พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 1
พระสุตตันตปิฎก
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
เล่มที่ ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น
๑. มูลปริยายสูตร (๑)
(๑) ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ควงไม้พญารัง ใน
สุภควัน เขตเมืองอุกกัฏฐา. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธ-
พจน์นี้ว่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงเหตุที่เป็นมูลของ
ธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟังเหตุนั้น จง
ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
(๒) พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งทลาย ปุถุชนในโลกนี้ ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดใน
ธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 2
สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม้ได้รับแนะนำในธรรมของ
สัตบุรุษ.
ย่อมหมายรู้ธาตุดิน โดยความเป็นธาตุดิน ครั้นหมายรู้ธาตุดินโดย
ความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมสำคัญหมายธาตุดิน ย่อมสำคัญหมายในธาตุดิน
ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมสำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา
ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. ? เราตถาคตกล่าวว่า
เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ โดยความเป็นธาตุน้ำ ครั้นหมายรู้ธาตุน้ำโดย
ความเป็นธาตุน้ำแล้ว ย่อมสำคัญหมายธาตุน้ำ ย่อมสำคัญหมายในธาตุน้ำ
ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุนั้น ย่อมสำคัญหมายธาตุน้ำว่าของเรา
ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุน้ำ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะ
เขาไม่ได้กำหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ธาตุไฟ โดยความเป็นธาตุไฟ ครั้นหมายรู้ธาตุไฟ
โดยความเป็นธาตุไฟแล้ว ย่อมสำคัญหมายธาตุไฟ ย่อมสำคัญหมายใน
ธาตุไฟ ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุไฟ ย่อมสำคัญหมายธาตุไฟว่า
ของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุไฟ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคต
กล่าว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ธาตุลม โดยความเป็นธาตุลม ครั้นหมายรู้ธาตุลม
โดยความเป็นธาตุลมแล้ว ย่อมสำคัญหมายธาตุลม ย่อมสำคัญหมายใน
ธาตุลม ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุลม ย่อมสำคัญหมายธาตุลมว่า
ของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุลม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคต
กล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 3
ย่อมหมายรู้สัตว์ โดยความเป็นสัตว์ ครั้นหมายรู้สัตว์โดยความ
เป็นสัตว์แล้ว ย่อมสำคัญหมายสัตว์ ย่อมสำคัญหมายในสัตว์ ย่อมสำคัญ
หมายโดยความเป็นสัตว์ ย่อมสำคัญหมายสัตว์ว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่ง
สัตว์ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้
กำหนดรู้.
ย่อมหมายรู้เทวดา โดยความเป็นเทวดา ครั้นหมายรู้เทวดาโดย
ความเป็นเทวดาแล้ว ย่อมสำคัญหมายเทวดา ย่อมสำคัญหมายในเทวดา
ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นเทวดา ย่อมสำคัญหมายเทวดาว่าของเรา
ย่อมยินดียิ่งซึ่งเทวดา ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า
เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ปชาบดีมาร โดยความเป็นปชาบดีมาร ครั้นหมายรู้
ปชาบดีมารโดยความเป็นปชาบดีมารแล้ว ย่อมสำคัญหมายปชาบดีมาร
ย่อมสำคัญหมายในปชาบดีมาร ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นปชาบดีมาร
ย่อมสำคัญปชาบดีมารว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งปชาบดีมาร ข้อนั้นเพราะ
เหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
ย่อมหมายรู้พรหม โดยความเป็นพรหม ครั้นหมายรู้พรหมโดย
ความเป็นพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมายพรหม ย่อมสำคัญหมายในพรหม
ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นพรหม ย่อมสำคัญหมายพรหมว่าของเรา
ย่อมยินดียิ่งซึ่งพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า
เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
ย่อมหมายรู้อาภัสสรพรหม โดยความเป็นอาภัสสรพรหม ครั้น
หมายรู้อาภัสสรพรหมโดยความเป็นอาภัสสรพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 4
อาภัสสรพรหม ย่อมสำคัญหมายในอาภัสสรพรหม ย่อมสำคัญหมายโดย
ความเป็นอาภัสสรพรหม ย่อมสำคัญหมายอาภัสสรพรหมว่าของเรา ย่อม
ยินดียิ่งซึ่งอาภัสสรพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าว่า
เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
ย่อมหมายรู้สุภกิณหพรหม โดยความเป็นสุภกิณหพรหม ครั้น
หมายรู้สุภกิณหพรหมโดยความเป็นสุภกิณหพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมาย
สุภกิณหพรหม ย่อมสำคัญหมายในสุภกิณหพรหม ย่อมสำคัญหมายโดย
ความเป็นสุภกิณหพรหม ย่อมสำคัญหมายสุภกิณหพรหมว่าของเรา ย่อม
ยินดียิ่งซึ่งสุภกิณหพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า
เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.
ย่อมหมายรู้เวหัปผลพรหม โดยความเป็นเวหัปผลพรหม ครั้น
หมายรู้เวหัปผลพรหมโดยความเป็นเวหัปผลพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมาย
เวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญหมายในเวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญหมายโดย
ความเป็นเวหัปผลพรหม ย่อมสำคัญหมายเวหัปผลพรหมว่าของเรา ย่อม
ยินดียิ่งซึ่งเวหัปผลพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะตถาคตกล่าวว่า
เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.
ย่อมหมายรู้อสัญญีสัตว์ โดยความเป็นอสัญญีสัตว์ ครั้นหมาย
รู้อสัญญีสัตว์โดยความเป็นอสัญญีสัตว์แล้ว ย่อมสำคัญหมายอสัญญีสัตว์
ย่อมสำคัญหมายในอสัญญีสัตว์ ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นอสัญญีสัตว์
ย่อมสำคัญหมายอสัญญีสัตว์ว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งอสัญญีสัตว์. ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.
ย่อมหมายรู้อากาสานัญจายตนพรหม โดยความเป็นอากาสานัญ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 5
จายตนพรหม ครั้นหมายรู้อากาสานัญจายตนพรหมโดยความเป็นอากาสา-
นัญจายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมายอากาสานญจายตนพรหม ย่อม
สำคัญหมายในอากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็น
อากาสานัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญหมายอากาสานัญจายตนพรหมว่าของ
เรา ย่อมยินดียิงซึ่งอากาสานญจายตนพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ?
เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.
ย่อมหมายรู้วิญญาณัญจายตนพรหม โดยความเป็นวิญญาณัญจาย-
ตนพรหม ครั้นหมายรู้วิญญาณัญจายตนพรหมโดยความเป็นวิญญาณัญ-
จายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมายวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญ
หมายในวิญญาณัญจายตนพรหม ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นวิญญาณัญ-
จายตนพรหม ย่อมสำคัญวิญญาณัญจายตนพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่ง
วิญญาณัญจายตนพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า
เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
ย่อมหมายรู้อากิญจัญญายตนพรหม โดยความเป็นอากิญจัญญาย-
ตนพรหม ครั้นหมายรู้อากิญจัญญายตนพรหมโดยความเป็นอากิญจัญญาย-
ตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมายอากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญหมายใน
อากิญจัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นอากิญจัญญายตน-
พรหม ย่อมสำคัญหมายอากิญจัญญายตนพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่ง
อากิญจัญญายตนพรหม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า
เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
ย่อมหมายรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม โดยความเป็นเนว-
สัญญานาสัญญายตนพรหม ครั้นหมายรู้เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมโดย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 6
ความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมแล้ว ย่อมสำคัญหมายเนวสัญญา-
นาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญหมายในเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อม
สำคัญหมายโดยความเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ย่อมสำคัญหมาย
เนวสัญญานาสัญญายตนพรหมว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งเนวสัญญานาสัญ-
ญายตนพรหม. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขา
ไม่ได้กาหนดรู้.
ย่อมหมายรู้รูปที่ตนเห็น โดยความเป็นรูปที่ตนเห็น ครั้นหมายรู้
รูปที่ตนเห็นโดยความเป็นรูปที่ตนเห็นแล้ว ย่อมสำคัญหมายรูปที่ตนเห็น
ย่อมสำคัญหมายในรูปที่ตนเห็น ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นรูปที่ตนเห็น
ย่อมสำคัญหมายรูปที่ตนเห็นว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งรูปที่ตนเห็น. ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.
ย่อมหมายรู้เสียงที่ตนฟัง โดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง ครั้นหมาย
รู้เสียงที่ตนฟังโดยความเป็นเสียงที่ตนฟังแล้ว ย่อมสำคัญหมายเสียงที่ตนฟัง
ย่อมสำคัญหมายในเสียงตนฟัง ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นเสียงที่ตนฟัง
ย่อมสำคัญหมายเสียงที่ตนฟังว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งเสียงที่ตนฟัง. ข้อ
นั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.
ย่อมหมายรู้อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ โดย
ความเป็นอารมณ์ที่ตนทราบ ครั้นหมายรู้อารมณ์ที่ตนทราบโดยความเป็น
อารมณ์ที่ตนทราบแล้ว ย่อมสำคัญหมายอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสำคัญ
หมายในอารมณ์ที่ตนทราบ ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นอารมณ์ที่ตน
ทราบ ย่อมสำคัญหมายอารมณ์ที่ตนทราบว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งอารมณ์
ที่ตนทราบ. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 7
ได้กำหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง โดยความเป็นธรรมารมณ์ที่
ตนรู้แจ้ง ครั้นหมายรู้ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่
ตนรู้แจ้งแล้ว ย่อมสำคัญหมายธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสำคัญหมายใน
ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นธรรมารมณ์ที่ตนรู้
แจ้ง ย่อมสำคัญหมายธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้งว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่ง
ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า
เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน โดยความเป็น
อันเดียวกัน ครั้นหมายรู้ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกันโดยความเป็น
อันเดียวกันแล้ว ย่อมสำคัญหมายความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ย่อม
สำคัญหมายในความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ย่อมสำคัญหมายโดย
ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ย่อมสำคัญหมายความที่สักกายทิฏฐิ
เป็นอันเดียวกันว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียว
กัน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กา-
หนดรู้.
ย่อมหมายรู้ความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน โดยความเป็นของต่างกัน
ครั้นหมายรู้ความที่สักกายทิฏฐิต่างกันโดยความเป็นของต่างกันแล้ว ย่อม
สำคัญหมายความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน ย่อมสำคัญหมายในความที่สักกาย-
ทิฏฐิต่างกัน ย่อมสำคัญหมายโดยความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน ย่อมสำคัญ
หมายความที่สักกายทิฏฐิต่างกันว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งความที่สักกาย-
ทิฏฐิต่างกัน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 8
ได้กาหนดรู้.
ย่อมหมายรู้สักกายทิฏฐิทั้งปวง โดยความเป็นสักกายทิฏฐิทั้งปวง
ครั้นหมายรู้สักกายทิฏฐิทั้งปวงโดยความเป็นสักกายทิฏฐิทั้งปวงแล้ว ย่อม
สำคัญหมายสักกายทิฏฐิทั้งปวง ย่อมสำคัญหมายในสักกายทิฏฐิทั้งปวง
ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นสักกายทิฏฐิทั้งปวง ย่อมสำคัญหมายสักกาย-
ทิฏฐิทั้งปวงว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งสักกายทิฏฐิทั้งปวง. ข้อนั้นเพราะ
เหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.
ย่อมหมายรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้
พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมสำคัญหมายพระนิพพาน
ย่อมสำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมสำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน
ย่อมสำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน. ข้อ
นั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กาหนดรู้.
กำหนดภูมินัยที่ ๑ ด้วยอำนาจปุถุชน.
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นเสขบุคคล ยังไม่บรรลุ
พระอรหัตตผล เมื่อปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะซึ่งไม่มีธรรม
อื่นยิ่งกว่าอยู่ แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้น
หมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว อย่าสำคัญหมายธาตุดิน อย่า
สำคัญหมายในธาตุดิน อย่าสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน อย่าสำคัญ
หมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ?
เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาควรกาหนดรู้.
ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-
มาร__ พรหม__อาภัสสรพรหม __ สุภกิณหพรหม __ เวหัปผลพรหม __
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 9
อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__อากิญ-
จัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__ เสียง
ที่ตนฟัง อารมณ์ที่ตนทราบ __ ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ ความที่สักกาย-
ทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน __ความที่สักกายทิฏฐิต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.
ย่อมหมายรู้พระนิพพาน โดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้
พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว อย่าสำคัญหมายพระนิพพาน
อย่าสำคัญหมายในพระนิพพาน อย่าสำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน
อย่าสำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา อย่ายินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน. ข้อ
นั้นเพราะเหตุอะไร. ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเขาควรกำหนดรู้.
กาหนดภูมินัยที่ ๒ ด้วยอำนาจเสขบุคคล.
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์
ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญา
อันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้น
หมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่
สำคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่
สำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะ
เหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเธอกาหนดรู้แล้ว.
ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-
มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__
อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__
อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 10
เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์
ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายทิฏฐิต่าง
กัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้
พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายพระ
นิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความ
เป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ยินดี
ยิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะ
เธอกาหนดรู้แล้ว.
กาหนดภูมินัยที่ ๓ ด้วยอำนาจพระขีณาสพ.
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์
ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญา
อันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้น
หมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดิน ย่อม
ไม่สำคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่
สำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะเธอปราศจากราคะ เหตุราคะสิ้นไป.
ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-
มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__
อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__
อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 11
เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์
ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายทิฏฐิ
ต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้
พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายพระ
นิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความ
เป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ยินดี
ยิ่งซึ่งพระนิพพาน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะเธอปราศจากราคะ
เหตุราคะสิ้นไป.
กำหนดภูมินัยที่ ๔ ด้วยอำนาจพระขีณาสพ.
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหัตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์
ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญา
อันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้น
หมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายในธาตุดิน
ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดินว่าของ
เรา ย่อมไม่ยินดีซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะเธอ
ปราศจากโทสะ เหตุโทสะสิ้นไป.
ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-
มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__
อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__
อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 12
เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมา-
รมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฎฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายทิฏฐิ
ต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้
พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายพระ
นิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความ
เป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ยินดี
ยิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะเธอปราศจากโทสะ
เหตุโทสะสิ้นไป.
กำหนดภูมินัยที่ ๕ ด้วยอำนาจพระขีณาสพ.
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุใด เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว บรรลุถึงประโยชน์
ตนแล้ว สิ้นกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพแล้ว หลุดพ้นด้วยปัญญา
อันชอบแล้ว แม้ภิกษุนั้น ย่อมหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้น
หมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดิน ย่อม
ไม่สำคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อม
ไม่สำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะ
เหตุอะไร ? เพราะเธอปราศจากโมหะ เหตุโมหะสิ้นไป.
ย่อมหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__ปชาบดี-
มาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผลพรหม__
อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__
อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 13
เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ ( กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์
ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน ความที่สักกายทิฏฐิต่าง
กัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.
ย่อมหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นหมายรู้
พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายพระ
นิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความ
เป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ยินดี
ยิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะเธอปราศจากโมหะ
เหตุโมหะสิ้นไป.
กาหนดภูมินัยที่ ๖ ด้วยอำนาจพระขีณาสพ.
(๘) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้า ทรงหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงหมายรู้ธาตุดิน
โดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่ทรง
สำคัญหมายในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อม
ไม่ทรงสำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะธาตุดินนั้น พระตถาคต
กาหนดรู้แล้ว.
ย่อมทรงหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__
ปชาบดีมาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__สุภกิณหพรหม__เวหัปผล-
พรหม__อสัญญีสัตว์__อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาญัญจายตนพรหม
__อากิญจัญญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น
__เสียงที่ตนฟัง__อารมณ์ (กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14
ธรรมารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่
สักกายทิฏฐิต่างกัน__สักกายทิฏฐิทั้งปวง.
ย่อมทรงหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรง
หมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญหมาย
พระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญ
หมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายพระนิพพาน ย่อม
ไม่ทรงสำคัญหมายโดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายพระ
นิพพานว่าของเรา ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะ
เหตุอะไร ? เราตถาคตกล่าวว่า เพราะพระนิพพานนั้น พระตถาคตทรง
กาหนดรู้แล้ว.
กาหนดภูมินัยที่ ๗ ด้วยอำนาจพระศาสดา.
(๙) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้า ทรงหมายรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงหมายรู้ธาตุดิน
โดยความเป็นธาตุดินจริงแล้ว ย่อมไม่สำคัญหมายธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญ
หมายธาตุในธาตุดิน ย่อมไม่สำคัญหมายโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่
สำคัญหมายธาตุดินว่าของเรา ย่อมไม่ยินดียิ่งซึ่งธาตุดิน. ข้อนั้นเพราะ
เหตุอะไร ? เพราะทรงทราบอย่างนี้ว่า นันทิ ความเพลิดเพลินเป็นมูล
รากของทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ก็มีชรามรณะ ด้วย
ประการอย่างนี้ (จึงไม่สำคัญธาตุดิน__). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
เหตุนั้นแล พระตถาคตจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้น
ตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้โดย
ประการทั้งปวง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 15
ย่อมทรงหมายรู้ธาตุน้ำ__ธาตุไฟ__ธาตุลม__สัตว์__เทวดา__
ปชาบดีมาร__พรหม__อาภัสสรพรหม__ สุภกิณหพรหม__ เวหัปผล-
พรหม__อสัญญีสัตว์__ อากาสานัญจายตนพรหม__วิญญาณัญจาตน-
พรหม__อากิญจัญญายตนพรหม__วิญญาณัญจายตนพรหม__อากิญจัญ-
ญายตนพรหม__เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม__รูปที่ตนเห็น__เสียงที่
ตนฟัง__อารมณ์ ( กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) ที่ตนทราบ__ธรรมารมณ์
ที่ตนรู้แจ้ง__ความที่สักกายะทิฏฐิเป็นอันเดียวกัน__ความที่สักกายะทิฏฐิ
ต่างกัน__สักกายะทิฏฐิทั้งปวง__.
ทรงหมายรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงหมาย
รู้พระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายพระ
นิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมายในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญหมาย
โดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่สำคัญหมายพระนิพพานว่าของเรา
ย่อมไม่ทรงยินดียิ่งซึ่งพระนิพพาน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะ
ทรงทราบอย่างนี้ว่า นันทิ เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์ และว่า เพราะภพจึงมี
ชาติ สัตว์เกิดแล้วจึงมีชรามรณะ ด้วยประการอย่างนี้ (จึงไม่สำคัญธาตุ
ดิน__). ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล พระตถาคตจึงตรัสรู้
อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา
สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.
กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยอำนาจพระศาสดา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม
ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.
มูลปริยายสูตรที่ ๑ จบ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 16
อรรถกถามูลปริยายสูตร
เอวมฺเม สุต ฯเปฯ สพฺพธมฺมปริยาย
บทนมัสการพระรัตนตรัย
ข้าพเจ้าขอวันทาพระสุคตเจ้า ผู้มีความมืด คือ โมหะอันกำจัด
แล้วด้วยแสงสว่าง คือปัญญา หลุดพ้นแล้วจากคติ (ทั้งปวง) มีพระ
หฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณา เป็นครูแห่งสัตว์โลกทั้งมนุษย์และเทวดา.
แม้องค์พระพุทธเจ้าทรงเข้าถึงซึ่งพระธรรมอันปราศจากมลทินใด
จึงทรงทำให้เกิดและทำให้แจ้งซึ่งความเป็นพระพุทธ ข้าพเจ้าขอวันทา
พระธรรมอันเลิศนั้น.
ข้าพเจ้าขอวันทาพระอริยสงฆ์ คือ ชุมนุมแห่งพระอริยบุคคลทั้ง ๘
ผู้เป็นพระบุตร เกิดแต่พระอุระแห่งพระสุคตเจ้า ผู้ย่ำยีมารและเสนามาร
เสียได้.
บุญอันสำเร็จด้วยการวันทาพระรัตนตรัยของข้าพเจ้า ผู้มีใจเลื่อมใส
ดังนี้อันใด ด้วยอานุภาพแห่งบุญนั้น ข้าพาเจ้าเป็นผู้มีอันตรายอันขจัดเสีย
ได้ด้วยดีแล้ว อรรถกถาอันใดที่พระอรหันต์ผู้เชี่ยวชาญ ๕๐๐ องค์
สังคายนา (ร้อยกรอง) ไว้แต่เบื้องแรก และที่พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย
สังคายนา (ร้อยกรอง) เพิ่มเติมในภายหลังก็ดี เพื่อประกาศ (อธิบาย)
เนื้อความแห่งพระสูตร มัชฌิมนิกาย ในคัมภีร์นี้ อันกำหนดหมายด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 17
พระสูตรขนาดกลาง (ไม่ยาวไม่สั้น) ที่พระพุทธองค์พระสาวก
กล่าวสังวรรณนาไว้ ย่ำยีเสียได้ซึ่งลัทธิอื่น ครั้นแล้วพระมหินทมหาเถระ
ผู้เชี่ยวชาญได้นำมาสู่เกาะสีหล ฐาปนา (จารึก) ไว้ในภาษาสีหล
เพื่อประโยชน์แก่ชาวเกาะ ข้าพเจ้าจักนำภาษาสีหลออกแล้วยกขึ้นสู่ภาษา
อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ สมควรที่จะเป็นแบบแผนได้ ปราศจากโทษ (คือ
ภาษามคธ) อีกทอดหนึ่ง ประกาศ (อธิบาย) เนื้อความมิให้ขัดมติ
ของพระเถระคณะมหาวิหารผู้เป็นประทีปแห่งเถรวงศ์ มีการวินิจฉัยละเอียด
ดี โดยเว้นความที่ซ้ำ ๆ กันเสียบ้าง เพื่อความพอใจแห่งสาธุชน และ
เพื่อความตั้งอยู่นานแห่งพระธรรม.
ส่วนข้อธรรม คือ สีลกถา ธุตธรรม (เรื่องธุดงค์) กรรมฐาน
ทุกอย่าง ฌานสมาบัติอย่างพิสดาร พร้อมทั้งจริยาวิธาน (แจงจริต
ของบุคคล) อภิญญาทั้งปวง การวินิจฉัย ปัญญาทั้งสิ้น ขันธ์ ธาตุ
อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ ๔ การแสดง ปัจจยาการ (คือ ปฏิจจ-
สมุปบาท) มีนัยบริสุทธิ์ละเอียดดี พอเป็นแบบที่เชื่อได้ และวิปัสสนา-
ภาวนา ทั้งปวง (นี้) ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคอย่าง
หมดจดดี เหตุใด เหตุนั้น ข้าพเจ้าจักไม่วิจารณ์ข้อธรรมทั้งปวงนั้นยิ่งขึ้น
ไปละ.
วิสุทธิมรรคนั้น ข้าพเจ้ารจนาทำด้วยคิดว่า วิสุทธิมรรคจักตั้งอยู่
ในท่ามกลางแห่งนิกายทั้ง ๔ แล้วประกาศเนื้อความตามที่ท่านภาษิตไว้ใน
นิกายทั้ง ๔ นั้นได้ ดังนี้ เหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงถือเอาแม้วิสุทธิมรรค
นั้นพร้อมทั้งอรรถกถานี้ ทราบเนื้อความแห่งมัชฌิมสังคีติ (คือ มัชฌิม-
นิกายทั้ง ๓ ปัณณาสก์) เถิด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 18
ศีลกถา ธุดงคธรรม กัมมัฏฐาน ความพิสดารของฌานและ
สมาบัติ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการคล้อยตามจริต ๖ อภิญญาทั้งปวง คำ
วินิจฉัยที่ประมวลไว้ด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ ๔
ปัจจัยการเทศนาที่ไม่นอกแนวพระบาลี มีนัยที่ชื่อว่า มัชฌิมสังคีติ ใน
คำว่า มชฺฌิมสงฺคีติยา นั้น ว่าโดยปัณณาสก์ ได้แก่การรวบรวม
ปัณณาสก์ ๓ หมวด คือมูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ และอุปริ-
ปัณณาสก์. ว่าโดยวรรค ได้แก่การรวบรวมวรรคได้ ๑๕ วรรค เพราะ
แบ่งแต่ละปัณณสก์ออกเป็น ๕ ว่าโดยสูตร มี ๑๕๒ สูตร ว่าโดยบทมี
๘๐,๕๒๓ บท เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า ท่าน
กล่าวกำหนดบทไว้ ๘๐,๕๒๓ บทอย่างนี้.
แต่ว่าโดยอักษรมี ๗๔๐,๐๕๓ อักษร. ว่าโดยภาณวาร มี ๘๐
ภาณวาร และกึ่งภาณวารมี ๒๓ บท. ว่าโดยอนุสนธิโดยย่อมี ๓ อนุสนธิ
คือ ปุจฉานุสนธิ อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ แต่เมื่อว่าโดย
พิสดารในเรื่องนี้มี ๓,๙๐๐ อนุสนธิ. เพราะเหตุนั้น ท่านโบราณาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า ท่านประกาศนัยอนุสนธิแห่งมัชฌิมปัณณาสก์
เหล่านั้นไว้ ๓,๙๐๐ อนุสนธิ.
ในปัณณาสก์เหล่านั้น มูลปัณณาสก์ เป็นปัณณาสก์ต้น. ในวรรค
ทั้งหลาย มูลปริยายวรรค เป็นวรรคต้น และในสูตรทั้งหลาย มูล-
ปริยายสูตร เป็นสูตรต้น.
อธิบายนิทานพจน์
(๑) คำนิทานว่า เอวมฺเม สุต ที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 19
กาลปฐมมหาสังคีติ เป็นเบื้องต้นของมูลปริยายสูตรแม้นั้น. ก็ปฐมมหา-
สังคีตินี้ ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในเบื้องต้นแห่งอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ
สุมังคลวิลาสินี. เพราะฉะนั้น ปฐมมหาสังคีตินั้น บัณฑิตพึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวให้พิสดารแล้วในอรรถกถาทีฆนิกายนั้นนั่นแล.
อธิบาย เอวมฺเม สุต
ก็คำว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้นนี้ เป็นคำเริ่มต้น. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า เอว เป็นนิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม.
ในคำว่า อุกฺกฏฺาย วิหรติ นี้ บัณฑิตพึงทราบการแยกบท โดยนัยนี้
ก่อนว่า บทว่า วิ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ เป็นบทอาขยาต. แต่
โดยใจความ เอว ศัพท์ มีใจความแยกออกได้หลายอย่างเป็นต้นว่า
อุปมา อุปเทส สัมปหังสนะ ครหณะ วจนสัมปฏิคคหะ นิทัสสนะ
อวธารณะ.
จริงอย่างนั้น เอว ศัพท์ นี้ มาในอรรถว่า อุปมา ในประโยค
เป็นต้นอย่างนี้ว่า กุศลเป็นอันมาก อันสัตว์ที่เกิดแล้ว พึงกระทำฉันนั้น
ดังนี้.
มาในอรรถว่า อุปเทส ในประโยคเป็นต้นว่า อันท่านพึงก้าวไป
อย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ ดังนี้.
มาในอรรถว่า สัมปหังสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้อย่างนี้, พระสุคตเจ้าตรัสคำนี้ไว้อย่างนี้.
มาในอรรถว่า ครหณะ ในประโยคเป็นต้นว่า ก็คนถ่อยนี้กล่าว
สรรเสริญคุณพระสมณะศีรษะโล้นนั้น อย่างนี้ ๆ ในทุก ๆ ที่ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 20
มาใน วจนสัมปฏิคคหะ ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุเหล่านั้นแล
ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า ดังนี้.
มาในอรรถว่า อาการ ในประโยคเป็นต้นว่า ท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าทราบชัดพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยอาการ
อย่างนี้.
มาในอรรถว่า นิทัสสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนมาณพ
ท่านจงมา จงเข้าไปหาท่านอานนท์ ผู้สมณะถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว
จงถามความไม่เจ็บไข้ ความมีโรคน้อย ความคล่องตัว กำลัง และการ
อยู่ผาสุกกะท่านพระอานนท์ผู้สมณะ ตามคำของเรา และจงกล่าวอย่าง
นี้ว่า สุภมาณพ โตเทยยบุตร ย่อมถามถึงความไม่เจ็บไข้ ฯลฯ การ
อยู่ผาสุกกะท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ดังนี้. นัยว่า เป็นการดีที่ท่าน
พระอานนท์ผู้เจริญอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปหาสุภมาณพ โตเทยยบุตร
ถึงที่อยู่ ดังนี้.
มาในอรรถว่า อวธารณะ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนกาลามะ
ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลหรือ
อกุศล ? เป็นอกุศล พระเจ้าข้า. มีโทษหรือไม่มีโทษ ? มีโทษ พระเจ้าข้า.
บัณฑิตติเตียนหรือสรรเสริญ ? ติเตียน พระเจ้าข้า. ธรรมทั้งหลายที่ตน
สมาทานให้บริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่ใช่ประโยชน์ และเป็นทุกข์
ย่อมมีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายในข้อนี้อย่างนี้.
เอว ศัพท์นี้นั้น ในที่นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า (ใช้) ในอรรถว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 21
อาการะ นิทัสสนะ อวธารณะ ใน ๓ อย่างนั้น พระอานนท์แสดงความ
นี้ด้วย เอว ศัพท์ ซึ่งมีอาการะเป็นอรรถว่า ใคร ๆ สามารถจะทราบ
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งละเอียดอ่อนด้วยนัย
ต่าง ๆ เกิดขึ้นด้วยอัธยาศัยอันกว้างขวางสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะมี
ปฏิหาริย์หลากหลาย ลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา แล
โดยปฏิเวธ มาสู่โสตประสาทของสัตว์ทั้งปวง โดยสมควรแก่ภาษาของ
ตน ๆ โดยประการทั้งปวง และทั้งให้เกิดความอยากฟังโดยเต็มกำลัง
ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วด้วยอาการ
อย่างหนึ่ง. พระอานนทเถระเมื่อจะออกตัวด้วยอรรถว่า ชี้แจงว่า ข้าพเจ้า
ไม่ใช่สยัมภู สูตรนี้ข้าพเจ้าไม่ได้ทำให้แจ้ง จึงแสดงสูตรทั้งสิ้นที่จะต้อง
กล่าวในบัดนี้ว่า ข้าพเจ้าได้ฟังอย่างนี้ คือว่า แม้ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้. พระอานนทเถระเมื่อจะแสดงกำลัง คือความทรงจำของตนที่
สมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญอย่างนี้ว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราที่ทรงพหูสูต คืออานนท์ บรรดา
อุปัฏฐาก ที่มีคติ มีสติ มีธิติ คืออานนท์ และที่พระธรรมเสนาบดีสรรเสริญ
อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ ฉลาดในอรรถ ในธรรม ในพยัญชนะ ในภาษา
และในอักษร เบื้องต้นและเบื้องปลาย ยังสัตว์ทั้งหลายเกิดความอยากฟัง
ด้วยอรรถว่า อวธารณะ ว่าข้าพเจ้าได้ฟังมาเท่านี้ และสูตรนั้นแล ไม่
ยิ่งไม่หย่อน โดยอรรถหรือพยัญชนะ พึงเห็นว่าอย่างนี้เท่านั้น ไม่พึงเห็น
เป็นอย่างอื่น ดังนี้.
เม ศัพท์ ปรากฏในอรรถ ๓ อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์
นั้นมีความหมายว่า มยา (อันเรา) ในประโยคเป็นต้นว่า โภชนะที่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 22
ได้มาด้วยการขับกล่อม เราไม่ควรบริโภค.
มีความหมายว่า มยฺห (แก่เรา) ในประโยคเป็นต้นว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระเจ้าทรงแสดงธรรม
แก่ข้าพระองค์แต่โดยย่อเถิด.
มีความหมายว่า มม ( ของเรา ) ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ขอให้พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเราเถิด ดังนี้.
แต่ในที่นี้ เม ศัพท์ ใช้ในอรรถ ๒ อย่างว่า อันข้าพเจ้าได้ฟัง
มา และว่า สุตะ ของเรา ดังนี้.
สุตะ ศัพท์ ในคำว่า สุต นี้ มีอุปสรรค และไม่มีอุปสรรค
มีเนื้อความหลายอย่างเป็นต้นว่า คมน (การไป) วิสฺสุต (ปรากฏ)
กิลินฺน (เปียก) อุปจิต (สั่งสม) อนุโยค (ประกอบเนือง ๆ)
โสตวิญฺเยฺย (รู้ทางหู) โสตทวารานุสารวิญญาณ (รู้ตามกระแส
ทางหู).
จริงอย่างนั้น สุตะ ศัพท์นั้น มีความหมายว่า ไป ในประโยค
เป็นต้นว่า ไปแล้วโดยเสนา.
มีความหมายว่า มีธรรมอันตนสดับตรับฟังแล้วอย่างแจ่มแจ้ง ใน
ประโยคเป็นต้นว่า. ผู้สดับธรรมแล้วเห็น ( ธรรม) อยู่.
มีความหมายว่า เปียกชุ่ม ของบุคคลผู้เปียกชุ่ม ในประโยคเป็นต้น
ว่า เปียกชุ่มของบุคคลผู้เปียกชุ่ม.
มีความหมายว่า สะสม ในประโยคเป็นต้นว่า บุญมิใช่น้อย อัน
ท่านทั้งหลายสะสมแล้ว.
มีความหมายว่า ประกอบเนือง ๆ ในฌานเนือง ๆ ในประโยค
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 23
เป็นต้นว่า. นักปราชญ์เหล่าใด ผู้ขวนขวายในฌาน.
มีความหมายว่า เสียงที่จะพึงทราบทางโสตประสาท ในประโยค
เป็นต้นว่า เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว.
มีความหมายว่า ทรงความรู้คล้อยตามโสตทวาร ในประโยค
เป็นต้นว่า ทรงไว้ซึ่งสุตะ และสะสมสุตะ. แต่ในที่นี้ สุตะศัพท์นั้น
มุ่งเอาความหมายว่า ทรงจำ หรือ ความทรงจำ ตามแนวแห่งโสตทวาร
จริงอยู่ เมื่อ เม ศัพท์ มีเนื้อความเท่ากับ มยา ย่อมประกอบความ
ได้ว่า ข้าพเจ้าได้สดับมา คือ ทรงจำ ตามแนวแห่งโสตทวาร อย่างนี้
มีเนื้อความเท่ากับ มม ย่อมประกอบความได้ว่า การสดับของข้าพเจ้า
คือ ความทรงจำตามแนวแห่งโสตทวารของข้าพเจ้าอย่างนี้.
ในบททั้ง ๓ เหล่านั้น ดังกล่าวมานี้ คำว่า เอว เป็นการแสดง
กิจแห่งวิญญาณ มีโสตวิญญาณเป็นต้น. คำว่า เม เป็นการแสดงบุคคล
ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว, คำว่า สุต เป็นการ
แสดงการถือเอาที่ไม่ผิด ไม่หย่อน ไม่ยิ่ง เพราะห้ามการไม่ฟัง. อนึ่ง
คำว่า เอว เป็นการประกาศความเป็นไปในอารมณ์ แห่งวิงญาณวิถีที่
เป็นไปตามแนวแห่งโสตทวารนั้น โดยประการต่าง ๆ คำว่า เม เป็น
การประกาศตน. คำว่า สุต เป็นการประกาศธรรมะ. จริงอยู่ ในคำ
ว่า เอวมฺเม สุต นี้ มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า ข้าพเจ้า ไม่ทำกิจอื่น
แห่งวิญญาณวิถีที่เป็นไปแล้วในอารมณ์โดยประการต่าง ๆ แต่ข้าพเจ้าทำ
กิจนี้, ธรรมนี้ข้าพเจ้าฟังแล้ว.
อนึ่ง คำว่า เอว เป็นการประกาศคำที่จะพึงแถลงไข. คำว่า เม
เป็นการประกาศบุคคล. คำว่า สุต เป็นการประกาศกิจแห่งบุคคล. มี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 24
คำอธิบายไว้ดังนี้ว่า พระสูตรที่ข้าพเจ้าจักแสดง ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว
อย่างนี้. อนึ่ง คำว่า เอว เป็นการไขอาการต่าง ๆ ของจิตสันดานที่มี
การถือเอาอรรถและพยัญชนะต่างๆ โดยการเป็นไปโดยประการต่าง ๆ กัน.
จริงอยู่ ศัพท์ว่า เอว นี้ เป็นการบัญญัติอาการ, ศัพท์ว่า เม
เป็นการแสดงกัตตา ( ผู้ทำ). ศัพท์ว่า สุต เป็นการแสดงวิสัย. ด้วย
การอธิบายเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันทำการสันนิษฐานได้ว่า ด้วยจิต-
สันดานที่เป็นไปโดยประการต่าง ๆ กัน พระเถระผู้ประกอบด้วยจิต-
สันดานนั้นจึงเป็นกัตตา และรับอารมณ์ได้.
อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า เอว เป็นการแสดงกิจแห่งบุคคล. ศัพท์
ว่า สุต เป็นการแสดงกิจแห่งวิญญาณ. ศัพท์ว่า เม เป็นการแสดงถึง
บุคคลที่ประกอบด้วยกิจทั้ง ๒. ก็ในคำว่า เอวมฺเม สุต นี้ มีความ
ย่อว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาโดยโวหารแห่งสวนกิจที่ได้ด้วยอำนาจแห่งวิญญาณ
โดยบุคคลที่พร้อมเพรียงด้วยสวนกิจและวิญญาณกิจ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว เป็นอวิชชมานบัญญัติ โดย
อรรถว่า แจ่มแจ้ง และบทว่า เม เป็นอวิชชมานบัญญัติ โดยปรมัตถ์
ก็ในข้อนี้ยังมีข้อพิเศษอยู่อีก คือ ข้อที่พระเถระพึงได้การแถลงไขว่า
เอว หรือ เม มีอยู่โดยปรมัตถ์. บทว่า สุต เป็นวัชชมานบัญญัติ.
อธิบาย ในบทว่า สุต นี้ อารมณ์ที่ได้ทางโสตนี้ มีอยู่โดยปรมัตถ์
แล. อนึ่ง บทว่า เอว และ เม จัดเป็น อุปาทาบัญญัติ เพราะ
พระเถระกล่าวหมายเอาธรรมที่มากระทบโสต และขันธ์ที่นับเนื่องใน
สันดานของตนนั้น. บทว่า สุต เป็นอุปนิธาบัญญัติ เพราะพระเถระ
กล่าวพาดพิงสิ่งที่เห็นแล้วเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 25
อนึ่ง ในข้อนี้ พระเถระแสดงความไม่โง่เขลา ด้วยคำว่า เอว
อธิบายว่า ผู้โง่เขลาย่อมไม่สามารถแทงตลอดโดยประการต่าง ๆ ได้.
ด้วยคำว่า สุต พระเถระแสดงความไม่หลงลืมพระพุทธพจน์ที่ได้ฟัง
มาแล้ว อธิบายว่า สุตะ ที่ผู้ใดหลงลืมแล้ว ผู้นั้นย่อมนึกไม่ออกว่าเรา
ได้ฟังมาแล้วโดยกาลอื่น. ความสำเร็จแห่งปัญญาของพระเถระนั้น ย่อมมี
ได้ เพราะความไม่โง่เขลา ส่วนความสำเร็จแห่งสติ ย่อมมีได้เพราะ
ความไม่หลงลืม. บรรดา ๒ อย่างนั้น ความสามารถในการทรงจำ
พยัญชนะ มีได้ด้วยสติ มีปัญญาเป็นตัวนำ ความสามารถในการเข้าใจ
อรรถ มีได้ด้วยปัญญามีสติเป็นตัวนำ ความสำเร็จเป็นขุนคลังแห่ง
ธรรม โดยสามารถในการเก็บรักษาคลัง ธรรมที่ถึงพร้อมด้วยอรรถ
และพยัญชนะมีได้เพราะประกอบด้วยความสามารถทั้ง ๒ อย่างนั้น.
อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำว่า เอว ท่านพระเถระแสดงการทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย เพราะบุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย จะไม่มีการแทง
ตลอดประการต่าง ๆ. ด้วยคำว่า สุต ท่านแสดงความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะ
บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่านจะไม่เป็นอันฟัง. จริงอย่างนั้น บุคคลที่มีจิตฟุ้งซ่าน
แม้ถูกบอกด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง ก็ยังกล่าวว่า ข้าพเจ้าฟังไม่ถนัด ขอ
ท่านพูดอีกที. ก็ในข้อนี้ เพราะการฟังโดยการทำไว้ในใจโดยแยบคาย
บุคคลย่อมยังการตั้งตนไว้โดยชอบ และความเป็นผู้มีบุญทำไว้ในปางก่อน
ให้สำเร็จได้ เพราะบุคคลผู้มิได้ตั้งตนไว้โดยชอบ และไม่ได้ทำบุญไว้ใน
ปางก่อน ไม่มีการทำไว้ในใจโดยแยบคายนั้น เพราะความไม่ฟุ้งซ่าน
บุคคลจึงยังการฟังพระสัทธรรม และการเข้าไปคบสัตบุรุษให้สำเร็จ.
จริงอยู่ บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่อาจที่จะฟัง (ธรรมได้) และการฟัง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 26
(ธรรม) ย่อมไม่เกิดมีแก่บุคคลผู้ไม่เข้าไปพบสัตบุรุษ.
อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านกล่าวไว้ว่า บทว่า เอว เป็นบทแสดง
อาการต่าง ๆ ของจิตสันดานที่มีการรับเอาอรรถและพยัญชนะ โดยเป็น
ไปโดยประการต่างๆ กัน. และอาการที่ดีอย่างนี้นั้น ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่
ตั้งตนไว้ชอบ หรือมิได้ทำบุญไว้ในปางก่อน. ฉะนั้น ท่านแสดงความถึง
พร้อมแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างท้ายของตน ด้วยอาการอันเจริญนี้ ด้วยบทว่า
เอว ท่านแสดงความถึงพร้อมแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างต้นของตน ด้วยบทว่า
สุต. จริงอยู่ การฟัง (ธรรม) ย่อมไม่เกิดมีแก่ผู้อยู่ในประเทศที่ไม่
สมควร หรือผู้เว้นจากการคบหากับสัตบุรุษ. ความบริสุทธิ์แห่งอาสวกิเลส
ย่อมสำเร็จแก่บุคคลนั้น เพราะความสำเร็จแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างท้าย ความ
บริสุทธิ์แห่งปโยคสมบัติ ย่อมมีเพราะความสำเร็จแห่งจักรทั้ง ๒ ข้างต้น
ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ความสำเร็จแห่งความฉลาดในอธิคม (ปฏิเวธ) ย่อมมีแก่
บุคคลนั้น เพราะความบริสุทธิ์แห่งอาสวกิเลส ความสำเร็จแห่งความฉลาด
ในอาคม (ปริยัติ) ย่อมมีเพราะความบริสุทธิ์แห่งปโยคสมบัติ (ความ
เพียร) พระเถระเมื่อจะเรียงนิทานพจน์ไว้ในฐานะที่เหมาะสม คำของ
ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยอาคมและอธิคม ผู้มีอาสวกิเลสบริสุทธิ์ด้วยปโยคสมบัติ
ย่อมควร เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจแสงเงินแสงทอง
ขึ้นนำพระอาทิตย์ที่กาลังอุทัยอยู่ และดุจการทำไว้ในใจโดยแยบคาย เป็น
ตัวนำ (การทำ) กุศลกรรม จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.
อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำนี้ว่า เอว ท่านพระเถระแสดงสภาวะคือ
ความถึงพร้อมแห่งอัตถปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน ด้วยคำ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 27
ที่แสดงถึงปฏิเวธมีประการต่าง ๆ ด้วยคำว่า สุต นี้ ท่านแสดงสภาวะ
คือความถึงพร้อมแห่งธัมมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา ด้วยคำที่
แสดงถึงความแทงตลอดประเภทแห่งธรรมที่จะต้องฟัง อนึ่ง พระเถระ
เมื่อจะกล่าวคำที่แสดงการทำไว้ในใจโดยแยบคายนี้ ว่า เอว ดังนี้ จึง
แสดงว่า ธรรมเหล่านี้ อันข้าพเจ้าตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดี
ด้วยทิฏฐิแล้ว เมื่อจะกล่าวคำที่แสดงการตามประกอบการฟังนี้ว่า สุต ดังนี้
จึงแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก อันข้าพเจ้าฟังมาแล้ว ทรงจำไว้แล้ว
ท่องบ่นแล้ว ดังนี้.
พระเถระเมื่อจะแสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะด้วยคำ
ทั้ง ๒ นั้น จึงยังความเอื้อเฟื้อให้เกิดขึ้นในการฟัง. จริงอยู่บุคคล
เมื่อไม่ฟังธรรมที่บริบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะโดยเอื้อเฟื้อ ย่อมห่างจาก
ประโยชน์เกื้อกูลอันยิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้น ควรทำความเอื้อเฟื้อให้เกิดแล้ว
ฟังธรรมโดยเคารพเถิด.
ก็ด้วยคำทั้งหมดนี้ว่า เอวมฺเม สุต (เป็นอันว่า) พระอานนท์
เมื่อไม่วางธรรมที่พระตถาคตทรงประกาศแล้วไว้ห่างตน ชื่อว่าล่วงเลย
ภูมิแห่งอสัตบุรุษ ปฏิญญาความเป็นสาวก ชื่อว่า ก้าวลงสู่ภูมิแห่ง
สัตบุรุษ. อนึ่ง ด้วยคำทั้งหมดนี้ว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น เป็นอันว่า
พระเถระย่อมยังจิตให้ออกจากอสัทธรรม ให้ดำรงอยู่ในสัทธรรม.
พระเถระเมื่อแสดงว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
นั่นเทียวนั้น ข้าพเจ้าฟังมาตลอดแล้วทีเดียว ชื่อว่าย่อมออกตัว อ้าง
พระศาสดา แนบแน่นอยู่ในพระดำรัสของพระชินเจ้า ประดิษฐานเนติ-
ธรรมไว้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 28
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า เอวมฺเม สุต พระเถระ ยังความเป็น
ผู้ไม่มีศรัทธาในธรรมนี้ของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงให้หมดไป ให้เกิด
ความถึงพร้อมแห่งศรัทธา (โดย) ไม่อ้างว่า สูตรนั้นท่านให้เกิดเอง
(และ) เปิดเผยการฟังมาก่อนว่า สูตรนี้ ข้าพเจ้าได้รับมาต่อพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้องอาจด้วยเวลารัชชธรรม ๔ ทรงไว้ซึ่ง
พลญาณ ๑๐ ทรงดำรงอยู่ในฐานะผู้อาจหาญ บันลือสีหนาทได้ สูงสุด
กว่าสัตว์ทุกจำพวก เป็นใหญ่โดยพระธรรม เป็นพระธรรมราชา เป็น
พระธรรมาธิบดี เป็นประทีปโดยธรรม เป็นที่พึ่งโดยธรรม เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิผู้ประเสริฐโดยพระสัทธรรม ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ไม่
ควรทำความสงสัย หรือความเคลือบแคลงในอรรถ ในธรรม ในบท
หรือในพยัญชนะ ในสูตรนี้แล. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า
พระสาวกของพระโคดมกล่าวอยู่อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ยังอศรัทธาให้พินาศ ยังศรัทธา
ในศาสนาให้เจริญ ดังนี้.
อธิบาย สมย ศัพท์
บทว่า เอก เป็นบทแสดงไขถึงจำนวนนับ. บทว่า สมย เป็น
บทแสดงเวลาที่กำหนดไว้แล้ว สองบทว่า เอก สมย เป็นบทแสดง
เวลาที่ไม่กาหนดแน่นอน. สมย ศัพท์ ในบทว่า เอก สมย นั้น
ย่อมปรากฏในอรรถว่า
สมวายะ (พร้อมเพรียง) ขณะ กาล สมูหะ (การ
ประชุม) เหตุ ทิฏฐิ ปฏิลาภะ (การได้) ปหานะ
(การละ) และปฏิเวธะ (การแทงตลอด).
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 29
จริงอย่างนั้น สมย ศัพท์นั้น มีความพร้อมเพรียงเป็นอรรถ
ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ชื่อแม้ไฉน ในวันพรุ่งนี้ พวกเราอาศัย
กาลสมัย (ที่เหมาะ) พึงเข้าไปหา ดังนี้. มีขณะเกินอรรถ ในประโยค
เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล. ขณะ และสมัยหนึ่ง ย่อมมี
เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ดังนี้ มีกาละเป็นอรรถ ในประโยค
เป็นต้นว่า เวลาร้อน เวลาเร่าร้อน ดังนี้. มีการประชุมเป็นอรรถ ใน
ประโยคเป็นต้นว่า ประชุมใหญ่ ในป่าใหญ่ มีเหตุเป็นอรรถ ในประโยค
เป็นต้นว่า ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุแลท่านไม่ได้แทงตลอด, พระผู้มี-
พระภาคเจ้าแลประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักรู้จัก
เราว่า ภิกษุชื่อว่าภัททาลิ ไม่ทำการศึกษาในพระศาสนาของพระศาสดา
ใช้บริบูรณ์ ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้นี้แล อันท่านยังไม่ได้แทงตลอด
ดังนี้. มีทิฏฐิเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ปริพาชก
ชื่อ อุคคาหมานะ เป็นบุตรของ สมณมุณฑิกา อาศัยอยู่ในสวน
ดอกมะลิ ที่มีศาลาหลังเดียวเป็นที่สอนลัทธิ หนาแน่นด้วยต้นมะพลับ.
มีีการได้เฉพาะเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า
นักปราชญ์ท่านเรียกว่า บัณฑิต เพราะได้รับ
ประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพ.
มีการละเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า ได้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะ
ละมานะได้โดยชอบ. มีการแทงตลอดเป็นอรรถ ในประโยคเป็นต้นว่า
ทุกข์ มีอรรถว่า เบียดเบียน ถูกปรุงแต่ง ทำให้เร่าร้อนแปรปรวน และมี
อรรถว่า ควรกำหนดรู้.
แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้น มีกาละเป็นอรรถ เพราะเหตุนั้น ท่าน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 30
พระเถระจึงแสดงว่า ในสมัยหนึ่ง บรรดาสมัยที่แยกกาลออกเป็นปี ฤดู
เดือน ครึ่งเดือน กลางคืน กลางวัน เวลาเช้า เวลาเที่ยง เวลาเย็น
ยามต้น ยามกลาง ยามสุดท้าย และครู่หนึ่งเป็นต้น.
ในข้อนั้น สูตรใด ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในปี ฤดู
เดือน ปักข์ ภาคกลางคืน หรือภาคกลางวันใด ๆ ในบรรดาสมัยมีปี
เป็นต้นเหล่านั้น สูตรนั้นทั้งหมด พระเถระรู้ดี คือกำหนดไว้ด้วยดี
ด้วยปัญญา แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะเหตุที่เมื่อท่านกล่าวอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ในปีโน้น ฤดูโน้น เดือนโน้น ปักข์โน้น
ภาคกลางคืนโน้น ภาคกลางวันโน้น ใคร ๆ ไม่อาจจะทรงจำได้ง่าย
ไม่สามารถจะแสดงเองหรือให้คนอื่นแสดงได้ และจะต้องพูดกันมาก
ฉะนั้น พระเถระจึงรวบรวมเนื้อความนั้นไว้ด้วยบทเดียวเท่านั้น แล้ว
กล่าวว่า เอก สมย ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง สมัยเหล่านี้ใด ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแยกประเภท
กาลเวลาออกมากมาย ที่ปรากฏชัดเหลือเกินในหมู่เทวดา และมนุษย์
เป็นต้นอย่างนี้คือ สมัยเสด็จลงสู่พระครรภ์ สมัยประสูติ สมัยเกิดความ
สังเวช สมัยเสด็จออกผนวช สมัยทรงกระทำทุกกรกิริยา สมัยชนะมาร
สมัยตรัสรู้ สมัยอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน สมัยเทศนา สมัยเสด็จปรินิพพาน
พระเถระแสดงว่า สมัยหนึ่ง กล่าวคือสมัยเทศนา ในบรรดาสมัยเหล่า
นั้น.
อนึ่ง ท่านพระเถระหมายเอาสมัยแห่งกิจที่ประกอบด้วยกรุณา ใน
บรรดาสมัยแห่งกิจที่ประกอบด้วยญาณ และกรุณา สมัยแห่งการปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์คนอื่น ในบรรดาสมัยแห่งการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 31
คนอื่น สมัยแห่งธรรมีกถา ในบรรดาสมัยแห่งกรณียะทั้ง ๒ ของผู้
ประชุมกัน สมัยแห่งเทศนา ในบรรดาสมัยแห่งการเทศนา และการ
ปฏิบัติ สมัยใดสมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยเหล่านั้น จึงกล่าวว่า เอก สมย
ดังนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านไม่ทำเหมือนอย่างในอภิธรรม
ท่านทำการแสดงไขด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย กามารจร และว่า
ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ในสุตตบทอื่นจาก
คัมภีร์นี้ และในวินัยท่านทำการแสดงไขด้วยตติยาวิภัตติว่า เตน
สมเยน พุทฺโธ ภควา แต่ทำการแสดงไขด้วยทุติยาวิภัตติว่า เอก สมย
ตอบว่า เพราะในที่นั้นมีความหมายเป็นอย่างนั้น แต่ในที่นี้มีความหมาย
เป็นอย่างนี้ ( มีความหมายคนละอย่าง). จริงอยู่ ในบรรดาอภิธรรม
เป็นต้นเหล่านั้น ในอภิธรรม และในสุตตบทอื่นนอกจากนี้ สมยศัพท์
มีความหมายในอธิกรณะ ( สัตตมีวิภัตติ) และมีความหมายภาวลักษณะโดย
ภาวะ. เพราะว่า สมยะ เป็นอธิกรณะ มีกาละเป็นอรรถ และมีสมูหะ
เป็นอรรถ และท่านกำหนดว่าเป็นภาวะแห่งธรรมทั้งหลาย มีผัสสะ
เป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในที่นั้น ๆ เวลานั้น โดยภาวะแห่งสมยะ
กล่าวคือ ขณะ การรวบรวมและเหตุ เพราะฉะนั้น เพื่อจะให้ใจความ
นั้นกระจ่าง ท่านจึงแสดงไขเป็นสัตตมีวิภัตติในบทนั้น. จริงอยู่
สมัยแห่งการบัญญัติสิกขาบทนั้นใด แม้ท่านพระสารีบุตรเป็นต้น ก็รู้
ได้ยาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงบัญญัติสิกขาบทโดยสมัยนั้น อัน
เป็นเหตุ และเป็นกรณะ และเมื่อทรงเพ่งถึงเหตุการบัญญัติสิกขาบท
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 32
ทรงประทับอยู่ในที่นั้น ๆ. เพราะฉะนั้น เพื่อจะให้ใจความนั้นกระจ่าง
ท่านจึงทำการแสดงไขเป็นตติยาวิภัตติในบทนั้น.
แต่ในที่นี้ และในที่อื่น ที่มีใจความอย่างนี้ สมยศัพท์ลงในอรรถ
แห่งทุติยาวิภัตติ จริงอยู่ ในสมัยใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
พระสูตรนี้หรือสูตรอื่น ในสมัยนั้น พระองค์ทรงประทับอยู่ด้วยธรรม
เป็นเครื่องอยู่ คือ กรุณาโดยส่วนเดียวทีเดียว. เพราะฉะนั้น เพื่อให้ใจ
ความนั้นกระจ่าง ท่านจึงทำการแสดงไขเป็นทุติยาวิภัตติในบทนี้.
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า
เพ่งถึงใจความนั้น ๆ แล้ว ท่านกล่าว สมย ศัพท์
ไว้ในที่อื่นด้วย สัตตมีวิภัตติ และตติยาวิภัตติ แต่
ในที่นี้ท่านกล่าว สมย ศัพท์นั้นไว้ด้วยทุติยาวิภัตติ.
ส่วนท่านโบราณาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาไว้ว่า สมย ศัพท์นั้น
มีประเภทที่แยกพูดได้ดังนี้ว่า ตสฺมึ สมเย, เตน สมเยน หรือว่า
ต สมย แต่ว่าโดยใจความ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ ในที่ทั้งปวง
ดังนี้. เพราะฉะนั้น แม้เมื่อท่านกล่าวว่า เอก สมย พึงทราบใจความ
ว่า เอกสฺมึ สมเย ดังนี้.
อธิบาย ภควา
คำว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ. เพราะว่าคนทั้งหลาย
เรียกครูในโลกว่า ภควา ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ชื่อว่า เป็นครู ของ
สัตว์ทุกจำพวก เพราะเป็นผู้ประเสริฐด้วยพระคุณทุกอย่าง เพราะฉะนั้น
พึงทราบครูว่า ภควา ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 33
ถึงแม้ว่าท่านโบราณจารย์ทั้งหลายก็ได้กล่าวไว้ว่า
คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐ, คำว่า ภควา เป็น
คำสูงสุด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกท่านผู้ประกอบ
ด้วยความเคารพนับถือว่า ภควา ดังนี้
อีกอย่างหนึ่งท่านกล่าวไว้ว่า ท่านกล่าวว่า ภควา
เพราะมีพระภาคยะ (บารมีธรรม). เพราะหักออก
เสียซึ่งกองกิเลส เพราะประกอบด้วยบุญศิริ (เพราะ
จำแนกกรรม) เพราะเสวยพรหมวิหารธรรม และ
เพราะคายเสียซึ่งการเวียนว่ายตายเกิดในภพทั้ง ๓.
พึงทราบเนื้อความของบทว่า ภควา นี้ ด้วยอำนาจคาถานี้ โดย
พิสดาร. จริงอยู่ ศัพท์ว่า ภควา นั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในพุทธา-
นุสสตินิเทศ ในวิสุทธิมรรค.
ก็ในอธิการนี้ ด้วยคำอธิบายเพียงเท่านี้ พระเถระเมื่อแสดงธรรม
ตามที่ตนได้ฟังมา ด้วยคำว่า เอวมฺเม สุต ชื่อว่า ย่อมทำสรีระ คือ
พระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์ เพราะนั้น พระเถระ
ย่อมยังชนที่เกิดความเบื่อหน่าย เพราะไม่เห็นพระศาสดาให้โล่งใจว่า
ปาพจน์ ที่ขาดศาสดาย่อมไม่มี นี้เป็นศาสดาของเราทั้งหลาย. พระเถระ
เมื่อแสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีอยู่ ในสมัยนั้น ด้วยคำว่า
เอก สมย ภควา ยังการดับแห่งรูปกายให้แล่นไป. เพราะเหตุนั้น
พระเถระย่อมยังชนที่เมาในชีวิตให้สลดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้
พระองค์นั้น ทรงแสดงอริยธรรม มีชื่อย่างนี้ ทรงไว้ซึ่งกำลัง ๑๐
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 34
มีพระวรกายเสมอก้อนเพชร เสด็จปรินิพพานแล้วด้วยประโยชน์อะไรอื่น
ที่พวกเธอพึงยังความหวังในชีวิตใช้เกิดขึ้นและยังความอุตสาหะของชนนั้น
ให้เกิดขึ้นในพระสัทธรรม.
อนึ่ง พระเถระเมื่อกล่าวว่า เอว ย่อมแสดงไขถึงสมบัติคือเทศนา.
เมื่อกล่าวว่า เม สุต ย่อมแสดงไขถึงสาวกสมบัติ. เมื่อกล่าว เอก
สมย ย่อมแสดงไขถึงกาลสมบัติ. เมื่อกล่าวว่า ภควา ย่อมแสดงไขถึง
เทสกสมบัติ.
ที่มาของชื่อเมืองอุกกัฏฐา
คำว่า อุกฺกา ในคำว่า อุกฺกฏฺาย วิหรติ นี้ หมายเอาดวง
ประทีป และเมืองนั้นเขาเรียกว่า อุกกัฏฐา เพราะชาวเมืองพากันชู
คบเพลิง สร้างแม้ในเวลากลางคืนด้วยหวังว่า วันมงคล ขณะดี ฤกษ์ดี
อย่าเลยไปเสีย. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะเมืองนั้นพวกชาวเมืองจุด
ประทีปมีด้ามส่องให้สร้าง. ใกล้เมืองชื่ออุกกัฏฐานั้น. บทว่า "อุกฺกฏฺ-
ฐาย" เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้. บทว่า วิหรติ นี้ เป็น
คำแสดงการถึงการพร้อมเพรียงแห่งการอยู่ ในบรรดาการอยู่ด้วยการผัด
เปลี่ยนอิริยาบถ การอยู่อย่างเทพ, การอยู่อย่างพรหม และการอยู่อย่างพระ
อริยะ อย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ต่างกัน. แต่ในที่นี้ เป็นการแสดงการ
ประกอบด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาอิริยาบถ (ทั้ง ๔) คือ
ยืน เดิน นั่ง และนอน.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนก็ดี เสด็จดำเนิน
ก็ดี ประทับนั่งก็ดี บรรทมก็ดี ก็พึงทราบว่า ประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 35
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงผ่อนคลายความปวดเมื่อยจาก
อิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถหนึ่ง ย่อมทรงบริหาร คือยังทรงอัตภาพให้
เป็นไปมิให้ทรุดโทรม. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ประทับอยู่ ดังนี้.
ที่มาของป่าสุภควัน
ในบทว่า สุภควเน นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้. ป่าชื่อว่า
สุภคะ เพราะถึงความงาม อธิบายว่า เพราะสง่างาม และเพราะมีสิ่งที่
พึงประสงค์สวยงาม. ก็เพราะความสวยงามของป่านั้น ผู้คนทั้งหลายจึง
พากัน ถือเอาข้าวและน้ำเป็นต้น ไปดื่มกินเที่ยวเล่นสนุกสนานอยู่ในป่านั้น
นั่นแลตลอดทั้งวัน และปรารถนาสิ่งที่เขาปรารถนาดี ๆ ในที่นั้นว่า
ขอเราทั้งหลายจงได้ลูกชายลูกหญิงเถิด และสิ่งที่พึงปรารถนานั้นเขาก็ได้
สมปรารถนาทีเดียว ป่านั้นชื่อว่า สุภคะ เพราะสง่างาม และเพราะมี
สิ่งที่พึงประสงค์สวยงาม ดังพรรณนามานี้. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า สุภคะ
แม้เพราะคนส่วนมากติดใจ ชื่อว่า วนะ (ป่า) เพราะอรรถว่า สัตว์
ทั้งหลายชอบใจ คือทำให้สัตว์ทั้งหลายรักใคร่ด้วยคุณสมบัติของตัวมันเอง
อธิบายว่า ให้เกิดความน่ารักในตัวเอง ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ (ป่า) เพราะเรียกหา อธิบายว่า
เหมือนเรียกร้องปวงสัตว์ด้วยเสียงร้องของนก มีนกโกกิลาเป็นต้น ที่
เพลิดเพลินอยู่กับกลิ่นดอกไม้นานาพรรณ และด้วยกิ่งก้านค่าคบใบแก่
ใบอ่อนของต้นไม้ที่สั่นไหว เพราะต้องลมอ่อนว่า มาเถิด มากินมาใช้
กันเถิด. ป่านั้นด้วย ถึงความงามด้วย ฉะนั้น จึงชื่อว่า สุภควัน. ใน
ป่าสุภควันนั้น. ธรรมดาป่า มี ๒ ชนิด คือ ป่าลูก และป่าเกิดเอง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 36
ในป่า ๒ ชนิดนั้น ป่าปลูก ได้แก่ป่าเวฬุวัน และป่าเชตวันเป็นต้น
ป่าเกิดเอง ได้แก่ป่าอันธวัน ป่ามหาวัน และป่าอัญชนวันเป็นต้น.
ป่าสุภควัน แม้นี้ พึงทราบว่า เป็นป่าเกิดเอง.
แม้ต้นรัง ในคำนี้ว่า สาลราชมูเล ท่านก็เรียกว่า ต้นสาละ.
สมดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ป่าสาลวัน
ใหญ่ ไม่ไกลบ้านหรือนิคม และป่าสาลวันใหญ่นั้นก็ดาดาษไปด้วย
ต้นละหุ่ง และตรัสว่า ระหว่างนางรังทั้งคู่. แม้ต้นไม้โตที่สุด ท่านก็
เรียกว่า ต้นไม้เจ้าป่า. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ในภาคพื้นพระราชอุทยาน
ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีต้นไม้ใหญ่หลายต้น
มีค่าคบตรง เขียวชอุ่ม น่ารื่นรมย์.
ถึงแม้ว่าต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ก็เรียกต้นไม้เจ้าป่าได้. สมดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล
เมล็ดเถาย่านทราย พึงหล่นไปที่โคนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ดังนี้เป็นต้น.
แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาต้นไม่ใหญ่ที่สุด ชื่อว่า ต้นไม่เจ้าป่า.
อธิบาย ราช ศัพท์
ส่วน ราชศัพท์ แห่งบทว่า สาลราชมูเล นั้น ย่อมยังต้นไม้
นั้นนั่นเทียวให้สำเร็จความเป็นต้นไม้ใหญ่ที่สุด อย่างประโยคเป็นต้นว่า
ดูก่อนพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ก็. . .แห่งต้นไทรใหญ่ที่ยืนต้นอย่าง
มั่นคง แม้ในที่อื่น. ในคำว่า สาลราชมูเล นั้น แยกออกเป็นสมาส
๒ อย่าง (ฉัฏฐีตัปปุริสสมาสว่า) สาลาน ราชา (ราชาแห่งต้นไม้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 37
ทั้งหลาย) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สาลราชาบ้าง และเป็น (วิเสสน-
บุพพบทกัมมธารยสมาสว่า) สาโล จ โส เชฏฺกฏฺเน ราชา จ)
ต้นสาละนั้นด้วย เป็นราชา เพราะหมายความว่าใหญ่ที่สุดด้วย เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่า สาลราชาบ้าง. บทว่า มูล แปลว่า ใกล้. เพราะว่า
มูลศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ใกล้โคน ในประโยคมีอาทิว่า บุคคลพึง
ถอนโคน โดยที่สุดแม้มาตรว่า ลำต้นแฝก. มูลศัพท์ ใช้ในเหตุที่ไม่
ทั่วไป ในประโยคเป็นต้นว่า ความโลภ เป็นรากเหง้าของอกุศล อนึ่ง
มูลศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ใกล้ในประโยคเป็นต้นว่า ในเวลาเที่ยงวันเงาทับตัว
ด้วยเหตุทีเงา (ของต้นไม้) จะทับตัวในเวลาเที่ยงวัน และใบไม้หล่น
ในเวลาสงัดลม เงาก็จะทับต้นไม้ ใบไม้ก็จะหล่นใกล้ต้นไม้. แต้ในที่นี้
มูลศัพท์ท่านประสงค์เอาอรรถว่า สมีปะ (ใกล้) เพราะฉะนั้น พึง
ทราบเนื้อความในคำว่า สาลราชมูเล นี้ อย่างนี้ว่า ในที่ใกล้แห่งต้นรังใหญ่.
ในข้อนั้น พึงมีคำถามว่า ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่
ในเมืองอุกกัฏฐาก่อนไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวว่า ที่ใกล้ต้นรังใหญ่ในป่า
สุภควัน ถ้าว่าประทับอยู่ที่ใกล้ต้นรังใหญ่ในป่าสุภควันนั้นไซร้ ก็ไม่ควร
กล่าวว่า ในเมืองอุกกัฏฐา. เพราะว่า พระองค์ไม่อาจจะประทับอยู่
คราวเดียวกันในที่ ๒ แห่งได้ ตอบว่า ก็แลข้อนั้น ไม่พึงเห็นอย่างนี้.
เราทั้งหลายได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่า ใกล้.
เพราะฉะนั้น ฝูงโค เมื่อเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น
ย่อมถูกเรียกว่าเที่ยวไปใกล้แม่น้ำคงคา ใกล้แม่น้ำยมุนาฉันใด แม้ในที่
นี้ก็ฉันนั้น คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในป่าสุภควันใกล้
เมืองอุกกัฏฐา (และ) ในที่ใกล้ต้นรังใหญ่ ท่านก็เรียกว่า ประทับอยู่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 38
ใกล้ต้นรังใหญ่ ในป่าสุภควันใกล้เมืองอุกกัฏฐา ดังนี้. ก็คำว่า อุกฺกฏฺา
เป็นคำมีความหมายบ่งถึงโคจรคาม. ถึงคำว่า สุภควน เป็นคำมีความ
หมายบ่งถึงสถานที่อยู่ที่เหมาะแก่บรรพชิต ใน ๒ คำนั้น ท่านพระ
อานนท์แสดงการทรงทำความอนุเคราะห์ต่อคฤหัสถ์ของพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ด้วยการระบุถึงเมืองอุกกัฏฐา แสดงการทรงทำความอนุเคราะห์ต่อ
บรรพชิต ด้วยการระบุถึงป่าสุภควัน.
อนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงการเว้นอัตตกิลมาถานุโยค โดยทรงรับ
ปัจจัยด้วยคำต้น (อุกฺกฏฺา) แสดงการเว้นกามสุขัลลิกานุโยค โดยทรง
ละวัตถุกามด้วยคำหลัง (สุภควน) ท่านแสดงพระวิริยะในการทรง
แสดงพระธรรมด้วยคำต้น. แสดงพระอัธยาศัยที่น้อมไปในวิเวกด้วยคำ
หลัง. แสดงการเข้าถึงพระกรุณาคุณด้วยคำต้น. การเข้าถึงพระปัญญาคุณ
ด้วยคำหลัง. แสดงความที่พระองค์มีพระอัธยาศัยที่น้อมไปในการยังประโยชน์
เกื้อกูลและความสุขให้สำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายด้วยคำต้น. แสดงความเป็น
ผู้ไม่หวังผลตอบแทนในการทำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ผู้อื่นด้วย
คำหลัง. แสดงการประทับอยู่อย่างสุขสำราญ เสียสละความสุขที่
ชอบธรรมเป็นเครื่องหมายด้วยคำต้น. แสดงการประทับอยู่อย่างสุข
สำราญ มีการหมั่นประกอบในอุตตริมนุสสธรรมเป็นเครื่องหมายด้วย
คำหลัง. แสดงความเป็นผู้มีอุปการะมากแก่มนุษย์ทั้งหลายด้วยคำต้น.
แสดงความเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เทวดาทั้งหลายด้วยคำหลัง. แสดง
ความที่พระองค์อุบัติในโลกแล้วเป็นผู้เจริญพร้อม (ทุกด้าน) ในโลก
ด้วยคำต้น. แสดงความเป็นผู้ไม่ติดอยู่กับโลกด้วยคำหลัง. ท่านพระ
อานนท์แสดงการยังประโยชน์ที่เป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 39
ขึ้นนั้นให้สำเร็จด้วยคำต้น เพราะบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์สุขแก่ชน
มาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์สุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย, บุคคลเอกคือใคร คือพระตถาคตเจ้า ผู้เป็น
พระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ, แสดงการประทับอยู่อันสมควรแก่
สถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นด้วยคำหลัง.
พึงทราบการประกอบความในคำว่า ยทตฺถ ภควา อุปฺปนฺโน
ตทนุรูปวิหาร นั้น โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติ
ขึ้นที่เป็นโลกีย์และโลกุตตระ คือครั้งแรกประสูติที่ลุมพินีวัน ครั้งที่ ๒
ตรัสรู้ที่ควงไม้โพธิ์ เพราะเหตุนั้น พระอานนทเถระจึงแสดงที่ประทับ
สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นในป่าทั้งหมด.
บทว่า ตตฺร เป็นบทแสดงถึงสถานที่และเวลาก อธิบายว่า พระผู้-
มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในสมัยใด พระอานนทเถระแสดงสถานที่และ
เวลานั้นว่า ในสมัยนั้น และประทับอยู่ในที่ใกล้ต้นรังใหญ่ใด ในที่ใกล้
ต้นรังใหญ่นั้น อีกอย่างหนึ่งย่อมทรงแสดงในสถานที่และเวลาที่ควรแสดง.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่ทรงแสดงธรรมในสถานที่หรือเวลา
ที่ไม่เหมาะ ก็ในข้อนี้มีคำเป็นต้นว่า ดูก่อนพาหิยะ เวลานี้ยังเป็นเวลา
ที่ไม่สมควรนะ ดังนี้ เป็นเครื่องสาธก. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต ลงใน
อรรถว่า ปทปูรณมัตตะ (สักว่าเป็นเครื่องทำบทให้เต็ม) บ้าง ใน
อรรถว่า อวธารณะ (ห้ามความอื่น) บ้าง ในอรรถว่า อาทิกาละ
(กาลอันเป็นเบื้องต้น) บ้าง. ภควา เป็นบทแสดงถึงว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงเป็นครูของโลก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 40
บทว่า ภิกฺขุ เป็นบทกล่าวถึงบุคคลที่ควรจะได้ฟังพระเทศนา.
อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภิกฺขุ นี้ พึงทราบความหมายของคำโดยนัย
เป็นต้นว่า ชื่อว่า ภิกขุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ คือ ชื่อว่า ภิกขุ
เพราะอรรถว่า เข้าถึงการเที่ยวไปเพื่อภิกษา.
บทว่า อามนฺเตสิ แปลว่า เรียก คือได้พูดด้วย (แต่) ใน
ที่นี้มีความหมายอย่างนี้ว่า เตือนให้รู้สึก (ส่วน) ในที่อื่น ย่อมลงใน
อรรถว่า ญาปนะ (ให้ทราบ) บ้าง สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตขอเตือนเธอทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตขอประกาศให้เธอทั้งหลายทราบ ดังนี้.
ลงในอรรถว่า เรียก บ้าง สมจริงดังพระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
เธอจงมา จงไปเรียกพระสารีบุตรมาตามคำของเราตถาคต.
บทว่า ภิกฺขโว เป็นบทแสดงอาการเรียกมา จริงอยู่ คำนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะสำเร็จมาแต่การประกอบคุณ คือความ
เป็นผู้มีปกติขอ (ของภิกษุเหล่านั้น ) ก็นักศัพท์ศาสตร์ทั้งหลายสำคัญ
อยู่ว่า ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยคุณ คือความเป็นผู้ขอเป็นปกติบ้าง ชื่อว่า
เป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้ขอเป็นธรรมดาเป็นต้นบ้าง เป็นผู้
ประกอบด้วยคุณ คือความเป็นผู้มีปกติกระทำคำอนุโมทนาว่า "สาธุ"
ในการขอบ้าง.
ก็ด้วยคำที่สำเร็จจากการประกอบด้วยคุณ เช่นความเป็นผู้มีปกติ
ขอเป็นต้นของภิกษุเหล่านั้น นั้น ชื่อว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประกาศ
จริยาวัตร (ของภิกษุเหล่านั้น) ที่คนชั้นสูงและคนชั้นต่ำคุ้นเคยกันแล้ว
(เป็นการ ) บำราบความเป็นผู้เห่อเหิมและความหดหู่ใจ (ของพวกเธอ)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 41
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นให้หันหน้ามาหาพระองค์ด้วย
พระดำรัสที่มีการทอดพระเนตรดูด้วยพระหฤทัยที่เยือกเยินด้วยกระแสแห่ง
พระกรุณาเป็นเบื้องหน้า ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความประสงค์จะฟัง
ด้วยพระดำรัสที่แสดงความที่พระองค์ประสงค์จะตรัสสอนนั้นนั่นแล. และ
ทรงประกอบภิกษุเหล่านั้นไว้ แม้ในการตั้งใจฟังด้วยดีด้วยพระดำรัสที่ทรง
ประสงค์จะเตือน ( ภิกษุทั้งหลาย) ให้รู้สึกนั้นนั่นแล เพราะคุณสมบัติ
แห่งหลักคำสอนเกี่ยวเนื่องอยู่กับการตั้งใจฟังด้วยดี. ถ้าหากจะมีคำถาม
สอดเข้ามาว่า เกราะเหตุไร เมื่อเทวดาและมนุษย์เหล่าอื่นมีอยู่ จึงตรัส
เรียกภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมา. ตอบว่า เพราะภิกษุทั้งกลาย เป็นผู้เจริญ
ที่สุด ประเสริฐที่สุด อยู่ใกล้ และอยู่พร้อมเพรียงกันตลอดเวลา.
อธิบายว่า พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทั่วไปแก่บริษัท
ทุกเหล่า และภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเจริญที่สุดในบริษัท เพราะเป็นผู้
เกิดขึ้นก่อนบริษัทอื่น ชื่อว่าประเสริฐที่สุด เพราะมุ่งความเป็นบรรพชิต
เป็นเบื้องหน้า ประพฤติคล้อยตามอย่างพระศาสดา และรับเอาคำสั่งสอน
ทั้งสิ้น ชื่อว่าอยู่ใกล้ เพราะเมื่อนั่งอยู่ในที่นั้น ชื่อว่าอยู่ในสำนักของ
พระศาสดา ชื่อว่าพร้อมเพรียงกันอยู่ทุกเมื่อ เพราะเที่ยวไปใกล้สำนัก
พระศาสดา.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นภาชนะแห่งพระธรรม-
เทศนา เพราะให้เกิดการปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพร่ำสอน
และเพราะเป็นบุคคลพิเศษ อนึ่ง เทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงเฉพาะ เจาะจง ภิกษุบางพวกเท่านั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึง
ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมา ด้วยอาการอย่างนี้. ในข้อนั้น พึงมีคำถาม
สอดเข้ามาว่า ก็เพื่อประโยชน์อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 42
แสดงธรรม จึงทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาก่อน ไม่ทรงอเสดงธรรมเลย
ทีเดียว ? ตอบว่า เพื่อให้เกิดสติ เพราะว่า ภิกษุทั้งหลายกำลังนั่งคิด
เรื่องอื่นอยู่บ้าง นั่งใจลอยอยู่บ้าง นั่งพิจารณาธรรมอยู่บ้าง นั่งมนสิการ
กรรมฐานอยู่บ้าง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น
(ก่อนแล้ว ) แสดงธรรม ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะกำหนดได้ว่า พระ
ธรรมเทศนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย พระองค์ทรงแสดงเพราะเกิด
เหตุอะไรขึ้น พึงรับเอาผิด หรือว่ารับเอาไม่ได้เลย เหตุนั้น เพื่อเป็น
การเตือนสติภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาก่อนแล้วแสดงธรรมในภายหลัง.
คำว่า ภทนฺเต นั่น เป็นคำแสดงความเคารพ หรือเป็นการ
ถวายคำตอบแด่พระศาสดา อีกอย่างหนึ่งในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อตรัสว่า ภิกฺขโว ชื่อว่าตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมา ภิกษุเหล่านั้น
เมื่อทูลว่า ภทนฺเต ชื่อว่าตอบรับพระผู้มีพระภาคเจ้า. อนึ่ง พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงประทานคำเรียกเฉพาะว่า ภิกฺขโว ภิกษุทั้งหลายถวาย
คำตอบว่า ภทนฺเต.
บทว่า เต ภิกฺขู หมายเอาพวกภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกมา.
บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ความว่า ( ภิกษุเหล่านั้น ) ทูลรับ
พระพุทธฎีกา อธิบายว่า หันหน้ามาฟัง คือน้อมรับ ได้แก่ทูลรับ.
บทว่า ภควา เอตทโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 43
สูตรทั้งสิ้นนั้น คือที่จะพึงตรัสในบัดนี้.
ก็นิทานพจน์ใด ที่ประดับประดาด้วยกาละ เทศะ ผู้แสดง เรื่องราว
บริษัท และประเทศ เหมือนท่าน้ำอันมีภูมิภาคขาวสะอาดเดียรดาษด้วยเมล็ด
ทรายคล้ายสุธาดลอันเกลื่อนกล่นไปด้วยแก้วมุกดา มีบันไดอันพิลาสรจนา
ด้วยแผ่นศิลาที่ขัดไว้จนไร้ราคี เพื่อง่ายต่อการลงสู่สระโบกขรณีที่สล้างไป
ด้วยดอกบัวเขียว มีน้ำใสสะอาดรสจืดสนิท เหมือนบันไดอันมีชั้นละเอียด
อ่อนสำเร็จด้วยงาช้าง งามรุ่งเรืองเกิงแต่รัศมีของพวงแก้วมณีที่ร้อยด้วย
ลวดทองคำ เพื่อสะดวกต่อการก้าวขึ้นสู่พระมหาปราสาท มีฝาจัดได้
สมส่วน แลกั้นด้วยไพทีอันวิจิตรที่มีองค์ ( ดูเสมือน) จะเคลื่อนไหว
ได้ เสมือนมีประสงค์จะให้สูงเสียดทางเดินของดวงดาว เหมือนมหาทวาร
ที่มีบานกว้างใหญ่อันติดตั้งไว้ดีแล้ว เพริศแพร้วเรืองรองด้วยทองเงิน
มณี มุกดา และแก้วประพาฬเป็นอาทิ เพื่อสะดวกต่อการเข้าไปสู่คฤหาสน์
อัน โสภิตไปด้วยอิสสริยสมบัติ อัน โอฬาร เป็นสถานขวักไขว่ ไปด้วยผู้คนที่
พูดจาหัวเราะขัยเสียงอันไพเราะประสานกับเสียงกระทบของกำไลทองที่
คล้องไว้เป็นระเบียบ อันพระอานนทเถระเจ้ากล่าวไว้แล้ว การพรรณนา
ความแห่งนิทานพจน์นั้น เป็นอันจบบริบูรณ์ ด้วยประการฉะนี้.
เหตุเกิดพระสูตร ๔ อย่าง
บัดนี้ ถึงลำดับโอกาสที่จะพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดงโดยนัยมีอาทิว่า สพฺพธมฺมมูลปริยาย ดังนี้. ก็การ
พรรณนาพระสูตรนี้ เพราะเมื่อได้พิจารณาเหตุที่ทรงยกพระสูตรขึ้นแสดง
แล้ว จึงกล่าวย่อมแจ่มแจ้ง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักวิจารณ์เหตุที่ทรงยก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 44
พระสูตรขึ้นแสดงก่อน อธิบายว่า เหตุที่ทรงยกพระสูตรขึ้นแสดงมี ๔
ประการ คือ
๑. อัตตัชฌาสยะ เป็นไปตามพระอัธยาศัยของพระองค์
๒. ปรัชฌาสยะ เป็นไปตามอัธยาศัยของผู้อื่น
๓. ปุจฉาวสิกะ เป็นไปด้วยอำนาจการถาม
๔. อัตถุปปัตติกะ เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น
ในบรรดาเหตุ ๔ ประการนั้น พระสูตรเหล่าใดที่คนอื่นมิได้ทูล
อาราธนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโดยพระอัธยาศัยของพระองค์
แต่ลำพังอย่างเดียวมีอาทิอย่างนี้คือ อากังเขยยสูตร วัตถสูตร มหาสติ-
ปัฏฐานสูตร มหาสฬายตนวิภังคสูตร อริยวังสสูตร ส่วนแห่งสัมมัป-
ปธานสูตร ส่วนแห่งอิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และมรรค
พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงยกขึ้นแสดงเป็นไปตามอัธยาศัยของ
พระองค์.
อนึ่ง พระสูตรเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเล็งดูอัธยาศัย
ความพอใจ ความชอบใจ อภินิหาร และภาวะที่จะตรัสรู้ได้ของชน
เหล่าอื่นอย่างอื่นว่า ธรรมะบ่มวิมุติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เรา
ตถาคตพึงแนะนำราหุลในอาสวักขยธรรมให้สูงขึ้น ดังนี้ ( เป็นต้น )
แล้วจึงตรัสด้วยอำนาจอัธยาศัยของผู้อื่น (นั้น) ตัวอย่างเช่น จุลล-
ราหุโลวาทสูตร มหาราหุโลวาทสูตร ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ธาตุ-
วิภังคสูตร พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงยกขึ้นแสดง เป็นไปตาม
อัธยาศัยของผู้อื่น.
อนึ่ง พระสูตรเหล่าใด ที่เหล่าสัตว์ทั้งกลายมีอาทิอย่างนี้คือ บริษัท ๔
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 45
วรรณะ ๔ นาค ครุฑ คนธรรพ์ อสูร ยักษ์ ท้าวมหาราช เทวดา
ชั้นดาวดึงส์ เป็นต้น และท้าวมหาพรหมพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า แล้วทูลถามปัญหาโดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่
เรียกว่า โพชฌงค์ โพชฌงค์ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า
นิวรณ์ นิวรณ์ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้
หนอแล ในโลกนี้ อะไรเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจที่ประเสริฐสุดของคน
เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเทศนา มีโพช-
ฌงคสังยุต เป็นต้น ก็หรือพระสูตรแม้อื่นเหล่าใด มีเทวดาสังยุต มาร-
สังยุต พรหมสังยุต สักกปัญหสูตร จุจลลเวทลัลสูตร มหาเวทัลลสูตร
สามัญญผลสูตร อาฬวกสูตร สูจิโลมสูตร ขรโลมสูตร เป็นต้น พระสูตร
เหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่ทรงยกขึ้นแสดง เป็นไปด้วยอำนาจการถาม.
อนึ่ง พระสูตรเหล่านั้นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเหตุ-
การณ์ที่เกิดขึ้นตรัสเทศนา ตัวอย่างเช่น ธัมมทายาทสูตร จุลลสีหนาทสูตร
จันทูปมสูตร ปุตตมังสูปมสูตร ทารุกขันธูปมสูตร อัคคิกขันธุปมสูตร
เผณปิณฑูปมสูตร ปาริฉัตตกูปมสูตร พระสูตรเหล่านั้น ชื่อว่ามีเหตุที่
ทรงยกขึ้นแสดง เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น. ในบรรดาเหตุที่ยกขึ้นแสดง
๙ ประการ ดังพรรณนามานี้ มูลปริยายสูตรนี้ มีเหตุที่เกิดขึ้นแสดง
เป็นไปโดยเหตุที่เกิดขึ้น. ด้วยว่า มูลปริยายสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดง ในเพราะเหตุที่เกิดขึ้น ในเพราะเพตุที่เกิงขึ้นอย่างไร ?
ในเพราะมานะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปริยัติ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 46
มานะเกิดเพราะปริยัติ
ดังได้สดับมา พราหมณ์ ๕๐๐ คน เรียนจบไตรเพท ภายหลัง
ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเห็นโทษในกามทั้ง-
หลาย เห็นอานิสงส์ในการออกบวช จึงออกบวชอยู่ในสำนักของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ต่อกาลไม่นานเลย ก็เรียนเอาพระพุทธพจน์ทั้งหมด
เพราะอาศัยการศึกษาเล่าเรียน จึงเกิดมานะขึ้นว่า พวกเรารู้พระพุทธพจน์
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้พลันทีเดียว เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
จะไม้ตรัสเรื่องอะไร ๆ นอกเหนือจากลิงค์ ๓ บท ๔ และวิภัตติ ๗
ก็เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าบทที่เป็นเงื่อนงำ (ไม่เข้าใจ) สำหรับ
พวกเราย่อมไม่มี ดังนี้. ภิกษุเหล่านั้น ไม่มีความเคารพในพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า จำเดิมแต่นั้น ก็ไม่ไปอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง ไม่ไป
ฟังธรรมเป็นประจำบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบวารจิตนั้นของ
ภิกษุเหล่านั้น ทรงดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ ยังถอนตะปูคือมานะไม่ได้ ก็ไม่
ควรเพื่อทำให้แจ้งมรรค หรือผล ทรงกระทำมานะที่เกิดขึ้น เพราะอาศัย
การเล่าเรียนสุตะของภิกษุเหล่านั้นให้เป็นต้นเหตุเกิดเรื่อง จึงเริ่มการ
แสดงธรรมว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ฉลาดในการแสดงมูลปริยาย-
สูตรแห่งธรรมทั้งปวง เพื่อจะหลักเสียซึ่งมานะ (ของภิกษุเหล่านั้น) ดังนี้.
ความหมายของมูลปริยายสูตรและธรรมมะ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพธมฺมมูลปริยาย แปลว่า พระ
สูตรว่าด้วยเหตุที่เป็นมูลฐานแห่งธรรมทั้งปวง. บทว่า สพฺเพส แปลว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 47
ไม่มีส่วนเหลือ จริงอยู่ ศัพท์ว่า สัพพะ นี้ บ่งถึงความไม่มีส่วนเหลือ.
ศัพท์ว่า สัพพ นั้น ย่อมแสดงถึงสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันไม่ให้เหลือ เหมือน
อย่างในประโยคเป็นต้นว่า รูปทั้งปวงไม่เที่ยง เวทนาทั้งปวงไม่เที่ยง
ในบรรดาธรรมที่เกี่ยวเนื่องในกายของตนทั้งหมด ดังนี้.
ส่วนศัพท์ว่า ธัมมะ นี้ ย่อมปรากฏในศัพท์เป็นต้นว่า ปริยัตติ
สัจจะ สมาธิ ปัญญา ปกติ สภาวะ สุญญตา ปุญญะ อาปัตติ และ
เญยยะ.
จริงอยู่ ศัพท์ว่า ธัมมะ ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปริยัตติ ดังใน
ประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุในพระธรรมวินัย ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ
เคยยะ ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า สัจจะ ตังในประโยคเป็นต้นว่า พระธรรม
อันบัณฑิตเห็นแล้ว คือรู้แล้ว ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า สมาธิ ดังในประโยคเป็นต้นว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเหล่านั้น มีธรรมอย่างนี้.
ปรากฏในอรรถว่า ปัญญา ในประโยคเป็นต้นว่า
ดูก่อนพญาวานร ท่านผู้ใดมีธรรม ๔ เหล่านี้ คือ
สัจจะ ธรรมะ ธิติ และจาคะ ดุจท่าน ท่านผู้นั้น
ย่อมก้าวล่วง (ไม่ตกอยู่ ) ในอำนาจศัตรู ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า ปกติ ในประโยคเป็นต้นว่า มีความเกิดเป็น
ธรรมดา มีความแก่เป็นธรรมดา ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า สภาวะ ในประโยคเป็นต้นว่า กุศลธรรม
ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 48
ปรากฏในอรรถว่า สุญญตา ในประโยคเป็นต้นว่า ก็ในสมัย
นั้นแล พระธรรมทั้งหลาย ย่อมมี ดังนี้.
ย่อมปรากฏในอรรถว่า ปุญญะ (บุญ) ในประโยคเป็นต้นว่า
พระธรรมที่ประพฤติดีแล้ว (สะสมไว้ดีแล้ว) ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้.
ย่อมปรากฏในอรรถว่า อาปัตติ ในประโยคเป็นต้นว่า ธรรมทั้ง-
หลายที่เป็นอนิยต ๒ ประการ ดังนี้.
ปรากฏในอรรถว่า เญยยะ ในประโยคเป็นต้นว่า พระธรรมทั้ง -
ปวง ย่อมมาสู่คลอง ในพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการ
ทั้งปวง ดังนี้.
แต่ในที่นี้ ธัมมะศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถว่า สภาวะ ในคำ
ว่า ธรรมนั้น มีอรรถพจน์ดังนี้ว่า สภาวะเหล่าใดย่อมทรงไว้ซึ่งลักษณะ
ของตน เหตุนั้น สภาวะเหล่านั้น ชื่อว่า ธรรมะ.
มูล ศัพท์ ท่านกล่าวไว้พิสดารด้วยทีเดียว. แต่ในที่นี้มูลศัพท์นี้
พึงทราบว่า ลงในอรรถว่า เหตุที่ไม่ทั่วไป.
ปริยาย ศัพท์ ย่อมลงในอรรถว่า เทศนา ดังในประโยคเป็นต้น
ว่า ท่านจงจำพระสูตรนั้นว่า มธุปิณฑปริยายสูตร ดังนี้.
ปริยายศัพท์ ลงในอรรถว่า การณะ (เหตุ) ดังในประโยคเป็น
ต้นว่า พระสมณโคดมผู้เป็นอกิริยวาที เพื่อตรัสโดยชอบ พึงตรัส
กะเราโดยเหตุใด ดูก่อนพราหมณ์ เหตุนั้นแล มีอยู่ ดังนี้.
ลงในอรรถว่า วาระ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนอานนท์
วันนี้เป็นวาระของใครหนอแล เพื่อจะกล่าวสอนนางภิกษุณีทั้งหลาย
ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 49
แต่ในที่นี้ (ปริยายศัพท์นั้น) ย่อมลงสู่ในอรรถว่า การณะบ้าง
เทศนาบ้าง. เพราะฉะนั้น ปริยายศัพท์ ในคำนี้ว่า สพฺพธมฺมมูลปริยาย
ดังนี้ พึงทราบอย่างนี้ว่า การณะ ที่รู้กันว่า เหตุที่ไม่ทั่วไปแก่ธรรมทั้ง-
ปวง หรือว่าเทศนา คือ การณะ (เหตุ) แห่งธรรมทั้งปวง ดังนี้.
อนึ่ง สภาวธรรมทั้งหลาย แม้ที่เป็นในภูมิ ๔ ไม่พึงเข้าใจว่า
ชื่อว่า ธรรมทั้งปวง เพราะเหตุที่สูตรนั้นมีเนื้อความที่จะต้องแนะนำ แต่
สภาวธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ เท่านั้น ที่นับเนืองในสักกายทิฏฐิ พึงเข้า
ใจว่า ธรรมทั้งปวง โดยไม่มีส่วนเหลือ. ในข้อนี้มีการอธิบายความดังว่า
มานี้แล.
หลักการใช้ โว ศัพท์
โว ศัพท์ ในบทว่า โว นี้ ย่อมใช้ในปฐมาวิภัตติ ทุติยาวิภัตติ
ตติยาวิภัตติ จตุตถีวิภัตติ ฉัฏฐีวิภัตติ และปทปูรณะ (ทำบทให้เต็ม).
อธิบายว่า
โว ศัพท์ ใช้ในปฐมวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อน
อนุรุทธะ ก็เธอทั้งหลาย ยังเป็นผู้สามัคคี บันเทิงอยู่ ไม่โกรธกัน
อยู่หรือ ดังนี้.
ใช้ในทุติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงไป เราตถาคตขอประฌามพวกเธอ ดังนี้.
ใช้ในตติยาวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า อันพวกเธอไม่ควรอยู่
ในสำนักของเราตถาคต ดังนี้.
ใช้ในจตุตถีวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 50
เราตถาคต จักแสดงวนปัตถปริยายสูตรแก่พวกเธอ ดังนี้.
ใช้ในฉัฏฐีวิภัตติ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนสารีบุตร เละ
โมคคัลลานะ นี้เป็นสุภาษิตของเธอทั้งปวง ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า สักว่าทำบทให้เต็ม ดังในประโยคเป็นต้นว่า ก็
พระอริยะเหล่าใดมีกายกรรมบริสุทธิ์ ดังนี้. แต่ในที่นี้ โว ศัพท์นี้
พึงทราบว่าใช้ในจตุตถีวิภัตติ.
บทว่า ภิกฺขเว เป็นการตรัสเรียกภิกษุที่อยู่เฉพาะพระพักตร์ซ้ำอีก
ด้วยการให้รับฟัง. บทว่า เทเสสฺสามิ เป็นการเตือนให้รู้ว่าจะแสดง
ธรรม. อธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมูลเหตุแห่งธรรม
ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย, เราจักแสดงเทศนาอันเป็นตัวเหตุโดยนัยที่ ๒ แก่
พวกเธอ ดังนี้. สองบทว่า ต สุณาถ ความว่า เธอทั้งหลายจงฟังใจ
ความนั้น คือเหตุนั้น ได้แก่เทศนานั้นที่เราจะกล่าวอยู่. ก็ ๒ บทนี้ว่า
สาธุก สาธุ ในคำนี้ว่า สาธุก มนสิกโรถ ดังนี้ มีใจความอันเดียวกัน.
หลักการใช้ สาธุ ศัพท์
อนึ่ง สาธุ ศัพท์นี้ ใช้ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า อายาจนะ
(อ้อนวอน ) สัมปฏิจฉนะ (รับ) สัมปหังสนะ (ร่าเริง) สุนทระ
(ดี) และทัฬหีกรม (ทำให้มั่น). อธิบายว่า :-
สาธุ ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า อ้อนวอน ดังในประโยคเป็นต้นว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงทรงแสดงพระธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยสังเขป ดังนี้. ใช้ในอรรถ
ว่า รับ ดังในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นแล ชื่นชม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 51
ยินดีสุภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีละ พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า ร่าเริง ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดีละ ๆ สารีบุตร ดังนี.
ใช้ในอรรถว่า ดี ดังในประโยคเป็นต้นว่า
พระราชาผู้รักธรรม เป็นคนดี, คนที่มีปัญญา (ใช้
ปัญญาในทางดี) เป็นคนดี, คนที่ไม่ทำลายมิตร
เป็นคนดี การไม่ทำบาป เป็นความดี ดังนี้.
สาธุกศัพท์ ก็เหมือนกัน ใช้ในอรรถว่า กระทำให้มั่น ท่าน
กล่าวไว้ว่า ใช้ในอรรถว่า บังคับบ้าง ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อน
พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟังให้ดี ดังนี้.
ถึงในพระสูตรนี้ ก็พึงเข้าใจความหมายอย่างเดียวกันนี้ ใช้ทั้งใน
การทำให้มั่น ทั้งในการบังคับนี้แหละ แม้จะใช้ในอรรถว่า ดี ก็ควร.
จริงอยู่ ด้วยสาธุกศัพท์ที่มีความหมายว่า ทำให้มั่น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงแม้คำนี้ว่า เธอทั้งหลายเมื่อจะเรียนให้ดี จงฟังธรรม
นี้ให้มั่น, ที่มีความหมายว่า บังคับ ทรงแสดงคำแม้นี้ว่า เธอทั้งหลาย
จงฟังตามอาณัติของเรา ที่มีความหมายว่า ดี ทรงแสดงคำแม้นี้ว่า เธอ
ทั้งหลายจงฟังธรรมนี้ให้ดี ให้งาม.
บทว่า มนสิกโรถ ความว่า สนใจ คือใส่ใจ อธิบายว่า มีจิต
ไม่ฟุ้งซ่าน พิจารณา คือกระทำไว้ในใจ ดังนี้.
บัดนี้ คำว่า ต สุณาถ นี้ ในอธิการนี้ เป็นการห้ามความฟุ้งซ่าน
แห่งโสตินทรีย์, คำว่า สาธุก มนสิกโรถ เป็นการห้ามความฟุ้งซ่าน
แห่งมนินทรีย์ ด้วยการประกอบทำให้มั่นไว้ในใจ.
อนึ่ง ใน ๒ คำนี้ คำแรก เป็นการห้ามถือเอาผิดโดยพยัญชนะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 52
คำหลัง เป็นการห้ามถือเอาผิดโดยอรรถ. ดังในประโยคเป็นต้นว่า ท่าน
ประกอบการฟังธรรมด้วยคำแรก ประกอบการทรงจำ และการใคร่
ครวญธรรมะที่ได้สดับแล้วด้วยคำหลัง. อนึ่ง ท่านแสดงว่า พระ
ธรรมนี้ ถึงพร้อมด้วยพยัญชนะด้วยข้อแรก เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่ง
ควรฟัง และท่านแสดงว่า พระธรรมนี้ ถึงพร้อมด้วยอรรถด้วยคำหลัง
เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจ.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะเอาบทว่า สาธุกะ ประกอบเข้าไว้ด้วยกันทั้ง
๒ บท บัณฑิตพึงทราบการประกอบความอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่พระ
ธรรมนี้เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง และเป็นเทศนาที่ลึกซึ้ง ฉะนั้น เธอ
ทั้งหลายจงฟังให้ดี. เพราะเหตุที่พระธรรมนี้ มีความหมายอันลึกซึ้ง และ
มีปฏิเวธอันลึกซึ้ง ฉะนั้น เธอทั้งหลายจงใส่ใจไว้ให้ดี ดังนี้.
บทว่า ภาสิสฺสามิ แปลว่า เราตถาคตจักแสดง คือจักแสดง
เทศนาที่ประกาศไว้ในคำนี้ว่า เธอทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้นโดยไม่ย่นย่อ
ทีเดียว. อีกประการหนึ่งแลมีอธิบายไว้ว่า เราจักกล่าวเรื่องนั้นแม้โดย
พิสดาร ดังนี้. จริงอยู่ บทเหล่านี้ระบุเนื้อความทั้งโดยย่อและพิสดาร.
สมดังที่พระวังคีสเถระกล่าวไว้ว่า
ท่านจะแสดงโดยย่อก็ตาม จะกล่าวโดยพิสดารก็
ตาม เสียงไม่ก้องกังวานดุจนกสาลิกา แต่ก็แสดง
อย่างมีปฏิภาณ ดังนี้.
เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นแล เกิดอุตสาหะรับพระพุทธ-
ดำรัส. อธิบายว่า รับเอา คือถือเอาพระดำรัสของพระศาสดาว่า อย่าง
นั้นพระองค์ผู้เจริญ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 53
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ คือได้ตรัสพระสูตร
ทั้งสิ้นนี้ คือที่จะต้องกล่าวต่อไปนี้ มีเป็นต้นว่า อิธ ภิกฺขเว ดังนี้. บทว่า
อิธ ในคำว่า อิธ ภิกฺขเว นั้น เป็นนิบาต ใช้ในการอ้างสถานที่.
ในที่บางแห่งพระองค์ตรัสหมายเอา โลก. สมดังพระธรรมสังคาหกาจารย์
กล่าวไว้ว่า พระตถาคตย่อมเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ ดังนี้. ในที่บางแห่ง
ท่านกล่าวหมายเอา ศาสนา. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สมณะ (ที่ ๑) ในพระศาสนานี้แลมีอยู่ สมณะที่ ๒
ในพระศาสนานี้มีอยู่ ดังนี้. ในที่บางแห่ง ท่านกล่าวหมายเอา โอกาส
ดังท่านกล่าวไว้ว่า.
ดูก่อนเพื่อร่วมทุกข์ เมื่อเราเกิดเป็นเทวดาดำรงอยู่
ในโอกาสนี้นั่นแล และเราได้อายุเพิ่มอีก ท่านจง
ทราบอย่างนี้ ดังนี้.
ในที่บางแห่ง ท่านกล่าวหมายเอาเพียงทำบทให้เต็มเท่านั้น. สมดังที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เราตถาคตบริโภค
เสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว ดังนี้. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมาย
เอา โลก ดังนี้.
บทว่า อิธ ภิกฺขเว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาอีก เพื่อทรงแสดงเทศนาตามที่ได้ทรงปฏิญาณไว้. แม้ด้วยบท
ทั้ง ๒ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 54
ความหมายของปุถุชน
ก็ในบทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
ปุถุชน ชื่อว่า เญยยะ เพราะไม่มีอารม ชื่อว่า อัสสุตวา เพราะไม่มี
อธิคม. อธิบายว่า ปุถุชนใด ชื่อว่า ไม่มีอาคมที่ขจัดความไม่รู้ เพราะ
ไม่รู้เหตุที่เว้นจากการเรียน การสอบถาม และการวินิจฉัยในขันธ์ ธาตุ
อายตนะ สัจจะ ปัจจยาการ และสติปัฏฐาน เป็นต้น ชื่อว่า ไม่มีอธิคม
เพราะไม่ได้บรรลุธรรมที่จะพึงบรรลุด้วยการปฏิบัติ ปุถุชนนั้นจึงชื่อว่า
เญยยะ เพราะไม่มีอาคม ชื่อว่า อัสสุตวา เพราะไม่มีอธิคม.
ชนนี้นั้น ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลายมีการ
ยังกิเลสหนาให้เกิดเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง ชนนี้
ชื่อว่า หนา (ปุถุ) เพราะหยั่งลงภายในกิเลสที่หนา.
จริงอยู่ ชนนั้น ซึ่งว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลาย มีอาทิคือ ยัง
กิเลสเป็นต้น ที่หนามีประการต่าง ๆ ให้เกิด. สมดังพระธรรมสังคาห-
กาจารย์กล่าวไว้ว่า ชนทั้งกลาย ซึ่งว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า กังกิเลส
หนาให้เกิด, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ถูกสักกายทิฏฐิเบียดเบียน
มาก, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ต้องคอยมองดูศาสดาบ่อย ๆ ชื่อ
ว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ยังไม่หลุดพ้นไปจากคติทั้งปวงที่หนาแน่น,
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ปรุงแต่งเครื่องปรุงแต่งต่าง ๆ เป็นอัน
มาก, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ถูกโอฆะต่าง ๆ เป็นอันมากพัดพา
ไป, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนต่าง ๆ
เป็นอันมาก, ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า เราเดือดร้อนด้วยความเร่าร้อน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 55
ต่าง ๆ เป็นอันมาก ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า กำหนัด ติดใจ
สยบ ลุ่มหลง ติดขัด ขัดข้อง พัวพัน ในกามคุณ ๕ เป็นอันมาก.
ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอรรถว่า ถูกนิวรณ์ ๕ ร้อยรัดไว้ ปกคลุม ปิดบัง
ครอบงำไว้เป็นอันมาก, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน เพราะอยู่ใน
หมู่ชนผู้มีธรรมจริยาต่ำ ผู้หันหลังให้กับอริยธรรม จำนวนมาก คือ
นับไม้ถ้วน ซึ่งหันหลังให้อริยธรรม, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน
เพราะอรรถว่า ชนนี้ถึงการนับว่าแยกอยู่ต่างหาก คือ ไม้เกี่ยวข้องกับ
พระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยคุณ มีศีล และสุตะเป็นต้น. ด้วย
๒ บทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน นี้ ดังกล่าวมานี้
ในบรรดาปุถุชน ๒ จำพวกที่พระพุทธเจ้าผู้เป็น
เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ได้ตรัสไว้ คือ อันธปุถุชน
พวกหนึ่ง กัลยาณปุถุชนพวกหนึ่ง พึงทราบว่า ท่าน
กล่าวหมายถึงอันธปุถุชน.
อริยะ - สัตบุรุษ
คำว่า อริยะ ในคำเป็นต้นว่า อริยาน อทสฺสาวี ท่านกล่าว
หมายเอา พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธสาวก เพราะ
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไม่ดำเนินไปในทางเสื่อม ดำเนินไปในทางเจริญ
และอันชาวโลก พร้อมทั้งเทวโลก พึงดำเนินตาม.
อีกอย่างหนึ่ง พระอริยะในที่นี้ก็คือพระพุทธเจ้านั่นเอง. สมดังที่
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตท่านเรียกว่า
อริยะ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 56
อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกกองพระตถาคตเจ้า พึง
ทราบว่า สัตบุรุษ ในคำว่า สปฺปุริสา นี้. จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้า
เป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า โสภณบุรุษ เพราะประกอบด้วยคุณอันเป็น
โลกุตตระ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สัตบุรุษ. อีกอย่างหนึ่ง สัตบุรุษ
เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ท่านกล่าวแยกออกเป็น ๒ พวก. จริงอยู่ พระ
พุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธสาวกก็ดี เป็นทั้ง
พระอริยะ และสัตบุรุษ สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
บุคคลใดแล เป็นนักปราชญ์ ผู้กตัญญูกตเวที เป็น
กัลยาณมิตร มีความภักดีมั่น กระทำการช่วยเหลือ
ผู้ตกทุกข์ได้ยาก โดยความเต็มใจ บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวผู้เช่นนั้นว่า สัตบุรุษ ดังนี้.
จริงอยู่ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ว่า กลฺยาณมิตฺโต ทฬฺหภตฺติ จ
โหติ ดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาพระพุทธสาวก, ด้วยคำว่า กตญฺญุตา
เป็นต้น ท้านกล่าวหมายเอาพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้า ดังนี้
แล.
บัดนี้ ท่านผู้ใด มีปกติไม่เห็นพระอริยเหล่านั้น และไม่ยินดีใน
การเห็น ผู้นั้น พึงทราบว่า มีปกติไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ดังนี้.
และการเห็นนั้นแยกออกเป็น ๒ คือ ไม่เห็นด้วยตา ๑ ไม่เห็นด้วยญาณ ๑.
ใน ๒ อย่างนั้น การไม่เห็นด้วยญาณ ท่านประสงค์เอาในที่นี้.
จริงอยู่ พระอริยะทั้งหลายถึงบุคคลจะเห็นด้วยมังสจักษุ หรือ
ทิพยจักษุ ก็ยังไม่ชื่อว่าได้เห็น เพราะจักษุเหล่านั้นรับเอาเพียงอุปาทายรูป
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 57
ไม่ใช่ยึดเอาความเป็นพระอริยะเป็นอารมณ์ อนึ่ง แม้สุนัขบ้าน สุนัข
จิ้งจอกเป็นต้น ย่อมเห็นพระอริยะทั้งหลายด้วยจักษุ แต่ว่า สุนัขบ้าน
เป็นต้นเหล่านั้นจะชื่อว่าได้เห็นพระอริยะทั้งหลายหามิได้. ในข้อนี้ มี
เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์
อยู่กับพระอริยะ แต่ไม่รู้จักพระอริยะ
ดังได้สดับมา อุปัฏฐากของพระเถระผู้ขีณาสพ ผู้อยู่ในจิตตลดา-
บรรพต บวชเมื่อแก่ อยู่มาวันหนึ่ง เที่ยวไปบิณฑบาตกับพระเถระ
รับเอาบาตรจีวรของพระเถระเดินตามหลังมา ถามพระเถระว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ บุคคลเช่นไรชื่อว่า พระอริยะ พระเถระตอบว่า บุคคล
บางคนในโลกนี้ เป็นคนแก่ รับเอาบาตรและจีวรของพระเถระ ทำวัตร
ปฏิบัติแม้เที่ยวไปกับพระอริยะ ก็ย่อมไม่รู้จักพระอริยะ โยม พระอริยะ
ทั้งหลาย รู้ได้ยากอย่างนี้ ดังนี้. เมื่อพระเถระแม้พูดอย่างนี้ อุปัฏฐาก
นั้น ก็ยังหารู้ไม่.
เพราะฉะนั้น การเห็นด้วยจักษุ ไม่ชื่อว่าเห็น การเห็นด้วย
ญาณเท่านั้น ชื่อว่าเห็น. สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ
ประโยชน์อะไรด้วยกายอันเปื่อยเน่านี้ อันเธอเห็นแล้ว, ดูก่อนวักกลิ
ผู้ใดแล เห็นพระธรรม ผู้นั้นชื่อว่า เห็นเราตถาคต ดังนี้.
เพราะฉะนั้น บุคคลแม้เห็นอยู่ (ซึ่งพระอริยะ) ด้วยจักษุ แต่
ไม่เห็นอนิจจลักษณะ เป็นต้น ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายเห็นแล้วด้วยญาณ
และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยเจ้าบรรลุแล้ว พึงทราบ ไม่เห็นพระ
อริยเจ้าทั้งหลาย เพราะธรรมที่ทำให้พระอริยะ และความเป็นพระอริยะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 58
อันบุคคลนั้นยังไม่เห็น ดังนี้.
สองบทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ความว่า ไม่ฉลาดในอริย-
ธรรมอันแยกออกเป็นสติปัฏฐาน เป็นต้น.
ก็ชื่อว่า วินัย มี ๒ อย่าง แต่ละอย่างในแต่ละ
ประเภท มี ๕ เพราะความไม่มีวินัยทั้ง ๒ นั้น อัน
นี้ท่านเรียกว่า อวินีต ในคำว่า อริยธมฺเม อวินีโต
นี้.
วินัย ๒ อย่าง
จริงอยู่วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑. เละวินัย
แต่ละอย่าง ในวินัยแม้ทั้ง ๒ นี้ แยกออกเป็น ๕. จริงอยู่ แม้สังวร-
วินัยมี ๕ คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร เละวิริย-
สังวร. แม้ปหานสังวร ก็มี ๕ อย่างเหมือนกัน คือ ตทังคปหาน
วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน และนิลสรณปหาน.
สังวรวินัยทั้ง ๕ นั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุเข้าถึงด้วยปาฏิโมกข์-
สังวรนี้ นี้เรียกว่า สีลสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ คือ ถึงการ
สำรวมในจักขุนทรีย์ นี้เรียกว่า สติสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอชิตะ กระแส
(ตัณหา) เหล่าใด ในโลกมีอยู่ สติย่อมเป็นเครื่อง
ห้ามกระแสเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวสติว่าเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 59
เครื่องระวังกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอัน
บุคคลย่อมละด้วยปัญญา.
นี้เรียกว่า ญาณสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุ ย่อมอดทนต่อหนาวและร้อน นี้เรียก
ว่า ขันติสังวร.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุย่อมหยุดกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้
นี้เรียกว่า วิริยสังวร
อนึ่ง สังวรนี้แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า สังวร เพราะเป็นเครื่อง
ระวังกายทุจริต และวจีทุจริต เป็นต้น ที่ตนต้องระวังตามหน้าที่ของตน
และเรียกว่า วินัย เพราะเป็นเครื่องขจัดกายทุจริต และวจีทุจริต เป็นต้น
ที่ตนต้องขจัดตามหน้าที่ของตน. สังวรวินัยพึงทราบว่า แยกออกเป็น ๕
ดังอธิบายมานี้ก่อน.
ปหานะ ๕
อนึ่ง การละองค์นั้นๆ ย่อมมีด้วยวิปัสสนาญาณนั้น ๆ เพราะเป็น
ปฏิปักษ์ในวิปัสสนาญาณ มีนามรูปปริเฉทญาณ เป็นต้น ดุจการกาจัด
ความมืด ย่อมมีได้เพราะแสงสว่างแห่งประทีปฉะนั้น. คือ ละสักกาย-
ทิฏฐิ ด้วยการกาหนดนามรูป, ละทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและมีเหตุไม่เสมอกัน
ด้วยการกำหนดปัจจัย, ละความสงสัยด้วยการข้ามความสงสัย อันเป็น
ส่วนภายหลัง แห่งการกำหนดปัจจัยนั้นนั่นเอง ละความยึดถือว่าเรา
ของเรา ด้วยการพิจารณากลาปะ ( กลุ่ม, กอง ), ละสัญญาในธรรม
ที่ไม่เป็นมรรคว่าเป็นมรรค ด้วยการกำหนดมรรคและอมรรค, ละอุจ-
เฉททิฏฐิด้วยการเห็นความเกิดขึ้น, ละสัสสตทิฏฐิด้วยการพิจารณาเห็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 60
ความเสื่อม, ละความสำคัญว่าไม่น่ากลัวในสิ่งที่น่ากลัวด้วยการพิจารณา
เห็นภัย, และความสำคัญว่าชอบใจ (ยินดี) ด้วยการพิจารณเห็นโทษ,
ละอภิรติสัญญา (ความสำคัญว่าน่ายินดียิ่ง) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา,
ละความเป็นผู้ไม่อยากจะหลุดพ้นด้วยญาณคือความเป็นผู้ใคร่จะพ้นไป,
ละการไม่เพ่งด้วยอุเบกขาญาณ, ละปฏิโลมในธรรมฐิติ และในพระ
นิพพานด้วยอนุโลม, ละความยึดนิมิตในสังขารด้วยโคตรภู อันนี้ ชื่อว่า
ตทังคปหานะ.
อนึ่ง การละนีวรณธรรม เป็นต้น นั้น ๆ ด้วยสมาธิแยกออกเป็น
อุปจารสมาธิ เพราะห้ามความเป็นไป (แห่งนีวรณ์) ดุจการแหวก
สาหร่ายบนผิวน้ำ โดยใช้หม้อแหวกฉะนั้น อันนี้ชื่อว่าวิกขัมภนปหานะ.
ส่วนการละกองกิเลสในสันดานของตน อันนับเนื่องในสมุทัยที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เพื่อละทิฏฐิทั้งหลายโดยที่
กองกิเลสนั้นกลับเป็นไปไม่ได้อีกอย่างเด็ดขาด แห่งพระโยคาวจรผู้ชื่อ
ว่า มีมรรคนั้น เพราะเหตุที่เจริญอริยมรรค ๔ ได้แล้ว อันนี้ชื่อว่า
สมุจเฉทปหานะ.
อนึ่ง ข้อที่กิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผล อันนี้ชื่อว่า
ปฏิปัสสัทธิปหานะ. พระนิพพานที่ชื่อว่าละเครื่องปรุงแต่งทั้งปวงได้
เพราะสลัดเครื่องปรุงแต่งทั้งปวงแล้ว อันนี้ ชื่อว่า นิสสรณปหานะ.
อนึ่ง เพราะเหตุที่การละทั้งหมดนั้น ชื่อว่า ปหานะ โดยอรรถว่า
สละ ชื่อว่า วินัย โดยอรรถว่า กำจัด ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปหานวินัย.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะการละกิเลสนั้นด้วย เพราะทำให้เกิดมีการกำจัด
(กิเลส ) นั้น ๆ ด้วย การละทั้งหมดนั้น ท่านเรียกว่า ปหานวินัย. แม้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 61
ปหานวินัย พึงทราบว่า แยกออกเป็น ๕ ประการ ด้วยประการฉะนี้.
วินัยนี้โดยย่อมี ๒ และโดยแยกแยะมี ๑๐ ดังพรรณนามาฉะนี้
เพราะเหตุที่ปุถุชนผู้มิได้สดับนั้น ไม่มีวินัยทั้ง ๒ อย่างนั้น ฉะนั้น ปุถุชน
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อวินีตะ (ผู้ไม่มีวินัย) เพราะ
ขาดสังวร และเพราะยังละปหาตัพพธรรมไม่ได้.
ในข้อว่า สปฺปุริสาน อทสฺสาวี (ไม่เห็นสัตบุรุษ ) สปฺปุริส-
ธมฺมสฺส อโกวิโท (ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ) สปฺปุริสธมฺเม
อวินีโต (ไม่ถูกแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ) นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ก็ข้อนี้ โดยความหมายไม่แตกต่างกันเลย สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระอริยะก็คือสัตบุรุษ สัตบุรุษก็คือพระอริยะ ธรรมของพระอริยะก็คือ
ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมของสัตบุรุษก็คือธรรมของพระอริยะ วินัย
ของพระอริยะก็คือวินัยของสัตบุรุษ วินัยของสัตบุรุษก็คือวินัยของ
พระอริยะ ศัพท์ว่า อริเย หรือ สปฺปุจริเส ก็ดี อริยธมฺเม หรือ
สปฺปุริสธมฺเม ก็ดี อริยวินเย หรือ สปฺปุริสวินเย ก็ดี ( ทั้งหมด )
นั้นเป็นอันเดียวกัน มีเนื้อความอย่างเดียวกัน เสมอกัน มีค่าเท่ากัน
กำเนิดเดียวกันทั้งนั้น.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงสัพพธัมมมูลปริยายสูตร แก่พวกเธอ แต่
ไม่ทรงแสดงสูตรนั้น กลับทรงชี้แสดงถึงปุถุชนอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย ดังนี้.
ตอบว่า เพื่อจะทำให้แจ้งซึ่งเนื้อความนั้น โดยธรรมเทศนาอันเป็น
บุคคลาธิษฐาน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 62
เทศนา ๔
จริงอยู่ การเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันดับแรกมี ๔
ประการ ด้วยอำนาจธรรมและบุคคลนั่นแล คือธรรมเทศนาที่ยกพระ
ธรรมเป็นที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน) บุคคลเทศนาที่ยกพระธรรมเป็น
ที่ตั้ง (ธัมมาธิษฐาน) บุคคลเทศนาที่ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลา-
ธิษฐาน) และพระธรรมเทศนา ยกบุคคลเป็นที่ตั้ง (บุคคลาธิษฐาน).
บรรดาเทศนา ๔ ประการนั้น เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เวทนา ๓ เหล่านี้, เวทนา ๓ อะไรบ้าง คือ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา เละอทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาทั้ง ๓
เหล่านี้แล พึงทราบว่า ชื่อว่าธรรมเทศนาที่เป็นธัมมาธิษฐาน.
เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนี้ มีธาตุ ๖ มี
ผัสสายตนะ ๖ มีมโนปวิจาร ๑๘ มีอธิษฐานธรรม ๔ พึงทราบว่า
ชื่อว่าบุคคลเทศนาที่เป็นธัมมาธิษฐาน.
เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษบุคคล ๓ พวก
เหล่านี้ มีอยู่ในโลก ๓ จำพวกเหล่าไหนบ้าง ? คือบอด, มีจักษุ
ข้างเดียว และจักษุ ๒ ข้าง ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลบอดเป็น
ไฉน ? พึงทราบว่า ชื่อว่าบุคคลเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐาน.
เทศนาแบบนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยในทุคติเป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า กายทุจริต
แลมีวิบากอันลามก อภิสัมปรายภพ ฯลฯ ย่อมบริหารตนอันสะอาด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภัยในทุคติ พึงทราบว่า ชื่อว่า
ธรรมเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐาน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 63
พึงทราบอรรถาธิบายว่า ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้น เพื่อ
จะทรงแสดงปุถุชน ขยายเนื้อความแห่งเทศนาที่เป็นบุคคลาธิษฐานให้ชัด
จึงทรงแสดงชี้ถึงปุถุชนอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้
มิได้สดับ มิได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุที่ปุถุชนมิได้
กำหนดรู้ขันธ์ และความสำคัญที่เป็นมูลรากของธรรมทั้งปวงที่ทรง
ประสงค์เอาในที่นี้ ก็มีความไม่กำหนดรู้เป็นมูลราก.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงปุถุชนอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะทรงแสดงความสำคัญในวัตถุทั้งหลาย มีปฐวี (แผ่นดิน) เป็นต้น
อันให้เกิดธรรมที่นับเนื่องในสักกายทิฏฐิทั้งหมดของปุถุชนนั้น จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า ปวึ ปวิโต ดังนี้.
ปฐวี ๔ อย่าง
ในคำว่า ปวึ ปวิโตนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- ปฐวีมี ๔
อย่าง คือ ลักขณปฐวี ๑ สสัมภารปฐวี ๑ อารัมมณปฐวี ๑ และ
สัมมติปฐวี ๑.
ในปฐวี ๔ อย่างนั้น ปฐวีธาตุที่ท่านกล่าวไว้ในประโยคเป็นต้น
ดูก่อนผู้มีอายุ ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ? ได้แก่สิ่งที่แข้นแข็ง
( เป็นลักษณะ) เฉพาะตนอยู่ในตัวมันเอง ชื่อว่า ลักขณปฐวี.
ปฐวีธาตุที่ท่านกล่าวไว้ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุขุดเองก็ดี ให้
คนอื่นขุดก็ดี ซึ่งแผ่นดิน ดังนี้ ชื่อว่า สสัมภารปฐวี.
อนึ่ง ปฐวีธาตุ คือ โกฏกาสะ ( ส่วน ) ๒๐ มีผม เป็นต้น
และวัตถุภายนอกมีเหล็กและโลหะ เป็นตัน พร้อมทั้งคุณสมบัติมีสี เป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 64
รวมเรียกว่า สสัมภารปฐวี.
ส่วนปฐวีธาตุ มาในประโยคเป็นต้นว่า คนหนึ่งรู้ชัดปฐวีกสิณ
เรียกว่า อารัมมณปฐวี. บางท่านเรียกว่า นิมิตตปฐวี.
ปฐวีธาตุที่ว่า บุคคลได้ฌานมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เกิดในเทวโลก
ย่อมได้นามว่า ปฐวีเทวดา ด้วยอำนาจปฐวีกสิณเป็นเหตุให้มา ( เกิด )
นี้ พึงทราบว่า สัมมติปฐวี.
ในอธิการนี้ ย่อมได้ปฐวีแม้ทั้งหมดนั้น. ปุถุชนนี้ย่อมหมายรู้ปฐวี
อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาปฐวีเหล่านั้น โดยเป็นปฐวี ย่อมหมายรู้ว่า
เป็นปฐวี ย่อมรู้โดยส่วนแห่งปฐวี ครั้นถือเอาตามโวหารโลกแล้ว ย่อม
หมายเอาด้วยสัญญาวิปัลลาสว่า เป็นปฐวี เมื่อปล่อยวางส่วนแห่งปฐวี
ไม่ได้อย่างนี้แหละ ย่อมหมายรู้เอาส่วนแห่งปฐวีนั่นโดยนัยเป็นต้นว่า
สัตว์ หรือว่าของสัตว์. เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ควรกล่าวไว้ว่า เอว
สญฺชานาติ. เพราะว่าปุถุชน เป็นเหมือนคนบ้า. เขาย่อมยึดถือสิ่งใด
สิ่งหนึ่ง ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
อีกอย่างหนึ่ง เหตุอันต่างด้วยความเป็นผู้ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
เป็นต้น นั่นแหละจักเป็นตัวการในการกำหนดหมายนี้ ซึ่งพระผู้มี-
พระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสว่า อปริญฺาต ตสฺส ข้างหน้าก็เป็นอัน
ตรัสไว้แล้ว.
บทว่า ปวึ ปวิโต สญฺตฺวา ความว่า ปุถุชนนั้นกำหนด
หมายแผ่นดินนั้นด้วยสัญญาที่วิปริตอย่างนี้แล้ว ต่อมาย่อมสำคัญ คือ
กำหนดให้ต่างออกไป ได้แก่ยึดถือโดยประการต่าง ๆ คือโดยประการอื่น
ด้วยกิเลสเครื่องเนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ ที่มีกำลัง ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 65
ท่านกล่าวไว้ด้วยนาม (รวม) ว่ามัญญนาในที่นี้ ตามพระบาลีว่า ก็
ส่วนแห่งกิเลสเครื่องเนิ่นช้า มีสัญญาเป็นต้นเหตุ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปวึ มญฺติ ดังนี้.
ก็เพื่อจะทรงแสดงความสำคัญเหล่านั้นของเขาผู้สำคัญอยู่เช่นนี้โดย
นัยอันพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสปฐวีในภายใน ๒๐ ประเภท
โดยนัยเป็นต้นว่า เกสา โลมา ตรัสปฐวีในคัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่า
บรรดาปฐวีธาตุ ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุภายนอกเป็นไฉน ? คือ วัตถุ
ภายนอกที่แข้นแข็งหยาบกระด้าง ไม่มีใจครอง เช่นเหล็ก โลหะ
ดีบุกขาว ดีบุกดำ แร่เงิน มุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา
แก้วประพาฬ เงินตรา ทองรูปพรรณ แก้วแดง (ทับทิม) เพชร-
ตาแมว หญ้า ท่อนไม้ ก้อนกรวด ทราย กระเบื้อง แผ่นดิน หิน
ภูเขา, และตรัสนิมิตแผ่นดิน ในวัตถุอารมณ์ภายใน ท่านหมายเอา
ปฐวีนั้น ๆ กล่าวการประกอบความนี้ไว้.
บทว่า ปวึ มฺติ ความว่า ปุถุชน ย่อมสำคัญว่า เราเป็น
ดิน ว่า ดินเป็นของเรา ว่า คนอื่นเป็นดิน ว่า ดินของคนอื่น ดังนี้
ด้วยความสำคัญ ๓ อย่าง.
อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสำคัญปฐวี (แผ่นดิน) ภายใน ด้วยความ
สำคัญ ด้วยอำนาจตัณหา มานะ และทิฏฐิ.
สำคัญอย่างไร ?
จริงอยู่ ปุถุชนนี้ ยังฉันทราคะให้เกิดในผม เป็นต้น คือยินดี
เพลิดเพลิน พร่ำเพ้อ หลงใหล ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ก็หรือ
วัตถุซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง, ปุถุชนย่อมสำคัญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 66
ปฐวีกายในด้วยความสำคัญอันเกิดจากอำนาจแห่งตัณหาอย่างนี้.
ก็หรือว่า เกิดความทะยานอยากในผมเป็นต้นนั้น โดยนัยเป็นต้นว่า
ผมของเราพึงเป็นเช่นนี้ตลอดไป ขอขนบองเราพึงเป็นเช่นนี้ตลอดไป
ก็หรือว่า ตั้งจิตไว้ เพื่อจะได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ โดยนัยเป็นต้น ด้วยศีล
หรือพรหมจรรย์ อันนี้ เราจักมีผมดำสนิทอ่อนนุ่ม ดังนี้. ปุถุชนย่อม
สำคัญปฐวี (แผ่นดิน) ภายใน ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา
แม้ดังอธิบายมานี้.
อนึ่ง ปุถุชน อภัยสมบัติ (ความถึงพร้อม) หรือวิบัติสองผม
เป็นต้นแห่งตน แล้วยังมานะให้เกิดขึ้นว่า เราดีกว่า เราเสมอกัน หรือ
ว่าเราเลวกว่า ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า สำคัญปฐวี ( แผ่นดิน ) ภายใน
ด้วยความสำคัญอันเกิดมาจากอำนาจมานะ. อนึ่ง ย่อมยึดมั่นผมว่าเป็น
ชีวะ โดยนัยที่มาแล้วว่า ชีวะก็อันนั้น สรีระก่อนนั้น ดังนี้. ( แม้)
ในขนเป็นต้นก็นัยนี้. ปุถุชนย่อมสำคัญปฐวี ( แผ่นดิน) ภายใน
ด้วยความสำคัญอันเกิดมาจากอำนาจทิฏฐิดังกล่าวมา.
อีกอย่างหนึ่ง ปุถุชนย่อมยึดมั่นซึ่งปฐวี อันต่างด้วยผมเป็นต้น
โดยนัยอันเป็นข้าศึกต่อพฤติกรรมนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ก็ปฐวีธาตุภายใน
อันใดแล และปฐวีธาตุภายนอกอัน ใด ก็ปฐวีธาตุ (ทั้ง ๒) นั้น
ชื่อว่าปฐวีธาตุเหมือนกัน อันนี้นั่นไม่ใช่ของเราว่า ของเรา เราเป็นนั่น
นั่นเป็นอัตตาของเรา ชื่อว่าย่อมสำคัญปฐวีภายในด้วยความสำคัญ
อันเกิดมาจากอำนาจทิฏฐิแม้อย่างนี้. ปุถุชนย่อมสำคัญปฐวีภายใน
ด้วยความสำคัญ ๓ อย่าง ดังพรรณนามานี้ก่อน. พึงทราบว่า ย่อม
สำคัญปฐวีภายนอกเหมือนอย่างปฐวีภายใน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 67
อย่างไร ? จริงอยู่ ปุถุชนนี้ ยังฉันทราคะให้เกิดขึ้นในเหล็กและ
โลหะเป็นต้น เพลิดเพลิน พร่ำเพ้อ หลงใหล เหล็กและโลหะเป็นต้น
ย่อมหวงแหนรักษา คุ้มครอง เหล็กเป็นต้นไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เหล็ก
ของเรา โลหะของเราชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสำคัญด้วย
อำนาจตัณหา ด้วยประการฉะนี้. ก็หรือว่าปุถุชนย่อมทะยานอยากในปฐวี
ภายนอกนี้ว่า ขอเหล็กและโลหะเป็นต้นของเรา พึงมีอยู่ อย่างนี้ตลอดไป
หรือตั้งจิตไว้ เพื่อจะได้สิ่งที่ยังไม่ได้ว่า ด้วยศีลหรือพรหมจรรย์นี้ เรา
จักเป็นผู้มีอุกปกรณ์ มีเหล็ก และโลหะเป็นต้น ที่ถึงพร้อมแล้ว อย่างนี้.
ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสำคัญอันเกิดมาจาก
อำนาจตัณหา แม้ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง ปุถุชนอาศัยสมบัติหรือวิบัติ แห่งเหล็กและโลหะเป็นต้น
ของตนแล้ว เกิดมานะขึ้นว่า ด้วยอุปกรณ์นี้ เราจึงดีกว่าเขา เสมอเขา
หรือเลวกว่าเขา ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วยความสำคัญ
อันเกิดมาจากอำนาจมานะอย่างนี้.
ก็ปุถุชนเป็นผู้มีความสำคัญในเหล็กว่าชีวะ ย่อมยึดมั่นว่านี้เป็นชีวะ.
นัยในโลหะเป็นต้นก็มีนัยนี้. ปุถุชนชื่อว่า ย่อมสำคัญปฐวีภายนอก ด้วย
ความสำคัญอันเกิดมาจากอำนาจทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้.
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นปฐวีกสิณ
โดยเป็นอัตตา คือว่า ย่อมยึดมั่นนิมิตปฐวีว่า อัตตา โดยนัยที่ท่าน
กล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทานั่นแลว่า ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นเนื้อความ
ทั้ง ๒ คือ ปฐวีกสิณ และองคาพยพว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 68
เราอันใด ปฐวีกสิณก่อนนั้น ดังนี้ ชื่อว่าย่อมสำคัญปฐวีภายนอก
ด้วยความสำคัญอันเกิดมาจากอำนาจทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้.
ปุถุชนย่อมสำคัญปฐวีแม้ภายนอก ด้วยความสำคัญ ๒ อย่าง
ดังอธิบายมานี้.
ในคำว่า ปวึ มญฺติ นี้ พึงทราบความสำคัญหมายทั้ง ๓ ดัง
พรรณนามานี้ก่อน. ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจักกล่าวแต้โดยย่อเท่านั้น. คำว่า
ปวิยา นี้ ในคำว่า ปวิยา มญฺติ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น
ในคำนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ปุถุชนย่อมสำคัญว่า เรามีอยู่ในปฐวี, ย่อม
สำคัญว่า ความกังวลผูกพันของเรามีอยู่ในปฐวี ย่อมสำคัญว่า บุคคลอื่นมี
อยู่ในปฐวี ย่อมสำคัญว่า ความกังวลผูกพันของบุคคลอื่นในปฐวีมีอยู่
ดังนี้ อีกอย่างหนึ่ง นัยแห่งเนื้อความของสัตตมีวิภัตตินั้น ที่ได้ที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า ปุถุชนย่อมพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างไร ? คือปุถูชนบางตนใน
โลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็น
อัตตา เขาย่อมพิจารณาเห็นอัตตาในรูปอย่างนี้ว่า ก็นี้แหละเป็นอัตตา
ของเรา อัตตาของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ โดยนั้นนั่นแล
ปุถุชนจึงถือเอาเวทนาธรรมเป็นต้น ต่อแต่นี้ก็กำหนดเอาปฐวีชนิดใด
ชนิดหนึ่ง ในบรรดาปฐวีทั้งภายในและภายนอก โดยความเป็นโอกาส
แห่งอัตตานั้น สำคัญอยู่ว่า ก็อัตตาของเรานี้นั้นแล มีอยู่ ในปฐวีนี้
ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสำคัญในปฐวี. นี้ชื่อว่า ความสำคัญด้วยอำนาจแห่ง
ทิฏฐิของปุถุชนนี้.
ก็เมื่อปุถุชนนั้น ยังความสิเนหาในอัตตา และมานะ อันมีอัตตา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 69
เป็นที่ตั้งให้เกิดขึ้นในรูปนั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความสำคัญด้วยอำนาจ
แห่งตัณหาและมานะ.
แต่ในกาลใด ปุถุชนย่อมสำคัญโดยนัยนั้นนั่นแลว่า ก็อัตตาของ
คนอื่นนั้นนั่นแล มีอยู่ ในปฐวี ในกาลนั้น ความสำคัญอันเกิดมาจาก
อำนาจแห่งทิฏฐินั่นแล ย่อมถูก. ส่วนความสำคัญแม้นอกจากนี้ ท่าน
ก็ปรารถนา (เอาเหมือนกัน).
ก็คำว่า ปวิโต ในคำว่า ปวิโต มญฺติ เป็นปัญจมีวิภตติ.
เพราะฉะนั้น ปุถุชน เมื่อสำคัญการเกิดขึ้น หรือการจากไป
จากปฐวีมีประเภทตามที่กล่าวแล้วแห่งตนหรือแห่งบุคคลอื่น พร้อมทั้ง
ทรัพย์ศฤงคาร หรือสำคัญว่า อัตตาอื่นจากปฐวี พึงทราบว่า ซึ่งว่า
สำคัญจากปฐวี. นี้เป็นความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น.
ก็เมื่อปุถุชนนั้น ยังความสิเนหาและมานะให้เกิดในวัตถุ ที่สำคัญ
กัน ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจทิฏฐินั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็น
ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหาและมานะ อาจารย์พวกอื่นกล่าวไว้ว่า
ปุถุชนเจริญปฐวีกสิณ อันเป็นปริตตารมณ์ และต่อจากนั้น ยึดเอา
อัตตาอัน ไม่มีประมาณอื่นแล้วสำคัญอยู่ว่า อัตตากองเรา (มี ) แม้ใน
ภายนอกจากปฐวี ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสำคัญจากปฐวี ก็ความสำคัญ
อันหนึ่งที่เป็นไปโดยนัยนี้ว่า ปุถุชนย่อมยึดถือมหาปฐวีอย่างเดียว.
ก็ในคำนี้ว่า ปวึ เมติ มญฺติ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ก็ความสำคัญที่เป็นไปโดยนัยนี้ว่า ย่อมหวงแหนมหาปฐวีด้วยอำนาจ
ตัณหาถ่ายเดียว พึงทราบว่า ได้แก่ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา
อย่างหนึ่งเหมือนกัน. ก็ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหานี้นั้น ควรประกอบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 70
เข้าในปฐวีทั้งภายในและภายนอกแม้ทั้งหมด มีประเภทตามที่กล่าวไว้แล้ว
อย่างนี้ว่า ผมของเรา ขนของเรา เหล็กของเรา ดังนี้.
บทว่า ปวึ อภินนฺทติ ความว่า ปุถุชน ย่อมเพลิดเพลิน
อธิบายว่า ยินดี ติดใจปฐวี มีประการตามที่กล่าวแล้วนั่นแล ด้วย
กิเลสมีตัณหา เป็นต้น.
หากมีคำถามว่า เมื่อใจความนี้สำเร็จแล้ว ด้วย ๒ บทนี้นั่นแลว่า
ปวี มญฺติ เพราะเหตุไรจึงกล่าวไว้อย่างนี้. ตอบว่า คำนั้น ท่าน
โบราณาจารย์ทั้งหลายไม่ได้เก็บมาวิจารณ์ ก็มตินี้เป็นส่วนตัวของเรา จาก
ลีลาการแสดง หรือจากการเห็นโทษเพราะท่านถึงพร้อมด้วยสีลาแห่งการ
แสดงอันวิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ เพราะแทงตลอดธรรมธาตุอันใด ธรรมธาตุ
อันนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแทงตลอดด้วยดีแล้ว เพราะฉะนั้น
ท่านครั้นแสดงความเกิดขึ้นแห่งกิเลส ด้วยอำนาจความสำคัญในเบื้องต้น
แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงด้วยอำนาจความยินดี เป็นต้น จึงกล่าวคำนี้ไว้
เพราะลีลาแห่งการแสดงบ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง ปุถุชนใดสำคัญปฐวี สำคัญในปฐวี สำคัญจาก
ปฐวี สำคัญว่า ปฐวีของเรา ปุถุชนนี้ เพราะเหตุที่ตนไม่อาจจะละ
ตัณหา หรือทิฏฐิที่อาศัยปฐวีได้ ฉะนั้น จึงยินดีปฐวีโดยส่วนเดียว.
อนึ่ง ปุถุชนใด ยินดีปฐวี ปุถุชนนั้น ย่อมยินดีทุกข์ และทุกข์เป็นโทษ
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ แม้เพราะการเห็นโทษ. สมดังที่พระผู้-
มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต
กล่าวว่า ผู้ใด ยินดีปฐวีธาตุ ผู้นั้นยินดีทุกข์ ผู้ใดยินดีทุกข์ ผู้นั้นย่อม
ไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 71
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความสำคัญและความยินดี อันมี
ปฐวีเป็นที่ตั้งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงนำเหตุที่เป็นเหตุสำคัญ และยินดี
ของปุถุชนนั้น จึงตรัสว่า เรากล่าวว่า ข้อนั้น เป็นเหตุแห่งอะไร,
ความไม่รู้รอบ เป็นเหตุแห้งข้อนั้น ดังนี้.
ข้อนั้น มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ถ้าว่ามีคำถามสอดเข้ามาว่า ปุถุชน
นั้น ย่อมสำคัญปฐวีนั้น เพราะเหตุอะไร คือว่า เพราะเหตุไร จึง
สำคัญยินดีปฐวีนั้น ดังนี้ไซร้. ตอบว่า (เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า) เราตถาคตกล่าวว่า ข้อนั้นอันปุถุชนนั้นมิได้กำหนดรู้แล้ว มี
อธิบายว่า เพราะเหตุที่ข้อนั้น อันปุถุชนนั้นมิได้กำหนดรู้แล้ว จริงอยู่
ปุถุชนใด ย่อมกำหนดรู้ปฐวี ปุถุชนนั้นย่อมกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓
คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหานปริญญา.
ในปริญญา ๓ อย่างนั้น ญาตปริญญาเป็นไฉน ? คือปุถุชน
ย่อมรู้ปฐวีธาตุว่า ปฐวีธาตุนี้ เป็นไปในภายใน ปฐวีธาตุนี้เป็นไปใน
ภายนอก นี้เป็นลักษณะของปฐวีธาตุนั้น เหล่านี้เป็นกิจ เป็นปัจจุ-
ปัฏฐาน และเป็นปทัฏฐานของปฐวีธาตุนั้น ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า
ญาตปริญญา.
ตีรณปริญญาเป็นไฉน? คือปุถุชนพิจารณาปฐวีธาตุ กระทำให้เป็น
สิ่งที่ตนรู้แล้วอย่างนี้ ด้วยอาการ ๔๐ ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นต้น ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า ตีรณปริญญา.
ปหานปริญญาเป็นไฉน ? คือบุคคลพิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อม
ละฉันทราคะในปฐวีธาตุด้วยอรหัตตมรรค ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า
ปหานปริญญา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 72
อีกอย่างหนึ่ง การกำหนดนามและรูป ชื่อว่า ญาตปริญญา. การ
กำหนดรู้มีการพิจารณากลาปะ เป็นเบื้องต้น และอนุโลมญาณ เป็นที่สุด
ชื่อว่า ตีรณปริญญา. ญาณในอริยมรรค ชื่อว่า ปหานปริญญา.
ปุถุชนใด ย่อมกำหนดรู้ปฐวี ปุถุชนนั้นย่อมกำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓
เหล่านี้. ก็ปริญญาเหล่านั้น ไม่มีแก่ปุถุชนนั้น เพราะฉะนั้น ปุถุชน
ชื่อว่า ย่อมสำคัญ ย่อมยินดีปฐวี เพราะไม่กำหนดรู้ด้วย เหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้
ไม่ได้สดับ ฯลฯ ย่อมสำคัญปฐวี ย่อมสำคัญในปฐวี ย่อมสำคัญจาก
ปฐวี ย่อมสำคัญว่า ปฐวีของเรา ชื่อว่า ย่อมยินดีปฐวี ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร เราตถาคตกล่าวว่า (เพราะ) ข้อนั้นอันปุถุชนนั้น
มิได้กำหนดรู้แล้ว.
จบ - ปฐวีวาร
แม้ในข้อนี้ว่า อาป อาปโต พึงทราบอาโป ๔ อย่างคือ ลักษณะ
อาโป สสัมภารอาโป อารัมมณอาโป และสมมติอาโป. บรรดาอาโป ๔
อย่างนั้น อาโปที่กล่าวไว้ในประโยคเป็นต้นว่า บรรดาอาโปธาตุ ๒
อย่างเหล่านั้น อาโปธาตุที่เป็นไปในภายในเป็นไฉน ? ได้แก่สิ่งที่
เอิบอาบ ซึมซาบ เชื่อมประสาน (เป็นลักษณะ ) เฉพาะตนอยู่ภายใน
ตัวเอง คืออาโปธาตุที่มีใจครองในภายใจรูป ชื่อว่า ลักษณอาโป.
อาโปกล่าวไว้ในประโยคเป็นต้นว่า บุคคลเรียนเอาอาโปกสิณ ย่อมถือเอา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 73
นิมิตในอาโป ดังนี้ ชื่อว่า สสัมภารอาโป. คำที่เหลือทั้งหมด
เช่นเดียวกับที่ท่านกล่าวไว้ในปฐวี (แผ่นดิน) นั้นแล แต่เมื่อว่าโดย
นัยแห่งการประกอบความล้วน ๆ อาโปธาตุที่เป็นไปในภายใน ๑๒ อย่าง
ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยว่า ดี เสมหะ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบว่า อาโปธาตุ
ภายใน และอาโปธาตุที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บรรดาอาโปธาตุ ๒ อย่าง
อาโปธาตุที่เป็นไปในภายนอกเป็นไฉน ? คือสิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบ
เชื่อมประสาน อยู่ภายนอก ได้แก่ความเอิบอาบสิ่งที่ถึงความเอิบอาบ
อาโปธาตุที่ไม่มีใจครองภายนอกรูป คือรสเกิดจากรากเหง้า รสเกิดจาก
ลำต้น รสเกิดจากเปลือก รสเกิดจากใบ รสเกิดจากดอก รสเกิดจากผล
นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำที่แผ่นดิน
หรือน้ำในอากาศ พึงทราบว่า อาโปธาตุภายนอก และอาโปนั้น ชื่อว่า
นิมิตอาโปในหมวด ๓ แห่งอัชฌัตตารมณ์ .
ในบทว่า เตช เตชโต นี้ พึงทราบความพิสดาร โดยนัยที่กล่าว
แล้ว แม้ในวาระแห่งเตโชนั่นแล. แต่ในข้อนี้ เมื่อวาโดยนัยแห่งการ
ขยายความ เตโชธาตุ ๔ อย่าง ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า เตโชธาตุที่เป็น
เหตุให้ร่างกายอบอุ่น ทรุดโทรม กระวนกระวาย และที่เป็นเหตุเผา
อาหารให้ย่อย พึงทราบว่า เตโชธาตุภายใน และเตโชธาตุที่ท่านกล่าวไว้
อย่างนี้ว่า บรรดาเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุที่เกินไปในภายนอก
เป็นไฉน ? คือสิ่งที่ร้อน อบอุ่นในภายนอก คือเตโชธาตุที่ไม่มีใจ
ครองในภายนอก ได้แก่ไฟเกิดจากไม้ ไฟเกิดจากสะเก็ดไม้ ไฟเกิด
จากหญ้า ไฟเกิดจากขี้วัว ไฟเกิดจากแกลบ ไฟเกิดจากกองขยะ ไฟเกิด
จากเชื้อ ความร่อนเกิดจากไฟ ความร้อนเกิดจากแสงพระอาทิตย์ ความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 74
ร้อนเกิดจากการทับถมแห่งท่อนไม้ ความร้อนเกิดจากการทับถมแห่งหญ้า
ความร้อนเกิดจากการทับถมแห่งข้าวเปลือก ความร่อนเกิดจากการทับถม
แห่งสิ่งของ ดังนี้ พึงทราบว่า เตโชธาตุภายนอก.
ก็ในนัยแห่งการอธิบายความแม้แห่งวาระนี้ว่า วาย วายโต มี
อธิบายดังต่อไปนี้ วาโยธาตุ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ลมที่พัดขึ้น
เบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมที่แผ่ไป
ซ่านไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมมีพิษดุจศาสตรา ลมมีพิษดุจคมมีด ลมมี
พิษดุจก้านบัว ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า พึงทราบว่า วาโยธาตุภายใน
และลมที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บรรดาวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุใน
ภายนอกเป็นไฉน ? คือสิ่งที่กระพือพัดเคลื่อนไหวในภายนอก ได้แก่
วาโยธาตุภายนอกของรูปไม่มีใจครอง คือลมทิศตะวันออก ลมทิศตะวันตก
ลมทิศเหนือ ลมทิศใต้ ลมฝุ่น ลมไม่มีฝุ่น ลมหนาว สมร้อน ลมอ่อน
ลมแรง ลมหัวด้วน ลมที่เกิดจากนกบิน ลมที่เกิดจากครุฑบิน ลมงวง
ลมเกิดจากการพัดวี พึงทราบว่า วาโยธาตุภายนอก. คำที่เหลือ มีนัย
ดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
หารนัยที่ชื่อว่า ลักษณะ นี้ใด (ที่มีมา ) ในเนตติปกรณ์อย่างนี้ว่า
เมื่อกล่าวถึงธรรมอย่างหนึ่งแล้ว ด้วยธรรมอย่างหนึ่งนั้น ก็เป็นอัน
กล่าวถึงธรรมทุกอย่าง ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันด้วย ลักษณะหารนัย
ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ดังนี้ เป็นอันท่านกล่าวไว้ด้วยความประมาณเท่านี้
ด้วยอำนาจแห่งหารนัยนั้น เพราะเหตุที่เมื่อถือเอามหาภูตรูปทั้ง ๔
ก็ย่อมเป็นอันถือเอาอุปาทายรูปไว้ด้วย เพราะอุปาทายรูปไม่ล่วงพ้น
ลักษณะรูปไปได้ มหาภูตรูป และอุปาทายรูปอันใด อันนั้นเป็นรูปขันธ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 75
ฉะนั้น พระผู้พระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมสำคัญ
ปฐวี อาโป เตโช วาโย ก็ย่อมเป็นอันตรัสว่า เขาย่อมพิจารณาเห็น
รูปว่า เป็นอัตตาด้วย.
เมื่อตรัสว่า ปุถุชนย่อมสำคัญในปฐวี อาโป เตโช วาโย ย่อม
เป็นอันตรัสว่า ย่อมพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ดังนี้. เมื่อตรัสว่า ย่อม
สำคัญจากปฐวี อาโป เตโช วาโย ย่อมเป็นอันตรัสว่า ย่อมพิจารณา
เห็นอัตตา อันมีรูป และรูปในอัตตา เพราะสำเร็จความว่า อัตตา
เป็นอื่นจากรูป ดังนี้.
พึงทราบความสำคัญด้วยอำนาจแห่งสักกายทิฏฐิ อันมีรูปเป็นที่ตั้ง ๔0
ประการเหล่านี้ ดังกล่าวมานี้ .
ในข้อนี้พึงทราบความแตกต่างกันแม้นี้ว่า บรรดาทิฏฐิ ๔ ประการ
นั้น เป็นอุจเฉททิฏฐิ ๑ เป็นสัสสตทิฏฐิ ๒ ดังนั้น ทิฏฐิจึงมี ๒ อย่าง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความสำคัญซึ่งมีสังขารเป็นที่ตั้ง โดยมีรูปหนึ่ง
ประธานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดถูกบัญญัติขึ้น เพราะ
อาศัยสังขารทั้งหลาย เพราะเหตุที่ปุถุชนกระทำความสำคัญแม้ในสัตว์
ทั้งหลายเหล่านั้น ฉะนั้น เมื่อชี้แสดงสัตว์เหล่านั้นอยู่ จึงตรัสคำมีอาทิว่า
ชื่อว่าย่อมสำคัญภูตทั้งหลายโดยความเป็นภูต ดังนี้.
ความหมายของ ภูต ศัพท์
ในข้อนี้ ภูตศัพท์นี้ ใช้ในอรรถเป็นต้นว่า ขันธ์ ๕, อมนุษย์,
ธาตุ, มีอยู่, พระขีณาสพ, สัตว์ และต้นไม้.
จริงอยู่ ภูตศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า ขันธ์ ๕ ดังในประโยคเป็นต้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาดูว่า นี้เป็นภูต.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 76
ใช้ในอรรคว่า อมนุษย์ ดังในประโยคนี้ว่า ภูตทั้งหลายเหล่าใด
มาประชุมพร้อมกัน แล้วในที่นี้ ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า ธาตุ ๔ ดังในประโยคนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป
๔ แล เป็นเหตุ . . . ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า มีอยู่ ดังในประโยคเป็นต้นว่า เป็นปาจิตตีย์ใน
เพราะภูต ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า พระขีณาสพ ดังในประโยคนี้ว่า ก็ภูตใดเป็นผู้
กินกาละ ดังนี้.
ใช้ในอรรถว่า สัตว์ ดังในประโยคนี้ว่า ภูตทั้งหลายทั้งปวงแล
จักทิ้งร่างกายไว้ในโลก ดังนี้.
ใช้ในอรรถเป็นต้นว่า ต้นไม้ ในประโยคนี้ว่า ภุตคามปาตพฺยตาย
(พรากภูตคาม) ดังนี้.
แต่ในที่นี้ ภูตศัพท์นี้ ย้อมใช้ในสัตว์ทั้งหลาย. ก็แล ภูตศัพท์
จะเป็นไปโดยไม้แตกต่างกันเลยก็หามิได้ เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย ต่ำกว่าชั้น
จาตุมมหาราช ท่านประสงค์เอาว่า ภูต ในที่นี้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภูเต ภูตโต สญฺชานาติ เป็นต้น
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ก็ในคำเป็นต้นว่า ภูเต มญฺติ พึงประกอบความสำคัญแม้ ๓
อย่าง.
อย่างไร ? จริงอยู่ ปุถุชนนี้ยึดเอาภูตทั้งหลายว่า งาม มีความสุข
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 77
โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วว่า เขาเห็น คฤหบดี หรือบุตรคฤหบดี ผู้เพียบ-
พร้อมด้วยกามคุณ ๕ ดังนี้ ย่อมกำหนัด คือย่อมกำหนัดภูตเหล่านั้นแม้
เพราะเห็น และย่อมกำหนัดแม้เพราะได้ยิน ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้
ถูกต้อง และได้ทราบ ปุถุชนย่อมสำคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสำคัญ
ด้วยอำนาจแห่งตัณหา ดังพรรณนามาฉะนี้.
ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อได้สิ่งที่ตนยังไม่ได้ โดยนัยเป็นต้นว่า ทำไฉนหนอ
เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห้งขัตติยมหาศาลทั้งหลาย. ปุถุชนย่อม
สำคัญในภุตทั้งหลายด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหา แม้ด้วยประ-
การฉะนี้.
แต่เพราะอาศัยสมบัติและวิบัติของตนและของภูตทั้งหลาย ปุถุชน
ย่อมถือตัวว่าดีกว่าเขา ปุถุชนย่อมสำคัญภูตชนิดใดชนิดหนึ่งในภูตทั้งหลาย
ว่าเลวกว่าตน หรือย่อมสำคัญตนว่าเลวกว่าภูตชนิดใดชนิดหนึ่ง ย่อมสำคัญ
ภูตชนิดใดชนิดหนึ่งว่าดีกว่าตน (หรือย่อมสำคัญตนว่าดีกวาภูตชนิดใด
ชนิดหนึ่ง) ย่อมสำคัญตนว่าเสมอกันกับภูต หรือย่อมสำคัญภูตว่าเสมอกัน
กับตน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อก่อนถือว่า
ตนเสมอกันกับคนอื่น โดยชาติ ฯลฯ หรือโดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง
ครั้นต่อมากลับสำคัญตนว่าดีกว่าเขา กลับสำคัญคนอื่นว่าเลวกว่าตน มานะ
เห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า มานาติมานะ. ปุถุชนย่อมสำคัญในภูตทั้งหลาย
ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งมานะ ดังพรรณนามาฉะนี้.
ปุถุชนสำคัญอยู่ว่า ก็ภูตทั้งหลายเที่ยง ยั่งยืน แน่นอน มีธรรมดา
ไม่แปรปรวน หรือว่า สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะ
ทั้งปวง ไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ผู้น้อมไปสู่ภาวะการ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 78
ประสบโชคร้าย โชคดี ย่อมเสวยสุขทุกข์ในอภิชาติ ๖ ชาตินั้นแล ชื่อว่า
ย่อมสำคัญด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ.
ปุถุชนย่อมสำคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสำคัญ ๓ อย่าง ด้วย
ประการฉะนี้.
ปุถุชนย่อมสำคัญในภูตทั้งหลายอย่างไร ? คือ หวังความเกิดขึ้น
แห่งตน หรือการเกิดความสุขแก่ตนในภุตทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ปุถุชน
ย่อมสำคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาดังพรรณนา
มานี้ก่อน. หรือเมื่อความหวังความเกิดขึ้นในภูตทั้งหลาย จึงให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม, ปุถุชนย่อมสำคัญในภูตทั้งหลายด้วย
ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหา แม้ด้วยประการฉะนี้.
ก็ปุถุชนยึดเอาภูตทั้งหลายโดยการถือเอารวมกัน ย่อมสำคัญภูต
ทั้งหลายบางพวกในบรรดาภูตเหล่านั้นว่าดีกว่า หรือว่าสำคัญสัตว์บางพวก
ว่าเสมอกัน หรือเลวกว่า ปุถุชนย่อมสำคัญในภูตทั้งหลายด้วยความสำคัญ
ด้วยอำนาจแห่งมานะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้.
อนึ่ง ปุถุชนเมื่อสำคัญภูตบางพวกว่าเที่ยง ยั่งยืน ย่อมสำคัญภูต
บางพวกว่าไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน หรือย่อมสำคัญว่า แม้เราย่อมเป็นภูตประ-
เภทหนึ่งในบรรดาภูตทั้งหลาย ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมสำคัญในภูตทั้งหลาย
ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้แล.
ก็ในคำนี้ว่า ภูตโต มญฺติ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ปุถุชนเมื่อสำคัญความเกิดขึ้นแห่งตน หรือบุคคลอื่น พร้อมทั้ง
ทรัพย์ศฤงคารจากภูตชนิดใดชนิดหนึ่ง พึงทราบว่า ย่อมสำคัญจากภูต
ดังนี้. นี้เป็นความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น. ก็เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 79
ปุถุชนนั้น ยังความสิเนหาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุที่สำคัญหมาย ด้วย
ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐินั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความสำคัญ
ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและมานะด้วย
ก็ในข้อว่า ภูเต เมติ มญฺติ นี้ ย่อมได้ความสำคัญด้วยอำนาจแห่ง
ตัณหาอันหนึ่งแล. ก็ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหานี้นั้น พึงทราบว่า
ย้อมเป็นไปโดยความยึดถือว่าเป็นของเรา โดยนัยเป็นต้นว่า บุตรของเรา
ธิดาของเรา แพะและแกะของเรา ไก่และสุกรของเรา ช้าง โค กระต่าย
และแมวมองเรา ดังนี้.
คำว่า ภูเต อภินนฺทติ มีนัยดังกล่าวแล้วอย่างนี้นั่นแล.
ก็ในข้อว่า อปริญฺาต ตสฺส นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
การบัญญัติภูตทั้งหลาย เพราะอาศัยสังขารเหล่าใด เพราะไม่กำหนด
รู้สังขารเหล่านั้น ภูตทั้งหลายพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันปุถุชนไม่กำหนดรู้
ดังนี้. ส่วนการประกอบความ (ส่องความ) พึงทำไว้ โดยนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.
เทพ ๓
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแสดงที่ตั้งแห่งความสำคัญด้วยอำนาจ
แห่งสังขาร และด้วยอำนาจแห่งสัตว์โดยย่ออย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดง
ที่ตั้งนั้นแม้โดยพิสดาร โดยประเภทเป็นต้นว่า ภูมิพิเศษ จึงตรัสคำมีอาทิว่า
เทเว เทวโต ดังนี้.
ในคำนั้นมีรูปวิเคราะห์ดังนี้ ที่ชื่อว่า เทพ เพราะอรรถว่า ย่อมแล่น
อธิบายว่า สนุกสนาน และรุ้งเรืองด้วยกามคุณ ๕ หรือด้วยฤทธิ์ของ
ตน. เทพเหล่านั้นมี ๓ จำพวก คือ สมมติเทพ อุปปัตติเทพ และ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 80
วิสุทธิเทพ. พระราชา พระมเหสี และพระราชกุมาร ชื่อว่า สมมติเทพ.
เทพที่สูงกว่านั้น เริ่มตั้งแต่เทพชั้นจาตุมมหาราช ชื่อว่า อุปปัตติเทพ.
พระอรหัตขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า วิสุทธิเทพ. แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าท่าน
ประสงค์เอาอุปปัตติเทพ ก็อุปปัตติเทพเหล่านั้น จะเห็นว่าไม่แตกต่าง
กันก็หามิได้ คือเว้นมาร พร้อมบริษัท ในเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
เสีย เทวดาชั้นกามาวจร ๖ ชั้นที่เหลือ ท่านประสงค์เอาว่า เทพ ใน
ที่นี้. การพรรณนาเนื้อความทั้งหมดในข้อนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้
แล้วในภูตวาระนั่นแล.
ท้าวปชาบดีคือพญามาร
ก็ในบทว่า ปชาปติ นี้ มาร พึงทราบว่า ปชาบดี. แต่อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า คำว่า ปชาปติ นี้ เป็นชื่อของท้าวมหาราชเป็นต้น ผู้
เป็นใหญ่กว่าเทวดาเหล่านั้น ๆ. คำนั้นท่านปฏิเสธไว้ในมหาอรรถกถาว่า
ไม่ถูก เพราะว่า มหาราชเป็นต้นเหล่านั้น ท่านถือเอาด้วย เทว ศัพท์
นั่นเอง ส่วนพญามารนั่นแล ท่านประสงค์เอาว่า ปชาบดี ในที่นี้
โดยความเป็นใหญ่กว่า ปชา กล่าวคือหมู่สัตว์.
ถามว่า พญามารนั้น ย่อมอยู่ ณ ที่ไหน ? ตอบว่า ย่อมอยู่
ในเทวโลกชั้นปริมมิตวสวัตตี.
จริงอยู่ พญามารวสวัตตี ครองราชย์อยู่ในเทวโลกนั้น. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า พญามารประทับครองความยิ่งใหญ่ในบริษัทของตน
ณ ส่วนหนึ่ง (ของเทวโลกนั้น) ดุจราชโอรสของพระราชาผู้เรืองนาม
ประทับอยู่ ณ ปลายแดนราชอาณาจักรฉะนั้น. ก็ในข้อนี้ พึงทราบว่า
ท่านจัดเอาบริษัทมารเข้าไว้ด้วย มาร ศัพท์นั่นเอง. ส่วนในข้อนี้ ในนัย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 81
แห่งการขยายความมีอธิบายดังนี้ ปุถุชนได้เห็นก็ดี ได้ยินก็ดี ซึ่งปชาบดี
ผู้มีผิวพรรณงาม มีอายุยืน มีความสุขมาก ย่อมใฝ่ฝันราชสมบัติด้วย
อำนาจแห่งตัณหา ก็หรือว่า แม้ตั้งใจไว้เพื่อจะให้ส่งที่ตนยังไม่ได้โดย
นัยเป็นต้นว่า ทำไฉนหนอ เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายแห่งปชาบดี ชื่อว่า
ย่อมสำคัญปชาบดีด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหา.
แต่เมื่อปุถุชนถึงความเป็นปชาบดีแล้ว ยังมานะให้เกิดขึ้นว่า เรา
ย่อมเป็นใหญ่ เป็นอธิบดีกว่าปชาทั้งหลาย พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญ
ปชาบดีด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งมานะ.
แต่เมื่อปุถุชนสำคัญอยู่ว่า ปชาบดี เที่ยง ยั่งยืน หรือขาดสูญ พินาศ
หรือว่า ไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร น้อมไปสู่ความประสบ
โชคดี โชคร้าย ย่อมเสวยสุขทุกข์ในอภิชาติ ๖ ชาตินั่นแล พึงทราบว่า
ชื่อว่า ย่อมสำคัญปชาบดีด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ.
แต่ในคำว่า ในปชาบดี นี้ ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิชนิด
หนึ่งนั่นแล ย่อมถูก. พึงทราบความเป็นไปแห่งความสำคัญนั้น อย่างนี้.
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมสำคัญว่า ธรรมเหล่าใด มีอยู่ในปชาบดี
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน ไม่มีการแปรผันเป็น
ธรรมดา. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมสำคัญว่า บาปย่อมไม่มีในปชาบดี กรรม
อันลามกทั้งหลาย ย่อมหาไม่ได้ในปชาบดีนั้น.
ในคำว่า ปชาปติโต นี้ ย่อมได้ความสำคัญแม้ทั้ง ๓.
อย่างไร? คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมสำคัญข้อที่ตนหรือคน
อื่น พร้อมทั้งทรัพย์ศฤงคารเกิดขึ้น หรือจากไปจากปชาบดี นี้เรียกว่า
ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของบุคคลนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 82
ก็เมื่อบุคคลนั้น ยังความเสน่หาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุที่สำคัญ
ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐินั้นนั่นแล พึงทราบว่า เป็นความ
สำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาและมานะ.
ก็ในบทว่า ปชาปตึ เม นี้ ย่อมได้ความสำคัญด้วยอำนาจแห่ง
ตัณหาชนิดหนึ่งนั่นแล. และความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหานี้นั้น พึง
ทราบว่า ย่อมเป็นไปแก่บุคคลผู้ยึดถือว่า ของเรา โดยนัยเป็นต้นว่า
ปชาบดีเป็นครูของเรา เป็นนายของเรา ดังนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.
ความหมายของพรหม
ในบทนี้ว่า พฺรหฺม พฺรหฺมโต มีวินิจฉัยดังนี้ :-
ชื่อว่า พรหม เพราะอรรถว่า เจริญแล้วด้วยคุณวิเศษนั้น ๆ
อีกอย่างหนึ่งท้าวมหาพรหมก็ดี พระตถาคตก็ดี พราหมณ์ก็ดี
มารดาบิดาก็ดี สิ่งที่ประเสริฐที่สุดก็ดี ท่านก็เรียกว่า พรหม.
จริงอยู่ ท้าวมหาพรหม ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง) ในประโยค
เป็นต้นว่า พรหม ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐.
พระตถาคต ท่านก็เรียกว่า พรหม (ดัง). ในประโยคนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหมนี้ เป็นชื่อของพระตถาคตนั่นแล.
พราหมณ์ ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง) ในประโยคนี้ว่า
พระพุทธเจ้า ผู้บรรเทาความมืด ผู้มีพระจักษุรอบคอบ
ผู้ถึงที่สุดแห่งโลก ผู้ก้าวล่วงภพทั้งปวง ผู้ไม่มีอาสวะ
ผู้ละทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ผู้กล่าวสัจจะ ผู้อันพรหม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 83
บำเรอแล้ว ดังนี้.
มารดาบิดา ท่านเรียกว่า พรหม (ดัง ) ในประโยคนี้ว่า มารดา-
บิดา ท่านเรียกว่า พรหม, มารดาบิดา ท่านเรียกว่า บุพพาจารย์. สิ่งที่
ประเสริฐที่สุด ท่านเรียกว้า พรหม (ดัง) ในประโยคนี้ว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้ายังจักรอันประเสริฐให้เป็นไป ดังนี้.
แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาพรหมที่เกิดขึ้นต้นกัลป. อนึ่ง แม้
พรหมปุโรหิต และพรหมปาริสัชชะ พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วย พรหม
ศัพท์นั้นนั่นแล แต่การพรรณนาเนื้อความในข้อนี้ พึงทราบโดยที่
กล่าวแล้วในปชาบดีวาระนั่นแล.
อธิบายอาภัสสรพรหม
ในวาระว่าด้วยอาภัสสรพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
รัศมีแผ่ซ่านออกจากร่างกายกองพรหมเหล่านั้นเหมือนกับขาดตกไป
คล้ายเปลวไฟขาดตกไปจากคบเพลิงฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พรหมเหล่านั้น
จึงชื่อว่าอาภัสสรา. ด้วยการกำหนดอาภัสสรพรหมเหล่านั้น (เป็นเกณฑ์)
จึงเป็นอันท่านกำหนดเอาภูมิของทุติยฌานแม้ทั้งหมดด้วย. ก็พรหมที่สถิต
อยู่ในชั้นเดียวกันแม้ทั้งหมดนั่นแล พึงทราบว่า (ได้แก่) ปริตตาภา-
พรหม อัปปมาณาภาพรหม (และ) อาภัสสรพรหม.
อธิบายสุภกิณหพรหม
ในวาระว่าด้วยสุภกิณหพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พรหมที่ชื่อว่า สุภกิณหา เพราะหมายความว่า แพรวพราวไปด้วยสี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 84
ที่สวยงามคือด้วยรัศมีกายอันโสภา จึงสง่างามดังทองแท่ง เปล่งแสงประกาย
อันเขาเก็บไว้ในหีบทองแท่งทึบ. ด้วยการกำหนดเอาสุภกิณหพรหมเหล่านั้น
(เป็นเกณฑ์) เป็นอันท่านกำหนดเอาภูมิของตติยฌานแม้ทั้งหมดด้วย.
ก็พรหมที่สถิตอยู่ในชั้นเดียวกันแม้ทั้งหมดนั่นแล พึงทราบว่า (ได้แก่)
ปริตตสุภพรหม อัปปมาณสุภพรหม สุภกิณหพรหม.
อธิบายเวหัปผลพรหม
ในวาระว่าด้วยเวหัปผลพรหม พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พรหมที่ชื่อว่า เวหัปผลา เพราะหมายความว่า มีผลอันไพบูลย์
ท่านกล่าวว่าได้แก่พรหมชั้นจตุตถฌาน. ส่วนการอธิบายขยายความประกอบ
ในวาระทั้ง ๓ นี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในภูตวาระนั่นแล.
อธิบายอภิภูพรหม
ในวาระว่าด้วยอภิภู พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ที่ชื่อวา อภิภูเพราะหมายความว่า ครอบงำ ถามว่า ครอบงำซึ่ง
อะไร ? ตอบว่าครอบงำซึ่งอรูปขันธ์ ๔. คำว่า อภิภู นั่นเป็นชื่อของ
อสัญญีภพ. เหล่าเทพ (พรหม) อสัญญีสัตว์สถิตอยู่ในชั้นเดียวกับเวหัป-
ผลพรหม (แต่ว่าแยก) สถิตอยู่ในโอกาสแห่งหนึ่ง (และ) ท่านบังเกิด
(ตายจากโลกมนุษย์) ด้วยอิริยาบถใด ก็สถิตอยู่ด้วยอิริยาบถนั้นนั่นแล
ตราบอายุขัยคล้ายภาพจิตกรรม ในที่นี้ท่านหมายถึงเวหัปผลพรหม และ
อสัญญีสัตว์แม้ทั้งหมดนั้นด้วยคำว่า อภิภู. อาจารย์บางพวกยกย่องพรหมผู้
เป็นใหญ่ในชั้นนั้น ๆ (ว่าอภิภู) โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า พรหม ๑,๐๐๐
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 85
ชื่อว่า อภิภู. แต่พึงทราบว่า คำกล่าวของอาจารย์บางพวกนั้นไม่ถูก
เพราะพรหมผู้เป็นใหญ่นั้น ท่านระบุถือเอาด้วยศัพท์ว่า "พรหม"
แล้วนั่นแล.
อนึ่ง ในวาระนี้ พึงทราบนัยแห่งการอธิบายขยายความว่า ปุถุชน
ได้สดับแล้วว่า พรหม อภิภู มีวรรณะ (สวยงาม) มีอายุยืน ดังนี้
แล้วเกิดความยินดีพอใจในพรหมอภิภูนั้น ชื่อว่า ย่อมสำคัญพรหมอภิภู
ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา ก็หรือว่า แม้ตั้งจิต (ปรารถนา)
เพื่อให้ได้ (เกิดในพรหมอภิภู) ที่ตนยังไม่ได้โดยนัยมีอาทิว่า ทำไฉน-
หนอ เราจะพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพรหมอภิภู ชื่อว่า ย่อมสำคัญ
พรหมอภิภูด้วยความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา, อนึ่ง เมื่อสำคัญตนว่าเลวกว่า
(พรหมอภิภู) หรือสำคัญว่าพรหมอภิภู ดีกว่าตน ชื่อว่า ย่อมสำคัญ
พรหมอภิภูด้วยความสำคัญด้วยอำนาจมานะ เมื่อยึดถือโดยนัยมีอาทิว่า
พรหมอภิภู เที่ยง ยั่งยืน ชื่อว่า ย่อมสำคัญพรหมอภิภูด้วยความสำคัญ
ด้วยอำนาจทิฏฐิ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในปชาบดีวาระนั่นแล.
สุทธาวาสภูมิ
พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อทรงแสดงเทวโลกโดยลำดับอย่างนี้
ครั้นทรงแสดงสัญญีภพด้วยคำว่า อภิภู บัดนี้ เพราะเหตุที่กถาว่าด้วยวัฏฏกัป
และเทวดา คือ พระอนาคามี และพระขีณาสพชั้นสุทธาวาสผู้ดำรงอยู่ใน
ฝ่ายวิวัฏฏกัป หรือเพราะเหตุที่เทวดาเหล่านั้น มีอายุตั้ง ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ กัลป
ย่อมมีเฉพาะในเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นเท่านั้น ก็พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายไม่ทรงอุบัติขึ้นแม้ตลอดอสงไขยกัลปในกาลนั้น ภูมินั้น ว่างเปล่า
ภพชั้นสุทธาวาส ย่อมมีเฉพาะ (กาลที่) พระพุทธเจ้าทั้งหลาย (อุบัติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 86
เท่านั้น) ดุจที่ประทับแรมมีไว้สำหรับพระราชาฉะนั้น และด้วยเหตุ
นั้นนั่นแหละ ภูมินั้น ท่านจึงมิได้จัดเป็นวิญญาณฐิติ ทั้งมิได้จัดเป็น
สัตตาวาส แต่ความสำคัญเหล่านี้มีอยู่ทุกเมื่อ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงภูมิ
ของความสำคัญเหล่านั้น ซึ่งมีอยู่ในกาลทุกเมื่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ละชั้นสุทธาวาสแล้วตรัสคำเป็นต้นว่า อากาสานญฺจายตน ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากาสานญฺจายตน ได้แก่ขันธ์ ๔
ที่เป็นกุศลวิบาก และกิริยาอันเป็นไปในอากาสานัญจายตนภูมินั้น. และ
ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น พึงเห็นว่า เกิดขึ้นในภูมินั้นนั่นแหละ เพราะเหตุว่า
กถานี้เป็นการกล่าวถึงกำหนดภพ. ในวิญญาณัญจายตนะเป็นต้น ก็นัยนี้
ก็ในบรรดาวาระ ๔ วาระนั่นแล การขยายความพึงทราบโดยนัยที่กล่าว
ไว้ในอภิภูวาระ และความสำคัญด้วยอำนาจแห่งมานะ ในข้อนี้ ย่อมใช้
ได้แม้โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในปชาบดีวาระ.
แก้บท ทิฏฺ สุน มุต วิญฺาต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงที่ตั้งของความสำคัญ โตย
ประเภทมีความแตกต่างกันระหว่างภูมิเป็นตันนั้น แม้โดยพิสดารอย่าง
นี้แล้ว ดังนี้ เมื่อจะประมวลแสดงประเภทแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓
อันนับเนื่องในสักกายทิฐิ อันเป็นที่ตั้งแห่งความสำคัญทั้งหมด ด้วยเหตุ
๔ อย่าง มีรูปารมณ์ที่ตนเห็นเป็นต้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ทิฏฺ
ทิฏฺโต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺ หมายถึงสิ่งที่มองเห็นด้วยมังส-
จักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง. คำว่า ทิฏฺ นั้นเป็นชื่อของรูปายตนะ. บรรดา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 87
บทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐ มญฺติ ความว่า ปุถุชนย่อมสำคัญด้วย
ความสำคัญทั้ง ๓.
อย่างไร ? คือ ปุถุชนเมื่อดูรูปายตนะด้วยสุภสัญญาและสุขสัญญา
ชื่อว่า ย่อมยังฉันทราคะให้เกิดในรูปาตนะนั้น คือย่อมยินดีเพลิดเพลิน
ซึ่งรูปายตนะนั้น สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดังนี้
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย กำหนัดยินดี หลงใหล
ติดใจในรูปหญิง สัตว์เหล่านั้น ตกอยู่ในอำนาจของรูปหญิง ย่อม
เศร้าโศกสิ้นกาลนาน ดังนี้. ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมสำคัญรูปารมณ์ที่ตน
เห็นแล้วด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาอย่างนี้ ก็หรือว่า ปุถุชนย่อม
ทะยานอยากในรูปนี้ว่า ขอรูปของเราพึงเป็นอย่างนี้ตลอดกาล หรือว่า
ปุถุชนเมื่อหวังรูปสมบัติ ย่อมให้ทาน ความพิสดารดังว่ามานี้แล. ปุถุชน
ย่อมสำคัญรูปารมณ์ที่ตนเห็นแล้วด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาแม้
อย่างนี้.
อนึ่ง ปุถุชนอาศัยรูปสมบัติและรูปวิบัติของตน และของบุคคลอื่น
ย่อมยังมานะให้เกิด คือ ย่อมสำคัญรูปารมณ์ที่ตนเห็นด้วยความสำคัญด้วย
อำนาจมานะอย่างนี้ว่า เราดีกว่าผู้นี้ เราเสมอกับผู้นี้ หรือว่า เราเลวกว่า
ผู้นี้ ดังนี้.
อนึ่ง ปุถุชนย่อมสำคัญรูปายตนะว่า เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน
ย่อมสำคัญว่าเป็นอัตตา เนื่องในอัตตา ย่อมสำคัญในรูปาตนะที่เป็น
มงคล ว่าเป็นอมงคล ปุถุชนย่อมสำคัญรูปายตนะที่ตนเห็นด้วยความสำคัญ
ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ ด้วยประการฉะนี้.
ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมสำคัญรูปายตนะที่ตนเห็นด้วยความสำคัญทั้ง ๓
ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 88
ย่อมสำคัญในรูปายตนะที่ตนเห็นแล้วอย่างไร ? คือ ปุถุชนเมื่อ
สำคัญโดยนัยพิจารณาเห็นอัตตาในรูป ชื่อว่า ย่อมสำคัญในรูปายตนะที่ตน
เห็น. แม้สำคัญอยู่ว่า ราคะเป็นต้น ย่อมเกิดมีในรูป เหมือนกับน้ำนม
เกิดมีในเต้านมฉะนั้น ชื่อว่า ย่อมสำคัญในรูปายตนะที่ตนเห็น. นี้ชื่อว่า
ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น.
อนึ่ง เมื่อปุถุชนนั้น ยังความเสน่หาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุ
ที่สำคัญด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐินั้นนั่นแล. พึงทราบว่า เป็น
ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหาและมานะด้วย. ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมสำคัญ
ในรูปายตนะที่ตนเห็น ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่
กล่าวไว้แล้วในปฐวีวาระ.
บทว่า สุต หมายถึงได้ยินด้วยมังสโสตบ้าง ทิพยโสตบ้าง. คำว่า
สุต นั่น เป็นชื่อของสัททายตนะ.
บทว่า มุต ได้แก่ทราบ และรู้แล้วรับเอา อธิบายว่า เข้าไป
กระทบรับเอา. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า รู้แจ้ง ในเพราะการประจวบกัน
แห่งอินทรีย์ และอารมณ์ทั้งหลาย.
คำว่า มุต นั่น เป็นชื่อของคันธายตนะ รสายตนะ และโผฏ-
ฐัพพายตนะ.
บทว่า วิญฺาต แปลว่า รู้ทางใจ. และคำว่า วิญฺาต นั่น
เป็นชื่อของอายตนะ ๗ เหลือ. อีกอย่างหนึ่ง เป็นชื่อของธรรมารมณ์
(ก็ได้) แต่ในที่นี้ได้เฉพาะอารมณ์ที่นับเนื่องในกายของตน. (สักกาย-
ทิฏฐิ)
ก็ในข้อนี้ พึงทราบความพิสดารโดยนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในทิฏฐวาระ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 89
แก้บท เอกตฺต นานตฺต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงประเภทแห่งสักกายทิฏฐิทั้ง-
หมดด้วยอารมณ์ ๔ ประการ มีรูปารมณ์ที่ตนเห็นแล้วเป็นต้นอย่างนี้
แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประเภทของสักกายทิฏฐินั้นนั่นแหละ ออก
เป็น ๒ ประการ คือ โดยวาระของท่านผู้เข้าสมาบัติ ๑ ของท่านผู้มิได้
เข้าสมาบัติ ๑ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เอกตฺต นานตฺต ดังนี้.
ด้วยบทว่า เอกตฺต นี้ พระองค์ทรงแสดงวาระของท่านผู้เข้าสมาบัติ.
ด้วยบทว่า นานตฺต นี้ พระองค์ทรงแสดงวาระของท่านผู้มิได้เข้า
สมาบัติ.
ทั้ง ๒ คำนั้น มีความหมายเฉพาะคำดังต่อไปนี้ :-
ภาวะที่เป็นหนึ่งชื่อว่า เอกัตตัง ภาวะที่แยกกัน ชื่อว่า นานัตตัง.
ส่วนการขยายความในข้อนี้ บัณฑิตพึงแยกวาระของท่านผู้เข้า
สมาบัติด้วยขันธ์ ๔ และวาระของท่านผู้มิได้เข้าสมาบัติด้วยขันธ์ ๕ แล้ว
พิจารณาทราบตามสมควรโดยศาสนนัย (พระบาลี) เป็นต้นว่า ปุถุชน
ย่อมพิจารณาเห็นรูปโดยเป็นอัตตา และโดยนัยแห่งอรรถกถาที่ท่านกล่าว
ไว้ในปฐวีวาระเป็นต้น. ส่วนอาจารย์บางพวกย่อมกล่าวเอกัตตนัย ด้วย
บทนี้ว่า เอกตฺต. กล่าวนัยที่แยกกัน ด้วยบทนี้ว่า นานตฺต ดังนี้.
อาจารย์พวกอื่นกล่าวความยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิอย่างนี้ว่า อัตตาย่อมมี
สัญญาอันเดียวกันไม่สูญสลาย ครั้นตายแล้วอัตตาย่อมมีสัญญาต่างกัน.
คำนั้นทั้งหมด ย่อมไม่ถูกเลย เพราะท่านมิได้ประสงค์เอาในที่นี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 90
แก้บท สพฺพ สพฺพโต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสักกายทิฏฐิทั้งหมดโดยเป็น
๒ อย่าง อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงประมวลแสดงสักกายทิฏฐินั้น
แหละเป็นอันเดียวกัน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า สพฺพ สพฺพโต ดังนี้.
ส่วนนัยขยายความในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบดังนี้ว่า ปุถุชน เมื่อ
ชอบใจสิ่งทั้งปวง ชื่อว่า ย่อมสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสำคัญด้วยอำนาจ
แห่งตัณหา เมื่อสำคัญสิ่งที่ตนสร้างขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า สัตว์เหล่านี้เราสร้าง
ขึ้น ดังนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสำคัญด้วย
อำนาจแห่งมานะ เมื่อสำคัญโดยนัยเป็นต้นว่า สิ่งทั้งปวงมีกรรมที่ตนกระทำ
ไว้ในปางก่อนเป็นเหตุ สิ่งทั้งปวงมีการสร้างของพระอิศวรเป็นเหตุ สิ่ง
ทั้งปวงไม่มีเขต ไม่มีปัจจัย สิ่งทั้งปวงมีอยู่ สิ่งทั้งปวงไม้มี ดังนี้ ชื่อว่า
ย่อมสำคัญสิ่งทั้งปวงด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ.
ปุถุชนย่อมสำคัญในสิ่งทั้งปวงอย่างไร ? คือว่า บุคคลบางคน
ในโลกนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า อัตตาของเรานี้ใหญ่ บุคคลนั้นกำหนด
โลกสันนิวาสทั้งหมดโดยเป็นโอกาสแห่งอัตตานั้น ย่อมสำคัญว่า ก็อัตตา
ของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในโลกสันนิวาสทั้งปวง. นี้ชื่อว่า ความสำคัญด้วย
อำนาจแห่งทิฏฐิของบุคคลนั้น.
ก็เมื่อเขายังความเสน่หาในอัตตานั้นนั่นแล ยังมานะอันมีอัตตานั้น
เป็นที่ตั้งให้เกิดขึ้นอยู่ในตน พึงทราบว่า แม้ความสำคัญด้วยอำนาจตัณหา
และมานะ (ก็เกิดขึ้นด้วย ). คำที่เหลือพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว
ในปฐวีวาระนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 91
แก้บท นิพฺพาน นิพฺพานโต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสักกายทิฏฐิทั้งหมดให้เป็นอัน
เดียวกันอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสักกายทิฏฐินั้นให้เป็นอัน
เดียวโดยนัยแม้อื่นอีก จึงตรัสคำเป็นต้นว่า นิพฺพาน นิพฺพานโต
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพาน ความว่า พึงทราบบรม
นิพพานในปัจจุบันอันมาแล้วโดยส่วน ๕ (มีอยู่ ๕ อย่าง) โดยนัย
เป็นต้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ เพราะเหตุที่อัตตาเอิบอิ่ม เพียบพร้อม
ด้วยกามคุณ ๕ ให้เขาบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ ดูก่อนท่านผู้เจริญ
ฉะนี้แล อัตตานี้ จึงบรรลุถึงนิพพานในปัจจุบัน.
ในข้อนั้น ปุถุชนเมื่อยินดีนิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญ
ด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งตัณหา. ปุถุชนเมื่อยังมานะให้เกิดขึ้นด้วย
มานะว่า เราย่อมบรรลุนิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญด้วย
ความสำคัญด้วยอำนาจแห่งมานะ. เมื่อยึดถืออัสสาทะ (ความพอใจ)
อันมิใช่นิพพานเลย ว่าเป็นนิพพาน และยึดถือนิพพานว่าเป็นอัสสาทะ
พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญด้วยความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิ.
ส่วนปุถุชน ครั้นยึดถืออัตตาต่างไปจากนิพพาน สำคัญอยู่ว่า ก็
อัตตาของเรานี้นั้นแล ย่อมมีในนิพพานนี้ ชื่อว่า ย่อมสำคัญในนิพพาน.
นี้เป็นความสำคัญด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิของปุถุชนนั้น.
ก็เมื่อปุถุชนนั้นเกิดความเสน่หาในอัตตานั้นนั่นแล และเกิดมานะ
อันมีอัตตานั้นเป็นที่ตั้งอยู่ พึงทราบว่า แม้ความสำคัญด้วยอำนาจแห่ง
ตัณหาและมานะ (ก็เกิดขึ้นด้วย).
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 92
นัยแม้ในความสำคัญจากนิพพานก็นัยนี้. จริงอยู่ แม้ในข้อนั้น
ปุถุชนเมื่อยึดถืออัตตาว่าเป็นอื่นจากนิพพาน สำคัญอยู่ว่า นี้นิพพาน
นี้อัตตา ก็อัตตาของเรานี้นั้น อื่นต่างหากจากนิพพานนี้ ชื่อว่า ย่อม
สำคัญจากนิพพาน. นี้เป็นความสำคัญด้วยอำนาจทิฏฐิของปุถุชนนั้น.
ก็เมื่อปุถุชนเกิดความเสน่หาในอัตตานั้นนั่นแล และเกิดมานะอันมี
อัตตานั้นเป็นที่ตั้ง แม้ตัณหาและมานะก็พึงทราบว่า (เกิดขึ้นด้วย) แต่
เมื่อสำคัญว่า โอ นิพพานของเราสุขจริง พึงทราบว่า ชื่อว่า ย่อมสำคัญว่า
นิพพานว่าเป็นของเรา ดังนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ก็ใน
ข้อนี้ มีคำร้อยกรองในภายหลังดังต่อไปนี้ :-
กายของตนนี้เป็นเช่นไร เมื่อปุถุชนไม่รู้กายของตนนั้น
ตามความเป็นจริง ความสำคัญ (ผิด) ทุกอย่างย่อม
เกิดขึ้นในกายของตน กายของตนนี้น่าเกลียด มีการ
แตกไปเป็นธรรมดา เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ไม่ใช่ผู้นำ.
คนพาล เมื่อยึดถือกายนั้นโดยเป็นข้าศึก (ต่อความ
เป็นจริง) ชื่อว่า ย่อมยึดถือความสำคัญ (ผิด)
เมื่อปุถุชนพิจารณาเห็นกายของตน โดยความเป็น
ของงาม และโดยเป็นความสุข ย่อมมีความสำคัญ
ผิดด้วยอำนาจตัณหา เมื่อการสำคัญผิดในไฟของ
แมลงเม่าฉะนั้น เมื่อปุถุชนยึดนิจจสัญญา เห็น
สมบัติของกายของตนนั้น เขาย่อมมีความสำคัญผิด
ด้วยอำนาจมานะ เหมือนสุนัขเห็นคูถแล้วเกิดสุภ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 93
สัญญาในคูถฉะนั้น เมื่อปุถุชนพิจารณาเห็นกายของ
ตนนั้นว่าเป็นอัตตา เนื่องในอัตตา ไม่เข้าใจตาม
ความเป็นจริง ย่อมมีความสำคัญผิดด้วยทิฏฐิ เหมือน
คนสำคัญรูปในกระจกฉะนั้น ก็คำว่า ความสำคัญนี้
เป็นคำที่ละเอียดเป็นเครื่องผูกของมาร หย่อม แต่
แก้ได้ยาก เพราะเป็นเครื่องผูกที่ผูกปุถุชนไว้ ปุถุชน
แม้จะพยายามดิ้นรนโดยวิธีต่าง ๆ มากมายก็ไม่ล่วง
พ้นกายของตนไปได้ ย่อมถูกกายของตนนั้นผูกรัดไว้
อย่างแน่ เหมือนสุนัขที่ถูกล่ามโซ่ไว้ที่หลักอันมั่น
ที่เขาตอกไว้อย่างดี คนที่เหลือมัวหมกมุ่นอยู่ในกาย
ของตน ย่อมเดือดร้อนอยู่เป็นนิตย์ ด้วยชาติ ชรา
และทุกข์มีโรคเป็นต้น เหมือนปลาติดเบ็ดฉะนั้น
ฉะนั้น เราจึงขอกล่าวกะท่านผู้เจริญทั้งหลายว่า ท่าน
ทั้งหลายพิจารณากายของตนที่สวยงามให้เห็นว่า ไม่
น่าชอบใจ ไม่งาม มีอันแตกไป (เป็นธรรม)
และไม่ใช่อัตตา เพราะกายของตนนี้นั้น มีสภาพ
อย่างนี้ ผู้รู้พิจารณาเห็นกายนี้อย่างนี้อยู่ ละความ
สำคัญผิดทั้งหมดเสียได้ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้ง-
ปวง ดังนี้.
จบกถาว่าด้วยนัยที่ ๑ ข้อที่ ๒๔ ด้วยอำนาจปุถุชน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 94
เสขบุคคล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของปุถุชนซึ่งมี
ธรรมคือสักกายทิฏฐิทั้งหมดเป็นมูลในวัตถุธาตุมีปฐวีเป็นต้นดังพรรณนา
มาฉะนี้ บัดนี้ เมื่อจะแสดงความเป็นไปของพระเสขบุคคลในวัตถุธาตุ
เหล่านั้นเหมือนกัน จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โยปิ โส ภิกฺขุ เสโข ดังนี้
บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า โย เป็นคำขึ้นต้น. คำว่า โส เป็นคำแสดง
ไข. ปิ อักษร มีการประมวลมาเป็นอรรถ ดุจในประโยคว่า ธรรมแม้นี้
ไม่เที่ยง ดังนี้.
ก็ด้วย ปิ ศัพท์นั้น ย่อมประมวลมาซึ่งบุคคล โดยความเสมอกัน
ทางอารมณ์ หาได้ประมวลมาโดยความเสมอกันแห่งบุคคลไม่ แต่โดย
กำหนดอย่างต่ำ ได้แก่บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ ในที่นี้มุ่งเอาบุคคลผู้สมบูรณ์
ด้วยทิฐิ ความเสมอกันของบุคคลทั้ง ๒ นั้นไม่มี แต่อารมณ์ของบุคคล
พวกแร (ผู้มีทิฏฐิวิบัติ) เป็นอย่างไร อารมณ์ของคนพวกหลังเหล่านี้
(ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ) ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันแท้. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวไว้ว่า ย่อมประมวลมาซึ่งบุคคลโดยความเสมอกันแห่งอารมณ์ หา
ได้ประมวลมาด้วยความเสมอกันแห่งบุคคลไม่.
พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระเสขบุคคลที่จะพึง
กล่าว ในบัดนี้ ด้วยทำทั้งสิ้นนี้ว่า โยปิ โส. บทว่า ภิกฺขเว ภิกฺขู
นี้ มีนัยดังกล่าวนั้นแล.
บทว่า เสกฺโข ความว่า ที่ชื่อว่า เสขะ เพราะอรรถว่ากระไร ?
ตอบว่า ที่ชื่อว่า เสขะ เพราะได้เสขธรรม. สมจริงดังพระดำรัสที่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 95
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ที่ชื่อว่าเป็นเสขะ ด้วยธรรมมีประมาณเท่าใด พระพุทธเจ้า
ตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบ
ด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นเสขะ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ
อันเป็นเสขะ ภิกษุ ชื่อว่าเป็นเสขะด้วยธรรมมีประมาณเท่านี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคล ชื่อว่า เสขะ เพราะอรรถว่า ยังศึกษาอยู่
ดังนี้บ้าง. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุศึกษา
อยู่อย่างนี้แล ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า เสขะ ถามว่า พระเสขบุคคล
ย่อมศึกษาอะไร ? ตอบว่า ย่อมศึกษาอธิสีลสิกขาบ้าง อธิจิตตสิกขา
บ้าง อธิปัญญาสิกขาบ้าง ภิกษุย่อมศึกษาอย่างนี้แล เพราะฉะนั้น
ท่านจึงเรียกว่า เสขะ.
บุคคลแม้ใด เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ด้วย
อนุโลมปฏิปทา มีศีลสมบูรณ์ มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้จักประมาณในการบริโภคโภชนะ ตามประกอบความเพียรของบุคคลผู้ตื่น
อยู่ ตามประกอบภาวนานุโยคซึ่งโพธิปักขิยธรรม ตลอดราตรีต้น และ
ราตรีปลายอยู่ด้วยความคิดว่า เราจักบรรลุสามัญญผลอย่างใดอย่างหนึ่งใน
วันนี้หรือพรุ่งนี้ บุคคลนั้นเรียกว่า เสขะ เพราะกำลังศึกษา.
แต่ในเนื้อความนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิเวธนั้นเท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า
เสขะ หาใช่ประสงค์เอาปุถุชนไม่.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 96
อธิบายคำว่า มานัส
มานัส อันบุคคลนั้น ยังไม่บรรลุแล้ว ฉะนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า
ผู้มีมานัสอันยังไม่บรรลุ. ราคะก็ดี จิตก็ดี พระอรหัตก็ดี ชื่อว่า
มานัส.
ความจริง ราคะ ชื่อว่า มานัส ดังในประโยคนี้ว่า มานัสนี้ใด
ย่อมเที่ยวไป เหมือนบ่วงที่เที่ยวไปในอากาศฉะนั้น.
จิต ชื่อว่า มานัส ดังในประโยคนี้ว่า จิต มโน มานัส.
พระอรหัต ชื่อว่า มานัส ดังในประโยคว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน พระเสขะมีพระอรหัตอันยังไม่ได้
บรรลุ พึงทำกาละ ดังนี้.
พระอรหัตเท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า มานัสในที่นี้ ด้วยเหตุนั้น
จึงมีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้มีพระอรหัตอันไม่บรรลุแล้ว. บทว่า
อนุตฺตร แปลว่า ประเสริฐที่สุด อธิบายว่า ไม่มีธรรมอะไรเทียบได้.
พระอรหัตเท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
เพราะหมายความว่า เกษมจากโยคะ ๔ คือโยคะ ๔ ไม่ประทุษร้ายแล้ว.
บทว่า ปตฺถยมาโน มีวินิจฉัยว่า ความปรารถนามี ๒ อย่าง คือ
ความปรารถนาด้วยอำนาจตัณหา และความปรารถนาด้วยอำนาจฉันทะ.
ปรารถนาด้วยอำนาจตัณหา ย่อมได้ในประโยคว่า
ก็เมื่อบุคคลยังปรารถนาอยู่ ตัณหากระซิบหูย่อมเกิด
อีกทั้งจิตก็ยังหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์ที่ตัณหาและทิฏฐิ-
กำหนดแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 97
ความเป็นผู้ประสงค์จะทำ คือความปรารถนาด้วยอำนาจฉันทะอัน
เป็นกุศล ย่อมได้ในประโยคว่า
กระแสแห่งตัณหาของบุคคลผู้มีจิตชั่วช้า ขาดไปแล้ว
อันเขาขจัดได้แล้ว กระทำให้พินาศไปแล้ว ภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากด้วยความปรา-
โมทย์ พึงปรารถนาธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
เถิด ดังนี้.
ความปรารถนาด้วยอำนาจฉันทะนี้เท่านั้น ท่านประสงค์เอาในที่นี้.
บทว่า เตน ปตฺถยมาโน ความว่า บุคคลผู้มีความประสงค์จะทำ
คือปรารถนาจะบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะนั้น พึงทราบว่า
ผู้น้อมไป โอนไป เอนไป (เพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ).
บทว่า วิหรติ ความว่า บำบัดทุกข์ซึ่งบังเกิดในอิริยาบถอย่างอื่น
ด้วยอิริยาบถอีกอย่างหนึ่ง รักษาร่างกายมิให้ทรุดโทรม. อีกอย่างหนึ่ง
พึงเห็นเนื้อความในข้อนี้โดยนิเทศนัยเป็นต้นว่า บุคคลผู้น้อมจิตไปด้วย
การพิจารณาว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมอยู่ด้วย
ศรัทธา.
บทว่า ปวึ ปวิโต อภิชานาติ ความว่า ย่อมรู้ชัดปฐวี โดย
เป็นปฐวี คือย่อมไม่รู้ด้วยสัญญาอันตรงกันข้ามจากอาการทั้งปวงเหมือน
ปุถุชน อีกอย่างหนึ่ง ย่อมรู้ด้วยญาณอันพิเศษยิ่ง.
ในบทว่า ปวี มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคลเมื่อปล่อยวาง
ความเป็นปฐวีได้อย่างนี้ ก็ย่อมรู้ชัดความเป็นปฐวีนั้นอย่างนี้ว่า ไม่เที่ยง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 98
บ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอนัตตาบ้าง และมีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้อีกว่า
เสขบุคคล ครั้นทราบความเป็นปฐวีอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่สำคัญปฐวี. ก็
เสขบุคคล จะกล่าวว่ามีความสำคัญก็ไม่ใช่ จะกล่าวว่าไม่มีความสำคัญก็
ไม่ใช่. ก็ในอรรถนี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวทิ้งบทนี้ไว้.
เมื่อมีผู้กล่าวว่า ก็ในบทนี้มีอธิบายอย่างไร ? ตอบว่า อันดับแรก
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงปุถุชนว่า สำคัญปฐวี (ผิด) อยู่ เพราะ
ความสำคัญ (ผิด) ทุกอย่าง ปุถุชนยังละไม่ได้ พระขีณาสพ ย่อมไม่
สำคัญผิด เพราะท่านละความสำคัญ (ผิด) ทุกอย่างได้แล้ว ความสำคัญ
ด้วยอำนาจทิฏฐิ พระเสพบุคคลละได้ แม้ความสำคัญอย่างอื่น ๆ ก็ถึง
ความเบาบางลง ด้วยเหตุนั้น พระเสขะนั้น ใคร ๆ ไม่ควรกล่าวว่า ย่อม
สำคัญ (ผิด) เหมือนปุถุชน ทั้งไม่ควรกล่าวว่า ย่อมไม่สำคัญ (ผิด)
เหมือนพระขีณาสพ.
บทว่า ปริญฺเยฺย ตสฺส ความว่า ที่ตั้งแห่งความสำคัญ (ผิด)
นั้น อันพระเสขะพึงกำหนดรู้ได้ด้วยปริญญาทั้ง ๓ เพราะท่านหยั่งลงสู่
ความแน่นอนแล้ว และเพราะมีการตรัสรู้ (ในมรรคผลที่สูงไป) เป็น
เบื้องหน้า ที่ตั้งแห่งความสำคัญ (ผิด) ที่ยังไม่ควรกำหนดรู้ ไม่ใช่
ท่านไม่ต้องกำหนดรู้เหมือนกับปุถุชน ทั้งไม่ใช่ท่านได้กำหนดรู้หมดแล้ว
เหมือนกับพระขีณาสพ. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีนัยดังกล่าวแล้วเหมือน
กัน.
จบกถาว่าด้วยนัยที่ ๒ ด้วยอำนาจเสขบุคคล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 99
อธิบายพระอริยบุคคล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของพระเสขะใน
วัตถุธาตุมีปฐวีเป็นต้น ดังพรรณนาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง
ความเป็นไปของพระขีณาสพ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โยปิ โส ภิกฺขเว
ภิกฺขุ อรห ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ปิ ศัพท์ ในบทว่า โยปิ มีการประมวลมา
เป็นอรรถ. ด้วย ปิ ศัพท์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ในที่นี้
ย่อมได้ความเสมอกันโดยส่วนทั้ง ๒. อธิบายว่า พระเสขะ ชื่อว่า เป็นผู้
เสมอด้วยพระขีณาสพ เพราะความเป็นอริยบุคคล ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงได้ความเสมอกันโดยบุคคล. ส่วนความเป็นผู้เสมอกันโดยทางอารมณ์
ก็มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
บทว่า อรห ความว่า ผู้มีกิเลสอยู่ไกล อธิบายว่า ผู้มีกิเลสห่างไกล
คือมีกิเลสอันท่านละได้แล้ว. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นอรหันต์ได้อย่างไร คือ อกุศลธรรม
ทั้งหลาย อันลามก เศร้าหมอง อันเป็นเหตุให้เกิดภพใหม่ มีความ
เร่าร้อน มีผลเป็นทุกข์ เพื่อชาติ ชรา และมรณะ ต่อไปของท่านผู้
ห่างไกลจากกิเลสย่อมไม่มี ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นพระอรหันต์
อย่างนี้แล.
บทว่า ขีณาสโว มีวินิจฉัยว่า อาสวะมี ๔ คือ กามาสวะ
ภาวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ อาสวะทั้ง ๔ เหล่านี้ ของพระอรหันต์
สิ้นแล้ว คือท่านละได้ ถอนขึ้นได้ สงบระงับ เป็นของไม่ควรเกิดขึ้นอีก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 100
อันท่านเผาแล้วด้วยไฟคือญาณ ด้วยเหตุนั้น พระอรหันต์นั้น ท่านจึง
เรียกว่า พระขีณาสพ.
บทว่า วุสิตวา ความว่า พระอรหันต์นั้นอยู่แล้ว คืออยู่จบแล้ว
ในธรรมเครื่องอยู่ของครูบ้าง ในธรรมเครื่องอยู่คืออริยมรรคบ้าง ใน
ธรรมเครื่องอยู่ของพระอริยะ ๑๐ ประการบ้าง พระอรหันต์นั้น อยู่แล้ว
คืออยู่จบแล้ว ได้แก่มีธรรมเครื่องอยู่อันจบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว
ฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้อยู่จบแล้ว.
บทว่า กตกรณีโย ความว่า พระเสขะทั้ง ๗ จนกระทั่งกัลยาณ-
ปุถุชน ชื่อว่า ย่อมทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค ๔ กิจที่จะพึงทำทุกอย่าง
พระขีณาสพทำแล้ว ทำเสร็จสิ้นแล้ว กิจที่จะพึงทำอันยิ่งของพระขีณาสพ
นั้น เพื่อการบรรลุความสิ้นไปแห่งทุกข์ ย่อมไม่มีฉะนั้น พระอรหันต์
นั้น จึงชื่อว่าผู้มีกิจที่จะต้องทำอันทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว. สมจริงดังคำที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
การสั่งสมกิจที่ต้องทำอันทำเรียบร้อยแล้ว ของภิกษุ
ผู้มีจิตสงบ หลุดพ้นแล้วโดยชอบนั้น ย่อมไม่มี
(และ) กิจที่พึงทำอีกก็ไม่มี ดังนี้.
ในบทว่า โอหิตภาโร มีวินิจฉัยว่า ภาระมี ๓ คือ ขันธภาระ
กิเลสภาระ อภิสังขารภาระ ภาระ ๓ เหล่านี้ พระอรหันต์นั้น ปลงลงแล้ว
ยกลงแล้ว วางแล้ว ทำให้ตกไปแล้ว ด้วยเหตุนี้นั้น พระอรหันต์นั้น
ท่านจึงเรียกว่า ผู้มีภาระอันปลงลงแล้ว.
บทว่า อนุปตฺตสทตฺโถ ความว่า ผู้ตามบรรลุประโยชน์ตนแล้ว
อธิบายว่า ตามบรรลุประโยชน์อันเป็นของตน. ก อักษร แปลงเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 101
ท อักษร. ก็พระอรหัตพึงทราบว่า ประโยชน์ของตน. จริงอยู่ พระ
อรหัตนั้น ท่านเรียกว่า ประโยชน์ของตน คือประโยชน์ตน เพราะอรรถว่า
เกี่ยวเนื่องกับตน เพราะอรรถว่า ไม่ละตน และเพราะอรรถว่า เป็น
ประโยชน์อย่างยิ่งของตน.
บทว่า ปริกฺขีณภวสโยชโน มีวินิจฉัยว่า สังโยชน์ ๑๐ คือ
กามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ภวราคะ
อิสสา มัจฉริยะ และอวิชชา เรียกว่า สังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ
เพราะสังโยชน์เหล่านี้ ย่อมผูก คือตามผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ในภพ อีก
อย่างหนึ่ง ย่อมเชื่อมภพไว้ด้วยภพ สังโยชน์เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพเหล่านี้
ของพระอรหันต์ สิ้นรอบแล้ว อันท่านละได้แล้ว อันท่านเผาแล้วด้วย
ไฟคือญาณ ด้วยเหตุนั้น พระขีณาสพนั้น ท่านจึงเรียกว่า ผู้มีสังโยชน์
เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพอันสิ้นรอบแล้ว.
บทว่า สมฺมทญฺา ในบทว่า สมฺมทญฺา วิมุตฺโต นี้ ความว่า
เพราะรู้โดยชอบ. ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า
เพราะรู้ คือทราบ ได้แก่พิจารณา ตรวจตรา เปิดเผย กระทำให้แจ้ง
ซึ่งอรรถแห่งขันธ์ว่าเป็นขันธ์ อรรถแห่งอายตนะว่าเป็นอายตนะ อรรถ
แห่งธาตุว่าเป็นธาตุ อรรถแห่งทุกข์ว่าเป็นการบีบคั้น อรรถแห่งสมุทัยว่า
เป็นบ่อเกิดทุกข์ อรรถแห่งทุกข์ว่าเป็นความสงบ อรรถแห่งมรรคว่า
เป็นทัสสนะ มีประเภทอย่างนี้ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ดังนี้ โดยชอบ
คือตามความเป็นจริง.
บทว่า วิมุตฺโต มีวินิจฉัยว่า วิมุติมี ๒ อย่าง คือ ความหลุดพ้น
แห่งจิต ๑ พระนิพพาน ๑ พระอรหันต์ ชื่อว่า ผู้หลุดพ้นแล้วแม้ด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 102
ความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะความมีจิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้ง
ปวง ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วแม้ในพระนิพพาน เพราะความที่ท่านมีจิต
น้อมไปสู่พระนิพพาน ด้วยเหตุนั้น พระอรหันต์ท่านจึงเรียกว่า ผู้หลุด
พ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.
บทว่า ปริญฺาตนฺตสฺส ความว่า ที่ตั้งแห่งความสำคัญ (ผิด)
นั้นอันพระอรหันต์กำหนดรู้แล้วด้วยปริญญาทั้ง ๓ ฉะนั้น พระอรหันต์
นั้นจึงไม่สำคัญที่ตั้งนั้น อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า พระอรหันต์ย่อมไม่
สำคัญความสำคัญ (ผิด) นั้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
ส่วนวาระ ๓ เป็นต้นว่า ขยา ราคสฺส ดังนี้ ท่านกล่าวไว้แล้ว
ในนิพพานวาระ วาระเหล่านั้น ก็ควรให้พิสดารแม้ในวาระว่าด้วยปฐวี
เป็นต้น. ก็ปริญญาตวาระนี้ ก็ควรให้พิสดารแม้ในนิพพานวาระ. ก็
บัณฑิตเมื่อจะให้ความพิสดาร พึงประกอบคำว่า ปริญฺาตนฺตสฺส ด้วย
ทุก ๆ บท แล้วพึงประกอบความอีกว่า ขยา ราคสฺส วีตราคตฺตา
ดังนี้ ในบทนอกจากนั้นก็นัยนี้. ก็เทศนาท่านย่อไว้ว่า คำที่กล่าวแล้วใน
บทเดียว ก็เป็นอันกล่าวแล้วในทุก ๆ บทแท้.
ก็ในบทว่า ขยา ราคสฺส วีตราคฺตา นี้ ความว่า เพราะเหตุที่
นักบวชนอกศาสนาเป็นผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม (แต่) ไม่ใช่
เพราะหมดราคะ ส่วนพระอรหันต์ ชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด
ในกาม เพราะความสิ้นราคะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า
ขยา ราคสฺส วีตราคฺติตา ดังนี้. แม้ในโทสะและโมหะก็มีนัยนี้.
เหมือนอย่างว่า แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราตถาคตกล่าวว่า
ปริญฺาต ตสฺส ดังนี้ ย่อมได้ความว่า พระอรหันต์นั้นย่อมไม่สำคัญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 103
วัตถุนั้นหรือความสำคัญนั้น เพราะท่านได้กำหนดรู้แล้วฉันใด แม้ในที่นี้
ก็ฉันนั้น พระอรหันต์นั้นบัณฑิตเห็นว่า ย่อมไม่สำคัญวัตถุนั้น หรือ
ย่อมไม่สำคัญความสำคัญ (ผิด) นั้น เพราะท่านหมดราคะแล้ว.
ก็ในบรรดาวาระเหล่านั้น วาระนี้ว่า ปริญฺาต ตสฺส นี้ ท่าน
กล่าวไว้เพื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งมรรคภาวนา. วาระนอกนี้ พึงเห็นว่า
ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งการกระทำให้แจ้งซึ่งผล.
อีกอย่างหนึ่ง พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญด้วยเหตุ ๒ ประการ
เพราะความที่วัตถุท่านกำหนดได้แล้ว และเพราะอกุศลมูลท่านถอนขึ้น
ได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์จึงแสดงการกำหนดรู้วัตถุของ
พระอรหันต์นั้นด้วยวาระแห่งปริญญา และแสดงการถอนขึ้นซึ่งอกุศลมูล
ด้วยวาระนอกนี้ ฉะนี้แล.
ในบรรดาวาระเหล่านั้น พึงทราบความแปลกกันในวาระ ๓ ข้อ
ข้างปลายดังต่อไปนี้. พระอรหันต์นั้น ท่านเห็นโทษในความกำหนัดใน
วาระทั้ง ๓ นั้นแล้ว พิจารณาเห็นทุกข์อยู่ เป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอัปปณิ-
หิตวิโมกข์ ย่อมมีราคะปราศจากไป เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ. ท่าน
เห็นโทษในโทสะ พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้หลุดพ้น
แล้วด้วยอนิมิตตวิโมกข์ ย่อมเป็นผู้มีโทสะปราศไป เพราะความสิ้นโทสะ.
ท่านเห็นโทษในโมหะ พิจารณาโดยความเป็นอนัตตาอยู่ หลุดพ้นแล้ว
ด้วยสุญญตวิโมกข์ ย่อมเป็นผู้ปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ.
หากมีคำถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลคนเดียวย่อมหลุดพ้นด้วย
วิโมกข์ ๓ (คราวเดียวกัน) ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ควรกล่าว ๒ วาระ
ไว้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 104
พึงตอบว่า ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่.
เพราะเหตุไร?
เพราะว่ายังมิได้กำหนดแน่นอน.
ความจริงพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยไม่แน่นอนว่า โยปิ โส
ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรห ดังนี้ แต่หาตรัสไว้ว่า ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นด้วย
อัปปณิหิตวิโมกข์ หรือหลุดพ้นด้วยวิโมกข์นอกนี้ ดังนี้ไม่. ฉะนั้น สิ่ง
ใดย่อมสมควรแก่พระอรหันต์ สิ่งนั้นทั้งหมดควรกล่าวแท้ ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยไม่แปลกกัน พระอรหันต์ทุกรูป เมื่อกิเลสมี
ราคะเป็นต้นสิ้นไป ท่านก็เรียกว่า ผู้มีราคะไปปราศ เพราะราคะสิ้นไป
เหตุที่ท่านกำหนดรู้วิปริณามทุกข์. ท่านเรียกว่าผู้ปราศจากโทสะ เพราะ
โทสะสิ้นไป เหตุที่ท่านกำหนดรู้ทุกข์ในทุกข์ ชื่อว่าผู้ปราศจากโมหะ
เพราะโมหะสิ้นไป เหตุที่ท่านกำหนดรู้สังขารทุกข์.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านชื่อว่าปราศจากราคะ เพราะราคะสิ้นไป เหตุที่
ท่านกำหนดรู้อิฏฐารมณ์ ชื่อว่าปราศจากโทสะ เพราะโทสะสิ้นไป เหตุที่
ท่านกำหนดรู้อนิฏฐารมณ์ ชื่อว่าปราศจากโมหะ เพราะโมหะสิ้นไป
เหตุที่ท่านกำหนดรู้มัชฌัตตารมณ์.
อีกอย่างหนึ่ง ท่านชื่อว่าปราศจากราคะ เพราะราคะสิ้นไป เหตุที่
ท่านถอนราคานุสัยในสุขเวทนาเสียได้ ชื่อว่าปราศจากโทสะและปราศจาก
โมหะ ท่านถอนปฏิฆานุสัยและโมหานุสัยในทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา
เสียได้ ฉะนี้แล ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความต่าง
กันนั้น จึงตรัสว่า ขยา ราคสฺส วีตราตฺตา ฯเปฯ ขยา โมหสฺส
วีตโมหตฺตา ดังนี้.
จบกถาว่าด้วยนัยที่ ๓-๔-๕-๖ ด้วยอำนาจพระขีณาสพ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 105
อธิบายคำว่า ตถาคต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความเป็นไปของพระขีณาสพ
ในวัตถุธาตุทั้งหลายมีปฐวีเป็นต้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความ
เป็นไปของพระองค์เอง จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ตถาคโตปิ ภิกฺขเว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ตถาคโต มีวินิจฉัยดังนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ อย่างคือ (๑) เรียกว่า
ตถาคต เพราะอรรถว่า เสด็จมาแล้วอย่างนั้น (๒) เรียกว่า ตถาคต
เพราะอรรถว่า เสด็จไปแล้วอย่างนั้น, (๓) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถ
ว่า เสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้, (๔) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า ตรัสรู้
พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมอันแท้ตามเป็นจริง, (๕) เรียกว่า ตถาคต เพราะ
ทรงเห็นแท้จริง, (๖) เรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสวาจาจริง, (๗)
เรียกว่า ตถาคต เพราะทรงทำจริง, (๘) เรียกว่า ตถาคต เพราะอรรถว่า
ครอบงำ.
ตถาคตผู้เสด็จมาแล้วอย่างนี้
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถ
ว่า เสด็จมาแล้ว อย่างนั้น อย่างไร?
ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทรงถึงการขวนขวาย
เสด็จมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งปวงโดยประการใด เหมือน
อย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ๑ ทรงพระนามว่า
สิขี ๑ ทรงพระนามว่า เวสสภู ๑ ทรงพระนามว่า กกุสันธะ ๑ ทรง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 106
พระนามว่า โกนาคมนะ ๑ ทรงพระนามว่า กัสสปะ ๑ เสด็จมาเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกฉันใด (พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานี้ ก็
เสด็จมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ชาวโลกฉันนั้นเหมือนกัน).
ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร.
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น เสด็จมา
ด้วยอภินิหารใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาด้วย
อภินิหารนั้นเหมือนกัน.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ทรงบำเพ็ญทานบารมี
ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี
อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี ได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐
ทัศนี้ คือ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทั้งได้ทรง
บำเพ็ญมหาบริจาค ๕ อย่างเหล่านี้ คือ ทรงบริจาคอวัยวะ ดวงพระเนตร
พระราชทรัพย์ ราชสมบัติ โอรสและมเหสี ทรงบำเพ็ญบุพพประโยค
บุพพจริยา การสอนธรรม และญาตัตถจริยา เป็นต้น มาจนถึงที่สุดด้วย
พุทธจริยาฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเรา ก็เสด็จมาฉันนั้น
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ พระผู้
มีพระภาคเจ้าทรงพระนานว่า กัสสปะ เสด็จมาบำเพ็ญเพิ่มพูนสติปัฏ-
ฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมี
องค์ ๘ ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เสด็จมาฉันนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้วโดยประการนั้น อย่างนี้ เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงทรงพระนามว่า พระตถาคต.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 107
พระมุนีทั้งหลายมีวิปัสสีพุทธเจ้าเป็นต้น ได้เสด็จมา
ถึงความเป็นพระสัพพัญญูในโลกนี้ โดยประการใด
แม้พระศากยมุนีก็เสด็จมาโดยประการนั้น ด้วยเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุ ท่านจึงเรียกว่า
พระตถาคต ดังนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว โดยประการนั้น ดังพรรณนามา
อย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า พระตถาคต.
ตถาคตผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้นามว่า ตถาคต เพราะเสด็จ
ไปแล้ว อย่างนั้น อย่างไร ?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนานว่า กัสสปะ ประสูติได้ครู่เดียวก็เสด็จ
ดำเนินไปได้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราก็เสด็จดำเนินไปได้ฉันนั้น
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรานั้น เสด็จดำเนินไปได้อย่างไร ?
(อย่างนี้คือ) ประสูติได้ครู่เดียว ประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพี ด้วย
พระบาทอันเรียบเสมอ ผินพระพักตร์ตรงต่อทิศอุดร ย่างพระบาทดำเนิน
ไปได้ ๗ ก้าว เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้ว่า อานนท์ พระโพธิสัตว์
ประสูติได้ครู่เดียว ประทับยืนบนปฐพีอยู่ด้วยพระบาทอันเรียบเสมอ
ผินพระพักตร์ต่อทิศอุดร ย่างพระบาทดำเนินไปได้ ๗ ก้าว โดยมี
เทวดากั้นเศวตฉัตรติดตามไป ทรงตรวจดูรอบทิศ เปล่งอาสภิวาจาว่า
เราเป็นผู้เลิศ เป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก ชาตินี้เป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 108
ชาติสุดท้าย บัดนี้ ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว ดังนี้
ก็การเสด็จไปนั้นของพระองค์นั้น เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดจากนั้น
โดยเป็นบุพพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษอย่างมากมาย.
ก็ข้อที่พระองค์ประสูติได้ครู่หนึ่ง และประทับยืนอยู่บนพื้นปฐพี
ด้วยพระบาทอันเรียบเสมอนี้นั้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้อิทธิบาท ๔.
ข้อที่พระองค์หันพระพักตร์ไปทางทิศอุดรนั้น เป็นบุพพนิมิตแห่ง
ความที่พระองค์เป็นผู้ข้ามพ้นโลกทั้งหมด.
การย่างพระบาทดำเนินได้ ๗ ก้าว เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้รัตนะ
คือโพชฌงค์ ๗ ประการ.
การยกจามร ที่กล่าวไว้ในบทว่า จามรมีด้ามเป็นทองผ่านไปดังนี้
ขึ้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการย่ำยีพวกเดียรถีย์ทั้งหมด.
การที่ทรงเศวตฉัตร เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตรอันประ-
เสริฐวิเศษ ปราศจากมลทิน คือการหลุดพ้นด้วยอำนาจความเป็นพระ
อรหันต์.
การที่ทรงตรวจดูไปทั่วทิศนั้น เป็นบุพพนิมิตแห่งการได้ญาณอัน
ประเสริฐ คือพระสัพพัญญุตญาณ.
การที่ทรงเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพพนิมิตแห่งการประกาศธรรมจักร
อันประเสริฐไม่มีใครคัดค้านได้.
แม้พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เสด็จไปโดยประการนั้น และการเสด็จไป
ของพระองค์นั้น เป็นอย่างนั้น ไม่ผิดจากนั้น โดยเป็นบุพพนิมิตแห่งการได้
บรรลุคุณวิเศษมากมาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า:-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 109
พระโคดมนั้นนพอประสูติแล้วครู่เดียวเท่านั้น ก็
เหยียบพื้นพสุธาด้วยพระบาทอันเรียบเสมอแล้ว
เสด็จดำเนินไปได้ ๗ ก้าว เหมือนโคผู้นำฝูงเดินนำ
หน้าฝูงโคไปฉะนั้น และหมู่เทวดาทั้งหลาย ก็ได้กาง
กั้นเศวตฉัตรถวายพระโคดมนั้น ครั้นย่างพระบาท
ไปได้ ๗ ก้าวแล้ว ทรงตรวจดูทั่วทุกทิศอย่างสม่ำ
เสมอโดยรอบ ได้เปล่งพระสุรเสียงอันประกอบด้วย
องค์ ๘ เหมือนพญาราชสีห์ยืนอยู่บนยอดภูเขาเปล่ง
สีหนาทฉะนั้น ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วโดยประการนั้น
ดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้นพระองค์จึงทรงพระนาม
ว่า ตถาคต.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ เป็นฉันใด พระผู้มี-
พระภาคเจ้าของเราแม้นี้ก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน คือพระองค์ทรงละ
กามฉันท์ด้วยเนกขัมมะเสด็จไปแล้ว, ทรงละพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท
ทรงละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธจัจกุกกุจจะด้วยความไม่
ฟุ้งซ่าน ทรงละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรมเสด็จไปแล้ว. ทรงทำลาย
อวิชชาด้วยญาณเสด็จไปแล้ว, ทรงบรรเทาความไม่ยินดีด้วยความปราโมทย์
ทรงเพิกถอนเครื่องกั้นคือนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ยังความมืดคือวิตก
วิจารให้สงบระงับด้วยทุติยฌาน ทรงสำรอกปีติด้วยตติยฌาน ทรงละสุข
และทุกข์ด้วยจตุตถฌาน ทรงล่วงพ้นรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตต-
สัญญาด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นอากาสานัญจายตน-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 110
สัญญาด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นวิญญาณัญจายตนสัญญาด้วย
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ทรงล่วงพ้นอากิญจัญญายตนสัญญาด้วยเนว-
สัญญานาสัญญายตนสมาบัติเสด็จไปแล้ว, ทรงละนิจจสัญญาด้วย
อนิจจานุปัสสนาญาณ ทรงละสุขสัญญาด้วยทุกขานุปัสสนาญาณ ทรง
ละอัตตคสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนาญาณ ทรงละความเพลิดเพลินด้วย
นิพพิทานุปัสสนาญาณ ทรงละราคะด้วยวิราคานุปัสสนาญาณ ทรงละ
สมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนาญาณ ทรงละการถือมั่นด้วยปฏินิสัคคานุปัสสนา
ญาณ ทรงละฆนสัญญาด้วยขยานุปัสสนาญาณ ทรงละการประมวลมา
ด้วยวยานุปัสสนาญาณ ทรงละธุวสัญญาด้วยวิปริณามานุปัสสนาญาณ ทรง
ละนิมิตตสัญญาด้วยอนิมิตทานุปัสสนาญาณ ทรงละความปรารถนาด้วย
อัปปณิหิตานุปัสสนาญาณ ทรงละอภินิเวสด้วยสุญญมานุปัสสนาญาณ ทรง
ละการยึดถือโดยเป็นสาระด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนาญาณ ทรงละการ
ยึดมั่นเพราะความหลงด้วยยถาภูตญาณทัสสนญาณ ทรงละความยึดถือด้วย
ความอาลัยด้วยอาทีนวานุปัสสนาญาณ ทรงละการไม่พิจารณาด้วย
ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ทรงละการยึดมั่นด้วยอำนาจสังโยชน์ด้วยวิวัฏฏา-
นุปัสสนาญาณ ทรงหักรานกิเลสในปัจจุบันด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละ
กิเลสอย่างหยาบด้วยสกทาคามิมรรค ทรงเพิกถอนกิเลสซึ่งยังเหลืออยู่
เล็กน้อยด้วยอนาคามิมรรค ทรงตัดขาดกิเลสทุกอย่างด้วยอรหัตตมรรค
เสด็จไปแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วอย่างนั้น ด้วยอาการ
ดังพรรณนามาอย่างนี้ ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 111
ตถาคตผู้เสด็จมาสู่ลักษณะอันแท้จริง
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพระเสด็จ
มาสู่ลักษณะอันแท้จริงนั้น อย่างไร?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาแล้ว คือถึงโดยไม่ผิด
ได้แก่บรรลุโดยลำดับ ซึ่งลักษณะแห่งปฐวีธาตุว่าเป็นความเข้มแข็ง
อย่างถูกต้องไม่ผิด ซึ่งลักษณะแห่งอาโปธาตุว่าเป็นเครื่องไหล ลักษณะ
แห่งเตโชธาตุว่าเป็นของร้อน ลักษณะแห่งวาโยธาตุว่าเคลื่อนไหว
ลักษณะอากาสธาตุว่าถูกต้องไม่ได้ ลักษณะแห่งวิญญาณธาตุว่าเป็นเครื่องรู้
ลักษณะแห่งรูปว่าการย่อยยับไป ลักษณะแห่งเวทนาว่าการเสวยอารมณ์
ลักษณะสัญญาว่าความจำได้ ลักษณะแห่งสังขารว่าเป็นเครื่องปรุงแต่ง
ลักษณะแห่งวิญญาณว่าความรู้แจ้ง ลักษณะของวิตกว่าการยกจิตขึ้นสู่
อารมณ์ ลักษณะของวิจารว่าการเคล้าอารมณ์ ลักษณะปีติว่าการแผ่ซ่าน
ไป ลักษณะแห่งสุขว่าความยินดี ลักษณะแห่งจิตเอกัคคตาว่าความไม่
ฟุ้งซ่าน ลักษณะแห่งผัสสะว่าการถูกต้อง ลักษณะของสัทธินทรีย์ว่าการ
น้อมใจเชื่อ ลักษณะของวิริยินทรีย์ว่าการประคองจิต ลักษณะของสติน-
ทรีย์ว่าความปรากฏชัด ลักษณะแห่งสมาธินทรีย์ว่าความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน
ลักษณะของปัญญินทรีย์ว่าการที่จิตรู้ชัด ลักษณะของสัทธาพละว่าความที่
จิตไม่หวั่นไหวในเพราะสิ่งไม่ควรเชื่อ ลักษณะของวิริยพละว่าความที่จิต
ไม่หวั่นไหวในเพราะความเกียจคร้าน ลักษณะแห่งสติพละว่าความที่จิต
ไม่หวั่นไหวในเพราะความหลงลืมสติ ลักษณะแห่งสมาธิพละว่าความที่จิต
ไม่หวั่นไหวในเพราะอุทธัจจะ ลักษณะแห่งปัญญาพละว่าความที่จิตไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 112
หวั่นไหวในเพราะอวิชชา ลักษณะของสติสัมโพชฌงค์ว่าความปรากฏชัด
ลักษณะแห่งธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ว่าการพิจารณา ลักษณะของวิริย-
สัมโพชฌงค์ว่าการประคองจิตไว้ ลักษณะของปีติสัมโพชฌงค์ว่าการแผ่
จิตไป ลักษณะของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ว่าการสงบจิต ลักษณะของสมาธิ
สัมโพชฌงค์ว่าความไม่ฟุ้งซ่านของจิต ลักษณะของอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ว่าการพิจารณา ลักษณะของสัมมาทิฏฐิว่าการเห็น ลักษณะของสัมมา-
สังกัปปะว่าการยกจิตขึ้น ลักษณะของสัมมาวาจาว่าการกำหนดจิต ลักษณะ
ของสัมมากัมมันตะว่าความขยันหมั่นเพียร ลักษณะของสัมมาอาชีวะว่า
ความผ่องแผ้วของจิต ลักษณะของสัมมาวายามะว่าการประคองจิต
ลักษณะของสัมมาสติว่าความปรากฏชัด ลักษณะของสัมมาสมาธิว่าการที่
จิตไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะของอวิชชาว่าความไม่รู้ ลักษณะของสังขารว่า
เจตนา ลักษณะของวิญญาณว่าความรู้ชัด ลักษณะของนามว่าการน้อม
จิตไป ลักษณะของรูปว่าความย่อยยับไป ลักษณะของอายตนะ ๖ ว่า
บ่อเกิด ลักษณะของผัสสะว่าการถูกต้อง ลักษณะของเวทนาว่าการ
เสวยอารมณ์ ลักษณะของตัณหาว่าเหตุแห่งทุกข์ ลักษณะของอุปาทานว่า
ความยึดถือ ลักษณะของภพว่าการประมวลไว้ ลักษณะของชาติว่า
การเกิด ลักษณะของชราว่าความแก่ ลักษณะของมรณะว่าจุติ ลักษณะ
ของธาตุว่าความว่างเปล่า ลักษณะของอายตนะว่าบ่อเกิด ลักษณะของ
สติปัฏฐานว่าความปรากฏชัด ลักษณะของสัมมัปปธานว่าการตั้งความเพียร
ลักษณะของอิทธิบาทว่าความสำเร็จ ลักษณะของอินทรีย์ว่าความเป็นใหญ่
ลักษณะของพละว่าการไม่หวั่นไหว ลักษณะของโพชฌงค์ว่าธรรม
เครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ลักษณะของมรรคว่าเป็นเหตุให้ถึงความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 113
ดับทุกข์ ลักษณะของสัจจะว่าความจริง ลักษณะของสมถะว่าความไม่
ฟุ้งซ่าน ลักษณะของวิปัสสนาว่าพิจารณาเห็น ลักษณะของสมถะและ
วิปัสสนาว่ามีกิจอย่างเดียวกัน ลักษณะของสิ่งที่เป็นคู่กันว่าไม่ละกัน
ลักษณะของศีลวิสุทธิว่าการระวังรักษา ลักษณะของจิตตวิสุทธิว่าความ
ไม่ฟุ้งซ่าน ลักษณะของทิฏฐิวิสุทธิว่าการเห็น ลักษณะของญาณใน
ธรรมเป็นที่สิ้นไปว่าสมุจเฉท ลักษณะของญาณในธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นว่า
ความสงบ ลักษณะของฉันทะว่ามูลเหตุ ลักษณะของมนสิการว่าความขยัน
หมั่นเพียร ลักษณะของผัสสะว่าที่รวม ลักษณะของเวทนาว่าที่ประชุม
ลักษณะของสมาธิว่าธรรมที่เป็นประธาน ลักษณะของสติว่าความเป็นไหญ่
ลักษณะของปัญญาว่าสูงกว่าธรรมทั้งหมด ลักษณะของวิมุติว่าแก่น
ลักษณะของนิพพานที่หยั่งลงสู่อมตะว่าที่สิ้นสุด พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จมาถึง คือถึง ได้แก่บรรลุซึ่งลักษณะที่เป็นจริงอย่างนี้ อย่างแท้จริง
คือไม่ผิด ฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึง ลักษณะอันแท้จริงอย่างนี้ ฉะนั้น
จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
ตถาคตผู้ตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ
ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรมที่แท้จริงตามความเป็นจริงอย่างไร ?
ตอบว่า ที่ชื่อว่าธรรมที่จริงแท้ ได้แก่อริยสัจ ๔. เหมือนอย่างที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้
เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น. อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ?
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 114
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ว่า นี้ทุกข์ นั่นเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน
ไม่เป็นอย่างอื่น ดังนี้เป็นต้น. ความพิสดาร (นักศึกษาพึงตรวจดูเอาเอง).
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอริยสัจ ๔ เหล่านั้น
เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะ
อริยสัจทั้งหลายที่จริงแท้.
แท้จริง คต ศัพท์ ในคำว่า ตถาคโต นี้ มีความหมา ว่า "ตรัสรู้
พร้อมเฉพาะ."
อีกอย่างหนึ่ง สภาวะที่ชราและมรณะเกิดมีเพราะมีชาติเป็นปัจจัย
เป็นสภาวะที่แท้จริง ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น ฯลฯ สภาวะที่สังขาร
ทั้งหลายเกิดมีเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นสภาวะที่จริงแท้ ไม่แปรผัน
ไม่เป็นอย่างอื่น.
อนึ่ง สภาวะที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่ง (ให้เกิด) สังขารทั้งหลาย
สภาวะที่สังขารทั้งหลายเป็นปัจจัยแห่ง (ให้เกิด) วิญญาณ ฯลฯ สภาวะ
ที่ชาติเป็นปัจจัยแห่ง (ให้เกิด) ชราและมรณะเป็นสภาวะที่จริงแท้ ไม่
แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งสภาวะนั้นทั้งหมด แม้
เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานนามว่า ตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้พร้อม
เฉพาะซึ่งธรรมที่จริงแท้ตามความเป็นจริง ด้วยประการดังพรรณนามา
ฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 115
ตถาคตผู้ปกติเห็นอารมณ์ที่จริงแท้
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรง
มีปกติเห็นอารมณ์ที่จริงแท้อย่างไร ?
ตอบว่า อารมณ์ใดที่ชื่อว่า รูปารมณ์ (อารมณ์คือรูป) ซึ่งมา
ปรากฏในจักษุทวารของสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีปริมาณ มีอยู่ทั้งในโลกกับทั้ง
เทวโลก ฯลฯ ในหมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์ (และ) ในโลกธาตุ
ไม่มีปริมาณ (กำหนดนับไม่ได้) อารมณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
รู้ คือทรงเห็นโดยอาการทั้งหมด.
อารมณ์นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงรู้และทรงเห็นอยู่อย่างนี้
จำแนกออกไปตามชื่อเป็นอเนก ตามวาระ ๑๓ วาระ (และ) ตามนัย
๕๒ นัย โดยนัยมีอาทิว่า รูป คือรูปายตนะนั้นเป็นไฉน ? รูปใดที่
อาศัยมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่มีวรรณะ (สี) มองเห็นได้ ถูกต้องได้
เป็นรูปสีเขียว เป็นรูปสีเหลือง (นี้แหละเรียกว่ารูป) ด้วยอำนาจเป็นรูป
ที่น่าปรารถนา และไม่น่าปรารถนาเป็นต้นบ้าง ด้วยอำนาจที่จะได้ใน
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ได้ทราบ และธรรมา-
รมณ์ที่ได้รู้แจ้งบ้าง ย่อมเป็นของจริงแท้ทีเดียว ไม่มีแปรผัน. ในบรรดา
อารมณ์มีเสียงเป็นต้น ที่มาปรากฏในโสตทวารเป็นต้นก็นัยนี้. สมจริงด้วย
พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อารมณ์ใดที่โลกกับทั้งเทวโลก ฯลฯ ที่หมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์
ได้เห็น ได้สดับ ได้ทราบ ได้รู้แจ้ง ได้บรรลุ ได้แสวงหา ได้คิด
ค้น ตถาคตรู้อารมณ์ ตถาคตรู้อย่างแท้จริงซึ่งอารมณ์นั้น อารมณ์นั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 116
ตถาคตรู้ อารมณ์นั้นปรากฏแล้วในตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมีปกติ
เห็นอารมณ์ที่แท้จริง ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
ในบทว่า ตถาคโต นั้น นักศึกษาพึงทราบการใช้บทว่า ตถาคโต
ลงในความหมายว่า ผู้มีปกติเห็นอารมณ์ที่จริงแท้
ตถาคตผู้มีปกติตรัสวาทะที่จริงแท้
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมี
ปกติตรัสวาทะที่จริงแท้ อย่างไร ?
ตอบว่า การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์
(บัลลังก์ที่มารไม่สามารถทำให้พ่ายแพ้ได้, บัลลังก์ของผู้ชนะ) ภายใต้
ควงไม้โพธิ์ ทรงบั่นเศียรมารทั้ง ๓ แล้วตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตร-
สัมมาสัมโพธิญาณก็ดี การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ณ ระหว่างนางรังทั้งคู่ในตอนกลางคืนก็ดี
ตลอดระยะเวลา ๔๕ ปี ในระหว่างนี้ (ช่วงหลังตรัสรู้และก่อนปริ-
นิพพาน) คือในระยะเวลาครั้งปฐมโพธิกาลบ้าง ครั้งมัชฌิมโพธิกาล
บ้าง ครั้งปัจฉิมโพธิกาลบ้าง พระพุทธพจน์ใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ จะเป็นสุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละก็ตาม พระพุทธพจน์นั้น
ทั้งหมดอัน วิญญูชนกล่าวตำหนิไม่ได้ทั้งโดยอรรถ (ความหมาย, เนื้อหา
สาระ) ทั้งโดยพยัญชนะ (ตัวหนังสือ) ไม่ขาดไม่เกิน บริบูรณ์ด้วย
อาการทุกอย่าง ย่ำยีความเมาด้วยราคะ ย่ำยีความเมาด้วยโทสะและโมหะ
ความผิดพลาดในพระพุทธพจน์นั้นแม้เพียงปลายขนทรายก็ไม่มีดี ทั้ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 117
หมดนั้นเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ราวกับประทับตราด้วยพระราช-
ลัญจกรอันเดียวกัน ราวกับว่าดวงด้วยทะนานเดียวกัน และราวกับว่าชั่ง
ด้วยตาชั่งคันเดียวกันฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า การที่พระตถาคตตรัสรู้
พร้อมเฉพาะซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในตอนกลางคืนก็ดี การ
ที่พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในตอนกลางคืน
ก็ดี การที่พระตถาคตตรัสสนทนาชี้แจงรนระหว่างนี้ก็ดี ทั้งหมดนั้น
เป็นของจริงแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงได้รับขนานพระ-
นามว่า ตถาคต.
แท้จริง คต ศัพท์ ในคำว่า ตถาคโต นี้ มีความหมายเท่ากับ
คทะ (ตรัส, พูด).
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงมีปกติ
ตรัสวาทะที่จริงแท้ ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
อนึ่ง การกล่าว ชื่อว่า อาคทะ อธิบายว่า ได้แก่คำพูด. การ
ตรัสของพระตถาคตนั้นจริงแท้ คือไม่วิปริต เพราะเหตุนั้น จึงได้รับ
ขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะแปลง ท อักษรให้เป็น ต อักษร
และนักศึกษาพึงทราบบทสำเร็จรูปในความหมายนี้ดังพรรณนามาฉะนี้.
ตถาคต - ผู้มีปกติทำจริง
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรง
เป็นผู้มีปกติทำจริงอย่างไร ?
ตอบว่า ก็กายกรรมของพระผู้มีภาคเจ้าย่อมคล้อยตามวจีกรรม ทั้ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 118
วจีกรรมก็คล้อยตามกายกรรม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปกติ
ตรัสอย่างใด สิ่งทรงมีปกติทำอย่างนั้น และมีปกติทำอย่างใด ก็ทรงมีปกติ
ตรัสอย่างนั้น อธิบายว่า วจีกรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นผู้ทรงเป็น
อย่างนี้ เป็นฉันใด แม้กายกรรมก็เป็นไปฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรง
พระนามว่า ตถาคต.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตมีปกติพูดอย่างใด ก็มีปกติทำอย่างนั้น มีปกติทำอย่างใด ก็มี
ปกติพูดอย่างนั้น เพราะเหตุที่มีปกติพูดอย่างใด จึงมีปกติทำอย่างนั้น
มีปกติทำอย่างใด จึงมีปกติพูดอย่างนั้น ฉะนั้น จึงได้รับขนาดพระ
นามว่า ตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเป็นผู้มีปกติ
ทำจริงดังพรรณนามาฉะนี้.
ตถาคต - ผู้ครอบงำ
ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะหมาย
ความว่า ครอบงำอย่างไร ?
ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมครอบงำ (มีอำนาจเหนือ )
ในเบื้องในตั้งแต่ภวัคคพรหมลงมา ในเบื้องล่างตั้งแต่อเวจีมหานรกขึ้น
ไป ในด้านขวางย่อมครอบงำ (มีอำนาจเหนือ) สรรพสัตว์ในโลกธาตุ
อัน หาปริมาณมิได้ด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุติบ้าง วิมุตติ-
ญาณทัสสนะบ้าง การชั่งหรือการกำหนดวัด (พระคุณมีศีลเป็นต้น)
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไม่มี พระองค์มีพระคุณอันใคร ๆ ชั่งไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 119
กะประมาณไม่ได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นราชาของราชา เป็นเทวดาของ
เทวดา เป็นท้าวสักกะเหนือท้าวสักกะทั้งหลาย เป็นพรหมเหนือพรหม
ทั้งหลาย.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย ตถาคตเป็นผู้ครอบงำ (แต่) ไม่มีใครครอบงำได้ เป็นผู้เห็นอย่าง
ถ่องแท้ เป็นผู้แผ่อำนาจได้ในโลกกับทั้งเทวโลก ฯลฯ ในหมู่สัตว์
กับทั้งเทวดาและมนุษย์. เพราะเหตุนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า
ตถาคต. ในบทว่า ตถาคต นั้น พึงทราบบทสำเร็จรูปอย่างนี้.
สิ่งที่เป็นเหมือนโอสถ ชื่อว่า อคทะ. ก็โอสถนั้นคืออะไร ? คือ
การยักย้ายเทศนา (ตามอุปนิสัยของผู้ฟัง) และการเพิ่มพูนแห่งบุญ. ก็
เพราะโอสถนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นจึงเป็นหมอที่มีอานุภาพมาก ทรง
ครอบงำผู้ที่ยึดถือลัทธิอื่นทั้งหมดและโลกกับทั้งเทวโลก เหมือนกับปราบงู
(พิษ) ด้วยทิพโอสถฉะนั้น. โอสถในการครอบงำโลกทั้งหมด ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น อันสำเร็จมาจากการยักย้ายเทศนา และสำเร็จมา
จากบุญเป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต เพราะแปลง ท อักษร
เป็น ต อักษร ด้วยประการดังกล่าวมานี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนานว่า ตถาคต เพราะหมายความว่าครอบงำ ดังพรรณนามาฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 120
ตถาคต - ผู้ถึงด้วยความจริงแท้
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ
หมายความว่า ทรง (เข้า) ถึงด้วยความจริงแท้บ้าง ทรง ( เข้า)
ถึงความจริงแท้บ้าง. บทว่า คโต หมายความว่า หยั่งถึง พ้นแล้ว
บรรลุแล้ว ดำเนินไปถึงแล้ว. ในคำเหล่านั้นพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้:-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือหยั่งถึงแล้วซึ่งโลกทั้งหมด
ด้วยความจริงแท้ คือตีรณปริญญา เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า
ตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือพ้นแล้วซึ่งเหตุเกิดของโลกด้วย
ความจริงแท้ คือปหานปริญญา เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือบรรลุแล้วซึ่งความดับของ
โลกด้วยความจริงแท้ คือการกระทำให้แจ้ง เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระ
นามว่า ตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้ว คือ ดำเนินไปถึงแล้วซึ่งความจริง
แท้ คือข้อปฏิบัติอันเป็นเหตุให้ถึงความดับโลก เพราะเหตุนั้นจึงทรง
พระนามว่า ตถาคต.
เพราะเหตุนั้น คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย โลกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตหลุดพ้นไป
แล้วจากโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเกิดของโลกอันตถาคตตรัสรู้
พร้อมเฉพาะแล้ว ตลาดตละเหตุเกิดของโลกได้แล้ว ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ความดับโลกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตทำ
ให้แจ้งความดับโลกได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติซึ่งเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 121
เหตุให้ถึงความดับโบกอันตถาคตตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตถาคตเจริญ
ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นเหตุให้ถึงความดับโลกได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สิ่งใด (มีอยู่) แก่โลกกับทั้งเทวโลก สิ่งนั้นทั้งหมดอันตถาคตตรัสรู้
พร้อมเฉพาะแล้ว เพราะฉะนั้น จึงได้รับขนานพระนามว่า ตถาคต
ความหมายแห่งคำนั้นนักศึกษาพึงทราบแม้อย่างนี้.
และแม้ถ้อยคำดังว่ามานี้ ก็เป็นเพียงมุขกถาในการแสดงถึงภาวะ
ที่พระตถาคตเป็นผู้เข้าถึงความจริงแท้เท่านั้น. ก็พระตถาคตเท่านั้นพึง
พรรณนาภาวะที่พระตถาคตเป็นผู้เข้าถึงความจริงได้โดยอาการทุกอย่าง.
อธิบาย อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ส่วนใน ๒ บทว่า อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ พึงทราบอธิบายดังต่อ
ไปนี้:-
อันดับแรก พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทราบว่า เป็นพระอรหันต์
ด้วยเหตุเหล่านี้คือ
๑. เพราะทรงไกล (จากกิเลส )
๒. เพราะทรงกำจัด ข้าศึกทั้งหลาย
๓. เพราะทรงหักซี่กำ (แห่งสังสารจักร) ทั้งหลาย
๔. เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยเป็นต้น
๕. เพราะไม่มีความลับในการทำบาป
ส่วนที่ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบ
และด้วยพระองค์เอง ความย่อในที่นี้มีเท่านี้ . แต่บททั้ง ๒ (คือ อรห
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 122
สมฺนาสมฺพุทฺโธ) นี้ พระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิบายไว้แล้วโดยพิสดารใน
การพรรณนาพุทธานุสสติในวิสุทธิมรรค.
ปริญญาตวาระ
ก็ในบทว่า ปริญฺาตนฺต ตถาคตสฺส นี้ พึงทราบอธิบายว่า วัตถุ
(ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่ง) การสำคัญยึดถือนั้น พระตถาคตกำหนดรู้แล้ว ดังนี้
ก็ได้. วัตถุนั้นชื่อว่า ตถาคตกำหนดรู้แล้ว คือมีวาระอันพระองค์ทรงรู้
อย่างรอบตอบแล้ว มีที่สุดอันพระองค์ทรงรู้อย่างรอบคอบแล้ว อธิบายว่า
ทรงรอมรู้อย่างไม่มีอะไรเหลือ.
อันที่จริง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกับเหล่าพระสาวกไม่มีความแตกต่าง
กันในการละกิเลสด้วยมรรคนั้น ๆ ก็จริง ถึงกระนั้นก็ยังมีความแตกต่าง
กัน อยู่ในเรื่องปริญญา (ความรอบรู้) เพราะว่า เหล่าพระสาวกพิจารณา
ธาตุ ๔ เพียงบางส่วนเท่านั้นก็บรรลุนิพพานได้ แต่สำหรับพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย สังขารแม้มีประมาณน้อย ที่ยังมิได้เห็น ยังมิได้ไตร่ตรอง
ยังมิได้พิจารณา ยังมิได้ทำให้แจ้งด้วยพระญาณ ย่อมไม่มี.
ส่วนวาระว่าด้วยนิพพาน คือวาระมีอาทิว่า นันทิ (ความเพลิด-
เพลิน) เป็นมูลรากของทุกข์ นี้ใด ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว วาระนั้น
ควรขยายความให้พิสดารแม้ในวาระว่าด้วยปฐวีธาตุ เป็นต้น วาระนี้เป็น
วาระว่าด้วยสิ่งที่ทรงกำหนดรู้ และเมื่อจะขยายความให้พิสดารออกไป วาระ
ที่ว่า ปริญฺาตนฺต ตถาคตสฺส ควรประกอบเข้ากับบททุกบท (ทั้ง)
คำว่า นันทิ เป็นมูลรากของทุกข์ เป็นต้น ก็ควรประกอบเข้ามาอีก ส่วน
เทศนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย่อไว้ด้วยทรงสำคัญว่า วัตถุ (ซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 123
เป็นที่ตั้งแห่งการสำคัญยึดถือ) เป็นอันกล่าวไว้ในทุกบททีเดียว.
แก้บท นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูล
อนึ่ง ในบทว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูล เป็นต้น พึงทราบอธิบาย
ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นนฺทิ ได้แก่ตัณหาครั้งแรก. บทว่า ทุกฺข ได้แก่เบญจ-
ขันธ์ ทว่า มูล ได้แก่รากเหง้า. บทว่า อิติ วิทิตฺวา ความว่า
เพราะทราบนันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี ) ในภพครั้งแรกนั้นอย่าง
นี้ว่า เป็นมูลรากของทุกข์นี้. บทว่า ภวา ได้แก่เพราะกรรมภพ.
บทว่า ชาติ ได้แก่วิบากขันธ์ (ขันธ์ที่เป็นวิบาก คือ เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ). แท้จริง วิบากขันธ์เหล่านั้น เพราะเหตุที่เกิด ฉะนั้น
จึงตรัสเรียกว่า ชาติ. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาน พระผู้มีพระภาคเจ้า
แสดงไว้โดยยกถึงชาติ (การเกิดของวิบากขันธ์) เป็นหัวข้อ. แม้เมื่อ
เป็นอย่างนี้จึงควรประกอบเข้ากับคำนี้ว่า อิติ วิทิตฺวา. ก็ในคำนี้ มีอธิบาย
ดังนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า เพราะกรรมภพ (เจตนาที่ทำกรรม)
จึงมีอุปปัตติภพ. บทว่า ภูตสฺส แปลว่า ของสัตว์. บทว่า ชรามรณ
แปลว่า ชราและมรณะ. มีคำอธิบายอย่างนี้ว่า ก็เพราะทราบอย่างนี้ว่า
ชราและมรณะย่อมมีแก่ขันธ์ของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว เพราะอุปปัตติภพนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งโดยอปราชิตบัลลังก์ ณ โคนต้นโพธิ์
ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทใด จึงได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ เพราะทรง
แทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั้น เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งความไม่มีแห่ง
ความสำคัญยึดถือทั้งหลาย จึงทรงแสดงปฏิจจสมุปบาทนั้นแล ซึ่งมีสังเขป
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 124
(การย่นย่อ) ๔ สังเขป มีสนธิ ๓ สนธิ มีอัทธา (กาล) ๓ อัทธา
มีอาการ ๒๐.
อธิบายปฏิจจสมุปบาท
ถามว่า ก็ปฏิจจสมุปปบาททั้งหมดนั่น ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงแสดงแล้วด้วยคำเพียงเท่านี้อย่างไร ?
ตอบว่า ก็ในคำว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส มูล นี้ มีอธิบายว่า ศัพท์ว่า
นนฺทิ นี้เป็นสังเขปที่ ๑ ทุกข์เป็นสังเขปที่ ๒ เพราะพระบาลีว่า
ทุกฺขสฺส ภพเป็นสังเขปที่ ๓ เพราะพระบาลีว่า ภวา ชาติ ชาติ
ชราและมรณะเป็นสังเขปที่ ๔. พึงทราบสังเขป ๔ ด้วยคำเพียงเท่านี้ดัง
พรรณนามาฉะนี้. (บทว่า สังเขป) อธิบายว่า ได้แก่ส่วนทั้งหลาย.
ระหว่างตัณหากับทุกข์ เป็นสนธิที่ ๑ ระหว่างทุกข์กับภพเป็น
สนธิที่ ๒ ระหว่างภพกับชาติเป็นสนธิที่ ๓ พึงทราบสนธิ ๓ ระหว่าง
สังเขป ๔ ซึ่งเหมือนกับระหว่างนิ้วมือทั้ง ๔ ดังพรรณนามาฉะนี้.
ในปฏิจจสมุปบาทนั้น นันทิเป็นอตีตัทธา (กาลที่เป็นอดีต)
ชาติ ชรา และมรณะ เป็นอนาคตัทธา. (กาลที่เป็นอนาคต ) ทุกข์และ
ภพ เป็นปัจจุปันนัทธา (กาลที่เป็นปัจจุบัน ) พึงทราบอัทธา ๓ ดัง
พรรณนามาฉะนี้แล.
อนึ่ง ในอตีตัทธา ในบรรดาอาการ ๕ ด้วยคำว่า นันทิ ตัณหา
จึงมาแล้วหนึ่ง แม้ตัณหานั้น จะยังไม่มา ( อาการ ๔ คือ) อวิชชา
สังขาร อุปาทาน และภพก็เป็นอันจัดเข้าแล้วทีเดียว ด้วยลักษณะที่เป็น
ปัจจัย. อนึ่ง ด้วยคำว่า ชาติ ชรา และมรณะ เพราะเหตุที่อธิบายไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 125
ขันธ์เหล่าใดมีชาติ ชราและมรณะนั้น ขันธ์เหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสไว้แล้วทีเดียวในอนาคตัทธา จึงเป็นอันรวมเอาวิญญาณ นามรูป
สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนาเข้าไว้ด้วยเช่นกัน.
ในกรรมภพซึ่งเป็นภพแรกมีธรรม ๕ ประการนี้คือ โมหะ ได้แก่
อวิชชา การประมวลมา ได้แก่สังขาร ความใคร่ ได้แก่ตัณหา
การเข้าไปยึดถือ ได้แก่อุปาทาน เจตนา ได้แก่ภพ เป็นปัจจัยของ
ปฏิสนธิในปัจจุปันนัทธา ในเพราะกรรมภพซึ่งเป็นภพแรก.
ในปัจจุปันนัทธามีธรรม ๕ ประการนี้คือ ปฏิสนธิ คือวิญญาณ
สิ่งที่ก้าวลงคือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ. อาการที่ถูกต้องคือผัสสะ
อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้ก่อน ใน
เพราะอุปปัตติภพในปัจจุปันนัทธา.
แต่เพราะในปัจจุปันนัทธา อายตนะทั้งหลายเจริญได้ที่แล้วจึงมี
ธรรม ๕ ประการเหล่านี้คือ โมหะคืออวิชชา การประมวลมาคือสังขาร
ความใคร่คือตัณหา การเข้าไปยึดถือคืออุปาทาน เจตนาคือกรรมภพ
เป็นปัจจัยของปฏิสนธิในอนาคตัทธา ในเพราะกรรมภพในปัจจุปันนัทธา.
ในอนาคตัทธามีธรรม ๕ ประการนี้คือ ปฏิสนธิคือวิญญาณ สิ่งที่
ก้าวลง (เกิดขึ้น) คือนามรูป ปสาทรูปคืออายตนะ อาการที่ถูกต้อง
คือผัสสะ อาการที่เสวยอารมณ์คือเวทนา เป็นปัจจัยของกรรมที่ทำไว้
แล้วในปัจจุปันนัทธา ในเพราะอุปปัตติภพในอนาคตัทธา.
พึงทราบอาการ ๒๐ เหล่านี้ ในปฏิจจสมุปบาทนี้ ซึ่งมีลักษณะ
ดังแสดงไว้แล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 126
ปฏิจจสมุปบาทซึ่งมีสังเขป ๔ มีสนธิ ๓ มีอัทธา ๓ (และ) มี
อาการ ๒๐ แม้ทั้งหมดพึงทราบว่า ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงแล้วด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้ว่า เพราะทราบอย่างนี้ว่า นันทิ
(ความเพลิดเพลิน. ยินดี) เป็นรากเหง้าของทุกข์ จึงทราบต่อไปว่า
เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วย่อมมีชราและมรณะ ด้วยประการ
ดังพรรณนามาฉะนี้.
แก้บท ขยา วิราคา ปฏินสฺสคฺคา
บัดนี้ ข้าพเจ้าจักกระทำการพรรณนาไปตามลำดับบท ในบทนี้ว่า
ตสฺมา ติห ภิกฺขเว ฯเปฯ อภิสมฺพุทฺโธติ วทามิ แล้วสรุปข้อความ
ด้วยบทโยชนา.
บทว่า ตสฺมา ติห มีอธิบายว่า ได้แก่ ตสฺมา (เพราะเหตุนั้น )
นั่นเอง. (เพราะว่า) ติ อักษร และ ห อักษร เป็นนิบาต. คำว่า
สพฺพโส นั่น เป็นคำกล่าวไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า ตณฺหาน ได้แก่ตัณหา
ทั้งหมดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า นันทิ. บทว่า ขยา
แปลว่า เพราะความสิ้นไปโดยเด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค. คำว่า วิราคะ.
(สำรอก) เป็นต้น เป็นไวพจน์ของคำว่า ขยะ (ความสิ้นไป).
อธิบายว่า ตัณหาเหล่าใดในรูปแล้ว ตัณหาเหล่านั้นย่อมเป็นอันสำรอก
แล้วบ้าง ดับแล้วบ้าง สละทิ้งแล้วบ้าง สลัดคืนบ้าง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า
ขยา นั้น เป็นคำใช้ทวีไปแก่กิจของมรรคทั้ง ๔. เพราะเหตุนั้น จึงควร
อธิบายประกอบความว่า เพราะสำรอกได้ด้วยมรรคที่ ๑ (โสดาปัตติมรรค)
มรรคที่ ๒ (สกทาคามิมรรค) เพราะสละทิ้งได้ด้วยมรรคที่ ๓ (อนา-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 127
คามิมรรค ) เพราะสละคืน (เด็ดขาด ) ด้วยมรรคที่ ๔ (อรหัตตมรรค).
อีกอย่างหนึ่ง พึงทำอธิบายประกอบความในพระดำรัสตอนนี้ (อีก)
อย่างนี้ว่า ปุถุชนพึงหมายรู้ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น ปุถุชนพึงสำคัญซึ่งปฐวีธาตุด้วยตัณหา
เหล่าใด เพราะสำรอกเสียได้ซึ่งตัณหาเหล่านั้น ปุถุชนพึงสำคัญในปฐวี
ธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะดับตัณหาเหล่านั้นเสียได้ ปุถุชนพึงสำคัญ
จากปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสละทิ้งซึ่งตัณหาเหล่านั้นเสียได้
ปุถุชนพึงสำคัญว่า ปฐวีธาตุของเราด้วยตัณหาเหล่าใด เพราะสละคืนตัณหา
เหล่านั้นเสียได้ อีกอย่างหนึ่ง ปุถุชนพึงสำคัญปฐวีธาตุด้วยตัณหาเหล่าใด
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น ฯ ลฯ ปุถุชนพึงยินดีปฐวีธาตุด้วย
ตัณหาเหล่าใด เพราะสละคืนตัณหาเหล่านั้นเสียได้. (ความทั้งสองนี้ )
ไม่มีอะไรที่ขัดแย้งกัน.
บทว่า อนุตฺตร คือเว้นจากบุคคลผู้ยิ่งกว่า ได้แก่ประเสริฐกว่า
คนอื่นทั้งหมด.
ความหมายของคำว่า "โพธิ"
บทว่า สมฺมาสมฺโพธึ แปลว่า การตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระ
องค์เอง อีกอย่างหนึ่ง (หมายความว่า) การตรัสรู้ที่บัณฑิตสรรเสริญ
และดี. บทว่า โพธิ หมายถึง ต้นไม้บ้าง มรรคบ้าง สัพพัญญุตญาณ
บ้าง นิพพานบ้าง. อธิบายว่า ต้นไม้ เรียกว่า โพธิ (เช่น) ในอาคต-
สถานที่ว่า โพธิรุกฺขมูเล ปมาภิสมฺพุทฺโธ (แปลว่า แรกตรัสรู้
ณ โคนต้นโพธิ์ ) และว่า อนฺตรา จ โพธึ อนฺตรา จ คย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 128
(แปลว่า ระหว่างต้นโพธิ์กับตำบลคยา). มรรคเรียกว่า โพธิ (เช่น)
ในอาคตสถานที่ว่า จตุมคฺเคสุ าณ (แปลว่า ญาณในมรรค ๔)
สัพพัญญุตญาณเรียกว่า โพธิ (เช่น) โนอาคตสถานที่ว่า ปปฺโปติ
โพธิ วรภูมิ เมธโส (แปลว่า พระผู้มีปัญญาอันประเสริฐจอมปราชญ์
ทรงบรรลุพระโพธิญาณ). นิพพานเรียกว่า โพธิ (เช่น) ในอาคต-
สถานที่ว่า ปตฺวาน โพธึ อมต อสงฺขต (แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบรรลุโพธิอันเป็นอมตะไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง). แต่ในที่นี้ ประสงค์
เอาอรหัตมรรคญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าว
ว่า ประสงค์เอาสัพพัญญุตญาณ ดังนี้บ้าง.
ถามว่า อรหัตตมรรคของพระสาวกทั้งหลายจัดเป็นโพธิญาณอันยอด
เยี่ยมหรือไม่ ?
ตอบว่า ไม่จัด.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะให้คุณไม่ได้ทุกอย่าง.
เป็นความจริง บรรดาพระสาวกเหล่านั้น อรหัตตมรรคของบางท่านให้ได้
เฉพาะอรหัตตผลเท่านั้น. ของบางท่านให้วิชชา ๓ ของบางท่านให้
อภิญญา ๖ ของบางท่านให้ปฏิสัมภิทา ๔ ของบางท่านให้สาวกบารมีญาณ.
แม้ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ให้เฉพาะปัจเจกโพธิญาณเท่านั้น ส่วน
อรหัตตมรรคของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมให้คุณสมบัติทุกอย่าง เปรียบ
เหมือนการอภิเษก (ในราชสมบัติ) ของพระราชาย่อมให้ความเป็นใหญ่
ในโลกทั้งหมด เพราะฉะนั้น โพธิญาณของใคร ๆ อื่นจึงไม่จัดว่ายอด
เยี่ยม.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 129
บทว่า อภิสมสฺพุทฺโธ หมายความว่า รู้ยิ่งแล้ว คือ แทงตลอด
แล้ว อธิบายว่า ถึงแล้ว คือบรรลุแล้ว. บทว่า อิติ วทามิ ความว่า
เราตถาคตย่อมกล่าว คือบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
กระทำให้ง่าย ด้วยประการฉะนี้. ในคำนั้นมีอธิบายขยายความดังนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ตถาคต ฯลฯ ย่อมไม่สำคัญปฐวีธาตุ ฯลฯ
ย่อมไม่ยินดีปฐวีธาตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะทราบอย่างนี้ว่า
นันทิ (ความเพลิดเพลิน, ยินดี) เป็นรากเหง้าของทุกข์ เพราะภพ
จึงมีชาติ สัตว์ที่เกิดมาแล้วมีชราและมรณะ.
อิติ อักษร ในบทว่า อิติ วิทิตฺวา (ที่มา) ในคำว่า นนฺทิ ทุกฺขสฺส
มูล ฯเปฯ ชรา มรณนฺติ อิติ วิทิตฺวา นั้น มีความว่า การณะ
(เป็นเหตุ) เพราะเหตุนั้น จึงมีอธิบายว่า เพราะรู้แจ้ง คือเพราะแทง
ตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนี้.
พึงทราบเพิ่มเติมขึ้นอีกนิดหน่อย. เพราะเหตุที่พระตถาคตทรงรู้
แจ้งปฏิจจสมุปบาทนี้อย่างนี้ จึงทรงละตัณหาที่ตรัสไว้ว่า นันทิ นั้นได้
แม้ทุกประการ และเพราะตัณหาเหล่านั้นสิ้นไปทั้งหมด พระตถาคตจึง
ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น
ตถาคตจึงกล่าวว่า พระตถาคตย่อมไม่สำคัญปฐวีธาตุ ฯลฯ ไม่ยินดี
ปฐวีธาตุ อธิบายว่า เพราะตรัสรู้พร้อมเฉพาะอย่างนี้ ตถาคตจึงกล่าวว่า
พระตถาคตไม่สำคัญ ไม่ยินดี (ซึ่งปฐวีธาตุ).
อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่พระตถาคตทรงรู้แจ้งปฏิจจสมุปบาทโดย
นัยมีอาทิว่า นันทิเป็นรากเหง้าของทุกข์ จึงทรงถึงความสิ้นไปแห่งตัณหา
โดยประการทั้งปวง ฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจึงกล่าวว่า พระ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 130
ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ฯลฯ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาโดย
ประการทั้งปวง เพราะได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะอย่างนี้ พระตถาคตจึงไม่
สำคัญปฐวีธาตุ ฯลฯ ไม่ยินดี. ก็ในที่ใด ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่
ได้ตรัส ยสฺมา (เพราะเหตุใด) ไว้ ตรัสไว้แต่ ตสฺมา (เพราะเหตุ
นั้น) ในที่นั้น ๆ ต้องนำ ยสฺมา มาประกอบเข้าด้วย. วิธีนี้เป็นวิธีที่ยุติ
กันแล้วในทางศาสนา. ในทุกบทก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้.
เหตุที่พระไม่ชื่นชมภาษิตของพระพุทธเจ้า
บทว่า อิทมโวจ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ
ทรงแสดงพระสัพพัญญุตญาณอันลึกซึ้งอย่างยิ่ง มีการหยั่งถึง ไม่พึง
ได้ด้วยปัญญาของคนเหล่าอื่น (ปัญญาคนอื่นหยั่งรู้ไม่ถึง) จึงทรง
ประดับด้วยวาระของปุถุชน ๑ วาระ ด้วยวาระของเสขบุคคล ๑ วาระ
ด้วยวาระของพระขีณาสพ ๔ วาระ (และ) ด้วยวาระของพระตถาคต
๒ วาระ รวมเป็นประดับด้วยวาระใหญ่ (สำคัญ) ๘ วาระ และ
ในวาระ (ใหญ่) แต่ละวาระทรงประดับด้วยวาระในระหว่าง (วาระ
ย่อย) ๒๔ วาระ มีวาระว่าด้วยปฐวีธาตุเป็นต้น แล้วในตรัสพระสูตร
ทั้งหมด ซึ่งเริ่มต้นแต่ตอนจบคำเริ่มต้นจนกระทั้งถึงคำว่า ยาว อภิสมฺ-
พุทฺโธ วทามิ ด้วยปริยัติจำนวน ๒ ภาณวาร.
ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้จะตรัสพระสูตรนี้อันประกอบด้วยนัย
อันวิจิต และความวิลาสแห่งเทศนาด้วยพระสุรเสียงดุจเสียงพรม ซึ่ง
ไพเราะดุจเสียงของนกการเวก (และ) เป็นเช่นกับได้ทรงราดรดหทัย
ของชนด้วยน้ำอมฤต เพราะระรื่นหูอยู่อย่างนี้ (ภิกษุเหล่านั้นก็ยังมิได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 131
ชื่นชมพระภาษิต).
บทว่า น เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิต อภินนฺทุ ความว่า ภิกษุ
๕๐๐ รูปเหล่านั้นมิได้อนุโมทนาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เลย.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะไม่เข้าใจ. ว่ากันว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจเนื้อหา
ของสูตรนี้ ฉะนั้นจึงไม่ชื่นชม. จริงอยู่ ในสมัยนั้นพระสูตรนั่นแม้จะ
ประกอบด้วยนัยอันวิจิตร และความวิลาสแห่งเทศนาอย่างนี้ สำหรับ
ภิกษุเหล่านั้นได้เป็นเหมือนคนที่เขาเอาผืนผ้าหนา ๆ ผูกปากไว้แล้วเอาของ
กินที่ถูกใจมาวางตรงหน้า (ไม่สามารถจะกินได้) ฉะนั้น.
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีมาถึง ๔ อสง-
ไขย แล้วได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณก็เพื่อสอนคนอื่นให้เข้าใจธรรมที่
พระองค์ทรงแสดงมิใช่หรือ ไฉนพระองค์จึงทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่า
นั้น โดยที่ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจ ( เนื้อหา) เล่า?
ตอบว่า คำตอบนี้ ท่านกล่าวไว้แล้วในการวิจารณ์บทตั้งของสูตร
นี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มเทศนาไว้อย่างนี้ว่า สพฺพธมฺมมูล-
ปริยาย ก็เพื่อหักรานมานะ (ของภิกษุเหล่านั้น) ฉะนั้น ในที่นี้ จึงไม่มี
อะไรที่ต้องกล่าวซ้ำอีก.
ก็แล ครั้นได้ฟังสูตรนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เพื่อหักราน
มานะอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงคิดกันว่า ได้ยินว่า ปุถุชนมี (มิจฉา -
ทิฏฐิ) ทิฏฐิเป็นแนวดำเนิน ย่อมหมายรู้ปฐวีนั้นนั่นแล ฝ่ายพระเสขะ
พระอรหันต์ และพระตถาคตย่อมทราบอย่างแน่ชัดว่า สิ่งนี้คืออะไร สิ่ง
นี้เป็นอย่างไร ดังนี้ เป็นผู้หมดมานะ เหมือนอสรพิษที่ถูกถอนเขี้ยวแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 132
ฉะนั้น ด้วยระลึกได้ว่า เมื่อก่อนพวกเราย่อมรู้ทั่วถึงพระดำรัสอย่างใด
อย่างหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างเร็วพลันทีเดียว แต่มาบัดนี้
กลับไม่รู้ไม่เห็นที่สุดหรือเงื่อนแห่งมูลปริยายสุตรนี้เลย น่าอัศจรรย์จริง
พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง (มีพระปัญญา) ที่ใคร ๆ ประมาณไม่ได้
ทรง (มีพระปัญญาที่ใคร ๆ ชั่งไม่ได้) ดังนี้แล้วได้พากันไปสู่ที่บำรุง
พระพุทธเจ้า และไปฟังธรรมโดยเคารพ.
ภิกษุ ๕๐๐ รูปได้บรรลุอรหัตตผล
ก็แลสมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในธรรมสภาสนทนากันถึง
เรื่องนี้ว่า น่าอัศจรรย์จริง อานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พราหมณ์
บรรพชิตเหล่านั้นมัวเมาแล้วด้วยความเมาในมานะ ยังถูกทำให้หมดมานะ
ได้ด้วยมูลปริยายเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า. แต่บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้น
ยังพูดคุยกันค้างอยู่. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระ
คันธกุฎีไปประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ในธรรมสภา ด้วยปาฏิ-
หาริย์ที่เหมาะสมกับขณะนั้น แล้วได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ. ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลบอกเนื้อ
ความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราตถาคต
ก็ได้ทำภิกษุเหล่านี้ซึ่งเที่ยวลำพองอยู่ด้วยมานะให้หมดมานะแล้ว
เหมือนกัน. จากนั้น เพราะเกิดเรื่องนี้เป็นเหตุ พระผู้มีพระภาณจ้า
จึงทรงนำอดีตนิพานนี้มาเล่าว่า:-
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์ทิศาปาโมกข์คนหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 133
อาศัยอยู่ในเมืองพาราณสี เรียนจบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ และ
เกฏุภศาสตร์ และประเภทอักษรสมัยมีคัมภีร์อิติหาสะเป็นที่ ๕ เป็นผู้ชำนาญ
ในคัมภีร์ไวยากรณ์ และมหาปุริสลักษณะ ในคัมภีร์โลกายัติ. พราหมณ์
นั้นได้สอนมนต์ให้มาณพ ๕๐๐ คน. พวกมาณพที่เป็นคนฉลาดย่อมเรียน
ได้มาก จำได้เร็ว และแม่ยำ มนต์ที่มาณพเหล่านั้นเรียนแล้วไม่เลอะ
เลือนเลย. แม้พราหมณ์นั้นก็มิได้หวงแหนวิชาเป็นเหมือนเทน้ำลงไปใน
หม้อให้นาณพเหล่านั้นเรียนศิลปะจนหมดแล้ว ได้กล่าวกะมาณพเหล่านั้น
ดังนี้ว่า ศิลปะนี้เพียงเท่านี้ ก็เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและภายภาคหน้า.
มาณพเหล่านั้นก็เกิดมานะขึ้นมาว่า อาจารย์ของพวกเราย่อมรู้สิ่งใด แม้
พวกเราก็รู้สิ่งนั้น บัดนี้แม้พวกเราก็เป็นอาจารย์ได้แล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็
ขาดความเคารพทอดทิ้งวัตรในอาจารย์อยู่. อาจารย์ทราบแล้วคิดว่า เรา
จักทำการข่มมานะของมาณพเหล่านั้น. วันหนึ่ง ท่านอาจารย์ได้กล่าวกะ
มาณพเหล่านั้นผู้มายังสถานที่บำรุงไหว้แล้วนั่งอยู่ว่า พ่อคุณทั้งหลายเอ๋ย
อาจารย์จักถามปัญหากะพวกพ่อ (สักข้อหนึ่ง) พวกพ่อจะสามารถกล่าว
แก้ได้ไหม ? มาณพเหล่านั้นก็พากันรีบเรียนอย่างคนทีเมาการศึกษาว่า
ถามเลย ท่านอาจารย์ ถามเลย ท่านอาจารย์. อาจารย์จึงกล่าวว่า
กาลย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง แต่ว่าสัตว์ใด
เล่า ที่กินกาล ได้เผาไหม้ตัณหาที่เผาไหม้สัตว์ไป
ด้วยได้ ?
แล้วกล่าวต่อไปว่า พ่อคุณทั้งหลาย พวกพ่อจงแก้ปัญหานี้ซิ.
มาณพเหล่านั้นคิดแล้วแต่ไม่รู้ (คำตออบ) จึงได้พากันนิ่งเงียบ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 134
อาจารย์จึงกล่าวว่า เอาละพ่อทั้งหลาย วันนี้กลับไปก่อน พรุ่งนี้ค่อย
(มา) กล่าวแก้ ดังนี้แล้วส่งมาณพเหล่านั้นกลับไป. มาณพเหล่านั้น
(จากอาจารย์มาแล้ว) จับกลุ่มกัน ๑๐ คนบ้าง ๒๐ คนบ้าง (พิจารณา
ปัญหา) ก็ยังมองไม่เห็นเบื้องต้น ไม่เห็นเบื้องปลายแห่งปัญหานั้น. พวก
เขาจึงได้พากันมาบอกอาจารย์ว่า พวกผมไม่เข้าใจความหมายของปัญหา
นี้เลย. เพื่อต้องการข่มมาณพเหล่านั้น อาจารย์จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
ศีรษะของคนจำนวนมากมีผมดกและใหญ่อยู่บนคอ
ในเขาเหล่านี้ใครเล่าเป็นผู้มีหู.
คาถา (นี้ ) มีอธิบายว่า ศีรษะของคนจำนวนมากปรากฏอยู่ และ
ศีรษะเหล่านั้นทั้งหมดก็มีผม ทั้งหมดเป็นศีรษะใหญ่ตั้งอยู่บนคอ แต่ว่า
มือเอื้อมไม่ถึง เช่นเดียวกับผลตาล (ที่มือเอื้อมไม่ถึง) ฉะนั้น ศีรษะ
เหล่านั้นกับศีรษะเหล่านี้ ไม่มีความแตกต่างกัน. แต่ในที่นี้ อาจารย์กล่าว
ว่า โกจิเทว กณฺณวา ดังนี้ หมายเอาตนเอง. บทว่า กณฺณวา แปลว่า
ผู้มีปัญญา. ก็ใครกันเล่าที่ไม่มีรูหู?
มาณพเหล่านั้นได้ฟังคาถานั้นแล้ว เป็นผู้เก้อเขิน คอตก (นั่ง )
ก้มหน้านิ่งเอานิ้วมือขีดดิน. ลำดับนั้น อาจารย์เห็นว่ามาณพเหล่านั้นมีความ
ละอายใจ แล้วจึงกล่าวว่า พ่อคุณทั้งหลาย พวกพ่อจงเรียนเอาปัญหาเถิด
ดังนี้แล้ว ได้แก่ปัญหา (ให้มาณพเหล่านั้นฟัง).
บทว่า กาล ได้แก่กาลมีอาทิอย่างนี้คือ เวลาก่อนอาหารบ้าง
เวลาหลังอาหารบ้าง. คำว่า ภูตานิ นั่น เป็นชื่อเรียกสัตว์. กาลหาได้
เคี้ยวกินเนื้อและหนังเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลายไม่. ที่แท้แลกลับทำให้อายุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 135
วรรณะ และพละของสัตว์เหล่านั้นสิ้นไป ย่ำยีความเป็นหนุ่มความเป็น
สาว ทำความเป็นผู้ไม่มีโรคให้พินาศไป จึงเรียกว่า กิน คือเคี้ยวกิน.
บทว่า สพฺพาเนว สหตฺตนา ความว่า และกาลเมื่อกินอยู่อย่าง
นั้น ย่อมไม่เว้นอะไร ๆ ย่อมกินทั้งหมดทีเดียว และใช่ว่าจะกินแต่สัตว์
ทั้งหลายเหล่านั้น ที่แท้แลยังกินตัวมันเองไปพร้อมกับตัวมันเอง ( อีก)
ด้วย (คือ) เวลาก่อนอาหาร ( ผ่านไป) จะมาเป็นเวลาหลังอาหาร
(อีก) ไม่ได้. ในเวลาหลังอาหารเป็นต้นก็มีนัยแบบนี้.
บทว่า โย จ กาลฆโส ภูโต นั่น เป็นชื่อเรียกพระขีณาสพ.
ก็พระขีณาสพนั้นเรียกว่า ผู้กินกาล เพราะท่านกินปฏิสนธิกาลในภพต่อ
ไปจนหมดสิ้นแล้วดำรงอยู่.
บทว่า สภูตปจนึ ปจิ ความว่า ตัณหานี้ใดย่อมเผาสัตว์ทั้งหลาย
ในอบายทั้งหลาย พระขีณาสพนั้นเผาตัณหานั้นด้วยไฟคือญาณ ได้แก่ทำ
ให้เป็นเถ้าถ่านไปแล้ว. เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่า ภูตปจนึ ปจิ (แปลว่า
เผาตัณหาที่เผาสัตว์). (ในคำว่า ปจนึ) บาลีเป็น ปชฺชนึ ก็มี. หมาย
ความว่า ให้เกิด คือให้บังเกิด.
ลำดับนั้น มาณพเหล่านั้น. เห็นเนื้อความของปัญหาปรากฏชัดความ
คำแก้ของอาจารย์เหมือนคนเห็นทีเรียบและที่ขรุขระในตอนกลางคืนด้วย
แสงสว่างของประทีปพันดวง จึงคิดว่า บัดนี้พวกเราจักอยู่ร่วมกับอาจารย์
จนตลอดชีวิต ขึ้นชื่อว่า อาจารย์แล้ว เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ก็พวกเราเกิด
ความถือตัวว่า ได้ศึกษามามากจึงไม่รู้ความหมายของคาถาแม้เพียง ๔ บาท
ขจัดมานะได้แล้ว (หันกลับ) มาทำวัตรปฏิบัติแก่อาจารย์เหมือนเมื่อ
ก่อนแล้ว ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 136
ในสมัยนั้นเราตถาคตได้เป็นอาจารย์ ภิกษุเหล่านี้ได้เป็นมาณพ แม้ในกาล
ก่อน ตถาคตก็ได้ทำภิกษุเหล่านี้ซึ่งมีมานะจัดท่องเที่ยวไปอยู่อย่างนี้ให้
หมดมานะ ด้วยประการฉะนี้.
ภิกษุเหล่านั้นได้ฟังชาดกนี้แล้วคิดได้ว่า แม้เมื่อก่อนพวกเราก็ถูก
มานะครอบงำแล้ว จึงขจัดมานะออกให้ยิ่งขึ้นไปอีกได้ เป็นผู้มุ่งหน้า
(ปฏิบัติ ) กรรมฐานที่เป็นอุปการะแก่ตน. ต่อมาคราวหนึ่ง พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปในชนบทถึงเมืองไพศาลี แล้วประทับ อยู่ที
โคตมกเจดีย์ ทรงทราบว่าภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นมีญาณแก่กล้าแล้ว จึง
ตรัสโคตมกสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อ
ความรู้ยิ่ง ไม่ใช่แสดงเพื่อความไม่รู้ยิ่ง เราตถาคตแสดงธรรมมีเหตุ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่แสดงธรรม
ไม่มีปาฏิหาริย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตนั้นแสดงธรรมเพื่อความรู้
ยิ่ง ฯลฯ ไห่ใช่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ โอวาทจึงเป็นสิ่งที่ควรทำตาม
อนุสาสนีเป็นสิ่งที่ควรทำตาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลเธอทั้งหลาย อย่า
เพิ่งยินดี อย่าเพิ่งเอิบอิ่มใจ อย่าเพิ่งโสมนัสใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสรู้อย่างถูกต้องด้วยพระองค์เอง พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้ดีแล้ว พระสงฆ์ (สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า) ปฏิบัติดีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไวยากรณ์นี้อยู่ หมื่นโลกธาตุก็ได้หวั่นไหวแล้ว.
ก็ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นได้สดับพระสูตรนี้แล้ว ได้บรรลุเป็น
พระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายในเวลาจบ (พระสูตร) นั้นเอง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 137
เทศนานี้ได้จบลงในที่นั้นด้วยอาการอย่างนี้แล.
จบอรรถกถามูลปริยายสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจ-
สูทนี.
จบสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 138
๒. สัพพาสวสังวรสูตร ๑
[ ๑๐ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายะ ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริยายว่าด้วย
การสังวรอาสวะทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงพึง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
กล่าวความสิ้นอาสวะไว้ สำหรับภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้น
อาสวะไว้สำหรับภิกษุผู้ไม่รู้ไม่เห็น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะ
จะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอะไร ? ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้เห็น
โยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุ
มนสิการโดยไม่แยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิด
ขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อม
ละเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (๑) อาสนะที่จะพึงละได้เพราะการ
เห็นก็มี (๒) ที่จะพึงได้เพราะการสังวรก็มี ( ๓ ) ที่จะพึงละได้
เพราะเสพเฉพาะก็มี (๔) ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี
๑. ในอรรถกถา เรียกสัพพาสวสูตร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 139
(๕) ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มี (๖) ที่จะพึงละได้เพราะบรร-
เทาก็มี (๗) ที่จะพึงละได้เพราะอบรมก็มี.
(๑) อาสวะที่ละได้เพราะการเห็น
[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้
เพราะการเห็น? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้
เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำ
ในธรรมของพระอริยะ. ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่รู้ธรรมอันตนควรมนสิการ.
เมื่อเขาไม่รู้ธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมมนสิการ
ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนมนสิการอยู่
เป็นไฉน ? เมื่อปุถุชนมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี
อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ธรรม
เหล่านี้ไม่ควรมนสิการ ซึ่งเขามนสิการอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรมนสิการ ที่ปุถุชนไม่มนสิการอยู่
เป็นไฉน. เมื่อปุถุชนมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี
อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไป
ธรรมเหล่านี้ ควรมนสิการ ซึ่งเขาไม่มนสิการอยู่ อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด
ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญแก่ปุถุชนนั้น เพราะมนสิการธรรม
ที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 140
ปุถุชนนั้นมนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า เราได้มีแล้วในอดีต-
กาลอันยืดยาวนาน หรือหนอ หรือเราไม่ได้มีแล้วในอดีตกาลอันยืดยาว
นาน ในอดีตกาลอันยืดยาวนาน เราได้เป็นอะไรหนอ ในอดีตกาลอัน
ยืดยาวนาน เราได้เป็นอย่างไรหนอ ในอดีตกาลอันยืดยาวนาน เราได้
เป็นอะไรแล้วจึงเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลอันยืดยาวนาน เราจักเป็น
หรือหนอ ในอนาคตกาลอันยืดยาวหาน เราจักไม่เป็น ในอนาคตกาล
อันยืดยาวนาน เราจักเป็นอะไรหนอ ในอนาคตกาลอันยืดยาวนาน เรา
จักเป็นอย่างไรหนอ ในอนาคตกาลอันยืดยาวนาน เราจักเป็นอะไรแล้ว
จึงจักเป็นอะไรหนอ หรือว่า ปรารภกาลปัจจุบันอันยืดยาวนาน ในบัดนี้
มีความสงสัยขึ้นภายในว่า เรามีอยู่หรือ หรือเราไม่มี เราเป็นอะไรหนอ
เราเป็นอย่างไรหนอ สัตว์นี้มาแต่ไหนหนอ และจักไปไหน?
เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ บรรดาทิฏฐิ ๖ ทิฏฐิ
อย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น. ทิฏฐิโดยจริงโดยแท้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชน
นั้นว่า อัตตาของเรามีอยู่ หรือว่า อัตตาของเราไม่มีอยู่ หรือว่า เราย่อม
รู้อัตตาด้วยตนเอง หรือว่า เราย่อมรู้สภาพมิใช่อัตตาด้วยตนเอง หรือว่า
เราย่อมรู้อัตตาด้วยสภาพมิใช่ตน. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิย่อมเกิดมีแก่ปุถุชน
นั้นอย่างนี้ว่า อัตตาของเรานี้ได้เป็นผู้ (บงการ ) เสวย ย่อมเสวยวิบาก
ของกรรมทั้งดีทั้งชั่วในอารมณ์นั้น ๆ ก็อัตตาของเรานี้เป็นของเที่ยง ยั่งยืน
ติดต่อ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่อย่างนั้นเสมอด้วยสิ่งยั่งยืนแท้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เรากล่าวว่า ทิฏฐิ ชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ
เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ สิ่งที่ประกอบสัตว์ไว้คือ
ทิฏฐิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ผู้ประกอบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 141
ด้วยทิฏฐิสังโยชน์ ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัส และอุปายาส ย่อมไม่พ้นจากทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับ ผู้เห็นพระอริยเจ้าทั้ง
หลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับแนะนำด้วยดีในธรรมของ
พระอริยเจ้า ผู้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำ
ด้วยดีในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมรู้ธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิ-
การ. เมื่ออริยสาวกนั้นรู้ธรรมที่ควรมนสิการ และไม่ควรมนสิการ ย่อม
ไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และมนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ไม่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวก
ไม่มนสิการ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (คือ ) เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรม
เหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ย่อม
เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ธรรมเหล่านั้นที่ไม่ควรมนสิการ ซึ่ง
อริยสาวกไม่มนสิการ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรมนสิการเหล่าไหน ที่อริยสาวก
มนสิการอยู่ ? คือ เมื่ออริยสาวกมนสิการธรรมเหล่าใดอยู่ กามาสวะก็ดี
ภวาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมเสื่อมสิ้นไป ธรรมเหล่านี้ที่ควรมนสิการ ซึ่งอริยสาวกมนสิการอยู่.
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด จะไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว จะเสื่อมสิ้น
ไป เพราะอริยสาวกนั้น ไม่มนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ และเพราะ
มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.
อริยสาวกนั้น ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์
นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถือความคับทุกข์ เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 142
อยู่โดยแยบคายอย่างนี้ สังโยชน์ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
ปรามาสย่อมเป็นอันเธอละได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรา
ตถาคตกล่าวว่าจะพึงละได้ เพราะการเห็น.
(๒) อาสวะที่ละได้ เพราะการสังวร
[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะ
การสังวร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือภิกษุในพระธรรนวินัยนี้ พิจารณา
โดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยควานสำรวมในจักขุนทรีย์อยู่. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอัน กระทำความคับแค้นเหล่าใด
พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ อาสวะและความเร่าร้อน
อันกระทำความคับแค้น เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้สำรวมจัก ขุนทรีย์
อยู่อย่างนี้.
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมใน
โสตินทรีย์อยู่ . . .
ภิกษุพิจารณาโดแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมใน
ฆานินทรีย์อยู่ . . .
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมใน
ชิวหินทรีย์อยู่ . . .
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมใน
กายินทรีย์อยู่ . . .
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมใน
มนินทรีย์อยู่. . .
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 143
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับ
แค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมในมนินทรีย์อยู่ อาสวะและ
ความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สำรวม
ในมนินทรีย์อยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เราตถาคต
กล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการสังวร.
(๓) อาสวะที่ละได้เพราะการพิจารณา
[ ๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้
เพราะการพิจารณาเสพ ? คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัย
นี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัดหนาว ร้อน สัมผัส
แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะ
ที่ให้ความละอายกำเริบ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาตมิใช่เพื่อ
จะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้
กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่
พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จะไม่ให้เวทนาใหม่
เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษ และความอยู่สบายด้วย จักมี
แก่เรา ฉะนี้. พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพเสนาสนะ เพียงเพื่อกำจัด
หนาว ร้อน สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดู เพื่อรื่นรมย์ในการหลีกออกเร้นอยู่
พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขาร คือยาอันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ เพียง
เพื่อกำจัดเวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มี
อาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 144
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความ
คับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใด
อันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อม
ไม่มีแก่ภิกษุผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้
เราตถาคตกล่าวว่า จะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ.
(๔) อาสวะที่ละได้เพราะความกดกลั้น
[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่จะพึงละได้เพราะ
ความอดกลั้น ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณา
โดยแยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย สัมผัสแห่ง
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อ
ถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้น
เป็นทุกข์ หนา แข็ง กล้า ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพร่าชีวิต
เสียได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความ
คับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความ
เร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้น
อยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวว่า จะพึง
ละได้เพราะความอดกลั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 145
(๕) อาสวะที่ละได้เพราะการเว้น
[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะ
ความเว้นรอบ ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรนวินัยนี้ พิจารณา
โดยแยบคายแล้วหลีกหนีช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้าย สุนัขที่ดุร้าย
งู หลักตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว ที่เต็มด้วยของไม่สะอาด โสโครก.
เพื่อนพรหมจรรย์ ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง
ณ ที่มิใช่อาสนะเห็นปานใด ผู้เที่ยวไปในที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบ
มิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานทั้งหลายอันลามก. ภิกษุนั้นพิจารณา
โดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสวะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามก
เหล่านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อน อัน
กระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถาน
หรือบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความอับ
แค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุ ผู้เว้นรอบอยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาสวะเหล่านี้ เราตถาคตกล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ.
(๖) อาสวะที่ละได้เพราะการบรรเทา
[๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้
เพราะความบรรเทา? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อม
บรรเทาพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 146
อดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ
ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทาวิหิงสาวิตกที่เกิด
ขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา
ธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้น
เหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาธรรมอันใดอันหนึ่ง
อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่
ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านั้น เราตถาคต
กล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทา.
(๗) อาสวะที่ละได้เพราะการอบรม
[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้
เพราะอบรม ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณา
โดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชณงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสลัดออก เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์...
เจริญวิริยสัมโพชฌงค์. . .เจริญปีติสัมโพชฌงค์ . . .เจริญปัสสัทธิสัม-
โพชฌงค์. . .เจริญสมาธิสัมโพชณงค์.. .เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสลัดออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้น
เหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะ
และความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
ผู้อบรมอยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เราตถาคตกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 147
จะพึงละได้เพราะอบรม.
[๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุว่า อาสวะเหล่าใด อัน
ภิกษุใดจะพึงละได้เพราะการเห็น อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้
แล้วเพราะการเห็น อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดจะพึงละได้เพราะการสังวร
อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะการสังวร อาสวะเหล่าใด
อันภิกษุจะพึงละได้เพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุ
นั้นละได้แล้วเพราะการพิจารณาเสพ อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดจะพึง
ละได้เพราะความอดกลั้น อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะ
ความอดกลั้น อาสวะเหล่าใด อันภิกษุใดจะพึงละได้เพราะความเว้นรอบ
อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความเว้นรอบ อาสวะ
เหล่าใด อันภิกษุใดจะพึงละได้เพราะความบรรเทา อาสวะเหล่านั้น
เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้วเพราะความบรรเทา อาสวะเหล่าใด อันภิกษุ
ใดจะพึงละได้เพราะการอบรม อาสวะเหล่านั้น เป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว
เพราะการอบรม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้สำรวม
ด้วยความสังวรในอาสวะทั้งปวงอยู่ ตัดตัณหาได้แล้ว ยังสังโยชน์ให้ปราศ
ไปแล้ว ได้ทำที่สุดทุกข์เพราะความตรัสรู้ ด้วยการเห็นและการละมานะ
โดยชอบ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสังวรปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม
ยินดีภาษิตของพระผู้มีภาคพระเจ้า ฉะนี้แล.
จบ สัพพาสวสังวรสูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 148
อรรถกถาสัพพาสวสังวรสูตร
อธิบายที่มาของคำว่า สาวัตถี
[๑๐] สัพพาเสวสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
ฯลฯ กรุงสาวัตถี.
ในสัพพาสวสังวรสูตรนั้น มีอรรถกถาแก้ตามลำดับบท ดังต่อไปนี้.
นักอักษรศาสตร์วิจารณ์กันไว้อย่างนี้ก่อนว่า คำว่า สาวตฺถี คือพระนคร
อันเป็นสถานที่อยู่ของฤาษี ชื่อ สวัตละ เหมือนคำว่า กากนฺที มากนฺที
ฉะนั้น. ส่วนพระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า วัตถุเครื่องอุปโภค
และบริโภคของมนุษย์ทุกอย่างมีอยู่ในเมืองนี้ ฉะนั้น เมืองนี้จึงชื่อว่า
สาวัตถี. ในเมื่อเอาคำว่า "สุตฺถ" มารวมไว้ด้วย จึงชื่อว่า สาวัตถี
เพราะอาศัยเหตุที่ว่า เมื่อถูกเขาถามว่า มีของอะไรอยู่บ้าง ก็ตอบว่า มี
ครบทุกอย่าง.
เครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่างมารวมกัน อยู่ในเมือง
สาวัตถีตลอดเวลา ฉะนั้น ท่านมุ่งเอาความสมบูรณ์
ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภคทุกอย่างจึงเรียก (เมืองนั้น)
ว่า สาวัตถี. นี้เป็นเมืองของชาวโกศล น่าชื่นชม
น่ารินรมย์ น่าเพลิดเพลินเจริญใจ อึกทึกไปด้วย
เสียง ๑๐ ประการ เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ. เป็นเมือง
ถึงความเจริญไพบูลย์ มั่งคั่ง กว้างขวาง น่าชื่นชม
และอุดมสมบูรณ์ เหมือนเทพบุรีชื่อ อาลกมันทา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 149
ในเมืองสาวัตถีนั้น.
ในบทว่า เชตวเน อธิบายว่า พระราชกุมารทรงพระนามว่า
"เชตะ" เพราะทรงรบชนะข้าศึกของพระองค์ หรือเพราะประสูตูใน
เวลาที่พระชนกทรงมีชัยต่อข้าศึกของพระองค์. อีกอย่างหนึ่ง ทรงพระ
นามว่า "เชตะ" เพราะพระนามอย่างนี้ พระชนกชนนีทรงตั้งให้เพื่อ
ความเป็นสิริมงคล. พระอุทยานของพระราชกุมารพระนามว่า เชตะ
ชื่อว่า เชตวัน. เพราะพระอุทยานเชตวันนั้น อันพระราชกุมารทรง
พระนามว่า "เชตะ" นั้น ทรงปลูกสร้างทะนุบำรุงให้เจริญงอกงาม
ทั้งพระองค์ก็ทรงเป็นเจ้าของพระอุทยานั้นด้วย ฉะนั้นจึงเรียกว่า เชต-
วัน. ในพระวิหารเชตวันนั้น.
ในบทว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม นี้ มีอธิบายว่า คฤหบดีนั้น
ชื่อว่า "สุทัตตะ" โดยเป็นชื่อที่บิดามารดาตั้งให้ แต่มาได้ชื่อว่า
อนาถปิณฑิกะ โดยเหตุที่ได้ให้อาหารแก่คนอนาถาทั้งหลายเป็นประจำ
เพราะเป็นผู้มั่งคั่งด้วยสมบัติทุกอย่าง และเพราะปราศจากความตระหนี่
ทั้งเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมมีความกรุณาเป็นต้น. สัตว์ทั้งหลายโดยเฉพาะ
บรรพชิตย่อมยินดีในสวนนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาราม. อธิบายว่า
สัตว์ทั้งหลายมาแต่ที่ต่าง ๆ กัน ย่อมยินดี เพลิดเพลิน อยู่อย่างสบาย
เพราะสวนนั้นงามไปด้วยไม้ดอกไม้ผล เป็นต้น สมบูรณ์ไปด้วยองค์ประ-
กอบแห่งเสนาสนะ ๕ ประการมีไม่ไกลไม่ใกล้ ( โคจรคาม) เกินไปนัก.
อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า อาราม เพราะดึงดูดสัตว์ผู้ไปถึงสถานที่นั้นไว้
ภายในบริเวณของตนนั้นเอง แล้วให้เพลิดเพลินไปด้วยสมบัติมีประการ
ดังกล่าวแล้ว. ความจริง อารามนั้น อนาถปิณฑิกคฤหบดีได้มอบถวาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 150
สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยการบริจาคทรัพย์ถึง ๕๔ โกฏิ คือ
บริจาคซื้อที่ดินจากพระหัตถ์ของพระราชกุมารทรงพระนามว่า "เชตะ"
ด้วยการเอาเงิน ๑๘ โกฏิ ปู ( เต็มบริเวณพื้นที่) บริจาคเป็นค่าก่อสร้าง
เสนาสนะต่าง ๆ ๑๘ โกฏิ บริจาคเป็นค่าทำการฉลองพระวิหารอีก ๑๘ โกฏิ
ฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า อารามของอนาถปิณฑิกะ. ในอารามของอนาปิณ-
ฑิกคฤหบดีนั้น คำว่า เชตวเน ในคำว่า เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส
อาราเม นั้น เป็นคำระบุถึงเจ้าของคนแรก. คำว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส
อาราเม เป็นคำระบุถึงเจ้าของคนหลัง.
ถามว่า จะมีประโยชน์อะไรในการระบุถึงเจ้าของทั้ง ๒ นั้น
ตอบว่า มีประโยชน์คือจะทำให้เป็นเยี่ยงอย่างของผู้ต้องการบุญ
จริงอยู่ ในข้อนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อจะแสดงว่า ผู้ต้องการบุญ
ทั้งหลายย่อมทำบุญเพราะกิตติศัพท์ของท่านทั้ง ๒ นั้นว่า พระราชกุมาร
พระนามว่าเชตะนั้นทรงบริจาคทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ที่พระองค์ได้มาด้วยการ
ขายสถานที่ในการสร้างซุ้มประตูและปราสาท และทรงบริจาคต้นไม้ซึ่ง
มีค่าหลายโกฏิ (ส่วน) อนาถปิณฑิกคฤหบดีได้บริจาคทรัพย์ ๕๔ โกฏิ
ดังนี้แล้ว ชักชวนชนผู้ต้องการบุญเหล่าอื่นให้ถือชนทั้ง ๒ นั้นเป็นแบบ
อย่าง.
อธิบายคำว่า อาสวะ
ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระสูตรนี้ว่า
สพฺพาสวสวรปริยาย โว ภิกฺขเว ดังนี้ ?
ตอบว่า เพื่อทรงแสดงถึงข้อปฏิบัติเพื่อความสิ้นอาสวะ เริ่มต้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151
ตั้งแต่การชำระอุปกิเลสแก่ภิกษุเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาสวสวรปริยาย ความว่า เป็น
เหตุสำรวม คือว่า เป็นเหตุให้ระมัดระวังอาสวะทุกอย่าง อธิบายว่า
เป็นเหตุให้อาสวะเหล่านี้ที่ภิกษุระวังปกปิดแล้ว ย่อมถึงความสิ้นไป กล่าว
คือ ความดับไปโดยไม่เกิดขึ้น (อีก) คือ อันภิกษุย่อมละได้ ได้แก่ย่อม
ไม่เป็นไป. ในบทว่า อาสวาน นั้น ที่ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า
ไหลไป ท่านอธิบายว่า อาสวะเหล่านั้นย่อมไหลไป คือไหลออกทางจักษุบ้าง
ฯลฯ ทางใจบ้าง ดังนี้ . อีกอย่างหนึ่ง อาสวะเหล่านั้น เมื่อว่าโดยธรรม
ย่อมไหลไปจนถึงโคตรภู. เมื่อว่าโดยโอกาสโลก ย่อมไหลไปจนถึงภวัคค-
พรหม. เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อาสวะ. อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้นทำ
ธรรมเหล่านั้นและโอกาสนั้นไว้ภายใน (อำนาจ) แล้วเป็นไป. จริงอยู่
อา อักษรนี้มีความหมายว่า ทำไว้ในภายใน. ที่ชื่อว่า อาสวะ. เพราะ
เป็นเหมือนของหมักดอง มีน้ำเมาเป็นต้น โดยความหมายว่า หมักอยู่นาน
ดังนี้บ้าง. ความจริง ในทางโลก น้ำเมาที่หมักไว้นาน เขาก็เรียกว่า
อาสวะ ดังนี้. ก็ถ้าน้ำเมาเป็นต้นเรียกว่า อาสวะ ได้ เพราะความหมายว่า
หมักไว้นานไซร้ กิเลสเหล่านี้ก็ควรจะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน. สมจริงดัง
ที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นของอวิชชา ไม่ปรากฏ (คือไม่
ปรากฏว่า) ในกาลก่อนแต่นี้ มิได้มีอวิชชา ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า
อาสวะ เพราะอรรถว่า ไหลไป คือไหลออกไปสู่สังสารทุกข์ ต่อไป
ดังนี้บ้าง. ก็คำอธิบาย คำแรก ๆ ในรูปวิเคราะห์เหล่านี้ ย่อมใช้ในที่ที่
กิเลสทั้งหลายมาโดยชื่อว่า อาสวะ (ส่วน) คำอธิบายคำหลังใช้ในกรรม
ก็ได้. ก็ไม่ใช่เพียงแต่กรรมกิเลสอย่างเดียวเท่านั้น ที่เป็นอาสวะ โดยที่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 152
แท้แล แม้อุปัทวะนานัปการ ก็ชื่อว่า อาสวะได้ ( เหมือนกัน). ความจริง
ในพระสูตรทั้งหลาย กิเลสทั้งหลายซึ่งเป็นมูลเหตุให้ก่อการทะเลาะวิวาทก็
มาโดยชื่อว่า อาสวะ ในคำนี้ว่า จุนทะ เราไม่แสดงธรรมเพื่อการสังวร
ระวังเหล่าอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรมเท่านั้น ดังนี้ . กรรมอันเป็นไป
ในภูมิ ๓ และเหล่าอกุศลธรรมที่เหลือทั้งหลาย ก็ชื่อว่าอาสวะในคำนี้ว่า
อาสวะทั้งหลายของเราที่เป็นเหตุให้เข้าถึงความเป็น
เทพหรือคนธรรพ์ ที่เหาะเหินได้ และเป็นเหตุให้เรา
พึงไปสู่ความเป็นยักษ์ ความเป็นมนุษย์ และพึงไป
สู่อัณฑชกำเนิด สิ้นไปแล้ว อันเราขจัดแล้ว ทำให้
พินาศแล้ว ดังนี้.
การเข้าไปว่าร้ายผู้อื่น ความเดือนร้อน การฆ่า และการจองจำ
เป็นต้น และอุปัทวะนานัปการที่เป็นเหตุให้สัตว์เสวยทุกข์ในอบาย ก็ชื่อ
ว่า อาสวะ. (เช่น ) ในประโยคนี้ว่า ( เราตถาคตจะแสดงธรรม ) เพื่อ
ระมัดระวังอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรม (และ) เพื่อบำบัดอาสวะอัน
เป็นไปในสัมปรายภพ ดังนี้. ก็ในที่ใดอาสวะเหล่านี้นั้นมาโดยประการใด
ในที่นั้นก็พึงทราบโดยประการนั้น. ก็ในพระวินัย อาสวะทั้งหลายเหล่านี้
มีมาแล้ว ๒ อย่าง เช่นในประโยคว่า ( เราตถาคตจะแสดงธรรม) เพื่อ
ป้องกันอาสวะอันเป็นไปในทิฏฐธรรม เพื่อบำบัดอาสวะอันเป็นไปใน
สัมปรายภพ ดังนี้ก่อน. ในสฬายตนวรรค มีมาแล้ว ๓ อย่าง ( เช่นใน
ประโยค) ว่า ผู้มีอายุ อาสวะเหล่านี้มี ๓ อย่าง คือกามาสวะ ภวาสวะ
อวิชชาสวะ ดังนี้. ในสุตตันตปิฎกแห่งอื่น และพระอภิธรรมปิฎก อาสวะ
๓ เหล่านั้นนั่นแล รวมกับทิฏฐาสวะเข้าด้วยมีมาแล้วเป็น ๔ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 153
ว่าโดยบรรยายที่จำแนกอาสวะทั้งหลายมีมา ๕ อย่าง คือ ภิกษุทั้งหลาย
อาสวะซึ่งเป็นเหตุยังสัตว์ให้เข้าถึงนรกก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไป
สู่กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่วิสัยแห่งเปรต
ก็มีอยู่ อาสวะซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่มนุษยโลกก็มีอยู่ และอาสวะอันเป็น
เหตุยังสัตว์ให้ไปสู่เทวโลกก็มี. ในฉักกนิบาต อาสวะมีมา ๖ อย่าง โดยนัย
เป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่ต้องละด้วยสังวรมีอยู่. ส่วนในสูตรนี้
อาสวะ ๖ เหล่านั้นนั่นแล พร้อมด้วยอาสวะที่ต้องละด้วยทัสสนะ มีมา
(รวม) เป็น ๗ อรรถพจน์ และประเภท (แห่งอาสวะ) ในบทว่า
อาสวะ มีเพียงเท่านี้ก่อน.
อธิบายสังวร
ส่วนในบทว่า สังวร มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ที่ชื่อว่า สังวร
เพราะอรรถว่า สังวร อธิบายว่า ปิด คือห้าม ได้แก่ไม่ให้เป็นไป. สมจริง
ดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต
อนุญาตให้ภิกษุผู้ต้องการพักผ่อนในกลางวัน ต้องปิดประตูเสียก่อนแล้วจึง
พักผ่อนดังนี้. พระอาจารย์กล่าว สังวร ด้วยอรรถว่า ปิดในคำเป็นต้นว่า
ตถาคต เรากล่าวสติว่าเป็นเครื่องห้ามกระแส กระแส
เหล่านั้นบุคคลย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา ดังนี้.
สังวรนั้นมี ๕ อย่างคือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติ-
สังวร วิริยสังวร. บรรดาสังวรเหล่านั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุประกอบ
ด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ นี้ชื่อว่าสีลสังวร. ความจริงปาฏิโมกขศีลท่าน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 154
กล่าวว่า สังวร ในที่นี้. สังวรในคำเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมถึงความสำรวม
ในจักขุนทรีย์ ชื่อว่า สติสังวร. ก็สติ ท่านกล่าวว่า สังวร ในที่นี้.
สังวรที่ตรัสไว้ว่า เราตถาคตกล่าวญาณว่าเป็นเครื่องกั้นกระแส
กระแสเหล่านั้นบุคคลย่อมปิดกั้นได้ด้วยปัญญา นี้ชื่อว่าญาณสังวร. ก็ใน
ที่นี้ท่านกล่าวญาณว่า สังวร ด้วยอรรถว่าปิดไว้ได้ ด้วยบทว่า ปิถียเร.
ขันติสังวรและวิริยสังวรมาในสูตรนี้โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุเป็นผู้อดทน
ต่อความหนาว ฯลฯ ไม่ยอมให้วิตกซึ่งเกิดขึ้นครอบงำได้ ดังนี้. ก็พึง
ทราบความที่ขันติและวิริยะ ชื่อว่า สังวร เพราะท่านสงเคราะห์ด้วยอุเทศ
นี้ว่า สพฺพาสวสวรปริยาย นี้.
อีกอย่างหนึ่ง สังวรแม้ทั้ง ๕ อย่างนี้ ก็มาในสูตรนี้เหมือนกัน.
บรรดาสังวรทั้ง ๕ อย่างนั้น ขันติสังวรและวิริยสังวรท่านกล่าวไว้ก่อน
แล้วทีเดียว. ก็สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้นพิจารณาที่อันมิใช่อาสนะนั้นและ
อโคจรนั้นโดยแยบตายแล้ว นี้ชื่อว่าสีลสังวรในที่นี้. สังวรที่ตรัสไว้ว่า
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว สำรวมระวังจักขุนทรีย์ดังนี้ นี้ชื่อว่าสติ
สังวร. การพิจารณาด้วยญาณในธรรมทั้งปวง ชื่อว่า ญาณสังวร. ส่วน
การเห็น การส้องเสพ การเจริญ ก็ชื่อว่า ญาณสังวร ด้วยศัพท์ที่ท่านมิได้
ถือเอา. ที่ชื่อว่าปริยาย เพราะเป็นเหตุเครื่องกำหนดแห่งธรรมทั้งหลาย
อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายย่อมถึงการเกิดขึ้นหรือดับไป. คำใดที่ควรกล่าว
ในคำนี้ว่า สพฺพาสวสวรปริยาย คำนั้นท่านกล่าวอธิบายไว้ด้วยคำมี
ประมาณเพียงเท่านี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 155
อธิบายญาณทัสสนะ
[๑๑] บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ชานโต อห เป็นต้นดังต่อ
ไปนี้. บทว่า ชานโต คือรู้อยู่. บทว่า ปสฺสโต คือเห็นอยู่. บทแม้
ทั้งสองมีเนื้อความอย่างเดียวกัน พยัญชนะเท่านั้นที่ต่างกัน. เมื่อเป็นเช่น
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงถึงบุคคล โดยมุ่งถึงลักษณะของญาณด้วย
บทว่า ชานโต. ความจริง ญาณมีความรู้เป็นลักษณะ. ทรงแสดงบุคคล
โดยมุ่งถึงอำนาจของญาณด้วยบทว่า ปสฺสโต. ความจริง ญาณมีอำนาจ
ในการเห็น. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยญาณ ย่อมเห็นธรรมที่พระพุทธเจ้า
ทรงเปิดเผยไว้ด้วยญาณนั้นแล เปรียบเหมือนคนตาดีมองเห็นรูปด้วยจักษุ
ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อให้โยนิโสมนสิการเกิดขึ้น อโยนิโสมนสิการ
จะไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เห็นอยู่ เหมือนจะไม่เกิดขึ้นแก่ผู้รู้อยู่ฉะนั้น สารสำคัญ
ในคำทั้ง ๒ นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวเยิ่นเย้อไว้มาก.
ข้อความเหล่านั้นไม่เหมาะในอรรถนี้.
บทว่า อาสวาน ขย ความว่า การละอาสวะ คือการเกิดความสิ้น
ไปโดยไม่มีเหลือ ได้แก่อาการคือการสิ้นไป หมายความว่าภาวะคือการ
ไม่มีแห่งอาสวะทั้งหลาย. ขยะ ศัพท์นี้แล มีความหมายว่าสิ้นอาสวะ
ทั้งในสูตรนี้ และทั้งในประโยคเป็นต้นว่า อาสวาน ขยา อนาสวญฺเจโต-
วิมุตฺตึ. ส่วนในสูตรอื่น แม้มรรค-ผล-นิพพาน ท่านเรียกว่าธรรมเป็น
ที่สิ้นไปแห่งอาสวะ. จริงอย่างนั้น มรรคท่านเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้น
อาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 156
ในเพราะการสิ้นไปแห่งอาสวะของพระเสขบุคคล
ผู้กำลังศึกษา ผู้ดำเนินตามทางสายตรง (คือมรรค
มีองค์ ๘) ญาณ (สัมมาทิฏฐิ) ย่อมเกิดก่อน
ต่อแต่นั้น อรหัตตผลจึงมีในลำดับต่อไป ดังนี้.
ผล ท่านกล่าวว่า ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า
บุคคลเป็นสมณะได้เพราะการในรูปแห่งอาสวะ. นิพพานท่านกล่าวว่า
ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า
อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ตามเห็นโทษ
ของผู้อื่น ผู้มีปกติเพ่งโทษเป็นนิจนั้น เขาย่อมอยู่
ห่างไกลจากธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ ดังนี้.
บทว่า โน อชานโต น อปสฺสโต ความว่า ก็ผู้ใดไม่รู้อยู่ไม่เห็นอยู่
เราตถาคตไม่กล่าวการสิ้นไปแห่งอาสวะของบุคคลนั้น. ชนเหล่าใด กล่าว
ถึงความบริสุทธิ์ด้วยสังวรเป็นต้น แม้ของบุคคลผู้ไม่รู้ไม่เห็น ชนเหล่านั้น
เป็นอันท่านคัดค้านด้วยบทว่า โน ชานโต โน ปสฺสโต นี้. อีกอย่างหนึ่ง
ด้วย ๒ บทแรก (ชานโต ปสิสโต) เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสอุบายไว้แล้ว, ด้วย ๒ บทหลังนี้ (โน อชานโต อปสฺสโต) เป็น
อันพระองค์ได้ตรัสการปฏิเสธอุบายไว้แล้ว เพราะฉะนั้น ในที่นี้ ญาณ
เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าเป็นธรรมเครื่องปิดกันอาสวะ
ทั้งหลายโดยสังเขป.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระประสงค์จะทรงแสดงธรรม
ที่เมื่อภิกษุรู้อยู่จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย จึงทรงเริ่มปุจฉาว่า
กิญฺจิ ภิกฺขเว ชานโต ดังนี้. ในบทว่า กิญฺจิ ภิกขเว ชานโต นั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 157
ความรู้มีหลายอย่าง ความจริงภิกษุลางรูปผู้มีชาติฉลาดย่อมรู้วิธีทำกลด
ลางรูปย่อมรู้วิธีทำจีวรเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นดำรงอยู่ใน
ข้อวัตรกระทำกรรมเช่นนี้อยู่ ความรู้เช่นนั้นไม่ควรจะกล่าวว่า ไม่เป็น
ปทัฏฐานของมรรคและผล. ส่วนภิกษุใดบวชในศาสนาแล้วรู้วิธีทำเวช-
กรรมเป็นต้น เมื่อภิกษุนั้นรู้อย่างนี้ อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญขึ้นทีเดียว.
เพราะฉะนั้น เมื่อภิกษุรู้เห็นธรรมใด ความสิ้นอาสวะจึงเกิดมีได้ เมื่อ
จะทรงแสดงธรรมนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โยนิโส จ
มนสิการ อโยนิโส จ มนสิการ ดังนี้.
โยนิโสมนสิการกับอโยนิโสมนสิการทั้ง ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า โยนิโส
มนสิการ ได้แก่การทำไว้ในใจโดยถูกอุบาย=การทำไว้ในใจโดยถูกทาง
=การนึก=การน้อมนึก=การผูกใจ=การใฝ่ใจ=การทำไว้ในใจ ซึ่งจิตใน
อนิจจลักษณะเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง หรือโดยสัจจานุโลมิก-
ญาณ นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ที่ชื่อว่า อโยนิโสมนสิการ ได้แก่
การทำไว้ในใจโดยไม่ถูกอุบาย ได้แก่การทำไว้ในใจโดยไม่ถูกทาง คือ
การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย=การทำไว้ในใจโดยผิดทาง ในสิ่งที่ไม่เที่ยง
ว่าเที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาว่าเป็นอัตตา หรือ
คือการนึก=การน้อมนึก=การผูกใจ=การใฝ่ใจ=การทำไว้ในใจซึ่งจิตโดย
การกลับกันกับสัจจะ นี้เรียกว่าอโยนิโสมนสิการ ความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ย่อมมีแก่ภิกษุผู้รู้อยู่ เพื่อยังโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น และ
แก่ภิกษุผู้เห็นอยู่ โดยประการที่อโยนิโสมนสิการจะไม่เกิดขึ้น ดังที่
พรรณนามานี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 158
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงข้อยุติแห่งเนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า อโยนิโส ภิกฺขเว ฯเปฯ ปหียฺยนฺติ.
ถามว่า ด้วยคำว่า อโยนิโส ภิกฺขเว ฯเปฯ ปหียนฺติ นั้น ท่าน
กล่าวอธิบายไว้อย่างไร.
ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะอาสวะทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น
แก่ภิกษุผู้ใส่ใจโดยไม่แยบคาย เมื่อภิกษุใส่ใจโดยแยบคาย เธอย่อมละ
อาสวะทั้งหลายได้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเข้าใจว่า ความในรูปแห่ง
อาสวะทั้งหลาย ย่อมมีแก่ภิกษุผู้รู้อยู่ เพื่อยังโยนิโสมนสิการให้เกิดขึ้น
และแก่ภิกษุผู้เห็นอยู่ โดยประการที่อโยนิโสมนสิการจะไม่เกิดขึ้น ดัง
ที่พรรณนามาน. ในข้อนี้มีการพิจารณาโดยสังเขปเพียงเท่านี้ก่อน ส่วน
ความพิสดารมีดังต่อไปนี้. พระสูตรทั้งสิ้นข้างหน้ามีความเกี่ยวเนื่องกันกับ
ด้วย ๒ บทนี้ คือ โยนิโส อโยนิโส ก่อน. ความจริง พระสูตรทั้งหมด
ข้างหน้า ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจวัฏฏะและวิวัฏฏะ. ก็วัฏฏะมีการไม่ใส่ใจ
โดยแยบคายเป็นมูลราก. วิวัฏฏะมีการใส่ใจโดยแยบคายเป็นมูลราก. คือ
อย่างไร ? อธิบายว่า การใส่ใจโดยไม่แยบคายเมื่อเจริญขึ้นย่อมให้ธรรม
๒ อย่าง คือ อวิชชา และภวตัณหาบริบูรณ์. ก็เมื่อมีอวิชชา สังขาร
ทั้งหลายจึงเกิดมีขึ้นเพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย ฯลฯ กองทุกข์จึงมีการ
เกิดขึ้น. เมื่อมีตัณหา อุปาทานก็เกิดมี เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ฯลฯ
กองทุกข์จึงมีการเกิดขึ้น. ฉะนั้น บุคคลผู้มากด้วยการไม่ใส่ใจโดยแยบคาย
อย่างนี้ ย่อมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพกำเนิด คติ ฐิติ และ สัตตาวาส
อยู่ร่ำไป เปรียบเหมือนเรือซึ่งถูกแรงลมพัดทำให้โคลง และเปรียบเหมือน
ฝูงโคซึ่งตกลงไปในแม่น้ำไหลวน และเหมือนโคพลิพัทที่เขาเทียมรถไว้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 159
ฉะนั้น. วัฏฏะมีการไม่ใส่ใจโดยแยบคายเป็นมูลรากดังว่ามานี้ก่อน.
ส่วนการใส่ใจโดยแยบคาย เมื่อเจริญขึ้นย่อมทำมรรคมีองค์ ๘ มี
สัมมาทิฏฐิเป็นข้อแรกให้บริบูรณ์ เพราะพระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้สมบูรณ์ด้วยการใส่ใจโดยแยบคาย พึงหวังข้อนี้ได้ คือ เธอก็จักเจริญ
อริยมรรคมีองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘. ด้วยบทว่า
ยา จ สมฺมาทิฏฺิ สา วิชชา นี้ บัณฑิตพึงทราบวิวัฏฏะซึ่งมีการใส่ใจ
โดยแยบคายเป็นมูลรากอย่างนี้ว่า เพราะอวิชชาเกิดขึ้น และอวิชชาดับไป
ความดับแห่งสังขารจึงเกิดมีแก่ภิกษุนั้น ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้. พระสูตรทั้งหมดข้างหน้ามีความ
เกี่ยวเนื่องกันด้วยบททั้ง ๒ นี้ดังกล่าวมานี้. ก็ในสูตรนี้ที่เกี่ยวเนื่องกัน
อย่างนี้ เพราะเหตุที่แสดงการละอาสวะไว้ก่อนแล้ว จะกล่าวการเกิดขึ้น
ทีหลังไม่เหมาะ เนื่องจากว่าอาสวะที่ละได้แล้วย่อมไม่เกิดขึ้นอีก แต่ที่ถูก
( คือกล่าว) การละอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว (ต่างหาก ) ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อโยนิโส ภิกฺขเว มนสิกโรโต เป็นต้น
แม้โดยย้อนอุทเทศ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยนิโส มนสิกโรโต
ความว่า ผู้ยังการใส่ใจโดยไม่แยบคายมีประการดังกล่าวแล้วให้เกิดขึ้น.
ในบทว่า อุปฺปนฺนา เจว อาสวา อุปฺปชฺชนฺติ นี้ ความว่า เมื่อภิกษุ
ได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ซึ่งตนไม่เคยได้มาก่อน หรือได้วัตถุอันน่าพอใจ
อย่างใดอย่างหนึ่งของอุปัฏฐาก สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกแล้ว ไม่
ใส่ใจโดยแยบคายซึ่งปัจจัยหรือวัตถุนั้นว่า งาม เป็นสุข ก็หรือเมื่อภิกษุ
ไม่ใส่ใจโดยแยบคายซึ่งอารมณ์อย่างอื่น ๆ ซึ่งตนไม่เคยไค้เสวยมาก่อน
โดยประการใดประการหนึ่ง อาสวะเหล่าใดย่อมเกิดขึ้น. อาสวะเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 160
ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น พึงทราบว่าย่อมเกิดขึ้น ดังนี้. ความจริง อาสวะทั้งหลาย
ที่ชื่อว่า ไม่เกิดขึ้นในสังสารวัฏซึ่งมีที่สุดแห่งเบื้องต้นที่ใครตามไปไม่รู้
แล้วโดยประการอื่น ย่อมไม่มี. อาสวะทั้งหลายของภิกษุใดในกาลก่อนไม่
เกิดขึ้นในวัตถุหรือในอารมณ์ที่ตนไม่เคยได้เสวยมาก่อนโดยความบริสุทธิ์
ตามปกติหรือด้วยอำนาจการอุทเทศ ปริปุจฉา ปริยัติ นวกรรม และ
โยนิโสมนสิการ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมเกิดขึ้นโดยฉับพลันด้วย
ปัจจัยเช่นนั้น ในภายหลัง อาสวะทั้งหลายของภิกษุนั้นพึงทราบว่า ยัง
ไม่ (เคย) เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเกิดขึ้นดังนี้. ส่วนอาสวะทั้งหลายซึ่งกำลัง
เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในวัตถุและในอารมณ์เหล่านั้นนั่นแล ท่านเรียกว่า เกิดขึ้น
แล้ว ย่อมเจริญ. ขึ้นชื่อว่า ความเจริญแห่งอาสวะทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้น
ครั้งแรกโดยประการอื่นจากนี้ หามีไม่เลย.
ในบทว่า โยนิโส จ โข ภิกฺขเว นี้ ความว่า อาสวะทั้งหลาย
ของภิกษุใด ย่อมไม่เกิดขึ้น โดยความบริสุทธิ์ ตามปกติ หรือโดยเหตุ
มีอุทเทศ และปริปุจฉาเป็นต้น เหมือนไม่เกิดขึ้นแก่ท่านมหากัสสปะ
และนางภัททกาปิลานี ภิกษุนั้นย่อมรู้แจ้งชัดว่า อาสวะทั้งหลายของเรา
ยังไม่ถึงการเพิกถอนด้วยมรรคหรือหนอ อยู่กระนั้นเลย เราจะปฏิบัติเพื่อ
เพิกถอนอาสวะเหล่านั้น. ต่อแต่นั้น เธอย่อมเพิกถอนอาสวะทั้งหมดนั้น
ด้วยมรรคภาวนา อาสวะทั้งหลายเหล่านั้นของเธอท่านกล่าวว่า ที่ยังไม่
เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น. ส่วนภิกษุใด มีสติอยู่ห่างไกล อาสวะทั้งหลายย่อม
เกิดขึ้นโดยเร็วพลัน เพราะความหลงลืมแห่งสติ ต่อแต่นั้น เธอนั้นก็ถึง
ความสังเวช เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย ย่อมเพิกถอนอาสวะเหล่านั้น
ได้ อาสวะซึ่งเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นเรียกว่า อันเธอย่อมละได้ เหมือน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161
พระมหาติสสคุตตเถระผู้ อยู่ในมัณฑลาราม.
ได้ยินว่า ท่านเริ่มอุทเทศในวิหารนั้นนั่นเอง ครั้งนั้น กิเลสก็
เกิดขึ้นแก่ท่านผู้เที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านเพราะอารมณ์อันเป็นวิสภาคกัน.
ท่านข่มอารมณ์นั้นด้วยวิปัสสนาแล้วกลับไปวิหาร. อารมณ์นั้นได้ปรากฏ
แก่ท่านแม้ในความฝัน. ท่านเกิดความสังเวชขึ้นว่า กิเลสนี้เจริญขึ้นแล้ว
ย่อมเป็นเรื่องทำเราให้ตกไปในอบาย ดังนี้แล้ว อำลาอาจารย์แล้วออก
จากวิหารไปเรียนอสุภกัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นปฎิปักษ์ต่อราคะในสำนักของ
พระมหาสังฆรักขิตเถระ เข้าไปสู่ระหว่างพุ่มไม้ ลาดผ้าบังสุกุลรองนั่ง
ตัดเสียซึ่งราคะอันประกอบด้วยกามคุณ ๕ ด้วยอนาคามิมรรค ลุกขึ้นแล้ว
ไหว้อาจารย์ ในวันรุ่งขึ้นได้บรรลุอุทเทสมรรค. ก็อาสวะทั้งหลายเหล่าใด
กำลังเป็นไปยังไม่เกิดขึ้น ขึ้นชื่อว่า การละอาสวะทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย
ข้อปฏิบัติย่อมไม่มี.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาบทนี้ว่า อุปฺปนฺนา จ
อาสวา ปหิยฺยนฺติ ดังนี้แล้ว ทรงขยายเทศนาให้พิสดาร เพื่อจะทรง
ชี้แจงเหตุแห่งการละ ซึ่งอาสวะที่ละได้ แม้อย่างอื่นโดยประการต่าง ๆ
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละด้วย ทัสสนะ มีอยู่ ดังนี้
สมกับที่พระองค์เป็นพระธรรมราชา ผู้ฉลาดในประเภทแห่งเทศนา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่า พึงละด้วย
ทัสสนะ ในทุกบทก็นัยนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 162
พรรณนาอาสวธรรมที่พึงละด้วยทัสสนะ
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงจะกระทำให้แจ้งซึ่ง
บทเหล่านั้นโดยลำดับ จึงทรงตั้งปัญหาว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน
ที่ควรละด้วยทัสสนะ ดังนี้แล้ว ทรงเริ่มเทศนาอันเป็นปุคคลาธิฏฐานว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มีได้สดับในธรรมวินัยนี้ โดยนัยดังกล่าวแล้ว
ในอรรถกถามูลปริยายสูตร. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนสิกรณีเย
ธมฺเม นปฺปชานาติ ความว่า ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ควรน้อมนึก คือที่ควร
นำมาพิจารณา. บทว่า อนนสิกรณีเย ความว่า ย่อมไม่รู้จักธรรมที่ตรง
กันข้าม ในบทที่เหลือก็นัยนี้. ก็เพราะการกำหนดโดยธรรมว่า ธรรม
เหล่านี้ควรใส่ใจ ธรรมเหล่านี้ ไม่ควรใส่ใจ ดังนี้ ไม่มี แต่การกำหนด
โดยอาการมีอยู่ คือธรรมทั้งหลายที่ภิกษุใส่ใจอยู่โดยอาการใด จึงเป็น
ปทัฏฐานแห่งการยังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม ภิกษุไม่ควรทำ การใส่ใจ
ธรรมเหล่านั้นโดยอาการนั้น ธรรมทั้งหลายที่ภิกษุใส่ใจโดยอาการใด
จึงเป็นปทัฏฐานแห่งการนั่งเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม ธรรมเหล่านี้ภิกษุควร
ใส่ใจโดยอาการนั้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ยสฺส ภิกฺขเว ธมฺเม มนสิกโรโต อนุปฺปนฺโน วา กามาสโว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ความว่า อาสวะเหล่าใดของ
ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วนั้น. บทว่า นนสิกโรโต ความว่า ผู้ระลึก คือ
นำมาพิจารณา. วา ศัพท์ ในบทว่า อุปฺปนฺโน วา กามสโว นี้ มี
สมุจจยะเป็นอรรถ หาได้มีวิกัปเป็นอรรถไม้. ฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความ
ในที่นี้ว่า กามาสวะ ที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น กามาสวะที่เกิดขึ้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 163
ย่อมเจริญ เหมือนเมื่อพระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย
ไม่มีเท้าก็ตาม มี ๒ เท้าก็ตาม มีประมาณเท่าใด ฯลฯ ตถาคตกล่าว
รอยเท้าช้างว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้ ย่อมได้ความว่า
สัตว์ไม่มีเท้าและสัตว์ ๒ เท้า. และเหมือนเมื่อพระองค์ตรัสว่า เพื่อความ
ดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดมาแล้วบ้าง เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ผู้เป็นสัมภ-
เวสีบ้าง ย่อมได้ความว่า ภูตและสัมภเวสี และเหมือนเนื้อพระองค์
ตรัสว่า จากไฟบ้าง จากน้ำบ้าง จากการขาดความสามัคคีบ้าง ย่อมได้
ความว่า จากไฟ จากน้ำ และจากการขาดความสามัคคี ดังนี้ . แม้ใน
บทนี้ว่า ยสฺส ภิกฺขเว ธมฺเม มนสิกโรโต อนุปฺปนฺโน วา กามาสโว
ก็พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า อนุปฺปนฺโน จ กามาสโว อุปฺปชฺชติ
อุปฺปนฺโน จ กามาสโว ปวทฺฒติ (กามาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น
และกามาสวะที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญ ). ในบทที่เหลือก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บรรดาอาสวะเหล่านั้น ความกำหนัดอันประกอบด้วยกามคุณ ๕ ชื่อว่า
กามาสวะ. ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพ และความพอ
ใจในฌานซึ่งประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ และ อุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า ภวาสวะ.
แม้ทิฏฐาสวะ. ย่อมรวมลงในภวาสวะเหมือนกันด้วยอาการอย่างนี้. ความ
ไม่รู้ในสัจจะทั้ง ชื่ออวิชชาสวะ. บรรดาอาสวะเหล่านั้น กามาสวะ
ซึ่งยังไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญแก่ผู้ที่ยินดีคือใส่ใจในกามคุณ.
ภวาสวะที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญแก่ผู้ที่ยินดี
ชอบใจคือใส่ใจในมหัคคตธรรม. อวิชชาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิด ที่เกิด
แล้วก็ย่อมเจริญแก่ผู้ที่ใส่ใจในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ โดยธรรมเป็น
ปทัฏฐานแห่งวิปัลลาส ๔ พึงทราบเนื้อความดังกล่าวมาอย่างนี้. ธรรม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 164
ฝ่ายขาวควรให้พิสดารโดยความเป็นข้าศึกกับธรรมตามนัยที่กล่าวแล้ว.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
อาสวะไว้ ๓ เท่านั้น?
ตอบว่า เพราะเป็นข้าศึกต่อวิโมกข์.
ความจริง กามาสวะเป็นปฏิปักษ์ต่ออัปปณิหิตวิโมกข์. ภวาสวะ
และอวิชชาสวะนอกนี้ เป็นปฏิปักษ์ต่ออนิมิตตวิโมกข์ และสุญญตวิโมกข์
ฉะนั้น พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า
เหล่าชนผู้ให้อาสวะทั้ง ๓ เหล่านี้เกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้ไม่มีส่วนแห่งวิโมกข์ทั้ง ๓
เหล่านั้น ชนที่ไม่ให้อาสวะเหล่านี้เกิดขึ้น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์
ทั้ง ๓ ดังนี้ จึงตรัสวิโมกข์ไว้ ๓ เท่านั้น. คำนี้ว่า อีกอย่างหนึ่ง แม้
ทิฏฐาสวะก็เป็นอันพระองค์ตรัสไว้แล้วในอาสวกถานี้เหมือนกัน ดังนี้ เป็น
อันพรรณนาไว้แล้ว. บทว่า ตสฺส อมนสิกรณียาน ธมฺมาน มนสิการา
ความว่า เพราะเหตุแห่งการใส่ใจ อธิบายว่า เพราะเหตุที่ใส่ใจซึ่งธรรม
เหล่านั้น. แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้. คำว่า อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้น และอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ดังนี้ นี้เป็น
คำกล่าวย้ำโดยไม่เเตกต่างกันแห่งอาสวะทั้งหลายที่กล่าวแล้วในหนหลัง.
ปุถุชนนี้ใด ผู้มิได้สดับอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว เพื่อ
ทรงชี้แจงอาสวะที่พึงละด้วยเทศนาอันเป็นปุคคลาธิฏฐาน เพราะเหตุ
ที่ปุถุชนนั้นเป็นที่ตั้งแม้แห่งอาสวะทั้งหลาย มีกามาสวะเป็นต้นที่มีการ
ใส่ใจโดยอุบายไม่แยบคาย เป็นปัจจัยซึ่งตรัสไว้โดยเป็นสามัญธรรมดา
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุใส่ใจโดยอุบายไม่แยบคาย
อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ฉะนั้น ครั้นทรงแสดงอาสวะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 165
แม้เหล่านั้นโดยบุคคลนั้นนั่นแล ด้วยคำเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรง
แสดงอาสวะที่พึงละด้วยทัสสนะ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า โส เอว อโยนิโส
มนสิกโรติ อโหสึ นุ โข อห ดังนี้ . ก็ในสูตรนี้ เมื่อจะทรงแสดง
แม้ทิฏฐาสวะด้วยยกวิจิกิจฉาขึ้นเป็นประธาน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง
เริ่มเทศนานี้. เนื้อความแห่งคำนั้นว่า อาสวะโดยนัยที่ตรัสแล้วอย่างนี้
ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าเป็นปุถุชน ก็ปุถุชนนี้ใด พระองค์ตรัสไว้
โดยนัยเป็นต้นว่า อสฺสุตฺวา ดังนี้ ปุถุชนนั้นย่อมใส่ใจโดยไม่แยบคาย
คือโดยไม่ถูกอุบาย ได้แก่ไม่ถูกทาง.
ถามว่า ใส่ใจอย่างไร ?
ตอบว่า คือย่อมใส่ใจว่า เราได้มีแล้วหรือหนอ ฯลฯ สัตว์จักไปไหน
ดังนี้.
ถามว่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร ?
ตอบว่า ท่านอธิบายไว้ว่า บุคคลนั้นย่อมใส่ใจโดยไม่แยบคาย โดย
ประการที่เขามีวิจิกิจฉาทั้ง ๑๖ อย่าง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดย
นัยว่า อห อโหสึ นุ โข ดังนี้ เกิดขึ้น. บรรดาข้อกังขาเหล่านั้น
ข้อกังขาว่า อโหสึ นุโข น นุโข (เราได้มีแล้วหรือหนอหรือไม่ได้มี
แล้ว) ความว่า ปุถุชน สงสัยความมีและความไม่มีแห่งอัตตาในอดีตเพราะ
อาศัยอาการคือ สัสสตทิฏฐิและอาการที่เกิดขึ้นลอย ๆ คำว่า ก การณ
(เหตุไร ?) ไม่จำเป็นต้องกล่าว ( เพราะ) พาลปุถุชนมีพฤติกรรม
คุ้มดีคุ้มร้ายเหมือนคนบ้า. อีกอย่างหนึ่ง อโยนิโสมนสิการนั้นเองเป็นเหตุ
ในเรื่องนี้.
ถามว่า อะไรเป็นเหตุแห่งอโยนิโสมนสิการอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 166
ตอบว่า ความเป็นปุถุชนนั่นเองหรือกิจอันมีการไม่เห็นพระอริยเจ้า
ทั้งหลายเป็นต้นเป็นเหตุ.
ถามว่า ก็แม้ปุถุชนย่อมใส่ใจโดยแยบคาย (มีโยนิโสมนสิการ
เหมือนกัน) มิใช่หรือ หรือใครเล่ากล่าวอย่างนี้ว่า ปุถุชนไม่ทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย (ไม่มีโยนิโสมนสิการ).๑ ความเป็นปุถุชนไม่เป็นเหตุสำคัญ
ในข้อนั้น กรรมคือการฟังธรรมและความมีกัลยาณมิตรเป็นต้น (ต่างหาก)
เป็นเหตุสำคัญในข้อนี้. ความจริง ตามปกติของตน สัตว์มีปลาและเนื้อ
เป็นต้นไม่ได้มีกลิ่นหอม แต่กลายเป็นสัตว์มีกลิ่นหอมได้ เพราะมีเครื่อง
ปรุงแต่งเป็นปัจจัย.
บทว่า กึ นุ โข อโหสึ ความว่า ปุถุชนอาศัยชาติ ( กำเนิด)
เพศและการอุบัติจึงสงสัยว่า เราได้เป็นกษัตริย์แล้วหรือหนอแล ได้เป็น
บรรดาพราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา มนุษย์
อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วหรือหนอแล.
บทว่า กถ นุโข ความว่า ปุถุชน ได้อาศัยอาการแห่งทรวดทรง
จึงสงสัยว่า เราได้เป็นคนสูงแล้วหรือหนอ ได้เป็นคนเตี้ย คนขาว คนดำ
คนมีขนาดพอดี คนที่ไม่ได้ขนาดแล้วหรือหนอแล. ส่วนอาจารย์บางพวก
ย่อมกล่าวว่า ปุถุชนอาศัยเหตุการเนรมิตของพระอิศวรเป็นต้น แล้วสงสัย
โดยเหตุว่า เราได้มีแล้วเพราะเหตุอะไรหนอแล.
บทว่า กึ หุตฺวา กึ อโหสึ ความว่า ปุถุชนอาศัยชาติ (กำเนิด)
เป็นต้น ย่อมสงสัยความสืบต่อของตนว่า เราเป็นกษัตริย์แล้วจึงได้มาเป็น
๑. ปาฐะ เป็น โกว เอวมาห มนสิกโรตีติ แต่ฉบับพม่าเป็น โก วา เอวมาห น มนสิกโรตีติ
เห็นว่าจะถูกต้องดีกว่า จึงได้แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167
พราหมณ์หรือหนอแล. ฯลฯ เป็นเทวดาแล้วจึงได้มาเป็นมนุษย์หรือ
หนอแล. คำว่า อทฺธาน ในทุก ๆ บท เป็นคำที่ระบุถึงกาลเวลา.
บทว่า ภวิสฺสามิ นุโข น นุโข ความว่า ย่อมสงสัยความที่ตน
จะมีหรือจะไม่มีในอนาคตเพราะอาศัยอาการแห่งสัสสตทิฏฐิ และอาการ
อุจเฉททิฏฐิ. คำที่เหลือในสูตรนี้มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.
บทว่า เอตรหิ วา ปจฺจุปฺปนฺน อทฺธาน ความว่า หรือยึดปัจจุบัน
กาล แม้ทั้งหมดมีปฏิสนธิเป็นต้น มีจุติเป็นที่สุดในปัจจุบัน.
บทว่า อชฺฒตฺต กถกถี โหติ ความว่า ปุถุชนย่อมเป็นผู้มีความ
สงสัยในขันธ์ทั้งหลายของตน. สงสัยอย่างไร๑ ? สงสัยความที่ตนมีอยู่ว่า
เรามีอยู่หรือหนอแล.
ถามว่า ก็ข้อนี้ถูกแล้วหรือ?
ตอบว่า ในคำว่า ถูกหรือไม่ถูก นี้ จะมีความคิด (กังขา) ไป
ทำไม เออก็ในเรื่องนี้ มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์. ได้ยินว่า ลูก
ของแม่เล็กโกนหัว (ส่วน) ลูกของแม่ใหญ่ไม่ได้โกนหัว พอลูกของแม่
ใหญ่นั้นหลับ ญาติทั้งหลายจึงช่วยกันโกนหัว. ลูกแม่ใหญ่นั้นพอตื่นขึ้น
ก็คิดว่า เราเป็นลูกของแม่เล็กหรือหนอ. ความสงสัยที่ว่า เรามีอยู่หรือ
หนอแล ก็เป็นอย่างนี้แหละ.
บทว่า โน นุ โขสฺมิ ได้แก่ปุถุชนย่อมสงสัยความที่ตนไม่มี.
แม้ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์. ได้ยินว่า คนจับปลา
คนหนึ่งคิดเห็นขาของตนซึ่งเย็นเพราะแช่อยู่ในน้ำนานว่าเป็นปลา จึงได้ตี
อีกคนหนึ่งเฝ้านาอยู่ใกล้ป่าช้ารู้สึกกลัวจึงนอนขดตัว. เขาตื่นขึ้นมาคิดว่า
๑. ฉ. กินฺติ สทฺโท นตฺถิ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 168
เข่าของตนเป็นยักษ์ ๒ ตน จึงได้ตี. เขาย่อมมีความสงสัยว่า หรือว่าเรา
ไม่มี (ไม่ใช่ตัวเรา) ดังนี้.
บทว่า กึ นุโข ได้แก่เขาเป็นกษัตริย์ (แต่) สงสัยความเป็น
กษัตริย์ของตน. ในบทที่เหลือก็นัยนี้. ส่วนผู้เกิดเป็นเทวดา ชื่อว่าไม่รู้
ความเป็นเทพย่อมไม่มี แม้เทวดานั้นก็ย่อมมีความสงสัยความเป็นเทวดานั้น
โดยนัยเป็นต้นว่า เรามีรูปหรือไม่มีรูปหนอ.
หากมีคำถามว่า กษัตริย์เป็นต้นไม่รู้ความเป็นกษัตริย์เป็นต้นเพราะ
เหตุอะไร?
พึงตอบว่า ความอุบัติในตระกูลนั้นๆ ของกษัตริย์เป็นต้นเหล่านั้น
ไม่ประจักษ์. แม้คฤหัสถ์ทั้งหลาย มีพราหมณ์โปฏฐลิตะเป็นต้น ก็มี
ความสำคัญตัวเองว่า เป็นบรรพชิต แม้บรรพชิตก็มีความสำคัญตัวเองว่า
เป็นคฤหัสถ์ โดยนัยเป็นต้นว่า กรรมของเรากำเริบแล้วหนอ อนึ่ง แม้
มนุษย์ทั้งหลายย่อมมีความสำคัญในคนว่าเป็นสมมติเทพ เหมือนพระราชา.
คำว่า กถ นุ โขสฺมิ นี้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. ก็ในบทว่า
กถ นุ โขสฺมิ นี้ มีอธิบายว่า ปุถุชนเมื่อยึดถือว่า ในภายในมีแต่ชีวะ
ล้วน ๆ ดังนี้ แล้วอาศัยอาการแห่งทรวดทรงของชีวะนั้น สงสัยอยู่ว่า
เราเป็นคนสูงหรือหนอแล หรือว่า เรามีรูปร่างเตี้ย ๔ ส่วน ๖ ส่วน
๘ ส่วน ๑๖ ส่วนเป็นต้น ประการใดประการหนึ่ง ดังนี้ พึงทราบว่า
สงสัยว่า เราเป็นอย่างไรหนอแล. ขึ้นชื่อว่าบุคคลผู้ไม่รู้สรีรสัณฐานอัน
เป็นปัจจุบันไม่มีเลย.
บทว่า กุโต อาคโต โส กุหึ คามี ภวิสฺสติ ได้แก่สงสัยที่มาและ
ที่ไปของอัตภาพ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 169
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงวิจิกิจฉา ๖ อย่าง ดังพรรณนา
มาฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงทิฏฐาสวะใด โดยหัวข้อคือวิจิกิจฉานี้
พระองค์ได้ทรงเริ่มเทศนาน เมื่อจะทรงแสดงทิฏฐาสวะนั้น จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า ตสฺส เอว อโยนิโส มนสิ โรโต ฉนฺน ทิฏฺฐีน ดังนี้ .
มีคำอธิบายไว้ว่า วิจิกิจฉานี้ ย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นโดยประการใด
บรรดาทิฏฐิ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมบังเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นนั่นเอง
ผู้ไม่ใส่ใจโดยแยบคาย มีความลังเลสงสัยโดยประการนั้น เพราะอโยนิโส
มนสิการ ถึงความเป็นสภาพมีกำลัง. วา ศัพท์ ในทุก ๆ บทนั้นเป็น
วิกัปปัตถะ. อธิบายว่า ทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้บ้าง อย่างนี้บ้าง. ก็
สัสสตทิฏฐิในบทว่า อัตตาของเรามีอยู่นี้ ย่อมยึดถือว่า อัตตาของตนมีอยู่
ในกาลทุกเมื่อ.
บทว่า สจฺจโต เถตโต ความว่า โดยจริงและโดยแท้. อธิบายว่า
โดยการยึดถืออย่างมั่นด้วยดีว่า อย่างนี้เท่านั้นจริง. ส่วนทิฏฐินี้ว่า อัตตา
ของเราไม่มี ชื่อว่าอุจเฉททิฏฐิ เพราะถือว่าสัตว์ที่มีอยู่ขาดสูญในภพนั้นๆ.
อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิแม้ข้อแรกชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ เพราะยึดถือว่า
มีอยู่ในกาลทั้ง ๓. ทิฏฐิที่ยึดถืออยู่ว่า สิ่งที่เป็นปัจจุบันเท่านั้นมีอยู่ ชื่อว่า
อุจเฉททิฏฐิ. อนึ่ง ทิฏฐิข้อหลังชื่อว่า อุจเฉททิฏฐิ เพราะยึดถือในอดีต
และอนาคตว่าไม่มี เหมือนทิฏฐิของบุคคลผู้ยึดถือทิฏฐิว่า การบูชา
ทั้งหลายมีเถ้าเป็นที่สุด ฉะนั้น (ส่วน) ทิฏฐิที่ยึดถือในอดีตเท่านั้นว่า
ไม่มี ชื่อว่า สัสสตทิฏฐิ ดุจทิฏฐิของสัตว์ผู้เกิดขึ้นลอย ๆ เท่านั้น.
บทว่า อตฺตนา ว อตฺตาน สญฺชานามิ ความว่า เมื่อปุถุชน
ยึดถือขันธ์ทั้งหลายโดยมีสัญญาขันธ์เป็นประธานว่า นั่นอัตตา แล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170
หมายรู้ขันธ์ที่เหลือด้วยสัญญา ย่อมมีความเข้าใจว่า เราย่อมหมายรู้อัตตานี้
ด้วยอัตตานี้.
บทว่า อตฺตนาว อตฺตาน ความว่า เมื่อปุถุชนยึดถือสัญญาขันธ์
นั้นแลว่าเป็นอัตตา และยึดถือขันธ์ นอกนี้ว่าเป็นอนัตตา แล้วหมายรู้
ขันธ์ เหล่านั้นด้วยสัญญา ย่อมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า (เราหมายรู้
อนัตตาด้วยอัตตา).
บทว่า อนตฺตนาว อตฺตาน ความว่า เมื่อปุถุชนยึดถือสัญญาขันธ์ว่า
อนัตตา และยึดถือขันธ์ ๔ นอกนี้ว่าอัตตา แล้วหมายรู้ขันธ์ ๔ เหล่านั้น.
ด้วยสัญญา ย่อมมีความเข้าใจอย่างนี้ว่า (เราหมายรู้อัตตาด้วยยอนัตตา ).
ทิฏฐิทุกอย่าง (ดังกล่าวมา) จัดเป็นสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิทั้งนั้น.
อาการทั้งหลายมีอาทิว่า วโท วเทยฺโย เป็นอาการของการยึดมั่น
ด้วยสัสสตทิฏฐินั้นเอง. ใน ๒ คำนั้นพึงทราบวินิจฉัยดงนี้. ที่ชื่อว่า วโท
เพราะอรรถว่า ผู้บงการ อธิบายว่า ผู้ทำวจีกรรม. ที่ชื่อว่า เวเทยฺโย
เพราะอรรถว่า รู้ อธิบายว่า ทั้งรู้ทั้งเสวย.
ถามว่า เสวยซึ่งอะไร ?
ตอบว่า เสวยผลของกรรมดีและกรรมชั่วในภพนั้น ๆ.
บทว่า ตตฺร ตตฺร ความว่า ในกำเนิด คติ ฐิติ นิวาส และนิกาย
หรือในอารมณ์นั้น ๆ.
บทว่า นิจฺโจ คือเว้นจากการบังเกิดขึ้นและการเสื่อมไป.
บทว่า ธุโว คือมั่นคง ได้แก่เป็นสาระ.
บทว่า สสฺสโต คือมีอยู่ตลอดกาลทั้งปวง.
บทว่า อวิปริณามธมฺโม ความว่า มีการไม่ละความเป็นปกติของตน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171
เป็นธรรมดา คือย่อมไม่ถึงความเป็นประการต่าง ๆ เหมือนกิ้งก่าฉะนั้น.
บทว่า สสฺสติสม ความว่า พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมุทร
มหาปฐพี และภูเขา ท่านเรียกว่า สัสสติ (สิ่งที่เที่ยง ) ตามโวหารของ
ชาวโลก. เสมอด้วยสิ่งที่เที่ยงทั้งหลาย ชื่อว่าสัสสติสมะ. ทิฏฐิอย่างนี้
ย่อมมีแก่บุคคลผู้ยึดถือว่า สิ่งที่เที่ยงทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ตราบใด อัตตานี้
ก็จักตั้งอยู่เหมือนอย่างนั้นตราบนั้น.
บทว่า อิท ในคำว่า อิท วุจฺจติ ภิกฺขเว ทิฏฺิคติ ดังนี้ เป็นต้น
เป็นคำชี้แจงคำที่จะพึงกล่าวในบัดนี้อย่างชัดเจน. ก็บทว่า อิท นี้ ท่าน
กล่าวไว้โดยความเกี่ยวเนื่องกับทิฏฐิคตะ หากล่าวไว้โดยความเกี่ยวเนื่อง
กับทิฏฐิไม่. ก็ในที่นี้ทิฏฐินั้นเอง ชื่อทิฏฐิคตะเหมือนคูถคตะ อีกอย่าง
หนึ่ง การดำเนินไปในทิฏฐิ ชื่อทิฏฐิคตะ. ทัสสนะนี้เพราะเหตุที่หยั่งลง
ในภายในแห่งทิฏฐิ ๖๒ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐิคตะ. อีกอย่างหนึ่ง การ
ดำเนินไปของทิฏฐิก็ชื่อว่า ทิฏฐิคตะ. คำว่า อตฺถิเม อตฺตา เป็นต้นนี้
สักว่าเป็นเครื่องดำเนินไปแห่งทิฏฐิ. อธิบายว่า อัตตา หรือใคร ๆ
ที่เที่ยงไม่มีในที่นี้. อนึ่ง ทิฏฐินี้นั้น ชื่อว่า รกชัฏ เพราะอรรถว่า
ปราบได้ยาก ชื่อว่ากันดาร เพราะอรรถว่า ข้ามได้ยาก และเพราะอรรถว่า
มีภัยเฉพาะหน้า เหมือนความกันดารเพราะทุพภิกขภัย และเพราะสัตว์ร้าย
เป็นต้นฉะนั้น. ทิฏฐินั้น ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง
เสียดแทง หรือเพราะอรรถว่า เป็นเครื่องขัดสัมมาทิฏฐิ. ชื่อว่าดิ้นรนไป
ต่าง ๆ เพราะอรรถว่า ดิ้นรนผิดรูป เพราะบางคราวยึดถือสัสสตทิฏฐิ
บางคราวยึดถืออุจเฉททิฏฐิ. ชื่อว่าสังโยชน์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง
ผูก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฺิคหน ฯเปฯ ทิฏฺิสโยชน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172
บัดนี้ เมื่อจะแสดงอรรถคือการผูกนั้นนั่นแลของสังโยชน์ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า ทิฏฺิสโยชนสยุตฺโต ดังนี้, ข้อนั้นมี
เนื้อความสังเขปต่อไปนี้ว่า ปุถุชนผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์นี้ ย่อม
ไม่พ้นจากชาติเป็นต้นเหล่านี้. อีกอย่างหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องพูดมาก (คือ
กล่าวว่า) เขาย่อมไม่พ้นไปจากวัฏฏทุกข์ทั้งหมดก็ได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงทิฏฐาสวะซึ่งมี ๖ ประเภท ดัง
พรรณนามาฉะนี้แล้ว เพราะเหตุที่สีลัพพตปรามาส พระองค์ทรงแสดง
ไว้ด้วยสามารถกามาสวะเป็นต้นนั้นนั่นแหละ ความจริง สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ภายนอกจากพระพุทธศาสนานี้ ถูกอวิชชาครอบงำย่อมพากัน
ยึดถือศีลและพรต เพื่อความสุขในกามและเพื่อความสุขในภพ และความ
บริสุทธิ์ในภพ ฉะนั้น ครั้นไม่ทรงแสดงสีลัพพตปรามาสนั้น (ซ้ำอีก)
หรือไม่ทรงแสดงสีลัพพตปปรามาสนั้น (อีก) เพราะสีลัพพตปรามาสนั้น
พระองค์ทรงถือเอาด้วยศัพท์ว่า ทิฏฐิแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงบุคคล
ผู้ละอาสวะอันจะพึงละด้วยทัสสนะนั้น แล้วแสดงวิธีการละอาสวะเหล่านั้น
หรือเพื่อทรงแสดงการับงเกิดขึ้นเเห่งอาสวะเหล่านั้นของปุถุชนผู้ไม่ได้ใส่ใจ
โดยแยบคาย แล้วจึงทรงแสดงวิธีการละของบุคคลผู้ผิดตรงกันข้ามนั้น
ในบัดนี้จึงตรัสคำว่า สุตวา จ โข ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. เนื้อความของ
คำนั้นบัณฑิตพึงทราบโดยนัยแห่งคำที่ทรงแสดงไว้แล้วในหนหลัง จนถึง
บาลีประเทศว่า โส อิท ทุกฺข ดังนี้ และโดยบุคคลที่ตรงกันข้ามจาก
บุคคลที่กล่าวมาแล้ว. ก็บุคคลนี้พึงทราบว่า เป็นอริยสาวกผู้ได้สดับ เป็น
ผู้ฉลาดในอริยธรรมและถูกแนะนำด้วยดีในอริยธรรมโดยปัจนีกนัย คือ
โดยความเป็นข้าศึกต่อบุคคลผู้ไม่รู้และไม่ได้ถูกแนะนำในอริยธรรมโดย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 173
อาการทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่งแล บุคคลนี้พึงทราบว่า เป็นอริยสาวกด้วย
อรรถอันสมควรแก่เหตุนั้น ตั้งแต่วิปัสสนาที่ถึงยอดจนถึงโคตรภู.
ก็ในข้อว่า โส อิท ทุกฺขนฺติ โยนิโส มนสิกโรติ ดังนี้เป็นต้นนี้
มีการบรรยายความให้ชัดเจนดังต่อไปนี้. อริยสาวกผู้เจริญกัมมัฏฐานใน
สัจจะ ๔ นั้น ในชั้นแรกทีเดียว ต้องเรียนกัมมัฏฐานประกอบด้วยสัจจะ๔
ในสำนักของอาจารย์อย่างนี้ว่า ขันธ์ที่เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า เป็นทุกข์
เพราะโทษคือตัณหา ตัณหาชื่อว่าเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ความไม่เป็นไป
แห่งทุกข์และทุกข์สมุทัยทั้ง ๒ ชื่อว่านิโรธ ทางให้ถึงความดับชื่อว่ามรรค
ดังนี้แล้ว โดยสมัยต่อมา เธอก้าวขึ้นสู่ทางแห่งวิปัสสนา ย่อมใส่ใจถึง
ขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๓ เหล่านั้นโดยแยบคายว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ คือ ย่อม
รำพึง และพิจารณาเห็นแจ้งโดยอุบาย คือโดยถูกทาง. ก็ในที่นี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสวิปัสสนาโดยยกมนสิการเป็นสำคัญทีเดียว จนถึงโสดา-
ปัตติมรรค. พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า ก็ตัณหานี้ใดเป็น
สมุฏฐาน คือเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแหละ ตัณหานี้นั้นชื่อว่าสมุทัย.
พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายว่า ก็เพราะทุกข์นี้ด้วยทั้งสมุทัยนี้ด้วย
ครั้นมาถึงฐานะนี้แล้วย่อมดับไป คือไม่เป็นไป ฉะนั้น ฐานะนี้จึงชื่อว่า
นิพพาน นี้แลชื่อทุกขนิโรธ. พระโยคาวจรย่อมใส่ใจโดยแยบคายถึงมรรค
มีองค์ ๘ อันเป็นเหตุให้ถึงนิโรธว่า นี้คือปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์
คือย่อมพิจารณาและย่อมเห็นแจ้งโดยอุบาย คือโดยถูกทาง. ในข้อนั้น
มีอุบาย (กำหนด) ดังนี้ :-
ชื่อว่าความยึดมั่นย่อมมีในวัฏฏะ หามีในวิวัฏฏะไม่. ฉะนั้น พระ
โยคาวจรกำหนดภูตรูป ๔ ในสันตติของตนโดยนัยเป็นต้นว่า ปฐวีธาตุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174
อาโปธาตุ นี้มีอยู่ในกายนี้ ดังนี้ และกำหนดอุปาทายรูปตามทำนองแห่ง
ภูตรูปนั้นแล้วกำหนดว่า นี้เป็นรูปขันธ์ ดังนี้ เมื่อกำหนดรูปขันธ์นั้น
ก็ย่อมกำหนดธรรม คือจิตและเจตสิก อันมีรูปขันธ์นั้นเป็นอารมณ์เกิด
ขึ้นแล้ว ว่า ธรรม ๔ ประการนี้เป็นอรูปขันธ์ ต่อแต่นั้นย่อมกำหนด
ว่าขันธ์ ๔ เบญจขันธ์เหล่านี้เป็นทุกข์ ก็เบญจขันธ์เหล่านั้น โดยสังเขป
มี ๒ ส่วนเท่านั้น คือนามและรูป และนามรูปนี้มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น
พระโยคาวจรย่อมกำหนดเหตุและปัจจัยของนามรูปนั้น มีอวิชชา ภพ
ตัณหา กรรมและอาหารเป็นต้นว่า นี้เป็นปัจจัย. ต่อแต่นั้นพระโยคาวจร
กำหนดกิจและลักษณะของตนตามความเป็นจริงของปัจจัย และธรรมซึ่ง
อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเหล่านั้นแล้วยกขึ้นสู่อนิจจลักษณะว่า ธรรมเหล่านั้นไม่มี
แล้วเกิดมีขึ้น. ยกขึ้นสู่ทุกขลักษณะว่า ธรรมเหล่าเป็นทุกข์ เพราะ
ความที่ถูกความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปบีบคั้น. ยกขึ้นสู่อันตตลักษณะว่า
ธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. พระโยคาวจร
ครั้นยกธรรมเหล่านั้นขึ้นสู่ไตรลักษณ์อย่างนี้แล้วให้วิปัสสนาเป็นไปโดยลำดับ
ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคได้. ในขณะนั้นเธอย่อมแทงตลอดสัจจะทั้ง ๔
ด้วยการแทงตลอดด้วยญาณดวงเดียวเท่านั้น ย่อมตรัสรู้ด้วยอาการตรัสรู้
ด้วยญาณควงเดียว ย่อมแทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดโดยการกำหนดรู้
ย่อมแทงตลอดสมุทัยด้วยการแทงตลอดโดยการละ ย่อมแทงตลอดนิโรธด้วย
การแทงตลอดโดยการทำให้แจ้ง ย่อมแทงตลอดมรรคด้วยการแทงตลอด
โดยการเจริญ. อนึ่ง เธอย่อมตรัสรู้ทุกข์ด้วยการตรัสรู้โดยการกำหนดรู้
ฯลฯ ย่อมตรัสรู้มรรคด้วยการตรัสรู้โดยการเจริญ หาใช่ตรัสรู้สัจจะ
อีกข้อหนึ่งด้วยญาณอีกญาณหนึ่งไม่. ความจริง พระโยคาวจรนี้ ย่อม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 175
แทงตลอดและย่อมตรัสรู้นิโรธสัจจะโดยความเป็นอารมณ์ และสัจจะ
ที่เหลือโดยความเป็นกิจด้วยญาณดวงเดียวเท่านั้น. ก็ในสมัยนั้นเธอย่อม
ไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมกำหนดรู้ทุกข์ ดังนี้ หรือ ฯลฯ หรือว่า
เราย่อมยังมรรคให้เจริญ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อเธอทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ
ด้วยสามารถแห่งปฏิเวธ โดยทำให้เป็นอารมณ์อยู่นั่นแหละ ญาณนั้นชื่อว่า
ย่อมทำหน้าที่กำหนดรู้ทุกข์บ้าง ทำหน้าที่ละสมุทัยบ้าง และทำหน้าที่เจริญ
มรรดบ้าง. เมื่อเธอใส่ใจโดยแยบคายโดยอุบายอย่างนี้ เธอย่อมละ
สังโยชน์ได้ ๓ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ วิจิกิจฉามีวัตถุ ๘
สีลัพพตปรามาส เพราะลูบคลำศีลและพรตว่า ความบริสุทธิ์มีได้เพราะศีล
ความบริสุทธิ์มีได้เพราะพรต. บรรดาอาสวะทั้ง ๔ เหล่านั้น สักกายทิฏฐิ
สีลัพพตปรามาสท่านสงเคราะห์ด้วยทิฏฐาสวะ คือเป็นทั้งอาสวะเป็น
ทั้งสังโยชน์ วิจิกิจฉาเป็นสังโยชน์อย่างเดียว ไม่เป็นอาสวะ. แต่ชื่อว่า
เป็นอาสวะเพราะนับเนื่องในบาลีนี้ว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา อาสวา ดังนี้
เหตุนั้น ธรรนเหล่านี้ จึงเรียกว่า ปหาตัพพธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงสักกายทิฏฐิเป็นต้นเหล่านี้ว่า เป็นอาสวะที่ชื่อว่า ทัสสน-
ปหาตัพพธรรม จึงได้ตรัสไว้. อีกอย่างหนึ่ง สักกายทิฏฐินี้ใด ที่ท่าน
จำแนกไว้โดยสรูปนั้นแลอย่างนี้ว่า บรรดาทิฏฐิ ๖ อย่าง ทิฏฐิอย่างใด
อย่างหนึ่ง เกิดขึ้น ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาสักกายทิฏฐินั้น
จึงตรัสว่า อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว ดังนี้ . ก็เพราะสักกายทิฏฐินั้น พระ
โยคาวจรย่อมละได้พร้อมกับวิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาสที่เกิดร่วมกันและ
มีความหมายอย่างเดียวกันด้วยการละ. ความจริง เมื่อพระโยคาวจรละ
ทิฏฐาสวะได้แล้ว กามาสวะก็ดี อวิชชาสวะก็ดี ในจิตที่เป็นทิฏฐิสัมปยุต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 176
๔ ดวง ซึ่งเกิดร่วมกับทิฏฐาสวะนั้น พระโยคาวจรย่อมละได้เช่นเดียวกัน.
ส่วนภวาสวะซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยสามารถแห่งความสำเร็จความปรารถนาของ
นาคและครุฑเป็นต้น ในจิตซึ่งเป็นทิฏฐิวิปปยุต ๔ ดวงชื่อว่าธรรม ที่
มีความหมายอย่างเดียวกันด้วยการละ อาสวะทั้ง ๓ ที่เหลืออย่างนี้ คือ
อวิชชาสวะที่สัมปยุตด้วยภวาสวะนี้ก็ดี อวิชชาสวะอันเป็นตัวทำให้บังเกิด
อกุศลกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้นในโทมนัสจิต ๒ ดวงก็ดี อวิชชาสวะ
ซึ่งสัมปยุตด้วยวิจิกิจฉาจิตเช่นเดียวกันก็ดี พระโยคารจรย่อมละได้โดย
ประการทั้งปวง. เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำนิทเทศเป็นพหุวจนะไว้ฉะนี้แล.
ในที่นี้เนื้อความพึงทราบดังว่ามานี้. คำอธิบายของท่านพระโบราณาจารย์
ก็เช่นนี้.
บทว่า ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่า โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า
ทัสสนะ อธิบายว่า อาสวะเหล่านั้น อันทัสสนะนั้นพึงละ.
ถามว่า เพราะเหตุไร โสดาปัตติมรรคจึงชื่อว่า ทัสสนะ ?
ตอบว่า เพราะเห็นพระนิพพานครั้งแรก.
ถามว่า โคตรภูญาณย่อมเห็นก่อนกว่ามิใช่หรือ ?
ตอบว่า โคตรภูญาณย่อมไม่เห็นเลยก็ไม่ใช่. แต่ว่า โคตรภูญาณนั้น
ครั้นเห็นแล้วจะทำกิจที่ควรกระทำไม่ได้ เพราะละสังโยชน์ไม่ได้ ฉะนั้น
จึงไม่ควรกล่าวว่า ย่อมเห็น ดังนี้. ก็ในเรื่องนี้มีบุรุษชาวบ้านแม้ได้เห็น
พระราชาในที่บางแห่งแล้วถวายเครื่องบรรณาการกล่าวอยู่ว่า แม้ในวันนี้
เราก็ไม่ได้พบพระราชา เพราะความสำเร็จกิจตนมองไม่เห็นเป็นตัวอย่าง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 177
(๒) อาสวะที่ละได้เพราะสังวร
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอาสวะอันจะพึงได้ด้วยทัสสนะ
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงอาสวะอันพระโยคาวจรพึงละด้วยสังวรซึ่ง
ทรงแสดงไขไว้ในลำดับต่อไป จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหนที่
พระโยคาวจรพึงละด้วยสังวร ดังนี้. ในบททั้งปวงพึงทราบการสัมพันธ์
กันอย่างนี้. ก็เบื้องหน้าแต่นี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาเพียงเนื้อความเท่านั้น.
ถามว่า ก็ขึ้นชื่อว่า อาสวะที่พระโยคาวจรพึงละไม่ได้ด้วยกิจ ๒
อย่างเหล่านี้คือ ด้วยทัสสนะและด้วยภาวนาไม่มีมิใช่หรือ ? เมื่อเป็นเช่น
นั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอาสวะที่พระโยคาวจร
พึงละด้วยกิจมีสังวรเป็นต้นไว้แผนกหนึ่งเล่า.
ตอบว่า เพราะอาสวะทั้งหลายที่พระโยคาวจรข่มไว้ได้ในส่วน
เบื้องต้นด้วยกิจมีการสังวรเป็นต้น ย่อมถึงการเพิกถอนด้วยมรรค ๔
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการละอาสวะเหล่านี้ในส่วน
เบื้องต้นแห่งมรรคเหล่านั้นด้วยการข่มไว้ด้วยอาการ ๕ อย่าง จึงตรัส
อย่างนี้. ฉะนั้น โสดาปัตติมรรคข้อแรกที่พระองค์ตรัสไว้แล้วนี้ใด
และมรรค ๓ ซึ่งพระองค์จักตรัสโดยชื่อว่าภาวนาในบัดนี้ กถาว่าด้วย
อาสวะที่พึงละเพราะสังวรเป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นบุพพภาค-
ปฏิปทาของโสดาปัตติมรรค และของมรรคทั้ง ๓ เหล่านั้นแม้ทั้งหมด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ คือ ในศาสนานี้. บทว่า ปฏิสงฺขา
แปลว่า พิจารณาแล้ว. สงฺขา ศัพท์ ในบทว่า ปฏิสงฺขา นั้น ย่อมใช้
ในญาณ โกฏฐาสะ บัญญัติและการนับ. อธิบายว่า สงฺขา ศัพท์ ใช้
ในญาณ (ดุจ) ในประโยคเป็นต้นว่า พิจารณาแล้วจึงเสพปัจจัยอย่าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 178
หนึ่ง ใช้ในโกฏฐาสะ (ดุจ) ในประโยคเป็นต้นว่า ส่วนแห่งธรรมเครื่อง
เนิ่นช้ามีสัญญาเป็นเหตุ ย่อมฟุ้งไป. ใช้ในบัญญัติ (ดุจ ) ในประโยค
เป็นต้นว่า การบัญญัติเป็นชื่อของธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๆ. ใช้ในการ
นับ (ดุจ) ในประโยคเป็นต้นว่า การนับไม่ใช่ทำได้โดยง่ายเลย. ส่วน
ในที่นี้พึงเห็นความหมายว่าใช้ในญาณ.
ความจริง บทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส ความว่า พิจารณา คือ
ทราบ ได้แก่เห็นเฉพาะ โดยอุบาย คือโดยถูกทาง. ก็ในที่นี้ การพิจารณา
โทษในอสังวร พึงทราบว่า การพิจารณาโดยแยบคาย. ก็การพิจารณา
โทษในอสังวรนี้นั้น พึงทราบโดยนัยแห่งอาทิตตปริยายสูตรเป็นต้นว่า
ภิกษุทั้งหลาย จักขุนทรีย์ที่ภิกษุทะลวงแล้วด้วยหลาวเหล็กอันร้อนโชน
รุ่งโรจน์โชติช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือเอานิมิตโดยอนุพยัญชนะ
ในรูปที่จะพึงรู้ด้วยจักษุไม่ประเสริฐเลย.
ในบทว่า จกฺขุนฺทริยสวรสวุโต วิหรติ นี้ มีอธิบายว่า อินทรีย์
คือจักษุ ชื่อจักขุนทรีย์ ที่ชื่อว่า สังวร เพราะกั้นไว้ อธิบายว่า เพราะ
ปิด คือกั้นไว้ได้. คำว่า สังวรนี้ เป็นชื่อของสติ. การสำรวมในอินทรีย์
คือจักษุ ชื่อว่าการสำรวมจักขุนทรีย์ ดุจประโยคเป็นต้นว่า กาที่ท่าน้ำ
เต่าในบ่อน้ำ กระบือในป่า.
ในบทว่า จกฺขุนฺทฺริยสวรสวุโต วิหรติ นั้น การสำรวมหรือการไม่
สำรวมในจักขุนทรีย์ ย่อมไม่มีแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สติ หรือความหลง
ลืมสติ ย่อมไม่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาท. อีกอย่างหนึ่ง ในกาลใด
รูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ ในกาลนั้น เมื่อภวังคจิตเกิดขึ้น ๒ ครั้งแล้วดับไป
มโนธาตุฝ่ายกิริยาเกิดขึ้นให้กิจแห่งอาวัชชนะสำเร็จแล้วดับไป ต่อแต่นั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 179
จักขุวิญญาณเกิดขึ้นให้ทัสสนกิจสำเร็จแล้วดับไป ต่อแต่นั้น มโนธาตุฝ่าย
วิบากเกิดขึ้นให้สัมปฎิฉันนกิจสำเร็จแล้วดับไป ต่อแต่นั้น มโนวิญญาณ-
ธาตุอันเป็นอเหตุกวิบากเกิดขึ้นให้สันตีรณกิจสำเร็จแล้วดับไป ต่อแต่นั้น
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นอเหตุกฝ่ายกิริยาเกิดขึ้นให้โวฏฐัพพนกิจสำเร็จแล้ว
ดับไป. ในลำดับนั้น ชวนจิตย่อมแล่นไป. อนึ่ง ในบทว่า จกฺขุนฺทฺริย-
สวรสวุโต วิหรติ นั้น การสำรวมหรือการไม่สำรวมย่อมไม่มีในสมัยแห่ง
ภวังคจิต ทั้งในสมัยแห่งอาวัชชนจิต เป็นต้น สมัยใดสมัยหนึ่ง การสำรวม
หรือการไม่สำรวมย่อมไม่มีเช่นเดียวกัน. แต่ในขณะแห่งชวนจิต ถ้าโทษ
เครื่องทุศีล ความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่รู้ ความไม่อดทน หรือความ
เกียจคร้านเกิดขึ้นไซร้ นี้เป็นการไม่สังวร. ความไม่สำรวมนั้น แม้เป็น
อย่างนี้ ท่านก็เรียกว่าความไม่สำรวมในจักขุนทรีย์.
ถามว่า เพราะเหตุไร?
ตอบว่า เพราะเมื่อมีการไม่สำรวมในจักขุนทรีย์นั้น. ทวารก็ดี
ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันพระโยคาวจรไม่คุ้ม
ครองแล้ว.
เปรียบเหมือนอะไร ?
เปรียบเหมือนเมื่อประตูทั้ง ๔ ด้านในพระนครอันบุคคลไม่คุ้มครอง
แล้ว ภายในเรือนซุ้มประตูและห้องเป็นต้นอันบุคคลคุ้มครองดีแล้วแม้ก็จริง
ถึงอย่างนั้น สิ่งของทุกอย่างในพระนครเป็นอันไม่ได้รักษาไม่ได้คุ้มครองเลย.
เพราะโจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูพระนครพึงลักสิ่งที่ตนปรารถนาได้ฉันใด
เมื่อโทษเครื่องทุศีลบังเกิดขึ้นในชวนจิต เมื่อมีการไม่สำรวมในชวนจิตนั้น
ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี เป็นอันภิกษุไม่
คุ้มครองฉันนั้นนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 180
แต่เมื่อศีลเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิตนั้น ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิต
มีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันภิกษุคุ้มครองดีแล้ว. เปรียบเหมือน
อะไร ? เปรียบเหมือนเมื่อประตูพระนครอันบุคคลคุ้มครองดีแล้ว ภายใน
เรือนเป็นต้น อันบุคคลคุ้มครองไม่ดีแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สิ่งของทุกอย่าง
ภายในพระนครเป็นอันบุคคลรักษาดีแล้ว. เพราะเมื่อปิดประตูพระนครแล้ว
โจรทั้งหลายก็เข้าไปไม่ได้ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นบังเกิดขึ้นในชวนจิต
ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี เป็นอันภิกษุคุ้มครอง
ดีแล้วฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น สังวรแม้ที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวน-
จิต ท่านเรียกว่า การสำรวมในจักขุนทรีย์. ก็ในที่นี้ สติสังวรนี้พึงทราบ
ว่า พระองค์ทรงประสงค์เอาแล้ว. บุคคลผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวม
จักขุนทรีย์ ชื่อว่า จกฺขุนฺทฺริยสวรสวุโต ผู้เข้าถึงแล้วด้วยการสำรวมจักขุน-
ทรีย์. จริงอย่างนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในวิภังค์แห่งบทว่า ปาฏิโมกฺขสร-
สวุโต นี้ว่า ภิกษุผู้เข้าถึง ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยการสำรวมปาฏิโมกข์
นี้ คำนั้นบัณฑิตพึงรวมเข้าเป็นอันเดียวกันแล้วทราบโดยเนื้อความอย่างนี้
ว่า ภิกษุเป็นผู้สำรวมด้วยการสำรวมจักขุนทรีย์. อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า
ผู้สำรวมแล้ว เพราะอรรถว่า สังวรระวัง อธิบายว่า กั้น คือปิด. ภิกษุผู้
สังวรระวังในจักขึ้นทรีย์ คือผู้มีจักขึ้นทรีย์อันระวังรักษาแล้ว อธิบายว่า
กั้น คือปิด บานประตูคือสติที่รู้กันว่าการสำรวมทางจักขุนทรีย์ในจักษุ
ทวาร เหมือนคนปิดบานประตูที่ประตูเรือนฉะนั้น. ก็ในข้อนี้ เนื้อความนี้
เท่านั้นดีกว่า. จริงอย่างนั้น เนื้อความนี้นั้นแลย่อมปรากฏใน ๒ บทนี้ว่า
ผู้ไม่สำรวมระวังจักขุนทรีย์อยู่ และว่า ผู้สำรวมระวังจักขุนทรีย์อยู่ ดังนี้แล.
บทว่า วิหรติ ความว่า ผู้สำรวมระวังทางจักขุนทรีย์อย่างนี้อยู่
ด้วยการอยู่ด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 181
ในบทว่า ยญฺหิสฺส เป็นต้น พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า เมื่อ
ภิกษุนั้นไม่สำรวมระวังจักขุนทรีย์ใด คือไม่กั้นไม่ปิดการระวังทางจักขุน-
ทรีย์อยู่. อีกอย่างหนึ่งอาเทศ เย อักษร เป็น ย ก็ได้ ส่วน หิ อักษร
เป็นปทปูรณะ ความว่า เย อสฺส.
บทว่า อุปฺปชฺเชยฺยุ๋ แปลว่า พึงบังเกิดขึ้น.
บทว่า อาสวา วิฆาฏปริฬาหา ได้แก่อาสวะ ๔ และความเร่าร้อน
เพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบากอันทำความคับแค้นเหล่าอื่น.
ความจริงกามาสวะย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ชอบใจเพลิดเพลินใจซึ่งอิฏฐา-
รมณ์อันมาปรากฏในจักษุทวารด้วยอำนาจความชอบใจในกาม ภวาสวะ
ย่อมบังเกิด แก่ภิกษุผู้ยินดีด้วยความปรารถนาในภพว่า เราจักได้สมบัติ
เช่นนี้ในสุคติภพแม้อื่น ทิฏฐาสวะย่อมบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยึดถือว่าเป็น
สัตว์หรือว่าของสัตว์ ความไม่รู้ซึ่งบังเกิดพร้อมกับอาสวะทั้งหมดนั้นแหละ
ชื่อว่าอวิชชาสวะ อาสวะ ๔ ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างว่ามานี้. แม้กิเลสทั้งหลาย
เหล่าอื่นซึ่งสัมปยุตด้วยอาสวะเหล่านั้น ความเร่าร้อนอัน กระทำความคับแค้น
หรือวิบากในภพต่อไปของกิเลสเหล่านั้นเหล่าใด แท้จริง กิเลสเป็นต้น
แม้เหล่านั้น ท่านกล่าวว่า พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมอยู่เหมือนกัน.
บทว่า เอวส เต ความว่า ด้วยอุบายนี้ อาสวะเหล่านั้นนั่นแหละ
หามีแก่ภิกษุนั้นผู้สำรวมอยู่อย่างนี้ไม่ อธิบายว่า ไม่ใช่มีโดยประการอื่น.
ในบทเป็นต้นว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส โสตินฺทฺริยสวรสวุโต ก็นัย
(เดียวกัน) นี้. ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ อาสวา สวรา ปหาตพฺพา
ความว่า อาสวะเหล่านั้นเพราะแยกในทวารทั้ง ๖ เป็นทวารละ ๔ อาสวะ
จึงรวมเป็นอาสวะ ๒๔ เรากล่าวว่า พระโยคาวจรควรละเสียด้วยสังวร.
ก็ในที่นี้ สติสังวรนั้นแล พึงทราบว่า สังวรในทุก ๆ บทนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 182
(๓) อาสวะที่ละได้เพราะการพิจารณา
[๑๔] คำที่จะพึงกล่าว ในบทว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส จีวร
เป็นต้น ทั้งหมด ท่านกล่าวไว้แล้วในสีลกถา ในปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรค
นั้นแล.
บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า อาสวะและความเร่าร้อนอันทำความ
คับแค้นใจ ( พึงเกิดขึ้น) แก่ภิกษุ ( ผู้ไม่พิจารณาแล้วเสพ ) ปัจจัย
หรือบรรดาจีวรบิณฑบาตเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า อปฏิเสวโต ความว่า ผู้ไม่ ( พิจารณา) โดยแยบคาย
แล้วเสพอย่างนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล ก็ในที่นี้ พึงทราบการ
บังเกิดขึ้นแห่งกามาสวะของภิกษุผู้ปรารถนาจีวรเป็นต้นที่คนไม่ได้ หรือผู้
ยินดีจีวรเป็นต้นที่ตนได้แล้วอย่างเดียว. พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งภวาสวะ
ของภิกษุผู้ยินดีด้วยความปรารถนาในภพว่า เราจักได้สมบัติเช่นนี้ ใน
สัมปัตติภพ คือสุคติภพแม้อื่น พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งทิฏฐาสวะของ
ภิกษุผู้ตั้งความสำคัญในคนว่า เราจะได้ ดังนี้ หรือว่า สิ่งนี้จักเป็นของเรา
ดังนี้ . ก่อวิชชาสวะเกิดพร้อมกับอาสวะทั้งปวง พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่ง
อาสวะทั้ง ๔ อย่างดังว่ามานี้แล. ส่วนความเร่าร้อนเพราะวิบาก พึงทราบ
แม้โดยการบังเกิดขึ้นแห่งเวทนาใหม่. ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ ภิกฺขเว
อาสวา ปฏิเสวนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะเหล่านี้มี ๑๖ อย่าง
เพราะแยกอาสวะในปัจจัยแต่ละปัจจัย ( มีจีวรเป็นต้น) เป็นปัจจัยละ
๔ อาสวะ. อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่า พระโยคาวจรพึงละได้ด้วยการ
พิจารณาแล้วเสพ กล่าวคือการสำรวมด้วยญาณนี้ ฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 183
(๔) อาสวะที่ละได้ด้วยความอดกลั้น
[๑๕] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส ขโม โหติ สีตสฺส ความว่า
ภิกษุพิจารณาโดยอุบายถูกทางแล้วย่อมเป็นผู้ทนต่อความหนาว คือ
ย่อมอดทนอดกลั้นความหนาว จะสั่นสะท้านเพราะความหนาวแม้เพียงเล็ก
น้อย เหมือนบุรุษผู้ไม่มีความกล้าหาญก็หาไม่ ท่านไม่ยอมละทิ้งกัมมัฏ-
ฐาน. อีกอย่างหนึ่งแล ท่านถูกความหนาวจัดสัมผัสก็ไม่สั่นสะท้าน ย่อม-
ใส่ใจเฉพาะกัมมัฏฐานเหมือนพระโลมสนาคเถระฉะนั้น. ได้ยินว่า พระ
เถระอยู่ในเรือนบำเพ็ญเพียรในถ้ำปิยังคุ ณ เจติยบรรพต พิจารณาโลกัน-
ตริยนรกที่ตั้งอยู่ในระหว่าง (ทวีป) ในสมัยหิมะตก ไม่ยอมละทิ้ง
กัมมัฏฐานเลย ให้เวลาผ่านไปในกลางแจ้ง. แม้ในฤดูร้อนเป็นต้น ก็พึง
ทราบการอธิบายขยายความอย่างนี้. ความจริง ภิกษุใดย่อมอดกลั้นความ
ร้อนแม้มีประมาณยิ่งได้อย่างเดียว ภิกษุนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้อดทน
ต่อความร้อนได้เหมือนพระเถระนั้นนั่นแล. ได้ยินว่า ในเวลาหลังภัตตา-
หารในฤดูคินหันต์ พระเถระนั่งอยู่ภายนอกที่จงกรม. เมื่อท่านใส่ใจถึง
กัมมัฏฐานเหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้. ทีนั้น อันเตวาสิกจึงเรียนท่านว่า
ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านนั่งในที่นี้เถิด โอกาสนี้เย็นสบาย. พระเถระกล่าว
ว่า เราจะไม่นั่งในที่นั้นหรอกเพราะกลัวความร้อน ผู้มีอายุ ดังนี้ แล้วนั่ง
พิจารณาอเวจีมหานรก. ก็ในที่นี้ความเร่าร้อนเพราะไฟพึงทราบว่า อุณฺห.
ก็เรื่องนั้นท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจความเร่าร้อนอันเกิดจากพระอาทิตย์. ก็
ภิกษุใดแม้เมื่อไม่ได้ภัตหรือน้ำดื่มเพียง ๒-๓ มื้อแล้ว พิจารณาการเกิด
ขึ้นในเปตวิสัยของตนในสงสารอันมีที่สุดเบื้องต้นที่ตามไปไม่รู้แล้ว ไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 184
หวั่นไหว ไม่ละทิ้งกัมมัฏฐานและถูกสัมผัสแห่งเหลือบยุงและแดดแม้มี
ประมาณยิ่งถูกต้อง ก็พิจารณาการเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไม่หวั่นไหว
ไม่ละทิ้งกัมมัฏฐานเลย และแม้จะถูกสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานถูกต้อง
ก็พิจารณาถึงอัตภาพในกาลก่อน ซึ่งกลิ้งเกลือกอยู่หลายวาระที่ปากของ
ราชสีห์และเสือโคร่งเป็นต้น ในสงสารที่มีที่สุดเบื้องต้นที่ตามไปไม่รู้แล้ว
ไม่หวั่นไหวไม่ละทิ้งกัมมัฏฐานเหมือนพระปธานิยเถระ ภิกษุนั้นพึง
ทราบว่าเป็นผู้อดทนต่อความหิว ฯลฯ สัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลานเป็นต้น.
ได้ยินว่า งูพิษตัวหนึ่งได้กัดพระเถระผู้กำลังฟังอริยวังสสูตร ในเรือน
ทำความเพียรชื่อกรรณิการ์ในมหาวิหารชื่อขัณฑเวละ. พระเถระแม้รู้
แล้วมีจิตเลื่อมใสนั่งฟังธรรมตามปกติ. กำลังพิษได้แรงกล้าขึ้น (ตาม
ลำดับ). พระเถระได้พิจารณาถึงศีลเริ่มต้นแต่มณฑลอุปสมบทแล้วเกิด
ปีติขึ้นว่า เรามีศีลบริสุทธิ์. พร้อมกับการบังเกิดขึ้นแห่งปีติ พิษได้แล่น
กลับเข้าแผ่นดินไป. พระเถระได้เอกัคคตาจิตในที่นั้นนั่นเองเจริญวิปัสสนา
แล้วบรรลุพระอรหัต. ก็ภิกษุใดฟังคำพูดหยาบคาย และคำพูดอันสหรคต
ด้วยอันเติมวัตถุ ซึ่งมาจากที่ไกลเพราะเป็นคำพูดที่หยาบคายแล้ว พิจารณา
ถึงคุณของขันติ ไม่หวั่นไหวด้วยอำนาจการด่าตอบเหมือนพระทีฆภาณก-
อภัยเถระ. ภิกษุนี้นั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำหยาบ
ซึ่งมาแต่ไกลได้. ได้ยินว่า พระเถระกล่าวมหาอริยวังสปฏิปทาเพื่อความ
เป็นผู้ยินดีในการเจริญสันโดษด้วยปัจจัย. ชาวบ้านทั้งหมดต่างพากันมา.
มหาสักการะจึงได้เกิดมีแก่พระเถระ พระมหาเถระบางรูปอดกลั้นสักการะ
นั้นไม่ได้จึงด่าโดยนัยเป็นต้นว่า พระทีฆภาณกะก่อความวุ่นวายขึ้นตลอด
คืน ด้วยกล่าวว่าเราจะกล่าวอริยวงศ์. ก็พระเถระทั้ง ๒ รูป (เวลาเดิน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 185
ทาง) กลับไปสู่วิหารของตน ๆ และได้เดินร่วมทางเดียวกันไปสิ้นหนทาง
ประมาณคาวุตหนึ่ง. พระเถระนั้นก็ได้ด่าพระทีฆภาณกเถระแม้ทุก ๆ
คาวุต. ครั้นแล้ว พระทีฆภาณกเถระยืนอยู่ในที่ที่หนทางของวิหารทั้ง ๒
แยกกัน ไหว้พระเถระนั้นแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ นี้เป็นทางของท่าน
ดังนี้. พระเถระนั้นเดินจากไปทำเหมือนไม่ได้ยิน. ฝ่ายพระทีฆภาณกเถระ
ไปถึงวิหารล้างเท้าแล้วนั่งลง. อันเตวาสิกจึงได้กล่าวกะท่านว่า
ท่านผู้เจริญ อะไรกัน ทำไมท่านจึงไม่กล่าวอะไร ๆ กะพระเถระ
นั้นซึ่งด่าบริภาษท่านทุก ๆ คาวุต. พระเถระตอบว่า
อาวุโส ความอดทนเป็นหน้าที่ของเรา ความไม่อดทนหาใช่เป็น
หน้าที่ของเราไม่ เราเองไม่ ( เคย ) เห็นการพลาดจากกัมมัฏฐาน ( ของ
เรา) แม้ในเพราะการยกเท้าข้างหนึ่ง. ในที่นี้ควรทราบว่า ถ้อยคำนั้น
แหละชื่อว่าถูกต้องตามทำนองคลองธรรม.
เวทนาร่างกาย ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้ถึงทุกข์
ชื่อว่าหนา เพราะอรรถว่า หนา๑แน่น ชื่อว่าแข็ง เพราะอรรถว่า หยาบ
ชื่อว่ากล้า เพราะอรรถว่า คม ชื่อว่าไม่น่ายินดี เพราะเว้นจากความยินดี
ชื่อว่าไม่น่าชอบใจ เพราะอรรถว่า ไม่เป็นที่เจริญใจ ชื่อว่าเป็นเครื่องคร่า
ชีวิตได้ ภิกษุใดอดกลั้นเวทนานั้นได้ คือไม่หวั่นไหว ได้แก่ดำรงอยู่
ตามปกติ เหมือนพระปธานิยเถระผู้อยู่ที่จิตลดาบรรพต ภิกษุนี้พึงทราบว่า
เป็นผู้มีปกติอดกลั้นสิ่งต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้น ฯลฯ.
ได้ยินว่า เมื่อพระเถระยืนบำเพ็ญเพียรอยู่ตลอดคืน ลมในต้องก็เกิด
ขึ้น. ท่านไม่สามารถจะอดกลั้นลมนั้นได้จึงได้บิดไปบิดมา. พระเถระผู้
๑. ปาฐะว่า ทุกฺขาวหนฏฺเน พม่าเป็น พหลตฺเถน เห็นว่าเหมาะจึงแปลแบบพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 186
ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งยืนอยู่ข้างที่จงกรม จึงกล่าวกะท่าน
ว่า อาวุโส ธรรมดาบรรพชิตเป็นผู้มีปกติอดกลั้น ดังนี้. พระเถระนั้น
รับว่า ดีละ ผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้นอน ( สงบนิ่ง ) ไม่ไหวติง.
ลมได้แล่นเสียดหัวใจไปจนถึงนาภี. พระเถระข่มเวทนาเจริญวิปัสสนาเพียง
ชั่วครู่ก็ได้เป็นพระอนาคามีแล้วปรินิพพาน ฉะนี้แล.
บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า ( อาสวะทั้งหลายย่อมเกิด ) แก่ภิกษุ
นั้นผู้อดกลั้นความหนาวเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้.
บทว่า อนธิวาสยโต ความว่า ผู้อดกลั้นไว้ไม่ได้ คือทนไว้ไม่ได้.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. ก็ในเรื่องนี้พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่ง
อาสวะอย่างนี้. กามาสวะย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ถูกความหนาวถูกต้องแล้ว
ปรารถนาความอบอุ่น. ในบททั้งปวงก็นัยนี้. อธิบายว่า ภวาสวะย่อมมี
แก่ภิกษุผู้ปรารถนาภพว่า ความหนาวหรือความอบอุ่นของเราในสัมปัตติ-
ภพย่อมไม่มีดังนี้ ความยึดถือว่า ความหนาว ความอบอุ่น ย่อมมีแก่เรา
ดังนี้ ชื่อว่าทิฏฐาสวะ อาสวะซึ่งสัมปยุตด้วยอาสวะทั้งปวง ชื่อว่าอวิชชา-
สวะ. บทว่า อิเม วุจฺจนฺติ ฯลฯ อธิวาสนา ปหาตพฺพา ความว่า
อาสวะเหล่านี้มีมากมาย เพราะแยกเป็นอย่างละ ๔ ด้วยสามารถแห่งธรรม
มีความหนาวเป็นต้น แต่ละอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ควรละเสียด้วย
การอดกลั้น กล่าวคือขันติสังวร. ก็ในที่นี้ เพราะขันตินี้ย่อมอดกลั้นธรรม
มีความหนาวเป็นต้นได้ คือยกให้อยู่เหนือตนทีเดียว ได้แก่ไม่ใช่ว่า
จะอดกลั้นไว้ไม่ได้แล้วสลัดทิ้งเสีย ฉะนั้น ขันตินี้พึงทราบว่า อธิวาสนา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 187
( ๕ ) อาสวะที่ละได้เพราะการเว้น
[๑๖] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส จณฺฑ หตฺถึ ปริวชฺเชติ
ความว่า ภิกษุไม่พึงยืนอยู่ในที่ใกล้ช้างตัวดุร้าย ด้วยคิดว่า เราเป็นสมณะ
ดังนี้ เพราะว่าทั้งความตายทั้งความทุกข์ปางตายซึ่งมีช้างนั้นเป็นเหตุพึงมี
ได้. ภิกษุพิจารณาโดยอุบายคือโดยถูกทางอย่างนี้แล้ว ย่อมเว้น คือถอยหนี
ช้างตัวดุร้าย. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.
บทว่า จณฺฑ คือตัวที่ดุร้าย อธิบายว่า ร้ายกาจ.
บทว่า ขาณุ ได้แก่ตอไม้ตะเคียนเป็นต้น.
บทว่า กณฺฏกฏฺาน ความว่า สถานที่มีหนาม อธิบายว่า โอกาส
ซึ่งมีหนามอยู่จำนวนมาก.
บทว่า โสพฺภ ได้แก่สถานที่ที่มีตลิ่งชันทั่วไปหมด (บ่อ).
บทว่า ปปาต ได้แก่สถานที่ที่มีตลิ่งชันเพียงข้างเดียว ( เหว ).
บทว่า จนฺทนิก ได้แก่สถานที่เป็นที่ทั้งของสกปรกมีน้ำที่เป็นเดน
เป็นต้น (บ่อน้ำครำ).
บทว่า โอฬิคลฺล ได้แก่โอกาสอันเป็นที่รวมแห่งเปือกตมเป็นต้น
เหล่านั้น. สถานที่นั้นเป็นสถานที่ที่เรี่ยราดด้วยของไม่สะอาดแม้มีประมาณ
ถึงหัวเข่า. ก็สถานที่เหล่านั้นแม้ทั้ง ๒ แห่งเป็นสถานชั่วร้ายคล้ายมี
อมนุษย ์ ฉะนั้น สถานที่เหล่านั้นควรเว้นเสีย. ก็อาสนะอันไม่สมควร ชื่อว่า
อนาสนะ.
ในบทว่า อนาสเน นี้ โดยเนื้อความ อนาสนะนั้นพึงทราบว่าได้แก่
อาสนะซ่อนอยู่ในที่ลับมีทัพพสัมภาระที่ไม่แน่นอน. ก็ที่เที่ยวไปอันไม่
สมควร ชื่ออโคจร แม้ในบทว่า อโคจเร นี้. ที่อโคจรนั้นมี ๕ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 188
โดยแยกประเภทเป็นหญิงแพศยาเป็นต้น.
บทว่า ปาปเก มิตฺเต ได้แก่มิตรปฏิรูป หรือมิตรผู้ชั่วช้า คือผู้
ทุศีล.
บทว่า ภชนฺต แปลว่า เสพอยู่.
บทว่า วิญฺญู สพฺรหฺมจารี ความว่า เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้เป็นบัณฑิต คือผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้. คำนี้ เป็นชื่อของภิกษุทั้งหลาย.
เพราะว่าภิกษุเหล่านั้นย่อมประพฤติธรรมอันเสมอด้วยพรหมนี้ ด้วยคิดว่า
เราจะเป็นผู้มีกรรมร่วมกัน และเรียนอุเทศร่วมกัน และมีความเป็นผู้มี
สิกขาเสมอกัน ฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นท่านจึงเรียกว่าสพรหมจารี.
บทว่า ปาปเกสุ าเนสุ ความว่า ในสถานที่ทั้งหลายที่ลามก.
บทว่า โอกปฺเปยฺยุ ความว่า พึงเชื่อไค้ คือพึงน้อมใจเธอได้ว่า
ท่านผู้มีอายุนี้ได้กระทำหรือจักกระทำแน่ ดังนี้.
บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่เว้นบรรดาอันตรายมี
ช้างเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวนั่นแหละ. ก็ในที่นี้
พึงทราบการบังเกิดขึ้นแห่งอาสวะอย่างนี้. กามาสวะย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้
ประสบทุกข์ซึ่งมีช้างเป็นต้นเป็นเหตุแล้วปรารถนาความสุขอยู่. ภวาสวะ
ย่อมเกิดมีแก่ภิกษุผู้ปรารถนาภพว่า ทุกข์เช่นนี้ของเราไม่มีในสัมปัตติภพ
คือในสุคติภพ. การยึดถือว่า ช้างจะเหยียบเรา ม้าจะเหยียบเรา ดังนี้ ชื่อว่า
ทิฏฐาสวะ. อาสวะที่สัมปยุตด้วยอกุศลธรรมทุกอย่าง ชื่อว่าอวิชชาสวะ.
ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ ฯลฯ ปริวชฺชนา ปหาตพฺพา ความว่า
อาสวะมีมากอย่าง เพราะแยกอาสวะเหล่านี้ออกเป็นอย่างละ ๔ ด้วย
อำนาจอันตรายมีช้างเป็นต้นแต่ละอย่าง พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 189
ตรัสว่า พระโยคาวจรพึงละเสียด้วยการเว้น กล่าวคือสีลสังวรนี้.
(๖) อาสวะที่ละได้เพราะการบรรเทา
[๑๗] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส อุปฺปนฺน กามวิตกฺก นาธิวาเสติ
ความว่า พระโยคาวจรพิจารณาเห็นโทษในกามวิตกโดยแยบคาย โดย
นัยเป็นต้นว่า วิตกนี้เป็นอกุศลแม้เพราะเหตุนี้ วิตกนี้มีโทษแม้เพราะเหตุ
นี้ และวิตกนั้นแลย่อมเป็นไปแม้เพื่อความเบียดเบียนตนเอง ดังนี้แล้ว
ยับยั้งไว้ไม่ได้ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้น ได้แก่บังเกิดขึ้นแล้วในอารมณ์นั้น ๆ
อธิบายว่า ยกจิตขึ้นเสียแล้วให้กามวิตกหยุดอยู่ไม่ได้ หรือไม่ให้กามวิตก
หยุดอยู่ภายในได้.
ถามว่า ภิกษุเมื่อยับยังไว้ไม่ได้จะทำอย่างไร ?
ตอบว่า ย่อมละ. คือทิ้งวิตกนั้นเสีย.
ถามว่า ภิกษุจะละทิ้งวิตกเหมือนคนเอาตะกร้าตักหยากเยื่อทิ้งหรือ ?
ตอบว่า หามิได้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรเทา คือถอน ได้แก่แทง หมายความว่า
นำออกไปซึ่งกามวิตกนั้น.
ถามว่า แทงเหมือนกับบุคคลเอาปฏักแทงโคพลิพัทหรือ ?
ตอบว่า หาใช่เช่นนั้นไม่. โดยที่แท้แล้วจะทำกามวิตกนั้นให้ย่อยยับ
ไป คือทำกามวิตกนั้นให้ปราศจากไป ได้แก่ทำกามวิตกนั้น (ให้เป็น )
โดยที่มันไม่เหลืออยู่แม้ในภายในของภิกษุนั้น โดยที่สุดแม้เพียงในภวังคจิต
(ก็ไม่มี).
ถามว่า ภิกษุจะทำวิตกนั้น ให้เป็นอย่างนั้น ได้อย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 190
ตอบว่า ย่อมยังกามวิตกนั้นให้ถึงความไม่มี คือย่อมให้ถึงความ
ไม่มีทีละน้อย ๆ มีอธิบายว่า ย่อมทำโดยประการที่วิตกเป็นอันเธอข่มไว้
ได้อย่างดีด้วยวิกขัมภนปหาน. ในพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตกก็นัยนี้
เช่นกัน.
ก็ในวิภังค์ท่านกล่าวไว้ว่า ในบทว่า กามวิตกฺโก นี้ วิตกที่ปฏิ-
สังยุตด้วยกาม คือความดำริผิด ชื่อกามวิตก. ในที่อื่น ๆ ก็นัยนี้.
บทว่า อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน ความว่า เกิดแล้ว คืออุบัติแล้ว อธิบาย
ว่า พอแต่สักว่าเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุบรรเทาอกุศล
วิตกทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นคราวเดียวได้แล้ว ในวาระที่ ๒ ถึงเธอจะไม่ได้เพ่ง
เล็ง เธอก็ย่อมบรรเทาอกุศลวิตกทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ แม้ ๗ ครั้งได้
ทีเดียว.
บทว่า ปาปเก อกุสเล ความว่า ที่ชื่อว่าชั่วช้า เพราะอรรถว่า
ลามก ที่ชื่อว่าอกุศล เพราะความเป็นกรรมที่ทำด้วยความไม่ฉลาด.
บทว่า ธมฺเม ได้แก่กามวิตกเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่มหาวิตก ๙ อย่างแม้ทั้งหมด. บรรดามหาวิตก ๙ อย่างเหล่านั้น
๓ อย่างกล่าวไว้แล้ว. วิตกที่เหลืออีก ๖ เหล่านี้ ได้แก่วิตกถึงญาติ
วิตกถึงชนบท วิตกถึงเทวดา วิตกที่ประกอบด้วยความเป็นผู้เอ็นดูต่อผู้
อื่น วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยลาภสักการะและเกียรติยศ และวิตกที่ปริสังยุต
ด้วยสิ่งอื่น.
บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า อาสวะและความเร่าร้อนเพราะความ
คับแค้นใจ พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้บรรเทาไม่ได้ซึ่งวิตกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดาวิตกเหล่านั้น. คำที่เหลื่อมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 191
ก็ในที่นี้ กามาสวะนั้นแลคือกามวิตก อาสวะซึ่งแปลกออกไปจาก
กามวิตกนั้น ชื่อว่าภวาสวะ. อาสวะที่สันปยุตด้วยภวาสวะนั้นแล ชื่อทิฏฐา-
สวะ. ความไม่รู้ในวิตกทั้งมวล ชื่ออวิชชาสวะ. พึงทราบแม้การบังเกิดขึ้น
แห่งอาสวะเหล่านี้ ด้วยประการดังพรรณนามาน . ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ
ฯลฯ วิโนทนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะ ประการดังกล่าวแล้วด้วย
อำนาจกามวิตกเป็นต้นเหล่านี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ภิกษุจะพึงละได้ด้วยการบรรเทา กล่าวคือวิริยสังวรซึ่งสหรคตด้วยการ
พิจารณาโทษในวิตกนั้น ๆ นี้.
( ๗ ) อาสวะที่ละได้เพราะการอบรม
[๑๘] ข้อว่า ปฏิสงฺขา โยนิโส สติสนฺโพชฺฌงฺค ภาเวติ
ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นโทษแห่งการไม่อบรมและอานิสงส์แห่งการ
อบรมโดยอุบายคือโดยถูกทางแล้วควรเจริญสติสัมโพชฌงค์. ในบททั้งปวง
ก็นัยนี้. ก็เนอธิการแห่งโพชฌงค์นี้ โพชฌงค์ที่เป็นโลกุตตระเท่านั้นที่
เกิดขึ้น เพราะได้บรรลุมรรค ๓ ข้างต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประ-
สงค์เอาแล้วในที่นี้แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เพื่อความไม่หลงงมงายใน
โพชฌงค์ทั้งหลายของเหล่าภิกษุผู้ทำความเพียรเป็นครั้งแรก ข้าพเจ้าจัก
พรรณนาโดยนัยแห่งโพชฌงค์เหล่านั้นโดยปะปนกันไปทั้งฝ่ายโลกิยะและ
ฝ่ายโลกุตตระ. แต่ในที่นี้ข้าพเจ้าจะละนัยที่เป็นโลกิยะเสีย แล้วถือเอา
เฉพาะนัยฝ่ายโลกุตตระเท่านั้น. ในอธิการแห่งโพชฌงค์นั้น บัณฑิตพึง
ทราบวินิจฉัยบทข้างต้นทั้ง ๗ ซึ่งท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า สติสมฺ-
โพชฺฌงฺค ก่อน โดยเนื้อความโดยลักษณะเป็นต้น โดยลำดับและโดยไม่หย่อน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 192
ไม่ยิ่ง. ในโพชฌงค์ ๗ นั้น พึงทราบวินิจฉัยในสติสัมโพชฌงค์ก่อน. ที่
ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องระลึก. ก็สตินี้นั้นมีการปรากฏเป็น
ลักษณะหรือมีการเสนอแนะเป็นลักษณะ. สนจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
มหาบพิตร ขุนคลังของพระราชาย่อมกราบทูลถึงทรัพย์สมบัติของพระราชา
ว่า ข้าแต่มหาราช เงินมีเท่านี้ ทองมีเท่านี้ สมบัติมีเท่านี้ ดังนี้ฉันใด
มหาบพิตร สติก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเสนอแห่งธรรม
ทั้งหลายที่เป็นกุศล อกุศลมีโทษ ไม่มีโทษ เลวประณีต ดำ ขาว และมีส่วน
เป็นปฏิปักษ์กัน. ความพิสดารว่าสติปัฏฐานมี ๔ เหล่านี้. สตินั้นมีการเสนอ
แนะเป็นกิจ. ก็ลักษณะของสตินั้น พระเถระกล่าวไว้ด้วยอำนาจกิจแท้. อีก
อย่างหนึ่ง สตินั้นมีการไม่หลงเป็นกิจ. มีภาวะมุ่งหน้าต่ออารมณ์เป็นเครื่อง
ปรากฏ. องค์แห่งธรรมเครื่องตรัสรู้คือสติ ชื่อสติสัมโพชฌงค์.
ในบทว่า โพชฺฌงฺโค นั้น มีวิเคราะห์ว่า องค์แห่งการตรัสรู้
หรือแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ ฉะนั้น จึงชื่อว่าโพชฌงค์. ท่านกล่าวอธิบาย
ไว้อย่างไร ? (ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า) ธรรมสามัคคีนี้คือ สติ ธัมมวิจยะ
วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัทวะมากมาย
มีความหดหู่ ความฟุ้งซ่าน ความหยุด ความประมวลมา กามสุขัลลิกานุโยค
อัตตกิลมถามุโยค ความยึดมั่นว่าขาดสูญและเที่ยงแท้ซึ่งบังเกิดขึ้นในขณะ
แห่งมรรคทั้งฝ่ายโลกิยะและโลกุตตระที่เป็นเหตุตรัสรู้แห่งพระอริยสาวก
ท่านเรียกว่า โพธิ เพราะทำอธิบายดังที่กล่าวมานี้.
บทว่า พุชฺฌติ ความว่า ย่อมตื่นจากความหลับด้วยอำนาจกิเลส
ที่นอนเนื่องอยู่ อธิบายว่า ย่อมแทงตลอดอริยสัจทั้ง ๔ หรือทำให้แจ้ง
ซึ่งพระนิพพานนั้นเอง. เหมือนอย่างที่พระองค์ตรัสไว้ว่า เจริญโพชฌงค์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 193
๗ แล้วย่อมตรัสรู้เฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้อันยอดเยี่ยม. ที่ชื่อว่าโพช-
ฌงค์ เพราะเป็นองค์ของปัญญาเครื่องตรัสรู้ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้นเอง
เปรียบเหมือนองค์ฌานและองค์มรรคเป็นต้นฉะนั้น.
ก็อริยสาวกนี้ใด ย่อมตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคีนี้มีประการดังกล่าวแล้ว
เพราะทำอธิบายดังว่ามานี้ อริยสาวกนั้นท่านจึงเรียกว่า โพธิ (ผู้ตรัสรู้ )
ที่ชื่อว่าโพชฌงค์แม้เพราะเป็นองค์ประกอบของพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้นั้น
ประดุจองค์ประกอบแห่งเสนาและองค์ประกอบแห่งรถฉะนั้น. ด้วยเหตุ
นั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าโพชฌงค์
เพราะเป็นองค์ประกอบของบุคคลผู้ตรัสรู้. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อ
ความแม้โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทามรรคเป็นต้นว่า
ถามว่า ในบท โพชฺฌงฺคา นี้ ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า
กระไร?
ตอบว่า ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมเป็นไปเพื่อการตรัสรู้.
ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้.
ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้ตาม
ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ย่อมตรัสรู้เฉพาะ.
ที่ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่า รู้พร้อม.
พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถและโดยลักษณะเป็นต้นของโพชฌงค์ข้อ
แรกข้อเดียวก่อนอย่างนี้ว่า โพชฌงค์อันประเสริฐ คือดี ชื่อว่าสัมโพช-
ฌงค์ เมื่อเป็นเช่นนี้ สัมโพชฌงค์คือสติ ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ซึ่ง
สติสัมโพชฌงค์นั้น.
ก็พึงทราบวินิจฉัยในโพชฌงค์ข้อที่ ๒ เป็นต้น ดังต่อไปนี้:-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 194
ที่ชื่อว่า ธัมมวิจยะ. เพราะอรรถว่า เลือกเฟ้นสัจจธรรมทั้ง ๔
ประการ.
ธัมมวิจยะ นั้น มีการเลือกเฟ้นเป็นลักษณะ มีการให้ความสว่าง
เป็นกิจ มีความไม่หลงงมงายเป็นเครื่องปรากฏ.
ที่ชื่อว่า วิริยะ เพราะความเป็นสภาวะที่แกล้วกล้า และเพราะให้
ธรรมดำเนินไปโดยถูกวิธี. วิริยะนั้นมีการประดับประคองจิตเป็นลักษณะ
มีการอุปถัมภ์จิตเป็นกิจ มีความไม่ท้อแท้แห่งจิตเป็นเครื่องปรากฏ.
ที่ชื่อว่า ปีติ เพราะอรรถว่า เอิบอิ่ม. ปีตินั้นมีการแผ่ไปเป็น
ลักษณะ หรือมีความยินดีเป็นลักษณะ มีการเอิบอิ่มของกายและจิตเป็นกิจ
มีการฟูขึ้นแห่งกายและจิตนั้นเป็นเครื่องปรากฏ.
ที่ชื่อว่า ปัสสัทธิ เพราะสงบความกระวนกระวายทางกายและจิต.
ปัสสัทธินั้นมีการเข้าไปสงบเป็นลักษณะ มีการย่ำยีความกระวนกระวาย
ทางกายและจิตเป็นกิจ มีความเยือกเย็นอันเกิดจากความไม่ดิ้นรนแห่งกาย
และจิตเป็นเครื่องปรากฏ.
ที่ซึ่งว่า สมาธิ เพราะตั้งมั่น. สมาธินั้นมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็น
ลักษณะ หรือมีการไม่แส่ไปในอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประมวลมาซึ่งจิต
และเจตสิกเป็นกิจ มีความตั้งมั่นแห่งจิตเป็นเครื่องปรากฏ.
ที่ชื่อว่า อุเบกขา เพราะวางเฉย. อุเบกขานั้นมีการพิจารณาเป็น
ลักษณะ หรือมีการเป็นไปโดยสม่ำเสมอเป็นลักษณะ มีการหักห้ามความ
หย่อนและยิ่งแห่งจิตเป็นกิจ หรือมีการตัดขาดการตกไปเป็นฝักฝ่ายเป็นกิจ
มีการวางตนเป็นกลางเป็นเครื่องปรากฏ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
นั้นแล. พึงทราบวินิจฉัยแม้แห่งบทที่เหลือทั้งโดยอรรถและโดยลักษณะ
เป็นต้นอย่างนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 195
ก็ในคำว่า กมโต นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
สติสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก่อน เพราะสติสัมโพช-
ฌงค์นั้นเป็นอุปการะแก่โพชฌงค์ที่เหลือทั้งหมด เพราะพระบาลีว่า ภิกษุ
ทั้งหลายก็เราตถาคตกล่าวสตินั้นแลว่ามีประโยชน์แก่ธรรมทั้งปวง ดังนี้ .
เบื้องหน้าแต่นั้น ประโยชน์ในการกล่าวโพชฌงค์ที่เหลือไว้ก่อนไว้หลัง
ได้กล่าวไว้แล้วในสุตตะนั้นเอง โดยนัยเป็นต้นว่า เธอมีสติอยู่อย่างนั้น ๑
เลือกเฟ้นธรรมนั้นด้วยปัญญา ดังนี้. ในที่นี้พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยลำดับ
ดังกล่าวมานี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อนูนาธิกโต ดังต่อไปนี้ :-
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโพชฌงค์ไว้
เพียง ๗ ประการเท่านั้นไม่ขาดไม่เกิน?
ตอบว่า เพราะเป็นปฎิปักษ์ต่อความหดหู่และความฟุ้งซ่าน และ
เพราะประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ. อธิบายว่า ในอธิการแห่งโพชฌงค์
นี้ โพชฌงค์ ๓ ข้อ เป็นปฎิปักษ์ต่อความหดหู่. เหมือนอย่างที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใดแลจิตเป็นธรรมชาติหดหู่
ในสมัยนั้นเป็นเวลาเหมาะที่จะเจริญธัมมวิจยสัม-
โพชฌงค์ เหมาะที่จะเจริญวิริยสัมโพชณงค์ เหมาะ
ที่จะเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ดังนี้ .
โพชฌงค์ ๓ ข้อ เป็นปฎิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน. เหมือนอย่างที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
๑. ปาฐะว่า ตถาคโต แต่ฉบับพม่าเป็น ตถา สโต จึงแปลตามพม่าเพราะเห็นว่าเหมาะกว่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 196
ก็ในสมัยใด จิตเป็นธรรมชาติฟุ้งซ่าน ในสมัยนั้นเป็นเวลาเหมาะ
ที่จะเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เหมาะที่จะเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ เหมาะที่
จะเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้ . ก็ในบรรดาโพชฌงค์เหล่านี้ สติ-
สัมโพชฌงค์เป็นเอกให้สำเร็จประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ. เหมือนอย่าง
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ก็เรากล่าวสติแลว่ามีประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้อ
ดังนี้ บาลีว่า สพฺพตฺถก ดังนี้ก็มี. บาลีทั้ง ๒ (นั้น) ความหมายก็
คือว่า จำต้องปรารถนาในโพชฌงค์ทุกข้อ (เหมือนกัน). พึงทราบวินิจฉัย
ในโพชฌงค์นี้แม้โดยไม่ขาดไม่เกินอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
โพชฌงค์ไว้ ๗ ประการเท่านั้นไม่ขาดไม่เกิน เพราะ ๓ ข้อเป็นปฎิปักษ์
ต่อความหดหู่, ๓ ข้อเป็นปฎิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน, และเพราะสติเป็น
ประโยชน์แก่โพชฌงค์ทุกข้ออย่างนี้.
บัณฑิตครั้นทราบอรรถวรรณนาของบททั้ง ๗ ที่กล่าวโดยนัยเป็นต้น
ว่า สติสมฺโพชฺฌงฺค อย่างนี้ก่อนแล้ว บัดนี้ พึงทราบอรรถวรรณนา
อย่างนี้ ในประโยคเป็นต้นว่า ภาเวติ วิเวกนิสฺสิต ดังนี้ (ต่อไป).
บทว่า ภาเวติ ความว่า ย่อมให้เจริญ อธิบายว่า ย่อมให้เกิด
ขึ้น คือให้บังเกิดขึ้นเฉพาะในจิตสันดานของตนบ่อย ๆ.
บทว่า วิเวกนิสฺสิต คืออาศัยวิเวก. ความสงัด ชื่อว่าวิเวก. วิเวกนั้น
มี ๕ อย่างคือ ตทังควิเวก วิกขันภนวิเวก สมุจเฉพวิเวก ปฏิปัส-
สัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก ความที่วิเวกนั้นเป็นต่าง ๆ กัน พึงทราบ
โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ว่า อริยธมฺเม อวินีโต ดังนี้ . ความจริง
วิเวกนี้นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วินัย ในบทว่า อริยธมฺเม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 197
อวินีโต นั้น. ในวิเวกทั้ง ๕ อย่างนี้ดังกล่าวมานี้ พึงทราบความดังนี้ว่า:-
บทว่า วิเวกนิสฺสิต ความว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์ อาศัยตทังควิเวก
อาศัยสมุจเฉทวิเวก อาศัยนิสสรณวิเวก. จริงอย่างนั้น พระโยคาวจรผู้
ตามประกอบการเจริญโพชฌงค์นี้ ในขณะแห่งวิปัสสนา ย่อมเจริญสติ-
สัมโพชฌงค์ซึ่งอาศัยตทังควิเวกโดยกิจ อันอาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัธยาศัย
แต่ในกาลแห่งมรรคย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยสมุจเฉทวิเวกโดยกิจ
และอาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อาศัยวิเวก
ทั้ง ๔ อย่างดังนี้บ้าง. เพราะว่าอาจารย์เหล่านั้นไม่ยกโพชฌงค์ขึ้นมา
เฉพาะในขณะแห่งวิปัสสนาที่มีกำลัง และในขณะแห่งมรรคและผลอย่าง
เดียวเท่านั้น แต่แม้ในกสิณฌาน อานาปานสติกัมมัฏฐาน และในพรหม-
วิหารฌานซึ่งเป็นบาทของวิปัสสนาก็ยกขึ้นนาด้วย ทั้งพระอรรถกถาจารย์
ทั้งหลายก็ไม่ได้คัดค้าน. เพราะฉะนั้น ตามมติของอาจารย์เหล่านั้นควร
กล่าวว่า พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิกขัมภนวิเวกโดย
กิจอย่างเดียว๑ ในขณะที่เป็นไปแห่งฌานเหล่านั้น. และท่านกล่าวว่าในขณะ
แห่งวิปัสสนา พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิสสรณวิเวก
โดยอัธยาศัย ดังนี้ฉันใด พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์แม้อันอาศัย
ปฏิปัสสัทธิวิเวกก็ฉันนั้น. ในสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิราคะเป็นต้นก็นัยนี้ง
ความจริง ธรรมมีวิราคะเป็นต้นก็มีวิเวกเป็นอรรถทั้งนั้น. ก็ในธรรมทั้ง
หลายมีราคะเป็นต้นนี้ โวสสัคคะอย่างเดียวที่แบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ
การปล่อยวางโดยการสละ (ปริจจาคโวสสัคคะ) ๑. การปล่อยวางโดยการ
แล่นไป (ปักขันทนโวสสัคคะ) ๑. บรรดาการปล่อยวางทั้ง ๒ อย่างนั้น
๑. ปาฐะเป็น เอว แต่ตามฉบับพม่าเป็น เอว เห็นว่าเหมาะ จึงแปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 198
การละกิเลสด้วยสามารถตทังคปหานในขณะแห่งวิปัสสนาและด้วยสมุจเฉท-
ปหานในขณะแห่งมรรค ชื่อว่าการปล่อยวางโดยการสละ. ส่วนการ
แล่นไปสู่พระนิพพานโดยการน้อมไปสู่พระนิพพานนั้นในขณะแห่งวิปัสสนา
ชื่อว่าการสละโดยการแล่นไป แต่ในขณะแห่งมรรคการแล่นไปสู่พระ
นิพพานจะมีได้ด้วยสามารถแห่งการทำให้เป็นอารมณ์. แม้โวสสัคคะทั้งคู่
นั้นย่อมเหมาะสมในนัยแห่งอรรถกถาอันเจือด้วยโลกิยะและโลกุตตระนี้.
จริงอย่างนั้น สติสัมโพชฌงค์นี้ย่อมสละกิเลสและย่อมแล่นไปสู่พระนิพพาน
โดยประการตามที่กล่าวแล้ว. ก็ด้วยถ้อยคำทั้งสิ้นนี้ว่า โวสฺสคฺคปริณามึ
นี้ มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า กำลังน้อมไป และน้อมไปแล้ว คือจะงอม
และงอมแล้ว เพื่อการปล่อยวาง ดังนี้. อธิบายว่า ภิกษุนี้ผู้ประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งการเจริญโพชฌงค์ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์นั้น โดยที่สติ-
สัมโพชฌงค์จะงอม และงอมแล้ว เพื่อการปล่อยวางโดยการสละกิเลส
และเพื่อการปล่อยวางโดยการแล่นไปสู่พระนิพพาน ฉะนี้แล. ในโพช-
ฌงค์ที่เหลือก็นัยนี้.
แต่ว่าในที่นี้ นิพพานนั้นเอง ท่านกล่าวว่า วิเวก เพราะสงัดจาก
สังขตธรรมทั้งปวงท่านกล่าวว่า วิราคะ เพราะภาวะแห่งสังขตธรรมทั้งหมด
คลายกำหนัดแล้ว และท่านกล่าวว่า นิโรธ เพราะภาวะคือความดับแห่ง
สังขตธรรมทั้งหลาย. ก็มรรคนั้นแลมีปกติน้อมไปเพื่อการสละ ฉะนั้น พระ
โยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก เพราะกระทำวิเวกให้เป็น
อารมณ์แล้วเป็นไป. พระโยคาวจรย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยนิโรธ
ก็อย่างนั้น. พระโยคาวจร ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันงอมแล้ว คืองอม
รอบโดยภาวะคือการสละ และโดยภาวะคือการแล่นไปสู่พระนิพพาน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 199
โดยการถอนกิเลสได้เด็ดขาด เพราะเกิดขึ้นในขณะแห่งอริยมรรคนั้นแล.
พึงเห็นเนื้อความดังกล่าวมานี้. ในโพชฌงค์ที่เหลือก็นัยนี้.
บทว่า ยญฺหิสฺส ความว่า อาสวะทั้งหลายและความเร่าร้อนอัน
ทำความคับแค้นใจทั้งหลายย่อมมีแก่ภิกษุผู้ไม่เจริญในบรรดาโพชฌงค์
ทั้งหลายเหล่านั้นข้อใดข้อหนึ่ง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล. ก็ในการ
บังเกิดขึ้นแห่งอาสวะในสูตรนี้พึงทราบนัยดังนี้ อาสวะทั้ง ๓ คือ กามา-
สวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะเหล่าใดพึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่ภิกษุไม่ได้
อบรมโพชฌงค์ซึ่งสัมปยุตด้วยมรรคเบื้องปลายเหล่านี้ อาสวะเหล่านั้น
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้นผู้เจริญโพชฌงค์เหล่านั้น ดังนี้. ข้อว่า อิเม วุจฺจนฺติ
ฯ ล ฯ ภาวนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะทั้ง ๓ เหล่านี้พึงทราบว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อันภิกษุพึงละเสียด้วยการเจริญโพชฌงค์ซึ่ง
สัมปยุตด้วยมรรค ๓ นี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงชมเชยภิกษุผู้ละอาสวะได้ด้วย
อาการ ๗ เหล่านี้ และเมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ในการละอาสวะของภิกษุ
นั้น และเมื่อจะให้เกิดความขวนขวายแก่สัตว์ทั้งหลาย โดยการละอาสวะ
ด้วยเหตุเหล่านี้นั่นเอง จึงตรัสว่า ยโต โข ภิกฺขเว ฯลฯ อนฺตมกาสิ
ทุกฺขสฺส ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น โต อักษร ในคำว่า ยโต โข ใช้ในฉัฏฐี-
วิภัตติ อธิบายว่า เท่ากับ ยสฺส โข (ของกาลใดแล ) ดังนี้. ส่วนพระ
โบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมพรรณนาว่า เท่ากับ ยมฺหิ กาเล (ในกาล
ใด) ดังนี้. ข้อว่า เย อาสวา ทสฺสนา ปหาตพฺพา ความว่า อาสวะ
ทั้งหลายเหล่าใดที่ภิกษุละได้แล้วด้วยทัสสนะ อาสวะทั้งหลายเหล่านั้นเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 200
อันภิกษุนั้นละได้แล้วด้วยทัสสนะนั้นแล และเธอย่อมมีความสำคัญ ใน
อาสวะที่ยังละไม่ได้นั้นแลว่า อันตนละได้แล้วก็หามิได้. ในบททั้งปวง
มีความพิสดารอย่างนี้.
บทว่า สพฺพาสวสวรสวุโต ความว่า เบ็นผู้ปิดแล้วด้วยการปิด
อาสวะทุกอย่าง. อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้ปิดแล้วด้วยเครื่องปิดซึ่งอาสวะทุก
อย่าง..
บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตณฺห ความว่าตัดแล้ว หรือถอนขึ้นได้แล้ว
ซึ่งตัณหาหมดทุกอย่าง.
บทว่า วิวตฺตยิ สโยชน ความว่า ย่อมหมุนกลับซึ่งสังโยชน์
แม้ทั้ง ๑๐ คือทำให้หมดมลทิน.
บทว่า สมฺมา คือโดยเหตุ ได้แก่โดยกาล.
บทว่า มานาภิสมยา ความว่า เพราะบรรลุด้วยการเห็น และเพราะ
บรรลุด้วยการละมานะ. ความจริง อรหัตตมรรคย่อมเห็นแจ้งมานะด้วย
อำนาจกิจ. นี้เป็นการบรรลุด้วยการเห็นของภิกษุนั้น. ก็อรหัตตมรรค
อันภิกษุเห็นแล้วด้วยทัสสนะนั้นอันเธอย่อมละได้ในขณะนั้นนั่นเอง เหมือน
การกลับได้ชีวิตของสัตว์ผู้ถูกงูพิษกัดฉะนั้น. นี้เป็นการบรรลุโดยการละ
ของภิกษุนั้น.
บทว่า อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ความว่า ที่สุด ๔ อย่างนี้ คือ
ที่สุดคือเขตแดนอันมีในที่สุด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปลาย
ประคดเอวเก่าแล้ว หรือยอดของเขียวสดเหี่ยวแล้ว และที่สุดที่เลวทราม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นที่สุดแห่ง
ชีวิต และที่สุดคือส่วนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า สักกายะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 201
(ทิฏฐิ) ก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง และที่สุดของการนับ ที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์ เพราะนับปัจจัยทุกอย่าง
ในบรรดาที่สุดทั้ง ๔ อย่างนั้น ภิกษุได้กระทำที่สุดข้อที่ ๔ โน้นแห่ง
วัฏฏทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะความที่แห่งมานะอันตนเห็นและละได้ด้วย
อรหัตตมรรคอย่างนี้. อธิบายว่า เธอได้ทำการขาดตอน คือทำไห้หมดไป
ได้แก่ทำทุกข์ให้เหลืออยู่เพียงร่างกายชาติสุดท้าย.
บทว่า อตฺตมนา เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุเหล่านั้นมีใจเป็น
ของตน คือมีใจยินดี หรือเป็นผู้มีใจอันสัมปยุตด้วยปีติและโสมนัส.
บทว่า ภควโต ภาสิต อภินนฺทุ ความว่า ภิกษุทั้งหลายรับด้วย
เศียรเกล้าแล้วทูลชมเชยพระพุทธภาษิต คือพระพุทธดำรัสที่ตรัสดีแล้ว
ได้แก่ที่ทรงปราศรัยแล้ว มีการทำที่สุดทุกข์เป็นปริโยสานว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสซึ่งคำนี้อย่างนี้ พระสุคตเจ้าตรัสคำนี้อย่างนี้ ดังนี้.
คำที่เหลืออันใดที่ข้าพเจ้ามิได้กล่าวไว้ในที่นี้ ข้าพเจ้าจะไม่กล่าว
คำนั้นซ้ำอีก เพราะกล่าวไว้ก่อนแล้ว และเพราะเข้าใจได้ง่าย เพราะฉะนั้น
ผู้ศึกษาพึงพิจารณาคำทั้งหมดตามลำดับที่ โดยทำนองแห่งคำที่กล่าว
แล้วเทอญ.
จบ อรรถกถาแห่งสัพพาสวสังวรสูตร
จบ สูตรที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 202
๓. ธรรมทายาทสูตร
(๒๐) ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระพุทธพจน์แล้ว.
(๒๑) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท อย่าเป็นอามิสทายาทของเราตถาคตเลย เรา
ตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลายอยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ ? สาวก
ทั้งหลายของเราตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายจะพึงเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาท
ของเราตถาคต ข้อที่เธอทั้งหลายเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาท
ของเราตถาคตนั้น จะพึงเป็นเหตุให้ถูกวิญญูชนติเตียนเอาได้ว่า สาวก
ทั้งหลายของพระศาสดาพากันเป็นอามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทอยู่
ถึงเราตถาคตก็คงถูกวิญญูชนติเตียนได้ว่า สาวกของพระศาสดาเป็น
อามิสทายาท ไม่เป็นธรรมทายาทอยู่ ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้า
เธอทั้งหลายพึงเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาทของเราตถาคตไซร้
แม้เธอทั้งหลายจะไม่พึงถูกวิญญูชนติเตียนว่า สาวกทั้งหลายของพระ
ศาสดาเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาทอยู่. ถึงเราตถาคตก็คงไม่ถูก
วิญญูชนติเตียนว่า สาวกทั้งหลายของพระศาสดาเป็นธรรมทายาท ไม่เป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 203
อามิสทายาทอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย
จงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เรา
ตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลายอยู่ว่า ทำอย่างไรหนอ? สาวก
ทั้งหลายของเราตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท.
ธรรมทายาทและอามิสทายาท
(๒๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว
เสร็จบริบูรณ์แล้ว อิ่มแล้ว เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว แต่บิณฑบาต
ของเราตถาคตยังมีเหลืออยู่ มีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา. เวลานั้น ภิกษุ
๒ รูป ถูกความหิวและความอ่อนเพลียครอบงำแล้ว หิวโหยมาก พากันมา
เราพึงกล่าวกะเธอทั้งหลายนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคต
ฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เสร็จบริบูรณ์แล้ว อิ่มแล้ว เพียงพอ
แก่ความต้องการแล้ว แต่บิณฑบาตนี้ของเราตถาคตยังมีเหลืออยู่ มีอันจะ
ต้องทิ้งเป็นธรรมดา ถ้าเธอทั้งหลายประสงค์จะฉันก็จงฉันเถิด ถ้าเธอ
ทั้งหลายไม่ประสงค์จะฉันก็อย่าฉัน เราจักทิ้งเสียในที่ที่ปราศจากของ
เขียวสด หรือจักเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์ ณ บัดนี้.
ภิกษุผู้เป็นธรรมทายาท
บรรดาภิกษุ ๒ รูป รูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค
เจ้าเสวยเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เสร็จบริบูรณ์แล้ว ทรงอิ่มแล้ว พอพระ
ประสงค์แล้ว ก็บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ยังมีเหลืออยู่ มีอันจะ
ต้องทิ้งเป็นธรรมดา ถ้าเราทั้งหลายจักไม่ฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จัก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 204
ทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของเขียวสด หรือจักทรงเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์
ณ บัดนี้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาท
เลย ก็บิณฑบาตนี้เป็นอามิสทายาทอย่างหนึ่ง อย่ากระนั้นเลย เราจะไม่
ฉันบิณฑบาตนี้ จะปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้ ทั้งที่ยังมีความหิว
และความอ่อนเพลียอยู่นั้นแหละ.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท
ส่วนภิกษุรูปที่ ๒ มีความคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวย
เสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เสร็จบริบูรณ์แล้ว ทรงอิ่มแล้ว พอพระ
ประสงค์แล้ว ก็บิณฑบาตของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ยิ่งมีเหลืออยู่
มีอันจะต้องทิ้งเป็นธรรมดา ถ้าเราทั้งหลายไม่ฉัน พระผู้มีพระภาคเจ้าจัก
ทรงทิ้งในที่ที่ปราศจากของเขียวสด หรือจักทรงเทเสียในน้ำที่ไม่มีตัวสัตว์
ณ บัดนี้ อย่ากระนั้นเลย เราควรฉันบิณฑบาตนี้ บรรเทาความหิว
และความอ่อนเพลีย แล้วปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้. เธอจึงฉัน
บิณฑบาตนั้น บรรเทาความหิวและความอ่อนเพลีย แล้วปล่อยวันคืนนั้น
ให้ล่วงไปอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น แม้จะฉันบิณฑบาตนั้น บรรเทา
ความหิวและความอ่อนเพลีย แล้วปล่อยวันคืนนั้นให้ล่วงไปอย่างนี้ก็จริง
ถึงอย่างนั้น ภิกษุรูปแรกโน้นแหละ ของเราตถาคตเป็นผู้ควรบูชา ควร
สรรเสริญมากกว่า. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเพราะ
ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา เลี้ยงง่าย ปรารภ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 205
ความเพียร แก่ภิกษุนั้น สิ้นกาลนาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ
นั้นแล เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคต อย่าเป็น
อามิสทายาทเลย เราตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลายว่า ทำ
อย่างไรหนอ สาวกทั้งหลายของเราตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็น
อามิสทายาท พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว พระ
สุคตเจ้าครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะเข้าสู่พระ
วิหาร.
พระสารีบุตรอธิบาย
(๒๓) ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นาน
ท่านพระสารีบุตรเถระ จึงเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรเถระว่า ขอรับ ดังนี้.
ท่านพระสารีบุตรเถระได้กล่าวคำนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อ
พระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมไม่ศึกษาความ
สงัดวาม ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ? ก็แล เมื่อพระศาสดา
ประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุ
มีประมาณเท่าไรหนอแล?
ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า อาวุโส แม้ผมทั้งหลายก็มาแต่ที่ไกล เพื่อ
จะทราบเนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้ ในสำนักท่านพระสารีบุตรเถระ ขอ
โอกาสเถิดครับ เนื้อความแห่งภาษิตข้อนี้คงแจ่มแจ้งเฉพาะท่านพระ
สารีบุตรเถระองค์เดียว ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อท่านพระสารีบุตรเถระ
แล้ว จักทรงจำไว้. ท่านพระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มี-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 206
อายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟังให้ดี ผมจักกล่าว.
ภิกษุเหล่านั้นตอบรับคำท่านพระสารีบุตรเถระว่า อย่างนั้นขอรับ.
อามิสทายาทถูกตำหนิด้วยเหตุ ๓ สถาน
(๒๔) ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้ง
หลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมไม่
ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระ
ธรรมวินัยนี้ ไม่ศึกษาความสงัดตาม คือไม่ละธรรมทั้งหลายที่พระ
ศาสดาตรัสให้ละ เป็นผู้มักมาก (ด้วยปัจจัยลาภ) และเป็นผู้ย่อหย่อน
ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕ ทอดธุระในความสงัด. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้ง
หลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญญูชนพึงติเตียนได้
ด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชนพึงติเตียน
ได้ด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว
พระสาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเป็นผู้อัน
วิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า (สาวกทั้งหลาย ) ไม่
ละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ และภิกษุผู้เถระทั้งหลาย เป็นผู้
อันวิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้
มักมาก (ด้วยปัจจัยลาภ ) ย่อหย่อน ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕ ทอดทิ้ง
ธุระในความสงัด. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญญู-
ชนติเตียนได้ด้วยเหตุ ๓ สถานเหล่านี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ปานกลาง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 207
ฯลฯ ภิกษุ ฯลฯ ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชนติเตียน
ได้ด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชนพึง
ติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัด
แล้ว สาวกทั้งหลายไม่ศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลาย อัน
วิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า (สาวกทั้งหลาย) ไม่ละ
ธรรมที่พระศาสดาตรัสให้ละ และภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อัน
วิญญูชนพึงติเตียนได้ด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายเป็นผู้มักมาก
ด้วย (ปัจจัยลาภ) และเป็นผู้ย่อหย่อน ตกอยู่ในนิวรณ์ ๕ ทอดทิ้งธุระ
ในความสงัด. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยังใหม่เป็นผู้อันวิญญูชน
พึงติเตียนได้ด้วยเหตุ ๓ สถานเหล่านี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัด
แล้ว สาวกทั้งหลายชื่อว่าไม่ศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
ธรรมทายาทได้รับสรรเสริญด้วยเหตุ ๒ สถาน
(๒๕) ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมื่อพระศาสดาประทับอยู่
อย่างผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายย่อมศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุมีประ-
มาณเท่าไร ? ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่าง
ผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมศึกษาความสงัดตาม
คือ (สาวกทั้งหลาย) ย่อมละธรรมทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ
ไม่เป็นผู้มักมาก (ด้วยปัจจัย ด้วยลาภ) ไม่เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่ตกอยู่ใน
อำนาจนิวรณ์ ๕ มีใจน้อมไปในความสงัด.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระ อัน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 208
วิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญญูชน
พึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่าง
ผู้สงัดแล้ว สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อัน
วิญญูชนพึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า สาวกทั้งหลายย่อมละธรรม
ทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชน
พึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก ไม่
เป็นผู้ย่อหย่อน ไม่ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕ มีใจน้อมไปในความสงัด.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระเป็นผู้อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ
ด้วยเหตุ ๓ สถานเหล่านี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายผู้
ปานกลาง ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายผู้ยังใหม่ เป็นผู้อันวิญญูชนพึงสรรเสริญ
ด้วยเหตุ ๓ สถาน คือ ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชนพึงสรร-
เสริญด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัดแล้ว
สาวกทั้งหลายศึกษาความสงัดตาม ภิกษุผู้ยังใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชน
พึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ว่า (สาวกทั้งหลาย) ละธรรม
ทั้งหลายที่พระศาสดาตรัสให้ละ และภิกษุผู้ใหม่ทั้งหลายเป็นผู้อันวิญญูชน
พึงสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ว่า สาวกทั้งหลายไม่เป็นผู้มักมาก
( ด้วยปัจจัยลาภ ) ไม่ตกอยู่ในอำนาจนิวรณ์ ๕ มีใจน้อมไปในความสงัด.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยังใหม่ อันวิญญูชนพึงสรรเสริญด้วย
เหตุ ๓ สถานเหล่านี้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่อย่างผู้สงัด
แล้ว สาวกทั้งหลายชื่อว่าศึกษาความสงัดตาม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 209
มัชฌิมาปฏิปทา
[๒๖] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น
โลภะ และ โทสะ เป็นธรรมลามก แต่มัชฌิมาปฏิปทา เพื่อละโลภะ
และโทสะ มีอยู่ เป็นธรรมทำให้เกิดดวงตา ทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไป
เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน. ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทานั้น ที่เป็นธรรมทำให้มีดวงตา
ทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อพระนิพพาน คืออะไร ? คืออริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เอง ได้แก่ความ
เห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีพ
ชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ. ดูก่อน
ท่านผ้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล เป็นธรรมทำให้เกิดดวงตา
ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อควานสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อพระนิพพาน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บรรดาธรรมดังกล่าวแล้วนั้น ความโกรธ
และความผูกโกรธ เป็นธรรมลามก . . .ความริษยา และความตระหนี่
เป็นธรรมลามก . . . มายาและความโอ้อวด เป็นธรรมลามก . . .ความหัวดื้อ
และความแข่งดี เป็นธรรมลามก . . . ความถือตัวและความดูหมิ่น เป็น
ธรรมลามก . . . ความเมาและความเลินเล่อ เป็นความลามก แต่มัชฌิมา
ปฏิปทาเพื่อละความเมาและความเลินเล่อมีอยู่ เป็นธรรมทำให้เกิดดวงตา
ทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
เพื่อพระนิพพาน. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานั้น เป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 210
ธรรมทำให้เกิดดวงตา ทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน คืออะไร คืออริยมรรค
มีองค์ ๘ นี้แล ได้แก่ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ
การงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความ
ตั้งใจชอบ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้แล เป็นธรรม
ทำให้เกิดดวงตา ทำให้เกิดญาณ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อ
ความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพพาน.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชม
ยินดีภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนั้นแล.
จบ ธรรมทายาทสูตร ที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 211
อรรถกถาธรรมทายาทสูตร
เหตุเกิดพระสูตร
[๒๐] ธรรมทายาทสูตรมีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต. ก็เพราะ
เหตุที่ธรรมทายาทสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงตามที่มีเรื่อง
เกิดขึ้น ฉะนั้น ข้าพเจ้า (พระอรรถกถาจารย์) จักแสดงเหตุเกิดพระสูตร
นั้นแล้ว จึงจะกระทำการขยายความพระสูตรนั้นไปตามลำดับบท.
ถามว่า ก็ธรรมทายาทสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดง
เพราะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นเล่า ?
ตอบว่า เรื่องลาภสักการะ.
ดังได้สดับมาว่า ลาภสักการะเป็นอันมากเกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า โดยที่ได้ทรงสั่งสมทานบารมีให้บริบูรณ์แล้วดัง ๔ อสงไขย-
เป็นความจริง (เพราะ) พระบารมีทุกข้อเป็นเหมือนมาจับกลุ่ม (ตกลง
กัน) ว่า จักให้ผลในอัตภาพเดียวกันนี้แหละ ดังนี้แล้วให้บังเกิดเป็น
ห้วงน้ำใหญ่คือลาภสักการะ ประดุจมหาเมฆที่จับกลุ่มกันเป็นคู่ ๆ ก่อตัว
ขึ้นในทุกทิศแล้ว ( ตกลงมา ) ให้บังเกิดเป็นห้วงน้ำใหญ่ฉะนั้น.
ประชาชนต่างวรรณะมีกษัตริย์และพราหมณ์เป็นต้นมีมือถือข้าว น้ำ
ยาน ผ้า พวงดอกไม้ ของหอม และเครื่องไล้ทาเป็นต้นมาจากที่นั้นๆ
( ที่ต่าง ๆ กัน ) แล้วพากันถามหาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้า
ประทับอยู่ที่ไหน ? พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหน ? พระผู้เป็น
เทพของเทพ พระผู้เป็นนระผู้อาจหาญ พระผู้เป็นบุรุษประดุจราชสีห์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 212
ประทับอยู่ที่ไหน ?
ประชาชนเหล่านั้นแม้ใช้เกวียนตั้งหลายร้อยเล่มบรรทุกปัจจัยมา เมื่อ
ยังไม่ได้โอกาสเข้าเฝ้าก็จะจอดเกวียนคอยเรียงรายติดกันโดยรอบ กินเนื้อ
ที่เป็นคาวุต เช่นอันธกวินทพราหมณ์เป็นต้น เป็นตัวอย่าง. รายละเอียด
ทั้งหมด นักศึกษาจะพึงทราบได้ ตามนัยที่มาแล้วในขันธกะ (หมวด )
และในสูตรนั้น.
และพระผู้มีพระภาคเจ้ามีลาภสักการะเกิดขึ้นมากฉันใด พระภิกษุ
สงฆ์ก็มีฉันนั้นเหมือนกันแล. ข้อนี้สมด้วยคำอ้างที่พระอานนทเถระกล่าว
ไว้ดังนี้ว่า ก็ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันมหาชนถวาย
สักการะแสดงความเคารพนับถือบูชานอบน้อม ( และ ) ทรงได้รับจีวร
บิณฑบาตเสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอยู่เป็นประจำ ฝ่ายภิกษุ
สงฆ์แล ( ก็เช่นกัน) คือ เป็นผู้อันมหาชนถวายสักการะ ฯ ล ฯ
(และ) ได้รับ...............บริขารอยู่ประจำ.
พระผู้มีพระภาคเองก็ตรัสไว้เหมือนกันว่า ดูก่อนจุนทะ หมู่หรือ
คณะที่อุบัติขึ้นโนโลกในบัดนี้ มีอยู่จำนวนเท่าใด (บรรดาหมู่หรือคณะ
เหล่านั้น ) หมู่หรือคณะอื่นแม้แต่หมู่หนึ่ง ตถาคตก็ยังมองไม่เห็นเลยที่จะ
ได้รับลาภอันเลิศและยศอันเลิศเหมือนกับหมู่ภิกษุ นะจุนทะ ลาภสักการะ
นี้นั้นที่เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ รวมกันแล้วเป็นของ
ประมาณไม่ได้ เหมือนน้ำของแม่น้ำใหญ่ ๒ สายที่ไหลมารวมเป็นสายเดียว
กันก็เป็นของประมาณไม่ได้ฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลายได้กลายเป็นผู้หนักในปัจจัย ติดในปัจจัย หมกมุ่น
ในปัจจัย ตามลำดับ แม้เมื่อเวลาหลังภัตร ( หลังฉันอาหารแล้ว ) เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 213
ประชาชนนำไทยธรรม มีน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น มาถวาย
ภิกษุเหล่านั้นครั้นเคาะระฆังแล้ว ก็ส่งเสียงเอ็ดอึงว่า ถวายแก่อาจารย์ของ
อาตมานะ ถวายแก่อุปัชฌาย์ของอาตมานะ และพฤติกรรมนั้นของภิกษุเหล่า
นั้นก็ได้ปรากฏ (ล่วงรู้) ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงเกิดธรรมสังเวชว่า ช่างไม่เหมาะเอาเสียเลย แล้วทรง
ดำริว่า ตถาคตไม่สามารถจะบัญญัติสิกขาบท (ห้าม) ว่า ปัจจัยเป็นของ
ไม่สมควร เนื่องจากการบำเพ็ญสมณธรรมของกุลบุตรทั้งหลายต้องอาศัย
ปัจจัย แต่เอาเถอะตถาคตจักแสดงธรรมทายาทปฏิปทา ( ข้อปฏิบัติของผู้
เป็นธรรมทายาท) ซึ่งก็จักเป็นเหมือนการบัญญัติสิกขาบทแห่งกุลบุตร
ทั้งหลายผู้ใคร่ต่อการศึกษา และจักเป็นเหมือนกระจกสำหรับส่องดูได้ทั่ว
ตัวที่ติดตั้งไว้ที่ประตูเมือง.
อธิบายว่า ประชาชน ๔ วรรณะ เห็นเงา (รูป) ของตนใน
กระจกสำหรับส่องดูได้ทั่วตัวซึ่งติดตั้งไว้ที่ประตูเมือง ย่อมขจัดโทษ (สิ่ง
ที่ทำให้หมดความสวยงาม ) แล้วกลับกลายเป็นผู้ไม่มีโทษฉันใด กุลบุตร
ทั้งหลาย ผู้ใคร่ต่อการศึกษาก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) ประสงค์จะ
ประดับประดาตนด้วยเครื่องประดับคือความเพียร มาน้อมนึกถึงเทศนาซึ่ง
อุปมาด้วยกระจกส่องดูได้ทั่วตัว แล้วต่างพากันละเว้นอามิสทายาทปฏิปทา
หันมาบำเพ็ญธรรมทายาทปฏิปทา ก็จัก ( สามารถ ) ทำชาติชรามรณะให้
สิ้นสุดไปได้โดยฉับพลันทีเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ไว้
ก็เพราะมีเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 214
ธรรมทายาท และอามิสทายาท
ในพระสูตรนั้น พระดำรัสที่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จงเป็นธรรมทายาทของตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย ดังนี้ มีคำ
อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงเป็นทายาทแห่งธรรมของ
ตถาคตเถิด อย่าเป็นทายาทแห่งอามิสเลย คือ ธรรมะของตถาคตอันใด
ขอเธอทั้งหลายจงเป็นผู้รับไว้ซึ่งธรรมะอันนั้นเถิด ส่วนตถาคตมีอามิสใด
แล ของเธอทั้งหลายอย่ารับซึ่งอามิสนั้นเลย.
ในพระดำรัสนั้น แม้ธรรมก็มีอยู่ ๒ อย่าง คือ นิปปริยายธรรม
(ธรรมโดยตรง) ๑ ปริยายธรรม (ธรรมโดยอ้อม) ๑ ฝ่ายอามิสก็มี
อยู่ ๒ อย่าง (เช่นกัน) คือ นิปปริยายอามิส (อามิสโดยตรง) ๑
ปริยายอามิส (อามิสโดยอ้อม) ๑.
ทั้งธรรมและอามิสนั้น มีอธิบายเป็นอย่างไร ?
มีอธิบายว่า โลกุตตรธรรมทั้ง ๙ อย่างซึ่งแยกประเภทเป็นมรรค
(๔) ผล (๔) และนิพพาน (๑) ชื่อว่า นิปปริยายธรรม คือธรรมที่
ผู้ปฏิบัติให้บังเกิด (กับตนได้โดยตรง) ทีเดียว ไม่ใช่เป็นธรรมโดย
ปริยาย (โดยอ้อม) คือ โดยเหตุหรือโดยเลสอะไร. ส่วยกุศลที่อิงอาศัย
วิวัฏฏะ (นิพพาน) นี้ เช่นคนบางคนในโลกนี้ปรารถนาอยู่ซึ่งวิวัฏฏะ
จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทำการบูชาพระรัตนตรัยด้วย
สักการะทั้งหลายมีเครื่องหอมและพวงดอกไม้เป็นต้น ฟังธรรม (และ)
แสดงธรรม ทำฌานและสมาบัติให้บังเกิด เขาทำอยู่ย่างนี้ ย่อมได้
นิปปริยายธรรม คืออมตนิพพานโดยลำดับ. ก็ธรรมดังว่ามานี้แหละ
ซื่อว่าปริยายธรรม.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 215
ปัจจัย ๔ จีวรเป็นต้นก็ทำนองนั้น ชื่อว่านิปปริยายอามิสแท้ทีเดียว
ไม่ใช่เป็นอามิสเพราะปริยายอย่างอื่น หรือเพราะเลสอย่างอื่นเลย ส่วน
กุศลที่นำไปสู่วัฏฏะ (ภพ ๓) นี้ เช่นคนบางคนในโลกนี้ปรารถนาวัฏฏะ
มุ่งหมายภพที่มีสมบัติ (พร้อมมูล) จึงให้ทาน ฯ ล ฯ ทำสมาบัติให้
บังเกิด เขาทำอยู่อย่างนี้ ย่อมได้เทวสมบัติมนุษย์สมบัติโดยลำดับ กุศล
ดังว่ามานี้ ชื่อว่าปริยายอามิส.
ในเรื่องธรรมและอามิสนั้น ( มีอธิบายเพิ่มเติมอีกว่า) แม้นิปปริ-
ยายธรรมก็ชื่อว่าเป็นธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า เนื่องจากว่าเพราะ
ธรรมนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ ภิกษุทั้งหลายจึงได้บรรลุมรรค
ผล และนิพพาน ข้อนี้สมด้วยคำอ้างที่มีกล่าวไว้ดังนี้ว่า พราหมณ์
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่อุบัติให้อุบัติขึ้น ทรงยัง
มรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ฯ ล ฯ ส่วนพระสาวกทั้งหลายในบัดนี้มา
ทีหลังดำเนินไปตามมรรค ( ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้อุบัติแล้ว ) อยู่ ดังนี้
และว่า ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อ ( ทรงมีพระประสงค์)
จะทรงทราบก็ทราบได้ เมื่อทรง (มีพระประสงค์ ) จะเห็นก็เห็นได้
พระองค์ทรงมีพระจักษุ ทรงมีพระญาณ ทรงมีธรรม ทรงเป็นพรหม
ทรงเป็นผู้บอกกล่าว ทรงเป็นผู้น้อมนำไปสู่ประโยชน์ ทรงประทาน
อมตะ ทรงเป็นธรรมสามี เป็นพระตถาคต.
แม้ปริยายธรรมก็ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยแท้ เนื่อง
จากว่าเป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนไว้ สาวกทั้งหลายจึงรู้อย่าง
นี้ว่า คนผู้ปรารถนาวิวัฏฏะแล้วให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้บังเกิด
ได้นิพพานอันเป็นอมตะโดยลำดับ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 216
ฝ่ายนิปปริยายอามิสก็ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน.
เนื่องจากว่าเป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้นั่นเอง ภิกษุ
ทั้งหลายจึงได้จีวรอันประณีต เพราะทรง (ปรารภ) เรื่องหมอชีวก
เป็นตัวอย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าเองก็ตรัสไว้เป็นหลักฐานดังนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตคหบดีจีวร (จีวรที่คหบดีถวาย) ภิกษุรูป
ใดปรารถนา (จะสมาทานหรือครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตร) ก็จงเป็นผู้ถือ
ครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตรไปเถิด ภิกษุรูปใดปรารถนาคหบดีจีวร ก็จงยินดี
คหบดีจีวรไปเถิด ภิกษุทั้งหลาย แต่ว่าตถาคตสรรเสริญความสันโดษ
ด้วยจีวรตามได้ นะ.
อนึ่ง ในกาลก่อน ภิกษุทั้งหลายยังไม่ได้บิณฑบาตอัน ประณีต จึง
ได้สรรเสริญคำข้าวที่แสวงหาด้วยลำแข้งโดยการเที่ยวไปตามลำดับตรอก
เท่านั้น เป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ได้
ทรงอนุญาตไว้เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตสังฆภัตร
อุทเทสภัตร นิมันตนภัตร สลากภัตร ปักขิกภัตร อุโบสถิกภัตร ปาฏิ-
ปทิกภัตร ภิกษุเหล่านั้นได้โภชนะอันประณีต เสนาสนะก็ทำนองเดียวกัน
แม้ในกาลก่อน ภิกษุทั้งหลายได้อาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ อาทิตามเงื้อมเขาที่ไม่
ได้ตกแต่ง และตามควงไม้ (ร่มไม้) เป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตไว้เอง อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาต
เสนาสนะ ๕ ชนิด ภิกษุเหล่านั้นจึงได้เสนาสนะเหล่านั้นคือ วิหาร เพิง
ปราสาทมียอด ปราสาทไม่มียอด เรือนโล้น และถ้ำ.
อนึ่ง ในกาลก่อน ภิกษุทั้งหลายได้ใช้สมอดองด้วยน้ำมูตรทำเป็น
ยา เป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแหละที่ทรงอนุญาตไว้โดยนัยมีอาทิ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 217
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตเภสัช ๕ ชนิด คือ เนยใส
เนยขึ้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ภิกษุเหล่านั้นจึงได้เภสัชนานาชนิด.
ถึงปริยายอามิสก็ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน เนื่อง
จากว่าเป็นเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนไว้ สาวกทั้งหลายจึงรู้
อย่างนี้ว่า คนที่ปรารถนาภพที่มีสมบัติ (พร้อมมูล) ให้ทาน สมาทาน
ศีล ฯลฯ ทำสมาบัติให้บังเกิดแล้ว ย่อมได้ปริยายอามิสคือทิพยสมบัติ
มนุษยสมบัติโดยลำดับ.
เพราะเหตุที่ทั้งนิปปริยายธรรม ทั้งปริยายธรรม ทั้งนิปปริยายอามิส
ทั้งปริยายอามิส ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งนั้น ฉะนั้น เมื่อจะ
ทรงแสดงภาวะที่พระองค์ทรงเป็นเจ้าของทั้งในธรรมและอามิสนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท
ของตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย อธิบายว่า ธรรมทั้ง ๒ อย่างซึ่ง
เป็นของตถาคตอันใด ขอเธอทั้งหลายจงเป็นทายาทแห่งธรรมนั้นเถิด
ส่วนอามิสนั้นใด ซึ่งเป็นของตถาคตเหมือนกัน ขอเธอทั้งหลายจงอย่า
เป็นทายาทแห่งอามิสนั้นเลย คือ ขอเธอทั้งหลายจงเป็นเจ้าของแต่เฉพาะ
ส่วนแห่งธรรมเท่านั้นเถิด อย่าเป็นเจ้าของส่วนแห่งอามิสเลย ด้วยว่า
ภิกษุรูปใดบวชในศาสนาของพระชินเจ้า มีปัจจัยเป็นยอดเยี่ยม คือเห็นแก่
ปัจจัย ๔ ซึ่งเป็นเหตุเกิดตัณหา ทอดทิ้งธุระในการปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรมอยู่ ภิกษุรูปนี้ชื่อว่าอามิสทายาท ขอเธอทั้งหลายจงอย่าเป็นเช่น
นั้นเลย ส่วนภิกษุรูปใดอาศัยคุณธรรมมีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้นใน
ปัจจัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ให้พิจารณาอย่างละเอียดก่อน
แล้วจึงเสพ (บริโภค) มีข้อปฏิบัติยอดเยี่ยมเห็นเอง ( ดำรงอยู่ ) ใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 218
อริยวงศ์ ๔ ภิกษุรูปนี้ชื่อว่าธรรมทายาท ขอเธอทั้งหลายจงเป็นเช่นนั้น
เถิด.
ตถาคตอนุเคราะห์สาวก
บัดนี้ ก็ชนเหล่าใดได้มีความวิตกดังนี้ว่า ในอนาคตกาลจักมีหรือ
ไม่หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่ทรงประสงค์ให้พระสาวกทั้งหลายได้
ลาภจึงตรัสอย่างนี้ เพื่อจะทรงแสดงแก่ชนเหล่านั้นว่า พระตถาคตเจ้า
ประสงค์จะให้พระสาวกทั้งหลายได้ลาภอันประณีตยิ่ง ( กว่านี้ ) จึงกล่าว
อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ว่า อตฺถิ เม ตุเมฺหสุ ฯ ล ฯ ใน
อามิสทายาทา ดังนี้ (เราตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลาย ฯ ล ฯ
ไม่เป็นอามิสทายาท).
พระพุทธดำรัสนั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ว่า ตถาคตมีความอนุเคราะห์
ความเอ็นดู ความมุ่งหวัง เกื้อกูล ในเธอทั้งหลายว่า ด้วยเหตุอะไรหนอ
ด้วยอุบายอะไรหนอ พระสาวกทั้งหลายจึงจะเป็นธรรมทายาท เป็นเจ้าของ
ส่วนแห่งธรรม ไม่เป็นอามิสทายาท.
อนึ่ง ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
เห็นนักบวชหลายร้อยจำพวก เป็นต้นว่าภิกษุภิกษุณีและนางสิกขมานาใน
อดีตกาล (ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน) มีหลักฐานปรากฏ
มาโดยนัยว่า แม้สังฆาฏิของกบิลภิกษุก็ถูกไฟลุกไหม้ ดังนี้เป็นต้น และ
นักบวชในศาสนาของพระองค์เองเช่นพระเทวทัตเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้เห็น
แก่อามิสถลำเข้าไปในอามิส (ตายแล้วไปบังเกิดในอบายภูมิ จนเต็ม
อบายภูมิ) แต่ทรงเห็นพระสาวกผู้หนักในธรรมมีพระสารีบุตร พระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 219
มหาโมคคัลลานะและพระมหากัสสปะ เป็นต้น กลับได้บรรลุคุณมี
อภิญญาและปฏิสัมภิทาเป็นอาทิ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ปรารถนาให้พระสาวกเหล่านั้นหลุดพ้นอย่างสิ้นเชิงไปจากอบายภูมิและ
ได้บรรลุคุณธรรมทั้งหมดจึงตรัสว่า อตฺถิ เม ตุเมฺหสุ อนุกมฺปา
กินฺติ เม สาวกา ธมฺมทายาทา ภเวยฺย โน อามิสทายาทา
(ตถาคตมีความอนุเคราะห์ในเธอทั้งหลาย ทำอย่างไรหนอ สาวกของ
ตถาคตจึงจะเป็นธรรมทายาท ไม่เป็นอามิสทายาท) ดังนี้.
ก็ภิกษุผู้เห็นแก่ปัจจัย ย่อมสิ้นเดชอับแสงระหว่างบริษัท ๔ คล้ายกับ
กหาปณะเก๊และเถ้าถ่านไฟที่ดับแล้วฉะนั้น (ส่วน) ภิกษุผู้มีจิตหวนกลับ
จากปัจจัยนั้น เป็นผู้หนักในธรรม ประพฤติครอบงำอามิสอยู่เป็นนิตย์ ย่อม
มีเดช ( สง่าราศี ) คล้ายกับราชสีห์ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นเอง พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า อตฺถิ เม ฯ เป ฯ โน อามิสทายาทา
ดังนี้ ( เราตถาคคมี ฯลฯ อย่าเป็นอามิสทายาท ).
ครั้นทรงชี้แจงให้เข้าใจว่า พระพุทธดำรัสนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ขอเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาท
เลย ตถาคตปรารถนาให้เหล่าพระสาวกได้ลาภที่ประณีตกว่า ตรัส
ไว้แล้วด้วยความอนุเคราะห์ หาใช่ไม่ต้องการให้พระสาวกได้ลาภไม่
อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในเพราะไม่ยอมทำตามพระโอวาทนี้ ใน
บัดนี้จึงตรัสว่า ตุเมฺห จ เม ภิกฺขเว ฯ เปฯ โน ธมฺมทายาทา
ดังนี้ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่ถ้าเธอทั้งหลาย ฯลฯ ไม่พึงเป็นธรรม
ทายาทของตถาคตไซร้).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุเมฺหปิ เตน อาทิสฺสา ภเวยฺยาถ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 220
มีความว่า แม้พวกเธอก็จะพึงถูกรังเกียจโดยความเป็นอามิสทายาทนั้น หา
ถูกรังเกียจโดยความเป็นธรรมทายาทไม่ มีคำอธิบายว่า เธอทั้งหลายพึง
ถูกเหยียดหยาม คือถูกกระทำ ได้แก่กำหนดไว้ต่างหาก (ถูกกันไว้
ต่างหาก ) หมายความว่า ถูกวิญญูชนติเตียน.
ติเตียนว่าอย่างไร ?
ติเตียนว่า เหล่าสาวกของพระศาสดาเป็นอามิสทายาทอยู่ หาเป็น
ธรรมทายาทอยู่ไม่.
บทว่า อหมฺปิ เตน อาทิสฺโส ภเวยฺย ความว่า ถึงเรา
ตถาคตก็จะพึงถูกตำหนิได้ โดยที่ทำให้เธอทั้งหลายเป็นอามิสทายาทนั้น
หาถูกตำหนิโดยที่เธอทั้งหลายเป็นธรรมทายาทไม่.
ถูกตำหนิว่าอย่างไร ?
ถูกตำหนิว่า เหล่าสาวกของพระศาสดาอยู่อย่างเป็นอามิสทายาท หา
อยู่อย่างเป็นธรรมทายาทไม่.
คำตำหนินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก็เพื่อทำให้ภิกษุทั้งหลาย
เหล่านั้นกลายเป็นคนอ่อนโยนอย่างยิ่งทีเดียว.
ก็ในพระพุทธดำรัสตอนนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเธอทั้งหลายจักลุ่มหลงในอามิสท่องเที่ยวไป ในเพราะความลุ่มหลง
อามิสของพวกเธอนั้น วิญญูชนทั้งหลายก็จักพากันติเตียนตถาคตว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู (รู้ทุกสิ่ง) ไฉนจึงไม่สามารถ
ทำเหล่าสาวกของพระองค์ให้เป็นธรรมทายาท ไม่ให้เป็นอามิสทายาท
ได้เล่า เปรียบเหมือน (เมื่อ) ชาวโลกเห็นพระมีมรรยาทไม่เหมาะสม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 221
ย่อมติเตียนถึงอาจารย์และอุปัชฌาย์ว่า ท่านเหล่านี้เป็นสัทธิวิหาริกของ
ใคร ? เป็นอันเตวาสิกของใคร่ อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือน (ผู้ใหญ่)
เห็นเด็กชายหรือเด็กหญิงที่มีตระกูล เป็นคนไม่ดีมีความประพฤติเสียหาย
ย่อมติเตียนถึงบิดามารดาว่า เด็กพวกนี้เป็นลูกชายลูกสาวของใคร ฉันใด
วิญญูชนทั้งหลายก็จักติเตียนตถาคต. ฉันนั้นเหมือนกัน คือ จักติเตียนว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู ไฉนจึงไม่ทรงสามารถทำเหล่า
สาวกของพระองค์ให้เป็นธรรมทายาท ไม่ให้เป็นอามิสทายาทได้เล่า ?
ครั้นทรงแสดงโทษในการไม่ยอมทำตามพระพุทธโอวาทนี้อย่างนี้
แล้ว เมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ในการยอมทำตาม พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ตุเมฺห จ เม ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหมฺปิ เตน อาทิสฺโส น ภเวยฺย
ความว่า อุปมาเสมือนว่าชาวโลกเห็นพวกภิกษุหนุ่มประพฤติวัตรบริบูรณ์
ถึงพร้อมด้วยอุเทศและปริปุจฉา (การเรียนและการสอบถาม) มี
อากัปปกิริยาเหมาะสมเหมือนหนึ่งพระเถระร้อยพรรษา จึงถามว่า ท่าน
เหล่านี้เป็นสัทธิวิหาริกของใคร่ เป็นอันเตวาสิกของใคร? เมื่อมีคน
บอกว่า ของอาจารย์และอุปัชฌาย์รูปโน้นก็จะพากันสรรเสริญว่า พระเถระ
ช่างอาจสามารถตักเตือนพร่ำสอน อาจารย์และอุปัชฌาย์ย่อมไม่ถูกตำหนิ
ไม่ถูกติเตียนฉันใด แม้เราตถาคต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ โดยความ
ที่เธอทั้งหลายเป็นธรรมทายาทนั้น ไม่ใช่โดยความที่เธอทั้งหลายเป็น
อามิสทายาท ชาวโลกก็จะพากันถามว่า สาวกของใครกันนะปฏิบัตินาลก-
ปฏิปทา ปฏิบัติตุวฏกปฏิปทา ปฏิบัติจันทูปมปฏิปทา ปฏิบัติรถวินีต-
ปฏิปทา ปฏิบัติมหาโคสิงคสาลปฏิปทา ปฏิบัติมหาสุญญตาปฏิปทา เป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 222
พยานในอริยวงศ์ ซึ่งมีความสันโดษในปัจจัย ๔ และภาวนาเป็นที่มา
ยินดี มีใจหลีกออกห่างจากความกำหนัดในปัจจัยอยู่ไป เปรียบเหมือน
ดวงจันทร์ที่พ้นจากเมฆหมอก เมื่อมีคนบอกว่า สาวกของพระสมณโคดม
ก็จะพากันสรรเสริญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญูแท้หนอ
ได้ทรงสามารถแท้หนอ ที่จะทรงแนะนำเหล่าสาวกให้ละทิ้งอามิสทายาท
ปฏิปทาแล้วหันมาบำเพ็ญข้อปฏิบัติของผู้เป็นธรรมทายาท พระองค์ย่อม
ไม่ถูกวิญญูชนทั้งหลายตำหนิติเตียนอย่างนี้แล นักศึกษาทราบคำอธิบาย
ในบทนี้อย่างนี้ รายละเอียดที่ยังเหลือ พึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้ามจาก
นัยที่กล่าวแล้วในกัณหปักษ์ ( ฝ่ายที่ไม่ดี ).
ปวารณา ๔
ครั้นทรงแสดงอานิสงส์ในการย่อมทำตามพระโอวาทนี้อย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เมื่อจะทรงมอบพระโอวาทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ตสฺมาติห เม ภิกฺขเว ฯ เป ฯ โน อามิสทายาทา ดังนี้.
[๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงมอบพระพุทธโอวาทนี้อย่างนี้
แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงชมเชยเหล่าภิกษุผู้บำเพ็ญข้อปฏิบัติของผู้เป็นธรรม-
ทายาทนั้น จึงมีพุทธดำรัสมีอาทิว่า อิธาห ภิกฺขเว ดังนี้.
จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายพอได้ฟังคำตรัสชมของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว ต่างย่อมพากันปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้นทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ นี้ เป็นบทนิบาต.
บทว่า ภุตฺตาวี แปลว่า เสวยแล้วเสร็จ อธิบายว่า ทรงกระทำ
ภัตตกิจแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 223
บทว่า ปวาริโต แปลว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า ) ทรงห้ามภัตร
แล้วด้วยการปวารณา (การห้าม) เมื่อพอแก่ความต้องการแล้ว อธิบาย
ว่า เสวยจนพอแก่ความต้องการแล้ว จึงทรงห้ามโภชนะหรือทรงอิ่มแล้ว.
อธิบายว่า ปวารณา ( การยอนให้ตักเตือน การยอมให้ขอ การ
ห้าม). มี ๔ อย่าง คือ ปวารณาของภิกษุผู้อยู่จำพรรษาแล้ว ๑ ปวารณา
ด้วยปัจจัย ๑ ปวารณาทั้งที่มีของอยู่พร้อม ๑ ปวารณาเมื่อพอแก่ความ
ต้องการแล้ว ๑.
ในบรรดาปวารณา ๔ นั้น ปวารณานี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราผู้ตถาคตอนุญาตให้ภิกษุอยู่จำพรรษาแล้วปวารณากันได้ ย่อมให้
ตักเตือนโดยเหตุ ๓ สถาน ดังนี้ ชื่อว่าปวารณาของภิกษุผู้อยู่จำพรรษา
แล้ว.
ปวารณานี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะปวารณา
(ยอมให้ขอ) สงฆ์ด้วยเภสัชตลอด ๔ เดือน และปวารณานี้คือ ปวารณา
ยกเว้น ปวารณาซ้ำอีก ยกเว้นปวารณาเป็นนิตย์ ชื่อว่าปวารณาด้วย
ปัจจัย.
ปวารณานี้คือ ภิกษุชื่อว่า (ห้ามภัตร ) แล้ว คือ การฉัน
ปรากฏอยู่ ๑ โภชนะปรากฏอยู่ ๑ คนอยู่ในหัตถบาส ๑ น้อมของ
เข้าไป ๑ การห้ามปรากฏ ๑ ภิกษุนี้ชื่อว่า ห้ามภัตรแล้ว ชื่อว่าปวารณา
ทั้งที่มีของพร้อม.
ปวารณานี้คือ ทายกเลี้ยงภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญด้วยขาทนียะ
(ของเคี้ยว ) และ โภชนียะ (ของฉัน) ด้วยมือของตน (จน ) ให้
บอกห้าม (ภัตร ) ชื่อว่าปวารณาเมื่อพอแก่ความต้องการ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 224
ปวารณาเมื่อพอแก่ความต้องการนี้ ท่านประสงค์เอาแล้วในที่นี้
ด้วยเหตุนั้น จึงได้กล่าวไว้ว่า:-
บทว่า ปวาริโต แปลว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ทรงห้ามภัตร
แล้วด้วยการปวารณาเมื่อพอแก่ความต้องการแล้ว.
บทว่า ปริปุณฺโณ แปลว่า ทรงบริบูรณ์แล้วด้วยโภชนะ.
บทว่า ปริโยสิโต แปลว่า มีโภชนะอันพระองค์ให้สิ้นสุดแล้ว
(ฉันเสร็จแล้ว). (ในบทว่า ปริโยสิโต นี้) พึงเห็นว่าท่านลบบทหลัง
(โภชโน) ออกเสีย อธิบายว่า เราตถาคตพึงฉันได้เท่าใด ก็ฉันเท่านั้น
กิริยาคือการฉันของเราตถาคตสิ้นสุดลงแล้ว .
บทว่า สุหิโต แปลว่า ทรงอิ่มแล้ว อีกอย่างหนึ่งหมายความว่า
ทรงสำราญแล้ว เพราะไม่มีทุกข์คือความหิว.
บทว่า ยาวทตฺโถ ความว่า ความต้องการด้วยโภชนะของตถาคต
มีอยู่เท่าใด ความต้องการนั้นทั้งหมดตถาคตได้บรรลุ (ถึงที่สุด) แล้ว.
ก็ในคำเหล่านี้ (คือคำว่า ภุตฺตาวี ปวาริโต ปริปุณฺโณ ปริโยสิโต
สุหิโต ยาวทตฺโถ) ๓ คำหลังมีความหมายเท่ากับ ๓ คำแรก อธิบาย
ว่า ภิกษุผู้มีโภชนะอันตนให้สิ้นสุดแล้ว ชื่อว่ามีโภชนะอันตนฉันแล้ว
ภิกษุผู้อิ่มแล้ว ชื่อว่าห้ามภัตรแล้วด้วยการห้ามเมื่อพอแก่ความต้องการ
แล้ว ภิกษุผู้เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว ชื่อว่าบริบูรณ์แล้ว อีกอย่างหนึ่ง
๓ คำแรกมีความหมายเท่ากับ ๓ คำหลัง. อธิบายว่า เพราะเหตุที่ภิกษุฉัน
เสร็จ ฉะนั้น จึงชื่อว่ามีโภชนะอันคนให้สิ้นสุดแล้ว เพราะเหตุที่ภิกษุ
ห้ามภัตรแล้ว ฉะนั้น จึงชื่อว่าอิ่มแล้ว เพราะเหตุที่ภิกษุบริบูรณ์แล้ว
ฉะนั้น จึงชื่อว่าพอแก่ความต้องการ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ผู้ศึกษาพึงทราบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 225
เถิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนด (ความหมายของ ) คำทุกคำนั้น
ไว้แล้ว จึงตรัสไว้.
บทว่า สิยา ใช้ในอรรถว่า เป็นส่วนหนึ่ง ๆ และในอรรถว่า
คาดหมาย.
ใช้ในอรรถว่า เป็นส่วนหนึ่ง ๆคือ ( ในประโยคที่ว่า ) ปวีธาตุ
สิยา อชฺฌตฺติกา สิยา พาหิรา ( ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็มี ที่เป็น
ภายนอกก็มี).
ใช้ในอรรถว่า คาดหมาย คือ (ในประโยคที่ว่า) สิยา อญฺตรสฺส
ภิกฺขุโน อาปตฺติวีติกฺกโม (คงจะมีภิกษุรูปใดรูปหนึ่งล่วงละเมิดอาบัติ )
ในที่นี้ ใช้ได้ทั้งสองความหมาย.
บิณฑบาตมากเกินนั้นเอง ชื่อว่าเป็นของเหลือเพื่อเป็นธรรมดา และ
ธรรมดาก็จะต้องทิ้งไป. อธิบายว่า ทั้งเป็นของเหลือเฟือ ทั้งเป็นของจะ
ต้องทิ้ง จึงไม่ต้องทำอะไรอย่างอื่น.
บทนิบาตว่า อถ คือ ตมฺหิ โยค กาเล (แปลว่า ในกาลนั้น).
บทว่า ชิฆจฺฉาทุพฺพลฺยปเรตา ความว่า อันความหิวและความ
อ่อนกำลังครอบงำแล้ว คือประทุษร้ายแล้ว ได้แก่ติดตามแล้ว.
ในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางเหล่าแม้หิวมาตั้ง ๘ วันบ้าง ๑๐
วันบ้างก็ยังไม่อ่อนกำลัง ยังสามารถข่มความหิวไว้ได้ แต่ภิกษุ ( ๒ รูป)
นี้ไม่เป็นเช่นนั้น เพื่อแสดงเหตุผลดังกล่าวมาแล้วนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ทั้งสองอย่าง ( ทั้งความหิวและความอ่อนกำลัง ).
บทว่า ตฺยาห ตัดบท เป็น เต อห ( แปลว่า เราตถาคตกะ
ภิกษุ ๒ รูปนั้น).
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 226
คำจำกัดความที่ที่ปราศจากของสดเขียว
บทว่า สเจ อากงฺขถ ความว่า ถ้าเธอทั้งสองปรารถนาไซร้
บทว่า อปฺปหริเต แปลว่า ปราศจากของเขียวสดที่งอกขึ้นแล้ว
อธิบายว่า ในที่ที่ไม่มีหญ้าซึ่งธรรมดาจะต้องตายไปเพราะถูกก้อนข้าวที่ตก
ลงไปทับ ในที่ที่แม้จะทิ้งบิณฑบาตไปเป็นเล่มเกวียน หญ้าทั้งหลายก็
ไม่ตายหมด ที่นั้นจะไม่มีหญ้าเลยก็ตาม มีหญ้ามากก็ตาม ย่อมเป็นอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดถึงแล้วด้วยบทว่า อปฺปหริเต นั้น ก็บท
ว่า อิปฺปหริเต นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อไม่ให้ภิกษุละเมิด
ภูตคามสิกขาบท.
บทว่า อปฺปาณเก แปลว่า ไม่มีสัตว์เล็ก คือในน้ำจำนวนมาก
ซึ่งปราศจากสัตว์เล็กที่จะต้องตาย เพราะถูกก้อนข้าวที่ตกลงไป เป็นความ
จริง เมื่อน้ำน้อยคละเคล้า ด้วยการใส่ข้าวลงไปเท่านั้น พวกสัตว์เล็ก ๆ
จึงจะตาย ( แต่ ) ในสถานที่ทั้งหลายมีสระใหญ่เป็นต้น พวกสัตว์เล็ก ๆ
จะไม่ตาย เพื่ออนุรักษ์สัตว์มีชีวิตดังกล่าวมานี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้อย่างนี้.
บทว่า โอปิลาเปสฺสามิ แปลว่า จักทิ้ง ความว่า จักให้จมลง
บทว่า ตตฺเรกสฺส ความว่า ในบรรดาภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่ง
(ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า. . . ) แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาภิกษุ
รูปนั้น คือรูปที่ตั้งใจฟังธรรมเทศนาน แล้วน้อมนึกถึงบ่อย ๆ
ความหมายของวุตฺตศัพท์
ในคำว่า วุตฺต โข ปเนต มีอธิบายว่า วุตฺต ศัพท์นี้ (ใช้ใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 227
ความหมายต่าง ๆ กัน) คือ :-
๑. ใช้ในควานหมายว่า ปลงผม บ้าง (เช่น) ในประโยค
เป็นต้นว่า มาณพหนุ่มชื่อว่า กาปติกะ โกนหัวแล้ว.
๒. ใช้ในความหมายว่า เพาะปลูก บ้าง (เช่น ) ในประโยค
เป็นต้น ว่า พืชที่งอกในสรทกาลปลูกลงไปในไร่นาแล้วย่อมงอกขึ้น ฉันใด.
๓. ใช้ในความหมายว่า กล่าว บ้าง (เช่น) ในประโยคเป็นต้น
ว่า คำนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสไว้แล้ว.
แต่ในที่นี้ นักศึกษาพึงเห็นว่าใช้ในควานหมายว่า กล่าว. ก็คำว่า
วุตฺต โข ปเนต นั้นมีอธิบายดังนี้ว่า กถิต โข ปเนต แปลว่า
(แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ ไว้แล้วนะว่า. . . ).
บทว่า อามิสญฺตร ความว่า อามิสคือปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง
บรรดาอามิสคือปัจจัย ๔ อธิบายว่า อามิสคือปัจจัยอย่างหนึ่ง.
บทว่า ยทิท เป็นนิบาต ( และ ) มีรูปเป็นเช่นนั้นนั่นแหละ
ในทุกลิงค์ วิภัตติ และทุกวจนะ นักศึกษาพึงใช้ให้ถูกความหมาย ในลิงค์
วิภัตติและวจนะนั้น ๆ. แต่ว่าในที่นี้ บทว่า ยทิท นั้น มีความหมายเท่า
โย เอโส. นีคำอธิบายไว้ว่า ชื่อว่าบิณฑบาต นั่นใด บิณฑบาตนี้เป็น
อามิสอย่างหนึ่ง.
บทว่า ยนฺนูนาห ได้แก่ สาธุ วตาห (แปลว่า ดีละหนอ
เรา. . . ).
บทว่า เอว ความว่า แม้ปล่อยวันคืน (ให้ล่วงไป ) เหมือน
อย่างที่บุคคลปล่อยขณะนี้ให้ล่วงไปอยู่ในบัดนี้.
บทว่า วีตินาเมยฺย แปลว่า พึง. . . ให้สิ้นไป คือ พึงให้ล่วง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228
เลยไป.
บทว่า โส ต ปิณฺฑปาต ความว่า ภิกษุนั้นไม่ฉันบิณฑบาต
นั้น แบบที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกพึงรับไว้ด้วยเศียรเกล้าที่เหลือจากที่
พระสุคต (เสวย ) หวังอยู่ซึ่งความเป็นธรรมทายาท พิจารณาถึงข้อ
อุปมาด้วยบุคคลที่ถูกไฟไหม้ศีรษะแล้ว พึงปล่อยให้คืนและวันนั้นล่วงไป
อย่างนั้น ด้วยความหิวและความอ่อนกำลังนั้นเอง.
บิณฑบาตที่ไม่ควรฉัน ๕ อย่าง
ก็ในวาระนี้ว่า อถ ทุติยสิส มีความย่อดังต่อไปนี้ ถ้าภิกษุนั้นเมื่อ
จะคิดว่า ดีละ เรา ฯลฯ พึงยังคืนและวันให้ล่วงไป ก็พึงคิดอย่างนี้ด้วยว่า
การที่บรรพชิตจะแสวงหาบิณฑบาตในหมู่บ้านที่เกลื่อนกล่นด้วยสัตว์ร้ายคือ
เบญจกามคุณเป็นการยากลำบาก เช่นเดียวกับการแสวงหาเภสัชในป่าซึ่ง
ชุกชุมไปด้วยสัตว์ร้าย แต่ว่าบิณฑบาตนี้พ้นโดยสิ้นเชิงจากโทษในการ
แสวงหาดังว่ามานี้ และเป็นบิณฑบาตที่เป็นเดนของพระสุคต เพราะฉะนั้น
จึงเป็นเหมือนขัตติยกุมารผู้อุภโตสุชาต ( มีพระราชสมภพดีแล้วจากทั้ง
สองฝ่าย คือฝ่ายพระชนกและฝ่ายพระชนนี ).
อนึ่ง บิณฑบาตเป็นของภิกษุไม่ควรฉัน เพราะเหตุ ๕ ประการ
เหล่าใดคือ.
๑. เป็นของไม่ควรฉัน เพราะบุคคล ( ผู้ถวาย ) มีข้อน่าตำหนิ
คือเป็นบิณฑบาตของบุคคลอลัชชี.
๒. เป็นของไม่ควรฉัน เพราะบิณฑบาตมีการเกิดขึ้นไม่บริสุทธิ์ คือ
เกิดขึ้นมาจากการแนะนำของนางภิกษุณี และจากการสรรเสริญคุณที่ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 229
จริง (ในตน).
๓. เป็นของไม่ควรฉันเพื่อเป็นการอนุเคราะห์เจ้าของ คือภิกษุ
เจ้าของบิณฑบาตก็กำลังหิว.
๔. (แม้ ) ภิกษุเจ้าของบิณฑบาตนั้นจะอิ่มแล้ว แต่บิณฑบาต
ก็ยังเป็นของไม่ควรฉัน เพื่อเป็นการอนุเคราะห์อันเตวาสิกเป็นต้นของท่าน
นั่นเอง ( เนื่องจาก) อันเตวาสิกหรือคนอื่น ๆ ที่อาศัยบิณฑบาตนั้น
ยังหิวอยู่.
๕. แม้คนเหล่านั้นจะอิ่มหนำสำราญแล้ว แต่ว่าบิณฑบาทก็ยังเป็น
ของไม่ควรฉันเพราะความไม่มีศรัทธา คือ ภิกษุเจ้าของบิณฑบาตยัง
ไม่มีศรัทธา.
บิณฑบาตนี้ก็พ้นแล้วโดยสิ้นเชิงจากเหตุ ๕ ประการเหล่านั้น
ความจริงแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นยอดของลัชชีบุคคลทั้งหลาย
บิณฑบาตมีความเถิดขึ้นโดยบริสุทธิ์ และพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงอิ่ม
หนำสำราญแล้ว ทั้งบุคคลอื่นที่หวังเฉพาะเจาะจงในบิณฑบาตก็ไม่มี คน
เหล่าใดเป็นผู้มีศรัทธาในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นยอดของคนเหล่า
นั้น ดังนี้ และภิกษุนั้นครั้นคิดอย่างนี้แล้ว จึงฉันบิณฑบาตนั้นแล้ว
ฯลฯ ปล่อยให้คืนและวันล่วงไป.
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาเพียงเท่านี้ แม้ภิกษุใดไม่ฉัน (บิณฑบาต
ที่เป็นเดนพระสุคต) แต่บำเพ็ญสมณธรรม ภิกษุนั้นชื่อว่าไม่ฉันบิณฑบาต
ที่ควรฉันทีเดียว ส่วนภิกษุใดฉันแล้ว (บำเพ็ญสมณธรรม) ภิกษุนั้น
ชื่อว่าฉันบิณฑบาตที่ควรฉันโดยแท้.
ความแปลกกันในบิณฑบาตไม่มี แต่มีความแปลกกันอยู่ในบุคคล
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 230
เพราะฉะนั้น เมื่อจะแสดงความแปลกกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า กิญฺจาปิ โส ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิญฺจาปิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า
ยอมรับ และใช้ในความหมายว่า สรรเสริญ.
ถามว่า ยอมรับซึ่งอะไร ?
ตอบว่า ซึ่งการฉันอันไม่มีโทษนั้นของภิกษุนั้น.
ถามว่า สรรเสริญซึ่งอะไร ?
ตอบว่า ซึ่งการฉันแล้วบำเพ็ญสมณธรรม.
มีคำกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ถ้าภิกษุรูปนั้นฉันบิณฑบาตที่ควรฉัน
แล้วบำเพ็ญกิจที่ควรบำเพ็ญไซร้ ข้อว่าโดยที่แท้แล้วภิกษุรูปแรกโน้น
แหละของเราตถาคต ความว่า ภิกษุรูปแรกผู้ปฏิเสธบิณฑบาตนั้นแล้ว
บำเพ็ญสมณธรรมโน้นนั่นแลของตถาคต ดูเหมือนจะเป็นผู้แกล้วกล้า
กว่าในบรรดาสาวก ๒ รูป ของตถาคตซึ่งเป็นผู้แกล้วกล้า และดูเหมือน
จะเป็นบัณฑิตกว่าในบรรดาสาวก ๒ รูปผู้เป็นบัณฑิตของเราตถาคต ชื่อว่า
เป็นผู้น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า มีคำอธิบายไว้ว่า น่าบูชาและน่า
สรรเสริญยิ่งกว่าภิกษุรูปที่ ๒.
เหตุที่น่าบูชากว่าและน่าสรรเสริญกว่า
บัดนี้ เมื่อจะยกเหตุ ( การณะ ) ขึ้นมาขยายความนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ต กิสฺส เหตุ ดังนี้เป็นต้น.
คำนั้นมีอธิบาย (เพิ่มเติม) ว่า ในข้อนั้น เธอทั้งหลายคงมี
(ข้อกังขา) ว่า เพราะเหตุไร ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้น่าบูชากว่าน่าสรรเสริญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 231
กว่าของพระผู้มีพระภาคเจ้า ?
คำตอบก็คือ ตญฺหิ ตสฺส ความว่า เพราะการห้ามบิณฑบาต
นั้นจักเป็นไปเพื่อความมักน้อย ฯลฯ เพื่อความปรารภความเพียรสิ้นกาล
นานสำหรับภิกษุนั้น.
จักเป็นไปอย่างไร?
คือภิกษุนั้น ถ้าสมัยต่อมาจักเกิดความมักได้ ความปรารถนาลามก
หรือความมักมากในปัจจัยทั้งหลายขึ้น ลำดับนั้น ภิกษุ (รูปอื่น) พิจารณา
เห็นอยู่อย่างนั้นจักกันเธอไว้ด้วยตาขอ คือการห้ามบิณฑบาตนี้ว่า นี่แน่ท่าน
ท่านปฏิเสธบิณฑบาตแม้ที่เป็นเตนของพระสุคต แล้วก็ยังเกิดความ
ปรารถนาเช่นนี้ขึ้นจนได้ นี่เป็นนัยในการห้ามความไม่ขัดเกลากิเลสที่
เกิดขึ้นแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ การปฏิเสธบิณฑบาตนั้นจักเป็นไปเพื่อความ
มักน้อย ความสันโดษ (และ) ความขัดเกลากิเลสสำหรับเธอก่อน.
ในคำว่า สุภรตาย ( เพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่าย) นี้ มีการพรรณนา
ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เลี้ยงยากบำรุงยากทั้งแก่ตนเอง
ทั้งแก่อุปัฏฐาก ( ส่วน ) บางรูปเป็นผู้เลี้ยงง่ายบำรุงง่ายทั้งแก่ตนเอง
ทั้งแก่อุปัฏฐาก.
เป็นอย่างไร ?
อธิบายว่า ภิกษุรูปใดได้อาหารที่เปรี้ยวเป็นต้นแล้วยังแสวงหา
อาหารอื่น มีอาหารที่มีรสไม่เปรี้ยวเป็นต้น ทิ้งสิ่งของที่ได้ในเรือนของ
คนหนึ่งไว้ในเรือนของอีกคนหนึ่ง เที่ยวจาริกไปจนหมดเวลา (บิณฑบาต)
แล้วมีบาตรเปล่ากลับเข้าวัดนอน ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงยากสำหรับ
ตนเอง ส่วนภิกษุรูปใดแม้ทายกจะถวายข้าวสาลีเนื้อและข้าวสุกเป็นต้น
จนเต็มบาตรแล้วก็ยังแสดงสีหน้าบึ้งตึงและความไม่พอใจ ยิ่งไปกว่านั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 232
เมื่อจะดูแคลนบิณฑบาตนั้นต่อหน้าคนเหล่านั้นว่า พวกท่านถวายของ
อะไร ดังนี้ จึงให้แก่อนุปสัมบันมีสามเณรและคฤหัสถ์ (อื่น) เป็นต้นไป
(เป็นการประชด) ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงยากสำหรับผู้อุปัฏฐาก
ทั้งหลาย พวกชาวบ้านเห็นเธอเข้าก็จะพากันหลีก ( หลบหน้า ) เสียแต่
ไกลทีเดียว ด้วยนึกตำหนิว่า พระเลี้ยงยาก พวกเราไม่สามารถจะเลี้ยงดู
ท่านได้หรอก.
ส่วนภิกษุใด ได้อาหารอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป็นของชนิดดีหรือ
ชนิดเลวก็ตาม มีจิตสันโดษฉันอาหารนั้นแล้วกลับวัดไปทำงานของตน
(ต่อไป) ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็นผู้เลี้ยงง่ายสำหรับตน. และภิกษุรูปใดไม่
ดูหมิ่นทานของคนอื่นจะน้อยหรือมากจะดีหรือเลวก็ตาม มีจิตยินดีสีหน้า
ยิ้มแย้มแจ่มใส ฉันต่อหน้าคนเหล่านั้นแล้วจึงค่อยไป ภิกษุรูปนี้จัดว่าเป็น
ผู้เลี้ยงง่ายสำหรับผู้อุปัฏฐาก พวกชาวบ้านครั้นเห็นพระรูปนั้นแล้วต่างก็
พากันดีใจอย่างยิ่งยวดว่า พระคุณเจ้าของพวกเราเป็นผู้เลี้ยงง่าย สันโดษ
แม้ด้วยอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ พวกเราจักเลี้ยงดูท่าน ครั้นตกลงแล้ว ก็พา
กันบำรุงเลี้ยงดู. ในพฤติกรรมนั้น ถ้าสมัยต่อมาเธอจักเกิดควานคิดขึ้นใน
ทำนองจะเป็นผู้เลี้ยงยากทั้งแก่ตนเองหรืออุปัฏฐากทั้งหลายไซร้ ครานั้น
ภิกษุรูปอื่นพิจารณาเห็นอย่างนี้ก็จักช่วยกันเธอไว้ด้วยตาขอคือการปฎิเสธ
บิณฑบาตนี้ว่า นี่แน่ท่าน ท่านปฏิเสธบิณฑบาตที่เป็นเดนของพระสุคต
แล้ว ยังนาเกิดความคิดเช่นนี้ขึ้นจนได้. เมื่อเป็นอย่างนี้การปฏิเสธ
บิณฑบาตก็จักเป็นไปเพื่อความเป็นผู้เลี้ยงง่ายสำหรับเธอ.
อนึ่ง ถ้าเธอจักเกิดความเกียจคร้านขึ้น ภิกษุรูปอื่นก็จักช่วยกันไว้
ด้วยตาขอนั้นเหมือนกันว่า นี่แน่ท่าน ท่านปฏิเสธบิณฑบาตที่เป็นตน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 233
ของพระสุคตแล้ว คราวนั้นแม้จะถูกความหิวและความอ่อนกำลังครอบงำ
ก็ยังบำเพ็ญสมณธรรมได้ ( ไฉน) วันนี้จึงหันมาหาความเกียจคร้าน
เสียเล่า เมื่อเป็นอย่างนี้ การปฏิเสธบิณฑบาตจักเป็นไปเพื่อการปรารภ
ความเพียรสำหรับเธอ การปฏิเสธบิณฑบาตนี้ของภิกษุนั้นจักเป็นไปเพื่อ
ความมักน้อยฯลฯ เพื่อการปรารภความเพียรตลอดกาลนานดังกล่าวมานี้.
คุณ ๕ ประการ
คุณ ๕ นี้ (ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลากิเลส
ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย และการปรารภความเพียร ) ของภิกษุนั้นบริบูรณ์
อย่างนี้แล้วก็จักช่วยให้กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์อย่างไร?
อธิบายว่า ในจำนวนคุณธรรมทั่ง ๕ นั้น กถาวัตถุ ๓ ประการ
คือความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ และการปรารภความเพียรที่มาใน
พระบาลีนี้นั้นแล รวมกันเข้าได้กับสัลเลขธรรม. เพราะว่าสัลเลขธรรมนี้
เป็นชื่อของกถาวัตถุเหมือนกันทุกข้อ สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ก็แลกถานี้นั้นเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส
อย่างยิ่ง สะดวกแก่การเปิดเผยจิต ( ออกจากกิเลส) เป็นไปพร้อมเพื่อ
นิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อวิราคะ (การสำรอกกิเลส ) เพื่อนิโรธะ
( การดับกิเลส) เพื่ออุปสมะ ( การสงบระงับกิเลส) เพื่ออภิญญา
(ปัญญาอันยิ่ง ) เพื่อสัมโพธะ ( การตรัสสู้) เพื่อพระนิพพาน ความดับ
สนิทแห่งกิเลส กถานี้นั้นคืออะไร ? ได้แก่ อัปปัจฉกถา (กถาว่าด้วย
ควานมักน้อย ).
ความพิสดารเป็นดังว่ามานี้ คุณ ๕ ประการบริบูรณ์ก็จักช่วยให้
กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์ได้อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 234
กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์ก็จักช่วยให้สิกขา ๓ บริบูรณ์.
อย่างไร ?
อธิบายว่า ในกถาวัตถุทั้ง ๑๐ นั้น กถา ๔ นี้คือ อัปปิจฉกถา
( กถาว่าด้วยความมักน้อย) สันโตสกถา (กถาว่าด้วยความสันโดษ)
อสังสัคคกถา (กถาว่าด้วยความไม่ระคนด้วยหมู่คณะ) สีลกถา ( กถา
ว่าด้วยเรื่องศีล ) สงเคราะห์เข้าในอธิสีลสิกขาเท่านั้น กถา ๓ นี้ ปวิเวกกถา
( กถาว่าด้วยความสงัด ) วิริยารัมภกถา ( กถาว่าด้วยการปรารภความ
เพียร ) สมาธิกถา ( กถาว่าด้วยเรื่องสมาธิ ) สงเคราะห์เข้าในอธิจิตต-
สิกขา กถา ๓ นี้คือ ปัญญากถา (กถาว่าด้วยเรื่องปัญญา) วิมุตติกถา
( กถาว่าด้วยเรื่องวิมุติ ) วิมุตติญาณทัสสนกถา ( กถาว่าด้วยเรื่องวิมุตติ-
ญาณทัสสนะ ) สงเคราะห์เข้าในอธิปัญญาสิกขา กถาวัตถุ ๑๐ บริบูรณ์
จักช่วยให้สิกขา ๓ บริบูรณ์อย่างนี้. สิกขา ๓ บริบูรณ์จักช่วยให้กองแห่ง
อเสกขธรรม ๔ อย่างบริบูรณ์.
อย่างไร ?
อธิบายว่า อธิสีลสิกขาบริบูรณ์ก็จะเป็นหมวดศีลที่เป็นอเสกขะ
ทีเดียว อธิจิตตสิกขาบริบูรณ์ก็จะเป็นหนวดสมาธิที่เป็นอเสกขะ อธิปัญญา-
สิกขาบริบูรณ์ก็จะเป็นหมวดแห่งปัญญาวิมุตติและวิมุตติญาณทัสสนะที่เป็น
อเสกขะทีเดียว รวมความว่า สิกขา ๓ บริบูรณ์จักช่วยให้หมวดแห่ง
อเสกขธรรม ๕ บริบูรณ์อย่างนี้. ( และ ) หมวดแห่งอเสกขธรรม ๕
บริบูรณ์ก็จักช่วยให้อมตนิพพานบริบูรณ์. เปรียบเหมือนเมฆก้อนมหึมา
กลั่นตัวเป็นน้ำฝนตกกระหน่ำลงบนยอดเขาไหลลงมาเต็มซอกเขา ลำธาร
ละหาน. ซอกเขา ลำธาร ละหานเหล่านั้นเต็มแล้ว ก็ไหลบ่าออกมาเต็ม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 235
หนอง หนองเต็มแล้ว ก็ไหลบ่าออกมาเต็มบึง บึงเต็มแล้ว ถึงไหลบ่าออกมา
เต็มแม่น้ำน้อย ( แคว ) แม่น้ำน้อย ( แคว ) เต็มแล้ว ก็ไหลบ่าออกมาเต็ม
แม่น้ำใหญ่ แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว ก็ไหลบ่าออกมาเต็มสมุทรสาครฉันใด
คุณ ๕ ข้อนี้ของภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ บริบูรณ์แล้วก็จักช่วยให้
คุณธรรมเริ่มตั้งแต่กถาวัตถุ ๑๐ จนกระทั่งถึงอมตนิพพานให้บริบูรณ์
ภิกษุนี้ปฏิบัติปฎิปทาแห่งธรรมทายาทแล้วจักได้เป็นธรรมทายาทอย่างยอด
เยี่ยม ด้วยประการดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นประโยชน์
อย่างนี้แลจึงได้ตรัสไว้ว่า ต กิสฺส เหตุ ตญฺหิ ตสฺส ภิกฺขเว ภิกฺขุโน
ดังนี้เป็นต้น (แปลว่า ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ? เพราะข้อนั้นจักเป็นไป
เพื่อ . . .สำหรับภิกษุนั้นนะภิกษุทั้งหลาย).
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงยกเหตุที่ทำให้ภิกษุนั้นเป็นผู้น่าบูชา
และน่าสรรเสริญกว่าขึ้นมาอธิบายประกอบอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรง
สำทับภิกษุเหล่านั้นเพื่อให้เป็นอย่างนั้น จึงตรัสว่า ตสฺมาติห เม ภิกฺขเว
ดังนี้ เป็นต้น.
ตรัสไว้ว่าอย่างไร ?
ตรัสไว้ว่า เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ฉันบิณฑบาตนั้นแล้ว บำเพ็ญสมณ-
ธรรม เป็นผู้เหินห่างจากคุณธรรมที่เป็นรากเหง้า ๕ ประการเหล่านี้ ส่วน
ภิกษุผู้ไม่ฉันแล้วบำเพ็ญ จะเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณธรรมเหล่านั้น ฉะนั้นแล
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็น ฯ ล ฯ ของเรา อย่าเป็นอามิสทายาท.
บทว่า อิหมโวจ ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
คำนี้คือ อุปเทศแห่งพระสูตรว่า ตั้งแต่ท้ายนิทาน๑จนกระทั่งถึงอย่าเป็น
อามิสทายาท.
๑. ปาฐะเป็น นิพฺพานปริโยสานโต ฉบับพม่าเป็น นิทานปริโยสานโต แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 236
บทว่า อิท วตฺวาน สุคโต ความว่า และครั้นตรัสอุปเทศ
แห่งพระสูตรนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้รับการถวายพระนามว่า
พระสุคตนั้นแหละ เพราะทรงดำเนินไปด้วยปฏิปทาอันงาม.
บทว่า อุฏฺายาสนา วิหาร ปาวิสิ ความว่า เสด็จลุกขึ้นจาก
บวรพุทธอาสน์ที่มีผู้ปูลาดถวายไว้แล้วก็เสด็จเข้าไปสู่วิหาร คือมหาคันธกุฎี
ของพระองค์.
เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับก่อน
ถามว่า ในเมื่อบริษัทยังไม่แยกย้ายกันกลับเลย เพราะเหตุไร
(พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหารเล่า) ?
ตอบว่า เพื่อจะทรงยกย่องพระธรรม ได้สดับมาว่า พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเมื่อจะเสด็จเข้าไปสู่วิหารในเมื่อเทศนายังไม่ทันจบ ก็จะเสด็จเข้าไป
ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือเพื่อจะทรงยกย่องบุคคล ๑ เพื่อจะทรงยกย่อง
พระธรรม ๑.
เมื่อเสด็จเข้าไปเพื่อทรงยกย่องบุคคล จะทรงดำริอย่างนี้ว่า เหล่าภิกษุ
ผู้รับเอาธรรมเรียนเอาอุทเทศนี้ ที่เราตถาคตแสดงโดยย่อแล้ว แต่ยังไม่ได้
จำแนกให้พิสดาร จักพากันเข้าไปเรียนถามพระอานนท์หรือไม่ก็พระมหา-
กัจจายนะ เธอทั้งสองนั้นก็จักอธิบายสอดคล้องกับญาณของเราตถาคต
จากนั้นเหล่าภิกษุผู้รับเอาธรรม จักกลับมาถามเราตถาคตอีก เราตถาคตก็
จักชมเธอทั้งสองนั้น แก่เหล่าภิกษุผู้รับเอาธรรมนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อานนท์อธิบายดีแล้ว กัจจายนะ๑ก็อธิบายดีแล้ว ความข้อนี้แม้
พวกเธอทั้งหลายจะพึงมาถามเราตถาคตไซร้ เราตถาคตก็จักอธิบายความ
๑. ปาฐะเป็น กจฺฉาเนน เห็นว่าควรจะเป็น กจฺจายเนน จึงได้แปลอย่างนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 237
ข้อนั้นแบบเดียวกันนั้นแหละ จากนั้นภิกษุทั้งหลายก็จักเกิดความเคารพ
ในเธอทั้งสองแล้วพากันเข้าไปหา. แม้เธอทั้งสองก็จักแนะนำภิกษุทั้งหลาย
ไว้ในอรรถและธรรม ภิกษุเหล่านั้นอันเธอทั้งสองนั้นแนะนำแล้วก็จักพา
กัน บำเพ็ญสิกขา ๓ กระทำที่สุดทุกข์ได้.
เมื่อจะเสด็จเข้าไปเพื่อยกย่องพระธรรม จะทรงพระดำริเหมือนที่ได้
ทรงพระดำริในที่นั้นนั่นเองว่า เมื่อเราตถาคตเข้าไปสู่วิหารแล้ว พระสารี-
บุตรนั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัทนี้นั้นแล จักแสดงธรรมตำหนิอามิสทายาท
และยกย่องธรรมทายาทนั้นเหมือนกัน เทศนานี้ที่เราทั้งสองแสดงแล้ว อย่าง
นี้ตามมติที่เป็นไปในแนวเดียวกัน จักเป็นเทศนาที่เลิศและหนัก (มีความ
สำคัญ ) เฉกเช่นฉัตรหิน จักเป็นเหมือนเรือที่จอดอยู่ที่ท่าแล้ว เพราะหมาย
ความว่าข้ามโอฆะ ๔ ได้ และจักเป็นเหมือนรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย
๔ ตัว เพราะหมายความว่าเป็นเหตุให้ไปสู่สวรรค์.
อนึ่ง เปรียบเหมือนเมื่อพระราชาทรงออกพระราชบัญญัติในที่ประ-
ชุมว่า คนที่ทำความผิดอย่างนี้ต้องถูกปรับสินไหมเท่านี้ แล้วเสด็จลุกจาก
พระราชอาสน์ขึ้นสู่ปราสาท เสนาบดีที่นั่งอยู่ในที่นั้นนั่นแลจะรักษาการณ์
ให้เป็นไปตามพระบัญญัตินั้นฉันใด เทศนาที่เราแสดงแล้วก็ฉันนั้นเหมือน
กัน สารีบุตรนั่งอยู่ในที่ประชุมนี้นั่นแหละจักแสดงยกย่อง. เทศนาที่
ตถาคตกับสารีบุตรแสดงแล้วตามมติของเราทั้งสองจักรุ่งเรื่องมีกำลัง ดุจ
พระอาทิตย์ยามเที่ยงวันฉะนั้น.
เพื่อทรงยกย่องธรรมในที่นี้อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จลุก
ขึ้นจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่วิหาร.
อนึ่ง ในฐานะเช่นนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายพระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 238
องค์ไปบนพุทธอาสน์ที่ประทับนั่งนั่นเอง เสด็จเข้าไปสู่วิหารด้วยการเสด็จ
ไปด้วยอำนาจจิต เพราะถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงเสด็จไปด้วยการไป
ด้วยพระกายไซร้ บริษัททั้งหมด (ที่ประชุมอยู่ในที่นั้น) ก็คงจะพากัน
แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้. บริษัท (ที่ประชุมกันอยู่ ) นั้นแตกกลุ่ม
กันชั่วคราวแล้วก็ยากที่จะมาชุมนุมกันได้อีก ( เพราะฉะนั้น ) พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าไปด้วยการเสด็จไปด้วยอำนาจจิตนั่นเอง ( หายตัว
ไป ).
พระสารีบุตรเถระแสดงธรรม
[ ๒๓ ] ก็แล ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไป ( สู่วิหาร )
ด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตร ( นั่ง ) อยู่ ณ ที่นั้นแล ประสงค์
จะยกย่องธรรมนั้นให้สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงได้กล่าวคำนี้ไว้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อายสฺมา เป็นคำเรียกคนที่รัก.
คำว่า สาริปุตฺโต เป็นนามของพระเถระนั้น ก็แล นามนั้นได้มา
จากข้างฝ่ายมารดา มิใช่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดา เพราะพระเถระนั้นเป็น
บุตรของพราหมณีชื่อรูปสารี ฉะนั้น จึงชื่อว่า สารีบุตร.
คำว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส แปลว่า เพิ่งหลีกไปได้ไม่นาน.
ก็ในคำว่า อาวุโส ภิกฺขเว นี้ มีวินิจฉัยดังนี้. พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทั้งหลายเมื่อจะทรงเรียกสาวก ( ของพระองค์ ) ก็จะทรงเรียกว่า
ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ) ฝ่ายสาวกทั้งหลายคิดว่า เราทั้งหลายจง
อย่าเสมอกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย ดังนี้แล้ว (เมื่อจะร้องทักกัน)
ก็กล่าวว่า อาวุโส (แปลว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ) ก่อนแล้ว จึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 239
ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย) ทีหลัง. อนึ่ง ภิกษุสงฆ์ที่พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายตรัสเรียกแล้วก็จะทูลรับว่า ภทนฺเต ( พระเจ้าข้า) สงฆ์ที่
พระสาวกทั้งหลายเรียกจะตอบรับว่า อาวุโส (ดูก่อนผู้มีอายุ).
คำว่า กิตฺตาวตา ในบทว่า กิตฺตาวตา นุ โข อาวุโส นี้
เป็นคำแสดงความกำหนด แปลว่า ด้วยเหตุเท่าไร ? นุ อักษรใช้ใน
อรรถแห่งคำถาม. โข อักษรเป็นเพียงนิบาต.
บทว่า สตฺถุ ปวิวิตฺตสฺส วิหรโต ความว่า เมื่อพระศาสดา
ประทับอยู่ด้วยวิเวก ๓ คือ กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก.
บทว่า วิเวกนฺนานุสิกฺขนฺติ ความว่า ไม่ศึกษาตามซึ่งวิเวกทั้ง ๓
แม้แต่วิเวกข้อใดข้อหนึ่ง.
บทว่า อามิสทายาทาว โหนฺติ ความว่า ท่านพระสารีบุตร
ถามเนื้อความนี้กะภิกษุทั้งหลาย. แม้ในสุกกปักษ์ ( ฝ่ายที่ดี) ก็นัยนี้.
เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายประสงค์จะสดับเนื้อความนั้น
จึงได้กล่าวว่า ทูรโตปิ โข ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูรโตปิ ความว่า จากภายนอกแว่น
แคว้นบ้าง จากภายนอกชนบทบ้าง อธิบายว่า จากที่ไกลนับได้หลาย
ร้อยโยชน์บ้าง.
บทว่า สนฺติเก แปลว่า ในที่ใกล้.
บทว่า อญฺาตุ แปลว่า เพื่อรู้ คือเพื่อเข้าใจ.
บทว่า อายสฺมนฺตเยว สาริปุตฺต ปฏิภาตุ ความว่า จงเป็นหน้าที่
ส่วนของท่านพระสารีบุตรเถิด อธิบายว่า ขอให้ท่านพระสารีบุตรช่วย
แจกแจง ( ขยายความ ) ให้เป็นส่วนของตนด้วยเถิด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 240
ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า การขยายความเป็นหน้าที่ของท่าน
พระสารีบุตร ส่วนการฟังเป็นหน้าที่ของพวกกระผม คำอธิบายอย่างนี้
สมกับลักษณะของศัพท์. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า ปฏิภาตุ
คือ ทิสฺสตุ ( จงแสดง ). อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า อุปฏฺาตุ
(จงปรากฏ).
บทว่า ธาเรสฺสนฺติ (จักทรงจำไว้) ได้แก่จักเรียน.
ลำดับนั้น พระเถระประสงค์จะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่า-
นั้น จึงกล่าวคำว่า เตนหิ ดังนี้เป็นต้น.
ในคำว่า เตนหิ นั้น มีอธิบายว่า บทว่า เตน เป็นตติยาวิภัตติ.
หิ อักษร เป็นนิบาต. มีคำอธิบายว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายประสงค์
จะฟังและบอกกล่าวให้เป็นภาระของผม ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟังเถิด.
เหล่าภิกษุรับรองคำพูดของพระเถระแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เอวมาวุโส ฯ เป ฯ ปจฺจสฺโสสุ ดังนี้.
[๒๔] ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรเมื่อจะแสดงเนื้อความที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงตำหนิความเป็นอามิสทายาท ตรัสไว้แล้วโดยอาการ
อย่างเดียวกันนั้นเองว่า แม้เธอทั้งหลายก็จะพึงถูกตำหนิ โดยความเป็น
อามิสทายาทนั้น ดังนี้ โดยอาการ ๓ อย่างแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงได้กล่าว
คำนี้ว่า อิธาวุโส ฯ เป ฯ สาวกา วิเวก นานุสิกฺขนฺติ.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ พระเถระได้กล่าวไว้แล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อทรงตำหนิปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาทอันใด แม้ท่านทั้งหลายก็จะพึง
ถูกตำหนิด้วยปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาทนั้น. และพระเถระได้ถามก็จะถาม
ใดด้วยตนเองว่า กิตฺตาวตา นุโข ฯ เป ฯ นานุสิกฺขนฺติ. ความหมายแห่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 241
คำถามนั้นแบบพิสดารเป็นอันพระเถระได้แจกแจงไว้ดีแล้ว.
ก็แต่ว่า ความหมายนั้นมิได้พาดพิงถึงว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้อง
ถูกตำหนิด้วยเลย. เพราะพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้แล้วว่า อหมฺปิ เตน
อาทิสฺโส ภวิสฺสานิ (แม้เราตถาคตก็จักถูกตำหนิด้วยความเป็นอามิส
ทายาทนั้นด้วย) เป็นพระดำรัสที่ถูกต้องแล้วของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เอง ซึ่งทรงประสงค์จะสงเคราะห์สาวก ไม่ใช่เป็นถ้อยคำของพระสาวก.
แม้ในฝ่ายที่ดี (สุกกปักษ์) ก็นัยนี้. ในตอนนี้มีโยชนา (การประ-
กอบความ) ลำดับแห่งอนุสนธิเท่านี้ก่อน.
ส่วนการขยายความในเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนานี้.
บทว่า สตฺถุ ปวิวิตฺตสฺส ความว่า เมื่อพระศาสดาผู้ทรงสงัด
แล้วอย่างแท้จริงด้วยวิเวก ๓.
บทว่า วิเวก นานุสิกฺขนฺติ ความว่า ไม่ตามศึกษา คือไม่บำเพ็ญ
ให้บริบูรณ์ซึ่งกายวิเวก. ก็ถ้าว่าพระเถระจะพึงกล่าวหมายถึงวิเวกทั้ง ๓ ไซร้
คำถามก็คงไม่มีเป็นพิเศษ เพราะว่าวิเวกในคำว่า วิเวก นานุสิกฺขนฺติ
นี้เป็นฝ่ายแห่งคำพยากรณ์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงแสดงกายวิเวกด้วย
บทนี้ว่า (วิเวก นานุสิกฺขนฺติ) แสดงจิตติวิเวกด้วยบทว่า เยสญฺจ
ธมฺมาน และแสดงอุปธิวิเวกด้วยว่า พาหุลฺลิกา ดังนี้เป็นต้น . ในตอน
นี้พึงทราบความโดยย่อดังพรรณนามาฉะนี้.
ด้วยบทว่า เยสญฺจ ธมฺมาน พระเถระกล่าวหมายเอาอกุศลธรรม
มีโลภะเป็นต้น ซึ่งจะกล่าวถึงข้างหน้าโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนอาวุโส
บรรดาอกุศลธรรมเหล่านั้น โลภะเป็นบาป.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 242
บทว่า นปฺปชหนฺติ ได้แก่ไม่ละทิ้ง อธิบายว่า ไม่บำเพ็ญให้
บริบูรณ์ซึ่งจิตตวิเวก.
บทว่า พาหุลฺลิกา แปลว่า ปฏิบัติเพื่อความเป็นผู้หมกมุ่น ด้วย
ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น. ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า สาถลิกา เพราะนับถือศาสนา
แบบย่อหย่อน.
ในบทว่า โอกฺกมเน ปุพฺพงฺคมา นี้ มีอธิบายว่า นิวรณ์ ๕
เรียกว่า โอกกมนะ เพราะเป็นเหตุให้ตกต่ำ ภิกษุเหล่านั้น นับว่าเป็น
แนวหน้า (นำ ) ด้วยการทำนิวรณ์ ๕ ให้บริบูรณ์นั้น.
บทว่า ปวิเวเก คือในอุปธิวิเวก ได้แก่นนิพพาน.
บทว่า นิกฺขิตฺตธุรา ความว่า มีธุระอันปลงลงแล้ว คือไม่ทำการ
เริ่มความเพียรเพื่อบรรลุนิพพานนั้น. ด้วยคำเพียงเท่านี้เป็นอันท่านกล่าว
ไว้แล้วว่า ไม่บำเพ็ญอุปธิวิเวกให้บริบูรณ์. พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าว
โดยไม่จำกัดแน่นอนด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะจำกัดเทศนา
ให้แน่นอน จึงกล่าวคำว่า ตตฺราวุโส ดังนี้เป็นต้น.
ถามว่า เพราะเหตุไร ? เมื่อพระเถระกล่าวไม่จำกัดแน่นอนลง
ไปอย่างนี้ว่า สาวกทั้งหลาย ( ย่อมถูกตำหนิ) โดยเหตุ ๓ สถาน
ภิกษุเหล่านั้นย่อมพากันบ่นว่า เรื่องนั้นพระเถระพูดว่า คนอื่นไม่ได้ว่า
พวกเรา แต่เมื่อพระเถระกล่าวกำหนดแน่นอนลงไปอย่างนี้ว่า เถรา
(สาวกที่เป็นพระเถระ) นวา ( สาวกที่เป็นนวกะ) มชฺฌิมา ( สาวกที่มี
พรรษาปานกลาง) ภิกษุเหล่านั้นพากันทำความเอื้อเฟื้อว่า เรื่องนี้พระ
เถระว่าพวกเรา.
ตอบว่า อุปมาเหมือนเมื่อเหล่าราชอำมาตย์แม้จะบอกว่าประชาชน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 243
ต้องช่วยกันทำความสะอาดถนนในเมือง ต่างพากันสงสัยอยู่ว่า ใครกันนะ
ต้องทำความสะอาด แล้วไม่ (มีใคร ) ลงมือทำความสะอาด ต่อเมื่อ
ตีกลองบ่าวประกาศว่า ประชาชนต้องทำความสะอาดประเรือนของตน ๆ
ชาวเมืองทั้งหมดต่างก็จะช่วยทำความสะอาด และประดับประดาให้สวยงาม
โดยใช้เวลาเพียงชั่วครู่ฉันใด อุปไมยก็พึงทราบฉันนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร ได้แก่ เตสุ โยค สาวเกสุ
(บรรดาสาวกเหล่านั้น).
ภิกษุทั้งหลายที่ถูกเรียกว่าเป็นพระเถระ เพราะหมายเอาผู้มีพรรษา
๑๐ ขึ้นไป.
ฐานศัพท์ใช้ในความหมายต่าง ๆ
บทว่า ตีหิ าเนหิ ได้แก่โดยเหตุ ๓ อย่าง
ก็ฐานศัพท์นี้ ใช้ในอรรถว่า ตำแหน่ง (อิสฺสริย) เป้าหมาย
= ที่ตั้งอยู่, ที่ดำรงอยู่, (ฐิติ) ขณะ และเหตุ (การณ์) (มีตัวอย่างดัง
ต่อไปนี้):-
ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ตำแหน่ง (เช่น) ในประโยคเป็นต้น
ว่า ก็ท้าวสักกะจอมเทพนี้ทำกรรมอะไรไว้จึงได้รับตำแหน่งนี้.
ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เป้าหมาย (เช่น) ในประโยคเป็น
ต้นว่า เป็นผู้ฉลาดในเป้าหมาย เป็นผู้ยิงทันสายฟ้า (ยิงไม่ขาดระยะ).
ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ขณะ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า
ก็คำนี้แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยขณะ (โดยฉับพลัน).
ฐานศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เหตุ (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 244
รู้จักเหตุที่เป็นไปได้โดยความเป็นไปได้.
แต่ในที่นี้ ใช้โนอรรถว่า เหตุ เท่านั้น. อธิบายว่า เหตุเรียกว่า
ฐานะเพราะเป็นที่ตั้งอยู่แห่งผล โดยมีความเป็นไปเกี่ยวเนื่องกันกับผลนั้น.
ด้วยเหตุข้อที่ ๑ นี้ พระเถระย่อมแสดงว่า บทว่า คารยฺหา ในคำว่า
เถรา ภิกฺขู คารยฺหา นี้ แปลว่า พึงถูกตำหนิ. พระเถระทั้งหลายจะต้อง
ถูกนินทาอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเป็นพระเถระแล้ว ยังไม่เข้าไปสู่เสนาสนะ อัน
เป็นแนวไพร คืออันสงัดในป่า ไม่ยอมละทิ้งเสนาสนะใกล้บ้าน เที่ยว
คลุกคลีด้วยหมู่คณะอยู่ ไม่บำเพ็ญกายวิเวกเลย, ในเวลาที่เป็นภิกษุนวกะ
และมัชฌิมะ ท่านเหล่านี้ (ประพฤติ) เป็นเช่นไรมาแล้ว? คือพระ
เถระทั้งหลายย่อมได้รับคำนินทานี้นะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.
แม้ในบทว่า ทุติเยน (ด้วยเหตุข้อที่ ๒) นี้ พระเถระทั้งหลายจะ
ต้องถูกนินทาอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ถึงจะเป็นพระเถระ แต่ก็ไม่ยอมละ
ธรรม มีความโลภเป็นต้นที่พระศาสดาตรัสให้ละ นั่งในที่สมควรส่วน
ข้างหนึ่ง ก็ไม่ได้ความแน่วแน่สงบนิ่งแห่งจิตแม้เพียงชั่วลัดนิ้วมือ ในเวลา
ที่เป็นภิกษุนวกะและมัชฌิมะ ท่านเหล่านี้ (ประพฤติ) เป็นเช่นไรมา
แล้ว ? คือพระเถระทั้งหลายย่อมได้รับคำนินทานี้นะ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.
ควรทำการประกอบความดังพรรณนามาอย่างนี้.
แม้ในบทว่า ตติเยน (ด้วยเหตุข้อที่ ๓) นี้ พระเถระย่อมแสดง
ว่า อาวุโส พระเถระทั้งหลายจะต้องถูกนินทอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ ถึง
จะเป็นพระเถระ แต่ก็ไม่ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ยังมัว
ประดับประดาตกแต่งจีวร บาตร เสนาสนะ และร่างกายที่เปื่อยเน่าอยู่
ไม่ยอมบำเพ็ญอุปธิวิเวก ในเวลาที่เป็นภิกษุนวกะและมัชฌิมะ ท่านเหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 245
เป็นเช่นไรมาแล้ว ? คือพระเถระทั้งหลายย่อมได้รับคำนินทานี้นะ ท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย. นักศึกษาพึงทราบการประกอบความดังพรรณนามานี้.
ในวาระเป็นมัชฌิมภิกษุและนวกภิกษุก็นัยนี้.
ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุทั้งหลายที่ชื่อว่า มัชฌิมะ พระเถระกล่าวหมายเอาภิกษุที่มี
พรรษา ๕ พรรษา จนกระทั่งถึงภิกษุมีพรรษาครบ ๙ พรรษา ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลายที่ชื่อว่านวะ พระเถระกล่าวว่า ได้แก่ภิกษุที่มีพรรษา ๕
ลงมา ดังนี้. เหมือนอย่างว่า เวลาเป็นพระเถระนั้น ท่านกล่าวว่า
ภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ ในเวลาที่เป็นนวกภิกษุและมัชฌิมภิกษุได้เป็น
เช่นไรมาแล้วฉันใด ในเวลานี้ก็ฉันนั้น คือภิกษุผู้ปานกลางและผู้ใหม่
พึงประกอบอธิบายว่า ในกาลเป็นภิกษุใหม่ได้เป็นเช่นไรมาแล้ว ในกาล
เป็นพระเถระจักเป็นเช่นไร ในกาลเป็นมัชฌิมภิกษุและเป็นพระเถระจัก
เป็นเช่นไร. และความหมายในสุกกปักษ์ (ฝ่ายดี) ก็พึงทราบตามนัย
อันตรงข้ามจากที่กล่าวมาแล้วในกัณหปักษ์ (ฝ่ายไม่ดี ) นี้. ส่วนในที่
นี้มีความย่อ ดังต่อไปนี้ :-
[๒๕] อีกอย่างหนึ่ง พระเถระทั้งหลายย่อมเป็นผู้ควรสรรเสริญ คือ
ย่อมได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุสถานที่ ๑ นี้ว่า ภิกษุเหล่านี้แม้จะเป็น
พระเถระ แต่ก็ยังอยู่ในเสนาสนะที่เป็นแนวไพรในป่าที่อยู่ห่างไกลกันเป็น
โยชน์ แม้ถึงเวลาที่ควรจะเข้าไปใกล้เสนาสนะใกล้บ้านก็ไม่เข้าไป ถึงจะมี
ร่างกายชราอย่างนี้ ก็ยังสู่ปรารภความเพียร ทำให้ผู้ถวายปัจจัยเกิดความ
เลื่อมใส ในกาลที่เป็นนวกภิกษุและมัชฌิมภิกษุได้เป็นเช่นไรมาแล้ว ดังนี้,
ท่านเหล่านั้นย่อมละอกุศลธรรมมีโลภะเป็นต้น บำเพ็ญจิตตวิเวกอยู่ให้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 246
บริบูรณ์.
ด้วยเหตุสถานที่ ๒ นี้ ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระย่อมเป็นผู้ควร
สรรเสริญ คือย่อมได้รับการสรรเสริญว่า ภิกษุนี้ถึงจะเป็นพระเถระผู้ใหญ่
วัยเช่นนี้ เป็นเวลาควรจะนั่งให้สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกห้อมล้อมได้
แล้ว ฉันเสร็จแล้วก็ยังเข้า (ห้องบำเพ็ญธรรม ) ตอนเย็นจึงค่อยออกมา
เข้าไปตอนเย็นแล้วตอนเช้าจึงค่อยออกมา กระทำบริกรรมกสิณให้สมาบัติ
เกิด บรรลุมรรคผล บำเพ็ญจิตตวิเวกให้บริบูรณ์โดยประการทั้งปวง.
ด้วยเหตุสถานที่ ๓ นี้ พระเถระย่อมเป็นผู้ควรสรรเสริญ คือย่อม
ได้รับการสรรเสริญว่า ในกาลที่พระเถระควร (ใช้) จีวรเบาซึ่งมีสัมผัส
สบาย เช่นผ้าธรรมดาผ้าทำด้วยเปลือกไม้และผ้าแพรเป็นต้น พระมหาเถระ
นี้ก็ยังนุ่งห่มผ้าบังสุกุล. ท่านนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัดปราศจากนิวรณ์
เข้าผลสมาบัติ บำเพ็ญอุปธิวิเวกให้บริบูรณ์อยู่ (ในบัดนี้ยังปฏิบัติได้ถึง
ขนาดนี้ ) ในกาลที่เป็นนวกภิกษุและมัชฌิมภิกษุได้เป็น ( ปฏิบัติ )
เช่นไรมาแล้ว. ในวาระที่เป็นมัชฌิมภิกษุก็มีนัยนี้.
[๒๖] ถามว่า ในบทว่า ตตฺราวุโส มีอนุสนธิ (การสืบต่อ
ของเรื่อง ) เป็นอย่างไร ?
ตอบว่า พระสารีบุตรเถระเมื่อตำหนิปฏิปทาของผู้เป็นอามิสทายาท
ด้วยอาการ ๙ อย่าง ( และ) ยกย่องปฏิปทาของผู้เป็นธรรมทายาทด้วย
อาการ ๙ อย่าง ยังเทศนาให้จบลงด้วยอาการ ๑๘ อย่างนี้แล้ว เพื่อจะ
แสดงถึงธรรมที่ควรละที่ท่านได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า พระศาสดาตรัสการ
ละธรรมเหล่าใดไว้ ธรรมเหล่านั้นภิกษุยังละไม่ได้ แก่ภิกษุเหล่านั้น
โดยสรุปว่าได้แก่ธรรมเหล่านี้นั้น จึงได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า ตตฺราวุโส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 247
โลโภ จ ดังนี้เป็นต้น นี้คืออนุสนธิ (ในสองบทนั้น). อีกอย่างหนึ่ง
ธรรมทั้งหลาย ท่านได้กล่าวไว้โดยอ้อมแล้วในตอนต้นนั่นแล. ส่วน
อามิสก็ได้กล่าวไว้แล้วทั้งโดยอ้อมทั้งโดยตรง.
บัดนี้ เพื่อจะกล่าวธรรมโดยตรง คือโลกุตตรมรรค พระเถระจึง
ได้กล่าวคำนี้ไว้ และในคำนี้ก็มีอนุสนธิดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ตตฺร เป็นบทแสดงถึงเทศนาที่ผ่านมาแล้ว. มีคำอธิบายว่า
ในเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อพระศาสดา
ทรงอยู่อย่างสงัด เหล่าพระสาวกกลับไม่ศึกษาตาม ซึ่งวิเวก ( การอยู่
อย่างสงัด). ด้วยคำว่า โลภะเป็นบาปธรรมและโทสะก็เป็นบาปธรรม
พระเถระย่อมแสดงว่า ธรรมทั้ง ๒ ประการนี้เป็นบาป คือต่ำช้า ฉะนั้น
ธรรมเหล่านี้จึงต้องละเสีย.
ในบรรดาโลภะและโทสะทั้ง ๒ นั้น โลภะมีลักษณะอยากได้ โทสะ
มีลักษณะประทุษร้ายใจ.
ในจำนวนโลภะและโทสะนั้น โลภะมีแก่ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท
ในเพราะการได้ปัจจัยทั้งหลาย. ส่วนโทสะมีเพราะอลาภะ คือต้องการสิ่งที่
ยังไม่ได้ (ไม่ต้องการสิ่งที่ได้อยู่แล้ว) หรือมีเพราะโทสะ ( โดยตรง )
คือเมื่อไม่ได้ก็นำความคับแค้นใจนาให้.
โลภะมีในเพราะไทยธรรม (ของทำบุญ ). ส่วนโทสะมีในเพราะ
บุคคลที่ไม่ถวายหรือในบุคคลที่ถวายของที่ไม่ถูกใจ. เพราะโลภะจึงทำ
ให้ (อกุศล) ธรรมซึ่งมีตัณหา ๙ อย่างเป็นมูลบริบูรณ์. เพราะโทสะจึง
ทำให้มัจฉริยะ ๕ อย่างบริบูรณ์.
บัดนี้ เมื่อจะแสดงอุบายเป็นเครื่องละโลภะและโทสะเหล่านั้น พระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 248
สารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า โลภสฺส จ โทสสฺส จ ปหานาย ดังนี้
เป็นต้น. คำของพระเถระนั้นมีอธิบายความว่า ก็ข้อปฏิบัติสายกลางเพื่อ
ละโลภะและโทสะอันเป็นบาปนั้นมีอยู่. คำนี้ พระเถระกล่าวหมายถึงมรรค.
เพราะว่ามรรคจะไม่เข้าใกล้ คือไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง ๒ นี้ คือโลภะ
ก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง โทสะก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง พ้นแล้วอย่างสิ้นเชิงจาก
ที่สุดทั้ง ๒ นี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ
สายกลาง). ที่ชื่อว่ามัชฌิมา เพราะอยู่ในระหว่างกลางที่สุดทั้ง ๒ นั้น
ที่ชื่อว่าปฏิปทา เพราะอันบุคคลผู้ต้องการนิพพานพึงปฏิบัติ
อนึ่ง กามสุขัลลิกานุโยคก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง อัตตกิลมถานุโยคก็เป็น
ที่สุดอันหนึ่ง สัสสตทิฏฐิก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง อุจเฉททิฏฐิก็เป็นที่สุดอันหนึ่ง
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงให้พิสดารโดยนัยแรกนั่นเถิด.
ผลของมัชฌิมาปฏิปทา
ก็พระสารีบุตรเถระย่อมยกย่องปฏิปทานั้นนั่นเอง ด้วยคำว่า จกิขุ-
กรณี เป็นต้น เพราะว่า ปฏิปทานั้นย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อการเห็นสัจจะ
ทั้งหลาย โดยหมายความว่าเป็นตัวนำในการเห็น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
จักขุกรณี, ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อรู้ซึ่งสัจจะทั้งหลาย โดยหมายความว่า
เป็นเหตุทำให้รู้แจ้ง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ญาณกรณี.
อนึ่ง ชื่อว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความสงบ เพราะทำให้กิเลส
ทั้งหลายมีราคะเป็นต้นสงบ ชื่อว่าย่อมเป็นไปพร้อมเพื่ออภิญญา (ความ
รู้ยิ่ง) เพราะเป็นเหตุเห็นว่าสัจจะทั้ง เป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง.
มรรค ชื่อว่าสัมโพธะ (การตรัสรู้) มัชฌิมาปฏิปทาย่อมเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 249
ไปเพื่อสัมโพธะ เพราะเป็นไปพร้อมเพื่อประโยชน์แก่มรรคนั้น, แท้จริง
มรรคนั่นเอง ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อประโยชน์แก่มรรค.
ธรรมชาติ ชื่อว่าพระนิพพาน เพราะทำกิจที่มรรคต้องทำ แต่
ปฏิปทาท่านกล่าวว่า ชื่อว่าเป็นไปพร้อมเพื่อพระนิพพาน เพราะเป็นไป
พร้อมเพื่อกระทำให้แจ้ง คือทำให้ประจักษ์ชัดซึ่งนิพพานนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ใจความสำคัญในเรื่องนี้มีเท่านี้.
การพรรณนาอย่างอื่นนอกไปจากนี้จะทำให้เนิ่นช้าไป.
บัดนี้ พระเถระประสงค์จะแสดงมัชฌิมาปฏิปทานั้นโดยสรุปจึงถาม
ว่า กตนาวุโส ดังนี้แล้ว วิสัชนาโดยนัยเป็นต้นว่า อยเมว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยเมว (แปลว่านี้เท่านั้น) เป็นคำ
อวธารณะ (ห้ามคำอื่น). พระเถระกล่าวคำนี้ ไว้เพื่อเป็นการปฏิเสธมรรค
(ทางไปสู่นิพพาน) สายอื่น เพื่อจะได้แสดงว่ามรรคนั้นเป็นของมีทั่วไป
แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของพระพุทธเจ้า.
ข้อนี้สมด้วย พระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
มรรค (ทาง) สายนี้เท่านั้น ไม่มีมรรคอื่น
เพื่อความบริสุทธิ์แห่งทัสสนะ.
ความหมายของมรรค
มรรคนี้นั้น ชื่อว่าอริยะ เพราะทำกิเลสให้อยู่ห่างไกลบ้าง เพราะ
เป็นไปพรอมเพื่อละข้าศึก (กิเลส)บ้าง เพราะเป็นมรรคที่พระอริยะแสดง
ไว้บ้าง เพราะเป็นไปพร้อมเพื่อให้ได้ความเป็นพระอริยะบ้าง. (มรรค)
ชื่อว่ามีองค์ ๘ เพราะประกอบด้วยองค์ ๘ และพ้นไปจากองค์หาได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 250
ไม่ เปรียบเหมือนเครื่องดนตรีประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นต้น ฉะนั้น
ที่ชื่อว่ามรรค เพราะหมายความว่า ฆ่ากิเลสทั้งหลายไปบ้าง ดำเนิน
ไปสู่นิพพานบ้าง อันบุคคลผู้ต้องการนิพพานแสวงหาบ้าง อันบุคคลผู้
ต้องการนิพพานเหล่านั้นดำเนินไป คือปฏิบัติบ้าง.
บทว่า เสยฺยถีท เป็นนิบาต. นิบาตว่า เสยฺยถีท นั้น มีความ
หมายเท่ากับ กตโม โส (แปลว่า มรรคนั้นคืออะไรบ้าง) หรือมี
ความหมายเท่ากับ กตมานิ ตานิ อฏฺงฺคานิ (แปลว่า องค์ ๘ นั้น
คืออะไรบ้าง).
ความจริงแล้ว องค์แต่ละองค์ก็คือมรรคนั่นเอง. สมด้วยคำที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า สัมมาทิฏฐิเป็นมรรคด้วย เป็นเหตุด้วย. แม้โบราณาจารย์
ทั้งหลายก็กล่าวไว้ว่า สัมมาทิฏฐิเป็นทางเป็นเหตุให้เห็น สัมมาสังกัปปะ
เป็นทางเป็นเหตุให้ฝังใจ (ในอารมณ์) ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นทางเป็นเหตุ
ไม่ให้ฟุ้งซ่าน.
อนึ่ง ในบรรดาองค์มรรค๑ทั้งหลายมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นเหล่านี้
สัมมาทิฏฐิมีความเห็นชอบเป็นลักษณะ สัมมาสังกัปปะมีความฝังใจโดย
ชอบเป็นลักษณะ สัมมาวาจามีการหวงแหนโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมา-
กัมมันตะมีการดังขึ้นพร้อมโดยธรรมเป็นลักษณะ สัมมาอาชีวะมีความ
ผ่องแผ้วโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาวายามะมีการประคอง ( จิต) โดย
ชอบเป็นลักษณะ สัมมาสติมีความปรากฏโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาสมาธิ
มีความตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบเป็นลักษณะ แม้วิเคราะห์มรรคเหล่านั้นก็พึง
ทราบโดยนัยนั้นนั่นเหมือนกันว่า ที่ชื่อว่าสันมาทิฏฐิ เพราะเห็นโดยชอบ.
๑. ปาฐะว่า สมฺมาทฏฺีสุ ฉบับพม่าเป็น สมฺมาทิฏฺฐาทีสุ แปลตามฉบับพม่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 251
ในจำนวนมรรคเหล่านั้น
(๑ ) สัมมาทิฏฐิ เมื่อเกิดขึ้นย่อมละมิจฉาทิฏฐิ กิเลสที่เป็น
ข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐินั้นและอวิชชาได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เห็น
สัมปยุตธรรมทั้งหลาย และเห็นสัมปยุตธรรมเหล่านั้นโดยความไม่งมงาย
ไม่ใช่เห็นโดยความเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ.
( ๒) สัมมาสังกัปปะ ( เมื่อเกิดขึ้น ) ย่อมละมิจฉาสังกัปปะ
และกิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาสังกัปปะนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็น
อารมณ์และปลูกฝังสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้ในใจโดยชอบ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่าสัมมาสังกัปปะ.
( ๓ ) สัมมาวาจา (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาวาจาและกิเลสที่เป็น
ข้าศึกต่อสัมมาวาจานั้นได้กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ หวงแหนสัมปยุต-
ธรรมทั้งหลายโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัมมาวาจา.
(๔) สัมมากัมมันตะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉากัมมันตะและ
กิเลสที่เป็นข้าศึกต่อสัมนากัมมันตะนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์
และย่อมยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ตั้งขึ้นโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียก
ว่าสันมากัมมันตะ.
(๕) สัมมาอาชีวะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาอาชีวะและ
กิเสสที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาอาชีวะนั้นได้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์
และย่อมยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึง
เรียกว่าสัมมาอาชีวะ.
( ๖ ) สัมมาวายามะ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาวายามะ ธรรม
ที่เป็นข้าศึกต่อสัมมาวายานะนั้นและความเกียจคร้านได้ กระทำนิพพานให้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 252
เป็นอารมณ์ และย่อมรับไว้โดยชอบ ซึ่งสัมปยุตธรรมทั้งหลาย เพราะ-
ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัมมาวายามะ.
(๗) สัมมาสติ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสติและกิเลสที่เป็น
ข้าศึกต่อสัมมาสตินั้นได้ ย่อมกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ และย่อม
ยังสัมปยุตธรรมทั้งหลายให้ปรากฏโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า
สัมมาสติ.
(๘) สัมมาสมาธิ (เมื่อเกิดขึ้น) ย่อมละมิจฉาสมาธิ กิเลสที่
เป็นข้าศึกษาต่อสัมมาสมาธิและความฟุ้งซ่านนั้นได้ กระทำนิพพานให้
เป็นอารมณ์ และย่อมตั้งมั่นสัมปยุตธรรมทั้งหลายไว้โดยชอบ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัมมาสมาธิ.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะกล่าวย้ำปฏิปทานั้นนั่นแลจึงกล่าวว่า อย โข
สา อาวุโส ดังนี้เป็นต้น คำที่กล่าวนั้นมีอธิบายว่า มรรคมีองค์ ๘ นี้
ใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรวมโลกุตตรมรรคทั้ง ๔ เข้าด้วยกันว่า
ดูก่อนอาวุโส มรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ มัชฌิมาปฏิปทานั้น ย่อมเป็น
ไปพร้อม ฯลฯ เพื่อนิพพาน.
ธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีก
ครั้นแสดงโลภะ โทสะ และอุบายเป็นเครื่องละโลภะและโทสะนั้น
ในจำนวนธรรมทั้งหลายที่ต้องละอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ
เมื่อจะแสดงธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีกและอุบายเป็นเครื่องละธรรมเหล่านั้น
จึงกล่าวคำว่า ตตฺราวุโส โกโธ จ ดังนี้เป็นต้น บรรดาธรรมที่ต้อง
ละเหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 253
(๑) โกธะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเดือดดาลหรือความดุร้าย
มีหน้าที่คือผูกอาฆาต (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความประทุษร้าย
(๒) อุปนาหะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความผูกโกรธ มีหน้าที่
คือไม่ยอมสลัดทิ้งการจองเวร (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือโกรธ
ติดต่อเรื่อยไป สมด้วยคำที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า โกธะเกิด
ก่อน อุปนาหะจึงเกิดภายหลัง เป็นต้น.
(๓) มักขะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือ ลบหลู่คนอื่น หีหน้าที่
คือทำคุณของคนอื่นนั้นให้พินาศ (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือการ
ปกปิดคุณของคนอื่นนั้น.
(๔) ปฬาสะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการถือเป็นคู่แข็ง (ตี
เสมอ) มีหน้าที่คือการทำคุณของตนให้เสมอกับคุณของคนอื่น (และ)
ผลที่ปรากฏออกมาคือความปรากฏโดยการชอบประมาณ (ตีค่า) เทียบ
คุณของคนอื่น.
(๕) อิสสา มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความริษยาต่อสมบัติของ
คนอื่น หรือไม่ก็ทนไม่ได้ต่อสมบัติของคนอื่นนั้น มีหน้าที่คือความไม่
ยินดียิ่ง ในสมบัติของคนอื่นนั้น (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความ
เบือนหน้าหนีจากสมบัติของคนอื่นนั้น.
(๖) มัจเฉระ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการซ่อนเร้นสมบัติ
ของตน มีหน้าที่คือความไม่สบายใจ เมื่อสมบัติของตนมีคนอื่นร่วมใช้
สอยด้วย (และ ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความเคืองแค้น.
(๗) มายา มีลักษณะ (เฉพาะ) คือปกปิดบาปที่ตนเองกระทำ
แล้ว หน้าที่คือซ่อนเร้นบาปที่ตนเองกระทำแล้วนั้น (และ) ผลที่ปรากฏ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 254
ออกมาคือการปิดกั้นบาปที่ตนเองกระทำแล้วนั้น.
( ๘ ) สาเถยยะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการชอบเปิดเผยคุณ
ที่ตนเองไม่มี มีหน้าที่คือการประมวลมาซึ่งคุณที่ตนเองไม่มีเหล่านั้น
(และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือการทำคุณที่ตนเองไม่มีเหล่านั้นให้ปรากฏ
ออกมาแม้โดยอาการทางร่างกาย.
( ๙ ) ถัมภะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความที่จิตผยอง มีหน้าที่
คือพฤติการที่ไม่ยำเกรง ( และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความไม่อ่อนโยน.
( ๑๐ ) สารัมภะ มีลักษณะ (เฉพาะ ) คือการทำความดีให้
เหนือไว้ มีหน้าที่คือแสดงตนเป็นข้าศึกต่อคนอื่น ( และ ) ผลที่ปรากฏ
ออกมาคือความไม่เคารพ.
( ๑๑ ) มานะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเย่อหยิ่ง มีหน้าที่
คือความถือตัวว่า เป็นเรา (และ ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความจองหอง
( ๑๒ ) อติมานะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเย่อหยิ่ง มี
หน้าที่คือความถือตัวว่า เป็นเราจัด ( และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความ
หยิ่งจองหอง.
( ๑๓ ) มทะ มีลักษณะ ( เฉพาะ ) คือความมัวเมา มีหน้าที่คือ
ความยึดถือด้วยการมัวเมา ( และ ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความคลั่งไคล้
( ๑๔ ) ปมาทะ มีลักษณะ (เฉพาะ) คือการปล่อยจิตไปใน
เบญจกามคุณ มีหน้าที่คือการกระตุ้นให้ปล่อยจิตมากขึ้น (และ) ผล
ที่ปรากฏออกมาคือความขาดสติ.
นักศึกษาพึงทราบถึงลักษณะเป็นต้น ของธรรมเหล่านี้ดังกล่าวมา
นี้เถิด ที่กล่าวมานี้เป็นความย่อในข้อนี้ ส่วนความพิสดารนักศึกษาพึง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 255
ทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในคัมภีร์วิภังค์นั่นเองว่า ตตฺถ กตโม โกโธ
ดังนี้เป็นต้น.
ตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากบาปธรรมเหล่านั้น
อนึ่ง ในธรรมที่ต้องละเหล่านี้พึงทราบความโดยพิเศษขึ้นไปอีก
ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท ย่อมโกรธคนอื่นที่ได้ลาภ เพราะตนเอง
ไม่ได้๑ ความโกรธที่เกิดขึ้นครั้งเดียวของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น ชื่อว่า
โกธะอย่างเดียว โกธะที่เกิดขึ้นมากกว่าครั้งเดียวขึ้นไป ชื่อว่า อุปนาหะ.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นนั่นแล เมื่อโกรธแล้วด้วย และผูกโกรธ
ด้วย ย่อมหลู่คุณของคนอื่นที่มีลาภและถือเป็นคู่แข็ง และว่าแม้เราก็ต้องเป็น
เช่นนั้นให้ได้ อันนี้เป็นมักขะ (ความลบหลู่ ) และปฬาสะ (ตีเสมอ)
ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นมีปกติลบหลู่ มีปกติตีเสมอดังกล่าวมาแล้ว
นี้ ย่อมริษยา ย่อมประทุษร้ายในลาภและสักการะเป็นต้น ของผู้มีลาภนั้น
ว่าภิกษุนี้จะมีประโยชน์อะไรด้วยสิ่งนี้ อันนี้เป็นอิสสา (ความริษยา).
ก็ถ้าว่าเธอมีสมบัติบางอย่าง ย่อมทนไม่ได้ที่สมบัตินั้นมีคนอื่นนั้น
ร่วมใช้ อันนี้เป็นมัจเฉระ (ความตระหนี่) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท
นั้น.
ก็เพราะลาภเป็นเหตุแท้ ๆ เธอย่อมปกปิดโทษของตนที่มีอยู่เสีย
๑. ปาฐะเป็น อลภนฺโต เป็นฐมาวิภัตติ เข้าใจว่าจะเป็นอลภนโต คือโตปัจจัยที่ใช้แทน
ปัญจมีวิภัตติได้ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 256
อันนี้เป็นมายาของภิกษุ ผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
เธอย่อมอวดคุณที่ไม่มีอยู่จริง อันนี้เป็นสาเถยยะ (ความโอ้อวด)
ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
เธอปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ถ้าได้ลาภตามที่ประสงค์ ย่อมเป็นผู้แข็ง
กระด้างมีจิตใจไม่อ่อนโยนเพราะลาภนั้น เป็นผู้ที่ใคร ๆ ไม่สามารถจะ
ว่ากล่าวได้ ว่า ท่านไม่ควรทำกรรมนี้อย่างนี้ อันนี้เป็นถัมภะ (ความ
หัวดื้อ) ของเธอ.
แต่ถ้าจะมีใครว่ากล่าวอะไรเธอ ว่า ท่านไม่ควรทำกรรมนี้อย่างนี้
เธอเป็นผู้มีจิตใจปรารมภ์ คำกล่าวนั้น ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด พูดข่มขู่ว่า
ท่านเป็นอะไรกับผม อันนี้เป็นสารัมภะ (ความแข่งดี) ของภิกษุผู้เป็น
อามิสทายาทนั้น .
ต่อจากนั้นไป เพราะถัมภะ (ความดื้อรั้น) เธอจะสำคัญตัวอยู่
ว่า เรานี้แหละดีกว่าคนอื่น เป็นผู้ถือตัวเพราะสารัมภะ (ความแข็งดี)
เธอกลับดูถูกคนอื่นว่า พวกนี้เป็นใครกัน เป็นผู้ถือตัว อันนี้เป็นมานะ
(ความถือตัว) และอติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) ของภิกษุผู้เป็นอานิสทายาท
นั้น.
เพราะมานะและอติมานะเหล่านี้ เธอย่อมเกิดความเมาหลายแบบ
มีความเมาในชาติ ( กำเนิดตระกูล ) เป็นต้น เธอเมาแล้วย่อมประมาท
(เผลอสติ) ในวัตถุทั้งหลายแยกประเภทออกไป มีกามคุณเป็นต้น
อันนี้เป็นมทะ ( ความเมา ) และปมาทะ ( ความเผลอสติ) ของภิกษุ
ผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.
รวมความว่า ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ เธอย่อมไม่พ้นจากความเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 257
อามิสทายาทไปได้ นักศึกษาพึงทราบธรรมที่ต้องละในการเป็นอามิสทายาท
โดยธรรมที่เป็นบาปเหล่านี้ และโดยธรรมเหล่าอื่นแบบนี้อย่างนี้ก่อน. ส่วน
อุบายเป็นเหตุละ ว่าโดยบาลีและเนื้อหาสาระแล้วก็ไม่มีพิเศษอะไรเลยใน
ธรรมทุกข้อ.
ความแตกต่าง ลำดับ และวิธีแห่งการเจริญ
แต่เพื่อความแจ่มชัดแห่งการประมวลความรู้ ผู้ศึกษาควรทราบ
ความแตกต่าง ลำดับ และวิธีแห่งการเจริญ ในอุบายเป็นเครื่องละ
ดังต่อไปนี้ :-
บรรดาความแตกต่าง ลำดับ และวิธีแห่งการเจริญเหล่านั้น จะ
อธิบายถึงความแตกต่างก่อน ก็มัชฌิมาปฏิปทานี้ ได้แก่มรรค ซึ่งบางครั้ง
ก็มีองค์ ๘ บางคราวก็มีองค์ ๗ เพราะว่ามรรคนี้เมื่อเกิดขึ้นด้วยอำนาจ
ปฐมฌานที่เป็นโลกุตตระย่อมมีองค์ ๘ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจฌานที่เหลือ
ย่อมมีองค์ ๗ แต่ในที่นี้เป็นการอธิบายความชั้นสูงสุด ท่านจึงกล่าวว่า
มรรคมีองค์ ๘. ก็องค์มรรคที่เกินจากนั้นไปไม่มี นักศึกษาพึงทราบความ
แตกต่างกันในที่นี้เท่านี้ก่อน.
ก็เพราะเหตุที่สัมมาทิฏฐิ ประเสริฐที่สุดในบรรดากุศลธรรมทั้งปวง
ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาแลประเสริฐ
ที่สุด. และสัมมาทิฏฐินั้นก็เป็นประธาน ( ตัวนำ) ในวาระแห่งการ
ทำกุศล ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมา-
ทิฏฐิเป็นประธานอย่างไร ? คือ (เป็นประธานเพราะ) รู้ชัดเจนซึ่ง
สัมมาทิฏฐิว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ ซึ่งมิจฉาทิฏฐิว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 258
และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิชชาเป็นประธานแห่งกุศลธรรม
ทั้งหลาย ในสมาบัติ ดังนี้.
อนึ่ง องค์ (มรรค) ที่เหลือทั้งหลายก็เกิดขึ้นเพราะมีสัมมาทิฏฐิ
นั้นเกิดก่อน ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า คนที่มีสัมมาทิฏฐิย่อม
มีสัมมาสังกัปปะ ฯ ล ฯ และคนที่มีสัมมาสติ ย่อมมีสัมมาสมาธิ. ฉะนั้น
องค์ทั้งหลายเหล่านี้ท่านจึงกล่าว. ไว้แล้วโดยลำดับนี้ นักศึกษาพึงทราบ
ลำดับ ( แห่งองค์มรรค ) ในอุบายเป็นเครื่องละนี้อย่างนี้แล.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า วิธีแห่งการเจริญ (สมถะและวิปัสสนา)
ต่อไป พระโยคาวจรบางท่านเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้า บางท่านเจริญ
สมถะมีวิปัสสนานำหน้า เจริญอย่างไร ? ( เจริญอย่างนี้คือ) พระโยคาวจร
บางรูปในพระศาสนานี้ ทำสมถะอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิให้เกิด
ขึ้น นี้เป็นสมถะ (ต่อมา) พระโยคาวจรนั้น พิจารณาเห็นซึ่งสมาธินั้น
และธรรมที่สัมปยุตด้วยสมาธินั้น โดยภาวะทั้งหลายมีความเป็นของไม่
เที่ยงเป็นต้น นี้เป็นวิปัสสนา อย่างนี้ สมถะเกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง
อย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะ
นำหน้า.
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้าอยู่ มรรคย่อมเกิด เธอส้อง
เสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัย
ทั้งหลายย่อมหมดสิ้นไป อย่างนี้พระโยคาวจร ชื่อว่า เจริญวิปัสสนาแบบ
มีสมถะนำหน้า.
แต่ว่า พระโยคาวจรบางรูปในพระศาสนานี้ไม่ยังสนถะมีประการ
ดังกล่าวแล้วให้เกิดขึ้น พิจารณาเห็นอุปาทานขันธ์ ๕ โดยสภาวะมีความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 259
เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น นี้เป็นวิปัสสนา. เอกัคคตาแห่งจิตจะเกิดขึ้นจาก
อารมณ์ คือการสลัดธรรมที่เกิดขึ้นในวิปัสสนานั้น เพราะความบริบูรณ์
แห่งวิปัสสนาของเธอ นี้เป็นสมถะ อย่างนี้ วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะ
เกิดทีหลัง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เจริญสมถะมี
วิปัสสนานำหน้า เมื่อเธอเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้าอยู่ มรรคย่อมเกิด
เธอส้องเสพ เจริญ กระทำให้มาก ซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพมรรคนั้น
อยู่ ฯลฯ อนุสัยทั้งหลายย่อมหมดสิ้นไป อย่างนี้แหละพระโยคาวจร
ชื่อว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า เจริญวิปัสสนาแบบมีสมถะนำหน้า ก็
เมื่อเธอเจริญวิปัสสนาแบบมีสมถะนำหน้าอยู่ก็ดี เจริญสมถะแบบมีวิปัสสนา
นำหน้าอยู่ก็ดี ในขณะแห่งโลกุตตรมรรคแล้ว สมถะและวิปัสสนาย่อม
อยู่เป็นคู่กัน (อย่างแยกไม่ออก) นักศึกษาพึงทราบนัยแห่งการเจริญ
(สมถะและวิปัสสนา) ในที่นี้อย่างนี้แล.
จบ อรรถกถาแห่งธรรมทายาทสูตร.
จบ พระสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 260
๔. ภยเภรวสูตร
[๒๗] ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ชาณุสโสณิ-
พราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตามธรรมเนียมแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.
[๒๘] ชาณุสโสณิพราหมณ์ครั้นนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ กุลบุตร
เหล่าใดมีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะท่านพระโคดม
ผู้เจริญ ท่านพระโคดมผู้เจริญทรงเป็นหัวหน้าของกุลบุตรเหล่านั้น ทรง
มีอุปการะมากแก่กุลบุตรเหล่านั้น ทรงชักชวนกุลบุตรเหล่านั้น และ
ประชุมชนนั้นย่อมปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านพระโคดมผู้เจริญหรือ ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น กุลบุตร
เหล่าใดมีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิตอุทิศเฉพาะเรา เราเป็นหัวหน้า
ของกุลบุตรเหล่านั้น มีอุปการะมากแก่กุลบุตรเหล่านั้น ชักชวนกุลบุตร
เหล่านั้น และประชุมชนนั้นย่อมปฏิบัติตามแบบอย่างของเรา.
[๒๙] ชาณุสโสณิพราหมณ์ กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม
เสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะ
ที่โดดเดี่ยว ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่า จะชัก
พาใจของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิให้เขวไป.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้นพราหมณ์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้นพราหมณ์ เสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว ยากที่จะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 261
เป็นอยู่ได้ในภาวะที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้
ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่า จะชักพาใจของภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิให้เขวไป.
[๓๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยัง
มิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้นั่นเองได้มีความดำริดังนี้ว่า เสนาสนะอันสงัดที่
เป็นป่าและป่าเปลี่ยว ยากที่จะเป็นอยู่ได้ ในภาวะที่โดดเดี่ยว ความสงัดกาย
ยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีได้ ป่าทั้งหลายประหนึ่งว่า จะซักพาใจของ
ภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิให้เขวไป.
[๓๑] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัด
ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้อง
ความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือมีกายกรรม
ไม่บริสุทธิ์ เป็นเหตุ. ส่วนเราหาใช่ผู้มีกายกรรมไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะ
อันสงัด ที่เป็นป่าและป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีกายกรรมบริสุทธิ์. พระอริยะ
เหล่าใดมีกายกรรมบริสุทธิ์ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็น
ป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นพระอริยะองค์หนึ่ง ดูก่อน
พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความมีกายกรรมอันบริสุทธิ์นี้ในคน จึงถึงความ
เป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[๓๒] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ . . . มีมโนกรรมไม่
บริสุทธิ์ . . .มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่า
เปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความ
ขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือมีอาชีวะไม่บริสุทธิ์เป็นเหตุ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 262
ส่วนเราหาใช่ผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ เสพเสนาสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่า และ
เป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์. พระอริยะเหล่าใดมีอาชีวะ
บริสุทธิ์ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระ
อริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความมี
อาชีวะบริสุทธิ์นี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า
[๓๓] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีความอยากได้มาก มีราคะกล้า ในกาม
ทั้งหลาย เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์
ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล
เพราะโทษของตน คือมีความอยากได้มาก และมีราคะกล้าในกามทั้งหลาย
เป็นเหตุ. ส่วนเราหาใช่ผู้มีความอยากได้มาก มีราคะกล้าในกามทั้งหลาย
เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ไม่มีความ
อยากได้มาก. พระอริยะเหล่าใด ไม่มีความอยากได้มาก เสพเสนาสนะ
อันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็น
องค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความไม่มีความอยากได้มากนี้ใน
ตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[๓๔] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีจิตพยาบาทมีความดำริในใจชั่วเสพเสนาสนะ
อันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อม
เรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือ
ความมีจิตพยาบาทและมีความดำริในใจชั่วเป็นเหตุ. ส่วนเราหามีจิต
พยาบาท มีความดำริในใจชั่ว เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 263
ป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตา. พระอริยะเหล่าใด มีจิต
ประกอบด้วยเมตตา เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัด
ซึ่งความมีจิตประกอบด้วยเมตตานี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดย
ยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[๓๕] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง อันถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว เสพเสนาสนะอัน
สงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อมเรียก
ร้องความกลัวและควานขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือถูก
ถีนมิทธะกลุ้มรุมเป็นเหตุ. ส่วนเราหาถูกถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้ว เสพ
เสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ปราศจากถีน-
มิทธะ. พระอริยะเหล่าใด ปราศจากถีนมิทธะ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็น
ป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อน
พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งควานปราศจากถีนมิทธะนี้ในตน จึงถึงความเป็น
ผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[๓๖] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบระงับ เสพเสนาสนะ
อันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อม
เรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือ
ความฟุ้งซ่านและมีจิตไม่สงบระงับเป็นเหตุ. ส่วนเราหาฟุ้งซ่าน มีจิตไม่
สงบระงับ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็น
ผู้มีจิตสงบระงับแล้ว. พระอริยะเหล่าใด มีจิตสงบระงับ เสพเสนาสนะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 264
อันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็น
องค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความมีจิตสงบระงับนี้ในตน จึง
ถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[๓๗] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีความสงสัยเคลือบแคลง เสพเสนาสนะอัน
สงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อม
เรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือ
มีความสงสัยและเคลือบแคลงเป็นเหตุ. ส่วนเราหามีความสงสัยเคลือบแคลง
เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ข้ามพ้น
ความเคลือบแคลงเสียแล้ว. พระอริยะเหล่าใด ข้ามพ้นความเคลือบแคลง
เสียแล้ว เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระ
อริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความ
ข้ามพ้นความเคลือบแคลงนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่อ
อยู่ในป่า.
[๓๘] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ยกตนข่มผู้อื่น เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็น
ป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความ
กลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษของตน คือความยกตน
และข่มผู้อื่นเป็นเหตุ ส่วนเราหายกตนข่มผู้อื่น เสพเสนาสนะอันสงัด
ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น. พระอริยะ
เหล่าใด เป็นผู้ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่า
และเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 265
พราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นนี้ในตน จึงถึงความ
เป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[๓๙] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้หวาดหวั่น มีชาติแห่งความขลาด
เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษ
ของตน คือมีความหวาดหวั่นและมีชาติแห่งคนขลาดเป็นเหตุ. ส่วนเรา
หาเป็นผู้หวาดหวั่น มีชาติแห่งคนขลาด เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่า
และเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ปราศจากความหวาดกลัว พระอริยะเหล่าใด
ปราศจากความหวาดกลัว เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัด
ซึ่งความปราศจากความหวาดกลัวนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดย
ยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[๔๐] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ
เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศลเพราะโทษ
ของตน คือ ความปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นเหตุ. ส่วน
เราหาปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญ เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็น
ป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย. พระอริยะเหล่าใด
มีความปรารถนาน้อย เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่งดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่ง
ความปรารถนาน้อยนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่งเพื่ออยู่ในป่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 266
[๔๑] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม ย่อม
เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะ
โทษของตน คือความเป็นผู้เกียจคร้านและมีความเพียรเลวทรามเป็นเหตุ
ส่วนเราหาเป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม เสพเสนาสนะอันสงัด
ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ปรารภความเพียร. พระอริยะ
เหล่าใด ปรารภความเพียร เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่า
เปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์
เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้ปรารภความเพียรนี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขน
เรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[๔๒] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีสติหลงลืม ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมเสพ
เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน
คือ ความเป็นผู้มีสติหลงลืมและไม่มีสัมปชัญญะเป็นเหตุ. ส่วนเราหามีสติ
ลงลืมไม่มีสัมปชัญญะ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
ไม่ เราเป็นผู้มีสติตั้งมั่น. พระอริยะเหล่าใด มีสติตั้งมั่น เสพเสนาสนะ
อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่าหั้น เราก็เป็น
องค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นนี้ในตน
จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
[๔๓] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 267
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ย่อมเสพ
เสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญ
เหล่านั้น ย่อมเรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษ
ของตน คือความเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น และมีจิตหมุนไปผิดเป็นเหตุ.
ส่วนเราหามีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด เสพเสนาสนะอันสงัดที่เป็นป่า
และเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ. พระอริยะเหล่าใด
ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว
บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัด
ซึ่งความถึงพร้อมด้วยสมาธินี้ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง
เพื่ออยู่ในป่า.
[๔๔] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญาทราม เป็นใบ้ ย่อมเสพเสนาสนะ
อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อม
เรียกร้องความกลัวและความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะโทษของตน คือ
ความเป็นผู้มีปัญญาทรามและเป็นใบ้เป็นเหตุ. ส่วนเราหามีปัญญาทราม
เป็นใบ้ เสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวไม่ เราเป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. พระอริยะเหล่าใด ถึงพร้อมด้วยปัญญา เสพเสนาสนะ
อันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว บรรดาพระอริยะเหล่านั้น เราก็
เป็นองค์หนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ เราเห็นชัดซึ่งความถึงพร้อมด้วยปัญญานี้
ในตน จึงถึงความเป็นผู้มีขนเรียบโดยยิ่ง เพื่ออยู่ในป่า.
จบ ปริยาย ๑๖
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 268
[๔๕ ] ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า ไฉนหนอ
เราพึงอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่กำหนดกันว่า ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘
แห่งปักษ์ เห็นปานนั้น พึงอยู่ในเสนาสนะ คือ อารามเจดีย์ วนเจดีย์
รุกขเจดีย์ น่าสะพึงกลัว น่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น. ถ้ากระไร
เราพึงเห็นความกลัวและความขลาดนั้น ดังนี้. ดูก่อนพราหมณ์ โดยสมัยอื่น
เรานั้นอยู่ในราตรีที่รู้กัน ที่กำหนดกันว่า ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘
แห่งปักษ์ เห็นปานนั้น อยู่ในเสนาสนะ คือ อารามเจดีย์ วนเจดีย์
รุกขเจดีย์ น่าสะพึงกลัวน่าขนพองสยองเกล้า เห็นปานนั้น ดูก่อนพราหมณ์
ก็เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะ. เห็นปานนั้น เนื้อมาก็ดี นกยูงทำไม้ให้ตกลงมา
ก็ดี หรือว่าลมพัดใบไม้แห้งก็ดี. เรานั้นได้มีความดำริดังนี้ว่า ความกลัว
และความขลาดนั้น นั่นมาเป็นแน่ล่ะพราหมณ์. ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้น
ได้มีความดำริดังนี้ว่า อย่างไรหนอ เราจึงเป็นผู้ปรารถนาภัยอยู่โดยแท้
ไฉนหนอ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู้เป็นอยู่อย่างไร ๆ
เราผู้เป็นอยู่อย่างนั้น ๆ แลพึงกำจัดความกลัวและความขลาดอย่างนั้นเสีย
ดูก่อนพราหมณ์ ความกลัวและความขลาดนั้น ย่อมมาถึงเราผู่กำลัง
เดินจงกรมอยู่. ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นจะไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอนเลย
ตราบเท่าที่เรายังเดินจงกรม กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นอยู่
ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อเรานั้นยืนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้น
ย่อมมา. ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นจะไม่เดินจงกรม ไม่นั่ง ไม่นอนเลย
ตราบเท่าที่เรายังยืน กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นอยู่
ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนั่งอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้น
ย่อมมา. เรานั้นจะไม่นอน ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายัง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 269
นั่งกำจัดความกลัวและความขลาดนั้นอยู่.
ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อเรานั้นนอนอยู่ ความกลัวและความขลาดนั้น
ย่อมมา เรานั้นจะไม่นั่ง ไม่ยืน ไม่เดินจงกรมเลย ตราบเท่าที่เรายังนอน
กำจัดความกลัวและความขลาดนั้นอยู่.
[๔๖] ดูก่อนพราหมณ์ มีอยู่ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง สำคัญ
กลางคืนแท้ ๆ ว่า กลางวัน สำคัญกลางวันแท้ ๆ ว่า กลางคืน เราย่อม
กล่าวความสำคัญอย่างนี้ ในเพราะอยู่ด้วยความหลงของสมณพราหมณ์
เหล่านั้น. ดูก่อนพราหมณ์ ส่วนเราย่อมสำคัญกลางคืนว่ากลางคืน ย่อม
สำคัญกลางวันว่ากลางวัน. ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกพึง
กล่าวคำใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่หลงเป็นธรรมดา เกิดขึ้นในโลก เพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ
อนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย, บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกพึงกล่าวคำนั้นกะเราเท่านั้นว่า
สัตว์ผู้มีความไม่หลงเป็นธรรมดา เกิดขึ้นในโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่โลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
[๔๗] ดูก่อนพราหมณ์ ความเพียรเราได้ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน
สติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน กายสงบระงับแล้ว ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่น
มีอารมณ์แน่วแน่ ดูก่อนพราหมณ์ เรานั้นสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 270
สัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ
อริยสาวกทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
[๔๘] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ. เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อน
ได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง
สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด
สังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ
มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น
แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียง
เท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติ
ก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนพราหมณ์ วิชชาที่ ๑ นี้แล เราได้บรรลุแล้ว ในปฐมยามแห่งราตรี
กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิด กำจัดความมืดเสียได้ ความสว่างก็เกิด
เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียร เผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตน
ไปแล้วอยู่ฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 271
[๔๙ ] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
อย่างนี้ โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย. เรานั้น
เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านั้นประกอบด้วยกาย-
ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือ
การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะ เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วย
อำนาจสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ดังนี้. เรานั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิว
พรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการ
ฉะนี้. ดูก่อนพราหมณ์ วิชชาที่สองนี้แล เราบรรลุแล้ว ในมัชฌิมยาม
แห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิด กำจัดความมืดเสียได้ ความ
สว่างก็เกิด เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียร เผากิเลสให้เร่าร้อน
ส่งคนไปแล้วอยู่ฉะนั้น.
[ ๕๐ ] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
อย่างนี้ โน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 272
อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา. เมื่อ
เรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนพราหมณ์ วิชชาที่ ๓ นี้แล
เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้แล้ว วิชชาก็เกิด
กำจัดความมืดเสียได้แล้ว ความสว่างก็เกิด เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ฉะนั้น.
[ ๕๑ ] ดูก่อนพราหมณ์ บางคราว ท่านจะพึงมีความดำริอย่างนี้ว่า
แม้วันนี้พระสมณโคดมยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะ แน่นอน เพราะฉะนั้น จึงยังเสพเสนาสนะอันสงัด
ทั้งที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยวอยู่ดังนี้ . ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้ท่านอย่าเห็น
อย่างนั้นเลย เราเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ อย่าง คือ เห็นความอยู่เป็นสุข
ในปัจจุบันของตน ๑ อนุเคราะห์ประชุมชนผู้เกิด ณ ภายหลัง ๑
จึงเสพเสนาสนะอันสงัด ที่เป็นป่าและเป็นป่าเปลี่ยว.
[๕๒] ชาณุสโสณิพราหมณ์ กราบทูลว่า ประชุมชนผู้เกิด
ณ ภายหลังนี้ เป็นอันท่านพระโคดมอนุเคราะห์อยู่แล้ว เพราะท่านเป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระโคดมผู้เจริญทรง
ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิด
ของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 273
ผู้มีจักษุดีจักเห็นรูปฉะนั้น. ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมผู้เจริญ พระ
ธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมผู้เจริญจงจำ
ข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป ดังนี้แล.
จบ ภยเภรวสูตร ที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 274
อรรถกถาภยเภรวสูตร
( ๒๗ ) ภยเภรวสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
ความหมายของคำว่า "พราหมณ์"
ในภยเภรวสูตรนั้นมีการพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้ :-
ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาตใช้ในความหมายว่าอวิจเฉทนะ (ไม่ขาดสาย
สืบต่อมา) ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต (เหมือนกัน)ใช้ในความหมายว่า อวธาร-
ณะ ห้ามความหมายอื่น. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกรุง
สาวัตถีไม่ขาดตอนเลย. คำว่า ชาณุสโสณี นั้นไม่ใช่ชื่อที่บิดามารดา
ของพราหมณ์นั้นตั้งให้ แต่ว่าเป็นชื่อที่ได้มาจากการได้ตำแหน่ง. ว่ากันว่า
ตำแหน่งชาณุสโสณีนั้นเป็นตำแหน่งปุโรหิต. พระราชาได้พระราชทาน
ตำแหน่งปุโรหิตนั้นให้แก่เขาฉะนั้นคนทั้งหลายจึงเรียกเขาว่า ชาณุสโสณี.
บุคคลที่ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะมีความหมายว่า เปล่งเสียงว่า
พรหมะ อธิบายว่า ได้แก่สาธยายมนต์. ก็คำว่า พราหมณ์นั้นเป็นภาษา
เรียกคนที่เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด. ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายท่านก็เรียกว่า
พราหมณ์ เพราะลอยบาปได้แล้ว.
สัมโมทนียกถา - สาราณียกถา
คำว่า เยน ในคำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ เป็นตติยาวิภัตติ
ใช้ในความหมายแห่งสัตตมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้น พึงเห็นความหมายใน
คำนี้ อย่างนี้ว่า ยตฺถ ภควา อุปสงฺกมิ (แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 275
ประทับอยู่ในที่ใด ชาณุสโสณีพราหมณ์ก็เข้าไปเฝ้าแล้วในที่นั้น).
อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความหมายในคำนี้อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า.
อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไปเฝ้าด้วยเหตุใด ชาณุสโสณีพราหมณ์
ก็เข้าไปเฝ้าแล้วด้วยเหตุนั้น.
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไป
เฝ้าด้วยเหตุไรเล่า ?
ตอบว่า ด้วยประสงค์จะบรรลุคุณวิเศษนานาประการ อุปมาเหมือน
ต้นไม้ใหญ่ที่ผลิผลอยู่เนืองนิตย์ อันฝูงนกเข้าไปจับก็ด้วยประสงค์จะจิกกิน
ผลที่มีรสอร่อยฉะนั้น.
และคำว่า อุปสงฺกมิ มีอธิบายว่าไปแล้ว. บทกิริยาว่า อุปสงฺกมิตฺวา
เป็นบทแสดงถึงว่า การเข้าไปเฝ้าได้สิ้นสุดลงแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง (บท
กิริยาว่า อุปสงฺกมิตฺวา) จะอธิบายว่า ไปสู่ที่ใกล้กว่านั้น คือที่ใกล้ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ก็ได้.
บทว่า ภควตา สทฺธิ สมฺโมทิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อตรัสถามถึงสุขทุกข์เป็นต้น ชื่อว่าทรงมีความบันเทิงพระทัยร่วมกับ
พราหมณ์นั้นฉันใด แม้พราหมณ์นั้นก็มีความบันเทิงใจร่วมกับพระผู้มี
พระภาคเจ้า คือได้ถึงความบันเทิงใจ ได้แก่ความเป็นกันเองกับพระผู้มี
พระภาคเจ้า เปรียบเหมือนน้ำเย็นกับน้ำร้อนเข้ากันได้ฉะนั้น.
อนึ่ง พราหมณ์นั้นบันเทิงใจ (กับพระผู้มีพระภาคเจ้า) ด้วย
ถ้อยคำใดมีอาทิว่า ยนต์คือพระวรกายของพระโคดมผู้เจริญยังพอทนได้อยู่
หรือ ? พระโคดมผู้เจริญพอยังยนต์คือพระวรกายให้เป็นไปได้อยู่หรือ?
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276
พระโคดมผู้เจริญและเหล่าสาวกของพระโคดมยังคงมีอาพาธน้อย มีโรค
น้อย ยืน เดิน ได้คล่อง แข็งแรง (และ) มีความเป็นอยู่ผาสุกอยู่
หรือ? ถ้อยคำนั้น ชื่อว่า สัมโมทนียะ (เป็นเหตุให้บันเทิงใจ) เพราะ
ให้เกิดความบันเทิงใจเป็นอย่างดี กล่าวคือปีติและปราโมช และเพราะ
เป็นถ้อยคำสมควรเพื่อความบันเทิงใจ ชื่อว่า สาราณียะ (เป็นเหตุให้ระลึก
ถึงกันและกัน) เพราะเป็นถ้อยคำสมควรที่จะให้ (ผู้ฟังระลึกถึง) ตลอด
กาลแม้นาน คือให้เป็นไปไม่ว่างเว้น และเพราะเป็นถ้อยคำที่ (ผู้พูดเอง)
ก้องระลึกถึงด้วย ชื่อว่า สัมโมทนียะ เพราะเมื่อฟังอยู่ก็เป็นสุข ชื่อว่า
สาราณียะ เพราะเมื่อระลึกถึงอยู่ก็เป็นสุข อีกประการหนึ่ง ชื่อว่า
สัมโมทนียะ เพราะมีพยัญชนะแจ่มชัด ชื่อว่า สาราณียะ เพราะมีอรรถ
แจ่มชัด พราหมณ์ยังถ้อยลำซึ่งเป็นสัมโมทนียะสาราณียะให้ผ่านพ้นไป
คือสิ้นสุดลง ได้แก่ให้จบลงด้วยบรรยายเป็นอเนก ดังพรรณนามาอย่างนี้
แล้วประสงค์จะถามถึงจุดมุ่งหมายที่เป็นเหตุให้ตนต้องมา จึงนั่งลง ณ ที่
สมควรส่วนข้างหนึ่ง (ก่อน).
บทว่า เอกมนฺต เป็นบทแสดง ภาวนปุสกะ (กิริยาวิเศษ)
ดุจตัวอย่างในประโยคเป็นต้นว่า วิสม จนฺทิมสุริยา ปริวตนฺติ พระ
จันทร์และพระอาทิตย์โคจรไม่เท่ากัน ดังนี้ เพราะฉะนั้น พึงเห็นความ
หมายในข้อนี้อย่างนี้ว่า พราหมณ์นั้นนั่งเหมือนที่เขานั่ง ๆ กันในที่สมควร.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เอกมนฺต นี้เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในความหมาย
แห่งสัตตมีวิภัตติ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277
การนั่งที่มีโทษ ๖ อย่าง
บทว่า นิสีทิ แปลว่า เข้าไปนั่งใกล้. เพราะว่าคนที่เป็นบัณฑิต
เข้าไปหาบุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูแล้วย่อมนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้าง
หนึ่ง เนื่องจากเป็นผู้ฉลาดในที่นั่ง และพราหมณ์นี้ก็เป็นบัณฑิตคนหนึ่ง
ในจำนวนบัณฑิตเหล่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้าง
หนึ่ง.
ถามว่า ก็บุคคลนั่งอย่างไร จึงชื่อว่านั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้าง
หนึ่ง ?
ตอบว่า นั่งเว้นโทษของการนั่ง ๖ อย่าง.
ถามว่า โทษการนั่ง ๖ อย่างมีอะไรบ้าง ?
ตอบว่า มีดังนี้คือ :-
๑. อติทูร นั่งไกลเกินไป
๒. อจฺจาสนฺน นั่งใกล้เกินไป
๓. อุปริวาต นั่งในที่เหนือลม
๔. อุนฺนตฺปฺปเทส นั่งในที่สูง
๕. อติสมฺมุข นั่งตรงหน้าเกินไป
๖. อติปจฺฉา นั่งล้ำไปข้างหลังมาก
อธิบายว่า คนที่นั่งในที่ไกลเกินไป ถ้าประสงค์จะพูดกันก็ต้องพูด
ด้วยเสียงดัง. นั่งในที่ใกล้เกินไปก็จะเบียดเสียดท่าน นั่งในที่เหนือลมก็
จะรบกวนท่านด้วยกลิ่นตัว นั่งในที่สูงก็จะเป็นการแสดงความไม่เคารพ
นั่งตรงหน้าเกินไป ถ้าประสงค์จะมองดู (หน้ากัน ) ก็จะต้องจ้องตากัน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 278
นั่งล้ำข้างหลังมาก ถ้าประสงค์จะมองดู จะต้องยื่นคอไป (เหลียว) ดู.
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นี้จึงนั่งเว้นโทษแห่งการนั่ง ๖ อย่างนี้เสีย. เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พราหมณ์นั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.
กุลบุตร ๒ จำพวก
( ๒๘ ) บทว่า เยเม ตัดบทเป็น เย อิเม. แปลว่า กุลบุตร
เหล่านี้ใด.
บทว่า กุลปุตฺตา ได้แก่กุลบุตร ๒ จำพวก คือกุลบุตรโดย
กำเนิด ๑ กุลบุตรโดยอาจาระ ๑. ในกุลบุตร ๒ จำพวกนั้น กุลบุตรที่
เกิดในตระกูลสูง (ซึ่งมีที่มา) อย่างนี้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล กุลบุตร
ชื่อรัฐบาลเป็นลูกชายของอัครกุลิกเศรษฐีในถุลลโกฏฐิตคามนั้นนั่นแล
ดังนี้ ชื่อว่ากุลบุตรโดยกำเนิด. ส่วนกุลบุตรที่แม้จะเกิดในตระกูลใดก็ตาม
เป็นคนเพียบพร้อมด้วยอาจาระซึ่งมีที่มาอย่างนี้ว่า กุลบุตรเหล่าใดออกจาก
เรือน บวชเป็นอนาคาริกด้วยศรัทธา ดังนี้ ชื่อว่า กุลบุตรโดยอาจาระ.
แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอากุลบุตรด้วยเหตุ ๒ อย่าง (นั้น).
บทว่า สทฺธา แปลว่า ด้วยศรัทธา.
บทว่า อคารสฺมา แปลว่า จากเรือน.
บทว่า อนคาริย ได้แก่บรรพชาและอุปสมบท. ด้วยว่า แม้
บรรพชาก็ชื่อว่า อนคาริยา เพราะในบรรพชานี้ไม่มีการงานที่เกื้อกูลแก่
การครองเรือน. อธิบายว่า ในบรรพชานี้ไม่มีกสิกรรม (การเพาะปลูก)
และโครักขกรรม ( การเลี้ยงสัตว์) เป็นต้น ซึ่งเกื้อกูลแก่การครองเรือน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 279
ฝ่ายภิกษุ ก็ชื่อว่า อนาคาระ เพราะท่านไม่มีเรือน. ภาวะแห่งการไม่มี
เรือน ชื่อว่า อนคาริยะ.
บทว่า ปพฺพชิตา แปลว่า เข้าถึง. อธิบายว่า เข้าถึงบรรพชา
และภิกษุภาวะ กล่าวคือการงานที่ไม่เกื้อกูลแก่การครองเรือนแม้โดยประ-
การทั้งปวง ดังพรรณนามาฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้นำกุลบุตร ๒ จำพวกนั้น
บทว่า ปุพฺพงฺคโม แปลว่า เป็นผู้ไปข้างหน้า คือเป็นผู้นำ.
บทว่า พหุกาโร แปลว่า เป็นผู้มีอุปการะมากเพราะทำประโยชน์
เกื้อกูลให้.
คำว่า ภวนฺเตส โคตโม สมาทเปตา ความว่า พระโคดมผู้เจริญ
ยังกุลบุตรเหล่านั้นให้รับ คือให้ศึกษาข้อศึกษาต่าง ๆ มีอธิศีลเป็นต้น.
บทว่า สา ชนตา แปลว่า หมู่ชนนั้น.
บทว่า ทิฏฺานุคตึ อาปชฺชติ แปลว่า เอาอย่าง. อธิบายว่า
พระโคดมผู้เจริญมีทิฏฐิอย่างใด มีความชอบใจอย่างใด มีความพอใจ
อย่างใด แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็มีทิฏฐิอย่างนั้น มีความชอบใจอย่างนั้น
มีความพอใจอย่างนั้น.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พราหมณ์นี้จึงกล่าวอย่างนั้น ?
ตอบว่า ได้ยินว่า เมื่อก่อนพราหมณ์นี้เห็นกุลบุตรจำนวนมากอยู่
ในท่ามกลางเรือน ได้รับการบำรุงบำเรอด้วยเบญจกามคุณราวกะว่าเป็น
เทพบุตร ได้รับการคุ้มครองป้องกันอย่างดีทั้งภายในบ้าน ภายนอกบ้าน
สมัยต่อมาก็ได้เห็นกุลบุตรเหล่านั้นฟังพระสัทธรรมเทศนาอันไพเราะของ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 280
พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วออกจากเรือนบวชด้วยศรัทธา (กลับกลายมา
เป็น) ผู้สันโดษในเรื่องของกินและเครื่องนุ่งห่มอย่างยิ่งยวด แม้จะไม่มี
ใครคุ้มครองป้องกันให้ (ดังแต่ก่อน) ก็มิได้หวาดระแวง ร่าเริงยินดี
เบิกบานใจอยู่ในเสนาสนะป่า, และพราหมณ์ครั้นเห็นแล้วก็พลันคิดได้ว่า
การอยู่อย่างนี้ของกุลบุตรเหล่านี้ นับว่าเป็นการอยู่อย่างผาสุกแล้ว การอยู่
อย่างผาสุกนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยใคร ก็ได้รับคำตอบว่า เพราะอาศัยพระ
โคดม จึงได้เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประกาศความเลื่อมใส
นั้น เขาจึงได้มายังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น เขาจึงกล่าวอย่างที่
กล่าวมาแล้วนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงยอมรับและทรงสนับ
สนุนคำพูดของพราหมณ์นั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เอวเมต พฺราหฺมณ
ข้นนั้นเป็นอย่างนั้นแหละพราหมณ์.
ก็ในคำว่า เอวเมต พฺราหฺมณ นี้ มีอธิบายดังนี้ ว่า :-
บทว่า เอว นี้ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า รับรอง และ
อนุโมทนาคำพูด (ของคนอื่น).
บทว่า มม อุทฺทิสฺส แปลว่า เจาะจงเราตถาคต.
ด้วยบทว่า สทฺธา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเหตุต่าง ๆ มี
อาทิว่า ด้วยศรัทธานั้นเอง ไม่ใช่ (บวช) เพราะเป็นหนี้ ไม่ใช่เพราะ
ความกลัว. เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นหัวหน้าของกุลบุตรเช่น
นี้เท่านั้น ไม่ใช่ของจำพวกอื่น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 281
เสนาสนะป่า
[๒๙] บทว่า ทูรภิสมฺภาวานิ หิ ความว่า ยากที่จะอยู่ได้ด้วยดี
คือทนอยู่ได้ยาก อธิบายว่า ภิกษุผู้มีศักดิ์น้อยไม่สามารถจะอยู่อาศัยได้.
บทว่า อรญฺวนปตฺถานิ ได้แก่ป่าและป่าเปลี่ยว.
ในบทว่า อรญฺวยปตฺถานิ นั้น มีอธิบายว่า:-
ว่ากันตามตรงในอภิธรรมแล้ว สถานที่อยู่นอกเสาเขื่อนไปทั้งหมด
ท่านเรียกว่า "ป่า" ก็จริง. ถึงกระนั้นก็พึงทราบว่า เสนาสนะใดที่ให้
สำเร็จเป็นอารัญญิกธุดงค์ได้ ซึ่งท่านกล่าวไว้ว่า ท้ายสุดประมาณ ๕๐๐
ช่วงธนู ท่านประสงค์เอาเสนาสนะนั้นเท่านั้น.
บทว่า วนปตฺถ ได้แก่สถานที่ที่เลยท้ายหมู่บ้านไป ไม่มีคนไปมา
บ่อย ๆ เป็นที่ที่ไม่มีการไถหว่าน. ข้อนี้สมด้วยคำที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ ว่า:-
คำว่า วนปตฺถ เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ไกล.
คำว่า วนปตฺถ เป็นซึ่งของราวป่า.
คำว่า วนปตฺถ เป็นชื่อของสถานที่ที่น่ากลัว.
คำว่า วนปตฺถ เป็นชื่อของสถานที่ที่ทำให้มีขนชูชัน.
คำว่า วนปตฺถ เป็นชื่อของสถานที่ที่อยู่ปลายแดน.
คำว่า วนปตฺถ ไม่ใช่เป็นชื่อของเสนาสนะที่มีผู้คนไปมาบ่อยๆ.
และในที่นี้ นอกจากความหมายนี้อย่างเดียวว่า สถานที่อยู่ปลาย
แดน พึงเข้าใจป่าที่อยู่ปลายแดน ตามความหมายที่เหลือ.
บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่สถานที่อยู่ปลายแดน คือสถานที่ไกลมาก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 282
บทว่า ทุกฺกร ปวิเวก ความว่า กายวิเวก เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก.
บทว่า ทูรภิรม แปลว่า ไม่ง่ายเลยที่จะยินดี.
บทว่า เอกตฺเต แปลว่า ในความเป็นผู้เดียว ( ในการอยู่คน
เดียว ).
ถามว่า พระพุทธดำรัสที่ตรัสมานี้แสดงถึงอะไร ?
ตอบว่า แสดงถึงว่า แม้จะบำเพ็ญกายวิเวกได้แล้ว การจะยังจิต
ให้ยินดีในวิเวกนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก. เพราะสัตว์โลกนี้มักยินดีในการ
อยู่เป็นคู่กัน.
บทว่า หรนฺติ มญฺเ ความว่า เหมือนจะนำไป คือ เหมือน
จะฉุดคร่าไป.
บทว่า มโน แปลว่า ซึ่งใจ.
บทว่า สมาธึ อลภมานสฺส ความว่า (ของภิกษุ) ผู้ไม่ได้
อุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ.
ถามว่า พระพุทธดำรัสที่ตรัสมานี้แสดงถึงอะไร ?
ตอบว่า แสดงถึงว่า ป่าเหมือนจะทำจิตของภิกษุเช่นนี้ ให้ฟุ้งซ่าน
ด้วยเสียงทั้งหลายมีเสียงหญ้าเสียงใบไม้และเสียงสัตว์เป็นต้น และ ( รวม
ทั้ง ) อารมณ์ที่น่ากลัวต่าง ๆ. คำทั้งหมดที่กล่าวมานี้ พราหมณ์ซึ่งเกิด
พิศวงกับการอยู่ป่าของกุลบุตรทั้งหลายผู้บวชด้วยศรัทธากล่าวไว้เเล้ว
ความหมายของ "พระโพธิสัตว์"
[๓๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงรับรองและอนุ-
โมทนาคำพูดของพราหมณ์นั้น ด้วยพระพุทธดำรัสมีอาทิว่า เอวเมต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 283
พฺราหฺมณ ตามนัยแรกนั่นแล แล้วจึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า มยฺหปิ โข เพื่อ
จะทรงแสดงว่า เสนาสนะชนิดนั้น ก็เป็นเสนาสนะที่อยู่ได้ยาก สำหรับ
พระองค์เอง เพราะเสนาสนะชนิดนั้น เป็นที่อยู่ยากสำหรับภิกษุทั้งหลาย
ผู้ถูกอารมณ์กลุ้มรุมในเพราะเหตุ ๑๖ อย่าง แต่ไม่เป็นที่อยู่ยากเลยสำหรับ
เหล่าภิกษุผู้ประกอบด้วยการข่มอารมณ์ได้ ในเพราะเหตุเหล่านั้น และ
พระองค์เองถึงจะเป็นพระโพธิสัตว์ก็ทรงอยู่ในฐานะเช่นนั้น.
บทว่า ปุพฺเพว สมฺโพธา ความว่า ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้
อธิบายว่า ในเวลาอื่นจากเวลาที่อริยมรรคเกิดขึ้นนั่นแล.
บทว่า อนภิสมฺพุทฺธสฺส ได้แก่ยังไม่ได้แทงตลอดสัจจะ ๔.
บทว่า โพธิสตฺตสฺเสว สโต แปลว่า สัตว์ผู้จะตรัสรู้ คือสัตว์
ผู้ควรที่จะบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ อีกอย่างหนึ่งหมายความว่า สัตว์
ผู้ข้อง คือผู้ติดอยู่ในพระโพธิญาณ.
เพราะว่า นับจำเดิมแต่อภินิหารสำเร็จลงด้วยควานประชุมพร้อม
แห่งธรรม ๘ ประการแทบเบื้องพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
พระนามว่า "ทีปังกร" พระตถาคตซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์หรือเป็นสัตว์
ผู้เกี่ยวข้องอยู่ว่า โพธิญาณนี้ เราต้องบรรลุให้ได้ ไม่ยอมทิ้งความพยายาม
เพื่อบรรลุโพธิญาณนั้นมาแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่า "พระโพธิ-
สัตว์."
[๓๑] บทว่า ตสฺส มยฺห ความว่า สำหรับเราตถาคตนั้น คือ
ผู้เป็นพระโพธิสัตว์อย่างนี้นั่นแล.
บทว่า เย โข เกจิ สมณา วา พฺราหฺมณา วา ความว่า สมณ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 284
หรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง คือท่านผู้เข้าถึงการบรรพชา หรือบุคคล
ผู้มีปกติกล่าวว่า "โภ" (แปลว่า ผู้เจริญ).
บทว่า อปริสุทฺธกายกมฺมนฺตา ความว่า ประกอบด้วยกายกรรม
อันไม่บริสุทธิ์ มีปาณาติบาตเป็นต้น.
บทว่า อปริสุทฺธกายกมฺนนฺตสนฺโทสเหตุ ความว่า เพราะเหตุ
แห่งโทษของตน กล่าวคือกายกรรมอันไม่บริสุทธิ์ อธิบายว่า เพราะเหตุ
แห่งกายกรรมอันไม่สะอาด.
บทว่า หเว เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า โดยส่วนเดียว.
บทว่า อกุสล ได้แก่สิ่งมีโทษและไม่ปลอดภัย.
บทว่า ภยเภรว แปลว่า ภัยและสิ่งที่น่ากลัว.
บทว่า ภยเภรว นี้ เป็นชื่อเรียกความหวาดสะดุ้งแห่งจิตและอารมณ์
อันน่ากลัว.
บรรดาภัยและสิ่งที่น่ากลัวทั้ง ๒ อย่างนั้น ภัย พึงทราบว่าเป็น
อกุศล เพราะมีความหมายว่ามีโทษ สิ่งที่น่ากลัว พึงทราบว่าเป็นอกุศล
เพราะมีความหมายว่าไม่ปลอดภัย.
บทว่า อวฺหยนฺติ แปลว่า ย่อมเรียกร้องมา.
ถามว่า ย่อมเรียกร้องมาอย่างไร ?
ตอบว่า ก็สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นทำบาปกรรมมีปาณาติบาต
เป็นต้นแล้วคิดได้ว่า เราทำไม่ถูกแล้ว ถ้าคนที่เราทำผิดต่อเขารู้จักตัวเรา
(ว่าเป็นคนทำ ) ไซร้ ก็จะต้องติดตามมาแก้เผ็ดเราเสียเดี๋ยวนี้แหละ จึง
หลบเข้าป่านั่งแอบอยู่ระหว่างกอไม้หรือพุ่มไม้ พอเขาได้ยินเสียงหญ้าหรือ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 285
เสียงใบไม้เข้า แม้เพียงนิดหน่อยก็สะดุ้งโหยงด้วยคิดว่า เสร็จแล้วเราคราว
นี้ เธอ (รู้สึก) จะเป็นเหมือนถูกคนอื่นมาล้อมไว้และเป็นเหมือนถูกจับฆ่า
ฉะนั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้นสมณพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าเรียกร้อง คือเรียก
หาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวนั้นเข้ามาหาตน.
คำว่า น โข ปนาห ฯปฯ ปฏิเสวานิ ความว่า เราแลเป็นผู้มี
กายกรรมอันไม่บริสุทธิ์ จึงอยู่อาศัยเสนาสนะเงียบสงัด ซึ่งเป็นป่าและเป็น
ป่าเปลี่ยวได้.
บทว่า โว ในคำว่า เยหิ โข เป็นเพียงนิบาต. พระพุทธเจ้า
ทั้งหลายและพระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านเรียกว่า "พระ
อริยะ."
บทว่า ปริสุทฺธกายกมฺมนฺตา ความว่า (พระอริยเจ้าทั้งหลาย )
เป็นเช่นนี้.
บทว่า อห เตส อญฺตโร ความว่า แม้เราตถาคตก็เป็นคนหนึ่ง
คือเป็นคนใดคนหนึ่งในบรรดาพระอริยเจ้าเหล่านั้น. อันที่จริง พระโพธิ-
สัตว์ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์ ไม่ว่าจะเป็นบรรพชิต ย่อมเป็นผู้มีกายกรรม
บริสุทธิ์ทั้งนั้น.
บทว่า ภิยฺโย เป็นนิบาต ใช้ในความว่า อย่างยิ่ง.
บทว่า ปลฺโลน แปลว่า ความเป็นผู้มีขนตก (ไม่ลุกชูชัน)
อธิบายว่า ปลอดภัย คือสวัสดิภาพ.
บทว่า อาปาทึ แปลว่า ถึงแล้ว อธิบายว่า ถึงความสวัสดีมาก
มาย หรือความสวัสดีโดยอาการหลายอย่าง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 286
สองบทว่า อรญฺเ วิหาราย แปลว่า เพื่อประโยชน์แก่การอยู่
ในป่า.
จบกถาว่าด้วยวาระแห่งกายกรรม
วจีกรรม - มโนกรรม - อาชีวะ
ทุกบทมีนัยเช่นนี้. แต่ว่าที่แปลกออกไปมีดังต่อไปนี้ :-
[๓๒] จะกล่าวในวาระว่าด้วยวจีกรรมก่อน. บทว่า อปริสุทฺธ-
วจีกมฺมนฺตา ความว่า ประกอบด้วยวจีกรรมอันไม่บริสุทธิ์ มีมุสาวาท
เป็นต้น.
ถามว่า สมณพราหมณ์ผู้มีวจีกรรมอันไม่บริสุทธิ์ เหล่านั้น จะเรียก
ร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?
ตอบว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นหักรานประโยชน์ของคนอื่น
ด้วยการพูดเท็จ ทำลายมิตรด้วยคำพูดส่อเสียด ก็ทำลายความรักของตน
อื่นด้วยถ้อยคำหยาบคายในท่ามกลางบริษัท ทำให้การงานของคนอื่นเสีย
หายไปด้วยคำพูดที่ไร้ประโยชน์ แล้วคิดได้ว่า เราทำไม่ถูกแล้ว ถ้าคนที่
เราทำผิดต่อเขารู้ว่าเรา ( เป็นคนทำ ) ก็คงจะตามมาแก้เผ็ดเราเดี๋ยวนี้แหละ
จึงหลบเข้าป่าไปนั่งอยู่ระหว่างกอไม้หรือพุ่มไม้ พอเขาได้ยินเสียงหญ้า
หรือเสียงใบไม้แม้เพียงนิดเดียวก็สะดุ้งโหยง ด้วยคิดว่า เสร็จแล้วเราคราว
นี้ เธอ (รู้สึก) จะเป็นเหมือนมีคนอื่นมาล้อมไว้ และเป็นเหมือนถูกจับฆ่า
ฉะนั้น. สมณพราหมณ์เหล่านั้นชื่อว่าร้อง คือเรียกหาภัยและอารมณ์อัน
น่ากลัวนั้นให้เข้ามาหาตน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 287
จะกล่าวในวาระว่าด้วยมโนกรรม. บทว่า อปริสุทฺธมโนกมฺนนฺตา
ความว่า ประกอบด้วยมโนกรรมอันไม่บริสุทธิ์ มีอภิชฌาเป็นต้น.
ถามว่า สมณพราหมณ์ผู้มีมโนกรรมอันไม่บริสุทธิ์ เหล่านั้น จะเรียก
ร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?
ตอบว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นเกิดความโลภชนิดที่ขาดความ
ชอบธรรม อันได้แก่อภิชฌา (ความเพ่งเล็งของผู้อื่น) ในสิ่งของที่คนอื่น
รักษาคุ้มครองแล้ว โกรธคนอื่นและให้คนอื่นยึดถือทรรศนะที่ผิดไปด้วย
แล้วคิดได้ว่า เราทำไม่ถูกแล้ว ฯ ล ฯ ชื่อว่าเรียกร้อง คือเรียกหาภัยและ
อารมณ์อันน่ากลัวนั้นให้เข้ามาหาตน.
จะกล่าวในวาระว่าด้วยอาชีวะ. บทว่า อปริสุทฺธาชีวา ความว่า
ประกอบด้วยอาชีพอันไม่บริสุทธิ์ แยกประเภทเป็นอเนสนา ๒๑ อย่าง มี
ทำหน้าที่เป็นหมอรักษาโรค เป็นทูตส่งข่าวสารและค้าขายหากำไรเป็นต้น
ถามว่า สมณพราหมณ์ผู้มีอาชีพอัน ไม่บริสุทธิ์เหล่านั้น จะเรียก
ร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?
ตอบว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ครั้นเลี้ยงชีวิตอย่างนั้นอยู่ ได้ยิน
ข่าวว่า นัยว่าเหล่าภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎก ซึ่งทำหน้าที่ชำระสะสางพระ
ศาสนาให้บริสุทธิ์ กำลังออกไปชำระสะสางพระศาสนา วันนี้หรือพรุ่งนี้
ก็จักเดินทางมาถึงที่นี้ (ได้ยินอย่างนั้นแล้ว) จึงหนีเข้าป่าไปนั่งแอบอยู่
ระหว่างกอไม้หรือพุ่มไม้ ฯลฯ สู่ดุ้งโหยง เธอ (รู้สึก ) จะเป็นเหมือน
ภิกษุเหล่านั้นมาล้อมจับไว้และเป็นเหมือนถูก ( จับสึก) ให้นุ่งผ้าขาว. คำ
ที่เหลือก็เหมือนกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.
ในคำว่า อิโต ปร อภิชฺฌาลุ เป็นต้น มีอธิบายว่า อภิชฌาและ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 288
พยาบาทสงเคราะห์เข้าในมโนกรรมก็จริง ถึงอย่างนั้นพึงทราบว่า ท่าน
กล่าวซ้ำไว้อีกด้วยอำนาจนิวรณ์.
อธิบายนิวรณ์ ๕
[๓๓] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺฌาลุ ได้แก่ผู้มีปกติ
เพ่งเล็งสิ่งของของคนอื่น. บทว่า กาเมสุ ติพฺพสราคา ได้แก่ผู้มีกิเลส
คือราคะอย่างแรงกล้าในวัตถุกามทั้งหลาย.
ถามว่า สมณพราหมณ์ผู้มีกิเลสคือราคะแรงกล้าเหล่านั้น จะเรียก
ร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?
ตอบว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้พิจารณาอารมณ์ให้ละเอียด
ถี่ถ้วน เมื่อท่านไม่ได้กำหนดพิจารณาอารมณ์ให้ละเอียดถี่ถ้วน อยู่ในป่า
สิ่งที่เห็นในตอนกลางวัน ย่อมปรากฏเป็นภัยและเป็นของน่ากลัวในตอน
กลางคืน เธอมีจิตเป็นอกุศล (อยู่แล้ว ) ย่อมจะหวาดสะดุ้งด้วยภัยและ
สิ่งที่น่ากลัวแม้เพียงเล็กน้อย คือเห็นเชือกหรือเถาวัลย์ก็สำคัญว่าเป็นงู
เห็นตอไม้สำคัญว่าเป็นยักษ์ เห็นเนินดินหรือภูเขาก็สำคัญว่าเป็นช้าง เป็น
เหมือนถูกสัตว์ร้ายมีงูเป็นต้นทำร้ายเอาฉะนั้น. คำที่เหลือก็เหมือนกับที่
กล่าวมาแล้วนั่นแล.
บทว่า พฺยาปนฺนจิตฺตา แปลว่า มีจิตวิบัติไป เพราะละสภาพปกติ
เสีย. เป็นความจริง จิตที่คละเคล้าอยู่กับกิเลสย่อมละสภาพปกติกลับกลาย
เป็นจิตเสียไป เหมือนข้าวและกับเก่าที่บูดฉะนั้น.
บทว่า ปทุฏฺมนสงฺกปฺปา แปลว่า มีจิตคิดไปในทางไม่ดี อธิบาย
ว่า ประกอบด้วยความดำริแห่งจิตที่ไม่ดี คือทำคนอื่นให้เสียประโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 289
ถามว่า สมณพราหมณ์ที่มีจิตวิบัติคิดไปในทางที่ไม่ดีเหล่านั้น จะ
เรียกร้องความกลัวและอารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?
ตอบว่า นับตั้งแต่นี้ไป การเรียกร้องหาความกลัวและอารมณ์อัน
น่ากลัว พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในตอนที่ว่าด้วย อภิชฺฌาลุ นั่นแหละ.
แต่ว่าในที่ใดจักมีแปลกออกไป ข้าพเจ้าก็จักกล่าวอธิบายไว้ในที่นั้น.
[๓๔] ก็ในพระดำรัสตอนนี้ว่า น โข ปนาห พฺยาปนฺนจิตฺโต
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า เราตถาคตมีจิตประกอบไปด้วยเมตตา
มีจิตคิดเกื้อกูล. เป็นธรรมดา พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นเช่นนี้ (ทั้ง
นั้น ) บัณฑิตพึงพรรณนาคุณของพระโพธิสัตว์ ด้วยอำนาจนัยตรงกันข้าม
กับโทษที่กล่าวไว้ในทุกบทอย่างนี้.
[๓๕] บทว่า ถีนมิทฺธปริยุฏฺิตา แปลว่า อันถีนะ ( ความ
ท้อถอย, ท้อแท้) ซึ่งเป็นความพิการของจิตและมิทธะ (ความง่วง
เหงา) ซึ่งเป็นความพิการของกองนามที่เหลือ (เวทนา สัญญา สังขาร)
กลุ้มรุมแล้ว อธิบายว่า ครอบงำ คือยึดครอง. สมณพราหมณ์ที่ถูก
ถีนมิทธะกลุ้มรุมแล้วมักจะหลับ.
[๓๖] บทว่า อุทฺธตา แปลว่า มีปกติฟุ้งซ่าน คือมีจิตดิ้นรน
อธิบายว่า จิตย่อมดิ้นรนไปจากอารมณ์เดียวด้วยอุทธัจจะ เหมือนผ้า (ที่
ทำธง) โบกสะบัดที่ (ปลาย ) เสาธงเพราะลมฉะนั้น.
บทว่า อวูปสนฺตจิตฺตา แปลว่า มีจิตมีอารมณ์ไม่ดับ (ไม่สงบ)
ในที่นี้ จะระบุถึงกุกกุจจะ (ความรำคาญ ) ก็ได้.
[๓๗] ในพระพุทธพจน์นี้ว่า กงฺขี วิจิกิจฺฉี เป็นบทเดียวกัน
แท้ทีเดียว ( เพราะ) นิวรณ์ข้อที่ ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 290
กังขา เพราะสงสัยอารมณ์ว่า อารมณ์นี้เป็นอย่างนี้หรือหนอ ตรัสเรียก
ว่าวิจิกิจฉา เพราะไม่สามารถจะตัดสินได้ว่า อารมณ์นี้เป็นอย่างนี้นะ.
สมณพราหมณ์ผู้ประกอบด้วยกังขาและวิจิกิจฉานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า กงฺขี วิจิกิจฺฉี (ผู้มีความสงสัย ไม่สามารถตัดสินอารมณ์ได้).
บทว่า อตฺตุกฺกสกา ปรวมฺภี ความว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด
ยกตนเชิดตนขึ้น ได้แก่วางตัวสูง และข่ม คือดูถูก ได้แก่ติเตียนคนอื่น
หมายความว่าวางคนอื่นไว้ต่ำ (กว่าตน) สองบทนั้น (อตฺตุกฺกสกา
ปรวมฺภี) เป็นคำเรียกสมณพราหมณ์เหล่านั้น.
ถามว่า สมณพราหมณ์ผู้ยกตนข่มคนอื่นนั้น จะเรียกร้องหาภัยและ
อารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?
ตอบว่า การร้องเรียกหาภัยของสมณพราหมณ์ผู้ยกตนข่มคนอื่นนั้น
บัณฑิตพึงให้พิสดารเหมือนกับในกายกรรมว่า สมณพราหมณ์ผู้ยกตนข่ม
คนอื่นเหล่านั้น ถูกคนอื่นติดตามจับด้วยข้อหาว่า ได้ทราบว่าท่านชื่อโน้น
และชื่อโน้นยกตน ติเตียนพวกเราทำให้เป็นเหมือนทาส จงจับตัวไว้ให้
ได้ ดังนี้ หลบหนีไปเข้าป่าแล้วนั่งแอบอยู่ระหว่างกอไม้หรือพุ่มไม้.
[๓๙] บทว่า ฉมฺภี แปลว่า ประกอบด้วยความหวาดเสียว ซึ่ง
กระทำให้กายประสาทหวาดเสียวและขนตั้งชัน.
บทว่า ภีรุกชาติกา แปลว่า มากไปด้วยความกลัว อธิบายว่า
ไม่ค่อยกล้าเหมือนกับเด็กชาวบ้านที่ขี้กลัวฉะนั้น.
[๔๐] ในบทว่า ลาภสกฺการสิโลโก นี้ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่า
ลาภ เพราะหมายความว่า อันบุคคลย่อมได้ คำว่า ลาภนั้น เป็นชื่อเรียก
ปัจจัย ๔.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 291
บทว่า สกฺกาโร แปลว่า สักการะที่ดี. อธิบายว่า ปัจจัยทั้งหลาย
ที่เขาปรุงแต่งให้ประณีต ประณีตและดีเรียกว่า สักการะ ซึ่งได้แก่การที่
คนอื่นเขาทำความเคารพตน หรือบูชาด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้เป็นต้น.
บทว่า สิโลโก แปลว่า การกล่าวสรรเสริญคุณ ลาภ ๑ สักการะ๑
การกล่าวสรรเสริญ ๑ นั้น ชื่อว่าลาภสักการะ และสิโลกะ.
บทว่า นิกามยมานา แปลว่า ปรารถนาอยู่.
การเรียกร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวเป็นเหมือนกับที่กล่าวใน
ตอนว่าด้วยอภิชฌาลุนั่นแล. ส่วนในที่นี้ พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้
กล่าวถึงเรื่องพระปิยคามิกะ ซึ่งเป็นตัวอย่างของเรื่องนั้นไว้ว่า:-
ปิยคามิกภิกษุ
ได้สดับมาว่า ภิกษุรูปหนึ่งชื่อปิยคามิกะ เห็นลาภของพวกภิกษุ
ผู้สมาทานธุดงค์แล้วคิดว่า เราก็จะสมาทานธุดงค์ทำลาภให้เกิดขึ้นบ้าง
ดังนี้แล้วสมาทานโสสานิกังคธุดงค์ ( ธุดงค์ของภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็น
วัตร) แล้วอยู่ในป่าช้า.
อยู่มาวันหนึ่ง วัวแก่ตัวหนึ่งซึ่งเจ้าของไม่ใช้งานแล้ว ( ปล่อยทิ้ง)
กลางวันออกเที่ยวกิน ตกกลางคืน ( เข้าไป ) ในป่าช้านั้น ได้ยืนขนหยอง
ซุกศีรษะไว้ที่พุ่มดอกไม้. พระปิยคามิกะออกจากที่จงกรมไปในตอน
กลางคืน ได้ยินเสียงคางของวัวนั้นกระทบกันแล้วก็เข้าใจว่า ท้าวสักก-
เทวราชคงจะทราบเราว่า พระรูปนี้หวังลาภจึงมาอยู่ในป่าช้า ดังนี้แล้ว
มาเพื่อทำร้ายเราแน่ ๆ. ท่านจึงได้ยืนประนมมือไหว้ข้างหน้าวัวแก่ อ้อน
วอนอยู่ตลอดคืนยังรุ่งว่า ข้าแต่ท่านท้าวเทวราชผู้เป็นสัตบุรุษ ขอพระ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 292
องค์จงยกโทษให้อาตมาคืนนี้สักคืนหนึ่งเถอะ แล้วตั้งแต่วันพรุ่งนี้ไป
อาตมาจักไม่ทำอย่างนี้อีก ต่อนาพอพระอาทิตย์อุทัย ท่านก็ได้เห็นเป็นวัว
แก่ตัวนั้น (ไม่ใช่ท้าวสักกะ) จึงเอาไม้ตะพดหวดตะเพิดไล่เตลิดเปิดเปิง
ไปพร้อมทั้งคำไล่หลังว่า แกทำให้ข้ากลัวตลอดคืนยังรุ่งเลย.
สติกับปัญญา
[๔๑] บทว่า กุสีตา แปลว่า ตกอยู่ใต้อำนาจความเกียจคร้าน.
บทว่า หีนวีริยา ความว่า เสื่อม คือเว้น ได้แก่ปราศจากความ
เพียร อธิบายว่า ไม่มีความเพียร. ในบุคคล ๒ จำพวกนั้น คนที่เกียจ
คร้านย่อมเว้นจากการเริ่มความเพียรทางกาย คนที่ขาดความเพียรย่อมเว้น
จากการเริ่มความเพียรทางจิต ( สรุปแล้ว ) คนทั้ง ๒ จำพวกนั้นย่อมไม่
สามารถจะทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ได้. คำทั้งหมดว่า เตส อววตฺถิ-
ตารมฺมณาน (มีความหมาย) เหมือนกับความหมายที่กล่าวมาก่อนแล้ว.
[๔๒ ] บทว่า มุฏฺสฺสตี แปลว่า ปล่อยสติ.
บทว่า อสมฺปชานา แปลว่า ปราศจากปัญญา ก็เพราะพระพุทธ-
ดำรัสว่า ตถาคตเป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้ว ในความหมายที่ตรงกันข้ามกับคำนี้
ว่า มุฏฺสฺสตี พระดำรัสว่า อสมฺปชานา นี้ จึงเป็นบทขยายสติเท่านั้น.
ส่วนปัญญาในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อแสดงถึงสติที่หย่อน
กำลัง. เพราะว่าสติมี ๒ อย่าง คือสติที่ประกอบด้วยปัญญา ๑ สติที่ไม่
ประกอบด้วยปัญญา ๑. ในสติทั้ง ๒ นั้น สติประกอบด้วยปัญญาย่อมมี
กำลัง สติที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาย่อมหย่อนกำลัง. เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อสมฺปชานา (ไม่มีปัญญา) เพื่อแสดงความหมาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 293
นี้ว่า แม้ในเวลาที่ภิกษุเหล่านั้นมีสติ ก็ยังชื่อว่ามีสติหลงลืมอยู่นั้นเอง
เพราะไม่มีปัญญา เนื่องจากว่าสติที่หย่อนกำลังจะทำหน้าที่ของสติไม่ได้.
ภิกษุเหล่านั้นหลงลืมสติ ขาดสัมปชัญญะ (ปัญญา) ดังกล่าวมานี้ ย่อม
ไม่สามารถจะทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ได้เลยแล. คำ (ที่เหลือ)
ทั้งหมด (มีความหมาย ) เหมือนกับความหมายที่กล่าวมาแล้ว.
จิตกับปัญญา
[๔๓] บทว่า อสมาหิตา แปลว่า เว้นจากอุปจารสมาธิและ
อัปปนาสมาธิ.
บทว่า วิพฺภนฺตจิตฺตา แปลว่า มีจิตพลัดออกนอกทาง คือจิต
ย่อมหมุนไปในอารมณ์ต่าง ๆ เพราะเว้นจากสมาธิ ได้แก่เพราะท่าน
เหล่านั้นขาดสมาธิเหตุที่อุทธัจจะได้โอกาส เปรียบเหมือนลิงในป่ากระโดด
มาตามกิ่งไม้ในป่าฉะนั้น ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่มั่นคงอยู่ในอารมณ์แม้
อย่างเดียว คือมีจิตหมุนไปต่าง ๆ ตามนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นอย่างนี้
เพราะอุทธัจจะ ( ความฟุ้งซ่านเป็นเหตุ) ย่อมไม่สามารถจะทำแม้เพียง
การกำหนดอารมณ์ได้เลย.
คำ (ที่เหลือ) ทั้งหมด มี (ความหมาย) เหมือนกับความหมาย
ที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น.
[๔๔] บทว่า ทุปฺปญฺา นี้ เป็นคำสำหรับเรียกคนที่ไม่มีปัญญา.
แต่ปัญญาที่ชื่อว่าทรามไม่มีแน่.
บทว่า เอลมูคา แปลว่า มีปากเต็มไปด้วยน้ำลาย ท่านแปลง ข
อักษรให้เป็น ค อักษร (จึงสำเร็จรูปเป็น เอลมูคา) อธิบายว่า มีปาก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 294
น้ำลายไหลยืด. เพราะว่าเมื่อคนมีปัญญาทรามพูด น้ำลายจะไหลออกมา
จากปาก. และน้ำลายเรียกว่า เอละ. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ปสฺเสลมูค อุรค ทฺวิชิวฺห เธอจงดูงูปากมีน้ำลายไหลยืด (กำลังแลบลิ้น)
มีลิ้น ๒ แฉก. เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีปัญญาทรามเหล่านั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า เอลมูคา. ปาฐะว่า เอลมุขา ดังนี้ก็มี. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า เอลมุกา บ้าง. (แต่ ) อาจารย์อีกพวกหนึ่งกลับกล่าว
ว่า เอมุขา ดังนี้ก็ยังมี. (ถึงอย่างไร) ในทุก ๆ บทก็มีความหมายว่า
เอลมุขา ปากมีน้ำลายไหลยืด).
ถามว่า ภิกษุผู้มีปัญญาทรามเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องหาภัยและ
อารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?
ตอบว่า ภิกษุผู้มีปัญญาทรามมีน้ำลายไหลยืดเหล่านั้น จะไม่สามารถ
ทำแม้เพียงการกำหนดอารมณ์ เมื่อเธอกำหนดอารมณ์ไม่ได้ อยู่ในป่า สิ่งที่
เห็นในเวลากลางวัน พอเวลากลางคืนจะปรากฏเป็นภัยและอารมณ์ที่น่า
กลัว. เธอมีจิตใจวอกแวกย่อมหวาดเสียวแม้ด้วยอารมณ์เพียงเล็กน้อย
เห็นเชือกหรือเถาวัลย์แล้วย่อมสำคัญว่าเป็นงู เห็นตอไม้ย่อมสำคัญว่าเป็น
ยักษ์ เห็นที่ดอนหรือภูเขาย่อมสำคัญว่าเป็นช้าง (ย่อมหวาดกลัว) เป็น
ดังหนึ่งถูกสัตว์ร้ายมีงูเป็นต้นทำร้ายเอาฉะนั้น. ภิกษุผู้มีปัญญาทรามเหล่า
นั้นชื่อว่าเรียกร้อง คือเรียกหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัว นั้นให้เข้ามาหาตน
ดังพรรณนามาฉะนี้.
ในคำว่า ปญฺาสมฺปนฺโนหมสฺมิ นี้ มีอธิบายว่า ผู้ถึงพร้อม คือ
ผู้ประกอบพร้อมด้วยปัญญา. แต่ไม่ใช่ด้วยวิปัสสนาปัญญา ไม่ใช่ด้วย
มัคคปัญญา โดยที่แท้แล้วประกอบพร้อมด้วยปัญญาและเครื่องกำหนด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 295
อารมณ์ในเพราะเหตุ ๑๖ ประการเหล่านี้. คำที่เหลือมีความหมายเหมือน
กับที่กล่าวมาแล้วในทุกบทแล.
จบ การกำหนดอารมณ์ในเพราะเหตุ ๑๖ ประการ.
[๔๕ ] บทว่า ตสฺส มยฺห มีอนุสนธิ (การสืบต่อลำดับความ)
เป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์กำหนดอารมณ์ ๑๖ อย่างเหล่านี้อยู่ ครั้น
มองไม่เห็นความกลัวและอารมณ์อันน่ากลัว จึงได้ทำการค้นหาความกลัว
และอารมณ์อันน่ากลัว (นั้น) ดำริว่า ธรรมดาความกลัวและอารมณ์อัน
น่ากลัว ย่อมจะปรากฏในเสนาสนะอย่างนี้ ในราตรีเช่นนี้ เอาเถอะเราจะ
ค้นหาดูความกลัวและอารมณ์อันน่ากลัวนั้น ในเสนาสนะอย่างนั้นในราตรี
เช่นนั้น จึงได้แสวงหาภัยและอารมณ์ที่น่ากลัว. บัดนี้ พระผู้มีพระภาค-
เจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้แก่พราหมณ์จึงได้ตรัสคำว่า ตสฺส มยฺห
ดังนี้เป็นต้น.
ราตรี - กำหนดดิถีแห่งปักษ์
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยา ตา นั่น เป็นคำยกราตรีอย่างเดียว
ขึ้นแสดง. ศัพท์ว่า อภิ ในบทว่า อภิญฺาตา นี้ เป็นอุปสรรค ใช้ลง
ในความหมายว่า ลักษณะ (การกำหนด) เพราะฉะนั้น ในบทว่า
อภิญฺาตา พึงทราบว่า ราตรีทั้งหลายท่านกำหนดด้วยลักษณะทั้งหลาย
มีอาทิอย่างนี้ว่า พระจันทร์เพ็ญ พระจันทร์ดับ.
(ส่วน) ศัพท์ว่า อภิ ในบทว่า อภิลกฺขิตา เป็นเพียงอุปสรรค
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 296
เท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงมีความหมายว่า อภิลกฺขิตา ก็คือ ลกฺขณียา
(พึงกำหนด ) นั้นเอง. ขยายความว่า ราตรีทั้งหลาย อันบัณฑิตพึง
กำหนด อธิบายว่า พึงกำหนดด้วยดี คือพึงกำหนดให้มั่น เพื่อกระทำ
กิจมีการสมาทานอุโบสถ การฟังธรรม และการบูชาสักการะเป็นต้น.
ที่ชื่อว่า จาตุทฺทสี ได้แก่ ราตรีหนึ่งซึ่งทำให้ครบ ๑๔ วัน
จำเดิมแต่วันแรกแห่งปักษ์. ปัญจทสีและอัฏฐมีก็ (มีความหมาย)
เป็นอย่างนั้น. บทว่า ปกฺขสฺส ได้แก่ แห่งสุกกปักษ์ และกัณหปักษ์.
เพราะรวมราตรีเหล่านั้นเข้าด้วยกันปักษ์ละ ๓ ราตรี จึงเป็น ๖ ราตรี
ฉะนั้น จึงควรประกอบคำว่า "ปักษ์" เข้าไว้ในทุกบทว่า ปกฺขสฺส
จาตุทฺทสี ดิถีที่ ๑๔ แห่งปักษ์ ปกฺขสฺส ปญฺจทสี ดิถีที่ ๑๕ แห่ง
ปักษ์ ปกฺขสฺส อฏฺฐมี ดิถีที่ ๘ แห่งปักษ์.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรท่านจึงไม่จัดดิถีที่ ๕ เข้า
ไว้ด้วย?
ตอบว่า เพราะดิถีที่ ๕ มิได้มีตลอดกาล ทราบมาว่า ในตอน
ก่อน ๆ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นก็ดี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
ยังไม่ปรินิพพานก็ดี ดิถีที่ ๕ ท่านมิได้กำหนดไว้เลย ต่อเมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย
จึงพากันคิดว่า การฟังธรรมจะมีได้ก็นาน ๆ ที่. แต่นั้นจึงสมมติกำหนด
ดิถีที่ ๕ ให้เป็นวันธรรมสวนะ. นับแต่นั้นนาดิถีที่ ๕ นั้นจึงกลายเป็นวัน
ที่ท่านกำหนดไว้แล้ว เพราะเหตุที่ดิถีที่ ๕ มิได้มีตลอดกาลอย่างนี้แล
ท่านจึงไม่จัดรวมไว้ในที่นี้.
บทว่า ตถารูปาสุ ก็คือ ตถาวิธาสุ ( อย่างนั้น).
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 297
เจดีย์
บทว่า อารามเจติยานิ ความว่า ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ทั้งหลาย
เช่นสวนดอกไม้ สวนผลไม้ เป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า อารามเจดีย์
เพราะว่าสถานที่เหล่านั้นเรียกว่าเจดีย์ เพราะหมายความว่า เป็นที่ยำเกรง
อธิบายว่า เพราะหมายความว่าเป็นสถานที่ที่บุคคลพึงบูชา.
บทว่า วนเจติยานิ ความว่า ป่าทั้งหลาย เช่นราวป่าสำหรับนำ
เครื่องสังเวยไปสังเวย ( เทวดา ) ป่าสุภัควันและป่าที่ตั้งศาลของเทวดา
เป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า วนเจดีย์.
บทว่า รุกฺขเจติยานิ ความว่า ต้นไม้ที่ควรบูชาตามประตูเข้า
หมู่บ้านและนิคมเป็นต้นนั่นแล ชื่อว่า รุกขเจดีย์.
เพราะชาวโลกสำคัญอยู่ว่า เทวดาสิงสถิตบ้าง มีความสำคัญใน
สถานที่เหล่านั้นนั่นแลว่าเป็นทิพย์บ้าง จึงพากันทำความเคารพคือบูชา
สวนป่าและต้นไม้ทั้งหลาย ฉะนั้น สวนป่าและต้นไม้เหล่านั้น ทั้งหมด
เขาจึงพากันเรียกว่า เจดีย์ .
บทว่า ภึสนกานิ แปลว่า ให้เกิดความกลัว คือ ยังความกลัว
ให้เกิดทั้งแก่ผู้เห็นอยู่ทั้งแก่ผู้ได้ยินอยู่.
บทว่า สโลมหสานิ เป็นไปกับความชูชันแห่งขน เพราะเมื่อใคร
เข้าไปก็จะเกิดขนชูชัน.
บทว่า อปฺเปว นาม ปสฺเสยฺย ความว่า ทำไฉนหนอเราจะพึง
ได้ประสบภัยและอารมณ์อันน่ากลัวนั้นบ้าง.
บทว่า อปเรน สมเยน ความว่า โดยกาลอื่นจากกาลที่คิดไว้แล้ว
อย่างนี้ว่า (ตถาคตนั้น ) ได้มีความคิดดังนี้ว่า ทำไฉนเรา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 298
บทว่า ตตฺถ จ เม พฺราหฺมณ วิหรโต ( ดูก่อนพราหมณ์ ก็
เมื่อเราตถาคตอยู่ในสถานที่เหล่านั้น) ความว่า บรรดาเสนาสนะเหล่านั้น
เสนาสนะแห่งใด ๆ ซึ่งเป็นสถานที่สิงสถิตของยักษ์ ที่มนุษย์ทั้งหลายควร
บนบาน และนำเครื่องสังเวยเข้าไปสังเวย มีพื้นธรณีเกลื่อนกล่นด้วยเครื่อง
บูชาและเครื่องสังเวยทั้งหลาย เช่น ดอกไม้ ธูป เนื้อ เลือด มันเหลว
มันข้น ม้าม ปอด สุรา และเมรัยเป็นต้น เป็นเหมือนสถานที่ที่รวม
ชุมนุมกันของพวกยักษ์รากษสและปีศาจ ซึ่งเมื่อคนทั้งหลายมาเห็นเข้าใน
ตอนกลางวัน ดูเหมือนหัวใจจะวายตาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย
เอาสถานที่นั้น จึงตรัสว่า ตคฺถ จ เม พฺราหฺมณ วิหรโต.
ความหมายของมิคะและโมระ
บทว่า มิโค วา อาคจฺฉติ ความว่า เนื้อซึ่งแยกประเภทเป็น
กวาง แรด เสือเหลือง และหมูป่าเป็นต้น เดินประเขาหรือเตะกีบเท้า
กันมา ก็คำว่า มิโค ในที่นี้เป็นชื่อสัตว์ ๔ เท้าทุกชนิด. แต่ในที่
บางแห่ง มิคะ ( เนื้อ ) ท่านกล่าวว่า ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกตาบอดบ้าง
เหมือนอย่างที่สัตว์กล่าว (เยินยอสุนัขจิ้งจอกตาบอด ) ว่า
คอของท่านช่างสง่างามเหมือนคอของโคอุสภะ และ
เหมือนคอของราชสีห์ฉะนั้น ข้าแต่พระยาเนื้อ ขอ
ความนอบน้อมจงมีแด่ท่าน พวกเราจะได้อะไรบ้าง
ไหม ?
บทว่า โมโร วา กฏฺ ปาเตติ ความว่า นกยูงทำไม้แห้งให้
ตกจากต้นไม้ และด้วยศัพท์ว่า โมระ ในคำนี้ ท่านหมายเอานกทุก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 299
จำพวก. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแก้ว่า ได้แก่ โย โกจิ ปกฺขี นกตัวใด
ตัวหนึ่งก็ตาม. อีกอย่างหนึ่ง ด้วย วา ศัพท์ในคำว่า โมโร วา ท่าน
แก้ว่า ได้แก่ นกชนิดอื่นหรือลางตัว. แม้ใน มิคะ ศัพท์ ซึ่งเป็น
ศัพท์แรก (ก่อนศัพท์ว่า โมโร ) ก็มีนัยนี้.
บทว่า วาโต วา ปณฺณกสฏ เอเรติ ความว่า ลมพัดใบไม้
กุมฝอย.
บทว่า เอต นูน ต ภยเภรว อาคจฺฉติ ความว่า สิ่งใดย่อม
มา (ปรากฏ) สิ่งนั้นจัดเป็นภัยและอารมณ์อันน่ากลัวแน่นอน และ
ตั้งแต่บัดนี้ไป อารมณ์นั้นแลพึงทราบว่า เป็นภัยและอารมณ์อันน่ากลัว.
เพราะมีภัยทั้งเล็กน้อยและมีประมาณยิ่งเป็นอารมณ์ อารมณ์จึงชื่อว่า ภัย
และสิ่งที่น่ากลัว เปรียบเหมือนรูปที่มีความสุขเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าเป็นสุข
ด้วยฉะนั้น.
บทว่า กินฺนุโข อห อญฺทฏฺฐุ ภยปาฏิกงฺขี วิหรามิ ความว่า
ตถาคตแลหวังอยู่ คือปรารถนาอยู่ซึ่งเหตุอะไรว่าเป็นภัยโดยส่วนเดียว
นั้นแลจึงอยู่.
บทว่า ยถาภูตสฺส ยถาภูตสฺส ความว่า เป็นอยู่ คือเป็นไปอยู่
หรือพรั่งพร้อมด้วยอิริยาบถใด ๆ.
บทว่า เม คือในสำนักของเราตถาคต.
บทว่า ตถาภูโต ตถาภูโต วา ความว่า เป็นอยู่ คือ เป็นไป
อยู่ หรือพรั่งพร้อมด้วยอิริยาบถนั้น ๆ นั่นแล.
บทว่า โส โข อห ฯ เป ฯ ปฏิวิเนมิ ความว่า ได้ยินว่า
เมื่อพระโพธิสัตว์จงกรมอยู่ ครั้นเมื่ออารมณ์คือภัยและสิ่งที่น่ากลัวมี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 300
ประเภทเช่นเขาเนื้อและเสียงกีบเท้าเป็นต้นมาปรากฏ องค์พระมหาสัตว์ก็
ไม่ประทับยืน ( นิ่ง ๆ) ไม่ประทับนั่ง ไม่เสด็จเข้าบรรทม. ตรงกันข้าม
กลับเสด็จจงกรมต่อไป ใคร่ครวญไป พินิจพิเคราะห์ ( จนกระทั่ง )
มองไม่เห็นว่าเป็นภัยและสิ่งที่น่ากลัว มันเป็นเพียงเขาเนื้อและเสียงกีบเท้า
เป็นต้นเท่านั้น. ครั้นทราบอารมณ์นั้นว่า มันชื่อนี้ ไม่ใช่เป็นภัยและสิ่ง
ที่น่ากลัว ดังนี้แล้ว ต่อนั้นไป พระองค์จึงหยุดประทับยืน ประทับนั่ง
หรือเสด็จเข้าบรรทม.
เมื่อจะทรงแสดงความหมายอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำ
ว่า โส โข อห ดังนี้เป็นต้น. ในทุก ๆ เปยยาลก็มีนัยนี้.
ความฉลาดในการออกจากสมาบัติ
และต่อจากนี้ไป พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอิริยาบถไว้
ตามลำดับที่ใกล้ชิดกัน หาได้ตรัสไว้ตามลำดับอิริยาบถไม่. อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ตามลำดับที่ใกล้ชิดกัน แห่งอิริยาบถนั้น ๆ อย่าง
นี้ว่า ก็เมื่อเราตถาคตจงกรมอยู่ เมื่อภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาปรากฏ
เราตถาคตก็ไม่หยุดยืน ไม่นั่ง ไม่นอน แม้เมื่อเราตถาคตหยุดยืน เมื่อภัย
และอารมณ์อันน่ากลัวมาปรากฏ เราตถาคตก็ไม่เดินจงกรม.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่พระองค์ไม่มีภัยและ
อารมณ์ที่น่าสะพึงกลัวอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงการที่พระองค์
ประทับอยู่อย่างไม่ลุ่มหลงในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความลุ่มหลงของบุคคลผู้
ได้ฌานทั้งหลาย จึงตรัสคำว่า สนฺติ โข ปน พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.
[๔๖] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ เท่ากับ อตฺถิ มีอยู่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 301
คือ สวิชฺชนฺติ มีอยู่พร้อม ได้แก่ อุปลพฺภนฺติ ได้อย่างแน่นอน.
บทว่า รตฺตึเยว สมาน แปลว่า เวลา ที่เป็นกลางคืน.
บทว่า หิวาติ สญฺชานนฺติ แปลว่า สำคัญอยู่ว่า เวลานี้เป็น
เวลากลางวัน.
บทว่า ทิวาเยว สมาน แปลว่า เวลาที่เป็นกลางวัน.
บทว่า รตฺตีติ สญฺชานนฺติ แปลว่า สำคัญอยู่ว่า เวลานี้เป็นเวลา
กลางคืน.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร บุคลผู้ได้ฌานอย่างนี้จึงมีความสำคัญ
อย่างนี้ ?
ตอบว่า เพราะไม่มีความฉลาดในการออกจากฌาน หรือเพราะ
เสียงนกร้อง.
ถามว่า เป็นอย่างไร ?
ตอบว่า บุคคลผู้ได้โอทาตกสิณ ลางคนในโลกนี้เกิดมนสิการขึ้นว่า
เราทำบริกรรมในตอนกลางวัน เข้า (ฌาน) ในตอนกลางวันแล้วจะ
ออกในตอนกลางวันนั้นแหละ. แต่ว่าท่านก็ไม่ฉลาดในการกำหนดเวลา
ออกไว้ ท่านจึงเข้าฌานล่วงเลยเวลากลางวันไปออกในตอนกลางคืน และ
ด้วยอำนาจการแผ่ไปแห่งโอทาตกสิณ กสิณของท่านจึงผ่องใส แจ่มแจ้ง
ชัดเจน ท่านก็สำคัญเวลาที่เป็นกลางคืนนั้นแหละว่า เป็นกลางวัน เพราะ
เหตุที่เกิดมนสิการว่า จะออกในตอนกลางวัน และเพราะการแผ่ไปแห่ง
โอทาตกสิณผ่องใส แจ่มเเจ้ง. แต่บุคคลผู้ได้นีลกสิณลางคนในโลกนี้เกิด
มนสิการว่า เราทำบริกรรมในตอนกลางคืน เข้าในตอนกลางคืนแล้วจะ
ออกในตอนกลางคืนนั้นแหละ แต่ว่าท่านไม่ฉลาดในการกำหนดเวลา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 302
(ออก) ท่านจึง ( เข้าฌาน ) ล่วงเลยเวลากลางคืนไปออกในตอน
กลางวัน และด้วยอำนาจการแผ่ไปแห่งนีลกสิณ กสิณของท่านจึงไม่
ผ่องใสไม่แจ่มแจ้ง ท่านก็สำคัญเวลาที่เป็นกลางวันนั้นแหละว่า กลางคืน
เพราะเหตุที่เกิดมนสิการว่า จะออกในตอนกลางคืน และเพราะการแผ่
ไปแห่งนีลกสิณไม่ผ่องใส ไม่แจ่มแจ้ง. เพราะไม่มีความฉลาดในการออก
(จากฌาน) อย่างนี้ก่อน บุคคลผู้ได้ฌานจึงมีความสำคัญดังพรรณนามา
ฉะนี้.
ส่วนที่ว่าเพราะเสียงนกร้อง (เป็นอย่างนี้) คือ บุคคลผู้ได้ฌาน
ลางคนในโลกนี้นั่งอยู่ภายในเสนาสนะ ทีนั้น สัตว์ป่าทั้งหลายมีนกและกา
เป็นต้นที่มักร้องในตอนกลางวัน สำคัญอยู่ว่า เป็นเวลากลางวัน เพราะ
แสงจันทร์จึงส่งเสียงร้องในตอนกลางคืน หรือส่งเสียงร้องเพราะเหตุอื่นๆ
ท่านได้ยินเสียงของสัตว์ป่าเหล่านั้นแล้ว สำคัญเวลาที่เป็นกลางคืนนั้นแหละ
ว่าเป็นเวลากลางวัน. แต่ว่าบุคคลผู้ได้ฌานลางคนในโลกนี้นั่งอยู่ในถ้ำภูเขา
ที่ปกปิดด้วยป่าทึบซึ่งอยู่ลึกในซอกเขา ในเวลาที่มีแสงสว่างหายไปคราว
ฝนตกพรำตลอด ๗ วัน ทีนั้น สัตว์ป่าทั้งหลายมีนกที่ร้องในตอนกลางคืน
และนกฮูกเป็นต้นจับเจ่าอยู่ในที่มืดนั้น ๆ แม้ในเวลาเที่ยงวันแล้ว ส่งเสียง
ร้องด้วยสำคัญ (ผิด) ว่าเป็นเวลากลางคืนหรือด้วยเหตุเหล่าอื่น. บุคคล
ผู้ได้ฌานนั้นได้ยินเสียงของสัตว์ป่าทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมสำคัญเวลาที่เป็น
กลางวันอยู่แท้ ๆ ว่าเป็นเวลากลางคืน. เพราะเสียงนกร้องดังพรรณนา
มาอย่างนี้ บุคคลผู้ได้ฌานจึงมีความสำคัญอย่างนี้แล.
ปเทสญาณ (ญาณเครื่องกำหนดเวลา)
บทว่า อิทมห ความว่า เราตถาคตย่อมกล่าวสิ่งนี้ คือการกำหนด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 303
หมายอย่างนี้.
บทว่า สมฺโมหวิหารสฺมึ วทามิ มีอธิบายว่า เราตถาคตย่อม
กล่าว (การกำหนดหมาย) ว่า เป็นการอยู่ที่นับเนื่อง คือจัดอยู่ภายใน
การอยู่อย่างงมงาย ได้แก่กล่าวว่าเป็นการอยู่อย่างงมงายอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า อห โข ปน พฺราหฺมณ ฯลฯ สญฺชานามิ ความว่า
การกำหนดเวลากลางคืนกลางวันของพระโพธิสัตว์ปรากฏแล้ว แม้ในเวลา
ที่ฝนตกพรำตลอด ๗ วัน ถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์จะไม่ส่องแสง
พระโพธิสัตว์ก็ย่อมรู้ได้เองทีเดียวว่า ระยะเวลาเท่านี้ ถึงเวลาอาหารเช้า
ระยะเวลาเท่านี้ถึงเวลาหลังอาหาร ระยะเวลาเท่านี้ถึงปฐมยาม ระยะเวลา
เท่านี้ถึงมัชฌิมยาม เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้แล้วอย่าง
นั้น และก็ไม่น่าอัศจรรย์เลยที่พระโพธิสัตว์ผู้มีบารมีได้บำเพ็ญมาแล้วจะรู้
อย่างนี้.
แม้เหล่าพระอริยสาวกที่ดำรงอยู่ในปเทสญาณก็ปรากฏว่ากำหนด
เวลากลางคืนและกลางวันได้. มีเรื่องเล่าว่า พระโคทัตตเถระในกัลยาณิ-
มหาวิหารรับภัตรในเวลา ๒ องคุลี แล้วฉันในเวลา ๒ องคุลี ( นั้นเอง )
เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ปรากฏดวง ก็เข้าเสนาสนะแต่เช้า ๆ ออกมาในเวลา
(เดียวกัน) นั้น. วันหนึ่งพวกคนวัดคิดกันว่า พวกเราจะพบท่านได้ใน
เวลาที่ท่านออกมาตอนพรุ่งนี้ จึงจัดแจงภัตรแล้วนั่ง ( คอย) อยู่ที่ใกล้
หลักบอกเวลา (หลักวัดเงาแดด). พระเถระออกนาในเวลา ๒ องคุลี
เหมือนเดิม. ทราบมาว่า ตั้งแต่นั้นมาแม้พระอาทิตย์จะยังไม่ปรากฏดวง
พวกคนวัดก็จะตีกลองด้วยสัญญาณที่พระเถระออกมา.
แม้ในธชาครวิหาร พระกาลิเทวเถระเคาะระฆังบอกยามภายใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 304
พรรษา การเคาะระฆังบอกยามนั้นเป็นกิจวัตรประจำวันของพระเถระ
แต่ว่าพระเถระไม่ยอมใช้นาฬิกาเครื่องจักร. ส่วนภิกษุพวกอื่นใช้. ครั้น
ต่อมาเมื่อปฐมยามล่วงเลยไป พอพระเถระถือไม้เคาะ ( ระฆัง ) ยืนอยู่
หรือเคาะได้ครั้ง ๒ ครั้งเท่านั้น นาฬิกาเครื่องจักรก็ดี. เมื่อเป็นอย่างนี้
พระเถระจึงบำเพ็ญสมณธรรมในยานทั้ง ๓ แล้วเข้าไปบ้านแต่เช้าตรู่ รับ
บิณฑบาตกลับมาวัด ในเวลาจะฉันก็ถือบาตรไปยิ่งที่พักกลางวัน บำเพ็ญ
สมณธรรม. ภิกษุทั้งหลายเห็นหลักบอกเวลาแล้วได้ส่งภิกษุไปเพื่อต้องการ
(ในการกราบเรียน ) ให้พระเถระมา. ภิกษุ (รูปที่ไป ) นั้น ได้พบ
พระเถระ (ขณะ) กำลังออกมาจากที่พักกลางวันบ้าง ในระหว่างทาง
บ้าง. แม้เหล่าพระสาวกที่ดำรงอยู่ในปเทสญาณย่อมกำหนดเวลาว่า เป็น
กลางคืนและกลางวันได้อย่างนี้. ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงบรรดาพระโพธิ-
สัตว์.
ตถาคตอุบัติมาเพื่อประโยชน์สุข
ก็ในคำว่า ย โข ต ฯเปฯ วเทยฺย นี้ นักศึกษาพึงทราบบท
สัมพันธ์ (การเชื่อมบท) อย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ใคร ๆ เมื่อจะ
กล่าวถ้อยคำใดว่า สัตว์ผู้มีความไม่งมงายเป็นธรรมดา อุบัติขึ้นในโลก
ฯ ล ฯ เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จึงจะชื่อว่ากล่าวโดยชอบ
คือ เป็นผู้กล่าวอย่างถูกต้อง กล่าวไม่คลาดเคลื่อน เขาเมื่อกล่าวคำนั้น
ต่อเราตถาคตเท่านั้น จึงจะชื่อว่ากล่าวโดยชอบ คือเป็นผู้กล่าวอย่างถูกต้อง
กล่าวไม่คลาดเคลื่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสมฺโมหธมฺโม แปลว่า มีความไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 305
งมหงายเป็นสภาพ.
บทว่า โลเก ได้แก่ในมนุษยโลก.
บทว่า พหุชนหิตาย แปลว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนจำนวน
มาก อธิบายว่า (สัตว์นั้น) เป็นผู้ชี้แนะประโยชน์เกื้อกูลทั้งในปัจจุบัน
ทั้งในสัมปรายภพด้วยความถึงพร้อมแห่งปัญญา.
บทว่า พหุชนสุขาย แปลว่า เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนจำนวนมาก
อธิบายว่า (สัตว์นั้น) เป็นผู้ให้สมบัติอันเป็นอุปกรณ์แห่งความสุขด้วย
ความถึงพร้อมแห่งจาคะ ( การเสียสละ ).
บทว่า โลกานุกมฺปาย แปลว่า เพื่อประโยชน์อนุเคราะห์โลก
อธิบายว่า (สัตว์นั้น ) เป็นผู้รักษา เป็นผู้คุ้มครองโลกเหมือนบิดามารดา
(คุ้มครองบุตร) ด้วยความถึงพร้อมแห่งเมตตากรุณา.
และด้วยศัพท์ว่า "เทวมนุสฺส" ในคำว่า อตฺาย หิตาย สุขาย
เทวมนุสฺสาน นี้ นักศึกษาพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย
เอาเฉพาะเหล่าเวไนยสัตว์ผู้เป็นภัพพบุคคล (บุคคลที่ควรจะตรัสรู้) แล้ว
แสดงการอุบัติของพระองค์ ก็เพื่อต้องการให้เวไนยสัตว์เหล่านั้นได้บรรลุ
มรรคผลนิพพาน. เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อตฺถาย ( เพื่อ
ประโยชน์) ย่อมหมายถึงว่า เพื่อประโยชน์แก่ปรมัตถ์ คือเพื่อนิพพาน.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า หิตาย ( เพื่อประโยชน์เกื้อกูล) ย่อม
หมายถึงว่า เพื่อประโยชน์แก่มรรคเครื่องให้บรรลุนิพพานนั้น. เนื่องจาก
ว่า ขึ้นชื่อว่าประโยชน์เกื้อกูลที่ยิ่งไปกว่ามรรคเครื่องให้บรรลุนิพพานไม่มี
เลย. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สุขาย (เพื่อความสุข) ย่อม
หมายถึงว่า เพื่อประโยชน์แก่ความสุขที่เกิดจากผลสมาบัติ. เพราะว่าไม่มี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 306
ความสุข (อื่น) ที่ยิ่งไปกว่าความสุขที่เกิดจากผลสมาบัตินั้น. สมด้วย
คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า สมาธินี้อำนวยความสุขที่เป็น
ปัจจุบันให้และยังมีความสุขเป็นวิบากต่อไป.
ปฏิปทาเครื่องบรรลุอสัมโมหวิหาร
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงการอยู่อย่างไม่งมงาย ( อสมฺ-
โมหวิหาร) ของพระองค์ ซึ่งมีการได้บรรลุคุณแห่งพุทธะเป็นที่สุดดัง
พรรณนามาฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาเป็นเหตุให้บรรลุ
การอยู่อย่างไม่งมงายอันถึงที่สุดแล้วนั้นตั้งแต่เวลาเริ่มต้น จึงตรัสคำว่า
อารทฺธ โข ปน เม พฺราหฺมณ ดังนี้เป็นต้น.
ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พราหมณ์ได้สดับการอยู่อย่างไม่งมงาย
นี้แล้ว ได้เกิดความคิดขึ้นมาอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบรรลุการอยู่อย่าง
ไม่งมงายนี้ ด้วยปฏิปทาอะไรหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
ความคิดของพราหมณ์นั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า ตถาคตได้บรรลุการ
อยู่อย่างไม่งมงาย อันสูงสุดนี้ด้วยปฏิปทาน จึงตรัสไว้อย่างนี้.
[๔๗ ] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารทฺธ โข ปน เม
พฺราหฺมณ วิริย อโหสิ มีอธิบายว่า ดูก่อนพราหมณ์ การอยู่อย่างไม่งมงาย
อันสูงสุดนี้ ไม่ใช่ว่าตถาคตจะเกียจคร้าน หลงลืมสติมีกายกระสับกระส่าย
หรือมีจิตฟุ้งซ่านได้บรรลุมา แท้จริงแล้วเราตถาคตได้ปรารภความเพียร
เพื่อบรรลุการอยู่อย่างไม่งมงายนั้น คือเราตถาคตนั่งอยู่ที่ควงไม่โพธิ์ ได้
ปรารภประคับประคองความเพียรมีองค์ ๔ ให้เป็นไปไม่ย่อหย่อน. ก็เพราะ
ปรารภแล้วนั่นแล ความเพียรประกอบด้วยองค์ ๔ นั่น ของเราตถาคต
จึงไม่ย่อหย่อน.
บทว่า อุปฏฺิตา สติ อปฺปมุฏฺา ความว่า และไม่ใช่แต่ความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 307
เพียรอย่างเดียวเท่านั้น ถึงสติของเราตถาคตก็ตั้งมั่นโดยภาวะที่มุ่งหน้าไป
จับอารมณ์ และเพราะตั้งมั่นแล้วนั่นแหละ มันจึงไม่หลงลืม.
บทว่า ปสฺสทฺโธ กาโย อสารทฺโธ ความว่า เพราะมีกายและ
จิตสงบ แม้กายของเราตถาคตก็สงบด้วย. ในบทนั้นอธิบายว่า เพราะ
เหตุที่เมื่อนามกายสงบ แม้รูปกายก็ย่อมสงบด้วยเหมือนกัน ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส (รวมๆ) ว่า กายสงบ โดยมิได้ตรัสแยก
ว่า นามกาย รูปกาย.
บทว่า อสารทฺโธ ความว่า ก็เพราะสงบแล้วนั่นแล กายนั้นจึง
ชื่อว่าไม่กระสับกระส่าย อธิบายว่า ปราศจากความกระวนกระวาย.
บทว่า สมาหิต จิตฺต เอกคฺค ความว่า แม้จิตอันเราตถาคต
ตั้งใจไว้โดยชอบแล้ว คือเป็นเหมือน (จับ) วางไว้ด้วยดี และเพราะ
ตั้งไว้โดยชอบแล้วนั่นแล จึงมีชื่อว่ามีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ ไม่หวั่นไหว
ไม่ดิ้นรน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งฌาน
ไว้ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
ประโยชน์ของฌาน ๔
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงคุณวิเศษเริ่มต้นตั้งแต่ปฐม-
ฌานจนกระทั่งถึงวิชชา ๓ เป็นที่สุดที่พระองค์ทรงบรรลุแล้วด้วยปฏิปทา
นี้ จึงตรัสคำว่า โส โข อห ดังนี้ เป็นต้น. ในพระดำรัสนั้น คำใด
ที่จะต้องกล่าวในตอนนี้ว่า วิวิจฺเจว กาเมหิ ฯเปฯ จตุตฺถ ณาน
อุปสมฺปชฺช วิหาสึ คำนั้นทั้งหมดได้กล่าวไว้แล้วในตอนว่าด้วยปฐวี-
กสิณในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. ความจริงมีแปลกกันแห่งเดียวเท่านั้น ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 308
(คือ) ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นบทกิริยามาว่า อุปสมฺปชฺช วิหรติ
(แต่) ในที่นี้มาว่า วิหาสึ.
ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำอย่างไรจึงเข้าฌานเหล่านั้น
อยู่ได้.
ตอบว่า ทรงเจริญกรรมฐาน.
ถามว่า กรรมฐานข้อไหน ?
ตอบว่า อานาปานสติกรรมฐาน.
ก็แล ฌาน ๔ เหล่านี้ สำหรับบางท่านมีความเป็นหนึ่งแห่งจิต
เป็นผล สำหรับบางท่านเป็นบาท (พื้นฐาน) แห่งการเจริญวิปัสสนา
สำหรับบางท่านเป็นบาทแห่งการได้อภิญญา สำหรับบางท่านเป็นบาท
แห่งการเข้านิโรธ (พระนิพพาน) สำหรับบางท่านมีการก้าวลงสู่ภพ
เป็นผล.
บรรดาบุคคลเหล่านั้น สำหรับพระขีณาสพ ฌาน ๔ มีความเป็น
หนึ่งแห่งจิตเป็นผล ด้วยว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ทำบริกรรมกสิณ
อย่างนี้ว่า เราจักเข้าฌานมีจิตมีความเป็นหนึ่งอยู่เป็นสุขตลอดวัน ดังนี้
แล้วทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด.
สำหรับพระเสขะและปุถุชนคิดว่า เราออกจากสมาบัติแล้วมีจิตเป็น
สมาธิจักเห็นแจ้ง ดังนี้แล้วทำวิปัสสนาให้บังเกิด (อย่างนี้ ) ฌานย่อม
ชื่อว่าเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนา.
ส่วนฌานลาภีบุคคลเหล่าใดทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดได้แล้ว เข้า
ฌานที่เป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากสมาบัติแล้วปรารถนาอภิญญาซึ่งมี
นัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า แม้เป็นคนคนเดียวก็ทำให้เป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 309
หลายคนได้ ดังนี้แล้วทำอภิญญาให้บังเกิด สำหรับฌานลาภีบุคคล
เหล่านั้นฌานย่อมเป็นบาทแห่งอญิญญา.
ส่วนพระอริยบุคคลเหล่าใดทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดได้แล้ว เข้า
นิโรธสมาบัติได้คิดว่า เราจักบรรลุนิโรธ คือนิพพานในปัจจุบันอยู่เป็นสุข
โดยไม่มีจิตสังขารตลอด ๗ วัน ดังนี้แล้วทำสมาบัติให้บังเกิด ฌานของ
พระอริยบุคคลเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าเป็นบาทแห่งการเข้านิโรธ.
ส่วนฌานลาภีบุคคลเหล่าใดทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดได้แล้วคิดว่า
เราจักเป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมเกิดในพรหมโลก ดังนี้ ทำสมาบัติให้บังเกิด
(อย่างนี้) ฌานของบุคคลเหล่านั้นย่อมมีการก้าวลงสู่ภพเป็นผล.
ก็จตุตถฌานนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทำให้บังเกิดแล้วที่ควงโพธิ์
พฤกษ์ จตุตถฌานนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้เป็นบาทแห่งการ
เจริญวิปัสสนา เป็นบาทแห่งการได้อภิญญาและให้สำเร็จกิจทุกอย่าง จึง
พึงทราบว่า อำนวยคุณที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระให้ได้ทุกอย่าง. และ
จตุตถฌานนั้นได้อำนวยคุณเหล่าใดให้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะแสดง
เพียงบางส่วน (เอกเทศ ) แห่งคุณเหล่านั้น จึงตรัสคำว่า โส เอว
สมาหิเต จิตฺเต ดังนี้เป็นต้น.
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
วิชชา ๒ ในพระสูตรนั้น (คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณและจุตูปปาต-
ญาณ) มีการพรรณนาไปตามลำดับบทและวิธีเจริญได้กล่าวไว้แล้วอย่าง
พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. แท้จริงในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกับในที่นี้มี
ความแปลกกันแห่งเดียวเท่านั้นดังนี้ คือในวิสุทธิมรรคนั้นท่านกล่าวบท
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 310
กิริยาไว้ว่า โส เอว สมาหิเต จิตฺเต ฯ เป ฯ อภินินฺนาเมติ (แต่)
ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบทกิริยาไว้ว่า อภินินฺนาเมสึ. และวาระ
ว่าด้วยอัปปนาอย่างนี้ว่า อย โข เม พฺราหฺมณ ก้มิได้มาในคัมภีร์
วิสุทธิมรรคนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส คือ โส อห เราตถาคตนั้น .
บทว่า อภินินฺนาเมสึ แปลว่า นำไปเฉพาะ. เพราะพระดำรัสว่า
อภินินฺนาเมสึ ในคำว่า โส นี้ จึงพึงทราบความหมายอย่างนี้ว่า โส อห
เราตถาคตนั้น.
ก็เพราะเหตุที่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณนี้มาแล้วด้วยอำนาจของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น จึงพึงทราบการประกอบควานอย่างนี้ในคำนี้ว่า
เราตถาคตนั้นจุติจากภพนั้นแล้วมาอุบัติในภพนี้. ในคำนี้พึงทราบ
(อธิบายเพิ่มเติมอีก) ว่า คำว่า เราตถาคตนั้นจุติจากภพนั้นแล้ว เป็น
การพิจารณาของพระโพธิสัตว์ผู้พิจารณาย้อนกลับ เพราะฉะนั้น พึงทราบ
ความว่า ในคำว่า อิธูปปนฺโน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาภพ
ดุสิตว่า เราตถาคตอุบัติในภพดุสิตโน้นก่อนจะมาอุบัติในภพนี้.
บทว่า ตตฺราปาสึ เอวนาโม ความว่า ในภพดุสิตแม้นั้น เรา
ตถาคตได้เป็นเทพบุตรนามว่า เสตเกตุ.
บทว่า เอวโคตฺโต คือมีโคตรเดียวกับเทวดาเหล่านั้น.
บทว่า เอววณฺโณ คือมีผิวพรรณผุดผ่องดังทองคำ.
บทว่า เอวนาหาโร คือมีทิพพสุธาหาร.
บทว่า เอว สุขทุกฺขปฏิสเวที ความว่า เป็นผู้มีปกติเสวยทิพยสุข
อย่างนี้ ส่วนทุกข์มีเพียงทุกข์ประจำสังขารเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 311
บทว่า เอวมายุปริยนฺโต ความว่า มีอายุ ๕๗ โกฏิ ๖ ล้านปี.
บทว่า โส ตโต จุโต ความว่า ตถาคตนั้นจุติจากภพนั้น คือ
ภพดุสิต.
บทว่า อิธูปปนฺโน ความว่า บังเกิดในภพนี้ คือในพระครรภ์
พระนางสิริมหามายาเทวี.
บทว่า เม ในคำว่า อย โข เม พฺราหฺมณ เป็นต้น คือ มยา.
บทว่า วิชฺชา ความว่า ที่ชื่อว่า วิชฺชา เพราะหมายความว่า
กระทำให้รู้แจ้ง.
ถามว่า วิชชาทำให้รู้แจ้งซึ่งอะไร ?
ตอบว่า ซึ่งขันธ์ ( ภพ ) ที่เคยอยู่อาศัยในชาติก่อน.
บทว่า อวิชฺชา ความว่า เพราะหมายความว่าไม่ทำให้รู้แจ้งซึ่งขันธ์
ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน อวิชชา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า โมหะ
(ความหลง) ซึ่งปกปิดขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อนนั้น.
บทว่า ตโม ความว่า โมหะนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก
ว่า ตมะ ( ความมืด ) เพราะหมายความว่าปกปิด.
บทว่า อาโลโก ความว่า วิชชานั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกว่า อาโลกะ ( แสงสว่าง ) เพราะหมายความว่าทำแสงสว่างให้.
ก็ในพระดำรัสที่ตรัสมานี้ย่อมมีความหมายดังนี้ว่า วิชฺชา อธิคตา
แปลว่า วิชชาตถาคตได้บรรลุแล้ว. คำที่เหลือเป็นคำกล่าวสรรเสริญ.
อนึ่ง ในพระดำรัสตอนนี้มีการประกอบความดังนี้ว่า วิชชานี้แลเราตถาคต
ได้บรรลุแล้ว เมื่อเราตถาคตนั้นได้บรรลุวิชชาแล้ว อวิชชาจึงถูกขจัด
อธิบายว่า พินาศไป.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 312
ถามว่า เพราะเหตุไร อวิชชาจึงพินาศไป ?
ตอบว่า เพราะวิชชาเกิดขึ้น.
แม้ในสองบทนอกนี้ก็นัยนี้.
บทว่า ยถา ในคำว่า ยถาต ใช้ในความหมายว่า อุปมา
(เปรียบเทียบ).
บทว่า ต เป็นนิบาต. บุคคลชื่อว่าไม่ประมาท เพราะความไม่อยู่
ปราศจากสติ ชื่อว่ามีความเพียรเครื่องเผากิเลสด้วยธรรมเครื่องทำกิเลสให้
เร่าร้อนทั่วคือวิริยะ ชื่อว่า มีตน (จิต ) อันส่งไปแล้ว เพราะไม่มีความ
ห่วงใยในร่างกายและชีวิต.
บทว่า ปหิตตฺตสฺส ความว่า มีตนอันส่งไปแล้ว. มีอธิบาย
(เพิ่มเติม) ดังนี้ว่า เมื่อโยคาวจรบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผา
กิเลส มีตนส่งไปอยู่ อวิชชาพึงถูกกำจัด วิชชาพึงเกิดขึ้น ความมืดพึง
ถูกกำจัด แสงสว่างพึงเกิดขึ้นฉันใด สำหรับเราตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อวิชชาถูกขจัดแล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น ความมืดถูกขจัดแล้ว แสงสว่าง
ก็เกิดขึ้น เราตถาคตได้ผลที่สมควรกับการบำเพ็ญเพียรนั้น.
กถาว่าด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณจบ.
กถาว่าด้วยจุตูปปาตญาณ
[๔๙] ในกถาว่าด้วยจุตูปปาตญาณพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้
ก็เพราะเหตุที่ในที่นี้ บาลีมาแล้วด้วยอำนาจพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปสฺสามิ ปชานามิ (เราตถาคตเห็นอยู่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 313
รู้อยู่ ). ความแปลกกันมีอยู่เท่านี้. คำที่เหลือเหมือนกับที่ได้กล่าวไว้แล้ว
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเลยทีเดียว.
ก็ในกถานี้ บทว่า วิชฺชา ได้แก่วิชชา คือทิพยจักษุญาณ.
บทว่า อวิชฺชา ได้แก่อวิชชาที่ปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์
ทั้งหลาย. คำที่เหลือเหมือนกับที่กล่าวมาแล้วทีเดียว.
ก็เพราะเหตุที่พระมหาสัตว์ทั้งหลายได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว จึงไม่มี
ความจำเป็นต้องทำบริกรรม เพราะว่าท่านเหล่านั้นพอน้อมจิตไปเท่านั้น
ก็จะระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้มากมาย จะเห็นสัตว์ทั้งหลาย
ด้วยทิพยจักษุ ฉะนั้น วิธีเจริญวิชชาเหล่านั้นเริ่มต้นตั้งแต่ทำบริกรรม
ที่กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้น จึงไม่จำเป็นต้องนำมาแสดงไว้
ในที่นี้.
กถาว่าด้วยอาสวักขยญาณ
[๕๐] ในวิชชาที่ ๓ พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :-
ในคำว่า โส เอว สนาหิเต จิตฺเต เราตถาคตนั้น เมื่อจิต
ตั้งมั่นอย่างนี้แล้ว จิตที่ตั้งมั่นพึงทราบว่า คือจตุตถฌานอันเป็นพื้นฐาน
สำหรับเจริญวิปัสสนา.
บทว่า อาสวาน ขยาณาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่อรหัตต-
มรรคญาณ. แท้จริงอรหัตตมรรคเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะทำอาสวะให้พินาศ และญาณนี้ย่อมมีในอรหัตตมรรคนั้น
เพราะนับเนื่องในอรหัตตมรรคนั้น
สองบทว่า จิตฺต อภินินฺนาเมสึ คือน้อมจิตที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนา
ไป.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 314
ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า โส อิท ทุกฺข นักศึกษาพึงทราบความหมาย
อย่างนี้ว่า เราตถาคตได้ทราบคือรู้ ได้แก่แทงตลอดซึ่งทุกขสัจแม้
ทั้งหมดว่า ทุกข์มีจำนวนเท่านี้ ไม่มียิ่งไปกว่านี้ ตามความเป็นจริง
ด้วยการแทงตลอดลักษณะที่แท้จริง ได้ทราบ คือได้รู้ ได้แก่แทงตลอด
ซึ่งตัณหาที่ยังทุกข์นั้นให้เกิดว่า นี้เป็นทุกขสมุทัย ได้ทราบ คือได้รู้
ได้แก่แทงตลอดซึ่งที่ที่ทุกข์และสมุทัยทั้ง ๒ มาถึงแล้วดับไป ได้แก่
นิพพานอันเป็นแดนที่ทุกข์และสมุทัยทั่ง ๒ นั้นไม่เป็นไป ว่านี้เป็น
ทุกขนิโรธ ได้ทราบ คือได้รู้ ได้แก่แทงตลอดซึ่งอริยมรรคที่ให้บรรลุ
นิพพานนั้น ว่านี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตามความเป็นจริงว่า
ด้วยการแทงตลอดลักษณะที่แท้จริง.
มรรค - ผล - ปัจจเวกขณญาณ
ครั้นทรงแสดงสัจจะทั้งหลายโดยสรูปอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ
ทรงแสดงสัจจะทั้งหลาย โดยอ้อมด้วยอำนาจกิเลส พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสคำว่า อิเม อาสวา ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ตสฺส เม เอว ชานโต เอว ปสฺสโต แปลว่า เมื่อ
เราตถาคตนั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้. (ด้วยคำนี้ ) พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสถึงมรรคที่ถึงที่สุดพร้อมทั้งวิปัสสนา.
บทว่า กามาสวา แปลว่า จากกามาสวะ. ด้วยบทว่า หลุดพ้นแล้ว นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงขณะแห่งผล. เพราะว่าจิตกำลังหลุดพ้นใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 315
ขณะแห่งมรรค. จัดว่าหลุดพ้นแล้วในขณะแห่งผล. ด้วยคำว่า เมื่อ
หลุดพ้นแล้วก็รู้ว่าหลุดพ้นแล้วนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปัจจเวก-
ขณญาณ. ด้วยคำว่า ชาติสิ้นแล้ว ดังนี้เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมทรงแสดงภูมิของปัจจเวกขณญาณนั้น. เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพิจารณาอยู่ด้วยญาณนั้น จึงทรงทราบว่า ชาติสิ้นแล้ว ดังนี้เป็นต้น.
ถามว่า ก็ชาติไหนของพระผู้มีพระภาคเจ้าสิ้นแล้ว และพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงทราบชาตินั้นได้อย่างไร ?
ตอบว่า ไม่ใช่ชาติอดีตของพระองค์สิ้นไป เพราะชาติอดีตนั้นสิ้น
ไปแล้วก่อนทีเดียว ไม่ใช่ชาติอนาคตของพระองค์สิ้นไป เพราะพระองค์
ไม่มีความพยายามในอนาคต ไม่ใช่ชาติปัจจุบันสิ้นไป เพราะชาติ
ปัจจุบันยังมีอยู่. แต่ว่าชาติ ( ความเกิด ) ใด ซึ่งแยกประเภทเป็น
( ความเกิดของ ) ขันธ์ ๑ ในเอกโวการภพ ขันธ์ ๔ ในจตุโวการภพ
และขันธ์ ๕ ในปัญจโวการภพจะพึงเกิดขึ้นได้ เพราะยังมิได้ทำ (อริยะ)
มรรคให้เกิด ชาตินั้น ( แหละ ) จัดว่าสิ้นไปแล้ว เพราะถึงความเป็น
สภาวะที่มีการไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา เหตุที่ได้ทำ (อริยะ) มรรคให้
เกิดมีแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบชาตินั้นโดยทรงพิจารณากิเลสที่ละได้
แล้วด้วยมรรคภาวนา (การทำมรรคให้เกิดมี) แล้วทรงทราบอยู่ว่า
เมื่อกิเลสไม่มี การกระทำแม้จะยังมีอยู่ก็จะไม่ก่อให้เกิดปฏิสนธิอีกต่อไป
ดังนี้แล.
บทว่า วุสิต แปลว่า อยู่แล้ว คืออยู่จบแล้ว อธิบายว่า
การทำแล้ว คือประพฤติแล้ว ได้แก่สำเร็จแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 316
บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่มรรคพรหมจรรย์. พระเสขะ ๗ จำพวก
รวมทั้งกัลยาณปุถุชน ชื่อว่ากำลังอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ พระขีณาสพ
เป็นผู้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์จบแล้ว เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงพิจารณาอยู่ถึงการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ของพระองค์ จึง
ทรงทราบว่า พรหมจรรย์เราตถาคตอยู่จบแล้ว.
บทว่า กต กรณีย ความว่า กิจทั้ง ๑๖ อย่าง คือปริญญา
การกำหนดรู้. ปหานะ การละ, สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้ง, และภาวนา
การทำให้เกิดมี ด้วยมรรค ๔ ในสัจจะ ๔ อันเราตถาคตให้สำเร็จลง
แล้ว. เพราะว่า พระเสขะ ๗ จำพวกรวมทั้งกัลยาณปุถุชนกำลังทำกิจนั้น
อยู่ ( ส่วน ) พระขีณาสพมีกิจที่ควรท่านั้น ทำเสร็จแล้ว เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาอยู่ถึงกิจที่ควรทำของพระองค์จึงทรงทราบ
ว่า กิจที่ควรทำเราตถาคตได้ทำเสร็จแล้ว.
บทว่า นาปร อิตฺถตฺตาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทราบว่า บัดนี้ กิจด้วยการทำมรรคให้เกิดมีเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก คือ
เพื่อเกิดกิจ ๑๖ อย่าง หรือเพื่อความสิ้นกิเลสอย่างนี้อีกของตถาคตไม่มี.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิตฺถตฺตาย ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทราบว่าขันธสันดาน (ความสืบต่อแห่งขันธ์) อย่างอื่นจากความเป็น
อย่างนี้ คือจากประการอย่างนี้ ได้แก่จากความสืบต่อแห่งขันธ์ที่เป็นไป
อยู่ในบัดนี้ของเราตถาคตไม่มี แต่ขันธ์ ๕ เหล่านั้นอันเราตถาคตกำหนดรู้
อย่างรอบคอบแล้ว ตั้งอยู่เหมือนต้นไม้รากขาดฉะนั้น เพราะวิญญาณ
ดวงสุดท้ายดับไป ขันธ์ ๕ เหล่านั้นก็จักดับเหมือนไฟที่หมดเชื่อฉะนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงการบรรลุญาณเป็นที่สิ้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 317
ไปแห่งอาสวะทั้งหลายนั้น ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดแล้วด้วยปัจจเวก-
ขณญาณอย่างนี้ แก่พราหมณ์ จึงตรัสคำว่า อย โข เม พฺราหฺมณ
ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชฺชา ได้แก่วิชชาในอรหัตตมรรค-
ญาณ.
บทว่า อวิชฺชา ได้แก่อวิชชาที่ปกปิดสัจจะ ๔. คำที่เหลือมีนัย
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วทีเดียว
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศสงเคราะห์คุณแห่งความเป็น
พระสัพพัญญูแม้ทั้งหมดด้วยวิชชา ๓ อย่างนี้คือ ทรงสงเคราะห์อตีตัง-
สญาณด้วยปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ทรงสงเคราะห์ปัจจุปปันนังสญาณและ
อนาคตังสญาณด้วยทิพยจักษุญาณ (และ) ทรงสงเคราะห์โลกุตตรคุณ
ทั้งหมดด้วยอาสวักขยญาณ ด้วยพระดำรัสดังกล่าวมานี้ จัดว่าได้ทรงแสดง
การอยู่อย่างไม่งมงาย (ธรรมเครื่องอยู่อย่างไม่งมงาย) ของพระองค์แก่
พราหมณ์.
ประโยชน์ของการอยู่ป่า ๒ อย่าง
[๕๑] ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์
คิดว่า พระสมณโคดมทรงปฏิญาณความเป็นพระสัพพัญญู แต่แม้ในวันนี้
พระองค์ก็ยังไม่ยอมทิ้งการอยู่ในป่า กิจที่ควรทำอะไรๆ แม้อย่างอื่นของ
พระองค์ยังมีอยู่หรือหนอแล. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
อัธยาศัยของพราหมณ์นั้นแล้วได้ตรัสคำว่า สิยา โข ปน เต ดังนี้
เป็นต้น เพื่อคล้อยตามอัธยาศัย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 318
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิยา โข ปน เต พฺราหฺมณ
เอวมสฺส ความว่า ดูก่อนพราหมณ์ บางครั้งท่านพึงมีความคิดอย่างนี้.
บทว่า น โข ปเนต พฺราหฺมณ เอว ทฏฺพฺพ ความว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ก็แลเมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านไม่พึงเห็นอย่างนี้ว่า การอยู่
ในเสนาสนะอันสงัดของเราตถาคตเป็นเพราะสาเหตุมีความที่ราคะยิ่งไม่
หมดเป็นต้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงปฏิเสธสิ่งที่ไม่ใช่ (ดังกล่าวมานั้น)
ในการอยู่ในเสนาสนะอันสงัดอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงถึงเหตุ (บ้าง)
จึงตรัสคำว่า เทฺว โข อห ดังนี้เป็นต้น. ประโยชน์นั่นแหละในคำว่า
อตฺถวเส นั้น ชื่อว่า อำนาจแห่งประโยชน์ เพราะฉะนั้น ในคำว่า
เทฺว โข อห พฺราหฺมณ อตฺถวเส จึงมีคำอธิบายว่า ดูก่อนพราหมณ์
เราตถาคตแลเห็นอยู่ซึ่งประโยชน์ ๒ อย่าง คือเหตุ ๒ อย่าง.
ในคำว่า อตฺตโน จ ทิฏฺธมฺมสุขวิหาร (การอยู่อย่างเป็นสุข
ในปัจจุบันของตน) อัตภาพที่เห็นประจักษ์อยู่นี้ ชื่อว่า ทิฏฐธรรน
การอยู่ด้วยอิริยาบถทั้ง ๔อย่างผาสุก ชื่อว่า สุขวิหาร (การอยู่อย่างเป็นสุข)
พึงทราบอรรถาธิบายนี้ว่า เพราะว่าคนแต่ละคนมีอิริยาบถอื่น ๆ ทั้งหมด
โดยที่สุดการถ่ายอุจจาระปัสสาวะสะดวกสบาย เพราะฉะนั้น การอยู่อย่าง
เป็นสุขของอัตภาพที่เห็นประจักษ์อยู่ จึงชื่อว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหาร.
คำว่า ปจฺฉิม ชนต อนุกมฺปมาโน (อนุเคราะห์หมู่ชนรุ่นหลัง)
พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :-
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์หมู่ชนรุ่นหลังด้วยการอยู่ป่า
อย่างไร ?
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 319
อธิบายว่า กุลบุตรทั้งหลายที่บวชด้วยศรัทธาเห็นการอยู่ป่าของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพากันคิดว่า แม้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ซึ่ง
ไม่มีทุกขสัจที่จะต้องกำหนดรู้ ไม่มีสมุทัยสัจที่ต้องละ ไม่มีมัคคสัจที่ต้อง
ทำให้เกิดมี ไม่มีนิโรธสัจที่ต้องทำให้แจ้ง ก็ยังไม่ยอมละทิ้งเสนาสนะป่า
เลย ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงเราทั้งหลายเล่า ดังนี้ แล้วจักพากันสำคัญ
เสนาสนะป่าว่าอันตนควรอยู่แท้ทีเดียว ด้วยอาการอย่างนี้ พวกเขาก็จัก
ทำทุกข์ให้หมดสิ้นไปได้โดยเร็วพลัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าทรง
อนุเคราะห์หมู่ชนรุ่นหลังอย่างนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง
เนื้อความนี้จึงตรัสว่า ปจฺฉิมญฺจ ชนต อนุกมฺปมาโน ดังนี้.
ความหมายของศัพท์ว่า อภิกกันตะ
[ ๕๒] พราหมณ์ได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว รู้สึกพอใจจึงได้กล่าว
คำว่า อนุกมฺปิตรูปา ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุกมฺปิตรูปา แปลว่า เป็นชนิดที่
พระโคดมผู้เจริญอนุเคราะห์แล้ว คือเป็นผู้อันพระโคดมผู้เจริญเกื้อหนุน
แล้วเป็นสภาพ.
บทว่า ชนตา แปลว่า หมู่ชน.
บทว่า ยถาต อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน ความว่า (หมู่ชนรุ่นหลัง)
อันพระโคดมผู้เจริญอนุเคราะห์แล้ว อย่างที่ผู้ที่เป็นพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้าจะพึงอนุเคราะห์.
ก็พราหมณ์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดความชื่นชมพระ
ธรรมเทศนานั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก จึงได้กล่าวคำนี้กะพระผู้มี-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 320
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระดำรัสของพระองค์จับใจ
ยิ่งนัก พระดำรัสของพระองค์จับใจยิ่งนัก.
ในคำว่า อภิกฺกนฺต โภ โคตม เป็นต้นนั้น อภิกกันต
ศัพท์นี้ ใช้ในความหมายว่า ขยะ สิ้นไป, หมดไป, ล่วงเลย สุนทร
ดี อภิรูปะ สวยงาม และ อัพภนุโมทนะ ชื่นชม, ยินดี.
ก็ อภิกกันตศัพท์ที่ใช้ในความหมายว่า "ขยะ" (เช่น) ใน
ประโยคเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยาม
ผ่านพ้นไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่ง (คอย) อยู่นานแล้ว.
ใช้ในความหมายว่า "สุนทระ" ( เช่น ) โนประโยคเป็นต้นว่า
บรรดาบุคคล ๔ คนนี้ คนนี้ดีกว่า และประณีตกว่า.
ใช้ในความหมายว่า "อภิรูปะ" (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า
ใครช่างรุ่งเรื่องด้วยฤทธิ์และยศ มีผิวพรรณสวยงาม ทำทิศทั้งปวงให้
สว่างไสว (มา) กราบเท้าของเราตถาคต.
ใช้ในความหมายว่า "อัพภนุโมทนะ" (เช่น) ในประโยค
เป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระดำรัสของพระองค์จับใจยิ่งนัก.
แม้ในที่นี้ อภิกกันตศัพท์ก็ใช้ในความหมาย แห่ง "อัพภนุ-
โมทนะ ชื่นชม, ยินดี" เหมือนกัน. ก็เพราะเหตุที่อภิกกันตศัพท์
ใช้ในความหมายแห่งอัพภนุโนทนะ. ฉะนั้น จึงควรทราบว่า (คำว่า
อภิกฺกนฺต โภ โคตม) ท่านอธิบายไว้ว่า ได้แก่ สาธุ สาธุ โภ โคตม
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระดำรัสของพระองค์ดีแล้ว ดีแล้ว พระเจ้าข้า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 321
เหตุผลที่ใช้อภิกกันตศัพท์ ๒ ครั้ง
(นักปราชญ์ได้กล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า)
ท่านผู้รู้พึงทำการกล่าวซ้ำ ใน (คำพูดแสดง) ความ
กลัว (ภเย) ความโกรธ ( โกเธ ) การสรรเสริญ
(ปสสาย) ความรีบด่วน ( ตุริเต) ความตื่นเต้น
(โกตุหเล) ความอัศจรรย์ใจ (อจฺฉเร) ความ
ร่าเริงยินดี (หาเส) ความโศก (โสเก) และ
ความเลื่อมใส (ปาสาเท).
และด้วยลักษณะ (เหตุผลดังว่ามา) นี้ อภิกกันตศัพท์นี้พึงทราบว่า
พราหมณ์กล่าวไว้ถึง ๒ ครั้งในที่นี้ ก็ด้วยอำนาจความเลื่อมใสและความ
สรรเสริญ.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภิกฺกนฺต แปลว่า น่าใคร่อย่างยิ่ง
คือน่าปรารถนาอย่างยิ่ง อธิบายว่า น่าพอใจอย่างยิ่ง คือ ดียิงนัก. ใน
อภิกกันตศัพท์ทั้ง ๒ นั้น พราหมณ์ชมเชยเทศนาด้วย อภิกกันตศัพท์
(ที่มีความหมาย) อย่างหนึ่ง ประกาศความเลื่อมใสของตนด้วยอภิกกันต-
ศัพท์ (ที่มีความหมาย) อีกอย่างหนึ่ง.
ก็ในความหมายทั้ง ๒ นี้มีอธิบายดังนี้ว่า พระธรรมเทศนาของ
พระโคดมผู้เจริญ น่าจับใจยิงนัก ความเลื่อมใสของข้าพระองค์อาศัย
ธรรมเทศนาของพระโคดมผู้เจริญก็น่าพอใจยิ่งนัก หรือไม่ก็พราหมณ์นี้
มุ่งใช้ความหมายทั้ง ๒ (ไปในการ) ชมเชยพระดำรัสของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าอย่างเดียว. (คือชมเชยว่า) พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 322
นับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะยังโทษให้พินาศไป นับว่าน่าจับใจยิ่งนัก
เพราะให้บรรลุคุณ อนึ่ง นักศึกษาพึงประกอบ (คำว่า) โภโต
โคตมสฺส วจน อภิกฺกนฺต) เข้ากับบททั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า :-
พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญนับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะทำให้เกิด
ศรัทธา นับว่าจับ ใจยิ่งนัก เพราะทำให้เกิดปัญญา.
พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญนับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะพรั่งพร้อม
ด้วยอรรถะ (ความหมาย ) นับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะพรั่งพร้อมด้วย
พยัญชนะ.
พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญนับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะมีบทง่าย
นับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะมีความหมายลึกซึ้ง.
พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญนับว่าจับใจยิ่งนักเพราะ (ฟังแล้ว)
รื่นหู นับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะ (ฟังแล้ว) ซึ้งใจ.
พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญนับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะไม่ยกตน
นับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะไม่ข่มคนอื่น.
พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญนับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะเยือกเย็น
ด้วยพระกรุณา นับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะผ่องแผ้วด้วยพระปัญญา.
พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญนับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะเป็นที่
รื่นรมย์ตามคัลลอง นับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะทนต่อการถูกโจมตี.
พระดำรัสของพระโคดมผู้เจริญนับว่าจับใจยิ่งนัก เพราะฟังอยู่
ก็เป็นสุข นับว่าจับ ใจยิ่งนัก เพราะใคร่ครวญอยู่ก็เป็นประโยชน์.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 323
อุปมา ๔ ข้อ
ต่อจากนั้น พราหมณ์ได้ชมเชยพระธรรมเทศนานั้นแลด้วยอุปมา
๔ ข้อ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกุชฺชิต ได้แก่ภาชนะที่วางคว่ำปากลง
หรือที่มีปากอยู่ข้างใต้.
บทว่า อุกฺกุชฺเชยฺย ได้แก่พึงหงายปากขึ้น.
บทว่า ปฏิจฺฉนฺน ได้แก่ที่เขาปิดไว้ด้วยหญ้าและใบไม้เป็นต้น.
บทว่า วิวเรยฺย แปลว่าพึงเปิด.
บทว่า มุฬฺหสฺส ได้แก่ (บุคคล) ผู้หลงทิศ.
บทว่า มคฺค อาจิกฺเขยฺย ความว่า พึงจับที่มือแล้วบอกว่า นี่ทาง.
บทว่า อนฺธกาเร คือในความมืดมีองค์ ๔ (คือมืด) เพราะวัน
แรม ๑๔ ค่ำ เพราะเป็นเวลาเที่ยงคืน เพราะป่าทึบ และเพราะเมฆหนา
บดบัง.
ความหมายของบทที่ไม่ง่ายมีเท่านี้ก่อน.
ส่วนคำอธิบายประกอบความหมายมีดังต่อไปนี้ว่า :-
พระโคดมผู้เจริญผู้ยังข้าพระองค์ผู้เบือนหน้าหนีจากสัทธรรม ตกไป
ในอสัทธรรม ให้พ้นมาจากอสัทธรรม เหมือนใคร ๆ พึงหงายของที่คว่ำ
ขึ้นฉะนั้น ผู้เปิดเผยศาสนาซึ่งถูกปิดบังไว้ด้วยรกชัฏ คือมิจฉาทิฏฐิ จำเดิม
แต่ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ อันตรธานไป
เหมือนใคร ๆ พึงเปิดของที่ถูกปิดบังออกฉะนั้น ผู้บอกทางสวรรค์และ
นิพพานแก่ข้าพระองค์ผู้เดินหลงไปสู่ทางสายต่ำ คือทางที่ผิด เหมือนใครๆ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 324
บอกทางแก่คนหลงทางฉะนั้น ชื่อว่า ได้ทรงประกาศธรรมะไว้แล้วโดย
อเนกปริยายแก่ข้าพระองค์ เพราะทรงประกาศไว้แล้ว โดยปริยายเหล่านี้
โดยทรงส่องแสงสว่างคือพระธรรมเทศนาอันกำจัดเสียซึ่งความมืด คือ
โมหะที่ปกปิดพระรัตนตรัยนั้นไว้ แก่ข้าพระองค์ผู้จมดิ่งลงไปในความมืด
คือโมหะ มองไม่เห็นรูปพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เหมือน
ใคร ๆ พึงส่องแสงเพลิงในที่มืดฉะนั้น.
พราหมณ์ครั้นชมเชยพระธรรมเทศนาอย่างนี้แล้ว มีจิตเลื่อมใสใน
พระรัตนตรัย เพราะเทศนานี้ เมื่อจะทรงทำอาการของบุคคลผู้เลื่อมใส
จึงกล่าวคำว่า เอสาห ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสาห ตัดบทเป็น เอโส อห
(ข้าพระองค์นั่น ).
หลายบทว่า ภวนฺต โคตม สรณ คจฺฉามิ ความว่า ข้าพเจ้า
ขอถึง ขอคบ ขอเสพ ขอเข้าไปนั่งใกล้พระโคดมผู้เจริญด้วยความประสงค์
นี้ว่า ขอพระโคคมผู้เจริญจงเป็นที่ระลึก เป็นที่พึ่ง เป็นผู้ทำลายความทุกข์
และเป็นผู้สรรค์สร้างประโยชน์สุขให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเถิด อีกอย่าง
หนึ่งความว่า ข้าพระองค์รู้ คือทราบอยู่อย่างนี้. เพราะว่า ธาตุเหล่าใด
แปลว่า "ไป" ธาตุเหล่านั้นก็ย่อมแปลว่า "รู้" ได้ด้วย. เพราะฉะนั้น
บทว่า คจฺฉามิ นี้ พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวความหมายไว้ดังนี้ว่า
ชานามิ พุชฺณามิ (รู้อยู่, ทราบอยู่).
ก็ในคำว่า ธมฺมญฺจ ภิกฺขุสงฺฆญฺจ นี้พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :-
ที่ชื่อว่า ธรรม เพราะมีความหมายว่า ทรงไว้ซึ่งบุคคลทั้งหลาย
ผู้ได้บรรลุ (อริย) มรรค ผู้ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธแล้ว ( และ) ผู้ปฏิบัติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 325
ตามคำที่พระพุทธเจ้าทรงพร่ำสอนเป็นประจำมิให้ตกไปในอบาย ๔. ธรรม
นั้น เมื่อว่าโดยความหมาย ก็ได้แก่ อริยมรรคและนิพพาน. สมจริงด้วย
พระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมะที่เป็น
สังขตะ (ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ) มีอยู่เท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ ตถาคต
กล่าวว่า เป็นยอดแห่งธรรมที่เป็นสังขตะเหล่านั้น ความพิสดารเป็นดังว่า
มานี้. และไม่ใช่แต่อริยมรรคและนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น (ที่ชื่อว่า
ธรรม ) โดยที่แท้แล แม้ประยัติธรรมพร้อมทั้งอริยผลทั้งหลาย (ก็ชื่อว่า
ธรรม ) สมจริงดังคำที่เทพบุตรกล่าวไว้ในฉัตตมาณวกวิมานวัตถุว่า
ท่านจงเข้าถึงธรรมนี้ซึ่งเป็นธรรมสำหรับสำรอกราคะ
ไม่หวั่นไหว ไม่มีความโศก ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ไม่ปฏิกูล เป็นธรรมอันไพเราะที่พระพุทธเจ้าทรง
เชี่ยวชาญแล้ว ทั้งยังได้ทรงจำแนกไว้เรียบร้อย
เพื่อเป็นที่ระลึกที่พึ่งเถิด.
ในคาถานี้พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :-
บทว่า เป็นธรรมสำหรับสำรอกราคะ คือเทพบุตรกล่าวถึงมรรค.
บทว่า เป็นธรรมไม่หวั่นไหว ไม่มีความโศก คือเทพบุตรกล่าว
ถึงผล.
บทว่า เป็นธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง คือเทพบุตรกล่าวถึง
นิพพาน.
บทว่า ไม่ปฏิกูล เป็นธรรมอันไพเราะ ที่พระพุทธเจ้าทรง
เชี่ยวชาญแล้วทั้งยังได้ทรงจำแนกไว้เรียบร้อยนี้ คือ เทพบุตรกล่าวถึง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 326
พระธรรมขันธ์ทั้งหมดที่ทรงจำแนกไว้เป็นพระไตรปิฎก.
ที่ชื่อว่า สังฆะ (สงฆ์) เพราะหมายความว่า รวมกันด้วยเครื่อง
รวมคือทิฏฐิและศีล. สงฆ์นั้น เมื่อว่าโดยความหมาย คือหมู่พระอริย-
บุคคล ๘ จำพวก. สมจริงดังคำที่เทพบุตรกล่าวไว้ในคัมภีร์วิมานวัตถุนั้น
เองว่า
ก็บัณฑิตกล่าวทานที่บุคคลถวายแล้วในบุคคล ๔ คู่
เหล่าใด ซึ่งเป็นคู่บุคคลที่สะอาด บุคคล ๔ คู่เหล่านั้น
คือบุคคล ๘ จำพวก ซึ่งเป็นผู้เห็นธรรม ขอท่านจง
เข้าถึงพระสงฆ์นี้เพื่อเป็นที่ระลึกที่พึ่งเถิด.
หมู่แห่งภิกษุทั้งหลายชื่อว่า ภิกษุสงฆ์. พราหมณ์ได้ประกาศการ
ถึงสรณะทั้ง ๓ ด้วยถ้อยคำมีเพียงเท่านี้.
สรณคมน์
บัดนี้ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสรณคมน์เหล่านั้นจึงควรทราบวิธีนี้
คือ สรณะ การถึงสรณะ ผู้ถึงสรณะ ประเภทแห่งการถึงสรณะ ผลแห่ง
การถึงสรณะ สังกิเลส (ความเศร้าหมอง ) และเภทะ ( ความหมด
สภาพ).
ถามว่า วิธีนี้มีความหมายเป็นอย่างไรบ้าง ?
ตอบว่า ควรทราบความหมายโดยความหมายเฉพาะบทก่อน. ที่ชื่อ
ว่า สรณะ เพราะหมายความว่า เบียดเบียน อธิบายว่า ย่อมกำจัด คือ
ทำความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความทุกข์ กิเลสที่เป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 327
ของบุคคลผู้ถึงสรณะให้พินาศไปด้วยการถึงสรณะนั้นแล. คำว่า สรณะ
นั่นเป็นชื่อเรียกพระรัตนตรัย.
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า พุทธะ เพราะหมายความว่า ขจัดซึ่งภัย
ของสัตว์ทั้งหลายโดยทำสัตว์ทั้งหลายให้เป็นไปในประโยชน์เกื้อกูลและถอย
กลับจากสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล.
ที่ชื่อว่า ธรรม เพราะทำสัตว์ทั้งหลายให้ช่วยข้ามพ้นจากกันดาร
คือภพและเพราะให้ความเบาใจแก่สัตว์ทั้งหลาย ที่ชื่อว่า สงฆ์ เพราะ
ทำสักการะทั้งหลายแม้เป็นของน้อยค่าให้ได้รับผลอันไพบูลย์ เพราะฉะนั้น
พระรัตนตรัยจึงชื่อว่า สรณะ โดยบรรยายนี้ด้วย.
จิตตุปบาท (ความเกิดความคิดขึ้น) ที่มีกิเลสอันถูกขจัดแล้วด้วย
ความเป็นผู้เคารพเลื่อมใสในสรณะนั้น อันเป็นไปโดยอาการที่มีความ
เคารพเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนั้นเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า สรณคมน์.
สัตว์ผู้พรั่งพร้อมด้วยสรณคมน์นั้น ชื่อว่า ถึงสรณะ. อธิบายว่า
ย่อมเข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ เหล่านี้ว่าเป็นสรณะ (ที่ระลึก ที่พึ่ง) ว่าเป็น
ปรายนะ (เครื่องนำทาง) ด้วยจิตตุปบาทมีประการดังกล่าวแล้ว. นักศึกษา
พึงทราบ สรณะ การถึงสรณะ และผู้ถึงสรณะ ทั้ง ๓ อย่างนี้ก่อน.
ประเภทแห่งการถึงสรณะ
ส่วนในประเภทแห่งการถึงสรณะ (การถึงสรณะมีกี่ประเภท)
พึงทราบอธิบายต่อไป. การถึงสรณะมี ๒ คือ การถึงสรณะที่เป็น
โลกุตตระ ๑ การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะ ๑. ในสองอย่างนั้น การถึงสรณะ
ที่เป็นโลกุตตระของบุคคลผู้เห็นสัจจะแล้ว เมื่อว่าโดยอารมณ์ย่อมมีนิพพาน
เป็นอารมณ์ เมื่อว่าโดยกิจย่อมสำเร็จได้ในพระรัตนตรัยแม้ทั้งสิ้น เพราะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 328
ตัดขาดกิเลสที่เป็นเหตุขัดขวางการถึงสรณะได้ในขณะแห่งมรรค. (ส่วน)
การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะของปุถุชน เมื่อว่าโดยอารมณ์ ย่อมมีพระพุทธคุณ
เป็นต้นเป็นอารมณ์ สำเร็จได้ด้วยการข่มกิเลสที่เป็นเหตุขัดขวางการถึง
สรณะไว้ได้. การถึงสรณะนั้น เมื่อว่าโดยความหมาย ได้แก่ การได้
ศรัทธาในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น และสัมมาทิฏฐิที่มีศรัทธา
(ในพระรัตนตรัยนั้น) เป็นพื้นฐานท่านเรียกว่า ทิฏฐุชุกรรม (การ
ทำความเห็นให้ตรง ) ( ซึ่งอยู่ ) ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐.
การถึงสรณะแบบนี้นั้นมีอยู่ ๔ อย่างคือ (การถึง) ด้วยการมอบ
ตน ๑ ด้วยการมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง ๑ ด้วยการยอมเป็น
ศิษย์ ๑ ด้วยการถวายมือ ( การประนมมือทำความเคารพ) ๑.
ใน ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า การมอบตน ได้แก่ การยอมสละตน
แด่พระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ( ด้วยการกล่าว ) อย่างนี้ว่า
นับแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอมอบตนถวายแด่พระพุทธเจ้า แด่พระ
ธรรม และแด่พระสงฆ์.
ที่ชื่อว่า การมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง ได้แก่ การที่มี
พระรัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า (ด้วยการพูด) อย่างนี้ว่า นับตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าขอมีพระ
พุทธเจ้าเป็นผู้นำทาง ขอมีพระธรรมเป็นผู้นำทาง ขอมีพระสงฆ์เป็นผู้
นำทาง.
ที่ชื่อว่า การถวายมือ ได้แก่ การทำความนอบน้อมอย่างสูงใน
พระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ( ด้วยการพูด) อย่างนี้ว่า นับตั้งแต่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 329
วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าขอทำการ
กราบไหว้ การลุกรับ การประนมมือ การทำความนอบน้อมแด่พระ
รัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั่นแล.
ก็บุคคลเมื่อทำอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอาการทั้ง ๔
อย่างนี้ จัดว่าได้รับการถึงสรณะแล้วทีเดียว.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบการมอบคน ( ด้วยการพูด) แม้อย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้าขอสละตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม ( และ) แต่
พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอสละชีวิตแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม
(และ) แด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าสละคนแล้วทีเดียวแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
แด่พระธรรม ( และ) แด่พระสงฆ์ข้าพเจ้าสละชีวิตแล้วทีเดียวแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า แด่พระธรรม ( และ ) แด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า
(พระธรรมและพระสงฆ์) ว่าเป็นสรณะ โดยขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
ขอพระพุทธเจ้า ( พระธรรมและพระสงฆ์ ) จงเป็นที่ระลึกที่พึ่ง เป็นที่
อาศัย เป็นที่ต้านทานของข้าพเจ้า.
พึงเห็นการเข้าถึงความเป็นศิษย์ (การยอมตัวเป็นศิษย์ ) เหมือน
การเข้าถึงความเป็นศิษย์ในการถึงสรณะของพระมหากัสสปะ (ด้วยการ
พูด) แม้อย่างนี้ว่า ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระศาสดา พึงได้พบพระผู้มี-
พระภาคเจ้า ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระสุคต พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า
ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พึงทราบความที่มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง (เป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า) เหมือนการถึงสรณะของชนทั้งหลายมีอาฬวกยักษ์เป็นต้น
( ด้วยการพูด ) แม้อย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 330
ข้าพเจ้านั้นจักเที่ยวไปจากหมู่บ้าน (นี้) สู่หมู่บ้าน
(โน้น) จากเมือง (นี้ ) สู่เมือง (โน้น) (เพื่อ)
นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเป็นธรรม
ที่ดีแห่งพระธรรม (และความเป็นสงฆ์ที่ดีแห่งพระ-
สงฆ์).
พึงเห็นการพนมมือไหว้ แม้อย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อ
พรหมายุ ลุกขึ้นจากที่นั่งทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้วซบศีรษะลงแทบ
พระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า จูบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยปาก นวดเฟ้นด้วยฝ่ามือแล้วประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อ พรหมายุ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์
เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ.
ก็การพนมมือไหว้นั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ (ถวายมือ) เพราะเป็นญาติ
เพราะความกลัว เพราะเป็นอาจารย์ และเพราะเป็นทักขิไณยบุคคล.
บรรดาการพนมมือไหว้ ๔ อย่างนั้น การถึงสรณะมีได้ด้วยการพนมมือไหว้
เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ไม่ใช่เป็นด้วยเหตุ ๓ อย่างนอกจากนี้.
เพราะว่า สรณะอันบุคคลย่อมรับได้ด้วยบุคคลผู้ประเสริฐสุด จะ
หมดสภาพไป (กำหมด ) ด้วยอำนาจบุคคลผู้ประเสริฐสุดเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น บุคคลใดจะมีเชื้อสายเป็นศากยะหรือเป็นโกลิยะก็ตาม ถวาย
บังคม (พระพุทธเจ้า ) ด้วยสำคัญว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระญาติของเรา
ทั้งหลาย บุคคลนั้นยังไม่จัดว่าได้รับสรณะเลย. หรือว่าบุคคลใดถวาย
บังคมพระพุทธเจ้าด้วยความกลัวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้อันพระราชา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 331
บูชาแล้ว มีอานุภาพมาก เมื่อเราไม่ไหว้จะพึงทำความเสียหายให้แก่เรา
ได้ บุคคลนั้นก็ยังไม่จัดว่าได้รับสรณะเหมือนกัน. แม้บุคคลใคร่ระลึกถึง
คำสอนบางอย่างที่ได้เรียนในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อครั้งที่
พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ หรือในพุทธกาลได้เรียนคำสอนทำนอง
นี้ว่า
บุคคลควรใช้สอย เลี้ยงชีวิตด้วยทรัพย์ส่วนหนึ่ง
ลงทุนทำงานด้วยทรัพย์สองส่วน และส่วนที่สี่ควร
เก็บไว้ (เพราะมันจะอำนวยประโยชน์ได้) เมื่อคราว
มีความจำเป็นต้องใช้
(เกิดความเลื่อมใส) ถวายบังคมด้วยความรู้สึกว่า พระองค์เป็น
พระอาจารย์ของเรา บุคคลนั้นก็ชื่อว่ายังไม่ได้รับสรณะเหมือนกัน.
ส่วนบุคคลใดถวายบังคมด้วยความสำคัญว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็น
อัครทักขิไณยบุคคลในโลก บุคคลนั้นแลจัดว่าได้รับสรณะแล้ว. อุบาสก
หรืออุบาสิกาผู้ได้รับสรณะอย่างนี้แล้วจะไหว้ญาติแน้ที่บวชในสำนักอัญญ-
เดียรถีย์ด้วยความรู้สึกว่า ท่านผู้นี้เป็นญาติของเรา ดังนี้ การถึงสรณะ
ก็ยังไม่หมดสภาพไป (ไม่เสีย) จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลหรืออุบาสิกา
ผู้ไหว้ญาติที่ยังไม่บวชเล่า.
สำหรับอุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถวายบังคมพระราชาก็เหมือนกัน คือ
ถวายบังคมด้วยอำนาจความกลัวว่า พระราชาพระองค์นั้นเพราะเป็นผู้ที่
ชาวแว่นแคว้นบูชากันแล้ว เมื่อเราไม่ถวายบังคมก็จะทรงทำความเสียหาย
ให้แก่เราไค้ ดังนี้ การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป (ยังไม่เสีย ) เหมือน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 332
เมื่อบุคคลแม้ไหว้เดียรถีย์ ผู้ให้การศึกษาศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยคิดว่า
ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา การถึงสรณะ ก็ยังไม่หมดสภาพไป ฉะนั้น
นักศึกษาพึงทราบประเภทแห่งการถึงสรณะอย่างนี้แล.
ก็การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระในที่นี้ มีสามัญญผล ๔ เป็นวิบากผล
มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งมวลเป็นอานิสงสผล. สมด้วยพระดำรัสที่พระ
พุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
ก็บุคลใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
ว่าเป็นสรณะ (ที่ระลึก ที่พึ่ง) บุคคลนั้นย่อมเห็น
อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือ ย่อมเห็นทุกข์
เหตุเกิดของทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรค
มีองค์ ๘ ซึ่งเป็นทางให้เข้าถึงความดับทุกข์ สรณะ
(ที่ระลึก ที่พึ่ง) อย่างนั้นแลจังจะเป็นสรณะอันเกษม
เป็นสรณะอันสูงสุด เพราะอาศัยสรณะนั่น บุคคล
จึงหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอานิสงสผลของการถึงสรณะนั่นแม้ด้วย
อำนาจแห่งเหตุมีการไม่เข้าไปยึดถือ โดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น .
สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส (เป็นไปไม่ได้เลย )
ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงเข้าไปยึดถือสังขารอะไร ๆ ว่า เที่ยง
ว่า เป็นสุข จะพึงเข้าไปยึดถือธรรมอะไร ๆ ว่า เป็นอัตตา จะพึงปลง
ชีวิตมารดา จะพึงปลงชีวิตบิดา จะพึงปลงชีวิตพระอรหันต์ จะพึงเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 333
ผู้มีจิตชั่วร้ายยังโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ จะพึงทำลายสงฆ์ จะพึงอ้าง
ศาสดาอื่น ฐานะอย่างนี้จะมีไม่ได้.
ส่วนการถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมมีภพสมบัติและโภคสมบัติเป็นผล
เหมือนกัน. สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
บุคคลที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะจักไม่ไปสู่อบาย-
ภูมิ ครั้นละร่างกายที่เป็นมนุษย์แล้ว จักยังกายทิพย์
ให้บริบูรณ์ ( เกิดในหมู่เทพ).
แม้เรื่องอื่นท่านก็กล่าวไว้. ( คือ) คราวครั้งนั้นแล ห้าวสักกะ
จอมเทพพร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นได้เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ.
พระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ประทับยืนอยู่ ณ
ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า ขอถวายพระพรพระองค์ผู้จอมเทพ การ
ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เป็นการดีแท้ เพราะการถึงพระพุทธเจ้าว่า
เป็นสรณะ เป็นเหตุแล สัตว์บางพวกในโลกนี้ตายแล้ว จึงได้ไปเกิดใน
สุคติโลกสวรรค์อย่างนี้ สัตว์เหล่านั้น ( เกิดเป็นเทวดาแล้ว ) ย่อมเด่น
ล้ำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ คือ ด้วยอายุอันเป็นทิพย์ วรรณะอัน
เป็นทิพย์ สุขอันเป็นทิพย์ ยศอันเป็นทิพย์ ความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์
รูปอันเป็นทิพย์ เสียงอันเป็นทิพย์ กลิ่นอันเป็นทิพย์ รสอันเป็นทิพย์
โผฏฐัพพะอันเป็นทิพย์. ใน ( การถึง) พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ก็นัยนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผลอันสำคัญของการถึงสรณะแม้
ด้วยอำนาจแห่งสูตรมีเวลามสูตรเป็นต้น . พึงทราบผลแห่งการถึงสรณะ
อย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 334
ในการถึงสรณะ ๒ อย่างนั้น การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมเศร้า.
หมองด้วยเหตุทั้งหลายมีความไม่รู้ ความสงสัย และความรู้ ( ความเข้าใจ)
ผิดเป็นต้นในพระรัตนตรัย เป็นการถึงสรณะที่ไม่มีความรุ่งเรื่องมาก
ไม่กว้างไกลมาก. (ส่วน) การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้า-
หมอง.
การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะมีการหมดสภาพอยู่ ๒ อย่างคือ การหมด
สภาพ (เภโท) แบบมีโทษ ๑ การหมดสภาพแบบไม่มีโทษ ๑. ในการ
หมดสภาพทั้งสองนั้น การหมดสภาพแบบมีโทษย่อมมีด้วยเหตุทั้งหลาย
มีการมอบตนในศาสดาอื่นเป็นต้น การหมดสภาพแบบนั้นมีผลไม่น่า
ปรารถนา. การหมดสภาพแบบไม่มีโทษในเพราะการทำกาลกิริยา การ
หมดสภาพแบบนั้นไม่มีผลเพราะไม่มีวิบาก. แต่การถึงสรณะแบบโลกุตตระ
ไม่มีการหมดสภาพเลย. จริงอยู่ พระอริยสาวก (คายแล้วไปเกิด )
แม้ในภพอื่นก็จะไม่ยอมยกย่องคนอื่นว่าเป็นศาสดา ( แทนพระพุทธเจ้า).
พึงทราบความเศร้าหมอง และการหมดสภาพของการถึงสรณะดังพรรณนา
นาฉะนี้.
อุบาสก
บทว่า อุปาสก ม ภว โคตโม ธาเรตุ ความว่า ขอพระโคดม
ผู้เจริญจงจำ อธิบายว่า จงรู้จักข้าพเจ้าอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นอุบาสก.
ก็ในที่นี้เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในวิธีแสดงตนเป็นอุบาสกจึงควรทราบ
ข้อปลีกย่อยนี้ว่า อุบาสกคือใคร ? เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า อุบาสก ?
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 335
อุบาสกนั้นมีศีลเป็นอย่างไร ? มีอาชีพเป็นอย่างไร ? มีวิบัติเป็น
อย่างไร ? มีสมบัติเป็นอย่างไร ?
ในข้อปลีกย่อยเหล่านั้น ที่ว่า อุบาสกคืออะไร ? ได้แก่ คฤหัสถ์
คนใดคนหนึ่งผู้ถึงไตรสรณะ. สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
ดังนี้ว่า ดูก่อนมหานาม เมื่อใดแลอุบาสกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
(และ) พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ดูก่อนมหานาม บุคคลย่อมเป็นอุบาสก
ด้วยอาการเท่านี้แล.
ที่ว่า เพราะเหตุไร จึงเรียกว่า อุบาสก ? ได้แก่ เพราะเข้า
ไปนั่งใกล้พระรัตนตรัย. จริงอยู่บุคคลนั้น ชื่อว่า อุบาสก เพราะเข้าไป
นั่งใกล้พระพุทธเจ้า พระธรรม ( และ ) พระสงฆ์.
ที่ว่า อุบาสกนั้นมีศีลเป็นอย่างไร ? ได้แก่ เจตนาเป็นเครื่อง
งดเว้น ๕ อย่าง. สมจริงดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนมหานาม
เมื่อใดแล อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาท จากอทินนาทาน จาก
กาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท ( และ ) จากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท คือน้ำเมา อันได้แก่สุราและเมรัย ดูก่อนมหานาม อุบาสก
ย่อมเป็นผู้มีศีลด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล.
ที่ว่า มีอาชีพเป็นอย่างไร ? ได้แก่ การละการค้าขายผิด ๕ อย่าง
แล้วเลี้ยงชีวิตโดยชอบธรรม สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างเหล่านี้ อันอุบาสกไม่ควร
ทำ ๕ อย่างมีอะไรบ้าง คือ การค้าขายศัสตราวุธ ๑ การค้าขายสัตว์ ๑
การค้าขายเนื้อ ๑ การค้าขายน้ำเมา ๑ การค้าขายยาพิษ ๑ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย การค้าขาย ๕ อย่างนี้แล อุบาสกไม่ควรทำ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 336
ที่ว่า มีวิบัติเป็นอย่างไร ? ได้แก่ ความวิบัติแห่งศีลและอาชีวะ
ของอุบาสกนั้นนั่นแลอันใด อันนี้เป็นความวิบัติของอุบาสกนั้น. อีกอย่าง
หนึ่ง อุบาสกนั้นเป็นคนจัณฑาลและเศร้าหมองด้วยมลทินต่าง ๆ ด้วย
วิบัติอันใด แม้วิบัตินั้นก็พึงทราบว่า เป็นวิบัติของอุบาสกนั้น ๆ. และ
ความเป็นคนจัณฑาลนั้น เมื่อว่าโดยความหมาย ก็ได้แก่ธรรม ๕
ประการมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น. เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าตรัส
ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างย่อมเป็น
อุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกมีมลทิน เป็นอุบาสกมีความเศร้าหมองและ
เป็นอุบาสกต่ำช้า. ธรรม ๕ ประการอะไรบ้าง (คือ) เป็นผู้ไม่มีศรัทธา
(ในพระรัตนตรัย) ๑ เป็นคนทุศีล ๑ เป็นคนถือมงคลตื่นข่าว คือ
เชื่อมงคล ( ฤกษ์, ยาม ) ไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาทักขิไณยบุคคล
นอกจากศาสนานี้ (พุทธศาสนา ) ๑ บำเพ็ญกุศลในศาสนานั้น ๑.
ที่ว่า มีสมบัติเป็นอย่างไร ? ได้แก่ ความถึงพร้อมด้วยศีลและ
ความถึงพร้อมด้วยอาชีวะของอุบาสกนั้นชื่อว่า สมบัติ. อนึ่ง ธรรม ๕
ประการมีศรัทธาในพระรัตนตรัยเป็นต้นของอุบาสกนั้นเหล่าใด ธรรม
๕ ประการเหล่านั้นชื่อว่า สมบัติ. เหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ อย่างย่อมเป็นอุบาสก
แก้ว เป็นอุบาสกดอกปทุม และเป็นอุบาสกดอกบุณฑริก. ธรรม ๕ อย่าง
มีอะไรบ้าง ( คือ ) เป็นผู้มีศรัทธา ( ในพระรัตนตรัย ) ๑ เป็นผู้มีศีล ๑
เป็นคนไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือ เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหา
ทักขิไณยบุคคลนอกพุทธศาสนานี้ ๑ บำเพ็ญกุศลในพุทธศาสนานี้ ๑.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 337
ความหมายของ "อัคคะ" ศัพท์
อัคคะ ศัพท์นี้ในคำว่า อชฺชตคฺเค นี้ ย่อมใช้ในอรรถว่า เบื้องต้น
(อาทิ) เบื้องปลาย (โกฏิ) ส่วน (โกฏฺาส) และประเสริฐที่สุด
(เสฏฺ) ก็อัคคะ ศัพท์ใช้ในอรรถว่า
- เบื้องต้น ( เช่น ) ในประโยคเป็นต้นว่า แน่ะนายประตูเพื่อนรัก
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปข้าพเจ้าขอปิดประตูสำหรับพวกนิครนถ์.
- เบื้องปลาย ( เช่น ) ในประโยคเป็นต้นว่า บุคคลพึงลูบคลำ
ยอดอ้อย ยอดไผ่ ด้วยปลายนิ้วมือนั้นแล.
- ส่วน (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราตถาคตอนุญาตให้แบ่งจากส่วนสิ่งของที่มีรสเปรี้ยว ที่มีรสหวาน หรือ
ส่วนสิ่งของที่มีรสขมตามส่วนวิหารหรือตามส่วนบริเวณ.
- ประเสริฐที่สุด (เช่น) ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายจำนวนเท่าใดที่ไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ พระตถาคต
บัณฑิตกล่าวว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดของสัตว์เหล่านั้น.
- แต่ในที่นี้ อัคคะ ศัพท์นี้พึงเห็นว่า ลงในอรรถว่า เบื้องต้น.
เพราะฉะนั้น ในคำว่า อชฺชตคฺเค นี้ พึงเห็นความหมายอย่างนี้ว่า เริ่ม
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
- บทว่า อชฺชต ได้แก่ อชฺชภาว (แปลว่า ความในวันนี้).
บาลีว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้ก็มี. ท อักษร (เป็นอาคม) ทำหน้าที่เชื่อม
บท ( ระหว่าง อชฺช กับ อคฺเค ). แปลว่า เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้.
- บทว่า ปาณุเปต แปลว่า เข้าถึงด้วยชีวิต. อธิบายว่า ขอพระโคดม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 338
ผู้เจริญจงทรงจำ คือจงทรงทราบข้าพระองค์ไว้ว่าเป็นอุบาสก คือ ไวยาจักร
(ผู้รับใช้พระ) ถึงสรณะด้วยไตรสรณคมน์แบบไม่มีศาสดาอื่น (นอก
จากพระโคดม) ตลอดเวลาที่ชีวิตของข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่ เพราะ
ว่าข้าพระองค์ ถ้าแม้นใคร ๆ จะพึงใช้มีดคมตัดศีรษะของข้าพเจ้าไซร้ ก็จะ
ไม่ขอกล่าวพระพุทธเจ้าว่า ไม่ใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมว่าไม่ใช่พระธรรม
(และ) พระสงฆ์ว่าไม่ใช่พระสงฆ์. พราหมณ์ครั้นถึงสรณะด้วยการ
มอบตนอย่างนี้แล้ว และปวารณาด้วยปัจจัย ๔ ลุกขึ้นจากที่นั่งถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเดินเวียนขวา ( รอบพระผู้มีพระภาคเจ้า )
๓ รอบแล้วหลีกไปแล.
จบ อรรถกถาภยเภรวสูตร.
จบ สูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 339
๕. อนังคณสูตร
[๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ท่านพระ
สารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำ
ท่านพระสารีบุตรแล้ว.
บุคคล ๔ จำพวก
[๕๔] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า คุณครับ บุคคล ๔ จำพวก
เหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก.
๔ จำพวกนั้นเป็นไฉน ?
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลลางคนในโลกนี้ มีอังคณกิเลส
แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน ๑ บุคคลลางคนในโลก
นี้มีอังคณกิเลส ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน ๑ บุคคล
ลางคนในโลกนี้ ไม่มีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณ-
กิเลสในภายใน ๑ บุคคลลางคนในโลกนี้ ไม่มีอังคณกิเลส ก็รู้ตามเป็น
จริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน ๑.
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดมีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็น
จริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน บุคคล ๒ จำพวกที่มีอังคณกิเลส
เหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม. ในบุคคล
๔ จำพวกนั้น บุคคลใดมีอังคณกิเลส รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 340
กิเลสในภายใน บุคคล ๒ จำพวกที่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้ บุคคลนี้
บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ.
ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดไม่มีอังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็น
จริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน บุคคล ๒ จำพวกที่ไม่มีอังคณกิเลส
เหมือนกันนี้ บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม. ในบุคคล
๔ จำพวกนั้น บุคคลใดไม่มีอังคณกิเลสเลย รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มี
อังคณกิเลสในภายใน บุคคล ๒ จำพวกที่ไม่มีอังคณกิเลสเหมือนกันนี้
บุคคลนี้ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ.
ความต่างระหว่างคน ๔ จำพวก
[ ๕๕ ] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหา-
โมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้กะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตรขอรับ
เหตุอะไรหนอ ? ปัจจัยอะไรหนอ ? ที่เป็นเหตุทำให้บุคคล ๒ จำพวกที่มี
อังคณกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม
คนหนึ่งบัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ. ดูก่อนท่านพระสารีบุตร เหตุ
อะไรหนอ ? ปัจจัยอะไรหนอ ? ที่เป็นเหตุทำให้บุคคล ๒ จำพวกที่ไม่มี
อังคณกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม
คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ.
บุคคลจำพวกที่ ๑
สา. ท่านครับ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดมีอังคณกิเลส
แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่บุคคลนั้น
พึงหวังได้ คือ เขาจักไม่ยังความพอใจให้เกิด จักไม่พยายาม จักไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 341
ปรารภความเพียร เพื่อละอังคณกิเลสนั้นเสีย เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ
โมหะ มีกิเลส มีจิตเศร้าหมอง ทำกาละ. เหมือนถาดทองสัมฤทธิ์ที่บุคคลนำ
มาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง อันละอองและสนิมจับอยู่โดยรอบ.
เจ้าของก็ไม่ใช้และไม่ขัดสีถาดทองสัมฤทธิ์นั้น ซ้ำเก็บไว้ในที่มีละออง เมื่อ
เป็นอย่างนี้ สมัยอื่น ถาดทองสัมฤทธิ์นั้น จะพึงเป็นของเศร้าหมอง สนิม
จับยิงขึ้น ฉันใด.
ม. อย่างนั้นหรือ ท่านขอรับ ?
สา. อย่างนั้นแหละ ท่านครับ บุคคลนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังมี
อังคณกิเลสอยู่ แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เรายังมีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่
บุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่ยังความพอใจให้เกิด จักไม่พยายาม จัก
ไม่ปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ
โมหะ มีอังคณกิเลส มีจิตเศร้าหมอง ทำกาละ.
บุคคลจำพวกที่ ๒
สา. ท่านครับ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดยังมีอังคณกิเลสอยู่
ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เรายังมีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่บุคคลนั้นพึง
หวังได้ คือ เขาจักยังความพอใจให้เกิด จักพยายาม จักปรารภความเพียร
เพื่อละกิเลสนั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มีกิเลส
มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ. เปรียบเหมือนถาดทองสัมฤทธิ์ที่บุคคลนำ
มาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง อันละอองและสนิมจับอยู่โดยรอบ
เจ้าของใช้ ขัดสีภาชนะสัมฤทธิ์นั้น และไม่เก็บไว้ในที่มีละออง เมื่อเป็น
เช่นนี้ สมัยอื่น ภาชนะสัมฤทธิ์ จะเป็นของหมดจดผ่องใส ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 342
ม. อย่างนั้นหรือ ท่านขอรับ ?
สา. อย่างนั้นแหละ ท่านครับ บุคคลนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ยังมีอังคณกิเลสอยู่ ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เรามีอังคณกิเลสในภายใน ข้อนี้
อันบุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักยังความพอใจให้เกิด จักพยายาม
จักปรารภความเพียร เพื่อละกิเลสนั้นเสีย. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ
โมหะ ไม่มีกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ.
บุคคลจำพวกที่ ๓
สา. ท่านครับ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใด ไม่มี
อังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน
ข้อที่บุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักมนสิการสุภนิมิต. เพราะมนสิการสุภ-
นิมิตนั้น ราคะจักครอบงำจิต (เขา). เขาจักเป็นผู้ยังมีราคะ โทสะ
โมหะ ยังมีอังคณกิเลส ยังมีจิตเศร้าหมอง ทำกาละ. เปรียบเหมือน
ถาดทองสัมฤทธิ์ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง เป็น
ของสะอาดหมดจด แต่เจ้าของไม่ใช้และไม่ขัดถาดนั้น ซ้ำเก็บไว้ในที่ที่มี
ละออง เมื่อเป็นเช่นนี้ สมัยอื่น ถาดทองสัมฤทธิ์นั้น จะพึงเป็นของ
เศร้าหมอง สนิมจับ ฉันใด.
ม. อย่างนั้นหรือ ท่านขอรับ ?
สา. อย่างนั้นแหละ ท่านครับ บุคคลนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มี
อังคณกิเลส แต่ไม่รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่
บุคคลนั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักมนสิการสุภนิมิต เพราะมนสิการสุภนิมิต
นั้น ราคะจักครอบงำจิต ( เขา). เขาจักเป็นผู้มีราคะ โทสะ โมหะ มี
อังคณกิเลส ยังมีจิตเศร้าหมอง ทำกาละ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 343
บุคคลจำพวกที่ ๔
สา. ท่านครับ ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดไม่มีอังคณ-
กิเลส ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่บุคคลนั้น
พึงหวังได้ คือ เขาจัก (ไม่ ) มนสิการสุภนิมิต เพราะ (ไม่ ) มนสิการ
สุภนิมิตนั้น ราคะจักไม่ครอบงำ. จิตเขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะโทสะ โมหะ ไม่มี
อังคณกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ. เปรียบเหมือนถาดทองสัมฤทธิ์ที่
บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง เป็นของสะอาดหมดจด เจ้า
ของใช้ขัดสีถาดทองสัมฤทธิ์นั้น และไม่เก็บมันไว้ในที่มีละออง เมื่อเป็นเช่น
นี้สมัยอื่น ถาดทองสัมฤทธิ์นั้น ก็พึงเป็นของสะอาดหมดจดยิ่งขึ้น ฉันใด.
ม. อย่างนั้นหรือ ท่านขอรับ ?
สา. อย่างนั้นแหละ ท่านครับ บุคคลนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่มี
อังคณกิเลส ก็รู้ตามเป็นจริงว่า เราไม่มีอังคณกิเลสในภายใน ข้อที่บุคคล
นั้นพึงหวังได้ คือ เขาจักไม่มนสิการสุภนิมิต เพราะไม่มนสิการสุภนิมิต
นั้น ราคะจักครอบงำจิตไม่ได้. เขาจักเป็นผู้ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ ไม่มี
อังคณกิเลส มีจิตไม่เศร้าหมอง ทำกาละ.
ท่านโมคคัลลานะ เหตุนี้แล ปัจจัยนี้แล ที่เป็นเหตุทำให้บุคคล
๒ จำพวกที่มีกิเลสเหมือนกันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลว
ทราม คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ. อนึ่ง เหตุนี้แล
ปัจจัยนี้แล ที่เป็นเหตุทำให้บุคคล ๒ จำพวกที่ไม่มีอังคณกิเลสเหมือน
กันนี้ คนหนึ่ง บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษเลวทราม คนหนึ่ง บัณฑิต
กล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 344
ความหมายของอังคณกิเลส
[๕๖] ม. ท่านขอรับ คำที่ท่านกล่าวว่า อังคณะ ๆ ดังนี้ คำนั้น
เป็นชื่อของอะไรหนอ ?
สา. ท่านครับ คำว่า อังคณะนี้ เป็นชื่อของอิจฉาวจรที่เป็น
บาปอกุศล.
อังคณกิเลสที่ ๑
[๕๗] ท่านขอรับ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนา
อย่างนี้ว่า เราพึงเป็นผู้ต้องอาบัติหนอ แต่ภิกษุทั้งหลาย อย่าพึงรู้เราว่า
ต้องเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุทั้งหลายพึงรู้ภิกษุนั้นว่า ต้อง
อาบัติ เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุทั้งหลายรู้เราว่าต้อง
อาบัติ นี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒
นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๒
[๕๘] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า เราพึงเป็นผู้ต้องอาบัติหนอ ภิกษุทั้งหลายพึงโจทเรา
ในที่ลับ ไม่พึงโจทเราในท่ามกลางสงฆ์ นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุ
ทั้งหลายพึงโจทภิกษุนั้นในท่ามกลางสงฆ์ไม่โจทในที่ลับ เธอก็จะโกรธ ไม่
แช่มชื่น เพราะคิดว่าภิกษุทั้งหลายโจทเราในท่ามกลางสงฆ์ ไม่โจทในที่ลับ
นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ความโกรธและควานไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่า
อังคณะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 345
อังคณะกิเลสที่ ๓
[ ๕๙ ] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า เราพึงเป็นผู้ต้องอาบัติหนอ บุคคลที่เสมอกันพึง
โจทเรา บุคคลที่ไม่เสมอกันไม่พึงโจทเรา นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. บุคคล
ที่ไม่เสนอกันพึงโจทภิกษุนั้น บุคคลที่เสมอกันไม่พึงโจทภิกษุนั้น นี้เป็น
ฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า บุคคลที่ไม่เสมอ
กันโจทเราไม่ใช่ผู้เสมอกันโจท. ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒
นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๔
[๖๐] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ พระศาสดาพึงทรงซักถาม สอบถาม
เราเท่านั้น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงทรงซักถาม
สอบถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเลย นี้เป็นฐานะ
ที่จะมีได้. พระศาสดาพึงทรงซักถาม สอบถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดง
ธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย หาทรงซักถาม สอบถามภิกษุนั้น แล้วทรงแสดง
ธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายไม่ นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธ ไม่แช่มชื่น
เพราะคิดว่า พระศาสดาทรงซักถาม สอบถามภิกษุอื่น แล้วทรงแสดงธรรม
แก่ภิกษุทั้งหลาย หาทรงซักถาม สอบถามเรา แล้วทรงแสดงธรรมแก่
ภิกษุทั้งหลายไม่. ความโกรธและความไม่แช่มชื่นทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 346
อังคณะกิเลสที่ ๕
[ ๖๑ ] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ ภิกษุทั้งหลายพึงแวดล้อมเราเท่านั้น
เข้าบ้าน เพื่อภัตตาหาร อย่าแวดล้อมภิกษุอื่นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหารเลย
นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุทั้งหลาย พึงแวดล้อมภิกษุอื่นเข้าบ้าน เพื่อ
ภัตตาหาร ไม่พึงแวดล้อมภิกษุนั้นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหาร นี้เป็นฐานะ
ที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุทั้งหลายแวดล้อม
ภิกษุอื่นเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหาร หาแวดล้อมเราเข้าบ้าน เพื่อภัตตาหาร
ไม่ ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๖
[ ๖๒ ] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรได้อาสนะอันเลิศ น้ำ
อันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉัน ภิกษุอื่นไม่ควรได้อาสนะอันเลิศ
น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉันเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุ
อื่นพึงได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ โนโรงฉัน ภิกษุ
นั้นไม่ได้อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉัน
นี้เป็นสานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้
อาสนะอันเลิศ น้ำอันเลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉัน เราไม่ได้
อาสนะอัน เลิศ บิณฑบาตอันเลิศ ในโรงฉัน ความโกรธและความไม่
แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 347
อังคณกิเลสที่ ๗
[ ๖๓ ] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรฉันในโรงฉันแล้ว
อนุโมทนา ภิกษุอื่นควรฉันโนโรงฉันแล้วไม่ต้องอนุโมทนา นี้เป็นฐานะ
ที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงฉันในโรงฉันแล้วอนุโมทนา ภิกษุนั้นฉันในโรงฉัน
แล้วไม่ต้องอนุโมทนา นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น
เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นฉันในโรงฉันแล้วอนุโมทนา เราฉันในโรงฉันแล้ว
ไม่ได้อนุโมทนา ความโกรธเ เละความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๘
[๖๔] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุอื่นไม่ควรแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึง
อารามเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้
ไปถึงอาราม ภิกษุนั้นไม่ต้องแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม
นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นแสดง
ธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม เราไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ไปถึงอาราม ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๙
[๖๕] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 348
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรแสดงธรรมแก่ภิกษุณี
ทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุอื่นไม่ควรแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไป
ถึงอารามเลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงแสดงธรรมแก่ภิกษุณี
ทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุนั้นไม่ต้องแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไป
ถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า
ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม เราไม่ได้แสดงธรรม
แก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒
นี้ ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๐
ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม
ภิกษุอื่นไม่ควรแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะ
ที่จะมีได้. ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุ
นั้นไม่ต้องแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะ
มีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่
อุบาสกทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม เราไม่ได้แสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลายผู้
ไปถึงอาราม ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๑
ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ ถ้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 349
กระไรหนอ เราเท่านั้นควรแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม
ภิกษุอื่นไม่ควรแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่
จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม ภิกษุนั้น
ไม่ต้องแสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม นี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นแสดงธรรมแก่อุบาสิกา
ทั้งหลายผู้ไปถึงอาราม เราไม่ได้แสดงธรรมแก่อุบาสิกาทั้งหลายผู้ไปถึง
อาราม ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ ชื่อว่าอังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๒
[๖๖] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ ภิกษุทั้งหลายควรสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น นี้
เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุทั้งหลาย สักการะ เคารพ นับถือบูชาภิกษุอื่น
ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอ
ก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุทั้งหลายสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ความโกรธ
และความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๓
[๖๗] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ ภิกษุณีทั้งหลายควรสักการะ เคารพ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 350
นับถือ บูชาเราเท่านั้น ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น
เลย นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุณีทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ
บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น นี้เป็นฐานะ
ที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุณีทั้งหลาย
สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ
บูชาเรา ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๔
ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
ถ้ากระไร อุบาสกทั้งหลายควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเราเท่านั้น
ไม่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
อุบาสกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ
เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่
แช่มชื่น เพราะคิดว่า อุบาสกทั้งหลายสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ความโกรธและความ
ไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๕
ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
ถ้ากระไรหนอ อุบาสิกาทั้งหลายควรสักการะ. เคารพ นับถือ บูชาเรา
เท่านั้น ไม่ต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น นี้เป็นฐานะที่จะ
มีได้ อุบาสิกาทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่
สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 351
ก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า อุบาสิกาทั้งหลายสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาภิกษุอื่น ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ความโกรธ
และความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๖
[๖๘] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิด
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรได้จีวรที่ประณีต
ภิกษุอื่นไม่ควรได้จีวรที่ประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงได้จีวร
ที่ประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้จีวรที่ประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็
จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้จีวรที่ประณีต เราไม่ได้
จีวรที่ประณีต ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๗
[๖๙] ท่านครับ ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความ
ปรารถนาอย่างนี้ว่า ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรได้บิณฑบาตอันประณีต
ภิกษุอื่นไม่ควรได้บิณฑบาตอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่น
พึงได้บิณฑบาตอันประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้บิณฑบาตอันประณีต นี้
เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่น
ได้บิณฑบาตอันประณีต เราไม่ได้บิณฑบาตอันประณีต ความโกรธและ
ความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๘
ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 352
ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรได้เสนาสนะอันประณีต ภิกษุอื่นไม่ควรได้
เสนาสนะอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ภิกษุอื่นพึงได้เสนาสนะอัน
ประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้เสนาสนะอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอ
ก็จะโกรธไม่แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้เสนาสนะอันประณีต เรา
ไม่ได้เสนาสนะอันประณีต ความโกรธและความไม่แช่มชื่น ทั้ง ๒ นี้
ชื่อว่า อังคณะ.
อังคณกิเลสที่ ๑๙
ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า
ถ้ากระไรหนอ เราเท่านั้นควรได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุ
อื่นไม่ควรได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
ภิกษุอื่นพึงได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ภิกษุนั้นไม่ได้คิลาน-
ปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต นี้เป็นฐานะที่จะมีได้. เธอก็จะโกรธไม่
แช่มชื่น เพราะคิดว่า ภิกษุอื่นได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต
เราไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันประณีต ความโกรธและความไม่แช่ม
ชื่น ทั้ง ๒ นี้ชื่อว่า อังคณะ.
อิจฉาวจรอกุศลที่ยังละไม่ได้
[๗๐] ท่านครับ อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ภิกษุรูปใด
รูปหนึ่งยังละไม่ได้แล้ว ชนทั้งหลายยังเห็นอยู่ ยังได้ยินอยู่. แม้เธอจะอยู่
ในป่ามีเสนาสนะอันสงัด ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 353
ตรอก ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ครองจีวรเศร้าหมองอยู่ ถึงอย่างนั้น เพื่อน
พรหมจรรย์ทั้งหลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น. ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร ? เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น. อันท่าน
ผู้มีอายุนั้นยงละไม่ได้ ชนทั้งหลายยังเห็นอยู่ และยังได้ยินอยู่. เปรียบ
เหมือนถาดทองสัมฤทธิ์ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง
เป็นของสะอาดหมดจด. เจ้าของเอาซากศพงู ซากศพสุนัข หรือซากศพ
มนุษย์วางลงในถาดทองสัมฤทธิ์นั้น ปิดด้วยถาดทองสัมฤทธิ์ใบอื่น แล้ว
เดินไปร้านตลาด. ชนเห็นถาดทองสัมฤทธิ์นั้นแล้ว จะต้องพูดว่า พ่อคุณ
สิ่งที่ท่านนำไปนี้คืออะไร ? น่ารู้น่าสนใจ. เขาพึงลุกขึ้นเปิดถาดทองสัมฤทธิ์
นั้นดู พร้อมกับการเห็นซากศพนั้น ก็เกิดความไม่พอใจ ความเกลียดชัง
แม้คนที่หิวก็ไม่ปรารถนาจะบริโภค ไม่ต้องกล่าวถึงคนที่บริโภคอิ่มแล้ว
ฉันใด.
อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ ก็ฉันนั้น ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ยังละไม่ได้แล้ว อันชนทั้งหลายยังเห็น ยังได้ยินอยู่ แม้เธอจะอยู่ในป่า
มีเสนาสนะอันสงัด ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก
ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ครองจีวรเศร้าหมอง ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหม-
จรรย์ทั้งหลายก็ไม่สักการะ เคารพ นับถือบูชาภิกษุนั้น ข้อนั้น เพราะ
เหตุอะไร ? เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ท่านผู้มีอายุนั้นยัง
ละไม่ได้ อันชนทั้งหลายยังเห็นอยู่ ยังได้ยินอยู่.
อิจฉาวจรอกุศลที่ละได้แล้ว
[๗๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ อัน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 354
ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละได้แล้ว ชนทั้งหลายยังเห็นอยู่ ยังได้ยินอยู่. แม้เธอ
จะอยู่ในเสนาสนะท้ายบ้าน รับนิมนต์ ครองคฤหบดีจีวร ถึงอย่างนั้น
เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น.
ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร ? เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น อัน
ท่านผู้มีอายุนั้นละได้แล้ว ชนทั้งหลายยังเห็น และยังได้ยินอยู่ เปรียบ
เหมือนภาชนะสัมฤทธิ์ที่บุคคลนำมาแต่ร้านตลาด หรือแต่สกุลช่างทอง
เป็นของสะอาดหมดจด เจ้าของเอาข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่เลือกเอาของดำออก
แล้ว เอาแกงและกับหลายอย่างวางลงในถาดทองสัมฤทธิ์นั้น ปิดด้วยถาด
ทองสัมฤทธิ์อื่น แล้วเดินไปยังร้านตลาด. ชนเห็นถาดทองสัมฤทธิ์นั้นแล้ว
จะต้องพูดอย่างนี้ว่า พ่อคุณ สิ่งที่ท่านนำไปนี้คืออะไร น่ารู้ น่าสนใจ
เขาพึงลุกขึ้นเปิดถาดทองสัมฤทธิ์นั้นดู พร้อมกับการเห็นข้าวสุกแห่งข้าว
สาลีขาวสะอาดมีแกงและกับหลายอย่างนั้น ก็เกิดความพอใจ ไม่เกลียดชัง
แม้คนที่บริโภคอิ่มแล้ว ก็ยังปรารถนาจะบริโภค ไม่ต้องกล่าวถึงคนที่หิว
ฉันใด.
อิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านี้ ก็ฉันนั้น ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละ
ได้แล้ว อันชนทั้งหลายยังเห็นอยู่ และยังได้ยินอยู่. แม้เธอจะอยู่ใน
เสนาสนะท้ายบ้านเป็นปกติ รับนิมนต์ ครองคฤหบดีจีวร ถึงอย่างนั้น เพื่อน
พรหมจรรย์ทั้งหลายก็ยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น. ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร ? เพราะอิจฉาวจรที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้น ท่านผู้มีอายุ
นั้นละได้แล้ว อันชนทั้งหลายยังเห็น และยังได้ยินอยู่.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 355
อุปมาด้วยช่างทำรถ
[๗๒] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหา-
โมคคัลลานะได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านพระสารีบุตรขอรับ
อุปมาย่อมแจ่มแจ้งแก่กระผม ท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวว่า ท่านพระ
มหาโมคคัลลานะ อุปมาจงแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด.
ม. ท่านขอรับ สมัยกาลครั้งหนึ่ง กระผมอยู่ ณ กรุงราชคฤห์
อันเป็นคอกเขา๑. ครั้งนั้น เวลาเช้า กระผมนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร
เข้าไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต. ก็สมัยนั้น บุตรนายช่างทำรถชื่อ
สมีติ ถากกงรถอยู่ อาชีวกชื่อปัณฑุบุตร เป็นบุตรช่างทำรถเก่าเข้าไป
ยืนอยู่ใกล้นายสมีตินั้น ครั้งนั้น อาชีวกปัณฑุบุตร บุตรช่างทำรถเก่า
เกิดความดำริในใจอย่างนี้ว่า กระไรหนอ บุตรช่างทำรถนี้ พึงถากส่วน
โค้ง ส่วนคด กะพี้ และปมตรงนี้แห่งกงนี้ออกเสีย. เมื่อเป็นเช่นนี้ กง
นี้ก็จะสิ้นโค้ง สิ้นคด สิ้นกะพี้และปม พึงเหลือแก่นล้วน ๆ. อาชีวก-
ปัณฑุบุตร บุตรช่างทำรถเก่า มีความดำริในใจ ฉันใด ๆ นายสมีติ
บุตรช่างทำรถก็ถากส่วนที่โค้ง ที่คด กะพี้ และปมแห่งกงนั้น ฉันนั้น ๆ.
ครั้งนั้น อาชีวกปัณฑุบุตร บุตรช่างทำรถเก่า ดีใจ เปล่งวาจาแสดง
ความดีใจว่า นายสมีติบุตรช่างทำรถ ถากเหมือนจะรู้ใจด้วยใจ ฉันใด.
ท่านขอรับ บุคคลทั้งหลายก็ฉันนั้น ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ต้องการจะเลี้ยง
ชีวิต ไม่ออกบวชเป็นอนาคาริกด้วยศรัทธา เป็นคนมักโอ้อวด เจ้ามารยา
หลอกลวง ฟุ้งซ่าน ถือตน กลับกลอก ปากกล้า พูดจาเลอะเทอะ
ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบ
๑. คือมีเขาล้อมเป็นคอก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 356
ความเพียร ไม่มีความเพ่งเล็งในสามัญคุณ ไม่มีความเคารพแรงกล้าใน
สิกขา เป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการท้อถอย ทอดธุระใน
ความสงัด เกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม มีสติฟั่นเฟือน ไม่มี
สัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด มีปัญญาทราม เป็นดังคนใบ้
ท่านพระสารีบุตรเหมือนจะรู้ใจของบุคคลเหล่านั้นด้วยใจ แล้วถากอยู่ด้วย
ธรรมปริยายนี้.
ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่เป็น
คนโอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่หลอกลวง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือคน ไม่กลับกลอก
ไม่ปากกล้า ไม่พูดจาเลอะเทอะ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร มีความเพ่งเล็งในสามัญคุณ มี
ความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระ
ในการท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัดปรารภความเพียร มีตนส่งไป
มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็น
ดุจคนใบ้ กุลบุตรเหล่านั้นฟังธรรมปริยายของท่านพระสารีบุตรนี้แล้ว
เหมือนหนึ่งว่า จะดื่ม จะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า เป็นการดีหนอ ท่าน
พระสารีบุตรผู้เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ ให้เราทั้งหลายออกจากอกุศล ให้
ตั้งอยู่ในกุศล.
เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษ ที่กำลังสาวกำลังหนุ่ม ชอบแต่งตัว
ชำระสระเกล้าแล้ว ได้ดอกอุบล ดอกมะลิ หรือดอกลำดวนแล้ว
ประคองด้วยมือทั้ง ๒ ยกขึ้นตั้งไว้บนเศียรเกล้า ฉันใด กุลบุตรทั้งหลาย
ก็ฉันนั้น มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมารยา
ไม่หลอกลวง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า พูดจา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 357
เลอะเทอะ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ
ประกอบควานเพียร มีความเพ่งเล็งในสามัญคุณ มีความเคารพอย่างแรง
กล้าในสิกขา ไม่เป็นคนมักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการท้อถอย
เป็นหัวหน้าในความสงัด ปรารภความเพียร มีตนส่งไป มีสติตั้งมั่น
มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดุจคนใบ้
กุลบุตรเหล่านั้นฟังธรรมปริยายของท่านพระสารีบุตรนี้แล้ว เหมือนหนึ่ง
ว่า จะดื่มจะกลืนไว้ด้วยวาจาและใจว่า เป็นการดีหนอ ท่านพระสารีบุตร
ผู้เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ ให้เราทั้งหลายออกจากอกุศล ให้ตั้งอยู่ในกุศล
ดังนี้.
พระมหานาคทั้ง ๒ นั้น ต่างชื่นชมสุภาษิตแห่งกันและกัน ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบ อนังคณสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 358
อรรถกถาอนังคณสูตร
[ ๕๓ ] อนังคณสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้า (พระอานนท์)
ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตร . . .
การขยายความ (เฉพาะ) บทที่ยาก ในพระสูตรนั้น และใน
พระสูตรทุกสูตรก็จะเหมือนในพระสูตรนี้ เพราะฉะนั้น ต่อจากนี้ไป
ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวเฉพาะเท่านี้ แต่จะทำการขยายบทที่ไม่เคยขยายความ
มาก่อนด้วย.
[ ๕๔ ] บทว่า จตฺตาโร เป็นการกำหนดนับ. บทว่า ปุคฺคลา
ได้แก่สัตว์ ผู้คน และบุรุษ. ด้วยคำเพียงเท่านี้ ( บุคคล ) ไม่ควร
ถือว่า พระมหาเถระ ( สารีบุตร) มีปกติกล่าวนิยมบุคคล (พวก
บุคคลนิยม ) เพราะท่านผู้นี้ประเสริฐที่สุดในบรรดาพระสาวกผู้เป็น
พุทธบุตรทั้งหลาย ท่านเทศนาไม่ขัดแย้งกับพระธรรมเทศนาของพระผู้มี
พระภาคเจ้าเลย.
เทศนา ๒
พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า มี ๒ อย่าง คือ
สมมติเทศนา ( เทศนาเกี่ยวกับสมมติ ) ๑ ปรมัตถเทศนา ( เทศนา
เกี่ยวกับปรมัตถ์) ๑.
ในจำนวนเทศนาทั้ง ๒ อย่างนั้น สมมติเทศนา มีรูปความอย่าง
นี้ว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพ มาร เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 359
ส่วนปรมัตถเทศนา มีรูปความอย่างนี้ว่า อนิจจัง ทุกขัง อันตตา
ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐานเป็นต้น.
ในจำนวนเทศนาทั้ง ๒ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
สมมติเทศนาแก่เหล่าพุทธเวไนย ผู้ที่ฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่อง
สมมติแล้ว เข้าใจเนื้อความทะลุปรุโปร่ง สามารถละโมหะบรรลุคุณ
วิเศษได้ ส่วนคนเหล่าใด ฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่องปรมัตถ์แล้ว
เข้าใจเนื้อความทะลุปรุโปร่ง สามารถละโมหะบรรลุคุณวิเศษได้ พระองค์
ก็ทรงแสดงปรมัตถเทศนาให้เขาฟัง.
เปรียบเทียบความ
ในการทรงแสดงพระธรรมเทศนาทั้ง ๒ อย่างนั้น มีข้อเปรียบเทียบ
ดังต่อไปนี้. อุปมาเหมือนอาจารย์ผู้บรรยายไตรเพท รู้ภาษาถิ่น เมื่อ
พูดภาษาทมิฬ นักเรียนพวกใดเข้าใจความหมาย ก็จะบอกเขาเหล่านั้น
ด้วยภาษาทมิฬ. แต่ถ้าพวกใดเข้าใจความหมายด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง
ในจำนวนภาษาทั้งหลาย มีภาษาอันธกะ เป็นต้น ก็จะบอกเขาเหล่านั้น
ด้วยภาษานั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น มาณพน้อย (นักเรียน) เหล่านั้น
ได้อาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด หลักแหลม จะเรียนศิลปะได้เร็วทีเดียว ฉันใด.
ในข้ออุปไมยนั้น ก็ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทราบว่าเหมือน
อาจารย์ พระไตรปิฎกที่อยู่ในภาวะที่จะต้องทรงสอนเหมือนไตรเพท
พระปรีชาฉลาดในสมมติ และปรมัตถ์ เหมือนความฉลาดในภาษาถิ่น
เวไนยสัตว์ผู้สามารถแทงตลอดด้วยสมมติเทศนาและปรมัตถเทศนา๑ เหมือน
๑. ปาฐะ แยกกันเป็น สมฺมติ ปรมตฺถ เทสนา ปฏิวิชฺฌนสมตฺถา เข้าใจว่าคงจะติดกัน และ
ฉบับพม่าก็ติดกัน จึงได้แปลเช่นนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 360
มาณพน้อย (นักเรียน) ผู้พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ พระธรรมเทศนาว่าด้วย
สมมติ และปรมัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนการบอก (ไตรเพท)
ด้วยภาษาทมิฬเป็นต้นของอาจารย์.
และในการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนา และ
ปรมัตถเทศนานี้ พระโบราณาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า:-
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าผู้สอนทั้งหลาย
ได้ตรัสสัจจะไว้ ๒ อย่าง คือ สมมติสัจจะ ๑
ปรมัตถสัจจะ ๑ ไม่มีสัจจะอย่างที่ ๓ พระ
พุทธดำรัสเกี่ยวกับสมมติ (สังเกต) ชื่อว่า เป็น
สัจจะ เพราะเหตุที่เป็นสมมติของโลก ส่วนพระ
พุทธดำรัสเกี่ยวกับปรมัตถ์ ชื่อว่า เป็นสัจจะ เพราะ
เหตุที่เป็นความจริงของธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
สำหรับพระโลกนาถศาสดา ผู้ทรงฉลาดในโวหาร
เทศนา ตรัสถึงสมมติ มุสาวาทจึงไม่เกิดขึ้น (ไม่
เป็นการกล่าวเท็จ) ดังนี้.
เหตุตรัสบุคคลกถา ๘ ประการ
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบุคคลกถา (ถ้อยคำ
ระบุบุคคล ) ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ
๑. เพื่อทรงแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ
๒. เพื่อทรงแสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน
๓. เพื่อทรงแสดงถึงการกระทำของคนโดยเฉพาะตัว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 361
๔. เพื่อทรงแสดงถึงอันนตริยกรรม
๕. เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม
๖. เพื่อทรงแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสสติญาณ
๗. เพื่อทรงแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ
๘. เพื่อไม่ทรงละทิ้งสมมติของโลก.
ขยายความเหตุ ๘ ประการ
เมื่อพระองค์ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ละอายแก่ใจอยู่
เกรงกลัวบาปอยู่ มหาชนจะไม่เข้าใจ พากันพิศวงงงวย โต้แย้งว่า
นี้อะไรกัน ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ละอายแก่ใจ เกรงกลัวต่อบาป
ด้วยหรือ ? ดังนี้ แต่เมื่อพระองค์ตรัสว่า บุรุษ กษัตริย์ พราหมณ์
เทพ มาร (ละอายแก่ใจ เกรงกลัวต่อบาป ) ดังนี้. มหาชนจะเข้าใจ ไม่
พิศวงงงวย ไม่โต้แย้ง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
บุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ.
แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรม
เป็นของตน ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของ ๆ ตน.
แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า มหาวิหาร มีพระเวฬุวันเป็นต้น ขันธ์
ธาตุอายตนะทั้งหลายสร้างไว้ ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ ฉะนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงการกระทำของตน
โดยเฉพาะตัว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 362
แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ปลงชีวิต
มารดา บิดา พระอรหันต์ ทำโลหิตุปบาทกรรม (ทำร้ายพระพุทธเจ้า
ให้ห้อพระโลหิต ) (และ) ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ดังนี้. ก็นัยเดียวกัน
นั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อ
ทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม.
แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ย่อมเมตตา
(รักใคร่สัตว์ทั้งหลาย ) ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม.
แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย ระลึกชาติที่
เคยอยู่ก่อนของเราได้ ดังนี้ ก็นัยเดียวกันนั่นแหละ ฉะนั้น พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงการระลึกชาติอยู่มาด่อน
ได้.
แม้ในพระดำรัสที่ตรัสว่า ขันธ์ธาตุอายตนะทั้งหลาย รับทาน
ดังนี้ มหาชนจะไม่เข้าใจ พากันพิศวงงงวย โต้แย้งว่า นี้อะไรกัน ขันธ์
ธาตุอายตนะทั้งหลายรับทานด้วยหรือ ? ดังนี้ แต่เมื่อตรัสว่า บุคคลผู้มี
ศีล มีกัลยาณธรรมรับทาน ดังนี้ มหาชนก็เข้าใจ ไม่พิศวงงงวย
ไม่โต้แย้ง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อ
ทรงแสดงถึงความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาทาน.
เพราะว่า ธรรมดาพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายจะไม่ทรงละทิ้ง
สมมติของโลก ทรงดำรงอยู่ในถ้อยคำของชาวโลก ในภาษาของชาว
โลก ในการเจรจาของชาวโลกนั้นแหละทรงแสดงธรรม เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถาไว้เพื่อไม่ละทิ้งสมมติของโลกเสีย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 363
ฉะนั้น ท่านองค์นี้ (พระสารีบุตรเถระ) เมื่อจะไม่ให้ขัดแย้ง
กับพระธรรมเทศนาพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ดำรงอยู่ในสมมติของโลก
แล้วกล่าวคำนี้อาทิว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคล ๔ ประเภท
เหล่านี้ ดังนี้ เพราะเหตุเป็นผู้ฉลาดในสำนวนโลก เพราะฉะนั้น บุคคล
ในที่นี้โปรดทราบทามสมมติเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงปรมัตถ์.
บทว่า สนฺโต สวิชฺชมานา (มีอยู่ หาได้) คือ พอมี หาพบ
ตามสำนวนของโลก. คำว่า ในโลก คือ ในสัตวโลก.
ขยายความกิเลสดุจเนิน ๓ อย่าง
ในที่ลางแห่ง กิเลสพระองค์ตรัสเรียกว่า อังคณะ ( เป็นเหมือน
เนิน ) ในคำมีอาทิว่า สงฺคโณว สมาโน. ดังที่ตรัสไว้ว่า บรรดา
กิเลสเพียงดังเนินนั้น กิเลสเพียงดังเนินเป็นไฉน ? คือ กิเลสเพียงดังเนิน
ได้แก่ราคะ กิเลสเพียงดังเนิน ได้แก่โทสะ กิเลสเพียงดังเนิน ได้แก่โมหะ
กิเลสเพียงดังเนิน ในที่บางแห่งหมายถึงมลทินอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
เปือกตมดังที่ตรัสไว้ว่า พยายามเพื่อจะละมลทินหรือเปือกตมนั้นนั่นแหละ.
แต่ในที่บางแห่งหมายถึงพื้นที่ชนิดนั้น ( ที่เป็นเนิน) พื้นที่นั้นพึงทราบ
ตามคำที่พูดกัน เช่น เนินโพธิ์ เนินเจดีย์ เป็นต้น. แต่ในพระสูตรนี้
ท่านพระสารีบุตรประสงค์เอากิเลสอย่างเผ็ดร้อนนานัปการว่า กิเลสเพียง
ดังเนิน.
จริงอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตร กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ คำว่า
อังคณะนี้เป็นชื่อของอกุศลธรรมชั่วช้า มีความปรารถนาเป็นอารมณ์.
เป็นผู้เป็นไปกับด้วยกิเลสเพียงดังเนิน ชื่อว่า มีกิเลสเพียงดังเนิน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 364
บทว่า สงฺคโณว สมาโน ผู้มีกิเลสเพียงดังเนินนั่นเอง ยังมีอยู่.
ข้อว่า อตฺถิ เม อชฺฌตฺต องฺคณ (ลางคนไม่รู้ตามความจริง
ว่า กิเลสเพียงดังเนินของเรา ยังมีอยู่ในภายใน ) ความว่า ไม่รู้ว่า กิเลสมี
อยู่ในตัวเรา คือในจิตสันดานของเรา คือไม่รู้โดยถ่องแท้ อย่างนี้ว่า
ธรรมดากิเลสเหล่านี้ หยาบคาย ร้ายแรง ควรละทิ้ง ไม่ควรเอาไว้
คล้ายกับลูกศรอาบยาพิษก็ปานกัน.
ส่วนผู้ใดรู้ว่ามีด้วย รู้อย่างนี้ด้วย (รู้ว่าหยาบช้า) ผู้นั้นท่าน
พระสารีบุตรเรียกว่า รู้ตามความจริงว่า กิเลสเพียงดังเนินภายในของเรา
ยังมีอยู่. แต่กิเลสที่จะถอนได้ด้วยมรรคยังไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ใด เพราะหักห้าม
ไว้ได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งก็ตาม ผู้นี้ (นั่นเอง) ท่านพระสารีบุตรเถระ
ประสงค์เอาว่า เป็นผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน โนพระสูตรนี้.
ข้อว่า นตฺถิ เม อชฺฌตฺต องฺคณนฺติ ยถาภูต นปฺปชานาติ
(ไม่รู้ตามความจริงว่ากิเลสเพียงดังเนินภายในของเราไม่มี) ความว่า
ไม่รู้ว่า กิเลสทั้งหลายของเราไม่มี เพราะหักห้ามด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ไม่ใช่
ไม่มีเพราะถอนได้ด้วยมรรค คือไม่เข้าใจโดยถ่องแท้อย่างนี้ว่า กิเลส
เหล่านั้นเมื่อเกิดขึ้น จักทำความพินาศอย่างใหญ่หลวง ( เพราะว่า) เป็น
กิเลสหยาบช้า ร้ายแรง ควรละทิ้ง ไม่ควรเอาไว้ คล้ายกับลูกศรอาบ
ยาพิษก็ปานกัน.
ส่วนผู้ใดรู้ว่า ไม่มีเพราะเหตุอันนี้ด้วย รู้อย่างนี้ด้วย ( รู้ว่าหยาบช้า)
ผู้นั้นท่านพระสารีบุตรเรียกว่า รู้ตามความจริงว่า กิเลสเพียงดังเนินภาย
ในของเราไม่มี ดังนี้.
บทว่า ตตฺร เท่ากับ เตสุ โยค จตูสุ ปุคฺคเลสุ ในบุคคล ๔
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 365
จำพวกนั้น หรือว่า โยค ทฺวีสุ สงฺคเณสุ ในบุคคลผู้มีกิเลสเพียง
ดังเนินทั้ง ๒ นั้น.
บทว่า ยฺวาย ตัดบทเป็น โย อย (แปลว่าบุคคลนี้ใด) ปาฐะ
(บาลีเดิม ) เป็น ยาย ดังนี้ก็มี.
คนดี - คนเลว
[ ๕๕ ] ท่านพระโมคคัลลานะเรียนถามถึงเหตุอย่างเดียวเท่านั้น
แหละ แต่ใช้คำถามด้วยคำทั้งคำว่า ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ อะไรหนอ
เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ? ดังนี้.
พึงทราบความสัมพันธ์กัน ในบทว่า เยนิเมส เป็นต้น อย่างนี้ว่า
บรรดาคนทั้ง ๒ ประเภทนั้น คนหนึ่ง ท่านเรียกว่า เป็นคนประเสริฐ
แต่อีกคนหนึ่ง ท่านเรียกว่า เป็นคนต่ำทราม เพราะเหตุใด เพราะปัจจัยใด
เหตุนั้นคืออะไร ปัจจัยนั้นคืออะไร ?
ในเรื่องเหตุและปัจจัยทั้ง ๒ อย่างนั้น ถึงแม้ว่า คำว่า การรับรู้
และการไม่รู้ทั้งคู่นี้เองที่ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้ว่า ไม่รู้อยู่ รู้อยู่ เป็นทั้ง
เหตุ เป็นทั้งปัจจัย ก็จริง แม้ถึงอย่างนั้น พระเถระได้กล่าวย้ำไว้ว่า ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุ ในจำนวนคน ๒ ประเภทนั้น ดังนี้เป็นต้น เพื่อแสดง
เหตุนั้นให้ชัดกว่าแต่ก่อน เพราะเหตุที่คนมีปฏิภาณเฉียบแหลม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺเสต ปาฏิกงฺข ( เขาหวังได้เหตุนั้น )
ดังนี้ อธิบายว่า บุคคลนั้น พึงหวังได้เหตุนั้น คือ พึงคาดหมายได้ว่า
คนนั้นจักประสบเหตุนี้แหละ ไม่ใช่เหตุอย่างอื่น หมายความว่า เป็นสิ่ง
ที่มีได้แน่นอน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 366
ท่านพระสารีบุตรกล่าวหมายเอาการไม่ยังฉันทะให้เกิดขึ้นเป็นต้น
ที่ท่านได้กล่าวไว้ โดยนัยมีอาทิว่า เขาจักไม่ให้ความพอใจเกิดขึ้น.
แม้ในจำนวนข้อความเหล่านั้น ข้อความว่า เขาจักให้ฉันทะเกิด
ขึ้น คือ เขาเมื่อไม่รู้ ก็จักไม่ให้ความพอใจอยากจะทำเกิดขึ้น เพื่อจะ
ละกิเลสเพียงดังเนินนั้น.
บทว่า น วายมิสฺสติ แปลว่า จักไม่พยายาม คือจักไม่ทำความ
พยายามให้มีกำลังมากไปกว่านั้นเลย.
ข้อว่า น วิริย อารภิสฺสติ ( จักไม่ปรารภความเพียร ) ความว่า
จักไม่ปรารภความเพียร ที่เป็นตัวกำลังเอาเลย อธิบายว่า จักไม่ยังความ
เพียรให้เป็นไป.
บทว่า สงฺคโณ ( กิเลสดุจเนิน ) คือมีกิเลสดุจเนินด้วยเนิน
ทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเหล่านั้น.
บทว่า สงฺกิลิฏฺจิตฺโต ( เป็นผู้มีจิตเศร้าหมองแล้ว ) คือเป็นผู้
มีจิตมัวหมอง ได้แก่ มีจิตขุ่นมัวเอามาก ๆ เพราะเนินคือกิเลสเหล่านั้น
เอง ได้แก่เป็นผู้มีจิตถูกกิเลสเพียงดังเนินเหล่านั้นเบียดเบียน มีจิตถูก
กิเลสเพียงดังเนินเหล่านั้นเผาลนเอาทีเดียว.
บทว่า กาล กริสฺสติ ( จักมรณภาพ ) คือจักตาย.
บทว่า เสยฺยถาปิ คือ เสยฺยถา นาม เปรียบเหมือนว่า.
บทว่า กสปาติ ( ถาดทองสัมฤทธิ์) คือภาชนะที่ทำด้วยทอง
สัมฤทธิ์.
บทว่า อาภตา คือเอามา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 367
บทว่า อาปณา วา กมฺมารกุลา วา ( จากตลาดหรือตระกูล
ของช่างทอง) คือ จากร้านตลาด หรือจากบ้านของช่างทองผู้ทำถาดทอง
สัมฤทธิ์.
บทว่า รเชน ( ถูกละออง) คือถูกละอองที่จรมา มีฝุ่นเป็นต้น
(ปลิวมาเกาะ).
บทว่า มเลน ( ถูกสนิม) คือถูกสนิมโลหะที่เกิดกับถาดทอง
สัมฤทธิ์นั่นเอง (จับ ).
บทว่า ปริโยนทฺธา (จับ) คือเกาะหุ้มอยู่ทั่วไป.
บทว่า น จ ปริโยทเปยฺย ( ไม่ได้ขัดถู) คือไม่ได้ทำความ
สะอาด ด้วยวิธีล้างและขัคสีเป็นต้น.
บทว่า รชาปเถ (ทางฝุ่น ) คือในที่ที่มีละออง. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะ
(บาลีในพระไตรปิฎก ) ก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. อธิบายว่า เก็บไว้
ในที่ที่ละอองปลิวมาถึง คือในที่ที่ละอองฟุ้ง หรือเก็บไว้ใต้เตียง หรือยุ้ง
แกลบ หรือภายในภาชนะเหมือนกับเอาละอองโรยใส่.
ในข้อว่า สงฺกิลิฎฺตรา อสฺส มลคฺคหิตา (มีแต่จะมัวหมองมี
สนิมเกาะมาก ) นี้มีคำอธิบายว่า รังแต่จะมัวหมองขึ้นกว่าเดิม เพราะ
เก็บไว้ในที่ทางที่มีละออง คือถูกสนิมเกาะขึ้นมากกว่าเดิม เพราะไม่ได้ใช้
และไม่ได้ทำความสะอาด มิใช่หรือ ?
ก็คำว่า ( มีแต่จะมัวหมองมีสนิมเกาะมากมิใช่หรือ) นี้เป็นคำย้อน
ถาม. เพราะฉะนั้น พึงทราบอรรถาธิบายคำย้อนถามนั้น ดังต่อไปนี้ว่า
ท่านขอรับ ( โมคคัลลานะ ) ถาดทองสัมฤทธิ์ใบนั้น ที่เขาทำอย่างนี้
ภายหลังจะหมองมากกว่าเดิม และจะมีสนิมเกาะมากกว่าเดิมจนยากที่จะรู้ได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 368
หรือไม่รู้ได้ว่า เป็นถาดดินหรือเป็นถาดทองสัมฤทธิ์. พระเถระเมื่อจะรับ
รองคำนี้ จึงกล่าวว่า เป็นอย่างนั้นนั่นแหละท่าน.
พระธรรมเสนาบดี (สารีบุตร) เมื่อจะยืนยันข้ออุปไมยอีกครั้ง
จึงได้กล่าวคำมีอาทิไว้ว่า เอวเมว โข ( ก็เหมือนกันนั่นแหละ ).
ในคำนั้น ควรทราบการเปรียบเทียบคำอุปมากับคำอุปไมย ดังต่อ
ไปนี้ :-
บุคคลที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่ เปรียบเหมือนถาดสัมฤทธิ์ที่มัว
หมอง การที่บุคคลนั้นเมื่อจะได้บวช ก็กลับได้บวชในสำนักของบุคคลผู้
ขวนขวายในอเนสนาทั้งหลายมีเวชกรรม (เป็นหมอ ) เป็นต้น เปรียบ
เหมือนการทอดทิ้งถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว ไว้ในที่ทางที่มี
ละอองเพราะไม่ได้ใช้สอย เป็นต้น. การทำอเนสนามีเวชกรรมเป็นต้นแห่ง
บุคคลนั้น ผู้สำเหนียกอยู่ตามอาจารย์และอุปัชฌาย์ ตามลำดับ ( และ)
การมรณภาพทั้งที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในวีติกกมโทษ
คือการทำอเนสนามีเวชกรรมเป็นต้น (เป็นหมอเหมือนอาจารย์) เปรียบ
เหมือนภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว กลับมัวหนองยิ่งขึ้นไป
กว่าเดิมอีก.
อีกอย่างหนึ่ง การมรณภาพทั้ง ๆ ที่ยังมีกิเลสเพียงดังเนินอยู่แห่ง
เขาผู้ดำรงอยู่ในวีติกกมโทษนี้ตามลำดับ คือ การต้องอาบัติทุกกฏ และ
ทุพภาสิต ( เปรียบเหมือนภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว
กลับมัวหมองขึ้นไปอีก ). อีกอย่างหนึ่ง การมรณภาพทั้ง ๆ ที่ยังมีกิเลส
เพียงดังเนินอยู่ของเขาผู้ดำรงอยู่ในวีติกกมโทษนี้ตามลำดับ คือ การต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ และถุลลัจจัย การต้องอาบัติสังฆาทิเสส การต้องอาบัติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 369
ปาราชิก และการทำอนันตริยกรรม มีการฆ่ามารดาเป็นต้น (เปรียบ
เหมือนภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมองอยู่แล้ว กลับมัวหมองยิ่งขึ้น
ไปอีก).
แต่ในข้อความนี้ว่า จักเป็นผู้มีจิตเศร้าหมอง มรณภาพ ไม่ควร
เห็นอรรถาธิบายอย่างนี้ว่า จักมรณภาพด้วยอกุศลจิต. เพราะสัตว์ทุกตัวตน
ตายโดยปกติจิต คือโดยภวังคจิตกันทั้งนั้น แต่คนคนนี้ยังไม่ชำระจิต
สันดานให้สะอาดก่อนแล้วจึงตาย ดังนี้แล พึงทราบอรรถาธิบายว่า
พระสารีบุตรกล่าวข้อความไว้อย่างนี้ หมายเอาอรรถาธิบายข้อนี้ .
ในทุติยวารมีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปริโยทเปยฺยุ ( ควรขัดถู) ความว่า ทำให้สะอาด คือ
ให้เป็นเช่นกับกระจกเงา ด้วยการล้างการขัดและการถูด้วยขี้เถ้าละเอียด
เป็นต้น.
ข้อว่า น จ น รชาปเถ (ไม่ควรเก็บมันไว้ในที่ทางที่มีละออง )
ความว่า ไม่ควรเก็บไว้ในที่ดังที่กล่าวมาก่อนแล้ว แต่ควรวางไว้ในกล่อง
หรือหีบ หรือห่อ แล้วเอาแขวนไว้ที่ไม้สำหรับแขวนสิ่งของ (นาคทันตะ).
คำที่ยังเหลืออยู่ ควรถือเอาตามแนวแห่งนัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเถิด.
แต่ในทุติยวารนี้ ควรทราบการเปรียบเทียบ ระหว่างข้ออุปมากับ
อุปไมยดังต่อไปนี้ว่า ภัพพบุคคล (ผู้พอบรรลุมรรคผลได้) ที่ยังมีกิเลส
เพียงดังเนินอยู่ เปรียบเหมือนถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมอง การที่บุคคล
นั้นกลับได้บวชในสำนักของผู้มีศีลเป็นที่รัก เหมือนกับทำการใช้ถาดทอง
สัมฤทธิ์ที่มัวหมองเป็นต้น แล้วเก็บไว้ในสถานที่ที่สะอาด. อาจารย์และ
อุปัชฌาย์เหล่าใด ตักเตือนพร่ำสอน (เขา) เห็นความประมาทแม้เพียง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 370
เล็กน้อยก็ทำทัณฑกรรมแล้วให้สำเหนียกบ่อย ๆ การมรณภาพขณะที่ไม่มี
กิเลสเพียงดังเนินแห่งเขาผู้สำเหนียกตามอาจารย์และอุปัชฌายะนั้น ดำรงอยู่
ในคุณธรรมนี้ คือการประพฤติปฏิบัติชอบนี้ตามลำดับ เหมือนกับภาวะ
ของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมอง แต่สะอาดหมดจดในภายหลัง.
อีกอย่างหนึ่ง การมรณภาพขณะที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนินแห่งเขา
ผู้ดำรงอยู่ในการยืนหยัดอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ การเรียนเอาพระพุทธพจน์พอ
เหมาะสมสำหรับคนแล้วสมาทานธุดงค์ รับเอาพระกรรมฐานที่เกื้อกูลแก่
ตน ทิ้งการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านแล้วอยู่ในเสนาสนะที่สงัดนี้ตามลำดับ
เปรียบเทียบกับภาวะของถาดทองสัมฤทธิ์ที่มัวหมอง แต่สะอาดหมดจดใน
ภายหลัง.
อีกอย่างหนึ่ง การมรณภาพขณะที่ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ในวาระ
สุดท้ายนั่นเอง ( ปรินิพพาน) แห่งท่านผู้ดำรงอยู่ในการทำบริกรรม
กสิณแล้วข่มกิเลสไว้ได้ ด้วยการยังสมาบัติทั้ง ๘ ให้เกิดขึ้น การออกจาก
ฌานที่เป็นบาทของวิปัสสนาแล้วกั้น กิเลสไว้ได้ด้วยตทังคปหาน (การ
ละกิเลสบางอย่างได้ด้วยองค์นั้น เช่น ละสุภารมณ์ได้ด้วยการพิจารณา
อสุภะเป็นต้น ) จึงบรรลุโสดาปัตติผลด้วยวิปัสสนา ฯ ล ฯ และการ
ทำอรหัตให้แจ่มแจ้งแก่ตน (เปรียบเหมือนกับภาวะของถาดที่มัวหมอง
แต่สะอาดหมดจดในภายหลัง ).
ในตติยวารมีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุภนิมิตฺต ได้แก่อารมณ์ที่น่าปรารถนา เป็นที่ตั้งของ
ราคะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 371
บทว่า มนสิ กริสฺสติ (จักใส่ใจ) ความว่า เมื่อสุภนิมิตนั้น
มีอยู่เขาก็จักระลึกถึงนิมิตนั้น.
บทว่า ตสฺส สุภนิมิตฺตสฺส มนสิการา (เพราะการใส่ใจถึง
สุภนิมิตของเขา) ได้แก่เพราะเหตุแห่งการใส่ใจถึงสุภนิมิตของบุคคลนั้น.
บทว่า อนุทฺธเสสฺสติ (จักตามรบกวน) คือจักเบียดเบียน
ได้แก่จักครอบงำ (จิตของเขา). อธิบายว่า ราคะพึงทราบว่า เมื่อเกิดขึ้น
ตัดขาดการปฏิบัติกุศล เป็นอกุศลชวนะเสียเอง ตามขจัดกุศลจิตสถิตอยู่.
คำที่ยังเหลืออยู่ ควรถือเอาตามแนวแห่งนัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเถิด.
แต่ในตติยวารนี้ควรทราบการเปรียบเทียบกันระหว่างอุปไมย ดังต่อ
ไปนี้ว่า บุคคลผู้ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน มีกิเลสน้อยตามปกติ เหมือนกับ
ถาดทองสัมฤทธิ์ที่สะอาด. การที่บุคคลนั้นจะได้บวช (ก็กลับได้บวชใน
สำนักของบุคคลผู้ขวนขวายในอเนสนามีเวชกรรมเป็นต้น ) เหมือนกับ
การไม่ทำการใช้เป็นต้น ซึ่งถาดทองสัมฤทธิ์ที่สะอาดแล้ว ยังเก็บไว้ในที่
ที่มีละออง ( อีก). ต่อไปจากนี้ ทุกคำ เหมือนกับในปฐมวารทั้งสิ้น.
ในจตุตถวารมีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
ข้อว่า สุภนิมิตฺต น มนสิ กริสฺสติ (จักไม่ใส่ใจถึงสุภนิมิต)
ความว่า จักไม่ระลึกถึงนิมิตนั้น เพราะไม่มีการเว้นห่างจากสติในเพราะ
นิมิตนั้น. ถ้อยคำที่เหลือ พึงทราบตามแนวแห่งทุติยวารเถิด. คำมีอาทิว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บุคคลนี้แล มีนัยดังที่ได้กล่าวไว้ในคำมีอาทิว่า ยโต
นุโข นั้นแหละ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 372
เนินคืออะไร ?
[ ๕๖] บัดนี้ ท่านพระสารีบุตรผู้ถูกท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ที่ประสงค์จะให้ท่านอธิบายว่ากิเลสเพียงดังเนินนั้นให้ชัด โดยประการ
ต่าง ๆ ถามแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า คำที่ท่านเรียกว่า เนิน เนิน ได้แก่
อะไร? ดังนี้ เมื่อจะตอบคำถามนั้น จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า ดูก่อนท่าน
ผู้มีอายุ คำว่า เนิน นี้ เป็นชื่อของอกุศลธรรมที่ชั่วช้าแล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺฉาวจราน ( เป็นแดงของอิจฉา)
มีเนื้อความว่า (อกุศล ) เป็นที่เที่ยวไปแห่งความอยาก คือ ความโกรธ
และความน้อยใจนานัปการ ที่ข้ามลง คือเป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่ง
ความอยาก.
[๕๗ ] ข้อว่า ย อิเธกจฺจสฺส (เหตุที่ให้ความอยากเกิดขึ้นแก่
ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ ) มีอรรถาธิบายว่า ความอยากนี้ พึงเกิด
ขึ้นแก่ภิกษุลางรูปโดยเหตุอย่างใด เหตุอย่างนั้น ที่เป็นฐานแห่งความอยาก
นั้น มีอยู่ คือยังมี ได้แก่ยังหาได้.
บทว่า อาปนฺโน อสฺส เท่ากับ อาปนฺโน ภเวยฺย แปลว่า
พึงเป็นผู้ต้องอาบัติแล้ว.
ประโยคว่า น จ ภิกฺขู ชาเนยฺยุ เท่ากับ ภิกฺขู จ ม น
ชาเนยฺยุ ( แปลว่า และขออย่าให้ภิกษุทั้งหลายรู้จักเรา ).
ในเรื่องที่ไม่ให้ภิกษุทั้งหลายรู้จักนี้ มีอะไรเป็นเหตุ ?
มีความที่เธอเป็นผู้มีความต้องการลาภ เป็นเหตุ.
อธิบายว่า ภิกษุผู้มีความต้องการลาภตามปกติแล้ว ก็เป็นผู้ทำบุญไว้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 373
และเป็นผู้ที่มนุษย์ทั้งหลายพากันสักการะทำความเคารพ จึงคิดอย่างนี้ว่า
ภิกษุต้องอาบัติแล้ว พระเถระทั้งหลายรู้เข้าจะบอกแก่พระภิกษุผู้ปานกลาง
ทั้งหลาย ภิกษุปานกลางทั้งหลายจะบอกแก่ภิกษุทั้งหลายที่ยังใหม่ ภิกษุ
ใหม่ทั้งหลายจะบอกแก่คนทั้งหลายมีคนเฝ้าวิหารเป็นต้น (คนกินเดน
ในวิหาร) คนเฝ้าวิหารเหล่านั้นจะบอกแก่ภิกษุณีทั้งหลายผู้มารับโอวาท
บริษัททั้ง ๔ ก็จะรู้กันไปตามลำดับอย่างนี้ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว อันตราย
แห่งลาภก็จะมีแก่เรานั้น น่าละอายใจจริง ? ถึงเราจะต้องอาบัติจริงแล้ว
ขอภิกษุทั้งหลายอย่ารู้จักเราเลย.
ข้อว่า ย ต ภิกฺขุ ภิกฺขู ชาเนยฺยุ เหตุที่ภิกษุทั้งหลายพึงรู้
ภิกษุนั้น ความว่า เหตุที่จะให้ภิกษุเหล่าอื่น รู้เรื่องภิกษุนั้นมีจริง คือ
มีอยู่ทีเดียว ไม่ใช่ไม่มี เพราะว่าพระเถระทั้งหลายรู้เข้าแล้ว ก็จะบอกแก่
ภิกษุปานกลางทั้งหลาย. เมื่อเป็นอย่างนี้ เธอก็จะเป็นผู้ปรากฏในบริษัท
ทั้ง ๔ โดยนัยที่ได้กล่าวมาก่อนแล้ว. และเธอปรากฏอย่างนี้แล้วจะเป็น
ผู้อัปยศ เข้าไปบ้านตั้ง ๑๐๐ บ้าน เช็ดเท้าที่ธรณีประตูตั้ง ๑๐๐ แห่ง
ก็จะออกมาด้วยบาตรเปล่า. ต่อแต่นั้นไป ภิกษุทั้งหลายก็จะรู้จักเราว่า
เป็นผู้ต้องอาบัติ. อนึ่ง เธอครั้นคิดว่าเราถูกพระภิกษุเหล่านั้นทำให้เสียหาย
ไปแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ก็จะเป็นผู้ขุ่นเคืองเพราะเหตุอย่างนี้.
ความโกรธ คือความน้อยใจเป็นเนิน
[๕๘] บทว่า อปฺปตีโต (จะเป็นผู้น้อยใจ ) คือเธอจะเป็นผู้
โกรธเคือง ได้แก่ถูกความโกรธครอบงำด้วย จะเป็นผู้น้อยใจ คือถูก
ความเสียใจครอบงำด้วยเพราะเหตุการณ์นี้. ในข้อว่า โย เจว โข อาวุโส
โกโป โย จ อปฺปจฺจโย อุภยเมต องฺคณ (ท่านผู้มีอายุ ความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 374
โกรธเคืองและความน้อยใจ ทั้งคู่นี้ชื่อว่า เนิน) นี้ ควรทราบอรรถา.
ธิบายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ความขุ่นเคือง ที่สงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์
ด้วย ความน้อยใจที่สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ด้วย ทั้งคู่นี้ชื่อว่า เนิน
และคำนี้ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้เป็นเช่นนั้น แต่ความโลภ
ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถเป็นส่วนเบื้องต้นของกิเลสเพียงดังเนินนี้. ส่วน
โมหะเป็นอันถือเอาแล้วเหมือนกัน ด้วยสามารถแห่งการประกอบเข้าด้วย
กัน ( กับโลภะ ) แล้ว .
[๕๙] บทว่า อนุรโห ม (ควรฟ้องเราในที่ลับ) มีเนื้อความ
ว่า ภิกษุเช่นกับรูปแรก (ที่ต้องอาบัติ ) ปรารถนาให้ภิกษุทั้งหลายพา
ตนเข้าไปสู่เสนาสนะท้ายวิหารปิดประตู แล้วจึงฟ้อง.
บทว่า าน โข ปเนต ( ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุ) หมายความว่า
เหตุนี้มีได้ คือภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาด ได้รับแนะนำ แล้วควรเอาภิกษุนั้น
ไปสู่ท่ามกลางบริษัท ๔ แล้วจึงฟ้องโดยนัยมีอาทิว่า ท่านทำเวชกรรม
ในที่ชื่อโน้น. ส่วนข้อความว่า เธอจะเป็นผู้ปรากฏในบริษัท ๔ จะปรากฏ
อย่างนี้ด้วย ถูกความเสื่อมยศครอบงำแล้วด้วย ทั้งหมดเหมือนกับข้อ
ความในตอนต้นนั่นแหละ.
คนผู้เท่าเทียมกัน
[๖๐] บทว่า สปฺปฏิปุคฺคโล (คนผู้เท่าเทียมกัน) คือคนตรง
กันข้ามที่เท่าเทียม.
คำว่า เท่าเทียมกัน คือต้องอาบัติเหมือนกัน.
คำว่า คนตรงกันข้าม คือผู้เป็นโจทก์. ภิกษุนี้ต้องการให้ฟ้อง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 375
โดยภิกษุที่ต้องอาบัติเหมือนกัน (เพราะว่า) เธอเข้าใจว่า อาจจะพูด
(ค้าน) ได้ว่า ท่านเองก็ต้องอาบัตินี้ ก่อนอื่นท่านจงทำคืนอาบัตินั้น
ภายหลังจงฟ้องผม. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เสนอกันแม้โดยชาติเป็นต้น
ชื่อว่า คนเท่าเทียมกัน. อธิบายว่า. ภิกษุนี้ต้องการให้ฟ้องโดยภิกษุผู้เสมอ
กัน ด้วยคุณสมบัติทั้งหลาย แม้มีอาทิอย่างนี้ คือ ด้วยชาติ ด้วยตระกูล
ด้วยความเป็นพหูสูต ด้วยความฉลาด (และ) ธุดงค์ของตน (เธอ )
เข้าใจว่า ทุกข์อย่างยิ่งที่บุคคลเช่นนั้นกล่าวแล้วย่อมไม่มี. คนตรงข้าม
(โจทก์) ที่ไม่คู่ควรกัน ชื่อว่าคนที่ไม่เท่าเทียมกัน ในคำนี้ว่า ไม่ใช่
คนที่ไม่เท่าเทียมกัน มีอธิบายว่า คนที่เป็นคู่ศัตรูเป็นคู่ต่อสู้ ชื่อว่าไม่
ควรเป็นโจทก์ เพราะไม่เสมอเหมือนกัน โดยอาบัติเป็นต้นเหล่านี้.
ข้อว่า อิติ โส กุปิโต (เพราะเหตุอย่างนี้ เขาจะเป็นผู้โกรธ
เคือง ) มีเนื้อความว่า เพราะเหตุอย่างนี้เขาจะเป็นผู้แค้นเคืองอย่างนี้
เพราะการฟ้องของผู้ไม่เท่าเทียมกันนี้.
[๖๑] ในจตุตถวาร (ตอนว่าด้วยอิจฉาวจรที่ ๔) มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้ :-
ศัพท์ อโห วต (โอหนอ ) ปรากฏในคำตำหนิก็มี เช่นว่า
เฮ้ยน่าทุเรศจริง ท่านผู้เป็นบัณฑิตของพวกเรา คือว่า เฮ้ยน่าทุเรศจริง
ท่านผู้เป็นพหูสูต และเป็นผู้บรรลุวิชชา ๓ ของเราทั้งหลาย. ปรากฏใน
ความปรารถนา (ก็มี) เช่นว่า น่าชื่นใจจริง คนทั้งหลายจะต้องอภิเษก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 376
เราผู้ยังหนุ่มยังแน่นอยู่ไว้ในราชสมบัติ. ในที่นี้ปรากฏในความปรารถนา
เท่านั้น.
คำว่า ปุจฺฉิตวา ปุจฺฉิตฺวา ( ตรัสถานแล้ว ) คือ ตรัสถามแล้ว
ตรัสถามเล่า. ภิกษุผู้มีความต้องการลาภนี้อยากให้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงย้อนถามตน แต่ต้องการให้ถามปัญหานั้นด้วยถ้อยคำเพื่อให้คล้อยตาม
ไม่ใช่ตรัสถามถึงมรรคผล หรือวิปัสสนา ทำให้มีช่องโหว่ไว้. เพราะว่า
ภิกษุรูปนี้ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย้อนถามพระมหาเถระทั้งหลายมี
พระสารีบุตร เป็นต้นในท่ามกลางบริษัทอย่างนี้ว่า สารีบุตร โมคคัลลานะ
กัสสปะ ราหุล เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? คือ จักษุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง แล้วทรงแสดงธรรมไป เห็นพวกมนุษย์กล่าวสรรเสริญคุณ
ของพระเถระเหล่านั้นอยู่ว่า พระเถระผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลาย พระศาสดา
ทรงพอพระทัย ดังนี้ และเห็นพวกเขาน้อมลาภสักการะไปถวายพระเถระ
เหล่านั้นอยู่ เพราะฉะนั้น เธอเมื่อปรารถนาลาภสักการะนั้น ครั้นคิด
อย่างนี้แล้ว ออกไปยืนตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนท่อน
ไม้ที่วางไว้.
บทว่า โส กุปิโต ( เธอโกรธเคืองแล้ว) ความว่า ภายหลัง
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่สนพระทัยเธอเลย แต่ตรัสถามพระเถระรูปอื่น
แล้วทรงแสดงธรรมไป เพราะฉะนั้น เธอจึงโกรธเคืองทั้งพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า และพระเถระ.
โกรธเคืองพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างไร ?
โกรธเคืองพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า เราตั้งแต่บวช ไม่รู้จัก
การออกไปนอกบริเวณพระคันธกุฎี ทุกเวลาไม่เคยห่างเป็นเช่นกับเงา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 377
แม้เพียงแต่จะตรัสถามเรา แล้วทรงแสดงธรรมเทศนาก็ไม่มี ทรงถาม
พระเถระที่ทรงเห็นเพียงครู่เดียวเท่านั้น แล้วก็ทรงแสดงธรรม.
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร ?
โกรธเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า พระแก่รูปนี้ นั่งตรงพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกับตอไม้ เมื่อไรนะพระเถระผู้เป็นธรรมกัมมิกะ
(ทำงานเกี่ยวกับธรรม) จักให้พระแก่รูปนี้ถึงฐานะแห่งอภัพพบุคคล
(ผู้ไม่ควรบรรลุมรรคผล ) แล้วขับออกไป (จากหมู่คณะ.) เพราะว่า
ถ้าไม่มีภิกษุรูปนี้ในวิหารนี้ไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเจรจากับเรา
แน่นอน.
พระโกรธ
[๖๒] บทว่า ปุรกฺขตฺวา ปุรกฺขตฺวา (ทำไว้ข้างหน้า ทำไว้
ข้างหน้า) คือทำไว้ (ให้อยู่ ) ข้างหน้า มีคำอธิบายว่า ห้อมล้อม
(ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง ).
แม้ภิกษุรูปนี้ก็เป็นผู้อยากได้ลาภเหมือนกัน. เพราะว่า ภิกษุรูปนี้
เห็นภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูตเข้าบ้านพร้อมกับภิกษุผู้เป็นบริวาร กำลัง
ไหว้เจดีย์ และเห็นอุบาสกทั้งหลายผู้เลื่อมใส ( ภิกษุเหล่านั้น ) เพราะ
เห็นคุณธรรมข้อนั้น ของท่านเหล่านั้น แสดง (ทำ) อาการของผู้เลื่อมใส
อยู่ เพราะฉะนั้น เธอจึงต้องการอย่างนี้.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) หมายความว่า ภิกษุแม้รูปนี้
โกรธเคืองในเพราะเหตุ ๒ สถาน คือ โกรธเคืองต่อภิกษุทั้งหลายและ
พระเถระ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 378
โกรธเคืองภิกษุทั้งหลายอย่างไร ?
โกรธเคืองภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นถือเอาเฉพาะจีวร
หรือบิณฑบาตที่เกิดขึ้นแก่เรานั้นบริโภคอยู่ แต่ผู้จะมาข้างหลังรับบาตร
จีวรของเราก็ไม่มี.
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร ?
โกรธเคืองพระเถระว่า พระเถระแก่รูปนี้ (ไป ) ปรากฏด้วยใน
ที่นั้น ๆ เมื่อไรนะ พระธรรมกัมมิกะ จักจับเขาออกไป เมื่อไม่มี
พระแก่รูปนี้ ภิกษุทั้งหลายก็จักห้อมล้อมเราคนเดียวเป็นแน่.
[๖๓] บทว่า ภตฺตคฺเค (โรงฉัน) คือ สถานที่สำหรับฉัน
(หอฉัน).
บทว่า อคฺคาสน (ที่นั่งชั้นยอด ) คือ ที่นั่งสำหรับพระสังฆเถระ.
บทว่า อคฺโคทก ( น้ำที่เลิศ ) คือ ทักษิโณทก (น้ำที่ถวายด้วย
ความเคารพ ).
บทว่า อคฺคปิณฺฑ (บิณฑบาตที่เลิศ) คือ บิณฑบาตสำหรับ
พระสังฆเถระ.
อีกอย่างหนึ่ง ในที่ทุกแห่ง คำว่า เลิศ นี้ เป็นคำใช้เรียกสิ่งของ
ที่ประณีต.
บรรดาความปรารถนาทั้ง ๒ อย่างนี้ ความปรารถนาว่า เราคนเดียว
ควรได้ ดังนี้ ไม่มีโทษหมักมากเท่าไร. แต่ความปรารถนาว่า ภิกษุอื่น
ไม่ควรได้ ดังนี้ มีโทษหนักมาก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 379
ภิกษุผู้มีความต้องการลาภ รูปนี้เป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส โดยการครอง
จีวรเป็นต้น บางครั้งก็บวช บางครั้งก็สึก เพราะเหตุนั้น เธอเมื่อภายหลัง
ไม่ได้ที่นั่งเป็นต้น ที่ตนเคยได้นั่งมาแล้วในตอนก่อน จึงคิดอย่างนี้ว่า
ภิกษุนั้นไม่ควรจะได้. ภิกษุรูปนั้นเมื่อที่นั่งชั้นยอดเป็นต้น ถึงแก่พระเถระ
ทั้งหลาย (พระเถระนั่งแล้ว ) สำหรับพระรุ่นกลาง และพระรุ่นไหน
เหล่าอื่น ก็ทำนองเดียวกันนั้น บางครั้งก็ได้ที่นั่งธรรมดาสามัญหรือที่นั่ง
ที่ต่ำกว่าที่นั่งทั้งหมด หรือไม่ได้เลย.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) คือ ภิกษุรูปนี้เอง โกรธเคือง
ในเพราะเหตุ ๒ สถาน คือ (โกรธเคือง ) คนทั้งหลายและพระเถระ
ทั้งหลาย.
โกรธเคืองคนทั้งหลายอย่างไร ?
(โกรธเคือง ) คนทั้งหลายอย่างนี้ว่า คนเหล่านี้อาศัยเรา จึงได้
ภิกษุทั้งหลาย (มา) ในงานมงคลเป็นต้น (เมื่อก่อน) เขาพากันพูดว่า
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้าได้กรุณาพาภิกษุจำนวนเท่านี้
(ไป ) ทำความอนุเคราะห์แก่กระผมทั้งหลายเถิด แต่เดี๋ยวนี้เขาได้พาเอา
พระเถระแก่ ผู้เพียงแต่ได้เห็นชั่วประเดี๋ยวเดียวไป เรื่องนี้ช่างเถิด ต่อไป
นี้เมื่อกิจของเขาเหล่านี้เกิดขึ้น เราจักรู้ ( แก้มือ ).
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร ?
โกรธเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า ถ้าธรรมดาไม่มีพระเถระเหล่านั้นไซร้
คนทั้งหลายต้องนิมนต์เฉพาะเราเท่านั้น.
บทว่า อนุโนเทยฺย ( ควรอนุโมทนา ) คือ ควรทำอนุโมทนา.
แม้ภิกษุรูปนี้เป็นผู้มีความต้องการลาภ รู้การอนุโมทนาเป็นตอน ๆ แบบ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 380
ธรรมดา ๆ. เธอคิดปรารถนาอย่างนี้ว่า ณ สถานที่อนุโมทนา แม่บ้าน
จะพากันมามาก พวกเขาจำเราได้แล้ว ต่อไปจักถวายภักษาหารเป็นถาด ๆ.
บทว่า าน ( เหตุที่ตั้ง ) ความว่า การอนุโมทนา เป็นภาระ๑
หน้าที่ของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอธิบาย
ไว้ว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูตควรอนุโมทนา.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว ) หมายความว่า ภิกษุรูปนี้เอง
จะโกรธเคือง ในเพราะเหตุ ๓ สถาน คือ โกรธเคืองคนทั้งหลาย ๑
โกรธเคืองพระเถระ ๑ โกรธเคืองพระธรรมกถึก ๑.
โกรธเคืองคนทั้งหลายอย่างไร ?
โกรธเคืองคนทั้งหลายอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนคนเหล่านี้เข้ามาหาเรา
คนเดียวแล้วขอร้องว่า ขอนิมนต์ท่านนาคเถระของเราทั้งหลายจง
อนุโมทนา ขอนิมนต์ท่านสุมนเถระของเราทั้งหลายจงอนุโมทนา แต่
วันนี้ไม่พูด (ไม่นิมนต์).
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร ?
โกรธเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า พระสังฆเถระรูปนี้ไม่กล่าวว่า ท่าน
ทั้งหลาย จงพากันเข้าไปหาพระนาคเถระ พระสุมนเถระ ผู้เป็นพระ
ประจำตระกูลของท่านทั้งหลาย ท่านผู้นี้จักอนุโมทนา.
โกรธเคืองพระธรรมกถึกอย่างไร ?
โกรธเคืองพระธรรมกถึกอย่างนี้ว่า พอท่านพระเถระพูดจบเท่านั้น
เห็น (ท่านพระธรรมกถึก) รนราน เหมือนไก่ถูกตี ผู้จะฉุดคร่า
๑. ปาฐะเป็น อนุโมทนาภาโว แต่ฉบับพม่าเป็น อนุโมทนา ภาโร จึงแปลตามฉบับพม่า
ความดีกว่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 381
พระรูปนี้ออกไปก็ไม่มี เพราะว่า เมื่อไม่มีพระรูปนี้ เราคนเดียวต้อง
อนุโมทนา.
[ ๖๔ ] บทว่า อารามคตาน (ผู้มาสู่อาราม) คือ ผู้ประชุม
กันอยู่ในวิหาร.
แม้ภิกษุรูปนี้ ผู้มีความต้องการลาภ รู้ธรรมกถาเป็นตอน ๆ แบบ
ธรรมดา ๆ เธอเห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้นั่งประชุมกันฟังธรรมเนืองนิตย์
ตลอดทั้งคืนตั้ง ๒-๓ ร้อยโยชน์ในที่เช่นนั้น พากันพอใจทีเดียว หรือ
เห็นภิกษุหนุ่มหรือสามเณรกำลังให้สาธุการด้วยเสียงดังว่า สาธุ สาธุ
บาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พากันถามภิกษุทั้งหลายที่ไปในบ้านในวันที่ ๒
ต่อจากนั้นว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระพวกไหนแสดงธรรม
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า รูปโน้น รูปโน้น คนทั้งหลายได้ยินดังนั้นแล้ว
เลื่อมใสจะพากันทำสักการะแก่พระธรรมกถึกมาก. ภิกษุรูปนั้นเมื่อ
ปรารถนาลาภนั้นย่อมคิดอย่างนี้.
[๖๕] บทว่า าน (เหตุที่ตั้ง ) ความว่า การแสดงธรรม-
เทศนาเป็นภาระของ (ภิกษุทั้งหลาย ) ผู้เป็นพหูสูต ผู้ฉลาดในการ
วินิจฉัย เพราะเหตุนั้น จึงมีคำอธิบายไว้ว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ควร
แสดงธรรม.
บทว่า กุปิโต ( โกรธเคืองแล้ว) ความว่า เมื่อไม่ได้โอกาส
กล่าวเพียงคาถาที่ประกอบด้วยบท ๘ บท ก็จะโกรธเคืองตัวเองที่เป็นคน
โง่ว่า เพราะเราเขลาเบาปัญญา ที่ไหนจักได้แสดงธรรม.
บทว่า ภิกฺขุนีน (ภิกษุณีทั้งหลาย) ความว่า แก่ภิกษุณีทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 382
ผู้มาสู่อารามแล้วประชุมกัน เพื่อรับโอวาท เพื่ออุทเทศ เพื่อการทดสอบ
หรือเพื่อทำการบูชา.
แม้ภิกษุรูปนี้ผู้มีความต้องการลาภ เธอจะมีความคิดอย่างนี้ว่า
ภิกษุณีเหล่านี้บวชจากตระกูลใหญ่ เมื่อพวกเธอเข้าไปนั่งในตระกูลทั้งหลาย
คนทั้งหลายจักพากันถามว่า ท่านทั้งหลายพากันรับโอวาทหรืออุทเทศหรือ
ทดสอบ ในสำนักของใคร จากการถามนั้น ภิกษุณีทั้งหลายจักบอกว่า
พระคุณเจ้าชื่อโน้น ผู้เป็นพหูสูต ท่านทั้งหลาย จงถวาย (ของ)
กระทำ ( สักการะ) แก่ท่าน เพราะเหตุนั้น ความต้องการอย่างนี้ จึง
เกิดขึ้นแก่เธอ.
บทว่า าน (เหตุที่ตั้ง ) ความว่า เป็นธรรมดากิจวัตรมีการ
โอวาทเป็นต้น เป็นภาระของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวอธิบายไว้ว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูตควรแสดง.
บทว่า กุปิโต ( โกรธเคืองแล้ว ) มีอรรถาธิบายว่าภิกษุนี้โกรธเคือง
ในเพราะเหตุ ๒ สถานคือ โกรธเคืองภิกษุณีเหล่านั้นว่า ภิกษุณีเหล่านี้
เมื่อก่อนอาศัยเรา จึงได้อุโบสถและปวารณาเป็นต้น แต่บัดนี้ภิกษุณี
เหล่านั้น ได้ไปสู่สำนักของพระเถระแก่ ผู้เพียงแต่ได้เห็นชั่วคราว และ
โกรธเคืองพระธรรมกถึกว่า พระธรรมกถึกรูปนั้น ได้ให้โอวาทแก่ภิกษุณี
เหล่านั้น เร็วไวเหมือนกัน.
บทว่า อุปาสกาน ( แก่อุบาสกทั้งหลาย ) มีอรรถาธิบายว่า
ธรรมดาอุบาสกทั้งหลายผู้ไปวัด เป็นอุบาสกผู้ใหญ่ สละการงานกันแล้ว
เขาเหล่านั้นมอบงานให้ลูกน้องแล้วเที่ยวหาฟังธรรมกัน. ภิกษุรูปนี้ต้อง
การแสดงธรรมแก่อุบาสกเหล่านั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะคนเหล่านี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 383
เลื่อมใสภิกษุเหล่านี้แล้ว จักบอกให้อุบาสิกาทั้งหลายทราบบ้าง ต่อไป
ก็จักพร้อมด้วยอุบาสิกาทั้งหลาย พากันนำลาภและสักการะมาถวายเรา
คนเดียว เพราะฉะนั้น ควรประกอบเหตุที่ตั้ง เข้ากับผู้อื่นเป็นพหูสูต
ด้วย.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) มีเนื้อความว่า ภิกษุรูปนี้จะ
โกรธเคืองในเพราะเหตุ ๒ สถาน คือ โกรธเคืองอุบาสกทั้งหลายว่า อุบาสก
เหล่านั้นฟัง ( ธรรม ) ที่อื่นไม่มาวัดเรา ด้วยความตั้งใจว่า พวกเราจะฟัง
(ธรรม ) ในสำนักของภิกษุประจำตระกูลของพวกเรา ข้อนั้น ช่างเถอะ
ต่อไปนี้ เราจักรู้ไว้ในเมื่อพวกเขามีกิจเกิดขึ้น และโกรธเคืองพระ
ธรรมกถึกว่า ท่านรูปนี้แสดงธรรมให้คนเหล่านี้ฟัง.
บทว่า อุปาสิกาน ( แก่อุบาสิกาทั้งหลาย ) ความว่า ธรรมดา
อุบาสิกาทั้งหลายผู้มาวัด ได้ประชุมกันเพื่อปูอาสนะและทำการบูชา เป็น-
ต้น หรือเพื่อฟังธรรมในวันอุโบสถ.
คำที่เหลือจากที่ได้อธิบายแล้ว มีนัยเหมือนที่ได้กล่าวแล้วในตอน
ว่าด้วยอุบาสก.
[๖๖-๖๗ ] บทว่า สกฺกเรยฺย คือ ควรทำโดยเคารพด้วย
ทำให้ดีด้วย. ด้วยคำว่า ควรสักการะ นี้ เธอปรารถนาการที่ทำในตน
โดยเคารพและด้วยดี.
บทว่า ครุกเรยฺยุ ( ควรตระหนัก ) คือ ควรทำให้หนัก. ด้วย
คำว่า ควรตระหนัก นี้ เธอปรารถนาจะให้ภิกษุทั้งหลายตั้งตัวเธอไว้ใน
ฐานะเป็นครู.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 384
บทว่า มาเนยฺย (ควรนับถือ) คือ ควรรักใคร่.
บทว่า ปูเชยฺยุ (ควรบูชา) ความว่า เธอปรารถนาการบูชา
ด้วยปัจจัยว่า คนทั้งหลายเมื่อสักการะเคารพนับถือเรา ก็ต้องบูชาเราด้วย
ปัจจัยทั้งหลายอย่างนี้.
บทว่า าน (เหตุที่ตั้ง) ความว่า ภิกษุผู้เป็นพหูสูตและเป็น
ผู้มีศีล มีประการดังที่กล่าวแล้วว่า เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่นับถือ
สมควรกะวิธีนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงอธิบายไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ควร
ทำแบบนี้ คือ อย่างนี้.
บทว่า กุปิโต ( โกรธเคืองแล้ว ) ความว่า แม้ภิกษุรูปนี้
จะโกรธเคือง ในเพราะเหตุ ๒ สถาน คือ โกรธเคืองภิกษุทั้งหลายว่า
ภิกษุเหล่านี้สักการะภิกษุนั้น และโกรธเคืองพระเถระว่า เมื่อไม่มีพระ
เถระรูปนี้ ภิกษุทั้งหลายต้องสักการะเราคนเดียวเท่านั้น. ในวาระ (ตอน)
อื่น อีก ๓ วาระต่อจากนี้ ก็มีนัยนี้.
[๖๘] บทว่า ปณีตาน จีวราน (จีวรประณีต) ได้แก่ ผ้าจีวร
ที่มีราคาแพง เนื้อละเอียด มีสัมผัสอ่อนนิ่ม (ห่มสบาย) มีผ้าธรรมดา
ผ้าเปลือกไม้ ผ้าไหมที่ฟอกแล้วและผ้าไหมธรรมดา เป็นต้น .
ความปรารถนาว่า เราเท่านั้นควรมีลาภ ไม่ชื่อว่ามีโทษมากมาย
ในที่นี้เลย. แต่มีโทษมากมายคือความต้องการว่า ขออย่าให้คนอื่นมีลาภ.
[๖๙] บทว่า ปณีตาน ปิณฺฑปาตาน (บิณฑบาตประณีต)
คือบิณฑบาตที่ดีที่สุด เพียบพร้อมไปด้วยรสเนยใส รสน้ำมัน และรสเนื้อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 385
เป็นต้น ๑
บทว่า ปณีตาน เสนาสนาน (เสนาสนะประณีต) คือ ที่นั่ง
ที่นอนมีเตียงและตั่งเป็นต้น ที่มีค่าหลายแสน.
บทว่า ปณีตาน คิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขาราน (บริขารคือยา
ที่เป็นปัจจัยแก่ผู้ป่วย) คือ ยาชั้นสูงมีเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย
เป็นต้น. แม้ทุกวาระควรประกอบเหตุเป็นที่ตั้งเข้ากับด้วยผู้เป็นพหูสูต
และผู้มีบุญทั้งหลาย.
บทว่า กุปิโต ( ขุ่นเคืองแล้ว ) ได้แก่ขุ่นเคืองในเพราะเหตุ ๒ สถาน
คือ ขุ่นเคืองคนทั้งหลายว่า ขึ้นชื่อว่า คนเหล่านี้ไม่มีการอบรมสั่งสม
(บุพพบารมี) เลย เราอยู่ร่วมกันนาตลอดกาลยาวนาน ถึงจะเดินไปตาม
ลำดับเรือนเพื่อต้องการผ้าบังสุกุล หรือว่าเพื่อต้องการบิณฑบาต
หรือเพราะเหตุแห่งเนยใสและน้ำมันเป็นต้น คนเหล่านี้ก็ไม่ถวายปัจจัย ๔
ที่ประณีตอะไรแม้แต่วันเดียว แต่พอเห็นหลวงตา ผู้เป็นแขกมาเท่านั้น
ก็พากันถวายสิ่งที่ท่านต้องการ และขุ่นเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า หลวงตา
รูปนี้เที่ยวแสดงตนให้คนเหล่านั้นเห็น เมื่อไรภิกษุผู้เป็นธรรมกัมมิกะ
จะฉุดคร่าแกออกไป เมื่อไม่มีหลวงตารูปนี้ เราคนเดียวต้องมีลาภ.
บทว่า อิเมส โข อาวุโส (เหล่านี้แล ) หมายความว่า
(อกุศลธรรมทั้งหลาย ) เหล่านั้นที่เป็นแดนของอิจฉาที่ได้กล่าวแต่หนหลัง
โดยวาระ ๑๙ วาระ.
[๗๐] บทว่า ทิสฺสนฺติ เจว สุยฺยนฺติ จ (ยังเห็นอยู่และ
ได้ยินอยู่ ) หมายความว่า บาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจร (เป็นแดงอิจฉา )
๑. ฉบับพม่า เป็น สปฺปิเตลมธุสกฺกราทิปูริตาน เพียบพร้อมไปด้วย เนยใส, น้ำมัน, น้ำผึ้ง
และน้ำตาลกรวดเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 386
ไม่ใช่เห็นได้ด้วยจักษุ ไม่ใช่ได้ยินด้วยโสต. แต่ครั้นได้เห็นกายกรรมของ
บุคคลผู้ละบาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจรยังไม่ได้ ที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจ
ของอกุศลที่เป็นอิจฉาวจร ก็เป็นเหมือนกับได้เห็นแล้ว และครั้นได้ยิน
วจีกรรมของบุคคลผู้ละบาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจรยังไม่ได้ ที่เป็นไปด้วย
อำนาจกุศลที่เป็นอิจฉาวจร ก็เป็นเหมือนกับได้ยินแล้ว เพราะเป็นอารมณ์
ของมโนวิญญาณ. เพราะฉะนั้น ท่านะพระสารีบุตรเถระจึงได้กล่าวไว้ว่า
ยังเห็นอยู่และได้ยินอยู่. อธิบายว่า เห็นอยู่ตลอดกาลที่ยังประจักษ์อยู่
(ส่วน) ได้ยินในเวลาที่ผ่านมาแล้วว่า ได้ทราบว่า ภิกษุรูปโน้น ก็เช่น
รูปนี้.
บทว่า กิญฺจาปิ ( ถึงแม้ว่า ) เป็นต้น เป็นการกล่าวยกย่องและ
การตำหนิ. ด้วยคำนั้นท่านยกย่องการอยู่ป่าเป็นวัตร ( และ ) ตำหนิการ
ละบาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจรยังไม่ได้.
ในข้อนั้น มีการประกอบความดังนี้ว่า ภิกษุนั้นถึงแม้ว่า จะห้าม
เสนาสนะท้ายบ้านอยู่ป่าประจำ อยู่ในเสนาสนะอันสงบที่ชายแดน ก็จริง
แต่ว่าบาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจรเหล่านี้ คือประมาณเท่านี้ เธอยังละไม่ได้
ถึงเธอจะปฏิเสธลาภฟุ่มเฟือยถือบิณฑบาตเป็นประจำบ้าง จะเว้นการไป
บิณฑบาตไม่เป็นที่เป็นทางไปตามลำดับตรอกเป็นปกติบ้าง จะปฏิเสธ
จีวรที่ชาวบ้านถวายใช้สอยแต่ผ้าบังสุกุลเป็นประจำบ้าง ก็จริง ( แต่เธอ
ก็ยังละบาปอกุศลที่เป็นอิจฉาวจรเหล่านี้ยังไม่ได้).
ส่วนคำว่า เศร้าหมอง ในคำว่า ลูขจีวรธโร ( ครองจีวรเศร้า-
หมอง) นี้ พึงทราบว่า เศร้าหมอง เพราะเหตุ ๓ ประการ คือ เศร้าหมอง
เพราะศัสตรา ๑ เศร้าหมองเพราะด้าย ๑ เศร้าหมองเพราะสีย้อม ๑.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 387
ในจำนวน ๓ อย่างนี้ ผ้าตัดให้ขาดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยด้วยศัสตรา
ชื่อว่า เศร้าหมองเพราะศัสตรา ผ้านั้นจะเสื่อมราคา.
ผ้าที่ทอด้วยด้ายหยาบและยาว ชื่อว่า เศร้าหมองเพราะด้าย ผ้านั้น
ไม่น่าสัมผัส สัมผัสกระด้าง (ห่มสาก).
ผ้าที่ย้อมด้วยสีย้อมผ้า (น้ำฝาด ) ชื่อว่าเศร้าหมองเพราะสีย้อม ผ้า
นั้นจะเสียสี มีสีไม่สวย.
ถึงภิกษุนั้นจะครองจีวร เศร้าหมองเพราะศัสตรา เศร้าหมองเพราะ
ด้าย หรือเศร้าหมองเพราะสีย้อม ก็จริง. แต่ว่า อกุศลที่เป็นอิจฉาวจร
เหล่านี้ เธอยังละไม่ได้ คนยังเห็นอยู่และได้ยินอยู่ โดยที่แท้แล้ว ผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยกัน ที่เป็นปัญญาชน (วิญญู) จะไม่สักการบูชา
เธอเลย.
คำว่า ต ในคำว่า ต กิสฺส เหตุ นี้เป็นเพียงนิบาต.
คำว่า กิสฺส เหตุ คือ กึการณา แปลว่า เพราะเหตุอะไร ?
มีคำอธิบายไว้ว่า เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นของเธอ ยังเห็นและได้ยินด้วยอยู่
คือ เพราะอกุศลธรรมที่ลามกเหล่านั้นของเธอ ยังเห็นกันอยู่และได้ยิน
กันอยู่. เพราะอกุศลธรรมเหล่านี้ ที่เป็นอิจฉาวจรเธอยังละไม่ได้ ที่ว่ามานี้
เป็นคำอธิบายว่า เพราะเหตุอะไร นี้.
ต่อไปนี้ท่านพระสารีบุตร เมื่อจะอธิบายเนื้อความนั้นให้ปรากฏ
(ให้ชัด ) ด้วย ข้ออุปมา จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ (แม้ฉันใด ).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณป (ซากศพ) ได้แก่ ซากของ
สัตว์ที่ตายแล้ว ซากของงู ชื่อว่าซากศพงู. (ซากศพของสุนัขและของ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 388
มนุษย์) นอกจากนี้ก็เหมือนกัน. และซากศพทั้ง ๓ นี้นั้นแหละพึงทราบ
ว่า ท่านพระสารีบุตรกล่าวไว้แล้ว ในคำอุปมานี้ เพราะความเป็นของ
ปฎิกูลและน่าเกลียดเหลือเกิน. ความจริงซากศพของสัตว์เหล่าอื่นมีสัตว์
เลี้ยงและสุกรเป็นต้น คนทั้งหลายปรุงกับเครื่องเผ็ดร้อนเป็นต้น (เครื่อง
แกง ) รับประทานก็มี. แต่ซากศพของสุนัขและมนุษย์เหล่านี้ ถึงจะยัง
ใหม่ คนทั้งหลายก็ยังรังเกียจอยู่ จะกล่าวไปไยถึงซากศพที่ล่วงเลยเวลา
ไปแล้ว ที่เน่าแล้ว ไม่ต้องพูดถึง.
บทว่า รจยิตฺวา ( วางไว้ ) คือเพิ่มเข้าไป หมายความว่า บรรจุ
ให้เต็ม. มีคำอธิบายไว้ว่า เอาซากศพนั้นบรรจุไว้ในถาดทองสัมฤทธิ์.
บทว่า อญฺิสฺสา แปลว่า (ด้วยถาดสัมฤทธิ์) ใบอื่น.
บทว่า ปฏิกุชฺชิตฺวา (ครอบ) คือ ปิด.
บทว่า อนฺตราปณ (ระหว่างตลาด ) คือปากซอยที่มีนหาชน
หนาแน่นในท้องตลาด.
บทว่า ปฏิปชฺเชยฺยุ (พึงดำเนินไป) คือพึงเดินไป.
บทว่า ชญฺชญฺ วิย (เหมือนจะน่ารู้ น่าสนใจ) ความว่า
เหมือนจะเลอเลิศ คือ เหมือนจะน่าพออกพอใจ. อีกอย่างหนึ่ง มีคำ
อธิบายว่า เหมือนหญิงสาวนำเครื่องบรรณาการมา. ความจริงหญิงสาว
เขาเรียกว่า แม่หญิง. บรรณาการที่หญิงสาวนั้นกำลังนำมาเป็นสิ่งที่น่ารู้
ท่านจึงได้กล่าวไว้ในคำทั้งคู่ ด้วยอำนาจแห่งความเอื้อเฟื้อบ้าง ด้วย
อำนาจแห่งการสรรเสริญบ้าง. ปาฐะว่า ชญฺ ชญฺ วิย ดังนี้ก็มี.
บทว่า อปาปุริตฺวา (ไม่ปิด ) คือเปิด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 389
ข้อว่า ตสฺส สห ทสฺสเนน อมนาปตา จ สณฺเหยฺย (ความ
ที่เขาไม่พอใจพร้อมกับการได้เห็น พึงดำรงอยู่ ) ความว่า ความที่คนนั้น
ไม่พอใจพร้อมกับการได้เห็นซากศพนั้นนั่นเอง พึงดำรงอยู่. ก็คำว่า
อมนาปตา ความเป็นของไม่น่าพอใจนี้ เป็นชื่อของจิตและเจตสิกที่เกิด
ขึ้นแล้วว่า นี้เป็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ.
ในความปฏิกูลและน่าเกลียด ก็มีนัยนี้.
คำว่า ชฺฆจฺฉิตานมฺปิ (แม้ผู้หิวแล้ว) คือแม้ผู้หิวโหยแล้ว.
ข้อว่า น โภตฺตุกมฺยตา อสฺส (ความต้องการจะบริโภค คง
ไม่มี) ความว่า ความประสงค์จะบริโภค คงไม่มี.
ในคำว่า ปเคว สุหิตาน ( จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้อิ่มแล้ว)
มีคำอธิบายไว้ว่า แต่สำหรับคนที่หิว ก็คงไม่มีความอยากกินก่อนทีเดียว.
ในเรื่องนั้นมีการเปรียบเทียบข้ออุปมาดังต่อไปนี้ (คือ) เพศบรรพชา
ของคนคนนี้ เช่นกับถาดทองสัมฤทธิ์ที่สะอาด การละอิจฉาวจรยังไม่
ได้ เหมือนกับการวางซากศพไว้ การกลบเกลื่อนอิจฉาวจรไว้ ด้วยการ
อยู่ป่าเป็นประจำเป็นต้น เหมือนกับการเอาถาดทองสัมฤทธิ์ใบอื่นครอบ
ไว้, การไม่ทำสักการะเป็นต้นของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เพราะเห็น
อิจฉาวจร (ของเธอ) โดยไม่เอื้อเฟื้อถึงธุดงค์มีอารัญญิกังคธุดงค์เป็นต้น
เหมือนกับความไม่พอใจของตนเพราะเปิดถาดทองสัมฤทธิ์แล้วเห็นซาก
ศพ.
ส่วนในธรรมฝ่ายขาว พึงทราบอรรถาธิบาย ดังต่อไปนี้. คำว่า
กิญฺจาปิ เป็นต้นเป็นทั้งคำส่งเสริมเป็นทั้งคำยกย่อง. ด้วยคำว่า กิญฺจาปิ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 390
นั้น ท่านพระสารีบุตรส่งเสริมการอยู่ป่าเป็นประจำ ยกย่องการละ
อิจฉาวจร.
[๗๑] บทว่า เนมนฺตนิโก (ผู้รับนิมนต์) คือปฏิคาหกผู้รับ
นิมนต์.
บทว่า วิจิตกาฬก ( ขาวสะอาด ) คือปราศจากดำเจือปน.
ในคำว่า กับข้าวหลายอย่าง แกงมากอย่าง นี้ สิ่งที่นำไปได้
ด้วยมือเรียกว่า "สูปะ" ( กับข้าว ) คำว่า แกง คือแกงอ่อม. ด้วยคำ
ทั้ง ๒ นั้น ท่านได้กล่าวคำอธิบายไว้ว่า กับข้าวหลายอย่างมีกับข้าวคือ
ปลา เนื้อ และถั่วเขียวเป็นต้น แกงหลายชนิด มีแกงเนื้อนานาชนิด
เป็นต้น. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นเทอญ. และควรทราบ
อรรถาธิบาย ในการเปรียบเทียบคำอุปไมยกับคำอุปมา (ต่อไป) การละ
อิจฉาวจรได้ เหมือนการจัดแจงข้าวสุกข้าวสาลีลงในถาดทองสัมฤทธิ์
การปิดคือการละอิจฉาวจรด้วยการอยู่วัดท้ายบ้านเป็นต้นที่เป็นสมุฏฐาน
แห่งความปรารถนาน้อย เหมือนการครอบด้วยถาดสัมฤทธิ์ใบอื่น ควร
ทราบการทำสักการะเป็นต้นของเพื่อนพรหมจารี เพราะไม่ยินดีการอยู่วัด
ภายในหมู่บ้านเป็นต้นแล้วละอิจฉาวจรได้ เหมือนความพอใจของคน
เพราะได้เปิดถาดทองสัมฤทธิ์เห็นข้าวสาลีหุงชั้นดี.
[๗๒] ข้อว้า อุปมา ม อาวุโส สารีปุตฺต ปฏิภาติ (ข้าแต่
ท่านพระสารีบุตรอุปมาแจ่มแจ้งแก็ผม ) ความว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร
อุปมาปรากฏแก่กระผม มีอธิบายว่า กระผมประสงค์จะกล่าวอุปมาข้อหนึ่ง
( ถวาย ).
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 391
บทว่า ปฏิภาตุ ต ( จงแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด ) คือจงแจ่มแจ้ง
ได้แก่ ปรากฏแก่ท่านเถิด อธิบายว่า นิมนต์กล่าวเถิด.
คำว่า อิท ในคำว่า เอกมิทาห เป็นเพียงนิบาต. มีคำอธิบาย
ไว้ว่า สมัยหนึ่ง กระผม.
คำว่า เอก นี้เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในความหมายของสัตตมีวิภัตติ.
บทว่า ราชคฤห์ ในคำว่า ราชคเห วิหรามิ คิริพฺพเช นี้ เป็นชื่อ
ของนครนั้น. นครราชคฤห์ คนเรียกว่า คิริพชะ เพราะตั้งอยู่เหมือน
ดอก โดยมีภูเขาล้อมรอบ. ท่านพระโมคคัลลานะกล่าวไว้ว่า กระผม
อยู่ที่นครนั้น คืออาศัยนครนั้นอยู่.
บทว่า อถขฺวาห ตัดบทเป็น อถโข อห ( แปลว่า ครั้งนั้นแล
กระผม ). และคำว่า อถ ในคำว่า อถขฺวาห นี้ เป็นนิบาต ใช้ในคำ
เริ่มต้นที่พูดเรื่องอื่น. ศัพท์ว่า โข ก็เป็นนิบาต ใช้ในความหมายเพียง
ยังบทให้เต็ม.
บทว่า ปุพฺพณฺหสมย ( ในเวลาเช้า ) มีอธิบายว่า เวลา ส่วน
ต้นของวัน คือในช่วงเช้า.
อีกอย่างหนึ่ง ตอนต้นของวันชื่อว่า ปุพพัณหสมัย มีคำอธิบายว่า
ชั่วขณะหนึ่งในตอนเช้า. โดยอาการอย่างนี้จะได้ทุติยาวิภัตติในอัจจันต-
สังโยค.
บทว่า นิวาเสตฺวา ( นุ่งแล้ว ) คือครองผ้าแล้ว คำว่า นุ่งแล้ว
นั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่งการผลัดเปลี่ยนผ้านุ่งในวัดนั้นเอง. อีก
อย่างหนึ่ง พึงทราบด้วยสามารถแห่งการยืนนุ่ง เพื่อต้องการจะเข้าบ้าน
มิใช่ว่าก่อนหน้านี้ท่านไม่ได้นุ่งเลย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 392
บทว่า ปตฺตจีวรมาทาย ( ถือเอาบาตรและจีวร) หมายความว่า
มือถือบาตร ร่างกายครองจีวร.
บทว่า ปิณฺฑาย ( เพื่อบิณฑบาต) ความว่า เพื่อต้องการ
บิณฑบาต.
บทว่า สมิติ เป็นชื่อบุตรของช่างยานคนหนึ่ง.
บทว่า ยานการปุตฺโต ( บุตรของช่างยาน) คือลูกของช่างรถ.
บทว่า ปณฺฑุปุตฺโต (ปัณฑุบุตร) ได้แก่ลูกของนักบวชโล้น.
บทว่า อาชีวโก ได้แก่ ชีเปลือย.
บทว่า ปุราณยานการปุตฺโต ( บุตรของช่างยานเก่า) ได้แก่
ลูกของตระกูลช่างยานเก่า.
บทว่า ปจฺจุปฏฺิโต ( ปรากฏตัว) คือเข้าไปยืน (ให้เห็น).
โก่งข้างหนึ่งชื่อว่า งอ. คด เช่นกับทางงูเลื้อย ( คลองงู ).
บทว่า โทส ( โทษ) ได้แก่กระพี้และปมที่ขรุขระเป็นต้น.
บทว่า ยถา ยถา เป็นนิบาต ใช้ในความหมายถึงกาลเวลา มีคำ
อธิบายว่า เมื่อใด ๆ คือในกาลใด ๆ.
บทว่า ตถา ตถา นี้ ก็มีเนื้อความบ่งถึงกาลเหมือนกัน. มีคำ
อธิบายไว้ว่า ในกาลนั้น ๆ. อาชีวกนั้นคิดโดยอนุโลม ตามที่ได้ศึกษามา
แต่อีกคนหนึ่ง (นายสมิติ) ถากตรงที่อาชีวกคิดนั่นแหละ ในขณะที่
เขาคิด.
บทว่า อตฺตมโน (ชอบใจ) คือถูกใจคน ได้แก่ ดีใจ หมายความว่า
มีปีติและโสมนัสจับใจ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 393
บทว่า อตฺตมนวาจ นิจฺฉาเรสิ ( เปล่งวาจาแสดงความชอบใจ )
คือเปล่ง ได้แก่กล่าว อธิบายว่า เผยวาจาด้วยความดีใจ หรือวาจา
ที่ควรแก่ความดีใจ.
ข้อว่า หทยา หทย มญฺเ อญฺาย (เหมือนรู้ใจ ด้วยใจ)
ความว่า เหมือนกับรู้ใจ ( เรา) ด้วยใจ ( เขา ).
บทว่า อสทฺธา (ไม่มีความเชื่อ ) คือปราศจากความเชื่อใน
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์.
บทว่า ชีวิกตฺถา ( เป็นผู้ต้องการเลี้ยงชีพ) คือ ถูกภัยมีหนี้เป็น
ต้นบีบคั้นไม่สามารถดำรงชีพภายนอกได้ จึงต้องการเลี้ยงชีพในศาสนานี้.
บทว่า น สทฺธา (ไม่มีศรัทธา) คือไม่ได้บวชด้วยศรัทธา.
บทว่า สา มายาวิโน (เป็นคนโอ้อวดมีมารยา) คือประกอบ
ด้วยมารยาสาไถย ( เจ้าเล่ห์โอ้อวด).
บทว่า เกฏุภิโน ( ผู้หลอกลวง ) คือผู้ได้ศึกษากลโกงมาแล้ว
มีคำอธิบายว่า ผู้สำเร็จการโอ้อวดตามกำลัง. อธิบายว่า การโอ้อวด
เขาเรียกว่า เกราฏิยะ ( กลโกง ) เพราะทำพร้อมกันไปกับการแสดง
คุณค่าของสิ่งไม่จริง โดยการแสดงคุณวิเศษที่ไม่มีจริง.
บทว่า อุนฺนฬา ( ถือตัว) คือยกตนขึ้นไป มีคำอธิบายว่า
ยกมานะเปล่าขึ้น.
บทว่า จปลา (วุ่นวาย) คือประกอบด้วยความวุ่นวาย มีการ
ตกแต่งบาตรและจีวรเป็นต้น.
บทว่า มุขรา ( ปากกล้า) คือปากแข็ง มีอธิบายว่า มีคำพูดกร้าว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 394
บทว่า วิกิณฺณวาจา ( มีวาจาเลอะเทอะ) คือมีถ้อยคำไม่สำรวม
ได้แก่ การพูดกันทั้งวันก็มีแต่คำไร้ประโยชน์.
บทว่า อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารา ( มีทวารไม่ได้ควบคุมในอิน-
ทรีย์ทั้งหลาย ) คือ มีทวารสำหรับทำกรรม ไม่ได้ระมัดระวังแล้วใน
อินทรีย์ทั้ง ๖.
บทว่า โภชเน อมตฺตญฺญุโน (ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค)
คือไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ที่พอให้ร่างกายอยู่ไปได้ คือความเป็น
ผู้มีความพอเหมาะ ในการแสวงหาการรับและการบริโภคที่ควรรู้.
บทว่า ชาคริย อนนุยุตฺตา ( ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่อง
ตื่นอยู่ ) คือไม่ประกอบความเพียรที่ทำให้ตื่นตัว.
บทว่า สามญฺเ อนเปกฺขวนฺโต ( ไม่มุ่งสมณภาวะ) มีอรรถา-
ธิบายว่า ไม่มุ่งสมณธรรม คือเว้นจากการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม.
บทว่า สิกฺขาย น ติพฺพคารวา (ไม่เคารพอย่างแรงกล้าใน
สิกขา ) คือไม่มีความเคารพมากในสิกขาบททั้งหลาย ได้แก่มากไป
ด้วยการต้องอาบัติ.
บทว่า พาหุลฺลิกา (หมกมุ่นอยู่กับปัจจัยมาก) เป็นต้น ข้าพเจ้า
ได้กล่าวไว้แล้วใน ( อรรถกถา ) ธรรมทายาทสูตร.
บทว่า กุสีตา ( ผู้เกียจคร้าน ) เป็นต้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว
ใน ( อรรถกถา ) ภยเภรวสูตร.
บทว่า ธมฺมปริยาเยน ( ด้วยธรรมปริยาย ) คือด้วยธรรมเทศนา
บทว่า สทฺธา อคารสฺมา ( มีศรัทธา ออกบวช จากเรือน )
เป็นต้น มีเนื้อควานว่า ตามปกติแล้ว ผู้บวชด้วยศรัทธา ชื่อว่าเป็นผู้มี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 395
ศรัทธาออกจากเรือนบวช เป็นอนาคาริยบุคคล ( ผู้ไม่มีเหย้าเรือน).
ข้อว่า ปิวนฺติ มญฺเ ฆสนฺติ มญฺเ (คงจะดื่ม คงจะกิน)
หมายความว่า เหมือนกับจะดื่มเหมือนกับจะกลืนกิน คือ เมื่อเปล่งวาจา
ด้วยความพอใจ ก็เหมือนกับดื่มด่ำด้วยวาจา เมื่ออนุโมทนายิ่งขึ้น ก็เหมือน
กับกินด้วยใจ.
บทว่า สาธุ วต (สาธุขอรับ) คือดีแล้วขอรับ.
บทว่า สพรหฺมจารี เป็นรัสสะก็ได้ เป็นทีฆะก็ได้ เมื่อเป็นรัสสะ
ข้างหน้าจะมี สารีปุตฺต อยู่ เมื่อเป็นทีฆะ ข้างหน้าจะมี สพฺรหฺมจารี
เมื่อใดข้างหน้ามี สารีปุตฺต เมื่อนั้นจะมีเนื้อความว่า ดูก่อนเพื่อน
พรหมจารี ท่านพระสารีบุตรให้เราทั้งหลายออกจากอกุศลแล้ว. เมื่อใดมี
สพฺรหฺมจารี อยู่ข้างหน้า เมื่อนั้นจะมีเนื้อความว่า ท่านพระสารีบุตร
ให้เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายออกจากอกุศลแล้ว ( ดำรงอยู่ในธรรม ).
บทว่า ทหโร คือ ยังรุ่น.
บทว่า ยุวา คือ อยู่ในวัยหนุ่มสาว.
บทว่า มณฺฑนกชาติโก (ชอบแต่งตัว ) หมายความว่า มีสภาพ
ชอบเครื่องแต่งตัว ( ปกติชอบแต่งตัว ).
บรรดาทั้ง ๒ ประเภทนั้น ลางคนถึงจะรุ่น แต่ก็ยังไม่เป็นหนุ่ม
เป็นสาวเหมือนคนหนุ่มสาว. แต่ลางคนถึงจะเป็นหนุ่มเป็นสาว ก็ไม่ชอบ
แต่งตัวเหมือนผู้ที่มีความสงบเป็นสภาพ หรือถูกความเกียจคร้านหรือ
ความเสื่อมครอบงำ ส่วนในที่นี้ประสงค์เอาคนทั้งยังรุ่นทั้งเป็นหนุ่มเป็น
สาวและชอบแต่งตัว. เพราะฉะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าว
ไว้อย่างนี้. คำว่า ถือด้วย เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ เพราะเป็นสมมติของโลก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 396
บทว่า อิติห เต เท่ากับ เอว เต ( แปลว่าด้วยประการดังที่
กล่าวมาแล้วนั้น ท่านทั้ง ๒ นั้น).
บทว่า อุโภ มหานาคา (ท่านมหานาคทั้งคู่ ) หมายถึงผู้ยิ่งใหญ่
ทั้ง ๒ องค์. เพราะว่าท่านอัครสาวกทั้ง ๒ องค์นี้ พุทธบริษัททั้งหลาย
เรียกว่า มหานาค.
ในคำว่า มหานาค นั้นมีอรรถพจน์ ดังต่อไปนี้
ผู้ไม่ลำเอียงด้วยอคติทั้งหลาย มีฉันทาคติเป็นต้นชื่อ นาคะ.
ผู้ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้ด้วยมรรคนั้น ๆ แล้วชื่อว่า นาคะ
ผู้ไม่ทำบาป ( ความชั่วที่เป็นเหตุให้กลับมา) มีประการต่าง ๆ
ชื่อว่า นาคะ.
นี้เป็นเนื้อความสังเขปในคำว่า นาคะ. ส่วนความพิสดารพึงทราบ
ตามนัยที่ได้กล่าวไว้ในมหานิเทศนั้นเทอญ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบเนื้อ
ความในกถานี้อย่างนี้ว่า
ผู้ไม่ทำบาปอะไรไว้เลยในโลก สลัดกิเลสเครื่อง
ประกอบสัตว์ไว้ในภพทุกอย่าง และเครื่องผูกทั้งหลาย
ได้ ไม่ต้องอยู่ในภพทั้งมวล เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว
ผู้คงที่ ท่านเรียกว่า นาคะ เพราะความเป็นอย่างนั้น.
นาคใหญ่ ชื่อมหานาคะ. อธิบายว่า มหานาคนั้น ควรบูชากว่า
และควรสรรเสริญกว่านาคผู้ขีณาสพเหล่าอื่น.
บทว่า อญฺมญฺสฺส (ของกันและกัน) ความว่า องค์หนึ่ง
ชมเชยอีกองค์หนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 397
บทว่า สมนุโมทึสุ (อนุโมทนาพร้อม) ตัดบทเป็น สม อนุโมทึ สุ
แปลว่า อนุโมทนาเท่า ๆ กัน. ในคำอนุโมทนานั้น พระธรรมเสนาบดี
กล่าวว่า พระมหาโมคคัลลานะ อนุโมทนาด้วยอุปมานี้ว่า ท่านครับ
ข้อนั้นจงแจ่มแจ้ง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระเถระทั้ง ๒
อนุโมทนาคำสุภาษิตของกันและกัน.
จบ อรรถกถาอนังคณสูตร
จบ สูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 398
๖. อากังเขยยสูตร
[๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอัน
สมบูรณ์ มีปาฏิโมกข์อันสมบูรณ์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวม
ในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นภัยใน
โทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.
ความหวังที่ ๑
[๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงเป็น
ที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อน
พรหมจรรย์ทั้งหลายเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบ
ด้วยวิปัสสนาเพิ่มพูน ( การอยู่ใน) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๒
[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ขอเราพึงได้
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 399
ภิกษุนั้นควรกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอัน
เป็นไปในภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน
( การอยู่ใน ) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๓
[๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราบริโภคจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาและมนุษย์
เหล่าใด สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นพึงมีผลานิสงส์มาก
ดังนี้ ภิกษุนั้นควรกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับ
จิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน
(การอยู่ใน ) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๔
[๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า ญาติและ
สาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับทำกาละไปแล้ว มีจิตใจเลื่อมใส ระลึก
ถึงอยู่ ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใสของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น
พึงมีผลานิสงส์มากเถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรการทำให้บริบูรณ์ในศีล
ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง
ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๕
[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็น
ผู้ข่มความไม่ยินดีและความยินดีได้ อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงำ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 400
เราได้เลย เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิต
อันเป็นไปในภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน
( การอยู่ใน ) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๖
[๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราจะพึงเป็น
ผู้ข่มความกลัว และความขลาดได้ อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่า
พึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัว และความขลาด
ที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง
เพิ่มพูน ( การอยู่ใน) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๗
[๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราเป็นผู้ได้
ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นกับจิตที่ผ่องใสยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา พึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิต
อันเป็นไปในภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา
เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๘
[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงถูกต้อง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 401
ด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว เป็นธรรมไม่มีรูปสงบ
ระงับอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบ
ธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบ
วิปัสสนา เพิ่มพูน ( การอยู่ใน ) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๙
[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็น
โสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็น
ธรรมดา เป็นผู้เที่ยง (ที่จะตรัสรู้) มีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้
ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิต
อันเป็นไปในภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่ม
พูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๑๐
[๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลา ย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราเป็นพระ
สกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ ( และ) เพราะราคะ
โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง พึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วพึง
ทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบ
ธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบ
ด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๑๑
[๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 402
อุปปาติกสัตว์ เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ พึงปริ-
นิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด
ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่อง
ระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วย
วิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๑๒
[ ๘๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุ
อิทธิวิธิหลายประการ คือคนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็น
คนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขา
ไปได้ ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้น ดำลง แม้ใน
แผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ พึงเดินบนน้ำ ไม่แตกแยก เหมือนเดินบน
แผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระ
อาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด
พรหมโลกก็ได้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทำไห้บริบูรณ์ในศีล
ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของคน ไม่ทำฌานไห้เหินห่าง ประกอบ
วิปัสสนา เพิ่มพูน ( การอยู่ใน) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๑๓
[๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงได้ยิน
เสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้
ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 403
เป็นผู้การทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปใน
ภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การ
อยู่ใน ) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๑๔
[๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจึงพึงหวังว่า เราพึงกำหนด
รู้ใจของสัตว์อัน ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ
หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมี
โทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้
ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่
ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่า
จิตเป็นมหัคคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะ จิตมีจิต
อันยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิต
ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ
ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่
หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทำให้
บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทำ
ฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน )
สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๑๕
[๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงระลึก
ชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 404
สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบ
ชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง
แสนชาติบ้าง ตลอดสังกัดกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมาก
บ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ในภพโน้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
เสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้
ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี
กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เรา
พึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทศ
ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้นควรเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล
ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไปในภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง
ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน (การอยู่ใน ) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๑๖
[ ๘๙ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็น
หมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกาย-
ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือ
การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาจะเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 405
มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วย
อำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราพึง
เห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้ ภิกษุ
นั้นควรเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอัน
เป็นไปในภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน
(การอยู่ใน ) สุญญาคาร.
ความหวังที่ ๑๗
[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงทำให้
แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น
พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตอันเป็นไป
ในภายใน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูน
(การอยู่ใน) สุญญาคาร.
คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายะจงเป็น
ผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาฏิโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด เธอทั้งหลายจง
เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ
โคจรอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มักเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้ คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 406
จึงได้กล่าวแล้วฉะนั้นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไค้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น
มีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.
จบ อากังเขยยสูตรที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 407
อรรถกถาอากังเขยยสูตร
[๗๓] อากังเขยยสูตร มีคำขึ้นต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้า
ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนสีลา ความว่า ความถึง
พร้อม มี ๓ อย่าง คือ ความบริบูรณ์ ความพรั่งพร้อม และความ
หวาน.
ความถึงพร้อม ๓ อย่าง
บรรดาความถึงพร้อมทั้ง ๓ อย่างนั้น ความถึงพร้อมที่มาแล้วว่า
ดูก่อนโกสิยะ นกแขกเต้าทั้งหลาย ย่อมบริโภครวง
ข้าวสาลีที่สมบูรณ์แล้ว ดูก่อนพราหมณ์ เราขอบอก
ท่านว่า เราไม่สามารถห้ามนกแขกเต้านั้นได้ ดังนี้
นี้ชื่อว่า ความถึงพร้อมคือความบริบูรณ์.
ความถึงพร้อมนี้ว่า ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว เข้า
ไปใกล้แล้ว เข้าไปใกล้พร้อมแล้ว เข้าถึงแล้ว สมบูรณ์แล้ว ประกอบ
แล้วด้วยปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น ดังนี้ ชื่อว่าความถึงพร้อมคือการ
พรั่งพร้อม.
ความถึงพร้อมนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พื้นต่ำสุดแห่งมหาปฐพีนี้
มีรสหวาน น่าชอบใจ เหมือนน้ำผึ้งหวี่ที่ไม่มีโทษ (ขี้ง้วน) เจือปน
ฉะนั้น ดังนี้ ชื่อว่า ความถึงพร้อมคือความหวาน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 408
แต่ในสูตรนี้ควรได้แก่ความถึงพร้อมคือความบริบูรณ์บ้าง ความ
ถึงพร้อมคือความพรั่งพร้อมบ้าง เพราะฉะนั้น ในบทว่า สมฺปนฺนสีลา
พึงทราบความอย่างนี้ว่า
บทว่า สมฺปนฺนสีลา ความว่า เป็นผู้มีศีลบริบูรณ์ดังนี้บ้าง เป็น
ผู้พรั่งพร้อมด้วยศีล ดังนี้บ้าง.
ความหมายของศีล
บทว่า สีล ความว่า ที่ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่ากระไร. ที่ชื่อ
ว่าศีลเพราะอรรถว่าเป็นที่รองรับ.
ข้อความโดยพิสดารของบทว่าศีลนั้น ได้กล่าวไว้แล้วในปกรณ์
วิเศษ ชื่อวิสุทธิมรรค. แม้ในปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรคนั้น ด้วยอรรถ
นี้ว่า ปริปุณฺณสีลา นี้เป็นอันได้กล่าวความบริบูรณ์ของศีลไว้แล้ว เพราะ
ปราศจากโทษของศีล เหมือนท่านกล่าวความบริบูรณ์ของนาไว้ เพราะ
ปราศจากโทษของนาฉะนั้น.
โทษของนา ๔
เหมือนอย่างว่า นาที่ประกอบด้วยโทษ ๔ อย่าง คือพืชเสีย ๑
การหว่านไม่ดี ๑ น้ำไม่ดี ๑ ที่ดินไม่ดี ๑ ย่อมเป็นนาที่บริบูรณ์ไม่ได้.
บรรดาโทษ ๔ อย่างนั้น พืชที่หัก หรือเน่าในระหว่าง ๆ มีอยู่
ในนาใด นานั้นชื่อว่านามีพืชเสีย.
ชนทั้งหลายหว่านพืชเหล่านั้นลงในนาใด ข้าวกล้าย่อมไม่งอกขึ้น
ในนานั้น นาก็จัดว่าเป็นนาที่เสีย.
ชาวนาผู้ไม่ฉลาด เมื่อหว่านพืช ย่อมหว่านให้ตกไปเป็นหย่อม ๆ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 409
ในนาใด นานั้นชื่อว่ามีการหว่านเสีย. เพราะเมื่อหว่านอย่างนี้ ข้าวกล้า
ย่อมไม่งอกขึ้นทั่วทุกแห่ง ที่นาก็จัดว่าเป็นนาเสีย.
ในนาลางแห่งมีน้ำมากเกินไป หรือไม่มีเลย นานั้นชื่อว่าขาดน้ำ
เพราะว่ากล้าจะไม่งอกขึ้น แม้ในนานั้น นาก็จัดว่าเป็นนาเสีย. ในบาง
ท้องถิ่น ชาวนาเอาไถไถพื้นที่ถึง ๔ - ๕ ครั้ง ให้พ่นที่ลึกเกินไป ต่อแต่
นั้นดินจะเกิดเค็ม นานั้นชื่อว่านามีดินเสีย. เพราะว่า ในนาที่เสียนั้น
ข้าวกล้าย่อมไม่งอกขึ้น นาก็จัดว่าเป็นนาเสีย. และนาเช่นนั้น จะไม่มี
ผลิตผลมาก เพราะว่า แม้ในนานั้น ถึงจะหว่านพืชลงไปมากก็ได้รับผล
น้อย.
แต่ว่า นาที่จัดว่าเป็นนาบริบูรณ์ เพราะปราศจากโทษ ๔ อย่าง
เหล่านี้. และนาเช่นนั้น จัดเป็นนาที่มีผลิตผลมาก ฉันใด ศีลซึ่ง
ประกอบด้วยโทษ ๔ อย่าง คือ ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย จะจัดเป็นศีล
ที่บริบูรณ์ไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน. และศีลเช่นนั้น เป็นศีลหามีผลานิสงส์
มากไม่. แต่ศีลจะจัดว่าเป็นศีลที่บริบูรณ์ได้ ก็เพราะปราศจากโทษ ๔
อย่างเหล่านี้. ก็ศีลเช่นนั้นจัดว่าเป็นศีลที่มีผลานิสงส์มาก.
ศีลสมบูรณ์ด้วยเหตุ ๒ ประการ
ก็ด้วยอรรถนี้ว่า สีลสมงฺคิโน เป็นอันท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า
เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้พร้อมเพรียง คือเป็นผู้ถึงความพรั่งพร้อม ได้แก่
ประกอบด้วยศีลอยู่เถิด ดังนี้.
ในบทว่า สมฺปนฺนสีลา นั้น ความเป็นผู้มีศีลถึงพร้อมย่อมมีได้
ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ เพราะการเห็นโทษในการวิบัติแห่งศีล ๑
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 410
เพราะเห็นอานิสงส์ในการถึงพร้อมแห่งศีล ๑.
คุณชาติทั้ง ๒ อย่างนี้ ท่านได้ให้พิสดารแล้วในปกรณ์วิเศษชื่อ
วิสุทธิมรรค.
พระสุมนเถระชาวทีปวิหาร กล่าวไว้ว่า ได้ยินว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงยกจตุปาริสุทธิศีลขึ้นแสดง ด้วยพระดำรัสมีประมาณ
เท่านี้ว่า สมฺปนฺนสีลา ในบรรดาบทเหล่านั้น แล้วทรงแสดงศีลที่เป็น
ประธานในบรรดาศีลเหล่านั้น อย่างพิสดาร ด้วยบทนี้ว่า ปาฏิโมกฺข-
สวรสวุตา ดังนี้.
ส่วนพระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกซึ่งเป็นอันเตวาสิกของ
พระสุมนเถระนั้น กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาฏิโมกขสังวรศีล
ไว้ในบาลีประเทศถึง ๒ แห่ง ปาฏิโมกขสังวรเท่านั้น ชื่อว่าศีล (แต่
อาคต) สถานที่กล่าวรับรองไว้ว่า ศีล ๓ อย่างนอกนี้ที่เป็นศีล ก็มีอยู่ ท่าน
เมื่อไม่เห็นด้วยจึงกล่าวแย้งไว้แล้ว กล่าว ( ต่อไป ) ว่า คุณ เพียงแต่
การรักษาทวารทั้ง ๖ ก็ชื่อว่า อินทรียสังวร คุณ เพียงแต่การบังเกิดขึ้น
แห่งปัจจัยโดยธรรมโดยสม่ำเสมอ ก็ชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิ คุณ เพียงแต่
การพิจารณาปัจจัยที่ตนได้แล้วว่า สิ่งนี้มีอยู่ ดังนี้แล้ว จึงบริโภค ก็ชื่อว่า
ปัจจัยสันนิสสิตศีล.
แต่ว่าโดยตรง ปาฏิโมกขสังวรเท่านั้นชื่อว่าศีล ปาฏิโมกขสังวรศีล
นั้นของผู้ใดขาดแล้ว ผู้นั้นใคร ๆ ไม่ควรกล่าวว่า ผู้นี้จักรักษาศีลที่เหลือ
ไว้ ดังนี้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีศีรษะขาดแล้วก็ไม่อาจที่จะรักษามือและเท้า
ไว้ได้ฉะนั้น. แต่ว่า ปาฏิโมกขสังวรศีลนี้ของผู้ใด ไม่ต่างพร้อย ผู้นี้
นั้นย่อมสามารถที่จะรักษาศีลที่เหลือให้ดำรงอยู่ตามปกติได้ เปรียบเหมือน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 411
บุรุษผู้มีศีรษะไม่ขาดก็อาจรักษาชีวิตไว้ได้ฉะนั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า จึงทรงยกปาฏิโมกขสังวรศีลขึ้นแสดงด้วยบทว่า สมฺปนฺนสีลา
ดังนี้แล้ว ตรัสคำที่เป็นไวพจน์ของคำว่า สมฺปนฺนสีลา นั้นว่า
สมฺปนฺนปาฏิโมกฺขา ดังนี้ เมื่อจะทรงแสดงคำที่เป็นไวพจน์กันนั้นให้
พิสดาร จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ปาฏิโมกฺขสวรสวุตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาฏิโมกฺขสวรสวุตา ความว่า
ประกอบด้วยปาฏิโมกขสังวรศีล.
บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺนา ความว่า สมบูรณ์ด้วยอาจาระและ
โคจร.
บทว่า อณุมตฺเตสุ แปลว่า มีประมาณนิดหน่อย.
บทว่า วชฺเชสุ คือ ในธรรมฝ่ายอกุศลทั้งหลาย.
บทว่า ภยทสฺสาวี แปลว่า ผู้มีปกติเห็นภัย.
บทว่า สมาทาย ความว่า ถือเอาด้วยดี.
บทว่า สิกฺขถ สิกฺขาปเทสุ ความว่า พวกเธอจงยึดถือเอา
สิกขาบทนั้นด้วยดีแล้วศึกษาเถิด.
อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า สมาทาย สิกฺขถ สิกฺขาปเทสุ นี้ มี
ความย่อว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นไปทางกายหรือทางวาจาก็ตามที
ควรศึกษาในสิกขาบท คือในส่วนของสิกขาบทพวกเธอจงถือเอาสิ่งนั้น
ทั้งหมดด้วยดีแล้วศึกษาเถิด.
ส่วนบททั้งหลายมีบทว่า ปาฏิโมกฺขสวรา เป็นต้น ทั้งหมด
เหล่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในปกรณ์วิเศษ ชื่อวิสุทธิมรรคอย่างพิสดาร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 412
ความหวังที่ ๑
[๗๔] ถามว่า คำว่า อากงฺเขยฺย เจ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเริ่มไว้เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ของศีล.
ก็แม้ถ้าคนผู้บวชไม่นาน หรือคนผู้มีปัญญาทราม พึงมีความคิด
อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงบำเพ็ญศีล
พวกเธอจงบำเพ็ญศีล ดังนี้ อะไรหนอแล เป็นอานิสงส์ อะไรเป็นข้อ
แตกต่าง อะไรเป็นความเจริญในการบำเพ็ญศีล ดังนี้. เพื่อจะทรง
แสดงอานิสงส์ ๑๗ ประการ แก่ภิกษุผู้บวชไม่นานเป็นต้นนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้. ชื่อแม้ไฉน ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังอานิสงส์
ซึ่งมีความเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเป็น
เบื้องต้น มีการสิ้นไปแห่งอาสวะเป็นที่สุดนั้นแล้ว จักบำเพ็ญศีลให้
บริบูรณ์ เหมือนพ่อค้าขายน้ำอ้อยงบฉะนั้น. ธรรมดาพ่อค้าขายน้ำอ้อยงบ
ท่านเรียกว่า พ่อค้าน้ำอ้อย.
เล่ากันมาว่า พ่อค้านั้นเอาเกวียนบรรทุกน้ำอ้อยงบและน้ำตาลกรวด
เป็นต้น ไปแถบชายแดน แล้วโฆษณาว่า พวกท่านจงซื้อยาพิษและ
หนาม พวกท่านจงซื้อยาพิษและหนาม ดังนี้. พวกชาวบ้านได้ฟังคำนั้น
ก็คิดว่า ธรรมดาว่า ยาพิษเป็นของร้ายแรง ผู้ใดกินมันเข้าไป เขาผู้นั้น
ก็ต้องตาย แม้หนามทิ่มแทงแล้วย่อมทำคนเราให้ตายได้ สิ่งของทั้ง ๒
อย่างนี้เป็นของร้ายแรง จะมีอานิสงส์อะไรในการซื้อนี้ ดังนี้แล้ว ก็ปิด
ประตูเรือนและไล่เด็กให้หนีไป. พ่อค้าเห็นเหตุนั้น จึงคิดว่า ชาวบ้าน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 413
เหล่านี้เป็นผู้ไม่ฉลาดในการค้าขาย เอาเถิด เราจะใช้อุบายให้ชาวบ้าน
เหล่านั้นซื้อ ดังนี้. จึงร้องขายไปว่า ท่านจงซื้อของหวาน ท่านจงซื้อ
เอาของดี ท่านจะได้น้ำอ้อยงบ น้ำตาลกรวด ที่มีราคาดี พวกท่านจะซื้อ
ได้ด้วยมาสกปลอมและกหาปณะปลอมราคาเยา ดังนี้. พวกชาวบ้านได้
ฟ้งคำนั้นเข้า ต่างร่าเริงยินดีพากันไปให้ราคาแม้แพงแล้วรับเอาของนั้นไป.
พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าในคำนั้นว่า สมฺปนฺนสีลา
ภิกฺขเว วิหรถ ฯลฯ สมาทาย สิกฺขาปเทสุ นั้น ก็เหมือนกับ
คำโฆษณาของพ่อค้าที่ว่า วิสกณฺฏก คณฺหถ สิกฺขถ ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์อยู่เถิด
ดังนี้ พวกภิกษุย่อมคิดว่า ธรรมดาว่า ศีลนี้ เป็นของกระด้าง เป็น
ข้าศึกต่อการหัวเราะ และการเล่นเป็นต้น จะมีอานิสงส์อะไรบ้างหนอแก่
เหล่าภิกษุผู้มีศีลสมบูรณ์ ดังนี้ ก็เหมือนกับพวกชาวบ้านมีความคิดว่า
ยาพิษและหนาม เป็นของหยาบ จะมีอานิสงส์อะไรในการชื่อยาพิษ
เป็นต้นฉะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น พึงทราบพระดำรัสเบื้องต้นของพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า อากงฺเขยฺย เจ ดังนี้ เป็นประโยชน์แก่การประกาศ
อานิสงส์ ๑๗ ประการ ซึ่งมีความเป็นที่รักที่ชอบใจเป็นต้น มีความสิ้น
ไปแห่งอาสวะเป็นที่สุด เหมือนคำขึ้นต้นของพ่อค้านั้นว่า ท่านจงซื้อเอา
ของอร่อย ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากงฺเขยฺย เจ ความว่า ถ้าเธอ
พึงหวัง คือถ้าเธอพึงปรารถนา.
บทว่า ปิโย จ อสฺส ความว่า เราพึงเป็นผู้อันบุคคลอื่นพึง
มองดูด้วยจักษุอันเป็นที่รัก อธิบายว่า เราพึงเป็นผู้เป็นปทัฏฐานแห่งการ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 414
บังเกิดขึ้นแห่งความรัก ดังนี้.
บทว่า มนาโป ความว่า เราพึงเป็นผู้เจริญใจของชนเหล่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เราพึงเป็นผู้ต้องใจของชนเหล่านั้น คือ
พึงใช้ชนเหล่านั้นแผ่เมตตาจิตไป.
บทว่า ครุ ความว่า เราพึงเป็นที่ตระหนักของชนเหล่านั้นเช่น
เดียวกับฉัตร.
บทว่า ภาวนีโย ความว่า เราพึงเป็นผู้อันชนเหล่านั้นพึงยกย่อง
อย่างนี้ว่า ท่านรูปนี้ เมื่อรู้ก็รู้จริง เมื่อเห็นก็เห็นจริงแน่แท้ ดังนี้ .
บทว่า สีเลเสฺวสฺส ปริปูริการี ความว่า พึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์
ในจตุปาริสุทธิศีลนั้นแล อธิบายว่า พึงประกอบด้วยอาการที่ทำให้
บริบูรณ์ไม่ขาดตกบกพร่อง.
บทว่า อชฺฌตฺต เจโตสมถมนุยุตฺโต ความว่า เป็นผู้ประกอบใน
การฝึกจิตของตน.
เพราะคำว่า อชฺฌตฺต หรือ อตฺตโน ในคำว่า อชฺฌตฺต เจโตสมถ-
มนุยุตฺโต นี้ เป็นอย่างเดียว๑กัน คือมีอรรถอย่างเดียวกัน. ต่างกันที่
พยัญชนะเท่านั้น.
บทว่า สมถ นี้เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. ด้วย
บทอุปสัคนี้ว่า อนุ ก็เป็นอันสำเร็จในการประกอบความได้.
บทว่า อนิรากตซฺฌาโน ความว่า ผู้มีฌานอันอะไร ๆ นำออกไป
ภายนอกไม่ได้ หรือมีฌานอันอะไร ๆ ทำให้เสื่อมมิได้แล้ว. ความจริง
ชื่อว่า นิรากรณะนี้ ใช้ในความหมายว่า นำออกไป และทำให้พินาศ.
ก็พึงเห็นการประกอบความของนิรากรณะนั้น ดังในประโยคเป็นต้นว่า
๑. ปาฐะ เป็น เอต แต่ฉบับพม่าเป็น เอก จึงแปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 415
บุคคลควรขจัดความกระด้างเสียแล้ว พึงเป็นผู้มีความประพฤติถ่อมตน
ดังนี้.
บทว่า วิปสฺสนาย สนนฺนาคโต ความว่า ผู้ประกอบด้วย
อนุปัสสนา ๗ อย่าง. ธรรมดาอนุปัสสนา ๗ อย่าง คือ อนิจจานุปัสสนา
ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา
นิโรธานุปัสสนา ปฏินิสสัคคานุปัสสนา. อนุปัสสนาเหล่านั้น ได้ให้พิสดาร
แล้วในปกรณ์วิเศษชื่อ วิสุทธิมรรค.
บทว่า พฺรูเหตา สุญฺาคาราน ความว่า เป็นผู้ยังสุญญาคารให้เจริญ.
ก็ในบทว่า พฺรูเหตา สุญฺาคาราน นี้ ภิกษุเรียนเอากัมมัฏฐาน
ด้วยอำนาจสมถะ และวิปัสสนา แล้วเข้าไปนั่งยังเรือนว่างตลอดวันและคืน
พึงทราบว่า เป็นผู้เจริญสุญญาคาร ส่วนภิกษุแม้กระทำความเพียรใน
ปราสาทชั้นเดียวเป็นต้น ไม่พึงเห็นว่าเป็นผู้เจริญสุญญาคารเลย.
ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ เทศนานี้แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเริ่มด้วย
สามารถการยกอธิศีลสิกขานั้นแสดงก่อนก็ตาม ก็พึงทราบว่าเป็นเทศนาที่
นับเนื่องในไตรสิกขาโดยลำดับ เพราะรวมสมถะและวิปัสสนาเข้าด้วยกัน
เหตุที่สมถะและวิปัสสนามีศีลเป็นปทัฏฐาน เหมือนกับการเทศนาธรรม
ที่เป็นข้าศึกของตัณหา แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเริ่มด้วยสามารถการ
ยกตัณหาขึ้นแสดงก่อน ก็พึงทราบว่าเป็นเทศนาที่นับเข้าในหมวด ๓ แห่ง
ธรรมเครื่องเนิ่นช้าโดยลำดับ เพราะรวมมานะและทิฏฐิเข้าด้วยกัน เหตุที่
มานะและทิฏฐิมีตัณหาเป็นปทัฏฐาน.
ก็ในบรรดาคำเหล่านั้น ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า สีเลเสฺววสฺส ปริ-
ปูริการี เป็นอันตรัสอธิศีลสิกขาไว้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 416
ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า อชฺณตฺต เจโตสมถมนุยุตฺโต อนิรากตชฺฌาโน
เป็นอันตรัสอธิจิตตสิกขาไว้.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า วิปสฺสนาย สมนฺนาคโต เป็นอันตรัสอธิ-
ปัญญาสิกขาไว้.
ก็ด้วยบทว่า พฺรูเหตา สุญฺาคาราน นี้ เป็นอันตรัสรวมสิกขา
แม้ทั้ง ๒ อย่าง อย่างนี้คือ อธิจิตตสิกขา ในการเจริญสุญญาคาร ด้วย
อำนาจสมถะ อธิปัญญาสิกขา ด้วยอำนาจวิปัสสนา.
ก็ในที่นี้ ด้วยบทเหล่านี้ ว่า อชฺฌตฺต เจโตสมถมนุยุตฺโต อนิรา-
กตชฺฌาโน พระองค์ตรัสถึงความที่จิตเป็นเอกัคคตาว่า อนุรักษ์ศีลไว้ได้
ทีเดียว.
ด้วยบทว่า วิปสฺสนาย นี้ พระองค์ตรัสการกำหนดสังขารว่า
อนุรักษ์ศีลไว้ได้.
ถามว่า ความที่จิตเป็นเอกัคคตาจะอนุรักษ์ศีลไว้ได้อย่างไร ?
ตอบว่า ก็ผู้ใดไม่มีจิตเป็นเอกัคคตา ผู้นั้นเมื่อพยาธิเกิดขึ้น ย่อม
เดือดร้อน. เขาถูกพยาธิรบกวนกระวนกระวายถึงต้องให้ศีลขาด จึงจะ
กระทำพยาธินั้นให้สงบไปได้ ส่วนผู้ใดมีจิตเป็นเอกัคคตา ผู้นั้นข่มพยาธิ
ทุกข์ไว้ได้ เข้าสมาบัติ ในขณะที่เขาเข้าสมาบัติ ทุกข์ย่อมปราศไป
ความสุขซึ่งมีกำลังมากกว่าจะเกิดขึ้น. ความที่จิตเป็นเอกัคคตา ย่อม
อนุรักษ์ศีลได้ ด้วยประการอย่างนี้.
ถามว่า การกำหนดสังขาร ย่อมตามอนุรักษ์ศีลได้อย่างไร ?
ตอบว่า ก็ผู้ใดไม่มีการกำหนดสังขาร ผู้นั้นย่อมมีความรักอย่าง
รุนแรงในอัตภาพว่า รูปของเรา วิญญาณของเรา ดังนี้. ผู้นั้น เมื่อเผชิญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 417
ทุพภิกขภัย และพยาธิภัยเป็นต้นเห็นปานนั้น ย่อมทำลายศีลแล้วถนอม
อัตภาพไว้. ส่วนผู้ใด มีการกำหนดสังขาร ผู้นั้น ย่อมไม่มีความรักอย่าง
รุนแรง หรือความเสน่หาในอัตภาพ ก็เมื่อเขาเผชิญทุพภิกขภัย และ
พยาธิภัยเป็นต้นเห็นปานนั้น ถึงแม้ว่าไส้ใหญ่ของเขาจะไหลออกมาข้าง
นอก ถ้าหากว่าเขาจะซูบผอม ซูบซีด หรือขาดออกเป็นท่อน ๆ ตั้งร้อย
ท่อน พันท่อน เขาก็จะไม่ทำลายศีลแล้วถนอมอัตภาพไว้เลย. การกำหนด
สังขาร ย่อมอนุรักษ์ศีลได้อย่างนี้. ก็ด้วยบทว่า พฺชูเหตา สูญฺาคาราน
นี้พระองค์ทรงแสดงการเพิ่มพูนการเจริญและการทำโดยติดต่อ ซึ่งเหตุทั้ง
๒ อย่างนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า เพราะภิกษุผู้หวังคุณธรรม ๔
ประการเหล่านี้ คือ เราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพนับถือ
ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ไม่มีกิจที่จะต้องทำอะไรอื่น (แต่) พึง
เป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้นโดยแท้ เพราะว่าภิกษุผู้ประกอบด้วย
คุณมีศีลเป็นต้นเช่นนี้ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพนับถือ
ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า
ชนย่อมทำบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและทัสสนะ ผู้
ตั้งอยู่ในธรรม ผู้มีปกติกล่าวคำจริง ผู้ทำการงาน
ของตน ให้เป็นที่รัก ดังนี้ .
ความหวังที่ ๒
[๗๕ ] เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสว่า ดูก่อน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 418
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก ฯ ล ฯ เป็นที่ชอบใจ
ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้ เธอพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทั้งหลาย ฯล ฯ เธอพึงเพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง ดังนี้แล้ว บัดนี้ เพราะ
เหตุที่ภิกษุปรารถนาปัจจัยมีลาภเป็นต้น พึงทำกิจนี้อย่างเดียว ไม่พึงทำกิจ
อะไร ๆ อื่นจากนี้ฉะนั้น จึงได้ตรัสดำมีอาทิไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีลาภ ดังนี้เป็นต้น.
ก็ในที่นี้ อย่าพึงเข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการบำเพ็ญศีล
เป็นต้น ซึ่งมีลาภเป็นนิมิตไว้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัส
ปฏิเสธการแสวงหาลาภ ไม่ตรัสพระวาจาที่พาดพิงถึง (ลาภ) ทรงโอวาท
แก่เหล่าพระสาวกอย่างนี้. พระองค์จักตรัสการบำเพ็ญคุณมีศีลเป็นต้น ซึ่ง
มีลาภเป็นนิมิตได้อย่างไร.
แต่ว่าคำนั้นพระองค์ตรัสไว้ด้วยอำนาจอัธยาศัยของบุคคล. อธิบาย
ว่า ภิกษุเหล่าใดพึงมีอัธยาศัยอย่างนี้ว่า ถ้าหากว่าเราไม่ต้องลำบากด้วย
ปัจจัย ๔ ไซร้ เราอาจเพื่อจะบำเพ็ญศีลเป็นต้นให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้. พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ ด้วยสามารถอัธยาศัยของชนทั้งหลายเหล่า
นั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าปัจจัย ๔ นี้นั้น เป็นอานิสงส์ที่แท้จริงของศีล.
จริงอย่างนั้น มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายนำสิ่งของที่คนเก็บไว้ในฉาง
เป็นต้นออกมา ทั้งบุตรเป็นต้นก็ไม่ให้ ทั้งตนเองก็มิได้ใช้สอย แต่มอบ
ถวายแก่ท่านผู้มีศีล คำดังกล่าวมานี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงอานิสงส์ที่แท้
จริงของศีล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 419
ความหวังที่ ๓
[๗๖] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๓ ต่อไป
บทว่า เยสาห ตัดบทเป็น เยส อห
บทว่า เตสนฺเต การา ความว่า สักการะคือการถวายปัจจัยเหล่า
นั้น เทวดาหรือมนุษย์ได้ทำแล้วในตัวเรา ความจริง เทวดาทั้งหลาย
ย่อมถวายปัจจัยแก่ท่านผู้ประกอบด้วยคุณ มีศีลเป็นต้น จะมีเฉพาะมนุษย์
อย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้, ดังที่ท้าวสักกเทวราชได้ถวายแก่ท่านมหา-
กัสสปะ.
คำทั้ง ๒ นี้ว่า มหปฺผลา นหานิสสา โดยเนื้อความแล้วมีความ
หมายอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น. สักการะที่ชื่อว่ามีผล
มาก เพราะผลิตโลกิยสุขอย่างมากมายให้. ชื่อว่ามีอานิสงส์มาก เพราะ
เป็นปัจจัยของโลกุตตรสุขอย่างใหญ่หลวง. ความจริง ภิกษาทัพพีเดียวก็ดี
บรรณศาลาที่พื้นดินยาวประมาณ ๕ ศอกก็ดี ที่บุคคลทำถวายแก่ท่านผู้
ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ย่อมรักษาเขาไว้ได้จากทุคติ วินิบาต เป็น
เวลาหลายแสนกัลป์. และในบั้นปลายยิ่งเป็นปัจจัยแห่งการดับรอบด้วย
อมตธาตุ. ก็ในเรื่องนี้มีเรื่องเป็นต้นว่า เราได้ถวายน้ำนมและข้าวสุก
เป็นต้น หรือมีเปตวัตถุและวิมานวัตถุทั้งมวล เป็นเครื่องสาธก. เพราะ-
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า ภิกษุแม้ปรารถนาที่จะให้
ความที่สักการะที่ผู้ถวายปัจจัยในตนนั้นมีผลมาก พึงเป็นผู้ประกอบด้วย
คุณมีศีลเป็นต้นนั้นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 420
ความหวังที่ ๔
[๗๗] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๔ ต่อไป
หมู่ชนผู้เกี่ยวข้องข้างฝ่ายพ่อผัวแม่ผัว ชื่อว่า ญาติ. บิดาและปู่
เป็นต้น ผู้เกี่ยวเนื่องโดยสายโลหิตเดียวกัน ชื่อว่า ญาติสาโลหิต.
ผู้ถึงความเป็นผู้ละไปแล้ว ชื่อว่า เปตะ.
บทว่า กาลกตา แปลว่า ตายแล้ว.
บทว่า เตสนฺต ความว่า ความที่ชนเหล่านั้นมีจิตเลื่อมใสในเรา
หรือการระลึกถึงเราด้วยจิตเลื่อมใสนั้น ของชนเหล่านั้น. ความจริงบิดา
หรือมารดาของภิกษุรูปใดตายไปแล้ว มีจิตเลื่อมใสย่อมระลึกถึงภิกษุนั้น
ว่า พระเถระผู้มีศีล มีธรรมอันงามนี้เป็นญาติของพวกเรา ดังนี้ ความ
เลื่อมใสแห่งจิตนั้น ของเขานั้นก็ดี เหตุสักว่าการระลึกถึงนั้นก็ดี มีผล
มีอานิสงส์มาก.
เหตุสักว่าการระลึกถึงนั้นเป็นธรรมชาติที่สามารถเพื่อจะยังหมู่สัตว์
ให้ข้ามพ้นจากทุคคติ ตลอดหลายแสนกัป และให้ถึงอมตมหานิพพาน
ในที่สุดนั้นแล. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นใด สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ
สมบูรณ์ด้วยปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็
เรากล่าวการเห็น การฟัง การระลึกถึง การบวชตาม การเข้าไปหา
การเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้น ว่ามีอุปการะมาก ดังนี้ เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงทรงแสดงว่า ภิกษุแม้ปรารถนาซึ่งความเลื่อมใสแห่งจิตในตน
และการระลึกถึง (ตน) ญาติ และสายโลหิตทั้งหลาย จะให้มีผลมาก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 421
พึงเป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้นนั้นแล.
ความหวังที่ ๕
[๗๘ ] พึงทรงวินิจฉัยในวาระที่ ๕ ต่อไป
บทว่า อรติรติสโห อสฺส ความว่า เราพึงเป็นผู้อดทนต่อความ
ยินร้ายและความยินดี คือพึงเป็นผู้ถูกความยินร้ายเป็นต้น ครอบงำ
ท่วมทับ.
ก็ในคำว่า อรติรติสโห นี้ ความเบื่อหน่ายในธรรมที่เป็นกุศลอัน
ยิ่ง (และ) ในเสนาสนะอันสงัด ชื่อว่า อรติ ความยินดีในกามคุณ ๕
ชื่อว่า รติ.
บทว่า น จ ม อรติ สเหยฺย ความว่า ก็ความยินร้าย พึง
ครอบงำ คือย่ำยี ได้แก่ท่วมทับเราไม่ได้.
บทว่า อุปฺปนฺน ความว่าเกิดแล้วคือ บังเกิดขึ้นแล้ว.
เพราะว่าภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ย่อมอดกลั้น คือครอบ
งำ ได้แก่ย่ำยีซึ่งความยินร้ายและความยินดีได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงทรงแสดงไว้ว่า ภิกษุแม้ปรารถนาจะให้ตนเป็นเช่นนั้น
พึงเป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.
ความหวังที่ ๖
[๗๙] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๖ ต่อไป
ความสะดุ้งของจิตก็ดี อารมณ์ก็ดี ชื่อว่าภัย (ความกลัว) อารมณ์
นั้นเอง ชื่อว่า เภรวะ (ความขลาด). คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 422
วาระที่ ๕.
ความจริง ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ย่อมอดกลั้น คือ
ย่อมครอบงำ ได้แก่ย่อมย่ำยีความกลัวและความขลาดนั้นตั้งอยู่ เหมือน
พระมหาทัตตเถระชาวอริยโกฏิยวิหาร.
เทวดาไล่พระ
ได้ยินว่า พระเถระดำเนินไปในหนทาง ได้พบราวป่าอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความเลื่อมใสแห่งใดแห่งหนึ่ง จึงคิดว่า วันนี้เราจักบำเพ็ญสมณ-
ธรรมในที่นี้แล้วจึงจะไป ดังนี้แล้ว จึงออกไปจากทางปูลาดผ้าสังฆาฏิ
แล้วนั่งขัดสมาธิใกล้โคนต้นไม้แห่งใดแห่งหนึ่ง.
เด็ก ๆ ของรุกขเทวดา ไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ตามสภาวะของตน
ได้ ด้วยเดชแห่งศีลของพระเถระ จึงร้องจ้าขึ้น. เเม้เทวดาเองก็เขย่า
ต้นไม้ทุกต้น พระเถระนั่งไม่ไหวติง เทวดานั้นจึงบังหวนควันให้ไฟลุก
โพลงขึ้น (แม้ถึงอย่างนั้น) ก็ไม่สามารถที่จะทำให้พระเถระไหวติงได้.
ต่อแต่นั้นเทวดาจึงแปลงเพศเป็นอุบาสก เดินมาไหว้พระเถระแล้ว
ได้ยืนอยู่ ถูกพระเถระถามว่าใครนั่น จึงได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผม
เป็นเทวดาที่สถิตอยู่ที่ต้นไม้นี้ พระเถระถามว่า ท่านได้ทำสิ่งประหลาด
นั้นหรือ ? เทวดาตอบว่า ใช่ครับ. ก็เทวดานั้น พอถูกพระเถระถามว่า
เพราะเหตุไรท่านจึงทำ ? จึงตอบว่า ท่านผู้เจริญ ด้วยเดชแห่งศีลของ
ท่านนั้นแล พวกเด็กๆ ไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้ จึง
ได้พากันส่งเสียงร้องจ้า กระผมนั้นได้ทำอย่างนี้เพื่อ (ประสงค์) จะให้
ท่านหนีไปเสีย. พระเถระถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรท่านจึง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 423
(ประสงค์) จะให้เราหนีไป ? เทวดาตอบว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านอย่า
อยู่ในที่นี้เลย. กระผมไม่มีความสุขเลยดังนี้ พระเถระจึงกล่าวว่า ท่าน
ทำไมไม่บอกเราก่อน แต่บัดนี้ท่านอย่าพูดอะไรเลย เรารู้สึกละอายต่อ
ถ้อยคำที่คนจะพูดว่า พระอริยโกฏิยมหาทัตตะ หลีกหนีไป เพราะกลัว
ต่ออมนุษย์ ฉะนั้น เราจะอยู่ในที่นี้แหละ แต่ในวันนี้เพียงวันเดียว ท่าน
จงอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง (ก่อน) เถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล
เป็นต้น ย่อมเป็นผู้อดทนต่อภัยที่น่ากลัวได้ ฉะนั้น ภิกษุแม้ปรารถนาให้
ตนเป็นเช่นนี้ พึงเป็นผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ดังนี้.
ความหวังที่ ๗
[๘๐] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๗ ต่อไป
จิตอันบริสุทธิ์ผ่องใส พระองค์ตรัสเรียกว่า อภิจิต ในคำว่า
อาภิเจตสิกาน. อีกอย่างหนึ่ง จิตอันยิ่ง พระองค์ตรัสเรียกว่า อภิจิตร,
ฌานทั้งหลายอันบังเกิดขึ้นในอภิจิต ชื่ออาภิเจตสิก อีกอย่างหนึ่ง ฌาน
ทั้งหลาย อันอาศัยอภิจิต ฉะนั้น ฌานทั้งหลายเหล่านั้นจึงชื่อว่า อาภิ-
เจตสิก.
บทว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาราน ความว่า ซึ่งการอยู่เป็นสุขในทิฏฐ-
ธรรม. อัตภาพที่เห็นได้ โดยประจักษ์ เรียกว่า ทิฏฐธรรม อธิบายว่า
เป็นการอยู่อย่างเป็นสุขในทิฏฐธรรมนั้น.
คำว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาราน เป็นชื่อของรูปาวจรฌาน. ความจริง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 424
ชนทั้งหลายนั่งเพ่งฌานนั้นอย่างแน่วแน่ ย่อมประสบเนกขัมมสุขอันไม่
เศร้าหมองในอัตภาพนี้ เพราะฉะนั้น ชนเหล่านั้น ท่านจึงเรียกว่า ผู้มี
ปกติอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.
บทว่า นิกามลาภี ความว่า เป็นผู้ได้ตามความประสงค์ คือเป็น
ผู้ได้ตามความปรารถนาของตน อธิบายว่า ย่อมเป็นผู้สามารถเพื่อจะเข้า
ฌานได้ในขณะที่ตนปรารถนา ๆ.
บทว่า อกิจฺฉลาภี มีอธิบายว่า เป็นผู้สามารถเพื่อจะข่มธรรมที่
เป็นข้าศึกแล้วเข้าฌานได้โดยสะดวก.
บทว่า อกสิรลาภี ความว่า เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก คืออย่างสะดวก
สบาย อธิบายว่า เป็นผู้สามารถเพื่อจะออกได้ในเวลาตามที่กำหนดไว้นั้น
เอง. เป็นความจริง ภิกษุลางรูปเป็นผู้ได้ฌาน แต่ไม่อาจจะเข้าฌานได้
ในขณะที่ตนต้องการได้. ลางรูปสามารถที่จะเข้าในขณะที่ตนปรารถนาได้
แต่ข่มธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวสีได้ยาก. ลางรูปย่อมเข้าได้ในขณะที่ตนต้อง
การ และข่มธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวสีได้โดยไม่ยาก แต่ไม่สามารถเพื่อจะ
ออกในขณะที่ตนกำหนดไว้ได้ เหมือนนาฬิกาเครื่องจักร. ก็ผู้ใดปรารถนา
ความพร้อมมูลทั้ง ๓ อย่างนี้ ผู้นั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
แท้.
ความหวังที่ ๘
[๘๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสฌาน ซึ่งเป็นบาทของอภิญญา
อย่างนี้แล้ว ก็มาถึงวาระของอภิญญาแม้โดยแท้ แต่ถึงกระนั้นพระผู้มี-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 425
พระภาคเจ้าก็มิได้ทรงถือเอาอภิญญานั้น เพื่อจะทรงรวมแสดงธรรมทั้ง
หมดนั้น เพราะว่าไม่เพียงแต่ฌานซึ่งเป็นบาทของอภิญญา และอภิญญา
อย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นอานิสงส์ของศีล ที่แท้ อรูปฌานทั่ง ๔ และอริย-
มรรคทั้ง ๓ ข้างต้น ก็เป็นอานิสงส์ของศีลเหมือนกัน ฉะนั้น จึงตรัสคำ
มีอาทิว่า อากงฺเขยฺย เจ ฯลฯ เย เต สนฺตา ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตา ความว่า วิโมกข์ทั้งหลาย
ชื่อว่าเป็นธรรมชาติสงบ เพราะมีองค์สงบ และเพราะมีอารมณ์สงบ.
บทว่า วิโมกฺขา ความว่า วิโมกข์ทั้งหลาย ชื่อว่าสงบ เพราะ
หลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึก และเพราะน้อมไปในอารมณ์.
บทว่า อติกฺกมฺม รูเป ความว่า ก้าวล่วงเสียซึ่งรูปาวจรฌาน
เชื่อมบทว่า วิโมกข์จะชื่อว่าสงบได้ เพราะก้าวล่วงรูปาวจรฌาน ดังนี้ .
ความจริง เมื่อจะกล่าวโดยประการอื่น วิโมกข์ทั้งหลาย ก้าวล่วง
รูปาวจรฌานแล้ว ก็ไม่พึงปรากฏว่ากระทำอะไร.
บทว่า อารุปฺปา ความว่า เว้นขาดจากรูปทั่งโดยอารมณ์ และ
โดยวิบาก.
บทว่า กาเยน ผุสิตฺวา ความว่า ถูกต้องนามกาย อธิบายว่า
บรรลุ ได้แก่ถึงทับแล้ว.
คำที่เหลือ มีเนื้อความชัดแล้ว มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุ
รูปใดประสงค์จะถูกต้องวิโมกข์แล้วอยู่ แม้ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์
ในศีลทั้งหลายแท้ ฉะนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 426
ความหวังที่ ๙
[๘๒] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๙ ต่อไป
บทว่า ติณฺณ สโยชนาน ความว่า แห่งเครื่องผูก ๓ อย่าง คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส. ความจริง เครื่องผกเหล่านั้น
ย่อมประกอบขันธ์ คติ และภพ เป็นต้น เข้ากับขันธ์ คติ และภพ
เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมประกอบกรรมเข้ากับผล ฉะนั้น เครื่องผูก
เหล่านั้นท่านจึงเรียกว่า สังโยชน์ อธิบายว่า เครื่องผูก
บทว่า ปริกฺขยา แปลว่า เพราะการสิ้นไปรอบ.
บทว่า โสตาปนฺโน ได้แก่ผู้ถึงกระแส. ก็คำว่า โสตา นั้นเป็นชื่อ
ของมรรค. คำว่า โสตาปนฺโน เป็นชื่อของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยมรรคนั้น.
เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สารีบุตร ที่เรากล่าว
คำว่า โสโต โสโต ดังนี้ สารีบุตร กระแสได้แก่อะไร ?
พระสารีบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กระแสนั้นแล ได้แก่
อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ฯ ล ฯ สัมมาสมาธิ.
สารีบุตรก็ที่เรากล่าวว่า โสตาปนฺโน โสตาปนฺโน ดังนี้ สารีบุตร
พระโสดาบันได้แก่บุคคลเช่นไร ?
พระสารีบุตรทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บุคคลผู้ประกอบด้วย
มรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ พระองค์ตรัสเรียกว่า เป็นพระโสดาบันนั้น มีชื่อ
อย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ ฉะนั้นแล. แต่ในที่นี้ ผลได้ชื่อตามมรรค ฉะนั้น
บุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล พึงทราบว่าเป็นพระโสดาบัน.
บทว่า อวินิปาตธมฺโม มีวิเคราะห์ว่า ธรรมที่ชื่อว่า วินิบาต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 427
เพราะอรรถว่า ย่อมยังสัตว์ให้ตกไปในที่ชั่ว ที่ชื่อว่า อวินิปาตธรรม
เพราะเป็นธรรมที่ยังสัตว์ให้ตกไปในที่ชั่ว อธิบายว่า เป็นธรรมที่ไม่
ยังตนให้ตกไปในอบายทั้งหลายเป็นสภาพ.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะธรรมซึ่งมีการยังสัตว์ให้ตกไปในอบายเหล่านั้น ท่าน
ละได้แล้ว.
ปัญญาเครื่องตรัสรู้. เป็นที่ไปข้างหน้า คือเป็นคติของพระโสดาบัน
นั้น ฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่ามีปัญญาเครื่องตรัสรู้ เป็นที่ไปข้างหน้า อธิบาย
ว่า เป็นผู้บรรลุมรรค ๓ เบื้องสูงแน่นอน.
ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะท่านได้โสดาปัตติมรรคแล้ว.
บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้ผู้ประสงค์จะให้ตนเป็นเช่นนี้
พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.
ความหวังที่ ๑๐
[๘๓] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๐ ต่อไป
สังโยชน์ ๓ ที่พระโยคาวจรละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ท่านก็กล่าว
ไว้เพื่อประโยชน์แก่การพรรณนาสกทาคามิมรรค.
บทว่า ราคโทสโมหาน ตนุตฺตา ความว่า เพราะภาวะที่ราคะ
โทสะ โมหะ เหล่านั้นเป็นสภาพเบาบาง อธิบายว่า เพราะกระทำ ราคะ
โทสะ โมหะ เหล่านั้นให้เบาบางลง.
ในคำนั้นพึงทราบความที่ราคะเป็นต้นนั้น เป็นธรรมชาติเบาบางก็
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 428
ด้วยเหตุ ๒ ประการคือ เพราะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และเพราะปริยุฏฐาน-
กิเลสมีกำลังอ่อน. ความจริงกิเลสทั้งหลายย่อมไม่บังเกิดขึ้นแก่พระสก-
ทาคามีเนือง ๆ เหมือนบังเกิดแก่มหาชนผู้ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะ. ย่อมเกิด
ขึ้นเป็นช่วงห่าง ๆ ในกาลบางคราว เหมือนหน่อพืชในนาที่ปลูกไว้ห่าง ๆ
และแม้เมื่อเกิดขึ้นย่อมไม่เกิดขึ้นย่ำยี แผ่ซ่าน ปกปิด กระทำความมืดมน
อนธการ เหมือนเกิดแก่มหาชนผู้เวียนว่ายในวัฏฏะ ย่อมเกิดขึ้นเบาบาง
คือเป็นธรรมชาติเบาบางเกิดขึ้น เหมือนชั้นแห่งเมฆหมอก (ที่บางขึ้นตาม
ลำดับ) และเหมือนแมลงเคล้าคลึงกลีบดอกไม้ (ไม่ย่ำยีให้ช้ำ) ฉะนั้น.
ในเรื่องนั้น พระเถระบางพวกได้กล่าวไว้ว่า กิเลสทั้งหลาย ต่อ
กาลนานจึงเกิดขึ้นแก่พระสกทาคามีก็จริง ถึงกระนั้นก็เกิดขึ้นอย่างหนา
แน่น เพราะท่านยิ่งมีบุตรธิดาอยู่. แต่คำนั้นไม่เป็นประมาณ เพราะ
บุตรธิดา บางครั้งก็เกิดมีแก่บิดามารดาด้วยเหตุเพียงการลูบคลำอวัยวะ
ฉะนั้น พึงทราบความที่กิเลสของพระสกทาคามีนั้นเป็นธรรมชาติเบาบาง
ก็ด้วยเหตุ ๒ อย่างเท่านั้น คือเพราะการเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และเพราะ
ปฏิยุฏฐานกิเลสของท่านเบาบางลง.
บทว่า สกทาคามี ความว่า ผู้มีการกลับมาสู่มนุษย์โลกนี้เพียงครั้งเดียว
เท่านั้น ด้วยอำนาจปฏิสนธิ.
ก็แม้ผู้ใดเจริญสกทาคามิมรรคในโลกนี้แล้ว ปรินิพพานในโลกนี้
แม้ผู้นั้นท่านก็ไม่จัดไว้ในที่นี้. แม้ผู้ใดเจริญมรรคในโลกนี้แล้ว บังเกิดใน
เทวโลกแล้วปรินิพพานในเทวโลกนั้น ผู้นั้นก็ไม่จัดเข้าในที่นี้. ผู้ใดเจริญ
มรรค ในเทวโลกแล้วกลับมาเกิดแล้วปรินิพพานในมนุษยโลกนี้ ผู้นั้นก็
ไม่จัดเข้าในที่นี้. แม้ผู้ใดเจริญมรรคในโลกนี้แล้ว บังเกิดในเทวโลก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 429
ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นจนสิ้นอายุแล้ว บังเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกแล้วปริ-
นิพพาน ผู้นี้แหละพึงทราบว่าท่านถือเอาในคำนี้.
บทว่า ทุกฺขสฺสนฺต กเรยฺย ความว่า เราพึงทำการกำหนดวัฏฏ-
ทุกข์.
บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้เป็นผู้ประสงค์จะให้ตนเป็น
เช่นนี้ พึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.
ความหวังที่ ๑๑
[ ๘๔ ] พึงทราบวินิจฉัยในวาระที่ ๑๑ ต่อไป
บทว่า ปญฺจนฺน เป็นการกำหนดด้วยการนับ.
บทว่า โอรมฺภาคิยาน ความว่า ภายใต้ ท่านเรียกว่า โอระ.
ได้แก่ส่วนเบื้องล่าง อธิบายว่า มีการบังเกิดขึ้นในโลกฝ่ายกามาวจรเป็น
ปัจจัย.
บทว่า สโยชนาน ได้แก่กิเลสเป็นเครื่องผูก กิเลสเป็นเครื่องผูก
เหล่านั้นพึงทราบว่า ได้แก่สังโยชน์ซึ่งท่านกล่าวไว้ในกาลก่อน (คือ
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ) พร้อมด้วยสังโยชน์ คือกาม.
ราคะ. และพยาบาท. ความจริง สังโยชน์เหล่านั้นผู้ใดยังละไม่ได้ แม้
ผู้นั้นจะบังเกิดขึ้นในภวัคคพรหมก็จริง ถึงกระนั้นเขาก็ย่อมบังเกิดใน
กามาวจรอีก เพราะสิ้นอายุ บุคคลนี้พึงทราบว่ามีอุปมาเสมอด้วยปลาติด
เบ็ด และมีอุปมาเหมือนนกตัวถูกด้ายยางผูกติดไว้ที่ขา. ฉะนั้น ก็ใน
อธิการนี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวคำนี้ ไว้เพื่อประโยชน์แก่การพรรณนา
พระอริยบุคคลซึ่งท่านกล่าวไว้แต่แรก ๆ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 430
คำว่า โอปปาติโก เป็นคำกล่าวคัดค้านกำเนิดที่เหลือ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรินิพฺพายิ ความว่า ปรินิพพาน
ในพรหมโลกนั้นนั่นเอง.
บทว่า อนาวตฺติธมฺโม ตสฺมา โลกา ความว่า มีการไม่กลับ
มาจากพรหมโลกนั้นด้วยอำนาจปฏิสนธิอีกเป็นสภาพ.
บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้เป็นผู้ประสงค์จะเป็นเช่นนี้
พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.
ความหวังที่ ๑๒
[๘๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนาคามิมรรคอย่างนี้แล้ว แม้
จะมาถึงวาระแห่งมรรคที่ ๔ ก็จริง ถึงกระนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่
ทรงถือเอาอรหัตตมรรคนั้น เพราะไม่เพียงแต่อภิญญา คือการสิ้นไปแห่ง
อาสวะเป็นอานิสงส์ของศีลอย่างเดียว ที่แท้อภิญญา ๕ ประการ ซึ่งเป็น
โลกิยะ (ก็เป็นอานิสงส์ของศีลเหมือนกัน ) ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดง
อภิญญาเหล่านั้น และเพราะเมื่อพระองค์ตรัสถึงการสิ้นไปแห่งอาสวะ
เทศนาก็เป็นอันจบ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ การกล่าวนี้พึงชื่อว่ากล่าวถึงอภิญญา
ล้วน เพราะยังมิได้กล่าวถึงคุณของอภิญญาเหล่านั้น ฉะนั้น เพื่อจะทรง
แสดงอภิญญาอย่างบริบูรณ์ และเพราะการทำฤทธิ์ ย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้
ตั้งอยู่ในอันาคามิมรรคโดยง่าย และพระอนาคามีย่อมเป็นผู้กระทำให้
บริบูรณ์ในศีลและในสมาธิ เพราะท่านถอนกามราคะและพยาบาทซึ่งเป็น
ข้าศึกของสมาธิได้แล้ว ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงโลกิยอภิญญาทั้งหลาย ใน
ฐานะอันควร พระองค์จึงตรัสคำมีอาทิอย่างนี้ว่า อากงฺเขยฺย เจ ฯเปฯ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 431
อเนกวิหิต ดังนี้ นี้แลเป็นอนุสนธิ. การพรรณนาบาลีแห่งโลกิยอภิญญา
แม้ทั้ง ๕ อันมาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า อเนกวิหิต อิทฺธิวิธึ ในบาลีนั้น
ท่านกล่าวไว้เเล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคพร้อมทั้งวิธีทำให้อภิญญาเกิด.
ความหวังที่ ๑๓
[๘๖] พึงทราบวินิจฉัยในอภิญยาที่ ๖ ต่อไป
บทว่า อาสวาน ขยา ความว่า เพราะการสิ้นไปแห่งกิเลสทุก
อย่างด้วยอรหัตตมรรค.
บทว่า อนาสว ความว่า เว้นจากอาสวะ. ก็ในคำว่า เจโตวิมุตฺติ
ปญฺาวิมุตฺติ นี้ สมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล ท่านกล่าวด้วยบทว่า
เจโต ปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตมรรคนั้น ท่านกล่าวไว้ด้วยคำว่า
ปัญญา.
ก็ในสมาธิและปัญญานั้น สมาธิ พึงทราบว่า ชื่อว่า เจโตวิมุตติ
เพราะพ้นจากราคะ ปัญญาพึงทราบว่า ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะหลุดพ้น
จากอวิชชา. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย
สมาธิอันใดพึงมี สมาธินั้นพึงเป็นสมาธินทรีย์ ภิกษุทั้งหลาย ปัญญาใด
พึงมี ปัญญานั้นพึงเป็นปัญญินทรีย์ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะ
สำรอกราคะ ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชา อย่างนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง ในอธิการนี้ ผลของสมถะ พึงทราบว่า เป็นเจโต-
วิมุตติ ผลของวิปัสสนา พึงทราบว่า เป็นปัญญาวิมุตติ.
บทว่า ทิฏฺว ธมฺเม ได้แก่ในอัตภาพนี้เอง.
บทว่า สย อภิญฺา สจฺฉิกตวา ความว่า การทำให้ประจักษ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 432
ด้วยปัญญาด้วยตนเอง อธิบายว่า รู้โดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย.
บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหเรยฺย ความว่า เราพึงบรรลุ คือให้ถึง
พร้อมอยู่.
บทว่า สีเลเสฺวว ความว่า ภิกษุแม้ประสงค์จะให้อาสวะเหล่านั้นถึง
ความดับอย่างนี้ บรรลุเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ พึงเป็นผู้ทำให้
บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสถ้อยคำพรรณนาอานิสงส์ของศีล จน
ถึงพระอรหัตอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงรวมแสดงอานิสงส์ของศีลนั้น แม้
ทั้งหมด จึงตรัสคำลงท้ายว่า สมฺปนฺนสีลา ภิกฺขเว ฯปฯ อิทเมต
ปฏิจฺจ วุตฺต ดังนี้ คำลงท้ายนั้นมีเนื้อความสังเขป ดังต่อไปนี้ว่า:-
บทว่า สมฺปนฺนสีลา ภิกฺขเว วิหรถ ฯเปฯ สิกฺขาปเทสูติ
อิติ ยนฺต วุตฺต ความว่า คำนั้นใดเราตถาคตกล่าวไว้แล้วอย่างนี้ในกาล
ก่อน คำนั้นทั้งหมดเราตถาคตกล่าวหมายคือเจาะจง (การที่) ภิกษุผู้
สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ ยกย่องของเพื่อน
พรหมจารี เป็นผู้ได้ปัจจัย ผู้ทำทายกผู้ถวายปัจจัยให้มีผลมาก เป็นผู้กระทำ
เจตนาคือการระลึกถึงบุรพญาติให้มีผลมาก เป็นผู้อดทนต่อภัยและความ
หวาดกลัว เป็นผู้ได้รูปาวจรฌาน และอรูปาวจรฌาน เป็นผู้กระทำให้
แจ้งซึ่งคุณเหล่านี้ คือ สามัญญผล ๓ เบื้องต่ำ โลกิยอภิญญา ๕ อาสวัก-
ขยญาณ ด้วยอภิญญา ด้วยตนเอง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นต่างก็มี
ใจดี ชมเชยภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอากังเขยยสูตรที่ ๖.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 433
๗. วัตถูปมสูตร
[๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่
เศร้าหมองมลทินจับ ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นหย่อนลงในน้ำย้อมใด ๆ คือ
สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้านั้นพึงเป็นผ้ามีสีที่เขาย้อมไม่ดี
มีสีมัวหมอง ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะผ้าเป็นของไม่บริสุทธิ์ ฉันใด
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.
ผ้าที่บริสุทธิ์หมดจด ช่างย้อมพึงนำเอาผ้านั้นหย่อนลงในน้ำย้อมใด ๆ
คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีชมพู ผ้านั้นพึงเป็นผ้ามีสีที่เขาย้อมดี
มีสีสด ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะผ้าเป็นของบริสุทธิ์ ฉันใด เมื่อจิต
ไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้ ฉันนั้น.
[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหนเป็นเครื่องเศร้าหมอง
ของจิต [คือ] อภิชณาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอด้วยอำนาจ
ความเพ่งเล็ง] พยาบาท [ปองร้ายเขา] โกธะ [โกรธ] อุปนาหะ
[ผูกโกรธไว้] มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน] ปลาสะ [ตีเสมอ] อิสสา
[ริษยา] มัจฉริยะ [ตระหนี่] มายา [มารยา] สาเถยยะ [โอ้อวด]
ถัมภะ [หัวดื้อ] สารัมภะ [แข็งดี] มานะ [ถือตัว] อติมานะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 434
[ดูหมิ่นท่าน] มทะ [มัวเมา] ปมาทะ [เลินล่อ] [เหล่านี้เป็น
ธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต.
อุปกิเลส ๑๖
[๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นรู้ชัดว่า อภิชฌาวิสมโลภะ
พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา
สาเถยยะ ลัมภะ สารัมภะ นานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ เป็น
ธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตด้วยประการฉะนี้แล้ว ย่อมละอภิชฌาวิสม-
โลภะ พยาสบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ
มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ
อันเป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตเสีย.
[๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุรู้ชัดว่า อภิชฌา-
วิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา-
มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ
ปมาทะ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็ละ
อภิชฌาวิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ
อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเลยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ
มทะ ปมาทะ อันเป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตเสียได้แล้ว ในกาล
นั้น เธอเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 435
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม
เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระธรรมว่า ธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะคน
[แล] เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติ
ชอบยิ่ง คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นแหละ พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรรับเครื่องสักการะ เป็นผู้ควรของต้อนรับ
เป็นผู้ควรทักขิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ
อื่นยิ่งกว่า ก็เพราะเหตุที่กิเลสนั้น ๆ อัน ภิกษุนั้นสละได้แล้ว ตายแล้ว
ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้ว เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ ย่อม
ได้ความรู้แจ้งธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรมว่า เราเป็น
ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า เราเป็นผู้ประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระธรรม เราเป็นผู้ประกอบด้วยความ
เลื่อมใสอันแน่วแน่ในพระสงฆ์ และเพราะกิเลสนั้น ๆ อัน เราสละได้แล้ว
ตายแล้ว ปล่อยแล้ว ละเสียแล้ว สละคืนแล้ว ดังนี้ เมื่อปราโมทย์แล้ว
ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้
เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
[๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแลมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้
มีปัญญาอย่างนี้ ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตข้าวสาลีปราศจากเมล็ดดำ มีแกงมี
กับมิใช่น้อย การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น ก็ไม่มีอันตรายเลย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้าอันเศร้าหมอง มลทินจับ อาศัยน่าอันใส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 436
จึงเป็นผ้าหมดจดผ่องใส อีกอย่างหนึ่ง ทองคำอาศัยเบ้าหลอมที่ทำทอง
ให้บริสุทธิ์ จึงเป็นทองบริสุทธิ์ผ่องใส ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล มีศีล
อย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีปัญญาอย่างนี้ ถึงแม้จะฉันบิณฑบาตข้าวสาลี
ปราศจากเมล็ดดำ มีแกงมีกับมิใช่น้อย การฉันบิณฑบาตของภิกษุนั้น
ก็ไม่มีอันตรายเลย.
[๙๗] ภิกษุนั้นมีใจประกอบด้วยเมตตา ประกอบด้วยกรุณา
ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒
ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกันมีใจประกอบด้วยเมตตาประกอบด้วยกรุณา
ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ ไม่
มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังทิศเบื้องบน เบื้องต่ำ
ด้านขวาง ทั่วโลกทั้งสิ้น โดยเป็นผู้หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่
ทุกแห่ง ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมรู้ชัดว่า สิ่งนี้มีอยู่ สิ่งที่เลวทรามมี
อยู่ สิ่งที่ประณีตมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งแห่งสัญญานี้มีอยู่
เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสาวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรากล่าวว่า
เป็นผู้สรงสนานแล้วด้วยเครื่องสนานอันเป็นภายใน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาสุภาษิต
[๙๘] ก็โดยสมัยนั้นแล สุนทริกภารทวาชพราหมณ์นั่งอยู่ไม่ไกล
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมจะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 437
เสด็จไปยังแม่น้ำพาหุกาเพื่อจะสรงสนานหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ จะมีประโยชน์อะไรด้วยแม่น้ำพาหุกาเล่า แม่น้ำ
พาหุกาจักทำประโยชน์อะไรได้.
สุ. ท่านพระโคดม แม่น้ำพาหุกา ชนเป็นอันมากยอนรับว่าให้
ความบริสุทธิ์ได้ ท่านพระโคดม แม่น้ำพาหุกา ชนเป็นอันมากยอมรับ
ว่าเป็นบุญ อนึ่ง ชนเป็นอันมาก พากันไปลอยบาปกรรมที่ตนทำแล้ว
ในแม่น้ำพาหุกา.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะสุนทริกภารทวาชพราหมณ์
ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า
คนพาล มีบาปกรรม มุ่งไปยังแม่น้ำพาหุกา ท่าน้ำ
อธิกักกะ แม่น้ำคยา แม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำสรัสสดี
ท่าน้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหุมดี แม้เป็นนิตย์ ก็
บริสุทธิ์ไม่ได้ แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ หรือ
แม่น้ำพาหุกา จักทำอะไรได้ จะชำระนรชนผู้มีเวร
ทำกรรมอันหยาบช้า ผู้มีกรรมอันเป็นบาปนั้น ให้
บริสุทธิ์ไม่ได้เลย สำหรับบุคคลผู้หมดจดแล้วจะ
ประสบผัคคุณฤกษ์ทุกเมื่อ สำหรับบุคคลผู้หมดจด
แล้วรักษาอุโบสถทุกเมื่อ วัตรของบุคคลผู้หมดจดแล้ว
มีการงานอันสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านจงสนามในคำสอนของเรานี้เถิด จง
ทำความเกษมในสัตว์ทั้งปวงเถิด ถ้าท่านไม่กล่าว
คำเท็จไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ถือเอาวัตถุที่เขาไม่ให้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 438
เป็นผู้มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่ไซร้ ท่านจักต้องไปยัง
แม่น้ำคยาทำไม แม้การดื่มน้ำในแม่น้ำคยาก็จักช่วย
อะไรท่านได้.
สุนทริกพราหมณ์บรรลุพระอรหัต
[๙๙] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุนทริกภารทวาช -
พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก
ทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุดีจักเห็น
รูปดังนี้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม
พระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา
อุปสมบทในสำนักของท่านพระโคดมผู้เจริญเถิด สุนทริกภารทวาช-
พราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็
ท่านพระภารทวาชะครั้นอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว
ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่ช้านานเท่าไร ก็ทำให้แจ้ง
ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้มีความ
ต้องการ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนั้นแล.
จบ วัตถูปมสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 439
อรรถกถาวัตถูปมสูตร๑
[๙๑] วัตถูปมสูตร เริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต (ข้าพเจ้าได้สดับมา
แล้วอย่างนี้).
บรรดาคำเหล่านั้น คำนี้ว่า ภิกฺขเว ยถา วตฺถ ในคำว่า เสยฺยถาปิ
ภิกฺขเว วตฺถ เป็นคำอุปมา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงอุปมา
ในที่ลางแห่งทรงแสดงอุปมาก่อนทีเดียว แล้วจึงทรงแสดงอุปไมย
(เนื้อความ) ในภายหลัง ในที่ลางแห่งทรงแสดงอุปไมยก่อนแล้ว
จึงทรงแสดงอุปมาภายหลัง ในที่ลางแห่งทรงนำข้ออุปมามาแสดงประกอบ
อุปไมย ในที่ลางแห่งทรงนำอุปไมยแสดงประกอบอุปมา. จริงอย่างนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เมื่อจะทรงแสดงเทวทูตสูตรแม้ทั้งสิ้น
ให้เป็นอุปมาก่อน แล้วแสดงอุปไมยในภายหลัง จึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือน ๒ หลัง มีประตูเดียวกัน คนผู้มีตาดี
ยืนอยู่ตรงกลาง พึงมองเห็นในเรือน ๒ หลังนั้นได้ (ตลอด ). อนึ่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอุปไมย (เนื้อความ) ที่เป็น
อิทธิวิธิแม้ทั้งสิ้นก่อนแล้วแสดงอุปมาในภายหลัง จึงตรัสโดยนัยเป็นต้น
ว่า ผู้มีฤทธิ์ย่อมเดินทะลุออกนอกฝา นอกกำแพง นอกภูเขา เปรียบ
เหมือนเดินไปในอากาศ (ที่ว่าง) ฉะนั้น.
เมื่อจะทรงเอาอุปมามาล้อม (แสดงประกอบ) อุปไมย จึงได้
ตรัสจุลลสาโรปมสูตรแม้ทั้งสิ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบ
๑. อรรถกถาเรียก วัตถสูตร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 440
เหมือนคนผู้มีความต้องการแก่นไม้ จึงแสวงหาแก่นไม้ฉะนั้น. อนึ่ง เมื่อ
จะทรงเอาอุปไมย (เนื้อความ) มาล้อม( แสดงประกอบ) อุปมา จึงตรัส
สูตรทั้งหลายมี อลคัททสูตร และมหาสาโรปมสูตร เป็นต้น แม้ทั้งสิ้น
โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรลางพวกในโลกนี้ ย่อมเรียน
เอาธรรมคือสุตตะ ฯลฯ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ
ฉะนั้น นะภิกษุทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้นั้น ทรงแสดง
คำอุปมาก่อนในที่นี้แล้วทรงแสดงอุปไมยในภายหลัง.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงอย่างนี้.
ตอบว่า เพราะอัธยาศัยของบุคคล หรือเพราะทรงยักย้ายเทศนา.
จริงอยู่ บุคคลเหล่าใดเข้าใจอุปไมยที่พระองค์ตรัสแสดงอุปมาไว้ก่อน
ได้โดยง่าย พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงอุปมาก่อน แก่กุลบุตร
เหล่านั้น. ในทุกบทก็นัยนี้. อนึ่ง เพราะทรงแทงตลอดธรรมธาตุใดด้วยดี
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า ทรงชำนาญการยักย้ายเทศนาธรรมธาตุนั้น
อันพระองค์ทรงแทงตลอดด้วยดีแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น จึงทรงเป็นธรรมิศรธรรมราชา ชำนาญการยักย้ายพระธรรม
เทศนา พระองค์ย่อมทรงแสดงธรรมได้ตามที่ทรงปรารถนา ด้วยประการ
ดังกล่าวมานี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง ( ธรรม)
อย่างนี้ คือทั้งเพราะ ( ตาม ) อัธยาศัยของบุคคล ทั้งเพราะทรงยักย้าย
เทศนานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วตฺถ ได้แก่ผ้าสะอาดตามปกติ.
บทว่า สงฺกิลิฏฺ มลคฺคหิต ความว่า ชื่อว่า เศร้าหมองแล้ว
เพระเครื่องเศร้าหมอง มีฝุ่นธุลีเป็นต้น ที่ปลิวมาเกาะ และชื่อว่าอัน
มลทินจับแล้ว เพราะถูกมลทินมีคราบเหงื่อเป็นต้นเกาะแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 441
รังคชาตในบทว่า รงฺคซาเต นี้ ได้แก่น้ำย้อมนั่นเอง.
บทว่า อุปสหเรยฺย เปลว่า พึงน้อมเข้าไป.
บทว่า ยทิ นีลกาย ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพื่อต้องการให้มี
สีเขียว. ในทุกบทก็อย่างนี้. จริงอยู่ ช่างย้อนเมื่อจะนำไปย้อม เพื่อ
ต้องการให้เป็นสีเขียว ก็จะนำไปแช่ลงในน้ำย้อมสีเขียว มีสีดำสำริดและ
สีเขียวใบไม้เป็นต้น เมื่อจะนำผ้าไปย้อม เพื่อต้องการให้เป็นสีเหลือง ก็
จะนำผ้าไปแช่ในน้ำย้อมสีเหลือง เช่นกับดอกกรรณิการ์ เมื่อจะน้ำผ้าไปย้อม
เพื่อต้องการให้เป็นสีแดง ก็จะนำผ้าไปแช่ในน้ำย้อมสีแดง เช่นกับดอกชบา
เมื่อจะนำผ้าไปย้อมเพื่อต้องการให้เป็นสีบานเย็น ก็จะนำผ้าไปแช่ในน้ำย้อม
สีแดงเรื่อ เช่นกับดอกกณวีระ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง
ตรัสว่า ยทิ นีลกาย ฯเปฯ ยทิ มญฺเชฏฺิกาย ดังนี้.
บทว่า ทุรตฺตวณฺณเมวสฺส ได้แก่พึงเป็นผ้ามีสีที่ย้อมแล้วไม่ดี
นั่นเอง.
บทว่า อปริสุทฺธวณฺณเมวสฺส ความว่า แม้สีเขียวของผ้านั้นก็จะ
ไม่สดใส แม้สีที่เหลือ (ก็ไม่สดใสเหมือนกัน). เป็นความจริง ผ้าเช่น
นั้นแม้ที่เขาแช่ลงไปในหม้อน้ำย้อมสีเขียว ก็ไม่เป็นสีเขียวแท้. แม้แช่ลง
ไปในหม้อน้ำย้อมที่เหลือ ก็จะไม่เป็นสีแท้ มีสีเหลืองแท้เป็นต้น ย่อมมี
สีเขียวซีด สีหญ้าหางช้างแห้ง สีดอกกรรณิการ์แห้ง สีดอกชบาแห้ง
และสีดอกกณวีระแห้งเท่านั้น.
บทว่า ต กิสฺส เหตุ ความว่า ผ้านั้นเป็นเช่นนี้เพราะเหตุอะไร
คือ เพราะมีอะไรเป็นเหตุ อีกอย่างหนึ่ง น้ำย้อมที่ผ้านั้นเป็นเช่นนี้ คือ
มีสีไม่สวย สดใส เพระเหตุอะไร ? ก็เพราะความที่ผ้าผืนนั้นไม่สะอาด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 442
นั้นแหละเป็นเหตุในข้อนี้ ไม่ใช่เหตุอะไรอื่น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า อปริสุทฺธตฺตา ภิกฺขเ วตฺถสฺส ดังนี้. คำว่า เอวเมว
เป็นคำอุปไมย.
สองบทว่า จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเ ความว่า เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว.
ถ้าหากมีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงได้ทรงการทำคำอุปมาไว้ด้วยผ้าอันเศร้าหมองแล้ว.
ตอบว่า เพื่อทรงแสดงว่าความพยายามมีผลมาก. เปรียบเหมือนผ้า
ที่เศร้าหมอง เพราะมลทินที่ปลิวมาเกาะ. เมื่อซักอีกครั้ง ย่อมขาวสะอาด
เพราะตามปกติเป็นของขาวสะอาดอยู่แล้ว ความพยายามใน (การซัก)
ผ้านั้น จะไร้ผล ดุจความพยายามใน (การฟอก) ขนแกะที่ดำธรรมชาติ
(ให้ขาวสะอาด) หามิได้ฉันใด. แม้จิตที่เศร้าหมองเพราะกิเลสทั้งหลายที่จร
มากฉันนั้น (คือ) ก็ตามปกติ จิตนั้นย่อมเป็นธรรมชาติที่สะอาดทีเดียว
ในวาระปฏิสนธิจิตและภวังคจิต. สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนั้นเป็นธรรมชาติประภัสสร ก็จิตนั้นแล
เศร้าหมองไปเพราะอุปกิเลสที่จรมา จิตนั้นเมื่อได้รับการชำระให้บริสุทธิ์
บุคคลก็สามารถทำให้ประภัสสรยิ่งขึ้นอีกได้ ความพยายามในการชำระจิต
นั้นย่อมไม่ไร้ผลแล. พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตพึงทราบว่า ทรงการทำ
คำอุปมาด้วยผ้าที่เศร้าหมอง เพื่อจะทรงแสดงว่าความพยายามมีผลมาก
ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา ความว่า เมื่อจิตเป็นเช่นนี้ ทุคติเป็น
อันบุคคลพึงหวังได้ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ทุคติเป็นคติที่เขาพึงหวัง
ได้อย่างนี้ว่า ผู้นี้จักถึงทุคติแน่นอน ไม่ถึงคติอื่น ดังนี้ คือ ทุคติเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 443
คติที่เขามีส่วนร่วมอย่างนี้. ก็ชื่อว่า ทุคตินี้นั้นมี ๒ อย่างคือ ปฏิปัตติ
ทุคคติ และคติทุคคติ. ถึงแม้ปฏิบัติทุคติ ก็มี ๒ อย่างคือ อาคาริย-
ปฏิบัติทุคติ และอนาคาริยปฏิปัตติทุคคติ. อธิบายว่า คฤหัสถ์มีจิตใจ
เศร้าหมอง ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ย่อมลักทรัพย์บ้าง ย่อมประพฤติอกุศล-
กรรมบถ ๑๐ ทั้งสิ้นบ้าง นี้ชื่อว่า อาคาริยปฏิปัตติทุคติ ของคฤหัสถ์นั้น.
คฤหัสถ์นั้นดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นแล้ว ครั้นกายแตก ( ตายไป ) ย่อมไปสู่
นรกบ้าง กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง นี้ชื่อว่า คติทุคคติ ของ
คฤหัสถ์นั้น. ฝ่ายบรรพชิต บวชในศาสนานี้แล้ว มีจิตใจเศร้าหมอง
อาสารับใช้คนอื่นทำตัวเป็นหมอ ตะเกียกตะกายทำลายสงฆ์ ทำลายเจดีย-
สถาน เลี้ยงชีพด้วยการให้ไม้ไผ่เป็นต้น ประพฤติอนาจาร และเที่ยวไป
ยังสถานที่อโคจรแม้ทั้งสิ้น นี้ชื่อว่า อนาคาริยปฏิปัตติทุคคติ ของ
บรรพชิตนั้น. บรรพชิตนั้นดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นแล้ว ครั้นกายแตก
(มรณภาพ) ย่อมไปสู่นรกบ้าง กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง
ชื่อว่าเป็นสมณยักษ์ สมณเปรต มีกายลุกโชติช่วงด้วยผ้าสังฆาฏิเป็นต้น
ที่ถูกไฟไหม้แล้ว ส่งเสียงร้องครวญครางเที่ยวไป นี้ชื่อว่า คติทุคคติ ของ
บรรพชิตนั้น.
บทว่า เสยฺยถาปิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มแสดง
ธรรมฝ่ายขาว (สุคติ). เนื้อความของธรรมฝ่ายขาวนั้น พึงทราบด้วย
ธรรมตรงกันข้ามที่ท่านกล่าวไว้แล้วในธรรมฝ่ายดำ (ทุคติ) นั่นแล.
อนึ่ง ชื่อว่า สุคติ แม้ในที่นี้ก็มี ๒ อย่าง คือ ปฏิปัตติสุคติ และ
คติสุคติ. แม้ปฏิปัตติสุคติก็มี ๒ อย่าง คือ อาคาริยปฏิปัตติสุคติ และ
อนาคาริยปฏิปัตติสุคติ. อธิบายว่า คฤหัสถ์มีจิตบริสุทธิ์ ย่อมงดเว้นจาก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 444
การฆ่าสัตว์บ้าง จากการลักทรัพย์บ้าง บำเพ็ญกุศลกรรมบถ ๑๐ ทั้งสิ้น
บ้าง นี้ชื่อว่า อาคาริยปฏิปัตติสุคติ ของคฤหัสถ์นั้น. คฤหัสถ์นั้น
ดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นแล้ว ครั้นกายแตก (ตายไป) ย่อมเข้าถึงความ
เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในหมู่มนุษย์บ้าง ความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในหมู่เทวดาบ้าง
นี้ชื่อว่า คติสุคติ ของคฤหัสถ์นั้น. ฝ่ายบรรพชิตบวชในศาสนานี้
มีจิตบริสุทธิ์ รักษาปาริสุทธิศีล ๔ หมดจด สมาทานธุดงค์ ๑๓
เรียนเอากรรมฐานอันเหมาะแก่ตนในอารมณ์ ๓๘ อยู่เสนาสนะอันสงัด
ทำบริกรรมกสิณ (จน) ให้เกิดฌานสมาบัติ ได้บรรลุโสดาปัตติ
มรรค ฯลฯ ได้บรรลุอนาคามิมรรค นี้ชื่อว่า อนาคาริยปฏิปัตติสุคติ
ของบรรพชิตนั้น. บรรพชิตนั้นดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นแล้ว ครั้นกายแตก
(มรณภาพ ) ย่อมเกิดในตระกูลใหญ่ ๓ ตระกูล ในมนุษยโลกบ้าง ใน
เทพชั้นกามาวจร ๖ ชั้นบ้าง ในภพแห่งพรหม ๑๐ ภพบ้าง ในชั้น
สุทธาวาส ๕ ชั้นบ้าง ในอรูปภพ ๔ บ้าง นี้ชื่อว่า คติสุคติ ของ
บรรพชิตนั้น.
[ ๙๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสว่า เมื่อจิตเศร้าหมองทุคติ
เป็นอันหวังได้ และเมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้ อย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอุปกิเลสทั้งหลายที่เป็นเหตุให้จิตเศร้าหมอง จึง
ตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุปกิเลสแห่งจิตเป็นไฉน? คือ
อภิชฌาวิสมโลภะ ดังนี้ . บรรดาอุปกิเลสเหล่านั้น ความรักความพอใจใน
ภัณฑะของตน ชื่อว่า อภิชฌา ความรักความพอใจในภัณฑะของคนอื่น
ชื่อว่า วิสมโลภะ. อีกอย่างหนึ่ง ความรักความพอใจในภัณฑะของตน
หรือของคนอื่น จงยกไว้ ความรักความพอใจในฐานะที่ถูกที่ควร ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 445
อภิชฌา ความรักความพอใจในฐานะที่ไม่ถูกไม่ควร ชื่อว่า วิสมโลภะ.
ส่วนพระเถระกล่าวไว้ว่า โลภะทุกอย่างจะไม่ชื่อว่า วิสมะก็หามิได้ เพราะ
พระบาลีว่า พวกเธอทำการแบ่งแยกไปทำไม จะเป็นในอารมณ์ที่
เหมาะหรือไม่เหมาะก็ตาม ราคะก็เป็นวิสมะ โทสะก็เป็นวิสมะ โมหะ
ก็เป็นวิสมะ. (เหมือนกัน ) เพราะฉะนั้น โลภะนี้นั่นเอง ชื่อว่า อภิชฌา
เพราะอรรถว่า เพ่งเล็ง ชื่อว่า วิสมะ เพราะอรรถว่า ไม่เหมาะ (ไม่
ชอบธรรม) คำว่า อภิชฌา และ วิสมะ นี้ มีความหมาย้อนเดียวกัน
ต่างกันแต่เพียงพยัญชนะเท่านั้น. ก็อภิชฌาวิสมโลภะนี้นั้น เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมทำร้ายจิต คือไม่ให้จิตผ่องใส เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้. เหมือนอย่างว่า
อภิชฌาวิสมโภะนี้เป็นฉันใด พยาบาทอันเกิดมาจากอาฆาตวัตถุ (เหตุ
ที่ตั้งแห่งความอาฆาต ) ๙ อย่าง ความโกรธอันเกิดมาจากอาฆาต-
วัตถุ ๑๐ อย่าง ความผูกโกรธ อันครอบคลุมจิตบ่อย ๆ ก็ฉันนั้น
ความลบหลู่ อันการทำสิ่งที่เขาทำดีแล้วให้พินาศไป ไม่ว่าของคฤหัสถ์หรือ
ของบรรพชิต (มีลักษณะเหมือนกัน) อธิบายว่า ฝ่ายคฤหัสถ์ (เดิมที)
เป็นคนขัดสน (ครั้นแล้ว) ผู้มีกรุณาลางคนได้ยก (เขา) ไว้ในฐานะ
ที่สูงส่ง ต่อมา (เขากลับกล่าวว่า) ท่านทำอะไรให้ข้าพเจ้า ชื่อว่า
ทำลายความดีที่คนผู้กรุณานั้นทำไว้แล้วให้พินาศไป ฝ่ายบรรพชิตแล
จำเดิมแต่สมัยเป็นสามเณรน้อย อันอาจารย์หรืออุปัชฌาย์ท่านใดท่านหนึ่ง
อนุเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ และด้วยอุทเทศและปริปุจฉา ให้สำเหนียกความ
เป็นผู้ฉลาดในปกรณ์เป็นต้น ด้วยธรรมกถา สมัยต่อมา อันพระราชาและ
ราชมหาอำมาตย์เป็นต้น สักการะเคารพแล้ว (เธอ) กลับขาดความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 446
ยำเกรงในอาจารย์และอุปัชฌาย์เที่ยวไป อันอาจารย์เป็นต้นกล่าวว่า ผู้นี้
สมัยเขาเป็นเด็ก เราทั้งหลายช่วยอนุเคราะห์และส่งเสริมให้ก้าวหน้าอย่างนี้
ก็แต่ว่าบัดนี้ เขาไม่น่ารักเสียแล้ว ก็กล่าว (ตอบ) ว่า พวกท่านทำ
อะไรให้ผม ดังนี้ ชื่อว่า ทำลายความดีที่อุปัชฌาย์และอาจารย์เหล่านั้น
ทำแล้วให้พินาศไป ความลบหลู่ที่ทำความดีที่ท่านทำไว้แล้วให้พินาศไป
ของบรรพชิตนั้นย่อมเกิดขึ้นทำร้ายจิต คือไม่ให้จิตผ่องใส เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้.
เหมือนอย่างว่า ความลบหลู่นี้เป็นฉันใด การตีเสมอ (ซึ่งได้แก่)
การถือเป็นคู่แข่ง ก็ฉันนั้น เกิดขึ้นลามไปอ้างถึงบุคคลแม้เป็นพหูสูต
โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านผู้เป็นพหูสูตเช่นนี้ ยังมีคติไม่แน่นอน (แล้ว)
ท่านกับผมจะมีอะไรวิเศษเล่า. ความริษยา ได้แก่การนึกตำหนิสักการะ
เป็นต้นของคนอื่น. ความตระหนี่ ได้แก่ (การที่ ) ทนไม่ได้ที่สมบัติ
ของตนมีคนอื่นร่วมใช้สอย. มายา ได้แก่กิริยาที่เป็นการประพฤติ
หลอกลวง. ความโอ้อวดเกิดขึ้นโดย (ทำให้) เป็นคนคุยโต. จริงอยู่
คนคุยโตย่อมเป็นเหมือนปลาอานนท์.
เล่ากันว่า ปลาอานนท์( ชอบ). เอาหางอวดปลา (พวกอื่นและ)
เอาศีรษะอวดงู ให้ (ปลาและงูเหล่านั้น ) รู้ว่าเราเป็นเช่นกับพวกท่าน.
บุคคลผู้คุยโต ก็เช่นนั้นเหมือนกัน เข้าไปหานักพระสูตร หรือนักพระอภิ-
ธรรมใด ๆ ย่อมกล่าวกะท่านนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ผมประพฤติประโยชน์เพื่อ
ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายต้องอนุเคราะห์ผม ผมจะไม่ทิ้งพวกท่านหรอก
ดังนี้. เมื่อเป็นอย่างนี้แลนักพระสูตรและนักอภิธรรมเหล่านั้นก็จักสำคัญ
(เธอ) ว่า ผู้นี้มีความเคารพยำเกรงในเจ้าทั้งหลาย ความโอ้อวดนี้แล
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 447
ของบุคคลนั้น เมื่อเกิดขึ้นโดย (ทำให้)เป็นคนคุยโตย่อมเกิดขึ้นทำร้ายจิต
คือไม่ให้จิตผ่องใส เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นธรรม
เครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้. เหมือนอย่างว่า ความโอ้อวดนี้เป็นฉันใด
ความหัวดื้อก็ฉันนั้น เป็นตัวการทำให้ไม่ให้ประพฤติอ่อนน้อม เชิดศีรษะ
เพราะเป็นผู้กระด้าง เป็นเช่นกับสูบที่เต็มลม. ความแข็งดี มีการกระทำยิ่ง
กว่านั้น, ความแข่งดีนั้น แยกออกได้ ๒ ประเภท คือ ฝ่ายอกุศล และ
กุศล. ก็ในบรรดาความแข่งดี ๒ ประเภทนั้น สำหรับคฤหัสถ์ความแข็งดี
เกิดขึ้นเพราะได้เห็นเครื่องประดับเป็นต้นที่คนอื่นทำแล้ว แล้วทำให้ทวี
คูณ ๆ ขึ้นไปกว่านั้น ๆ จัดเป็นอกุศล และสำหรับบรรพชิต (ขณะที่)
บรรพชิตอื่น เล่าเรียนหรือกล่าวธรรมะมีประมาณเท่าใด ๆ ความแข่งดี
ที่เกิดขึ้นด้วยการกระทำให้ทวีคูณ ๆ ไปกว่านั้น ๆ ด้วยอำนาจแห่งมานะ
จัดเป็นอกุศล. ส่วนคฤหัสถ์ ความแข็งดีที่เกิดขึ้นเพราะได้เห็นคนอื่นถวาย
สลากภัตร ๑ ที่ แล้วตนเองประสงค์จะถวาย ๒ หรือ ๓ ที่ จัดเป็นกุศล.
และสำหรับบรรพชิต เมื่อ (ได้ทราบว่า) ภิกษุอื่นเรียนได้ ๑ นิกาย
แล้ว ความแข็งดีเกิดขึ้นโดยไม่อาศัยมานะ (แต่) เพราะได้เห็นภิกษุอื่น
นั้น (เรียนได้แล้ว ๑ นิกาย) แล้วประสงค์จะครอบงำความเกียจคร้าน
ของตนอย่างเดียว เรียนเอาให้ได้ ๒ นิกาย จัดเป็นกุศล. แต่ในที่นี้
ท่านประสงค์เอาความแข็งดีที่เป็นอกุศล. เพราะว่า ความแข็งดีที่เป็น
อกุศลนี้ย่อมเกิดขึ้นทำร้ายจิต คือไม่ให้จิตผ่องใส เพราะฉะนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต. อนึ่ง ความ
แข็งดีนี้เป็นฉันใด ความถือตัวก็ฉันนั้น เป็นไปด้วยอำนาจความพองตัว
แห่งจิต เพราะอาศัยชาติ (กำเนิด ) เป็นต้น มานะที่เป็นไปด้วยอำนาจ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 448
ความพองตัวยิ่งแห่งจิต ชื่อว่า อตินานะ อาการที่รับเอาด้วยความมัวเมา
ชื่อว่ามทะ มทะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการปล่อยจิตไปในกามคุณทั้งหลาย
ชื่อว่า ปมาทะ ปมาทะย่อมเกิดขึ้นทำร้ายจิต คือไม่ให้จิตผ่องใส เพราะ
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดง
อุปกิเลส จึงทรงแสดงโลภะไว้เป็นอันดับแรก.
ตอบว่า เพราะโลภะนั้นเกิดขึ้นก่อนเพื่อน.
จริงอยู่ เมื่อสัตว์ทั้งปวงเกิดขึ้นในภพใดภพหนึ่ง โดยที่สุดแม้ในภูมิ
สุทธาวาส โลภะย่อมเกิดขึ้นก่อนเพื่อนด้วยอำนาจความยินดีในภพ ต่อจาก
นั้น อุปกิเลสนอกนี้มีพยาบาทเป็นต้น ย่อมเกิด ตามควรแก่ปัจจัยเพราะ
อาศัยปัจจัยที่ควรแก่ตน และไม่ใช้แก่อุปกิเลสของจิต ๑๖ อย่างนี้เท่านั้น
เกิดขึ้น แต่พึงทราบว่าโดยนัยนี้ ย่อมเป็นอันรวมกิเลสแม้ทั้งหมดทีเดียว.
[๙๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ด้วยคำอธิบายเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความผ่องใส จึงตรัส
คำเป็นต้นว่า ส โข โส ภิกฺขเว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ วิทิตฺวา แปลว่า รู้อสย่างนี้.
บทว่า ปชหติ ความว่า ละ (อุปกิเลสแห่งจิต ) ด้วยอริยมรรค
ด้วยอำนาจแห่งสมุจเฉทปหาน.
ในบทว่า ปชหติ นั้น พึงทราบการละมีอยู่ ๒ อย่าง คือ (ละ)
ตามลำดับกิเลส และตามลำดับมรรค. (จะอธิบายการละ) ตามลำดับ
กิเลสก่อน, กิเลส ๖ เหล่านี้ คือ อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภโดย
ไม่ชอบธรรมคือความเพ่งเล็ง) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ ( แข็งดี)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 449
มานะ (ถือตัว) อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) มทะ (มัวเมา) ย่อ มละ
ได้ด้วยอรหัตตมรรค. กิเลส ๔ เหล่านี้ คือ พยาปาทะ (ความพยาบาท)
โกธะ (ความโกรธ) อุปนาหะ (ความผูกโกรธไว้) ปมาทะ (เลินเล่อ)
ย่อมละด้วยอนาคามิมรรค. กิเลส ๖ เหล่านี้ คือ มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)
ปลาสะ (ตีเสมอ) อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ ( ตระหนี่ )
มายา (มารยา, เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (โอ้อวด) ย่อมละด้วยโสดา-
ปัตติมรรค. ส่วนการละตามลำดับมรรคจะอธิบายดังต่อไปนี้ :-
กิเลส ๖ เหล่านี้ คือ มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอ)
อิสสา (ความริษยา) มัจฉริยะ (ตระหนี่) มายา (มารยา, เจ้าเล่ห์)
สาเถยยะ ( โอ้อวด) ย่อมละด้วยโสดาปัตติมรรค. กิเลส ๔ เหล่านี้
คือ พยาปาทะ (ความพยาบาท ) โกธะ ( ความโกรธ) อุปนาหะ
(ความผูกโกรธไว้) ปมาทะ (เล่นเล่อ) ย่อมละด้วยอนาคามิมรรค.
กิเลส ๖ เหล่านี้คือ อภิชฌาวิสมโลภะ ความโลภโดยไม่ชอบธรรมคือ
ความเพ่งเล็ง ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (ถือตัว) อติมานะ (ดู
หมิ่นท่าน) มทะ (มัวเมา ) ย่อมละด้วยอรหัตตมรรค. แต่ในที่นี้กิเลส
เหล่านี้จะถูกฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรค หรือถูกฆ่าด้วยมรรคที่เหลือก็ตาม
ถึงกระนั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำเป็นต้นว่า บุคคลย่อม
ละอภิชฌาวิสมโลภะอันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ดังนี้ ทรงหมายเอา
การละด้วยอนาคามิมรรคนั่งเอง. นี้เป็นการเกิด (แห่งผล ) อันมาแล้ว
ตามมรรคที่สืบต่อกันในที่นี้ . ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมรรค
ที่ ๔ ไว้ในชั้นสูงสุดแล้ว การเกิดแห่งผลนั้นจึงจะถูก อุปกิเลสมีวิสมโลภะ
เป็นต้นที่เหลือจากอุปกิเลสที่ละได้แล้วด้วยตติยมรรค ย่อมเป็นอันละได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 450
ด้วยมรรคที่ นั้น. กิเลสที่เหลือย่อมเป็นอันละได้ด้วยมรรคที่ ๔ นี้เช่นกัน.
เพราะว่า อุปกิเลสมีมักขะเป็นต้น แม้เหล่าใด ย่อมละได้ด้วยโสดาปัตติ-
มรรค อุปกิเลสแม้เหล่านั้น ย่อมเป็นอันละได้เด็ดขาดแล้วด้วยอนาคามิ-
มรรคนั่นแล เพราะจิตอันเป็นสมุฏฐานแห่งอุปกิเลสมีมักขะเป็นต้นนั้น
ยังละไม่ได้โดยเด็ดขาด (ด้วยโสดาปัตติมรรค ). แต่ในอธิการนี้อาจารย์
ลางพวกพรรณนาการละได้ด้วยปฐมมรรคนั้นแล. คำนั้นไม่สมกับคำ
ต้นและคำปลาย. อาจารย์ลางพวกพรรณนาวิกขัมภนปหานไว้ในอธิการนี้.
คำนั้นเป็นเพียงความประสงค์ของอาจารย์พวกนั้นเท่านั้น.
[๙๕] บทว่า ยโต ในคำว่า ยโต โข ภิกฺขเว นี้ แปลว่า
ในกาลใด. ด้วยบทว่า ปหีโน โหติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา
การละในขณะแห่งอนาคามิมรรค.
บทว่า โส พุทฺเธ อเวจฺจปฺปสาเทน นี้ พึงประกอบเข้ากับบท
แต่ละบทอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละวิสมโลภะได้
ในกาลนั้นเธอย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า.
จริงอยู่ ภิกษุรูปนี้มีความเลื่อมใสอันเป็นโลกุตตระมาแล้วโดยอนาคามิ-
มรรค สมัยต่อมาเมื่อภิกษุนี้ระลึกถึงอยู่ ซึ่งพระคุณของพระพุทธเจ้า
ของพระธรรม และพระสงฆ์ ความเลื่อมใสอันเป็นโลกิยะย่อมเกิดขึ้นได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความเลื่อมใส ทั้งที่เป็นโลกิยะ และ
โลกุตตระทั้งหมดนั้นของภิกษุนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า พุทฺเธ อเวจฺจปฺ-
ปสาเทน ดังนี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเวจฺจปฺปสาเทน ความว่า ด้วยความ
เลื่อมใส ชื่อว่าไม่หวั่นไหว คือไม่คลอนแคลน เพราะรู้พุทธคุณ ธรรมคุณ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 451
และสังฆคุณ ตามเป็นจริง. เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงความเลื่อมใสอันไม่
หวั่นไหวนั้นเกิดขึ้นแล้วโดยวิธีใด บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงวิธีนั้น จึง
ทรงยังฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ ๓ ให้พิสดารโดยนัยเป็นต้นว่า อิติปิ โส
ภควา ดังนี้. การพรรณนาเนื้อความแห่งที่ตั้งอนุสสติเหล่านั้น ท่านพระ
พุทธโฆษาจารย์กล่าวไว้แล้วอย่างละเอียดในอนุสสติกถาในวิสุทธิมรรค.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความเลื่อนใสทั้งที่เป็นโลกิยะ
และโลกุตตระของพระอนาคามีนั้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง
การละกิเลสและอานิสงส์มีโสมนัสเป็นต้น อันประกอบด้วยความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวที่เกิดขึ้นแก่พระอนาคามีผู้พิจารณาอยู่ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ยโถธิ๑ โข ปนสฺส ดังนี้. คำนั้นมีอธิบายว่า จริงอยู่ โสมนัสกล้า
ย่อมเกิดขึ้นแก่พระอนาคามีผู้พิจารณาอยู่ ถึงการละกิเลสของตนว่า กิเลส
เหล่านี้ ๆ เราละได้แล้ว เปรียบเหมือนโสมนัสกล้าเกิดขึ้นแก่พระราชา
ผู้ทรงปราบอันตรายคือโจร ที่ซ่องสุมอยู่บริเวณปลายแดงให้สงบแล้ว
เสด็จกลับมาประทับพิจารณาพระราชกิจนั้นอยู่ในพระมหานครนั้นฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงโสมนัสนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ยโถธิ๑ โข ปนสฺส ดังนี้ . คำนั้นมีอธิบายว่า พระอนาคามีนี้ใดพิจารณา
อยู่อย่างนี้ว่า พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า ฯลฯ พระธรรม ฯลฯ (และ ) ฯลฯ พระสงฆ์
เป็นบุญเขตอันยอดเยี่ยมของชาวโลก กิเลสนั้นเป็นอันพระอนาคามีสละแล้ว
สลัดทิ้งแล้วตามส่วนแล ได้แก่สละแล้วตามอำนาจส่วนของตน ๆ นั่นแล
กิเลสนั้น ๆ เป็นอันพระอนาคามีนั้น คายแล้ว ปล่อยแล้ว ละได้แล้ว
สลัดทิ้งแล้ว.
๑. ปาฐะนั้น เป็น ยโตธิ ทั้ง ๒ แห่ง แต่ฉบับของพม่าเป็น ยโถธิ จึงแก้ตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 452
บทว่า สกสกโอธิวเสน ความว่า ส่วนมี ๒ คือส่วนแห่งกิเลสและ
ส่วนแห่งมรรค. บรรดาส่วน ๒ ส่วนนั้น ว่าด้วยอำนาจส่วนแห่งกิเลส
(ก่อน) กิเลสเหล่าใดอันบุคคลพึงฆ่าด้วยมรรคใด กิเลสเหล่านั้นไม่ปน
กับกิเลสที่มรรคอื่นพึงฆ่า ย่อมเป็นอันพระอนาคามีละได้แล้วด้วยส่วน
ของตนนั้นแล. ว่าด้วยส่วนแห่งมรรคบ้าง กิเลสเหล่าใดอันบุคคลพึงละ
ด้วยมรรคใด กิเลสเหล่านั้นนั่นแลย่อมเป็นอันละแล้วด้วยมรรคนั้น. กิเลส
นั้น ๆ ย่อมเป็นอันท่านสละแล้ว สลัดทิ้งแล้วทีเดียว ด้วยอำนาจส่วน
ของตน ด้วยประการฉะนี้. เชื่อมความว่า ท่านพิจารณาถึงกิเลสที่ละได้
แล้วนั้นเป็นผู้ได้โสมนัส, เธอย่อมได้ความรู้อรรถ ( ผล ) ยิ่งไปกว่านั้น
ว่าเราเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า.
ปาฐะว่า ยโถธิ โข ดังนี้ก็มี. ด้วยอำนาจปาฐะนั้น มีเนื้อควานดังต่อ
ไปนี้. ก็แล เพราะเหตุที่กิเลสย่อมเป็นอันภิกษุนั้นละได้แล้ว สละได้แล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต เป็นตติยาวิภัตติ. มีอธิบายว่า
ยสฺมา (เพราะเหตุใด). มรรค ๓ เบื้องต่ำท่านเรียกว่า "โอธิ" เพราะ
เหตุไร ? เพราะมรรค ๓ เบื้องต่ำเหล่านั้น ทำ ( กิเลส) ให้เป็นส่วน
คือให้เป็นสัด (โกฏฐาสะ ) แล้วย่อมละ ( กิเลส ) ได้ ยกเว้นกิเลส
ที่พึงละด้วยมรรคเบื้องสูง ๆ ฉะนั้น มรรค ๓ เบื้องต่ำท่านจึงเรียกว่า
โอธิ ดังนี้. ส่วนอรหัตตมรรคย่อมละกิเลสทุกอย่างไม่ให้เหลืออยู่ เพราะ-
ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อโนธิ ดังนี้. อนึ่ง ภิกษุรูปนี้ สละกิเลสได้
แล้วด้วยมรรค ๓ เบื้องต่ำ. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ยโตธิ โข ปน จตฺต โหติ ดังนี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โข ปน เป็นเพียงนิบาต. ส่วนเนื้อความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 453
นี้เป็นความรวม. ก็เพราะกิเลส ชื่อว่า โอธิ เป็นอันภิกษุรูปนั้นสละแล้ว
สลัดทิ้งแล้ว ฉะนั้น จึงควรขยายความตามพระบาลีว่า ภิกษุรูปนั้นพิจารณา
ถึงกิเลสที่ละได้แล้วนั้นย่อมได้โสมนัส เธอย่อมได้ความรู้แจ้งอรรถ (ผล)
แม้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ว่าเราเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระพุทธเจ้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺต นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจการสละ
ภาวะของตน.
ส่วนบทว่า วนฺต นี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจการแสดงภาวะคือความ
ไม่ยึดถือ.
บทว่า มุตฺต นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจเปลื้องจากสันตติ.
บทว่า ปหีน นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจการแสดงว่า กิเลสแม้ที่พ้น
ได้แล้วไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ๆ.
บทว่า ปฏินิสฺสฏฺ นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจการแสดง การสละ
กิเลสที่เคยยึดถือในกาลก่อน หรือด้วยอำนาจการแสดงภาวะแห่งกิเลส
ที่ตนสลัดทิ้งแล้วเฉพาะหน้า ท่านกล่าวอธิบายว่า ด้วยอำนาจการแสดง
ภาวะแห่งกิเลสที่คนครอบงำด้วยกำลังแห่งภาวนา สลัดทิ้งแล้ว ดังนี้.
ในข้อว่าย่อมได้การรู้อรรถ (ผล ) การรู้ธรรม (เหตุ) นี้ มีอธิบายว่า
ควานเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั้นแล
ชื่อว่าอรรถ เพราะอันบุคคลพึงดำเนิน อธิบายว่า พึงเข้าไปให้ถึง.
ชื่อว่าธรรม เพราะเป็นสภาพทรงไว้ มีอธิบายว่า ให้ตกต่ำ.
บทว่า เวท หมายเอาคัมภีร์บ้าง หมายเอาญาณบ้าง หมายเอา
โสมนัสบ้าง. คัมภีร์ท่านเรียกว่า เวท (ดัง) แม้ในประโยคเป็นต้นว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 454
ถึงฝั่งแห่งเวท ๓ ดังนี้. ญาณท่านเรียกว่า เวท (ดัง ) ในประโยค
เป็นต้นว่า
พราหมณ์ใดถึงเวทมีความรู้ยิ่ง ไม่มีกิเลส เครื่อง
กังวล ไม่ข้องอยู่ในกามภพ ดังนี้.
โสมนัสท่านเรียกว่า เวท (ดัง ) ในประโยคเป็นต้นว่า ชนเหล่าใด
เกิดความยินดี ย่อมท่องเที่ยวไปในโลก ดังนี้ . แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอา
โสมนัส และญาณอันประกอบด้วยโสมนัส เพราะฉะนั้น ในข้อนี้พึงทราบ
เนื้อความอย่างนี้ว่า :-
บทว่า ลภติ อตฺถเวท ลภติ ธมฺมเวท ความว่า ย่อมได้โสมนัส
อันมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวเป็นอารมณ์ และญาณอันสำเร็จด้วย
โสมนัส. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความในข้อนี้แม้อย่างนี้ว่า :-
บทว่า อตฺถเรท ความว่า (ย่อมได้) ความรู้ (เวท) มีประการ
ดังกล่าวนั่นแล อันเกิดขึ้นแล้วแก่ท่านผู้พิจารณาอยู่ ซึ่งความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหว.
บทว่า ธมฺมเวท ความว่า ( ย่อมได้) ซึ่งความรู้ (เวท) มี
ประการดังกล่าวแล้วนั่นแล อันเกิดขึ้นแล้วแก่ท่านผู้พิจารณาอยู่ ซึ่ง
การละกิเลสโดยเป็นส่วนเพราะเหตุแห่งความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว.
สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้นี้ว่า ญาณ ในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา
ญาณในผลของเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ดังนี้.
บทว่า ธมฺมูปสญฺหิต ปาโมชฺช ความว่า (ย่อมได้) ปราโมทย์
อันเกิดขึ้นแล้วแก่ท่านผู้พิจารณาอยู่ ซึ่งอรรถและธรรมนั้นนั่นแล และ
ความรู้ (เวท ) อันเป็นอานิสงส์เกิดมาจากความรู้อรรถและธรรมนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 455
จริงอยู่ ปราโมทย์นั้นท่านกล่าวว่า ประกอบด้วยธรรมอันเป็นไปโดย
อาการพิจารณาโดยลักษณะที่ไม่มีโทษ.
บทว่า ปมุทิตสฺส ปีติ ชายติ ความว่า ปีติ อันไม่เจือด้วยอามิส
ย่อมเกิดแก่ท่านผู้บันเทิงด้วยปราโมทย์นี้.
บทว่า ปีติมนสฺส ความว่า ผู้มีใจอิ่มเอิบด้วยปีตินั้น.
บทว่า กาโย ปสฺสมฺภติ ความว่า แม้กายก็เป็นอันสงบระงับ
คือมีความกระวนกระวายอันสงบระงับแล้ว.
บทว่า ปสฺสทฺธกาโย สุข ความว่า ท่านผู้มีความกระวนกระวาย
ทางกายสงบแล้วอย่างนี้ ย่อมเสวยสุขทางใจ.
บทว่า จิตฺต สมาธิยติ ความว่า จิตย่อมตั้งมั่นโดยชอบ คือ
ดำรงอยู่ ไม่หวั่นไหว ดุจถึงอัปปนา.
[ ๙๖ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอานิสงส์มีโสมนัส
เป็นต้น อันเกิดขึ้นอยู่แก่ภิกษุรูปนั้น ผู้พิจารณาอยู่ซึ่งการละกิเลสอัน
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรง
ประกาศอาการอันเป็นไปแล้วแห่งการพิจารณาของภิกษุนั้น โดยวาระว่า
ยโตธิ โข ปน เม ดังนี้ แล้วแสดงพลานุภาพแห่งอนาคามิมรรคนั้น
นั่นแล จึงตรัสคำว่า ส โข โส ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวสีโล ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ย่อมทรงแสดงศีลขันธ์อันประกอบด้วย อนาคามิมรรคของภิกษุรูปนั้น.
บทว่า เอวธมฺโม เอวปญฺโ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม
ทรงแสดงสมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์อันประกอบด้วยอนาคามิมรรคนั้น
นั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 456
บทว่า สาลีน ความว่า แห่งข้าวสาลีชนิดต่าง ๆ มีข้าวสาลีแดง
และข้าวสาลีหอมเป็นต้น.
บทว่า ปิณฺฑปาต ได้แก่ข้าวสุก.
บทว่า วิจิตกาฬก ความว่า นำส่วนที่คำ (เสีย) ออก.
บทว่า เนวสฺส ต โหติ อนฺตราย ความว่า การฉันบิณฑบาต
มีประการดังกล่าวนั้น ของภิกษุเห็นปานนี้นั้น ย่อมไม่เป็นอันตรายแก่
มรรคหรือผล. จริงอยู่ การฉันนั้น ของท่านผู้ได้ (บรรลุ) คุณธรรม
แล้วจักทำอันตรายอะไรได้ แม้ว่าท่านยังไม่ได้บรรลุอรหัตตมรรคและ
อรหัตตผล (แต่ ) ยัง (อยู่ในระยะ) เจริญวิปัสสนาเพื่อบรรลุมรรคผล
นั้น การฉันนั้นก็ไม่จัดเป็นอันตรายเลย คือไม่สามารถจะทำอันตรายได้
เลย. เพราะเหตุไร ? เพราะท่านมีจิตบริสุทธิ์ด้วยมรรคที่ประมวล ศีล
ธรรม และปัญญา มีประการดังกล่าวแล้วไว้. ก็เพราะในข้อที่มีเหตุนี้
นั้นแล ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงข้ออุปมาอันเหมาะแก่เหตุนั้น จึงตรัสคำ
เป็นต้นว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉ ความว่า ใสสะอาด เพราะ
ปราศจากมลทิน ผ่องแผ้ว เพราะประภัสสร.
บทว่า อุกฺกามุข ความว่า เบ้าหลอมของช่างทอง เพราะในที่นี้
เบ้าของช่างทองท่านเรียกว่า อุกกา. แต่ในที่อื่นแม้ประทีปเป็นต้นท่าน
ก็เรียกว่า อุกกา. จริงอยู่ ประทีปท่านเรียกว่า อุกกา ( คบเพลิง) ใน
อาคตสถานว่า อุกฺกา ธาริยมานาสุ ดังนี้. เบ้าท่านเรียกว่า อุกกา
(เบ้าหลอม) ในอาคตสถานว่า ช่างทอง พึงก่อเบ้าหลอม ครั้น
ก่อเสร็จแล้ว พึงฉาบปากเบาหลอม ดังนี้ เตาช่างทองท่านก็เรียกว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 457
อุกกา ในอาคตสถานว่า เหมือนอย่างเตาไฟของช่างทอง ลุกไหม้อยู่
(แค่) ข้างใน ไม่ลามออกมาข้างนอก. กำลังลมท่านก็เรียกว่า อุกกา
ในอาคตสถานว่า กำลังลม (อุกกาบาต) จักมีผลอย่างนี้ ดังนี้. แต่ใน
ที่นี้และในที่อื่นอันนี้ลักษณะเดียวกันนี้ เบ้าของช่างทองพึงทราบว่า อุกกา
ในอาคตสถานว่า ช่างทองเอาคีมคีบทองสอดเข้าไปในปากเบ้า ดังนี้.
ในข้อนั้น มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมาดังต่อไปนี้. ก็จิตของภิกษุนี้ในเวลา
ที่ยังเป็นปุถุชนเกลือกกลั้วด้วยมลทินมีกามราคะเป็นต้น พึงเห็นเหมือนผ้า
ที่สกปรกและเหมือนทองคำที่หนองฉะนั้น. อนาคามิมรรคพึงเห็นเหมือน
น้ำอันใสสะอาดและเหมือนปากเบ้าฉะนั้น. การที่ภิกษุรูปนั้นมีจิตบริสุทธิ์
เพราะอาศัยอนาคามิมรรคอันประมวลไว้ซึ่ง ศีล ธรรม และปัญญา
มีประการดังกล่าวแล้ว พึงเห็นเหมือนผ้าขาวสะอาดและทองคำบริสุทธิ์
เพราะอาศัยน้ำและปากเบ้าฉะนั้น ดังนี้แล.
[๙๗] บทว่า โส เมตฺตาสหคเตน เจตสา ความว่า พระธรรม-
เทศนามาแล้วตามอนุสนธิ. จริงอยู่ อนุสนธิมี ๓ คือ ปุจฉานุสนธิ
อัชฌาสยานุสนธิ และ ยถานุสนธิ. ในอนุสนธิ ๓ นั้น พึงทราบ
ปุจฉานุสนธิด้วยอำนาจพระสูตร ที่ทรงวิสัชนาแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย
ผู้ทูลถามอยู่อย่างนี้ (ดังในประโยคเป็นต้น) ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความหวาดสะดุ้งเพราะไม่มีสติในภายนอกนั้นมีหรือ
หนอแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบว่า มี ภิกษุ. พึงทราบอัชฌา-
สยานุสนธิ ด้วยอำนาจสูตร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัย
ของคนอื่นแล้วตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ พึงมีอยู่หนอแล ท่าน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 458
พึงมีความคิดอย่างนี้ว่า แม้ ( จน ) วันนี้พระสมณโคดมก็ยังไม่หมดราคะ
แน่นอน. ส่วนยถานุสนธิ พึงทราบ (ด้วยอำนาจ ) สูตรทั้งหลายซึ่งเป็น
ที่มาแห่งเทศนาขั้นสูง (ขึ้นตามลำดับ) ด้วยอำนาจธรรมที่เหมาะสมและ
เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมที่เป็นเหตุให้เทศนาเกิดขึ้นในตอนแรก เช่นใน
อากังเขยยสูตร เทศนาด้วยเรื่องศีลธรรม (เป็นเทศนา) ขั้นต่ำ อภิญญา ๖
มา (เป็นเทศนา) ขั้นสูง ในกกโจปมสูตร เทศนาว่าด้วยความไม่อดทน
เกิดขึ้น (เป็นเทศนา) ขั้นต่ำ โอวาทอุปมาด้วยเลื่อยมา (เป็นเทศนา)
ขึ้นสูง. ในอลคัททสูตร เทศนาว่าด้วยการแสดงทิฏฐิเกิดขึ้น (เป็นเทศนา)
ขั้นต่ำ การประกาศสุญญตามา (เป็นเทศนา ) ขั้นสูง. ในจุลอัสสปุรสูตร
เทศนาว่าด้วยความไม่อดทนเกิดขึ้น (เป็นเทศนา) ขั้นต่ำ พรหมวิหารมา
(เป็นเทศนา) ขึ้นสูง. ในโกสัมพิกสูตร เทศนาว่าด้วยการทะเลาะกัน
เกิดขึ้น (เป็นเทศนา) ขั้นต่ำ สาราณียธรรมมา (เป็นเทศนา) ขั้นสูง.
แม้ในวัตถุสูตรนี้ การแสดงเรื่องกิเลสเกิด (เป็นเทศนา ) ขั้นต่ำ พรหม-
วิหารมา (เป็นเทศนา) ขั้นสูง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยถานุ-
สนฺธิวเสน เทสนา อาคตา ดังนี้ . ส่วนในพรหมวิหารธรรม ท่าน
กล่าวการพรรณนาตามลำดับบท และนัยแห่งการเจริญทั้งหมดไว้ในคัมภีร์
วิสุทธิมรรค อย่างครบถ้วน. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงการเจริญ
พรหมวิหารของพระอนาคามีนั้น อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปกิเลส มีอภิชฌา
เป็นต้น ชื่อว่า ได้ปทัฏฐานแล้ว เพราะกำจัดธรรมอันเป็นข้าศึก โดย
การละกามราคะ พยาบาท โดยประการทั้งปวงทีเดียวอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เพื่อจะแสดงวิปัสสนา เพื่อความเป็นพระอรหันต์แห่งพระอนาคามีนั้นแล้ว
ทรงแสดงการบรรลุพระอรหัต (ของท่าน) จึงตรัสคำเป็นต้น ว่า โส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 459
อตฺถิ อิท ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความว่า พระอนาคามีนั้นได้เจริญพรหมวิหาร
อย่างนี้แล้ว ออกจากพรหมวิหารข้อใดข้อหนึ่งในบรรดาพรหมวิหารเหล่า
นั้นแล้ว กำหนดธรรมคือพรหมวิหารเหล่านั้นนั่นแล ว่าเป็นนาม (และ)
กำหนดธรรมคือ ภูตรูป และอุปาทายรูป ว่าเป็นรูป โดยนัยเป็นต้นว่า
หทัยวัตถุ เป็นที่อาศัยของพรหมวิหารธรรมเหล่านั้น ภูตรูปเป็นที่อาศัย
ของหทัยวัตถุ ดังนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ข้อนี้มีอยู่ ดังนี้. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
ย่อมเป็นอันพระอนาคามีนี้กระทำการกำหนดทุกขสัจแล้ว. ต่อจากนั้น
ท่านเมื่อแทงตลอดทุกขสมุทัย ย่อมรู้ชัดว่า สิ่งที่เลวยังมีอยู่ ดังนี้. ด้วย
เหตุเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันท่านกระทำการกำหนดสมุทัยแล้ว ต่อจากนั้น
ท่านเมื่อเลือกเฟ้นอุบายเป็นเครื่องละสมุทัยสัจนั้น ย่อมรู้ชัดว่า สิ่งที่
ประณีตยังมีอยู่. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันพระอนาคามีนี้ทำการกำหนด
มัคคสัจแล้ว. ต่อจากนั้นท่านเมื่อพิจารณาฐานะที่พึงบรรลุด้วยมรรคนั้น
ย่อมรู้ชัดว่า วิธีสลัดสัญญาให้ยิ่งขึ้นไปยังมีอยู่. อธิบายว่า ย่อมรู้ชัด
อย่างนี้ว่า พระนิพพานเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งพรหมวิหารสัญญานี้ อันเรา
บรรลุแล้ว อันยิ่ง ยังมีอยู่ ดังนี้ . ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันพระ
อนาคามีนี้ทำการกำหนดนิโรธสัจแล้ว.
บทว่า เอว ชานโต เอว ปสฺสโต ความว่า เมื่อพระอนาคามีนั้น
รู้อยู่ซึ่งสัจจะ ๔ ด้วยอาการ ๔ อย่างนี้ด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นอยู่อย่างนี้
ด้วยมรรคปัญญา จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากอาสวะ โดยนัยที่กล่าวไว้แล้ว
ในภยเภรวสูตร.
บทว่า อิตฺถตฺตายาติ ปชานาติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยังเทศนาให้จบลงจนกระทั่งถึงพระอรหัตอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 460
เหตุที่พราหมณ์ผู้มีความเห็นว่าความบริสุทธิ์ มีได้เพราะการอาบน้ำ นั่งอยู่
ในบริษัทนั้น (และ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแล้วว่า พราหมณ์
นั้นนั่นแล ได้ฟังการพรรณนาถึงความบริสุทธิ์ (มีอยู่) เพราะการ
อาบน้ำ (อันเราตถาคต) กล่าวอยู่ บวชแล้ว จักบรรลุพระอรหัต ดังนี้
ฉะนั้น เพื่อประสงค์จะตักเตือนพราหมณ์นั้น จึงตรัสอนุสนธิแยกเฉพาะนี้
ว่า อย วุจฺจติ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สินาโต อนฺตเรน สินาเนน (ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราตถาคตกล่าวว่า อาบแล้วด้วยการอาบภายใน)
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺตเรน สินาเนน ความว่า ด้วย
การอาบ คือการออกจากกิเลสอันมีในภายใน.
[๙๘] บทว่า สุนฺทริกภารทฺวาโช ได้แก่พราหมณ์นั้น ชื่อว่า
ภารทวาชะ ด้วยอำนาจโคตรของตน. ก็พราหมณ์นั้นมีความเห็นดังนี้ว่า
คนที่อาบน้ำในแม่น้ำสุนทริกา ย่อมละบาปได้ เพราะฉะนั้น จึงถูกเรียกว่า
สุนทริกภารทวาชะ ดังนี้. พราหมณ์นั้น ได้ฟังพระดำรัสของพระผู้มี-
พระภาคเจ้านั้นแล้วคิดว่า แม้พวกเราย่อมสรรเสริญความบริสุทธิ์เพราะ
การอาบน้ำ ฝ่ายพระสมโคดมก็ย่อมสรรเสริญ ความบริสุทธิ์เพราะการ
อาบน้ำนั้นเหมือนกัน บัดนี้ พระสมณโคดมนี้มีด้วยความพอใจเหมือนกันกับ
พวกเรา ดังนี้. ลำดับนั้น พราหมณ์สำคัญพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็น
เหมือนเสด็จไปยังแม่น้ำพาหุกา ลอยบาปในน้ำนั้นแล้วเสด็จมา จึง
กราบทูลว่า ก็พระโคดมผู้เจริญย่อมเสด็จไปยังแม่น้ำพาหุกา เพื่อทรง
สรงสนานหรือ ? พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสเลยทีเดียวว่า ไป หรือไม่
ได้ไป (แต่) ทรงมีพระประสงค์จะถอน ความเห็น (ผิด) ของพราหมณ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 461
นั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ประโยชน์อะไรด้วยแม่น้ำพาหุกา
แม่น้ำพาหุกาจักทำอะไรได้ ดังนี้ . คำนั้นมีเนื้อความว่า ประโยชน์อะไร
ด้วยแม่น้ำพาหุกา, แม่น้ำพาหุกานั้นจักทำอะไรได้ แม่น้ำพาหุกานั้น
ไม่สามารถอำนวยประโยชน์อะไรให้ได้หรอก เราจักไปที่แม่น้ำนั้นทำไม.
ลำดับนั้น พราหมณ์เมื่อจะสรรเสริญข้อความนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า
โลกฺขสมฺมตา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกฺขสมฺมตา ความว่า แม่น้ำพาหุถา
อันชาวโลกยอมรับกันว่าเป็นแดนพ้นบาป อธิบายว่า อันชาวโลกยอมรับ
กันอย่างนี้ว่า ย่อมให้ความพ้นบาป คือความหลุดพ้น ได้แก่ความบริสุทธิ์.
ปาฐะว่า โลกฺยสมฺมตา ดังนี้บ้าง. ปาฐะนั้นมีเนื้อความว่า อันชาวโลก
ยอมรับกันอย่างนี้ว่า ย่อมให้ถึงโลกที่ประเสริฐที่สุด.
บทว่า ปุญฺสมฺมตา ได้แก่อันชาวโลกยอมรับกันว่า เป็นบุญ
ดังนี้ .
บทว่า ปวาเหติ ความว่า ลอยไป คือ ทำให้สะอาด.
บทว่า คาถาหิ อชฺฌภาสิ ความว่า ได้ตรัสด้วยพระคาถาทั้งหลาย.
จริงอยู่ พระคาถาทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะตรัส ย่อมตรัส
แก่บุคคลผู้ชอบคาถา เพื่อทรงแสดงเนื้อความนั้นเท่านั้น หรือเพื่อแสดง
เนื้อความที่สำคัญ. แต่ในที่นี้ พระคาถาเหล่านั้น พึงทราบว่า ตรัสไว้
เพื่อแสดงเนื้อความทั้งสอง.
จริงอยู่ บทว่า พาหุก นี้นั่นแลเป็นบทแสดงเนื้อความนั้นในที่นี้.
บทที่เหลือเป็นบทแสดงเนื้อความที่สำคัญ. เหมือนอย่างว่า สุนทริกภาร-
ทวาชพราหมณ์ ย่อมไปยังแม่น้ำพาหุกาเพื่อลอยบาปด้วยการอาบน้ำ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 462
ฉันใด ชาวโลกก็ย่อมไปยังสถานที่มีท่าน้ำอธิกักกาเป็นต้นเพื่อลอยบาป
ด้วยการอาบน้ำฉันนั้น. บรรดาชาวโลกเหล่านั้น ชนเหล่าใด อยู่ใกล้
สถานที่เหล่านั้น ชนเหล่านั้น ย่อมอาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง. ชนเหล่าใด
อยู่ไกล ชนเหล่านั้น ย่อมอาบน้ำวันละ ๒ ครั้ง ครั้งเดียว วันเว้นวัน
ตามลำดับ อย่างนี้จนกระทั่งถึงปีเว้นปี. ส่วนชนเหล่าใด ไม่สามารถ
จะไปได้เลย ชนเหล่านั้น ก็ใช้ให้คนอื่นเอาหม้อตักน้ำจากที่นั้นมาอาบ.
ก็คำทั้งหมดนี้ไม่มีประโยชน์. เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความ
สำคัญนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อธิกกฺกาทีนิปิ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิกกก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
หมายเอาท่าน้ำแห่งหนึ่ง อันได้โวหาร (อย่างนั้น) ด้วยอำนาจเป็น
อุปกรณ์ในการอาบ.
บทว่า คยา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงท่าน้ำสัณฐานเหมือน
สระกลมนั่นแล.
แม้บทว่า ปยาคา นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสหมายถึง ท่าน้ำ
ท่าหนึ่งของแม่น้ำคงคาซึ่งเป็นสถานที่ตรงหน้าบันไดปราสาทของพระเจ้า-
มหาปนาทะ ที่จมลงไปในแม่น้ำคงคาแล้ว. ส่วนลำน้ำเหล่านี้ คือ
พาหุกา สุนทริกา สรัสสตี พาหุมตี เป็นแม่น้ำ ๔ สาย
บทว่า พาโล ได้แก่ผู้มีปัญญาทราม.
บทว่า ปกฺขนิโน แปลว่า เข้าไป.
บทว่า น สุชฺฌติ แปลว่า ไม่บรรลุถึงความบริสุทธิ์จากกิเลส.
เขาย่อมลอยได้แต่คราบฝุ่นอย่างเดียวเท่านั้น.
บทว่า กึ สุนฺทริกา กริสฺสติ ความว่า แม่น้ำสุนทริกา จัก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 463
กระทำอะไรได้ด้วยการชำระกิเลส. อธิบายว่า ไม่สามารถจะทำอะไรได้เลย.
ในท่าน้ำปยาคา และแม่นำพาหุกา ก็มีนัยนี้. ก็ด้วยบททั้ง ๓ นี้ที่ท่าน
กล่าวไว้แล้ว ก็ย่อมเป็นอันท่านกล่าว ๔ บทนอกนี้ไว้ด้วยเหมือนกัน
โดยลักขณหารนัย. เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า แม้ท่า อธิกักกาเป็นต้น
ก็ทำอะไรไม่ได้ เหมือนกับแม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำปยาคา และแม่น้ำ
พาหุกา ทำอะไรไม่ได้ฉะนั้น.
บทว่า เวรึ แปลว่า ผู้ประกอบด้วยเวร ๕ มีปาณาติบาตเป็นต้น
บทว่า กตกิพฺพิส คือผู้ได้ทำกรรมอันหยาบช้าไว้แล้ว.
บทว่า น หิ น โสธเย ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า แม่น้ำสุนทริกา
ท่าน้ำปยาคา หรือแม่น้ำพาหุกา ก็ทำให้เขาบริสุทธิ์ไม่ได้เลย.
บทว่า ปาปกมฺมิน ความว่า ประกอบด้วยกรรมอันเป็นบาป คือ
กรรมที่ชั่วช้าอันเป็นเวร หรือประกอบด้วยกรรมอันลามก ท่านกล่าว
อธิบายไว้ว่า ประกอบด้วยบาปแม้เล็กน้อย อันยังไม่ถึงความเป็นโทษ
คือเวร.
บทว่า สุทฺธสฺส แปลว่า หมดกิเลส.
บทว่า สทา ผคฺคุ ได้แก่แม้งานนักษัตรประจำเดือน ที่มีเป็น
ประจำ. ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ในเดือน ๔ ผู้ใดอาบน้ำ
ในวันข้างขึ้นเดือน ๔ ผู้นั้นย่อมชำระบาปที่ตนกระทำตลอดปีได้. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงคัดค้านทิฏฐิของพราหมณ์นั้น
จึงตรัสว่า สำหรับผู้บริสุทธิ์แล้วเดือน ๔ มีอยู่ทุกเมื่อ สำหรับผู้หมดกิเลส
แล้วนักษัตรประจำเดือน ๔ มีประจำ ห้วงน้ำนอกน จักชำระล้างได้อย่างไร
ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 464
บทว่า อุโปสโถ สทา ความว่า ก็บุคคลผู้บริสุทธิ์แล้วแม้จะไม่
ได้สมาทานองค์อุโบสถในวันเพ็ญ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ของอุโบสถ ก็ย่อมมี
อยู่เป็นนิจทีเดียว.
บทว่า สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส แปลว่า ชื่อว่า ผู้สะอาดแล้ว เพราะ
เป็นผู้หมดกิเลส และเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้นอันสะอาด.
บทว่า สทา สมฺปชฺชเต วต ความว่า ก็แม้การสมาทานวัตร
อันประกอบด้วยกุศลของบุคคลเช่นนี้ ย่อมถึงพร้อมเป็นประจำทีเดียว.
บทว่า อิเธว สินาหิ ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เธอจงอาบน้ำในศาสนาของเราตถาคตนี้แล.
ท่านกล่าวอธิบายไว้อีกว่า ถ้าเธอปรารถนาจะล้างมลทิน คือกิเลส
ภายในไซร้ จงอาบด้วยน้ำคือมรรคมีองค์ ๘ ในศาสนาของเราตถาคตนี้
นั่นแล. เพราะว่าในที่อื่น น้ำคือมรรคมีองค์ ๘ เช่นนี้ไม่มี ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความบริสุทธิ์ในทวาร
แม้ทั้ง ๓ ด้วยอำนาจเทศนาอันเหมาะแก่พราหมณ์นั้น จึงตรัสคำเป็นต้น
ว่า สพฺพภูเตสุ กโรหิ เขมต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขมต ได้แก่ความไม่มีภัย คือความ
เกื้อกูล อธิบายว่า ได้แก่เมตตา. ด้วยบทนั้น ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าทรงแสดงความบริสุทธิ์ทางมโนทวารแก่พราหมณ์นั้น.
ด้วยบทว่า สเจ มุสา น ภณสิ นี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงแสดงความสะอาดทางวจีทวาร.
ด้วยบทเหล่านี้ว่า สเจ ปาณ น หึสสิ สเจ อทินฺน นาทิยสิ
ย่อมอันเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความบริสุทธิ์ ทางกายทวาร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 465
ก็ด้วยบทเหล่านี้ว่า สทฺทหาโน อมจฺฉรี พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประกอบพราหมณ์นั้น ผู้มีทวารบริสุทธิ์แล้วอย่างนี้ไว้ในสัทธาสัมปทา
และจาคสัมปทา. ส่วนบาลีนี้ว่า กึ กาหสิ คย คนฺตฺวา อุทปาโนปิ
เต คยา เป็นกึ่งคาถา. พึงประกอบใจความอย่างนี้ว่า ถ้าว่า เธอจัก
กระทำความปลอดภัยในสัตว์ทั้งปวง ไม่พูดเท็จ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์
มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่ เธอไปยังแม่น้ำคยาจักทำอะไรได้ แม่น้ำคยา
ก็เป็น (เพียง ) บ่อน้ำสำหรับเธอ เพราะว่า เมื่อเธออาบน้ำอยู่ในแม่น้ำ
คยาก็ดี ในบ่อน้ำก็ดี ความบริสุทธิ์จากกิเลสจะมีได้ก็ด้วยการปฏิบัตินี้
เท่านั้น ส่วนความบริสุทธิ์จากมลทินทางร่างกายมีได้เหมือนกันในที่ทั้ง ๒
แห่ง. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า ก็เพราะว่าแม่น้ำคยาอันชาวโลกรู้จัก
กันมากกว่าในโลก ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ถูกพราหมณ์นั้นทูลถาม
ว่า ก็พระโคดมผู้เจริญ เสด็จไปยังแม่น้ำพาหุกาหรือ ? ไม่ตรัสว่า เธอ
ไปยังแม่น้ำพาหุกา จักทำอะไรได้ (แต่ ) ตรัสว่า เธอไปยังแม่น้ำคยา
จักการทำอะไรได้ ดังนี้.
[๙๙] คำเป็นต้นอย่างนี้ว่า เอว วุตฺเต นับว่า ชัดแล้วแล
เพราะท่านกล่าวไว้แล้วในภยเภรวสูตร.
ก็ในบทเป็นต้นว่า เอโก วูปกฏฺโ พึงทราบอธิบายดังนี้ พราหมณ์
ชื่อว่าเป็นผู้เดียวด้วยกายวิเวก ชื่อว่าหลีกออกแล้ว (จากการคลุกคลี
ด้วยนิวรณ์) ด้วยจิตวิเวก ชื่อว่าไม่ประมาท ด้วยการไม่ละสติใน
กัมมัฏฐาน ชื่อว่ามีความเพียร ด้วยความเพียรเผากิเลส กล่าวคือความ
เพียรทางกาย และความเพียรทางจิต ชื่อว่าหมดอาลัยในตนแล้ว เพราะ
ไม่มีความห่วงใยในกายและชีวิต ชื่อว่าอยู่ด้วยการอยู่ด้วยอิริยาบถอย่างใด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 466
อย่างหนึ่ง (ในบรรดาอิริยาบถ ๔).
บทว่า น จิรสฺเสว ท่านกล่าวหมายถึงการบรรพชา.
บทว่า กุลปุตฺตา ได้แก่กุลบุตรมี ๒ จำพวกคือ กุลบุตรโดยชาติ
(กำเนิด) และกุลบุตรโดยอาจาระ. ก็พราหมณ์นี้เป็นกุลบุตรแม้โดย
ประการทั้ง ๒.
บทว่า อคารสฺมา แปลว่า จากเรือน.
บทว่า อนคาริย พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ การงานอันเป็นเหตุ
เพิ่มพูนทรัพย์สมบัติ มีกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น อันเป็นประ-
โยชน์เกื้อกูลแก่ (การ) ครองเรือน ท่านเรียกว่า อคาริยะ. การงาน
ที่เกื้อกูลแก่การครองเรือนในการบรรพชานี้ ไม่มี เหตุนั้น การบรรพชานี้
จึงชื่อว่า อนคาริย. คำว่า อนคาริย นั้น เป็นชื่อของการบวช.
บทว่า ปพฺพชนฺติ แปลว่า เข้าไปใกล้ คือเข้าไปหา.
บทว่า ตทนุตฺตร ตัดบทเป็น ต อนุตฺตร (แปลว่า ผลอัน
ยอดเยี่ยมนั้น).
บทว่า พฺรหฺมจริยปริโยสาน ได้แก่ที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า (ได้แก่) อรหัตตผล ดังนี้. จริงอยู่. พวก
กุลบุตรบวชก็เพื่อประโยชน์แก่อรหัตตผลนั้น.
บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม แปลว่า ในอัตภาพนั้นนั่นเอง.
บทว่า สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ความว่า กระทำให้ประจักษ์
ด้วยปัญญา ด้วยตนเองทีเดียว. อธิบายว่า รู้โดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย ดังนี้ .
บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหาสิ ความว่า บรรลุ คือให้สำเร็จอยู่.
ก็พระสุนทริกภารทวาชะเมื่ออยู่ด้วยอาการอย่างนั้น ก็ได้ทราบชัดว่าชาติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 467
สิ้นแล้ว ฯลฯ ดังนี้ พระอานนทเถระแสดงถึงภูมิแห่งปัจจเวกขณญาณ
ของท่านด้วยคำนั้น.
ถามว่า ก็ชาติไหนของท่านสิ้นไปแล้ว และท่านรู้ชาติที่ในรูปนั้น
อย่างไร ?
ข้าพเจ้าจะเฉลยต่อไป :-
ก็ข้อความนั้นได้กล่าวไว้แล้วในภยเภรวสูตรก็จริง. แต่ถึงอย่างนั้น
ในที่นี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวข้อความนั้นซ้ำอีก โดยสังเขป (ย่อ) เพื่อจะ
แสดงนัยแห่งการอธิบายประกอบความด้วยอำนาจปฐมบุรุษะ ชาติอันเป็น
อดีตของพระสุนทริกภารทวาชะนั้น ไม่ชื่อว่าสิ้นไปแล้วก่อน (ในที่นี้ )
เพราะชาตินั้นสิ้นไปแล้วในกาลก่อนนั่นแล. ชาติที่เป็นอนาคตก็ไม่ชื่อว่า
สิ้นไป เพราะท่านไม่มีความพยายามในชาติอันเป็นอนาคตนั้น. ชาติ
ที่เป็นปัจจุบันก็ไม่ชื่อว่าสิ้นไป เพราะชาติปัจจุบันยังมีอยู่. ก็ชาติใด
แยกประเภทเป็นขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕ ในเอกโวการภพ
จตุโวการภพและปัญจโวการภพ พึงเกิดขึ้น เพราะยังไม่ได้เจริญมรรคให้
เกิดมี ชาตินั้นชื่อว่าสิ้นไปแล้ว เพราะถึงความเป็นชาติที่มีการไม่เกิดขึ้น
เป็นธรรมดา เหตุที่ท่านได้เจริญมรรคให้เกิดมีแล้ว. พระสุนทริกภาร-
ทวาชะนั้น พิจารณาถึงกิเลสที่มรรคภาวนาละได้แล้ว รู้อยู่ว่า เมื่อไม่มี
กิเลส กรรมแม้มีอยู่ ก็ย่อมไม่ให้ปฏิสนธิต่อไป ชื่อว่า ย่อมรู้ชาติที่สิ้น
ไปนั้น.
บทว่า วุสิต ความว่า อยู่แล้ว คืออยู่จบแล้ว อธิบายว่า กระทำ
แล้ว ประพฤติแล้ว ให้จบแล้ว.
บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่มรรคพรหมจรรย์.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 468
บทว่า กต กรณีย ความว่า กิจทั้ง ๑๖ คือ ปริญญากิจ ปหานกิจ
สัจฉิกิริยากิจ และภาวนากิจ อันท่านให้สำเร็จแล้ว ด้วยมรรค ๔ ใน
สัจจะทั้ง ๔.
บทว่า นาปร อิตฺถตฺตาย ความว่า การเจริญมรรคเพื่อความเป็น
อย่างนี้อีก คือเพื่อกิจ ๑๖ อย่าง หรือเพื่อความสิ้นกิเลสอย่างนี้ ไม่มี
ในบัดนี้.
อีกประการหนึ่ง บทว่า อิตฺถตฺตาย ความว่า ความสืบต่อแห่ง
ขันธ์อื่นจากความเป็นอย่างนี้ คือจากขันธสันดานที่เป็นไปอยู่ในบัดนี้
อย่างนี้ ไม่มี. ก็พระสุนทริกภารทวาชะนั้น ได้รู้แล้วว่า ขันธ์ ๕ เหล่านี้
อันตนกำหนดรู้แล้วยังดำรงอยู่ (แต่ก็) เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ถูกตัดราก
เหง้าแล้วฉะนั้น.
บทว่า อญฺตโร มีความหมายเท่ากับ เอโก ( แปลว่า หนึ่ง).
บทว่า อรหต คือ อรหนฺตาน. อธิบายว่า ท่านเป็นพระอรหันต์
องค์หนึ่ง บรรดาพระอรหันต์ผู้สาวกพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้.
จบ อรรถกถาวัตถสูตร (วัตถุปมสูตร) ที่ ๗.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 469
๘. สัลเลขสูตร
[๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระมหา
จุนทะออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ถวายบังคม
แล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิเหล่านี้มีประการต่าง ๆ ประกอบด้วยการกล่าว
ปรารภอัตตา ( อัตตวาทะ) บ้าง ประกอบด้วยการกล่าวปรารภโลก
(โลกวาทะ) บ้าง ย่อมเกิดขึ้นในโลก เมื่อภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้น
เท่านั้น การละทิฏฐิเหล่านั้น การสลัดทิ้งซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น จะมีได้ด้วยอุบาย
เหล่านี้ พระเจ้าข้า.
การละทิฏฐิ
[๑๐๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ทิฏฐิเหล่านี้
มีหลายประการ ประกอบด้วยอัตตวาทะบ้าง ประกอบด้วยโลกวาทะบ้าง
ย่อมเกิดขึ้นในโลก ก็ทิฏฐิเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอารมณ์ใด ย่อมนอน
เนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และฟุ้งขึ้นในอารมณ์ใด เมื่อภิกษุเห็นอารมณ์นั้น
ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
ไม่ใช่นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ดังนี้ การละทิฏฐิเหล่านั้น การสลัด
ทิ้งซึ่งทิฏฐิเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยอุบายอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 470
ปฐมฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม
[๑๐๒] ดูก่อนจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลาง
รูปในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก อยู่. ภิกษุนั้นจะมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือปฐม-
ฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส ( สัลเลข-
ธรรม) ในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นธรรมเครื่อง
อยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ (ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม) ในวินัยของพระ
อริยะ.
ทุติยฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัย
นี้ พึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่ ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม
เครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌาน เราตถาคต
ไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลขธรรมในพระวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคต
กล่าวว่า เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร ในวินัยของพระอริยะ
ตติยฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัย
นี้ พึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 471
สิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข อยู่. ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือตติย-
ฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยะ แต่
เราตถาคตกล่าวว่า เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม ในวินัยของพระอริยะ.
จตุตถฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรม-
วินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสเก่าก่อนได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ อยู่.
ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส.
ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลข-
ธรรมในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร
ในวินัยของพระอริยะ.
อากาสานัญจายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม
[๑๐๓] ดูก่อนจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูป
ในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยมนสิการว่า
อากาศไม่มีที่สิ้นสุด เพราะล่วงเลยรูปสัญญาไป ดับปฏิฆสัญญา ไม่
มนสิการนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวงอยู่. ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิด
อย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่
ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลข-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 472
ธรรมในวินัยของพระอริยะ. แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นธรรมเครื่อง
อยู่สงบระงับ (สันตวิหารธรรม ) ในวินัยของพระอริยะ.
วิญญาณัญจายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะพึงมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรม-
วินัยนี้ พึงล่วงเลยอากาสานัญจายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง แล้ว
มนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน อยู่.
ภิกษุนั้นจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า
เป็นสัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นสันต-
วิหารธรรม ในวินัยของพระอริยะ.
อากิญจัญญายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรมวินัย
นี้ พึงล่วงเลยวิญาณัญจายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง แล้วมนสิการ
ว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน อยู่ ภิกษุ
นั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส.
ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า
เป็นสัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็น
สันตวิหารธรรม ในวินัยของพระอริยะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 473
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานไม่ใช่สัลเลขธรรม
อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุลางรูปในพระธรรม
วินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานไปโดยประการทั้งปวง แล้วพึง
บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อยู่. ภิกษุนั้นพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราย่อมอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส. ดูก่อนจุนทะ แต่ธรรมคือ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ เราตถาคตไม่กล่าวว่า เป็นสัลเลขธรรม
ในวินัยของพระอริยะ แต่เราตถาคตกล่าวว่า เป็นสันตวิหารธรรม ในวินัย
ของพระอริยะ.
สัลเลขธรรม
[๑๐๔] ดูก่อนจุนทะ เธอทั้งหลาย พึงทำความขัดเกลา
กิเลสในพุทธศาสนานี้แล คือเธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชน
เหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่
เบียดเบียนกัน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ล่าสัตว์
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปาณาติบาต.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลัก
ทรัพย์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากอทินนาทาน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เสพ
เมถุนธรรม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักประพฤติพรหมจรรย์.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวเท็จ ใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 474
ข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากมุสาวาท.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวส่อเสียด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากปิสุณวาจา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำหยาบ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากผรุสวาจา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักกล่าวคำ
เพ้อเจ้อ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมักเพ่งเล็ง
ภัณฑะของผู้อื่น ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีจิตพยาบาท
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีจิตพยาบาท.
เธอทั้งหลายพิงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความเห็นผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความเห็นถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความดำริผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความดำริถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวาจาผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวาจาถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีการงานผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีการงานถูก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 475
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีอาชีพผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีอาชีพถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความ
พยายามผิด ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีความพยายามถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีสติผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสติถูก.
เธอทั้งหลายพิงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอันจักมีสมาธิผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีสมาธิถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีญาณผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีญาณถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิมุติผิด
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีวิมุติถูก.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักถูกถีนมิทธะ
กลุ้มรุม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักปราศจากถีนมิทธะ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฟุ้งซ่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีวิจิกิจฉา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักข้ามพ้นจากวิจิกิจฉา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความโกรธ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความโกร.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 476
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักผูกโกรธไว้
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ผูกโกรธ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักลบหลู่คุณท่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ลบหลู่คุณท่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักตีเสมอเขา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ตีเสมอเขา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความริษยา
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความริษยา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีความตระหนี่
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีความตระหนี่.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักโอ้อวด ใน
ข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่โอ้อวด.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักมีมายา
(เจ้าเล่ห์) ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่มีมายา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดื้อดึง ในข้อนี้
เราทั้งหลายจักไม่ดื้อดึง.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักดูหมิ่นท่าน
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักไม่ดูหมิ่นท่าน.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ว่ายาก
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ว่าง่าย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 477
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจัดมีมิตรชั่ว
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีมิตรดี.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ประมาท
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ประมาท.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธา ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีศรัทธา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีหิริ
ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีหิริ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักไม่มีโอต-
ตัปปะ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักมีโอตตัปปะ.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสุตะ
น้อย (ด้อยการศึกษา) ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นพหูสูต (คง
แก่เรียน ).
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้
เกียจคร้าน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ปรารภความเพียร.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีสติ
หลงลืม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสติมั่นคง.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้มีปัญญา
ทราม ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.
เธอทั้งหลายพึงทำความขัดเกลาว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 478
ทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสลัดทิ้งไปได้ยาก ในข้อนี้
เราทั้งหลายจักไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง
และสลัดทิ้งไปได้โดยง่ายดาย.
[๑๐๕] ดูก่อนจุนทะ แม้จิตตุปบาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เรา
ตถาคตยังกล่าวว่า มีอุปการะมาก จะกล่าวไปไยในการจัดแจงด้วยกาย
ด้วยวาจาเล่า เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะ เธอทั้งหลายควรให้จิตเกิด
ขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็น
ผู้ไม่เบียดเบียนกัน.
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักงดเว้น
จากปาณาติบาต ฯลฯ.
ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง
และสลัดทิ้งไปได้โดยยาก ในข้อนี้ เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ลูบคลำ
ทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสลัดทิ้งไปได้โดยง่าย.
[๑๐๖] ดูก่อนจุนทะ เปรียบเหมือนทางที่ไม่ราบเรียบ ก็ต้องมี
ทางอื่นที่ราบเรียบ ไว้สำหรับหลีกทางที่ไม่ราบเรียบนั้น อนึ่ง เปรียบ
เหมือนท่าที่ไม่ราบเรียบ ก็ต้องมีท่าที่ราบเรียบ ไว้สำหรับหลีกท่าที่ไม่
ราบเรียบนั้น ความไม่เบียดเบียน ก็ฉันนั้นแล มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยง
บุคคลผู้เบียดเบียน.
การงดเว้นจากปาณาติบาต มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ฆ่า
สัตว์.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 479
การเว้นจากอทินนาทาน มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลัก
ทรัพย์.
การประพฤติพรหมจรรย์ มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เสพ
เมถุน.
การเว้นจากมุสาวาท มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดเท็จ.
การเว้นจากปิสุณวาจา มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูด
ส่อเสียด.
การเว้นจากผรุสวาท มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้พูดคำหยาบ.
การเว้นจากสัมผัปปลาปะ มีไว้สำหรับหลีกเลี้ยงบุคคลผู้พูด
เพ้อเจ้อ.
ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มัก
เพ่งเล็ง.
ความไม่พยาบาท มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
ความเห็นถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความเห็นผิด.
ความดำริถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความดำริผิด.
การกล่าววาจาถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงผู้มีวาจาผิด.
การงานถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการงานผิด.
การเลี้ยงชีพถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพผิด.
ความพยายามถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความ
พยายามผิด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 480
ความระลึกถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความระลึกผิด.
ความตั้งใจมั่นถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความตั้งใจมั่น
ผิด.
ความรู้ถูก มีไว้สำหรับหลีกเลียงบุคคลผู้มีความรู้ผิด.
ความหลุดพ้นถูก มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีความหลุด
พ้นผิด.
ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคล
ผู้ถูกถีนมิทธะครอบงำ.
ความไม่รู้ฟุ้งซ่าน มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน.
ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคล
ผู้มีความสงสัย.
ความไม่โกรธ มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักโกรธ.
ความไม่เข้าไปผูกโกรธ มีไว้สำหรับหลีกเลี้ยงบุคคลผู้มักเข้า
ไปผูกโกรธ.
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน มีไว้สำหรับหลีกเลี้ยงบุคคลผู้มักลบหลู่
คุณท่าน.
การไม่ตีเสมอเขา มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มักตีเสมอเขา.
ความไม่ริษยา มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ริษยา.
ความไม่ตระหนี่ มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ตระหนี่.
ความไม่โอ้อวด มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้โอ้อวด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 481
ความไม่มีมารยา มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมารยา.
ความเป็นคนไม่ดื้อดึง มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดื้อดึง.
ความไม่ดูหมิ่นท่าน มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
ความเป็นผู้ว่าง่าย มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ว่ายาก.
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีมิตรเลว.
ความไม่ประมาท มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ประมาท.
ความเชื่อ มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา.
ความละอายต่อบาป มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่ละอาย
ต่อบาป (ไม่มีหิริ).
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ไม่มี
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป (ไม่มีโอตตัปปะ).
ความเป็นพหูสูต มีไว้สำหรับหลีเลี่ยงบุคคลผู้มีการสดับ
(ศึกษา) น้อย.
การปรารภความเพียร มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้เกียจคร้าน.
ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มีสติ
หลงลืม.
ความถึงพร้อมด้วยปัญญา มีไว้สำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้มี
ปัญญาทราม.
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และความ
สลัดทิ้งไปได้โดยง่ายดาย เป็นทางสำหรับหลีกเลี่ยงบุคคลผู้ลูบคลำ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 482
ทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และสลัดทิ้งไปได้โดยยาก.
[๑๐๗] ดูก่อนจุนทะ เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล เป็น
เหตุให้ถึงภาวะเบื้องต่ำ (ส่วน) กุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึง
ภาวะเบื้องสูงฉันใด ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นเหมือนกันแล มีไว้
เพื่อภาวะเบื้องสูงของบุคคลผู้เบียดเบียน.
การงดเว้นจากปาณาติบาต มีไว้เพื่อภาวะเบื้องสูงของบุคคลผู้
ฆ่าสัตว์.
การงดเว้นจากอทินนาทาน มีไว้เพื่อภาวะเบื้องสูงของบุคคลผู้
ลักทรัพย์ ฯลฯ.
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และให้สลัด
ทิ้งไปได้โดยง่ายดาย เป็นทางสำหรับภาวะเบื้องสูงของบุคคลผู้ลูบคลำ
ทิฏฐิของตน ยึดถือมั่นคง และที่สลัดคืนได้โดยยาก.
[๑๐๘] ดูก่อนจุนทะ ผู้ที่ตนเองจมอยู่ในปลักอันลึกแล้ว
จักยกขั้นซึ่งบุคคลอื่น ที่จมอยู่ในปลักอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมี
ไม่ได้.
ผู้ที่ตนเองไม่จมอยู่ในปลักอันลึก จักยกขึ้นซึ่งบุคคลอื่น ที่ไม่
จมอยู่ในปลักอันลึก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
ผู้ที่ยังไม่ได้ฝึกตน ยังไม่ได้แนะนำตน ยังดับกิเลสไม่ได้ด้วย
ตน จักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับกิเลส ข้อนี้เป็นฐานะ
ที่จะมีไม่ได้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 483
ผู้ที่ฝึกตนเองแล้ว แนะนำตนเองแล้ว ดับกิเลสได้ด้วยตนเอง
แล้วจักฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น จักให้ผู้อื่นดับกิเลส ข้อนี้เป็น
ฐานะที่มีได้ฉันใด.
ดูก่อนจุนทะ ความไม่เบียดเบียนก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อม
มีไว้สำหรับดับกิเลสของผู้เบียดเบียน.
การงดเว้นจากปาณาติบาต มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์.
การงดเว้นจากอทินนาทาน มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้
ลักทรัพย์.
การประพฤติพรหมจรรย์ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้เสพ
เมถุนธรรม.
การงดเว้นจากมุสาวาท มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้พูดเท็จ.
การงดเว้นจากปิสุณวาจา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้พูด
ส่อเสียด.
การงดเว้นจากผรุสวาท มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้พูด
คำหยาบ.
การงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้พูด
เพ้อเจ้อ.
ความเป็นผู้ไม่เพ่งเล็ง มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักเพ่งเล็ง
ความไม่พยาบาท มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีจิตพยาบาท.
ความเห็นถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความเห็นผิด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 484
ความดำริถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความดำริผิด.
การเจรจาถูก มีความเพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีวาจาผิด
การงานถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีการงานผิด
การเลี้ยงชีวิตถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้เลี้ยงชีวิตผิด.
ความพยายามถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความพยายาม
ผิด.
ความระลึกถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีสติผิด.
ความตั้งใจมั่นถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความตั้งใจมั่น
ผิด.
ความรู้ถูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีญาณผิด.
ความหลุดพ้นลูก มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีวิมุติผิด.
ความเป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ถูก
ถีนมิทธะครอบงำ.
ความเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีจิต
ฟุ้งซ่าน.
ความเป็นผู้ข้ามพ้นความสงสัย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มี
ความสงสัย.
ความไม่โกรธ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักโกรธ.
ความไม่ผูกโกรธ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักผูกโกรธ.
ความไม่ลบหลู่คุณท่าน มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักลบหลู่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 485
คุณท่าน.
ความไม่ตีเสมอ มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มักตีเสมอเขา.
ความไม่ริษยา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความริษยา.
ความไม่โอ้อวด มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้โอ้อวด.
ความไม่มีมารยา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีมารยา.
ความเป็นคนไม่ดื้อดึง มีไว้สำหรับกิเลสของบุคคลผู้ดื้อดึง.
ความไม่ดูหมิ่นท่าน มีไว้สำหรับของกิเลสของบุคคลผู้ดูหมิ่นท่าน.
ความเป็นผู้ว่าง่าย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ว่ายาก.
ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีบาป-
มิตร.
ความไม่ประมาท มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีความประมาท.
ความเชื่อ มีไว้เพื่อดับกิเลสของผู้ไม่มีศรัทธา.
ความละอาย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ไม่มีหิริ.
ความสะดุ้งกลัวต่อบาป มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ไม่มี
โอตตัปปะ.
ความเป็นพหูสูต มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีสุตะ ( การ
ศึกษา) น้อย.
การปรารภความเพียร มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้เกียจคร้าน.
ความเป็นผู้มีสติมั่น มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีสติหลงลืม.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 486
ความถึงพร้อมด้วยปัญญา มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้มีปัญญา
ทราม.
ความเป็นผู้ไม่ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถือมั่นคง และการสลัด
ทิ้งได้โดยง่ายดาย มีไว้เพื่อดับกิเลสของบุคคลผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน
ยึดถือมั่นคง และสลัดทิ้งได้โดยยาก.
[๑๐๙] ดูก่อนจุนทะ เหตุแห่งสัลเลขธรรม เราได้แสดงแล้ว
เหตุแห่งจิตตุปบาท เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง เราได้แสดง
แล้ว เหตุแห่งภาวะเบื้องสูง เราได้แสดงแล้ว เหตุแห่งความดับทุกข์
เราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
ดูก่อนจุนทะ กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์ ผู้เอ็นดู
อนุเคราะห์เหล่าสาวกควรทำกิจนั้น เราตถาคตได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย
ดูก่อนจุนทะ นั่นควงไม้ นั่นเรือนร้าง เธอทั้งหลายจงเพ่งดูเถิด อย่า
ประมาท. อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นคำสอน
สำหรับเธอทั้งหลาย ฉะนั้นแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมหา
จุนทะ ชื่นชม ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรม ๔๔ บท ทรงแสดงสนธิ
๕ อย่างไว้ พระสูตรนี้มีนามว่า สัลเลขสูตร เป็นพระสูตรที่ลึกซึ้ง
เทียบด้วยสาครก็ปานกันฉะนี้.
จบ สัลเลขสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 487
อรรถกถาสัลเลขสูตร
[๑๐๐] สัลเลขสูตรมีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต (พระสูตรนี้
ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้) ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาจุนทะ เป็นนามของพระเถระ
รูปนั้น.
บทว่า สายณฺหสมย ( ในสายัณหสมัย) คือในเพลาเย็น.
ที่หลบหลีก คือแอบหลบออกจากสัตว์และสังขารทั้งหลายเหล่านั้นๆ
ชื่อว่า ที่ซ่อนเร้น ในคำว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต (ออกจากที่ซ่อนเร้น)
นี้ มีคำอธิบายไว้ว่า ได้แก่ความโดดเดี่ยว คือ ความสงัด. ผู้ที่ออก
จากที่นั้น ชื่อว่า เป็นผู้ออกจากที่เร้น. แต่ท่านจุนทเถระนี้ เพราะ
ออกจากผลสมาบัติที่สูงสุด กว่าการหลีกเร้น (ธรรมดา) เพราะฉะนั้น
ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวว่า ออกจากที่เร้นแล้ว.
บทว่า ภควนฺต อภิวาเทตฺวา (ครั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว) ความว่า ครั้นไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าโดยเคารพ ด้วยเศียรเกล้า
ประกอบกับการยกมือครบทั้ง ๑๐ นิ้วขึ้นประณมแล้ว หรือครั้นถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระองค์ทรงเปล่งพระดำรัสอย่างนี้ว่า จงเป็น
สุข ๆ เถิด จุนทะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 488
ธรรมเนียมของพระพุทธเจ้า
ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อมีผู้ถวายบังคม จะทรง
ชูพระศอซึ่งคล้ายกับกลองทองขึ้นแล้ว ทรงเปล่งพระสุระเสียง ดุจเสียง
พระพรหม ที่เสนาะโสต เป็นที่จับใจ คล้ายกับโสรจสรง ด้วยน้ำอมฤต
ตรัสระบุชื่อของผู้นั้น ๆ ว่า จงเป็นสุข ๆ เถิด ดังนี้ ข้อนี้เป็นธรรมเนียม
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
ในเรื่องนั้นมีพระสูตรที่ยกมาเป็นข้ออ้างอิงได้ ดังต่อไปนี้ (คือ
สักกปัญหสูตร) ว่า เมื่อปัญจสิขเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วยเทพอำมาตย์ เทพบริวาร ขอถวาย
บังคมพระยุคลบาทของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ดูก่อน
ปัญจสิขเทพบุตร ขอให้ท้าวสักกะจอมทวยเทพพร้อมด้วยเทพอำมาตย์
พร้อมด้วยเทพบริวาร จงทรงพระเกษมสำราญ เพราะว่าเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย อสูร นาค คนธรรพ์ และสัตว์เหล่าอื่น ที่มีกายหยาบ ปรารถนา
ความสุขกัน เพราะฉะนั้น ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
จะทรงถวายพระพรเทพเจ้าประเภทนั้น ผู้มีศักดามาก ผู้ควรบูชาดังที่
กล่าวมาแล้วนั้น.
บทว่า ยา อิมา ความว่า ท่านพระจุนทะ ได้กล่าวถึงทิฏฐิที่
ต้องพูดถึง ในบัดนี้ เหมือนทำให้อยู่เฉพาะหน้า.
บทว่า อเนกวิหิตา (มีมากอย่าง) ได้แก่มีนานาประการ.
บทว่า ทิฏฺิโย (ทิฏฐิทั้งหลาย) ได้แก่มิจฉาทิฏฐิ.
บทว่า โลเก อุปฺปชฺชนฺติ (เกิดขึ้นในโลก) ความว่า ปรากฏอยู่
ในหมู่สัตวโลก.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 489
บทว่า อตฺตวาทปฏิสยุตฺตา ( ประกอบด้วยอัตตวาทะ) ความว่า
มิจฉาทิฏฐิเหล่านี้ที่ประกอบด้วยอัตตวาทะ. (ปรารภตน) เป็นไปแล้ว
โดยนัยมีอาทิว่า ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา มี ๒๐ อย่าง๑.
บทว่า โลกวาทปฏิสยุตฺตา (ประกอบด้วยโลกวาทะ พูดปรารภ
โลก ) ความว่า เป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า อัตตาและโลกเที่ยง.
มิจฉาทิฏฐิ ๘
มิจฉาทิฏฐิปรารภอัตตาและโลกนั้นมี ๘ ประการ ที่เป็นไปแล้ว
อย่างนี้ว่า
๑. อัตตาและโลกเที่ยง
๒. อัตตาและโลกไม่เที่ยง
๓. อัตตาและโลกเที่ยงก็ ไม่เที่ยงก็มี
๔. อัตตาและโลกเที่ยงก็ไม่ใช่ ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่
๕. อัตตาและโลกมีที่สุด
๖. อัตตาและโลกไม่มีที่สุด
๗. อัตตาและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี๒
๘. อัตตาและโลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่
ในคำมีอาทิว่า อาทิเมว ( เบื้องต้นนี้เท่านั้น) มีอรรถาธิบาย
อย่างนี้ว่า (พระจุนทเถระทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า) ว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ภิกษุมนสิการธรรมเบื้องต้นอย่างเดียว คือถึงจะยังไม่บรรลุโสดา-
๑. ปาฐะ เป็น พาวีสติ แต่ฉบับพม่าเป็น ตา วีสติ จึงแปลตามฉบับพม่า เพราะตรงตาม
ความจริง.
๒. ฉบับของไทยขาดหายไป ๑ ข้อ แต่ฉบับพม่ามีครบ จึงได้เติมตามนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 490
ปัตติมรรค มนสิการเฉพาะมนสิการเบื้องต้นเท่านั้น ที่เจือด้วยวิปัสสนา
จะมีการละและการสลัดทิ้ง ทิฏฐิเหล่านี้อย่างนี้ คือ ทิฏฐิเหล่านี้ ด้วยอุบาย
เพียงเท่านี้เท่านั้นได้อย่างไร ? ก็พระเถระถึงแม้ตัวท่านจะไม่มีมานะยิ่ง
(สำคัญว่า ตัวได้บรรลุมรรคผล ) แต่ก็พึงทราบว่า เป็นเสมือนผู้มีมานะ
ยิ่ง ถามปัญหานี้เพื่อละมานะยิ่ง สำหรับภิกษุทั้งหลายผู้มีมานะยิ่ง.
ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า อันเตวาสิกทั้งหลายของพระเถระ
ที่มีความเข้าใจอย่างนี้ว่า การละทิฏฐิทั้งหลายได้เด็ดขาด มีได้ด้วยมน-
สิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้นก็มี ที่มีความเข้าใจว่ามีได้เพราะมีสมาบัติเป็น
วิหารธรรม คือมีธรรมะเครื่องขัดเกลา เป็นวิหารธรรมก็มี ท่านทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์แก่อันเตวาสิกเหล่านั้น.
หน้าที่ของทิฏฐิ
[ ๑๐๑ ] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอุบาย
สำหรับละทิฏฐิเหล่านั้นแก่ท่าน จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า ยา อิมา ( ทิฏฐิ)
เหล่านี้ใดไว้. ในคำเหล่านั้นมีความพิสดารว่า คำมีอาทิว่า ยตฺถ
เจตา ทิฏฺิโย อุปฺปชฺชนฺติ ( ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นในที่ใด) ดังนี้
พระองค์ตรัสหมายเอาเบญจขันธ์. อธิบายว่า ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นใน
เบญจขันธ์เหล่านั้น ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะ
ยึดมั่นรูป เกิดทิฏฐิขึ้น อย่างนี้ว่า เราคืออัตตา และโลก ละโลกนี้ไป
แล้วจักยังมี ( เพราะว่า ) อัตตานั้น โลกนั้น เป็นของเที่ยง ยั่งยืน
ติดต่อกันไป มีความไม่แปรไปเป็นธรรมดา. แต่พระองค์ตรัสไว้เป็น
เอกพจน์ว่า ยตฺถ จ ( แปลว่า ในอารมณ์ใด ) ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 491
มีอธิบายไว้ว่า ทิฏฐิทั้งหลายเกิดขึ้นในอารมณ์ใด. อนึ่ง ในคำว่า ยตฺถ จ
เป็นต้นนี้ ควรทราบถึงทิฏฐิเหล่านี้ ทำ (หน้าที่) ต่าง ๆ กัน อย่างนี้
คือ เกิดขึ้น ๑ นอนเนื่องอยู่ ๑ ฟุ้งขึ้น ๑ อธิบายว่า ทิฏฐิเหล่านี้มี
การทำ (หน้าที่) ต่างกันดังนี้ คือ ทิฏฐิทั้งหลายโดยชาติ (ของมัน)
ที่ยังไม่เกิดขึ้น.
เมื่อเกิดขึ้นพระองค์ตรัสเรียกว่า กำลังเกิดขึ้น, ที่เสพจนคุ้นบ่อยๆ
มีกำลัง ขจัดยังไม่ได้ พระองค์ตรัสเรียกว่า นอนเนื่องอยู่, ส่วนที่ประ
จวบ (ล่วงออกมาทาง ) กายทวาร และวจีทวาร พระองค์ตรัสเรียกว่า
ฟุ้งขึ้น.
ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ต เนต มม (สิ่งนี้นั้นไม่ใช่ของเรา)
ควรทราบอรรถาธิบายของบทอย่างนี้ก่อนว่า อารมณ์ที่แยกประเภทเป็น
เบญจขันธ์นี้นั้น ไม่ใช่ของ ๆ เรา ถึงเราก็ไม่ใช่สิ่งนั้น แม้สิ่งนั้นก็ไม่ใช่
อัตตาของเรา ภิกษุเห็นเบญจขันธ์นั้น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญา
อันชอบอย่างนี้ (มีการละการสลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นได้).
แต่เพราะในการยึดถือ ๓ อย่างนี้ เมื่อยึดถือการยึดถือด้วยอำนาจ
ตัณหาว่านั่นของเรา ก็ชื่อว่า ยึดถือตัณหาเป็นเครื่องเนิ่นช้า แยกประเภท
ออกเป็นตัณหาวิปริต ๑๐๘ ประการ เมื่อยึดถือการยึดถือด้วยอำนาจมานะ
ว่า เราเป็นนั่น ชื่อว่ายึดถือมานะเป็นเครื่องเนิ่นช้า แยกประเภทออก
เป็นนานะ ๙ ประการ และเมื่อยึดถือการยึดถือด้วยอำนาจทิฏฐิว่า นั่น
ไม่ใช่อัตตาของเรา ชื่อว่า ยึดถือทิฏฐิเป็นเครื่องเนิ่นช้า แยกประเภท
ออกเป็นทิฏฐิ ๖๒ ประการ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัส
ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ก็ชื่อว่าทรงปฏิเสธตัณหาเครื่องเนิ่นช้า แยก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 492
ประเภทคามที่กล่าวแล้ว เมื่อตรัสว่า เราไม่ใช่นั่น ก็ชื่อว่าทรงปฏิเสธ
นานะเป็นเครื่องเนิ่นช้า และเมื่อตรัสว่า นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ก็ชื่อว่า
ทรงปฏิเสธทิฏฐิเป็นเครื่องเนิ่นช้า. อนึ่ง ในเรื่องตัณหา มานะ ทิฏฐิ
ทั้ง ๓ อย่างนี้ ตัณหา และมานะ พึงทราบว่า ตั้งอยู่ในหมวดเดียวกัน
กับทิฏฐินั่นเอง.
บทว่า เอวเมต (เห็นสิ่งนั้นอย่างนี้) คือ เห็นเบญจขันธ์นั่น
โดยอาการมีอาทิว่า นั่นไม่ใช่ของเราอย่างนี้.
บทว่า ยถาภูต (ตามความเป็นจริง) คือ ตามสภาวะ มีคำ
อธิบายไว้ว่า ตามที่มีอยู่. อธิบายว่า ความจริง ขันธปัญจก (หมวด ๕
ของขันธ์) มีอยู่โดยอาการอย่างนั้นนั่นเอง แต่ขันธปัญจกที่ยึดถือโดยนัย
มีอาทิว่า ของเรา ย่อมไม่มีโดยอาการอย่างนั้นนั่นเอง.
บทว่า สมฺมปฺปญฺาย (เห็นด้วยปัญญาอันชอบ) ความว่า
เห็นด้วยดี ด้วยวิปัสสนาปัญญา อันนีโสดาปัตติมรรคปัญญา เป็นปริโยสาน.๑
บทว่า เอวเมตาส (ละทิฏฐิเหล่านี้อย่างนี้) ได้แก่ (ละ)
ทิฏฐิเหล่านั้น ด้วยอุบายนี้. คำว่า การละการสลัดทิ้งทั้งคู่นี้ เป็นชื่อของ
การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดทีเดียว.
[๑๐๒ ] พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระมหาจุนเถระ ถามปัญหา
ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้มีมานะยิ่งว่า การละทิฏฐิทั้งหลาย มีได้ด้วยการ
มนสิการธรรม เบื้องต้นเท่านั้น หรือมีไม่ได้ ? ครั้นทรงแสดงการละ
ทิฏฐิด้วยโสดาปัตติมรรคแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงจำแนกฌานของผู้มีมานะ
ยิ่งด้วยพระองค์เอง จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า ก็เหตุที่ตั้งแล. ผู้มีมานะยิ่ง
๑. ฉบับพม่าเป็น โสตาปตฺติมคฺคปญฺาปริโยสานาย จึงได้แปลตามนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 493
เกิดขึ้น ด้วยสำคัญว่า ได้บรรลุแล้วในธรรมที่คนยังไม่ได้บรรลุ ชื่อว่า
ผู้มีมานะยิ่ง ในคำว่า อธิมานิกาน นั้น. ก็แต่ว่า อธิมานะ (มานะยิ่ง)
นี้ เมื่อจะเกิดขึ้น จะไม่เกิดขึ้นแก่พาลปุถุชนผู้รำลึกถึงโลกานุวัตรเนือง๑ ๆ
เลย และจะไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกทั้งหลาย. อธิบายว่า อธิมานะว่า
เราเป็นพระสกทาคามี จะไม่เกิดแก่พระโสดาบัน อธิมานะว่า เราเป็น
พระอนาคามี จะไม่เกิดแก่พระสกทาคามี อธิมานะว่า เราเป็นพระอรหันต์
จะไม่เกิดแก่พระอนาคามี แต่จะเกิดเฉพาะการกบุคคลเท่านั้น ผู้ข่มกิเลส
ไว้ได้ด้วยอำนาจสมถะ หรือด้วยอำนาจวิปัสสนา ผู้ปรารภวิปัสสนาแล้ว
ขะมักเขม้นเป็นนิจ. อันที่จริงการกบุคคลนั้น เมื่อไม่เห็นการฟุ้งขึ้นแห่ง
กิเลสที่ข่มไว้ได้ด้วยสมถะ หรือที่ข่มไว้ได้ด้วยวิปัสสนา อธิมานะว่า เรา
เป็นพระโสดาบันบ้าง เราเป็นพระสกทาคามีบ้าง เราเป็นพระอนาคามีบ้าง
เราเป็นพระอรหันต์บ้าง จะเกิดขึ้น เหมือนกับพระเถระทั้งหลาย ที่ท่าน
ธรรมทินนเถระผู้อาศัยอยู่ที่ตลังครติสสบรรพต ได้ตักเตือนแล้ว.
เรื่องพระธรรมทินนเถระตักเตือนศิษย์
ได้ทราบว่า ภิกษุหลายรูป ได้ตั้งตนอยู่ในโอวาทของพระเถระผู้
อุปสมบทแล้วไม่นานเลย ก็พากันบรรลุคุณวิเศษ. ภิกษุสงฆ์ชาวติสส-
มหาวิหาร ได้ทราบพฤติกรรมนั้นแล้ว ลงความเห็นว่าพระเถรูประกอบ
ในเรื่องที่เป็นรูปไม่ได้ ท่านทั้งหลายจงนำเอาพระเถระมา แล้วได้ส่ง
ภิกษุหลายรูปไป. ภิกษุเหล่านั้นไปถึงแล้ว ได้เรียนว่า ท่านธรรมทินนะ
ครับ ภิกษุสงฆ์เรียกหาท่าน. ท่านกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่าน
๑. ฉบับพม่าเป็น โลกานุวฏฺฏานุสารีน ผู้คล้อยตามและระลึกถึงเรื่องโลกบ่อยๆ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 494
ทั้งหลายจะแสวงหาตนหรือคนอื่น. ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า ข้าแต่ท่าน
สัตบุรุษ เราทั้งหลายแสวงหาตน. พระเถระนั้นได้ให้กรรมฐานแก่ภิกษุ
เหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นได้บรรลุอรหัตกันหมดทุกรูป. ภิกษุสงฆ์จึงได้
ส่งภิกษุจำพวกอื่นไปอีก. ภิกษุที่สงฆ์ส่งไปอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ก็ได้บรรลุ
อรหัตเหมือนกันทั้งหมดแล้ว อยู่ (กับพระเถระนั้น). ต่อจากนั้นมา
พระสงฆ์เห็นว่า พระที่ไป ๆ แล้ว ไม่กลับนา จึงได้ส่งภิกษุหลวงตาอีก
รูปหนึ่งไป.
หลวงตานั้นครั้นไปถึงแล้ว ได้พูดว่า ข้าแต่ท่านธรรมทินนะ
ภิกษุสงฆ์สำนักติสสมหาวิหาร ส่งพระมาที่สำนักท่านถึง ๓ ครั้ง แต่ท่าน
เองไม่ทำความเคารพอาณัติสงฆ์ ไม่มา ( ไปตามคำสั่ง) พระเถระ
ตอบว่า นี่อะไรกัน ? แล้วให้หลวงตานั้นรับเอาบาตร และจีวรโดยไม่
ต้องเข้าบรรณศาลาแล้วออกไปในทันทีทันใดนั่นแหละ. ท่านได้แวะไปยัง
หังกนวิหาร๑ ในระหว่างทาง. และในหังกนวิหารนั้น มีมหาเถระรูปหนึ่ง
มีพรรษา ๖๐ ล่วงแล้ว ปฏิญาณตนเป็นพระอรหันต์ ด้วยมานะยิ่ง พระ
เถระเข้าไปหาท่านไหว้ กระทำปฏิสันถาร แล้วได้เรียนถามถึงคุณธรรม
ที่ได้บรรลุ. พระเถระกล่าวว่า เออ ท่านธรรมทินนะ กิจที่บรรพชิต
พึงทำ ผมได้ทำเสร็จนานแล้ว บัดนี้ ผมก็พรรษา ๖๐ ล่วงแล้ว. ท่าน
ธรรมทินนะ เรียนถามว่า ใต้เท้าครับ ได้เท้ายังใช้ฤทธิ์อยู่บ้างหรือไม่ ?
ท่านตอบว่าใช้อยู่ ท่านธรรมทินนะ. ท่านธรรมทินนะ เรียนว่า ดีแล้ว
ครับ ใต้เท้า ขอนิมนต์ใต้เท้าเนรมิตช้างกำลังเดินมาประจันหน้าใต้เท้า
(ให้ดู ) เถิด. พระเถระรับคำนิมนต์แล้ว ได้เนรมิตช้างเชือกใหญ่
๑. ฉบับพม่าเป็น ตงฺขณวิหาร ที่อยู่ชั่วคราว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 495
เผือกผ่อง เป็นที่สถิตแห่งคชลักษณ์ ๗ ประการ ตกมันกล้า แกว่งหาง
สอดงวงเข้าปาก รี่มาประจันหน้าคล้ายกับจะเอางาทั้ง ๒ แทง ท่านเห็น
ช้างเชือกนั้นที่ตนเนรมิตขึ้นเอง กลัวเริ่มจะวิ่งหนี ในเวลานั้นเอง ท่าน
ก็รู้ตัวว่า เรายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ จึงนั่งกระโหย่งลงแทบบาทมูลของ
ท่านธรรมทินนะ แล้วกล่าวว่า ขอท่านจงเป็นที่พึ่งแก่ผมเถิด ท่านขอรับ.
ท่านธรรมทินนะได้พูดเอาใจพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าได้
เศร้าโศก อย่าได้เสียใจ มานะยิ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะการกบุคคลทั้งหลาย
เท่านั้น แล้วได้ให้กรรมฐาน ( แก่พระเถระ ). พระเถระดำรงอยู่ใน
โอวาทของท่านแล้วได้บรรลุพระอรหัต.
ถึงพระเถระ (อีกรูปหนึ่ง) ก็เช่นกัน อยู่ที่จิตตลดาบรรพต.
ท่านธรรมทินนะเข้าไปหาท่าน แล้วถามอย่างนั้นเหมือนกัน๑. ทั้งท่านก็
ได้พยากรณ์อย่างนั้นเหมือนกัน. ถัดจากนั้นท่านธรรมทินนะ ก็ได้กล่าว
กะท่านว่า ท่านได้ใช้ฤทธิ์บ้างหรือไม่ ? พระเถระตอบรับคำ. ท่าน
ธรรมทินนะ เรียนท่านว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีแล้วขอรับ ขอให้ท่าน
เนรมิตสระโบกขรณีขึ้น ๑ สระเถิด. พระเถระได้เนรมิต (ตามที่ขอร้อง)
ท่านธรรมทินนะเรียนว่า ท่านขอรับ ขอให้ท่านเนรมิตกอบัวขึ้นในสระนี้
ด้วยเถิด. พระเถระก็เนรมิตกอบัวขึ้น (ตามที่ขอร้อง ). ท่านธรรมทินนะ
ขอร้องว่า ขอให้ท่านเนรมิตร่างหญิงคนหนึ่ง ยืนร้อง ร่ายรำด้วยเสียง
ไพเราะอยู่บนกอบัวนั้นเถิด. พระเถระก็เนรมิตหญิงนั้น (ตามที่ขอร้อง ).
ท่านธรรมทินนะจึงเรียนว่า ขอให้ท่านเพ่งพินิจหญิงนั้นบ่อย ๆ แล้วตัว
ท่านเองก็เข้าปราสาทไป. เมื่อพระเถระเพ่งหญิงที่เนรมิตขึ้นนั้น กิเลส
๑. ฉบับพม่าเป็น ตเถว จึงได้แปลเช่นนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 496
ที่ข่มไว้เป็นเวลา ๖๐ ปีก็หวั่นไหว. ในครั้งนั้นท่านรู้ตัว จึงขอเรียน
กรรมฐานในสำนักของท่านธรรมทินนเถระ และได้บรรลุพระอรหัต
เหมือนกับพระเถระรูปก่อน.
ส่วนท่านธรรมทินนะ ก็ได้ไปยังติสสมหาวิหารตามลำดับ . และใน
เวลานั้น พระเถระทั้งหลายกวาดลานพระเจดีย์แล้วนั่งกรรมฐาน ยังปีติมี
พระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ให้เกิดขึ้น. นัยว่า การทำอย่างนี้เป็นกิจวัตรของ
ท่านเหล่านั้น. เพราะเหตุนั้น จึงไม่มีพระเถระแม้แต่รูปเดียว บรรดา
พระเถระเหล่านั้นจะบอกจะถามท่านธรรมทินนะว่า ท่านจงวางบาตรและ
จีวรไว้ตรงนี้. แต่ก็รู้กันว่า นั่นคงจะเป็นท่านธรรมทินนะ จึงได้พากัน
ถามปัญหาท่าน. ท่านตอบโต้ตัดปัญหาที่ถาม ๆ มา เหมือนกับใช้ดาบ
ที่คมตัดมัดก้านดอกโกมุท ให้ขาดสะบั้นฉันนั้น แล้วเอานิ้วเท้ากดมหาปฐพี
และพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มหาปฐพีนี้แม้จะไม่มีจิตใจ ยังรู้คุณค่าของ
ธรรมทินนะ แต่ท่านทั้งหลายไม่รู้จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แผ่นดินนี้ ไม่มีจิตใจ ยังรู้คุณค่า
น้อยใหญ่ ส่วนท่านทั้งหลายมีจิตใจ แต่ไม่รู้คุณค่า
น้อยใหญ่.
สัลเลขธรรมคือฌาน - วิปัสสนา
และในทันใดนั่นเอง ท่านก็ได้เหาะขึ้นไปบนอากาศ ไปยัง
ตลังคติสสบรรพตนั่นเอง.
[๑๐๒] อธิมานะ ย่อมเกิดขึ้นแก่การกบุคคลเท่านั้น ดังที่กล่าว
มานะแล้ว. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกฌาน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 497
ด้วยสามารถแห่งภิกษุทั้งหลายผู้เช่นนั้น จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า "าน
โข ปน."
บทว่า าน โข ปน นั้นมีอรรถาธิบายว่า เหตุนี้มีอยู่ ไม่ใช่
ไม่มี คือภิกษุลางรูปในศาสนานี้ สงัดจากกามทั้งหลาย ฯลฯ เข้าปฐม-
ฌานอันเป็นสาธารณะแก่ปริพาชกนอกศาสนาทั้งหลายอยู่.
แต่คำใดว่า ข้อว่า ตสฺส เอวมสฺส สลฺเลเขน วิหรามิ (เธอพึงมี
ความเข้าใจอย่างนี้ว่า เราอยู่ด้วยสัลเลขธรรม ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส )
ความว่า วิธีปฏิบัติได้ ย่อมขัดเกลากิเลสได้ เราอยู่ด้วยวิธีปฏิบัตินั้น
คำนั้นไม่ถูก. เพราะว่า ฌานของภิกษุผู้มีมานะยิ่ง ไม่เป็นสัลเลขธรรม
หรือสัลเลขปฏิปทา๑.
เพราะเหตุไร ? เพราะไม่เป็นเบื้องบาทของวิปัสสนา. อธิบายว่า เธอ
เข้าฌาน ครั้นออกจากฌานแล้ว ก็ไม่พิจารณาสังขารทั้งหลาย. ส่วนฌาน
ก็ทำเพียงแต่ให้จิตของเธอเป็นเอกัคคตาเท่านั้น. เธอก็เป็นผู้อยู่สบายใน
ปัจจุบัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น
จึงได้ตรัสว่า ดูก่อนจุนทะ ฌานธรรมเหล่านั้น เราตถาคตไม่เรียกว่า เป็น
สัลเลขธรรมในวินัยของพระอริยเจ้าเลย แต่ฌานธรรมเหล่านั้น เราตถาคต
เรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม (ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)
ในวินัยของพระอริยเจ้า.
คำว่า เอเต (เหล่านั้น) ในพระพุทธพจน์นั้น พึงทราบว่า
๑. ฉ. น หิ อธิมานิกสฺส ภิกฺขุโน ฌาน สลฺเลโข วา สลฺเลขปฏิปทา วา โหติ แปลตามนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 498
เป็นพหุพจน์ด้วยอำนาจแห่งฌาน. มีคำอธิบายว่า เอเต โยค ปมชฺฌาน-
ธมฺมา (แปลว่า ธรรมคือปฐมฌานเหล่านั้น) อีกอย่างหนึ่ง (เป็น
พหุพจน์) ด้วยอำนาจแห่งสมาบัติ. อธิบายว่า ปฐมฌานแม้ฌานเดียว
แต่เป็นไปโดยการเข้าบ่อย ๆ ก็ถึงความเป็นของมากได้. อีกอย่างหนึ่ง
เป็นพหุพจน์ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์. อธิบายว่า ปฐมฌานแม้ฌานเดียว
ก็ถึงความเป็นของมากได้โดยการเป็นไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีปฐมวีกสิณ
เป็นต้น. ในทุติยฌาน, ตติยฌาน และจตุตถฌาน ก็นัยนี้.
แต่ในอรูปฌานทั้งหลาย (คำว่าเหล่านั้น) พึงทราบว่าเป็นพหุพจน์
ด้วยอำนาจแห่งเหตุทั้ง ๒ ในฌานก่อน (จตุตถฌาน) นั่นเอง เพราะ
ไม่มีความต่างกันแห่งอารมณ์. ก็เพราะเหตุที่ทั้งองค์ทั้งอารมณ์ของอรูปฌาน
เหล่านั้น สงบ อธิบายว่า ทั้งดับสนิททั้งละเอียด เพราะฉะนั้น ทั้งองค์
ทั้งอารมณ์เหล่านั้น พึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ฌานธรรม
เหล่านั้นเป็นธรรมอันสงบ เป็นธรรมเครื่องอยู่ (สันตวิหารธรรม).
นี้เป็นการขยายความทั่วไปของอรูปฌานทั้ง ๔ เหล่านั้นก่อน. ส่วนการ
ขยายความพิเศษควรกล่าว (อธิบาย) ตามทำนองบทเป็นต้นว่า เพราะ
ล่วงเลยรูปสัญญาไปโดยประการทั้งปวง. การขยายความนั้นได้กล่าว
(อธิบาย) ไว้ทุกอย่างในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วแล.
[๑๐๓] เพราะเหตุที่วิหารธรรมคือฌาน ของภิกษุผู้มีอธิมานะ
ไม่เป็นสัลเลขวิหารธรรม เพราะไม่เป็นบาทของวิปัสสนา ด้วยว่า เธอ
เข้าฌาน ครั้นออกจากฌานแล้ว หาได้พิจารณาสังขารทั้งหลายไม่ แต่
ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรมของเธอเป็น (เพียง) ทำให้จิตเป็นอกัคคตา
อย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 499
จึงทรงจำแนกรูปฌานและอรูปฌานไว้ และต่อไปนี้ เมื่อจะทรงแสดง
เรื่องนั้น และสัลเลขธรรมนั้นด้วยอาการ ๔อย่าง จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า
อิธ โข ปน โว ดังนี้.
บาทของวิปัสสนา
[๑๐๔] ก็เหตุไฉนธรรมทั้งหลาย มีอวิหิงสาเป็นต้นเท่านั้น
นอกจากสมาบัติทั้ง ๘ อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเป็นสัลเลขธรรม ?
เพราะธรรมทั้งหลายมีอวิหิงสาเป็นต้น เป็นบาทของวิปัสสนาที่เป็น
โลกุตระได้.
อันที่จริง สมาบัติทั้ง ๘ ของคนภายนอก (พุทธศาสนา) ทั้งหลาย
เป็นบาทของวัฏฏะ เท่านั้น. แต่ในศาสนา (พุทธ) แม้สรณคมน์
ก็พึงทราบว่า เป็นบาทของโลกุตตรธรรมได้ ตามพระสูตรนี้โดยเฉพาะ
จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมทั้งหลาย มีอวิหญิงสาเป็นต้นเล่า (ที่จะเป็นไป
ไม่ได้).
อนึ่ง ทานที่บุคคลถวายแก่ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ในศาสนา
(พุทธ) มีผลมากกว่าทาน ที่ให้แก่คนนอกศาสนา ที่ได้สมาบัติ ๘ แม้
มีอภิญญา ๕ ก็ตาม. เพราะว่าในทักขิณาวิภังคสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาข้อความนี้ จึงได้ตรัสไว้ว่า ทักขิณามีผลคูณด้วยแสนโกฏิ
ทายกพึงหวังได้ เพราะให้ทานแก่บุคคลนอกศาสนา ผู้ปราศจากความ
ยินดีในกามทั้งหลาย. แต่ทักขิณามีผลนับไม่ถ้วน คำนวณไม่ถูก ทายก
พึงหวังได้ เพราะให้ทานแก่ผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
จะกล่าวถึงทำไมสำหรับพระโสดาบัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 500
ความจริง ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ในทักขิณา
วิภังคสูตรนั้น พระองค์ทรงประสงค์เอา ตั้งแต่การถึงสรณะเป็นต้นไป.
นี้เป็นการประกอบความตามพระบาลีในพระสูตรนี้ก่อน.
ส่วนในการพรรณนาความตามลำดับบท พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อิธ นี้เป็นคำแสดงเรื่องมีการไม่เบียดเบียนเป็นต้น.
คำว่า โข ปน เป็นเพียงนิบาต.
คำว่า โว เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.
ก็ในคำว่า อิธ เป็นต้นนี้ มีเนื้อความโดยย่อดังต่อไปนี้. ดูก่อนจุนทะ
เธอทั้งหลายควรทำการขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ ) ในเรื่องการเบียดเบียน
เป็นต้นนี้นั้น ที่เราตถาคตกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า คนเหล่าอื่นจักเป็นผู้
เบียดเบียนกัน . พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสโดยสังเขปอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะทรงขยายความให้พิสดาร จึงได้ตรัสดำมีอาทิไว้ว่า คนเหล่าอื่นจัก
เป็นผู้เบียดเบียนกัน แต่เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันในเพราะเรื่อง
นี้ เธอทั้งหลายควรบำเพ็ญสัลเลขธรรมดังที่ว่ามานี้.
ในจำนวนคำเหล่านั้น คำว่า ปเร (คนเหล่าอื่น ) ได้แก่ผู้ใด
ใครก็ตาม ที่ประกอบสัลเลขธรรมนี้เนือง ๆ.
ข้อว่า วิหึสกา ภวิสฺสนฺติ (จักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ) ความว่า
จักเป็นผู้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยเครื่องเบียดเบียนทั้งหลาย เช่นด้วย
ฝ่ามือหรือด้วยก้อนดินเป็นต้น.
ข้อว่า มยเมตฺถ อวิหึสกา ภวิสฺสาม (เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่
เบียดเบียนกันในเพราะเรื่องนี้) ความว่า ส่วนเราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 501
เบียดเบียนกัน ในเพราะเรื่องที่เป็นเหตุให้คนอื่นเขาเบียดเบียนกันอย่างนี้
เท่านั้น คือเราทั้งหลายจักอยู่กัน โดยไม่ให้เกิดควานเบียดเบียนกันขึ้น.
บทว่า อิติ สลฺเลโข กรณีโย (เพราะเหตุอย่างนี้ การขัดเกลา
กิเลสเป็นสิ่งที่ควรทำ) ความว่า เธอทั้งหลายควรทำสัลเลขธรรมอย่างนี้.
และการไม่เบียดเบียนกันนั่นเอง พึงทราบว่าเป็นสัลเลขธรรมในที่นี้.
เพราะว่าการไม่เบียดเบียนกัน จะขัดเกลาคือตัดการเบียดเบียนกันได้ เพราะ
ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า สัลเลขะ. ในทุกข้อก็มีนัยนี้. แต่มีความแปลก
กันอย่างนี้ (คือ) ทิฏฐิในคำว่า ปเร มิจฺฉาทิฏฺี (คนอื่นจักเป็นผู้
มีความเห็นผิด) นี้พึงทราบว่า พระองค์ตรัสทิฏฐิไว้ โดยทรงรวมมิจฉาทิฏฐิ
ข้อสุดท้ายของกรรมบถ (อกุศลกรรมบถ ๑๐) กับมิจฉาทิฏฐิข้อต้น ของ
มิจฉัตตะ (ความเป็นผิด) เข้าด้วยกัน. อนึ่ง สัมมาทิฏฐิในฐานะที่ตรัสไว้ว่า
เราทั้งหลาย จักเป็นผู้มีความเห็นถูกในเพราะเรื่องนี้ กับกรรมบถ ในคำว่า
เราทั้งหลายจักเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตในเพราะเรื่องนี้ เป็นต้น นี้จักมี
ชัดแจ้งในสัมมาทิฏฐิสูตรโดยพิสดาร ส่วนมิจฉาทิฏฐิในมิจฉัตตะเป็นต้น
จักแจ้งชัดใน เทฺวธาวิตักกสูตร (ข้างหน้า).
กรรมบถ - มิจฉัตตะ
แต่เนื้อความ (ที่จะกล่าวต่อไป ) นี้ เป็นความสังเขปใน กรรมบถ
และมิจฉัตตะนี้.
ชนเหล่าใดยังสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น
ชื่อว่า ปาณาติปาตี อธิบายว่า เป็นผู้ฆ่าสัตว์มีชีวิต.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 502
ชนเหล่าใด ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น
ชื่อว่า อทินนาทายี อธิบายว่า ผู้ลักของผู้อื่น.
ชนเหล่าใดประพฤติธรรมไม่ประเสริฐ ( ไม่เหมือนพรหม) คือ
ธรรมต่ำได้แก่ธรรมเลว เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า อพรหมจารี
อธิบายว่า เป็นผู้เสพเมถุนธรรม.
ส่วนชนเหล่าใดประพฤติธรรมประเสริฐ คือปฏิปทาประเสริฐสุด
เพราะว่าเหตุนั้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า พรหมจารี อธิบายว่า เป็นผู้เว้น
เมถุนธรรม. และพรหมจรรย์พึงทราบว่า๑ เป็นสัลเลขธรรมให้คำว่า
เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ในเพราะเหตุนี้. เพราะว่า
พรหมจรรย์ ( การประพฤติธรรมที่ประเสริฐ) ย่อมขจัดขัดเกลาอพรหม-
จรรย์ (การประพฤติธรรมที่ไม่ประเสริฐ) ได้.
ชนเหล่าใดพูดเท็จ เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า มุสาวาที
อธิบายว่า ผู้พูดวาจาเปล่า คือ เหลาะแหละ ที่หักรานประโยชน์ของผู้อื่น.
เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีปิสุณวาจา เพราะมีวาจาส่อเสียด.
เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีผรุสวาจา เพราะมีวาจาหยาบคาย เราะรานสิ่ง
ที่รักของผู้อื่น.
ชนเหล่าใดพูดพล่าม คือไร้ประโยชน์ เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น
ชื่อว่า สัมผัปปลาปี (ผู้พูดเพ้อเจ้อ)
ชนเหล่าใดย่อมเพ่งเล็ง เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่ามี
อภิชฌาเป็นปกติ อธิบายว่า เป็นผู้มักได้สิ่งของ ๆ ผู้อื่น.
๑. ปาฐะว่า เวทิตพฺโพ เข้าใจว่าคงจะเป็นเวทิตพฺพ ฉบับพม่าเป็น เวทิตพฺพ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 503
เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีจิตพยาบาท เพราะมีจิตพยาบาท คือเป็นจิตเสีย.
เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีความเห็นผิด เพราะความเห็นพลาด คือลามก
ได้แก่ที่ผู้รู้ตำหนิ อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วย (นัตถิกทิฏฐิ) มีอาทิว่า
ทานที่ให้แล้วไม่มีผล อันนับเนื่องใน (อกุศล) กรรมบถ และทิฏฐิที่
ไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏะ อันนับเนื่องในมิจฉัตตะ (ความเป็นผิด).
แต่เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีความเห็นถูก เพราะมีความเห็นชอบ คืองาม
ได้แก่ที่ผู้รู้สรรเสริญ อธิบายว่า ประกอบด้วยความเห็นว่า สัตว์มีกรรม
เป็นของตน มีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วมีผล ที่นับเนื่องใน (กุศล) กรรมบถ
และความเห็นในมรรคที่นับเนื่องด้วยสัมมัตตะ (ความเป็นถูก).
บทว่า มิจฉาสังกัปปา ได้แก่ความดำริในอกุศลที่ไม่เป็นไปตาม
ความจริง และไม่เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากวัฏฏะ.
แม้ในมิจฉาวาจาเป็นต้นก็มีนัยนี้. แต่มีความแปลกกันดังต่อไปนี้ :-
ความจริง ธรรมดามิจฉาสติก็เหมือนกับมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น ไม่
เป็นธรรมอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ คือไม่มีธรรมอะไรๆ. แต่คำว่า มิจฉาสตินี้
เป็นชื่อของขันธ์ที่เป็นอกุศลทั้ง ๔ ขันธ์ ที่เป็นไปแล้วสำหรับผู้คิดถึง
อดีต. แม้คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
ตถาคตกล่าวว่า อนุสสตินั้นมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี ซึ่งได้แก่อนุสสติของผู้ตาม
ระลึกถึงการได้บุตร ตามระลึกถึงการได้ลาภ หรือตามระลึกถึงการได้ยศ
นะภิกษุทั้งหลาย. แม้คำนั้น พึงทราบว่า พระองค์ตรัสหมายเอาการเกิด
ขึ้นด้วยสติเทียม ของผู้คิดถึงเรื่องนั้น ๆ.
ก็โมหะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการคิดถึงอุบาย ในการทำบาปทั้งหลาย
และโดยอาการแห่งการทำชั่ว และพิจารณาว่า เราทำดีแล้ว พึงทราบว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 504
เป็นมิจฉาญาณในคำว่า มิจฺฉาาณี ผู้มีความรู้ผิด นี้.
บุคคลทั้งหลายผู้ประกอบด้วยมิจฉาญาณะนั้น ชื่อว่า มิจฺฉาาณี.
ส่วนปัจจเวกขณญาณ แยกประเภทเป็น ๗๙ อย่าง พระองค์ตรัสเรียกว่า
สัมมาญาณะ ในคำว่า สมฺมาาณี (ผู้มีความรู้ชอบ) นี้. บุคคล
ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยสัมมาญาณนั้น ชื่อว่า สัมมาญาณี.
คำว่า มิจฺฉาวิมุตฺติ ผู้มีความหลุดพ้นผิด คือผู้ยังไม่หลุดพ้นเลย
แต่มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายหลุดพ้นแล้ว หรือมีความสำคัญว่า
ความไม่หลุดพ้นเป็นความหลุดพ้น.
ในมิจฉาวิมุตินั้นมีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้ :-
เหล่าชนผู้ชื่อว่า มิจฺฉาวิมุตฺตี (ผู้มีความหลุดพ้นผิด) เพราะมี
ความหลุดพ้นผิด คือชั่วช้า ได้แก่วิปริต. อนึ่ง คำว่า มิจฺฉาวิมุตฺตี นี้
เป็นชื่อของขันธ์ที่เป็นอกุศล ซึ่งเป็นไปโดยอาการดังที่กล่าวมาแล้ว. ส่วน
ธรรมที่เหลือที่สัมปยุตด้วยผลยกเว้น องค์ทั้ง ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น พึง
ทราบว่า วิมุติ. และวิมุตินั้น พึงทราบว่าเป็นสัลเลขธรรม เพราะขจัดขัด
เกลามิจฉาวิมุติแล้วสถิตอยู่ได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงให้ภิกษุทั้งหลายประกอบในสัมมา-
วิมุตินั้น จึงตรัสคำมีอาทิไว้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้มีสัมมาวิมุติในเพราะ
เรื่องนี้ เธอทั้งหลายควรบำเพ็ญสัลเลขธรรมอย่างนี้ อกุศลทั้ง ๓ ต่อ
จากนี้ไป พระองค์ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งนิวรณ์. แต่เพราะพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในกรรมบถทั้งหลายอย่างนี้ว่า ผู้มักเพ่งเล็ง ผู้มีจิต
พยาบาท จึงควรทราบไว้ว่า พระองค์ตรัสนิวรณ์ ๒ ข้อแรกไว้ในคำ
นี้แล้ว. ในจำนวนนิวรณ์ทั้ง ๓ นั้น เหล่าชนผู้ถูกถิ่นมิทธะกลุ้มรุมแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 505
คือครอบงำแล้ว ฉะนั้นจึงชื่อว่า ถีนมิทฺธปริยุฏฺิตา (ผู้ถูกความง่วงเหงา
หาวนอนรบกวนแล้ว).
เหล่าชนผู้ชื่อว่า อุทฺธตา (มีความฟุ้งซ่าน) เพราะประกอบด้วย
ความฟุ้งซ่าน.
เหล่าชนผู้ชื่อว่ามี วิจิกิจฺฉา เพราะคิดลังเลสงสัยอยู่ คือไม่สามารถ
ทำความตกลงใจได้.
อกุศลทั้ง ๑๐ มีความโกรธเป็นต้น พระองค์ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่ง
อุปกิเลส. ในจำนวนอุปกิเลสทั้งหลายมีความโกรธเป็นต้นเหล่านั้น คำที่
ควรจะกล่าว ( อธิบาย) ทั้งหมด ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในธรรม-
ทายาทสูตร และวัตถุสูตร.
แต่ในสูตรนี้ มีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้ :-
คำว่า โกธนา (มักโกรธ) คือมีความเดือดดาลเป็นปกติ.
คำว่า อุปนาหี (มักผูกโกรธ) คือมีความผูกโกรธเป็นปกติ
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุปนาหี เพราะคนเหล่านั้นมีความผูกโกรธ. มกฺขี
(ผู้มักลบหลู่) ปลาสี (ผุ้มักตีเสมอ) ก็เช่นนั้นเหมือนกัน.
เหล่าชนผู้ชื่อว่า อิสฺกุกี เพราะมักริษยา. เหล่าชนผู้ชื่อว่า มจฺเฉรี
เพราะมักตระหนี่ อีกอย่างหนึ่ง เพราะชนเหล่านั้นมีความตระหนี่.
ชนเหล่าใดประพฤติโอ้อวด ชนเหล่านั้นชื่อว่า สา (ผู้โอ้อวด)
มีคำอธิบายไว้ว่า ไม่พูดโดยชอบ (ธรรม) คำว่า สา นี้ เป็นชื่อ
ของเหล่าชนผู้ประกอบด้วยเหตุที่ทำให้ต่ำช้า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 506
มายาของชนเหล่านั้นมีอยู่ ฉะนั้น ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า มายาวี
(มีเล่ห์เหลี่ยม).
เหล่าชนผู้ชื่อว่า ถทฺธา (มีความกระด้าง) เพราะประกอบด้วย
ความหัวดื้อ. เหล่าชนผู้ชื่อว่ามีมานะยิ่ง เพราะประกอบด้วยการดูหมิ่น
ท่าน. ส่วนธรรมะที่เป็นฝ่ายสุกกธรรม พึงทราบโดยนัยแห่งธรรมที่ตรง
กันข้ามกับที่ได้กล่าวไว้แล้ว.
คำว่า เป็นผู้ว่ายาก ความว่า เป็นผู้ยากที่จะว่ากล่าวได้ คือถูก
ว่าอะไรเข้าแล้วทนไม่ได้. เหล่าชนผู้ตรงกันข้ามกับคนว่ายากนั้น ชื่อว่า
เป็นคนว่าง่าย.
เหล่าชนที่ชื่อว่ามีมิตรชั่ว เพราะมีมิตรเลว เช่นพระเทวทัตเป็นต้น.
เหล่าชนที่ชื่อว่ามีกัลยาณมิตร เพราะมีคนดี คือพระพุทธเจ้าหรือ
สาวกทั้งหลายเช่นกับพระสารีบุตรเป็นต้น เป็นมิตร.
เหล่าชนผู้ตรงกันข้ามกับผู้ไม่ประมาทแล้ว ด้วยอำนาจการปล่อยจิต
ในกายทุจริตเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นผู้ประมาทแล้ว.
ทั้ง ๓ อย่างนี้พระองค์ตรัสไว้โดยเป็นข้อเปิดเตล็ด ส่วน ๗ อย่าง
มีเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น พระองค์ตรัสไว้โดยเป็นอสัทธรรม. ในจำนวน
๗ อย่างนั้น เหล่าชนที่ชื่อว่า ไม่มีศรัทธา เพราะไม่มีความเชื่อในวัตถุ
ทั้ง ๓ (พระรัตนตรัย). ในธรรมที่เป็นฝ่ายสุกกธรรม พึงทราบอธิบาย
ดังนี้ ชนเหล่าใดเชื่ออยู่ ฉะนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้เชื่อ หรือชื่อว่า
มีศรัทธา เพราะมีความเชื่อ เหล่าชนผู้ชื่อว่า อหิริกะ เพราะไม่มีความ
ละอายแก่ใจ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 507
คำว่า อหิริกะนี้เป็นชื่อของผู้ไม่ขยะแขยงต่อการปฏิบัติอกุศลธรรม.
เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีความละอายแก่ใจ เพราะมีความละอายในใจ
หรือมีใจประกอบด้วยความละอาย.
ชนเหล่าใดไม่สะดุ้ง (ต่อบาป ) อยู่ ฉะนั้น ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า
ไม่มีโอตตัปปะ มีคำอธิบายไว้ว่า ไม่กลัวต่อการประพฤติอกุศลธรรม.
แต่ผู้ที่ตรงกันข้ามกับเขา ชื่อว่าเป็นผู้มีโอตตัปปะ (เกรงกลัวบาป).
เหล่าชนผู้ชื่อว่า ด้อยการศึกษา เพราะมีการศึกษาน้อย แต่ความ
นี้ ไม่ควรถือว่าได้แก่ความนิดหน่อย. ต้องถือว่าไม่มีเลย. เพราะว่าผู้
ไม่มีการศึกษา (สุตะ ). คือไร้การศึกษา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกว่า ผู้ด้อยการศึกษา (สุตะ).
แต่เหล่าชนผู้ชื่อว่า เป็นพหูสูต เพราะมีการศึกษา (สุตะ) มาก.
คำว่าพหุสสุตา นี้ เป็นชื่อของเหล่าชนผู้รู้พระพุทธภาษิต คือกถา แม้
เรื่องเดียวโดยถ่องแท้แล้วปฏิบัติพอเหมาะสมแก่ข้อปฏิบัติ.
เหล่าชนผู้ชื่อว่า เกียจคร้าน เพราะจมลง (สู่ภาวะที่น่าเกลียด)
คำนี้เป็นชื่อของผู้เสื่อมความเพียรแล้ว.
เหล่าชนผู้ชื่อว่า ปรารภความเพียรแล้ว เพราะมีความเพียรที่
ปรารภแล้ว คำนี้เป็นชื่อของเหล่าชนผู้ประกอบด้วยความเพียรชอบ.
เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีสติหลงลืมแล้ว เพราะมีสติฟั่นเฟือนแล้ว มีคำ
อธิบายไว้ว่า มีสติเสื่อมแล้ว.
เหล่าชนผู้ชื่อว่า ผู้ตั้งสติได้แล้ว แล้วมีสติที่ตนตั้งไว้ใกล้ชิดแล้ว.
คำว่า อุปฏฺิตสฺสตี นี้ เป็นชื่อของผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ที่มีสติเผชิญหน้ากับ
อารมณ์อยู่เป็นนิจ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 508
เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีปัญญาทราม เพราะมีปัญญาชั่วร้าย มีคำอธิบาย
ไว้ว่า มีปัญญาเสื่อมแล้ว. เหล่าชนผู้ชื่อว่า มีปัญญาสมบูรณ์ เพราะถึง
พร้อมด้วยปัญญา.
แต่ปัญญาในที่นี้พึงทราบว่า ได้แก่วิปัสสนาปัญญา. เพราะว่า
องค์ประกอบวิปัสสนา มีมาครบถ้วนในที่นี้ เพราะฉะนั้น โบราณจึงมี
บังคับไว้ว่า ปัญญานี้คือวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น. ต่อไปนี้เมื่อจะทรงแสดง
ทิฏฐิไม่นำสัตว์ออกจากวัฏฏะอย่างเดียวเท่านั้น ที่ทำอันตรายต่อคุณธรรม
ที่เป็นโลกุตตระ ด้วยอาการ ๓ อย่าง จึงตรัสคำมีอาทิไว้ว่า สนฺทิฏฺิ-
ปรามาสี ผู้ลูบคลำทิฏิฐิของตน.
ในว่า สนฺทิฏฺฐิปรามาสี เป็นต้นนั้น พึงทราบอธิบายดังนี้ว่า:-
เหล่าชนผู้ชื่อว่า สนฺทิฏฺิปรามาสี เพราะยึดทิฏฐิของตน.
เหล่าชนผู้ชื่อว่า อาธานคาหี เพราะยึดไว้มั่น ความยึดมั่น ท่าน
เรียกว่า อาธานะ อธิบายว่า ผู้ถือมั่น.
เหล่าชนผู้ชื่อว่า เป็นผู้สลัดทิ้ง เพราะเห็นเหตุที่ถูกต้องแล้ว ก็
สลัด ( ลัทธิเก่า) ทิ้ง. แต่เหล่าชนผู้ชื่อว่า ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี เพราะ
(สลัดได้) โดยยาก คือโดยลำบาก ได้แก่ฝืด อธิบายว่า เห็นเหตุตั้ง
มากมาย ก็ไม่อาจสละได้. คำว่า ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี นี้เป็นชื่อของเหล่าชน
ผู้ยึดมั่นทิฏฐิที่เกิดขึ้นแก่ตนว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง ถึงแม้พระพุทธเจ้าเป็นต้น
จะทรงชี้แจงแสดงเหตุให้ฟังก็ไม่สลัดทิ้ง. อธิบายว่า บุคคลประเภทนั้น
ฟังเรื่องใด ๆ มาจะเป็นเรื่องธรรมะหรือไม่ใช่ธรรมะก็ตาม ประมวลเรื่อง
ทั้งหมดนั้นไว้ภายใน (สมอง) นั้นเอง ว่าอาจารย์ของเราทั้งหลายกล่าว
ไว้อย่างนี้ เราทั้งหลายได้สดับมาอย่างนี้. เหมือนเต่าเก็บอวัยวะทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 509
ไว้ภายในกระดองของตน คือยึด (ทิฏฐินั้นไว้) ไม่ปล่อย เหมือน
การฮุบไว้ของจระเข้. ส่วนธรรมฝ่ายขาว พึงทราบโดยบรรยายตรงกันข้าม
กับที่กล่าวมาแล้ว.
[๑๐๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมโดย
อาการ ๔๔ ประการอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงว่า แม้การเกิดขึ้น
แห่งจิตในสัลเลขธรรมนั้น ก็เป็นธรรมมีอุปการะมาก จึงได้ตรัสคำมีอาทิ
ไว้ว่า แม้การเกิดขึ้นแห่งจิต เราตถาคต . . .
คำว่า จิตฺตุปฺปาทมฺปิ โข อห เป็นต้นนั้น มีเนื้อความว่า ดูก่อน
จุนทะ แม้การเกิดขึ้นแห่งจิตในกุศลธรรมทั้งหลาย เราตถาคตก็กล่าวว่า
มีอุปการะมาก จะกล่าวไปไยในเรื่องการจัดแจงทำด้วยกาย และด้วยวาจา
คือทำธรรมเหล่านั้น และบังคับด้วยวาจาว่า ท่านทั้งหลายจงพากัน
ทำ หรือการเรียนการสอบถามเป็นต้น เหมือนกับจิตดวงแรกที่เกิดขึ้น
เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ว่า การจัดแจงทำนั้น มีอุปการะ
มากโดยส่วนเดียวนั่นเอง.
ถามว่า ก็เหตุไฉนแม้การเกิดขึ้นแห่งจิตในกุศลธรรมเหล่านั้น จึงมี
อุปการะมาก ?
แก้ว่า เพราะนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้โดยส่วนเดียว
ด้วย เพราะเป็นเหตุแห่งการจัดทำตามลำดับด้วย.
จริงอยู่ การเกิดขึ้นแห่งจิตว่า เราจักถวายทาน โดยลำพังตัวมันก็
เป็นเหตุนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้โดยส่วนเดียวอยู่แล้ว ทั้ง
เป็นเหตุให้จัดทำตามลำดับด้วย. ก็เพราะเกิดความคิดขึ้นอย่างนี้ (ในวัน
แรก) นั่นเอง ในวันที่ ๒ จึงปิดถนนใหญ่ สร้างปะรำใหญ่ แล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 510
ถวายทานแก่ภิกษุ ๑๐๐ รูป หรือ ๑,๐๐๐ รูป ได้บอกเพื่อนใกล้เคียงว่า
จงนิมนต์ จงบูชา จงเลี้ยงพระภิกษุสงฆ์กันเถิด ดังนี้ การเกิดขึ้นแห่งจิต
ว่า เราจักถวายจีวร เสนาสนะ และเภสัชแก่พระสงฆ์อย่างนี้ โดยลำพังตัวมัน
ก็เป็นเหตุนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้ได้โดยส่วนเดียวอยู่แล้ว
ทั้งเป็นเหตุให้จัดทำตามลำดับ ด้วยประการดังนี้. จริงอยู่ เพราะมีจิตเกิด
อย่างนี้นั่นเอง คนจึงจัดเตรียมจีวรเป็นต้นพากันถวาย.
ในการถึงสรณะเป็นต้นก็มีนัยนั้น. อธิบายว่า คนเกิดความคิดขึ้น
(ก่อน) ทีเดียวว่า เราจักถึงสรณะ ภายหลังจึงรับสรณะด้วยกายหรือ
ด้วยวาจา อนึ่ง คนเกิดความคิดขึ้น (ก่อน) ทีเดียวว่า เราจัก
สมาทานศีลมีองค์ ๕ มีองค์ ๘ หรือมีองค์ ๑๐ แล้วจึงสมาทานด้วยกาย
หรือด้วยวาจา. และผู้บวชแล้วก็เกิดความคิดขึ้น (ก่อน) เหมือนกันว่า
เราจักดำรงมั่นอยู่ในศีลทั้ง ๕ แล้ว จึงยังศีลที่ควรให้บริบูรณ์ด้วยกายและ
วาจาให้บริบูรณ์.
ผู้เกิดความคิดขึ้น (ก่อน) ว่าเราจักเรียนพระพุทธพจน์แล้ว จึง
จะเรียนพระพุทธพจน์ได้ ๑ นิกาย ๒ นิกาย ๓ นิกาย ๔ นิกาย หรือ
๕ นิกาย.
ควรนำ ( เรื่องจิตตุปบาทมาแสดง ) อย่างนี้ ด้วยสามารถแห่ง
การสมาทานธุดงค์ การเรียนพระกรรมฐาน การบริกรรมกสิณ การเข้าฌาน
(การเจริญ) วิปัสสนา, มรรค, ผล, ปัจเจกโพธิญาณ และสัมมา-
สัมโพธิญาณ. เพราะว่า การเกิดความคิดขึ้นว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้า
โดยลำพังตัวมันก็เป็นเหตุ นำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้ได้โดย
ส่วนเดียวอยู่แล้ว นั้นเป็นเหตุให้จัดทำตามลำดับด้วย. อธิบายว่า เพราะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 511
เกิดความคิดขึ้นอย่างนี้แหละ สมัยต่อมา (พระโพธิสัตว์) จึงบำเพ็ญบารมี
ด้วยกายและวาจา ตลอดเวลา ๔ อสงไขย กำไรแสนกัปแล้ว (ได้
ตรัสรู้) เสด็จดำเนินโปรดสัตวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ข้ามพ้น
(โอฆสงสาร) แม้การเกิดความคิดขึ้นในกุศลธรรมทุกอย่างก็มีอุปการะ
มาก ดังที่พรรณนามานี้ แต่การจัดทำตามลำดับด้วยกายและวาจา พึง
ทราบว่า มีอุปการะมากยิ่งทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดง
จิตตุปบาทเหล่านั้น จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า ดูก่อนจุนทะ เพราะเหตุ
นั้นแล. คำนั้นโดยเนื้อความปรากฏชัดแล้ว.
อวิหิงสาเหมือนท่าน้ำที่ราบรื่น
[๑๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงจิตตุปบาทในสัลเลข-
ธรรม ที่พระองค์ทรงแสดงแล้วด้วยอาการ ๔๔ อย่าง ว่ามีอุปการะมาก
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสัลเลขธรรมนั้นเองว่าเป็นทางแห่งการ
บรรลุประโยชน์เกื้อกูล จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า เสยฺยถาปิ ( แม้ฉันใด ).
คำนั้นมีอรรถาธิบายว่า ดูก่อนจุนทะ อุปมาเหมือนว่า มีทางที่ขรุขระไป
ด้วยตอ หนาม และหิน ต้องมีทางอื่นที่ราบเรียบ เหมือนพื้นที่ ๆ
ปรับไว้แล้ว เพื่อหลีก คือเพื่อต้องการเว้นทางที่ขรุขระนั้นฉันใด อนึ่ง
มีท่าน้ำที่ไม่ราบเรียบ มีเหง้าไม้ มีหิน และหลุม เกลื่อนกล่นไปด้วย
อันตราย มีจระเข้และมังกรเป็นต้น ต้องมีท่าน้ำที่ราบเรียบ ลึกลงไปตาม
ลำดับ เช่นกับขั้นบันได เพื่อหลีก คือเพื่อต้องการเว้นท่าน้ำที่ไม่ราบเรียบ
นั้น ซึ่งคนเดินไปแล้ว แวะผสมน้ำหรือสระ. แล้วอาบน้ำหรือขึ้นมาได้
โดยสะดวกฉันใด. ดูก่อนจุนทะ อวิหิงสาก็เช่นนั้นเหมือนกันนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 512
แหละ เช่นกับด้วยทางที่ราบเรียบ และท่าที่ราบรื่น มีไว้เพื่อหลีกคนมี
วิหิงสา ผู้ประกอบด้วยการเบียดเบียน ซึ่งเป็นเช่นกับท่าที่ไม่ราบรื่น.
ความจริง ทางที่ราบเรียบ และท่าน้ำที่ตกแต่งแล้ว มีไว้เพื่อเว้นทางที่ไม่
ราบเรียบ และท่าน้ำที่ไม่ราบรื่น ฉันใด ผู้ปฏิบัติเพื่อต้องการเว้นวิหิงสา
และเพื่อปรับปรุง ( ตน) ด้วยอวิหิงสา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะยื้อยุด
เอาคติมนุษย์หรือคติเทพเจ้า เสวยสมบัติหรือข้ามพ้นโลกได้โดยง่ายดาย.
ทุก ๆ บทควรประกอบโดยทำนองนี้เหมือนกัน.
อโธภาวังคมนียะอุปริภาวังคมนียะ
[๑๐๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมว่าเป็น
ทางแห่งการประสบประโยชน์เกื้อกูลอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง
ภาวะที่สัลเลขธรรมให้ถึงความสูงส่ง จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า เสยฺยถาปิ
(แม้ฉันใด) ไว้. คำนั้นมีอรรถาธิบายว่า ดูก่อนจุนทะ เหมือนอย่างว่า
อกุศลธรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิ หรือไม่ให้เกิดก็ตาม แม้เมื่อให้ปฏิสนธิแล้ว
จะให้เกิดวิบากหรือไม่ให้เกิดก็ตาม ทั้งหมดนั้นโดยชาติแล้ว จะมีชื่ออย่าง
นี้ว่า อโธภาวังคมนียะ (เป็นธรรมให้ถึงความต่ำทราม) เพราะอกุศล-
ธรรมเหล่านั้น ในเวลาให้วิบากเป็นวิบากที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าพอใจ
ฉันใด ส่วนกุศลธรรมที่ให้เกิดปฏิสนธิ หรือไม่ให้เกิดก็ตาม แม้เมื่อ
ให้ปฏิสนธิแล้วจะให้เกิดวิบาก หรือไม่ให้เกิดก็ตาม ทั้งหมดนั้นโดย
ชาติแล้ว จะมีชื่ออย่างนี้ว่า อุปริภาวังคมนียะ (เป็นธรรมให้ถึงความ
สูงส่ง) เพราะกุศลธรรนเหล่านั้น ในเวลาให้วิบากเป็นวิบากที่น่าปรารถนา
พอใจ ฉันใด. ดูก่อนจุนทะ อวิหิงสาก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีไว้เพื่อความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 513
สูงส่งแห่งบุคคลผู้มีวิหิงสา. ในเรื่องนั้น มีการเปรียบเทียบระหว่างอุปมา
กับอุปไมย ดังต่อไปนี้. อกุศลธรรมทั้งหมดนั้นเป็นธรรมให้ถึงความต่ำ
ทรามฉันใด แม้วิหิงสาอย่างเดียวที่เป็นธรรมให้ถึงความต่ำทราม สำหรับ
ผู้มีวิหิงสาก็ฉันนั้น. ส่วนกุศลธรรมทั้งหมด เป็นธรรมให้ถึงความสูงส่ง
ฉันใด แม้อวิหิงสาอย่างเดียวที่เป็นธรรมให้ถึงความสูงส่งสำหรับผู้ไม่มี
วิหิงสาก็ฉันนั้น. ควรเปรียบเทียบอกุศลกับอกุศล และกุศลกับกุศล โดย
อุบายนี้นั้นแหละ. ได้ทราบว่า ในเรื่องนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ :-
เบญจกามคุณคือปลัก
[ ๑๐๘ ] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมว่าเป็น
ธรรมให้ถึงความสูงส่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า สัลเลข-
ธรรมเป็นธรรมสามารถในการยังกิเลสของเขาให้ดับรอบ (ให้ถึงนิพพาน)
จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า โส วต จุนฺท (ดูก่อนจุนทะ นั้นหนอ).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส (นั้น) แสดงถึงบุคคลชนิดที่
กล่าวมาแล้ว.
ควรทราบถึงการนำเอาคำอุทเทศนี้ว่า โย ของบทว่า โส นั้น
มาเชื่อนี้กันในทุกบทอย่างนี้ว่า ผู้ใดตนเองจมอยู่ในปลัก ผู้นั้นละหนอ
จุนทะ จักถอนผู้อื่นที่จมปลัก ผู้จนอยู่ในโคลนตมลึก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ปลิปปลิปนฺโน (ผู้จมปลัก) แต่ไม่ใช่เรียกในอริยวินัยเลย.
ส่วนในอริยวินัย พระองค์ทรงเรียกเบญจกามคุณว่า ปลิป (ปลัก).
พาลปุถุชน จมลงในเบญจกามคุณนั้น ชื่อว่า ปลิปันนะ (ผู้จมลงใน
เบญจกามคุณ).
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 514
เพราะฉะนั้น ควรทราบการประกอบเนื้อความในคำนี้ว่า โส วต
จุนฺท เป็นต้นนี้ (ต่อไป) ดูก่อนจุนทะ คนลางคน จมลงในโคลนตม(ปลัก) ลึก จนถึงปลายจมูก จักจับมือหรือศีรษะอีกคนหนึ่งที่จมลงใน
โคลนตมนั้นด้วยกันแล้วฉุดขึ้นมา ข้อนี้เป็นเหตุที่เป็นไปไม่ได้ อธิบายว่า
เหตุที่เขาจะช่วยฉุดบุคคลนั้นให้ขึ้นไปยืนอยู่บนบกได้ฉันใด. ผู้ที่จมปลัก
คือเบญจกามคุณด้วยตนเอง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักยกคนอื่นที่จมปลัก
ณ ที่นั้นเหมือนกันขั้นมา เหตุนั้น ข้อนี้ จึงเป็นเหตุที่เป็นไปไม่ได้.
ในเรื่องนั้น พึงมีคำทักท้วงว่า พระพุทธดำรัสนั้นคงไม่ถูกต้อง
เพราะว่าชนทั้งหลาย ได้ฟังธรรมเทศนาของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ
อุบาสิกาทั้งหลาย ที่ยังเป็นปุถุชนอยู่แล้วได้บรรลุธรรม มีอยู่ทีเดียว
เพราะฉะนั้น ผู้จมปลัก จึงชื่อว่า ยก (ผู้อื่นที่จมปลักด้วยกัน) ขึ้นได้.
ควรวิสัชนาว่า คำนั้น ไม่ควรเห็นอย่างนั้น. ความจริงพระผู้มี -
พระภาคเจ้าเท่านั้น ทรงยกขึ้นได้ในเรื่องที่ว่านั้น. ส่วนพระธรรมกถึก
ทั้งหลายจะได้รับก็เพียงคำสรรเสริญเท่านั้น เหมือนกับผู้อ่านพระราชหัตถ-
เลขาที่พระราชาทรงส่งไปฉะนั้น. จริงอยู่ พระราชหัตถเลขาที่พระราชา
ทรงส่งไปที่ชนบทชายแดน คนที่นั้นอ่านพระราชหัตถเลขาไม่ออก ก็จะ
ให้คนที่อ่านออกอ่านแล้วพากันฟังเนื้อความพระราชหัตถเลขานั้น น้อม
รับโดยเคารพว่า เป็นพระบรมราชโองการ และเขาเหล่านั้นไม่ได้มีความ
คิดว่า นี้เป็นคำสั่งของผู้อ่าน ส่วนผู้อ่านพระราชหัตถเลขาก็จะได้รับเพียง
คำสรรเสริญเท่านั้นว่า อ่านด้วยถ้อยคำฉาดฉาน ไม่ตะกุกตะกัก ฉันใด.
พระธรรมกถึกทั้งหลาย เริ่มต้นแต่พระสารีบุตร แสดงธรรมได้
ก็จริง ถึงกระนั้น ท่านเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือเป็นเหมือนกับ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 515
ผู้อ่านพระราชหัตถเลขา ส่วนพระธรรมเทศนานั้นก็เป็นพระธรรมเทศนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเอง เหมือนกับพระบรมราชโองการ. อนึ่ง
ชนเหล่าใดฟังธรรมเทศนาแล้ว ได้บรรลุธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
เองพึงทราบว่า ทรงยกคนเหล่านั้นขึ้น (ให้พ้นปลัก). ส่วนพระธรรม-
กถึกจะได้ก็เพียงคำสรรเสริญเท่านั้นว่า แสดงธรรมด้วยถ้อยคำฉาดฉาน
ไม่ตะกุกตะกัก เพราะฉะนั้น พระพุทธดำรัสนี้ จึงถูกต้องโดยแท้. ส่วน
ธรรมะที่เป็นฝ่ายขาว พึงทราบโดยบรรยายที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ว่า อทนฺโต (ผู้ไม่ได้รับฝึก)
อวินีโต (ผู้ไม่ได้รับแนะนำ) อปรินิพฺพุโต (ผู้ดับกิเลสยังไม่ได้) ว่า
ผู้ชื่อว่าไม่ได้รับการฝึก เพราะเป็นผู้ยังไม่หมดพยศ. ผู้ชื่อว่าไม่ได้รับ
แนะนำ เพราะยังไม่ได้ศึกษาวินัย ผู้ชื่อว่าดับกิเลสยังไม่ได้ เพราะยังมี
กิเลสที่ยังดับไม่ได้ คนชนิดนั้น ๆ จักฝึกผู้อื่น คือจักทำให้เขาหมดพยศ
จักแนะนำเขา คือจักให้เขาศึกษาไตรสิกขา หรือจักให้ผู้อื่นดับกิเลส คือ
จักให้กิเลสทั้งหลายของเขาดับไป ข้อที่ว่ามานี้เป็นเหตุที่เป็นไปไม่ได้ แต่
ธรรมะที่เป็นฝ่ายขาว พึงทราบโดยบรรยายที่ตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.
ส่วนอรรถาธิบายในคำนี้ว่า ดูก่อนจุนทะ อวิหิงสามีไว้เพื่อความ
ดับกิเลสของบุรุษ บุคคลผู้มีวิหิงสาก็ฉันนั้นเหมือนกัน พึงทราบอย่างนี้.
เหมือนอย่างว่า ผู้ไม่จมปลัก จักยกผู้อื่นที่ไม่จมปลักขึ้นได้ ผู้ฝึก
แล้วจักฝึกผู้อื่นได้ ผู้ได้รับแนะนำแล้ว จักแนะนำผู้อื่นได้ ผู้ดับกิเลสได้
แล้ว จักดับกิเลสของผู้อื่นได้ ข้อที่ว่ามานี้ จึงเป็นเหตุที่เป็นไปได้.
ถามว่า ก็เหตุนั้นคืออะไร ?
ตอบว่า คือการไม่จมปลัก การฝึกฝนแล้ว การได้รับคำแนะนำ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 516
แล้ว และการดับกิเลสได้แล้วฉันใด ดูก่อนจุนทะ อวิหิงสามีไว้เพื่อดับ
กิเลสของบุรุษบุคคลผู้มีวิหิงสา ฉันนั้นเหมือนกัน.
มีคำอธิบายไว้อย่างไร ?
(มีไว้ว่า) อวิหิงสาของผู้ไม่เบียดเบียนด้วยตน มีไว้เพื่อดับการ
เบียดเบียนผู้อื่น ของผู้ที่มีวิหิงสา เพราะว่าผู้ไม่เบียดเบียนด้วยตนเอง
จักดับเจตนาเครื่องเบียดเบียนของผู้อื่นได้ เพราะฉะนั้น ข้อนั้น จึงเป็น
เหตุที่เป็นไปได้.
ถามว่า เหตุนั้นคืออะไร ?
แก้ว่า เหตุนั้น คือความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนนั่นเอง. ด้วยว่า
ผู้ที่บรรลุความไม่เบียดเบียนด้วยตนเอง จึงจะสามารถชักชวนคนอื่นให้
เป็นอย่างนั้นได้.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ไม่จมปลัก ฝึกฝนแล้ว ได้รับแนะนำแล้ว ดับกิเลส
ได้แล้วด้วยตนเอง จักยกผู้อื่นที่จมปลักขึ้นได้ จักฝึกตนที่ยังไม่ได้ฝึก
จักแนะนำคนที่ยังไม่ได้รับแนะนำ และจักยกผู้ดับกิเลสยังไม่ได้ให้ดับกิเลส
ได้ ฉะนั้น ข้อนี้ จึงเป็นเหตุที่เป็นไปได้ ฉันใด อวิหิงสาที่เกิดขึ้นแก่
ผู้เจริญมรรค เพื่อละวิหิงสาก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีไว้เพื่อดับ (วิหิงสา)
ของบุรุษ บุคคลผู้มีวิหิงสา อธิบายว่า อวิหิงสาเจตนา (เจตนาที่ไม่
เบียดเบียน ) จะสามารถดับวิหิงสาเจตนา ( เจตนาคิดเบียดเบียน) ได้
เหมือนกับผู้ดับกิเลสได้แล้ว สามารถยิ่งผู้ดับกิเลสไม่ได้ให้ดับได้ฉันนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงเนื้อความดังที่พรรณนามาอย่างนี้
แล้ว จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า เอวเมว โข จุนฺท (ฉันนั้นเหมือนกันแล
จุนทะ) ฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงเห็นอรรถาธิบายในเรื่องนี้ดังที่พรรณนามา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 517
นี้เถิด. แต่การประกอบเนื้อความ ตามลำดับบทในทุก ๆ บท ไม่ได้ทำ
ไว้เหมือนในบทวิหิงสาและอวิหิงสานี้ เพราะเกรงว่าจะเยิ่นเย้อเกินไป.
บรรยายแห่งสัลเลขธรรม
[๑๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัลเลขธรรมนั้นว่า
สามารถในการดับกิเลสได้สนิทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงย้ำพระธรรม-
เทศนานั้นประกอบ (ผู้ฟัง) ในการปฏิบัติธรรม จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า
อิติ โข จุนฺท (ดูก่อนจุนทะ เพราะเหตุดังนี้แล).
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สลฺเลขปริยาโย (บรรยายแห่ง
สัลเลขธรรม) ได้แก่เหตุแห่งสัลเลขธรรม. ในทุกบทก็มีนัยนี้. กุศลธรรม
ทั้งหลายมีอวิหิงสาเป็นต้นนั้นแหละ ในสัลเลขสูตรนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่า
เหตุแห่งสัลเลขธรรม เพราะขจัดขัดเกลาอกุศลธรรมมีวิหิงสา๑เป็นต้น
ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งจิตตุปบาท เพราะจิตที่บุคคลพึงให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจ
แห่งอวิหิงสาเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งการหลีกไป เพราะ
เป็นเหตุแห่งการหลีกไปจากวิหิงสาเป็นต้น ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งความ
เป็นผู้สูงส่ง เพราะยังความสูงส่งให้สำเร็จ ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งการยังกิเลส
ให้ดับได้ เพราะยังวิหิงสาเป็นต้นให้ดับได้.
บทว่า หิเตสินา ความว่า ผู้ทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล.
บทว่า อนุกมฺปเกน (ผู้ทรงเอ็นดู) คือผู้ทรงมีพระทัยเอ็นดู.
บทว่า อนุกมฺป อุปาทาย (ทรงอาศัยความเอ็นดู) คือทรง
กำหนดความเอ็นดูด้วยพระทัย มีคำอธิบายว่า ทรงอาศัย (ความเอ็นดู)
๑. ปาฐะว่า อวิหึสาทีน เข้าใจว่า จะเป็น วิหึสาทีน จึงได้แปลตามที่เข้าใจ และฉบับพม่า
เป็น....เอว วิหึสาทีน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 518
ดังนี้บ้าง. ข้อว่า กต โว ต มยา (กิจนั้นเราตถาคตได้ทำแล้ว
แก่เธอทั้งหลาย ) ความว่า กิจ๑นั้น เราตถาคตผู้แสดงเหตุ ๕ ประการ
เหล่านี้ ได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย. อธิบายว่า กิจมีประมาณเท่านี้ เท่า
นั้นเอง เป็นหน้าที่ของศาสดาผู้ทรงเอ็นดู ได้แก่การทรงแสดงธรรมที่ไม่
ผิดพลาด ( พระองค์ได้ทรงทำแล้ว ) ส่วนต่อแต่นี้ไป ธรรมดาว่าการ
ปฏิบัติเป็นหน้าที่ของสาวกทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนจุนทะ นั่นโคนต้นไม้ทั้งหลาย ฯลฯ เป็น
อนุศาสนีของเราตถาคต. ก็ในจำนวนสถานที่ ๓ แห่งนั้น ด้วยบทว่า
รุกขมูล นี้ พระองค์ทรงแสดงถึงที่นั่ง ที่นอน คือควงต้นไม้ ด้วย
คำว่า สุญญาคาร (เรือนร้าง ) นี้ ทรงแสดงถึงสถานที่ ๆ สงัดจากคน
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำทั้ง ๒ นี้ ทรงบอกเสนาสนะที่เหมาะสมกับความเพียร
คือทรงมอบความเป็นทายาทให้. คำว่า เธอทั้งหลายจงเพ่ง หมายความว่า
จงเข้าไปเพ่งอารมณ์ ๓๘ ประการ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่ง
อารมณ์ ) และเพ่งขันธ์และอายตนะเป็นต้นโดยความไม่เที่ยงเป็นต้น ด้วย
ลักขณูปนิชฌาน ( การเพ่งลักษณะ) มีคำอธิบายว่า เจริญสมถะและ
วิปัสสนา.
ข้อว่า มา ปมาทตฺถ ( เธอทั้งหลายอย่าได้ประมาท ) ความว่า
เธอทั้งหลายอย่าได้ประมาท คืออย่าได้เดือดร้อนในภายหลัง. อธิบายว่า
ชนเหล่าใด เมื่อก่อน คือในเวลายังหนุ่ม ในเวลาไม่มีโรค ในเวลาประสบ
ความสบาย ๗ อย่างเป็นต้น และในเวลาที่ยังมีพระศาสดาอยู่พร้อมหน้า
๑. ปาฐะว่า กต มยา อิเม ปญฺจ ปริยาเย ทสฺสนฺเตน ตุมฺหาก กต เอตฺตกเมว ห ฯลฯ
กิจฺจ เข้าใจว่า เป็นดังนี้ ต มยา อิเม ปญฺจ ปริยาเย ทสฺสนฺเตน ตุมฺหาก กต ฯ เอตฺตกเมว
หิ ฯลฯ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ และถูกตามหลักความจริง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 519
เว้นจากโยนิโสมนสิการ เสวยความสุขจากการนอนและความสุขจากการ
หลับ เป็นเหยื่อของเรือด ประมาทอยู่ ทั้งคืนทั้งวัน ชนเหล่านั้นภายหลัง
คือในเวลาชรา เวลามีโรค เวลาจะตาย เวลาวิบัติ และเวลาที่พระศาสดา
ปรินิพพานแล้วระลึกถึงการอยู่อย่างประมาทในกาลก่อนนั้น และพิจารณา
เห็นการปฏิสนธิ และการถึงแก่กรรมของตนว่าเป็นภาระ ( เรื่องที่จะ
ต้องนำพา ) จึงเป็นผู้มีความเดือดร้อน ส่วนเธอทั้งหลายอย่าได้เป็น
เหมือนคนประเภทนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง
แสดงเนื้อความนั้นดังว่ามานี้ จึงได้ตรัสว่า เธอทั้งหลายอย่าได้เดือดร้อน
ภายหลัง.
บทว่า อย โว อมฺหาก อนุสาสนี (นี้เป็นอนุศาสนี ( การ
พร่ำสอน) ของเราตถาคต สำหรับเธอทั้งหลาย ) ความว่า นี้เป็น
อนุศาสนี มีคำอธิบายว่า เป็นโอวาทเพื่อเธอทั้งหลาย จากสำนักของเรา
ตถาคตว่า จงเพ่ง ( เผากิเลส ) จงอย่าประมาท ดังนี้แล.
จบอรรถกถาสัลเลขสูตร
จบสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 520
๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
( ๑๑๐ ) ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้
ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับที่พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถปิณฑิกะ กรุงสาวัตถี.
ครานั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า คุณ.
ภิกษุเหล่านั้นรับสนองคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิ ดังนี้. ด้วยเหตุกี่ประการนะ คุณ พระอริยสาวกจึงจะเป็นผู้มี
ความเห็นถูกต้อง มีความเห็นทรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรม
ไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.
ภิกษุทั้งหลายได้กราบเรียนว่า ใต้เท้าครับ กระผมทั้งหลายมาจาก
ที่ไกลมากก็เพื่อจะฟังอรรถาธิบายภาษิตนี้ ในสำนักของใต้เท้า ขอได้โปรด
กรุณาเถิดขอรับ ใต้เท้าเท่านั้นแหละ เข้าใจแจ่มแจ้งเนื้อความแห่งภาษิตนี้
ภิกษุทั้งหลายพึงอรรถาธิบายของใต้เท้าแล้ว จักพากันทรงจำไว้.
ท่านพระสารีบุตรกล่าวเตือนว่า ถ้าเช่นนั้น ขอให้คุณทั้งหลาย
จงพากันตั้งใจฟัง ผมจักกล่าวให้ฟัง. ภิกษุเหล่านั้น ตอบรับคำเตือน
ของท่านพระสารีบุตรเถระว่า พร้อมแล้ว ใต้เท้า.
( ๑๑๑ ) ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริย-
สาวกรู้ชัดอกุศลกับทั้งรากเหง้าของอกุศล และรู้ชัดกุศลกับทั้งรากเหง้าของ
กุศล เพียงเท่านี้แหละคุณ อริยสาวกชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง มีความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 521
เห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน บรรลุพระ
ลัทธรรมนี้ ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.
อกุศลและรากเหง้าอกุศล
อกุศลคืออะไรเล่า คุณ ? อกุศล คือ ปาณาติบาต (การฆ่าสัตว์) ๑
อทินนาทาน (การลักของเขา) ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ( การประพฤติ
ผิดในกาม) ๑ มุสาวาท (พูดเท็จ) ๑ ปิสุณาวาจา (พูดส่อเสียด) ๑
ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ ) ๑ สัมผัปปลาปา (พูดเพ้อเจ้อ) ๑
อภิชฌา (ความเพ่งเล็ง ) ๑ พยาบาท ( ความปองร้ายเขา) ๑ มิจฉาทิฏฐิ
(ความเห็นผิดเป็นถูก) ๑ นี้ละคุณ อกุศล.
อกุศลมูลเป็นอย่างไรเล่า คุณ ? อกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ
นี่ละคุณ เรียกว่ารากเหง้า อกุศล.
กุศลและรากเหง้ากุศล
กุศลคืออะไรเล่า คุณ ? กุศล คือ เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจาก
ปาณาติบาต ๑ จากอทินนาทาน ๑ จากกาเมสุมิจฉาจาร ๑ จากมุสาวาท ๑
จากปิสุณาวาจา ๑ จากผรุสวาจา ๑ จากสัมผัปปลาป ๑ อนภิชฌา
(ความไม่เพ่งเล็ง) ๑ อัพยาบาท (ความไม่ปองร้ายเขา) ๑ สัมมาทิฏฐิ
( ความเห็นถูกต้อง) ๑ นี้ละคุณ เรียกว่า กุศล.
รากเหง้ากุศลเป็นอย่างไรเล่า คุณ ? รากเหง้ากุศล คือ อโลภะ
อโทสะ อโมหะ นี้ละคุณ เรียกว่า รากเหง้ากุศล.
คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้อกุศลกับทั้งรากเหง้าของอกุศล และ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 522
รู้กุศลกับทั้งรากเหง้าของกุศลอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้นเธอจะละกิเลสที่นอน
เนื่องอยู่ในสันดาน คือ ราคะ ( ราคานุสัย) บรรเทากิเลสที่นอนเนื่อง
ในสันดาน คือ ปฏิฆะ (ปฏิฆานุสัย) ถอนกิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน
คือ ทิฏฐิและมานะว่า เรามีอยู่ได้ (มานานุสัย ) ละอวิชชาได้ทุกอย่าง
ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความ
เห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระ
สัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้.
( ๑๑๒ ) ภิกษุเหล่านั้น ได้พากันชมเชยอนุโมทนาภาษิตของท่าน
พระสารีบุตรว่า ดีแล้ว ใต้เท้า แล้วได้กราบเรียนถามปัญหากะท่านพระ
สารีบุตร สูงขึ้นไปอีกว่า ใต้เท้าขอรับ ยังมีเหตุ ( ปริยาย) อย่างอื่น
อีกบ้างไหม ที่จะให้อริยสาวกมีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประ-
กอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
อาหารวาระ
(๑๑๓) ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคำนี้ว่า
คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอาหาร เหตุเกิดของอาหาร ความดับของ
อาหาร และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับของอาหารเพียงเท่านี้แล คุณ อริย-
สาวกก็ชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความ
เลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า อาหารคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับ
แห่งอาหาร และปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งอาหาร คืออะไร ?
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 523
ตอบว่า คุณ อาหารมี ๔ อย่างเหล่านั้น เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายที่เกิด
แล้ว ดำรงชีพอยู่ได้ หรือเพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายที่กำลังแสวงหา
ที่เกิด.
อาหาร ๔ อย่าง คืออะไร ? คือ กวฬิงการาหาร (อาหารเป็น
คำ ๆ) หยาบหรือละเอียด ๑ ผัสสาหาร ( อาหารคือผัสสะ) ๑ มโนสัญ-
เจตนาหาร (อาหารคือกรรม) ๑ วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ) ๑
เพราะตัณหาเกิด อาหารจึงเกิด เพราะตัณหาดับ อาหารจึงดับ อริยมรรค
มีองค์ ๘ นี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาหาร คือ :-
(๑) สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง (ชอบ)
(๒) สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง (ชอบ)
(๓) สัมมากัมมันตะ การงานถูกต้อง (ชอบ)
(๔) สัมมาวาจา การเจรจาถูกต้อง (ชอบ )
(๕) สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพถูกต้อง (ชอบ)
(๖) สัมมาวายามะ ความพยายามถูกต้อง (ชอบ)
(๗) สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง (ชอบ)
(๘) สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นถูกต้อง (ชอบ)
คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดอาหาร, เหตุเกิดแห่งอาหาร, ความ
ดับแห่งอาหาร และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งอาหารอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอจะละราคานุสัยได้ บรรเทาปฏิฆานุสัยได้ ถอนทิฏฐิมานะว่า เรามีได้
ละอวิชชาได้ โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้กระทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวก
ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกตอง มีความเห็นทรง ประกอบด้วยความเลื่อมใส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 524
ในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว ดังนี้.
(๑๑๔) ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระ
สารีบุตร ว่าดีแล้ว ใต้เท้า ดังนี้แล้ว ได้กราบเรียนถามปัญหากะท่าน
พระสารีบุตรสูงขึ้นไปว่า ยังมีอยู่หรือไม่ ใต้เท้า ฯลฯ
สัจจวาระ
(๑๑๕) ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวคำนี้
ว่า คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับ
แห่งทุกข์ และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งทุกข์ เพียงเท่านี้แหละ คุณ
อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วย
ความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว
ก็อะไรเล่า คุณ เป็นทุกข์ ? ความเกิดบ้าง เป็นทุกข์ ความแก่บ้าง
เป็นทุกข์ ความตายบ้าง เป็นทุกข์ ความเศร้าโศก คร่ำครวญ ความ
ทุกข์กาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจบ้าง เป็นทุกข์ การประจวบกับ
คนหรือสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ การพลัดพลากจากคนหรือสิ่งที่รัก ก็
เป็นทุกข์ แม้ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สมหวัง การไม่ได้สิ่งนั้นสมหวัง ก็เป็น
ทุกข์ โดยย่อ ขันธ์เป็นที่ตั้งอุปาทาน ( ความยึดมั่น) ทั้ง ๕ เป็นทุกข์
นี้เรียกว่า ทุกข์ ละ คุณ.
เหตุให้เกิดทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ ตัณหานี้ให้เกิดในภพใหม่
ไปด้วยกันกับความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนัก
ในภพนั้น ๆ คือ กามตัณหา (ความอยากในอารมณ์ที่น่าใคร่) ๑
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 525
ภวตัณหา (ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ) ๑ วิภวตัณหา ( ความอยากไม่
เป็นโน่นเป็นนี่) ๑ นี้เรียกว่าเหตุให้เกิดทุกข์ (ทุกขสมุทัย) ละ คุณ.
ความดับทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ ความดับตัณหาทั้ง ๓ นั่น
แหละ. เพราะคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสลัด ความสละคืน ความ
ปล่อย ความไม่มีอาลัยไยดีซึ่งตัณหาทั้ง ๓ นั้น นี้เรียกว่า ความดับทุกข์
(ทุกขนิโรธ) ละ คุณ.
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์คืออะไรเล่า คุณ ? คือ อริยาษฎาง-
คิกมรรคนี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ) ละ คุณ.
คุณ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับแห่งทุกข์
และรู้ชัดปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์อย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัย
บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐิและมานะว่า เรามีอยู่ออกได้ ละอวิชชาได้
โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดแล้ว เป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ ใน
ปัจจุบันทีเดียว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่า มีความเห็น
ถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอน
แคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้ ดังนี้.
(๑๑๖) ภิกษุเหล่านั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่าน
พระสารีบุตรว่า ดีแล้ว ใต้เท้าครับ ดังนี้แล้ว ได้กราบเรียนถามปัญหา
สูงขึ้นไปกะท่านสารีบุตรว่า ใต้เท้าครับ ยังมีอีกหรือไม่ ? เหตุ (ปริยาย)
แม้อย่างอื่นที่จะให้อริยสาวกมีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 526
ชรามรณวาระ
( ๑๑๗ ) ท่านพระสารีบุตร ได้ตอบว่า ยังมี คุณ แล้วได้กล่าว
คำนี้ ว่า คุณ เพราะเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดชราและมรณะ เหตุเกิดแห่ง
ชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติที่จะให้ถึง
ความดับแห่งชราและมรณะ แม้เพียงเท่านั้นแหละคุณ อริยสาวกชื่อว่า
มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรม
ไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า ชราและมรณะคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งชราและ
มรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรา
และมรณะคืออะไร ?
ตอบว่า ความแก่แห่งสัตว์เหล่านั้น ๆ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ความ
คร่ำคร่า ฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความ
หง่อมแห่งอินทรีย์ทั้งหลายของสัตว์เหล่านั้น ๆ ในหมู่สัตว์นั้น ๆ นี้เรียก
ว่า ชรา ( ความแก่ ).
การเคลื่อนที่ การย้ายที่ จากหมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
การแตกทำลาย การสูญหาย การม้วยมรณ์๑ การถึงแก่กรรม การแตก
แห่งขันธ์ทั้งหลาย การทอดทิ้งซากศพ การขาดแห่งชีวิตอินทรีย์ จาก
หมู่สัตว์นั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้เรียกว่า มรณะ (ความตาย).
เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิด เพราะชาติดับ ชราและมรณะ
จึงดับ.
๑. มจฺจุ มรณ มติของอรรถกถาเห็นว่าเป็นศัพท์ติดกัน จึงแปลโดยไม่แยกกัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 527
อริยาษฏางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชรา
และมรณะ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชรา
และมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
แห่งชราและมรณะอย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัย ฯลฯ แม้ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความ
เห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน (ได้มาสู่
พระสัทธรรม) นี้แล้ว.
ชาติวาระ
(๑๑๘) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ยังมี คุณ แล้วได้กล่าวว่า เพระเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดชาติ เหตุให้เกิด
ชาติ ความดับแห่งชาติ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชาติเพียง
เท่านี้แหละ คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็น
ตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระ
สัทธรรมนี้.
ถามว่า ชาติ คืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งชาติ ข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับแห่งชาติ คืออะไรเล่า ?
ตอบว่า ความเกิดในหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งสัตว์เหล่านั้น ๆ ความ
ก่อเกิด ความก้าวลง (สู่ครรภ์) ความบังเกิดขึ้น ความถือกำเนิด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 528
ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การกลับได้อายตนะทั้งหลาย ในหมู่สัตว์
นั้น ๆ แห่งสัตว์เหล่านั้น ๆ นี้คุณ เรียกว่า ชาติ.
เพราะภพเกิด ชาติจึงเกิด เพราะภพดับ ชาติจึงดับ อริยาษฎาง-
คิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชาติ คือ สัมมา-
ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดอย่างนี้ เหตุ
เกิดแห่งชาติ ความดับแห่งชาติ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งชาติอย่างนี้
เมื่อนั้นเธอจะละราคานะสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความ
เห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระ
สัทธรรมนี้.
ภววาระ
(๑๑๙) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ยังคงมี คุณ แล้วได้กล่าวว่า ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดภพ เหตุให้เกิดภพ
ความดับแห่งภพ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ เพียงเท่านี้แล คุณ
อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วย
ความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า ภพคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ คืออะไรเล่า คุณ ?
ตอบว่า คุณ ภพมี ๓ ดังนี้ คือ กามภพ ๑ รูปภพ ๑ อรูปภพ ๑.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 529
เพราะอุปาทานเกิด ภพจึงเกิด เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ อริยาษ-
ฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ คือ สัมมา-
ทิฏฐิ ฯ ล ฯ สัมมาสมาธิ. คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพอย่างนี้
รู้ชัดเหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งภพ
อย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ ด้วยเหตุ
เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็น
ตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระ
สัทธรรมนี้.
อุปาทานวาระ
(๑๒๐) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังมีอยู่ คุณ
ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่ง
อุปาทาน รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน แม้เพียงเท่านี้แล คุณ
อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วย
ความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า ก็อุปาทานคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับ
แห่งอุปาทาน ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน คืออะไร ?
ตอบว่า คุณ อุปาทานมี ๔ อย่าง ดังต่อไปนี้ คือ กามุปาทาน
ความยึดมั่นด้วยอำนาจกาม ๑ ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ๑
สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นด้วยอำนาจศีลและพรต ๑ อัตตวาทุปาทาน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 530
ความยึดมั่นด้วยอำนาจวาทะว่าตน ๑. เพราะตัณหาเกิด อุปาทานจึงเกิด
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปทาน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
คุณ เมื่อใดแลอริยสาวกรู้ชัดอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับ
แห่งอุปาทาน และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน เมื่อนั้น
เธอจะละราคานุสัยได้ โดยประการทั้งปวง ฯ ลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบ
ด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ตัณหาวาระ
(๑๒๑) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯล ฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวไว้ว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดตัณหา
เหตุเกิดตัณหา ความดับตัณหา และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับตัณหา
เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็น
ตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า ตัณหาคืออะไรเล่าคุณ ? เหตุให้เกิดตัณหา, ความดับตัณหา,
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับตัณหา คืออะไร ?
ตอบว่า คุณ ตัณหามี ๖ หมู่อย่างนี้คือ รูปตัณหา ความทะยาน
อยากในรูป ๑ สัททตัณหา ความทะยานอยากในเสียง ๑ คันธตัณหา
ความทะยานอยากในกลิ่น ๑ รสตัณหา ความทะยานอยากในรส ๑
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 531
โผฏฐัพพตัณหา ความทะยานอยากในโผฎฐัพพะ ๑ ธรรมตัณหา ความ
ทะยานอยากในธรรม ๑. เพราะเวทนาเกิด ตัณหาจึงเกิด. เพราะเวทนาดับ
ตัณหาจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
แห่งตัณหา คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
คุณ ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ชัดตัณหาอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดตัณหา
ความดับตัณหา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งตัณหาอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอ
จะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯล ฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ
อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วย
ความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
เวทนาวาระ
( ๑๒๒) ภิกษุเหล่านั้นกราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย ) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดเวทนา เหตุ
เกิดเวทนา ความดับเวทนา และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับเวทนา
เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง
ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า เวทนาคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดเวทหา ความดับเวทนา
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับเวทนา คืออะไร ?
ตอบว่า คุณ เวทนามี ๖ หมู่ ดังนี้คือ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทาง
ตา ๑ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางหู ๑ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางจมูก ๑
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 532
เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น ๑ เวทนาเกิดแต่สัมผัสทางกาย ๑ เวทนาเกิด
แต่สัมผัสทางใจ ๑. เพราะผัสสะเกิด เวทนาจึงเกิด เพราะผัสสะดับ
เวทนาจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
แห่งเวทนา คือ สัมมาทิฏฐิ ฯล ฯ สัมมาสมาธิ.
คุณ ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ชัดเวทนาอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่ง
เวทนา ความดับแห่งเวทนา รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งเวทนาอย่างนี้
เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียง
เท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง
ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ผัสสวาระ
(๑๒๓) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตร
ตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุให้เกิด
ผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งผัสสะ
เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง
ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า ผัสสะคืออะไรเล่า คุณ ? ผัสสะมี ๖ หมู่ อย่างนี้คือ
จักขุสัมผัส ๑ โสตสัมผัส ๑ ฆานสัมผัส ๑ ชิวหาสัมผัส ๑ กายสัมผัส ๑
มโนสัมผัส ๑. เพราะสฬายตนะเกิด ผัสสะจึงเกิด เพราะสพายตนะดับ
ผัสสะจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความผัสสะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 533
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดผัสสะอย่างนี้ เหตุเกิดผัสสะ ความ
ดับแห่งผัสสะ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งผัสสะอย่างนี้ เมื่อนั้น
เธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯล ฯ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล
คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วย
ความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
สฬายตนวาระ
(๑๒๔) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตร
ตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอายตนะ
ทั้ง ๖ เหตุเกิดอายตนะทั้ง ๖ ความดับอายตนะทั้ง ๖ และรู้ชัดข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับแห่งอายตนะทั่ง ๖ เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่า
เป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยควานเลื่อมใสใน
ธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า อายตนะทั้ง ๖ คืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งอายตนะทั้ง ๖
ความดับแห่งอายตนะทั้ง ๖ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอายตนะทั้ง ๖
คืออะไร ?
ตอบว่า คุณ อายตนะทั้ง ๖ เหล่านี้ คือ อายตนะคือตา อายตนะ
คือหู อายตนะคือจมูก อายตนะคือลิ้น อายตนะคือกาย อายตนะคือใจ.
เพราะนามรูปเกิด สฬายตนะจึงเกิด เพราะนามรูปดับไป สฬายตนะจึงดับ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 534
อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งสฬายตนะ
คือ สัมมาทิฏฐิ ๆลฯ สัมมาสมาธิ.
คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดอายตนะทั้ง ๖ อย่างนี้ เหตุเกิด
แห่งอายตนะทั้ง ๖ ความดับแห่งอายตนะทั้ง ๖ รู้ชัดข้อฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งอาตนะทั้ง ๖ อย่างนี้ เมื่อนั้น เธอจะละราคานุสัยได้โดยประการ
ทั้งปวง ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความ
เห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่
คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
นามรูปวาระ
(๑๒๕) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป
เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับแห่งนามรูป และรู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งนามรูป เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็น
ถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน
ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.
ถามว่า นามรูปคืออะไรเล่าคุณ ? เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับ
แห่งนามรูป และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งนามรูป คืออะไร ?
ตอบว่า เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และมนสิการ ทั้ง ๕
อย่างนี้เรียกว่า นาม มหาภูตรูป ๔ และรูปอาศัยมหาภูตรูป ๔ (อุปาทาย-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 535
รูป) นี้เรียกว่า รูป. รวมทั้งนามทั้งรูปนี้ละคุณ เรียกว่านามรูป. เพราะ
วิญญาณเกิด นามรูปจึงเกิด เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ อริยาษ-
ฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งนามรูป คือ
สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
คุณ ในกาลใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูปอย่างนี้ เหตุเกิดแห่ง
นามรูป ความดับแห่งนามรูป รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งนามรูป
อย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ แม้
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความ
เห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่
พระสัทธรรมนี้.
วิญญาณวาระ
(๑๒๖) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย ) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯล ฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ยังคงมีอยู่ คุณแล้วได้กล่าวว่าคุณด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดวิญญาณ เหตุเกิด
แห่งวิญญาณ ความดับไปแห่งวิญญาณ และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
ไปแห่งวิญญาณ เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูก
ต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน มาสู่
พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า วิญญาณคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งวิญญาณ. ความ
ดับแห่งวิญญาณ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งวิญญาณ คืออะไร ?
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 536
ตอบว่า คุณ วิญญาณ มี ๖ หมู่เหล่านี้ คือ วิญญาณทางตา ๑
วิญญาณทางหู ๑ วิญญาณทางจมูก ๑ วิญญาณทางลิ้น ๑ วิญญาณทาง
กาย ๑ วิญญาณทางใจ ๑. เพราะสังขารเกิด วิญญาณจึงเกิด เพราะ
สังขารดับไป วิญญาณจึงดับ อริยาษฎางติกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติ
ให้ถึงความดับไปแห่งวิญญาณ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
คุณ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณอย่างนี้ เหตุเกิดแห่ง
วิญญาณ ความดับไปแห่งวิญญาณ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง ฯลฯ
แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มี
ความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่
พระสัทธรรมนี้.
สังขารวาระ
( ๑๒๗ ) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดสังขาร รู้ชัด
เหตุเกิดแห่งสังขาร และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งสังขาร เพียง
เท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง
ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า สังขารคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับ
แห่งสังขาร ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งสังขาร คืออะไร ?
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 537
ตอบว่า คุณ สังขารมี ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กายสังขาร ๑ วจี-
สังขาร ๑ จิตสังขาร ๑. เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ
สังขารจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
ไปแห่งสังขาร คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
เมื่อใดแล คุณ อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ เหตุเกิดแห่งสังขาร
ความดับแห่งสังขาร รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งสังขารอย่างนี้
เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัยได้ บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐิมานานุสัยว่า
เรามีออก ละอวิชชาได้โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้
ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริย-
สาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความ
เลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
อวิชชาวาระ
(๑๒๘) ภิกษุเหล่านั้นได้กราบเรียนถามว่า ใต้เท้าขอรับ เหตุ
(ปริยาย) อย่างอื่น ยังคงมีอยู่หรือ ? ฯลฯ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอวิชชา เหตุ
เกิดอวิชชา ความดับแห่งอวิชชา และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไป
แห่งอวิชชา เพียงเท่านี้แล คุณ อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง
มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มา
สู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า อวิชชาคืออะไรเล่าคุณ ? เหตุเกิดอวิชชา ความดับไป
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 538
แห่งอวิชชา ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับไปแห่งอวิชชา คืออะไร.
ตอบว่า คุณ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความ
ไม่รู้ในความดับไปแห่งทุกข์ ความไม่รู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่ง
ทุกข์ นี้แลคุณ เรียกว่าอวิชชา.
เพราะอาสวะเกิด อวิชชาจึงเกิด เพราะอาสวะดับ อวิชชาจึงดับ
อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอวิชชา
คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
เมื่อใดแล คุณ อริยสาวก รู้ชัดอวิชชาอย่างนี้ เหตุเถิดอวิชชา
ความดับไปแห่งอวิชชา รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอวิชชาอย่างนี้
เมื่อนั้นเธอจะละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐิมานะว่า เรามี
ออก ละอวิชชาได้โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว เป็นผู้
กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ อริย-
สาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความ
เลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
(๑๒๙) ภิกษุเหล่านั้นได้พากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่าน
พระสารีบุตรว่า ดีแล้ว ใต้เท้า แล้วได้กราบเรียนถามปัญหาสูงขึ้นไปกะ
ท่านพระสารบุตรว่า ใต้เท้า ขอรับ เหตุ (ปริยาย) อย่างอื่นยังคงมีอีก
บ้างไหน ที่จะให้อริยสาวกเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง
ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรม
นี้แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 539
อาสววาระ
(๑๓๐) ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ยังคงมีอยู่ คุณ แล้วได้กล่าวว่า
คุณ ด้วยเหตุที่อริยสาวกรู้ชัดอาสวะ เหตุเกิดอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ
และรู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอาสวะ เพียงเท่านี้แล คุณ อริย-
สาวกชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความ
เลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน มาสู่พระสัทธรรมนี้.
ถามว่า อาสวะคืออะไรเล่า คุณ ? เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับ
แห่งอาสวะ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอาสวะคืออะไร ?
ตอบว่า คุณ อาสวะมี ๓ อย่าง เหล่านี้ คือ กามาสวะ เครื่อง
ดองสันดานคือกาม ๑ ภวาสวะ เครื่องดองสันดานคือภพ ๑ อวิชชา-
สวะ เครื่องดองสันดานคืออวิชชา ๑. เพราะอวิชชาเกิด อาสวะจึงเกิด
เพราะอวิชชาดับ อาสวะจึงดับ อริยาษฎางคิกมรรคนี้เท่านั้น เป็นข้อ
ปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอาสวะ คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑
สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑
สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑.
เมื่อใดแล คุณ อริยสาวกรู้ชัดอาสวะอย่างนี้ เหตุเกิดอาสวะ ความ
ดับไปแห่งอาสวะ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไปแห่งอาสวะอย่างนี้ เมื่อ
นั้นเธอจะละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนอนุสัยคือทิฏฐิมานะว่า
เรามีออก ละอวิชชาได้โดยประการทั้งปวง ยังวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว
เป็นผู้การทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบันทีเดียว ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล คุณ
อริยสาวกชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ประกอบด้วยความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 540
เลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.
ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นพอใจ พากัน
ชื่นชมภาษิตของท่านพระสารีบุตร.
จบ สัมมาทิฏฐิสูตร
สูตรที่ ๙ จบ
สรุป
ทุกข์ ๑ ชรามรณะ ๑ อุปาทาน ๑ สฬายตนะ ๑ นามรูป ๑
วิญญาณ ๑ รวมเป็น ๖ บท ซึ่งท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า เป็นอย่าง
ไรเล่า คุณ ?
ชาติ ๑ ตัณหา ๑ เวทนา ๑ อวิชชา ๔ อย่าง ๑ รวมเป็น ๔
บท ซึ่งท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวว่า เป็นอย่างไรเล่า คุณ ?
อาหาร ๑ ภพ ผัสสะ ๑ สังขาร ๑ ที่ ๕ คือ อาสวะ ๑
รวมเป็น ๕ ซึ่งท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวว่า เป็นอย่างไรเล่า คุณ ?
๖ อย่าง คืออะไร ได้กล่าวไว้แล้ว ๔ อย่างคืออะไร ได้กล่าวไว้
แล้ว ๕ อย่างคืออะไร ก็ได้กล่าวไว้แล้ว จึงรวมเป็น ๑๕ บท สำหรับ
สังขารทั้งมวล ดังนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 541
อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร
(๑๑๐) สัมมาทิฏฐิสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐิสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-
คำถามที่พระเถระ ( สารีบุตร) กล่าวไว้อย่างนี้ว่า คุณ ที่เรียกว่า
สัมมาทิฏฐิ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรนะคุณ ? ดังนี้ หรือว่าอกุศลเป็น
อย่างไรเล่าคุณ ? ดังนี้ทุกข้อ เป็นกเถตุกามยตาปุจฉา ( ถามเพื่อตอบ
เอง ) เท่านั้นเอง.
เพราะว่าในคำถามเหล่านั้น คนทั้งหลายเข้าใจในสัมมาทิฏฐินั้นก็มี
ไม่เข้าใจก็มี เป็นคนนอกศาสนาก็มี ในศาสนาก็มี กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ
ด้วยสามารถที่ได้ฟังตามกันมาเป็นต้นก็มี ด้วยได้ประจักษ์ด้วยตนเองมาก็มี
ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตร จึงได้กล่าวหมายเอาคำถามของตนส่วนมากนั้น
ย้ำถึง ๒ ครั้งว่า คุณ ที่เรียกกันว่า สัมมาทิฏฐิ. . . อันที่จริงในเรื่องนี้
มีอธิบายดังต่อไปนี้ ถึงอาจารย์เหล่าอื่นก็เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
ท่านพระสารีบุตร นี้นั้น เมื่อกล่าวอย่างนี้ ได้กล่าวว่า ด้วยเหตุ
เท่าไรนะคุณ อริยสาวกจึงชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง ดังนี้ หมายถึงความ
หมายและลักษณะ (ของสัมมาทิฎฐิ).
แก้สัมมาทิฏฐิ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมาทิฏฺิ ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้
ประกอบด้วยความเห็นทั้งดีงามทั้งประเสริฐ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 542
ก็เมื่อใด ศัพท์ว่า สัมมาทิฏฐินี้ใช้ในธรรมะเท่านั้น เมื่อนั้นพึง
ทราบเนื้อความของศัพท์นั้นอย่างนี้ว่า ทิฏฐิทั้งดีงามทั้งประเสริฐ ชื่อว่า
สัมมาทิฏฐิ. และสัมมาทิฏฐินี้นั้น มี ๒ อย่าง คือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ ๑
โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ๑.
ในจำนวนสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น กัมมัสสกตาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้
ว่า สัตว์มีกรรม เป็นของตน) และสัจจานุโลมิกญาณ (ปรีชาเป็นไป
โดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ) ชื่อว่า โลกิยสัมมาทิฏฐิ. ส่วนปัญญา
ที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค อริยผล ชื่อว่า โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ. แต่คนที่มี
สัมมาทิฏฐิ มี ๓ ประเภท คือ ปุถุชน ๑ เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) ๑
อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) ๑.
ในจำนวน ๓ ประเภทนั้น ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ พาหิรกชน
(คนนอกศาสนา) ๑ ศาสนิกชน (คนในศาสนา) ๑ ในจำนวน ๒
ประเภทนั้น พาหิรกปุถุชนผู้เป็นกรรมวาที (เชื่อถือกรรม) ชื่อว่า เป็น
ผู้มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นว่าสัตว์มี
กรรมเป็นของตน ไม่ใช่โดยความเห็นขั้นสัจจานุโลมญาณ ส่วนศาสนิก-
ปุถุชน ชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล ) โดยความ
เห็นทั้ง ๒ อย่าง (คือกัมมัสสกตาและอนุโลมญาณ เพราะยังลบคลำความ
เห็นเรื่องอัตตาอยู่ ยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้).
เสกขบุคคล ชื่อว่า มีความเห็นชอบ เพราะมีความเห็นชอบที่แน่
นอน ส่วนอเสกขบุคคล ชื่อว่า มีความเห็นชอบ เพราะไม่ต้องศึกษา.
แต่ในที่นี้ประสงค์เอาผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศล
ที่แน่นอน คือเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ว่า ผู้มีความเห็นชอบ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 543
เพราะเหตุนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้ประ-
กอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้
แล้ว.
อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลเท่านั้น เป็นความเห็นที่
ตรง เพราะไปตามความตรงไม่ข้องแวะกับที่สุดทั้ง ๒ อย่าง หรือตัดขาด
ความคดงอทุกอย่าง มีความคดงอทางกายเป็นต้นแล้วไปทรง และผู้
ประกอบด้วยทิฏฐินั้นเอง ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอน-
แคลน คือด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ.
อริยสาวกเมื่อคลายความยึดมั่นด้วยทิฏฐิทุกอย่าง ละกิเลสทั้งสิ้นได้ ออก
ไปจากสงสารคือชาติ เสร็จสิ้นการปฏิบัติ ท่านเรียกว่า ผู้ได้มาสู่พระ
สัทธรรม กล่าวคือพระนิพพาน ที่หยั่งลงสู่อมตธรรม ที่พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วด้วยอริยมรรค.
( ๑๑๑ ) คำว่า ยโต โข นี้เป็นคำกำหนดกาลเวลา มีอธิบายว่า
ในกาลใด.
ข้อว่า อกุสลมูลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดอกุศล กล่าวคือ
อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ เมื่อแทงตลอดว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ ด้วย
สามารถแห่งกิจจญาณ ชื่อว่ารู้ชัดอกุศล เพราะความรู้ชัดที่มีนิโรธเป็น
อารมณ์.
ข้อว่า อกุสลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดรากเหง้าของอกุศลที่
เป็นรากเหง้า เป็นปัจจัยแห่งอกุศลนั้น คือ เมื่อแทงตลอดว่า นี้เป็นเหตุ
ให้เกิดทุกข์โดยประการนั้นนั่นเอง ( ชื่อว่ารู้ชัดรากเหง้าของอกุศล ).
ถึงแม้ในคำนี้ว่า กุศล และรากเหง้าของกุศล ก็มีนัยนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 544
ในทุกวาระต่อจากวาระนี้ไป ก็เหมือนกับในวาระนี้ ควรทราบ
การรู้ชัดวัตถุ ด้วยสามารถแห่งกิจจญาณนั่นเอง.
บทว่า เอตฺตาวตาปิ ความว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือแม้ด้วยการ
รู้ชัดอกุศลเป็นต้นนี้ .
บทว่า สมฺมาทิฏฺิ โหติ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยโลกุตตร-
สัมมาทิฏฐิ มีประการดังกล่าวมาแล้ว.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า อริยสาวกนั้นมีความเห็นตรง ฯล ฯ ได้มาสู่
พระสัทธรรมนี้แล้ว เป็นอันท่านพระสารีบุตร จบการแสดงโดยย่นย่อ
ลงแล้ว. การแสดง ( ของท่าน ) นี้ ถึงจะย่นย่อ แต่ก็ควรทราบถึงการ
แทงตลอดด้วยมนสิการโดยชอบ ด้วยสามารถแห่งความพิสดารอยู่นั่นเอง
สำหรับภิกษุเหล่านั้น. ส่วนในทุติยวารถึงการแสดง (จะย่นย่อ) ก็ควร
ทราบถึงการแทงตลอด ด้วยมนสิการโดยชอบอย่างพิสดารว่า ได้เป็นไป
แล้วโดยพิสดารอยู่นั่นเอง.
ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกันว่า บรรดาการแสดงทั้ง ๒ อย่างนั้น ด้วย
การแสดงอย่างย่นย่อ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องต่ำไว้ทั้ง ๒
อย่าง ด้วยการแสดงอย่างพิสดาร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรค
เบื้องสูงไว้ ๒ อย่าง.
ในที่สุดแห่งการแสดงอย่างพิสดาร ภิกษุทั้งหลายเล็งเห็นคำ มีอาทิ
ว่า เพราะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง. แต่พระเถระได้กล่าวว่า
มรรคทั้ง ๔ ได้กล่าวไว้แล้ว โดยเป็นหมวดด้วยการแสดงอย่างย่อก็มีด้วย
การแสดงอย่างพิสดารก็มี.
อนึ่ง การแสดงทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดารนี้ใด เป็นการแสดงที่ข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 545
ได้การทำการวิจารณ์ไว้โดยละเอียดแจ่มแจ้งแล้ว ในที่นี้การแสดงนั้น พึง
ทราบตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในที่นี้ทุก ๆ วาระเทอญ. เพราะว่าต่อแต่นี้
ไป ข้าพเจ้าจักทำเพียงการขยายความเฉพาะบทที่ยาก ที่ยังไม่ได้ ( อธิบาย)
เท่านั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในการแสดงโดยพิสดาร ซึ่งปฐมวารในจำนวน
วาระเหล่านั้นก่อน.
ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ปาณาติบาตนั้นแหละคุณ เป็นอกุศล. อกุศล
พึงทราบได้จากความเป็นไปโดยความไม่ฉลาด. อกุศลนั้นพึงทราบโดย
(เป็นธรรม) ทรงกันข้ามกับกุศลที่จะต้องกล่าวข้างหน้า หรือโดยลักษณะ
พึงทราบ (ว่าเป็น) สิ่งที่มีโทษและมีวิบากเป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่เศร้าหมอง.
นี้เป็นการขยายบททั่วไปในอกุศลวาระนี้ก่อน.
แก้ปาณาติบาต
ส่วนในบทเฉพาะ (ไม่ทั่วไป) พึงทราบวินิจฉัยว่า การยังสัตว์.
ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป ชื่อว่า ปาณาติบาต ได้แก่ การฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต
อธิบายว่า การทำลายสัตว์ที่มีชีวิต. ก็คำว่า ปาณะ ในคำว่า ปาณาติปาโต
นี้ โดยโวหาร ได้แก่สัตว์ แต่โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์
ส่วนเจตนาที่จะฆ่าของผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้นว่า เป็นสัตว์
มีชีวิต อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ที่เป็น
ไปทางกายทวาร หรือวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่า ปาณาติบาต.
ปาณาติบาตนั้น พึงทราบว่า มีโทษน้อย ในเพราะสัตว์มีชีวิต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 546
ตัวเล็ก ในจำนวนสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย มีเดียรัจฉานเป็นต้นที่ปราศจากคุณ
แต่พึงทราบว่ามีโทษมาก ในเพราะสัตว์มีชีวิตตัวใหญ่.
เพราะเหตุไร ?
เพราะมีประโยคใหญ่ (มีวิธีการมาก).
แม้เมื่อมีประโยคเสมอกัน ปาณาติบาตพึงทราบว่ามีโทษมาก เพราะ
วัตถุใหญ่ (ตัวใหญ่). ในจำพวกสัตว์ที่มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น ในเพราะ.
สัตว์มีคุณน้อย ปาณาติบาตก็พึงทราบว่ามีโทษน้อย ในเพราะสัตว์มีคุณ
มาก ก็พึงทราบว่ามีโทษมาก. แต่เมื่อสรีระและคุณมีความเสมอกัน
ปาณาติบาตพึงทราบว่ามีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายามอ่อน พึง
ทราบว่ามีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า.
ปาณาติบาตนั้นมีองค์ประกอบ ๕ คือ สัตว์มีชีวิต ๑ ความรู้ว่า
สัตว์มีชีวิต ๑ จิตคิดจะฆ่า ๑ ความพยายาม (ฆ่า) ๑ สัตว์ตายเพราะ
ความพยายามนั้น ๑.
ประโยคแห่งการฆ่า มี ๖ คือ สาหัตถิกประโยค (ฆ่าด้วยมือของ
ตนเอง ) ๑ อาณัตติกประโยค ( ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า) ๑ นิสสัคคิยประโยค
(ฆ่าด้วยสาตราวุธที่พุ่งหรือปล่อยออกไป) ๑ ถาวรประโยค (ฆ่าด้วย
เครื่องมือดักอยู่กับที่) ๑ วิชชามยประโยค (ฆ่าด้วยอำนาจวิชา) ๑
อิทธิมยประโยค (ฆ่าด้วยฤทธิ์) ๑.
แต่ครั้นจะอธิบายประโยคนี้ให้พิสดารในปฐมวาระนี้ ก็จะยืดยาวไป
มาก เพราะฉะนั้น จะไม่ขออธิบายประโยคนั้นและอย่างอื่นที่เป็นแบบนี้
ให้พิสดาร ส่วนผู้มีความต้องการ พึงตรวจดูสมันตปสาทิกาอรรถกถา
พระวินัยเอาเถิด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 547
แก้อทินนาทาน
การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อว่าอทินนาทาน การลักของ ๆ
ผู้อื่น ชื่อว่าเถยยะ อธิบายว่า เป็นกิริยาของโจร.
บทว่า อทินฺน ได้แก่ของที่ผู้อื่นหวงแหนซึ่งคนอื่น (เจ้าของ )
เมื่อใช้ตามที่ต้องการ ก็ไม่ควรได้รับทัณฑ์และไม่ควรถูกตำหนิ.
ส่วนเจตนาที่จะลักของผู้มีความสำคัญในของที่ผู้อื่นหวงแหนนั้นว่า
เป็นของที่เขาหวงแหน อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะถือเอาสิ่ง
ของที่เจ้าของไม่ได้ให้นั้น ชื่อว่า อทินนาทาน.
อทินนาทานนั้น มีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของ ๆ ผู้อื่นที่เลว ชื่อว่า
มีโทษมาก ในเพราะสิ่งของของผู้อื่นประณีต.
เพราะเหตุไร ?
เพราะว่าเป็นสิ่งของประณีต.
เมื่อมีความเสมอกันแห่งวัตถุ ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสิ่งของ
ที่มีอยู่ของผู้มีคุณยิ่ง. อทินนาทานนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของ
ที่มีอยู่ของผู้มีคุณต่ำกว่านั้น เพราะเปรียบเทียบกับผู้มีคุณยิ่งนั้น.
อทินนาทานนั้น มีองค์ประกอบ ๕ ประการ คือของที่คนอื่นหวง
แหน ๑ ความรู้ว่าเป็นของที่คนอื่นหวงแหน ๑ จิตคิดจะลัก ๑ ความ
พยายาม (จะลัก) ๑ ลักของได้มาด้วยความพยายามนั้น ๑.
ก็ประโยค ( การประกอบอทินนาทาน) มี ๖ อย่าง มีสาหัตถิก-
ประโยค เป็นต้น. ก็ประโยคเหล่านั้นแลเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่ง
อวหาร ( การลัก ) เหล่านี้ คือ เถยยาวหาร ( ลักโดยการขโมย ) ๑
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 548
ปสัยหาวหาร (ลักโดยการกรรโชก) ๑ ปฏิจฉันนาวหาร (ลักโดยการ
ปิดช่องสิ่งของ) ๑ ปริกัปปาวหาร (ลักโดยการกำหนดสิ่งของหรือเวลา)
๑ กุสาวหาร (ลักโดยการสับเปลี่ยน) ๑ ข้อความดังที่กล่าวมาแล้วนี้
เป็นข้อความสังเขปในอวหารนี้. ส่วนความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วใน
อรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกา.
แก้กาเมสุมิจฉาจาร
ก็บทว่า กาเมสุ ในข้อว่า กาเมสุมิจฺฉาจาโร นี้ ได้แก่ เมถุน-
สมาจาร. ความประพฤติลามกที่บัณฑิตตำหนิโดยส่วนเดียว ชื่อว่า
มิจฉาจาร.
แต่โดยลักษณะเจตนาที่ล่วงเกินอคมนียฐาน (คนที่ต้องห้าม) ที่เป็น
ไปทางกายทวาร ด้วยความประสงค์ต่ออสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร.
ก่อนอื่น (หญิง) ที่ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (หญิงที่ต้องห้าม)
สำหรับผู้ชายในกาเมสุมิจฉาจารนี้ ได้แก่หญิง ๒. จำพวก คือ หญิงที่มี
มารดารักษาเป็นต้น.
หญิง ๑๐ จำพวก คือ หญิงที่มารดารักษา ๑ ที่บิดารักษา ๑ ที่ตั้ง
มารดาและบิดารักษา ๑ ที่พี่ชายน้องชายรักษา ๑ ที่ญาติรักษา ๑ ที่
โคตรรักษา ๑ ที่ธรรมรักษา ๑ ที่มีการอารักขา ๑ ที่มีอาชญารอบด้าน
(อยู่ในกฎมณเฑียรบาล) ๑.
และหญิงอีก ๑๐ จำพวก มีหญิงที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้
คือ ภรรยาที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ ( ภรรยาสินไถ่) ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 549
พอใจ ๑ ที่อยู่ด้วยก้นเพราะโภคะ ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะเครื่องนุ่งห่ม ๑
ที่ผู้ปกครองเต็มใจยกให้ ๑ ที่ชายยกเทริดลงจากศีรษะ ๑ ที่เป็นทั้งภรรยา
เป็นทั้งทาส ๑ ที่เป็นทั้งภรรยาเป็นทั้งลูกจ้าง ๑ ที่เป็นเชลยศึก ๑ ที่อยู่
ด้วยกันเพียงครู่เดียว ๑.
ส่วนชายอื่น นอกจากสามีของคน ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (ชาย
ต้องห้าม) สำหรับหญิง ๑๒ จำพวก คือ ๒ จำพวกสำหรับหญิงมีอารักขา
และหญิงมีอาชญารอบด้าน และ ๑๐ จำพวกสำหรับภรรยาที่ไถ่มาด้วย
ทรัพย์เป็นต้น ในจำนวนหญิงทั้งหลาย ( ๑๐ จำพวก) สำหรับภรรยา.
อนึ่ง มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะอคมนียฐาน
(ผู้ต้องห้าม) ปราศจากคุณธรรม มีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะ
ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีศีลธรรมเป็นต้น.
กาเมสุมิจฉาจารนั้น มีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือ เป็นบุคคลต้อง
ห้าม ๑ จิตคิดจะเสพในบุคคลต้องห้ามนั้น ๑ การประกอบการเสพ ๑
การยังมรรคให้ดำเนินไปในมรรคหรือหยุดอยู่ ๑ ประโยคมีอย่างเดียว คือ
สาหัตถิกประโยคเท่านั้น.
แก้มุสาวาท
กายประโยคหรือวจีประโยค ที่หักรานประโยชน์ (ผู้อื่น) ของผู้
มุ่งจะพูดให้ผิด ชื่อว่า มุสา. เจตนาของผู้พูดให้ผิดต่อผู้อื่น ด้วยประสงค์
จะให้เข้าใจผิด มีกายประโยคและวจีประโยคเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า มุสาวาท.
อีกนัยหนึ่ง เรื่องไม่จริง ไม่แท้ ชื่อว่า มุสา (เรื่องเท็จ ). การ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 550
ให้ (ผู้อื่น) เข้าใจเรื่องเท็จนั้น ว่าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ ชื่อว่า วาทะ
(การพูด) แต่โดยลักษณะ เจตนาของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่
ไม่จริงว่าเป็นเรื่องจริง อันเป็นสมุฏฐานแห่งวิญญัติ (การเคลื่อนไหว)
อย่างนั้น ชื่อว่า มุสาวาท (การพูดเท็จ ).
มุสาวาทนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่คนหักรานมี
จำนวนน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวน
มาก.
อีกอย่างหนึ่ง สำหรับคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยมี
อาทิว่า ไม่มีเพราะไม่ประสงค์จะให้ของ ๆ ตน (แก่คนอื่น) มีโทษน้อย
ที่กล่าวเบิกพยานเพื่อหักล้างประโยชน์ (ของคู่ความ) มีโทษมาก, สำหรับ
บรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยแห่งบูรณากถา (พูดให้เต็ม
ความหรือเล่นสำนวน) ว่าวันนี้ น้ำมันในบ้านเห็นจะไหลเป็นแม่น้ำนะ
ด้วยความประสงค์จะให้หัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสน้อยไป มีโทษ
น้อย แต่ของผู้พูดโดยนัยมีอาทิว่า สิ่งที่ไม่ได้เห็นเลย ว่าได้เห็น มีโทษ
มาก.
มุสาวาทนั้น มีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือเรื่องไม่จริง ๑ ตั้งใจ
พูดให้ผิด ๑ พยายามพูด ๑ ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น ๑. ประโยคมี
ประโยคเดียว คือสาหัตถิกประโยคเท่านั้น. ประโยคนั้นพึงเห็นว่า ได้แก่
การแสดงกิริยาของผู้จะพูดให้ผิดต่อผู้อื่นด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย
หรือด้วยวาจา. ถ้าหากผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น กิริยานี้ชื่อว่า
เนื่องด้วยมุสาวาทกรรม ในขณะแห่งเจตนาที่มีกิริยาเป็นสมุฏฐานนั้นเอง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 551
แก้ปิสุณาวาจา
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้น. วาจาที่เป็นเหตุให้
หัวใจของบุคคลผู้ที่คนพูดด้วย เกิดความรักตนและเกลียดชังคนอื่น ชื่อว่า
ปิสุณาวาจา.
ส่วนวาจาที่เป็นเหตุทำให้ตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคายและวาจา
ที่หยาบคายเอง คือไม่ไพเราะโสต หรือไม่ชื่นใจ (ผู้ฟัง) นี้ชื่อว่า
ผรุสวาจา.
วาทะที่เป็นเหตุให้เจรจาเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัป-
ปลาป ถึงเจตนาที่เป็นมูลฐานของการกล่าวคำหยาบและคำเพ้อเจ้อเหล่า
นั้น ก็ได้นามว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้นอยู่นั่นเอง. และในที่นี้ก็ประสงค์
เอาเจตนานั้นแล.
เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจี-
ประโยค เพื่อทำลายชนเหล่าอื่นหรือเพื่อประสงค์จะทำคนให้เป็นที่รักของ
ผู้อื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจาในวจีกรรมนั้น. ปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษ
น้อย เพราะผู้ถูกทำให้แตกกันนั้น มีคุณธรรมน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก
เพราะมีคุณธรรมมาก.
ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ ผู้ต้องถูกทำลาย
เป็นคนอื่น ๑ ความมุ่งหน้าจะทำลายด้วยประสงค์ว่า คนเหล่านี้จักเป็น
ผู้แตกแยกจากกัน ด้วยอุบายอย่างนี้ หรือความประสงค์ว่าเราจักเป็นที่รัก
เป็นที่คุ้นเคย (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้ (รวมเป็นองค์) ๑ ความ
พยายามที่เกิดจากความตั้งใจนั้น ๑ การที่เขาเข้าใจเนื้อความนั้น ๑.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 552
แก้ผรุสวาจา
เจตนาที่หยาบคายโดยส่วนเดียว ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยค
และวจีประโยค อันเป็นเหตุตัดรอนความรักของคนอื่น ชื่อว่าผรุสวาจา
เพื่อความแจ่มชัดแห่งผรุสวาจานั้น ต้องสาธกเรื่องนี้.
ได้ทราบว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของมารดา (ขืน) เข้าป่าไป.
มารดาเมื่อไม่สามารถจะให้เขากลับได้ จึงคำว่า ขอให้แม่กระบือดุร้าย
จงไล่ขวิดมึง. ภายหลังแม่กระบือได้ปรากฏแก่เขาเหมือนอย่างที่แม่ว่านั่น
แหละ. เด็กจึงทำสัจจกิริยาว่า คุณแม่ของข้าพเจ้ากล่าวอย่างใดด้วยปาก
ขออย่าเป็นอย่างนั้น แต่คิดอย่างใดด้วยใจ ขอให้เป็นอย่างนั้น. แม่กระบือ
ได้หยุดชะงักอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเองเหมือนถูกผูกไว้.
วจีประโยคแม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคำรัก (คำที่พาดถึงสิ่งที่รัก) ดัง
ที่พรรณนามานี้ ก็ไม่เป็นผรุสวาท เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยน. จริงอยู่
บางครั้งพ่อแม่ว่าลูกก ๆ อย่างนี้ว่า ขอให้พวกโจรฟันพวกเองให้ขาดเป็น
ท่อน ๆ ไปเถิด ถึงอย่างนั้น แม้แต่เพียงกลีบดอกอุบลก็ไม่ประสงค์จะให้
อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกผู้อยู่อาศัยทั้งหลายว่า พวกนี้จะพูดอะไรกัน
ก็ไม่มียางอาย ไม่มีความเกรงกลัว สูเจ้าทั้งหลาย จงไล่เขาไปเสีย. แต่
ถึงกระนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้นก็ยังปรารถนาสมบัติคืออาคม
(ปริยัติ) และอธิคม (ปฏิเวธ) แก่อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกเหล่านั้น
อยู่.
อนึ่ง วจีประโยคไม่เป็นผรุสวาจา เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยนฉันใด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 553
จะไม่เป็นผรุสวาจาเพราะผู้พูดมีคำพูดอ่อนหวานฉันนั้นก็หามิได้ เพราะว่า
คำพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า แกจงให้คนนี้นอนสบายเถิด ดังนี้
ไม่ใช่ไม่เป็นผรุสวาจา แต่วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว เพราะผู้พูดมีจิต
หยาบคาย.
ผรุสวาจานี้ ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่ผรุสวาทีบุคคลพูดหมายถึง
เป็นผู้มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีคุณมาก.
ผรุสวาจานั้น มีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ ผู้ที่จะต้องถูกด่า
เป็นคนอื่น ๑ จิตขุ่นเคือง ๑ การด่า ๑.
แก้สัมผัปปลาปะ
ความจงใจที่เป็นอกุศล ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจี-
ประโยค ที่ยังผู้อื่นให้เข้าใจคำพูดที่ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ
สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้พูดมีอาเสวนะอ่อน (ความ
เคยชินน้อย) ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้พูดมีอาเสวนะมาก ( ความเคย
ชินมาก).
สัมผัปปลาปะนั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ ความมุ่งหน้า
ที่จะพูดถ้อยคำไร้ประโยชน์ มีเรื่องสงความภารตะ และเรื่องการลักพา
นางสีดา (เรื่องรามเกียรติ์) เป็นต้น ๑ การกล่าวถ้อยคำชนิดนั้น ๑.
แก้อภิชฌา
เจตนาชื่อว่า อภิชฌา เพราะเพ่งเล็ง อธิบายว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเป็นผู้มุ่งหน้าเพ่งเล็งเฉพาะภัณฑะของผู้อื่นแล้วน้อมภัณฑะนั้นมา.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 554
อภิชฌานั้นมีลักษณะเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้
จะพึงเป็นของเรา. อภิชฌานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือน
กับอทินนาทาน.
อภิชฌานั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ ของของผู้อื่น ๑
น้อมสิ่งนั้นมาเพื่อตน ๑.
อธิบายว่า ถึงจะเกิดความโลภที่มีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้งขึ้น
กรรมบถก็ยังไม่ขาดจนกว่าจะน้อมมาเพื่อคนว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้จะพึง
เป็นของเรา.
แก้พยาบาท
บาปธรรมชื่อว่า พยาบาท เพราะยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุข
ให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้นมีลักษณะประทุษร้าย เพื่อความพินาศ
ของผู้อื่น. พยาบาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนกับ
ผรุสวาจา.
พยาบาทนั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ สัตว์อื่น ๑ ความคิด
ที่จะให้สัตว์นั้นพินาศ ๑.
อธิบายว่า ถึงจะเกิดความโกรธที่มีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้งขึ้น กรรมบถ
ก็ยังไม่ขาด ตลอดเวลาที่ผู้โกรธยังไม่คิดให้สัตว์นั้นพินาศว่า ไฉนหนอ
สัตว์นี้จะพึงขาดสูญพินาศไป.
แก้มิจฉาทิฏฐิ
เจตนาชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นผิด โดยไม่มีการถือเอาตาม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 555
ความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้น มีลักษณะเห็นผิด โดยนัยมีอาทิว่า ทาน
ที่ให้แล้ว ไม่มีผล. มิจฉาทิฏฐินั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก
เหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิที่ไม่แน่นอน (ยังไม่ดิ่ง)
ชื่อว่ามีโทษน้อย ที่แน่นอน ( ดิ่ง ) ชื่อว่ามีโทษมาก.
มิจฉาทิฏฐินั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ การที่เรื่องผิดไป
จากอาการที่ยึดถือ ๑ การปรากฏขึ้นแห่งเรื่องนั้น โดยไม่เป็นอย่างที่
มิจฉาทิฏฐิกบุคคลยึดถือ ๑.
วินิจฉัยโดยอาการ ๕ อย่าง
อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ เหล่านี้ โดยอาการ
๕ อย่าง คือ โดยธรรมะ ( ธมฺมโต) ๑ โดยโกฏฐาสะ (โกฏฺฐาสโต) ๑
โดยอารมณ์ (อารมฺมณโต) ๑ โดยเวทนา (เวทนาโต) ๑ โดยเค้ามูล
(มูลโต) ๑.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต มีเนื้อความว่า ความจริงใน
จำนวนกรรมบถ ๑๐ อย่างเหล่านี้ กรรมบถ ๗ ข้อ ตามลำดับ (กาย-
กรรม ๓ วจีกรรม ๔ ) เป็นเจตนาธรรมตรงตัว ส่วนกรรมบถ ๓ อย่าง
มีอภิชฌา เป็นต้น เป็นตัวประกอบเจตนา.
บทว่า โกฏฺาสโต ความว่า กรรมบถ ๗ ข้อตามลำดับ และ
มิจฉาทิฏฐิอีก ๑ รวมเป็น ๘ ข้อนี้ เป็นกรรมบถอย่างเดียว ไม่เป็นมูล
(รากเหง้าของอกุศล) ส่วนอภิชฌากับพยาบาท (๒ ข้อนี้) เป็นทั้ง
กรรมบถ เป็นทั้งมูล (รากเหง้าของอกุศล). อธิบายว่า เพราะเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 556
รากเหง้า อภิชฌาจึงเป็นโลภกุศลมูล พยาบาทเป็นโทสอกุศลมูล.
บทว่า อารมฺมณโต ความว่า ปาณาติบาต มีสังขารเป็นอารมณ์
เพราะมีชีตินทรีย์เป็นอารมณ์ อทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มี
สังขารเป็นอารมณ์บ้าง มิจฉาจาร มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่ง
โผฏฐัพพะ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ก็มี. มุสาวาท
มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน
ผรุสวาจา มีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว สัมผัปปลาปะ มีสัตว์เป็นอารมณ์
บ้าง ด้วยอำนาจแห่งรูปที่ได้เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส และ
โผฏฐัพพะที่ได้ทราบแล้ว และธรรมารมณ์ที่ได้รู้แล้ว อภิชฌาก็เหมือน
กัน (แต่ ) พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว (ส่วน) มิจฉาทิฏฐิ
มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓.
บทว่า เวทนาโต ความว่า ปาณาติบาต มีเวทนาเป็นทุกข์. เพราะ
ว่า พระราชาทั้งหลายทรงเห็นโจรแล้ว ถึงจะทรงกระหยิ่มอยู่พลางรับสั่ง
ว่า ไป เอามันไปสังหาร ดังนี้ก็จริง แต่ถึงกระนั้น เจตนาที่เป็นตัวการ
ให้ตกลงปลงพระทัยของพระราชาเหล่านั้น เป็นเจตนาที่ประกอบด้วยทุกข์
อยู่นั้น.
อทินนาทาน มีเวทนา ๓. มิจฉาจาร มีเวทนา ๒ ด้วยอำนาจ
แห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. แต่ไม่ใช่มีเวทนาเป็นอุเบกขา ใน
เพราะจิตเป็นตัวการให้ตกลงปลงใจ. มุสาวาทมีเวทนา ๓. ปิสุณาวาจา
ก็เหมือนกัน. ผรุสวาจามีเวทนาเป็นทุกข์อย่างเดียว. สัมผัปปลาปะ มี
เวทนา ๓. อภิชฌามีเวทนา ๒ ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขา-
เวทนา. มิจฉาทิฏฐิก็เหมือนกัน. (แต่) พยาบาท มีเวทนาเป็นทุกข์.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 557
แก้อกุศลมูล
บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาต มีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูล
ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ. อทินนาทาน (มีอกุศล ๒ อย่างเป็น
มูล ) ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ หรือด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ
มิจฉาจาร (มีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูล ) ด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ.
มุสาวาท ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะหรือโลภะและโมหะ. ปิสุณาวาจา
และสัมผัปปลาปะก็เหมือนกัน (กับมุสาวาท). ผรุสวาจา ด้วยอำนาจ
แห่งโทสะและโมหะ. อภิชฌา มีอกุศลอย่างเดียวเป็นมูล ด้วยอำนาจแห่ง
โมหะ. พยาบาทก็เหมือนกัน (กับอภิชฌา). ( แต่ ) มิจฉาทิฏฐิ มีอกุศล
๒ อย่างเป็นมูล ด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ ดังนี้แล.
พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า โลโภ อกุสลมูล เป็นต้น (ดังต่อไปนี้)
อกุศลธรรม ชื่อว่าโลภะ เพราะอยากได้. ชื่อว่าโทสะ เพราะ
ประทุษร้าย. ชื่อว่าโมหะ เพราะหลง.
ในจำนวนอกุศลธรรมทั้ง ๓ อย่างเหล่านั้น โลภะ ชื่อว่าเป็นอกุศล -
มูล เพราะตัวมันเองเป็นทั้งอกุศล เพราะอรรถว่า มีโทษและมีทุกข์เป็น
วิบาก เป็นทั้งรากเหง้าของอกุศลธรรมเหล่านี้ มีปาณาติบาตเป็นต้น
เพราะอรรถว่า เป็นสภาพแห่งสัมปยุตธรรมของอกุศลลางเหล่า และเพราะ
อรรถว่า เป็นอุปนิสสยปัจจัยของอกุศลธรรมลางอย่าง. สมจริงตามคำ
ที่ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า คุณ ผู้กำหนัดมากแล้ว ถูกราคะครอบงำ
แล้ว มีจิตถูกราคะรึงรัดแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์มีชีวิตได้ ดังนี้เป็นต้น แม้ใน
การที่โทสะและโมหะเป็นอกุศลมูล ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 558
แก้กุศลกรรมบถ
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปาณาติปาตา เวรมณี กุสล (เจตนา
งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล) เป็นต้น ดังต่อไปนี้ อกุศลกรรมบถ
ทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้น มีอรรถาธิบายดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้ว
นั้นแหละ.
เจตนาชื่อว่า เวรมณี เพราะย่ำยีเวร อธิบายว่า ละเวรได้
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเว้น จากเวรได้เพราะเจตนานี้เป็นเหตุ เพราะเหตุนั้น
เจตนานั้น จึงชื่อว่า เวรมณี โดยเปลี่ยน วิ อักษร ให้เป็น เว อักษร ไป
นี้เป็นการขยายความในคำว่า เวรมณี นี้ โดยพยัญชนะก่อน ส่วนการ
ขยายความโดยอรรถ (ความหมาย) พึงทราบว่า วิรัติที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต
ชื่อว่าเวรมณี. วิรัติของผู้เว้นจากปาณาติบาตที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า การงด
การเว้นจากปาณาติบาต ในสมัยนั้น ดังนี้ ชื่อว่าเป็นวิรัติที่สัมปยุตด้วย
กุศลจิต.
แก้วิรัติ ๓
วิรัตินั้นแยกประเภทออกเป็น ๓ อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ ๑ สมาทาน-
วิรัติ ๑ สมุจเฉทวิรัติ ๑. ในจำนวนวิรัติทั้ง ๓ นั้น วิรัติที่เกิดขึ้นแก่
ผู้ไม่ได้สมาทานสิกขาบททั้งหลาย (มาก่อน) แต่ได้พิจารณาถึงชาติ วัย
และการคงแก่เรียนเป็นต้นของตนแล้ว เห็นว่า ไม่เหมาะแก่เรา การ
ทำอย่างนี้ แล้วไม่ล่วงเกินสิ่งที่เผชิญเข้า พึงทราบว่า เป็นสัมปัตตวิรัติ
เหมือนวิรัติของจักกนะอุบาสกในสีหลทวีป
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 559
นิทานประกอบสัมปัตตวิรัติ/H1
ได้ทราบว่า ในเวลาเขายังหนุ่มอยู่นั้นแหละ มารดาของเขาเกิดโรค
และหมอบอกว่า ควรจะได้เนื้อกระต่ายสด ๆ (มาประกอบยา). ลำดับนั้น
พี่ชายของจักกนะสั่งว่า ไปเถอะเจ้าจงไปนา แล้วส่งจักกนะไป. เขาก็
ได้ไปที่นานั้น. และเวลานั้นมีกระต่ายตัวหนึ่งมาเล็มหญ้าอ่อนอยู่. มันเห็น
เขาแล้วรีบวิ่งหนีไป แต่ไปข้องเถาวัลย์ จึงส่งเสียงร้อง แกร่ก แกร่ก
( กริ กริ) ขึ้น. จักกนะตามเสียงนั้นไป จับกระต่ายไว้ได้ ตั้งใจว่า
จะเอามาทำยาให้แม่ แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาว่าไม่เป็นการสมควรสำหรับเขาที่จะ
ทำลายชีวิตสัตว์อื่นแลกชีวิตแม่ของเรา. จึงพูดว่า ไปเถิดเจ้าไปกินหญ้า
กินน้ำร่วมกับกระต่ายทั้งหลายในป่าเถิดแล้วปล่อยมันไป และเมื่อกลับ
ถึงบ้าน เขาถูกพี่ชายถามว่า เป็นอย่างไรน้อง ได้กระต่ายไหม ? จึงได้
บอกความเป็นไปนั้นให้ทราบ. บัดนั้น พี่ชายก็ได้บริภาษเขา. เขาเข้าไป
หาแม่แล้ว ได้ยืนตั้งสัตยาธิษฐานว่า ข้าพเจ้าตั้งแต่เกิดมาจำความได้
ไม่เคยจงใจฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลย. ทันใดนั้น แม่ของเขาได้หายจากโรค.
แต่วิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้สมาทานสิกขาบทมาแล้ว ถึงจะสละชีพ
ของตน ในเวลาสมาทานสิกขาบทและเวลาถัดจากนั้นไป ก็ไม่ล่วงเกิน
วัตถุ พึงทราบว่า เป็นสมาทานวิรัติ เหมือนวิรัติของอุบาสก ชาวเขา
อุตรวัฑฒมานะ.
นิทานประกอบสมาทานวิรัติ
ได้ทราบว่า อุบาสกนั้นรับสิกขาบทในสำนักของท่านปิงคลพุทธ-
รักขิตเถระชาวอัมพริยวิหารแล้วไปไถนา. ต่อมา โคของเขาหายไป.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 560
เขาเมื่อตามหามัน ได้ขึ้นภูเขาอุตรวัฑฒมานะ. งูใหญ่ได้รัดเขาอยู่บนภูเขา
นั้น. เขาคิดว่า จะเอามีดที่คมนี้ตัดหัวมัน แต่ก็ยังคิดอีกว่า การที่สมาทาน
สิกขาบทในสำนักของครูผู้น่านับถือแล้ว ทำลายเสียไม่สมควรเลย. ครั้น
คิดอย่างนี้ถึง ๓ ครั้งแล้วก็ตัดสินใจว่า เราจะสละชีวิต ไม่ยอมสละสิกขาบท
(ศีล) แล้ว ได้ขว้างมีดโต้เล่มที่แบกมาอยู่บนบ่าเข้าป่าไป. ทันใดนั้น
งูใหญ่ก็ได้คลายตัวออกแล้วเลื้อยไป.
แก้สมุจเฉทวิรัติ และกุศลกรรมบท
ส่วนวิรัติที่สัมปยุตด้วยอริยมรรคพึงทราบว่า เป็นสมุจเฉทวิรัติ ซึ่ง
จำเดิมแต่เกิดแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลายไม่เคยแม้แต่จะเกิดความคิดว่า
เราจักฆ่าสัตว์มีชีวิต ดังนี้. แต่วิรัตินี้นั้นท่านเรียกว่า กุศล เพราะเป็น
ไปแล้วด้วยความฉลาด. อีกอย่างหนึ่งท่านเรียกว่า กุศล เพราะตัดซึ่ง
ความทุศีล ที่ได้โวหารว่า กุศะ เพราะเป็นที่หมักหมมความชั่วร้ายบ้าง.๑
แต่ไม่ได้เรียกว่ากุศล เพราะไม่เหมาะสมกับปัญหานี้ว่า คุณ กุศลเป็น
อย่างไร ?
วินิจฉัยโดยอาการ ๕ อย่าง
อนึ่ง กุศลกรรมบถแม้เหล่านี้ ก็ควรทราบวินิจฉัยโดยอาการ ๕
อย่าง คือ โดยธรรม ( ธมฺมโต ) ๑ โดยโกฏฐาส (โกฏฺฐาสโต) ๑
โดยอารมณ์ (อารมฺมณโต) ๑ โดยเวทนา (เวทนาโต) ๑ โดยเค้ามูล
(มูลโต) ๑ เหมือนกับอกุศลกรรมบถทั้งหลาย.
๑. ปาฐะว่า กุจฺฉิตสฺส สลนโต วา กุสลนฺติ.. ฉบับพม่าเป็น กุจฺฉิตสยฺโต วา กุสนฺติ.. จึง
ได้แปลตามฉบับพม่า เพราะเห็นว่าได้ความดีว่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 561
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต ความว่า ในจำนวนกุศล.
กรรมบถแม้เหล่านี้ กรรมบถ ๗ ประการตามลำดับเป็นตัวเจตนา ก็ถูก
แต่วิรัติทั้ง ๓ ตอนสุดท้าย (มโนกรรม ๓) เป็นธรรมสัมปยุตด้วย
เจตนา.
บทว่า โกฏฺาสโต ความว่า กุศลธรรม ๗ ประการตามลำดับ
เป็นกรรมบถอย่างเดียวไม่เป็นรากเหง้า ( กุศล). (แต่) กุศลธรรม ๓ ประ-
การตอนท้าย เป็นทั้งกรรมบถ เป็นทั้งรากเหง้า (กุศล). อธิบายว่า
อนภิชฌา ถึงกรรมบถแล้ว จึงชื่อว่าเป็น อโลภะ กุศลมูล. แต่อัพยาบาท
ชื่อว่าเป็น อโทสะ กุศลมูล. ส่วนสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าเป็น อโมหะ กุศลมูล.
บทว่า อารมฺมณโต ความว่า อารมณ์ทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น
นั่นแหละ เป็นอารมณ์ของเวรมณี (เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น )
เหล่านั้น เพราะว่า เวรมณีจะมีได้ก็โดยได้เผชิญ กับวัตถุที่จะต้องก้าวล่วง
เท่านั้น อุปมาเสมือนหนึ่งว่า อริยมรรค (ต้อง) มีนิพพานเป็นอารมณ์
จึงจะละกิเลสได้ ฉันใด กรรมบถเหล่านี้ ก็พึงทราบว่า เป็นเช่นนั้น
เหมือนกัน (ต้อง) มีชีวิตินทรีย์เป็นต้น เป็นอารมณ์ จึงจะละทุศีล
มีปาณาติบาตเป็นต้นได้.
บทว่า เวทนาโต ความว่า กุศลกรรมบถทั้งหมด เป็นสุขเวทนา
บ้าง เป็นอุเบกขาเวทนาบ้าง เพราะว่าถึงกุศลแล้ว จะไม่มีทุกขเวทนา
(กรรมบถฝ่ายกุศลไม่มีให้ผลเป็นทุกข์).
บทว่า มูลโต ความว่า กรรมบถ ๗ จะมีมูล ๓ ตามอำนาจของ
อโลภะ อโทสะ และอโมหะ สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ
แต่มีมูล ๒ สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตที่ปราศจากญาณ. อนภิชฌามีมูล ๒
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 562
สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ มีมูลเดียวสำหรับผู้งดเว้นด้วยจิต
ที่ปราศจากญาณ แต่อโลภะ ตัวมันเองจะเป็นรากเหง้าของตนไม่ได้.
แม้ในอัพยาบาท ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.
สัมมาทิฏฐิมีมูล ๒ เหมือนกันตามอำนาจของอโลภะและอโทสะ
ดังนี้.
กุศลธรรมชื่อว่า อโลภะ ในคำว่า อโลโภ กุสลมูล เป็นต้น
เพราะไม่โลภ. คำว่า อโลโภ นี้ เป็นชื่อของธรรมที่เป็นฝ่ายตรงกัน
ข้ามกับโลภะ. ถึงในอโทสะและอโมหะ ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.
ในจำนวนกุศลมูลทั้ง ๓ อย่างนั้น อโลภะชื่อว่าเป็นกุศลมูล เพราะ
ตัวเองก็เป็นกุศล และชื่อว่าเป็นมูลของกุศลธรรมทั้งหลาย มีการงดเว้น
จากปาณาติบาตเป็นต้น เหล่านี้ด้วย เพราะอรรถว่า เป็นสภาพแห่ง
สัมปยุตธรรมของกุศลลางเหล่า และเพราะอรรถว่า เป็นอุปนิสสยปัจจัย
ของกุศลธรรมลางเหล่า. ในความที่อโทสะและอโมหะเป็นกุศลมูล ก็นัย
เดียวกันนี้แหละ.
อริยสัจในกรรมบถ
บัดนี้ ท่านพระสารีบุตร เมื่อจะย้ำเนื้อความนั้นทั้งหมด ที่ท่านได้
แสดงไว้แล้วทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร จึงได้กล่าวอัปปนาวาระไว้มีอาทิว่า
ยโต โข อาวุโส ดังนี้ .
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว อกุสล ปชานาติ ความว่า รู้ชัด
อกุศล ด้วยสามารถแห่งอกุศลกรรมบถ ๑๐ ตามที่ได้แสดงไว้แล้วอย่างนี้.
ถึงในบทมีอาทิว่า เอว อกุสลมูล ก็นัยเดียวกันนี้แหละ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 563
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือด้วยนัยอย่างเดียวกัน เป็นอันท่านพระ
สารีบุตรได้กล่าวถึงกรรมฐานเป็นเหตุนำสัตว์ออกไป (จากภพ) จนถึง
พระอรหัต สำหรับผู้บำเพ็ญกรรมฐาน มีจตุราริยสัจเป็นอารมณ์.
กล่าวไว้อย่างไร ?
กล่าวไว้ว่า ความจริง อกุศลกรรมบถ ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐
เว้นอภิชฌา (ท่านกล่าวว่า) เป็นทุกขสัจในกรรมบถวาระนี้ ส่วนธรรม
ทั้ง ๒ อย่างเหล่านี้ คือ อภิชฌา ๑ โลภะที่เป็นอกุศลมูล ๑ (ท่าน
กล่าวว่า) เป็นสมุทัยสัจโดยตรง. แต่กรรมบถทั้งหมด (ท่านกล่าวว่า)
เป็นทุกขสัจโดยอ้อม. กุศลมลและอกุศลมูลทั้งหมด (ท่านกล่าวว่า)
เป็นสมุทัยสัจ. ความไม่เป็นไปแห่งกุศลมูลและอกุศลมูลทั้ง ๒ (ท่าน
กล่าวว่า) เป็นนิโรธสัจ. เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ เมื่อละสมุทัย เมื่อรู้แจ้ง
นิโรธ อริยมรรค (ท่านกล่าวว่า) เป็นมรรคสัจ สัจจะทั้ง ๒ ท่านได้
กล่าวไว้แล้วโดยสรุป ดังที่พรรณนามานี้. ส่วนสัจจะ ๒ อย่าง (นิโรธ
มรรค) พึงทราบด้วยสามารถแห่งการไม่หมุนกลับ.
บทว่า โส สพฺพโส ราคานุสย ปหาย (เธอละราคานุสัยได้
โดยประการทั้งปวง) ความว่า เธอรู้ชัดอกุศลเป็นต้น อยู่อย่างนี้ จะละ
ราคานุสัยได้โดยอาการทุกอย่าง.
บทว่า ปฏิฆานุสย ปฏิวิโนเทตฺวา (บรรเทาปฎิฆานุสัย) มีคำ
ที่ท่านกล่าวไว้ว่า นำปฏิฆานุสัยออกได้โดยประการทั้งปวงทีเดียว ด้วย
คำเพียงเท่านี้ พระเถระได้กล่าวถึงอนาคามิมรรค.
บทว่า อสฺมีติ ทิฏฺิมานานุสย สมูหนิตฺวา (ถอนทิฏฐิมานา-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 564
นุสัยว่า เรามี ออกไป) ความว่า เพิกถอนทิฏฐิมานานุสัยที่เป็นไปโดย
อาการถือรวมกันนี้ว่า เรามี โดยกระทำธรรมบางประการในขันธ์ ๕
ไม่ให้ตกต่ำ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺิมานานุสย ท่านอธิบายไว้ว่า
ได้แก่มานานุสัยที่เช่นกับทิฏฐิ. เพราะว่ามานานุสัยนี้ เป็นเช่นเดียวกับ
ทิฏฐิ เพราะมีลักษณะเป็นไปแล้วว่า เรามี เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าว
ไว้อย่างนี้. อนึ่ง ผู้ประสงค์จะเข้าใจอัสมิมานะนี้โดยพิสดาร ควรตรวจดู
เขมกสูตร ในขันธกวรรคเทอญ.
บทว่า อวิชฺช ปหาย ความว่า ละอวิชชาที่เป็นรากเหง้าของ
วัฏฏะ.
บทว่า วิชฺช อุปฺปาเทตฺวา ความว่า ให้วิชชาคืออรหัตตมรรค
ซึ่งห้ำหั่นอวิชชานั้นเกิดขึ้น. ด้วยคำเพียงเท่านี้ท่านพระสารีบุตรได้กล่าว
ถึงอรหัตตมรรค.
ข้อว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ทุกฺขสฺสนฺตกโร โหติ (เป็นผู้การทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้ทีเดียว ) ความว่า เป็นผู้กระทำการตัดขาด
วัฏฏทุกข์ในอัตภาพนี้ทีเดียว.
ท่านพระสารีบุตร ยังเทศนาให้จบลงด้วยคำว่า เอตฺตาวตาปิ โข
อาวุโส อธิบายว่า แม้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดด้วยมนสิการดังที่
กล่าวแล้วในการแสดงกรรมบถนี้. คำที่ยังเหลือมีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
นั้นแหละ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 565
ท่านพระสารีบุตรเถระ ได้จบเทศนาลงด้วยอนาคามิมรรค และ
อรหัตตมรรคดังที่ได้พรรณนามานี้แล.
จบ กถาว่าด้วยกรรมบถ
พระภิกษุชื่นชมภาษิตของพระสารีบุตร
[๑๑๒] ในคำว่า สาธาวุโส โข ฯลฯ อาคโต อิม สทฺธมฺม
มีคำอธิบายไว้ว่า ภิกษุเหล่านั้น ครั้นได้ฟังเทศนาว่าด้วยสัจจะทั้ง ๔ ของ
ท่านพระสารีบุตร โดยมุขคือกุศลและอกุศลอย่างนี้แล้ว จึงพากันชมเชย
ภาษิตของท่านพระสารีบุตร ด้วยถ้อยคำนี้ว่า ดีแล้วครับได้เท้า และ
อนุโมทนาด้วยจิตที่เป็นสมุฏฐานของถ้อยคำนี้นั้นเอง รับเอาด้วยวาจา
เอิบอิ่มด้วยใจทีเดียว.
บัดนี้ เพราะเหตุที่พระเถระเป็นผู้สามารถที่จะแสดงธรรมเทศนาว่า
ด้วยจตุราริยสัจได้ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พระสารีบุตรสามารถจะบอกจะแสดงอริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร.
หรือเพราะเหตุที่ท่านพระสารีบุตรต้องการจะแสดงธรรมให้สูงยิ่งขึ้นไปอยู่
แล้ว จึงได้กล่าวว่า เอตฺตาวตาปิ โข อาวุโส ( เพียงเท่านี้เท่านั้นแล
คุณ) เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายนั้น ผู้ประสงค์จะฟังสัจจเทศนา
โดยนัยแม้อย่างอื่น จึงได้ถามปัญหาสูงขึ้นไป กะท่านพระสารีบุตร.
ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ถามปัญหาอื่นที่สูงขึ้นไป โดยนัยนี้ว่า ใต้เท้าขอรับ
ยังมีอยู่อีกหรือ บรรยายแม้อย่างอื่น คือเหตุแม้อย่างอื่น ที่เหนือกว่า
ปัญหาที่ใต้เท้าได้ถามเองตอบเองมาแล้ว.
อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายไว้ว่า ภิกษุเหล่านั้นได้พากันถามปัญหา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 566
ในส่วนที่เหนือปัญหาก่อนขึ้นไป. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ภิกษุ
ทั้งหลายได้ถามปัญหาข้อแรกให้สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง.
ถัดนั้น พระเถระเมื่อจะพยากรณ์ปัญหาให้ภิกษุเหล่านั้นฟัง จึงได้
กล่าวคำมีอาทิว่า สิยา อาวุโส (ยังมีอยู่คุณ) ดังนี้.
กถาพรรณนาอาหารวาระ
ภูต - สัมภเวสี
[๑๑๓] ในจำนวนบทเหล่านั้น คำขยายต่อไปนี้ จะเป็นคำขยาย
ความเฉพาะบทที่ยาก.
คำว่า อาหาร ได้แก่ปัจจัย. เพราะปัจจัยนำผลมาให้ตน ฉะนั้น
ปัจจัยจึงเรียกว่า อาหาร.
เหล่าสัตว์ที่ถือกำเนิดเกิดแล้ว ชื่อว่า ภูต ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า
ภูตาน วา สตฺตาน.
เหล่าสัตว์ที่เสาะหา คือแสวงหาการสมภพ คือการเกิด ได้แก่การ
บังเกิดขึ้น ชื่อว่า สัมภเวสี.
บรรดากำเนิดทั้ง ๔ ชนิดเหล่านั้น. เหล่าสัตว์ที่เกิดในฟองและที่
เกิดในหยดน้ำ ตราบใดที่ยังไม่ทำลายกระเปาะฟองและรังมดลูก (ออกมา)
ตราบนั้นก็ยังชื่อว่า สัมภเวสี ต่อเมื่อทำลายกระเปาะฟองและรังมดลูก
ออกมาภายนอกแล้ว จึงชื่อว่า ภูต.
ส่วนสัตว์ที่เกิดแต่เถ้าไคลและผุดเกิด ในขณะแห่งจิตดวงแรก
ชื่อว่า สัมภเวสี ตั้งแต่ขณะแห่งจิตดวงที่ ๒ ไป ชื่อว่า ภูต.
อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายจะเกิดโดยอิริยาบถใดก็ตาม ตราบใด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 567
ยังไม่เปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่น จากอิริยาบถนั้น ตราบนั้น ชื่อว่า
สัมภเวสี ต่อจากอิริยาบถนั้นไปจึงชื่อว่า ภูต.
อีกอย่างหนึ่ง เหล่าสัตว์ที่เกิดแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว ( สำเร็จแล้ว )
ชื่อว่า ภูต. พระขีณาสพเหล่าใด ผู้เป็นพระอริยเจ้าแล้วนั่นแหละ นับว่า
จักไม่เกิดอีก คำว่า ภูต นี้ เป็นชื่อของพระขีณาสพเหล่านั้น.
สัตว์เหล่าใดกำลังแสวงหาการเกิด สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า สัมภเวสี
คำว่า สัมภเวสี นี้ เป็นชื่อของพระเสขะและปุถุชนผู้กำลังแสวงหาการเกิด
ต่อไป เพราะยังละสังโยชน์ในภพไม่ได้.
เมื่อเป็นเช่นนี้ ด้วย ๒ บทนี้ แม้ในที่ทุกแห่ง (เนื้อความ) จึง
คลุมถึงสัตว์ทุกชนิด. และ วา ศัพท์ ในคำว่า ภูตาน วา สตฺตาน นี้
เป็นสัมปิณฑนัตถะ (มีเนื้อความรวม ไม่ใช่เป็นวิกัปปัตถะ). เพราะ-
ฉะนั้น ผู้ศึกษา พึงทราบ (ว่าเท่ากับ) เนื้อความนี้ว่า ภูตาน จ
สมฺภเวสีนญฺจ (ทั้งภูตทั้งสัมภเวสี).
บทว่า ิติยา ได้แก่เพื่อดำรงอยู่.
บทว่า อนุคฺคหาย ได้แก่เพื่ออนุเคราะห์ คือเพื่ออุปการะ.
ทั้ง ๒ บท คือ ภูตาน วา สมฺภเวสีน นั้น มีความแตกต่างกัน
เพียงคำพูดเท่านั้น แต่ความหมายของทั้ง ๒ บทนั้น เป็นอย่างเดียวกัน
ทีเดียว.
บทว่า ิติยา ( เพื่อดำรงอยู่ ) คือเพื่อไม่ให้ธรรมทั้งหลายที่
เกิดขึ้นแล้วแก่สัตว์นั้น ๆ ขาดตอนไป โดยไม่สามารถติดต่อกันได้.
บทว่า อนุคฺคหาย เพื่ออนุเคราะห์ ได้แก่เพื่อให้ธรรมที่ยังไม่เกิด
ได้เกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 568
และทั้ง ๒ บทนี้ ควรใช้ในข้อความทั้งคู่อย่างนี้ว่า เพื่อการดำรงอยู่
และเพื่ออนุเคราะห์ภูตทั้งหลายด้วย เพื่อการดำรงอยู่และเพื่ออนุเคราะห์
สัมภเวสีทั้งหลายด้วย.
กวฬิงการาหาร
อาหารที่จะต้องทำให้เป็นคำๆ ไปแล้วกลืนกิน ชื่อว่า กวฬิงการา-
หาร. คำว่า กวฬิงการาหาร นี้ เป็นชื่อของโอชะที่มีข้าวสุกและขนมสด
(กุมมาส) เป็นต้น เป็นที่ตั้ง.
สองบทว่า โอฬาริโก วา สุขุโม วา ความว่า ( อาหาร)
ชื่อว่า โอฬาร เพราะเป็นสิ่งที่หยาบ โดยวัตถุ. ชื่อว่า สุขุม เพราะ
เป็นสิ่งที่ละเอียด โดยวัตถุ.
แต่โดยสภาวะ กวฬิงการาหาร ชื่อว่า เป็นของละเอียดทีเดียว
เพราะเป็นของนับเนื่องในสุขุมรูป. ถึงแม้ว่าการที่อาหารนั้นจะเป็นของ
หยาบและเป็นของละเอียดโดยวัตถุ ก็ต้องรู้ได้เพราะอุปาทายรูป. ความจริง
อาหารของนกยูงที่ชื่อว่าเป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบกับอาหาร
จระเข้. ได้ทราบว่า พวกจระเข้ฮุบก้อนหินเข้าไป และก้อนหินเหล่านั้น
พอตกถึงท้องของจระเข้เท่านั้นก็ย่อยหมด (ละลายไป). พวกนกยูงจิกกิน
สัตว์มีชีวิต เช่นงูและแมลงป่องเป็นต้น. แต่อาหารของพวกหมาใน
ชื่อว่าเป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบกับอาหารของนกยูง. ได้ทราบว่า
หมาในเหล่านั้นแทะเขาและกระดูก (สัตว์) ที่ทิ้งไว้ตั้ง ๓ ปีได้ ก็เขา
และกระดูกสัตว์เหล่านั้น พอแต่เปียกน้ำลายของมันเท่านั้น ก็ยุ่ยเหมือน
กันกับเหง้ามัน.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 569
อาหารของพวกช้าง ชื่อว่า เป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบ
อาหารของหมาใน พวกมันกินกิ่งไม้นานาชนิด. อาหารของสัตว์ทั้งหลาย
เช่นโคลาน ระมาดและมฤค เป็นต้น ชื่อว่า เป็นของละเอียดกว่าอาหาร
ช้าง. ได้ทราบว่า พวกมันพากันกินใบไม้นานาชนิดเป็นต้น ที่ไม่แข็ง
(ไม่มีแก่น). อาหารของพวกโค ชื่อว่า เป็นอาหารละเอียดกว่าอาหารของ
โคลานเป็นต้น เหล่านั้น. พวกมันกินหญ้าสดและหญ้าแห้งกัน. อาหาร
ของกระต่ายเป็นอาหารละเอียดกว่าอาหารโคเหล่านั้น. อาหารของพวกนก
ละเอียดกว่าอาหารของพวกกระต่าย. อาหารของชาวชายแดนละเอียดกว่า
อาหารของพวกนก. อาหารของนายอำเภอ ( เจ้าเมือง ) ละเอียดกว่า
อาหารของชาวชายแดน. อาหารของพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระ
ราชาละเอียดกว่าอาหารของนายอำเภอ ( เจ้าเมือง ). พระกระยาหารของ
พระเจ้าจักรพรรดิละเอียดกว่าอาหารของคนแม้เหล่านั้น. อาหารของเหล่า
ภุมมเทวดาละเอียดกว่าพระกระยาหารของพระเจ้าจักรพรรดิ. อาหารของ
เหล่าเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาละเอียดกว่าอาหารของเหล่าภุมมเทวดา.
อาหาร (ของเหล่าเทวดาชั้นต่าง ๆ) ก็ควรขยายให้พิสดารอย่างนี้ไปจน
ถึงเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี. อาหารของเทวดาชั้นเหล่านั้นตกลงว่า
เป็นอาหารละเอียดทั้งนั้น. อนึ่ง ในวัตถุหยาบนี้ โอชาก็น้อย มีพลังต่ำ.
ในวัตถุละเอียด โอชามีพลังสูง. จริงอย่างนั้น ผู้ดื่มข้าวยาคูตั้งเต็มบาตร
ครู่เดียวเท่านั้นก็หิว อยากจะเคี้ยวกินของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่นั่นเอง.๑ ส่วน
ผู้ดื่มเนยใส แม้เพียงฟาดมือเดียว ก็ไม่อยากกิน (ไม่หิว) ตลอดทั้งวัน.
ในจำนวนวัตถุและโอชา ๒ อย่างนั้น วัตถุบรรเทาความกระวนกระวาย
๑. เปยยาลเล็ก วางไว้หลัง โหติ เข้าใจว่า ผิดที่ ควรจะอยู่หลัง ขาทิตุกาโม จึงแปลเช่นนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 570
(หิว) ได้ แต่ไม่อาจจะรักษา (ชีวิต ) ไว้ได้. (ส่วน) โอชา รักษา
ชีวิตไว้ได้ แต่ไม่อาจบรรเทาความกระวนกระวาย (หิว) ได้. แต่ทั้ง ๒
อย่างนั้น รวมกันเข้าแล้ว บรรเทาความกระวนกระวาย (หิว) ได้ด้วย
รักษา (ชีวิต) ได้ด้วย ดังนี้แล.
ผัสสาหาร - มโนสัญเจตนาหาร - วิญญาณาหาร
บทว่า ผสฺโส ทุติโย ความว่า ผัสสะ ๖ อย่างมีจักขุสัมผัส
เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอาหารอย่างที่ ๒ ในจำนวนอาหาร ๔ อย่างนั้น.
ก็นัยนี้ เป็นนัยแห่งเทศนาเท่านั้น เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุชื่อนี้จึง
ไม่ควรแสวงหาคำนี้ว่า อาหารที่ ๒ และที่ ๓ ในอาหารวาระนี้.
เจตนานั้นเอง ท่านเรียกว่า มโนสัญเจตนา.
จิตดวงใดดวงหนึ่ง ชื่อว่า วิญญาณ.
ในเรื่องนี้ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ว่า ถ้ามีคำถามว่า สัตว์
ดำรง (ชีพ) อยู่ได้เพราะปัจจัย ดำรงชีพอยู่ได้เพราะอาหาร เมื่อเป็น
เช่นนั้นเหตุไฉน เมื่อปัจจัยของสัตว์ทั้งหลายแม้อย่างอื่นมีอยู่ พระองค์
จึงตรัสอาหารไว้ อย่างเหล่านี้เท่านั้น๑.
ข้าพเจ้าจะกล่าวตอบว่า พระองค์ตรัสไว้ เพราะเป็นปัจจัยพิเศษแห่ง
สันตติที่เป็นภายใน.
อธิบายว่า กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยพิเศษของรูปกายของสัตว์
ทั้งหลายผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา ผัสสาหารเป็นปัจจัยพิเศษของเวทนา
ในหมวดนาม มโนสัญเจตนาหารเป็นปัจจัยพิเศษของวิญญาณ วิญญาณ
เป็นปัจจัยพิเศษของนามรูป. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
๑. เปยยาลเล็กในปาฐะวางไว้หลัง วุจฺจเต เข้าใจว่าคงวางผิด จึงได้แปลตามที่เข้าใจ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 571
ภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้อาศัยอาหารจึงดำรง (ชีพ) อยู่ได้ ไม่มีอาหาร
ดำรง (ชีพ) อยู่ไม่ได้ ฉันใด. เหมือนอย่างเวทนาเกิดมีเพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย วิญญาณเกิดมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดมีเพราะวิญญาณ
เป็นปัจจัย.
ถามว่า ก็ในอาหารวาระนี้ อาหารอะไร นำอะไรมาให้ ?
ตอบว่า กวฬิงการาหาร นำรูปมีโอชะเป็นที่ ๘ มาให้ ( อวินิพ-
โภครูป ๘ ) ผัสสาหาร นำเวทนา ๓ มาให้ มโนสัญเจตนาหาร นำภพ
ทั้ง ๓ มาให้ วิญญาณาหาร นำนามรูปโนปฏิสนธิมาให้.
นำมาให้อย่างไร ?
(นำมาให้อย่างนี้) คือก่อนอื่น กวฬิงการาหาร เพียงแต่วางไว้
ในปากเท่านั้น ก็ก่อตั้งรูปทั้ง ๘ ขึ้น (สร้างรูปทั้ง ๘ ขึ้น). ส่วน
คำข้าวแต่ละคำที่ฟันเคี้ยวให้ละเอียดกลืนลงไป จะก่อตั้งรูปขึ้นคำละ ๘ รูป
ทั้งนั้น. กวฬิงการาหาร นำรูปมีโอชะเป็นที่ ๘ มาให้อย่างนี้. ส่วน
ผัสสาหาร คือผัสสะที่จะให้เกิดสุขเวทนา เมื่อเกิดขึ้นจะนำสุขเวทนานาให้.
ผัสสะที่จะให้เกิดทุกขเวทนาก็เช่นนั้น คือจะนำทุกข์มาให้ ที่จะให้เกิด
อทุกขมสุขเวทนาก็จะนำอทุกขมสุขมาให้. ผัสสาหารจะนำเวทนาทั้ง ๓ มาให้
โดยประการทั้งปวง ดังที่พรรณนามานี้.
มโนสัญเจตนาหาร คือกรรมที่จะให้เข้าถึงกามภพ จะนำกามภพ
มาให้. ที่จะให้เข้าถึงรูปภพและอรูปภพ ก็จะนำรูปภพและอรูปภพมาให้.
มโนสัญเจตนาหาร จะนำภพทั้ง ๓ นาให้อย่างนี้ แม้โดยประการทั้งปวง.
แต่วิญญาณาหารท่านกล่าวว่า จะนำขันธ์ทั้ง ๓ ที่สัมปยุตด้วยวิญญาณ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 572
นั้น และรูป ๓๐ อย่างที่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งสันตติ ๓ มาให้
โดยนัยแห่งปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น ในปฏิสนธิขณะ. วิญญาณาหาร
นำนามรูปในปฏิสนธิขณะมาให้อย่างนี้ ดังนี้ .
อนึ่ง ในอาหารวาระนี้ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาที่ยังมีอาสวะ
อยู่นั้นแหละ ท่านกล่าวไว้ว่า มโนสัญเจตนาหาร จะนำภพทั้ง ๓ มาให้
ปฏิสนธิวิญญาณนั้นเองท่านกล่าวไว้ว่า วิญญาณจะนำนามรูปในปฏิสนธิ-
ขณะมาให้. แต่อาหาร ๓ อย่างเหล่านี้ พึงทราบว่าเป็นอาหารโดยไม่แปลก
กัน เพราะนำมาซึ่งธรรมที่สัมปยุตกับด้วยวิญญาณนั้น และธรรมที่เป็น
สมุฏฐานแห่งวิญญาณนั้น.
ในจำนวนอาหาร ๔ อย่างนั้น กวฬิงการาหาร เมื่อค้ำชู (ชีวิต )
ไว้ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำ (รูป) มา. ผัสสะ เมื่อถูกต้องอยู่นั้นแหละ
(ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำเวทนามา ). มโนสัญเจตนา เมื่อประมวลมาอยู่
นั่นแหละ (ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำภพมา). วิญญาณ เมื่อรู้อยู่นั้นแหละ
(ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำนามรูปในปฏิสนธิขณะมา)
อย่างไร ?
( อย่างนี้คือ) ความจริง กวฬิงการาหาร เมื่อค้ำชู (ชีวิต)
อยู่นั้นเอง จะมีการดำรงสัตว์ทั้งหลายไว้ โดยการดำรงกายไว้ เพราะว่า
ร่างกายนี้ ถึงกรรมจะแต่งให้เกิด กวฬิงการาหารก็ค้ำชูไว้ จึงดำรงอยู่ได้
จนถึงกำหนดอายุ ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง เหมือนทารกที่มารดาให้เกิดแล้ว
แม่นมให้ดื่มนมเป็นต้นเลี้ยงดูอยู่ จึงดำรงอยู่ได้นานแล. เหมือนเรือนที่
ใช้ไม้ค้ำค้ำไว้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 573
สมจริงตามพระพุทธพจน์ว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร เมื่อ
เรือนจะล้ม คนทั้งหลายจะเอาไม้อื่นมาค้ำไว้ เรือนนั้น ที่ถูกไม้อื่นค้ำไว้
ทรงตัวอยู่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เรือนนั้น จะไม่ล้ม ฉันใด ขอถวาย
พระพรมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า ร่างกายนั้น ก็ฉันนั้น เหมือนกัน
นั้นแล ดำรงอยู่ได้เพราะอาหารอาศัยอาหาร จึงดำรงอยู่ได้. กวฬิงการา-
หาร เมื่อค้ำจุนร่างกายอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่า ให้สำเร็จหน้าที่ของอาหาร
(การนำรูปมา) และแม้เมื่อให้สำเร็จอาหารกิจอยู่อย่างนี้ กวฬิงการาหาร
ก็ชื่อว่าเป็นปัจจัยของรูปสันตติ ๒ อย่างคือ เป็นปัจจัยของรูปที่มีอาหาร
เป็นสมุฏฐานด้วย รูปที่ตัณหาและทิฏฐิถือเอาแล้วด้วย๑. กวฬิงการาหาร
เป็นสิ่งที่ตามรักษากัมมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม) และเป็นผู้ให้กำเนิด
แก่รูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานดำรงอยู่ได้.
ส่วนผัสสะ เมื่อถูกต้องอารมณ์ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความสุขเป็นต้นอยู่
นั้นแหละ. ชื่อว่ามีอยู่ เพื่อการดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการหมุน
เวียนไปแห่งสุขเวทนาเป็นต้น.
มโนสัญเจตนา เมื่อประมวลไว้ ด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมและ
อกุศลกรรมอยู่นั้นแหละ ชื่อว่ามีอยู่เพื่อการดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย โดย
การยังรากเหง้าของภพให้สำเร็จ.
วิญญาณ เมื่อรู้อยู่นั้นแหละ ชื่อว่ามีอยู่เพื่อการดำรงอยู่แห่งสัตว์
ทั้งหลายโดยการเป็นไปแห่งนามรูป.
๑. เปยยาลเล็กวางไว้หลัง โหติ เข้าใจว่าเป็นหลัง จ ซึ่งใช้ควบพากย์ จึงแปลตามที่เข้าใจ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 574
ภัยในอาหาร ๔
ในอาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ ที่ให้สำเร็จอาหารกิจอยู่ ด้วยสามารถ
แห่งการอุปถัมภ์เป็นต้น ควรเห็นภัย ๔ ประการอย่างนี้ คือ ในกวฬิง-
การาหาร ได้แก่ภัยคือความใคร่ (อยาก) ในผัสสาหาร ได้แก่ภัยคือ
การข้องแวะ. (ติด) นั้นเอง ในมโนสัญเจตนาหาร ได้แก่ภัยคือการ
ประมวลมา (สั่งสม) นั้นแหละ. ในวิญญาณาหาร ได้แก่ภัยคือการตกลง
จำเพาะ (การถือกำเนิด ) ทีเดียว.
เพราะเหตุไร ?
เพราะว่า สัตว์ทั้งหลายสร้างภัย คือ ความใคร่ในกวฬิงการาหาร
มุ่งหน้าต่อความหนาวเป็นต้น ทำงานมีการนับด้วยหัวแม่มือเป็นต้นเพื่อ
ต้องการอาหาร ย่อมเข้าถึงทุกข์มิใช่น้อย. และคนลางจำพวก ถึงจะบวช
ในพระศาสนานี้ ก็แสวงหาอาหารโดยการแสวงหาที่ไม่สมควร มีเวชช-
กรรมเป็นต้น จะเป็นผู้ถูกครหาในปัจจุบันนี้. ถึงในสัมปรายภพ ก็จะเป็น
สมณเปรตโดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในลักษณะสังยุตมีอาทิว่า แม้สังฆาฏิ
ของเธอ ถูกไฟไหม้ลุกโชนแล้ว และความใคร่ในกวฬิงการาหารนั้นเอง
พึงทราบว่าเป็นภัย เพราะเหตุนี้ก่อน.
ชนทั้งหลายผู้มีอัสสาทะในผัสสะ แม้เมื่อเผชิญผัสสะ ก็จะเบียด-
เบียนสิ่งของทั้งหลายมีเมียเป็นต้นของคนอื่นที่เขารักษาคุ้มครองไว้. เจ้าของ
สิ่งของจะจับเขาพร้อมด้วยสิ่งของ ฟันให้แหลกเป็นท่อน ๆ โยนทิ้งที่
กองขยะ หรือมอบตัวแก่พระราชา. ต่อจากนั้น พระราชาก็จะตรัสสั่งให้
พวกเขาทำงานชนิดต่าง ๆ ( ลงโทษ). และเพราะกายแตกทำลายไป
พวกเขาเป็นหวังได้รับภัย คือ ทุคติ. กรรมที่มีอสัสาทะในผัสสะเป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 575
รากฐาน เป็นเหตุให้ประสบภัยทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพทีเดียว ด้วย
ประการฉะนี้. เพราะเหตุนี้ การข้องแวะในผัสสาหารนั้นเอง พึงทราบ
ว่าเป็นภัย. แต่ภัยในภพทั้ง ๓ ที่มีกุศลและอกุศลกรรมนั้นเป็นมูลฐาน
จะมาทั้งหมดเลย เพราะการประมวลมาซึ่งกุศลกรรมและอกุศลกรรมนั้น
เอง. เพราะเหตุนี้ การประมวลมาในมโนสัญเจตนาหารนั้นเอง พึงทราบ
ว่าเป็นภัย.
ส่วนปฏิสนธิวิญญาณ ก็จะรับเอาปฏิสนธินามรูปนั้นแหละ เกิดขึ้น
ในที่เป็นที่ถือกำเนิด และเมื่อปฏิสนธิวิญญาณนั้นเกิดขึ้นแล้ว ภัยทุกอย่าง
ก็เป็นอันเกิดขึ้นเหมือนกัน เพราะมีปฏิสนธินั้นเป็นมูลราก เพราะเหตุ
ดังที่พรรณนามาแล้วนี้แล การถือกำเนิด ( ตกลงเฉพาะ) พึงทราบว่า
เป็นภัยในวิญญาณาหารดังนี้แล.
แต่ในจำพวกอาหารทั้ง ๔ อย่างเหล่านี้ ที่เป็นภัยอย่างนี้ เพื่อจะ
ให้ครอบงำความใคร่ในกวฬิงการาหาร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรง
แสดงการเปรียบเทียบด้วยเนื้อบุตร โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ผัวเมียทั้ง ๒ แม้ฉันใด.
เพื่อให้ครอบงำความใคร่ในผัสสาหารจึงทรงแสดงการเปรียบเทียบ
ด้วยแม่โคที่ถูกถลกหนัง โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่
เขาถลกหนังแล้ว. . . . แม้ฉันใด.
เพื่อให้ครอบงำความใคร่ในมโนสัญเจตนาหาร จึงทรงแสดงการ
เปรียบเทียบด้วยหลุมถ่านเพลิง โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
หลุมถ่านเพลิง. . . แม้ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 576
เพื่อให้ครอบงำความใคร่ในวิญญาณาหาร จึงทรงแสดงการเปรียบ-
เทียบด้วยการแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ
ในทั้งหลาย. . .ซึ่งโจรผู้ประพฤติชั่วช้า แม้ฉันใด.
นี้เป็นการประกอบเนื้อความโดยสังเขป โดยอธิบายความให้แจ่มชัด
ในอาหารวาระนั้น.
เปรียบเทียบสามีภรรยากินเนื้อบุตร
ได้ทราบว่า สองผัวเมีย พากันอุ้มบุตรเดินทางกันดาร ๑๐๐ โยชน์
โดยเสบียงเล็กน้อย. เมื่อเขาเดินไปได้ ๕๐ โยชน์ เสบียงหมดลง.
เขาทั้ง ๒ กระสับกระส่ายเพราะความหิวกระหายพากันนั่งใต้ร่มเงา
โปร่ง (ของต้นไม้) ถัดนั้นฝ่ายชายได้พูดกับภรรยาว่า น้องนางเอ๋ย
ระยะ ๕๐ โยชน์รอบ ๆ นี้ ไม่มีบ้านหรือนิคมเลย เพราะฉะนั้น บัดนี้
พี่ไม่สามารถจะทำงานตั้งมากมายที่ผู้ชายจะพึงทำได้ มีการทำนาและเลี้ยง
โคเป็นต้นได้ มาเถิดน้อง จงฆ่าพี่แล้ว กินเนื้อเสียครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่ง
เอาเป็นเสบียงเดินข้ามทางกันดารไปกับลูกเถิด.
ฝ่ายนางได้พูดกับสามีว่า พี่ขา บัดนี้ น้องไม่สามารถจะทำงานที่
หญิงจะต้องทำ มีการปั่นด้ายเป็นต้นตั้งมากมายได้ มาเถิดพี่ จงฆ่าน้อง
แล้วกินเนื้อเสียครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเอาเป็นเสบียงเดินทางข้ามทางกันดาร
ไปกับลูกเถิด.
ฝ่ายชายจึงพูดกับภรรยาอีกว่า น้องเอ๋ย เพราะแม่บ้านตาย ความ
ตายจะปรากฏแก่เราทั้ง ๒ พ่อลูก เพราะเด็กน้อย เว้นมารดาแล้ว จะไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 577
สามารถมีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าเราทั้ง ๒ ยังมีชีวิตอยู่ ก็จะได้ลูกอีก อย่ากระนั้น
เลย บัดนี้เราจะฆ่าลูกเอาเนื้อกิน ข้ามทางกันดาร.
ลำดับนั้น แม่ได้พูดกับลูกว่า ลูกเอ๋ย จงไปหาพ่อเถอะ. ลูกก็ได้ไป
(หาพ่อ). ถัดนั้นพ่อของลูกพูดว่า พี่ได้เสวยทุกข์มาไม่น้อย เพราะการ
ทำนาเลี้ยงโคด้วยหวังว่าจะเลี้ยงลูก พี่จึงไม่อาจจะฆ่าลูกได้ เธอนั้นแหละ
จงฆ่าลูกของเธอ ดังนี้แล้วได้บอกลูกว่า ลูกเอ๋ย จงไปหาแม่เถิด. ลูกก็
ได้ไป (หาแม่ ) ถึงแม่ของลูกนั้นก็ได้พูดว่า ฉันเมื่ออยากได้ลูก ได้เสวย
ทุกข์ทรมานมิใช่น้อย ด้วยการประพฤติตนเยี่ยงโค ประพฤติตนเยี่ยงลูก
สุนัข และอ้อนวอนขอต่อเทวดาเป็นต้นก่อน ไม่ต้องพูดถึงการประคับ
ประคองท้อง ฉันจึงไม่อาจจะฆ่าลูกได้ แล้วได้บอกลูกว่า ลูกเอ๋ย เจ้า
จงไปหาพ่อเถิด. ลูกนั้นเมื่อเดินไปมาในระหว่างพ่อแม่ทั้ง ๒ อยู่อย่างนี้
ก็ได้ตายลง.
สองผัวเมียนั้นเห็นลูกเข้าพากันคร่ำครวญ เอาเนื้อ ( ลูก) มากิน
แล้วหลีกไป ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วแต่ต้น. เขาทั้ง ๒ นั้นไม่ได้เอาเนื้อ
บุตรกินเป็นอาหารเพื่อเล่นเลย ไม่ใช่เพื่อเมามาย ไม่ใช่เพื่อประดับประดา
ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพื่อต้องการข้ามให้พันทางกันดารอย่างเดียวเท่านั้น
เอง เพราะเป็นของปฏิกูลด้วยเหตุ ๙ ประการ.
หากจะถามว่า ปฏิกูลด้วยเหตุ ๙ ประการอะไรบ้าง ?
แก้ว่า คือเพราะเป็นเนื้อที่เกิดจากตน ๑ เพราะเป็นเนื้อของญาติ ๑
เพราะเป็นเนื้อของลูก ๑ เพราะเป็นเนื้อของลูกรัก ๑ เพราะเป็นเนื้อของ
เด็กอ่อน ๑ เพราะเป็นเนื้อดิบ ๑ เพราะเป็นเนื้อที่ไม่ใช้กิน ๑ เพราะ
ไม่ได้ใส่เกลือ ๑ เพราะไม่ได้ย่าง ๑.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 578
เพราะฉะนั้น ภิกษุใด เห็นกวฬิงการาหาร เป็นเสมือนเนื้อลูก
อย่างนี้ เธอจะครอบงำ (คลาย) ความใคร่ ในกวฬิงการาหารนั้นได้.
นี้เป็นการประกอบความในข้ออุปมาด้วยเนื้อบุตรก่อน.
เปรียบเทียบแม่โคที่ถูกถลกหนัง
ส่วนในข้อเปรียบเทียบด้วยแม่โคที่เขาถลกหนัง พึงทราบอรรถา-
อธิบาย ดังต่อไปนี้ แม่โคนั้นเขาถลกหนังแต่คอจนถึงเล็บออกไปแล้วปล่อย
ทิ้งไว้ มันจะถูกสัตว์มีชีวิตกัดกินอยู่ในที่ที่มันอาศัยอยู่. จะมีแต่เรื่องทุกข์
เท่านั้นฉันใด. ถึงผัสสะก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยวัตถุหรืออารมณ์ใด ๆ
สถิตอยู่. จะมีแต่เรื่องทุกข์ที่ได้เสวยแล้วเท่านั้น อันเกิดจากวัตถุและ
อารมณ์นั้น ๆ.
เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเห็นผัสสาหารเป็นเสมือนกับแม่โคที่เขาถลก
หนึ่งอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นจะครอบงำความใคร่ในผัสสาหารนั้นได้. นี้เป็น
การประกอบความในข้อเปรียบเทียบด้วยแม่โคที่เขาถลกหนัง.
เปรียบเทียบหลุมถ่านเพลิง
แต่ในข้อเปรียบเทียบด้วยหลุมถ่านเพลิง พึงทราบอรรถาธิบาย
ดังต่อไปนี้ ภพทั้ง ๓ เหมือนกับหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า ร้อนระอุ
มาก มโนสัญเจตนา เหมือนกับชายสองคน ต่างพากันจับแขน กระชาก
ลงในหลุมถ่านเพลิงนั้น เพราะอรรถว่า ฉุดกระชากเข้าไปในภพทั้งหลาย.
เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเห็นมโนสัญเจตนาหาร ว่าเป็นเช่นกับหลุม
ถ่านเพลิงอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นจะครอบงำความใคร่ในมโนสัญเจตนาหาร
ได้. นี้เป็นการประกอบความในข้อเปรียบเทียบด้วยหลุมถ่านเพลิง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 579
เปรียบเทียบด้วยการแทงด้วยหอกร้อยเล่ม
ส่วนในข้อเปรียบเทียบ การถูกแทงด้วยหอก ๓ ร้อยเล่ม พึงทราบ
อรรถาธิบาย ดังต่อไปนี้ ในเวลาเช้า ชายคนหนึ่งเดือนร้อนเพราะหอก
๑๐๐ เล่มจำนวนโค. หอกจำนวนนั้นแทงร่างของเขาให้เป็นบาดแผลถึง
๑๐๐ แห่ง ทะลุไปไม่หยุดอยู่ในระหว่างแล้ว ในกาลต่อมา ก็หล่นออกไป
หอก ๒๐๐ เล่ม อีกต่างหาก ก็อย่างนั้น เมื่อเช่นนั้น ทั่วร่างจึงพรุน
ไปหมด เพราะหอกหลายด้ามที่พุ่งไปไม่หล่นในโอกาสที่หอก ๑๐๐ ด้าม
(รุ่นก่อน) นั้น หล่นไปแล้ว. ทุกข์ของชายคนนั้นที่เกิดขึ้น เพราะ
ปากบาดแผล แม้บาดแผลเดียว ก็หาประมาณไม่ได้อยู่แล้ว. จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะปากบาดแผล ๓๐๐ แผล.
บรรดาเหตุการณ์เหล่านั้น ปฏิสนธิเหมือนกับเวลาที่หอกตกถูก.
การเกิดแห่งขันธ์เหมือนกับการเกิดในเพราะปากบาดแผล การเกิดขึ้น
แห่งทุกข์นานาชนิดที่มีวัฏฏะเป็นมูลมีได้ในเพราะขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว
เหมือนการเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนาในเพราะปากบาดแผลทั้งหลาย.
อีกนัยหนึ่ง ปฏิสนธิวิญญาณ เหมือนชายผู้ประพฤติชั่วช้า.
นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เหมือนปากบาดแผลที่เกิดขึ้นแก่ชาย
คนนั้น เพราะถูกหอกทั้งหลายแทงแล้ว. พึงเห็นการเกิดขึ้นแห่งทุกข์มี
ประการต่าง ๆ สำหรับวิญญาณ เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย ด้วยสามารถ
ของกรรมกรณ์ ๓๒ ประการ และโรค ๙๘ ชนิด เป็นต้น เหมือนการ
เกิดขึ้นแห่งทุกข์หนักแก่ชายคนนั้น เพราะมีปากบาดแผลเป็นปัจจัย.
เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเห็นวิญญาณาหารว่า เป็นเช่นกับด้วยถูกแทง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 580
ด้วยหอก ๓๐๐ เล่มอย่างนั้น ภิกษุนั้นจะครอบงำความใคร่ในวิญญาณาหาร
ได้. นี้เป็นการประกอบความในการเปรียบเทียบด้วยการถูกแทงด้วยหอก
๓๐๐ เล่ม.
เธอเมื่อครอบงำความใคร่ในอาหารเหล่านี้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ย่อม
กำหนดรู้อาหารทั้ง ๔ อย่าง. เมื่อกำหนดรู้อาหารเหล่านั้นแล้ว วัตถุ
ที่กำหนดรู้แม้ทั้งหมด ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้วเหมือนกัน.
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายกำหนดรู้กวฬิงการาหารแล้ว
ราคะที่อาศัยเบญจกามคุณ ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้ว. เมื่อกำหนดรู้ราคะ
ที่อาศัยเบญจกามคุณแล้ว จะไม่มีสังโยชน์นั้น (กามราคสังโยชน์) ซึ่ง
เป็นเหตุให้อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว มาสู่โลกนี้อีก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารแล้ว เวทนาทั้ง ๓
ก็เป็นอันเธอทั้งหลายกำหนดรู้แล้ว. เมื่อกำหนดรู้เวทนาทั้ง ๓ แล้ว เรา
ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกจะไม่มีกิจอะไรที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหารแล้ว ตัณหา ๓
ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้ว. เมื่อกำหนดรู้ตัณหา ๓ แล้ว เราตถาคตกล่าวว่า
อริยสาวกจะไม่มีกิจอะไรที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกำหนดรู้วิญญาณาหารแล้ว นามรูป
ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้ว เมื่อกำหนดรู้นามรูปแล้ว เราตถาคตก็กล่าวว่า
อริยสาวกจะไม่มีกิจอะไรที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไป.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 581
ตัณหาเกิด - อาหารจึงเกิด
บทว่า ตณฺหาสมุทยา อาหารสมุทโย มีเนื้อความว่า เพราะ
ตัณหาเก่าก่อนเกิดขึ้น สมุทัย ( เหตุเกิด) คือการเกิดขึ้นแห่งอาหาร
ทั้งหลายที่มีมาแต่ปฏิสนธิ ย่อมมีขึ้น.
มีอย่างไร ?
(มีอย่างนี้คือ) เพราะในขณะแห่งปฏิสนธิ จะมีโอชะที่เกิดขึ้นแล้ว
ในภายในรูป ๓๐ ถ้วน ที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสันตติ ๓ นี้ คือ
กวฬิงการาหาร ที่เป็นอุปาทินนกะ (มีใจครอง) เกิดขึ้นแล้ว เพราะ
ตัณหาเป็นปัจจัย. ส่วนผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร
ที่เป็นอุปาทินนกะเหล่านี้ คือ ผัสสะและเจตนาที่สัมปยุตด้วยปฏิสนธิจิต
และวิญญาณคือตัวจิตเอง เกิดขึ้นแล้ว เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้แล.
พึงทราบการเกิดขึ้นแห่งอาหารทั้งหลายที่มีมาแต่ปฏิสนธิ เพราะ
ตัณหาเก่าก่อนเกิดขึ้น ดังที่พรรณนามานี้ก่อน.
แต่เพราะเหตุที่ในอาหารวาระนี้ ท่านพระสารีบุตรกล่าวถึงอาหาร
คละกันไปทั้งอาหารที่เป็นอุปาทินนกะ. (มีใจครอง) และที่เป็น
อนุปาทินนกะ (ที่ไม่มีใจครอง) ฉะนั้น จึงควรทราบการเกิดขึ้นแห่ง
อาหาร เพราะตัณหาเกิดอย่างนี้ สำหรับอาหารทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนกะ
(ดังต่อไปนี้) :-
อันที่จริง โอชะมีอยู่ในรูปทั้งหลายที่ตั้งขึ้น แต่จิตที่สหรคตด้วยโลภะ
๘ ดวง นี้ คือกวฬิงการาหารที่เป็นอนุปาทินนกะ ที่เกิดขึ้นแล้วเพราะ
ตัณหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันเป็นปัจจัย ส่วนผัสสะ ๑ เจตนาที่สัมปยุตด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 582
จิตที่สหคตด้วยโลภะ ๑ วิญาณคือตัวจิตเอง ๑ รวมทั้ง (๓ อย่าง )
เหล่านี้ ได้แก่ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร ที่เป็น
อนุปาทินนกะ เกิดขึ้นแล้ว เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้แล.
ตัณหาดับ อาหารจึงดับ
สองบทว่า ตณฺหานิโรธา อาหารนิโรโธ ความว่า ความดับแห่ง
อาหารย่อมปรากฏ เพราะความดับแห่งตัณหา ที่เป็นปัจจัยของอาหาร
ทั้งหลาย ทั่งที่เป็นอุปาทินนกะ และที่เป็นอนุปาทินนกะนี้.
คำที่เหลือ (จากที่อธิบายนี้) มีนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้นแหละ.
ในอาหารวาระนี้ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงสัจจะทั้ง ๔ ไว้โดย
สรุปแล้ว. และในทุกวาระนอกเหนือจากนี้ ท่านก็ได้กล่าวไว้เหมือนใน
อาหารวาระนี้ เพราะเหตุนั้นแล ผู้ศึกษาที่ไม่หลงลืมควรยกสัจจะทั้งหลาย
ขึ้นในทุกวาระ และการประมวลเทศนาในทุกวาระว่า เอตฺตาวตาปิ โข
อาวุโส นี้ ควรประกอบด้วยสามารถแห่งธรรมที่แสดงแล้วในวาระนั้น ๆ.
นี้เป็นการประกอบเนื้อความนั้น ในวาระนี้ก่อน.
บทว่า เอตฺตาวตาปิ นี้ ความว่า ด้วยเทศนาเรื่องอาหารนี้ มี
อธิบายว่า แม้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดด้วยมนสิการที่กล่าวมาแล้ว.
แม้ในทุกบทก็ทำนอง (นัย) นี้.
จบ กถาพรรณนาอาหารวาระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 583
กถาพรรณนาสัจจวาระ
[๑๑๔] บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้น ครั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิต
ของพระเถระนั้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในตอนก่อนว่า สาธาวุโส
แล้วได้ถามปัญหาสูงขึ้นไปอีก และพระเถระก็ได้แก้ปัญหา โดยทำนอง
แม้อย่างอื่น แก่ภิกษุเหล่านั้น. ในทุกวาระแม้นอกจากวาระนี้ ก็มีนัยนี้.
[๑๑๕] เพราะฉะนั้น ต่อจากนี้ไปข้าพเจ้าจักขยายความของบรรยาย
ที่พระเถระได้กล่าวแก้ไว้แล้ว ไม่พาดพิงถึงคำแบบนี้. แต่ด้วยการแสดง
โดยย่อซึ่งวาระนี้ พระเถระได้แสดงทุกขสัจว่า ทุกข์ ในคำว่า ทุกฺขญฺจ
ปชานาติ. ส่วนในการแสดงโดยพิสดาร คำที่จะต้องกล่าวทั้งหมด ได้
กล่าวไว้แล้วในสัจจนิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล.
จบ กถาพรรณนาสัจจวาระ
กถาพรรณนาชรามรณวาระ
[๑๑๗ ] ต่อจากนี้ไป เป็นเทศนาว่าด้วยปฎิจจสมุปบาท.
ในจำนวนวาระเหล่านั้น ก่อนอื่นพึงทราบวินิจฉัยในชรามรณวาระ
ว่า
บทว่า เตส เตส นี้ เป็นการแสดงทั่วไปถึงสัตว์จำนวนมากมายไว้
โดยสังเขป. เพราะว่า เมื่อพูดอยู่ตลอดทั้งวันอย่างนี้ว่า ความแก่ของ
พระเทวทัตอันใด ความแก่ของท่านโสมทัตอันใด. . .ดังนี้ สัตว์ทั้งหลาย
จะไม่ถึงการครอบคลุมไว้ ( จะไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์ทั้งหมด). แต่
ด้วยบททั้ง ๒ นี้ (เตส เตส) สัตว์ตัวไหนจะไม่ถูกครอบคลุมเป็นไม่มี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 584
(คลุมไปหมดทุกตัวสัตว์). เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า บทนี้
เป็นการแสดงทั่วไปถึงสัตว์จำนวนมากไว้โดยสังเขป.
บททั้ง ๒ ว่า ตมฺหิ ตมฺหิ นี้. เป็นการแสดงทั่วไปถึงหมู่สัตว์
จำนวนมากมายด้วยสามารถแห่งการเกิดในคติ.
บทว่า สตฺตนิกาย เป็นการแสดงสรุปถึงสัตว์ที่ได้แสดงไว้แล้ว
โดยสาธารณนิเทศ.
ก็บทว่า ชรา ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ชรา ชีรณตา เป็นการ
แสดงถึงสภาวธรรม.
บทว่า ชีรณตา เป็นการ แสดงถึงอาการ.
บททั้งหลายมี ขณฺฑิจฺจ เป็นต้น เป็นการแสดงถึงหน้าที่ (ของ
ชรา) ในเพราะผ่านกาลเวลาไป.
สองบทหลังเป็นการแสดงถึง (หน้าที่) ตามปกติ. เพราะว่า
ชรานี้ ท่านพระสารีบุตรแสดงไว้โดยสภาวะด้วยบทว่า ชรา เพราะฉะนั้น
บทนี้จึงเป็นบทแสดงถึงสภาวะของชรานั้น.
ด้วยบทว่า ชีรณตา นี้ พระเถระได้แสดงไว้โดยอาการ. เพราะ
ฉะนั้น บทนี้จึงเป็นบทแสดงถึงอาการของชรานั้น
ด้วยบทว่า ขณฺฑิจฺจ นี้ พระเถระได้แสดงโดยกิจคือการการทำ
ภาวะแห่งฟันและเล็บที่หักเป็นชิ้น ๆ ในเพราะล่วงกาลเวลาไป.
ด้วยบทว่า ปาลิจฺจ นี้ พระเถระได้แสดงโดยกิจคือการทำภาวะ
ที่ผมและขนหงอก. ด้วยบทว่า วลิตตจตา นี้ พระเถระได้แสดงแม้โดย
กิจคือการกระทำให้เนื้อเหี่ยวหนังย่น. ด้วยเหตุนั้น ศัพท์ทั้ง ๓ มี ขณฺฑิจฺจ
เป็นต้นเหล่านี้ จึงเป็นศัพท์แสดงถึงกิจของชรานั้น ในเพราะล่วงกาล
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 585
เวลาไป ด้วยศัพท์ทั้ง ๓ เหล่านั้น พระเถระได้แสดงถึงชราที่ปรากฏคือ
เป็นสิ่งที่ปรากฏ ด้วยสามารถเห็นความพิการเหล่านี้ได้.
อุปมาเสมือนหนึ่งว่า ทางเดินของน้ำปรากฏ (ให้เห็นได้) เพราะ
พัดหญ้าและต้นไม้เป็นต้นให้ล้มราบ หรือทางเดินของไฟปรากฏ (ให้
เห็นได้) เพราะหญ้าและต้นไม้เป็นต้นไหม้. และทางเดิน (ของน้ำ
เป็นต้น ) นั้น ก็ไม่ใช่น้ำเป็นต้นเหล่านั้นเลย (เป็นคนละอย่าง) ฉันใด.
ทางเดินของชรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นธรรมชาติปรากฏ (ให้เห็น)
ในอวัยวะทั้งหลายมีฟันเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งความพิการทั้งหลาย มี
ความหักเป็นต้น คนแม้ลืมตาดูแล้ว ก็จับต้องได้. และทางเดินของชรา
นั้น ด้วยความสามารถแห่งความพิการทั้งหลาย มีความหักเป็นต้น ก็ไม่
ใช่ชรา. เพราะชราจะเป็นธรรมชาติรู้ได้ด้วยจักษุหามิได้เลย. ( ต้องรู้ได้
ด้วยปัญญา).
แต่ด้วยบทเหล่านี้ว่า อายุโน สหานิ อินฺทฺริยาน ปริปาโก
พระเถระได้แสดงชราตามปกติ เพราะความสิ้นไปแห่งอายุเป็นสิ่งที่รู้ได้
จากความหง่อมของอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ในเพราะการก้าวล่วงกาลเวลา
เท่านั้น เหตุที่ท่านเป็นผู้ฉลาดยิ่ง.
เพราะฉะนั้น ๒ อาการหลังนี้พึงทราบว่า เป็นการแสดง (อาการ)
ตามปกติของชรานั้น.
บรรดาอายุและอินทรีย์ทั้ง ๒ อย่างนั้น เพราะเหตุที่อายุของผู้ถึง
ความแก่ ย่อมเสื่อมไป (มากขึ้น) ฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวชราไว้โดย
ใกล้ต่อผล ( ใกล้ต่อความตาย) ว่า ได้แก่ความเสื่อมแห่งอายุ อายุมาก.
แต่เพราะเหตุที่เวลายังหนุ่ม อินทรีย์ทั้งหลายมีตาเป็นต้น ยังสดใส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 586
สามารถรับเอาอารมณ์ (มีรูปเป็นต้น ) ของตน แม้ที่ละเอียดได้ โดย
ง่ายดาย เมื่อเข้าถึงชราแล้วจะหง่อม ขุ่นมัว ไม่สดใส อารมณ์ของตน
ถึงจะหยาบก็ไม่สามารถจะรับได้ ฉะนั้น ชราพระเถระจึงกล่าวไว้ โดย
ความใกล้ต่อผลว่า ความหง่อมของอินทรีย์ทั้งหลายบ้าง
ชรา ๒ อย่าง
อนึ่ง ชรานี้นั้น คือชราทั้งหมดที่แสดงมาแล้วอย่างนี้ มี ๒ อย่าง
คือ ปากฏชรา ( ความแก่ที่ปรากฏ ) ๑. ปฏิจฉันนชรา (ความแก่ที่
ปกปิด ) ๑. ในจำนวนชราทั้ง ๒ อย่างนั้น ความแก่ในรูปธรรมทั้งหลาย
ชื่อว่า ปากฏชรา เพราะแสดงความวิการ มีความหักเป็นต้น ในอวัยวะ
ทั้งหลาย มีฟันเป็นต้นให้เห็น ส่วนในอรูปธรรมชื่อว่า ปฏิจฉันนชรา
เพราะไม่แสดงความวิการเช่นนั้นให้เห็น.
มีชรา ๒ อย่างอีก อย่างนี้ คือ อวีจิชรา ( แก่ไม่มีร่องรอยให้
เห็น) ๑ สวีจิชรา (แก่มีร่องรอยให้เห็น) ๑. ในจำนวนชรา ๒
อย่างนั้น ชราของแก้วมณี. ทอง เงิน แก้วประพาฬ ดวงจันทร์และดวง
อาทิตย์เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า อวีจิชรา อธิบายว่า ชื่อว่าชราไม่มี
ระหว่างขั้น (ไม่มีขั้นตอนให้เห็น) เพราะความแตกต่างของสีเป็นต้น
ในระหว่าง ๆ รู้ได้ยาก เหมือนความแตกต่างแห่งสีเป็นต้น ในระหว่าง ๆ
ของสัตว์มีปราณ ในวัยมันททสกะ (วัย ๑๐ ปีที่เยาว์) เป็นต้น และ
เหมือนความแตกต่างแห่งสีเป็นต้น ในระหว่าง ๆ ของสิ่งที่ไม่มีลมปราณ
ในดอกไม้ผลไม้และใบไม้เป็นต้น. แต่ชราในสิ่งอื่นนอกจากนั้น ตาม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 587
ที่กล่าวมาแล้ว ชื่อว่า สวีจิชรา เพราะความแตกต่างแห่งสีเป็นต้น ใน
ระหว่าง ๆ เป็นสิ่งที่พึงรู้ได้ง่าย.
ต่อแต่นี้ไป บทว่า เตส เตส เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่ได้
กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
ก็บทว่า จุติ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า จุติ จวนตา เป็นต้น
พระเถระกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้เคลื่อนไป.
คำว่า จุติ นี้ เป็นคำทั่วไปสำหรับขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕.
คำว่า จวนตา เป็นคำแสดงถึงลักษณะ (ของขันธ์) โดยการ
เคลื่อนจากภาวะ.
คำว่า เภโท เป็นคำแสดงถึงการแตกดับและการเกิดขึ้นแห่งขันธ์
ทั้งหลายที่จุติ.
คำว่า อนฺตรธาน เป็นคำแสดงถึงภาวะของการเคลื่อนที่จากฐานหห
โดยปริยายใดปริยายหนึ่ง แห่งจุติขันธ์ทั้งหลายที่แตกไป เหมือนกระออม
ที่แตกแล้วฉะนั้น. ความตายกล่าวคือมฤตยู ชื่อว่า มัจจุมรณะ.
ด้วยศัพท์ว่า มจฺจุมรณ นั้น พระเถระปฏิเสธสมุจเฉทมรณะเป็นต้น.
(การตายโดยการตัดขาดซึ่งชาติเป็นต้น). มัจจุราชผู้ทำซึ่งที่สุด ( จุดจบ)
ชื่อว่า กาละ การทำกาละนั้น ชื่อว่า กาลกิริยา ( การถึงแก่กรรม)
ด้วยคำว่า กาลกิริยา นี้ พระเถระแสดงถึงความตายตามสมมติของชาวโลก.
ต่อไปนี้ เพื่อจะแสดงถึงความตายโดยปรมัตถ์ พระเถระจึงได้กล่าวคำมี
อาทิว่า ขนฺธาน เภโท ไว้.
อันที่จริง โดยปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น แตกดับ ไม่ใช่
สัตว์อะไร ๆ เลยตาย เนื้อขันธ์ทั้งหลายกำลังแตกดับอยู่ สัตว์ก็ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 588
กำลังตาย เมื่อแตกดับแล้ว ก็มีโวหารว่า ตายแล้ว.
ในชรามรณวาระนี้ การแตกดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย มีได้โดย
จตุโวการภพ (นามขันธ์ ๔) การทอดทิ้งซากศพมีได้โดยเอกโวการภพ
(รูปขันธ์๑) หรือการแตกดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย พึงทราบโดยจตุโวการภพ
(ส่วน) การทอดทิ้งซากศพ พึงทราบด้วยสามารถแห่งภพทั้ง ๒ ที่เหลือ
(เอกโวการภพและปัญจโวการภพ).
เพราะเหตุไร ?
เพราะซากศพกล่าวคือรูปกายเกิดขึ้นเฉพาะใน ๒ ภพ.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ขันธ์ทั้งหลายในเทวโลกและพรหมโลก
มีชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้นแตกดับไปอย่างเดียว ไม่ทิ้งอะไรไว้ฉะนั้น
การแตกดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย พึงทราบด้วยสามารถแห่งขันธ์ทั้งหลายใน
เทวโลกและพรหมโลก มีชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้นเหล่านั้น. (ส่วน)
การทอดทิ้งซากศพไว้มีอยู่ในสัตว์ทั้งหลายมีมนุษย์เป็นต้น. ความตาย
โดยเหตุที่ทอดทิ้งซากศพไว้พระเถระกล่าวว่า การทอดทิ้งซากศพ. พึง
ทราบอรรถาธิบายอย่างนี้ว่า ทั้งชรา ทั้งมรณะนี้ พึงทราบดังที่พรรณนา
มานี้. ข้อว่า อิท วุจฺจตาวุโส ความว่า ชราและมรณะทั้ง ๒ อย่างนี้
พระเถระกล่าวรวมกันว่า ชรามรณะ. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้ว
นั้นแหละ ฉะนี้แล.
จบ กถาพรรณนาชรามรณวาระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 589
กถาพรรณนาชาติวาระ
[๑๐๘] พึงทราบวินิจฉัย ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ชาติ สญฺชาติ
ในชาติวาระ (ดังต่อไปนี้) :-
ชื่อว่า ชาติ เพราะอรรถว่า. (เริ่ม) เกิด. ชาตินั้น ประกอบแล้ว
ด้วยสามารถแห่งอายตนะยังไม่บริบูรณ์.
ชื่อว่า สญฺชาติ เพราะอรรถว่า เกิดครบแล้ว. สัญชาตินั้น
ประกอบแล้ว ด้วยสามารถแห่งอายตนะบริบูรณ์แล้ว.
ชื่อว่า โอกฺกนฺติ เพราะอรรถว่า ก้าวลง (สู่ครรภ์). โอกกันติ
นั้นประกอบด้วยอัณฑชกำเนิด (เกิดในฟอง) และชลาพุชกำเนิด
(เกิดเป็นตัว ). อธิบายว่า สัตว์เหล่านั้นก้าวลง คือถือปฏิสนธิ เหมือน
ก้าวย่างเข้าไปสู่กะเปาะไข่และรังมดลูก.
ชื่อว่า อภินิพฺพตฺติ เพราะอรรถว่า ผุดเกิด. อภินิพพัตตินั้น
ประกอบด้วยสังเสทชกำเนิด (เกิดในเถ้าไคล ) และโอปปาติกกำเนิด
(ผุดเกิด) อธิบายว่า สัตว์เหล่านั้น เกิดปรากฏขึ้นทีเดียว. นี้เป็นเทศนา
ตามโวหารก่อน. ต่อไปนี้จึงเป็นเทศนาโดยปรมัตถ์ อธิบายว่า โดย
ปรมมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้นแหละ ปรากฏขึ้น ไม่ใช่สัตว์ปรากฏ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺธาน พึงทราบว่า หมายเอาขันธ์ ๑
ในเอกโวการภพ ขันธ์ ๔ ในจตุโวการภพ และขันธ์ ๕ บ้าง ใน
ปัญจโวการภพ.
การอุบัติ ชื่อว่า ปาตุภาโว. พึงทราบการสงเคราะห์ด้วยอายตนะ
ที่กำลังเกิดขึ้นในภพนั้น ๆ เข้าในคำว่า อายตนาน นี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 590
การปรากฏขึ้นในสันตตินั่นเอง ชื่อว่า ปฏิลาโภ อธิบายว่า
อายตนะเหล่านั้นที่ปรากฏอยู่นั่นแหละ ย่อมชื่อว่าเป็นอันสัตว์ทั้งหลาย
กลับได้แล้ว.
ด้วยบทนี้ว่า อย วุจฺจตาวุโส ชาติ พระเถระกล่าวย้ำชาติที่ได้
แสดงมาแล้ว ทั้งโดยโวหาร ทั้งโดยปรมัตถ์ ดังนี้แล.
ก็ผู้ศึกษาพึงทราบกรรมภพที่เป็นปัจจัยแห่งชาติ ในคำว่า ภว-
สมุทยา นี้. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
จบ กถาพรรณนาชาติวาระ
กถาพรรณนาภววาระ
[๑๑๙] พึงทราบวินิจฉัยในภววาระดังต่อไปนี้ :-
กรรมภพและอุปปัตติภพ ชื่อว่า กามภพ. บรรดาภพทั้ง ๒ อย่าง
นั้น กรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึงกามภพนั่นเอง ชื่อว่า กรรมภพ.
อธิบายว่า กรรมนั้นเองท่านกล่าวว่า ภพ โดยการกล่าวถึงผล
เหมือนคำทั้งหลายมีอาทิว่า การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเหตุ
นำมาซึ่งความสุข การสะสมบาปเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ดังนี้ เพราะกรรมภพ
นั้นเป็นเหตุแห่งอุปปัตติภพ. ขันธปัญจกที่ตัณหาและทิฏฐิยึดครองแล้ว
เกิดขึ้นแล้วด้วยกรรมนั้น ชื่อว่า อุปปัตติภพ. เพราะว่าขันธปัญจกนั้น
ท่านกล่าวว่า ภพ เพราะตั้งวิเคราะห์ว่า เป็นที่เกิด (แห่งปฏิสนธิจิต).
เมื่อเป็นอย่างนี้ ทั้ง ๒ อย่างนี้ คือ กรรมภพนี้ ๑ อุปปัตติภพ ๑
ท่านกล่าวว่า เป็นกามภพแม้โดยประการทั้งปวง. ในรูปภพและอรูปภพ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 591
ก็ทำนองนี. แต่อุปาทานในคำนี้ว่า อุปาทานสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยของ
กรรมภพที่เป็นกุศล. โดยอุปนิสสยปัจจัยนั้นเอง. อุปาทานเป็นปัจจัย
ของกรรมภพที่เป็นอกุศล โดยอุปนิสสยปัจจัยบ้างโดยสหชาตปัจจัยเป็นต้น
บ้าง แต่เป็นปัจจัยของอุปปัตติภพ ของกรรมภพทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
ทั้งหมดโดยอุปนิสสยปัจจัยบ้าง. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ
ดังนี้.
จบ กถาพรรณนาชาติวาระ
กถาพรรณนาอุปาทานวาระ
[๑๒๐] พึงทราบวินิจฉัย ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า กามุปาทาน
ในอุปาทานวาระ.
กิเลสชาต ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะวิเคราะห์ว่า เป็นเหตุยึดมั่น
วัตถุกาม หรือเพราะยึดวัตถุกามนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง กามนั้นด้วย
เป็นอุปาทานด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามุปาทาน.
การยึดมั่นท่านเรียกว่า อุปาทาน. เพราะว่า อุปศัพท์ ในคำว่า
อุปาทาน นี้ มีเนื้อความว่ามั่น เหมือนอุปศัพท์ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า
อุปายาส และ อุปกัฏฐะ.
คำว่า กามุปาทาน นี้ เป็นชื่อของราคะที่เป็นไปในกามคุณ. นี้
เป็นข้อความสังเขปในกามุปาทานนี้.
แต่โดยพิสดาร กามุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ได้ตรัสไว้แล้วว่า
บรรดาอุปาทานเหล่านั้น กามุปาทานเป็นไฉน ? ได้แก่ความพอใจด้วย
อำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 592
ทิฏฐุปาทาน ก็อย่างนั้น คือ ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอุปทานด้วย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง กิเลสขาด ชื่อว่า
ทิฏฐุปาทาน เพราะยึดมั่นทิฏฐิ. หรือชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะวิเคราะห์
ว่า เป็นเหตุให้ยึดมั่นทิฏฐิ. อธิบายว่า กิเลสขาดใดย่อมยึดมั่นทิฏฐิเดิม
ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ทั้งอัตตา (อาตมัน) ทั้งโลก เป็นของเที่ยง
เพราะฉะนั้น กิเลสชาตินั้น จึงชื่อว่าอย่างนั้น (ทิฏฐุปาทาน).
อย่างที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ทั้งอัตตา (อาตมัน ) ทั้งโลก เป็นของเที่ยง
สิ่งนี้เท่านั้น เป็นสัตยะ (ของจริง) สิ่งอื่นเป็นโมฆะ. (ไร้ประโยชน์).
คำว่า ทิฏฐุปาทานนี้ เป็นชื่อของทิฏฐิทั้งหมดเว้นไว้แต่สีลัพพัทตุปาทาน
และอัตตวาทุปาทาน. นี้เป็นข้อความสังเขปในทิฏฐุปาทานนี้. แต่
โดยพิสดารทิฏฐุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ได้ตรัสไว้แล้วนั่นแหละว่า
บรรดาอุปาทานเหล่านั้น ทิฏฐุปาทานเป็นอย่างไร ? (ทิฏฐุปาทานคือ)
ทานที่บุคคลให้แล้ว ไม่มีผล.
บรรดาอุปาทานเหล่านั้น ชื่อว่า สีลัพพัตตุปาทาน เพราะเป็น
เหตุยึดมั่นศีลและพรตบ้าง เพราะศีลและพรตนั้นยึดมั่นเองบ้าง เพราะ
ศีลและพรตนั้นด้วยเป็นอุปทานด้วยบ้าง.
อธิบายว่า การยึดมั่นด้วยตนเองนั่นแหละโดยความเชื่อมั่นว่า ศีล
และพรตทั้งหลายมีศีลของโคและวัตรของโคเป็นต้น เป็นของบริสุทธิ์ด้วย
อาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอย่างนั้น (สีลัพพัตตุปาทาน). นี้
เป็นข้อความสังเขปในสีลัพพัตตุปาทานนี้.
แต่โดยพิสดารสีลัพพัตตุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไวแล้วว่า
บรรดาอุปาทานเหล่านั้น สีลัพพัตตุปาทานเป็นไฉน ? คือ ความบริสุทธิ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 593
ด้วยศีลของสมณพราหมณ์ทั้งหลายภายนอกศาสนานี้.
ชื่อว่า วาทะ เพราะเป็นเหตุกล่าวในบัดนี้. ชื่อว่า อุปาทาน
เพราะเป็นเหตุยึดมั่น.
ถามว่า กล่าวหรือยึดมั่นอะไร ?
แก้ว่า กล่าวหรือยึดมั่นอัตตา (อาตมัน).
การยึดมั่นวาทะของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่าอัตตวาทุปาทาน เพราะเป็นเหตุยึดมั่น เพียงแต่วาทะของตนเท่านั้น
ว่าเป็นอัตตา (อาตมัน). คำว่า อัตตวาทุปาทาน นี้เป็นชื่อของ
สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐. นี้เป็นข้อความสังเขปในอัตตวาทุปาทานนี้.
ส่วนโดยพิสดารอัตตวาทุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไวแล้วว่า
บรรดาอุปาทานเหล่านั้น อัตตวาทุปาทานเป็นไฉน ? อัตตวาทุปาทาน
คือ ปุถุชนในพระศาสนานี้ ไม่ได้สดับแล้ว ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ดังนี้.
ตัณหาในคำว่า ตณฺหาสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยของกามุปาทานโดย
อุปนิสสยปัจจัย หรือโดยอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย นัตถิปัจจัย
และอาเสวนปัจจัย แต่เป็นปัจจัยของอุปาทานที่เหลือ คือแม้โดยเป็น
สหชาตปัจจัยเป็นต้นบ้าง คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแหละ ดังนี้.
จบ กถาพรรณนาอุปทานวาระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 594
กถาพรรณนาตัณหาวาระ
ตัณหา ๑๐๘
[๑๒๑] พึงทราบวินิจฉัยในตัณหาวาระ (ต่อไป) :-
ตัณหาที่เป็นไปแล้วโดยชวนวิถี มีชื่อตามอารมณ์ที่คล้ายกับบิดา
(ผู้ให้เกิด) ว่า รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา เหมือนกับ (คน)
มีชื่อตามบิดาในคำทั้งหลาย มีอาทิว่า เศรษฐีบุตร พราหมณบุตร เป็นต้น .
ก็ในตัณหาวาระนี้ ตัณหามี ๓ ประการอย่างนี้ คือตัณหาที่มีรูป
เป็นอารมณ์คือตัณหาในรูป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ารูปตัณหา รูปตัณหานั้น
เมื่อยินดี เป็นไปโดยความเป็นกามราคะ ชื่อว่า กามตัณหา.
เมื่อยินดี (รูป) เป็นไปอย่างนี้ว่า รูปเที่ยง คือยั่งยืนได้แก่ติดต่อ
กันไป โดยความเป็นราคะที่เกิดร่วมกับสัสสตทิฏฐิ ชื่อว่า ภวตัณหา.
เมื่อยินดี (รูป) เป็นไปอย่างนี้ว่า รูปขาดสูญ คือหายไป ได้แก่
ละโลกนี้ไปแล้ว จักไม่มี โดยความเป็นราคะเกิดร่วมกับอุจเฉททิฏฐิ
ชื่อว่า วิภวตัณหา.
และสัททตัณหาเป็นต้น ก็เหมือนกับรูปตัณหา ฉะนั้น จึงรวมเป็น
ตัณหาวิปริต ๑๘ ประการ. ตัณหาวิปริตเหล่านั้น แจกออกเป็น ๑๘
ในอายตนะทั้งหลายมีรูปภายในเป็นต้น (และ) แจกออกเป็น ๑๘ ใน
อายตนะทั้งหลายมีรูปภายนอกเป็นต้น จึงรวมเป็น ๓๖ ประการ. แจก
เป็นอดีต ๓๖ เป็นอนาคต ๓๖ เป็นปัจจุบัน ๓๖ ด้วยประการอย่างนี้
จึงเป็นตัณหาวิปริต ๑๐๘ ประการ.
อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาวิปริต ๑๘ ประการ อาศัยรูปที่เป็นไปภายใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 595
เป็นต้น มีอาทิอย่างนี้ว่า เพราะอาศัยรูปเป็นภายใน มีตัณหาว่าเรามี
เพราะรูปนี้ (และ) ว่า เมื่อเรามี เราก็เป็นที่ปรารถนา ฉะนั้น จึง
รวมเป็นตัณหา ๓๖ แบ่งเป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ ปัจจุบัน ๓๖
โดยประการอย่างนี้ รวมเป็นตัณหาวิปริต ๑๐๘ ดังที่พรรณนามานี้แล.
เมื่อทำการสงเคราะห์เข้ากันอีก ตัณหาก็มี ๖ หมวดเท่านั้น ใน
อารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ด้วยอรรถที่ท่านแสดงไว้อย่างนี้ว่า ตัณหา
มี ๓ อย่างเท่านั้น มีกามตัณหาเป็นต้น นักปราชญ์พึงทราบ ตัณหา
โดยการสงเคราะห์ข้อความที่พิสดารเข้าด้วยกันอีก จากข้อความพิสดาร
ทีแสดงไว้แล้ว ดังนี้.
ก็เวทนาที่เป็นวิบากพระเถระประสงค์เอาแล้วว่า เวทนา ในคำว่า
เวทนาสมุทยา นี้.
ถ้าจะมีคำถามว่า เวทนานั้นเป็นปัจจัยแห่งตัณหาในทวาร ๖
อย่างไร ?
ตอบว่า เป็นปัจจัยเพราะเวทนาเป็นสิ่งที่น่ายินดี. อธิบายว่า เมื่อ
สัตว์ทั้งหลายยึดมั่นเวทนาว่าเป็นของเราอยู่. ด้วยความชอบใจสุขเวทนา
เขาจะเป็นผู้ยังความทะยานอยากเวทนาให้เกิดขึ้นแล้ว ยินดีแล้วด้วยความ
กำหนัดยินดีเวทนา ปรารถนารูปที่ได้เห็นแล้วนั่นแหละ และครั้นได้
รูปนั้นแล้ว ก็ชอบใจทั้งทำสักการะแก่ช่างเขียนเป็นต้น ผู้ให้อารมณ์.
ในโสตทวารเป็นต้น ก็เหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายย่อมปรารถนา
เสียงเป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่าปรารถนาทีเดียว และครั้นได้แล้ว ก็ชอบใจ
เสียงเป็นต้นเหล่านั้น ทั้งทำการสักการะ นักดีดพิณ ช่างปรุงน้ำหอม
ช่างทอ และผู้แสดงศิลปนานาชนิดเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 596
เหมือนอะไร ?
เหมือนแม่ผู้รักลูก ทำสักการะแม่นมคือให้เขาดื่มและบริโภคเนยใส
และนมที่อร่อยเป็นต้น. เพราะความเสน่หาในลูก. ถ้อยคำที่เหลือมีนัย
ดังที่กล่าวแล้วนั่น แหละ.
จบ กถาพรรณนาตัณหาวาระ
กถาพรรณนาเวทนาวาระ
[๑๒๒] พึงทราบวินิจฉัยในเวทนาวาระ (ต่อไป) :-
หมวดเวทนาชื่อว่า เวทนากายะ.
คำว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เวทนา ฯลฯ มโนสมฺผสฺสชา เวทนา
นี้เป็นชื่อของเวทนาทั้งที่เป็นกุศลทั้งที่เป็นอกุศล และอัพยากฤตที่เป็นไป
แล้วในจักษุทวารเป็นต้น ตามวัตถุ (ที่ตั้ง) ที่คล้ายแม่ เหมือนกับชื่อ
(ของลูก ) ตามแม่ในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า สารีบุตร ( ลูกนางสารี)
มันตานีบุตร (ลูกนางมันตานี) เพราะมาแล้วในคัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่า
เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยา-
กฤตก็มี ในคำมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เวทนา นี้ มีอรรถพจน์ว่า
เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นเหตุ ชื่อว่า จักขุสัมผัสสชาเวทนา.
ในทุกทวารมีโสตะเป็นต้น ก็ทำนองนี้. นี้เป็นกถาที่ว่าด้วยการสงเคราะห์
เข้ากันทุกอย่าง ในเวทนาวาระนี้ก่อน.
แต่ว่า เวทนาพึงทราบโดยเวทนาที่สัมปยุตด้วยธรรมเหล่านั้น คือ
ในจักขุทวารโดยวิบาก มีจักขุวิญญาณ ๒ ดวง มโนธาตุ ๒ ดวง มโน-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 597
วิญญาณธาตุ ๓ ดวง. ในโสตทวารเป็นต้น ก็ทำนองนี้. ส่วนมโนทวาร
พึงเข้าใจว่า เป็นเวทนาสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุ.
ก็ในคำว่า ผสฺสสมุทยา นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ในทวารทั้ง ๕
เวทนาอาศัยวัตถุทั้ง ๕ มีการเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสที่เกิดขึ้นร่วมกัน
เป็นต้นเกิดขึ้น. จักขุสัมผัสเป็นต้น จึงเป็นปัจจัยของเวทนาที่เหลือทั้งหลาย
โดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยเป็นต้น เวทนาโนตทาลัมพณขณะ. ในมโนทวาร
และเวทนาในปฏิสนธิขณะ ภวังคขณะและจุติขณะที่เป็นไปในทวารทั้ง ๖
มีการเกิดขึ้น เพราะการเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสที่เกิดขึ้นร่วมกัน. คำที่เหลือ
มีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.
จบ กถาพรรณนาเวทนาวาระ
กถาพรรณนาผัสสวาระ
[๑๒๓] พึงทราบวินิจฉัยในผัสสวาระ (ต่อไป) :-
สัมผัสในเพราะจักษุชื่อว่า จักขุสัมผัส. ในทุกทวารก็ทำนองนี้.
และด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า จกฺขุสมฺผสฺโส ฯลฯ กายสมฺผสฺโส เป็น
อันพระเถระได้กล่าวถึงสัมผัสทั้ง ๑๐ มีวัตถุ ๕ ทั้งที่เป็นกุศลวิบากและ
อกุศลวิบาก.
ด้วยคำว่า มโนสมฺผสฺโส นี้ เป็นอันพระเถระได้กล่าวถึงผัสสะที่
สัมปยุตด้วยโลกิยวิบากที่เหลือ ๒๒ อย่าง.
บทว่า สฬายตนสมุทยา ความว่า เพราะอายตนะ ๖ อย่าง มี
ภิกษุเป็นต้นเกิดขึ้น ผัสสะแม้ทั้ง ๖ อย่างนี้ ก็มีการเกิดขึ้น. คำที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
จบ กถาพรรณนาผัสสวาระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 598
กถาพรรณนาสฬายตนวาระ
[๑๒๔] พึงทราบวินิจฉัยในสฬายตนวาระ (ต่อไป) ว่า
อายตนะทั้งหมด ที่ควรจะกล่าวในคำทั้งหลาย มีอาทิว่า จกฺขายตน
มีนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในขันธกนิเทศและอายตนนิเทศในคัมภีร์วิสุทธิ-
มรรคนั่นเอง.
แต่ว่า ในคำว่า นามรูปสมุทยา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้น
แห่งสฬายตนะ เพราะนามรูปเกิด โดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในนิเทศ
แห่งปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ด้วยสามารถแห่งอายตนะที่มีรูป
(อย่างเดียว) และนาม (อย่างเดียว) และทั้งนามทั้งรูปเป็นปัจจัย.
คำที่เหลือมีประการดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
จบ กถาพรรณนาสฬายตนวาระ
กถาพรรณนานามรูปวาระ
[๑๒๕] พึงทราบวินิจฉัยในนานรูปวาระ (ต่อไป) :-
นามมีการน้อมไปเป็นลักษณะ. รูปมีการสลายไปเป็นลักษณะ.
แต่ว่าในวาระแห่งวิตถารนัยของนามรูปนั้น พึงทราบว่า เวทนา ได้แก่
เวทนาขันธ์ สัญญา ได้แก่สัญญาขันธ์ เจตนา ผัสสะ มนสิการุ ได้แก่
สังขารขันธ์. ถึงจะมีธรรมะแม้อย่างอื่นที่สงเคราะห์เข้าด้วยสังขารขันธ์
ก็จริงอยู่ แต่ธรรม ๓ อย่างนี้ มีอยู่ในจิตที่มีพลังต่ำทุกดวง เพราะฉะนั้น
ในนามรูปวาระนี้ พระเถระก็ได้แสดงสังขารขันธ์ไว้ ด้วยอำนาจแห่งธรรม
๓ อย่างเหล่านี้นั่นเอง
คำว่า จตฺตาริ ในคำว่า จตฺตาริ มหาภูตานิ นี้ เป็นการกำหนด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 599
การนับ (เป็นจำนวนนับ).
คำว่า มหาภูตานิ นี้ เป็นชื่อของดิน น้ำ ไฟ ลม แต่เหตุที่
เรียกสิ่งทั้ง ๔ นั้นว่ามหาภูตและนัยแห่งการวินิจฉัยอย่างอื่นในนานรูปนี้
ทั้งหมด ได้กล่าวไว้แล้ว ในนิเทศแห่งรูปขันธ์ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
ส่วนคำว่า จตุนฺน นคำว่า จตุนฺนญฺจ มหาภูตาน อุปาทาย
เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ มีอธิบายว่า อาศัยซึ่ง
มหาภูตทั้ง ๔.
บทว่า อุปาทาย ความว่า เข้าไปยึดไว้ คือจับไว้. อาจารย์
บางพวกว่า นิสฺสาย ( อาศัย ) ก็มี.
ก็ศัพท์ว่า วตฺตมาน นี้ เป็นปาฐะเหลือ (เกิน). อีกอย่างหนึ่ง
คำว่า วตฺตมาน นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถว่า ชุมนุม เพราะ
เหตุนั้น พึงทราบอรรถาธิบายนี้ว่า รูปที่อาศัยการชุมนุมมหาภูตรูปทั้ง ๔
เป็นไปอยู่.
เมื่อเป็นอย่างนี้ แม้ในที่ทุกแห่ง มหาภูตรูป ๔ มีปฐวีเป็นต้น
และรูป ๒๓ อย่าง ที่อาศัยมหาภูต ๔ อย่างเป็นไป ที่ตรัสไว้ในพระบาลี
นั่นเองในคัมภีร์อภิธรรม โดยแยกประเภทเป็นจักขายตนะเป็นต้น แม้
ทั้งหมดพึงทราบว่า ชื่อว่ารูป.
ก็ในคำว่า วิญฺาณสมุทยา นี้ วิญญาณใดเป็นปัจจัยของนาม
(อย่างเดียว) ด้วย ของรูป (อย่างเดียว ) ด้วย ทั้งของนามของรูปด้วย
เพราะฉะนั้น ด้วยสามารถแห่งนาม แห่งรูป และทิ้งนามทั้งรูปที่มี
วิญญาณเป็นปัจจัยนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้นแห่งนามรูปเพราะ
วิญญาณเกิดขึ้น ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในนิเทศแห่งปฏิจจสมุปบาท
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 600
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเทอญ. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ
ดังนี้แล.
จบ กถาพรรณนานามรูปวาระ
กถาพรรณนาวิญญาณวาระ
[๑๒๖] พึงทราบวินิจฉัย ในวิญญาณวาระ (ต่อไป) :-
วิญญาณในเพราะจักษุ ชื่อว่าจักขุวิญญาณ อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณ
ที่เกิดขึ้นแล้วจากจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าจักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ
ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ ก็อย่างนี้ เหมือนกัน.
แต่วิญญาณนี้ ได้แก่มโนนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามโนวิญญาณ.
คำว่า มโนวิญญาณ นี้ เป็นชื่อของวิบากจิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ เว้นทวิ-
ปัญจวิญญาณ.
แต่ในคำว่า สงฺขารสมุทยา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณ เพราะสังขารเกิด ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
นั่นเอง โดยวิญญาณที่มีสังขารเป็นปัจจัย. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแหละ ดังนี้แล.
จบ กถาพรรณนาวิญญาณวาระ
กถาพรรณนาสังขารวาระ
[๑๒๗] พึงทราบวินิจฉัยในสังขารวาระ (ต่อไป) :-
สังขารมีการปรุงแต่งเป็นลักษณะ. แต่ว่า ในวาระแห่งวิตถารนัย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 601
ของสังขารนั้น สังขารที่เป็นไปแล้วทางกาย ชื่อว่ากายสังขาร.
คำว่า กายสังขาร นี้ เป็นชื่อของสัตเจตนา ๒ ดวง คือ ๘
ดวง จากกามาวจรกุศล และ ๑๒ ดวง จาก ( กามาวจร) อกุศลที่เป็นไป
แล้วโดยการไหวในกายทวาร.
คำว่า วจีสังขาร นี้ เป็นชื่อของวจีสัญเจตนา ๒๐ ดวงเหมือนกัน
ที่เป็นไปแล้วโดยการเปล่งถ้อยคำในวจีทวาร.
สังขารที่เป็นไปแล้วทางจิต ชื่อว่าจิตตสังขาร คำว่า จิตตสังขาร
นี้ เป็นชื่อของมโนสัญเจตนา ๑ ดวง โดยโลกิยกุศลและโลกิยอกุศลที่
เป็นไปแล้ว ( เกิดขึ้น) แก่ผู้นั่งคิดอยู่ในที่ลับโดยไม่ได้ทำการไหวกาย
และวาจา. ก็ในคำว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า อวิชชา
ของสังขารที่เป็นกุศลโดยอุปนิสสยปัจจัยบ้าง ของสังขารที่เป็นอกุศล โดย
สหชาตปัจจัยเป็นต้นบ้าง. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง ดังนี้แล
จบ กถาพรรณนาสังขารวาระ
กถาพรรณนาอวิชชาวาระ
[๑๒๘ ] พึงทราบวินิจฉัยในอวิชชาวาระ. (ต่อไป) :-
ความไม่รู้ในทุกขสัจ ชื่อว่าความไม่รู้ในทุกข์. คำว่า ทุกฺเข
อญฺาณ นี้ เป็นชื่อของโมหะ. ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า สมุทเย
อญฺาณ ก็มีนัยนี้.
ในจำนวนสัจจะทั้ง ๔ นั้น การไม่รู้ในทุกข์ พึงทราบได้โดยเหตุ
๔ ประการ คือ โดยการหยั่งลงภายใน ๑ โดยฐาน (ที่ตั้ง) ๑ โดยอารมณ์ ๑
โดยการปกปิดไว้ ๑. จริงอย่างนั้น การไม่รู้ทุกข์นั้น ชื่อว่าหยั่งลง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 602
ภายในทุกข์ เพราะนับเนื่องในทุกขสัจ ทุกขสัจ ชื่อว่าเป็นฐาน (ที่ตั้ง)
เพราะเป็นนิสสยปัจจัยของการไม่รู้ทุกข์นั้น ชื่อว่าเป็นอารมณ์ เพราะความ
เป็นอารัมณปัจจัย (ของการไม่รู้ทุกข์นั้น) และทุกขสัจ ย่อมปกปิด
การไม่รู้ทุกข์นั้นไว้.
ในอธิการแห่งอวิชชาวาระ ความไม่รู้ในสมุทัย พึงรู้ได้โดยเหตุ
๓ ประการ คือ โดยฐาน ๑ โดยอารมณ์ โดยการปิดบังไว้ ๑ เพราะ
สมุทัยนั้นห้ามกันการแทงตลอดลักษณะ ตามความจริง และเพราะไม่
มอบให้ซึ่งความเป็นไปแห่งญาณ. ความไม่รู้ในนิโรธและปฏิปทา
พึงทราบได้โดยเหตุเดียวเท่านั้น คือ โดยการปิดบังไว้. ก็ความไม่รู้
ที่ปิดบังไว้. ก็ความไม่รู้ที่ปิดบังนิโรธและปฏิปทาไว้นั่นเอง พึงทราบได้
เพราะห้ามไว้ซึ่งการแทงตลอดลักษณะ ตามความจริงแห่งนิโรธสัจและ
ปฏิปทาเหล่านั้น และเพราะการไม่มอบให้ซึ่งความไม่เป็นไปแห่งญาณ
ในสัจจะทั้ง ๒ นั้น. แต่ความไม่รู้สัจจะทั้ง ๒ นั้น ไม่เป็นการหยั่งลงสู่ภายใน
ในสัจจะทั้ง ๒ นั้น เพราะไม่นับเนื่องในสัจจะทั้ง ๒ นั้น สัจจะทั้ง ๒
นั้น ก็ไม่เป็นที่ตั้งของความไม่รู้สัจจะทั้ง ๒ นั้น เพราะไม่เป็นธรรมเกิด
ร่วมกัน (และ) ไม่เป็นอารมณ์ เพราะไม่ปรารภสัจจะทั้ง ๒ เป็นไป.
อธิบายว่า สัจจะ ๒ ข้อหลัง เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง แต่ใน
เรื่องนี้ ความไม่รู้ไม่ใช่มืดบอด จึงเป็นไป. ส่วนสัจจะ ๒ ข้อต้น
ลึกซึ้ง เพราะลักษณะของสภาวะเห็นได้ยาก โดยความหมายว่าเป็นข้าศึก
กัน จึงเป็นไปด้วยการถึงวิปลาสในสัจจะทั้ง ๒ นั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺเข พระเถระได้แสดงอวิชชา
ไว้ โดยการสงเคราะห์เข้าด้วยกัน ทั้งโดยฐาน (ที่ตั้ง) โดยอารมณ์ และ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 603
โดยกิจ.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺขสมุทเย ท่านแสดงไว้โดยฐาน (ที่ตั้ง )
โดยอารมณ์ และโดยกิจ.
ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺขนิโรเธ ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย
ท่านแสดงไว้โดยกิจ. แต่โดยไม่แตกต่างกันแล้ว อวิชชา พึงทราบว่า
ท่านแสดงไว้โดยสภาวะ. ด้วยคำว่า อญฺาณ นี้
ก็กามาสวะ ภวาสวะ ในคำว่า อาสฺวสมุทยา นี้ เป็นปัจจัย
แห่งอวิชชา ด้วยสามารถแห่งสหชาตปัจจัยเป็นต้น. อวิชชาสวะ พึงทราบ
ว่า ก็อวิชชาที่เกิดขึ้นก่อนโดยอุปนิสสยปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่าอวิชชาสวะ
ในคำว่า อาสฺวสมุทยา นี้. อวิชชาสวะนั้นจะเป็นอุปนิสสยปัจจัย ของ
อวิชชาที่เกิดขึ้นในกาลต่อมา. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ
ดังนี้แล.
จบ กถาพรรณนาอวิชชาวาระ
กถาพรรณนาอาสววาระ
[๑๓๐] พึงทราบวินิจฉัยในอาสววาระ (ต่อไป) :-
อวิชชาในคำว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจย
เป็นต้น ของกามาสวะและภวาสวะ และเป็นปัจจัยแห่งอวิชชาสวะ โดย
อุปนิสสยปัจจัยนั่นแหละ แต่ในคำว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ อวิชชา
ที่เกิดขึ้นในกาลต่อ ๆ มา พึงทราบว่า เป็นอวิชชาสวะ. อวิชชานั่นเอง
ที่เกิดขึ้นในกาลก่อน จะเป็นอุปนิสสยปัจจัยของอวิชชาสวะที่เกิดขึ้นในกาล
ต่อมา. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 604
วาระนี้ ท่านกล่าวไว้แล้ว โดยการแสดงปัจจัยของอวิชชานี้ ที่
เป็นประธานในบทปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย. ด้วยวาระที่ท่านกล่าวไว้อย่าง
นี้ เป็นอันสำเร็จความที่สงสารมีที่สุดเบื้องต้น (เงื่อนต้น) อันใคร
ตามไปไม่รู้แล้ว.
ถามว่า ไม่รู้อย่างไร ? แก้ว่า (ไม่รู้อย่างนี้คือ ) เพราะว่า การ
เกิดขึ้นแห่งอวิชชา มีเพราะการเกิดขึ้นแห่งอาสวะ การเกิดขึ้นแห่ง
อาสวะก็มี แม้เพราะการเกิดขึ้นแห่งอวิชชา อาสวะเป็นปัจจัยของอวิชชา
ถึงอวิชชาก็เป็นปัจจัยของอาสวะ เพราะอธิบายดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ที่สุด
เบื้องต้น (เงื่อนต้น)๑ จึงไม่ปรากฏ ภาวะที่สงสารมีเงื่อนต้นที่ใคร
ตามไปไม่รู้แล้ว เป็นอันสำเร็จแล้ว เพราะเงื่อนต้นของอวิชชานั้น
ไม่ปรากฏ.
วาระเหล่านั้นทั้งหมดคือ กัมมปถวาระ ๑ อาหารวาระ ๑ ทุกข-
วาระ ๑ ชรามรณวาระ ๑ ชาติวาระ ๑ ภววาระ ๑ อุปาทานวาระ ๑
ตัณหาวาระ ๑ เวทนาวาระ ๑ ผัสสวาระ ๑ สฬายตนวาระ ๑ นามรูป-
วาระ ๑ วิญญาณวาระ ๑ สังขารวาระ ๑ อวิชชาวาระ ๑ อาสววาระ ๑
รวม ๑๖ วาระ พระเถระได้กล่าวไว้แล้วในพระสูตรนี้ ดังที่พรรณนา
มานี้.
เพราะในจำนวนวาระทั้ง ๑๖ วาระนั้น แต่ละวาระท่านวางไว้ ๒
อย่าง โดยอย่างย่อและอย่างพิสดาร จึงเป็น ๓๒ สถาน. ด้วยเหตุดังนี้
ในพระสูตรนี้ จึงเป็นอันพระเถระได้กล่าวสัจจะไว้ อย่าง ใน ๒๒
สถานเหล่านี้ .
๑. ปาฐะ ปุพฺพา โกฏิ แยกกัน แต่ฉบับพม่าติดกันเป็น ปุพฺพโกฏิ จึงแปลตามที่ไม่แยก.
ถ้าแยก ก็ต้องแปลว่า เบื้องต้น เบื้องปลาย...
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 605
พระเถระได้กล่าวอรหัตไว้ในที่ ๑๖ สถาน ที่กล่าวไว้แล้วโดย
พิสดารในบรรดาอย่างย่อและอย่างพิสดารนั้นนั่นเอง. แต่ตามมติของพระ
เถระท่านได้กล่าวถึงสัจจะทั้ง ๕ และมรรคทั้ง ไว้ใน ๓๒ สถานเท่านั้น
เพราะเหตุดังที่กล่าวมาแล้วนี้แล ในพระพุทธพจน์ที่พระธรรมสังคาห-
กาจารย์ได้รวบรวมไว้ในนิกายใหญ่ทั้ง ๕ นิกาย หมดทั้งสิ้น จึงไม่มีสูตร
ที่ประกาศสัจจะ ๔ อย่างไว้ถึง ๓๒ ครั้ง และประกาศอรหัตไว้ถึง ๓๒
ครั้ง นอกจากสัมมาทิฏฐิสูตรนี้แล.
คำว่า อิทนโวจายสฺมา สาริปุตฺโต มีเนื้อความว่า ท่านพระ
สารีบุตร ได้กล่าวสัมมาทิฏฐิสูตรนี้ แพรวพราวไปด้วยเหตุ ๖๔ อย่าง
คือ ด้วยการบรรยายอริยสัจ ๔ ไว้ ๓๒ อย่าง และบรรยายพระอรหัตไว้
๓๒ อย่าง.
ภิกษุเหล่านั้น พอใจ ได้พากันชมเชยภาษิตของท่านพระสารีบุตร
ดังนี้แล.
จบ อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร
จบ สูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 606
๑๐. สติปัฏฐานสูตร
[๑๓๑ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในแคว้นกุรุทั้งหลาย
(ทรงอาศัย) นิคมหนึ่งของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ. ณ ที่นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[๑๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อก้าวล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง. ทางนี้คือ
สติปัฏฐาน ๔ ประการ. ๔ ประการเป็นไฉน ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 607
อานาปานบรรพ
[๑๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่ควงไม้ก็ดี ไปสู่เรือนร้าง
ก็ดี นั่งขัดสมาธิตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. เธอมีสติหายใจ
ออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว.
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว. เมื่อหายใจออกสั้น
ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้า
สั้น. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก.
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า. ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก. ย่อมสำเหนียกว่า เรา
จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจเข้า.
นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือก
กลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว. เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น
แม้ฉันใด. ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เรา
หายใจออกยาว. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว. เมื่อ
หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า
เราหายใจเข้าสั้น. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
หายใจออก. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
หายใจเข้า. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก. ย่อม
สำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 608
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายใน
กายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งควานเสื่อม
ในกายบ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงเพื่อ
ความรู้ เพียงเพื่ออาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย
อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย อยู่.
จบ อานาปานบรรพ
อิริยาปถบรรพ
[๑๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน
ก็รู้ชัดว่า เราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า เรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่า เรานั่ง
เมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า เรานอน หรือเธอทั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใด ๆ
ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้น ๆ. ด้วยเหตุดังพรรณนานานี้ ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นกายในกาย ภายในบ้าง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุ
ชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
จบ อิริยาปถบรรพ
สัมปชัญญบรรพ
[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้กระทำ
สัมปชัญญะ ในการก้าวไปและถอยกลับ, ในการมอง และการเหลียว,
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 609
ในการคู้เข้าและเหยียดออก, ในการทรงผ้าสังฆาฏิ, บาตร และจีวร,
ในการกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลา
เดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง. ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้
อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
จบ สัมปชัญญบรรพ
ปฏิกูลบรรพ
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นกายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป
มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า มีอยู่ใน
กายนี้ คือผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก
ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่
อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน
น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร. ไถ้มีปากสองข้าง เต็มด้วยธัญญชาติ
นานาชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร
บุรุษผู้มีนัยน์ตาดี แก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก
นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ. เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่
ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการ
ต่าง ๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือผม ขน ฯลฯ ไขข้อ มูตร. ด้วยเหตุ
ดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 610
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย อยู่.
จบ ปฏิกูลบรรพ
ธาตุบรรพ
[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้ง หลายอีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นกายนี้แหละ ตามที่ตั้งอยู่ โดยความเป็นธาตุว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ
ธาตุไฟ ธาตุลม มีอยู่ในกายนี้. คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด
ฆ่าแม่โคแล้ว นั่งแบ่งออกเป็นส่วน ๆ อยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ตามที่ตั้ง
อยู่โดยความเป็นธาตุว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มีอยู่ในกาย
นี้. ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายใน
บ้าง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกาย
ในกาย อยู่.
จบ ธาตุบรรพ
นวสีวถิกาบรรพ
[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือน
ภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง
สามวันบ้าง ที่ขึ้นพองมีสีเขียว น้ำเหลืองไหล เธอย่อมน้อมเข้าสู่กายนี้
แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้
ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้. ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นกายในกาย ภายในบ้าง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 611
ชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย อยู่.
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง ฝูงพญาแร้งจิกกิน
อยู่บ้าง หมู่สุนัขบ้านกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์
ต่าง ๆ กัดกินอยู่บ้าง. เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายนี้
เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไป
ได้. ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายบ้าง ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย อยู่.
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ เป็น
ร่างกระดูก ยังเปื้อนเลือด แต่ปราศจากเนื้อ ยังมีเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
เป็นร่างกระดูก ปราศจากเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยราดไปในทิศน้อยทิศใหญ่
คือกระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง
กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกข้อสันหลังไป
ทางหนึ่ง กระดูกซี่โครงไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง กระดูก
แขนไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูก
คางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง.
เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็น
ธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้. ด้วยเหตุ
ดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ภายในบ้าง ฯ ล ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 612
ในกาย อยู่.
อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ใน
ป่าช้า เป็นกระดูก มีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์. . . เป็นกระดูก เป็น
กองเรี่ยราดแล้ว เก่าเกินปีหนึ่งไปแล้ว . . เป็นกระดูกผุละเอียด เธอ
ย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา
คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้. ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกาย
ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อม
ในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกาย
บ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงเพื่อความรู้
เพียงเพื่ออาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่
แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย อยู่.
จบ นวสีวถิกาบรรพ
จบ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาอยู่อย่างไร
เล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข-
เวทนา เสวยทุกขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา เสวย-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 613
อทุกขมสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา. หรือเสวยสุข-
เวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยสุขเวทนาไม่มี
อามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส. หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส. หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส. หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนามี
อามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยอทุกขมสุข-
เวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส. ด้วย
เหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบาง
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนา
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอ
ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงเพื่อความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึก
เท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนา อยู่.
จบ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ หรือจิต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 614
ปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ. จิตมีโทสะ ก็รู้ชัด ว่าจิตมีโทสะ
หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ. หรือจิตมีโมหะ
ก็รู้ชัดว่า จิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจาก
โมหะ. จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน.
จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหัคคตะ จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า
จิตไม่เป็นมหัคคตะ. จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า
หรือจิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า. จิตตั้งมั่น
ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น. ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น. จิตหลุดพ้น
ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่หลุด
พ้น. ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง
พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น
ทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ
ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.
จบ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
นิวรณบรรพ
[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 615
อยู่อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัย พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้
ชัดว่า กามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันทะไม่มีอยู่
ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะไม่มีอยู่ ภายในจิตของเรา. อนึ่ง
กามฉันทะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันทะ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ด้วย กามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อม
รู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่
ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา. อนึ่ง
พยาบาทที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ด้วย พยาบาทที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้
ชัดว่า ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ
ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา. อนึ่ง
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย. อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 616
ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจ-
กุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายใน
จิตของเรา. อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วย
ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้วจะไม่
เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ
วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของ
เรา หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มี
อยู่ ณ ภายในจิตของเรา. อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วย
ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสีย
ได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่
เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภาย
ในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรม
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่น
อยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือนิวรณ์ ๕ อยู่.
จบ นิวรณบรรพ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 617
ขันธบรรพ
[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณา
เห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕.
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไร
เล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความ
เกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิด
ขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความ
เกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้
ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ
อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ. ด้วยเหตุ
ดังพรรณนามานี้ ภิกษุ ย่อมพิจารณาเป็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอก
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือควานเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง
ความเสื่อมในธรรมบ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่
ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและ
ทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕
อยู่.
จบ ขันธบรรพ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 618
อายตนบรรพ
[ ๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณา
เห็นธรรมในธรรม คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖.
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรม คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖
อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตา รู้จักรูป และรู้จักสังโยชน์
ที่อาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นเกิดขึ้น. อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดขึ้นด้วย
ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้
ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่
เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง . . .
ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น . . .
ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส . . .
ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักโผฏฐัพพะ. . .
ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ และรู้จักสังโยชน์ที่อาศัยใจและ
ธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้นเกิดขึ้น.
อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ
นั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย. ด้วยเหตุดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 619
คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง อยู่. อนึ่ง
สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึก
เท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ
ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรม
คืออายตนะภายในและอายตนะภายนอก ๖ อยู่.
จบ อายตนบรรพ
โพชฌงคบรรพ
[๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ ๗.
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อม
รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์
ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายใน
จิตของเรา. อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์
ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต. . .
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต . . .
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต. . .
อีกอย่างหนึ่งเมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต. . .
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต . . .
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 620
อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้
ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มี
อยู่ ณ ภายในจิตของเรา. อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิด
ขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิด
ขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย. ด้วย
เหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรนภายในบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้ง
ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้ง
ความเกิดขึ้นความเสื่อมในธรรมบ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรม
มีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อัน
ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ
โพชฌงค์ ๗.
จบ โพชฌงคบรรพ
สัจจบรรพ
[๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔.
ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 621
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ภายนอกบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้างพิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อม
ในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรม
บ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่น อยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อ
ว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่.
[ ๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ?
แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งไม่
เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพลากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนา
สิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดอยู่อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ?
ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏ
แห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้น ๆ อันนี้เรียกว่าชาติ.
ก็ชราเป็นไฉน ?
ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความ
เสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์
นั้น ๆ อันนี้เรียกว่าชรา.
ก็มรณะเป็นไฉน ?
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 622
ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อนความแตกทำลาย ความหายไป
มฤตยูความตาย การทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ
ไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ อัน
นี้เรียกว่ามรณะ.
ก็โสกะเป็นไฉน ?
ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะของบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก
ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายในของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้
เรียกว่าโสกะ.
ก็ปริเทวะเป็นไฉน ?
ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไร
รำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพันของ
บุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่าง
ใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ.
ก็ทุกข์เป็นไฉน ?
ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อัน
เป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์.
ก็โทมนัสเป็นไฉน ?
ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์
อันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส.
ก็อุปายาสเป็นไฉน ?
ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 623
บุคคลผู้คับแค้นของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูก
ธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส.
ก็ความประจวบกับสัตว์และสังขารไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ?
ความประสบความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคนด้วยรูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วย
บุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนา
ความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้
เรียกว่า ความประจวบกับสัตว์และสังขารไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์.
ก็ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน.
ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน
ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือ
ด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก
ปรารถนาความเกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น คือ มารดา บิดา พี่ชาย
น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิต อันนี้
เรียกว่า ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารเป็นที่รักก็เป็นทุกข์.
ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ?
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย
ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่
ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์.
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ความ
ปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา . . .
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 624
ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
อุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้
ข้อนี้ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์.
ก็โดยย่อ อุปทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์เป็นไฉน ?
อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โดยย่อ เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันนี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ.
[๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน ?
ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยนันทิราคะ เพลิดเพลินยิ่งนัก
ในอารนณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ก็ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน ? เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อม
ตั้งอยู่ที่ไหน ? ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด
ย่อมเกิดในที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น อะไรเป็นที่รักที่เจริญ
ใจในโลก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น. รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้. จักขุวิญญาณ
โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่
ย่อมตั้งอยู่ที่นี้. จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 625
มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้
เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้. จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา
มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อม
เกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้. รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา
รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้. รูปสัญเจตนา
สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิด
ที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้. รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา
รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา
เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้. รูปวิตก สัททวิตก
คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก
ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้. รูปวิจาร
สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก
ที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้ง
อยู่ที่นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.
[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ?
ความดับด้วยสามารถความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละ
คืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัยในตัณหานั้น. ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคล
จะละ ย่อมล่ะเสียได้ในที่ไหน ? เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็น
ที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 626
เมื่อจะดับ ย่อมดับได้ที่นั้น. ก็อะไรเป็นที่รักเจริญใจในโลก ตา หู
จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ
ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อม
ละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้. จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆาน-
วิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจ
ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับ
ที่นี้. จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน-
สัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้
ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้. จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา
มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจโนโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ
ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้. รูปสัญญา สัททสัญญา คันธ-
สัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจใน
โลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้.
รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพ-
สัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคล
จะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้. รูปตัณหา สัททตัณหา
คันธตัณหา รสตัณหา โผฎฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจ
ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับ
ที่นี้. รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก
เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 627
เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้. รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร
โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคล
จะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.
[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
เป็นไฉน ?
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมา-
สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ?
ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด ความรู้ในความดับทุกข์
ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ?
ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความ
ดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.
สัมมาวาจาเป็นไฉน ?
การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากพูด
คำหยาบ งดเว้นจากพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา.
สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ?
การงดเว้นจากล้างผลาญชีวิต งดเว้นจากถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้
งดเว้น จากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ.
สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ?
อริยสาวกในธรรนวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด สำเร็จการเลี้ยงชีพ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 628
ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ.
สัมมาวายะเป็นไฉน.
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิด
ขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรม
ที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิง ไพบูลย์
มีขึ้น เต็มเปี่ยม แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมา-
วายามะ.
สัมมาสติเป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาอยู่ . . . พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . พิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ.
สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เ ข้า
ถึงปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอเข้าถึงทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจาร
สงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมี
อุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ. เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป
เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี
อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 629
ละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้
สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
[๑๕๐] ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
คือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรม
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง อยู่.
อนึ่ง สติของเธอ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสัก
ว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และ
ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นธรรมอยู่.
จบ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้
อย่างนี้ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ
พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีขันธปัญจกเหลืออยู่ เป็นพระ
อนาคามี ๗ ปี ยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้
ตลอด ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี . . . ๑ ปี ยกไว้ ผู้ใด
ผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล
๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อ
อุปาที (สังโยชน์) มีเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๗ เดือน ยกไว้ ผู้ใด
ผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ เดือน ๕ เดือน
๔ เดือน ๓ เดือน ๒ เดือน ๑ เดือน กึ่งเดือน. . . กึ่งเดือนยกไว้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 630
ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวัง
ผล ๒ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ
เมื่ออุปาทิ (คือสังโยชน์) ยังเหลืออยู่เป็นพระอนาคามี.
จบ สัจจบรรพ
จบ ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
นิคมวจนะ
[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ
ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ
แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
หนทางนี้ คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าวดังพรรณนา
มาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดี
ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
จบ สติปัฏฐานสูตรที่ ๑๐
จบ มูลปริยายวรรคที่ ๑
ประมวลพระสูตรแห่งวรรคนี้
วรรคอัน ประเสริฐประดับด้วย มูลปริยายสูตร สัพพาสวสังวรสูตร
ธัมมทายาทสูตร ภยเภรวสูตร อนังคณสูตร อากังเขยยสูตร
วัตถูปมสูตร สัลเลขสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร และ สติปัฏฐานสูตร จบ
บริบูรณ์แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 631
อรรถกถาปติปัฏฐานสูตร
[๑๓๑] สติปัฏฐานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าสดับมาแล้ว
อย่างนี้.
ที่มาของคำว่า กุรุ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุรูสุ วิหรติ ความว่า ชนบทแม้
แห่งหนึ่ง เป็นที่อยู่ของราชกุมารผู้อยู่ในชนบทชื่อว่า กุรุ เขาเรียกว่า
กุรู ด้วยรุฬหิศัพท์ (คำที่งอกไปจากดำเดิม ) (พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
ประทับ ) ที่กุรุชนบทนั้น.
แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของพระเจ้า
มันธาตุราช มนุษย์ใน ๓ ทวีป ได้ยิน (คำเล่าลือ) ว่า ขึ้นชื่อว่า
ทวีปชมพู เป็นดินแดนที่อุบัติของยอดคน (อุดมบุรุษ) จำเดิมแต่
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลาย เป็นถิ่น
อภิรมย์อุดมทวีป จึงได้พากันมาพร้อมด้วยพระเจ้าจักรพรรดิมันธาตุราช
ผู้ทรงส่งจักรแก้วออกหน้าแล้วเสด็จติดตามมายังทวีปทั้ง ๔.
จากนั้นมา พระราชาได้ตรัสถามปริณายกแก้วว่า ยังมีหรือไม่
ถามที่ ๆ เป็นรมณียสถานยิ่งกว่ามนุษยโลก ?
ปริณายกแก้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระอาชญาไม่พ้นเกล้า
ไฉนใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงตรัสอย่างนี้ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมิได้
ทอดพระเนตรอานุภาพของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์หรือ ? สถานที่ดวง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 632
จันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านี้ เป็นรมณียสถานยิ่งกว่ามนุษยโลกนี้แน่.
พระราชาจึงทรงส่งจักรแก้วไปก่อนแล้ว ได้เสด็จไป ณ ที่นั้น.
ท้าวจาตุมมหาราชได้ทราบว่า พระเจ้ามันธาตุราชเสด็จนาแล้ว ทรงดำริ
ว่า พระราชาผู้ทรงฤทธิ์มาก (เสด็จมาแล้ว) เราไม่อาจจะต่อต้านได้ด้วย
การรบ จงได้มอบราชสมบัติของตนถวาย.
พระองค์ทรงรับราชสมบัตินั้นแล้ว ได้ตรัสถามอีกว่า ยังมีอยู่หรือไม่
สถานที่ที่เป็นรมณียสถานยิ่งกว่านี้ ?
ห้าวจาตุมมหาราชได้กราบทูลถึงดาวดังสภพแด่พระองค์ว่า พระ-
พุทธเจ้าข้า ดาวดึงสภพเป็นรมณียสถานยิ่งกว่า (นี้). บนดาวดึงสภพ
นั้น มหาราชทั้ง ๔ เหล่านี้ เป็นผู้รักษาการ (ปริจาริกา) ของท้าว
สักกเทวราชนั้น จะประทับยืนที่พระทวาร ท้าวสักกเทวราชทรงมีฤทธิ์
มาก ทรงมีอานุภาพมาก และพระองค์ทรงมีเทวสถานสำหรับใช้ เหล่านี้
คือ เวชยันตปราสาทสูง ๑ โยชน์ สุธรรมาเทวสภาสูง ๕๐๐ โยชน์
เวชยันตรถสูง ๑๕๐ โยชน์ ช้างเอราวัณก็สูงเท่านั้น สวนนันทวัน สวน
จิตรลดาวัน สวนปารุสกวัน สวนมิสกวัน ประดับประดาด้วยทิพย-
พฤกษาจำนวนพันต้น ต้นไม้สวรรค์ ชื่อปาริฉัตตกะ สูง ๑๐๐ โยชน์
ภายใต้ต้นปาริฉัตตกะนั้น มีพระที่นั่งบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ มีสีเหมือน
ดอกหงอนไก่ ยาว ๖๐ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ สูง ๕ โยชน์ ซึ่ง
อ่อนนุ่น เมื่อท้าวสักกเทวราชทรงประทับนั่ง พระวรกายจะจมลงครึ่ง
พระองค์. ครั้นทรงสดับคำกราบบังคมทูลนั้นแล้ว พระราชามีพระราช
ประสงค์จะเสด็จไป ณ ดาวดึงสภพนั้น จึงทรงโยนจักรแก้วขึ้นไป.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 633
จักรแก้วนั้นประดิษฐานอยู่บนอากาศ๑พร้อมด้วยจตุรงคเสนา. ต่อมา
จักรแก้วก็ร่อนลงจากท่ามกลางเทวโลกทั้ง ๒ ประดิษฐานอยู่ที่พื้นดิน
พร้อมด้วยจตุรงคเสนา มีปริณายกแก้วเป็นประมุข. พระราชาได้เสด็จไป
ยังดาวดึงสภพลำพังพระองค์เดียวเท่านั้น.
ท้าวสักกะพอได้ทรงทราบว่า พระเจ้ามันธาตุเสด็จมาเท่านั้น ก็
เสด็จต้องรับพระองค์กราบบังคมทูลว่า ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท
ปกเกล้าปกกระหม่อม พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่ใต้ฝ่า
ละอองธุลีพระบาทเสด็จมา (นี้เป็น) ราชสมบัติของใต้ฝ่าละอองธุลี-
พระบาทเอง ขอทูลเชิญปกครองเถิดพระพุทธเจ้าข้า ด้วยเกล้าด้วย
ด้วยกระหม่อมขอเดชะ แล้วได้ทรงแบ่งเทวราชสมบัติออกเป็น ๒ ส่วน พร้อม
ด้วยเทพธิดาฟ้อนรำ ได้น้อมถวาย ๑ ส่วน พระราชาเพียงแต่เสด็จ
ประทับที่ดาวดึงสภพเท่านั้น ความเป็นมนุษย์๒ก็หายไป ความเป็นเทวดา
ก็ปรากฏขึ้นแทนที่. ได้ทราบว่า พระองค์ประทับนั่งบนพระที่นั่งบัณฑุ-
กัมพลศิลาอาสน์ร่วมกับท้าวสักกะ ด้วยเหตุเพียงลืมพระเนตรขึ้นจึงจะ
ปรากฏแตกต่างกัน. ทวยเทพเมื่อไปสังเกตพระองค์ ก็จะลืมไปในความ
แตกต่างระหว่างท้าวสักกะกับพระองค์. พระองค์เมื่อทรงเสวยทิพยสมบัติ
ในดาวดึงสภพนั้น ทรงครองเทวราชสมบัติอยู่ จนท้าวสักกะเสด็จอุบัติ
แล้วจุติไปถึง ๓๖ พระองค์ ก็ไม่ทรงอิ่มด้วยกามคุณเลย ครั้นทรงจุติจาก
เทวโลกนั้นแล้ว ก็ทรงดำรง๓อยู่ที่พระราชอุทยานของพระองค์ มีพระ
๑. ปาฐะ เป็น อากาเสน อุฏฺทิ ฉบับพม่าเป็น อากาเส ปติฏฺาสิ แปลตามพม่า.
๒. ปาฐะ ว่า มนุสฺสตฺตภาโว เทวตฺตภาโว ฉบับพม่าเป็น มนุสฺสภาโว เทวภาโว แปลตามพม่า.
๓. ปาฐะ ปติโต ฉบับพม่าเป็น ปติฏฺิโต จึงแปลตามพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 634
วรกายถูกลมและแดด๑กระทบจึงได้สวรรคต. ก็เมื่อจักรแก้วประดิษฐาน
ที่พื้นดิน ปริณายกแก้วก็ประทับฉลองพระบาทของพระเจ้ามันธาตุ ลง
ในพระสุพรรณบัฏ แล้วมอบถวายราชสมบัติว่า นี้เป็นราชสมบัติของ
พระเจ้ามันธาตุ. มนุษย์ที่มาจากทวีปทั้ง ๓ แม้เหล่านั้น ไม่อาจจะไป
ได้อีก ได้พากันเข้าไปหาปริณายกแก้ว แล้วร้องเรียนว่า ใต้เท้าขอรับ
เหล่ากระผมมาด้วยพระบรมราชานุภาพ บัดนี้จึงไม่อาจจะไปได้ ขอใต้เท้า
ได้กรุณาให้ที่อยู่แก่เหล่ากระผมเถิด. ปริณายกแก้วได้มอบชนบทให้แก่เขา
เหล่านั้น เพื่อประโยชน์แก่การอยู่คนละแห่ง.
ในจำนวนชนบทเหล่านั้น ถิ่นที่มีคนมาจากบุพพวิเทหทวีปอาศัย
อยู่ ได้นามว่า วิเทหรัฐ ตามชื่อเก่านั้นเอง. ถิ่นที่มีตนมาจากอมร-
โคยานทวีปอาศัยอยู่ ได้นามว่า อปรันตชนบท. ถิ่นที่มีคนมาจากอุดร-
กุรุทวีปอาศัยอยู่ ได้นามว่า กุรุรัฐ. แต่คนทั้งหลายเรียกด้วยพหูพจน์
โดยหมายถึงบ้านและนิคม จำนวนมาก เพราะเหตุดังที่กล่าวมาแล้วนี้
ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่าประทับอยู่ที่หมู่บ้านกุรุทั้งหลาย (เป็นพหูพจน์)
ดังนี้ .
ที่มาของคำว่า กัมมาสธัมมะ
ในบทว่า กมฺมาสธมฺม ในบรรดาคำว่า กมฺมาสธมฺม นาม
กุรูน นิคโม นี้ อาจารย์บางพวกกล่าวอรรถาธิบายความ โดย (แปลง)
ธ อักษร เป็น ท อักษร. สถานที่ชื่อว่า กัมมาสธัมมะ เพราะเป็นที่
๑. ปาฐะว่า ผุฏฺิตคฺคตฺโต พม่าเป็น ผุฏฺคตฺโต จึงแปลตามพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 635
ถูกทรมานของคนเท้าด่าง. พระเจ้าโปริสาท ผู้มีพระบาทด่าง เขา
เรียกว่า กัมมาสะ (เจ้าองค์ต่าง).
เล่ากันมาว่า แผลเป็นที่พระบาทในที่ที่ถูกตอตำ งอกขึ้นคล้ายไม้
มีลาย เพราะฉะนั้น จึงปรากฏว่ามีพระบาทด่าง. และในโอกาสนั้น
พระองค์ถูกทรมาน แล้วถูกห้ามจากความเป็นมนุษย์กินคน.
ใครทรมาน ?
พระมหาสัตว์.
ถามว่า ในชาดกอะไร ?
แก้ว่า พระเถระพวกหนึ่ง (อ้างว่ามา) ในสุตตโสมชาดก.
แต่พระเถระเหล่านี้บอกว่า มาในชยทิสชาดก. จริงอย่างนั้น
พระมหาสัตว์เจ้าได้ทรงทรมานพระเจ้าโปริสาท ผู้มีพระบาทด่าง. ดังที่
ท่านกล่าวไว้ว่า :-
ปางเมื่อเราเป็นพระบรมโอรสาธิราชของพระเจ้า
ชยทิส ผู้ทรงเป็นราชาธิบดีแห่งปัญจาลรัฐได้สละชีวิต
ปลดเปลื้องพระราชบิดาแล้ว อีกอย่างหนึ่ง เราได้
ให้พระเจ้าโปริสาทผู้มีพระบาทด่างเลื่อมใสแล้ว ดังนี้.
แต่ลางอาจารย์อรรถาธิบายด้วย ธ อักรษรอย่างเดียว. ดังที่เล่า
กันมาว่า ชาวกุรุรัฐมีขนบธรรมเนียมประจำกุรุรัฐ แต่เกิดความด่างพร้อย
ขึ้นในขนบธรรมเนียมนั้น เพราะฉะนั้น ที่ที่ด่างพร้อยนั้นจึงถูกเรียกว่า
กัมมาสธัมมะ เพราะมีธรรมคือความด่างพร้อยเกิดขึ้น.
ถามว่า เหตุไฉนท่านจึงไม่กล่าวซึ่งนิคมที่อยู่อาศัยกันแห่งนี้เท่านั้น
ไว้ด้วยสัตตมีวิภัตติ ในคำว่า กัมมาสธัมมะ นั้น ?
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 636
แก้ว่า เพราะ (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ไม่มีโอกาสที่จะประทับ.
ได้ทราบว่า ไม่มีวิหารอะไรที่เป็นโอกาสให้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับในนิคมนั้น. แต่ห่างออกจากนิคมไป ได้มีไพรสณฑ์ใหญ่ใน
ภูมิภาคแห่งหนึ่ง สมบูรณ์ด้วยน้ำเป็นรมณียสถาน. พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จประดับที่มหาไพรสณฑ์นั้น ทรงเอานิคมนั้นเป็นโคจรคาม (บ้าน
รับบิณฑบาต). เพราะฉะนั้น ควรเข้าใจความหมายในเรื่องนี้ว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้า เสด็จประทับที่หมู่บ้าน กุรุ ทรงเอานิคมของชาวกุรุที่ชื่อว่า
กัมมาสธัมมะ เป็นโคจรคาม.
[๑๓๒] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เอกายโน อย ภิกฺขเว มคฺโค
ดังต่อไปนี้ :-
ทำไมจึงตรัสสติปัฏฐานสูตรที่กุรุรัฐ ?
ถามว่า เหตุไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระสูตรนี้ใน
แคว้นกุรุรัฐนั้น ?
ตอบว่า เหตุไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสพระสูตรนี้ใน
แคว้นกุรุรัฐนั้น ?
ตอบว่า เพราะชาวกุรุสามารถจะรับเอาพระธรรมเทศนาที่ลึกซึ้งได้.
ได้ทราบว่า ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาทั้งหลาย ชาว
กุรุรัฐ เป็นผู้มีร่างกายและจิตใจเหมาะสมเป็นนิจ ด้วยสามารถแห่งปัจจัย
คือฤดูเป็นที่สบาย เพราะรัฐนั้นสมบูรณ์ด้วยปัจจัยคือฤดู. คนเหล่านั้น
มีกำลังปัญญา อันความเหมาะสมแห่งจิตใจและร่างกายอนุเคราะห์แล้ว
จะเป็นผู้สามารถรับ (ฟัง) ถ้อยคำที่ลึกซึ้งได้. เพราะฉะนั้น พระผู้
มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเล็งเห็นว่าคนเหล่านั้นสามารถจะรับ (ฟัง)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 637
พระธรรมเทศนาอันลึกซึ้งนี้ได้ จึงได้ตรัสสติปัฏฐานสูตรที่มีอรรถลึกล้ำนี้
โดยเพิ่มพระกรรมฐานเข้าในพระอรหัตในฐานะ ๑๙ อย่าง.
อุปมาเหมือนบุรุษได้ผอบทองคำแล้ว บรรจุดอกไม้นานาชนิดไว้
ในนั้น หรือได้หีบทองคำแล้ว เก็บรัตนะทั้ง ๗ ไว้ (ในนั้น) ฉันใด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ครั้นทรงได้ชาวกุรุรัฐ๑ บริษัท จึงได้ทรง
แสดงพระธรรมเทศนาที่ลึกซึ้ง. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ในมัชฌิมนิกาย
มูลปัณณาสก์นี้ จึงได้ทรงแสดงพระสูตรที่มีเนื้อความลึกซึ้งไว้อย่างหนึ่ง
ในทีฆนิกาย ได้ทรงแสดงไว้อีกอย่างหนึ่งคือ มหานิทานสูตร ๑ มหา-
สติปัฏฐานสูตร ๑ (และ) ในมัชฌิมนิกายนี้ ได้ทรงแสดงพระสูตรไว้
อีกอย่างหนึ่ง คือ สาโรปมสูตร ๑ รุกขูปมสูตร ๑ รัฏฐปาลสูตร ๑
มาคันทิยสูตร ๑ อานัญชสัปปายสูตร ๑.
อีกอย่างหนึ่ง ในชนบทนั้น ตามปกติแล้ว บริษัททั้ง ๔ พากัน
ประกอบความเพียรเนือง ๆ ในสติปัฏฐานภาวนาอยู่ โดยที่สุดแม้พวก
ทาส, กรรม และบริวารชน ก็พูดจากันเกี่ยวกับสติปัฏฐานนั้น. แม้แต่
ที่ท่าน้ำและสถานที่ปั่นด้ายกันเป็นต้น ขึ้นชื่อว่าการพูดกันในเรื่องไร้
ประโยชน์จะเป็นไปไม่ได้เลย.
ถ้าหญิงคนใดคนหนึ่งถูกถามว่า คุณแม่จ๋า คุณแม่มนสิการสติปัฏ-
ฐานภาวนาข้อไหน ? แล้วตอบว่า ไม่ได้มนสิการข้อไหนเลย. คนทั้ง-
หลายจะตำหนิเธอว่า ชีวิตของเธอไร้ประโยชน์ เธอถึงจะมีชีวิตอยู่ก็เช่น
กับคนตายแล้ว. จึงได้ให้โอวาทเธอว่า ทีนี้อย่าได้ทำอย่างนี้ แล้วให้เรียน
เอาสติปัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง. แต่ (ถ้า) หญิงใดพูดว่า ฉันมนสิการ
๑. ปาฐะว่า กุรุรฏวาสีน ฉบับพม่าเป็น กุรุรฏฺวาสีปริส แปลตามพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 638
สติปัฏฐานชื่อโน้น. คนทั้งหลายจะพากันให้สาธุการว่า สาธุ สาธุ
แล้วสรรเสริญด้วยถ้อยคำทั้งหลายมีอาทิว่า ชีวิตของเธอเป็นชีวิตที่ดีแล้ว
เธอชื่อว่าเป็นมนุษย์สมบูรณ์แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอาบัติขึ้นมา
เพื่อประโยชน์แก่เธอ. ก็ในเรื่องนี้ไม่เฉพาะแต่มนุษย์ชาติอย่างเดียวเท่านั้น
ที่พากันประกอบมนสิการสติปัฏฐาน แม้แต่พวกสัตว์เดียรัจฉานที่อาศัยเขา
อยู่ (ก็มนสิการสติปัฏฐาน) ในการทำมนสิการสติปัฏฐานของสัตว์
นั้น มีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้ :-
นกแขกเต้าเจริญสติปัฏฐาน
เล่ากันนาว่า นักฟ้อนรำคนหนึ่ง เที่ยวจับลูกนกแขกเต้ามาฝึก
นางอาศัยสำนักภิกษุณีอยู่ เวลาไปก็ไป (แต่ตัว) ลืมลูกนกแขกเต้า
เหล่าสามเณรีจึงจับมันมาเลี้ยงไว้. ตั้งชื่อให้มันว่า พุทธรักขิต (พุทธ-
รักษา). อยู่มาวันหนึ่ง พระเถรีเห็นมันเจ่าอยู่ข้างหน้า จึงเรียกว่า พุทธ-
รักษา.
มันขานรับว่า อะไรคะ คุณแม่.
มีมนสิการภาวนา อะไรบ้างไหม ? พระเถรีถาม
ไม่มีคะ คุณแม่ นกตอบ.
พระเถรีพูดว่า แกเอ๋ย ธรรมดาผู้อยู่ในสำนักบรรพชิต ไม่ควรจะ
เป็นอยู่โดยปล่อยอัตภาพเสีย (ปล่อยตัว) ควรปรารถนามนสิการอะไร
บางอย่างนะ แล้วได้บอกว่า แต่อย่างอื่นเจ้าไม่สามารถ (ทำได้) จง
สาธยาย (บริกรรม) ว่า อฎฺิ อฏฺิ (กระดูก กระดูก). มันตั้งอยู่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 639
ในโอวาทของพระเถรี เที่ยวสาธยายว่า อฏฺิ อฎฺิ (กระดูก กระดูก).
อยู่มาวันหนึ่ง ตอนเช้ามันเกาะปลายเสาผึ่งแดดอ่อนอยู่ นกตัวหนึ่ง ได้
เอากรงเล็บเฉี่ยวเอาไป. มันส่งเสียงร้อง แจ๊ด แจ๊ด. สามเณรีทั้งหลาย
ได้ยินเสียงร้อง จึงพูดว่า คุณแม่ขา พุทธรักษาถูกนกเฉี่ยวไป หนูจะ
ไปช่วยให้มันปล่อย แล้วพากันถือเอาก้อนดินเป็นต้นติดตามไป ให้มัน
ปล่อยจนได้. พระเถรีถามมัน ผู้ที่เขาช่วยนำมา เกาะอยู่ข้างหน้าว่า
พุทธรักษาเวลานกเฉี่ยวเอาไป แกคิดอะไร ?
มันตอบว่า คุณแม่เจ้าขา ดิฉันไม่ได้คิดอย่างอื่น คุณแม่ ดิฉัน
คิดถึงกองกระดูกเท่านั้น อย่างนี้ว่า กองกระดูกนั้นแหละ เฉี่ยวเอากอง
กระดูกไป กองกระดูกจะเกลื่อนกลาดไป ไม่ว่าแม้ในที่ไหน ?
ดีแล้ว ดีแล้ว พุทธรักษา (การมนสิการอย่างนั้น) จักเป็น
ปัจจัยของความสิ้นไปแห่งภพของเธอในอนาคต พระเถรีกล่าว.
แม้สัตว์เดียรัจฉานในชนบทนั้น ก็ประกอบมนสิการในสติปัฏฐาน
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยัง
ความเจริญในสติปัฏฐานนั้นเองให้เกิดแก่เขาเหล่านั้น จึงได้ตรัสพระสูตร
นี้ไว้.
ความหมายของเอกายนะ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกายโน แปลว่า ทางเอก.
เพราะว่าทางมีชื่อมากอย่าง คือ มรรคา, ปันถะ, ปถะ,
ปัชชะ, อัญชสะ, วฏุมะ, อายตนะ, นาวา,
อุตตรเสตู, กุลละ, ภิสิ, และสังกมะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 640
ในสติปัฏฐานสูตรนี้ พระองค์ตรัสทางนี้นั้นไว้โดยชื่อว่า อยนะ.
เพราะฉะนั้น ในคำว่า เอกายโน อย ภิกฺขเว มคฺโค (ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเอก ) นี้ควรเข้าใจความหมายอย่างนี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเดียว ไม่ใช่เป็นทาง ๒ สาย.
อีกอย่างหนึ่ง ทางชื่อว่า เอกายนะ เพราะคนคนเดียวเท่านั้น
พึงไป. คำว่า คนเดียว คือควรละการคลุกคลีด้วยหมู่ ปลีกตัวออก
เงียบสงัด ดำเนินไป คือปฏิบัติ (คนเดียว) หรือชื่อว่าอยนะ เพราะ
เพราะเป็นเหตุดำเนินไป คือไปจากสงสาร ถึงพระนิพพาน.
ทางดำเนินของผู้เป็นเอก ชื่อว่า เอกายนะ คำว่า ผู้เป็นเอก ได้แก่
ผู้ประเสริฐที่สุด. และผู้ประเสริฐที่สุดกว่าสรรพสัตว์ คือ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ได้แก่ ( ทางดำเนิน ) ของพระ
ผู้มีพระภาคเจ้า.
อันที่จริง ถึงคนอื่นก็ดำเนินไปตามทางนั้นได้ แต่ถึงอย่างนั้น
ทางนั้นก็ชื่อว่าเป็นทางเสด็จดำเนินของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระ-
องค์ทรงสร้างขึ้น. ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ความจริง
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้
เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อยนะ เพราะไป คือดำเนินไป อธิบายว่า
เป็นไป. มีอธิบายว่า ไปในที่เดียวกัน คือเป็นไปในธรรมวินัย (ศาสนา)
นี้เท่านั้น ไม่ใช่ไปที่อื่น. ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคมี
องค์ ๘ หาได้ในพระธรรมวินัย ( ศาสนา ) นี้เอง. ความจริง เนื้อความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 641
ทั้ง ๒ นี้ ต่างกันเพียงเทศนา (โวหาร) เท่านั้น แต่ก็มีเนื้อความเป็น
อันเดียวกัน.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอกายนะ เพราะไปสู่จุดหมายเดียวกัน มี
อธิบายว่า ในตอนต้นถึงแม้จะเป็นไปโดยนัยแห่งภาวนาที่เป็นหลักแตก
ต่างกัน แต่ตอนหลัง ก็จะไปถึงนิพพานแห่งเดียวกันนั้นแหละ. ดังที่
ท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวไว้ว่า :-
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นที่สุดแห่งการสิ้นความ
เกิด ทรงอนุเคราะห์เกื้อกูล (ทรงมีพระมหากรุณา-
ธิคุณ) ทรงทราบทางไปสู่ที่แห่งเดียว (พระนิพพาน)
ด้วยทางสายนี้ที่คนทั้งหลายได้เคยข้ามโอฆะห้วงน้ำ
มาแล้ว กำลังข้ามอยู่ และจักข้ามต่อไป.
แต่อาจารย์ลางเหล่ากล่าวว่า ชื่อว่า เอกายนะ เพราะไปถึงนิพพาน
ครั้งเดียว ตามนัยแห่งความว่า ไม่ไปถึงฝั่ง (คือพระนิพพาน) ถึง ๒
ครั้ง. คำนั้น ไม่ถูก. เพราะว่า อรรถะ (ความหมาย) อย่างนี้ พยัญชนะ
ควรจะเป็นอย่างนี้ว่า สกึ อยโน (ไม่ใช่เอกายโน). แต่ถ้าจะกล่าว
ประกอบความอย่างนี้ว่า ทางนั้นมีทางไปอย่างเดียว คือมีคติ ได้แก่มี
ความเป็นไปอย่างเดียว ดังนี้ พยัญชนะก็ใช้ได้. แต่อรรถใช้ไม่ได้ทั้ง ๒
อย่าง.
เพราะเหตุไร ?
เพราะในที่นี้ทรงประสงค์เอามรรคที่เป็นบุพพภาค.
อธิบายว่า ในที่นี้พระองค์ทรงประสงค์เอามรรคเป็นที่ตั้งสติ (สติ-
ปัฏฐาน) อันเป็นส่วนเบื้องต้น เป็นไปในอารมณ์ทั้ง ๔ มีกายเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 642
ไม่ใช่มรรคที่เป็นโลกุตตระ. และมรรคที่เป็นส่วนเบื้องต้นนั้นก็ไปได้ไม่ใช่
ครั้งเดียวด้วย ทั่งมีการไปไม่ใช่อย่างเดียว.
ศิษย์กับอาจารย์สนทนากัน
อนึ่ง แม้เมื่อก่อน ในบทนี้ พระมหาเถระทั้งหลาย ก็ได้มีการ
สนทนากันมาแล้วเหมือนกัน. (คือ) พระตรีปิฎกจุลลนาคเถระ ได้
กล่าวไว้ว่า เป็นทางสติปัฏฐานที่เป็นบุพพภาค. แต่อาจารย์ของท่าน คือ
พระตรีปิฎกจุลลสุมนเถระ ได้กล่าวไว้ว่า เป็นทางปนกันไป (ทั้งโลกิยะ
และโลกุตตระ).
เป็นทางเบื้องต้น ครับ ใต้เท้า ท่านตรีปิฎกจุลลนาคเถระกล่าว
เป็นทางปนกันไป คุณ ท่านตรีปิฎกจุลลสุมนเถระค้าน.
เมื่ออาจารย์กล่าวย้ำแล้วย้ำอีก ศิษย์ก็นิ่งไม่คัดค้าน. (ทั้ง ๒ ท่าน)
ก็ลุกขึ้นโดยไม่วินิจฉัย (ชี้ขาด) ปัญหาเลย. ภายหลังพระเถระผู้เป็น
อาจารย์ไปที่ห้องอาบน้ำ คิดว่า เราพูดว่า เป็นทางปนกันไป แต่คุณ
จุลลนาคอ้างเอาว่า เป็นทางเบื้องต้น ในปัญหานี้ จะมีวินิจฉัยกันอย่างไร
นะ จึงร่ายพระสูตรตั้งแต่ต้น ไป กำหนด (ยุติ) ลงตรงนี้ว่า โย หิ
โกจิ ภิกฺขเว อิเม จตฺตาโร สติปฏฺาเน เอว ภาเวยฺย สตฺต รสฺสานิ
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งก็ตาม เจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ เหล่านี้
อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี ) ดังนี้ ท่านก็รู้ว่า ธรรมดาโลกุตตรมรรค ครั้น
เกิดขึ้นแล้ว จะหยุดชะงักอยู่ตลอด ๗ ปี ไม่มี มรรคที่ปนกันไปที่เรา
กล่าวแล้วนั้นมีไม่ได้ ส่วนมรรคที่เป็นบุพพภาค ที่คุณจุลลนาคแสดง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 643
แล้วมีได้ จึงได้ไป ณ ที่ที่สำหรับประกาศในวันธัมมัสสวนะ ๘ ค่ำ.
ได้ทราบว่า พระเถระในปางก่อนชอบฟังธรรม. พอได้ยินเสียง
เท่านั้น ก็คิดว่า เรา (จะฟัง) ก่อน เรา ( จะฟัง) ก่อนแล้ว ลงฟังกัน
อย่างพร้อมพรั่งทีเดียว. และวันนั้นก็เป็นวาระของท่านจุลลนาคเถระ.
เมื่อท่านนั่งบนธรรมาสน์ จับพัดแล้วกล่าวอารัมภบท (บุพพกถา)
พระเถระที่ยืนอยู่หลังอาสนะได้มีความคิดว่า เราจะนั่งในที่ลับ ไม่พูด
(อะไร). เพราะว่า พระเถระในปางก่อน เป็นนักฟัง. จะไม่เที่ยวยกความ
พอใจของตนขึ้นเป็นใหญ่อย่างเดียว เหมือนคนแบกมัดอ้อยไว้ฉะนั้น ถือ
เหตุผลอย่างเดียว. สลัดสิ่งที่ไม่มีเหตุผลทิ้ง. เพราะฉะนั้น พระเถระจึง
พูดว่า คุณ จุลลนาค.
ท่าน (จุลลนาค ) สงสัยว่า ดูเหมือนเสียงท่านอาจารย์ได้หยุด
แสดงธรรมแล้ว เรียนว่า อะไรครับ ใต้เท้า ?
คุณจุลลนาค มรรคปนกันไปที่ฉันว่านั้น ไม่มี แต่มรรคคือสติ-
ปัฏฐานที่เป็นบุพพภาค ที่คุณว่านั้น มี พระเถระพูดตอบ.
พระเถระ (จุลลนาค) คิดว่า อาจารย์ของเรา เรียนปริยัติทั่วถึง
ทรงจำไตรปิฎกไว้ได้เป็นสุตพุทธ ปัญหานี้ ยังมัวสำหรับพระภิกษุถึง
ขนาดนี้ (ชั้นอาจารย์) พระภิกษุที่เป็นรุ่นน้องในอนาคตจักพิศวงปัญหานี้
(แน่นอน) เราจักเอาพระสูตรมาแก้ปัญหานี้ไม่ให้ดิ้นได้. จากคัมภีร์
ปฏิสัมภิทามรรค บุพพภาคสติปัฏฐานมรรค ท่านเรียกว่า เอกายน-
มรรค. พระเถระได้นำเอาพระสูตรมาตั้งว่า
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐที่สุด
บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ( สัจจะ) ทั้ง ๔
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 644
ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม
ประเสริฐที่สุด และบรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีปัญญาจักษุ ประเสริฐ
ที่สุด ทางสายนี้เท่านั้นไม่มีทางสายอื่นที่เป็นไป
เพื่อความบริสุทธิ์แห่งทัสสนะ. เธอทั้งหลาย จง
เดินทางสายนั้นเถิด ที่ให้มารและเสนามารหลง.
เพราะว่าเธอทั้งหลายเดินทางสายนั้นแล้ว จักทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้.
อธิบายมรรค
ทางชื่อว่า มรรค เพราะหมายความว่า อย่างไร ?
เพราะหมายความว่า เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน และเพราะหมาย
ความว่า ผู้มีความต้องการพระนิพพานจะต้องดำเนินไป.
บทว่า สตฺตาน วิสุทฺธิยา (เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย)
ความว่า เพื่อประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีจิตเศร้า
หมองแล้ว เพราะมลทินทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น และเพราะอุปกิเลส
ทั้งหลาย มีอภิชฌาวิสมโลภเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น ก็สัตว์เหล่านี้ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำนวน
มากพระองค์ ตั้งต้นแต่พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ตัณหังกร,
เมธังกร, สรณังกร, ทีปังกร ที่ได้เสด็จอุบัติแล้ว ในกัปกัปเดียวกัน
นั้นแหละ ก่อนแต่กัปนี้ไป ๔ อสงไขย เศษแสนกัป จนถึงพระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 645
ศากยมุนีเป็นที่สุดก็ดี พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า หลายร้อยพระองค์ก็ดี
พระอริยสาวก เหลือที่จะคณานับก็ดี ได้ทรงลอยและลอยมลทินของจิต
ทั้งมวลแล้ว ทรงบรรลุและบรรลุความบริสุทธิ์อย่างยอดเยี่ยม ก็ด้วย
ทางสายนี้. แต่ด้วยสามารถแห่งมลทินของรูป จะไม่มีการบัญญัติความ
เศร้าหมองและความผ่องแผ้วเลย. จริงอย่างนั้น
พระมหาฤาษี (พระพุทธเจ้า) ไม่ได้ตรัสไว้ว่า
มาณพ (คน) ทั้งหลายเศร้าหมอง เพราะรูป
เศร้าหมอง บริสุทธิ์ในเพราะรูปบริสุทธิ์ แต่พระ
มหาฤาษีได้ตรัสไว้อย่างนี้ว่า มาณพ (คน)
ทั้งหลายเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง บริสุทธิ์
ในเพราะจิตบริสุทธิ์.
ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย
เศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง ผ่องแผ้ว เพราะจิตผ่องแผ้ว. และ
ความผ่องแผ้วของจิตนั้นนี้ได้ เพราะทางคือสติปัฏฐานนี้. เพราะเหตุนั้น
พระองค์จึงตรัสไว้ว่า เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย.
บทว่า โสกปริเทวน สมติกฺกมาย (เพื่อระงับโสกปริเทวะ
ทั้งหลาย) ความว่า เพื่อระงับ อธิบายว่า เพื่อละความโศกเศร้า และ
การคร่ำครวญทั้งหลาย.
เพราะว่า มรรคนี้ บุคคลอบรมแล้ว เป็นไปเพื่อระงับความ
โศกเศร้า (ของคนทั้งหลายได้) เหมือนสันตติมหาอำมาตย์เป็นต้น
และระงับการคร่ำครวญ (ของคนทั้งหลาย) ได้ เหมือนปฏาจาราเถรี
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 646
เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า โสกปริเทวาน
สมติกฺกมาย เพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะทั้งหลาย.
ความจริง สันตติมหาอำมาตย์ ถึงจะได้สดับพระคาถาบทนี้ว่า
สิ่งใดจะมีข้างหน้า เธอจงละมันเสีย เธออย่าได้มี
ความกังวลอะไรในภายหลัง ถ้าเธอจักไม่ยึดอะไร
ในท่ามกลาง เธอจักเป็นผู้สงบ เที่ยวไป ดังนี้.
แล้วได้บรรลุอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
พระปฏาจาราเถรี ได้สดับพระคาถาบทนี้ว่า
บุตรไม่มีเพื่อการต้านทาน แม้บิดาและพวกพ้องก็
ไม่มีเพื่อการต้านทาน เมื่อหมู่สัตว์ถูกมัจจุครอบงำ
ย่อมไม่มีการต้านทานในหมู่ญาติทั้งหลาย.
แล้วได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ก็จริงแล. แต่ว่า เพราะขึ้น
ชื่อว่า ภาวนา แล้ว จะไม่เกี่ยวกับธรรมะข้อไหนในกาย, เวทนา, จิต,
ธรรม เป็นไม่มี เพราะฉะนั้น แม้ทั้ง ๒ ท่านนั้น ก็ต้องทราบไว้ด้วยว่า
ก้าวล่วงโสกปริเทวะไปได้ เพราะทางสายนี้เหมือนกัน.
บทว่า ทุกฺขโทมนสฺสาน อตฺถงฺคมาย (เพื่อระงับทุกข์โทมนัส
ทั้งหลาย) หมายความว่า เพื่อระงับ อธิบายว่า เพื่อดับทุกข์ทั้ง ๒
อย่างนี้ คือ ทุกข์ทางกาย ๑ โทมนัสทางใจ ๑. ด้วยว่า มรรคนี้ คน
อบรมแล้ว จะเป็นไปเพื่อดับทุกข์ของคนทั้งหลาย เหมือนของพระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 647
ติสสเถระ เป็นต้น และเพื่อดับโทมนัสของตนทั้งหลาย เหมือนของ
ท้าวสักกะ เป็นต้น . ในเรื่องนั้น มีการแสดงเนื้อความดังต่อไปนี้ :-
พระเถระทุบเท้า
เล่ากันมาว่า ในนครสาวัตถี บุตรชาวกุฏุมพี ชื่อว่า ติสสะ
ละทิ้งเงิน ๔๐ โกฏิ ออกบวช แล้วอยู่ในป่า ที่ไม่มีบ้าน. ภรรยาน้องชาย
คนสุดท้องของเขา ส่งโจร ๕๐๐ คนไปโดยสั่งว่า ไปเถอะ พวกเจ้า
จงปลงชีวิตพระรูปนั้น พวกเขาพากันไปนั่งล้อมพระเถระไว้.
พระเถระพูดว่า พากันมาทำไม อุบาสก ?
พวกผมจักปลงชีวิตท่าน โจรบอก.
อุบาสก ท่านทั้งหลาย จงยึดเอาตัวอาตมาไว้เป็นประกันแล้วให้
ชีวิตอาตมาไว้คืนวันนี้ลืมเดียวเถิด พระเถระขอร้อง.
ท่านสมณะ ใครจักเป็นผู้ค้ำประกันให้ท่านให้ที่นี้ ? โจรถาม.
พระเถระหยิบหินก้อนใหญ่มาทุบกระดูกขาทั้ง ๒ ข้างให้หักแล้ว
บอกว่า อุบาสกเอ๋ย ตัวประกัน (คนนี้) สมควร (ไหม ?)
พวกเขาพากันหลีกไปก่อไฟนอนที่ต้นทางเดินจงกรม (ของท่าน).
เมื่อพระเถระข่มเวทนาไว้แล้ว พิจารณาศีล เพราะอาศัยศีลบริสุทธิ์ ปีติ-
ปราโมทย์จึงเกิดขึ้น. ลำดับต่อจากนั้น ท่านก็เจริญวิปัสสนา บำเพ็ญ
สมณธรรมตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม เวลารุ่งอรุณ ได้บรรลุพระอรหัต
แล้วได้เปล่งอุทานบทนี้ว่า
เราทุบเท้าทั้ง ๒ ข้าง สัญญากะท่านทั้งหลายไว้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 648
เราเอือมระอาความตายทั้ง ๆ ที่ยังมีราคะ ครั้นคิด
อย่างนี้แล้ว เราก็เห็นแจ้งตามความจริง เมื่อถึงเวลา
อรุณขึ้น จึงได้บรรลุพระอรหัต.
พระได้บรรลุพระอรหัตในปากเสือโคร่ง
ภิกษุแม้เหล่าอื่นอีก ๓๐ รูป เรียนเอากรรมฐาน ในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจำพรรษาที่อรัญวิหาร พูด (ตกลงกันไว้)
ว่า คุณ เราทั้งหลายต้องบำเพ็ญสมณธรรมกันตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม
และไม่ควรไปมาหาสู่กัน ดังนี้แล้ว จึงพากันอยู่. เมื่อท่านเหล่านั้นบำเพ็ญ
สมณธรรมแล้ว เวลาเช้าออกไป ( จากวัด ) เสือโคร่งตัวหนึ่งมาคาบ
เอาพระไปคราวละ ๑ รูป ไม่มีใครส่งเสียงเลยว่า เสือโคร่งตะครุบผม.
เมื่อภิกษุถูกเสือคาบไปกินถึง ๑๕ รูปอย่างนี้ ในวันอุโบสถ จึงถามกันว่า
พระนอกนี้ไปไหนกันคุณ ? พอรู้เรื่องแล้วก็พูด (ตกลงกันใหม่) ว่า
ต่อไปนี้ ใครถูกเสือโคร่งตะครุบควรบอกกันว่า เสือโคร่งตะครุบผม
ดังนี้แล้ว อยู่กันต่อไป. ภายหลัง เสือโคร่งได้ตะครุบภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง
แบบครั้งก่อนนั้นแหละ. เธอได้บอกว่า ท่านครับ เสือโคร่ง. ภิกษุ
ทั้งหลายพากันถือไม้เท้าและคบเพลิงติดตามไปด้วยหมายใจว่า จะให้มัน
ปล่อย. เสือโคร่งได้ขึ้นไปที่ช่องเขาขาดที่พระขึ้นไปไม่ได้ เริ่มจะกิน
พระนั้น ตั้งแต่นิ้วเท้าขึ้นไป. พระภิกษุนอกจากนี้ได้พากันกล่าวว่า ท่าน
ผู้เป็นสัตบุรุษเอ๋ย บัดนี้ พวกผมช่วยอะไรคุณไม่ได้แล้ว ธรรมดาคุณ-
วิเศษของภิกษุทั้งหลายจะปรากฏ (ให้เห็น) ก็ในสถานการณ์เช่นนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 649
แหละ. ท่านนอนอยู่ใกล้ปากเสือโคร่งนั้นแหละ ข่มเวทนานั้นไว้ เจริญ
วิปัสสนาในเวลาเสือโคร่งกินไปจนถึงข้อเท้า เป็นพระโสดา เวลากินถึง
เข่า เป็นพระสกทาคามี เวลากินถึงท้องเป็นพระอนาคามี ขณะกินยัง
ไม่ถึงหัวใจนั่นแหละ. ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ได้
เปล่งอุทานบทนี้ว่า :-
เรามีศีล สมบูรณ์ด้วยวัตร มีสมาธิ มีปัญญา เผลอ
ตัวไปชั่วครู่ ไม่ได้ระมัดระวังเสือโคร่ง เสือโคร่ง
ตะครุบเราไว้ในกรงเล็บ นำเข้ามาที่ภูเขา จะกินเรา
แน่ กาย (ของเรา) ที่ไม่มีจิตใจจะเป็นอาหาร
(มัน) เมื่อ (เรา) กลับได้กรรมฐาน มรณสติ
จะเจริญ.
พระเถระถูกแทงบรรลุพระอรหัต
อีกรูปหนึ่ง ชื่อว่า ทีปมัลลเถระ เวลาเป็นคฤหัสถ์ ถือเอาผ้าที่
กองขยะ ๓ กอง มายังตัมพปัณณิทวีป เฝ้าพระราชา แล้วได้รับราชา-
นุเคราะห์. วันหนึ่ง เดินไปทางประตูศาลากิลัญชกาสนะ ได้ฟังนตุมหา-
กวัตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจง
ละทิ้งมันไป รูปนั้นที่เธอทั้งหลายละได้แล้ว จักมีประโยชน์เกื้อกูลและ
ความสุขตลอดกาลนาน แล้วคิดว่า นัยว่า รูปไม่ใช่ของตนเลย เวทนา
ก็ไม่ใช่ของตน. เขาทำนตุมหากวัตรนั้นให้เป็นเหมือนขอช้าง ออกไปยัง
มหาวิหาร ขอบรรพชา บรรพชาอุปสมบท เล่าท่องมาติกาทั้ง ๒ ได้
คล่องแคล่ว แล้วพาภิกษุ ๓๐ รูปไปยังเนิน ชื่อว่า ครวาลิยะ บำเพ็ญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 650
สมณธรรม. เมื่อเท้าบวมก็เดินจงกรมด้วยเข่า. ในคืนวันนั้น พรานเนื้อ
คนหนึ่ง เข้าใจว่า ท่านเป็นเนื้อ จึงแทงท่าน. หอกทะลุเข้าไป ท่าน
ให้เขาเอาหอกออก แล้วเอาม้วนหญ้าอุดปากแผลไว้ให้เต็ม พยุงตนนั่ง
เหนือลานหิน ถือโอกาสเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทา. พยากรณ์แก่ภิกษุผู้มาเพราะเสียงไอ (ของท่าน) แล้วได้
เปล่งอุทานนี้ว่า :-
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด (ผู้มีปกติตรัสธรรมอัน
เลิศแก่สรรพสัตว์) ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
รูปนี้ไม่ใช่ของพวกเธอ เธอทั้งหลายจงละทิ้งมันไป
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้น และ
เสื่อมไปเป็นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้ว ก็ดับไป
ความระงับแห่งสังขารเหล่านั้น เป็นสุข.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ได้พูดกะท่านว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงประชวรแล้วไซร้ พระองค์จะต้องทรงเหยียดพระ
หัตถ์ ( ข้ามสมุทร) มาลูบศีรษะท่านเป็นแน่.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ทางสายนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ของ
สัตว์ทั้งหลาย เหมือนของพระติสสเถระ เป็นต้น.
ท้าวสักกะจุติแล้วอุบัติทันที
ก็ท้าวสักกะจอมเทพ ครั้นทรงเห็นบุพพนิมิต ๕ อย่างของ
พระองค์แล้ว ทรงถูกมรณภัยคุกคาม เกิดเสียพระทัย จึงเข้าไปเฝ้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 651
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถามปัญหา. ในอวสานแห่งการวิสัชนาปัญหา
ท้าวเธอได้บรรลุโสดาปัตติผล พร้อมด้วยเทวดา ๘ หมื่นตน ท้าวเธอ
(จุติแล้ว) ได้เสด็จอุบัติขึ้นใหม่เป็นปกติดังเดิมอีก.
เทวดาตกนรก
แม้สุพรหมเทพบุตร มีเทพอัปสรพันหนึ่ง เป็นบริวาร เสวย
สวรรค์สมบัติ บรรดาเทพอัปสรสาวสวรรค์พันหนึ่งนั้น เทพอัปสร ๕๐๐
ตน กำลังเก็บดอกไม้ จากต้นอยู่หลัด ๆ ก็จุติ๑ แล้วเกิดในนรก. ท้าวเธอ
ทรงใคร่ครวญดูว่า สาวอัปสรเหล่านี้ เหตุใดจึงช้าอยู่ ? ได้ทรงเห็นว่า
เขาเหล่านั้น เกิดในนรกแล้ว ทรงตรวจดูว่า อายุของเรา จะเท่าไร
หนอ ? พอทรงทราบพระชนมายุของพระองค์ก็จักสิ้นไปเหมือนกัน ก็
ทรงเห็นว่า พระองค์จะทรงเกิดในนรกนั้นแหละ จึงตกพระทัย ทรง
โทมนัสเหลือเกิน ทรงดำริว่า พระศาสดาจักขจัดโทมนัสของเรานี้ได้ ผู้อื่น
ขจัดไม่ได้ แล้วได้ทรงพาเทพอัปสรสาวสวรรค์ ๕๐๐ ที่ยังเหลือไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหาว่า :-
จิตนี้สะดุ้งอยู่เนืองนิตย์ จิตคือใจนี้หวาดผวาเป็น
ประจำ เมื่อกิจ (เหตุ) เกิดขึ้นแล้วและยัง
ไม่เกิดขึ้น ถ้าหากความไม่สะดุ้งกลัวมีอยู่ ขอพระองค์
ผู้อันข้าพระองค์ทูลถานแล้ว จงตรัสบอกความไม่
สะดุ้งนั้นแก่ข่าพระองค์ด้วยเถิด.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะท้าวเธอว่า :
เรามองไม่เห็นความสวัสดีอย่างอื่นของสัตว์ทั้งหลาย
๑. ปาฐะเป็น จริตฺวา ฉบับพม่าเป็น จวิตฺวา จึงแปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 652
นอกจากการบำเพ็ญเพียร อันเป็นองค์แห่งการตรัสรู้
นอกจากการสำรวมอินทรีย์ (และ) นอกจากการ
ปล่อยวางทั้งหมด.
ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ท้าวเธอ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
พร้อมด้วยเทพอัปสร ๕๐๐ ทรงทำทิพยสมบัตินั้นให้มีเสถียรภาพแล้ว
ได้เสด็จไปยังเทวโลกตามเดิม.
ทางนี้บุคคลผู้เจริญแล้ว พึงเข้าไว้ว่า เป็นไปเพื่อดับโทมนัสของ
สัตว์ทั้งหลาย เหมือนของท้าวสักกะ เป็นต้น ดังที่พรรณนามานี้.
อริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น ท่านเรียกว่า ญายะ ในคำว่า ายสฺส
อธิคมาย เพื่อบรรลุ อธิบายว่า เพื่อถึงอริยมรรคนั้น. เพราะว่ามรรค
สติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะในส่วนเบื้องต้นนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อบรรลุุโลกุตตรมรรค. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า ายสฺส อธิคมาย.
บทว่า นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย (เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระ
นิพพาน) ความว่า เพื่อกระทำให้แจ้ง ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพื่อประจักษ์
ด้วยตนเอง ซึ่งอมตธรรมที่ได้นามว่าพระนิพพาน เพราะเว้นจากตัณหา
เครื่องร้อยรัด. เพราะว่ามรรคนี้ที่บุคคลอบรมแล้ว ให้สำเร็จการทำให้
แจ้งพระนิพพาน ตามลำดับ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ว่า นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย.
บรรดาคำเหล่านั้น เมื่อพระองค์ตรัสว่า เพื่อความบริสุทธิ์ของ
สัตว์ทั้งหลาย คำว่าก้าวล่วงความโศกเป็นต้น ก็เป็นอันสำเร็จความหมาย
ไปด้วย ก็จริง แต่ก็ยังไม่ปรากฏแก่ผู้อื่น นอกจากผู้ฉลาดในข้อยุติของ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 653
ศาสนา. และพระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ทรงทำให้คนเป็นผู้ฉลาดในข้อ
ยุติของศาสนาก่อนแล้ว จึงทรงแสดงธรรมภายหลัง. แต่ทรงให้เข้าใจผล
ที่ต้องการนั้น ๆ ด้วยสูตรนั้น ๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้น ในสติปัฏฐาน-
สูตรนี้ เมื่อพระองค์จะทรงแสดงผลที่ต้องการซึ่งเอกายนมรรคจะให้สำเร็จ
ได้ให้ปรากฏ จึงได้ตรัสไว้ว่า โสกปริเทวาน สมติกฺกมาย เพื่อก้าว
ล่วงโสกะและปริเทวะทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย จะเป็นไป
พร้อม ก็ด้วยเอกายนมรรค ความบริสุทธิ์จะมีได้ เพราะก้าวล่วง
โสกปริเทวะ การก้าวล่วงโสกปริเทวะจะมีได้ เพราะทุกข์โทมนัส
ดับไป การดับทุกข์โทมนัสจะมีได้ เพราะได้บรรลุญายธรรม การบรรลุ
ญายธรรมจะมีได้ เพราะการทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ฉะนั้น พระองค์
เพื่อทรงแสดงลำดับนี้แล้ว จึงตรัสว่า สตฺตาน วิสุทฺธิยา เพื่อความ
บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย แล้วได้ตรัสคำนี้อาทินี้ไว้ว่า โสกปริเทวาน
สมติกฺกมาย เพื่อระงับโสกะและปริเทวะ.
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า สตฺตาน วิสุทฺธิยา เป็นต้นนี้ เป็นคำกล่าว
สรรเสริญ เอกายนมรรค เหมือนอย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส
สรรเสริญเทศนา ๖ หมวด หมวดละ ๖ ข้อ ด้วยบท ๘ บทว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด จักประกาศพรหมจรรย์ (ศาสนา) ที่บริสุทธิ์ บริบูรณ์
สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ คือพรหมจรรย์ ๖ หมวด
หมวดละ ๖ ข้อ แก่เธอทั้งหลาย และได้ตรัสสรรเสริญอริยวงศ์เทศนา
ไว้ ด้วยบท ๙ บทว่า ภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นของ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 654
ที่ผู้รู้รู้กันว่าเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นวงศ์ (ของพระอริยเจ้า)
เป็นของเก่าไม่เกลื่อนกลาด ไม่เคยเกลื่อนกลาด ไม่ถูกระแวง ไม่ถูก
สมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้านฉันใด. พระองค์ก็ได้ตรัสสรรเสริญเอกายนมรรค
แม้นี้ไว้ ด้วยบท ๗ บท มีบทว่า เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
เป็นต้นฉันนั้น.
หากจะถามว่า เพราะเหตุไร ?
แก้ว่า เพื่อจะให้เกิดอุตสาหะแก่ภิกษุเหล่านั้น.
ด้วยว่า ภิกษุเหล่านั้น ครั้นได้สดับการตรัสสรรเสริญแล้ว จักเกิด
อุตสาหะขึ้นว่า ทางสายนี้จะนำอุปัทวะทั้ง ๔ ออกไป คือ ความโศกที่เป็น
สิ่งแผดเผาใจ ๑ ความคร่ำครวญที่เป็นการรำพันทางวาจา ๑ ความ
ทุกข์ที่เป็นความไม่สำราญทางกาย ๑ ความเสียใจซึ่งเป็นความไม่
แช่มชื่นทางใจ ๑ (และ) นำคุณวิเศษ ๓ อย่างมาให้ คือ วิสุทธิ
ความหมดจด ๑ ญายธรรมที่ควรรู้ ๑ นิพพานความดับ (กิเลส ) ๑
ดังนี้แล้ว จักสำคัญพระธรรมเทศนานี้ว่า ต้องเรียน ต้องท่อง ต้องจำทรง
ต้องบอกสอน และจักสำคัญทางสายนี้ว่าต้องเจริญ (ดำเนิน ). พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสสรรเสริญ (เอกายนมรรค) เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้น
เกิดอุตสาหะ ด้วยประการดังที่พรรณนามานี้ เหมือนกับพ่อค้าผ้าขนสัตว์
เป็นต้น กล่าวสรรเสริญคุณภาพผ้าขนสัตว์เป็นต้นฉะนั้น.
ความพิสดารว่า เมื่อพ่อค้าผ้าขนสัตว์สีเหลือง (ปัณฑุกัมพล )
ราคาแสน โฆษณาว่า เชิญรับผ้าขนสัตว์ครับ คนทั้งหลายยังไม่ทราบ
ก่อนว่า เป็นผ้ากัมพลชนิดโน้น. เพราะว่า แม้ผ้าเกสกัมพลและผ้า
พาลกัมพลเป็นต้น ที่มีกลิ่นเหม็น เนื้อหยาบ (ห่มสาก) เขาก็เรียกว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 655
ผ้ากัมพลเหมือนกัน. แต่เมื่อใดเขาโฆษณาว่า ผ้ากัมพลแดง จาก
คันธารราฐ เนื้อละเอียด มันเป็นเงา ห่มนุ่มนวล.
เมื่อนั้น คนที่มีทรัพย์พอ ก็จะรับ (ซื้อ) ส่วนคนที่มีไม่พอ
ก็อยากชม ฉันใด. แม้เมื่อพระองค์ ตรัสว่า ทางสายนี้เป็นทางสายเอก
ก็ยังไม่ชัดแจ้งว่า เป็นทางสายโน้น ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะว่า ทาง
ที่ไม่นำออกจากทุกข์นานัปการ เขาก็เรียกว่าทางเหมือนกัน. แต่
เมื่อตรัสคำมีอาทิว่า สตฺตาน วิสุทฺธิยา เพื่อความหมดจดของสัตว์
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายก็จะเกิดอุตสาหะว่า ได้ทราบว่า ทางสายนี้
นำอุปัทวะทั้ง ๔ ออกไป นำคุณวิเศษ ๓ ประการมาให้ จักสำคัญ
พระธรรมเทศนานี้ว่า ต้องเรียน ต้องท่อง ต้องทรงจำ ต้องบอกสอน
จักสำคัญทางนี้ว่าต้องเจริญ ( ดำเนินตาม) ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะตรัสสรรเสริญ (เอกายนมรรค ) จึงได้ตรัส ไว้ว่า สตฺตาน
วิสุทฺธิยา.
และในเรื่องนี้ ควรนำข้อเปรียบเทียบกับพ่อค้าทองชมพูนุทสีแดง
พ่อค้าแก้วมณี น้ำใสสะอาด พ่อค้าแก้วมุกดาหาร ใสสะอาด และ
พ่อค้าแก้วประพาฬ ที่เจียระไนแล้วเป็นต้นมา เหมือนข้อเปรียบเทียบ
กับพ่อค้าปัณฑุกัมพลราคาแสนฉะนั้น.
อธิบายศัพท์ว่า ยทิท
ศัพท์ว่า ยทิท เป็นนิบาท มีเนื้อความเท่ากับ เย อิเม. ศัพท์ว่า
จตฺตาโร เป็นการกำหนดนับ (จำนวนนับ). ด้วยศัพท์นั้น พระองค์
ทรงแสดงถึงการกำหนด (จำนวน) สติปัฏฐานว่า มีไม่ต่ำไม่สูงไปกว่า
จำนวนนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 656
แก้สติปัฏฐาน
บทว่า สติปัฏฐาน ได้แก่สติปัฏฐาน ๓ อย่าง คือ อารมณ์
แห่งสติ ๑ การที่พระศาสดาไม่ทรงดีพระทัย และเสียพระทัย ใน
เมื่อสาวกทั้งหลายปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๓ อย่าง ๑ สติ ๑.
อธิบายว่า อารมณ์แห่งสติท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน (เช่น) ใน
พระพุทธพจน์ทั้งหลาย มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจัก
แสดงการเกิด และการดับของสติปัฏฐาน ๔ อย่าง เธอทั้งหลายจงฟัง
เทศนานั้น ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ก็ความเกิดขึ้นแห่งกาย คืออะไร ?
การเกิดขึ้นแห่งอาหาร คือการเกิดขึ้นแห่งกาย.
อีกอย่างหนึ่ง อารมณ์ของสติท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน (เช่น)
ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า กายเป็นที่เข้าไปตั้ง (ของสติ) ไม่ใช่ตัวสติ
สติเป็นที่ตั้งด้วย เป็นตัวสติด้วย (ชื่อว่าสติปัฏฐาน) ดังนี้บ้าง.
สติปัฏฐานนั้นมีอรรถว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะเป็นที่ตั้ง.
อะไรตั้ง ? สติตั้ง. ที่ตั้งของสติ ชื่อว่า สติปัฏฐาน. อีกอย่างหนึ่ง
สถานที่เป็นที่จอด (ประธาน) ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปัฏฐาน. สถานที่เป็น
ที่จอดของสตินั้น ชื่อว่า สติปัฏฐาน เหมือนกับสถานที่ยืนของช้าง
และสถานที่ยืนของม้าเป็นต้นฉะนั้น.
สติปัฏฐาน ๓ อย่าง คือ การที่พระศาสดาไม่ทรงดีพระทัย และ
เสียพระทัย ในเพราะสาวกทั้งหลายผู้ปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๓ อย่าง ท่าน
เรียกว่า สติปัฏฐาน ( เช่น ) ในพระพุทธพจน์แม้นี้ว่า พระศาสดา
ผู้ทรงเป็นพระอริยเจ้า เมื่อทรงสร้องเสพสิ่งที่พระอริยเจ้าส้องเสพ
กัน ควรตามสอนหมู่คณะ ดังนี้ . ข้อนั้น มีเนื้อความว่า ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 657
ปัฏฐานะ เพราะควรให้เริ่มตั้งไว้ อธิบายว่า เพราะควรให้เป็นไป
(ประพฤติ).
เพราะควรให้อะไรตั้ง ?
ควรให้สติตั้ง การตั้งสติ ชื่อว่าสติปัฏฐาน ดังนี้.
ก็สตินั้นเอง ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า
สติปัฏฐาน ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ให้โพชฌงค์ ๗ ประการ
บริบูรณ์ได้. ในข้อนั้นมีเนื้อความว่า ชื่อว่า ปัฏฐาน เพราะตั้งไว้
อธิบายว่า เข้าไปตั้งไว้ คือ ก้าวลง แล่นไป เป็นไป. ปัฏฐาน คือ
สตินั้นเอง จึงชื่อว่า สติปัฏฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สติ เพราะอรรถว่า ระลึก ชื่อว่า ปัฏฐาน
เพราะอรรถว่า เข้าไปตั้งไว้, สตินั้นด้วย การตั้งไว้ด้วย ฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า สติปัฏฐาน ด้วยประการดังนี้บ้าง. ในสติปัฏฐานสูตรนี้ ท่าน
ประสงค์สติปัฏฐานข้อนี้.
ถามว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น เหตุไฉน คำว่า สติปัฏฐาน จึงเป็น
พหูพจน์ ?
เพราะสติมีมาก.
ความจริง ว่าโดยประเภทแห่งอารมณ์ สตินั้นมีมาก.
เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร คำว่า มรรค (ซึ่งมีมากเหมือนกัน)
จึงเป็นเอกพจน์.
เพราะมีอย่างเดียว โดยอรรถว่า จะต้องดำเนินไป.
จริงอยู่ สติเหล่านั้นแม้จะมี ๔ อย่าง แต่ก็ถึงความเป็นอย่างเดียว
กัน ด้วยอรรถว่า ต้องดำเนินไป. สมจริงดังที่ที่กล่าวไว้ว่า ทาง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 658
ชื่อว่ามรรค เพราะหมายความว่าอะไร ?
เพราะหมายความว่า เป็นเครื่องไปสู่นิพพาน และเพราะหมาย
ความว่า ผู้มีความต้องการนิพพานจะต้องดำเนินไป.
ก็สติแม้ทั้ง ๔ อย่างเหล่านั้น เมื่อยังกิจให้สำเร็จ ในอารมณ์
ทั้งหลาย มีกายเป็นต้น (จน) ถึงนิพพานในกาลภายหลัง และผู้มุ่ง
นิพพาน ก็ดำเนินไปตั้งแต่นั้น เพราะเหตุดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ท่านจึง
กล่าวไว้ว่า สติแม้ทั้ง ๔ อย่างเป็นทางสายเอก.
เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมีเทศนาที่มีการสืบต่อกันมาตามลำดับทีเดียว
ด้วยการสืบต่อถ้อยคำกันมา เหมือนในพระพุทธพจน์ทั้งหลายมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจักแสดงทางสำหรับย่ำยีมารและเสนา-
มาร เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทางสำหรับ
ย่ำยีมารและเสนามารคืออะไร ? คือโพชฌงค์ ๗ (องค์แห่งธรรม
เป็นเหตุตรัสรู้) ทั้งหางสำหรับย่ำยีมาร และโพชฌงค์ ๗ โดย
อรรถ ก็เป็นอันเดียว แต่พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ฉันใด เอกายน-
มรรค กับสติปัฏฐานสูตร ๔ ก็ฉันนั้น โดยอรรถเป็นอันเดียวกัน ใน
ที่นี้ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น. เพราะฉะนั้น ควรเข้าใจว่า (มรรค)
เป็นเอกพจน์ เพราะเป็นอย่างเดียวกัน โดยอรรถว่า จะต้องดำเนินไป
(และ) ควรเข้าใจ (สติปัฏฐาน) ว่าเป็นพหูพจน์ เพราะสติมีมาก
โดยประเภทแห่งอารมณ์.
เหตุที่ตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ อย่าง
แต่เหตุไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานไว้ ๔ อย่าง
เท่านั้น ไม่ยิ่งไปหย่อน (ไปกว่านั้น) ?
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 659
เพราะทรงเกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์.
อธิบายว่า บรรดาเวไนยสัตว์ทั้งหลาย พวกตัณหาจริต พวก
ทิฏฐิจริต พวกสมถยานิกะ และวิปัสสนายานิกะ (แยก ) เป็นพวก
ละ ๒ ตามอ่อนและแก่กล้า ผู้มีตัณหาจริตอย่างอ่อน มีกายานุปัสสนา-
สติปัฏฐาน มีอารมณ์หยาบเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์. แต่ผู้มีตัณหาจริต
แก่กล้า มีเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานที่ละเอียด เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์.
แม้ผู้มีทิฏฐิจริตอย่างอ่อน มีจิตตานุปัสสนาสติปักฐาน ที่มีอารมณ์แยกออก
ไม่มากนักเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์. แต่ผู้มีทิฏฐิจริตแก่กล้า มีธัมมา-
นุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่มีอารมณ์แยกประเภทออกไปมาก เป็นทางแห่ง
วิสุทธิ. และสติปัฏฐานข้อแรกที่มีนิมิตจะที่พึงประสบได้ไม่ยาก เป็น
ทางแห่งความบริสุทธิ์ของสมถยานิกบุคคลประเภทยังอ่อน. ข้อที่ ๒ เป็น
ทางแห่งวิสุทธิสมลยานิกบุคคลประเภทแก่กล้า. เพราะท่านดำรงอยู่ได้
ไม่มั่นคงในอารมณ์ที่หยาบ. ข้อที่ ๓ ที่มีอารมณ์แยกประเภทออกไปไม่
มากนัก เป็นทางแห่งความบริสุทธิ์แม้ของวิปัสสนายานิกบุคคลประเภท
ยังอ่อน. ข้อที่ ๔ ที่มีอารมณ์แยกประเภทออกไปมาก เป็นทางแห่งความ
บริสุทธิ์ของวิปัสสนายานิกบุคคลประเภทแก่กล้า. สติปัฏฐานจึงตรัสไว้ ๔
อย่างเท่านั้น ไม่ยิ่งไม่หย่อน ด้วยประการดังที่พรรณนามาน ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง (ที่ทรงแสดงไว้ ๔ อย่างเท่านั้น) เพื่อละวิปลาส
คือความงาม ความสุข ความเที่ยง และความเป็นตน. ความจริง กาย
เป็นของไม่งาม แต่สัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่อย่างวิปริต สำคัญผิดในกายนั้น
ว่างามสติปัฏฐานข้อที่ ๑ ตรัสไว้สำหรับสัตว์เหล่านั้น เพื่อให้ละสุภวิปลาส
นั้น ด้วยการเห็นว่าไม่งามในกายนั้น. และในเวทนาเป็นต้น แม้ที่สัตว์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 660
ทั้งหลายยึดถือว่า เป็นสุข เที่ยง เป็นอัตตา (ก็มีนัยนี้คือ) เวทนา
เป็นทุกข์ จิตไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แต่สัตว์เหล่านั้นดำรง
อยู่อย่างวิปริต สำคัญผิดในเวทนา จิต และธรรมเหล่านั้นว่า เป็นสุข เที่ยง
และเป็นอัตตา ตรัส ๓ อย่างที่เหลือไว้สำหรับสัตว์เหล่านั้น เพื่อให้ละ
วิปลาสที่เหลือเหล่านั้น ด้วยการเห็นเวทนาเป็นต้นเหล่านั้นว่า เป็นทุกข์
เป็นต้น ดังนี้.
เมื่อเป็นเช่นนี้ สติปัฏฐาน ก็ควรเข้าใจไว้ว่า พระองค์ตรัสไว้
๔ อย่างเท่านั้น ไม่ยิ่งไม่หย่อน (ไปกว่านี้) ก็เพื่อให้ละสุภวิปลาส
สุขวิปลาส นิจจวิปลาส และอัตตวิปลาส. และไม่ใช่เพียงตรัสไว้เพื่อ
ให้ละวิปลาสอย่างเดียวเท่านั้น แต่ควรเข้าใจไว้ว่า ตรัสไว้ ๔ อย่างเท่านั้น
ก็เพื่อให้ละโอฆะ ๔ โยคะ ๔ อาสวะ ๔ คันถะ ๔ และอุปทาน
ทั้ง ๔ และอคติ ๔ ด้วย เพื่อให้กำหนดรู้อาหารทั้ง ๔ ด้วย. นี้เป็น
นัยตามปกรณ์ก่อน.
มติของอรรถกถา
ส่วนในอรรถกถา ท่านกล่าวไว้เท่านี้เท่านั้นแหละว่า โดยระลึก
และโดยการประมวลลงสู่จุดเดียวกันแล้ว สติปัฏฐานก็มีอย่างเดียวเท่านั้น
แต่โดยอารมณ์ ๔ อย่าง. อุปมาเสมือนหนึ่งว่าในพระนครที่มีประตู
๔ ประตู คนมาจากทิศตะวันออก ถือเอาสิ่งของที่มีขึ้นมาทางทิศตะวันออก
แล้วเข้าพระนครนั้นเอง ทางประตูด้านตะวันออก คนมาจากทิศใต้ ทิศ
ตะวันตก ทิศอุดร ถือเอาสิ่งของที่มีขึ้นทางทิศอุดรแล้ว เข้าสู่พระนคร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 661
นั้นเอง ทางทิศอุดรฉันใด ข้ออุปไมยที่ให้อุปมาถึงพร้อมนี้ ก็ควรทราบ
ฉันนั้น.
ข้อเปรียบเทียบ
ความจริง พระนิพพาน เหมือนพระนคร.
โลกุตตรมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เหมือนประตูพระนครหลวง.
กายเป็นต้น เหมือนทิศตะวันออก เป็นต้น.
และพระโยคาวจรทั้งหลาย เมื่อมาด้วยอำนาจกายานุปัสสนา
เจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานโดยวิธี ๑๔ อย่างแล้ว จะไปรวมลงสู่ทีเดียว
กัน คือพระนิพพานนั่นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของ
กายานุปัสสนา เหมือนคนทั้งหลายที่มาจากทิศตะวันออก ถือเอาสิ่งของ
ที่มีขึ้นทางทิศตะวันออกแล้ว ก็เข้าถึงพระนครได้เหมือนกันทางประตู
ทิศตะวันออกได้ฉะนั้น.
พระโยคาจร เมื่อดำเนินมาทางประตูเวทนานุปัสสนา เจริญ
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยวิธี ๙ อย่าง ก็ไปรวมลงสู่ทีเดียวกัน
คือพระนิพพานนั่นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของเวทนา-
นุปัสสนาสติปัฏฐาน เหมือนผู้มาจากทิศใต้ ถือเอาสิ่งของที่มีขึ้นจากทิศใต้
ก็เข้าถึงพระนครเหมือนกันทางประตูทิศใต้ฉะนั้น.
พระโยคาวจรทั้งหลาย เมื่อดำเนินมาทางประตูจิตตานุปัสสนา
เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยวิธี ๑๖ อย่าง จะไปรวมที่เดียวกัน
คือพระนิพพานนั้นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของจิตตา-
นุปัสสนาสติปัฏฐาน เหมือนผู้มาจากทิศตะวันตก ถือเอาสิ่งของที่มีขึ้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 662
จากทิศตะวันตก ก็เข้าถึงพระนครเหมือนกันทางทิศตะวันตกฉะนั้น.
และพระโยคาวจรทั้งหลาย เมื่อดำเนินมาทางประตูธัมมานุปัสสนา
เจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยวิธี ๕ อย่างแล้ว จะไปรวมที่เดียวกัน
คือ พระนิพพานนั่นเอง ด้วยอริยมรรคที่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของธัมมา-
นุปัสสนาสติปัฏฐาน เหมือนกับผู้มาจากทิศเหนือ ถือเอาสิ่งของที่มีขึ้นจาก
ทิศเหนือ ก็เข้าถึงพระนครเหมือนกันทางประตูทิศเหนือได้ฉะนั้น.
สติปัฏฐาน พึงทราบว่า ตรัสไว้อย่างเดียวเท่านั้น โดยการระลึก
และโดยการรวมลงสู่จุดเดียวกัน พึงทราบว่า ตรัสไว้ ๔ อย่างนั้นแหละ
โดยอารมณ์ ด้วยประการฉะนี้.
ความหมายของภิกษุ
บทว่า กตเม จตฺตาโร (๔ อย่าง คืออะไร) เป็น กเถตุกมฺม-
ยตาปุจฺฉา ( คำถามเพื่อจะตอบเอง).
บทว่า อิธ ได้แก่ อิมสฺมึ โยก สาสเน แปลว่า ในศาสนานี้.
คำว่า ภิกฺขเว นี้เป็นคำเรียกบุคคลผู้จะรับธรรมะ. คำว่า ภิกฺขุ เป็น
คำแสดงถึงบุคคล ผู้จะยังข้อปฏิบัติให้ถึงพร้อม อีกอย่างหนึ่ง เทวดา
และมนุษย์แม้เหล่าอื่น ก็ยังข้อปฏิบัติให้ถึงพร้อมได้เหมือนกัน.
แต่พระองค์ตรัสเรียกว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ประเสริฐ และเพราะทรง
แสดงถึงภิกขุภาวะด้วยข้อปฏิบัติ.
เพราะว่า เมื่อภิกษุทั้งหลาย ปฏิบัติตามอนุศาสนี ของพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้ว ภิกษุทั้งหลายก็จะเป็นผู้ประเสริฐที่สุด เพราะเป็น
(เสมือน) ภาชนะ (รองรับ) อนุศาสนีทุกประการ. เพราะฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 663
พระองค์จึงตรัสว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ประเสริฐที่สุด.
ก็ทรงระบุถึงภิกษุนั้นแล้ว เทวดาและมนุษย์ที่เหลือก็เป็นอันทรง
ระบุถึงด้วยเหมือนกัน เหมือนบริษัทที่เหลือถูกระบุถึงด้วยราชศัพท์ในกิจ
ทั้งหลายมีการเสด็จพระราชดำเนินเป็นต้น.
และผู้ใดปฏิบัติข้อปฏิบัตินี้ ผู้นั้น ก็ชื่อว่า ภิกษุ เพราะฉะนั้น
พระองค์จึงตรัสว่า ภิกษุ เพราะทรงแสดงถึงภิกขุภาวะ. ด้วยข้อปฏิบัติ
บ้าง. ผู้ปฏิบัติจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตาม เข้าถึงการนับว่าเป็นภิกษุ
ทั้งนั้น. สมดังที่ตรัสไว้ว่า
ถึงผู้ที่ประดับประดาแล้ว หากประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
สงบแล้ว ฝึกแล้ว มีคติที่แน่นอน ประพฤติพรหม-
จรรย์ เขาเว้นอาชญาในสัตว์ทั้งมวลเสียแล้ว ย่อม
ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.
อธิบายคำว่า กาย
บทว่า กาเย ได้แก่ในรูปกาย. ความจริง รูปกายพระองค์ทรง
ประสงค์ว่า กายในพระสูตรนี้ เหมือนกายช้าง และกายม้าเป็นต้น.
เพราะอรรถว่า เป็นที่รวมของอวัยวะน้อยใหญ่ และของรูปธรรมทั้งหลาย
มีผมเป็นต้น.
ก็ (รูปกาย) ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็นที่ชุมนุม (แห่ง
อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย) ฉันใด ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่า เป็น
ที่มาถึง แห่งสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลาย ฉันนั้น.
เพราะว่า รูปกายนั้น เป็นที่มาถึง แห่งสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 664
คือสิ่งที่น่าขยะแขยงอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ากายบ้าง.
บทว่า อาโย ได้แก่แดนเกิด (ของสิ่งน่าเกลียด) ในบทว่า
กาโยนั้น มีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า อายะ เพราะเป็นแดนเกิด.
อะไรเกิด ?
อวัยวะทั้งหลายมีผมเป็นต้น ที่น่าเกลียดเกิด ชื่อว่า กาย เพราะ
เป็นแดนเกิด แห่งสิ่งที่น่าเกลียดทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้.
บทว่า กายานุปสฺสี ได้แก่ผู้พิจารณา เห็นกายเนือง ๆ เป็นปกติ
หรือผู้พิจารณาเห็นอยู่เนือง ๆ ซึ่งกาย.
แลควรทราบไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงแม้ตรัสไว้แล้วว่า กาเย
แต่ก็ทรงทำ (ตรัส ) กายศัพท์ไว้เป็นครั้งที่ ๒ อีกว่า กายานุปสฺสี
เพื่อจะทรงแสดงถึงการแยกก้อน (ฆนสัญญา) ออกไปด้วยการกำหนด
ด้วยจตุธาตุววัตถานกรรมฐาน โดยไม่ให้ปะปนกัน พระโยคาวจรไม่ใช่
เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในกาย หรือพิจารณาเห็นจิตและธรรมในกาย.
โดยที่แท้แล้ว เป็นผู้พิจารณาเห็นกาย (ในกาย) นั้นเอง. เพราะฉะนั้น
ด้วยบทว่า กายานุปสฺสี นั้น จึงเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง
ถึงการกำหนดโดยมิให้ปนกัน ด้วยการทรงแสดงเฉพาะอาการคือการ
พิจารณาเห็นกายในวัตถุกล่าวคือกายนั้นเอง.
อนึ่ง ไม่ใช่เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมอย่างเอก นอกเหนือไปจาก
อวัยวะน้อยใหญ่ในกาย ทั้งไม่ใช่เป็นผู้พิจารณาเห็นหญิงหรือบุรุษนอกเหนือ
ไปจากผม ขน เป็นต้น ในกาย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 665
พิจารณากาย
และในคำว่า กาเย กายานุปสฺสี นี้ ไม่ใช่พิจารณาเห็นธรรม
อย่างเอกนอกเหนือจาก (มหา) ภูตรูป และอุปาทายรูป แม้ในกาย
กล่าวคือชุมนุม (มหา) ภูตรูป และอุปาทายรูป มี ผม ขน เป็นต้น.
โดยที่แท้แล้ว ก็เป็นผู้พิจารณาเห็นชุมนุมแห่งองคาพยพ เหมือนผู้มอง
เห็นเครื่องประกอบของรถฉะนั้น เป็นผู้พิจารณาเห็นชุมนุมแห่งผม ขน
เป็นต้น เหมือนผู้เห็นส่วนต่าง ๆ ของตัวเมืองฉะนั้น และเป็นผู้พิจารณา
เห็นชุมนุมแห่ง (มหา) ภูตรูป และอุปาทายรูปนั้นแหละ เหมือนคน
ลอกกาบกล้วยออกจากต้นกล้วยฉะนั้น และเหมือนคนแบกำมือเปล่า
ออกอย่างนั้นแหละ เพราะฉะนั้น โดยการทรงแสดงวัตถุ กล่าวคือกาย
ด้วยอำนาจแห่งชุมนุม โดยประการต่าง ๆ นั้นเอง เป็นอันพระองค์ทรง
แสดงกายแยกฆนสัญญาออกไปแล้ว. เพราะว่า ในคำว่า กาเย กายา-
นุปสฺสี นี้ จะไม่เห็นเป็นกาย เป็นหญิง เป็นชาย หรือเป็นธรรม
อะไรอื่น นอกเหนือไปจากชุมนุมแห่งธรรมตามที่กล่าวแล้ว. แต่สัตว์
ทั้งหลาย ทำความเชื่อมั่นผิด ๆ อย่างนั้นอย่างนั้น ในสภาวะเพียงการ
ชุมนุมธรรมดามที่กล่าวแล้วเท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระโบราณาจารย์จึง
ได้กล่าวไว้ว่า :-
สิ่งใดที่บุคคลเห็นอยู่ สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาเห็นแล้ว
สิ่งใดที่บุคคลเห็นแล้ว สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เขาเห็นอยู่
เมื่อไม่เห็น (ตามความเป็นจริง) จึงหลงติดอยู่
เมื่อ (หลง) ติดอยู่ ย่อมไม่หลุดพ้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 666
มีอธิบายว่า เพื่อแสดงถึงการแยก ความเป็นก้อน (ฆนสัญญา) ออกไป
เป็นต้น.
และด้วยอาทิศัพท์ ในคำว่า ฆนวินิพฺโภคาทิทสฺสนตฺถ นี้ ก็
ควรทราบอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ :-
ความจริง พระโยคาวจรนี้พิจารณาเห็นกายอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่
พิจารณาเห็นธรรมอย่างอื่น.
มีอธิบายไว้อย่างไร ?
มีอธิบายไว้ว่า คน (ทั่วไป) มองเห็นพยับแดด ที่ไม่ใช่น้ำเลย
ว่าเป็นน่าฉันใด พระโยคาวจรไม่ใช่เหมือนอย่างนั้น คือไม่เห็นกายนี้
ที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และไม่งามเลยว่าเป็นของ
เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา และเป็นของงามไป โดยที่แท้แล้ว พิจารณา
เห็นเป็น (แต่สักว่า) กาย คือพิจารณาเห็นว่า เป็นที่ประชุมของ
กายที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และเป็นของไม่งาม เท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ควรทราบเนื้อความแม้อย่างนี้ว่า กายนี้ใด มีลม
หายใจออก หายใจเข้าเป็นเบื้องต้น มีกระดูกที่กลายเป็นผุยผงไปเป็นที่สุด
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ก่อนแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุนี้ในศาสนานี้ไปสู่ป่าหรือ ฯลฯ ภิกษุนั้น มีสติ หายใจออก
และกายใดที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค ว่า พระโยคาวจร
ลางรูปในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายคือดิน กายคือน้ำ กายคือไฟ
กายคือลม กายคือผม กายคือขน กายคือผิว กายคือหนัง กาย
คือเนื้อ กายคือเลือด กายคือเอ็น กายคือกระดูก และกายคือเยื่อใน
กระดูก โดยเป็นของไม่เที่ยง เพราะพิจารณาเห็นกายนั้นทั้งหมดใน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 667
กายนี้นั่นแล พระโยคาวจรจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกาย
อีกอย่างหนึ่ง ควรทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า พิจารณาเห็นกาย
กล่าวคือที่ประชุมรูปธรรมมีผม เป็นต้น ในกายต่าง ๆ เพราะไม่เห็น
สิ่งใดสิ่งหนึ่งในกายที่จะต้องยึดถืออย่างนี้ว่า เราหรือของเรา แต่เพราะ
พิจารณาเห็นชุมนุมของรูปธรรมต่าง ๆ นั้น ๆ เอง มีผมและขนเป็นต้น
อีกอย่างหนึ่งควรเข้าใจเนื้อความอย่างนี้ว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นกาย
ในกาย แม้เพราะพิจารณาเห็นกาย กล่าวคือชุมนุมอาการมีอนิจจ-
ลักษณะเป็นต้น ทั่วทุกอย่างในกายนี้ มีนัยดังที่มาแล้วในปฏิสัมภิทามรรค
โดยนัยมีอาทิว่าพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยงไม่ใช่เห็นโดยความ
เป็นของเที่ยง.
จริงอย่างนั้น ภิกษุผู้ปฏิบัติ กาเย กายานุปัสสนาปฏิปทา (ข้อ
ปฏิบัติว่าด้วยการพิจารณากายในกาย ) นี้ พึงทราบว่า จะพิจารณาเห็น
กายนี้ ด้วยอำนาจของอนุปัสสนา ๗ ประการ มีอนิจจานุปัสสนา
เป็นต้น คือจะพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่จะพิจารณา
เห็นโดยความเป็นของเที่ยง จะพิจารณาเห็นโดยเป็นทุกข์ ไม่ใช้จะพิจารณา
เห็นโดยเป็นสุข จะพิจารณาเห็นโดยเป็นอนัตตา ไม่ใช่จะพิจารณาเห็น
โดยเป็นอัตตา จะเบื่อหน่าย ไม่ใช่จะเพลิดเพลิน จะคลายความกำหนัด
ยินดีไม่ใช่จะกำหนัดยินดี จะดับ (ตัณหา)ไม่ใช่จะให้เกิด (ตัณหา) จะ
สลัดออกไปไม่ใช่จะยึดมั่นไว้ เธอเมื่อพิจารณาเห็นกายนั้นโดยความไม่เที่ยง
ก็จะละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ก็จะละสุขสัญญา
ได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ก็จะละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อ
หน่ายก็จะละนันทิธรรม ความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลายกำหนัด ก็จะละราคะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 668
ได้ เมื่อดับ (ตัณหา) ก็จะละสมุทัยได้ เมื่อสลัดออกได้ ก็จะละการ
ยึดมั่นได้.
อธิบายบท อาตาปี สติมา สมฺปชาโน
บทว่า วิหรติ ได้แก่การดำเนินไป.
ในบทว่า อาตาปี พึงทราบวิเคราะห์ดังนี้ ชื่อว่า อาตาปะ
เพราะอรรถว่า ย่อมเผาผลาญกิเลสในภพ ๓. คำว่า อาตาปะนี้เป็นชื่อ
ของวิริยะ. อาตาปะ ของภิกษุนั้นมีอยู่ เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า อาตาปี.
บทว่า สมฺปชาโน ได้แก่ประกอบด้วยญาณ กล่าวคือสัมปชัญญะ.
บทว่า สติมา คือประกอบด้วยสติที่ใช้กำหนดกาย.
ก็ธรรมดาว่า อนุปัสสนา นี้ จะไม่มีแก่ผู้ปราศจากสติเลย เพราะ
พระโยคาวจรใช้สติกำหนดอารมณ์แล้ว จึงพิจารณาเห็น (กายเป็นตน)
ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ก็แล
ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตพูดถึงสติว่ามีประโยชน์ในธรรมทั้งปวง เพราะ-
ฉะนั้น ในพระสูตรนี้ พระองค์จึงตรัสไว้ว่า กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ
(พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ). ด้วยคำเพียงเท่านี้ เป็นอันพระองค์ตรัส
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานกรรมฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ผู้ที่ไม่มีความเพียร ความหดหู่ภายใน
ย่อมทำอันตรายให้ได้ ผู้ที่ไม่มีสัมปชัญญะ ย่อมเป็นผู้หลงลืมสติ ในการ
กำหนดอุบาย และในการเว้นสิ่งที่ไม่ใช่อุบาย คือเป็นผู้ไม่สามารถในการ
กำหนดอุบาย และในการสลัดทิ้งสิ่งที่ไม่ใช่อุบาย (และ) กรรมฐาน
นั้น จะไม่สำเร็จแก่เธอด้วยวิธีนั้น ฉะนั้น พึงทราบว่า เพื่อจะทรง
แสดงธรรมทั้งหลายที่มีอานุภาพเป็นเหตุสำเร็จแห่งกรรมฐานนั้น พระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 669
องค์จึงตรัสคำนี้ไว้ว่า อาตาปี มีความเพียร สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะ
สติมา มีสติ.
อธิบายบท วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺส
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
และวิธีประกอบกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ด้วยประการอย่างนี้แล้ว
บัดนี้ เพื่อจะแสดงองค์แห่งการละกิเลส จึงได้ตรัสว่า วิเนยฺย โลเก
อภิชฺฌาโทมนสฺส พึงขจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิเนยฺย ได้แก่พรากออกไปด้วยการ
พรากออกไปด้วยองค์นั้น หรือด้วยการพรากออกไปด้วยการข่มไว้.
บทว่า โลเก ได้แก่ในกายนั้นเอง. ความจริง กาย พระองค์
ทรงประสงค์เอาว่าโลกในที่นี้ เพราะอรรถว่า แตกสลาย. แต่เพราะเหตุ
ที่เธอไม่ใช่จะละอภิชฌาและโทมนัสได้เฉพาะเพียงแต่ในกายเท่านั้น แม้
ในเวทนาเป็นต้นก็ละได้เหมือนกัน ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในคัมภีร์วิภังค์
ว่า โลก คือ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะธรรมเหล่านั้นถูกนับว่าเป็นโลก คำว่า โลก
นั้น ท่านจึงกล่าวไว้โดยอัตถุทธารนัย (โดยการขยายความ) ส่วนคำใด
ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ในธรรมเหล่านั้น อันไหนเป็นโลก กายนั้นแหละเป็น
โลก. นี้แหละเป็นอรรถาธิบายในคำนี้. พึงเห็นการสัมพันธ์ความอย่างนี้
ว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกนั้นออกไปได้.
ก็เพราะเหตุที่ในสูตรนี้ กามฉันทะสงเคราะห์เข้ากับศัพท์ว่า
อภิชฌา พยาบาทสงเคราะห์เข้ากับศัพท์ว่าโทมนัส ฉะนั้น พึงทราบว่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 670
การละนิวรณ์เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ด้วยการแสดงธรรม
สองอย่างที่มีกำลังอันนับเนื่อง (กับการละ) นิวรณ์ แต่โดยพิเศษแล้ว
ในสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการละ ความยินดีที่มีกายสมบัติเป็นมูล
ด้วยการขจัดอภิชฌา (และ) ความยินร้ายที่มีกายวิบัติเป็นมูลอีกด้วย
การกำจัดโทมนัส อนึ่ง ตรัสการละความยินดีในกาย ด้วยการกำจัด
อภิชฌา (และ) ความไม่ยินดีในการเจริญกายภาวนา ด้วยการกำจัด
โทมนัส ตรัสการละ การเพิ่มความสวยงาม และความสุขเป็นต้น ที่ไม่
มีอยู่จริงในกายด้วยการกำจัดอภิชฌา และการนำออกซึ่งความไม่สวยงาม
และความเป็นทุกข์ที่มีอยู่จริงในกาย ด้วยการกำจัดโทมนัส.
ด้วยคำว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌา โทมนสฺส นั้น เป็นอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอานุภาพแห่งการบำเพ็ญเพียร และความ
เป็นผู้สามารถในการบำเพ็ญเพียรของพระโยคาวจรไว้แล้ว. ความจริง
อานุภาพของความเพียรนั้น ได้แก่การที่พระโยคาวจรเป็นผู้ปลอดพ้นไป
จากความยินดีและความยินร้าย เป็นผู้ข่มความยินดีและความยินร้ายเสียได้
และเป็นผู้เว้นจากการเพิ่มสิ่งที่ไม่เป็นจริงเข้าไป และนำสิ่งที่เป็นจริงออก
มา. ก็พระโยคาวจรนี้ เมื่อปลอดพ้นจากความยินดีและความยินร้าย ข่ม
เสียได้ซึ่งความยินดีและไม่ยินดี ไม่เพิ่มสิ่งที่ไม่เป็นจริงเข้าไป และไม่นำ
สิ่งที่เป็นจริงออกมา ย่อมชื่อว่าเป็นผู้สามารถในการบำเพ็ญเพียรแล.
อีกนัยหนึ่ง พึงทราบว่า พระองค์ตรัสกรรมฐานไว้ด้วยอนุปัสสนา
(การพิจารณาเนือง ๆ) ในบทว่า กาเย กายานุปสฺสี นี้. ตรัสการ
บริหารกายไว้ สำหรับผู้บำเพ็ญกรรมฐาน ด้วยการพักผ่อนดังที่กล่าวไว้
แล้วในบทว่า วิหรติ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 671
ในบทว่า อาตาปี เป็นต้น พระองค์ตรัส สัมมัปปธาน (ความ
เพียรชอบ) ไว้ด้วยอาตาปะ ( ความเพียรเป็นเหตุให้กิเลสเร่าร้อน)
ตรัสกรรมฐานที่ให้สำเร็จประโยชน์ทุกอย่าง หรืออุบายสำหรับบริหาร
กรรมฐานไว้ด้วยสติสัมปชัญญะ. อีกอย่างหนึ่ง ตรัสสมถะที่ได้มาแล้ว
ด้วยอำนาจกายานุปัสสนาไว้ด้วยสติ. ตรัสวิปัสสนาด้วยสัมปชัญญะ.
ตรัสพลังแห่งภาวนาไว้ด้วยการขจัดอภิชฌาและโทมนัสออกไป.
อธิบายบท อนุปสฺสี
แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระองค์ตรัสไว้ว่า บทว่า อนุปสฺสี ความว่า
บรรดาธรรมเหล่านั้น อนุปัสสนา คืออะไร ?
คือปัญญา การรู้ทั่วถึง ฯ ลฯ สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า อนุปัสสนา.
ภิกษุเข้าถึง เข้าถึงเรียบร้อยแล้ว เข้านาถึงแล้ว เข้ามาถึงเรียบร้อยแล้ว
เข้าไปถึงแล้ว ถึงพร้อมแล้ว ประกอบแล้วด้วยอนุปัสสนานี้ เพราะเหตุ
นั้น จึงตรัสเรียกว่า อนุปสฺสี ผู้พิจารณาเห็นเนือง ๆ
บทว่า วิหรติ ความว่า ย่อมผลัดเปลี่ยน เป็นไป รักษาไว้
ดำเนินไปเอง ให้ (ร่างกาย) ดำเนินไป นำไป พักผ่อน ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสเรียกว่า วิหรติ.
บทว่า อาตาปี ความว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น อาตาปะ (ความ
เพียร) คืออะไร ?
คือ การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ
นี้เรียกว่า อาตาปะ ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยอาตาปะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า อาตาปี.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 672
บทว่า สมฺปชาโน ความว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น สัมปชัญญะ
คืออะไร ?
คือ ปัญญา ความรู้ทั่วถึง ฯลฯ สัมมาทิฏฐิ นี้เรียกว่า
สัมปชัญญะ. ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบพร้อมแล้วด้วย
สัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สมฺปชาโน.
บทว่า สติมา ความว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น สติ คืออะไร ?
คือ สติ ความระลึกได้ อนุสสติ ความระลึกถึงเนือง ๆ ฯลฯ
สัมมาสติ ความระลึกชอบ นี้เรียกว่า สติ. ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว ฯลฯ
ประกอบพร้อมแล้วด้วยสตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า ผู้มีสติ.
บทว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺส ความว่า บรรดาธรรม
เหล่านั้น โลก คืออะไร ?
กายนั้นเอง ชื่อว่า โลก โลกคืออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า โลก.
บรรดาธรรมเหล่านั้น อภิชฌาคืออะไร ?
คือ ความกำหนัด ความกำหนัดแรงกล้า ความยินดี ความ
คล้อยตาม ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจควานเพลิดเพลิน
ความกำหนัดแรงกล้าแห่งจิต นี้เรียกว่า อภิชฌา.
บรรดาธรรมเหล่านั้น โทมนัส คืออะไร ? คือ ความไม่ยินดีทางใจ
ความทุกข์ทางใจ ความไม่ยินดี ทุกขเวทนา เกิดแต่สัมผัสทางใจ นี้
เรียกว่า โทมนัส.
ทั้งอภิชฌา ทั้งโทมนัสในโลก คือ กายนี้ เป็นอันถูกขจัดแล้ว
ถูกกำจัดออกไปแล้ว สงบแล้ว เงียบแล้ว เงียบแล้ว ระงับแล้ว ถึงการดับแล้ว
ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว ถึงการดับสูญไป ไม่อิ่มเอิบแล้ว สิ้นปรีดาแล้ว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 673
ซูบซีดแล้ว เหี่ยวแห้งแล้ว ทำให้เสื่อมสิ้นแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระองค์
จึงตรัสว่า ขจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก คือกายได้ เนื้อความของ
บทเหล่านั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วอย่างที่พรรณนามานี้ นักศึกษาพึงทราบ
นัยแห่งอรรถกถานี้ พร้อมด้วยเนื้อความนั้นโดยการเทียบเคียงกันเถิด
นี้เป็นกถาพรรณนาความแห่งอุเทศแห่งกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ก่อน.
อธิบายเวทนานุปัสสนา
บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบประโยชน์ ในการกล่าวซ้ำ เวทนาเป็นต้น
ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ (ซึ่งมีรวมอยู่ใน
คำนี้ว่า เวทนาสุ . . .จิตฺเต. . . ธมฺเมสุ. . . ธมมานุปสฺสี วิหรติ ฯลฯ
วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺส โดยนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในกายา-
นุปัสสนา.
ก็ในคำว่า เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี
ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี นี้ คำว่า เวทนา ได้แก่เวทนา ๓ และ
เวทนานั้น เป็นโลกิยะอย่างเดียว ถึงแม้จิตก็เหมือนกัน เป็นโลกิยะ.
ธรรมก็เช่นนั้นเหมือนกัน ( เป็นโลกิยะ ). การจำแนกเวทนาเป็นต้น
เหล่านั้น จักปรากฏในนิเทศวาร. แต่ในที่นี้ พึงทราบการจำแนก
เวทนาล้วน ๆ ไว้ว่า เวทนาต้องพิจารณาเห็นอย่างใด พระโยคาวจร
เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนั้น ก็ชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา. ใน
จิตตานุปัสสนา และธรรมานุปัสสนา ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ถามว่า ก็เวทนาควรพิจารณาเห็นอย่างไร ?
ตอบว่า ก่อนอื่น สุขเวทนาควรพิจารณาให้เห็นโดยเป็นทุกข์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 674
ทุกขเวทนาควรพิจารณาให้เห็นโดยเป็นเสมือนลูกศร อทุกขมสุข เวทนา
(เวทนาไม่ทุกข์ ไม่สุข ) ควรพิจารณาให้เห็นโดยเป็นของไม่เที่ยง. ดัง
ที่ตรัสไว้ว่า :-
ภิกษุรูปใดได้เห็นควานสุขโดยเป็นความทุกข์ ได้เห็น
ความทุกข์โดยเป็นลูกศร ได้เห็นความไม่ทุกข์ไม่สุข
ที่มีอยู่ โดยเป็นสิ่งไม่เที่ยง แน่นอนแล้ว ภิกษุรูป
นั้นเป็นผู้เห็นชอบ จักเป็นผู้สงบ เที่ยวไป.
ก็เวทนาหมดทุกอย่างนี้ ควรพิจารณาให้เห็นว่าเป็นทุกข์. สมจริง
ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ได้เสวยแล้ว เรา
ตถาคตกล่าวสิ่งนั้นทั้งหมดว่า (รวมลงใน ) ทุกข์.
อีกอย่างหนึ่ง สุขเวทนา ก็ควรพิจารณาให้เห็นโดยเป็นทุกข์.
ดังที่ตรัสไว้ว่า เวทนานี้เป็นสุข ความสุขที่ดำรงอยู่ เป็นวิปริณามทุกข์
เพราะฉะนั้น ควรขยายให้พิสดารทุกข้อ.
อีกอย่างหนึ่ง เวทนาก็ควรพิจารณาให้เห็น แม้โดยอนุปัสสนา
ทั้ง ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น. คำที่เหลือ จักมีปรากฏในนิเทศวาร
นั้นแหละ.
แม้บรรดาจิต และธรรม จิตก็ควรพิจารณาให้เห็น โดยการแยก
ออกไปเป็นจิตมีราคะเป็นต้น ที่มาแล้ว ในนิเทศวารแห่งอนิจจานุ-
ปัสสนาเป็นต้น ที่จำแนกออกเป็นต่าง ๆ กัน มีอารมณ์ อธิบดี สห-
ชาตธรรม ภูมิ กรรม วิบาก และกิริยา เป็นต้น. (ธรรม) ก็ควร
พิจารณาให้เห็นโดยลักษณะของตน และลักษณะที่เสมอกัน ของธรรม.
โดยสุญญตธรรม, โดยอนุปัสสนาทั้ง ๗ มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 675
และโดยจำแนกออกเป็นสันตธรรม (ธรรมที่สงบ) และอสันตธรรม
(ธรรมที่ไม่สงบ) เป็นต้น ที่มาแล้วในนิเทศวาร. คำที่เหลือ มีนัยดุจ
ที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.
ก็ในการละอภิชฌาและโทมนัสเป็นต้นนี้ ผู้ใด ละอภิชฌาและ
โทมนัสในโลก กล่าวคือกายได้แล้ว ผู้นั้น ก็ละอภิชฌาและโทมนัส
แม้ในโลก คือเวทนาเป็นต้นได้อยู่นั่นเอง ก็จริง แต่ถึงกระนั้นพระองค์
ก็ได้ตรัสทุก ๆ นิเทศวาร โดยบุคคลแตกต่างกัน และโดยสติปัฏฐาน-
ภาวนา ที่ปรากฏขึ้นในขณะจิตแตกต่างกัน. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า
โดยเหตุที่อภิชฌาและโทมนัสที่ละได้ในวาระหนึ่งแล้ว ก็เป็นอันละได้
แม้ในวาระที่เหลือนั่นแหละ แม้เพื่อทรงแสดงการละอภิชฌาและโทมนัส
ไว้ในวาระนั้น จึงได้ตรัสไว้อย่างนี้ ดังนี้แล.
จบ อรรถกถาว่าด้วยอุเทศวาร
สมาธิ ๔
[๑๓๓] บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพุทธประสงค์จะให้
สัตว์ทั้งหลายบรรลุคุณวิเศษมากประการ ด้วยพระธรรมเทศนาว่าด้วย
สติปัฏฐาน จึงทรงจำแนกสัมมาสมาธิข้อเดียวนั่นแหละ ออกเป็น ๔ ข้อ
ตามอารมณ์ โดยนัยมีอาทิว่า สติปัฏฐานมี ๔ อย่าง ๔ อย่างคืออะไร ?
คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกาย
ดังนี้แล้ว ต่อไป เมื่อจะทรงเอาสติปัฏฐานแต่ละข้อมาจำแนกออกไป
(อีก) จึงได้ทรงปรารภเพื่อตรัสนิเทศวารไว้โดยนัยมีอาทิว่า กถญฺจ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 676
ภิกฺขเว (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เป็นไฉน ?) อุปมาเหมือนกับช่างจักสาน
ผู้ฉลาด ประสงค์จะทำเครื่องใช้สอยมีเสื่อลำแพนหยาบ เสื่อลำแพนละเอียด
ผอบ หีบ และลุ้ง เป็นต้น ได้ไม้ไผ่ใหญ่มา ๑ ลำ ผ่าออกเป็น ๔ ซีก
เอาแต่ละซีกมาจัก ( ให้เป็นดอก ) แล้วสานเครื่องใช้สอยฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กถญฺจ เป็นต้น เป็นคำถามโดยตรง
นุ่งหมายจะตรัสตอบให้พิสดารด้วยพระองค์เอง. ก็ในบทนี้ มีอรรถาธิบาย
โดยสังเขปดังต่อไปนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยประการอย่างไร ? ภิกษุ
จึงเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่. นัยนี้ จะมีในทุกวาระแห่งคำถาม.
บทว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในศาสนานี้. เพราะว่า อิธ ศัพท์นี้ ในคำว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ นี้
บ่งชัดถึงศาสนาอันเป็นที่พำนักอาศัยของบุคคลผู้ให้เกิดกายานุปัสสนา
ทุกประการ และปฏิเสธศาสนาอื่นว่าไม่เป็นอย่างนั้น. สมจริงตามที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในศาสนานี้เท่านั้น
มีสมณะ ศาสนาอื่น (ปรัปปวาท ลัทธิที่โจมตีลัทธิอื่น) ว่างจากสมณะ
เหล่าอื่น. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุในศาสนานี้.
คำว่า อรญฺคโต วา ฯเปฯ สุญฺญาคารคโต วา (ไปสู่ป่า ฯลฯ
หรือไปสู่เรือนร้าง) นี้เป็นคำแสดงถึงการทรงกำหนดเสนาสนะที่เหมาะสม
แก่การบำเพ็ญสติปัฏฐานไว้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 677
อุปมาจิตเหมือนลูกวัว
เพราะว่า จิตของภิกษุนี้ ที่ซ่านไปในรูปารมณ์ เป็นต้น มานาน
แล้ว ไม่ประสงค์จะเข้าร่องรอยกรรมฐานได้ วิ่งออกนอกทางถ่ายเดียว
เหมือนรถที่เทียมด้วยวัวพยศก็ปานกัน เพราะฉะนั้น จึงอุปมาเสมือน
หนึ่งว่า คนเลี้ยงวัว (เจ้าของ) เมื่อประสงค์จะฝึกลูกวัวพยศ ที่ดื่มนม
ทุกหยดจากแม่วัวพยศ เติบโตขึ้นมา ต้องพราก (มัน) ออกจากแม่
ดอกหลักใหญ่หลักหนึ่งไว้ในที่เหมาะสม แล้วเอาเชือกผูก (มัน) ไว้ที่
หลักนั้น. ครั้นลูกวัวของเขาตัวนั้น ทะยานไปทางโน้นทางนี้ ก็ไม่อาจ
หนีไปได้ จะต้องยืนชิด หรือนอนชิดหลักนั้นเองฉันใด. ภิกษุรูปนี้เอง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อประสงค์จะฝึกจิตร้ายของตน ที่เจริญขึ้นจากการ
ดื่มรสรูปารมณ์เป็นต้นมานานแล้ว ต้องพราก (มัน ) จากรูปารมณ์
เป็นต้น เข้าไปสู่ป่า หรือรุกขมูล หรือเรือนร้าง เอาเชือกคือสติผูกมัน
ไว้ที่หลัก คืออารมณ์ของสติปัฏฐานนั้น. จิตของเธอนั้นถึงจะดิ้นรนไป
ทางโน้นทางนี้อย่างนี้ เมื่อไม่ได้อารมณ์ที่เคยชินมาก่อน ไม่อาจจะทำลาย
เชือกคือสติ (ให้ขาด ) แล้วหนีไป ก็จะซบเซา และเงื่องหงอย อยู่
กะอารมณ์นั่นเอง ด้วยอุปจารสมาธิ. ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์
จึงได้กล่าวไว้ว่า :-
พระโยคาวจร (ผู้บำเพ็ญเพียร) ต้องเอาสติผูกจิต
ของตนไว้ที่อารมณ์ (กรรมฐาน) ให้มั่น เหมือน
กับคนในโลกนี้ เมื่อจะฝึกวัว๑ ต้องผูกวัวที่จะต้องฝึก
ไว้ที่หลักฉะนั้น.
๑. ปาฐะว่า ทมฺม แต่ฉบับพม่าเป็น ทม แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 678
เสนาสนะนั้นเป็นเสนาสนะเหมาะสมที่จะบำเพ็ญ (กรรมฐาน)
สำหรับเธอ ด้วยประการดังที่พรรณนามานี้. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงได้
ตรัสไว้ว่า อรญฺคโต วา ฯเปฯ สุญฺาคารคโต วา นี้บ่งชัดถึง
การกำหนดเสนาสนะที่เหมาะสมกับการบำเพ็ญสติปัฏฐาน.
เสียงเป็นข้าศึกต่อฌาน
ก็อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่พระโยคาวจรยังสละเสนาสนะท้ายบ้าน
ที่อึกทึกด้วยเสียงสตรี เสียงบุรุษ เสียงช้าง และเสียงม้า เป็นต้น
ไม่ได้ จะยังอานาปานสติกรรมฐาน อันเป็นยอดแห่งกายานุปัสสนา
เป็นเหตุใกล้เคียงแห่งการบรรลุคุณพิเศษและทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรมของ
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทุก ๆ พระองค์นี้
ให้สมบูรณ์ ไม่ใช่ของที่จะทำได้ง่าย เพราะฌานมีเสียงเป็นเสี้ยนหนาม
(อุปสรรค). แต่ในป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน การกำหนดเอาพระกรรมฐานนี้
แล้วยังฌานที่ ๔ มีอานาปานสติเป็นอารมณ์ ทำฌานนั่นเองให้เป็น
เบื้องบาท (ของวิปัสสนา) พิจารณาสังขารแล้วได้บรรลุพระอรหัต
อันเป็นผลชั้นยอด เป็นสิ่งที่พระโยคาวจรทำได้ง่าย ฉะนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันสมควรแก่พระโยคาวจรนั้น
จึงตรัสว่า อรญฺคโต วา ดังนี้เป็นต้น.
ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นเหมือนอาจารย์ผู้รู้พื้นที่
(นักดูที่ หรือนักธรณีวิทยา). พระองค์ ครั้นทรงใคร่ครวญเห็นเสนาสนะ
ที่สมควรแก่พระโยคาวจรอย่างนี้แล้ว จึงทรงชี้ว่า ควรบำเพ็ญพระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 679
กรรมฐาน ณ ที่นี้ ต่อนั้นไป พระโยคี (ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร) บำเพ็ญ
กรรมฐานอยู่ เมื่อได้บรรลุพระอรหัตตามลำดับแล้ว พระองค์ทรงได้รับ
สักการะอย่างมากมายด้วยคำสรรเสริญว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ (จริง ๆ) หนอ เหมือนกับ
อาจารย์ผู้รู้พื้นที่ ดูพื้นที่ที่จะตั้งพระนครแล้ว พิจารณาดูถี่ถ้วนแล้ว
ชี้บอกว่า ท่านทั้งหลายจงสร้างพระนคร ณ ที่นี้ และเมื่อพระนครสร้าง
สำเร็จโดยสวัสดี (เรียบร้อย) แล้ว จะได้รับพระราชทานสักการะมาก
มายจากราชตระกูลฉะนั้น.
ทรงเปรียบพระเหมือนเสือเหลือง
แต่ภิกษุรูปนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นเช่นกับเสือเหลือง. อธิบายว่า
พญาเสือเหลืองใหญ่อาศัยพงหญ้า หรือพงป่า พงเขาในป่า ซุ่มจับหมู่
มฤคมีควายป่า เนื้อสมัน และหมูป่าเป็นต้น (กิน) ฉันใด ภิกษุนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บำเพ็ญพระกรรมฐานบ่อย ๆ ในป่าเป็นต้น จะ
บรรลุอริยมรรค ๔ และอริยผล ๔ ตามลำดับ. เพราะฉะนั้น พระ
โบราณาจารย์จึงได้กล่าวไว้ว่า :-
ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตร บำเพ็ญวิปัสนา ประกอบ
ความเพียรนี้ เข้าไปสู่ป่า แล้วบรรลุอรหัตตผล
เหมือนเสือเหลือง ซุ่มจับเนื้อกินฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 680
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะป่าอันเป็น
พื้นที่ซึ่งเหมาะสมแก่การรีบเร่งในการประกอบความเพียรแก่ภิกษุนั้น จึง
ได้ตรัสไว้ว่า อรญฺคโต วา ดังนี้ เป็นต้น.
ต่อแต่นี้ไป คำใดที่ข้าพเจ้าจะต้องกล่าว (อธิบาย) ในอานา-
ปานบรรพนี้ก่อน คำนั้นข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล้ว.
เจริญอานาปานสติ
ก็เมื่อพระโยคาวจรนั้น ศึกษาอยู่ด้วยอำนาจแห่งลมหายใจเข้าและ
ลมหายใจออกเหล่านี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุ
สำเหนียกว่า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว ฌาน
ทั้ง ๔ จะเกิดขึ้นในเพราะนิมิต คือ อัสสาสะ และ ปัสสาสะ.
เธอออกจากฌานแล้ว กำหนดลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือ
กำหนดองค์ฌาน, ในจำนวนอัสสาสะ ปัสสาสะ และองค์ฌานทั้ง ๒
อย่างนั้น. (ถ้า) เป็นผู้กำหนดอัสสาสะปัสสาสะเป็นอารมณ์ ก็กำหนดรูป
อย่างนี้ว่า อัสสาสะปัสสาสะอาศัยอยู่กับอะไร ? อาลัยอยู่กับวัตถุ
กรชกาย ชื่อว่า วัตลุ. มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป (๒๔) ชื่อว่า
กรชกาย.
ต่อมา กำหนดนามรูปอย่างนี้ว่า นามมีอยู่ ในอารมณ์นั้น มี
ผัสสะเป็นที่ ๕ เมื่อแสวงหาปัจจัยของนานรูปนั้นจะเห็นปฏิจจสมุปบาท
มีอวิชชาเป็นต้น ข้ามสงสัยได้ว่า นี้เป็นเพียงปัจจัยและธรรมที่อาศัย
ปัจจัยเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่มีสัตว์ หรือบุคคล อื่นต่างหาก (จากอัสสาส-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 681
ปัสสาสะนั้น) ยกนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยขึ้นสู่ไตรลักษณะ เจริญวิปัสสนา
บรรลุพระอรหัตตามลำดับ.
นี้เป็นช่องทางแห่งการออกไป (จากทุกข์) จนถึงอรหัตของภิกษุ
รูปหนึ่ง.
ส่วนผู้กำหนดฌานเป็นอารมณ์ จะกำหนดนามรูปว่า องค์ฌาน
ทั้งหลายเหล่านี้๑ อาศัยอยู่กับอะไร อาศัยอยู่กับวัตถุ กรชกาย ชื่อว่า
วัตถุ องค์ฌานเป็นนาม กรชกายเป็นรูป เมื่อแสวงหาปัจจัยของนามรูป
นั้น จะเห็นปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้น ข้ามความสงสัยเสียได้ว่า นี้เป็น
เพียงปัจจัยและธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่มีสัตว์หรือบุคคลอื่น
ต่างหาก ( จากนามรูปนั้น ) ยกนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยขึ้นสู่ไตรลักษณ์
เจริญวิปัสสนา บรรลุอรหัตตามลำดับ. นี้เป็นช่องทางแห่งการออกไป
(จากทุกข์) จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺต วา ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย
คือลมหายใจออกหายใจเข้าของตนอยู่อย่างนี้หรือ.
บทว่า พหิทฺธา วา ความว่า หรือ (พิจารณาเห็นกาย) ในกาย
คือลมหายใจออกหายใจเข้าของคนอื่น.
บทว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา ความว่า ในกายคือลมหายใจออก
หายใจเข้าของคน ( และ ) ของผู้อื่น ตามกาลเวลาอย่างนี้.
ด้วยบทว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา นี้ พระองค์ตรัสถึงกาลเวลา
ที่ลมหายใจนั้นออก ๆ เข้า ๆ โดยไม่พักกรรมฐานที่ช่ำชองไว้. แต่
ทั้ง ๒ อย่างนี้ จะมีในเวลาเดียวกันไม่ได้.
๑. ปาฐะว่า อิทานิ พม่าเป็น อิมานิ แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 682
บทว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา ความว่า อุปมาเสมือนหนึ่งว่า
อาศัยทั้งสูบของช่างทองทั้งก้านสูบและความพยายามอันเกิดจากทั้ง ๒ อย่าง
นั้น (สูบและก้านสูบ) ลมจึงเดินไปมาได้ฉันใด. กายคืออัสสาสะ
ปัสสาสะของภิกษุก็ฉันนั้น อาศัยกรชกาย โครงจมูก และจิต จึงสัญจร
ไปมาได้. ธรรมทั้งหลายมีกายเป็นต้น เป็นสมุทัย ภิกษุเมื่อพิจารณา
ธรรมเหล่านั้น เรียกว่า พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกายอยู่.
บทว่า วยธมฺมานุปสฺสี วา ความว่า เมื่อกายแตกดับ โครง
จมูกโหว่ และเมื่อจิตดับ ขึ้นชื่อว่ากายคืออัสสาสะและปัสสาสะจะสัญจร
ไม่ได้ เหมือนกับเมื่อสูบถูกนำออกไปแล้ว เมื่อก้านสูบหัก และเมื่อ
ไม่มีความพยายามอันเกิดแต่สูบและก้านสูบนั้น ลมนั้นจะไม่เดินฉะนั้น
เพราะฉะนั้น ลมหายใจออกและหายใจเข้าดับไป เพราะกายเป็นต้น
แตกดับไป ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นอยู่อย่างนี้ พระองค์จึงตรัสเรียกว่า
พิจารณาเห็นธรรมคือความดับไปในกายอยู่.
บทว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี ความว่า พิจารณาเห็นความเกิด
ตามกาลเวลา ความดับไปตามกาลเวลา.
บทว่า อตฺถิ กาโย วา ปนสฺส ความว่า สติ เป็นอันเธอ
เข้าไปดังไว้อย่างนี้ว่า กายมีอยู่ แต่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล. ไม่ใช่หญิง
ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่สิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร.
คำว่า ยาวเทว นี้ เป็นคำกำหนดการชี้ขาดประโยชน์. มีคำ
อธิบายว่า สติที่เข้าไปตั้งไว้นั้น ไม่ใช่เพื่อประโยชน์อย่างอื่น. โดยที่แท้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 683
แล้ว เพียงเพื่อความรู้เท่านั้น คือเพื่อประโยชน์แก่ญาณที่ยิ่งขึ้นไปเป็น
ประมาณต่อ ๆ ไป และเพื่อต้องการสติเป็นประมาณ อธิบายว่า เพื่อ
ต้องการให้สติและสัมปชัญญะเจริญขึ้น.
บทว่า อนิสฺสิโต จ วิหรติ ความว่า เป็นผู้ไม่อาศัย ( อะไร)
ด้วยอำนาจแห่งตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย.
ข้อว่า น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ (และเธอจะไม่ยึดมั่น อะไร
ในโลก) ความว่า เธอจะไม่ยึดถืออะไร คือ รูป ฯลฯ หรือวิญญาณ
ในโลกว่า นี้เป็นอัตตาหรือสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตาของเรา.
ปิ อักษร ในคำว่า เอวปิ ใช้ในความหมายว่า รวมเอาเนื้อความ
ข้างหน้ามาไว้. อนึ่ง ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรม
เทศนาว่าด้วยอานาปานบรรพ มอบให้ (สาวกทั้งหลาย) ดังนี้แล.
อริยสัจ ๔ ในอานาปานะ
บรรดาสัจจะเหล่านั้น สติที่กำหนด อัสสาสะ และปัสสาสะ
เป็นทุกขสัจ ตัณหาที่มีแต่ก่อนที่เป็นสมุฏฐานของสตินั้น เป็นทุกขสมุทัย
ความไม่เป็นไปแห่งสติ และตัณหาทั้ง ๒ อย่างนั้น เป็นนิโรธ อริยมรรค
ที่มีการกำหนดรู้ทุกข์ มีการละสมุทัย มีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ.
เธอขวนขวายด้วยอำนาจสัจจะทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว จะบรรลุความดับ
(นิพพาน) ฉะนั้น ข้อนี้จึงเป็นช่องทางแห่งการออกไปจาก (ทุกข์ )
จนถึงอรหัต ของภิกษุผู้ไม่ยึดมั่นด้วยอำนาจอัสสาสะและปัสสาสะ รูป
หนึ่ง.
จบ อานาปานบรรพ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 684
พิจารณาดูกายโดยอิริยาบถ
[๑๓๔] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกการพิจารณาดูกาย
โดยอัสสาสะและปัสสาสะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยอิริยาบถ
จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า ปุน จ ปร.
จะวินิจฉัยในบทเหล่านั้นต่อไป :-
ความรู้ที่เป็นสติปัฏฐานภาวนา
ถึงสุนัขบ้าน และสุนัขจิ้งจอก เมื่อเดินไปก็รู้โดยแท้ว่า เรากำลัง
เดิน. แต่การรู้นั่น พระองค์มิได้ตรัสหมายเอาการรู้แบบนี้. เพราะว่าการ
รู้แบบนี้ ละสัตตูปลัทธิ (การยึดถือว่าเป็นสัตว์) ไม่ได้. ถอนอัตตสัญญา
(ความสำคัญว่าเป็นอัตตา ) ไม่ออก. ไม่เป็นกรรมฐาน หรือสติปัฏฐาน-
ภาวนา.
แต่การรู้ของภิกษุนี้ ละสัตตูลัทธิได้ ถอนอัตตสัญญาได้ เป็น
กรรมฐาน หรือเป็นสติปัฏฐานภาวนา.
ความจริง การรู้นี้ พระองค์ตรัสหมายเอาการรู้สึกตัวอย่างนี้ว่า
ใครเดิน ? การเดินของใคร ? เดนเพราะเหตุอะไร ? ถึงในการยืน
ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ใครเดิน ความว่า ไม่ใช่สัตว์ตัวไหน
หรือคนคนไหนเดิน.
บทว่า การเดินของใคร ความว่า ไม่มีการเดินของสัตว์ตัวไหน
บทว่า เดินเพราะเหตุอะไร ความว่า เดินไป โดยการแผ่ขยาย
ของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 685
วาโยธาตุเกิดจากจิต
เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้ จะรู้ชัด (อิริยาบถ) อย่างนี้ว่า จิต (ความคิด)
เกิดขึ้นว่า เราจักเดิน จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหววาโยเกิด.
การเคลื่อนไหวกายทั้งหมดไปข้างหน้า โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุอัน
เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การเดิน. แม้ในการยืนเป็นต้น ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
แม้ในบรรดาการยืนเป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัยต่อไป จิต
(ความคิด) เกิดขึ้นว่า เราจะยืน จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหว
วาโยเกิด.
ภาวะที่กายทั้งหมดตั้งแต่ที่สุด (คือศีรษะถึงปลายเท้า) ยึดขึ้น
โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การยืน.
จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง จิตนั้นจะให้วาโยเกิด จะให้การไหว
วาโยเกิด การย่อกายตอนล่างลง การยึดกายตอนบนขึ้น โดยการแผ่ขยาย
ของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การนั่ง.
จิตเกิดขึ้นว่า เราจะนอน จิตจะให้วาโยนั้นเกิด จะให้การเคลื่อน
ไหววาโยเกิด. การเหยียดร่างกายทั้งหมดออกไปตามทางขวาง โดยการ
แผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจากกิริยาของจิต เรียกว่า การนอน อาการ
ของเขาผู้รู้เห็นอยู่อย่างนี้ เรียกว่า สัตว์เดิน สัตว์ยืน.
ถามว่า มีสัตว์อะไรเดินหรือยืนหรือ ?
ตอบว่า ไม่มี.
แต่เหมือนคำที่เรียกว่า เกวียนไป เกวียนหยุด. ก็ไม่มีอะไรที่ชื่อ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 686
ว่าเกวียนจะไปหรือจะหยุด. แต่เมื่อสารถีผู้ฉลาด เทียมโค ๔ ตัวขับไป
จะมีก็แต่เพียงการเรียกขานกันว่า เกวียนไป เกวียนหยุด ฉันใด. กาย
เหมือนเกวียน เพราะอรรถว่าไม่รู้ ลมที่เกิดจากจิตเหมือนโค จิตเหมือน
สารถี เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะเดิน วาโยธาตุที่จะให้เกิดวิญญัติ ก็จะ
เกิดขึ้น การเดินเป็นต้น จะเป็นไปโดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดจาก
กิริยาของจิต จะมีแต่เพียงการเรียกขานกันว่าสัตว์เดิน สัตว์ยืน ฉันไป
ฉันยืน ฉันนั้นเหมือนกัน.
เรือวิ่งไปได้ เพราะกำลังของลม ลูกศรวิ่งไปได้
เพราะกำลังของสาย ฉันใด ร่างกายนี้ก็ฉันนั้น
เดินไปได้ เพราะลม (ภายใน) พัดผัน. แม้
กายยนต์นี้ ที่ (นายช่างคือตัณหาประกอบไว้) เดิน
ยิน นั่ง ได้ ด้วยอำนาจของสายชักคือจิต เหมือน
หุ่นยนต์ เคลื่อนไหวได้ ด้วยอำนาจของสายชัก
ในเรื่องนี้ จะมีสัตว์อะไร นอกจากเหตุ ปัจจัย ที่ยืน
หรือเดินไป ด้วยอานุภาพของตน.
เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนั้นกำหนดอยู่ซึ่งอิริยาบถเดิน เป็นต้น
ที่เป็นไปโดยเหตุและปัจจัยเท่านั้นอย่างนี้ พึงทราบเถิดว่า บุคคลนั้นเมื่อ
เดิน ก็รู้ชัดว่า เราเดิน (เมื่อยืน นั่ง หรือนอน) ก็รู้ชัดว่า เรายืน
นั่งหรือนอน.
คำว่า ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ ตถา
ตถา น ปชานาติ ( ก็หรือว่า เธอย่อมรู้ชัดกายนั้น ตามที่ตนดำรงอยู่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 687
แล้ว) นี้ เป็นคำที่ประมวลอิริยาบถทุกอย่างไว้.
มีคำอธิบายไว้ดังต่อไปนี้ว่า กายของเธอ สถิตอยู่แล้ว โดยอาการ
ใด ๆ เธอก็รู้ชัดกายนั้น โดยอาการนั้น ๆ คือ รู้ชัดกายที่สถิตอยู่โดย
อาการที่เดิน ว่า กำลังเดิน รู้ชัดกายที่ดำรงอยู่โดยอาการที่ยืน นั่ง หรือ
นอน ว่า (กำลัง ) นอนเป็นต้น.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺต วา ความว่า หรือเธอพิจารณาเห็นกาย
ในกาย โดยการพิจารณาอิริยาบถ ๔ ของตนอย่างนี้อยู่.
บทว่า พหิทฺธา วา ความว่า หรือโดยการกำหนดอิริยาบถ ๔
ของผู้อื่น.
บทว่า อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา ความว่า พิจารณาเห็นกายในกาย
โดยการกำหนดอิริยาบถ ๔ ของตน (หรือ ) ของผู้อื่นตามกาลเวลา.
ส่วนในบทว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา เป็นต้น ผู้ศึกษาควรนำ
เอาความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งรูปขันธ์ด้วยอาการ ๕ อย่างมา โดย
นัยมีอาทิว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปขันธ์จึงเกิด.
ความจริง คำว่า สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา นี้ ในอิริยาปถบรรพนี้
พระองค์ตรัสหมายเอาคำนั้น.
คำว่า อตฺถิ กาโยติ วา ปนสฺส เป็นต้น ก็เช่นเดียวกันกับ
ที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 688
อริยสัจในอิริยาบถ
แต่ในอิริยาปถบรรพนี้ สติที่กำหนดอิริยาบถทั้ง ๔ เป็นทุกขสัจ
ตัณหาเก่าที่เป็นสมุฏฐานของสติ เป็นสมุทัยสัจ การไม่เป็นไปแห่งสติ
กับตัณหาทั้ง ๒ อย่างนั้น เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคที่กำหนดรู้ทุกข์ ที่
ละสมุทัย ที่มีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ.
พระโยคาวจรขวนขวายด้วยอำนาจสัจจะทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว จะ
บรรลุความดับ (นิพพาน). ถ้อยคำดังที่พรรณนามานี้ เป็นช่องทาง
การนำออก (จากทุกข์) จนถึงพระอรหัต ของภิกษุผู้กำหนดอิริยาบถ ๔
รูปหนึ่ง ดังนี้แล.
จบ อิริยาปถบรรพ
พิจารณาดูกายโดยสัมปชัญญะ ๔
[๑๓๕] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกการพิจารณา
เห็นกายในกายโดยอิริยาบถอย่างนี้แล้ว. บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดย
สัมปชัญญะ ๔ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน จปร ไว้.
ก่อนอื่น บรรดาคำเหล่านั้น ในคำว่า อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต นี้
การเดินไปพระองค์ตรัสเรียกว่า อภิกกันตะ การเดินกลับตรัสเรียกว่า
ปฏิกกันตะ. แม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น ได้ในอิริยาบถทั้ง ๔.
(จะว่า) ในการเดินก่อน เมื่อโยกกายไปข้างหน้า ก็ชื่อว่าก้าวไป.
เมื่อเอนกลับก็ชื่อว่าถอยกลับ. แม้ในการยืน ผู้ยืนนั้นแหละ เมื่อโยกกาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 689
ไปข้างหน้า ก็ชื่อว่าก้าวไป เมื่อเอนตัวมาข้างหลัง ก็ชื่อว่าถอยกลับ.
ในการนั่ง ผู้นั่งนั่งเอง เมื่อโน้มตัวด้านหน้าไป เฉพาะหน้าอาสนะ
ชื่อว่าก้าวไป เมื่อโยกร่างกายด้านหลังไปทางหลัง ชื่อว่าถอยกลับ. แม้
ในการนอนก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า สมฺปชานการี โหติ ความว่า เป็นผู้ประกอบกิจทุกอย่าง
ด้วยสัมปชัญญะ (ความรู้ตัว) เป็นปกติ หรือเป็นผู้ทำความรู้สึกตัว
นั่นแหละเป็นปกติ เพราะว่า เธอทำความรู้สึกตัวอยู่ทีเดียว ในการก้าว.
ไปข้างหน้าเป็นต้น ไม่ว่าในอิริยาบถไหน ๆ ก็ไม่เว้นสัมปชัญญะ.
สัมปชัญญะ ๔
สัมปชัญญะ ในคำว่า สมฺปชานการี นั้นมี ๔ อย่างคือ สาตถก-
สัมปชัญญะ ๑ สัปปายสัมปชัญญะ ๑ โคจรสัมปชัญญะ ๑ อสัม-
โมหสัมปชัญญะ ๑.
๑. สาตถกสัมปชัญญะ
บรรดาสัมปชัญญะทั้ง ๔ อย่างนั้น การไม่ไปตามอำนาจความคิด
ที่เกิดขึ้นทีเดียว ในเมื่อคิดจะก้าวไป กำหนดผลได้ผลเสีย (ก่อน) ว่า
การไปที่นี้ จะมีประโยชน์แก่เรา หรือไม่มี แล้วถือเอาแต่ประโยชน์
ชื่อว่าสาตถกสัมปชัญญะ.
ก็บรรดาอัตถะและอนัตถะ (ผลได้ผลเสีย) ทั้ง ๒ อย่างนั้น ความ
เจริญทางธรรมด้วยได้เห็นพระเจดีย์ ได้เห็นต้นโพธิ์ ได้เห็นพระสงฆ์
ได้เห็นพระเถระ และได้เห็นอสุภารมณ์ เป็นต้น ชื่อว่า อัตถะ. เพราะว่า
แม้ได้เห็นพระเจดีย์แล้ว ยังปีติให้เกิด มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ขึ้นได้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 690
(และ) เพราะได้เห็นพระสงฆ์ ก็ให้เกิดปีติมีพระสงฆ์เป็นอารมณ์ขึ้นได้
แล้ว เมื่อพิจารณาอารมณ์นั่นแหละ โดยความสิ้นไปและความเสื่อมไป
ก็จะบรรลุพระอรหัต. ได้เห็นพระเถระทั้งหลายแล้ว ตั้งอยู่ในโอวาทของ
ท่าน ได้เห็นอสุภารมณ์แล้ว ยังปฐมฌานให้เกิดในอสุภารมณ์นั้นขึ้นได้
เมื่อพิจารณาอสุภารมณ์นั่นแหละไป โดยความสิ้นไปและความเสื่อมไป ก็
จะบรรลุพระอรหัต. เพราะฉะนั้น การเห็นสิ่งเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีประ-
โยชน์. แต่อาจารย์ลางพวกกล่าวว่า ความเจริญด้านอามิสเอง ก็ชื่อว่า
เป็นประโยชน์ (ผล) ได้เหมือนกัน เพราะอาศัยประโยชน์นั้นแล้ว
ได้ปฏิบัติ (ธรรม) เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์.
๒. สัปปายสัมปชัญญะ
ส่วนการกำหนด สัปปายะ และ อสัปปายะ (ความสบายหรือไม่
สบาย) ในการเดินนั้นแล้วกำหนดเอาสัปปายะ ชื่อว่า สัปปายสัม-
ปชัญญะ.
ได้แก่อะไร ?
ได้แก่ การเห็นพระเจดีย์ ชื่อว่ามีประโยชน์ก่อน ก็ถ้าบริษัทประชุม
กัน ระยะ ๑๐ หรือ ๑๒ โยชน์ เพื่อบูชามหาเจดีย์เป็นการใหญ่ ผู้หญิง
บ้าง ผู้ชายบ้าง แต่งตัวด้วยเครื่องประดับ ตามควรแก่สมบัติของตน
(ตามฐานานุรูป) เดินเที่ยวกันไปเหมือนกับภาพจิตรกรรม ( รูปเขียน)
ไซร้ เธอก็จะเกิดความอยากได้ (โลภ) ในอิฏฐารมณ์นั้น จะเกิดความ
ขัดเคืองในเพราะอนิฏฐารมณ์ และจะเกิดความหลงใหลขึ้นในเพราะการ
มองไม่เหมาะสม. จะต้องอาบัติ กายสังสัคคะ (จับต้องกายหญิง) หรือ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 691
จะมีอันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์. สถานที่ดังที่พรรณนามานี้นั้น ชื่อว่า
เป็นอสัปปายะ. แม้การเห็นพระสงฆ์ที่เป็นสัปปายะ ชื่อว่ามีประโยชน์
ในเพราะไม่มีอันตรายมีประการดังที่กล่าวนาแล้ว.
แต่ถ้าเมื่อมนุษย์พากันสร้างปะรำใหญ่ไว้ภายในหมู่บ้านแล้วฟัง
ธรรมเทศนากันตลอดทั้งคืน การชุมนุมของประชาชนและอันตราย ก็จะ
มี โดยประการดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. สถานที่ดังกล่าวมาแล้วนี้นั้นเป็น
อสัปปายะ (แต่) เป็นสัปปายะได้ เพราะไม่มีอันตราย แม้ในการเห็น
พระเถระทั้งหลายผู้มีบริษัทบริวารมาก ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ถึงการเห็น
อสุภารมณ์ ก็ชื่อว่ามีประโยชน์. และมีเรื่องดังต่อไปนี้เป็นการแสดงเนื้อ
ความนั้น (ตัวอย่าง) :-
เรื่องภิกษุหนุ่ม
เล่ากันมาว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งพาสามเณรไปหาไม้ชำระฟัน. สาม-
เณรแวะออกนอกทางเดินล่วงหน้าไป เห็นอสุภารมณ์ แล้วยังปฐมฌาน
ให้เกิดขึ้น ทำปฐมฌานนั่นแหละให้เป็นเบื้องบาทพิจารณาสังขาร ทำผล
ทั้ง ๓ ให้แจ้งชัดแล้ว ได้ยืนกำหนดกรรมฐาน เพื่อผลประโยชน์แก่มรรค
เบื้องสูง (อรหัตตมรรค). ภิกษุหนุ่มเมื่อไม่เห็นสามเณรนั้น จึงร้องเรียก
ว่าสามเณร. สามเณรนั้นคิดว่า ตั้งแต่บวชแล้ว เราไม่เคยให้พระเรียกถึง
๒ ครั้งเลย เราจักให้คุณวิเศษเบื้องสูงเกิดขึ้นในวันอื่นเถอะ ดังนี้แล้ว
จึงให้คำตอบว่า อะไรครับท่าน ? และสามเณรนั้นที่ภิกษุหนุ่มบอกว่า
มาเถิดสามเณร เพียงคำเดียวเท่านั้นก็มาแล้วได้พูดว่า ท่านครับ ขอได้
โปรดเดินไปตามทางนี้ก่อน แล้วยืนหันหน้ามองไปทางทิศตะวันออก
สักครู่หนึ่ง ณ โอกาสที่ผมยืน. เธอได้ทำตามนั้นแล้ว ได้บรรลุคุณวิเศษ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 692
ที่สามเณรนั้นได้แล้วบรรลุแล้ว. อสุภารมณ์เดียว ได้เกิดประโยชน์แก่คน
๒ คน ดังที่พรรณนามานี้.
ก็อสุภารมณ์นี้ แม้จะมีประโยชน์ดังที่พรรณนามานี้ (แต่) อสุภา-
รมณ์คือหญิง ก็เป็นอสัปปายะของชาย และอสุภารมณ์คือชาย ก็เป็น
อสัปปายะของหญิง. อสุภารมณ์ที่เป็นสภาคกันเท่านั้น จึงจะเป็นสัปปายะ
เพราฉะนั้น การกำหนดสัปปายะอย่างนั้น ชื่อว่า สัปปายะสัมปชัญญะ.
๓. โคจรสัมปชัญญะ
แต่การเรียนเอา โคจระ กล่าวคือกรรมฐาน ซึ่งเป็นที่ชอบใจ
ของตน ในจำนวนกรรมฐาน ๓๘ ประการ แล้วรับเอากรรมฐานนั้น
เดินไปในที่โคจรเพื่อภิกขาจาร ชื่อว่า โคจรสัมปชัญญะ สำหรับผู้มี
สัปปายะที่มีประโยชน์ที่กำหนดแล้วอย่างนี้.
เพื่อความแจ่มชัดแห่งโคจรสัมปชัญญะนั้น ผู้ศึกษาควรทราบ
สัมปชัญญะ ๔ หมวด ดังต่อไปนี้ คือ ภิกษุลางรูปในศาสนานี้ นำไป
ไม่นำกลับ ลางรูปไม่นำไป ไม่นำกลับ ลางรูปทั้งนำไปไม่นำกลับ.
ภิกษุนำไปนำกลับ
บรรดาภิกษุทั้ง ๔ รูปนั้น ภิกษุรูปใด ชำระจิตให้ผ่องใสจาก
นิวรณธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดทั้งวัน ตลอดปฐมยามแห่ง
ราตรีก็เช่นนั้น ในมัชฌิมยามจำวัด แม้ในปัจฉิมยามก็ให้เวลาผ่านไปด้วย
การนั่ง การจงกรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงจะทำวัตรที่ลานพระเจดีย์ ลาน
โพธิ์พฤกษ์ จะรดน้ำต้นโพธิ์ จะตั้งน้ำดื่มน้ำใช้ไว้ สมาทาน ปฏิบัติวัตร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 693
ในคัมภีร์ขันธกะ๑ทุกอย่าง มีอาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตรเป็นต้น เธอ
ทำธุระเกี่ยวกับร่างกายแล้ว เข้าไปยังที่นั่งที่นอน และนั่งขัดสมาธิ ๒-๓
ท่า พอให้อบอุ่นแล้วปฏิบัติธรรมฐาน ลุกขึ้นในเวลาภิกขาจาร ถือเอา
บาตรและจีวรออกไปจากเสนาสนะ มนสิการกรรมฐานอยู่ ด้วยหัวข้อ
กรรมฐานนั่นเอง เดินไปสู่ลานเจดีย์แล้ว ถ้ามีกรรมฐานมีพุทธานุสสติ
เป็นอารมณ์ไซร้ ก็อย่าทิ้งกรรมฐานนั้นเสีย เข้าไปยังลานพระเจดีย์. ถ้า
มีกรรมฐานอย่างอื่นไซร้ ควรพักกรรมฐานนั้นไว้ เหมือนกับเอามือจับ
สิ่งของวางไว้ที่เชิงบันได แล้วกำหนดเอาปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ขึ้น
ไปยังลานพระเจดีย์ (ถ้า) เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ ควรทำประทักษิณ ๓ ครั้ง
แล้วไหว้ทั้ง ๔ ด้าน (ถ้า) เป็นเจดีย์องค์เล็ก ควรทำปทักษิณาอย่างนั้น
เหมือนกัน แล้วไหว้ทั้ง ๘ ด้าน. ครั้นไหว้พระเจดีย์เสร็จ ไปถึงลาน
โพธิ์แล้ว ควรวันทาต้นโพธิ์แสดงความยำเกรง เหมือนอยู่ต่อพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคเจ้า. เธอไหว้พระเจดีย์และต้นโพธิ์อย่างนี้แล้ว ไปยังที่
ที่ตนพักกรรมฐานไว้ รับเอากรรมฐานที่พักไว้ (เก็บไว้ชั่วคราว) เหมือน
กับเอามือจับเอาสิ่งของที่ตนเก็บไว้ฉะนั้น แล้วห่มจีวรในที่ใกล้บ้าน โดย
มีกรรมฐานเป็นสำคัญนั้นเลง เข้าบ้านไปเพื่อบิณฑบาต.
ครั้นคนทั้งหลายเห็นท่านแล้ว บอกกันว่า พระคุณเจ้าของเรามา
แล้ว พากันต้อนรับท่าน รับเอาบาตรแล้วให้นั่งบนศาลาโรงฉัน หรือ
บนเรือน ถวายข้าวยาคู ล้างเท้าทาด้วยน้ำมันให้จนกว่าจะเสร็จภัตตกิจ
พากันนั่งข้างหน้า บ้างก็ถามปัญหา บ้างก็ต้องการจะฟังธรรม แต่ถ้า
เขาจะให้กล่าว (ธรรมกถา) พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า ขึ้นชื่อว่า
๑. ปาฐะ เป็น ขนฺธกวตฺตาทีนิ แต่ฉบับพม่าเป็น ขนฺธกวตฺตานิ จึงแปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 694
ธรรมกถา ควรแสดงทีเดียว เพื่อสงเคราะห์ประชาชน. เพราะขึ้นชื่อว่า
ธรรมกถา จะเหนือไปจากกรรมฐานไม่มี เพราะฉะนั้น ครั้นท่านแสดง
ธรรมโดยมีกรรมฐานเป็นสำคัญนั่นเอง ฉันอาหารโดยมีกรรมฐานเป็น
สำคัญนั่นเอง ทำอนุโมทนาแล้ว เมื่อเขาให้กลับ ก็ให้ตามคนเขาไป
แล้ว กลับ ณ ที่นั้นนั่นเอง แล้วจึงเดินทางต่อไป. ครั้นสามเณรและ
ภิกษุหนุ่มผู้ออกไปก่อน ฉันเสร็จแล้ว เห็นท่านจึงพากันไปต้อนรับ รับ
บาตรและจีวรของท่าน.
ได้ทราบว่าภิกษุรุ่นเก่าดูหน้าเห็นว่า ไม่ใช่อุปัชฌาจารย์ของคนแล้ว
ทำ (อาคันตุกะ) วัตรอยู่ แต่ทำตามกำหนดที่มาเผชิญเข้าเท่านั้น. ภิกษุ
เหล่านั้นจะถามท่านว่า คนเหล่านั้นเป็นอะไรกับท่าน๑ เกี่ยวข้องกันทาง
โยมผู้หญิงหรือทางฝ่ายโยมผู้ชาย ?
ท่านจะตอบว่า พวกคุณเห็นอะไรจึงถาม ?
สามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้นเรียนว่า คนเหล่านี้มีความรักความ
นับถือมาก๒ ในเพราะใต้เท้า.
คุณครับ สิ่งใด ที่แม้แต่โยมผู้หญิง โยมผู้ชาย (ของผม ) ก็ทำ
ได้ยาก คนเหล่านั้นทำสิ่งนั้นให้ผม แม้บาตรและจีวรของผม ก็เป็นของ
คนเหล่านั้นเหมือนกัน (ถวาย) ด้วยอานุภาพของคนเหล่านั้น เมื่อมีภัย
ผมก็ไม่รู้จักภัยเลย เมื่อมีความหิว ผมก็ไม่รู้จักหิว ขึ้นชื่อว่า เหล่าชน
ผู้มีอุปการะแก่ผมเช่นนี้จะไม่มี เธอพูดถึงคุณของคนเหล่านั้นอยู่อย่างนี้
เดินไป ภิกษุนี้ท่านเรียกว่า ชื่อว่านำไป ไม่นำกลับ.
๑. ฉบับพม่ามี ตุมฺหาก แปลตามฉบับพม่า.
๒. ในระหว่างนี้ ฉบับพม่ามีศัพท์ว่า เปม จึงแปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 695
ภิกษุไม่นำไปไม่นำกลับ
แต่ว่า จะป่วยกล่าวไปไย เมื่อภิกษุใด ทำวัตรปฏิบัติมีประการดัง
ที่กล่าวมาแล้ว เดชที่เกิดแต่กรรม จะสำแดงออก จะปล่อยวางอนุปา-
ทินนกสังขาร ยึดอุปาทินนกสังขาร เหงื่อจะไหลออกจากร่างกาย จะ
ไม่ขึ้นสู่วิถีทางของกรรมฐาน. จะป่วยกล่าวไปไย ถึงภิกษุนั้นจะถือเอา
บาตรและจีวร จะรีบไปไหว้พระเจดีย์ เข้าบ้าน เพื่อข้าวยาคูและภิกษา
ในเวลาที่โคทั้งหลายออกไป (หากิน) นั่นเอง ได้ข้าวยาคูแล้ว ไปยัง
อาสนศาลา (หอฉัน) แล้วดื่ม. ภายหลังด้วยเหตุเพียงการดื่มข้าวยาคู.
๒-๓ อึกของท่านเท่านั้น เดช (ความร้อน) ที่เกิดแต่กรรมจะปล่อยวาง
อุปาทินนกสังขาร ยึดอนุปาทินนกสังขาร. เธอจะดับความกระวนกระ-
วายที่เกิดแต่เตโชธาตุ เหมือนอาบน้ำร้อยหม้อ ฉันข้าวยาคูโดยมีกรรม-
ฐานเป็นสำคัญ ล้างบาตรและบ้วนปากแล้ว มนสิการกรรมฐานในระหว่าง
ภัต เที่ยวไปบิณฑบาตในที่ที่เหลือ ฉันอาหารโดยมีกรรมฐานเป็นสำคัญ
ตั้งแต่นั้นไปจะรับเอากรรมฐานที่ปรากฏขึ้นติดต่อกันไป แล้วเดินไป ภิกษุ
นี้เรียกว่าไม่นำไป แต่นำกลับ. ก็ขึ้นชื่อว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ดื่มข้าวยาคู
ปรารภวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัตในพระพุทธศาสนา เช่นนี้นับ
จำนวนไม่ถ้วน. ในเกาะสีหลนั่นเอง บนอาสนศาลา อาสนะสำหรับนั่ง
ดื่มข้าวยาคูก็ไม่มี ภิกษุที่ดื่มข้าวยาคูแล้ว บรรลุอรหัต ก็ไม่มี. แต่ภิกษุใด
เป็นผู้อยู่อย่างประมาทเป็นปกติ ทอดทิ้งธุระ ทำลายวัตรทุกอย่าง มีจิต
ผูกพันอยู่กับเจโตขีลธรรม ๕ ประการ ไม่ทำสัญญาไว้บ้างว่า ขึ้นชื่อว่า
กรรมฐานมีอยู่ เข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาตเที่ยวคลุกคลีด้วยการคลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ที่ไม่เหมาะสม และฉันแล้ว (มีบาตร) เปล่าออกไป ภิกษุนี้เรียก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 696
ว่าไม่นำไป และไม่นำกลับ.
ภิกษุทั้งนำไปนำกลับ
ส่วนภิกษุนี้ใด ที่ท่านกล่าวว่า นำไปด้วย นำกลับด้วย ภิกษุนั้น
พึงทราบได้ด้วยคตปัจจาคติวัตรของผู้เดินกลับไปกลับมา. เพราะว่า
กุลบุตรทั้งหลายผู้มุ่งประโยชน์ บวชในศาสนาแล้ว เมื่อจะอยู่โดยลำพัง
๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง อยู่โดยทำกติกาวัตรกัน
ไว้ว่า ท่านครับ ท่านทั้งหลายไม่ใช่บวชหลบหนี ไม่ใช่บวชหลบภัย ไม่
ใช่บวชเลี้ยงชีพ แต่ประสงค์จะพ้นจากทุกข์ จึงได้บวชในพระศาสนานี้
เพราะฉะนั้น ในขณะเดินนั่นแหละ ท่านทั้งหลายจงข่มกิเลสที่เกิดขึ้นใน
เวลาเดิน ในขณะยืน ก็ข่มกิเลสที่เกิดขึ้นในเวลายืน ในขณะนั่ง ก็จง
ข่มกิเลสที่เกิดขึ้นในเวลานั่ง ในขณะนอนนั่นแหละ ก็จงข่มกิเลสที่เกิด
ขึ้นในเวลานอน. ภิกษุเหล่านั้น ครั้นทำกติกาวัตรกันไว้อย่างนี้แล้ว เมื่อ
ไปภิกขาจารก็เดินไปมนสิการกรรมฐานไป ตามสัญญานั้น ถ้าหากกิเลส
เกิดขึ้นแก่ใคร ในขณะเดิน ในระหว่างครึ่งอุสุภะ หนึ่งอุสุภะ ครึ่งคาวุต
หรือหนึ่งคาวุต มีก้อนหินอยู่ ภิกษุนั้นจะข่มกิเลสนั้นในที่นั้นเอง เมื่อ
ไม่อาจ (ข่มได้) อย่างนั้น ก็จะหยุดยืน. ถัดนั้นภิกษุ (รูปอื่น ) แม้
ตามหลังเธอมาก็จะหยุดยืนตาม เธอจะเตือนตนเองว่า ภิกษุนี้รู้วิตกที่เกิด
แก่เจ้าแล้ว ข้อนี้ไม่สมควรแก่เจ้า แล้วเจริญวิปัสสนาก้าวลงสู่อริยภูมิ ณ
ที่นั้นนั่นเอง ในคำว่า เมื่อไม่อาจอย่างนั้น เธอก็จะนั่ง ถัดนั้น แม้ภิกษุ
ผู้มาข้างหลัง เธอก็จะนั่งตาม ก็มีนัยนั้นเหมือนกัน. ถึงไม่สามารถก้าว
ลงสู่อริยภูมิได้ ก็จะข่มกิเลสนั้นไว้ เดินมนสิการกรรมฐานไปทีเดียว ไม่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 697
ยกเท้าขึ้นทั้งที่มีจิตพรากจากกรรมฐาน ถ้ายก (โดยที่มีจิตพรากจาก
กรรมฐาน) ก็จะกลับไปยังที่เดิมนั้นเอง เหมือนมหาปุสสเทวเถระ ชาว
อาลินทกะ.
เรื่องพระมหาปุสสเทวเถระ
เล่ากันมาว่า ท่านได้บำเพ็ญคตปัจจาคติกวัตร๑ (วัตรของผู้เดิน
กลับไปกลับมา) อยู่ที่เดียวเป็นเวลา ๑๙ พรรษา. ได้ยินว่า แม้คน
ทั้งหลายกำลังไถ กำลังหว่าน กำลังนวด ทำงานกันอยู่ เห็นพระเถระ
เดินอย่างนั้น จึงสนทนากันว่า พระเถระรูปนี้ เดินกลับไปกลับมา คง
จะหลงทางหรือไม่ก็คงลืมอะไรกระมัง ? ท่านไม่คำนึงถึงคำพูดนั้น ทำ
สมณธรรมด้วยทั้งจิตที่ประกอบด้วยกรรมฐานนั้นแหละ ได้บรรลุอรหัต
ภายใน ๒๐ พรรษา. ในวันที่ท่านได้บรรลุพระอรหัตนั่นเอง เทวดาที่สิ่ง
อยู่ที่ปลายทางจงกรมของท่าน ได้ยืนชูนิ้วแทนประทีป๒ ถึงท้าวมหาราช
ทั้ง ๔ ท้าวสักกะจอมเทพ และสหัมบดีพรหม ก็ได้พากันมายังที่ทำนุ
บำรุง (ท่าน). และท่านวนวาสีติสสมหาเถระ เห็นแสงสว่างนั้นแล้ว
ในวันที่ ๒ จึงได้ถามท่านมหาปุสสเถระ ชาวอาลินทกะว่า เวลากลาง
คืน ที่สำนักของท่าน ได้มีแสงสว่าง แสงสว่างนั้นเป็นแสงสว่างอะไร ?
พระเถระเมื่อจะทำการกลบเกลื่อน จึงได้พูดคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมดา
แสงสว่าง ก็คงเป็นแสงสว่างของประทีปบ้าง เป็นแสงสว่างของแล้วมณี
บ้าง ต่อมาท่านกำชับท่านวนวาสีติสสเถระไว้ว่า ท่านจงปกปิดไว้ รู้ว่า
ท่านรับคำแล้วจึงบอก. และเหมือนกับท่านมหานาคเถระ ชาวกาลวัลลิ-
๑. ปาฐะว่า คตปจฺจาคตวตฺต ฉบับพม่าเป็น คตปจฺจาคติกวตฺต แปลตามฉบับพม่า.
๒. ปาฐะว่า กตฺวา พม่าเป็น อุชฺชาเลตฺวา แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 698
มณฑป
เรื่องพระมหานาคเถระ
ได้ทราบว่า แม้พระเถระรูปนั้น เมื่อบำเพ็ญคตปัจจาคติกวัตร ได้
อธิษฐานจงกรมอย่างเดียว สิ้นเวลา ๗ ปี ว่าเราจักบูชาความเพียรอัน
ยิ่งใหญ่ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นปฐมก่อน ได้บำเพ็ญคตปัจจา-
คติกวัตรอีก ๑๖ ปี จึงได้บรรลุพระอรหัต ท่านมีจิตประกอบด้วยพระ-
กรรมฐานนั่นเอง ยกเท้าขึ้น ถอยกลับในขณะยก (เท้า) ขึ้นโดยจิต
ปราศจาก (กรรมฐาน) เดินไปใกล้บ้าน ยืนห่มผ้า ณ ที่ที่ชวนให้คน
สงสัยว่า แม่วัวหรือพระกันแน่ ? ใช้น้ำจากที่ระหว่างต้นไทรล้างบาตร
แล้วก็อมน้ำไว้. เพราะเหตุไร ? เพราะท่านคิดว่า ขอเราอย่าได้ทอดทิ้ง
กรรมฐาน แม้ด้วยเหตุที่พูดกะคนที่มาถวายภิกษาหรือมนสิการว่า ขอจง
มีอายุยืนเถิด. แต่ (ถ้า) ถูกถามถึงวันว่า วันนี้เป็นวันอะไรครับ หรือ
ถามจำนวนภิกษุถามปัญหา ก็จะกลืนน้ำแล้วจึงบอก ถึงหากไม่มีผู้ถามถึง
วันเป็นต้น เวลาออกไปก็จะบ้วนน้ำออก (จากปาก) ที่ประตูบ้านแล้ว
จึงไป เหมือนภิกษุ ๕๐ รูป ที่จำพรรษาที่กลัมพติตถวิหาร.
เรื่องพระ ๕๐ รูป
ได้ทราบว่า ในวันอาสาฬหปุณณมี (กลางเดือน ๘) ท่านเหล่า
นั้นได้ทำกติกาวัตรกันไว้ว่า ถ้าพวกเรายังไม่บรรลุอรหัตแล้ว จะไม่พูด
คุยกัน. และเมื่อจะเข้าบ้านบิณฑบาต ( แต่ละรูป ) ก็อมน้ำแล้ว จึงเข้าไป
เมื่อถูกถามถึงวันเป็นต้น ก็ปฏิบัติดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ. คนทั้งหลาย
เห็นรอยบ้วนน้ำ ณ ที่นั้นแล้ว ก็รู้ว่า วันนี้พระมารูปเดียว วันนี้มา ๒ รูป
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 699
จึงคิดกันอย่างนี้ว่า ท่านเหล่านี้ไม่พูดเฉพาะกับพวกเราหรืออย่างไร ? หรือ
แม้แต่พวกกันเองก็ไม่พูด ? ถ้าหากท่านไม่พูดกัน ท่านจักวิวาทกันเป็น
แน่ มาเถิด เราทั้งหลายจักให้ท่านขอขมากัน ทุกคนจึงพากันไปวัด ไม่
ได้เห็นพระภิกษุในที่แห่งเดียวกันถึง ๒ รูป ในจำนวนพระ ๕๐ รูป.
ต่อมาบรรดาคนทั้งหลายเหล่านั้น ผู้มีตาดีก็จะพูดว่า พ่อคุณเอ๋ย คน
ทะเลาะกัน จะไม่มีโอกาสเช่นนี้ ลานเจดีย์ ลานโพธิ์ ก็กวาดเรียบร้อย
ไม้กวาด ก็เก็บไว้ดี น้ำฉันน้ำใช้ ก็จัดไว้เรียบร้อย. ต่อจากนั้น เขา
เหล่านั้นก็พากันกลับ. ในภายในพรรษานั้นเอง พระภิกษุแม้เหล่านั้น ก็
บรรลุอรหัต ในวันมหาปวารณา จึงปวารณากันด้วยวิสุทธิปวารณา.
ภิกษุมีจิตประกอบด้วยกรรมฐานนั้นเอง ยกเท้าขึ้น ( เดินไป) ถึง
ใกล้บ้านแล้วอมน้ำไว้ พิจารณาดูทางหลายสาย ที่ไม่มีผู้คนทะเลาะกัน
ไม่มีนักเลงสุรา และนักเลงการพนันเป็นต้น หรือไม่มีช้างดุ ม้าดุ เป็นต้น
แล้ว เดินไปทางนั้น เหมือนท่านมหานาคเถระ ชาวกาลวัลลิมณฑป
และเหมือนกับภิกษุผู้จำพรรษาในกลัมพติตถวิหาร ดังที่พรรณนามานี้.
เธอเมื่อจะไปบิณฑบาตในบ้านนั้น ก็จะไม่เดินเร็ว เหมือนคนรีบร้อน.
เพราะว่าไม่มีธุดงค์อะไร ที่มีชื่อว่าเป็นธุดงค์สำหรับผู้เดินบิณฑบาตเร็ว.
แต่ว่าเดินไม่โคลงกายเหมือนเกวียนบรรทุกน้ำเต็ม (ไป) ถึงพื้นที่ราบ
เรียบ. และเข้าไปตามลำดับเรือน (ยืน) คอยเวลาพอสมควร เพื่อสังเกต
ดูว่าเขาประสงค์จะถวาย (ตักบาตร) หรือไม่ประสงค์จะถวาย รับภิกษา
แล้ว (อยู่) ในบ้านหรือนอกบ้าน หรือมายังวิหารนั่นเอง นั่งในโอกาส
ที่สมควรตามสบายแล้ว มนสิการกรรมฐาน กำหนดปฏิกูลสัญญาในอาหาร
พิจารณาโดยเปรียบเทียบกับน้ำมันหยอดเพลา ผ้าพันแผล และเนื้อบุตร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 700
นำอาหารที่ประกอบด้วยองค์ ๘ มา ไม่ใช่ฉันเพื่อจะเล่น ไม่ใช่ฉันเพื่อจะ
ตกแต่ง ไม่ใช่ฉัน เพื่อจะประดับประดา และฉันแล้ว จัดเรื่องเกี่ยวกับน้ำ
(ดื่ม, ล้าง) เสร็จแล้ว ระงับความลำบากที่เกิดจากอาหาร (เมาข้าวสุก)
สักครู่หนึ่งแล้ว จึงมนสิการกรรมฐานนั่นแหละ ในเวลาหลังฉันเหมือน
กับเวลาเวลาก่อนฉัน และในเวลาปัจฉิมยามเหมือนกับเวลาปฐมยาม.
ภิกษุรูปนี้ เรียกได้ว่า ทั้งนำไปและนำกลับ.
ก็เธอเมื่อบำเพ็ญคตปัจจาคติกวัตร กล่าวคือการนำไปและนำกลับ
นี้ ถ้าหากมีอุปนิสัยสมบูรณ์ไซร้ ก็จะบรรลุอรหัตในปฐมยามนั่นเอง ถ้า
หากไม่บรรลุในปฐมยาม ต่อไปก็จะบรรลุในมัชฌิมยาม ถ้าหากในมัช-
ฌิมยามไม่บรรลุไซร้ ต่อไปก็จะบรรลุในมรณสมัย ถ้าหากในมรณสมัย
ไม่บรรลุไซร้ ต่อไปก็จะเป็นเทพบุตรแล้วบรรลุ ถ้าหากเป็นเทพบุตร
แล้วก็ยังไม่บรรลุไซร้ เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ จะเกิดขึ้นแล้ว
ทำให้แจ้งปัจเจกโพธิญาณ ถ้าไม่ทำให้แจ้งปัจเจกโพธิญาณไซร้ ต่อไป
จะเป็นผู้รู้โดยเร็ว (ขิปปาภิญญาบุคคล ) ต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย เหมือนพระพาหิยทารุจีริยเถระ จะมีปัญญามาก เหมือนพระ
สารีบุตรเถระ จะมีฤทธิ์มาก เหมือนพระโมคคัลลานเถระ จะเป็นผู้บอก
ธุดงค์เหมือนพระมหากัสสปเถระ จะเป็นผู้มีทิพยจักษุเหมือนพระอนุ-
รุทธเถระ จะเป็นพระวินัยธรเหมือนพระอุบาลีเถระ จะเป็นพระธรรม-
กถึกเหมือนพระปุณณมันตานีบุตรเถระ จะเป็นผู้อยู่ป่าเป็นประจำเหมือน
พระเรวตเถระ จะเป็นพหูสูตรเหมือนพระอานนทเถระ หรือจะเป็นผู้ใคร่
การศึกษาเหมือนพระราหุลเถระพุทธบุตร ดังนี้.
ภิกษุผู้นำไปและนำกลับใน ๔ วาระนี้ จะมีโคจรสัมปชัญญะ ถึง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 701
ยอด (วิปัสสนา) ด้วยประการดังที่พรรณนามานี้.
๔. อสัมโมหสัมปชัญญะ
ส่วนการไม่หลงลืม ในการก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น ชื่อว่าอสัม-
โมหสัมปชัญญะ อสัมโมหสัมปชัญญะนั้น พึงทราบอย่างนี้. ภิกษุใน
พระศาสนานี้ เมื่อก้าวไปข้างหน้า หรือถอยกลับ จะไม่ลืมเหมือนอันธ-
ปุถุชน (หลง) ไปว่า อัตตาก้าวไปข้างหน้า อัตตาให้เกิดการก้าวไป
ข้างหน้า หรือว่าเราก้าวไปข้างหน้า เราให้เกิดการก้าวไปข้างหน้า ใน
การก้าวไปข้างหน้าเป็นต้น เมื่อเกิดความคิด (จิต) ขึ้นว่า เราจะไม่
หลงลืมก้าวไปข้างหน้า วาโยธาตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เมื่อให้เกิดวิญญัติ
ขึ้น จะเกิดขึ้นพร้อมกับจิตดวงนั้นนั่นเอง. โครงกระดูกที่สมมติว่ากายนี้
จะก้าวไปข้างหน้าตามอำนาจของการแผ่ขยายแห่งวาโยธาตุที่เกิดแต่กิริยา
จิตด้วยประการอย่างนี้ เมื่อโครงกระดูกนั้นนั่นแหละก้าวไปข้างหน้า ใน
การยกเท้าแต่ละข้างขึ้น ธาตุ ๒ ชนิด คือ ปฐวีธาตุ และอาโปธาตุ
จะหย่อนจะอ่อนลง. ธาตุอีก ๒ อย่าง นอกจากนี้ (เตโชธาตุ) จะมี
กำลังมากยิ่งขึ้น. ในการย่างเท้าไป และการสืบเท้าไป เตโชธาตุ วาโย-
ธาตุ (ที่เป็นไปแล้ว) ในการเหวี่ยง (เท้า) ออกไปจะหย่อน จะอ่อนลง.
ธาตุอีก ๒ อย่าง นอกจากนี้ ( ปฐม, อาโป ) จะมีกำลังมากยิ่งขึ้น. ใน
การเหยียบและการยัน รูปธรรมและอรูปธรรม ที่ใช้ในการยก (เท้า)
ขึ้นนั้น ก็เป็นเช่นนั้น ไม่ถึงการย่างเท้าไปที่ที่ใช้ในการย่างเท้าไปก็ทำนอง
เดียวกัน ไม่ถึงการสืบเท้าไป ที่ใช้ในการสืบเท้าไป ก็ไม่ถึงการเหวี่ยง
(เท้า) ออกไป ที่ใช้ในการเหวี่ยง (เท้า) ออกไป ก็ไม่ถึงการเหยียบ
ที่ใช้ในการเหยียบ ก็ไม่ถึงการยัน. ข้อทุกข้อ (และ ที่ต่อทุกแห่ง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 702
เป็นไปตามระบบในที่นั้น ๆ นั่นแหละ จะลั่นเปาะแปะ ๆ เหมือนเมล็ดงา
ที่โยนลงโนกะทะที่ร้อน. ในเรื่องนั้นจะมีใครคนหนึ่งก้าวไป หรือจะมี
การก้าวไปของใครคนหนึ่งเล่า. ความจริง (ว่า) โดยปรมัตถ์แล้ว คือ
การเดินของธาตุเท่านั้น การยืน, การนั่ง, การนอน, ก็ของธาตุ (ไม่
ใช่ของใคร).
เพราะว่าในส่วนนั้น ๆ จิตดวงอื่นเกิด ดวงอื่นดับ
พร้อมกับรูป (เป็นคนละดวง ไม่ใช่ดวงเดียวกัน)
เหมือนกระแสน้ำที่ไหลติดต่อไป เป็นระลอกฉะนั้น
ดังนี้แล.
ความไม่หลงในการก้าวไปข้างหน้า เป็นต้น ดังที่พรรณนามานี้
ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ ดังนี้แล. เป็นอันจบอรรถาธิบายว่า เป็น
ผู้ทำความรู้ตัวในการก้าวไปข้างหน้าและการถอยกลับ.
ก็การมองไปข้างหน้า ชื่อว่า อาโลกิตะ ( การแลทรง ) ในคำว่า
อาโลกิเต วิโลกิเต นี้ การมองไปตามอนุทิศ (ทิศเฉียง) ชื่อว่า วิโลกิตะ
(การแลซ้ายแลขวา ) มีอิริยาบถแม้อย่างอื่นอีก ชื่อว่า การก้มลง, การ
เงยขึ้น และการหันไปมา โดยการมองข้างล่าง มองข้างบน มองข้าง ๆ.
อิริยาบถเหล่านี้ ไม่ทรงถือเอาในที่นี้. แต่โดยความเหมาะสม ทรงถือเอา
๒ อย่างนี้ เท่านั้น หรือโดยความสำคัญ (มุข) นี้ ทรงถือเอาแม้ทั้งหมด
นั้นนั่น แหละ ดังนี้.
บรรดาสัมปชัญญะเหล่านั้น การคำนึงถึงประโยชน์โดยไม่มองดู
ด้วยอำนาจจิตเท่านั้น ในเมื่อเกิดความคิดขึ้นว่า เราจะมองดู ชื่อว่า
สาตถกสัมปชัญญะ. สาตถกสัมปชัญญะนั้น ควรทราบโดยยกเอาท่าน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 703
พระนันทะ ผู้มีกายเป็นพยาน (มาเป็นตัวอย่าง). สมจริงตามที่พระผู้-
มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากพระนันทะ จำ
ต้องมองดูทิศตะวันออกไซร้ พระนันทะก็จะประมวลเอาทุกสิ่งทุกอย่าง
โดยจิต แล้วจึงมองดูทิศตะวันออก ด้วยคิดว่า เมื่อเรามองดูทิศตะวันออก
อย่างนี้แล้ว อภิชฌาโทมนัส คือ อกุศลกรรมที่ลามก จักไม่ท่วมทับเรา.
ด้วยประการดังนี้ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จะเป็นผู้มีความรู้ตัว ในสาตถก-
สัมปชัญญะนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากพระนันทะจะต้องนองดูทิศ
ตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเฉียงทั้งหลาย
ไซร้ พระนันทะก็จะประมวลเอาทุกสิ่งทุกอย่างโดยจิต แล้วจึงจะมองดูทิศ
เฉียงทั้งหลาย ด้วยคิดว่า เมื่อเรามองทิศเฉียงทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฯ ล ฯ
จะเป็นผู้มีความรู้ตัวในสาตถกสัมปชัญญะนั้น.
ก็อีกอย่างหนึ่ง แม้ในสัมปชัญญบรรพนี้ ควรจะทราบสาตถกสัม-
ปชัญญะ และสัปปายสัมปชัญูญะ โดยการเห็นพระเจดีย์ ที่ได้กล่าวมา
แล้วในตอนต้นเป็นต้นเถิด.
ส่วนการไม่ละกรรมฐานนั้นแหละ ชื่อว่าโคจรสัมปชัญญะ เพราะ-
ฉะนั้น ผู้เจริญกรรมฐาน มีขันธ์ธาตุและอายตนะเป็นอารมณ์ ควรทำการ
แลตรงและการแลซ้ายแลขวา ด้วยอำนาจกรรมฐานของตนเท่านั้น หรือ
ว่า ผู้เจริญกรรมฐานมีกสิณเป็นต้น (เป็นอารมณ์) ควรทำการแลตรง
และการแลซ้ายแลขวา ด้วยอาการมีกรรมฐานเป็นสำคัญเหมือนกัน.
ธรรมดาอัตตาในภายในชื่อว่าเป็นผู้แลตรงและแลซ้ายแลขวา ไม่มี
แต่เมื่อเกิดความคิดขึ้นว่า เราจักแลตรง วาโยธาตุที่เกิดแต่จิต เมื่อจะ
ให้วิญญัติเกิด ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับจิตดวงนั้นนั่นเอง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 704
ด้วยประการดังนี้ เปลือกตา (หนังตา) ข้างล่าง ก็จะร่นลง
เบื้องล่าง เปลือกตา (หนังตา) ข้างบนก็จะเลิกขึ้นข้างบน โดยอำนาจ
การแผ่ขยายของวาโยธาตุ ที่เกิดแต่กิริยาของจิต. ไม่มีใครที่ชื่อว่าเปิด
(เปลือกตา) ด้วยเครื่องยนต์กลไก.
ต่อจากนั้นไป จักขุวิญญาณจะเกิดขึ้นให้สำเร็จทัสสนกิจ (การ
เห็น) ก็ความรู้ตัว ดังที่พรรณนามานี้ ชื่อว่า อสัมโมหสัมปชัญญะ
ในอธิการแห่งสัมปชัญญะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ในเรื่องสัมปชัญญะนี้ พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญ-
ญะ แม้ด้วยอำนาจเป็นมูลปริญญา (การกำหนดรู้ขั้นต้น) เป็นอาคัน-
ตุกะ (เป็นแขก) และเป็นตาวกาลิก (เป็นไปชั่วคราว). ก่อนอื่น
ควรทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจมูลปริญญา (ดังต่อไปนี้) :-
ภวังค์ (จิตอยู่ในภวังค์) ๑ อาวัชชนะ (การระลึก
ถึงอารมณ์) ๑ ทัสสนะ (การเห็นอารมณ์) ๑
สัมปฏิจฉนะ (การรับเอาอารมณ์) ๑ สันตีรณะ
(การพิจารณาอารมณ ) ๑ โวฏฐัพพะ (การตัดสิน
อารมณ์) ๑ ที่ ๗ คือ ชวนะ ๑.
หน้าที่ของจิตแต่ละขณะ
บรรดาจิตทั้ง ๗ นั้น ภวังค์ ให้กิจคือเป็นเหตุแห่งอุปปัตติภพ
สำเร็จเป็นไป. กิริยามโนธาตุ ครั้นยังภวังค์นั้นให้หมุนกลับ แล้วจะ
ให้อาวัชชนกิจสำเร็จอยู่ เพราะอาวัชชนกิจนั้นดับไป จักขุวิญญาณจะ
ให้ทัสสนกิจสำเร็จเป็นไป เพราะทัสสนกิจนั้นดับไป วิปากมโนธาตุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 705
จะให้สัมปฏิจฉนกิจสำเร็จเป็นไป เพราะสัมปฏิจฉนกิจนั้นดับไป มโน-
วิญญาณธาตุที่เป็นวิบาก จะให้สันตีรณกิจสำเร็จเป็นไป เพราะสัน-
ตีรณกิจนั้นดับไป มโนวิญญาณธาตุที่เป็นกิริยาจะให้โวฏฐัพพนกิจสำเร็จ
เป็นไป เพราะโวฏฐัพพนกิจนั้นดับไป ชวนะจะแล่นไป ๗ ครั้ง บรรดา
ชวนะทั้ง ๗ นั้น ถึงในชวนะแรก การแลตรง และการแลซ้ายแลขวา
ด้วยอำนาจความกำหนัด ความขัดเคือง และความหลงว่า นี้เป็นหญิง
นี้เป็นชาย จะไม่มี ในชวนะที่ ๒ ก็ดี ฯลฯ ในชวนะที่ ๗ ก็ดี (ก็จะ
ไม่มี ). แต่เมื่อวิถีจิตเหล่านี้แตกดับเป็นไปแล้ว ด้วยอำนาจจิตดวงแรก
จนถึงจิตดวงสุดท้าย เหมือนทหารในสนามรบ การแลตรงและการแล
ซ้ายแลขวา ด้วยอำนาจความกำหนัดเป็นต้นว่า นี้เป็นหญิง นี้เป็นชาย
ก็จะมี. พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจเป็นมูลปริญญา ใน
อิริยาบถบรรพนี้ ดังที่พรรณนามานี้ก่อน.
ก็เมื่อรูปปรากฏในจักษุทวารแล้ว ต่อจากภวังคจลนะ (ภวังค์
ไหว) ไป เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น เกิดขึ้นแล้วดับไปด้วยอำนาจ
ทำกิจของตนให้สำเร็จ ในที่สุด ชวนะก็จะเกิดขึ้น ชวนะนั้นจะเป็นเหมือน
ชายที่เป็นแขกของวิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นที่เกิดขึ้นก่อน (มาเยี่ยมถึง)
ประตู คือตา (จักขุทวาร) ที่เท่ากับเป็นเรือน แม้เมื่อวิถีจิตมีอาวัชชนะ
เป็นต้น ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่ลุ่มหลงในจักขุทวาร ที่เท่ากับเป็น
เรือนของอาวัชชนะเป็นต้น ชวนะนั้นจะกำหนัด จะขัดเคือง จะลุ่มหลง
ก็ไม่ถูก เหมือนกับชายที่เป็นแขก เข้าไปขออะไรบางอย่างที่เรือนคนอื่น
เมื่อเจ้าของบ้านนั่งนิ่ง จะทำการบังคับ ก็ไม่ถูกฉะนั้น พึงทราบอสัม-
โมหสัมปชัญญะ โดยเป็นเสมือนแขก ดังที่พรรณนามานี้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 706
อนึ่ง จิตมีโวฏฐัพพนะเป็นที่สุด ที่เกิดขึ้น ในจักขุทวารเหล่านี้ จะ
แตกดับไปในที่นั้น ๆ นั่นแหละพร้อมกับสัมปยุตตธรรม จะไม่ประจวบ
กันเลย เพราะฉะนั้น จิตนอกนี้ จึงเป็นไปชั่วคราวเท่านั้น.
ในข้อนั้น ผู้ศึกษาควรทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ โดยความเป็น
ไปชั่วคราวอย่างนี้ว่า ในเรือนหลังเดียวกัน เมื่อคนตายกันหมดแล้ว คน
คนเดียวที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งธรรมดาก็จะตายไปอีกในไม่ช้าเหมือนกัน ชื่อว่า
จะยังมีความร่าเริงในการฟ้อนและการร้องรำเป็นต้น ไม่ถูก ฉันใด
เมื่ออาวัชชนจิต เป็นต้น ที่สัมปยุตแล้วในทวารเดียวกัน แตกดับไป
ในที่นั้น ๆ นั่นเอง แม้ชวนจิตที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งก็จะมีการแตกดับไปเป็น
ธรรมดา ภายในไม่ช้าเหมือนกัน ชื่อว่าจะยังมีความร่าเริงอยู่ด้วยอำนาจ
ความกำหนด ความขัดเคือง และความลุ่มหลง ไม่ถูกแล้ว ฉันนั้น
เหมือนกัน.
เออก็ อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอสัมโมหสัมปชัญญะนี้ โดยการ
พิจารณาขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย ( ดังต่อไปนี้ ) :-
อธิบายว่า ในคำว่าขันธ์เป็นต้นนี้ ทั้งจักษุทั้งรูป ชื่อว่ารูปขันธ์
การเห็น ชื่อว่าวิญญาณขันธ์ การเสวยอารมณ์ที่สัมปยุตด้วยวิญญาณขันธ์
นั้น ชื่อว่าเวทนาขันธ์ ความจำได้หมายรู้ ชื่อว่าสัญญาขันธ์ ธรรมมี
ผัสสะเป็นต้น ชื่อว่าสังขารขันธ์ ในเพราะขันธ์เหล่านี้มาประจวบกันเข้า
การแลตรง และการแลซ้ายแลขวาจึงปรากฏ. เมื่อการแลตรง และ
การแลซ้ายแลขวาปรากฏอยู่ด้วยอำนาจเบญจขันธ์นั้น ( แล้วจะมี ) ใคร
สักคนมาแลตรง จะมีใครสักคนมาแลขวาเล่า.
อีกประการหนึ่ง จักษุ ชื่อว่าจักขวายตนะ รูป ชื่อว่ารูปายตนะ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 707
การเห็น ชื่อว่ามนายตนะ สัมปยุตตธรรมทั้งหลาย มีเวทนาเป็นต้น
ชื่อว่าธรรมายตนะ ในเพราะอายตนะ ๔ เหล่านั้นมาประจวบกันอย่างนี้
นั่นแหละ การแลตรง และการแลซ้ายแลขวาจึงปรากฏ. เมื่อการแลตรง
และการแลซ้ายแลขวาปรากฏด้วยอำนาจอายตนะ ๔ อยู่นั้น แล้วจะมีใคร
สักคนมาแลทรง จะมีใครสักคนมาแลซ้ายแลขวาเล่า. อีกประการหนึ่ง จักษุ
ชื่อว่าจักขุธาตุ รูป ชื่อว่ารูปธาตุ การเห็น ชื่อว่าจักขุวิญญาณธาตุ
เวทนาเป็นต้นที่สัมปยุตด้วยจักษุวิญญาณธาตุนั้น ชื่อว่าธรรมธาตุ ใน
เพราะธาตุ ๘ เหล่านี้มาประจวบกันอย่างนี้ การแลตรง และการแลซ้าย
แลขวาจึงปรากฏ เมื่อการแลตรง และการแลซ้ายแลขวาปรากฏด้วยอำนาจ
ธาตุ ๔ อยู่นั้น แล้วจะมีใครสักคนมาแลตรง จะมีใครสักคนมาแลซ้าย
แลขวา.
อีกประการหนึ่ง จักษุเป็นนิสสยปัจจัย รูปเป็นอารัมมณปัจจัย
อาวัชชนะเป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อุปนิสสัยปัจจัย นัตถิ-
ปัจจัย และวิคตปัจจัย อาโลกะ (แสงสว่าง ) เป็นอุปนิสสยปัจจัย
เวทนาเป็นต้น เป็นสหชาตปัจจัย. ในเพราะปัจจัยเหล่านั้นประจวบกัน
อย่างนั้น การแลตรง และการแลซ้ายแลขวาจึงปรากฏ เมื่อการแลตรง
และการแลซ้ายแลขวาปรากฏด้วยอำนาจปัจจัยอยู่นั้น แล้วจะมีใครสักคน
มาแลตรง จะมีใครสักคนมาแลซ้ายแลขวาเล่า. พึงทราบอสัมโมหสัมป-
ชัญญะ แม้โดยการพิจารณาขันธ์ อายตนะ ธาตุ และปัจจัย ในการแลตรง
และแลซ้ายแลขวานี้ ดังที่พรรณนามานี้แล.
บทว่า สมฺมิญฺชิเต ปสาริเต ได้แก่ในการคู้เข้าและเหยียดข้อพับ
(ศอก, เข่า) ออกไป.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 708
บรรดาสัมปชัญญะทั้ง ๔ นั้น การไม่ทำการคู้เข้าและการเหยียด
ออกไปด้วยอำนาจจิต (ความคิด) อย่างเดียว แต่พิเคราะห์ดูผลได้ผลเสีย
เพราะมีการคู้เข้าและเหยียดมือหรือเท้าออกไปเป็นปัจจัยแล้ว เลือกเอาแต่
ประโยชน์ ชื่อว่าสาตถกสัมปชัญญะ ในการคู้เข้าและเหยียดออกไปนั้น
พึงทราบการพิเคราะห์ถึงผลเสียอย่างนี้ว่า เมื่อเธอคู้มือหรือเท้าเข้ามาวางไว้
นาน ๆ หรือเหยียดมือหรือเท้าออกไปวางไว้นาน ๆ เวทนาจะเกิดขึ้นทุก ๆ
ครั้ง. จิตก็จะไม่ได้อารมณ์เลิศอันเดียว (ไม่เป็นสมาธิ) กรรมฐานก็จะล้ม
เหลว เธอจะไม่ได้บรรลุคุณวิเศษ. แต่เมื่อคู้เข้าพอเหมาะเหยียดออกไป
พอดี เวทนาจะไม่เกิดขึ้น (เลย) จิตจะเป็นเอกัคคตา กรรมฐานก็จะ
ถึงความเจริญ เธอจะได้บรรลุคุณวิเศษ.
ส่วนการที่เมื่อปัจจัยแม้มีอยู่ พระโยคาวจรยังพิเคราะห์สถานที่ ๆ
เป็นสัปปายะและไม่เป็นสัปปายะ แล้วเลือกเอาสถานที่ ๆ เป็นสัปปายะ
ชื่อว่าสัปปายสัมปชัญญะ. ในสัปปายสัมปชัญญะ มีนัยดังต่อไปนี้ :-
ทราบมาว่า ภิกษุหนุ่ม ๆ พากันสวดมนต์ที่ลานพระเจดีย์ใหญ่ เบื้อง
หลังของภิกษุเหล่านั้น ภิกษุณีสาว ๆ กำลังฟังธรรมกัน. ในจำนวนภิกษุ
เหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเหยียดมือออกไปถูกกายภิกษุณี แล้วได้
กลายเป็นคฤหัสถ์ไปเพราะเหตุนั้นนั่นเอง. ภิกษุอีกรูปหนึ่งเมื่อเหยียดเท้า
ออกไป ได้เหยียดไปที่ไฟ ไฟไหม้เท้าถึงกระดูก. อีกรูปหนึ่ง
เหยียดไปที่จอมปลวก ท่านถูกงูพิษกัด. อีกรูปหนึ่งเหยียดไปที่ด้ามกลด
งูเห่าปี่แก้วกัดท่าน. เพราะฉะนั้น ( เมื่อจะเหยียดเท้า ) ก็อย่าเหยียด
ไปในที่ที่ไม่เป็นสัปปายะเช่นนี้ ควรเหยียดไปในที่ที่เป็นสัปปายะ. นี้เป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 709
สัปปายสัมปชัญญะ ในอิริยาปถบรรพนี้ ส่วนโคจรสัมปชัญญะ ควร
แสดงด้วยเรื่องพระมหาเถระ.
เรื่องพระมหาเถระ
เล่ากันมาว่า พระมหาเถระนั่งในที่พักกลางวัน เมื่อจะสนทนา
กับเหล่าอันเตวาสิก ได้กำมือเข้าแล้วแบออกอย่างเดิม (จากนั้น) จึงค่อยๆ
กำเข้าอีก เหล่าอันเตวาสิกได้เรียนถามท่านว่า ใต้เท้า ขอรับ เหตุไฉน
ใต้เท้าจึงกำมือเข้าอย่างเร็ว แล้วกลับแบไว้อย่างเดิม จากนั้นจึงค่อย ๆ
กำเข้าอีก. พระมหาเถระตอบว่า คุณ ตั้งแต่ผมเริ่มใส่ใจกรรมฐาน ผม
ไม่เคยละกรรมฐานแล้วกำมือเลย แต่บัดนี้ผมจะพูดกับพวกคุณ ได้ละ
กรรมฐานแล้วจึงกำมือ เพราะฉะนั้น ผมจึงได้แบมือออกไปตามเดิมแล้ว
ค่อย ๆ กำเข้าอีก. อันเตวาสิกทั้งหลายกราบเรียนว่า ดีแล้ว ขอรับ
ใต้เท้า ธรรนดาภิกษุควรจะเป็นแบบนี้. แม้ในอิริยาปถบรรพนี้ การไม่
ละกรรมฐาน พึงทราบว่า ชื่อว่าโคจรสัมปชัญญะ ด้วยประการฉะนี้.
ไม่มีอะไรในภายในที่ชื่อว่า อัตตา คู้เข้ามาหรือเหยียดออกไปอยู่.
แต่การคู้เข้าและเหยียดออก มีได้โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดแต่
กิริยาจิตมีประการดังที่กล่าวมาแล้ว เหมือนการเคลื่อนไหวมือและเท้าของ
หุ่นโดยการชักด้วยเชือก เพราะฉะนั้น ก็การกำหนดรู้ (ดังที่กล่าวมานี้)
พึงทราบเถิดว่า ชื่อว่ามีอสัมโมหสัมปชัญญะ ในอิริยาปถบรรพนี้.
การใช้ผ้าสังฆาฏิ และผ้าจีวร โดยการนุ่งการห่ม๑ การใช้บาตร
โดยการรักษาเป็นต้น ชื่อว่าธารณะ ในคำว่า สงฺฆาฏิปตฺตจีวรธารเณ
นี้. การได้อามิสของภิกษุผู้นุ่งและห่มแล้ว เที่ยวไปบิณฑบาต และประ-
๑. ปาฐะว่า นิวาสนปารุปนวเสน น่าจะเป็นปารุปนวเสน ซึ่งแปลว่า ห่ม เพราะเป็นผ้าห่ม
ไม่ใช้ผ้านุ่ง, (ผู้แปล).
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 710
โยชน์มีประการดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นั่นแหละโดยนัยมีอาทิว่า
สีตสฺส ปฏิฆาตาย (เพื่อบำบัดหนาว) ชื่อว่าประโยชน์ในการครอง
ผ้าสังฆาฏิ และผ้าจีวรนั้น ผู้ศึกษาควรเข้าใจสาตถกสัมปชัญญะ ด้วย
สามารถแห่งประโยชน์นั้นก่อน.
ส่วนจีวรเนื้อละเอียด เป็นสัปปายะของผู้มีปกติร้อน (ขี้ร้อน) และ
ผู้มีกำลังน้อย (แต่) จีวรเนื้อหยาบหนา เป็นสัปปายะของผู้มีปกติหนาว
มาก (ขี้หนาว) ผิดไปจากนี้ก็ไม่เป็นสัปปายะ. จีวรเก่าไม่เป็นสัปปายะ
ของใคร ๆ เลย. เพราะมันทำความกังวลใจให้ท่านโดยให้ความข้องใจ
เป็นต้น. ผ้าจีวรชนิดชิ้นเดียว (ไม่ได้ตัดให้เป็นขัณฑ์) และผ้าเปลือกไม้
เป็นต้นที่เป็นที่ตั้งแห่งความโลภก็อย่างนั้น เพราะผ้าเช่นนั้นทำอันตราย
แก่การอยู่โดดเดี่ยวในป่า หรือทำอันตรายถึงแก่ชีวิตก็มี และโดยตรง
แล้วผ้าจีวรผืนใดที่เกิดขึ้น (ได้มา) ด้วยอำนาจมิจฉาชีพ มีการทำนิมิต
เป็นต้น และจีวรใดเมื่อท่านใช้อยู่ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง
จีวรนั้น เป็นอสัปปายะ แต่จีวรที่ผิดแผกไปจากนี้ เป็นสัปปายะ.
ในสัมปชัญญบรรพนี้ ผู้ศึกษาพึงเข้าใจสัปปายสัมปชัญญะ ด้วย
อำนาจของจีวรนั้น และโคจรสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจการไม่ละทิ้งกรรม-
ฐานเลย.
ไม่มีอะไรที่ชื่อว่าอัตตาในภายในของภิกษุผู้ห่มจีวรอยู่ มีแต่การ
ห่มจีวร โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดแต่กิริยาของจิตมีประการดังที่
กล่าวแล้วเท่านั้น. บรรดาจีวรและกายทั้ง ๒ อย่างนั้น ถึงจีวรก็ไม่มีความ
ตั้งใจ ถึงกายก็ไม่มีความตั้งใจ จีวรก็ไม่รู้ว่าเราห่มกาย. ถึงกายก็ไม่รู้ว่า
จีวรห่มเรา. ธาตุทั้งหลายเท่านั้น ปกคลุมกลุ่มธาตุไว้ เหมือนเอาผ้าเก่า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 711
ห่อรูปคือคัมภีร์ เพราะฉะนั้น ได้จีวรที่ดีแล้ว ก็ไม่ควรทำความดีใจเลย
ได้ไม่ดี ก็ไม่ควรเสียใจ อธิบายว่า คนบางพวกพากันสักการะ นาค
จอมปลวกเจดีย์และต้นไม้๑เป็นต้น ด้วยดอกไม้ของหอมและผ้าเป็นต้น.
แต่คนลางเหล่า ทำสิ่งที่ไม่ใช่สักการะ เช่น ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรด
เอาโคลนทา เอาท่อนไม้ตีและศัสตราประหาร เป็นต้น นาค จอมปลวก
และต้นไม้ เป็นต้น จะไม่ทำความยินดียินร้ายด้วยสักการะหรืออสักการะ
นั้น (ฉันใด ) ภิกษุก็เช่นนั้นเหมือนกัน ได้จีวรดีแล้ว ก็ไม่ควรทำ
ความดีใจ ได้ไม่ดี ก็ไม่ควรเสียใจ. ในสัมปชัญญบรรพนี้ ผู้ศึกษา
ควรเข้าใจอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจการพิจารณาที่เป็นไปแล้ว
ดังที่พรรณนามานี้เทอญ.
แม้ในการอุ้มบาตร ก็ควรทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจ
ประโยชน์ที่จะพึงได้๒ เพราะมีการถือบาตรเป็นปัจจัยอย่างนี้ว่า เราจัก
ไม่รีบร้อนถือบาตร แต่จะถือเอาบาตร (โดยมีกรรมฐานเป็นสำคัญ )
เที่ยวไปบิณฑบาต ก็จักได้ภิกษา.
ส่วนบาตรหนัก ไม่เป็นสัปปายะ สำหรับภิกษุผู้มีร่างกายผอม
และแรงน้อย และบาตรที่เชื่อม ( เหล็ก ) เข้ากัน ๔ - ๕ แผ่น ตะไบ
ไม่เรียบร้อย ไม่เป็นสัปปายะแก่คนใดคนหนึ่งเลย๓ เพราะว่า บาตรที่
ล้างยาก ไม่เหมาะ ก็เมื่อล้างบาตรนั่นแหละ เธอจะมีความกังวล. ส่วน
บาตรที่มีสีเหมือน แก้วมณี เป็น ที่ตั้งแห่งความโลภ ไม่เป็นสัปปายะ โดย
๑. ปาฐะว่า นานาวมฺมิกเจติยรุกฺขาทีสุ ฉบับพม่าเป็น นควมฺมิกเจติยรุกฺขาทีสุ แปลตาม
ฉบับพม่า.
๒. ปาฐะว่า ปฏิลภิตพฺพ อตฺตวเสน พม่าเป็น ปฏิลภิตพฺพอตฺถวเสน แปลตามฉบับพม่า.
๓. ปาฐะว่า อสปฺปาโย จ พม่าเป็น อสปฺปาโยว แปลตามพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 712
นัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในจีวรนั่นแหละ แต่บาตรที่ได้มาโดยการทำนิมิต
เป็นต้น ซึ่งเมื่อภิกษุนั้นใช้ อกุศลธรรมจะเจริญขึ้น กุศลธรรมจะเสื่อม
ลง บาตรนี้เป็นอสัปปายะโดยส่วนเดียวเท่านั้น บาตรที่ผิดแผกไป (จากนี้)
เป็นสัปปายะ. พึงทราบสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งบาตรนั้น
พึงทราบโคจรสัมปชัญญะ โดยไม่ละกรรมฐาน.
ไม่มีอะไรที่ชื่อว่าเป็นอัตตาในภายในแก่ภิกษุอุ้มบาตรอยู่ ธรรมดา
การอุ้มบาตร จะมีได้ก็โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดขึ้น เพราะ
กิริยาของจิตมีประการดังที่กล่าวมาแล้ว บรรดามือและบาตรทั้ง ๒ อย่าง
นั้น ทั้งบาตรก็ไม่มีความตั้งใจ ทั้งมือก็ไม่มีความตั้งใจ บาตรก็ไม่รู้ว่า
มืออุ้มเรา ถึงมือก็ไม่รู้ว่า เราอุ้มบาตร ธาตุทั้งหลายเท่านั้นอุ้มกลุ่มธาตุ
เหมือนกับในเวลาเอาคีมคีบบาตรที่สุมไฟ เพราะฉะนั้น ในสัมปชัญญบรรพ
นี้ พึงทราบอสัมโมทสัมปชัญญะ โดยการพิจารณาที่เป็นไปแล้ว ดัง
ที่พรรณนามานี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุใด พิจารณาเห็นจีวรเหมือนผ้าพันแผล บาตร
เหมือนกระเบื้องใส่ยา และภิกษาที่ได้มาในบาตรเหมือนยาในกระเบื้อง
ภิกษุนี้พึงทราบเถิดว่า เป็นผู้มีปกติทำความรู้ตัวสูงสุดเป็นปกติ ด้วย
อสัมโมหสัมปชัญญะ ในการพาดสังฆาฏิ อุ้มบาตร และห่มจีวร เหมือน
กับชายที่มีความเอ็นดู เห็นคนอนาถานอน๑อยู่ที่ศาลา สำหรับคนอนาถามี
มือเท้าด้วน มีน้ำเหลืองและเลือดทั้งหมู่หนอนไหลออกจากปากแผล มี
แมลงวันหัวเขียวตอมหึ่ง จึงได้หาผ้าพันแผลและยา พร้อมทั้งกระเบื้อง
ใส่ยาไปมอบให้เขาเหล่านั้น ในจำนวนสิ่งของเหล่านั้น แม้ผ้าที่เนื้อ
๑. พม่ามีศัพท์ นิปนฺเน ในระหว่างนี้ จึงแปลตามพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 713
ละเอียดก็ตกแก่ลางพวก ที่เนื้อหยาบก็ตกแก่ลางพวก ถึงกะลาใส่ยาที่
ทรวดทรงงามก็ตกแก่ลางพวก ที่ทรวดทรงไม่งามก็ตกแก่ลางพวก พวก
เขาจะไม่ดีใจหรือเสียใจในสิ่งของเหล่านั้น เพราะพวกเขามีความต้องการ
ผ้าเพียงแต่ใช้ปิดแผลเท่านั้น และกะลาเพียงแต่ใช้รับยาเท่านั้นฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัย ในการฉันเป็นต้น (ดังต่อไปนี้) :-
บทว่า อสิเต ความว่า ในการฉันบิณฑบาต.
บทว่า ปิเต ความว่า ในการดื่มข้าวยาคูเป็นต้น.
บทว่า ขาทิเต ความว่า ในการเคี้ยวของเคี้ยวที่ทำด้วยแป้งเป็นต้น.
บทว่า สายิเต ความว่า ในการดื่มของดื่มมีน้ำอ้อยเป็นต้น.
ในการฉันเป็นต้นนั้น ประโยชน์ทั้ง ๘ อย่าง ที่พระพุทธเจ้า
ตรัสไว้โดยนัยนี้อาทิว่า เนว ทวาย (ไม่ใช่เพื่อเล่น) ชื่อว่าประโยชน์
ผู้ศึกษาพึงทราบสาตถกสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งประโยชน์นั้น.
ก็ผู้ใดมีความไม่สบาย เพราะโภชนะใด โภชนะนั้นเป็นอสัปปายะ
สำหรับผู้นั้น ส่วนโภชนะใดได้มาโดยการทำนิมิต เป็นต้น และเมื่อเธอ
ฉันโภชนะใด อกุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้น กุศลธรรมทั้งหลายเสื่อมสิ้น
ไป. โภชนะนั้นเป็นอสัปปายะโดยถ่ายเดียวเท่านั้น. แต่ที่ผิดเพี้ยนไป
(จากนี้) เป็นสัปปายะ.
ผู้ศึกษาควรเข้าใจสัปปายสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจแห่งโภชนะที่
เป็นสัปปายะนั้น และพึงทราบโคจรสัมปชัญญะ โดยไม่ละทิ้งกรรมฐาน
เลย.
ไม่มีใครชื่อว่า อัตตา ในภายในเป็นผู้กิน มีแต่การรับบาตรธรรมดา
โดยการแผ่ขยายแห่งวาโยธาตุที่เกิดแต่กิริยาของจิตมีประการดังที่กล่าวมา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 714
แล้วเท่านั้น มีแต่การหย่อนมือลงในบาตรธรรมดา โดยการแผ่ขยายแห่ง
วาโยธาตุอันเกิดแต่กิริยาของจิตเท่านั้น มีแต่การปั้นคำข้าว การยก
คำข้าวขึ้น และการอ้าปากรับ โดยการแผ่ขยายของวาโยธาตุที่เกิดแต่กิริยา
ของจิตเท่านั้น ไม่มีใครเอากุญแจและเครื่องยนต์เปิดกระดูกคาง มีแต่การ
วางคำข้าวไว้ในปาก การให้ฟันบนทำหน้าที่แทนสาก การให้ฟันข้างล่าง
ทำหน้าที่แทนครก และการให้ลิ้นทำหน้าที่แทนมือ โดยการแผ่ขยายของ
วาโยธาตุที่เกิดแต่กิริยาของจิตเท่านั้น.
ด้วยเหตุอย่างนี้ น้ำลายจำนวนเล็กน้อยจากปลายลิ้น ในบรรดา
ปลายและโคนนั้น (และ) น้ำลายจำนวนมากจากโคนลิ้น ก็จะคลุก
เคล้าคำข้าวนั้น คำข้าวนั้นจะพลิกไปมาด้วยมือคือลิ้นในครกคือฟัน (กราม)
ล่าง เปียกชุ่มไปด้วยน้ำคือเขฬะ บดละเอียดด้วยสากคือฟัน (กราม)
บน, ขึ้นชื่อว่าใคร ๆ จะเอาช้อนหรือทัพพีสอดเข้าไปข้างใน (ปาก)
ไม่มี. ( คำข้าว ) เข้าไปได้ เพราะวาโยธาตุนั่นเอง คำข้าวที่เข้า ๆ ไป
แล้ว ใคร ๆ ชื่อว่าจะยั้งไว้ ทำให้เป็น ( เหมือน ) สุมกองฟางไว้ไม่มี
แต่จะวางไว้ได้ด้วยอำนาจวาโยธาตุเท่านั้น, ที่วาง ๆ ไว้แล้ว ใคร ๆ ชื่อว่า
จะตั้งเตาติดไฟต้มให้เปื่อยไม่มี แต่จะเปื่อยได้เพราะเตโชธาตุเท่านั้น, ที่
เปื่อยแล้ว ๆ ใคร ๆ ชื่อว่าจะเอาไม้ถือหรือไม้เท้า เขี่ยออกไปข้างนอก
ก็ไม่มี, วาโยธาตุเท่านั้นจะนำออกไป. ด้วยเหตุอย่างนี้ วาโยธาตุนำ
(คำข้าว) เข้าไปด้วย นำออกไปด้วย ให้หยุดอยู่ด้วย ให้พลิกไปมา
ด้วย ให้ย่อยไปด้วย ให้นำ (กาก) ออกไปด้วย, ปฐวีธาตุทรงไว้
ด้วย ให้พลิกไปด้วย ให้ย่อยด้วย, อาโปธาตุให้เกาะกุมกันไว้ด้วย รักษา
ไว้ให้สดอยู่ด้วย, เตโชธาตุจะย่อยคำข้าวที่เข้าไปข้างในแล้ว อากาศธาตุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 715
เป็นช่องทาง, วิญญาณธาตุคำนึงถึงโดยอาศัยการประกอบกันโดยชอบ
ในธาตุนั้น ๆ ผู้ศึกษาพึงเข้าใจสัมโมหสัมปชัญญะ ในสัมปชัญญบรรพ
โดยการพิจารณาที่เป็นไปแล้ว ดังที่พรรณนามานี้เทอญ.
ปฏิกูล ๑๐
อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรควรทราบอสัมโมหสัมปชัญญะ ใน
สัมปชัญญบรรพนี้ โดยการพิจารณาถึงความปฏิกูล ๑๐ อย่างนี้คือ โดย
การไป ๑ โดยการแสวงหา ๑ โดยการฉัน ๑ โดยอัธยาศัย ๑
โดยการเก็บไว้ (ในกระเพาะอาหาร) ๑ โดยส่วนที่ยังไม่ย่อย ๑
โดยส่วนที่ย่อยแล้ว ๑ โดยผล ๑ โดยซึมซาบ ๑ โดยเปรอะเปื้อน ๑
ส่วนกถาอย่างพิสดาร ในสัมปชัญญบรรพนี้ ควรถือเอาจากนิเทศแห่ง
อาหาเรปฏิกูลสัญญา ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเทอญ.
บทว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม ความว่า ในการถ่ายอุจจาระและ
ปัสสาวะ ( เพราะว่า ) ถึงเวลานั้นแล้ว เมื่อไม่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ. เหงื่อ
จะไหลออกทั่วร่างกาย นัยน์ตาจะพร่า จิตไม่เป็นเอกัคคตา และโรคอื่น ๆ
ก็จะเกิดขึ้น. แต่เมื่อถ่ายแล้วสิ่งทั้งหมดนั้นจะไม่มี เพราะฉะนั้น ข้อความ
นี้เป็นอรรถาธิบายในคำว่า อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม นี้. ผู้ศึกษาพึงเข้าใจ
สาตถกสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความนั้น.
ที่เมื่อถ่ายอุจจาระปัสสาวะในที่ไม่สมควรจะเป็นอาบัติ จะเสื่อมยศ
(เสียเกียรติ) จะเป็นอันตรายแก่ชีวิต แต่เมื่อถ่ายในที่เหมาะสม สิ่งทั้ง
หมดนั้นจะไม่มี เพราะฉะนั้น การถ่ายในที่เหมาะสมนี้ จึงเป็นสัปปายะ
ในอุจจารปัสสาวกรรมนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบสัปปายสัมปชัญญะ ด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 716
อำนาจแห่งสัปปายะนั้น ส่วนโคจรสันปชัญญะ พึงทราบด้วยอำนาจการ
ไม่ละทิ้งกรรมฐานนั่นแหละ.
ไม่มีใครชื่อว่าเป็นอัตตาในภายใน ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ มีแต่
การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ เพราะการแผ่ขยายแห่งวาโยธาตุที่เกิดแต่กิริยา
ของจิตเท่านั้น, ก็อุจจาระและปัสสาวะที่ขังอยู่ในไส้แก่ และกระเพาะ
ปัสสาวะ ถูกกำลังลมดันไป ก็จะออกไปเอง โดยไม่อยากให้ออกเลย
เหมือนเมื่อฝีแก่แล้ว หนองและเลือดจะไหลออกไปเอง โดยไม่อยาก
(ให้ไหล) เพราะฝีแตก และเหมือนกับน้ำจะไหลออกจากภาชนะใส่น้ำ
ที่ดันแล้ว โดยไม่อยาก (ให้ไหล) ฉะนั้น.
ก็อุจจาระและปัสสาวะนี้ใด ที่ถ่ายออกไปแล้ว อุจจาระและปัสสาวะ
นี้นั้นแห่งอัตตาของภิกษุนั้น จะไม่มีเลย ของผู้อื่นก็ไม่มี จะมีก็แต่การ
ขับถ่ายของร่างกายเท่านั้น.
เหมือนอะไรหรือ ?
เหมือนเมื่อเทน้ำเก่าทิ้งจากหม้อน้ำแล้ว หม้อก็ไม่มีน้ำนั้นเลย สิ่ง
อื่นก็ไม่มี คงมีแต่เพียงปฏิบัติการอย่างเดียวเท่านั้น ฉันใด ผู้ศึกษาพึง
เข้าใจสัมโมหสัมปชัญญะ ในอสัมปชัญญบรรพนี้ โดยการพิจารณากิริยา
อาการที่เป็นไปแล้ว ฉันนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในการเดินเป็นต้น (ดังต่อไปนี้) :-
บทว่า คเต ได้แก่ในการเดินไป.
บทว่า ิเต ได้แก่ในการยืน.
บทว่า นิสินฺเน ได้แก่ในการนั่ง.
บทว่า สุตฺเต ได้แก่ในการนอนหลับ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 717
บทว่า ชาคริเต ได้แก่ในการตื่น.
บทว่า ภาสิเต ได้แก่ในการกล่าว.
บทว่า ตุณฺหีภาเว ได้แก่ในการไม่พูด.
พระองค์ได้ตรัสอิริยาบถยาวนานไว้ในฐานะนี้ว่า เมื่อเดินไปก็รู้ว่า
เรากำลังเดินบ้าง, ยืนแล้วก็รู้ว่าเรายืนแล้วบ้าง, นั่งแล้วก็รู้ว่าเรานั่งแล้วบ้าง
นอนแล้วก็รู้ว่าเรานอนแล้วบ้าง. ตรัสอิริยาบถกลาง ๆ ไว้ในฐานะนี้ว่า
ในการก้าวไปข้างหน้า, ในการถอยกลับ, ในการแลตรง. ในการ
แลซ้ายแลขวา, ในการเหยียดออก แต่ในบรรพนี้ ตรัสอิริยาบถปลีกย่อย
เล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้ว่า ในการเดิน, ในการยืน, ในการนั่ง ในการหลับ
ในการตื่น เพราะฉะนั้น พึงทราบความเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวเป็นปกติ
โดยนัยที่ตรัสไว้ในฐานะเหล่านี้นั่นแหละ.
ก็ท่านมหาสิวเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ใดเดินไป
หรือจงกรมนาน ๆ แล้วต่อมาจึงยืน พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า รูปธรรม
และอรูปธรรมที่เป็นไปแล้วในเวลาจงกรม ได้ดับไปแล้วในเวลาจงกรมนี้
เอง ผู้นี้นั้น ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการเดิน.
ผู้ใด เมื่อทำการสาธยาย, แก้ปัญหา หรือมนสิการกรรมฐาน ยืนอยู่
นาน ๆ แล้วต่อมาจึงนั่ง พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูป-
ธรรม ที่เป็นไปแล้ว ในเวลายืน ได้ดับไปแล้ว ในเวลายืนนี้เอง ผู้นี้
นั้น ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการยืน.
ผู้ใด นั่งนาน ๆ โดยทำการสาธยายเป็นต้นนั้นเอง แล้วต่อมา
จึงนอน พิจารณาเห็นอย่างนี้ รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปแล้วใน
เวลานั่ง ได้ดับไปแล้วในเวลานั่งนี้เอง ผู้นี้นั้น ชื่อว่าทำความรู้สึกตัว
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 718
ในการนั่ง.
ผู้ใด นอนอยู่นั่นแหละ ทำการสาธยายไปพลาง หรือมนสิการ
กรรมฐานไปพลาง ก้าวลงสู่ความหลับ ต่อมาจึงลุกขึ้น พิจารณาเห็นอย่าง
นี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปแล้วในเวลานอน ได้ดับไปแล้วใน
เวลานอนนี้เอง ผู้นี้นั้น ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวทั้งในการหลับ ทั้งในการ
ตื่น. เพราะว่าจิตที่สำเร็จด้วยกิริยา ไม่มีการเป็นไป (ไม่ขึ้นสู่วิถี) ชื่อ
ว่าหลับ มีการเป็นไป ชื่อว่าตื่น เพราะฉะนั้น (ผู้นั้นจึงชื่อว่าทำความ
รู้สึกตัวทั้งในการหลับ ทั้งในการตื่น).
ส่วนผู้ใด เมื่อพูด ก็พูดมีสติ รู้สึกตัวว่า ธรรมดาว่าเสียงนี้อาศัย
ริมฝีปาก อาศัยฟัน, ลิ้น, เพดาน และประโยคของจิต ที่เหมาะสมกับ
จิตนั้น แล้วจึงเกิดขึ้นได้.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด ทำการสาธยายธรรม บอกธรรม แปลธรรม
(สอน) กรรมฐาน หรือวิสัชนาปัญหาเป็นเวลานาน ต่อมาจึงนิ่ง
พิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปแล้วในเวลาพูด
ก็ดับไปแล้วในเวลาพูดนี้เอง. ผู้นี้นั้น ชื่อว่าทำความรู้สึกตัวในการพูด.
ผู้ใด ดุษณีภาพ มนสิการถึงธรรม หรือกรรมฐาน นาน ๆ
ต่อมาพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า รูปธรรมและอรูปธรรมที่เป็นไปในเวลานิ่ง
ก็ได้ดับไปแล้วในเวลานิ่งนั้นเอง เมื่อมีการเป็นไปแห่งอุปาทายรูป (เขา)
ก็ชื่อว่าพูด เมื่อไม่มี ก็ชื่อว่าเป็นผู้นิ่ง ผู้นี้นั้น ชื่อว่าทำความรู้สึกใน
ดุษณีภาพ.
สัมปชัญญะที่มีอสัมโมหะเป็นธุระ ที่พระมหาเถระกล่าวไว้แล้วนี้
นั้น พระองค์ทรงประสงค์เอาแล้วในสติปัฏฐานสูตรนี้. ส่วนในสามัญญ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 719
ผลสูตร ได้สัมปชัญญะหมดทั้ง ๔ อย่าง. เพราะฉะนั้น ในสามัญญผลสูตร
นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบความเป็นผู้กระทำความรู้สึกตัวไว้เป็นพิเศษ ด้วย
อำนาจสัมปชัญญะที่ไม่ลืมหลง. และในทุก ๆ บทว่า. สมฺปชานการี
สมฺปชานการี ผู้ศึกษาพึงทราบอรรถาธิบาย ด้วยอำนาจสัมปชัญญะ
ที่ประกอบด้วยสติเหมือนกัน.
ส่วนในวิภังคปกรณ์ พระองค์ทรงจำแนกบทเหล่านี้ไว้อย่างนี้เหมือน
กันว่า พระโยคาวจรมีสติ มีสัมปชัญญะ ก้าวไปข้างหน้า มีสติ มีสัมป-
ชัญญะถอยกลับ .
บทว่า อิติ๑ อชฺฌตฺต วา ความว่า พระโยคาวจร ชื่อว่าพิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือของผู้อื่น คือในกายของตนตามกาล (ที่ควร)
หรือกายของผู้อื่นตามกาล (ที่ควร) โดยการกำหนดด้วยสัมปชัญญะ
๘ ประการอย่างนี้.
แม้ในจตุสัมปชัญญบรรพนี้ ก็ควรนำเอาความเกิดความเสื่อมแห่ง
รูปขันธ์นั่นเอง ไปไว้ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา
คำที่ยังเหลือ เป็นเช่นเดียวกันกับคำที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.
อริยสัจในสัมปชัญญะ
ในที่นี้ สติที่กำหนดด้วยสัมปชัญญะ ๔ ประการ เป็นทุกขสัจ
ตัณหาเดิมที่ยังสติให้ปรากฏ ( เป็นสมุฏฐานของสติ) เป็นสมุทัยสัจ
การไม่เป็นไปของสติและตัณหาเดิมทั้ง ๒ นั้น เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคมี
ประการดังที่กล่าวมาแล้ว เป็นมรรคสัจ พระโยคาวจรขวนขวาย ด้วย
๑. ปาฐะว่า อิทานิ แต่ฉบับพม่าเป็น อิติ แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 720
อำนาจสัจจะทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว จะบรรลุ ความดับ ( ตัณหา ) เพราะ-
ฉะนั้น จึงเป็นช่องทางแห่งธรรมเป็นเหตุนำออกจากทุกข์ จนถึงพระ
อรหัต ด้วยอำนาจแห่งพระโยคาวจร ผู้กำหนดด้วยสัมปชัญญะ ๔ ประการ
รูปหนึ่งแล.
จบ จตุสัมปชัญญบรรพ
ปฏิกูลมนสิการบรรพ
[๑๓๖] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา ด้วย
อำนาจแห่งสัมปชัญญะ ๔ ประการดังพรรณนานี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรง
จำแนกด้วยอำนาจมนสิการ โดยเป็นของปฏิกูล จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า
ปุน จปร ดังนี้ .
พึงทราบวินิจฉัยในปฏิกูลมนสิการบรรพ ดังต่อไปนี้ :-
คำใดที่จะต้องกล่าวในคำว่า อิมเมว กาย เป็นต้น คำนั้น
ทั้งหมด๑ ได้กล่าวไว้แล้วในกายคตาสติกรรมฐาน ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
โดยพิสดาร ด้วยอาการทุกอย่าง.
บทว่า อุภโตมุขา ความว่า (ไถ้) ประกอบด้วยปาก ๒ ทาง
คือทั้งทางล่างทั้งทางบน. บทว่า นานาวิหิตสฺส แปลว่า มีอย่างต่าง ๆ.
ก็ในเรื่องนี้มีข้ออุปมาเป็นการเทียบเคียงกันดังนี้ :-
อธิบายว่า กาย คือมหาภูตรูป ๔ พึงทราบว่า เหมือนไถ้มีปาก
๒ ทาง อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น พึงทราบว่า เหมือนธัญญชาตินานา-
ชนิดที่เทปนกันในไถ้, พระโยคาวจร พึงทราบว่า เหมือนบุรุษมีตาดี,
อาการปรากฏแจ่มชัดแห่งอาการ ๓๒ แก่พระโยคี พึงทราบว่า เหมือน
๑. ฉบับพม่ามีคำว่า สพฺพ จึงแปลตามบาลีของพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 721
เวลาที่ธัญญชาตินานาชนิด๑ ปรากฏแก่บุรุษนั้นผู้แก้ไถ้นั้นแล้ว ตรวจดู
ฉะนั้น.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺต วา ความว่า พระโยคาวจร ชื่อว่า พิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือในกายของตนตามกาล
(ที่เหมาะสม) หรือในกายของผู้อื่นตามกาล (ที่เหมาะสม) ด้วยการ
กำหนดในผมเป็นต้น. คำต่อจากนี้ไป มีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
จริงอยู่ในปฏิกูลมนสิการบรรพนี้ สติที่กำหนดอาการ ๓๒ เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว ผู้ศึกษาควรทำการประกอบความดังที่พรรณนามาอย่างนี้แล้ว
ทราบมุขแห่งการออกไป (จากทุกข์). คำที่เหลือ (จากที่อธิบายมา
แล้วนี้) เป็นเช่นกับคำก่อนนั้นเอง ดังนี้แล.
จบ ปฏิกูลมนสิการบรรพ
ธาตุมนนสิการบรรพ
[๑๓๗] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา
ด้วยอำนาจปฏิกูลมนสิการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วยอำนาจ
การมนสิการถึงธาตุ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน จปร ไว้. ในคำเหล่านั้น
มีการพรรณนาความพร้อมกับคำอุปมาเป็นการเปรียบเทียบกัน ดังนี้ :-
เปรียบพระเหมือนคนฆ่าวัว
คนฆ่าวัวลางคนหรือลูกมือของเขาที่เป็นลูกจ้าง ฆ่าวัวแล้ว ชำแหละ
แล้ว ต้องแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ นั่ง (ขาย) อยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง
๑. ปาฐะว่า ปกฺขิตนานาวิธชญฺ ฉบับพม่าเป็น ปกฺขิตฺตนานาวิธธญฺสฺส แปลตามพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 722
กล่าวคือที่ท่ามกลางถนนใหญ่ ที่แยกไป ๔ ทิศ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พิจารณากาย ตามที่สถิตอยู่แล้วโดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
แห่งอิริยาบถทั้ง ๘ และตามที่ดำรงอยู่แล้ว เพราะตามที่ได้ทั้งปณิธานไว้
อย่างนี้ว่า มีอยู่ในกายนี้ (คือ) ธาตุดิน ฯ ล ฯ ธาตุลม.
มีพุทธาธิบายไว้อย่างไร ?
มีพุทธาธิบายไว้ว่า :- คนฆ่าโค เมื่อกำลังเลี้ยงโคก็ดี กำลังจูงไป
สู่ที่ฆ่าสัตว์ก็ดี ครั้นจูงไปแล้วกำลังผูกให้ยืนอยู่ที่นั้นก็ดี กำลังฆ่าก็ดี
กำลังดูวัวที่เขาฆ่าแล้วก็ดี ความหมายรู้ว่า แม่โค ยังไม่จางหายไป
ตลอดเวลาที่ยังไม่ชำแหละแม่โคนั้นแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ แต่ครั้นนั่ง
แบ่ง (เนื้อ) แล้ว ความหมายรู้ว่า แม่โค ก็จะจางหายไป, ความหมาย
รู้ว่า เนื้อ ก็จะเป็นไปเข้ามาแทนที่ เขาจะไม่มีความคิดอย่างนี้ว่า เราขาย
แม่โค เขาเหล่านี้ซื้อแม่โค, โดยที่แท้แล้ว เขาจะมีความคิดอย่างนี้เท่า
นั้นว่า เราขายเนื้อ เขาเหล่านี้ซื้อเนื้อ ฉันใด. ในเวลาที่ภิกษุแม้รูปนี้ยัง
เป็นพาลปุถุชนอยู่ก่อนก็เช่นนั้นเหมือนกัน ความหมายรู้ว่าสัตว์หรือบุคคล
ของท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ก็ดี ผู้บวชแล้วก็ดี ยังไม่อันตรธานไป ตลอดเวลาที่
ยังไม่ได้ทำกายนี้นั้นเอง ตามที่สถิตอยู่แล้ว ตามที่ตั้งอยู่แล้วให้เป็นการ
แยกออกไปจากก้อนแล้วเห็นโดยเป็นธาตุ แต่เมื่อท่านพิจารณาเห็นอยู่
โดยเป็นธาตุ สัตตสัญญา (ความหมายรู้ว่าสัตว์) ของท่านก็จะอันตรธาน
ไป จิตจะตั้งอยู่ด้วยอำนาจของธาตุนั้นเอง.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า เธอจะพิจารณา
เห็นกายนี้ ตามที่สถิตอยู่แล้ว ตามที่ตั้งอยู่แล้วโดยเป็นธาตุว่า ในกายนี้
มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลมอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคฆาตก์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 723
ผู้ขยัน หรือ ฯลฯ วาโยธาตุ แม้ฉันใด.
อธิบายว่า ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร (โยคี) เหมือนคนฆ่าโค ความ
หมายรู้ว่าสัตว์ เหมือนความหมายรู้ว่า แม่โค อิริยาบถ ๔ เหมือนทาง
ใหญ่ ๔ แพร่ง การพิจารณาเห็น (กาย) โดยเป็นธาตุ เหมือนนาย
โคฆาตก์ผู้นั่งแบ่ง (เนื้อ) ออกเป็นส่วน ๆ. นี้คือการพรรณนาความ
ตามพระบาลีในธาตุมนสิการบรรพนี้. ส่วนกถาว่าด้วยกรรมฐาน ได้ให้
พิสดารไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
บทว่า อิติ อชฺณตฺต วา ความว่า พระโยคาวจรมีปกติพิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือมีปกติพิจารณาเห็นกาย
ในกายของตนตามกาล หรือในกายของผู้อื่นตามกาล อยู่อย่างนี้ คือ
โดยการกำหนดธาตุ ๔ คำต่อจากนี้ไปมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
เพราะว่าในธาตุมนสิการบรรพนี้ สติที่กำหนดธาตุ ๔ เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว.
บัณฑิตพึงทราบช่องทางแห่งธรรมเครื่องนำออก (จากทุกข์)
ตามที่ได้อธิบายความประกอบมาอย่างนี้แล. คำที่เหลือ เช่นกับคำก่อน
นั้นเอง ดังนี้แล.
จบ ธาตุมนสิการบรรพ
นวสีวถิกาบรรพ
[๑๓๘] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนา
ด้วยอำนาจการมนสิการถึงธาตุอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 724
นวสีวถิกาบรรพ (ข้อธรรมที่ว่าด้วยป่าช้า ๙) จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ปุน
จปร ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺยถาปิ ปสฺเสยฺย ได้แก่ ยถา
ปสฺเสยฺย (แปลว่า พึงเห็นฉันใด).
บทว่า สรีร ได้แก่ร่างกายของคนที่ตายแล้ว
บทว่า สีวถิกาย ฉฑฺฑิต ความว่า ที่เขาทอดทิ้งไว้ที่ป่าช้า
ร่างของคนที่ตายแล้ววันเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เอกาหมตะ.
ร่างกายของคนที่ตายแล้ว ๒ วัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทวีหมตะ.
ร่างกายของคนที่ตายแล้ว ๓ วัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตีหมตะ.
ศพที่พองลมเหมือนสูบ ชื่อ อุทธุมาตกะ (ขึ้นพอง ) เพราะ
ขึ้นพอง โดยอืดขึ้นไปตามลำดับหลังจากสิ้นชีวิตแล้ว.
สีช้ำดำเขียว เขาเรียกว่า วินีละ. วินีลกะก็คือวินีละนั้นเอง
อีกอย่างหนึ่ง ศพที่มีสีเขียวปั๊ด น่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วินีลกะ. คำว่า วินีลกะ นี้ เป็นชื่อของซากศพที่
มีสีแดง ในที่ที่มีเนื้อนูน มีสีขาวในที่ที่หนองคั่งอยู่ แต่โดยมากมีสีเขียว
ในที่ที่มีสีเขียว ก็เหมือนคลุมด้วยผ้าสีเขียว.
อีกอย่างหนึ่ง หนองที่ไหลออกจากปากแผลทั้ง ๙ แห่ง แม้ในที่
ที่แตกปริแล้ว ชื่อว่า วิปุพพะ. วิปุพพะก็คือวิปุพพกะนั่นเอง. อีก
อย่างหนึ่ง หนองที่ช้ำน่าเกลียด เพราะปฏิกูล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
วิปุพพกะ. ศพที่กลายเป็นช้ำหนอง คือถึงภาวะอย่างนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า วิปุพพกชาตะ.
บทว่า โส อิมเมว กาย ความว่า ภิกษุนั้น น้อมกายของตน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 725
นี้เข้าไป (เปรียบเทียบ) กับกายนั้นด้วยญาณ.
บทว่า อุปสหรติ แปลว่า น้อมนำเข้าไป.
น้อมนำเข้าไปอย่างไร ?
น้อมนำเข้าไปอย่างนี้ว่า ถึงกายนี้ก็เถอะ เป็นธรรมดาอย่างนี้
มีสภาพอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้.
ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?
ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เพราะมีธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อายุ
ไออุ่น วิญญาณ กายนี้จึงทนต่อ (การผลัดเปลี่ยน อิริยาบถ) มียืนและ
เดินเป็นต้นได้ แต่เพราะไม่มีธรรม ๓ เหล่านี้ ร่างกายแม้นี้จึงมีอย่างนี้
เป็นธรรมดา คือมีสภาพเป็นของเน่าเปื่อยอย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า เอวภาวี ความว่า (กายนี้) จักเป็นอย่างนี้เหมือนกัน
คือ จักเป็นประเภท (ต่าง ๆ) มีเป็นร่างกายที่พองอืดเป็นต้น.
บทว่า เอว อนตีโต ความว่า ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ คือ
ความเป็นร่างกายที่พองอืดเป็นต้นไปได้
บทว่า อิติ อชฺฌตฺต วา ความว่า พระโยคาวจรมีปกติพิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือมีปกติพิจารณาเห็นกาย
ของตนตามกาล หรือในกายของผู้อื่นตามกาลอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ คือ
ด้วยการกำหนดร่างกายมีเป็นร่างกายที่พองอืดเป็นต้น.
บทว่า ขชฺชมาน ความว่า ร่างกายที่ถูกสัตว์ทั้งหลายมีกากับแร้ง
เป็นต้น จิกกิน โดยจับอยู่ที่อวัยวะมีท้องเป็นต้น แล้วจิกเอาเนื้อท้อง
เนื้อริมฝีปาก (และ) กระบอกตาเป็นต้น ออกมา (กิน).
บทว่า สมสโลหิต ความว่า ร่างกายที่ประกอบไปด้วยเนื้อและ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 726
เลือดอันเหลือเศษติดอยู่.
บทว่า นิมฺมสโลหิตมกฺขิต ความว่า ถึงเมื่อเนื้อหมดไปแล้ว
เลือดก็ยังไม่แห้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาเลือดนั้น จึงตรัสว่า
โลหิตมกฺขิต ดังนี้.
บทว่า อญฺเน ได้แก่โดยทิสาภาคอื่น.
บทว่า หตฺถฏฺิก ความว่า กระดูกมือทั้ง ๖๔ ชิ้น กระจัดกระจาย
ไปต่างทิศต่างทางกัน. แม้ในกระดูกเท้าเป็นต้น ก็นัยเดียวกันนี้.
บทว่า เตโรวสฺสิกานิ ได้แก่ (กระดูก) ค้างปี.
บทว่า ปูตีนิ ความว่า กระดูกที่อยู่ในที่กลางแจ้ง เมื่อต้องลมแดด
และฝนจึงผุ กระดูกค้างปียังไม่ผุ แต่กระดูกที่ฝังอยู่ภายในดิน ย่อมอยู่
ได้นานกว่า.
บทว่า จุณฺณกชาตานิ ได้แก่แหลกละเอียดกระจัดกระจายไป.
ในทุกบท บัณฑิตพึงแต่งถ้อยคำประกอบความด้วยอำนาจแห่งกาย
ที่ถูกกากับแร้งจิกกินเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวไว้แล้วว่า โส อิมเม ดังนี้
บทว่า อิติ อชฺฌตฺต วา ความว่า พระโยคาวจรมีปกติพิจารณา
เห็นกายในกายของตน หรือในกายของผู้อื่น คือมีปกติพิจารณาเห็นกาย
ในกายของตนตามกาล หรือในกายของผู้อื่นตามกาลอยู่ด้วยอาการอย่างนี้
คือด้วยการกำหนดกายมีกายที่ถูกแร้งกาเป็นต้น จิกกินเป็นอาทิ จนกระทั่ง
ถึงเป็นของแหลกละเอียดเป็นผุยผง.
ป่าช้า ๙
ก็ป่าช้า ๙ พึงประมวลไว้ในที่ตรงนี้ (คือ) :-
ป่าช้าทั้งหมดที่ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เอกาหมต วา (ซาก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 727
ศพที่ตายได้แล้ว ๑ วัน) บ้าง ๑,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) เป็นต้นว่า กาเกหิ วา ขชฺชมาน ( ซาก
ศพที่ถูกพวกกาจิกกิน) บ้าง ๑,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) ว่า อฏฺิกสขงฺลิก สมสโลหิต นหารุสมฺพนฺธ
(ซากศพที่มีแต่ร่างกระดูกยังมีเนื้อและเลือดติดอยู่ ยังมีเส้นเอ็นร้อยรัด) ๑,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) ว่า นิมฺมสโลหิตมกฺขิต นหารุสมฺพนฺธ (ซาก
ศพที่ไม่มีเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นร้อยรัด) ๑.
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) ว่า อปคตมสโลหิต นหารุสมฺพนฺธ (ซาก
ศพที่ไม่มีเนื้อและเลือดติดอยู่ แต่ยังมีเส้นเอ็นร้อยรัด ) ๑,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) เป็นต้นว่า อฏฺิกานิ อปคตสมฺพนฺธนานิ
(กระดูกที่ไม่มีเส้นเอ็นร้อยรัด) ๑,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) ว่า อฏฺิกานิ เสตานิ สงฺขวณฺณปฏิภาคานิ
(กระดูกขาวดังสีสังข์) ๑,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) ว่า ปุญฺชกิตานิ เตโรวสฺสิกานิ (กระดูก
ที่รวมอยู่เป็นกอง ค้างปี) ๑,
ป่าช้า (ที่ตรัสไว้) ว่า ปูตีนิ จุณฺณกชาตานิ (กระดูกผุแหลก
เป็นผุยผง) ๑,
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงบ่าช้า ๙ อย่างไว้ในที่นี้แล้ว
เมื่อจะจบกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงตรัสว่า เอว โข ภิกฺขเว ดังนี้ .
อริยสัจในนวสีวถิกา
สติเป็นเครื่องกำหนดป่าช้า ๙ ในนวสีวถิกาบรรพนั้น เป็นทุกขสัจ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 728
ตัณหาเก่าที่เป็นตัวการให้เกิดสตินั้น เป็นสมุทยสัจ ความไม่เป็นไปแห่ง
ทุกขสัจและสมุทยสัจ ทั้ง ๒ เป็นนิโรธสัจ. อริยมรรคที่เป็นตัวการ
กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ เป็นมัคคสัจ.
พระโยคาวจร ย่อมก้าวบรรลุถึงนิพพานด้วยอำนาจสัจจะ ๔ ดัง
พรรณนามานี้ สรุปว่านี้เป็นทางแห่งธรรมเครื่องนำออก จนถึงพระอรหัต
ของภิกษุผู้กำหนดป่าช้า ๙ แล.
จบ นวสีวถิกาบรรพ
ก็กายานุปัสสนา ๑๔ บรรพ คือ อานาปานบรรพ ๑ อิริยาปถ-
บรรพ ๑ จตุสัมปชัญญบรรพ ๑ ปฏิกูลมนสิการบรรพ ๑ ธาตุ-
มนสิการบรรพ ๑ นวสีวถิกาบรรพ ๙ เป็นอันจบลงแล้ว ด้วยคำมี
ประมาณเท่านี้.
บรรดาบรรพเหล่านั้น เฉพาะ ๒ บรรพนี้คือ อานาปานบรรพ ๑
ปฏิกูลมนสิการบรรพ ๑ เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน (กัมมัฏฐานที่ให้บรรลุ
อัปปนาสมาธิ) ส่วนที่เหลือทั้ง ๑๒ บรรพ เป็นอุปจารกัมมัฏฐาน
(กัมมัฏฐานที่ให้บรรลุอุปจารสมาธิ) เท่านั้น เพราะตรัสป่าช้าทั้งหลายไว้
ด้วยอำนาจอาทีนวานุปัสสนาแล.
จบ กายานุปัสสนา
เวทนานุปัสสนา
[๑๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ด้วยวิธี ๑๔ อย่างดังพรรณนามานี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะตรัสเวทนานุปัสสนา
ด้วยวิธี ๙ อย่าง จึงตรัสคำมีอาทิว่า กถญฺจ ภิกฺขเว.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 729
ความรู้ที่ไม่เป็นสติปัฏฐานภาวนา
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุข เวทน มีอธิบายว่า พระโยคาวจร
เมื่อเสวยสุขเวทนาที่เป็นไปทางกาย หรือเป็นไปทางจิต ย่อมรู้ชัดว่า
เรากำลังเสวยสุขเวทนา ดังนี้. ในข้อนั้น แม้เด็กอ่อนยังนอนหงายอยู่
เมื่อเสวยความสุขในเวลาดื่มน้ำมันเป็นต้น ก็รู้ชัดว่า เรากำลังเสวยสุขก็จริง
ถึงกระนั้น คำนี้ พระองค์ก็มิได้ตรัสหมายเอาความรู้อย่างนี้ เพราะว่า
ความรู้แบบนี้ ละสัตตูปลัทธิไม่ได้ ถอนสัตตสัญญาไม่ได้ ไม่เป็น
กัมมัฏฐาน หรือไม่เป็นสติปัฏฐานภาวนา.
ความรู้ที่เป็นสติปัฏฐานภาวนา
ส่วนการรู้ของภิกษุนี้ ละสัตตูปลัทธิได้ ถอนสัตตสัญญาได้
เป็นทั้งกัมมัฏฐาน เป็นทั้งสติปัฏฐานภาวนา. ก็ความรู้นี้ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสหมายเอาการเสวยโดยการรู้สึกตัวอย่างนี้ว่า ใครเสวย การ
เสวยของใคร เพราะเหตุไรจึงเสวย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก เวทยติ (ใครเสวย) ความว่า
ไม่ใช่ใคร คือสัตว์หรือบุคคลเสวย.
บทว่า กสฺส เวทนา (การเสวยของใคร) ความว่า ไม่ใช่การ
เสวยของใคร คือของสัตว์หรือบุคคล.
บทว่า กึ การณา เวทนา (เพราะเหตุไรจึงเสวย) ความว่า
ก็เพราะมีวัตถุเป็นอารมณ์ เขาจึงมีการเสวย.
เพราะเหตุนั้น เขารู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า เวทนานั้นเองเสวย โดยทำ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 730
วัตถุแห่งความสุขเป็นต้นนั้น ๆ ให้เป็นอารมณ์. แต่เพราะหมายเอาความ
เป็นไปแห่งเวทนานั้น. คำว่า อห เวทยามิ ( เราเสวยเวทนา) จึงเป็น
เพียงโวหารเท่านั้น.
พระโยคาวจรนั้น เมื่อกำหนดอยู่ว่า เวทนานั้นเองเสวย โดยทำ
วัตถุให้เป็นอารมณ์อย่างนี้ ผู้ศึกษาพึงเข้าใจว่า เธอรู้ชัดว่า เรากำลัง
เสวยสุขเวทนา. เหมือนพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง ที่จิตตลดาบรรพตฉะนั้น
เรื่องพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง
ได้ยินว่า พระเถระในเวลาที่ท่านไม่สบาย ถอนหายใจพลาง นอน
กลิ้งไปมาอยู่.
ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งถามท่านว่า ท่านขอรับ ที่ตรงไหนของท่านที่
โรคเสียดแทง ?
พระเถระตอบว่า คุณ ชื่อว่าที่ซึ่งโรคเสียดเฉพาะแห่งไม่มี เวทนา
ต่างหากเสวย โดยกระทำวัตถุให้เป็นอารมณ์.
ภิกษุหนุ่มเรียนว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านควรจะยับยั้งไว้ดังแต่เวลา
ที่รู้ มิใช่หรือ ท่านขอรับ ?
พระเถระตอบว่า ผมกำลังยับยั้ง คุณ.
ภิกษุหนุ่มเรียนว่า ท่านขอรับ การยับยั้งไว้เป็นของประเสริฐ.
พระเถระได้ยับยั้งไว้แล้ว.
ลำดับนั้นลมเสียดแทงถึงหัวใจ. ไส้ใหญ่ได้ออกมากองอยู่บนเตียง
พระเถระได้ชี้ให้ภิกษุหนุ่มดูว่า ยับยั้งไว้ขนาดนี้ สมควรหรือยัง คุณ.
ภิกษุหนุ่มนิ่ง. พระเถระประกอบความเพียรสม่ำเสมอ แล้วได้บรรลุพระ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 731
อรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา เป็นพระอรหันต์ (ประเภท) ชีวิต-
สมสีสี ปรินิพพานแล้ว.
ก็เมื่อพระโยคาวจร รู้ชัด (ว่า) สุขอย่างไร ทุกข์อย่างนั้น ฯลฯ
เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่อิงอามิส ก็รู้ชัดว่า เรากำลังเสวยอทุกขม-
สุขเวทนา ไม่อิงอามิส.
รูปกัมมัฏฐาน - อรูปกัมมัฏฐาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสบอกปรูปกัมมัฏฐานด้วยอาการอย่างนี้
แล้ว เมื่อจะตรัสบอกอรูปกัมมัฎฐาน จึงได้ตรัสบอกด้วยอำนาจแห่ง
เวทนา. เพราะว่า กัมมัฏฐานมี ๒ อย่าง คือ รูปกัมมัฏฐาน ๑ อรูป-
กัมมัฏฐาน ๑. รูปกัมมัฏฐาน และอรูปกัมมัฏฐาน นี้นั่นแหละ ตรัส
เรียกว่า รูปปริคคหะ (การกำหนดรูป) อรูปปริคคหะ (การกำหนด
อรูป) ก็มี. บรรดารูปกัมมัฏฐาน และอรูปกัมมัฏฐาน นั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสบอกรูปกัมมัฏฐาน จึงตรัสจตุธาตุววัตถาน
( การกำหนดธาตุ ๔) ไว้ด้วยอำนาจแห่งมนสิการโดยสังเขปบ้าง ด้วย
อำนาจการมนสิการโดยพิสดารบ้าง. กัมมัฏฐานแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้นได้
แสดงไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยอาการทั้งปวงนั่นแหละ.
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสบอกอรูปกัมมัฏฐาน โดย
มากก็จะตรัสบอกด้วยอำนาจแห่งเวทนา. เพราะว่า ความฝังใจในอรูป-
กัมมัฏฐาน มี ๓ อย่าง คือ (ฝัง) ด้วยอำนาจแห่งผัสสะ ๑ ด้วย
อำนาจแห่งเวทนา ๑ ด้วยอำนาจแห่งจิต ๑.
ฝังอย่างไร ?
(ฝังอย่างนี้ คือ) จริงอยู่ ผัสสะ เมื่อถูกต้องอารมณ์นั้น เกิด
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 732
ขึ้นในขณะที่จิตและเจตสิกตกไปเฉพาะครั้งแรกในอารมณ์นั้น จะปรากฏ
แก่พระโยคาวจรลางรูปในรูปกัมมัฏฐานที่ท่านกำหนดแล้วโดยย่อ หรือ
โดยพิสดาร. เวทนาเมื่อเสวยอารมณ์นั้นเกิดขึ้นจะปรากฏแก่พระโยคาวจร
ลางรูป วิญญาณเมื่อกำหนดอารมณ์นั้น รู้อยู่เกิดขึ้นแก่พระโยคาวจร
ลางรูป.
บรรดาผัสสะ เวทนา วิญญาณ เหล่านั้น ผัสสะปรากฏแก่พระ
โยคาวจรใด ไม่เฉพาะผัสสะนั้นอย่างเดียวจะเกิดขึ้น ถึงเวทนาที่เสวย
อารมณ์นั้นนั่นแหละอยู่ ก็จะเกิดขึ้นกับผัสสะนั้น ถึงสัญญาที่จำได้หมายรู้
ถึงเจตนาที่จงใจอยู่ ถึงวิญญาณที่รู้แจ้งอารมณ์นั้นอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับ
ผัสสะนั้น เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนั้นย่อมกำหนดเจตสิกธรรม มีผัสสะ
เป็นที่ ๕ อยู่นั่นเอง.
เวทนาใดปรากฏแก่พระโยคาวจร ไม่เฉพาะเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น
จะเกิดขึ้น ผัสสะที่ถูกต้องอยู่ ก็จะเกิดขึ้นกับเวทนานั้น ถึงสัญญาที่หมาย
อยู่ ถึงเจตนาที่จงใจอยู่ ถึงวิญญาณที่รู้แจ้งอยู่ ก็จะเกิดขึ้นกับเวทนานั้น
เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรนั้น ก็ย่อมกำหนดเจตสิกธรรม มีผัสสะ
เป็นที่ ๕ อยู่นั่นเอง.
ถึงวิญญาณจะปรากฏแก่พระโยคาวจรใด ไม่เฉพาะแต่วิญญาณนั้น
อย่างเดียวจะเกิดขึ้น ถึงผัสสะที่ถูกต้องอารมณ์นั้นนั่นแหละอยู่ ก็จะเกิดขึ้น
กับวิญญาณนั้น ถึงเวทนาที่เสวยอยู่ ถึงสัญญาที่จำได้หมายรู้อยู่ ถึงเจตนา
ที่จงใจอยู่ ซึ่งอารมณ์นั้น ก็จะเกิดขึ้นกับวิญญาณนั้น เพราะฉะนั้น
พระโยคาวจรนั้นย่อมกำหนดเจตสิกธรรม มีผัสสะเป็นที่ ๕ อยู่นั่นเอง
พระโยคาวจรนั้น เมื่อพิจารณาว่า ธรรมมีผัสสะเป็นที่ ๕ เหล่านี้
อาศัยอยู่.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 733
จะทราบชัดว่า อาศัยวัตถุอยู่.
กรชกายชื่อว่า วัตถุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาว่า ก็แล
วิญญาณของเรานี้อาศัยอยู่ในกรชกายนี้ ผูกพันอยู่ในกรชกายนี้.
โดยเนื้อความ พระโยคาวจรนั้นย่อมเห็นทั้ง (มหา) ภูตรูป
ทั้งอุปาทายรูป เมื่อเป็นเช่นนี้ในเวทนาบรรพนี้ พระโยคาวจร จะเห็นเพียง
นามรูปเท่านั้นว่า วัตถุเป็นรูป เจตสิกธรรมมีผัสสะเป็นที่ ๕ เป็นนาม.
และในข้อนี้ รูปได้แก่รูปขันธ์ นามได้แก่อรูปขันธ์ทั้ง ๔ เพราะฉะนั้น
จึงมีเพียงเบญจขันธ์เท่านั้น. เพราะว่า เบญจขันธ์ที่จะพ้นจากนามรูป
หรือนามรูปที่จะพ้นไปจากเบญจขันธ์ไม่มี.
พระโยคาวจรนั้น เมื่อพิเคราะห์ดูว่า เบญจขันธ์เหล่านี้มีอะไรเป็น
เหตุ ก็จะเห็นว่า มีอวิชชาเป็นต้นเป็นเหตุ. แต่นั้นพระโยคาวจรจะยก
(เบญจขันธ์) ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ ด้วยอำนาจนานรูป พร้อมทั้งปัจจัยว่า
นี้เป็น (เพียง) ปัจจัย และสิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ไม่มีอย่างอื่นที่เป็น
สัตว์หรือบุคคล มีเพียงกองสังขารล้วน ๆ เท่านั้น แล้วพิจารณาตรวจตรา
ไปว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามลำดับแห่งวิปัสสนา.
เธอหมายมั่นปฏิเวธว่า (จะได้บรรลุ ) วันนี้ วันนี้ ได้อุตุสัปปายะ
(อากาศสบาย) ปุคคลสัปปายะ ( บุคคลสบาย) โภชนสัปปายะ
(โภชนะสบาย) ธัมมัสสวนะสัปปายะ ( การฟังธรรมสบาย) นั่งขัดสมาธิ
ท่าเดียว ยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุด แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตตมรรค ด้วย
ประการดังกล่าวมานี้ เป็นอันตรัสบอกพระกัมมัฏฐานแก่ชนทั้ง ๓ แม้
เหล่านี้ จนถึงพระอรหัต.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 734
เวทนาคืออรูปกัมมัฏฐาน
แต่ในสติปัฏฐานสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสบอก
อรูปกัมมัฏฐาน จึงได้ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งเวทนา. เพราะว่า เมื่อตรัส
บอกด้วยสามารถแห่งผัสสะ หรือด้วยสามารถแห่งวิญญาณ กัมมัฏฐานจะ
ไม่ปรากฏ จะปรากฏเหมือนความมืด. ส่วนที่ตรัสบอกด้วยสามารถแห่ง
เวทนา กัมมัฏฐานจะปรากฏ.
เพราะเหตุไร ?
เพราะกัมมัฏฐานจะปรากฏ ก็เพราะเวทนาเกิดขึ้น.
จริงอยู่ ความเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนา และทุกขเวทนา จะปรากฏต่อ
เมื่อความสุขเกิดขึ้น ได้แก่ความสุขที่เกิดขึ้นทำให้สิ้นไปทั้งร่าง ไหลเอิบอาบ
ไปจนท่วมท้น (หัวใจ) เหมือนการได้ดื่มเนยใสที่กวนตั้งร้อยครั้ง เหมือน
ให้ทาน้ำมันที่หุงแล้วร้อยครั้ง และเหมือนให้ดับความเร่าร้อนด้วยน้ำพัน
หม้อ ทำให้เปล่งวาจาออกไปว่า สุขหนอ สุขหนอ ดังนี้ทีเดียว (และ)
ต่อเมื่อทุกข์เกิดขึ้น ได้แก่ความทุกข์ที่เกิดขึ้น ทำให้สั่นไปทั้งร่าง ไหล
เอิบอาบไปจนท่วมท้น (หัวใจ) เหมือนให้เข้าไปสู่เปลวไฟที่ร้อนระอุ
เหมือนถูกลาดด้วยน้ำทองแดงที่ละลายคว้าง และเหมือนโยนดุ้นไฟเข้าไป
ในป่าที่มีหญ้าแห้งและต้นไม้ยืนต้นตาย ถึงกับให้ร้องครวญครางว่า ทุกข์
จริง ทุกข์จริง. การเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนา และทุกขเวทนา จะปรากฏขึ้น
ได้ด้วยอาการอย่างนี้.
ส่วนอทุกขมสุขเวทนา แสดง (ให้เห็น ) ได้ยาก มืดมน ไม่แจ่ม
ชัด. อทุกขมสุขเวทนานั้น จะปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้ยึดถือ โดยนัยว่า
อทุกขมสุขเวทนา มีอาการเป็นกลาง โดยการทิ้งความสำราญและไม่สำราญ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 735
ในเมื่อสุขและทุกข์หมดไป.
เปรียบเหมือนอะไร ?
เปรียบเหมือนนายพรานเนื้อ ตามรอยเนื้อตัวที่กระโดดขึ้นพลาญหิน
ในระหว่างทาง แล้วหนีไปได้ (เขา) เห็นรอยเท้า ทั้งฟากนี้ ทั้งฟากโน้น
ของพลางหิน แม้จะไม่เห็น (รอยเท้า) ตรงกลาง (บนพลาญหิน)
ก็ทราบได้โดยนัยว่า เนื้อตัวที่ขึ้นทางฟากนี้ แล้วไปลงทางฟากโน้น
คงจะผ่านไปด้านนี้บนพลาญหินตรงกลาง ฉันใด ความเกิดขึ้น แห่ง
สุขเวทนา ก็ฉันนั้น จะปรากฏเหมือนรอยเท้า (ของเนื้อปรากฏ) ในที่
ที่มันจะขึ้นไป ความเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนา จะปรากฏเหมือนรอยเท้า
(ของเนื้อปรากฏ ) ในที่ ๆ มันลงแล้วฉะนั้น. อทุกขมสุขเวทนา
จะปรากฏแก่พระโยคาวจรผู้ยึดถือโดยนัยว่า อทุกขมสุขเวทนา มีอาการ
เป็นกลาง โดยทิ้งความสำราญ และความไม่สำราญ ในเมื่อสุขและทุกข์
หายไป เหมือนการยึดถือโดยนัยว่า ผ่านไปตรงกลางนี้แหละ โดยขึ้น
ทางฟากข้างนี้ แล้วลงทางฟากข้างโน้นฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง
แสดงสติปัฏฐาน โดยตรัสรูปกัมมัฏฐานก่อนแล้ว ยังอรูปกัมมัฏฐานให้
บังเกิด ด้วยอำนาจแห่งเวทนาในภายหลัง.
เวทนาคืออรูปกัมมัฏฐานมีในพระสูตรหลายแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้อย่างนี้ เฉพาะในสติปัฏฐานสูตร
นี้แห่งเดียว ก็หามิได้ (แต่) ได้ทรงแสดงโดยตรัสรูปกัมมัฏฐานก่อน
แล้วยังอรูปกัมมัฏฐานให้บังเกิด ด้วยอำนาจเวทนาในภายหลัง ในพระสูตร
หลายพระสูตรหลายแห่งอย่างนี้ คือ ในจุลลตัณหาสังขยสูตร ใน
มหาตัณหาสังขยสูตร ในจุลลเวทัลลสูตร ในมหาเวทัลลสูตร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 736
ในรัฏฐปาลสูตร ในมาคัณฑิยสูตร ในธาตุวิภังคสูตร ในอาเนญช-
สัปปายสูตร ในมหานิพพานสูตร ในสักกปัญูหสูตร ในมหาสติ-
ปัฏฐานสูตร ในทีฆนิกาย ในจุลลนิทานสูตร ในรุกโขปมสูตร ใน
ปริวิมังสนสูตร และในเวทนาสังยุต ทั้งหมดในสังยุตตนิกาย และแม้
ในสติปัฏฐานสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงโดยตรัสบอก
รูปกัมมัฏฐานก่อนแล้ว จึงทรงยังรูปกัมมัฏฐานให้บังเกิด ด้วยอำนาจ
แห่งเวทนาในภายหลัง เหมือนในพระสูตรเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น มีปริยายแห่งการรู้ชัด (เวทนา) แม้อีกอย่าง
หนึ่ง ดังต่อไปนี้ :-
สุขเวทนาแปรปรวน
ข้อว่า สุข เวทน เวทิยามีติ ปชานาติ ความว่า เพราะไม่มี
ทุกขเวทนาในขณะแห่งสุขเวทนา พระโยคาวจรเมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัด
ว่า เรากำลังเสวยสุขเวทนา. เวทนาชื่อว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะทุกขเวทนาที่เคยเสวยมาก่อน ใน
บัดนี้ ไม่มีแล้ว และเพราะสุขเวทนานี้ก่อนแต่นี้ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น
พระโยคาวจรจึงเป็นอันรู้ชัด ในสุขเวทนาและทุกขเวทนานั้น ดังพรรณนา
มาฉะนี้ ด้วยคำว่า สุข เวทน เวทิยามีติ ปชานาติ นั้น.
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ดังนี้ว่า :-
ดูก่อนอัคคิเวสนะ ในสมัยใด บุคคลเสวยสุขเวทนาอยู่
ในสมัยนั้นจะไม่เสวยทุกขเวทนา จะไม่เสวยอทุกขมสุขเวทนา
ในสมัยนั้นเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียว ดูก่อนอัคคิเวสนะ
ในสมัยใดบุคคลเสวยทุกขเวทนา ฯลฯ เสวยอทุกขมสุขเวทนา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 737
อยู่ ในสมัยนั้นจะไม่เสวยสุขเวทนาเลย ในสมัยนั้นเสวยแต่
อทุกขมสุขเวทนาอย่างเดียว ดูก่อนอัคคิเวสนะ แม้สุข-
เวทนาเอง ก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มี
ความคลายความกำหนัดเป็นธรรมดา มีความดับเป็นธรรมดา
แม้ทุกขเวทนาเอง ฯลฯ ดูก่อนอัคคิเวสนะ ถึงอทุกขมสุข-
เวทนาเองก็ไม่เที่ยง ฯลฯ มีความดับเป็นธรรมดา ดูก่อน
อัคคิเวสนะ พระอริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
เบื่อหน่ายทั้งในสุขเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในทุกขเวทนา
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในอทุกขมสุขเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อม
คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น
แล้ว ก็รู้ว่า เราหลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัด ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจที่ควร
ทำอย่างอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่มี.
ในคำว่า สามิส วา สุข เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
โสมนัสสเวทนาที่อาศัย (เกิดมาจาก) เรือน (ตัณหาอุปาทาน)
๖ อย่าง เจือด้วยอามิสคือ เบญจกามคุณ ชื่อว่า สามิสสุขเวทนา.
โสมนัสสเวทนาที่อาศัย (เกิดมาจาก) เนกขัมมะ ๖ อย่าง ชื่อว่า
นิรามิสสุขเวทนา.
โทมนัสสเวทนาที่อาศัย (เกิดมาจาก) เรือน (ตัณหาอุปาทาน)
๖ อย่าง ชื่อว่า สามิสทุกขเวทนา โทมนัสสเวทนา ที่อาศัย (เกิดมา
จาก) เนกขัมมะ ๖ อย่าง ชื่อว่า นิรามิสทุกขเวทนา.
อุเบกขาเวทนาที่อาศัย (เกิดนาจาก) เรือน (ตัณหาอุปาทาน)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 738
๖ อย่าง ชื่อว่า สามิสอทุกขมสุขเวทนา.
อุเบกขาเวทนาที่อาศัย (เกิดมาจาก) เนกขัมมะ ๖ อย่าง ชื่อว่า
นิรามิสอทุกขมสุขเวทนา การจำแนกเวทนาเหล่านั้น มาชัดแล้วใน
พระบาลี ในอุปุริปัณณาสก์.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺต วา ความว่า พระโยคาวจรมีปกติพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายของคนหรือในเวทนาทั้งหลายของผู้อื่น คือ
ในเวทนาทั้งหลายของตนตามกาล หรือในเวทนาทั้งหลายของผู้อื่นตาม
กาลอยู่.
ก็ในบทว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา นี้ พึงทราบความว่า พระ-
โยคาวจรเมื่อเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของเวทนาทั้งหลาย ด้วย
อาการ ๕ มีอาทิคือ เพราะอวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด ชื่อว่า มีปกติ
พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายอยู่ หรือมีปกติ
พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลายอยู่ คือมีปกติพิจารณา
เห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งหลายตามกาลหรือมีปกติพิจารณา
เห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลายตามกาลอยู่. คำนอกเหนือจากนี้
มีนัยดังกล่าวแล้วในกายานุปัสสนานั่นเอง.
อริยสัจในเวทนา
ก็สติเป็นเครื่องกำหนดเวทนาในเวทนานุปัสสนา นี้เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว บัณฑิตพึงทราบทางแห่งธรรมเครื่องนำออกของภิกษุผู้กำหนด
เวทนาเพราะอธิบายประกอบความดังว่ามานี้แล. คำที่เหลือ เป็นเช่น
(คำที่กล่าวมาแล้ว) นั้นแล.
จบ เวทนานุปัสสนา
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 739
แก้จิตตานุปัสสนา
[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสติปัฏฐาน คือ เวทนานุ-
ปัสสนา โดยอาการ ๙ อย่าง ๆ นี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะตรัสจิตตานุปัสสนาโดย
อาการ ๑๖ อย่าง จึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สราค ได้แก่จิตที่สหรคตด้วยโลภะ
๘ อย่าง.
บทว่า วีตราค ได้แก่กุศลจิตฝ่ายโลกิยะและอัพยากตจิตะ ก็จิต
ที่ปราศจากราคะนี้ ในจิตตานุปัสสนานี้ ไม่ได้หมายถึงโลกุตตรจิตแม้
ในบทหนึ่ง เพราะการพิจารณาไม่ใช่เป็นการประชุมธรรม (ส่วน)
อกุศลจิต ๔ ดวงที่เหลือไม่จัดเข้าในบทแรก ทั้งไม่จัดเข้าในบทหลัง.
บทว่า สโทส ได้แก่จิตที่สหรคตด้วยโทมนัส ๒ ดวง.
บทว่า วีตโทส ได้แก่กุศลจิตฝ่ายโลกิยะ และอัพยากตจิต.
อกุศลจิต ๑๐ ดวงที่เหลือไม่จัดเข้าในบทแรก ทั้งไม่จัดเข้าในบทหลัง.
บทว่า สโมห ได้แก่อกุศลจิต ๒ ดวง คือ อกุศลจิตที่สหรคต
ด้วยวิจิกิจฉา ๑ ดวง อกุศลจิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ๑ ดวง.
ก็เพราะโมหะย่อมเกิดขึ้นในอกุศลจิตทุกดวง ฉะนั้นอกุศลจิตทั้งหมด
แม้นั้น จึงเหมาะ (ที่จะจัดเข้า) ในจิตตานุปัสสนานี้ โดยแท้ทีเดียว.
จริงอยู่ ในจิตที่เป็นคู่กันนี้แหละ ท่านจัดอกุศลจิต ๑๒ ดวง เข้าไว้แล้วแล.
บทว่า วีตโมห ได้แก่กุศลจิตฝ่ายโลกิยะ และอัพยากตจิต.
บทว่า สงฺขิตฺต ได้แก่จิตที่ตกไปตามถีนมิทธะ, ก็จิตที่ตกไปตาม
ถีนมิทธะนั้น ชื่อว่า จิตหดหู่.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 740
บทว่า วิกฺขิตฺต ได้แก่จิตที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ก็จิตที่สหรคต
ด้วยอุทธัจจะนั้น ชื่อว่า จิตฟุ้งซ่าน.
บทว่า มหคฺคต ได้แก่รูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิต.
บทว่า อมหคฺคต ได้แก่กามาวจรจิต.
บทว่า สอุตฺตร ได้แก่กามาวจรจิต.
บทว่า อนุตฺตร ได้แก่รูปาวจรจิต และอรูปาวจรจิต.
อนึ่ง ในบททั้ง ๒ ว่า สอุติตร อนุตฺตร นั้น สอุตตรจิต ได้แก่
รูปาวจรจิต อนุตตรจิต ได้แก่อรูปาวจรจิตนั่นเอง.
บทว่า สมาหิต ได้แก่จิตที่มีอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ.
บทว่า อสมาหิต ได้แก่จิตที่ไม่มีสมาธิทั้ง ๒.
บทว่า วิมุตฺต ได้แก่จิตที่หลุดพ้นแล้ว ด้วยตทังควิมุติ และ
วิกขัมภนวิมุติ.
บทว่า อวิมุตฺต ได้แก่จิตที่ไม่มีวิมุติทั้ง ๒.
ส่วน สมุจเฉทวิมุติ ปฏิปัสสัทธิวิมุติ และนิสสรณวิมุติ ไม่มี
โอกาส (ไม่ได้พูดถึง) ในจิตตานุปัสสนานี้เลย.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺต วา ความว่า พระโยคาวจร เมื่อกำหนด
จิตที่เป็นไปอยู่ทุกขณะ ด้วยการกำหนดจิต มีสราคจิตเป็นต้นอยู่อย่างนี้
ชื่อว่า มีปกติ ตามเห็นจิตในจิตของตน หรือในจิตของผู้อื่นอยู่ (บ้าง)
ชื่อว่า มีปกติตามเห็นจิตในจิตของตน ตามกาล หรือในจิตของบุคคล
อื่นตามกาลอยู่ (บ้าง).
ส่วนในบทว่า สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี (มีปกติตามเห็นธรรมคือ
ความเกิดขึ้นและควานเสื่อมไป ) นี้ควรขยายความเกิดและความดับของ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 741
วิญญาณออกเป็นอย่างละ ๕ อาการ อย่างนี้ คือ เพราะอวิชชาเถิด
วิญญาณจึงเกิดเป็นต้น. คำนี้อกจากนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
อริยสัจในจิตตานุปัสสนา
ก็สติเป็นเครื่องกำหนดจิตในจิตตานุปัสสนานี้ เป็นทุกขสัจอย่างเดียว
บัณฑิตพึงทราบมุขแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออกของภิกษุผู้กำหนดจิต ตาม
ที่ได้อธิบายนาอย่างนี้แล. คำที่เหลือ (มีความหมาย) เช่น (กับที่กล่าว
มา) นั้นแล.
จบ จิตตานุปัสสนา
แก้ธรรมานุปัสสนา
[๑๔๑] ครั้นตรัสจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยอาการ ๑๖ อย่าง
ดังพรรณนามานี้ บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงธรรมานุปัสสนาโดยอาการ ๕
อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดรูปล้วน ๆ
ด้วยกายานุปัสสนา ตรัสการกำหนดนานล้วน ๆ ด้วยเวทนานุปัสสนา และ
จิตตานุปัสสนา บัดนี้ เพื่อจะต้องการกำหนดรวมกันทั้งรูปและนาม จึง
ตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะการกำหนดรูปขันธ์
ด้วยกายานุปัสสนา ตรัสเฉพาะการกำหนดเวทนาขันธ์ด้วยเวทนานุปัสสนา
ตรัสเฉพาะการกำหนดวิญญาณขันธ์ด้วยจิตตานุปัสสนา. บัดนี้ เพื่อจะตรัส
การกำหนดวิญญาณขันธ์ และสังขารขันธ์บ้าง จึงตรัสคำว่า กถญฺจ ภิกฺขเว
ดังนี้เป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 742
นีวรณบรรพ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺต ได้แก่มีอยู่โดยการเกิดขึ้นเนือง ๆ
บทว่า อสนฺต ได้แก่ไม่มีอยู่ โดยการไม่เกิดขึ้น หรือไม่มีอยู่
เพราะละได้แล้ว.
บทว่า ยถา จ ความว่า กามฉันทะย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุใด.
บทว่า ตญฺจ ปชานาติ ได้แก่ย่อมรู้เหตุนั้นด้วย. พึงทราบอธิบาย
ในทุก ๆ บทโดยนัยนี้.
ในบทว่า ยถา จ เป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัยว่า :-
อธิบายสุภนิมิต
กามฉันทะย่อมเกิดขึ้น เพราะการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายใน
สุภนิมิต. ที่ชื่อว่า สุภนิมิต ได้แก่สุภนิมิตที่งามบ้าง สุภนิมิตที่มี
อารมณ์งามบ้าง ที่ชื่อว่าการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ได้แก่การทำไว้ใน
ใจโดยไม่ถูกอุบาย การทำไว้ในใจโดยไม่ถูกทาง คือ การทำไว้ในใจ
ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า เที่ยงบ้าง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า สุขบ้าง ในสิ่งที่เป็น
อนัตตาว่า เป็นอัตตาบ้าง ในสิ่งที่ไม่งามว่า งามบ้าง เมื่อพระโยคาวจร
ยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายนั้น ให้เป็นไปในสุภนิมิตนั้นมากครั้งเข้า
กามฉันทะย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ สุภนิมิต การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย และการ
ทำมากครั้งเข้าในสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) ให้กามฉันทะที่
ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง ให้กามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วไพบูลย์ยิ่งขึ้นบ้าง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 743
อธิบายอสุภนิมิต
ส่วนในอสุภนิมิต การละย่อมมีได้ด้วยการทำไว้ในใจโดยแยบคาย
ที่ชื่อว่า อสุภนิมิต ได้แก่อสุภนิมิตที่ไม่งามบ้าง อสุภนิมิตที่มีอารมณ์
ไม่งามบ้าง ที่ชื่อว่าการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ได้แก่การทำไว้ในใจโดย
ถูกอุบาย การทำไว้ในใจโดยถูกทาง คือการทำไว้ในใจในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า
ไม่เที่ยงบ้าง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า เป็นทุกข์บ้าง ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่า เป็น
อนัตตาบ้าง ในสิ่งที่ไม่งามว่า ไม่งามบ้าง เมื่อพระโยคาวจรยังการทำ
ไว้ในใจโดยแยบคายนั้น ให้เป็นไปในอสุภนิมิตนั้นมากครั้งเข้า ก็ย่อม
ละกามฉันทะได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ อสุภนิมิต การทำไว้ในใจโดยแยบคาย และการทำ
มากครั้ง ในอสุภนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) ให้กามฉันทะที่ยัง
ไม่เกิดขึ้น เกิดขึ้นไม่ได้บ้าง ให้ละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.
ละกามฉันทะด้วยธรรม ๖ ประการ
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันทะ
คือการเรียนอสุภนิมิต ๑ การบำเพ็ญอสุภภาวนา ๑ ความเป็นผู้
คุ้นครองทวารไว้ได้ในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
โภชนะ ๑ ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ๑ สนทนาเรื่องที่เป็นสัปปายะ ๑.
ก็เมื่อพระโยคาวจรแม้เรียนอสุภนิมิต ๑ อย่างอยู่ (ในระหว่างนี้)
กามฉันทะอันเธอย่อมละได้ เมื่อเธอเจริญอสุภนิมิตอยู่ก็ดี ปิดกั้นทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลายอยู่ก็ดี รู้จักประมาณในโภชนะโดยที่มีช่องจะฉันได้อีก
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 744
๔ - ๕ คำ (แต่เธอก็อดเสีย) แล้วดื่มน้ำแทน เป็นประจำก็ดี กามฉันทะ
อันเธอย่อมละได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า
(เหลืออีก) ๔ - ๕ คำจะอิ่ม พระโยคาวจรอย่าฉัน
ควรดื่มน้ำแทน (เพราะว่า) เพียงเท่านี้ ก็เพียงพอ
จะอยู่อย่างสำราญ สำหรับภิกษุผู้มีตนอันส่งไปแล้ว.
แม้เมื่อพระโยคาวจรคบหากัลยาณมิตร ผู้ยินดีในอสุภภาวนา เช่น
พระติสสเถระผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐาน กามฉันทะอันเธอย่อมละได้ เธอย่อม
ละกามฉันทะได้ แม้ด้วยการสนทนาถึงที่เป็นสัปปายะอันอาศัยอสุภะ ๑๐
ในอิริยาบถทั้งหลาย มีอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันทะ. ก็พระโยคาวจร
ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะที่ละได้แล้ว ด้วยธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมจะเกิด
ขึ้นไม่ได้อีกต่อไปด้วยอรหัตตมรรค.
อธิบายปฏิฆนิมิต
อนึ่ง เพราะการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายในปฏิฆนิมิต พยาบาท
ย่อมเกิดขึ้นได้. ในปฏิฆะนิมิตนั้น ได้แก่ปฏิฆนิมิตที่เป็นปฏิฆะบ้าง
ปฏิฆนิมิตที่มีปฏิฆะเป็นอารมณ์บ้าง. การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย
มีลักษณะอย่างเดียวกันในทุกแห่งแล. เมื่อพระโยคาวจรยังการทำไว้ใน
ใจโดยไม่แยบคายนั้นให้เป็นไปในนิมิตนั้นมากครั้งเข้า พยาบาทย่อมเกิด
ขึ้นได้. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มีอยู่ ปฏิฆนิมิตการทำไว้ในใจโดยแยบคาย และกระทำมากครั้ง ใน
ปฏิฆนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย ) ให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 745
ได้บ้าง ให้พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วไพบูลย์ยิงขึ้นบ้าง. ก็การละพยาบาทนั้น
ย่อมมีได้ด้วยการทำเมตตาเจโตวิมุติไว้ในใจโดยแยบคาย ในเมตตาเจโต-
วิมุตินั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เมตตาย่อมควรทั้งอัปปนาสมาธิ
ทั้งอุปจารสมาธิ เมื่อตรัสว่า เจโตวิมุติย่อมควรเฉพาะอัปปนาอย่างเดียว
การทำ (เมตตาเจโตวิมุติ) ไว้ในใจโดยแยบคาย มีลักษณะดังกล่าวมา
แล้วแล เมื่อพระโยคาวจรยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายนั้น ให้เป็นไป
ในเมตตาเจโตวิมุตตินั้น มากครั้งเข้า เธอก็ย่อมละพยาบาทได้.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
เมตตาเจโตวิมุติ การทำไว้ในใจโดยแยบคายและการทำให้มากในเมตตา
เจโตวิมุตินั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) ไม่ให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น
บ้าง ให้ละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.
ละพยาบาทด้วยธรรม ๖ ประการ
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาท คือ
การเรียนเมตตานิมิต ๑ การบำเพ็ญเมตตาภาวนา ๑ การพิจารณาว่า
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ๑ ความเป็นผู้มากด้วยการพิจารณา ๑
ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ๑ การสนทนาถึงเรื่องที่เป็นสัปปายะ ๑.
อธิบายว่า เมื่อพระโยคาวจรแม้เรียนเมตตาอยู่ ด้วยอำนาจการแผ่
ไปโดยเจาะจงทิศ และไม่เจาะจงทิศ อย่างใดอย่างหนึ่ง พยาบาทอันเธอ
ย่อมละได้.
แม้เมื่อพระโยคาวจรเจริญเมตตา โดยแผ่ไปสู่ทิศโดยเจาะจง พยาบาท
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 746
อันเธอย่อมละได้.
เมื่อพระโยคาวจร พิจารณาเห็นว่าคนและคนอื่นมีกรรมเป็นของตน
อย่างนี้ว่า เจ้าโกรธเขาแล้ว จักทำอะไรได้ เจ้าจักสามารถทำคุณธรรม
มีศีลเป็นต้น ของเขาให้พินาศได้หรือ เจ้ามาตามกรรมของตนแล้ว ก็จักไป
ตามกรรมของตนนั่นเอง มิใช่หรือ ? ชื่อว่า การโกรธคนอื่นเป็นเหมือน
กับการที่บุคคลประสงค์จะคว้าเอาเถ้าที่ปราศจากเปลว หลาวเหลีกที่ร้อน
และคูถเป็นต้น ขว้างปาบุคคลอื่น ถึงเขาโกรธเจ้าแล้วก็จักทำอะไรให้ได้
เขาจักสามารถให้คุณธรรมมีศีลเป็นต้น ของเจ้าพินาศได้หรือ ? เขามา
ตามกรรมของตน ก็จักไปตามกรรมของตนเหมือนกัน ความโกรธนั้น
ก็จักตกรดหัวเขานั่นแหละ เหมือนของที่ส่งไป ไม่มีใครรับ (ก็จะกลับ
มาหาผู้ส่ง) และเหมือนกำฝุ่นที่ซัดไป ทวนลม (ก็จะปลิวกลับมาถูกผู้
ขว้าง) ฉะนั้นบ้าง พิจารณาเห็นว่า ทั้งคนทั้งคนอื่น มีกรรมเป็นของตน
และดำรงอยู่ในการพิจารณาบ้าง คบหากัลยาณมิตรผู้ยินดีในเมตตาภาวนา
เช่นพระอัสสคุตตเถระบ้าง, พยาบาทอันเธอย่อมละได้.
เธอย่อมละพยาบาทได้ แม้ด้วยการสนทนาถึงสิ่งที่เป็นสัปปายะ
เกี่ยวเนื่องด้วยเมตตา ในอิริยาบถทั้งหลาย มีอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น
ก็พระโยคาวจรย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทที่ละได้แล้ว ด้วยธรรม ๖
ประการนี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้ต่อไป ด้วยอนาคามิมรรค.
อธิบายอรติ เป็นต้น
เพราะทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ในธรรมทั้งหลายคือสติ เป็นต้น
ถีนมิทธะย่อมเกิดขึ้นได้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 747
ที่ชื่อว่า อรติ ได้แก่ความเป็นผู้ระอา.
ที่ชื่อว่า ตนฺติ ได้แก่ความเป็นผู้อืดอาดทางกาย.
ที่ชื่อว่า วิชมฺภิกา ได้แก่การเอี้ยวบิดกาย.
ที่ชื่อว่า เมาอาหาร ได้แก่ความเซื่องซึมที่เกิดจากอาหาร และ
ความกระวนกระวายที่เกิดจากอาหาร.
ที่ชื่อว่า ความหดหู่แห่งจิต ได้แก่การที่จิตหงอยเหงา.
ก็เมื่อพระโยคาวจรยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ให้เป็นไปใน
ธรรมทั้งหลายมีอรติเป็นต้นนี้มากครั้งเข้า ถีนมิทธะย่อมเกิดขึ้นได้.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีอยู่นะ ภิกษุทั้งหลาย
ความเอือมระอา ความอืดอาด ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร และ
ความที่จิตหดหู่ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย และการทำให้มากใน
ธรรมทั้งหลายมีความเอือมระอาเป็นต้นนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) ให้
ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นได้บ้าง ให้ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ไพบูลย์
ยิ่งขึ้นบ้าง.
อธิบายอารัพภธาตุ เป็นต้น
ก็การละถีนมิทธะนั้น ย่อมมีได้โดยโยนิโสมนสิการในเพราะธาตุ
ทั้งหลาย มี อารัพภธาตุ เป็นต้น.
ที่ชื่อว่า อารัพภธาตุ ได้แก่ความเพียรที่เริ่มครั้งแรก.
ที่ชื่อว่า นิกกมธาตุ ได้แก่ความเพียรที่มีพลังมากกว่าความเพียร
ที่เริ่มครั้งแรกนั้น เพราะออกไปแล้วจากความเกียจคร้าน.
ที่ชื่อว่า ปรักกมธาตุ ได้แก่ความเพียรที่มีพลังมากกว่านิกกมธาตุ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 748
แม้นั้น เพราะก้าวไปสู่ฐานะยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
เมื่อพระโยคาวจรยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้เป็นไปในความ
เพียร ๓ ประเภทนี้มากครั้งเข้า เธอย่อมละถีนมิทธะได้.
ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า มีอยู่นะ ภิกษุทั้งหลาย
อารัพภธาตุ นิกกมธาตุ ( และ) ปรักกมธาตุ การทำไว้ในใจโดย
แยบคาย และการทำให้มากในอารัพภธาตุเป็นต้นนั้น นี้เป็นอาหาร
(ปัจจัย ) ไม่ให้ถีนมิทธะที่ยังไม้เกิดเกิดขึ้นบ้าง ให้ละถีนมิทธะที่เกิดขึ้น
แล้วบ้าง.
ละถีนมิทธะด้วยธรรม ๖ ประการ
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ
การเอานิมิตในการบริโภคมากเกินไป ๑ การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ ๑
มนสิการถึงอาโลกสัญญา ๑ การอยู่ในที่กลางแจ้ง ๑ ความเป็นผู้มี
กัลยาณมิตร ๑ การสนทนาถึงเรื่องที่เป็นสัปปายะ ๑.
ก็เมื่อพระโยคาวจรฉัน (มากเกินไป) อย่างอาหารหัตถก
พราหมณ์ ภุตตอมิตกพราหมณ์ ตัตรวฏกพราหมณ์ อลังสาฏก-
พราหมณ์ และกากมาสกพราหมณ์ แล้วนั่งบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ในที่พัก
กลางคืน และในที่พักกลางวัน ถีนมิทธะย่อมมาครอบงำได้ เหมือนช้าง
ใหญ่มาเหยียบฉะนั้น.
แต่สำหรับภิกษุผู้งดโอกาสที่จะฉันได้อีก ๔ - ๕ คำเสีย แล้วดื่มน้ำ
แทนอยู่เป็นประจำ ถีนมิทธะนั้นย่อมไม่มี เมื่อพระโยคาวจร แม้ถือเอา
นิมิตในการฉันมากเกินไปอย่างว่ามานี้แล เธอย่อมละถีนมิทธะได้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 749
ในอิริยาบถใด พระโยคาวจรตกอยู่ใต้อำนาจถีนมิทธะ เมื่อเธอ
เปลี่ยนเป็นอิริยาบถอื่นจากอิริยาบถนั้นก็ดี มนสิการถึงแสงจันทร์ แสง
ประทีป และแสงคบเพลิงในตอนกลางคืน (และ) แสงพระอาทิตย์ใน
ตอนกลางวันก็ดี อยู่ในที่กลางแจ้งก็ดี คบหากัลยาณมิตรผู้ละถีนมิทธะ
ได้แล้ว เช่นกับพระมหากัสสปเถระก็ดี ถีนมิทธะอันเธอย่อมละได้.
เธอย่อมละถีนมิทธะได้ แม้ด้วยการสนทนา ถึงเรื่องที่เป็นสัปปายะ
เกี่ยวกับธุดงค์ในอิริยาบถทั้งหลายมีอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรม ๖ ประการ
ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ. ก็พระโยคาวจรย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะที่ละ
ได้แล้วด้วยธรรม ๖ ประการนี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไปด้วยอรหัตต-
มรรค.
อธิบายอุทธัจจกุกกุจจะ
เมื่อใจไม่สงบ อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิดขึ้นได้ โดยการไม่ได้
กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย (ไม่มีโยนิโสมนสิการ). อาการที่จิตไม่สงบ
ชื่อว่า อวูปสมะ. โดยอรรถ คำว่า อวูปสมะนั้น คืออุทธัจจกุกกุจจะ
นั่นเอง. เมื่อพระโยคาวจร ยังอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปในอวูปสมะนั้น
มากครั้งเข้า อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิดขึ้น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
ความไม่สงบใจ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย และการทำให้มากครั้ง
เข้า ในความไม่สงบใจนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) เพื่อให้อุทธัจจ-
กุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นไปแห่งอุทธัจจ-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 750
กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.
ก็การละอุทธัจจกุกกุจจะนั้น มีได้ด้วยโยนิโสมนสิการในเพราะจิต
สงบ กล่าวคือสมาธิ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ความสงบใจ การมนสิการโดยแยบคาย และการ
กระทำมากครั้ง ในความสงบใจนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) เพื่อไม่
ให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิด
ขึ้นแล้วบ้าง.
ละอุทธัจจกุกกุจจะด้วยธรรม ๖ ประการ
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง ๖ อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธจัจกุก-
กุจจะ คือ ความเป็นพหูสูต ๑ ความเป็นผู้สอบถาม ๑ ความเป็นผู้รู้
ปกติในพระวินัย ๑ การคบหาคนเจริญแล้ว ๑ ความเป็นผู้มีกัลยาณ-
มิตร ๑ การกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ ๑.
อธิบายว่า เธอแม้เรียนนิกาย ๑ บ้าง ๒ นิกายบ้าง ๓ นิกายบ้าง
๔ นิกายบ้าง ๕ นิกายบ้าง ทั้งโดยพระบาลีทั้งโดยอรรถกถา ย่อมละ
อุทธัจจกุกกุจจะได้. เธอผู้มากไปด้วยการสอบถามซึ่งที่เป็นกัปปิยะและ
อกัปปยยะก็ดี ผู้รู้ความเป็นปกติในวินัยบัญญัติ เพราะความเป็นผู้เป็นไป
ในอำนาจวินัยที่ตนช่ำชองแล้วก็ดี เข้าไปหาท่านผู้เจริญ คือพระเถระผู้
ใหญ่ก็ดี คบหาสมาคมกับกัลยาณมิตรผู้ทรงวินัย เช่น พระอุบาลีเถระ
ก็ดี ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้.
ในอิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนและการนั่งเป็นต้น เธอย่อมละได้
ด้วยการกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 751
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรม ๖ อย่างย่อม
เป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ. เธอย่อมรู้ว่า๑ บรรดาอุทธัจจกุกกุจจะ
ที่ละได้แล้ว ด้วยธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ อุทธัจจะจะไม่เกิดขึ้นต่อไป
เพราะอรหัตตมรรค กุกกุจจะไม่มีการเกิดขึ้นต่อไป ด้วยอนาคามิมรรค.
อธิบายวิจิกิจฉา
วิจิกิจฉาย่อมเกิดขึ้นได้ โดยไม่มนสิการในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่
ตั้งแห่งวิจิกิจฉา. ที่ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา ก็ได้แก่วิจิกิจฉานั่น
เอง เพราะเป็นเหตุแห่งความสงสัย. เมื่อเรายังอโยนิโสมนสิการในวิจิกิจฉา
นั้นให้เป็นไปมากครั้งเข้า วิจิกิจฉาย่อมเกิดขึ้น.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย และการทำ
ให้มากในธรรมนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) เพื่อให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด
เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.
ก็การละวิจิกิจฉาแม้นั้น ย่อมมีได้ด้วยโยนิโสมนสิการในธรรม
ทั้งหลายมีกุศลเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ
ธรรมที่ควรส้องเสพและไม่ควรส้องเสพ ธรรมที่เลวและประณีต ธรรม
ที่มีส่วนคล้ายกับธรรมคำและธรรมขาว การทำไว้ในใจโดยแยบคาย และ
การทำให้มากในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย ) เพื่อไม่ให้
๑. ปาฐะว่า อิเมหิ ปน ฉหิ ธมฺเมหิ ปหีนสฺส อุทฺธจฺจสฺส อรหติตมคุเคน ฯลฯ ปชานาติ.
ฉบับพม่าเป็น อิเมหิ ปน ฉหิ ธมฺเมหิ ปหีเน อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺเจ อุทธฺจฺจ ฯลฯ ปชานาติ
แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 752
วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.๑
ละวิจิกิจฉาด้วยธรรม ๖ อย่าง
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง ๖ อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉาคือ
ความเป็นพหูสูต ๑ ความเป็นผู้สอบถาม ๑ ความเป็นผู้รู้ปกติใน
พระวินัย ๑ ความเป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้มีกัลยาณ-
มิตร ๑ การกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ ๑.
อธิบายว่า เธอแม้เรียน นิกาย ๑ บ้าง ฯลฯ ๕ นิกายบ้าง
ทั้งโดยพระบาลี ทั้งโดยอรรถกถา ย่อมละวิจิกิจฉาได้แม้ด้วยพาหุสัจจะ.
ผู้มากด้วยการสอบถามโดยการปรารภพระรัตนตรัยก็ดี ผู้มีความชำนาญ
ช่ำชองในพระวินัยก็ดี ผู้มากไปด้วยอธิโมกข์ กล่าวคือมีศรัทธามั่นคงใน
พระรัตนตรัยก็ดี ผู้คบหากัลยาณมิตร ผู้เป็นสัทธาวิมุติเช่นพระวักกลิเถระ
ก็ดี ย่อมละวิจิกิจฉาได้ด้วยพาหุสัจจะ.
ในอิริยาบถทั้งหลายมีการยืนการนั่งเป็นต้น เธอย่อมละวิจิกิจฉาได้
แม้ด้วยถ้อยคำที่เป็นสัปปายะเกี่ยวกับคุณของพระรัตนตรัย. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ธรรม ๖ อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อละ
วิจิกิจฉา ก็พระโยคาวจรย่อมทราบชัดว่า วิจิกิจฉาที่ละได้ด้วยธรรม ๖
อย่าง เหล่านี้จะไม่มีการเกิดขึ้นต่อไป เพราะโสดาปัตติมรรค.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺต วา ความว่า พระโยคาวจรพิจารณาเห็น
๑. ปาฐะว่า อยมาหาโร อนุปฺปนฺนาย วา วิจิกิจฺฉาย อุปฺปาทาย อุปฺปนฺนาย วา วิจิกิจฺฉาย
ภิยฺโยภาวาย เวปุลฺลายาติ. ฉบับพม่าเป็น อยมาหาโร อนุปฺปนฺนาย วา วิจิกิจฺฉาย อนุปฺปาทาย
อุปฺปนฺนาย วา วิจิกิจฺฉาย วา ปหานายาติ. แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 753
ธรรมในธรรมทั้งหลายของตน หรือในธรรมทั้งหลายของผู้อื่น คือในธรรม
ทั้งหลายของตนตามกาล (ที่เหมาะสม) หรือของผู้อื่นตามกาล (ที่เหมาะ
สม) ด้วยการกำหนดเห็นนิวรณ์ ๕ อย่างนี้อยู่.
แต่ในนิวรณบรรพนี้ พระโยคาวจรควรนำความเกิดขึ้นและความ
เสื่อมออกไปด้วยอโยนิโสมนสิการ หรือโยนิโสมนสิการในสุภนิมิตเป็นต้น
โดยนัยที่ตรัสไว้แล้วในนิวรณ์ ๕. ข้อความต่อจากนี้ไปมีนัยดังกล่าวแล้ว
นั้นแล.
อริยสัจในนิวรณ์
ก็สติเป็นเครื่องกำหนดนิวรณ์ ในนิวรณบรรพนี้ เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว บัณฑิตพึงประกอบความดังที่พรรณหามานี้ แล้วทราบมุข
แห่งธรรมเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ของภิกษุผู้กำหนดนิวรณ์เป็นอารมณ์
ข้อความที่เหลือก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกันแล.
จบ นิวรณบรรพ
ขันธบรรพ
[๑๔๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกธรรมานุปัสสนาโดย
นิวรณ์ ๕ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยเบญจขันธ์ จึงตรัส
คำมีอาทิว่า ปุน จปร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺจสุ อุปาทานกฺขนฺเธสุ ความว่า กอง
แห่งอุปาทาน ชื่อว่าอุปาทานขันธ์ อธิบายว่า กลุ่มแห่งธรรมคือกองแห่ง
ธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ชื่อว่าธัมมราสี ความสังเขปในเบญจขันธ์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 754
นี้มีเท่านี้. ส่วนความพิสดารเรื่องขันธ์กล่าวไว้แล้วในคันภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า อิติ รูป ความว่า รู้รูปโดยสภาวะว่า นี้รูป รูปเท่านี้
รูปอื่นจากนี้ไม่มี. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ความสังเขปใน
คำนี้มีเท่านี้. ส่วนโดยพิสดาร รูปเป็นต้น ท่านกล่าวไว้แล้วในเรื่องขันธ์
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแหละ.
บทว่า อิติ รูปสฺส สมุทโย ความว่า ความเกิดแห่งรูปโดย
อาการ ๕ โดยมีอวิชชาเป็นที่เกิดเป็นต้นอย่างนี้.
บทว่า อิติ รูปสฺส อตฺถงฺคโม ความว่า ความดับแห่งรูป โดย
อาการ ๕ โดยมีความดับแห่งอวิชชาเป็นต้นอย่างนี้. แม้ในเวทนาเป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน. นี้เป็นความสังเขปในข้อนี้ ส่วนความพิสดารกล่าวไว้
แล้วในเรื่องอุทยัพพยญาณ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺต วา ความว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลาย ไม่ว่าของตนหรือของคนอื่น ไม่ว่าตามกาลของตนหรือคนอื่น
ด้วยการกำหนดเบญจขันธ์เป็นอารมณ์อย่างนี้อยู่. ก็ในคำนี้สมุทยธรรม
และวยธรรม พึงยกขึ้นพิจารณาลักษณะ ๕๐ ที่ท่านกล่าวไว้ในขันธ์ทั้งหลาย
มีอาทิว่า เพราะอวิชชาเกิด รูปจึงเกิด. ต่อจากนี้ ก็มีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.
อริยสัจในเบญจขันธ์
ก็สติเป็นเครื่องกำหนดขันธ์เป็นอารมณ์ ในขันธบรรพนี้ เป็น
ทุกขสัจอย่างเดียว พึงประกอบความดังกล่าวมานี้ แล้วพึงทราบมุขคือ
ข้อปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดถือขันธ์เป็นอารมณ์. คำที่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 755
เหลือ ก็อย่างนั้นเหมือนกัน.
จบ ขันธบรรพ
อายตนบรรพ
[๑๔๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกธรรมานุปัสสนาโดย
เบญจขันธ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกโดยอายตนะ จึงตรัส
คำมีอาทิว่า ปุน จปร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉสุ อชฺฌตฺติกพาหิเรสุ อายตเนสุ
ได้แก่อายตนะภายใน ๖ เหล่านี้คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
(และ) อายตนะภายนอก ๖ เหล่านั้นคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์.
บทว่า จกฺขุ จ ปชานาติ ได้แก่รู้จักขุปสาท โดยลักษณะแห่งกิจ
ตามความเป็นจริง.
บทว่า รูเป จ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดรูปที่มีสมุฏฐาน ๔ อย่าง
ภายนอกด้วย โดยลักษณะแห่งกิจตามความเป็นจริง.
ข้อว่า ยญฺจ ตทุภย ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชาติ สญฺโญชน ความว่า
ก็เพราะอาศัยอายตนะทั้ง ๒ อย่าง คือทั้งตาด้วย ทั้งรูปด้วยสังโยชน์ ๑๐ อย่าง
คือ กามราคสังโยชน์, ปฏิฆะ, มานะ, ทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพต-
ปรามาส, ภวราคะ, อิสสา, มัจฉริยะ และอวิชชา สังโยชน์อันใด
ย่อมเกิดขึ้น เธอรู้ชัดสังโยชน์นั้น โดยลักษณะตามความเป็นจริงด้วย.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 756
การเกิดของสังโยชน์
ถามว่า ก็สังโยชน์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
แก้ว่า จะกล่าวในจักษุทวารก่อน เมื่อเธอชอบใจเพลิดเพลินยินดี
อิฏฐารมณ์ที่มาสู่คลอง (จักษุ) ด้วยอำนาจแห่งความพอใจในอิฏฐารมณ์
กามราคสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อโกรธในเพราะอนิฏฐารมณ์ ปฏิฆสังโยชน์
จะเกิดขึ้น. เมื่อสำคัญว่า นอกจากเราแล้วไม่มีใครอื่นจะสามารถสำแดง
อารมณ์๑นี้ให้แจ่มแจ้งได้ มานสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อยึดถือว่า รูปารมณ์นี้๒
เที่ยง ยั่งยืน ทิฏฐิสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อสงสัยว่า รูปารมณ์นี้๒ เป็น
สัตว์หรือหนอ หรือเป็นของสัตว์ วิจิกิจฉาสังโยชน์จะเกิดขึ้น เมื่อ
ปรารถนาภพว่า ภพ ( การเกิด ) นี้มิใช่๓จะหาได้ง่าย ในสัมปัตติภพเลย
ภวราคสังโยชน์๔ จะเกิดขึ้น, เมื่อยึดมั่นศีลและพรตว่า เราสมาทานศีล
และพรตแบบนี้แล้วอาจจะได้ (บรรลุคุณวิเศษ) ต่อไป สีลัพพต-
ปรามาสสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อริษยาว่า ไฉนหนอ คนอื่น ๆ จึงจะไม่
ได้รูปารมณ์นี้ อิสสาสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อตระหนี่รูปารมณ์อันตนได้
แล้วต่อผู้อื่น มัจฉริยสังโยชน์จะเกิดขึ้น. เมื่อไม่รู้ โดยไม่รู้ธรรมที่เกิด
ขึ้นพร้อมกับธรรมเหล่านั้นทั้งหมดนั่นแหละ อวิชชาสังโยชน์จะเกิดขึ้นได้.
บทว่า ยถา จ อนุปฺปนฺนสฺส ความว่า สังโยชน์ทั้ง ๑๐ อย่าง
นั้น ที่ยังไม่ได้เกิด จะเกิดขึ้นด้วยเหตุ คือด้วยการไม่ฟุ้งขึ้นอันใด เธอ
รู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
๑. ปาฐะว่า เอก ฉบับพม่าเป็น เอต แปลตามฉบับพม่า.
๒. ปาฐะว่า เอว ฉบับพม่าเป็น เอต แปลตามฉบับพม่า.
๓. ปาฐะว่า สมฺปตฺติภเว อตฺตโน พม่าเป็น สมฺปตฺติภเว วน โต แปลตามฉบับพม่า.
๔. ปาฐะว่า ภวสโยชน์ ฉบับพม่เป็น ภวราคสโยชน แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 757
บทว่า ยถา จ อุปฺปนฺนสฺส ความว่า ส่วนการละสังโยชน์แม้
ทั้ง ๑๐ อย่างนั้น ที่เกิดขึ้นแล้วโดยความหมายว่า ยังละไม่ได้ก็ดี โดย
การฟุ้งขึ้นก็ดี ด้วยเหตุใด เธอย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุนั้นด้วย.
บทว่า ยถา จ ปหีนสฺส ความว่า สังโยชน์ ๑๐ อย่างนั้นแม้
ที่ละได้แล้วโดยตทังคปหานและวิกขัมภนปหาน จะไม่มีการเกิดขึ้นต่อไป
เพราะเหตุใด เธอก็รู้เหตุนั้นด้วย. อธิบายว่า ก็สังโยชน์นั้นจะไม่มีการเกิด
ขึ้นต่อไป คือสังโยชน์ ๔ อย่าง ต่างด้วยทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-
ปรามาส อิสสา และ มัจฉริยะ จะไม่มีการเกิดขึ้นต่อไป เพราะโสดา-
ปัตติมรรคก่อน.
สังโยชน์ทั้งคู่ คือกามราคะและปฏิฆะอย่างหยาบจะไม่มีการเกิดขึ้น
ต่อไป เพราะสกทาคามิมรรค สังโยชน์ทั้งคู่คือ กามราคะและปฏิฆะ
ที่ไปด้วยกันอย่างละเอียด จะไม่มีการเกิดขึ้นต่อไป เพราะอนาคามิมรรค,
สังโยชน์ ๓ อย่าง คือ มานะ ภวราคะ และอวิชชา จะไม่มีการเกิด
ขึ้นต่อไป เพราะอรหัตตมรรค ด้วยเหตุใด เธอก็รู้เหตุนั้นด้วย.
แม้ในบทว่า ในเสียงเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้
พึงทราบกถาว่าด้วยอายตนะ โดยพิสดารตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วใน
อายตนนิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเทอญ.
พระโยคาวจร พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายของตนด้วยการ
กำหนดอายตนะภายในหรือในธรรมทั้งหลายของผู้อื่นด้วยการกำหนดอาย-
ตนะภายนอก คือในธรรมทั้งหลายของตน ตามกาล (เหมาะสม)
หรือของผู้อื่นตามกาล (เหมาะสม) อยู่ด้วยประการอย่างนี้. ก็ในอายตน-
บรรพนี้ สมุทยธรรม และวยธรรม ควรนำออกไปโดยนัยแห่งรูปาย-
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 758
ตนะที่ตรัสไว้แล้วในรูปขันธ์ แห่งอายตนะในบรรดาอรูปายตนะทั้งหลาย
ที่ตรัสไว้ในวิญญาณขันธ์ แห่งธรรมายตนะ ที่ตรัสไว้ในขันธ์ที่เหลือว่า
เพราะอวิชชาเกิด จักษุจึงเกิด. ไม่ควรหมายถึงโลกุตตรธรรม. คำต่อ
แต่นี้ไป มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
อริยสัจในอายตนะ
ก็สติเป็นเครื่องกำหนดอายตนะ ในอายตนบรรพนี้ เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว พึงประกอบความดังกล่าวมานี้ แล้วทราบมุขคือข้อปฏิบัติที่
เป็นเหตุนำออก (จากทุกข์) แห่งภิกษุผู้กำหนดถืออายตนะเป็นอารมณ์.
คำที่เหลือก็อย่างนั้นเหมือนกันแล.
จบ อายตนะบรรพ
โพชฌงคบรรพ
[๑๔๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกธรรมานุปัสสนา โดย
อายตนะที่เป็นไปในภายในและภายนอกอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรง
จำแนกโดยโพชฌงค์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุน จปร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โพชฺฌงฺเคสุ ได้แก่องค์แห่งบุคคลผู้
ข้องอยู่ในการตรัสรู้.
บทว่า สนฺต ได้แก่มีอยู่โดยการกลับได้.
บทว่า สติสมฺโพชฺณงฺค ได้แก่องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้
กล่าวคือสติ.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 759
ความหมายของสัมโพธิ
อธิบายว่า พระโยคาวจรย่อมรู้พร้อมสรรพในธรรมทั้ง ๗ นี้ จำเดิม
แต่ปรารภวิปัสสนา เพราะฉะนั้น ธรรมทั้ง ๗ นั้นจึงชื่อว่า สัมโพชฌงค์.
อีกอย่างหนึ่ง พระโยคาวจรนั้น. ตื่น คือลุกขึ้นจากกิเลสนิทรา หรือ
แทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ด้วยธรรมสามัคคี ๗ ประการใด มีสติเป็นต้น
ธรรมสามัคคีนั้น ชื่อว่า สัมโพธิ. ชื่อว่า สัมโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์
แห่งสัมโพธิธรรมหรือสัมโพธิธรรมสามัคคีนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า สัมโพชฌงค์ กล่าวคือสติ. แม้ในสัมโพชฌงค์ที่เหลือก็พึงทราบ
อรรถพจน์โดยนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อสนฺต ความว่า ไม่มีโดยการไม่กลับได้. ก็ในบททั้งหลาย
มีอาทิว่า ยถา จ อนุปฺปนฺนสฺส มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
การเกิดของสติสัมโพชฌงค์
อันดับแรก สติสัมโพชฌงค์ จะมีการขึ้นอย่างนี้ คือ มีอยู่
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์ การกระทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย และการกระทำให้มากในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร
(ปัจจัย) ย่อมเป็นไป เพื่อให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง
เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความบริบูรณ์แห่งการเจริญสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้น
แล้วบ้าง. เมื่อสตินั้นมีอยู่นั่นเอง ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ
สัมโพชฌงค์มีอยู่ โยนิโสมนสิการมีลักษณะดังกล่าวแล้วนั่นแหละ เมื่อ
พระโยคาวจรยังโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปในธรรมเหล่านั้นบ่อยครั้งเข้า
สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 760
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดขึ้นแห่ง
สติสัมโพชฌงค์ คือ สติสัมปชัญญะ ๑ การเว้นจากบุคคลผู้มีสติหลง
ลืม ๑ การคบหาสมาคมกับบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ๑ ความเป็นผู้น้อมไป
หาสตินั้น ๑.
จริงอยู่ สติสันโพชฌงค์ จะเกิดขึ้นในที่ ๗ สถาน มีการก้าวไป
ข้างหน้าเป็นต้น เพราะมีสติสัมปชัญญะ เพราะเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม
เช่นกับการเก็บอาหารไว้ เพราะคบหาสมาคมกับบุคคลผู้มีสติตั้งมั่นเช่น
พระติสสทัตตเถระ และพระอภยเถระเป็นต้น และเพราะเป็นผู้มีจิต
โอนเอียงโน้มน้อมไปเพื่อให้สติตั้งขึ้นในอิริยาบถทั้งหลาย มีการนั่ง การ
นอนเป็นต้น. เธอย่อมรู้ชัดว่า ก็ความบริบูรณ์แห่งการเจริญสติสัมโพชฌงค์
นั้น ที่เกิดขึ้นแล้วด้วยเหตุ ๔ อย่างอย่างนี้ จะมีได้ด้วยอรหัตตมรรค.
การเกิดของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ส่วนธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีการเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า มีอยู่ ภิกษุ
ทั้งหลาย กุศลธรรมและอกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ธรรมที่มีส่วนคล้าย
คลึงกับกัณหธรรมและสุกกธรรมเหล่าใด การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
ในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย ) เป็นไปเพื่อให้ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อภิญโญภาพ เพื่อความไพบูลย์แห่ง
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพื่อเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เพื่อให้ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์บริบูรณ์บ้าง.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง ๗ ประการ คือ การสอบถาม ๑ การ
ทำวัตถุให้ผ่องใส ๑ การปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ ๑ การเว้นบุคคล
ผู้มีปัญญาทราม ๑ การคบหาสมาคมกับผู้มีปัญญา ๑ การพิจารณาความ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 761
ประพฤติด้วยญาณอันลึกซึ้ง ๑ การน้อมใจไปในธัมมวิจยะนั้น ๑ ย่อม
เป็นไปเพื่อการเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์. ความเป็นผู้มากด้วยการ
สอบถามเกี่ยวกับเนื้อความของ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ. อินทรีย์ พละ
โพชฌงค์ มรรค องค์ฌาน สมถะ และวิปัสสนา ชื่อว่า ปริปุจฉกตา
ในบรรดาธรรม ๗ เหล่านั้น.
การกระทำวัตถุทั้งภายในและภายนอกให้ผ่องใส ชื่อว่า วตฺถุ-
วิสทกิริยา. เพราะว่า เมื่อใด ผม เล็บ และขน ของเธอยาวเกินไป
หรือร่างกายของเธอมีโรค (โทส) มาก และแปดเปื้อนไปด้วยมลภาวะ
คือเหงื่อ เมื่อนั้น วัตถุอันมีอยู่ในภายในใจจะไม่ผ่องใส ไม่บริสุทธิ์.
แต่เมื่อใด จีวรของเธอเก่า เศร้าหมอง มีกลิ่น หรือเสนาสนะ เปรอะ
เปื้อน เมื่อนั้น วัตถุที่มีในภายนอก จะไม่ผ่องใส ไม่บริสุทธิ์ เพราะ-
ฉะนั้น วัตถุภายใน เธอต้องกระทำให้ผ่องใส โดยการปลงผมเป็นต้น
โดยการทำร่างกายให้เบาสบาย ด้วยการชำระทั้งข้างบนข้างล่าง เป็นต้น
(และ) โดยการอบ อาบ.
วัตถุภายนอก ต้องทำให้ผ่องใสด้วยการเย็บ การซัก การย้อม
และการทำเครื่องใช้เป็นต้น. เพราะว่า แม้ญาณในจิต และเจตสิก
ที่เกิดขึ้นในเพราะวัตถุภายใน และภายนอกนี้ที่ไม่ผ่องใส ก็จะไม่ผ่องใส
(ไปด้วย) เหมือนแสงสว่างของเปลวประทีป ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย
ตะเกียงไส้และน้ำมันที่ไม่สะอาดฉะนั้น ส่วนแม้ญาณในจิตและเจตสิก
ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วในเพราะวัตถุภายในและภายนอกที่ผ่องใส ก็จะผ่อง
ใส (ไปด้วย) เหมือนแสงสว่างของเปลวประทีปที่เกิดขึ้น โดยอาศัย
ตะเกียงไส้และน้ำมันที่สะอาดฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 762
จึงตรัสว่า การทำวัตถุให้ผ่องใส ย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์.
การทำอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นให้มีความเสมอกัน ชื่อว่า การปรับ
อินทรีย์ให้เสมอกัน . เพราะถ้าว่าสัทธินทรีย์ของเธอมีพลัง อินทรีย์นอกนี้
อ่อน. ต่อนั้นไป วิริยินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ประคองไว้ได้ สตินทรีย์
ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ปรากฏได้. สมาธินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่ไม่ให้ฟุ้ง
ซ่านได้ ปัญญินทรีย์ก็ไม่อาจจะทำหน้าที่พิจารณาเห็นได้. เพราะฉะนั้น
พระโยคาวจรพึงให้สัทธินทรีย์นั้นเสื่อมไปโดยพิจารณาถึงสภาวธรรม หรือ
โดยไม่ใส่ใจถึง โดยทำนองที่เมื่อใส่ใจถึง สัทธินทรีย์จะมีพลัง. ก็ในข้อนี้
มีเรื่องของพระวักกลิเถระเป็นตัวอย่าง. แต่ถ้าวิริยินทรีย์มีพลัง ภายหลัง
สัทธินทรีย์จะไม่สามารถทำหน้าที่น้อมใจเชื่อได้เลย อินทรีย์นอกนี้
ก็ไม่อาจทำหน้าที่ต่างประเภทนอกนี้ได้ เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร
พึงให้วิริยินทรีย์นั้นเสื่อมไปด้วยการเจริญปัสสัทธิเป็นต้น. แม้ในข้อนั้น
พึงแสดงเรื่องของพระโสณเถระให้เห็น. แม้ในอินทรีย์ที่เหลือก็พึง
ทราบอย่างนั้น. เมื่ออินทรีย์อย่างเดียวมีพลัง พึงทราบว่า อินทรีย์นอกนี้
ก็หมดสมรรถภาพในหน้าที่ของตน.
แต่ในเรื่องนี้ ท่านสรรเสริญ ความที่ศรัทธากับปัญญาเสมอกัน
และสมาธิกับวิริยะเสมอกันไว้โดยพิเศษ. เพราะว่า ผู้มีศรัทธามีพลัง แต่มี
ปัญญาอ่อน จะมีความเลื่อมใสอย่างงมงาย คือเลื่อมใสในสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ
ผู้มีปัญญามีพลัง (แต่) มีศรัทธาหย่อน ย่อมจะกระเดียดไปทางข้างเกเร
แก้ไขยาก เหมือนโรคดื้อยา ไม่ทำกุศลมีทานเป็นต้น โดยคิดเลยเถิดไป
ว่า กุศลจะมีได้ด้วยเหตุเพียงจิตตุปบาทเท่านั้น ย่อมเกิดในนรก. (แต่)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 763
เพราะศรัทธาและปัญญาทั้งคู่เสมอกัน เขาจะเลื่อมใสในพระรัตนตรัยที
เดียว. ส่วนสมาธิมีพลัง แต่วิริยะหย่อน โกสัชชะ (ความเกียจคร้าน)
จะครอบงำ (เธอ) เพราะสมาธิเป็นฝักฝ่ายแห่งโกสัชชะ ความเกียจคร้าน.
(ถ้า) วิริยะมีพลัง แต่สมาธิหย่อน อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
จะครอบงำเธอ เพราะวิริยะเป็นฝ่ายแห่งอุทธัจจะ ก็สมาธิที่ประกอบ
ไปด้วยวิริยะ จะไม่มีตกไปในโกสัชชะ. ความเกียจคร้าน. วิริยะที่ประกอบ
ไปด้วยสมาธิจะไม่มีตกไปในอุทธัจจะ เพราะฉะนั้น ควรทำสมาธิและวิริยะ
ทั้งคู่นั้นให้เสมอกัน. ด้วยว่า อัปปนาจะมีได้เพราะวิริยะและสมาธิทั้งคู่
นั้นเสมอกัน.
อีกอย่างหนึ่ง สำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญสมาธิ ศรัทธาถึงจะมีพลัง
ก็ใช้ได้. เมื่อเธออย่างนี้ กำหนดอยู่ จะถึงอัปปนา. ในสมาธิและปัญญา
สำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญสมาธิ เอกกัคคตา (สมาธิ) มีพลังย่อมใช้ได้. ด้วย
ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จะบรรลุอัปปนา. สำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา
ปัญญามีพลังย่อมใช้ได้. ด้วยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จะถึงการแทงตลอด
ลักษณะ (พระไตรลักษณ์). ก็เพราะทั้งสองอย่างนั้นเสมอกัน อัปปนา
ก็จะมีทีเดียว. ส่วนสติ มีพลัง ใช้ได้ในที่ทุกสถาน. เพราะว่าสติจะ
รักษาจิตไว้ได้ จากการตกไปสู่อุทธัจจะ ด้วยอำนาจของศรัทธา วิริยะ
และปัญญา ซึ่งเป็นฝักฝ่ายแห่งอุทธัจจะ จะรักษาจิตไว้ได้จาก
การตกไปสู่โกสัชชะ ด้วยสมาธิ ที่เป็นฝักฝ่ายแห่งโกสัชชะ เพราะ-
ฉะนั้น สตินั้นจึงจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือนในแกงทุกอย่าง
ต้องเหยาะเกลือ และเหมือนในราชกิจทุกชนิด ต้องประสงค์ผู้สำเร็จราช-
การ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็แลสติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 764
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว.
เพราะเหตุไร ?
เพราะว่าจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย และสติมีการอารักขาเป็นเครื่อง
ปรากฏ. เว้นสติเสียแล้ว การประคองและการข่มจิตจะมีไม่ได้.
การเว้นให้ห่างไกล ซึ่งบุคคลผู้มีปัญญาทราม คือ ผู้มีปัญญาไม่
หยั่งลงในธรรมประเภทมีขันธ์เป็นต้น ชื่อว่าการเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทราม.
การคบหาบุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นความเกิดและ
ความดับที่กำหนดลักษณะ (ความเกิดความดับ) ๕๐ ถ้วน ชื่อว่าการ
คบหาบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณาประเภทแห่งปัญญาอันลึกซึ้ง ที่เป็น
ไปแล้วในขันธ์ทั้งหลายอันลึกซึ้ง ชื่อว่าการพิจารณาความเป็นไปแห่ง
ญาณอันลึกซึ้ง. ความที่จิตโน้มน้อมและโอนไปเพื่อให้ธัมมวิจยสัม-
โพชฌงค์ตั้งขึ้น ในอิริยาบถนั่ง และอิริยามถนอมเป็นต้น ชื่อว่าความ
น้อมจิตไปในธันมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. เธอรู้ชัดว่า ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
นั้น ที่เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ จะมีการให้ภาวนาบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
การเกิดของวิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์มีการเกิดขึ้นอย่างนี้ คือ มีอยู่
อารัพภธตุ นิกกมธาตุ ปรักกมธาตุ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
และการกระทำให้มากในอารัพภธาตุเป็นต้นนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย )
จะเป็นไปเพื่อให้วิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้นบ้าง เพื่อภิญโญภาพ
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งวิริยสัม-
โพชฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 765
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ คือการพิจารณาเห็นภัยใน
อบาย ๑ การเห็นอานิสงส์ ๑ การพิจารณาเห็นทางดำเนินไป ๑ การ
ประพฤติอ่อนน้อมต่อบิณฑบาต ๑ การพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่
โดยความเป็นทายาท ๑ การพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่ของพระ
ศาสดา ๑ การพิจารณาเห็นความเป็นใหญ่โดยชาติ ๑ การพิจารณา
เห็นควานเป็นใหญ่โดยเป็นเพื่อนสพรหมจารี ๑ การเว้นบุคคลผู้เกียจ-
คร้าน ๑ การคบหาบุคคลผู้ปรารภความเพียร ๑ ความเป็นผู้มีจิตน้อม
ไปในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งวิริยสัม-
โพชฌงค์.
ในธรรม ๑ ประการนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
เราไม่อาจเพื่อให้วิริยสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น ในเวลาเสวยทุกข์อย่าง
ใหญ่หลวง จำเดิมแต่ต้องกรรมกรณ์ด้วยเครื่องจองจำครบ ๕ ประการใน
นรกทั้งหลายก็ดี ในเวลาถูกจับด้วยเครื่องจับสัตว์น้ำ มีการทอดแห และ
ดักไซเป็นต้น และในเวลาที่ลากเกวียนเป็นต้นไป ของสัตว์ผู้ถูกบังคับ
ด้วยการแทงด้วยปฏัก และตีด้วยเรียวหนามเป็นต้น ในกำเนิดเดียรัจฉาน
ก็ดี ในเวลาอาดูรด้วยความหิว ความกระหาย เป็นเวลาหลายพันปีบ้าง
พุทธันดรหนึ่งบ้าง ในวิสัยแห่งเปรตก็ดี. ในเวลาเสวยทุกข์ มีลมและ
แดดเป็นต้น ด้วยอัตภาพที่มีเพียงหนังหุ้มกระดูกเท่านั้น (สูง) ประมาณ
๖๐ ศอก และ ๘๐ ศอก ในเหล่าอสูรชื่อกาลกัญชิกะก็ดี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เวลานี้นั่นแหละเป็นเวลาที่เธอจะบำเพ็ญความเพียร๑ แม้เมื่อ
๑. ปาฐะว่า กาโลติ เอว ฉบับพม่าเป็น กาโล วิริยกรณายาติ เอว แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 766
เธอพิจารณาเห็นภัยในอบายดังที่พรรณนามานี้ วิริยสัมโพชฌงค์ก็จะเกิด
ขึ้น.
วิริยสัมโพชฌงค์จะเกิดขึ้น แม้แก่ผู้เห็นอานิสงส์ ( ของความ
เพียร) อย่างนี้ว่า คนเกียจคร้านไม่อาจจะได้ นวโลกุตตรธรรม คน
ปรารภความเพียรเท่านั้นจึงอาจได้ นี้เป็นอานิสงส์ของวิริยะ.
วิริยสัมโพชฌงค์จะเกิดขึ้น แม้แก่ผู้พิจารณาเห็นทางดำเนินอย่างนี้
ว่า เธอพึงเดินทางที่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระมหา
สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ได้เสด็จดำเนินไปและเดินไปแล้ว และ
ทางนั้นคนเกียจคร้านไม่อาจจะดำเนินไปได้.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นความยำเกรง
ซึ่งบิณฑบาต เหมือนที่เกิดขึ้นแก่พระมหามิตตเถระอย่างนี้ว่า เหล่าชนผู้
บำรุงท่านด้วยปัจจัย มีบิณฑบาตเป็นต้นเหล่านี้ ไม่ใช่ญาติของท่านเลย
ไม่ใช่ทาสกรรมกรของท่านทั้งเขาไม่ได้ให้บิณฑบาตเป็นต้นอันประณีต แก่
ท่านด้วยคิดว่า พวกเราจักดำรงอยู่ได้เพราะอาศัยท่าน โดยที่แท้เขาหวังว่า
สักการะของตนจะมีผลมาก จึงพากันถวาย แม้พระศาสดา ก็มิได้ทรง
เห็นอย่างนี้ว่า ภิกษุนี้ ฉันปัจจัยเหล่านี้แล้ว จักเป็นผู้มีกายมั่นคงมาก
อยู่อย่างสบาย ได้ทรงอนุญาตไว้แก่ท่าน โดยที่แท้ทรงอนุญาตปัจจัย
เหล่านั้นด้วยทรงพระประสงค์ว่า ภิกษุนี้เมื่อบริโภคปัจจัยเหล่านี้ จัก
บำเพ็ญสมณธรรมแล้วพ้นจากทุกข์ บัดนี้ เธอเกียจคร้านอยู่ จักไม่
ยำเกรงบิณฑบาตนั้น เพราะขึ้นชื่อว่า ความยำเกรงบิณฑบาตจะมีแก่
ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 767
เรื่องพระมหามิตตเถระ
ได้ทราบว่า พระเถระ อาศัยอยู่ในที่ชื่อว่า กัสสกเลณะ และ
มหาอุบาสิกาคนหนึ่ง ในโคจรคาม ของพระเถระนั้น ได้ปฏิบัติพระเถระ
อย่างลูกชาย. วันหนึ่ง นางเมื่อจะเข้าป่าได้บอกลูกสาวว่า แม่หนู ข้าวเก่า
อยู่ในที่โน้น น้ำนมอยู่ที่โน้น เนยใสอยู่ที่โน้น น้ำอ้อยอยู่ที่โน้น ใน
เวลาที่คุณมิตร พี่ชายของเจ้ามา เจ้าจงหุงข้าวถวายพร้อมกับ นม
เนยใส และน้ำอ้อย เจ้าก็ควรกินด้วย ส่วนแม่ เมื่อวานกินข้าวตังกับ
น้ำผักดอง.
ลูกสาวถามว่า กลางวันแม่จะกินอะไรเล่าแม่ ?
เจ้าจงเอาข้าวป่น (ปลายข้าว) ต้มให้เป็นข้าวยาคูเปรี้ยว เติมผักดอง
ลงไป ตั้งไว้เถิดลูก แม่บอก.
พระเถระห่มจีวร แล้วนำบาตรออก ได้ยินเสียงนั้นแล้วกล่าวสอน
ตนว่า ได้ยินว่า มหาอุบาสิกาบริโภคข้าวดังกับน้ำผักดอง แม้ตอน
กลางวัน จักต้องบริโภคข้าวยาคูเติมน้ำผักดองอีก. แม่บอก (ให้หุง)
ข้าวเก่าเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่เจ้า ก็แลนางไม่ได้ปรารถนา นา สวน
ภัตร ผ้า เพราะอาศัยเธอ แต่ปรารถนาสมบัติ ๓ จึงถวาย เจ้าจัก
สามารถให้สมบัติเหล่านั้นแก่เธอ หรือว่าจักไม่สามารถ ก็แลบิณฑบาต
นี้ อันเจ้าผู้ยังมีราคะ โทสะ และโมหะ ไม่สามารถจะรับได้ จึงเก็บ
บาตรเข้าถุง ปล่อยเงื่อนงำไว้ กลับไปยังกัสสกเลณะตามเดิม เก็บ
บาตรไว้ใต้เตียง พาดจีวรไว้บนราวจีวร คิดว่า เรายังไม่บรรลุพระอรหัต
แล้ว จักไม่ออกไป นั่งบำเพ็ญเพียรแล้ว ท่านไม่ประมาท เป็นพระ
เก็บตัวอยู่อย่างไม่ประมาทตลอดกาลนาน เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 768
ก่อนฉันนั่นเอง เป็นพระมหาขีณาสพ ยิ้มแย้มออกมาเหมือนดอกปทุม
ที่แย้มบานฉะนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ ใกล้ประตูถ้ำ (เห็นท่าน
แล้ว) เปล่งอุทานอย่างนี้ว่า
ข้าแต่บุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าแต่ท่านผู้สูงสุด ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน ข้าแต่
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านละอาสวะได้แล้ว จึงเป็นผู้สมควร
รับทักษิณา.
ดังนี้แล้ว กล่าวว่า ท่านเจ้าขา พวกหญิงแก่ ถวายภิกษาแด่
พระอรหันต์เช่นท่านผู้เข้าไปรับบิณฑบาตแล้ว จักพ้นทุกข์ได้.
พระเถระลุกขึ้นเปิดประตูดูเวลา ทราบว่ายังเข้าอยู่ จึงอุ้มบาตร
ครองจีวรเข้าไปยังหมู่บ้าน. ฝ่ายลูกสาวเตรียมภัตรแล้ว ( ก็ออกมา ) นั่ง
มองดูที่ประตู ด้วยหวังว่า หลวงพี่ของเราจักมาเดี๋ยวนี้ จักมาเดี๋ยวนี้.
เมื่อพระเถระมาถึงประตูเรือน เธอก็รับบาตร ไปใส่ข้าวก้อนเจือด้วยน้ำนม
ผสมด้วยเนยใสและน้ำอ้อย จนเต็มแล้ว นำมาประเคนที่มือ. พระเถระ
ทำการอนุโมทนาว่า จงมีความสุขเถิด ดังนี้ หลีกไป. ฝ่ายลูกสาวนั้น
ก็ได้ยืนมองท่านเพลินอยู่. เพราะเวลานั้น ฉวีวรรณของพระเถระผุดผ่อง
ยิ่งนัก อินทรีย์ทั้งหลายก็ผ่องใส ดวงหน้าก็แจ่มใสอย่างยิ่ง เหมือนผล
ตาลสุกที่เพิ่งหล่นจากขั้วฉะนั้น.
มหาอุบาสิกากลับมาจากป่า ถามว่า แม่หนู หลวงพี่ของเจ้ามา
แล้วหรือ ?
นางได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง. อุบาสิกาทราบว่า วันนี้ กิจ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 769
บรรพชิตของพระลูกชายเรา ถึงที่สุดแล้ว จึงพูดว่า ลูกเอ๋ย หลวงพี่
ของเจ้า ยังอภิรมย์ ไม่เบื่อหน่ายในพระพุทธศาสนา.
วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดแม้แก่ภิกษุผู้พิจารณาเห็นความยิ่งใหญ่
แห่งมรดก ก็แลมรดกของพระศาสดานี้ คือ อริยทรัพย์ ๗ เป็นของ
ใหญ่หลวง ผู้เกียจคร้านไม่สามารถจะรับมรดกนั้นไว้ได้ เหมือนอย่างว่า
มารดาบิดาย่อมขจัดบุตรผู้เกเรให้ออกจากกองมรดก ด้วยสำคัญว่า เจ้านี่
ไม่ใช่ลูกของเรา (อีกต่อไป) เพราะปัจจัย ( คือการตัดขาด) ของ
พ่อแม่นั้น บุตรผู้เกเรนั้นย่อมไม่ได้รับมรดกฉันใด ถึงภิกษุผู้เกียจคร้าน
ก็ฉันนั้น จะไม่ได้รับมรดก คืออริยทรัพย์นี้ ภิกษุผู้ปรารภความเพียร
เท่านั้นจึงจะได้รับ.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้แม้พิจารณาถึงความยิ่งใหญ่
ของพระศาสดาอย่างนี้ว่า ก็แลพระศาสดาของเจ้ายิ่งใหญ่นัก เพราะว่าใน
เวลาที่พระศาสดาทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดาก็ดี ในเวลา
เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็ดี ในเวลาตรัสรู้พระอนุตตรสัมโพธิญาณก็ดี
ในเวลาแสดงพระธรรมจักรก็ดี ในเวลาทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ เสด็จ
ลงจากเทวโลก และปลงพระชนมายุสังขารก็ดี หมื่นโลกธาตุก็หวั่นไหว
แล้ว ควรแล้วหรือที่เจ้าบวชในศาสนาของพระศาสดาเห็นปานนี้ แล้วจะ
มาเกียจคร้านอยู่.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้แม้พิจารณาถึงความยิ่งใหญ่แห่ง
ชาติ (กำเนิด) อย่างนี้ว่า แม้ว่าโดยกำเนิด บัดนี้ เจ้าก็ไม่ใช่คนที่มี
กำเนิดต่ำ เจ้ามาจากเชื้อสายของพระเจ้ามหาสมมต ไม่เจือปน (กับ
คนวรรณะอื่น) ทั้งได้เกิดในราชวงศ์ของพระเจ้าโอกากราช ได้เป็น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 770
พระนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช กับ พระนางมหามายาเทวี
(และ) เป็นพระกนิษฐภาดาของพระเจ้าพี่ราหุล อันธรรมดาว่าเจ้าได้
เป็นชินบุตรเห็นปานนี้ จะมามัวเกียจคร้านอยู่ ไม่สมควรเลย.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้แม้พิจารณาถึงความยิ่งใหญ่
ของเพื่อนสพรหมจารีอย่างนี้ว่า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และ
พระอสีติมหาสาวก แทงตลอดโลกุตตรธรรม ด้วยความเพียรโดยแท้
เจ้าจักดำเนินไปตามทางของเพื่อนสพรหมจารีเหล่านั้น หรือจักไม่ดำเนิน
ตาม.
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้หลีกเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน
สลัดทิ้งความเพียรทางกายและทางจิต ผู้เป็นเช่นกับงูเหลือม อึดอัด
เพราะกินเหยื่อจนเต็มท้อง แก่ภิกษุผู้คบหาบุคคลผู้มีตนตั้งมั่น ปรารภ
ความเพียร ทั้งแก่ภิกษุผู้มีจิตน้อม โน้ม นำไป เพื่อให้เกิดความเพียร
ในอิริยาบถทั้งหลาย มีอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น.
ก็เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดว่า
ความเจริญเต็มที่ (แห่งวิริยสัมโพชฌงค์) มีได้ด้วยพระอรหัตตมรรค.
การเกิดขึ้นของปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ คือ มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม
ทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
และการทำให้มากในธรรม นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย ) เพื่อให้ปีติสัม-
โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือเป็นไปเพื่อให้ปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้น
แล้ว ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 771
ในพระพุทธพจน์นั้น ปีตินั่นเอง ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งปีติ-
สัมโพชฌงค์ การทำไว้ในใจ ที่ให้ปีติสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้น ชื่อว่าการ
ทำไว้ในใจโดยแยบคาย.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ คือ พุทธานุสสติ ๑ ธัมมา-
นุสสติ ๑ สังฆานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑ จาคานุสสติ ๑ และเทวตา-
นุสสติ ๑ อุปสมานุสสติ ๑ การหลีกเว้นบุคคลผู้เป็นโทษ ๑ การคบหา
บุคคลผู้เป็นคุณ ๑ การพิจารณาถึงพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
เลื่อมใส ๑ ความเป็นผู้น้อมไปในปีติสัมโพชฌงค์นั้น ๑. ย่อมเป็นไป
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปีติสัมโพชฌงค์.
อธิบายว่า สำหรับภิกษุผู้แม้หมั่นระลึกถึงพระพุทธคุณ ปีติ-
สัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นแผ่ไปทั่วร่างจนถึงอุปจารสมาธิ. สำหรับภิกษุ
ผู้หมั่นระลึกถึงพระธรรมคุณ พระสังฆคุณก็ดี ผู้พิจารณาถึงจตุปาริสุทธิ-
ศีล ที่รักษาไว้ไม่ขาด ตลอดกาลนานก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ ก็ย่อมเกิด
ขึ้นได้.
แม้สำหรับคฤหัสถ์ ผู้พิจารณาถึงศีล ๑๐ ศีล ๕ ก็ดี ผู้ถวาย
โภชนะอันประณีต แก่ท่านผู้เป็นสพรหมจารี ในคราวเกิดทุพภิกขภัย
เป็นต้น แล้วพิจารณาถึงการบริจาค (ของตน) ว่า เราได้ถวายอย่างนี้
ก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์จะเกิดขึ้นได้.
อนึ่ง สำหรับคฤหัสถ์ผู้พิจารณาถึงทาน ที่ถวายแก่ท่านผู้มีศีล ใน
การเช่นนี้ก็ดี ผู้พิจารณาเห็นว่าเทวดาประกอบด้วยคุณเหล่าใด จึงถึง
ความเป็นเทวดา คุณเหล่านั้น มีอยู่ในตนก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ก็เกิด
ขึ้นได้.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 772
สำหรับภิกษุผู้พิจารณาเห็นกิเลสที่ข่มได้แล้วด้วยสมาบัติว่า (กิเลส
เหล่านี้) ไม่ฟุ้งขึ้น เป็นเวลา ๖๐ ปีบ้าง ๗๐ ปีบ้างก็ดี ผู้
หลีกเว้นบุคคลผู้เศร้าหมองอันปรากฏชัดด้วยการไม่กระทำโดยความเคารพ
ในเมื่อได้เห็นพระเจดีย์ เห็นต้นโพธิ์ และเห็นพระเถระ ผู้ชื่อว่าเป็นเช่น
กับฝุ่นละออง (ที่จับเกาะ) บนหลังคา เพราะไม่มีความเลื่อมใสและ
ความรักในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นก็ดี ผู้คบหาบุคคลผู้ผ่องใส
มีจิตอันอ่อนโยน มากด้วยความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้า
เป็นต้นก็ดี ผู้พิจารณาถึงพระสูตรอันก่อให้เกิดความเลื่อมใส แสดงคุณ
ของพระรัตนตรัยก็ดี ผู้มีจิตโน้ม น้อม นำไป เพื่อให้เกิดปีติ ใน
อิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้นก็ดี ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นได้.
ก็เมื่อปีติสัมโพชฌงค์นั้น เกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า
ความเจริญเต็มที่ (แห่งปีติสัมโพชฌงค์) มีได้ด้วยอรหัตตมรรค.
การเกิดขึ้นของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ คือ มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ การทำในใจโดยแยบคาย และการทำให้มาก
ในกายปัสสัทธินั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) ให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยัง
ไม่เกิด เกิดขึ้น หรือย่อมเป็นไปเพื่อให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้น
แล้ว ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๗ ประการ คือ การบริโภคโภชนะอัน
ประณีต ๑ การเสพสุขตามฤดู ๑ การเสพสุขตามอิริยาบถ ๑ ความ
เป็นผู้มีมัชฌัตตัปปโยคะ ๑ การหลีกเว้นบุคคลผู้มีกายกระสับกระส่าย ๑
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 773
การคบหาบุคคลผู้มีกายสงบ ๑ ความเป็นผู้น้อมไปในปัสสัทธิสัม-
โพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
อธิบายว่า สำหรับภิกษุผู้บริโภคโภชนะ ที่เป็นสัปปายะ มีรส
กลมกล่อม ประณีตก็ดี ผู้เสพฤดู ที่เป็นสัปปายะในบรรดาฤดูหนาว
และร้อน และอิริยาบถ ที่เป็นสัปปายะในบรรดาอิริยาบถยืนเป็นต้นก็ดี
ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้น.
ส่วนภิกษุใดมีลักษณะนิสัยเป็นมหาบุรุษย่อมอดทนต่อฤดูและอิริยาบถ
ทั้งปวงได้ทีเดียว คำนี้ท่านไม่ได้กล่าวหมายเอาภิกษุนั้น.
สำหรับภิกษุใด มีฤดูและอิริยาบถที่เป็นสภาค (ที่เป็นสัปปายะ)
และวิสภาค ( อสัปปายะ) ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นนั่นแล ผู้แม้
เว้นฤดู และอิริยาบถ ที่เป็นวิสภาคเสีย แล้วเสพฤดูและอิริยาบถที่เป็น
สภาค.
การพิจารณาเห็นว่า ตน และบุคคลอื่น มีกรรมเป็นของตน
ท่านเรียกว่า มัชฌัตตัปปโยคะ ปัสสัทธิย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะมัชฌัตตัปป-
โยคะนี้.
สำหรับภิกษุผู้หลีกเว้นบุคคลผู้มีกายกระสับกระส่าย ผู้เที่ยวเบียด-
เบียนบุคคลอื่นอยู่ตลอดเวลา ด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ผู้คบหา
บุคคลผู้มีกายสงบ ผู้สำรวมมือและเท้าก็ดี ผู้มีจิตโน้ม น้อม นำไปเพื่อ
ให้เกิดปัสสัทธิในอิริยาบถทั้งหลาย มียืนและนั่งเป็นต้นก็ดี ปัสสัทธิย่อม
เกิดขึ้นได้.
ก็เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า
ความเจริญเต็มที่ (ของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ย่อมมีด้วยอรหัตตมรรค).
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 774
การเกิดขึ้นของสมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มีอยู่สมถนิมิต ที่เป็นอัพยัคคนิมิต การทำไว้ในใจโดยแยบคาย และ
การทำให้มากในสมถนิมิตนั้น นี้เป็นอาหาร ( ปัจจัย) ให้สมาธิ-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น หรือย่อมเป็นไปเพื่อให้สมาธิสัมโพชฌงค์
ที่เกิดขึ้นแล้วภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่. ในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น
สมถนิมิตเป็นสมถะด้วย ชื่อว่าเป็นอัพยัคคนิมิต เพราะหมายความว่า
ไม่ฟุ้งซ่านด้วย.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๑๑ ประการ คือการทำวัตถุให้สะอาด
หมดจด ๑ การประคับประคองอินทรีย์ให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ ๑
ความเป็นผู้ฉลาดรั้นนิมิต ๑ การยกจิตในสมัย (ที่ควรยก) ๑ การ
ข่มจิตในสมัย (ที่ควรข่ม) ๑ การทำจิตให้ร่าเริงในสมัย (ที่ควรทำ
จิตให้ร่าเริง ) ๑ การเพ่งดูจิตเฉย ๆ ในสมัย (ที่ควรเพ่งดู) ๑
การหลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ๑ การคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็น
สมาธิ ๑ การพิจารณาฌานและวิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้น้อมไปใน
สมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อการเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์.
บรรดาธรรม ๑๑ ประการนั้น การทำวัตถุให้สะอาดหมดจด และ
การประคับประคองอินทรีย์ให้ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ พึงทราบตามนัย
ที่กล่าวแล้ว.
ความเป็นผู้ฉลาดในการเรียน กสิณนิมิต ชื่อว่าความเป็นผู้ฉลาด
ในนิมิต.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 775
บทว่า สมเย จิตฺตสฺส ปคฺคณฺหนตา (การประคองจิตใจใน
สมัยที่ควรประคอง) มีอธิบายว่า ในสมัยใด จิตเป็นธรรมชาติหดหู่
ด้วยเหตุทั้งหลาย มีการทำย่อหย่อนเกินไปเป็นต้น การยกจิตนั้น ในสมัย
นั้น ด้วยการยังธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ และปีติ-
สัมโพชฌงค์ให้เกิดพร้อมกัน.
บทว่า สมเย จิตฺตสฺส นิคฺคณฺหนตา (การข่มจิตในสมัยที่
ควรข่ม ) ความว่า ในสมัยใด จิตเป็นธรรมชาติฟุ้งซ่านด้วยเหตุ
ทั้งหลายมีการปรารภความเพียรมากเกินไปเป็นต้น การข่มจิตนั้น ในสมัย
นั้น ด้วยการยังปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ให้เกิดขึ้นพร้อมกัน.
บทว่า สมเย สมฺปหสนตา (การประคองจิตให้ร่าเริงในสมัย
ที่ควรประคองจิตให้ร่าเริง) ความว่า ในสมัยใด จิตเป็นธรรมชาติไม่
สดชื่น เพราะมีปัญญาและความเพียรน้อย หรือเพราะไม่ได้บรรลุถึง
ความสุขอัน เกิดจากความเข้าไปสงบ ในสมัยนั้น พระโยคาวจรย่อมยังจิตให้
สังเวชด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ (ที่ตั้งแห่งความสังเวช) ๙ อย่าง ที่ชื่อ
ว่า สังเวควัตถุ ๙ ได้แก่ ชาติ ชรา พยาธิ และ มรณะ รวมเป็น ๔ ทุกข์ในอบายเป็นที่ ๕ ทุกข์ที่มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต ทุกข์มีวัฏฏะเป็น
มูลในอนาคต ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบัน (ธรรม
เป็น ๓). และให้เกิดความเลื่อมใส ด้วยการหมั่นระลึกถึงคุณของพระ
รัตนตรัย. นี้เรียกว่า การประคองจิตให้ร่าเริง ในสมัย (ที่ควรประคอง
จิตให้ร่าเริง.
ที่ชื่อว่า การเพ่งดูจิตเฉยๆ ในสมัยที่ (ควรเพ่งดูจิตเฉยๆ) ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 776
ในสมัยใดจิตเป็นธรรมชาติไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน มีความสดชื่น เป็นไปใน
อารมณ์อย่างสม่ำเสมอ ดำเนินไปตามวิถีทางของสมถะเพราะอาศัยการปฏิบัติ
ชอบ ในการยก การข่ม และการประคองจิตนั้นให้ร่าเริง เปรียบเหมือน
นายสารถี ไม่ต้องวุ่นวายในม้าที่วิ่งไปสม่ำเสมอ นี้เรียกว่า การเพ่งดูจิต
เฉย ๆ ในสมัย (ที่ควรเพ่งดูเฉย ๆ).
ที่ชื่อว่า การหลีกเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ ได้แก่การหลีกเว้น
ให้ไกล ซึ่งบุคคลผู้ยังไม่ได้บรรลุอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ ผู้มีจิต
ฟุ้งซ่าน.
ที่ชื่อว่า การคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ ได้แก่การซ่องเสพ การ
คบหา การเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิหรืออัปปนา-
สมาธิ.
ที่ชื่อว่า ความเป็นผู้น้อมไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น ได้แก่ความ
เป็นผู้มีจิตน้อม โน้ม นำไปในอิริยาบถทั้งหลาย มียืน และนั่ง เป็นต้น
แท้ทีเดียว.
ก็เมื่อพระโยคาวจรปฏิบัติอยู่อย่างนี้ สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นย่อมเกิด
ขึ้น. ก็เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นอย่างนั้น พระโยคาวจรย่อมทราบ
ชัดว่า ความเจริญเต็มที่ (ของสมาธิสัมโพชฌงค์) มีได้ด้วยอรหัตต-
มรรค.
การเกิดขึ้นของอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้คือ มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 777
และการทำให้มากในธรรมนั้น นี้เป็นอาหาร (ปัจจัย) ให้อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือย่อมเป็นไป เพื่อให้อุเบกขาสัม-
โพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่. ในพระดำรัส
นั้น อุเบกขานั่นแหละ ชื่อว่าธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๕ประการคือ ความเป็นผู้วางตนเป็นกลางใน
สัตว์ ๑ ความเป็นผู้วางตนเป็นกลางในสังขาร ๑ การหลีกเว้นบุคคล
ผู้ผูกพันในสัตว์สังขาร ๑ การคบหาบุคคลผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์
สังขาร ๑ ความเป็นผู้น้อมไปในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น ๑ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์.
บรรดาธรรม ๕ ประการนั้น พระโยคาวจรย่อมยังความวางตน
เป็นกลางในสัตว์ให้เกิดขึ้นด้วยอาการ ๒ อย่างคือ ด้วยการพิจารณาเห็นว่า
สัตว์มีกรรมเป็นของตนอย่างนี้ว่า เจ้ามาตามกรรมของตนแล้ว ก็จักไป
ตามกรรมของตน (เหมือนกัน) เจ้าจะไปผูกพันใครกันเล่า ? และ
ด้วยการพิจารณาเห็นว่า ไม่ใช่สัตว์อย่างนี้ว่า ว่าโดยปรมัตถ์แล้ว สัตว์ไม่มี
เลย เจ้านั้นจะไปผูกพันใครเล่า ?
ย่อมยังความวางตนเป็นกลางในสังขารให้เกิดขึ้นด้วยอาการ ๒ อย่าง
คือ ด้วยพิจารณาเห็นว่า ไม่มีเจ้าของอย่างนี้ว่า จีวรผืนนี้ เข้าถึง
การเปลี่ยนสี และความคร่ำคร่า ตามลำดับ จักกลายเป็นผ้าเช็ดเท้า
ถูกเขาเขี่ยทั้งด้วยปลายไม้เท้า ก็ถ้าว่า จีวรนั้นจะพึงมีเจ้าของไซร้ เจ้าของ
ก็จะไม่ยอมให้จีวรนั้นพินาศไปอย่างนั้น ๑ และด้วยการพิจารณาเห็นว่า
เป็นของชั่วคราวอย่างนี้ว่า จีวรนี้ ไม่ยั่งยืน อยู่ได้ชั่วคราว ๑.
อนึ่ง บัณฑิตพึงทำการประกอบความ แม้ในบาตรเป็นต้นเหมือน
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 778
อย่างในจีวรฉะนั้น.
ในคำว่า สตฺตสงฺขารเกฬายนปุคฺคลปริวชฺชนตา (การหลีก
เว้นบุคคลผู้ผูกพันในสัตว์และสังขาร) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บุคคลใด เป็นคฤหัสถ์ ย่อมยึดถือปิยชนทั้งหลาย มีบุตรและธิดา
เป็นต้น ของคนว่าเป็นของเรา หรือเป็นบรรพชิต ย่อมยึดถืออันเตวาสิก
สัทธิวิหาริก และผู้ร่วมอุปัชฌาย์เป็นต้น ของตนว่าเป็นของเรา ลงมือ
ทำการงานทั้งหลาย มีการปลงผม เย็บผ้า ซักจีวร ย้อมจีวร และระบม
บาตรเป็นต้นให้แก่บุคคลเหล่านั้นเองทีเดียว ไม่เห็นเพียงชั่วครู่ ก็เที่ยว
ตามหาให้จ้าละหวั่น ไม่ผิดอะไรกับเนื้อตื่นภัย (ร้องถามว่า) สามเณร
รูปโน้นไปไหน ? ภิกษุหนุ่มรูปโน้นไปไหน แม้ถูกผู้อื่นขอว่า ขอท่าน
จงส่งภิกษุหนุ่ม หรือสามเณรรูปโน้นไปให้ ช่วยปลงผมเป็นต้นสักหน่อย
เถิด ก็ไม่ยอมให้ไป ด้วยอ้างว่า แม้พวกเรายังไม่ยอมใช้เขาให้ทำงาน
ของตนเลย พวกท่านยังจะมาเอาเขาไป (ใช้งาน) ให้ลำบาก บุคคลนี้
ชื่อว่าผู้ผูกพันในสัตว์.
ส่วนบุคคลใดยึดถือบาตร จีวร ถาด และไม้เท้าคนแก่เป็นต้น
ว่าเป็นของเรา ไม่ยอมให้ผู้อื่นแม้แต่จะเอามือแตะ พอถูกขอยืมเข้า ก็พูด
ว่า พวกเราทั้งหลาย รักสิ่งของนี้ ไม่ยอมใช้สอย พวกเราจักให้พวก
ท่านได้อย่างไร บุคคลนี้ ชื่อว่าผู้ผูกพันอยู่ในสังขาร.
ส่วนบุคคลใด เป็นผู้มีตนเป็นกลาง วางเฉยในวัตถุทั้ง ๒ นั้น
บุคคลนี้ ชื่อว่าผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขาร.
อุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรผู้หลีกเว้น
ห่างไกลบุคคลผู้ผูกพันในสัตว์และสังขารเห็นปานนี้บ้าง ผู้คบหาบุคคล
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 779
ผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขารบ้าง ผู้มีจิตโน้ม น้อม นำไป เพื่อ
ให้เกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น ในอิริยาบถทั้งหลาย มียืนและนั่งเป็นต้น
บ้าง ดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้นอย่างนั้น พระโยคาวจรย่อม
ทราบชัดว่า ความเจริญเต็มที่ (แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์) มีได้ด้วย
อรหัตตมรรค.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺต วา ความว่า พระโยคาวจรนั้นกำหนด
โพชฌงค์ ๗ ของตน หรือของบุคคลอื่นอย่างนี้แล้ว คือ กำหนด
โพชฌงค์ของตนตามกาล หรือโพชฌงค์ของบุคคลอื่นตามกาล เป็นผู้
ปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างนี้. ส่วนความเกิดขึ้น
และความดับไปในโพชฌงคบรรพนี้ พึงทราบด้วยอำนาจการเกิดและ
การดับของสัมโพชฌงค์ทั้งหลาย. คำอื่นจากนี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.
อริยสัจในโพชฌงค์
ด้วยว่า ในโพชฌงคบรรพนี้ สติที่กำหนดโพชฌงค์ เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว นักศึกษาพึงทราบทางแห่งธรรมเครื่องนำออกของภิกษุผู้
กำหนดโพชฌงค์ เพราะการประกอบความดังว่ามานี้แล. คำที่เหลือ
เป็นเช่น (กับที่กล่าวมาแล้ว) นั้นเหมือนกัน.
จบ โพชฌงคบรรพ
สัจจบรรพ
ครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนา ด้วยอำนาจโพฌงค์ ๗ อย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 780
แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วยอำนาจสัจจะ ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า ปุน จปร ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท ทุกฺขนฺติ ยถาถูต ปชานาติ
ความว่า พระโยคาวจรย่อมทราบชัดธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ยกเว้นตัณหา
ตามสภาพที่เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ก็แลย่อมทราบชัดตัณหาเก่าที่เป็นตัวการณ์
ให้ทุกข์นั้นแลเกิด คือตั้งขึ้นตามสภาพเป็นจริงว่า นี้ทุกขสมุทัย ย่อม
ทราบชัดพระนิพพาน คือความไม่เป็นไปของทุกข์และตัณหาทั้ง ๒ ตาม
สภาพที่เป็นจริงว่า นี้ทุกขนิโรธ ย่อมทราบชัดอริยมรรคอันเป็นตัว
กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย กระทำนิโรธให้แจ้ง ตามสภาพที่เป็นจริงว่า
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. กถาว่าด้วยอริยสัจที่เหลือ ได้อธิบายให้
พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล.
บทว่า อิติ อชฺฌตฺต วา ความว่า พระโยคาวจรกำหนดสัจจะ ๔
ของตนหรือของบุคคลอื่นแล้ว คือกำหนดสัจจะทั้ง ๔ ของตนตามกาล หรือ
ของบุคคลอื่นตามกาล เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
ส่วนความเกิดขึ้นและความดับไปในจตุสัจจบรรพนี้ พึงทราบด้วยอำนาจ
ความเกิดและความดับของสัจจะทั้ง ๔ ตามสภาพที่เป็นจริง. คำอื่นจากนี้
มีนัยดังกล่าวแล้วแล.
อริยสัจในอริยสัจ
ด้วยว่า ในจตุสัจจบรรพนี้ สติเครื่องกำหนดสัจจะ ๔ เป็นทุกขสัจ
อย่างเดียว บัณฑิตพึงทราบทางแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออกของภิกษุผู้
กำหนดสัจจะ เพราะการประกอบความดังว่ามานี้แล. คำที่เหลือเป็นเช่น
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 781
(กับคำที่กล่าวมานี้แล้ว) นั่นแล.
จบ จตุสัจจบรรพ
ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกัมมัฏ-
ฐานไว้ ๒๑ อย่าง คือ อานาปานะ (ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า) ๑
จตุอิริยาบถ (อิริยาบถ ๔) ๑ จตุสัมปชัญญะ (สัมปชัญญะ ๔) ๑
ทวัตติงสาการะ (อาการ ๓๒) ๑ จตุธาตุววัตถานะ ( การกำหนด
ธาตุ ๔) ๑ นวสีวถิกา (ป่าช้า ๙) ๑ เวทนานุปัสสนา (การ
กำหนดนิวรณ์) ๑ จิตตานุปัสสนา ( การพิจารณาเห็นจิต) ๑ นิวรณ-
ปริคคหะ (การกำหนดนิวรณ์) ๑ ขันธปริคคหะ (การกำหนดขันธ์) ๑
อายตนปริคคหะ (การกำหนดอายตนะ) ๑ โพชฌังคปริคคหะ (การ
กำหนดโพชฌงค์ ) ๑ สัจจปริคคหะ (การกำหนดสัจจะ) ๑.
บรรดากัมมัฏฐาน ๒๑ อย่างนั้น อานาปานะ ๑ ทวัตติงสาการะ ๑
นวสีวถิกา (ป่าช้า ๙) ๑ รวมเป็นกัมมัฏฐานที่ให้ถึงอัปปนา ๑๑. ฝ่าย
พระมหาสิวเถระผู้กล่าวคัมภีร์ทีฆนิกาย กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสนวสีวถิกาไว้ ด้วยอำนาจการพิจารณาเห็นโทษ. เพราะฉะนั้น ตาม
มติของพระมหาสิวเถระนั้น กัมมัฏฐาน ๒ ( คือ อานาปานะ และ
ทวัตติงสาการะ ) เท่านั้น เป็นกัมมัฏฐานที่ให้ถึงอัปปนา กัมมัฏฐานที่
เหลือ เป็นกัมมัฏฐานที่ให้ถึงอุปจาร.
ถามว่า ก็ความยึดมั่น จะเกิดในกัมมัฏฐานเหล่านั้นทั้งหมดหรือไม่
เกิด ?
ตอบว่า ไม่เกิด เพราะว่า ความยึดมั่นย่อมไม่เกิดในอิริยาบถ
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 782
สัมปชัญญะ นิวรณ์ และสัมโพชฌงค์ แต่จะเกิดในกัมมัฏฐานที่เหลือ.
ฝ่ายพระมหาสิวเถระ กล่าวว่า ย่อมเกิดความยึดมั่นในกัมมัฏฐาน
แม้เหล่านั้น (มีอิริยาบถเป็นต้น) เพราะว่า พระโยคาวจรนี้ย่อมกำหนด
อย่างนี้ว่า อิริยาบถ ๔ ของเรา มี หรือไม่มี สัมปชัญญะ ๔ ของเรา มี
หรือว่าไม่มี นิวรณ์ ๕ ของเรา มี หรือว่าไม่มี โพชฌงค์๗ ของเรามี
หรือว่าไม่มี เพราะฉะนั้น จึงเกิดความยึดมั่นในกัมมัฏฐานทุกข้อ.
อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน
บทว่า โย หิ โกจิ ภิกฺขเว ความว่า ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุ
หรือภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม.
บทว่า เอว ภเวยฺย ความว่า พึงเจริญ (สติปัฏฐาน ) ไป
ตามลำดับแห่งภาวนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ตั้งแต่แรก.
บทว่า ปาฏิกงฺข แปลว่า พึงหวัง. อธิบายว่า มีแน่แท้.
บทว่า อญฺา ได้แก่พระอรหัตตผล.
บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า หรือ เมื่อยังมีอุปาทาน
เหลืออยู่ คือยังไม่สิ้นไป.
บทว่า อนาคามิคา ได้แก่ความเป็นพระอนาคามี
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความที่ศาสนธรรมเป็นเครื่อง
นำออกด้วยอำนาจ (ระยะเวลา) ๗ ปี อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง
ระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นเข้าไปอีก จึงตรัสคำว่า ติฏฺนฺตุ ภิกฺขเว ดังนี้
เป็นต้น และธรรมทั้งหมดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยอำนาจ
เวไนยบุคคลผู้ (มีสติปัญญา) ปานกลางเท่านั้น. ฝ่ายพระโบราณาจารย์
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 783
หมายเอาบุคคลผู้มีปัญญาแก่กล้า จึงกล่าวไว้ว่า
บุคคลผู้มีปัญญาแก่กล้า ได้รับคำสอนในตอนเช้า
ก็จักบรรลุคุณวิเศษได้ในตอนเย็น ได้รับคำสอนใน
ตอนเย็น ก็จักบรรลุคุณวิเศษได้ในตอนเช้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ศาสนธรรมของเราตถาคต เป็นธรรมเครื่องนำออกอย่างนี้ ดังพรรณนา
มาฉะนี้แล้ว เมื่อจะทรงตบแต่งพระธรรมเทศนาที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว
ด้วยอดคือพระอรหัต ในฐานะแม้ ๒๑ อย่าง แก่พระสาวก จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเอก ฯลฯ เพราะอาศัยคำที่กล่าวไว้
แล้วอย่างนี้ เราตถาคตจึงได้กล่าวสติปัฏฐานสูตรนี้ ไว้. คำที่เหลือ มี
ความหมายง่ายทั้งนั้นแล.
จบ อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร
สูตรที่ ๑๐
และจบวรรคที่ ๑ ชื่อมูลปริยายวรรค