เป็นพหูสูต บุคคลทั้งหลายเล่าเรียนนิกาย ๑ บ้าง ๒ นิกายบ้าง ๕ นิกายบ้าง

เกลาโดยไม่แยบคาย เทียบเคียงรสด้วยรส แล้วแสดงคำสอนของพระศาสดา

นอกธรรมนอกวินัย. เมื่อเป็นเช่นนั้นพระศาสดาจึงทรงบัญญัติสิกขาบทโดยนัย

มีอาทิว่า ภิกษุพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรารู้ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

แล้วอย่างนั้น ฯ ล ฯ แม้สมณุเทศก็พึงกล่าวอย่างนั้น.

พึงทราบความในบทนี้ว่า รตฺตญฺญุตปปตฺโต ถึงความเป็นผู้รู้ราตรี.

ชื่อว่า รตฺตญฺญู เพราะอรรถว่า รู้ราตรี. คือ รู้ราตรีมากตั้งแต่วันที่ตน

บวช. อธิบายว่า บวชนาน. ความเป็นแห่งผู้รู้ราตรี ชื่อว่า รตฺตญฺญุต

ในบทนั้นพึงทราบว่า เมื่อสงฆ์ถึงความเป็นผู้รู้ราตรี พระศาสดาจึงทรงบัญญัติ

สิกขาบทปรารภท่านอุปเสนวังคันตบุตร เพราะท่านอุปเสนวังคันตบุตรนั้นเห็น

ภิกษุทั้งหลาย มีพรรษาหย่อน ๑๐ ให้อุปสมบท ตนมีพรรษาเดียวให้สัทธิ-

วิหาริกบวช. เมื่อเป็นเช่นนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๑๐ ไม่ควรให้กุลบุตรบวช. ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

ให้กุลบุตรบวชต้องอาบัติทุกกฏ. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระบัญญัติสิกขาบท

อย่างนี้ ภิกษุเขลาไม่ฉลาด ให้กุลบุตรบวชอีกด้วยคิดว่าเรามีพรรษา ๑๐ แล้ว

เรามีพรรษา ๑๐ แล้ว. เมื่อเป็นเช่นนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติ

สิกขาบทแม้อื่นอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเขลา ไม่ฉลาด ไม่ควรให้

กุลบุตรบวช ภิกษุให้กุลบุตรบวช ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ผู้ฉลาด ผู้สามารถมีพรรษา ๑๐ หรือมีพรรษาหย่อนกว่า ๑๐ เราอนุญาต

ให้บวชกุลบุตรได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ๒ ข้อ ในเวลา

ที่สงฆ์ถึงความเป็นผู้รู้ราตรี ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อาชานียสุสูปม ธมฺมปริยาย เทเสสึ คือ เราแสดง

ธรรมปริยายเปรียบด้วยอาชาไนยหนุ่ม. บทว่า ตตฺถ คือ ในการระลึกไม่

ได้นั้น. บทว่า น โข ภทฺทาลิ เอเสว เหตุ คือ ความเป็นผู้ไม่ทำให้

บริบูรณ์ในสิกขานี้ จะเป็นเหตุหามิได้.

บทว่า มุขาธาเน การณ กาเรติ ฝึกให้รู้เหตุในการใส่บังเหียน

คือ ฝึกให้รู้เหตุ เพื่อยกคอให้ดีในการใส่บังเหียนเป็นต้นที่ปาก. ด้วยบทมี

อาทิว่า วิสูกายิกานิ ประพฤติเป็นข้าศึก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความ

ประพฤติพยศ. บทนี้ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของกันและกัน. บทว่า ตสฺมึ าเน

ในฐานะนั้น คือ ในการประพฤติพยศนั้น. บทว่า ปรินิพฺพายติ สงบ คือ

หมดพยศ. อธิบายว่า ละความพยศนั้นได้. บทว่า ยุคาธาเน ในการเทียม

แอก คือ ในการวางแอกเพื่อประคองแอกให้ดี. บทว่า อนุกฺกเม ในการ

ก้าวย่าง คือ ในการยกและการวางเท้าทั้ง ๔ ครั้งเดียวกัน. ย่อมยืนในหลุม

ถือดาบตัดเท้าม้าของข้าศึกที่กำลังเดินมาอยู่ ในสมัยนั้น ม้านั้นจักยกเท้าแม้ทั้ง ๔

ครั้งเดียวกัน เพราะเหตุนั้น คนฝึกม้าจึงฝึกให้รู้เหตุนั้นด้วยวิธีผูกเชือก. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

มณฺฑเล ในการวิ่งเป็นวงกลม คือ ฝึกให้รู้เหตุในการวิ่งเป็นวงกลม เพื่อทำ

โดยอาการที่ผู้นั่งบนหลังสามารถเก็บอาวุธที่ตกบนแผ่นดินได้. บทว่า ขุรกาเส

ในการจรดกีบ คือ ในการเอาปลายกีบจรดแผ่นดิน. เพราะในเวลาวิ่งไปใน

กลางคืน เพื่อมิให้ข้าศึกได้ยินเสียงเท้า จึงให้สัญญาในที่แห่งหนึ่งแล้วให้ศึกษา

การเดินด้วยปลายกีบ. ท่านกล่าวบทนี้หมายถึงไม่ให้ข้าศึกได้ยินเสียงเท่านั้น.

บทว่า ธาเร ในการวิ่ง คือ ในการเป็นพาหนะเร็วไว. บาลีว่า ธาเว ก็มีฝึกให้รู้

เหตุนั้น เพื่อหนีในเมื่อตนแพ้ และเพื่อติดตามจับข้าศึกที่หนี. บทว่า รวตฺเถ

ในประโยชน์ต่อเสียงร้อง คือ เพื่อประโยชน์แก่การร้อง. เพราะในการรบ เมื่อ

ช้างแผดเสียงร้อง ม้าคะนอง รถบุกทำลาย หรือทหารโห่ร้องยินดี เพื่อมิให้กลัว

เสียงร้องนั้น แล้วให้เข้าไปหาข้าศึก จึงฝึกให้รู้เหตุนั้น. บทว่า ราชคุเณ ใน

การเป็นม้ามีคุณที่พระราชาพึงรู้. ได้ยินว่า พระราชากูฏกัณฐะได้มีม้าชื่อว่า

ตุฬวณะ. พระราชาเสด็จออกทางประตูด้านทิศปราจีน เสด็จถึงฝั่งกทัมพนที

ด้วยทรงพระดำริว่า เราจักไปเจดีย์บรรพต. ม้ายืนใกล้ฝั่งไม่ปรารถนาจะข้าม

น้ำไป. พระราชาตรัสเรียกคนฝึกม้ามาแล้วตรัสว่า โอ ม้าที่เจ้าฝึกไม่ปรารถนา

จะข้ามน้ำ. คนฝึกม้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ น่าอัศจรรย์ ม้านี้ข้าพระองค์

ฝึกดีแล้ว. ม้าอาจคิดว่า หากเราจักข้ามน้ำ หางก็จักเปียก เมื่อหางเปียกน้ำ

จะพึงเปียกที่พระวรกายของพระราชา เพราะเหตุนั้น ม้าจึงไม่ข้ามเพราะเกรง

ว่าน้ำจะเปียกที่พระวรกายของพระองค์ ด้วยอาการอย่างนี้. ขอพระองค์โปรด

ให้จับทางม้าไว้เถิดพระเจ้าข้า. พระราชาได้ทรงให้ทำอย่างนั้น. ม้ารีบข้ามไป

ถึงฝั่ง. คนฝึกม้าฝึกให้รู้เหตุนี้เพื่อต้องการอย่างนั้น. บทว่า ราชวเส ใน

วงศ์พญาม้า จริงอยู่ วงศ์ของพญาม้านั้นมีอธิบายว่า แม้ร่างกายจะถูกแทง

ทำลายไป ด้วยการประหารเห็นปานนั้น ก็ไม่ทำให้คนขี่ม้าตกไปในหมู่ข้าศึก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

ย่อมนำออกไปภายนอกได้. ฝึกให้รู้เหตุเพื่อประโยชน์นั้น. บทว่า อุตฺตเม

ชเว ในความว่องไวชั้นเยี่ยม คือ ในการถึงพร้อมด้วยกำลัง อธิบายว่า

ฝึกให้รู้เหตุโดยอาการที่มีกำลังชั้นเยี่ยม. บทว่า อุตฺตเม หเย ในความเป็น

ม้าชั้นเยี่ยม อธิบายว่า ฝึกให้รู้เหตุโดยอาการที่เป็นม้าชั้นเยี่ยม. ในบทนั้น

ตามปรกติม้าชั้นเยี่ยมย่อมควรแก่เหตุแห่งความเป็นม้าชั้นเยี่ยม. ม้าอื่นไม่ควร.

ม้าย่อมปฏิบัติ ความมีกำลังชั้นเยี่ยมอย่างนี้ด้วยเหตุเป็นม้าชั้นเยี่ยม. ม้าอื่นย่อม

ไม่ปฏิบัติ ความมีกำลังชั้นเยี่ยม.

ในม้าชั้นเยี่ยมนั้น มีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้. ได้ยินว่าพระราชาองค์หนึ่ง

ได้ลูกม้าสินธพไว้ตัวหนึ่ง แต่ไม่ทรงทราบว่าเป็นม้าสินธพ จึงได้ทรงให้คนฝึก

ม้า เอาม้านี้ไปฝึก. แม้คนฝึกม้าก็ไม่รู้ว่าม้านั้นเป็นม้าสินธพ จึงนำถั่วเหลือง

ไปให้ลูกม้ากิน. ลูกม้าก็ไม่กินเพราะไม่สมควรแก่ตน. คนฝึกม้าไม่สามารถฝึกม้า

นั้น ได้จึงทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ม้านี้เป็นม้าโกง พระเจ้าข้า แล้ว

ปล่อยไป. วันหนึ่งภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง เคยเป็นคนฝึกม้า ผู้ถือสิ่งของของอุปัชฌาย์

ไปเห็นม้านั้นเที่ยวไปบนหลังคู จึงเรียนอุปัชฌาย์ว่า ท่านขอรับ ลูกม้าสินธพหา

ค่ามิได้ หากพระราชาทรงทราบพึงทำลูกม้านั้นไห้เป็นม้ามงคล. พระเถระกล่าว

ว่า นี่คุณ พระราชาเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้ากระไร พึงทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

เธอจงไปทูลพระราชาเถิด. ภิกษุหนุ่มไปทูลพระราชาว่า มหาบพิตร มีลูกม้า

สินธพหาค่ามิได้อยู่ตัวหนึ่ง. พระราชาตรัสถามว่าพระคุณเจ้าเห็นหรือ, ภิกษุ

หนุ่มถวายพระพรว่า เห็นมหาบพิตร. ตรัสถามว่า ได้อะไรจึงจะควร. ถวาย

พระพรว่า ควรได้พระกระยาหารที่มหาบพิตรเสวยในภาชนะทองที่ใส่เครื่อง

เสวยของมหาบพิตร รสเครื่องดื่มของมหาบพิตร กลิ่นหอมดอกไม้ของ

มหาบพิตร ถวายพระพร. พระราชารับสั่งให้ให้ทุกอย่าง. ภิกษุหนุ่มได้ให้คนถือ

นำไป. ม้าสูดกลิ่นคิดว่า ผู้ฝึกม้ารู้คุณของเราเห็นจะพอมีจึงยกศีรษะยืนแลดูอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

ภิกษุหนุ่มเดินไปดีดนิ้วมือกล่าวว่า กินอาหารเถิด. ม้าเดินตรงมากินอาหารใน

ถาดทอง. ดื่มน้ำมีรส.

ลำดับนั้นภิกษุหนุ่มเอากลิ่นหอมลูบไล้ม้าแล้วประดับเครื่องประดับของ

พระราชา ดีดนิ้ว กล่าวว่า จงไปข้างหน้าเถิด. ม้าเดินไปข้างหน้าภิกษุหนุ่ม

ได้ยืนในที่ของม้ามงคล. ภิกษุหนุ่มถวายพระพรว่า ขอถวายพระพร ลูกม้านี้หา

ค่ามิได้. ขอมหาบพิตรโปรดให้คนฝึกม้าประคบประหงมม้านั้นโดยทำนองนี้สัก

๒-๓ วันเถิด แล้วก็ออกไป.

ครั้นล่วงไป ๒-๓ วัน ภิกษุหนุ่มมาทูลถามว่า ขอถวายพระพร มหา

บพิตรจะทรงดู อานุภาพของม้าหรือ. ตรัสว่า ดีซิอาจารย์. เรายืนที่ไหนจึงจะเห็น

เล่า.ถวายพระพรว่า ขอมหาบพิตรเสด็จไปยังพระอุทยานเถิด. พระราชารับสั่งให้

จับม้าไป. ภิกษุหนุ่มดีดนิ้วมือให้สัญญาแก่ม้าว่า เจ้าจงวิ่งไปรอบต้นไม้ต้นหนึ่ง.

ม้าวิ่งไปรอบต้นไม้แล้วก็มา. พระราชามิได้ทรงเห็นม้าวิ่งไปวิ่งมา. ภิกษุหนุ่ม

ทูลถามว่า มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า ไม่เห็นเลยพระคุณเจ้า. ภิกษุหนุ่ม

ทูลว่า ขอมหาบพิตรวางไม้ทำเครื่องหมายพิงค้นไม้ต้นหนึ่งไว้แล้วดีดนิ้วมือ

กล่าวว่า เจ้าจงคาบไม้เครื่องหมายนั้นมา. ม้าวิ่งไปคาบไม้นั้นมา ทูลถามว่า

มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า ไม่เห็นเลยพระคุณเจ้า. ภิกษุหนุ่มดีดนิ้วมือ

อีกกล่าวว่า เจ้าจงวิ่งไปรอบ ๆ จนสุดกำแพงพระอุทยานมาเถิด. ม้าได้ทำอย่าง

นั้น. ทูลถามว่า มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า ไม่เห็นเลยพระคุณเจ้า.

ภิกษุหนุ่มให้นำผ้ากัมพลสีแดงมาแล้วให้ผูกที่เท้าม้า ได้ให้สัญญาเหมือนอย่าง

นั้น. ม้ากระโดดวิ่งไปจนสุดกำแพง. ได้ปรากฏ ณ สุดกำแพงพระอุทยานดุจ

เปลวลูกไฟที่บุรุษมีกำลังแกว่ง. ม้าไปยืนอยู่ ณ ที่ใกล้. ทูลถามว่า มหาบพิตร

ทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า เห็นแล้วพระคุณเจ้า. ภิกษุได้ให้สัญญาว่า เจ้าจงวิ่ง

ไปรอบ ๆ จนสุดกำแพงสระมงคลโบกขรณี. ม้าได้วิ่งไปรอบ ๆ จนสุดกำแพง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

สระมงคลโบกขรณี. ภิกษุหนุ่มได้ให้สัญญาอีกว่า เจ้าจงหยั่งลงสู่สระโบกขรณี

แล้ววิ่งไปบนใบบัวทั้งหมด. มิได้มีแม้แต่ใบหนึ่งที่ไม่ได้เหยียบก็ดี ฉีกขาดหัก

หักก็ดี. ทูลถามว่า มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า เห็นแล้วพระคุณเจ้า.

ภิกษุหนุ่มดีดนิ้วมือแล้ว ยื่นฝ่ามือออกไป. ม้าเร็วดุจลมได้กระโดดไปยืนบน

ฝ่ามือ. ทูลถามว่า มหาบพิตรทรงเห็นหรือ. ตรัสว่า เห็นแล้วพระคุณเจ้า.

ม้าชั้นเยี่ยมอย่างนี้ย่อมปฏิบัติกำลังชั้นเยี่ยม ด้วยเหตุอันยอดเยี่ยมอย่างนี้.

บทว่า อุตฺตเม สาขเลฺย ในการเป็นม้าควรแก่คำอ่อนหวานชั้น

เยี่ยม. ความว่า ควรฝึกเหตุแห่งการเป็นม้าชั้นเยี่ยมด้วยวาจาอ่อนหวานว่า

ดูก่อนพ่อม้าเจ้าอย่าคิดไปเลย. เจ้าจักเป็นม้ามงคลของพระราชา, เจ้าจักได้

อาหารมีพระกระยาหารเครื่องเสวยของพระราชาเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า อุตฺตเม สาขเลฺย ดังนี้. บทว่า ราชโภคฺโค คือ เป็นพาหนะ

สำหรับใช้สอยของพระราชา. บทว่า รญฺโ องฺคนฺเตฺวว สงฺข คจฺฉติ

นับได้ว่าเป็นองค์ของพระราชา ความว่าพระราชาเสด็จไปในที่ไหน ๆ ไปไม่

ทอดทิ้งดุจมือและเท้าเพราะฉะนั้นจึงนับว่าเป็นองค์. หรือเป็นองค์หนึ่งในองค์

แห่งเสนา ๔ เหล่า. บทว่า อเสกฺขาย สมฺมาทิฏฺิยา สัมมาทิฏฐิอันเป็น

ของพระอเสขะคือ สัมมาทิฏฐิอันเป็นอรหัตผล. แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น

ก็สัมปยุตด้วยอรหัตผลนั้น . สัมมาญาณเป็น สัมมาทิฏฐิดังกล่าวแล้วในก่อน.

อนึ่ง ธรรมที่เหลือเว้นองค์แห่งผล ๘ พึงทราบว่าเป็นวิมุตติ. บทที่เหลือในบท

ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

เทศนานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาด้วยธรรมเป็นยอดแห่งพระ-

อรหัต แล้วจบลงด้วยสามารถแห่งอุคฆฏิตัญญูบุคคล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาภัททาลิสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

๖. ลฑุกิโกปมสูตร

พระอุทายี

[๑๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอังคุตตราปชนบท มี

นิคมของชาวอังคุตตราปะชื่ออาปนะเป็นโคจรคาม ครั้งนั้น เวลาเข้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังอาปน-

นิคม ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในอาปนนิคมแล้ว เวลาปัจฉาภัตกลับจาก

บิณฑบาตแล้วเสด็จเข้าไปยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่ง เพื่อประทับพักกลางวันที่โคน

ต้นไม้แห่งหนึ่งเวลาเช้าวันนั้น แม้ท่านพระอุทายีก็นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร

เข้าไปบิณฑบาตยังอาปนนิคม ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในอาปนนิคมแล้ว เวลา

ปัจฉาภัตกลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังไพรสณฑ์นั้น เพื่อพักกลางวัน ครั้น

ถึงไพรสณฑ์นั้นแล้ว นั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น เมื่อท่าน

พระอุทายีอยู่ในที่ลับ เร้นอยู่ เกิดความดำริแห่งจิตอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้หนอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากเข้ามาให้แก่เรา

ทั้งหลายหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำอกุศลธรรมเป็นอันมากของเราทั้งหลาย

ออกไปได้หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากเข้ามาให้แก่

เราทั้งหลายหนอ ลำดับนั้นเวลาเย็น ท่านพระอุทายีออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

[๑๗๖] ท่านพระอุทายีนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อข้า

พระองค์อยู่ในที่ลับ เร้นอยู่ ได้เกิดความดำริแห่งจิตอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปได้

หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งสุขเป็นอันมากเข้ามาให้

แก่เราทั้งหลายหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำอกุศลธรรมเป็นอันมากของเรา

ทั้งหลายออกไปได้หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากเข้ามา

ให้แก่เราทั้งหลายหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเมื่อก่อน ข้าพระองค์เคยฉันได้ทั้งเวลาเย็น

ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาลในกลางวัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้มีสมัยหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอ

เตือน เธอทั้งหลายจงละการฉันโภชนะในเวลาวิกาลในเวลากลางวันนั้นเสียเถิด

ดังนี้ ข้าพระองค์นั้นมีความน้อยใจ มีความเสียใจ คฤหบดีทั้งหลายผู้มีศรัทธา

จะให้ของควรเคี้ยวของควรบริโภคอันประณีต ในเวลาวิกาลในกลางวัน แก่เรา

ทั้งหลาย แม้อันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละ แม้อันนั้นของเราทั้งหลาย

เสียแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้น เมื่อเห็นกะความรัก

ความเคารพ ความละอาย และความเกรงกลัว ในพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงละ

การฉันโภชนะในเวลาวิกาลในกลางวันนั้นเสีย ด้วยประการอย่างนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นย่อมฉันในเวลาเย็น และ

เวลาเช้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้มีสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือน เธอทั้งหลายจงละเว้นการฉัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

โภชนะในเวลาวิกาลในราตรีนั้นเสียเถิด ดังนี้ ข้าพระองค์นั้นมีความน้อยใจ

มีความเสียใจว่า ความที่ภัตทั้งหลายเป็นของปรุงประณีตกว่าอันใด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสการละอันนั้นของเราทั้งหลายเสียแล้ว พระสุคตตรัสการสละคืน

อันนั้นของเราทั้งหลายเสียแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว บุรุษ

คนใดได้ของสมควรจะแกงมาในกลางวัน จึงบอกภริยาอย่างนี้ว่า เอาเถิด จง

เก็บสิ่งนี้ไว้ เราทั้งหมดเทียว จักบริโภคพร้อมกันในเวลาเย็น อะไร ๆ ทั้ง

หมดที่สำหรับจะปรุง ย่อมมีรสในเวลากลางคืน กลางวันมีรสน้อย ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั้นเห็นกะความรัก ความเคารพ ความละ

อาย และความเกรงกลัวในพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพากันละการบริโภคโภชนะ

ในเวลาวิกาลในราตรีนั้นเสีย ด้วยประการอย่างนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุทั้งหลายเที่ยวไปบิณฑ-

บาตในเวลามืดค่ำ ย่อมเข้าไปในบ่อน้ำครำบ้าง ลงไปในหลุมโสโครกบ้าง บุก

เข้าไปยังป่าหนามบ้าง เหยียบขึ้นไปบนแม่โคกำลังหลับบ้าง พบกับโจรผู้ทำ

โจรกรรมแล้วบ้าง ยังไม่ได้ทำโจรกรรมบ้าง มาตุคามย่อมชักชวนภิกษุเหล่านั้น

ด้วยอสัทธรรมบ้าง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เที่ยวบิณฑบาต

ในเวลามืดค่ำ หญิงคนหนึ่งล้างภาชนะอยู่ ได้เห็นข้าพระองค์โดยแสงฟ้าแลบ

แล้วตกใจกลัวร้องเสียงดังว่า ความไม่เจริญได้มีแก่เราแล้ว ปีศาจจะมากินเรา

หนอ. เมื่อหญิงนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้พูดกะหญิงนั้นว่า

ไม่ใช่ปีศาจดอกน้องหญิง เป็นภิกษุยืนเพื่อบิณฑบาต ดังนี้ หญิงนั้นกล่าว

ว่า บิดาของภิกษุตายเสียแล้ว มารดาของภิกษุตายเสียแล้ว ดูก่อนภิกษุ ท่าน

เอามีดสำหรับเชือดโคที่คมเชือดต้องเสียยังจะดีกว่า การที่ท่านเที่ยวบิณฑบาต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

ในเวลาค่ำมืดเพราะเหตุแห่งท้องเช่นนั้น ไม่ดีเลย ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อข้าพระองค์ระลึกถึงเรื่องนั้นอยู่ มีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงนำธรรมอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมากของเราทั้งหลายออกไปเสียได้หนอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำธรรมอันเป็นเหตุเเห่งสุขเป็นอันมากเข้ามาให้แก่เรา

ทั้งหลายหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำอกุศลธรรมเป็นอันมากของเราทั้ง-

หลายออกไปเสียได้หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำกุศลธรรมเป็นอันมากเข้า

มาให้แก่เราทั้งหลายหนอ.

อุปมาด้วยนางนกมูลไถ

[๑๗๗] ก็อย่างนั้นแลอุทายี โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อ

เรากล่าวว่า จงละโทษสิ่งนี้เสียเถิด เขากลับกล่าวอย่างนี้ว่า ทำไมจะต้องว่า

กล่าวเพราะเหตุแห่งโทษเพียงเล็กน้อยนี้เล่า พระสมณะนี้ช่างขัดเกลาหนักไป

เขาจึงไม่ละโทษนั้นด้วย ไม่เข้าไปตั้งความยำเกรงในเราด้วย ดูก่อนอุทายี อนึ่ง

โทษเพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น ย่อมเป็นเครื่องผูกอันมี

กำลัง มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่ ดูก่อนอุทายี เปรียบ

เหมือนนางนกมูลไถ ถ้าผูกไว้ด้วยเครื่องผูกคือเถาวัลย์หัวด้วน ย่อมรอเวลาที่

จะฆ่าหรือเวลาที่จะถูกมัดหรือเวลาตาย ในที่นั้นเอง ฉันใด ดูก่อนอุทายี ผู้ใด

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เครื่องดักคือเถาวัลย์หัวด้วนสำหรับเขาใช้ดักนางนกมูลไถ

ซึ่งมันรอเวลาที่จะถูกฆ่า หรือเวลาที่จะถูกมัด หรือเวลาตายนั้น เป็นเครื่อง

ผูกไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่น ดังนี้ ผู้นั้นเมื่อกล่าว ชื่อว่าพึง

กล่าวโดยชอบหรือหนอ.

ไม่ชอบ พระเจ้าข้า เครื่องดักคือเถาวัลย์หัวด้วนสำหรับเขาใช้ดักนาง

นกมูลไถ ซึ่งมันรอเวลาที่จะถูกฆ่า หรือเวลาที่จะถูกมัด หรือเวลาตายในที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

นั้นนั่นแล เป็นเครื่องผูกมีกำลัง มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือน

ท่อนไม้ใหญ่ พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอุทายี โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อเรา

กล่าวว่าจงละโทษนี้เสียเถิด เขากลับกล่าวอย่างนี้ว่า ทำไมจะต้องว่ากล่าวเพราะ

เหตุแห่งโทษเพียงเล็กน้อยนี้เล่า พระสมณะนี้ช่างขัดเกลาหนักไป เขาจึงไม่

ละโทษนั้นด้วย ไม่เข้าไปตั้งความยำเกรงในเราด้วย ดูก่อนอุทายี อนึ่ง โทษ

เพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น เป็นเครื่องผูกมีกำลัง มั่น

แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่.

อุปมาด้วยช้างต้น

[๑๗๘] ดูก่อนอุทายี ส่วนกุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อเรา

กล่าวว่า จงละโทษนี้เสียเถิด เขากล่าวอย่างนี้ว่า ก็ทำไมจะต้องว่ากล่าวเพราะ

เหตุแห่งโทษเล็กน้อยเพียงที่ควรละนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้เราทั้งหลาย

ละ ซึ่งพระสุคตตรัสให้เราทั้งหลายสละคืนเล่า เขาย่อมละโทษนั้นด้วย เข้า

ไปตั้งความยำเกรงในเราด้วย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุ

ทั้งหลายเหล่านั้นละโทษนั้นแล้ว มีความขวนขวายน้อย มีขนตก เยียวยาชีวิต

ด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจเป็นดุจมฤคอยู่ โทษเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้น

ย่อมเป็นเครื่องผูกไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร ดูก่อนอุทายี

เปรียบเหมือนช้างต้น มีงาอันงอนงาม เป็นราชพาหนะอันประเสริฐ เคยเข้า

สงคราม ควาญช้างผูกด้วยเชือกเป็นเครื่องผูกอันมั่น พอเอี้ยวกายไปหน่อยหนึ่ง

ก็ทำเครื่องผูกนั้นให้ขาดหมด ทำลายหมด แล้วหลีกไปได้ตามปรารถนา ฉันใด

ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ข้างต้นนั้น มีงาอันงอนงาม เป็นราชพาหนะอัน

ประเสริฐเคยเข้าสงคราม ควาญช้างผูกเชือกเป็นเครื่องผูกอันมั่นเหล่าใด พอ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

เอี้ยวกายไปหน่อยหนึ่ง ก็ทำเครื่องผูกเหล่านั้นให้ขาดหนอ ทำลายหมด แล้ว

หลีกไปได้ตามปรารถนา เครื่องผูกที่เขาผูกช้างต้นนั้น เป็นเครื่องผูกมีกำลัง

มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่ ดังนี้ ผู้นั้นเมื่อกล่าว

ชื่อว่าพึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ.

ไม่ชอบ พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างต้นนั้น มีงาอัน

งอนงามเป็นราชพาหนะอันประเสริฐ เคยเข้าสงคราม เขาผูกด้วยเชือกเป็น

เครื่องผูกมั่นพอเอี้ยวกายไปหน่อยหนึ่ง ก็ทำเครื่องผูกเหล่านั้นให้ขาดหมด

ทำลายหมดแล้วหลีกไปได้ตามความปรารถนา เครื่องผูกช้างต้น เป็นเครื่อง

ผูกไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอุทายี กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อเรากล่าว

ว่าจงละโทษนี้เสียเถิด เขากลับกล่าวอย่างนี้ว่า ทำไมจะต้องว่ากล่าวเพราะโทษ

เพียงเล็กน้อยที่ควรละนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้เราทั้งหลายละ ซึ่งพระ-

สุคตตรัสให้เราทั้งหลายสละคืนด้วยเล่า ดังนี้ เขาละโทษนั้นด้วย เข้าไป

ตั้งความยำเกรงในเราด้วย อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเหล่าใดผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุ

ทั้งหลายเหล่านั้นละโทษนั้นแล้วเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย มีขนตก เยียวยา

ชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจเป็นดุจมฤคอยู่ ดูก่อนอุทายี โทษเพียงเล็กน้อยที่

ควรละของภิกษุเหล่านั้น เป็นเครื่องผูกไม่มีกำลัง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร.

อุปมาด้วยคนจน

[๑๗๙] ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษคนจน ไม่มีอะไรเป็นของ

ตนไม่ใช่คนมั่งคั่ง เขามีเรือนเล็ก ๆ หลังหนึ่ง มีเครื่องมุงบังและเครื่องผูก

หลุดลุ่ยต้องคอยไล่กา มีรูปไม่งาม มีแคร่อันหนึ่ง หลุดลุ่ย มีรูปไม่งาม มี

ข้าวเปลือกและพืชสำหรับหว่านประจำปีหม้อหนึ่ง ไม่ใช่เป็นพันธุ์อย่างดี มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

ภรรยาคนหนึ่งไม่สวย เขาเห็นภิกษุผู้อยู่ในอาราม มีมือและเท้าล้างดีแล้ว ฉัน

โภชนะอันเจริญใจ นั่งอยู่ในที่อันร่มเย็น ประกอบในอธิจิต เขาพึงมีความ

ดำริอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ความเป็นสมณะเป็นสุขหนอ ดูก่อนท่าน

ผู้เจริญ ความเป็นสมณะไม่มีโรคหนอ เราควรจะปลงผมและหนวดแล้วนุ่งห่ม

ผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิตบ้างหนอ แต่เขาไม่อาจละเรือนเล็กหลังหนึ่ง

มีเครื่องมุงบังและเครื่องผูกอันหลุดลุ่ย ที่ต้องคอยไล่กา มีรูปไม่งาม มีแคร่

อันหนึ่งที่หลุดลุ่ย ไม่งาม ละแคร่อันหนึ่งที่หลุดลุ่ย มีรูปไม่งาม ละข้าวเปลือก

และพืชสำหรับหว่านประจำปีหม้อหนึ่ง ไม่ใช่พันธุ์อย่างดี และภรรยาคนหนึ่ง

ไม่สวย แล้วปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายยะ ออกบวชเป็นบรรพชิตได้

ฉันใด ดูก่อนอุทายี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษนั้นถูกเขาผูกด้วยเครื่องผูก

เหล่านั้น ไม่อาจละเรือนเล็ก ๆ หลังหนึ่ง ซึ่งมีเครื่องมุงบังและเครื่องผูก

หลุดลุ่ย ที่ต้องคอยไล่กา มีรูปไม่งาม ละแคร่อันหนึ่งที่หลุดลุ่ย ไม่งาม ละ

ข้าวเปลือกและพืชสำหรับหว่านประจำปีหม้อหนึ่ง ไม่ใช่พันธุ์อย่างดี ละภรรยา

คนหนึ่ง ไม่สวย แล้วปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวชเป็น

บรรพชิตได้ ก็เครื่องผูกของเขานั้นเป็นเครื่องผูกไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย

ไม่มีแก่นสาร ดังนี้ ผู้นั้นเมื่อกล่าว ชื่อว่า พึงกล่าวโดยชอบหรือหนอ.

ไม่ชอบ พระเจ้าข้า บุรุษนั้นถูกเขาผูกด้วยเครื่องผูกเหล่าใด แล้ว

ไม่อาจละเรือนเล็ก ๆ หลังหนึ่ง มีเครื่องมุงบังและเครื่องผูกอันหลุดลุ่ย ที่ต้อง

คอยไล่กา มีรูปไม่งาม ละแคร่อันหนึ่งอันหลุดลุ่ย ไม่งาม ละข้าวเปลือกและ

พืชสำหรับหว่านประจำปีหม้อหนึ่ง ไม่ใช่พันธุ์อย่างดี ละภรรยาคนหนึ่ง ไม่

สวย แล้วปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิตได้ เครื่อง

ผูกของเขานั้นเป็นเครื่องผูกมีกำลัง มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือน

ท่อนไม้ใหญ่ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

ดูก่อนอุทายี โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ

เรากล่าวว่า จงละโทษนี้เสียเถิด เขากลับกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ทำไมจะต้องว่า

กล่าวเพราะเหตุแห่งโทษเพียงเล็กน้อยนี้ด้วยเล่า พระสมณะนี้ช่างขัดเกลาหนัก

ไป เขาไม่ละโทษนั้นด้วย ไม่เข้าไปตั้งความยำเกรงในเราด้วย ดูก่อนอุทายี

อนึ่งโทษเพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น ย่อมเป็นเครื่องผูก

มีกำลัง มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่.

อุปมาด้วยคนมั่งมี

[๑๘๐] ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้มั่งคั่ง

มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก สะสมทองหลายร้อยแท่ง สะสมข้าวเปลือก นา

ที่ดิน ภรรยา ทาส ทาสี ไว้เป็นอันมาก เขาเห็นภิกษุผู้อยู่ในอาราม มีมือ

และเท้าล้างดีแล้ว ฉันโภชนะอันเจริญใจ นั่งอยู่ในที่อันร่มเย็น ประกอบใน

อธิจิต เขาพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ความเป็นสมณะเป็นสุขหนอ

ท่านผู้เจริญ ความเป็นสมณะไม่มีโรคหนอ เราควรจะปลงผมและหนวด นุ่ง

ห่มผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิตบ้างหนอ เขาอาจละทองหลายร้อยแท่ง ละ

ข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาส ทาสี เป็นอันมาก แล้วปลงผมและ

หนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตได้ ฉันใด ดูก่อนอุทายี ผู้ใด

พึงกล่าวว่า เครื่องผูกที่เป็นเครื่องผูกคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ซึ่งเขาอาจละ

ทองหลายร้อยแท่ง ละข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาส ทาสี เป็นอันมาก

แล้วปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตนั้น เป็น

เครื่องผูกมีกำลัง มั่น แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่ ดังนี้

ผู้นั้นเมื่อกล่าว ชื่อว่าพึงกล่าวโดยชอบที่หรือหนอ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

ไม่ชอบ พระเจ้าข้า เครื่องผูกที่เป็นเครื่องผูกคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี

ซึ่งอาจละทองหลายร้อยแท่ง ละข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา ทาส ทาสี

เป็นอันมาก แล้วปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต

นั้นเป็นเครื่องผูกไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอุทายี กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อ

เรากล่าวว่า จงละโทษนี้เสียเถิด เขากลับกล่าวอย่างนี้ว่า ก็ทำไมจะต้องว่า

กล่าวเพราะเหตุแห่งโทษเพียงเล็กน้อยซึ่งควรละนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ให้เราทั้งหลายละ ที่พระสุคตตรัสให้เราทั้งหลายสละคืนด้วยเล่า กุลบุตรเหล่า

นั้นย่อมละโทษนั้นด้วย เข้าไปตั้งความยำเกรงในเราด้วย ภิกษุทั้งหลาย

เหล่าใดผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละโทษนั้นแล้ว เป็นผู้มีความ

ขวนขวายน้อย มีขนตก เยียวยาชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจเป็นดุจมฤคอยู่

ดูก่อนอุทายี โทษเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้น เป็นเครื่องผูกไม่มีกำลัง

บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร.

บุคคล ๔ จำพวก

[๑๘๑] ดูก่อนอุทายี บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔

จำพวกเป็นไฉน ดูก่อนอุทายี บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ

อุปธิ เพื่อสละคืนอุปธิ แต่ความดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยัง

ครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่ ผู้นั้นยังรับเอาความ

ดำรินั้นไว้ ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้สิ้นสุด ไม่ให้ถึงความไม่มี เราเรียก

บุคคลนี้แลว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ ไม่ใช่ผู้อันกิเลสคลายแล้ว ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะความที่อินทรีย์เป็นของต่างกันในบุคคลนี้ เรารู้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

ดูก่อนอุทายี ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ

เพื่อสละคืนอุปธิ ความดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้

ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่ แต่ผู้นั้นไม่รับเอาความดำริ

เหล่านั้นไว้ ละได้ บรรเทาได้ ทำให้สิ้นสุดได้ ให้ถึงความไม่มีได้ แม้

บุคคลผู้นี้ เราก็กล่าวว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ ไม่ใช่ผู้อันกิเลสคลายแล้ว

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความที่อินทรีย์เป็นของต่างกันในบุคคลนี้ เรารู้แล้ว.

ดูก่อนอุทายี บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อ

สละคืนอุปธิ ความดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติ

เพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่ เพราะความหลงลืมแห่งสติในบางครั้ง

บางคราว ความดำริที่แล่นไป อันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อ

ละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้อยู่ ความบังเกิดแห่งสติช้าไป ที่จริงเขาละ

บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความดำรินั้นฉับพลัน.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษเอาหยาดน้ำสองหยาด หรือสามหยาด

หยดลงในกะทะเหล็กอันร้อนอยู่ตลอดวัน หยาดน้ำตกลงช้าไป ความจริงหยาด

น้ำถึงความสิ้นไปแห้งไปนั้นเร็วกว่า ฉันใด ดูก่อนอุทายี บุคคลบางคนใน

โลกนี้ ก็ฉันนั้น เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธิ ความดำริที่แล่นไป

อันประกอบด้วยอุปธิ ยังครอบงำผู้ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เพื่อสละคืนอุปธินั้นได้

อยู่ เพราะความหลงลืมแห่งสติในบางครั้งบางคราว ความบังเกิดแห่งสติช้าไป

ที่จริงเขาละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความดำรินั้นฉับพลัน

ถึงบุคคลนี้เราก็กล่าวว่า ผู้อันกิเลสประกอบไว้ มิใช่ผู้อันกิเลสคลายแล้ว ข้อ

นั้นเพราะเหตุไร เพราะความที่อินทรีย์เป็นของต่างกันในบุคคลนี้ เรารู้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

ดูก่อนอุทายี ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ว่าเบญจขันธ์อันชื่อว่าอุปธิ

เป็นมูลแห่งทุกข์ ครั้นรู้ดังนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอุปธิ แล้วน้อมจิตไปในนิพพาน

เป็นที่สิ้นอุปธิ บุคคลนี้เรากล่าวว่า ผู้อันกิเลสคลายแล้ว มิใช่ผู้อันกิเลสประกอบ

ไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความที่อินทรีย์เป็นของต่างกันในบุคคลนี้ เรา

รู้แล้ว ดูก่อนอุทายี บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก.

ว่าด้วยกามคุณ 5

[๑๘๒] ดูก่อนอุทายี กามคุณห้าเหล่านี้ กามคุณห้าเป็นไฉน คือ

รูปอันพึงรู้แจ้งด้วยจักษุที่สัตว์ปรารถนารักใคร่ชอบใจ เป็นสิ่งที่น่ารัก ประกอบ

ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงอันพึงรู้แจ้งด้วยโสตะ . . . กลิ่นอันพึง

รู้แจ้งด้วยฆานะ . . . รสอันพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา. . . โผฏฐัพพะอันพึงรู้แจ้งด้วย

กาย ที่สัตว์ปรารถนารักใคร่ชอบใจ เป็นสิ่งน่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่

ทั้งแห่งความกำหนัด กามคุณห้านี้แล.

ดูก่อนอุทายี ความสุขโสมนัสที่เกิดเพราะอาศัยกามคุณห้านี้ เรากล่าว

ว่ากามสุข ความสุขไม่สะอาด ความสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ

อันบุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรให้เกิดมี ไม่ควรทำให้มาก ควรกลัวแต่สุขนั้น.

ฌาน ๔

[๑๘๓] ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มี

วิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ

ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ

อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ

ดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฌานทั้ง

สี่นี้เรากล่าวว่า ความสุขเกิดแต่ความออกจากกาม ความสุขเกิดแต่ความสงัด

ความสุขเกิดแต่ความสงบ ความสุขเกิดแต่ความสัมโพธิ อันบุคคลควรเสพ

ควรให้เกิดมี ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัวแต่สุขนั้น ดังนี้.

[๑๘๔] ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ดูก่อนอุทายี ปฐมฌานเรากล่าวว่ายังหวั่นไหว ก็ในปฐมฌานนั้น ยังมีอะไร

หวั่นไหว ข้อที่วิตกและวิจารยังไม่ดับในปฐมฌานนี้ เป็นความหวั่นไหวใน

ปฐมฌานนั้น ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความ

ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ

วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนอุทายี แม้ทุติยฌานนี้

เราก็กล่าวว่ายังหวั่นไหว ก็ในทุติยฌานนั้น ยังมีอะไรหวั่นไหว ข้อที่ปีติและ

สุขยังไม่ดับในทุติยฌานนี้ เป็นความหวั่นไหวในทุติยฌานนั้น ดูก่อนอุทายี

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย

เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้

เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข.

ดูก่อนอุทายี แม้ตติยฌานนี้ เราก็กล่าวว่ายังหวั่นไหว ก็ในตติยฌาน

นั้นยังมีอะไรหวั่นไหว ข้อที่อุเบกขาและสุขยังไม่ดับในตติยฌานนี้ เป็นความ

หวั่นไหวในตติยฌานนั้น ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ จตุตถฌานนี้ เรากล่าวว่า ไม่หวั่นไหว.

การละรูปฌานและอรูปฌาน

[๑๘๕] ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

ปฐมฌานนี้ เรากล่าวว่า ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าว

ล่วงเสีย ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น ดูก่อนอุทายี ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม

เอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่

สมาธิอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น ดูก่อนอุทายี แม้ทุติยฌานนี้

เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย ก็

อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น.

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ

เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรร-

เสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข นี้เป็นธรรมเครื่องก้าว

ล่วงตติยฌานนั้น ดูก่อนอุทายี แม้ตติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำความ

อาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าว

ล่วงตติยฌานนั้น ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มี

ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มี

อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงตติยฌานนั้น.

ดูก่อนอุทายี แม้จตุตถฌานนี้เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำความอาลัย

เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงจตุตถ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

ฌานนั้น ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน

ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง

เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่อง

ก้าวล่วงจตุตถฌานนั้น.

ดูก่อนอุทายี แม้อากาสานัญจายตนฌานนั้น เราก็กล่าวว่า ไม่ควร

ทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย ก็อะไรเล่าเป็นธรรม

เครื่องก้าวล่วงอากาสานัญจายคนฌานนั้น ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้

บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วง

อากาสานัญจายตนฌานได้ โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วง

อากาสานัญจายตนฌานนั้น ดูก่อนอุทายี แม้วิญญาณัญจายตนฌานนี้ เราก็

กล่าวว่า ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย ก็อะไร

เล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานนั้น.

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วย

บริกรรมว่า อะไร ๆ ก็ไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานได้โดยประการ

ทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานนั้น แม้อากิญจัญญา-

ยตนฌานนั้น เราก็กล่าวว่า ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าว

ล่วงเสีย ก็อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานนั้น ดูก่อน

อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วง

อากิญจัญญายตนฌานได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วง

อากิญจัญญายตนฌานนั้น แม้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ เราก็กล่าวว่า

ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละเสีย จงก้าวล่วงเสีย ก็อะไรเล่าเป็น

ธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดูก่อนอุทายี ที่ภิกษุใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

ธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

ได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน-

ฌานนั้น เรากล่าวการละกระทั่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ด้วยประการ

ฉะนี้แล ดูก่อนอุทายี เธอเห็นหรือหนอซึ่งสังโยชน์ละเอียดก็ดี หยาบก็ดีนั้น

ที่เรามิได้กล่าวถึงการละนั้น.

อุ. ไม่เห็นเลย พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระอุทายียินดีชื่นชม

พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบลฑุกิโกปมสูตรที่ ๖

๖. อรรถกถาลฏุกิโกปมสูตร

ลฏฺกิโกปมสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมา

อย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน โส วนสณฺโฑ เข้าไปยัง

ไพรสณฑ์นั้น ความว่า พระมหาอุทายีเถระนี้ เข้าไปบิณฑบาตกับพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้วหลีกออกไปพร้อมกับพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. เพราะฉะนั้นพึงทราบ

ว่า พระมหาอุทายีเถระเข้าไปยังไพรสณฑ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเสด็จเข้าไป.

บทว่า อปหตฺตา คือนำออกไป. บทว่า อุปหตฺตา คือนำเข้าไป. บทว่า

ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต ท่านพระมหาอุทายีเถระออกจากที่เร้น คือออกจาก

ผลสมาบัติ. บทว่า ย ภควา ในสมัยใดพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อิงฺฆ

๑. บาลีว่า ลฑุกิโกปมสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

เป็นนิบาต ลงในความบังคับ. บทว่า อฺถตฺต ความที่จิตเป็นอย่างอื่น.

เราไม่ได้โภชนะอันประณีตเห็นปานนี้ เพราะอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น. จักยังชีวิตให้เป็นไปได้อย่างไร ด้วยประการฉะนี้พึงทราบว่า เพราะอาศัย

ลาภคือโภชนะอันประณีต จึงได้เป็นอยู่ได้.

ด้วยบทว่า ภูตปุพฺพ เรื่องเคยมีมาแล้วนี้ พระอุทายีเถระแสดงความ

ที่โภชนะเป็นของประณีตในเวลากลางคืน. บทว่า สูเปยฺย ของควรจะแกง ได้

แก่ปลา เนื้อและหน่อไม้เป็นต้น ควรนำไปแกง. บทว่า สมคฺคา ภุญฺชิสฺสาม

เราจักบริโภคพร้อมกันคือบริโภคร่วมกัน. บทว่า สงฺขติโย คือของเคี้ยว

สำหรับจะปรุงบริโภค. บทว่า สพฺพา ตา รตฺตึ คือ ของเคี้ยวสำหรับปรุง

บริโภคทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมมีรสในเวลากลางคืน. แต่กลางวันมีรสน้อยนิด

หน่อย. เพราะกลางวันมนุษย์ทั้งหลายยังชีวิตให้เป็นไปด้วยข้าวยาคูและข้าวต้ม

เป็นต้น กลางคืนย่อมบริโภคตามส่วนที่ถึง ตามสติ ตามความประณีต. ด้วย

บทว่า ภูตปุพฺพ นี่อีก ท่านพระอุทายีเถระแสดงถึงโทษในการบริโภคในกลาง

คืนและเวลาวิกาล.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อนฺธการติมิสาย ได้แก่ ในเวลามืดมาก. บทว่า

มาณเวหิ ได้แก่ พวกโจร. บทว่า กตกมฺเมหิ คือทำโจรกรรม. ได้ยินว่า

โจรเหล่านั้นทำโจรกรรมฆ่ามนุษย์แล้ว ถือเอาโลหิตในลำคอเป็นต้น เพื่อต้อง

การนำกรรมที่สำเร็จเพราะได้บวงสรวงเทวดาไว้เข้าไปแก้บน. โจรเหล่านั้น

สำคัญว่า เมื่อมนุษย์อื่นถูกฆ่า ก็จักเกิดโกลาหล. ชื่อว่า ผู้แสวงหาบรรพชิตย่อม

ไม่มี จึงจับภิกษุทั้งหลายฆ่า. ท่านกล่าวบทนั้นหมายถึงความข้อนี้. บทว่า

อกตกมฺเมหิ ยังไม่ทำโจรกรรม คือ ประสงค์จะทำพลีกรรมก่อนเพื่อให้สำเร็จ

การงานในเวลามาจากดงเข้าสู่บ้าน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

บทว่า อสทฺธมฺเมน นิมนฺเตติ มาตุคามย่อมเชื้อเชิญด้วยอสัทธรรม

คือ เชื้อเชิญด้วยเมถุนธรรมว่า ข้าแต่ภิกษุ ท่านจงมาเถิด. วันนี้ท่านจักฉันใน

ที่นี้แหละ จักอยู่ในที่นี้ตลอดคืนหนึ่งแล้วเสวยสมบัติ พรุ่งนี้จึงค่อยไป.

ด้วยบทว่า ภูตปุพฺพ นี้อีก ท่านพระอุทายีเถระกล่าวถึงเหตุที่เห็น

ด้วยตนเอง. บทว่า วิชฺชนฺตริกาย โดยแสงฟ้าแลบคือโดยขณะที่สายฟ้าส่อง

แสง. บทว่า วิสฺสรมกาสิ คือร้องเสียงดัง. บทว่า อภุมฺเม ความว่า

คำว่า ภู ได้แก่ ความเจริญ คำว่า อภู ได้แก่ ความเสื่อม. อธิบายว่า

ความพินาศได้มีแก่เรา. บทว่า ปิสาโจ วต ม คือ ปีศาจจะมากินเรา.

พึงทราบความในบทนี้ว่า อาตุมารี มาตุมารี ดังต่อไปนี้. บทว่า

อาตุ ได้แก่ บิดา. บทว่า มาตุ ได้แก่ มารดา. ท่านอธิบายว่า บิดาหรือมารดา

ของภิกษุใดยังมีอยู่ มารดาบิดาเกิดความเอ็นดูภิกษุนั้นว่า เป็นบุตรของเรา

แล้วให้ของเคี้ยวของฉันอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้นอนในที่แห่งหนึ่ง ภิกษุนั้นจะไม่

เที่ยวบิณฑบาตในกลางคืนอย่างนี้เลย. แต่มารดาบิดาของท่านคงจะตายเสียแล้ว

ท่านจึงเที่ยวไปอย่างนี้.

บทว่า เอเมว ปน ก็อย่างนั้นแล คือ โมฆบุรุษทั้งหลายไม่เห็น

อานิสงส์ไร ๆ อย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงติเตียนจึงตรัสว่า เอว-

มาหสุ เขากลับมากล่าวโดยไม่มีเหตุอย่างนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า อาหสุ

คือ ย่อมกล่าว. บทว่า กึ ปนิมสฺส คือ ทำไมจึงต้องว่ากล่าวเพราะเหตุแห่งโทษ

เพียงเล็กน้อยนี้เล่า. ควรทำเป็นดุจไม่เห็นไม่ได้ยินมิใช่หรือ. บทว่า โอรมตฺ-

ตกสฺส คือ พอประมาณ. บทว่า อธิสลฺเลขเตวาย พระสมณะนี้ช่างขัดเกลา

หนักไป คือ พระสมณะนี้ย่อมขัดเกลาเกินไป คือ ทำความพยายามหนักไป ดุจ

ดื่มเนยข้น ดุจตัดสายก้านบัวด้วยเลื่อย. บทว่า สิกฺขากามา ผู้ใคร่ในการศึกษา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

คือ ผู้ใคร่การศึกษา ดุจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้นฉะนั้น. ไม่เข้า

ไปตั้งความยำเกรงในท่านเหล่านั้น. โมฆบุรุษเหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่าหาก

ภิกษุเหล่านี้พึงกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงนำโทษเพียง

เล็กน้อยออกไป. ทำไมพระศาสดาไม่ทรงนำออกไป. อนึ่ง ครั้นภิกษุทั้งหลาย

ไม่กล่าวอย่างนี้นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมได้ความอุตสาหะอย่างยิ่งว่า

เอว ภควา สาธุ ภควา สาธุ ภควา ปญฺเปถ ภควา ความว่าข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นความดี ข้าแต่พระผู้-

มีพระภาคเจ้า เป็นความดี ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงบัญญัติ

เถิด. เพราะฉะนั้น โมฆบุรุษทั้งหลายชื่อว่า ไม่เข้าไปตั้งความยำเกรงในภิกษุ

เหล่านั้น.

บทว่า เตส คือ แห่งโมฆบุรุษบางพวกเหล่านั้น. บทว่า ต คือ

ควรละโทษเพียงเล็กน้อยนั้น. บทว่า. ถูโล กฬิงฺคโร เหมือนท่อนไม้ใหญ่

คือ เหมือนไม้ใหญ่ผูกไว้ที่คอ. บทว่า ลฏุกิกา สกุณิกา คือ นางนกมูลไถ.

นัยว่านางนกมูลไถ่นั้นร้อง ๑๐๐ ครั้ง ฟ้อน ๑๐๐ ครั้ง หาอาหารคราวเดียว. คน

เลี้ยงโคเป็นต้นเห็นนางนกมูลไถนั้นบินจากอากาศยืนอยู่บนพื้นดินจึงเอาเถาวัลย์

หัวด้วนผูกไว้เพื่อจะเล่นอย่างเลี้ยงลูกสัตว์. ท่านกล่าวอุปมานี้หมายถึงการผูกนั้น.

บทว่า อาคเมติ ย่อมรอคือย่อมถึง. บทว่า ตญฺหิ ตสิสา คือ การผูกด้วย

เถาวัลย์หัวด้วนนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องผูกมัดมีกำลัง เพราะนางนกมูลไถมีร่างกาย

เล็กและมีกำลังน้อย เชือกใยกาบมะพร้าวก็ยังใหญ่ขาดได้ยาก.

บทว่า เตส ชื่อว่าเครื่องผูกมัดมีกำลังเพราะโมฆบุรุษมีศรัทธาอ่อน

และเพราะมีปัญญาอ่อน แม้โทษเพียงวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ ก็เป็นของใหญ่

ละได้ยาก ดุจวัตถุแห่งปาราชิกฉะนั้น.

๑. บาลีเป็น ลฑุกิกา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

พึงทราบความในธรรมฝ่ายขาวดังต่อไปนี้. บทว่า ปหาตพฺพสฺส

พึงละ ความว่า มีข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ควรตรัสเพราะเหตุแห่งโทษเพียง

เล็กน้อยที่ควรละนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้เราละ. อธิบายว่า แม้ทราบ

พระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว ก็ควรละมิใช่หรือ. บทว่า

อปฺโปสฺสุกฺกา มีความขวนขวายน้อย คือไม่มีความขวนขวายเลย. บทว่า

ปนฺนโลมา มีขนตก คือ ไม่มีขนชัน เพราะกลัวจะพึงละโทษเพียงเล็กน้อย

นั้น. บทว่า ปรทวุตฺตา คือ มีความเป็นอยู่ด้วยของผู้อื่นให้ อธิบายว่า

เลี้ยงชีวิตด้วยของที่ได้จากผู้อื่น. บทว่า มิคภูเตน เจตสา วิหรนฺติ มีใจ

เป็นดุจมฤคอยู่ คือ เป็นผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งความไม่หวังอยู่. จริงอยู่มฤคได้รับ

การประหารแล้วไม่คิดว่า เราจักไปยังที่อยู่ของมนุษย์แล้วจักได้ยาหรือน้ำมันใส่

แผล ครั้นได้รับการประหารแล้วจึงเข้าไปยังป่าที่มิใช่บ้าน ทำที่ถูกประหารไว้

เบื้องหลังแล้วนอน ครั้นสบายดีก็ลุกไป. มฤคทั้งหลายตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งความไม่

หวังอย่างนี้. ท่านกล่าวว่า มิคภูเตน เจตสา วิหนฺติ มีใจเป็นดุจมฤคอยู่หมาย

ถึงข้อนี้. บทว่า ตญฺหิ ตสฺส คือการผูกด้วยเชือกนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องผูก

บอบบาง เพราะพญาช้างนั้นมีกายใหญ่มีกำลังมาก จึงเป็นเครื่องผูกที่ขาดได้ง่าย

ดุจเถาวัลย์หัวด้วนฉะนั้น. บทว่า เตส ต คือ โทษเพียงเล็กน้อยของภิกษุ

เหล่านั้นเป็นโทษที่ละได้ง่าย เพราะกุลบุตรทั้งหลายมีศรัทธามากมีปัญญามาก

แม้วัตถุแห่งปาราชิกอันเป็นของใหญ่ก็ละได้ง่าย ดุจเพียงวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ

ฉะนั้น.

บทว่า ทลิทฺโท คนจน คือ เป็นผู้ประกอบด้วยความขัดสน บทว่า

อสฺสโก คือ ไม่มีอะไรเป็นของตน. บทว่า อนาฬฺหิโย คือไม่ใช่คนมั่งคั่ง.

บทว่า อคาริก มีเรือนหลังเล็ก. บทว่า โอลุคฺควิลคฺค มีเครื่องมุง

และเครื่องผูกหลุดลุ่ย คือ มีเครื่องมุงบังหลุดจากหลังคาลงมาเกี่ยวอยู่ที่ฝา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

หลุดจากฝาลงมากองที่พื้น. บทว่า กากาติปายึ ต้องคอยไล่กา คือ ในเวลา

นั่งข้างในด้วยคิดว่าจักบริโภคอะไร ๆ ชื่อว่ากิจด้วยประตูไม่มีต่างหาก. แต่นั้น

ฝูงกาก็จะเข้าไปรุมล้อม แต่กากล้า ในเวลาหนีก็จะหนีออกไปซึ่งๆ หน้า. บทว่า

น ปรมรูป มีทรงไม่งาม คือ มีทรงไม่งามเหมือนเรือนของผู้มีบุญ. บทว่า

กโฬปิกา มีแคร่อันหนึ่ง. บทว่า โอลุคฺควิลุคฺคา หลุดลุ่ย คือ จะพังมิพังแหล่.

บทว่า ธญฺสมวาปก คือ ข้าวเปลือกและพืชสำหรับหว่าน. ในบทนั้น ข้าว

ชื่อว่า ธญฺ พืชมีพืชน้ำเต้า พืชฟักเป็นต้นชื่อว่า สมวาปก. บทว่า

ปรมรูป ไม่ใช่เป็นพันธุ์อย่างดี คือพืชบริสุทธิ์มีพืชข้าวสาลีมีกลิ่นหอมเป็นต้น

ไม่ใช่พันธุ์อย่างดีเหมือนของคนมีบุญทั้งหลาย. บทว่า ชายิกา ภรรยา คือ

ภรรยาขัดสน. บทว่า น ปรมรูปา มีรูปไม่งาม คือน่าเกลียดมีก้นห้อยเหมือน

กระเช้า ดุจปีศาจท้องพลุ้ย. บทว่า สามญฺ คือ ความเป็นสมณะ. บทว่า

โส วตสฺส โยห คือเราควรจะปลงผมและหนวดออกบวช. บทว่า โส น

สกฺกุเณยฺย เขาไม่อาจ คือ แม้เขาคิดแล้วอย่างนี้ก็กลับไปเรือนไตร่ตรองว่า

ชื่อว่า บรรพชา หนัก ยากที่จะทำได้ ยากที่จะเข้าถึงได้ แม้เที่ยวไปบิณฑบาต

ใน ๗ บ้านบ้าง ๘ บ้านบ้างก็ต้องกลับมาล้างบาตร เราไม่อาจเป็นอยู่อย่างนี้ได้

จึงกลับมาอีก อยู่บ้านเราดีกว่า ทัพสัมภาระของหญ้าและเถาวัลย์ก็เก็บรวมทำ

ผ้าไว้ได้. บรรพชาจะทำอะไรได้. ทีนั้นเรือนหลังเล็กของเขานั้นก็ปรากฏดุจเวช-

ยันตปราสาท. ต่อแต่นั้นเขาแลดูแคร่ของเขาแล้วคิดว่า เมื่อเราไปแล้วชนทั้งหลาย

จะไม่ซ่อมแคร่นี้จักทำเป็นเตาไฟ เราควรจะได้ไม้ไผ่ทำแคร่อีก. เราจักทำอะไร

กับการบวช. ทีนั้นแคร่ของเขานั้นปรากฏดุจเป็นที่นอนอันมีสิริ. จากนั้นเขาแล

ดูหม้อใส่ข้าวเปลือกแล้วคิดว่า เมื่อเราไปแล้ว หญิงแม่เรือนนี้จักบริโภคข้าว-

เปลือกนี้กับชายนั้น. เราควรกลับมาให้ความเป็นไปของชีวิตใหม่. เราจักทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

อะไรกับการบวช. ทีนั้น หม้อข้าวเปลือกของเขานั้นปรากฏดุจยุ้ง ๑,๒๕๐ หลัง

จากนั้นเขาแลดูภรรยาแล้วคิดว่า เมื่อเราไปแล้ว คนเลี้ยงช้างก็ดี คนเลี้ยงม้า

ก็ดีคนใดคนหนึ่งจักเกี้ยวภรรยานี้. เราควรจะกลับมาได้หญิงหุงอาหารอีก. เรา

จักทำอะไรกับการบวช. ทีนั้นภรรยาของเขานั้นปรากฏดุจเทวีรูปงาม. ท่านหมาย

ถึงข้อนี้จึงกล่าวบทมีอาทิว่า โส น สกฺกุเณยฺย เขาไม่สามารถดังนี้.

บทว่า นิกฺขคณาน คือ ทองร้อยแท่ง. บทว่า จโย สะสม คือ

ทำการสะสมสืบต่อกันมา. บทว่า ธญฺคณาน คือ ข้าวเปลือกร้อยเกวียน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงอะไรในบทนี้ว่า จตฺตาโร เม อุทายิ

ปุคฺคลา ดูก่อนอุทายีบุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้. บุคคลเหล่านั้นละอุปธินั้นใน

ภายหลัง. และบุคคลเหล่านั้นไม่ละอุปธินั้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงทั้งผู้ละและผู้ไม่ละด้วยสามารถเป็นหมวดหมู่. มิได้ทรงจำแนกเฉพาะ

ตัว.

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงว่า บุคคลผู้ทิ้งอุปธิที่ยังละไม่

ได้แล้ว กระทำให้เป็นอัพโพหาริก มีอยู่ ๔ จำพวกเหมือนบุคคลไปเพื่อต้องการ

ทัพสัมภาระ (อุปกรณ์การสร้าง) จึงตัดต้นไม้ตามลำดับ แล้วกลับมาอีก

ตัดต้นที่คดทิ้ง ถือเอาแต่ไม้ที่สมควรจะพึงนำไปประกอบการงานได้เท่านั้น

ฉะนั้น จึงทรงปรารภเทศนานี้. บทว่า อุปธิปฺปหานาย เพื่อละอุปธิ

ได้แก่เพื่อละอุปธิเหล่านี้คือ ขันธูปธิ กิเลสูปธิ อภิสังขารรูปธิ กามคุณูปธิ. บทว่า

อุปฺธิปฏิสยุตฺตา อันประกอบด้วยอุปธิ คือแล่นไปในอุปธิ.

ในบทว่า สรสงฺกปฺปา นี้มีความดังต่อไปนี้ . ชื่อว่า สรา เพราะ

อรรถว่า แล่นไป วิ่งไป. ชื่อว่า สงฺกปฺปา เพราะอรรถว่าดำริ. เอาความว่า

ความดำริที่แล่นไป. แม้ด้วยบททั้งสองนี้ ท่านกล่าวถึงวิตกนั่นเอง. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

สมุทาจรนฺติ คือ ครอบงำ ประพฤติท่วมทับ. บทว่า สยุตฺโต คือประกอบ

ด้วยกิเลสทั้งหลาย. บทว่า อินฺทฺริยเวมตฺตตา คือความต่างแห่งอินทรีย์. บทว่า

กทาจิ กรหจิ บางครั้งบางคราว คือ ล่วงไป ๆ ในเวลานานมาก. บทว่า

สติสมฺโมสา คือเพราะความหลงลืมแห่งสติ. บทว่า นิปาโต คือตกลงไปใน

กระทะเหล็ก. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ท่านแสดง ๓ หมวด คือ ยังละไม่ได้ ๑ ละ ๑

ละได้เร็ว ๑.

ใน ๓ หมวดนั้น ชน ๔ จำพวก ชื่อว่าละไม่ได้. ๔ จำพวก ชื่อว่าละ.

๔ จำพวก ชื่อว่าละได้เร็ว. ในบุคคลเหล่านั้น ชน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ

ปุถุชน ๑ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑ ชื่อว่ายังละไม่ได้.

ปุถุชนเป็นต้นยังละไม่ได้ จงยกไว้. พระอนาคามียังละไม่ได้เป็นอย่างไร. เพราะ

พระอนาคามีแม้นั้นก็ยังยินดีว่า โอ สุข โอ สุข ตราบเท่าที่ยังมีความอยากได้

ในภพของเทวดาอยู่. ฉะนั้นจึงชื่อว่ายังละไม่ได้. ส่วนชน ๔ จำพวกเหล่านี้

ชื่อว่าละได้. พระโสดาบันเป็นต้น ละได้ จงยกไว้ก่อน. ปุถุชนละได้อย่างไร.

เพราะปุถุชนผู้เจริญวิปัสสนาทำความสังเวชว่า เมื่อกิเลสเกิดขึ้นทันทีทันใด

เพราะความหลงลืมแห่งสติ กิเลสเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุเช่นเรา ดังนี้จึงประคอง

ความเพียรเจริญวิปัสสนา ถอนกิเลสด้วยมรรค. ปุถุชนนั้นชื่อว่าละได้ด้วย

ประการฉะนี้. ชน ๔ จำพวกเหล่านั้น ชื่อว่าละได้โดยเร็ว. ท่านถือเอาตติย-

วาระในสูตรเหล่านี้ คือ ในสูตรนี้ ในมหาหัตถิปโทปมสูตร ในอินทริยภาวนา-

สูตรโดยแท้. แม้ปัญหาก็พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้แล้วในทุติยวารนั่นแหละ.

เบญจขันธ์ ชื่อว่า อุปธิ ในบทนี้ว่า อุปธิ ทุกฺขสฺส มูล เบญจขันธ์อันชื่อว่า

อุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์. ครั้นรู้ว่าอุปธินั้นเป็นมูลแห่งทุกข์ดังนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

อุปธิด้วยกิเลสูปธิ. อธิบายว่าไม่มีรกชัฏ ไม่มีตัณหา. บทว่า อุปธิสงฺขเย

วิมุตฺโต น้อมจิตไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ คือน้อมจิตไปใน

นิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาจากอารมณ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นยังบุคคล ๔ ประเภทให้พิสดารอย่างนี้แล้ว บัด

นี้เพื่อทรงแสดงว่าบุคคลใดละได้ บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสประมาณเท่านี้ ได้.

บุคคลใดยังละไม่ได้ แม้บุคคลนั้นก็ชื่อว่ายังละกิเลสประมาณเท่านี้ไม่ได้ จึง

ตรัสบทมีอาทิว่า ปญฺจ โข อิเม อุทายิ กามคุณา ดูก่อนอุทายี กามคุณ ๕

เหล่านี้แล. ในบทเหล่านั้นบทว่า มิฬฺหสุข คือความสุขไม่สะอาด. บทว่า

อนริยสุข ไม่ใช่สุขของพระอริยะ คือสุขอันพระอริยะไม่เสพ. บทว่า ภายิตพฺพ

ควรกลัวแต่การได้รับความสุขนี้บ้าง แต่วิบากบ้าง. บทว่า เนกฺขมฺมสุข

คือความสุขอันเกิดแต่การออกจากกาม. บทว่า ปวิเวกสุข ความสุขเกิดแต่

ความสงัดจากหมู่บ้าง จากกิเลสบ้าง. บทว่า อุปสมสุข ความสุขเกิดแต่ความ

สงบ คือความสุขเพื่อประโยชน์แก่ความสงบจากราคะเป็นต้น . บทว่า

สมฺโพธิสุข คือความสุขเกิดแต่ความตรัสรู้พร้อม คือความสุขเพื่อประโยชน์แก่

ความเกิดแห่งความตรัสรู้พร้อมกล่าวคือมรรค. บทว่า น ภายิตพฺพ ไม่พึงกลัว

คือไม่พึงกลัวแต่การได้สุขนี้บ้าง แต่วิบากบ้าง. ความสุขนี้ควรให้เกิดมี.

บทว่า อิญฺชิตสฺมึ วทามิ ปฐมฌานเรากล่าวว่ายังหวั่นไหว คือเรา

กล่าวว่า หวั่นไหว ยุ่งยาก ดิ้นรน. บทว่า กิญฺจ ตตฺถ อิญฺชิตสฺมึ คือปฐม-

ฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว. บทว่า อิท ตตฺถ อิญฺชิตสฺมึ นี้เป็นความหวั่นไหว

ในปฐมฌานนั้น คือวิตกวิจารยังไม่ดับ นี้เป็นความหวั่นไหวในปฐมฌานนั้น.

แม้ในทุติยฌานและตติยฌานก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อเนญฺชิตสฺมึ วทามิ จตุตถฌานนี้เรากล่าวว่าไม่หวั่นไหว

คือ จตุตถฌานนี้เรากล่าวว่าไม่หวั่นไหว ไม่ยุ่งยาก ไม่ดิ้นรน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

บทว่า อนลนฺติ วทามิ คือเรากล่าวว่าไม่ควรทำความอาลัย. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ไม่ควรให้ความอาลัยในตัณหาเกิดขึ้นในฌานนี้.

อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวว่าไม่ควรทำความตกลงใจว่า ไม่พอ ไม่มีที่สิ้นสุด

เพียงเท่านี้จึงจะพอ. บทว่า เนวสญฺานาสญฺายตนสฺสปิ คือ เรากล่าว

การละสมาบัติอันสงบแล้วแม้เห็นปานนี้. บทว่า อณุ วา ถูล วา สังโยชน์

ละเอียดก็ดี หยาบก็ดี ได้แก่สังโยชน์เล็กก็ดี ใหญ่ก็ดี คือมีโทษน้อยก็ดี

มีโทษมากก็ดี. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

อนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนา ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระ-

อรหัต ด้วยสามารถบุคคลที่ควรแนะนำได้ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาลฏุกิโกปมสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

๗. จาตุมสูตร

เรื่องพระอาคันตุละพูดเสียงดัง

[๑๘๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อามลกีวัน ใกล้บ้าน

จาตุมา ก็สมัยนั้น ภิกษุประมาณห้าร้อยรูป มีพระสารีบุตรและพระโมค-

คัลลานะเป็นหัวหน้าไปถึงจาตุมคาม เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ภิกษุอาคัน-

ตุกะเหล่านั้น ปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวร เป็นผู้มี

เสียงสูง มีเสียงดัง. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระอานนท์

มาว่า ดูก่อนอานนท์ ผู้ที่เสียงสูงเสียงดังนั้น เป็นใคร ราวกะชาวประมงแย่ง

ปลากัน.

ท่านพระอานนท์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณ

ห้าร้อยนั้น มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า มาถึงจาตุมคาม

เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุผู้อาคันตุกะเหล่านั้น ปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น

จัดเสนาสนะเก็บบาตรและจีวรอยู่ เป็นผู้มีเสียงสูง มีเสียงดัง.

ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปเรียกพวกภิกษุมาตามคำของเรา

ว่าพระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่พัก ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า พระศาสดา

ตรัสเรียกท่านทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

ทั้งหลาย พวกเธอมีเสียงสูง มีเสียงดังราวกะชาวประมงแย่งปลากัน เพราะ

เหตุอะไรหนอ.

พวกภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณห้าร้อย

นั้น มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า มาถึงจาตุมคามเพื่อเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุผู้อาคันตุกะเหล่านี้นั้น ปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่นจัด

เสนาสนะเก็บบาตรและจีวรอยู่ จึงมีเสียงสูง เสียงดัง พระเจ้าข้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงพากันไป เราประณามพวกเธอ พวก

เธอไม่ควรอยู่ในสำนักเรา ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจาก

อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว เก็บอาสนะ

ถือบาตรและจีวรหลีกไปแล้ว.

[๑๘๗] ก็สมัยนั้น พวกเจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมาประชุมกันอยู่ที่เรือน

รับแขก ด้วยกรณียะบางอย่าง ได้เห็นภิกษุเหล่านั้นมาแต่ไกล ครั้นแล้ว จึง

เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นจนถึงที่ใกล้ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูเถิดท่าน

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะพากันไปไหนเล่า.

ภ. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ประณามแล้ว.

ส. ข้าแต่ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงนั่งอยู่

ครู่หนึ่ง แม้ไฉน ข้าพเจ้าทั้งหลายพึงอาจให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลื่อมใสได้

ภิกษุเหล่านั้นรับคำพวกเจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมาแล้ว ลำดับนั้น พวกศากยะ

ชาวเมืองจาตุมาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

จงรับสั่งกะภิกษุสงฆ์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ในกาล

ก่อนเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็น

ผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนเมื่อพืชที่ยังอ่อน ไม่ได้น้ำ จะพึงเป็นอย่างอื่น

จะพึงแปรไป ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลาย

ที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้น

ไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวน

ไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนเมื่อลูกโคอ่อนไม่เห็นแม่ จะพึงเป็น

อย่างอื่น จะพึงแปรไปฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุ

ทั้งหลายที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ ภิกษุ

เหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น จะพึงมีความน้อยใจ มีความ

แปรปรวนไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงชื่นชมกะ

ภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับสั่งกะภิกษุสงฆ์เถิด ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ในบัดนี้ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในกาลก่อนเถิด.

พรหมอาราธนาพระพุทธเจ้า

[๑๘๘] ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระพุทธดำริแห่งพระทัย

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจของตนแล้ว หายไปในพรหมโลก มาปรากฏ

ตรงพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ออก

หรือคู้แขนที่เหยียดเข้า ฉะนั้น ครั้นแล้ว ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

อัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้า จงรับสั่งกะภิกษุสงฆ์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ในกาลก่อนเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์

หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่

เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จะพึงมีความน้อยใจ มีความ

แปรปรวนไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนพืชที่ยังอ่อนไม่ได้น้ำ จะ

พึงเป็นอย่างอื่น จะพึงแปรไป ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์

หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่งมาสู่พระธรรมวินัยนี้

มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ฉันนั้น จะพึงมีความ

น้อยใจ มีความแปรปรวนไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเสมือนเมื่อลูกโค

อ่อนไม่เห็นแม่ จะพึงเป็นอย่างอื่น จะพึงแปรไป ฉันใด ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ยังเป็นผู้ใหม่ บวชไม่นาน เพิ่ง

มาสู่พระธรรมวินัยนี้ มีอยู่ เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก็

ฉันนั้น จะพึงมีความน้อยใจ มีความแปรปรวนไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงชื่นชมกะภิกษุสงฆ์เถิด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงรับสั่งกะภิกษุสงฆ์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงทรงอนุเคราะห์ภิกษุสงฆ์ เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์ภิกษุ

สงฆ์ในกาลก่อนเถิด. เจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมาและท้าวสหัมบดีพรหม ได้

สามารถทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเลื่อมใส ด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยข้าว

กล้าอ่อน และด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยลูกโคอ่อน ฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

พระอาคันตุกะเข้าเฝ้า

[๑๘๙] ครั้นนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงเรียกภิกษุ

ทั้งหลายมาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงถือ

เอาบาตรและจีวรเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเจ้าศากยะชาวเมืองจาตุมา และ

ท้าวสหัมบดีพรหมทรงให้เลื่อมใสแล้ว ด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยข้าวกล้าอ่อน

และด้วยคำวิงวอนเปรียบด้วยลูกโคอ่อน ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหา-

โมคคัลลานะแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถือบาตรและจีวร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้รับสั่งกับท่านพระสารีบุตรผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่งว่า ดูก่อนสารีบุตร เมื่อเราประฌามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของเธอได้มี

อย่างไร.

ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงประณามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของข้าพระองค์ได้มีอย่างนี้ว่า บัดนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรมเป็นเครื่อง

อยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ แม้เราทั้งหลายก็จักมีความขวนขวายน้อย ประกอบ

ตามธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ในบัดนี้.

ดูก่อนสารีบุตร เธอจงรอก่อน ดูก่อนสารีบุตร เธอจงรอก่อน ดูก่อน

สารีบุตร เธออย่าพึงให้จิตเห็นปานนี้เกิดขึ้นอีกเลย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระมหาโมคคัลลานะมา

ว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เมื่อเราประณามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของเธอได้มีอย่างไร.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประณามภิกษุสงฆ์แล้ว จิตของข้าพระองค์ได้มีอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงมีความขวนขวายน้อย ประกอบตามธรรม

เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่ เราและท่านพระสารีบุตร จักช่วยกัน

ปกครองภิกษุสงฆ์ในบัดนี้.

ดีละ โมคคัลลานะ ความจริงเราหรือสารีบุตรและโมคคัลลานะเท่านั้น

พึงปกครองภิกษุสงฆ์.

ภัย ๔ อย่าง

[๑๙๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้ เมื่อบุคคลกำลังลงน้ำ พึงหวังได้ ภัย ๔

อย่างเป็นไฉน คือ ภัยแต่คลื่น ๑ ภัยแต่จระเข้ ๑ ภัยแต่น้ำวน ๑

ภัยแต่ปลาร้าย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้แล เมื่อบุคคลกำลัง

ลงน้ำ พึงหวังได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้ก็ฉันนั้น เมื่อ

บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้พึงหวังได้ ภัย ๔

อย่างเป็นไฉน คือ ภัยแต่คลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่น้ำวน ภัยแต่ปลาร้าย.

[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่คลื่นเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วย

คิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาส ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับ

แล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ เพื่อน

พรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมตักเตือนสั่งสอนกุลบุตรนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนั้นว่า

ท่านพึงก้าวไปอย่างนี้ ท่านพึงถอยกลับอย่างนี้ ท่านพึงแลอย่างนี้ ท่านพึง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

เหลียวอย่างนี้ ท่านพึงคู้เข้าอย่างนี้ ท่านพึงเหยียดออกอย่างนี้ ท่านพึงทรง

สังฆาฏิ บาตรและจีวรอย่างนี้ กุลบุตรนั้นย่อมมีความดำริอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน

เราเป็นคฤหัสถ์ ย่อมตักเตือนบ้าง สั่งสอนบ้าง ซึ่งคนอื่น ก็ภิกษุเหล่านี้

เพียงคราวบุตรคราวหลานของเรา ยังมาสำคัญการที่จะพึงตักเตือนพร่ำสอนเรา

เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า กลัว

แต่ภัยแต่คลื่น แล้วบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัยแต่

คลื่นนี้ เป็นชื่อของความคับใจด้วยสามารถความโกรธ.

[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่จระเข้เป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วย

คิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาสครอบงำเเล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว

ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏได้ เพื่อนพรหมจรรย์

ทั้งหลาย ย่อมตักเตือนสั่งสอนกุลบุตร ผู้บวชแล้วอย่างนั้นว่า สิ่งนี้ท่านควร

เคี้ยวกิน สิ่งนี้ท่านไม่ควรเคี้ยวกิน สิ่งนี้ท่านควรฉัน สิ่งนี้ท่านไม่ควรฉัน

สิ่งนี้ท่านควรลิ้ม สิ่งนี้ท่านไม่ควรลิ้ม สิ่งนี้ท่านควรดื่ม สิ่งนี้ท่านไม่ควรดื่ม

สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรเคี้ยวกิน สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรเคี้ยวกิน สิ่งเป็น

กัปปิยะท่านควรฉัน สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรฉัน สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควร

ลิ้ม สิ่งเป็นอกัปปิยะท่านไม่ควรลิ้ม สิ่งเป็นกัปปิยะท่านควรดื่ม สิ่งเป็นอกัปปิยะ

ท่านไม่ควรดื่ม ท่านควรเคี้ยวกินในกาล ท่านไม่ควรเคี้ยวกินในวิกาล ท่าน

ควรฉันในกาล ท่านไม่ควรฉันในวิกาล ท่านควรลิ้มในกาล ท่านไม่ควรลิ้ม

ในวิกาล ท่านควรดื่มในกาล ท่านไม่ควรดื่มในวิกาล ดังนี้ กุลบุตรนั้น

ย่อมมีความดำริอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ ปรารถนาจะเคี้ยวกินสิ่งใด

ก็เคี้ยวกินสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะเคี้ยวกินสิ่งใด ก็ไม่เคี้ยวกินสิ่งนั้นได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

ปรารถนาจะบริโภคสิ่งใด ก็บริโภคสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะบริโภคสิ่งใด ก็

ไม่บริโภคสิ่งนั้นได้ ปรารถนาจะลิ้นสิ่งใด ก็ลิ้มสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนาจะลิ้ม

สิ่งใด ก็ไม่ลิ้มสิ่งนั้น ได้ ปรารถนาจะดื่มสิ่งใด ก็ดื่มสิ่งนั้นได้ ไม่ปรารถนา

จะดื่มสิ่งใด ก็ไม่ดื่มสิ่งนั้นได้ จะเคี้ยวกินสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะเคี้ยวกินสิ่ง

เป็นอกัปปิยะก็ได้ จะบริโภคสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะบริโภคสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้

จะลิ้มสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้ จะลิ้มสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้ จะดื่มสิ่งเป็นกัปปิยะก็ได้

จะดื่มสิ่งเป็นอกัปปิยะก็ได้ จะเคี้ยวกินในกาลก็ได้ จะเคี้ยวกินในวิกาลก็ได้

จะบริโภคในกาลก็ได้ จะบริโภคในวิกาลก็ได้ จะลิ้มในกาลก็ได้ จะลิ้มใน

วิกาลก็ได้ จะดื่มในกาลก็ได้ จะดื่มในวิกาลก็ได้ ก็คฤหบดีทั้งหลาย ผู้มีศรัทธา

ย่อมให้ของควรเคี้ยว ของควรบริโภคอันประณีตในวิกาลเวลากลางวัน อันใด

แก่เราทั้งหลาย ชะรอยภิกษุเหล่านั้น จะทำการห้ามปากในสิ่งนั้นเสีย ดังนี้

เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า กลัว

แต่ภัยแต่จระเข้ บอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัยแต่

จระเข้นี้ เป็นชื่อของความเป็นผู้เห็นแก่ท้อง.

[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่น้ำวนเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วย

คิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว ทำไฉน

การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ เขาบวชแล้วอย่างนี้ เวลา

เช้านุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษา

กาย ไม่รักษาวาจา ไม่ดำรงสติ ไม่สำรวมอินทรีย์เลย เขาเห็นคฤหบดีหรือ

บุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่มพร้อมพรั่งบำเรออยู่ด้วยการคุณห้า ในบ้านหรือนิคมนั้น

เขามีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้เอิบอิ่มพร้อมพรั่งบำเรอ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

อยู่ด้วยกามคุณห้า สมบัติก็อยู่ในสกุล เราสามารถจะบริโภคสมบัติและทำบุญ

ได้ ดังนี้ เขาจึงบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรา

กล่าวว่า ผู้กลัวแต่ภัยแต่น้ำวน บอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คำว่าภัยแต่น้ำวนนี้ เป็นชื่อแห่งกามคุณห้า.

[๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยแต่ปลาร้ายเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิต ด้วย

คิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

อุปายาสครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว

ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ เขาบวชแล้วอย่าง

นี้ เวลาเช้านุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม

ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่ดำรงสติ ไม่สำรวมอินทรีย์เลย เขาย่อมเห็น

มาฉุคามผู้นุ่งผ้าไม่ดี หรือห่มผ้าไม่ดี ในบ้านหรือนิคมนั้น เพราะเหตุมาตุคาม

ผู้นุ่งผ้าไม่ดี หรือห่มผ้าไม่ดี ความกำหนัด ย่อมตามกำจัดจิตของกุลบุตรนั้น

เขามีจิตอันความกำหนัดตามกำจัดแล้ว จึงบอกคืนสิกขาสึกไป ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย กุลบุตรผู้นี้เรากล่าวว่า กลัวแต่ภัยแต่ปลาร้าย บอกคืนสิกขาสึก

ไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าภัยแต่ปลาร้าย นี้เป็นชื่อแห่งมาตุคาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้แล เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้

ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้ พึงหวังได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบจาตุมสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

๗. อรรถกถาจาตุมสูตร

จาตุมสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จาตุมาย คือใกล้บ้านจาตุมา. บทว่า

ปญฺจมตฺตานิ ภิกฺขุสตานิ คือ ภิกษุบวชไม่นานประมาณ ๕๐๐ รูป. นัยว่า

พระเถระทั้งสองคิดว่า กุลบุตรเหล่านี้ บวชแล้ว ไม่เคยเห็นพระทศพลเลย เรา

จักให้ภิกษุเหล่านี้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ภิกษุเหล่านี้ฟังธรรมในสำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จักตั้งอยู่ตามอุปนิสัยของตน. เพราะฉะนั้น พระเถระ

ทั้งสองจึงพาภิกษุเหล่านั้นมา. บทว่า สมฺโมทมานา ปราศรัยกัน คือ ภิกษุ

ทั้งหลาย กล่าวคำต้อนรับเป็นต้นว่า อาวุโส สบายดีหรือ. บทว่า เสนาสนานิ

ปญฺาปยมานา จัดเสนาสนะ คือ กวาดถูที่อยู่ของอาจารย์และอุปัชฌาย์ของ

ตน ๆ แล้วเปิดประตูหน้าต่าง นำ เตียงตั่งและเสื่อลำแพนเป็นต้น ออกปัด

กวาดตั้งไว้ในที่ตามลำดับ. บทว่า ปตฺตจีวรานิ ปฏิสามยมานา เก็บบาตร

และจีวร คือ คอยบอกกล่าวถึงสมณบริขารอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ท่านจงวาง

บาตรนี้ จีวรนี้ ถาดนี้ คนโทน้ำนี้ ไม้ถือนี้. บทว่า อุจฺจาสทฺทา มหาสทฺทา

เสียงสูงเสียงดัง คือ ทำเสียงเอะอะเอ็ดตะโรเพราะขึ้นเสียงสูง เพราะแผดเสียง

ดัง. บทว่า เกวฏฺฏา มญฺเ มจฺฉ วิโลเปนฺติ ราวกะชาวประมงแย่ง

ปลากัน คือหมู่ชนประชุมกันในที่ที่ชาวประมงวางกระจาดใส่ปลาไว้กล่าวว่า

ท่านจงให้ปลาอื่นตัวหนึ่ง จงให้ปลาที่เชือดตัวหนึ่ง แล้วส่งเสียงเอ็ดทะโรลั่นว่า

คนนั้นท่านให้ตัวใหญ่ ทีฉันให้ตัวเล็ก ดังนี้. ท่านกล่าวดังนี้หมายถึงการที่ภิกษุ

เถียงกันนั้น. เมื่อวางตาข่ายเพื่อจะจับปลา ชาวประมงและคนอื่น ๆ ในที่นั้นส่ง

เสียงดังว่า ปลาเข้าไปแล้ว โดยปลายังไม่เข้าไป จับได้ปลาแล้ว โดยยังจับปลา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

ไม่ได้. ท่านกล่าวดังนี้หมายถึงการที่ชาวประมงส่งเสียงดังนั้น. บทว่า ปณาเมมิ

เราประณาม คือ ขับไล่ออกไป. บทว่า น โว มม สนฺติเก วตฺถพฺพ

พวกเธอไม่ควรอยู่ในสำนักเรา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า พวกเธอมา

ถึงที่อยู่ของพระพุทธเจ้าเช่นเราแล้วยังทำเสียงดังถึงอย่างนี้ เมื่อพวกเธออยู่

ตามลำพังของตน ๆ จักทำความสมควรได้อย่างไร. พวกเช่นท่านไม่มีกิจที่จะ

อยู่ในสำนักของเรา. บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุแม้รูปหนึ่งก็ไม่อาจทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์อย่าทรงประณามพวกข้าพระพุทธเจ้า

ด้วยเหตุเพียงเสียงดังเลยพระเจ้าข้า หรือคำไร ๆ อื่น.

ภิกษุทั้งหมดรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า

อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า แล้วก็พากันออกไป. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นได้มีความหวัง

ว่า เราจักเฝ้าพระศาสดา จักฟังพระธรรมกถา จักอยู่ในสำนักของพระศาสดา

ดังนี้ จึงได้มา. แต่ครั้นมาเฝ้าพระศาสดาผู้เป็นพระบรมครูเห็นปานนี้แล้ว ยัง

ทำเสียงดัง เป็นความผิดของพวกเรา จึงถูกประณาม. เราไม่ได้เพื่อจะอยู่ใน

สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ไม่ได้เพื่อจะเห็นพระสรีระสีดังทอง. ไม่ได้เพื่อ

จะฟังธรรมด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดังนี้. ภิกษุเหล่านั้นมีความโทมนัสอย่าง

แรง จึงพากันหลีกไป.

บทว่า เตนูปปสงฺกมึสุ เสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น คือ นัยว่า

เจ้าศากยะเหล่านั้น แม้ในเวลาที่ภิกษุมาก็ประทับนั่งอยู่ ณ ที่นั้น ทรงเห็นภิกษุ

ทั้งหลาย. เจ้าศากยะทั้งหลายได้มีพระวิตก จึงทรงดำริว่า เพราะอะไรหนอ ภิกษุ

เหล่านี้เข้าไปแล้วจึงพากันกลับ เราจักรู้เหตุนั้น จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุเหล่า

นั้น. บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งคำพูด. บทว่า กห ปน ตุมฺเห

พระคุณเจ้าทั้งหลายจะไปไหนกัน คือ พระคุณเจ้าทั้งหลายมาประเดี๋ยวเดียวจะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

พากันไปไหนอีก อันตรายไรๆ เกิดแก่พระคุณเจ้าหรือ หรือว่าเกิดแก่พระทศพล

ก็ภิกษุเหล่านั้นแม้จะไม่ปกปิดด้วยคำอย่างนี้ว่า ถวายพระพร อาตมาทั้งหลาย

มาเพื่อเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้พวกอาตมาได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

จะกลับไปที่อยู่ของตนๆ ก็จริง แต่ไม่ได้ทำเลศนัยเห็นปานนี้ได้ ทูลตามความ

เป็นจริงแล้วกล่าวว่า ถวายพระพร ภิกษุสงฆ์ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประณาม

ดังนี้. อนึ่ง พระราชาเหล่านั้นทรงขวนขวายในพระศาสนา. เพราะฉะนั้นจึงทรง

ดำริว่า เมื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป กับพระอัครสาวกทั้งสองไปกันหมด บาทมูลของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทำลาย. เราจักทำให้ภิกษุเหล่านี้กลับให้จงได้ ครั้นทรง

ดำริอย่างนี้แล้วจึงตรัสคำมีอาทิว่า เตนหายสฺมนฺโต ถ้าเช่นนั้นขอพระคุณเจ้า

ทั้งหลายอยู่ครู่หนึ่ง. บรรดาภิกษุแม้เหล่านั้นไม่มีภิกษุแม้แต่รูปเดียวที่จะเดือด

ร้อนใจว่าเราถูกประณามด้วยเหตุเพียงทำเสียงดัง. เราบวชแล้วไม่สามารถจะดำ-

รงชีวิตอยู่ได้. แต่ภิกษุทั้งหมดรับพระดำรัสพร้อมกัน. บทว่า อภินนฺทตุ คือ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาการมาของภิกษุสงฆ์ ขอจงชื่นชมเถิด. บทว่า

อภิวทตุ คือ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยพระกรุณารับสั่งว่า ขอภิกษุสงฆ์

จงมาเถิด. บทว่า อนุคฺคหิโต ขอทรงอนุเคราะห์ คือ ทรงอนุเคราะห์ด้วย

อามิสและธรรม. บทว่า อญฺถตฺต คือ พึงถึงความน้อยใจว่าเราไม่ได้เห็น

พระทศพล. บทว่า วิปริณาโม มีความแปรปรวน คือ เมื่อภิกษุสึกด้วยความ

น้อยใจพึงถึงความแปรปรวน. บทว่า วีชาน ตรุณาน เหมือนพืชที่ยังอ่อน

คือ ข้าวกล้าอ่อน. บทว่า สิยา อญฺถตฺต พึงเป็นอย่างอื่น คือ พืชที่

ยังอ่อนเมื่อไม่ได้น้ำในเวลาที่ถึงคราวให้น้ำ พึงถึงความเป็นอย่างอื่นเพราะความ

เหี่ยว. พึงแปรปรวนเพราะถึงความแห้งเหี่ยว. ลูกวัวซูบผอมเพราะหิวนมชื่อว่า

ถึงความเป็นอย่างอื่น. ลูกวัวซูบผอมตาย ชื่อว่า ความแปรปรวน. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

ปสาทิโต ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเจ้าศากยะและท้าวสหัมบดีพรหมทรง

ให้เลื่อมใสแล้ว . นัยว่าพระเถระนั่งอยู่ ณ ที่นั้น ได้เห็นพรหมมาด้วยทิพยจักษุ

ได้ยินเสียงทูลวิงวอนด้วยทิพโสต. ได้ทราบความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เลื่อมใสแล้วด้วยเจโตปริยญาณ. เพราะฉะนั้นการส่งภิกษุไร ๆ ไปจะไม่เป็นที่

สบายแก่ภิกษุผู้ถูกเรียกจึงตั้งใจว่า เราจักไปจนกว่าพระศาสดาจะไม่ทรงส่งไป

จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า อปฺโปสฺสุกฺโก เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย คือ

เป็นผู้ไม่ขวนขวายในกิจอย่างอื่น. บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาร ธรรมเป็น

เครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าคงจะทรงขวนขวายธรรม

เป็นเครื่องอยู่คือผลสมาบัติ มีพระประสงค์จะประทับอยู่. บัดนี้พระองค์จักประ

ทับอยู่ตามชอบใจ พระมหาโมคคัคลานเถระจึงกล่าวว่า จิตของข้าพระองค์ได้

เป็นอย่างนี้. บทว่า มยมฺปิทานิ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราสั่งสอนผู้อื่น

ไล่ออกจากวิหาร. ประโยชน์อะไรด้วยโอวาทของผู้อื่นแก่เรา. บัดนี้แม้เราก็จัก

อยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม. พระเถระผิดในฐานะนี้มิได้รู้ว่า

เป็นภาระของตน. เพราะภิกษุสงฆ์นี้เป็นภาระของพระมหาเถระแม้ทั้งสอง. ด้วย

เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงห้ามพระสารีบุตรนั้น จึงตรัสบทมีอาทิว่า

อาคเมหิ เธอจงรอก่อน. ส่วนพระมหาโมคคัลลานเถระได้ทราบว่าเป็นภาระ

ของตน. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงประทานสาธุการแก่พระ-

มหาโมคคัลลานเถระนั้น.

บทว่า จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ อย่างนี้

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภขึ้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ปรารภเทศนานี้ขึ้น เพื่อทรงแสดงว่าในศาสนานี้มีภัยอยู่ ๔ อย่าง. ผู้ใดไม่กลัวภัย

เหล่านั้น ผู้นั้นสามารถดำรงอยู่ในศาสนานี้ได้ ส่วนพวกอื่นนอกนี้ไม่สามารถ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

ในบทเหล่านั้นบทว่า อุทโกโรหนฺเต คือ เมื่อบุคคลกำลังลงน้ำ.

บทว่า กุมฺภีลภย ได้แก่ ภัยแต่จระเข้. บทว่า สุสุกภย ได้แก่ ภัยแต่ปลา

ร้าย. บทว่า อุมฺมิภย ภัยแต่คลื่นนี้ เป็นชื่อของความโกรธและความแค้น.

เหมือนอย่างว่าบุคคลหยั่งลงสู่น้ำในภายนอก จมน้ำในคลื่นแล้วตายฉันใด ภิกษุ

ในศาสนานี้ จมลงในความโกรธและความแค้น แล้วสึกก็ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น

ความโกรธและความแค้นท่านกล่าวว่า ภัยแต่คลื่น. บทว่า กุมฺภีลภย ภัยแต่

จระเข้นี้เป็นชื่อของความเห็นแก่ท้อง. เหมือนอย่างว่าบุคคลหยั่งลงสู่น้ำภายนอก

ถูกจระเข้กัดตายฉันใด ภิกษุในศาสนานี้ก็ฉันนั้น กินเพราะเห็นแก่ท้องย่อมสึก.

เพราะฉะนั้นความเห็นแก่ท้องท่านกล่าวว่า ภัยแต่จรเข้. บทว่า อรกฺขิเตน

กาเยน ไม่รักษากาย คือ ไม่รักษากายด้วยการสั่นศีรษะเป็นต้น. บทว่า อรกุ-

ขิตาย วาจาย ไม่รักษาวาจา คือ ไม่รักษา ด้วยพูดคำหยาบเป็นต้น . บทว่า

อนุปติฏฺิตาย สติยา ไม่ตั้งสติมั่น คือ ไม่ตั้งสติเป็นไปในกาย. บทว่า อลวุ-

เตหิ ไม่สำรวม คือไม่ปกปิด. คำว่า ปญฺจนฺเนต กามคุณาน อธิวจน ความ

ว่า บรรพชิตในศาสนานี้ จมลงในกระแสน้ำวนของกามคุณ ๕ แล้ว สึกออกไป

ก็เหมือนกับบุคคลข้ามน้ำเพื่อไปฝั่งโน้น ครั้นดำลงในกระแสน้ำวนแล้ว ก็จม

ตายฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ภัยแต่น้ำวนคือกามคุณ ๕. บทว่า

อนุทฺธเสติ ย่อมตามกำจัด คือ ทำให้ลำบาก ทำให้หดหู่. บทว่า ราคานุทฺ

ธเสน คือ มีจิตอันความกำหนัดกำจัดแล้ว. คำว่า มาตุคามสฺเสต อธฺวจน

ความว่า ภัยเพราะปลาร้าย นี้เป็นชื่อของมาตุคาม. เหมือนอย่างว่าบุคคลหยั่งลง

สู่น้ำภายนอก ได้รับการประหารตายเพราะอาศัยปลาร้ายฉันใด ภิกษุในศาสนานี้

ก็ฉันนั้น เกิดกามราคะอาศัยมาตุคามสึก. เพราะฉะนั้นมาฉุคามท่านจึงกล่าวว่า

ภัยแต่ปลาร้าย. เมื่อบุคคลกลัวภัย ๔ อย่างนี้แล้วไม่หยั่งลงสู่น้ำ ก็จะไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

รับผลร้ายเพราะอาศัยน้ำ เป็นผู้กระหายเพราะอยากน้ำ และเป็นผู้มีร่างกาย

เศร้าหมอง เพราะฝุ่นละอองฉันใด. เมื่อภิกษุกลัวภัย ๔ อย่างเหล่านี้แล้ว

แม้ไม่บวชในศาสนา ก็ไม่ได้รับผลดีเพราะอาศัยศาสนา เป็นผู้กระหาย เพราะ

ความอยาก คือตัณหา และเป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง ด้วยธุลี คือ กิเลสฉันนั้น.

หรือว่าเมื่อบุคคลไม่กลัวภัย ๔ อย่างเหล่านี้ แล้วหยั่งลงสู่น้ำย่อมมีผลดังกล่าว

แล้วฉันใด. เมื่อภิกษุไม่กลัวภัย ๔ อย่างนี้แล้ว แม้บวชในศาสนา ก็ย่อมมี

อานิสงส์ดังกล่าวแล้ว.

อนึ่ง พระเถระกล่าวว่า บุคคลกลัวภัย ๔ อย่างแล้วไม่หยั่งลงสู่น้ำก็

ไม่สามารถจะตัดกระแสข้ามฝั่งโน้นได้. ครั้นไม่กลัว หยั่งลง ก็สามารถข้าม

ไปได้ฉันใด. ครั้นเขากลัวแล้ว แม้บวชในศาสนา ก็ไม่สามารถตัดกระเเสตัณหา

แล้วเห็นฝั่ง คือ นิพพานได้. ครั้นไม่กลัว ออกบวชจึงสามารถดังนี้. บทที่

เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

อนึ่ง เทศนานี้จบลงด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้ควรแนะนำได้ ด้วย

ประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจาตุมสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

๘. นฬกปานสูตร

กุลบุตรผู้มีชื่อเสียงบวช

[๑๙๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในป่าไม้ทองกวาว เขตบ้าน

นฬกปานะ ในโกศลชนบท ก็สมัยนั้น กุลบุตรมีชื่อเสียงมากด้วยกัน คือ

ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระภัททิยะ ท่านพระกิมพิละ ท่านพระภัคคุ

ท่านพระโกณฑัญญะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และกุลบุตร

ที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตอุทิศเฉพาะพระผู้มี

พระภาคเจ้า ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีหมู่ภิกษุแวดล้อมประทับนั่งอยู่ใน

ที่แจ้ง. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภกุลบุตรทั้งหลาย ตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวช

เป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะเราเหล่านั้น ยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ ภิกษุ

เหล่านั้นได้พากันนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่สอง . . .แม้ครั้งที่สาม. . . พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ทรงปรารภกุลบุตรทั้งหลาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กุลบุตรผู้มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะเราเหล่านั้น ยัง

ยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ แม้ครั้งที่สาม ภิกษุเหล่านั้นก็ได้พากันนิ่งอยู่.

[๑๙๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดำริอย่างนี้ว่า

อย่ากระนั้นเลย เราพึงถามกุลบุตรเหล่านั้นเองเถิด ครั้นแล้วได้ตรัสเรียกท่าน

พระอนุรุทธะมาว่า ดูก่อนอนุรุทธะ ภัททิยะ กิมพิละ ภัคคุ โกณฑัญญะ

เรวตะ และอานนท์ เธอทั้งหลายยังยินดีในพรหมจรรย์อยู่หรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

ท่านพระอนุรุทธะเป็นต้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ-

องค์ทั้งหลายยังยินดีในการพระพฤติพรหมจรรย์.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ดีละ ๆ ข้อที่เธอทั้งหลายยินดีในการประพฤติ

พรหมจรรย์นี้แล เป็นการสมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกจากเรือน

บวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา เธอทั้งหลายประกอบด้วยปฐมวัย กำลังเจริญ

เป็นหนุ่มแน่น ผมดำสนิท ควรบริโภคกาม ยังออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ได้ ก็เธอทั้งหลายนั้น มิใช่ผู้ทำความผิดต่อพระราชา มิใช่ผู้ถูกโจรคอยตาม

จับ มิใช่ผู้อันหนี้บีบคั้น มิใช่ผู้เดือดร้อนเพราะภัย และมิใช่ผู้ถูกอาชีพบีบคั้น

แล้ว จึงออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เธอทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็น

บรรพชิตเพราะศรัทธา ด้วยความคิดอย่างนี้ว่า เออ ก็เราเป็นผู้อันชาติ ชรา

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครองงำแล้ว เป็นผู้อัน

ทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกอง

ทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏได้ ดังนี้ มิใช่หรือ.

อย่างนี้ พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ก็กิจอะไรเล่า ที่กุลบุตรผู้บวชอย่างนี้แล้ว

พึ่งทำ ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย บุคคลยังไม่เป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-

ธรรม บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้น แม้อภิชฌา พยาบาท

ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา อุทธัจจกุกกุจจะ อรติ ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อม

ครอบงำจิตของบุคคลนั้นตั้งอยู่ได้ บุคคลนั้นก็หาสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล-

ธรรม บรรลุปีติและสุขหรือสุขอื่นที่สงบกว่านั้นไม่ ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย

บุคคลใดเป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือสุข

อื่นที่สงบกว่านั้นได้ แม้อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา อุทธัจจกุกกุจจะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

อรติ แม้ความเป็นผู้เกียจคร้าน ก็ไม่ครอบงำจิตของบุคคลนั้น ทั้งอยู่ได้ บุคคล

นั้นก็สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือสุขอื่นที่สงบ

กว่านั้นได้.

ว่าด้วยอาสวะ

[๑๙๗] ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะว่ากระไรในเราว่า

อาสวะเหล่าใด นำมาซึ่งความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วย

ความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งความเกิดความแก่และ

ความตายต่อไป อาสวะเหล่านั้น ตถาคตยังละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ตถาคต

พิจารณาแล้วจึงเสพของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงอดกลั้นของบางอย่าง

พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงบรรเทาของบางอย่าง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายมิได้ว่าอะไรในพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าอย่างนี้ว่า อาสวะเหล่าใด อันนำมาซึ่งความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพ

ใหม่ เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งความ

เกิด ความแก่ และความตายต่อไป อาสวะเหล่านั้น พระตถาคตยังละไม่ได้

เพราะเหตุนั้น พระตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึง

อดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงบรรเทา

ของบางอย่าง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายได้กล่าวในพระผู้มี-

พระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า อาสวะเหล่าใด นำมาซึ่งความเศร้าหมอง นำมาซึ่งภพ

ใหม่ เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่ง

ความเกิด ความแก่ และความตายต่อไป อาสวะเหล่านั้น พระตถาคตละได้

แล้ว เพราะเหตุนั้น พระตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของบางอย่าง พิจารณา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

แล้วจึงอดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง พิจารณาแล้ว

จึงบรรเทาของบางอย่าง ดังนี้.

ดีละ ๆ อนุรุทธะทั้งหลาย อาสวะเหล่าใด นำมาซึ่งความเศร้าหมอง

นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็น

ที่ตั้งแห่งความเกิด ความแก่ และความตายต่อไป อาสวะเหล่านั้น ตถาคต

ละได้แล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอัน

ไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นตาลยอด

ด้วน ไม่ควรจะงอกอีกได้ฉันใด อาสวะทั้งหลาย้อนนำมาซึ่งความเศร้าหมอง

นำมาซึ่งภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็น

ที่ตั้งแห่งความเกิด ความแก่ และความตายต่อไป ก็ฉันนั้น ตถาคตละได้แล้ว

มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดต่อไป

เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ตถาคตพิจารณาแล้วจึงเสพของบางอย่าง พิจารณา

แล้วจึงอดกลั้นของบางอย่าง พิจารณาแล้วจึงเว้นของบางอย่าง พิจารณาแล้ว

จึงบรรเทาของบางอย่าง.

[๑๙๘] ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ตถาคตเห็นอำนาจประโยชน์อะไรอยู่ จึงพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ทำกาละล่วงลับ

ไปแล้ว ในภพที่เกิดทั้งหลายว่า สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวกชื่อโน้น

เกิดในภพโน้น ดังนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้-

มีพระภาคเจ้าเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแบบแผน มีพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นที่พึ่งพาอาศัย ดีละ พระเจ้าข้า ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จัก

ทรงจำไว้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ตถาคตจะพยากรณ์สาวกทั้งหลายผู้ทำกาละ

ล่วงลับไปแล้ว ในภพที่เกิดทั้งหลายว่า สาวกชื่อโน้นเกิดในภพโน้น สาวก

ชื่อโน้นเกิดในภพโน้น ดังนี้ เพื่อให้คนพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อมคนก็

หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและความสรรเสริญก็หามิได้ ด้วยความ

ประสงค์ว่า คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้ก็หามิได้ ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย กุลบุตร

ผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก มีอยู่ กุลบุตรเหล่านั้น

ได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ข้อนั้น

จะมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่กุลบุตรเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.

ความอยู่ผาสุกของภิกษุ

[๑๙๙] ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุ

ชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดำรงอยู่ในอรหัตผล

ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่าง

นี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้

บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว

อย่างนี้บ้าง ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา

ของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะ

ทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่ภิกษุ แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุชื่อนี้ทำ

กาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น จักปรินิพพาน

ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า

สิ้นไป ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มี

ศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

อย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษ

แล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา

ของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สุขสำราญย่อมมีได้แก่ภิกษุ แม้ด้วย

ประการฉะนี้แล ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุ

ชื่อนี้ทำกาละแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามี

จักมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป

และเพราะราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้

เห็นเอง หรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มี

ธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหาร-

ธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุนั้นเมื่อระลึก

ถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อ

ความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่

ภิกษุ แม้ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ได้ฟังว่า ภิกษุชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็น

พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็น

เบื้องหน้า เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป ถ้าท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้นได้เห็นเอง

หรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่าง

นี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่าง

นี้บ้าง ภิกษุนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุนั้น

จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่

สำราญย่อมมีได้แก่ภิกษุ แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

ความอยู่ผาสุกของภิกษุณี

[๒๐๐] ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังว่า ภิกษุณี

ชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดำรงอยู่ในอรหัตผล

ก็น้องหญิงนั้นเป็นผู้อันภิกษุณีนั้นได้เห็นเอง หรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้น

เป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้น

เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้อง

หญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ

จาคะ และปัญญาของภิกษุณีนั้นจะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่ภิกษุณี แม้ด้วย

ประการฉะนี้แล ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า

ภิกษุณีชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น

จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัม-

ภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป ก็น้องหญิงนั้นเป็นผู้อันภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ยิน

มาว่า น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้

บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหาร-

ธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุณีนั้นเมื่อ

ระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุณีนั้น จะน้อมจิตเข้าไป

เพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้

แก่ภิกษุณี แม้ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ภิกษุณีในธรรม

วินัยนี้ได้ฟังมาว่า ภิกษุณีชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์

ว่าเป็นพระสกทาคามี จักกลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว แล้วทำที่สุดทุกข์ได้

เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป เพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง ก็น้องหญิงนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

เป็นผู้อันภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้

บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญา

อย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็น

ผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และ

ปัญญาของภิกษุณีนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่ภิกษุณี แม้ด้วย

ประการฉะนี้ ดูก่อนอนุทธะทั้งหลาย ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า ภิกษุณี

ชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มี

ความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะ

สังโยชน์สามสิ้นไป ก็น้องหญิงนั้นเป็นผู้อันภิกษุณีนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมา

ว่า น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง

ว่าน้องหญิงเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้

บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง ภิกษุณีนั้นเมื่อระลึกถึง

ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของภิกษุณีนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความ

เป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่ภิกษุณี

แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

ความอยู่ผาสุกของอุบาสก

[๒๐๑] ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสกในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า

อุบาสกชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น

จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภา-

คิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันอุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น

เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น

เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสกนั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ

และปัญญาของอุบาสกนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อน

อนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่อุบาสก แม้ด้วยประการฉะนี้

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสกในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสกชื่อนี้ทำกาละ

แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามี จักกลับมายัง

โลกนี้เพียงคราวเดียว แล้วทำที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป เพราะ

ราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันอุบาสกนั้นได้เห็นเอง

หรือได้ยินมาว่า ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้

บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่าง

นี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา

ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสกนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็น

อย่างนั้นบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่อุบาสกแม้ด้วย

ประการฉะนี้แล ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสกในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า

อุบาสกชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน

มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะ

สังโยชน์สามสิ้นไป ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันอุบาสกนั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า

ท่านนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น

เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าท่านนั้น

เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสกนั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

และปัญญาของอุบาสกนั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อน

อนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่อุบาสก แม้ด้วยประการฉะนี้แล.

ความอยู่ผาสุกของอุบาสิกา

[๒๐๒] ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า

อุบาสิกาชื่อนี้ทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นผู้ผุดเกิด

ขึ้น จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอ-

รัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป ก็น้องหญิงนั้นเป็นผู้อันอุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือ

ได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรม

อย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มี

วิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสิกา

นั้น เมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสิกานั้น จะน้อมจิต

เข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญ

ย่อมมีได้แก่อุบาสิกา แม้ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสิกา

ในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่า อุบาสิกาชื่อนี้ทำกาละแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พยากรณ์ว่า เป็นพระสกทาคามี จักกลับมายังโลกนี้เพียงคราวเดียว แล้วทำ

ที่สุดทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์สามสิ้นไป เพราะราคะ โทสะ และโมหะ เบาบาง

ก็น้องหญิงนั้นเป็นผู้อันอุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า น้องหญิงนั้น

เป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิง

นั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง ว่า

น้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา ศีล

สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสิกานั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

นั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่อุบาสิกา แม้ด้วย

ประการฉะนี้แล.

ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ได้ฟังมาว่าอุบาสิกา

ชื่อนี้ทำกาละแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความ

ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์

สามสิ้นไป ก็น้องหญิงนั้นเป็นผู้อันอุบาสิกานั้นได้เห็นเองหรือได้ยินมาว่า น้อง

หญิงนั้นเป็นผู้มีศีลอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีธรรมอย่างนี้บ้าง ว่าน้อง

หญิงนั้นเป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้บ้าง ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้มีวิหารธรรมอย่างนี้บ้าง

ว่าน้องหญิงนั้นเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้บ้าง อุบาสิกานั้นเมื่อระลึกถึงศรัทธา

ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของอุบาสิกานั้น จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็น

อย่างนั้นบ้าง ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ความอยู่สำราญย่อมมีได้แก่อุบาสิกาแม้

ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย ตถาคตย่อมพยากรณ์สาวกทั้งหลาย

ผู้ทำกาละไปแล้วในภพที่เกิดทั้งหลาย ว่าสาวกชื่อโน้นเกิดแล้วในภพโน้น สาวก

ชื่อโน้นเกิดแล้วในภพโน้น ดังนี้ เพื่อให้คนพิศวงก็หามิได้ เพื่อเกลี้ยกล่อม

คนก็หามิได้ เพื่ออานิสงส์คือลาภสักการะและความสรรเสริญก็หามิได้ ด้วย

ความประสงค์ว่า คนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้ก็หามิได้ ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย

กุลบุตรทั้งหลายผู้มีศรัทธา มีความยินดีมาก มีปราโมทย์มาก มีอยู่ กุลบุตร

เหล่านั้นได้ฟังคำพยากรณ์นั้นแล้ว จะน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้นบ้าง

ข้อนั้นย่อมมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กุลบุตรเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธะ

ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบสฬกปานสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

๘. อรรถกถานฬกปานสูตร

นฬกปานสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมา

อย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า นฬกปาเน คือใกล้บ้านมีชื่ออย่างนี้. มี

เรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งก่อนพระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดวานรมีร่างกายใหญ่ เป็น

พญาวานร มีวานรหลายพันเป็นบริวารเที่ยวไปที่เชิงภูเขา. พญาวานรมีบุญและ

มีปัญญามากสั่งสอนบริวารว่า นี่แน่เจ้าทั้งหลาย ที่เชิงภูเขานี้มีผลไม้เป็นพิษ.

ชื่อว่าสระโบกขรณี ก็มีอมนุษย์หวงแหน. พวกเจ้าจงกินผลไม้เฉพาะที่เคยกิน

เท่านั้น. ดื่มน้ำเฉพาะที่เคยดื่ม. ในข้อนี้ไม่มีกิจที่พวกเจ้าจะต้องถามเรา อนึ่ง

พวกเจ้ายังไม่ถามถึงผลไม้ที่ไม่เคยกิน น้ำที่ไม่เคยดื่มกะเราแล้วจงอย่ากิน อย่า

ดื่ม. วันหนึ่งวานรเหล่านั้นเที่ยวหาอาหารไปถึงเชิงภูเขาแห่งหนึ่งตรวจดูน้ำดื่ม

เห็นสระโบกขรณีมีอมนุษย์หวงแหนสระหนึ่ง จึงไม่รีบดื่ม นั่งล้อมอยู่โดยรอบ

รอคอยมหาสัตว์มา.

มหาสัตว์มาแล้วถามว่า ทำไมพวกเจ้าไม่ดื่มน้ำกันเล่า. พวกวานรตอบ

ว่ารอคอยท่านมาก่อน. พญาวานรกล่าวว่าดีแล้ว เจ้าทั้งหลาย แล้วสำรวจดูรอย

เท้าได้เห็นแต่รอยเท้าลงเท่านั้นไม่เห็นรอยเท้าขึ้นเลย จึงได้รู้ว่ามีอันตราย. ทัน

ใดนั้นเองอมนุษย์ที่เกิด ณ สระนั้น ได้ยืนแยกน้ำออกเป็นสองข้าง. รากษสน้ำ

มีหน้าแดงท้องเขียว มือเท้าแดง เขี้ยวใหญ่ เท้าคด รูปร่างน่าเกลียด กล่าวว่า

เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่ดื่มน้ำเล่า น้ำอร่อย จงดื่มซิ พวกเจ้าเชื่อคำของ

พญาวานรนั้นหรือ. มหาสัตว์ถามว่า เจ้าเป็นอมนุษย์สิงอยู่ในสระนี้หรือ. ยักษ์

บอกว่า ถูกแล้วเราสิงอยู่ในสระนี้. มหาสัตว์ถามว่า ท่านจับผู้ที่ลงในสระนี้หรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

ยักษ์ตอบว่า ถูกแล้วเราจักกินท่านทั้งหมด. มหาสัตว์พูดว่า ดูก่อนยักษ์ ท่าน

ไม่อาจกินพวกเราได้ดอก. ยักษ์ถามว่า ก็พวกท่านจักดื่มน้ำหรือ. มหาสัตว์

ตอบว่า ถูกแล้วเราจักดื่ม. ยักษ์กล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้นแม้ตัวเดียวก็จักไม่

พ้นเราไปได้. พญาวานรกล่าวว่า เราจักดื่มน้ำและจักไม่ไปสู่อำนาจของท่าน

ดังนี้แล้วจึงให้วานรนำไม้อ้อลำหนึ่งมา จับที่ปลายแล้วเป่าไป. ไม้อ้อได้เป็น

ช่องเดียวตลอด. พญาวานรนั่งบนฝั่งดื่มน้ำ. พญาวานรได้ให้วานรที่เหลือนำ

ไม้อ้อมาเฉพาะตัว เป่าแล้วส่งให้. เมื่อยักษ์แลดูอยู่นั่นเอง วานรทุกตัวก็ได้

ดื่มน้ำ ดังที่พญาวานรกล่าวไว้ว่า

เราไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้า

ลง เราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ ท่านจักฆ่าเรา

ไม่ได้.

ตั้งแต่นั้นมาไม้อ้อทั้งหลายในที่นั้นก็มีช่องเดียวจนกระทั่งทุกวันนี้.

ในกัปนี้พร้อมกับไม้อ้อนี้จักมีชื่อว่าสิ่งที่ตั้งอยู่ตลอดปาฎิหาริยกัป มี ๔ อย่างคือ

ภาพกระต่ายบนดวงจันทร์ ๑ การที่ไฟดับในที่ทำสัจกิริยาในวัฏฏกชาดก ๑

การที่ฝนไม่ตกในที่อยู่ของมารดาบิดาของช่างหม้อชื่อว่า ฆฏิการะ ๑ ความที่

ไม้อ้อบนฝั่งสระโบกขรณีนั้นมีช่องเดียวตลอด ๑ ด้วยประการนี้สระโบกขรณี

นั้นจึงได้ชื่อว่า นฬกปานะ เพราะวานรดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ. ครั้นต่อมา บ้าน

ตั้งขึ้นเพราะอาศัยสระโบกขรณีนั้น. บ้านนั้นจึงได้ชื่อว่า นฬกปานะ. ท่าน

กล่าวว่า นฬกปาเน เพราะหมายถึงบ้านนั้น.

บทว่า ปลาสวเน คือ ในป่าไม้ทองกวาว. บทว่า ตคฺฆ มย

ภนฺเต คือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์โดยส่วนเดียวเท่านั้น. ท่าน

แสดงว่า ภิกษุเหล่าใดแม้อื่นยินดีแล้ว ย่อมยินดีในคำสอนของท่าน ภิกษุ

เหล่านั้นเป็นเช่นกับพวกเรา ย่อมยินดียิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

พึงทราบความในบทมีอาทิ ว่า เนว ราชาภินีตา มิใช่ผู้ทำความผิด

ต่อพระราชาดังต่อไปนี้. คนหนึ่งทำความผิดต่อพระราชาแล้วหนีไป. พระราชา

ตรัสถามว่า คนชื่อโน้นไปไหน. กราบทูลว่า หนีไปแล้ว พระเจ้าข้า. พระราชา

ตรัสว่า เขาจักไม่พ้นเราแม้ในที่ที่หนีไป. แต่หากว่า เขาพึงบวชก็จะพึงพ้นได้.

คนใจดีคนหนึ่งไปบอกข่าวนั้นแก่เขาว่า หากท่านปรารถนาชีวิตท่านจงบวชเถิด.

เขาบวชแล้วรักษาชีวิตเที่ยวไป. ภิกษุนี้ชื่อว่าทำความผิดต่อพระราชา. ส่วน

คนหนึ่งตัดช่องลักของมีค่าของโจรเที่ยวไป. พวกโจรฟังแล้วไม่รู้ความที่บุรุษมี

ความต้องการ จึงกล่าวว่า เราจักให้เขารู้. เขาฟังข่าวนั้นแล้วหนีไป. พวกโจร

ได้ฟังว่าเขาหนีไปแล้วจึงกล่าวว่า เขาจักไม่พ้นเราไปได้แม้ในที่ที่เขาหนีไป แต่

ถ้าเขาพึงบวช เขาก็จะพึงพ้นไปได้. เขาฟังข่าวนั้นแล้วจึงบวช. ภิกษุนี้ชื่อว่าถูก

โจรคอยติดตามจับ. ส่วนคนหนึ่งมีหนี้มาก ถูกคดีหนี้บีบคั้นจึงหนีออกจากบ้าน

นั้น. พวกเจ้าหนี้ฟังแล้วกล่าวว่า เขาจักไม่พ้นเราไปได้แม้ในที่ที่เขาหนีไป แต่

ถ้าเขาพึงบวช เขาก็จะพึงพ้นหนี้ไปได้. ลูกหนี้ฟังข่าวนั้นแล้วจึงบวช. ภิกษุนี้

ชื่อว่า ถูกเจ้าหนี้บีบคั้น. คนกลัวภัยอย่างใดอย่างหนึ่งมีราชภัยเป็นต้น เป็นผู้

เดือดร้อนออกบวช ชื่อว่า เดือดร้อนเพราะภัย. ผู้ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

ในเวลาข้าวยากหมากแพงเป็นต้นจึงบวช ชื่อว่า ถูกอาชีพบีบคั้น. อธิบายว่า

ถูกอาชีพครอบงำ. ในท่านเหล่านี้แม้รูปหนึ่ง ชื่อว่า บวชแล้วด้วยเหตุเหล่านี้

มิได้มี. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เนว ราชาภินีตา มิใช่

ผู้ทำความผิดต่อพระราชาเป็นต้น.

บทว่า วิเวก คือ เป็นผู้สงัด. ท่านอธิบายว่า อันผู้สงัดจากกาม

และจากอกุศลธรรมพึงบรรลุปีติและสุข กล่าวคือ ปฐมฌานและทุติยฌาน.

หากสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมแล้ว ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือยังไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

บรรลุสุขอื่นอันสงบกว่าด้วยสามารถแห่งฌาน ๒ และมรรค ๔ ในเบื้องบน.

อภิชฌาเป็นต้นเหล่านี้ ย่อมครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่. ในบทเหล่านั้น

บทว่า อรติ ได้แก่ ความเป็นผู้หน่ายในธรรมอันเป็นอธิกุศล. บทว่า ตนฺที

ความเฉื่อยชา คือ ความเป็นผู้เกียจคร้าน. ภิกษุใดบวชแล้วอย่างนี้ไม่สามารถ

ทำกิจของนักบวชได้. ธรรมลามก ๗ อย่างเหล่านี้เกิดแก่ภิกษุนั้น แล้วย่อม

ครอบงำจิต. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงดังนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดง

ว่า ธรรมเหล่านั้นย่อมครอบงำจิตของภิกษุใดทั้งอยู่ ภิกษุนั้นไม่สามารถทำ

แม้กิจของสมณะได้ จึงตรัสว่า วิเวก อนุรุทฺธา ฯ ล ฯ อญฺ วา ตโต

สนฺตตร ดูก่อนอนุรุทธะทั้งหลาย บุคคลยังไม่เป็นผู้สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือสุขที่สงบกว่านั้นอีก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงธรรมฝ่ายดำอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อ

ทรงแสดงธรรมฝ่ายขาวโดยนัยนั้น จึงตรัสบทมีอาทิว่า วิเวก ดังนี้อีก. พึง

ทราบอรรถแห่งบทนั้นโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. บทว่า สงฺขาย พิจารณา

แล้วคือ รู้แล้ว. บทว่า เอก คือ บางอย่าง. บทว่า ปฏิเสวติ ย่อมเสพ คือ

ย่อมเสพสิ่งที่ควรเสพ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อุปปตฺตีสุ พฺยากโรติ ตถาคตพยากรณ์ในภพที่เกิด คือ

จงพยากรณ์ในภพพร้อมด้วยปฏิสนธิยกไว้. จะทรงพยากรณ์ในภพที่ยังไม่ปฏิ-

สนธิได้อย่างไร. เมื่อกล่าวว่า ปฏิสนธิในภพใหม่ มิได้มีแก่ผู้ยังไม่มีปฏิสนธิ

ชื่อว่า ทรงพยากรณ์ในภพที่เกิด. บทว่า ชนกุกนตฺถ คือ เพื่อให้คนพิศวง.

บทว่า ชนลปนตฺถ คือ เพื่อเกลี้ยกล่อมมหาชน. บทว่า น อิติ ม ชโน

ชานาตุ ชนจงรู้จักเราด้วยเหตุนี้ก็หามิได้ คือ มหาชนจักรู้อย่างนี้. อธิบายว่า

ไม่ทรงพยากรณ์ด้วยเหตุแม้นี้ว่า กิตติศัพท์ของเราจักฟุ้งขึ้นในระหว่างมหาชน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

อย่างนี้. บทว่า อุฬารเวทา คือ มีความยินดีมาก. บทว่า โส โข ปนสฺส

อายสฺมา ก็ท่านนั้นเป็นผู้อันภิกษุนั้น คือ ท่านนั้นปรินิพพานแล้ว เป็นผู้

อันท่านผู้ตั้งอยู่นี้ได้เห็นแล้ว หรือได้ฟังแล้ว. ในบทมีอาทิว่า เอวสีโล พึง

ทราบศีลเป็นต้นเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระ. ธรรมเป็นฝ่ายสมาธิท่านประสงค์

เอาว่า ธรรม ในบทนี้ว่า เอวธมฺโม. บทว่า ผาสุวิหาโร โหติ เป็นผู้มี

ธรรมเป็นเครื่องอยู่สบาย คือ เมื่อบำเพ็ญในการปฏิบัติอันภิกษุนั้นบำเพ็ญ

ให้บริบูรณ์แล้ว ภิกษุทำให้แจ้งอรหัตผล เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่สบาย

ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ คือ ผลสมาบัติ. เมื่อไม่สามารถบรรลุอรหัต และ

เมื่อบำเพ็ญข้อปฏิบัติจนบริบูรณ์ ชื่อว่า เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่สบายแม้

เบื้องหน้า. พึงทราบอรรถในวาระทั้งปวงโดยนัยนี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถานฬกปานสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

๙. โคลิสสานิสูตร

ว่าด้วยอรัญญิกธุดงค์

[๒๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลัน-

ทกนิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ภิกษุชื่อโคลิสสานิ เป็น

ผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ มีมารยาทหยาบคาย มานั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ด้วย

กรณียกิจบางอย่าง.

[๒๐๔] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรปรารภโคลิสสานิภิกษุ จึง

เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์

เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์

ทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้

ไม่เคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่าน

นี้ใดไม่เป็นผู้เคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะเป็นประโยชน์

อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า

จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อ

ไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้มีความเคารพยำเกรง ในเพื่อนพรหมจรรย์

ทั้งหลาย.

[๒๐๕] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อ

ไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่งด้วยดีดังนี้ว่า เราจักไม่นั่งเบียด

ภิกษุผู้เถระ และจักไม่ห้ามอาสนะภิกษุผู้นวกะ ถ้าภิกษุสมาทานอรัญญิกธุดงค์

เมื่อไปในสงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่เป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

ท่านนี้ใดไม่รู้จักธรรม แม้เพียงอภิสมาจาริกวัตร จะมีประโยชน์อะไรด้วยการ

อยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่า

ภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์

อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง.

[๒๐๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อ

ไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก ถ้า

ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เข้าบ้านเช้านัก กลับ

มาสายนัก จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเข้าบ้านเช้านัก กลับมาสายนัก

จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์

อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญ-

ญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเข้าบ้านให้เช้านัก ไม่ควรกลับ

ให้สายนัก.

[๒๐๗] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์. เมื่อ

ไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อน

ภัต ในเวลาหลังภัต ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ใน

สงฆ์ ถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต

จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า การเที่ยวไปในเวลาวิกาล อันท่านผู้สมาทานอรัญญิก-

ธุดงค์นี้ ผู้อยู่เสรีในป่าแต่ผู้เดียว ทำไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์ก็จะ

กล่าวทักท้วงเธอผู้ไปสู่สงฆ์ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุ

ผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเที่ยวไปใน

ตระกูลทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัต ในเวลาหลังภัต.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

[๒๐๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อ

ไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา ถ้าภิกษุผู้สมาทาน

อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจา

จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ความคะนองกาย คะนองวาจา อันท่านผู้สมาทาน

อรัญญิกธุดงค์นี้ผู้อยู่เสรีในป่าแต่ผู้เดียว ทำไว้มากแน่ อนึ่ง เพื่อนพรหมจรรย์

ก็จะกล่าวทักท้วงเธอผู้ไปสู่สงฆ์ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น

ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ จึงไม่ควรเป็นผู้คะนอง

กาย คะนองวาจา.

[๒๐๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อ

ไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น ถ้าภิกษุผู้

สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ปากกล้า เจรจา

เกลื่อนกล่น จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อนกล่น

จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์

อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทาน

อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ไม่ควรเป็นผู้ปากกล้า เจรจาเกลื่อน-

กล่น.

[๒๑๐] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อ

ไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ ควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร ถ้าภิกษุผู้สมาทาน

อรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์ อยู่ในสงฆ์ เป็นผู้ว่ายาก มีปาปมิตร จะมีผู้ว่า

ภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้ว่ายาก มีปาปมิตร จะมีประโยชน์อะไรด้วยการ

อยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่า

ภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เมื่อไปสู่สงฆ์

อยู่ในสงฆ์ จึงควรเป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

[๒๑๑] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควร

เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ไม่

เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดไม่

เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีใน

ป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้

ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้คุ้มครองทวาร

ในอินทรีย์ทั้งหลาย.

[๒๑๒] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควร

เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้ไม่รู้ประมาณ

ในโภชนะ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นว่า ท่านผู้ใดเป็นผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะ จะมี

ประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า แก่ท่านผู้นี้ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่

แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิก-

ธุดงค์ จึงควรเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.

[๒๑๓] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควร

เป็นผู้ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนือง ๆ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์

เป็นผู้ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนือง ๆ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่าน

นี้ใดเป็นผู้ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนืองๆ จะมีประโยชน์อะไรด้วย

การอยู่เสรีในป่า แต่ท่านผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่า

ภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้

ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นเนือง ๆ.

[๒๑๔] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลายอัน ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควร

เป็นผู้ปรารภความเพียร ถ้าภิกษุสมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้เกียจคร้าน จะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

มีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านนี้ใดเป็นผู้เกียจคร้าน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการ

อยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่า

ภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้

ปรารภความเพียร.

[๒๑๕] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควร

เป็นผู้มีสติตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน จะมี

ผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการ

อยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่า

ภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มี

สติตั้งมั่น.

[๒๑๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควร

เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น จะมี

ผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้ไม่มีจิตตั้งมั่น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการ

อยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่า

ภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มี

จิตตั้งมั่น.

[๒๑๗] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควร

เป็นผู้มีปัญญา ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ เป็นผู้มีปัญญาทราม จะมี

ผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่

เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุ

นั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้นภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรเป็นผู้มีปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

[๒๑๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควร

ทำความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอภิธรรม

และในอภิวินัย กะภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์มีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทาน

อรัญญิกธุดงค์ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม ในอภิวินัยแล้ว จะให้ความประสงค์

ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้ถูกถามปัญหา ในอภิธรรม

ในอภิวินัยแล้ว ยังความประสงค์ของเขาให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไร

ด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์แต่ผู้เดียวเล่า จะมี

ผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำ

ความเพียร ในอภิธรรม ในอภิวินัย.

[๒๑๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควร

ทำความเพียรในวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ เพราะคน

ผู้ถามในวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติมีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมา-

ทานอรัญญิกธุดงค์ ถูกถามปัญหาในวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติที่ล่วงรูป

สมาบัติแล้วให้ความประสงค์ของเขาสำเร็จไม่ได้ จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่าน

ผู้นี้ถูกถามปัญหาในวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติแล้ว ยัง

ความประสงค์ของเขาให้สำเร็จไม่ได้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่เสรีในป่า

แก่ท่านผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้

เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ จึงควรทำความเพียรไว้ในวิโมกข์

อันละเอียดคืออรูปสมาบัติที่ล่วงรูปสมาบัติ.

[๒๒๐] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ ควร

ทำความเพียร ในอุตตริมนุสสธรรม เพราะคนผู้ถามปัญหา ในอุตตริมนุสส-

ธรรมกะภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์มีอยู่ ถ้าภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

ถูกถามปัญหาในอุตตริมนุสสธรรมแล้ว ให้ความประสงค์ของเขาสำเร็จไม่ได้

จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ว่า ท่านผู้นี้บวชเพื่อประโยชน์แห่งคุณวิเศษอันใด ไม่รู้จัก

ประโยชน์แห่งคุณวิเศษอันนั้นจะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่เสรีในป่าแก่ท่าน

ผู้นี้ ซึ่งสมาทานอรัญญิกธุดงค์อยู่แต่ผู้เดียวเล่า จะมีผู้ว่าภิกษุนั้นได้ดังนี้ เพราะ

ฉะนั้น ภิกษุนี้สมาทานอรัญญิกธุดงค์จึงควรทำความเพียรในอุตตริมนุสสธรรม.

[๒๒๑] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมค-

คัลลานะได้ถามว่า ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ อันภิกษุผู้สมาทาน

อรัญญิกธุดงค์เท่านั้นหรือที่ควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ หรือแม้ภิกษุ

ผู้อยู่ใกล้บ้าน ก็ควรสมาทานธรรมเหล่านี้ประพฤติ.

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ แม้ภิกษุผู้สมาทาน

อรัญญิกธุดงค์ ยังควรสมาทานธรรมเหล่านี้พระพฤติ จะกล่าวไปไยถึงภิกษุผู้

อยู่ใกล้บ้านเล่า.

จบโคลิสสานิสูตรที่ ๙

๙. อรรถกถาโคลิสสานิสูตร

โคลิสสานิสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมา

อย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ปทรสมาจาโร มีมารยาทหยาบคาย คือ

ความประพฤติเลว มีอาจาระหยาบ เพ่งในปัจจัยทั้งหลายดุจพระมหารักขิตเถระ

ได้ยินว่าอุปัฏฐากกล่าวกะพระเถระนั้นผู้นั่งอยู่ในตระกูลอุปัฏฐากว่า ท่านขอรับ

ผมถวายจีวรแก่พระเถระรูปโน้นแล้ว. พระเถระกล่าวว่า โยมทำดีแล้วที่ถวาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

จีวรแก่พระเถระผู้ตรึกถึงจีวรนั้น. อุปัฏฐากกล่าวว่า ท่านขอรับผมจักถวายจีวร

แก่ท่าน. พระเถระกล่าวว่า ดีแล้ว โยมจักถวายแก่พระเถระผู้ตรึกถึงจีวรนั้น.

ภิกษุเห็นปานนี้แม้นี้ชื่อว่ามีอาจาระหยาบ. บทว่า สปฺปติสฺเสน ความยำเกรง

คือมีความเป็นผู้ใหญ่. ไม่ควรทำตนให้เป็นใหญ่. บทว่า เสรีวิหาเรน ด้วยการ

อยู่อย่างเสรี คือด้วยการอยู่ตามพอใจของตน ด้วยการอยู่โดยไม่มีผู้คอยตักเตือน.

บทว่า นานุปขชฺช ไม่เข้าไปเบียด คือไม่เข้าไปใกล้. ภิกษุใดเมื่อพระมหาเถระ

๒ รูปนั่งอยู่ทั้ง ๒ ข้าง ไม่บอกกล่าวพระเถระเหล่านั้นนั่งเสียดสีด้วยจีวรก็ดี ด้วย

เข่าก็ดี ภิกษุนี้ชื่อว่าเข้าไปนั่งเบียด. อนึ่งไม่ทำอย่างนั้นครั้นอยู่ใกล้อาสนะที่

ถึงแก่ตนพระเถระกล่าวว่า นั่งเถิดผู้มีอายุ ดังนี้จึงควรนั่ง. หากพระเถระไม่

กล่าว ควรกล่าวถามว่า ท่านขอรับผมจะนั่งได้หรือ ดังนี้จึงควรนั่ง. หากพระเถระไม่

กล่าวถาม เมื่อพระเถระกล่าวว่า นั่งเถิด หรือแม้เมื่อท่านไม่กล่าว ก็ควรนั่งได้.

ในบทว่า น ปฏิพาหิสฺสามิ เราจักไม่ห้ามนี้มีอธิบายว่า ภิกษุใดละเลย

อาสนะที่ถึงแก่ตนแล้วนั่งแย่งที่ภิกษุใหม่ ภิกษุนี้ชื่อว่าห้ามอาสนะภิกษุใหม่. เมื่อ

ภิกษุนั้นนั่งอยู่อย่างนั้น ภิกษุใหม่ยืนกล่าวโทษว่า ภิกษุนี้ไม่ให้เรานั่งก็ดี หรือ

เดินหาอาสนะก็ดี เพราะฉะนั้นพึงนั่งบนอาสนะที่ถึงแก่ตนนั่นแหละ อย่างนี้

ชื่อว่า ไม่ห้ามอาสนะ. บทว่า อภิสมาจาริกปิ ธมฺม คือธรรมแม้เพียงการ

ปฏิบัติอภิสมาจาริกวัตร. บทว่า นาติกาเลน โดยไม่ใช่กาล คือไม่ควรเข้าบ้าน

ให้เช้านัก ไม่ควรกลับให้สายนัก. ควรเข้าและออกพร้อมกับหมู่ภิกษุ. เพราะ

เมื่อเข้าไปเช้านัก ออกไปสายนัก การปฏิบัติวัตรในลานเจดีย์และลานโพธิ์

เป็นต้นย่อมเสื่อม. ควรล้างหน้าแต่เช้าแล้วเขี่ยใยแมลงมุม เมื่อหยาดน้ำค้างตก

เข้าบ้านแสวงหาข้าวยาคู นั่งกล่าวติรัจฉานกถามานาประการ ในภายในบ้าน

นั่นเอง จนถึงได้เวลาบิณฑบาตแล้วฉันอาหาร ออกไปในตอนสาย ไปถึงวัด

ในเวลาล้างเท้าของภิกษุทั้งหลายในภายหลัง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

บทว่า น ปุเรภตฺต ปจฺฉาภตฺต กุเลสุ จาริตฺต อาปชฺชิตพฺพ

ภิกษุผู้สมาทานอรัญญิกธุดงค์ไม่ควรถึงความเที่ยวไปในตระกูลทั้งหลายในเวลา

ก่อนภัต ในเวลาหลังภัต คือ ภิกษุรับนิมนต์พร้อมด้วยโภชนะไม่ลาภิกษุที่มีอยู่

เที่ยวไปในตระกูลในเวลาก่อนภัตก็ดี ในเวลาหลังภัตก็ดี เว้นไว้แต่สมัยต้อง

ปาจิตตีย์ เพราะเหตุนั้นภิกษุผู้รักษาสิกขาบทนี้ไม่ควรเที่ยวไปในเวลาก่อนภัต

และในเวลาหลังภัต ซึ่งท่านกล่าวไว้แล้วในวิภังค์แห่งสิกขาบทนั้น.

บทว่า อุทฺธโต โหติ จปโล เป็นผู้คะนองกาย คะนองวาจาคือ เป็น

ผู้มีปรกติฟุ้งซ่าน และประกอบด้วยความเป็นผู้คะนอง ดุจเด็กทารก ดังที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า ประดับจีวร ประดับบาตร ประดับเสนาสนะ หรือ ตกแต่งประดับ

กายอันเปื่อยเน่านี้. บทว่า ปญฺวตา ภวิตพฺพ ควรเป็นผู้มีปัญญา คือ เมื่อ

ควรทำจีวรกรรมเป็นต้นควรเป็นผู้ประกอบด้วยอุบายปัญญา. บทว่า อภิธมฺเม

อภิวินเย ควรทำความเพียรในอภิธรรมในอภิวินัยคือควรทำความเพียรใน

อภิธรรมปิฎก และในวินัยปิฎกด้วยบาลีและด้วยอรรถกถา. ไม่ควรพลาดธรรม-

หทยวิภังค์พร้อมด้วยทุกมาติกาและติกมาติกาเป็นต้นในอภิธรรมโดยปริจเฉท

สุดท้าย. ไม่ควรพลาดปาฏิโมกข์ทั้ง ๒ ที่ท่านวินิจฉัยไว้ดีแล้วพร้อมกับการ

วินิจฉัยในข้อควรทำและไม่ควรทำในวินัย. บทว่า อารุปฺปา อรูปสมาบัติ

ด้วยบทเพียงเท่านี้เป็นอันท่านกล่าวถึงสมาบัติแม้ ๘ ประการ อนึ่งเมื่อไม่

สามารถบำเพ็ญสมาบัติเหล่านั้นได้ทั้งหมดก็ควรบำเพ็ญในสมาบัติ ๗ บ้าง ๖

บ้าง ๕ บ้าง โดยกำหนดบทสุดท้ายประพฤติถือเอากรรมฐานคือบริกรรมกสิณ

อย่างหนึ่งทำให้คล่องแคล่ว. เพียงเท่านี้ก็ไม่ควรพลาด. ด้วยบทว่า อุตฺตริ-

มนุสฺสธมฺเม นี้พระสารีบุตรเถระแสดงโลกุตตรธรรมแม้ทั้งหมด. เพราะฉะนั้น

อันผู้เป็นพระอรหันต์พึงละ. อันผู้ยังมิได้บรรลุพระอรหัต ควรตั้งอยู่ในอนาคามิ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

ผล สกทาคามิผล หรือโสดาปัตติผล. โดยปริยายสุดท้ายควรประพฤติถือเอา

วิปัสสนาสุขอย่างเดียวจนถึงพระอรหัตทำให้คล่องแคล่ว. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง

ง่ายทั้งนั้น.

ก็ท่านพระสารีบุตรเถระยังโคลิสสานิภิกษุให้บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ

ตั้งแต่อภิสมาทานจาริกวัตร ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ควรแนะนำได้ จบเทศนานี้

ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาโคลิสสานิสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

๑๐. กีฏาคิริสูตร

คุณของการฉันอาหารน้อย

[๒๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปในกาสีชนบท พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

มาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียทีเดียว และ

เมื่อเราฉันโภชนะเว้นการฉันในราตรีเสีย ย่อมรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย

มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลังและอยู่สำราญ แม้ท่านทั้งหลายก็จงมา

ฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียเถิด ก็เมื่อเธอทั้งหลายฉันโภชนะ เว้นการ

ฉันในราตรีเสีย จักรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้-

กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะฉันอาหารในเวลาวิกาล

[๒๒๓] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปในกาสี

ชนบทโดยลำดับ เสด็จถึงนิคมของชนชาวกาสีอันชื่อว่า กีฏาคิรี ได้ยินว่า

ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชนชาวกาสีอันชื่อว่ากีฏาคิรี

ก็โดยสมัยนั้น มีภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนพัพสุกะเป็นเจ้าอาวาสอยู่ใน

กีฏาคิรีนิคม. ครั้งนั้น ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปหาอัสสชิภิกษุและปุนัพพสุก-

ภิกษุถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า

และภิกษุสงฆ์ ฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าและ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

ภิกษุสงฆ์ฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี ย่อมรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธ

น้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ ดูก่อนผู้มีอายุ

ทั้งหลาย แม้ท่านทั้งหลายก็จงมาฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสียเถิด เมื่อ

ท่านทั้งหลายฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี ก็จักรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธ

น้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ เมื่อภิกษุทั้ง

หลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอัสสชิและภิกษุปุนัพพสุกะ ได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้

มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล

ในกลางวัน เมื่อเราเหล่านั้นฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล

ในกลางวัน ก็ย่อมรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้-

กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ เราเหล่านั้นจักละคุณที่คนเห็นเอง แล้ววิ่ง

ไปตามคุณอันอ้างกาลทำไม เราทั้งหลายจักฉันทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลา

วิกาล ในกลางวัน.

[๒๒๔] เมื่อภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะให้อัสสชิภิกษุและปุนัพพสุก-

ภิกษุยินยอมได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานโอกาส ข้าพระองค์ทั้งหลาย

เข้าไปหาอัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มี

อายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ฉันโภชนะเว้นการฉันในราตรี

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ฉันโภชนะเว้นการฉันในราตรี ย่อมรู้คุณ

คือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และอยู่

สำราญ แม้ท่านทั้งหลายก็จงฉันโภชนะเว้นการฉันในราตรีเสียเถิด ก็เมื่อท่าน

ทั้งหลายฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี รู้จักคุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลาย

กล่าวอย่างนี้แล้ว อัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้ง-

หลาย เราทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ในกลาง

วัน เมื่อเราทั้งหลายนั้นฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ใน

กลางวัน ย่อมรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า

มีกำลัง และอยู่สำราญ เราเหล่านั้นจักละคุณที่ตนเห็นเอง แล้ววิ่งไปตามคุณ

อันอ้างกาลทำไม เราทั้งหลายจักฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลา

วิกาล ในกลางวัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่สามารถ

จะให้อัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุยินยอมได้ จึงกราบทูลเนื้อความนี้แด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาว่า ดูก่อนภิกษุ

เธอจงไปเรียกอัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุตามคำของเราว่า พระศาสดาตรัส

เรียกท่านทั้งหลาย ภิกษุนั้นทูลรับต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาอัสสชิ-

ภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า พระศาสดาตรัสเรียกท่าน

ทั้งหลาย อัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุรับต่อภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับ

อัสสชิภิกษุและปุนัพพสุกภิกษุว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ภิกษุเป็นอัน

มากเข้าไปหาเธอทั้งสองแล้วกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค-

เจ้าและภิกษุสงฆ์ฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าและ

ภิกษุสงฆ์ฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรี ย่อมรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย

มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลังและอยู่สำราญ แม้ท่านทั้งหลายก็จงมา

ฉันโภชนะเว้นการฉันในราตรีเสียเถิด เมื่อท่านทั้งหลายฉันโภชนะ เว้นการ

ฉันในราตรี จักรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระ-

เปร่า มีกำลังและอยู่สำราญดังนี้ ได้ยินว่าเมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

เธอทั้งสองได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เรา

ทั้งหลายฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ในเวลากลางวัน

เมื่อเราทั้งหลายนั้น ฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล ใน

กลางวัน ย่อมรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า

มีกำลัง และอยู่สำราญ เราเหล่านั้นจักละคุณที่ตนเห็นเอง แล้ววิ่งตามคุณที่

อ้างกาลทำไม เราทั้งหลายจักฉันโภชนะทั้งเวลาเย็น ทั้งเวลาเช้า ทั้งเวลาวิกาล

ในกลางวัน ดังนี้ จริงหรือ.

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระพุทธเจ้าแสดงเวทนา ๓

[๒๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดง

แล้วอย่างนี้ บุรุษบุคคลนี้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุข ทุกข์ หรือมิ

ใช่ทุกข์มิใช่สุข อกุศลธรรมของบุรุษบุคคลนั้นย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ

ดังนี้หรือหนอ.

ไม่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่าง

นี้ว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อม

เจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ส่วนเมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็น

ปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ เมื่อบุคคลบางคนในโลก

นี้เสวยทุกข์เวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม

ส่วนบุคคลในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมเสื่อม กุศลธรรม

ย่อมเจริญ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานี้อยู่

อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

อทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ

ดังนี้มิใช่หรือ.

ภ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

[๒๒๖] พ. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลก

นี้ เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม

ดังนี้ นี่จักเป็นข้อที่เราไม่ได้รู้แล้ว ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้ทำ

ให้แจ้งแล้ว ไม่ได้ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เมื่อเราไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า เธอ

ทั้งหลายจงละสุขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด ดังนี้ ข้อนี้จักได้สมควรแก่เราแลหรือ.

ภ. ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้

เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ดังนี้

นี่เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา

ฉะนั้น เราจงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่

อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ดังนี้ นี่จักเป็นข้อที่เราไม่รู้แล้ว

ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ได้ถูกต้องแล้วด้วย

ปัญญา เมื่อเราไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเข้าถึงสุขเวทนาเห็น

ปานนี้อยู่เถิด ดังนี้ ข้อนี้จักได้สมควรแก่เราแลหรือ.

ภ. ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้

เสวยสุขเพราะเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ

ดังนี้ นี่เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา

ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเข้าถึงสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้

เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ดัง

นี้ นี่จักเป็นข้อที่เราไม่ได้รู้แล้ว ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้ทำให้

แจ้งแล้ว ไม่ได้ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เมื่อเราไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า เธอ

ทั้งหลายจงละทุกขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด ดังนี้ ข้อนี้จักได้สมควรแก่เราแล

หรือ.

ภ. ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้

เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม ดัง

นี้ นี่เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา

ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงละทุกขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้

อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ดังนี้ นี้จักเป็นข้อที่เราไม่

ได้รู้แล้ว ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ได้ถูกต้อง

แล้วด้วยปัญญา เมื่อเราไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเข้าถึงทุกขเวทนา

เห็นปานนี้อยู่เถิด ข้อนี้จักได้สมควรแก่เราแลหรือ.

ภ. ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้

เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ดังนี้

นี่เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ฉะนั้น

เราจึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเข้าถึงทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบางคนในโลกนี้ เสวย

อทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม

ดังนี้ นี่จักเป็นข้อที่เราไม่ได้รู้แล้ว ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้

ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ได้ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เมื่อเราไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า

เธอทั้งหลายจงละอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด ดังนี้ ข้อนี้จักได้สมควร

แก่เราแลหรือ.

ภ. ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้

เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อม

เสื่อม ดังนี้ นี่เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว

ด้วยปัญญา ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงละอทุกขมสุขเวทนาเห็นปาน

นี้เสียเถิด ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้

เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ

ดังนี้ นี่จักเป็นข้อที่เราไม่ได้รู้แล้ว ไม่ได้เห็นแล้ว ไม่ได้ทราบแล้ว ไม่ได้

ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เมื่อเราไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเข้าถึง

อทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด ดังนี้ ข้อนี้จักได้สมควรแก่เราแลหรือ.

ภ. ไม่สมควร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะข้อว่า เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้

เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อม

เจริญ ดังนี้ นี่เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว

ด้วยปัญญา ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเข้าถึงอทุกขมสุขเวทนาเห็น

ปานนี้อยู่เถิด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราหากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความ

ไม่ประมาทย่อมมีภิกษุทั้งปวง ดังนี้ไม่ อนึ่ง เราหากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วย

ความไม่ประมาท ไม่มีแก่ภิกษุทั้งปวง ดังนี้ไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่า

ใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว

ปลงภาระได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว พ้น

วิเศษแล้วเพราะรู้โดยชอบ เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท

ไม่มีแก่ภิกษุเห็นปานนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุเหล่านั้นได้ทำกรณียกิจ

เสร็จแล้วด้วยความไม่ประมาท และภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดยังเป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุถึงความเต็ม

ปรารถนา ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันตขีณาสพ ยังปรารถนาธรรมเป็นแดน

เกษมจากโยคะ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่าอยู่ เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำ

ด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุเห็นปานนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรา

เห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุเหล่านี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านเหล่านี้ เมื่อ

เสพเสนาสนะอันสมควร คบหากัลยาณมิตรทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ ทำให้แจ้ง

ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่าที่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้ออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งในปัจจุบันเข้าถึง

อยู่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุเห็น

ปานนั้น.

บุคคล ๗ จำพวก

[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้มีปรากฏอยู่ใน

โลก ๗ จำพวกเป็นไฉน คืออุภโตภาควิมุตบุคคล ๑ ปัญญาวิมุตบุคคล ๑ กาย-

สักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตบุคคล ๑ ธัมมานุสารีบุคคล ๑

สัทธานุสารีบุคคล ๑.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติ

ล่วงรูปสมาบัติ ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น

อริยสัจนั้น ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่า อุภโตภาควิมุตบุคคล. ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ

นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำ

เสร็จแล้วและภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะประมาท.

[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาวิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูป-

สมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะ

เห็นอริยสัจนั้น ด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่าปัญญา-

วิมุตบุคคล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่

ประมาท ย่อมไม่มีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกิจที่ควรทำด้วย

ความไม่ประมาท ภิกษุนั้นทำเสร็จแล้ว และภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะ

ประมาท.

[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กายสักขีบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียด คืออรูปสมาบัติ

ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น

อริยสัจนั้น ด้วยปัญญา บุคคลนี้เรากล่าวว่ากายสักขีบุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้ ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้

เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้ เมื่อเสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

อินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่

กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการให้แจ้งชัดด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองได้ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควร

ทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

[๒๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิปัตตบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติ

ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น

อริยสัจนั้น ด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรม

อันผู้นั้นเห็นแจ้งด้วยปัญญาประพฤติดีแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่า ทิฏฐิปัตต-

บุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท

ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาท

ของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร

ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ที่

กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการให้แจ้งชัด ด้วย

ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่

ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธาวิมุตบุคคลเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียดคืออรูปสมาบัติ

ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็น

อริยสัจนั้น ด้วยปัญญา อนึ่ง ความเชื่อในพระตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว มี

รากหยั่งลงมั่นแล้ว บุคคลนี้เรากล่าวว่าสัทธาวิมุตบุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวว่ากิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

เหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่าน

ผู้นี้เสพเสนาสนะอันสมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึง

ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออก

จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองใน

ปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้จึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท

ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธัมมานุสารีบุคคลเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียดคืออรูป-

สมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะ

เห็นอริยสัจนั้น ด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว

ย่อมควรซึ่งความพินิจ โดยประมาณด้วยปัญญาของผู้นั้น อีกประการหนึ่ง

ธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เรากล่าวว่า ธัมมานุสารีบุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนี้เพราะ

เหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้

นี้เสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำให้

แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจาก

เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน

แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เราจึงกล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท ย่อมมี

แก่ภิกษุนี้.

[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธานุสารีบุคคลเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์อันละเอียดคืออรูป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

สมาบัติ ล่วงรูปสมาบัติด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะ

เห็นอริยสัจนั้น ด้วยปัญญา อนึ่ง ผู้นั้นมีแต่เพียงความเชื่อความรักในพระ-

ตถาคต อีกประการหนึ่ง ธรรมเหล่านี้คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์

สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมมีแก่ผู้นั้น บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธานุสารี-

บุคคล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท

ย่อมเกิดแก่ภิกษุแม้นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประ-

มาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ไฉนท่านผู้นี้เสพเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร

ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่ง

กว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วย

ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า กิจที่ควร

ทำด้วยความประมาท ย่อมมีแก่ภิกษุนี้.

การตั้งอยู่ในอรหัตผล

[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตผล

ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตผลนั้น ย่อมมีได้ด้วย

การศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ในอรหัตผลย่อมมีได้. ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วย

การทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุล-

บุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้

เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมย่อม

ทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณา

เนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ เมื่อธรรมทนความพินิจ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

ได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้วย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว

ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไป ย่อม

ทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้น

ด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้

ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี การฟังธรรมก็ดี การทรงจำธรรมก็ดี การพิจารณา

เนื้อความก็ดี ธรรมอันได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่-

ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้น ๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้

ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้

ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร.

บท ๔

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บทสี่อันยืนยันได้ที่เรายกขึ้นแสดงแล้ว

อันวิญญูบุรุษจะพึงรู้เนื้อความได้ด้วยปัญญาไม่นานเลย มีอยู่ เราจักแสดงแก่

เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งบทสี่อันยืนยันได้ ที่เรายก

ขึ้นแสดงแล้วนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกไหนเป็นข้าพระองค์ทั้งหลาย และพวก

ไหนจะเป็นผู้รู้ทั่งถึงธรรมได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศาสนาใดเป็นผู้หนักในอามิส รับมรดกแต่ส่วนที่

เป็นอามิส ข้องอยู่ด้วยอามิส แม้ศาสดานั้นย่อมไม่มีคุณสมบัติเหมือนดังของ

ตลาดซึ่งมีราคาขึ้น ๆ ลง ๆ เห็นปานนี้ว่า ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา เราพึง

ทำเหตุนั้น ก็เมื่อเหตุอย่างนี้ไม่พึงมีแก่เรา เราไม่พึงทำเหตุนั้น ดังนี้. ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่าตถาคตจึงไม่ข้องด้วยอามิสโดยประการทั้งปวงอยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาพนี้ย่อมมีแก่สาวก ผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

ของพระศาสดาแล้วพระพฤติด้วยจงใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดา

เราเป็นสาวก พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงรู้ เราไม่รู้ คำสอนของพระศาสดา

ย่อมงอกงามมีโอชาแก่สาวกผู้มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้ว

พระพฤติ. สภาพนี้ ย่อมมีแก่สาวกผู้มีศรัทธาผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดา

แล้วประพฤติ ด้วยตั้งใจว่า เนื้อและเลือดในสรีระของเราจงเหือดแห้งไป. จะ

เหลืออยู่แต่หนังและเอ็นและกระดูกก็ตามที เมื่อเรายังไม่บรรลุถึงอิฐผลที่จะพึง

บรรลุด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของ

บุรุษแล้ว จักคลายความเพียรนั้นเสีย จักไม่มีเลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผล

สองอย่างคือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อขันธบัญจกที่กรรมกิเลสเข้าไปยึด

ถือเป็นส่วนเหลือยังมีอยู่ ความเป็นพระอนาคามีอย่างใดอย่างหนึ่ง อันสาวกผู้

มีศรัทธา ผู้หยั่งลงในคำสอนของพระศาสดาแล้วประพฤติ พึงหวังได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดี

ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบกีฏาคิริสูตรที่ ๑๐

จบภิกขุวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

๑๐. อรรถกถากีฏาคิริสูตร

กีฏาคิริสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมา

อย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาสีสุ ในชนบทมีชื่ออย่างนี้. ในบท

ว่า เอว ตุมฺเหปิ ภิกฺขเว นี้ มีความดังต่อไปนี้ แม้พวกเธอเห็นอานิสงส์

๕ อย่างเหล่านี้ ก็จงฉันอาหารเว้นการฉันในราตรีเสีย. ด้วยประการฉะนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงให้เว้นการฉัน ๒ อย่างเหล่านี้ คือ การฉันในเวลา

วิกาลในกลางคืน ๑ การฉันในเวลาวิกาลในกลางวัน ๑ ในคราวเดียวกัน. ใน

สมัยหนึ่ง ทรงให้เว้นการฉันในเวลาวิกาลในกลางวันเสียเท่านั้น. ครั้นกาลเวลา

ล่วงไปพระองค์ทรงให้เว้นการฉันในเวลาวิกาลในกลางคืนเสีย จึงตรัสอย่างนี้.

เพราะเหตุไร. เพราะการฉัน ๒ คราวเหล่านี้ เป็นการสะสม หมกมุ่น ในวัฏฏะ

มิได้แล่นออกไปได้ดุจน้ำไหลลงแม่น้ำ กุลบุตรผู้ละเอียดอ่อนเจริญเพราะบริโภค

อาหารดีในเรือนแม้ที่สงบเงียบ เว้นการบริโภค ๒ ครั้งในคราวเดียวกันเท่านั้น

ย่อมลำบาก. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมิได้ทรงให้เว้นในคราวเดียว

กัน. ทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาลในกลางวัน ในภัททาลิสูตร ใน

สูตรนี้ ทรงให้เว้นการบริโภคในเวลาวิกาลในกลางคืน. ก็เมื่อให้ละ ทรงคุกคาม

หรือทรงข่ม. พระองค์ทรงแสดงอานิสงส์อย่างนี้ว่า พวกเธอจักรู้คุณคือความ

เป็นผู้มีอาพาธน้อย เพราะการละการบริโภคเหล่านั้นเป็นปัจจัย แล้วจึงทรงให้

เว้นเสีย. บทว่า กีฏาคิรี เป็นชื่อของนิคมนั้น. บทว่า อสฺสชิปุนพฺพสุกา

คือพระอัสสชิ และพระปนัพพสุกะ ในบรรดาภิกษุฉัพพัคคีย์ ๖ รูป ท่าน

ทั้งสองเป็นคณาจารย์. ชนทั้ง ๖ เหล่านี้ คือ ปัณฑุกะ ๑ โลหิตกะ ๑

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

เมตติยะ ๑ ภุมมชกะ ๑ อัสสชิ ๑ ปุนัพพสุกะ ๑ ชื่อว่า ฉัพพัคคีย์. ใน

ฉัพพัคคีย์เหล่านั้น พระปัณฑุกะ และพระโลหิตกะ พาบริวารของตนไปอยู่

ณ กรุงสาวัตถี. พระเมตติยะ พระภุมมชกะ ไปอยู่ ณ กรุงราชคฤห์. อีก ๒

ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในกีฏาคิรีนิคม. บทว่า อาวาสิกา เจ้าอาวาส คือ อยู่

ประจำ. ท่านทั้งสองอยู่ประจำสร้างเสนาสนะที่ยังมิได้สร้าง ซ่อมเสนาสนะที่

ชำรุด เป็นผู้มีอิสระในการทำ. บทว่า กาลิก เป็นไปตามกาล คือ อานิสงส์ที่

พึงถึงในอนาคตกาล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงอะไร ในบทนี้ว่า มยา เจต ภิกฺขเว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงความนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉัน ๓

ครั้งต่อวันแล้วยังสุขเวทนาให้เกิด ชื่อว่า เป็นผู้ทำกิจในศาสนานี้ ก็หามิได้ดังนี้

จึงปรารภเทศนานี้. อนึ่ง บทว่า เอวรูป สุข เวทน ปชทถ พวกเธอ

จงละสุขเวทนาเห็นปานนี้เสียเถิด นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยสามารถโสมนัส

อันอาศัยกามคุณ. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหรถ พวกเธอจงเข้าถึงสุขเวทนา

เห็นปานนี้อยู่เถิด นี้พระองค์ตรัสด้วยสามารถแห่งโสมนัสอาศัยเนกขัมมะ. พึง

ทราบความด้วยสามารถแห่งโทมนัส และ อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะในวาระ ๒

แม้อื่นจากนี้อย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงเวทนาที่ควรเสพและไม่ควรเสพ

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงกิจที่ภิกษุควรทำและไม่ควรทำ ด้วยความ

ไม่ประมาทจึงตรัสบทมีอาทิว่า นาห ภิกฺขเว สพฺเพส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราหาได้กล่าวว่า กิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทย่อมมีแก่ภิกษุทั้งปวงดังนี้ไม่.

บทว่า กต เตส อปฺปมาเทน เพราะภิกษุเหล่านั้นได้ทำกิจสำเร็จแล้วด้วย

ความไม่ประมาท คือ กิจใดอันภิกษุเหล่านั้นพึงทำด้วยความไม่ประมาท กิจนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

ได้ทำเสร็จแล้ว. บทว่า อนุโลมิกานิ ความว่า เสนาสนะอันสมควรแก่

การปฏิบัติ มีกรรมฐานเป็นที่สบาย. อันผู้อยู่ในเสนาสนะสามารถบรรลุมรรค

ผลได้. บทว่า อินฺทฺริยานิ สมนฺนานยมานา ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่

คือ ทำอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นให้เสมออยู่.

ภาคเจ้าทรงแสดงถึงอะไรในบทนี้ว่า สตฺตีเม ถิกฺขเว

ปุคฺคลา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๗ จำพวกมีอยู่ในโลก. พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงความนี้ว่า บุคคลมีอยู่ ๗ จำพวกเหล่านี้ แม้ทั้งหมดอย่างนี้ คือ

บุคคลที่ไม่มีกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท มี ๒ จำพวก. บุคคลผู้ที่มีกิจที่ควร

ทำด้วยความประมาท มี ๕ จำพวก. ในบทเหล่านั้น บทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต

คือ ผู้พ้นโดยส่วนสอง. พ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ ๑ พ้นจากนามกาย

ด้วยมรรค ๑. บุคคลนั้นออกจากสมาบัติอย่างหนึ่ง ๆ แห่งอรูปสมาบัติ ๔

พิจารณาถึงสังขารแล้วออกจากนิโรธ ของบุคคล ๔ จำพวกผู้บรรลุพระอรหัต

เป็นบุคคล ๕ จำพวกด้วยสามารถแห่งพระอนาคามีผู้บรรลุพระอรหัต. อนึ่ง

บาลีในบทนี้มาแล้วด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ได้วิโมกข์ ๘ ในอภิธรรม อย่าง

นี้ว่า ก็อุภโตภาควิมุตบุคคลเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘

ด้วยกายอยู่และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจธรรมนั้น ด้วย

ปัญญาดังนี้.

บุคคลชื่อว่า ปัญญาวิมุต เพราะพ้นด้วยปัญญา. ปัญญาวิมุตบุคคล

นั้น มี ๕ ด้วยสามารถแห่งบุคคลเหล่านี้ คือ เป็นสุกขวิปัสสก ๑ ผู้ออกจาก

ฌาน ๔ แล้วบรรลุพระอรหัตอีก ๔ แต่บาลีในบทนี้มาแล้วด้วยสามารถการ

ปฏิเสธวิโมกข์ ๘. เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ก็บุคคลนั้นแลหา

ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ไม่. อาสวะของเขาสิ้นไปแล้วเพราะเห็นอริยสัจ-

ธรรมนั้นด้วยปัญญา. บุคคลนี้เรากล่าวว่าปัญญาวิมุตบุคคล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

บุคคลชื่อ กายสักขี เพราะทำให้แจ้งธรรมที่ถูกต้องแล้วนั้น. บุคคล

ใดถูกต้องผัสสะคือฌาน เป็นครั้งแรก ภายหลังจึงทำให้แจ้งนิพพานอันเป็น

ความดับสนิท พึงทราบบุคคลนั้นมี ๖ ตั้งต้นแต่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

จนถึงบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกายอยู่ อาสวะบางเหล่าของบุคคล

นั้นสิ้นไป เพราะเห็นอริยสัจธรรมนั้นด้วยปัญญา. บุคคลนี้เรากล่าวว่ากาย-

สักขีบุคคล.

บุคคลชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ เพราะบรรลุธรรมที่เห็นแล้วนั้น. ในบทนี้

มี ลักษณะโดยสังเขปดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล เพราะเป็นผู้รู้ เห็น

รู้แจ้ง ทำให้แจ้ง ถูกต้องด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ การดับสังขาร

ทั้งหลายเป็นสุข ดังนี้. แต่โดยพิสดารแม้บุคคลนี้ก็มี ๖ ดุจกายสักขีบุคคล.

ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. อนึ่ง ธรรมทั้ง

หลายที่ตถาคตประกาศแล้วเป็นธรรมอันผู้นั้นเห็น เห็นแจ้งแล้ว ด้วยปัญญา

ประพฤติดีแล้ว . บุคคลนี้เรากล่าวว่า ทิฏฐิปัตตบุคคล.

บุคคลชื่อว่า สัทธาวิมุต เพราะน้อมใจเธอด้วยศรัทธา. แม้สัทธา-

วิมุตบุคคลนั้นก็มี ๖ ตามนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

นิทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์. อนึ่ง ความเชื่อในพระตถาคตของ

ผู้นั้นตั้งมั่นแล้วมีรากหยั่งลงมั่นแล้ว. บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธาวิมุตบุคคล.

จริงอยู่ในบุคคลเหล่านี้ ขณะของกิเลสย่อมมีแก่สัทธาวิมุตบุคคล ดุจ

แก่ผู้เชื่อ ดุจแก่ผู้สำเร็จและดุจแก่ผู้น้อมใจเชื่อในขณะมรรคอันเป็นส่วนเบื้อง

ต้น. ญาณตัดกิเลสของทิฏฐิปัตตบุคคล เป็นญาณปรารภคมกล้า ย่อมนำไปใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

ขณะแห่งมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้น. เพราะฉะนั้นเหมือนเอาดาบที่ไม่คมตัด

ต้นกล้วย ที่ที่ขาดย่อมไม่เกลี้ยงเกลา ดาบสก็ไม่ผ่านไปฉับพลัน. ยังได้ยินเสียงจึง

ต้องทำความพยายามอย่างแรงฉันใด. การเจริญมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นของ

สัทธาวิมุตบุคคลก็เห็นปานนั้น. อนึ่ง เหมือนเอาดาบที่ลับจนคมกริบตัด

ต้นกล้วย ที่ที่ตัดก็เกลี้ยงเกลา. ดาบก็ผ่านไปได้ฉับพลัน เสียงก็ไม่ได้ยิน ไม่ต้อง

พยายามอย่างแรงฉันใด. พึงทราบการเจริญมรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นของ

ปัญญาวิมุตบุคคลก็ฉันนั้น.

บุคคลชื่อว่า ธัมมานุสารี เพราะระลึกเนือง ๆ ในธรรม. บทว่า

ธมฺโม คือ ปัญญา. อธิบายว่า เจริญมรรคอันมีปัญญาเป็นเบื้องหน้า. อนึ่ง ใน

สัทธานุสารีบุคคล ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บุคคลทั้งสองนี้ เป็นผู้ตั้งอยู่ใน

โสดาปัตติมรรคเช่นกัน. แม้ข้อนี้ท่านก็กล่าวไว้ว่า เมื่อบุคคลปฏิบัติเพื่อทำให้

แจ้งโสดาปัตติผล อินทรีย์ย่อมมีประมาณยิ่ง. ผู้นำปัญญา ย่อมเจริญมรรคอัน

มีปัญญาเป็นหัวหน้า. บุคคลนี้เรากล่าวว่า ธัมมานุสารีบุคคล. อนึ่ง เมื่อบุคคล

ใดปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สัทธินทรีย์ย่อมมีประมาณยิ่ง. ผู้นำศรัทธา

ย่อมเจริญอริยมรรคอันมีศรัทธาเป็นหัวหน้า. บุคคลนี้เรากล่าวว่า สัทธานุสารี.

นี้เป็นความสังเขปในบทนี้.

แต่โดยพิสดาร กถามีอุภโตภาควิมุตกถาเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ใน

อธิการแห่งปัญญาภาวนาในวิสุทธิมรรค. เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยดัง

กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นนั่นแล.

เพื่อแสดงวิภาคแห่งบุคคลเหล่านั้นจึงยกบาลีมาในที่นี้. พึงทราบ

ข้อความในบาลีนั้นดังต่อไปนี้. เพราะชื่อว่าอรูปสมาบัติเว้นรูปสมาบัติเสียแล้ว

ย่อมมีไม่ได้. ฉะนั้นแม้เมื่อกล่าวว่า อารุปฺปา ก็พึงทราบว่า เป็นอันท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

กล่าวถึงวิโมกข์ ๘ ด้วย. บทว่า กาเยน ผุสิตฺวา คือถูกต้องด้วยนามกาย

อันเกิดร่วมกัน. บทว่า ปญฺาย จสฺส ทิสฺวา คืออาสวะบางเหล่าของเขา

สิ้นไปแล้วเพราะเห็นอริยสัจธรรมนั้น. เพราะเหตุนั้นควรละอาสวะส่วนหนึ่ง

ด้วยปฐมมรรคเป็นต้น . บทว่า ตถาคตปฺ ปเวทิตา คืออริยสัจ ๔ อัน

พระตถาคตทรงประกาศแล้ว. บทว่า ปญฺาย โวทิฏฺา โหนฺติ คือธรรม

ทั้งหลายเป็นอันผู้นั้นเห็นดีแล้วด้วยมรรคปัญญา เพราะสะสมความประพฤติไว้

ในอรรถด้วยอรรถ ในเหตุด้วยเหตุอย่างนี้ว่า ศีล สมาธิ วิปัสสนา มรรคและผล

ท่านกล่าวไว้ในที่นี้. บทว่า โวจริตา คือประพฤติดีแล้ว. บทว่า สทฺธา

นิวิฏฺา โหติ ได้แก่ โอกัปปนศรัทธาตั้งมั่นแล้ว.

บทว่า มตฺตโส นิชฺฌาน ชมนฺติ ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคต

ประกาศแล้วย่อมควรซึ่งความเพ่งพินิจโดยประมาณ. คือควรตรวจดูโดยประ-

มาณ. บทว่า สทฺธามตฺต คือศรัทธานั่นแหละ. บทนอกนั้นเป็นไวพจน์ของ

บทว่า สทฺธามตฺต นั่นเอง.

เพราะเหตุนี้ในบุคคลผู้ควรทำด้วยความไม่ประมาทเหล่านี้ พระเสขะ

ผู้แทงตลอดมรรคผล ๓ จำพวกเหล่านั้นเสพเสนาสนะอันสมควร คบกัลยาณ-

มิตร ทำอินทรีย์ให้เสมออยู่ย่อมถือเอาพระอรหัตตามลำดับ. เพราะฉะนั้น

อธิบายความแห่งบาลีแห่งบทเหล่านั้นเป็นอันตั้งไว้ตามสมควรแล้ว.

อนึ่งในที่สุดท่านผู้เพียบพร้อมด้วยโสดาปัตติมรรคทั้งสองเหล่านั้น

เสพเสนาสนะอันสมควรแก่มรรคนั้น คบกัลยาณมิตรทำอินทรีย์ให้สงบ เสพ

คบ ทำอินทรีย์ให้เสมอ เพื่อประโยชน์แก่มรรค ๓ ในเบื้องบน จักบรรลุ

พระอรหัตตามลำดับ นี้เป็นความอธิบายบาลีในสูตรนี้ด้วยประการฉะนี้. ส่วน

ท่านผู้พูดนอกรีตนอกรอยจับเอาบาลีนี้นี่แหละแล้วกล่าวว่า โลกุตตรมรรคมิได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

เป็นไปในขณะจิตดวงเดียวแต่เป็นไปในขณะจิตหลายดวง. พึงกล่าวกะผู้พูด

นั้นว่า ผิว่า เสพเสนาสนะด้วยจิตดวงหนึ่ง คบกัลยาณมิตรด้วยจิตดวงหนึ่ง

ทำอินทรีย์ให้เสมอด้วยจิตดวงหนึ่งท่านหมายว่า มรรคจิตเป็นจิตดวงอื่น แล้ว

กล่าวว่ามรรคมิได้เป็นไปในขณะจิตดวงหนึ่ง เป็นไปในขณะจิตหลายดวงน่ะซิ.

เมื่อเป็นอย่างนั้นผู้เสพเสนาสนะย่อมเห็นภูเขามีแสงสว่างเป็นสีเขียว เห็นป่า ได้

ยินเสียงเนื้อและนก ดมกลิ่นดอกไม้ ผลไม้ ดื่มน้ำ ลิ้มรส นั่ง นอน ถูก

ต้องผัสสะ. เมื่อเป็นอย่างนั้น แม้ความเพียบพร้อมด้วยวิญญาณ ๕ ก็จักเป็น

ความเพียบพร้อมแห่งโลกุตตระนั่นเอง. ก็หากท่านรับข้อนั้น. ย่อมขัดกับ

พระศาสดา. พระศาสดาตรัสถึงกองแห่งวิญญาณ ๕ ว่าเป็นอัพยากฤตโดยส่วน

เดียว. เป็นการคัดค้านกุศลและอกุศลของผู้เพียบพร้อมด้วยมรรคนั้น. อนึ่ง

โลกุตตรมรรคเป็นกุศลส่วนเดียว. เพราะฉะนั้นควรประกาศให้รู้ไว้ว่าท่านจง

ละวาทะนั้นเสีย. หากผู้พูดนั้นไม่ยอมตามสัญญาควรส่งไปด้วยคำว่า ท่านจงไป

จงเข้าไปสู่วิหารแต่เช้าตรู่แล้วดื่มยาคู.

บทว่า นาห ภกฺขเว อาทิเกเนว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

ไม่กล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตผลเป็นครั้งแรกเท่านั้น ดุจกบกระโดดไปฉะนั้น.

บทว่า อนุปุพฺพสิกฺขา เป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ แปลว่า

ด้วยการศึกษาโดยลำดับ. แม้ใน ๒ บทต่อไปก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า

สทฺธาชาโต เกิดศรัทธาคือมีศรัทธาเกิดแล้วด้วยศรัทธาอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

สำเร็จ. บทว่า อุปสงฺกมิ คือย่อมเข้าไปหาครู. บทว่า ปยิรุปาสติ คือ

ย่อมนั่งในสำนักครู. บทว่า ธาเรติ คือย่อมทรงไว้ทำให้คล่องแคล่ว. บทว่า

ฉนฺโท ชายติ ฉันทะย่อมเกิด ได้แก่ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำย่อม

เกิด. บทว่า อุสฺสหติ ย่อมอุตสาหะ คือทำความเพียร. บทว่า ตุเลติ ย่อม

ไตร่ตรองคือไตร่ตรองว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. บทว่า ตุลยิตฺวา

ปทหติ ครั้นไตร่ตรองแล้วย่อมตั้งความเพียร คือเมื่อไตร่ตรองด้วยวิปัสสนา

เป็นเครื่องพิจารณาอย่างนี้ย่อมตั้งความเพียรในมรรค. บทว่า ปหิตฺตโต คือ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

มีตนส่งไปแล้ว. บทว่า กาเยน เจว ปรมสจฺจ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งบรมสัจจะ

ด้วยกาย คือย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพานสัจจะด้วยนามกาย. บทว่า ปญฺาย จ

คือย่อมแทงตลอด ย่อมเห็นด้วยมรรคปัญญาอันสัมปยุตด้วยนามกาย.

บัดนี้เพราะภิกษุเหล่านั้นได้ข่าวว่าพระศาสดาเสด็จมาไม่ทำแม้เพียงการ

ต้อนรับ. ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงติเตียนความประพฤติของภิกษุ

เหล่านั้นจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า สาปิ นาม ภิกฺขเว สทฺธา นาโหสิ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลายแม้ศรัทธาก็ไม่มีดังนี้ . ในบทเหล่านั้นบทว่า กีวทูเรวีเม คือใน

ที่ไกลแสนไกล. ควรจะกล่าวว่าได้หลีกไปแล้วร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง.

แต่ไม่กล่าวอะไร ๆ ได้เลย.

บทว่า จตุปฺปฺท เวยฺยากรณ ท่านกล่าวหมายถึงการพยากรณ์อริย-

สัจ ๔. บทว่า ยสฺสุทฺทิฏฺสฺส ตัดบทเป็น ยสฺส อุทฺทฏฺสฺส ความว่า

อันเรายกขึ้นแสดงเเล้ว. บทว่า โยปิ โส ภกฺขเว สตฺถา ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลายศาสดาใด ท่านแสดงถึงศาสดาภายนอก. บทว่า เอวรูปี คือมีชาติอย่างนี้.

ปโณปณวิยา เหมือนดังของตลาด คือมีราคาขึ้น ๆ ลง ๆ. บท น อุเปติ

ไม่เข้าถึง คือไม่มี. อธิบายว่า ไม่มีราคาขึ้น ๆ ลง ๆ ดุจเวลาซื้อและขาย. เมื่อ

พูดว่าโคตัวนี้ราคาเท่าไร ราคา ๒๐ ชื่อว่าราคาขึ้น. เมื่อพูดว่าโคตัวนี้ราคาไม่

ถึง ๒๐ ราคา ๑๐ เท่านั้นชื่อว่าราคาลง. เมื่อพูดปฏิเสธคำนี้ ชื่อว่าราคาไม่ขึ้น

ไม่ลง.

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการขึ้น ๆ ลง ๆ นั้นจึงตรัสว่า

ก็เมื่อเหตุอย่างนี้พึงมีแก่เรา. เราพึงทำเหตุนั้น. ก็เมื่อเหตุนั้นไม่พึงมีแก่เรา

เราไม่พึงทำเหตุนั้น. บทว่า กึ ปน ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทำไมเล่า

ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเกี่ยวข้องด้วยอามิสทั้งหลายโดยประการ

ทั้งปวง. การมีราคาขึ้น ๆ ลง ๆ เห็นปานนี้จักควรอย่างไร แก่พระศาสดา

ผู้เกี่ยวข้องแล้วอย่างนี้. บทว่า ปริโยคยฺห วตฺตโต ผู้หยั่งลงแล้วประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

คือหยั่งลงยกขึ้นถือเอาแล้วประพฤติ. บทว่า อย ปน ธมฺโม คือสภาพนี้.

บทว่า ชานาติ ภควา นาห ชานามิ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ เราไม่รู้

คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้อานิสงส์ในการฉันอาหารหนเดียว เราไม่รู้. ภิกษุ

เว้นการฉัน ๓ ครั้งต่อวันด้วยเชื่อในเราแล้ว ฉันอาหารหนเดียว. บทว่า

รุฬฺหนึย คืองอกงาม. บทว่า โอชวนฺต มีโอชาคือมีความอร่อย. พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงความเพียรมีองค์ ๔ ด้วยบทนี้ว่า กาม ตโจ จ จริงอยู่

ในบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า บุคคลตั้งความเพียรประกอบด้วยองค์

๔ อย่างนี้ คือ หนังเป็นองค์ ๑ เอ็นเป็นองค์ ๑ กระดูกเป็นองค์ ๑ เนื้อและ

เลือดเป็นองค์ ๑ แล้วปฏิบัติอย่างนี้ว่า เราไม่บรรลุพระอรหัตแล้วจักไม่ลุกขึ้น

ดังนี้. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยธรรมเป็นยอดแห่งพระอรหัต

ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ควรแนะนำได้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถากีฏาคิริสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรในวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ

๑. จูฬราหุโลวาทสูตร ๒. มหาราหุโลวาทสูตร

๓. จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร ๔. มหามาลุงกยโอวาทสูตร

๕. ภัททาลิสูตร ๖. ลฑุกิโกปมสูตร

๗. จาตุมสูตร ๘. นฬกปานสูตร

๙. โคลิสสานิสูตร ๑๐. กีฏาคิริสูตร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

๓. ปริพพาชกวรรค

๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร

เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร

[๒๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กุฏาคารศาลาในป่า

มหาวัน เขตเมืองเวสาลี ก็สมัยนั้น ปริพาชกวัจฉโคตร อาศัยอยู่ใน

ปริพาชการาม ซึ่งมีต้นมะม่วงขาวต้นหนึ่ง. ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงนุ่งห่มแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังเมือง

เวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า เราะจะเที่ยวบิณฑบาตใน

เมืองเวสาลีก่อนก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปหาวัจฉโคตรที่ปริพาชการาม

อันมีต้นมะม่วงขาวต้นหนึ่งเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหา

ปริพาชกวัจฉโคตร ถึงปริพาชการาม ซึ่งมีต้นมะม่วงขาวต้นหนึ่ง ปริพาชก

วัจฉโคตรได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล แล้วได้กราบทูลว่า ขอเชิญ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาเถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาดีแล้ว

กว่าจะเสด็จมาในที่นี้นานทีเดียว ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง นี้

อาสนะที่ปูลาดไว้แล้ว แม้ปริพาชกวัจฉโคตรก็ถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่ง นั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๒๔๑] ปริพาชกวัจฉโคตรนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณโคดม

เป็นสัพพัญญู มีปรกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสนะ ไม่มีส่วน

เหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสนะปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

แล้วเสมอติดต่อกันไป ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณ-

โคดมเป็นสัพพัญญู มีปรกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสนะไม่มีส่วน

เหลือว่า เมื่อเราเดินไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับอยู่ก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสนะ

ปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไป ดังนี้ เป็นอันกล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำที่ไม่เป็นจริง และ

ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรมแลหรือ อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไป

กับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้จะดึงติเตียนแลหรือ.

ดูก่อนวัจฉะ ชนที่กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นสัพพัญญู มี

ปรกติเห็นธรรมทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสนะไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดิน

ไปก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับก็ดี ตื่นก็ดี ญาณทัสนะปรากฏแล้วเสมอติดต่อกันไป

ดังนี้ไม่เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว และชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่มี

ไม่เป็นจริง.

พยากรณ์วิชชา ๓

[๒๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าทั้งหลายจะพยากรณ์อย่างไร

จึงจะเป็นอันกล่าวตามพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง เป็นอันพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่ง

วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วยเหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้จะพึง

ติเตียนเล่า.

ดูก่อนวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะดังนี้

แล เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง

ชื่อว่าพยากรณ์ถูกสมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันเป็นไปกับด้วย

เหตุบางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้พึงติเตียนเลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะระลึกถึงชาติก่อนได้

เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง

ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้า

สิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็น

อันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง

ว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์

อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดใน

ภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณ

อย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยทุกข์เสวยสุขอย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียง

เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อน

ได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนวัจฉะ ก็เราเพียงต้องการเท่านั้น ย่อมจะเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ

กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก

ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตาม

กรรมว่าสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน

พระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เขาเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโน

สุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ

สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก. เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

ดูก่อนวัจฉะ เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน

แล้วเข้าถึงอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

ดูก่อนวัจฉะ เมื่อบุคคลพยากรณ์ว่า พระสมณโคดมเป็นเตวิชชะ

เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่เป็นจริง เป็น

อันพยากรณ์ถูก สมควรแก่ธรรม อนึ่ง วาทะและอนุวาทะอันไปกับด้วยเหตุ

บางอย่าง จะไม่มาถึงฐานะที่ผู้รู้พึงติเตียน.

ลัทธิเดียรถีย์ไปสวรรค์ไม่ได้

[๒๔๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปริพาชกวัจฉโคตร

ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดม คฤหัสถ์บางคนยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้

เมื่อตายไป ย่อมทำที่สุดทุกข์ได้มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ คฤหัสถ์ที่ยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้แล้ว เมื่อตาย

ไปจะทำที่สุดทุกข์ได้นั้น ไม่มีเลย.

ข้าแต่พระโคดม ก็คฤหัสถ์บางคนยังละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ไม่ได้ เมื่อ

ตายไป เข้าถึงโลกสวรรค์ได้ มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ คฤหัสถ์ที่ละสังโยชน์ของคฤหัสถ์ยังไม่ได้แล้ว เมื่อตาย

ไปได้ไปสวรรค์นั้น ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย

ไม่ใช่ห้าร้อย เท่านั้น โดยที่แท้ มีอยู่มากทีเดียว.

ข้าแต่ท่านพระโคดม อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้

มีอยู่บ้างหรือ.

ดูก่อนวัจฉะ ยาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะทำที่สุดทุกข์ได้นั้น

ไม่มีเลย.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็อาชีวกบางคน เมื่อตายไป จะไปสวรรค์ได้

มีอยู่หรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

ดูก่อนวัจฉะ แต่ภัทรกัปนี้ไปได้เก้าสิบเอ็ดกัปที่เราระลึกได้ เราจักได้

รู้จักอาชีวกบางคนที่ไปสวรรค์หามิได้ นอกจากอาชีวกคนเดียว ที่เป็นกรรมวาที

กิริยวาที.

ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนั้น ลัทธิของเดียรถีย์เป็นอันสูญ

โดยที่สุดจากคุณเครื่องไปสู่สวรรค์น่ะซี.

อย่างนั้นวัจฉะ ลัทธิของเดียรถีย์นี้ เป็นอันสูญโดยที่สุด แม้จากคุณ

เครื่องไปสู่สวรรค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ปริพาชกวัจฉโคตร

ยินดี ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบจูฬวัจฉโคตตสูตรที่ ๑

อรรถกถาปริพพาชกวรรค

๑. อรรถกถาเตวิชชวัจฉสูตร

เตวิชชวัจฉสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับ

มาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นว่า เอกปุณฺฑริเก ต้นมะม่วงขาวท่านเรียกว่า

ปุณฑริกะ. ชื่อว่า เอกปุณฺฑริโก เพราะต้นปุณฑริกต้นนั้นมีอยู่ต้นเดียวใน

อารามนั้น. บทว่า เอตทโหสิ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงมีพระดำริ เพราะ

มีพระประสงค์จะเสด็จเข้าไป ในปริพพาชการามนั้น. บทว่า จิรสฺส โข ภนฺเต

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญกว่าพระองค์จะเสด็จมานานทีเดียว หมายถึงเคยเสด็จมาตาม

๑ บาลีว่า จฬวัจฉโคตตสูตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ปรกติ. ในบทว่า ธมฺมสส จ อนุธมฺม ธรรมสมควรแก่ธรรมนี้ สัพพัญญุตญาณ

ชื่อว่า ธรรม. การพยากรณ์แก่มหาชนชื่อว่า อนุธรรม (ธรรมสมควร).

บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในชีวกสูตรนั้นแล. บทว่า น เม ไม่เป็นอันกล่าว

ตามคำที่เรากล่าวแล้ว คือ ตั้งอยู่ในความไม่เห็นชอบ ปฏิเสธแม้ความเห็นชอบ.

เพราะพระสัพพัญญูมีปรกติเห็นสิ่งทั้งปวง ทรงปฏิญญาญาณทัสนะ ไม่มีส่วน

เหลือ ฉะนั้นญาณทัสนะนี้ควรรู้ตาม. บทว่า จรโต จ เม ปจฺจุปฏฺิต เมื่อ

เราเดินไปก็ดี ญาณทัสนะปรากฏแล้วนี้ ไม่สมควรรู้ตาม. เพราะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงคำนึงด้วยพระสัพพัญญุตญาณแล้วทรงรู้. ฉะนั้นทรงตั้งอยู่ในความ

ไม่เห็นชอบ ปฏิเสธแม้ความชอบจึงตรัสอย่างนี้. ในบทว่า อาสวาน ขยา

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสว่า เพียงใด. เพราะอาสวะทั้งหลายที่สิ้นไปแล้ว

ครั้งเดียว มิได้มีอาสวะที่จะพึงสิ้นไปอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวย่อ

พระคุณทั้งสิ้นด้วยวิชชา เหล่านี้ คือ ทรงแสดงคุณ คือ ความรู้ในอดีต

ด้วยปุพเพนิวาสญาณ ๑ ทรงแสดงคุณ คือ ความรู้ในปัจจุบัน ด้วยทิพจักขุ-

ญาณ ๑ ทรงแสดงโลกุตตรญาณ ด้วยอาสวักขยญาณ ๑. บทว่า คิหสโยชน

สังโยชน์ของคฤหัสถ์ คือ ความผูกพันของคฤหัสถ์คือความใคร่ในบริขารของ

คฤหัสถ์. บทว่า นตฺถิ โข วจฺฉ ดูก่อนวัจฉะ ไม่มีเลย คือ ผู้ยังไม่ละ

คิหิสังโยชน์ ชื่อว่าจะทำที่สุดทุกข์ย่อมไม่มี. แม้บุคคลเหล่าใดดำรงเพศคฤหัสถ์

คือ สันตติมหาอำมาตย์ อุคคเสนะ เศรษฐีบุตร วีตโสกธารกะ ก็บรรลุ

พระอรหัตได้. แม้บุคคลเหล่านั้น ก็ยังความใคร่ในสังขารทั้งปวงให้แห้งไป

ด้วยมรรคแล้วบรรลุได้. แต่เมื่อบรรลุแล้วก็ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพศนั้น. ชื่อว่าเพศ

คฤหัสถ์นี้เลว ไม่สามารถทรงคุณอันสูงสุดไว้ได้. เพราะฉะนั้น ผู้ตั้งอยู่ในเพศ

คฤหัสถ์นั้นบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมบวช หรือปรินิพพานในวันนั้นเอง. แต่

ภุมมเทวดายังดำรงอยู่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะมีโอกาสที่จะแฝงตัวอยู่ได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

ในกามภพที่เหลือ พระอริยบุคคล ๓ จำพวกมีพระโสดาบันเป็นต้น ยัง

ดำรงอยู่ได้ในมนุษยโลก. ในกามาวจรเทวโลก พระโสดาบันและพระสกทาคามี

ยังดำรงอยู่ได้. แต่พระอนาคามีและพระขีณาสพจะดำรงอยู่ในกามาวจรเทวโลก

นี้ไม่ได้. เพราะเหตุไร. เพราะที่นั้นมิใช่เป็นที่อยู่ของชนผู้ละอายแล้ว. และที่

นั้นมิใช่เป็นที่ปกปิดที่สมควรแก่วิเวกขอพระขีณาสพเหล่านั้น.

ด้วยประการฉะนี้ พระขีณาสพจึงปรินิพพาน ณ ที่นั้น. พระอนาคามี

จุติแล้วไปเกิดในชั้นสุทธาวาส. พระอริยะแม้ ๘ จำพวก ย่อมดำรงอยู่ในภูมิ

เบื้องบน แต่กามาวจรเทวโลกได้. บทว่า โสจาปิ กมฺมวาที คือ อาชีวกที่

เป็นกรรมวาที. บทว่า กิริยวาที พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้านผู้อื่นแล้ว

ทรงกล่าวถึงพระองค์เองเท่านั้นในที่สุด ๘๙ กัป. ได้ยินว่า ในครั้งนั้นพระ-

มหาสัตว์ทรงผนวชเพื่อทรงสอบสวนลัทธิปาสัณฑะ (เป็นลัทธิเกี่ยวกับตัณหา

และทิฏฐิ). ครั้นทรงทราบว่าลัทธิปาสัณฑะนั้นไม่มีผล ก็มิได้ทรงเลิกละความ

เพียรได้เป็นกิริยวาทีไปบังเกิดบนสวรรค์. เพราะฉะนั้นจึงตรัสอย่างนี้. บทที่

เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาเตวิชชวัจฉสูตรที่ ๑

๑. บาลีว่า ๙๑ กัป

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร

[๒๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ปริพาชกวัจฉโคตร

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ทิฏฐิ ๑๐ อย่าง

[๒๔๕] ปริพาชกวัจฉโคตร นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูล

ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้

เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง

สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด

สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า ชีพก็อันนั้น

สรีระก็อันนั้น สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า ชีพก็อย่าง

หนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้อง

หน้าแต่ตายไป มีอยู่ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้อง

หน้าแต่ตายไป ไม่มีอยู่ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้อง

หน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้อง

หน้าแต่ตายไป มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดัง

นี้หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น.

[๒๔๖] พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่าน

พระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ดังนี้หรือ

ก็ตรัสตอบว่า ดูก่อนวัจฉะ เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น ฯ ล ฯ พระองค์อันข้าพเจ้า

ทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงเห็นอย่างนี้ว่า สัตว์เบื้อง

หน้าแต่ตาย มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ดังนี้หรือ ก็ตรัสตอบว่า ดูก่อนวัจฉะ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น ก็ท่านพระโคดมทรงเห็นโทษอะไรหรือ จึงไม่ทรงเข้า

ถึงทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการทั้งปวงเช่นนี้.

[๒๔๗] ดูก่อนวัจฉะ ความเห็นว่าโลกเที่ยง . . . โลกไม่เที่ยง . . .

โลกมีที่สุด. . . โลกไม่มีที่สุด. . . ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น. . . ชีพก็อย่างหนึ่ง

สรีระก็อย่างหนึ่ง . . . สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่

มีอยู่. . . สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี . . . สัตว์เบื้องหน้าแต่

ตายไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้นั้น เป็นความเห็นที่รกชัฏ เป็น

ความเห็นอย่างกันดาร เป็นความเห็นที่เป็นเสี้ยนหนาม เป็นความเห็นที่กวัด-

แกว่ง เป็นความเห็นเครื่องผูกสัตว์ไว้ เป็นไปกับด้วยทุกข์ เป็นไปกับด้วยความ

ลำบาก เป็นไปกับด้วยความคับแค้น เป็นไปกับด้วยความเร่าร้อน ไม่เป็นไป

เพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อสงบระงับ เพื่อ

ความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน .

ดูก่อนวัจฉะ เราเห็นโทษนี้แล จึงไม่เข้าถึงทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการ

ทั้งปวงเช่นนี้.

ก็ความเห็นอะไร ๆ ของท่านพระโคดม มีอยู่บ้างหรือ.

ดูก่อนวัจฉะ ก็คำว่าความเห็นดังนี้ ตถาคตกำจัดเสียแล้ว ดูก่อนวัจฉะ

ก็ตถาคตเห็นแล้วว่า ดังนี้ รูป ดังนี้ ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ ความดับแห่ง

รูป ดังนี้ เวทนา ดังนี้ ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ ความดับแห่งเวทนา

ดังนี้ สัญญา ดังนี้ ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ ความดับแห่งสัญญา ดังนี้

สังขาร ดังนี้ ความเกิดแห่งสังขาร ดังนี้ ความดับแห่งสังขาร ดังนี้ วิญญาณ

ดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณ เพราะฉะนั้น

เราจึงกล่าวว่า ตถาคตพ้นวิเศษแล้ว เพราะความสิ้นไป เพราะคลาย

กำหนัด เพราะดับสนิท เพราะสละ เพราะปล่อย เพราะไม่ถือมั่น ซึ่งความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

สำคัญทั้งปวง ซึ่งความต้องการทั้งปวง ซึ่งความถือว่าเรา ว่าของเรา และ

ความถือตัวนอนอยู่ในสันดานทั้งปวง.

ปัญหาว่าด้วยผู้หลุดพ้น

[๒๔๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะ

เกิดในที่ไหน.

ดูก่อนวัจฉะ คำว่า จะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหรือ.

ดูก่อนวัจฉะ คำว่า ไม่เกิดดังนี้ ก็ไม่ควร.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ.

ดูก่อนวัจฉะ คำว่า เกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ คำว่า เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร.

[๒๔๙] พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุผู้

มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน ก็ตรัสตอบว่า ดูก่อนวัจฉะ คำว่า

จะเกิดดังนี้ไม่ควร ฯ ล ฯ พระองค์อันข้าพเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม

ถ้าเช่นนั้นเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ ก็ตรัสตอบว่า ดูก่อนวัจฉะ คำว่า

เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร ข้าแต่ท่านพระโคดม ในข้อนี้ข้าพเจ้า

ถึงความไม่รู้ ถึงความหลงแล้ว แม้เพียงความเลื่อมใสของข้าพเจ้าที่ได้มีแล้ว

เพราะวาจาที่ตรัสไว้ในเบื้องแรกของท่านพระโคดม บัดนี้ได้หายไปเสียแล้ว.

[๒๕๐] ดูก่อนวัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง

เพราะว่าธรรมนี้เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต

ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

อันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความชอบใจ

เป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยาก

ดูก่อนวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านเห็นควรอย่างใด

ก็พึงพยากรณ์อย่างนั้น ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าไฟลุกโพลงอยู่

ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า

ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรา.

ดูก่อนวัจฉะ ถ้าใคร ๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อ

หน้าท่านนี้ อาศัยอะไรจึงลุกเล่า ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงพยากรณ์ว่า

อย่างไร.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าใคร ๆ ถามข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ไฟที่ลุกโพลง

ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไรจึงลุก ข้าพเจ้าถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์อย่าง

นี้ว่า ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกอยู่.

ดูก่อนวัจฉะ ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่าไฟนี้ดับ

ไปต่อหน้าเราแล้ว.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า

ไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.

ดูก่อนวัจฉะ ถ้าใคร ๆ พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้า

ท่านนั้น ไปยังทิศไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัศจิม ทิศอุดร หรือทิศ

ทักษิณ ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อคือหญ้า

และไม้จึงลุก แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเธอ ไฟนั้น

จึงถึงความนับว่าไม่มีเธอ ดับไปแล้ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

การละขันธ์ ๕

[๒๕๑] ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึง

บัญญัติเพราะรูปใด รูปนั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็น

ดุจตาลยอด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคต

พ้นจากการนับว่ารูปมีคุณอันลึก อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก

เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด

ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด

ก็หามิได้ บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะเวทนาใด. . . เพราะ

สัญญาใด. . . เพราะสังขารเหล่าใด. . . เพราะวิญญาณใด. . . วิญญาณนั้น

ตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความ

ไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่าวิญญาณ

มีคุณอันลึก อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก เปรียบเหมือน

มหาสมุทรฉะนั้น ไม่ควรกล่าวว่าเกิด ไม่ควรจะกล่าวว่าไม่เกิด ไม่ควรจะ

กล่าวว่า เกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิดก็หามิได้.

ปริพาชกวัจฉโคตรถึงสรณคมน์

[๒๕๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปริพาชกวัจฉโคตร

ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนต้นสาละใหญ่

ในที่ใกล้บ้านหรือนิคม กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ ของต้นสาละ

ใหญ่นั้น จะหลุดร่วง กะเทาะไป เพราะเป็นของไม่เที่ยง สมัยต่อมา ต้นสาละ

ใหญ่นั้นปราศจาก กิ่ง ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้แล้ว คงเหลืออยู่แต่

แก่นล้วน ๆ ฉันใด พระพุทธพจน์ของท่านพระโคดม ก็ฉันนั้น ปราศจากกิ่ง

ใบ เปลือก สะเก็ด และกระพี้ คงเหลืออยู่แต่คำอันเป็นสาระล้วน ๆ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระ-

โคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ

เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีบในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มี

จักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย

ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ถึงท่านพระโคดม พระธรรมและภิกษุสงฆ์

ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดม จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึง

สรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้แล.

จบอัคคิวัจฉโคตตสูตรที่ ๒

๒. อรรถกถาอัคคิวัจฉ สูตร

อัคคิวัจฉโคตตสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สต ข้าพเจ้าได้สดับ

มาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า น โข อห เราไม่ได้เห็นอย่างนั้น คือ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในครั้งแรกว่าเราไม่เห็นว่าโลกเที่ยง. ในครั้งที่ ๒ ตรัส

ว่า เราไม่เห็นว่าโลกขาดสูญ. พึงทราบการปฏิเสธในทุกวาระด้วยคำมีอาทิว่า

โลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด ด้วยประการฉะนี้. วาทะนี้ว่า โหติ จ น จ โหติ

สัตว์ตายไปแล้วมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี เป็นวาทะว่าเที่ยงบางอย่างในที่นี้. วาทะนี้

ว่าสัตว์ตายไปแล้วมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ พึงทราบว่า เป็น อมราวิกเขปะ

(ทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว).

บทว่า สทุกฺข เป็นไปกับด้วยทุกข์ คือเป็นไปกับด้วยทุกข์ ด้วยทุกข์

อันเกิดแต่กิเลส และด้วยทุกข์อันเกิดแต่วิบาก. บทว่า สวิฆาต เป็นไปกับ

๑. บาลีเป็นอัคคิวัจฉโคตตสตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

ด้วยความลำบาก คือเป็นไปกับด้วยความลำบากด้วยอำนาจทุกข์ ๒ อย่างเหล่า

นั้น. บทว่า สอุปายาส เป็นไปกับด้วยความคับแค้น คือเป็นไปกับด้วยความ

คับแค้นด้วยอำนาจทุกข์เหล่านั้น. บทว่า สปริฬาห เป็นไปกับด้วยความ

เร่าร้อนด้วยอำนาจแห่งทุกข์เหล่านั้นนั่นแหละ. บทว่า กิญฺจิ ทิฏฺิคต ความว่า

วัจฉะทูลถามว่า แม้ความเห็นไร ๆ ที่พระองค์ทรงชอบ ทรงพอใจแล้วถือ

เอามีอยู่หรือ. บทว่า อปนีต นำออกไปแล้ว คือตถาคตกำจัดแล้วไม่เข้าไป

หาแล้ว . บทว่า ทิฎฺ คือเห็นด้วยปัญญา. บทว่า ตสฺมา เพราะฉะนั้น

ตถาคตได้เห็นความเกิดและความเสื่อมแห่งขันธ์ ๕. บทว่า สพฺพมญฺิตาน

ซึ่งความสำคัญทั้งปวง คือซึ่งความสำคัญคือตัณหาทิฏฐิและมานะแม้ทั้ง ๓ ทั้ง

ปวง. แม้บทว่า มถิตาน ก็เป็นไวพจน์ของบทเหล่านั้นนั่นเอง.

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกบทเหล่านั้นแล้ว เมื่อจะทรง

แสดงจึงตรัสว่า สพฺพอหงฺการมมงฺการมานานุสยาน ความถือว่าเรา ว่าของ

เราและความถือตัวอันนอนอยู่ในสันดานทั้งปวง. จริงอยู่ในบทนี้พึงทราบความ

ดังนี้. ความถือว่าเราเป็นทิฏฐิ. ความถือว่าของเราเป็นตัณหา. ความถือตัว

อันนอนอยู่ในสันดานเป็นมานะ. บทว่า อนุปาทา วิมุตฺโต ตถาคตพ้นวิเศษ

แล้วจากความไม่ถือมั่น คือพ้นเพราะไม่ถือธรรมไร ๆ ด้วยอุปาทาน ๔. บทว่า

น อุเปติ คือไม่ควร.

อนึ่ง พึงทราบความในบทนี้ดังต่อไปนี้. บทว่า น อุปปชฺชติ ไม่เกิด

นี้ ควรรู้ตาม. แต่เพราะเมื่อตรัสอย่างนี้ปริพาชกนั้น พึงถือเอาความขาดสูญ.

อนึ่งบทว่า อุปปชฺชติ ย่อมเกิด. พึงถือเอาความเที่ยงอย่างเดียว. บทว่า อุป-

ปชฺชติ จ โน อุปปชฺชติ จ เกิดก็มี ไม่เกิดก็มี พึงถือเอาความเที่ยงบางส่วน.

บทว่า เนว อุปปชฺชติ น จ อุปปชฺชติ เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

ความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วัจฉปริพาชกนี้

ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว จะไม่ได้ที่เข้าไปอยู่เป็นสุขเลย แล้วทรงตั้งอยู่

ในความไม่เห็นชอบ ทรงปฏิเสธความเห็นชอบ.

บทว่า อล ควรแล้วคือสามารถจัดแจง. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรม

คือปัจจยาการ. บทว่า อญฺตฺถ โยเคน คือมีความเพียรในทางอื่น. บทว่า

อญฺตฺถ อาจริยเกน คืออยู่ในสำนักของอาจารย์อื่นผู้ไม่รู้ปัจจยาการ. บทว่า

เตนหิ วจฺฉ ดูก่อนวัจฉะ ท่านกล่าวว่า เราถึงความลุ่มหลง ฉะนั้นเราจะย้อน

ถามท่านในข้อนี้. บทว่า อนาหาโร นิพฺพุโต ไฟไม่มีเชื้อดับไปแล้ว คือ

ไม่มีปัจจัยดับไป. บทว่า เยน รูเปน ด้วยรูปใด คือพึงบัญญัติสัตว์ว่ามีรูปด้วย

รูปใด. บทว่า คมฺภีโร คือมีคุณอันลึก. บทว่า อปฺปเมยฺโย อันใครๆ ประ-

มาณไม่ได้ คือไม่สามารถถือเอาประมาณได้. บทว่า ทุปฺปริโยคาฬฺโห หยั่ง

ถึงได้โดยยาก คือรู้ได้ยาก. บทว่า เสยฺยถาปิ มหาสมุทฺโท คือดุจมหาสมุทร

ลึก ประมาณไม่ได้ รู้ได้ยาก ฉันใด แม้พระขีณาสพก็ฉันนั้น. บทมีอาทิว่า

อุปฺปชฺชติ ไม่ควรทั้งหมดเพราะปรารภพระขีณาสพนั้น. อย่างไร. เหมือนบท

มีอาทิว่าบุคคลไปสู่ทิศตะวันออก เพราะปรารภไฟที่ดับแล้ว ไม่ควรทั้งหมด

ฉะนี้. บทว่า อนิจฺจตา เพราะความไม่เที่ยง. บทว่า สาเร ปติฏฺิต คือ

เหลือแต่แก่นคือโลกุตตรธรรม. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอัคคิวัจฉสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร

เรื่องปริพาชกวัจฉโคตร

[๒๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน-

กลันทกกนิวาปะ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกวัจฉโคตรเข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า

ข้าพเจ้าเคยกล่าวกับท่านพระโคดมเป็นเวลานานแล้ว ข้าพเจ้าขอโอกาส ขอ

ท่านพระโคดมจงทรงแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล แก่ข้าพเจ้า

โดยย่อเถิด.

พ. ดูก่อนวัจฉะ เราพึงแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล ทั้งที่เป็นอกุศล

แก่ท่านโดยย่อก็ได้ โดยพิศดารก็ได้ ก็แต่ว่าเราจักแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศล

ทั้งที่เป็นอกุศล แก่ท่านโดยย่อ ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก

กล่าว ปริพาชกวัจฉโคตรทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น

ท่านพระโคดมผู้เจริญ.

ธรรมที่เป็นอกุศลและกุศล

[๒๕๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนวัจฉะ โลภะแลเป็น

อกุศล อโลภะเป็นกุศล โทสะเป็นอกุศล อโทสะเป็นกุศล โมหะเป็นอกุศล

อโมหะเป็นกุศล ดูก่อนวัจฉะ ธรรม ๓ ข้อนี้เป็นอกุศล ธรรม ๓ ข้อ

นี้เป็นกุศล ด้วยประการฉะนี้แล. ดูก่อนวัจฉะ ปาณาติบาตแลเป็นอกุศล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล อทินนาทานเป็นอกุศล เจตนา

เครื่องงดเว้นจากอทินนาทานเป็นกุศล กาเมสุมิจฉาจารเป็นอกุศล เจตนาเครื่อง

งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นกุศล มุสาวาทเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้น

จากมุสาวาทเป็นกุศล ปิสุณาวาจาเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากปิสุณา-

วาจาเป็นกุศล ผรุสวาจาเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุสวาจาเป็นกุศล

สัมผัปปลาปะเป็นอกุศล เจตนาเครื่องงดเว้นจากสัมผัปปลาปะเป็นกุศล อภิชฌา

เป็นอกุศล อนภิชฌาเป็นกุศล พยาบาทเป็นอกุศล อัพยาบาทเป็นกุศล มิจฉา-

ทิฏฐิเป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิเป็นกุศล ดูก่อนวัจฉะ ธรรม ๑๐ ข้อนี้เป็นอกุศล

ธรรม ๑๐ ข้อนี้เป็นกุศล ด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนวัจฉะ เพราะตัณหา

อันภิกษุละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความ

ไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่

จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีประโยชน์

ของตนถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้โดยชอบ.

ภิกษุปุจฉา

[๒๕๕] ท่านพระโคดมจงยกไว้ ก็ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของท่าน

พระโคดม ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ

สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันแล้ว เข้าถึงอยู่ มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ พวกภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง

ในปัจจุบันแล้ว เข้าถึงอยู่นั้น มีมิใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย

ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

ท่านพระโคดมจงยกไว้ พวกภิกษุจงยกไว้ ก็ภิกษุณีแม้รูปหนึ่งผู้เป็น

สาวิกาของท่านพระโคดม ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่

มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ พวกภิกษุณีผู้เป็นสาวกาของเรา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพระอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตน

เองในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่

สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

อุบาสกปุจฉา

[๒๕๖] ท่านพระโคดมจงยกไว้ พวกภิกษุจงยกไว้ พวกภิกษุณีจงยก

ไว้ ก็อุบาสกแม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของท่านพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว

เป็นสพรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จัก

ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ อุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว

เป็นสพรหมจารี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จัก

ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดานั้น มีไม่ใช่แต่ร้อย

เดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่

มากทีเดียว.

ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยก

ไว้ อุบาสกทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารีจงยกไว้ ก็อุบาสก

แม้คนหนึ่ง ผู้เป็นสาวกของพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

ตามคำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันห้ามได้แล้ว ปราศจากความ

เคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสดา

มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ พวกอุบาสกผู้เป็นสาวกของเราฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว

บริโภคกาม ทำตามคำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว

ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอน

ของศาสดาอยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่

สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยก

ไว้ อุบาสกทั้งหลายฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี จงยกไว้ อุบาสก

ทั้งหลายฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม จงยกไว้ ก็อุบาสิกาแม้คนหนึ่ง

ผู้เป็นสาวิกาของท่านพระโคดม ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี เป็น

โอปปาติกะเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้นมีอัน

ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ พวกอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว

เป็นสพรหมจาริณี เป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้าสิ้นไป จัก

ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดานั้น มีไม่ใช่แต่

ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้

มีอยู่มากทีเดียว.

ท่านพระโคดมจงยกไว้ ภิกษุทั้งหลายจงยกไว้ ภิกษุณีทั้งหลายจงยก

ไว้ อุบาสกทั้งหลายฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี จงยกไว้ อุบาสก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

ทั้งหลาย ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม จงยกไว้ พวกอุบาสิกาทั้งหลาย

ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจารี ก็จงยกไว้ ส่วนอุบาสิกาแม้คนหนึ่ง ผู้เป็น

สาวิกาของท่านพระโคดมฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ทำตามคำสอน

ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึง

ความเป็นผู้แกล้วกล้าไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอนของศาสนา มีอยู่หรือ.

ดูก่อนวัจฉะ พวกอุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว

บริโภคกาม ทำตามคำสอน ผู้ทำเฉพาะโอวาท มีวิจิกิจฉาอันข้ามได้แล้ว

ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในคำสอน

ของศาสดาอยู่นั้น มีไม่ใช่แต่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่

สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้มีอยู่มากทีเดียว.

ความเป็นผู้บำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์

[๒๕๗] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมเท่านั้นจักได้บำเพ็ญ

ธรรมนี้ให้บริบูรณ์ ส่วนพวกภิกษุจักไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ไซร้ เมื่อเป็น

เช่นนี้พรหมจรรย์นี้จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้

เป็นผู้บำเพ็ญธรรมให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็น

เช่นนี้ ถ้าท่านพระโคดมจักได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์แล้วก็ดี พวกภิกษุได้

บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้วก็ดี แต่พวกภิกษุณีจักไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว เมื่อ

เป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระ-

โคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์และพวกภิกษุก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวก

ภิกษุณีก็บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้พรหมจรรย์นี้ จึงบริบูรณ์ได้ด้วย

เหตุนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

[๒๕๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมจักได้บำเพ็ญธรรม

นี้ให้บริบูรณ์ และพวกภิกษุจักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ทั้งพวกภิกษุณีจักได้

บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว แต่พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี

จักไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จักไม่บริบูรณ์ได้

ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุ

ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกฝ่าย

คฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวเป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้

พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมจักได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้

บริบูรณ์ พวกภิกษุจักได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีจักได้บำเพ็ญให้

บริบูรณ์ และพวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี จักได้บำเพ็ญ

ให้บริบูรณ์ แต่พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ไม่บำเพ็ญให้

บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่

เพราะท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้

บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว

เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว

บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์

ได้ด้วยเหตุนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์

พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก

ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ และพวก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

อุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์ นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์แล้ว แต่

พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี ก็ไม่บำเพ็ญให้บริบูรณ์

แล้วเมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่าน

พระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุใดบำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวก

ภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี

ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกามได้บำเพ็ญ

ให้บริบูรณ์ และพวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณีได้

บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ถ้าท่านพระโคดมได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์

พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกภิกษุณีได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก

ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสก

ฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกามได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ พวกอุบาสิกาฝ่าย

คฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ แต่พวก

อุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ไม่ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ เมื่อ

เป็นเช่นนี้พรหมจรรย์นี้ก็จักไม่บริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น แต่เพราะท่านพระโคดม

ได้บำเพ็ญธรรมนี้ให้บริบูรณ์ พวกภิกษุได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์ ภิกษุณีได้บำเพ็ญ

ให้บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจารี ได้บำเพ็ญให้

บริบูรณ์ พวกอุบาสกฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์

พวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว เป็นสพรหมจาริณี ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์

และพวกอุบาสิกาฝ่ายคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว บริโภคกาม ได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์

เมื่อเป็นเช่นนี้ พรหมจรรย์นี้จึงบริบูรณ์ได้ด้วยเหตุนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ปริพาชกวัจฉโคตรขอบรรพชา

[๒๕๙] ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา มีแต่จะ

น้อมไป โอนไป เบนไปสู่สมุทร คงจรดสมุทรอยู่ ฉันใด บริษัทของท่าน

พระโคดมซึ่งมีคฤหัสถ์และบรรพชิต ก็ฉันนั้น มีแต่จะน้อมไป โอนไป เป็นไป

สู่พระนิพพาน คงจรดพระนิพพานอยู่ ฉันนั้น.

ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดม

ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของ

ที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจัก

เห็นรูปฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น

เหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่า

เป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบท ในสำนักของท่านพระ-

โคดม.

ดูก่อนวัจฉะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์หวังจะบรรพชาอุปสมบทใน

ธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วงสี่เดือนไป พวก

ภิกษุเต็มใจแล้ว จึงจะให้บรรพชา อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่

ว่าเรารู้ความต่างกันแห่งบุคคลในข้อนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์เมื่อหวัง

จะบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสให้ครบสี่เดือน โดยล่วง

สี่เดือนไป พวกภิกษุเต็มใจแล้ว จึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุ

ได้ไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสให้ครบสี่ปี โดยล่วงสี่ปีไป ภิกษุทั้งหลาย

เต็มใจแล้ว จึงให้ข้าพระองค์บรรพชาอุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุเถิด ปริพาชก

วัจฉโคตร ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

สมถวิปัสสนา

[๒๖๐] ก็ท่านพระวัจฉโคตรอุปสมบทแล้วไม่นาน คือ อุปสมบทได้

กึ่งเดือน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ผลสามเบื้องต่ำที่กำหนดไว้เท่าใด ที่บุคคลพึงบรรลุด้วยญาณ

ของพระเสขะ ด้วยวิชชาของพระเสขะ ผลนั้นทั้งหมดข้าพระองค์บรรลุแล้ว

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด.

ดูก่อนวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสอง คือสมถะและ

วิปัสสนาให้ยิ่งขึ้นไปเถิด ดูก่อนวัจฉะ ธรรมทั้งสองคือ สมถะและวิปัสสนานี้

เธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดธาตุหลายประการ.

อภิญญา ๖

[๒๖๑] ดูก่อนวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธะ

หลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้

ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดดุจไปในที่

ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือน

เดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์

พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด

พรหมโลกก็ได้ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอก็จักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้

สามารถในอิทธิวิธะนั้น ๆ เทียว.

[๒๖๒] ดูก่อนวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงฟังเสียงทั้งสอง

คือเสียงทิพย์และเสียงของมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

บริสุทธิ์ล่วงโสดธาตุของมนุษย์ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็น

ผู้อาจ เป็นผู้สามารถในทิพโสตธาตุ นั้น ๆ เทียว.

[๒๖๓] ดูก่อนวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของ

สัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศ-

จากราคะ พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ พึงรู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิต

ปราศจากโทสะ พึงรู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ พึงรู้ว่าจิตมีโมหะ

หรือจิตปราศจากโมหะ พึงรู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ พึงรู้ว่าจิตหดหู่

หรือจิตฟุ้งซ่าน พึงรู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคตะ พึงรู้ว่าจิตเป็นมหัคตะ

หรือจิตไม่เป็นมหัคตะ พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า พึงรู้ว่า

จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า พึงรู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิต

เป็นสมาธิ พึงรู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ พึงรู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ

จิตหลุดพ้น พึงรู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น พึงรู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในเจโตปริย-

ญาณนั้น ๆ เทียว.

[๒๖๔] ดูก่อนวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อน

ได้เป็นอันมาก คือ พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่

ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติ

บ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัป

เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมาก

บ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น

มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้น

จุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์

อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดใน

ภพนี้ เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ

ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถ

ในบุพเพนิวาสานุสสติญาณนั้น ๆ เทียว.

[๒๖๕] ดูก่อนวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่

กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี

ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้

เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้อง

หน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์

เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า

เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ

กายแตก เขาเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ดังนี้ เราพึงเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ

เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ

ฉะนี้ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถใน

จุตูปปาตญาณนั้น ๆ เทียว.

[๒๖๖] ดูก่อนวัจฉะ เธอนั้นเพียงจักหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย

ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดังนี้ เมื่อเหตุมีอยู่ เธอจักบรรลุ

ความเป็นผู้อาจ เป็นผู้สามารถในอาสวักขยญาณนั้น ๆ เทียว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

ท่านวัจฉโคตรสำเร็จเป็นพระอรหันต์

[๒๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านวัจฉโคตรชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว

หลีกไป ครั้นแล้วหลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี

ตนส่งไปอยู่ไม่นานเท่าไร ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดของพรหมจรรย์ อันไม่มีธรรมอื่น

ยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ

ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี ก็ท่านวัจฉโคตร ได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์

ทั้งหลาย.

[๒๖๘] ก็สมัยนั้น ภิกษุเป็นอันมากพากันไปเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ท่านพระวัจฉโคตรได้เห็นภิกษุเหล่านั้น ผู้กำลังเดินไปแต่ไกล จึงเข้า

ไปหาภิกษุเหล่านั้นจนถึงที่ใกล้ แล้วได้ถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลายจะไปไหนกัน.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราทั้งหลายจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระ-

บาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ วัจฉโคตรภิกษุกราบถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

เศียรเกล้า และได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าพระองค์ได้บำเรอพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว ข้าพระองค์ได้บำเรอพระสุคตแล้ว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระวัจฉโคตร

แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

พระวัจฉโคตรถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และสั่ง

ให้กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าพระองค์บำเรอพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ข้าพระองค์

บำเรอพระสุคตแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้ใจวัจฉโคตรภิกษุด้วยใจก่อนแล้วว่า

วัจฉโคตรภิกษุเป็นเตวิชชะ มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก แม้เทวดาทั้งหลายก็บอก

เนื้อความนี้แก่เราแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัจฉโคตรภิกษุเป็นเตวิชชะ

มีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดี

ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบมหาวัจฉโคตตสูตรที่ ๓

๓. อรรถกถามหาวัจฉสูตร

มหาวัจฉสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมา

อย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า สหกถี กล่าวร่วมกัน คือ ให้ระลึก

ถึงสิ่งที่ทำแล้ว ได้สืบไมตรีต่อกันมาว่า ข้าพเจ้าเคยกล่าวกับท่านมามากแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสองสูตรก่อนแก่วัจฉปริพาชกนั้น. ตรัสอัพยาวัฏฏสังยุต

ในสังยุตตนิกายแก่วัจฉปริพาชกนั้น. ยังมีข้อความที่วัจฉปริพาชกกล่าวกับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ในอังคุตตรนิกายอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลก

เที่ยงหรือหนอ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ เพราะเหตุนั้น พระองค์ยัง

มิได้ทรงพยากรณ์ข้อนี้ไว้. เพราะฉะนั้น วัจฉปริพาชกจึงกล่าวอย่างนี้. แม้

๑. บาลีเป็น มหาวัจฉโคตตสูตร.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังทรงทำการสงเคราะห์ได้ทรงให้โอกาสแก่วัจฉปริพาชก

นั้นผู้มาแล้ว ๆ เพราะเหตุไร. เพราะวัจฉปริพาชกนี้ เป็นสัสสตทิฏฐิ (มี

ความเห็นว่าเที่ยง). อนึ่ง ผู้เป็นสัสสตทิฏฐิทั้งหลายย่อมไม่สละลัทธิทันทีทันใด

ย่อมบริสุทธิ์ได้โดยเวลานาน ดุจผ้าขี้ริ้วเปื้อนน้ำมันเหลว. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเห็นว่า ปริพาชกนี้ไป ๆ มา ๆ อยู่ จักสละลัทธิแล้วบวชในสำนักของเรา

จักทำให้แจ้งอภิญญา ๖ แล้วจักเป็นอริยสาวกผู้ได้อภิญญา. เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทำการสงเคราะห์ ทรงให้โอกาสแก่วัจฉปริพาชกผู้มาแล้ว

มาอีกนั้น นี้เป็นการไปครั้งสุดท้ายของวัจฉปริพาชกนั้น. เพราะในสูตรนี้วัจฉ-

ปริพาชกนั้น ตัดสินใจว่า จะเป็นจะตายอย่างไรก็ตาม เราจักไปเฝ้าพระสมณโคดม

แล้วจักบวชดุจบุคคลหยั่งไม้เท้าตกลงไปในน้ำฉะนั้น. เพราะฉะนั้นวัจฉปริพาชก

เมื่อจะทูลขอพระธรรมเทศนา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สาธุ เม ภว โคตโม ข้าพเจ้า

ขอโอกาส ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลแก่

ข้าพระองค์เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเทศนาอย่างย่อด้วยมูลของกุศล

อกุศล อย่างพิสดารด้วยกรรมบถ. อนึ่ง ในที่นี้เทศนาด้วยอำนาจมูลทรงย่อไว้

เทศนาด้วยอำนาจกรรมบถทรงย่อไว้ ก็เหมือนกับทรงแสดงโดยพิสดาร. อนึ่ง

ชื่อว่าเทศนาอย่างพิสดาร ด้วยการแสดงจนหมดสิ้นมิได้มีแก่พระพุทธเจ้าทั้ง-

หลาย. เพราะแม้สมันตปัฏฐาน ๒๔ และมูลทั้งปวง ก็ยังทรงย่อลงในอภิธรรม-

ปิฎก ๗ คัมภีร์ ฉะนั้นพึงทราบว่า ทรงแสดงย่อด้วยอำนาจของมูลบ้าง ของ

กรรมบถบ้าง.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ปาณาติปาตา เวรมณี กุสล

เจตนาเครื่องเว้นจากปาณาติบาต เป็นกุศลดังต่อไปนี้. กามาวจรธรรม ๗

ตามลำดับ, ธรรม ๓ มีอนภิชฌาเป็นต้น เป็นไปในภูมิ ๔ ย่อมควร. บทว่า

ยโต โข วจฺฉ ภิกขุโน ดูก่อนวัจฉะ เพราะตัณหาอันภิกษุละได้แล้ว ท่าน

มิได้กำหนดไว้ก็จริง. แต่พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทนี้ไว้ทรงหมาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

ถึงพระองค์เท่านั้น ในชีวกสูตร ในจังกีสูตรและในสูตรนี้อย่างนี้. บทว่า

อตฺถิ ปน ยังมีอยู่หรือ วัจฉะทูลถามว่า ข้าพระองค์ขอถามว่า ยังมีอยู่หรือ.

นัยว่าวัจฉะนั้นมีลัทธิอยู่ว่า ในศาสนานั้นมีศาสดาเท่านั้นเป็นอรหันต์. ส่วน

สาวกผู้สามารถบรรลุพระอรหัตไม่มี. อนึ่ง พระสมณโคดมตรัสดุจการตรัสกะ

ภิกษุรูปหนึ่งว่า ยโต โข วจฺฉ ภิกฺขุโน ดังนี้. วัจฉะถามด้วยคิดว่าเรา

จักถามความนี้ว่า สาวกของพระสมณโคดมบรรลุพระอรหัตมีอยู่หรือหนอ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ติฏฺตุ คือ ท่านพระโคดมจงยกไว้. อธิบาย

ว่า เพราะท่านพระโคดมเป็นพระอรหันต์ปรากฏแล้วในโลก. เมื่อพระองค์ทรง

พยากรณ์แล้ว วัจฉะทูลถามปัญหาเกี่ยวกับภิกษุณีเป็นต้นต่อไป. แม้พระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์แก่เขาแล้ว. บทว่า อาราธโก ผู้พอใจ ผู้ให้สำเร็จ

ผู้ทำให้บริบูรณ์. บทว่า เสกฺขาย วิชฺขาย ปตฺตพฺพ พึงบรรลุวิชชาของ

เสกขะ คือ บรรลุผล ๓ เบื้องต่ำ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทั้งหมดนั้นเรา

บรรลุแล้ว. ส่วนอาจารย์ผู้มีวาทะนอกรีตนอกรอยกล่าวว่า ภิกษุนั้นบรรลุ

อรหัตมรรคเท่านั้น แต่ยังไม่บรรลุผล เพราะคำว่า เสกขธรรมเป็นไฉน

มรรค ๔ ยังไม่ถึงที่สุด และสามัญญผล ๓ ก็เป็นเบื้องต่ำ. ด้วยเหตุนั้นย่อมให้

กล่าวถึงความเพียรให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปเพื่อบรรลุผลนั้น. ควรให้ผู้นั้นรู้อย่างนี้ว่า

หากนระใด ละกิเลสทั้ง ได้แล้ว

เป็นพระเสกขะบริบูรณ์ มีธรรมไม่เสื่อม ถึง

ความชำนาญทางจิต มีอินทรีย์ตั้งมั่น นระ

นั้นแล ท่านกล่าวว่า เป็นผู้มีตนมั่นคงแล้ว.

จริงอยู่พระอนาคามีบุคคล เป็นพระเสกขะบริบูรณ์โดยส่วนเดียว.

วัจฉะกล่าวว่า พึงบรรลุวิชชาของพระเสกขะ หมายถึงพระอนาคามีบุคคลนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

ชื่อว่าคำถามย่อมไม่มีแก่ผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรคนั้น เพราะมรรคมีขณะจิต

เดียว. หากถามว่า ด้วยสูตรนี้ แม้มรรคก็มีหลายขณะจิตกระนั้นหรือ.

ตอบว่า นั่นมิใช่พุทธวจนะ ทั้งเนื้อความแห่งกถาที่กล่าวแล้วก็ผิด.

เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผลแล้ว ย่อมให้เจริญวิปัสสนา

เพื่ออรหัตมรรคด้วย ก็เพราะอรหัตมรรคมิได้เป็นอุปนิสัยแก่สุทธอรหัตอย่าง

เดียว ย่อมเป็นอุปนิสัยแม้แก่อภิญญา ๖. ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

วัจฉภิกษุนี้ ทำกรรมในสมถะอย่างนี้แล้วจักยังอภิญญา ๕ ให้เกิด. ทำกรรม

ในวิปัสสนาแล้วจึงจักบรรลุพระอรหัต. จักเป็นมหาสาวกผู้ใดอภิญญา ๖

อย่างนี้ จึงไม่ทรงกล่าวเพียงวิปัสสนาทรง บอกทั้งสมถะและวิปัสสนา. บทว่า

สติ สติ อายตเน คือ เมื่อเหตุมีอยู่. เหตุในที่นี้คืออะไร. พึงทราบว่า

ฌานที่เป็นบาทแห่งอภิญญาก็ดี พระอรหัตในที่สุดก็ดี วิปัสสนาเพื่อพระอรหัต

ก็ดี ชื่อว่าเป็นเหตุ. บทว่า ปริจิณฺโณ เม ภควา ข้าพระองค์ได้บำเรอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ความว่า จริงอยู่พระเสกขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าผู้

บำเรอพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้อันพระขีณาสพบำเรอ

แล้ว . ด้วยประการฉะนี้ พระเถระเมื่อพยากรณ์พระอรหัตโดยสังเขปจึงกล่าว

อย่างนี้. อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่รู้ความนั้น. เมื่อไม่รู้ก็ไม่รับคำของพระเถระนั้น

จึงพากันไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า เทวตา ได้แก่เทวดาผู้ได้คุณ

เหล่านั้น. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถามหวัจฉสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

๔. ทีฆนขสูตร

เรื่องทีฆนขปริพาชก

[๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌ-

กูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้

กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปรกติกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่ง

ทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า

สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.

ท่านพูดโคดม ถ้าความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า แม้ความเห็นนั้นก็พึง

เป็นเช่นนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น.

อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็น

เช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละ

ความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีมาก คือมากกว่าคนที่ละ

ได้ อัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็น

เช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น ดังนี้ ชนเหล่านั้นละ

ความเห็นนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่นนั้น มีน้อยคือน้อยมากกว่าคนที่

ยังละไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

ทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท

[๒๗๐] อัคคิเวสสนะ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มัก

เห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมักกล่าว

อย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ ก็มี สมณพราหมณ์

พวกหนึ่งมักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควร

แก่เรา ดังนี้ก็มี อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณพราหมณ์

พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรานั้น ใกล้ข้าง

กิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้

ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลส

เป็นเหตุยึดมั่น อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ความเห็นของสมณ-

พราหมณ์พวกที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น

ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประ-

กอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุ

กล้ำกลืน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้

แล้ว ทีฆนขปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมทรง

ยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า ท่านพระโคดมทรงยกย่องความเห็นของข้าพเจ้า.

อัคคิเวสสนะ ในความเห็นนั้น ๆ ความเห็นของสมณพราหมณ์พวกที่

มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา

นั้น ส่วนที่เห็นว่าควร ใกล้ข้างกิเลสอันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ใกล้ข้าง

กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างกิเลสเป็น

เหตุกล้ำกลืน ใกล้ข้างกิเลสเป็นเหตุยึดมั่น ส่วนที่เห็นว่าไม่ควร ใกล้ข้าง

ธรรมไม่เป็นไปด้วยความกำหนัด ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน ใกล้ข้างธรรมไม่เป็นเหตุกล้ำกลืน ใกล้

ข้างธรรมไม่เป็นเหตุยึดมั่น.

[๒๗๑] อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในความเห็นของสมณ-

พราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ดังนี้นั้น

วิญญูชนย่อมตระหนักว่า เราจะยึดมั่น ถือมั่นซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวง

ควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เรา

ก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้

มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑ สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้

มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ๑ เมื่อความถือผิด

กันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียง

กัน เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนก็มี วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็น

ความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน

ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละ

คืนทิฏฐิเหล่านี้ ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้. อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็น

นั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้ที่มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวง

ไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น

ซึ่งทิฏฐิของเราว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า

สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ

สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑

สมณพราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งควรแก่เรา บางสิ่ง

ไม่ควรแก่เรา ๑ เมื่อความถือผิดกันมีอยู่ดังนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมี

ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียด-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

เบียนกันก็มี วิญญูชนนั้นพิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความ

แก่งแย่งกัน และความเบียดเบียนกัน ในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียด้วย

ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการ

ฉะนี้ อัคคิเวสสนะ บรรดาความเห็นนั้น ในทิฏฐิของสมณพราหมณ์ผู้มักกล่าว

อย่างนี้. มักเห็นอย่างนี้ว่า บางสิ่งความแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เรา ดังนี้นั้น

วิญญูชนย่อมเห็นตระหนักว่า ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น ซึ่งทิฏฐิของเราว่า บางสิ่ง

ควรแก่เรา บางสิ่งไม่ควรแก่เราดังนี้ แล้วยืนยันโดยแข็งแรงว่า สิ่งนี้เท่านั้น

จริง สิ่งอื่นเปล่า เราก็พึงถือผิดจากสมณพราหมณ์สองพวกนี้ คือ สมณ-

พราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงควรแก่เรา ๑ สมณ-

พราหมณ์ผู้มักกล่าวอย่างนี้ มักเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา ๑ เมื่อ

ความถือผิดกันมีอย่างนี้ ความทุ่มเถียงกันก็มี เมื่อมีความทุ่มเถียงกัน ความ

แก่งแย่งกันก็มี เมื่อมีความแก่งแย่งกัน ความเบียดเบียนกันก็มี วิญญูชนนั้น

พิจารณาเห็นความถือผิดกัน ความทุ่มเถียงกัน ความแก่งแย่งกัน และความ

เบียดเบียนกันในตนดังนี้อยู่ จึงละทิฏฐินั้นเสียดาย ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่นด้วย การละ

การสละคืนทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้.

[๒๗๒] อัคคิเวสสนะ ก็กายนี้มีรูป เป็นที่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ มี

มารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องอบและขัดสีกันเป็น

นิจ มีความแตกกระจัดกระจายเป็นธรรมดา ท่านควรพิจารณาโดยความเป็น

ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก

เป็นความเจ็บไข้ เป็นดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็น

ของมิใช่ตน เมื่อท่านพิจารณาเห็นกายนี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์

เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็น

ดังผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า เป็นของมิใช่ตนอยู่ ท่าน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

ย่อมละความพอใจในกาย ความเยื่อใยในกาย ความอยู่ในอำนาจของกายใน

กายได้.

เวทนา ๓

[๒๗๓] อัคคิเวสสนะ เวทนา ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ๑ ทุกข-

เวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ อัคคิเวสสนะ ในสมัยใดได้เสวยสุขเวทนา ใน

สมัยนั้นไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่สุข

เวทนาเท่านั้น, ในสมัยใดได้เสวยทุกขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา

ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา ได้เสวยแต่ทุกขเวทนาเท่านั้น, ในสมัยใดได้เสวย

อทุกขมสุขเวทนา ในสมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา ได้

เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้น. อัคคิเวสสนะ สุขเวทนาไม่เที่ยง อันปัจจัย

ปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป

เป็นธรรมดา แม้ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิด

ขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา แม้อทุกขมสุขเวทนา

ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป

คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา. อัคคิเวสสนะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เมื่อ

เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายทั้งในสุขเวทนา ทั้งในทุกขเวทนา ทั้งในอทุกขมสุข-

เวทนา เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหม-

จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

อัคคิเวสสนะ ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับ

ใคร ๆ โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน ก็พูดไปตามโวหารนั้น แต่ไม่ยึดมั่นด้วย

ทิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

[๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้อง-

พระปฤษฎางค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสการละธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย ได้ยินว่า

พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย เมื่อ

ท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ

ไม่ถือมั่น.

ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่ทีฆนข-

ปริพาชกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับ

ไปเป็นธรรมดา.

ทีฆนขปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก

[๒๗๕] ลำดับนั้น ทีฆนขปริพาชกมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรม

อันถึงแล้ว มีธรรมอันทราบแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้

แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อต่อ

ผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่าน

พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก

ทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็น

รูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย ฉันนั้น

เหมือนกัน ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุ-

สงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึง

สรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอด

ชีวิต ทั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไป ดังนี้แล.

จบทีฆนขสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

๔. อรรถกถาทีฆนขสูตร

ทีฆนขสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมา

อย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สูกรขาตาย ณ ถ้ามีชื่ออย่างนี้ว่า

สูกรขาตา. มีเรื่องกล่าวไว้ว่า ครั้งศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า ถ้านั้นเกิดภายใน

พื้นแผ่นดินซึ่งงอกขึ้นในพุทธันดรหนึ่ง. อยู่มาวันหนึ่งสุกรตัวหนึ่งคุ้ยฝุ่นในที่

ใกล้เขตปิดถ้ำนั้น. เมื่อฝนตกได้ปรากฏเขตปิดเพราะถูกฝนชะ พรานป่าคนหนึ่ง

เห็นเข้าจึงคิดว่า เมื่อก่อนไม่มีผู้มีศีลอยู่ในถ้ำ. เราจักปรับปรุงถ้ำนั้น จึงขนฝุ่น

ออกกวาดถ้าให้สะอาด แล้วทำฝารอบด้านประกอบประตูหน้าต่าง ทำถ้ำให้มีบริ-

เวณลาดด้วยทรายดังแผ่นเงิน ทำอย่างวิจิตร ฉาบปูนขาวจนสำเร็จเรียบร้อยเป็น

อย่างดี แล้วปูเตียงและตั่งได้ถวายเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถ้ำลึก

ขึ้นลงสะดวก. บทว่า สูกรขาตาย นี้ ท่านกล่าวหมายถึงถ้ำนั้น. บทว่า

ทีฆนโข เป็นชื่อของปริพาชกนั้น. บทว่า อุปสงฺกมิ เข้าไปเฝ้า เพราะ

เหตุไร ทีฆนขปริพาชกจึงเข้าไปเฝ้า. เล่ากันมาว่า ทีฆนขปริพาชกนั้น

เมื่อพระเถระบวชได้ครึ่งเดือนคิดว่า หลวงลุงของเราไปสู่ลัทธิอื่นที่ผิดแล้วดำรง

อยู่เป็นเวลานาน. แต่บัดนี้เมื่อหลวงลุงไปเฝ้าพระสมณโคดมได้ครึ่งเดือนแล้ว

ประสงค์จะไปด้วยหวังว่า เราจะฟังข่าวของหลวงลุงนั้น. เราจักรู้คำสอนอัน

รุ่งเรืองนั้นหนอ. เพราะฉะนั้น ทีฆนขะจึงเข้าไปเฝ้า. บทว่า เอกมนฺต ิโต

ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง นัยว่าในขณะนั้นพระเถระยืน ถวายงานพัดพระผู้-

มีพระภาคเจ้าอยู่. ปริพาชกด้วยมีหิริโอตตัปปะในหลวงลุง จึงยืนทูลถามปัญหา

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เอกมนฺต ิโต ดังนี้. บทว่า สพฺพ เม น ขมติ

๑. บาลีว่า สูกรขตาย. ๒. บาลีว่า นิสินฺโน นั่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา คือสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ควรแก่เรา ปริพาชกกากล่าว

ด้วยความประสงค์ว่าปฏิสนธิทั้งหลายไม่ควร. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอัน

ปริพาชกนั้นแสดงว่า เราเป็นผู้มีวาทะว่าขาดสูญ.

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพรางความประสงค์ของปริพาชกนั้น

แล้วทรงแสดงถึงโทษในความไม่ควร จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ยาปิ โข เต

ดังนี้. ในบทนั้นมีความว่า แม้ความเห็นของท่านก็ไม่ควร คือ แม้ความเห็นที่

ท่านชอบใจยึดถือไว้ครั้งแรกก็ไม่ควร. บทว่า เอสา เจ เม โภ โคตม ทิฏฺิ

ขเมฺยย ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ หากความเห็นนี้ควรแก่ข้าพเจ้า ความว่า หาก

ความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เราของเราผู้เห็นว่า เพราะสิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่

เรา พึงควรไซร้. ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพ เม น ขมติ สิ่งทั้งปวงไม่ควร

แก่เรา. แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้น. แม้ความเห็นนั้นก็ควรเหมือนความ

เห็นนี้แม้ถือเอาด้วยการถือเอาสิ่งทั้งปวงฉันนั้น. ปริพาชกกล่าวด้วยเข้าใจว่าเรา

รู้โทษที่ยกในวาทะของตนขึ้นอย่างนี้ แล้วรักษาวาทะนั้น. แต่โดยอรรถย่อมรับ

ว่าความเห็นนั้นของปริพาชกไม่ควรแก่เราดังนี้. อนึ่ง สิ่งทั้งปวงไม่ชอบใจแก่

เราด้วยความเห็นนั้นของผู้ที่มีความเห็นไม่ควรไม่ชอบ เพราะเหตุนั้นจึงเป็น

ความเห็นที่ชอบใจ. แม้ผู้นั้นพึงเป็นผู้ไม่ควรไม่ชอบใจ เพราะเหตุนั้นจึงย่อม

รับได้ว่า สิ่งทั้งปวงย่อมควรย่อมชอบใจ. แต่ปริพาชกนั้นไม่รับข้อนั้น. ย่อม

ถือความขาดสูญแห่งอุจเฉททิฏฐิแม้นั้นอย่างเดียวเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อิโต โข เต อคฺคิเวสฺสน ฯลฯ อญฺญฺจ ทิฏฺฐึ

อุปาทิยนฺติ ความว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ชนในโลกผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า แม้

ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น แม้ความเห็นนั้นก็พึงเป็นเช่นนั้นทั้งนั้น

ดังนี้ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือความเห็นอื่นมากกว่า

คือมากกว่าคนที่ละได้ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

ในบทเหล่านั้นบทว่า อโต เป็นปัญจมีวิภัตติลงในอรรถว่าผู้ละได้.

ความว่า คนเหล่าใดละได้ คนเหล่านั้นจักถามว่า คนเหล่าใดเล่า ละไม่ได้.

และคนเหล่านั้นแหละมีมากกว่า. หิ อักษรในบทนี้ว่า พหู หิ พหุตรา มี

มาก คือมากกว่า นี้เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า มากกว่า มากกว่า. แม้ใน

บทว่า ตนู หิ ตนุตรา มีน้อยคือน้อยกว่า ตอนหลังก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า เย เอวมาหิสุ คือ ชนเหล่าใดกล่าวแล้วอย่างนี้. บทว่า ต เจว

ทิฏฺึ ฯ ล ฯ อุปาทิยนฺติ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นไม่ได้ และยังยึดถือ

ความเห็นอื่นนั้น คือ ยังละความเห็นเดิมไม่ได้. ยังยึดถือความเห็นอื่นอีก.

อนึ่ง ในบทนี้มีอธิบาย ดังต่อไปนี้ ยึดถือแม้ความเที่ยงแล้ว ก็ไม่ละความเที่ยง

นั้น ไม่สามารถจะยึดถือ ความขาดสูญหรือ ความเที่ยงแต่บางอย่างได้. ยึดถือ

แม้ความขาดสูญแล้ว ก็ไม่ละความขาดสูญนั้น ไม่สามารถจะยึดถือความเที่ยง

หรือความเที่ยงแต่บางอย่างได้. ยึดถือแม้ความเที่ยงแต่บางอย่างแล้วไม่ละความ

เที่ยงแต่บางอย่างนั้น ไม่สามารถยึดถือความเที่ยงหรือความขาดสูญได้. อนึ่ง

ไม่ละความเที่ยงเดิม สามารถยึดถือความเที่ยงอื่นได้ อย่างไร. เพราะสมัย

หนึ่งยึดถือว่ารูปเที่ยงแล้ว สมัยต่อมาไม่ยึดถือรูปล้วน ๆ เท่านั้นว่าเที่ยง แม้

เวทนาก็เที่ยง แม้วิญญาณก็เที่ยง. ในความขาดสูญก็ดี ในความเที่ยงแต่บาง

อย่างก็ดี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงเข้าใจว่าแม้ในอายตนะ ก็เหมือนในขันธ์.

ท่านกล่าวบทว่า ต เจว ทิฏฺฐึ ฯลฯ อุปาทิยนฺติ ละความเห็นนั้นไม่ได้

และยิ่งยึดถือความเห็นอื่นดังนี้หมายถึงความข้อนี้.

พึงทราบความในวาระที่ ๒ ดังต่อไปนี้. บทว่า อโต เป็นปัญจมี-

วิภัตติลงในอรรถว่ายังละไม่ได้ ความว่า ผู้ใด ยังละไม่ได้ เพราะฉะนั้นผู้นั้นจัก

ถามว่า ผู้ใดเล่าละได้. ผู้นั้นแหละมีน้อยกว่า. บทว่า ต เจว ทิฏฺฐึ ฯ ล ฯ น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

อุปาทิยนฺติ ชนเหล่านั้นละความเห็นนั้นได้ และยังไม่ยึดถือความเห็นอื่น

ความว่า ละความเห็นเดิมนั้นได้ และไม่ถือเอาความเห็นอื่น. อย่างไร. เพราะใน

สมัยหนึ่งยึดถือว่า รูปเที่ยง แล้วสมัยต่อมาเห็นโทษในความเห็นนั้น แล้วละได้

ด้วยคิดว่า ความเห็นของเรานี้หยาบ คือย่อมสละได้ว่า มิใช่ความเห็นว่ารูปเที่ยง

อย่างเดียวเท่านั้นหยาบ เห็นว่าแม้เวทนาก็เที่ยงหยาบ แม้วิญญาณก็เที่ยงหยาบ

เหมือนกัน. ในความขาดสูญก็ดี ในความเที่ยงบางอย่างก็ดี ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

พึงเข้าใจว่าแม้ในอายตนะก็เหมือนในขันธ์ ฉะนั้น. ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่า

ละความเห็นเดิมนั้นได้ และไม่ยึดถือความเห็นอื่น.

บทว่า สนฺติ อคฺคิเวสฺสน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภขึ้น

เพราะเหตุไรเจ้าลัทธิที่ถือว่าขาดสูญนี้ ย่อมปิดบังลัทธิของตน แต่เมื่อกล่าว

คุณของลัทธินั้นจักทำลัทธิของตนให้ปรากฏ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ทรงแสดงลัทธิที่เหลือเป็นอันเดียวกันแล้ว เพื่อทรงแสดงแยกจากกันจึงทรง

ปรารภเทศนานี้.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า สราคาย สนฺติเก ใกล้ข้างกิเลส

อันเป็นไปกับด้วยความกำหนัด ดังต่อไปนี้. ใกล้กิเลสเครื่องยินดีในวัฏฏะด้วย

อำนาจราคะ คือใกล้กิเลสเครื่องผูกในวัฏฏะ ด้วยเครื่องผูกคือตัณหาและทิฏฐิ

อธิบายว่า กลืนด้วยความยินดีในตัณหาและทิฏฐิ ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและ

ทิฏฐินั่งเองแล้วใกล้ความยึดมั่นและความถือมั่น. พึงทราบความในบทมีอาทิว่า

วิราคาย สนฺติเก ใกล้เพื่อคลายความกำหนัดดังต่อไปนี้ พึงทราบความโดย

นัยมีอาทิว่า ใกล้เครื่องความยินดีในวัฏฏะ. อนึ่งในบทนี้ ความเห็นว่าเที่ยงมี

โทษน้อย มีความคลายช้า. ความเห็นว่าขาดสูญมีโทษมาก มีความคลาย

เร็ว. อย่างไร. เพราะผู้มีวาทะว่าเที่ยงย่อมไม่รู้โลกนี้และโลกหน้าว่ามีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

ย่อมรู้ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วว่ามีอยู่ จึงทำกุศล เมื่อทำอกุศลย่อมกลัวพอใจ

ยินดีในวัฏฏะ. อยู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมไม่

สามารถละความเห็นได้เร็ว ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่าความเห็นว่าเที่ยงนั้นมีโทษ

น้อยคลายช้า. ส่วนผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ย่อมรู้โลกนี้โลกหน้าว่ามีอยู่. แต่ไม่

รู้ผลของกรรมดีและกรรมชั่วว่ามีอยู่ จึงไม่ทำกุศล. เมื่อทำอกุศลย่อมไม่กลัว

ไม่ชอบใจไม่ยินดีวัฏฏะ อยู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้า

ย่อมละความเห็นได้เร็ว สามารถบำเพ็ญบารมีเป็นพระพุทธเจ้าได้. เมื่อไม่

สามารถก็สะสมบุญบารมีเป็นสาวกแล้วนิพพาน. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความเห็นว่าขาดสูญมีโทษมากคลายเร็ว. แต่ปริพาชกนั้นกำหนดความนั้นไม่

ได้ จึงพรรณนา สรรเสริญ ความเห็นนั้น ครั้นกำหนดได้ว่า ความเห็นของ

เราดีแน่นอนจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุกฺกเสติ เม ภว ท่านพระโคดม ทรงยก

ย่องความเห็นของข้าพเจ้า.

บัดนี้เพราะปริพาชกนี้เปี่ยมด้วยความเห็นว่าขาดสูญเท่านั้นดุจน้ำเต้าขม

เต็มด้วยน้ำส้ม. ปริพาชกนั้นยังทิ้งน้ำส้มไม่ได้ จึงไม่สามารถใส่น้ำมันน้ำผึ้ง

เป็นต้นลงในน้ำเต้า. แม้ใส่ลงไปแล้วก็ถือเอาไม่ได้ ฉันใด ปริพาชกนั้นยังละ

ความเห็นนั้นไม่ได้ จึงไม่ควรเพื่อได้มรรคผลฉะนั้น. เพราะฉะนั้นเพื่อให้ปริ-

พาชกละทิฏฐินั้น จึงทรงเริ่มบทมีอาทิว่า ตตฺร อคฺคิเวสฺสน. บทว่า วิคฺค-

โห คือการทะเลาะ. บทว่า เอวเมตาส ทิฏฺีน ปหาน โหติ การละ

คืนทิฏฐิเหล่านั้นย่อมมีได้ด้วยประการฉะนี้ คือ ครั้นเห็นโทษแห่งการทะเลาะ

แล้วจึงละทิฏฐิเหล่านั้นได้.

ปริพาชกนั้นคิดว่า ประโยชน์อะไรแก่เราด้วยการทะเลาะเป็นต้นนี้.

จึงละความเห็นว่าขาดสูญนั้นได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า เราจักให้ปริพาชกบำเพ็ญ

โอสถอันอมตะไว้ในหทัย ดุจบุคคล ใส่เนยใสและเนยข้นเป็นต้น ลงในน้ำเต้า

ที่คายน้ำส้มออกแล้วฉะนั้น เมื่อจะทรงบอกวิปัสสนาแก่ปริพาชกนั้น จึงตรัส

พระดำรัสมีอาทิว่า อย โข ปน อคฺคีเวสฺสน กาโย ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ก็

กายนี้เป็นที่ประชุมมหาภูตรูปทั้ง ๔ ดังนี้. ท่านกล่าวความของบทนั้นไว้แล้ว

ในวัมมิกสูตร. แม้บทมีอาทิว่า อนิจฺจโต ก็กล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง.

บทว่า โย กายสฺมึ ฉนฺโท ได้แก่ ความอยากในกาย. บทว่า เสนฺโห ความ

เยื่อใย คือความเยื่อใยด้วยตัณหา. บทว่า กายนฺวยตา คือความอยู่ในอำนาจ

ของกาย. อธิบายว่า กิเลสอันเข้าไปสู่กาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงรูปกรรมฐานอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อ

ทรงแสดงอรูปกรรมฐานจึงตรัสว่า ติสฺโส โข เวทนา ๓ เป็นอาทิ. เมื่อจะ

ทรงแสดงความที่เวทนา ๓ เหล่านั้นไม่ปนกัน จึงตรัสว่า ยสฺมึ อคฺคิเวสฺสน

สมเย ดูก่อนอัคคิเวสสนะในสมัยใดเป็นอาทิ ความย่อในบทนั้นมีดังนี้ สมัยใด

เสวยเวทนาอย่างเดียวในบรรดาสุขเวทนาเป็นต้น สมัยนั้นเวทนาอื่นชื่อว่านั่ง

คอยดูวาระหรือโอกาสของตนย่อมไม่มี. โดยที่แท้เวทนายังไม่เกิดหรือหายไปดุจ

ฟองน้ำแตก. บทมีอาทิว่า สุขาปิ โข ท่านกล่าวเพื่อแสดงความที่เวทนา ๓

เหล่านั้นเป็นจุณวิจุณไป. บทว่า น เกนจิ วิวทติ ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับ

ใคร ๆ คือ ย่อมไม่กล่าวร่วมกันกับแม้พวกมีวาทะว่าขาดสูญว่า เราเป็นผู้มี

วาทะว่าเที่ยงเพราะมีทิฏฐิว่าเที่ยง. ย่อมไม่วิวาทแก่งแย่งกับผู้มีวาทะว่าเที่ยง

บางพวกว่า เราเป็นผู้มีวาทะว่าเที่ยง เพราะถือเอาทิฏฐิว่าเที่ยงนั้นนั่นแหละ

พึงประกอบเปลี่ยนแปลงวาทะแม้ ๓ อย่างด้วยประการฉะนี้. บทว่า ยญฺจ

โลเก วุตฺต โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน คือพูดไปตามโวหารที่ชาวโลกพูดกัน.

บทว่า อปรามส ไม่ยึดถือ คือไม่ยึดถือธรรมไร ๆ ด้วยการถือมั่น. สมดัง

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

ภิกษุใด เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้วเพราะ

บรรลุพระอรหัต เป็นผู้ทรงร่างกายไว้เป็น

ครั้งสุดท้าย ภิกษุนั้น พึงกล่าวว่า เราย่อม

กล่าวดังนี้บ้าง พึงกล่าวว่า พวกเขาย่อมกล่าว

กะเราดังนี้บ้าง เป็นผู้ฉลาด รู้สิ่งกำหนดรู้กัน

ในโลก พึงพูดไปตามโวหารนั้น.

ท่านกล่าวต่อไปอีกว่า ดูก่อนจิตคฤหบดี ตถาคตพูดไปตามสิ่งที่รู้กัน

ในโลก ภาษาของชาวโลก โวหารของชาวโลก บัญญัติของชาวโลก แต่ไม่

ยึดถือด้วยทิฏฐิ.

บทว่า อภิญฺา ปหานมาห พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละธรรม

เหล่านั้นด้วยปัญญาอันยิ่ง ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความเที่ยงแห่ง

ธรรมเหล่านั้นในบรรดาความเที่ยงเป็นต้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วจึงตรัสถึงการละ

ความเที่ยง. ทรงรู้ความขาดสูญ ความเที่ยงแต่บางอย่างด้วยปัญญารู้ยิ่งแล้วจึง

ตรัสถึงการละความเที่ยงแต่บางอย่าง ทรงรู้รูปด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วจึงตรัสถึง

การละรูป พึงทราบความในบทนี้โดยนัยมีอาทิดังนี้แล. บทว่า ปฏิสญฺจิกฺขโต

เมื่อพระสารีบุตรสำเหนียกคือเห็นตระหนัก. บทว่า อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺต

วิมุจฺจิ จิตพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น คือ จิตพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย

อันดับแล้วด้วยความดับสนิทคือไม่เกิดอีกเพราะไม่ถือมั่น.

ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ ท่านพระสารีบุตรดุจบุคคลบริโภคอาหารที่เขา

ตักให้ผู้อื่นแล้ว บรรเทาความหิวลงได้ เมื่อส่งญาณไปในธรรมเทศนาที่ปรารภ

ผู้อื่นจึงเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุพระอรหัต แทงตลอดที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ

และปัญญา ๑๖ แล้วดำรงอยู่. ส่วนทีฆนขะได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วดำรงอยู่

ในสรณะทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่ ทรงจบเทศนานี้

แล้วเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เสด็จไปพระวิหารเวฬุวันได้ทรงประชุมพระสาวก.

ได้มีสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔. องค์ ๔ เหล่านี้คือ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ

ขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบด้วยมาฆนักษัตร ๑ ภิกษุ ๑,๒๕0 รูป ประชุมกันตาม

ธรรมดาของตน ๆ ไม่มีใครนัดหมายมา ๑ ภิกษุเหล่านั้นไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่

เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกกาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์

ผู้สุกขวิปัสสก ภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ใดอภิญญาหกทั้งนั้น ๑ มิได้ปลงผมด้วย

มีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ ๑.

จบอรรถกถาทีฆนขสูตร ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

๕. มาคัณฑิยสูตร

[๒๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับบนเครื่องลาดอันลาดด้วยหญ้า

ในโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ใกล้นิคมของชาวกุรุอันชื่อว่า

กัมมาสธัมมะ ในกุรุรัฐ ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว

ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกัมมาสธัมมนิคม ครั้นเสด็จ

เที่ยวบิณฑบาตในกัมมาสธัมมนิคมแล้ว ภายหลังภัต กลับจากบิณฑบาตเสด็จ

เข้าไปยังไพรสณฑ์แห่งหนึ่งเพื่อประทับพักกลางวัน ครั้นเสด็จเข้าไปยังไพร-

สณฑ์นั้นแล้ว ประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง.

เรื่องมาคัณฑิยปริพาชก

[๒๗๗] ครั้งนั้น มาคัณฑิยปริพาชกเดินเที่ยวไปมาเพื่อแก้เมื่อย

เข้าไปถึงโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้เห็นเครื่องลาดอันทำ

ด้วยหญ้า ในโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร และได้กล่าวกะพราหมณ์

ภารทวาชโคตรว่า ดูก่อนสหาย เครื่องลาดหญ้าที่ปูไว้ในโรงบูชาไฟของท่าน

ภารทวาชะนี้ เป็นของใครหนอ เห็นจะเป็นที่นอนสมควรแก่สมณะ.

ภา. มีอยู่ ท่านมาคัณฑิยะ พระสมณโคดมศากยบุตรออกบวชจาก

ศากยสกุล เกียรติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้

เพราะเหตุนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง

โดยชอบถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึก

บุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น

ผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม ที่นอนนี้ปูไว้สำหรับท่านพระโคดมนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

มา. ท่านภารทวาชะ พวกเราที่ได้เห็นที่นอนของท่านพระโคดมผู้

กำจัดความเจริญนั้น ชื่อว่าได้เห็นชั่ว.

ภา. ดูก่อน มาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ไว้ ดูก่อนท่านมาคัณฑิยะ

ท่านจงรักษาวาจานี้ไว้ ความจริง กษัตริย์ที่เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ที่เป็น

บัณฑิตก็ดี คฤหบดีที่เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะที่เป็นบัณฑิตเป็นอันมากก็ดี พา

กันเลื่อมใสยิ่งนักต่อท่านพระโคดมพระองค์นั้น ท่านพระโคดมทรงแนะนำใน

ธรรมที่มีเหตุอันบริสุทธิ์ไม่มีโทษ.

มา. ท่านภารทวาชะ ถ้าแม้พวกเราได้พบท่านพระโคดมนั้นต่อหน้า

เราก็พึงกล่าวกะท่านพระโคดมต่อหน้าว่า พระสมณโคดมผู้กำจัดความเจริญ

ดังนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า คำเช่นนี้ลงในสูตรของเราทั้งหลาย

ภา. ถ้าการที่จะกล่าวนั้น ไม่เป็นการหนักแก่ท่านมาคัณฑิยะ ข้าพ-

เจ้าจักทูลกะพระสมณโคดมพระองค์นั้น.

มา. ท่านภารทวาชะ จงมีความขวนขวายน้อยเถิด เราได้ว่าไว้แล้ว

ก็พึงกล่าวกะพระองค์เถิด.

[๒๗๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับคำสนทนานี้ของพราหมณ์

ภารทวาชโคตรกับมาคัณฑิยปริพาชกด้วยทิพโสตธาตุ อันบริสุทธิ์ล่วงโสตของ

มนุษย์ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปยัง

โรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ประทับนั่งบนเครื่องลาดหญ้าที่เขา

ลาดไว้ ลำดับนั้นพราหมณ์ภารทวาชโคตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก

ถึงกันไปแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเขาว่า

ดูก่อนภารทวาชะ ท่านกับมาคัณฑิยปริพาชกปรารภถึงเครื่องลาดหญ้านี้ ได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

เจรจาโต้ตอบกันอย่างไรบ้าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์

ภารทวาชโคตรตกใจ เกิดโลมชาติชูชัน ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าพเจ้าปรารถนาจะกราบทูลเรื่องนี้แก่ท่านพระโคดม แต่ท่านพระโคดมตรัส

เสียก่อนที่ข้าพเจ้ายังไม่ทันกราบทูล ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพราหมณ์

ภารทวาชโคตรเจรจากันยังค้างอยู่ในระหว่างนี้ ลำดับนั้น มาคัณฑิยปริพาชก

กำลังเดินเที่ยวไปมาแก้เมื่อยอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังโรงบูชาไฟ

ของพราหมณ์ภารทวาชโคตร แล้วได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระพุทธเจ้าตรัสซักถามมาคัณฑิยะเรื่องกามคุณ

[๒๗๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะมาคัณฑิยปริพาชกผู้นั่งอยู่ ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนมาคัณฑิยะ นัยน์ตามีรูปเป็นที่มายินดี. . . หูมีเสียง

เป็นที่มายินดี. . .จมูกมีกลิ่นเป็นที่มายินดี. . .ลิ้นมีรสเป็นที่มายินดี. . .กายมีโผฏ-

ฐัพพะเป็นที่มายินดี. . .ใจมีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม อัน

ธรรมให้บันเทิงแล้ว ใจนั่นตถาคตทรมานแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว

สำรวมแล้ว อนึ่งตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อสำรวมใจมั่น ดูก่อนมาคัณฑิยะ

คำที่ท่านกล่าวว่าพระสมณโคดมเป็นผู้กำจัดความเจริญนั้น ท่านหมายเอาความ

ข้อนี้ละซิหนอ.

มา. ท่านพระโคดม ก็คำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้

กำจัดความเจริญนี้ ข้าพเจ้าหมายเอาความข้อนี้แหละ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร

เพราะคำเช่นนี้ลงกันในสูตรของข้าพเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

[๒๘๐] ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บาง

คนในโลกนี้เป็นผู้เคยได้รับบำเรอด้วยรูปทั้งหลาย อันจะพึงรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา

ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง

ความกำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็น

เครื่องออกไปแห่งรูปทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในรูป บรรเทา

ความเร่าร้อนอันเกิดเพราะปรารภรูป เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบ

ในภายในอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่าอะไรแก่ท่านผู้นี้เล่า.

ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่พึงว่าอะไร.

ดูก่อนท่านมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บางคน

ในโลกนี้เป็นผู้เคยได้รับบำเรอด้วยเสียงทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู . . . ด้วย

กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก. . .ด้วยรสทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น...

ด้วยโผฏฐัพพะทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ

น่ารัก ประกอบด้วยกามเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด สมัยต่อมา เขารู้ความเกิด

ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องออกไปแห่งโผฏฐัพพะทั้งหลาย ตาม

ความเป็นจริง แล้วละตัณหาในโผฏฐัพพะ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้น

เพราะปรารภโผฏฐัพพะ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่

ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่าอะไรแก่ท่านผู้นี้เล่า.

ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่พึงว่าอะไร.

[๒๘๑] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ก็

เป็นผู้อิ่มหนำ เพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้ง

ด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม

เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู . . . ด้วยกลิ่นอันจะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

พึงรู้แจ้งด้วยจมูก . . . ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น. . . ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึง

รู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนารักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็น

ที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูก่อนมาคัณฑิยะ ปราสาทของเรานั้น ได้มีถึง ๓ แห่ง

คือปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว ปราสาท

หนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน เรานั้นได้รับบำเรอด้วยดนตรี ล้วนแต่สตรีไม่มีบุรุษ

เจือปนในปราสาท เป็นที่อยู่ในฤดูฝนตลอดสี่เดือน ไม่ได้ลงภายใต้ปราสาท

สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องออกไป

แห่งกามทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วละตัณหาในกาม บรรเทาความเร่าร้อน

ที่เกิดเพราะปรารภกาม เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่

เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยว

กินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ เรานั้น

ย่อมไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเรายินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรมอยู่ จึงไม่ทะเยอ

ทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้น.

[๒๘๒] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี

เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า

บำเรอตนด้วยรูปอันพึงจะรู้แจ้งด้วยนัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ

น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้ง

ด้วยหู . . . ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก . . . ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น. . .

ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก

ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต

มโนสุจริต เมื่อตายไปพึงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ พึงเข้าถึงความเป็นสหายของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้นอันหมู่นางอัปสรแวดล้อมในนันทวัน เอิบอิ่ม

เพียบพร้อมด้วยกามคุณห้าอันเป็นทิพย์ บำเรอตนอยู่ในดาวดึงส์เทวโลก เทพ-

บุตรนั้นได้เห็นคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า

บำเรอตนอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เทพบุตรนั้น

อันหมู่นางอัปสรแวดล้อมอยู่ในนันทวัน เอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้าอัน

เป็นทิพย์บำเรอตนอยู่ จะพึงทะเยอทะยานต่อคฤหบดีต่อบุตรคฤหบดีโน้น หรือ

ต่อกามคุณห้าของมนุษย์ หรือจะพึงเวียนมาเพราะกามของมนุษย์บ้างหรือหนอ.

ไม่เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามอัน

เป็นทิพย์น่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่า กว่ากามของมนุษย์.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาล

ก่อนเอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอตนด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วย

นัยน์ตาที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้ง

แห่งความกำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู. . . ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้แจ้ง

ด้วยจมูก . . . ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น. . . ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้ง

ด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่

ตั้งแห่งความกำหนัด สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ

และอุบายเป็นเครื่องออกไป แห่งกามทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วละตัณหา

ในกาม ได้บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามได้แล้ว เป็นผู้

ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นที่ยังไม่

ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่

เกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ เสพกามอยู่ ย่อมไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์

เหล่านั้น ไม่ยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดีอยู่ ด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

ยินดีที่เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งเป็นความยินดีที่ล่วงเลยความสุข

เป็นของทิพย์ตั้งอยู่ จึงไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรมอันเลว

นั้นเลย.

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนโรคเรื้อน

[๒๘๓] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล

มีตัวอันสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุม

ถ่านเพลิง มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา พึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้

รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น พึงทำยารักษาบุรุษนั้น บุรุษนั้นอาศัยยา

แล้วจึงหายจากโรคเรื้อน เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข มีเสรีภาพ มีอำนาจใน

ตนเองจะไปไหนได้ตามความพอใจ บุรุษนั้นได้เห็นบุรุษโรคเรื้อนคนอื่น มีตัว

เป็นแผลมีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อน

ที่หลุมถ่านเพลิง ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ

นั้นพึงทะเยอทะยานต่อบุรุษโรคเรื้อนคนโน้น ต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการ

กลับเสพยาบ้างหรือหนอ.

ไม่อย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อยังมีโรค

กิจที่ควรทำด้วยยาก็ต้องมี เมื่อไม่มีโรค กิจที่ควรทำด้วยยาก็ไม่ต้องมี.

ดูก่อนมาคัณทิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาล

ก่อนเอิบอิ่มเพียบพร้อมด้วยกามคุณห้า บำเรอคนอยู่ด้วยรูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วย

นัยน์ตา ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่

ตั้งแห่งความกำหนัด ด้วยเสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยหู . . . ด้วยกลิ่นอันจะพึงรู้

แจ้งด้วยจมูก. . . ด้วยรสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น. . . ด้วยโผฏฐัพพะอันจะพึงรู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

แจ้งด้วยกาย ที่สัตว์ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม

เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ

และอุบายเครื่องออกไปแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นผู้ปราศจาก

ความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์อื่นผู้ยังไม่ปราศจาก

ความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะ

ปรารภกามเผาอยู่. เสพกามอยู่ ย่อมไม่ทะเยอทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น ไม่ยินดี

ในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรายินดีอยู่ด้วยความยินดีที่เว้นจากกาม

เว้นจากอกุศลธรรม ทั้งเป็นความยินดีที่ล่วงเลยความสุขอันเป็นทิพย์ตั้งอยู่ จึง

ไม่ทะเยอทะยานต่อธรรมอันเลว ไม่ยินดีในธรรมอันเลวนั้นเลย.

[๒๘๔] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็น

แผลมีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุม

ถ่านเพลิงมิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขาพึงตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้

รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดทำยารักษาบุรุษนั้น บุรุษนั้นอาศัยยาแล้วจึง

หายจากโรคเรื้อน เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข มีเสรีภาพ มีอำนาจในตนเอง

จะไปไหนได้ตามความพอใจบุรุษมีกำลังสองคนช่วยกันจับบุรุษนั้นที่แขนคนละ

ข้าง ฉุดเข้าไปในหลุมถ่านเพลิง ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน บุรุษนั้นจะต้องดิ้นรนไปอย่างนั้นๆ บ้างซิหนอ.

เป็นอย่างนั้น ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไฟโน้นมี

สัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ไฟนั้นมีสัมผัส

เป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แต่ในบัดนี้เท่านั้น

หรือแม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความ

เร่าร้อนมาก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความเร่าร้อนยิ่งใหญ่และ

มีความเร่าร้อน ทั้งในบัดนี้ และแม้เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความ

ร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก แต่ว่าบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผลมีตัว

สุก ถูกกิมิชาติบ่อน เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ มีอินทรีย์อันโรคกำจัดเสียแล้วโน้น

กลับได้ความสำคัญผิดในไฟนี้อันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั่นแลว่าเป็นสุขไป.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตกาลก็มี

สัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่ และมีความเร่าร้อนมาก ถึงในอนาคตกาล

กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่และมีความเร่าร้อนมาก แม้

ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนยิ่งใหญ่และมี

ความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกาม-

ตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนเกิดขึ้นเพราะปรารภกามเผาอยู่ มีอินทรีย์

อันโทษกำจัดแล้ว กลับได้ความสำคัญผิดในกามอันมีสัมผัสเป็นทุกข์นั้นแลว่า

เป็นสุขไป.

[๒๘๕] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษโรคเรื้อน มีตัวเป็น

แผลมีตัวสุก อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่

หลุมถ่านเพลิง ดูก่อนมาคัณฑิยะ บุรุษโรคเรื้อนคนโน้นมีตัวเป็นแผล มีตัวสุก

อันกิมิชาติบ่อนอยู่ เกาปากแผลอยู่ด้วยเล็บ ย่างกายให้ร้อนที่หลุมถ่านเพลิง

ด้วยประการใด ๆ ปากแผลเหล่านั้น ของบุรุษโรคเรื้อนนั้นเอง ยิ่งเป็นของไม่

สะอาดขึ้นมีกลิ่นเหม็นขึ้น และเน่าขึ้นด้วยประการนั้น ๆ และจะมีความเป็น

ของน่ายินดีน่าพอใจสักหน่อยหนึ่ง ก็คือปากแผลทั้งหลาย มีการเกาแผลเป็น

เหตุเท่านั้นฉันใด ดูก่อนมาคัณฑิยะ สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นแล ยังไม่ปราศจาก

ความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

ปรารภกามเผาอยู่เสพกามอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ปราศจาก

ความกำหนัดในกามอันกามตัณหาเคี้ยวกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะ

กามเผาลนอยู่ เสพกามอยู่ด้วยประการใด ๆ กามตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์

เหล่านั้น และสัตว์เหล่านั้นก็ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะปรารภกามเผาอยู่ ด้วย

ประการนั้น ๆ และจะมีความเป็นของน่ายินดี น่าพอใจสักหน่อยหนึ่ง ก็เพราะ

อาศัยกามคุณทั้งห้าเท่านั้น.

[๒๘๖] ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่าน

ได้เห็นหรือได้ฟังบ้างหรือว่า พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้

เอิบอิ่มเพียบพร้อม บำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณห้า ยิ่งละกามตัณหาไม่ได้ ยัง

บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามไม่ได้แล้ว เป็นผู้ปราศจาก

ความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่.

ข้อนี้ ไม่มีเลย ท่านพระโคดม.

ดีละมาคัณฑิยะ ข้อนี้แม้เราไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟังมาว่า พระราชาหรือ

มหาอำมาตย์ของพระราชาผู้เอิบอิ่มเพียบพร้อมบำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณห้า ยัง

ละตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามไม่ได้แล้ว

เป็นผู้ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือ

จักอยู่ ดูก่อนมาคัณฑิยะ ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้

ปราศจากความระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นล้วนรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย

เป็นเครื่องออกไปแห่งกามนั่นเทียว ตามความเป็นจริง แล้วละกามตัณหา

บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดขึ้นเพราะปรารภกามแล้ว จึงเป็นผู้ปราศจากความ

ระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว หรือกำลังอยู่ หรือจักอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

[๒๘๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลา

นั้นว่า

ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพาน

เป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึง

อมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางอันเกษม

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาแล้ว เพียงข้อ

ที่ท่านพระโคดมตรัสดีแล้วนี้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง พระนิพพาน

เป็นสุขอย่างยิ่ง แม้ข้าพเจ้าก็ได้ฟังข้อนี้มา ต่อปริพาชกทั้งหลายแต่ก่อน ผู้

เป็นอาจารย์และอาจารย์ผู้กล่าวกันอยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง

นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ข้อนี้ย่อมสมกัน.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ข้อที่ท่านได้ฟังมาต่อปริพาชกทั้งหลาย ก่อนๆ ผู้

เป็นอาจารย์และปาจารย์ผู้กล่าวกันอยู่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพาน

เป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้นั้น ความไม่มีโรคนั้นเป็นไฉน นิพพานนั้นเป็นไฉน

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ทราบว่า มาคัณฑิยปริพาชกเอา

ฝ่ามือลูบตัวของตัวเอง กล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคือ

อันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าเดี๋ยวนี้ เป็นผู้ไม่มี

โรคมีความสุข อะไร ๆ มิได้เบียดเบียนข้าพเจ้า.

เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด

[๒๘๘] ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด

เขาไม่ได้เห็นรูปตาและขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่

ได้เห็นรูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

ได้เห็นรูปหมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เขาได้ฟังต่อคนผู้มี

จักษุกล่าวว่า ดูก่อนผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้

เขาพึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวงบุรุษ

ตาบอดแต่กำเนิดนั้นว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่อง

งามไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้ เขารับเอาผ้านั้นไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจา

แสดงความดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดูก่อน

มาคัณฑิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น รู้อยู่

เห็นอยู่ รับเอาผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่าไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความ

ดีใจว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ หรือว่าเปล่ง

วาจาแสดงความยินดีด้วยเธอต่อบุคคลผู้มีจักษุเล่า.

ท่านพระโคดม บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้น ไม่รู้ไม่เห็นเลย รับเอา

ผ้าเทียมอันเปื้อนเขม่าเข้าไว้ห่ม แล้วดีใจ เปล่งวาจาแสดงความดีใจว่า ท่าน

ผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องไม่มีมลทินสะอาดหนอ ดังนี้ ด้วยเชื่อต่อบุคคลผู้มีจักษุ

เท่านั้น.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ ปริพาชกอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้นเหมือน

กัน ไม่มีจักษุ ไม่รู้ความไม่มีโรค ไม่เห็นพระนิพพาน เออก็เมื่อเป็นเช่นนั้น

ยังไม่กล่าวคาถานี้ได้ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง นิพพานเป็นสุขอย่าง

ยิ่ง ดังนี้ ดูก่อนมาคัณฑิยะ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ๆ ได้

ตรัสพระคาถาไว้ว่า

ความไม่มีโรคเป็นลากอย่างยิ่ง นิพพาน

เป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้

ถึงอมตธรรม ทางมีองค์แปดเป็นทางเกษม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลำดับ ดูก่อนมาคัณฑิยะ

กายนี้แลเป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความ

เจ็บไข้ ท่านนั้นกล่าวกายนี้เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นความ

ลำบาก เป็นความเจ็บไข้ว่า ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้

นิพพานนั้นคืออันนี้ ก็ท่านไม่มีจักษุของพระอริยะ อันเป็นเครื่องรู้ความไม่มี

โรค อันเป็นเครื่องเห็นนิพพาน.

มาคัณฑิยะอาราธนาพระพุทธเจ้าแสดงธรรม

[๒๘๙] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดม

ย่อมทรงสามารถเพื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความ

ไม่มีโรคให้เห็นนิพพานได้.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กำเนิด ไม่ได้เห็นรูป

สีดำและสีขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็นรูปสีแดง

ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูปหมู่ดาว

ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเข้า พึงตั้ง

แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ได้ทำยารักษา

เขา เขาอาศัยยานั้นแล้วก็เห็นไม่ได้ ทำจักษุให้ใสไม่ได้ ดูก่อนมาคัณฑิยะ

ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน แพทย์ต้องมีส่วนแห่งความลำบาก ความ

คับแค้นสักเพียงไรมิใช่หรือ.

อย่างนั้น ท่านพระโคดม.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า

ความไม่มีโรคนั้นคือสิ่งนี้ นิพพานนั้นคือสิ่งนี้ ดังนี้ ท่านนั้นก็พึงรู้ความไม่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

โรคไม่ได้ พึงเห็นนิพพานไม่ได้ อันนั้น พึงเป็นความเหน็ดเหนื่อย เป็น

ความลำบากแก่เรา.

[๒๙๐] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านพระโคดมด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ท่าน

พระโคดมย่อมทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ให้รู้ความ

ไม่มีโรค ให้เห็นนิพพานได้.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำเนิด เขาไม่ได้

เห็นรูปสีดำและสีขาว ไม่ได้เห็นรูปสีเขียว ไม่ได้เห็นรูปสีเหลือง ไม่ได้เห็น

รูปสีแดง ไม่ได้เห็นรูปสีชมพู ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นรูป

หมู่ดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ แต่เขาได้ฟังต่อคนที่มีจักษุซึ่ง

กล่าวอยู่ว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่องงาม ไม่มีมลทินสะอาดหนอ บุรุษตาบอด

แต่กำเนิดนั้น พึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาวผ่อง บุรุษคนหนึ่งเอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่า

มาลวงเขานั้นว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านผืนนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด

เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของเขา ตั้งแพทย์ผู้ชำนาญการ

ผ่าตัดให้รักษา แพทย์ผู้ชำนาญการผ่าตัดนั้น ทำยาถอนให้อาเจียน ยาถ่าย

ให้ลง ยาหยอด ยาหยอดซ้ำ ยานัตถุ์ เขาอาศัยยานั้นแล้วเห็นได้ ชำระตา

ให้ใสได้ เขาย่อมละความรัก ด้วยสามารถความพอใจในผ้าเทียมเปื้อนเขม่า

โน้นได้ พร้อมกับตาเห็น เขาพึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้นโดยความเป็น

ศัตรู โดยความเป็นข้าศึก อนึ่ง เขาพึงสำคัญบุรุษที่ลวงตนนั้นว่าควรปลงชีวิต

เสียด้วยความแค้นว่า บุรุษผู้เจริญ เราถูกบุรุษผู้นี้เอาผ้าเทียมเปื้อนเขม่ามาลวง

ให้หลงว่า บุรุษผู้เจริญ ผ้าของท่านนี้ขาวผ่องงามไม่มีมลทินสะอาด ดังนี้

มานานหนอ ฉันใด ดูก่อนมาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าแสดง

ธรรมแก่ท่านว่า ความไม่มีโรคนั้นคือข้อนี้ นิพพานนั้นคือข้อนี้ ท่านนั้นพึงรู้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

ความไม่มีโรค พึงเห็นนิพพานได้ ท่านนั้นก็จะละความกำหนัดด้วยสามารถ

ความพอใจในขันธ์ที่มีอุปาทานทั้งห้าได้ พร้อมกับความเห็นเกิดขึ้น อนึ่ง ท่าน

พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ เราถูกจิตนี้ล่อลวงให้หลงมานาน

แล้วหนอ. เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่รูปเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยืดมั่นแต่เวทนาเท่า

นั้น เมื่อยึดมั่นก็ยืดมั่นแต่สัญญาเท่านั้น เมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นแต่สังขารเท่านั้น

เมื่อยึดมันก็ยึดมั่นแต่วิญญาณเท่านั้น เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา

นั้น เพราะภพนั้นเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้

ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

[๒๙๑] ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดมอย่างนี้แล้ว ท่านพระโคดม

ย่อมทรงสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า โดยประการที่ข้าพเจ้าไม่เป็นคน

บอดลุกขึ้นจากอาสนะนี้ได้.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น ท่านควรคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใด

ท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจักได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อท่านได้ฟังธรรม

ของสัตบุรุษ ท่านจักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อท่านปฏิบัติธรรมสมควร

แก่ธรรม ท่านจักรู้เอง เห็นเองว่า โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้ โรค ฝี

ลูกศร จะดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ

เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์

โทมนัส อุปายาสก็ดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.

มาคัณฑิยะได้บรรพชาและอุปสมบท

[๒๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

นัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักเปรียบเหมือนบุคคล

หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือตามประทีป

ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านพระโคดมทรง

ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่าน

พระโคดม พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา

อุปสมบท ในสำนักท่านพระโคดม.

ดูก่อนมาคัณฑิยะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวัง

อุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุ

ทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุได้ ก็แต่

ว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวัง

บรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน

ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชาอุปสมบทได้ไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่

ปริวาสสี่ปี ต่อเมื่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชาให้อุปสมบท

เพื่อความเป็นภิกษุเถิด.

มาคัณฑิยปริพาชกได้บรรพชา ได้อุปสนบทในสำนักของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว ก็เมื่อท่านมาคัณฑิยะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้

เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านานเท่าไร ก็

ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออก

จากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบ ต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง

ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ท่านมาคัณฑิยะได้เป็นพระ-

อรหันต์รูปหนึ่งในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ดังนี้แล.

จบมาคัณฑิยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

๕. อรรถกถามาคัณฑิยสูตร

มาคัณฑิยสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมา

อย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อคฺยาคาเร คือ ในโรงบูชาไฟ. บทว่า

ติณสนฺถรเก คือบนเครื่องลาดอันทำด้วยหญ้า. มาคัณฑิยปริพาชก ๒ คน

ลุงและหลาน. ใน ๒ คนนั้นลุงบวชได้บรรลุพระอรหัต. แม้หลานก็มีอุปนิสัย

บวชไม่นานนักจักบรรลุอรหัต. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอุปนิสัย

ของมาคัณฑิยปริพาชกนั้นทรงละพระคันธกุฎี เช่นกับเทวสถาน ทรงให้ปูเครื่อง

ลาดอันทำด้วยหญ้า ที่โรงบูชาไฟนั้น สกปรกไปด้วยเถ้าหญ้าและหยากเยื่อ

เสด็จประทับอยู่ ๒-๓ วัน เพื่อทรงทำการสงเคราะห์ผู้อื่น. ท่านกล่าวบทว่า

เตนุปสงฺกมิ เสด็จเข้าไป หมายถึงโรงบูชาไฟนั้น. แต่เพราะโรงบูชาไฟนั้น

มิได้อยู่ใกล้บ้านอย่างเดียว ตอนกลางวันเท่านั้น พวกเด็กชายและเด็กหญิงพา

กันลงไปเล่นไม่มีความสงบ. ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงให้ตอนกลางวัน

ผ่านพ้นไปในไพรสณฑ์ตลอดกาลเป็นนิตย์. ในตอนเย็นจึงเสด็จเข้าไปในโรง

บูชาไฟนั้นเพื่อประทับอยู่. บทว่า อทฺทสา โข ติณสนฺถรก ปญฺตฺต มา-

คัณฑิยปริพาชกได้เห็นเครื่องลาดอันทำด้วยหญ้าปูไว้ คือพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงปรับปรุงเครื่องลาดทำด้วยหญ้าในวันอื่น แล้วทรงทำเครื่องหมายตั้งไว้เสด็จ

กลับไป. ในวันนั้นนั่นเองได้ทรงให้ปูแล้วเสด็จไป. เพราะเหตุไร. เพราะในกาล

นั้นตอนใกล้รุ่งพระองค์ทรงตรวจดูโลกได้ทรงเห็นแล้วว่า วันนี้มาคัณฑิยะจะมา

ในที่นี้ ครั้นเห็นเครื่องลาดทำด้วยหญ้านี้แล้วจักสนทนาปรารภเครื่องลาดทำด้วย

หญ้ากับภารทวาชพราหมณ์. แต่นั้นเราจักมาแสดงธรรม. มาคัณฑิยพราหมณ์ฟัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

ธรรมแล้วจักบวชในสำนักของเราแล้วบรรลุอรหัต. จริงอยู่ เราบำเพ็ญบารมีมา

ก็เพื่อทำการสงเคราะห์ผู้อื่น จึงทรงให้ปูเครื่องลาดอันทำด้วยหญ้าแล้วเสด็จไป.

บทว่า สมณเสยฺยานุรูป มญฺเ เห็นจะเป็นที่นอนสมควรแก่สมณะ

คือ สำคัญเครื่องลาดนี้ว่า เป็นที่นอนสมควรแก่สมณะ. อนึ่ง เครื่องลาดนี้

มิใช่ที่อยู่ของสมณะผู้ไม่สำรวมแล้ว. เป็นความจริงอย่างนั้นที่เครื่องลาดนี้ มิได้

ปรากฏที่ถูกเขี่ยด้วยมือ ที่ถูกกระทบด้วยศีรษะ หรือที่ถูกเขี่ยด้วยเท้า. เครื่อง

ลาดนี้ไม่เลอเทอะไม่ถูกเสียดสีไม่ถูกทำลายดุจช่างระบายสีผู้ฉลาดเอาดินสอพอง

ระบายปูไว้คงเป็นที่อยู่ของสมณะผู้สำรวมแล้ว. มาคัณฑิยพราหมณ์จึงถามว่า

ท่านผู้เจริญที่อยู่ของใคร. บทว่า ภูนหนสฺส ผู้กำจัดความเจริญ คือ ผู้สร้าง

มารยาท. เพราะเหตุไรมาคัณฑิยะถึงกล่าวอย่างนั้น. เพราะเขามีลัทธิ คือทำ

ให้ความเจริญปรากฏในทวาร ๖. นี้เป็นลัทธิของเขา คือ ควรให้จักษุงอกงาม

เจริญ. ควรเห็นรูปที่ไม่เคยเห็น. รูปที่เห็นแล้วควรผ่านไป. ควรให้โสตะงอกงาม

เจริญ ควรฟังเสียงที่ไม่เคยฟัง. เสียงที่ฟังแล้วควรผ่านไป. ควรให้ฆานะงอกงาม

เจริญ ควรดมกลิ่นที่ไม่เคยดม. กลิ่นที่ดมแล้วควรผ่านไป. ควรให้ชิวหา

งอกงาม เจริญ ควรลิ้มรสที่ไม่เคยลิ้ม. รสที่ล้มแล้วควรผ่านไป. ควรให้กาย

งอกงามเจริญ ควรสัมผัสโผฏฐัพพะที่ยังไม่เคยสัมผัส. โผฏฐัพพะที่สัมผัสแล้ว

ควรผ่านไป. ควรให้มนะงอกงามเจริญ ควรรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ ธรรมที่รู้แล้ว

ควรผ่านไป. มาคัณฑิยะบัญญัติความเจริญในทวาร ๖ ไว้ด้วยประการฉะนี้.

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติความสำรวมในทวาร ๖ ไว้ว่า

ความสำรวม จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา

กาย วาจา ใจ เป็นความดี. ความสำรวม

ในทวารทั้งปวงเป็นความดี. ภิกษุสำรวม

ในทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

เพราะฉะนั้น มาคัณฑิยพราหมณ์สำคัญว่า พระสมณโคดมนั้นเป็นผู้

กำจัดความเจริญ เป็นผู้สร้างมารยาท จึงกล่าวว่า ภูนหโน เป็นผู้กำจัดความ

เจริญ. บทว่า อริเย าเย ธมฺเม กุสเล คือในเหตุในธรรมบริสุทธิ์ไม่มีโทษ.

ด้วยบทนี้ทรงแสดงไว้อย่างไร. อันผู้จะกล่าววาจาแก่ผู้มียศมีความสูงส่ง เป็นที่

รู้จักกันทั่วเห็นปานนี้ ควรพิจารณาไตร่ตรอง ไม่ควรพูดโดยไม่ระวังปาก.

เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า ท่านอย่าพูดพร่ำ ท่านจงระวัง

ปาก. บทว่า เอว หิ โน สุตฺเต โอจรติ เพราะว่าคำเช่นนี้ลงกันในสูตร

ของพวกเรา ความว่าเพราะว่าคำเช่นนี้มาในสูตรของพวกเรา. พวกเราจะไม่พูด

เพียงปรารถนาจะให้งอกงามทางปากเท่านั้น. อนึ่ง พวกเราเมื่อพูดคำอันมาแล้ว

ในสูตรจะพึงพูดแก่ใคร. ฉะนั้นเราจะพูดต่อหน้าพระสมณโคดมนั้น. บทว่า

อปฺโปสฺสุกฺโก เป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ความว่าไม่ขวนขวาย คือไม่

กังวลเพื่อจะรักษาเรา. บทว่า วุตฺโต จ น วเทยฺย เราได้ว่าไว้แล้วก็พึง

กล่าวกะพระสมณโคดมนั้นเถิด ความว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ เราได้กล่าวไว้

แล้ว แม้ไม่ถามก็ตั้งคำพูดได้ ถือเอามะม่วงและหว้าเป็นต้นแล้วยังไม่ครบ ก็

พึงกล่าวกะพระสมณโคดม โดยทำนองที่เรากล่าวแล้วเถิด.

บทว่า อสฺโสสิโข ความว่า พระศาสดาทรงเจริญอาโลกกสิณได้ทรง

เห็นมาคัณฑิยพราหมณ์ซึ่งมา ณ ที่นั้นด้วยทิพยจักษุ ได้ทรงสดับแม้เสียงของ

ชนทั้งสองสนทนากันด้วยทิพโสต.

บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่

เร้น คือ เสด็จออกจากผลสมาบัติ. บทว่า สวคฺโค คือภารทวาชพราหมณ์

ตกใจ หวั่นไหว ด้วยกำลังแห่งปีติ. นัยว่าภารทวาชพราหมณ์นั้นได้มีความ

ดำริว่า มาคัณฑิยะและเราก็มิได้พูดกับพระสมณโคดม คนอื่นนอกจากเรา สอง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

คนในที่นี้ไม่มีคนที่ ๓. บุรุษผู้มีโสตไวจักได้ยินเสียงของเราทั้งสองเป็นแน่.

ลำดับนั้น ภารทวาชพราหมณ์บังเกิดปีติภายในขุมขนเก้าหมื่นได้ชูชัน. ด้วย

เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า สวิคฺโค โลมหฏฺชาโต ภารทวาชพราหมณ์ตกใจ

โลมชาติชูชัน.

ลำดับนั้น มาคัณฑิยปริพาชกทั้ง ๆ ที่มีญาณแก่กล่าดุจเมล็ดพืชที่มีปาก

อ้าแล้ว ไม่สามารถนั่งสงบอยู่ได้เดินไปมา มาเฝ้าพระศาสดาอีก แล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. เพื่อแสดงถึงมาคัณฑิยะนั้นจึงกล่าวบทมีอาทิว่า อถ โข

มาคณฺฑิโย ครั้งนั้นมาคัณฑิยะ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระศาสดามิได้ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนมาคัณฑิยะ ท่านได้

กล่าวกะเราแล้วดัง นี้ทรงปรารภพระธรรมเทศนาแก่ปริพาชกว่า จกฺขุ โข

มาคณฺฑิย ดังนี้. ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ ชื่อว่า จกฺขุ รูปาราม เพราะรูป

เป็นที่มายินดีแห่งจักษุด้วยอรรถว่าเป็นที่อาศัย. ชื่อว่า รูปรต เพราะจักษุ

ยินดีในรูป. ชื่อว่า รูปสมฺมุทิต เพราะจักษุอันรูปให้บันเทิงแล้ว. บทว่า ทนฺต

ทรมานแล้ว คือให้หมดพยศแล้ว. บทว่า คุตฺต คือคุ้มครองแล้ว. บทว่า

รกฺขิต รักษาแล้ว คือ ตั้งการอารักขาไว้แล้ว. บทว่า สวุต สำรวมแล้ว

คือ ปิดแล้ว. บทว่า สวราย เพื่อสำรวม คือเพื่อต้องการปิด. บทว่า

ปริจาริตปุพฺโพ เคยได้รับบำเรอ คือ เคยพูดจาปราศรัย. บทว่า รูปปริฬาห

เดือดร้อนเพราะรูป คือความเดือดร้อนเกิดขึ้นเพราะปรารภรูป. บทว่า อิมสฺส

ปน เต มาคณฺฑิย กิมสฺส วจนีย ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ท่านจะพึงว่าอะไร

แก่ท่านผู้นี้เล่า คือท่านจะพึงกล่าวคำอะไรแก่พระขีณาสพนี้ผู้กำหนดรูปแล้ว

บรรลุพระอรหัตเล่า. ถามว่า ควรจะกล่าวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้กำจัดความ

เจริญ เป็นผู้สร้างมารยาทดังนี้หรือไม่ควรกล่าว. บทว่า น กิญฺจิ โภ โคตม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

คือ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ไม่ควรกล่าวคำไร ๆ เลย. แม้ในทวารที่เหลือก็มี

นัยนี้เหมือนกัน.

บัดนี้เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงว่าไม่มีคำไร ๆ ที่ท่าน

ควรจะกล่าวแก่พระขีณาสพผู้กำหนดขันธ์ ๕ แล้วบรรลุพระอรหัต และเราก็

กำหนดขันธ์ ๕ แล้วบรรลุพระสัพพัญญู. ฉะนั้นมาคัณฑิยะนั้นจะควรกล่าวอะไร

กะเรา ดังนี้ จึงตรัสว่า อห โข ปน ดังนี้. บทว่า ตสฺส มย ห มาคณฺฑิย

ดูก่อนมาคัณฑิยะ ปราสาทของเรานั้น คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรง

แสดงสมบัติของพระองค์ เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์จึงตรัส. พึงทราบความในบท

มีอาทิว่า วสฺสิโก นั้นดังต่อไปนี้. ความสุขย่อมมีในที่อยู่ในฤดูฝนนี้ คือ

ปราสาทที่อยู่ในฤดูฝน. แม้ในบทนอกนั้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่ในบทนี้มีอธิ-

บายคำดังต่อไปนี้. ชื่อว่า วสฺสิโก เพราะควรอยู่ตลอดฤดูฝน. แม้ในบทนอกนี้

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในบทนั้น ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำ

เกินไป. แม้ประตูและหน้าต่างของปราสาทนั้น ก็ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป

เครื่องลาดฟื้นของเคี้ยวของบริโภคในปราสาทนี้มีเหลือเฟือ. ในปราสาทเป็นที่

อยู่ในฤดูหนาว เสาก็ดี ฝาก็ดี อยู่ต่ำ. ประตูและหน้าต่างมีน้อยมีช่องเล็ก. เอา

ช่องฝาออกเพื่อต้องการให้ความอุ่นเข้าไป. อนึ่งในปราสาทนี้ เครื่องลาดพื้น

เครื่องปู เครื่องนุ่งห่ม ควรเป็นผ้ากัมพลเป็นต้นที่ช่วยให้อบอุ่นได้. ของเคี้ยว

ของบริโภค ละเอียดอ่อนและมีรสเข้มขึ้น. ในปราสาทอันเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน

เสาก็ดี ฝาก็ดี อยู่สูง. ประตูและหน้าต่างในปราสาทนี้มีมากมีแสงสว่างไปทั่ว.

เครื่องลาดพื้นเป็นต้นควรเป็นผ้าเนื้อดี. ของเคี้ยวของบริโภคมีรสหวานทำให้

ได้รับความเย็น. อนึ่งในที่ใกล้หน้าต่างในปราสาทนี้ตั้งตุ่มน้ำไว้ ๙ ตุ่ม เต็ม

ด้วยน้ำปลูกบัวเขียวเป็นต้นไว้. ในที่นั้นทำน้ำพุไว้ สายน้ำจะพุ่งดุจเมื่อฝนตก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

แต่ของพระโพธิสัตว์เขาปลูกกอบัวเขียวไว้ในหม้อทองคำ และหม้อเงินอย่างละ

๑๐๘ หม้อ เต็มไปด้วยน้ำหอม ตั้งล้อมห้องนอน. เขาใส่เปือกตมหอมให้เต็มใน

กระถางโลหะใหญ่ ปลูกบัวเขียว บัวแดง บัวขาวเป็นต้นตั้งไว้ในที่นั้น ๆ เพื่อ

ถือเอาอุตุ. ดอกไม้ทั้งหลายย่อมบานด้วยรัศมีของดวงอาทิตย์. หมู่ภมรนานาชนิด

บินเข้าไปยังปราสาทเที่ยวสูดรสในดอกไม้ทั้งหลาย. ปราสาทมีกลิ่นหอมชวนดม

ยิ่งนัก. ในระหว่างฝาคู่ได้ตั้งทะนานโลหะแล้วตามไฟอ่อนๆ ไว้ที่สุดมณฑปแก้ว

บนเนินอากาศเบื้องบนปราสาทเก้าชั้น. ลาดหนังกระบือแห้งไว้ในที่แห่งหนึ่ง.

ในเวลาพระโพธิสัตว์เล่นน้ำเขาทอดลูกหินไปที่หนังกระบือ. เครื่องยนต์หมุน

ไปข้างล่าง ดุจเสียงเมฆคำราม. น้ำพุ่งขึ้นแล้วตกไปที่เปลวไฟ. เป็นดุจน้ำฝน

ตก. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ทรงนุ่งผ้าเขียวห่มผ้าเขียวทรงประดับเครื่องประดับ

สีเขียว. แม้พวกบริวารของพระโพธิสัตว์มีนักฟ้อนรำสี่หมื่น ประดับด้วยสีเขียว

แต่งตัวสีเขียวแวดล้อมพระมหาบุรุษไปสู่มณฑปแก้ว. พระโพธิสัตว์ทรงเล่น

กีฬาในน้ำตลอดวัน เสวยความสุขในฤดูแห่งความเย็นฉ่ำ. ในทิศ ๔ ของ

ปราสาทมีสระอยู่ ๔ สระ. ในตอนกลางวันฝูงนกนานาชนิด ออกจากสระด้าน

ทิศตะวันออกร้องเสียงระงมบินไปสู่สระด้านตะวันตกทางยอดของปราสาท.

ออกจากสระด้านทิศตะวันตกบินไปสู่สระด้านทิศตะวันออก. ออกจากสระด้าน

ทิศเหนือบินไปสู่สระด้านทิศใต้. ออกจากสระด้านทิศใต้ บินไปสู่สระด้าน

ทิศเหนือ. เป็นดุจสมัยในระหว่างฤดูฝน. แต่ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูหนาวมี

๕ ชั้น. ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝนมี ๗ ชั้น.

บทว่า นิปฺปุริเสหิ ไม่มีบุรุษคือเว้นจากบุรุษ. อนึ่งมิใช่ดนตรีเท่านั้น

ที่ไม่มีบุรุษเจือปน. แม้ที่ทุกแห่งก็ไม่มีบุรุษเหมือนกัน. แม้คนเฝ้าประตูก็เป็น

ผู้หญิง. แม้ผู้ทำบริการมีอาบน้ำให้เป็นต้นก็เป็นผู้หญิง. นัยว่าพระราชทรง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

ตั้งพวกผู้หญิงไว้ในกิจทุกอย่างด้วยทรงพระดำริว่า เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยอิสริย-

สมบัติและสุขสมบัติเห็นปานนั้น จะเกิดความข้องใจในบุรุษ เพราะเห็นบุรุษ.

ความข้องใจนั้นอย่าได้มีแก่โอรสของเราเลย. บทว่า ตาย รติยา รมมาโน

ยินดีด้วยความยินดีนั้น นี้ท่านกล่าวหมายถึงความยินดีผลสมาบัติอันประกอบ

ด้วยฌานที่ ๔.

พึงทราบความในบทนี้ว่า คหปติ วา คหปติปุตฺโต วา ดังต่อไปนี้.

เพราะกษัตริย์ทั้งหลายย่อมมีความปรารถนาในเศวตฉัตรทั้งนั้น. ความปรารถนา

ใหญ่เป็นความเนิ่นช้าของกษัตริย์เหล่านั้น . พราหมณ์ทั้งหลายไม่อิ่มด้วยมนต์

จึงเที่ยวแสวงหามนต์. ส่วนคหบดีทั้งหลายย่อมเสวยสมบัติทั้งแต่กาลเรียนเพียง

คำนวณชั้นสูง. ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงถือเอากษัตริย์และพราหมณ์

จึงตรัสว่า คหปติ วา คหปติปุตฺโต วา ดังนี้. บทว่า อาวฏฺเฏยฺย พึงเวียน

มา ความว่า พึงเวียนมาเพราะเหตุแห่งกามอันเป็นของมนุษย์. บทว่า อภิกฺกนฺ-

ตตรา น่าใคร่ยิ่งกว่า คือ ประเสริฐกว่า. บทว่า ปณีตตรา ประณีตกว่า คือ

ไม่น้อยกว่า. สมดังที่ท่านกล่าวถึงข้อนี้ไว้ว่า

กามอันเป็นของมนุษย์ เมื่อเทียบกับสำ-

นักของกามอันเป็นทิพย์ ก็เหมือนกับเอาน้ำ

ที่ปลายหญ้าคาสลัดลงในสมุทร ฉะนั้น.

บทว่า สมธิคฺคยฺห ติฏฺติ ถือเอาสุขอันเป็นทิพย์ตั้งอยู่ คือถือเอาสุข

ที่เป็นทิพย์ประเสริฐกว่านั้นตั้งอยู่.

อนึ่งพึงทราบข้อเปรียบเทียบในข้อนี้ดังต่อไปนี้. กาลแห่งความยินดี

ในท่ามกลางหญิง ๔ หมื่นในปราสาท ๓ หลัง ของพระโพธิสัตว์ ดุจกาลแห่ง

ความเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ของคหบดีฉะนั้น. กาลที่พระโพธิสัตว์ทรง

๑. ขุ ชา. ๒๘/ข้อ ๓๒๗.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

ผนวชแล้วแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์ ดุจกาลที่คหบดีนั้น

บำเพ็ญสุจริตแล้วบังเกิดในสวรรค์ฉะนั้น. กาลที่พระตถาคตยังเวลาให้ล่วงไป

ด้วยความยินดีในผลสมาบัติอันเป็นไปในฌานที่ ๔ ดุจกาลที่คหบดีนั้นเสวย

สมบัติในนันทวันฉะนั้น. กาลที่พระตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีใน

ผลสมาบัติอันเป็นไปในฌานที่ ๔ ไม่ทรงปรารถนาความสุขของชนเลวอันเป็น

ของมนุษย์ ดุจกาลที่คหบดีนั้น ไม่ปรารถนากามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์ฉะนั้น.

บทว่า สุขี มีความสุขคือได้รับทุกข์ก่อน ภายหลังพึงมีความสุข.

บทว่า เสรี มีเสรีภาพ คือ มีแพทย์เป็นเพื่อนก่อน ภายหลังพึงมีเสรีภาพคือ

พึงเป็นคนเดียว. บทว่า สย วสี มีอำนาจในตนเอง คืออยู่ในอำนาจของ

แพทย์ก่อน เมื่อแพทย์บอกว่าจงนั่งก็นั่ง บอกว่าจงนอนก็นอน บอกว่าจง

บริโภคก็บริโภค บอกว่าจงดื่มก็ดื่ม ภายหลังจึงมีอำนาจในตนเอง. บทว่า

เยน กามงฺคโม จะไปไหนได้ตามความพอใจ คือไม่ได้ไปยังที่ตนต้องการ

จะไปก่อน ภายหลังเมื่อโรคหายดีแล้ว จึงไปไหนได้ตามความพอใจแม้ใน

การชมป่าชมถ้ำและชมภูเขาเป็นต้น พึงไปได้ในที่ที่ปรารถนาจะไป.

ในบทนี้มีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้. กาลที่พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ณ

ท่ามกลางปราสาท ดุจกาลที่บุรุษเป็นโรคเรื้อนฉะนั้น, กามวัตถุอย่างหนึ่งดุจ

กระเบื้องใส่ถ่านไฟฉะนั้น . กามวัตถุ ๒ อย่างดุจกระเบื้อง ๒ แผ่น. นักฟ้อน

๓ โกฏิครึ่งดุจกระเบื้องใส่ถ่านไฟ ๓ โกฏิครึ่งของท้าวสักกเทวราชฉะนั้น. การ

เสพวัตถุกาม ดุจเอาเล็บเกาปากแผลแล้วเอาไปลนบนกระเบื้องใส่ถ่านไฟฉะนั้น.

กาลที่พระโพธิสัตว์เห็นโทษในกามเห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสด็จออกบวช

ได้เป็นพระพุทธเจ้า. และกาลที่พระตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผล

สมาบัติอันเป็นไปในฌานที่ ๔ ดุจกาลที่บุรุษโรคเรื้อนอาศัยยาแล้วหายโรคฉะนั้น.

กาลที่พระตถาตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีนั้นไม่ทรงปรารถนาด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

ยินดีในชนเลว ดุจกาลเห็นบุรุษเป็นโรคเรื้อนอื่นแล้วไม่ปรารถนาจะเห็นอีก

ฉะนั้น .

บทว่า อุปหตินฺทริโย มีอินทรีย์อันโรคกำจัดเสียแล้ว คือมีกายประ-

สาทอันโรคเรื้อนกำจัดแล้ว. บทว่า อุปหตินฺทฺริยา มีอินทรีย์อันโทษกำจัด

แล้ว คือมีปัญญินทรีย์อันโทษกำจัดแล้ว. สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเพราะ

ปัญญินทรีย์ถูกกำจัดกลับได้ความสำคัญผิดในกามทั้งหลายอันมีสัมผัสเป็นทุกข์

ว่าเป็นสุข เหมือนอย่างบุรุษโรคเรื้อนนั้นมีกายินทรีย์ถูกโรคกำจัดกลับได้ความ

สำคัญผิดในไฟอันสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฉะนั้น.

พึงทราบความในบทว่า อสุจิตรานิ เจว ไม่สะอาดยิ่งขึ้นเป็นต้นดัง

ต่อไปนี้. ตามปกติปากแผลเหล่านี้ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นและเน่า แต่บัดนี้

ยิ่งไม่สะอาด ยิ่งมีกลิ่นเหม็นและยิ่งเน่าขึ้นอีก. บทว่า กาจิ คือหนอนทั้งหลาย

ย่อมเข้าไปภายในแผลที่รนไฟและที่เกา เลือดและหนองที่น่าเกลียดก็ไหลออก

แผลอย่างนี้นั้นจะมีความน่าพอใจสักหน่อยหนึ่งจะกระไรอยู่.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาว่า อาโรคฺยา ปรมา ลาภา ความมีไม่โรคเป็นลาภอย่างยิ่งดังต่อไปนี้ . การได้ทรัพย์ก็ดี การได้ยศก็ดี การได้บุตรก็ดี

อย่างใดอย่างหนึ่ง ความไม่มีโรคเป็นลาภอันสูงสุดกว่าลาภเหล่านั้น. ลาภยิ่ง

กว่าความไม่มีโรคนั้นไม้มี เพราะเหตุนั้น ความไม่มีโรคจึงเป็นลาภอย่างยิง.

สุขเกิดแต่ฌานก็ดี สุขเถิดแต่มรรคก็ดี สุขเกิดแต่ผลก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่

บรรดาสุขเหล่านั้น นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. สุขยิ่งกว่านิพพานนั้นไม่มี

เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงเป็นสุขอย่างยิ่ง. บทว่า อฏฺงฺคิโก จ มคฺคาน

บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรมด้วยการไปอันเป็นส่วนเบื้องต้น สู่มรรค

อันเป็นส่วนเบื้องจึงทั้งหลาย มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางอัน เกษม. ทางอื่นเกษม

๑. บาลีว่า อนินุคฺปรมา วราภา ม. มัช. ๑๓ ขอ ๒๘๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

ยิ่งกว่ามรรคมีองค์ ๘ นั้นไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เขม ก็ดี บทว่า อมต

ก็ดีในบทว่า เขม อมต นี้ เป็นชื่อของนิพพานนั่นเอง.

ในบทนี้มีความว่า สมณพราหมณ์ผู้กล่าวคัดค้านเป็นอันมาก ถือเอา

ด้วยลัทธิว่าทางอันเป็นทางเกษม และทางอันให้ถึงอมตธรรม มรรคมีองค์ ๘

เป็นทางอย่างยิ่งคือสูงสุดกว่ามรรคทั้งหลายอันเป็นทางเกษมและเป็นทางอมตะ

เหล่านั้นทั้งหมด. บทว่า อาจริยปาจริยาน แห่งอาจารย์และปาจารย์คือแห่ง

อาจารย์และแห่งอาจารย์ของอาจารย์ทั้งหลาย. บทว่า สเมติ ย่อมสมกันคือเช่น

เดียวกันไม่ต่างกัน ดุจดวงด้วยทะนานเดียวกัน ดุจชั่งด้วยตาชั่งเดียวกัน. บทว่า

อโนมชฺชติ ลูบตัว คือมาคัณฑิยปริพาชก ลดฝ่ามือลงข้างล่างลูบตัว. บทว่า

อิทนฺต โภ โคตม อาโรคฺย อทนฺต นิพฺพาน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญนี้คือ

ความไม่มีโรคนี้คือความสุข คือมาคัณฑิยปริพาชกลูบศีรษะตามเวลา ลูบท้อง

ตามเวลาจึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า เฉก คือผ่องใส. บทว่า พาหุลิจีวเรน

ผ้าเทียมคือผ้าเนื้อหยาบทำด้วยขนแกะดำ. อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า สงฺการ-

โจฬเกน บ้าง แปลว่าผ้าที่เขาตั้งไว้ในหยากเยื่อ. บทว่า วาจ นิจฺฉเรยฺย เปล่ง

วาจา ความว่า เปล่งวาจาลูบคลำที่ชาย ที่ปลาย ที่ท่ามกลางตามเวลา. บทว่า

ปุพฺพเกเหสา ตัดบทเป็น ปุพฺพเกหิ เอสา ความว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีบ้าง ฯลฯ พระนามว่า กัสสปะบ้าง ประทับนั่งท่าม

กลางบริษัท ๔ ได้ตรัสพระคาถานี้. คาถาอาศัยประโยชน์เพราะเหตุนั้นมหาชน

จึงได้เรียน. ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ภายหลังคาถาทั้งหลายจึง

พากันเข้าไปสู่ระหว่างพวกปริพาชก. ปริพาชกเหล่านั้นจดไว้ในใบลานรักษาไว้

๒ บทเท่านั้น. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่าคาถานั้นบัดนี้เป็นคาถาของปุถุชน

ตามลำดับ. ชื่อว่า โรคภูโต เพราะเป็นรังโรค. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือน

กัน. บทว่า อรย จกฺขุ จักษุประเสริฐ คือ วิปัสสนาญาณและมรรคญาณ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

บริสุทธิ์ . บทว่า ปโหติ เพียงพอคือสามารถ. บทว่า เภสชฺช กเรยฺย พึง

ผสมยา คือพึงผสมยาถอนให้อาเจียน ยาถ่าย ยาหยอดตา ยาต้มเป็นต้น. บทว่า

น จกฺขูนิ อุปฺปาเทยฺย มองไม่เห็น ความว่า จักษุประสาทของผู้ใดถูกความ

อึดอัดมีดีและเสมหะเป็นต้นกำจัดแล้วในระหว่าง. ผู้นั้นอาศัยแพทย์ผู้ฉลาดรับ

ประทานยาอันสบาย จึงมองเห็นได้. แต่นัยน์ตาของคนตาบอดแต่กำเนิด บอด

ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา. เพราะฉะนั้นเขาจะเห็นไม่ได้เลย. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น จกฺขูนิ อุปฺปาเทยฺย มองไม่เห็น ดังนี้.

พึงทราบว่าวินิจฉัยในวาระที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ชจฺจนฺโธ บอดแต่กำเนิด คือบอดด้วยความอึดอัดมีดีเป็นต้น

ตั้งแต่เวลาเกิด. เมื่อก่อนท่านกล่าวว่า อมุสฺมึ คือในครั้งโน้น. บทว่า

อมิตฺตโต ทเหยฺย เขาพึงตั้งบุรุษนั้นไว้โดยความเป็นศัตรูคือพึงตั้งไว้โดย

ความเป็นศัตรูอย่างนี้ว่า บุรุษนี้เป็นศัตรูของเราดังนี้. แม้ในบทที่ ๒ ก็มีนัยนี้

เหมือนกัน บทว่า อิมินา จิตฺเตน ด้วยจิตดวงนี้คือ ด้วยจิตอันตามไปใน

วัฏฏะ. บทว่า ตสฺส เม อุปาทานปจฺจยา เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพ

จึงมีแก่เรา คือท่านกล่าวถึงปัจจยาการอันมีสนธิ ๑ และสังเขป ๒, ประกาศ

วัฏฏะให้แจ้ง. บทว่า ธมฺมานุธมฺม ธรรมสมควรแก่ธรรม คือปฏิปทาอัน

สมควรแก่ธรรม. บทว่า อิเม โรคา คณฺฑา สลฺลา โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงขันธ์ ๕. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึง

วิวัฏฏะ จึงตรัสว่า อุปาทานนิโรธ่า เพราะอุปาทานดับดังนี้. บทที่เหลือ

ในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถามาคัณฑิยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

๖. สันทกสูตร

เรื่องสันทกปริพาชก

[๒๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตเมือง

โกสัมพี สมัยนั้น สันทกปริพาชกพร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ประมาณ

ห้าร้อย อาศัยอยู่ ณ ถ้ำปิลักขคูหา. ครั้งนั้นเวลาเย็น ท่านพระอานนท์ออก

จากที่เร้นแล้วเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายจะเข้า

ไปยังบ่อน้ำที่น้ำฝนเซาะเพื่อจะดูถ้ำ ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์ว่า

อย่างนั้นท่านผู้มีอายุ. ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก

เข้าไปยังบ่อน้ำที่น้ำฝนเซาะ. สมัยนั้น สันทกปริพาชกนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัท

หมู่ใหญ่ ซึ่งกำลังพูดติรัจฉานกถาเป็นอันมาก ด้วยเสียงสูง เสียงใหญ่อึงคนึง

คือพูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย

เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่อง

ญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี

เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องนางกุมภทาสี เรื่องคนที่ล่วง

ลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความ

เสื่อมด้วยประการนั้น ๆ.

สันทกปริพาชกได้เห็นท่านพระอานนท์กำลังมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัท

ของตนให้สงบเสียงว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงเบาเสียงเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

อย่าทำเสียงดังต่อไปเลย นี่สาวกของพระสมณโคดม เป็นสมณะชื่ออานนท์

กำลังมาอยู่ สมณะชื่ออานนท์นี้ เป็นสาวกองค์หนึ่ง ในบรรดาสาวกของพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

โคดมที่อาศัยอยู่ ณ เมืองโกสัมพี ก็ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ใคร่ในความ

เป็นผู้มีเสียงเบา แนะนำในความมีเสียงเบา กล่าวสรรเสริญเสียงเบา ถ้ากระไร

สมณะชื่ออานนท์นั้น ทราบว่าบริษัทมีเสียงเบาแล้ว พึงสำคัญที่จะเข้ามาใกล้.

ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นได้นิ่งอยู่ ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปหาปริพาชกถึง

ที่ใกล้ สันทกปริพาชกได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า เชิญมาเถิดท่านพระ-

อานนท์ ท่านพระอานนท์มาดีแล้ว ต่อนาน ๆ ท่านพระอานนท์จึงจะได้ทำเหตุ

เพื่อจะมาในที่นี้ เชิญนั่งเถิดท่านพระอานนท์ นี้อาสนะปูไว้แล้ว ท่านพระ-

อานนท์นั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว แม้สันทกปริพาชกถือเอาอาสนะอันต่ำแห่งหนึ่ง

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ธรรมิกกถา

[๒๙๔] ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะสันทกปริพาชกว่า ดูก่อนสันทกะ

เมื่อกี้นี้ ท่านทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเรื่องอะไรที่ท่าน

ทั้งหลายหยุดค้างไว้ในระหว่าง

ส. ท่านพระอานนท์ เรื่องที่ข้าพเจ้าทั้งหลายประชุมสนทนาเมื่อกี้นั้น

ขอยกไว้เสียเถิด เรื่องนั้นท่านพระอานนท์จักได้ฟังแม้ในภายหลังโดยไม่ยาก ดี

ละหนอ ขอเรื่องที่เป็นธรรมในลัทธิแห่งอาจารย์ของตนจงแจ้งแก่ท่านพระ

อานนท์เถิด.

อา. ดูก่อนสันทกะ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงมนสิการให้ดี เราจัก

กล่าว สันทกปริพาชกรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า

ดูก่อนสันทกะ ลัทธิสมัยอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ๔

ประการนี้และพรหมจรรย์อันเว้นความยินดี ๔ ประการ ที่วิญญูชนไม่ฟังอยู่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้

สำเร็จไม่ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้แล้ว.

ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ก็ลัทธิสมัยอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ ๔ ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่อ

อยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ อันพระผู้มีพระภาค-

เจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ

ตรัสไว้แล้วนั้น เป็นไฉน.

[๒๙๕] ดูก่อนสันทกะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ มีปกติกล่าวอย่างนี้

มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล

ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี

สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทำโลกนี้

และโลกหน้าให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง และสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ไม่มีในโลก

คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ เมื่อทำกาลกิริยา ธาตุดิน ไปตามธาตุดิน

ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไปตามธาตุลม อินทรีย์

ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปสู่อากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็นที่ ๕ จะหามเขาไป

เมื่อตายแล้ว ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกมีสีดุจนกพิลาป การ

เซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของคนบางพวกพูดว่า มี

ผล ๆ ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกายสลาย ทั้งพาลทั้งบัณฑิต

ย่อมขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตายไป ย่อมไม่มี ดังนี้.

ว่าด้วยอพรหมจริยวาส

[๒๙๖] ดูก่อนสันทกะ ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมตระหนัก

ดังนี้ว่า ท่านศาสดาผู้มีปกตกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า การบูชาไม่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

ผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลก

หน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ที่เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ

ปฏิบัติชอบ ซึ่งทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสอนผู้อื่น

ให้รู้แจ้งไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูตทั้งสี่ เมื่อทำกาลกิริยา

ธาตุดินไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟไปตามธาตุไฟ ธาตุลมไป

ตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปสู่อากาศ คนทั้งหลายมีเตียงเป็น

ที่ ๕ จะหารเขาไปเมื่อตายแล้ว ร่างกายปรากฏอยู่แค่ป่าช้า กลายเป็นกระดูกมี

สีดุจนกพิลาป การเซ่นสรวงมีเถ้าเป็นที่สุด ทานนี้คนเขลาบัญญัติไว้ คำของ

คนบางพวกพูดว่ามีผล ๆ ล้วนเป็นคำเปล่า คำเท็จ คำเพ้อ เพราะกายสลาย

ทั้งพาล ทั้งบัณฑิต ย่อมขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่ตายไปย่อมไม่มีดังนี้

ถ้าคำของศาสดาผู้นี้เป็นคำจริง กรรมในลัทธินี้ ที่เราไม่ได้ทำเลยเป็นอันทำแล้ว

พรหมจรรย์ในลัทธินี้ที่เราไม่ได้อยู่เลยเป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสองคือเราผู้ไม่

ได้กล่าวว่า เพราะกายสลาย แม้เราทั้งสองจักขาดสูญพินาศสิ้น เบื้องหน้าแต่

ตายไปจักไม่มีดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน ถึงความเป็นผู้เสมอ ๆ กันใน

ลัทธินี้ ที่ยิ่งกว่ากันก็คือ ความที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้พระพฤติเปลือยกาย เป็น

คนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผมและหนวด เมื่อเรา

อยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร ประพรมแก่นจันทน์เมืองกาสี ทรงดอกไม้

ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับ

ท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไร เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติ

พรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นครั้นรู้ว่าลัทธินี้ไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประ-

พฤติพรหมจรรย์ได้ ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น ดูก่อน

สันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ ที่วิญญูชนไม่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

พึงอยู่พระพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจาก

ทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่หนึ่งนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้

แล้ว.

[๒๙๗] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ มี

ปรกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ

ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศก

เองใช้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำให้เขาลำบากเอง ใช้ผู้อื่นให้ทำเขาให้ลำบาก

ให้ดิ้นรนเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้

เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูด

เท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้จักร ซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีด

โกน สังหารเหล่าสัตว์ในปถพีนี้ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออัน

เดียวกัน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา

แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเองใช้

ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็น

เหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่ง

แม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำ

เช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ด้วยการให้ทาน การทรมาน

อินทรีย์ การสำรวมศีล การกล่าวคำสัตย์ บุญย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึง

เขาดังนี้.

[๒๙๘] ดูก่อนสันทกะ ในลัทธิท่านศาสดานี้ วิญญูชนย่อมเห็น

ตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

บุคคลทำเองใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่น

เบียดเบียน ทำเขาให้เศร้าโศกเอง ให้ผู้อื่นทำเขาให้เศร้าโศก ทำเขาให้ลำบาก

เอง ใช้ผู้อื่นให้ทำเขาให้ลำบาก ให้ดิ้นรนเอง ใช้ผู้อื่นทำเขาให้ดิ้นรน ฆ่าสัตว์

ลักทรัพย์ตัดที่ต่อ ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่

ทางเปลี่ยว ทำชู้ภรรยาเขา พูดเท็จ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป แม้หากผู้ใดจะใช้

จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกน สังหารเหล่าสัตว์ในปถพีนี้ให้เป็นลานเนื้อ

อันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน บาปที่มีการท่านั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มี

แก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝังขวาแห่งแม่น้ำคงคา ฆ่าเอง

ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเองใช้ให้ผู้อื่นตัด เบียดเบียนเอง ใช้ให้ผู้อื่นเบียดเบียน

บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หาก

บุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคา ให้เอง ใช้ให้ผู้อื่นให้ บูชาเอง ใช้ให้

ผู้อื่นบูชา บุญที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุ ย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา

ด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ การสำรวมศีล การกล่าวคำสัตย์ บุญย่อม

ไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา ดังนี้ถ้าคำของศาสดานี้เป็นคำจริง กรรมใน

ลัทธินี้ที่เราไม่ไค้ทำเลยเป็นอันทำแล้ว พรหมจรรย์ในลัทธินี้เราไม่ได้อยู่เลย

เป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสอง เป็นผู้เสมอกัน ถึงความเสมอกันในลัทธินี้

เราไม่ได้กล่าวว่า เราทั้งสองผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป ที่ยิ่งกว่ากันก็คือความที่

ท่านศาสดานี้เป็นผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรใน

การเดินกระโหย่ง ถอนผมและหนวด เมื่อเราอยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร

ประพรมแก่นจันทน์เมืองกาสี ทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดี

ทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กับท่านศาสดานี้ในภพได้ เรานั้น

รู้อะไรเห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นครั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

รู้ว่า ลัทธินี้ไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อ

หน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น ดูก่อนสันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่

พระพฤติพรหมจรรย์ได้ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่พระพฤติพรหมจรรย์ ถึงเมื่ออยู่

ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่สองนี้แล

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย

พระองค์เองโดยชอบ ตรัสไว้แล้ว.

[๒๙๙] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกมีปกติ

กล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่าไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่ง

สัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุหาปัจจัยมิได้ ย่อรมเศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุ

ไม่มีปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุหาปัจจัยมิได้

ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มี

ความบากบั่นของบุรุษ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มี

ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย

ตามความประจวบ ตามความเป็นเอง ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้งหก

เท่านั้น ดังนี้.

[๓๐๐] ดูก่อนสันทกะ ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็น

ตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ไม่

มีเหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุ

หาปัจจัยมิได้ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์

ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายหาเหตุหาปัจจัยมิได้ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มี

ความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง

ปาณะทั้งปวง ภูตะทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

ความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้าย ตามความประจวบ ตามความ

เป็นเอง ย่อมเสวยสุข เสวยทุกข์ในอภิชาติทั้งหกเท่านั้น ดังนี้ ถ้าคำของท่าน

ศาสดานี้เป็นคำจริง กรรมในลัทธินี้ที่เราไม่ได้ทำเลยเป็นอันทำแล้ว พรหม-

จรรย์ในลัทธินี้ที่เราไม่ได้อยู่เลยเป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสองคือเราผู้ไม่ได้

กล่าวว่า เราทั้งสองหาเหตุหาปัจจัยมิได้จักบริสุทธิ์เอง ดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้

เสมอ ๆ กัน ถึงความเป็นผู้เสมอกันในลัทธินี้ ที่ยังยิ่งกว่านั้นก็คือ ความที่

ท่านศาสดานี้เป็นผู้ประพฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรใน

การเดินกระโหย่ง ถอนผมและหนวด เมื่อเราอยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร

ประพรมแก่นจันทน์เมืองกาสี ทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดี

ทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มีคติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรา

นั้นรู้อะไร เห็นอะไรอยู่ จึงจักประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้น

นั้นครั้นรู้ว่า ลัทธินี้ไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ดังนี้แล้ว

ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์นั้น.

ดูก่อนสันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่

วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรม เครื่อง

ออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่สามนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบตรัส

ไว้แล้ว.

[๓๐๑] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้

มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า สภาวะ ๗ กองเหล่านี้ ไม่มีใคร

ทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็นหมัน

ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือ

ทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์แก่กันและกัน สภาวะ ๗ กองเป็นไฉน คือ กองดิน

กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะเป็นที่ ๗ สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มี

ใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็น

สภาวะยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗

กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่อาจ

ให้เกิดสุขหรือทุกข์หรือทั้งสุขทั้งทุกข์แก่กันและกัน ผู้ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี

ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี ผู้เข้าใจความก็ดี ผู้ทำให้เข้าใจความก็ดี

ไม่มีในสภาวะ ๗ กองนั้น เพราะแม้บุคคลจะเอาศัตราอย่างคมตัดศีรษะกัน

ก็ไม่ชื่อว่าใคร ๆ ปลงชีวิตใคร ๆ เป็นแต่ศัตราสอดไปในช่องแห่งสภาวะ ๗

กองเท่านั้นดังนี้ ก็แต่กำเนิดที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม ๕๐๐

กรรม ๕ กรรม ๓ กรรม ๑ กรรมครึ่ง ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒ อภิชาติ

๖ ปุริสภูมิ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐ ปริพพาชก ๔,๙๐๐ นาคาวาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์

๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิคันถ-

ครรภ์ ๗ เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สระ ๗ ปวุฏะ ๗ หิน ๗ เหวใหญ่

๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุบิน ๗ สุบิน ๗๐๐ มหากัป ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้ ที่พาล

และบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ความสมหวังว่า เราจัก

บ่มกรรมที่ยังไม่อำนวยผลให้อำนวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อำนวยผล

แล้ว จักทำให้สุดสิ้นด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้

ไม่มีในที่นั้น สุขทุกข์ที่ทำให้มีที่สิ้นสุดได้ เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนาน

ย่อมไม่มีในสงสารด้วยอาการอย่างนี้เลย ไม่มีความเสื่อม ความเจริญ ไม่มี

การเลื่อนขึ้นเลื่อนลง พาลและบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดทุกข์ได้

เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเองฉะนั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

[๓๐๒] ดูก่อนสันทกะ ในลัทธิของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมเห็น

ตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า ไม่

มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครนิรมิต ไม่มีใครให้นิรมิต เป็น

สภาวะยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจเสาระเนียด สภาวะ ๗

กอง เหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียดเบียนกันและกัน ไม่

อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์หรือทั้งสุขทั้งทุกข์แก่กันและกัน สภาวะ๗ กองเป็นไฉน

คือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะเป็นที่ ๗

สภาวะ ๗ กองนี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีแบบอย่างอันใครทำ ไม่มีใครนิรมิต ไม่

มีใครให้นิรมิต เป็นสภาวะยั่งยืน ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นคงดุจ

เสาระเนียด สภาวะ ๗ กองเหล่านั้น ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่เบียด-

เบียนกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์หรือทั้งสุขทั้งทุกข์แก่กันและกัน ผู้

ฆ่าเองก็ดี ผู้ใช้ให้ฆ่าก็ดี ผู้ได้ยินก็ดี ผู้กล่าวให้ได้ยินก็ดี ผู้เข้าใจความก็ดีผู้ทำ

ให้เข้าใจความก็ดีไม่มีในสภาวะ ๗ กองนั้น เพราะแม้ว่าบุคคลจะเอาศัสตราอย่าง

คมตัดศีรษะกัน ก็ไม่ชื่อว่าใคร ๆ ปลงชีวิตใคร ๆ เป็นแต่ศัสตราสอดไปตาม

ช่องแห่งสภาวะ ๗ กองเท่านั้นดังนี้ ก็แต่กำเนิดที่เป็นประธาน ๑,๔๐๖,๖๐๐

กรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรมครึ่ง ปฏิปทา ๖๒ อันตรกัป ๖๒

อภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ ๘ อาชีวก ๔,๙๐๐ ปริพพาชก ๔,๙๐๐ นาคาวาส ๔,๙๐๐

อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗

เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สระ ๗ ปวุฏะ ๗ หิน ๗ เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย

๗๐๐ มหาสุบิน ๗ สุบิน ๗๐๐ มหากัป ๘,๔๐๐,๐๐๐ เหล่านี้ ที่พาลและบัณฑิต

เร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ ความสมหวังว่าเราจักบ่มกรรมที่ยัง

ไม่อำนวยผลให้อำนวยผล หรือเราสัมผัสถูกต้องกรรมที่อำนวยผลแล้ว จัก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

ทำให้สุดสิ้นด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ไม่มีในที่นั้น

สุขทุกข์ที่ทำให้มีที่สิ้นสุดได้เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนานย่อมไม่มีในสงสาร

ด้วยอาการอย่างนี้เลย ไม่มีความเสื่อม ความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นเลื่อนลง

พาลและบัณฑิตเร่ร่อนท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดทุกข์ได้เอง เหมือนกลุ่มด้ายที่

บุคคลขว้างไปย่อมคลี่หมดไปเอง ฉะนั้น ดังนี้. ถ้าคำของท่านศาสดานี้เป็น

คำจริง กรรมในลัทธินี้ที่เราไม่ได้ทำเลยเป็นอันทำแล้ว พรหมจรรย์ในลัทธินี้

ที่เรามิได้อยู่เลยเป็นอันอยู่แล้ว แม้เราทั้งสองคือเราผู้มีได้กล่าวว่า เราทั้งสอง

เร่ร่อนท่องเที่ยวไปแล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ก็ดี ก็ชื่อว่าเป็นผู้เสมอ ๆ กัน ถึง

ความเป็นผู้เสมอกันในลัทธินี้ ที่ยิ่งกว่ากันก็คือความที่ท่านศาสดานี้เป็นผู้ประ-

พฤติเปลือยกาย เป็นคนศีรษะโล้น ทำความเพียรในการเดินกระโหย่ง ถอนผม

และหนวด เมื่อเราอยู่ครองเรือนนอนเบียดกับบุตร ประพรมแก่นจันทน์เมือง

กาสี ทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ ก็จักเป็นผู้มี

คติเสมอ ๆ กันกับท่านศาสดานี้ในภพหน้าได้ เรานั้นรู้อะไรเห็นอะไรอยู่ จึงจัก

ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานี้ วิญญูชนนั้นครั้นรู้ว่า ลัทธินี้ไม่เป็นโอกาส

ที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ได้ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปจากพรหมจรรย์

นั้น ดูก่อนสันทกะ ลัทธิอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่

วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็ยังกุศลธรรมเครื่องออก

ไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ เป็นประการที่สี่นี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัส

ไว้แล้ว ดูก่อนสันทกะ ลัทธิสมัยอันไม่เป็นโอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็ยังกุศลธรรมเครื่อง

ออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ สี่ประการนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้

ผู้เห็นเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

[๓๐๓] ท่านพระอานนท์ ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้รู้

ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ ตรัสลัทธิอันไม่เป็น

โอกาสที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์สี่ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติ-

พรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จ

ไม่ได้นี้ น่าอัศจรรย์ ท่านพระอานนท์ ไม่เคยมี ท่านพระอานนท์ ก็พรหมจรรย์

อันเว้นความยินดีสี่ประการ ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่พระพฤติพรหมจรรย์เลย ถึง

เมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้เหล่านั้น อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

โดยชอบ พระองค์นั้นตรัสไว้แล้ว เป็นไฉน.

[๓๐๔] ดูก่อนสันทกะ ศาสดาบางคนในโลกนี้ ตั้งตนเป็นสัพพัญญู

รู้เห็นธรรมทั้งปวง ปฏิญาณความรู้ความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดิน

อยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี ความรู้ความเห็นปรากฏเสมอเป็น

นิจ ศาสดานั้นเข้าไปเรือนว่างบ้าง ไม่ได้ก้อนข้าวบ้าง สุนัขกัดเอาบ้าง พบ

ม้าดุบ้าง พบโคดุบ้าง ถามถึงชื่อบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชายบ้าง

ถามถึงชื่อบ้าง หนทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคมบ้าง เมื่อถูกถามว่านี่อะไร

ก็ตอบเขาว่า เราเข้าไปยังเรือนว่างด้วยกิจที่เราจำต้องเข้าไป เราไม่ได้ก้อน

ข้าวด้วยเหตุที่เราไม่ควรได้ เราเป็นผู้ถูกสุนัขกัดด้วยเหตุที่ควรถูกกัด เราพบ

ช้างดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราถามถึงชื่อบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชาย

บ้าง ด้วยเหตุที่ควรถาม เราถามถึงชื่อบ้าง ทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคม

บ้าง ด้วยเหตุที่ควรถาม.

ดูก่อนสันทกะ ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมทราบ

ตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาซึ่งตั้งตัวเป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ปฏิ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

ญาณความรู้ความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี

หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี ความรู้ความเห็นปรากฏเสมอเป็นนิจ ศาสดานั้นเข้า

ไปยังเรือนว่างบ้าง ไม่ได้ก้อนข้าวบ้าง สุนัขกัดบ้าง พบช้างดุบ้าง พบม้าดุ

บ้าง พบโคดุบ้าง ถามชื่อบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชายบ้าง ถาม

ถึงชื่อบ้าง หนทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคมบ้าง ศาสดานั้นเมื่อถูกถามว่า

นี่อะไร ก็ตอบเขาว่า เราเข้าไปยังเรือนว่างด้วยกิจที่เราจำต้องเข้าไป เราไม่

ได้ก้อนข้าวด้วยเหตุที่เราไม่ควรได้ เราเป็นผู้ถูกสุนัขกัดด้วยเหตุที่ควรถูกกัด

เราพบช้างดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราพบม้าดุด้วยเหตุที่ควรพบ เราพบโคดุด้วย

เหตุที่ควรพบ เราถามถึงชื่อบ้าง โคตรบ้าง ของหญิงบ้าง ของชายบ้าง ด้วย

เหตุที่ควรถาม เราถามถึงชื่อบ้าง หนทางบ้าง ของบ้านบ้าง ของนิคมบ้าง

ด้วยเหตุที่ควรถาม ดังนี้ วิญญูชนครั้นรู้ว่า พรหมจรรย์นี้เว้นจากความยินดี

ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปเสียจากพรหมจรรย์นั้น ดูก่อนสันทกะ พรหม-

จรรย์อันเว้นจากความยินดี ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึง

เมื่ออยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ ประการที่หนึ่ง

นี้แลอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์

เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

[๓๐๕] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้

เป็นผู้เชื่อถือการฟังตามกัน เป็นผู้เชื่อว่าจริงด้วยการฟังตามกัน ศาสดานั้นจึง

แสดงธรรมโดยฟังตามกัน โดยสืบๆ กันมาว่าอย่างนั้นๆ โดยอ้างตำรา ดูก่อน

สันทกะ ก็เมื่อศาสดาเชื่อถือการฟังตามกัน เชื่อว่าจริงด้วยการฟังตามกันแล้ว

ย่อมมีการฟังดีบ้าง มีการฟังชั่วบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

ดูก่อนสันทกะ ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมทราบ

ตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดานี้เป็นผู้เชื่อถือการฟังตามกัน เชื่อว่าจริงด้วยการ

ฟังตามกัน ท่านศาสดาผู้นั้นแสดงธรรมโดยการฟังตามกัน โดยสืบ ๆ กันมา

ว่าอย่างนั้น ๆ โดยอ้างตำรา ก็เมื่อศาสดาเชื่อถือการฟังตามกัน เชื่อว่าจริง

ด้วยการฟังตามกันแล้ว ย่อมมีการฟังดีบ้าง การฟังชั่วบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง

เป็นอย่างอื่นบ้าง ดังนี้ วิญญูชนนั้นครั้นรู้ว่าพรหมจรรย์นี้เว้นจากความยินดี

ดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปเสียจากพรหมจรรย์นั้น ดูก่อนสันทกะ พรหม-

จรรย์อันเว้นจากความยินดีที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่อ

อยู่ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ ประการที่สองนี้แล

อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง

โดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

[๓๐๖] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้เป็น

ผู้ใช้ความตรึก เป็นผู้ใช้ความพิจารณา ศาสดานั้นจึงแสดงธรรมตามปฏิภาณ

ของตนเทียบเหตุตามความที่ตนตรึก คล้อยตามความที่ตนพิจารณา ดูก่อน

สันทกะ ก็เมื่อศาสดาใช้ความตรึก ใช้ความพิจารณาแล้ว ก็ย่อมมีความตรึกดี

บ้าง ความตรึกชั่วบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างอื่นบ้าง.

ดูก่อนสันทกะ ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อมทราบ

ตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดาจารย์นี้เป็นผู้ใช้ความตรึก เป็นผู้ใช้ความพิจารณา

ท่านศาสดาจารย์นั้นย่อมแสดงธรรมตามปฏิภาณของตนเทียบเหตุตามความที่ตน

ตรึก คล้อยตามความที่ตนพิจารณา ก็เมื่อศาสดาเป็นผู้ใช้ความตรึก ใช้ความ

พิจารณาแล้ว ก็ย่อมมีความตรึกดีบ้าง ความตรึกชั่วบ้าง เป็นอย่างนั้นบ้าง

เป็นอย่างอื่นบ้าง วิญญูชนนั้น ครั้นรู้ว่าพรหมจรรย์นี้เว้นจากความยินดีดังนี้

แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปเสียจากพรหมจรรย์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

ดูก่อนสันทกะ พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดีที่วิญญูชนไม่พึง

ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์

ให้สำเร็จไม่ได้ ประการที่สามนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็น

พระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

[๓๐๗] ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็น

คนเขลางมงาย เพราะเป็นคนเขลา เพราะเป็นคนงมงาย ศาสดานั้นเมื่อถูก

ถามปัญหาอย่างนั้น ๆ ย่อมถึงความส่ายวาจา คือตอบดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความ

เห็นของเราว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่

ไม่ใช่ก็มิใช่ดังนี้ ดูก่อนสันทกะ ในพรหมจรรย์ของศาสดานั้น วิญญูชนย่อม

ทราบตระหนักดังนี้ว่า ท่านศาสดานี้เป็นคนเขลางมงาย เพราะเป็นคนเขลา

เพราะเป็นคนงมงาย ศาสดานั้นเมื่อถูกถามปัญหาอย่างนั้น ๆ ย่อมถึงความส่าย

วาจา คือตอบดิ้นได้ไม่ตายตัวว่า ความเห็นของเราว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้น

ก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ดังนี้ วิญญูชนนั้น

ครั้นรู้ว่าพรหมจรรย์นี้เว้นจากความยินดีดังนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายหลีกไปเสียจาก

พรหมจรรย์นั้น ดูก่อนสันทกะ พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดี ที่วิญญูชน

ไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็ยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจาก

ทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้ ประการที่สี่นี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น

เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว

ดูก่อนสันทกะ พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดี ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้

สำเร็จไม่ได้ สี่ประการนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระ-

อรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบพระองค์นั้น ตรัสไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

[๓๐๘] ท่านพระอานนท์ ข้อที่พรหมจรรย์อันเว้นจากความยินดีสี่

ประการนั้นแหละ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัส

รู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสว่าเป็นพรหมจรรย์เว้นจากความ

ยินดี ที่วิญญูชนไม่พึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เลย ถึงเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรม

เครื่องออกจากทุกข์ให้สำเร็จไม่ได้นี้ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ท่านพระอานนท์

ก็ศาสดานั้นมีปรกติกล่าวอย่างไร บอกอย่างไร ในพรหมจรรย์ที่วิญญูชนพึง

อยู่โดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็ยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.

ว่าด้วยณาน ๔

[๓๐๙] ดูก่อนสันทกะ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระ-

อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรง

รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคต

พระองค์นั้นทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วย

พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง แล้วทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง

งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์

บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูล

หนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เขาประกอบ

ด้วยการได้ศรัทธานั้น ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่ง

ธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลอยู่ครองเรือน จะประพฤติ-

พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 529

ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต

สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและ

หนวด นุ่งผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วเป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยสิกขาและสาชีพของภิกษุทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์

วางทัณฑะ วางศัสตราแล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวัง

ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่

ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาด

ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล

เว้นจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ

พูดแต่ความจริง ดำรงสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก

ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น

เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อ

ให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อม

เพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน

ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้

รักจับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้น

ขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม

พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์

โดยกาลอันควร เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้น

การฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง

การประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัด

ทรงประดับและตกแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิวอัน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 530

เป็นฐานแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่

เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญชาติดิบ เว้นขาดจาก

การรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและ

ทาส เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เว้น

ขาดจากการรับช้าง วัว ม้า และ ลา เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน

เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อและการขาย

เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วย

เครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง

เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้นและกรรโชก เธอ

เป็นผู้สันโดษ ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหาร

ท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาค

ใด ๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเองเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เป็นผู้สันโดษ

ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาต เป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไป

ทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่

ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะ

เป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำ ชื่อว่ารักษา

จักขุนทรีย์ เธอฟังเสียงด้วยหู. . . ดมกลิ่นด้วยจมูก. . . ล้มรสด้วยลิ้น. . . ถูก

ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ-

พยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุ

ให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษา

มนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวร

อันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันบริสุทธิ์ ไม่ระคนด้วยกิเลสเฉพาะตน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 531

เธอย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำความรู้สึกตัว

ในการแล ในการเหลียว ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการคู้เข้า ในการเหยียด

ออก ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ย่อมทำความ

รู้สึกตัว ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัวในการ

ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การ

หลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร

สติสัมปชัญญะและสันโดษ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด

คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง ใน

กาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติ

ไว้เฉพาะหน้า เธอละความโลภในโลก มีใจปราศจากความโลภอยู่ ย่อมชำระ

จิตให้บริสุทธิ์จากความโลภ ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท

มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก

ความประทุษร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มี

ความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์

จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่

ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุจจะ ละวิจิกิจฉา เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มี

ความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา ภิกษุ

นั้นครั้นละนิวรณ์ทั้งห้าเหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ถอย

กำลังแล้ว เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มี

วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษ

อันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน

ศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์

ให้สำเร็จได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 532

ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส

แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร

สงบไปมีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษ

อันโอฬาร เห็นปานนั้น ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่พระพฤติพรหมจรรย์ใน

ศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์

ให้สำเร็จได้.

ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และ

เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาณที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย

สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูก่อนสันทกะ

ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรม

เครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.

ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ละสุข และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬาร

เห็นปานนี้ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดย

ส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.

วิชชา ๓

[๓๑๐] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว

ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 533

อันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง

ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้า-

สิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอัน

มากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า

ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น ๆ มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร

อย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติ-

จากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มี

โคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่าง

นั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้

เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย

ประการฉะนี้ ดูก่อนสันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้

ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว

และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมโน้ม

น้อมจิตไปเพื่อจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลัง

อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม

ว่า สัตว์เหล่านั้น ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน

พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตาย

ไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านั้นประกอบด้วยกาย

สุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือ

การกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 534

เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มี

ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนสันทกะ ก็สาวก

ย่อมบรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด วิญญูชนพึงอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึงยังกุศลธรรมเครื่อง

ออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.

ดูก่อนสันทกะ อีกประการหนึ่ง ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์

ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่

หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้

อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ

เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์

อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อน

สันทกะ ก็สาวกย่อมบรรลุ คุณวิเศษอันโอฬารเห็นปานนี้ ในศาสดาใด วิญญู

ซนพึงอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในศาสดานั้นโดยส่วนเดียว และเมื่ออยู่ ก็พึง

ยังกุศลธรรมเครื่องออกไปจากทุกข์ให้สำเร็จได้.

พระขีณาสพไม่ล่วงฐานะ ๕

[๓๑๑] ท่านพระอานนท์ ก็ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ อยู่จบ

พรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีกิเลสเครื่อง

ประกอบสัตว์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นยังบริโภค

กามทั้งหลายหรือ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

ดูก่อนสันทกะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์

มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันถึง

แล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุนั้น เป็นผู้ไม่ควรประพฤติล่วงฐานะทั้งห้า คือ ภิกษุขีณาสพ เป็นผู้ไม่

ควรแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต ๑ เป็นผู้ไม่ควรถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้อัน

เป็นส่วนแห่งความเป็นขโมย ๑ เป็นผู้ไม่ควรเสพเมถุนธรรม ๑ เป็นผู้ไม่ควร

กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ๑ เป็นผู้ไม่ควรทำการสั่งสม บริโภคกามทั้งหลาย เหมือน

เมื่อเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน ๑ ดูก่อนสันทกะ ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์

ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว

เพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ควรประพฤติล่วงฐานะทั้งห้าเหล่านี้.

รู้ว่าเราหมดอาสวะได้อย่างไร

[๓๑๒] ท่านพระอานนท์ ก็ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบ

พรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์

ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว. หลุดพ้นแล้ว

เพราะรู้โดยชอบ เมื่อภิกษุนั้นเดินไปอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่ก็ดี

ความรู้ความเห็นว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้วดังนี้ ปรากฏเสมอเป็นนิจ

หรือ.

ดูก่อนสันทกะ ถ้าเช่นนั้น เราจักทำอุปมาแก่ท่าน วิญญูชนบางพวก

ในโลกนี้ ย่อมรู้ทั่วถึงอรรถแห่งภาษิตได้ด้วยอุปมา เปรียบเหมือนมือและเท้า

ของบุรุษขาดไป เมื่อบุรุษนั้นเดินไปอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่

ก็ดี มือและเท้าก็เป็นอันขาดอยู่เสมอเป็นนิจนั่นเอง อนึ่ง เมื่อเขาพิจารณาย่อม

รู้ได้ว่ามือและเท้าของเราขาดแล้ว ดังนี้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เป็นพระอรหันต์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 536

ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว

มีประโยชน์ของตนอันถึงแล้ว มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพสิ้นแล้ว

หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เมื่อเดินไปอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี หลับแล้วก็ดี ตื่นอยู่

ก็ดี อาสวะทั้งหลายก็เป็นอันสิ้นไปเสมอเป็นนิจนั่นเอง อนึ่ง เมื่อเธอพิจารณา

ย่อมรู้ได้ว่าอาสวะทั้งหลายของเราสิ้นแล้ว.

[๓๑๓] ท่านพระอานนท์ ก็ในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุผู้นำ [ตน] ออก

ไปได้จากกิเลสและกองทุกข์มากเพียงไร.

ดูก่อนสันทกะ ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุผู้นำ [ตน] ออกไปได้จากกิเลส

และกองทุกข์นั้น มิไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย

ไม่ใช่ห้าร้อย ความจริงมีอยู่มากทีเดียว.

ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์ ท่านพระอานนท์ ไม่เคยมี ในธรรมวินัย

นี้ ไม่ได้มีการยกย่องแต่ธรรมของตน และมีคำติเตียนธรรมของผู้อื่น มีแต่การ

แสดงธรรมมากมายเพียงนั้น ส่วนอาชีวกเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นบุตรของมารดาผู้มี

บุตรตายแล้ว ยกย่องแต่ตนและติเตียนคนอื่นเท่านั้น ทั้งตั้งศาสดาไว้สามคน คือ

นันทวัจฉะ ๑ กิสสังกิจจะ ๑ มักขลิโคสาล ๑ ว่าเป็นผู้นำ [ตน] ออกจาก

กิเลสและกองทุกข์ได้. ลำดับนั้น สันทกปริพาชก เรียกบริษัทของตนมาว่า พ่อ

ผู้เจริญทั้งหลาย จงประพฤติพรหมจรรย์เถิด การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน

พระสมณโคดมย่อมมีผล แต่ว่าบัดนี้เราทั้งหลายสละลาภสักการะความสรรเสริญ

เสียนั้น ไม่ใช่ทำได้ง่าย.

สันทกปริพาชกส่งบริษัทของตนไปในการประพฤติพรหมจรรย์ในพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.

จบสันทกสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 537

๖. อรรถกถาสันทกสูตร

สันทกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า ปิลกฺขคุหาย ที่ประตูถ้านั้นได้มีต้น

เลียบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปิลักขคูหา. บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต

พระอานนท์ออกจากที่เร้น คือออกจากวิเวก. บทว่า เทวกตโสพฺโภ บ่อน้ำ

ที่น้ำฝนเซาะ คือสระนำใหญ่เกิดในที่ที่ถูกน้ำฝนเซาะ. บทว่า คุหา ในบทว่า

คุหาทสฺสนาย เพื่อดูถ้ำนี้ เป็นถ้ำเต็มไปด้วยฝุ่น. ถ้านั้นได้อยู่ในที่ที่พ้นน้ำ

เป็นที่ดอน. ชนทั้งหลายทำอุโมงค์ตลอดนำตอไม้และฝุ่นออก ยกเสาไว้ภายใน

ข้างบนสุดมุงด้วยกระดานทำเป็นเรือนชั่วคราว. พวกปริพาชกเหล่านั้นอยู่กันใน

ถ้ำนั้น. ถ้ำนั้นในฤดูฝนมีน้ำขังเต็ม. ถึงหน้าแล้ง ปริพาชกพากันไปอยู่ในถ้ำนั้น

พระอานนท์กล่าวว่า คุหาทสฺสนาย หมายถึงถ้ำนั้น. จริงอยู่ การไปเพื่อดู

วิหาร หรือว่าเพื่อดูสมุทรและภูเขา เพราะพิจารณาซึ่งสังสารวัฏอันมีเบื้องต้น

และที่สุดอันบุคคลตามรู้ไม่ได้แล้ว ย่อมควร. บทว่า อุนฺนาทินิยา ด้วย

เสียงสูง คือแผดเสียงเอ็ดตะโร. ติรัจฉานกถานั้น แผดเสียงอยู่อย่างนี้

สูงด้วยส่ง เสียงสูงเสียงดังแพร่ไปในทิศทั้งหลาย. เพราะเหตุนี้จึงชื่อว่า

อุจฺจาสทฺทมหาสทฺโท เพราะเสียงสูงและเสียงดัง. ปริพาชกเหล่านั้นลุกขึ้น

แต่เช้าตรู่แล้วควรทำเจติยวัตร โพธิวัตร อาจริยวัตร อุปัชฌายวัตร หรือ

โยนิโสมนสิการไม่มีเลย. พวกเขาลุกแต่เช้าตรู่ กลางวันประชุมกัน ตอนเย็น

ประชุมสนทนากัน เพื่อหาความสบาย. เริ่มคุยกันถึงเรื่องมือและเท้าเป็นต้น

ของกันและกันอย่างนี้ว่า มือของคนนี้งาม เท้าของคนนี้งาม หรือคุยกันถึง

ผิวพรรณของหญิง ชาย เด็กหญิงและเด็กชายหรือเรื่องอื่น ๆ เช่นความชื่นชม

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 538

ในกามและความชื่นชมในภพเป็นต้น. แล้วกล่าวติรัจฉานกถาหลายอย่าง มี

พูดถึงเรื่องพระราชาเป็นต้นโดยลำดับ. จริงอยู่การพูดอันเป็นการขัดขวาง

ทางสวรรค์และนิพพาน ชื่อว่า ติรัจฉานกถา เพราะไม่นำออกไปจากภพได้

ในกถาเหล่านั้นการพูดถึงเรของพระราชาเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า พระเจ้ามหา-

สมมตราช พระเจ้ามันธาตุราช พระเจ้าธรรมาโศกราช มีอานุภาพอย่างนี้

ชื่อว่า ราชกถา. ในโจรกถาเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. การพูดอาศัยกามคุณ

โดยนัยมีอาทิว่า พระราชาองค์โน้น พระรูปพระโฉมงดงาม น่าชม ดังนี้ ก็เป็น

ติรัจฉานกถา. แต่การพูดเป็นทำนองอย่างนี้ว่า แม้พระราชาองค์นั้นมีอานุภาพ

มากอย่างนี้ ก็ยังสวรรคตดังนี้ ชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ในความเป็นกรรมฐานกถา.

แม้ในโจรทั้งหลายการพูดอาศัยกามคุณว่า โอ เขากล้าหาญ เพราะอาศัยกรรม

ของโจรเหล่านั้นว่า โจรมูลเทพมีอานุภาพมากอย่างนี้ โจรเมฆมาละ มีอานุภาพ

มากอย่างนี้ ดังนี้ ก็เป็น ติรัจฉานกถา. แม้ในการรบ การพูดในภารตยุทธ

เป็นต้น ด้วยความพอใจ ในกามว่าคนโน้น ถูกคนโน้นฆ่าอย่างนี้ ถูกแทง

อย่างนี้ ดังนี้ก็เป็น ติรัจฉานกถา. แต่การพูดในเรื่องทั้งหมดเป็นทำนอง

อย่างนี้ว่า แม้ชนเหล่านั้นก็ยังตายได้ดังนี้เป็นกรรมฐานกถาทีเดียว.

อีกอย่างหนึ่งในเรื่องข้าวเป็นต้น ไม่ควรพูดด้วยสามารถความชื่นชม

ในกามว่า เราเคี้ยว กิน ดื่ม บริโภค ข้าวเป็นต้นมีสี มีกลิ่น มีรส มีผัสสะอย่าง

นี้. แต่ควรพูดถึงเรื่องน้ำเป็นต้นทำให้มีประโยชน์ว่า เราได้ถวายข้าวผ้าที่นอน

ดอกไม้ ของหอมอันสมบูรณ์ด้วยสีอย่างนี้แก่ท่านผู้มีศีลในครั้งก่อน. เราได้ทำ

การบูชาที่พระเจดีย์ดังนี้. แม้ในการพูดถึงเรื่องญาติเป็นต้น ก็ไม่ควรพูดด้วย

สามารถความชื่นชมว่า ญาติของเราเป็นผู้กล้า เป็นผู้สามารถ หรือว่าเมื่อก่อน

เราได้เที่ยวไปด้วยยานอันสวยงามอย่างนี้. แต่ควรพูดทำให้มีประโยชน์ว่า แม้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 539

ญาติของเราเหล่านั้น ก็ได้ตายไปเสียแล้ว. หรือว่าเมื่อก่อนเราได้ถวายรองเท้า

ชนิดนี้แก่พระสงฆ์. แม้พูดเรื่องบ้าน ก็ไม่ควรพูดด้วยสามารถความอยู่ดี อยู่ชั่ว

อาหารดี อาหารขาดแคลนเป็นต้น หรือพูดด้วยสามารถความชื่นชมว่า คนอยู่

บ้านโน้นเป็นคนกล้าเป็นคนสามารถ. แต่ควรพูดทำให้มีประโยชน์ว่าแม้คนกล้า

ที่มีศรัทธาเลื่อมใส ก็ยังตายได้. แม้ในการพูดเรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แม้การพูดเรื่องผู้หญิง ก็ไม่ควรพูดด้วยสามารถความชื่นชม

อาศัยผิวพรรณและทรวดทรงเป็นต้น. ควรพูดอย่างนี้ว่า สตรีที่มีศรัทธา

เลื่อมใส ก็ยังตายได้. แม้พูดเรื่องคนกล้าหาญ ก็ไม่ควรพูดด้วยความพอใจว่า

นักรบชื่อว่าสันธิมิตรได้เป็นผู้กล้าหาญ. ควรพูดอย่างนี้ว่านักรบผู้กล้าหาญมี

ศรัทธา ก็ยังตายได้. แม้พูดเรื่องตรอกก็ไม่ควรพูดด้วยความพอใจว่า ตรอก

โน้นตั้งอยู่ดี ตั้งอยู่ไม่ดี มีคนกล้า มีคนสามารถ. ควรพูดว่า คนกล้าคน

สามารถที่อยู่ตรอกนั้น ก็ยังตายได้.

บทว่า กุมฺภฏฺานกถา พูดเรื่องท่าน้ำ คือที่ตั้งของหม้อน้ำท่านเรียก

ว่าท่าน้ำ. บทว่า กุมฺภทาสีกถา พูดเรื่องนางกุมภทาสี แม้นางกุมภทาสีนั้น

ก็ไม่ควรพูดด้วยความชื่นชมว่า นางกุมภทาสี น่ารัก ฉลาดการฟ้อนรำ

ขับร้อง. ควรพูดโดยนัยมีอาทิ ว่า สทฺธาสมฺปนฺนา นั่นแหละ. บทว่า

ปุพฺพเปตกถา พูดเรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว คือพูดเรื่องญาติในอดีต. ในบทว่า

ปุพฺพเปตกถา นั้น เช่นเดียวกับพูดเรื่องญาติที่ยังมีชีวิตอยู่. บทว่า นานตฺต-

กถา พูดเรื่องเบ็ดเตล็ด คือพูดเรื่องไม่มีประโยชน์มีสภาพต่าง ๆ นอกเหนือ

จากพูดเรื่องก่อนและเรื่องหลัง. บทว่า โลกกฺขายิกา พูดเรื่องโลก คือสนทนา

กันเรื่องโลกายตศาสตร์และเรื่องนอกคัมภีร์ มีอาทิอย่างนี้ว่า โลกนี้ใครสร้าง

โลกนี้คนโน้นสร้าง กาขาว เพราะกระดูกขาว นกยางกรอกแดงเพราะเลือดแดง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 540

การพูดเรื่องทะเลไร้ประโยชน์มีอาทิอย่างนี้ว่า เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าสมุทร

เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า สาคร. ที่เรียกว่า สมุทร เพราะยกมือประกาศว่าเรา

ขุด. ชื่อว่า สาคร เพราะสาครเทพ ขุด ชื่อว่า พูดเรื่องทะเล พูดถึงเหตุไร้

ประโยชน์ ไม่เป็นชิ้นเป็นอันว่า ความเจริญเป็นอย่างนี้ ความเสื่อมเป็นอย่างนี้

ชื่อว่าพูดเรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ. อนึ่งในบทนี้ความ

เห็นว่าเที่ยงคือความเจริญ. ความเห็นว่าสูญคือความเสื่อม. ความเจริญคือ ภว

ความเสื่อมคือ อภว. กามสุข คือความเจริญ. การทำตนให้ลำบากคือความเสื่อม.

ชื่อว่า ติรัจฉานกถามี ๓๒ อย่าง รวมกับ อิติภวาภวกถา (พูดเรื่องความ

เจริญความเสื่อม) ๖ อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. สันทกปริพาชกนั่งร่วมกับ

ผู้พูดติรัจฉานกถาเห็นปานฉะนี้.

แต่นั้นสันทกปริพาชกแลดูปริพาชกเหล่านั้นคิดว่า ปริพาชกเหล่านี้ไม่

เคารพยำเกรงกันและกันเสียเลย. อนึ่งพวกเราตั้งแต่พระสมณโคดมปรากฏขึ้น

เปรียบเหมือนหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น. แม้ลาภสักการะของพวกเราก็

เสื่อม. หากพระสมณโคดมหรือสาวกของพระโคดม แม้อุปัฏฐากผู้เป็นคฤหัสถ์

ของพระสมณโคดมนั้นพึงมาสู่ที่นี้ จักน่าละอายอย่างยิ่ง. ก็โทษในบริษัทย่อม

ขึ้นในเบื้องบนของผู้เจริญในบริษัท. จึงมองดูข้างโน้นข้างนี้ได้เห็นพระเถระ.

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อทฺทสา โข สนฺทโก ปริพาชโก ฯลฯ ตุณฺหี

อเหสุ สันทกปริพาชกได้เห็นท่านพระอานนท์มาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของ

ตนให้สงบเสียงว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเบาเสียงเถิด ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

อย่าทำเสียงดังต่อไปเลย นี่สาวกของพระสมณโคดมเป็นสมณะชื่ออานนท์กำลัง

มาอยู่. สมณะชื่ออานนท์นี้เป็นสาวกองค์หนึ่งในบรรดาสาวกของพระโคดมที่

อาศัยอยู่ ณ กรุงโกสัมพี ก็ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ใคร่ในความเป็นผู้มีเสียง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 541

เบา แนะนำในความมีเสียงเบา กล่าวสรรเสริญเสียงเบา ถ้ากระไรสมณะชื่อ

อานนท์นั้นทราบว่าบริษัทมีเสียงเบาแล้ว พึงสำคัญที่จะเข้ามาใกล้. ลำดับนั้น

ปริพาชกเหล่านั้นได้นิ่งอยู่.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สณฺเปสิ ให้สงบเสียงคือให้สำเหนียก ได้แก่

ปกปิดโทษของบริษัทนั้น. ยังบริษัทตั้งอยู่โดยอาการที่ตั้งอยู่แล้วด้วยดี. เหมือน

บุรุษเมื่อเข้าไปยังท่ามกลางบริษัท ย่อมนุ่งห่มเรียบร้อยเพื่อปกปิดโทษ. กวาด

ที่รกด้วยฝุ่นละอองฉันใด. สันทกปริพาชกห้ามบริษัทว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

จงเบาเสียงเถิดเพื่อปกปิดโทษของบริษัทนั้น. อธิบายว่าให้บริษัทตั้งอยู่โดย

อาการที่ตั้งอยู่ด้วยดี. บทว่า อปฺปสทฺทกามา สาวกทั้งหลายใคร่ในความเป็น

ผู้มีเสียงเบาคือปรารถนาเสียงเบา. นั่งผู้เดียว ยืนผู้เดียว ไม่คลุกคลีด้วยหมู่.

บทว่า อปฺปสทฺทวินีตา แนะนำในความมีเสียงเบา คือพระพุทธเจ้าผู้มีเสียง

เบา มีเสียงไม่ดังทรงแนะนำไว้. บทว่า อปฺปสทฺทสฺส วณฺณวาทิโน ผู้

กล่าวสรรเสริญเสียงเบา คือ กล่าวสรรเสริญที่อันมีเสียงเบา ไม่มีเสียง. บทว่า

อุปสงฺกมิตพฺพ มญฺเยฺย พึงสำคัญที่จะเข้ามาใกล้ คือพึงสำคัญที่จะเข้าไป

ณ ที่นี้.

ก็เพราะเหตุไร สันทกปริพาชกนั้นจึงหวังจะเข้าไปใกล้พระเถระเล่า.

เพราะปรารถนาความเจริญแก่ตน. ได้ยินว่า ปริพาชกทั้งหลายเมื่อพระพุทธเจ้า

หรือเมื่อสาวกของพระพุทธเจ้ามายังสำนักของตน ๆ จึงยกตนขึ้นในสำนักของ

พวกอุปัฏฐากว่า วันนี้พระสมณโคดมมายังสำนักของพวกเรา พระสารีบุตรก็มา.

ท่านเหล่านั้นไม่ไปหาใคร ๆ เลย. พวกท่านจงเห็นว่า พวกเราสูงส่งแค่ไหน.

ย่อมตั้งตนไว้ในที่สูง. พยายามจะรับเอาอุปัฏฐากแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

นัยว่าปริพาชกเหล่านั้นเห็นพวกอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงกล่าวอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 542

ว่า แม้พระโคดมผู้เจริญศาสดาของพวกท่าน แม้สาวกของพระโคดมยังมาสู่

สำนักของพวกเรา. พวกเราพร้อมเพรียงกันและกัน. ส่วนพวกท่านไม่ปรารถนา

จะมองดูพวกเรา ไม่ทำสามีจิกรรม. พวกเราทำผิดอะไรแก่พวกท่านหรือ.

ครั้งนั้นมนุษย์บางพวกคิดว่า แม้พระพุทธเจ้ายังเสด็จมาถึงสำนัก

ปริพาชกเหล่านี้. ประสาอะไรแก่พวกเรา. ตั้งแต่นั้นพวกมนุษย์เห็นปริพาชก

แล้วก็ไม่ดูแคลน. บทว่า ตุณฺหี อเหสุ ปริพาชกเหล่านั้นได้นิ่งอยู่ คือ นั่ง

ล้อมสันทกปริพาชก. บทว่า สฺวาคต โภโต อานนฺทสฺส ท่านพระอานนท์

มาดีแล้ว ท่านแสดงไว้ว่า เมื่อท่านผู้เจริญมาหาพวกเรา เป็นพระอานนท์.

เมื่อท่านไปก็จะเสียใจ. บทว่า จิรสฺส โข นี้เป็นคำกล่าวแสดงความน่ารัก.

ส่วนพระเถระไปอารามของปริพาชกตามเวลาเพื่อต้องการจาริก เพราะเหตุนั้น

สันทกปริพาชกถือเอาการไปก่อนจึงกล่าวอย่างนี้. ครั้นปริพาชกกล่าวอย่างนี้

แล้วก็มิได้เป็นผู้กระด้างด้วยมานะนั่ง. จึงลุกจากอาสนะของตนปัดอาสนะนั้น

นิมนต์พระเถระให้นั่งบนอาสนะกล่าวว่า ท่านพระอานนท์ จงนั่งเถิด. นี่อาสนะ

ปูไว้แล้ว.

บทว่า อนฺตรากถา วิปฺปกตา เรื่องอะไรที่พวกท่านหยุดค้างไว้ใน

ระหว่าง. พระอานนท์ถามว่า กถาอะไรที่พวกท่านหยุดค้างไว้ในระหว่างตั้งแต่

พวกท่านนั่งสนทนากันจนกระทั่งผมมา. กถาอะไรที่ยังไม่จบเพราะผมมาเป็น

เหตุ. ลำดับนั้นปริพาชกเมื่อจะแสดงว่า กถาไร้ประโยชน์ไม่มีสาระอาศัยวัฏฏะ

ไม่สมควรจะกล่าวต่อหน้าท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ติฏฺเตสา โภ ท่านผู้เจริญ

เรื่องนั้นขอยกไว้เถิด. บทว่า เนสา โภโต สันทกปริพาชกกล่าวว่า หากท่าน

ผู้เจริญประสงค์จะฟัง แม้ภายหลังก็จักได้ฟังโดยไม่อยาก. กถานี้ไม่มีประโยชน์

แก่พวกเราเลย. พวกเราได้การมาของท่านผู้เจริญแล้ว ประสงค์จะฟังกถาอันมี

เหตุผลดีอย่างอื่นต่างหาก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 543

สันทกะเมื่อจะวิงวอนขอพระธรรมเทศนา จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สาธุ

วต ภวนฺตเยว ดีละหนอ กถาที่เป็นธรรมจงแจ่มแจ้งแก่ท่านผู้เจริญเถิด. ใน

บทเหล่านั้นบทว่า อาจริยเก คือในลัทธิของอาจารย์. บทว่า อนสฺสาสิกานิ

พรหมจรรย์อันเว้นความยินดี คือไม่มีความปลอดโปร่ง. บทว่า สสกฺก เป็น

นิบาตลงในอรรถว่าโดยส่วนเดียว. อธิบายว่า วิญญูชนไม่พึงอยู่พระพฤติโดย

ส่วนเดียว. ท่านอธิบายว่า ส่วนอวิญญูชนเมื่ออยู่ประพฤติไม่พึงให้ยินดี ไม่

พึงให้สำเร็จ ไม่พึงทำให้บริบูรณ์. บทว่า าย ธมฺม กุสล ยังกุศลธรรม

เครื่องออกไป คือชื่อว่ากุศลธรรมเพราะอรรถว่าไม่มีโทษอันเป็นเหตุ. บทว่า

อิธ คือในโลกนี้.

บทมีอาทิว่า นตฺถิ ทินฺน ทานที่ให้แล้วไม่มีผลท่านกล่าวไว้แล้วใน

สาเลยยกสตรี. บทว่า จาตุมหาภูติโก คือสำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔. บทว่า

ปวี ปวีกาย ธาตุดินไปตามธาตุดิน คือธาตุดินภายในไปตามธาตุดิน

ภายนอก. บทว่า อนุเปติ คือไปตาม. บทว่า อนุปคจฺฉติ ไปตามเป็น

ไวพจน์ของ บทว่า อนุเปติ. นั้น เป็น อนุคจฺฉติ ก็มี. แม้ด้วยบททั้งสอง

นี้ท่านแสดงว่า อุเปติ อุปคจฺฉติ คือเข้าไป. แม้ในธาตุน้ำเป็นต้นก็มีนัยนี้

เหมือนกัน. บทว่า อินฺทิริยานิ คือ อินทรีย์มีมนินทรีย์เป็นที่ ๖ ย่อมแล่นไป

สู่อากาศ. บทว่า อาสนฺธิปญฺจมา คือมือมีเตียงเป็นที่ ๕ คือมีเตียงนั่งเป็นที่

๕. อธิบายว่า เตียง และบุรุษ ๔ คนยืนจับเท้าเตียงทั้ง ๔. บทว่า ยาว อำหฬนา

แค่ป่าช้า. บทว่า ปทานิ คือร่างกาย. คุณบททั้งหลายเป็นไปแล้วโดยนัยมี

อาทิว่า ผู้นี้มีศีลอย่างนี้ ทุศีลอย่างนี้. ในบทว่า ปทานิ นี้ท่านประสงค์เอา

สรีระ. บทว่า กาโปตกานิ คือมีสีดุจสีนกพิลาป. อธิบายว่ามีสีดุจปีกนกพิลาป.

บทว่า ภสฺสนฺตาคือมีเถ้าเป็นที่สุด. ในบทนี้บาลีเป็นอย่างนี้. บทว่า อาหุติโย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 544

การเช่นสรวง ความว่า ทานที่ให้แล้วมีประเภทเป็นเครื่องสักการะเป็นต้นที่

เช่นสรวง ทั้งหมดนั้นมีเถ้าเป็นที่สุด. ต่อจากนั้นไม่ให้ผลเลย. บทว่า

ทตฺตุปญฺตฺต ทานที่คนเขลาบัญญัติไว้ คือ คนโง่ คนพาล บัญญัติไว้

บทนี้ท่านอธิบายว่า ทานนี้ คนพาล คนโง่ บัญญัติไว้. มิใช่บัณฑิตบัญญัติ.

คนพาลให้บัณฑิตรับ. บทว่า อตฺถิกวาท วาทะว่ามีผล คนบางพวกกล่าววาทะ

ว่ามีผลว่า ผลทานที่ให้แล้วมีอยู่. คำของคนเหล่านั้นเป็นคำเปล่าคำเท็จ คำเพ้อ

บทว่า พาโล จ ปณฺฑิโต จ คือพาลและบัณฑิต. บทว่า อกเตน เม

เอตฺถ กต กรรมในลัทธินี้ที่เราไม่ได้ทำเลยเป็นอันทำแล้ว คือกรรมในลัทธิ

นี้โดยกรรมของสมณะที่เราไม่ได้ทำเลยชื่อว่าเป็นอันทำแล้ว. พรหมจรรย์อัน

เราไม่เคยอยู่ชื่อว่าเป็นอันอยู่แล้ว. บทว่า เอตฺถ คือในธรรมของสมณะนี้. บทว่า

สมสมา เป็นผู้เสมอ ๆ กัน คือ เสมอกันอย่างยิ่ง หรือเสมอกันด้วยคุณอัน

เสมอ. บทว่า สามญฺ ปตฺตา คือถึงความเป็นผู้เสมอกัน. บทมีอาทิว่า กรโต

เมื่อบุคคลทำเองท่านกล่าวไว้แล้วในอปัณณกสูตร. บทมีอาทิว่า นตฺถิ เหตุ

ไม่มีเหตุ ก็อย่างนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในพรหมจริยวาสที่ ๔ ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า อกตา เพราะ

ไม่มีใครทำ. บทว่า อกฺตวิธา คือไม่มีแบบอย่างอันใครทำ. อธิบายว่า ไม่มี

ใคร ๆ สั่งให้ทำว่าท่านจงทำอย่างนี้. บทว่า อนิมฺมิตา ไม่มีใครนิรมิต คือ

ไม่มีใครนิรมิตแม้ด้วยฤทธิ์. บทว่า อนิมฺมาปิตา คือไม่มีใครให้นิรมิต.

อาจารย์บางพวกกล่าวบทว่า อนิมฺมิตพฺพา ไม่พึงนิรมิตให้. บทนั้นไม่ปรากฏ

ในบาลี ไม่ปรากฏในอรรถกถา. บทว่า วญฺฌา เป็นหมัน สัตว์เลี้ยงเป็นหมัน

มิให้เกิดแก่ใคร ๆ ดุจตาลเป็นต้นไม่มีผล. ด้วยบทนี้ปฏิเสธความที่ปฐวีธาตุ

เป็นต้น ให้เกิดเป็นรูปเป็นต้น. ชื่อว่า กูฏฏฺา เพราะตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 545

บทว่า อีสิกฏฺายิฏฺิตา คือตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียดในหญ้ามุงกระต่าย. ในบท

นั้นมีอธิบายว่า สิ่งใด ที่ท่านกล่าวว่าย่อมเกิด สิ่งนั้นมีอยู่ ดุจเสาระเนียดย่อมออก

ไปจากหญ้ามุงกระต่าย. ปาฐะว่า เอสิกฏุาฏฺิตา ก็มี. อธิบายว่า เสาระเนียด

ที่ฝั่งไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหวตั้งอยู่มั่นคง. สภาวะ ๗ กอง ตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น.

แม้ด้วยบทที่ ๒ นี้ท่านแสดงถึงความไม่พินาศไปแห่งสภาวะ ๗ กองเหล่านั้น.

บทว่า น อิญฺชนฺติ สภาวะ ๗ กองไม่หวั่นไหว คือไม่สั่นคลอนเพราะตั้งอยู่

มั่นคง ดุจเสาระเนียดฉะนั้น. บทว่า น วิปรินามนฺติ ไม่แปรปรวนคือไม่

ละปรกติไป. บทว่า อญฺมญฺ พฺยาพาเธนฺติ คือไม่เบียดเบียนกันและ

กัน. บทว่า นาล คือไม่สามารถ.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ปวีกาโย กองดินดังต่อไปนี้. กอง

ดินหรือหมู่ดิน. บทว่า ตตฺถ คือในกองมีชีวะเป็นที่ ๗ เหล่านั้น. บทว่า

นตฺถิ หนฺตา วา ผู้ฆ่าเองไม่มี ท่านแสดงไว้ว่าไม่มีผู้สามารถเพื่อฆ่าเองก็ดี

เพื่อใช้ให้ฆ่าก็ดี เพื่อให้เดือดร้อนก็ดี เพื่อกระทบกระทั่งก็ดี เพื่อเศร้าโศกเอง

ก็ดี เพื่อให้ผู้อื่นเศร้าโศกก็ดี เพื่อได้ยินเองก็ดี เพื่อเข้าใจเองก็ดี. บทว่า

สตฺตนฺนเยว กายาน แห่งสภาวะ ๗ กอง ท่านแสดงไว้ว่า เหมือนศัสตราที่ทำ

ลายในกองถั่วเขียวเป็นต้น ย่อมเข้าไปโดยระหว่างกองถั่วเขียว ฉันใด ศัสตรา

สอดเข้าไปโดยช่องในระหว่างสภาวะ ๗ กองก็ฉันนั้น ศัสตราเป็นเพียงสัญญา

อย่างเดียวเท่านั้นว่า เราจะฆ่าผู้นี้เสีย. บทว่า โยนิปฺปมุขสตสหสฺสานิ ท่าน

แสดงทิฏฐิไร้ประโยชน์โดยเพียงคาดคะเนอย่างเดียวว่า กำเนิดที่เป็นประธานและ

กำเนิดสูงสุด ๑,๔๐๖,๖๐๐ กรรม. บทว่า ปญฺจ กมฺมุโน สตานิ ความว่า ๕๐๐

กรรม. แม้ในบทมีอาทิว่า ปญฺจ กมฺมานิ ตีณิ จ กมฺมานิ ๕ กรรมและ

๓ กรรม ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปญฺจ กมฺมานิ

กรรม ๕ ท่านกล่าวด้วยสามารถอินทรีย์ ๕. บทว่า ตีณิ กรรม ๓ ท่านกล่าวด้วย

๑. บาล่ว่า เอสิกฎฺ ายิฏฺิตา มัช. มัช. ๑๓/ ข้อ ๓๐๒.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 546

สามารถกายกรรมเป็นต้น . แต่ในบทว่า กมฺเม จ อฑฺฒกมฺเม จ ๑ กรรม กรรม

ครึ่ง นี้ คือ ลัทธิของกรรมนั้น คือกายกรรมและวจีกรรม. ในกรรมเป็นกรรม

ครึ่ง. บทว่า ทิฏฺิปฏิปทา ท่านกล่าวถึงปฏิปทาในทิฏฐิ ๖๒. บทว่า ทฺวฏฺนฺ-

ตรกปฺปา อันตรกัป ๖๒ คือในกัปหนึ่ง ๆ มีอันตรกัป ๖๔. พระอานนทเถระ

เมื่อไม่รู้ ๒ กัป อย่างอื่นจึงกล่าวอย่างนี้. อภิชาติ ๖ กล่าวไว้พิสดารแล้วใน

อปัณณกสูตร. บทว่า อฏฺ ปุริสภูมิโย ปุริสภูมิ ๘ ท่านกล่าวไว้ว่า ปุริสภูมิ

๘ เหล่านี้ คือมันทภูมิ (ภูมิอ่อน) ๑ ขิฑฑาภูมิ (ภูมิเล่น) ๑ ปทวีมังสกภูมิ

(ภูมิหัดเดิน) ๑ อุชุคทภูมิ (ภูมิเดิน) ๑ เสกขภูมิ (ภูมิศึกษา) ๑ สมณภูมิ

(ภูมิสมณะ) ๑ ชินภูมิ (ภูมิเรียนรู้) ๑ ปันนภูมิ (ภูมิบรรลุแล้ว) ๑.

ในภูมิเหล่านั้นท่านกล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ยังอ่อน ยังเขลา

เพราะตั้งแต่วันตลอดออกจากที่คับแคบใน ๗ วัน นี้ชื่อว่า มันทภูมิะ. อนึ่ง

สัตว์เหล่าใดมาจากทุคติ สัตว์เหล่านั้นย่อมร้องและร้องดังบ่อย ๆ. สัตว์มาจาก

สุคติ ระลึกถึงสุคตินั้น ๆ แล้วหัวเราะ นี้ชื่อว่า ขิฑฑาภูมิ. การจับมือหรือ

เท้าของมารดาบิดาหรือเตียงตั่งแล้วเหยียบเท้าลงบนพื้น ชื่อว่า ปทวีมังสกภูมิ.

คราวที่สามารถเดินไปด้วยเท้าได้ ชื่อว่า อุชุคตภูมิ. คราวศึกษาศิลปะ ชื่อว่า

เสกขภูมิ. คราวออกจากเรือนแล้วบวช ชื่อว่า สมณภูมิ. คราวคบอาจารย์แล้ว

รู้ ชื่อว่า ชินภูมิ. อนึ่ง ภิกษุผู้รู้บรรลุแล้วไม่เรียนอะไรอีก เพราะเหตุนั้นสมณะ

ผู้ไม่ต้องเรียนอย่างนี้ ชื่อว่า ปันนภูมิ.

บทว่า เอกูนปญฺาส อาชีวสเต คือความเป็นไปของอาชีวก

๔,๙๐๐ อย่าง. บทว่า เอกูนปญฺาส ปริพฺพาชกสเต คือการบรรพชา

ของปริพาชก ๔,๙๐๐. บทว่า เอกูนปญฺาส นาคาวาสสเต คือนาคมณฑล

๔,๙๐๐ บทว่า วีเส อินฺทฺริยสเต คืออินทรีย์ ๒,๐๐๐. บทว่า ตึเส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 547

นิรยสเต คือนรก ๓,๐๐๐. บทว่า รโชธาตุโย คือที่เกลื่อนกล่นด้วยธุลี.

ท่านกล่าวหมายถึงหลังมือและหลังเท้าเป็นต้น. บทว่า สตฺต สญฺิคพฺภา

สัญญีครรภ์ ๗ ท่านกล่าวหมายถึง อูฐ โค ลา แพะ สัตว์เลี้ยง มฤค และ

ควาย. บทว่า อสญฺิคพฺภา ได้แก่ อสัญญีครรภ์ ๗ ท่านกล่าวหมายถึงข้าว

สาลี ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ถั่วเขียว ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้.

บทว่า นิคนฺถคพฺภา นิคันถครรภ์ คือครรภ์เกิดในนิคันถะ. ท่านกล่าว

หมายถึง อ้อย ไม้ไผ่ ต้นอ้อ. บทว่า สตฺต เทวา เทวดา ๗ คือเทวดา

มาก. แต่ท่านกล่าวว่า ๗. แม้มนุษย์ก็ไม่น้อย. ท่านก็กล่าวว่า ๗. บทว่า สตฺต

ปีสาจา ปีศาจ ๗ คือปีศาจมาก ท่านก็กล่าวว่า ๗. บทว่า สรา คือสระใหญ่

ท่านกล่าวหมายถึงสระชื่อว่า กัณณมุณฑกะ รถกาฬะ อโนตัตตะ สีหัปปปาตะ

ฉัททันตะ มุจจลินทะ กุณาลทหะ. บทว่า ปวุฏา ได้แก่ เจ้าตำรา. บทว่า

สตฺตปปาตา ได้แก่เหวใหญ่ ๗. บทว่า สตฺตปปาตสตานิ ได้แก่เหวน้อย

๗๐๐. บทว่า สตฺต สุปินา ได้แก่ หาสุบิน ๗. บทว่า สตฺต สุปินสตานิ

ได้แก่สุบินน้อย ๗๐๐. บทว่า มหากปฺปิโน ได้แก่มหากัป. ในบทนี้ท่าน

กล่าวว่า ทุก ๆ ๑๐๐ ปี เอาปลายหญ้าคา จุ่มน้ำ นำออกไปครั้งละหยาด ๗ ครั้ง

เมื่อกระทำให้น้ำหมดจากสระนั้นแล้วจึงเรียกว่า ๑ มหากัป. คนพาลและบัณฑิต

ยังมหากัป ๘,๔๐๐,๐๐๐ เห็นปานนั้นให้สิ้นไป จึงจะทำที่สุดทุกข์ได้ นี้เป็นลัทธิ

ของเขา. นัยว่า แม้บัณฑิตก็ไม่สามารถทำให้บริสุทธิ์ได้ในระหว่าง. แม้คนพาล

ก็ไม่ไปสูงกว่านั้นได้. บทว่า สีเลน คือด้วยศีลเช่นนั้น แม้ท่านกล่าวด้วยอเจลก-

ศีลหรือศีลอื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง. ท่านกล่าวว่า โนติปิ เม โน โน โนติปิ

เมโน คือความเห็นของเรา ว่าไม่ใช่ ก็มิใช่, ว่ามิใช่ ไม่ใช่ ก็มิใช่. จากนั้น

เมื่อท่านกล่าวว่า ความเห็นของท่านว่าไม่ใช่หรือ ย่อมถึงความฟุ้งซ่านว่า ความ

เห็นของเราว่าไม่ใช่ก็มิใช่. ย่อมไม่ตั้งอยู่ในฝ่ายหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 548

บทว่า นิพฺพิชฺช ปกฺกมติ เบื่อแล้วหลีกไป คือ ศาสดานั้นไม่

สามารถเป็นที่พึ่งแก่ตนได้ จักอาจเป็นที่พึ่งแก่เราได้อย่างไรกัน เพราะเหตุ

นั้นจึงเบื่อหลีกไป. ในความเว้นจากความยินดีแม้ในก่อนก็มีนิสัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า สนฺนิธิการก กาเม ปริภุฺชิตุ ไม่ควรทำการสะสมบริโภค

กาม คือ เป็นคฤหัสถ์มาก่อนทำการสะสมแล้วบริโภควัตถุกาม. บัดนี้ไม่ควร

ทำการสะสม งา ข้าวสาร เนยใส และเนยขึ้นเป็นต้นอย่างนี้แล้วบริโภค.

ก็งาและข้าวสารเป็นต้น ย่อมปรากฏในฐานะของพระขีณาสพ มิใช่หรือเพราะ

เหตุนั้นจึงไม่ปรากฏแก่พวกเรา. แต่นั้นมิได้ตั้งไว้เพื่อประโยชน์แก่ตัวของท่าน

ตั้งไว้เพื่อประโยชน์ แก่ผู้บวชที่ไม่สบายเป็นต้น. เพื่อพระอนาคามี อย่างไร ?

พระอนาคามีนั้นละกามคุณ ๕ ได้โดยประการทั้งปวง แต่พระอนาคามีพิจารณา

สิ่งที่ท่านได้ โดยธรรมโดยเสมอแล้วจึงบริโภค. บทว่า ปุตฺตมตาย ปุตฺตา

อาชีวกเหล่านั้นชื่อว่าเป็นบุตรของมารดาผู้มีบุตรตายแล้ว . คือ นัยว่าสันทก-

ปริพาชกนั้นฟังธรรมนี้แล้ว. สำคัญว่าอาชีวกตายแล้วจึงกล่าวอย่างนี้. ในบทนี้มี

อธิบายดังต่อไปนี้. อาชีวกทั้งหลายชื่อว่าตายแล้ว มารดาของอาชีวกเหล่านั้นชื่อว่า

เป็นมารดาผู้มีบุตรตายแล้ว ด้วยประการฉะนี้ อาชีวกทั้งหลายจึงเป็นผู้ชื่อว่า

เป็นบุตรของมารดาผู้มีบุตรตายแล้ว. บทว่า สมเณ โคตเม ท่านแสดงว่า

การอยู่พระพฤติพรหมจรรย์ มีอยู่ในพระสมณโคดม. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง

ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสันทกสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

๗. มหาสกุลุทายิสูตร

เรื่องสกุลุทายิปริพาชก

[๓๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

กลันทกนวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ปริพาชกที่มีชื่อเสียง

เป็นอันมาก คือ อันนภารปริพาชกวรตรปริพาชกสกุลุ-

ทายิปริพาซก ๑ และปริพาชกเหล่าอื่นอีก ล้วนมีชื่อเสียง อาศัยอยู่ใน-

ปริพาชการาม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ครั้ง

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดำริว่า การที่เราจะเที่ยวบิณฑบาตในกรุง

ราชคฤห์ก็ยังเช้านัก อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปหาสกุลุทายิปริพาชกยัง

ปริพาชการาม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูงเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จเข้าไปยังปริพาชการาม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง.

ติรัจฉานกถา

[๓๑๕] ก็สมัยนั้น สกุลุทายิปริพาชกนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่

ซึ่งกำลังพูดถึงติรัจฉานกถาหลายอย่าง ด้วยเสียงอื้ออึงอึกทึก คือพูดถึงเรื่อง

พระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องช้าง

เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่อง

ยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสัตว์ เรื่องคนกล้าหาญ

เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องหญิงคนใช้ตักน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่อง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 550

เบ็ตเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วยประการ

นั้น ๆ สกุลุทายิปริพาชก ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกล ครั้น

แล้วจึงห้ามบริษัทของตนให้สงบว่า ขอท่านทั้งหลายจงเบา ๆ เสียงหน่อย อย่า

ส่งเสียงอึงนัก นี่พระสมณโคดมกำลังเสด็จมา พระองค์ท่านโปรดเสียงเบา และ

ทรงกล่าวสรรเสริญคุณของเสียงเบา บางทีพระองค์ท่านทรงทราบว่าบริษัทเสียง

เบา พึงทรงสำคัญจะเข้ามาก็ได้. ลำดับนั้น พวกปริพาชกเหล่านั้นพากันนิ่งอยู่.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าไปหาสกุลุทายิปริพาชกจนถึงที่ใกล้

สกุลุทายิปริพาชกได้ทูลเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

เชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเถิด นี่อาสนะปูไว้ถวายแล้ว. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูไว้ถวาย ส่วนสกุลุทายิปริพาชกถือเอาอาสนะ

ต่ำอันหนึ่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน

อุทายี เมื่อกี้นี้ท่านทั้งหลายประชุมสนทนาอะไรกัน และเรื่องอะไรที่ท่าน

ทั้งหลายหยุดค้างไว้ในระหว่าง.

ถามเรื่องการทำความเคารพ

[๓๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องที่ข้าพเจ้าทั้งหลายประชุมสนทนา

เมื่อกี้นี้นั้น ของดไว้ก่อนเถิด เรื่องนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับแม้ใน

ภายหลังโดยไม่ยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อน ๆ หลายวันมาแล้ว พวก

สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิต่าง ๆ ประชุมกันในโรงแพร่ข่าว สนทนากันถึงเรื่องนี้

ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภของชนชาวอังคะและมคธะหนอ ชาวอังคะ

และชาวมคธะได้ดีแล้วหนอ ที่สมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์

มีชื่อเสียง มียศเป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี เข้าไปจำพรรษายัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 551

กรุงราชคฤห์แล้ว คือครูปูรณกัสสป ผู้เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มี

ชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี ครูมักขลิโคสาล. . .

ครูอชิตเกสกัมพล. . . ครูปกุทธกัจจายนะ. . . ครูสญชัยเวลัฏฐบุตร. . . ครู

นิครนถ์นาฏบุตร. . . แม้สมณโคดมผู้เป็นเจ้าหมู่คณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียง

มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี พระองค์ก็เสด็จเข้าจำพรรษา

ยังกรุงราชคฤห์ บรรดาท่านสมณพราหมณ์ผู้เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์

มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติกันว่าดี เหล่านี้ ใคร

เล่าหนอที่สาวกทั้งหลายสักการะเคารพนับถือบูชา ก็และใครเล่าที่สาวกทั้งหลาย

สักการะเคารพอาศัยอยู่.

ศิษย์ไม่เคารพครูทั้ง ๖

[๓๑๗] ในประชุมนั้น สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่าครู

ปูรณกัสสปนี้ถึงจะเป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ

เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี แต่สาวกทั้งหลายไม่สักการะ เคารพ

นับถือ บูชา และจะได้สักการะเคารพแล้วอาศัยครูปูรณกัสสปอยู่ก็หามิได้ เรื่อง

เคยมีมาแล้ว ครูปูรณกัสสปแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น

สาวกคนหนึ่งของครูปูรณกัสสปได้ส่งเสียงขึ้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อย่าถาม

เนื้อความนี้กะครูปูรณกัสสปเลย ครูปูรณกัสสปนี้ไม่รู้เนื้อความนี้ พวกเรารู้เนื้อ

ความนี้ ท่านทั้งหลายจงถามพวกเราเถิด พวกเราจักพยากรณ์ให้ท่าน เรื่อง

เคยมีมาแล้ว ครูปูรณกัสสปจะยกแขนทั้งสองขึ้นคร่ำครวญว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย จงเงียบเสียง อย่าส่งเสียงไป ท่านพวกนี้จะถามกะพวกท่านไม่ได้

จะถามกะเราได้ เราจักพยากรณ์แก่ท่านพวกนี้ ดังนี้ ก็ย่อมไม่ได้ อนึ่ง สาวก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 552

ของท่านครูปูรณกัสสปเป็นอันมาก พากันยกโทษว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัย

นี้ เรารู้ทั่วถึง ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เรา

ปฏิบัติถูก ถ้อยคำของเราเป็นประโยชน์ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะ

กล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าว

ก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชอง มาผันแปรไปแล้ว เราจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว

เราข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ ดังนี้

แล้วพากันหลีกไป พวกสาวกไม่สักการะเคารพนับถือบูชาครูปูรณกัสสป ด้วย

ประการดังนี้ แล้วจะได้สักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ก็หามิได้ ก็แลครูปูรณ-

กัสสปก็ถูกติเตียนด้วยคำติเตียนโดยธรรม.

สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ครูมักขลิโคสาล . . . ครู่

อชิตเกสกัมพล. . . ครูปกุทธกัจจายนะ. . . ครูสญชัยเวลัฏฐบุตร. . .

ครูนิครนถ์นาฏบุตร. . . ถึงจะเป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง

มียศ มีเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี แต่สาวกทั้งหลายไม่สักการะ

เคารพนับถือบูชา และจะได้สักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ก็หามิได้ เรื่องเคยมี

มาแล้ว ครูนิครนถ์นาฏบุตรแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น

สาวกคนหนึ่งของครูนิครนถ์นาฏบุตรได้ส่งเสียงขึ้นว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

อย่าถามเนื้อความนี้กะครูนิครนถ์นาฏบุตรเลย ครูนิครนถ์นาฏบุตรนี้ไม่รู้เนื้อ

ความนี้ พวกเรารู้เนื้อความนี้ ท่านทั้งหลายจงถามพวกเราเถิด เราจักพยากรณ์

ให้ท่าน เรื่องเคยมีมาแล้ว ครูนิครนถ์นาฎบุตรยกแขนทั้งสองขึ้นคร่ำครวญว่า

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงเงียบเสียง อย่าส่งเสียงไป ท่านพวกนี้จะถามกะพวก

ท่านไม่ได้ จะถามกะเราได้ เราจักพยากรณ์แก่ท่านพวกนี้ ดังนี้ ก็ย่อมไม่ได้

อนึ่ง สาวกของครูนิครนถ์นาฎบุตรเป็นอันมาก พากันยกโทษว่า ท่านไม่รู้ทั่ว

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 553

ถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึง ท่านจะรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติ

ผิด เราปฏิบัติถูก ถ้อยคำของเราเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์

คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรกล่าวภายหลัง ท่านกลับ

กล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชอง มาผันแปรไปแล้ว เราจับผิดวาทะของท่าน

ได้แล้ว เราข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้น จงแก้ไขเสีย ถ้า

สามารถ ดังนี้ แล้วพากันหลีกไป พวกสาวกไม่สักการะเคารพนับถือบูชา

นิครนถ์นาฏบุตรด้วยประการดังนี้ และจะได้สักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ก็หามิได้

ก็และครูนิครนถ์นาฏบุตร ก็ถูกติเตียนด้วยคำติเตียนโดยธรรม.

ความเคารพในพระพุทธเจ้า

[๓๑๘] สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม

พระองค์นี้ทรงเป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ ทรงเป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศเป็น

เจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติกันว่าดี สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ

บูชาพระองค์และสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่ เรื่องเคยมีมาแล้ว พระสมณโคดม

ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย ในบริษัทนั้น สาวกของพระสมณโคดม

องค์ใดองค์หนึ่งไอขึ้น เพื่อนพรหมจรรย์องค์ใดองค์หนึ่งเอาเข่ากระตุ้นเธอ

เพื่อจะให้รู้ว่า ท่านจงเงียบเสียงอย่าส่งเสียงไป พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดา

ของเราทั้งหลายกำลังทรงแสดงธรรม ในเวลาที่พระสมณโคดมทรงแสดงธรรม

แก่บริษัทหลายร้อย จะมีเสียงที่สาวกของพระสมณโคดมจามหรือไอหามิได้เลย

หมู่มหาชนมีแต่คอยหวังตั้งหน้าเฉพาะพระสมณโคดมว่า เราทั้งหลายจักได้ฟัง

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจักตรัสแก่พวกเรา เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงให้น้ำผึ้ง

หวี่ที่ปราศจากตัวอ่อน ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง หมู่มหาชนก็คอยหวังตั้งหน้าเฉพาะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 554

บุรุษนั้น ฉันใด ในเวลาที่พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย

นั้นก็ฉันนั้น จะได้มีเสียงที่สาวกของพระสมณโคดมจามหรือไอหามิได้เลย

หมู่มหาชนมีแต่คอยหวังตั้งหน้าเฉพาะพระสมณโคดมว่า เราทั้งหลายจะได้ฟัง

ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจักตรัสแก่พวกเรา สาวกของพระสมณโคดมเหล่าใด

แม้บาดหมางกับเพื่อนพรหมจรรย์แล้ว ลาสิกขาสึกไป แม้สาวกเหล่านั้นก็ยัง

กล่าวสรรเสริญคุณพระศาสดา พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นแต่ติเตียนตนเอง

ไม่ติเตียนผู้อื่นว่า ถึงพวกเราจักได้มาบวชในธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสดีแล้วอย่างนี้ แต่ไม่อาจจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ ให้บริบูรณ์จน

ตลอดชีวิตได้ เป็นคนไม่มีบุญ มีบุญน้อยเสียแล้ว สาวกของพระสมณะโคดม

เหล่านั้น จะเป็นอารามิกก็ดี เป็นอุบาสกก็ดี ก็ยังพระพฤติมั่นอยู่ในสิกขาบท

ห้า สาวกทั้งหลายสักการะเคารพนับถือบูชาพระสมณโคดม ด้วยประการดังนี้

และสักการะ เคารพ แล้วอาศัยอยู่.

ภ. ดูก่อนอุทายี ก็ท่านพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลายกี่อย่างในเรา อัน

เป็นเหตุให้สาวกของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่.

[๓๑๙] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นธรรม ๕ อย่าง

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นเหตุให้สาวกสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

แล้วอาศัยอยู่ ธรรม ๕ อย่างเป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความจริง

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระอาหารน้อย และทรงสรรเสริญคุณในความเป็น

ผู้มีอาหารน้อย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเป็นข้อต้น อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ

บูชาแล้วอาศัยอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 555

ธรรมเป็นเครื่องทำความเคารพ

[๓๒๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสันโดษด้วยจีวร ตามมีตามได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณา

เห็นธรรมนี้ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นข้อที่ ๒ อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลาย

สักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่.

[๓๒๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สันโดษ

ด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็น

ธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นข้อที่ ๓ อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ

เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่.

[๓๒๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สันโดษ

ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นธรรมนี้

ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นข้อที่ ๔ อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ

นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่.

[๓๒๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเป็นผู้สงัด และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สงัด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นธรรมนี้ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นข้อที่ ๕ อันเป็นเหตุให้

สาวกทั้งหลาย สักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วอาศัยอยู่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นธรรม ๕ ประการนี้แล

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ

บูชา แล้วอาศัยอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 556

[๓๒๔] ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะเคารพ นับถือ

บูชาเราแล้ว พึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงเป็นผู้มีอาหารน้อย

และทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อย อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเรามี

อาหารเพียงเท่าโกสะ [จุในเท่าถ้วยเล็ก] หนึ่งก็มี เพียงกึ่งโกสะก็มี เพียงเท่า

เวลุวะ [จุในผลมะตูม] หนึ่งก็มี เพียงกึ่งเวลุวะก็มี ส่วนเราแล บางครั้ง

บริโภคอาหารเสมอขอบปากบาตรนี้ก็มี ยิ่งกว่าก็มี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึง

สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดม

ทรงมีอาหารน้อย และทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อยไซร้ บรรดา

สาวกของเราผู้มีอาหารเพียงเท่าโกสะหนึ่งบ้าง เพียงกึ่งโกสะบ้าง เพียงเท่าเวลุวะ

บ้าง เพียงกึ่งเวลุวะบ้าง ก็จะไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรม

นี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

[๓๒๕] ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ

บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวรตามมี

ตามได้ อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเราเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุล ทรงจีวรเศร้าหมอง

เธอเหล่านั้นเลือกเก็บเอาผ้าเก่าแต่ป่าช้าบ้าง แต่กองหยากเยื่อบ้าง แต่ที่เขาทิ้ง

ไว้ตามที่ต่าง ๆ บ้าง มาทำเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ก็มีอยู่ ส่วนเราแล บางคราวก็

ใช้คหบดีจีวรที่เนื้อแน่นระกะด้วยเส้นด้าย มีเส้นด้าย เช่นกับขนน้ำตา [มี

เส้นด้ายละเอียด] อุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

เรา แล้วพึ่งเราอยู่ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยจีวรตามมีตาม

ได้ไซร้ บรรดาสาวกของเราที่ทรงผ้าบังสุกุล ใช้จีวรเศร้าหมอง เลือกเก็บ

เอาผ้าเก่าแต่ป่าช้าบ้าง แต่กองหยากเยื่อบ้าง แต่ที่เขาทิ้งไว้ตามี่ต่างๆ บ้าง

มาทำเป็นผ้าสังฆาฏิใช้ ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรม

นี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

[๓๒๖] ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพนับถือ

บูชาเราแล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยบิณฑบาต

ตามมีตามได้และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้

ไซร้ อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเราเป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือเที่ยว

บิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร ยินดีในภัตตาหารทั้งสูงทั้งต่ำ เธอเหล่านั้น

เมื่อเข้าไปถึงละแวกบ้านแล้วถึงใครจะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดีมีอยู่ ส่วนเรา

แล บางครั้งก็ฉันในที่นิมนต์แต่ล้วนเป็นข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่เขาเก็บเมล็ดดำ

ออกแล้ว มีแกงและกับหลายอย่าง ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ

บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยบิณฑบาต

ตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้

บรรดาสาวกของเราที่ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ถือเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก

เป็นวัตร ยินดีในภัตตาหารทั้งสูงทั้งต่ำ เมื่อเข้าไปยังละแวกบ้านแล้ว ถึงใคร

จะนิมนต์ด้วยอาสนะก็ไม่ยินดี ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดย

ธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

[๓๒๗] ดูก่อนอุทายี สาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ

บูชาเราแล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยเสนาสนะ

ตามมีตามได้ และทรงสรรเสริญความเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้

ไซร้ อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเราถือโคนไม้เป็นวัตร ถืออยู่กลางแจ้งเป็น

วัตร เธอเหล่านั้นไม่เข้าสู่ที่มุงตลอดแปดเดือนมีอยู่ ส่วนเราแล บางครั้งอยู่

ในเรือนยอดที่ฉาบทาทั้งข้างในข้างนอก ลมเข้าไม่ได้ มีลิ่มชิดสนิท มีหน้าต่าง

เปิดปิดได้ ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่ง

เราอยู่ ด้วยเข้าใจว่าพระสมณโคดมทรงสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

ทรงสรรเสริญความเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ไซร้ บรรดาสาวก

ของเราที่ถืออยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร ไม่เข้าสู่ที่มุงตลอดแปดเดือน ก็จะไม่พึง

สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรมนี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

[๓๒๘] ดูก่อนอุทายี สาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ นับถือ

บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สงัดและทรงสรร-

เสริญความเป็นผู้สงัด อุทายี แต่สาวกทั้งหลายของเรา ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือ

เสนาสนะอันสงัด คือป่าชัฏอยู่ เธอเหล่านี้ย่อมมาประชุมในท่ามกลางสงฆ์

เฉพาะเวลาสวดปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน มีอยู่ ส่วนเราแล บางคราวก็อยู่เกลื่อน

กล่นไปด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของ

พระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ ถ้าสาวกทั้งหลายจะพึงสักการะ เคารพ

นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมเป็นผู้สงัด และ

ทรงสรรเสริญความเป็นผู้สงัดไซร้ บรรดาสาวกของเราที่ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ถือ

เสนาสนะอันสงัด คือป่าชัฏอยู่ มาประชุมในท่ามกลางสงฆ์ เฉพาะเวลาสวด

ปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน ก็จะไม่พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราโดยธรรม

นี้ แล้วพึ่งเราอยู่.

อุทายี สาวกทั้งหลายจะไม่สักการะ เคารพนับถือ บูชาเราโดยธรรม

๕ ประการนี้ แล้วพึ่งเราอยู่ ด้วยประการฉะนี้.

ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพข้อที่ ๑

[๓๒๙] ดูก่อนอุทายี มีธรรม ๕ ประการอย่างอื่นอันเป็นเหตุให้สาวก

ทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่ ธรรม ๕

ประการเป็นไฉน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

ดูก่อนอุทายี สาวกทั้งหลายของเราในธรรมวินัยนี้ ย่อมสรรเสริญใน

เพราะอธิศีลว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มีศีล ประกอบด้วยศีลขันธ์อย่างยิ่ง อุทายี

ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราสรรเสริญในเพราะอธิศีลว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มี

ศีล ประกอบด้วยศีลขันธ์อย่างยิ่ง นี้แลธรรมข้อที่หนึ่ง อันเป็นเหตุให้สาวก

ทั้งหลายของเรา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่.

ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพข้อที่ ๒

[๓๓๐] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราย่อม

สรรเสริญในเพราะความรู้ความเห็นที่แท้จริงว่า พระสมณโคดม เมื่อทรงรู้เอง

ก็ตรัสว่ารู้ เมื่อทรงเห็นเองก็ตรัสว่าเห็น ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่

ทรงแสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ มิใช่ทรงแสดงไม่มีเหตุ ทรง

แสดงธรรมมีความอัศจรรย์ มิใช่ทรงแสดงไม่มีความอัศจรรย์ อุทายี ข้อที่

สาวกทั้งหลายของเราสรรเสริญในเพราะความรู้ความเห็นที่แท้จริงว่า พระ-

สมณโคดมเมื่อทรงรู้เองก็ตรัสว่ารู้ เมื่อทรงเห็นเองก็ตรัสว่าเห็น ทรงแสดง

ธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิใช่ทรงแสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง ทรงแสดงธรรมมีเหตุ

มิใช่ทรงแสดงธรรมไม่มีเหตุ ทรงแสดงธรรมมีความอัศจรรย์ มิใช่ทรงแสดง

ไม่มีความอัศจรรย์ นี้แล ธรรมข้อที่สองอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเรา

สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา แล้วพึ่งเราอยู่.

ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพข้อที่ ๓

[๓๓๑] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราย่อม

สรรเสริญในเพราะปัญญาอันยิงว่า พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา ทรง

ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันยิ่ง ข้อที่ว่า พระสมณโคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นทาง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

แห่งถ้อยคำอันยังไม่มาถึง หรือจักทรงข่มคำโต้เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้ว

ให้เป็นการข่มได้ด้วยดีพร้อมทั้งเหตุไม่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ อุทายี

ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน สาวกทั้งหลายของเรา เมื่อรู้อย่างนี้ เห็น

อย่างนี้ จะพึงคัดค้านถ้อยคำให้ตกไปในระหว่าง ๆ บ้างหรือหนอ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ไม่มีเลย.

ดูก่อนอุทายี ก็เราจะหวังการพร่ำสอนในสาวกทั้งหลายก็หาไม่ สาวก

ทั้งหลายย่อมหวังคำพร่ำสอนของเราโดยแท้ อุทายี ข้อที่สาวกทั้งหลายของเรา

สรรเสริญในเพราะปัญญาอันยิ่งว่า พระสมณโคดมทรงมีพระปัญญา ทรงประ-

กอบด้วยปัญญาขันธ์อย่างยิ่ง ข้อที่ว่า พระสมณโคดมจักไม่ทรงเล็งเห็นทรง

แห่งถ้อยคำอันยิ่งไม่มาถึง หรือจักทรงข่มคำโต้เถียงของฝ่ายอื่นที่เกิดขึ้นแล้ว

ให้เป็นการข่มได้ด้วยดีพร้อมทั้งเหตุไม่ได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ นี้แล

ธรรมข้อที่สามอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

แล้วพึ่งเราอยู่.

ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพข้อที่ ๔

[๓๓๒] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง สาวกทั้งหลายของเราผู้อัน

ทุกข์ท่วมทับแล้ว อันทุกข์ครอบงำแล้ว เพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นเข้ามาหา

เราแล้วถามถึงทุกขอริยสัจ เราอันเธอเหล่านั้น ถามถึงทุกขอริยสัจแล้วก็พยา-

กรณ์ให้ยังจิตของเธอเหล่านั้นให้ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหา เธอเหล่านั้น

เข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขสมุทัยอริยสัจ. . .ทุกขนิโรธอริยสัจ. . .ทุกขนิโรธคา-

มินีปฏิปทาอริยสัจ เราอันเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

แล้ว ก็พยากรณ์ให้ ยังจิตของเธอเหล่านั้นให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 561

อุทายี ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว อันทุกข์ครอบงำแล้ว

เพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขอริยสัจ . . . ถามถึงทุกข-

สมุทัยอริยสัจ. . .ถามถึงทุกขนิโรธอริยสัจ. . . ถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-

อริยสัจ เราอันเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้ว ก็พยา-

กรณ์ให้ ยังจิตของเธอเหล่านั้นให้ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหา นี้แล ธรรม

ข้อที่สี่ อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

แล้วพึ่งเราอยู่.

ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพข้อที่ ๕

[๓๓๓] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญสติปัฎฐานสี่

ดูก่อนอุทายี ภิกษุไม่ธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็น

เวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม

อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก

เสียได้ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว เจริญ

สติปัฏฐานสี่นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่ง

อภิญญา [พระอรหัต] อยู่.

[๓๓๔] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญสัมมัปปธานสี่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 562

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังความพอใจให้เกิด พยายาม ปรารภความ

เพียร ประคองจิตไว้ เริ่มตั้งความเพียร เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด

มิให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อยังกุศลธรรมที่ยัง

ไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่ง เพื่อ

ความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความสมบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญสัมมัปป-

ธานสี่นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา

อยู่.

[๓๓๕] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอิทธิบาทสี่

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ

และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอัน

ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา

ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญอิทธิบาทสี่นั้นแล สาวกของเราเป็น

อันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๓๖] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอินทรีย์ห้า

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบระงับ

ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญวิริยินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้

เจริญสตินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญสมาธินทรีย์

ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญปัญญินทรีย์ที่จะให้ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 563

สงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่

เราบอก แล้วเจริญอินทรีย์ห้านั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ

บารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๓๗] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญพละห้า ดูก่อน

อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธาพละที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึง

ความตรัสรู้ เจริญวิริยพละ ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้

เจริญสติพละ ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญสมาธิพละ

ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญปัญญาพละ ที่จะให้ถึงความ

สงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่

เราบอก แล้วเจริญพละห้านั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอัน

เป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๓๘] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์เจ็ด

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญ-

วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ

สละคืน เจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

น้อมไปในการสละคืน เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 564

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน ก็เพราะ

สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว เจริญโพชฌงค์ ๗ นั้นแล

สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๓๙] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์

แปด ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิ เจริญสัมมาสังกัปปะ

เจริญสัมมาวาจา เจริญสัมมากัมมันตะ เจริญสัมมาอาชีวะ เจริญสัมมาวายามะ

เจริญสัมมาสติ เจริญสัมมาสมาธิ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตาม

ปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญอริยมรรคมีองก์แปดนั้นแล สาวกของเราเป็น

อันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๔๐] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายของเราแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญวิโมกข์ ๘

คือ

ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง.

ผู้ไม่มีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง.

ผู้น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงามอย่างเดียว นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม.

ผู้ที่บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้

เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา

โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่.

ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้

เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 565

ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า อะไร ๆ ก็ไม่มี เพราะ

ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก.

ผู้ที่บรรลุเนวลัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ

โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด.

ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ

โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว เจริญ

วิโมกข์แปดนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่ง

อภิญญาอยู่.

[๓๔๑] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญอภิภายตนะ [คือ

เหตุเครื่องครอบงำธรรมอันเป็นข้าศึกและอารมณ์] ๘ ประการ คือ

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณ

ดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรา

รู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง.

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิว

พรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้

ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สอง.

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิว

พรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้

ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 566

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิว

พรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า

เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่.

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณ

เขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณอันเขียว เขียวล้วน

มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อัน

เขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญ

ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว

ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรา

รู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า.

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณ

เหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณเหลือง

เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยง

ทั้งสองข้าง อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณเหลือง

เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มี

ความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก.

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณ

แดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกบานไม่รู้โรยอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน

มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อัน

แดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 567

อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง

ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้

เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด.

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณ

ขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกายพรึกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน

มีรัศมีขาว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อัน

ขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน

อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ฉัน

นั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น

อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่แปด.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญ

อภิภายตนะ ๘ นั่นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็น

ที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๔๒] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญกสิณายตนะ ๑๐

คือ

๑. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ใน

ทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๒. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง

ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๓. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง

ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 568

๔. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง

ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๕. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ใน

ทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๖. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปีตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ใน

ทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๗. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโลหิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง

ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๘. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง

ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๙. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง

ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

๑๐. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสินทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง

ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญกสิณา-

ยตนะ ๑๐ นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีเป็นที่สุดแห่ง

อภิญญาอยู่.

[๓๔๓] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญฌานสี่.

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้

แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 569

ไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนาน

ผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อน

จุรณสีตัวนั้นซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติ และสุข

อันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข

อันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.

[๓๔๔] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความ

ผ่องใสแห่งจิตภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก

วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม

ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายของเธอ

ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูก่อนอุทายี เปรียบ

เหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำปั่นป่วนไม่มีทางที่น้ำจะไหลไปมาได้ ทั้งในด้าน

ตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล

แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น

เอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำ

เย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น

เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกาย

ของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.

[๓๔๕] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มี

สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ

ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 570

กายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ

แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูก่อนอุทายี เปรียบ

เหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอก

บัวหลวง หรือดอกบัวขาวบางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ

จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำ

เย็นตลอดยอดตลอดเหง้า ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง

หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น

แล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มี

เอกเทศไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.

[๓๔๖] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่

มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์

ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะ

ไม่ถูกต้อง ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วย

ผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายทุก ๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง

ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่

ถูกต้อง.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วเจริญฌาน

สี่นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๔๗] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 571

เรานี้แลมีรูปประกอบด้วยมหาภูต ๔ เกิดแต่บิดามารดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุก

และขนมสดไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็น

ธรรมดาและวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูก่อนอุทายี

เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจีย-

ระไนดีแล้ว สุกไส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวล

ร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณา

เห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไน

ดีแล้ว สุกใส แวววาวสมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวล

ร้อยอยู่ในนั้นฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้น ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เรา

บอกแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔

เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้อง

นวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้

ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อม

รู้ชัดอย่างนี้แล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่ง

อภิญญาอยู่.

[๓๔๘] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมนิรมิตกายอื่นจากกาย

นี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูก่อน

อุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่าง

นี้ว่า นี้ไส้ นี้หญ้าปล้อง หญ้าปล้องก็อย่างหนึ่ง ไส้ก็อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออก

จากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 572

เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบก็อย่างหนึ่ง ฝักก็อย่างหนึ่ง ก็แต่

ชักดาบออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจาก

คราบ เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูก็อย่างหนึ่ง คราบก็อย่างหนึ่ง

ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติ

ตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มี

อวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกนั้นแล สาวก

ของเราเป็นอันมากจึงบรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๔๙] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้ง

หลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประ-

การ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้

ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุด

ขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในนี้ก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดิน

ก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์

มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูก่อน

อุทายี เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดี

แล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง

เปรียบเหมือนช่างงา หรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการ

เครื่องงาชนิดใด ๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบ

เหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการ

ทองรูปพรรณชนิดใด พึงทำทองรูปพรรณชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ฉันใด สาวก

ทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมบรรลุอิทธิ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 573

วิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้

ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือน

ในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ

เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก ด้วย

ฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะสาวกทั้งหลาย

ของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้

บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๕๐] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด

คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์

ล่วงโสตของมนุษย์ ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษเป่าสังข์ผู้มีกำลัง จะพึง

ยังคนให้รู้ตลอดทิศทั้งสี่โดยไม่ยากฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล

ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และ

เสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของ

มนุษย์.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล

สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๕๑] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น

ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้

ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า

จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 574

ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น

มหัคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคตะ

จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า. ก็รู้ว่าจิตไม่

จิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิต

ไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด

พ้น ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดู

เงาหน้าของตนในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ

ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด สาวก

ทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมกำหนดรู้ใจ

ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศ

จากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศ

จากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศ

จากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน

ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคตะ ก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคตะ

ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่

มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ

จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิต

ไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล

สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๕๒] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 575

อันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้า

ชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ

ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอัน

มากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า

ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร

อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจาก

ภพนั้น ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่าง

นั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี

กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม

ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ

ฉะนี้ ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจาก

บ้านแม้นั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะ

พึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้นเราได้ยืน

อย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจาก

บ้านนั้นมาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเรา ก็ฉัน

นั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก

คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็น

อันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล

สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๕๓] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 576

กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก

ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไป

ตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้อง

หน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์

เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า

เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย

เพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือน

เรือนสองหลังที่มีประตูร่วมกัน บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ตรงกลางเรือนนั้น จะพึง

เห็นหมู่ชนกำลังเข้าไปบ้าง กำลังเดินวนเวียนอยู่ที่เรือนบ้าง ฉันใด สาวก

ทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมเห็นหมู่สัตว์

กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี

ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์

ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล

สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๕๔] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก

ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนอง

ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขา ใสสะอาด

ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบ

ต่าง ๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุด

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 577

อยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว

หอยโข่งและหอยกาบต่าง ๆ บ้าง ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้ กำลัง

ว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระนั้นดังนี้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็

ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตน

เองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล

สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.

[๓๕๕] ดูก่อนอุทายี นี้แลธรรมข้อที่ห้าอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลาย

ของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่.

ดูก่อนอุทายี ธรรมห้าประการนี้แล เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเรา

สักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่ ฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว สกุลุทายีปริพาชกยินดี

ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.

จบมหาสกุลุทายิสูตรที่ ๗

๗. อรรถกถามหาสกุลุทายิสูตร

มหาสุกุลุทายิสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้

สดับมาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า โมรนิวาเป คือในที่นั้นชนทั้งหลายได้

ประกาศให้อภัยแก่นกยูงทั้งหลายแล้วได้ให้อาหาร. เพราะฉะนั้นที่นั้นจึงชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 578

โมรนิวาปะ เป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง. บทว่า อนฺนภาโร เป็นชื่อของปริพาชก

ผู้หนึ่ง. เหมือนวรตระก็เป็นชื่อปริพาชกเหมือนกัน. บทว่า อญฺเ จ ไม่เพียง

ปริพาชก ๓ คนนี้เท่านั้น แม้ปริพาชกอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงก็มีอยู่มาก. ในบทนี้ว่า

อปฺปสพฺทสฺส วณฺณวาที พระสมณโคดมทรงกล่าวสรรเสริญคุณของเสียง

เบา ท่านไม่กล่าวว่า อปฺปสทฺทวินีโต แนะนำให้มีเสียงเบา จึงกล่าวบทนี้.

เพราะเหตุไร. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแนะนำผู้อื่น. บทว่า ปุริมานิ

วันก่อน ๆ คือ วันก่อน ๆ หมายถึงเมื่อวานนี้. หลังจากนั้นเป็นวันก่อนหลัง

จากวานนี้. ไม่มีศาลาเฉพาะจึงชื่อว่า กุตูหลสาลา (ศาลาแพร่ข่าว). ศาลาที่

พวกเดียรถีย์ต่าง ๆ สมณพราหมณ์ประชุมสนทนากันหลายอย่างท่านเรียกว่า

กุตูหลสาลา เพราะเป็นที่แพร่ข่าวของชนเป็นอันมากว่า คนนี้พูดอะไร คน

นี้พูดอะไร. ปาฐะว่า โกตูหลสาลา บ้าง. บทว่า ลาภา ความว่า นี้เป็นลาภ

ของชาวอังคะ มคธะ ที่จะได้เห็นสมณพราหมณ์ ถามปัญหา หรือฟังธรรม

กถาของสมณพราหมณ์เหล่านั้น.

พึงทราบความในบทมีอาทิว่า สงฺฆิโน เจ้าหมู่ ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า

สงฺฆิโน เพราะมีหมู่คือหมู่บรรพชิต. ชื่อว่า คณิโน เจ้าคณะ เพราะมีคณะ

นั้นนั่นแล. ชื่อว่า คณาจริยา เพราะเป็นอาจารย์ของคณะนั้น ด้วยให้ศึกษา

ถึงอาจาระ. บทว่า ญาตา คือมีชื่อเสียง เป็นผู้ปรากฏ. ชื่อว่า ยสสฺสิโน

เพราะมียศสูงด้วยคุณตามที่ไม่จริงและด้วยคุณตามที่เป็นจริง. ก็บูรณกัสสป

เป็นต้นมียศสูงโดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ แม้ผ้าก็

ไม่นุ่งเพราะเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย. ยศของพระตถาคตสูงด้วยพระคุณตาม

ที่เป็นจริงมีอาทิว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้. บทว่า ติตฺถกรา คือเจ้าลัทธิ.

บทว่า สาธุสมฺมตา คือชนเป็นอันมากสมมติกันอย่างนี้ว่า ดี งาม เป็นสัตบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 579

บทว่า พหุชนสฺส ชนเป็นอันมาก คือ คนอันธพาล และพาลปุถุชนผู้ไม่มี

การศึกษา และบัณฑิตชนผู้มีปัญญา. ในชนเหล่านั้นพวกเดียรถีย์เขาสมมติว่า

เป็นพาลชน. พระตถาคตเขาสมมติว่าเป็นบัณฑิตชน. โดยนัยนี้พึงทราบความ

ในบทมีอาทิว่า ปูนโณ กสฺสโป สงฺฆี บูรณกัสสปเป็นเจ้าหมู่. ก็เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกอารมณ์ ๓๘ ได้ทรงกระทำท่าเป็นที่หยั่งลงสู่

นิพพานไว้มาก ฉะนั้นควรกล่าวว่าเป็น ติตฺถกโร ผู้ทำท่า. ก็เพราะเหตุไรเจ้า

ลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดจึงมาประชุมในที่นั้น. เพื่อรักษาอุปัฏฐากและเพื่อลาภ

สักการะ. ได้ยินว่าเจ้าลัทธิเหล่านั้นมีความวิตกว่า อุปัฏฐากของพวกเราพึงพา

กันถึงพระสมณโคดมว่าเป็นที่พึ่ง. พวกเราจักดูแลอุปัฏฐากเหล่านั้น. แม้อุปัฏ-

ฐากของพวกเราเห็นอุปัฏฐากของพระสมณโคดมทำสักการะ ก็จักทำสักการะแก่

พวกเราบ้าง. เพราะฉะนั้นเจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดจึงพากันไปประชุมในที่ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าประชุม.

บทว่า วาท อาโรเปตฺวา พากันยกโทษ คือ ยกโทษในวาทะ. บทว่า

อปกฺกนฺตา คือพากันหลีกไป บางพวกพากันหลีกไปสู่ทิศ. บางพวกสึก

บางพวกมาสู่ศาสนานี้. บทว่า สหิตมฺเม ถ้อยคำของเราเป็นประโยชน์ คือถ้อย

คำของเรามีประโยชน์สละสลวยประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยเหตุ. บทว่า

อสหิต คือถ้อยคำของท่านไม่ประกอบด้วยประโยชน์. บทว่า อธิจิณฺณนฺเต

วิปราวตฺต ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ความว่า ข้อที่ท่านเคยมี

ความคล่องแคล่วด้วยสะสมมาเป็นเวลานานได้ผันแปรไปแล้วด้วยคำพูดคำเดียว

ของเรา ไม่เกิดอะไรขึ้น. บทว่า อาโรปิโต เต วาโท คือเราจับผิดวาทะของ

ท่านได้แล้ว. บทว่า จร วาทปฺปโมกฺขาย ท่านจงถอนวาทะของท่านเสีย ความ

ว่า จงพระพฤติเพื่อปลดเปลื้องความผิด คือจงศึกษาเพื่อไปในที่นั้น ๆ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 580

นิพฺพิเธหิ วา สเจ ปโหสิ หรือจงแก้ไขเสียถ้าสามารถ คือ หากสามารถด้วย

ตนเอง จงแก้ไขเสียในบัดนี้ทีเดียว. บทว่า ธมฺมกฺโกเสน ด้วยคำติเตียน

โดยธรรมคือด้วยคำติเตียนที่เป็นจริง. บทว่า ตน โน โสสฺสาม คือเราทั้งหลาย

จักฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พวกเรา. บทว่า ขุทฺท มธุ คือรังผึ้งที่

ตัวอ่อนทำไว้. บทว่า อเนลก ไม่มีโทษ คือรังผึ้งที่ปราศจากตัวอ่อน. บทว่า

ปีเฬยฺย คือพึงให้. บทว่า ปจุจาสึสมานรูโป หมู่มหาชนคอยหวังอยู่ คือ

ถือภาชนะตั้งความหวังว่า บุรุษนั้นจักให้เราจนเต็มภาชนะไหมหนอ. บทว่า

สมฺปโยเชตฺวา บาดหมางกัน คือเถียงกันเล็กน้อย. บทว่า อิตรีตเรน คือ

ตามมีตามได้. บทว่า ปวิวิตฺโต พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้สงัด ปริพาชก

กล่าวคำนี้หมายถึงเพียงกายวิเวก. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสงัดด้วยวิเวก ๓.

บทว่า โกสกาหารา คืออาหารเพียงเท่าโกสกะ ในเรือนของทาน-

บดีมีถ้วยเล็กเพื่อใส่อาหารอย่างดี. ทานบดีทั้งหลายใส่อาหารดีไว้ในถ้วยนั้น

แล้วบริโภค. เมื่อบรรพชิตมาถึง ก็ถวายอาหารแก่บรรพชิตนั้น ถ้วยนั้นเรียกว่า

โกสกะ เพราะฉะนั้นบุคคลใดยังชีวิตให้เป็นไปด้วยอาหารถ้วยหนึ่ง บุคคล

นั้นชื่อว่า โกสกาหารา มีอาหารเพียงเท่าโกสกะ. บทว่า เวฬุวาหารา คือมี

อาหารเพียงเท่าภัตใส่ในผลมะตูม. บทว่า สมติตฺติก เสมอขอบ คือเสมอลวด

ลายข้างล่างแห่งขอบปากบาตร. บทว่า อิมินา ธมฺเมน คือโดยธรรมเพราะ

ความเป็นผู้มีอาหารน้อยนี้. อนึ่งในบทนี้ไม่ควรกล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

มีอาหารน้อยโดยอาการทั้งปวง. ทรงมีอาหารน้อยตลอด ๖ ปี ณ ที่ทรงบำเพ็ญ

เพียร. ทรงยังพระชนม์ชีพให้เป็นไปด้วยข้าวแล่งหนึ่งตลอด ๓ เดือน ในเมือง

เวรัญชา. ทรงยังพระชนม์ชีพให้เป็นไปด้วยเหง้าบัวเท่านั้นตลอด ๓ เดือน ใน

ปาริไลยกไพรสณฑ์. แต่ในที่นี้พระองค์ทรงแสดงถึงความนี้ว่า เราได้มีอาหาร

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 581

น้อยในกาลหนึ่ง แต่สาวกทั้งหลายของเราไม่ทำลายธุดงค์ตลอดชีวิตตั้งแต่

สมาทานธุดงค์. เพราะฉะนั้น ผิว่าสาวกทั้งหลายเหล่านั้นพึงสักการะเราโดย

ธรรมนี้. ด้วยว่า สาวกเหล่านั้นเป็นผู้วิเศษโดยเรา ย่อมสักการะเราด้วยธรรม

อื่นที่มีอยู่. ท่านแสดงไว้ดังนี้. โดยนัยนี้พึงทราบโยชนาในทุกวาระ.

บทว่า ปสุกูลิกา ถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร คือสมาทานปังสุกูลิกังคธุดงค์.

บทว่า ลูขจีวรธรา ทรงจีวรเศร้าหมองด้วยด้าย ๑๐๐ เส้น. บทว่า นนฺตกานิ

ผ้าเก่า คือชิ้นผ้าที่ไม่มีชาย. จริงอยู่ ผิว่า ผ้าเหล่านั้นพึงมีชาย ผ้าเหล่านั้น

เรียกว่า ปิโลตกา ผ้าขี้ริ้ว. บทว่า อุจฺจินิตฺวา เลือกเก็บ คือฉีกทิ้งส่วนที่ใช้

ไม่ได้ถือเอาส่วนที่ยังใช้ได้เท่านั้น. บทว่า อลาวุโลมสานิ คือเส้นด้าย

เช่นกับขนน้ำเต้า. ท่านแสดงว่า ละเอียด. ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ไม่ควรกล่าว

ว่าพระศาสดามิได้ทรงสันโดษด้วยจีวรสันโดษ. เพราะในวันที่พระองค์ทรง

รับเอาผ้าบังสกุลทำด้วยเปลือกไม้ ที่นางปุณณทาสีนำมาจากป่าช้าผีดิบถวาย

มหาปถพีได้ไหวจนกระทั่งถึงน้ำเป็นที่สุด พระองค์ทรงแสดงความในบทนี้ไว้ว่า

เรารับผ้าบังสกุลครั้งเดียวเท่านั้น. แต่สาวกทั้งหลายของเราไม่ทำลายธุดงค์จน

ตลอดชีวิต จำเดิมแต่สมาทานธุดงค์.

บทว่า ปิณฺฑปาติกา ถือบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ปฏิเสธอติเรกลาภ

สมาทานปิณฑปาติกังคธุดงค์. บทว่า สปทานจาริโน คือ เที่ยวไปตามลำดับ

ตรอกเป็นวัตร คือ ปฏิเสธโลลุปปจาร (การเที่ยวไปด้วยความโลภ) แล้ว

สมาทานสปทานจาริกวัตร. บทว่า อุจฺจาปเก วตฺเต รตา ยินดีในวัตรชั้น

สูงของตน ความว่า ยินดีในวัตรตามปรกติของภิกษุทั้งหลาย กล่าวคือการเที่ยว

ไปเพื่ออาหารเลี้ยงชีพ เป็นผู้ยืนที่ประตูเรือนทั้งสูงและต่ำ สำรวมอาหารที่ปน

กันเป็นคำแล้วฉัน. บทว่า อนฺตรฆร ละแวกบ้าน คือละแวกเรือนตั้งแต่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 582

ธรณีประตู ดังได้กล่าวแล้วในพรหมายุสูตร. ในที่นี้ท่านประสงค์ตั้งแต่ เสา

เขื่อน. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ควรกล่าวว่า พระศาสดาไม่ทรงสันโดษ ด้วย

บิณฑบาตสันโดษ. ทั้งหมดพึงพิสดารโดยทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้ว เพราะ

ความเป็นผู้มีอาหารน้อย. แม้ในที่นี้พระองค์ก็ทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เราไม่

ยินดีรับนิมนต์ในเวลาเดียวเท่านั้น. แต่สาวกทั้งหลายของเรา ไม่ทำลายธุดงค์

ตลอดชีวิต ตั้งแต่สมาทานธุดงค์.

บทว่า รุกฺขมูลิกา ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร คือ ปฏิเสธที่มุงบัง

สมาทานรุกขมูลิกังคธุดงค์. บทว่า อพฺโภกาสิกา ถืออยู่กลางแจ้งเป็นวัตร

คือ ปฏิเสธที่มุงบังและโคนไม้แล้วสมาทานอัพโภกาสิกังคธุดงค์. บทว่า อฏฺ-

มาเส ตลอด ๘ เดือน คือ ตลอดเดือนในฤดูเหมันต์และคิมหันต์. แต่ในภาย

ในฤดูฝนเข้าไปสู่ที่มุงบังเพื่อรักษาจีวร. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ควรกล่าวว่าพระ-

ศาสดาไม่ทรงสันโดษด้วยเสนาสนสันโดษ. แต่พึงแสดงเสนาสนสันโดษของ

พระองค์ ด้วยมหาปธานตลอด ๖ ปี และด้วยปาริไลยกไพรสนฑ์ แต่ในที่นี้

พระองค์ทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เราไม่เข้าไปสู่ที่มุงบังในกาลหนึ่งเท่านั้น. แต่

สาวกของเราไม่ทำลายธุดงค์ตลอดชีวิตตั้งแต่สมาทานธุดงค์.

บทว่า อารญฺิกา ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือปฏิเสธเสนาสนะท้าย

บ้านแล้วสมาทานอารัญญิกังคธุงค์. บทว่า สงฺฆมชฺเฌ โอสรนฺติ ย่อม

ประชุมในท่ามกลางสงฆ์ ท่านกล่าวถึงใน อพัทธสีมา (สีมาที่ยังมิได้ผูก).

แต่ สาวกผู้อยู่ในพัทธสีมา ย่อมทำอุโบสถในที่อยู่ของตน. ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้ ไม่ควรกล่าวว่าพระศาสดา ไม่ทรงสงัด เพราะความสงัดย่อมปรากฏแก่

พระองค์อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาเพื่อหลีกเร้นอยู่ตลอด ๘

เดือน. แต่ในที่นี้พระองค์ทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เราหลีกเร้นอยู่ในกาลเห็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 583

ปานนั้น ครั้งหนึ่ง ๆ. แต่สาวกของเราไม่ทำลายธุดงค์ ตลอดชีวิตตั้งแต่

สมาทานธุดงค์. บทว่า มม สาวิกา คือ สาวกทั้งหลายของเรา. บทว่า

สนิทาน มีเหตุ คือ มีปัจจัย. ก็พระศาสดาไม่ทรงแสดงถึงนิพพานอันไม่มี

ปัจจัยหรือ. ไม่แสดงหามิได้. แต่ทรงแสดงทำเทศนานั้นให้มีเหตุ. บทว่า

โน อเหตฺก มิใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ. บทว่า สปฺปาฏิหาริย ทรงแสดง

ธรรมมีความอัศจรรย์นี้เป็นไวพจน์ของบทก่อน. อธิบายว่ามีเหตุ. วต ในบท

ว่า ต วต เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อนาคตวาทปถ คลองแห่งวาทะใน

อนาคต คือ คลองแห่งวาทะอันตั้งอยู่ในวันนี้แล้วมาเบื้องบนแห่งปัญหานั้น ๆ ใน

วันพรุ่งนี้ มะรืนนี้ กึ่งเดือน หรือปีหนึ่ง. บทว่า น ทกฺขติ ย่อมไม่เห็น

คือไม่เห็นโดยอาการที่สัจจกนิครนถ์ ยังเหตุที่ตนมาเพื่อจะข่มขี่ให้วิเศษ เมื่อ

จะกล่าวจึงได้เห็น เพราะเหตุนั้น ข้อนั้นมิใช่ฐานะจะมีได้. บทว่า สหธมฺเมน

เป็นไปกับด้วยธรรม คือ มีเหตุ. บทว่า อนฺตรนฺตรา กถ โอปาเตยฺยุ

จะพึงคัดค้าน ๆ ให้ตกไปในระหว่าง ๆ ความว่า ตัดการสนทนาของเราแล้ว

สอดการสนทนาของตนเข้าไปในระหว่าง ๆ. บทว่า น โข ปนาห อุทายิ

ความว่า ดูก่อนอุทายี เราไม่หวังคำสอนในสาวกทั้งหลายนี้ว่า เมื่อการ

สนทนาครั้งยิ่งใหญ่กับอัมพัฏฐะ โสณทัณฑะ กูฎฑัณฑะ และสัจจกนิครนถ์

เป็นต้นแม้ยังดำเนินอยู่ ถ้าการใช้สาวกของเรารูปหนึ่ง ควรชักอุปมา หรือ

เหตุมากล่าว. บทว่า มมเยว คือในฐานะอย่างนี้ สาวกทั้งหลายก็มิได้หวัง

โอวาทอันเป็นคำสอนของเรา. บทว่า เตสาห จิตฺต อาราเธมิ เรายังจิต

ของสาวกเหล่านั้นให้ยินดี คือ เราจะถือเอาจิตของสาวกเหล่านั้นให้ถึงพร้อมให้

บริบูรณ์ด้วยการพยากรณ์ ปัญหาของพระอรหันต์. ถามอย่างหนึ่ง พยากรณ์

อย่างหนึ่ง เหมือนถามมะม่วง พยากรณ์ ขนุนสำมะลอ. ถามขนุนสำมะลอ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 584

พยากรณ์มะม่วงฉะนั้น. อนึ่ง ในบทนี้ ท่านกล่าวถึงศีลของพระพุทธเจ้าในที่

ที่กล่าวไว้แล้วว่า อธิสีเล สมฺภาเวนฺติ ให้สรรเสริญในเพราะอธิศีล. ท่าน

กล่าวถึงสัพพัญญุตญาณในที่ที่กล่าวไว้แล้วว่า อภิกฺกนฺเต าณทสฺสเน

สมฺภาเวนติ ให้สรรเสริญในเพราะญาณทัศนะอันงาม. ท่านกล่าวถึงปัญหา

อันให้เกิดฐานะในที่ที่ท่านกล่าวไว้ว่า อธิปญฺาย สมฺภาเวนฺติ ให้

สรรเสริญในเพราะอธิปัญญา. ท่านกล่าวถึงปัญหาพยากรณ์สัจจะในที่ที่กล่าวไว้

ว่า เยน ทุกฺเขน ด้วยทุกข์ใด ปัญหาที่เหลือ เว้นสัพพัญญุตญาณ และ

ปัญหาพยากรณ์สัจจะ ย่อมเป็นอธิปัญญา.

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงบอกปฏิปทา ของสาวกเหล่านั้น ๆ

ผู้บรรลุถึง จึงตรัสว่า ปุน จ ปร อุทายิ ดูก่อนอุทายี ข้ออื่นยังมีอยู่อีก

เป็นอาทิ. ในบทเหล่านั้นบทว่า อภิญฺาโวสานปารมิปฺปตฺต สาวกของ

เราเป็นอันมากได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา คือ บรรลุอรหัตอัน

เป็นที่สุดแห่งอภิญญา และอันเป็นบารมีมีแห่งอภิญญา. บทว่า สมฺมปฺปธาเน

สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรอันเป็นอุบาย. บทว่า ฉนฺท ชเนติ ยัง

ความพอใจให้เกิด คือ ยังความพอใจในกุศลอันเป็นกัตตุกามยตาฉันทะให้เกิด.

บทว่า วายมติ คือทำความพยายาม. บทว่า วีริย อารภติ คือ ปรารภ

ความเพียร ได้แก่ ยังความเพียรให้เป็นไป. บุทว่า จิตฺต ปคฺคณฺหติ ย่อม

ประคองจิต คือ ยกจิตขึ้น. บทว่า ปทหติ ย่อมตั้ง คือ ทำความเพียร

ด้วยอุบาย. บทว่า ภาวนาย ปาริปูริยา คือ เพื่อความเจริญ เพื่อความ

สมบูรณ์. อีกอย่างหนึ่งในบทนี้ พึงทราบว่าความตั้งมั่นใด นั้นเป็นความไม่

หลง ความไพบูลย์ใด นั้นเป็นความเจริญและความสมบูรณ์. บทก่อนเป็น

อธิบายของบทหลังด้วยประการฉะนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 585

อนึ่ง บุพภาคปฏิปทา ของพระสาวก ท่านกล่าวไว้ ด้วยปริยายแห่ง

กัสสปสังยุตที่พระมหากัสสปเถระกล่าวไว้ด้วยเรื่องสันมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล้ว

สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในกัสสปสังยุตนั้นว่า

ดูก่อนอาวุโส สัมมัปปธานของเรามี ๔ สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน

ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า

อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความ

เสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า อกุศลธรรมอันลามก

ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อเรายังละไม่ได้ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์

ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส โดยคิดว่า กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อ

ไม่เกิดขึ้น จะพึงเป็นไปเพื่อความเสียประโยชน์ ทำความเพียรเครื่องเผากิเลส

โดยคิดว่า กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรา เมื่อดับ จะพึงเป็นไปเพื่อความเสีย

ประโยชน์.

อนึ่ง ในบทนี้พึงทราบว่า อกุศลอันลามกได้แก่โลภะเป็นต้น. บทว่า

อนุปฺปนฺนา กุสลา ธมฺมา กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ได้แก่ สมถวิปัสสนาและ

มรรคเท่านั้น. สมถวิปัสสนาชื่อว่ากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว. ส่วนมรรคเกิดขึ้นครั้งเดียว

แล้วดับไป ไม่ชื่อว่าเป็นไปเพื่อความพินาศ. เพราะมรรคนั้น ให้ปัจจัยแก่ผลแล้ว

จึงดับ. หรือแม้ในบทก่อนท่านกล่าวว่า พึงถือเอาสมถะและวิปัสสนา แต่ข้อนั้น

ไม่ถูก. สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว ในกุศลธรรมนั้น เมื่อดับไปย่อมเป็นไป

เพื่อความพินาศ. เพื่อความแจ่มแจ้งของเนื้อความ จะนำเรื่องมาเล่าดังต่อไปนี้ .

ได้ยินว่าพระเถระผู้เป็นขีณาสพรูปหนึ่ง คิดว่าเราจักไหว้พระมหาเจดีย์

และพระมหาโพธิ จึงมายังมหาวิหารจากชนบทกับสามเณรผู้ถือภัณฑะผู้ได้

สมาบัติ แล้วเข้าไปยังบริเวณวิหารในตอนเย็น เมื่อภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ไหว้

พระเจดีย์อยู่. ไม่ออกไปเพื่อไหว้พระเจดีย์. เพราะเหตุไร. เพราะพระขีณาสพ

๑. สัง. นิ. ๑๖/ข้อ ๔๖๓.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 586

มีความเคารพอย่างมากในพระรัตนตรัย. ฉะนั้นเมื่อภิกษุสงฆ์ไหว้กลับไปแล้วใน

เวลาที่พวกมนุษย์บริโภคอาหารในตอนเย็น แม้สามเณรก็ไม่ให้รู้ คิดว่าเราจัก

ไหว้พระเจดีย์ จึงออกไปรูปเดียวเท่านั้น. สามเณรคิดว่า พระเถระไปรูปเดียวใน

มิใช่เวลา เราจักรู้ จึงออกตามรอยเท้าพระอุปัชฌาย์ไป. พระเถระไม่รู้ว่าสามเณร

มา เพราะไม่ได้นึกถึงจึงขึ้นสู่ลานพระเจดีย์ทางประตูทิศใต้. สามเณรก็ขึ้นตาม

รอยเท้าไป. พระมหาเถระแลดูพระมหาเจดีย์ ยึดปีติในพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์

สำรวมใจทั้งหมด ชื่นชมยินดีไหว้พระเจดีย์ สามเณรเห็นอาการไหว้ของพระเถระ

จึงคิดว่า พระอุปัชฌาย์ของเรามีจิตเลื่อมใสอย่างยิ่ง ไหว้พระเจดีย์ ได้ดอกไม้

แล้วพึงทำการบูชาหรือหนอ. เมื่อพระเถระลุกขึ้นไหว้ ยกอัญชลีเหนือศีรษะ

ยืนแลดู พระมหาเจดีย์. สามเณรกระแอมให้พระเถระรู้ว่าตนมา. พระเถระ

เหลียวดูแล้วถามว่า เธอมาเมื่อไร. สามเณรตอบว่า ท่านขอรับในเวลาท่าน

ไหว้พระเจดีย์ ท่านเลื่อมใสเหลือเกินจึงไหว้พระเจดีย์. ท่านได้ดอกไม้แล้วพึง

บูชาหรือ. พระเถระตอบว่าถูกแล้ว สามเณร ชื่อว่าการฝังพระธาตุประมาณ

เท่านี้ นอกจากในพระเจดีย์นี้แล้วย่อมไม่มี. ใครได้ดอกไม้แล้วจะไม่พึงบูชา

มหาสถูปอันไม่มีเหมือนเช่นนี้ได้เล่า. สามเณรกล่าวว่า ท่านขอรับ ถ้าเช่นนั้น

ขอท่านจงรอก่อน ผมจักนำดอกไม้มา. ทันใดนั้นเอง สามเณรก็เข้าฌานไป

ป่าหิมพานต์ด้วยฤทธิ์ เก็บดอกไม้สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นใส่ในธมกรกจนเต็ม

เมื่อพระมหาเถระยังไม่ถึงมุขหลัง จากมุขใต้. สามเณรมาวางผ้าธมกรกห่อดอก

ไม้ไว้ที่มือแล้วกล่าวว่า ขอท่านจงบูชาเถิดขอรับ. พระเถระกล่าวว่า สามเณร

ดอกไม้ของเธอยังน้อยนัก. สามเณรกล่าวว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงไป ระลึก

ถึงคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วบูชาเถิด. พระเถระขึ้นบันไดอาศัยมุขหลัง

เริ่มทำการบูชาด้วยดอกไม้ ณ ชั้นแท่นบูชา. ชั้นแท่นบูชาเต็มไปหมด. ดอกไม้

ตกลงไปเต็มในชั้นที่ ๒ โดยพื้นที่ประมาณเข่า. พระเถระลงจากชั้นที่ ๒ ยัง

แถวหลังเท้าให้เต็ม. แม้แถวหลังเท้านั้นก็เต็ม. พระเถระรู้ว่าเต็มจึงเกลี่ย ที่

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 587

พื้นล่างกลับไป. ลานพระเจดีย์ มีดอกไม้เต็มไปหมด. เมื่อลานพระเจดีย์เต็ม

พระเถระกล่าวว่า สามเณร ดอกไม้ยังไม่หมด. สามเณรตอบว่า ท่านขอรับ

ท่านจงคว่ำธมกรกลงเถิด. พระเถระคว่ำธมกรกแล้วเขย่า. ในกาลนั้น

ดอกไม้ก็หมด. พระเถระให้ธมกรกแก่สามเณรแล้วทำประทักษิณพระเจดีย์

มีกำแพงสูง ๖๐ ศอก ๓ ครั้ง ไหว้ในที่ทั้ง ๔ แห่งแล้วกลับไปยังบริเวณคิดว่า

สามเณรนี้มีฤทธิ์มากแท้ จักสามารถรักษาอิทธานุภาพนี้ไว้ได้หรือหนอ. แต่นั้น

พระเถระเห็นว่า จักไม่สามารถรักษาไว้ได้ จึงกล่าวกะสามเณรว่า สามเณร

บัดนี้เธอมีฤทธิ์มาก ในภายหลัง ครั้นฤทธิ์เสื่อม จักดื่มน้ำซาวข้าวด้วยมือของ

หญิงทอหูกตาบอดช้างเดียว. นี้ชื่อว่าโทษของความเป็นหนุ่ม สามเณรนั้นหวั่น

ใจในถ้อยคำของพระอุปัชฌาย์ (แต่) ไม่ขอร้องว่า ท่านขอรับ ขอท่านจงบอก

กรรมฐานแก่ผมเถิด. สามเณรคิดว่า พระอุปัชฌาย์ ของพวกเราพูดอะไร

ทำเหมือนไม่ได้ยินคำนั้นได้ไปแล้ว.พระเถระครั้นไหว้พระมหาเจดีย์ และพระ-

มหาโพธิ แล้วจึงให้สามเณรรับบาตรและจีวรไปยังกุเฏฬิติสสมหาวิหาร สาม

เณรเดินตามพระอุปัชฌาย์ไป ไม่ไปบิณฑบาต. แต่ถามว่า ท่านขอรับ ท่าน

จักเข้าไปบ้านไหน ครั้นรู้ว่าบัดนี้พระอุปัชฌาย์ของเราจักไปถึงประตูบ้าน จึง

ถือบาตรและจีวรของตนและของพระอุปัชฌาย์ แล้วเหาะไป ถวายบาตรและ

จีวรแก่พระเถระแล้วจึงเข้าไปบิณฑบาต.

พระเถระสั่งสอนตลอดเวลาว่า สามเณร เธออย่าได้ทำอย่างนั้น ชื่อ

ว่า ฤทธิ์ของปุถุชน ง่อนแง่น ไม่แน่นอนครั้นได้อารมณ์มีรูปเป็นต้นไม่เป็นที่

สบายเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็ทำลาย. เมื่อการเสื่อมจากสมาบัติมีอยู่การอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ ก็ไม่สามารถค้ำจุนไว้ได้. สามเณรไม่ปรารถนาจะฟังว่าพระ-

อุปัชฌาย์ของเรากล่าวอะไร ยังทำเหมือนเดิม. พระเถระไหว้พระเจดีย์ไปโดย

ลำดับแล้วจึงไปยัง กัมพพินทวิหาร. แม้เมื่อพระเถระอยู่ ณ วิหารนั้น สาม-

เณรก็ยังทำอยู่อย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 588

อยู่มาวันหนึ่ง ธิดาของช่างทอหูกคนหนึ่งรูปงาม ยังอยู่ในปฐมวัย

ออกจากบ้านกัมพพินทะ ลงไปยังสระบัวร้องเพลงเก็บดอกบัว. ในสมัยนั้น

สามเณรไปถึงท้ายสระติดใจเสียงร้องเพลงของหญิงนั้น ดุจคนขายปลาตาบอด

ติดใจเสียงของหญิงยั่วยวนฉะนั้น. ทันใดนั้นเอง ฤทธิ์ของสามเณรนั้นก็เสื่อม ได้

เป็นดุจกาปีกหัก. แต่ด้วยผลของสมาบัติที่ยังมีอยู่ สามเณรไม่ตกไปที่หลังน้ำนั้น

ตกลงเหมือนปุยดอกงิ้วโดยลำดับ ได้ยืนอยู่แล้วใกล้ฝั่งสระปทุม. สามเณรรีบไป

ถวายบาตรและจีวรแก่พระอุปัชฌาย์แล้วกลับ. พระมหาเถระคิดว่า เราเห็นเหตุ

การณ์มาก่อนแล้ว แม้ห้ามสามเณรก็คงไม่กลับ จึงไม่พูดอะไร ๆ เข้าไป

บิณฑบาต. สามเณรไปยืนที่ฝั่งสระบัว รอหญิงนั้นขึ้น. แม้หญิงนั้นก็เหมือน

สามเณรทั้งขณะเหาะและขณะมายืนอยู่รู้ว่า สามเณรนี้กระสันเพราะอาศัยเราเป็น

แน่จึงกล่าวว่า หลีกไปเถิด สามเณร. สามเณรนั้นจึงหลีกไป. หญิงนั้นขึ้น

มานุ่งผ้าแล้วเข้าไปหาสามเณรถามว่า สามเณร ต้องการอะไรหรือ. สามเณร

บอกความนั้น. นางจึงแสดงถึงโทษในการครองเรือนด้วยเหตุหลายอย่างและ

อานิสงส์ในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ แม้สอนอยู่ก็ไม่สามารถบรรเทาความ

กระสันของสามเณรนั้นได้ คิดว่า สามเณรนี้เสื่อมฤทธิ์เห็นปานนี้เพราะเราเป็น

เหตุ บัดนี้ไม่ควรจะเสียสละจึงกล่าวว่า สามเณร ท่านจงรออยู่ที่นี่เถิด แล้ว

ไปเรือน บอกเรื่องนั้นแก่มารดาบิดา.

แม้มารดาบิดาก็มาแล้วสอนหลายอย่าง ได้กล่าวกะสามเณรผู้ไม่เชื่อฟัง

ว่าท่านอย่าเข้าใจพวกเราว่ามีตระกูลสูง. พวกเราเป็นเพียงช่างทอหูกสามารถทำ

ได้เพียงงานทอหูกเท่านั้น. สามเณรกล่าวว่า อุบาสก ธรรมดาคนที่เป็นคฤหัสถ์

ควรทำงานทอหูก หรือควรทำงานสานกระจาดก็ได้. ประโยชน์อะไรด้วยเพียง

ผ้าสาฎกนี้ ท่านจงทำงานไปเถิด. ช่างหูกให้ผ้าสาฎกที่ผูกท้องแล้วนำไปเรือน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

ยกลูกสาวให้. นายหนุ่มผู้นั้น (สึกจากสามเณรแล้ว) เรียนการงานของช่างหูก

ทำการงานที่โรงกับพวกช่างหูก. บรรดาหญิงของช่างหูกเหล่าอื่น ได้เตรียม

อาหารนำมาแต่เช้าตรู่. ภรรยาของนายหนุ่มนั้นยังไม่มา. นายหนุ่มนั้นเมื่อคนอื่น

พักงานบริโภคอาหาร ยังนั่งกรอหลอดด้ายอยู่. ภรรยาได้ไปภายหลัง. นายหนุ่ม

นั้นจึงพูดตะคอกภรรยาว่า เธอนี่มาช้าเหลือเกิน. ธรรมดามาตุคามรู้ว่า แม้

พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งมีจิตผูกพันในตน ยังนึกว่าตนเป็นดุจทาส. เพราะฉะนั้น

นางจึงกล่าวว่า ในเรือนของานอื่นเขาสะสมฟืนใบไม้และเกลือไว้. แม้คนทอ-

หูกที่เป็นทาสนำออกจากภายนอกก็ยังมี. แต่ฉันเป็นหญิงตัวคนเดียวเท่านั้น. แม้

ท่านก็ยังไม่รู้ว่า ในเรือนของเรา สิ่งนี้มี สิ่งนี้ไม่มี. หากท่านต้องการก็จงบริโภค

เถิด. หากไม่ต้องการก็อย่าบริโภค. นายหนุ่มนั้นพูดตะคอกว่า เธอไม่เพียง

นำอาหารมาสายเท่านั้นยังกระทบกระเทียบเราด้วยคำพูดอีก แล้วโกรธ เมื่อไม่

เห็นเครื่องทำร้ายอื่นจึงดึงไม้กระสวยทอผ้านั้นเอาหลอดด้ายออกจากกระสวย

แล้วขว้างไป ภรรยาเห็นไม้กระสวยแล่นมาจึงหลบหน่อยหนึ่ง ก็ปลายไม้

กระสวยคม. เมื่อนางหลบ ปลายไม้กระสวยจึงเข้าไปที่หางตาคาอยู่. นางรีบเอา

มือทั้งสองกุมนัยน์ตา. เลือดไหลออกที่ที่ถูกเจาะ. นายหนุ่มนั้นระลึกถึงคำของ

พระอุปัชฌาย์ได้ในเวลานั้นว่า พระอุปัชฌาย์คงหมายถึงเหตุนี้จึงกล่าวกะเราว่า

ในอนาคตเธอจักต้องดื่มน้ำข้าวที่ขยำด้วยมือของหญิงทอหูกตาบอดข้างเดียว.

พระเถระคงจักเห็นเหตุนี้เป็นแน่. จึงเริ่มร้องไห้ด้วยเสียงดังว่า โอ พระคุณ-

เจ้าผู้เห็นกาลไกล. พวกช่างหูกอื่น ๆ ได้กล่าวกะนายหนุ่มนั้นว่า พอทีเถิด

พ่อคุณ อย่าร้องไห้ไปเลย. ธรรมดานัยน์ตาที่แตกแล้วไม่สามารถทำให้เหมือน

เดิมได้ ด้วยการร้องไห้ดอก. นายหนุ่มนั้นกล่าวว่า เรามิได้ร้องไห้ถึงเรื่องนั้น

ดอก แต่เราร้องไห้หมายถึงเหตุนี้ ดังนี้แล้วจึงบอกเรื่องทั้งหมดตามลำดับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 590

สมถะและวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ เมื่อดับย่อมเป็นไปเพื่อความ

เสียประโยชน์. ยังมีเรื่องอื่นอีก.

ภิกษุประมาณ ๓๐ รูป ไหว้พระกัลยาณิมหาเจดีย์แล้วหยั่งลงสู่ทางใหญ่

ตามทางดงได้เห็นมนุษย์คนหนึ่งทำกรรมในเขตไฟไหม้ในระหว่างทางเดินมา.

ร่างกายของมนุษย์ผู้นั้นได้เป็นดุจเปื้อนด้วยเขม่า. แลดูผ้าสาฎกผืนหนึ่งเปื้อน

ด้วยเขม่านุ่งหนีบรักแร้ ปรากฏดุจตอไม่ถูกไฟไหม้. มนุษย์ผู้นั้นทำการงานใน

ตอนกลางวัน ขนกองไม้ที่ถูกไฟไหม้ครึ่งหนึ่งออกมีผมรุงรังที่หลัง มาผิดทาง

ได้ยืนอยู่เฉพาะหน้าภิกษุทั้งหลาย.

พวกสามเณรเห็นจึงมองดูกันและกันแล้วหัวเราะกล่าวว่า อาวุโส บิดา

ของท่าน ลุงของท่าน อาของท่าน แล้วจึงถามชื่อว่า อุบาสกท่านชื่อไร. ชาย

ผู้นั้นถูกถามถึงชื่อกี่เดือดร้อน ทิ้งกองฟืน จัดแจงนุ่งผ้าไหว้พระมหาเถระแล้ว

จึงกล่าวว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย โปรดหยุดก่อนเถิด. พระมหาเถระทั้งหลายได้

ยืนอยู่. พวกสามเณรมาแล้ว ทำการเย้ยหยันแม้ต่อหน้าพระมหาเถระทั้งหลาย.

อุบาสกกล่าวว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายเห็นผมแล้วหัวเราะเยาะ พระคุณเจ้าอย่า

เข้าใจว่า พวกเราได้บรรลุถึงที่สุดด้วยเหตุเพียงเท่านี้. แม้ผมเมื่อก่อนก็เป็น

สมณะเช่นเดียวกับพวกท่าน แต่พวกท่านมิได้มีแม้เพียงจิตมีอารมณ์เดียว ผม

ได้เป็นผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากในศาสนานี้. ผมถืออากาศแล้วทำให้เป็นแผ่น

ดินได้. ถือแผ่นดินแล้วทำให้เป็นอากาศได้. ทำที่ไกลไห้ใกล้ได้. ทำที่ใกล้ให้

ไกลได้. ผมทะลุไปแสนจักรวาลได้โดยขณะเดียว. พวกท่านจงดูมือของผมซิ

บัดนี้เช่นกับมือลิง. ผมนั่ง ณ ที่นี้ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยมือทั้งสอง

เหล่านี้ได้. ผมทำพระจันทร์และพระอาทิตย์ให้เป็นแท่นรองนั่งล้างเท้าเหล่านี้แล.

ฤทธิ์ของผมเห็นปานนี้ได้สิ้นไปเพราะความประมาท. พวกท่านอย่าได้ประมาท

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 591

เลย. เพราะชนทั้งหลายถึงความพินาศเห็นปานนี้ ด้วยความประมาท. ผู้ไม่

ประมาท ย่อมทำที่สุดแห่งชาติชราและมรณะได้. เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายทำ

ผมนี้แหละให้เป็นอารมณ์ แล้วพูดเตือนว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย จงอย่าประมาท

เลยแล้วให้โอวาท เมื่อชายผู้นั้นกล่าวอยู่นั่นเอง ภิกษุ ๓๐ รูป เหล่านั้นถึง

ความสลดใจนี้ เห็นแจ้งอยู่ ได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่นั้นเองด้วยประการฉะนี้.

สมถวิปัสสนาที่เกิดขึ้นแล้วแม้อย่างนี้ เมื่อดับไปพึงทราบว่า ย่อมเป็น

ไปเพื่อความพินาศ.

อนึ่งไม่บทว่า อนุปฺปนฺนาน ปาปกาน ความลามกยังไม่เกิดนี้

พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในบทมีอาทิว่า อนุปฺปนฺโน วา กามาสโว น

อุปฺปชฺชติ กามาสวะยังไม่เกิดย่อมไม่เกิด.

อนึ่งในบทว่า อุปฺปนฺนาน ปาปกาน ความลามกเกิดขึ้นแล้วนี้ มี

ความดังต่อไปนี้. ความลามกเกิดขึ้น ๔ อย่าง คือ เกิดขึ้นในปัจจุบัน ๑ เกิด

ขึ้นเพราะเสวยผลแล้ว ปราศไป ๑ เกิดขึ้น เพราะทำโอกาส ๑ เกิดขึ้นเพราะ

ได้ภูมิ ๑. ใน ๔ อย่างนั้น กิเลสเหล่าใดมีอยู่พร้อมที่จะเกิดเป็นต้น นี้ชื่อว่า

เกิดในปัจจุบัน. อนึ่ง เมื่อกรรมยังแล่นไปเสวยรสแห่งอารมณ์แล้วดับไปชื่อว่า

เสวยผลแล้วปราศไป. กรรมเกิดขึ้นแล้วดับ ชื่อว่า เสวยผลแล้วปราศไป.

แม้ทั้งสองอย่างนั้น ก็ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะเสวยผลแล้วปราศไป. กุศลกรรมและ

อกุศกรรมห้ามวิบากของกรรมอื่นแล้วทำโอกาสแห่งวิบากของตน. เมื่อทำ

โอกาสอย่างนี้ วิบากเมื่อเกิดขึ้น ย่อมชื่อว่า เกิดขึ้นแล้วตั้งแต่ทำโอกาส. นี้

ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะทำโอกาส. อนึ่งขันธ์ ๕ ชื่อว่า เป็นภูมิแห่งวิปัสสนา.

ขันธ์ ๕ เหล่านั้น ย่อมมีประเภทเป็นอดีตเป็นต้น. กิเลสที่นอนเนื่องอยู่

ในขันธ์ ๕ เหล่านั้น ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบัน. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 592

แม้กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธ์ที่เป็นอดีตก็ยังเป็นอันละไม่ได้. แม้กิเลสที่นอน

เนื่องในขันธ์เป็นอนาคต ในขันธ์เป็นปัจจุบัน ก็เป็นอันยังละไม่ได้แท้. นี้ชื่อว่า

เกิดขึ้นเพราะได้ภูมิ. ด้วยเหตุนั้นท่านโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า กิเลสที่ยังถอน

ไม่ขึ้นในภูมิเหล่านั้น ๆ ย่อมชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะได้ภูมิ.

กรรมลามกเกิดขึ้น ๔ อย่าง อย่างอื่นอีก คือ เกิดขึ้นเพราะความ

ประพฤติ ๑ เกิดขึ้นเพราะยึดถืออารมณ์ ๑ เกิดขึ้นเพราะไม่ข่ม ๑ เกิดขึ้น

เพราะไม่ถอน ๑. ใน ๔ อย่างนั้นกรรมที่ยังเป็นไปอยู่ไม่ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะ

ความประพฤติ. เมื่อลืมตาขึ้นคราวเดียวแล้วยึดนิมิตเป็นอารมณ์ กิเลสทั้งหลาย

ในขณะที่ระลึกถึง ๆ ไม่ควรกล่าวว่า จักไม่เกิดขึ้น. เพราะเหตุไร. เพราะยังยึด

ถืออารมณ์อยู่. เหมือนอะไร. เหมือนน้ำนมแห่งต้นน้ำนมที่ถูกขวานฟันแล้ว

เขาไม่ควรกล่าวว่า น้ำนมจักไม่ออก ฉันใด. นี้ก็ฉันนั้นชื่อว่าเกิดขึ้นเพราะ

ยึดถืออารมณ์. กิเลสทั้งหลายที่มิได้ข่มไว้ด้วยสมาบัติ ไม่ควรกล่าวว่า จักไม่

เกิดในฐานะนี้. เพราะเหตุไร. เพราะยังข่มไว้ไม่ได้. เหมือนอะไร เหมือน

หากว่าชนทั้งหลายพึงนำต้มน้ำนมมาด้วยขวาน ไม่ควรกล่าวว่า น้ำนมไม่พึง

ออกในที่นี้ ฉันใด. นี้ก็ฉันนั้นชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะไม่ข่มไว้. อนึ่งกิเลส

ทั้งหลายที่ยังถอนออกไม่ได้ด้วยมรรค ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ผู้เกิดในภวัคคพรหม

พึงให้พิสดารโดยนัยดังกล่าวแล้วด้วยประการฉะนี้แล. นี้ชื่อว่า เกิดขึ้นเพราะ

ยังถอนไม่ได้.

ในกรรมลามกที่เกิดขึ้นเหล่านี้ กรรมเกิดขึ้น ๔ อย่างคือ เกิดขึ้นใน

ปัจจุบัน ๑ เกิดขึ้นเพราะเสวยผลแล้วปราศไป ๑ เกิดขึ้นเพราะทำโอกาส ๑

เกิดขึ้นเพราะความพระพฤติ ๑ ไม่ถูกทำลายด้วยมรรค. กรรมลามก ๔ อย่าง

คือ. กรรมเกิดขึ้นเพราะได้ภูมิ ๑. เกิดขึ้นเพราะยึดถืออารมณ์ ๑ เกิดขึ้นเพราะ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 593

ข่มไว้ไม่ได้ ๑ เกิดขึ้นเพราะถอนไม่ได้ ๑ ถูกทำลายด้วยมรรค. เพราะมรรค

เมื่อเกิดย่อมละกิเลสเหล่านี้ได้. มรรคนั้นย่อมละกิเลสเหล่าใดได้ กิเลสเหล่านั้น

ไม่ควรกล่าวว่า เป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบัน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็ถ้าว่า

มรรคย่อมละกิเลสอันเป็นอดีตได้ไซร้ ถ้าเช่นนั้นย่อมทำกิเลสที่สิ้นไปแล้วให้

สิ้นไปได้ ย่อมทำกิเลสที่ดับแล้ว ให้ดับไป ที่ปราศไปแล้วให้ปราศไป ที่ตั้งอยู่

ไม่ได้ให้ตั้งอยู่ไม่ได้ กิเลสเป็นอดีตใดไม่มี ย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตนั้นได้.

ก็ถ้าว่ามรรคนั้นย่อมละกิเลสในอนาคตได้ไซร้. ถ้าเช่นนั้น มรรคก็ย่อมละกิเลส

ที่ยังไม่เกิดได้ ย่อมละกิเลสที่ยังไม่บังเกิดไม่เกิดคือไม่ปรากฏได้, กิเลสที่เป็น

อนาคตใดไม่มี ย่อมละกิเลสนั้นได้. ก็ถ้าว่ามรรคนั้นย่อมละกิเลสอันเป็นปัจจุ-

บันไดไซร้ ถ้าเช่นนั้นผู้ถูกย้อมด้วยราคะ ย่อมละราคะได้ ถูกโทสะประทุษ-

ร้าย ย่อมละโทสะได้ ลุ่มหลงด้วยโมหะย่อมละโมหะได้ กระด้างด้วยมานะ ย่อม

ละมานะได้ ผู้ถูกต้องด้วยทิฏฐิ ย่อมละทิฏฐิได้ ฟุ้งซ่านด้วยอุทธัจจะ ย่อมละ

อุทธัจจะได้ ถึงความไม่ตกลงใจด้วยวิจิกิจฉา ย่อมละวิจิกิจฉาได้ ผู้ดำเนินไป

ด้วยกำลังอนุสัย ย่อมละอนุสัยได้. ธรรมคำธรรมขาวย่อมเป็นไปคู่กัน มรรค

ภาวนาย่อมเศร้าหมอง ถ้าเช่นนั้นมรรคภาวนาย่อมไม่มี การทำให้แจ้งผลก็

ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี กระนั้นหรือ.

มรรคภาวนามี ฯลฯ ธรรมาภิสมัยมี. เหมือนอย่างอะไร. เหมือนต้น

ไม้อ่อน ฯลฯ สิ่งที่ไม่ปรากฏ ย่อมไม่ปรากฏ. ต้นไม้ยังไม่เกิดผลมาแล้วในบาลี.

แต่พึงแสดงโดยต้นไม้ที่เกิดผล. เหมือนต้นมะม่วงอ่อนมีผล. พวกมนุษย์

บริโภคผลของต้นมะม่วงอ่อนนั้น. ทำผลที่เหลือให้หล่นแล้วใส่ตะกร้าจนเต็ม

คราวนั้น บุรุษอื่น เอาขวานตัดต้นมะม่วงนั้น. ผลของมะม่วงนั้นในอดีตยัง

ไม่สูญไป. ผลอนาคตปัจจุบันก็ไม่สูญ เป็นอันไม่สูญทั้งนั้น. เพราะมนุษย์

ทั้งหลายบริโภคผลในอดีต. ผลในอนาคตยังไม่เกิด จึงไม่อาจทำให้สูญเสียได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 594

แต่สมัยใดต้นมะม่วงนั้นถูกตัด ในตอนนั้นผลนั่นแหละย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น

แม้ผลในปัจจุบันก็ยังไม่สูญ. แต่ถ้าต้นไม้ไม่พึงถูกตัดไซร้ ผลของต้นไม้ที่อาศัย

รสดินและรสน้ำ พึงเกิดย่อมไม่สูญ. เพราะผลเหล่านั้นที่ยังไม่เกิด ก็ย่อมไม่

เกิด ที่ยังไม่งอก ก็ย่อมไม่งอก ที่ยังไม่ปรากฏ ก็ย่อมไม่ปรากฏ ฉันใด มรรค

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้ยังละกิเลสทั้งหลาย อันต่างด้วยอดีตเป็นต้นไม่ได้ แม้

ยังละไม่ได้ ก็ละไม่ได้. เพราะเธอยังมิได้กำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลาย กิเลสเหล่า

ใดพึงเกิดขึ้น กิเลสเหล่านั้น ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิด ที่ยังไม่บังเกิดย่อม

ไม่บังเกิด ที่ยังไม่ปรากฏย่อมไม่ปรากฏ เพราะยังมิได้กำหนดรู้ขันธ์ทั้งหลาย

ด้วยมรรค พึงให้ความนี้แจ่มแจ้งว่าด้วยยาที่ดื่ม เพื่อไม่ให้หญิงที่ลูกยังอ่อน

คลอดอีกและเพื่อให้คนเจ็บป่วยหายจากโรค. มรรคละกิเลสเหล่าใดได้อย่างนี้

กิเลสเหล่านั้นไม่พึงกล่าวว่า เป็นอดีต อนาคตหรือปัจจุบัน อนึ่ง ไม่ใช่มรรค

ย่อมละกิเลสไม่ได้. มรรคย่อมละกิเลสเหล่าใดได้ ท่านกล่าวว่า อุปฺปนฺนาน

ปาปกาน เป็นอาทิหมายถึงกิเลสเหล่านั้น. มรรคมิใช่จะละกิเลสได้อย่างเดียว

เท่านั้น แต่เพราะยังละกิเลสทั้งหลายไม่ได้ อุปาทินนกขันธ์พึงเกิดขึ้น ย่อมละได้

แม้ซึ่งอุปาทินนกขันธ์นั้น . สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า นามและรูป พึงเกิดขึ้นใน

สังสารวัฏอันมีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลรู้ไม่ได้ เว้นในภพ ๗ เพราะการดับ

แห่งอภิสังขารและวิญญาณด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ นามและรูปเหล่านั้นย่อม

ดับไปในที่นั้น.

พึงทราบความพิสดารดังต่อไปนี้. มรรคย่อมออกจากอุปาทินนะและ

อนุปาทินนะคือวิบากและกรรมด้วยประการฉะนี้. แต่เมื่อว่าโดยภพ โสดาปัตติ-

มรรคย่อมออกจากอบายภพ สกทาคามิมรรคย่อมออกจากสุคติภพส่วนเดียว.

อนาคามิมรรคย่อมออกจากสุคติกามภพ. อรหัตมรรคย่อมออกจากรูปภพและ

อรูปภพ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อรหัตมรรคออกจากภพทั้งปวง. เมื่อเป็น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 595

เช่นนั้นการเจริญเพื่อเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมอันยังไม่เกิดขึ้นในขณะแห่งมรรค

เป็นอย่างไร. หรือเพื่อความตั้งมั่นแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร.

เพื่อความเป็นไปแห่งมรรคนั่นเอง. เพราะมรรคเมื่อเป็นไปอยู่ท่านกล่าวว่ามรรค

ยังไม่เกิดแล้วเพราะยังไม่เคยเกิดมาก่อน. เพราะผู้กล่าวมาสู่ฐานะที่ไม่เคยมา

หรือเสวยอารมณ์ที่ไม่เคยเสวยย่อมกล่าวว่า เรามาสู่ฐานะอันไม่เคยมาแล้ว.

หรือว่าเราเสวยอารมณ์อันไม่เคยเสวยแล้ว ความเป็นไปแห่งมรรคนั้นแหละ

ชื่อว่า ฐิติ เพราะเหตุนั้นควรกล่าวว่า ิติยา ภาเวติ ให้มรรคเจริญเพื่อ

ความตั้งมั่น.

ความย่อในอิทธิบาทท่านกล่าวไว้แล้วในเจโตขีลสูตร. ชื่อว่า อุปสม-

คามี เพราะถึงความสงบระงับหรือถึงเพื่อความสงบกิเลส. ชื่อว่า สมฺโพธคามี

เพราะถึงความตรัสรู้หรือถึงเพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้มรรค.

บทมีอาทิว่า วิเวกนิสฺสิตา อาศัยวิเวกท่านกล่าวไว้แล้วในการสังวร

ในอาสวะทั้งปวง. นี้เป็นความสังเขปในบทนี้. ส่วนโพธิปักขิยกถานี้ ท่านกล่าว

ไว้ในวิสุทธิมรรคโดยพิสดารแล้ว .

พึงทราบวินิจฉัยในวิโมกขกถาดังต่อไปนี้. บทว่า วิโมกฺเข ชื่อว่า

วิโมกข์ เพราะอรรถว่ากระไร. เพราะอรรถว่าหลุดพ้นดี ก็วิโมกข์นี้คืออะไร.

วิโมกข์มีอรรถว่าหลุดพ้นด้วยดีแม้จากธรรมเป็นข้าศึกชื่อว่า อธิมุจฺจนฏฺโ มี

อรรถว่าหลุดพ้นดี . มีอรรถว่าพ้นด้วยดีแม้จากอารมณ์ทั้งหลายด้วยสามารถความ

ไม่ยินดี. ท่านอธิบายไว้ว่าวิโมกข์เป็นไปในอารมณ์ เพราะหมดความหวั่นใจ

ด้วยความไม่ถูกข่ม ดุจทารกปล่อยอวัยวะนอนบนตักบิดา. แต่ความนี้ไม่มีใน

วิโมกข์สุดท้าย. มีในวิโมกข์ต้น ๆ ทั้งหมด. ในบทว่า รูปี รูปานิ ปสฺสติ

ผู้ได้รูปฌาน ย่อมเห็นรูปนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ . รูปฌานอันให้เกิดด้วยอำนาจ

นีลกสิณเป็นต้นในบรรดากสิณมีผมในภายในเป็นต้น ชื่อว่า รูป. ชื่อว่า รูปี

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 596

เพราะมีรูปฌานนั้น. บทว่า พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ เห็นรูปภายนอก คือ

เห็นรูปมีนีลกสิณเป็นต้นแม้ภายนอกด้วยฌานจักษุ. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึง

รูปาวจรฌาน ๔ ของบุคคลผู้มีฌานอันให้เกิดแล้วในกสิณทั้งหลายที่มีวัตถุภาย

ในและภายนอก. บทว่า อชฺฌตฺต อรูปสญฺี คือผู้ไม่มีรูปสัญญาในภายใน.

อธิบายว่า มีรูปาวจรฌานอันยังไม่เกิดในกสิณมีผมเป็นของตน. ด้วยบทนี้ท่าน

แสดงถึงรูปาวจรฌานของผู้มีฌานซึ่งทำบริกรรมอย่างดีในภายนอกแล้วให้เกิด

ในภายนอก. ด้วยบทว่า สุภนฺเตว อธิมุตฺโต โหติ ผู้น้อมใจเชื่อว่ากสิณ

เป็นของงามอย่างเดียวนี้ ท่านแสดงถึงฌานในวรรณกสิณ มีนีลกสิณเป็นต้น

อันบริสุทธิ์ ในบทนั้นการผูกใจว่างามไม่มีในอัปปนาภายในก็จริง แต่ถึงดัง

นั้น พระโยคาวจรใด ทำสุภกสิณให้เป็นอารมณ์หมดจดด้วยดีอยู่. เพราะพระ-

โยคาวจรนั้น ย่อมถึงความเป็นผู้ควรกล่าวว่า เป็นผู้น้อมใจเชื่อว่างาม. ฉะนั้น

ท่านจึงแสดงไว้อย่างนี้. แต่ในปฏิสัมภิทามรรคท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า วิโมกข์

เพราะเป็นผู้น้อมใจเชื่อว่างามเป็นอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีจิตสหรคต

ด้วยเมตตาแผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่. เพราะเป็นผู้เจริญเมตตาสัตว์ทั้งหลายจึงไม่น่า

เกลียด. มีจิตสหรคตด้วยกรุณามุทิตาและอุเบกขาแผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่. เพราะ

เป็นผู้เจริญกรุณามุทิตาและอุเบกขา สัตว์ทั้งหลายจึงไม่น่าเกลียด ชื่อว่า วิโมกข์

เพราะเป็นผู้น้อมใจเชื่อว่างามอย่างนี้. ในบทว่า สพฺพโส รูปสญฺาน เพราะ

ล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเป็นอาทิ บทที่ควรกล่าวทั้งหมดท่านกล่าวไว้

แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า อย อฏฺโม วิโมกฺโข นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘ คือ

นี้ชื่อว่าวิโมกข์อันสูงสุดข้อที่ ๘ เพราะสละขันธ์ ๔ หลุดพ้นแล้วโดยประการ

ทั้งปวง.

พึงทราบวินิจฉัยในอภิภายคนกถาดังต่อไปนี้. บทว่า อภิภายตนานิ

คือเหตุเครื่องครอบงำ. ครอบงำอะไร. ครอบงำธรรมอันเป็นข้าศึกบ้าง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 597

อารมณ์บ้าง. เพราะอภิภายตนะเหล่านั้น ย่อมครอบงำธรรมเป็นข้าศึก โดย

ความเป็นข้าศึก. ครอบงำอารมณ์เพราะความที่บุคคลเป็นผู้ยิ่งด้วยญาณ.

อนึ่งในบทมีอาทิว่า อชฺฌตฺต รูปสญฺี ผู้มีความสำคัญในรูปภายใน

มีความดังต่อไปนี้. ย่อมชื่อว่ารูปสัญญี ผู้มีความสำคัญในรูปภายใน ด้วย

สามารถบริกรรมรูปภายใน. เพราะเมื่อทำบริกรรม นีลบริกรรม ในภายใน

ย่อมทำที่ผม. ที่ดี หรือที่ดวงตา. เมื่อทำปีตบริกรรม ย่อมทำที่มันข้น ที่ผิว

ที่ฝ่ามือ ที่ฝ่าเท้าหรือที่ความเหลืองของดวงตา. เมื่อทำโลหิตบริกรรม ย่อม

กระทำเนื้อ ที่โลหิต ที่ลิ้น ที่มีสีแดงของดวงตา. เมื่อกระทำ โอทาตบริกรรม

ย่อมทำที่กระดูก ที่ฟัน ที่เล็บ หรือที่ความขาวของดวงตา. แต่กสิณนั้น ไม่

เขียวดี ไม่เหลืองดี ไม่แดงดี ไม่ขาวดี ย่อมเป็นกสิณไม่บริสุทธิ์.

บทว่า เอโก พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ผู้หนึ่งเห็นรูปภายนอกความ

ว่า นิมิตภายนอกเกิดขึ้นภายในเพราะทำบริกรรมของผู้ใด ผู้นั้น เราเรียกว่า

เป็นผู้หนึ่ง มีความสำคัญรูปภายในเห็นรูปภายนอก ด้วยสามารถแห่งบริกรรม

ภายใน และแห่งอัปปนาภายนอกอย่างนี้. บทว่า ปริตฺตานิ รูปภายนอกเล็กคือ

ไม่โต บทว่า สุวณฺณทุพฺพณฺณานิ คือมีผิวพรรณดีหรือมีผิวพรรณทราม.

พึงทราบว่า นี้ท่านกล่าวว่าเป็นอภิภายตนะ ด้วยสามารถรูปเล็กนั้นเอง. บท

ว่า ตานิ อภิภุยฺย ครอบงำรูปเหล่านั้น ความว่า เหมือนคนมีน้ำย่อยอาหารดี

ได้อาหารเพียงทัพพีเดียว คิดวามีอะไรที่ควรบริโภคในอาหารนี้ จึงหยิบเอามา

ปั้นเป็นคำเดียวฉันใด. บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณมีญาณเฉียบแหลมคิดว่า มีอะไรที่

ควรเข้าถึงในอารมณ์เล็กน้อยนี้. นี้ไม่ใช่ภาระของเราจึงครอบงำรูปเหล่านั้น

เข้าถึงสมาบัติ. อธิบายว่ายังอัปปนาให้ถึงในรูปนี้พร้อมกับการเกิดแห่งนิมิต.

ท่านกล่าวถึงความผูกใจรูปนั้นด้วยบทนี้ว่า ชานามิ ปสฺสามิ เรารู้ เราเห็น.

ผู้นั้น เมื่อออกจากสมาบัติแล้ว ไม่เข้าสมาบัติในภายใน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

บทว่า เอว สญฺี โหติ มีความสำคัญอย่างนี้ คือด้วยอาโภคสัญญา

บ้าง (ความสำคัญด้วยความผูกใจ) ด้วยฌานสัญญาบ้าง (ความสำคัญด้วยฌาน)

อภิภวสัญญา (ความสำคัญด้วยความครอบงำ) ย่อมมีแก่ผู้นั้นแม้ในภายใน

สมาบัติ. ส่วนอาโภคสัญญา ย่อมมีแก่ผู้ออกจากสมาบัติ. บทว่า อปฺปมาณานิ

หาประมาณมิได้ คือมีประมาณเจริญได้แก่มาก. พึงทราบความในบทว่า

อภิภุยฺย ครอบงำ ดังต่อไปนี้. เหมือนบุรุษผู้กินจุครั้นได้อาหารมื้อเดียว ก็คิด

ว่าอาหารแม้อื่นจงมี อาหารแม้อื่นจงมี อาหารมื้อเดียวจักทำอะไรแก่เราได้ จึง

ไม่เห็นอาหารนั้นมากพอฉันใด. บุคคลผู้ยิ่งด้วยญาณผู้มีญาณเฉียบแหลมคิดว่า

จะพึงเข้าถึงญาณนี้ได้อย่างไร. นี้ไม่มีประมาณหามิได้ ภาระในการทำ

ความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เดียวมีอยู่แก่เรา จึงครอบงำรูปเหล่านั้นแล้วเข้า

สมาบัติ. อธิบายว่ายังอัปปนาให้ถึงในจิตนี้พร้อมกับให้เกิดนิมิต. บทว่า

อุชฺฌตฺต อรูปสญฺี มีความสำคัญในอรูปภายใน ความว่า ไม่มีความสำคัญ

บริกรรมในรูปภายในเพราะไม่ได้หรือเพราะไม่มีประโยชน์. บทว่า เอโก

พหิทฺธา รูปานิ ปสฺสติ ผู้หนึ่งเห็นรูปภายนอก ความว่า บริกรรมก็ดีนิมิต

ก็ดีของผู้ใดเกิดขึ้นในภายนอก. ผู้นั้นมีความสำคัญในอรูปภายในอันเกิดขึ้นด้วย

สามารถบริกรรม และอัปปนาภายนอกอย่างนี้ท่านกล่าวว่าผู้หนึ่งเห็นรูปภายนอก.

บทที่เหลือในบทนี้มีนัยดังกล่าวแล้วในอภิภายตนะที่ ๔. ก็ในอภิภายตนะ ๔ นี้

อภิภายตนะเล็กน้อยมาแล้วด้วยสามารถวิตกจริต. อภิภายตนะหาประมาณมิได้

มาแล้วด้วยสามารถโมหจริต. รูปผิวทองมาแล้วด้วยสามารถโทสจริต. ผิวทราม

มาแล้วด้วยสามารถราคจริต. รูปเหล่านี้เป็นที่สบายของคนเหล่านั้น. อนึ่งความ

ที่รูปเป็นที่สบายของคนเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ในจริตนิเทศในวิสุทธิมรรค โดย

พิสดารแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 599

พึงทราบวินิจฉัยในอภิภายตนะที่ ๕ เป็นต้นดังต่อไปนี้. บทว่า นีลานิ

เขียว ท่านกล่าวรวมสีทั้งหมด. บทว่า นีลวณฺณานิ มีวรรณเขียว คือเขียว

ด้วยสี. บทว่า นีลทสฺสนานิ เขียวล้วน ท่านอธิบายว่า วรรณะไม่มี

ปน ไม่มีช่องปรากฏด้วยการแสดงให้เห็นเป็นสีเขียวล้วน. ส่วนบทว่า

นีลนิภาสานิ มีรัศมีเขียวนี้ท่านกล่าวด้วยสามารถแสง. อธิบายว่ามีแสงเขียว

ประกอบด้วยรัศมีเขียว. ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึงความที่รูปเหล่านั้นบริสุทธิ์. จริง

อยู่ท่านกล่าวอภิภายตนะ ๔ เหล่านี้ด้วยสามารถวรรณะบริสุทธิ์.

บทว่า อุมฺมารปุปฺผ ดอกผักตบ เพราะดอกไม้นี้แม้ปรากฏว่าอ่อน

สนิทก็เขียวล้วน. แต่ดอกอัญชันเป็นต้นปรากฏเป็นดอกไม้ตระกูลขาว. เพราะ

ฉะนั้นท่านถือเอาดอกผักตบนี้แหละ ไม่ถือเอาดอกอัญชันเป็นต้นเหล่านั้น.

พาราณเสยฺยก ผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี คือทำในกรุงพาราณสี. ได้ยินว่า

ในกรุงพาราณสีนั้น แม้ฝ้ายก็อ่อนนุ่ม แม้คนปั่นฝ้ายก็ฉลาด แม้น้ำก็สะอาดเย็น

สนิท เพราะฉะนั้นผ้าจึงเกลี้ยงทั้งสองข้าง. ในสองข้างปรากฏเกลี้ยงนุ่มสนิท.

ในบทมีอาทิว่า ปีตานิ พึงทราบโดยนัยนี้เหมือนกัน. เมื่อกำหนดนีลกสิณ

ย่อมถือเอานิมิตในสีเขียว.

อนึ่งในกสิณนี้ การทำกสิณ การบริกรรมและแบบแห่งอัปปนามีอาทิ

คือในดอกไม้ ในผ้า หรือในวรรณธาตุทั้งหมดท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วใน

วิสุทธิมรรค. บทว่า อภิญฺาโวสานปารมิปฺปตฺตา บรรลุบารมีอันเป็น

ที่สุดแห่งอภิญญา คือสาวกทั้งหลายเจริญธรรมเหล่านั้นในสติปัฏฐานเป็นต้น

ในก่อนจากนี้แล้วบรรลุพระอรหัตชื่อว่าเป็นผู้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่ง

อภิญญา. อนึ่งสาวกทั้งหลายก็ชื่อว่าเป็นผู้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา

เพราะความเป็นผู้มีความชำนาญอันสะสมมาแล้ว ในอภิภายตนะ ๘ เหล่านี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 600

พึงทราบวินิจฉัยในกสิณกถาดังต่อไปนี้. ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถว่า

ทั้งสิ้น. ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่าเป็นเขตหรือเป็นที่ตั้งมั่นแห่งธรรม

ทั้งหลายมีกสิณนั้นเป็นอารมณ์. บทว่า อุทฺธ เบื้องบน คือมุ่งหน้าไปสู่ท้อง

ฟ้าเบื้องบ น บทว่า อโธ เบื้องต่ำ คือมุ่งหน้าไปสู่พื้นดินเบื้องต่ำ. บทว่า

ติริย เบื้องขวางคือกำหนดโดยรอบดุจบริเวณของพื้นที่. บางคนเจริญกสิณ

เบื้องบนเท่านั้น. บางคนเจริญกสิณเบื้องต่ำ. บางคนเจริญกสิณโดยรอบ ๆ ด้วย

เหตุนั้นแหละ ผู้ประสงค์จะเห็นรูปดุจยังความสว่างให้ผ่องใส. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทมีอาทิว่า ปวีกสิณเมโก สญฺชานาติ อุทฺธ-

อโธติริย ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง.

บทว่า อนฺวย คือในทิศน้อยใหญ่. ก็บทนี้ท่านกล่าวเพื่อไปถึงความไม่มีอื่น

ของทิศหนึ่ง เหมือนผู้เข้าไปสู่แม่น้ำ น้ำเท่านั้น ย่อมมีในทิศทั้งหมด มิใช่

อย่างอื่นฉันใด. ปฐวีกสิณ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นปฐวีกสิณเท่านั้น.

กสิณนั้นไม่มีกสิณอื่นปะปน. ในกสิณทั้งหมดก็มีนัยนี้. บทว่า อปฺปมาณ นี้

ท่านกล่าวด้วยสามารถกสิณนั้นแผ่ไปไม่มีประมาณ. เพราะกสิณนั้น แผ่ไป

ด้วยใจย่อมแผ่ไปตลอดดวงกสิณเท่านั้น. ย่อมถือเอาประมาณว่านี้เป็นเบื้องต้น

ของกสิณนั้น นี้เป็นท่ามกลาง.

อนึ่งในบทว่า วิญฺาณกสิณ นี้มีความดังต่อไปนี้ วิญญาณที่เป็นไป

แล้ว ในอากาศที่เพิกกสิณแล้ว. ในบทว่า วิญฺาณกสิณ นั้นพึงทราบความที่

กสิณนั้นทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวางในวิญญาณอันเป็นไปแล้วนั้น

ด้วยสามารถอากาศอันเพิกกสิณแล้วในอากาศอันเพิกกสิณ ด้วยอำนาจแห่งกสิณ.

นี้เป็นความย่อในบทนี้. ส่วนปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านี้ ท่านกล่าวไว้แล้วใน

วิสุทธิมรรค โดยพิสดารตามนัยแห่งการเจริญกรรมฐาน. แม้ในที่นี้ก็พึงทราบ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 601

ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา โดยความเป็นผู้มี

ความชำนาญอันสะสมไว้แล้ว.

ในฌาน ๔ อันเป็นลำดับต่อจากนี้ก็อย่างเดียวกัน. ส่วนบทที่ควรกล่าว

ในที่นี้ ได้กล่าวไว้แล้วในมหาอัสสปุรสูตร. แต่ในวิปัสสนาญาณท่านกล่าว

ความแห่งบทมีอาทิว่ารูปี ผู้ได้รูปฌานไว้แล้ว.

บทว่า เอตฺถ สิต เอตฺถ ปฏิพทฺธ คือ วิญญาณ อาศัยและ

เนื่องอยู่ในกาย คือ มหาภูตรูป ๔ นี้. บทว่า สุโภ คืองาม. บทว่า โชติมา

คือตั้งอยู่ในอาการอันบริสุทธิ์. บทว่า สุปริกมฺมกโต ทำบริกรรมเป็นอย่าง

ดี คือนายช่างเจียระไนดีแล้ว ไม่มีหินและกรวด. บทว่า อจฺโฉ สุกใส คือ

สุกใสในตัว ผุดผ่องในตัว. บทว่า วิปฺปสนฺโน คือ แวววาว. บทว่า

สพฺพาการสมฺปนฺโน สมส่วนทุกอย่างคือสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงมีขัดและ

เจาะเป็นต้น. ท่านแสดงถึงสมบัติของสีด้วยบทมีอาทิว่า นีล. เพราะด้ายที่ร้อย

ไว้เช่นนั้นปรากฏ. ในบทว่า เอวเมว นี้พึงทราบการเปรียบเทียบอย่างนั้น.

เพราะกรชกาย ดุจแก้วมณี. วิปัสสนาญาณดุจด้ายที่ร้อยไว้. ภิกษุผู้ได้วิปัสสนา

ดุจบุรุษผู้มีจักษุ. กาลที่รู้แจ้งกายอันมีมหาภูตรูป ๔ ของภิกษุผู้นั่งกำหนด

วิปัสสนาญาณ ดุจกาลที่รู้แจ้งแก้วมณีของผู้วางแก้วมณีไว้ที่มือแล้วพิจารณาดูว่า

นี้แลแก้วมณีฉะนั้น. กาลที่รู้แจ้งอารมณ์ มีผัสสะเป็นที่ ๕ ก็ดี จิตเจตสิกทั้ง

ปวง ก็ดี วิปัสสนาญาณก็ดี ของภิกษุผู้นั่งกำหนดวิปัสสนาญาณ ดุจกาลที่รู้

แจ้งด้ายว่า ด้ายนี้ร้อยอยู่ในแก้วมณีนั้นฉะนั้น. ก็การรู้แจ้งญาณเป็นอย่างไร.

เพราะการรู้แจ้งญาณนั้นเป็นการรู้แจ้งบุคคลนั่นแหละ. อนึ่ง วิปัสสนาญาณนี้

เป็นลำดับของมรรค. เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเมื่อปรารภ วาระแห่งอภิญญา

จึงไม่มีวาระในระหว่างแห่งวิปัสสนาญาณนั้น. ฉะนั้นท่านจึงแสดงไว้ในที่นี้นั่น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 602

แหละ. อนึ่งเพราะความสะดุ้งต่อภัยย่อมเกิดแก่ผู้ไม่พิจารณาด้วยสามารถความ

ไม่เที่ยงเป็นต้น ผู้ได้ยินเสียงน้ำกลัวด้วยหูทิพย์ ผู้ระลึกถึงขันธ์น่ากลัวด้วย

ระลึกชาติได้ ผู้เห็นรูปน่ากลัวด้วยตาทิพย์. ฉะนั้นท่านจึงไม่แสดงบทนั้นไว้ใน

ที่นี้ แม้เพื่อตระเตรียมเหตุ บรรเทาความกลัว ของผู้มีได้ทำการพิจารณา

ด้วยสามารถความไม่เที่ยงเป็นต้น ผู้บรรลุอภิญญานั้น. แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่า

สาวกทั้งหลายบรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาด้วยพระอรหัต.

พึงทราบเพราะความเป็นผู้มีความชำนาญใน มโนมยิทธิ ดังต่อไปนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า มโนมย คือเกิดแต่ใจ. บทว่า สพฺพงฺคปญฺจงค มี

อวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน คือประกอบด้วยองค์ทั้งหมด และด้วยองค์ ๕.

บทว่า อหีนินฺทฺริย มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง คือมีอินทรีย์ไม่วิกลด้วยสัณฐาน.

เพราะรูปนิรมิตของผู้มีฤทธิ์เป็นเช่นเดียวกับรูปนั้น ด้วยอาการทุกอย่างอย่างนี้

คือหากผู้มีฤทธิ์ขาว แม้รูปนิรมิตนั้นก็ขาว. หากผู้มีฤทธิ์มีหูมิได้เจาะ แม้รูป

นั้นก็มีหูมิได้เจาะ. แม้อุปมา ๓ ข้อ มีอาทิว่า มุญฺชมฺหา อีสิก พึงชักไส้

ออกจากหญ้าปล้อง ท่านกล่าวเพื่อแสดงความเหมือนกัน. เพราะไส้ภายในหญ้า

ปล้องนั้นก็เช่นกับหญ้าปล้องนั่นเอง. เมื่อชักดาบออกจากฝักใส่ดาบที่ชักออก

เมื่อชักศัสตราออกจากฝักใส่ศัสตราที่ชักออก ดาบ ศัสตรา ก็เช่นกับฝักนั่นเอง.

แม้บทว่า กรณฺฑา นี้เป็นชื่อของคราบงู มิใช่เป็นชื่อของหีบไม้ไผ่. เพราะ

คราบงูก็เช่นกับงู. ในบทนั้น ท่านแสดงดุจชักด้วยมือว่าบุรุษพึงชักงูออกจาก

คราบ ที่แท้พึงทราบว่าชักด้วยจิตของบุรุษนั้นนั่นเอง. เพราะธรรมดางูนี้ย่อม

ลอกคราบด้วยตนเอง ด้วยเหตุ ๔ เหล่านี้คือ ตั้งอยู่ในกำเนิดของตน ๑ อาศัย

ระหว่างไม้ หรือระหว่างต้นไม้ ๑ ดุจกินร่างกายด้วยกำลัง คือ พยายามฉุดตัวออก

จากคราบ ๑ รังเกียจคราบเก่า ๑ ไม่สามารถจะลอกคราบ ด้วยวิธีอื่นจากนั้นได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 603

เพราะฉะนั้นพึงทราบว่าท่านกล่าวบทนี้หมายถึงการชักด้วยจิต. ข้อเปรียบเทียบ

ในบทนี้มีดังนี้ว่า สรีระของภิกษุนี้เช่นกับหญ้าปล้องเป็นต้น. รูปนิรมิตเช่นกับ

ไส้เป็นต้น. ก็ในที่นี้จะกล่าวถึง วิธีนิรมิต ด้วยว่าการกล่าวถึง อภิญญา ๕ มี

อิทธิวิธะเป็นต้น ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคทุกประการ. พึง

ทราบตามนัยดังกล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นแหละ. เพราะในที่นี้ท่านกล่าวเพิ่ม

เพียงอุปมาเท่านั้น. พึงเห็นภิกษุผู้ได้ญาณคือ อิทธิวิธะ ดุจช่างหม้อผู้ฉลาด

ฉะนั้น. พึงเห็น อิทธิวิธญาณ ดุจดินเหนียวที่ช่างหม้อตกแต่งเป็นอย่างดี

ฉะนั้น. พึงเห็นการแสดงฤทธิ์ของภิกษุนั้น ดุจการกระทำให้เป็นภาชนะชนิด

ต่าง ๆ ตามที่ตนต้องการแล้ว ๆ. แม้ในที่นี้ก็พึงทราบว่า พระสาวกทั้งหลาย

บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีความชำนาญ

อันสะสมไว้แล้วนั่นแล. ในอภิญญา ๔ อื่นจากนี้ก็เหมือนอย่างนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาแห่ง ทิพโสตธาตุ ดังต่อไปนี้. บทว่า

สงฺขธโม คือบุรุษเป่าสังข์. บทว่า อปฺปกสิเรเนว คือ โดยไม่ยากนั่นเอง.

บทว่า วิญฺาเปยฺย คือให้รู้. พึงเห็นว่ากาลที่พระโยคีรู้แจ้งเสียงของมนุษย์

ทั้งใกล้และไกล และนิพพาน ดุจกาลที่เมื่อบุรุษเป่าสังข์ให้รู้แจ้งไปใน ๔ ทิศ

อย่างนี้นั้น เสียงสังข์นั้น ก็ปรากฏชัด แก่สัตว์ทั้งหลายผู้กำหนดว่า นี้

เสียงสังข์ฉะนั้น. พึงทราบวินิจฉัยในอุปมาแห่ง เจโตปริยญาณ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทหโร คือหนุ่ม. บทว่า ยุวา คือประกอบด้วยความเป็นหนุ่ม. บทว่า

มณฺฑนกชาติโก ชอบแต่งตัว คือ แม้ยังหนุ่มสาวก็ไม่เกียจคร้านถึงจะมีผ้า

และร่างกายเศร้าหมอง ก็ยังชอบแต่งตัว. อธิบายว่า อาบน้ำวันละ ๒- ๓ ครั้ง

แล้วนุ่งห่มผ้าสะอาด และแต่งตัว. บทว่า สกณิก หน้ามีไฝ คือหน้ามีโทษ

ด้วยโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง มีจุดดำ ตุ่มกลม หูด เป็นต้น. ในบทนั้นพึงทราบว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 604

เหมือนอย่างว่า เมื่อบุรุษนั้นส่องดูเงาหน้า โทษของใบหน้าย่อมปรากฏฉันใด

เมื่อภิกษุนั่งกำหนดจิตด้วยเจโตปริยญาณก็ฉันนั้น จิต ๑๖ อย่างของผู้อื่นย่อม

ปรากฏ. บทที่ควรกล่าวในอุปมาแห่งปุพเพนิวาสญาณเป็นต้นทั้งหมด ท่าน

กล่าวไว้แล้วในมหาอัสสปุรสูตร. บทว่า อย โข อุทายิ ปญฺจโม ธมฺโม

ดูก่อนอุทายี นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ คือ ท่านกล่าวธรรมข้อที่ ๕ ทำ ๑๙ บรรพให้

เป็นธรรมข้อเดียวด้วยข้อปฏิบัติ. เหมือนอย่างว่าท่านทำ ๑๑ บรรพใน

อัฏฐกนาครสูตร ให้เป็นธรรมข้อเดียวด้วยสามารถเป็นคำถาม ฉันใด พึงทราบ

ว่า ๑๙ บรรพในที่นี้ท่านทำให้เป็นธรรมข้อเดียวด้วยสามารถการปฏิบัติฉันนั้น.

พึงทราบสาวกทั้งหลายบรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา ในส่วนทั้งหลาย ๘

ตามลำดับในบรรดาธรรม ๑๙ บรรพเหล่านี้ ในวิปัสสนาญาน และอาสวัก-

ขยญาณด้วยสามารถแห่งพระอรหัต. ในบทที่เหลือทั้งหลาย พึงทราบด้วย

สามารถแห่งความเป็นผู้มีความชำนาญอันสะสมมาแล้ว. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง

ง่ายทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้

จบอรรถกถามหาสกุลุทายิสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 605

๘. สมณมุณฑิกสูตร

เรื่องอุคคาหมานปริพาชก

[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้น ปริพาชกชื่อ

อุคคาหมานะ เป็นบุตรนางสมณมุณฑิกา พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่

ประมาณ ๕๐๐ อาศัยอยู่ ณ อารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ในตำบลเอก-

สาลาชื่อว่า ติณฑุกาจีระ [แวดล้อมด้วยแถวต้นพลับ] เป็นที่ประชุมแสดง

ลัทธิของนักบวช ครั้งนั้นช่างไม้ผู้หนึ่งชื่อ ปัญจกังคะ ออกจากเมืองสาวัตถี

เพื่อจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเวลาเที่ยงแล้ว ครั้งนั้น เขามีความดำริว่า

เวลานี้มิใช่กาลที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้น

อยู่และไม่ใช่สมัยที่จะไปหาภิกษุทั้งหลายผู้เจริญทางใจ ภิกษุทั้งหลายผู้เจริญ

ทางใจก็หลีกเร้นอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก

สมณมุณฑิกาบุตร ที่อารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ณ ตำบลเอกสาลาชื่อ

ว่าติณฑุกาจีระ เป็นที่ประชุมแสดงลัทธิของนักบวชเถิด ลำดับนั้น ช่างไม้

ปัญจกังคะจึงเข้าไปยังอารามของพระนางมัลลิการาชเทวี ณ ตำบลเอกสาลาชื่อว่า

ติณฑุกาจีระ.

ติรัจฉานกถา

[๓๕๗] สมัยนั้น อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร นั่งอยู่

กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ ซึ่งกำลังพูดติรัจฉานกถาหลายประการ ด้วยการ

ส่งเสียงอื้ออึงอึกทึก.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

คือพูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ

เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้

เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่อง

ชนบท เรื่องสตรี เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องหญิงสาว

ใช้ตักน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่อง

ความเจริญ และความเสื่อม ด้วยประการนั้น ๆ.

อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ได้เห็นช่างไม้ปัญจกังคะซึ่ง

กำลังมาแต่ไกล จึงห้ามบริษัทของตนให้สงบว่า ขอท่านทั้งหลายจงเบาเสียง

หน่อย อย่าส่งเสียงนัก ช่างไม้ปัญจกังคะ ผู้เป็นสาวกของพระสมณโคดมกำลังมา

บรรดาสาวกของพระสมณโคดมที่เป็นคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาวประมาณเท่าใด อาศัย

อยู่ในพระนครสาวัตถี นายช่างปัญจกังคะนี้เป็นผู้หนึ่งของบรรดาสาวกเหล่านั้น

ท่านเหล่านั้นชอบเสียงเบา ได้รับแนะนำในการมีเสียงเบา กล่าวสรรเสริญคุณ

ของเสียงเบา บางทีช่างไม้ปัญจกังคะทราบว่าบริษัทมีเสียงเบา จะพึงสำคัญที่จะ

เข้ามาหาก็ได้ ปริพาชกเหล่านั้นจึงพากันนิ่งอยู่ ลำดับนั้น นายช่างปัญจกังคะ

ได้เข้าไปหาอุกคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรถึงที่ใกล้ ได้ปราศรัยกับ

อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึง

กันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

วาทะของปริพาชก

[๓๕๘] อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร ได้กล่าวกะนายช่างไม้

ชื่อปัญจกังคะ ผู้นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งว่า ดูก่อนนายช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุรุษ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 607

เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนนายช่างไม้ บุคุคลในโลกนี้ไม่ทำกรรมชั่วด้วยกาย ไม่กล่าววาจาชั่ว

ไม่ดำริถึงความดำริชั่ว ไม่เลี้ยงชีพชั่ว เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลว่า เป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะ

ถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดังนี้ ลำดับนั้น นายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ

ไม่ยินดีไม่คัดค้านภาษิตของอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร แล้วลุก

จากอาสนะหลีกไป ด้วยดำริว่า เราจักรู้แจ้งเนื้อความแห่งภาษิตนี้ในสำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า เขาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลเล่าการเจรจา

ปราศรัยกับอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรทั้งหมด แด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า.

[๓๕๙] เมื่อนายช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนนายช่างไม้ เมื่อเป็นเหมือนอย่างคำของ

อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ ก็จักเป็น

ผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบ

ได้ ดูก่อนนายช่างไม้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่จะรู้ว่ากาย ดังนี้ ก็

ยังไม่มี ที่ไหนจักทำกรรมชั่วด้วยกายได้เล่า นอกจากจะมีเพียงอาการดิ้นรน

เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่จะรู้ว่า วาจา ดังนี้ ก็ยังไม่มี ที่ไหนจัก

กล่าววาจาชั่วได้เล่า นอกจากจะมีเพียงการร้องไห้ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่

แม้แต่จะรู้ว่า ความดำริ ดังนี้ก็ยังไม่มี ที่ไหนจักดำริชั่วได้เล่า นอกจากจะ

มีเพียงการร้องไห้และการหัวเราะ เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ แม้แต่จะรู้ว่า

อาชีพ ดังนี้ ก็ยังไม่มี ที่ไหนจักเลี้ยงชีพชั่วได้เล่า นอกจากน้ำนมของมารดา

ดูก่อนนายช่างไม้ เมื่อเป็นเหมือนอย่างคำของอุคคาหมานปริพาชก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 608

สมณมุณฑิกาบุตร เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่ จักเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศล

อย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้.

เสกขภูมิ

[๓๖๐] ดูก่อนนายช่างไม้ เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ ว่ามิใช่ผู้มีกุศลสมบูรณ์เลย ไม่ใช่ผู้มีกุศลอย่างยิ่ง มิใช่เป็นสมณะผู้

ถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ก็แต่ว่าบุคคลผู้นี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่ยัง

นอนหงายอยู่บ้าง ธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนนายช่างไม้ บุคคลใน

โลกนี้ ไม่ทำกรรมชั่วด้วยกาย ไม่กล่าววาจาชั่ว ไม่ดำริถึงความดำริ

ชั่ว ไม่เลี้ยงชีพชั่ว เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๔ ประการนี้แล

ว่ามิใช่ผู้มีกุศลสมบูรณ์ มิใช่ผู้มีกุศลอย่างยิ่ง มิใช่เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอัน

อุดม ไม่มีใครรบได้ ก็แต่ว่าบุคคลผู้นี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่บ้าง.

[๓๖๑] ดูก่อนนายช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม

๑๓ ประการ ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะผู้ถึงภูมิปฏิบัติ

อันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดูก่อนนายช่างไม้ ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นอกุศล ศีลเป็น

อกุศลมีสมุฏฐานแต่จิตนี้ ศีลเป็นอกุศลดับลงหมดสิ้นไปในที่นี้ ผู้ปฏิบัติอย่าง

นี้ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลเป็นอกุศล เรากล่าวว่าควรรู้ ข้อที่ศีลเหล่านี้

เป็นกุศล ศีลเป็นกุศลมีสมุฏฐานแต่จิตนี้ ศีลเป็นกุศลดับลงหมดสิ้นไปในที่นี้

ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลเป็นกุศล เรากล่าวว่าควรรู้

ข้อที่ความดำริเหล่านั้นเป็นอกุศล ความดำริเป็นอกุศลมีสมุฏฐานแต่จิตนี้ ความ

ดำริเป็นอกุศลดับลงหมดสิ้นในที่นี้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับ

แห่งความดำริเป็นอกุศล เรากล่าวว่าควรรู้ ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นกุศล

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 609

ความดำริเป็นกุศล มีสมุฏฐานแต่จิตนี้ ความดำริเป็นกุศลดับลงหมดสิ้นในที่นี้

ผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นกุศล เรากล่าวว่า

ควรรู้.

อเสกขภูมิ

[๓๖๒] ดูก่อนนายช่างไม้ ก็ศีลที่เป็นอกุศลนั้นเป็นไฉน ดูก่อนนาย

ช่างไม้ กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรมเป็นอกุศล การเลี้ยงชีพชั่ว เหล่านี้

เรากล่าวว่าศีลเป็นอกุศล ก็ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน แม้สมุฏ-

ฐานแห่งศีลเป็นอกุศลเหล่านั้น เรากล่าวแล้ว ก็ต้องกล่าวว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน

จิตเป็นไฉน ถึงจิตเล่าก็มีมาก หลายอย่าง มีประการต่าง ๆ จิตใดมีราคะ

โทสะ โมหะ ศีลเป็นอกุศลมีจิตนี้เป็นสมุฏฐาน ก็ศีลเป็นอกุศลเหล่านี้ ดับ

ลงหมดสิ้นในที่ไหน แม้ความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าว

แล้ว ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละกายทุจริต เจริญกาย

สุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต ละมิจฉา

อาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้นดับลงหมดสิ้นในการ

ละทุจริต เจริญสุจริต และการละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ

ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้นดับลงหมดสิ้นในการละทุจริต เจริญสุจริตและการละ

มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่า ปฏิบัติ

เพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล.

ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม

ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่

เกิดมิให้เกิดขึ้น ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 610

ตั้งมั่น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ยังฉันทะให้เกิด พยายาม

ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด

ขึ้น ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อ

ความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์

เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อน

นายช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล.

[๓๖๓] ดูก่อนนายช่างไม้ ก็ศีลที่เป็นกุศลเป็นไฉน ดูก่อนนายช่างไม้

เราย่อมกล่าวซึ่งกายกรรมเป็นกุศล วจีกรรมเป็นกุศล และอาชีวะอันบริสุทธิ์

ลงในศีล เหล่านี้เรากล่าวว่าศีลเป็นกุศล ก็ศีลเป็นกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏ-

ฐาน แม้สมุฏฐานแห่งศีลเป็นกุศลเหล่านั้น เรากล่าวแล้ว ก็ต้องกล่าวว่า มี

จิตเป็นสมุฏฐาน จิตเป็นไฉน แม้จิตเล่าก็มีมาก หลายอย่าง มีประการต่าง ๆ

จิตใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ศีลเป็นกุศลมีจิตนี้เป็น

สมุฏฐาน ศีลเป็นกุศลเหล่านี้ดับลงหมดสิ้นในที่ไหน แม้ความดับแห่งศีลเป็น

กุศลนั้นเราก็กล่าวแล้ว.

ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล แต่จะสำเร็จด้วย

ศีลหามิได้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับ

หมดสิ้นแห่งศีลเป็นกุศลเหล่านั้น ของภิกษุนั้นด้วย ก็ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะ

ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลเป็นกุศล ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อ

ยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น. . . เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่

เกิดขึ้นแล้ว. . . เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น. . . เพื่อความตั้งมั่น เพื่อ

ความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 611

เพื่อความเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดแล้ว ดูก่อนนายช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้

แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลเป็นกุศล.

อกุสลสังกัปปะ

[๓๖๔] ดูก่อนนายช่างไม้ ก็ความดำริอันเป็นอกุศลเป็นไฉน ดูก่อน

นายช่างไม้ ความดำริในกาม ความดำริในพยาบาท ความดำริในการ

เบียดเบียน เหล่านี้เรากล่าวว่าความดำริเป็นอกุศล ก็ความดำริเป็นอกุศลนี้

มีอะไรเป็นสมุฏฐาน แม้สมุฏฐานแห่งความดำริเป็นอกุศลเหล่านั้น เรากล่าว

แล้วก็ต้องกล่าวว่า มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาเป็นไฉน แม้สัญญาเล่าก็มี

มาก หลายอย่าง มีประการต่าง ๆ สัญญาใดเป็นสัญญาในกาม เป็นสัญญาใน

พยาบาท เป็นสัญญาในการเบียดเบียน ความดำริเป็นอกุศลมีสัญญานี้เป็น

สมุฏฐาน ก็ความดำริเป็นอกุศลเหล่านี้ ดับลงหมดสิ้นในที่ไหน แม้ความดับ

แห่งความดำริเป็นอกุศลนั้นเราก็กล่าวแล้ว.

ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล

ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ซึ่งเป็น

ที่ดับหมดสิ้นแห่งความดำริเป็นอกุศล ก็ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติ

เพื่อความดับแห่งความดำริเป็นอกุศล ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังฉันทะให้เกิด

พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามก

ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น. . . เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว . . . เพื่อยัง

กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น. . . เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย

เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปี่ยม

แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนนายช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่า

ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นอกุศล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 612

กุสลสังกัปปะ

[๓๖๕] ดูก่อนนายช่างไม้ ก็ความดำริเป็นกุศลเป็นไฉน ดูก่อน

นายช่างไม้ ความดำริในเนกขัมมะ ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริ

ในอันไม่เบียดเบียนเหล่านี้ เราก็กล่าวว่า ความดำริเป็นกุศล ก็ความดำริเป็น

กุศลนี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน แม้สมุฏฐานแห่งความดำริเป็นกุศลนั้น เรากล่าว

แล้วก็ต้องกล่าวว่า มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน สัญญาเป็นไฉน แม้สัญญาก็มีมาก

หลายอย่าง มีประการต่าง ๆ สัญญาใดเป็นสัญญาในเนกขัมมะ เป็น

สัญญาในความไม่พยาบาท เป็นสัญญาในอันไม่เบียดเบียน ความดำริ

เป็นกุศลมีสัญญานี้เป็นสมุฏฐาน ก็ความดำริเป็นกุศลเหล่านั้นดับลงหมดสิ้นในที่

ไหน แม้ความดับแห่งความดำริที่เป็นกุศลนั้น เราก็กล่าวแล้ว.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน

เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ

สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ซึ่งเป็นที่ดับลงหมดสิ้นแห่งความดำริเป็นกุศลเหล่านี้ ก็ผู้

ปฏิบัติอย่างไร จึงจะชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริเป็นกุศล.

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร

ประคองจิตไว้ ตั้งมั่น เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น. . .

เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว . . . เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้

เกิดขึ้น . . . เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อ

ความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความเต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

แล้ว ดูก่อนนายช่างไม้ ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความ

ดำริเป็นกุศล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 613

อเสกขธรรม ๑๐

[๓๖๖] ดูก่อนนายช่างไม้ เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม

๑๐ ประการเหล่าไหน ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศลอย่างยิ่ง เป็นสมณะถึง

ภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดูก่อนนายช่างไม้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาสังกัปปะเป็นของ

อเสขบุคคล ๑ สัมมาวาจาเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมากัมมันตะเป็นของอเสข-

บุคคล ๑ สัมมาอาชีวะเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาวายามะเป็นของอเสขบุคคล

๑ สัมมาสติเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาสมาธิเป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาญาณะ

เป็นของอเสขบุคคล ๑ สัมมาวิมุตติเป็นของอเสขบุคคล ๑ เราย่อมบัญญัติบุคคล

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเหล่านี้แล ว่าเป็นผู้มีกุศลสมบูรณ์ มีกุศล

อย่างยิ่ง เป็นสมณะถึงภูมิปฏิบัติอันอุดม ไม่มีใครรบได้ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ช่างไม้ปัญจกังคะ

ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.

จบสมณมุณฑิกสูตรที่ ๘

๘. อรรถกถาสมณมุณฑิกสูตร

สมณมุณฑิกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับ

มาอย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า อุคฺคาหมาโน ปริพาชกชื่อว่า อุคคาห-

มานะ ชื่อเดิมของปริพาชกนั้นว่า สุมนะ แต่เพราะสามารถเรียนวิทยา

หลายอย่าง ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อว่า อุคคาหมานะ. ชื่อว่า สมยมฺปวาทก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 614

เพราะเป็นที่ประชุมแสดงลัทธิ. นัยว่าในที่นั้น พวกพราหมณ์เริ่มต้นด้วย

ปกิตารุกขพราหมณ์และโปกขรสาติพราหมณ์ นิครนถ์และ พวกบรรพชิตมี

อเจลกและปริพาชกเป็นต้น ประชุม ประกาศ สนทนา แสดง ลัทธิของตน ๆ

เพราะฉะนั้นอารามนั้นจึงเรียกว่า สมยัปปวาทกะ ที่ประชุมแสดงลัทธิ. ศาลา

ชื่อว่า ติณฑุกาจีระ เพราะล้อมด้วยแถวต้นมะพลับ. ก็เพราะ ณ ที่นี้ได้มี

ศาลาอยู่หลังหนึ่งก่อน. ภายหลังจึงสร้างไว้หลายหลัง เพราะอาศัยโปฏฐปาท-

ปริพาชิก ผู้มีบุญมาก. ฉะนั้น จึงเรียกว่า เอกสาลกะ โดยได้ชื่อตาม

ความหมายถึงศาลาหลังหนึ่งนั้นนั่นเอง. เอกสาลกะนั้นเป็นสวนของพระราช

เทวีของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระนามว่ามัลลิกา ดาดาษด้วยดอกไม้และ

ผลไม้ เพระทำเป็นอารามจึงเรียกว่าอารามของพระนางมัลลิกา. อุคคาหมาน-

ปริพาชกอาศัยอยู่ในอารามของพระนางมัลลิกา ในตำบลติณฑุกาจีระอันเป็น

ที่ประชุมแสดงลัทธินั้น อยู่อย่างสบาย. บทว่า ทิวาทิวสฺส เวลาเที่ยง คือ

เลยเวลาเที่ยงชื่อว่า เวลาเที่ยงวัน. อธิบายว่า อุคคาหมานปริพาชกออกไปใน

เวลาเที่ยงเลยไป เป็นกลางวันแม้ของวันนั้น. บทว่า ปฏิสลฺลีโน พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ คือ ทรงสำรวมจิตจากอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น ๆ

หลีกเร้นอยู่ ถึงความเป็นองค์เดียวด้วยทรงยินดีในฌาน. บทว่า มโนภาวนี-

ยาน คือ ผู้เจริญทางใจ. ความปราศจากนิวรณ์เพียงความคิดย่อมมีแก่ภิกษุผู้นึก

ผู้มนสิการอยู่. จิตย่อมฟู คือย่อมเจริญ. บทว่า ยาวตา ประมาณเท่าใด.

บทว่า อย เตส อญฺตโร นายช่างไม้ผู้นี้เป็นผู้หนึ่งของบรรดาสาวกเหล่านั้น

คือเป็นสาวกผู้หนึ่งในระหว่างสาวกเหล่านั้น. บทว่า อปฺเปว นาม คือ

อุคคาหมานปริพาชกต้องการให้นายช่างไม้เข้าไปใกล้จึงกล่าว. ก็เหตุที่ต้องการ

ท่านกล่าวไว้แล้วในสันทกสูตร. บทว่า เอตทโวจ อุคคาหมานปริพาชกได้

กล่าวกะนายช่างไม้นั้น. อุคคาหมานปริพาชกสำคัญว่า คหบดีนี้มีปัญญาอ่อน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

เราจักสงเคราะห์เขาด้วยธรรมกถาแล้วจักทำให้เป็นสาวกของตน จึงได้กล่าวคำ

มีอาทิว่า จตูหิ โข ดังนี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปญฺเปมิ เราบัญญัติ คือเราแสดงตั้งขึ้น.

บทว่า สมฺปนฺนกุสล คือมีกุศลบริบูรณ์. บทว่า ปรมกุสล มีกุศลอย่างยิ่ง

คือมีกุศลอุดม. บทว่า อโยชฺฌ ไม่มีใครรบได้ คือไม่มีใครสามารถจะรบ

ด้วยวาทะให้หวั่นได้เป็นผู้ไม่หวั่นไม่ไหว มั่นคง. บทว่า น กโรติ คือย่อม

กล่าวเพียงไม่ทำเท่านั้น. อนึ่ง ในบทนี้อุคคาหมานปริพาชกไม่กล่าวถึงการละ

ด้วยความสำรวมหรือการพิจารณา. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน . บทว่า

เนว อภินนฺทติ ไม่ยินดี คือนายช่างไม้สำคัญว่า ธรรมดาพวกเดียรถีย์

ทั้งหลาย รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ก็พูดส่งเดชไป จึงไม่ยินดี. บทว่า นปฺปฏิกฺโกสิ

ไม่คัดค้าน คือนายช่างไม้สำคัญว่า อุคคาหมานปริพาชกกล่าวดุจคล้อยตาม

ศาลนา ดุจอาการเลื่อมใสศาสนา จึงไม่คัดค้าน.

บทว่า ยถา อุคคาหมานสฺส เหมือนอย่างคำของอุคคาหมานปริพา-

ชก. พระผู้มีพระภาคเจ้า แสดงว่า เราไม่กล่าวเหมือนอย่างคำของอุคคาหมาน-

ปริพาชกนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เด็กอ่อนที่ยังนอนหงายอยู่จักเป็นสมณะที่ใคร

รบไม่ได้ จักเป็นสมณะมั่นคงน่ะซิ. บทว่า กาโยตปิ น โหติ แม้เพียงจะรู้ว่า

กายดังนี้ก็ยังไม่มี คือไม่มีความรู้วิเศษว่า กายของตนหรือกายของผู้อื่น. บทว่า

อญฺตฺร ผนฺทิตามตฺตา นอกจากจะมีเพียงอาการดิ้นรน คือย่อมมีเพียง

กายดิ้นรนด้วยการสัมผัสเถาวัลย์บนที่นอนหรือถูกเรือดกัด นอกจากนั้นแล้วก็

ไม่มีการทำทางกายอย่างอื่น. อนึ่ง กรรมนั้นจะมีก็ด้วยจิตประกอบด้วยกิเลส

เท่านั้น. บทว่า วาจาติปิ น โหติ แม้แต่จะรู้ว่าวาจาดังนี้ก็ยังไม่มี คือจะรู้

ความต่างกันว่า มิจฉาวาจา สัมมาวาจา ก็ไม่มี. บทว่า โรทิตมตฺตา นอก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 616

จากจะมีเพียงการร้องไห้ คือจะมีเพียงการร้องไห้ของเด็กอ่อนที่หิวและกระหาย

แม้กรรมนั้นจะมี ก็ด้วยจิตประกอบด้วยกิเลสเท่านั้น. บทว่า สงฺกปฺโป คือจะ

รู้ความต่างว่ามิจฉาสังกัปปะ สัมมาสังกัปปะก็ไม่มี. บทว่า วิกุฏิตมตฺตา

นอกจากจะรู้เพียงการร้องไห้และหัวเราะ คือจิตของเด็กอ่อนมีอารมณ์ในอดีต

เป็นไป. เด็กอ่อนมาจากนรกระลึกถึงทุกข์ในนรกย่อมร้องไห้. มาจากเทวโลก

ระลึกถึงสมบัติในเทวโลกย่อมหัวเราะ. กรรมแม้นั้นย่อมมีได้ด้วยจิตประกอบ

ด้วยกิเลสเท่านั้น. บทว่า อาชีโว จะรู้ความต่างว่ามิจฉาชีพ สัมมาชีพก็ไม่มี.

บทว่า อญฺตฺร มาตุกญฺ นอกจากน้ำนมของมารดา. เด็กอ่อนเหล่านั้น

ชื่อว่ายังเป็นทารก เมื่อมารดาให้ดื่มน้ำนมก็ไม่ดื่ม ในเวลาที่มารดาจัดแจงงาน

อื่นมาข้างหลังจะดื่มน้ำนม. มิจฉาชีพอย่างอื่นพ้นไปจากนี้ก็ไม่มี. ท่านแสดง

ว่ามิจฉาชีพนี้ย่อมมีด้วยจิตประกอบด้วยกิเลสเท่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงปฏิเสธวาทะของปริพาชกอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะทรงวางมาติกาในเสกขภูมิด้วยพระองค์เอง จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า

จตูหิ โข อห เราบัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการแล. ในบท

เหล่านั้นบทว่า สมธิคยฺห ติฏติ คือตั้งไว้ให้ดี. ในบทมีอาทิว่า น กาเยน

ปาป ไม่ทำกรรมชั่วด้วยกาย คือไม่เพียงสักว่าไม่ทำอย่างเดียวเท่านั้น. แต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติการละด้วยการสังวรและการพิจารณาไว้ในบทนี้

ด้วย. ทรงหมายถึงข้อนั้นจึงได้ตรัสไว้. ส่วนบทมีอาทิว่า น เจว สมฺปนฺนกุสล

มิใช่ผู้มีกุศลสมบูรณ์ ตรัสหมายถึงพระขีณาสพ. บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

ทรงวางมาติกาในอเสกขภูมิจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ทสหิ โข อห เรา

บัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ. ในบทนั้น อาศัย ๓ บท

ทรงวางจตุกกะ ๑ ไว้ ๒ บท. อาศัยบท ๑ ทรงวางจตุกกะสุดท้ายไว้ ๒ บท.

นี้คือมาติกาในอเสกขภูมิ.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกมาติกานั้นจึงตรัสพระ

ดำรัสมีอาทิว่า กตเม จ ถปติ อกุสลา สีลา ดูก่อนนายช่างไม้ ก็ศีลเป็น

อกุศลนั้นเป็นไฉน. ในบทเหล่านั้นบทว่า สราค มีราคะ คือจิตประกอบด้วย

โลภะ ๘ อย่าง. บทว่า สโทส มีโทสะ คือจิต ๒ ดวง สัมปยุตด้วยปฏิฆะ.

บทว่า สโมห มีโมหะ คือแม้จิต ๒ ดวง ประกอบด้วย วิจิกิจฉาและอุทธัจจะ

ก็ควร แม้จิตที่เป็นอกุศลทั้งหมดก็ควร. เพราะท่านกล่าวไว้ว่า โมหะย่อมเกิด

ในอกุศลทั้งปวง. บทว่า อิโตสมุฏฺานา ชื่อว่า อิโตสมุฏฐาน เพราะ

มีสมุฏฐานเกิดแต่จิตมีราคะเป็นต้นนี้. บทว่า กุหึ คือศีลที่เป็นอกุศลดับไม่

เหลือเพราะบรรลุฐานะไหน. บทว่า เอตฺเถเต ในการละทุจริตนี้คือ ตั้งอยู่ใน

โสดาปัตติผล. จริงอยู่ปาฏิโมกขสังวรศีล ย่อมบริบูรณ์ในโสดาปัตติผล. ถึงฐานะ

นั้นแล้วศีลเป็นอกุศลดับไม่เหลือ. อนึ่ง บทว่า อกุสลสีล นี้พึงทราบว่าเป็น

ชื่อของบุคคลทุศีลบ้าง เป็นชื่อของธรรมที่เป็นอกุศลบ้าง. บทว่า นิโรธาย

ปฏิปนฺโน ปฏิบัติเพื่อความดับ คือปฏิบัติเพื่อความดับตั้งแต่โสดาปัตติมรรค.

แต่ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นอันดับด้วยการบรรลุพระอรหัต. ด้วยบท

มีอาทิว่า วีตราค เป็นต้น ท่านกล่าวถึงกามาวจรกุศลจิต ๘ อย่าง. ด้วยบทนี้ศีล

ที่เป็นกุศลย่อมตั้งขึ้น. บทว่า สีลวา โหติ เป็นผู้มีศีล คือเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย

ศีลและสมบูรณ์ด้วยคุณ. บทว่า สีลมโย สำเร็จด้วยศีล คือ ไม่สำเร็จด้วยศีล

อย่างนี้ว่า เพียงเท่านี้ก็พอ ไม่มีสิ่งไรๆ ที่ควรจะทำยิ่งไปกว่านี้. บทว่า ยตฺถสฺส

เต อันเป็นที่ดับหมดสิ้นแห่งศีลเป็นกุศลเหล่านั้นของภิกษุนั้น คือตั้งอยู่ใน

อรหัตผล. เพราะศีลที่เป็นอกุศลดับไม่เหลือ เพราะบรรลุพระอรหัตผล. บทว่า

นิโรธาย ปฏิปนฺโน ปฏิบัติเพื่อดับ คือชื่อว่าปฏิบัติเพื่อดับตั้งแต่อรหัตมรรค.

ศีลที่เป็นกุศลเหล่านั้นชื่อว่าเป็นอันดับด้วยการบรรลุผล.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 618

ใน กามสฺา เป็นต้นมีความดังต่อไปนี้ บทว่า ถามสฺา

สัญญาในกาม คือสัญญานอกนี้เกิดร่วมกับจิตที่ประกอบด้วยโลภะ ๘ ดวง สัญญา

ที่เกิดร่วมกับจิตประกอบด้วยโทมนัส ๒ ดวง. บทว่า ปม ฌาน ปฐมฌาน

คือปฐมฌานอันเป็นอนาคามิผล. บทว่า เอตฺเถเต ความดำริเป็นอกุศลเหล่านี้

ดับสิ้นไปในปฐมฌาน คือตั้งอยู่ในอนาคามิผล. เพราะความดำริเป็นอกุศล

ย่อมไม่เหลือเพราะการบรรลุอนาคามิผล. บทว่า นิโรธาย ปฏิปนฺโน ปฏิบัติ

เพื่อความดับ คือชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับตั้งแต่อนาคามิมรรค. แต่ความ

ดำริที่เป็นอกุศลเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นอันดับด้วยการบรรลุผล.

สัญญาแม้ ๓ มีเนกขัมมสัญญาเป็นต้น เป็นสัญญาเกิดร่วมกับกามาวจร

กุศล ๘. บทว่า เอตฺเถเต ความดำริที่เป็นกุศลเหล่านี้ดับไม่เหลือในทุติยฌานนี้

คือในอรหัตผล เพราะว่าความดำริที่เป็นกุศล ย่อมดับไม่เหลือเพราะการบรรลุ

อรหัตผลอันประกอบด้วยทุติยฌาน. บทว่า นิโรธาย ปฏิปนฺโน ปฏิบัติเพื่อ

ความดับ คือชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับจนถึงอรหัตมรรค. แต่ความดำริ

ที่เป็นกุศลเหล่านั้นชื่อว่า เป็นอันดับด้วยการบรรลุผล. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง

ง่ายทั้งนั้นด้วยประการฉะนี้.

จบสมณมุณฑิกสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

๙. จูฬสกุลุทายิสูตร

สกุลุทายิปริพาชก

[๓๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทก-

นิวาปสถาน เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้น สกุลุทายิปริพาชก อยู่ใน

ปริพาชการามเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่. ครั้ง

นั้นเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑ-

บาตยังกรุงราชคฤห์ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดำริว่า การเที่ยว

บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ยังเช้านัก อย่ากระนั้นเลย เราพึงเข้าไปหาสกุลุทายิ-

ปริพาชก ยังปริพาชการามอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูงเถิด ลำดับนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังปริพาชการาม อันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง.

ติรัจฉานกถา

[๓๖๘] ก็สมัยนั้น สกุลุทายิปริพาชกนั่งอยู่กับปริพาชกบริษัทหมู่

ใหญ่ซึ่งกำลังสนทนาติรัจฉานกถาต่างเรื่อง ด้วยเสียงอื้ออึงอึกทึก คือ พูดเรื่อง

พระราชา ฯ ล ฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น สกุลุทายิ

ปริพาชกได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วจึงห้ามบริษัท

ของตนให้สงบว่า ขอท่านทั้งหลายจงเบา ๆ เสียงหน่อย อย่าส่งเสียงอึงนัก

นี่พระสมณโคดมกำลังเสด็จมา พระองค์ท่านทรงโปรดเสียงเบาและสรรเสริญ

คุณของเสียงเบา บางทีพระองค์ท่านทรงทราบว่า. บริษัทมีเสียงเบา พึงทรง

สำคัญที่จะเสด็จเข้ามาก็ได้. ลำดับนั้น พวกปริพาชกเหล่านั้นพากันนิ่งอยู่ ครั้ง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 620

นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาสกุลุทายิปริพาชกจนถึงที่อยู่ สกุลุทายิ-

ปริพาชกได้กราบทูลเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จมาเถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาดีแล้ว นาน ๆ พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงจะมีโอกาสเสด็จมาถึงนี่ได้ ขอเชิญพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง

เถิด นี้อาสนะที่จัดไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้ ส่วน

สกุลุทายิปริพาชกถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสถามสกุลุทายีปริพาชกผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า ดูก่อนอุทายี เมื่อกี้

นี้ ท่านทั้งหลายนั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไรกัน ก็แหละเรื่องอะไรที่ท่าน

ทั้งหลายหยุดค้างไว้ในระหว่าง.

[๓๖๙] สกุลุทายิปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องที่

ข้าพระองค์ทั้งหลายประชุมสนทนากันเมื่อกี้นี้นั้น ของดไว้ก่อน เรื่องนั้นพระผู้-

มีพระภาคเจ้าจักได้ทรงสดับในภายหลังโดยไม่ยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ

เวลาข้าพระองค์ไม่ได้เข้าไปหาบริษัทหมู่นี้ บริษัทหมู่นี้ก็นั่งพูดกันถึงติรัจฉาน-

กถาต่างเรื่อง แต่เมื่อเวลาข้าพระองค์เข้าไปหาบริษัทหมู่นี้ บริษัทหมู่นี้ก็นั่ง

มองดูแต่หน้าข้าพระองค์ด้วยมีความประสงค์ว่า ท่านอุทายี พระสมณโคดม

จักภาษิตธรรมใดแก่เราทั้งหลาย เราทั้งหลายจักฟังธรรมนั้น ดังนี้ และเมื่อ

เวลาพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปหาบริษัทหมู่นี้ ทั้งข้าพระองค์และบริษัท

หมู่นี้ก็นั่งมองดูพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยมีประสงค์ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจักทรงภาษิตธรรมใดแก่เราทั้งหลาย เราทั้งหลายจักฟังธรรมนั้น.

พ. ดูก่อนอุทายี ถ้าอย่างนั้น ปัญหาจงปรากฏแก่ท่าน ซึ่งเป็นเหตุ

ที่จะให้ธรรมเทศนาปรากฏแก่เรา.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 621

[๓๗๐] ส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันก่อน ๆ หลายวันมาแล้ว ท่าน

ผู้สัพพัญญูสัพพทัสสาวี [ผู้สารพัดรู้สารพัดเห็น] มาปฏิญาณความรู้ความเห็น

อันไม่มีส่วนเหลือว่า เมื่อเราเดินไป หยุดอยู่ หลับและตื่น ความรู้ความเห็น

ปรากฏอยู่เสมอร่ำไป ดังนี้ ท่านผู้นั้นถูกข้าพระองค์ถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วน

อดีตก็เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อน พูดเฉไปเสียนอกเรื่อง ได้ทำความโกรธ

โทสะ และความไม่พอใจให้ปรากฏ ข้าพระองค์เกิดสติปรารภพระผู้มีพระภาค-

เจ้าเท่านั้นว่า โอ ผู้ฉลาดในธรรมเหล่านี้ จะเป็นผู้ใดเล่า ต้องเป็นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเป็นแน่ ต้องเป็นพระสุคตเป็นแน่.

พ. ดูก่อนอุทายี ก็ท่านผู้สารพัดรู้สารพัดเห็นนั้น มาปฏิญาณความรู้

ความเห็นอันไม่มีส่วนเหลือ. . . ได้ทำความโกรธ โทสะ และความไม่พอใจ

ให้ปรากฏ เป็นใครเล่า.

ส. นิครนถ์นาฏบุตร พระเจ้าข้า.

ห.

ว่าด้วยขันธ์ส่วนอดีตและอนาคต

[๓๗๑] ดูก่อนอุทายี ผู้ใดพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ

ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ พึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก

พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ผู้นั้นควรถามปัญหาปรารภ

ขันธ์ส่วนอดีตกะเรา หรือเราควรถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีตกะผู้นั้น ผู้

นั้นจะพึงยังจิตของเราให้ยินดีได้ ด้วยการพยากรณ์ปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีต

หรือเราจะพึงยังจิตของผู้นั้นให้ยินดีได้ ด้วยการพยากรณ์ปัญหาปรารภขันธ์

ส่วนอดีต.

ดูก่อนอุทายี ผู้ใดพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต

มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 622

ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ

ฉะนี้ ผู้นั้นควรถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอนาคตกะเรา หรือเราควรถามปัญหา

ปรารภขันธ์ส่วนอนาคตกะผู้นั้น ผู้นั้นพึงยังจิตของเราให้ยินดีได้ ด้วยการ

พยากรณ์ปัญหาปรารภส่วนอนาคต หรือเราพึงยังจิตของผู้นั้นให้ยินดีได้ ด้วย

การพยากรณ์ปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอนาคต.

ดูก่อน อุทายี แต่จงงดขันธ์ส่วนอนาคตไว้ก่อน เราจักแสดงธรรม

แก่ท่านว่า เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี เพราะเหตุนี้เกิด ผลนี้จึงเกิด เมื่อเหตุนี้

ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จงดับ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้แต่ด้วยอัตภาพของข้าพระองค์ ที่เป็นอยู่

บัดนี้ ข้าพระองค์ยังไม่สามารถจะระลึกถึงได้ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ

ด้วยประการฉะนี้ ก็ไฉนจะระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติ

หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง ฯลฯ จักระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก

พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้เล่า.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเดี๋ยวนี้ แม้แต่ปังสุปีศาจ ข้าพระองค์ยัง

ไม่เห็นเลย ไฉนจักเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิว

พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง

จักษุของมนุษย์ ฯลฯ จักรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้

เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เล่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็คำที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูก่อนอุทายี แต่จงงดขันธ์ส่วนอดีตและ

ขันธ์ส่วนอนาคตไว้ก่อน เราจักแสดงธรรมแก่ท่านว่า เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี

เพราะเหตุนี้เกิด ผลนี้จึงเกิด เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี เพราะเหตุนี้ดับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 623

ผลนี้จึงดับ ดังนี้นั้น จะได้ปรากฏแก่ข้าพระองค์โดยยิ่งกว่าประมาณก็หาไม่

ไฉนข้าพระองค์ จะพึงยังจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ยินดี ด้วยการพยากรณ์

ปัญหา ในลัทธิอาจารย์ของตนได้เล่า.

เรื่องวรรณ

[๓๗๒] ดูก่อนอุทายี ก็ในลัทธิอาจารย์ของตนแห่งท่านมีว่าอย่างไร.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตนแห่งข้าพระองค์ มีอยู่

อย่างนี้ว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง.

ดูก่อนอุทายี ในลัทธิอาจารย์ของตนแห่งท่านที่มีอยู่อย่างนี้ว่า นี้เป็น

วรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ก็วรรณอย่างยิ่งเป็นไฉน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า

วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง.

ดูก่อนอุทายี ก็วรรณไหนเล่าที่ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า

วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง.

[๓๗๓] ดูก่อนอุทายี ท่านกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณ

ใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้

วาจานั้นของท่านพึงขยายออกอย่างยืดยาว แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นได้.

ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราปรารถนารัก

ใคร่นางชนปทกัลยาณีในชนบทนี้ คนทั้งหลายพึงถามเขาอย่างนี้ว่า พ่อ นาง

ชนปทกัลยาณีที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้น พ่อรู้จักหรือว่า เป็นนางกษัตริย์

พราหมณี แพศย์ ศูทร เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 624

คนทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณีที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้น พ่อ

รู้จักหรือว่า นางมีวรรณอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขา

พึงตอบว่า หามิได้ คนทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณีที่พ่อ

ปรารถนารักใคร่นั้น พ่อรู้จักหรือว่า สูง ต่ำ หรือพอสันทัด ดำ ขาว หรือ

มีผิวคล้ำ อยู่ในบ้าน นิคม หรือนครโน้น เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึง

ตอบว่า หามิได้ คนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาว่า พ่อปรารถนารักใคร่หญิงที่พ่อ

ไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นหรือ เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า ถูกแล้ว

ดังนี้ ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ คำ

กล่าวของบุรุษนั้น ถึงความเป็นคำใช้ไม่ได้ไม่ใช่หรือ.

แน่นอน พระเจ้าข้า เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของบุรุษนั้น ถึง

ความเป็นคำใช้ไม่ได้.

ดูก่อนอุทายี ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน กล่าวอยู่แต่ว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า วรรณนั้น เป็นวรรณ

อย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ไม่ชี้วรรณนั้น.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเอง

อย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลแดง

ย่อมสว่างไสว ส่องแสงเรื่องอยู่ ฉันใด ตัวตนก็มีวรรณ ฉันนั้น เมื่อตาย

ไปย่อมเป็นของไม่มีโรค.

[๓๗๔] ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แก้วไพฑูรย์

อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวางไว้ที่

ผ้ากัมพลแดง ย่อมสว่างไสวส่องแสงเรื่องอยู่ ๑ แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือนมืด

ในราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามและประณีตกว่ากัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 625

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ แมลงหิ่งห้อยในเวลา

เดือนมืดในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

[๓๗๕] ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แมลง

หิ่งห้อยในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑ ประทีปน้ำมันในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑

บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามและประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ประทีปน้ำมันในเวลา

เดือนมืดในราตรีนี้งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

[๓๗๖] ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ประทีป

น้ำมันในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑ กองไฟใหญ่ในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑

บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามและประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ กองไฟใหญ่ในเวลา

เดือนมืดในเวลาราตรีนี้งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

[๓๗๗] ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กองไฟ

ในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑ ดาวพระศุกร์ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ

ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามและ

ประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดาวพระศุกร์ไม่อากาศ

อันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีนี้งามกว่าด้วย ประณีตกว่า

ด้วย.

[๓๗๘] ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ดาวพระศุกร์

ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ๑ ดวงจันทร์ใน

เวลาเที่ยงคืนตรงในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ ๑๕ [เพ็ญ

กลางเดือน] ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามและประณีตกว่ากัน.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 626

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดวงจันทร์ในเวลา

เที่ยงคืนตรงในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ ๑๕ นี้งามกว่า

ด้วย ประณีตกว่าด้วย.

[๓๗๙] ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ดวงจันทร์

ในเวลาเที่ยงคืนตรงในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆในวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ำ

๑ ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรงในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ไม่สรทสมัย

เดือนท้ายฤดูฝน ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีต

กว่ากัน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดวงอาทิตย์ในเวลา

เที่ยงตรงในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสรทสมัยเดือนท้ายฤดูฝนนี้งาม

กว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

ดูก่อนอุทายี เทวดาเหล่าใดย่อมสู้แสงพระจันทร์พระอาทิตย์ไม่ได้

เทวดาเหล่านั้นมีมาก มีมากยิ่งกว่าเทวดาพวกที่สู้แสงพระจันทร์และพระอาทิตย์

ได้ เรารู้ทั่วถึงเทวดาพวกนั้นอยู่ เราก็ไม่กล่าวว่า. วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่ง

กว่าหรือประณีตกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านก็ชื่อว่ากล่าวอยู่ว่า วรรณใดที่เลว

กว่าและเศร้าหมองกว่าแมลงหิ่งห้อย วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่

ท่านไม่ชี้วรรณนั้นเท่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงค้านเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตเจ้าทรงค้านเรื่อง

นี้เสียแล้ว .

ดูก่อนอุทายี ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ค้านเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตทรงค้านเรื่องนี้เสียแล้วดังนี้เล่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 627

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ของข้าพระองค์ทั้งหลาย

มีอยู่อย่างนี้ว่า วรรณนี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง วรรณนี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้

ข้าพระองค์เหล่านั้น เมื่อถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าสอบสวน ซักไซร้ ไล่เรียง

ในลัทธิอาจารย์ของตน ก็เป็นคนว่างเปล่าผิดไปหมด.

ปัญหาเรื่องทุกข์-ทุกข์

[๓๘๐] ดูก่อนอุทายี โลกมีความสุขโดยส่วนเดียว มีอยู่หรือ ปฏิปทา

ที่มีเหตุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ของข้าพระองค์ทั้งหลาย

มีอยู่อย่างนี้ว่า โลกมีความสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้ง

ซึ่งโลกที่มีความสุขโดยส่วนเดียว ก็มีอยู่.

ดูก่อนอุทายี ก็ปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว

นั้นเป็นไฉน.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาด

จากการฆ่าสัตว์ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ละการประพฤติผิด

ในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูด

เท็จ สมาทานคุณ คือตบะอย่างใดอย่างหนึ่งประพฤติอยู่ นี้แลปฏิปทาที่มีเหตุ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว พระเจ้าข้า.

[๓๘๑] ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยที่

บุคคลละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์นั้น ตนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือ

มีสุขบ้างทุกข์บ้าง.

มีสุขบ้างทุกข์บ้าง พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 628

ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยที่ตนละการ

ลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์นั้น ตนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง

ทุกข์บ้าง.

มีสุขบ้างทุกข์บ้าง พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยที่ตนละการ

ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพระพฤติผิดในกามนั้น ตนมีสุขโดยส่วน

เดียวหรือมีสุขบ้างทุกข์บ้าง.

มีสุขบ้างทุกข์บ้าง พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยที่ตนละการ

พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จนั้น ตนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง

ทุกข์บ้าง.

มีสุขบ้างทุกข์บ้าง พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ในสมัยที่ตนสมาทาน

คุณคือตบะอย่างใดอย่างหนึ่งประพฤติอยู่นั้น ตนมีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุข

บ้างทุกข์บ้าง.

มีสุขบ้างทุกข์บ้าง พระเจ้าข้า.

ดูก่อนอุทายี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การจะอาศัยปฏิปทา

อันมีทั้งสุขและทุกข์เกลื่อนกล่น แล้วทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว มี

อยู่บ้างหรือหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้านเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตทรงคัดค้าน

เรื่องนี้เสียแล้ว.

ดูก่อนอุทายี ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัด

ค้านเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตทรงคัดค้านเรื่องนี้เสียแล้ว ดังนี้เล่า.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 629

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตนของข้าพระองค์ทั้งหลาย

มีอยู่อย่างนี้ว่า โลกมีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลก

ที่มีสุขโดยส่วนเดียวก็มีอยู่ ดังนี้ ข้าพระองค์เหล่านั้น เมื่อถูกพระผู้มีพระภาคเจ้า

สอบสวน ซักไซร้ ไล่เรียง ในลัทธิอาจารย์ของตน ก็เป็นคนว่างเปล่า ผิด

ไปหมด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็โลกซึ่งมีความสุขโดยส่วนเดียว มีอยู่หรือ

ปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ.

ดูก่อนอุทายี โลกมีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อทำให้

แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวให้แจ้งชัดก็มีอยู่.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดย

ส่วนเดียวนั้นเป็นไฉน.

ฌาน ๔

[๓๘๒] ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก

อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ๑

บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มี

วิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ๑

มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ

ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติ

อยู่เป็นสุข ๑ นี้แลปฏิปทาที่มีเหตุเพื่อให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทำไมหนอ ปฏิปทานั้นจึงเป็นปฏิปทาที่มีเหตุ

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลก ที่มีสุขโดยส่วนเดียวได้ เพราะโลกมีความสุขโดยส่วน

เดียว เป็นอันภิกษุนั้นทำให้แจ้งชัดด้วยปฏิปทามีประมาณเท่านี้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 630

ดูก่อนอุทายี โลกมีความสุขส่วนเดียว จะเป็นอันภิกษุนั้นทำให้แจ้ง

ชัดด้วยปฏิปทามีประมาณเท่านี้หามิได้แล แต่ปฏิปทานั้นมีเหตุทีเดียว เพื่อทำ

ให้แจ้งซึ่งโลกที่มีความสุขโดยส่วนเดียวได้.

[๓๘๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว บริษัทของสกุลุทายิ-

ปริพาชกได้บันลือเสียงสูงเสียงใหญ่กันเอ็ดอึงว่า เราทั้งหลายพร้อมทั้งอาจารย์

จะได้ยินดีในเหตุนี้หามิได้ เราทั้งหลายพร้อมทั้งอาจารย์ จะได้ยินดีในเหตุนี้หา

มิได้ เราทั้งหลายยังไม่รู้ชัดซึ่งปฏิปทาที่ยิ่งไปกว่านี้ ลำดับนั้น สกุลุทายิปริพา-

ชก ห้ามปริพาชกเหล่านั้นให้สงบเสียงแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร จึงเป็นอันภิกษุนั้นทำให้

แจ้งซึ่งโลกที่มีความสุขโดยส่วนเดียวได้เล่า.

[๓๘๔] ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น

เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ยืนด้วยกัน เจรจากัน กับเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงโลก

ที่มีสุขโดยส่วนเดียวเหล่านั้นได้ ดูก่อนอุทายี ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้แลเป็น

อันภิกษุนั้นทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีความสุขโดยส่วนเดียวได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายย่อมประพฤติพรหมจรรย์ใน

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุจะทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนี้ โดย

แท้หรือ.

ดูก่อนอุทายี ภิกษุทั้งหลายจะพระพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะเหตุ

จะทำให้แจ้งซึ่งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนี้ หามิได้ ดูก่อนอุทายี ธรรมเหล่าอื่น

ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายพระพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะ

เหตุที่จะทำให้แจ้งชัดนั้น ยังมีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมทั้งหลายที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าที่ภิกษุ

ทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุจะทำให้แจ้งชัด

นั้นเป็นไฉน.

[๓๘๕] ดูก่อนอุทายี พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระ

อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้ง

โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของพวกเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น

ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญา

อันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา

และมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมมีคุณอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง

งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ

บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง

ย่อมฟังธรรมนั้น แล้วได้ศรัทธาในพระตถาคต เขาประกอบด้วยศรัทธานั้น

ย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็น

ทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะพระพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์

ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและ

หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกอง

โภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า

กาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติ-

โมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นในโทษเพียงเล็กน้อยว่า

เป็นภัย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม

ที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 632

ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะเป็นผู้สันโดษ ฯลฯ ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ

เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ เป็นเครื่องทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว เธอ

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร

มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนอุทายี ธรรมแม้นี้แลเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและ

ประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายพระพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะเหตุที่จะทำให้

แจ้งชัด.

ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส

แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป

มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนอุทายี ธรรมแม้นี้แล เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและ

ประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะเหตุที่จะทำให้

แจ้งชัด.

ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและ

เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย

สรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูก่อนอุทายี ธรรม

แม้นี้แล เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์

ในเรา เพราะเหตุที่จะทำให้แจ้งชัด.

ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่

มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุ

ให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนอุทายี ธรรมแม้นี้แล เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีต

กว่า ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะเหตุที่จะทำให้แจ้งชัด.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 633

ญาณ ๓

[๓๘๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ

ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึก

ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก

พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนอุทายี ธรรมแม้

นี้แลเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายพระพฤติพรหมจรรย์

ในเราเพราะเหตุที่จะทำให้แจ้งชัด.

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม

จิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังอุปบัติ

เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ เธอย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม

ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนอุทายี ธรรมแม้นี้ เป็นธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า

ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพราะเหตุที่จะทำให้แจ้งชัด.

ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก

อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม

จิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้

ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ

นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จาก

กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณ

หยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 634

เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนอุทายี ธรรมแม้นี้แล เป็น

ธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ในเรา

เพราะเหตุที่จะทำให้แจ้งชัด.

สกุลุทายีขอบวช

[๓๘๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สกุลุทายิปริพาชก

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์

แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือ

ตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ฉันใด พระผู้มีพระภาค

เจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็น

สรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนัก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด.

[๓๘๘] เมื่อสกุลุทายิปริพาชกกราบทูลอย่างนี้แล้ว บริษัทของ

สกุลุทายิปริพาชกได้กล่าวห้ามสกุลุทายิปริพาชกว่า ท่านอุทายี ท่านอย่าประ-

พฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเลย ท่านอุทายี ท่านเป็นอาจารย์ อย่าอยู่

เป็นอันเตวาสิกเลย เปรียบเหมือนหม้อน้ำแล้วจะพึงเป็นจอกน้อยลอยในน้ำ

ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ ก็จักมีแก่ท่านอุทายี ฉันนั้น ท่านอุทายี ท่านอย่าประ-

พฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเลย ท่านอุทายีเป็นอาจารย์ อย่าอยู่เป็น

อันเตวาสิกเลย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 635

ก็เรื่องนี้ เป็นอันยุติว่า บริษัทของสกุลุทายิปริพาชก ได้ทำสกุลุทายิ

ปริพาชกให้เป็นอันตรายในพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบจูฬสกุลุทายิสูตรที่ ๙

อรรถกถาจูฬสกุลุทายิสูตร

จูฬสกุลุทายิสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมา

อย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา ปน ภนฺเต ภควา คือ ปริพาชก

ประสงค์จะฟังธรรมกถานี้ เมื่อจะแสดงความมีอาลัยในพระธรรมเทศนา จึง

กล่าวแล้ว บทว่า ตเยเวตฺถ ปฏิภาตุ ปัญหาจงปรากฏแก่ท่าน ความว่า

หากท่านประสงค์จะฟังธรรม ปัญหาข้อหนึ่ง เหตุอย่างหนึ่ง จงปรากฏแก่ท่าน.

บทว่า ยถา ม ปฏิภาเสยฺย คือ เป็นเหตุที่จะให้ธรรมเทศนาปรากฏแก่เรา.

ท่านแสดงว่าเมื่อกถาตั้งขึ้นด้วยเหตุนั้น เพื่อจะฟังธรรมได้สบาย. บทว่า ตสฺส

มยฺห ภนฺเต ข้าพระองค์เกิดสติปรารภพระผู้มีพระภาคเจ้า ความว่า นัยว่า

สกุลุทายิปริพาชกนั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นคิดว่า หากพระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ ณ ที่นี้ ความแห่งภาษิตนี้จักปรากฏ จึงระลึกถึงพระทศพลว่า

พระทศพลจักทรงทำเนื้อความให้ปรากฏ ดุจให้ประทีปพันดวงช่วงโชติฉะนั้น.

เพราะฉะนั้นสกุลุทายิปริพาชก จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า ตสฺส มยฺห ภนฺเต

ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า อโห นูน ทั้งสองบทเป็นนิบาตลงในความว่า

เป็นที่ระลึกถึง. ด้วยเหตุนั้นเมื่อสกุลุทายิปริพาชกระลึกถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 636

จึงได้มีความระลึกถึงว่า อโห นูน ภควา อโห นูน สุคโต โอ ผู้ฉลาดใน

ธรรมเหล่านี้ ต้องเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแน่ ต้องเป็นพระสุคตเป็นแน่.

บทว่า โย อิเมส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดเป็นผู้ฉลาดดี

ฉลาดด้วยดี ชำนาญ เฉียบแหลมในธรรมเหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น พึงทรงกล่าวเป็นแน่. พระสุคตพระองค์นั้น พึงทรงกล่าวเป็นแน่.

เพราะกิเลสเครื่องถึงภพใหญ่น้อยอย่างเดียวแสนโกฏิไม่น้อย ปรากฏแก่

ปุพเพนิวาสญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นี้เป็นอธิบายในบทนี้ด้วย

ประการฉะนี้. บทว่า ตสฺส วาห ปุพฺพนฺต อารพฺภ หรือเราพึงปรารภ

ส่วนอดีต ความว่า จริงอยู่ ผู้ใด เป็นผู้มีลาภ ผู้นั้นเมื่อเขากล่าวว่า เมื่อก่อน

ท่านได้เป็นกษัตริย์ ได้เป็นพราหมณ์ เมื่อได้อยู่ จักฟังโดยเคารพ. ส่วนผู้ไม่

มีลาภ จักเป็นอย่างนี้ จักเป็นอย่างนี้ ดังนี้บ้าง เขาย่อมแสดงเพียงกรรมเท่า

นั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนี้ว่า เราจะพึงยังจิต

ของผู้นั้น ให้ยินดีได้ด้วยการพยากรณ์ ปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอดีต ดังนี้.

บทว่า โส วา ม อปรนฺต ผู้นั้นพึงถามปัญหาปรารภขันธ์ส่วนอนาคตกะเรา

คือ เพราะอนาคตังสญาณ ย่อมสำเร็จ แก่ผู้ได้ทิพยจักษุ. เพราะฉะนั้นพระองค์

จึงตรัสอย่างนี้. บทนอกนี้มีนัยดังได้กล่าวแล้วในตอนก่อน.

บทว่า ธมฺม โว เทสิสฺสามิ เราจักแสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย

ความว่า ได้ยินว่า สกุลุทายิปริพาชกนี้ แม้เมื่อแสดงถึงขันธ์ในอดีตก็จักไม่รู้

แม้เมื่อแสดงถึงขันธ์ในอนาคตก็จักไม่รู้. เมื่อเป็นดังนี้พระผู้มีพระภาคเจ้ามี

พระประสงค์จะทรงแสดงถึงปัจจยาการอันละเอียดอ่อน จึงตรัสอย่างนั้น. ก็

สกุลทายีนั้นจักรู้ขันธ์นั้นได้หรือ จักยังไม่รู้ขันธ์นั้นในทันทีทันใด แต่จักเป็น

ปัจจัยแห่งวาสนาของเขาในอนาคต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นดังนี้จึงตรัส

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 637

อย่างนั้น. บทว่า ปสุปีสาจก ปีศาจฝุ่น คือ ปีศาจที่เกิดในที่ไม่สะอาด.

ด้วยว่าปีศาจนั้น ถือเอารากไม้รากหนึ่งแล้วไม่ปรากฏกาย. มีเรื่องเล่าว่า

ยักษิณีคนหนึ่งให้ทารก ๒ คนนั่งที่ประตูถูปารามแล้วเข้าไปในเมือง

เพื่อแสวงหาอาหาร. พวกเด็กเห็นพระเถระกำลังออกบิณฑบาตรูปหนึ่ง จึงกล่าว

ว่า พระคุณเจ้าขอรับ มารดาของพวกเรา เข้าไปภายในพระนคร พระคุณ

เจ้าเห็นช่วยบอกแก่มารดานั้น เจ้าได้สิ่งใดจงถือเอาสิ่งที่ได้แล้วรีบกลับไปเสีย.

พวกเด็กเหล่านั้นไม่อาจจะรออยู่ได้ เพราะความหิว. พระเถระถามว่าเราจะเห็น

มารดาของเจ้านั้นได้อย่างไรเล่า. พวกเด็กจึงกล่าวว่า พระคุณเจ้า จงถือเอา

รากไม้นี้เถิด แล้วได้ถวายรากไม้ชิ้นหนึ่ง. ยักษ์หลายพันได้ปรากฏแก่พระเถระ

พระเถระได้เห็นยักษิณีนั้นด้วยสัญญาณที่พวกเด็กให้ไว้. พระเถระเห็นยักษิณี

มีรูปร่างน่าเกลียด น่ากลัว หวังแต่จะหาของสกปรกที่ถนนกันแต่อย่างเดียว จึง

กล่าวความนี้ เมื่อยักษิณีถามว่า ท่านเห็นฉันได้อย่างไร พระเถระจึงแสดงชิ้น

รากไม้ให้ดู. ยักษิณีคว้ารากไม้ถือเอาไป. ปีศาจฝุ่นทั้งหลาย ถือรากไม้รากหนึ่ง

แล้วไม่ปรากฏกายด้วยประการฉะนี้.

สกุลุทายิปริพาชกนั้นกล่าวว่า แม้ปีศาจฝุ่นข้าพระองค์ยังไม่เห็นเลยหมาย

ถึงยักษิณีนั้น. บทว่า น ปกฺขายติ คือไม่เห็นไม่ปรากฏ. บทว่า ทีฆาปิ โข

เต เอสา ความว่า ดูก่อนอุทายี วาจาของท่านนั้นพึงขยายออกอย่างยืดยาว.

อธิบายว่า เมื่อกล่าวอย่างนั้น พึงเป็นไปร้อยปีบ้าง พันปีบ้าง และวาจานั้นก็

ไม่พึงแสดงเพื่อความได้ประโยชน์เลย. บทว่า อปฺปาฏิหิรีกต เป็นคำใช้ไม่ได้

ความว่าคำนั้นถึงความเป็นคำไม่นำสัตว์ออกไป ไม่มีค่า ไม่มีประโยชน์. บัดนี้

เมื่อสกุลุทายิปริพาชกจะแสดงถึงวรรณนั้นจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ภนฺเต

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบแก้วไพฑูรย์. ในบทเหล่านั้นบทว่า ปณฺฑุกมฺพเล

นิกฺขิตฺโต แก้วไพฑูรย์ เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลสีแดง คือ วางไว้ที่ผ้ากัมพลสีแดง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

อันมีสีไม่เสมอกัน. บทว่า เอววณฺโณ อตฺตา โหติ คนก็มีวรรณฉันนั้น

สกุลุทายีกล่าวคำนี้ว่า ตัวตนนั้นในเวลาเราตายย่อมรุ่งเรืองดุจขันธ์ในสุภกิณห-

เทวโลก หมายถึงขันธ์ที่เกิดในสุภกิณหเทวโลก.

บทว่า อย อิเมส อุภินฺน บรรดาวรรณทั้งสองเหล่านี้หิ่งห้อยใน

เวลาเดือนมืดในราตรีนี้งามกว่า ประณีตกว่า ความว่านัยว่ารัศมีของแก้วมณี

ไม่ซ่านออกภายนอก แสงของหิ่งห้อยตัวเล็กแผ่ออกไปเพียง ๑ นิ้ว ๒ นิ้ว และ

๔ นิ้ว ส่วนแสงของหิ่งห้อยตัวใหญ่ แผ่ออกไปแม้ประมาณเท่าบริเวณของลาน

นวดข้าว เพราะฉะนั้น สกุลุทายีจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า วิทฺเธ คือ กระจ่าง

อธิบายว่า อยู่ไกลโดยปราศจากเมฆ. บทว่า วิคตวลาหเก คือ ปราศจากเมฆ.

บทว่า เทเว คือฝน. บทว่า โอสธิตารกา คือ ดาวพระศุกร์. จริงอยู่เพราะอา-

จารย์บางคนบอกกล่าวว่า ชนทั้งหลายย่อมถือเอาโอสถ โดยสัญญาณนั้นตั้งแต่

ดาวพระศุกร์ขึ้น ฉะนั้นดาวนั้นท่านจึงเรียกว่า โอสธิตารกา. บทว่า อภิโท

อฑฺฆรตฺตสมย คือ ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรง. ด้วยบทนี้ท่านแสดงถึง

ดวงจันทร์ที่ตั้งอยู่ในสมัยคือในท่ามกลางท้องฟ้า. แม้ในบทว่า อภิโท มชฺฌนฺ-

ติเก ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง ก็มีนัยที่เหมือนกัน. บทว่า ตโต โข คือ

เทวดาเหล่านั้นมีมากกว่า กว่านั้น. อธิบายว่า มีมากและมีมากกว่า. บทว่า อาภา

นานุโภนฺติ คือ สู้แสงพระจันทร์พระอาทิตย์ ไม่ได้. แสงพระจันทร์และ

พระอาทิตย์ย่อมส่องแสงสว่างไปด้วยแสงสว่างในตัวของตนเอง.

บัดนี้เพราะสกุลุทายี คิดว่าเราจักถามถึงโลกมีความสุขโดยส่วนเดียว

จึงนั่งนิ่งลืมคำถาม. ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงให้สกุลุทายี ระลึกถึง

คำถามได้ จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า กึ ปน อุทายิ เอกนฺตสุโข โลโก

ดูก่อนอุทายี โลกมีความสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ. ในบทเหล่านั้น บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 639

อาการวตี คือ มีเหตุ. บทว่า อญฺตร วา ปน ตโปคุณ คุณคือตบะ

อย่างใดอย่างหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง ลัทธิของอเจลกะ คือ เว้น

การดื่มสุรา. เพราะเหตุไร สกุลุทายีจึงถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกมี

ความสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ. นัยว่าสกุลุทายีนั้นได้คิดว่า แม้เราก็กล่าวว่า

ตนมีความสุขโดยส่วนเดียว. อนึ่งเรากล่าวการปฏิบัติเป็นสุขบางเวลา เป็นทุกข์

บางเวลา. แม้ปฏิปทาของตน ผู้มีความสุขโดยส่วนเดียวก็พึงมีความสุขโดย

ส่วนเดียว. กถาของพวกเราเป็นกถาไม่นำสัตว์ออกไป. ส่วนกถาของพระศาสดา

เป็นกถานำสัตว์ออกไป เพราะเหตุนั้นบัดนี้เราจะถามพระศาสดาแล้ว จึงจะรู้

เพราะฉะนั้นพระเถระจึงถาม.

บทว่า เอตฺถ มย อนสฺสาม คือพวกเราไม่ยินดีในเหตุนี้ เพราะเหตุ

ไร บริษัทของสกุลุทายิปริพาชกจึงได้กล่าวอย่างนั้น. นัยว่าบริษัทของสกุลุทายิ

ปริพาชกเหล่านั้นรู้ว่า เมื่อก่อนพวกตนตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการ กระทำ

กสิณบริกรรมยังตติยฌานให้เกิด ครั้นฌานยังไม่เสื่อม ทำกาละแล้วเกิดในชั้น

สุภกิณหะแต่เมื่อกาลผ่านไปๆ แม้กสิณบริกรรมก็ไม่รู้. แม้ตติยฌานก็ไม่สามารถ

ให้เกิดได้. อนึ่งพวกเราเรียนธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้น ๕ ว่า ปฏิปทามีเหตุ.

แล้วเรียนตติยฌานว่าโลกมีสุขโดยส่วนเดียว. เพราะฉะนั้นพวกเขาจึงกล่าว

อย่างนั้น. บทว่า อุตฺตริตร คือสิ่งที่ยิ่งกว่าธรรม ๕ นี้. ท่านอธิบายว่า พวก

เราไม่รู้ปฎิปทาหรือโลกอันเป็นสุขโดยส่วนเดียวยิ่งกว่าตติยฌาน . บทว่า

อปฺปสทฺเท กตฺวา คือห้ามปริพาชกเหล่านั้นซึ่งเริ่มจะทำเสียงดังไม่ให้มีเสียง

โดยเตือนครั้งเดียวเท่านั้น. ในบทว่า สฺจฉิกิริยาเหตุเพราะเหตุทำให้แจ้งนี้.

สัจฉิกิริยา มี ๒ อย่างคือ ปฏิลาภสัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้งการได้) ๑

ปัจจักขสัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้งประจักษ์) ๑. ในสัจฉิกิริยา ๒ อย่างนั้น ผู้ยัง

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 640

ตติยฌานให้เกิดแล้ว ตติยฌานยังไม่เสื่อม ทำกาละเกิดเป็นผู้มีอายุและวรรณ

เสมอเทวดาเหล่านั้น ในสุภกิณหโลก นี้ชื่อว่า ปฏิลาภสัจฉิกิริยา. ผู้ยัง

จตุตถฌานให้เกิดแล้วไปสู่สุภกิณหโลกด้วยการแสดงฤทธิ์แล้วดำรงอยู่สนทนา

ปราศรัยกับเทวดาเหล่านั้น นี้ชื่อว่า ปัจจักขสัจฉิกิริยา ตติยฌานของสัจ-

ฉิกิริยาแม้ทั้งสองนั้นชื่อว่าอาการวดีปฏิปทา ปฏิปทามีเหตุ ไม่ยังตติยฌานให้

เกิดก็ไม่สามารถเกิดในสุภกิณหโลกได้ (และ) ไม่สามารถยังจตุตถฌานให้เกิด

ได้. สกุลุทายีหมายถึงสัจฉิกิริยาทั้งสองแม้นี้จึงทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะ

เหตุทำให้แจ้งโลกมีสุขโดยส่วนเดียวนั้นแน่นอน. บทว่า อุทกมณิโก คือ

หม้อน้ำ. บทว่า. อนฺตรายมกาสิ บริษัทของสกุลุทายีได้ทำอันตราย คือได้

ทำอันตรายโดยที่สกุลุทายีปริพาชกไม่ได้บรรพชา เพราะอุปนิสัยวิบัติ.

ได้ยินว่า สกุลุทายีปริพาชกนี้ได้บวชในศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า

ได้บำเพ็ญสมณธรรม. ครั้งนั้นภิกษุสหายของเขาคนหนึ่งกล่าวว่า อาวุโสเขา

เบื่อในศาสนาจักสึกละ. ภิกษุนั้นเกิดความโลภในบาตรและจีวรของภิกษุผู้เป็น

สหายนั้นจึงได้กล่าวถึงคุณของความเป็นคฤหัสถ์. ภิกษุสหายจึงให้บาตรและ

จีวรแก่ภิกษุนั้นแล้วก็สึก. ด้วยกรรมของภิกษุนั้น บัดนี้จึงเกิดอันตรายต่อการ

บรรพชาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. สูตรก่อนของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้านั้นเป็นเพียงภาณวารที่เกิน. สูตรนี้เป็นภาณวารหลัก ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมโดยแบบแผนเพียงเท่านี้. การบรรลุมรรคผลไม่

เกิดแม้ด้วยเทศนาครั้งเดียว. แต่จักเป็นปัจจัยแก่ภิกษุนั้นในอนาคต เพราะเหตุ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความที่

ธรรมนั้นจะเป็นปัจจัยในอนาคตเมื่อยังมีพระชนม์อยู่ จึงไม่ทรงแต่งตั้งภิกษุแม้

รูปหนึ่งไว้ในเอตทัคคะในเมตตาวิหารี (มีธรรมเป็นเครื่องอยู่คือเมตตา).

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า ในอนาคตภิกษุนี้จักบวชในศาสนา

ของเราแล้วจักเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้เป็นเมตตาวิหารี. ภิกษุนั้นเมื่อพระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 641

ภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว บังเกิดในกรุงปาตลีบุตร ในสมัยของพระเจ้าธรรมา-

โศกราชบวชแล้ว ครั้นบวชแล้วได้บรรลุพระอรหัต มีชื่อว่าพระอัสสคุตตเถระ

ได้เป็นผู้เลิศแห่งภิกษุผู้เป็นเมตตาวิหารี. ด้วยอานุภาพแห่งเมตตาของพระ-

เถระ แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายก็ได้รับเมตตาจิต. พระเถระเป็นอาจารย์สั่งสอน

ภิกษุสงฆ์ในสกลชมพูทวีป อาศัยอยู่ที่ วัตตนิเสนาสนะ. ดงประมาณ ๓๐ โยชน์

ได้เป็นเรือนสำหรับทำความเพียรอย่างเดียว. พระเถระลาดแผ่นหนังไว้บน

อากาศแล้วนั่งบนแผ่นหนังนั้นบอกกรรมฐาน. เมื่อกาลผ่านไปพระเถระไม่ไป

บิณฑบาต นั่งบอกกรรมฐานอยู่ในวิหาร. มนุษย์ทั้งหลายไปยังวิหารได้ถวาย

ทาน. พระเจ้าธรรมาโศกราชได้สดับคุณของพระเถระ มีพระประสงค์จะทรง

เห็น ได้ทรงส่งคนไปนิมนต์ถึง ๓ ครั้ง. พระเถระดำริว่า เราจะให้โอวาทแก่

ภิกษุสงฆ์ ดังนี้แล้วจึงมิได้ไปแม้แต่ครั้งเดียวด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจูฬสกุลุทายิสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 642

๑๐. เวขณสสูตร

เรื่องเวขณปริพาชก

[๓๘๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวขณสปริพาชก

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

เปรียบเทียบวรรณ ๒ อย่าง

[๓๙๐] เวขณสปริพาชกยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้เปล่ง

อุทานในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง

ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนกัจจานะ ท่านทำไมจึงกล่าว

อย่างนี้ว่า นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง นี้เป็นวรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ ก็วรรณอย่างยิ่ง

นั้นเป็นไฉน.

เว. ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีต

กว่าวรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง.

ภ. ดูก่อนกัจจานะ วรรณไหนเล่า ที่ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือ

ประณีตกว่า.

ข้าแต่ท่านพระโคดม วรรณใด ไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า

วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 643

[๓๙๑] ดูก่อนกัจจานะ ท่านกล่าวแต่เพียงว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม

วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็นวรรณอย่างยิ่ง

ดังนี้ วาจานั้นของท่านพึงขยายออกอย่างยืดยาว แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นได้

ดูก่อนกัจจานะ เปรียบเหมือนบุรุษพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราปรารถนารักใคร่นาง

ชนปทกัลยาณี ในชนบทนี้ คนทั้งหลายพึงถามเขาอย่างนี้ว่า พ่อ นางชนปท-

กัลยาณีที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้นพ่อรู้จักหรือว่า เป็นนางกษัตริย์ พราหมณี

แพศย์ หรือศูทร เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่า หามิได้ คน

ทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณีที่พ่อปรารถนารักใคร่นั้น พ่อ

จักรู้หรือว่า นางมีวรรณอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขา

พึงตอบว่า หามิได้ คนทั้งหลายพึงถามเขาว่า พ่อ นางชนปทกัลยาณีที่พ่อ

ปรารภรักใคร่นั้น พ่อรู้จักหรือว่า สูง ต่ำ หรือพอสันทัด ดำ ขาว หรือมี

ผิวคล้ำ อยู่ในบ้าน นิคม หรือนครโน้น เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึง

ตอบว่า หามิได้ คนทั้งหลายพึงกล่าวกะเขาว่า พ่อ พ่อปรารถนารักใคร่หญิงที่

พ่อไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นนั้นหรือ เมื่อเขาถูกถามดังนี้แล้ว เขาพึงตอบว่าถูก

แล้ว ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นเช่นนี้ คำ

กล่าวของบุรุษนั้น ถึงความเป็นคำใช้ไม่ได้ มิใช่หรือ.

แน่นอน พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น คำกล่าวของบุรุษนั้น

ถึงความเป็นคำใช้ไม่ได้.

ดูก่อนกัจจานะ ข้อนี้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นแล กล่าวอยู่แต่ว่า ข้าแต่

พระโคดม วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า วรรณนั้นเป็น

วรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ไม่ชี้วรรณนั้น.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 644

ข้าแต่ท่านพระโคดม เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่าง

บริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวางไว้ที่ผ้ากัมพลแดงย่อมสว่าง

ไสวส่องแสงเรื่องอยู่ฉันใด ตัวตนก็ฉันนั้น เมื่อตายไป ย่อมเป็นของมีวรรณ

ไม่มีโรค.

[๓๙๒] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แก้ว-

ไพฑูรย์อันงามเกิดเองอย่างบริสุทธิ์ ๘ เหลี่ยม นายช่างเจียระไนดีแล้ว เขาวาง

ไว้ที่ผ้ากัมพลแดง ย่อมสว่างไสวส่องแสงเรื่องอยู่ ๑ แมลงหิ่งห้อยในเวลาเดือน

มืดในราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่า

กัน.

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ แมลงหิ่งห้อยในเวลา

เดือนมืดในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

[๓๙๓] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน แมลง

หิ่งห้อยในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑ ประทีปน้ำมันในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑

บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ประทีปน้ำมันในเวลา

เดือนมืดในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

[๓๙๔] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ประทีป

น้ำมันในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑ กองไฟใหญ่ในเวลาเดือนมืดในราตรี ๑

บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ กองไฟใหญ่ในเวลา

เดือนมืดในราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 645

[๓๙๕] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน กองไฟ

ใหญ่เวลาเดือนมืดในราตรี ๑ ดาวพระศุกร์ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ

ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ๑ บรรดาวรรณทั้ง ๒ นี้ วรรณทั้ง ๒ นี้วรรณไหน

จะงามกว่าและประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดาวพระศุกร์ในอากาศ

อันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรีนี้ งามกว่าด้วย ประณีต

กว่าด้วย.

[๓๙๖] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ดาว

พระศุกร์ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ๑ ดวง-

จันทร์ในเวลาเทียงคืนตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆในวันอุโบสถที่

๑๕ ค่ำ [เพ็ญกลางเดือน] ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและ

ประณีตกว่ากัน.

ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดวงจันทร์ในเวลา

เที่ยงคืนตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ำ นี้งาม

กว่าด้วย ประณีตกว่าด้วย.

[๓๙๗] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ดวงจันทร์

ในเวลาเที่ยงคืนตรง ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ำ

๑ ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง ในอากาศอันกระจ่าง ปราศจากเมฆในสรทสมัย

เดือนท้ายฤดูฝน ๑ บรรดาวรรณทั้งสองนี้ วรรณไหนจะงามกว่าและประณีต

กว่ากัน.

ข้าแต่พระโคดม บรรดาวรรณทั้งสองนี้ ดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง

ในอากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสรทสมัยเดือนท้ายฤดูฝนนี้ งามกว่าด้วย

ประณีตกว่าด้วย.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 646

[๓๙๘] ดูก่อนกัจจานะ เทวดาเหล่าใดย่อมสู้แสงพระจันทร์และแสง

พระอาทิตย์ไม่ได้ เทวดาเหล่านั้นมีมากยิ่งกว่าเทวดาพวกที่สู้แสงพระจันทร์

และแสงพระอาทิตย์ได้ เรารู้เรื่องเช่นนั้นดีอยู่ ถึงกระนั้น เราก็ไม่กล่าวว่า

วรรณใดไม่มีวรรณอื่นยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านก็ชื่อว่า

กล่าวอยู่ว่า วรรณใดเลวกว่าและเศร้าหมองกว่าแมลงหิ่งห้อย วรรณนั้นเป็น

วรรณอย่างยิ่ง ดังนี้ แต่ท่านไม่ชี้วรรณนั้นเท่านั้น.

ดูก่อนกัจจานะ กามคุณ ๕ เหล่านี้ กามคุณ ๕ เป็นไฉน คือ รูปที่

พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกามเป็น

ที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตะ. . .กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ. . .

รสที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา. . .โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.

ดูก่อนกัจจานะ กามคุณ ๕ เหล่านี้แล ความสุขโสมนัสอันใด อาศัย

กามคุณ ๕ เหล่านั้นเกิดขึ้น ความสุขโสมนัสนี้เรากล่าวว่า กามสุข [สุขเกิดแต่

กาม] ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันเรากล่าวกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย กล่าว

สุขอันเป็นที่สุดของกาม ว่าเลิศกว่ากามสุข ในความสุขอันเป็นที่สุขของกามนั้น

เรากล่าวว่าเป็นเลิศ.

สรรเสริญสุขอันเป็นที่สุดของกาม

[๓๙๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อที่พระโคดมผู้เจริญตรัสกามสุขว่าเลิศ

กว่ากามทั้งหลาย ตรัสความสุขอันเป็นที่สุดของกามว่าเลิศกว่ากามสุข ในความ

สุขอันเป็นที่สุดของกามนั้นตรัสว่าเป็นเลิศนี้ ตรัสดีน่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา.

๑. หมายเอานิพพาน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 647

ดูก่อนกัจจานะ ข้อที่ว่ากามก็ดี กามสุขก็ดี สุขอันเป็นที่สุดของการ

ก็ดี นี้ยากที่ท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจเป็นอย่างอื่น มีความ

ชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความประกอบเนื้อความเป็นประการอื่น มีลัทธิอาจารย์

เป็นประการอื่นจะพึงรู้ได้ ดูก่อนกัจจานะ ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ มีกรณียะได้ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์

ของตนอันถึงแล้วตามลำดับ มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะ

รู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นแล จะพึงรู้ข้อที่ว่า กาม กามสุข หรือสุขอันเป็น

ที่สุดของกามนี้ได้.

[๔๐๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชก

โกรธ ขัดใจ เมื่อจะด่าว่าติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าคิดว่า เราจักให้พระสมณ-

โคดมได้รับความเสียหาย ดังนี้ จึงได้กราบทูลว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น สมณ-

พราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น ไม่รู้เงื่อนเบื้องปลาย แต่

ปฏิญาณอยู่ว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้ ภาษิตของสมณพราหมณ์

เหล่านั้น ถึงความเป็นคำน่าหัวเราะทีเดียว ถึงความเป็นคำต่ำช้าอย่างเดียว ถึง

ความเป็นคำเปล่า ถึงความเป็นคำเหลวไหลแท้ ๆ.

[๔๐๑] ดูก่อนกัจจานะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้อง

ต้น เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องปลาย มาปฏิญาณว่า เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่าง

นี้มิได้มี ดังนี้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควรถูกข่มขี่สมกับเหตุ ดูก่อนกัจจานะ

ก็แต่ว่าเงื่อนเบื้องต้นจงงดไว้เถิด เงื้อนเบื้องปลายจงงดไว้เถิด บุรุษผู้รู้ความ

ไม่เป็นคนโออวด ไม่มีมายา เป็นคนชื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจะสั่งสอน

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 648

เราจะแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานก็รู้จักเอง จักเห็น

เอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก คือ เครื่องผูก

คืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.

ดูก่อนกัจจานะ เปรียบเหมือนเด็กอ่อนยังนอนหงาย จะพึงถูกเขาผูก

ไว้ด้วยเครื่องผูกที่ข้อเท้าทั้งสอง ที่ข้อมือทั้งสอง ที่คอหนึ่ง เป็นห้าแห่ง เครื่อง

ผูกเหล่านั้น จะพึงหลุดไปเพราะเด็กนั้นถึงความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย เขา

พึงรู้ว่าเป็นผู้พ้น และเครื่องผูกก็ไม่มี ฉันใด กัจจานะ บุรุษผู้รู้ความก็ฉัน

นั้นแล เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นคนซื่อตรง ขอจงมาเถิด เราจัก

สั่งสอน เราจักแสดงธรรม เมื่อปฏิบัติได้ตามคำที่เราสอนแล้ว ไม่นานนักก็

จักรู้เอง จักเห็นเอง ได้ยินว่า การที่จะหลุดพ้นไปได้โดยชอบจากเครื่องผูก

คือเครื่องผูกคืออวิชชา ก็เป็นอย่างนั้น.

เวขณสปริพาชกแสดงตนเป็นอุบาสก

[๔๐๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงาย

ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด

ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ฉันใด พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนก

ปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มี

พระภาคเจ้า พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ

ทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบเวขณสสูตรที่ ๑๐

จบปริพพาชกวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 649

๑๐. อรรถกถาเวขณสสูตร

เวขณสสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมา

อย่างนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า เวขณโส ได้ยินว่าเวขณสปริพาชกนี้

เป็นอาจารย์ของสกุลุทายีปริพพาชก. เวขณสปริพาชกนั้นได้ยินว่า สกุลุทายี

ปริพาชก แพ้ปัญหามีวรรณอย่างยิ่งจึงคิดว่า สกุลุทายีนั้นเราให้เรียนเป็นอย่าง

ดีแล้ว แม้สกุลุทายีก็เรียนได้ดี เขาแพ้ได้อย่างไรหนอ เอาละ เราจะไปเอง

ทูลถามปัญหามีวรรณยิ่งกะพระสมณโคดมแล้วจักรู้ได้. จึงไปกรุงสาวัตถีประมาณ

๔๕ โยชน์จากกรุงราชคฤห์ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ยืน

เปล่งอุทานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ในบทนั้นพึงทราบโดยนัยดังกล่าว

แล้ว เช่นกับสูตรก่อนนั่นแหละ. เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง

เริ่มว่า ปญฺจ โข อิเม กามคุณ ๕ เหล่านี้. คนบางคนแม้ครองเรือนก็เป็น

ผู้หนักในกามน้อมไปในกาม. บางคนเป็นผู้หนักโนเนกขัมมะน้อมไปในเนก-

ขัมมะ อนึ่ง บางคนเป็นบรรพชิต เป็นผู้หนักในกามน้อมไปในกาม. บาง

คนเป็นผู้หนักในเนกขัมมะ น้อมไปในเนกขัมมะ. บุคคลนี้ชื่อว่า เป็นผู้หนักใน

กาม บุคคลนั้นเมื่อเขากล่าวกถานี้จักกำหนดควานที่ตนน้อมไปในกาม เทศนา

นี้จักเป็นที่สบายของบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่ม

เทศนานี้. บทว่า กามคฺคสุข สุขอันเป็นที่สุดของกาม ท่านประสงค์เอา

นิพพาน. บทว่า ปาปิโต ภวิสฺสติ จักให้พระสมณโคดมได้รับความเสีย

หาย คือจักให้ถึงความไม่รู้. บทว่า ลามกเย สมฺปชฺชติ ถึงความเป็น

ธรรมต่ำช้า คือ ถึงความเป็นธรรมเพียงคำพูดอันไร้ประโยชน์นั่นเอง. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 650

ติฏฺตุ ปุพฺพนฺโต ติฏฺตุ อปรนฺโต เงื่อนเบื้องต้น จงงดไว้เถิด เงื่อน

เบื้องปลายจงงดไว้เถิด. เพราะบุพเพนิวาสญาณอันสมควรแก่กถาในอดีตของ

ท่านไม่มี. ทิพจักขุญาณอันสมควรแก่กถาในอนาคตก็ไม่มี. ฉะนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็จงลดไว้เถิด . บทว่า สุตฺตพนฺธเนหิ

คือด้วยเครื่องผูกทำด้วยด้าย คือเขาผูกด้ายไว้ที่มือเท้าและที่คอเพื่อดูแลทารก

นั้น . เครื่องผูกนี้ท่านหมายถึงด้ายนั้น. แต่ครั้นเป็นผู้ใหญ่ เครื่องผูกเหล่านั้น

เปื่อยจะหลุดไปเอง หรือตัดออกไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบทนี้ด้วย

บทว่า เอวเมว โข ดังนี้. การไม่รู้ที่สุดเบื้องต้นแห่งอวิชชา ดุจกาลที่เด็ก

อ่อนไม่รู้เครื่องผูกทำด้วยด้ายฉะนั้น. เพราะไม่สามารถรู้ที่สุดแห่งอวิชชาได้.

แต่การรู้ว่า ความพ้นแห่งเครื่องผูกคืออวิชชา ด้วยอรหัตมรรค เช่นกับการรู้

ในเวลาพ้น. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาเวขณสสูตรที่ ๑๐

จบปริพาชกวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรในวรรคนี้มี ๑๐ สูตร คือ

๑. จูฬวัจฉโคตตสูตร ๒. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

๓. มหาวัจฉโคตตสูตร ๔. ทีฆนขสูตร

๕. มาคัณฑิยสูตร ๖. สันทกสูตร

๗. มหาสกุลุทายิสูตร ๘. สมณมุณฑิกสูตร

๙. จูฬสกุลุทายิสูตร ๑๐. เวขณสสูตร