พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 1
๗. ลักขณสูตร
เรื่อง มหาปุริสพยากรณ์
[๑๓๐] ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระเจ้า) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
เหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญดังนี้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษผู้ประกอบด้วย
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เหล่านี้ ย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็น
อย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็น
ธรรมราชามีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรมั่นคง
ประกอบด้วย รัตนะ ๗ ประการ. คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี
นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกเเก้ว เป็นที่ ๗. พระราชบุตรของพระองค์มี
กว่าหนึ่งพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนา
ของข้าศึกได้. พระองค์ทรงชนะโดยธรรม โดยเสมอ มิต้องใช้อาชญา
มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นขอบเขต มิได้มีเสา.
เขื่อน ไม่มีนิมิต ไม่มีเสี้ยนหนาม มั่งคั่งแพร่หลาย มีความเกษมสำราญ
ไม่มีเสนียด ถ้าเสด็จออกบวชเป็นพรรพชิตจะได้เป็นพระอรหันตสัมมา-
ไม่มีพุทธเจ้า มีหลังคา คือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนั้นเป็นไฉน ซึ่งพระมหาบุรุษประกอบแล้ว
ย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือถ้าครองเรือนจะได้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 2
พระเจ้าจักรพรรดิ. อนึ่ง ถ้าพระมหาบุรุษนั้นเสด็จออกผนวช จะได้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคา คือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย มหาบุรุษในโลกนี้
๑. มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี การที่พระมหาบุรุษมี
พระบาทประดิษฐานเป็นอันดีนี้ เป็นมหาปุริสลักษณะ
ของมหาบุรุษ
๒. พื้นภายใต้ฝ่าพระบาทของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้นมี
ซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง
แม้การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาท ของพระมหาบุรุษมีจักร
เกิดขึ้นมีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการ
ทั้งปวงนี้ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ
๓. มีส้นพระบาทยาว
๔ . มีพระองคุลียาว
๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่ายพระบาทอ่อน นุ่ม
๖. มีฝ่าพระหัตถ์ฝ่าพระบาทมีลายประหนึ่งตาข่าย
๗. มีข้อพระบาทลอยอยู่เบื้องบน
๘. มีพระชงฆ์เรียวดุจแข็งเนื้อทราย
๙. เสด็จยืนมิได้น้อมพระวรกายลงเอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสอง
ลูบคลำได้ถึงพระชานุทั้งสอง
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก
๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจทองคำ คือมีพระตจะประดุจหุ้ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 3
ด้วยทอง
๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียดธุลีละอองจึง
มิได้ติดอยู่ในพระวรกาย
๑๓. มีพระโลมาขุมละเส้น ฯ เสมอไปทุกขุมขน
๑๔. มีพระโลมามีปลายช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียวเหมือนสี
ดอกอัญชัญ ขดเป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ
๑๕. มีพระวรกายตรงเหมือนกายพรหม
๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน คือหลังพระหัตถ์ทั้งสอง
หลังพระบาททั้งสอง จงอยพระอังสาทั้งสอง และ
พระศอ
๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ
๑๘. มีระหว่างพระอังสาเต็ม
๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระ
วรกายของพระองค์ พระวรกายของพระองค์เท่ากับ
วาของพระองค์
๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน
๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี
๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์
๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่
๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 4
๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม
๒๗. มีพระชิวหาใหญ่
๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีนำเนียงดัง
นกการะเวก
๒๙. มีพระเนตรดำสนิท
๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาโค
๓๑. มีพระอุณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างพระโขนง มีสีขาว
อ่อนควรเปรียบด้วยนุ่น
๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนี้แล ที่พระ
มหาบุรุษประกอบแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่าง
อื่น คือถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ . . . อนึ่ง ถ้าพระ-
มหาบุรุษเสด็จออกผนวชจะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลังคาคือ
กิเลสอันเปิดแล้วในโลก. ภิกษุทั้งหลาย พวกฤษีแม้เป็นภายนอก ย่อม
ทรงจำมหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ๓๒ เหล่านี้ได้ แต่ฤษีเหล่านั้นย่อม
ไม่ทราบว่าเบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เพราะกรรมที่ตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ไว้ สัตว์ที่บำเพ็ญกุศลกรรมนั้น
ย่อมครอบงำเทวดาทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์โดยสถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์
วรรณทิพย์ ความสุขทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์
เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์
นั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักษณะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 5
ว่าด้วยบุรพาธิการของพระตถาคต
[ ๑๓๐ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ภพก่อน กำเนิดก่อนเป็นผู้ยึดมั่นในกุศลธรรม ยึดมั่นไม่ถอยหลัง ในกาย
สุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต การบำเพ็ญทาน ในการสมาทานศีล ในการ
รักษาอุโบสถ ในการปฏิบัติดีในมารดา บิดา สมณพราหมณ์ ในความเป็น
ผู้เคารพต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในธรรม เป็นอธิกุศลอื่น ๆ ตถาคตย่อม
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้น
อันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ตถาคตย่อมครอบงำ เทวดาทั้งหลาย
ในโลกสวรรค์โดยสถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ความสุขทิพย์
ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์. กลิ่นทิพย์ รสทิพย์
และโผฏฐัพพทิพย์. ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาถึงความเป็นอย่างนี้
ย่อมได้มหาปุริสลักษณะนี้.
ทรงเหยียบพระบาทเสมอกัน
[ ๑๓๒ ] พระมหาบุรุษนั้น มีพระบาทตั้งอยู่เป็นอันดี คือ ทรง
เหยียบพระบาทเสมอกันบนฟัน ทรงยกพระบาทขึ้นก็เสมอกัน ทรงจรดพื้น
ด้วยฝ่าพระบาททุกส่วนเสมอกัน พระมหาบุรุษทรงถึงพร้อมด้วยลักษณะ
นั้น หากอยู่ครองเรือน จะเป็นพระราชาจักรพรรดิ เป็นผู้ทรงธรรมเป็น
ธรรมราชา มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรมั่นคง
ถึงพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี
นางแก้ว คฤหดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗. และมีพระราชโอรสมาก
กว่าพัน ล้วนเป็นผู้แกล้วกล้า พระรูปสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 6
ของข้าศึกได้. และพระมหาบุรุษนั้นทรงชนะโดยธรรมเสมอ มิต้องใช้
อาชญามิต้องใช้ศัสตราทรงครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขตมิได้มีเสาเขื่อน
มิได้มีนิมิต ไม่มีเสี้ยนหนาม มั่งคั่งแพร่หลาย มีความเกษมสำราญ ไม่มี
หมู่โจร เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้ผลข้อนี้คือ
ไม่มีใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ที่เป็นข้าศึกศัตรู จะข่มได้. อนึ่ง ถ้าพระมหาบุรุษ
ออกทรงผนวชจะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคา คือกิเลสอัน
เปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้
ผลข้อนี้ คือ ไม่มีเหล่าข้าศึกศัตรูภายใน หรือภายนอกคือราคะ โทสะ
หรือโมหะ หรือสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ใคร ๆ ในโลกนี้จะ
ข่มได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย
จึงกล่าว คาถาประพันธ์ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า
[๑๓๓ ] พระมหาบุรุษยินดีแล้วในสัจจะ ในธรรม
ในการฝึกตน ในความสำรวม ในความสะอาด
ในศีลในอุโบสถกรรม ในความไม่เบียดเบียน
สัตว์ทั้งหลาย ทรงยึดถือมั่นคง ทรงประพฤติ
อย่างรอบคอบ.
เพราะกรรมนั้นพระมหาบุรุษจึงหลีกไปสู่
เพลินยินดี จุติจากไตรทิพย์แล้วเวียนมาใน
โลกนี้ เหยียบปฐพีด้วยพระบาทอันเรียบ
พวกพราหมณ์ผู้ทำนายพระลักษณะมา
ประชุมกัน แล้วทำนายว่า พระราชกุมารนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 7
มีฝ่าพระบาทตั่งประดิษฐานเรียบ เป็นคฤหัสถ์
หรือบรรพชิตก็ไม่มีใครข่มได้ พระลักษณะ
นั้นย่อมเป็นนิมิตส่องความนั้น
พระราชกุมารนี้เมื่ออยู่ครองเรือนไม่มีใคร
ข่มได้ มีแต่ครอบงำพวกปรปักษ์ เหล่าศัตรู
มิอาจย่ำยีได้ ใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ในโลกนี้
หากพระราชกุมารนี้ออกทรงผนวช ทรง
ยินดีในเนกขัมมะ จะมีพระปรีชาเห็นแจ้ง
เป็นอัครบุคคลไม่ถึงความเป็นผู้อันใครๆ ข่ม
ได้ ย่อมเป็นผู้สูงสุดกว่านรชน อันนี้เป็น
ธรรมดาของพระกุมารนั้น.
ว่าด้วยการบรรเทาความสะดุ้งกลัว
[ ๑๓๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในกาลก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน ได้นำความสุขมาให้แก่ชนเป็นอันมาก บรรเทา
ความหวาดกลัวและความสะดุ้ง จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม
ได้ให้ทานพร้อมด้วยวัตถุอันเป็นบริวาร. ตถาคตนั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะ.
กายแตก ย่อมเข้าถึงโลกสวรรค์ เพราะธรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน
ไพบูลย์ไว้แล้ว. ตถาคตได้ครอบงำเทวดาทั้งหลายอื่นในเทวโลกโดยฐานะ
๑๐ คือ อายุทิพย์ ฯ ล ฯ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาถึงความเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 8
อย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักษณะนี้ คือ ใต้ฝ่าเท้าทั้งสองมีจักรเกิด มีซี่
กำพันหนึ่ง มีกงมีดุมบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง มีระหว่างอันกุศลกรรม
แบ่งเป็นอันดี. พระมหาบุรุษถึงพร้อมด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือน
จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯ ล ฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็น
พระราชาจะได้ผลข้อนี้ คือ มีบริวารมาก คือมีบริวารเป็นพราหมณ์ เป็น
คฤหบดี เป็นชาวนิคม เป็นชาวชนบท เป็นโหราจารย์ เป็นมหาอำมาตย์
เป็นกองทหาร เป็นนายประตู เป็นอำมาตย์ เป็นบริษัท เป็นเจ้า เป็น
เศรษฐี เป็นกุมาร. ถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกทรงผนวช จะเป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้า
จะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้ผลคือ มีบริวารมาก มีบริวารเป็นภิกษุ
เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นอสูร
เป็นนาค เป็นคนธรรพ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความนี้ไว้. พระโบราณา-
จารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า
[๑๓๕] พระมหาบุรุษเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ๆ
นำความสุขมาให้แก่ชนเป็นอันมาก บรรเทาภัย
คือความหวาดกลัวและความหวาดสะดุ้ง ขวน
ขวายในการคุ้มครองรักษาป้องกัน
เพราะกรรมนั้นพระมหาบุรุษจึงหลีกไปสู่
ไตรทิพย์ เสวยความสุขและสมบัติเป็นที่
เพลิเพลินยินดี ครั้นจุติจากทิพย์แล้ว เวียน
มาในโลกนี้ ย่อมได้ลายจักรทั้งหลาย มีซี่กำ
พันหนึ่ง มีกง มีดุมโดยรอบ ที่ฝ่าพระบาททั้ง
สอง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 9
พวกพราหมณ์ผู้ทำนายลักษณะมาประชุม
กันแล้ว เห็นพระราชกุมารมีบุญลักษณะเป็น
ร้อย ๆ แล้วทำนายว่า พระราชกุมารนี้จักมี
บริวารย่ำยี ศัตรู เพราะจักรทั้งหลายมีกงโดย
รอบอย่างนั้น
ถ้าพระราชกุมารนั้นไม่ออกทรงผนวชจะ
ยังจักรให้เป็นไป และปกครองแผ่นดินมี
กษัตริย์ที่มียศมากติดตามแวดล้อมพระองค์
หากทรงผนวชทรงยินดีในเนกขัมมะ จะมี
พระปรีชาเห็นแจ้ง พวกเทวดา มนุษย์ อสูร
ท้าวสักกะ ยักษ์ คนธรรพ์ นาค นก และสัตว์
๔ เท้าที่มียศมาก จะแวดล้อมพระองค์ ผู้ไม่
มีใครยิ่งกว่า อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว.
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน ละปาณาติบาตแล้ว เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว
วางอาชญา วางศัสตรา มีความละอาย มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่
สัตว์ทั้งปวงอยู่. ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ตถาคตย่อม
ครอบงำ เทวดาทั้งหลายอื่นในโลก โดยฐานะ ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์
ความสุขทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์
รสทิพย์ และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 10
เป็นอย่างนี้ ย่อมได้ซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๓ ประการคือ ส้นพระบาทยาว ๑
มีพระองคุลียาว ๑ พระวรกายตรงดังกายพรหม ๑. พระมหาบุรุษนั้นถึง
พร้อมด้วยลักษณะทั้งหลายเหล่านั้น หากครองเรือนจะเป็นพระราชาจักร-
พรรดิ ฯ ล ฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้ผลข้อนี้
คือ มีพระชนมายุตั้งอยู่ยืนยาว ทรงรักษาพระขนมายุยืนยาว ไม่มีใคร ๆ
ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึกศัตรู จะสามารถปลงพระชนม์ชีพในระหว่างได้ ฯลฯ
เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้ผลข้อนี้คือ มีพระ
ชนมายุยืนตั้งอยู่นาน ทรงรักษาพระชนมายุยืนยาวไม่มีข้าศึกศัตรูจะเป็น
สมณพราหมณ์ เทวดา มารพรหม ใคร ๆ ในโลกสามารถปลงพระชนม์ชีพ
ในระหว่างได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า.
[๑๓๗] พระมหาบุรุษทรงทราบการฆ่าสัตว์ให้ตาย
เป็นภัยแก่ตน ได้เว้นจากการฆ่าสัตว์อื่นแล้ว
เบื้องหน้าแต่มรณะได้ไปสู่สวรรค์ เพราะกรรม
ที่ทรงประพฤติดีแล้วนั้นเสวยวิบากอันเป็น
ผลแห่งกรรมที่ทรงทำดีแล้ว
จุติ ( จากสวรรค์ ) แล้วเวียนมาในโลก
นี้ย่อมได้พระลักษณะ ๓ ประการ คือ มีส้น
พระบาทยาว ๑ พระกายเกิดดีตรงสวยงามดุจ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 11
กายพรหม มีพระพาหางาม มีความเป็นหนุ่ม
ทรวดทรงงามเป็นสุชาต ๑ มีนิ้วพระหัตถ์
นิ้วพระบาทยาวอ่อนดังปุยฝ้าย ๑ พระชนก
เป็นต้น ทรงบำรุงพระราชกุมาร เพื่อให้มี
พระชนมายุยินยาว เพราะพระองค์สมบูรณ์ -
ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓ ประการ
ถ้าพระราชกุมารทรงครองเรือน ก็จะให้
พระชนม์ชีพยืนยาว ถ้าออกทรงผนวชก็
จะให้พระชนม์ชีพยืนยาวกว่านั้น เพื่อให้เจริญ
ด้วยอำนาจ และความสำเร็จ พระลักษณะ
นั้นเป็นนิมิต เพื่อความเป็นผู้มีพระชนมายุยืน
ด้วยประการดังนี้.
[ ๑๓๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน เป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยว และของที่ควรบริโภค
ของที่ควรลิ้ม น้ำที่ควรดื่ม อันประณีต และมีรสอร่อย. ตถาคตย่อมเข้า
ถึงโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ
สั่งสม พอกพูนไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความเป็น
อย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริสลักษณะนี้ คือมีมังสะอูมในที่ ๗ สถาน คือ ที่หลัง
พระหัตถ์ทั้งสอง ก็มีมังสะอูม ที่หลังพระบาททั้งสอง ก็มีมังสะอูม ที่พระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 12
อังสาทั้งสอง ก็มีมังสะอูม ที่ลำพระศอ ก็มีมังสะอูม พระมหาบุรุษทรง
สมบูรณ์ด้วยพระลักษณะนั้น หากครองเรือนจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ
เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับผลข้อนี้ คือย่อมได้
ของที่ควรเคี้ยว ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม น้ำที่ควรดื่ม อันประณีต
มีรสอร่อย. ถ้าพระมหาบุรุษออกทรงผนวช ฯลฯ เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะ
ได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้ผลข้อนี้ คือ ทรงได้ของที่ควรเคี้ยว
ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม น้ำที่ควรดื่ม อันประณีต มีรสอร่อย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าว
คาถาประพันธ์ในลักษณะเหล่านั้นว่า.
[๑๓๙] พระมหาบุรุษเป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยว
ของที่ควรบริโภค ของที่ควรลิ้ม และน้ำที่ควร
ดื่ม มีรสอันสูงสุด และเลิศเพราะกรรมที่
ทรงประพฤติดีแล้วนั้น พระมหาบุรุษนั้นจึง
บันเทิงยิ่งนานในสวนนันทวัน
มาในโลกนี้ ย่อมได้มังสะอูมใน ๗ แห่ง
ได้ฝ่าพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม บัณฑิต
ผู้ฉลาดในพยัญชนะ และนิมิต กล่าวไว้
เพื่อความเป็นผู้ได้ของเคี้ยว และของบริโภค
อันมีรส
ลักษณะนั้นใช่ว่าจะส่องความแม้แก่พระ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 13
มหาบุรุษผู้เป็นคฤหัสถ์เท่านั้น ถึงพระมหาบุรุษ
ออกทรงผนวชก็ย่อมได้ของควรเคี้ยว และ
ของควรบริโภคนั้นเหมือนกัน พระองค์ได้
ของควรเคี้ยว และควรบริโภคมีรสอันสูงสุด
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวแล้วว่า พระองค์เป็นผู้
ตัดกิเลสเป็นเครื่องผูกพันของคฤหัสถ์ทั้งปวง
เสีย.
[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ภพก่อน กำเนิดก่อน เป็นผู้สงเคราะห์ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ
ด้วยการให้ ด้วยการกล่าวคำเป็นที่รัก ด้วยการประพฤติตนให้เป็นประโยชน์
ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ. ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตกเพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์.
ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นเแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ย่อมได้ซึ่งมหาปุริส-
ลักษณะ ๒ ประการเหล่านี้ คือ ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ๑
พระหัตถ์และพระบาทมีลายดังตาข่าย ๑. พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยพระ
ลักษณะทั้งสองนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อ
เป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้ผลข้อนี้ คือ มีบริวารชน
อันพระองค์สงเคราะห์แล้วเป็นอย่างดี บริวารชนที่พระองค์สงเคราะห์แล้ว
เป็นอย่างดีนั้น เป็นพราหมณ์ เป็นคฤหบดี เป็นชาวนิคม เป็นชาวชนบท
เป็นโหราจารย์ เป็นมหาอำมาตย์ เป็นกองทหาร เป็นนายประตู เป็น
อำมาตย์ เป็นบริษัท เป็นเจ้า เป็นเศรษฐี เป็นกุมาร ฯลฯ เมื่อพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 14
มหาบุรุษนั้นออกทรงผนวชเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อพระมหาบุรุษ
ทรงผนวชเป็นพระพุทธเจ้าจะได้ผล คือ มีบริวารชนอันพระองค์สงเคราะห์
แล้วเป็นอย่างดี บริวารชนที่พระองค์สงเคราะห์เป็นอย่างดีนั้น เป็นภิกษุ
เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นอสูร
เป็นนาค เป็นคนธรรพ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบรา-
ณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า
[๑๔๑] พระมหาบุรุษทรงทำแล้ว ทรงประพฤติ
แล้ว ซึ่งการให้ ๑ ซึ่งความเป็นผู้ประพฤติให้
เป็นประโยชน์ ๑ ซึ่งความเป็นผู้กล่าวคำเป็น
ที่รัก ๑ ซึ่งความเป็นผู้มีฉันทะเสมอกัน ๑
ให้เป็นความสงเคราะห์อย่างดีแก่ชนเป็นอัน
มาก. ย่อมไปสู่สวรรค์ด้วยคุณอันตนมิได้ดู
หมิ่น
จุติจากสวรรค์แล้วเวียนมาในโลกนี้ ก็เป็น
พระกุมารยังหนุ่มแน่นงดงาม ย่อมได้ความ
เป็นผู้มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
ความเป็นผู้มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมี
ลายเป็นตาข่ายงามอย่างยิ่ง และมีส่วนสวย
น่าชมด้วย
พระองค์มาสู่แผ่นดินนี้ มีบริวารชนอัน
พระองค์ตรวจตราและสงเคราะห์ดี ตรัสด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 15
คำเป็นที่น่ารัก แสวงหาผลประโยชน์เกื้อกูล
และความสุขให้ ทรงประพฤติคุณงามความดี
ที่พระองค์ชอบเป็นอย่างยิ่ง
ถ้าพระองค์ทรงละ การบริโภคกามทั้งปวง
เป็นพระชินะตรัสธรรมกถา แก่ประชุมชน
ชนทั้งหลายก็จะสนองคำของพระองค์ เลื่อมใส
ยิ่งนัก ครั้นฟังธรรมแล้วย่อมจะพากันประพฤติ
ธรรมสมควรแก่ธรรม.
[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยอรรถ ประกอบ
ด้วยธรรม แนะนำประชาชนเป็นอันมาก เป็นผู้นำประโยชน์ และความ
สุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้บูชาธรรมเป็นปรกติ. ตถาคตย่อมเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ
สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ จุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้วมาสู่ความเป็น
อย่างนี้ ย่อมได้ซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ นี้คือ มีพระบาทดุจสังข์
คว่ำ ๑ มีพระโลมาล้วนมีปลายช้อยขึ้นข้างบนทุก ๆ เส้น ๑. พระมหา
บุรุษสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะทั้งสองนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะเป็นพระเจ้า-
จักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระเจ้าจักรพรรดิจะได้อะไร เมื่อเป็นพระเจ้า-
จักรพรรดิจะได้รับผลข้อนี้ คือ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประมุขสูง
สุด ดีกว่าหมู่ชนบริโภคกาม. ถ้าพระมหาบุรุษออกทรงผนวชจะได้เป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคา คือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 16
เป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้คือ เป็น
ผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประมุขสูงสุด ดีกว่าสรรพสัตว์. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถา
ประพันธ์นี้ในพระลักษณะเหล่านี้ว่า
[๑๔๓] พระมหาบุรุษพิจารณาก่อนจึงกล่าวคำอัน
ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม
แสดงกะประชาชนเป็นอันมาก เป็นผู้นำ
ประโยชน์และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย
เป็นผู้ไม่ตระหนี่ ได้เสียสละบูชาธรรมแล้ว
พระองค์ย่อมไปสู่สุคติ บันเทิงอยู่ในสุคติ
นั้น เพราะกรรมอันพระองค์ประพฤติดีแล้ว
มาในโลกนี้ย่อมได้พระลักษณะ ๒ ประการ
เพื่อความเป็นผู้มีความสุขอันอุดม
พระมหาบุรุษนั้นมีพระโลมามีปลายช้อย
ขึ้นข้างบนและโลหิตปิดบัง อันหนังหุ้มห่อ
มังสะและพระโลหิตปิดบัง อันหนังหุ้มห่อ
แล้ว และมีพระเพลาเบื้องบนงาม
พระมหาบุรุษเช่นนั้น หากครองเรือน จะ
ถึงความเป็นผู้เลิศกว่าพวกที่บริโภคกาม ไม่มี
ใคร ๆ ยิ่งกว่า พระองค์ทรงครอบงำชมพูทวีป
เสียสิ้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 17
อนึ่ง หากพระองค์ออกทรงผนวช ก็จะ
ทรงพระวิริยะอย่างประเสริฐ ถึงความเป็นผู้
เลิศกว่าสัตว์ทั้งปวง ไม่มีใคร ๆ ยิ่งกว่า
พระองค์ได้ ทรงครอบงำโลกทั้งปวงอยู่.
[๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน เป็นผู้ตั้งใจสอนศิลปะ วิชา จรณะ หรือกรรม
โดยความตั้งใจว่า ทำอย่างไรชนทั้งหลายนี้ พึงรู้เร็ว พึงสำเร็จเร็ว ไม่พึง
ลำบากนาน. ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย
แตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจาก
โลกสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้ฟังมหาปุริสลักษณะนี้คือ
มีพระชงฆ์เรียวดังแข้งเนื้อทราย. พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะนั้น
ถ้าอยู่ครองเรือน จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้
อะไร เมื่อเป็นพระราชา จะได้รับผลข้อนี้ คือ จะทรงได้พาหนะอันคู่ควร
แก่พระราชา ซึ่งเป็นองค์เสนาแห่งพระราชา และเครื่องราชูปโภค อัน
สมควรแก่พระราชาโดยพลัน ฯลฯ ถ้าพระมหาบุรุษออกทรงผนวชจะได้
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคา คือ กิเลสเปิดแล้วในโลก
เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้ผลข้อนี้ คือ
จะทรงได้ ปัจจัยย้อนควรแก่สมณะ และบริษัท อันเป็นองค์ของสมณะ และ
เครื่องสมณูปโภค อันควรแก่สมณะโดยพลัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ใน
พระลักษณะเหล่านั้นว่า
[๑๔๕] พระมหาบุรุษทรงปรารภอยู่ว่า ทำไฉน
พวกชนทั้งหลายพึงรู้แจ่มแจ้งเร็วในศิลปะ ใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 18
วิชา ในจรณะ และในกรรม และก่อนบอก
ศิลปะที่ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนใคร ๆ ด้วย
ความตั้งใจว่า ผู้ศึกษาจะไม่ลำบากนาน
ครั้นทำกุศลกรรมมีความสุขเป็นกำไรนั้น
แล้ว ย่อมได้พระชงฆ์ทั้งคู่เป็นที่ชอบใจ มี
ทรวดทรงดี กลมกล่อม เป็นสุชาต เรียวไป
โดยลำดับ มีพระโลมามีปลายช้อยขึ้นข้างบน
มีหนังอันละเอียดหุ้มห่อแล้ว
บัณฑิตทั้งหลาย ชมพระมหาบุรุษนั้นว่า
พระองค์มีพระชงฆ์ดุจแข้งเนื้อทราย และชม
พระลักษณะ และพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ อัน
ประกอบตัวสมบัติที่ใคร ๆ ปรารถนารวมเข้า
ไว้ในที่นี้ พระมหาบุรุษเมื่อยังไม่ทรงผนวชก็
ได้ลักษณะนั้นในที่นี้เร็วพลัน
ถ้าออกทรงผนวช ทรงยินดีด้วยความพอ
พระทัยในเนกขัมมะ มีพระปรีชาเห็นแจ้ง
ทรงพระวิริยะยอดเยี่ยม จะทรงได้พระ-
ลักษณะเป็นอนุโลมแก่พระลักษณะที่สมควร
เร็วพลัน.
[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน ได้เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์ แล้วซักถาม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 19
ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กรรมส่วนกุศลเป็นอย่างไร กรรมส่วนอกุศลเป็น
อย่างไร กรรมส่วนที่มีโทษเป็นอย่างไร กรรมส่วนที่ไม่มีโทษเป็นอย่างไร
กรรมส่วนที่ควรเสพเป็นอย่างไร กรรมที่ไม่ควรเสพเป็นอย่างไร กรรมอะไร
ที่ข้าพเจ้าทำอยู่ พึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
อนึ่ง กรรมอะไรที่ข้าพเจ้าทำอยู่ พึงเป็นไปเพื่อเป็นประโยชน์ เพื่อ สุข
ตลอดกาลนาน. ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ครั้น
จุติจากสวรรค์นั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้ซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้คือ
มีพระฉวีสุขุมละเอียด เพราะพระฉวีสุขุมละเอียด ธุลีละอองมิติดพระ-
วรกายได้. พระมหาบุรุษทรงสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือน
จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็น
พระราชาจะได้ผลข้อนี้ คือ มีปัญญามาก ไม่มีบรรดากามโภคีชนผู้ใดผู้หนึ่ง
มีปัญญาเสมอ หรือมีปัญญาประเสริฐ กว่าพระองค์. ถ้าออกทรงผนวช
จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก
เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้ คือ
มีพระปรีชามาก มีพระปรีชากว้างขวาง มีพระปรีชาร่าเริง มีพระปรีชา
ว่องไว มีพระปรีชาเฉียบแหลม มีพระปรีชาทำลายกิเลส ไม่มีสรรพสัตว์
ผู้ใดผู้หนึ่งมีปัญญาเสมอ หรือมีปัญญาประเสริฐกว่าพระองค์. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์นี้ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า
[๑๔๗] พระมหาบุรุษเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ๆ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 20
ประสงค์จะรู้ทั่วถึงเข้าหาบรรพชิต สอบถาม
ตั้งใจฟังด้วยดี มุ่งความเจริญ อยู่ภายใน
ไตร่ตรองอรรถกถา
มาอุบัติเป็นมนุษย์ มีพระฉวีละเอียด
เพราะกรรมที่ได้ปัญญา บัณฑิตผู้ฉลาดใน
ลักษณะ และนิมิต ท่านายว่า พระราชกุมาร
เช่นนี้ จะทรงหยั่งทราบอรรถ อันสุขุมแล้ว
เห็นอยู่
ถ้าไม่เข้าถึงบรรพชาก็จะยังจักรให้เป็นไป
ปกครองแผ่นดิน ในการสั่งสอนสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ และในการกำหนด ไม่มีใคร
ประเสริฐหรือเสมอเท่าพระองค์
ถ้าพระราชกุมารเช่นนั้นออกทรงผนวช
ยินดีด้วยความพอพระทัยในเนกขัมมะ มีพระ
ปรีชาเห็นแจ่มแจ้ง ทรงได้พระปรีชาอันพิเศษ
อันยอดเยี่ยม บรรลุโพธิญาณ ทรงพระปรีชา
ประเสริฐกว้างขวางดังแผ่นดิน.
[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน เป็นผู้ไม่มีความโกรธ ไม่มีความแค้นใจแม้
คนหมู่มากว่าเอาก็ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่จองผลาญ ไม่ทำความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 21
โกรธ ความเคือง และความเสียใจให้ปรากฏ และเป็นผู้ให้เครื่องลาดมี
เนื้อละเอียดอ่อน และให้ผ้าสำหรับนุ่งห่ม คือผ้าโขมพัสตร์มีเนื้อละเอียด
ผ้าฝ้ายมีเนื้อละเอียด ผ้าให้มีเนื้อละเอียด ผ้ากัมพลมีเนื้อละเอียด. ตถาคต
ย่อมเข้าถึงสุติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรม
นั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว
มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้ซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้คือ มีฉวีวรรณดังทองคำ
มีผิวหนังคล้ายทองคำ. พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครอง
เรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อ
เป็นพระราชาจะได้รับผลข้อนี้คือ จะได้เครื่องลาดมีเนื้อละเอียด ทั้งได้ผ้า
สำหรับนุ่งห่มคือผ้าโขมพัสตร์มีเนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายมีเนื้อละเอียด ผ้าไหม
มีเนื้อละเอียด ผ้ากัมพลมีเนื้อละเอียด ถ้าพระมหาบุรุษออกทรงผนวชจะได้
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลังคาคือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็น
พระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้คือ ทรงได้
เครื่องลาดมีเนื้อละเอียดอ่อน ทรงได้ผ้าสำหรับนุ่งห่ม คือผ้าโขมพัสตร์มี
เนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายมีเนื้อละเอียด ผ้าไหมมีเนื้อละเอียด ผ้ากัมพลมีเนื้อ
ละเอียด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย
จึงกล่าวคาถาประพันธ์ในพระลักษณะนั้นว่า
[๑๔๙] พระมหาบุรุษของอธิษฐานความไม่โกรธ
และได้ให้ทานคือ ผ้าเป็นอันมากลัวแต่มี
เนื้อละเอียดมีสี ดำรงอยู่ในภพก่อน ๆ ทรง
เสียสละ เหมือนฝนตกทั่วแผ่นดิน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 22
ครั้นทรงทำกุศลกรรมนั้นแล้ว จุติจากโลก
มนุษยโลก เข้าถึงเทวโลก เสวยวิบากอันเป็น
ผลกรรมที่ทรงทำไว้ดี มีพระฉวีเปรียบด้วย
ทอง ดุจพระอินทรีผู้ประเสริฐกว่าเทวดา ย่อม
ครอบงำในเทวโลก
ถ้าเสด็จครองเรือน ไม่ปรารถนาที่จะทรง
ผนวช ก็จะทรงปกครองแผ่นดินใหญ่ ทรงได้
รัตนะ ๗ ประการ และความเป็นผู้มีพระฉวี
สะอาดละเอียดงาม ครอบงำประชุมชนใน
โลกนี้
ถ้าทรงผนวชก็จะได้ผ้าสำหรับทรงครอง
เป็นเครื่องนุ่งห่มอย่างดี และเสวยผลกรรมที่
เป็นประโยชน์ดีที่ทรงทำไว้ในภพก่อน ความ
หมดสิ้นแห่งผลกรรมที่พระองค์ทำไว้หามีไม่.
[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน เป็นผู้นำพวกญาติมิตร สหายผู้มีใจดีที่สูญหาย
พลัดพรากไปนาน ให้กลับมาพบกัน นำมารดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้
พบกับมารดา นำบุตรให้พบกับบิดา นำบิดาให้พบกับบุตร นำบิดากับพี่น้อง
ให้พบกัน นำพี่ชายกับน้องสาวให้พบกัน นำน้องสาวกับพี่ชายให้พบกัน
ครั้นนำเขาให้พบพร้อมเพรียงกันแล้ว ก็ชื่นชม. ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 23
สวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม
พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์แล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้
ซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้ คือ มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก. พระมหาบุรุษสมบูรณ์
ด้วยพระลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯ ล ฯ
เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับผลข้อนี้คือ มี
พระโอรสมาก พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรง
สมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้. ถ้าทรงออกผนวชจะได้
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคา คือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก
เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้คือ
มีพระโอรสมาก พระโอรสของพระองค์มีจำนวนหลายพัน ล้วนเป็นผู้
แกล้วกล้า มีความเพียรเป็นองคสมบัติ. กำจัดเสนาอันเสียได้. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์นี้ในพระลักษณะนั้นว่า
[๑๕๑] พระมหาบุรุษเป็นมนุษย์ในชาติก่อนๆ ได้
ทรงนำพวกญาติมิตรที่สูญหายพลัดพรากไป
นานให้มาพบกัน ครั้นทำให้เขาพร้อมเพรียง
กันแล้วก็ชื่นชม
เพราะกุศลกรรมนั้นพระองค์จงหลีกไปสู่
ไตรทิพย์ เสวยความสุขและสมบัติเป็นที่
เพลิดเพลินและยินดี จุติจากเทวโลกแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 24
เวียนมาเกิดในโลกนี้ ย่อมได้อังคาพยพที่ปิด
บัง ตั้งอยู่ในฝัก
พระมหาบุรุษเช่นนั้นมีพระโอรสมาก พระ
โอรสของพระองค์มากกว่าพัน ล้วนแกล้วกล้า
เป็นวีรบุรุษ สามารถให้ศัตรูพ่ายไป ให้ปีติ
เกิด และทูลถ้อยคำน่ารัก แก่พระมหาบุรุษ
ที่ยังทรงเป็นคฤหัสถ์
เมื่อพระมหาบุรุษทรงผนวชบำเพ็ญพรต มี
พระโอรสมากกว่านั้น ล้วนแต่ดำเนินตาม
พระพุทธพจน์ พระลักษณะนั้นย่อมเป็นนิมิต
ส่องความนั้น สำหรับพระมหาบุรุษที่เป็น
คฤหัสถ์หรือบรรพชิต.
[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน เมื่อตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์ ย่อมรู้จัก
ชนที่เสมอกันรู้จักกันเอง รู้จักบุรุษ รู้จักบุรุษพิเศษ หยั่งทราบว่าบุคคลนี้
ควรแก่สักการะนี้ บุคคลนี้ควรแก่สักการะนี้ ดังนี้ แล้วทำประโยชน์พิเศษ
ในบุคคลนั้น ๆ ในกาลก่อน ๆ. ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์
ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้ซึ่งมหา-
ปุริสลักษณะ ๒ ประการนี้ คือ มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดังต้นนิโครธ ๑
เมื่อทรงยืนอยู่ไม่ต้องทรงน้อมพระวรกายลง ย่อมลูบคลำพระชานุทั้งสอง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 25
ด้วยฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองได้ ๑. พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะทั้งสอง
นั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯ ล ฯ เมื่อเป็นพระราชา
จะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับผลข้อนี้คือ เป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องอุปกรณ์น่าปลื้มใจมาก มีทรัพย์
และข้าวเปลือกมาก มีคลังเต็มบริบูรณ์ ถ้าทรงออกผนวชจะได้เป็นพระ-
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็น
พระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผล คือ เป็นผู้มั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ทรัพย์ของพระองค์นั้นคือ ศรัทธา ศีล หิริ-
โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา เป็นทรัพย์อย่างหนึ่ง ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้
ในพระลักษณะนั้นว่า
[๑๕๓] พระมหาบุรุษเมื่อตรวจดูมหาชนที่ควร
สงเคราะห์พิจารณาแล้วสอดส่อง แล้วคิดหยั่ง
ทราบว่า บุคคลนี้ควรแก่สักภาระนี้ดังนี้แล้ว
ทำกิจพิเศษของบุรุษรนบุคคลนั้น ๆ ในกาล
ก่อน.
ก็และพระมหาบุรุษทรงยืนตรงไม่ต้อง
น้อมพระวรกายลงก็ถูกต้องพระชานุทั้งสอง
ด้วยพระกรทั้งสองได้ และมีพระกายเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 26
ปริมณฑลดุจต้นนิโครธที่งอกงามบนแผ่นดิน
ด้วยผลกรรมที่ประพฤติมาดีแล้ว ยังเป็นส่วน
เหลือ.
มนุษย์ทั้งหลายที่มีปัญญาอันละเอียดรู้จัก
นิมิตและลักษณะมากอย่างทำนายว่า พระ
โอรสนี้เป็นพระดรุณกุมาร ยังทรงพระเยาว์
ย่อมได้พระลักษณะอันคู่ควรแก่คฤหัสถ์มาก
อย่าง.
กามโภคะอันควรแก่คฤหัสถ์เป็นอันมาก
ยอมมีแก่พระราชกุมารผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ในมรดกวิสัยนี้ ถ้าพระราชกุมารนี้ทรงละกาม
โภคะทั้งปวง จะทรงได้อนุตตรธรรม อันเป็น
ทรัพย์สูงสุด.
[ ๑๕๔ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ภพก่อน กำเนิดก่อน เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความ
ผาสุก หวังความเกษมจากโยคะ แก่ชนเป็นอันมาก ด้วยมนสิการว่า
ทำไฉน ? ชนเหล่านี้พึงเจริญด้วยศรัทธา เจริญด้วยศีล เจริญด้วยสุตะ
เจริญด้วยพุทธิ เจริญด้วยจาคะ เจริญด้วยธรรม เจริญด้วยปัญญา เจริญ
ด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก เจริญด้วยนาและสวน เจริญด้วยสัตว์สองเท้า
และสัตว์สี่เท้า เจริญด้วยบุตรและภรรยา เจริญด้วยทาสและกรรมกร เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 27
ด้วยญาติ เจริญด้วยมิตร เจริญด้วยพวกพ้อง ดังนี้. ตถาคตย่อมเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้น อันตน
ทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความ
เป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๓ ประการนี้ คือ มีส่วน
พระกายข้างหน้าดังว่ากึ่งกายข้างหน้าราชสีห์ มีระหว่างพระปฤษฎางค์
เต็มดี ๑ มีลำพระศอกลมเสมอกัน ๑. พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๓
ประการนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯ ล ฯ เมื่อเป็น
พระราชาจะได้อะไร ? เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับผลข้อนี้ คือมีความไม่เสื่อม
เป็นธรรมดา คือไม่เสื่อมจากทรัพย์และข้าวเปลือก ไม่เสื่อมจากนาและสวน
ไม่เสื่อมจากสัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้าไม่เสื่อมจากบุตรและภรรยา ไม่เสื่อม
จากทาสและกรรมกร ไม่เสื่อมจากญาติ ไม่เสื่อมจากมิตร ไม่เสื่อมจากพวก
พ้อง ไม่เสื่อมจากสรรพสมบัติ ถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือนผนวชเป็น
บรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือ กิเลสอันเปิด
แล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร ? เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้
รับผลข้อนี้ คือมีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา คือไม่เสื่อมจากศรัทธา ไม่เสื่อม
จากศีล ไม่เสื่อมจากสุตะ ไม่เสื่อมจากจาคะ ไม่เสื่อมจากปัญญา ไม่เสื่อม
จากสมบัติทั้งปวง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณา-
จารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า
[ ๑๕๕] พระมหาบุรุษย่อมปรารถนาความเจริญ
กับด้วยประชาชนเหล่าอื่นว่า ทำไฉน พหุชน
พึงไม่เสื่อมศรัทธา ศีล สุตะ พุทธิ จาคะ
ธรรม คุณอันให้ประโยชน์สำเร็จมาก ทรัพย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 28
ข้าวเปลือก นา สวน บุตร ภรรยา สัตว์ทั้ง
สองเท้าและสัตว์ทั้งสี่เท้า ญาติ มิตร พวกพ้อง.
และพละ วรรณะ สุข ทั้ง ๒ ประการดังนี้
ทั้งหวังความมั่งมีเเละความสำเร็จ.
พระมหาบุรุษนั้นมีส่วนพระกายข้างหน้า
ดำรงอยู่เป็นอันดี ดังว่ากึ่งกายข้างหน้าแห่ง
ราชสีห์ และมีพระศอกลมเสมอกัน ทั้งมี
ระหว่างพระปฤษฎางค์เต็มดี ลักษณะทั้ง ๓ นี้
เป็นบุพนิมิต ไม่เสื่อมปรากฏอยู่ เพราะ
กรรมที่พระมหาบุรุษประพฤติดีแล้ว ทำแล้ว
ในกาลก่อน.
พระมหาบุรุษแม้ดำรงอยู่ในคิหิวิสัย ย่อม
ทรงเจริญด้วย ข้าวเปลือก ทรัพย์ บุตร ภรรยา
สัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้า ถ้าทรงตัดกังวล
เสีย ทรงผนวช ย่อมทรงบรรลุพระสัมโพธิ-
ญาณอันประเสริฐ มีความไม่เสื่อมเป็น
ธรรมดา.
[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ด้วยฝ่ามือ
ด้วยก้อนหินด้วยท่อนไม้หรือด้วยศัสตรา. ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เบื่อหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 29
ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้ซึ่ง
มหาปุริสลักษณะนี้ คือมีเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันเลิศ กล่าวคือ
พระมหาบุรุษนั้นมีเส้นประสาทมีปลายข้างบนประชุมอยู่ที่พระศอ สำหรับ
นำรสอาหารแผ่ซ่านไปสม่ำเสมอทั่วพระวรกาย. พระองค์สมบูรณ์ด้วยพระ
ลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็น
พระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับผลข้อนี้คือ มีพระโรคาพาธ
น้อย มีความลำบากน้อย สมบูรณ์ด้วยพระเตโชธาตุ อันทำอาหารให้ย่อยดี
ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ถ้าออกทรงผนวชจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า มีหลังคาคือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้
อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้คือ มีพระโรคาพาธน้อย มี
ความลำบากน้อย สมบูรณ์ด้วยพระเตโชธาตุ อันทำอาหารให้ย่อยดี ไม่
เย็นนัก ไม่ร้อนนัก อันควรแก่ปธานะ เป็นปานกลาง. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ใน
พระลักษณะเหล่านั้นว่า
[๑๔๗] พระมาบุรุษไม่เบียดเบียน ไม่ย่ำยีสัตว์
ด้วยฝ่ามือ ด้วยท่อนไม้ ด้วยก้อนดิน ด้วย
ศัสตรา ด้วยให้ตายเอง ด้วยบังคับให้ผู้อื่นฆ่า
ด้วยจำจอง หรือด้วยให้หวาดกลัว.
เพราะกรรมนั้นนั่นแหละ พระมหาบุรุษไป
จากมนุษย์โลกจึงบันเทิงใจในสุคติและเพราะ
ทำกรรมมีผลเป็นสุข จึงได้สุขมากและมีเส้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 30
ประสาทสำหรับรับนำรสอาหารอันดี เสด็จมา
ในโลกนี้แล้ว จึงทรงได้รสอาหารดีเลิศ
เพราะฉะนั้น พวกพราหมณ์ผู้ฉลาดมี
ปัญญาเห็นแจ่มแจ้งจึงทำนายว่า พระราชกุมาร
นี้จักมีความสุขมาก ลักษณะนั้นย่อมส่อง
อรรถนั้น สำหรับพระราชกุมารผู้ยังดำรงอยู่ใน
คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต.
[๕๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน ไม่ถลึงตาดู ไม่ค้อนตาดู ไม่ชำเลืองตาดู
เป็นผู้ตรง มีใจตรงเป็นปกติ แลดูตรง ๆ และแลดูพหุชนด้วยตาน่ารัก.
ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะ
กรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้น
แล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้ซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ เหล่านี้คือ
มีพระเนตรสีดำสนิท ๑ มีดวงพระเนตรดุจตาโค. พระมหาบุรุษสมบูรณ์
ด้วยพระลักษณะ ๒ ประการนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ ฯ ล ฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับ
ผลข้อนี้คือ เป็นผู้ที่ชนทั้งหลายเห็นแล้วน่ารักใคร่ พอใจของพราหมณ์และ
คฤหบดี ของชาวนิคม และกองชาวชนบท ของโหราจารย์ และมหาอำมาตย์
ของกองทหาร ของนายประตู ของอำมาตย์ ของบริษัท ของพวกเจ้าของ
เศรษฐี ของพระราชกุมาร ถ้าพระมหาบุรุษออกทรงผนวชจะได้เป็นพระ
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 31
พระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้คือ เป็นผู้ที่
ชนทั้งหลายเห็นแล้วรัก เป็นที่รักใคร่พอใจของ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา เทวดา มนุษย์ อสูร นาค และคนธรรพ์. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ใน
พระลักษณะนั้นว่า
[๑๕๙] พระมหาบุรุษไม่ถลึงตาดู ไม่ค้อนตาดู ไม่
ชำเลืองดู เป็นผู้ตรง มีใจตรง เป็นปรกติ
แลดูพหุชนด้วยปิยจักษุ
พระองค์เสวยวิบาก อันเป็นผลบันเทิงอยู่
ในสุคติทั้งหลาย มาในโลกนี้มีดวงพระเนตร
ดุจตาโค และมีพระนัยน์ตาดำสนิท มีการเห็น
แจ่มใส
พวกมนุษย์ผู้ประกอบ ในลักษณศาสตร์
มีความละเอียด ผู้ฉลาดในนิมิต มีบทมาก
ฉลาดในการตรวจ เห็นนัยน์ตามีสีดำสนิท
และดวงตาเป็นดุจตาโค จะชมเชยพระราช
กุมารนั้นว่า พระองค์เป็นที่น่ารัก
พระมหาบุรุษดำรงอยู่ในคฤหัสถ์เป็นที่
เห็นน่ารัก เป็นที่รักของชนมาก ก็ถ้าพระองค์
ทรงละเพศคฤหัสถ์เป็นพระสมณะแล้ว ย่อม
เป็นที่รักของพหุชน และยังชนเป็นอันมากให้
สร่างโศก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 32
[๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน เป็นหัวหน้าของชนเป็นอันมาก ในธรรม
ทั้งหลาย ฝ่ายกุศล เป็นประธานของชนเป็นอันมากด้วยกายสุจริต ด้วย
วจีสุจริต ด้วยมโนสุจริต ในการบำเพ็ญทาน ในการสมาทานศีล ในการ
รักษาอุโบสถ ในการปฏิบัติดีในมารดา ในการปฏิบัติดีในบิดา ในการ
ปฏิบัติดีในสมณะ ในการปฏิบัติดีในพราหมณ์ ในความเคารพต่อผู้ใหญ่ใน
ตระกูล และในธรรมเป็นอธิกุศลอื่น ๆ ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน
ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้ซึ่ง
มหาปุริสลักษณะนี้คือมีพระเศียรได้ปริมณฑลดุจประดับด้วยอุณหิส. พระ-
มหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้า-
จักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับ
ผลข้อนี้คือ เป็นที่คล้อยตามของมหาชนที่เป็นพราหมณ์ เป็นคฤหบดี
เป็นชาวนิคม เป็นชาวชนบท เป็นโหราจารย์ เป็นมหาอำมาตย์ เป็น
กองทหาร เป็นนายประตู เป็นอำมาตย์ เป็นบริษัท เป็นเจ้า เป็นเศรษฐี
เป็นราชกุมาร ถ้าพระมหาบุรุษออกทรงผนวชจะได้เป็นพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้า
จะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้คือ เป็นที่คล้อยตามแห่ง
มหาชน ที่เป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา เป็นเทวดา
เป็นมนุษย์ เป็นอสูร เป็นนาค เป็นคนธรรพ์. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์ใน
พระลักษณะนี้ว่า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 33
[๑๖๑] พระมหาบุรุษเป็นหัวหน้าในธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นสุจริต ทรงยินดีในธรรมจริยาเป็นที่คล้อย
ตามชนเป็นอันมาก เสวยผลบุญในสวรรค์
ครั้นเสวยผลแห่งสุจริตแล้วมาในโลกมิได้
ถึงความเป็นผู้มีพระเศียรดุจประดับด้วยอุณ-
หิส พวกที่ทรงจำพยัญชนะและนิมิตอยู่ทำนาย
ว่าพระราชกุมารนี้ จักเป็นหัวหน้าหมู่ชนมาก
หมู่ชนที่ช่วยเหลือพระองค์ในหมู่มนุษย์
ในโลกนี้จักมีมาก แม้ในเบื้องต้นครั้งนั้น
พวกพราหมณ์ก็พยากรณ์พระองค์ว่าพระราช-
กุมารนี้ ถ้าเป็นกษัตริย์จะเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
จะได้รับความช่วยเหลือในชนมากโดยแท้
ถ้าพระองค์ออกทรงผนวชจะปราดเปรื่อง
มีความชำนาญพิเศษ ในธรรมทั้งหลาย และ
ชนเป็นอันมาก จะเป็นผู้ยินดียิ่งในคุณ คือ
ความสั่งสอนของพระองค์ และจะคล้อยตาม.
[๑๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูด
แต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อถือ ไม่พูดลวงโลก.
ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 34
กรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์
นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้ซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ คือ
มีโลมาขุมละเส้น ๑ และมีอุณาโลมในระหว่างคิ้วมีสีขาวอ่อนเหมือนปุย
ฝ้าย ๑. พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะ ๒ ประการนั้น ถ้าอยู่
ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร
เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับผลข้อนี้คือ เป็นที่ประพฤติตามของมหาชน ที่
เป็นพราหมณ์ เป็นคฤหบดี เป็นชาวนิคม เป็นชาวชนบท เป็นโหราจารย์
เป็นมหาอำมาตย์ เป็นกองทหาร เป็นนายประตู เป็นอำมาตย์ เป็นบริษัท
เป็นเจ้า เป็นเศรษฐี เป็นราชกุมาร ถ้าออกทรงผนวชจะเป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็น
พระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้คือ เป็นที่
ประพฤติตามของมหาชนที่เป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา
เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นอสูร เป็นนาค เป็นคนธรรพ์. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์นี้ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า
[๑๖๓] ในชาติก่อน ๆ พระมหาบุรุมีปฏิญญา
เป็นสัจจะมีพระวาจาไม่เป็นสอง เว้นคำเหลว
ไหล ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดจากใคร ๆ ตรัส
โดยคำจริง คำแท้ คำคงที่
มีพระอุณาโลมสีขาวสะอาดอ่อนดีดังปุย
นุ่น เกิดในระหว่างพระขนง และในขุมพระ
โลมา ทั่วไป ไม่มีพระโลมาเกิดเป็นสองเส้น
มีพระสรีระอันพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ ขึ้นสะพรั่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 35
พวกผู้รู้พระลักษณะ ฉลาดในนิมิต ที่
ปราภฏ เป็นจำนวนมากมาประชุมกัน แล้ว
ทำนายพระมหาบุรุษว่า พระอุณาโลมตั้งอยู่ดี
โดยนิมิต บ่งว่า ชนเป็นอันมากย่อมประพฤติ
ตาม
พระมหาบุรุษแม้ดำรงอยู่ในคิหิวิสัย มหา-
ชนก็ประพฤติตาม เพราะกรรมที่ทรงทำไว้มาก
ในชาติก่อน หมู่ชนย่อมประพฤติตาม พระ-
มหาบุรุษผู้ตัดกังวลทรงผนวชเป็นพระพุทธเจ้า
ผู้ประเสริฐ เป็นผู้สงบ.
[๑๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ในภพก่อน ในกำเนิดก่อน ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจาก
ข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจาก
ข้างโน้นแล้วไม่ไปบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่
แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้
พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้รู้
พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำคนให้พร้อมเพรียงกัน. ตถาคตย่อมเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ
สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความ
เป็นอย่างนี้ ย่อมได้ซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการคือ มีพระทนต์ ๔๐ ซี่
๑ มีพระทนต์ไม่ห่าง ๑. พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะ ๒ ประการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 36
นั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระ
ราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาจะได้รับผลข้อนี้ มีบริษัทไม่แตกกัน
บริษัทของพระองค์ที่ไม่แตกกัน เป็นพราหมณ์ เป็นคฤหบดี เป็นชาวนิคม
เป็นชาวชนบท เป็นโหราจารย์ เป็นมหาอำมาตย์ เป็นกองทหาร เป็น
นายประตู เป็นอำมาตย์ เป็นบริษัท เป็นเจ้า เป็นเศรษฐี เป็นราชกุมาร
ถ้าออกทรงผนวชจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือ กิเลส
อันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้า
จะได้รับผลข้อนี้คือ บริษัทไม่แตกกัน บริษัทของพระองค์ที่ไม่แตกกันเป็น
ภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา เป็นเทวดา เป็นมนุษย์
เป็นอสูร เป็นนาค เป็นคนธรรพ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้.
พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในลักษณะเหล่านั้นว่า
[๑๖๕] พระมหาบุรุษไม่ได้กล่าววาจาอันส่อเสียด
ทำความแตกแก่พวกที่ดีกัน ทำความวิวาท
เป็นเหตุให้แตกกันมากไป ทำการที่ไม่ควร
เป็นเหตุให้ทะเลาะกันมา ไป ทำความแตก
กันให้เกิดแก่พวกที่ดีกัน
ได้กล่าววาจาดี อันทำความไม่วิวาทให้
เจริญ อันยังความติดต่อกันให้เกิดแก่พวกที่
แตกกัน บรรเทาความทะเลาะของชน มี
ความสามัคคีกับหมู่ชน ยินดีเบิกบานอยู่กับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 37
ประชาชน
ย่อมเสวยวิบากอันเป็นผลเบิกบานอยู่ใน
สุคติ มาในโลกนี้ย่อมมีพระทนต์ไม่ห่าง
เรียบดี และมีพระทนต์ ๔๐ ซี่เกิดอยู่ในพระ
โอษฐ์ตั้งอยู่เป็นอย่างดี
ถ้าพระองค์เป็นกษัตริย์ เป็นใหญ่ใน
แผ่นดิน จะมีบริษัทไม่แตกกัน หากพระองค์
เป็นสมณะจะปราศจากกิเลส ปราศจากมลทิน
บริษัทของพระองค์จะดำเนินตาม ไม่มีความ
หวั่นไหว.
[๑๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ภพก่อน กำเนิดก่อน ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ
เพราะหูชวนให้รักจับใจ ชนส่วนมากรักใคร่ชอบใจ. ตถาคตย่อมเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ
สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความเป็น
อย่างนี้ ย่อมได้ซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการคือ มีพระชิวหาใหญ่ ๑
มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม เมื่อตรัสมีกระแสดุจเสียงนกการะเวก ๑.
พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยพระลักษณะ ๒ ประการนั้น ถ้าอยู่ครองเรือน
จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็น
พระราชาจะได้รับผลข้อนี้คือ มีพระวาจาอันชนเป็นอันมากเชื่อถือ ชนเป็น
อันมากที่เชื่อถือถ้อยคำของพระองค์ เป็นพราหมณ์ เป็นคฤหบดี เป็นชาว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 38
นิคม เป็นชาวชนบท เป็นโหราจารย์ เป็นมหาอำมาตย์ เป็นกองทหาร
เป็นนายประตู เป็นอำมาตย์ เป็นบริษัท เป็นเจ้า เป็นเศรษฐี เป็นราชกุมาร
ถ้าออกทรงผนวชจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือ
กิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระ-
พุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้คือ มีพระวาจาอันมหาชนเชื่อถือ มหาชนที่เธอ
ถือพระวาจาของพระองค์เป็นภิกษุ เป็นภิกษุณี เป็นอุบาสก เป็นอุบาสิกา
เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นอสูร เป็นนาค เป็นคนธรรพ์. พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถา
ประพันธ์นี้ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า
[๑๖๗] พระมหาบุรุษไม่ได้กล่าววาจาหยาบ ทำ
ความด่าความบาดหมาง ความลำบากใจ ทำ
ความเจ็บใจ อันย่ำยีมหาชน เป็นคำชั่วร้าย
ได้กล่าววาจาอ่อนหวาน ไพเราะมีประโยชน์ดี
กล่าววาจา
เป็นที่รักแห่งใจอันไปสู่หทัย สะดวกหู
เสวยผลแห่งวาจาที่ประพฤติดี และเสวยผล
บุญในสวรรค์ ครั้นเสวยผลแห่งกรรมที่
ประพฤติดีแล้ว มาในโลกนี้ ได้ถึงความเป็น
ผู้มีเสียงดุจเสียงพรหม และมีพระชิวหา
ไพบูลย์กว้าง มีคำที่ตรัสอันมหาชนเชื่อถือ
ผลนี้ย่อมสำเร็จแก่พระองค์ แม้เป็น
คฤหัสถ์ตรัสอยู่ฉันใด ถ้าออกทรงผนวช
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 39
เมื่อตรัสคำที่ตรัสดีมากแก่มหาชน คำนั้น
มหาชนก็เชื่อถือฉันนั้นโดยแท้.
[๑๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ภพก่อน กำเนิดก่อน ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาลพูด
แต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง
มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร. ตถาคตย่อมถึงสุคติโลก
สวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม
พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้
ย่อมได้ซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้คือ มีพระหนุดุจคางราชสีห์. พระมหาบุรุษ
สมบูรณ์ด้วยพระลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
ฯลฯ เมื่อเป็นพระเจ้าจักรพรรดิจะได้อะไร เมื่อเป็นพระเจ้าจักรพรรดิจะ
ได้รับผลข้อนี้คือ ไม่มีใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ เป็นข้าศึกศัตรูกำจัดได้ ถ้าออก
ทรงผนวชจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือ กิเลสอัน
เปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้
รับผลข้อนี้คือ ไม่มีข้าศึกศัตรู ภายในภายนอก คือ ราคะ โทสะ โมหะ
หรือสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม ใครๆ ในโลกกำจัดได้. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้. พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์
นี้ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า
[๑๖๙] พระมหาบุรุษไม่กล่าวคำเพ้อเจ้อ ไม่กล่าว
คำปราศจากหลักฐาน มีคลองพระวาจาไม่
เหลวไหล ทรงบรรเทาเสียซึ่งคำไม่เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 40
ประโยชน์ ตรัสแต่คำที่เป็นประโยชน์ และ
คำที่เป็นสุขแก่มหาชน
ครั้นทำกรรมนั้นแล้วจุติจากมนุษย์โลก
เข้าสู่เทวโลกเสวยวิบากอันเป็นผลแห่งกรรม
ที่ทำดีแล้วจุติแล้วเวียนมาในโลกนี้ ได้ความ
เป็นผู้มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ที่ประเสริฐกว่า
สัตว์สี่เท่า
เป็นพระราชาที่เป็นใหญ่กว่ามนุษย์ยากนัก
ที่ใครจะกำจัดพระองค์ได้ พระองค์เป็นผู้ใหญ่
ยิ่งของมวลมนุษย์ มีอานุภาพมาก เป็นผู้เสมอ
ด้วยเทวดา ผู้ประเสริฐในไตรทิพย์ เป็น
เหมือนพระอินทร์ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา
เป็นผู้มั่นคง อันคนธรรพ์ อสูร ท้าวสักกะ
และยักษ์ ผู้กล้าไม่กำจัดได้โดยง่ายเลย
พระมหาบุรุษเช่นนั้น ย่อมเป็นใหญ่ทุกทิศ
ในโลกนี้โดยแท้.
[๑๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน
ภพก่อน กำเนิดก่อน ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สำเร็จความเป็นผู้อยู่ด้วยสัมมา-
อาชีวะ เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกง
ด้วยเครื่องตวงวัด และการโกงด้วยการรับสินบน การหลอกลวง และ
ตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 41
และการกรรโชก. ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตก เพราะกรรมนั้นอันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์. พระมหา
บุรุษนั้น ย่อมครอบงำ เทวดาทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์ โดยฐานะ ๑๐
คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์
เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ และโผฏฐัพพทิพย์. ครั้นจุติจากสวรรค์
นั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้ซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ คือ
มีพระทนต์เสมอกัน มีพระทาฐะสีขาวงาม ๑. พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วย
พระลักษณะทั้ง ๒ นั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็น
ผู้ทรงธรรมเป็นธรรมราชา มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว
มีอาณาจักรมั่นคง ถึงพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว
ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗. และมี
พระราชโอรสมากกว่าพัน ล้วนเป็นผู้แกล้วกล้า พระรูปสมเป็นวีรกษัตริย์
สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้. และพระมหาบุรุษนั้นทรงชนะโดยธรรม
เสมอ มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตรา ทรงครองแผ่นดินนี้มีสาครเป็นขอบ
เขต มิได้มีเสาเขื่อน มิได้มีนิมิต ไม่มีเสี้ยนหนาม มั่นคงแพร่หลาย มีความ
เกษมสำราญ ไม่มีหมู่โจร เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชา
จะได้ผลข้อนี้ คือ มีวารสะอาดได้แก่มีบริวารเป็นพราหมณ์ เป็นคฤหบดี
เป็นชาวนิคม เป็นชาวชนบท เป็นโหราจารย์ เป็นมหาอำมาตย์ เป็น
กองทหาร เป็นนายประตู เป็นอำมาตย์ เป็นบริษัท เป็นเจ้า เป็นเศรษฐี
เป็นกุมาร. ถ้าพระมหาบุรุษออกทรงผนวชจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัม-
พุทธเจ้า มีหลังคาคือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้
อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้ คือมีบริวารสะอาด บริวาร
ของพระองค์ที่ สะอาดนั้นได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เทวดา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 42
มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้ไว้
พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ ในพระลักษณะเหล่านั้นว่า
[๑๗๑] พระมหาบุรุษละมิจฉาอาชีวะเสีย ยังความ
ประพฤติให้เกิดแล้วด้วยสัมมาอาชีวะอัน
สะอาด อันเป็นไปโดยธรรม ละกรรมอันไม่
เป็นประโยชน์ ประพฤติแต่กรรมที่เป็น
ประโยชน์ และเป็นสุขแก่มหาชน.
ทำกรรมมีผลดีที่หมู่สัตบุรุษผู้มีปัญญาอัน
ละเอียด ผู้ฉลาดสรรเสริญแล้ว เสวยสุขอยู่
ในสวรรค์เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยสมบัติ เป็น
ที่ยินดีเพลิดเพลินอภิรมย์อยู่เสมอด้วยท้าว
สักกะผู้ประเสริฐในชั้นไตรทิพย์.
จุติจากสวรรค์แล้ว ได้ภพที่เป็นมนุษย์
ยังซ้ำได้ซึ่งพระทนต์ที่เกิดในพระโอฐสำหรับ
ตรัสเรียบเสมอ และพระทาฐะสีขาวหมด
จดสะอาด เพราะวิบากอันเป็นผลแห่งกรรม
ที่ทำดี.
พวกมนุษย์ผู้ทำนายลักษณะที่มีปัญญาอัน
ละเอียด ที่มหาชนยกย่องเป็นจำนวนมาก
ประชุมกันแล้ว พยากรณ์ว่า พระราชกุมารนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 43
จะมีหมู่ชนที่สะอาดเป็นบริวาร มีพระทนต์ที่
เกิดสองหนเสมอ และมีพระทาฐะมีสีขาว
สะอาดงาม.
ชนเป็นอันมากที่สะอาดเป็นบริวารของ
พระมหาบุรุษ ผู้เป็นพระราชาปกครองแผ่นดิน
ใหญ่นี้ ไม่กดขี่เบียดเบียนชาวชนบท ชน
ทั้งหลายต่างประพฤติกิจเป็นประโยชน์และ
เป็นสุขแก่มหาชน.
ถ้าพระองค์ออกทรงผนวชจะเป็นสมณะ
ปราศจากบาปธรรม มีกิเลสดังธุลีระงับไป
มีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้ว ปราศจากความ
กระวนกระวาย และความลำบาก จะทรงเห็น
โลกนี้ โลกอื่น และบรมธรรมโดยแท้.
คฤหัสถ์เป็นจำนวนมาก และพวกบรรพ-
ชิตที่ยังไม่สะอาด จะทำตามพระโอวาทของ
พระองค์ ผู้กำจัดบาปธรรมที่บัณฑิตติเตียน
เสียแล้ว พระองค์จะเป็นผู้อันบริวารที่สะอาด
ผู้กำจัดกิเลสเป็นมลทินเป็นดังว่า ตออันให้
โทษห้อมล้อมแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้ แล้ว. ภิกษุทั้งหลายชื่นชม
ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบลักขณสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 44
อรรถกถาลักขณสูตร
ลักขณสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
ต่อไปนี้จะพรรณนาบทที่ยากในลักขณสูตรนั้น บทว่า ทวตฺตึสีมานิ
ตัดบทเป็น ทวตฺตึส อิมานิ บทว่า มหาปุริสลกฺขณานิ ความว่า ความ
ปรากฏแห่งมหาบุรุษนิมิตแห่งมหาบุรุษ เป็นเหตุให้รู้ว่า นี้คือมหาบุรุษ. บท
เป็นอาทิว่า พระมหาบุรุษ ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ เหล่าใด ดังนี้
พึงทราบโดยนัยที่พิสดารแล้วในมหาปทาน เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวว่า
พวกฤษีแม้ในภายนอกก็ยังทรงจำมหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ๓๒
เหล่านี้ ได้ แต่พวกฤษีเหล่านั้นย่อมไม่รู้ว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมที่ตนทำสั่งสมพอกพูนไพบูลย์ไว้...
ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้มหาปุริส-
ลักษณะนี้ดังนี้ เพราะอนุรูปแก่เรื่องนี้เกิดขึ้น ด้วยว่า สูตรนี้ มีเรื่อง
เกิดขึ้นของสูตรนั้น ตั้งขึ้นที่ไหน ตั้งขึ้นในระหว่างพวกมนุษย์ภายในบ้าน.
ได้ยินว่า ในครั้งนั้น ชาวเมืองสาวัตถี นั่งประชุมสนทนากันใน
บ้านที่ประตูบ้านและที่หอนั่งเป็นต้น ของตนของตนว่า พระวรกายของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ มีพระรัศมีแผ่ออกจาก
พระวรกายวาหนึ่ง มหาปุริสลักษณะ ๓๒ เมื่อเปล่งพระรัศมีมีสี ๖ ประการ
ฉายแสงจากข้างนี้ ข้างนี้ ย่อมงามเหลือเกินประดุจดอกไม้สวรรค์แย้มบาน
ทั้งหมด ประดุจสวนดอกบัวที่แย้มกลีบ ประดุจเสาระเนียดวิจิตรด้วย
แก้วต่าง ๆ ประดุจท้องฟ้าซึ่งสะพรั่งด้วยดาวและพะยับแดด มิได้บอก
ว่าก็ลักษณะนี้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดขึ้นด้วยกรรมนี้ พระผู้มีพระภาค-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 45
เจ้าตรัสว่า ลักษณะนี้ เกิดขึ้น อย่างนี้ เพราะพระองค์ให้ทานแม้เพียงข้าว
ยาคูกระบวยหนึ่ง หรือเพียงข้าวทัพพีหนึ่งเป็นปัจจัยลักษณะเหล่านี้ ย่อม
เกิดขึ้นเเก่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น โดยที่พระศาสดาได้ทรงทำกรรมอะไรไว้
หนอ.
ลำดับนั้น พระอานนทเถระ จาริกไปภายในหมู่บ้านได้สดับการ
สนทนานี้ ทำภัตตกิจเสร็จแล้ว มาสู่วิหาร กระทำวัตรปฏิบัติแด่พระศาสดา
แล้ว ถวายบังคมกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้กถาข้อ
หนึ่งภายในหมู่บ้าน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า เธอฟังมาอย่างไร
อานนท์ ได้กราบทูลให้ทรงทราบทั้งหมด.
พระศาสดาสดับถ้อยคำของพระเถระแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
ที่นั่งแวดล้อมอยู่ทรงแสดงลักษณะทั้งหลายโดยลำดับว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษเหล่านี้มี
อยู่ ๓๒ ประการ ตรัสอย่างนั้น เพื่อแสดงถึงลักษณะที่เกิดขึ้นเพราะกรรม.
ในบททั้งหลายว่า ชาติ เป็นต้นก่อน ความว่าขันธ์ที่ เคยอาศัยอยู่ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ชาติ ด้วยสามารถเกิดแล้ว ตรัสว่า ภพ ด้วยสามารถ
เกิดอย่างนั้น ตรัสว่า กำเนิดด้วยสามารถอาศัยอยู่ หรือด้วยอรรถว่าเป็น
ที่อยู่ บทแม้ทั้ง ๓ นั้นมีอธิบายว่า ในขันธสันดานที่เคยอาศัยอยู่ ดังนี้ .
บัดนี้ เพราะขันธสันดานนั้นย่อมเป็นไปแม้ในเทวโลกเป็นต้น แต่
กุศลกรรมอันสามารถจะยังลักษณะให้เกิด ทำไม่ง่ายนักในเทวโลกนั้น เมื่อ
เป็นมนุษย์นั้นแหละ ลักษณะนั้นจึงทำได้ง่าย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงถึงกรรมที่พระองค์ทรงกระทำแล้วตามความเป็นจริง จึง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 46
ตรัสว่า ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ ดังนี้ หรือว่า นั้นไม่ใช่เหตุ จริงอยู่
พระมหาบุรุษแม้เป็นช้าง ม้า โค กระบือ วานร เป็นต้น ก็ทรงบำเพ็ญบารมี
ได้เหมือนกัน แต่เพราะพระองค์ดำรงอยู่ในอัตภาพเห็นปานนั้นไม่สามารถ
แสดงกรรมที่ทรงกระทำแล้วโดยง่าย แต่พระองค์ดำรงอยู่ในความเป็น
มนุษย์จึงสามารถแสดงกรรมที่พระองค์ทรงกระทำแล้วโดยง่าย ฉะนั้น จึง
ตรัสว่า ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ดังนี้. ทฬฺหสมาทาโน แปลว่า ถือมั่น.
บทว่า ในธรรมอันเป็นกุศลทั้งหลาย หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า
ยึดมั่นไม่ถอยหลัง ได้แก่ยึดแน่นเป็นนิจคือยึดมั่นไม่ถอยหลัง จริงอยู่
จิตของพระมหาสัตว์ย่อมม้วนกลับจากอกุศลกรรมดุจปีกไก่ต้องไฟฉะนั้น จิต
ของพระมหาบุรุษบรรลุกุศลย่อมเหยียดดุจเพดาน เพราะฉะนั้น พระตถาคต
เป็นผู้ยึดมั่นเป็นผู้มั่นไม่ถอยหลัง อันใครๆ จะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา
มารหรือพรหม ก็ไม่สามารถจะให้พระองค์สละความยืดมั่นในกุศลได้. มี
เรื่องเล่าว่า
ครั้งก่อนพระมหาบุรุษอุบัติในกำเนิดกระแต คราวนั้น เมื่อฝนตก
ห้วงน้ำไหลมาพัดเอารังของกระแตเข้าไปในมหาสมุทร มหาบุรุษคิดว่า เรา
จักนำลูกน้อยออกให้ได้ จึงจุ่มหางแล้วสลัดน้ำจากมหาสมุทรไปข้างนอก
ในวันที่ ๗ ท้าวสักกะทรงรำพึงแล้วเสด็จมาในที่นั้น ถามว่า ท่านทำอะไร
มหาบุรุษบอกเรื่องราวแก่ท้าวสักกะนั้น. ท้าวสักกะทรงบอกถึงความที่น้ำจะ
นำออกจากมหาสมุทรได้ยาก. พระโพธิสัตว์รุกรานว่า ไม่ควรพูดกับคน
เกียจคร้านเช่นนั้น ท่านอย่ายืนตรงนี้เลย ท้าวสักกะคิดว่า เราไม่สามารถ
จะให้ผู้มีใจประเสริฐเลิกละสิ่งที่ตนถือมั่นได้ จึงนำลูกน้อยมา ส่งให้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 47
แม้ในกาลที่พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นมหาชนก พระโพธิสัตว์
ทรงว่ายข้ามมหาสมุทร เทวดาถามว่า
เพราะเหตุไร ท่านจึงว่ายข้ามมหาสมุทร.
ทรงกล่าวว่า เราว่ายข้ามเพื่อไปถึงฝั่งแล้วจะครองราชสมบัติ ใน
แคว้นอันเป็นของตระกูล แล้วบริจาคทาน เมื่อเทวดากล่าวว่า มหาสมุทร
นี้ลึกและกว้างขวางมาก เมื่อไรจักข้ามถึงได้ ตรัสว่า มหาสมุทรนี้ก็เช่น
เดียวกับมหาสมุทรของท่าน แต่อาศัยความตั้งใจของเราปรากฏเหมือน
เหมืองน้อย ๆ ท่านนั่นแหละจักเห็นเราผู้ว่ายข้ามมหาสมุทรแล้วนำทรัพย์
จากฝั่งมหาสมุทรมาครองราชสมบัติในแคว้นอันเป็นของตระกูลแล้วบริจาค
ทานดังนี้. เทวดาคิดว่าเราไม่อาจจะให้บุรุษผู้มีใจประเสริฐเลิกละสิ่งที่ตน
ยึดมั่นได้ จึงอุ้มพระโพธิสัตว์นำไปให้บรรทม ณ อุทยาน พระมหาสัตว์นั้น
ยังมหาชนให้ยกขึ้นซึ่งเศวตฉัตรแล้วทรงทำการบริจาคทานวันละ ๑๐ แสน
ต่อมาเสด็จออกทรงผนวช. พระมหาสัตว์อันใครๆ จะเป็นสมณะ พราหมณ์
เทวดา มาร หรือพรหมก็ไม่อาจให้เลิกละกุศลสมาทานได้. เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตถาคตเป็นผู้ยึดมั่น ไม่ถอยกลับในธรรมอัน
เป็นกุศลทั้งหลาย ดังนี้.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงความยึดมั่นไม่ถอยหลัง
ในธรรมอันเป็นกุศลจึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ในกายสุจริต ดังนี้. ในบทนี้ ว่า
ในการบริจาคทาน คือ การให้ด้วยสามารถการให้ทานนั่นเอง การบริจาค
ด้วยสามารถทำการบริจาค. บทว่า ในกาลสมาทานศีล คือในกาลบำเพ็ญ
ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และจตุปาริสุทธิศีล. บทว่า ในการรักษาอุโบสถ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 48
คือในการเข้าอุโบสถอันต่างด้วยวัน ๑๔ ค่ำเป็นต้น. บทว่า มตฺเตยฺยตาย
คือในวัตรอันควรทำแก่มารดา. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แหละ. บทว่า
อญฺตรญฺตเรสุ จ คือในกุศลธรรมเห็นปานนี้อื่นๆ. ในบทว่า อธิ-
กุสเลสุ นี้ อธิบายว่า กุศลมีอยู่ อธิกุศลมีอยู่ กามาวจรกุศลแม้ทั้งหมดก็ชื่อ
ว่าเป็นกุศล รูปาวจรเป็นอธิกุศล แม้ทั้งสองนั้นก็ชื่อว่าเป็นกุศล อรูปาวจร
เป็นอธิกุศล แม้ทั้งหมดเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นกุศล กุศลอันเป็นปัจจัยแห่ง
การได้สาวกบารมี เป็นอธิกุศล อธิกุศลแม้เหล่านั้นก็ชื่อว่า เป็นกุศล กุศล
อันเป็นปัจจัยแห่งการได้ปัจเจกโพธิ เป็นอธิกุศล อธิกุศลแม้เหล่านั้นก็ชื่อว่า
เป็นกุศล แต่กุศลอันเป็นปัจจัยแห่งการได้สัพพัญญุตญาณ ท่านประสงค์ว่า
เป็นอธิกุศลในที่นี้ พระตถาคตได้เป็นผู้ยึดมั่น เป็นผู้ยึดมั่นไม่ถอยหลัง
ในธรรมเป็นอธิกุศลเหล่านั้น ในบทนี้ว่า เพราะกรรมนั้น ตนกระทำ
สั่งสม อธิบายว่า กรรมที่ตนทำแม้คราวเดียวก็เป็นอันกระทำเหมือนกัน
แต่เพราะทำเนือง ๆ เป็นกรรมอันตนสั่งสม. บทว่า เพราะกรรม ที่พอก
พูน คือ กรรมที่ตนทำอันเป็นกอง ท่านกล่าวว่า พอกพูน พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเมื่อจะทรงกล่าวบทว่า เพราะกรรมอันพอกพูน จึงทรงแสดง
ว่า เมื่อเราทำกรรม จักรวาลคับแคบนัก ภวัคคพรหมต่ำนัก กรรมอันเรา
พอกพูนไว้อย่างนี้. บทว่า เพราะไพบูลย์ คือ เพราะไม่มีประมาณ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงว่า กรรมที่เราทำไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ. บทว่า
ย่อมถือเอายิ่งคือย่อมครอบงำ อธิบายไว้ว่า ได้ยิ่งกว่าเทวดาทั้งหลาย
เหล่าอื่น. บทว่า ได้เฉพาะ คือบรรลุ.
บทนี้ว่า ด้วยฝ่าพระบาททุกส่วน เป็นคำพิสดารของบทว่า ทรง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 49
เหยียบพระบาทเสมอกันบนพื้น. ในบททั้งหลายนั้น บทว่า ทุกส่วนคือ
มีทุกแห่ง อธิบายว่า พระมหาบุรุษไม่ทรงจดครั้งแรกโดยส่วนหนึ่ง ไม่
ทรงจดภายหลังโดยส่วนหนึ่ง ทรงจดพื้นด้วยฝ่าพระบาททุกส่วนเสมอกัน
ทรงยกขึ้นเสมอกัน. ก็แม้หากว่า พระตถาคตจะทรงย่างยกพระบาทด้วย
พระดำริว่า เราจักเหยียบเหวหลายร้อยชั่วคน ทันใดนั้นเองที่ลุ่มก็จะสูงขึ้น
เป็นที่เสมอกับแผ่นดินเหมือนเบ้าทองเต็มด้วยลมฉะนั้น. พระตถาคตจะเข้า
ไปแม้สู่ที่สูงในภายใน เมื่อยกพระบาทขึ้นด้วยทรงพระดำริว่า เราจักเหยียบ
ในที่ไกล ภูเขาแม้ประมาณเท่าเขาพระสิเนรุน้อมลงมาใกล้พระบาทเหมือน
ยอดหวายที่ถูกลนไฟ ฉะนั้น เป็นความจริงอย่างนั้น เมื่อพระตถาคตทรงยก
พระบาทด้วยทรงพระดำริว่า เราจักทำปาฏิหาริย์เหยียบภูเขายุคนธร ภูเขา
จะน้อมลงมาใกล้พระบาท พระองค์ก็เหยียบภูเขานั้น แล้วเหยียบถึงภพ
ดาวดึงส์ด้วยพระบาทที่สอง ที่ซึ่งจักรลักษณะควรประดิษฐานไม่อาจจะเป็น
ที่ไม่เรียบ ตอ หนาม กรวด กระเบื้อง อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก
เป็นต้น หรือของที่มีแต่ก่อน. หลีกไปหมด หรือหายเข้าไปยังแผ่นดินใน
ที่นั้นๆ ทั้งหมด.
จริงอยู่ มหาปฐพีนี้มีพื้นเสมอดาระดาดไปด้วยดอกไม้แรกแย้ม ย่อม
มีขึ้นด้วยศีลเดช ด้วยบุญญเดช ด้วยธรรมเดช ด้วยอานุภาพแห่งทศบารมี
ของพระตถาคต. บทว่า มีสาครเป็นขอบเขต คือสาครสีมา อธิบายว่า
ก็เมื่อพระมหาบุรุษทรงครองราชสมบัติ ต้นไม้ก็ดี ภูเขาก็ดี แม่น้ำก็ดี
ในระหว่างมิได้เป็นเขต มหาสมุทรนั่นแหละเป็นเขต เพราะฉะนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า มีสาครเป็นขอบเขต บทว่า มิได้มีเสาเขื่อน มิได้มีนิมิต ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 50
เสี้ยนหนาม คือไม่มีโจร จริงอยู่ โจรทั้งหลายท่านกล่าวว่าเป็นเสาเขื่อน
เพราะอรรถว่ามีสัมผัสกระด้าง เป็นนิมิต เพราะอรรถว่า เป็นปัจจัยแห่ง
อันตราย เป็นเสี้ยนหนาม เพราะอรรถว่า ทิ่มเทง. บทว่า อิทฺธ คือ
สำเร็จ. บทว่า ผีต คือ อุดมสมบูรณ์ด้วยสรรพสมบัติ. บทว่า เขม คือ
ไม่มีภัย. บทว่า สิว คือไม่มีอันตราย. บทว่า นิรพฺพุท อธิบายว่า เว้นจาก
หมู่โจร คือ เว้นจากโจรที่คุมกันเป็นพวก ๆ เที่ยวไป. บทว่า ไม่มีใคร
ข่มได้ คือ ข้าศึกศัตรูข่มไม่ได้ อธิบายว่า ใคร ๆ ก็ไม่สามารถจะให้
เขาหวั่นไหวจากสถานะได้. บทว่า ข้าศึก คือปรารถนาเป็นปฏิปักษ์.
บทว่า ศัตรู คืออมิตรที่ทำร้ายตอบ แม้ทั้งสองนั้นก็เป็นไวพจน์ของข้าศึก.
บทว่า ข้าศึก ศัตรูภายใน ได้แก่ กิเลสมีราคะเป็นต้นที่ตั้งขึ้นในภายใน
บทว่า ข้าศึก ศัตรูภายนอก ได้แก่ พวกสมณะเป็นต้น จริงดังนั้น
แม้พวกสมณะ มีเทวทัตและโกกาลิกะเป็นต้น แม้พราหมณ์ มีโสณทัณฑะ
และกูฏทัณฑะเป็นต้น แม้เทวดาเช่นท้าวสักกะ แม้มารผู้ติดตามตลอด
๗ ปี แม้พรหมมีพกาพรหมเป็นต้น ก็ไม่สามารถจะข่มพระพุทธเจ้าได้
ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสกรรม คล้ายกรรม ลักษณะ
และอานิสงส์แห่งลักษณะไว้ กรรมอันผู้มีความเพียรมั่นกระทำแล้วสิ้น
๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ชื่อว่า กรรม มหาปุริสลักษณะคือมีพระบาท
ประดิษฐานไว้ดีแล้ว เกิดขึ้นโดยนัยว่า โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้ภาวะ
แห่งกรรมอันผู้มั่นคงกระทำแล้ว ชื่อว่า คล้ายกรรม ความเป็นผู้มีพระบาท
ประดิษฐานไว้ดีแล้ว ชื่อว่า ลักษณะ ความเป็นผู้อันข้าศึกข่มไม่ได้ ชื่อว่า
อานิสงฆ์แห่งลักษณะ.
บทว่า พระโบราณกเถระทั้งหลาย กล่าวคาถาประพันธ์ใน
พระลักษณะนั้น ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสประเภทแห่งกรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 51
เป็นต้น ในพระลักษณะนั้นแล้ว พระโบราณกเถระจึงกล่าวคำนี้ต่อไป
ท่านกล่าวหมายถึงคาถาประพันธ์ ก็พระโบราณกเถระทั้งหลายทราบว่า
คาถาวรรณนา อันพระอานนทเถระตั้งไว้ จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ แล้วจึงไป
ต่อมาพระเถระทั้งหลายกล่าวว่า การยกอรรถขึ้นบทเดียว. บทว่า ในสัจจะ
คือ วจีสัจ. บทว่า ในธรรม คือ ในธรรมได้แก่กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า
ในการฝึก คือ ในการฝึกอินทรีย์. บทว่า ในความสำรวม คือ ในความ
สำรวมด้วยศีล ในบทนี้ว่า ความเป็นผู้สะอาด ศีลเป็นที่อยู่ อุโบสถ
กรรม อธิบายว่า ความเป็นผู้สะอาด ๓ อย่าง มีความเป็นผู้สะอาดทางกาย
เป็นต้น ศีลอันเป็นที่อยู่คือ ศีลอาลัย อุโบสถกรรม คือ อุโบสถ. บทว่า
อหึสาย คือไม่เบียดเบียน. บทว่า สมนฺตมาจริ คือ ประพฤติสิ้นเชิง. บทว่า
อนุภิ แปลว่า เสวยแล้ว. บทว่า เวยฺยญฺชนิกา คือ ผู้ท่านายลักษณะ. บทว่า
ปราภิภู คือสามารถข่มผู้อื่น. บทว่า อันศัตรูทั้งหลาย คือ ศัตรูข่มไม่ได้.
ในบทว่า ไม่ถึงความเป็นผู้อันใคร ๆ ข่มได้ พระมหาบุรุษนั้นเป็นอัคร -
บุคคลโดยส่วนเดียวเท่านั้น ย่อมไม่ถึงความเป็นผู้อันใคร ๆ พึงข่มได้.
บทว่า อันนี้แหละเป็นธรรมดาของพระมหาบุรุษนั้น ความว่า นี้เป็น
ธรรมดาคือนี้เป็นสภาวะของพระมหาบุรุษนั้น.
บทว่า อุพฺเพคอุตฺตาสภย คือ ภัยคือความสะดุ้ง และภัยคือ
ความหวาดเสียว. อธิบายว่า ในภัยทั้งสองนั้น ภัยอาศัยการปล้น การจองจำ
เป็นต้น จากโจร หรือจากพระราชา หรือจากข้าศึก ชื่อว่า เป็นความหวาด
สะดุ้ง ภัยทำให้เกิดขนพองเพราะอาศัยสัตว์มีช้างและม้าดุเป็นต้น หรือ
งูและยักษ์เป็นต้นเพียงชั่วครู่ ชื่อว่า ภัยคือความหวาดเสียว ทำให้ภัย
ทั้งหมดนั้นบรรเทาคือสงบ. บทว่า สวิธาตา แปลว่า จัดแล้ว. ถามว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 52
จำอย่างไร ? คือสร้างโรงทานในที่ที่รังเกียจในดงแล้วให้ผู้ที่มาในดงนั้น
บริโภคแล้วให้พวกมนุษย์พาไปส่ง เมื่อชนทั้งหลายไม่อาจเข้าไปยังที่นั้นได้
สั่งพวกมนุษย์ให้พาเข้าไป ตั้งอารักขาในที่เหล่านั้น ๆ แม้ในตัวเมืองเป็นต้น
จัดอย่างนี้. บทว่า ได้ให้ทานพร้อมด้วยวัตถุบริวาร ความว่า ได้ให้ทาน
วัตถุ ๑๐ อย่าง มีข้าวและน้ำเป็นต้น.
ในบททั้งหลายนั้น บทว่า ข้าวได้แก่ ข้าวยาคู อธิบายว่า เมื่อให้
ข้าวยาคูนั้น ไม่ได้วางไว้ที่ประตูแล้วให้ ได้โปรยข้าวตอกและดอกไม้ไว้ในที่
ฉาบทาด้วยของเขียวภายในนิเวศน์ ปูอาสนะผูกเพดานกระทำสักการะด้วย
ของหอมและธูปเป็นต้น นิมนต์ภิกษุสงฆ์ให้นั่งแล้วถวายข้าวยาคู อนึ่ง เมื่อ
ถวายข้าวยาคูได้ถวายพร้อมกับกับด้วย. เมื่อเสร็จการดื่มข้าวยาคู ได้ชำระ
เท้า เอาน้ำมันทา ถวายของเคี้ยวหลาย ๆ อย่างมากมาย ในที่สุดได้ถวาย
โภชนะอันประณีต มีสูปะและพยัญชนะหลายอย่าง เมื่อถวายเครื่องดื่ม
ได้ถวายเครื่องดื่ม ๘ อย่าง มีอัมพปานะเป็นต้น. ครั้นถวายข้าวยาคู แม้
นั้นแล้ว เมื่อจะถวายผ้าไม่ได้ถวายผ้าล้วน ๆ เท่านั้น แต่ถวายผ้าอันเพียงพอ
มีชั้นเดียวและสองชั้นเป็นต้น ได้ถวายเข็มบ้าง ด้ายบ้าง กรอด้ายบ้าง
ในที่ที่ทำการเย็บบ้าง ได้ถวายอาสนะ ข้าวยาคู น้ำมันทาเท้า น้ำมันทาหลัง
เครื่องย้อม ใบไม้ต่างชนิด รางย้อมผ้า โดยที่สุด สีย้อมจีวรบ้าง กัปปิย-
การกบ้าง. บทว่า ยาน คือรองเท้า. แม้เมื่อถวายรองเท้านั้น ก็ได้ถวายถุงใส่
รองเท้า ไม้แขวนรองเท้า น้ำมันทารองเท้า และทานวัตถุมีข้าวเป็นต้น
ดังกล่าวแล้วในหนหลัง ทำให้เป็นบริวารของรองเท้านั้นนั่นเอง. แม้เมื่อ
ถวายดอกไม้ก็ไม่ได้ถวายดอกไม้ล้วนๆ เหมือนกัน ได้เคล้าดอกไม้นั้นด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 53
ของหอม แล้วถวายสิ่งทั้ง ๔ อย่างเหล่านี้ ในภายหลัง กระทำให้เป็น
บริวารของดอกไม้นั้น. แม้เมื่อถวายของหอม เพื่อบูชาต้นโพธิเจดีย์ อาสนะ
และคัมภีร์เป็นต้น และเพื่อรมเรือนเจดีย์ ก็ไม่ได้ถวายของหอมล้วนทีเดียว
ได้ถวายสิ่ง ๕ อย่างเหล่านี้ ในภายหลัง พร้อมด้วยเครื่องบด เครื่องฝน
และภาชนะสำหรับใช้. แม้เมื่อถวายเครื่องลูบไล้มีหรดาล มโนสิลา ชาด
เป็นต้น ก็มิได้ถวายเครื่องลูบไล้ล้วน ๆ ทีเดียว ได้ถวายสิ่ง ๖ อย่างเหล่านี้
ในภายหลัง พร้อมกับภาชนะใส่เครื่องลูบไล้ให้เป็นบริวารของเครื่องลูบไล้
นั้น. บทว่า ที่นอน คือเตียงและตั่ง แม้เมื่อถวายเตียงและตั่งนั้น ก็ไม่ได้
ถวายเตียงและตั่งล้วนทีเดียว ได้ถวาย แม้ที่สุดกระดานและไม้ชำระ พร้อม
ด้วยผ้าโกเชาว์ ผ้ากัมพล เครื่องลาดและขาเตียง กระทำสิ่ง ๗ อย่าง
ในภายหลัง ให้เป็นบริวารของเตียงและตั่งนั้น. แม้เมื่อให้ที่อยู่ก็ไม่ได้ให้
เพียงเรือนเท่านั้น ได้กระทำเตียงและตั่งที่ตกแต่งเป็นอย่างดี ประดับด้วย
มาลากรรมและลดาธรรม แล้วถวายสิ่ง ๘ อย่างเหล่านี้ในภายหลังกระทำ
ให้เป็นบริวารของที่อยู่นั้น. บทว่า ประทีป คือน้ำมันประทีป อธิบายว่า
เมื่อถวายน้ำมันประทีป ไม่ได้ถวายน้ำมันล้วนเท่านั้นด้วยคำว่า ท่าน
ทั้งหลาย จงยังประทีปให้สว่างด้วยน้ำมันนี้ ณ เนิ่นเจดีย์ เนินโพธิ์
โรงฟังธรรม เรือนอาศัย ที่บอกคัมภีร์ ได้ถวายสิ่ง ๙ อย่างเหล่านี้ใน
ภายหลัง พร้อมด้วยไส้ตะเกียง หม้อดินเล็ก ๆ และภาชนะใส่น้ำมันเป็นต้น
ทำให้เป็นบริวารของน้ำมันประทีปนั้นเอง.
บทว่า สิวิภตฺตนฺตรานิ ตัดบทเป็น สุวิภตฺต อนฺตรานิ. บทว่า
ราชาโน คือกษัตริย์ผู้อภิเศกแล้ว. บทว่า โภคิกา คือ นายบ้าน. บทว่า
กุมารา คือ ราชกุมาร. การให้พร้อมด้วยบริวารชื่อว่า กรรมในที่นี้ จักร
ลักษณะอันเกิดขึ้นโดยนัยว่า โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้ ด้วยเหตุนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 54
พระมหาบุรุษได้ถวายทานกระทำให้มีของบริวารดังนี้ ชื่อว่า คล้ายกรรม
จักรลักษณะนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้มีบริวารมาก ชื่อว่า
อานิสงส์.
บทว่า พระโบราณกเถระกล่าวคาถาประพันธ์ในพระลักษณะ
นั้น ท่านกล่าวคาถานี้แสดงถึงอรรถนั้น. จริงอยู่ คาถามี ๒ อย่าง คือ
แสดงอรรถนั้น ๑ แสดงอรรถพิเศษ ๑. ในสองอย่างนั้นคาถาที่ท่านแสดง
อรรถอันมาในบาลีนั่นแล ชื่อว่า แสดงอรรถนั้น. คาถาที่ท่านแสดง
อรรถอันไม่ได้มาในบาลี ชื่อว่า แสดงอรรถพิเศษ แต่คาถานี้แสดงอรรถนั้น.
ในบทเหล่านั้นบทว่า ปุเร แปลว่า ในชาติก่อน. บทว่า ปุรตฺถ
เป็นไวพจน์ของบทนั้นนั่นเอง. บทว่า ปุริมาสุ ชาติสุ คือ เป็นการ
แสดงมุ่งไว้ถึงกรรมที่คนทำแล้วในชาติก่อนแต่ชาตินี้. บทว่า อุพฺเพคอุตฺตาส
ภยาปนูทโน แปลว่า ปลดเปลื้องภัยคือความหวาดเสียวและภัยคือความ
สะดุ้ง. บทว่า อุสฺสุโก แปลว่า น้อมไปแล้ว. บทว่า พระกุมารมีลักษณะ
ประกอบด้วยบุญเป็นร้อย ความว่า ลักษณะหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นด้วยบุญกรรม
เป็นร้อย ๆ เมื่อเป็นอย่างนี้ ชนทั้งหลายย่อมไม่พอใจว่า ใคร ๆ พึงเป็น
พระพุทธเจ้าได้ แต่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ในจักรวาลอันหาที่สุดมิได้ พึง
กระทำกรรมอย่างหนึ่ง ๆ ถึง ๗ ครั้ง พระโพธิสัตว์พระองค์เดียวเท่านั้น
อุบัติเพราะกระทำกรรมที่ชนทั้งหลายประมาณเท่านี้ กระทำแล้ว ครั้งหนึ่ง ๆ
คูณด้วยร้อย เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายพอใจความนี้ว่า พระโพธิสัตว์มี
ลักษณะประกอบด้วยบุญเป็นร้อย. บทว่า มนุสฺสาสุรสกฺกรกฺขสา ได้แก่
มนุษย์ ๑ อสูร ท้าวสักกะ ๑ รากษส ๑.
บทว่า อนฺตรา คือในระหว่าง จุติสืบต่อจากปฏิสนธิ. การเว้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 55
จากปาณาติบาต ชื่อว่า กรรมในที่นี้ ชนทั้งหลายเมื่อจะทำปาณาติบาต
เหยียบด้วยปลายเท้า เพราะกลัวจะได้ยินเสียงเท้า ไปฆ่าผู้อื่น ชื่อว่า คล้าย
กรรม. ต่อแต่นั้น ชนเหล่านั้นคิดว่า ชนจงรู้กรรมนั้น ของคนเหล่านั้น
ด้วยเหตุนี้ เป็นผู้มีเท้า โก่งภายใน โก่งภายนอก มีเท้ากระโหย่ง ปลายเท้า
ด้วน ส้นเท้าด้วน ก็โลกกับทั้งเทวโลกจงรู้ความที่พระตถาคตเสด็จไปด้วย
ปลายเท้าไม่ถูกผู้อื่นฆ่า เพราะฉะนั้น มหาปุริสลักษณะคือมีส้นยาว ย่อม
เกิดขึ้น. ชนทั้งหลายมีกายสูง จะไปฆ่าผู้อื่น เกรงว่าคนอื่นจักเห็น จึงก้มลง
ไปฆ่าผู้อื่น อนึ่ง ชนเหล่านั้น คิดว่า ชนเหล่านี้ ไปฆ่าผู้อื่นอย่างนี้แล้ว
คนอื่นจงรู้กรรมนั้นของชนเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำเป็นคนค่อม เป็น
คนแคระหรือเป็นคนพิการ โลกพร้อมด้วยเทวโลก จงรู้ความที่พระตถาคต
เสด็จไปอย่างนั้น ไม่ถูกผู้อื่นฆ่าด้วยเหตุนี้ เพราะฉะนั้นมหาปุริสลักษณะ
คือมีพระวรกายตรงเหมือนกายพรหม ย่อมเกิดขึ้น. อนึ่งชนทั้งหลายมีมือ
ถืออาวุธหรือไม้ค้อนแล้วกำหมัดฆ่าผู้อื่น ชนเหล่านั้น คิดว่า ชนจงรู้ความ
ที่ชนเหล่านั้น ถูกคนอื่นฆ่าด้วยเหตุนี้ เป็นผู้มีนิ้วสั้น มีมือสั้น มีนิ้วงอ
หรือมือแป โลกพร้อมด้วยเทวโลก จงรู้ความที่พระตถาคตเป็นผู้ไม่ถูกคน
อื่นฆ่าอย่างนี้ ด้วยเหตุนี้ เพราะฉะนั้น มหาปุริสลักษณะคือมีพระองคุลี
ยาวย่อมเกิดขึ้น นี้คือ คล้ายกรรมในบทนี้ ก็ลักษณะ ๓ อย่างนี้แหละ
ชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้มีอายุยืน เป็นอานิสงส์แห่งลักษณะ.
ในบทนี้ว่า ฆ่า เป็นเหตุให้สัตว์ตาย เป็นภัยแก่ตน อธิบายว่า
การฆ่ากล่าวคือมรณะ เป็นภัยจากการฆ่าให้ตาย คือ ฆ่าเป็นเหตุให้สัตว์
ตาย เป็นภัย รู้ภัยนั้นของตนแล้วเว้นเสีย. บทว่า เบื้องหน้าแต่มรณะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 56
ความว่า บุคคลรู้ว่า ภัยแต่ความตายของเรา ชีวิตเป็นที่รักของเรา ฉันใด
แม้ของผู้อื่นก็ฉันนั้น ได้เป็นผู้เว้นขาดเบื้องหน้าแต่ความตาย. บทว่า
สุจริเตน แปลว่า ประพฤติดีแล้ว. บทว่า สคฺคมคมาสิ แปลว่า ไปสู่
สวรรค์. บทว่า จวิย ปุนริธาคโต คือเคลื่อนไปแล้วกลับมาในโลกนี้อีก.
บทว่า ทีฆปาสุณิโก แปลว่า มีส้นพระบาทยาว. บทว่า พฺรหฺมาว
สุชฺชุ แปลว่า มีพระวรกาย ตรงดีเหมือนพรหม. บทว่า สุภุโช
คือพระพาหางาม. บทว่า สุสุ คือแม้ในเวลาแก่ ก็ยังดูหนุ่ม. บทว่า
สุสณฺิโต ถึงพร้อมด้วยทรวดทรงงาม. บทว่า มุทุตลุนงฺคุลิยสฺส คือ
มีพระองคุลีอ่อนและนุ่ม. บทว่า ปุริสวรคฺคลกฺขเณหิ แปลว่า ด้วยลักษณะ
อันเลิศ ของบุรุษผู้ประเสริฐ. บทว่า จิรยาปนาย ได้แก่ เพื่อให้เป็นไป
อยู่นาน คือ เพื่อความเป็นผู้มีอายุยืน. บทว่า จิร ยเปติ แปลว่า ให้เป็น
ไปอยู่นาน. บทว่า จิรตร ปพฺพชติ ยทิ ตโต หิ ความว่า ผิว่า ให้เป็นไป
อยู่นานกว่านั้น ย่อมบวชแน่. บทว่า ยาปยาติ วสิทฺธิภาวนาย ความว่า
เป็นผู้ถึงความชำนาญ ย่อมให้เป็นอยู่ด้วยอิทธิภาวนา.
บทว่า รสิตาน คือ สมบูรณ์ด้วยรส. ในบทว่า ขาทนียาน
เป็นต้น ได้แก่ของเคี้ยวมีแป้งเป็นต้น ชื่อว่าของเคี้ยว. บทว่า โภชนียานิ
ได้แก่ โภชนะ ๕. บทว่า สายนียานิ ได้แก่ เนยใส เนยข้นเป็นต้นที่ควร
ลิ้ม. บทว่า เลหนียานิ ได้แก่ข้าวปายาสทำด้วยแป้งเป็นต้นที่ควรเลีย.
บทว่า ปานานิ ได้แก่ปานะ ๘. การให้โภชนะอันประณีตนี้ พระตถาคตได้
ให้แล้ว ตลอด ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัปป์ ชื่อว่า กรรมในที่นี้. เมื่อ
โภชนะเศร้าหมอง ตกถึงท้องโลหิตซูบซีด เนื้อเหี่ยวแห้ง ชื่อว่า คล้ายกรรม
เพราะฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้ให้ของเศร้าหมองคิดว่า ชนจงรู้ความที่ของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 57
เศร้าหมองอันสัตว์เหล่านั้นให้แล้วด้วยเหตุนี้ เป็นผู้มีเนื้อน้อย มีโลหิตน้อย
มีข้าวและน้ำหาได้ยากดุจมนุษย์เปรต. แต่เมื่อโภชนะประณีต ตกถึงท้อง
เนื้อและเลือดย่อมเจริญ สัตว์ทั้งหลายมีกายสมบูรณ์ น่าเลื่อมใส น่ารัก
น่าเอ็นดู เพราะฉะนั้น โลกพร้อมด้วยเทวโลก จงรู้ความที่พระตถาคต
เป็นผู้ให้โภชนะอันประณีตตลอดกาลนาน ด้วยเหตุนี้ เพราะฉะนั้น มหา
ปุริสลักษณะคือมีมังสะอูมในที่ ๗ แห่ง ย่อมเกิดขึ้น พระลักษณะอูมในที่ ๗
แห่งนั้นแหละชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้ได้ของประณีต ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า ชชฺชโภชน อถ เสหสายิต ได้แก่ ของเคี้ยวของบริโภค
ของเลียและของลิ้ม. บทว่า อุตฺตมคฺครสทายโก แปลว่า ผู้ให้รสเลิศเป็น
ผู้สูงสุดหรือผู้ให้รสเลิศอันสูงสุด. บทว่า สตฺตาจุสฺสเท คือ พระลักษณะอูม
ในที่ ๗ แห่ง. บทว่า ตทตฺถโชตก คือ แสดงอาหารมีของเคี้ยวของบริโภค
เป็นต้น อธิบายว่า ยังลาภให้เป็นไปแก่ปริพาชกเหล่านั้น. บทว่า ปพฺ-
พชฺชปิ จ แปลว่า แม้บวชอยู่. บทว่า ตทาธิคจฺฉติ ตัดบทเป็น ต
อธิคจฺฉติ. บทว่า ลาภีรุตฺตม ตัดบทเป็น ลาภี อุตฺตม.
ในบทว่า ทาเนน เป็นต้น ความว่า บุคคลบางพวกเป็นผู้ควร
สงเคราะห์ ด้วยการให้อย่างเดียว ก็สงเคราะห์บุคคลนั้นด้วยการให้ ได้ให้
เครื่องบริขารนักบวชแก่นักบวช ให้ของใช้คฤหัสถ์แก่พวกคฤหัสถ์. บทว่า
ด้วยกล่าวคำเป็นที่รัก ความว่า ก็บุคคลบางพวก เป็นผู้พูดว่า ผู้นี้ย่อม
ให้ทานที่ควรให้แต่ลบหลู่ทานทั้งหมดด้วยคำเดียว แล้วทำให้ฉิบหาย การ
ให้ของผู้นั้นจะมีประโยชน์อะไร บางพวกเป็นผู้พูดว่า ผู้นี้ไม่ให้ทานก็จริง
ถึงดังนั้น เมื่อจะพูดย่อมลบหลู่ดุจด้วยน้ำมัน ผู้นี้จงให้ก็ตาม อย่าให้ก็ตาม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 58
คำพูดของเขาย่อมถึงค่าพันหนึ่ง. บุคคลเห็นปานนี้ ไม่หวังทาน หวังคำพูด
น่ารักอย่างเดียว สงเคราะห์เขาด้วยคำพูดน่ารัก. บทว่า ด้วยประพฤติ
สิ่งที่เป็นประโยชน์ คือ ด้วยถ้อยคำอันเจริญด้วยประโยชน์ เพราะบุคคล
บางพวกไม่หวังทาน ไม่หวังคำพูดน่ารัก ย่อมหวังถ้อยคำเป็นประโยชน์
ให้เกิดความเจริญแก่ตนเท่านั้น สงเคราะห์บุคคลเห็นปานนี้ด้วยการ
ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างนี้ว่า ท่านควรทำสิ่งนี้ ท่านไม่ควรทำสิ่งนี้
ควรคบบุคคลเห็นปานนี้ ไม่ควรคบบุคคลเห็นปานนี้. บทว่า สมานตฺตตาย
คือ ด้วยความเป็นผู้มีสุขและทุกข์เสมอกัน จริงอยู่บุคคลบางพวกไม่หวัง
แม้แต่อย่างเดียวในทานเป็นต้น หวังความเป็นผู้มีสุขและทุกข์เสมอกัน
อย่างนี้ว่า นั่งที่นั่งเดียวกัน นอนแท่นเดียวกัน บริโภคร่วมกัน ในบุคคล
เหล่านั้น บุคคลเลวโดยชาติ ยังด้วยโภคะ เป็นผู้สงเคราะห์ยาก เพราะไม่
อาจทำการบริโภคร่วมกับบุคคลนั้นได้ เมื่อไม่ทำอย่างนั้น เขาก็โกรธ ผู้ที่
เลวโดยโภคะ แม้ยิ่งด้วยชาติก็เป็นผู้สงเคราะห์ยาก เพราะเขาไม่ปรารถนา
บริโภคร่วมกับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยโภคะ ด้วยถือว่า เราเป็นคนมีชาติ เมื่อ
เขาทำย่อมโกรธ แต่ผู้ที่เลวแม้โดยทั้งสองอย่างเป็นผู้สงเคราะห์ง่าย เพราะ
เขาไม่ปรารถนาบริโภคร่วมกับคนนอกนี้ เมื่อไม่กระทำ ก็ไม่โกรธ แม้คน
เช่นกับด้วยบุคคลทั้งสองก็เป็นผู้สงเคราะห์ง่าย บรรดาภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทุศีล เป็นผู้สงเคราะห์ยาก เพราะไม่อาจทำการบริโภคร่วมกับเขาได้
เมื่อไม่ทำอย่างนั้น ย่อมโกรธ ภิกษุมีศีลเป็นผู้สงเคราะห์ง่าย เพราะผู้มีศีล
เมื่อเขาทำบ้าง เมื่อเขาไม่ทำบ้าง ก็ไม่โกรธ ย่อมไม่เห็นคนอื่นแม้ทำการ
บริโภคร่วมกับตนด้วยจิตลามก แม้การบริโภคร่วมกับผู้มีศีลก็ทำได้ง่าย
เพราะฉะนั้น สงเคราะห์บุคคลเห็นปานนี้ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 59
ประการฉะนี้. บทว่า สุสคหิตสฺส โหนฺติ แปลว่า เป็นผู้อันเขาสงเคราะห์
ได้ง่าย อธิบายว่า ชนนั้นจงให้ก็ดี จงให้ก็ดี จงกระทำก็ดี อย่ากระทำก็ดี
ชนทั้งหลายเป็นอันเคราะห์อย่างดีแล้ว ย่อมไม่ทำลายกัน ย่อมให้ในกาล
ที่ควรให้แก่เขา ชนทั้งหลายย่อมติดอย่างนี้ว่า. บัดนี้ เขาเห็นจะไม่มีจึงไม่ให้
ด้วยเหตุนั้น เรื่องอะไรเราจะบำรุงผู้ให้อย่างเดียว เราจะไม่บำรุงผู้ไม่ให้ผู้
ไม่กระทำดังนี้. กรรมคือการสงเคราะห์มีทานเป็นต้น ที่เขาทำตลอดกาลนาน
ชื่อว่า กรรม ในที่นี้ ชนใดเป็นผู้ไม่สงเคราะห์อย่างนี้ ชนนั้นจงรู้ความที่
เขาไม่สงเคราะห์ด้วยเหตุนี้ ดังนั้นในเรื่องนี้ เขาจึงเป็นผู้มีมือและเท้ากระด้าง
และเป็นผู้มีลักษณะของคนที่ตั้งอยู่ไม่เรียบ ชื่อว่า คล้ายกรรม ก็โลกพร้อม
ด้วยเทวโลก จงรู้ความที่พระตถาคตทรงเป็นผู้สงเคราะห์ตลอดกาลนาน
ด้วยเหตุนี้ ดังนั้น ลักษณะ ๒ อย่างนี้ ย่อมเกิดขึ้น. ทั้งสองลักษณะนี้แหละ
ชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้มีบริวารอันสงเคราะห์แล้วเป็นอย่างดี ชื่อว่า
อานิสงฆ์.
บทว่า กริย แปลว่า ทำแล้ว. บทว่า จริย แปลว่า ประพฤติ
แล้ว. บทว่า อนวมเตน แปลว่า ด้วยไม่ดูหมิ่น. อธิบายว่า ไม่ใช่
ด้วยความไม่ประมาท ไม่ใช่ด้วยทานอันตนให้แล้ว ไม่ได้ด้วยความเย้ย
หยัน. บทว่า จวิย แปลว่าเคลื่อนแล้ว. บทว่า มีส่วนสวยน่าชมยิ่งนัก
ความว่า งามยิ่งนัก น่าเลื่อมใส มีส่วนดีคือฉลาดด้วยดีและน่าชมคือ
ประกอบด้วยสิ่งพึงชม. บทว่า สุสุกุมาโร แปลว่า กุมารดี. บทว่า พึง
เป็นบริวารชนของพระองค์ ความว่า พระองค์มีบริวารชนผู้ทำตามด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 60
ถ้อยคำของพระองค์. บทว่า พึงตรวจตรา คือ ควรตรวจตราตามความ
พอ ใจในสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ.
บทว่า มหิม ตัดบทเป็น มหึ อิม. บทว่า ปิยวทู หิตสุขต
ชิคึสมาโน คือเป็นผู้พูดน่ารักมุ่งประโยชน์และสุข. บทว่า วจนปฏิก-
รสฺสาภิปฺปสนฺนา ตัดบทเป็น วจนปฏิกรา อสฺส อภิปฺปสนฺนา. บทว่า
ธมฺมานุธมฺม คือธรรมและสมควรแก่ธรรม.
บทว่า อตฺถูปสญฺหิต ได้แก่อาศัยประโยชน์โลกนี้และโลกหน้า
บทว่า ประกอบด้วยธรรม คืออาศัยกุศลกรรมบถ ๑๐ บทว่า แนะนำ
ชนเป็นอันมาก คือกล่าวถ้อยคำชี้แจงแก่ชนเป็นอันมาก. บทว่า ปาณีน
ได้แก่สัตว์ทั้งหลาย. บทว่า ทั้งปวงมีอาทิว่าเป็นผู้เลิศเป็นไวพจน์ของกัน
และกัน. วาจาเป็นวาจาภาษิต เป็นวาจายกให้เด่น เป็นวาจาประกอบด้วย
ประโยชน์ตลอดกาลนาน ชื่อว่ากรรม ในที่นี้. ชนใด ไม่กล่าววาจาอีก
ให้เด่นเห็นปานนี้ ชนนั้นจงรู้ถึงผู้ไม่กล่าวด้วยวาจายกให้เด่นด้วยเหตุนี้
ดังนั้นจึงเป็นผู้มีเท้าดุจสังข์ในเบื้องต่ำ และมีขนลงเบื้องต่ำ ชื่อว่าคล้าย
กรรม โลกพร้อมด้วยเทวโลก จงรู้ความที่พระตถาคตทรงกล่าววาจายกให้
เด่นเห็นปานนี้ตลอดกาลนานด้วยเหตุนี้ ดังนั้นพระลักษณะคือมีพระบาท
เหมือนสังข์คว่ำ และพระลักษณะคือมีพระโลมามีปลายช้อยขึ้นข้างบนย่อม
เกิดขึ้น. ลักษะทั้งสองนี้แหละ ชื่อ ลักษณะ. ความเป็นผู้สูงสุดชื่อว่า
อานิสงส์. คำว่า เอริย ได้แก่กล่าวอยู่. คำว่า พหุชน นิทสยิ ได้แก่แสดง
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก. คำว่า ธมฺมยาค ได้แก่ยัญ คือธรรม
ทาน. คำว่า อุพฺภมุมฺปติตโลมวา สโส ความว่ามี พระโลมาตั้งขึ้น.
คำว่า ปาทคณฺิรหุ ได้แก่ข้อพระบาททั้งสอง. คำว่า สาธุ สณฺิตา
ได้แก่ตั้งไว้อย่างดี. คำว่า มงฺสโลหิตาจิตา ความว่า มีพระมังสะและพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 61
โลหิตปกปิดไว้. บทว่า ห่อหุ้มด้วยหนัง ได้แก่ห่อหุ้มคือช่อนไว้ด้วยหนัง.
บทว่า วชฺชติ แปลว่าไป. บทว่า อโนมนิกฺกโม ได้แก่ คือเป็นอยู่
ประเสริฐ เป็นอยู่ไม่เลว
ในบทว่า สิปุป วา เป็นต้น ความว่า ศิลปะแม้สองอย่างนี้คือศิลปะ
อย่างต่ำ และศิลปะอย่างสูง ชื่อว่า ศิลปะ. ศิลปะอย่างต่ำได้แก่ ศิลปะ
ทำท่อ ศิลปะทำหม้อ ศิลปะช่างทอ ศิลปะช่างตัดผม ศิลปะอย่างสูงได้แก่
ลวดลาย การคำนวณอย่างสูง. บทว่า วิชฺชา ความว่า วิชามีหลายอย่าง
มีวิชาหมองูเป็นต้น. บทว่า จรณะ ได้แก่ศีล ๕ ศีล ๑๐ ปาฏิโมกข์สังวร
ศีล. บทว่า กรรม ได้แก่ ปัญญาความรู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน.
บทว่า กิลิเสยฺยุ แปลว่า พึงลำบาก อธิบายว่า พระมหาบุรุษคิดว่า ขึ้นชื่อว่า
อันเตวาสิกวัตรเป็นทุกข์ อันเตวาสิกวัตรนั้นอย่าได้มีแก่พวกเขานานนัก.
บทว่า อันคู่ควรแก่พระราชา ความว่า ราชพาหนะมีช้างและม้าเป็นต้น
อันสมควรแก่พระราชา ราชพาหนะเหล่านั้นนั่นแหละ ท่านกล่าวว่า
ราชงฺคานิ เพราะเป็นองค์แห่งเสนาของพระราชา. เพราะบทว่า เครื่อง
ราชูปโภค คือราชภัณฑะอันเป็นเครื่องอุปโภคและบริโภคและรัตนะ ๗
อย่างเหล่านั้นนั่นแลของพระราชา. บทว่า อันสมควรแก่พระราชา นี้
ถือเอาเครื่องราชูปโภคเหล่านั้นทั้งหมด. บทว่า อันสมควรแก่สมณะ
ได้แก่ไตรจีวรเป็นต้น อันสมควรแก่พวกสมณะ. บทว่า อันเป็นองค์ของ
สมณะ ได้แก่บริษัท ๔ อันเป็นส่วนพวกสมณะ. บทว่า เครื่องอุปโภค
ของสมณะ ได้แก่บริขารอันเป็นเครื่องอุปโภคของสมณะ. บทว่า อัน
สมควรแก่สมณะ เป็นชื่อของบริขารเหล่านั้น. ก็การบอกศิลปะเป็นต้น
โดยความเคารพตลอดกาลนานชื่อว่า กรรมในที่นี้ ไม่บอกศิลปะโดยความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 62
เคารพอย่างนี้ ยังพวกอันเตวาสิกให้ลำบากด้วยการนั่งหลังงอและเหยียดแข้ง
เป็นต้น ย่อมเป็นเหมือนเนื้อแข้งของผู้นั้นถูกขีดให้ตกไป. แต่โลกพร้อมด้วย
เทวโลกจงรู้ความที่พระตถาคตทรงบอกด้วยความเคารพด้วยเหตุนี้ ดังนั้น
พระลักษณะคือมีพระชงฆ์ดุจแข้งทราย เรียวขึ้นไปโดยลำดับ ย่อมเกิดขึ้น
ชื่อว่า คล้ายกรรม. ลักษณะนี้แหละชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้มีลาภอัน
สมควร ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า ยุตปฆาตาย คือ ศิลปะอันใด ย่อมไม่เป็นเพื่อเข้าไป
เบียดเบียนใคร ๆ. บทว่า กิลิสฺสติ แปลว่า จักลำบาก บทว่า
สุขุมตุตโจตฺถฏา แปลว่า หุ้มด้วยหนังอันละเอียด
ถามว่า ก็ลักษณะอื่นย่อมเกิดขึ้นด้วยกรรมอื่นหรือ. ตอบว่า ไม่เกิด
ก็ลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นอนุพยัญชนะ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ใน
ข้อนี้.
บทว่า สมณ วา ความว่า ชื่อว่า สมณะเพราะอรรถว่ามีบาป
สงบแล้ว. บทว่า พฺราหฺมณ วา ความว่า ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะ
อรรถว่ามีบาปอันลอยแล้ว.ในบทว่า เป็นผู้มีปัญญามากเป็นต้น ความว่า
เป็นผู้ประกอบด้วยมหาปัญญา เป็นต้น ความต่างกันของมหาปัญญาเป็นต้น
มีดังต่อไปนี้.
ในบททั้งหลายนั้น มหาปัญญา เป็นไฉน มหาปัญญา คือ บุคคล
ย่อมกำหนดสีลขันธ์ อันมีคุณมาก กำหนดสมาธิขันข์ ปัญญาขันธ์
วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันมีคุณมากเพราะกำหนดฐานะและ
อฐานะ วิหารสมาบัติ อริยสัจ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 63
พละ โพชฌงค์ อริยมรรค สามัญญผล อภิญญา นิพพาน อันมีคุณมาก.
ปุถุปัญญา เป็นไฉน ปุถุปัญญา คือ ญาณ ย่อมเป็นไปในขันธ์
ต่าง ๆ มาก ย่อมเป็นไปในญาณธาตุต่าง ๆ มาก ในอายตนะต่าง ๆ มาก
ในปฏิจจสมุปบาทมาก ในการได้รับสุญญตะต่าง ๆ มาก ในอรรถต่าง ๆ มาก
ในธรรมทั้งหลาย ในนิรุติทั้งหลาย ในปฏิภาณทั้งหลาย ในสีลขันธ์ต่าง ๆ
มาก ในสมาธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ มาก ในฐานะ
และอฐานะต่าง ๆ มาก ในวิหารสมาบัติต่าง ๆ มาก ในอริยสัจต่าง ๆ มาก
ในสติปัฏฐานต่าง ๆ มาก ในสัมมัปปธานทั้งหลาย ในอิทธิบาททั้งหลาย
ในอินทรีย์ทั้งหลาย ในพละทั้งหลาย ในโพชฌงค์ทั้งหลาย ในอริยมรรค
ต่างๆ มาก ในสามัญญผลทั้งหลาย ในอภิญญาทั้งหลาย ในพระนิพพาน
อันเป็นปรมัตถ์ ล่วงธรรมอันสาธารณ์แก่ปุถุชน.
ทาสปัญญา เป็นไฉน ทาสปัญญา คือ บุคคลบางพวกในโลกนี้
เป็นผู้มากด้วยความรื่นเริง มากด้วยเวท มากด้วยความยินดี มากด้วยความ
บรรเทิง ย่อมบำเพ็ญศีลบริบูรณ์ บำเพ็ญอินทรียสังวรบริบูรณ์ บำเพ็ญ
โภชเนมัตตัญญู ชาคริยานุโยค สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ให้บริบูรณ์ บุคคลเป็นผู้มากด้วยความ
รื่นเริง มากด้วยเวท มากด้วยความยินดี มากด้วยความบรรเทิง ย่อมแทง
ตลอดฐานะและอฐานะ บุคคลผู้มากด้วยความรื่นเริง ย่อมบำเพ็ญ วิหาร
สมาบัติให้บริบูรณ์ บุคคลมากด้วยความรื่นเริง ย่อมแทงตลอดอริยสัจ
บุคคลย่อมเจริญสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์
อริยมรรค บุคคลผู้มากด้วยความรื่นเริง ย่อมทำให้แจ้งซึ่งสามัญญผล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 64
ย่อมแทงตลอดอภิญญาทั้งหลาย บุคคลผู้มากด้วยความรื่นเริง มากด้วยเวท
มากด้วยความยินดี มากด้วยความบรรเทิง ย่อมทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
อันเป็นปรมัตถ์.
ชวนปัญญา เป็นไฉน ชวนปัญญา คือ รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่
เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน มีในภายใน มีในภายนอก หยาบ ละเอียด
เลวหรือประณีต รูปใดอยู่ไกลหรือใกล้ รูปนั้นทั้งหมดย่อมแล่นไปเร็วโดย
ความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา เวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง . . . สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง . . . สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง . . .
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน . .. วิญญาณทั้งหมด
นั้นย่อมแล่นไปเร็วโดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็น
อนัตตา จักษุ...ชราและมรณะที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ย่อมแล่นไปเร็ว
โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา รูปที่เป็นอดีต
อนาคต ปัจบัน ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์
เพราะอรรถว่า น่ากลัว ชื่อว่า เป็นอันตตา เพราะอรรถว่า หาสาระมิได้
เพราะฉะนั้น ตรึก พิจารณา ทำให้แจ้ง ทำให้เป็นจริง ย่อมแล่นไป
เร็ว ในพระนิพพาน อันดับเสียซึ่งรูปโดยไม่เหลือ เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ จักษุ ... ชรา มรณะที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ชื่อว่า
ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่า สิ้นไป...ทำให้เป็นจริง ย่อมแล่นไปเร็ว ในพระ
นิพพา อันดับเสียซึ่งชราและมรณะโดยไม่เหลือ รูปที่เป็นอดีต อนาคต
ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีสิ้น มีเสื่อมไป
เป็นธรรมดา มีคลายกำหนัดเป็นธรรมดา มีการดับ เป็นธรรมดา
เพระฉะนั้น ตรึก พิจารณา ทำให้แจ้ง ทำให้จริง ย่อมแล่นไปเร็ว ใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 65
พระนิพพานอันดับรูปโดยไม่เหลือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ...
ชราและมรณะอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เป็นสิ่งปรุงแต่ง
อาศัยกันเกิดขึ้น มีสิ้น มีเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีคลายกำหนัดเป็นธรรมดา
มีการดับเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ตรึก พิจารณา ทำให้แจ้ง ทำให้
เป็นจริง ย่อมแล่นไปในพระนิพพาน อันดับชราและมรณะโดยไม่เหลือ.
ติกขปัญญา เป็นไฉน ติกขปัญญา คือบุคคลย่อมตัดกิเลสได้เร็ว
ย่อมไม่อาศัยกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่อาศัยคือละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตก อันเกิดขึ้นแล้ว วิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
ธรรมอันลามกเป็นอกุศล ทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่เกิดขึ้น ราคะ, โทสะ,
โมหะ, โกธะ, อุปนาหะ ผูกโกรธไว้, มักขะ ลบหลู่คุณท่าน, ปลาสะ
เสมอท่าน, อิสสา ริษยา, มัจฉริยะ ตระหนี่, มายา เจ้าเล่ห์, สาเถยยะ
โอ้อวด, ถัมภะ หัวดื้อ, สารัมภะ แข่งดี, มานะ ถือตัว, อติมานะ ดูหมิ่น
ท่าน, มทะ มัวเมา, ปมาทะ เลินเล่อ, กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขาร
การปรุงแต่งทั้งปวง กรรมอันทำให้ไปสู่ภพทั้งปวง อริยมรรค ๔ สามัญญ-
ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ และอภิญญา ๖ เป็นอันได้บรรลุแล้วทำให้แจ้งแล้ว
ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา.
นิพเพธิกปัญญา เป็นไฉน นิพเพธิกปัญญา คือ บุคคลบางพวก
ในโลกนี้ มากไปด้วยความหวาดสะดุ้ง มากไปด้วยความหวาดกลัว มากไป
ด้วยความกระสัน มากไปด้วยความไม่พอใจ มากไปด้วยความไม่ยินดี ย่อม
ไม่ยินดีจนออกหน้าในสังขารทั้งปวง บางพวกเบื่อหน่าย คือทำลาย กองโลภ
อันตนไม่เคยเบื่อหน่าย ไม่เคยทำลาย บางพวกเบื่อหน่ายคือ ทำลายกอง
โทสะ กองโมหะ ความโกรธ การผูกโกรธ .. . กรรนอันจะนำไปสู่ภพ
ทั้งปวง อันตนไม่เคยเบื่อหน่าย ไม่เคยทำลาย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 66
บทว่า เข้าไปหาบรรพชิต คือเข้าไปใกล้บรรพชิตผู้เป็นบัณฑิต
บทว่า เป็นผู้มุ่งประโยชน์ในภายใน ความว่า บุคคลบางคนมีปกติแสวง
โทษ กระทำโทษไว้ภายใน เพราะความที่ตนมีจิตขุ่นเคืองแล้วตรึกตรอง
ฉันใด พระโพธิสัตว์มิได้ทรงตรึกตรองเหมือนอย่างนั้น ทรงกระทำ
ประโยชน์ไว้ภายในแล้วทรงตรึกตรองคือใคร่ครวญด้วยคำอันประกอบด้วย
ประโยชน์. บทว่า ปฏิลาภคเตน คือ ไปเพื่อ หวังลาภ. บทว่า อุปฺปาฏ-
นิมิตฺตโกวิท คือเป็นผู้ฉลาดในลางและนิมิต. บทว่า อเวจฺจ ทกฺขติ
รู้แล้วจักเห็น. บทว่า อตฺถานุสิฏฺีสุ ปริคฺคเหสุ จ ความว่า ในการ
กำหนดในการสั่งสอนที่เป็นประโยชน์ คือญาณทั้งหลายอันกำหนดถึง
ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์.
บทว่า เป็นผู้ไม่มีความโกรธ ความว่า ไม่ใช่เพราะความที่ตน
ละความโกรธได้ด้วยอนาคามิมรรค เพราะความที่ตนไม่อยู่ในอำนาจของ
ความโกรธ อย่างนี้ว่า แม้หากว่า ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราก็จะ
บรรเทาความโกรธนั้นเร็วพลันทีเดียว. บทว่า ไม่ขัดใจ คือ ไม่ติดเหมือน
หนามงอ ๆ แทงจุดสำคัญของร่างกายในที่นั้น ๆ.
ในบทว่า ไม่โกรธ ไม่ปองร้าย เป็นต้น ความว่า ความโกรธ
เกิดขึ้นก่อน ความพยาบาทมีกำลังกว่าความโกรธนั้น ความจองล้างจอง
ผลาญมีกำลังกว่า ความพยาบาทนั้น พระตถาคตไม่ทรงทำด้วยคำทั้งหมด
นั้น จึงไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่จองล้างจองผลาญ. บทว่า ไม่ทำความ
โกรธ ความเคืองและความเสียใจให้ปรากฏ คือไม่ทำให้ปรากฏด้วย
กายวิการหรือวจีวิการ ความเป็นผู้ไม่โกรธตลอดกาลนานและให้เครื่องลาด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 67
เนื้อละเอียดเป็นต้น ชื่อว่า กรรมในที่นี้. จริงอยู่ ผิวพรรณของคนมักโกรธ
เป็นผิวพรรณเศร้าหมอง หน้าตาดูน่าเกลียด ชื่อว่า เครื่องตกแต่งเช่นผ้า
สำหรับปกปิดก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ชนใดมักโกรธท่าเดียวและไม่ให้ผ้า
สำหรับปกปิด ชนนั้นจงรู้ความที่เขาเป็นผู้มีผิวพรรณเศร้าหมอง มีทรวด
ทรงน่าเกลียด. แต่หน้าของคนไม่โกรธ ย่อมแจ่มใส ผิวพรรณย่อมผ่องใส.
จริงอยู่สัตว์เป็นผู้น่าเลื่อมใสด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ ด้วยให้อามิส ด้วยให้
ผ้า ด้วยเครื่องกวาดหรือด้วยความเป็นผู้ไม่โกรธ. เหตุแม้ ๔ อย่างนี้ ก็
เป็นอันพระตถาคตได้ทรงกระทำแล้ว ตลอดกาลนานทีเดียว ด้วยเหตุนั้น
โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้ความที่เหตุเหล่านี้ พระตถาคตทรงกระทำแล้ว
ด้วยเหตุนี้ เพราะฉะนั้น มหาปุริสลักษณะ มีสีเหมือนทองย่อมเกิดขึ้น
ชื่อว่า คล้ายกรรม. ลักษณะนี้แล ชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้ได้เครื่องสาด
มีเนื้อละเอียดเป็นต้น ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า อภิวิสชฺชิ แปลว่า ตกแล้ว ความว่า ฝนตกทั่วแผ่นดิน
ฝนท่านกล่าวว่า สุระ เหมือนฝนตกทั่วแผ่นดินใหญ่. บทว่า สุรวรตโรริว
อินฺโท คือดุจพระอินทร์ผู้ประเสริฐกว่าสุระทั้งหลาย. บทว่า ไม่ปรารถนา
เป็นนักบวช คือปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ ไม่ใช่นักบวช. บทว่า มหตึ
มหึ คือแผ่นดินใหญ่. บทว่า อจฺฉาทนวตฺถโมกฺขปาปุรณาน คือผ้านุ่ง
และผ้าห่มอันสูงสุด. บทว่า ปนาโส แปลว่า ความพินาศ. บทว่า นำมารดา
กับบุตรให้พบกัน ความว่า พระราชาผู้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ สามารถทำ
กรรมนี้ได้ เพราะฉะนั้น แม้พระโพธิสัตว์เมื่อครองราชสมบัติก็ทรงตั้ง
มนุษย์ทั้งหลายว่า พวกท่านจงทำการงานที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง มีทาง
สี่แพร่งเป็นต้นภายในพระนคร ในทิศทั้ง ๔ นอกพระนคร พวกมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 68
เหล่านั้น เห็นมารดาบ่นเพ้อหาบุตรว่า บุตรของเราอยู่ไหน เราไม่เห็น
บุตรดังนี้ แล้วพูดว่า มานี้เถิดแม่ ท่านจะเห็นบุตร ได้พามารดานั้นไป
อาบน้ำให้บริโภคแล้วแสวงหาบุตรแสดงแก่มารดานั้น. ในบททั้งปวงมีนัยนี้
การทำให้ญาติทั้งหลายมีความพร้อมเพรียงกันตลอดกาลนานชื่อว่า กรรม
ในที่นี้ ก็ญาติทั้งหลาย เป็นผู้มีความพร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมปกปิดโทษ
ของกันและกันจริงอยู่ชนเหล่านั้น ในเวลาทะเลาะกันย่อมทะเลาะกันก็จริง
แต่เมื่อเกิดโทษขึ้นแก่คนหนึ่งก็ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้ เมื่อมีคนพูดว่านี้เป็น
โทษของคนคนหนึ่ง ทั้งหมดจะลุกขึ้นพูดว่า ใครเห็น ใครได้ยิน ในบรรดา
ญาติของเรา ไม่มีผู้ทำเห็นปานนี้ ก็พระตถาคตเมื่อทรงทำการสงเคราะห์
ญาตินั้นเป็นอันทรงทำกรรมคือการปกปิดโทษนี้ตลอดกาลนาน ลำดับนั้น
โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้ความที่กรรมเห็นปานนี้ อันพระตถาคตนั้น
ทรงกระทำด้วยเหตุนี้ ดังนั้น ลักษณะคือมีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ย่อม
เกิดขึ้น ชื่อว่า คล้ายกรรม. ลักษณะนี้แหละ ชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้
มีโอรสมาก ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า วตถจฺฉาทิย ได้แก่ปกปิดด้วยผ้า คือซ่อนไว้ในผ้า. บทว่า
อมิตฺตตาปนา แปลว่า เผาผลาญพวกอมิตร. บทว่า คิหิสฺส ปีติชนนา
คือยังปีติให้เกิด เพื่อเป็นคฤหัสถ์.
บทว่า ย่อมรู้จักชนที่เสมอกัน ความว่า ย่อมรู้จักบุคคลที่เสมอกัน
ด้วยเหตุนั้น ๆ อย่างนี้ว่า ผู้นี้เสมอด้วยตารุกขนิครนถ์ผู้นี้เสมอด้วยโปกขร-
สาติ. บทว่า ย่อมรู้จักบุรุษ คือ รู้จักบุรุษว่า บุรุษนี้ เป็นผู้
ประเสริฐที่สุด. บทว่า รู้จักบุรุษพิเศษ คือ ไม่ทำถั่วเขียวเสมอด้วยถั่ว-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 69
ราชมาศ ย่อมรู้ความวิเศษของผู้ประเสริฐโดยคุณ. บทว่า บุคคลนี้ควร
สักการะนี้ ความว่า บุรุษนี้ ควรท่านสักการะชื่อนี้ เขาได้เป็นการกบุคคล
เพราะรู้จักบุรุษพิเศษว่า บุรุษนี้ได้เป็นผู้ทำให้เป็นบุรุษพิเศษมาก่อน เขาได้
ให้ทานแก่ผู้ควร จริงอยู่ ผู้ใดให้กหาปณะกึ่งหนึ่งแก่ผู้ที่ควรกหาปณะหนึ่ง
ผู้นั้น ย่อมทำให้กหาปณะกึ่งหนึ่งของผู้อื่นฉิบหายไป ผู้ใดให้สองกหาปณะ
ผู้นั้น ย่อมทำให้หนึ่งกหาปณะของตนฉิบหายไป เพราะฉะนั้น ไม่ทำแม้
ทั้งสองอย่างนี้ ชื่อว่า เขาได้ให้ทานแก่ผู้ควร. ในบทว่า ทรัพย์คือศรัทธา
เป็นต้น พึงทราบความที่ศรัทธาเป็นต้น เป็นทรัพย์ ด้วยอรรถคือให้ได้
สมบัติ กรรมคือการสงเคราะห์ผู้เสมอกัน อันบุคคลรู้จักบุรุษพิเศษ กระทำ
แล้วตลอดกาลนาน ชื่อว่า กรรมในที่นี้. โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้กรรม
นั้นของพระโพธิสัตว์ด้วยเหตุนี้ ดังนั้นลักษณะสองอย่างนี้ ย่อมเกิดขึ้น
ชื่อว่า คล้ายกรรม. ลักษณะสองอย่างนี้แหละ ชื่อว่า ลักษณะ. ธนสมบัติ
ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า ตุลิย แปลว่า พิจารณาแล้ว. บทว่า ปวิจิย แปลว่า
ค้นคว้าแล้ว. บทว่า หาชนสงฺคาหกธ คือสงเคราะห์มหาชน. บทว่า
สเมกฺขมาโน คือ เพ่งเสมอ.
บทว่า มนุษย์ทั้งหลายที่มีปัญญายิ่ง ความว่า มนุษย์ผู้ทำนาย
ลักษณะมีปัญญายิ่ง คือมีปัญญาละเอียด. บทว่า พหุวิวิธคิหีน อรหานิ
แปลว่า สมควรแก่พวกคฤหัสถ์หลาย ๆ อย่าง. บทว่า ปฏิลภติ ทหโร
สุสู กุมาโร ความว่า พวกนักพยากรณ์ทำนายว่า พระโพธิสัตว์หนุ่มนี้
จักได้เป็นพระกุมาร. บทว่า มหิปฺปติสฺส คือ พระราชา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 70
บทว่า โยคกฺเขมภาโม คือใคร่ความเกษมจากโยคะ บทว่า
ด้วยปัญญา คือด้วยปัญญาแห่งกรรมอันตนทำแล้ว ความเป็นผู้
ใคร่ประโยชน์แก่มหาชน ชื่อว่า กรรมในที่นี้. โลกพร้อมด้วยเทวโลก
จงรู้ความเป็นผู้หวังความเจริญอย่างเดียว เพราะความเป็นผู้ใคร่ประโยชน์
แก่มหาชนด้วยเหตุนี้ของพระโพธิสัตว์นั้นดังนั้น พระลักษณะ ๓ ประการ
อันบริบูรณ์ครบถ้วน อันไม่เสื่อมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้น นั้นชื่อว่า คล้ายกรรม
ลักษณะ ๓ ประการนี้แหละ ชื่อว่า ลักษณะ. ความไม่เสื่อมจากทรัพย์
เป็นตัน และจากศรัทธาเป็นต้น ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า ด้วยศรัทธา ความว่า ด้วยความเชื่อเพราะความสำเร็จ ด้วย
ความเชื่อเพราะความเลื่อมใส. บทว่า ด้วยศีล คือ ด้วยศีล ๕ ด้วยศีล ๑๐
บทว่า ด้วยสุตะ คือ ด้วยการฟังพระปริยัติ. บทว่า ด้วยพุฑฺฒิ คือ
ด้วยความเจริญแห่งธรรมเหล่านั้น อธิบายว่า พระโพธิสัตว์ทรงดำริอย่างนี้
ว่า ชนทั้งหลายพึงเจริญด้วยธรรมเหล่านี้ได้อย่างไร. บทว่า ด้วยธรรม
คือด้วยโลกิยธรรม. บทว่า ด้วยคุณอันให้ประโยชน์สำเร็จมาก คือ
ด้วยคุณอันสูงสุดมาก แม้อื่นๆ. บทว่า อหานธมฺมต คือ ธรรมอันไม่เสื่อม.
บทว่า มีเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารแผ่ซ่านไปสม่ำเสมอทั่วพระ
วรกาย ความว่า วัตถุแม้ประมาณเท่าเมล็ดงา ตั้งอยู่ที่ปลายลิ้นย่อมแผ่ไปใน
ที่ทั้งหมดฉันใด เส้นประสาทย่อมทำรสอาหารแผ่ซ่านไปสม่ำเสมอฉันนั้น
ความคือการกระทำให้ไม่มีโรค. ชื่อว่า กรรมในที่นี้ โลหิตของผู้ถูกประหาร
ด้วยฝ่ามือเป็นต้น ย่อมขังอยู่ในที่นั้นๆ เป็นปมโน กลัดหนองในภายใน
และแตกในภายใน ด้วยอาการอย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้มีโรคมาก. แต่พระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 71
ตถาคตทรงกระรำกรรมอันทำให้ไม่มีโรคนี้ตลอดกาลนาน. โลกพร้อมด้วย
เทวโลก จงรู้กรรมนั้นของพระตถาคตนั้น ด้วยเหตุนี้ดังนั้น ลักษณะคือ
มีเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันเลิศอันทำให้ไม่มีโรค ย่อมเกิดขึ้น
ชื่อว่า คล้ายกรรม ลักษณะนี้แหละ ชื่อว่า ลักษณะ ความเป็นผู้มีอาพาธ
น้อย ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า ด้วยให้ตายเองและบังคับให้ฆ่า คือด้วยบังคับอย่างนี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงให้ผู้นี้ตายจงฆ่าผู้นี้ดังนี้ . บทว่า ด้วยจองจำ คือด้วยให้เข้า
ไปอยู่ในเรือนจำ. บทว่า โอชสา แปลว่า มีรสอร่อย.
บทว่า ไม่ถลึงตาดู คือไม่เพ่งด้วยอำนาจความโกรธเหมือนปูนำตา
ออก. บทว่า ไม่ค้อนตาดู คือไม่ชายตามอง. บทว่า ไม่ชำเลืองตาดู
ความว่า ผู้ที่โกรธหลับตา ไม่ดู ในขณะที่คนอื่นเขาดู กลับโกรธมองดูผู้ที่
เดินไปอีก พระตถาคตมิได้เป็นอย่างนั้น. บาลีว่า วิเธยฺยเปกฺขิตา ดังนี้บ้าง
นี้ก็มีความอย่างเดียวกัน. บทว่า เป็นผู้ตรงมีใจตรงเป็นปกติ ความว่า
เป็นผู้มีใจตรง เป็นผู้เพ่งตรง คือได้เป็นผู้เพ่งอย่างเปิดเผย คือ ไพบูลย์
กว้างขวางเช่นเดียวกับใจตรง. บทว่า ดูน่ารัก คือพึงดูด้วยใจรัก. กรรม
คือการดีด้วยจักเป็นที่รักของมหาชนตลอดกาลนาน ชื่อว่า กรรมในที่นี้
ผู้โกรธเมื่อแลดูย่อมเป็นเหมือนตาบอดข้างเดียว เหมือนตากาย่อมจะเป็น
คนตาเหล่และตาขุ่นมัวทีเดียว. แต่ผู้มีจิตผ่องใสเมื่อแลดู ประสาทมีสี ๕
ของตาทั้งสองนั้นปรากฏ. ก็พระตถาคตย่อมทรงแลดูอย่างนั้น. อนึ่ง โลก
พร้อมด้วยเทวโลก จงดูรู้ความที่พระตถาคตนั้นทรงแลดูด้วยจักษุเป็นที่รัก
ตลอดกาลนาน ด้วยเหตุนี้ ดังนั้น มหาปุริสลักษณะ ๒ ประการ อัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 72
กระทำความสมบูรณ์แก่พระเนตรย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า คล้ายกรรม. ลักษณะ
ทั้งสองประการนี้แหละชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้ดูด้วยความรัก ชื่อว่า
อานิสงส์.
บทว่า อภิโยคิโน คือประกอบในลักษณะศาสตร์. บทว่า พระ-
ตถาคตเป็นหัวหน้าของชนเป็นอันมาก ความว่า ได้เป็นหัวหน้าคือเป็น
ผู้ใหญ่ได้ในหมู่ของชนเป็นอันมาก ชนเหล่าอื่นย่อมยึดถือทิฏฐานุคติของ
พระตถาคตนั้น ความเป็นหัวหน้าชื่อว่ากรรมในที่นี้ ผู้ใดเป็นหัวหน้ากระทำ
กุศลธรรม มีทานเป็นต้น ผู้นั้น เป็นผู้ไม่เก้อเขินเงยศีรษะ เป็นผู้มีศีรษะ
บริบูรณ์ด้วยปิติและปราโมทย์เที่ยวไป ก็พระมหาบุรุษได้เป็นอย่างนั้น ที่
นั้นโลกพร้อมด้วยเทวโลก จงรู้กรรมคือการเป็นหัวหน้านี้ ของพระมหา
บุรุษนั้นด้วยเหตุนี้ ดังนั้นลักษณะคือมีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบ
พระพักตร์ย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า คล้ายกรรม. ลักษณะนี้แหละชื่อว่า ลักษณะ
ความเป็นผู้อนุวัตรตามมหาชน ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า หมู่ชนที่ช่วยเหลือ คือพวกที่ทำการช่วยเหลือ เป็นอัน
มาก จักมีแก่พระองค์. บทว่า ครั้งนั้นพวกพราหมณ์ย่อมพยากรณ์
ความว่า พวกพราหมณ์ พยากรณ์อย่างนั้น ในคราวที่พระองค์ทรงพระเยาว์.
บทว่า ปฏิหารก แปลว่า ความเป็นผู้ช่วยเหลือ. บทว่า วิสวี แปลว่า
มีความชำนาญสั่งสมแล้ว. บทว่า ประพฤติตาม คือประพฤติตามอัธยาศัย.
การกล่าวความจริงตลอดกาลนาน ชื่อว่า กรรมในที่นี้ โลกพร้อมด้วย
เทวโลกจงรู้ความที่พระองค์ตรัสถ้อยคำไม่เป็นที่สอง คือถ้อยคำบริสุทธิ์ตลอด
กาลนาน ด้วยเหตุนี้ ดังนั้น พระลักษณะคือมีพระโลมาขมละเส้นๆ เสมอ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 73
กันไปทุกขุมขนและพระลักษณะคือพระอุณาโลมย่อมเกิด ชื่อว่า คล้าย
กรรม. ลักษณะทั้งสองนี้แหละชื่อว่าลักษณะ ความเป็นผู้อนุวัตรตามโดย
ความอนุวัตรตามอัธยาศัยแก่มหาชน ชื่อว่า อานิสงส์.
การกล่าววาจาไม่ส่อเสียดตลอดกาลนาน ชื่อว่า กรรมในที่นี้. บทว่า
อเภชฺชปริโส แปลว่า ไม่นำบริษัทให้แตกกัน. นัยว่า ผู้กล่าววาจาส่อเสียด
ทำลายความสามัคคี ฟันย่อมไม่สมบูรณ์และย่อมเป็นผู้มีฟันห่าง อนึ่ง โลก
พร้อมด้วยเทวโลกจงรู้ความที่พระตถาคตมีพระวาจาไม่ส่อเสียด ตลอดกาล
นาน ด้วยเหตุนี้ ดังนั้น ลักษณะทั้งสองนี้ย่อมเกิด ชื่อว่า คล้ายกรรม
ลักษณะทั้งสองนี้แหละ ชื่อว่า ลักษณะ ความที่บริษัทไม่แตกกัน ชื่อว่า
อานิสงส์.
บทว่า จตุโร ทส แปลว่า ๔๐. บทว่า อาเทยฺยวาโจ แปลว่า
มีคำควรเชื่อถือได้. ความเป็นผู้ไม่กล่าวคำหยาบ ตลอดกาลนาน ชื่อว่า
กรรมในที่นี้ ผู้ใดเป็นผู้มีวาจาหยาบ ชนจงรู้ความที่เขาเหล่านั้น กลับลิ้น
กล่าววาจาหยาบ ด้วยเหตุนี้. ดังนั้น ผู้นั้นจะมีลิ้นกระด้าง มีลิ้นอำพราง
มีสองลิ้น หรือติดอ้าง อนึ่งผู้ใดกลับลิ้นไปมาไม่พูดวาจาหยาบ ผู้นั้นจะเป็น
ผู้ไม่มีลิ้นกระด้าง ไม่มีลิ้นอำพราง ไม่สองลิ้น ลิ้นของเขาอ่อน มีสีเหมือน
ผ้ากัมพลสีแดง เพราะฉะนั้น โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้ความที่พระตถาคต
ได้กลับลิ้นไปมา แล้วตรัสวาจาหยาบด้วยเหตุนี้. ดังนั้น พระลักษณะคือมี
พระชิวหาใหญ่ย่อมเกิดขึ้น อนึ่งเสียงของผู้กล่าววาจาหยาบย่อมแตก ชนจง
รู้ความที่เขาทำเสียงแตกแล้วกล่าววาจาหยาบ ดังนั้น เขาย่อมเป็นผู้มีเสียง
ขาดหรือมีเสียงแตก หรือมีเสียงเหมือนกา. อนึ่ง ผู้ใดไม่กล่าววาจาหยาบ
อันทำให้เสียงแตก เสียงของผู้นั้น ย่อมเป็นเสียงไพเราะและเป็นเสียงน่ารัก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 74
เพราะฉะนั้น โลกพร้อมด้วยเทวโลก จงรู้ความที่พระตถาคตไม่ตรัสวาจา
หยาบ อันทำให้เสียงแตก ตลอดกาลนานด้วยเหตุนี้. ดังนั้น พระลักษณะ
คือมีเสียงดุจเสียงพรหมย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า คล้ายกรรม. พระลักษณะทั้งสอง
นี้แหละชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้มีวาจาควรเชื่อถือ ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า ทำความเจ็บใจ คือ ทำความเจ็บใจเพราะประกอบด้วย
การด่า. บทว่า พหุชนปฺปมทฺทน แปลว่า ย่ำยีชนเป็นอันมาก. พึงประกอบ
อ. อักษร ในบทนี้ว่า อพาฬฺห คิร โส น ภณิ ผรุส ด้วย ภณิศัพท์
ข้างหน้า. บทว่า หนัก คือ ถ้อยคำหนัก มีกำลัง คือ หยาบยิ่งนัก ในบท
นี้มีอธิบายว่า เขามิได้พูดคำหนัก. บทว่า สุสหิต แปลว่า ประกอบความ
รักด้วยดี. บทว่า สขิล แปลว่า อ่อน. บทว่า วาจา คือคำพูดทั้งหลาย.
บทว่า สะดวกหู ความว่า ความสุขทางหู ปาฐะว่า กณฺณสุข ก็มี,
อธิบายว่า ความสุขย่อมมีแก่หูอย่างใด ย่อมกล่าวอย่างนั้น.
บทว่า เวทยิถ แปลว่า เสวยแล้ว. บทว่า พฺรหฺมสฺส แปลว่า
เป็นผู้มีเสียดุจเสียงพรหม. บทว่า ไม่มีใครกำจัดได้ ความว่า เป็นผู้
อันใคร ๆ ไม่สามารถกำจัด คือ ให้เคลื่อนจากคุณธรรมหรือฐานะได้ การ
ไม่พูดถ้อยคำเพ้อเจ้อ ชื่อว่า กรรมในที่นี้ ผู้ใดกล่าวคำเช่นนั้น ชนจงรู้
ความที่เขาเหล่านั้น คางสั่น แล้วพูดคำเพ้อเจ้อด้วยเหตุนี้ ดังนั้น ผู้นั้น
ย่อมเป็นผู้มีคางเข้าไปแล้วในภายใน หรือมีคางคด หรือมีคางเหมือนเงื้อม
เขา แต่พระตถาคตย่อมไม่ตรัสอย่างนั้น โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้ความที่
พระตถาคตนั้นไม่สั่นคางแล้ว ๆ เล่า ๆ แล้วตรัสคำเพ้อเจ้อด้วยเหตุนี้ ดังนั้น
พระลักษณะคือมีพระหนุดุจคางสีหะ ย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า คล้ายกรรม.
พระลักษณะนี้และชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้อันใครกำจักไม่ได้ ชื่อว่า
อานิสงส์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 75
บทว่า มีคลองพระวาจาไม่เหลวไหล คือ มีฉลองพระวาจาของ
สัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้ก่อนดุจของสัตว์ผู้มีวาจาไม่เหลวไหล บทว่า ทฺวีทุคฺคม-
วรตรหนุตฺตมลตฺถ ความว่า ชื่อว่า ทฺวิทุคฺคม เพราะไป ๔ เท้า อธิบาย
ว่า ได้ความที่สีหะประเสริฐกว่าสัตว์ ๔ เท้า. คำว่า มนุชาธิปติ ได้แก่
เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์. คำว่า ตถตฺโต คือ สภาพที่เป็นจริง.
บทว่า สุจิปริจาโร ได้แก่มีบริวารสะอาด. ความเป็นผู้มีอาชีพ
ชอบ ชื่อว่า กรรมในที่นี้ ผู้ใดสำเร็จชีวิตด้วยอาชีพเศร้าหมอง ไม่สม่ำเสมอ
แม้ฟันของผู้นั้นก็ไม่เสมอ แม้เขี้ยวก็สกปรก ก็โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้
ความที่พระตถาคตทรงสำเร็จชีวิตด้วยอาชีพบริสุทธิ์สม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้
ดังพระลักษณะคือมีพระทนต์เรียบเสมอกัน และพระลักษณะคือมีพระทาฐะ
ขาวงามย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า คล้ายกรรม. พระลักษณะทั้งสองนี้แหละชื่อว่า
ลักษณะ. ความเป็นผู้มีบริวารสะอาด ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า ไม่กดขี่เบียดเบียนชาวชนบท ความว่า การกดขี่หรือ
เบียดเบียนด้วยคนอื่นของชนชาวชนบทอันกำหนดด้วยจักรวาล ย่อมไม่มี.
บทว่า นิทิวปุรวรสโม ความว่า เสมอด้วยท้าวสักกะผู้มีเมืองสวรรค์อัน
ประเสริฐ. บทว่า ลปนช คือ ฟันอันเกิดในปาก. บทว่า ทิชสมสุกฺก-
สุจิโสภนทนฺโต ความว่า ชื่อว่า ทิชสมสุกฺกสุจิโสภนทนฺโต เพราะ
มีฟันขาวสะอาดงาม ชื่อ ทิช เพราะเกิดสองหน. บทว่า น จ ชนปทตุทน
ความว่า ชนบทอันกำหนดด้วยจักรวาล ไม่มีรบกวนเบียดเบียนความเจ็บ
ป่วย. บทว่า ย่อมประพฤติแม้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และความสุขแก่
ชนหมู่มาก ความว่า ชนเป็นอันมาก เป็นผู้มีสุขและทุกข์เสมอกันย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 76
ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์และความสุขแก่กันและกันในชนบทนั้น. บทว่า
วิปาโป ได้แก่ ปราศจากบาป. บทว่า ปราศจากความกระวนกระวาย
และความลำบาก ความว่า ปราศจากความกระวนกระวายและความ
ลำบากทางกาย. บทว่า ผู้กำจัดกิเลสเป็นมลทิน เป็นตอ เป็นโทษ
ความว่า กำจัดกิเลสทั้งปวง อันเป็นมลทิน มีราคะเป็นต้น อันเป็นตอ
มีราคะเป็นตันและอันเป็นโทษ คือ โทสะ. บทที่เหลือในบททั้งหมดมี
อรรถง่ายนั่นแล.
จบอรรถกถาลักขณะสูตร ที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 77
๘. สิงคาลกสูตร
เรื่อง สิงคาลกคฤหบดีบุตร - ว่าด้วยคิหิปฏิบัติ
[๑๗๒] ข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์ สมัยนั้นสิงคาลก-
บุตรคฤหบดีลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก
ประคองอัญชลีนอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา
ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน
[๑๗๓] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองผ้า ถือ
บาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้ทอดพระเนตรเห็น
สิงคาลกบุตรคฤหบดี ซึ่งลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก
มีผมเปียก ประคองอัญชลี นอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า
ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน ครั้น
ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนบุตรคฤหบดี เธอลุกแต่เช้า
ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลี นอบน้อม
ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องหลัง
ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่ เพราะเหตุอะไร
สิงคาลกบุตรคฤหบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บิดาของ
ข้าพระองค์ เมื่อจะทำกาสกิริยา ได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า นี่แน่ลูก เจ้าพึง
นอบน้อมทิศทั้งหลาย ข้าพระองค์สักการะเคารพนับถือบูชาคำของบิดา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 78
จึงลุกขึ้นแต่เช้าออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคอง
อัญชลี นอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย
ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ในวินัยของพระอริยเจ้า เขาไม่นอบน้อม
ทิศทั้ง ๖ กันอย่างนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวินัยของพระอริยเจ้า ท่าน
นอบน้อมทิศ ๖ กันอย่างไร ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ตามที่ในวินัยของพระอริยเจ้า ท่านนอบ
น้อมทิศ ๖ กันนั้นเถิด พระเจ้าข้า.
กถาว่าด้วยอบายมุข ๔
[๑๗๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี
เราจักกล่าว. สิงคาลกคฤหบดีบุตรกราบทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร อริยสาวกละ-
กรรมกิเลส ๔ ได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยฐานะ ๔ และไม่เสพทางเสื่อม
แข็งโภคะ ๖ อริยสาวกนั้น เป็นผู้ประศากจากกรรมอันลามก ๑๔ อย่างนี้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ปกปิดทิศ ๖ ย่อมปฏิบัติเพื่อชนะโลกทั้งสอง และเป็นอันอริย-
สาวกนั้นปรารภแล้วทั้งโลกนี้ และโลกหน้า. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย
แตก อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
กรรมกิเลส ๔ เป็นไฉน ที่อริยสาวกละได้แล้ว. ดูก่อนคฤบดี
บุตร กรรมกิเลสคือปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 79
มุสาวาท ๑ กรรมกิเลส ๔ เหล่านี้ ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า
[๑๗๕] ปาณาติบาต อทินนาทาน มุสาวาทและการ
คบหาภรรยาผู้อื่น เรากล่าวว่าเป็นกรรมกิเลส
บัณฑิตทั้งหลานไม่สรรเสริญ
[๑๗๖] อริยสาวกไม่ทำบาปกรรมโดยฐานะ ๔ เป็นไฉน ปุถุชน
ถึงฉันทาคติ ย่อมทำกรรมลามก ถึงโทสาคติ ย่อมทำกรรมลามก ถึงโมหาคติ
ย่อมทำกรรมลามก ถึงภยาคติ ย่อมทำกรรมลามก. ดูก่อนคฤหบดีบุตร
ส่วนอริยสาวก ไม่ถึงฉันทาติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถือโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ
ท่านย่อมไม่ทำกรรมอันลามก โดยฐานะ ๔ เหล่านี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้เเล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
[๑๗๗] ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก
ความชัง ความกลัว ความหลง ยศของผู้นั้น
ย่อมเสื่อมเหมือนดวงจันทร์ในข้างแรม
ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก
ความชัง ความกลัว ความหลง ยศย่อม
เจริญแก่ผู้นั้น เหมือนดวงจันทร์ในข้างขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 80
กถาว่าด้วยอบายมุข ๖
[๑๗๘] อริยสาวกไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลาย เป็นไฉน
ดูก่อนคฤหบดีบุตร การเสพน้ำเมา คือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑ การเที่ยวไปในตรอก
ต่าง ๆ ในเวลากลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ การ
เที่ยวดูมหรสพเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑ การเล่นการพนัน
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑
การคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑ ความ
เกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑
[๑๗๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเสพน้ำเมา คือสุรา
และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการ คือ ๒ ความเสื่อทรัพย์
อันผู้เสพพึงเห็นเอง ๑ ก่อการทะเลาะวิวาท ๑ เป็นบ่อเกิดแห่งโรค ๑
เป็นเหตุเสียชื่อเสียง ๑ เป็นเหตุไม่รู้จักอาย ๑ เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเสพน้ำเมา คือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล
[๑๘๐] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในกามเที่ยวไปในตรอกต่าง ๆ
ในเวลากลางคืน ๖ ประการ คือ ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว ๑ ชื่อว่า
ไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา ๑ ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์
สมบัติ ๑ เป็นที่ระแวงของคนอื่น ๑ คำพูดอันไม่เป็นจริงในที่นั้น ๆ ย่อม
ปรากฏในผู้นั้น ๑ ทำให้เกิดความลำบากมาก ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 81
๖ ประการในการเที่ยวไปในตรอกต่าง ๆ ในเวลากลางคืนเหล่านี้แล
[๑๘๑] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเที่ยวดูมหรสพ ๖ ประ
การ คือ รำที่ไหนไปที่นั่น ๑ ขับร้องที่ไหนไปที่นั้น ๑ ประโคมที่ไหน
ไปที่นั้น ๑ เสภาที่ไหนไปที่นั้น เพลงที่ไหนไปที่นั้น ๑ เถิดเทิงที่ไหน
ไปที่นั้น ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเที่ยวดูมหรสพ
เหล่านี้แล
[๑๘๒] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเล่นการพนัน อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการ คือ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ๑ ผู้แพ้ย่อม
เสียดายทรัพย์ที่เสียไป ๑ ความเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน ๑ ถ้อยคำของคน
เล่นการพนัน ซึ่งไปพูดที่ประชุมฟังไม่ขึ้น ๑ ถูกมิตรอำมาตย์หมิ่นประมาท ๑
ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่าชายนักเลงเล่นการพนันไม่
สามารถจะเลี้ยงภรรยา ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเล่น
การพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล
[๑๘๓] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการคบคนชั่วเป็นมิจร ๖
ประการ คือ นำให้เป็นนักเลงการพนัน นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้ ๑
นำให้เป็นนักเลงเหล้า ๑ นำให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม ๑ นำให้
เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า ๑ นำให้เป็นคนหัวไม้ ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ
๖ ประการในการคบคนชั่วเป็นมิตรเหล่านี้แล
[๑๘๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเกียจคร้าน ๖ ประการ
คือ มักให้อ้างว่าหนาวนักแล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าร้อนนักแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 82
ไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่า
ยังเข้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน มักให้อ้างว่าหิวนักแล้วไม่ทำการงาน ๑ มัก
ให้อ้างว่ากระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศ
ผัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็ถึงความเสื่อมสิ้นไป. ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเกียจ
คร้านเหล่านี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์
ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๘๕] เพื่อนในโรงสุราก็มี เพื่อนกล่าวแต่ปาก
ว่าเพื่อน ๆ ก็มี ส่วนผู้ใดเป็นสหาย เมื่อความ
ต้องการเกิดขึ้นแล้ว ผู้นั้นจัดว่าเป็นเพื่อแท้.
เหตุ ๖ ประการเหล่านี้คือ การนอนสาย ๑
การเสพภรรยาผู้อื่น ๑ การผูกเวร ๑ ความเป็นผู้
ทำแต่สิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑ มิตรชั่ว ๑ ความ
เป็นผู้ตระหนี่เหนี่ยวแน่น ๑ ย่อมกำจัดบุรุษ
เสียจากประโยชน์สุขที่จะพึงได้ พึงถึง.
คนมีมิตรชั่วมีมารยาทและโคจรชั่ว ย่อม
เสื่อมจากโลกทั้งสองคือ จากโลกนี้และจาก
โลกหน้า.
เหตุ ๖ ประการ คือ การพนันและหญิง ๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 83
สุรา ๑ ฟ้อนรำขับร้อง ๑ นอนหลับในกลางวัน
บำเรอตนในสมัยมิใช่กาล ๑ มิตรชั่ว ๑ ความ
ตระหนี่เหนียวแน่น ๑ เหล่านี้ย่อมกำจัดบุรุษ
เสียจากประโยชน์ที่จะพึงได้ พึงถึง.
ชนเหล่าใดเล่นการพนัน ดื่มสุรา เสพหญิง
ภรรยาที่รักเสมอด้วยชีวิตของผู้อื่น คบแต่คน
ต่ำช้า และไม่คบหาคนที่มีความเจริญ ย่อม
เสื่อมดุจดวงจันทร์ในข้างแรม ผู้ใดดื่มสุรา
ไม่มีทรัพย์ หาการงานทำเลี้ยงชีวิตมิได้ เป็น
คนขี้เมาปราศจากสิ่งเป็นประโยชน์ เขาจักจม
ลงสู่หนี้เหมือนก้อนหินจมน้ำฉะนั้น จักทำ
ความอากูลแก่ตนทันที.
คนที่ปกตินอนหลับในกลางวัน เกลียด-
ชังการลุกขึ้นในกลางคืน เป็นนักเลงขี้เมา
เป็นนิจไม่อาจครอบครองเรือนให้ดีได้ ประ-
โยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลย ชายหนุ่มที่
ละทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก
เวลานี้เย็นเสียแล้วดังนี้เป็นต้น ส่วนผู้ใดไม่
สำคัญความหนาว ความร้อน ยิ่งไปกว่าหญ้า
ทำกิจของบุรุษอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจาก
ความสุข ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 84
กถาว่าด้วยมิตรเทียม
[๑๘๖] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ คน
ปอกลอก ๑ คนดีแต่พูด ๑ คนหัวประจบ ๑ คนชักชวนในทางฉิบหาย ๑
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร.
[๑๘๗] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนปอกลอกท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ เป็นคนติดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๑
เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก ๑ ไม่รับทำกิจของเพื่อนในคราวมีภัย ๑ คบ
เพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๑. คฤหบดีบุตร คนปอกลอกท่าน
พึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.
[๑๘๘] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
แต่เป็นคนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย ๑
อ้างเอาของที่ยังไม่มาถึงมาปราศรัย ๑ สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑
เมื่อกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง ( ออกปากพึ่งมิได้ ) ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร
คนดีแต่พูดท่านพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน
๔ เหล่านี้แล.
[๑๘๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่
มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ ตามใจเพื่อน ให้ทำความชั่ว
(จะทำชั่วก็คล้อยตาม) ๑ ตามใจเพื่อนให้ทำความดี (จะทำดีก็คล้อยตาม)
ต่อหน้าก็สรรเสริญ ๑ ลับหลังนินทา ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 85
[๑๙๐] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่าน
พึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ ชักชวนให้
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ชักชวนให้เที่ยว
ตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน ๑ ชักชวนให้ดูการมหรสพ ๑ ชักชวน
ให้เล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร
คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร
โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๙๑] บัณฑิตผู้รู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ
มิตรปอกลอก ๑ มิตรดีแต่พูด ๑ มิตรหัว
ประจบ ๑ มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ว่าไม่
ใช่มิตรแท้ พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เหมือนคน
เดินทาง เว้นทางที่มีภัยเฉพาะหน้า ฉะนั้น
[๑๙๒] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมี
อุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มิตรแนะประโยชน์ มิตรมีความ
รักใคร่ ๑ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรมีใจดี ( เป็นมิตรแท้ ).
กถาว่าด้วยมิตรแท้
[๑๙๓] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่า
เป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ รักษาทรัพย์
สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑ เมื่อกิจที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 86
จำต้องทำเกิดขึ้น เพิ่มทรัพย์ให้สองเท่า ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมี
อุปการะท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.
[๑๙๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบ
ว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ บอกความลับแก่เพื่อน ๑ ปิดความลับ
ของเพื่อน ๑ ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย ๑ แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์
แก่เพื่อนได้ ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่า
เป็นมิตรแท้โดยสถาน . เหล่านี้แล.
[๑๙๕] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบ
ว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ ห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความ
ดี ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ บอกทางสวรรค์ให้ ๑. ดูก่อนคฤหบดี
บุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่า เป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔
เหล่านี้แล.
[๑๙๖] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ พึงทราบว่าเป็น
มิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ๑ ยินดี
ด้วยความเจริญของเพื่อน. ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่
สรรเสริญเพื่อน ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบ
ว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตแล้ว จึง
ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๙๗] บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวก เหล่านี้ คือ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 87
มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตร
แนะประโยชน์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑ ว่าเป็น
มิตรแท้ฉะนี้แล้ว พึงเข้าไป คบหาโดยเคารพ
เหมือนมารดากับบุตรฉะนั้น.
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองส่อง
สว่างเพียงดังไฟ เมื่อบุคคลสะสมโภคสมบัติ
อยู่เหมือนแมลงผึ้งสร้างรัง โภคสมบัติย่อมถึง
ความเพิ่มพูนดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น
ฉะนั้น
คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ ครั้นสะสม
โภคสมบัติได้อย่างนี้ พึงแบ่งโภคสมบัติ
ออกเป็น ๔ ส่วน เขาย่อมผูกมิตรไว้ได้ พึงใช้
สอยโภคทรัพย์ด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการ
งานด้วยสองส่วน พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย
หมายจักมีไว้ในยามมีอันตราย ดังนี้.
กถาว่าด้วยทิศ ๖
[๑๙๘] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ก็อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง ๖
อย่างไร. ท่านพึงทราบทิศ ๖ เหล่านี้คือ พึงทราบมารดาบิดาว่า เป็นทิศ
เบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 88
และอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณ-
พราหมณ์ เป็นทิศเบื้องบน.
[๑๙๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา เป็นทิศเบื้องหน้า อัน
บุตรธิดาพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยตั้งใจว่า ท่านเลี้ยงเรามา เราจัก
เลี้ยงท่านตอบ ๑ จักรับทำกิจของท่าน ๑ จักดำรงวงศ์ตระกูล ๑ จักปฏิบัติ
ตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑ เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศ
ให้ท่าน ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรพึง
บำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ ห้าม
จากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑ หาภรรยาที่
สมควรให้ ๑ มอบทรัพย์ให้ในสมัย ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรบำรุง
ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๔ เหล่านี้ ทิศ
เบื้องหน้านั้น ชื่อว่า อันบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้
[๒๐๐] ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์
บำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยลุกขึ้นยืนรับ ๑ ด้วยเข้าไปยินคอยต้อนรับ .
ด้วยการเชื่อฟัง ๑ ด้วยการปรนนิบัติ ๑ ด้วยการเรียนศิลปวิทยาโดย
เคารพ ๑.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 89
ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์พึงบำรุง
ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ คือ แนะนำ
ดี ๑ ให้เรียนดี บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด ๑ ยกย่องให้ปรากฏ
ในเพื่อนฝูง ๑ ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์บำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศ
เบื้องขวานั้น ชื่อว่า อันศิษย์ปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้.
[๒๐๑] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีพึง
บำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยยกย่องว่าเป็นภรรยา ๑ ด้วยไม่ดูหมิ่น ๑ ด้วย
ไม่ประพฤตินอกใจ ๑ ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ ๑ ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีบำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ จัดการงานดี ๑
สงเคราะห์คนข้างเคียงสามีดี ๑ ไม่ประพฤตินอกใจสามี ๑ รักษาทรัพย์ที่
สามีหามาให้ ๑ ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถาน
เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหลังนั้น
ชื่อว่า อันสามีปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ .
[๒๐๒] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตร
พึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยการให้ปัน ๑ ด้วยเจรจาถ้อยคำเป็นที่รัก ๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 90
ด้วยประพฤติประโยชน์ ๑ ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑ ด้วยไม่แกล้งกล่าว
ให้คลาดจากความเป็นจริง ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตรบำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ รักษามิตร
ผู้ประมาทแล้ว ๑ รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมิตรมีภัย เอา
เป็นที่พึงพำนักได้ ๑ ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑ นับถือตลอดถึงวงศ์ตระกูล
ของมิตร ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรบำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศ
เบื้องซ้ายนั้นชื่อว่าอันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้.
[๒๐๓] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกร ผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อัน
นายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง ๑
ด้วยให้อาหารและรางวัล ๑ ด้วยรักษาในคราวเจ็บไข้ ๑ ด้วยแจกของมีรส
แปลกประหลาดให้ ๑ ด้วยปล่อยให้ในสมัย ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายบำรุง
ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ คือ ลุกขึ้นทำ
การงานก่อนนาย ๑ เลิกการงานทีหลังนาย ๑ ถือเอาแต่ของที่นายให้ ๑
ทำการงานให้ดีขึ้น ๑ นำคุณของนายไปสรรเสริญ ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายบำรุง
ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 91
เบื้องต่ำนั้น ชื่อว่า อันนายปกปิดให้เกษมสำราญ ไม่ให้มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้.
[๒๐๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน
อันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
ด้วยวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑ ด้วยมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู ๑ ด้วยให้อามิสทานเนือง ๆ ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตร
บำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖
เหล่านี้ คือ ห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี อนุเคราะห์ด้วย
ใจงาม ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ๑
บอกทางสวรรค์ให้ ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตร
บำรุงแล้วด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ เหล่านี้
ทิศเบื้องบนนั้นชื่อว่า อันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญให้ไม่มีภัย ด้วย
ประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๒๐๕ ] มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็น
ทิศเบื้องขวา บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตร
อำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสกรรมกรเป็นทิศ
เบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน คฤหัสถ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 92
ในตระกูล ผู้สามารถพึงนอบน้อมทิศเหล่านี้.
บัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นคนละเอียด
และมีไหวพริบ มีความประพฤติเจียมตน ไม่
ดื้อกระด้าง ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ คนหมั่นไม่
เกียจคร้าน ย่อมไม่หวั่นไหว ในอันตราย
ทั้งหลาย คนมีความประพฤติไม่ขาดสาย มี
ปัญญา ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ คนผู้สงเคราะห์
แสวงหามิตรที่ดี รู้เท่าถ้อยคำที่เขากล่าว
ปราศจากตระหนี่เป็นผู้แนะนำ ชี้แจง ตาม
แนะนำ ผู้เช่นนั้นย่อมได้ยศ.
การให้ ๑ เจรจาไพเราะ ๑ การประพฤติ
ให้เป็นประโยชน์ ๑ ความเป็นผู้มีตนเสมอใน
ธรรมทั้งหลายในคนนั้น ๆ ตามควร ธรรม
เครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจในโลกเหล่านี้แล เป็น
เหมือนเพลารถอันแล่นไปอยู่ จากธรรมเครื่อง
ยึดเหนี่ยวเหล่านี้ ไม่พึงมีไซร้มารดาบิดาไม่พึง
ได้ความนับถือ หรือความบูชา เพราะเหตุแห่ง
บุตร. เพราะบัณฑิตทั้งหลายพิจารณาเห็น
ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวเหล่านี้โดยชอบ ฉะนั้น
บัณฑิตเหล่านั้น จึงถึงความเป็นใหญ่และเป็น
ผู้อันหมู่ชนสรรเสริญทั่วหน้าดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 93
[๒๐๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สิงคาลกคฤหบดี
บุตร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงาย
ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด
ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทาน
ธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้น เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า
พระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็น
สรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงพระ-
รัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฉะนี้แล.
จบ สิงคาลกสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 94
อรรถกถาสิงคาลกสูตร
สิงคาลกสูตรมีบทเริ่มต้นว่าข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้ :-
ต่อไปจะพรรณนาบทที่ยาก ในสิงคาลกสูตรนั้น. บทว่า เวฬุวัน
ในบทว่า พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เป็น
ชื่อของอุทยานนั้น. ได้ยินว่า อุทยานนั้นได้ล้อมด้วยไม้ไผ่ ประกอบด้วย
ซุ้มประตูและหอคอย โดยกำแพงสูง ๑๘ ศอก มีแสงเขียว เป็นที่น่า
รื่นรมย์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า เวฬุวัน อนึ่ง ชนทั้งหลายได้ให้
เหยื่อแก่กระแตในสวนเวฬุวันนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กลันทกนิวาป
อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต.
มีเรื่องเล่าว่า ครั้งก่อน พระราชาพระองค์หนึ่งเสด็จประพาสสวน
ณ ที่นั้น เสวยน้ำโสมจนทรงเมา บรรทมหลับในกลางวัน. แม้ชน
บริวารของพระองค์คิดกันว่า พระราชาบรรทมหลับแล้ว ถูกยั่วด้วยดอกไม้
และผลไม้เป็นต้น จึงเลี่ยงออกไปจากที่นั้น ๆ. ครั้งนั้น งูเห่า เพราะได้
กลิ่นเหล้าจึงเลื้อยออกจากโพรงไม้ต้นหนึ่งมาอยู่เฉพาะพระพักตร์พระราชา.
รุกขเทวดาเห็นงูนั้นคิดว่า เราจะให้ชีวิตพระราชาดังนี้ จึงแปลงเพศเป็น
กระแตมาแล้ว ทำเสียงใกล้พระกรรณ. พระราชาทรงตื่น. งูเห่าก็เลื้อยหนี
ไป. พระราชาทอดพระเนตรกระแตนั้นทรงพระดำริว่า กระแตนี้ให้ชีวิตเรา
จึงรับสั่งให้จัดหาเหยื่อมาตั้งไว้ ณ ที่นั้น รับสั่งให้ประกาศ ให้อภัยแก่กระแต
ทั้งหลาย. เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมา ที่นั้นจึงถือว่าเป็นที่พระราชทาน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 95
เหยื่อแก่กระแต. อนึ่ง บทว่า กลนฺทกา นี้ เป็นชื่อของกระแต. บทว่า
ก็โดยสมัยนั้นแล ความว่า โดยสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ
กรุงราชคฤห์ให้เป็นโคจรคามแล้ว ประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็น
ที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต บทว่า สิงฺคาลโก คหปติปุตฺโต เป็นชื่อ
ของคฤหบดีบุตรนั้น. บทว่า บุตรของคฤหบดี คือ คฤหบดีบุตร. ได้ยินว่า
บิดาของคฤหบดีบุตรนั้น เป็นคฤหบดีมหาศาล. ก็คฤหบดีนั้นมีทรัพย์เก็บไว้
ในเรือน ๔๐ โกฏิ. คฤหบดีนั้น ถึงความเชื่อมั่นในพระผู้มีพระภาคเจ้า
เป็นอุบาสกผู้โสดาบัน. แม้ภรรยาของเขาก็ได้เป็นโสดาบันเหมือนกัน. แต่
บุตรของเขาไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส. ครั้งนั้น มารดาและบิดาย่อมสั่งสอน
บุตรนั้นเนื่อง ๆ อย่างนี้ว่า นี่แน่ลูก ลูกจงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา เข้าไปหา
พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ
พระมหาสาวก ๘๐. บุตรนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า การเข้าไปหาสมณะทั้งหลาย
ของพ่อและแม่ย่อมไม่มีแก่ฉัน เพราะการเข้าไปหาสมณะทั้งหลายก็ต้องไหว้
เมื่อก้มลงไหว้หลังก็เจ็บ เข่าก็ด้าน จำเป็นต้องนั่งบนพื้นดิน เมื่อนั่งบน
พื้นดินนั้น ผ้าก็จะเปื้อนจะเก่า จำเดิมแต่เวลานั่งใกล้ ย่อมมีการสนทนา
เมื่อมีการสนทนา ย่อมเกิดความคุ้นเคย แต่นั้นย่อมต้องนิมนต์แล้วถวาย
จีวรและบิณฑบาตเป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ประโยชน์ย่อมเสื่อม การ
เข้าไปหาพวกสมณะของพ่อและแม่ย่อมไม่มีแก่ฉัน ดังนี้ . มารดาบิดาแม้
สอนบุตรของเขาจนตลอดชีวิต ด้วยประการฉะนี้ ก็ไม่สามารถจะนำเข้าไป
ในศาสนาได้. ย่อมา บิดาของเขานอนบนเตียงมรณะคิดว่า ควรจะให้
โอวาทแก่บุตรของเรา แล้วคิดต่อไปว่า เราจักให้โอวาทแก่บุตรอย่างนี้ว่า
นี่แน่ลูก ลูกจงนอบน้อมทิศทั้งหลาย เขาไม่รู้ความหมาย จักนอบน้อมทิศ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 96
ทั้งหลาย ลำดับนั้น พระศาสดาหรือพระสาวกทั้งหลาย เห็นเขาแล้วจัก
ถามว่า เธอทำอะไร แต่นั้นเขาก็จักกล่าวว่า บิดาของข้าพเจ้าสอนไว้ว่า
เจ้าจงกะทำการนอบน้อมทิศทั้งหลาย ลำดับนั้น พระศาสดาหรือพระสาวก
ทั้งหลาย จักแสดงธรรมแก่เขาว่า บิดาของเธอจักไม่ให้เธอนอบน้อมทิศ
ทั้งหลายเหล่านั้น แต่จักให้เธอนอบน้อมทิศเหล่านี้ เขารู้คุณในพระพุทธ-
ศาสนาแล้วจักทำบุญดังนี้. ลำดับนั้น คฤหบดีให้คนเรียกบุตรมาแล้วกล่าวว่า
นี่แน่ลูก ลูกควรลุกแต่เช้าตรู่ แล้วนอบน้อมทิศทั้งหลายดังนี้ . ธรรมดา
ถ้อยคำของบิดาผู้ที่นอนบนเตียงมรณะย่อมเป็นถ้อยคำอันบุตรพึงระลึกถึง
จนตลอดชีวิต. เพราะฉะนั้น คฤหบดีบุตรนั้น เมื่อระลึกถึงถ้อยคำของบิดา
จึงได้กระทำอย่างนั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า คฤหบดีบุตรลุกขึ้น
แต่เช้าตรู่ ออกจากกรุงราชคฤห์เป็นต้น.
บทว่า ปุถู ทิสา แปลว่า ทิศมาก ความว่า บัดนี้คฤหบดีบุตร
เมื่อจะแสดงถึงทิศทั้งหลายเหล่านั้น จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า ทิศเบื้องหน้า.
บทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปแล้ว ความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ายังไม่เสด็จเข้าไปก่อน เพราะพระองค์ทรงดำริว่า เราจักเข้าไปแล้ว
เสด็จออกไป แม้เป็นไปอยู่ในระหว่างทางจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล ความว่า ไม่ได้ทอด
พระเนตรเห็นเดี๋ยวนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ
แม้ในตอนเช้าตรู่ ทอดพระเนตรเห็นสิงคาลกคฤหบดีบุตรนั้น กำลัง
นอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่ ทรงดำริว่า วันนี้ เราจักกล่าวสิงคาลกสูตรอันเป็น
วินัยของคฤหัสถ์แก่สิงคาลกคฤหบดีบุตร ถ้อยคำนั้น จักมีผลแก่มหาชน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 97
เราควรไปในที่นั้น ดังนี้. เพราะฉะนั้น พระองค์เสด็จออกแต่เช้าตรู่ เสด็จ
เข้าไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต อนึ่ง เมื่อเสด็จเข้าไป ได้ทอดพระเนตร
เห็นสิงคาลกคฤหบดีบุตร เหมือนอย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นแล้วแล. บทว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสกะสิงคาลกคฤหบดีบุตร ความว่า นัยว่า สิงคาลก
คฤหบดีบุตรนั้นไม่เห็นพระศาสดาแม้ประทับยินอยู่ไม่ไกล ยังนอบน้อมทิศ
ทั้งหลายอยู่นั่นเอง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเผยพระโอฐดุจ
มหาปทุมกำลังแย้มโดยสัมผัสแสงพระอาทิตย์ฉะนั้น ได้ตรัสพระวาจานี้ว่า
ดูก่อนคฤหบดีบุตร เธอทำอะไรหนอ ดังนี้ เป็นต้น. บทว่า ข้าแต่
พระองค์ก็ในวินัยของพระอริยเจ้าท่านนอบน้อมทิศกันอย่างไร ความ
ว่า นัยว่า สิงคาลกคฤหบดีบุตร สดับพระดำรัสนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว คิดว่าได้ยินว่า ทิศที่บิดาของเรากล่าว ควรนอบน้อมทิศ ๖ นั้น ไม่ใช่
ทิศนี้ นัยว่า พระอริยสาวกนอบน้อมทิศ ๖ อย่างอื่น ช่างเถิด เราจะ
ทูลถามถึงทิศที่พระอริยสาวกพึงนอบน้อมแล้ว จึงจักนอบน้อม ดังนี้ สิง-
คาลกคฤหบดีบุตรนั้นเมื่อจะทูลถามถึงทิศเหล่านั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ก็ในวินัยของพระอริยเจ้าท่านนอบน้อมทิศกันอย่างไร
เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ยถา เป็นเพียงนิบาต. บทว่า กถ ปน
นี้เป็นบทถาม.
บทว่า กรรมกิเลสทั้งหลาย ความว่า สัตว์ทั้งหลายจักเศร้าหมอง
ด้วยกรรมทั้งหลายเหล่านั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า กรรมกิเลส
ทั้งหลาย. บทว่า าเนหิ แปลว่า ด้วยเหตุทั้งหลาย. บทว่า อปายมุขานิ
แปลว่า ทางแห่งความฉิบหาย. บทว่า ผู้นั้น คือ พระอริยสาวกผู้เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 98
โสดาบัน. บทว่า จุทฺทสปาปกาปคโต แปลว่า ปราศจากบาปคือความ
ลามก ๑๔ อย่างเหล่านี้ . บทว่า ฉ ทิสา ปฏิจฺฉาที แปลว่า ปกปิดทิศ ๖.
บทว่า อุโภโลกวิชยาย ความว่า เพื่อชนะโลกนี้และโลกหน้าทั้งสอง.
บทว่า และโลกนี้อันพระอริยสาวกนั้นปรารภแล้ว ความว่า จริงอยู่
เวรทั้ง ๕ ในโลกนี้ ย่อมไม่มี แก่พระอริยสาวกเห็นปานนั้น ด้วยเหตุนั้น
โลกนี้เป็นอันพระอริยสาวกนั้นปรารภแล้ว คือ ยินดีแล้ว และสำเร็จแล้ว
เวรทั้งหลาย ๕ ย่อมไม่มีแม้ในโลกหน้า ด้วยเหตุนั้น โลกหน้าเป็นอัน
พระอริยสาวกยินดีแล้ว. เพราะฉะนั้น พระอริยสาวกนั้น เบื้องหน้าแต่
ตาย เพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์. ด้วยประการดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตั้งแม่บทไว้โดยย่อ บัดนี้ เมื่อจะยังแม่บทนั้นให้
พิสดารจึงตรัสว่า กรรมกิเลส ๔ ที่พระอริยสาวกละได้แล้ว เป็นไฉน
เป็นต้น.
บทว่า กมฺมกิเลโส ความว่า ชื่อว่า กรรมกิเลสเพราะกรรมนั้น
เป็นกิเลส เพราะสัมปยุตด้วยกิเลส. จริงอยู่ คนมีกิเลสเท่านั้นย่อมฆ่าสัตว์
คนไม่มีกิเลสย่อมไม่ฆ่าสัตว์ เพราะฉะนั้น ปาณาติบาตท่านจึงกล่าวว่า เป็น
กรรมกิเลส. แม้ในกรรมกิเลสมีอทินนาทานเป็นต้น ก็มีนัยนี้แล. บทว่า
อถาปร ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคาถาประพันธ์แสดงความนั้น
ต่อไปอีก.
บทว่า ย่อมทำกรรมอันลามก ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเพราะ
เมื่อพระองค์ทรงแสดงถึงบุคคลผู้กระทำแล้ว ผู้ไม่กระทำย่อมปรากฏ ฉะนั้น
แม้ทรงตั้งแม่บทว่า พระอริยสาวกย่อมไม่ทำกรรมอันลามก เพราะพระองค์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 99
ทรงฉลาดในเทศนา เมื่อจะทรงแสดงบุคคลผู้กระทำก่อน จึงตรัสบทนี้ว่า
บุคคลย่อมกระทำกรรมอันลามก. ในบททั้งหลายนั้น บทว่า ถึงฉันทาคติ
ความว่า ถึงอคติ ด้วยความพอใจ คือด้วยความรัก กระทำสิ่งไม่ควรทำ.
แม้ในบทอื่นก็มีนัยนี้แล. ในบททั้งหลายนั้น ผู้ใดทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้
เป็นเจ้าของ ด้วยสามารถความพอใจว่า ผู้นี้เป็นมิตรของเรา เป็นผู้ชอบพอ
กับเรา เป็นผู้คบหากันมา เป็นญาติสนิทของเรา หรือให้ของขวัญแก่เรา
ดังนี้ ผู้นี้ถึงฉันทาคติ ชื่อว่าย่อมทำกรรมอันลามก. ผู้ใดกระทำผู้ไม่เป็น
เจ้าของให้เป็นเจ้าของด้วยสามารถมีเวรกันเป็นปกติว่า ผู้นี้เป็นผู้มีเวรกับ
เราดังนี้ หรือด้วยสามารถความโกรธอันเกิดขึ้นในขณะนั้น ผู้นี้ถึงโทสาคติ
ชื่อว่าย่อมทำกรรมอันลามก. อนึ่ง ผู้ใด เพราะความเป็นผู้มีปัญญาอ่อน
เพราะความเป็นผู้โง่ทึบ พูดไม่เป็นเรื่อง กระทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็น
เจ้าของ ผู้นี้ถึงโมหาคติ ชื่อว่าย่อมกระทำกรรมอันลามก. อนึ่ง ผู้ใดกลัวว่า
ผู้นี้เป็นราชวัลลภหรือเป็นผู้อาศัยอยู่กับศัตรู พึงทำความฉิบหายแก่เราดังนี้
สลัวทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ ผู้นี้ถึงภยาคติ ชื่อว่าย่อมทำกรรม
อันลามก. อนึ่ง ผู้ใด เมื่อแบ่งของอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมให้ของเกิน
เป็นพิเศษ ด้วยสามารถความรักว่า ผู้นี้เป็นเพื่อนของเราหรือร่วมกินร่วม
นอนกับเรา ย่อมให้ของพร่องลงไปด้วยสามารถความโกรธว่า ผู้นี้เป็นศัตรู
ของเราดังนี้ เพราะความโง่เขลา ไม่รู้ของที่ให้แล้วและยังไม่ให้ ย่อมให้
ของพร่องแก่บางคน ให้ของมากแก่บางคนกลัวว่าผู้นี้เมื่อเราไม่ให้สิ่งนี้ พึง
ทำแม้ความฉิบหายแก่เรา ย่อมให้ของเกินเป็นพิเศษแก่บางคน ผู้นั้นแม้
เป็นผู้มีอคติ ๔ อย่างนี้ ก็ถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้นตามลำตับ ชื่อว่าย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 100
ทำกรรมอันลามก. แต่พระอริยสาวก แม้จะถึงสิ้นชีวิต ก็ไม่ถึงอคติมีฉันทา-
คติเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระอริยสาวกย่อมไม่ทำกรรม
อันลามกโดยฐานะ ๔ เหล่านี้. บทว่า ยศของผู้นั้นย่อมเสื่อม ความว่า
แม้เกียรติยศ แม้บริวารยศของผู้ถึงอคตินั้น ย่อมเสื่อม คือ ย่อมเสียหาย.
สุรา ๕ ชนิด คือ สุราทำด้วยขนม สุราทำด้วยแป้ง สุราทำด้วย
ข้าวสุก สุราใส่ส่าเหล้า สุราประกอบด้วยเธอ ชื่อว่า สุรา ในบทนี้ว่า
ผู้ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทดังนี้. ของดอง
๕ ชนิดใด คือ ของดองด้วยดอกไม้ ของดองด้วยผลไม้ ของดองด้วยน้ำหวาน
ของดองด้วยน้ำอ้อย ของดองประกอบด้วยเธอ ชื่อว่า เมรัย. แม้ทั้งหมด
นั้น ชื่อว่า มัชชะ ด้วยสามารถทำให้เมา. บทว่า ปมาทฏฺาน แปลว่า
เหตุแห่งความประมาท. บทนี้ เป็นชื่อของเจตนา ของผู้ดื่มน้ำเมา. บทว่า
ประกอบเนือง ๆ อธิบายว่า ประกอบเนือง ๆ คือทำบ่อย ซึ่งการดื่ม
น้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. ก็เพราะเมื่อผู้
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งการดื่มน้ำเมานี้ โภคะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อม
และที่ยังไม่เกิดขึ้นย่อมไม่เกิด ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็นทางเสื่อมแห่ง
โภคะทั้งหลาย. บทว่า วิกาลวิสิขาจริยานุโยโค ความว่า ความเป็นผู้
เที่ยวไปในตรอกอันไม่ใช่เวลา. บทว่า เที่ยวดูมหรสพ คือ ไปดูมหรสพ
ด้วยสามารถการดู การฟ้อนเป็นต้น. บทว่า ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความ
เกียจคร้าน อธิบายว่า เพราะความเป็นผู้ขวนขวายในการประกอบด้วย
ความเป็นผู้เกียจคร้านทางกาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งแม่บทของทาง
แห่งความเสื่อม ๖ ประการ อย่างนี้แล้ว เมื่อทรงจำแนกแม่บทเหล่านั้นใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 101
บัดนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการเหล่านี้แล ดังนี้
เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อันตนเห็นเอง คือ ความเป็นอยู่ในโลกนี้
อันตนพึงเห็นเอง. บทว่า ธนชานิ แปลว่า เสื่อมทรัพย์. บทว่า ก่อการ
ทะเลาะ ความว่า ก่อการทะเลาะด้วยวาจาและการทะเลาะด้วยการใช้มือ
เป็นต้น. บทว่า น้ำเมา เป็นบ่อเกิดแห่งโรคทั้งหลาย ความว่า น้ำเมา
เป็นเขตแดนแห่งโรคเหล่านั้น มีโรคตาเป็นต้น. บทว่า น้ำเมาเป็นเหตุ
เสียชื่อเสียง ความว่า เพราะชนดื่มน้ำเมาแล้ว ย่อมประหารแม้มารดา
แม้บิดาได้ ย่อมกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว แม้อื่นอีกมาก ย่อมทำสิ่งที่ไม่ควร
ทำ ด้วยเหตุนี้ ชนทั้งหลาย ถึงการติเตียนบ้าง ลงโทษบ้าง ตัดอวัยวะมีมือ
และเท้าเป็นต้นบ้าง ถึงความเสียชื่อเสียง ในโลกนี้บ้าง ในโลกหน้าบ้าง.
ด้วยประการฉะนี้ สุรานั้น จึงชื่อว่าเป็นเหตุเสียชื่อเสียงของชนเหล่านั้น.
บทว่า น้ำเมาเป็นเหตุ ไม่รู้จักละอาย ความว่า เพราะน้ำเมาย่อมยัง
ความละอายอันเป็นที่ซึ่งควรซ้อนเร้น ควรปกปิด ให้กำเริบ ให้พินาศ
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยังหิริให้กำเริบ ดังนี้. อนึ่ง คนเมาสุรา
เปิดอวัยวะนั้น ๆ แล้วเที่ยวไปได้. ด้วยเหตุนั้น สุรานั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เป็นเหตุไม่รู้จักละอาย เพราะทำหิริให้กำเริบ. บทว่า น้ำเมา เป็นเหตุ
ทอนกำลังปัญญา ความว่า น้ำเมา ย่อมทำความรู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของ
ตนให้อ่อนลงเหมือนปัญญาของพระสาคตเถระฉะนั้น เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่าน้ำเมาเป็นเหตุทอนกำลังปัญญา. แต่น้ำเมาไม่อาจทำผู้ได้มรรค
ปัญญาให้อ่อนได้. เพราะสุรานั้นย่อมไม่เข้าไปภายในปากของท่านที่บรรลุ
มรรคแล้ว. บทว่า ฉฏฺ ปท แปลว่า เหตุที่ ๖.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 102
บทว่า ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว อธิบายว่า เพราะบุคคล
เที่ยวไปมิใช่เวลาย่อมเหยียบตอและหนามเป็นต้นบ้าง พบงูบ้าง ยักษ์เป็น
ต้นบ้าง แม้ศัตรูรู้ว่าจะไปยังที่นั้น ๆ ก็แอบจับตัวหรือฆ่า. ด้วยเหตุนี้
จึงชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว. แม้บุตรและภรรยาคิดว่า บิดาของเรา
สามีของเรา เที่ยวในกลางคืน จะกล่าวไปไยถึงตัวเราดังนี้. ด้วยเหตุนี้
แม้บุตรธิดา แม้ภรรยาของเขากระทำธุรกิจนอกบ้านเที่ยวไปในกลางคืน
ก็ย่อมถึงความพินาศ. แม้บุตรภรรยาของเขาก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่คุ้มครองตัว
ไม่รักษาตัว ด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า ทรัพย์สมบัติ ความว่า พวกโจร
รู้ความที่บริวารชนพร้อมด้วยบุตรภรรยานั้นเที่ยวในกลางคืน จะเข้าไปยัง
เรือนที่ว่างคน นำเอาของที่ต้องการไป. ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ไม่
คุ้มครอง ไม่รักษาแม้ทรัพย์สมบัติ. บทว่า เป็นที่ระแวง ความว่า เป็นผู้
ที่ควรระแวงว่า คนนี้จักเป็นผู้กระทำแม้ในกรรมอันลามกที่คนอื่นทำ. เมื่อ
กล่าวคำว่า บุคคล ไปโดยประตูเรือนของผู้ใด ๆ โจรกรรมหรือปรทาริก-
กรรม การข่มขืน ใดอันคนอื่นทำไว้ในที่นั้น กรรมนั้น เป็นอันว่าบุคคล
ผู้นี้กระทำกรรมนั้น แม้ไม่จริง ไม่มีก็ย่อมปรากฏ คือย่อมตั้งอยู่ ในบุคคล
นั้น. บทว่า การเที่ยวกลางคืนอันเป็นเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมาก ความ
ว่า ใคร ๆ ไม่อาจกล่าวว่าทุกข์มีประมาณเท่านี้ โทมนัสมีประมาณเท่านี้ ของ
ผู้ที่ถูกเขารังเกียจในบุคคลอื่นนั้นแล. ด้วยประการดังนี้ ผู้เที่ยวกลางคืน
นั้น จึงเป็นผู้ประสบเหตุแห่งทุกข์เป็นอันมาก คือ ได้รับความลำบากมาก.
บทว่า ฟ้อนที่ไหน ไปที่นั้น ความว่า การฟ้อน มีรำ และละคร
เป็นต้นมีอยู่ ในที่ไหน แล้วพึงไปในบ้านหรือนิคมที่มีการฟ้อนนั้น. เมื่อ
ผู้ที่เตรียมผ้าของหอมและดอกไม้เป็นต้น ในวันนี้ด้วยคิดว่าพรุ่งนี้เราจักไปดู
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 103
การฟ้อนของเขา เป็นอันทิ้งการงานตลอดวัน. ย่อมปรากฏในที่นั้น ตลอด
วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง ตามวันบ้าง ด้วยการดูการฟ้อน. เมื่อผู้เที่ยว
กลางคืน แม้ได้การถึงพร้อมด้วยฝนเป็นต้น ก็ไม่ทำการหว่าน เมื่อถึง
กาลหว่านเป็นต้น โภคะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิด. เมื่อเรือนไม่มีคน
เฝ้าพวกโจรรู้ความที่เจ้าของบ้านไปข้างนอก ย่อมลักของที่ต้องการไป. ด้วย
เหตุนั้น โภคะแม้เกิดแก่เขาก็ย่อมพินาศ. แม้ในบทว่า ขับร้องมีที่ไหนไป
ในที่นั้น เป็นต้น ก็มีนัยนี้แล. การกระทำต่าง ๆ ของชนเหล่านั้นท่าน
กล่าวแล้วในพรหมชาลสูตร.
บทว่า ผู้ชนะย่อมก่อเวร ความว่า ผู้ชนะย่อมถือเอาซึ่งผ้าสาฎก
หรือผ้าโพกของผู้อื่น ในท่ามกลางชุมชนด้วยคิดว่า เราชนะแล้ว ดังนี้ ผู้
ชนะย่อมผูกเวรในบุคคลนั้นว่า เขาดูหมิ่นเราในท่ามกลางชุมชน ช่างเถิด
เราจักให้บทเรียนเขาดังนี้. เมื่อชนะอย่างนี้ย่อมประสบเวร บทว่า ผู้แพ้
ความว่า ผู้แพ้ย่อมเศร้าโศกถึงผ้าโพก ผ้าสาฎกหรือทรัพย์สินมีเงินและทอง
เป็นต้นอย่างอื่นของเขาที่ผู้อื่นได้ไป เขาย่อมเศร้าโศก เพราะทรัพย์นั้น
เป็นเหตุว่า ทรัพย์นั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ ทรัพย์นั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ
ดังนี้ ด้วยอาการอย่างนี้ ผู้แพ้ย่อมเสียดายทรัพย์ บทว่า คำพูดของนักการ
พนันที่ไปพูดในที่ประชุมฟังไม่ขึ้น ความว่า เมื่อเขาถูกถามเพราะเป็น
พยานในที่วินิจฉัย ด้วยคำฟังไม่ขึ้น. ชนทั้งหลายจะพากันพูดว่า ผู้นี้เป็น
นักเลงสะกา เล่นการพนัน พวกท่านอย่าเชื่อคำพูดของเขา. บทว่า ถูก
มิตรอมาตย์ดูหมิ่น ความว่า จริงอยู่ พวกมิตรอมาตย์จะพูดกะเขาอย่างนี้ว่า
สหาย แม้ท่านก็เป็นบุตรของผู้มีตระกูล เล่นการพนัน เป็นผู้ตัด เป็นผู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 104
ทำลาย เที่ยวไปนี้ ไม่สมควร แก่ชาติและโคตรของท่าน ตั้งแต่นี้ไปท่าน
ไม่พึงทำอย่างนี้. นักการพนันนั้นแม้ถูกเขากล่าวอย่างนี้ก็ไม่เชื่อเขา แต่
นั้นพวกมิตรและสหายเหล่านั้นไม่ยืน ไม่นั่งร่วมกับเขา. แม้พวกเขาถูก
ถามเป็นพยานก็ไม่ยอมพูด เพราะเหตุนักการพนันนั้น. ด้วยอาการอย่างนี้
นักการพนันจึงเป็นผู้ถูกมิตรและสหายดูหมิ่น. บทว่า อาวาหะและวิวาหะ
ความว่า ผู้ประสงค์จะนำหญิงสาวไปจากเรือนของเขา ชื่อว่า อาวาหะ ผู้
ประสงค์จะให้หญิงสาวอยู่ในเรือนของเขาชื่อว่า วิวาหะ. บทว่า อปฺปฏฺิโต
โหติ แปลว่า ไม่มีใครปรารถนา บทว่า นาล ทารภรณาย ความว่า นัก
การพนัน ไม่สามารถจะเลี้ยงภรรยาได้. ความว่า แม้ให้หญิงสาวในเรือน
ของเขา แม้มาจากเรือนของเขา พวกเราก็จักพึงเลี้ยงดูได้.
บทว่า เย ธุตฺตา นักเลงการพนัน. บทว่า โสณฺฑา ความว่า
นำให้เป็นนักเลงหญิง นำให้เป็นนักเลงลักข้าว นำให้เป็นนักเลงเหล้า
นำให้เป็นนักเลงลักเผือกมัน. บทว่า ปิปาสา แปลว่า นักเลงดื่ม. บทว่า
เนกติกา คือลวงด้วยของปลอม. บทว่า วญฺจนิกา คือ ลวงซึ่งหน้า บทว่า
นำให้เป็นนักเลงหัวไม้ ความว่า เป็นผู้ทำการงานร่วมกับผู้อื่นที่อยู่อาคาร
เดียวกัน เป็นต้น. บทว่า พวกนั้นเป็นมิตรของเขา คือ เขาไม่ยินดีกับ
คนอื่นที่เป็นคนดี เข้าไปหามิตรลามกเหล่านั้นอย่างเดียว เหมือนสุกรที่
เขาประดับด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วให้นอนบนที่นอนอย่างดี
ก็ยังเข้าไปสู่หลุมคูถฉะนั้น เพราะฉะนั้น ผู้คบคนชั่วเป็นมิตรย่อมเข้าถึง
ความฉิบหายเป็นอันมากทั้งในภพนี้ และภพหน้า
บทว่า อ้างว่า เย็นนักแล้วไม่ทำการงาน ความว่า พวกมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 105
ลุกขึ้น แต่เช้าตรู่พูดว่า พ่อมหาจำเริญ มาไปทำการงานกันเถิด คน
เกียจคร้านจะพูดว่า ยังหนาวเหลือเกิน กระดูกจะแตก พวกท่านไปกันเถิด
เราจักไปที่หลัง แล้วนั่งผิงไฟ. มนุษย์เหล่านั้นไปทำการงานกัน. การงาน
ของคนเกียจคร้านย่อมเสื่อม. แม้ในบททั้งหลายว่า ร้อนเหลือเกินก็มี
นัยนี้แล.
บทว่า ชื่อว่าเพื่อดื่มก็มี ความว่า บางคนเป็นสหายกันใน
โรงเหล้าอันเป็นที่ดื่มนั่นแหละ. ปาฐะว่า ปนฺนสขา ดังนี้ก็มี. ความ
อย่างเดียวกัน.
บทว่า เพื่อนกล่าวแต่ปากว่า เพื่อน ๆ ก็มี ความว่า บางคน
พูดว่า เพื่อน เพื่อน เป็นเพื่อต่อหน้าเท่านั้น ลับหลังเป็นเช่นศัตรู
ย่อมแสวงหาช่องทางอย่างเดียว. บทว่า เมื่อประโยชน์ทั้งหลายเกิดขึ้น
ความว่า เมื่อกิจเห็นปานนั้นเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า เวรปฺปสงฺโค แปลว่า
มากด้วยเวร. บทว่า อนตฺถตา แปลว่าทำความฉิบหาย. บทว่า ความเป็นผู้
ตระหนี่เหนียวแน่น ความว่า ความเป็นผู้ตระหนี่เหนียวแน่น คือ ความ
เป็นผู้ตระหนี่จัด. บทว่า เขาจักจมลงสู่หนี้ เหมือนก้อนหินจมน้ำ
ฉะนั้น ความว่า เขาจมลงสู่หนี้ เหมือนก้อนหินในกลางคืนเป็นปกติ.
เกลียดชังการลุกขึ้นในกลางคืน คือ ไม่ลุกขึ้นในกลางคืนเป็นปกติ.
บทว่า มักอ้างว่าเย็นเสียแล้ว คือ เขากล่าวอย่างนี้ว่า เวลานี้เย็นนักแล้ว
ไม่ทำการงาน บทว่า สละการงาน คือ พูดอย่างนี้แล้ว ไม่ทำการงาน
บทว่า ประโยชน์ย่อมล่วงเลยมาณพทั้งหลาย ความว่า ประโยชน์
ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลยบุคคลเห็นปานนี้ คือ ไม่ตั้งอยู่ในบุคคลเหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 106
บทว่า ติณฺณา ภิยฺโย แปลว่า ยิ่งกว่าหญ้า. บทว่า เขาย่อมไม่เสื่อมจาก
ความสุข ความว่า บุรุษนั้น ย่อมไม่ละความสุข ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ด้วย
ความสุขทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเนื้อความนี้ ด้วยกถามรรคนี้.
อันผู้ครองเรือน ไม่ควรทำกรรมนี้ ชื่อความเจริญย่อมไม่มีแก่ผู้กระทำ
ผู้กระทำย่อมได้รับการติเตียนอย่างเดียวทั้งในโลกนี้และโลกหน้า.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงผู้ไม่ใช่มิตรเป็นมิตร
เทียม เป็นคนพาลว่า ผู้ใดกระทำอย่างนี้ ความฉิบหายย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้น
ก็หรือภัยอย่างอื่น ๆ อันตรายใด ๆ อุปสรรคใด ๆ ทั้งหมดนั้นย่อมเกิดขึ้น
เพราะอาศัยคนพาล เพราะฉะนั้น ไม่ควรคบคนพาลเห็นปานนั้นดังนี้ จึง
ตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนไม่ใช่มิตรมี จำพวกเหล่านี้
ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า คนปอกลอก ความว่า ตนเองมีมือเปล่า
มาแล้ว นำเอาของอย่างใดอย่างหนึ่ง ไปโดยส่วนเดียว. บทว่า ดีแต่พูด
ความว่า เป็นดุจผู้ให้กระทำ เพียงคำพูดเท่านั้น. บทว่า คนหัวประจบ
คือ ย่อมพูดคล้อยตาม. บทว่า คนชักชวนในทางฉิบหาย คือ เป็นสหาย
ในทางเสื่อม แห่งโภคะทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงคนที่
ไม่ใช่มิตร . จำพวกอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงจำแนกเหตุอย่างหนึ่ง ๆ ในคน
ที่ไม่ใช่มิตรนั้น ด้วยเหตุ ๔ อย่าง จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร
ด้วยฐานะ ๔ อย่าง ดังนี้.
ในบททั้งหลายนั้น บทว่า เป็นคนปอกลอก ความว่า เป็นผู้นำ
ไปโดยส่วนเดียวเท่านั้น. ความว่า เป็นผู้มีมือเปล่ามาสู่เรือนของสหายแล้ว
พูดถึงคุณของผ้าสาฎกที่ตนนุ่งเป็นต้น. คนปอกลอกพูดว่า ดูก่อนสหาย
คนนั้นย่อมกล่าวถึงคุณของผ้าผืนนี้กะท่านเหลือเกินดังนี้แล้ว นุ่งผ้าผืนอื่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 107
ให้ผืนนั้นไป. บทว่า เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก คือให้ของอย่างใด
อย่างหนึ่งแต่น้อย แล้วปรารถนาของมากจากเขา. บทว่า เมื่อมีภัยย่อม
ทำกิจ ความว่า เมื่อภัยเกิดขึ้นแก่ตน ย่อมทำกิจนั้น ๆ เหมือนเป็นทาส
ของเขา คนปอกลอกนี้ ไม่ทำในกาลทั้งปวง เมื่อภัยเกิดขึ้นจึงทำ ไม่ทำด้วย
ความรัก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ใช่มิตร. บทว่า คบเพื่อนเพราะ
เห็นแก่ประโยชน์ ความว่า ไม่คบด้วยสามารถ เป็นผู้คุ้นเคยฉันมิตร
ที่ประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวจึงคบ. บทว่า อ้างเอาของที่ล่วงแล้วมา
ปราศรัย ความว่า คนดีแต่พูด ย่อมสงเคราะห์ด้วยสิ่งที่ล่วงแล้วอย่างนี้ว่า
เมื่อสหายมา เมื่อวาระนี้ ท่านไม่มา วาระนี้ ข้าวกล้าของพวกเราสำเร็จ
เรียบร้อย พวกเราตั้งข้าวสาลี ข้าวเหนียวและพืชเป็นต้นเป็นอันมาก แล้ว
นั่งดูหนทาง แต่วันนี้สิ้นไปทั้งหมดแล้ว ดังนี้. บทว่า อ้างสิ่งที่ยังไม่ถึงมา
ปราศรัย ความว่า คนดีแต่พูดย่อมสงเคราะห์ด้วยสิ่งที่ยังไม่มาถึงอย่างนี้ว่า
ในวันนี้ ข้าวกล้าของเราจักเป็นที่ปลื้มใจ เมื่อเราทำการสงเคราะห์ด้วย
ข้าวกล้ามีข้าวสาลีเป็นต้น เป็นอันมีผลเต็มที่แล้ว เราจักสามารถเพื่อทำการ
สงเคราะห์แก่พวกท่านได้ดังนี้ บทว่าคนดีแต่พูดสงเคราะห์ด้วยสิ่งหา
ประโยชน์มิได้ ความว่า คนดีแต่พูด นั่งบนคอช้างหรือบนหลังม้า ครั้น
เห็นสหายแล้ว กล่าวว่า เพื่อนเอ๋ย เพื่อนจงมานั่ง ณ ที่นี้เถิด คนดีแต่พูด
นุ่งผ้าสาฏกผืนที่ชอบ แล้วกล่าวว่า ผ้าผืนนี้สมควรแก่สหายของเราจริงหนอ
แต่เราไม่มีผ้าผืนอื่น. อย่างนี้ชื่อว่าสงเคราะห์ด้วยสิ่งไม่มีประโยชน์. บทว่า
เมื่อกิจเกิดขึ้น แสดงความขัดข้อง ออกปากพึ่งไม่ได้ ความว่า เมื่อ
มีผู้กล่าวว่า ข้าพเจ้าต้องการเกวียน คนดีแต่พูดกล่าวคำเป็นต้นว่า เสียดาย
จริง ล้อเกวียน เพลาเกวียนหักเสียแล้ว. บทว่า คนหัวประจบ ตามใจ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 108
เพื่อนให้ทำความชั่ว ความว่า เมื่อเพื่อนพูดว่า พวกเราจะทำปาณาติบาต
เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง คนหัวประจบตามใจเพื่อน ด้วยคำว่า ดีแล้ว
เพื่อน ทำกันเถิด. แม้ในการทำดี ก็มีนัยนี้แล. บทว่า เป็นสหาย ความว่า
เมื่อเพื่อนพูดว่า ชนทั้งหลายดื่มเหล้ากัน ณ ที่โน้น ท่านจงมาเราจะไป
ในที่นั้น คนชักชวนในทางฉิบหายรับว่าดีแล้ว แล้วก็ไป. ในบททั้งปวง
ก็มีนัยนี้. บทว่า บัณฑิตรู้แจ้งดังนี้เเล้ว ความว่า รู้อย่างนี้ว่า พวกที่
เป็นมิตรเทียมดังนี้ . พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงมิตรชั่ว ไม่ควรคบ
อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงมิตรดี ควรคบในบัดนี้ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรเเท้ ๔ จำพวกเหล่านี้ อีก.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สุหทา แปลว่า เพื่อนมีใจดี. บทว่า
ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ความว่า มิตรมีอุปการะเห็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
แล้วนอนที่กลางบ้าน ที่ประตูบ้าน ที่หนทาง คิดว่าเมื่อเพื่อนนอนอย่างนี้
ใคร ๆ พึงลักแม้ผ้านุ่งและผ้าห่มไปดังนี้ จึงนั่งใกล้เพื่อน เมื่อเพื่อนตื่นพา
ไปส่ง. บทว่า รักษาทรัพย์ของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ความว่า มิตรมี
อุปการะคิดว่า เพื่อนไปข้างนอก หรือดื่มเหล้าเมา เรือนไม่มีคนเฝ้า ใคร ๆ
จะพึงลักของอย่างใดอย่างหนึ่งไปดังนี้ จึงเข้าไปยังเรือนป้องกันทรัพย์ของ
เพื่อนนั้น. บทว่า เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ความว่า เมื่อภัยอย่างใด
อย่างหนึ่งเกิดขึ้น มิตรมีอุปการะ กล่าวว่าอย่ากลัว เมื่อสหายเช่นเรายังอยู่
ท่านจะกลัวอะไร แล้วขจัดภัยนั้น ออกไปเป็นที่หนึ่งพำนักได้. บทว่า เพิ่ม
ทรัพย์ให้สองเท่า ความว่า เมื่อกิจที่ควรทำเกิดขึ้น มิตรมีอุปการะเห็น
สหายมาหาตน แล้วถามว่า เพราะเหตุไรท่านจึงมา. มีการงานในราช
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 109
ตระกูล. ท่านควรจะได้อะไร. ขอ ๑ กหาปณะ. ธรรมดาการงานในเมือง
จะไม่สำเร็จด้วยกหาปณะเดียว ท่านจงรับไป ๒ กหาปณะ. เขาให้ ๒ เท่า
ตามที่พูด. บทว่า บอกความลับแก่เพื่อน ความว่า ไม่บอกเรื่องอันควร
ปกปิดความลับของตนแก่คนอื่นแล้ว บอกแก่เพื่อนเท่านั้น. บทว่า ปิด
ความลับของเพื่อน ความว่า. มิตรมีอุปการะย่อมรักษาความลับที่เพื่อน
กล่าวโดยที่คนอื่นไม่รู้. บทว่า ไม่ละทิ้งในยามมีอันตราย ความว่า เมื่อ
ภัยเกิดขึ้น มิตรมีอุปการะย่อมไม่ทอดทิ้ง. บทว่า แม้ชีวิตก็สละเพื่อ
ประโยชน์แก่เพื่อนได้ ความว่า แม้ชีวิตของตนก็เป็นอันมิตรร่วมสุขร่วม
ทุกข์สละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้ทีเดียว มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ไม่คำนึงถึง
ชีวิตของตน ทำการงานให้แก่เพื่อนอย่างเดียว. บทว่า ห้ามจากความชั่ว
ความว่า มิตรแนะประโยชน์ย่อมห้ามว่า เมื่อเราเห็น ๆ อยู่ท่านจะไม่ได้
ทำอย่างนี้ ท่านอย่าทำ เวรทั้ง ๕ อกุศลกรรมบถ ๑๐ เลย. บทว่า ให้ตั้ง
อยู่ในความดี ความว่า มิตรแนะประโยชน์ย่อมให้ประกอบความดีอย่างนี้
ว่า ท่านจงเป็นไปในกรรมดี ในสรณะ ๓ ในศีล ๕ ในกุศลกรรมบท ๑๐
ท่านจงให้ทาน จงทำบุญ จงฟังธรรมดังนี้. บทว่า ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
คือ ให้ฟังสิ่งที่ละเอียด ทำให้ฉลาด ซึ่งยังไม่เคยฟัง. บทว่า บอกทาง
สวรรค์ให้ ความว่า มิตรแนะประโยชน์ย่อมบอกทางสวรรค์ อย่างนี้ว่า
ชนทั้งหลายกระทำกรรมนี้ ย่อมเกิดในสวรรค์.
บทว่า มิตรมีความรักใคร่ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน
ความว่า มิตรมีความรักใคร่ เห็นหรือได้ยิน ความสูญ เสียเห็นปานนั้นของ
บุตรภรรยาหรือของบริวารชน เพราะความเสื่อม คือเพราะความไม่เจริญ
ของเพื่อน ย่อมไม่ยินดีคือไม่ชอบใจ. บทว่า ด้วยความเจริญ ความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 110
มิตรมีความรักใคร่เห็นหรือได้ยิน ความสมบูรณ์ของข้าวกล้าเป็นต้น หรือ
การได้ความเป็นใหญ่ เพราะความเจริญของเพื่อนเห็นปานนั้น ย่อมยินดี
ชอบใจ. บทว่า ห้ามคนที่ติเตียนเพื่อน ความว่า เมื่อคนพูดว่า คนโน้น
รูปชั่ว ไม่น่าเลื่อมใส มีชาติทราม หรือเป็นคนทุศีล ดังนี้ มิตรมีความ
รักใคร่ ย่อมห้ามผู้อื่นที่กล่าวติเตียนเพื่อนของตนด้วยคำทั้งหลายเป็นต้น
ว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้ซิ เขามีรูปงามน่าเลื่อมใส มีชาติดีและถึงพร้อม
ด้วยศีล. บทว่า สรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน ความว่า เมื่อคนพูดว่า
คนชื่อโน้นมีรูปงามน่าเลื่อมใส มีชาติดี ถึงพร้อมด้วยศีล มิตรมีความรักใคร่
ย่อมสรรเสริญคนอื่นที่พูดสรรเสริญเพื่อนของตนอย่างนี้ว่า โอ ท่านพูดดี
ท่านพูดถ้อยคำอย่างนี้. ดีแล้ว ชายผู้นี้มีรูปงาม น่าเลื่อมใส มีชาติดี ถึง
พร้อมแล้วด้วยศีล.
บทว่า บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมรุ่งเรืองส่องสว่างเพียงดัง
ไฟ ความว่า ย่อมรุ่งเรืองดุจไฟส่องแสงบนยอดเขาในกลางคืน. บทว่า
เมื่อบุคคลสะสมโภคะอยู่ ความว่า เมื่อบุคคลไม่เบียดเบียนตนบ้าง ผู้อื่น
บ้าง รวบรวมโภคะโดยธรรม โดยเสมอ คือทำให้เป็นกอง. บทว่า เหมือน
แมลงผึ้งทำรัง ความว่า กระทำโภคะให้เป็นกองใหญ่โดยลำดับ เหมือน
แมลงผึ้งไม่ทำลายสีและกลิ่นของดอกไม้ นำเกสรด้วยจะงอยปากบ้าง ด้วย
ปีกทั้งสองบ้างแล้วทำรวงผึ้ง ประมาณเท่าล้อโดยลำดับ. บทว่า โภคะ
ทั้งหลายย่อมถึงความเพิ่มพูน ความว่า โภคะทั้งหลายของเขาย่อมถึง
ความเพิ่มพูน. อย่างไร. เหมือนจอมปลวกอันตัวปลวกทั้งหลายก่อขึ้นโดย
ลำดับ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดุจจอมปลวก อันตัวปลวกก่อขึ้น.
อธิบายว่าโภคะทั้งหลายย่อมถึงความเพิ่มพูนเหมือนจอมปลวกอันตัวปลวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 111
ก่อขึ้นฉะนั้น. บทว่า สมาหริตฺวา ความว่า รวบรวมแล้ว. บทว่า ผู้สามารถ
ความว่า คฤหัสถ์เป็นผู้มีสภาพเหมาะสม หรือเป็นผู้สามารถหรือเป็นผู้ใคร่
เพื่อดำรงการครองเรือน. บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประทาน
พระโอวาทโดยประการที่ผู้ครองเรือนพึงดำรงอยู่ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ผู้
ครองเรือนพึงแบ่งโภคะออกเป็น ๔ ส่วนดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า
เขานั่นแหละย่อมผูกมิตรไว้ได้ ความว่า ผู้ครองเรือนนั้น เมื่อแบ่งโภคะ
อย่างนี้ชื่อว่า ย่อมผูกมิตรไว้ได้ คือตั้งไว้ซึ่งความไม่แตกกัน. ผู้ที่มีโภคะ
ย่อมสามารถประสานมิตรไว้ได้ คนนอกนั้นไม่สามารถ. บทว่า พึงบริโภค
โภคะโดยส่วนเดียว ความว่า พึงบริโภคโภคะด้วยหนึ่งส่วน. บทว่า
พึงประกอบการงานด้วยสองส่วน ความว่า พึงประกอบการงานมีกิจกรรม
และพาณิชยกรรมเป็นต้น ด้วยสองส่วน. บทว่า พึงเก็บ คือ พึงเก็บ
ส่วนที่สี่เอาไว้. บทว่า จักมีในยามอันตราย ความว่า เพราะการงานนั้น
ย่อมไม่เป็นไปเช่นกับวันหนึ่งตลอดกาลของตระกูลทั้งหลาย. บางครั้งแม้
อันตรายก็ย่อมเกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจราชภัยเป็นต้น. เพราะฉะนั้น โภคะจักมี
ในยามอันตรายทั้งหลายเกิดขึ้นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า ผู้ครองเรือนพึงเก็บส่วนหนึ่งไว้ดังนี้. ก็ในส่วนทั้งหลาย ๔
เหล่านี้ พึงเก็บส่วนไหน ๆ ไว้บำเพ็ญกุศล. ถือเอาส่วนที่ท่านกล่าว ใน
บทว่า โภเค ภุญฺเชยฺย. ควรถือเอาจากส่วนนั้น บริจาคทานแก่ภิกษุ
ทั้งหลายบ้าง แก่คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้นบ้าง ควรให้รางวัลแก่
ช่างหูกและกัลบกเป็นต้นบ้าง.
ด้วยกถามรรค เพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานพระ
โอวาทเพื่อเว้นธรรมที่ควรเว้นและเพื่อเสพธรรมที่ควรเสพว่า ดูก่อน
คฤหบดีบุตร อริยสาวก ละอกุศลด้วยเหตุทั้งหลาย ๔ เว้นทางเสื่อมแห่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 112
โภคะทั้งหลายด้วยเหตุทั้งหลาย ๖ เสพมิตร ๑๖ จำพวก ดำรงการครองเรือน
กระทำการเลี้ยงดูภรรยา ย่อมเป็นอยู่ด้วยอาชีพอันเป็นธรรม และย่อม
รุ่งเรืองดุจกองไฟในระหว่างเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บัดนี้ เมื่อจะทรง
แสดงทิศ ๖ ที่ควรนอบน้อม จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร
ก็อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง ๖ อย่างไร.
ในบทเหล่านั้น บทว่า พระอริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง ๖
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอยู่อย่างที่ภัยอันมาจากทิศทั้ง ๖ ย่อมไม่มา
ถึง เป็นแดนเกษมปราศจากภัย จึงตรัสว่า อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง ๖
ดังนี้. ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า พึงทราบว่า มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า
ดังนี้ คือ พึงทราบว่ามารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า เพราะเป็นผู้มีอุปการะ
ก่อน อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา เพราะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา บุตรภรรยา
เป็นทิศเบื้องหลัง ด้วยสามารถติดตามมาข้างหลัง มิตรสหายเป็นทิศเบื้อง
ซ้าย เพราะแม้กุลบุตรนั้นอาศัยมิตรและสหาย จึงข้ามพ้นทุกข์พิเศษนั้น ๆ
ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ ด้วยสามารถตั้งอยู่ ณ แทบเท้า สมณ-
พราหมณ์เป็นทิศเบื้องนั้น เพราะความเป็นผู้ตั้งอยู่ในเบื้องบนด้วยคุณธรรม
ทั้งหลาย.
บทว่า ท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ความว่า เราอัน
มารดาบิดา ให้ดื่มน้ำนมยังมือและเท้าให้เจริญ ดูดน้ำมูกให้ ให้อาบน้ำ
ตกแต่งให้ เลี้ยงดูและประคับประคอง เราจักเลี้ยงมารดาบิดาเหล่านั้น ผู้แก่
เฒ่าด้วยการล้างเท้า อาบน้ำให้ข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้น. บทว่า เรา
จักทำกิจของมารดาบิดา ความว่า เราจักเว้นการงานของตนไปทำกิจที่
เกิดขึ้นในราชสำนักเป็นต้น แก่มารดาบิดา. บทว่า เราจักดำรงวงศ์ตระกูล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 113
ความว่า บุตรไม่ทำให้นา วัตถุ เงิน และทองเป็นต้นอันเป็นของมารดาบิดาให้
พินาศ แม้รักษาอยู่ ก็ชื่อว่าดำรงวงศ์ตระกูล บุตรที่ให้มารดาบิดาเสื่อม
จากวงศ์ที่ประกอบด้วยอธรรม แม้ให้ตั้งอยู่ในวงศ์ที่ประกอบด้วยธรรม ไม่
เข้าไปตัดสลากภัตรเป็นต้น อันมาถึงแล้วโดยวงศ์ตระกูล แม้ให้เป็นไปอยู่
ก็ชื่อว่าดำรงวงศ์ตระกูล. ท่านกล่าวหมายถึงบทนี้จึงกล่าวว่า เราจักดำรงวงศ์
ตระกูล ดังนี้. บทว่า เราจักปฏิบัติตนให้สมควรเป็นผู้รับทรัพย์มรดก
ความว่า มารดาบิดาไปถึงโรงศาล กระทำทารกผู้ไม่ประพฤติในโอวาท
ของตน ผู้ปฏิบัติผิด มิให้ถือว่าเป็นบุตร บุตรเหล่านั้นก็เป็นผู้ไม่สมควร
รับมรดก แต่มารดาบิดาย่อมกระทำทารกผู้ประพฤติในโอวาท ให้เป็นเจ้า
ขอทรัพย์อันมีอยู่ในตระกูล ท่านกล่าวว่า เราจักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควร
รับมรดกด้วยประสงค์ว่าเราจักประพฤติอย่างนี้ ดังนี้. บทว่า เมื่อท่าน
ล่วงลับไปแล้วจักทำบุญอุทิศให้ท่าน ความว่า เราจักทำทานแผ่ส่วน
บุญให้แก่ท่านเหล่านั้น แล้วจักเพิ่มทานอุทิศให้ตั้งแต่วันที่สาม.
บทว่า มารดาบิดา ห้ามบุตรจากความชั่ว ความว่า มารดาบิดา
กล่าวถึงโทษ อันเป็นไปในปัจจุบันและภพหน้าของปาณาติบาตเป็นต้น
แล้วห้ามว่า ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าทำกรรมเห็นปานนั้นเลย ดังนี้ติเตียนบุตร
ที่ทำแล้ว. บทว่า ให้ตั้งอยู่ในความดี ความว่า มารดาบิดาแม้ให้สินจ้าง
เหมือนอนาถปิณฑิกเศรษฐีก็ยังให้บุตรตั้งอยู่ในการสมาทานศีลเป็นต้น.
บทว่า ให้เรียนศิลปะ ความว่า มารดาบิดารู้ความที่บุตรตั้งอยู่ในโอวาท
ของตนแล้ว ยังบุตรให้ศึกษาศิลปะมีการคำนวณชั้นยอดเป็นต้น อันไปตาม
วงศ์ตระกูล. บทว่า หาภรรยาที่สมควรให้ คือ สมควรด้วยตระกูล ศีล
และรูปเป็นต้น. บทว่า มอบทรัพย์ให้ในสมัย ความว่าให้ทรัพย์ในสมัย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 114
ในบทนั้น สมัย ๒ อย่าง คือ นิจสมัย ๑ กาลสมัย ๑. มารดาบิดาให้ด้วย
คำว่า เจ้าจงกระวีกระวาดถือเอาสิ่งที่ควรถือเอานี้ นี้จงเป็นรายจ่าย ของเจ้า
เจ้าจงทำกุศลด้วยรายจ่ายนี้ ดังนี้ชื่อว่าให้ในนิจสมัย ให้เป็นนิจ. มารดาบิดา
ย่อมให้ในสมัยตัดจุกแต่งงานเป็นต้น ชื่อว่า ให้ในกาลสมัย. อีกอย่างหนึ่ง
มารดาบิดาแม้ให้ด้วยคำว่า เจ้าจงทำกุศลด้วยทรัพย์นี้แก่บุตรผู้นอนบนเตียง
มรณะในครั้งสุดท้าย ก็ขอว่าให้ในสมัย.
บทว่า ทิศเบื้องหน้า นั้น อันบุตรปกปิดแล้ว ความว่า ทิศ
เบื้องหน้าอันบุตรปกปิดแล้ว โดยที่ภัยพึงมาจากทิศเบื้องหน้า ย่อมไม่มาถึง.
ก็ถ้าบุตรทั้งหลายพึงเป็นผู้ปฏิบัติผิด มารดาบิดาเป็นผู้ปฏิบัติชอบด้วยการ
เลี้ยงดูเป็นต้น ตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม ทารกเหล่านั้น เป็นผู้ไม่สมควรแก่
มารดาบิดา เพราะฉะนั้น ภัยนั้นพึงมาถึง. บุตรทั้งหลาย เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
มารดาบิดาเป็นผู้ปฏิบัติผิด มารดาบิดาก็ไม่สมควรแก่บุตรทั้งหลาย ดังนั้น
ภัยนี้พึงมาถึง. เมื่อทั้งสองปฏิบัติผิด ก็มีภัยทั้งสองอย่าง. เมื่อทั้งสองปฏิบัติ
ชอบ ก็ไม่มีภัยทั้งหมด. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิศเบื้องหน้านั้น
อันบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ไม่ให้มีภัยดังนี้. ก็แลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ได้ตรัสกะสิงคาลกะว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร บิดา
ของเธอไม่ได้ให้เธอนอบน้อมทิศเบื้องหน้าที่โลกสมมติกัน แต่บิดาของเธอ
กระทำมารดาบิดาให้เป็นเช่นกับทิศเบื้องหน้าแล้วให้เธอนอบน้อม บิดาของ
เธอกล่าวถึงทิศเบื้องหน้าอย่างนี้ไม่ใช่อย่างอื่น.
บทว่า ด้วยการลุกขึ้น คือด้วยลุกขึ้นจากที่นั่ง. จริงอยู่ ศิษย์เห็น
อาจารย์มาแต่ไกล ลุกจากที่นั่งทำการต้อนรับ รับสิ่งของจากมือ ปูอาสนะ
ให้อาจารย์นั่งแล้ว พึงทำการพัด ล้างเท้า นวดเท้า เป็นต้น นั้นท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 115
กล่าวหมายถึงบทว่า ด้วยการลุกขึ้นดังนี้. บทว่า ด้วยการรับใช้ ความว่า
ด้วยเข้าไปรับใช้วันละ ๓ ครั้ง. แต่ที่แน่ ๆ ก็ควรไปในกาลเรียนศิลปะ.
บทว่า ด้วยการเชื่อฟัง ความว่า ก็ศิษย์เมื่อไม่เชื่อฟัง ย่อมไม่บรรลุคุณ
วิเศษ. บทว่า ด้วยการปรนนิบัติ คือ ด้วยกาวปรนนิบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ
ไม่เหลือบ่ากว่าแรง. จริงอยู่ศิษย์ควรลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ให้น้ำบ้วนปาก
แปรงสีฟัน แม้ในเวลาอาหารก็ถือเอาน้ำดื่มไปให้ แล้วทำการรับใช้ เสร็จ
แล้วไหว้ ควรกลับได้ ควรชักผ้าที่มัวหมอง ควรตั้งน้ำอาบในตอนเย็น ควร
อุปฐากในเวลาที่ท่านไม่สบายแม้บรรพชิตก็ควรทำอันเตวาสิกวัตรทุกอย่าง.
นี้ท่านหมายถึงบทว่า ด้วยการปรนนิบัติ. บทว่า ด้วยการเรียนศิลปะ
โดยเคารพ ความว่า การเรียนนิดหน่อยแล้วท่องหลาย ๆ ครั้งแม้บทเดียว
ก็ควรเรียนให้รู้จริงชื่อว่า เรียนด้วยความเคารพ.
บทว่า แนะนำดี ความว่า อาจารย์ทั้งหลายย่อมให้ศิษย์ศึกษา คือ
แนะนำมารยาทนี้ว่า เธอควรนั่งอย่างนี้ ควรยืนอย่างนี้ ควรเคี้ยวอย่างนี้
ควรบริโภคอย่างนี้ ควรเว้นมิตรชั่ว ควรคบมิตรดีดังนี้. บทว่า ให้เรียนดี
ความว่า อาจารย์ทั้งหลายชำระอรรถและพยัญชนะชี้แจงประโยคแล้ว ให้
ศิษย์เรียนโดยอาการที่ศิษย์จะเรียนได้ดี. บทว่า ยกย่องให้ปรากฏใน
เพื่อนฝูง ความว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวถึงคุณของศิษย์อย่างนี้ว่า ศิษย์
ของเราคนนี้ ฉลาดเป็นพหูสูตร เท่า ๆ กับเรา พวกท่านพึงยึดเหนี่ยวศิษย์นี้
ไว้แล้ว ให้ศิษย์ปรากฏในเพื่อนฝูงทั้งหลาย. บทว่า ทำการป้องกันในทิศ
ทั้งหลาย ความว่า อาจารย์ย่อมทำการป้องกันศิษย์ในทิศทั้งปวงด้วยให้
ศึกษาศิลปะ. เพราะว่า ลาภสักการะย่อมเกิดแก่ผู้เรียนศิลปะในทิศที่ไป
แสดงศิลปะ ลาภสักการะนั้นเป็นอันชื่อว่า อาจารย์กระทำแล้ว. มหาชน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 116
แม้เมื่อจะกล่าวถึงคุณของศิษย์นั้น ย่อมกล่าวถึงคุณของอาจารย์ก่อนโดยแท้
ว่า ศิษย์ของท่านนี้เป็นศิษย์ที่ล้างเท้าอาจารย์อยู่แล้วดังนี้. ลาภเกิดขึ้นแก่
ศิษย์นั้นแม้ประมาณถึงพรหมโลก ก็เป็นของอาจารย์นั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง
โจรทั้งหลายในดง ย่อมไม่เห็น อมนุษย์ก็ดี งูเป็นต้นก็ดี ย่อมไม่เบียดเบียน
ศิษย์คนใด ผู้อยากได้วิชาเดินไป อาจารย์แม้ให้ศิษย์คนนั้นศึกษาก็ชื่อว่า
ย่อมทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย. อาจารย์ทั้งหลายแม้ยกย่องศิษย์อย่างนี้
ว่า ศิษย์ของเราอยู่ในทิศนี้ ไม่มีต่างกันในศิลปะนี้ของศิษย์และของเราพวก
ท่านจงไปถามศิษย์นั้นเถิด แก่มนุษย์ผู้เกิดความสงสัยจากทิศที่ศิษย์นั้นไป
แล้วมาหาตน ก็ชื่อว่าย่อมทำการป้องกันเพราะลาภสักการะเกิดขึ้นแก่ศิษย์.
ในที่นั้น อธิบายว่า ย่อมทำให้เป็นที่พึ่ง. บทที่เหลือในเรื่องนี้พึงประกอบ
โดยนัยก่อนนั่นแล.
พึงทราบความในวาระทิศที่ ๓. บทว่า ด้วยยกย่อง ความว่า ด้วย
กล่าวถ้อยคำยกย่องอย่างนี้ว่า แม่เทพ แม่ดิศ ดังนี้. บทว่า ด้วยไม่ดูหมิ่น
ความว่า ด้วยไม่กล่าวดูถูก ดูหมิ่นเหมือนโบยเบียดเบียนแล้วพูดกะทาสและ
กรรมกรเป็นต้น ฉะนั้น. บทว่า ด้วยไม่ประพฤตินอกใจ ความว่า สามี
ละเลยภรรยาแล้ว บำเรอกับหญิงอื่น ชื่อว่าประพฤตินอกใจภรรยา ด้วยไม่
ทำอย่างนั้น. บทว่า ด้วยสละความเป็นใหญ่ให้ มอบความเป็นใหญ่ให้
ความว่า จริงอยู่ หญิงทั้งหลายได้อาภรณ์แม้เช่นเครื่องประดับมหาลดา
เมื่อไม่ได้จัดอาหารย่อมโกรธ เมื่อสามีวางทัพพีในมือแล้วกล่าวว่า แม่จง
ทำตามชอบใจของแม่เถิด ดังนี้ แล้วมอบครัวให้ชื่อว่ามอบความเป็นใหญ่
ทั้งหมดให้ อธิบายว่า ด้วยทำอย่างนั้น. บทว่า ด้วยมอบเครื่องประดับให้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 117
ความว่า ด้วยมอบเครื่องประดับตามสมควรแก่สมบัติของตน.
บทว่า ภรรยาจัดการงานดี ความว่า ภรรยาไม่ละเลยเวลาต้มข้าวต้ม
และหุงข้าวสวยเป็นต้น แล้วจัดการงานให้ดี ด้วยการทำความดีแก่สามีนั้น ๆ.
บทว่า สงเคราะห์บริชน ความว่า สงเคราะห์บริชนด้วยความนับถือเป็นต้น
และด้วยการส่งข่าวเป็นต้น. ชนผู้เป็นญาติของสามีและของตนชื่อบริชน
ในที่นี้. บทว่า ไม่ประพฤตินอกใจสามี ความว่า ไม่ทิ้งขว้างสามีแล้ว
ปรารถนาชายอื่นแม้ด้วยใจ. บทว่า รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ ความว่า
ทรัพย์ที่สามีทำกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้นแล้วนำมารักษาไว้. บทว่า
เป็นผู้ขยัน ความว่า เป็นผู้ฉลาดละเอียดละออในการจัดข้าวยาคูแลภัตร
เป็นต้น. บทว่า ไม่เกียจคร้าน ความว่า ไม่ขี้เกียจ ภรรยาไม่เป็นเหมือน
อย่างหญิงพวกอื่น ซึ่งเกียจคร้าน นั่งจมอยู่กับที่ที่ตนนั่ง ยืนและอยู่กับที่
ที่ตนยืนฉะนั้น ย่อมยังกิจทั้งปวงให้สำเร็จด้วยใจกว้างขวาง. พึงประกอบ
บทที่เหลือในเรื่องนี้ โดยนัยก่อนนั่นแล.
พึงทราบความในวาระทิศที่ ๔. บทว่า ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาด
จากความเป็นจริง ความว่า ด้วยไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริง
ถึงผู้ที่ยึดถือไว้แล้ว ไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความเป็นจริงแล้วให้อย่างนี้
ว่า แม้ชื่อนี้ก็มีอยู่ในบ้านของพวกเรา แม้ชื่อนี้ก็มี ท่านจงรับเอาไปเถิด.
บทว่า นับถือตลอดถึงวงศ์ของมิตร ความว่า บุตรธิดาของสหายชื่อประชา
ก็บุตรธิดาของบุตรธิดาเหล่านั้น เป็นหลานและเป็นเหลน ชื่อว่า ประชา
อื่น ๆ ย่อมบูชา ย่อมยินดี ย่อมนับถือ พวกเขา กระทำการมงคลเป็นต้น
แก่พวกเขาในการทำพิธีมงคลเป็นต้น. บทที่เหลือในเรื่องนี้พึงประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 118
โดยนัยก่อนนั้นแล.
บทว่า ด้วยจัดการงานตามกำลัง ความว่า ด้วยไม่ให้คนแก่ทำงาน
ที่คนหนุ่มทำ หรือไม่ให้คนหนุ่มทำงานที่คนแก่ทำ ไม่ให้ชายทำงานที่หญิง
ทำ หรือไม่ให้หญิงทำงานที่ชายทำแล้วจัดการงานตามกำลังของคนนั้น ๆ.
บทว่า ด้วยให้อาหารและรางวัล ความว่า ด้วยกำหนดความสมควรของ
คนนั้นๆ ว่า คนนี้เป็นลูกคนเล็ก คนนี้อยู่ร่วมกันมา ดังนี้ แล้วให้อาหาร
และค่าใช้จ่าย. บทว่า ด้วยรักษาในเวลาเจ็บไข้ ความว่า ด้วยไม่ให้
ทำงานในเวลาไม่สบายแล้วให้ยาทำให้สบายเป็นต้น แล้วดูแลรักษา. บทว่า
ด้วยแจกของมีรสแปลกประหลาดให้กิน ความว่า ด้วยเมื่อได้ของมีรส
อร่อยแปลก ๆ แล้วไม่กินเสียเองทั้งหมด แจกให้ทาสและกรรมกรเหล่านั้น.
บทว่า ด้วยปล่อยในสมัย ความว่า ด้วยปล่อยในนิจสมัยและกาลสมัย
ทาสและกรรมกรทำงานตลอดวันย่อมเหน็ดเหนื่อย เพราะฉะนั้น การรู้
เวลาแล้วปล่อยโดยประการที่ทาสและกรรมกรไม่เหน็ดเหนื่อย ชื่อว่าปล่อย
ในนิจสมัย. การให้ชอบตบแต่งของเคี้ยวแลของบริโภคเป็นต้น ในวันมี
มหรสพนักขัตฤกษ์ และเล่นกีฬาเป็นต้นแล้ว ปล่อย ชื่อว่าปล่อยในกาลสมัย.
บทว่า ถือเอาแต่ของที่นายให้ ความว่า ไม่หยิบฉวยอะไร ๆ
เยี่ยงโจร ถือเอาแต่ของที่นายให้เท่านั้น. บทว่า ทำการงานให้ดีขึ้น ความว่า
ไม่เพ่งโทษว่า เรื่องอะไรที่เราจะทำงานให้แก่เขา เราไม่เห็นได้อะไร ๆ เลย
แล้วมีใจยินดีทำงาน เป็นผู้กระทำงานอย่างที่ทำดีแล้ว. บทว่า นำคุณของ
นายไปสรรเสริญ ความว่า เมื่อถึงคราวสนทนากันในท่ามกลางบริษัท
นำคุณของนายไปสรรเสริญว่าไม่มีใครเช่นกับนายของเรา เราไม่รู้แม้ความ
เป็นทาสของตน ไม่รู้ความที่ท่านเหล่านั้นเป็นนาย นายอนุเคราะห์พวกเรา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 119
ถึงอย่างนี้. บทที่เหลือ แม้ในเรื่องนี้ พึงประกอบโดยนัยก่อนนั้นแล.
ท่านกล่าวเมตตากายกรรมเป็นต้นที่กุลบุตร เข้าไปตั้งเมตตาจิต
กระทำแล้ว ในบททั้งหลายเป็นต้นว่า ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา
ดังนี้. ในบทเหล่านั้น การไปวัดด้วยคิดว่า เราจักนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย
การถือ ธัมกรกกรองน้ำและการกระทำมีการนวดหลังและนวดเท้าเป็นต้น
ชื่อว่ากายกรรมประกอบด้วยเมตตา. การเห็นภิกษุทั้งหลายเข้าไปบิณฑบาต
แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า พวกท่านจงถวายข้าวต้ม พวกท่านจงถวายข้าวสวย
โดยความเคารพดังนี้ การให้สาธุการแล้วฟังธรรมและการกระทำการปฏิ-
สันถารเป็นต้นโดยความเคารพ ชื่อว่า วจีกรรมประกอบด้วยเมตตา. การ
คิดอย่างนี้ว่า พระเถระผู้เข้าไปสู่ตระกูลของพวกเรา ขอจงเป็นผู้ไม่มีเวร
ขอจงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนเถิด ชื่อว่า มโนกรรมประกอบด้วยเมตตา. บทว่า
อนาวฏทฺวารตาย แปลว่า ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู. ในบทนั้น
อธิบายว่ากุลบุตรแม้เปิดประตูทั้งหมด ไม่ให้ ไม่ต้อนรับผู้มีศีลทั้งหลาย
ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปิดประตูอยู่นั้นเอง. ก็แต่ว่ากุลบุตรแม้ปิดประตูทั้งหมด ให้
ต้อนรับ ผู้มีศีลเหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นผู้เปิดประตูอยู่นั้นเอง. เมื่อผู้มีศีลมา
ถึงประตูเรือน ไม่ควรกล่าวสิ่งที่มีอยู่ว่าไม่มี แล้วถวาย อย่างนี้ชื่อว่า ความ
เป็นผู้ไม่ปิดประตู. บทว่า ด้วยให้อามิสทานเนือง ๆ อธิบายว่า ของที่
ควรบริโภคก่อนภัตตาหาร ชื่อว่าอามิส เพราะฉะนั้น ด้วยการถวายข้าว
ยาคูและภัตแด่ผู้มีศีลทั้งหลาย ดังนี้.
บทว่า อนุเคราะห์ด้วยใจงาม ความว่า ด้วยแผ่ประโยชน์เกื้อกูล
อย่างนี้ว่า ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุข ไม่มีเวร ไม่มีโรค ไม่
เบียดเบียนกันเถิด. อีกอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์ แม้พาเพื่อนพรหมจรรย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 120
ผู้มีศีลเหล่าอื่น แล้วเข้าไปสู่เรือนของอุปฐากทั้งหลาย ก็ชื่อว่า อนุเคราะห์
ด้วยใจงาม. บทว่า ทำสิ่งที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ความว่า มีสิ่งใดที่กุลบุตร
เหล่านั้นฟังแล้วตามปกติ สมณพราหมณ์ทั้งหลายบอกเนื้อความของสิ่งนั้น
แล้วบรรเทาความสงสัยหรือให้ปฏิบัติตามที่เป็นจริง. บทที่เหลือแม้ในเรื่องนี้
ก็พึงประกอบโดยนัยก่อนนั้นแล.
บทว่า คฤหัสถ์ผู้สามารถ ความว่า คฤหัสถ์ผู้สามารถกระทำ
การเลี้ยงดูบุตรภรรยา แล้วให้ครองเรือน. บทว่า บัณฑิต คือเป็นผู้
ฉลาดในฐานะนอบน้อมทิศทั้งหลาย. บทว่า เป็นผู้ละเอียดคือ เป็นผู้
ละเอียดด้วยการเห็นความอันสุขุม หรือด้วยกล่าววาจานุ่มนวล. บทว่า
มีไหวพริบ คือ เป็นผู้มีไหวพริบในฐานะนอบน้อมทิศทั้งหลาย บทว่า
ถ่อมตน คือ ประพฤติต่ำ. บทว่า ไม่กระด้าง คือ เว้นจากความดื้อรั้น.
บทว่า มีความเพียร คือ ถึงพร้อมด้วยความขยันและความเพียร. บทว่า
ไม่เกียจคร้าน ความว่า ผู้ปราศจากความเกียจคร้าน. บทว่า มีความ
ประพฤติไม่ขาดสาย คือ มีความประพฤติไม่ขาดด้วยสามารถกระทำ
ติดต่อกันไป. บทว่า มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาอันทำให้เกิดฐานะ.
บทว่า เป็นผู้สงเคราะห์ คือ ทำการสงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ ๔. บทว่า
ทำให้เป็นมิตร คือ แสวงหามิตร. บทว่า เป็นผู้รู้ถ้อยคำ คือ รู้คำอัน
บุพการีกล่าว. อธิบายว่า ในเวลาไปเรือน สหาย ระลึกถึงคำพูดที่บุพการี
พูดว่า พวกท่านจงให้ผ้าโพก จงให้ผ้าสาฎกแก่สหายของเรา จงให้อาหาร
และค่าจ้างแก่มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อเขามาเรือนของตน เป็นผู้กระทำตอบ
เพียงเท่านั้น หรือยิ่งกว่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง รู้คำพูดของสหายนั้น แม้เป็น
คำพูดที่ประพฤติตามกันต่อ ๆ กันมา ไม่สามารถจะรับได้ด้วยความละอาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 121
สหายผู้มาด้วยคิดว่า เราจักไปเรือนของสหายแล้วจักถือเอาสิ่งนี้ดังนี้ เขา
มาด้วยประโยชน์อันใด ยังประโยชน์อันนั้นให้สำเร็จ ชื่อว่า รู้คำพูด
แม้ตรวจตราดูแล้วให้สิ่งที่สหายพร่อง ก็ชื่อว่า เป็นผู้รู้คำพูดเหมือนกัน
บทว่า เป็นผู้แนะนำ ความว่า เมื่อจะชี้แจงเนื้อความนั้น ๆ เป็นผู้แนะนำ
ด้วยปัญญา. ชี้แจงเหตุหลาย ๆ อย่าง แนะนำชื่อว่าเป็นผู้แนะนำเหตุผล
แนะนำบ่อย ๆ ชื่อว่า ตามแนะนำ. บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ความว่า ใน
บุคคลนั้น ๆ. บทว่า เหมือนสลักรถอันแล่นไปอยู่ ความว่า เมื่อการ
สงเคราะห์เหล่านี้ ยังมีอยู่โดยแท้ โลกยังเป็นไปได้ เมื่อไม่มีโลกก็เป็น
ไปไม่ได้ เหมือนสลักยังมีอยู่ รถย่อมแล่นไปได้ เมื่อสลักไม่มี รถก็แล่น
ไปไม่ได้ ฉะนั้น. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า การสงเคราะห์เหล่านี้แลใน
โลกเหมือนสลักรถแล่นไปอยู่ฉะนั้น. บทว่า มารดาไม่ได้รับความนับถือ
บูชาเพราะเหตุแห่งบุตร ความว่า ผิว่ามารดาไม่พึงทำการสงเคราะห์
ให้เล่านี้แก่บุตร มารดาไม่พึงได้ความนับถือหรือความบูชาเพราะเหตุแห่ง
บุตร. บทว่า สงฺคเห เอเต. เป็นปฐมาวิภัตติ์ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ์.
หรือปาฐะว่า สงฺคเห เอเต. บทว่า สมฺมเปกฺขนฺติ ตัดบทเป็น สมฺมา
เปกฺขนฺติ. บทว่า ปสสา จา ภวนฺติ แปลว่า ควรได้รับการสรรเสริญ.
ด้วยประการดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร
เธอจงนอบน้อมทิศที่บิดาของเธอกล่าวหมายถึง แล้วทรงแสดงทิศ ๖ เหล่านี้
นั้นว่า ผิว่าเธอทำตามคำบิดา เธอจงนอบน้อมทิศเหล่านี้ ทรงตั้งคำถาม
แก่สิงคาลกะ ยังเทศนาให้ถึงที่สุดแล้ว เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อ
บิณฑบาต. แม้สิงคาลกะก็ได้ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย แล้วเฉลี่ยทรัพย์ ๔๐
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 122
โกฏิ ไว้ในพระพุทธศาสนากระทำกรรมอันเป็นบุญ ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็น
ที่ไปในเบื้องหน้า. ก็ในสูตรนี้ ชื่อว่า กรรมใดที่คฤหัสถ์ควรทำอย่างใด
อย่างหนึ่ง กรรมนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ตรัสไว้ ย่อมไม่มี พระ-
สูตรนี้ ชื่อว่า คิหิวินัย เพราะฉะนั้น เมื่อฟังพระสูตรนี้แล้วปฏิบัติตามที่
ได้สอนไว้ ความเจริญเท่านั้นเป็นอันหวังได้ ไม่มีความเสื่อมฉะนี้.
จบอรรถกถาสิงคาลกสูตร ที่ ๘ ในทีฆนิกายอรรถกถา
ชื่อ สุมังคลวิลาสินี ด้วยประการฉะนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 123
๙. อาฏานาฏิยสูตร
เรื่องท้าวจาตุมหาราช
[๒๐๗] ข้าพเจ้า ( พระอานนทเถระเจ้า ) ได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้
เมืองราชคฤห์. ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ตั้งการคุ้มครองไว้ทั้ง ๔ ทิศ
ตั้งกองทัพไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งการป้องกันไว้ทั้ง ๔ ทิศ ด้วยเสนายักษ์กองใหญ่
ด้วยเสนาคนธรรพ์กองใหญ่ ด้วยเสนากุมภัณฑ์กองใหญ่และด้วยเสนานาค
กองใหญ่ เมื่อล่วงราตรีไปแล้ว มีรัศมีงามยิ่ง ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้
สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายยักษ์เหล่านั้น
บางพวก ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นสัมโมทนียกถา อันเป็นที่
ระลึกถึงกันผ่านไปแล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประณมอัญชลี
ไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวก
ประกาศชื่อและโคตรแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งนิ่งอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
[๒๐๘] ท้าวเวสวัณมหาราชประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยักษ์ชั้นสูงบางพวก
มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นสูงบางพวกที่เลื่อมใสต่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 124
พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นกลางที่ไม่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี
ยักษ์ชั้นกลางที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นต่ำที่ไม่เลื่อมใส
ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ชั้นต่ำที่เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โดยมากยักษ์มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย
ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรม เพื่อ
งดเว้นจากปาณาติบาต ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากอทินนาทาน ทรง
แสดงธรรมเพื่องดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจาก
มุสาวาท. ทรงแสดงธรรมเพื่องดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. แต่โดยมากพวกยักษ์ มิได้งดเว้นจาก
ปาณาติบาต มิได้งดเว้นจากอทินนาทาน มิได้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
มิได้งดเว้นจากมุสาวาท มิได้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอัน
เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ข้อนั้นจึงไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของยักษ์
เหตุนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าบางพวก
ย่อมเสพเสนาสนะอันเป็นราวไพร ในป่า มีเสียงน้อย มีเสียงดังน้อย
ปราศจากลมแต่ชนผู้เดินเข้าออก ควรแก่การทำกรรมอันเร้นลับของมนุษย์
ควรแก่การหลีกเร้น ยักข์ชั้นสูงบางพวกมีอยู่ในป่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้
เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์ เพื่อให้ยักษ์
พวกที่ไม่เลื่อมใสในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เลื่อมใส เพื่อคุ้มครอง
เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา ทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ.
ลำดับนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช ทรงทราบการทรงรับของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วได้ทรงกล่าวอาฏานาฏิยรักษ์นี้ ในเวลานั้นว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 125
[๒๐๙] ขอนอบน้อมแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้มี
พระจักษุ มีพระสิริ
ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรง
อนุเคราะห์แก่สัตว์ทั่วหน้า.
ขอนอบน้อมแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้
ชำระกิเลส มีความเพียร
ขอนอมน้อมแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้
ทรงย่ำยีมารและเสนามาร.
ขอนอบน้อมแด่พระโกนาคมนพุทธเจ้า ผู้
มีบาปอันลอยแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
ขอนอบน้อมแด่พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้พ้น
พิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง.
ขอนอบน้อมแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า ผู้
ศากยบุตร ผู้มีพระสิริ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ได้ทรง
แสดงธรรมนี้ อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้ง
ปวง.
อนึ่ง พระพุทธเจ้าเหล่าใดผู้ดับแล้วในโลก
ทรงเห็นแจ้งแล้วตามความเป็นจริง พระพุทธ-
เจ้าเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด เป็นผู้ยิ่งใหญ่
ปราศจากความครั่นคร้าม.
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นอบน้อมพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 126
พุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้โคตมโคตร ทรงเกื้อกูล
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงถึงพร้อม
ด้วยวิชชา และจรณะ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจาก
ความครั่นคร้าม.
พระสุริยาทิตย์ มีมณฑลใหญ่ขึ้นแต่ทิศใด
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นราตรีก็หายไป.
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นย่อมเรียกว่ากลางวัน
แม้ห้วงน้ำในที่พระอาทิตย์ขึ้นนั้นเป็นสมุทรลึก
มีน้ำแผ่เต็มไป ชนทั้งหลายย่อมรู้จักห้วงน้ำ
นั้น ในที่นั้น อย่างนี้ว่า สมุทรมีน้ำแผ่เต็มไป.
[๒๑๐] แต่นี้ไป ทิศที่ชนเรียกกันว่า ปุริมทิศที่
ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของคน
ธรรพ์ทรงนามว่า ท้าวธตรัฏฐ์อันพวกคนธรรพ์
แวดล้อมแล้วทรงโปรดปรานด้วยการฟ้อนรำ
ขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่.
ข้าพเจ้าสดับมาว่า โอรสของเท้าเธอมีมาก
องค์ มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์
มีพระนามว่า อินทะ ทรงพระกำลังมาก ท้าวธต-
รัฏฐ์และพระโอรสเหล่านั้น เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้เบิกบานแล้ว เป็นเผ่าพันธ์แห่งพระอาทิตย์
พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 127
ปราศจากความครั่นคร้ามแต่ที่ไกล.
ข้าแต่พระผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระ
พุทะเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระ
อุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่
พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วย
พระญาณอันฉลาด แม้พวกอมนุษย์ก็ถวาย
บังคมพระองค์.
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สดับมาเนือง ๆ
เพราะฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้ ข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคมพระ
ชินโคดมหรือ เขาพากันตอบว่า ถวายบังคม
พระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอ
ถวายบังคมพระพุทธเจ้าผู้โคดม ถึงพร้อมด้วย
วิชชา และจรณะ
ชนทั้งหลายผู้กล่าวส่อเสียด ผู้กัดเนื้อ
ข้างหลังทำปาณาติบาตลามกเป็นโจร เป็นคน
ตลบตะแลงตายแล้ว ชนทั้งหลายพากันกล่าว
ว่า จงนำออกไปโดยทิศใด.
ท้าววิรุฬหะถวายบังคม
[๒๑๑] แต่นี้ไปทิศที่ชนทั้งหลายเรียกกันว่า ทัก-
ขิณทิศ มหาราชผู้ทรงยศเป็นเจ้าเป็นใหญ่ของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 128
พวกกุมภัณฑ์ทรงนามว่า ท้าววิรุฬหะ อันพวก
กุมภัณฑ์แวดล้อมทรงโปรดปรานการฟ้อน
รำขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่.
ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรสของท้าวเธอ
มีมากองค์ มีพระนามเดียวกัน ทั้งเก้าสิบเอ็ด
องค์ มีพระนามว่าอินทะ ทรงพระกำลังมาก
ทั้งท้าววิรุฬหะและพระโอรสเหล่านั้น ได้เห็น
พระพุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
แห่งพระอาทิตย์ พากันถวายบังคมพระพุทธ-
เจ้า ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ยิ่งปราศจากความครั่นคร้าม
แต่ที่ไกล.
ข้าแต่พระผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระ-
พุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระ
อุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระ
องค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วยพระ
ญาณอันฉลาด แม้พวกอมนุษย์ก็ถวายบังคม
พระองค์.
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สดับมาอย่าง
นั้นเนือง ๆ ฉะนั้นจึงกล่าวเช่นนี้ ข้าพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวาย
บังคมพระชินโคดมหรือ เขาพากันตอบว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 129
ถวายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย ขอถวายบังคมพระพุทธโคดม ผู้ถึง
พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ.
พระสุริยาทิตย์ มีมณฑลใหญ่ตกในทิศใด
และเมื่อพระอาทิตย์ตก กลางวันดับไป ครั้น
พระอาทิตย์ตกแล้ว ย่อมเรียกกันว่ากลางคืน.
แม้ห้วงน้ำในที่พระอาทิตย์ตกแล้ว เป็น
สมุทรลึกมีน้ำแผ่เต็มไป ชนทั้งหลายย่อมรู้จัก
ห้วงน้ำมัน ในที่นั้นอย่างนี้ว่า สมุทรมีน้ำแผ่
เต็มไป.
ท้าววิรูปักษ์ถวายบังคม
[๒๑๒] แต่นี้ไปทิศที่มหาชนเรียกกันว่า ปัจฉิมทิศ
ที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของ
พวกนาค ทรงนามว่า ท้าววิรูปักษ์ อันพวก
นาคแวดล้อมแล้ว ทรงโปรดปรานด้วยการ
ฟ้อนรำขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่.
ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรสของท้าวเธอมี
มากองค์ มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ดองค์
มีนามว่า อินทะ ทรงพระกำลังมาก ทั้งท้าววิรู-
ปักษ์ และโอรสเหล่านั้นได้เห็นพระพุทธเจ้า
ผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ้าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 130
พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้
ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้ามแต่ที่ไกลเทียว.
ข้าแต่พระผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ข้าพระ-
พุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระ
อุดมบุรุษ ข้าพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วย
พระญาณอันฉลาด แม้พวกอมนุษย์ทั้งหลาย
ก็ถวายบังคมพระองค.์
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้สดับมาอย่าง
นั้นเนือง ๆ ฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนี้ ข้าพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย ถามเขาว่า พวกท่านทั้งหลาย
ถวายบังคมพระชินโคดมหรือเขาพากันตอบว่า
ทั้งหลายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้า
พร้อมด้วยวิชชาและจรณะ.
อุตตรกุรุทวีป เป็นรมณียสถาน มีภูเขา
หลวงชื่อ สิเนรุ แลดูงดงาม ตั้งอยู่ทิศใด
พวกมนุษย์ซึ่งเกิดในอุตตรกุรุทวีปนั้น ไม่ยึด
ถือสิ่งใดว่า เป็นของตนไม่หวงแหนกัน.
มนุษย์เหล่านั้นไม่ต้องหว่านพืช และไม่
ต้องนำไถออกไถ หมู่มนุษย์บริโภคข้าวสาลี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 131
อันผลิตผลในที่ไม่ต้องไถ ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ
บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม เป็นเมล็ดข้าวสารหุง
ในเตาอันปราศจากควัน แล้วบริโภคโภชนะ
แต่ที่นั้น.
ทำแม่โคให้มีกีบเดียว แล้วเที่ยวไปสู่ทิศ
น้อยทิศใหญ่ ทำสัตว์เลี้ยงให้มีกีบเดียว เที่ยว
ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่.
ทำหญิงให้เป็นพาหนะ แล้วเที่ยวไปสู่
ทิศน้อยทิศใหญ่ ทำชายให้เป็นพาหนะแล้ว
เที่ยวไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่.
ทำกุมารีให้เป็นพาหนะแล้วเที่ยวไปสู่ทิศ
น้อยทิศใหญ่ ทำกุมารให้เป็นพาหนะแล้วเที่ยว
ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่.
บรรดานางบำเรอของพระราชานั้นก็ขึ้น
ยานเหล่านั้นตามห้อมล้อมไปทุกทิศด้วย.
ยานช้าง ยานม้า ยานทิพย์ ปราสาท และ
วอ ก็ปรากฏแก่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ.
และท้าวมหาราชนั้นได้ทรงนิรมิตนครไว้
บนอากาศคือ อาฏานาฏานคร กุสินาฏานคร
ปรกุสินาฏานคร นาฏปริยานคร ปรกุสิตนา-
ฏานคร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 132
ทางทิศอุดร มีกปีวันตนคร และอีกนคร
หนึ่งชื่อ ชโนฆะ อีกนครหนึ่งชื่อ นวนวติยะ
อีกนครหนึ่งชื่อ อัมพรอัมพรวติยะ มีราชธานี
ชื่อ อาฬกมันทา ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์
ก็ราชธานีของท้าวกุเวรมหาราช ชื่อวิสาณา
ฉะนั้น มหาชนจึงเรียกท้าวกุเวรมหาราชว่า
ท้าวเวสวัณ.
ยักษ์ชื่อ ตโตลา ชื่อตัตตลา ชื่อตโตตลา
ชื่อโอชสี ชื่อเตชสี ชื่อตโตชสี ชื่อสุระ
ชื่อราชา ชื่ออริฏฐะ ชื่อเนมิ ย่อมปรากฏ
มีหน้าที่คนละแผนก.
ในวิสาณราชธานีนั้น มีห้วงน้ำชื่อ ธรณี
เป็นแดนที่เกิดเมฆ เกิดฝนตก ในวิสาณราช-
ธานีนั้น มีสภาชื่อ ภคลวดี เป็นที่ประชุม
ของพวกยักษ์.
ณ ที่นั้น มีต้นไม้เป็นอันมาก มีผลเป็นนิจ
ดารดาษ ด้วยหมู่นกต่าง ๆ มีนกยูงนกกะเรียน
นกดุเหว่า อันมีเสียงหวานประสานเสียง มี
นกร้อง ชื่อว่า ชีวะ ชีวะ และบางเหล่ามี
เสียงปลุกใจ มีไก่ป่า มีปู และนกโปรขร
สาตกะ อยู่ในสระประทุม.
ในที่นั้นมีเสียงนกสุกะ และนกสาลิกา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 133
และหมู่นกทัณฑมาณวะ สระนฬินี ของท้าว
กุเวรนั้นงดงามอยู่ตลอดกาล.
ท้าวกุเวรถวายบังคม
[๒๑๓] แต่ทิศนี้ไปทิศที่ชนเรียกกันว่า อุตตรทิศ
ที่ท้าวมหาราชผู้ทรงยศ เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของ
ยักษ์ทั้งหลายทรงนามว่าท้าวกุเวร อันยักษ์
ทั้งหลาย แวดล้อมแล้วทรงโปรดปราน ด้วย
การฟ้อนรำขับร้อง ทรงอภิบาลอยู่.
ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า โอรสของท้าวเธอมี
มากองค์ มีพระนามเดียวกันทั้งเก้าสิบเอ็ด
พระองค์ มีพระนามว่า อินทะ ทรงพระ
กำลังมาก.
ทั้งท้าวกุเวรและโอรสเหล่านั้นได้เห็นพระ-
พุทธเจ้าผู้เบิกบานแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่ง
พระอาทิตย์ พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้า
ซึ่งเป็นผู้ยิ่งใหญ่ปราศจากความครั่นคร้าม แต่
ที่ไกล.
ข้าแต่พระบุรุษอาชาไนย ข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายขอนอบน้อมแด่พระองค์ ข้าแต่พระ
อุดมบุรุษ ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมแด่
พระองค์ ขอพระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 134
พระญาณอันฉลาด แม้พวกอมนุษย์ก็ถวาย
บังคมพระองค์.
ข้าพระพุทธเจ้าได้สดับอย่างนั้นมาเนือง ๆ
ฉะนั้น จึงกล่าวเช่นนั้น พวกข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่านถวายบังคม
พระชินโคดมหรือ พวกเขาก็พากันตอบว่า
ถวายบังคมพระชินโคดม ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง-
หลายขอถวายบังคมพระพุทธโคดมผู้ถึงพร้อม
ด้วยวิชชาและจรณะ.
ว่าด้วยวิธีป้องกันอมนุษย์
[๒๑๔] ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้นั้น เพื่อคุ้มครอง
เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อสุขสำราญของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกาทั้งหลาย. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ผู้ใดผู้หนึ่ง ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม
อุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม จักเป็นผู้ยึดถือด้วยดี เรียนครบบริบูรณ์ซึ่ง
อาฏานาฏิยรักษ์นี้ หากว่า อมนุษย์ เป็นยักษ์ เป็นยักษิณี เป็นบุตรยักษ์
เป็นธิดายักษ์ เป็นมหาอำมาตย์ยักษ์ เป็นบริษัทยักษ์ เป็นยักษ์ผู้รับใช้
เป็นคนธรรพ์ เป็นนางคนธรรพ์ เป็นบุตรคนธรรพ์ เป็นธิดาคนธรรพ์
เป็นมหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ เป็นคนธรรพ์บริษัท เป็นคนธรรพ์ผู้รับใช้
เป็นกุมภัณฑ์ เป็นนางกุมภัณฑ์ เป็นบุตรกุมภัณฑ์ เป็นธิดากุมภัณฑ์
เป็นมหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ เป็นกุมภัณฑ์บริษัท เป็นกุมภัณฑ์ผู้รับใช้
เป็นนาค เป็นนางนาค เป็นบุตรนาค เป็นธิดานาค เป็นมหาอำมาตย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 135
ของนาค เป็นนาคบริษัท หรือเป็นนาคผู้รับใช้ เป็นผู้มีจิตประทุษร้าย
พึงเดินตามภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เดินไปอยู่ หรือ พึงยืน
ใกล้ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ หรือพึงนั่งใกล้ภิกษุ
ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ หรือพึงนอนใกล้ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา ผู้นอนอยู่. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึง
ได้สักการะ หรือ ความเคารพ ในบ้านหรือในนิคม ของข้าพระพุทธเจ้า.
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้นไม่พึงได้วัตถุ หรือการอยู่ในราชธานี
ชื่อว่าอาฬกมันฑา ของข้าพระพุทธเจ้า. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์นั้น
ไม่พึงได้ เพื่อเข้าสมาคมของพวกยักษ์ ของข้าพระพุทธเจ้า. อนึ่ง
อมนุษย์ทั้งหลาย ไม่พึงทำการอาวาหะ และวิวาหะกะอมนุษย์. อนึ่ง
อมนุษย์ทั้งหลายพึงบริภาษอมนุษย์นั้นด้วยความดูหมิ่น ครบบริบูรณ์
ดังกล่าวแล้วโดยแท้. อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลาย พึงครอบบาตรเปล่าบนศีรษะ
อมนุษย์นั้นโดยแท้. อนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลาย พึงผ่าศีรษะอมนุษย์นั้นออก.
๗ เสี่ยงโดยแท้.
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์ทั้งหลาย ดุร้าย ร้ายกาจ ทำเกินเหตุ
มีอยู่ อมนุษย์เหล่านั้นไม่เชื่อท้าวมหาราช ไม่เชื่อยักษ์เสนาบดี ของท้าว
มหาราช ไม่เชื่อถ้อยคำของรองยักขเสนาบดีของท้าวมหาราช. ข้าแต่ท่าน
ผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้นแล ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าเป็นข้าศึกศัตรูของ
ท้าวมหาราช. เหมือนโจรทั้งหลาย ในแว่นแคว้นของพระราชามคธ โจร
เหล่านั้น ไม่เชื่อพระราชามคธ ไม่เชื่อเสนาบดีของพระราชามคธ ไม่เชื่อ
ถ้อยคำของเสนาบดีของพระราชามคธ ไม่เชื่อรองเสนาบดีของพระราชา-
มคธ ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ มหาโจรเหล่านั้น ท่านกล่าวว่าชื่อว่า เป็นข้าศึก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 136
ศัตรูของพระราชามคธ ฉันใด ก็อมนุษย์ทั้งหลาย ดุร้าย ร้ายกาจ ทำเกิน
กว่าเหตุมีอยู่ อมนุษย์เหล่านั้น ไม่เชื่อท้าวมหาราช ไม่เชื่อยักขเสนาบดี
ของท้าวมหาราช ไม่เชื่อถ้อยคำของรองยักขเสนาบดีของท้าวมหาราช ข้าแต่
ท่านผู้นิรทุกข์ อมนุษย์เหล่านั้นแล ท่านกล่าวว่าเป็นข้าศึกศัตรูของท้าว.
มหาราชฉันนั้น. ก็อมนุษย์ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นยักษ์ เป็นยักษิณี เป็นบุตรยักษ์
เป็นธิดายักษ์ เป็นมหาอำมาตย์ของยักษ์ เป็นยักขบริษัท เป็นยักษ์ผู้รับใช้
เป็นคนธรรพ์ เป็นนางคนธรรพ์ เป็นบุตรคนธรรพ์ เป็นธิดาคนธรรพ์
เป็นมหาอำมาตย์ของคนธรรพ์ เป็นคนธรรพ์บริษัท เป็นคนธรรพ์ผู้รับใช้
เป็นกุมภัณฑ์ เป็นนางกุมภัณฑ์ เป็นบุตรกุมภัณฑ์ เป็นธิดากุมภัณฑ์ เป็น
มหาอำมาตย์ของกุมภัณฑ์ เป็นกุมภัณฑ์บริษัท เป็นกุมภัณฑ์ผู้รับใช้ เป็น
นาค เป็นนางนาค เป็นบุตรนาค เป็นธิดานาค เป็นมหาอำมาตย์ของนาค
เป็นนาคบริษัท หรือเป็นนาคผู้รับใช้ เป็นผู้มีจิตประทุษร้าย พึงเดินตาม
ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เดินอยู่ พึงยินใกล้ ภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้ยืนอยู่ พึงนั่งใกล้ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรือ
อุบาสิกา ผู้นั่งอยู่ พึงนอนใกล้ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้นอนอยู่.
พึงยกโทษ พึงคร่ำครวญ พึงร้อง แก่ยักษ์ มหายักษ์ว่า ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้
ติดตาม ยักษ์นี้รุกราน ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้ทำให้เดือดร้อน ยักษ์นี้
ทำให้เกิดทุกข์ ยักษ์นี้ไม่ปล่อย ดังนี้.
[๒๑๕] ยักษ์ มหายักษ์ เสนาบดี มหาเสนาบดี เหล่าไหน คือ
อินทะ โสมะ วรุณะ ภารทวาชะ ปชาปติ
จันทนะ กามเสฏฐะ กินนุมัณฑุ นิฆัณฑุ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 137
ปนาทะ โอปมัญญะ เทวสูตะ มาตลิ
จิตตเสนะ คันธัพพะ มโฬราชาชโนสภะ
สาตาคิระ เหมวตะ ปุณณกะ กริติยะ คุละ
สิวกะ มุจจลินทะ เวสสามิตตะ ยุคันธระ.
โคปาละ สุปปเคธะ หิริ เนตตะ มันทิยะ
ปัญจาลจันทะ อาลวกะ ปชุณณะ สุมุขะ
มธิมุขะ มณี มานิจระ ทีฆะ และ เสรีสกะ.
[๒๑๖] พึงยกโทษ พึงคร่ำครวญ พึงร้องแก่ยักษ์ มหายักษ์
เสนาบดี มหาเสนาบดี เหล่านี้ว่า ยักษ์นี้สิง ยักษ์นี้ติดตาม ยักษ์นี้รุกราน
ยักษ์นี้เบียดเบียน ยักษ์นี้ทำให้เดือดร้อน ยักษ์นี้ทำให้เกิดทุกข์ ยักษ์นี้
ไม่ปล่อย ดังนี้.
[๒๑๗] ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้แล เพื่อคุ้มครอง
เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ขอโอกาสบัดนี้ ข้าพระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย มีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก ขอกราบทูลลาไป. ดูก่อน
ท้าวมหาราชทั้งหลาย พวกท่านจงสำคัญซึ่งกาลอันควร ณ บัดนี้เถิด.
[๒๑๘] ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ลุกจากอาสนะถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกระทำประทักษิณ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง.
พวกยักษ์แม้เหล่านั้นก็ลุกจากอาสนะบางพวกก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
เจ้า กระทำประทักษิณ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกปราศรัย
กับพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นผ่านสัมโมทนียกถา อันเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 138
ได้อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประกาศชื่อ
และโคตรแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกนั่งนิ่งแล้วอันตรธานไป
ณ ที่นั้นเอง.
[๒๑๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยราตรีนั้นล่วงไปได้
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตลอดราตรีนี้ท้าวมหาราชทั้ง
๔ ตั้งกองรักษาไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งกองทัพไว้ทั้ง ๔ ทิศ ตั้งผู้ตรวจตราไว้ทั้ง ๔ ทิศ
ด้วยเสนายักษ์กองใหญ่ ด้วยเสนาคนธรรพ์กองใหญ่ ด้วยเสนากุมภัณฑ์
กองใหญ่และด้วยเสนานาคกองใหญ่ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว เปล่งรัศมีงามยิ่ง
ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้น ให้สว่างไสวเข้าไปหาเราถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ยักษ์เหล่านั้นแล บางพวกไหว้เราแล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง บางพวกปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านสัมโมทนียกถาอันเป็น
ที่ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประณมอัญชลีไป
ทางที่เราอยู่ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกประกาศชื่อและโคตร
แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกนั่งนิ่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวเวสวัณมหาราช นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยักษ์ทั้งหลายชั้นสูง บางพวก
ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นสูงเลื่อมใสพระผู้มี
พระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นกลางไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี
ยักษ์ทั้งหลายชั้นกลางเลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นต่ำ
ไม่เลื่อมใสพระผู้มีพระภาคเจ้าก็มี ยักษ์ทั้งหลายชั้นต่ำเลื่อมใสพระผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 139
พระภาคเจ้าก็มี ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญโดยมากยักษ์มิได้เลื่อมใสต่อพระผู้มี
พระภาคเจ้าเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงธรรมเพื่องดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร
จากมุสาวาท จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท แต่โดยมากพวกยักษ์มิได้งดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน
จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ข้อที่พระองค์ให้งดเว้นนั้น จึงไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่ชอบใจของพวกยักษ์เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สาวกของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าบางพวกเสพเสนาสนะอันสงัดราวไพรในป่า มีเสียงน้อย
มีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากลมแต่ชนผู้เข้าออก ควรแก่การทำกรรมอัน
เร้นลับของมนุษย์ ควรแก่การหลีกเร้น ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมักอยู่ในป่านั้น
พวกใดมิได้เลื่อมใสในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ขอพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจะทรงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์เพื่อให้ยักษ์พวกนั้นเลื่อมใส เพื่อความ
คุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อไม่เบียดเบียน เพื่ออยู่สำราญ ของภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารับ
โดยดุษณีภาพ. ครั้งนั้นแล ท้าวเวสวัณมหาราชทราบการรับรองเราแล้ว
ได้กล่าว อาฏานาฏิยรักษ์นี้ในเวลานั้นว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 140
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์นี้แล เพื่อความคุ้มครอง เพื่อ
ความรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่สำราญของภิกษุ ภิกษุณี
อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ขอโอกาสบัดนี้ พวกข้า
พระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่จะต้องทำมาก ขอกราบทูลลาไปดังนี้. ดูก่อน
มหาบพิตร พวกท่านจงสำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ลุกจากอาสนะ
ไหว้เรา แล้วกระทำประทักษิณแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง. แม้พวก
ยักษ์เหล่านั้นก็ลุกจากอาสนะ บางพวกไหว้เรา กระทำประทักษิณแล้ว
อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันแล้ว ก็อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประณมอัญชลี
ไปทางที่เราอยู่ แล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง บางพวกประกาศชื่อและ
โคตรแล้วอันตรธานไป บางพวกนั่งนิ่งแล้วอันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเรียนอาฏานาฏิยรักษ์ จงขวนขวายอาฏานา-
ฏิยรักษ์ จงทรงอาฏานาฏิยรักษ์ไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฏนาฏิยรักษ์นี้
ประกอบด้วยประโยชน์ เพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน
เพื่อความอยู่สำราญ แห่งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย. พระผู้
มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดี พระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบอาฏานาฏิยสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 141
อรรถกถาอาฏานาฏิยสูตร
เอวมฺเม สุตนฺติ อาฏานาฏิยสุตฺต
ต่อไปนี้ เป็นการพรรณนาบทตามลำดับในสูตรนั้น. บทว่า ตั้งการ
รักษา ในทิศทั้ง ๔ ความว่า ตั้งอารักขาแก่ท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทวดา
ทั้งหลายในทิศทั้ง ๔ เพื่อป้องกันทัพอสูร. บทว่า ตั้งกองทัพ คือ ตั้งกอง
กำลัง. บทว่า ตั้งผู้ตรวจตรา คือตั้งหน่วยรักษาการณ์ในทิศทั้ง ๔. อธิบายว่า
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้จัดการอารักขาเป็นอย่างดี แก่ท้าวสักกะผู้เป็นเทวราช
อย่างนี้ ประทับนั่ง ในอาฏานาฏานคร ปรารภถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
๗ พระองค์ แล้วผูกเครื่องป้องกันนี้ แล้วประกาศว่า ผู้ใดไม่เชื่อฟังธรรม
อาชญา ของพระศาสดา และราชอาชญาของเรา เราจักทำสิ่งนี้ สิ่งนี้แก่
ผู้นั้น ดังนี้ แล้วจัดอารักขาด้วยเสนา. เหล่า มียักขเสนาใหญ่เป็นต้น
ในทิศทั้ง ๔ ของตนเมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ฯลฯ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
อภิกกันตศัพท์ในบทนี้ว่า เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ดังนี้ ย่อมปรากฏใน
ความว่า สิ้นไปดี งามยิ่ง ยินดียิ่ง เป็นต้น. อภิกกันตศัพท์ในบทนั้น
ปรากฏในความสิ้นในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญราตรีสิ้นแล้ว
ยามแรกผ่านไปแล้ว หมู่ภิกษุนั่งนานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรง
สวดพระปาฏิโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิดพระพุทธเจ้าข้า. ในความว่าดีในบท
มีอาทิอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาค นี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคล ๔ เหล่านี้
ดังนี้. ในความว่า รัศมีงาม ในบทมีอาทิว่า
ใครรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ด้วยยศ มีรัศมีงามยิ่งนัก ยังทิศทั้งหมดให้สว่าง
ไสว ไหว้เท้าของเราดังนี้. ในความว่า น่ายินดียิ่งนักในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 142
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่ายินดียิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่ายินดียิ่งนัก
ดังนี้. แต่อภิกกันตศัพท์ในที่นี้เป็นไปในความว่า สิ้นไป. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อราตรีล่วงไปคือ เมื่อราตรีสิ้นไปดังนี้.
อภิกกันตศัพท์ในบทนี้ว่า มีรัศมีงามยิ่งนัก เป็นไปในรูปงามยิ่ง. แต่
วัณณศัพท์ ย่อมปรากฏในความว่า ผิว สรรเสริญ ตระกูล เหตุ สัญฐาน
ประมาณ รูปายตนะ เป็นต้น. ในบททั้งหลายนั้น วัณณศัพท์ เป็นไป
ในความว่า ผิว ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์
มีผิวดุจทองคำ. วัณณศัพท์ เป็นไปในความว่า สรรเสริญ ในบทมีอาทิอย่าง
นี้ว่า ดูก่อนคหบดี ก็การสรรเสริญ พระสมณโคดมของท่านจะปรากฏได้
เมื่อไรดังนี้. เป็นไปในความว่าชาติตระกูล ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระ
โคดมผู้เจริญ ชาติตระกูล ๔ เหล่านี้ดังนี้. เป็นไปในความว่า เหตุ ในบทมี
อาทิอย่างนี้ ว่า เออก็ด้วยเหตุไรหนอท่านจึงกล่าวว่าเป็นผู้ขโมยกลิ่น. เป็น
ไปไนความว่าสัณฐาน ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า เนรมิต สัณฐาน เท่าพระยา
ช้างใหญ่. เป็นไปในความว่า ประมาณในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ประมาณของ
บาตร ๓ อย่าง. เป็นไปในความว่า รูปายตนะในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า รูป
กลิ่น รส โอชะดังนี้. วัณณศัพท์นั้น ในที่นี้พึงทราบว่า เป็นไปในความว่า
ผิว. ด้วยเหตุนี้ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า มีรัศมีงามนัก คือมีผิวงามยิ่งดังนี้
เกวลศัพท์ ในบทว่า เกวลกัปปะนี้ มีความไม่น้อยเป็นต้นว่า ไม่
มีส่วนเหลือ โดยมากไม่มีเจือปน ไม่ยิ่งไปกว่า แน่วแน่ แยกกัน. มีอธิบาย
ด้วยประการนั้น คือ เกวลศัพท์ความว่า ไม่มีส่วนเหลือในบทมีอาทิอย่างนี้
ว่า พรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. มีความว่า โดยมากในบทมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ชาวเมืองอังคะ และชาวเมืองมคธ ส่วนมากเป็นผู้ใคร่จะถือเอา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 143
ของเคี้ยว ของบริโภค จนเพียงพอแล้วหลีกไปดังนี้. มีความว่า ไม่มีเจือปน
ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า เป็นเหตุเกิดแห่งกองทุกข์ล้วน ๆ มีความว่า ไม่ยิ่งกว่า
ในบทมิอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ เพียงมิศรัทธาไม่ยิ่งไปกว่า. มีความว่า
แน่วแน่ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า พระพาหิกะ สัทธิวิหาริกของท่าน
อนุรุทธะตั้งอยู่ในสังฆเภทอย่างแน่วแน่. มีความว่า แยกกันในบทมีอาทิ
อย่างนี้ว่า อุดมบุรุษ แยกกันอยู่ดังนี้. แต่ในที่นี้ เกวลศัพท์ท่านประสงค์
เอาความ คือ ไม่มีส่วนเหลือ.
อนึ่ง กัปปศัพท์นี้มีความหลายอย่าง เป็นต้นว่า ความเชื่ออย่างยิ่ง
โวหาร กาล บัญญัติ การตัด วิกัป เลส ความเป็นโดยรอบ. มีอธิบายด้วย
ประการนั้น คือกัปปศัพท์มีความว่า ความเชื่ออย่างยิ่ง ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า
โดยที่พระโคดมผู้เจริญ ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าควรไว้ใจได้
มีความว่า โวหาร ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
เพื่อบริโภคผลไม้ด้วยโวหารของสมณะ ๕. มีความว่า กาลในบทมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ได้ยินว่าเราอยู่ตลอดกาลเป็นนิจ. มีความว่า บัญญัติในบทมีอาทิ
อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ เป็นผู้บัญญัติไว้ด้วยประการฉะนี้. มีความว่า
ตัดในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ตกแต่งแล้ว คือ ตัดผมและโกนหนวด. มีความ
ว่า วิกัป ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ประมาณ ๒ นิ้ว จึงควร. มีความว่า
เลสในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า หาเลส เพื่อจะนอนมีอยู่. มีความว่า ความเป็น
โดยรอบ ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า ยังพระเวฬุวัน ให้สว่างไสว โดยรอบ
ก็ในที่นี้ท่านประสงค์ กัปปศัพท์ มีความว่า ความเป็นโดยรอบ. เพราะ
ฉะนั้น ในบทนี้ว่า ยังภูเขาคิชฌกูฏทั้งสิ้นให้สว่างไสวดังนี้ พึงเห็นความ
อย่างนี้ว่า ยังเขาคิชฌกูฏให้สว่างไสวโดยรอบ ไม่มีส่วนเหลือ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 144
บทว่า ให้สว่างไสว ความว่า แผ่พระรัศมีพวยพุ่งจาก สรีระประดับ
ด้วยผ้าและดอกไม้. อธิบายว่า กระทำให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียว ให้
รุ่งเรือง เป็นอันเดียว ดุจพระจันทร์และพระอาทิตย์. บทว่า เอกมนฺติ
นิสีทึสุ ความว่า ชื่อว่าที่นั่ง ในสำนักพระทศพลของเทวดาทั้งหลาย
ไม่มาก. แต่ในพระสูตรนี้ พวกเทวดานั่งด้วยความเคารพพระปริต.
บทว่า ท้าวเวสวัณ ความว่า ท่าวมหาราชทั้ง ๔ เสด็จมาก็จริง
แต่ท้าวเวสวัณ เป็นผู้คุ้นเคยของพระทศพล ฉลาดในการกราบทูล มีการ
ศึกษาเป็นอย่างดี เพราะฉะนั้น ท้าวเวสวัณมหาราช จึงได้กราบทูลกะ
พระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า ชั้นสูง คือเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่ถึงพร้อมด้วย
อานุภาพ. บทว่า เพื่อเว้นจากปาณาติบาต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงโทษอันเป็นไปในปัจจุบันและภพหน้า ในปาณาติบาต แล้วทรง
แสดงธรรม เพื่อเว้นจากปาณาติบาตนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล. บทว่า
ยักษ์ชั้นสูงบางพวกมักอยู่ในป่านั้นก็มี ความว่า ในเสนาสนะเหล่านั้น
มียักษ์ชั้นสูงมักอยู่เป็นประจำ. บทว่า อาฏานาฏิยะ ความว่า ชื่ออย่างนี้
เพราะผูกขึ้นใน อาฏานาฏานคร. ถามว่า ชื่อว่าธรรมที่ไม่แจ่มแจ้งมีอยู่แก่
พระผู้มีพระภาคเจ้าหรือ. ตอบว่า ไม่มี. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นเพราะ
เหตุไร ท้าวเวสวัณ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี
พระภาคโปรดเรียน อาฏานาฏิยรักษ์เถิดพระเจ้าข้า ดังนี้. ตอบว่า เพื่อ
หาโอกาส. ด้วยว่า ท้าวเวสวัณนั้นคอยโอกาสเพื่อจะให้ได้ฟังพระปริตนี้
กะพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูลอย่างนี้. โบราณกบัณทิตกล่าวว่า เมื่อ
ท้าวเวสวัณกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วพระปริตนี้จักเป็นครูดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 145
บ้าง. บทว่า เพื่อความอยู่สำราญ ความว่า เพื่ออยู่เป็นสุข ในอิริยาบถ
ทั้ง ๔ มีเดิน ยืน เป็นต้น.
บทว่า มีจักษุ ความว่า ไม่ใช่พระวิปัสสีพุทธเจ้าเท่านั้น มีจักษุ
แม้พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ ก็มีจักษุ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ๆ
ย่อมมีชื่อ เจ็ดอย่างเหล่านี้. แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็มีจักษุ ผู้ทรง
อนุเคราะห์สัตว์ทั่วหน้า ผู้ทรงชำระกิเลส เพราะมีกิเลสอันทรงชำระแล้ว
ทรงย่ำยีมารและเสนามาร ทรงอยู่จบพรหมจรรย์ ทรงพ้นวิเศษแล้ว มี
พระนามว่า อังคีรส เพราะรัศมีออกจากพระวรกาย. อนึ่ง ชื่อทั้งเจ็ด
เหล่านี้ มิใช่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยสิ้นเชิง. ท่านกล่าวว่า ท่านผู้
แสวงหาคุณใหญ่ ด้วยมีคุณย่อมมีชื่อนับไม่ถ้วน. ก็ท้าวเวสวัณกล่าวอย่างนี้
ด้วยสามารถพระนามอันปรากฏแก่ตน.
ในบทว่า ชนเหล่านั้นนี้ ท่านประสงค์ถึง ชนผู้เป็นขีณาสพ.
บทว่า ไม่ส่อเสียด นี้เพียงเป็นยอดของเทศนา. อธิบายว่า ไม่พูดเท็จ
ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดหยาบ พูดพอประมาณ. บทว่า มหตฺตา ความว่า
ถึงความเป็นผู้ยิ่งใหญ่. บาลีว่า มหนฺตา ดังนี้บ้าง. ความว่า ใหญ่
บทว่า ปราศจากความครั่นคร้าม คือ ไม่มีความครั่นคร้าม ปราศจาก
ขนพองสยองเกล้า. บทว่า ประโยชน์เกื้อกูล คือเป็นประโยชน์ด้วยการ
แผ่เมตตา. ค่าว่า ย ในบทนี้ว่า ย นมสฺสนฺติ เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า มหตฺต ได้แก่ ใหญ่. อีกประการหนึ่ง บาลีก็เป็นอย่างนี้ เป็นอัน
ท่านกล่าวบทนี้ไว้ว่า บทว่า พระพุทธเจ้าเหล่าใด ผู้ดับแล้วในโลก
ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดับแล้วด้วยการดับกิเลสทรงเห็นแจ้งตาม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 146
ความเป็นจริง อนึ่ง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นอบน้อมพระโคดม ผู้ทรง
เกื้อกูล แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีวิชชา
เป็นต้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายแม้เหล่านั้น ไม่ตรัสส่อเสียด ขอความนอบ
น้อมจงมีแด่พระพุทธเจ้า แม้เหล่านั้น. แต่ในอรรถกถากล่าวว่า บทว่า
ชนทั้งหลายเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียด ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เหล่านั้นเป็นผู้ไม่ส่อเสียดดังนี้. ท้าวเวสวัณมหาราชกล่าวสรรเสริญ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยคาถาบทแรกอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท้าวเวสวัณ.
มหาราชกล่าวคาถาบทแรกด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๗ พระ-
องค์. บทว่า พระโคดมในคาถาที่สองนี้เป็นเพียงมุขของเทศนา. พึงทราบ
คาถาที่สองนี้ว่า ท้าวเวสวัณมหาราชกล่าวด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้าทั้ง
๗ พระองค์เหมือนกัน. ก็ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ผู้เป็นบัณฑิตในโลก ย่อมนอบน้อมพระโคดมพระองค์ใด ขอความ
นอบน้อมจงมีแด่พระโคดมนั้น และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่มีมาก่อน แต่
พระโคดมนั้น. บทว่า ยโต อุคฺคจฺฉติ ความว่า ย่อมขึ้นแต่ที่ใด.
บทว่า พระอาทิตย์ ได้แก่บุตรของพระอาทิติ. หรือว่าบทนี้เป็น
เพียงไวพจน์ของ สุริยศัพท์. พระอาทิตย์ชื่อว่า มัณฑลีมหา เพราะมี
มณฑลใหญ่. บทว่า ยสฺส จุคฺคจฺฉมานสิส ความว่า ครั้นพระอาทิตย์ใด
ขึ้นอยู่. บทว่า สวรีปิ นิรุชฺฌติ ความว่า กลางคืนย่อมหายไป. บทว่า
ยสฺส จุคฺคเต ความว่า ครั้นพระอาทิตย์ขึ้นแล้ว. บทว่า รหโท ความว่า
ห้วงน้ำ. บทว่า ในที่นั้น ความว่า ในที่ที่พระอาทิตย์ขึ้น. บทว่า สมุทฺโท
คือ สมุทรใด ท่านกล่าวว่า ห้วงน้ำ สมุทรนั้นไม่ใช่อื่น คือสมุทรนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 147
เอง. บทว่า มีน้ำแผ่เต็มไป คือน้ำไหลเอ่อ ความว่า แม่น้ำทั้งหลาย
มีประการต่าง ๆ แผ่เต็มไปหรือไหลเข้าไปในน้ำของสมุทรนั้น เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่า สมุทรมีน้ำแผ่เต็มไป. บทว่า ชนทั้งหลายย่อมรู้จักห้วง
น้ำนั้นในที่นั้นอย่างนี้ ความว่า ย่อรู้ห้วงน้ำนั้นในที่นั้นอย่างนี้. ถามว่า
รู้จักว่าอย่างไร. ตอบว่า รู้จักอย่างนี้ว่า สมุทรมีน้ำแผ่ไปเต็มดังนี้. บทว่า
แต่นี้ไป ความว่า แต่ภูเขาสิเนรุหรือ แต่ที่ที่พวกเทวดาเหล่านั้นนั่ง. บทว่า
ชโน คือ มหาชนนี้. บทว่า มีชื่อเดียว คือมีชื่อเดียวว่า อินทะ. ได้ยินว่า
ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้ตั้งชื่อของท้าวสักกเทวราชให้เป็นชื่อของโอรส
เหล่านั้นทุกพระองค์. บทว่า อสีติ ทส เอโก จ คือบุตร ๙๑ พระองค์
บทว่า อินทนามะ คือมีชื่ออย่างนี้ว่า อินทะ อินทะ. บทว่า พระพุทธเจ้า
ผู้ตื่นแล้ว ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ความว่า ผู้ตื่นแล้ว เพราะ
ปราศจากความหลับ คือกิเลส ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เพราะความเป็น
ผู้มีโคตรเสมอด้วยพระอาทิตย์. บทว่า พระองค์ทรงตรวจดูมหาชนด้วย
ความฉลาด ความว่า ทรงตรวจดูมหาชนด้วยพระสัพพัญญุตญาณ อัน
ไม่มีโทษ หรือละเอียด. บทว่า แม้อมนุษย์ทั้งหลายก็พากันถวายบังคม
พระองค์ ความว่า แม้อมนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงตรวจดู
มหาชน ด้วยสัพพัญญุตญาณแล้ว ก็พากันถวายบังคมพระพุทธเจ้าพระองค์
นั้น บทว่า สุต เนต อภิณฺหโส ความว่า ความข้อนั้นข้าพระองค์
ทั้งหลายได้ฟังเนือง ๆ. บทว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถวายบังคม
พระชินโคดม ความว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายถามเขาว่า พวกท่าน
ถวายบังคมพระชินโคดมหรือ เขาพากันตอบว่า ถวายบังคมพระชินโคดม.
บทว่า ตายแล้ว ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนำออกไปโดยทิศใด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 148
ความว่า ชนตายแล้วชื่อว่าเปรต ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนำชน
ผู้ตายแล้วเหล่านั้นออกไปโดยทิศใด. บทว่า พูดส่อเสียดกัดเนื้อข้าง
หลัง ความว่า ผู้กล่าวคำส่อเสียดนั่นแล เป็นดุจกัดเนื้อข้างหลัง และ
ติเตียนลับหลัง ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จะนำชนเหล่านี้ออกไปโดยทิศ
ใด. ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายนำคนเหล่านั้น แม้ทั้งหมดออกทาง
ทิศทักษิณ จงเผา หรือจงทำลาย หรือจงฆ่า ด้านทิศทักษิณของพระนคร
ดังนี้.
บทว่า แต่นี้ไปทิศที่ชนเรียกกันว่า ทิศทักษิณนั้น ความว่า
ชนทั้งหลายพากันกล่าวว่า จงนำคนที่กล่าวส่อเสียดเป็นต้น ที่ตายไปแล้ว
ออกไปโดยทิศาภาคใด แต่นี้ไปทิศที่ชนเรียกกันว่า ทิศทักษิณนั้น. บทว่า
แต่นี้ไป ความว่า แต่ภูเขาสิเนรุ หรือแต่ที่ที่เทวดาเหล่านั้นนั่ง. บทว่า
เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของพวกกุมภัณฑ์ ความว่า ได้ทราบว่า เทาดาเหล่านั้น
เป็นผู้มีท้องใหญ่. อนึ่ง ลูกอัณฑะของเทวดาเหล่านั้นใหญ่ดุจหม้อ เพราะ
ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า กุมภัณฑ์. บทว่า พระอาทิตย์ตกในที่ใด ความว่า
พระอาทิตย์อัสดงคตโดยทิศาภาคใด โดยทิศาภาคนั้น. บทว่า มหาเนรุ คือ
ภูเขาหลวงชื่อสิเนรุ. บทว่า ดูงดงาม คือ ดูงาม เพราะสำเร็จด้วยทอง.
ด้วยว่า ข้างทิศปราจิน ของภูเขาสิเนรุ สำเร็จด้วยเงิน ข้างทิศทักษิณ
สำเร็จด้วยแก้วมณี ข้างทิศปัจฉิมสำเร็จด้วยแก้วผลึก ข้างทิศอุดรสำเร็จ
ด้วยทอง ข้างทิศอุดรนั้นเป็นข้างที่ดูเพลิน เพราะฉะนั้น ภูเขาสิเนรุ เป็น
ภูเขาที่ดูงดงาม โดยทิศาภาคใด นี้เป็นใจความในภูเขาสิเนรุนี้. บทว่า
มนุสฺสา ตตฺถ ชายนฺติ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายเกิดในอุตตรกุรุทวีปนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 149
บทว่า ไม่ยึดถือว่าเป็นของตน ความว่า เว้นจากความยึดถือว่าเป็นของเรา
แม้ในผ้าอาภรณ์ น้ำดื่ม และของบริโภคเป็นต้น. บทว่า ไม่หวงแหนกัน
คือ ไม่หวงแหนด้วยความหวงแหนในหญิง. อธิบายว่า ได้ยินว่า มนุษย์
เหล่านั้นไม่มีความหวงแหนว่า นี้ภรรยาของเรา. ความกำหนัดด้วยความ
พอใจ ย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะเห็นมารดาหรือน้องสาว. บทว่า ไม่ต้อง
นำไถออกไถ ความว่า แม้ไถก็ไม่ต้องนำออกไปสู่นาด้วยความประสงค์ว่า
เราจักทำการกสิกรรมในนานั้น. บทว่า ข้าวสาลีอันผลิตผลในที่ไม่ต้อง
ไถ ความว่า ข้าวสาลีเกิดขึ้นเองในป่าอันเป็นพื้นที่ที่ไม่ต้องไถ. บทว่า
เป็นเมล็ดข้าวสาร คือ ข้าวสารนั้นแล เป็นผลของพื้นที่นั้น บทว่า
หุงในเตาอันปราศจากควัน คือ เกลี่ยข้าวสาร ลงไปในหม้อ แล้วหุง
ด้วยไฟ อันปราศจากควัน และเถ้า. ได้ยินว่า ในที่นั้น ชื่อ โชติกปาสาณะ
ที่นั้นชนทั้งหลายวางหิน ๓ ก้อน แล้วยกหม้อขึ้นตั้ง ไฟตั้งขึ้นจากหินแล้ว
หุงข้าว. บทว่า บริโภคข้าวจากหม้อนั้นนั่นเอง ความว่า บริโภค
โภชนะนั้นเองจากหม้อข้าวนั้น. ไม่แกงหรือผัดอย่างอื่น. อนึ่ง รสของข้าว
นั้นเป็นรสบำรุงใจของผู้บริโภคอย่างดี. ชนเหล่านั้นย่อมให้แก่ผู้มาถึงที่นั้น
ทุกคน ชื่อว่าจิตตระหนี่ย่อมไม่มี. แม้พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า
เป็นต้น ทรงฤทธิ์มาก เสด็จไป ณ ที่นั้น ย่อมรับบิณฑบาต.
บทว่า ทำแม่โคให้มีกีบเดียว ความว่า ยักษ์ทั้งหลาย ผู้รับใช้
ท้าวเวสวัณ จับแม่โค ให้มีกีบเดียวเป็นพาหนะ เหมือนม้าแล้วขี่แม่โคนั้น
ติดตามไป สู่ทิศน้อยทิศใหญ่ คือ เที่ยวตามไปในทิศนั้น ๆ. บทว่า กระทำ
ปศุสัตว์ให้มีกีบเดียว ความว่า กระทำปศุสัตว์ ๔ เท้า ที่เหลือเว้นแม่โค
ให้มีกีบเดียว เป็นพาหนะ แล้วติดตามไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่. บทว่า กระทำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 150
สตรีให้เป็นพาหนะ ความว่า กระทำมาตุคามมีครรภ์ให้เป็นพาหนะแล้วนั่ง
บนหลัง มาตุคามนั้นเที่ยวไป. นัยว่า หลังของหญิงมีครรภ์นั้นอดกลั้นเมื่อ
จะก้มลง. หญิงนอกนี้ใช้เทียมยาน. บทว่า กระทำชายให้เป็นพาหนะ
ความว่า จับชายให้เทียมยาน. อนึ่ง เมื่อจับไม่สามารถจับชนผู้เป็นสัมมาทิฐิ
ได้. โดยมากจับพวกที่อยู่ชายแดน และคนป่าเถื่อน. ได้ยินว่า ชาวชนบท
คนใดคนหนึ่ง ในจำพวกนี้นั่งหลับใกล้พระเถระรูปหนึ่ง. พระเถระถามว่า
อุบาสกท่านหลับไปหรือ. เขาตอบ ท่านขอรับวันนี้ผมเพลีย เพราะรับใช้
ท้าวเวสวัณตลอดคืน ขอรับ. บทว่า ทำเด็กหญิงให้เป็นพาหนะ ความว่า
จับเด็กหญิงทำให้เป็นพาหนะเทียมรถ. แม้ในการจับเด็กชายให้เป็นพาหนะ
ก็มีนัยนี้แล. บทว่า บรรดานางบำเรอของพระราชานั้น ความว่า หญิง
ผู้เป็นนางบำเรอของพระราชานั้น. บทว่า ยานช้าง ยานม้า ความว่า
ไม่ใช่ยานโค อย่างเดียวเท่านั้น ขี่แม้ยานช้าง ยานม้า เป็นต้น เที่ยวไป
บทว่า ยานทิพย์ ความว่า ยานทิพย์มากอย่างแม้ อื่น ก็ได้ปรากฏแก่มนุษย์
เหล่านั้น. ยานเหล่านี้เป็นยานเข้าไปถึงมนุษย์เหล่านั้นก่อน. ก็มนุษย์
เหล่านั้นนอนบนที่นอนอันประเสริฐที่ปราสาทและนั่งบนตั่งและวอเป็นต้น
เที่ยวไป. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปราสาทและวอดังนี้. บทว่า ปรากฏ
แก่ท้างมหาราชผู้ทรงยศ ความว่า ยานเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นแก่ท้าวมหาราช
ผู้ทรงยศ ผู้ถึงพร้อมด้วยอนุภาพอย่างนี้.
บทว่า และท้าวมหาราชนั้นได้ทรงนิรมิตนครไว้บนอากาศ
ความว่า พระราชานั้นได้ทรงนิรมิตนครมี อาฏานาฏานครเป็นต้น เหล่านั้น
ไว้บนอากาศ คือ นครทั้งหลายได้มีแล้ว. ก็นครหนึ่งของท้าวมหาราชนั้น
ได้ชื่อ อาฏานาฏา นครหนึ่งชื่อ กุสินาฏา นครหนึ่งชื่อ ปรกุสินาฏา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 151
นครหนึ่งชื่อ นาฏปริยาย นครหนึ่งชื่อ ปรกุสิฏนาฏา. บทว่า ทางทิศ
อุดรมีกปีอันตนคร ความว่า ตรงทิศอุดรมีนครอื่นชื่อ กปีวันตนคร
ตั้งอยู่ในทิศอุดรนั้น. บทว่า อีกนครหนึ่งชื่อ ชโนฆะ ความว่า ใน
ภาคอื่นของทิศอุดรนั้น มีนครอื่นชื่อ ชโนฆะ. บทว่า นวนวติยนคร
ความว่า อีกนครหนึ่งชื่อ นวนวติยะ. อีกนครหนึ่งชื่อ อัมพรอัมพรวติยะ.
บทว่า อาฬกมันทา ความว่า มีราชธานีอื่นอีกชื่อ อาฬกมันทา.
บทว่า เพราะฉะนั้น มหาชนจึงเรียกท้าวกุเวรมหาราชว่า ท้าว
เวสวัณ ดังนี้ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ ท้าวมหาราชนี้
เป็นพราหมณ์ ชื่อ กุเวร ได้สร้างโรงหีบอ้อย ประกอบเครื่องยนต์ ๗ เครื่อง
กุเวรพราหมณ์ได้ให้ผลกำไรซึ่งเกิดขึ้นที่โรงเครื่องยนต์แห่งหนึ่ง แก่
มหาชนที่มาแล้ว มาแล้วได้กระทำบุญ. ผลกำไรที่มากกว่า ได้ตั้งขึ้นในที่นั้น
จากโรงที่เหลือ กุเวรพราหมณ์เลื่อมใสด้วยบุญนั้นจึงถือเอาผลกำไรที่เกิด
ขึ้น แม้ในโรงที่เหลือ ให้ท่านตลอดสองหมื่นปี. เขาได้ถึงแก่กรรมไปเถิด
เป็น เทพบุตรชื่อกุเวร ในสวรรค์ชั้นจาตุมมหาราชิกา. ต่อมาได้ครอง
ราชสมบัติในราชธานีชื่อ วิสาณะ. ตั้งแต่นั้น จึงเรียกว่า ท้าวเวสวัณ.
บทว่า ย่อมปรากฏมีหน้าที่คนละแผนก ความว่า ยักษ์ผู้ดูแล
แว่นแคว้น ๑๒ ตนเหล่าอื่นผู้เข้าไปพิจารณา พร่ำสอนประโยชน์ทั้งหลาย
ย่อมปรากฏมีหน้าที่คนละแผนก. ได้ยินว่า ยักษ์ผู้ดูแลแว่นแคว้นเหล่านั้น
ถือข่าวไปประกาศแก่ยักษ์ผู้รักษาประกาศ ๑๒ ตน. ยักษ์ผู้รักษาประตูทั้งหลาย
ประกาศข่าวนั้นแก่ท้าวมหาราช. บัดนี้ท้าวมหาราช เมื่อจะแสดงชื่อของ
ยักษ์ผู้ดูแลแว่นแคว้นเหล่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตโตละ ดังนี้. ได้ยินว่า
บรรดายักษ์เหล่านั้น ยักษ์ตนหนึ่งชื่อ ตโตลา ตนหนึ่งชื่อ ตัตตลา ตนหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 152
ชื่อ ตโตตลา ตนหนึ่งชื่อ โอชลี ตนหนึ่งชื่อ เตชลี ตนหนึ่งชื่อ ตโตชลี.
บทว่า สุโรราชม ความว่า ตนหนึ่งชื่อ สุโร ตนหนึ่งชื่อ ราชา ตนหนึ่งชื่อ
สุโรราชา. บทว่า อริฏฺโ เนมิ ความว่า ตนหนึ่งชื่อ อริฏฐะ ตนหนึ่งชื่อ
เนมิ ตนหนึ่งชื่อ อริฏเนมิ.
บทว่า ในวิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำชื่อธรณี ความว่า ก็ใน
วิสาณาราชธานีนั้น มีห้วงน้ำห้วงหนึ่งชื่อ ธรณี โดยชื่อ. ท่านกล่าวว่า
มีสระโบกขรณีใหญ่กว้าง ๕๐ โยชน์. บทว่า เป็นแดนที่เกิดเมฆ ความว่า
เมฆทั้งหลายรับน้ำจากสระโบกขรณี แล้วตกลงมา. บทว่า เกิดฝนตก
ความว่า ฝนตกท่วม. ได้ยินว่า เมื่อเมฆตั้งเค้า น้ำเก่าย่อมไหลออกจาก
สระโบกขรณีนั้น. เมฆตั้งเค้าเบื้องบนยังสระโบกขรณีนั้นให้เต็มด้วยน้ำใหม่.
น้ำเก่าเป็นน้ำมีในเบื้องต่ำ ย่อมไหลออกไป. เมื่อสระโบกขรณีน้ำเต็ม เมฆ
ย่อมเคลื่อนไป. บทว่า สภา คือ สถานที่ประชุม ณ ฝั่งโบกขรณีนั้น
มีมณฑปแก้วประมาณ ๑๒ โยชน์ล้อมด้วยเถาวัลย์ ชื่อ ภคลวดี. นี้ท่าน
กล่าวหมายถึงมณฑปนั้น. บทว่า ปยิรุปาสนฺติ ความว่า นั่งอยู่ บทว่า
ต้นไม่มีผลมาก ความว่า มณฑปแก้ว ย่อมแสดงถึงว่า ต้นไม้มีมะม่วง
และหว้า เป็นต้น ล้อมมณฑปนั้น ในที่นั้น แผ่ไปทุกเวลา และดอกไม้
มีดอกจำปาเป็นต้น บานอยู่เป็นนิจ. บทว่า ประกอบด้วยหมู่นกนานา
ชนิด คือ ดารดาษไปด้วยหมู่นกต่าง ๆ. บทว่า มีนกยูง นกกะเรียน
เสียงหวาน ความว่า นกยูง นกกะเรียนมีเสียงหวาน ประสานเสียง.
บทว่า ณ ที่นี้มีเสียงนกร้องว่า ชีวะ ชีวะ ความว่า ณ ที่นี้ มีเสียง
นกชื่อ ชีว ชีวกะ ร้องอย่างนี้ว่า ชีวะ ชีวะ ดังนี้. บทว่า มีเสียงปลุกใจ
ความว่า แม้นกมีเสียงปลุกใจ ก็ร้องอยู่อย่างนี้ ลุกขึ้นเถิด จิตตะ ลุกขึ้นเถิด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 153
จิตตะ ดังนี้ ย่อมเที่ยวไป ณ ที่นั้น. บทว่า ไก่ คือ ไก่ป่า. บทว่า ปู
คือ ปูทอง. บทว่า ในป่า คือ ในสระประทุม. บทว่า โปกฺขรสาตกา
ได้แก่ พวกนกชื่อ โปกฺขรสาตกา. บทว่า สุกสาลิกสทฺเทตฺถ ความว่า
ในสระนั้น มีเสียงนกสุกะ และนกสาลิกา. บทว่า หมู่นกทัณฑมาณวก
คือนกมีหน้าเหมือนคน. ได้ยินว่า นกเหล่านั้น เอาเท้าสองจับไม่ทองคำ
แล้วเหยียบใบบัวใบหนึ่ง วางไม้ทองคำลองในบัวอันไม่มีระหว่าง เที่ยวไป.
บทว่า สพฺพกาล สา ความว่า สระโบกขรณีนั้นงามตลอดกาล. บทว่า
สระนพินีของท้าวกุเวร ความว่า สระนพินีของท้าวกุเวรเป็นสระปทุม
สระนั้นชื่อ ธรณี งามอยู่ตลอดเวลาทุกเมื่อ.
ท้าวเวสวัณ ยังอาฏานาฏิยรักษ์ให้สำเร็จลงแล้ว เมื่อจะแสดงการ
บริกรรม พระปริตนั้นจึงกล่าวบทนี้ว่า คนใดคนหนึ่ง. ในบทเหล่านั้น
บทว่า เรียนดีแล้ว ความว่า อาฏานาฏิยรักษ์ อันผู้ใดผู้หนึ่ง ชำระอรรถ
และพยัญชนะ และเรียนด้วยดี. บทว่า เล่าเรียนครบถ้วน ความว่า ไม่
ให้บทและพยัญชนะ เสื่อมแล้วเล่าเรียนครบถ้วน. ท่านแสดงไว้ว่า จริงอยู่
พระปริต ย่อมไม่เป็นเดช แก่ผู้กล่าวผิด อรรถบ้าง บาลีบ้าง หรือว่าไม่ทำ
ให้คล่องแคล่ว. พระปริตย่อม เป็นเดชแก่ผู้ทำให้คล่องแคล่ว ด้วยประการ
ทั้งปวง แล้วกล่าวแน่แท้. แม้เมื่อเรียนเพราะลาภเป็นเหตุ แล้วกล่าวอยู่
ก็ไม่สำเร็จประโยชน์. พระปริตย่อมมีประโยชน์แก่ผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายแห่ง
การออกไปจากทุกข์ แล้วกระทำเมตตาให้เป็น ปุเรจาริก กล่าวอยู่นั่นแล.
บทว่า ยักขปจาระ คือผู้รับใช้ยักษ์. บทว่า วัตถุ ได้แก่ วัตถุคือ เรือน.
บทว่า ที่อยู่ได้แก่การอยู่เป็นนิจในเรือนนั้น. บทว่า สมิตึ คือ การสมาคม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 154
บทว่า อนฺวยฺห ความว่า ไม่ควรทำการอาวาหะ. บทว่า อวิวยฺห ความว่า.
ไม่ควรวิวาหะกับเขา. ความว่า ไม่พึงกระทำการอาวาหะ หรือวิวาหะกับเขา.
บทว่า ด้วยคำบริภาษอันบริบูรณ์ดังกล่าวแล้ว ความว่า อมนุษย์ทั้งหลาย
พึงน้อมเข้าไป ซึ่งอัตภาพของยักษ์เหล่านั้นอย่างนี้ว่า ผู้มีตาสีคล้ำ ผู้มี
ฟันเหลืองดังนี้ แล้วบริภาษด้วยคำบริภาษอันมีพยัญชนะบริบูรณ์ดังที่กล่าว
แล้ว. อธิบายว่า พึงด่าถ้อยคำของยักษ์. บทว่า บาตรแม้เปล่า ความว่า
บาตรโลหะเช่นเดียวกับบาตรของภิกษุนั้นแหละ. ครอบบาตรนั้นบนศีรษะ
ตลอดถึงก้านคอ. เอาเสาเหล็กทุบบาตรนั้นในท่ามกลาง. บทว่า จณฺฑา
คือ โกรธ รุทฺธา ได้แก่ ผิดพลาด. บทว่า รภสา คือ กระทำเกินเหตุ.
บทว่า ไม่เชื่อท้าวมหาราช คือ ไม่ถือเอาคำพูด ไม่กระทำตามข้อบังคับ.
บทว่า เสนาบดี ของท้าวมหาราช คือ เสนาบดียักษ์ ๒๘ ตน. บทว่า
ปุริสกาน ปุริสกาน คือ อนุศาสน์ของยักษ์เสนาบดี. บทว่า อวรุทฺธา
นาน ความว่า ปัจจามิตร คือ มีเวร. บทว่า พึงประกาศให้รู้ ความว่า
ผู้ไม่สามารถจะกล่าวพระปริต ให้พวกอมนุษย์หลีกไปได้ ควรประกาศให้
ยักษ์ทั้งหลายรู้ ความว่าให้ยักษ์เหล่านั้นรู้. ก็แต่ว่าพึงยืนอยู่ ณ ที่นี้แล้ว
กล่าวบริกรรมพระปริต.
อันที่จริงไม่ควรสวด อาฏานาฏิยสูตร ก่อนทีเดียว. ควรสวดพระ
สูตรเหล่านี้คือ เมตตาสูตร ธชัคคสูตร รตนสูตร ตลอด ๗ วัน. หากว่า
พ้นไปได้ เป็นการดี. หากไม่พ้น ควรสวด อาฏานาฏิยสูตร. ภิกษุผู้สวด
อาฏานาฏิยสูตรนั้น ไม่ควรเคี้ยวแป้งหรือเนื้อ ไม่ควรอยู่ในป่าช้า. ถามว่า
เพราะเหตุไร. ตอบว่า พวกอมนุษย์จะได้โอกาส ที่ทำพระปริต ควรทำ
ให้มีหญ้าเขียวชะอุ่ม ปูอาสนะให้เรียบร้อย ณ ที่นั้น แล้วพึงนั่ง. ภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 155
ผู้กระทำพระปริต อันชนทั้งหลายนำออกจากวิหารไปสู่เรือน ควรล้อมด้วย
เครื่องป้องกันคือกระดาน แล้วพึงนำไป. ไม่ควรนั่งนวดในที่แจ้ง. ภิกษุ
ควรปิดประตูและหน้าต่างแล้วจึงนั่ง แวดล้อมด้วยมือเป็นอาวุธกระทำ
เมตตาจิต ในเบื้องหน้า แล้วสวด. ควรให้รับสิกขาบทก่อน แล้วสวด
พระปริตแก่ผู้ตั้งอยู่ในศีล. แม้อย่างนี้ ก็ไม่สามารถจะพ้นได้ ควรนำไปสู่
วิหารให้นอนบนลานเจดีย์ให้ทำอาสนบูชา ตามประทีป ปัดกวาดลานเจดีย์
แล้วสวดมงคลกถา. ควรประกาศให้ประชุมทั้งหมด. ใกล้วิหาร มีด้านไม้
ใหญ่ที่สุดอยู่ ควรส่งข่าวไป ณ ที่นั้นว่า หมู่ภิกษุย่อมรอการมาของพวกท่าน.
ชื่อว่าการไม่มาในที่ประชุมทั้งหมด จะไม่ได้รับ แต่นั้น ควรถามผู้ที่ถูก
อมนุษย์สิงว่า ท่านชื่อไร. เมื่อเขาบอกชื่อแล้ว ควรเรียก ชื่อทีเดียว. ท่าน
ควรปล่อยบุคคลชื่อนี้ เพราะส่วนบุญในการบูชาด้วยวัตถุมัดเอาไว้ และ
ของหอมเป็นต้น ส่วนบุญในการบูชาอาสนะ ส่วนบุญในการถวายบิณฑบาต
ของท่าน หมู่ภิกษุสวดมหามงคลกถาเพื่อประโยชน์แก่บรรณาการของท่าน
ด้วยความเคารพในหมู่ภิกษุ ขอท่านจงปล่อยเขาเถิด ดังนี้ หากอมนุษย์ไม่
ปล่อย ควรบอกแก่เทวดาทั้งหลาย ว่า พวกท่านจงรู้ไว้เถิด อมนุษย์นี้
ไม่ทำคำของพวกเรา เราจักกระทำพุทธอาชญาดังนี้
ควรสวดพระปริต นี้เป็นบริกรรมของคฤหัสถ์ก่อน ก็ถ้าภิกษุถูก
อมนุษย์สิง ควรล้างอาสนะ แล้วประกาศให้ประชุมกันทั้งหมด ให้ส่วน
บุญในการบูชามีของหอมและดอกไม้เป็นต้น แล้วพึงสวดพระปริตนี้เป็น
บริกรรมของภิกษุทั้งหลาย. บทว่า พึงประชุมกัน ความว่า พึงประกาศ
ให้เสนาบดียักษ์ ๒๘ ตน ประชุมกันทั้งหมด. บทว่า พึงบอกกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 156
ความว่า พึงบอกกล่าวกับเทวดาทั้งหลาย เหล่านั้นว่า ยักษ์นี้สิงดังนี้
เป็นต้น. บทว่า ติดตาม เป็นไวพจน์ของบทว่า สิง อีกอย่างหนึ่งท่าน
กล่าวว่า ติด คือ ไม่ออกไป. บทว่า เบียดเบียน ความว่า เบียดเบียน
ทำให้โรคกำเริบบ่อย ๆ. บทว่า ทำให้เกิดทุกข์ คือ ทำให้มีเนื้อและเลือด
น้อย ให้เกิดทุกข์. บทว่า ไม่ปล่อย คือเป็นผู้ถูกจระเข้คาบ ไม่ปรารถนา
จะปล่อย พึงบอกกล่าวเทวดาเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้เพื่อแสดงถึง
ยักษ์ที่ควรบอกกล่าว จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า แห่งยักษ์ทั้งหลายเหล่าไหนดังนี้
ในบทเหล่านั้น บทเป็นต้นว่า อินทะ โสมะ เป็นชื่อของยักษ์
ทั้งหลาย เหล่านั้น ในยักษ์ทั้งหลายเหล่านั้น ยักษ์ตนหนึ่งอาศัยอยู่ที่ภูเขา
ชื่อว่า เวสสามิตตะ ชื่อยักษ์เวสสามิตตะ ยักษ์ที่อาศัยอยู่ที่ภูเขา ยุคนธระ
ชื่อยักษ์ ยุคนธระ ยักษ์ชื่อ หิริเนตติ มัณฑิยะ มณิ มณิวระ ฑีฆะ และ
เสรีสกะ กับยักษ์เหล่านั้น. บทว่า ควรประกาศให้ยักษ์น้อยยักษ์ใหญ่
เสนาบดี มหาเสนาบดีรู้ ความว่า พึงบอกแก่ยักษ์เสนาบดีทั้งหลาย
เหล่านั้น อย่างนั้นว่า ยักษ์นี้เบียดเบียนผู้นี้ ทำให้ผู้นี้เดือดร้อน ไม่ปล่อยผู้
นี้ดังนี้ แต่นั้น ยักษ์เสนาบดีทั้งหลายเหล่านั้น จักกระทำความขวนขวายว่า
หมู่ภิกษุย่อมกระทำธรรมอาชญาของตน แม้เราก็จะทำอาชญาของพระยา
ยักษ์ของเราทั้งหลาย. ท้าวเวสวัณมหาราชเมื่อจะแสดงว่า โอกาสของพวก
อมนุษย์จักไม่มี ด้วยอาการอย่างนี้ พุทธสาวกทั้งหลาย ก็จักอยู่สบาย จึง
กราบทูลคำเป็นอาทิว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ อาฏานาฏิยรักษ์ นี้นั้นแล
ดังนี้. บททั้งหมดนั้น และบทอื่นจากนั้น มีความง่ายอยู่แล้วแล.
จบอรรถกถาอาฏานาฏิยสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 157
๑๐. สังคีติสูตร
เรื่อง การสังคายนาหลักธรรม
[๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกในแคว้นมัลละ. พร้อม
ด้วยพระภิกษุสงฆ์ หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูปได้เสด็จถึงนครของพวกมัลล-
กษัตริย์อันมีนามว่า ปาวา. ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวน
มะม่วงของนายจุนทกัมมารบุตรใกล้นครปาวานั้น.
[๒๒๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ท้องพระโรงหลังใหม่ อันมีนามว่า
อุพภตกะ ของพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สร้างสำเร็จแล้วไม่นาน อัน
สมณพราหมณ์ หรือใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ยังไม่ทันเข้าอยู่อาศัย. พวกเจ้า
มัลละแห่งนครปาวาได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จจาริกใน
แคว้นมัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เสด็จถึง
นครปาวาโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของจุนทกัมมารบุตร ใกล้
นครปาวา. ครั้งนั้นแล พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาได้พากันเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวานั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระ-
โรงหลังใหม่อันมีนามว่า อุพภตกะ ของพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สร้าง
สำเร็จแล้วไม่นาน อันสมณพราหมณ์ หรือใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์ยังไม่ทันจะ
เข้าอยู่อาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงเสด็จใช้สอย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 158
ท้องพระโรงนั้นก่อนเถิด ภายหลังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาจึงจักใช้สอย
ท้องพระโรงที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใช้สอยก่อนแล้ว การเสด็จใช้สอย
ก่อนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความ
สุขแก่พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา สิ้นกาลนาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ
ด้วยดุษณีภาพแล้วแล. ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ได้ทราบการ
ทรงรับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว พาไปยังท้องพระโรง ครั้นแล้วจึงปูลาด
ท้องพระโรงให้พร้อมสรรพ แต่งตั้งอาสนะ ให้ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน
แล้วพากันไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้า ได้ยินอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้องพระโรงอันพวกข้าพระองค์ปูลาด
พร้อมสรรพแล้ว อาสนะก็แต่งตั้งแล้ว หม้อน้ำก็ให้ตั้งไว้แล้ว ประทีป
น้ำมันก็ตามไว้แล้ว พระเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบกาลอัน
สมควรในบัดนี้เถิด.
[๒๒๓] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก
แล้วทรงถือบาตรจีวรเสด็จไปยังท้องพระโรงพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ทรง
ล้างพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปยังท้องพระโรงประทับนั่งพิงเสากลาง ผิน
พระพักตร์ไปทางทิศบูรพา. ฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังท้องพระ
โรงนั่งพิงฝาด้านหลัง ผินหน้าไปทางทิศบูรพาแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
เเม้พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวาก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังท้องพระโรง นั่งพิงฝา
ทางด้านบูรพา ผินหน้าไปทางทิศปัจฉิมแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้ง
นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา ให้เห็นแจ้ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 159
ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก
แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนวาเสฏฐะทั้งหลาย ราตรีล่วงมากแล้ว
บัดนี้ พวกท่านจงสำคัญกาลอันสมควรเถิด. พวกเจ้ามัลละแห่งนครปาวา
ได้พร้อมกันรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า
แล้วพากันลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระทำ
ประทักษิณแล้วหลีกไป.
[๒๒๔] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นพวกเจ้ามัลละ
แห่งนครปาวาหลีกไปแล้วไม่นาน ทรงเหลียวดูหมู่พระภิกษุผู้นั่งนิ่งแล้ว
ทรงสั่งกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ปราศจากถีนะและ
มิทธะ. สารีบุตรจงแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อยแล้ว ฉะนั้น
เราพึงพักผ่อน. ท่านพระสารีบุตรได้รับสนองพระดำรัสของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าว่าอย่างนั้น พระเจ้าข้า ดังนี้. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสั่งให้ปูผ้าสังฆาฏิเป็นสี่ชั้น แล้วทรงสำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์
เบื้องขวา ทรงเหลื่อมพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรง
กระทำในพระทัยถึงสัญญาในอันที่จะเสด็จลุกขึ้น.
[๒๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล นิครนถ์นาฏบุตรทำกาละแล้วไม่นาน
ที่นครปาวา. เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึง
แตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก เกิดบาดหมางกัน เกิดการทะเลาะ
วิวาทกันขึ้น เสียดแทงกันและกัน ด้วยหอกคือปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึง
ธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้า
ปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ถ้อยคำของท่านไม่เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 160
ประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าว
ภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้า
จับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย
มิฉะนั้น จงแก้ไขเสีย ถ้าท่านสามารถดังนี้. เห็นจะมีแต่ความตายอย่างเดียว
เท่านั้น จะเป็นไปในพวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร. แม้พวกสาวก
ของนิครนถ์นาฏบุตรที่เป็นคฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็มีอาการเบื่อหน่าย
คลายความรักรู้สึกท้อถอยในพวกนิครนถ์ผู้เป็นสาวกของนาฏบุตร ทั้งนี้
เพราะธรรมวินัยอันนิครนถ์นาฏบุตรกล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็น
ธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ มิใช่ธรรม
ที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยมีที่พำนักอัน
ทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยไม่เป็นที่พึ่งอาศัย. ครั้งนั้นแล ท่านพระสารี-
บุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลาย เล่าว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย นิครนถ์นาฏบุตร
ทำกาลแล้วไม่นานที่นครปาวา เพราะกาลกิริยาของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น
พวกนิครนถ์จึงแตกกัน เกิดแยกกันเป็นสองพวก ฯลฯ เป็นธรรมวินัยมีที่พำ
นักอันทำลายเสียแล้วเป็น ธรรมวินัยไม่มีที่พึ่งอาศัย ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้ย่อมเป็นเช่นนั้น ในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี
ไม่เป็นธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ไม่ใช่
ธรรมที่ท่านผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย
ส่วนธรรมนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายตรัสไว้ดีแล้ว
ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ
ระงับ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ พวกเราทั้งหมดด้วยกัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 161
ถึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะ
พึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุข
แก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ธรรม
อะไรเล่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายตรัสไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดี
แล้ว เป็นธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสัง-
คายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน
ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก
เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๑
[๒๒๖] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๑ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้
โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่ง
แย่งกันในธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ จะพึงยั่งยืนตั้งอยู่นานนั้น พึง
เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความ
อนุเคราะห์แก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม ๑ เป็นไฉน. คือ
สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺิติกา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ด้วยอาหาร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 162
สพฺเพ สตฺตา สงฺขารฏฺิติกา
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ดำรงอยู่ด้วยสังขาร
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหนึ่งนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบ
แล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรม
นั้น การที่พรหมจรรย์นี้จะพึงยั่งยืน ตั้งอยู่นานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก เพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด ๑
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๒
[๒๒๗] ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๒ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้
โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงกล่าวแก่ง
แย่งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม ๒ เป็นไฉน. คือ นาม และ รูป ๑.
อวิชชา และ ภวตัณหา ๑. ภวทิฏฐิ และ วิภวทิฏฐิ ๑. อหิริกะ ความไม่
ละอาย และ อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัว ๑. หิริ ความละอาย และ
โอตตัปปะ ความเกรงกลัว ๑. โทวจัสสตา ความเป็นผู้ว่ายาก และ
ปาปมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑. โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่าย และ
กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑. อาปัตติกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาด
ในอาบัติ และ อาปัตติวุฏฐานกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 163
อาบัติ ๑. สมาปัตติกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ และ สมาปัตติ-
วุฏฐานกุสลดา ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ ๑. ธาตุกุสลตา
ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ และ มนสิการกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดใน
มนสิการ ๑. อายตนกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ และ ปฎิจจ-
สมุปปาทกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ๑. ฐานกุสลตา ความ
เป็นผู้ฉลาดในฐานะ และ อัฏฐานกุสลตา ความเป็นผู้ฉลาดในอัฏฐานะ ๑.
อาชชวะ ความซื่อตรง และ มัททวะ ความอ่อนน้อม ๑. ขันติ ความ
อดทน และ โสรัจจะ ความเสงี่ยม ๑. สาขัลยะ การกล่าววาจาอ่อนหวาน
และ ปฏิสันถาร การต้อนรับ ๑. อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน และ
โสเจยยะ ควานสะอาด ๑. มุฏฐสัจจะ ความเป็นผู้มีสติหลงลืม และ
อสัมปชัญญะ ความเป็นผู้ไม่รู้ตัว ๑. สติ ความระลึกได้ และ สัมปชัญญะ
ความรู้ตัว ๑. อินทริเยสุ อคุตตทวารตา ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย และ โภชเนอมัตตัญญุตา ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณใน
โภชนะ ๑. อินทริเยสุ อคุตตทวารตา ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
ทั้งหลาย และ โภชเนอมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑.
ปฏิสังขานพล กำลังการพิจารณา และ ภาวนาพล กำลังการอบรม ๑.
สติพล กำลังคือสติ และ สมาธิพล กำลังคือสมาธิ ๑. สมถะ และ
วิปัสนา ๑. สมถนิมิต นิมิตที่เกิดเพราะสมถะ และ ปัคคหนิมิต นิมิตที่
เกิดเพราะความเพียร ๑. ปัคคหะ ความเพียร และ อวิกเขปะ ความไม่
ฟุ้งซ่าน ๑. สีลวิบัติ ความวิบัติแห่งศีล และ ทิฏฐิวิบัติ ความวิบัติแห่งทิฐิ ๑.
สีลสัมปทา ความถึงพร้อมแห่งศีล และ ทิฏฐิสัมปทา ความถึงพร้อมแห่ง
ทิฐิ ๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล และ ทิฏฐิวิสุทธฺ ความหมดจดแห่ง
ทิฐิ ๑. ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฐิ และ ทิฏฐิปธาน ความเพียร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 164
ของผู้มีทิฐิ ๑. สเวโค จ สเวชนีเยสุ ฐาเนสุ ความสลดใจในสถานที่
ควรสลด และ สวิคฺคสฺส จ โยนิโส ปธาน ความเพียรโดยแยบคายของผู้
สลดใจ ๑. อสนฺตุฏฺิตา จ กุ เลสุ ธมฺเมสุ ความเป็นผู้ไม่สันโดษใน
กุศลธรรมทั้งหลาย และ อปฺปฏิวานิตา จ ปธานสฺมึ ความเป็นผู้ไม่ท้อถอย
ในความเพียร ๑. วิชชา และ วิมุตฺติ ๑. ขยญาณ ความรู้ในความสิ้นไป
และ อนุปฺปาทญาณ ความรู้ในความไม่เกิด ๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย
ธรรม ๒ นี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน
พึงสังคายนาไม่พึงกล่าวแก่งแย่งกันในธรรมนั้น ฯ ล ฯ เพื่อความสุข แก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.
จบสังคีติหมวด ๒
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๓
[๒๒๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๓ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้
โดยชอบมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนาในธรรมนั้น ฯลฯ
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
ธรรม ๓ เป็น ไฉน. คือ
อกุศลมูล
๑. โลภะ ความโลภ
๒. โทสะ ความโกรธ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 165
๓. โมหะ ความหลง
กุศลมูล ๓
๑. อโลภะ ความไม่โลภ
๒. อโทสะ ความไม่โกรธ
๓. อโมหะ ความไม่หลง.
ทุจริต ๓
๑. กายทุจริต ความประพฤติชั่วทางกาย
๒. วจีทุจริต ความประพฤติชั่วทางวาจา
๓. มโนทุจริต ความประพฤติชั่วทางใจ.
สุจริต ๓
๑. กายสุจริต ความประพฤติชอบทางกาย
๒. วจีสุจริต ความประพฤติชอบทางวาจา
๓. มโนสุจริต ความประพฤติชอบทางใจ.
อกุศลวิตก ๓
๑. กามวิตก ความตริในกาม
๒. พยาบาทวิตก ความตริในพยาบาท
๓. วิหิงสาวิตก ความตริในการเบียดเบียน
กุศลวิตก ๓
๑. เนกขัมมวิตก ความตริในทางออกจากกาม
๒. อัพยาบาทวิตก ความตริในทางไม่พยาบาท
๓. อวิหิงสาวิตก ความตริในทางไม่เบียดเบียน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 166
อกุศลกังกัปปะ ๓
๑. กามสังกัปปะ ความดำริในกาม
๒. พยาบาทสังกัปปะ ความดำริในพยาบาท
๓. วิหิงสาสังกัปปะ ความดำริในการเบียดเบียน.
กุศลสังกัปปะ ๓
๑. เนกขัมมสังกัปปะ ความดำริในทางออกจากกาม
๒. อัพพยาบาทสังกัปปะ ความดำริในทางไม่พยาบาท
๓. อวิหิงสาสังกัปปะ ความดำริในทางไม่เบียนเบียน.
อกุศลสัญญา ๓
๑. กามสัญญา ความจำได้ในทางกาม
๒. พยาบาทสัญญา ความจำได้ในทางพยาบาท
๓. วิหิงสาสัญญา ความจำได้ในทางเบียดเบียน.
กุศลสัญญา ๓
๑. เนกขัมมสัญญา ความจำได้ในทางออกกาม
๒. อัพพาบาทสัญญา ความจำได้ในทางไม่พยาบาท
๓. อวิหิงสาสัญญา ความจำได้ในทางไม่เบียนเบียน.
อกุศลธาตุ ๓
๑. กามธาตุ ธาตุคือกาม
๒. พยาบาทธาตุ ธาตุคือความพยาบาท
๓. วิหิงสาธาตุ ธาตุคือความเบียดเบียน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 167
กุศลธาตุ ๓
๑. เนกขัมมธาตุ ธาตุคือความออกจากกาม
๒. อัพพาบาทธาตุ ธาตุคือความไม่พยาบาท
๓. อวิหิงสาธาตุ ธาตุคือความไม่เบียดเบียน
ธาตุอีก ๓
๑. กามธาตุ ธาตุคือกาม
๒. รูปธาตุ ธาตุคือรูป
๓. อรูปธาตุ ธาตุคืออรูป
ธาตุอีก ๓
๑. รูปธาตุ ธาตุคือรูป
๒. อรูปธาตุ ธาตุคืออรูป
๓. นิโรธธาตุ ธาตุคือความดับทุกข์
ธาตุอีก ๓
๑. หีนธาตุ ธาตุอย่างเลว
๒. มัชฌิมธาตุ ธาตุอย่างกลาง
๓. ปณีตธาตุ ธาตุอย่างประณีต.
ตัณหา ๓
๑. กามตัณหา ตัณหาในกาม
๒. ภวตัณหา ตัณหาในภพ
๓. วิภวตัณหา ตัณหาในวิภพ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 168
ตัณหาอีก ๓
๑. กามตัณหา ตัณหาในกาม
๒. รูปตัณหา ตัณหาในรูป
๓. อรูปตัณหา ตัณหาในอรูป.
ตัณหาอีก ๓
๑. รูปตัณหา ตัณหาในรูป
๒. อรูปตัณหา ตัณหาในอรูป
๓. นิโรธตัณหา ตัณหาในความดับ.
สังโยชน์ ๓
๑. สักกายทิฏฺฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถือด้วยอำนาจศีลพรต.
อาสวะ ๓
๑. กามาสวะ อาสวะเป็นเหตุอยากได้
๒. ภวาสวะ อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น
๓. อวิชชาสวะ อาสวะคือความไม่รู้.
ภพ ๓
๑. กามภพ ภพที่เป็นกามาวจร
๒. รูปภพ ภพที่เป็นรูปาวจร
๓. อรูปภพ ภพที่เป็นอรูปาวจร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 169
เอสนา ๓
๑. กาเมสนา การแสวงหากาม
๒. ภเวสนา การแสวงหาภพ
๓. พรหมจริเยสนา การแสวงหาพรหมจรรย์.
วิธามานะ ๓
๑. เสยฺโยหมสฺสีติ วิธา ถือว่าเราดีกว่าเขา
๒. สทิโสหมสฺมีติ วิธา ถือว่าเราเสมอเขา
๓. หีโนหมสฺมีติ วิธา ถือว่าเราเลวกว่าเขา.
อัทธา ๓
๑. อตีตอัทธา อดีตกาล
๒. อนาคตอัทธา อนาคตกาล
๓. ปัจจุบันนอัทธา ปัจจุบันกาล.
อันตะ ๓
๑. สักกายอันตะ ส่วนที่ถือว่าเป็นกายตน
๒. สักกายสมุทยอันตะ ส่วนที่ถือว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดกายตน
๓. สักกายนิโรธอันตะ ส่วนที่ถือว่าเป็นเครื่องดับกายตน.
เวทนา ๓
๑. สุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข
๒. ทุกขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์
๓. อทุกขมสุขเวทนา ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 170
ทุกขตา ๓
๑. ทุกขทุกขตา ความเป็นทุกข์เพราะทนได้ยาก
๒. สังขารทุกขตา ความเป็นทุกข์เพราะการปรุงแต่ง
๓. วิปริณามทุกขตา ความเป็นทุกข์เพราะความแปรปรวน.
ราสี ๓
๑. มิจฉัตตนิยตราสี กองคือความผิดที่แน่นอน
๒. สัมมัตตนิยตราสี กองคือความถูกที่แน่นอน
๓. อนิยตราสี กองคือความไม่แน่นอน.
กังขา ๓
๑. ปรารภอดีตกาลแล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปักใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส
๒. ปรารภอนาคตกาลแล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปักใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส
๓. ปรารภปัจจุบันกาลแล้ว สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปักใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส
ข้อที่ไม่ต้องรักษาพระตถาคต ๓ อย่าง
๑. พระตถาคตมีกายสมาจาร บริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ
ประพฤติชั่วทางกายที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่น ๆ
อย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่วทางกายของเรานี้
๒. พระตถาคตมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ
ประพฤติชั่วทางวาจาที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่น ๆ
อย่าได้รู้ถึงความชั่วทางวาจาของเรานี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 171
๓. พระตถาคตมีมโนสมาจารบริสุทธิ์ พระตถาคตมิได้มีความ
ประพฤติชั่วทางใจ ที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า คนอื่น ๆ
อย่าได้รู้ถึงความประพฤติชั่วทางใจของเรานี้.
กิญจนะ ๓
๑. ราคกิญจนะ เครื่องกังวล คือราคะ
๒. โทสกิญจนะ เครื่องกังวล คือโทสะ
๓. โมหกิญจนะ เครื่องกังวล คือโมหะ.
อัคคี ๓
๑. ราคัคคิ ไฟคือราคะ
๒. โทสัคคิ ไฟคือโทสะ
๓. โมหัคคิ ไฟคือโมหะ
อัคคีอีก ๓
๑. อาหุเนยยัคคิ ไฟคืออาหุเนยยบุคคล
๒. ทักขิเณยยัคคิ ไฟคือทักขิเณยยบุคคล
๓. คหปตัคคิ ไฟคือคฤหบดี.
รูปสังคหะ ๓
๑. สนิทัสสนสัปปฏิฆรูป รูปที่เห็นได้และกระทบได้
๒. อนิทัสสนสัปปฏิฆรูป รูปที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้
๓. อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป รูปที่เห็นไม่ได้ ทั้งกระทบไม่ได้.
สังขาร ๓
๑. ปัญญาภิสังขาร อภิสังขาร คือ บุญ
๒. อปุญญาภิสังขาร อภิสังขาร คือ บาป
๓. อเนญชาภิสังขาร อภิสังขาร คือ อเนญชา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 172
บุคคล ๓
๑. เสกขบุคคล บุคคลผู้ยังต้องศึกษา
๒. อเสกขบุคคล บุคคลผู้ไม่ต้องศึกษา
๓. เนวเสกขานาเสกขบุคคล บุคคลผู้ยัง
ต้องศึกษา ก็ไม่ใช่ ผู้ไม่ต้องศึกษาก็ไม่ใช่.
เถระ ๓
๑. ชาติเถระ พระเถระโดยชาติ
๒. ธรรมเถระ พระเถระโดยธรรม
๓. สมมติเถระ พระเถระโดยสมมติ.
บุญกิริยาวัตถุ ๓
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา.
โจทนาวัตถุ ๓
๑. ทิฏเฐน โจทน์ด้วยได้เห็น
๒. สุเตน โจทน์ด้วยได้ยินได้ฟัง
๓. ปริสงฺกาย โจทน์ด้วยความรังเกียจ.
กามอุบัติ ๓
๑. สัตว์ประเภทที่มีการปรากฏมีอยู่ สัตว์เหล่านั้น ย่อมยังอำนาจ
ให้เป็นไปในกามทั้งหลายที่ปรากฏแล้ว เช่นมนุษย์ เทพบางจำพวก และ
วินิบาตบางจำพวก
๒. สัตว์ประเภทที่นิรมิตกามได้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นนิรมิตแล้วๆ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 173
ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามทั้งหลาย เช่นเทพเหล่านิมมานรดี
๓. สัตว์ประเภทที่ผู้อื่นนิรมิตกามให้มีอยู่ สัตว์เหล่านั้นย่อมยัง
อำนาจให้เป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้เเล้ว เช่นเทพเหล่าปรนิมมิตวสวดี.
สุขอุบัติ ๓
๑. สัตว์พวกที่ยังความสุขให้เกิดขึ้น ๆ แล้วย่อมอยู่เป็นสุขมีอยู่
เช่นพวกเทพเหล่าพรหมกายิกา
๒. สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์เหล่า
นั้น บางคราวเปล่งอุทานในที่ไหนๆ ว่า สุขหนอ ๆ ดังนี้ เช่นเทพเหล่า
อาภัสสรา
๓. สัตว์พวกที่อิ่มเอิบบริบูรณ์ถูกต้องด้วยความสุขมีอยู่ สัตว์เหล่า
นั้นสันโดษ เสวยความสุขทางจิตอันประณีตเท่านั้น เช่น เทพเหล่า
สุภกิณหา.
ปัญญา ๓
๑. เสกขปัญญ ปัญญาที่เป็นของพระเสขะ
๒. อเสกขปัญญา ปัญญาที่เป็นของพระอเสขะ
๓. เนวเสกขานาเสกขปัญญา ปัญญาที่เป็นของ
พรเสขะก็ไม่ใช่ ของพระอเสขะก็ไม่ใช่.
ปัญญาอีก ๓
๑. จินตามยปัญญา ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด
๒. สุตมยปัญญา ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 174
๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม.
อาวุธ ๓
๑. สุตาวุธ อาวุธ คือการฟัง
๒. ปวิเวกาวุธ อาวุธ คือความสงัด
๓. ปัญญาวุธ อาวุธ คือปัญญา.
อินทรีย์ ๓
๑. อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อินทรีย์ที่เกิดแก่ผู้ปฏิบัติ
ด้วยคิดว่า เราจักรู้ธรรมที่เรายังไม่รู้
๒. อัญญินทรีย์ อินทรีย์ คือความรู้
๓. อัญญาตาวินทรีย์ อินทรีย์ในธรรมที่รู้แล้ว.
จักษุ ๓
๑. มังสจักขุ ตาเนื้อ
๒. ทิพยจักขุ ตาทิพย์
๓. ปัญญาจักขุ ตาคือปัญญา.
สิกขา ๓
๑. อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลยิ่ง
๒. อธิจิตตสิกขา สิกขาคือจิตยิ่ง
๓. อธิปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญายิ่ง.
ภาวนา ๓
๑. กายภาวนา การอบรมกาย
๒. จิตตภาวนา การอบรมจิต
๓. ปัญญาภาวนา การอบรมปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 175
อนุตตริยะ ๓
๑. ทัสสนานุตตริยะ ความเห็นอย่างยอดเยี่ยม
๒. ปฏิปทานุตตริยะ ความปฏิบัติอย่างยอดเยี่ยม
๓. วิมุตตานุตตริยะ ความพ้นอย่างยอดเยี่ยม.
สมาธิ ๓
๑. สวิตักกวิจารสมาธิ สมาธิที่ยังมีวิตกวิจาร
๒. อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร
๓. อวิตักกวิจารสมาธิ สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจาร.
สมาธิอีก ๓
๑. สุญญตสมาธิ สมาธิที่ว่างเปล่า
๒. อนิมิตตสมาธิ สมาธิที่หานิมิตมิได้
๓. อัปปณิหิตสมาธิ สมาธิที่หาที่ตั้งมิได้.
โสเจยยะ ๓
๑. กายโสเจยยะ ความสะอาดทางกาย
๒. วจีโสเจยยะ ความสะอาดทางวาจา
๓. มโนโสเจยยะ ความสะอาดทางใจ.
โมนยยะ ๓
๑. กายโนเนยยะ ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางกาย
๒. วจีโมเนยยะ ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางวาจา
๓. มโนโมเนยยะ ธรรมที่ทำให้เป็นมุนีทางใจ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 176
โกสัลละ ๓
๑. อายโกสัลละ ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ
๒. อปายโกสัลละ ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม
๓. อุปายโกสัลละ ความเป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ
และความเสื่อม.
มทะ ๓
๑. อาโรคยมทะ ความเมาในความไม่มีโรค
๒. โยพพนมทะ ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว
๓. ชาติมทะ ความเมาในชาติ.
อธิปไตย ๓
๑. อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่
๒. โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่
๓. ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่.
กถาวัตถุ ๓
๑. ปรารภกาลส่วนอดีต กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ล่วงไปแล้วได้มีแล้วอย่างนี้
๒. ปรารภกาลส่วนอนาคต กล่าวถ้อยคำว่า กาลที่ยังไม่มาถึง จักมีอย่างนี้
๓. ปรารถนากาลส่วนที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในบัดนี้ กล่าวถ้อยคำว่า กาลส่วน
ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าบัดนี้เป็นอยู่อย่างนี้.
วิชชา ๓
๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้จักระลึกชาติในก่อนได้
๒. จุตูปปาตญาณ ความรู้จักกำหนดจุติและอุบัติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 177
ของสัตว์ทั้งหลาย
๓. อาสวักขยาญาณ ความรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป.
วิหารธรรม ๓
๑. ทิพพวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของเทวดา
๒. พรหมวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม
๓. อริยวิหาร ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ.
ปาฏิหาริยะ ๓
๑. อิทธิปาฏิหาริยะ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์
๒. อาเทสนาปฏิหาริยะ ดักใจเป็นอัศจรรย์
๓. อนุสาสนีปาฏิหาริยะ คำสอนเป็นอัศจรรย์.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมมีประเภทอย่างละ ๓ เหล่านี้แล อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา
ไม่ควรแก่งแย่งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อ
ความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด ๓
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 178
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๔
[๒๒๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้
โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงแก่ง
แย่งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม ๔ เป็นไฉน. คือ
สติปัฏฐาน ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารเห็น
กายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และ
โทมนัส ในโลกเสียได้.
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยได้พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัส ในโลกเสียได้.
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น
จิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้.
๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 179
[๒๓๐] สัมมัปปธาน ๔
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะให้
เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต ตั้งใจมั่น เพื่อความไม่
เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด
๒. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
ตั้งใจมั่น เพื่อละธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
๓. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
ตั้งใจมั่น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด
๔. ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต
ตั้งใจมั่น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อไม่เลือนลาง เพื่อจำเริญยิ่ง เพื่อความ
ไพบูลย์ เพื่อเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.
[๒๓๑] อิทธิบาท ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ
อิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร
๒. ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร
๓. ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยจิตสมาธิปธานสังขาร
๔. ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธานสังขาร.
[๒๓๒] ฌาน ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุข เกิด
แต่วิเวกอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 180
๒. บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่
๓. มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ
ปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
๔. บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุสติบริสุทธิ์อยู่.
[๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่.
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่.
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่.
๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม เป็นไฉน. ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร ฯลฯ บรรลุจตุตถฌานอยู่ สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 181
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน. ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้
กลางวันอย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น.
มีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้มีแสงสว่างด้วยประการฉะนี้
สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ
ได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน. เวทนาทั้งหลาย้อนภิกษุใน
พระรรรมวินัยนี้รู้แล้วย่อมเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่ย่อมถึงความดับสัญญาทั้งหลาย
อันภิกษุรู้แล้ว ย่อมเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลาย อัน
ภิกษุรู้แล้ว ย่อมเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ สมาธิภาวนานี้อัน
ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไฉน. ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มีปกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปา-
ทานขันธ์ห้าว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป ดังนี้ความดับแห่งรูป.
ดังนี้เวทนา... ดังนี้สัญญา. . . ดังนี้สังขาร. . . ดังนี้วิญญาณ. ดังนี้ ความเกิด
ขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรม
แล้ว ต่ำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความในรูปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 182
[๒๓๔] อัปปมัญญา ๔
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วย
เมตตา แผ่ไปตลอดทิศ หนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์
ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน โดยความเป็นตนในสัตว์ทั้งปวง ด้วยใจประกอบ
ด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความ
เบียดเบียนอยู่.
๒. มีใจประกอบด้วยกรุณา ...
๓. มีใจประกอบด้วยมุทิตา...
๔. มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง
ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องต้น เบื้องล่าง เบื้องขวา
แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถานโดยความเป็นคนในสัตว์
ทั้งปวง ด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หา
ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่.
[๒๓๕] อรูป ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพราะล่วงเสียซึ่งรูป
สัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับซึ่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนา
นัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด
มิได้ ดังนี้อยู่
๒. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึง
เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สิ้นสุดมิได้ ดังนี้อยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 183
๓. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้า
ถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่
๔. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้า
ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่.
[๒๓๖] อปัสเสนะ ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้ว
เสพของอย่างหนึ่ง
๒. พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง
๓. พิจารณาแล้วเว้นของอย่างหนึ่ง
๔. พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง.
[๒๓๗] อริยวงศ์
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวรตามมีตามได้และมีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมี
ตามได้ และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควร ไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งจีวร
และไม่ได้จีวรก็ไม่เดือดร้อน และได้จีวรแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่หมกหมุ่น
ไม่ติดแน่น มีปกติ เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่
กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็
ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษด้วย
จีวรนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตาม
มีตามได้ และมีปกติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้
และย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควรไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
และไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่เดือดร้อน และได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 184
ไม่หมกหมุ่น ไม่ติดแน่น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก
บริโภคอยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษ ด้วยบิณฑบาต
ตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น
ในสันโดษด้วยบิณฑบาตนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่า
อันยอดเยี่ยม.
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะ
ตามมีตามได้ และมีสติกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมี
ตามได้ ย่อมไม่ถึงการแสวงหาที่ไม่ควรไม่เหมาะ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
และไม่ได้เสนาสนะก็ไม่เดือดร้อน และได้เสนาสนะ แล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะ ไม่
หมกหมุ่น ไม่ติดแน่น มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภค
อยู่ กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นด้วยความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้
นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ในสันโดษ
ด้วยเสนาสนะนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่าอันยอดเยี่ยม.
๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี
ยินดีแล้วในปหานะ ย่อมเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในภาวนา
กับทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่มายินดี เพราะ
ความยินดีในปหานะ เพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี เพราะความ
ยินดีในภาวนานั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ
มีสติมั่นในปหานะและภาวนานั้น ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ของเก่า
อันยอดเยี่ยม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 185
[๒๓๘] ปธาน ๔
๑. สังวรปธาน เพียรระวัง
๒. ปหานปธาน เพียรละ
๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญ
๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอัน
ลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า
ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์. ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว. ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว.
ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว. รู้แจ้งธรรมด้วยใจ
แล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่
เมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำนั้น ชื่อว่า รักษามนินทรีย์ ชื่อว่า ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
นี้เรียกว่า สังวรปธาน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปหานปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมให้สิ้นไป ย่อมให้ถึง
ความไม่มีซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ฯลฯ ซึ่ง
พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ฯลฯ ซึ่งวิหิงสาวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้สิ้นไป
ย่อมให้ถึงความ ไม่มีซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ นี้เรียกว่า
ปหานปธาน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 186
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยความสงัดอาศัยความคลาย
กำหนัด อาศัยความดับ น้อมไปเพื่อความสละลง. ย่อมเจริญธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์. ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
ความสงัด อาศัยความคลายกำหนัด อาศัยความดับ อันน้อมไปเพื่อความ
สละลงนี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมตามรักษาสมาธินิมิต อันเจริญที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา
ปุฬวกสัญญา วินีลกสัญญา วิจฉิททกสัญญา อุทธุมาตกสัญญา นี้เรียกว่า
อนุรักขนาปธาน.
[๒๓๙] ญาณ ๔
๑. ธัมมญาณ ความรู้ในธรรม
๒. อันวยญาณ ความรู้ในการคล้อยตาม
๓. ปริจเฉทญาณ ความรู้ในการกำหนด
๔. สัมมติญาณ ความรู้ในสมมติ.
ญาณอีก ๔
๑. ทุกขญาณ ความรู้ในทุกข์
๒. ทุกขสมุทยญาณ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
๓. ทุกขนิโรธญาณ ความรู้ในการดับทุกข์
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ความรู้ในการปฏิบัติให้ถึงความ
ดับทุกข์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 187
[๒๔๐] องค์แห่งการบรรลุโสดาบัน ๔
๑. สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ
๒. สัทธัมมัสสวนะ การฟังพระสัทธรรม
๓. โยนิโสมนสิกการ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
[๒๔๑] องค์แห่งพระโสดาบัน ๔
๑. ก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระอริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้โลก เป็นนายสารถีฝึก
บุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระธรรม
ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน
พึงรู้เฉพาะตน
๓. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอย่างแน่นแฟ้นในพระสงฆ์ว่า
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ
เป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือ พระสงฆ์
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรรับของบูชา เป็นผู้ควรรับของต้อน
รับ เป็นผู้ควรรับของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นบุญเขตของชาวโลก
ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งกว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 188
๔. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาดไม่ทะลุ
ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ.
[๒๔๒] สามัญญผล ๔
๑. โสดาปัตติผล
๒. สกทาคามิผล
๓. อนาคามิผล
๔. อรหัตผล.
[๒๔๓] ธาตุ ๔
๑. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ ธาตุลม.
[๒๔๔] อาหาร ๔
๑. กวฬิงการาหาร อาหารคือ คำข้าวทั้งหยาบและละเอียด
๒. ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ
๓. มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา
๔. วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ.
[๒๔๕] วิญญาณฐิติ ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูปเมื่อตั้งอยู่ ย่อม
ตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 189
ความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์
๒. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา...
๓. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา...
๔. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้น
มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อม
ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์.
[๒๔๖] การถึงอคติ ๔
๑. ฉันทาคติ ถึงความลำเอียงเพราะความรักใคร่
๒. โทสาคติ ถึงความลำเอียงเพราะความโกรธ
๓. โมหาคติ ถึงความลำเอียงเพราะความหลง
๔. ภยาคติ ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว.
[๒๔๗] เหตุเกิดขึ้นแห่งตัณหา
๑. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร
๒. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
๓. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
๔. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งความต้องการ
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
[๒๔๘] ปฏิปทา ๔
๑. ทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
๒. ทุกขปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 190
๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้เร็ว
[๒๔๙] ปฏิปทาอีก ๔
๑. อักขมา ปฏิปทา ปฏิบัติไม่อดทน
๒. ขมา ปฏิปทา ปฏิบัติอดทน
๓. ทมา ปฏิปทา ปฏิบัติฝึก
๔. สมา ปฏิปทา ปฏิบัติระงับ
[๒๕๐] ธรรมบท ๔
๑. อนภิชฌา ความไม่เพ่งเล็ง
๒. อพยาบาท ความไม่พยาบาท
๓. สัมมาสติ ความระลึกชอบ
๔. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ.
[๒๕๑] ธรรมสมาทาน ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันและมี
ทุกข์เป็นวิบากต่อไปมีอยู่
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบัน แต่
มีสุขเป็นวิบากต่อไปมีอยู่
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน แต่มี
ทุกข์เป็นวิบากต่อไปมีอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 191
๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบัน แต่มี
สุขเป็นวิบากต่อไปมีอยู่.
[๒๕๒] ธรรมขันธ์ ๔
๑. ศีลขันธ์ หมวดศีล
๒. สมาธิขันธ์ หมวดสมาธิ
๓. ปัญญาขันธ์ หมวดปัญญา
๔. วิมุตติขันธ์ หมวดวิมุตติ
[๒๕๓] พละ ๔
๑. วิริยะพละ กำลังคือ ความเพียร
๒. สติพละ กำลังคือ สติ
๓. สมาธิพละ กำลังคือ สมาธิ
๔. ปัญญาพละ กำลังคือ ปัญญา.
[๒๕๔] อธิฏฐาน ๔
๑. ปัญญาธิฏฐาน อธิฐานคือ ปัญญา
๒. สัจจาธิฏฐาน อธิฐานคือ สัจจะ
๓. จาคาธิฏฐาน อธิฐานคือ จาคะ
๔. อุปสมาธิฏฐาน อธิฐานคือ อุปสมะ
[๒๕๕] ปัญหาพยากรณ์ ๔
๑. เอกังสพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องแก้โดยส่วนเดียว
๒. ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องย้อนถามแล้วจึงแก้
๓. วิภัชชพยากรณียปัญหา ปัญหาที่จะต้องจำแนกแล้วจึงแก้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 192
๔. ฐปนียปัญหา ปัญหาที่ควรงดเสีย
[๒๕๖] กรรม ๔
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายดำ มีวิบากเป็นฝ่ายดำมีอยู่
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นฝ่ายขาว มีวิบากเป็นฝ่ายขาว
มีอยู่
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมเป็นทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาว มีวิบาก
ทั้งฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่
๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมมีอยู่.
[๒๕๗ ] สัจฉิกรณียธรรม ๔
๑. บุพเพนิวาส พึงทำให้แจ้งด้วยสติ
๒. การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย พึงทำให้แจ้งด้วยจักษุ
๓. วิโมกข์แปด พึงทำให้แจ้งด้วยกาย
๔. ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย พึงทำให้แจ้งด้วยปัญญา.
[๒๕๘] โอฆะ ๔
๑. กาโมฆะ โอฆะคือกาม
๒. ภโวฆะ โอฆะคือภพ
๓. ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฐิ
๔. อวิชโชฆะ โอฆะคือวิชชา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 193
[๒๕๙] โยคะ ๔
๑. กามโยคะ โยคะคือกาม
๒. ภวโยคะ โยคะคือภพ
๓. ทิฏฐิโยคะ โยคะคือทิฐิ
๔. อวิชชาโยคะ โยคะคืออวิชชา.
[๒๖๐] วิสังโยคะ ๔
๑. กามโยควิสังโยคะ ความพรากจากกามโยคะ
๒. ภวโยควิสังโยคะ ความพรากจากภวโยคะ
๓. ทิฏฐิโยควิสังโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ
๔. อวิชชาโยควิสังโยคะ ความพรากจากอวิชชาโยคะ.
[๒๖๑] คันถะ ๔
๑. อภิชฌากายคันถะ เครื่องรัดกายคืออภิชฌา
๒. พยาบาทกายคันถะ เครื่องรัดกายคือพยาบาท
๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ เครื่องรัดกายคือสีลัพพตปรามาส
๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ เครื่องรัดกายคือความเชื่อแน่ว่า
สิ่งนี้เป็นจริง.
[๒๖๒] อุปาทาน ๔
๑. กามุปาทาน ถือมั่นกาม
๒. ทิฏฐุปาทาน ถือมั่นทิฐิ
๓. สีลัพพตุปาทาน ถือมั่นศีลและพรต
๔. อัตตวาทุปาทาน ถือมั่นวาทะว่าตน.
[๒๖๓] โยนิ ๔
๑. อัณฑชโยนิ กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในไข่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 194
๒. ชลาพุชโยนิ กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในครรภ์
๓. สังเสทชโยนิ กำเนิดของสัตว์ที่เกิดในเหงื่อไคล
๔. โอปปาติกโยนิ กำเนิดของสัตว์ที่เกิดผุดขึ้น.
[๒๖๔] การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔
สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา
เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา
นี้การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่หนึ่ง.
๒. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัว ก้าวลงสู่ครรภ์มารดา
แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์
มารดา นี้การก้าวลงสู่ครรภ์มารดาข้อที่สอง.
๓. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็น
ผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่เป็นผู้ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้
การก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สาม.
๔. สัตว์บางชนิดในโลกนี้ เป็นผู้รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา เป็น
ผู้รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้การ
ก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่สี่.
[๒๖๕] การได้อัตภาพ ๔
๑. การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนอย่างเดียว ไม่ตรง
กับความจงใจของผู้อื่นมีอยู่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 195
๒. การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรงกับ
ความจงใจของตนมีอยู่.
๓. การได้อัตภาพที่ตรงกับความจงใจของตนด้วย ตรงกับความ
จงใจของผู้อื่นด้วยมีอยู่.
๔. การได้อัตภาพที่ไม่ตรงกับความจงใจของตนทั้งไม่ตรงกับ
ความจงใจของผู้อื่นมีอยู่.
[๒๖๖] ทักขิณาวิสุทธี ๔
๑. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
๒. ทักขิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
๓. ทักขิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก
๔. ทักขิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก.
[๒๖๗] สังคหวัตถุ ๔
๑. ทาน การให้เป็น
๒. ปิยวัชชะ เจรจาวาจาที่อ่อนหวาน
๓. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์
๔. สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอต้นเสมอปลาย
[๒๖๘] อนริยโวหาร ๔
๑. มุสาวาท พูดเท็จ
๒. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
๓. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
๔. สัมผัปปลาปา พูดเพ้อเจ้อ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 196
[๒๖๙] อริยโวหาร ๔
๑. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
๓. ผรุสาย วาจา เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ.
[๒๗๐] อนริยโวหารอีก ๔
๑. อทิฏฺเ ทิฏฺวาทิตา เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าได้เห็น
๒. อสฺสุเต สุตวาทิตา เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓. อมุเต มุตวาทิตา เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
๔. อวิญฺาเต วิญฺาตวาทิตาเมื่อไม่ได้รู้พูดว่าได้รู้
[๒๗๑] อริยโวหาร อีก ๔
๑. อทิฏฺเ ทิฏฺวาทิตา เมื่อไม่ได้เห็นพูดว่าได้เห็น
๒. อสฺสุเต สุตวาทิตา เมื่อไม่ได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓. อมุเต มุตวาทิตา เมื่อไม่ได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
๔. อวิญฺาเต วิญฺาตวาทิตา เมื่อไม่ได้รู้พูดว่าได้รู้
[๒๗๒] อนริยโวหารอีก ๔
๑. ทิฏเ อทิฏวาทิตา เมื่อได้เห็นพูดว่าไม่ได้เห็น
๒. สุเต อสฺสุตวาทิตา เมื่อได้ยินพูดว่าไม่ได้ยิน
๓. มุเต อมุตวาทิตา เมื่อได้ทราบพูดว่าไม่ได้ทราบ
๔. วิญฺาเต วิญฺาตวาทิตา เมื่อรู้พูดว่าไม่รู้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 197
[๒๗๓] อริยโวหารอีก ๔
๑. ทิฏฺเ ทิฏฺาวาทิตา เมื่อได้เห็นพูดว่าได้เห็น
๒. สุเต สุตวาทิตา เมื่อได้ยินพูดว่าได้ยิน
๓. มุเต มุตวาทิตา เมื่อได้ทราบพูดว่าได้ทราบ
๔. วิญฺาเต วิญฺาตวาทิตา เมื่อรู้พูดว่ารู้.
[๒๗๔ ] บุคคล ๔
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวน
ขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อน.
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เป็นผู้
ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน.
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน เป็นผู้ขวน
ขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่องทำตนให้เดือนร้อนด้วย เป็นผู้ทำให้
ผู้อื่นเดือนร้อน เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุ เป็นเครื่องทำให้ผู้อื่น
เดือดร้อนด้วย.
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้
ขวนขวายในการประกอบเหตุ เป็นเครื่องทำตนให้เดือดร้อนด้วย เป็นผู้
ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบเหตุเป็นเครื่อง
ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนด้วย เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เป็นผู้หายหิว ดับสนิท เยือกเย็น เสวยความสุข มีตนเป็นเสมือนพรหม
อยู่ในปัจจุบัน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 198
[๒๗๕] บุคคลอีก ๔
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ตน.
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ผู้อื่น.
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อ
ประโยชน์ผู้อื่นด้วย.
[๒๗๖] บุคคลอีก ๔
๑. ตโม ตมปรายโน ผู้มืดมา มืดไป
๒. ตโม โชติปรายโน ผู้มืดมา สว่างไป
๓. โชติ ตมปรายโน ผู้สว่างมา มืดไป
๔. โชติ โชติปรายโน ผู้สว่างมา สว่างไป
[๒๗๗] บุคคลอีก ๔
๑. สมณอจละ เป็นสมณะ ผู้ไม่หวั่นไหว
๒. สมณปทุมะ เป็นสมณะ เปรียบด้วยดอกบัวหลวง
๓. สมณปุณฑริกะ เป็นสมณะ เปรียบด้วยดอกบัวขาว
๔. สมเณสุ สมณสุขุมาละ เป็นสมณะ ผู้ละเอียดอ่อน
ในสมณะทั้งหลาย
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๔ เหล่านี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้
โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกันพึงสังคายนา ไม่พึงแก่งแย่งกันใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 199
ธรรมนั้น การที่พรหมจรรย์นี้ พึงยั่งยืน ตั้งอยู่นาน นั้นพึงเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่โลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด ๔
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๕
[๒๗๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม ๕ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสไว้โดย
ชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนาในธรรมนั้น ฯลฯ
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
ธรรม ๕ เป็นไฉน. คือ
ขันธ์ ๕
๑. รูปขันธ์ กองรูป
๒. เวทนาขันธ์ กองเวทนา
๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา
๔. สังขารขันธ์ กองสังขาร
๕. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ.
[๒๗๙] อุปาทานขันธ์ ๕
๑. รูปูปาทานขันธ์ กองยึดถือรูป
๒. เวทนูปาทานขันธ์ กองยึดถือเวทนา
๓. สัญญูปาทานขันธ์ กองยึดถือสัญญา
๔. สังขารูปาทานขันธ์ กองยึดถือสังขาร
๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ กองยึดถือวิญญาณ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 200
[๒๘๐] กามคุณ ๕
๑. รูปที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจักษุ ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร น่าชอบ
ใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
๒. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยหู.
๓. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยจมูก.
๔. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด.
[๒๘๑] คติ ๕
๑. นิรยะ นรก
๒. ติรัจฉายโยนิ กำเนิดเดียรฉาน
๓. เปตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต
๔. มนุสสะ มนุษย์
๕. เทวะ เทวดา.
[๒๘๒] มัจฉริยะ ๕
๑. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่
๒. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล
๓. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ
๔. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ
๕. ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม.
[๒๘๓] นิวรณ์ ๕
๑. กามฉันทะ ความพอใจ
๒. พยาบาท ความพยาบาท
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 201
๓. ถีนมิทธะ ความมีจิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
๕. วิจิกิจฉา ความสงสัย
[๒๘๔] โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน
๒. วิจิกิจฉา ความสงสัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถือด้วยศีล หรือพรต
๔. กามฉันทะ ความพอใจในกาม
๕. พยาบาท ความคิดแก้แค้นผู้อื่น
[๒๘๕] อุทธัมภาคียสังโยชน์ ๕
๑. รูปราคะ ความติดใจในรูป
๒. อรูปราคะ ความติดใจในอรูป
๓. มานะ ความถือตัว
๔. อุทธัจจะ ความคิดพล่าน
๕. อวิชชา ความไม่รู้.
[๒๘๖] สิกขาบท ๕
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. อทินนาทานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการประพฤติผิด
ในกาม
๔. มุสาวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ
๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการดื่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 202
น้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท.
[๒๘๗] อภัพพฐาน ๕
๑. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะแกล้งปลงสัตว์จากชีวิต
๒. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะลักทรัพย์อันเป็นส่วนแห่งความ
เป็นขโมย
๓. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะเสพเมถุนธรรม
๔. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะพูดเท็จทั้งที่รู้อยู่
๕. ภิกษุขีณาสพไม่สามารถที่จะกระทำการสั่งสม บริโภคกาม
เหมือนเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์อยู่.
[๒๘๘] พยสนะ ๕
๑. ญาติพยสนะ ความฉิบหายแห่งญาติ
๒. โภคพยสนะ ความฉิบหายแห่งโภค
๓. โรคพยสนะ ความฉิบหายเพราะโรค
๔. สีลพยสนะ ความฉิบหายแห่งศีล
๕. ทิฏฐิพยสนะ ความฉิบหายแห่งทิฏฐิ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุที่Iญาติฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่โภคะ
ฉิบหายก็ดี เพราะเหตุที่ฉิบหายเพราะโรคก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อมจะไม่เข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก. แต่เพราะ
เหตุที่ศีลพินาศ หรือเพราะเหตุที่ทิฏฐิพินาศ สัตว์ทั้งหลายย่อมจะเข้าถึง
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก.
[๒๘๙] สัมปทา ๕
๑. ญาติสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยญาติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 203
๒. โภคสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยโภคะ
๓. อาโรคยสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยความไม่มีโรค
๔. สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล
๕. ทิฏฐิสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งญาติสัมปทาก็ดี เพราะเหตุ
แห่งโภคสัมปทาก็ดี เพราะเหตุแห่งอาโรคยสัมปทาก็ดี สัตว์ทั้งหลาย ย่อม
จะไม่เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก. แต่เพราะ
เหตุสีลสัมปทา หรือ เพราะเหตุแห่งทิฏฐสัมปทา สัตว์ทั้งหลายจะเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก.
[๒๙๐] โทษแห่งศีลวิบัติ ๕
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย คนทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมเข้าถึง
ความเสื่อมแห่งโภคใหญ่ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้โทษแห่งศีลวิบัติของ
คนทุศีลข้อที่หนึ่ง.
๒. เกียรติศัพท์อันเสียหายของคนทุศีลมีศีลวิบัติย่อมระบือไป นี้
โทษแห่งศีลวิบัติของตนทุศีลข้อที่สอง.
๓. คนทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใด ๆ คือ ขัตติยบริษัท
พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้ไม่แกล้วกล้า
เป็นคนเก้อเขินเข้าไปหา นี้โทษแห่งศีลวิบัติของคนทุศีลข้อที่สาม.
๔. คนทุศีลมีศีลวิบัติย่อมเป็นคนหลงทำกาละ นี้โทษแห่งศีลวิบัติ
ของตนทุศีลข้อที่สี่.
๕. คนทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้โทษแห่งศีลวิบัติขอคนทุศีลข้อที่ห้า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 204
[๒๙๑] อานิสงฆ์แห่งศีลสมบัติ ๕
๑. ดูก่อน ผู้มีอายุทั้งหลาย คนมีศีลถึงพร้อมด้วยศีลในโลกนี้ ย่อม
ประสบกองแห่งโภคใหญ่ ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้อานิสงส์แห่งศีล
สมบัติของคนมีศีลข้อที่หนึ่ง.
๒. เกียรติศัพท์ที่ดีงามของตนมีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อม
ระบือไป นี้เป็นอานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สอง.
๓. คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใด ๆ คือ ขัตติย-
บริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท หรือสมณบริษัท เป็นผู้แกล้วกล้า
ไม่เก้อเขินเข้าไปหา นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของตนมีศีลข้อที่สาม.
คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลงทำกาละ นี้
อานิสงส์ของศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่สี่.
๕. คนมีศีลถึงพร้อมแล้วด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก นี้อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของคนมีศีลข้อที่ห้า.
[๒๙๒] ธรรมสำหรับโจทก์ ๕
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น
พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในภายในแล้ว จึงโจทผู้อื่น คือ
๑. เราจักกล่าวโดยกาลอันสมควร จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร
๒. เราจักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง
๓. เราจักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวคำหยาบ
๔. เราจักกล่าวด้วยคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำ
ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๕. เราจักกล่าวด้วยเมตตาจิต จักไม่กล่าวด้วยมีโทสะในภายใน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 205
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อันภิกษุผู้เป็นโจทก์ที่ประสงค์จะโจทผู้อื่น
พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในภายในแล้ว จึงโจทผู้อื่น.
[๒๙๓] องค์แห่งความเพียร ๕
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทรา
เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
๒. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยเตโชธาตุอันมี
วิบากเสมอกัน ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นอย่างกลาง ๆ ควรแก่ความเพียร
๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริงในพระ-
ศาสดา หรือสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย
๔. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อจะละอกุศลธรรม เพื่อจะยัง
กุศลธรรมให้ถึงพร้อมเป็นผู้มีกำลังใจ มีความบากบั่นไม่ทอดธุระในบรรดา
ธรรมที่เป็นกุศล
๕. เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นเกิดและดับอัน
ประเสริฐชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
[๒๙๐] สุทธาวาส ๕
๑. อวิหา ๓. สุทัสสา
๒. อตัปปา ๔. สุทัสสี
๕. อกนิฏฐา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 206
[๒๙๕] พระอนาคามี ๕
๑. อันตราปรินิพพายี ผู้ที่จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง
๒. อุปหัจจปรินิพพายี ผู้ที่จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้ว
๓. อสังขารปรินิพพายี ผู้ที่จะปรินิพพานไม่ต้องใช้ความเพียรนัก
๔. สสังขารปรินิพพานยี ผู้ที่จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียร
๕. อุทธังโสโต อกนิฏฐาคามี ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่ชั้นอกนิฏฐภพ.
[๒๙๖] เจโตขีลา ตะปูปักใจ ๕
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเคลือบ-
แคลงสงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา. จิตของภิกษุผู้เคลือบแคลง
สงสัย ไม่เชื่อแน่ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดาย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร
เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่
ตั้งมั่น ความที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบ
เนือง ๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น นี้เป็นตะปู
ปักใจข้อที่หนึ่ง.
๒. ภิกษุย่อมเคลือบแคลงในพระธรรม.
๓. ภิกษุย่อมเคลือบแคลงในพระสงฆ์.
๔. ภิกษุย่อมเคลือบแคลง สงสัยในสิกขา.
๕. ภิกษุเป็นผู้โกรธขัดเคือง มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเป็น
เสมือนตะปูในสพรหมจารีทั้งหลาย. จิตของภิกษุผู้โกรธขัดเคือง มีจิต
อันโทสะกระทบแล้ว มีจิตเสมือนตะปูในสพรหมจารีทั้งหลาย ย่อมไม่
น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความกระทำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 207
เป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรตั้งมั่น ความที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อ
ความเพียร เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ
เพื่อความเพียรตั้งมั่น นี้เป็นตะปูปักใจข้อที่ห้า.
[๒๙๗] วินิพันธา ความผูกพันใจ ๕
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ยังไม่
ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย ความกระวน-
กระวาย ความทะยานอยาก ในกามทั้งหลาย. ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุ
ใดเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ความพอใจ ความรัก ความกระหาย
ความกระวนกระวาย ความทะยานอยาก ในกามทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น
ย่อมไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความกระทำ
เป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ความที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อ
ความเพียร เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อ
ความเพียรที่ตั้งมั่น นี้ความผูกพันใจข้อที่หนึ่ง.
๒. ภิกษุเป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด . . .ในกาย . . .
๓. ภิกษุเป็นผู้ยิ่งไม่ปราศจากความกำหนัด . . .ในรูป . . .
๔. ภิกษุบริโภคอิ่มหนำพอแก่ความต้องการแล้ว ประกอบความสุข
ในการนอน ความสุขในการเอนข้าง ความสุขในการหลับ . . .
๕. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนา
หมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่ง
ด้วย ศีล พรต ตบะ หรือ พรหมจรรย์นี้ ดังนี้. ภิกษุใด ประพฤติ
พรหมจรรย์ปรารถนาหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า เราจักเป็นเทพเจ้า หรือเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 208
เทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล พรต ตบะ หรือพรหมจรรย์นี้ จิตของภิกษุ
นั้นย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนื่อง ๆ เพื่อความ
กระทำเป็นไปติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ความที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป
เพื่อความเพียร เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความกระทำเป็นไปติดต่อ
เพื่อความเพียรตั้งมั่น นี้ความผูกพันใจข้อที่ห้า.
[๒๙๘] อินทรีย์ ๕
๑. จักขุนทริย์ อินทรีย์ คือ ตา
๒. โสตินทริย์ อินทรีย์ คือ หู
๓. ฆานินทริย์ อินทรีย์ คือ จมูก
๔. ชิวหินทริย์ อินทรีย์ คือ ลิ้น
๕. กายยินทริย์ อินทรีย์ คือ กาย.
[๒๙๙] อินทรีย์อีก ๕
๑. สุขินทริย์ อินทรีย์ คือ สุข
๒. ทุกขินทริย์ อินทรีย์ คือ ทุกข์
๓. โสมนัสสินทรีย์ อินทรีย์ คือ โสมนัส
๔. โทมนัสสินทรีย์ อินทรีย์ คือ โทมนัส
๕. อุเปกขินทรีย์ อินทรีย์ คือ อุเบกขา.
[๓๐๐] อินทรีย์อีก ๕
๑. สัทธินทรีย์ อินทรีย์ คือ ศรัทธา
๒. วิริยินทรีย์ อินทรีย์ คือ วิริยะ
๓. สตินทรีย์ อินทรีย์ คือ สติ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 209
๔. สมาธินทรีย์ อินทรีย์ คือ สมาธิ
๕. ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ คือ ปัญญา.
[๓๐๑] นิสสารณียธาตุ ๕
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการ
ถึงกามทั้งหลาย จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษ
ในเพราะกามทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึงเนกขัมมะอยู่แล จิตย่อม
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะเนกขัมมะ จิตของเธอนั้นไป
ดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากกามทั้งหลาย
และเธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย
ซึ่งมีกามเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า
เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย.
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยิ่งมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความ
พยาบาทอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษใน
เพราะความพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความไม่พยาบาทอยู่แล จิตย่อม
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่พยาบาท จิตของเธอ
นั้นไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากความ
พยาบาท และ เธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย อันเป็นเหตุเดือดร้อน
กระวนกระวาย ซึ่งมีความพยาบาทเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวย
เวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความพยาบาท.
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงความ
เบียดเบียนอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษใน
เพราะความเบียดเบียน แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความไม่เบียดเบียนอยู่แล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 210
จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความไม่เบียดเบียน
จิตของเธอนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้ว
จากความเบียดเบียน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย อันเป็นเหตุ
เดือดร้อนกระวนกระวาย ซึ่งมีความเบียดเบียนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น และเธอ
ย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งความ
เบียดเบียน.
๔. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงรูป
ทั้งหลายอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษใน
เพราะรูปทั้งหลาย แต่เมื่อเธอมนสิการถึงอรูปอยู่แล จิตย่อมแล่นไป
เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะรูป จิตของเธอนี้ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว
ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้วจากรูปทั้งหลาย และเธอพ้นแล้ว
จากอาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุเดือดร้อน กระวนกระวาย ซึ่งมีรูปเป็น
ปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่อง
สลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เมื่อภิกษุมนสิการถึงกาย
ของตนอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่พ้นวิเศษในเพราะ
กายของตน แต่เมื่อเธอมนสิการถึงความดับแห่งกายของตนอยู่แล จิตย่อม
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ พ้นวิเศษในเพราะความดับแห่งกายของตน จิต
ของเธอนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกดีแล้ว พ้นวิเศษดีแล้ว พรากแล้ว
จากกายของตน และเธอพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันเป็นเหตุเดือดร้อน
กระวนกระวาย ซึ่งมีกายของตนเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เธอย่อมไม่เสวยเวทนา
นั้น ข้อนี้กล่าวได้ว่า เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกายของตน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 211
[๓๐๒] วิมุตตายตนะ ๕
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารี
รูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้. ภิกษุนั้นรู้แจ้งอรรถ และรู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่
พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู
แสดงแก่เธอ. ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถรู้แจ้งธรรม
ความอิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วย
ปีติ ย่อมสงบระงับเธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของ
เธอผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่หนึ่ง
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก พระศาสดา หรือเพื่อน
สพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งควรแก่ตำแหน่งครู ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ
เลย แต่เธอแสดงธรรมตามที่ได้ฟังแล้วตามที่ได้เรียนแล้วแก่คนอื่น ๆ โดย
พิสดาร . . .
๓. เธอกระทำการสาธยายธรรม ตามที่ได้ฟังแล้วตามที่ได้เรียน
แล้วโดยพิสดาร ฯลฯ
๔. เธอตรึกตรองด้วยใจ เพ่งตามด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังแล้ว
ตามที่ได้เรียนแล้ว ฯลฯ
๕. แต่ว่า เธอเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจ
ด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา. ภิกษุนั้นย่อมรู้
แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ได้เรียนสมาธินิมิ
อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี
ด้วยปัญญา. ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้แจ้งอรรถ รู้แจ้งธรรม ความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 212
อิ่มใจย่อมเกิดแก่เธอผู้ปราโมทย์แล้ว กายของเธอผู้มีใจประกอบด้วยปีติ
ย่อมสงบระงับ เธอผู้มีกายสงบระงับแล้ว ย่อมเสวยความสุข จิตของเธอ
ผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น นี้แดนวิมุตติข้อที่ห้า.
[๓๐๓] สัญญาที่ควรเจริญเพื่อความหลุดพ้นมี ๕ อย่าง
๑. อนิจจสัญญา ความสำคัญหมายในสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา ความสำคัญหมายในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่า
เป็นทุกข์
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา ความสำคัญหมายในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า
ไม่ใช่ตัวตน
๔. ปหานสัญญา ความสำคัญหมายในปหานะ
๕. วิราคสัญญา ความสำคัญหมายในการคลายกำหนัด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้โดย
ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดทีเดียว พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งในธรรมนั้น
การที่พรหมจรรย์นี้ยั่งยืนตั้งอยู่ตลอดกาลนานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อนุเคราะห์แก่
ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด ๕
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 213
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๖
[ ๓๐๔ ] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวด ๖ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัส
ไว้ชอบแล้วแล พวกเราทั้งหมด พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น
การที่พรหมจรรย์นี้ยั่งยืนตั้งอยู่ตลอดกาลนานนั้น พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์
แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความอนุเคราะห์แก่
ชาวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๖ เป็นไฉน.
อายตนะภายใน ๖
๑. จักขายตนะ อายตนะ คือ ตา
๒. โสตายตนะ อายตนะ คือ หู
๓. ฆานายตนะ อายตนะ คือ จมูก
๔. ชิวหายตนะ อายตนะ คือ ลิ้น
๕. กายายตนะ อายตนะ คือ กาย
๖. มนายตนะ อายตนะ คือ ใจ.
[๓๐๕] อายตนะภายนอก ๖
๑. รูปายตนะ อายตนะ คือ รูป
๒. สัททายตนะ อายตนะ คือ เสียง
๓. คันธายตนะ อายตนะ คือ กลิ่น
๔. รสายตนะ อายตนะ คือ รส
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 214
๕. โผฏฐัพพายตนะ อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ
๖. ธัมมายตนะ อายตนะ คือ ธรรม.
[๓๐๖] วิญญาณกาย คือ การประชุมวิญญาณ ๖
๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา
๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู
๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก
๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น
๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย
๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ.
[๓๐๗] ผัสสกาย การประชุมผัสสะ ๖
๑. จักขุสัมผัสส์ ความถูกต้องอาศัยตา ฯลฯ ๖. มโนสัมผัสส์
ความถูกต้องอาศัยใจ.
[๓๐๘] เวทนากาย การประชุมเวทนา ๖
๑. จักขุสัมผัสสขาเวทนา เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยตา
ฯลฯ ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยใจ.
[๓๐๙] สัญญากาย การประชุมสัญญา ๖
๑. รูปสัญญา สัญญาที่มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ ๖. ธัมมสัญญา
สัญญาที่มีธรรมเป็นอารมณ์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 215
[๓๑๐] สัญเจตนากาย การประชุมแห่งสัญเจตนา ๖
๑. รูปสัญเจตนา ความจงใจที่มีรูปเป็นอารมณ์ ฯลฯ ๖. ธัมม-
สัญเจตนา ความจงใจที่มีธรรมเป็นอารมณ์.
[๓๑๑] ตัณหากาย การประชุมตัณหา ๖
๑. รูปตัณหา ตัณหาเกิดขึ้นเพราะมีรูปเป็นอารมณ์
๒. สัททตัณหา ตัณหาเกิดขึ้นเพราะมีเสียงเป็นอารมณ์
๓. คันธตัณหา ตัณหาเกิดขึ้นเพราะมีกลิ่นเป็นอารมณ์
๔. รสตัณหา ตัณหาเกิดขึ้นเพราะมีรสเป็นอารมณ์
๕. โผฏฐัพพตัณหา ตัณหาเกิดขึ้นเพราะมีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
๖. ธัมมตัณหา ตัณหาเกิดขึ้นเพราะมีธรรมเป็นอารมณ์.
[๓๑๒] อคารวะ ความไม่เคารพ ๖
๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่
เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่
๒. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระธรรมอยู่
๓. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระสงฆ์อยู่
๔. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในสิกขาอยู่
๕. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่
๖. เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในปฏิสันถารอยู่.
[๓๑๓] สคารวะ ความเคารพ ๖
๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เคารพ
ยำเกรงในพระศาสดาอยู่
๒. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระธรรมอยู่
๓. เป็นผู้เคารพยำเกรงในพระสงฆ์อยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 216
๔. เป็นผู้เคารพยำเกรงในสิกขาอยู่
๕. เป็นผู้เคารพยำเกรงในความไม่ประมาทอยู่
๖. เป็นผู้เคารพยำเกรงในการปฏิสันถารอยู่.
[๓๑๔] โสมนัสสูปวิจาร วิจารสัมปยุตด้วยโสมนัส ๖
๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งความโสมนัส.
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว...
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว...
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว...
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว...
๖. รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความโสมนัส.
[๓๑๕] โทมนัสสูปวิจาร วิจารสัมปยุตด้วยโทมนัส ๖
๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว ใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส.
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว...
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว...
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว...
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว...
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โทมนัส.
[๓๑๖] อุเปกขูปวิจาร วิจารสัมปยุตด้วยอุเบกขา ๖
๑. เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมใคร่ครวญรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 217
๒. ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ...
๓. ได้ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว...
๔. ได้ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว...
๕. ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว. . .
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว ย่อมใคร่ครวญธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขา.
[๓๑๗] สาราณียธรรม ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง ๖
๑ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้ง
กายกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง ธรรมนี้ เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็นเครื่องกระทำให้
เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์
เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คือ ภิกษุในพระ
ธรรมวินัยนี้เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา. . .
๓. เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนสพรหมจารี
ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ธรรมแม้ข้อนี้ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความให้
ระลึกถึง ฯลฯ เป็นไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุได้ลาภอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยธรรม ได้มาโดยธรรม โดยที่สุดแม้เพียงอาหารใน
บาตร ไม่หวงกันด้วยลาภเห็นปานนั้น แบ่งปันกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย
ผู้มีศีล ธรรมแม้นี้ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง ฯลฯ เป็นไปเพื่อความ
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 218
๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คือว่า ภิกษุมีศีล
อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญู-
ชนสรรเสริญแล้ว ไม่เกี่ยวด้วยตัณหาและทิฏฐิ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ
ถึงความเป็นผู้มีศีลเสมอกันในศีลทั้งหลายเห็นปานนั้นกับเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลังอยู่ ธรรมแม้ข้อนี้ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความ
ให้ระลึกถึง ฯลฯ เป็นไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก คือ ทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง
อันเป็นของประเสริฐ เป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำออกเพื่อ
ความสิ้นทุกข์ โดยชอบแก่ผู้กระทำทิฏฐิอันนั้น มีอยู่ ภิกษุเป็นผู้ถึงความ
เสมอกันด้วยทิฏฐิในทิฏฐิเห็นปานนั้น กับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ทั้ง
ต่อหน้าและลับหลัง ธรรมแม้ข้อนี้ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง เป็น
เครื่องกระทำให้เป็นที่รัก เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไป
เพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน.
[๓๑๘] วิวาทมูล มูลแห่งการวิวาท ๖
๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
มักโกรธ เป็นผู้มักผูกโกรธไว้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มักโกรธ
มักผูกโกรธนั้น ย่อมไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมไม่
เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ใน
พระสงฆ์อยู่ ย่อมเป็นผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดาอยู่ ไม่เคารพ ไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 219
ยำเกรงในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา.
ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้ก่อความวิวาทในสงฆ์ ผู้ใดก่อความวิวาท ผู้นั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อมิใช่ความสุขแก่ชน
เป็นอันมาก เพื่อความพินาศแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์
เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ถ้าพวกท่านพิจารณาเห็นมูลแห่งความวิวาทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้ง
ภายนอก ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านก็จะพึงพยายามเพื่อละมูล
แห่งความวิวาทอันลามกนั้นนั่นแหละ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้า
พวกท่าน ไม่พิจารณาเห็นมูลแห่งความวิวาทเห็นปานนั้น ทั้งภายในและ
ภายนอก พวกท่านก็พึงปฏิบัติเพื่อมิให้มูลแห่งความวิวาทอันลามกนั้นนั่น
และเป็นไปต่อไป. การละวิวาทมูลอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
และความไม่เป็นไปต่อไปของวิวาทมูลอันลามกนั้น ย่อมมีด้วยประการฉะนี้.
๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้ลบหลู่ เป็นผู้ตีเสมอ. . .
๓. ภิกษุเป็นผู้มักริษยา เป็นผู้ตระหนี่ ...
๔. ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เป็นผู้มีมารยา. . .
๕. ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก มีความเห็นผิด. . .
๖. ภิกษุเป็นผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้น คลายได้ยาก.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยึดมั่นในความเห็นของตน มักถือรั้น
คลายได้ยาก ย่อมจะไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดาอยู่ ย่อมจะไม่
เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระธรรมอยู่ ย่อมไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 220
พระสงฆ์อยู่ ย่อมเป็นผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา. ดูก่อนท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย ภิกษุใดไม่เคารพ ไม่ยำเกรงแม้ในพระศาสดา แม้ใน
พระธรรม ฯลฯ แม้ในพระสงฆ์ ฯ ล ฯ เป็นผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์แม้
ในสิกขา. ภิกษุนั้น ย่อมก่อวิวาทในสงฆ์ ภิกษุใด ย่อมก่อวิวาท ภิกษุนั้น
ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อมิใช่ความสุขแก่ชน
เป็นอันมาก เพื่อความพินาศแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์
เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ถ้าพวกท่านพึงพิจารณาเห็นมูลแห่งวิวาทเห็นปานนี้ ทั้งภายในทั้งภายนอก.
พวกท่านก็พึงพยายามเพื่อละมูลแห่งวิวาทอันลามก นั้นนั่นแหละในที่
นั้นได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าพวกท่านไม่พึงพิจารณาเห็นมูลแห่ง
วิวาทเห็นปานนั้น ทั้งภายในทั้งภายนอก. พวกท่านก็พึงปฏิบัติ เพื่อความ
ไม่เกิดขึ้นต่อไปแห่งวิวาทมูลอันลามกนั้นนั่นแหละ.. เมื่อพยายามได้อย่างนี้
เธอย่อมละมูลแห่งวิวาทอันลามกนั้นได้ เมื่อเธอปฏิบัติอยู่อย่างนี้ มูลแห่ง
วิวาทอันลามกนั้นย่อมไม่มีต่อไปอีก.
[๓๑๙] ธาตุ ๖
๑. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน
๒. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ
๓. เตโชธาตุ ธาตุไฟ
๔. วาโยธาตุ ธาตุลม
๕. อากาสธาตุ ธาตุที่สัมผัสไม่ได้
๖. วิญญาณธาตุ ธาตุรู้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 221
[๓๒๐] นิสสารณียธาตุ ธาตุที่ควรเพื่อความออกไป ๖
๑. ดูก่อนท่านผู้ อายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าว
อย่างนี้ว่า ก็เจโตวิมุตติที่ประกอบด้วยเมตตาแล เราอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ทำให้เป็นดังยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้
ดังนี้. ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ อย่าได้พูดอย่างนั้น
อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย
เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนี้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อที่เธอกล่าวว่า เมื่อบุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยานแล้ว
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว ทำให้คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วซึ่ง
เจโตวิมุตติประกอบด้วยเมตตาอันใด ถึงอย่างนั้น พยาบาทจักครอบงำจิตของ
เขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเจโตวิมุตติประกอบด้วยเมตตานี้ เป็น
ธรรมเครื่องสลัด ซึ่งความพยาบาท.
๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าว
อย่างนี้ว่า เจโตวิมุตติประกอบด้วยกรุณาแล อันเราอบรมแล้ว กระทำให้
มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยานแล้ว กระทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว
สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็ยังครอบงำจิตของเรา
ตั้งอยู่ได้ ดังนี้. เธอควรลูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มี
พระภาคเจ้าอย่างนั้น เพราะการกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย พระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่ตรัส อย่างนั้น. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่เธอกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 222
เมื่อบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยานแล้ว กระทำ
ให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วซึ่งเจโตวิมุตติ
ประกอบด้วยกรุณา อันใด แต่ถึงอย่างนั้น วิเหสาก็จักครอบงำจิตของเราตั้ง
อยู่ได้ ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้. ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเจโตวิมุตติประกอบด้วยกรุณานี้ เป็นเครื่องสลัด
ออกซึ่งวิเหสา.
๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึง
กล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุตติประกอบด้วยมุทิตาแล อันเราอบรมแล้ว
กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยานแล้ว กระทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว
คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็ยังครอบงำ
จิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้. เธอพึงถูกกล่าวหาว่า ท่านอย่าพูดอย่างนั้น
ท่านผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการกล่าวตู่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัสอย่างนั้น. . ข้อที่ท่าน
กล่าวว่าบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยานแล้ว กระ-
ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้วซึ่งเจโตวิมุตติ
อันประกอบด้วยมุทิตา อันใด แต่ถึงอย่างนั้น อรติก็จักครอบงำจิตของเรา
ตั้งอยู่ได้ ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
เพราะว่าเจโตวิมุตติประกอบด้วยมุทิตานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอรติ.
๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ว่า เจโต
วิมุตติประกอบด้วยอุเบกขาแล อันเราอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ทำ
ให้เป็นดังยานแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น ราคะก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 223
เธอก็ควรถูกว่ากล่าวดังนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุ อย่าได้
กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะการกล่าวตู่พระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่พึงตรัสอย่างนี้. ดูก่อนท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย ข้อที่ท่านกล่าวว่า เมื่อบุคคลอบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว
กระทำให้เป็นดังยานแล้ว กระทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว
สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติประกอบด้วยอุเบกขา แต่ถึงอย่างนั้น
ราคะก็ยังครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ นั้น นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะเจโตวิมุตติ
ประกอบด้วยอุเบกขานี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งราคะ.
๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึง
กล่าวอย่างนี้ว่า เจโตวิมุตติที่ไม่มีนิมิตแล อันเราอบรมแล้ว กระทำให้
มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยานแล้ว กระทำให้เป็นที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่ว
แล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตาม
นิมิต ก็ยังมีอยู่แก่เรา ดังนี้ เธอควรถูกว่ากล่าวว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้
ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าว
ตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เป็นการดีเลย เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่
พึงตรัสอย่าง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อที่ท่านกล่าวว่า เมื่อบุคคล
อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยานแล้ว กระทำให้เป็น
ที่ตั้งแล้ว คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ซึ่งเจโตวิมุตติที่หา
นิมิตมิได้ แต่ถึงอย่างนั้น วิญญาณที่แล่นไปตามนิมิตก็จักมีแก่เขา ดังนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 224
นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย เจโตวิมุตติอันไม่มีนิมิตนี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งนิมิตทุกอย่าง.
๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าว
อย่างนี้ว่า เมื่อการถือว่าเรามีอยู่ ดังนี้ เมื่อการถือว่าเรา หมดไปแล้ว
เราก็มิได้พิจารณาเห็นว่า เรามีอยู่. แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือความเคลือบ
แคลงสงสัยก็ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ได้ ดังนี้. เธอก็ควรถูกว่ากล่าว
อย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุอย่าได้พูดอย่างนี้ อย่าได้
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นการไม่ดีเลย
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่พึงตรัสอย่างนี้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อที่ท่านกล่าวว่า เมื่อการถือว่าเรามีอยู่ ดังนี้หมดไปแล้ว และเมื่อเขา
ยังมิได้พิจารณาเห็นว่าเรามีอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลง
สงสัยก็จักครอบงำจิตของเขาตั้งอยู่ได้ ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะธรรมอัน
ถอนขึ้นซึ่งมานะในกาวถือว่าเรามีอยู่นี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งลูกศร คือ
ความเคลือบแคลงสงสัย.
[๓๒๑] อนุตตริยะ ๖
๑. ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันยอดเยี่ยม
๒. สวนานุตตริยะ การฟังอันยอดเยี่ยม
๓. ลาภานุตตริยะ การได้อันยอดเยี่ยม
๔. สิกขานุตตริยะ การศึกษาอันยอดเยี่ยม
๕. ปาริจริยานุตตริยะ การบำรุงอันยอดเยี่ยม
๖. อนุสสตานุตตริยะ การระลึกอันยอดเยี่ยม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 225
[๓๒๒] อนุสสติฐาน ๖
๑. พุทธานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
๒. ธัมมานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระธรรม
๓. สังฆานุสสติ การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
๔. สีลานุสสติ การระลึกถึงศีล.
๕. จาคานุสสติ การระลึกถึงการสละ
๖. เทวตานุสสติ การระลึกถึงเทวดา.
[๓๒๓] สตตวิหาร คือธรรมเครื่องอยู่ของพระขีณาสพ ๖
๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูป
ด้วยจักษุแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็นผู้วางเฉย มีสติ และ
สัมปชัญญะอยู่.
๒. ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว. . .
๓. ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว...
๔. ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว...
๕. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว...
๖. รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว. ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ แต่เป็น
ผู้วางเฉย มีสติและสัมปชัญญะอยู่.
[๓๒๔] อภิชาติ ๖
๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางตนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ
ประสบธรรมฝ่ายดำ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 226
๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ
ประสบธรรมฝ่ายขาว.
๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่ดำ
ประสบพระนิพพานซึ่งเป็นธรรมไม่ดำ ไม่ขาว.
๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่
ขาว ประสบธรรมฝ่ายขาว.
๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่
ขาว ประสบธรรมฝ่ายดำ.
๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดในที่
ขาว ประสบพระนิพพานซึ่งเป็นฝ่ายไม่ดำ ไม่ขาว.
[๓๒๕] นิพเพธภาคิยสัญญา ๖
๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมายในสังขารว่าเป็นของไม่
เที่ยง
๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา กำหนดหมาย ในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์
๓. ทุกเข อนัตตสัญญา กำหนดหมาย ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็น
อนัตตา
๔. ปหานสัญญา กำหนดหมายในการละ
๕. วิราคสัญญา กำหนดหมายในการคลายกำหนัด
๖. นิโรธสัญญา กำหนดหมายในการดับ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 227
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมหมวด ๖ เหล่านี้แล อันพระผู้มี
พระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
นั้น ตรัสไว้โดยชอบ พวกเราทั้งหมด พึงสังคายนาเป็นอันเดียวกัน ฯลฯ
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด ๖
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๗
[๓๒๖] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงรู้
ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ตรัสธรรมทั้งหลาย
๗ ไว้โดยชอบแล้วมีอยู่แล พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนาเป็น
อันเดียวกัน ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรมทั้งหลาย ๗ เป็นไฉน.
อริยทรัพย์ ๗
๑. สัทธาธนัง ทรัพย์ คือ ศรัทธา
๒. สีลธนัง ทรัพย์ คือ ศีล
๓. หิริธนัง ทรัพย์ คือ หิริ
๔. โอตตัปปธนัง ทรัพย์ คือ โอตตัปปะ
๕. สุตธนัง ทรัพย์ คือ สุตะ
๖. จาคธนัง ทรัพย์ คือ จาคะ
๗. ปัญญาธนัง ทรัพย์ คือ ปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 228
[๓๒๗] โพชฌงค์ ๗
๑. สติสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ สติ
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ ธัมมวิจยะ
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ วิริยะ
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ ปีติ
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ ปัสสัทธิ
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ สมาธิ
๗. อุเปกขาสัมโพชฌงค์ องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ คือ อุเบกขา.
[๓๒๘] สมาธิบริขาร ๗
๑. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ
๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
๕. สัมมาอาชีวะ อาชีวะชอบ
๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ.
[๓๒๙] อสัทธรรม ๗
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ไม่มีหิริ
๓. เป็นผู้ไม่มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีสุตะน้อย
๕. เป็นผู้เกียจคร้าน ๖. เป็นผู้มีสติหลงลืม
๗. เป็นผู้ไม่มีปัญญา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 229
[๓๓๐] สัทธรรม ๗
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีหิริ
๓. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๔. เป็นผู้มีพหูสูต
๕. เป็นผู้ปรารภความเพียร ๖. เป็นผู้มีสติมั่นคง
๗. เป็นผู้มีปัญญา.
[ ๓๓๑ ] สัปปุริสธรรม ๗
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. ธัมมัญญู เป็นผู้รู้จักเหตุ
๒. อัตถัญญู เป็นผู้รักจักผล
๓. อัตตัญญู เป็นผู้รู้จักตน
๔. มัตตัญญู เป็นผู้รู้จักประมาณ
๕. กาลัญญู เป็นผู้รู้จักกาลเวลา
๖. ปริสัญญู เป็นผู้รู้จักบริษัท
๗. ปุคคลัญญู เป็นผู้รู้จักบุคคล.
[๓๓๒] นิททสวัตถุ ๗
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการสมาทานสิกขา ทั้งในกาล
ต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในการสมาทาน
๒. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการไตร่ตรองธรรม ทั้งในกาล
ต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในการไตร่ตรองธรรม
๓. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปราบปรามความอยาก ทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 230
ในกาลต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในการปราบปรามความอยาก
๔. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการเร้นอยู่ ทั้งในกาลต่อไป ก็
เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในการเร้นอยู่
๕. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร ทั้งในกาล
ต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในการปรารภความเพียร
๖. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน ทั้ง
ในกาลต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในสติและปัญญาเครื่องรักษาตน
๗. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดซึ่งทิฏฐิ ทั้งในกาล
ต่อไป ก็เป็นผู้ไม่ปราศจากความรักในการแทงตลอดทิฏฐิ.
[ ๓๓๓ ] สัญญา ๗
๑. อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยง
๒. อนัตตสัญญา กำกนดหมายความเป็นอนัตตา
๓. อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งาม
๔. อาทีนวสัญญา กำหนดหมายโดยความเป็นโทษ
๕. ปหานสัญญา กำหนดหมายในการละ
๖. วิราคสัญญา กำหนดหมายในวิราคะ
๗. นิโรธสัญญา กำหนดหมายในนิโรธ.
[๓๓๔] พละ ๗
๑. สัทธาพละ ๒. วิริยพละ
๓. หิริพละ ๔. โอตตัปปพละ
๕. สติพละ ๖. สมาธิพละ
๗. ปัญญาพละ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 231
[๓๓๕] วิญญาณฐิติ ๗
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญา
ต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ เทพบางพวกและวินิปาติกะบางพวก นี้วิญญาณฐิติ
ข้อที่หนึ่ง.
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มีปัญญา
อย่างเดียวกัน เช่นเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหม ซึ่งเกิดในปฐมฌานภูมิ
นี้วิญญาณฐิติข้อที่สอง.
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพอาภัสสระ นี้วิญญาณฐิติข้อที่สาม.
๔. ก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพสุภกิณหา นี้วิญญาณฐิติข้อที่สี่.
๕. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ
ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการ
ทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา นี้วิญญาณ-
ฐิติข้อที่ห้า.
๖. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงอากาสานัญจาย-
ตนะโดยประการทั้งปวงแล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า
วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้วิญญาณฐิติข้อที่หก.
๗. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งก้าวล่วงวิญญาณัญจาย-
ตนะโดยประการทั้งปวงแล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่
มีอะไร นี้วิญญาณฐิติข้อที่เจ็ด.
[๓๓๖] ทักขิเณยยบุคคล ๗
๑. อุภโตภาควิมุตตะ ๒. ปัญญาวิมุตตะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 232
๓. กายสักขี ๔. ทิฏฐิปัตตะ
๕. สัทธาวิมุตตะ ๖. ธัมมานุสารี
๗. สัทธานุสารี.
[๓๓๗] อนุสัย ๗
๑. กามราคานุสัย ๒. ปฏิฆานุสัย
๓. ทิฏฐานุสัย ๔. วิจิกิจฉานุสัย
๕. มานานุสัย ๖. ภวราคานุสัย
๗. อวิชชานุสัย.
[๓๓๘] สัญโญชน์ ๗
๑. กามสัญโญชน์ ๒. ปฏิฆสัญโญชน์
๓. ทิฏฐิสัญโญชน์ ๔. วิจิกิจฉาสัญโญชน์
๕. มานสัญโญชน์ ๖. ภวราคสัญโญชน์
๗. อวิชชาสัญโญชน์.
[๓๓๙] อธิกรณสมถะ ๗
เพื่อความสงบ เพื่อความระงับอธิกรณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ
๑. พึงให้สัมมุขาวินัย
๒. พึงให้สติวินัย
๓. พึงให้อมุฬหวินัย
๔. พึงให้ทำตามปฏิญญา
๕. พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. พึงลงโทษตามคำผิด
๗. พึงใช้ติณวัตถารกวิธี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 233
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๗ เหล่านี้แล อันพระผู้มี
พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. พวกเราทั้งหมดพึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกันใน
ธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย
จบสังคีติหมวด ๗.
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๘
[๓๔๐] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๘ เหล่านี้แล
อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบ มีอยู่แล พวกเราทั้งหมดพึงสังคายนา ไม่
พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯ ล ฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข
แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม ๘ เป็นไฉน.
มิจฉัตตะ ๘
๑. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด
๒. มิจฉาสังกัปปะ ดำริผิด
๓. มิจฉาวาจา วาจาผิด
๔. มิจฉากัมมันตะ การงานผิด
๕. มิจฉาอาชีวะ อาชีวะผิด
๖. มิจฉาวายามะ พยายามผิด
๗. มิจฉาสติ สติผิด
๘. มิจฉาสมาธิ สมาธิผิด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 234
[๓๔๑] สัมมัตตะ ๘
๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ
๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ
๕. สัมมาอาชีวะ อาชีวะชอบ
๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ
๗. สัมมาสติ สติชอบ
๘. สัมมาสมาธิ สมาธิชอบ.
[ ๓๔๒ ] ทักขิเณยยบุคคล ๘
๑. ท่านที่เป็นพระโสดาบัน
๒. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง
๓. ท่านที่เป็นพระสกทาคามี
๔. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
๕. ท่านที่เป็นพระอนาคามี
๖. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
๗. ท่านที่เป็นพระอรหันต์
๘. ท่านที่ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง.
[๓๔๓] กุสีตวัตถุ ๘
๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องทำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 235
การงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงาน เมื่อเราทำการงาน
อยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หนึ่ง.
๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นอีก ภิกษุทำการงานเสร็จ
แล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้ว ก็เมื่อเราทำการงาน
อยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้วควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภ
ความเพียร ฯลฯ นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สอง.
๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกาย
จักเหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร
ฯลฯ นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สาม.
๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ร่างกาย
เหน็ดเหนื่อย ควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ
นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่สี่.
๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาต
ไปยังบ้าน หรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือ
ประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยว
บิณฑบาตไปยังบ้าน หรือนิคมไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 236
หรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ ร่ายกายของเราเหน็ดเหนื่อย ไม่ควร
แก่การงาน ควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯล ฯ
นี้วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่ห้า.
๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาต
ไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีต
เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาต
ไปยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือ
ประณีตเพียงพอแก่ความต้องการแล้ว ร่างกายของเราเหน็ดเหนื่อย ไม่
ควรแก่การงาน เหมือนถั่วราชมาสที่ชุ่มน้ำ ควรที่เราจะนอน. เธอก็
นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้ วัตถุแห่งความเกียจคร้านข้อที่หก.
๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นอีก มีอาพาธเพียงเล็กน้อย
เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่เราแล้ว
สมควรที่เราจะนอน. เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้ วัตถุ
แห่งความเกียจคร้านข้อที่เจ็ด.
๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุหายจากความเป็น
ไข้ได้ไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้ หายจากความเป็นไข้
ไม่นาน ร่ายกายของเรายังทุรพล ยังไม่ควรแก่การงาน ควรที่เราจะนอน.
เธอก็นอนเสีย ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง นี้วัตถุแห่งความ
เกียจคร้านข้อที่แปด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 237
[๓๔๔] อารัพภวัตถุ ๘
๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะต้อง
ทำการงาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องทำการงาน เมื่อเราทำ
การงานอยู่ เราไม่สะดวกที่จะมนสิการคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้
เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่
บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง นี้ วัตถุแห่งการปรารภ
ความเพียรข้อที่หนึ่ง.
๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุทำการงานสำเร็จ
แล้ว เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราทำการงานเสร็จแล้ว ก็เมื่อเราทำการงาน
อยู่ ไม่สามารถเพื่อมนสิการคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ควรที่เรา
จะปรารภความเพียร ฯลฯ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้ วัตถุแห่งการ
ปรารภความเพียรข้อที่สอง.
๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุจะต้องเดินทาง
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักต้องเดินทาง ก็เมื่อเราเดินทางไปอยู่ ไม่
สะดวกที่จะมนสิการคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรที่เราจะปรารภ
ความเพียร ฯลฯ เธอก็ปรารภความเพียร ฯลฯ นี้ วัตถุแห่งการปรารภ
ความเพียรข้อที่สาม.
๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขออื่นอีก ภิกษุเดินทางไปถึงแล้ว
เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเดินทางถึงแล้ว ก็เมื่อเราเดินทางอยู่ ไม่
สามารถมนสิกาวคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ ควรที่เราจะปรารภ
ความเพียร ฯลฯ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้ วัตถุแห่งการปรารภ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 238
ความเพียรข้อที่สี่.
๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไป
ยังบ้าน หรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือ
ประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑ-
บาตไปยังบ้าน หรือนิคม ไม่ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง
หรือประณีตเพียงพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเราเบา ควรแก่การงาน
ควรที่เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้ วัตถุ
แห่งการปรารภความเพียรข้อที่ห้า.
๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตไป
ยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีต
เพียงพอแก่ความต้องการ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวบิณฑบาตไป
ยังบ้าน หรือนิคม ได้ความบริบูรณ์แห่งโภชนะที่เศร้าหมอง หรือประณีต
เพียงพอแก่ความต้องการ ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่การงาน ควร
ที่เราจะปรารภความเพียร ฯลฯ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้ วัตถุ
แห่งการปรารภความเพียรข้อที่หก.
๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก อาพาธเพียงเล็กน้อย
เกิดขึ้นแก่ภิกษุ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เรา
แล้ว การที่อาพาธของเราจะพึงเจริญขึ้นนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ควรที่เรา
จะปรารภความเพียร ฯลฯ เธอจึงปรารภความเพียร ฯลฯ นี้ วัตถุแห่งการ
ปรารภความเพียรข้อที่เจ็ด.
๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุหายจากไข้ หาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 239
จากความเป็นไข้แล้วไม่นาน เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายจากไข้แล้ว
หายจากไข้ไม่นาน การที่อาพาธของเราจะพึงกำเริบนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้
ควรที่เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้กระทำให้แจ้ง นี้ วัตถุแห่ง
ความปรารภความเพียรข้อที่แปด.
[๓๔๕] ทานวัตถุ ๘
๑. ให้ทาน เพราะปฏิคาหกมาถึงจึงให้
๒. ให้ทาน เพราะกลัว
๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา
๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา
๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
๖. ให้ท่านโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่นี้มิได้หุงต้ม เมื่อเรา
หุงต้มอยู่ ไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้หุงต้ม ย่อมไม่ควร
๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อม
เลื่องลือไป
๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต.
[๓๔๖] ทานุปปัตติ ๘
๑. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และซึ่งที่เป็นอุปกรณ์
แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตน
ถวายไป เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 240
ผู้เพียบพร้อม พรั่งพร้อม ได้รับการบำรุงบำเรอด้วยกามคุณห้าอยู่ เขาจึง
คิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความ
เป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล.
เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไป
ในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรม เพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น.
ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล มิใช่ผู้ทุศีล. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์.
๒. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม
ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและ
สิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อม
มุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน
มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้. เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทพจาตุมหา-
ราชิกา. เขาตั้งจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้น
น้อมไป ในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดใน
ที่นั้น. ก็ข้อที่นั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช้ผู้ทุศีล. ท่านผู้มิอายุทั้งหลาย
ความ จงใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์.
๓. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม
ถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พัก
และสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 241
ย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินว่า เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ ย่อม
สำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์.
๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้ออื่นอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม
ถวาย ฯลฯ เขาได้ยินว่า พวกเทพเหล่ายามา ฯ ล ฯ ย่อมสำเร็จได้ เพราะ
เป็นของบริสุทธิ์.
๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมถวาย ฯลฯ เขาได้ยินว่า พวกเทพเหล่าดุสิต ฯลฯ ย่อมสำเร็จได้
เพราะเป็นของบริสุทธิ์.
๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมถวาย ฯลฯ เขาได้ยินว่า พวกเทพเหล่านิมมานรดี ฯ ล ฯ ย่อม
สำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์.
๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมถวาย ฯ ลฯ เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน
มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ . เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้า
แต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทพปรนิม-
มิตวสวัตดี. เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของ
เขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว. มิได้รับอบรม เพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไป
เพื่อเกิดในที่นั้น. ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล มิใช่ผู้ทุศีล. ผู้มี
อายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์.
๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้. ที่นอน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 242
ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทาน แก่สมณะ หรือพราหมณ์
เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป เขาได้ยินมาว่า พวกเทพที่นับเนื่องใน
หมู่พรหม มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุข ดังนี้ . เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า
โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของ
พวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหม. เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรม
จิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง
ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น. ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่ผู้
ทุศีล สำหรับผู้ที่ปราศจากราคะ มิใช่สำหรับที่ยังมีราคะ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะปราศจากราคะ.
[๓๔๗] โลกธรรม ๘
๑. มีลาภ ๒. ไม่มีลาภ
๓. มียศ ๔. ไม่มียศ
๕. นินทา ๖. สรรเสริญ
๗. สุข ๘. ทุกข์
[๓๔๘] บริษัท ๘
๑. ขัตติยบริษัท ๒. พราหมณบริษัท
๓. คฤหบดีบริษัท ๔. สมณบริษัท
๕. จาตุมหาราชิกบริษัท ๖. ดาวดึงสบริษัท
๗. นิมมานรดีบริษัท ๘. พรหมบริษัท
[๓๔๙] อภีภายตนะ ๘
๑. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปในภายนอกที่เล็ก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 243
ผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ
อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง.
๒. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ มี
ผิวพรรณดี และมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ
อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่สอง.
๓. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก
มีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความ
สำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม
๔. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่
มีผิวพรรณดี และมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ
อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่.
๕. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว
มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณเขียว
เขียวล้วน มีรัศมีเขียว หรือว่า ผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสอง
เกลี้ยงเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง
มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว
เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มี
ความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อนี้ที่ห้า.
๖. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง
มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 244
วรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง หรือว่า ผ้าที่กำเนิดในเมือง
พาราณสีมีส่วนทั้งสองเกลี้ยงเหลือง มีวรรณะเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมี
เหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายในเห็นรูปภายนอก
อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน
ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้
เป็นอภิภายตนะข้อที่หก.
๗. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง
มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกหงอนไก่อันแดง มีวรรณแดง
แดงล้วน มีรัศมีแดง หรือว่า ผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีส่วนทั้งสอง
เกลี้ยงแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความ
สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน
มีรัศมีแดง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญ
อย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด.
๘. ผู้หนึ่ง มีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปนอกอันขาว มี
วรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกายพฤกษ์อันขาว มีวรรณะขาว
ขาวล้วน มีรัศมีขาว หรือว่า ผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีส่วนทั้งสอง
เกลี้ยงขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่ง มีความ
สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณะขาว ขาวล้วน
มีรัศมีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่าง
นี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้ เป็นอภิภายตนะข้อที่แปด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 245
[๓๕๐] วิโมกข์ ๘
๑. บุคคลเห็นรูปทั้งหลาย อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง.
๒. ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก อันนี้
เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง.
๓. บุคคล ย่อมน้อมใจไปว่า สิ่งนี้งามทีเดียว อันนี้ เป็นวิโมกข์
ข้อที่สาม.
๔. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆ-
สัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญาบุคคลย่อมเข้าถึงอากาสานัญ-
จายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้ อยู่ วันนี้ เป็นวิโมกข์
ข้อที่สี่.
๕. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสามัญจายตนะโดยประการทั้งปวง
บุคคล ย่อมเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุด
มิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า.
๖. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคล
ย่อมเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร อันนี้ เป็น
วิโมกข์ข้อที่หก.
๗. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง บุคคล
ย่อมเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด.
๘. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง
บุคคล ย่อมเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อันนี้ เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 246
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๘ เหล่านี้แล อันพระผู้
มีพระภาค ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์
นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้ง
กันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด ๘
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๙
[๓๕๑] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๙ แล ที่
พระผู้มีพระภาค ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ตรัสไว้โดยชอบแล้วมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสัง-
คายนา ไม่พึงโต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล
เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ธรรมทั้งหลาย ๙ เป็นไฉน.
อาฆาตวัตถุ ๙
๑. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ แก่
เราแล้ว.
๒. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังประพฤติซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่เรา.
๓. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
เรา
๔. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 247
๕. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังประพฤติสิ่งที่ ไม่เป็นประโยชน์
ก็บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเรา.
๖. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่
บุคคลผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของเรา.
๗. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ประโยคพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่
บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว.
๘. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่
บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา.
๙. ผูกอาฆาตด้วยคิดว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่
บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา.
[๓๕๒] อาฆาตปฏิวินัย ๙
๑. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่เราแล้ว เพราะเหตุนั้นการที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.
๒. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้นการที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.
๓. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่เรา เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่เรา จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.
๔. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุนั้น การที่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 248
จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.
๕. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่ไม่
เป็นประโยชน์แก่บุคคลเป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การที่
จะไม่มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.
๖. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์แก่บุคคล ผู้เป็นที่ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ เพราะเหตุนั้น การที่จะไม่
ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.
๗. บรรเทาความอาฆาตด้วยคิดว่า เขาได้ประพฤติสิ่งที่เป็น
ประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเราแล้ว เพราะเหตุ
นั้น การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.
๘. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาประพฤติอยู่ซึ่งสิ่งที่เป็น
ประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น การ
ที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน
๙. บรรเทาความอาฆาตเสียด้วยคิดว่า เขาจักประพฤติสิ่งที่เป็น
ประโยชน์แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา เพราะเหตุนั้น
การที่จะไม่ให้มีการประพฤติเช่นนั้น จะหาได้ในบุคคลนั้นแต่ที่ไหน.
[๓๕๓] สัตตาวาส ๙
๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มี
สัญญาต่างกัน เช่นพวกมนุษย์ เทวดาบางพวก วินิปาติกะบางพวก นี้
สัตตาวาสข้อที่หนึ่ง.
๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายต่างกัน มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 249
สัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพผู้นับเนื่องในพวกพรหม ซึ่งเกิดในภูมิ
ปฐมฌาน นี้ สัตตาวาสข้อที่สอง.
๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาต่างกัน เช่นพวกเทพเหล่าอาภัสสระ นี้ สัตตาวาสข้อที่สาม.
๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน
มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่นพวกเทพเหล่าสุภกิณหา นี้ สัตตาวาสข้อที่สี่.
๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง ไม่มีปัญญา ไม่รู้สึก
เสวยอารมณ์ เช่นพวกเทพเหล่าอสัญญีสัตว์ นี้ สัตตาวาสข้อที่ห้า.
๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่ง
รูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนา-
นัตตสัญญา เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ. ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด
มิได้ ดังนี้ นี้ สัตตาวาสข้อที่หก.
๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง ก้าวล่วงซึ่งอากาสา-
นัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิ-
การว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ นี้ สัตตาวาสข้อที่เจ็ด.
๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง ก้าวล่วงเสียซึ่ง
วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะด้วย
มนสิการว่า ไม่มีอะไร นี้ สัตตาวาสข้อที่แปด.
๙. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์พวกหนึ่ง ก้าวล่วงเสียซึ่ง
อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ด้วยมนสิการว่า นี่สงบ นี่ประณีต นี้ สัตตาวาสข้อที่เก้า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 250
[๓๕๔] อขณะอสมัยแห่งพรหมจริยวาส ๙
๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พ ระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้า เสด็จอุบัติในโลกนี้ และพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคต
ประกาศแล้ว. แต่บุคคลนี้เข้าถึงนรกเสีย นี้ มิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่อการ
อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่หนึ่ง.
๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็
เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรม
อันพระสุคตประกาศแล้ว. แต่บุคคลนี้ เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเสีย นี้
มิใช่ขณะ มิใช่สมัยเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่สอง.
๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็น
ไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอัน
พระสุคตประกาศแล้ว. แต่บุคคลนี้เข้าถึงวิสัยแห่งเปรตเสีย ฯลฯ ข้อที่สาม.
๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็น
ไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอัน
พระสุคตประกาศแล้ว. แต่บุคคลนี้เข้าถึงอสุรกายเสีย ฯลฯ ข้อที่สี่.
๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันต-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 251
สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็น
ไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอัน
พระสุคตประกาศแล้ว. แต่บุคคลนี้เข้าถึงพวกเทพที่มีอายุยืน พวกใดพวก
หนึ่งเสีย ฯลฯ ข้อที่ห้า.
๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็น
ไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอัน
พระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้ เกิดเสียในปัจจันติมชนบท ในพวก
ชนชาติมิลักขะ ผู้โง่เขลา ไม่มีคติของภิกษุ ภิกษุณีอุบาสก อุบาสิกา ฯลฯ
ข้อที่หก.
๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็น
ไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอัน
พระสุคตประกาศแล้ว. บุคคลนี้ เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นคนมิจฉา-
ฑิฏฐิ มีความเห็นวิปริตว่า ทานที่บุคคลให้ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล
ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของธรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี
โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี โอปปาติกสัตว์ไม่มี
ในโลกไม่มีสมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินไปดี ผู้ปฏิบัติโดยชอบ กระทำ
ให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วยังผู้
อื่นให้รู้ ฯลฯ ข้อที่เจ็ด.
๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ก็เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 252
ไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอัน
พระสุคตประกาศแล้ว บุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เป็นคนโง่ เซอะซะ
เป็นคนใบ้ ไม่สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้ ฯลฯ ข้อที่
แปด.
๙. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อึกข้อหนึ่ง พระตถาคตอรหันต-
สัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้เสด็จอุบัติในโลก และธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบ
เป็นไปเพื่อความดับ ให้ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศไว้
ไม่มีผู้ใดแสดง ถึงบุคคลนี้เกิดในมัชฌิมชนบท เป็นคนมีปัญญา ไม่เซอะซะ
ไม่เป็นคนใบ้ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้ ก็มิใช่
ขณะ มิใช่สมัย เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ข้อที่เก้า
[๓๕๕] อนุปุพพวิหาร ๙
๑. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจาก
กามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่.
๒. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.
๓. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวย
สุขด้วยนามกาย เพราะปีติปราศจากไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยเจ้า
ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
ดังนี้.
๔. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์และสุข
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 253
เพราะละทุกข์และสุข ลำดับโสมนัสโทมนัสในกาลก่อน มีอุเบกขา เป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
๕. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาได้โดย
ประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา
เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่.
๖. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงซึ่งอากาสานัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณ
หาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่.
๗. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มี
อะไร ดังนี้อยู่.
๘. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดย
ประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่.
๙. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-
ตนะโดยประการทั้งปวง แล้วเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่.
[๓๕๖ ] อนุปุพพนิโรธ ๙
๑. กามสัญญา ของท่านผู้เข้าปฐมฌาน ย่อมดับไป
๒. วิตก วิจาร ของท่านผู้เข้าทุติยฌาน ย่อมดับไป
๓. ปีติ ของท่านผู้เข้าตติยฌาน ย่อมดับไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 254
๔. ลมอัสสาสะและปัสสาสะของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อมดับไป
๕. รูปสัญญาของท่านผู้เข้าอากาสานัญจายตนะ ย่อมดับไป
๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าวิญญาณัญจายตนะ ย่อม
ดับไป
๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าอากิญจัญญายตนะ ย่อม
ดับไป
๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของท่านผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ดับไป
๙. สัญญาและเวทนาของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ย่อมดับไป
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๙ เหล่านี้แล อันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ตรัสไว้โดยชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกัน
ในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย.
จบสังคีติหมวด ๙
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 255
ว่าด้วยสังคีติหมวด ๑๐
[๓๕๗] ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๑๐ ที่พระผู้
มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์
นั้น ตรัสไว้โดยชอบมีอยู่ พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึง
โต้แย้งกันในธรรมนั้น ฯลฯ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย. ธรรม ๑๐ เหล่านั้นเป็นไฉน.
นาถกรณธรรม ๑๐
๑. ดูก่อนท่านี้ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
ศีล เป็นผู้สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่ มี
ปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย.
แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีศีลสำรวมในพระปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมารยาท
และโคจรอยู่ มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย มาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
๒. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้มีธรรม
อันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว. ธรรม
ทั้งหลายที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น
อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้มาก คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอด
ดีแล้วด้วยทิฏฐิ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีธรรม
อันสดับแล้วมาก ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สะสมธรรมที่ได้สดับแล้ว ธรรม
ทั้งหลายที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 256
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ. บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น
อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงไว้มาก คล่องปาก ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอด
แล้วด้วยทิฏฐิ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
๓. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี
มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
๔. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย
ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนี
โดยเคารพ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบ
ด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีโดย
เคารพ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
๕. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่
เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอุบาย ในกรณียกิจ
นั้น ๆ สามารถทำ สามารถวิจารณ์ในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารี
ทั้งหลาย. แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาอุบาย ในกรณียกิจนั้น ๆ สามารถทำ สามารถวิจารณ์ใน
กรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
๖. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม
เจรจาน่ารัก มีความปราโมชยิ่งในพระอภิธรรม ในพระอภิวินัย. แม้ข้อ
ที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความปราโมชยิ่งในพระอภิธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 257
ในพระอภิวินัย นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
๗. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้
ตามมีตามได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วย
จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชบริขาร อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้
ตามมีตามได้ นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม
๘. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้ปรารภ
ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ เป็นผู้
มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในธรรมที่เป็นกุศล. ดูก่อน
ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมเป็นผู้มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอด
ธุระในธรรมที่เป็นกุศล นี้ก็เป็น นาถกรณธรรม.
๙. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นผู้มีสติ
ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้ว
นาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ ระลึกได้. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่าง
ยอดเยี่ยม แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้วนาน ก็นึกได้ ระลึกได้
นี่ก็เป็น นาถกรณธรรม.
๑๐. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา
ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ ชำแรกกิเลส
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 258
ผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับอันประเสริฐ
ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. นี้ก็เป็น นาลกรณธรรม.
[๓๕๘] กสิณายตนะ คือ แดนกสิณ ๑๐
๑. ผู้หนึ่ง ย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
คล่องแคล่ว ประมาณมิได้
๒. ผู้หนึ่ง ย่อมจำอาโปกสิณได้ . ..
๓. ผู้หนึ่ง ย่อมจำเตโชกสิณได้...
๔. ผู้หนึ่ง ย่อมจำอาโปกสิณได้...
๕. ผู้หนึ่ง ย่อมจำนีลกสิณได้...
๖. ผู้หนึ่ง ย่อมจำปีตกสิณได้...
๗. ผู้หนึ่ง ย่อมจำโลหิตกสิณได้...
๘. ผู้หนึ่ง ย่อมจำโอทาตกสิณได้ ...
๙. ผู้หนึ่ง ย่อมจำอากาสกสิณได้ . . .
๑๐. ผู้หนึ่ง ย่อมจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้อง
ขวาง คล่องเเคล่ว ประมาณมิได้.
[๓๕๙] อกุศลกรรมบถ ๑๐
๑. ปาณาติบาต ๒. อทินนาทาน
๓. กาเมสุมิจฉาจาร ๔. มิสาวาท
๕. ปิสุณาวาจา ๖. ผรุสาวาจา
๗. สัมผัปปลาปะ ๘. อภิชฌา
๙. พยาบาท ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 259
[๓๖๐] กุศลกรรมบถ ๑๐
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิต
ให้ตกล่วงไป
๒. อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของมิได้ให้
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการ
ประพฤติผิดในกาม
๔. มุสาวาท เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ
๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด
๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ
๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. อนภิชฌา ความโลภอยากได้ของเขา
๙. อัพยาบาท ความไม่ปองร้ายเขา
๑๐. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ.
[๓๖๑] อริยวาส ๑๐
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
๑. เป็นผู้มีองค์ห้าละขาดแล้ว
๒. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก
๓. เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง
๔. เป็นผู้มีที่พึ่งสี่
๕. เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว
๖. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้แล้วโดยชอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 260
๗. เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว
๘. เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบ
๙. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
๑๐. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มี
องค์ห้าละขาดแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีกามฉันทะละได้ขาดแล้ว มีความพยาบาทละได้ขาดแล้ว มีถิ่นมิทธะ
ละได้ขาดแล้ว มีอุทธัจจกุกกุจจะละได้ขาดแล้ว มีวิจิกิจฉาละได้ขาดแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีองค์ห้าอันละ
ได้ขาดแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบ
ด้วยองค์หก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูป
ด้วยตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่.
ฟังเสียงด้วยหูแล้ว . . ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว . . ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ...ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว . . รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีอารักขา
อย่างหนึ่ง ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อม
ประกอบด้วยใจอันมีสติเป็นเครื่องคุ้มครอง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีที่พึ่งสี่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 261
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของ
อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่าง
หนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีที่พึ่งสี่
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีสัจจุ
เฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัจจะเฉพาะ
อย่างเป็นอันมาก ของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมเป็นธรรมอันภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เบาแล้ว บรรเทาแล้ว สละ คลาย ปล่อย ละ
สละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีการ
แสวงหาอันสละได้โดยชอบ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้มีการแสวงหากามอันละได้แล้ว มีการแสวงหาภพอันละได้แล้ว
มีการแสวงหาพรหมจรรย์อันสละคืนแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้โดยชอบ
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีความ
ไม่ขุ่นมัว ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละ
ความดำริในกามได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความดำริในพยาบาทได้ขาดแล้ว เป็น
ผู้ละความดำริในการเบียดเบียนได้ขาดแล้ว ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีกาย
สังขารอันสงบ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 262
ถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์และสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีจิตหลุดพ้น
ดีแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตพ้นแล้ว
จากราคะ มีจิตพ้นแล้วจากโทสะ มีจิตพ้นแล้วจากโมหะ. ดูก่อนท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญา
หลุดพ้นดีแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้
ชัดว่า ราคะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจ
ตาลยอดด้วนแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกเป็น
ธรรมดา โทสะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็น
ดุจต้นตาลยอดด้วนแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น
ธรรมดา โทสะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจ
ต้นตาลยอดด้วน ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้น
ดีแล้ว.
[๓๖๒] อเสขธรรม ๑๐
๑. สัมมาทิฏฐิที่เป็นของพระอเสขะ
๒. สัมมาสังกัปปะที่เป็นของพระอเสขะ
๓. สัมมาวาจาที่เป็นของพระอเสขะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 263
๔. สัมมากัมมันตะที่เป็นของพระอเสขะ
๕. สัมมาอาชีวะที่เป็นของพระอเสขะ
๖. สัมมาวายามะที่เป็นของพระอเสขะ
๗. สัมมาสติที่เป็นของพระอเสขะ
๘. สัมมาสมาธิที่เป็นของพระอเสขะ
๙. สัมมาญาณะที่เป็นของพระอเสขะ
๑๐. สัมมาวิมุตติที่เป็นของพระอเสขะ.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ๑๐ เหล่านี้แล พระผู้มี
พระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ตรัสไว้ชอบแล้ว พวกเราทั้งหมดด้วยกัน พึงสังคายนา ไม่พึงโต้แย้งกัน
การที่พรหมจรรย์นี้ ยั่งยืน ตั้งอยู่นานแล้ว ก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ชน
เป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
จบสังคีติธรรมหมวด ๑๐
[๓๖๓] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นแล้วตรัส
กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอได้
ภาษิต สังคีติปริยายแก่ภิกษุทั้งหลาย เป็นการดีแล้ว ดังนี้. ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวสังคีติปริยายนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย และภิกษุเหล่านั้น
ต่างก็ดีใจ ชื่นชมภาษิตของท่านพระสารีบุตรแล้ว ดังนี้แล.
จบสังคีติสูตรที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 264
อรรถกถาสังคีติสูตร
ว่าด้วยธรรมหมวด ๑
สังคีติสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น
ในสังคีติสูตรนั้น มีคำอธิบายไปตามลำดับบที่ ดังต่อไปนี้. คำว่า
จาริกญฺจรมาโน หมายถึงเสด็จเที่ยวไปอย่างนิพัทธจาริก. ได้ยินว่าในครั้ง
นั้น พระศาสดาทรงแผ่ข่าย คือพระญาณไปในหมื่นจักรวาล ตรวจดูสัตว์
โลกอยู่ ได้ทรงเล็งเห็นเหล่ามัลลราช ชาวเมืองปาวา จึงทรงคำนึงว่า
" ราชาเหล่านี้มาปรากฏในข่ายคือสัพพัญญุตญาณของเรา. จะมีอะไรหรือ
หนอ? " ก็ได้ทรงเห็นความข้อนี้ว่า " ราชาทั้งหลายให้สร้างสัณฐาคารขึ้น
แห่งหนึ่ง เมื่อเราไป ก็จักให้เรากล่าวมงคล. เรากล่าวมงคลแก่ราชา เหล่า
นั้นแล้ว ส่ง ( กลับ ) ไปแล้ว จักบอกสารีบุตรว่า " เธอจงกล่าวธรรมกถา
แก่หมู่ภิกษุ สารีบุตรพิจารณาโดยพระไตรปิฏกแล้ว จักกล่าวสังคีติสูตร
แก่หมู่ภิกษุ ประดับไปด้วยปัญหา ๑,๐๑๔ ข้อ, ภิกษุ ๕๐๐รูป รำลึกถึง
พระสูตร ( นี้ ) แล้ว จักบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา " ดังนี้ จึงได้
เสด็จจาริกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มลฺเลสุ จาริกญฺจรมาโน
คำว่า อุพฺภตก เป็นชื่อของ สัณฐาคารแห่งนั้น. อีกนัยหนึ่ง ท่านเรียกว่า
(อุพฺภตก) อย่างนั้น เพราะเป็นอาคารสูง. คำว่า สณฺาคาร หมายถึง
ศาลาที่ประชุมกลางเมือง. ในคำว่า สมเณน วา นี้เพราะเหตุที่เทวดาทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 265
หลาย ย่อมถือเอาที่อยู่ของตนในเวลาที่กำหนดพื้นที่ ( ปลูก ) เรือนนั่นเอง
ฉะนั้นท่านจึงไม่กล่าวว่า เทเวน วา แต่กล่าวว่า สมเณน วา พฺราหฺม
เณน วา เ กนจิ วา มนุสฺสภูเตน สมณพราหมณ์หรือใคร ๆ ที่เป็นมนุษย์
คำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า พวกเจ้ามัลละได้
สดับ ( ข่าวว่า ) พระผู้มีพระภาคเสด็จมา จึงดำริว่า " แม้พวกเราจะมิได้
ไปทูลเชิญพระผู้มีพระภาคมา ทั้งมิได้ส่งทูตไปกราบทูลให้เสด็จมา แต่
พระองค์ก็เสด็จมาที่อยู่ของพวกเราเอง มีภิกษุหมู่ใหญ่เป็นบริวาร. แลพวก
เราก็ได้สร้างสัณฐาคารศาลาขึ้นแล้ว. เราจักเชิญเสด็จพระทศพลมาให้ทรง
กล่าวมงคล ณ สัณฐาคารศาลานี้ " ดังนี้ จึงได้เข้าไปเฝ้า. คำว่า เยน
สณฺาคาร เตนุปสงฺกมึสุ ความว่าพวกเจ้ามัลละเหล่านั้นคิดว่า "ได้ทราบ
ว่า ช่างทำจิตรกรรมในสัณฐาคารเสร็จแล้ว แต่ พวกป้อมยาม ( หอคอย )
เพิ่งจะเสร็จในวันนั้น และธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงมีพระอัธยาศัย
(ชอบ ) ป่า ยินดีในป่า พึงทรง ( พอพระทัย ) ประทับอยู่ภายในบ้าน
หรือไม่ ( ก็ไม่อาจทราบได้ ) เพราะฉะนั้น เราทราบถึงพระทัย ของพระ
ผู้มีพระภาคก่อนแล้ว จึงจักเตรียมการ" ดังนี้แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค.
แต่บัดนี้ พวกเจ้ามัลละประสงค์จะเตรียมการให้ต้องพระทัยพระผู้มีพระภาค
จึงเข้าไปยังสัณฐาคาร. คำว่า สพฺพสนฺถรึ หมายความว่า ปูลาดอย่าง
พร้อมสรรพ.
อนึ่ง ในคำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ นี้มีความว่า พวก
เจ้ามัลละเหล่านั้น จัดแจงสัณฐาคารเสร็จแล้วจึงให้แผ้วถางถนนในเมือง
ให้ยกธงขึ้นแล้วตั้งหม้อน้ำเต็มเปี่ยม ทั้งต้นกล้วย ณ ประตูบ้านทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 266
ทำเมืองทั้งสิ้นให้เกลื่อนกล่นไปด้วยระเบียบแห่งโคมไฟ ประหนึ่งว่า ดวง
ดาว แล้วให้ป่าวประกาศว่า " พวกทารกที่ยังไม่อดนม จงให้ดื่มนมเสีย,
พวกเด็กรุ่น ๆ จงรีบให้บริโภค ( ข้าวปลาอาหาร ) แล้วให้นอนเสีย อย่า
ได้ส่งเสียงอึกทึกครึกโครม, วันนี้พระศาสดาจักประทับภายในหมู่บ้านคืน
หนึ่ง, อันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงพอพระทัยในความสงบเงียบ" ดัง
นี้แล้ว พากันถือคบเพลิงด้วยตัวเอง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ.
คำว่า ภควนฺตเยว ปุรกฺขิตฺวา แปลว่า กระทำพระผู้มีพระภาค
ไว้เบื้องหน้า. พระผู้มีพระภาคประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุและอุบาสก
ทั้งหลาย ในสัณฐาคารนั้น ย่อมไพโรจน์ยิ่งนัก เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
โดยรอบ มีพระฉวีวรรณเพียงทอง งดงาม น่าชม. พระรัศมีมีพรรณ
เพียงดังทองพวยพุ่งจากพระกายเบื้องหน้า แผ่ไปถึง ๘๐ ศอก. พระรัศมีมี
พรรณเพียงดังทองพวยพุ่งจากพระกายท่ามกลาง จากพระหัตถ์เบื้องขวา
จากพระหัตถ์เบื้องซ้าย ก็แผ่ไปได้ข้างละ ๘๐ ศอก ( ดุจกัน ). พระรัศมี
มีพรรณเพียงสร้อยคอมยุรา พวยพุ่งจากกลุ่มพระเกษาทั้งหมด ตั้งแต่ริม
พระเกษาเบื้องบนแผ่ไปในพื้นนภากาศถึง ๘๐ ศอก. พระรัศมี มีพรรณ
เพียงแก้วประพาฬ พวยพุ่งจากฝ่าพระบาทเบื้องใต้ แผ่ไปในแผ่นดินทึบ
ได้ถึง ๘๐ ศอก. พระพุทธรัศมี มีพรรณ ๖ ประการ พวยพุ่งรุ่งเรือง
พร่างพรายตลอดที่ประมาณ ๘๐ ศอก โดยรอบ ด้วยประการดังนี้. สรรพ
ทิศาภาคก็กระจ่างแจ้งดังว่าโปรยปรายไปด้วยดอกจำปาทอง ประหนึ่งว่า
โรยรดด้วยสุวรรณรสอันไหลจากหม้อทอง ปานว่าดาดาดลาดไปด้วยแผ่น
ทอง และประดุจว่าเกลื่อนกล่นไปด้วยผงดอกทองกวาว และกรรณิการ์อัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 267
ฟุ้งตลบด้วยเวรัมภวาต. แม้พระวรกายแห่งพระผู้มีพระภาคอันรุ่งเรื่องด้วย
อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ พระรัศมี ( โดยปรกติ) ประมาณวาหนึ่ง และ
วรลักษณ์ ๓๒ ประการ ก็ไพโรจน์เพียงพื้นอัมพรอันพร่างพราว ด้วยดวง
ดาว ประหนึ่งดอกประทุมอันบานสะพรั่ง ดุจดังปาริฉัตรประมาณ ๑๐๐
โยชน์ ผลิบานเต็มด้น ราวกับจะเผยพระสิริ ครอบงำเสียซึ่งสิริแห่ง
พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระเจ้าจักรพรรดิ ท้าวเทวราช ( และ ) มหาพรหม
อย่างละ ๓๒ อันตั้งไว้โดยลำดับกัน (ให้อับรัศมีไป ) ฉะนั้น. แม้ภิกษุ
ทั้งสิ้น อันนั่งแวดล้อมอยู่นั้น ก็ล้วนเป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงบไม่พลุก
พล่าน ทำความเพียร เป็นผู้บอก ทนต่อคำบอก เป็นผู้เตือน ติเตียนบาป
สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะ. พระผู้มีพระ
ภาคอันภิกษุเหล่านั้น แวดล้อมแล้ว ไพโรจน์ประหนึ่งท่อนทองอันห่อหุ้ม
ด้วยผ้ากัมพลแดง ประดุจเรือนทองอันลอยลำอยู่ในท่ามกลางดงประทุมแดง
เสมือนปราสาททอง อันล้อมรอบไปด้วยเวทีแก้วประพาฬ. ฝ่ายพระอสีติ
มหาเถระทรงผ้าบังสุกุลสีปานเมฆ เป็นมหานาค ปานว่า จอมปลวกแก้วมณี
คลายราคะแล้ว ทำลายกิเลสสิ้นแล้ว ถางชัฏออกหมดแล้ว ตัดเครื่องผูกได้
แล้ว ไม่ติดข้องในตระกูล หรือในหมู่คณะ ก็นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาค.
ด้วยประการดังนี้ พระผู้มีพระภาคผู้ทรงบำราศจากราคะด้วยพระองค์เอง
อันท่านผู้บำราศจากราคะแวดล้อมแล้ว ผู้ทรงบำราศจากโทสะ ด้วยพระองค์
เอง อันท่านผู้บำราศจากโทสะแวดล้อมแล้ว ผู้ทรงบำราศจากโมหะด้วย
พระองค์เอง อันท่านผู้บำราศจากโมหะแวดล้อมแล้ว ผู้ทรงไร้ตัณหาด้วย
พระองค์เอง อันท่านผู้ไร้ตัณหาแวดล้อมแล้ว ผู้ทรงไร้กิเลสด้วยพระองค์
เอง อันท่านผู้ไร้กิเลสแวดล้อมแล้ว ผู้ทรงเป็นพุทธะด้วยพระองค์เอง อัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 268
ท่านผู้เป็นพุทธะ ผู้พหูสูตแวดล้อมแล้ว ประหนึ่งเกสรอันแวดล้อมไปด้วย
กลีบ ประดุจกรรณิกา อันแวดล้อมไปด้วยเกสร เสมือนพญาช้างฉัท-
ทันต์อันแวดล้อมไปด้วยช้างบริวารทั้งแปดพัน ปานว่าจอมหงส์ธตรัฐ อัน
แวดล้อมไปด้วยหงส์บริวารเก้าแสน ดังว่า พระเจ้าจักรพรรดิอันแวดล้อม
ไปด้วยเหล่าเสนางคนิกร ประดุจท้าวสักกเทวราชอันแวดล้อมไปด้วยเหล่า
ทวยเทพ ปานว่าหาริตมหาพรหมอันแวดล้อมไปด้วยคณะพรหม ได้
ประทับนั่งในท่ามกลางบริษัทเหล่านั้น ด้วยพุทธเพศอันหาที่เสมอเหมือน
มิได้ ด้วยพุทธวิลาศอันหาประมาณมิได้ ทรงยังพวกเจ้ามัลละแห่งนคร
ปาวาให้เห็น ฯ ล ฯ ด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงส่งไป.
และในที่นี้พึงทราบว่า ปกิณกกถา อันประกอบไปด้วยคำอนุโมทนาใน
สัณฐาคาร ชื่อว่า ธรรมกถา. แท้จริงในคราวนั้น พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสปกิณกกถาอันนำมาซึ่งประโยชน์ และความสุขแก่เจ้ามัลละ แห่งนคร
ปาวา ประหนึ่งว่า ยังอากาศคงคาให้หลั่งลงอยู่ เสมือนว่าทรงรวบรวมมา
ซึ่งโอชะแห่งปฐพี ปานว่าทรงจับยอดต้นมหาชมพู แล้วสั่นให้หวั่นไหวอยู่
และประดุจว่าทรงคั้นรวงผึ้งอันควรแก่การคั้น ด้วยเครื่องจักร แล้วยัง
บุคคลให้ดูดดื่มเอาซึ่งน้ำหวาน ฉะนั้น.
คำว่า ตุณฺหีภูต ตุณหีภูต ความว่า ทรงเหลียวดูทิศใด ๆ หมู่
ภิกษุในทิศนั้น ๆ นิ่งสงบทีเดียว. คำว่า อนุวิโลเกตฺวา ความว่า เหลียวดู
โดยทิศนั้น ๆ ด้วยจักษุ ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ และทิพยจักษุ. จริงอยู่
ทรงกำหนดอิริยาบถภายนอกของภิกษุเหล่านั้นด้วยมังสจักษุ. ในหมู่ภิกษุ
เหล่านั้น มิได้มีภิกษุผู้คะนองมือคะนองเท้า แม้สักรูปเดียว ไม่มีรูปไหน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 269
ยืนศีรษะพูดจา หรือนั่งหลับ. ภิกษุทั้งปวงนั้นเป็นผู้ศึกษาอบรมมาแล้วด้วย
ไตรสิกขา นั่งสงบนิ่ง เสมือนหนึ่งเปลวประทีปในที่อันสงัดลม ฉะนั้น
ทรงกำหนดอิริยาบถนี้ของภิกษุเหล่านั้น ด้วยมังสจักษุ ด้วยประการดังนี้
อนึ่ง ทรงเจริญอาโลก ( แสงสว่าง ) จนเห็นหทัยรูปของภิกษุเหล่านั้นแล้ว
ทรงตรวจดูศีลภายใน ด้วยทิพยจักษุ. พระองค์ได้ทรงเห็นศีลอันเข้าถึง
พระอรหัต ของภิกษุหลายร้อย ประดุจว่าประทีปอันสว่างโพลงอยู่ภาย
ในหม้อ. แท้จริงภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้ปรารภวิปัสสนา ได้ทรงเห็นศีล
ของภิกษุเหล่านั้น ด้วยประการดังนี้" แล้ว ทรงดำริว่า " ภิกษุเหล่านี้คู่ควร
แก่เรา ทั้งเราก็คู่ควรแก่ภิกษุเหล่านี้" แล้วทรงตั้งนิมิตไว้ในพื้นจักษุ ตรวจดู
หมู่สงฆ์ แล้วตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรว่า "เราเมื่อยหลัง". เพราะเหตุไร
จึงทรงเมื่อยหลัง ?. เพราะเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญความเพียร
อย่างแรงกล้าอยู่ถึง ๖ ปี ได้เกิดความลำบากพระวรกายเป็นอันมาก ครั้น
กาลต่อมาถึงคราวทรงพระชรา ลมเสียดหลังย่อมเกิดขึ้นแก่พระองค์ได้
(เป็นธรรมดา ). คำว่า สงฺฆาฏึ ปญฺเปตฺวา ความว่า ได้ยินว่า เจ้ามัลละ.
เหล่านั้น ให้ปูลาดเตียงอันเป็นกัปปิยะไว้ที่ข้างด้านหนึ่ง ของสัณฐาคาร
ด้วยความมุ่งหมายว่า บางทีพระศาสดาจะพึงบรรทมบ้าง. ฝ่ายพระศาสดา
ทรงดำริว่า "เตียงที่เราใช้สอยด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ จักมีผลานิสงส์มาก
แก่เจ้ามัลละเหล่านี้" จึงรับสั่งให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิบนเตียงนั้น แล้วบรรทม.
คำที่ควรกล่าว ในคำว่า ตสฺส กาลกิริยาย เป็นต้นได้กล่าวไว้แล้วทั้งหมด
ในหนหลัง.
คำว่า อามนฺเตสิ ความว่า ทรงประสงค์จะแสดงสวากขาตธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 270
อันกระทำความสงบระงับเหตุมีการบาดหมางกันเป็นต้น จึงได้ตรัสเรียก.
คำว่า ตตฺถ แปลว่า ในธรรมนั้น. คำว่า สงฺคายิตพฺพ ความว่า
สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันพึงสังคายนา คือสงฆ์ผู้มีถ้อยคำเป็นอันเดียวกัน มี
ถ้อยคำไม่แย้งกัน พึงสวด. คำว่า น วิวทิตพฺพ ความว่า ไม่ควรกล่าว
แย้งกันในอรรถะก็ตาม ในพยัญชนะก็ตาม. คำว่า เอโก ธมฺโม ความว่า
พระเถระมีความประสงค์จะแสดงสามัคคีรสมาก ๆ อย่าง เช่น หมวดหนึ่ง
หมวดสอง หมวดสาม เป็นต้น จึงกล่าวว่า เอโก ธมฺโม ( ธรรมหนึ่ง)
ดังนี้เป็นอันดับแรก.
คำว่า สพฺเพ สตฺตา หมายถึงสัตว์ทั้งปวงในภพทั้งปวง เช่น
ในกามภพเป็นต้น ในสัญญีภพเป็นตัน และในเอกโวการภพเป็นนั้น.
คำว่า อาหารฏฺิติกา มีบทนิยามว่า สัตว์เหล่านั้นดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
ดังนั้น จึงชื่อว่า อาหารฏฺิติกา ผู้ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร. อาหารย่อมเป็น
เหตุแห่งการดำรงอยู่ได้แห่งสรรพสัตว์ ด้วยประการดังนี้. พระเถระแสดง
ความหมายว่า "ท่านทั้งหลาย ธรรมหนึ่ง คือ สัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ได้
เพราะอาหารนี้ พระศาสดาของเราทั้งหลาย ทรงทราบตามความเป็นจริง
แล้ว ได้ตรัสได้เป็นอันถูกต้อง". ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ คำที่ตรัสไว้ว่า "เทพ
จำพวกอสัญญสัตตะ เป็นอเหตุกะ ไม่มีอาหาร ไม่มีผัสสะ" ดังนี้เป็นต้น
จะมิเป็นอันคลาดเคลื่อนไปละหรือ. ไม่คลาดเคลื่อน ทั้งนี้เพราะเทพพวกนั้น
ก็มีฌานเป็นอาหาร. ถึงอย่างนั้นก็เถอะ, แม้คำที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อันว่าอาหารเพื่อความดำรงอยู่ของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาแล้ว หรือ
เพื่อการตามประคับประคองพวกสัมภเวสีทั้งหลาย มีอยู่ ๔ อย่าง ๔ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 271
อะไรข้าง ๑. กพฬิงการาหาร จะหยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ๒. ผัสสาหาร
๓. มโนสัญเจตนาหาร ๔. วิญญาณาหาร" ดังนี้ ก็คลาดเคลื่อน.
แม้คำนี้ก็ไม่คลาดเคลื่อน. เพราะว่าในพระสูตรนั้น ตรัสธรรมทั้งหลาย
ที่มีลักษณะเป็นอาหารโดยตรงนั่นแลว่า "อาหาร". แต่ในที่นี้ตรัสเรียก
ปัจจัยโดยอ้อมว่า "อาหาร" จริงอยู่ ปัจจัยควรจะได้แก่ธรรมทั้งปวง. และ
ปัจจัยนั้น ยังผลใด ๆ ให้เกิด ก็ย่อมชื่อว่านำมาซึ่งผลนั้น ๆ เพราะฉะนั้น
จึงเรียกได้ว่า อาหาร. ด้วยเหตุนั้นแล จึงตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
แม้อวิชชา เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่ไม่มีอาหาร, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อะไรเล่าเป็นอาหารของอวิชชา, ควรจะกล่าว นิวรณ์ ๕ เป็นอาหารของ
อวิชชา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้นิวรณ์ ๕ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิใช่
ไม่มีอาหาร, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕, ควร
จะกล่าวว่า อโยนิโสมนสิการ เป็นอาหารของนิวรณ์ ๕" ดังนี้, อาหาร
คือปัจจัยนี้ประสงค์เอาในพระสูตรนี้. ก็เมื่อถือเอาปัจจัยเป็นอาหารอย่างหนึ่ง
แล้ว ก็ย่อมเป็นอันถือเอาทั้งหมด ทั้งอาหารโดยอ้อม ทั้งอาหารโดยตรง.
ในอสัญญภพนั้น ย่อมได้ปัจจัยอาหาร.
เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติขึ้น พวกนักบวชในลัทธิเดียรถีย์ ทำ
บริกรรมในวาโยกสิณแล้ว ยังฌานที่ ๔ ให้เกิดขึ้นได้แล้ว ออกจากฌาน
นั้นแล้ว ให้เกิดความยินดี ชอบใจว่า "น่าติเตียนจิต จิตนี้น่าติเตียนแท้,
ชื่อว่าการไม่มีจิตนั่นแล เป็นความดี, เพราะอาศัยจิต จึงเกิดทุกข์อันมีการ
ฆ่าและการจองจำเป็นต้น เป็นปัจจัย, เมื่อไม่มีจิต ทุกข์นั้นก็ย่อมไม่มี"
ดังนี้ ไม่เสื่อมฌาน สิ้นชีวิตแล้วไปเกิดในอสัญญภพ. ผู้ใดตั้งมั่นอิริยาบถ
ใด ในมนุษยโลก, ผู้นั้นก็เกิดโดยอิริยาบถนั้น เป็นผู้ยืนบ้าง นั่งบ้าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 272
นอนบ้าง ตลอด ๕๐๐ กัป. เป็นประดุจว่านอนอยู่ตลอดกาลนานถึงเพียงนี้
แม้สัตว์ทั้งหลาย ที่มีรูปอย่างนี้ ก็ย่อมได้ปัจจัยอาหาร. แท้จริง สัตว์เหล่านั้น
เจริญฌานใด แล้วไปเกิด, ฌานนั้นแหละย่อมเป็นปัจจัยของสัตว์เหล่านั้น.
ปัจจัยคือฌาน ยังมีอยู่ตราบใด ก็ย่อมดำรงอยู่ได้ตราบนั้น อุปมาเหมือน
ลูกศรที่ยิงไปด้วยแรงส่งแห่งสาย, แรงส่งแห่งสายยังมิเพียงใด ก็พุ่งไปได้
เพียงนั้น ฉะนั้น. เมื่อปัจจัยคือฌานนั้นหมดลง สัตว์เหล่านั้นก็ย่อมตก
ไป ดุจลูกศรที่สิ้นแรงส่งแห่งสายฉะนั้น.
ส่วนพวกสัตว์นรกที่ท่านกล่าวไว้ว่า มิได้เป็นอยู่ด้วยผลแห่งความ
หมั่น ทั้งมิได้เป็นอยู่ด้วยผลแห่งบุญ เหล่านี้มีอะไรเป็นอาหาร. กรรม
นั่นเองเป็นอาหารของสัตว์นรกเหล่านั้น. ถ้าจะถามว่า อาหารมี ๕ อย่าง
กระนั้นหรือ ?. ( ก็ต้องตอบว่า) คำว่า "๕ อย่างหรือไม่ใช่ ๕ อย่าง"
นี้ไม่ควรพูด, ท่านกล่าวคำนี้ ไว้แล้วมิใช่หรือว่า "ปัจจัยคืออาหาร"
เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นเกิดในนรกด้วยกรรมใด กรรมนั้นนั่นเองจัดว่า
เป็นอาหาร เพราะเป็นปัจจัยแห่งความดำรงอยู่ของสัตว์เหล่านั้น ดังที่ตรัส
มุ่งหมายถึงไว้ว่า "จะยังไม่สิ้นชีวิตตราบเท่าที่บาปกรรมอันนั้น ยังไม่หมด
สิ้น". และในที่นี้ไม่ควรจะต้องโต้เถียงกัน ด้วยเรื่องกพฬิงการาหาร. เพราะ
แม้แต่น้ำลายที่เกิดในปากก็ยังให้สำเร็จกิจในเชิงอาหารแก่สัตว์เหล่านั้นได้.
จริงอยู่ น้ำลายนั้น ในนรกนับว่า เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ในสวรรค์
นับว่าเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา จัดว่าเป็นปัจจัยได้.
ดังนั้น ในกามภพ โดยตรง มีอาหาร ๔ อย่าง ในรูปภพ และ
อรูปภพ ยกเว้นอสัญญสัตตะ ที่เหลือนอกนั้น มีอาหาร ๓ อย่าง, สำหรับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 273
อสัญญสัตตะ และเทพอื่น ๆ ( นอกจากที่กล่าวแล้ว) มีอาหารคือปัจจัย
อาหาร ด้วยประการดังนี้. พระเถระกล่าวปัญหาข้อหนึ่งว่า สัตว์ทั้งปวง
ดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร ด้วยอาหาร ตามที่แสดงมา นี้แล้ว ได้แก้ไขปัญหา
ข้อที่ ๒ ว่า "สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะสังขาร" ดังนี้ โดยมิได้กำหนด
หมาย อย่างนี้ว่า อย โข อาวุโส ( นี้แลท่านทั้งหลาย ) ทั้งมิได้ไขความ
อีกว่า อตฺถิ โข อาวุโส ( มีอยู่แล ท่านทั้งหลาย). เพราะเหตุไร
จึงมิได้กำหนดหมาย ทั้งมิได้ไขความอีก. เพราะการที่จะเรียนและสอน
ในเมื่อมัวแต่กำหนดหมาย ทั้งมัวแต่ไขความอยู่นั้น เป็นเรื่องยาก ฉะนั้น
ท่านจึงแก้ไขทั้งสอบประเด็นรวมกันไปเลย.
แม้ในการแก้ไขปัญหาข้อที่ ๒ นี้ ปัจจัยที่ได้กล่าวมาแล้วในหนหลัง
นั่นเอง ก็เรียกว่า สังขาร เพราะปรุงแต่งผลของตน. อาหารปัจจัยได้
กล่าวมาแล้วในหนหลัง, ความแตกต่างกันอย่างน้อยที่สุด ในปัญหาข้อนี้
ก็คือ ข้อนี้ - ในที่นี้ เป็นสังขารปัจจัย. (แต่) พระมหาสิวเถระกล่าวว่า
" เมื่อถือเอาอย่างนี้ว่า "อาหารโดยตรง ถือเอาแล้วในหนหลัง, ในที่นี้
หมายเอาอาหารโดยอ้อม ดังนี้ ความแตกต่างกันก็จะปรากฏขึ้น, แต่ว่า
ท่านมิได้ถือเอา ( อย่างนั้น)". แท้จริง ธรรมทั้งที่เนื่องด้วยอินทรีย์
ทั้งที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ควรที่จะได้ปัจจัย แล. ขึ้นชื่อว่าธรรม เว้นจาก
ปัจจัยย่อมไม่มี. บรรดาธรรม ๒ อย่างนั้น ธรรมที่ไม่เนื่องด้วย
อินทรีย์ เช่น หญ้า ต้นไม้ และเครือเถาเป็นต้น ย่อมมีรสแผ่นดิน และ
รสน้ำเป็นปัจจัย . เพราะเมื่อฝนไม่ตก หญ้าเป็นต้น ก็เหี่ยว. แต่จะสีเขียว
เมื่อฝนตก. รสแผ่นดิน และรสน้ำเป็นปัจจัย ของหญ้าเป็นต้นเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 274
ด้วยประการดังนี้. ธรรมที่เนื่องด้วยอินทรีย์มีสิ่งเป็นต้นว่าอวิชชา ตัณหา
กรรม อาหาร, เป็นปัจจัย ปัจจัยในหนหลังนั้นแล ท่าน เรียกว่า
อาหาร ( แต่ ) ในที่นี้ ท่านเรียกว่า สังขาร ความแตกต่างกัน
ไม่เรื่องนี้ มีเพียงเท่านี้แล. บทว่า อย โข อาวุโส ความว่า ท่านทั้งหลาย
ธรรมหนึ่งอันนี้ พระศาสดาของพวกเราประทับนั่ง ณ มหาโพธิมณฑล
ทรงทำให้แจ้งด้วยพระองค์ด้วยพระสัพพัญญุตญาณแล้วได้ทรงแสดงไว้ อัน.
เป็นธรรมหนึ่งที่ท่านทั้งหลาย พึงสังคายนาพร้อมเพรียงกัน ไม่พึงโต้แย้ง
กัน. คำว่า ยถยิท พฺรหฺมาจริย ความว่า ศาสนพรหมจรรย์นี้ พึงตั้งมั่น
อยู่ได้ ดังที่เมื่อท่านทั้งหลายสังคายนาอยู่. คือเมื่อภิกษุรูปหนึ่งกล่าวว่า
" ท่านทั้งหลายธรรมหนึ่งอันพระศาสดาตรัสไว้ชอบแล้วมีอยู่, ธรรมหนึ่ง
คืออะไร คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้
เพราะสังขาร " ดังนี้, ภิกษุรูปหนึ่งได้ฟังคำกล่าวของภิกษุรูปนั้นแล้วก็บอก
กล่าวต่อไป อีกรูปหนึ่งได้ฟังก็บอกกันต่อไปอีก โดยกำหนดคำบอกกล่าว
สืบ ๆ กันไป ด้วยประการอย่างนี้แล พรหมจรรย์นี้ก็จักดำรงอยู่ตลอด
กาลนาน เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก ท่านพระธรรม
เสนาบดีสารีบุตรเถระได้แสดงสามัคคีรสด้วยอำนาจธรรมหมวดหนึ่งด้วย
ประการดังนี้แล.
จบธรรมหมวด ๑
ว่าด้วยธรรมหมวด ๒
ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยว่าอำนาจธรรมหมวดหนึ่ง ดังกล่าวมานี้แล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 275
บัดนี้ พระเถระได้เริ่มเทศนาต่อไป เพื่อแสดงด้วยอำนาจธรรมหมวดสอง.
ในธรรมหมวดสอง คือ นามรูป นั้น นาม ได้แก่อรูปขันธ์ ๔ และ
นิพพาน ๑. บรรดาธรรมเหล่านี้ ขันธ์ ๔ ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่า
น้อมไป. คำว่า ด้วยอรรถว่า น้อมไป หมายความว่า ด้วยอรรถว่า
กระทำชื่อ. เหมือนอย่างว่า พระเจ้ามหาสมมต มีพระนามว่า "มหาสมมต"
ก็เพราะมหาชนสมมติ ( ยกย่อง, หมายรู้พร้อมกันขึ้น ) หรือเหมือนอย่าง
พ่อแม่ ตั้งชื่อให้เป็นที่กำหนดหมายแก่บุตร อย่างนี้ว่า " คนนี้ชื่อดิศ คนนี้
ชื่อบุส" หรือเหมือนอย่างชื่อที่ได้มา โดยคุณสมบัติว่า " พระธรรมกถึก
พระวินัยธร" ดังนี้ฉันใด, ขันธ์ทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้น จะได้ชื่อฉันนั้น
หามิได้. แท้จริง เวทนาเป็นต้น ย่อมมีชื่อของตนเกิดขึ้น ( เอง )
เหมือนมหาปฐพี เป็นต้น. เมื่อขันธ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้ว ชื่อของขันธ์
เหล่านั้น ก็เป็นอันเกิดขึ้นด้วยทีเดียว. เพราะไม่มีใครที่จะมากล่าวกับ
เวทนาที่เกิดขึ้นว่า "เจ้าจงชื่อว่าเวทนา". และธุระที่จะต้องตั้งชื่อแก่
เวทนานั้นด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็หามีไม่. เหมือนอย่างเมื่อแผ่นดิน
เกิดขึ้น ก็ไม่มีธุระที่จะต้องตั้งชื่อว่า เจ้าจงชื่อแผ่นดิน, เมื่อจักรวาล เขา
พระสุเมรุ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวนักษัตรเกิดขึ้น ก็ไม่มีธุระที่จะ
ต้องตั้งชื่อว่า "เจ้าจงชื่อจักรวาล ฯลฯ เจ้าจงชื่อนักษัตร" ชื่อเป็นอันเกิดขึ้น
ทีเดียว ตกลงเป็นบัญญัติที่เกิดขึ้นได้เองฉันใด, เมื่อเวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่
มีธุระที่จะต้องตั้งชื่อว่า " เจ้าจงชื่อเวทนา" เวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็น
อันเกิด มีชื่อว่า เวทนาเลยทีเดียว ฉันนั้น. แม้สัญญาเป็นต้น ก็มีนัย
อย่างนี้. เวทนาแม้ในอดีต ก็คือชื่อว่า เวทนา, สัญญา, สังขาร วิญญาณ
ในอดีต แม้ในอนาคต แม้ในปัจจุบัน ก็คงชื่อว่า สัญญา สังขาร วิญญาณ
เช่นเดียวกัน. อนึ่ง นิพพาน ทั้งในอนาคต ทั้งในปัจจุบัน ก็คงชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 276
นิพพาน ทุกเมื่อไปแล. ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่า กระทำชื่อ ด้วย
ประการดังนี้. อนึ่ง ขันธ์ ๔ ในบรรดาธรรมเหล่านั้น ก็ชื่อว่า นาม
แม้ด้วยอรรถว่า น้อมไป. เพราะขันธ์เหล่านั้น ย่อมมุ่งหน้าน้อมไปใน
อารมณ์. แม้สิ่งทั้งปวงก็ชื่อว่า นาม ด้วยอรรถว่า น้อมไป. ขันธ์ ๔
ย่อมยังกันและกันให้น้อมไปในอารมณ์. นิพพานย่อมยังธรรมอันไม่มีโทษ
ให้น้อมไปในตน เพราะเป็นปัจจัยแห่งธรรมที่เป็นใหญ่ในอารมณ์. คำว่า
รูป หมายถึงมหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔. ทั้งหมดนั้นชื่อว่า
รูป เพราะอรรถว่า ต้องย่อยยับไป. คำบรรยายโดยละเอียดสำหรับรูปนั้น
พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคปกรณ์.
คำว่า อวิชฺช ได้แก่ความไม่รู้ในสัจจะ มีทุกข์เป็นต้น. แม้เรื่องนี้
ก็ได้กล่าวไว้โดยละเอียดแล้วในวิสุทธิมรรคเช่นกัน. คำว่า ภวตณฺหา
หมายถึงความปรารถนาภพ. สมดังที่ตรัสไว้ว่า "บรรดาตัณหาเหล่านั้น
ภวตัณหาคืออะไร คือความพอใจ ความเป็นในภพทั้งหลาย" ดังนี้เป็นอาทิ.
คำว่า ภวทิฏฺิ ( นี้ ) ความเที่ยง ท่านเรียกว่า ภวะ คือ ทิฐิ
ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความเห็นว่าเที่ยง แม้ทิฐินั้นท่านก็แถลงรายละเอียด
ไว้แล้วในพระอภิธรรมโดยนัยเป็นต้นรำ "บรรดาทิฐิเหล่านั้น ภวทิฐิคือ
อะไร คือทิฐิได้แก่ความเห็นถึงขนาดนี้ว่า " ตนมี โลกมี " ดังนี้. คำว่า
วิภวทิฏฺิ (นี้) ความขาดสูญ ท่านเรียกว่า วิภวะ คือทิฐิที่เกิดขึ้นด้วย
อำนาจเห็นว่าขาดสูญ แม้ที่นั้น ท่านก็แถลงรายละเอียดไว้แล้วในพระ
อภิธรรมเช่นเดียวกันโดยนัยเป็นต้นว่า "บรรดาทิฐิเหล่านั้น วิภวทิฐิคือ
อะไร คือทิฐิ ได้แก่ความเห็นถึงขนาดนี้ว่า "ตนไม่มี โลกไม่มี" ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 277
คำว่า อหิริก ได้แก่ความไม่ละอาย ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้
อย่างนี้ว่า " ความไม่ละอายด้วยสิ่งที่ควรจะละอาย." คำว่า อโนตฺตปฺป
ได้แก่อาการที่ไม่หวาดกลัว ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า "ความไม่
สะดุ้งกลัวด้วยสิ่งที่ควรจะสะดุ้งกลัว."
คำว่า หิริ จ โอตฺตปฺปญฺจ ได้แก่ความละอาย และความสะดุ้งกลัว
ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า " ความละอายด้วยสิ่งที่ควรละอาย
ความสะดุ้งกลัว ด้วยสิ่งที่ควรสะดุ้งกลัว" อีกประการหนึ่ง บรรดาธรรม
๒ อย่างนี้ หิริ มีสมุฏฐานจากภายใน โอตตัปปะ มีสมุฏฐานจากภายนอก
หิริมีตนเป็นใหญ่ โอตตัปปะ มีโลกเป็นใหญ่ หิริตั้งขึ้นเพราะสภาวะ คือ
ความละอายใจ โอตตัปปะ. ตั้งขึ้นเพราะสภาวะ คือความกลัว. คำอธิบาย
โดยละเอียดในเรื่องหิริโอตตัปปะนี้ ได้กล่าวไว้ครบถ้วนแล้วในวิสุทธิมรรค.
คำว่า โทวจสฺสตา มีบทนิยาม ดังนี้ - การว่ากล่าวในบุคคลนี้
ผู้มักถือเอาแต่สิ่งน่ารังเกียจติดใจในสิ่งที่เป็นข้าศึก ไม่เอื้อเฟื้อ เธอฟัง เป็น
การยาก ดังนั้น บุคคลผู้นี้จึงชื่อ ทุพฺพโจ ผู้ว่ายาก การกระทำของบุคคล
ผู้ว่ายากนั้น ชื่อว่า โทวจสฺส, ภาวะของโทวจัสสะนั้น ชื่อว่า โทวจสฺสตา
ภาวะแห่งการกระทำของผู้ว่ายาก - ความเป็นผู้ว่ายาก. ความเป็นผู้ว่ายากนี้
รายละเอียดมีมาในพระอภิธรรมว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น โทวจัสสตา
คืออะไร. คือความเป็นผู้ว่ายากสอนยาก ในเมื่อเพื่อนสหธรรมิกกำลังว่า
กล่าวตักเตือนอยู่ ". โทวจัสสตานั้น โดยความหมาย ย่อมเป็นสังขารขันธ์.
แต่บางท่านกล่าวว่า คำนี้เป็นชื่อของขันธ์ทั้ง ๔ ที่เป็นไปโดยอาการเช่นนี้.
คำว่า ปาปมิตฺตตา มีบทนิยามดังนี้. - คนชั่วทั้งหลาย มีคนไร้ศรัทธา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 278
เป็นต้น เป็นมิตรของผู้นั้น ดังนั้น เขาจึงชื่อว่า ปาปมิตฺโต ( ผู้มีคนชั่ว
เป็นมิตร ) ภาวะแห่งปาปมิตตะนั้น ชื่อว่า ปาปมิตฺตา ( ความเป็นผู้มี
คนชั่วเป็นมิตร ). ความเป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตรนี้ รายละเอียดมีมาในพระ
อภิธรรม อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ปาปมิตฺตตา คืออะไร ?
คือการคบหาสมาคมส้องเสพ มั่วสุม จงรักภักดี ประพฤติคล้อยตาม
บุคคลผู้ไร้ศรัทธา ทุศีล ขาดการศึกษา ตระหนี่ และไม่มีปัญญา ".
แม้ปาปมิตตตานั้น โดยความหมาย ก็พึงทราบเช่นเดียวกับ โทวจัสสตา.
ความเป็นผู้ว่าง่าย และความมีคนดีเป็นมิตร พึงทราบโดยนัยตรง
กันข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว. คุณธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ ในที่นี้ ท่าน
กล่าวระคนกันทั้งโลกิยะ และโลกุตระ.
คำว่า อาปตฺติกุสลตา คือความเป็นผู้ฉลาดในเรื่องอาบัติ ที่ท่าน
กล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ คือความรู้ ความเข้าใจใน
เรื่องอาบัติ ๕ กอง อาบัติ ๗ กองเหล่านั้น". คำว่าอาปตฺติวุฏานกุสลตา
คือความรู้ความเข้าใจเรื่องกำหนดการออกจากอาบัติ พร้อมทั้งกรรมวาจา ที่
ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความเป็นผู้ฉลาด ความรู้ความเข้าใจเรื่องการออก
จากอาบัติเหล่านั้น"
คำว่า สมาปตฺติกุสลตา คือความรู้ ความเข้าใจเรื่องกำหนด
อัปปนาพร้อมทั้งบริกรรม ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า " ความเป็นผู้ฉลาด
ความรู้ ความเข้าใจเรื่องสมาบัติ เหล่านั้นที่มีอยู่ ทั้งที่เป็นสมาบัติที่มีวิตก
วิจาร, สมาบัติที่ไม่มีวิตก มีเพียงวิจาร, สมาบัติที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร"
คำว่า สมาปตฺติวุฏฺานกุสลตา คือปัญญาเครื่องกำหนดเวลาที่จะออกจาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 279
สมาบัติว่า "พอตะวันเกินไปแค่นี้ เราจะออก" ซึ่งเป็นปัญญาที่สามารถ
จะออกจากสมาบัติได้ตรงตามเวลาที่กำหนด ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ความ
เป็นผู้ฉลาด ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการออกจากสมาบัติเหล่านั้น".
คำว่า ธาตุกุสลตา คือ ปัญญาในการสดับฟัง การทรงจำ การ
พิจารณา และการรู้แจ้ง อันเป็นเครื่องกำหนดสภาวะแห่งธาตุ ๑๘ ที่ท่าน
กล่าวไว้อย่างนี้ว่า " ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ คือความรู้ ความเข้าใจ
เรื่องธาตุ ๑๘ อย่าง คือ จักษุธาตุ ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ". คำว่า
มนสิการกุสลตา ได้แก่ปัญญาในการพิจารณา การรู้แจ้ง การเพ่งพิศ
ธาตุทั้งหลายเหล่านั้นแล ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า " ความเป็นผู้ฉลาด
ความรู้ ความเข้าใจธาตุทั้งหลายเหล่านั้น".
คำว่า อายตนกุสลตา คือ ปัญญาในการเรียนรู้ การใส่ใจ การ
เข้าใจ อายตนะ ๑๒ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ
คือ ความรู้ ความเข้าใจอายตนะ ๑๒ คือ จักษุอายตนะ ฯลฯ ธรรมายตนะ".
อีกประการหนึ่ง ทั้งความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ
ทั้งความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ ย่อมควร ในการเรียนรู้ การใส่ใจ การ
สดับฟัง การพิจารณา การรู้แจ้ง และการเพ่งพิศ. ส่วนความแตกต่างกัน
ในธรรมเหล่านี้ มีดังนี้ การสดับฟัง การเรียนรู้ และการเพ่งพิศ เป็น
โลกิยะ, การรู้แจ้ง เป็นโลกุตระ, การพิจารณา การใส่ใจเป็นโลกิยะ
และโลกุตระระคนกัน. คำว่า ปฏิจฺจสมุปฺปาทกุสลตา คือ ปัญญาที่
เป็นไปด้วยอำนาจเป็นต้นว่าการเรียนรู้ปัจจยาการ ๑๒ ที่ท่านกล่าวไว้อย่าง
นี้ว่า ความรู้ ความเข้าใจ ในปัจจยาการที่ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 280
จึงมีสังขาร ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีได้ ด้วย
ประการดังนี้".
คำว่า านกุสลตา คือ ปัญญาอันสามารถในการกำหนดฐานะ
อย่างนี้ว่า "จักษุ รูป เป็นฐานะและเป็นเหตุแห่งจักษุวิญาณ ซึ่งเกิดขึ้น
โดยกระทำจักษุให้เป็นที่ตั้ง และกระทำรูปให้เป็นอารมณ์ ท่านกล่าวไว้ใน
พระอภิธรรม อย่างนี้ว่า" ความรู้ ความเข้าใจ ในธรรมทั้งหลาย ว่าเป็น
เหตุ เป็นปัจจัย อาศัยธรรมเหล่าใด ๆ ธรรมนั้น ๆ จัดเป็นฐานะ ". คำว่า
อฏฺานกุสลตา คือ ปัญญาอันสามารถในการกำหนด อฐานะอย่างนี้ว่า
" โสตวิญญาณเป็นต้น ย่อมไม่เกิดขึ้นโดยกระทำจักษุให้เป็นที่ตั้ง และกระ
ทำรูปให้เป็นอารมณ์, เพราะฉะนั้น จักษุรูปจึงไม่เป็นฐาน ไม่เป็นเหตุแห่ง
โสตวิญญาณเป็นต้นเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้ในพระอภิธรรมว่า ความรู้
ความเข้าใจในธรรมทั้งหลายว่า มิใช่เป็นเหตุ มิใช่เป็นปัจจัย อาศัยธรรม
เหล่าใด ๆ ธรรมนั้น ๆ จัดเป็นอฐานะ". อีกประการหนึ่งพึงทราบความ
หมายในธรรมหมวดสองนี้ โดยพระสูตรนี้ว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร จึงควรจะกล่าวได้ว่า ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะและ
อฐานะ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดว่า ข้อที่บุคคล
ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิ พึงเข้าไปยึดสังขารไร ๆ โดยเป็นของเที่ยง นั่นไม่เป็น
ฐานะ ไม่เป็นโอกาสที่จะมิได้ ส่วนข้อที่ปุถุชนจะพึงเข้าไปยึดสังขารไร ๆ
โดยเป็นของเที่ยง นั่นเป็นฐานะที่จะมิได้".
คำว่า อาชฺชว ได้แก่ ความไม่ตรง ๓ ชนิด คือ โคมุตตวังกตา
จันทวังกตา และ นังคลโกฏิวังกตา. อธิบายว่า ภิกษุบางรูป ในปฐมวัย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 281
ประพฤติในอเนสนา ๒๑ และอโคจร ๖ แต่ในมัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย
เป็นผู้มีความละอาย รังเกียจ ใคร่การศึกษา, อันนี้ชื่อว่า โคมุตตวังกตา
(คดดังโคมูตร). ภิกษุรูปหนึ่งในปฐมวัย และปัจฉิมวัย บำเพ็ญจตุปาริ-
สุทธิศีล มีความละอาย รังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา แต่ในมัชฌิมวัย
เหมือนกับรูปก่อน อันนี้ชื่อว่า จันทวังกตา ( คดดังวงจันทร์). ภิกษุรูป
หนึ่ง ทั้งในปฐมวัย และมัชฌิมวัย บำเพ็ญจตุปาริสุทธิศีล มีความละอาย
รังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา แต่ในปัจฉิมวัย เหมือนกับรูปก่อน อันนี้ชื่อว่า
นังคลโกฏิวังกตา ( คดดังปลายไถ ). ภิกษุรูปหนึ่ง ละความคดทั้งหมดนั่น
เสียแล้ว มีศีล มีความละอาย รังเกียจ ใคร่ต่อการศึกษา ทั้ง ๓ วัย
ความตรงของภิกษุรูปนั้น อันนี้แล ชื่อว่า อาชฺชว. แม้ในพระอภิธรรม
ก็กล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น อาชชวะ คือ อะไร คือ ความตรง
ความไม่งอ ความไม่คด ความไม่โกง. อันนี้ เรียกว่าอาชชวะ. คำว่า
ลชฺชว ได้แก่ความเป็นมีความละอาย ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดา
ธรรมเหล่านั้น ลัชชวะ คือ อะไร คือ ละอายด้วยสิ่งที่ควรละอาย ละอาย
ต่อการประพฤติบาปกรรม อกุศลธรรม อันนี้เรียกว่า ลัชชวะ".
คำว่า ขนฺติ ได้แก่อธิวาสนขันติ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ "บรรดา
ธรรมเหล่านั้น ขันติ คืออะไร คือ ความอด ความทน ความกลั้น ความไม่
เดือดดาล ความไม่หุนหันพลันแล่น ความใจเย็น แห่งจิต". คำว่า โสรจฺจ
ได้แก่ความเสงี่ยม ที่ท่านกล่าวไว้อยู่ไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น โสรัจจะ
คืออะไร คือ ความไม่ล่วงล้นออกมาทางกาย ความไม่ล่วงล้นออกมาทางวาจา
ความไม่ล่วงล้นออกมาทางกายและวาจา, นี้เรียกว่า โสรัจจะ, แม้ศีลสังวร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 282
ทั้งหมด ก็จัดว่าเป็นโสรัจจะ".
คำว่า สาขลฺย ได้แก่ความเป็นผู้ร่าเริงอ่อนโยน ที่ท่านกล่าวไว้
อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น สาขัลยะ คือ อะไร คือ ความมีวาจา
อ่อนหวาน ความมีวาจาไพเราะ ความมีวาจาไม่หยาบ ในท่านผู้ละถ้อยคำ
อันหยาบช้า สามานย์ เผ็ดร้อน ดุด่าผู้อื่น ชวนโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความสงบ เช่นนั้นเสียแล้ว พูดจาแต่ถ้อยคำอันสุภาพ เสนาะโสต น่ารัก
ถูกใจ ทันสมัย เป็นที่พอใจ รักใคร่ขอชนหมู่มาก เช่นนั้น. นี้เรียกว่า
สาขัลยะ".
คำว่า ปฏิสนฺถาโร ได้แก่การรับรองด้วยอามิส และด้วยธรรม
เหมือนกับว่า ปูตั่งด้วยเครื่องลาด โดยลักษณะที่โลกสันนิวาสนี้ ซึ่งมี
ช่องอยู่ ๒ ช่อง คือ ช่องอามิส และช่องธรรม นั้น จะไม่ปรากฎช่องได้เลย.
แม้ใน พระอภิธรรม ก็กล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ปฏิสันถาร
คืออะไร คือ ปฏิสันถาร ๒ อย่าง ได้แก่ อามิสปฏิสันถาร การรับรอง
ด้วยอามิส และ ธรรมปฏิสันถาร การรับรองด้วยธรรม, บางตนในโลกนี้
เป็นผู้ปฏิสันถาร ด้วยอามิสปฏิสันถารบ้าง ด้วยธรรมปฏิสันถารบ้าง, นี้
เรียกว่า ปฏิสันถาร". และในที่นั้น การเคราะห์ด้วยอามิส ชื่อว่า อามิส-
ปฏิสันถาร. เมื่อจะทำอามิสปฏิสันถารนั้น แก่บิดามารดา ชาววัด แก่ไวยา-
วัจกร แก่พระราชาและแก่โจร ไม่ควรจะเอาส่วนดี ๆ ไว้ เสียก่อนแล้วให้
(แต่ส่วนที่ไม่ดี) เพราะเมื่อถือเอาเสียก่อนแล้ว จึงให้ (เช่นนั้น) พระราชา
และโจร ย่อมจะทำความพินาศให้บ้าง ให้ถึงสิ้นชีวิตบ้าง เมื่อไม่ถือเอา
ก่อนแล้วให้ พระราชาและโจรย่อมจะพอใจ. และในกรณีเช่นนี้ ควรจะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 283
เล่าเรื่องโจรนาคเป็นต้น ( เป็นตัวอย่าง ). เรื่องเหล่านั้น มีรายละเอียดอยู่
ในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัยแล้ว. การตั้งใจสงเคราะห์ด้วยธรรม
อย่างนี้ คือ ให้อุเทศ อธิบายพระบาลี กล่าวธรรมกถา ชื่อว่า ธรรม
ปฏิสันถาร.
คำว่า อวิหึสา หมายเอาทั้งกรุณา ทั้งบุรพภาคแห่งกรุณา. ข้อนี้
ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น อวิหิงสา คือ อะไร คือ ความ
กรุณาสงสาร เอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งกรุณาเจโตวิมุตติ ( การหลุด
พ้นด้วยใจ โดยอาศัยกรุณา ), นี้เรียกว่า อวิหิงสา". คำว่า โสเจยฺย
หมายถึงความสะอาด ด้วยอำนาจเมตตา และบุรพภาคแห่งเมตตา. ข้อนี้
ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น โสเจยยะ คืออะไร คือ ไมตรี
ความเมตตา รักใคร่ ในสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งเมตตาเจโตวิมุตติ ( การ
หลุดพัน ด้วยใจโดยอาศัยเมตตา ) นี้เรียกว่า โสเจยยะ".
คำว่า มุฏฺสจฺจ คือ การอยู่อย่างขาดสติ สมดังที่กล่าวไว้ว่า
บรรดาธรรมเหล่านั้น มุฏฐสัจจะ คืออะไร คือ ไม่มีสติ ระลึกตามไปไม่ได้
ระลึกย้อนไปก็ไม่ได้ นึกไม่ออก จำไม่ได้ ฟั่นเฟือน หลงลืม, นี้เรียกว่า
มุฏฐสัจจะ. คำว่า อสมฺปชญฺ ได้แก่ อวิชชานั่นเอง ที่ท่านกล่าวไว้
อย่างนี้ว่า " บรรดาธรรมเหล่านั้น อสัมปชัญญะ คือ อะไร คือความไม่รู้
ไม่เห็น ฯ ล ฯ ขัดข้องเพราะอวิชชา ความหลง อกุศลมูล".
สติ ก็คือสตินั่นเอง. สัมปชัญญะ คือ ญาณ ( ความรู้).
คำว่า อินฺทฺริเยสุ อคุตฺตทฺวารตา หมายถึงการขาดความสำรวม
อินทรีย์ ที่ท่านแถลงไว้อย่างละเอียดโดยนัย เป็นต้นว่า " บรรดาธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 284
เหล่านั้น ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย คืออะไร คือ (อาการที่)
ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วเป็นผู้ยึดถือเอาโดย
นิมิต". คำว่า โภชเน อมตฺตญฺญุตา คือ ความไม่รู้จักประมาณในโภชนะ
ที่มาอย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ความไม่รู้จักประมาณในโภชนะ
คืออะไร คือ ภิกษุบางรูปในพระศาสนานี้ ไม่พิจารณาเสียก่อน บริโภค
อาหารโดยไม่แยบคาย เพื่อเล่น เพื่อมัวเมา เพื่อดกแต่ง เพื่อสวยงาม.
ความไม่สันโดษ ความไม่รู้จักประมาณ ในโภชนะที่มิได้พิจารณา ( แล้ว
บริโภค)".
ธรรมหมวดสองในลำดับนั้น พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามจากที่
กล่าวแล้ว.
คำว่า ปฏิสงฺขานพล ได้แก่ ญาณอันไม่หวั่นไหว เพราะไม่ได้
พิจารณา ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น
ปฏิสังขานพละ คืออะไร คือ ความรู้ ความเข้าใจ". คำว่า ภาวนาพล
หมายถึงพละที่เกิดขึ้นแก่ท่านผู้อบรมอยู่. โดยความหมาย ก็คือ โพชฌงค์ ๗
โดยหัวข้อมีวิริยสัมโพชฌงค์. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น
ภาวนาพละ คืออะไร คือ การเสพคุ้น การทำให้มี การทำให้มาก ซึ่ง
กุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภาวนาพละ, แม้โพชฌงค์ ๗ ก็จัดเป็น
ภาวนาพละ".
คำว่า สติพล ก็คือ สตินั่นเอง โดยที่ไม่หวั่นไหวไปเพราะความ
ไม่มีสติ. คำว่า สมาธิพล ก็คือสมาธินั่นเอง โดยที่ไม่หวั่นไหวไปเพราะ
ความฟุ้งซ่าน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 285
สมถะ คือ สมาธิ. วิปัสสนา คือ ปัญญา.
สมถะนั่นเอง ชื่อว่า สมถนิมิต ด้วยอำนาจนิมิตแห่งสมถะ ที่ถือเอา
อาการนั้นแล้ว พึงให้เป็นไปอีก. แม้ในปัคคาหนิมิต ( นิมิตที่เกิดเพราะ
ความเพียร ) ก็นัยนี้เช่นกัน.
ปัคคาหะ ก็คือความเพียร. อวิกเขปะ ก็คือความมีใจแน่วแน่. ต่อจาก
ธรรมหมวดสอง ทั้ง ๖ คู่ เหล่านี้ คือ สติและสัมปชัญญะ ๑ ปฏิสังขาน-
พละและภาวนาพละ ๑ สติพละและสมาธิพละ ๑ สมถะ และวิปัสสนา ๑
สมถนิมิตและปัคคาหนิมิต ๑ ปัคคาหะและอวิกเขปะ ๑ พระเถระได้กล่าว
ธรรมทั้งโลกิยะ และโลกุตระระคนกัน คือ ศีลสัมปทาและทิฐิสัมปทา
อย่างละคู่.
คำว่า สีลวิปตฺติ หมายถึงความไม่สำรวมอันเป็นตัวการทำศีลให้
พินาศ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ศีลวิบัติ คืออะไร
คือ ความล่วงละเมิดทางกาย ฯลฯ ความเป็นผู้ทุศีล ทุกอย่าง ชื่อว่า
ศีลวิบัติ." คำว่า ทิฏฺิวิปตฺติ หมายถึงมิจฉาทิฐิอันเป็นตัวการทำสัมมาทิฐิ
ให้พินาศ ที่มาแล้วอย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ทิฐิวิบัติคืออะไร
คือความเห็นที่ว่าให้ทานไม่มีผล บูชาไม่มีผล ".
คำว่า สีลสมฺปทา ความว่า โสรัจจะนั่นเองที่กล่าวไว้ข้างต้น
อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ศีลสัมปทาคือ อะไร คือ ความไม่
ล่วงละเมิดทางกาย" ดังนี้ เรียกชื่อว่าศีลสัมปทา เพราะยังศีลให้ถึงพร้อม
บริบูรณ์. แต่คำที่กล่าวในที่นี้ว่า "ศีลสังวรทั้งหมด ชื่อว่าศีลสัมปทา" นี้
กล่าวไว้เพื่อจะรวมเอาความไม่ล่วงละเมิดทางใจเข้ามาด้วยให้ครบถ้วน.
คำว่า ทิฏฺิสมฺปทา หมายถึงญาณ อันเป็นเครื่องทำทิฐิให้บริบูรณ์ ที่มา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 286
แล้วอย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น ทิฐิสัมปทา คืออะไร คือความรู้
ความเข้าใจเช่นนี้ว่า "ให้ทานมีผล บูชามีผล ฯลฯ ท่านผู้รู้ทั้งหลาย
ทำความข้อนี้ให้แจ้งแล้ว จึงประกาศไว้ ".
คำว่า สีลวิสุทฺธิ คือศีลอันสามารถจะให้ถึงความหมดจดได้. ส่วน
ในพระอภิธรรม ท่านแจกแจงศีลวิสุทธิไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น
ศีลวิสุทธิ คืออะไร คือ ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทาง
วาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา นี้เรียกว่า ศีลวิสุทธิ คำว่า
ทิฏฺฐิวิสุทฺธ คือทัศนะ อันสามารถจะให้ถึงความหมดจดได้ ในพระอภิธรรม
ท่านกล่าวถึงทิฐิวิสุทธิไว้อย่างนี้ว่า" "บรรดาธรรมเหล่านั้น ทิฐิวิสุทธิ
คืออะไร คือ กัมมัสสกตญาณ สัจจานุโลมิกญาณ มัคคสมังคีญาณ ผลสมัง-
คีญาณ". และในบรรดาญาณเหล่านี้ ความรู้อย่างนี้ว่า "ทุจริต ๓ อย่าง
ทั้งที่ตนเองทำ ทั้งที่ผู้อื่นทำ ไม่ชื่อว่าเป็นกรรมของตน เพราะหักราน
ประโยชน์ สุจริต ๓ อย่างชื่อว่า เป็นกรรมของตน เพราะให้เกิดประโยชน์"
ดังนี้ ชื่อว่า กัมมัสสกตญาณ. ผู้ที่ตั้งอยู่ในญาณแล้ว ขวนขวาย (ทำ)
กรรมอันเป็นไปในวัฏฏะเป็นอันมาก และบรรลุพระอรหัตโดยสะดวกดาย
มีจำนวนเหลือที่จะนับ. ส่วนวิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ
เพราะอนุโลมวจีสัจจะ ฯลฯ และไม่สวนทางกับปรมัตถสัจจะ
ในคำว่า ทิฏฺิวิสุทฺธิ โข ปน ยถา ทิฏฺิสฺส จ ปธาน ( ความ
หมดจดแห่งทิฐิ และความเพียรของผู้มีทิฐิ ) นี้ ญาณทัศนะ ท่านเรียกว่า
ทิฐิวิสุทฺิ คำว่า ยถา ทิฏฺิสฺส จ ปธาน หมายถึงความเพียรที่ประกอบ
ไปด้วยญาณทัศนะนั้น. อีกนัยหนึ่ง บทแรก หมายถึง จตุมรรคญาณ,
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 287
บทหลัง หมายถึงความเพียรที่ประกอบด้วย จตุมรรคญาณนั้น. ส่วนใน
พระอภิธรรม ท่านแจกแจงธรรมหมวดสองคู่นี้ไว้อย่างนี้ว่า " คำว่า
ทิฏฺิวิสุทฺธิ โข ปน ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ ฯลฯ ความไม่หลง
ความสอดส่องธรรม สัมมาทิฐิ คำว่า ยถา ทิฏฺสฺส จ ปธาน ได้แก่
ความริเริ่มความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ".
ในคำว่า สเวโค จ สเวชนีเยสุ าเนสุ นี้ ที่ชื่อว่า สังเวคะ
ได้แก่ ญาณทัศนะ โดยการเห็น ความเกิดเป็นต้นโดยเป็นภัย อย่างนี้ว่า
ชาติภัย ( ความเกิดเป็นภัย ) ชราภัย ( ความแก่เป็นภัย ) พยาธิภัย
( ความเจ็บเป็นภัย ) มรณภัย ( ความตายเป็นภัย ). คำว่า สเวชนีย ฐาน
หมายถึงชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ. ทั้ง ๔ ประการเหล่านี้ ท่าน
เรียกว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ เพราะเป็นเหตุให้เกิดความสังเวช
อย่างนี้ว่า เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์. คำว่า
สวิคฺคสฺส จ โยนิโสปธาน คือความเพียรโดยแยบคาย ของท่านผู้ที่
เกิดความสังเวชอย่างนี้. คำนี้เป็นชื่อของความเพียรที่มาแล้วอย่างนี้ว่า
"ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่ง
บาปอกุศลธรรม ที่ยังไม่เกิดขึ้น".
คำว่า อสนฺตุฏฺิตา จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ความปรารถนา
ที่จะให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปของท่านผู้ยังไม่พอใจด้วยการอบรมกุศลธรรม. ที่จริง
บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอสันตุฏฐิตานั้น บำเพ็ญศีลแล้วย่อมยังฌานให้เกิดขึ้น,
ได้ฌานเเล้ว ย่อมเริ่มวิปัสสนา เริ่มวิปัสสนาแล้ว ยังไม่บรรลุพระอรหัต
ย่อมไม่ย่อหย่อนเสียในระหว่าง. คำว่า อปฺปฏิวานิตา ข ปธานสฺมึ
หมายความว่า อาการที่ยังไม่บรรลุพระอรหัตแล้ว ไม่ท้อถอย ในความ
เพียรที่ริเริ่มขึ้นด้วยอำนาจ ชาคริยานุโยค ที่ทำวันคืนหนึ่งให้เป็น ๖ ส่วน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 288
ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ "การทำโดยตั้งใจ การทำติดต่อกัน การทำไม่หยุด
การประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ทอดทิ้งความพอใจ การไม่ทอดธุระ การ
เสพคุ้น การทำให้มีขึ้น การทำให้มาก ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย".
คำว่า วิชฺชา ได้แก่ วิชชา ๓ . คำว่า วิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติ ๒ คือ
อธิมุตติแห่งจิต และนิพพาน. และในที่นี้ สมาบัติ ๘ ชื่อว่า
อธิมุตติ เพราะพ้นแล้วเป็นอันดี จากกิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์เป็นต้น
นิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นแล้วจากสังขตธรรมทั้งปวง.
คำว่า ขเย ญาน ได้แก่ ญาณในอริยมรรค อันทำให้กิเลสสิ้นไป.
คำว่า อนุปฺป เท ญาณ ได้แก่ญาณในอริยผล อันเป็นผลที่ยังไม่เกิดโดย
ปฏิสนธิ หรือที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความไม่เกิดขึ้นแห่งกิเลสที่มรรคนั้น ๆ
ฆ่าได้แล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า "คำว่า ขเย ญาณ คือ ญาณ
ของผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค. คำว่า อนุปฺปเท ญาณ คือ ญาณของผู้
พรั่งพร้อมด้วยผล.
คำว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น พึงประกอบความ ตามนัยที่
กล่าวแล้วในหมวดหนึ่งนั้นแล. พระเถระแสดงสามัคคีรส ด้วยอำนาจธรรม
หมวดของ รวม ๓๕ คู่ ด้วยประการดังนี้แล.
จบธรรมหมวด ๒
ว่าด้วยธรรมหมวด ๓
ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยอำนาจธรรมหมวดสอง ดังนี้แล้ว บัดนี้
พระเถระเริ่มเทศนาต่อไป เพื่อจะแสดงด้วยอำนาจธรรมหมวดสาม. บรรดา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 289
ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าโลภะ ด้วยอรรถว่า อยากได้. อกุศลนั้นด้วย เป็นมูล
รากด้วย หรือว่า (โลภะเป็น) มูลรากแห่งอกุศลทั้งหลาย ดังนั้น จึงชื่อว่า
อกุศลมูล. ชื่อว่า โทสะ ด้วยอรรถกถาว่า ประทุษร้าย. ชื่อว่า โมหะ ด้วย
อรรถว่า งมงาย. ส่วนอโลภะ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับโลภะ
เป็นต้นเหล่านั้น.
ความประพฤติเลวร้าย หรือว่า ความประพฤติผิดรูป ดังนั้น จึง
ชื่อว่า ทุจริต. ทุจริต ด้วยกาย หรือว่า ทุจริตอันเป็นไปทางกาย ดังนั้น
จึงชื่อว่า กายทุจริต. แม้คำที่เหลือก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ความประพฤติ
ถูกต้อง หรือว่าความพฤติดีงาม ดังนั้น จึงชื่อว่า สุจริต. และธรรม
หมวดสามทั้ง ๒ ข้อนี้ ความจะกล่าวโดยบัญญัตินัยหนึ่ง โดยกรรมบถ
นัยหนึ่ง. จะว่าโดยบัญญัติก่อน. ความล่วงละเมิดสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว
ในกายทวาร ชื่อว่า กายทุจริต, ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่ากายสุจริต.
ความล่วงละเมิดสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้วในวจีทวาร ชื่อว่าวจีทุจริต, ควร
ไม่ล่วงละเมิดชื่อว่า วจีสุจริต. ความล่วงละเมิดสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว
ในทวารทั้ง ๒ นั่นเอง ชื่อว่า มโนทุจริต ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่า
มโนสุจริต. นี้กล่าวโดยบัญญัติ. ส่วนเจตนา ๓ อย่าง มีปาณาติบาตเป็นต้น
ที่เกิดขึ้น ทั้งในกายทวาร ทั้งในวจีทวาร ชื่อว่ากายทุจริต. เจตนา ๔ อย่าง
มีมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่า วจีทุจริต. ธรรม ๓ อย่างที่ประกอบด้วย เจตนาคือ
อภิชฌา ( เพ่งเล็ง อยากได้ของเขา ) พยาบาท ( ปองร้ายเขา ) มิจฉาทิฐิ
(เห็นผิด ) ชื่อว่า มโนทุจริต. เจตนาก็ดี วิรัติก็ดี ทั้ง ๓ อย่าง ที่เกิดขึ้น
แก่ผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า กายสุจริต เจตนาก็ดี วิรัติก็ดี
ทั้ง ๔ อย่าง ที่เกิดขึ้นแก่ผู้งดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่า วจีสุจริต.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 290
ธรรม ๓ อย่าง ที่ประกอบด้วยเจตนา คือ อนภิชฌา (ไม่เพ่งเล็งอยากได้
ของเขา) อพยาบาท (ไม่ปองร้ายเขา) สัมมาทิฐิ (เห็นถูก ) ชื่อว่า
มโนสุจริต นี้กล่าวโดยกรรมบถ.
วิตกที่ประกอบด้วย กาม ชื่อว่า กามวิตก. วิตกที่ประกอบด้วย
พยาบาท ชื่อว่า พยาบาทวิตก. วิตกที่ประกอบด้วย วิหิงสา (ความ
เบียดเบียน ) ชื่อว่า วิหิงสาวิตก. บรรดาวิตกเหล่านี้ วิตก ๒ อย่าง ย่อม
เกิดขึ้น ทั้งในสัตว์ ทั้งในสังขาร. เป็นความจริงที่เมื่อคิดถึงสัตว์ก็ตาม
สังขารก็ตาม ที่น่ารักใคร่พอใจ กามวิตกย่อมเกิดขึ้น. ตั้งแต่เวลาที่โกรธ
แล้วมองดูสัตว์ก็ตาม สังขารก็ตาม ที่ไม่รักไม่ชอบใจ จนกระทั่ง ( เห็นสัตว์
หรือสังขารนั้น) พินาศไป พยาบาทวิตกย่อมเกิดขึ้น. วิหิงสาวิตกย่อม
ไม่เกิดขึ้นในสังขาร. เพราะสังขารที่ชื่อว่าควรจะทำให้ถึงความลำบากได้
หามีไม่. แต่วิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้นในสัตว์ในเวลาที่คิดว่า สัตว์พวกนี้จง
ถูกฆ่า จงขาดสูญไป จงพินาศไป หรือว่า จงอย่าได้มี วิตกที่ประกอบด้วย
เนกขัมมะ ( ความออกจากกาม ) ชื่อว่า เนกขัมมวิตก. เนกขัมมวิตกนั้น
จัดเป็นกามาวจร ในบุรพภาคแห่งอสุภฌาน, จัดเป็นรูปาวจรในอสุภฌาน,
จัดเป็นโลกุตตระในเวลาที่ทำฌานนั้นให้เป็นพื้นฐานแล้วเกิดมรรคผล. วิตก
ที่ประกอบด้วยอพยาบาท ชื่อว่า อพยาบาทวิตก. อพยาบาทวิตกนั้น จัดเป็น
กามาวจร ในบุรพภาคแห่งเมตตาฌาน. จัดเป็นรูปาวจร ในเมตตาฌาน,
จัดเป็นโลกุตตระในเวลาที่ทำฌานให้เป็นพื้นฐานแล้วเกิดมรรคผล. วิตกที่
ประกอบด้วยอวิหิงสา ชื่อว่า อวิหิงสาวิตก. อวิหิงสาวิตกนั้น จัดเป็น
กามาวจรในบุรพภาคแห่งกรุณา จัดเป็นรูปาวจรในกรุณาฌาน, จัดเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 291
โลกุตตระไม่เวลาที่ทำฌานนั้นให้เป็นพื้นฐานแล้วเกิดมรรคผล. เมื่อใด
อโลภะเป็นตัวนำ. เมื่อนั้น ธรรม ๒ อย่างนอกนี้ ก็ย่อมเป็นตัวตาม.
เมื่อใดเมตตาเป็นตัวนำ, เมื่อนั้น ธรรม ๒ อย่างนอกนี้ ก็ย่อมเป็นตัวตาม.
เมื่อใดกรุณาเป็นตัวนำ เมื่อนั้น ธรรม ๒ อย่างนอกนี้ก็ย่อมเป็นตัวตาม
ด้วยประการดังนี้. ส่วนกามสังกัปปะเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว
นั่นแล. เพราะข้อนี้เป็นแต่เพียงเทศนาเท่านั้น. แต่โดยความหมายแล้ว
ทั้งกามวิตกเป็นต้น และกามสังกัปปะเป็นต้น ไม่มีอะไรที่ทำให้แตกต่างกัน.
สัญญาที่ประกอบด้วยกาม ชื่อว่า กามสัญญา. สัญญาที่ประกอบด้วย
พยาบาท ชื่อว่า พยาบาทสัญญา. สัญญาที่ประกอบด้วยวิหิงสาชื่อว่า วิหิงสา-
สัญญา. แม้อาการที่เกิดขึ้นแห่งสัญญาเหล่านั้น ก็พึงทราบเช่นเดียวกับ
กามวิตกเป็นต้น. เพราะสัญญาเหล่านี้ ก็ล้วนแต่ประกอบด้วย กามวิตก
เป็นต้น นั้น เช่นเดียวกัน. แม้เนกขัมมสัญญาเป็นต้น ก็ประกอบด้วย
เนกขัมมวิตกเป็นต้นเช่นกัน. เพราะฉะนั้น พึงทราบความเป็นกามาวจร
เป็นต้น แห่งสัญญาเหล่านั้น เช่นเดียวกับเนกขัมมวิตก เป็นต้นนั้นนั่นเอง
พึงทราบวินิจฉัยในธรรมทั้งหลาย มีกามธาตุเป็นต้น ( ต่อไป ).
ความตรึก วิตก ความดำริผิด ที่ประกอบด้วยกาม นี้เรียกว่า กามธาตุ, อกุศล
ธรรมทั้งปวง ชื่อว่ากามธาตุ ดังกล่าวมานี้คือ กามธาตุ. ความตรึก วิตก
ความดำริผิด ที่ประกอบด้วยพยาบาท นี้เรียกว่า พยาบาทธาตุ, ความอาฆาต
ความกระทบแห่งจิต ความไม่พอใจ ในบรรดาวัตถุแห่งความอาฆาต ๑๐ อย่าง
ดังกล่าวมานี้คือ พยาบาทธาตุ, ความตรึก วิตก ความดำริผิด ที่ประกอบ
ด้วยวิหิงสา นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ, บางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 292
สัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง
ด้วยเชือกบ้าง ด้วยวัตถุหรือกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ดังกล่าวมานี้ คือ
วิหิงสาธาตุ. ในเรื่องกามธาตุนั้น มีกถาอยู่ ๒ อย่าง คือ สัพพสังคาหิกกถา
และอสัมภินนกถา, ในกถา ๒ อย่างนั้น ถือเอากามธาตุ ย่อมเป็นอันถือ
เอาธาตุ ๒ อย่างนอกนี้ด้วย แต่ทรงแยกออกจากธาตุนั้นแสดงว่า นี้คือ
พยาบาทธาตุ นี้คือวิหิงสาธาตุ ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าสัพพสังคาหิกกถา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสกามธาตุ ก็ทรงงดพยาบาทธาตุไว้ในที่ของ
พยาบาทธาตุ ทรงงดวิหิงสาธาตุไว้ในที่ของ วิหิงสาธาตุ แล้วตรัสส่วนที่เหลือ
ว่า นี้คือกามธาตุ, ดังที่กล่าวมานี้ ชื่อว่า อสัมภินนกถา. พึงทราบวินิจฉัย
ในธรรมทั้งหลาย มีเนกขัมมธาตุเป็นต้น. ความตรึก วิตก ความดำริถูก
ที่ประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ เรียกว่า เนกขัมมธาตุ กุศลธรรมทั้งปวง ชื่อว่า
เนกขัมมธาตุ ดังกล่าวมานี้ คือ เนกขัมมธาตุ ความตรึก ฯลฯ ที่ประกอบ
ด้วยอพยาบาท นี้เรียกว่าอพยาบาทธาตุ. ไมตรีในสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ
เมตตาเจโตวิมุตติ ดังกล่าวมานี้คือ อพยาบาทธาตุ. ความตรึก ฯลฯ
ที่ประกอบด้วยอวิหิงสา นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ, ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย
ฯลฯ กรุณาเจโตวิมุตติ ดังกล่าวมานี้คือ อวิหิงสาธาตุ แม้กถา ๒ อย่างในที่นี้
ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วแต่หนหลังนั่นแล. คำว่า อปราปิ ติสฺโส
ธาตุโย หมายถึงธาตุอย่างอื่นอีก ๓ ด้วยอรรถว่าเปล่า. บรรดาธาตุเหล่า
นั้น กามภพที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธาตุเหล่านั้น
กามธาตุคืออะไร คือ กามภพ มีอเวจีนรก เบื้องต่ำให้เป็นที่สุด" ดังนี้
ชื่อว่ากามธาตุ. ส่วนรูปภพและอรูปภพ ที่ท่านแถลงรายละเอียดไว้อย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 293
"รูปภพมีพรหมโลกชั้นต่ำเป็นที่สุด. อรูปภพมีเทพที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญ-
จายตนะเป็นที่สุด" ดังนี้ ชื่อว่า รูปธาตุ และ อรูปธาตุ ทั้ง ๒. ในที่มาแห่ง
ธาตุ พึงกำหนดเขตด้วยภพ. ในที่มาแห่งภพ พึงกำหนดเขตด้วยธาตุ. ใน
ที่นี้ ท่านแถลงการกำหนดเขตด้วยภพ. พึงทราบวินิจฉัยในรูปธาตุเป็นต้น.
รูปธาตุและอรูปธาตุ ก็คือรูปภพ และอรูปภพนั่นเอง. ท่านแถลงนิพพาน
ด้วยนิโรธธาตุ. พึงทราบวินิจฉัยใน หีนธาตุเป็นต้น. คำว่า หีนธาตุ
ได้แก่จิตตุปบาท อันเป็นอกุศล ๑๒. ธรรมที่เหลืออันเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า
มัชฌิมธาตุ. โลกุตตรธรรม ๙ ชื่อว่า ปณีตธาตุ.
คำว่า กามตัณหา ได้แก่ราคะ อันประกอบด้วยเบญจกามคุณ. ส่วน
ราคะในรูปภพและอรูปภพจัดเป็นฌานนิกันติ ( ความติดใจในฌาน). ราคะ
ที่ประกอบด้วยสัสสตทิฐิคือการปรารถนาด้วยอำนาจภพ ชื่อว่า ภวตัณหา.
ราคะที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฐิ ชื่อว่า วิภวตัณหา. อีกนัยหนึ่ง ยกเว้น
ตัณหา ๒ อย่างหลัง ( คือภวตัณหา และวิภวตัณหา ) ตัณหาที่เหลือ ชื่อว่า
กามตัณหา. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า "บรรดาตัณหาเหล่านั้น ภวตัณหาคือ
อะไร คือราคะ ที่ประกอบด้วยสัสสตทิฐิ. สาราคะ ( ความกำหนัดจัด) ฯลฯ
สาราคะแห่งจิตนี้ เรียกว่า ภวตัณหา, บรรดาตัณหาเหล่านั้น วิภวตัณหา
คืออะไร คือราคะที่ประกอบด้วย อุจเฉททิฐิ. สาระคะ ฯลฯ สาราคะแห่ง
จิตนี้เรียกว่า วิภวตัณหา". ตัณหาที่เหลือชื่อว่า กามตัณหา " พึงทราบ
วินิจฉัยในกามตัณหาเป็นต้นอีกหมวดหนึ่ง. ราคะอันประกอบด้วยเบญจ-
กามคุณ ชื่อว่า กามตัณหา. ฉันทราคะ ในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า
รูปตัณหาและอรูปตัณหา ๒ อย่างนอกนี้. ส่วนในพระอภิธรรม ท่านแถลง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 294
รายละเอียดเรื่องตัณหาหมวดนี้ไว้อย่างนี้ว่า "ฉันทราคะ ที่ประกอบด้วย
กามธาตุ ฯลฯ ที่ประกอบด้วยอรูปธาตุ". ด้วย วาระนี้ ท่านแสดงอย่างไร.
ท่านรวมเอาตัณหาทั้งหมดไว้ด้วยกามตัณหาว่า "ธรรมทั้งปวงที่เป็นไปใน
ภูมิ ๓ ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา ด้วยอรรถว่า น่ากำหนัดยินดี" แล้ว
แสดงตัณหา ๒ อย่างนอกนี้แยกออกจากกามตัณหานั้น. พึงทราบวินิจฉัย
ในรูปตัณหาเป็นต้น. ฉันทราคะในรูปภพ ชื่อว่า รูปตัณหา. ฉันทราคะ
ในอรูปภพ ชื่อว่า อรูปตัณหา. ราคะที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฐิ ชื่อว่า
นิโรธตัณหา.
พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชน์ ๓ อย่าง. ชื่อว่า สังโยชน์ เพราะ
อรรถว่า ร้อยรัดผูกพันไว้ในวัฏฏะ. ความเห็นในกายเช่นรูป เป็นต้น
ว่ามีอยู่ หรือว่า ความเห็นในกาย อันมีอยู่ ดังนั้น จึงชื่อว่า สักกายทิฐิ.
เมื่อพิจารณาเลือกเฟ้นอยู่ ย่อมสงสัย คือไม่สามารถที่จะตกลงใจได้ เพราะ
ธรรมชาติอันนี้ ดังนั้น ธรรมชาติอันนั้นจึงชื่อว่า วิจิกิจฉา. บุคคลย่อม
ลูบคลำ ( ยึดติด ) ศีลด้วย วัตรด้วย ดังนั้น จึงชื่อว่า สีลัพพตปรามาส.
แต่ว่าโดย ความหมายแล้ว ทิฐิอันมีวัตลุ ๒๐ ที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
"ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่าเป็นตัวตน" ชื่อว่า สักกายทิฐิ ฯ ความสงสัยอัน
มีวัตถุ ๘ ที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า " ย่อมสงสัยในพระศาสดา" ชื่อว่า
วิจิกิจฉา. การยึดถืออย่างผิดปรกติ ที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า "บางคน
ในโลกนี้ ลูบคลำ ( ยึดติด ) ศีล ลูบคลำวัตร ลูบคลำศีลพรตว่า
" หมดจดได้ด้วยศีล หมดจดได้ด้วยวัตร, หมดจดได้ด้วยศีลพรต, ทิฐิ
ความเห็นไปข้างทิฐิมีลักษณะอย่างนี้" ดังนี้ ชื่อว่า สีลัพพตปรามาส.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 295
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ตโย อาสวา นี้ต่อไป. ชื่อว่า อาสวะ
ด้วยอรรถว่า เป็นฐานะที่อาศัยอยู่ช้านานบ้าง ด้วยอรรถว่าไหลไปทั่วบ้าง.
ใน ๒ ความหมายนั้น พึงทราบอาสวะโดยความหมายที่ว่า เป็นฐานะที่
อาศัยอยู่ช้านาน ก่อนอย่างนี้ - " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งอวิชชา
ย่อมไม่ปรากฏว่า "ก่อนแต่นี้ อวิชชามิได้มี, ย่อมาภายหลัง จึงได้มี ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเงื่อนต้นแห่งภวตัณหา ภวทิฐิ ย่อมไม่ปรากฏว่า "ก่อนแต่นี้
ภวทิฐิมิได้มี, ต่อมาภายหลังจึงได้มี" ดังนี้ . พึงทราบอาสวะ โดยความ
หมายที่ว่า ไหลไปทั่วอย่างนี้ว่า "อาสวะย่อมไหลไป ไหลไปทั่ว ไหลทั่วไป
เป็นไปในรูป โดยทางตา ในเสียง โดยทางหู ในกลิ่น โดยทางจมูก ในรส
โดยทางลิ้น ในโผฏฐัพพะ โดยทางกาย. ย่อมไหลไป ไหลไปทั่ว ไหลทั่วไป
เป็นไปในธรรมารมณ์ โดยทางใจ" ดังนี้ . แต่ในพระบาลี บางแห่งอาสวะ
มีมา ๒ อย่าง คือ ทิฐธรรมิกาสวะ ( อาสวะในภพนี้ ) และสัมปรายิกาสวะ
( อาสวะในภพหน้า ). บางแห่งมีมา ๓ อย่าง เช่น " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อาสวะ ๓ เหล่านี้คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ". ในพระอภิธรรม
อาสวะ ๓ เหล่านั้นเอง รวมกับทิฐิอาสวะ เป็น ๔. ในนิพเพธิกปริยายสูตร
มี ๕ อย่างนี้คือ- "ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่ยังให้ถึงนรกมีอยู่, อาสวะที่
ยังให้ถึงกำเนิดดิรัจฉานมีอยู่, อาสวะที่ยังให้ถึงเปรตวิสัยมีอยู่ อาสวะที่
ยังให้ถึงมนุษย์โลก มีอยู่, อาสวะที่ยังให้ถึงเทวโลก มีอยู่". ในอาหุ-
เนยยสูตร ฉักกนิบาต มี ๖ อย่างนี้คือ- "ภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่พึงละ
ด้วยความสำรวมระวังมีอยู่, อาสวะที่พึงละด้วยการคบหามีอยู่, อาสวะที่
พึงละด้วยการเว้นรอบมีอยู่, อาสวะที่พึงละด้วยความอดกลั้นมีอยู่. อาสวะ
ที่พึงละด้วยการบรรเทามีอยู่, อาสวะที่พึงละด้วยการอบรมมีอยู่". ใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 296
สัพพาสวปริยายสูตร. อาสวะ ๖ เหล่านี้เองรวมกับอาสวะที่พึงละด้วยทัศนะ
เป็น ๗. ส่วนในสังคีติสูตรนี้ อาสวะมีมา ๓ อย่าง. บรรดาอาสวะ ๓ อย่างนั้น
ราคะที่ประกอบด้วยเบญจกามคุณ อันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "กามฉันทะ
ในกามทั้งหลาย" ดังนี้ ชื่อว่า กามาสวะ. ราคะที่ประกอบด้วยสัสตทิฐิ
อันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "ภวฉันทะในภพทั้งหลาย" ดังนี้ หรือความ
ปรารถนาเนื่องด้วยภพ ชื่อว่า ภวาสวะ. อวิชชาที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า
" ความไม่รู้ทุกข์" ชื่อว่า อวิชชาสวะ. ดังนี้แล. กามภพเป็นต้น ได้กล่าวมา
แล้วโดยเกี่ยวกับกามธาตุเป็นต้นนั่นเอง.
พึงทราบวินิจฉัยในกาเมสนาเป็นต้น. ราคะที่แสวงหากาม อัน
ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า "บรรดาธรรมเหล่านั้น กาเมสนาคืออะไร คือ
กามฉันทะ ในกามทั้งหลาย ฯลฯ ความจมลงในกามนี้เรียกว่า กาเมสนา
(แสวงหากาม)". ราคะที่แสวงหาภพ อันท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บรรดา
ธรรมเหล่านั้น ภเวสนาคืออะไร คือ "ภวฉันทะในภพทั้งหลาย ฯลฯ
ความจมลงในภพนี้เรียกว่า ภเวสนา ( แสวงหาภพ )". ทิฐิที่แสวงหา
พรหมจรรย์ที่รู้กันว่าเป็นคติแห่งทิฐิ อันท่านกล่าวไว้อย่างนั้นว่า " บรรดา
ธรรมเหล่านั้น พรหมจริเยสนา คืออะไร คือทิฐิ ความเห็นไปข้างทิฐิ
การยึดถืออย่างผิดปรกติ ถึงขนาดนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง ฯ ล ฯ สัตว์ตายแล้ว
ไม่เกิดอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วจะไม่เกิดอีกก็หามิได้บ้าง นี้เรียกว่า พรหม-
จริเยสนา ( แสวงหาพรหมจรรย์" ) ดังนี้ ชื่อว่าพรหมจริเยสนา. มิใช่
เฉพาะภวราคทิฐิอย่างเดียวเท่านั้น แม้กรรม ที่มีความหมายอย่างเดียวกัน
นั้น ก็จัดเป็นเอสนาเช่นกัน. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า " บรรดาเอสนา
เหล่านั้น กาเมสนาคืออะไร คือกามราคะ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 297
อันเป็นอกุศล ที่มีความหมายอย่างเดียวกันนั้น นี้เรียกว่า กาเมสนา.
บรรดาเอสนาเหล่านั้น ภเวสนาคืออะไร คือภวราคะ กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม อันเป็นอกุศล ที่มีความหมายอย่างเดียวกันนั้น นี้เรียกว่า
ภเวสนา บรรดาเอสนาเหล่านั้น พรหมจริเยสนาคืออะไร คือทิฐิที่ยึดถือ
จนสุดเหวี่ยง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันเป็นอกุศล ที่มีความ
หมายอย่างเดียวกันนั้น นี้เรียกว่า พรหมจริเยสนา.
พึงทราบวินิจฉัยในวิธา. การตั้งไว้ซึ่งอาการ ดังเช่นในประโยคว่า
" บัณฑิตกล่าวถึงคนมีศีลว่าเป็นอย่างไร, กล่าวถึงคนมีปัญญาว่าเป็น
อย่างไร" ดังนี้ ชื่อว่า วิธา. ส่วนก็ชื่อว่าวิธา ดังเช่นในประโยคว่า "ญาณ-
วัตถุโดย ๑ ส่วน, ญาณวัตถุโดย ๒ ส่วน". มานะชื่อว่าวิธา ดังเช่น
ในประโยคว่า "วิธา (มานะ) ว่าเราดีกว่าเขา", ในที่นี้มุ่งหมายเอาวิธา
ที่แปลว่า มานะนั้น. อันที่จริง มานะท่านเรียกว่า วิชา เพราะจัดแจง
ด้วยอำนาจที่ให้ถือว่าดีกว่าเขาเป็นต้น. ด้วยคำว่า เสยฺโย หมสฺมิ นี้
ท่านกล่าวถึงมานะ ๓ อย่าง คือดีกว่าเขา เสมอเขา เลวกว่าเขา. แม้ใน
สทิสวิธา และหีนวิธา ก็มีนัยเดียวกันนี้. ที่จริงมานะนี้มี ๙ อย่าง. คือ
คนดีกว่าเขามีมานะ ๓ อย่าง คนเสมอเขามีมานะ ๓ อย่าง คนเลวกว่าเขา
มีมานะ ๓ อย่าง. บรรดามานะ ๙ อย่างนั้น สำหรับคนดีกว่าเขา มานะ
ว่าเราดีกว่าเขา ย่อมเกิดขึ้นแก่พระราชาและบรรพชิต. พระราชาย่อมมี
มานะเช่นนี้ว่า "ใครหรือจะมาสู่เราได้ ไม่ว่าจะทางราชอาณาเขต ทาง
ราชทรัพย์ หรือว่าทางไพร่พลพาหนะ". ฝ่ายบรรพชิตก็ย่อมมีมานะเช่น
นี้ว่า "ใครเล่าจะมาทัดเทียมเราได้ด้วยศีลคุณ และธุดงคคุณเป็นต้น".
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 298
แม้มานะว่า เราเสมอเขา สำหรับคนดีกว่าเขา ก็ย่อมเกิดขึ้นได้แก่พระราชา
และบรรพชิตนั้นเช่นกัน. พระราชา ย่อมมีมานะเช่นนี้ "อะไรล่ะที่
จะมาแตกต่างกันระหว่างเรากับราชาอื่น ๆ ไม่ว่าจะทางราชอาณาเขต ทาง
ราชทรัพย์ หรือว่าทางไพร่พลพาหนะ". ฝ่ายบรรพชิตก็ย่อมมีมานะเช่นนี้
ว่า " อะไรเล่าที่จะมาผิดแผกกัน ระหว่างเรากับภิกษุอื่น ไม่ว่า จะโดย
ศีลคุณหรือธุดงคคุณเป็นต้น". แม้มานะว่าเราเลวกว่าเขา สำหรับคนดี
กว่าเขา ก็ย่อมเกิดขึ้นได้แก่พระราชาและบรรพชิตนั้นเช่นกัน. พระราชา
องค์ใด มีราชอาณาเขต ราชทรัพย์ หรือไพร่พลพาหนะเป็นต้น ไม่สมบูรณ์
มากนัก, พระราชาองค์นั้น ย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า " เขาสักแต่เรียกเราว่า
พระราชา ไปอย่างนั้นเอง อย่างเราน่ะรึ ชื่อว่าราชา". ฝ่ายบรรพชิตที่
ลาภสักการะน้อย ก็ย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า " เขาก็เพียงแต่เรียกเราว่า พระ
ธรรมกถึก พหูสูตพระมหาเถระ ไปอย่างนั้นเอง อย่างเรา ไม่มีลาภสักการะ
จะเป็นพระธรรมกถึก เป็นพหูสูต เป็นมหาเถระไปได้อย่างไร". สำหรับ
คนเสมอเขา มานะว่า เราดีกว่าเขาเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแก่อำมาตย์เป็นต้น.
อำมาตย์ หรือข้าราชการย่อมมีนานะเช่นนี้ว่า " ข้าราชการอื่น ๆ ใคร
หรือจะมาสู้เราได้ ไม่ว่าจะเป็นทางโภคทรัพย์ หรือทางยานพาหนะ เป็น
ต้น" ดังนี้บ้าง ว่า "อะไรล่ะที่จะมาแตกต่างกันระหว่างเรากันคนอื่น"
ดังนี้บ้าง ว่า "เขาสักแต่เรียกเราว่า อำมาตย์ไปอย่างนั้นเอง แม้เพียง
ของกินและเสื้อผ้าเราก็ไม่มี อย่างเรานี้หรือจะชื่อว่า อำมาตย์" ดังนี้บ้าง.
สำหรับคนเลวกว่าเขา มานะว่าเราดีกว่าเขา เป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นแก่คนใช้
เป็นต้น. คนใช้ย่อมมีมานะเช่นนี้ว่า "ชื่อว่าคนใช้อื่นๆ ใคร หรือจะมา
สู้เราได้ ไม่ว่าจะฝ่ายข้างแม่ หรือว่าฝ่ายข้างพ่อก็ตาม พวกอื่น ๆ น่ะไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 299
สามารถจะเลี้ยงชีพอยู่ได้ จึงต้องมาเป็นขี้ข้าเขา แต่เรานี้ดีกว่าเพราะเป็น
คนใช้กับกันมาตามเชื้อสาย " ดังนี้บ้าง, ว่า " อะไรล่ะที่จะมาแตกต่างกัน
ระหว่างเรากับคนใช้คนโน้น ไม่ว่าจะโดยความเป็นคนใช้ สืบกันมาตาม
เชื้อสาย หรือว่าโดยความเป็นคนใช้ขนานแท้ ทางฝ่ายแม่และฝ่ายพ่อ"
ดังนี้บ้าง, ว่า " เราน่ะ ต้องเป็นคนใช้เขาก็เพราะต้องเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง
แต่ว่ากันให้ถึงที่สุด พ่อแม่แล้ว เรามิได้มีฐานะเป็นคนใช้เลย อย่างเรา
นะรึจะชื่อว่าเป็นคนใช้ " ดังนี้บ้าง. แม้พวกคนขนขยะ และคนจัณฑาล
เป็นต้น ก็ย่อมมีมานะเช่นนี้ ดุจเดียวกับคนใช้เหมือนกัน. บรรดามานะ
เหล่านี้ คนดีกว่า มานะว่าเราดีกว่าเขา, คนเสมอเขา มานะว่าเราเสมอ
เขา และคนเลวกว่าเขา มานะว่า เราเลวกว่าเขา ทั้ง ๓ ประเภทนี้ได้ชื่อว่า
เป็นมานะอย่างเข้มข้น จะฆ่าเสียได้ด้วยอรหัตตมรรค. ธรรมที่เหลือ ได้
ชื่อว่าเป็นมานะอย่างไม่เป็นไปตามความจริง ฆ่าเสียได้ด้วยมรรค ชั้นต้น.
คำว่า ตโย อทฺธา หมายถึงกาล ๓. ในคำเป็นต้นว่า อตีโต อทฺธา
ปริยาย ๒ อย่าง คือ ปริยายแห่งพระสูตร และปริยายแห่งพระอภิธรรม.
โดยปริยายแห่งพระสูตร ก่อนแต่ปฏิสนธิ ชื่อว่าอตีตัทธา ( กาลอดีต ).
ภายหลังแต่จุติ ชื่อว่า อนาคตัทธา ( กาลอนาคต ), ในระหว่างนั้น พร้อม
ทั้งจุติและปฏิสนธิ ชื่อว่า ปัจจุปปันนัทธา ( กาลปัจจุบัน ). โดยปริยายแห่ง
พระอภิธรรม เหนือขึ้นไปจาก ภังคขณะในบรรดาขณะทั้ง ๓ ชื่อว่า อตีตัทธา,
ก่อนแต่อุปปาทขณะ ชื่อว่า อนาคตัทธา, ในขณะทั้ง ๓ ชื่อว่า ปัจจุปปัน-
นัทธา. อันว่า อัทธา อันต่าง โดยอตีตัทธาเป็นต้นนี้ ย่อมมีแก่ธรรมทั้งหลาย,
มิใช่มีแก่กาลเวลา. แต่อาศัยธรรมอันต่างโดยอตีตัทธาเป็นต้น กาลเวลา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 300
แม้จะไม่มีโดยปรมัตถ์ในที่นี้ ท่านก็เรียก (ว่า อตีตัทธาเป็นต้น) โดยโวหาร
นั้นนั่นเอง. พึงทราบตามที่กล่าวมานี้.
คำว่า ตโย อนฺตา หมายถึงส่วนทั้ง ๓. ที่สุดนั่นเอง ชื่อว่าอันตะ
(ริม) ดังเช่นในประโยคว่า " ริม ( หรือชาย ) ผ้ารัดประคต ย่อมเก่าไป".
ส่วนอื่น ชื่อว่า อันตะ ดังเช่นในประโยคว่า "นั่นเป็นส่วนอื่นแห่งทุกข์".
ความเลวทราม ชื่อว่า อันตะ ดังเช่นในพระบาลีนี้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นความเลวทราม ของการเลี้ยงชีวิต". ส่วน ชื่อว่า อันตะ ดังเช่น
ในประโยคว่า "ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สักกายะแล เป็นส่วนที่หนึ่ง." ในที่นี้
หมายเอาอันตะที่แปลว่าส่วน. คำว่า สกฺกาโย หมายถึงอุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕.
คำว่า สกฺกายสมุทโย หมายถึงตัณหาในเบื้องต้นอันเป็นตัวทำให้เกิด
อุปาทานขันธ์เหล่านั้น. คำว่า สกฺกายนิโรโธ หมายถึงความดับที่ทำให้
อุปาทานขันธ์และตัณหาทั้งคู่นั้นเป็นไปไม่ได้. ส่วนมรรคพึงทราบว่า เมื่อ
กล่าวถึงนิโรธแล้วก็เป็นอันกล่าวถึงด้วยทีเดียว เพราะเป็นอุบายแห่งการ
บรรลุนิโรธ.
คำว่า ทุกฺขทุกฺขตา หมายเอาทุกข์เพราะเป็นทุกข์. คำนี้เป็นชื่อ
ของทุกขเวทนา คำว่า สงฺขารทุกฺขตา หมายเอาทุกข์เพราะความเป็น
สังขาร. คำนี้เป็นชื่อของอทุกขมสุขเวทนา. ความเป็นทุกข์เพราะสังขารนั้น
มิความเกิดขึ้น แต่เสื่อมไป ถูกความแตกดับบีบคั้น เพราะเป็นสภาพที่
ถูกปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวความเป็นทุกข์เพราะสังขารไว้ โดย
เว้นจากสภาวะแห่งทุกข์อื่น. คำว่า วิปริณามทุกฺขตา หมายเอาทุกข์เพราะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 301
แปรปรวนไป. คำนี้เป็นชื่อของสุขเวทนา. แท้จริง เพราะสุขแปรปรวนไป
ทุกข์จึงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกสุขว่า " ทุกข์เพราะแปรปรวน ".
อีกประการหนึ่ง ธรรมทั้งปวงอันเป็นไปในภูมิ ๓ เว้นทุกขเวทนา และ
สุขเวทนาพึงทราบว่า " ทุกข์เพราะสังขาร" โดยพระบาลีว่า "สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์."
คำว่า มิจฺฉตฺตนิยโต คือ เป็นสภาพความผิดที่แน่นอน. คำนี้
เป็นชื่อของอันนตริยกรรม พร้อมทั้งนิยตมิจฉาทิฐิ. ชื่อว่า สัมมัตตนิยตะ
เพราะแน่นอนในสภาพที่ถูกต้อง. คำนี้เป็นชื่อของ อริยมรรค ๔. ชื่อว่า
อนิยตะ เพราะไม่แน่นอน. คำนี้เป็นชื่อของธรรมที่เหลือ.
อวิชชา ชื่อว่า ตมะ ( ความมืด ) ในคำว่า ตโย ตมา เพราะ
พระบาลีว่า "ห้วงน้ำคือ อวิชชา ทำให้มืดมิด ลุ่มหลง มีภัยมาก ".
แต่ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงวิจิกิจฉา โดยหัวข้อว่า อวิชชา. คำว่า อารพฺภ
เท่ากับ อาคมฺน ( แปลว่า มาถึง หรือ อาศัย ). คำว่า กงฺขติ ความว่า
ให้เกิด ความสงสัย. คำว่า วิจิกิจฺฉติ ความว่า เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ย่อม
ถึงอาการลังเล ไม่อาจที่จะตกลงใจได้. คำว่า นาธิมุจฺจติ ความว่า ไม่
อาจที่จะน้อมเชื้อในกาลนั้น. บทว่า น สมฺปสีทติ ความว่า ไม่อาจเพื่อ
จะปลูกความเลื่อมใสโดยอาศัยกาลนั้น.
คำว่า อรกฺเขยฺยานิ แปลว่า ไม่ต้องรักษาไว้. ท่านแสดงความหมาย
ว่า ไม่มีหน้าที่จะต้องรักษาเป็นอย่าง ๆ ไป ในทวารทั้ง ๓ ทุกอย่างรักษา
ไว้แล้วด้วยสติอย่างเดียว. คำว่า ปฏิจฺฉาเทมิ ความว่า กายทุจริต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 302
ข้อนี้เกิดขึ้นเพราะความไม่รอบคอบของเรา, เราจะรักษาไว้มิให้คนอื่นรู้.
คำว่า นตฺถิ ตถาคตสฺส ความว่า กายทุจริตที่จะต้องรักษาอย่างนั้น ไม่มีแก่
พระตถาคต. แม้ในส่วนที่เหลือก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. ถามว่า พระขีณาสพ
อื่น ๆ มีกายสมาจารเป็นต้น ไม่บริสุทธิ์กระนั้นหรือ ตอบว่า ไม่ใช่ไม่
บริสุทธิ์ เพียงแต่ว่าบริสุทธิ์ไม่เท่ากับพระตถาคต. พระขีณาสพที่ฟังมา
น้อย ย่อมไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะ ก็จริงอยู่, แต่เพราะไม่ฉลาดใน
พุทธบัญญัติ ก็ย่อมจะต้องอาบัติในกายทวาร ประเภททำวิหาร ทำกุฏิ
( คลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติ ) อยู่ร่วมเรือน นอนร่วมกัน ( กับอนุป-
สัมบัน เป็นต้น ). ย่อมต้องอาบัติในวจีทวารประเภทชักสื่อ กล่าวธรรม
โดยบท พูดเกินกว่า ๕-๖ คำ บอกอาบัติที่เป็นจริง ( เป็นต้น ). ย่อม
ต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง ในทางมโนทวารด้วยอำนาจยินดีเงินทองที่
เขาเก็บไว้เพื่อตน. แม้พระขีณาสพ ขนาดพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ยัง
เกิดมโนทุจริตขึ้นได้ ด้วยอำนาจที่นึกตำหนิ ในมโนทวาร. เมื่อศากยะ-
ปาตุเมยยกะ ขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประโยชน์แก่พระสารีบุตร และ
พระโมคคัลลานะ ในคราวที่ทรงประณาม พระเถระทั้งสองนั้น พร้อมกับ
ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ในเรื่องปาตุมะ พระเถระ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสถามว่า." เธอคิดอย่างไร สารีบุตร เมื่อภิกษุสงฆ์ถูกเราประณามแล้ว".
ดังนี้ ก็ให้เกิดความคิดขึ้นว่า "เราถูกพระศาสดาประณาม เพราะไม่ฉลาด
เรื่องบริษัท. ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจะไม่สอนคนอื่นละ" จึงได้กราบทูลว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามีความคิดอย่างนี้ว่า " ภิกษุสงฆ์
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประณามแล้ว, บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรง
ขวนขวายน้อย ประกอบทิฐธรรมสุขวิหารธรรมอยู่ แม้เราทั้งสองก็จัก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 303
ขวนขวายน้อย ประกอบทิฐธรรมสุขวิหารธรรมอยู่. ลำดับนั้น พระศาสดา
เมื่อจะทรงยกข้อตำหนิ เพราะมโนทุจริตนั้น ของพระเถระ จึงตรัสว่า
"เธอจงรอก่อนสารีบุตร. ความคิดอย่างนี้ไม่ควรที่เธอจะให้เกิดขึ้นอีกเลย
สารีบุตร". แม้เพียงความคิดว่า "เราจะไม่ว่ากล่าวสั่งสอนคนอื่น อย่างนี้"
ก็ชื่อว่าเป็นมโนทุจริต ของพระเถระ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่มีพระ
ดำริเช่นนั้น และการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
แล้ว จะไม่พึงมีทุจริตนั้น ไม่ใช่ของน่าอัศจรรย์. แม้แต่ดำรงอยู่ในภูมิ
แห่งพระโพธิสัตว์ ทรงประกอบความเพียรอยู่ ๖ ปี พระองค์ก็มิได้มีทุจริต.
แม้เมื่อเหล่าเทวดาเกิดความสงสัยขึ้นอย่างนี้ว่า "หนังท้องติดกระดูกสันหลัง
(อย่างนี้) พระสมณโคดม ถึงแก่การดับสูญ ( เสียละกระมัง )" เมื่อถูก
มารใจบาป กล่าวอยู่ว่า " สิทธัตถะ ท่านจะต้องมาลำบากลำบนทำไม
ท่านสามารถที่จะเสวยโภคสมบัติไปด้วย สร้างบุญกุศลไปด้วยได้" ดังนี้
แม้เพียงความคิดว่า "เราจัก ( กลับไป ) เสวยโภคสมบัติ" ก็ไม่เกิด.
ครั้นแล้ว มารก็ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์
อยู่ถึง ๖ ปี ในเวลาที่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว อีก ๑ ปี ก็มิได้เห็น
โทษผิดอันหนึ่งอันใด จึงกล่าวความข้อนี้ไว้ แล้วหลบไป ว่า-
" เราติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปทุกย่างก้าว
ตลอดเวลา ๗ ปี ก็มิได้เห็นข้อบกพร่องใด ๆ ของ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระสติไพบูลย์นั้นเลย"
อีกประการหนึ่ง พึงทราบความไม่มีทุจริตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ด้วยอำนาจแห่งพุทธธรรม ๑๘ ประการ. อันว่าพุทธธรรม ๑๘
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 304
ประการ ดังนี้ พระตถาคตไม่มีกายทุจริต ๑ ไม่มีวจีทุจริต ๑ ไม่มีมโน
ทุจริต ๑ พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในอดีต ๑ พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดใน
อนาคต พุทธญาณไม่มีอะไรติดขัดในปัจจุบัน ๑ กายกรรมทั้งปวงของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า คล้อยตามพระญาณ ๑ วจีกรรมทั้งปวงของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า คล้อยตามพระญาณ ๑ มโนกรรมทั้งปวงของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า คล้อยตามพระญาณ ๑ ไม่มีความเสื่อมฉันทะ ๑ ไม่มีความ
เสื่อมวิริยะ ๑ ไม่มีความเสื่อมสติ ๑ ไม่มีการเล่น ๑ ไม่มีการวิ่ง ๑
ไม่มีความพลาดพลั้ง ๑ ไม่มีความผลุนผลัน ๑ ไม่มีพระทัยที่ไม่ขวนขวาย ๑
ไม่มีอกุศลจิต ๑.
คำว่า กิญฺจนา หมายถึงปลิโพธ เครื่องกังวล. คำว่า ราโค กิญฺจน
มีคำนิยามว่า ราคะ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมผูกมัดขัดข้องสัตว์เอาไว้ (ไม่ให้หลุด
พ้นจากวัฏฏะ ) ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่า กิญฺจนะ ( เครื่องข้อง ). แม้ใน ๒
บทนอกนี้ก็มีนัยเดียวกันนี้แล.
คำว่า อคฺคิ มีคำนิยามว่า ชื่อว่า อัคคี เพราะอรรถว่า ตามเผา
ไหม้. คำว่า ราคคฺคิ มีคำนิยามว่า ราคะ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมตามไหม้
เผาผลาญสัตว์ให้ร้อน ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่า. อัคคี. แม้ใน ๒ บทนอกนี้
ก็มีนัยเดียวกันนี้. ในกรณีนั้น มีเรื่อง ( ดังต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง). ภิกษุณี
สาวรูปหนึ่ง ไปยังโรงอุโบสถ ทำจิตตลบรรพตวิหาร ยืนมองร่างของนาย
ทวารบาลอยู่. ครั้นแล้ว ราคะก็เกิดขึ้น ภายในใจของเธอ. เธอถูกราคะ
นั้นเองเผาเอาจนตายไป ( ในขณะที่ยืนอยู่ตรงนั้นเอง ). พวกภิกษุณี เมื่อ
จะกลับ จึงกล่าวขึ้นว่า " ภิกษุณีรูปนี้ ยินดีอยู่ ( ตรงนั้นเอง ), ไปเรียก
เธอมา ". ภิกษุณีรูปหนึ่งเดินไปจับแขนพูดว่า "ยืนทำอะไรอยู่". พอถูก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 305
เข้าร่างภิกษุณีสาวนั้น ก็ล้มพับลงไป. นี้เป็นเรื่องที่ราคะตามเผาเอาก่อน.
ส่วนเรื่องที่โทสะตามเผาเอานั้น ก็อย่างพวกเทวดาประเภทมโนปโทสิกา
( พวกถูกทำร้ายด้วยใจ คือ โกรธขึ้นมาแล้วต้องจุติไป ). เรื่องที่โมหะตามเผา
เอานั้น พึงเห็นอย่างพวกเทวดาประเภทขิฑฑาปโทสิกา ( พวกถูกทำร้าย
ด้วยการเล่น). คือ เทวดาพวกนั้นหลงลืมสติด้วยอำนาจโมหะ. เพราะฉะนั้น
พอเลยเวลาอาหารไปแล้ว มัวแต่เที่ยวเล่นอยู่จึงต้องสิ้นชีวิตไป.
พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า อาหุเนยฺยคฺคิ เป็นต้น. เครื่องสักการะ
ท่านเรียกว่าอาหุนะ. บุคคลผู้ควรแก่อาหุนะ ชื่อว่า อาหุไนย. แท้จริง
มารดาบิดา ย่อมควรแก่อาหุนะ เพราะมีอุปการะมากแก่บุตร. บุตรทั้งหลาย
เมื่อปฏิบัติ ผิดพลาดในมารดาบิดา ก็ย่อมไปเกิดในอบาย มีนรกเช่นต้น,
ดังนั้น แม้ว่า มารดาบิดาจะไม่ตามเผาไหม้บุตรก็จริง แต่ก็เป็นต้นเหตุ
แห่งการถูกเผาไหม้. ท่านเรียกว่า อาหุเนยยัคคิ (ไฟคืออาหุไนยบุคคล)
โดยอรรถว่า ตามเผาไหม้ ด้วยประการดังนี้. ความข้อนี้นั้นพึงทราบด้วย
เรื่องนายมิตตวินทุกะ.
เรื่องมีอยู่ว่า นายมิตตวินทุกะ ถูกมารดากล่าวว่า "ลูกเอ๋ย วันนี้
เจ้าจงรักษาอุโบสถฟังธรรมที่วัดตลอดทั้งคืนเถิด แม่จะให้เจ้าพันหนึ่ง"
ด้วยความอยากได้ทรัพย์ จึงสมาทานอุโบสถไปวัด หมายใจว่า "ที่ตรงนี้
ปลอดภัย" จึงหลบเข้าไปนอนอยู่ใต้ธรรมาสน์ หลับไปตลอดทั้งคืน
(รุ่งเช้า ) ก็กลับบ้าน. ฝ่ายมารดาต้มยาคูไว้ แต่เช้าตรู่ เสร็จแล้วก็ยก
เข้าไปให้. นายมิตตวินทุกะดื่มยาคูทั้ง ๆ ที่ยังกำเงินพันไว้. ต่อมาเขามี
ความคิดขึ้นว่า จะรวบรวมทรัพย์. ก็เลยคิดอยากจะไป ( ค้าขาย ) ทาง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 306
เรือเดินทะเล. ทีนั้น มารดาห้ามเขาไว้ว่า "ลูกเอ๋ย ในตระกูลนี้ มี
ทรัพย์อยู่ถึง ๔๐ โกฏิแล้ว อย่าไปเลย". เขาไม่เอาใจใส่ต่อคำขอร้องของ
มารดา ขืนจะไปให้ได้. มารดาจึงยินขวางหน้าไว้. เขาโกรธมารดาว่า "แม่นี่
มายืนขวางหน้าเราได้ " จึงเตะมารดาล้มลง แล้วเดินข้ามไป. มารดาลุกขึ้น
กล่าวว่า "ลูกเอ๋ย เจ้าคงจะสำคัญว่า ทำกรรมเห็นปานนี้ในคนที่เป็นแม่
อย่างเรา แล้วเดินทางไป จักมีความสุขในที่ที่ไปถึง ". เมื่อนายมิตตวินทุกะ
ลงเรือไป ถึงวันที่ ๗ เรือก็หยุด (ขึ้นมาเฉย ๆ ). คนทั้งหลาย (ที่ไปในเรือ)
เหล่านั้นพากันกล่าวว่า " ในเรือลำนี้" มีคนบาปอยู่เป็นแน่ จงจับสลาก
กันดูเถิด " . เมื่อจับสลากกัน ก็ตกอยู่แก่นายมิตตวินทุกะ นั่นเอง ถึง
๓ ครั้ง. คนเหล่านั้นก็เอาเขาลงแพ ลอยไปในทะเล. เข้าไปถึงเกาะแห่งหนึ่ง
เสวยสมบัติอยู่กับพวกนางเวมานิกเปรต เมื่อเปรตพวกนั้นบอกว่า อย่าไป
ต่อ ๆ ไปอีกเลย ก็กลับมองเห็นสมบัติ (ข้างหน้า) เป็นสองเท่าอยู่ร่ำไป
จนกระทั่งได้พบสัตว์ตนหนึ่งมีจักรคม ". (พัดผันอยู่ที่ศีรษะ ). เขาเห็นจักร
นั้นเป็นประหนึ่งดอกบัว. จึงกล่าวกับสัตว์ตนนั้นว่า นี่แม่ท่านจงให้
ดอกบัวที่ท่านประดับอยู่นี้แก่ข้าพเจ้าเถิด". สัตว์นั้นกล่าวว่า " นายเอย นี่แน่
มิใช่ดอกบัวดอก นี่มันจักรคม ". เขากลับพูดว่า " ท่านหลอกข้าพเจ้า,
ดอกบัวทำไมข้าพเจ้าจะไม่เคยเห็น" ดังนี้แล้ว กล่าวต่อไปว่า "ท่านลูบไล้
จันทน์แดงอยู่แล้ว ไม่อยากจะให้ดอกบัวเครื่องประดับแก่ข้าพเจ้า. สัตว์ตน
นั้นคิดว่า "บุรุษผู้นี้คงจะได้ทำกรรมอย่างเดียวกับที่เราทำ จึงอยากจะเสวย
ผลกรรมนั้น". ครั้นแล้ว จึงกล่าวกับนายมิตตวินทุกะ ว่า "เอาเถิด
ข้าพเจ้ายกให้" แล้วเหวี่ยงจักรไปบนศีรษะของเขา. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
จึงกล่าวไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 307
" ได้สี่แล้วอยากได้แปด ได้แปดแล้วอยากได้สิบหก
ได้สิบหกแล้วอยากได้สามสิบสอง จึงต้องมาทูนจักรไว้
คนที่ถูกความอยากเล่นงานเอา จักรกำลังหมุนอยู่บนหัว".
เจ้าของเรือน ท่านเรียกว่า คฤหบดี คฤหบดีนั้น ชื่อว่า มีอุปการะ
มาก แก่มาตุคาม ด้วยการเพิ่มให้ซึ่งสิ่งของเช่นที่นอน, ผ้าผ่อนเครื่องแต่งตัว
เป็นต้น. มาตุคาม นอกใจคฤหบดี ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ดังนั้น
คฤหบดีนั้น ท่านจึงเรียกว่า คหปตัคคิ ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดย
นัยก่อนเช่นกัน. ในกรณีนั้น มีเรื่อง ( นี้เป็นตัวอย่าง )-
ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ภริยาของอุบาสกผู้เป็นโสดาบัน
ประพฤตินอกใจ. อุบาสกเห็นเหตุนั้นโดยประจักษ์ จึงกล่าวว่า "เหตุไร
เธอจึงทำอย่างนั้น. ภริยาตอบว่า " ถ้าดิฉันทำเห็นปานนั้น ( จริงอย่างที่ท่าน
ว่า ), ขอให้สุนัขตัวนี้ ทิ้งกัดดิฉันเถิด" ดังนี้แล้ว ตายไปเกิดเป็นเวมานิก-
เปรตที่สระกัณณเมุณฑกะ. กลางวันเสวยสมบัติ กลางคืนเสวยทุกข์. คราว
นั้น พระเจ้าพาราณสี เสด็จล่าเนื้อ เข้าไปในป่า เสด็จไปถึงสระกัณณ-
มุณฑกะ โดยลำดับ ได้เสวยสมบัติอยู่กับนาง. นางเปรตลวงท้าวเธอไป
เสวยทุกข์ในตอนกลางคืน. พระราชาทรงทราบความแล้ว ทรงสงสัยว่า
" นางไปที่ไหนหนอ " จึงเสด็จตามไปข้างหลัง ทรงหยุดอยู่ไม่ห่างนัก
ทอดพระเนตรเห็นสุนัขตัวหนึ่งออกมาจากสระกัณณมุณฑกะ กัดกินนาง
เสียงดังกรุบ ๆ กรับ ๆ อยู่ จึงทรงฟันด้วยพระแสงดาบ ขาดสองท่อน. สุนัข
กลับเพิ่มขึ้นเป็น ๒. เมื่อถูกฟันขาดอีก ก็เป็น. เมื่อถูกฟันขาดอีก ก็เพิ่ม
เป็น ๘. เมื่อถูกฟันขาดอีก ก็เพิ่มขึ้นเป็น ๑๖. นางทูลว่า "สวามี พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 308
ทรงทำอะไร". ท้าวเธอตรัสว่า "นี้อะไรกัน". นางทูลว่า พระองค์
อย่าทำอย่างนั้น จงทรงถ่มก้อนเขฬะลงบนพื้นแล้วขยี้ด้วยพระบาท".
ท้าวเธอทรงทำตามที่นางทูลบอก. สุนัขทั้งหลายก็หายไป. วันนั้นพอดีนาง
สิ้นกรรม พระราชาไม่ทรงสบายพระทัย จึงทรงเริ่มจะเสด็จกลับ. นาง
ทูลว่า " สวามี กรรมของหม่อมฉันสิ้นแล้ว อย่าเสด็จไปเลย". พระราชา
ไม่ทรงฟัง เสด็จไปจนได้. ส่วนในคำว่า ทกฺขิเณยฺยคฺคิ นี้ คำว่า ทกฺขิณา
คือปัจจัย ๔. ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า ทักขิไณยบุคคล. ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า มีอุปการะ
มากเเก่คฤหัสถ์ ด้วยการชักนำ ให้ประพฤติในกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นต้นว่า สรณะ ๓ ศีล ๕ ศีล . การเลี้ยงดูมารดาบิดา การบำรุง
สมณพราหมณ์ผู้มีธรรม. คฤหัสถ์ที่ปฏิบัติผิดในภิกษุสงฆ์ บริภาษด่าทอ
ภิกษุสงฆ์ ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ดังนั้น แม้ภิกษุสงฆ์ท่านก็
เรียกว่า ทักขิเณยยัคคิ ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดยนัยก่อนเช่นกัน.
และเพื่อจะให้ความข้อนี้กระจ่าง ควรจะแถลงเรื่องเวมานิกเปรตโดยละเอียด
ด้วย.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ติวิเธน รูปสงฺคโห นี้ต่อไป. คำว่า ติวิเธน
แปลว่า ๓ ส่วน. คำว่า สงฺคโห หมายเอาสังคหะ ๔ อย่างคือ ชาติสังคหะ
สัญชาติสังคหะ กิริยสังคหะ และคณนสังคหะ. บรรดาสังคหะ ๔ อย่างนั้น
การรวบรวมเป็นต้นว่า " กษัตริย์ทั้งปวงจงมา " ดังนี้ ชื่อว่า ชาติสังคหะ
(รวบรวมตามชาติกำเนิด ). การรวบรวมเป็นต้นว่า " ชาวโกศล ทั้งหมด
จงมา" ดังนี้ ชื่อว่า สัญชาติสังคหะ ( รวบรวมตามสัญชาติ ). การรวบรวม
เป็นต้นว่า " ควาญช้างทั้งหมด จงมา" ดังนี้ ชื่อว่า กิริยสังคหะ ( รวบรวม
ตาม อาการที่ทำ ). การรวบรวมนี้ว่า " ถามว่า อายตนะ คือ จักษุ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 309
นับเข้าในขันธ์ไหน ตอบว่า อายตนะ คือ จักษุ นับเข้าในรูปขันธ์
พระสกวาทีกล่าวว่า ถ้าอายตนะ คือ จักษุนับเข้าในรูปขันธ์ ด้วยเหตุนั้น
ก็ควรจะกล่าวว่า อายตนะคือ จักษุ สงเคราะห์เข้าด้วยรูปขันธ์" ดังนี้
ชื่อว่า คณนสังคหะ (รวบรวมตามการนับเข้าได้ ). คณนสังคหะนั้น
มุ่งหมายเอาในที่นี้ . เพราะฉะนั้น คำว่า ติวิเธน รูปสงฺคโห จึงมีความหมาย
ว่า การนับรูปเป็น ๓ ส่วน. พึงทราบวินิจฉัยในสนิทัสสนะ เป็นต้น. รูป
พร้อมทั้งนิทัสสนะ กล่าวคือจักษุวิญญาณที่เป็นไปปรารภตน ชื่อว่า
สนิทัสสนะ รูปพร้อมทั้งปฏิฆะ เพราะสามารถที่จะกระทบจักษุ ชื่อว่า
สัปปฏิฆะ. สัปปฏิฆะนั้น โดยความหมาย ก็คือรูปายตนะนั่นเอง. นิทัสสนะ
กล่าวคือ จักษุวิญญาณของรูปนั้นไม่มี ดังนั้น จึงชื่อว่า อนิทัสสนะ. รูป
พร้อมทั้งปฏิฆะ เพราะสามารถที่จะกระทบโสต ชื่อว่า สัปปฏิฆะ. สัปปฏิฆะ
นั้น โดยความหมาย ก็คือ อายตนะ ๙ มีอายตนะคือจักษุเป็นต้น.
นิทัสสนะมีประการดังกล่าวมาแล้ว ของรูปนั้นไม่มี ดังนั้น จึงชื่อว่า
อนิทัสสนะ. ปฏิฆะของรู้นั้นไม่มี ดังนั้น จึงชื่อว่า อัปปฏิฆะ. อัปปฏิฆะนั้น
โดยความหมาย ก็คือ สุขุมรูปที่เหลือ ยกเว้นอายตนะ ๑๐.
คำว่า ตโย สงฺขารา มีคำนิยามว่า ชื่อว่า สังขาร เพราะปรุงขึ้น
คือทำให้เป็นกลุ่มขึ้น ซึ่งธรรมที่เกิดร่วมกัน และธรรมที่มีผลในกาลต่อไป.
ชื่อว่า อภิสังขาร เพราะปรุงขึ้นอย่างยิ่ง. อภิสังขารคือบุญ ชื่อว่า
ปุญญาภิสังขาร.
คำว่า ปุญญาภิสังขารนั้น เป็นชื่อของมหาจิตเจตนา อันเป็น
กามาวจรกุศล ๘ ดวง และเจตนาอันเป็นรูปาวจรกุศล ๕ ดวง ที่ท่านกล่าว
ไว้อย่างนี้ว่า " บรรดาอภิสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขารคืออะไร คือ กุศล
เจตนา เป็นกามาวจร รูปาวจร สำเร็จด้วยทาน สำเร็จด้วยศีล สำเร็จ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 310
ด้วยภาวนา". บรรดาเจตนาเหล่านั้น เฉพาะเจตนา ๘ ดวง สำเร็จด้วย
ทาน สำเร็จด้วยศีล . ทั้ง ๓ ดวง สำเร็จด้วยภาวนา. อุปมาเหมือนบุคคล
สาธยาย ธรรมที่ตนคล่อง แม้จะว่าไป ๑ หรือ ๒ หัวข้อแล้ว ก็ไม่รู้ ภายหลัง
ระลึกขึ้นมา จึงรู้ ฉันใด ท่านผู้ทำกสิณบริกรรม พิจารณาฌานที่ตนคล่อง
อยู่ภาวนาก็ย่อมเป็นญาณวิปยุต (ไม่ประกอบด้วยความรู้) ได้บ้าง ฉันนั้น
เหมือนกัน ฯ ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวว่า "ทั้ง ๑๓ ดวง สำเร็จด้วยภาวนา ่.่
บรรดาปุญญาภิสังขารที่สำเร็จด้วยทานเป็นต้นนั้น ความตั้งใจ จำนงจงใจ
ที่ปรารภทาน เกิดขึ้น มีทานเป็นหลัก นี่ท่านเรียกว่า ปุญญาภิสังขารที่
สำเร็จด้วยทาน ความตั้งใจจำนง จงใจที่ปรารภศีล ปรารภภาวนาเกิดขึ้น
มีภาวนาเป็นหลัก นี้ท่านเรียกว่า ปุญญาภิสังขารที่สำเร็จด้วยภาวนา. ดัง
กล่าวมานี้ เป็นสังเขปเทศนา. เจตนาที่เป็นไปในกาลทั้ง ๓ ของผู้ถวายสิ่ง
ของนั้น ๆ ในจำพวกปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น อารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น
หรือทานวัตถุ ๑๐ อย่างมีข้าวเป็นต้น คือในกาลเบื้องต้น ตั้งแต่ยังสิ่งของ
เหล่านั้นให้เกิดขึ้น ในกาลขณะกำลังบริจาค ๑ ในกาลที่หวนระลึกในภาย
หลังด้วยจิตโสมนัส ดังนี้ ชื่อว่า ทานมัยเจตนา (เจตนาที่สำเร็จด้วยทาน)
ส่วนเจตนาที่เป็นไปแล้ว ของท่านผู้ไปวัดด้วยตั้งใจว่า " จักบวชบำเพ็ญศีล".
ของผู้กำลงบวช ของผู้ยังมโนรถ ให้ถึงที่สุดแล้ว หวนระลึกว่า "เราบวช
แล้วหนอ สำเร็จประโยชน์ด้วยของผู้สำรวมพระปาฏิโมกข์ ของผู้พิจารณา
ปัจจัยทั้งหลาย มีจีวรเป็นต้น ของผู้สำรวมทวารมีจักษุทวารเป็นต้นใน
อารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่มาถึงเข้า และของผู้ชำระอาชีวะให้หมดจด ( ดังนี้)
ชื่อว่า สีลมัยเจตนา ( เจตนาที่สำเร็จด้วยศีล ). เจตนาที่เป็นไปแล้ว ของ
ท่านผู้อบรมจักษุ โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ด้วยวิปัสสนา.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 311
มรรค ที่กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา ของท่านผู้อบรมใจ ฯลฯ ของท่านผู้อบรม
จักษุวิญญาณ มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส มโนสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
จักษุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส ในรูปารมณ์ ในธรรมารมณ์
ของท่านผู้อบรมรูปสัญญา ฯลฯ ชรามรณะ โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตาชื่อว่า ภาวนามัยเจตนา ( เจตนาที่สำเร็จด้วยภาวนา). ดังกล่าว
มานี้ เป็นวิตถารกถา. อภิสังขารนั้นด้วย มิใช่บุญ (เป็นบาป) ด้วย
ดังนั้น จึงชื่อว่า อปุญญาภิสังขาร ( อภิสังขารอันเป็นบาป ). คำว่า
อปุญญาภิสังขารนี้เป็นชื่อของเจตนา ที่สัมปยุตด้วยอกุศลจิต. สมดังที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า "บรรดาอภิวังขารเหล่านั้น อปุญญาภิสังขารคืออะไร คือ
อกุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร". ที่ชื่อว่า
อาเนญชาภิสังขาร เพราะปรุงขึ้นอย่างยิ่ง ซึ่งอรูปนั่นเองที่เป็นวิบาก ไม่
หวั่นไหว ไม่สั่นคลอน สงบ. คำว่า อาเนญชาติสังขารนี้ เป็นชื่อของ
กุศลเจตนาอันเป็นอรูปาวจร ๔ ดวง. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า " บรรดา
อภิสังขารเหล่านั้น อาเนญชาภิสังขารคืออะไร คือกุศลเจตนา อันเป็น
อรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร".
พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลัตติกะ ต่อไป. บุรุษบุคคล ๗ ชนิด ย่อม
ศึกษาไตรสิกขา ดังนั้น จึงชื่อว่าเสกขะ ( ผู้ยังต้องศึกษา ). พระขีณาสพ
ไม่ต้องศึกษาอีกเพราะศึกษาไตรสิกขาจบแล้ว ดังนั้น จึงชื่อว่า อเสกขะ
( ผู้ไม่ต้องศึกษา ). ปุถุชน ชื่อว่า เสกขะก็ไม่ใช่ อเสกขะก็ไม่ใช่ เพราะ
อยู่ภายนอก จากสิกขาทั้งหลาย. พึงทราบวินิจฉัยในเถรัตติกะต่อไป. ท่าน
เป็นผู้ใหญ่โดยชาติ ชื่อว่า คิหิชาติเถระ. ท่านผู้ประกอบด้วยธรรมอย่าง
เดียว หรือหลายอย่าง ในบรรดาธรรมทั้งหลาย ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 312
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทำให้เป็นเถระ ๔ ประการเหล่านี้ คือ
พระเถระในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต ได้ฌาน ๔ เพราะสิ้น
อาสวะทั้งหลาย ฯลฯ เข้าถึงพร้อมอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ทำ
ให้เป็นเถระ ๔ ประการเหล่านี้แล " ดังนี้ ชื่อว่า ธรรมเถระ. ท่านผู้มี
ชื่อว่าเถระอย่างนี้ คือ "ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ที่ชื่อว่า พระเถระ" ก็ดี
คนทั้งหลายเห็นนักบวชเช่นสามเณรเป็นต้น ที่บวชเวลามีอายุมากแล้ว
เรียกขานว่า " พระเถระ พระเถระ" ก็ดี นี้ชื่อว่า สมมติเถระ.
พึงทราบวินิจฉัยในบุญญกิริยาวัตถุต่อไป. ทานนั่นเอง ชื่อว่า ทานมัย
การทำบุญนั้นด้วย วัตถุ ( คือที่ตั้ง ) แห่งบุญญานิสงส์เหล่านั้นด้วย ดังนั้น
จึ่งชื่อ บุญญกิริยาวัตถุ ( ที่ตั้งแห่งการทำบุญ) แม้ในบุญญกิริยาวัตถุ ข้ออื่น ๆ
ก็มีนัยเช่นเดียวกันนี้. แต่โดยความหมาย พึงทราบบุญญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง
เหล่านี้ พร้อมทั้งบุรพภาคเจตนา ( ความตั้งใจก่อนและทำ ) และอปรภาค
เจตนา ( ความตั้งใจภายหลังจากทำแล้ว ) ด้วยอำนาจแห่งเจตนาที่สำเร็จ
ด้วยทานเป็นต้น ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น. และในเรื่องนี้ บุคคลทำกรรม
อย่างหนึ่ง ๆ ด้วยกาย นับตั้งแต่บุรพภาคเจตนา ก็จัดเป็นกายกรรม เมื่อ
เปล่งวาจาอันมีความหมายอย่างนั้น จัดเป็นวจีกรรม. เมื่อไม่ได้ยังองค์แห่ง
กาย และองค์แห่งวาจาให้ไหว คิดด้วยใจ (อย่างเดียว) ก็จัดเป็นมโนกรรม
อีกนัยหนึ่ง สำหรับผู้ให้ทานวัตถุมีข้าวเป็นต้น (ในเวลาที่กล่าวว่า) ข้าพเจ้า
ให้อันนทาน ( ให้ข้าว ) เป็นต้นก็ดี ในเวลาที่ระลึกถึงทานบารมีแล้ว ให้ก็ดี
จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยทาน. ตั้งอยู่ในวัตรและศีลแล้วให้ จัดเป็น
บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลเริ่มตั้งความพิจารณาโดยความสิ้นไป เสื่อมไป
แล้วให้ จัดเป็นบุญญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยภาวนา. บุญกิริยาวัตถุอย่างอื่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 313
มีอีก ๗ อย่าง คือ บุญญกิริยาวัตถุอันประกอบด้วยความเคารพยำเกรง
ประกอบด้วยการขวนขวาย ( ช่วยทำกิจของผู้อื่น ) การให้ส่วนบุญ การ
อนุโมทนาส่วนบุญ อันสำเร็จด้วยการแสดงธรรม อันสำเร็จด้วยการฟัง
ธรรม บุญกิริยาวัตถุคือ การทำความเห็นให้ตรง ดังนี้. บรรดาบุญกิริยา
วัตถุทั้ง ๗ นั้น ความเคารพ ยำเกรง พึงทราบ โดยอาการเช่น เห็น
พระผู้เฒ่าแล้ว ลุกรับ รับบาตรจีวร กราบไหว้ หลีกทางให้เป็นต้น.
การขวนขวาย พึงทราบด้วยการทำวัตร ปฏิบัติแก่พระภิกษุผู้แก่กว่าตน
ด้วยการที่เห็นภิกษุเข้าบ้าน เพื่อบิณฑบาตแล้ว ถือบาตรไปชักชวน รวบรวม
ภิกษาในบ้าน และด้วยการได้ฟังว่า "ไปเอาบาตรของพวกภิกษุมา"
ดังนี้แล้ว เร่งรีบไปนำบาตรมา เป็นต้น. การให้ส่วนบุญพึงทราบ ด้วยการ
ที่ถวายปัจจัย ๔ แล้ว ( ตั้งจิตอุทิศ ) ให้เป็นไปว่า "ส่วนบุญจะมีแก่สรรพ
สัตว์". การอนุโมทนาส่วนบุญ พึงทราบ ด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
ที่ผู้อื่นให้ว่า "สาธุ ถูกดีนักแล้ว". ภิกษุรูปหนึ่งตั้งอยู่ในความปรารถนา
ว่า " คนทั้งหลายจักรู้จักเราว่าเป็นธรรมกถึก ด้วยอุบายอย่างนี้" เป็นผู้
หนักในลาภแสดงธรรม ข้อนั้นไม่มีผลมาก. ภิกษุรูปหนึ่งแสดงธรรมที่ตน
คล่องแก่ชนอื่นๆ โดยไม่ได้หวังผลตอบแทน นี้ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จ
ด้วยการแสดงธรรม. บุคคลผู้หนึ่ง เมื่อจะฟังธรรม ก็ฟังด้วยความมุ่งหมาย
ว่า "คนทั้งหลาย จักได้รู้จักเราว่า มีศรัทธาด้วยอาการอย่างนี้" ข้อนั้น
ไม่มีผลมาก. บุคคลผู้หนึ่ง ฟังธรรมด้วยจิตที่อ่อนโยนแผ่ประโยชน์ว่า จัก
มีผลมากแก่เราด้วยอาการอย่างนี้" นี้ชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุ สำเร็จด้วยการ
ฟังธรรมส่วนการทำความเห็นให้ตรงเป็นลักษณะกำหนดสำหรับบุญกิริยา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 314
วัตถุทุกอย่าง. ที่จริง คนทำบุญอย่างใดๆ ก็ตาม มีผลมากได้ ก็ด้วยความ
เห็นตรงนั่นเอง.บุญกิริยาวัตถุ ๗ อย่างเหล่านี้ พึงทราบว่า รวมเข้าได้
กับบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างข้างต้นนั่นเอง ด้วยประการดังนี้. ในที่นี้ ความ
เคารพ ยำเกรง และการขวนขวาย (ช่วยทำกิจของผู้อื่น ) รวมลงได้
ในสีลมัยบุญกิริยาวัตถุ. การให้ส่วนบุญ และการอนุโมทนาส่วนบุญ รวม
ลงได้ในทานมัยบุญกิริยาวัตถุ, การแสดงธรรม และการฟังธรรม รวมลง
ได้ในภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุ การทำความเห็นให้ตรง รวมลงได้ทั้ง
๓ อย่าง.
คำว่า โจทนาวตฺถูนิ หมายถึงเหตุที่จะโจท ( กล่าวหา ) กัน.
คำว่า ทิฏฺเน หมายความว่า เห็นความผิดด้วยตาเนื้อก็ตาม ด้วยตาทิพย์
ก็ตาม แล้วโจทขึ้น. คำว่า สุเตน หมายความว่า ได้ยินเสียง ( เล่าอ้าง )
ของผู้อื่น ด้วยหูธรรมดาก็ตาม ด้วยหูทิพย์ก็ตาม แล้วโจทขึ้น. คำว่า
ปริสงฺกาย หมายความว่า โจทขึ้นด้วยความสงสัย เพราะได้เห็นมา ก็ตาม
ด้วยความสงสัย เพราะได้ยินมาก็ตาม ด้วยความสงสัยเพราะได้ทราบมา
ก็ตาม. นี้เป็นความสังเขปในเรื่องนี้. ส่วนรายละเอียดพึงทราบตามนัยที่
ได้กล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกานั่นแล.
บทว่า ผู้เข้าถึงกาม หมายความว่า ผู้เข้าไปเสพกาม หรือได้
เฉพาะกาม. บทว่า ผู้มีกามปรากฏแล้ว ได้แก่ ผู้มีกามผูกมัดไว้ คือ ผู้มี
อารมณ์ผูกมัด. คำว่าเปรียบเหมือนมนุษย์ คือ เหมือนพวกมนุษย์. เพราะว่า
พวกมนุษย์ ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในวัตถุที่ผูกพันเท่านั้น มีจิตปฏิพัทธ์
ในมาตุคามคนใด ก็ให้เงินร้อยหนึ่งบ้าง สองร้อยบ้าง แล้วนำมาตุคาม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 315
นั้นมาบริโภคโภคะที่ผูกพัน. เทพยดาผู้อยู่ในเทวโลก ๔ เหล่า ชื่อว่า เทพยดา
บางพวก. แม้เทพยดาเหล่านั้น ก็ยังอำนาจให้เป็นไปในวัตถุที่ผูกพันนั้น
และ. เทพดาที่เหลือ เว้นพวกสัตว์นรก ชื่อว่า พวกวินิบาต. เพราะ
แม้ปลา และเต่า เป็นต้นก็ยังอำนาจให้เป็นไปในวัตถุที่ผูกพันนั้นแหละ
อธิบายว่า ปลาก็ยังอำนาจให้เป็นไปกับนางปลา เต่าก็ยังอำนาจให้เป็นไป
กับนางเต่า. สองบทว่า เนรมิตแล้ว ๆ ความว่า เนรมิตรูปนั้นๆ ที่ปรารถนา
สำหรับตน โดยเป็นรูปสีเขียว และรูปสีเหลืองเป็นต้น เหมือนเทวดา
เหล่ามนาปกายิกา เนรมิตรูปไว้ข้างหน้าท่านพระอนุรุทธะฉะนั้น. บทว่า
นิมฺมานรตี ความว่า ชื่อว่าเทวดาเหล่านิมมานรดี เพราะอรรถว่า เทวดา
เหล่านั้น ยินดีในของเนรมิตที่ตนเนรมิตแล้ว ๆ อย่างนั้น. บทว่า
ปรนิมฺมิตกามา แปลว่า ผู้มีกามที่ผู้อื่นเนรมิตให้. เพราะว่า เทวดาพวก
อื่นรู้ใจของเทวดาเหล่านั้น แล้วก็เนรมิตกามโภคะตามที่ชอบใจให้ เทวดา
เหล่านั้น ย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในกามโภคะนั้นนั่นแหละ. ถามว่า ผู้อื่น
รู้ใจของคนอื่นได้อย่างไร. ตอบว่ารู้ได้ด้วยอำนาจการเสพใช้ตามปกติ
อุปมาเหมือนพ่อครัวผู้ฉลาด เมื่อพระราชาเสวยอยู่ย่อมรู้ได้ว่า พระราชา
พระองค์นั้นทรงรับสิ่งใด ๆ มาก พระองค์ย่อมโปรดสิ่งนั้น ๆ. ผู้อื่นรู้อารมณ์
ที่เขาชอบใจมากตามปรกติด้วยอาการอย่างนี้แล้ว จึงเนรมิตอารมณ์เช่นนั้น
นั้นแลให้ พวกเขาย่อมยังอำนาจให้เป็นไปในสิ่งที่เขาเนรมิตให้นั้น คือ
เสพเมถุน. ส่วนพระเถระบางท่านกล่าวว่า กามกิจย่อมสำเร็จแก่พวกเขา
ด้วยอาการสักว่าหัวเราะ สักว่ามองดูและสักว่าการสรวมกอด. คำของพระ
เถระบางท่านนั้น ถูกคัดค้านไว้ในอรรถกถาว่าคำที่กล่าวนั้นไม่มี. กามกิจ
ที่จะพึงตูกต้องจะสำเร็จแก่ผู้ไม่ถูกต้องด้วยกาย หามิได้. เพราะว่า กามทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 316
หลายของเหล่าเทพชั้น ฉกามาวจร เป็นไปตามปรกติเหมือนกัน. สมจริงดัง
ที่ตรัสไว้ว่า
เทพเหล่ากามาวจรหกชั้นเหล่านั้น พรั่ง
พร้อมด้วยการทั้งปวง อายุของเทพเหล่านั้น
เมื่อนับรวมกันจะเป็นเท่าไร.
บทว่า สุขูปปตฺติโย แปลว่า ผู้ได้เฉพาะสุข. คำว่า อุปฺปาเทตฺวา
อุปฺปาเทตฺวา สุข วิหรนฺติ ความว่า ยังความสุขในปฐมฌานให้เกิดขึ้น
ในขั้นต่ำ แล้วเสวยความสุขในฌานอันเป็นตัววิบากในชั้นสูง. สองบทว่า
สุเขน อภิสนนา แปลว่า ชุ่มฉ่ำด้วยสุข ในทุติยฌาน. บทว่า ปริสนฺนา
แปลว่า ชุ่มฉ่ำโดยทั่วถึง. บทว่า ปริปูรา แปลว่า บริบูรณ์. บทว่า
ปริปฺผุฏา เป็นไวพจน์ของคำว่า ปริปูรา นั้นนั่นแหละ. แม้คำนี้ที่ว่า
สุขหนอ สุขหนอ ก็ทรงตรัสหมายเอาความสุขอันเป็นตัววิบาก นั้นนั่งเอง.
ได้ยินว่า เทพเหล่านั้น เกิดความโลภในภพมากชั้น เพราะฉะนั้น จึงเปล่ง
อุทานอย่างนั้นในที่บางแห่ง ในบางเวลา. บทว่า สนฺตเมว แปลว่า ประณีต
แท้. บทว่า สนฺตุสิตา หมายความว่า เป็นผู้สันโดษ เพราะไม่ต้องการ
สุขยิ่งขึ้นไปกว่านั้น. สองบทว่า สุข ปฏิเวเทนฺติ แปลว่า เสวยสุขใน
ตติยฌาน.
ปัญญาของพระอริยเจ้า ๗ พวก ชื่อว่า เสกขปัญญา ปัญญาของ
พระอรหันต์เป็นอเสกขปัญญา ปัญญาที่เหลือ เป็นเนวเสกขานาเสกขปัญญา
( เป็นเสกขปัญญาก็ไม่ใช่ เป็นอเสกขปัญญาก็ไม่ใช่ ). ในปัญญาที่สำเร็จ
ด้วยความคิด เป็นต้น มีความพิสดารดังต่อไปนี้ ที่ว่าบรรดาปัญญาเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 317
ปัญญาที่สำเร็จด้วยความคิดเป็นไฉน ในบ่อเกิดของการงานที่น้อมนำเข้าไป
ด้วยปัญญา หรือในบ่อเกิดของศิลปะ ที่น้อมนำเข้าไปด้วยปัญญา หรือใน
สถานที่ของวิชาที่น้อมนำเข้าไปด้วยปัญญา บุคคลไม่ได้ฟังมาแต่ผู้อื่น กลับ
ได้กัมมัสสกตาญาณ หรือ สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมิกขันติ ทิฐิ รุจิ
มุนิ เปกขะ ธัมมนิชฌานขันติ เห็นปานนี้ อันใดว่ารูปไม่เที่ยง ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง นี้เรียกว่า จินตามยปัญญา ในปัญญา ๓ ประการนั้น
ปัญญาที่สำเร็จด้วยการฟังเป็นไฉน ในบ่อเกิดของการงานที่น้อมนำเข้าไป
ด้วยปัญญา ได้ฟังจากผู้อื่นเท่านั้น จึงกลับได้ ฯลฯ ธัมมนิชฌานขันติ
นี้เรียกว่า สุตมยปัญญา ในปัญญา ๓ ประการนั้น ปัญญาที่สำเร็จด้วย
การเจริญภาวนาเป็นไฉน ปัญญาแม้ทั้งหมดของผู้เข้าสมาบัติชื่อว่า ภาวนา-
มยปัญญา.
บทว่า สุตาวุธ ได้แก่ อาวุธ คือ สุตะ. อาวุธ คือ สุตะนั้น
โดยใจความได้แก่ พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก. เพราะว่า ภิกษุอาศัย
อาวุธนั้น คือ อาศัยอาวุธ ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ครั้นคร้าม ข้ามล่วง
สังสารกันดารได้ เหมือนทหารกล้า ไม่ครั่มคร้ามข้ามล่วงมหากันดารได้
ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้นแหละ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้ง
หลายอริยสาวกผู้มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล ทำกุศลให้เจริญ ละสิ่งที่
มีโทษ ทำสิ่งที่ไม่มีโทษให้เจริญ บริหารตนให้บริสุทธิ์อยู่ดังนี้ . บทว่า
ปวิเวกาวุธ ความว่า อาวุธ คือ วิเวก แม้สามประการนี้คือ กายวิเวก
จิตตวิเวก อุปธิวิเวก. วิเวก ๓ ประการนั้นมีการกระทำต่าง ๆ กัน. กายวิเวก
สำหรับบุคคลผู้มีกายหลีกออกไป ยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวกสำหรับบุคคล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 318
ผู้มีจิตบริสุทธิ์ บรรลุถึงความผ่องแผ้วอย่างยอด และอุปธิวิเวกสำหรับบุคคล
ผู้ไม่มีอุปธิ ถึงซึ่งวิสังขาร (คือพระนิพพาน). ก็บุคคลผู้ยินดียิ่งแล้วในวิเวก
๓ อย่างนี้ ย่อมไม่กลัวแต่ที่ไหน ๆ เพราะฉะนั้น วิเวกแม้นี้ก็เรียกว่าอาวุธ
เพราะอรรถว่า เป็นที่พึ่งอาศัยอาวุธคือปัญญา อันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ.
จัดเป็นอาวุธ คือปัญญา. เพราะว่า บุคคลผู้มีอาวุธ คือ ปัญญานั้น ย่อมไม่
กลัวแต่ที่ไหนๆ ทั้งใครๆ ก็ไม่กลัวบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น ปัญญาแม้นั้นก็
เรียกว่า อาวุธ เพราะอรรถว่า เป็นที่พึ่งอาศัย .
บทว่า อนญฺตญฺสฺสามีตินฺทฺริย ความว่า อินทรีย์ที่เกิดขึ้น
แก่ผู้ปฏิบัติด้วยหวังว่า เรารู้จักธรรมที่ยังไม่รู้ ยังไม่แจ้งในกาลก่อนแต่นี้.
คำว่า อนญฺตญฺตสฺสามีตินฺทฺริย นี้ เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ.
บทว่า อญฺินฺทฺริย ได้แก่ อินทรีย์อันเป็นความรู้ทั่วถึง คือ เป็นความรู้.
คำว่า อญฺินฺทฺริย นี้เป็นชื่อของญาณ ในฐานะ ๖ ประการ เริ่มแต่โสดา-
ปัตติผลไป. บทว่า อญฺาตาวินฺทฺริย นี้ ได้แก่ อินทรีย์ในธรรมทั้ง
หลายที่เป็นของท่านผู้รู้ทั่วถึง คือ อันถึงที่สุดกิจของการรู้. คำว่า อญฺญาตา-
วินฺทฺริย นี้เป็นชื่อของอรหัตตผลญาณ.
มังสจักขุ ได้แก่ จักขุประสาท. ทิพยจักขุ ได้แก่ ญาณอาศัย
แสงสว่าง ปัญญาจักขุ ได้แก่ ปัญญาอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ.
พึงทราบวินิจฉัยในอธิสีลสิกขาเป็นต้นต่อไป. ศีลอันยิ่งนั้นด้วย
ชื่อว่า สิกขา เพราะจะต้องศึกษาด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อธิสีล-
สิกขา. แม้ในสิกขาทั้ง ๒ นอกนั้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในอธิสีลสิกขา
เป็นต้นนั้น ศีล คือศีลอันยิ่ง จิต คือจิตอันยิ่ง ปัญญา ก็คือปัญญาอันยิ่ง
เพราะเป็นต้น พึงทราบความต่างกันเพียงเท่านี้. ศีล ๕ และ ศีล ๑๐ ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 319
ศีล. ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ชื่อว่า ศีลอันยิ่ง. สมาบัติ ๘ จัดเป็นจิต
(สมาธิ). ฌานอันเป็นบาทของวิปัสสนา จัดเป็นจิตอันยิ่ง. กัมมัสสกตา-
ญาณ จัดเป็นปัญญา. วิปัสสนา จัดเป็นปัญญาอันยิ่ง. เพราะว่าศีล ๕
และศีล ๑๐ ย่อมมีในพุทธุปบาทกาลแม้ยังไม่เกิดขึ้นเพราะเหตุนั้น ศีล ๕
ศีล ๑๐ จึงคงเป็นศีลนั้นแหละ. ปาติโมกขสังวรศีล ย่อมมีเฉพาะในพุทธุป-
บาทกาลเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ปาติโมกขสังวร จึงจัดเป็นศีลอันยิ่ง. แม้
ในจิตและปัญญาก็นัยนี้เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๑๐ ก็ดี
ที่บุคคลปรารถนาพระนิพพานสมาทานแล้ว จัดเป็นศีลอันยิ่งเหมือนกัน
แม้สมาบัติ ๘ ที่บุคคลเข้าแล้ว ก็จัดเป็นจิตอันยิ่งเหมือนกัน. หรือว่า
โลกิยศีลทั้งหมด เป็นศีลเท่านั้น. ( ส่วน ) โลกุตตรศีล เป็นศีลอันยิ่ง.
แม้ในจิตและปัญญาก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในภาวนา ต่อไป. กายอันเป็นไปในทวาร ๕ ของ
พระขีณาสพ ชื่อว่า กายภาวนา. สมาบัติ ๘ ชื่อว่า จิตตภาวนา.
ปัญญาในอรหัตผล ชื่อว่า ปัญญาภาวนา. ก็พระขีณาสพย่อมเป็นผู้
อบรมกายอันเป็นไปในทวาร ๕ มีดีแล้ว โดยส่วนเดียว. สมาบัติ ๘ ของ
ท่านก็ไม่ทุรพลเหมือนของคนอื่น. และปัญญาของท่านเท่านั้น ชื่อว่า
อบรมแล้วเพราะความไพบูลย์ด้วยปัญญา. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าว
อย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอนุตตริยะต่อไป. วิปัสสนาจัดเป็นทัสสนานุต-
ตริยะ มรรคจัดเป็นปฏิปทานุตตริยะ ผลจัดเป็นวิมุตตานุตตริยะ. หรือว่า ผล
เป็นทัสสนานุตตริยะ มรรคเป็นปฏิปทานุตตริยะ นิพพานเป็นวิมุตตานุต-
ตริยะ. หรือว่า นิพพานจัดเป็นทัสสนานุตตริยะ เพราะว่า ธรรมดาสิ่งที่จะ
พึงเห็นที่ยิ่งไปกว่าพระนิพพานนั้น ย่อมไม่มี มรรคจัดเป็นปฏิปทานุตตริยะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 320
ผลจัดเป็นวิมุตตานุตตริยะ. คำว่า อนุตฺตริย แปลว่า สูงสุด คือเจริญที่สุด.
พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิต่อไป. สมาธิในปฐมฌาน ที่ทั้งวิตกและ
วิจาร. โดยปัญจกนัย สมาธิในทุติยฌาน ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร. สมาธิที่
เหลือ ( จากสมาธิในทุติยฌาน ) ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร. กถาในสุญญตะ
เป็นต้น มี ๓ อย่างคือ โดยความสำเร็จ โดยคุณของตน โดยอารมณ์.
ภิกษุรูปหนึ่ง ยึดถือโดยความเป็นอนัตตา เห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ออกไป (คือหลุดพ้น) โดยความเป็นอนัตตา ชื่อว่า (สุญญตะ) โดยความ
สำเร็จ. วิปัสสนาของท่านชื่อว่า เป็นสุญญตะ เพราะเหตุไร. เพราะกิเลส
ตัวกระทำไม่ให้เป็นสุญญตะไม่มี. มรรคสมาธิ ชื่อว่าเป็นสุญญตะ เพราะ
สำเร็จด้วยวิปัสสนา ผลสมาธิ ชื่อว่า เป็นสุญญตะ เพราะสำเร็จด้วยมรรค.
รูปอื่นอีก ยึดถือโดยความเป็นของไม่เที่ยง เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
แล้วออกไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง. วิปัสสนาของท่าน ชื่อว่าเป็น อนิมิต
ตะ. เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีกิเลสที่กระทำนิมิต. มรรคสมาธิ ชื่อว่า เป็น
อนิมิตตะ เพราะสำเร็จโดยวิปัสสนา ผล ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะสำเร็จโดย
มรรค. รูปอื่นอีก ยึดมั่นโดยความเป็นทุกข์ เห็นโดยความเป็นทุกข์ แล้ว
ออกไป ( หลุดพ้น ) โดยความเป็นทุกข์. วิปัสสนาของท่านชื่อว่า เป็น
อัปปณิหิตะหาที่ตั้งมิได้. เพราะเหตุไร. เพราะไม่มีกิเลสตัวที่กระทำปณิธิที่
ปรารถนา. มรรคสมาธิ ชื่อว่า เป็นอัปปณิหิตะ เพราะสำเร็จโดยวิปัสสนา
ผลชื่อว่า เป็นอัปปณิหิตะ. เพราะสำเร็จโดยมรรค กถาโดยความสำเร็จมีเท่า
ที่พรรณนามานี้แล. ก็มรรคสมาธิ ชื่อว่า สุญญตะ เพราะว่างเปล่าจากราคะ
เป็นต้น ชื่อว่า อนิมิตตะ เพราะไม่มีราคะ เป็นนิมิตเป็นต้น ชื่อว่า
อัปปณิหิตะ เพราะไม่มีราคะเป็นที่ตั้งอาศัยเป็นต้น กถาโดยคุณของตน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 321
มีเท่าที่พรรณนามานี้แล. พระนิพพาน ชื่อว่า สุญญตะ อนิมิตตะ และ
อัปปณิหิตะ เพราะว่างเปล่าจากราคะ เป็นต้น และเพราะไม่มรราคะเป็นต้น
เป็นเครื่องหมาย แล้วเป็นที่ตั้งอาศัย. มรรคสมาธิ ซึ่งมีนิพพานนั้นเป็นอา-
รมณ์ จึงเป็นสุญญตะอนิมิตตะ อัปปณิหิตะ.กถาว่าโดนอารมณ์มีเพียงเท่านี้.
ธรรมอันทำความสะอาด คือปฏิปทาแห่งความสะอาด ชื่อว่า โสเจยฺ-
ยานิ. ก็ในข้อที่ว่าด้วยความสะอาดนี้ พึงทราบความพิสดารด้วยอำนาจ
สุจริต ๓ ซึ่งตรัสไว้โดยนัยมีอาทิดังนี้ว่า ในความสะอาด ๓ อย่างนั้น ความ
สะอาดทางกาย เป็นไฉน คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต.
ธรรมอันทำความเป็นมุนีได้แก่ โมเนยฺยปฏิปทา ชื่อว่า โมเนยฺยานิ.
ความพิสดารแห่งธรรมอันทำความเป็นมุนีเหล่านั้น ดังนี้ว่า ในความเป็น
มุนีเหล่านั้น ความเป็นมุนีทางกาย เป็นไฉน คือการละกายทุจริต ๓ อย่าง
เป็นกายโมเนยยะ กายสุจริต ๓ อย่าง เป็นกายโมเนยยะ ญาณมีกายเป็น
อารมณ์ เป็นกายโมเนยยะ มรรคอันสหรคตด้วยการกำหนดรู้กายเป็นกาย
โมเนยยะ การละฉันทราคะในกาย เป็นกายโมเนยยะ การเข้าจตุตถฌาน
อันดับเสียซึ่งกายสังขาร เป็นกายโมเนยยะ ในความเป็นมุนีเหล่านั้น
ความเป็นมุนีทางวาจาเป็นไฉน การละวจีทุจริต ๔ เป็นวจีโมเนยยะ
วจีสุจริต ๔ ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ มรรคอันสหรคต ด้วยการกำหนดรู้
วาจา การละฉันทราคะในวาจา การเข้าทุติยฌาน อันดับเสียซึ่งวจีสังขาร
เป็นวจีโมเนยยะ. ในความเป็นมุนีเหล่านั้น ความเป็นมุนีทางใจเป็นไฉน
การละมโนทุจริต ๓ เป็นมโนโมเนยยะ มโนสุจริต ๓ ญาณมีใจเป็นอารมณ์
มรรคอันสหรคตด้วยการกำหนดรู้ใจการละฉันทราคะในใจ การเข้าสัญญา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 322
เวทยิตนิโรธสมาบัติ อันดับเสียซึ่งจิตตสังขาร เป็นมโนโมเนยยะ
พึงทราบวินิจฉัยในความเป็นผู้ฉลาดต่อไป. ความเจริญชื่อว่า อายะ
ความไม่เจริญชื่อว่า อปายะ. เหตุแห่งความเจริญ และไม่เจริญนั้น ๆ เป็น
อุบาย. ความรู้ทั่วถึงความเจริญ ความไม่เจริญ และเหตุแห่งความเจริญ
และไม่เจริญ เหล่านั้น เป็นความฉลาด. ก็ความพิสดารตรัสไว้ในวิภังค์
นั่นแล. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ในความฉลาดเหล่านั้น ความฉลาดในความ
เจริญเป็นไฉน ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความเห็นชอบในความเจริญนั้น
อันใดว่า เมื่อเรามนสิการถึงธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิด
ขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป ก็หรือว่า เมื่อเรามนสิการถึง
ธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้น
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความภิญโญภาพ เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ
เพื่อความบริบูรณ์ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้ฉลาดในความเจริญ ในความ
ฉลาดเหล่านั้น ความฉลาดในความไม่เจริญเป็นไฉน ปัญญา ความรอบรู้
ฯ ลฯ ความเห็นชอบในความไม่เจริญนั้น อันใดว่า เมื่อเรามนสิการถึง
ธรรมเหล่านี้ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิด และกุศลที่เกิดแล้ว ย่อม
ดับไป ก็หรือว่า เมื่อเรามนสิการถึงธรรมเหล่านี้ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อม
เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความภิญโญภาพ เพื่อ
ความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ นี้เรียกว่า ความเป็นผู้
ฉลาดในความไม่เจริญ ปัญญาอันเป็นอุบาย ในความเจริญ และความไม่
เจริญนั้น แม้ทั้งหมด เป็นความฉลาดในอุบาย ดังนี้. ก็ความฉลาดใน
อุบายนี้ พึงทราบด้วยอำนาจการรู้เหตุแห่งฐานะที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขกิจรีบ
ด่วนหรือภัยนั้น ในตอนที่กิจรีบด่วนหรือภัยเกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
บทว่า มทา แปลว่า เป็นไปด้วยอำนาจแห่งอาการมัวเมา. ใน
บรรดาความมัวเมาเหล่านั้น การกระทำมานะอย่างนี้ว่า เราเป็นคนไม่มีโรค
ตั้ง ๖๐ หรือ ๗๐ ปีล่วงไปแล้ว แม้แต่ชิ้นสมอเรายังไม่เคยขบเคี้ยว ส่วน
คนอื่นเหล่านี้ เที่ยวพูดว่า ที่โน้นยอกขัด พวกเราจะเคี้ยวกินยาใครอื่น
ชื่อว่าเป็นคนไม่มีโรคเหมือนเราดังนี้ . ชื่อว่า ความเมาในความเป็นผู้ไม่มี
โรค. การที่ยังอยู่ในความเป็นหนุ่มสาว แล้วทำมานะว่า พวกเราจักทำบุญ
ในตอนแก่ ตอนนี้ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ก่อน ดังนี้ ชื่อว่า เมาในความ
เป็นหนุ่มสาว. การกระทำมานะอย่างนี้ว่า เราเป็นอยู่มานานแล้ว ยังเป็น
อยู่นาน จักเป็นอยู่อีกนาน เราอยู่เป็นสุขมาแล้ว กำลังเป็นอยู่อย่างเป็น
สุข จักเป็นอยู่อย่างเป็นสุข ( ต่อไป ) ดังนี้ ชื่อว่า เมาในชีวิต.
พึงทราบวินิจฉัยในความเป็นใหญ่ต่อไป. คุณชาติอันมาแล้วจาก
ความเป็นใหญ่ ชื่อว่า อาธิปเตยยะ. การทำตนให้เป็นใหญ่ คือให้เป็น
หัวหน้า อย่างนี้ว่า เราเป็นคนเท่านี้โดยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ ข้อนั้น
ไม่ควรแก่เรา ดังนี้แล้ว ไม่กระทำความชั่ว ชื่อว่า อัตตาธิปไตย. การ
ทำชาวโลกให้เป็นใหญ่แล้ว ไม่ทำความชั่ว ชื่อว่า โลกาธิปไตย. การทำ
โลกุตตรธรรมให้เป็นใหญ่แล้วไม่ทำความชั่ว ชื่อว่า ธรรมาธิปไตย.
เหตุของการกล่าวถ้อยคำ ชื่อว่า กถาวัตถุ. สองบทว่า อตีต วา
อทฺธาน แปลว่า คติธรรม ที่ล่วงไปแล้ว อธิบายว่า ขันธ์ที่เป็นอดีต. อีก
อย่างหนึ่ง พึงแสดงเนื้อความในคำว่า อตีต วา อทฺธาน นี้ โดยนิรุตติปถ-
สูตร ( สูตรที่ว่าด้วยหลักภาษา ) ซึ่งมีที่มาอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย รูปใด
ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว การนับรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว
การบัญญัติรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว การให้ชื่อรูปนั้นว่า ได้มีแล้ว รูปนั้นไม่
นับว่า จักมี รูปนั้นไม่นับว่า มีอยู่. บทว่า วิชฺชา ความว่า ชื่อว่า วิชชา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 324
เพราะอรรถว่า แทงทะลุความมืด. ชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า ทำให้
รู้แจ้งก็ได้. ก็บุพเพนิวาสานุสสติญาณซึ่งเกิดขึ้นอยู่ ชื่อว่า วิชชา เพราะ
อรรถว่า ทำลายความมืด ซึ่งตั้งปกปิดขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในกาลก่อน และ
กระทำขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน ให้รู้แจ้ง. จุตูปปาตญาณ ชื่อว่า
วิชชา เพราะอรรถว่า ทำลายความมืดที่ปกปิดจุติ และกระทำจุติ และปฏิ-
สนธินั้นให้รู้แจ้ง. ญาณ ความรู้ในความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ชื่อว่า วิชชา
เพราะอรรถว่า ทำลายความมืดที่ปกปิดสัจจะ ๔ และกระทำสัจจะธรรมทั้ง ๔
ให้รู้แจ้ง พึงทราบวินิจฉัยในวิหารธรรมต่อไป. สมาบัติ ๘ ชื่อว่า ทิพย-
วิหารธรรม. อัปปมัญญา ๔ ชื่อว่า พรหมวิหารธรรม ผลสมาบัติชื่อว่า
อริยวิหารธรรม. ปาฏิหาริย์ทั้งหลาย ทรงให้พิสดารแล้วในเกวัฏฏสูตร.
ในคำว่า อิเม โข อาวุโส ดังนี้เป็นต้น พึงประกอบโดยนัยดังกล่าวเเล้ว
นั่นแล. พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา ๑๘๐ ข้อ ด้วยอำนาจ ติกะ ๖๐ ถ้วน
จึงได้แสดงสามัคคีรสไว้ ด้วยประการฉะนั้นแล.
จบหมวด ๓
ว่าด้วยธรรมหมวด ๔
พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยอำนาจหมวด ๓ ด้วยประการ
ดังนี้แล้ว บัดนี้หวังจะแสดงด้วยอำนาจหมวด ๔ จึงเริ่มเทศนาอีก. บรรดา
หมวด ๔ เหล่านั้น หมวด ๔ ว่าด้วยสติปัฏฐาน ท่านให้พิสดารแล้วใน
เบื้องต้นนั่นเอง. พึงทราบอธิบายในหมวด ๔ ว่า ด้วยสัมมัปปธาน. ข้อว่า
ฉนฺท ชเนติ ความว่า ให้เกิดกัตตุกัมยตาฉันทะ ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ความพอใจ ความเป็นผู้มีความพอใจ ความเป็นผู้ใคร่จะทำอันใด นั้นจัด
เป็นกุศล คือความเป็นผู้มีความพอใจในธรรม. ข้อว่า วายมติ ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 325
ทำความพยายาม. ข้อว่า วิริย อารภติ ความว่า ทำความเพียรให้เกิดขึ้น.
ข้อว่า จิตฺต ปคฺคณฺหติ ความว่า ค้ำชูจิตไว้. นี้เป็นความย่อในที่นี้.
ส่วนความพิสดาร มาแล้ว ในสัมมัปปธานวิภังค์นั่นเอง. ในอิทธิบาท
ทั้งหลาย พึงทราบอธิบาย ดังต่อไปนี้ . สมาธิที่อาศัยฉันทะเป็นไป ชื่อว่า
ฉันทสมาธิ. สังขารทั้งหลายที่เป็นประธาน ชื่อว่า ปธานสังขาร. ข้อว่า
สมนฺนาคต ความว่า เข้าถึงแล้วด้วยธรรมเหล่านี้ . บาทแห่งฤทธิ์ หรือ
ทางอันเป็นเครื่องถึงซึ่งเป็นความสำเร็จ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อิทธิบาท.
แม้ในอิทธิบาทข้อที่เหลือ ก็นัยนั้นเหมือนกัน. นี้เป็นความย่อในที่นี้ . ส่วน
ความพิสดาร มาแล้วในอิทธิบาทวิภังค์นั้นแล. ส่วนเนื้อความของอิทธิบาท
นั้นท่านแสดงไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. กถาว่าด้วยฌานท่านให้พิสดารไว้แล้ว
ในวิสุทธิมรรคเหมือนกัน.
ข้อว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหาราย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การอยู่
สบายในอัตภาพนี้นั่นเทียว. ผลสมาบัติและฌาน และฌานที่พระขีณาสพ
ให้เกิดขึ้นแล้ว ในเวลาต่อมา ท่านกล่าวไว้ในที่นี้. ข้อว่า อาโลกสญฺ
มนสิกโรติ ความว่า ทำไว้ในใจถึงแสงสว่าง มีแสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์
ดวงจันทร์ และแก้วมณี เป็นต้น ทั้งกลางวันหรือกลางคืนว่า อาโลโก ดังนี้.
ข้อว่า ทิวาสญฺ อธิฏฺาติ ความว่า ครั้นมนสิการอย่างนี้แล้ว ก็ตั้งสัญญา
ไว้ว่า กลางวัน ดังนี้. ข้อว่า ยถา ทิวา คถา รตฺตึ ความว่า เห็นแสงสว่าง
ในกลางวันฉันใด ในกลางคืนก็มนสิการไปเหมือนฉันนั้น. ข้อว่า ยถา
รตฺตึ ตถา ทิวา ความว่า เห็นแสงสว่างในกลางคืนฉันใด ในกลางวัน
ก็มนสิการไปฉันนั้นเหมือนกัน. ข้อว่า อิติ วิวเฏน เจตสา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 326
มีจิตที่เปิดแล้วอย่างนี้. ข้อว่า อปริโยนทฺเธน ความว่า ไม่ถูกผูกมัดไว้
โดยรอบ. ข้อว่า สปฺปภาส ความว่า เป็นไปกับแสงสว่าง. ข้อว่า
าณทสฺสนปฏิลาภาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่การได้ญาณทัสสนะ.
ท่านกล่าวอะไรไว้ด้วยคำนี้. ท่านกล่าวถึงแสงสว่างที่เป็นเครื่องบรรเทา
ถีนมิทธะ หรือแสงสว่างในการบริกรรม. แม้ด้วยคำนี้เป็นอันท่านกล่าวถึง
อะไร. เป็นอันท่านกล่าวถึงทิพยจักษุญาณ ของพระขีณาสพ. อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อทิพยจักษุญาณนั้น มาแล้วก็ตาม ยังไม่มาก็ตาม ท่านหมายถึงสมาบัติ
ที่มีฌานเป็นบาทนั้นแหละ จึงกล่าวคำว่า ยังจิตที่มีแสงว่างให้เกิดมีขึ้น.
ข้อว่า สติสมฺปชญฺาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่สติสัมปชัญญะ อันมี
สัตว์เป็นที่ตั้ง. ในข้อว่า วิทิตา เวทนา อุปฺปชฺชนฺติ เป็นต้นความว่า
วัตถุเป็นอันพระขีณาสพรู้แล้ว อารมณ์ก็เป็นอันรู้แล้ว เวทนาทั้งหลาย
ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ย่อมตั้งอยู่อย่างนี้ ย่อมดับไปอย่างนี้ เพราะรู้ทั้งวัตถุ
และอารมณ์. ไม่เฉพาะเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ แม้
สัญญาเป็นต้นก็เป็นอันรู้ชัดแล้ว ย่อมเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ และย่อมดับไป.
อีกอย่างหนึ่ง ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาก็เป็นอันท่านรู้แล้ว ความตั้งอยู่ก็
เป็นอันท่านรู้แล้ว. ภิกษุแม้เมือเห็นลักษณะแห่งความเกิดขึ้นว่า เพราะ
อวิชชาเกิด เวทนาจึงเกิด เพราะตัณหาเกิด เพราะกรรมเกิด เพราะผัสสะ
เกิด จึงเกิดเวทนา ชื่อว่าย่อมเห็นความเกิดของเวทนาขันธ์. ความเกิดขึ้น
แห่งเวทนา ย่อมเป็นอันท่านทราบแล้วอย่างนี้. ท่านทราบถึงความตั้งอยู่
แห่งเวทนาอย่างไร. เมื่อท่านมนสิการอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง ก็ย่อม
เป็นอันทราบถึงความตั้งอยู่โดยความเป็นของสิ้นไป. เมื่อมนสิการอยู่โดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมเป็นอันทราบถึงความตั้งอยู่โดยความเป็นของน่ากลัว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 327
เมื่อมนสิการอยู่ โดยความเป็นอนัตตา ก็ย่อมทราบถึงความตั้งอยู่โดยความ
เป็นของว่างเปล่า. ความตั้งอยู่แห่งเวทนาเป็นอันท่านทราบแล้วอย่างนี้.
ท่านย่อมรู้โดยความเป็นของสิ้นไป โดยความเป็นของน่ากลัว โดยความ
เป็นของว่างเปล่า. ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนา เป็นอันท่านทราบแล้ว
อย่างไร. ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนา ย่อมมีได้อย่างนี้ว่า เพราะอวิชชา
ดับ เวทนาจึงดับ ฯลฯ ดังนี้ . ในข้อนี้บัณฑิตพึงทราบเนื้อความตามนัย
แม้นี้. คำว่า รป เป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.
ข้อว่า อย อาวุโส สมาธิภาวนา ความว่า สมาธิภาวนาซึ่งฌานเป็น
บาทนี้ ย่อมมีแก่ญาณเป็นเครื่องรู้ถึงความสิ้นอาสวะ. ข้อว่า อปฺปมญฺา
ความว่า อัปปมัญญา ด้วยอำนาจการไม่ถือเอาประมาณแผ่ไปหมดทั้งสิ้น.
ทัสสนภาวนา และวิธีแห่งสมาธิ ซึ่งมีการพรรณนาไปตามลำดับบทแห่ง
อัปปมัญญาเหล่านั้น ท่านให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั้นแล. แม้กถา
ว่าด้วย อรูป ( ฌาน ) ท่านก็ให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ.
ข้อว่า อปสฺเสนานิ ความว่า ที่สำหรับอิง. ข้อว่า สขาย ความว่า
ด้วยญาณ ฯ ข้อว่า ปฏิเสวติ ความว่า ภิกษุรู้ด้วยญาณแล้ว ย่อมเสพ
เฉพาะของที่ควรเสพได้เท่านั้น. ก็ความพิสดารแห่งการเสพนั้น พึงทราบ
โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุพิจารณาโดยแยบคาย แล้ว จึงเสพจีวร. ข้อว่า สขา-
เยก อธิวาเสติ ความว่า ภิกษุรู้ด้วยญาณแล้ว ย่อมอดกลั้นอารมณ์ที่ควร
จะอดกลั้นได้นั้นแล. ก็ในข้อนี้ พึงทราบความพิสดารโดยนัย เป็นต้นว่า
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมเป็นผู้อดทนต่อความหนาวได้. ข้อว่า
ปริวชฺเชติ ความว่า ภิกษุรู้ด้วยญาณแล้ว ย่อมเว้นสิ่งที่ควร เพื่อละเว้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 328
นั่นแล. ความพิสดารแห่งการเว้นนั้น พึงทราบโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุ
พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมหลีกเลี่ยงช้างดุเสีย. ข้อว่า วิโนเทติ
ความว่า ภิกษุรู้ด้วยญาณแล้ว ย่อมบรรเทาสิ่งควรบรรเทานั้นแล คือ ไล่ออก
นำออกไม่ให้อยู่ในภายใน. ความพิสดารแห่งการบรรเทานั้น พึงทราบ
โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุอดกลั้นกามวิตกที่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนี้ .
ข้อว่า อริยวส ความว่า วงศ์ของพระอริยะ. เหมือนอย่างว่า
วงศ์กษัตริย์ วงศ์พราหมณ์ วงศ์แพทย์ วงศ์ศูทร วงศ์สมณะ วงศ์พระราชา
ฉันใด วงศ์พระอริยะ แบบแผนพระอริยะ ที่ ๘ แม้น ก็ชื่อว่าประเพณีของ
พระอริยะฉันนั้น. ก็อริยวงศ์นี้นั้นแล ท่านกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าวงศ์เหล่านี้
ดุจกลิ่นมีกลิ่นกะลัมพักเป็นต้น เป็นยอดกว่ากลิ่นที่เกิดจากรากเป็นต้น
ฉะนั้น. ก็วงศ์เหล่านี้มีอยู่แก่พระอริยะเหล่าใด พระอริยะเหล่านั้นได้แก่คน
จำพวกไหน. ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกของ
พระพุทธเจ้า ที่ท่านเรียกว่า พระอริยะ. วงศ์ของพระอริยเหล่านี้ เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า อริยวงศ์. จริงอยู่ในกาลก่อนแต่นี้ มีพระพุทธเจ้า ๔ องค์
คือ พระพุทธเจ้าตัณหังกร พระพุทธเจ้าเมธังกร พระพุทธเจ้าสรณังกร
พระพุทธเจ้าทีปังกร ทรงอุบัติขึ้นแล้ว ในที่สุด สี่อสงไขยกับแสนกัปป์
พระพุทธเจ้าเหล่านั้นชื่อว่าพระอริยวงศ์ของพระอริยะเหล่านั้น เพราะเหตุ
นั้นจึงชื่อว่า อริยวงศ์.ในกาลต่อมาแต่การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเหล่า
ล่วงไปหนึ่งอสงไขย พระพุทธเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ ทรงอุบัติขึ้น
แล้ว ฯ ล ฯ ในกัปป์นี้ มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ๔ องค์คือ พระกกุสันธะ
พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราพระนามว่า
โคดมวงศ์ของพระอริยะเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อริยวงศ์. อีกอย่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 329
หนึ่ง วงศ์ของพระอริยะ คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวก
ของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า อริยวงศ์. ก็อริยวงศ์เหล่านี้นั้นแล พึงทราบว่าเป็นวงศ์ชั้นยอด
เพราะรู้กันว่า เป็นวงศ์อันล้ำเลิศ พึงทราบว่า เป็นไปตลอดกาลนาน
เพราะรู้จักกันมานาน พึงทราบว่าเป็นวงศ์ เพราะรู้ว่าเป็นวงศ์. ข้อว่า
เป็นวงศ์เก่า ความว่า มิใช่เพิ่งเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้. ข้อว่า ไม่กระจัดกระจาย
ความว่าไม่เกลื่อนกล่น คือ ไม่ถูกนำออกไป. ข้อว่า อสงฺกิณฺณปุพฺพา
ความว่า เป็นวงศ์ไม่เคยถูกนำออกไป เพราะอรรถว่า เป็นวงศ์ไม่เคย
เกลื่อนกล่นแม้กับอดีตพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเกลื่อนกล่นกับพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเหล่านี้ได้อย่างไร. ข้อว่า น สกิยนฺติ ความว่า ถึงในบัดนี้ ก็มิได้
ถูกนำออกไป. ข้อว่า น สกิยิสฺสนฺติ ความว่า แม้อันพระพุทธเจ้าใน
อนาคตทั้งหลาย ก็จักไม่นำออกไป. สมณะและพราหมณ์ ผู้เป็นวิญญูเหล่า
ใดในโลก ก็ไม่ถูกสมณะและพราหมณ์ ผู้เป็นวิญญูชนเหล่านั้น สาปแช่ง
นินทา ติเตียน.
ข้อว่า สนฺตุฏฺโ โหติ ความว่า เป็นผู้สันโดษด้วยอำนาจความ
สันโดษในปัจจัย. ข้อว่า อิตรีตเรน จีวเรน ความว่า ( เป็นผู้สันโดษ)
ด้วยบรรดาจีวรที่เนื้อหยาบ ละเอียด เศร้าหมอง ประณีต มั่นคง เก่า
ชนิดใดชนิดหนึ่งหามิได้ โดยที่แท้ เป็นผู้สันโดษด้วยบรรดาจีวรตามที่ได้
เป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่งตามแต่จะได้. ก็ในจีวรมีสันโดษ ๓ คือ สันโดษ
ตามได้ สันโดษตามกำลัง สันโดษตามสมควร. แม้ในบิณฑบาตเป็นต้น ก็
นัยนั้นเสมอนกัน. กถาโดยพิสดารแห่งสันโดษเหล่านั้น พึงทราบตามนัย
ที่กล่าวแล้วในสามัญญผลสูตรนั่นแล. คำว่า เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามที่ได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 330
เป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง ท่านกล่าวหมายเอาสันโดษ ๓ เหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้. ก็ในข้อนี้พึงทราบจีวร พึงทราบเขตแห่งจีวร พึงทราบ
บังสุกุลจีวร พึงทราบความสันโดษในจีวร พึงทราบธุดงค์ที่เกี่ยวเนื่องกับ
จีวร.
ข้อว่า จีวร ชานิตพฺพ ความว่า พึงทราบ จีวร ๖ ชนิด มีผ้า
เปลือกไม้ เป็นต้น อนุโลมจีวร ๖ ชนิดมีผ้าทุกูลเป็นต้น จีวร ๑๒ ชนิด
เหล่านี้ ชื่อว่า กัปปิยจีวร. ส่วนจีวรมีอาทิอย่างนี้ว่า ผ้าคากรอง ผ้า
เปลือกปอ ผ้าทอเป็นแผ่น ผ้ากัมพลทอด้วยผมมนุษย์ ผ้ากัมพลทอด้วย
ขนหางสัตว์ หนังเสือ หนังสัตว์ ปีกนกเค้า ผ้าที่พันด้วยต้นไม้ ผ้าที่ใช้
เถาวัลย์ถัก ผ้าที่ทำด้วยตระไคร้น้ำ ผ้าที่ถักด้วยปอกล้วย ผ้าที่สานด้วย
ดอกไม้ไผ่ ชื่อว่า อกัปปิยจีวร ( จีวรที่ไม่สมควรจะใช้ ).
ข้อว่า จีวรกฺเขตฺต ความว่า ชื่อว่า เขตมี ๖ อย่าง เพราะเกิด
ขึ้นอย่างนี้ว่า จากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร จากทรัพย์ของตน
หรือเป็นผ้าบังสุกุล. ส่วนเขต ๘ พึงทราบด้วยอำนาจมาติกา ๘.
ข้อว่า ปสุกูล ความว่า พึงทราบผ้าบังสุกุล ๒๓ ชนิดคือ
๑. ผ้าโสสานิกะ ( ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า )
๒. ผ้าปาปณิกะ ( ผ้าที่เขาทิ้งอยู่ตามทางเข้าตลาด )
๓. ผ้ารถิกะ ( ผ้าที่เขาทิ้งอยู่ตามตรอก )
๔. ผู้สังการโจฬกะ (ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในกองหยากเยื่อ )
๕. ผ้าโสตถิยะ ( ผ้าที่เขาใช้เช็ดครรภ์มลทินแล้วทิ้ง )
๖. ผ้าสินานะ ( ผ้าที่เขาผลัดอาบน้ำมนต์แล้วทิ้ง )
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 331
๗. ผ้าติตถะ (ผ้าที่ทิ้งอยู่ตามท่าน้ำ)
๘. ผ้าคตปัจจาคตะ (ผ้าที่ใช้ห่มศพไปป่าช้า แล้วนำกลับมาทิ้งไว้)
๙. ผ้าอัคคิทัฑฒะ (ผ้าถูกไฟไหม้แล้วทิ้งไว้)
๑๐. ผ้าโคขายิตะ (ผ้าที่โคเคี้ยวแล้วเขาทิ้งไว้)
๑๑. ผ้าอุปจิกขายิตะ (ผ้าปลวกกัดแล้วเขาทิ้งไว้)
๑๒. ผ้าอุนธูรขายิตะ (ผ้าหนูกัดแล้วเขาทิ้งไว้)
๑๓. ผ้าอันตัจฉินนะ (ผ้าขาดริมแล้วเขาทิ้งไว้ )
๑๔. ผ้าทสัจฉินนะ (ผ้าขาดชายแล้วเขาทิ้งไว้ )
๑๕. ผ้าธชาหฏะ (ผ้าที่เขาชักเป็นธงแล้วทิ้งไว้ )
๑๖. ผ้าถูปะ (ผ้าที่เขาบูชาจอมปลวกทิ้งไว้)
๑๗. ผ้าสมณจีวร (ผ้าของภิกษุด้วยกัน)
๑๘. ผ้าสามุททิยะ (ผ้าที่คลื่นทะเลซัดขึ้นฝั่ง)
๑๙. ผ้าอภิเสกิกะ (ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในที่ราชาภิเษก)
๒๐. ผ้าปันถิกะ (ผ้าที่ตกอยู่ตามหนทาง ไม่ปรากฏเจ้าของ)
๒๑. ผ้าวาตาหฏะ (ผ้าที่ลมหอบเอาไปไม่มีเจ้าของติดตาม)
๒๒. ผ้าอิทธิมยะ (ผ้าสำหรับเอหิภิกษุ)
๒๓. ผ้าเทวทัตติยะ (ผ้าที่เทวดาถวาย)
ก็บรรดาผ้าเหล่านี้ ผ้าที่ชื่อว่า โสตถิยะ ได้แก่ผ้าสำหรับเช็ด
ครรภ์มลทิน ผ้าที่ชื่อว่า คตปัจจาคตะ ได้แก่ ผ้าที่เขาห่มศพนำไปป่าช้า
แล้วนำกลับมา ผ้าที่ชื่อว่า ธชาหฏะ ได้แก่ ผ้าที่เขาชักเป็นธง แล้ว
ภิกษุนำมาจากที่นั้น ผ้าที่ชื่อว่า ถูปะ ได้แก่ ผ้าที่เขาบูชาจอมปลวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 332
ผ้าที่ชื่อว่า สามุททิยะ ได้แก่ ผ้าที่ถูกคลื่นทะเลชัดขึ้นบก. ผ้าที่ชื่อว่า
ปันถิกะ ได้แก่ ผ้าที่คนเดินทางใช้แผ่นหินทุบแล้วห่ม เพราะกลัวโจร.
ผ้าที่ชื่อว่า อิทธิมยะ ได้แก่ ผ้าของเอหิภิกขุ. ผ้าที่เหลือปรากฏชัดแล้ว.
ข้อว่า จีวรสนฺโตโส ได้แก่ ความสันโดษในจีวร ๒๐. ก็ในจีวร
สันโดษ ๒๐ คือ สันโดษในการตรึก สันโดษในการไป สันโดษใน
การแสวงหา สันโดษในการได้ สันโดษในการรับแต่พอประมาณ สันโดษ
ในการเว้นจากความอยากได้ สันโดษตามแต่ได้ สันโดษตามกำลัง สันโดษ
ตามความสมควร สันโดษในน้ำ (ซัก ) สันโดษในการซัก สันโดษใน
การทำ สันโดษในปริมาณ สันโดษในด้าย สันโดษในการเย็บ สันโดษ
ในการย้อม สันโดษในการทำกัปปะ สันโดษในการใช้สอย สันโดษใน
การเว้นจากการสะสม สันโดษในการสละ. บรรดาสันโดษเหล่านั้น ภิกษุ
ผู้ยินดีอยู่จำพรรษาประจำครบไตรมาส จะตรึกเพียงเดือนเดียว ก็ควร.
ก็ภิกษุนั้นปวารณาแล้ว ย่อมทำจีวรในเดือนที่ทำจีวร. ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล
ย่อมทำโดยครึ่งเดือนเท่านั้น. การตรึกเพียงหนึ่งเดือนหรือครึ่งเดือน ชื่อว่า
สันโดษในการตรึก ด้วยประการฉะนี้. ก็ภิกษุผู้สันโดษด้วยการสันโดษ
ในการตรึก พึงเป็นผู้เช่นกับพระบังสุกูลเถระ ผู้จำพรรษาอยู่ในปาจีน-
ขัณฑราชีวิหารเถิด.
มีเรื่องเล่ามาว่า พระเถระมาด้วยความหวังว่า จักไหว้พระเจดีย์
ในเจติยบรรพตวิหาร ครั้นไหว้พระเจดีย์แล้ว ก็คิดว่า จีวรของเราเก่าแล้ว
เราจักได้ในที่อยู่ของภิกษุมาก. ท่านจึงไปยังมหาวิหาร พบพระสังฆเถระ
แล้วถามถึงที่อยู่ แล้วก็อยู่ในที่นั้น วันรุ่งขึ้น จึงถือเอาจีวรมาไหว้พระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 333
เถระ. พระเถระถามว่า อะไรคุณ. ก็ตอบว่า ท่านขอรับ ผมจักไป
ประตูบ้าน. พระเถระจึงกล่าวว่า คุณ แม้ผมจักไป จึงกล่าวว่า ดีแล้ว
ขอรับ พลางไปยืนที่ซุ้มประตูด้านต้นมหาโพธิ์ คิดว่า เราจักได้จีวรที่น่า
พอใจ ในที่อยู่ของตนผู้มีบุญ แล้วจึงกลับคิดได้ว่า การตรึกของเราไม่
บริสุทธิ์ กลับจากที่นั้นทันที รุ่งขึ้นจึงไปยังที่ใกล้เนินมะม่วง รุ่งขึ้นก็
กลับจากตระตูด้านทิศเหนือของมหาเจดีย์เหมือนอย่างนั้น แม้ในวันที่
ก็ได้ไปยังสำนักของพระเถระ. พระเถระรู้ว่า ภิกษุนี้จักมีความตรึกไม่
บริสุทธิ์ จึงถือเอาจีวร ถามปัญหาพลางเข้าบ้านไปกับเธอทีเดียว. ก็ใน
คืนนั้น มนุษย์คนหนึ่ง ถูกอุจจาระเบียดเบียนเอา จึงถ่ายอุจจาระลงในผ้า
สาฎกนั้นทิ้งผ้าสาฎกนั้นไว้ในกองขยะ. พระบังสุกูลิกเถระเห็นผ้าสาฎกนั้น
มีแมลงวันหัวเขียวรุมตอมอยู่ จึงประคองอัญชลี. พระมหาเถระจึงถามว่า
ทำไมคุณจึงได้ประคองอัญชลีต่อกองอยากเยื่อเล่า. ก็ตอบว่า ท่านขอรับ
ผมมิได้ประคองอัญชลีต่อกองหยากเยื่อดอก ผมประคองอัญชลีต่อพระ
ทศพลพระบิดาของผมต่างหาก ท่านขอรับ การที่ภิกษุถือเอาผ้าบังสุกุลที่
เขาห่มซากของนางปุณณทาสีแล้วทิ้งไว้ ไล่ตัวสัตว์เล็ก ๆ ประมาณทะนาน
หนึ่งออกมาจากป่าช้า ทำได้ยาก. พระมหาเถระ คิดว่า การตรึกของ
ภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลหมดจดแล้ว. แม้พระเถระผู้ทรงผ้าบังสุกุลยืนอยู่ในที่
นั้นนั่นเอง เจริญวิปัสสนาบรรลุผล ๓ ถือเอาผ้าสาฎกผืนนั้นทำเป็นจีวรห่ม
ไปยังปาจีนขัณฑราชีวิหาร บรรลุพระอรหัตซึ่งเป็นผลชั้นเลิศ. ก็การที่
ภิกษุเมื่อไปเพื่อต้องการจีวร ไม่ต้องคิดว่า จักได้ที่ไหน แล้วไปโดยมุ่ง
กรรมฐานเป็นใหญ่ ทีเดียว ชื่อว่า สันโดษในการไป. ก็การที่ภิกษุเมื่อ
แสวงหา อย่าแสวงหากับใครส่ง ๆ ไป พาเอาภิกษุผู้เป็นลัชชีมีศีลเป็นที่รัก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 334
ไปแสวงหา ชื่อว่า สันโดษในการแสวงหา. การที่ภิกษุเมื่อแสวงหาไป
อย่างนี้ เห็นคนนำจีวรมาแต่ไกล อย่าตรึกอย่างนี้ว่า จีวรนั่นจักเป็นของ
น่าพอใจ จีวรนั่นไม่เป็นของน่าพอใจ ดังนี้แล้ว ยินดีด้วยบรรดาจีวร
เนื้อหยาบหรือเนื้อละเอียด เป็นต้นตามแต่จะได้ ชื่อว่าสันโดษในการได้.
การที่ภิกษุแม้รับเอาจีวรที่ได้แล้วอย่างนี้ ยินดีโดยประมาณที่เพียงพอแก่ตน
เท่านั้นว่า ผ้าเท่านี้จักมีเพื่อจีวร ๒ ชั้น ผ้าเท่านี้จักมีเพื่อจีวรชั้นเดียว
ชื่อว่า สันโดษในการรับแต่พอประมาณ. ก็การที่ภิกษุเมื่อแสวงหาจีวร
ไม่ต้องคิดว่า เราจักได้จีวรที่น่าพอใจที่ประตูเรือนของคนโน้น ดังนี้แล้ว
เที่ยวไปตามลำดับประตู ชื่อว่า สันโดษในการเว้นจากความอยากได้. การที่
ภิกษุเมื่อสามารถจะยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยบรรดาจีวรที่เศร้าหมองหรือ
ประณีตอย่างใดอย่างหนึ่ง ยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรตามที่ได้นั่นแหละ
ชื่อว่า สันโดษตามได้. การที่ภิกษุรู้ถึงกำลังของตนแล้ว สามารถจะยัง
อัตตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรชนิดใด ยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรนั้น ชื่อว่า
สันโดษตามกำลัง. การที่ภิกษุให้จีวรที่น่าชอบใจแก่ภิกษุอื่น ตนเองยัง
อัตตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สันโดษตามความ
เหมาะสม. ภิกษุภิกษุไม่เลือกว่า นำที่ไหนน่าพอใจ ที่ไหนไม่น่าพอใจ
ดังนี้แล้ว ซักด้วยน้ำที่พอจะชักได้บางอย่าง ชื่อว่า สันโดษในน้ำ. ก็การที่
ภิกษุจะเว้นน้ำที่ขุ่นไปด้วยดินสีเหลือง ดินสอพอง และในหญ้าเน่าเสีย
ก็ควร. ก็การที่ภิกษุเมื่อซักไม่ใช้ไม่ค้อนเป็นต้นทุบ ใช้มือขยำซัก ชื่อว่า
สันโดษในการซัก. การที่ภิกษุใส่ใบไม้ลงไปแล้วซักจีวรที่ไม่สะอาดอย่างนั้น
แม้ด้วยน้ำร้อนก็ควร. การที่ภิกษุเมื่อซักทำไปอย่างนี้ ไม่ให้ใจกำเริบว่า
ผ้าผืนนี้เนื้อหยาบ ผ้าผืนนี้เนื้อละเอียด ทำไปโดยทำนองที่เพียงพอนั่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 335
แหละ ชื่อว่า สันโดษในการกระทำ. ๆ การทำจีวรที่เพียงพอจะปิดมณฑล ๓
ได้นั่นแหละ ชื่อว่า สันโดษในปริมาณ. ก็เพื่อจะทำจีวร การที่ภิกษุไม่
กะเกณฑ์ลงไปว่า เราจักแสวงหาด้ายที่ถูกใจดังนี้ แล้วนำด้ายในสถานที่
มีตรอกเป็นต้น หรือในเทวสถานมา หรือถือเอาด้ายอย่างใดอย่างหนึ่ง
นั่นแหละที่เขาวางไว้ใกล้เท้ามากระทำ ชื่อว่า สันโดษในเส้นด้าย. ก็ใน
เวลาเย็บกุสิพึงสอยได้ ๗ ครั้ง ห่างกันประมาณ ๑ องคุลี. ก็เมื่อภิกษุ
ทำอย่างนี้ ภิกษุรูปใดไม่มีสหาย แม้วัตตเภทก็ไม่มีแก่ภิกษุนั้น. แต่พึงสอย
๗ ครั้ง ประมาณ ๓ องคุลี. ภิกษุผู้กระทำอย่างนี้ พึงมีสหายผู้เดินทาง
ด้วยกันเถิด. ภิกษุใดไม่มีสหาย เป็นวัตตเภทแก่ภิกษุนั้น. นี้ชื่อว่า ความ
สันโดษในการเย็บ. ก็ภิกษุเมื่อย้อมไม่พึงเที่ยวแสวงหาไทรดำเป็นต้น
ได้สิ่งใด บรรดาเปลือกไม้สีดำ เป็นต้น พึงย้อมด้วยเปลือกไม้นั้น . เมื่อ
ไม่ได้ พึงถือเอาน้ำย้อมที่พวกมนุษย์ ถือเอาปอในป่าแล้วทิ้งไว้ หรือกาก
ที่พวกภิกษุต้มแล้วทิ้งไว้ ย้อมเถิด. นี้ชื่อว่าความสันโดษในการย้อม. การที่
ภิกษุถือเอาบรรดาสีเขียว เปลือกตม สีดำ และสีความอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทำกัปปะขนาดเท่าคนนั่งบนหลังข้างมองเห็น ชื่อว่า สันโดษในการทำ
กัปปะ. การใช้สอยเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ ที่จะทำให้ความอายกำเริบ
ชื่อว่า สันโดษในการบริโภค. ก็ภิกษุได้ท่อนผ้าแล้ว แต่ยังไม่ได้ด้าย เข็ม
หรือ ผู้ (ช่วย) ทำ จะเก็บไว้ก็ควร. เมื่อได้แล้วจะเก็บไว้ไม่ควร. ถ้าประสงค์
จะให้จีวรที่ทำเสร็จแล้ว แก่พวกอันเตวาสิกเป็นต้น แต่พวกอันเตวาสิกนั้น
ไม่อยู่ ควรจะเก็บไว้จนกว่าพวกเขาจะมา พอเมื่อพวกอันเตวาสิกมาถึง
พึงให้เถิด เมื่อไม่สามารถจะให้ได้ ก็พึงอธิษฐานไว้ เมื่อมีจีวรอื่น จะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 336
อธิษฐานเป็นผ้าปูพื้นก็ควร ก็จีวรที่ไม่ได้อธิษฐานเท่านั้น จึงเป็นสันนิธิ
จีวรที่อธิษฐานแล้วหาเป็นสันนิธิไม่ พระมหาสิวเถระกล่าวไว้ดังนี้. นี้ชื่อว่า
สันโดษในการเว้นจากการสะสม. ภิกษุเมื่อสละ ไม่พึงให้โดยเห็นแก่หน้า.
พึงตั้งอยู่ในสาราณียธรรมแล้ว สละเถิด. นี้ชื่อว่าสันโดษในการสละ.
ปังสุกูลิกังคธุดงค์ และเตจีวริกังคธุดงค์ ชื่อว่า ธุดงค์ที่เกี่ยว
เนื่องด้วยจีวร. กถาอย่างพิสดารของธุดงค์ทั้ง ๒ นั้น พึงทราบจากคัมภีร์
วิสุทธิมรรค. ภิกษุผู้บำเพ็ญมหาอริยวงศ์ข้อว่า การสันโดษด้วยจีวร ย่อม
รักษาธุดงค์ ๒ ข้อนี้ไว้ได้ ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุเมื่อรักษาธุดงค์
๒ ข้อนี้ได้ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าสันโดษด้วยตามมหาอริยวงศ์ข้อว่า การสันโดษ
ด้วยจีวร.
บทว่า วณฺณวาที พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้. ภิกษุรูปหนึ่งเป็น
ผู้สันโดษ จริง ๆ แต่หากล่าวพรรณนาถึงความสันโดษไม่. อีกรูปหนึ่ง ไม่
เป็นผู้สันโดษ แต่กลับกล่าวพรรณนาถึงความสันโดษ. อีกรูปหนึ่งทั้งไม่
สันโดษ ทั้งไม่กล่าวพรรณนาถึงความสันโดษ. อีกรูปหนึ่งทั้งเป็นผู้สันโดษ
ทั้งกล่าวพรรณนาถึงความสันโดษ. เพื่อแสดงเหตุผลข้อนั้น ท่านจึงกล่าว
คำว่าเป็นผู้มีปกติกล่าวพรรณนาถึงความสันโดษในจีวรตามมีตามได้. บทว่า
อเนสน ความว่า การแสวงหาอันไม่สมควร อันต่างด้วยการส่งข่าวสาส์น
การเดินทาง และการตามประกอบในกรรมทั้ง ๒ นั้น ซึ่งเป็นการงานของ
ทูต. บทว่า อปฺปฏิรูป ความว่า ไม่ควร. บทว่า อลทธา จ แปลว่า
ไม่ได้. ภิกษุผู้สันโดษ ถึงไม่ได้จีวร ก็หาเดือดร้อนเหมือนภิกษุบางรูปคิดว่า
เราจักได้จีวรอย่างไรหนอแล้วเข้าพวกกับภิกษุผู้มีบุญ ทำการหลอกลวง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 337
ย่อมสะดุ้ง ย่อมเดือดร้อนฉันนั้นไม่. บทว่า ลทฺธา จ ความว่า ได้โดยชอบ
ธรรม. บทว่า อคธิโต ความว่า ผู้ไม่ถูกความโลภผูกมัดไว้. บทว่า
อมุจฺฉิโต ความว่า ไม่ถึงความสยบ เพราะความอยากจัด. บทว่า
อนชฺฌาปนฺโน ความว่า ไม่ถูกตัณหาท่วมทับ คือ มัดไว้. บทว่า
อาทีนวทสฺสาวี ความว่า เห็นโทษในอาบัติที่ต้องเพราะการแสวงหาอัน
ไม่สมควร และในการบริโภคลาภ ที่ถูกความอยากผูกมัดไว้ บทว่า นิสฺ-
สรณปญฺโ ความว่าผู้รู้ถึงการสลัดออกที่ท่านกล่าวไว้ว่า เพียงเพื่อบำบัด
ความหนาวเป็นต้น. บทว่า อิตรีตรจีวรสนฺตุฏฺิยา ความว่า ด้วยการ
สันโดษด้วยจีวร อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า เนวตฺตานุกฺกเสติ ความว่า
ไม่ทำการยกตนขึ้นว่า เราเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุล เราสมาทาน ปังสุกูลิกังค-
ธุดงค์ ตั้งแต่อยู่ในโรงอุปสมบททีเดียว จะมีใครเหมือนเรา ดังนี้. สอง
บทว่า น ปร วมฺเภติ ความว่า ไม่ข่มผู้อื่นอย่างนี้ว่า ก็ภิกษุพวกอื่นนี้ หา
เป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลไม่ หรือว่า ภิกษุพวกนี้หามีแม้แต่เพียงปังสุกูลิกังคธุดงค์
ไม่ดังนี้. หลายบทว่า โย หิ ตตฺถ ทกฺโข ความว่า ผู้ใดเป็นผู้ขยัน ฉลาด
เฉียบแหลม ในการสันโดษด้วยจีวรนั้น หรือในคุณมีความเป็นผู้กล่าว
พรรณนาเป็นต้น. บทว่า อนลโส ความว่า เว้นจากความเกียจคร้าน โดย
การทำติดต่อ. สองบทว่า สมฺปชาโน ปฏิสฺสโต ความว่า ประกอบด้วย
ปัญญาในการรู้ตัว และด้วยการระลึกได้. สองบทว่า อริยวเส ิโต
ความว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์.
ข้อว่า อิตริตเรน ปิณฺฑปาเตน ความว่า ด้วยบิณฑบาตอย่างใด
อย่างหนึ่ง. แม้ในข้อนี้ บัณฑิตก็พึงทราบ บิณฑบาต เขตในการเที่ยว
บิณฑบาต ความสันโดษในบิณฑบาต ธุดงค์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยบิณฑบาต.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 338
บรรดา ๔ ข้อนั้น ข้อว่า บิณฑบาต ๑๖ อย่าง คือ ข้าวสุก ขนม
กุมมาส ข้าวตู ปลา เนื้อ น้ำนม เนยส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ข้าวต้ม ของควรเคี้ยว ของควรลิ้ม ของควรเลีย (ชิม).
ข้อว่า ปิณฺฑปาตกฺเขตฺต ความว่า เขตแห่งการเที่ยวบิณฑบาต มี
๑๕ คือ ภัตที่เขาถวายพระสงฆ์ ภัตที่เขาถวายเจาะจง ภัตที่ได้ในที่นิมนต์
ภัตที่เขาถวายพร้อมกับสลาก ภัตที่เขาถวายประจำปักษ์ ภัตที่เขาถวาย
ในวันอุโบสถ ภัตที่เขาถวายในวันปาฏิบท (คือวันขึ้นหรือแรมค่ำหนึ่ง)
ภัตที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้จรมา ภัตที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้เตรียมจะไป ภัตที่เขา
ถวายแก่ภิกษุไข้ ภัตที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้ ภัตที่เขาถวายใน
วิหารใกล้ ภัตที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้เฝ้ากุฏิ ภัตที่เขาถวายประจำวัน ภัตที่
เขาถวายแก่ภิกษุผู้เฝ้าวิหาร.
ข้อว่า ปิณฺฑปาตสนฺโตโส ความว่า สันโดษมี ๑๕ คือ สันโดษ
ในการตรึกในบิณฑบาต สันโดษในการไป สันโดษในการแสวงหา สันโดษ
ในการได้เฉพาะ. สันโดษในการรับ สันโดษในการรับแต่พอประมาณ
สันโดษในการเว้นจากความอยากได้ สันโดษตามได้ สันโดษตามกำลัง
สันโดษตามสมควร สันโดษในการบำรุง สันโดษในการกำหนด สันโดษ
ในการบริโภค สันโดษในการเว้นจากการสะสม สันโดษในการสละ
บรรดาสันโดษเหล่านั้น ภิกษุผู้ยืนดีล้างหน้าแล้ว ย่อมตรึก. ก็ภิกษุผู้เที่ยว
ไปกับคณะ. ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ในเวลาอุปัฏฐากพระเถระใน
เวลาเย็น ถูกถามว่า พรุ่งนี้พวกเราจักเที่ยวบิณฑบาตที่ไหน ตอบว่า
ในบ้านชื่อโน้นขอรับ คิดเพียงเท่านี้ จากนั้นไป ก็ไม่พึงตรึก (อีก). ภิกษุผู้
เที่ยวไปรูปเดียว พึงยืนตรึกในโรงสำหรับตรึกเถิด. ภิกษุผู้ตรึกเกินกว่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 339
ย่อมเป็นผู้เคลื่อน เหินห่างจากอริยวงศ์. ข้อที่ว่า มานี้ ชื่อว่าสันโดษใน
การตรึก. ก็ภิกษุผู้จะเข้าไปบิณฑบาต ไม่ต้อคิดว่า จักได้ที่ไหน พึงไปโดย
มีกรรมฐานเป็นใหญ่เถิด. ข้อนี้ชื่อว่า สันโดษในการไป. ภิกษุผู้แสวงหา
ไม่ต้องกำหนดว่าเป็นอะไร พึงพาเอาภิกษุผู้เป็นลัชชี มีศีลเป็นที่รักเท่านั้น
ไปแสวงหาเถิด. ข้อนี้ ชื่อว่า สันโดษในการแสวงหา. ภิกษุเห็นคนนำ
อาหารมาแต่ไกล ไม่พึงให้เกิดความคิดขึ้นว่า ของนั้นน่าพอใจ ของนั้น
ไม่น่าพอใจ ดังนี้. นี้ชื่อว่า สันโดษในการได้เฉพาะ. ภิกษุไม่พึงคิดว่า
ของนี้น่าชอบใจ เราจักรับ ของนี้ไม่น่าชอบใจ เราจะไม่รับ ดังนี้แล้ว
รับเอาแต่เพียงอาหารพอยังอัตต ภาพอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นเถิด. นี้ชื่อว่า
สันโดษในการรับ. ก็ในสันโดษข้อนี้ ไทยธรรมมีมาก แต่ทายกต้องการ
จะถวายแต่น้อยพึงรับเอาแต่น้อย แม้ไทยธรรมก็มีมาก ถึงทายกก็ต้องการ
จะถวายมาก พึงรับเอาแต่พอประมาณเท่านั้น ไทยธรรมมีไม่มาก ถึงทายก
ก็ต้องการจะถวายไม่มาก พึงรับเอาแต่น้อย ไทยธรรมมีไม่มาก แต่ทายก
ต้องการจะถวายมาก ก็พึงรับเอาแต่พอประมาณเท่านั้น. ก็ภิกษุผู้ไม่รู้จัก
ประมาณในการรับย่อมทำความเลื่อมใสของพวกมนุษย์ให้แปดเปื้อน ทำ
ศรัทธาไทยให้ตกไป ไม่กระทำคำสอน ไม่สามารถจะยึดจิตแม้ของมารดาผู้
บังเกิดเกล้าได้. ภิกษุพึงรู้จักประมาณเสียก่อนแล้วจึงรับ ด้วยประการฉะนี้
แล นี้ชื่อว่า สันโดษในการรับแต่พอประมาณ. ภิกษุไม่ไปยังตระกูลที่
มั่งคั่งเท่านั้น พึงไปตามลำดับประตูเถิด. นี้ชื่อว่า สันโดษในการเว้นจาก
การอยากได้. ยถาลาภสันโดษเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในจีวรนั่นแหละ.
การที่ภิกษุรู้อุปการอย่างนี้ว่า เราจักฉันบิณฑบาตแล้ว รักษาสมณธรรมดังนี้
แล้วฉัน ชื่อว่า อุปการสันโดษ. ภิกษุไม่พึงรับบิณฑบาตที่เขาบรรจุเต็มบาตร
แล้วนำมา (ถวาย ) เมื่อมีอนุปสัมบัน (ลูกศิษย์) พึงให้อนุปสัมบันนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 340
นำมา เมื่อไม่มี ก็พึงให้เขานำมาแล้วรับเท่าที่พอรับได้. นี้ชื่อว่า สันโดษ
ในการกำหนด. การที่ภิกษุฉันโดยมนสิการอย่างนี้ว่า การฉันนี้บรรเทา
ความหิวได้ การออกไปจากภพจะมีได้ในเพราะการฉันนี้ ชื่อว่า สันโดษ
ในการบริโภค. ภิกษุไม่พึงเก็บสะสมไว้ฉัน. นี้ชื่อว่า สันโดษในการเว้น
จากการสะสม. ภิกษุไม่พึงเห็นแก่หน้า ตั้งอยู่ในสาราณิยธรรมแล้ว พึง
สละเถิด. นี้ชื่อว่า สันโดษในการสละ.
ก็ธุดงค์ ๕ ข้อคือ ปิณฑปาติกังคะ สปทานจาริกังคะ เอกาสนิกังคะ
ปัตตปิณฑิกังคะ ขลุปัจฉาภัตติกังคะ เกี่ยวเนื่องกับบิณฑบาต. กถาอย่าง
พิสดารของธุดงค์ทั้ง ๕ ข้อนั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. ภิกษุผู้
บำเพ็ญ มหาอริยวงศ์ ข้อว่า การสันโดษในบิณฑบาต ย่อมรักษาธุดงค์
๕ ข้อนี้ไว้ได้ ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุเมื่อรักษาธุดงค์ ๕ ข้อนี้ได้ ย่อม
เป็นผู้สันโดษตามมหาอริยวงศ์ ข้อว่า การสันโดษด้วยบิณฑบาต. บทว่า
วณฺ ณวาที เป็นต้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
ในบทว่า เสนาสเนน นี้ บัณฑิตพึงทราบ เสนาสนะ. เขตแห่ง
เสนาสนะ ความสันโดษในเสนาสนะ ธุดงค์ที่เกี่ยวกับเสนาสนะ.
บรรดา ๔ ข้อนั้น ข้อว่า เสนาสน ความว่า เสนาสนะ มี ๑๕ ชนิด
นี้ คือ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน วิหาร เพิง ปราสาท ปราสาทโล้น ถ้ำ ที่เร้น
ป้อม เรือนยอดเดียว พุ่มไม้ไผ่ โคนต้นไม้ ก็หรือว่า ที่ที่สมควรแก่ภิกษุ.
ข้อว่า เขตของเสนาสนะ ความว่า เขตมี ๖ คือ จากสงฆ์ จากคณะ
จากญาติ จากมิตร จากทรัพย์ของตน หรือเขตที่เป็นของบังสุกุล.
ข้อว่า สันโดษในเสนาสนะ ความว่า ในเสนาสนะ มีสันโดษ
๑๕ อย่าง มีสันโดษในการตรึกเป็นต้น. สันโดษเหล่านั้น พึงทราบตาม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 341
นัยที่กล่าวแล้วในบิณฑบาตนั่นแหละ.
ก็ธุดงค์ ๕ ข้อคือ อารัญญิกังคะ รุกขมูลิกังคะ อัพโภกาสิกังคะ
โสสานิกังคะ ยถาสันถติกังคะ เกี่ยวเนื่องด้วยเสนาสนะ กถาอย่างพิสดาร
ของธุดงค์เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. ภิกษุผู้บำเพ็ญมหา
อริยวงศ์ข้อว่า การสันโดษในเสนาสนะ ย่อมชื่อว่ารักษาธุดงค์ ๕ ข้อนี้
ด้วยประการฉะนี้. เมื่อรักษาธุดงค์ ๕ ข้อนี้ได้ จัดว่าเป็นผู้สันโดษตามมหา
อริยวงศ์ข้อว่า การสันโดษในเสนาสนะ
ก็คิลานปัจจัย รวมเข้าในบิณฑบาตนั่นแหละ. ในคิลานปัจจัยนั้น
ภิกษุพึงเป็นผู้สันโดษด้วยการสันโดษตามได้ สันโดษตามกำลัง และสันโดษ
ตามสมควรทีเดียว. ภิกษุ ( เมื่อสมาทาน ) เนสัชชิกังคธุดงค์ ชื่อว่า ย่อม
คบอริยวงค์ข้อว่า การยินดีในภาวนา. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ในเสนาสนะท่านกล่าวธุดงค์ไว้ ๕ ข้อ ธุดงค์ ๕ ข้อ
อาศัยอาหาร ข้อหนึ่งเกี่ยวเนื่องดับความเพียร และ
อีก ๒ ข้อ อาศัยจีวร.
ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ กล่าวอริยวงศ์ข้อว่า การ
สันโดษในจีวรข้อที่หนึ่งเป็นเหมือนกับจะแบ่งขยายมหาปฐวี เป็นเหมือน
กับจะยังท้องน้ำให้เต็ม และเป็นเหมือนกับจะขยายอากาศให้กว้างขวาง
กล่าวอริยวงศ์ข้อว่า การสันโดษในบิณฑบาต ข้อที่ ๒ เป็นเหมือนกับจะ
ยังพระจันทร์ให้ตั้งขึ้น และเป็นเหมือนกับจะยังพระอาทิตย์ให้โลดขึ้นมา
กล่าวอริยวงศ์ ข้อว่า การสันโดษในเสนาสนะข้อที่ ๓ เป็นเหมือนกับจะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 342
ยกเขาสิเนรุขึ้น บัดนี้เพื่อจะกล่าวอริยวงศ์ ข้อว่า ความยินดีในภาวนา
ข้อที่ ๔ ซึ่งประดับไปด้วยนัยหนึ่งพันจึงเริ่มเทศนาว่า ท่านผู้มีอายุ ก็ข้อ
อื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ยินดีในการละ ดังนี้.
ในข้อนั้น ความยินดี ชื่อว่า อาราโม อธิบายว่า ความยินดียิ่ง.
ภิกษุชื่อว่า ยินดีในการละ เพราะอรรถว่า มีความยินดีในการละ ๕ อย่าง.
ภิกษุชื่อว่า ยินดีแล้วในการละเพราะอรรถว่า ยินดีแล้วในการละอย่างนี้ว่า
เมื่อละความพอใจในกามได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญเนกขัมมะย่อมยินดี เมื่อ
ละพยาบาทให้ย่อมยินดี ฯ ล ฯ เมื่อละกิเลสทั้งหมดได้ย่อมยินดี เมื่อเจริญ
อรหัตตมรรค ย่อมยินดี. ภิกษุชื่อว่า ยินดีในภาวนา เพราะอรรถว่า
มีความยินดีในภาวนา ตามนัยที่กล่าวนั่นแล. ชื่อว่ายินดีแล้วในภาวนา
เพราะอรรถว่าเป็นผู้ยินดีแล้วในภาวนา. ก็บรรดาอริยวงศ์ ๔ ข้อเหล่านี้
ด้วยอริยวงศ์ข้างต้น ๓ ข้อแรก เป็นอันท่านกล่าวถึงวินัยปิฎกทั้งสิ้น ด้วย
อำนาจแห่งธุดงค์ ๑๓ ข้อ และการสันโดษในปัจจัย ๔. ด้วยอริยวงศ์ข้อว่า
การยินดีในภาวนา เป็นอันท่านกล่าวถึงปิฏก ๒ ข้อที่เหลือ. ก็ภิกษุเมื่อ
กล่าวอริยวงศ์ข้อว่า ความยินดีในภาวนานี้ พึงกล่าวตามบาลีแห่งเนกขัมมะ
ในปฏิสัมภิทามรรค พึงกล่าวโดยบรรยายแห่งทสุตตรสูตรในทีฆนิกาย พึง
กล่าวโดยบรรยายแห่งสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย ( และ ) พึงกล่าว
โดยบรรยายแห่งนิเทสในอภิธรรมเถิด.
ใน ๔ ข้อนั้น ข้อว่า ปฏิสัมฺภิทามคฺเค เนกฺขมฺมปาลิยา ความว่า
ภิกษุพึงกล่าว ตามบาลีแห่งเนกขัมมะ ในปฏิสัมภิทามรรคอย่างนี้ว่า ภิกษุ
นั้น เมื่อเจริญเนกขัมมะ ย่อมยินดี เมื่อละกามฉันทะได้ ย่อมยินดี เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 343
เจริญความไม่พยาบาท ย่อมยินดี เมื่อละความพยาบาทได้ ย่อมยินดี เมื่อ
เจริญอาโลกสัญญา ย่อมยินดี เมื่อละถิ่นมิทธะได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญ
ความสงบ ย่อมยินดี เมื่อละอุทธัจจะได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญการกำหนด
ธรรม ย่อมยินดี เมื่อละวิจิกิจฉาได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญญาณ ( ปัญญา )
ย่อมยินดี เมื่อละอวิชชาได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญปราโมชย่อมยินดี เมื่อ
ละความไม่ยินดีได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญปฐมฌานย่อมยินดี เมื่อละนิวรณ์ ๕
ได้ย่อมยินดี เมื่อเจริญทุติยฌาน ย่อมยินดี เมื่อละวิตกวิจารได้ ย่อมยินดี
เมื่อเจริญตติยฌานย่อมยินดี เมื่อละปีติได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญจตุตถฌาน
ย่อมยินดี เมื่อละสุขและทุกข์ได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอากาสานัญจายตน-
สมาบัติ ย่อมยินดี เมื่อละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ย่อมยินดี
เมื่อเจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯ ล ฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ย่อมยินดี เมื่อละอากิญจัญญายตนสมาบัติได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอนิจจา-
นุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละนิจจสัญญาได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญทุกขา-
นุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละสุขสัญญาได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอนัตตา-
นุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละอัตตสัญญาได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญนิพพิทา-
นุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละความพอใจได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญวิราคา-
นุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละราคะได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญนิโรธานุปัสสนา
ย่อมยินดี เมื่อละสมุทัยได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญปฏินิสสัคคานุปัสสนา ย่อม
ยินดี เมื่อละความยึดถือได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญขยานุปัสสนา ย่อมยินดี
เมื่อละฆนสัญญาได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญยานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละ
อายูหนะ ( การประมวลไว้ )ได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญวิปริณามานุปัสสนา
ย่อมยินดี เมื่อละธุวสัญญา ( ความสำคัญว่ายั่งยืน ) ได้ ย่อมยินดี เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 344
เจริญอนิมิตตานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละนิมิตได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญ
อัปปณิหิตานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละปณิธิ ย่อมยินดี เมื่อเจริญสุญญตา-
นุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละอภินิเวสได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญอธิปัญญา
ธัมมวิปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละสาราทานาภินิเวสได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญ
ยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมยินดี เมื่อละสัมโมหาภินิเวสได้ ย่อมยินดี เมื่อ
เจริญอาทีนวานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละอาลยาภินิเวส ย่อมยินดี เมื่อ
เจริญปฏิสังขาภินิเวส ย่อมยินดี เมื่อละอัปปฏิสังขะได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญ
วิวัฎฏานุปัสสนา ย่อมยินดี เมื่อละสังโยคาภินิเวสได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญ
โสดาปัตติมรรค ย่อมยินดี เมื่อละกิเลสที่ตั้งอยู่ที่เดียวกับทิฏฐิได้ ย่อมยินดี
เมื่อเจริญสกทาคามิมรรค ย่อมยินดี เมื่อละกิเลสอย่างหยาบเสียได้ ย่อม
ยินดี เมื่อเจริญอนาคามิมรรค ย่อมยินดี เมื่อละกิเลสอย่างละเอียดได้
ย่อมยินดี เมื่อเจริญอรหัตตมรรค ย่อมยินดี เมื่อละกิเลสทั้งหมดได้
ย่อมยินดี ดังนี้.
ข้อว่า ทีฆนิกาเย ทสุตฺตรสุติตนฺตปริยาเยน กเถตพฺโพ ความว่า
พึงกล่าวโดยบรรยายแห่งทสุตตรสูตรในทีฆนิกาย อย่างนี้ว่า ภิกษุเมื่อ
เจริญธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมยินดี เมื่อละธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมยินดี ฯลฯ
เมื่อเจริญธรรมสิบ ย่อมยินดี เมื่อละธรรมได้ ๑๐ ย่อมยินดี ภิกษุเมื่อ
เจริญธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมยินดีเป็นไฉน เมื่อเจริญกายคตาสติ อันเป็น
ธรรมที่สหรคตด้วยความยินดี ย่อมยินดี ภิกษุเมื่อเจริญธรรมอย่างหนึ่งนี้
ย่อมยินดี ภิกษุเมื่อละธรรมอย่างหนึ่ง ย่อมยินดี เป็นไฉน เมื่อละอัสมิ-
มานะได้ ย่อมยินดี ภิกษุเมื่อละธรรมอย่างหนึ่งนี้ได้ ย่อมยินดี เมื่อเจริญ
ธรรม ๒ อย่าง ย่อมยินดี เป็นไฉน ฯลฯ เมื่อเจริญธรรมสิบอย่าง ย่อมยินดี
เป็นไฉน เมื่อเจริญกสิณสิบ ย่อมยินดี เมื่อเจริญธรรมเหล่านี้ ย่อมยินดี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
เมื่อละธรรมสิบเหล่าไหนได้ ย่อมยินดี เมื่อละมิจฉัตตะสิบได้ ย่อมยินดี
เมื่อละธรรมสิบเหล่านี้ได้ ย่อมยินดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ยินดี
ในภาวนา อย่างนี้แล.
ข้อว่า มชฺฌิมนิกาเยน สติปฏฺานสุตฺตนฺตปริยาเย กเถตพฺโพ
ความว่า พึงกล่าวโดยบรรยายแห่งสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกายอย่างนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นหนทางเครื่องดำเนินไปอย่างเอก ฯลฯ เพียง
เพื่อความรู้ เพียงเพื่อเป็นที่อาศัยระลึก เธอไม่ติดอาศัยอยู่ และไม่ยึดถือ
อะไรในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุย่อมเป็นผู้ยินดีในภาวนา
เป็นผู้ยินดีแล้วในภาวนา เป็นผู้ยินดีในการละ เป็นผู้ยินดีแล้วในการละ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเมื่อกำลังไปก็รู้ว่า เรากำลังไป
ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุแม้พึงเหมือนผู้เห็นร่างกาย
ที่ทิ้งไว้ในป่าช้า ฯลฯ เป็นของเปื่อยเน่า ผุพัง เธอย่อมนำเข้าไปเปรียบเทียบ
กับกายนี้นี่แหละว่า ร่างกายแม้นี้แล ก็มีธรรมอย่างนี้ มีภาวะอย่างนี้ ไม่ล่วง
พ้นภาวะอย่างนี้ ไปได้ ดังนี้ เธอย่อมเห็นกายในกายอันเป็นภายใน ด้วย
ประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ยินดีในภาวนาแม้อย่างนี้แล.
ข้อว่า อภิธมฺเม นิทฺเสนปริยาเยน ความว่า พึงกล่าวโดยบรรยาย
แห่งนิเทสในอภิธรรมอย่างนี้ว่า ภิกษุเมื่อเห็นสังขตธรรมแม้ทั้งปวง โดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นแผล ฝี ฯลฯ เป็นธรรม
มีความเศร้าหมอง ย่อมยินดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้แล ย่อมเป็น
ผู้ยินดีในภาวนา.
ข้อว่า เนว อตฺตานุกฺกเสติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่ทำการยกตน
ขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อเราทำการงานในวิปัสสนาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 346
อนัตตา ตลอด ๖๐ หรือ ๗๐ ปี ในวันนี้จะมีใครเหมือนเรา ดังนี้. ข้อว่า
น ปร วมฺเภติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่ทำการข่มผู้อื่นอย่างนี้ว่า แม้เพียง
เหตุสักว่า วิปัสสนาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาก็ไม่มี (แก่ภิกษุ
เหล่านี้ ) ทำไม ภิกษุเหล่านี้ จึงละทิ้งกรรมฐาน เที่ยวไป ดังนี้. คำที่เหลือ
มีนัยที่กล่าวแล้วนั่นเอง.
ข้อว่า ปธานานิ ได้แก่ ความเพียรขั้นสูงสุด. ข้อว่า สวรปธาน
ความว่า ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้สำรวม อายตนะมีจักษุเป็นต้น.
ข้อว่า ปหาปธาน ความว่า ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ละกาม
วิตกเป็นต้น. ข้อว่า ภาวนาปธาน ความว่า ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้
เจริญโพชฌงค์. ข้อว่า อนุรกฺขนาปธาน ความว่า ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่
ภิกษุผู้ตามรักษาสมาธินิมิต. ในข้อว่า วิเวกนิสฺสิต เป็นต้น ความว่า แม้คำ
ทั้ง ๓ คือ วิเวกวิราคะนิโรธ ก็เป็นชื่อของพระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพาน
ชื่อว่า วิเวก เพราะสงัดจากอุปธิกิเลส ชื่อว่าวิราคะเพราะอรรถว่า กิเลสมี
ราคะเป็นมาถึงพระนิพพานนั้น ย่อมบำราศไป ชื่อว่า นิโรธ เพราะ
อรรถว่า ดับ เพราะเหตุนั้นในคำว่า วิเวกนิสฺสิต เป็นต้น จึงมีอธิบายว่า
อาศัยพระนิพพาน ด้วยอำนาจความเป็นอารมณ์ หรือด้วยอำนาจพึงบรรลุ.
ในคำว่า โวสฺสคฺคปริณามี นี้ ความว่า การสละลงมี ๒ อย่าง คือ การ
สละลงคือการบริจาค การสละลงคือการแล่นไป ๑. ใน ๒ อย่างนั้น
วิปัสสนา ชื่อว่าการสละลงคือการบริจาค เพราะอรรถว่า ละกิเลสและ
ขันธ์ได้ด้วยองค์นั้น. มรรค ชื่อว่าการสละลงคือการแล่นไป เพราะอรรถ
ว่า แล่นไปสู่พระนิพพานโดยความเป็นอารมณ์. เพราะฉะนั้นในข้อว่า
โวสฺสคฺคปริณามี นี้จึงมีอธิบายอย่างนี้ว่า สติสัมโพชฌงค์ที่ภิกษุเจริญอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
ย่อมน้อมไปเพื่อความสละลง เธอย่อมบรรลุวิปัสสนาภาวนาและมรรค
ภาวนา ฉันใด เธอย่อมเจริญโวสสัคคะฉันนั้น ดังนี้. แม้ในบทที่เหลือ
ก็นัยนั้นเหมือนกัน. สมาธินิมิตอันเจริญ ท่านเรียกว่า ภทฺทก. สมาธิ
นั่นแหละ เป็นอันภิกษุบรรลุแล้ว ด้วยอำนาจอัฏฐิกสัญญาเป็นต้น. ข้อว่า
อนุรกฺขติ ความว่า เมื่อภิกษุชำระ ราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นธรรมฝ่าย
ข้าศึกย่อมรักษาสมาธิไว้ได้. ก็ในข้อนี้ท่านกล่าวสัญญาไว้ ๕ ข้อ มีอัฏฐิก-
สัญญา เป็นต้น. ก็ในฐานะนี้ ท่านกล่าวอสุภะไว้ครบทั้ง ๑๐ โดยพิสดาร.
ความพิสดารของอสุภเหล่านั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
ข้อว่า ธมฺเม ญาณ ความว่า ญาณในสัจจธรรมสี่ และญาณ
ในนิโรฐธรรมในภายในสัจจสี่ด้วยอำนาจการแทงตลอดเป็นอันเดียวกัน.
เหมือนที่กล่าวไว้แล้ว. ถามว่า ในญาณ ๒ นั้น ญาณในธรรมเป็นไฉน
ตอบว่า ญาณในมรรค ๔ ผล ๔. ข้อว่า อนฺวเย ญาณ ความว่าญาณที่
เป็นไปตามญาณนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุเห็นสัจจะ ๔ โดยประจักษ์ในบัดนี้ฉันใด
ถึงในอดีต ถึงในอนาคต ก็ฉันนั้น ขันธ์ ๕ เหล่านี้นั่นเอง ชื่อว่า ทุกขสัจจะ
ตัณหานี้นั่นแหละ ชื่อว่าสมุทัยสัจจะ นิโรธนี้เทียว ชื่อว่านิโรธสัจจะ มรรคนี้
ทีเดียว ชื่อว่ามรรคสัจจะ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เธอย่อมนำนัย
ไปในอดีตและอนาคต ด้วยการรู้ การเห็น การบรรลุ การรู้ชัด การ
หยั่งเห็น ตามธรรมนี้. ข้อว่า ปริจฺเฉเท าณ ความว่า ญาณในการ
กำหนดใจของคนพวกอื่น. เหมือนที่ท่านกล่าวไว้แล้ว. บัณฑิตพึงให้ข้อ
ความพิสดารว่า ในญาณนั้นญาณในการกำหนดใจเป็นไฉน ภิกษุใน
ศาสนานี้ กำหนดใจของสัตว์อื่น บุคคลอื่นได้ด้วยใจ ก็ย่อมรู้ได้ ดังนี้.
ก็ญาณที่เหลือเว้นญาณ ๓ เหล่านี้ ชื่อว่าสัมมติญาณ. เหมือนดังท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 348
กล่าวไว้แล้ว. ในข้อนั้น สัมมติญาณเป็นไฉน ญาณที่เหลือ เว้นญาณ
ในธรรม เว้นญาณในการไปตาม เว้นญาณในการกำหนดใจเสียแล้ว ชื่อว่า
สัมมติญาณ ดังนี้. กรรมฐานในสัจจะ ๔ ท่านกล่าวสรุปไว้สำหรับภิกษุรูป
หนึ่ง ซึ่งบรรลุอรหัตด้วยญาณ ในทุกขสัจจะเป็นต้น. บรรดาสัจจะ ๘ นั้น
สัจจะ ๒ ข้อเป็นวัฏฏะ อีก ๒ ข้อเป็นวิวัฏฏะ. อภินิเวสะ (ความยึดมั่น)
ย่อมมีในวัฏฏะ แต่หามีในวิวัฏฏะไม่ ภิกษุเรียนพระปริยัติในสำนักอาจารย์
ชื่อว่า ย่อมทำการงานในสัจจะ ๒. ภิกษุย่อมทำงานในสัจจะ ๒ ข้อด้วย
อำนาจการฟังว่า ธรรมดาว่า นิโรธสัจจะเป็นของดี น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ธรรมดาว่า มรรคสัจจะ เป็นของน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ.
การแทงตลอดด้วยอำนาจการเรียน การสอบถาม การฟัง การทรงจำ
การใคร่ครวญ ในสัจจะ ๒ ย่อมควร. การแทงตลอดด้วยอำนาจการฟังใน
สัจจะ ๒ ย่อมควร. เธอย่อมแทงตลอด สัจจะ ๓ ด้วยอำนาจกิจ . ย่อมแทง
ตลอดสัจจะ ๑ ด้วยอำนาจความเป็นอารมณ์. สัจจะ ๒ ข้อเป็นของลึกซึ้ง
เพราะเห็นได้ยาก. สัจจะ ๒ ข้อ ที่ชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะเป็นสภาพลึกซึ้ง.
ข้อว่า โสตาปตฺติยงฺคานิ ความว่า องค์แห่งการบรรลุกระแส.
อธิบายว่า เหตุแห่งการได้โสดาปัตติมรรค. ข้อว่า สปฺปุริสสเสโว ความว่า
การเข้าไปคบหาสัตบุรุษ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. ข้อว่า สทฺธมฺมสฺสวน
ความว่า การฟังธรรมคือ พระไตรปิฏกอันเป็นที่สบาย. ข้อว่า โยนิโสมน-
สิกาโร ความว่า การทำไว้ในใจด้วยอำนาจอนิจจลักษณะ เป็นต้น.
ข้อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ความว่า ปฏิบัติ ข้อปฏิบัติอันมีในส่วน
เบื้องต้น อันเป็นธรรมไปตามโลกุตตรธรรม. ข้อว่า อเวจฺจปฺปสาเทน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 349
ความว่า ด้วยศรัทธาอันมั่นคง. พระพุทธคุณว่า อิติปิ โส ภควา ดังนี้
เป็นต้น ท่านให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. หมวดสี่แห่งผล ธาตุ และ
อาหาร มีเนื้อความง่ายทีเดียว. อีกอย่างหนึ่งในข้อนี้ บัณฑิตพึงทราบความ
เป็นของหยาบและละเอียด ด้วยอำนาจความเป็นของหยาบและประณีต.
ข้อว่า วิญฺาณฏฺิติโย ความว่า ที่ชื่อว่า วิญญาณฐิติ เพราะอรรถ
ว่า เป็นที่ตั้งของวิญญาณ. คำนี้ท่านกล่าวไว้แล้วด้วยอำนาจเป็นที่ตั้งของ
อารมณ์. ข้อว่า รูปูปาย ความว่า เป็นสภาพเข้าถึงรูป. จริงอยู่ อภิสังขาร.
วิญญาณอาศัยรูปขันธ์ ตั้งอยู่ในปัญจโวการภพ. คำนี้ท่านกล่าวหมายถึง
วิญญาณนั้น. ข้อว่า รูปารมฺมณ ความว่า มีรูปขันธ์เป็นอารมณ์. ข้อว่า
รูปปฺปติฏฺ ความว่า เป็นของตั้งอยู่เฉพาะแล้วในรูป. ข้อว่า นนฺทูปเสวน
ความว่า เป็นของอันความพอใจเข้าไปอาศัย เพราะสัมปยุตด้วยจิตที่สหรคต
ด้วยโลภะ. นอกนี้ เป็นของถูกส่วนสุดแห่งความประพฤติที่เคยชิน เข้าไป
อาศัย. ข้อว่า วุฑฺฒึ วิวุฬฺหึ เวปุลฺล อาปชฺชติ ความว่า ถึงความเจริญ
งอกงาม ไพบูลย์ ซึ่งเป็นไปอยู่อย่างนี้ ๖๐ ปีบ้าง ๗๐ ปีบ้าง. นัยแม้ในอุบาย
แห่งเวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้. ก็ในจตุโวการภพ ท่านกล่าวอภิสังขารวิญญาณ
ไว้ด้วยบททั้ง ๓ เหล่านี้. พึงทราบการถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์
ด้วยอำนาจความเป็นไปตราบเท่าชั่วอายุของวิญญาณนั้น. ท่านไม่กล่าวว่า
อุบายแห่งวิญญาณ ดังนี้ เพราะมาแล้วด้วยเทศนา ตามหมวด ๔. ก็เมื่อ
กล่าวไปอย่างนี้ ก็จะเป็นการฟั่นเฝือหนักขึ้นว่า ในที่นี้ กัมมวิญญาณเป็น
ไฉน วิบากวิญญาณเป็นไฉน แม้เพราะเหตุนั้น จึงไม่กล่าวไว้. การถึงอคติ
ท่านให้พิสดารไว้แล้วทีเดียว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 350
ข้อว่า จีวรเหตุ ความว่า เกิดขึ้นเพราะมีจีวรเป็นเหตุว่า เราจัก
ได้จีวรที่ชอบใจในที่ไหน. อิติศัพท์ในข้อว่า อิติภวาภวเหตุ นี้ เป็นนิบาต
ลงในการชี้แจง. อธิบายว่า เหตุมีจีวรเป็นต้นเป็นฉันใด เหตุมีภพและ
อภพเป็นต้น (เหตุที่ประณีตและประณีตกว่า) ก็เป็นฉันนั้น. ในข้อว่า
ภวาภโว นี้ท่านประสงค์เอาน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นที่ประณีต
และประณีตกว่า. พึงทราบว่า ก็อริยวงศ์ ๔ ท่านแสดงไว้ตามลำดับทีเดียว
เพื่อต้องการละตัณหา และอุปาทาน ๔ เหล่านี้ หมวด ๔ แห่งปฏิปทา
ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.
ในการอดทนไม่ได้เป็นต้น มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้. ภิกษุที่ชื่อว่า
อักขมา เพราะอรรถว่า อดทนความหนาวเป็นต้นไม่ได้ ในเวลาทำความ
เพียร. ชื่อว่า ขมา เพราะอรรถว่า ทนได้. การฝึกอินทรีย์ชื่อว่า ทมา.
ความสงบวิตก โดยนัยเป็นต้นว่า อดกลั้นกามวิตกที่เกิดขึ้นไม่ได้ชื่อ สมา.
ข้อว่า ธมฺมปทานิ ความว่า ส่วนแห่งธรรม. ความไม่เพ่งเล็ง
ชื่อว่า บทแห่งธรรม อีกอย่างหนึ่ง ความไม่โลภโดยมีความไม่โลภเป็นใหญ่
หรือ การบรรลุฌานวิปัสสนามรรคผลและนิพพาน ก็ชื่อว่า บทแห่งธรรม
ความไม่พยาบาท ชื่อว่า บทแห่งธรรม หรือ ความไม่โกรธโดยมีเมตตา
เป็นหลัก หรือ การบรรลุฌานเป็นต้น ชื่อว่า บทแห่งธรรม. สัมมาสติ
ชื่อว่าบทแห่งธรรม อีกอย่างหนึ่ง การตั้งสติมั่น โดยมีสติเป็นหลัก หรือ
การบรรลุฌานเป็นต้น ชื่อว่าบทแห่งธรรม. สัมมาสมาธิ ชื่อว่า บทแห่ง
ธรรม อีกอย่างหนึ่ง สมาบัติด้วยอำนาจสมาบัติ ๘ หรือการบรรลุฌาน
วิปัสสนามรรคผล และนิพพาน ชื่อว่า บทแห่งธรรม. การบรรลุฌาน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 351
เป็นต้น ด้วยอำนาจอสุภะ ๑๐ หรือความไม่เพ่งเล็ง ชื่อว่า บทแห่งธรรม
บทแห่งธรรมที่บรรลุด้วยอำนาจพรหมวิหาร ๔ ( หรือ ) ความไม่พยาบาท
ชื่อว่า บทแห่งธรรม. บทแห่งธรรมที่บรรลุด้วยอำนาจ อนุสสติ ๑๐ และ
อาหารปฏิกูลสัญญา ( หรือ ) สัมมาสติ ชื่อว่าบทแห่งธรรม. บทแห่งธรรม
ที่บรรลุด้วยอำนาจกสิณ ๑๐ และอานาปานสติ (หรือ) สัมมาสมาธิ
ชื่อว่าบทแห่งธรรมดังนี้แล.
ในการสมาทานธรรมทั้งหลาย มีเนื้อความดังต่อไปนี้. การสมา-
ทานข้อแรก เป็นปฏิปทาของอเจลกะ. การสมาทานข้อที่ ๒ เป็นการ
ประพฤติพรหมจรรย์อย่างบริสุทธิ์ของบุคคลผู้มีกิเลสกล้า ไม่สามารถจะ
คว้าเอาพระอรหัตไว้ได้ ร้องไห้น้ำตาเปียกหน้าอยู่. การสมาทานข้อที่ ๓
เป็นการสมาทานที่ตกไปในกามทั้งหลาย. การสมาทานข้อที่ ๔ เป็นการ
ประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนาของบุคคลผู้แม้ไม่ได้ปัจจัยสี่ แต่ก็พรั่งพร้อม
ไปด้วยความสุข ตามอำนาจฌานและวิปัสสนา.
ในข้อว่า ธมฺมกฺขนฺธา นี้ ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในคุณ คือตั้งอยู่
ในขันธ์. ข้อว่า ลีลกฺขนฺโธ ได้แก่ คุณของศีล. ก็ผลของศีลท่านประสงค์
เอาในข้อนี้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ผลนั่นเองท่านกล่าวไว้ใน
ฐานแม้ทั้ง ๔ ด้วยประการฉะนี้.
ข้อว่า พลานิ ความว่า ที่ชื่อว่า กำลังทั้งหลาย เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องช่วยเหลือ และเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว. บัณฑิตพึงทราบความ
ที่กำลังเหล่านั้นเป็นของไม่หวั่นไหว ด้วยธรรมมีโกสัชชะ เป็นต้น ซึ่งเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 352
ข้าศึกกัน. กำลังแม้ทั้งหมด ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระท่านกล่าวไว้แล้ว
ด้วยอำนาจสมถะ วิปัสสนา และมรรค.
อธิศัพท์ในข้อว่า อธิฏฺานานิ นี้เป็นเพียงอุปสรรค. แต่ว่าโดย
ความหมายแล้ว ก็มีความหมายว่า เป็นเหตุตั้งอยู่ เป็นที่ตั้งอยู่ของคุณธรรม
หรือว่าเป็นฐานะ คือความตั้งใจมั่นของคนที่สร้างสมคุณนั้นๆ. การตั้งใจมั่น
คือปัญญา ชื่อว่า ปัญญาธิฏฐาน. ก็ในที่นี้ พระมูสิยาภยเถระ กล่าวไว้ว่า
บัณฑิตพึงทราบว่า ปัญญาในมรรคและผล ท่านกล่าวไว้ด้วยอธิฏฐาน
ข้อที่หนึ่ง วาจาสัตย์ กล่าวไว้ด้วยอธิฏฐานข้อที่สอง การบริจาคอามิส
กล่าวไว้ด้วยอธิฏฐานข้อที่สาม การสงบกิเลส กล่าวไว้ด้วยอธิฏฐานข้อที่สี่
อีกอย่างหนึ่ง ปัญญาในผลเริ่มต้นแต่กัมมัสสกตาปัญญา หรือวิปัสสนา
ปัญญา กล่าวไว้ด้วยอธิฐานข้อที่หนึ่ง พระนิพพานซึ่งเป็นปรมัตถสัจจะ
เริ่มต้นแต่วาจาสัตย์ กล่าวไว้ด้วยอธิฏฐานข้อที่สอง การสละกิเลสด้วย
อรหัตตมรรค เริ่มต้นแต่การบริจาคอามิส กล่าวไว้ด้วยอธิฏฐานข้อที่สาม
การสงบกิเลสด้วยอรหัตมรรค เริ่มต้นแต่การข่มกิเลสได้ด้วยสมาบัติ กล่าว
ไว้ด้วยอธิฏฐานข้อที่สี่ อีกอย่างหนึ่งปัญญาในอรหัตผล กล่าวไว้ด้วย
ปัญญาธิฏฐานข้อหนึ่ง ปรมัตถสัจจะ กล่าวไว้ด้วยปัญญาธิฏฐานข้อที่เหลือ
อีกอย่างหนึ่ง ปรมัตถสัจจะ กล่าวไว้ด้วยสัจจาธิฏฐานข้อหนึ่ง ปัญญา
ในอรหัตผล กล่าวไว้ด้วยปัญญาธิฏฐานที่เหลือ ดังนี้. การพยากรณ์
ปัญหา ท่านให้พิสดารแล้วในกถามหานิเทสนั้นแหละ.
ข้อว่า กณฺห แปลว่า อกุศลกรรมบถสิบ ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายดำ.
ข้อว่า กณฺหวิปาก ได้แก่ ผลของอกุศลกรรม เพราะให้สัตว์ผู้ทำเกิดใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 353
อุบาย. ข้อว่า สุกฺก ได้แก่ กุศลกรรมบถสิบ ซึ่งเป็นธรรมฝ่ายขาว. ข้อว่า
สุกฺกวิปาก ได้แก่ ผลของกุศลกรรม เพราะให้สัตว์ผู้ทำเกิดในสวรรค์.
ข้อว่า กณฺหสุกฺก ได้แก่ หรรมที่ระคนกัน. ข้อว่า กณฺหสุกฺกวิปาก
ได้แก่ ผลที่เป็นสุขและเป็นทุกข์. จริงอยู่ บุคคลที่ทำกรรมอันเจือกันไปเกิด
ในที่แห่งช้างมงคลเป็นต้น ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน เพราะอกุศล เสวยสุข
ในปัจจุบัน เพราะกุศล. บุคคลผู้เกิดแม้ในราชตระกูลเพราะกุศล ย่อม
เสวยทุกข์ในปัจจุบันด้วยอกุศล. ข้อว่า ไม่ดำไม่ขาว ความว่า ท่าน
ประสงค์เอา ญาณในมรรค. อันทำความสิ้นกรรม. จริงอยู่ กรรมนั้น
ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดำ ( อกุศล ) ก็พึงให้ผลของกรรมฝ่ายดำ ถ้าเป็นกรรม
ฝ่ายขาว ( กุศล ) ก็พึงให้ผลของกรรมฝ่ายขาว. กรรมที่ชื่อว่า ไม่ดำไม่ขาว
เพราะไม่ให้ผลทั้งสอง เพราะมีผลไม่ดำไม่ขาว ในข้อนี้ มีอธิบายดังว่า
มานี้.
ข้อว่า สจฺฉิกรณียานิ ความว่า พึงทำให้แจ้ง โดยทำให้ประจักษ์
และโดยการได้เฉพาะ. บทว่า จกฺขุนา ได้แก่ ทิพยจักษุ. ข้อว่า กาเยน
ได้แก่ สหชาตนามกาย. ข้อว่า ปญฺาย ได้แก่ ญาณในอรหัตผล.
ในบทว่า โอฆะ มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่า กด
คือทำสัตว์ให้จมลงในวัฏฏะ. บรรดาโอฆะนั้น ความกำหนัดที่เกี่ยวเนื่อง
กับกามคุณ ๕ ชื่อว่า โอฆะ คือ กาม. ความกำหนัดด้วยความพอใจ
ในรูปภพ และอรูปภพ ชื่อว่า โอฆะ คือภพ. ความติดใจในญาน และ
ความกำหนัดที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ ก็เหมือนกัน. ทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า
โอฆะ คือ ทิฏฐิ. ที่ชื่อว่า โยคะ เพราะอรรถว่า ประกอบสัตว์ไว้ในวัฏฏะ.
โยคะ เหล่านั้นพึงทราบว่าเหมือนโอฆะ. ที่ชื่อว่า วิสังโยค เพราะอรรถว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 354
ไม่ประกอบสัตว์ไว้. ในวิสังโยคนั้น ยสุภฌาน ชื่อว่า การไม่ประกอบไว้ด้วย
กามโยคะ อนาคามิมรรค ที่บุคคลบรรลุโดยทำอสุภฌานนั้นให้เป็นบาท
ชื่อว่า การไม่ประกอบด้วยกามโยคะ โดยส่วนเดียวทีเดียว. อรหัตตมรรค
ชื่อว่า การไม่ประกอบด้วยภวโยคะ. โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า การไม่ประกอบ
ในทิฏฐิโยคะ. อรหัตมรรค ชื่อว่า การไม่ประกอบในอวิชชาโยคะ.
กิเลสที่ชื่อว่า คันถา ด้วยสามารถผูก ( สัตว์) ไว้. ที่ชื่อว่า
กายคันถะ เพราะอรรถว่า ผูก คือ พัน ได้แก่ ร้อยรัด นามกาย และ
รูปกายไว้ในวัฏฏะ. ข้อว่า อิทสจฺจาภินิเวโส ความว่า อภินิเวส คือ
ทิฏฐิที่เป็นไปอย่างนี้ว่า นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น เปล่า ดังนี้.
ข้อว่า อุปาทานานิ ได้แก่ การยึดมั่นถือมั่น. ความกำหนัดชื่อว่า
กาม. กามนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะอรรถว่า ถือมั่น
ด้วยอรรถว่า ยึดไว้. มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า ทิฏฐิ. ทิฏฐิแม้นั้น ชื่อว่า
ทิฏฐุปาทาน เพราะอรรถว่า ถือมั่น ด้วยอรรถว่า ยึดถือไว้. การยึดถือ
ศีลพรตอย่างนี้ว่า ความหมดจดมีได้ด้วยศีลพรตนี้ ชื่อว่า การยึดมั่นศีลพรต.
ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้เรียกว่า ตน และ
เป็นเหตุแห่งการยึดมั่น.
ข้อว่า โยนิโย แปลว่า ส่วนทั้งหลาย. เหล่าสัตว์ที่ชื่อว่า อัณฑชะ
เพราะอรรถว่า เกิดในไข่. ชื่อว่า ชลาพุชะ เพราะอรรถว่า เกิดในครรภ์.
ชื่อว่า สังเสทชะ เพราะอรรถว่า เกิดในเหงื่อไคล. คำนี้เป็นชื่อของสัตว์
ที่เกิดในที่นอน และในที่โสโครก มีปลาเน่า เป็นต้น. ที่ชื่อว่า โอปปาติกะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 355
เพราะอรรถว่า เป็นเหมือนมาเกิดขึ้นโดยฉับพลัน. ในข้อนั้น นี้เป็นความ
แตกต่างกันระหว่าง สัตว์เกิดในเหงื่อไคล กับสัตว์ที่เกิดผุดขึ้นในจำพวก
เทวดาและมนุษย์. สัตว์จำพวกสังเสทชะ เกิดเป็นตัวอ่อนเล็กๆ. สัตว์จำพวก
โอปปาติกะ เกิดเป็นตัวเท่ากับคนอายุ ๑๖ ปี. จริงอยู่ ในหมู่มนุษย์
และภุมมเทวดา ย่อมหากำเนิดสี่ เหล่านี้ได้ครบ. ในจำพวก ครุฑและนาค
เป็นต้น ซึ่งเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ก็เหมือนกัน. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัส
ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาครุฑ และนาคนั้น พวกครุฑซึ่ง
เป็นสัตว์ในไข่ ย่อมสังหารพวกนาค ซึ่งเป็นสัตว์เกิดในไข่ด้วยกัน
แต่หาสังหารสัตว์จำพวกชลาพุชะ สังเสทชะ โอปปาติกะ ไม่.
เทวดาชั้นสูง ๆ ขึ้นไปตั้งแต่ ชั้นจาตุมมหาราชิกา จัดเป็นจำพวกโอปปา-
ติกะทั้งนั้น. สัตว์นรกก็เช่นกัน. ในจำพวกเปรตก็หากำเนิดได้ครบทั้ง ๔.
การก้าวละสู่ครรภ์ ท่านกล่าวไว้แล้วในสัมปสาทนียสูตร นั่นแล.
ในการกลับได้อัตภาพ สัตว์จำพวกที่หนึ่งพึงทราบด้วยอำนาจการ
ขวนขวายในการเล่น จำพวกที่สอง พึงทราบด้วยอำนาจสัตว์ในภายใน
เป็นต้น ซึ่งถูกสัตว์ภายในเป็นต้นทำลาย จำพวกที่สาม พึ่งทราบด้วยอำนาจ
การประทุษร้ายทางใจ จำพวกที่สี่ พึงทราบด้วยอำนาจเทวดาที่เหลือชั้นสูง
ขึ้นไปเริ่มตั้งแต่ชั้นจาตุมมหาราชิกา. จริงอยู่ เทวดาเหล่านั้น ย่อมไม่ตาย
ด้วยความจงใจของตนเอง ทั้งไม่ตายด้วยความจงใจของสัตว์อื่น.
ในข้อว่า ทกฺขณาวิสุทฺธิโย มีวิเคราะห์ว่า ที่ชื่อว่า ทักษิณาวิสุทธิ
เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ ให้ทักษิณา กล่าวคือ ทาน หมดจดมีผลมาก.
ข้อว่า ทายกโต วิสุชฺฌติ โน ปฏิคฺคาหกโต ความว่า ในทักษิณาใด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 356
ทายกเป็นคนมีศีล ถวายไทยธรรมที่เกิดขึ้นโดยธรรม แต่ปฏิคคาหก (ผู้รับ)
เป็นคนทุศีล ทักษิณานี้เป็นเหมือนทักษิณา ของพระเวสสันดรมหาราช.
ข้อว่า ปฏิคฺคาหกโต วิสุชฺฌติ โน ทายกโต ความว่า ในทักษิณาใด
ปฏิคคาหก เป็นคนมีศีล แต่ทายกเป็นคนเสียศีล ถวายไทยธรรมที่เกิดขึ้น
โดยไม่เป็นธรรม ทักษิณานี้เป็นเหมือนทักษิณาของคนฆ่าโจร. ข้อว่า
เนว ทายกโต วิสุชฺฌติ โน ปฏิคฺคาหกโต ความว่า ในทักษิณาใด
ทั้งสองฝ่าย เป็นคนทุศีล ถึงไทยธรรมก็เกิดโดยไม่เป็นธรรม. จำพวกที่ ๔
พึงทราบโดยปริยายตรงกันข้าม. ข้อว่า สงฺคหวตฺถูนิ ความว่า เหตุแห่ง
การสงเคราะห์. การสงเคราะห์เหล่านั้น ท่านจำแนกไว้แล้วในหนหลัง
นั้นแล.
ข้อว่า อนริยโวหารา ความว่า โวหารของบุคคลผู้มิใช่อริยะ คือ
ของตนลามก. ข้อว่า อริยโวหารา ความว่า โวหารของพระอริยะ คือ
สัตบุรุษ. ข้อว่า ทิฏฺวาทิตา ความว่า ความเป็นผู้มีปกติกล่าวอย่างนี้ว่า
เราเห็นมา เป็นต้น ก็ในข้อนี้ พึงทราบเนื้อความด้วยอำนาจเจตนาเป็นเหตุ
ให้ถ้อยคำนั้นๆ ตั้งขึ้น.
ในจำพวกชนที่มีตปะเป็นของตน เป็นต้น มีอธิบายดังนี้. จำพวก
ที่หนึ่ง ได้แก่ อเจลกะ. จำพวกที่สองได้แก่ บรรดาคนภายในเป็นต้น
คนใดคนหนึ่ง. จำพวกที่สาม ได้แก่คนบูชายัญ. จำพวกที่สี่ ได้แก่ คน
ผู้ปฏิบัติชอบในศาสนา. ในจำพวกชนผู้ที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ตนเป็นต้น
มีอธิบายดังนี้. จำพวกที่หนึ่ง ได้แก่ คนที่ตนเองเพรียบพร้อมด้วยคุณ
มีศีลเป็นต้น แต่ไม่ชักชวนคนอื่นในคุณมีศีลเป็นต้น เปรียบเหมือนท่าน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 357
พระวักกลิเถระฉะนั้น. จำพวกที่สอง ได้แก่ คนที่ตนเองไม่สมบูรณ์ด้วย
คุณ มีศีลเป็นต้น แต่ชักชวนคนอื่นในคุณมีศีลเป็นต้น เปรียบเหมือน
ท่านพระอุปนันทะ ฉะนั้น. จำพวกที่สามได้แก่ คนที่ตนเองก็ไม่สมบูรณ์
ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น และไม่ชักชวนคนอื่นในคุณมีศีลเป็นต้น เปรียบ
เหมือนพระเทวทัตฉะนั้น. จำพวกที่สี่ได้แก่บุคคลที่ตนเองก็สมบูรณ์ด้วย
คุณมีศีลเป็นต้น และทิ้งชักชวนคนอื่นในคุณมีศีลเป็นต้น เปรียบเหมือน
พระมหากัสสปฉะนั้น.
ในบุคคลที่ชื่อว่า มืด เป็นต้น มีอธิบายดังนี้. ข้อว่า ตโม ได้แก่
คนที่มืดสนิท. ข้อว่า ตมปรายโน ความว่า คนที่ชื่อว่า ตมปรายโน
เพราะอรรถว่า มีความมืดนั้นแล เป็นทางดำเนินไป คือไปในเบื้องหน้า
ในทุก ๆ บทพึงทราบเนื้อความอย่างนี้. ก็ในคนสี่จำพวกนี้ จำพวกที่หนึ่ง
เกิดในอัตตภาพที่เลว มีการเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง มีตระกูลคนจัณฑาล
เป็นต้น ซึ่งเป็นตระกูลต่ำ ทำทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์. จำพวกที่สองก็เป็น
คนอย่างนั้น แต่บำเพ็ญสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์. จำพวกที่ ๓ บังเกิดใน
อัตภาพที่สมบูรณ์ มีข้าวและน้ำมาก มีตระกูลกษัตริย์เป็นต้น ซึ่งเป็น
ตระกูลอันโอฬาร แต่ทำทุจริต ๓ ให้บริบูรณ์. จำพวกที่ ๔ ก็เป็นอย่างนั้น
เหมือนกัน แต่บำเพ็ญสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์.
ข้อว่า สมณเมจโล ความว่า สมณะผู้ไม่หวั่นไหว. ม อักษร เป็น
เพียงบทสนธิ. สมณะผู้ไม่หวั่นไหวนั้น พึงทราบ ( ว่า ) ได้แก่พระ-
โสดาบัน. จริงอยู่ พระโสดาบัน ชื่อว่า สมณะผู้ไม่หวั่นไหว เพราะอรรถว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 358
เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยการกล่าวร้ายของคนอื่น เหมือนเสาเขื่อนไม่
หวั่นไหวเพราะลมทั้ง ๔ ฉะนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธาอันไม่คลอน
แคลน. สมจริงตามคำที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ความพิสดารว่า ก็บุคคลคนไหน
ชื่อว่า สมณะผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลบางคนในโลกนี้ ( ที่ชื่อว่าสมณะผู้ไม่
หวั่นไหว ) เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓. ส่วนพระสกทาคามี ชื่อว่า สมณะ
ดอกปทุม เพราะอรรถว่า มีราคะ. โทสะ และโมหะ เบาบาง. เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็บุคคลคนไหนชื่อว่า สมณะดอกปทุม บุคคล
บางตนในโลกนี้ มาสู่โลกนี้ ครั้งเดียวเท่านั้น ย่อมทำความสิ้นทุกข์ได้
บุคคลนี้ท่านเรียกว่า สมณะดอกปทุม. พระอนาคามี ชื่อว่า สมณะดอก
บุณฑริก เพราะอรรถว่า จักตรัสรู้ ( บาน ) พลันทีเดียว เพราะไม่มีราคะ
และโทสะ. เพระเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า บุคคลคนไหน ชื่อว่า สมณะ
ดอกบุณฑริก บุคคลบางคนในโลกนี้ ( ละ ) สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ฯ ลฯ
บุคคลนี้ท่านเรียกว่า สมณะดอกบุณฑริก. ส่วนพระอรหันต์ ชื่อว่า สมณะ
สุขุมาล ( สมณะผู้ละเอียดอ่อน ) ในบรรดาสมณะ ( ด้วยกัน ) เพราะ
ไม่มีกิเลสทุกอย่างที่ทำให้กระด้าง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็ใน
บรรดาสมณะบุคคลคนไหน ชื่อว่า สมณะสุขุมาละ บุคคลบางคนในโลกนี้
เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฯลฯ สำเร็จอยู่ บุคคลนี้ท่านเรียก สมณสุขุมาละ
ในบรรดาพระสมณะทั้งหลาย. คำว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น บัณฑิต
พึงประกอบเข้าด้วยกัน ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระเถระเมื่อกล่าว
(แก้) ปัญหาสองร้อยข้อด้วยสามารถแห่งจตุกะห้าสิบถ้วน ด้วยประการฉะนี้
ก็ชื่อว่า แสดงแล้วซึ่งสามัคคีรส ดังนี้แล.
ืืื จบหมวด ๔
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 359
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕
พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยอำนาจหมวด ด้วยประการฉะนี้
แล้ว บัดนี้หวังจะแสดงด้วยอำนาจหมวด ๕ จึงเริ่มเทศนาอีก. ในหมวด ๕
นั้น พึงทราบอธิบายดังนี้. บรรดาขันธ์ ๕ รูปขันธ์ เป็นโลกิยะ. ขันธ์
ที่เหลือ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ. อุปทานขันธ์ เป็นโลกิยะอย่างเดียว.
ก็กถาว่าด้วยขันธ์ ท่านกล่าวไว้โดยพิสดารแล้ว ในวิสุทฐิมรรค. กามคุณ
ทั้งหลาย ท่านให้พิสดารแล้วในหนหลัง. ที่ชื่อว่า คติ เพราะอรรถว่าสัตว์
พึงดำเนินไป เพราะกรรมที่ทำดี และกรรมที่ทำไม่ดีเป็นต้น. ข้อว่า นิรโย
แปลว่า หมดความยินดี. ขันธ์ทั้งหลาย ท่านกล่าวไว้พร้อมกับโอกาส (ที่อยู่)
ร่วมกัน. ขันธ์ที่เกิดขึ้นในที่ ๓ แห่ง นอกจากนี้ ท่านกล่าวแล้ว. แม้โอกาส
ท่านก็กล่าวไว้แล้วในขันธ์ที่ ๔.
ความตระหนี่ในอาวาส ชื่อว่า อาวาสมัจฉริยะ. ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยอาวาสมัจฉริยะนั้น เห็นอาคันตุกะแล้ว กล่าวคำเป็นต้นว่า ในอาวาส
หลังนี้เขาเก็บบริขารของเจดีย์ หรือของสงฆ์ไว้ ย่อมกันอาวาสแม้ที่เป็นของ
สงฆ์. เธอทำกาละแล้ว ย่อมไปเกิดเป็นเปรต หรืองูเหลือม. ความตระหนี่
ในตระกูลชื่อว่า กุลมัจฉริยะ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ในตระกูล
นั้น ย่อมกันภิกษุพวกอื่นจะเข้าไปในตระกูลอุปัฏฐากของตน ด้วยเหตุนั้น ๆ.
ความตระหนี่ในลาภ ชื่อว่า ลาภมัจฉริยะ. ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่
ในลาภนั้น ตระหนี่ลาภแม้เป็นของสงฆ์ กระทำโดยประการที่ภิกษุพวกอื่น
จะไม่ได้. ความตระหนี่ในวรรณะ ชื่อว่า วรรณมัจฉริยะ. ก็ในคำว่า
วณฺโณ นี้ บัณฑิตพึงทราบ ทั้งสรีรวรรณะ ทั้งคุณวรรณะ. ความตระหนี่
ในปริยัติธรรม ชื่อว่า ธรรมมัจฉริยะ. ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่
ในปริยัติธรรมนั้น ย่อมไม่ให้ ( ปริยัติธรรม ) แก่ภิกษุอื่นด้วยคิดเสียว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 360
ภิกษุนี้เรียนธรรมนี้แล้วจักข่มเรา. ส่วนภิกษุใดไม่ให้เพราะอนุเคราะห์
ธรรม หรืออนุเคราะห์บุคคล อันนั้นไม่จัดเป็นควานตระหนี่ ( สำหรับ
ภิกษุนั้น).
ธรรมชาติที่ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะอรรถว่า ห้าม คือ ปิดกั้นจิตไว้.
กามฉันท์ที่ถึงความเป็นนิวรณ์ ฆ่าด้วยอรหัตมรรคได้. อนุสัยคือกามราคะ
ที่ถึงความเป็นกามราคสังโยชน์ ฆ่าด้วยอนาคามิมรรคได้. ถีนะ เป็นความ
ขัดข้องทางจิต. มิทธะ เป็นความขัดข้องของขันธ์ ๓. ถีนะ และมิทธะ
แม้ทั้งสอง ฆ่าด้วยอรหัตมรรคได้. อุทธัจจะ ก็เหมือนกัน. กุกกุจจะ
ฆ่าด้วยอนาคามิมรรคได้. วิจิกิจฉา ฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรคได้.
ข้อว่า สญฺโชนานิ ได้แก่ เครื่องผูกมัด. ก็บรรดาบุคคลที่ถูก
สัญโยชน์เหล่านั้นผูกไว้ พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ซึ่งเกิดในรูปภพ
และอรูปภพ ชื่อว่า นอนแล้วในภายนอกจากเครื่องผูกในภายใน. จริงอยู่
พระโสดาบันและพระสกทาคามีเหล่านั้น ยังมีเครื่องผูกมัดไว้ในกามภพ.
พระอนาคามี ชื่อว่า นอนในภายในจากเครื่องผูกในภายนอก ในกามภพ.
จริงอยู่ สำหรับพระอนาคามีเหล่านั้น ยังมีเครื่องผูกมัดไว้ในรูปภพ และ
อรูปภพ. พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ชื่อว่านอนในภายในจากเครื่อง
ผูกในภายใน ในกามภพ. พระอนาคามี ชื่อว่า นอนในภายนอกจาก
เครื่องผูกในภายนอก ในรูปภพ และอรูปภพ. พระขีณาสพ ไม่มีเครื่อง
มัดไว้ในทุก ๆ ภพ.
บทที่พึงศึกษา ชื่อว่า สิกขาบท. อธิบายว่า ส่วนแห่งสิกขา.
อีกอย่างหนึ่งว่า บทแห่งสิกขา ชื่อว่า สิกขาบท. อธิบายว่า อุบายเครื่อง
บรรลุอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา. นี้เป็นความย่อในที่นี้ . ส่วนกถา
แห่งสิกขาบท โดยพิสดาร มาแล้วในสิกขาบทวิภังค์ในวิภังค์ปกรณ์นั่นแล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 361
คำเป็นต้นว่า อาวุโส ภิกษุผู้ขีณาสพเป็นผู้ไม่ควรที่จะแกล้งฆ่าสัตว์
ดังนี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนานั้นแล. ถึงแม้พระโสดาบันเป็นต้น ก็เป็นผู้
ไม่ควร. การนินทาและการสรรเสริญ ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ สำหรับปุถุชน
และพระขีณาสพ. ธรรมดาว่า ปุถุชน ที่เป็นคนต่ำช้า ย่อมทำแม้การฆ่า
มารดาเสียก็ได้. ส่วนพระขีณาสพ เป็นผู้สูงส่ง ย่อมไม่กระทำแม้การฆ่า
มดดำมดแดงเป็นต้น.
ในความย่อยยับทั้งหลาย มีเนื้อความดังต่อไปนี้ . ข้อว่า พฺยสติ
แปลว่า ความฉิบหาย. อธิบายว่า ซัดไป คือ กำจัดประโยชน์เกื้อกูล
และความสุขเสีย. ความพินาศแห่งญาติ ชื่อว่า ญาติพยสนะ. อธิบายว่า
ความพินาศแห่งญาติ เพราะโจรภัย และโรคภัยเป็นต้น. ความพินาศแห่ง
โภคะ ชื่อว่า โภคพยสนะ. อธิบายว่า ความพินาศแห่งโภคะ ด้วยอำนาจ
พระราชา และโจรเป็นต้น. ความพินาศคือโรค ชื่อว่า โรคพยสนะ.
จริงอยู่ โรคย่อมทำลาย คือ ยังความไม่มีโรค ให้พินาศไป เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า พยสนะ. ความพินาศแห่งศีล ชื่อว่า สีลพยสนะ. คำนี้เป็น
ชื่อของความทุศีล. ความย่อยยับ คือ ทิฏฐิ ซึ่งทำสัมมาทิฏฐิให้พินาศ
เกิดขึ้น ชื่อว่า ทิฏฐิพยสนะ. ก็ในข้อนี้ ความย่อยยับ ๓ อย่าง มีความ
ย่อยยับแห่งญาติเป็นต้น เป็นอกุศลหามิได้ ( ทั้ง ) ไม่ทำลายลักษณะ ๓
ด้วย. ความย่อยยับแห่งศีลและทิฏฐิทั้ง ๒ เป็นอกุศล ไม่ทำลายลักษณะ ๓.
เพราะเหตุนั้น นั่นแหละท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า นาวุโส สตฺตา
ญาติพฺยสนเหตุ วา ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 362
ข้อว่า าติสมฺปทา ความว่า ความถึงพร้อม ความบริบูรณ์
ความมีญาติมาก. แม้ในความถึงพร้อมแห่งโภคะเป็นต้น ก็นัยนี้. ความถึง
พร้อมแห่งความเป็นผู้ไม่มีโรค ชื่อว่า อาโรคยสัมปทา ได้แก่ ความเป็นผู้
ไม่มีโรคตลอดกาลนาน. แม้ในความถึงพร้อมแห่งศีลและทิฏฐิเป็นต้น
ก็นัยนี้. แม้ในข้อนี้ ความถึงพร้อมแห่งญาติเป็นต้น ไม่เป็นกุศล ไม่ทำลาย
ลักษณะ ๓. ความถึงพร้อมแห่งศีลและทิฏฐิ เป็นกุศลไม่ทำลายลักษณะ ๓.
เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า นาวุโส สตฺตา ญาติ-
สมฺปทาเหตุ วา. กถาว่าด้วยศีลวิบัติ และศีลสมบัติ ท่านให้พิสดารแล้ว
ในมหาปรินิพพานสูตรแล.
ข้อว่า โจทเกน ความว่า ถูกโจทด้วยเรื่องสำหรับโจท ๔ อย่างคือ
การเทียบเคียงเรื่องราว การเทียบเคียงอาบัติ การห้ามการอยู่ร่วม การห้าม
สามีจิกรรม.ในข้อว่า กาเลน วกฺขามิ โน อกาเลน ความว่า สำหรับจำเลย
ต้องบอกเวลาสำหรับโจทก์ไม่ต้อง จริงอยู่ ภิกษุเมื่อจะโจท ผู้อื่นไม่พึงโจท
ในท่ามกลางบริษัท ในโรงอุโบสถ ในโรงปวารณา หรือในโรงฉัน โรงเลี้ยง
เป็นต้น. เวลาที่ท่านนั่งพักในที่พักกลางวัน พึงให้ท่านให้โอกาสเสียก่อน
แล้วจึงโจทขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ขอท่านจงให้โอกาส ผมต้องการ
จะพูดกับท่าน. ก็ครั้นสอบสวนบุคคลแล้ว ผู้ใดเป็นบุคคลเหลาะแหละ
พูดเท็จ ยกโทษมิใช่ยศขึ้นแก่พวกภิกษุทั้งหลาย ผู้นั้นแม้เว้นการทำโอกาส
ก็โจทได้. ข้อว่า ภูเตน ความว่า ตามสภาพที่เป็นจริง. ข้อว่า สณฺเหน
ความว่า เกลี้ยงเกลา อ่อนโยน. ข้อว่า อตฺถสญฺหิเตน ความว่า ด้วยการ
เข้าถึงโดยความเป็นผู้ใคร่ประโยชน์ ความเป็นผู้ใคร่ความเกื้อกูล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 363
ข้อว่า ปธานิยงฺคานิ ความว่า ภาวะที่เป็นที่ตั้ง ท่านเรียกว่า
ปธาน. ปธานของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นบุคคลนั้นชื่อว่า ปธานิยะ.
องค์แห่งภิกษุผู้มีปาน ชื่อว่า ปธานิยังคะ (องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร).
ข้อว่า สทฺโธ ความว่า ประกอบด้วยศรัทธา. ก็ศรัทธามี ๔ อย่างคือ
อาคมนศรัทธา อธิคมนศรัทธา โอกัปปนศรัทธา ปสาทศรัทธา.
บรรดาศรัทธา ๔ อย่างนั้น ความเชื่อต่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ของพระ
โพธิสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อาคมนศรัทธา เพราะมาแล้วตั้งแต่ ( เริ่มทำ
อภินิหาร. ความเชื่อต่อพระอริยสาวกทั้งหลาย ชื่อว่า. อธิคมนศรัทธา
เพราะบรรลุแล้วด้วยการแทงตลอด. เมื่อมีคนกล่าวว่า พระพุทธเจ้า พระ-
ธรรม พระสงฆ์ ดังนี้แล้ว การปลงใจลงเชื่อโดยความไม่หวั่นไหว ชื่อว่า
โอกัปปนศรัทธา. ความเกิดขึ้นแห่งความเลื่อมใส ชื่อว่า ปสาทศรัทธา.
ในที่นี้ท่านประสงค์เอาศรัทธาคือการปลงใจลงเชื่อ. ข้อว่า โพธิ ได้แก่
ญาณในมรรคที่ ๔. บุคคลย่อมเชื่อว่า ญาณในมรรคที่ ๔ นั้นเป็นอันพระ
ตถาคตเจ้าตรัสรู้แล้ว. ก็คำนี้เป็นแง่แห่งเทศนานั้นเทียว. ก็ความเชื่อใน
รัตนะแม้ทั้ง ๓ ประการด้วยองค์นี้ ท่านประสงค์เอาแล้ว. จริงอยู่ ความ
เลื่อมใสในพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ของบุคคลใดเป็นสภาพ
มีกำลัง ความเพียรที่ตั้งไว้ของบุคคลนั้น ย่อมสำเร็จได้. ข้อว่า อุปฺปาพาโธ
แปลว่า ไม่มีโรค. ข้อว่า อปฺปาตงฺโก แปลว่า หมดทุกข์. ข้อว่า สมเว-
ปากินิยา แปลว่า มีผลสุกงอม. ข้อว่า คหณิยา ได้แก่ เตโชธาตุ ซึ่ง
เกิดแต่กรรม ข้อว่า นาติสีตาย นาจฺจุณฺหาย ความว่า ก็บุคคลที่มีน้ำย่อย
ออกมาเย็นมาก. ย่อมกลัวต่อความเย็น บุคคลที่มีน้ำย่อยออกมาร้อนมาก
ย่อมกลัวต่อความร้อน. ความเพียรย่อมไม่สำเร็จแก่พวกเขา. สำหรับบุคคล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 364
ผู้ที่มีน้ำย่อยพอปานกลาง สำเร็จได้. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เหมาะ
แก่ความเพียรระดับกลาง. ข้อว่า ยถาภูต อตฺตาน อาวิกตฺตา ความว่า
ประกาศโทษของตนตามที่เป็นจริง. ข้อว่า อุทยตฺถคามินิยา ความว่า
สามารถที่จะขึ้นไปและที่จะกำหนดถึงเวลาขึ้นและเวลาตก. อุทยัพยญาณที่
กำหนดเอาลักษณะ ๕๐ ประการ ท่านกล่าวไว้ด้วยคำนี้. ข้อว่า อริยาย
ความว่า สะอาดหมดจด. ข้อว่า นิพฺเพธิกาย ความว่า สามารถเพื่อ
แทงตลอดขันธ์มีความโลภ เป็นต้น ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน. ข้อว่า สมฺมา-
ทุกฺขกฺขยคามินิยา ความว่า ทุกข์ใด ๆ จะสิ้นไปได้ ดำเนินไปเพื่อความ
สิ้นทุกข์นั้นๆ เพราะละกิเลสได้ด้วยอำนาจองค์นั้นๆ. วิปัสสนาปัญญา
ท่านกล่าวไว้ด้วยบทเหล่านี้ทุกบท ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ความเพียรหา
สำเร็จแก่คนทรามปัญญาไม่.
ข้อว่า สุทฺธาวาสา ความว่า พวกพรหมชั้นสุทธาวาส อยู่แล้ว
กำลังอยู่ หรือจักอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุทธาวาส. ข้อว่า สุทฺธา
ได้แก่ พระอนาคามี และพระขีณาสพ ซึ่งปราศจากกิเลสมลทิน. คำใด
ที่พึงกล่าวในข้อว่า อวิหา เป็นต้น คำนั้นท่านกล่าวไว้แล้ว ในมหาปทาน.
สูตรนั่นแล.
ในบรรดาพระอนาคามีบุคคลทั้งหลาย พึงทราบดังต่อไปนี้. พระ-
อนาคามีผู้ยังไม่ล่วงวัยกลางคน แล้วบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นการดับกิเลส
เสียได้ในระหว่าง ชื่อว่า อันตรปรินิพพายี ( ปรินิพพานในระหว่าง ).
พระอนาคามีผู้ล่วงเลยวัยกลางคนไปแล้ว จึงบรรลุชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายี
(นิพพานเมื่อล่วงวัยกลางคนแล้ว ) พระอนาคามีผู้ไม่ลำบากเพราะไม่ต้อง
ประกอบความเพียร โดยไม่มีสังขาร ( เครื่องปรุงแต่งช่วยเหลือ ) บรรลุได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 365
อย่างง่ายดาย ชื่อว่า อสขารปรินิพฺพายี ( นิพพานโดยไม่มีสังขาร ) พระ-
อนาคามีผู้ลำบาก เพราะต้องประกอบความเพียร พร้อมกับสังขาร บรรลุ
ได้โดยความลำบาก ชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี (ปรินิพพานพร้อมสังขาร)
พระอนาคามีทั้ง ๔ เหล่านี้ หาได้ในสุทธาวาสทั้ง ๕ ชั้น. บัณฑิตพึงทราบ
หมวด ๔ ในข้อว่า อุทฺธโสโต อกนิฏฺคามี นี้ต่อไป. ก็พระอนาคามีท่านใด
ชำระเทวโลกสี่ชั้น ตั้งแต่ชั้นอวิหาไปให้หมดจด ไปยังอกนิฏฐภพแล้ว
ปรินิพาน พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า มีกระแสในเบื้องบน ไปยังอกนิฏฐภพ
พระอนาคามีท่านใด ไปยังเทวโลกชั้นที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ตั้งแต่ชั้นอวิหา
ไป แล้วปรินิพพาน พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า มีกระแสในเบื้องบน ไม่
ไปยังอกนิฏฐภพ. พระอนาคามีท่านใด จากกามภพ แล้วเกิดในอกนิฎฐภพ
แล้วปรินิพพาน พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า. ไม่มีกระแสในเบื้องบน ไปยัง
อกนิฏฐภพ. พระอนาคามีท่านใดบังเกิดในที่นั้น ๆ นั่นแหละ บรรดาเทว
โลก ๔ ชั้นเบื้องล่าง แล้วปรินิพพาน พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า มีกระแสใน
เบื้องบน ไม่ชื่อว่า ไปยังอกนิฏฐภพ.
ข้อว่า เจโตขีลา ความว่า ภาวะที่จิตแข็งกระด้าง. ข้อว่า สตฺถริ กงฺขติ
ความว่า ย่อมสงสัยใน พระสรีระ หรือในพระคุณของพระศาสดา. บุคคล
เมื่อสงสัยในพระสรีระย่อมสงสัยไปว่า ขึ้นชื่อว่าสรีระที่ประดับด้วยมหา
ปุริสลักษณะ อันประเสริฐ ๓๒ ประการ มีอยู่หรือไม่หนอ. บุคคลผู้สงสัย
ในพระคุณ. ย่อมสงสัยว่า สัพพัญญุตญาณ ที่สามารถจะรู้อดีตอนาคต
และปัจจุบัน มีหรือไม่หนอ. ข้อว่า อาคปฺปาย ความว่า เพื่อบำเพ็ญเพียร.
ข้อว่า อนุโยคาย ความว่า โดยการประกอบเนื่อง ๆ . ข้อว่า สาตจฺจาย
ความว่า โดยกระทำติดต่อ. ข้อว่า ปธานาย ความว่า เพื่อการตั้งไว้.
ข้อว่า อย ปโม เจโตขีโล นี้ความว่า ความที่จิตกระด้างข้อแรกนี้ได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 366
แก่ความสงสัยในพระศาสดา. ข้อว่า ธมฺเม ความว่า ในปริยัติธรรม และ
ปฏิเวธธรรม. บุคคลผู้สงสัยในปริยัติธรรม ย่อมสงสัยว่าคนทั้งหลายพูด
กันว่า พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฏกมี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระ-
พุทธพจน์นั้นมีอยู่หรือไม่หนอ. บุคคลผู้สงสัยในปฏิเวธธรรม ย่อมสงสัยว่า
คนทั้งหลายพากันพูดว่าผลของวิปัสสนา ชื่อว่า มรรค ผลของมรรค ชื่อว่า
ผล การสละสังขารทั้งปวงเสียได้ชื่อว่า นิพาน นิพานนั้นมีอยู่หรือไม่หนอ.
ข้อว่า สงฺเฆ กงฺขติ ความว่า ย่อมสงสัยว่าประชุมแห่งบุคคลผู้ปฏิบัติปฏิทา
อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งบทเป็นต้นว่า อุชุปฏิปนฺโน ดังนี้มี ๘ คือ พระผู้
ตั้งอยู่ในมรรค ๔ พระผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ ชื่อว่า พระสงฆ์ พระสงฆ์นั้นมีอยู่
หรือไม่หนอ. บุคคลผู้สงสัยในสิกขา ย่อมสงสัยว่า คนทั้งหลายพูดว่า ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา สิกขานั้นมีอยู่หรือ
ไม่หนอ ข้อว่า อย ปญฺจโม นี้ความว่า ภาวะที่จิตแข็ง ภาวะที่จิตเป็น
ดุจกองหยากเยื่อ ภาวะที่จิตเป็นดุจตอนี้เป็นที่ ๕ ได้แก่ความโกรธเคือง
ในเรื่องพรหมจารีทั้งหลาย.
ข้อว่า เจตโส วินิพนฺธา ความว่า เหล่ากิเลสที่ชื่อว่า เป็นเครื่อง
ผูกมัดจิตไว้ เพราะอรรถว่า ผูกจิตยึดไว้ เหมือนทำไว้ในกำมือฉะนั้น.
ข้อว่า กาเมสุ ความว่า ทั้งในวัตถุกาม ทั้งในกิเลสกาม. ข้อว่า กาเย
ได้แก่ กรัชกายของตน. ข้อว่า รูเป ได้แก่ รูปภายนอก. ข้อว่า ยาวทตฺถ
ความว่า เท่าที่ต้องการ. ข้อว่า อุทราวเทหก ความว่า เต็มท้อง. จริงอยู่
ท้องนั้นท่านเรียกว่า อุทราวเทหกัง เพราะเลี้ยงร่างกายไว้. ข้อว่า เสยฺยสุข
ความว่า มีความสุขเพราะเตียงและตั่ง. ข้อว่า ปสฺสสุข ความว่า สำหรับ
บุคคลผู้นอนกลิ้งไปตามสบาย นอนตะแคงขวา หรือนอนตะแคงซ้าย ก็มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 367
ความสุข ความสุขเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้. ข้อว่า มิทฺธสุข ความว่า สุขอัน
เกิดจากความหลับ. ข้อว่า อนุยุตฺโต ความว่า ประกอบสิ่งที่สมควรอยู่.
ข้อว่า ปณิธาย ความว่า ตั้งไว้เเล้ว. ข้อว่า พฺรหฺมจริเยน ความว่า
ประพฤติพรหมจรรย์งดเว้นเมถุน. ข้อว่า เทโว วา ภวิสฺสามิ ความว่า
เราจักเป็นเทพผู้มีศักดิ์ใหญ่หรือ. ข้อว่า เทวฺตโร วา ความว่า หรือว่า
บรรดาเทพผู้มีศักดิ์น้อยทั้งหลาย เทพองค์ใดองค์หนึ่ง.
พึงทราบวินิจฉัยในอินทรีย์ทั้งหลายต่อไป. อินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ
เท่านั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในปัญจกะที่หนึ่ง. ปฐมฌานทุติยฌาน และ
จตุตถฌานที่เป็นโลกิยะ ท่านกล่าวไว้แล้วในปัญจกะที่ ๒ ตติยฌานและ
ปัญจมฌาน เป็นทั้งโลกิยะ. และโลกุตตระ ( ท่านก็กล่าวไว้ในปัญจกะ
ที่ ๒ ). ที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ท่านกล่าวไว้ในปัญจกะที่ ๓ ด้วย
อำนาจสมถะ วิปัสสนา และมรรค.
ข้อว่า นิสฺสารณียา ความว่า แล่นออกไป คือ หมดความทรงจำ.
ข้อว่า ธาตุโย ได้แก่ สภาวะที่ว่างจากตัวตน. ข้อว่า กาม มนสิกโรติ
ความว่า นึกถึงแต่เรื่องกาม. อธิบายว่า ออกจากอสุภฌานแล้ว ส่งจิต
มุ่งต่อกาม เพื่อจะทดลองดู เหมือนคนจับงูแล้วจะทดลองพิษดูฉะนั้น.
ข้อว่า น ปกฺขนฺทติ ความว่า ไม่เข้าไป. ข้อว่า น ปสิทติ ความว่า
ไม่ถึงกับเลื่อมใส. ข้อว่า น สนฺติฏฺติ ความว่า ตั้งอยู่ไม่ได้. ข้อว่า
น วิมุจฺจติ ความว่า ไม่หลุดพ้นไปได้. ขนปีกไก่ หรือท่อนเอ็นที่คน
โยนเข้าในไฟ ย่อมหงิก งอ ม้วนเข้า คือไม่เหยียดออก ฉันใด จิตนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมหดหู่ ไม่ร่าเริง. ในข้อว่า เนกฺขมฺม โข ปน
นี้ ความว่า ปฐมฌานในอสุภ ๑๐ ชื่อว่า เนกขัมมะ. เมื่อบุคคลนั้น
มนสิการถึงปฐมฌานนั้น จิตก็ย่อมแล่นไป. ข้อว่า ตสฺส ต จิตฺต ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 368
อสุภฌาน จิตดวงนั้นของบุคคลนั้น. ข้อว่า สุคต ความว่า ดำเนินไปดี
เพราะไปในโคจร. ข้อว่า สุภาวิต ความว่า อบรมมาอย่างดี เพราะ
เป็นส่วนที่ไม่เลวทราม. ข้อว่า สุวุฏฺิต ความว่า ออกจากกามได้ด้วยดี.
ข้อว่า สุวิมุตฺต ความว่า พ่นเด็ดขาดด้วยดีจากกามทั้งหลาย. อาสวะ ๔
ที่มีกามเป็นเหตุ ชื่อว่า อาสวะมีกามเป็นปัจจัย. ข้อว่า วิฆาตา แปลว่า
เป็นทุกข์. ข้อว่า ปริฬาหา ความว่า เร่าร้อนเพราะกามระคะ. ข้อว่า
น โส ต เวทน เวเทติ ความว่า บุคคลนั้น ย่อมไม่เสวยเวทนา
อันเกิดจากความใคร่ และเวทนาอันเกิดจากความคับแค้น และความ
เดือดร้อนนั้น. ข้อว่า อิทมกฺขาต กามาน นิสฺสรณ ความว่า อสุภฌานนี้
ท่านกล่าวว่า เป็นเครื่องสลัดกามออกไป เพราะสลัดออกไปจากกาม
ทั้งหลาย. ก็บุคคลใดทำฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย
บรรลุมรรคที่ ๓ เห็นพระนิพพานด้วยอนาคามิผล รู้ว่า ชื่อว่า กาม
ทั้งหลายไม่มีอีก จิตของบุคคลนั้น ก็เป็นอันสลัดออกไปได้อย่างแน่นอน
(จากกามทั้งหลาย). แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. อันนี้
เป็นข้อที่แตกต่างกัน. ในวาระที่ ๒ เมตตาฌาน ชื่อว่า เป็นการสลัด
พยาบาทออกไป. ในวาระที่ ๓ กรุณาฌาน ชื่อว่า การสลัดออกไปจาก
ความเบียดเบียน. ในวาระที่ ๔ อรูปฌาน ชื่อว่า การสลัดออกไปซึ่งรูป.
ก็ในข้อนี้ พึงประกอบอรหัตผลเข้าในการสลัดออกได้อย่างแน่นอน
พึงทราบอธิบายในวาระที่ ๕ ต่อไป. ข้อว่า สกฺกาย มนสิกโรโต
ความว่า พระขีณาสพสุกขวิปัสสก กำหนดเอาสังขารที่ หมดจด
แล้วบรรลุพระอรหัตออกจากผลสมาบัติ ส่งจิตมุ่งตรงไปยังอุปาทาน ขันธ์ ๕
เพื่อจะทดลองดู. ข้อว่า อิทมกฺขาต สกฺกายสฺส นิสฺสรณ นี้ ความว่า
จิตที่สัมปยุตด้วยอรหัตผลสมาบัติเกิดขึ้นว่า ร่างกายของเราจะไม่มีอีก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 369
ต่อไปของภิกษุผู้เห็นพระนิพพานด้วยอรหัตมรรค และอรหัตผล ท่าน
เรียกว่า การสลัดออกซึ่งกายของตน.
ข้อว่า วิมุตฺตายตนานิ ความว่า เหตุแห่งการหลุดพ้น. ข้อว่า
อตฺถปฏิสเวทิโน ความว่า รู้อรรถแห่งพระบาลี. ข้อว่า ธมฺมปฏิสเวทิโน
ความว่า รู้พระบาลี. ข้อว่า ปาโมชฺช ได้แก่ ปิติอย่างอ่อน. ข้อว่า ปิติ
ความว่า ปิติอย่างรุนแรง อันเป็นเหตุแห่งอาการยินดี. ข้อว่า กาโย ความว่า
นามกายย่อมสงบ. ข้อว่า สุข เวเทติ ความว่า ได้รับความสุข. ข้อว่า
จิตฺต สมาธิยติ ความว่า จิตตั้งมั่น ด้วยอรหัตตผลสมาธิ. ก็บุคคลนี้
เมื่อฟังธรรมนั้นย่อมรู้ฌานวิปัสสนามรรค และผลในฐานที่มาแล้ว และ
มาแล้ว. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ ปิติย่อมเกิดขึ้น. เธอไม่ยอมให้ปิตินั้นลดถอย
ลงเสียในระหว่าง เป็นผู้ประกอบไปด้วย อุปจารกัมมัฏฐาน เจริญวิปัสสนา
ย่อมบรรลุพระอรหัต คำว่า จิตตั้งมั่นดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาพระอรหัต
นั้น. แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. นี้เป็นข้อที่แตกต่างกัน. ข้อว่า
สมาธินิมิตฺต ความว่า บรรดาอารมณ์ ๓๘ สมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง
ชื่อว่า สมาธินิมิต. ข้อว่า สุคหิต โหติ ความว่า เมื่อเธอเรียนเอา
กรรมฐานในสำนักอาจารย์ ก็ชื่อว่า เป็นอันเรียนอย่างดี. ข้อว่า สุมนสิกต
ความว่า ทำไว้ในใจอย่างดี. ข้อว่า สุปธาริต ความว่า จำทรงไว้ได้อย่างดี.
ข้อว่า สุปฏิวทฺธ ปญฺญาย ความว่า ทำให้ประจักษ์ด้วยดีด้วยปัญญา.
ข้อว่า ตสฺมึ ธมฺเม ความว่า ธรรมในพระบาลีว่าด้วยเรื่องกรรมฐานนั้น.
ข้อว่า วิมุตฺติปริปาจนิยา ความว่า ความหลุดพ้น ท่านเรียกว่า
อรหัต คุณธรรมเหล่าใดย่อมอบรมพระอรหัตต์นั้น เพราะเหตุนั้น คุณ-
ธรรมนั้น จึงชื่อว่า วิมุตติปริปาจนิยา. บทว่า อนิจฺจสญฺา ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 370
สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในอนิจจานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า อนิจฺเจ ทุกฺขสญฺญา
ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในทุกขานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า ทุกฺเข
อนตฺตสญฺา ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในอนัตตานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า
ปหานสญฺา ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นใน ปหานานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า
วิราคสญฺา ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในวิราคานุปัสสนาญาณ. คำเป็น
ต้นว่า อิเม โข อาวุโส พึงประกอบเข้ากับนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา ๑๓๐ ด้วยสามารถแห่งปัญจกะ ๒๖ ชื่อว่าแสดง
สามัคคีรสแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
จบหมวด ๕
ว่าด้วยธรรมหมวด ๖
พระเถระ ( พระสารีบุตร ) ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถ
แห่งธรรมหมวดห้า ด้วยประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรส
ด้วยสามารถแห่งธรรมหมวดหก จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาต่อไปอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺติกานิ ได้แก่อายตนะภายใน.
บทว่า พาหิรานิ ได้แก่ อายตนะที่มีในภายนอกจากอายตนะภายในนั้น.
ส่วนว่า อายตนะกถาโดยพิสดาร ข้าพเจ้า ( พระพุทธโฆษาจารย์ ) กล่าวไว้
ในวิสุทธิมรรคแล้วแล. บทว่า วิญฺาณกายา ได้แก่ หมู่แห่งวิญญาณ.
บทว่า จกฺขุวิญฺญาณ ได้แก่ วิญญาณที่เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก
อันอาศัยจักษุประสาท. ในวิญญาณทั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
จกฺขุสมฺผสฺโส ได้แก่ สัมผัสอันอาศัยจักษุ. แม้ในโสตสัมผัสเป็นต้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 371
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มโนสมฺผสฺโส ได้แก่ สัมผัสทั้งปวงที่เหลือ
เว้นสัมผัส ๑๐ เหล่านี้เสีย ชื่อว่า มโนสัมผัส. แม้หมวดหกแห่งเวทนา
บัณฑิต ก็พึงทราบ โดยนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า รูปสญฺา ได้แก่
สัญญาที่กระทำรูปให้เป็นอารมณ์บังเกิดขึ้น. แม้สัญญาที่เหลือ บัณฑิต
ก็พึงทราบโดยอุบายนี้. แม้ในหมวดหกแห่งเจตนา ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในหมวดหกแห่งตัณหาก็เหมือนกัน.
บทว่า อคารโว ได้แก่ เว้นจากความเคารพ. บทว่า อปฺปฏิสฺโส
ได้แก่ ไม่ยำเกรง คือไม่ประพฤติอ่อนน้อม. ก็ภิกษุใด ในพระศาสนานี้
ครั้นเมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ย่อมไม่ไปสู่ที่บำรุง ในกาลทั้ง
๓ ครั้นเมื่อพระศาสดาไม่สวมรองเท้า เสด็จจงกรมอยู่ ก็สวมรองเท้าจงกรม
ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ ในที่จงกรมต่ำ ก็จงกรมในที่จงกรมสูง
ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่ในเบื้องล่าง ก็อยู่ในเบื้องบน ในที่เห็นพระ
ศาสดา ก็ห่มคลุมไหล่ ทั้งสอง กั้นร่ม สวมรองเท้า อาบน้ำ ถ่ายอุจจาระ
หรือปัสสาวะ. ก็หรือว่า ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ย่อมไม่
ไปเพื่อจะไหว้พระเจดีย์ กระทำกิจทั้งปวงตามที่กล่าวแล้ว ในที่พระเจดีย์
ยังปรากฏอยู่ ( หรือ ) ในที่เห็นพระศาสดา ภิกษุนี้ ชื่อว่า ไม่เคารพใน
พระศาสดา.
ก็ภิกษุใด ครั้นเมื่อเขาประกาศการฟังธรรม ก็ไม่ไปโดยเคารพ
ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ นั่งคุยฟุ้งอยู่ ไม่เรียน ไม่บอก โดยเคารพ ภิกษุนี้
ชื่อว่า ไม่เคารพในพระธรรม. ก็ภิกษุใด อันภิกษุผู้เถระ มิได้เชื้อเชิญ
ก็แสดงธรรม นั่ง กล่าวปัญหา เบียดภิกษุผู้เฒ่าไป ยืน นั่ง กระทำการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 372
รัดเข่าด้วยผ้าหรือด้วยมือ ในท่ามกลางสงฆ์ ก็ห่มคลุมไหล่ทั้งสอง กั้นร่ม
หรือสวมรองเท้า ภิกษุนี้ชื่อว่า ไม่เคารพในพระสงฆ์. ก็เมื่อภิกษุกระทำ
ความไม่เคารพแม้ในภิกษุรูปเดียว ความไม่เคารพในพระสงฆ์ ก็จัดว่า
เป็นอันเธอกระทำแล้ว เหมือนกัน. ส่วนภิกษุผู้ไม่ยังสิกขาทั้ง ๓ ให้บริบูรณ์
อยู่นั่นแล ชื่อว่า ไม่เคารพในสิกขา. ภิกษุผู้ไม่ตามพอกพูนซึ่งลักษณะ
แห่งความไม่ประมาท ชื่อว่า ไม่เคารพในความไม่ประมาท. ภิกษุ เมื่อไม่
กระทำปฏิสันถาร แม้ทั้ง ๒ อย่าง ชื่อว่า ไม่เคารพในปฏิสันถาร. ความ
เคารพ บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งนัยตรงกันข้ามตามที่กล่าวไว้แล้ว.
บทว่า โสมนสฺสูปวิจารา ได้แก่ วิจาร ที่สัมปยุตด้วยโสมนัส.
บทว่า โสมนสฺสฏฺานีย คือ เป็นเหตุแห่งโสมนัส. บทว่า อุปวิจรติ
ได้แก่ ตรึกด้วยวิตก ( ก่อน ) แล้วจึงกำหนดด้วยวิจาร. ในคำที่เหลือ
ทั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้โทมนัสสูปวิจาร บัณฑิตก็พึงทราบอย่างนั้น
นั้นแหละ. อุเปกขูปวิจาร ก็เหมือนกัน. สาราณียธรม ท่านให้พิสดาร
ในหนหลัง. ส่วน ปฐมมรรค ท่านกล่าวไว้ ในโกสัมพิกสูตร ด้วยบทนี้
ว่า ทิฏฺิสามญฺคโต มรรค แม้ทั้ง ๔ ท่านกล่าวไว้ในที่นี้.
บทว่า วิวาทมูลานิ ได้แก่ มูลแห่งวิวาท. บทว่า โกธโน ได้แก่
ผู้ประกอบด้วยความโกรธ อันมีความเกรี้ยวกราดเป็นลักษณะ. บทว่า
อุปนาหี ได้แก่ ประกอบด้วยความเข้าไปผูกโกรธไว้ อันมีการไม่สลัดการ
จองเวรกันเป็นลักษณะ. หลายบทว่า อหิตาย ทุกฺขาย เทวมนุสฺสาน
ได้แก่ วิวาท แห่งภิกษุทั้งสอง ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 373
เพื่อความทุกข์ แห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอย่างไร. เหมือนอย่างใน
โกสัมพิกขันธกะ เมื่อภิกษุ ๒ รูป วิวาทกัน พวกอันเตวาสิกของเธอทั้งสอง
นั้น ในวิหารนั้นก็วิวาทกัน. ภิกษุณีสงฆ์ ผู้รับโอวาทของพวกภิกษุเหล่านั้น
ก็วิวาทกัน แต่นั้นพวกอุปัฏฐากของภิกษุเหล่านั้น ก็วิวาทกัน. ลำดับนั้น
เหล่าอารักขเทวดา ของพวกมนุษย์ก็ ( แยก ) เป็นสองฝ่าย. บรรดาเทวดา
เหล่านั้น เหล่าอารักขเทวดา ของพวกมนุษย์ผู้เป็นธรรมวาที ก็เป็นธรรมวาที
ด้วย. สำหรับพวกมนุษย์ผู้เป็นอารักขมวาที ก็เป็นอธรรมวาทีตาม. จากนั้น
เหล่าภุมมเทวดา ผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดา จึงแตกกัน. เทวดาและมนุษย์
ทั้งหมด ยกเว้นพระอริยสาวกเสีย ต่อ ๆ กันไป จนกระทั่งถึงพรหมโลก
ก็ ( แยก ) เป็นสองฝ่าย ด้วยประการฉะนี้. ก็พวกที่เป็นอธรรมวาทีเทียว
มีจำนวนมากกว่าพวกธรรมวาที. ลำดับนั้น พวกเทวดาและมนุษย์ก็
ปรารถนาที่จะยึดถือสิ่งที่ชนเป็นอันมากพากันยืดถือ พวกอธรรมวาทีที่มาก
กว่า นั่นแหละ ก็แก้สภาพที่เป็นธรรมแล้ว พากันยึดถือสภาพที่มิใช่ธรรม.
พวกอธรรมวาทีเหล่านั้น กระทำสภาพที่มิใช่ธรรมให้อยู่ในเบื้องหน้ากล่าว
อยู่ จึงบังเกิดในอบายทั้งหลาย. วิวาทของภิกษุทั้งสองฝ่าย ย่อมมีเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ แห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วย
ประการฉะนี้. บทว่า อชฺฌตฺต วา ได้แก่ ในภายในบริษัทของท่าน. บทว่า
พหิทฺธา ได้แก่ ในบริษัทของชนเหล่าอื่น. บทว่า มกฺขิ ได้แก่ ผู้ประกอบ
ด้วยความลบหลู่ อันมีการลบหลู่คุณของชนเหล่าอื่นเป็นลักษณะ. บทว่า
ปลาสิ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยการตีตนเสมอ อันมีการแข่งดีเป็นลักษณะ.
บทว่า อิสฺสุกิ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความริษยา อันมีการริษยา เครื่อง
สักการะของชนอื่นเป็นต้นเป็นลักษณะ. บทว่า มจฺฉริ ได้แก่ ผู้ประกอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 374
ด้วยความตระหนี่ที่อยู่เป็นต้น. บทว่า สโ ได้แก่ ผู้เต็มไปด้วยการ
หลอกลวง ( ผู้โอ้อวด ). บทว่า มายาวี ได้แก่ ผู้ปกปิดความชั่วที่ตัวกระทำ
แล้ว. ทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ผู้ปรารถนาจะให้มีในสิ่งที่ไม่มี คือ ผู้ทุศีล.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺ ได้แก่ ผู้มีปกติกล่าวว่าไม่มี ผู้มีปกติกล่าวว่าหาเหตุมิได้
ผู้มีปกติกล่าวว่าไม่เป็นอันทำ ฯ บทว่า สนฺทิฏฺิปรามาสิ คือ ลูบคลำ
ทิฏฐิเองทีเดียว ฯ บทว่า อาธานคฺคาหี คือ ผู้ยึดถืออย่างมั่น ฯ บทว่า
ทุปฺปฏินิสฺสคฺคี ได้แก่ ไม่อาจที่จะสละสิ่งที่ตนยึดถือไว้ ฯ
ธาตุที่ตั้งอยู่เฉพาะชื่อว่า ปฐวีธาตุ ฯ ธาตุที่เอิบอาบชื่อว่า อาโปธาตุ ฯ
ธาตุที่ยังอาหารให้ย่อย ชื่อว่า เตโชธาตุ ฯ ธาตุที่เคลื่อนไหวได้ ชื่อว่า
วาโยธาตุ ฯ ธาตุที่ถูกต้องไม่ได้ชื่อว่า อากาสธาตุ ฯ ธาตุที่รู้ชัดอย่างเดียว
ชื่อว่า วิญญาณธาตุ ฯ
ธาตุที่พ้นออกไป ชื่อว่า นิสสารณียธาตุ. หลายบทว่า ปริยาทาย
ติฏฺติ ได้แก่ ครอบงำให้เสื่อมแล้วคงอยู่. หลายบทว่า มา เหวนฺติสฺส
วจนีโย ได้แก่ เพราะเหตุที่ภิกษุพยากรณ์ ซึ่งคำพยากรณ์อันไม่เป็นจริง
ฉะนั้น พึงถูกกล่าวว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้. สองบทว่า ยทิท เมตฺตาเจ-
โตวิมุตฺติ ได้แก่ เมตตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นเครื่องสลัดออก ซึ่งความ
พยาบาท. อธิบายว่า ออกไปจากความพยาบาท. ก็ภิกษุใด ออกจากติกฌาน
หรือจตุกกฌานด้วยเมตตาแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย บรรลุตติยมรรค
แล้ว เห็นพระนิพพานด้วยตติยผลว่า พยาบาทไม่มีอีก จิตของภิกษุนั้น
ชื่อว่า เป็นจิตที่สลัดออกซึ่งความพยายามโดยส่วนเดียว. บัณฑิตพึงทราบ
เนื้อความในบททั้งปวง โดยอุบายนี้. สมาบัติของพระอรหัตผล ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 375
อนิมิตตา เจโตวิมุตติ. ก็สมาบัติของพระอรหัตตผลนั้น ท่านเรียกว่า ไม่
มีนิมิต เพราะไม่มีราคนิมิตเป็นต้น เพราะไม่มีรูปนิมิตเป็นต้น และเพราะ
ไม่มีนิจจนิมิตเป็นต้น. บทว่า นิมิตฺตานุสารี ความว่า ภิกษุผู้แล่นไปตาม
นิมิต อันมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า นิมิตตานุสารี
( ผู้แล่นไปตามนินิต). บทว่า อสฺมิได้แก่ การถือว่าเรามีอยู่ (อัสมิมานะ).
บทว่า อยมหมสฺมิ ได้แก่ พระอรหัตต์เป็นอันท่านพยากรณ์แล้ว ด้วย
คำมีประมาณเท่านี้ว่า เราชื่อนี้มีอยู่ในขันธ์ห้า. บทว่า วิจิกิจฺฉากถกถา-
สลฺล ได้แก่ ลูกศรคือ ความเคลือบแคลงสงสัย อันเป็นตัววิจิกิจฉา.
หลายบทว่า มา เหวนฺติสฺส วจนีโย ความว่า ถ้าว่า วิจิกิจฉา อันควร
กำจัดด้วยปฐมมรรค จะบังเกิดขึ้น แก่ท่านไซร้ การพยากรณ์พระอรหัตต์
ก็เป็นอันผิด เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นพึงถูกห้ามว่า ท่านอย่ากล่าวคำที่ไม่จริง.
บทว่า อสฺมิ ความว่า พระอรหัตมรรค ชื่อว่า ถอนมานะเสียได้. ก็
เมื่อบุคคลเห็นพระนิพพาน ด้วยอำนาจแห่งพระอรหัตผลแล้ว อัสมิมานะ
( ความถือตัวว่าเรามีอยู่ ) ย่อมไม่มีอีก เพราะเหตุนั้น พระอรหัตมรรค
ท่านจึงกล่าวว่า ถอนอัสมิมานะเสียได้.
บทว่า อนุตฺตริยานิ ได้แก่ ไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า คือประเสริฐ
ที่สุด. ไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่าในการเห็นทั้งหลาย ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ.
แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บรรดาการเห็นเหล่านั้น การเห็น
ช้างแก้วเป็นต้น ไม่จัดเป็นทัสสนานุตตริยะ. ส่วนว่าสำหรับผู้มีศรัทธา
ตั้งมั่นแล้ว การเห็นพระทศพล. หรือพระภิกษุสงฆ์ ด้วยอำนาจแห่งความรัก
ที่ตั้งมั่นแล้ว หรือว่า การเห็น บรรดากสิณนิมิตและอสุภนิมิตเป็นต้น
อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ. การฟังคุณกถาของกษัตริย์
เป็นต้น ไม่จัดเป็นสวนานุตตริยะ. ส่วนสำหรับผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว การฟัง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 376
คุณกถาของพระรัตนตรัย ด้วยอำนาจแห่งความรักที่ตั้งมั่นแล้ว หรือว่า
การฟังพระพุทธวจนะ คือพระไตรปิฏก ชื่อว่า สวนานุตตริยะ. การได้รัตนะ
คือ แก้วมณีเป็นต้น ไม่จัดเป็นลาภานุตตริยะ. ส่วนการได้อริยทรัพย์
๗ อย่าง ชื่อว่า ลาภานุตตริยะ. การศึกษาศิลปะ มีศิลปะเพราะช้างเป็นต้น
ไม่จัดเป็น สิกขานุตตริยะ. ส่วนการบำเพ็ญสิกขาทั้ง ๓ ให้บริบูรณ์ ชื่อว่า
สิกขานุตตริยะ. การบำเรอกษัตริย์เป็นต้น ไม่จัดเป็นปาริจริยานุตตริยะ.
ส่วนการบำเรอพระรัตนตรัย ชื่อว่า ปาริจริยานุตตริยะ. การตามระลึกถึง
คุณของกษัตริย์ เป็นต้น ไม่จัดเป็นอนุสสรณานุตตริยะ ( อนุสสตา-
นุตตริยะ ). ส่วน การตามระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ชื่อว่า อนุสสร-
ณานุตาริยะ ( อนุสสตานุตตริยะ ).
อนุสสติทั้งหลายเทียว ชื่อว่า อนุสสติฐาน ( ที่ตั้งแห่งความ
ระลึกถึง ). การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสสติ. ก็
เมื่อบุคคลระลึกถึงอยู่อย่างนี้ ปีติ ย่อมบังเกิดขึ้น. บุคคลนั้น เริ่มตั้งปีตินั้น
โดยความสิ้นไปโดยความเสื่อมไป ย่อมบรรลุความเป็นพระอรหันต์ได้.
ธรรมดาว่า อุปจารกัมมัฏฐานนี้ แม้คฤหัสถ์ ทั้งหลาย ก็ย่อมได้ ( บรรลุได้ )
ในกัมมัฏฐานทั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนกถาโดยพิสดาร บัณฑิต
พึงทราบ โดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในวิสุทธิมรรคนั่นแล.
การอยู่ประจำของพระขีณาสพ ชื่อว่า สตตวิหาร. หลายบทว่า
จกฺขุนา รูป ทิสิวา ความว่า ครั้นเมื่ออารมณ์แห่งจักขุทวาร ไปสู่คลอง
ภิกษุเห็นรูปนั้น ด้วยจักขุวิญญาณแล้ว ไม่ยินดีในชวนะขณะที่น่ายินดี
ย่อมเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่ประทุษร้ายในชวนะขณะที่ไม่น่ายินดี ย่อมเป็นผู้ไม่
เสียใจ ไม่ยังโมหะให้บังเกิดขึ้น ในเพราะการเพ่งที่ไม่สม่ำเสมอ วางเฉย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 377
มีตนเป็นกลางอยู่ มีสติ เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยสติ มีสัมปชัญญะ
เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยสัมปชัญญะ. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลาย
ก็นัยนี้เหมือนกัน. ภิกษุ ย่อมวางเฉยอยู่ แม้ในทวารทั้ง ๖ ด้วยประการ
ฉะนี้. ท่านกล่าว ฉฬังคุเบกขา ไว้ด้วยบทนี้. ก็เพราะคำว่า สมฺปชาโน
บัณฑิตย่อมได้ ญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง. คำว่า สตตวิหารา บัณฑิต
ย่อมได้ มหาจิต แม้ทั้ง ๘ ดวง. เพราะคำว่า อรชฺชนฺโต อทุสฺสนฺโต
บัณฑิตย่อมได้จิต แม้ทั้ง ๑๐ ดวง. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า โสมนัส
จะมีได้อย่างไร. แก้ว่า มีได้เพราะอาเสวนะ.
ชาติทั้งหลายชื่อว่า อภิชาติ. สองบทว่า ภณฺหาภิชาติโก สมาโน
ความว่า ผู้เกิดแล้วในที่ดำ คือในตระกูลต่ำ. หลายบทว่า กณฺห ธมฺม
อภิชายติ ความว่า ย่อมประสบ คือกระทำ ธรรมคือความเป็นผู้ทุศีล ๑๐
ประการ อันเป็นธรรมฝ่ายดำ. บุคคลนั้นประสบธรรม คือความเป็นผู้ทุศีล
๑๐ ประการนั้นแล้ว ย่อมบังเกิดในนรก. สองบทว่า สุกฺก ธมฺม ความว่า
เราเกิดแล้วในตระกูลต่ำ เพราะความที่ไม่ได้กระทำบุญไว้ แม้ในกาลก่อน
บัดนี้ เราจักทำบุญ เพราะเหตุนั้น เขาย่อมประสบธรรมฝ่ายขาว กล่าว
คือบุญ. บุคคลนั้น ย่อมบังเกิดในสวรรค์ ด้วยธรรมฝ่ายขาว กล่าวคือ
บุญนั้น. หลายบทว่า อกณฺห อสุกฺก นิพฺพาน ความว่า ก็พระนิพพาน
หากว่า จะพึงเป็นธรรมฝ่ายดำไซร้ ก็จะพึงให้วิบากที่ดำ หากว่าจะพึงเป็น
ธรรมฝ่ายขาวไซร้ ก็จะพึงให้วิบากที่ขาว แต่ เพราะไม่ให้วิบากแม้ทั้ง ๒
พระนิพพาน ท่านจึงกล่าวว่า ไม่ดำ ไม่ขาว. ก็ธรรมดาว่า พระนิพพาน
ท่านประสงค์เอาพระอรหัตต์ในอรรถนี้ . จริงอยู่ พระอรหัตต์นั้น ชื่อว่า
พระนิพพาน เพราะเกิดในที่สุดแห่งการดับกิเลส บุคคลนั้นย่อมพบ คือ
ประสบ กระทำ พระนิพพานนั้น. สองบทว่า สุกฺกาภิชาติโก สมาโน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 378
ความว่า เป็นผู้เกิดแล้วในที่ขาว คือในตระกูลสูง. คำที่เหลือ บัณฑิตพึง
ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นเเล.
บทว่า นิพฺเพธภาคิยา ความว่า พระนิพพาน ท่านเรียกว่า
นิพเพธ. ชนทั้งหลาย ย่อมคบคือ ย่อมเข้าไปใกล้ พระนิพพานนั้น
เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า นิพเพธภาคิยา ( ส่วนแห่งการแทงตลอด). อนิจจ-
สัญญาเป็นต้น ท่านกล่าวไว้ในหนวดห้า. ความกำหนดหมายในนิโรธา-
นุปัสสนาญาณ ชื่อว่า นิโรธสัญญา. คำเป็นต้นว่า อิเม โข อาวุโส
บัณฑิต ที่ประกอบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระเถระ กล่าวอยู่ซึ่ง
ปัญหา ๑๓๒ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดหก ๒๒ หมวด แสดงสามัคคี-
รส ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล.
จบหมวด ๖
ว่าด้วยธรรมหมวด ๗
พระเถระครั้นแสดง สามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดหก ด้วย
ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด
จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น ทรัพย์คือศรัทธา ชื่อว่า ทรัพย์คือศรัทธา
ด้วยอรรถว่า ได้เฉพาะซึ่งสมบัติ. ในบททั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บรรดา
อริยทรัพย์เหล่านี้ ทรัพย์คือปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งปวง. เพราะ
ว่า สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในปัญญาแล้ว บำเพ็ญ จริต ๓ ศีล ๕ ศีล ๑๐
ให้บริบูรณ์ ย่อมเข้าถึงสวรรค์ คือ ย่อมแทงตลอด ซึ่งสาวกบารมีญาณ
ปัจเจกโพธิญาณ และพระสัพพัญญุตญาณได้. ปัญญา ท่านเรียกว่า ทรัพย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
คือปัญญา เพราะเป็นเหตุแห่งการได้เฉพาะ ซึ่งสมบัติเหล่านี้. ก็อริยทรัพย์
แม้ทั้ง ๗ ประการเหล่านี้ ท่านกล่าวว่า เจือด้วยโลกิยะ และโลกุตตระ
ทีเดียว. โพชฌงค์กถา ท่านกล่าวไว้แล้วเทียว. บริวารแห่งสมาธิ ชื่อว่า
สมาธิปริกฺขารา. สัมมาทิฏฐิเป็นต้น มีอรรถอันท่านกล่าวไว้แล้วนั่นเทียว.
ด้วยบทว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นต้นเหล่านี้ บริขาร ๗ ท่านกล่าวว่า เป็นทั้ง
โลกิยะ ทั้ง โลกุตตระเทียว. ธรรมของอสัตบุรุษทั้งหลาย ชื่อว่า อสัทธรรม
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมอันไม่สงบ คือธรรมอันลามก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อสัทธรรม. บัณฑิตพึงทราบ สัทธรรม โดยปริยายตรงกันข้าม. บรรดา
บทเหล่านี้ คำที่เหลือ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. ก็บรรดาสัทธรรมทั้งหลาย
สัทธรรมแม้ทั้งปวง มีศรัทธาเป็นตัน ท่านกล่าวไว้เฉพาะพระวิปัสสนา.
ปัญญา แม้ในสัทธรรมเหล่านั้น เป็นทั้งโลกิยะ ทั้งโลกุตตระ. นี้ความย่อ.
สองบทว่า สปฺปุริสาน ธมฺมา ได้แก่ ธรรมของสัตบุรุษ. ชนใด
รู้ธรรม ในบรรดาสัปปุริสธรรมเหล่านั้น มีสุตตะและเคยยะเป็นต้น เพราะ
เหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า ธัมมัญญู ( รู้จักเหตุ ). ชนใด รู้อรรถแห่งภาษิต
นั้น ๆ นั่นแล เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า อัตถัญญู (รู้จักผล)
ชนใด รู้จักตน อย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีประมาณเท่านี้ ด้วย ศีล สมาธิ
ปัญญา เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า อัตตัญญู ( รู้จักตน ). ชนใด
รู้จักประมาณในการรับและการบริโภค เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า
มัตตัญญู (รู้จักประมาณ). ชนใด รู้จักกาลอย่างนี้ว่า นี้กาลแสดง นี้กาล
ไต่ถาม นี้กาลบรรลุโยคธรรม เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า กาลัญญู
(รู้จักกาล). ก็บรรดากาลเหล่านั้น กาลแสดง ๕ ปี กาลไต่ถาม ๑๐ ปี.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 380
นี้นับว่า คับแคบยิ่งนัก. กาลแสดง ๑๐ ปี กาลไต่ถาม ๒๐ ปี. เบื้องหน้า
ต่อแต่นั้นไป บัณฑิตพึงกระทำกรรมในการประกอบเถิด. ชนใด รู้จักบริษัท
๘ อย่าง เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า ปริสัญญู ( รู้จักบริษัท ). ชนใดรู้จัก
บุคคลที่ควรเสพหรือไม่ควรเสพ เพราะเหตุนั้น ชนนั้น ชื่อว่า. ปุคคลัญญู
( รู้จักบุคคล ).
วัตถุมีนิททสเป็นต้น ชื่อว่า นิททสวัตถุ. เหตุแห่งคำอย่างนี้ว่า
ภิกษุไม่มี ๑๐ ภิกษุไม่มี ๒๐ ไม่มี ๓๐ ไม่มี ๔๐ ไม่มี ๕๐. เล่ากันว่า
ปัญหานี้ เกิดขึ้นในสมัยเดียรถีย์. ก็พวกเดียรถีย์กล่าวถึงนิครนถ์ผู้ตาย
ในเวลา ๑๐ ปี ว่า ไม่ใช่ ๑๐. เล่ากันว่า นิครนถ์นั้น มีกาลฝน ๑๐ ก็
ไม่ใช่อีก. อนึ่ง จะว่า ๑๐ ปี อย่างเดียวก็ไม่ใช่ แม้ ๙ ปี ฯลฯ แม้ ๑ ปี
ก็ไม่ใช่. โดยนัยนั้นนั่นแหละ พวกเดียรถีย์กล่าวถึงนิครนถ์ผู้ตายแม้ใน
เวลา ๒๐ ปี เป็นต้นว่า ไม่ใช่ ๒๐ ไม่ใช่ ๓๐ ไม่ใช่ ๔๐ ไม่ใช่ ๕๐.
ท่านพระอานนท์เที่ยวไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว จึงไปยัง
วิหาร กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
อานนท์ นี้ไม่ใช่คำของพวกเดียรถีย์หรอก นั้นเป็นคำของพระขีณาสพ
ในศาสนาของเราดังนี้. ด้วยว่า พระขีณาสพ ปรินิพพานแล้วในเวลา
๑๐ ปี จะเป็นผู้ชื่อว่า มีกาลฝน ๑๐ อีกก็ไม่ใช่. อนึ่ง พระขีณาสพ จะเป็น
ผู้ชื่อว่า มีกาลฝน ๑๐ อย่างเดียวก็หามิได้ แม้จะเป็นผู้มีกาลฝน ๙ ฯลฯ
แม้จะเป็นผู้มีกาลฝน ๑. อนึ่ง พระขีณาสพจะเป็นผู้ชื่อว่า มีกาลฝน ๑
อย่างเดียวก็หามิได้ จะเป็นผู้ชื่อว่า ๑๐ เดือนบ้าง ฯลฯ ๑ เดือนบ้าง
๑ วันบ้าง ครู่หนึ่งบ้าง ก็หามิได้นั่นเที่ยว. ถามว่า เพราะเหตุอะไร.
แก้ว่า เพราะความไม่มีปฏิสนธิอีก. แม้ในคำว่า ไม่มี ๒๐ เป็นต้น ก็นัยนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 381
เหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสว่า นั่นเป็นคำของพระขีณาสพ
ในศาสนาของเรา ด้วย ประการฉะนี้ ดังนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงเหตุที่
พระขีณาสพนั้น เป็นผู้มีใช่ ( มีกาลฝน ) ๑๐ จึงทรงแสดงนิททสวัตถุ ๗
ประการ. แม้พระเถระครั้นยกพระธรรมเทศนานั้นนั่นแหละขึ้นแล้วจึงกล่าว
นิททสวัตถุ ๗ ประการ ดังมีคำเป็นอาทิว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในพระ-
ศาสนานี้ เป็นผู้มีความพอใจอย่างแรงกล้า ในการสมาทานสิกขา. บรรดา
คำเหล่านั้น คำว่า อิธ ได้แก่ ในพระศาสนานี้. หลายบทว่า สิกฺขาสมา-
ทาเน ติพฺพจฺฉนฺโท โหติ ความว่า เป็นผู้มีความพอใจอย่างมากในการ
บำเพ็ญไตรสิกขา. หลายบทว่า อายติญฺจ สิกฺขาสมาทาเน อวิคตเปโม
ความว่า เป็นผู้มาตามพร้อมด้วยความรักอันตนบรรลุแล้วในการบำเพ็ญ
สิกขา แม้ในวันรุ่งขึ้นเป็นต้น ในอนาคต. บทว่า ธมฺมนิสฺติยา ความว่า
ด้วยการพิจารณาธรรม. คำนั่นเป็นชื่อของวิปัสสนา. บทว่า อิจฺฉาวินเย
ความว่า ในการปราบตัณหา. บทว่า ปฏิสลฺลาเน ความว่า ในความเป็น
ผู้เดียว. บทว่า วิริยารมฺเภ ความว่า ในการบำเพ็ญความเพียรที่เป็นไป
ทางกายและเป็นไปทางจิต. บทว่า สติเนปกฺเก ความว่า ในสติ และ
ในความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน. บทว่า ทิฏฺิปฏิเวเธ ความว่า
ในการเห็นมรรค. คำที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่ทั้งปวง
เถิด. พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาทั้งหลาย. สัญญาในอสุภานุปัสสนาญาณ
ชื่อว่าอสุภสัญญา. สัญญา ในอาทีนวานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อาทีนว-
สัญญา. สัญญาที่เหลือท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล. หมวด ๗ แห่ง
พละ. หมวด ๗ แห่งวิญญาณฐิติ และหมวด ๗ แห่งบุคคล มีนัยอันท่าน
กล่าวไว้แล้วนั่นเทียว. กิเลสทั้งหลายเหล่าใดย่อมนอนเนื่อง ด้วยอรรถว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 382
ละไม่ได้ เพราะเหตุนั้น กิเลสเหล่านั้นชื่อว่า อนุสัย. กามราคะที่มีกำลัง
เรี่ยวแรง ชื่อว่า กามราคานุสัย. ในราคะทั้งปวงก็นัยนี้. หมวดเจ็ดแห่ง
สัญโญชน์ มีเนื้อความชัดทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในอธิกรณสมถะ ต่อไปนี้. อธิกรณ์ทั้งหลาย ย่อม
สงบ คือเข้าไประงับ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อธิกรณสมถะ. บทว่า อุปฺ-
ปนฺนุปฺปนฺนาน ความว่า เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า อธิกรณาน
ความว่า แห่งอธิกรณ์ ๔ เหล่านี้คือ วิวาทาธิกรณ์ ๑ อนุวาทาธิกรณ์ ๑
อาปัตตาธิกรณ์ ๑ กิจจาธิกรณ์ ๑. สองบทว่า สมถาย วูปสมาย ความว่า
เพื่อสงบ และเพื่อเข้าไประงับ. พระวินัยธร พึงให้สมถะ ๗ เหล่านี้คือ
พึงให้ สัมมุขาวินัย ฯลฯ พึงให้ติณวัตถารกวินัย. นัยแห่งการวินิจฉัย
ในสมถะ เหล่านั้น ดังต่อไปนี้. พึงทราบวินิจฉัยในอธิกรณ์ทั้งหลายก่อน,
วิวาทอันใดแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้วิวาทกัน ด้วยวัตถุ ๑๘ ประการว่า ธรรม
หรือ มิใช่ธรรมก็ตาม อันนี้ชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์ การกล่าวโทษ. การกล่าว
โทษ การติเตียน และการโจทกันอันใด แห่งภิกษุผู้กล่าวโทษกันถึงศีลวิบัติ
ก็ดี ถึงอาจารวิบัติ และอาชีววิบัติก็ดี อันนี้ชื่อว่า อนุวาทาธิกรณ์. กอง
แห่งอาบัติแม้ทั้ง ๗ คือ กองแห่งอาบัติ ๕ มาในมาติกา กองแห่งอาบัติ ๒
มาในวิภังค์ อันนี้ ชื่อว่า อาปัตตาธิกรณ์ การกระทำกรรม ๔ อย่าง
มีอปโลกนกรรม เป็นต้น แห่งสงฆ์ อันนี้ชื่อว่า กิจจาธิกรณ์.
บรรดาอธิกรณ์เหล่านั้น วิวาทาธิกรณ์ ระงับได้ด้วยสมถะ ๒ คือ
สัมมุขาวินัย ๑ เยภุยยสิกา ๑. วิวาทาธิกรณ์ ระงับอยู่ด้วยสัมมุขาวินัยเท่านั้น
คือ วิวาทาธิกรณ์ เกิดขึ้นในวิหารใด อันสงฆ์ วินิจฉัยแล้วในวิหาสนั้นนั่น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 383
แหละ ย่อมระงับ เมื่อภิกษุไปเพื่อจะระงับในที่อื่น อันสงฆ์วินิจฉัยแล้วใน
ระหว่างทางก็ย่อมระงับได้ อันภิกษุไปมอบให้แก่สงฆ์ในที่ใด อันสงฆ์ในที่
นั้นวินิจฉัยแล้ว ก็ย่อมระงับได้ หรือว่า ครั้นเมื่อสงฆ์ ไม้อาจเพื่อจะระงับ
อันบุคคลผู้อันสงฆ์สมมติแล้ว วินิจฉัยเพื่อดึงออก ( จากอาบัติ ) ในที่นั้น
นั่นแหละ ย่อมระงับได้เช่นกัน. ก็และครั้นเมื่อวิวาทาธิกรณ์นั้นระงับอยู่
อย่างนี้ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม ความพร้อมหน้าวินัย
ความพร้อมหน้าบุคคล อันใด อันนี้ชื่อว่า สัมมุขาวินัย. ก็บรรดาความ
พร้อมหน้าเหล่านั้น ความที่สงฆ์ผู้กระทำ (กรรม) พร้อมหน้ากัน ด้วย
สามารถแห่งความสามัคคีของสงฆ์ อันนี้ชื่อว่า ความพร้อมหน้าสงฆ์. ความ
ที่มีวัตถุ ( เรื่อง ) อันจะพึงระงับ ชื่อว่า ความพร้อมหน้าธรรม. การ
พิจารณาโดยประกาศที่วิวาทาธิกรณ์ จะพึงระงับไป ชื่อว่า ความพร้อม
หน้าวินัย. ภิกษุใดวิวาทกัน และวิวาทด้วยเนื้อความอันใด ความพร้อม
หน้ากันแห่งเนื้อความและคู่กรณี ( ข้าศึก ) ทั้งสองนั้น ชื่อว่า ความพร้อม
หน้าบุคคล. ก็ความพร้อมหน้าสงฆ์ในวิวาทาธิกรณ์นี้ ย่อมเสื่อหายไป
ในเพราะการเข้าไประงับเพื่อดึงออก ( จากอาบัติ ). วิวาทาธิกรณ์ ย่อม
ระงับไปด้วยสัมมุขาวินัยเท่านั้น อย่างนี้ก่อน. ก็ถ้าว่า วิวาทาธิกรณ์ไม่
ระงับไป แม้อย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้พวกภิกษุผู้อันสงฆ์สมมุติ เพื่อดึงออก
( จากอาบัติ ) ย่อมมอบเรื่องนั้นแก่สงฆ์นั่นแหละด้วยคิดว่า พวกเราไม่อาจ
เพื่อจะระงับได้. ลำดับนั้น สงฆ์จึงสมมุติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ห้า ให้
เป็นผู้จับฉลาก เพราะความที่พระธรรมวาทีแห่งบริษัท ผู้ยังภิกษุรูปนั้นให้
จับฉลาก ด้วยสามารถแห่งวิธี อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาการจับฉลาก ๓
อย่าง คือ ซ่อน ๑ เปิดเผย ๑ กระซิบที่หูของตน ๑ ประชุมกันแล้วมีมาก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 384
อธิกรณ์ที่เข้าไประงับโดยประการที่ พระธรรมวาทีเหล่านั้น กล่าว ก็จัดว่า
เป็นอันเข้าไประงับแล้ว ด้วยสัมมุขาวินัย และเยภุยยสิกา. สัมมุขาวินัย
ในวิวาทาธิกรณ์นั้น มีนัยอันท่านกล่าวไว้แล้วนั่นเทียว. ก็การกระทำกรรม
โดยเสียงข้างมากเป็นประมาณอันใด อันนี้ชื่อว่า เยภุยยสิกา. วิวาทาธิกรณ์
ย่อมระงับด้วยสมถะ ๒ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๔ คือ สัมมุขาวินัย ๑ สติ
วินัย ๑ อมุฬหวินัย ๑ ตัสสปาปิยสิกา ๑. อนุวาทาธิกรณ์ ระงับอยู่ด้วย
สัมมุขาวินัย นั่นเทียว คือ ภิกษุผู้โจท กล่าวโทษ และโจท กล่าวโทษ
ผู้ใด อนุวาทาธิกรณ์ อันสงฆ์ฟังถ้อยคำของทั้งสองฝ่ายนั้นแล้ว วินิจฉัย
อย่างนี้ว่า ถ้าว่า อาบัติบางอย่างไม่มี ยังเธอทั้งสองให้อดโทษแล้ว ถ้าว่า
มีอาบัติ อาบัติในอนุวาทาธิกรณ์นี้ ชื่อนี้ ย่อมเข้าไประงับได้. ลักษณะ
แห่งสัมมุขาวินัย ในอนุวาทาธิกรณ์นั้น มีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วนั่น
เทียว. ก็ในกาลใด สงฆ์ให้สติวินัย ด้วยญัติติจตุตถกรรม แก่ภิกษุผู้เป็น
พระขีณาสพผู้ถูกโจท ด้วยศีลวิบัติ อันหามูลมิได้ผู้ขอสติวินัยอยู่ ในกาล
นั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอันระงับไปด้วยสัมมุขาวินัย และสติวินัย. ก็
เมื่อสงฆ์ให้สติวินัยแล้ว การกล่าวโทษของใคร ๆ ย่อมไม่ขึ้น ในบุคคล
นั้นอีก. ในกาลใด ภิกษุผู้เป็นบ้า ถูกพวกภิกษุโจทว่า ท่านผู้มีอายุระลึกถึง
อาบัติเห็นปานนี้ ได้หรือ ในความประพฤติอันไม่ใช่ของสมณะ ด้วยอำนาจ
แห่งความเป็นบ้า แม้กล่าวอยู่ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมผู้เป็นบ้า.
กระทำกรรมนั้นแล้ว กระผมหาระลึกได้ไม่ ดังนี้แล้ว ยังถูกพวกภิกษุโจท
อยู่เทียว ขออมุฬหวินัย เพื่อประโยชน์แก่การไม่โจทอีก และสงฆ์ให้
อมุฬหวินัย แก่ภิกษุนั้นด้วยญัตติจตุตถกรรม ในกาลนั้น อนุวาทาธิกรณ์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 385
เป็นอันเข้าไประงับ ด้วยสัมมุขาวินัย และอมุฬหวินัย. ก็ครั้นเมื่อสงฆ์ให้
อมุฬหวินัยแล้ว การกล่าวโทษของใครๆ เพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นบ้า
เป็นปัจจัย ย่อมไม่ขึ้นในบุคคลนั้นอีก. ก็ในกาลใด เมื่อบุคคลผู้ลามก
เพราะมากด้วยความชั่ว ถูกโจทด้วยอาบัติปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิก
กลับประพฤติเป็นอย่างอื่น ถ้าว่าบุคคลผู้นี้ จักเป็นผู้มีมูล อันตนต้องการ
แล้ว ประพฤติโดยชอบเทียว จักได้การรวมกัน ( เข้าหมู่ ) ถ้าว่า เป็น
ผู้มีมูลอันตนตัดแล้ว สงฆ์สำคัญอยู่ว่า การขับไล่นี้นั่นแหละ จักมีแก่บุคคล.
นั้น จึงกระทำตัสสปาปิยสิกา ( การลงโทษแก่ผู้ผิด ) ด้วยญัตติจตุตถกรรม
ในกาลนั้น อนุวาทาธิกรณ์ เป็นอันเข้าไประงับ ด้วยสัมมุขาวินัย และ
ตัสสปาปิยสิกา. อนุวาทาธิกรณ์ ย่อมระงับไปด้วยสมถะ ๔ อย่าง ด้วย
ประการฉะนี้.
อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๓ คือ สัมมุขาวินัย ๑
ปฏิญญาตกรณะ ๑ ติณวัตถารกะ ๑. อาปัตตาธิกรณ์นั้น ไม่มีการเข้าไป
ระงับด้วยสัมมุขาวินัยทีเดียว. ก็ในกาลใด ภิกษุแสดงลหุกาบัติ ในสำนัก
แห่งภิกษุรูปหนึ่ง หรือในท่ามกลางคณะสงฆ์ ในกาลนั้น อาปัตตตาธิกรณ์
ย่อมเข้าไประงับ ด้วยสัมมุขาวินัย และปฏิญญาตกรณะ. บรรดาสมถะ
เหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยในสัมมุขาวินัยก่อน ภิกษุผู้แสดงและแสดง
แก่ผู้ใด ความพร้อมหน้ากัน แห่งบุคคลทั้งสองนั้น ชื่อว่า ความพร้อมหน้า
บุคคล. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. ความพร้อมหน้าสงฆ์ ย่อม
เสื่อมหายไปในกาลที่แสดงแก่บุคคลและคณะ. ก็บรรดาสมถะเหล่านี้ การ
กระทำปฏิญญาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมต้องแล้ว ซึ่งอาบัติชื่อนี้ และว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 386
ขอรับ กระผมเห็นอยู่ ( ผู้รับแสดงอาบัติกล่าวว่า ) ท่านพึงสำรวมระวัง
ต่อไป อันใด อันนั้น ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะ. การขอปริวาสเป็นต้น
จากอาบัติสังฆาทิเสสทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิญญา การให้ปริวาสเป็นต้น
ชื่อว่า ปฏิญญาตกรณะ. ก็พวกภิกษุผู้กระทำการทะเลาะกัน เกิดแยกเป็น
สองฝ่าย ประพฤติล่วงละเมิดกิจอันมิใช่ของสมณะเป็นอันมาก ครั้นเมื่อ
ลัชชีธรรม เกิดขึ้นอีก เห็นโทษในการชักชวนกัน และกันให้กระทำอาบัติว่า
ถ้าว่าพวกเราพึงกระทำกันและกัน ด้วยอาบัติเหล่านี้ไซร้ อธิกรณ์นั้น
แม้จะพึงมี ก็พึงเป็นไปพร้อมเพื่อความเป็นผู้หยาบช้า แล้วจึงกระทำติณ-
วัตถารกกรรมในกาลใด ในกาลนั้น อาปัตตาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วย
สัมมุขาวินัย และติณวัตถารกะ. ก็ภิกษุผู้เข้าอยู่ในหัตถบาสในกรรมนั้น
ไม่กระทำกรรมให้แจ้งอันตนเห็นอย่างนี้ว่า กรรมนั้น ไม่เหมาะแก่เรา
แล้วพากันหลบไปเสีย. อาบัติทั้งปวงของภิกษุทั้งปวงเหล่านั้น เว้นโทษที่
หยาบ และที่ปฏิสังยุตต์ด้วยคฤหัสถ์ย่อมออกพ้นไปได้. อาปัตตาธิกรณ์
ย่อมระงับด้วยสมถะ ๓ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.
กิจจาธิกรณ์ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๑ คือ สัมมุขาวินัยเท่านั้น.
อธิกรณ์ ๔ เหล่านี้ ย่อมระงับด้วยสมถะ ๗ ประการเหล่านี้ ตามสมควร.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า เพื่อความสงบระงับอธิกรณ์ อันบังเกิด
ขึ้นแล้ว ๆ พึงให้สัมมุขาวินัย พึงให้สติวินัย พึงให้อมุฬหวินัย พึงปรับ
ตามปฏิญญา พึงถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ พึงปรับตามความผิดของ
จำเลย พึงใช้ติณวัตถารกวิธี ดังนี้แล. นี้เป็นนัยแห่งการวินิจฉัยในอธิกรณ์
เหล่านี้. ส่วนความพิสดารมาแล้วในสมถขันธกะนั่นแล. แม้การวินิจฉัย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 387
แห่งความพิสดารนั้น ข้าพเจ้าก็กล่าวไว้แล้วในสมันตปาสาทิกา. คำเป็นต้น
ว่า อิเม โข อาวุโส บัณฑิตพึงประกอบโดยนัย อันข้าพเจ้ากล่าวแล้ว
นั่นเทียว. พระเถระกล่าว ๙๘ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด ๑๔ หมวด
แสดงสามัคคีรส ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้แล.
จบหมวด ๗
ว่าด้วยธรรมหมวด ๘
พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด ด้วย
ประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดแปด
จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาต่อไปอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิจฺฉตฺตา คือ ไม่แน่นอน ได้แก่
มีสภาพที่ผิด. บทว่า สมฺมตฺตา คือ แน่นอน ได้แก่ มีสภาพที่ถูกโดยชอบ.
บทว่า กุสีตวตฺถูนิ ได้แก่ เรื่อง คือ ที่พึ่งของตนเกียจคร้าน คือของ
คนขี้เกียจ อธิบายว่า เหตุของความเกียจคร้าน. หลายบท ว่า กมฺม
กตฺตพฺพ โหติ ความว่า พึงกระทำกรรมมีการกะจีวรเป็นต้น. หลาย
บทว่า น วิริย อารภติ ความว่า ไม่ปรารภ ความเพียร แม้ทั้ง ๒ อย่าง.
บทว่า อปฺปตฺตสฺส ความว่า เพื่อบรรลุธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค
และผล ที่ตนยังไม่บรรลุ. บทว่า อนธิคตสฺส ความว่า เพื่อประโยชน์
คือการบรรลุธรรมคือ ฌาน วิปัสสนา มรรคและผลนั้นนั่นแหละ อันตน
ยังมิได้บรรลุ. บทว่า อสจฺฉิกตสฺส ความว่า เพื่อประโยชน์คือการกระทำ
ให้แจ้งธรรม คือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผลนั้น ที่ตนยังไม่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 388
กระทำให้แจ้ง. สองคำนี้ ว่า อิท ปฐม ได้แก่การนั่งลง ( ด้วยการคิด )
อย่างนี้ว่า เอาเถิด เราจะนอน ดังนี้ จัดเป็นเรื่องของความเกียจคร้านทีแรก.
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง โดยนัยนี้ . ก็ถั่วราชมาสอันชุ่มชื่อว่า
มาสาจิตะ ในคำนี้ว่า มาสาจิต มญฺเ ดังนี้. อธิบายว่า เป็นผู้หนัก
เหมือนถั่วราชมาสที่เปียกชุ่ม เป็นของหนักฉะนั้น. สองบทว่า คิลาน-
วุฏฺิโต โหติ ความว่า เป็นไข้หายออกไปทีหลัง. บทว่า อารพฺภวตฺถูนิ
ได้แก่ เหตุแห่งความเพียร บัณฑิตพึงทราบเนื้อความ โดยนัยนี้เทียว
แห่งบททั้งหลาย แม้เหล่านั้น.
บทว่า ทานวตฺถูนิ คือ เหตุแห่งทาน. หลายบทว่า อาสชฺช
ทาน เทติ ความว่า ถึงแล้วจึงให้ทาน. บุคคลเห็นภิกษุผู้มาแล้วเทียว
นิมนต์ท่านให้นั่งครู่หนึ่งเท่านั้น แล้วจึงกระทำสักการะถวายทาน ย่อมไม่
ลำบาก ด้วยการคิดว่า เราจักให้. ความหวังในการให้นี้ ชื่อว่า เหตุแห่ง
การให้ ด้วยประการฉะนี้. เหตุทั้งหลายมีความกลัวเป็นต้น แม้ในคำเป็นต้น
ว่า ให้ทาน เพราะความกลัว บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเหตุแห่งการให้.
บรรดาเหตุเหล่านั้น ความกลัวต่อคำติเตียน หรือความกลัวต่ออบายว่า
บุคคลผู้นี้ เป็นผู้ไม่ให้ ( ทาน ) เป็นผู้ไม่กระทำ ( สักการะ ) ชื่อว่า
ความกลัว. สองบทว่า อทาสิ เม ความว่า บุคคลย่อมให้ตอบด้วยคิดว่า
บุคคลนั้นได้ให้วัตถุชื่อนี้แก่เราในกาลก่อน. สองบทว่า ทสฺสติ เม ความว่า
บุคคลย่อมให้ด้วยคิดว่า เขาจักให้วัตถุชื่อนี้ ในอนาคต. สองบทว่า สาหุ
ทาน ความว่า บุคคลย่อมให้ ( ทาน ) ด้วยคิดว่า ธรรมดาว่า การให้
เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือ เป็นกรรมดี อันบัณฑิตทั้งหลายมี
พระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงสรรเสริญแล้ว. หลายบทว่า จิตฺตาลงฺการจิตฺต-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 389
ปริกฺขารตฺถ ทาน เทติ ความว่า บุคคลย่อมให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับ
และเพื่อเป็นบริวารของจิตในสมถะ และวิปัสสนา. จริงอยู่ ทาน ย่อม
กระทำจิตให้อ่อนได้. อันผู้ใดได้วัตถุ แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนว่า เราได้แล้ว.
อันผู้ใดให้แล้ว แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนว่า เราให้แล้ว. ทานย่อมกระทำ
จิตของบุคคลแม้ทั้งสองให้อ่อนได้ ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้นนั่นแล
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำเป็นต้นว่า การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก (ชื่อว่า
ทาน). เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก ชื่อว่าทาน การ
ไม่ให้เป็นเหตุประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว สัตว์
ทั้งหลายย่อมฟูขึ้น และฟุบลง ด้วยทานและ
วาจาที่อ่อนหวาน ดังนี้.
ก็บรรดาทานทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ ทานที่เป็นเครื่องประดับจิตเท่านั้นสูงสุด.
บทว่า ทานูปปตฺติโย ความว่า เข้าถึงเพราะทานเป็นปัจจัย. บทว่า
ทหติ แปลว่า ตั้งไว้. คำว่า อธิฏฺาติ เป็นไวพจน์ของคำว่า ทหติ
นั้นนั่นแหละ. บทว่า ภาเวติ แปลว่า ให้เจริญ. สองบทว่า หีเน วิมุตฺต
ความว่า หลุดพ้นกามคุณ ๕ อันเลว. บทว่า อุตฺตริอภาวิต ความว่า
แต่นั้น ไม่อบรมเพื่อต้องการมรรคผลอันยอดเยี่ยม. สองบทว่า ตตฺรูป-
ปตฺติยาสวตฺตติ ความว่า บุคคลปรารถนา ( เกิด ) ที่ใด กระทำกุศลไว้
ก็ย่อมเป็นไปพร้อม เพื่อประโยชน์แก่การเกิดในที่นั้น ๆ. บทว่า วีตราคสฺส
ความว่า ผู้มีราคะอันตัดได้เด็ดขาดด้วยมรรค หรือผู้มีราคะอันข่มได้ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 390
สมาบัติ. จริงอยู่ สัตว์ไม่อาจที่จะเกิดในพรหมโลกได้ด้วยกุศลสักว่าทาน
เท่านั้น. ก็ทานย่อมเป็นเครื่องประดับเป็นบริวารของจิตในสมาธิ และ
วิปัสสนา. บุคคลผู้มีจิตอ่อนโยน เพราะทานนั้น เจริญพรหมวิหารแล้ว
ย่อมบังเกิดในพรหมโลกได้. เพราะเหตุนั้นท่านพระสารีบุตรจึงกล่าวไว้ว่า
ของผู้มีราคะไปปราศแล้ว ไม่ใช่ของผู้มีราคะ. บริษัทของกษัตริย์ ชื่อว่า
ขัตติยปริสา (บริษัทของกษัตริย์ ) อธิบายว่า หมู่. ในบททั้งปวงก็นัยนี้นั่น
เทียว.
ธรรมของโลก ชื่อว่าโลกธรรม. ธรรมดาว่าบุคคลผู้พ้นจากโลก
ธรรมเหล่านั้นไม่มี. แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ยังต้องมีนั่นเทียว. สมจริง
ดังพระดำรัสแม้ที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการ
เหล่านี้ ย่อมหมุนเวียนไปตามโลก และโลกก็ย่อมหมุนเวียนไปตามโลก
ธรรม ๘ ประการดังนี้. สองบทว่า ลาโภ อลาโภ บัณฑิตพึงทราบว่า
ครั้นเมื่อลาภมา ความไม่มีลาภก็มาด้วยนั่นเทียว. แม้ใน ยศ เป็นต้นก็นัยนี้
เหมือนกัน. กถาว่าด้วยอภิภายตนะและวิโมกข์ ท่านกล่าวไว้แล้วใน
หนหลังนั่นแล. คำว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบ
โดยนัยดังที่กล่าวแล้วเหมือนกัน. พระเถระกล่าวปัญหา ๘๘ ปัญหาด้วย
สามารถแห่งหมวดแปด ๑๑ หมวด แสดงสามัคคีรสแล้วด้วยประการ
ฉะนั้นแล.
จบหมวด ๘
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 391
ว่าด้วยธรรมหมวด ๙
พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดแปดด้วย
ประการฉะนี้ บัดนี้เพื่อจะแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดเก้า จึง
ปรารภพระธรรมเทศนาอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาฆาตวตฺถูนิ แปลว่า เหตุแห่งความ
อาฆาต. สองบทว่า อาฆาต พนฺธติ ความว่า ผูกไว้คือกระทำได้แก่
ยังความโกรธให้เกิดขึ้น. หลายบทว่า ต กุเตตฺถ ลพฺภา ความว่า
การประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์นั้น อย่าได้มีแล้ว เพราะเหตุนั้น อัน
บุคคลพึงได้จากที่ไหน คืออาจเพื่อจะได้ด้วยเหตุอะไรในบุคคลนี้. บุคคล
คิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาว่าบุคคลอื่น ย่อมกระทำความฉิบหายตามความพอใจ
แห่งจิตของตนแก่บุคคลอื่น ดังนี้ ย่อมบรรเทาความอาฆาตได้. อีกอย่างหนึ่ง.
อธิบายว่า ถ้าว่า เราพึงกระทำความโกรธตอบไซร้ การกระทำความโกรธ
นั้นอันเราพึงได้แต่ที่ไหนในบุคคลนี้ หรือพึงได้ด้วยเหตุอะไร. บาลีว่า
กุโต ลาภา ดังนี้ก็มี. ถ้าว่า เราพึงกระทำความโกรธ ในบุคคลนี้ไซร้
ธรรมดาว่า ลาภอันเราได้แต่ที่ไหนในการกระทำความโกรธของเรานั้น
อธิบายว่า ลาภเหล่าไหนพึงมี. ก็ในอรรถนี้ ศัพท์ว่า ต เป็นเพียงนิบาต
เท่านั้น.
บทว่า สตฺตาวาสา ได้แก่ ถิ่นเป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า
ที่เป็นที่ยู่. บรรดาสัตตาวาสเหล่านั้น แม้สุทธาวาสทั้งหลายก็จัดเป็น
สัตตาวาสเหมือนกัน แต่ว่า ท่านมิได้จัดไว้ เพราะความที่ไม่เป็นไปในกาล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 392
ทั้งปวง. จริงอยู่ สุทธาวาสทั้งหลาย เป็นเหมือนกับค่าย ( ถิ่นที่ประทับ )
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะว่าในอสงไขยกัปป์ ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้า
ไม่บังเกิด ที่นั้นย่อมว่างเปล่า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่จัดไว้ ( ว่าเป็น
สัตตาวาส ) เพราะความที่ไม่เป็นไปในกาลทั้งปวง. คำที่เหลือในอรรถนี้
บัณฑิตพึงทราบดังต่อไปนี้ คำที่จะพึงกล่าวท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลัง
นั่นแล. พึงทราบวินิจฉัยในอขณะทั้งหลาย. หลายบทว่า ธมฺโม จ เทสิยติ
ความว่า สัจจธรรม ๔ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดง. บทว่า
โอปสมิโถ ความว่า กระทำการเข้าไประงับกิเลส. บทว่า ปรินิพฺพานิโก
ความว่า นำมาซึ่งการดับรอบแห่งกิเลส. บทว่า สมฺโพธคามี ความว่า
ผู้แทงตลอดด้วยมรรคญาณ ๔. บทว่า อญฺตร ความว่า อสัญญภพ
หรือว่า อรูปภพ บทว่า อนุปุพฺพวิหารา ความว่า วิหารธรรมอันจะพึง
เข้าไปตามลำดับ. บทว่า อนุปุพฺพนิโรธา ความว่า ดับไปตามลำดับ คำว่า
อิเม โข อาวุโส เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล
พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา ๕๔ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดเก้า ๖ หมวด
แสดงสามัคคีรส แล้วด้วยประการฉะนี้ดังนี้แล
จบหมวด ๙
ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐
พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดเก้าด้วย
ประการฉะนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะแสดงสามัคคีรสด้วยสามารถแห่งหมวดสิบ
จึงปรารภพระธรรมเทศนาอีก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 393
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า นาถกรณา ความว่า ธรรมอันกระทำ
ที่พึ่งแห่งตน อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอจงมีที่พึ่งอยู่เถิด อย่าอยู่ไม่มีที่พึ่งเลย ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ
เหล่านี้ เป็นธรรมที่กระทำที่พึ่ง. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า กลฺยาณมิตฺโต
เป็นต้น. มิตรทั้งหลายของบุคคลนั้น ถึงพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น คือ
เป็นคนดี เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า กัลยาณมิตร ( ผู้มีมิตรดี ).
อนึ่งมิตรเหล่านั้นของบุคคลนั้น ชื่อว่า หาย เพราะไปร่วมกันในอิริยาบถ
ทั้งหลายมีการยินและการนั่งเป็นต้น เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า
กัลยาณสหาย ( ผู้มีสหายดี ). ความเข้าพวกในกัลยาณมิตรนั่นแล น้อมไป
ทั้งจิตและกาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า กัลยาณสัมปวังกะ ( ผู้มีพวกดี ).
สองบทว่า สุพฺพโจ โหติ ความว่า เป็นผู้อันเขาพึงว่ากล่าวได้
โดยง่าย คืออันเขาพึงตามสอนได้โดยง่าย. บทว่า ขโม ความว่า ผู้ถูก
เขาว่า ด้วยถ้อยคำอันหนักคือ หยาบคาย ได้แก่แข็งกระด้าง ย่อมอดทนได้
คือไม่โกรธ. สองบทว่า ปทกฺขิณคฺคาหี อนุสาสนี ความว่า ผู้ไม่
กระทำเหมือนบุคคลบางคน พอถูกเขาโอวาทก็รับโดยเบื้องซ้าย แตกแยก
กันไป หรือไม่ฟังไปเสีย ย่อมรับเบื้องขวาด้วยกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอ
ท่านจงโอวาท จงตามสอนเถิด เมื่อท่านไม่โอวาท คนอื่นใครเล่า จัก
โอวาทดังนี้. บทว่า อุจฺจาวจานิ ความว่า สูงและต่ำ. บทว่า กึกรณียานิ
ความว่า การงานอันจะพึงกล่าวกระทำอย่างนี้ว่า กระผมจะทำอะไร. บรรดา
การงานเหล่านั้น การงานมีอาทิอย่างนี้ว่า การกระทำจีวร การย้อมจีวร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 394
การทำความสะอาดที่พระเจดีย์ การงานอันจะพึงกระทำที่โรงอุโบสถ เรือน
พระเจดีย์ และเรือนโพธิ์ทั้งหลาย ชื่อว่า การงานสูง. การงานเล็กน้อย
มีการล้างเท้าและทาเท้าเป็นต้น ชื่อว่า การงานต่ำ. บทว่า ตตฺรูปายาย
ความว่า ควรเข้าไปในที่นั้น. สองบทว่า อล กาตุ ความว่า เป็นผู้สามารถ
เพื่อจะทำ. สองบทว่า อล สวิธาตุ ความว่า ผู้สามารถเพื่อจะพิจารณา.
อธิบายว่า เป็นผู้ใคร่ที่จะแสดงแก่คนเหล่าอื่น. ความใคร่คือความรัก ใน
ธรรมของบุคคลนั้น มีอยู่ เหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ธัมมกาโม ( ผู้ใคร่
ในธรรม ). อธิบายว่า ย่อมประพฤติรักซึ่งพระพุทธวจนะ คือพระไตรปิฎก
บทว่า ปิยสมุทาหาโร ความว่า เมื่อบุคคลอื่นกล่าวอยู่ ย่อมฟังโดยเคารพ
และเป็นผู้ใคร่ เพื่อจะแสดงแก่ชนเหล่าอื่นเอง. ในหมวดสองแห่งบทนี้ว่า
อภิธมฺเม อภิเวนเย บัณฑิตพึงทราบหมวดสี่แห่งคำว่า ธมฺโม อภิธมฺโม
วินโย อภิวินโย ดังนี้ . บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่
พระสุตตันปิฎก. บทว่า อภิธมฺโม ได้แก่ สัตตัปปกรณ์ (ปกรณ์ ๗).
บทว่า วินโย ได้แก่ อุภโตวิภังค์. บทว่า อภิวินโย ได้แก่ ขันธก-
บริวาร. อีกอย่างหนึ่ง แม้พระสุตตันตปิฎก คือพระธรรมนั่นเอง
มรรคและผลทั้งหลาย คือพระอภิธรรม พระวินัยปิฎกทั้งสิ้น คือพระ-
วินัย การกระทำการเข้าไประงับกิเลส คือ อภิวินัย. บัณฑิตพึงทราบ
อธิบาย ในธรรม อภิธรรม วินัย และอภิวินัย นี้แม้ทั้งหมดด้วยประการ
ฉะนี้. บทว่า อุฬารปาโมชฺโช ความว่า เป็นผู้มีความปราโมทย์มาก.
กุสเลสุ ธมฺเมสุ ความว่า สัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.
เพราะเหตุแห่งกุศลธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔. อธิบายว่า เป็นผู้ไม่ทอด
ธุระ เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุกุศลธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ เหล่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 395
บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในหมวดสิบแห่งกสิณดังต่อไปนี้. โดยอรรถ
ทั้งสิ้น กสิณทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นแดน ด้วยอรรถว่า เป็นเขต หรือด้วย
อรรถว่า การตั้งใจมั่น แห่งธรรมทั้งหลายอันเป็นตทารมณ์. บทว่า อุทฺธ
ความว่า ผู้มีหน้าเฉพาะต่อพื้นท้องฟ้าในเบื้องบน. บทว่า อโธ ความว่า
ผู้มีหน้าเฉพาะต่อพื้นแผ่นดินเบื้องต่ำ. บทว่า ติริย ความว่า กำหนดตัด
โดยรอบเหมือนมณฑลแห่งนา. จริงอยู่ บุคคลบางคน ย่อมขยายกสิณไป
เบื้องบนอย่างเดียว บางคนขยายไปเบื้องล่าง บางคนขยายไปโดยรอบ.
บุคคลผู้ใคร่ในการเห็นรูป ประดุจเหมือนแสงสว่าง ย่อมแผ่ออกไปอย่างนั้น
หรือโดยเหตุนั้นนั้น. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า ผู้หนึ่ง ย่อมจำปฐวี-
กสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง. ส่วนคำว่า อนฺวย นี้ ท่าน
กล่าวไว้เพื่อการเข้าถึงความเป็นอย่างอื่น แห่งบุคคลผู้หนึ่ง. เหมือนอย่างว่า
เมื่อบุคคลดำลงน่า น้ำเท่านั้น ย่อมปรากฏมีในทิศทั้งปวง สิ่งอื่นหามีไม่
ฉันใด ปฐวีกสิณก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นปฐวิกสิณอยู่นั่นเอง ความ
เจือด้วยกสิณอย่างอื่นของผู้นั้นย่อมไม่มี. ในกสิณทั้งปวงก็นัยนี้. คำว่า
อปฺปมาณ นี้ ท่านกล่าวไว้ ด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปไม่มี ประมาณแห่ง
บุคคลนั้น ๆ. จริงอยู่บุคคลเมื่อแผ่กสิณนั้นไปด้วยใจ ชื่อว่า แผ่ไปทั้งสิ้น
ทีเดียว คือไม่ถือเอาประมาณว่า นี้เป็นเบื้องต้น นี้เป็นท่ามกลางแห่ง
กสิณนั้น ดังนี้แล. ก็ในคำว่า วิญฺญาณกสิณ นี้ได้แก่ วิญญาณที่เป็นไปใน
กสิณุคฆาติมากาศ (อากาศที่เพิกกสิณ). บัณฑิตพึงทราบความเป็นเบื้อง
บน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง ในวิญญาณที่เป็นไปในกสิณนั้นด้วยสามารถ
แห่งกสิณุคฆาติมากาศด้วยอำนาจแห่งกสิณในวิญญาณนั้น. นี้เป็นความย่อ
ในกสิณนี้. ก็แล กสิณทั้งหลายมีปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านั้น อันข้าพเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 396
กล่าวไว้แล้ว โดยพิสดาร ในวิสุทธิมรรคนั่นแล โดยภาวนามัย แห่ง
กัมมัฏฐาน.
พึงทราบวินิจฉัยในกรรมบถทั้งหลายดังต่อไปนี้ . กรรมทั้งหลายนั่น
เอง ชื่อว่าเป็นกรรมบถ เพราะความเป็นทางแห่งทุคคติ และสุคติทั้งหลาย.
บรรดากรรมบถเหล่านั้น กรรมบถทั้ง ๔ มีปาณาติบาต อทินนาทาน และ
มุสาวาท เป็นต้น ท่านให้พิสดารแล้วในพรหมชาลสูตรนั่นแล. ส่วนใน
กรรมบถข้อว่า กาเมสุ มิจฺฉาจาโร นี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า กาเมสุ ความว่า ในความประพฤติเมถุน หรือในวัตถุแห่งเมถุน
บทว่า มิจฺฉาจาโร ความว่า ความประพฤติอันลามก ที่บัณฑิตติเตียนโดย
ส่วนเดียว. ส่วนโดยลักษณะ เจตนาที่ก้าวล่วงฐานะ อันไม่พึงถึง ที่เป็นไป
ทางกายทวาร โดยความประสงค์จะเสพอสัทธรรม ก็จัดเป็นกาเมสุมิจฉาจาร-
ในกาเมสุมิจฉาจารนั้น สำหรับบุรุษทั้งหลายก่อน หญิง ๑๐ จำพวก มีหญิง
อันมารดารักษาเป็นต้น คือ หญิงอันมารดารักษา ๑ หญิงอันบิดารักษา ๑
หญิงอันมารดาและบิดารักษา ๑ หญิงอันพี่น้องชายรักษา ๑ หญิงอันพี่น้อง
หญิงรักษา ๑ หญิงอันญาติรักษา ๑ หญิงอันโคตรรักษา ๑ หญิงอันธรรม
รักษา ๑ หญิงที่มีการอารักขา ๑ หญิงที่มีอาชญา ๑ และหญิง อีก ๑๐ จำพวก
มีหญิงที่ซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้น เหล่านั้น คือ หญิงที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ ๑
หญิงที่อยู่ด้วยความพอใจ ๑ หญิงที่อยู่ด้วยโภคะ ๑ หญิงที่อยู่ด้วยแผ่นผ้า ๑
หญิงผู้มีถังน้ำ (ตักน้ำ) ๑ หญิงผู้มีเทริดนำไป ๑ ภริยาผู้เป็นทาสี ๑ ภริยาผู้
ทำงาน ๑ หญิงผู้นำมาด้วยธง ๑ หญิงผู้อยู่ชั่วครู่ ๑ รวมเป็นหญิง ๒๐ จำพวก
ชื่อว่า ฐานอันไม่พึงถึง. ส่วนบรรดาหญิงทั้งหลาย บุรุษเหล่าอื่น ชื่อว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 397
เป็นฐานะอันไม่พึงถึงแห่งหญิง ๑๒ จำพวก คือ หญิงที่มีการอารักขาและ
มีอาชญา ๒ และหญิงที่ซื้อมาด้วยทรัพย์เป็นต้นอีก ๑๐. ก็มิจฉาจารนี้นั้น
จัดว่ามีโทษน้อยในฐานะอันไม่พึงถึง ที่เว้นจากคุณมีศีลเป็นต้น จัดว่ามีโทษ
มาก ในฐานะอันไม่พึงถึง ที่ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น. กาเมสุมิจฉาจาร
นั้นมีสัมภาระ ( องค์ ) ๔ คือ วัตถุอันไม่พึงถึง ๑ จิตคิดจะเสพในวัตถุอันไม่
พึงถึงนั้น ๑ ความพยายามในการเสพ ๑ การหยุดอยู่แห่งการปฏิบัติต่อองค์
มรรคด้วยมรรค ๑. การกระทำด้วยมือของตนก็เป็นความพยายามอย่างหนึ่ง
นั่นแล.
บทว่า อภิชฺฌายติ แปลว่า การเพ่ง. อธิบายว่า เป็นผู้มีหน้า
เฉพาะต่อภัณฑะของผู้อื่นเป็นไป เพราะความที่น้อมไปในภัณฑะของผู้อื่น
นั้น. อภิชฌา นั้น มีการเพ่งต่อภัณฑะของผู้อื่นเป็นลักษณะอย่างนี้ว่า
โอ หนอ วัตถุนี้พึงเป็นของเรา มีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนอทินนา.
ทาน. อภิชฌานั้น สัมภาระ ( องค์) ๒ คือ ภัณฑะของผู้อื่น ๑ น้อมภัณฑะ
นั้นไปเพื่อตน ๑. ก็ครั้นเมื่อความโลภอันมีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง แม้
บังเกิดขึ้นแล้ว บุคคลไม่น้อมภัณฑะนั้นไปเพื่อตนว่า โอหนอ วัตถุนี้
พึงเป็นของเรา ดังนี้ เพียงใด ความแตกแห่งกรรมบถ ก็ไม่มีเพียงนั้น.
กิเลสใด ยังหิตสุขให้ย่อยยับไป เหตุนั้น กิเลสนั้นชื่อว่า พยาบาท.
พยาบาทนั้น มีลักษณะประทุษร้ายทางใจ เพื่อความพินาศของผู้อื่น มีโทษ
น้อยและมีโทษมากเหมือนผรุสวาจา. พยาบาทนั้นมีสัมภาระ (องค์) ๒ คือ
สัตว์อื่น ๑ การคิดเพื่อความพินาศแห่งสัตว์อื่นนั้น ๑. ก็ครั้นเมื่อความ
โกรธอันมีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้ง แม้บังเกิดขึ้นแล้ว บุคคลไม่คิดถึงความพินาศ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 398
แห่งสัตว์อื่นนั้นว่า โอ หนอ บุคคลนี้ พึงขาดสูญ พึงพินาศ ดังนี้ เพียงใด
ความแตกแห่งกรรมบถก็ไม่มีเพียงนั้น. ที่ชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า
เห็นผิด โดยไม่มีการถือเอาตามสภาพที่เป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้น มีลักษณะ
เห็นผิด โดยนัยเป็นต้นว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ดังนี้ มีโทษน้อย
และมีโทษมาก เหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิ ที่ไม่แน่
นอน (ไม่มั่นคง) มีโทษน้อย ที่แน่นอน (มั่นคง) มีโทษมาก. มิจฉาทิฏฐิ
นั้นมีสัมภาระ (องค์) ๒ คือ ความที่วัตถุผิดจากอาการที่ตนถือเอา ๑
การบำเรอวัตถุนั้นโดยความเป็นเหมือนอย่างที่ตนถือเอา ๑. ส่วนอกุศล
กรรมบถ ๑๐ ประการเหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย โดยอาการ ๕ คือ
โดยธรรม ๑ โดยส่วน ๑ โดยอารมณ์ ๑ โดยเวทนา ๑ โดยมูล ๑.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต ความว่า เจตนาธรรม ๗
โดยลำดับเทียว ย่อมมีในอกุศลกรรมบถเหล่านั้น. เจตนาธรรม ๓ มี
อภิชฌาเป็นต้น ชื่อว่า สัมปยุตด้วยเจตนา. บทว่า โกฏฺาสโต ความว่า
เจตนาธรรม ๘ เหล่านี้ คือ โดยลำดับ ๑ และมิจฉาทิฏฐิอีก ๗ เป็น
กรรมบถแท้ทีเดียว แต่ไม่เป็นมูล. อภิชฌาและพยาบาท เป็นทั้งกรรมบถ
และเป็นทั้งมูล. จริงอยู่ อภิชฌา ถึงความเป็นมูลแล้ว ย่อมเป็นโลภะ
อกุศลมูล. พยาบาทเป็นโทสะอกุศลมูล. บทว่า อารมฺมณโต ความว่า
ปาณาติบาต มีสังขารเป็นอารมณ์ โดยมีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อทินนา-
ทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. มิจฉาจารมีสังขาร
เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งโผฏฐัพพะ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์
เป็นอารมณ์บ้าง. มุสาวาท มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง
ปิสุณวาจาก็อย่างนั้น. ผรุสวาจามีสัตว์เป็นอารมณ์. สัมผัปปลาปะ มีสัตว์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 399
เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง ด้วยสามารถแห่งรูปที่ได้เห็น
เสียงที่ได้ฟังและอารมณ์ที่ได้ทราบแล้วรู้แจ้งแล้ว. อภิชฌาก็อย่างนั้น.
พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์. มิจฉาทิฏฐิ มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยสามารถ
แห่งธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ บ้าง มีสัตว์เป็นอารมณ์ ด้วยสามารถแห่ง
บัญญัติบ้าง. บทว่า เวทนาโต ความว่าปาณาติบาต เป็นทุกขเวทนา.
เหมือนอย่างว่า พระราชาทั้งหลาย ทรงเห็นโจรแล้ว แม้จะทรงร่าเริงอยู่
ตรัสว่า พวกท่านจงไปฆ่าโจรนั้น ดังนี้ แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น สันนิฏฐาปก-
เจตนา ( เจตนาที่ให้สำเร็จ ) ก็ชื่อว่า สัมปยุตด้วยทุกข์แท้. อทินนาทาน
มีเวทนา ๓. มิจฉาจาร มีเวทนา ๒ คือ สุข และมัชฌัตตเวทนา (อุเขกขา)
ส่วนว่า ในสันนิฏฐาปกจิต (จิตที่ให้สำเร็จ) มิจฉาจาร ไม่เป็นมัชฌัตต
เวทนา. มุสาวาท มีเวทนา ๓. ปิสุณวาจาก็อย่างนั้น. ผรุสวาจา เป็น
ทุกขเวทนา. สัมผัปปลาปะ มีเวทนา ๓. อภิชฌามีเวทนา ๒ คือ สุข
และมัชฌัตตเวทนา ( อุเบกขา ). มิจฉาทิฏฐิก็อย่างนั้น. พยาบาทเป็นทุกข-
เวทนา. บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาต มีมูล ๒ คือ โทสะ และโมหะ.
อทินนาทานก็มีมูล ๒ เหมือนกัน คือโทสะและโมหะบ้าง โลภะและโมหะ
บ้าง. มิจฉาจาร มีมูล ๒ คือ โลภะและโมหะ. มุสาวาท ก็มีมูล ๒ คือ
โทสะและโมหะบ้าง โลภะและโมหะบ้าง. ปิสุณวาจา และสัมผัปปลาปะ
ก็อย่างนั้น. ผรุสวาจามีมูล ๒ คือ โทสะและโมหะ. อภิชฌามีมูลเดียว
คือโมหะ. พยาบาทก็อย่างนั้น. มิจฉาทิฏฐิมีมูล ๒ คือ โลภะและโมหะ
ดังนี้แล.
กุศลกรรมบถทั้งหลายมีเจตนางดเว้น จากปาณาติบาตเป็นต้น
บัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งสมาทานวิรัติ สัมปัตตวิรัติ. และสมุจเฉท-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 400
วิรัติ ส่วนโดยธรรม เจตนาทั้ง ๗ ก็ดี วิรัติทั้งหลายก็ดี ย่อมเป็นไปโดยลำดับ
ในกุศลกรรมบถ แม้เหล่านั้น. เจตนาธรรม ๓ ในที่สุด ชื่อว่าสัมปยุตด้วย
เจตนาแท้. บทว่าโกฏฺาสโต ความว่า เจตนาธรรม ๗ โดยลำดับชื่อว่า
เป็นกรรมบถแท้ทีเดียว แต่ไม่มีมูล. เจตนาธรรม ๓ ในที่สุด เป็นทั้งกรรมบถ
และเป็นมูล. จริงอยู่ อนภิชฌา ถึงความเป็นมูลแล้ว ย่อมเป็นอโลภะ
กุศลมูล. อัพยาบาท เป็นอโทสะกุศลมูล. สัมมาทิฏฐิเป็นอโมหะกุศลมูล.
บทว่า อารมฺมณโต ความว่า อารมณ์ แห่งปาณาติบาตเป็นต้นนั่นเทียว แม้
เป็นอารมณ์แห่ง กุศลกรรมบถเหล่านั้น โดยลำดับ. จริงอยู่ เจตนานั้น ชื่อว่า
เป็นเจตนางดเว้น เพราะความเป็นสภาพอันจะพึงก้าวล่วง. ก็อริยมรรคอันมี
พระนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสทั้งหลายได้ฉันใด กรรมบถทั้งหลาย
เหล่านั้น แม้มีชีวิตนทรีย์เป็นต้นเป็นอารมณ์ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมละ
ความเป็นผู้ทุศีลทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้นฉันนั้น. บทว่า เวทนาโต
ความว่า กุศลกรรมบถทั้งปวง เป็นสุขเวทนาบ้าง เป็นมัชฌัตตเวทนา
(อุเบกขาเวทนา) บ้าง. จริงอยู่ ธรรมดาว่าทุกขเวทนา ถึงความเป็นกุศล
ไม่มี. ว่าโดยมูล กุศลกรรมบถ ๗ โดยลำดับ ย่อมมีมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ
และอโมหะ แก่บุคคลผู้เว้นด้วยญาณสัมปยุตตจิต. ย่อมมีมูล ๒ แก่บุคคลผู้
เว้นด้วยญาณวิปปยุตตจิต. อนภิชฌา มีมูลสอง สำหรับผู้เว้นด้วย
ญาณสัมปายุตตจิต มีมูลหนึ่งแก่บุคคลผู้เว้นด้วยญาณวิปปยุตตจิต. ก็
อโลภะไม่เป็นมูลแก่ตนด้วยตนเลย. แม้ในอัพยาบาทก็นัยนี้เหมือนกัน.
สัมมาทิฏฐิ มีมูล ๒ คือ อโลภะ และอโทสะเท่านั้น ดังนี้แล.
บทว่า อริยวาสา ความว่า พระอริยะทั้งหลายนั่นเทียว อยู่แล้ว
คือ ย่อมอยู่ ได้แก่ จักอยู่ในธรรมเหล่านั้น เหตุนั้น ธรรม เหล่านั้นชื่อว่า
อริยวาส. บทว่า ปญฺจงฺควิปฺปหีโน ความว่า เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยองค์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 401
ห้า พระขีณาสพ ได้อยู่แล้ว คือย่อมอยู่ ได้แก่จักอยู่ เพราะเหตุดังนี้นั้น
ความเป็นผู้ละองค์ห้าเสียได้นี้ ท่านเรียกว่า อริยวาส เพราะความเป็นธรรม
เครื่องอยู่ของพระอริยะ. ในธรรมทั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน. ดูก่อนท่านผู้มี
อายุภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก อย่างนี้แล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็น
ผู้ประกอบด้วยฉฬังคุเบกขา. ถามว่า ธรรม เหล่าไร ชื่อว่า ฉฬังคุเบกขา.
แม้ว่าธรรมมีญาณเป็นต้น ชื่อว่า ฉฬังคุเบกขา. เมื่อท่านกล่าวว่า ญาณ
บัณฑิตย่อมได้ ญาณสัมปยุตตจิต ๔ ดวง โดยกิริยา. เมื่อท่านกล่าวว่า
สตตวิหาร ย่อมได้ มหาจิต ๘ ดวง. เมื่อ ท่านกล่าวว่า รชฺชนทุสฺสน นตฺถิ
ย่อมได้จิต ๑๐ ดวง. โสมนัส บัณฑิตย่อมได้ด้วยสามารถแห่งอาเสวนะ.
สองบทว่า สตารกฺเขน เจตสา ความว่า ก็สติย่อมยังกิจแห่งการรักษาให้
สำเร็จ ตลอดกาลทั้งปวง ในทวารทั้ง ๓ ของพระขีณาสพ. เพราะเหตุนั้น
นั่นแหละ ญาณทัสสนะ อันสงบระงับ แล้วติดต่อกัน ท่านจึงเรียกว่า
เป็นญาณอันปรากฏเฉพาะแล้ว แก่พระขีณาสพนั้น ผู้เที่ยวไปอยู่ ผู้ยืน
อยู่ ผู้หลับ และผู้ตื่น.
บทว่า ปุถุสมณพฺราหิมณาน ความว่า แห่งสมณพราหมณ์มาก.
ก็บรรดาคำเหล่านั้น ที่ชื่อว่า สมณะ. ได้แก่ผู้เข้าถึงการบรรพชา. ที่ชื่อว่า
พราหมณ์ ได้แก่ ผู้มีปกติกล่าวว่า เจริญ. บทว่า ปุถุปจฺเจกสจฺจานิ
ความว่า สัจจะเฉพาะตัวมาก อธิบายว่า สัจจะ เป็นอันมากที่ท่านถือเอา
เฉพาะอย่างนี้ว่า นี้เท่านั้นจริง. บทว่า นุณฺณานิ ความว่า ถูกนำออก.
บทว่า ปนุณฺณานิ ความว่า ถูกนำออกด้วยดี. บทว่า จตฺตานิ ความว่า
ปล่อยแล้ว. บทว่า วนฺตานิ ความว่า คายเเล้ว. บทว่า มุตฺตานิ ความว่า
กระทำการตัดเครื่องผูก. บทว่า ปหีนานิ ความว่า ละแล้ว. บทว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 402
ปฏินิสฺสฏฺานิ ความว่า สละเฉพาะโดยประการที่กิเลสจะไม่ขึ้นสู่จิตอีก.
คำเหล่านั้นทั้งปวงนั่นแล เป็นไวพจน์แห่งความสละการยึดถืออันตนยึดถือ
อยู่แล้ว. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สมวยสฏฺเสโน นี้ดังต่อไปนี้
บทว่า อวยา ได้แก่ ไม่ขาดแคลน บทว่า สฏฺา ได้แก่ สละแล้ว
บุคคลนี้มีการแสวงหา อันไม่ขาดแคลน คือสละแล้วโดยชอบ เพราะเหตุนี้
จึงชื่อว่า ผู้มีการแสวงหาอันไม่ขาดแคลนและสละแล้วเสมอ. อธิบายว่า
ผู้มีการแสวงหาทั้งปวงอันสละแล้วโดยชอบ. ด้วยคำเป็นต้นว่า จิตหลุดพ้น
แล้วจากราคะ เป็นอันกล่าวความสำเร็จแห่งกิจของมรรค. ด้วยคำเป็นต้น
ว่า เราละราคะได้แล้ว เป็นอันกล่าวผลของการพิจารณา. พระอเสขะ
ชื่อว่า มีธรรมอันสัมปยุตด้วยผลแม้ทั้งปวง มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. ก็ใน
บรรดาธรรมเหล่านั้น ปัญญาเทียว เป็นอันท่านกล่าวไว้ ในฐานะทั้ง ๒ คือ
สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาญาณ ๑. ธรรม คือผลสมาบัติ ที่เหลือ ท่านกล่าวไว้
ด้วยบทนี้ว่า สัมมาวิมุตติ บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านสงเคราะห์เข้าแล้ว.
คำว่า อิเม โข อาวุโส เป็นต้น บัณฑิตพึงประกอบโดยนัย ดังที่กล่าว
แล้วนั่นแล. พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา ๖๐ ถ้วน ด้วยสามารถแห่งหมวด
สิบ ๖ หมวด ด้วยประการฉะนี้ แสดงสามัคคีรสแล้วดังนี้แล.
จบหมวด ๑๐
ก็ภิกษุดำรงในศาสนานี้แล้ว พึงประชุมปัญหาดังต่อไปนี้. จริงอยู่
ในพระสูตรนี้ เป็นอันท่านกล่าว ๒ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดหนึ่งๆ
กล่าว ๗๐ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดสอง กล่าว ๑๘๐ ปัญหา ด้วย
สามารถแห่งหมวดสาม ๒๐๐ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดสี่ กล่าว
๑๓๐ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดห้า กล่าว ๑๓๒ ปัญหา ด้วยสามารถ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 403
แห่งหมวดหก กล่าว ๙๘ ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดเจ็ด กล่าว ๘๘
ปัญหา ด้วยสามารถแห่งหมวดแปด กล่าว ๕๔ ปัญหา ด้วยสามารถแห่ง
หมวดเก้า กล่าว ๖๐ ปัญหาถ้วน ด้วยสามารถแห่งหมวดสิบ รวมเป็น
อันท่านกล่าวปัญหาไว้ ๑,๐๑๔ ปัญหา ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ เว้น
พระสูตรนี้เสีย พระสูตรอื่นในพระพุทธวจนะคือ พระไตรปิฏก อันประดับ
ด้วยปัญญามากอย่างนี้ไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับพระสูตรนี้ทั้งหมด
ตั้งแต่ต้นแล้ว ดำริว่า พระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี แสวงกำลังแห่ง
พระพุทธเจ้า บรรลือสีหนาท ในอัปปฏิวัตกาล เมื่อเรากล่าวว่า เป็นสาวก
ภาษิต ความปลงใจเชื่อก็จะไม่มี ครั้นเมื่อเรากล่าวว่า เป็นชินภาษิต ดังนี้
ความปลงใจเชื่อจึงจะมี เพราะเหตุนั้น เรากระทำให้เป็นชินภาษิตแล้ว
ดังความปลงใจเธอให้เกิดแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายในพระสูตรนี้
ดังนี้แล้ว จึงเสด็จลุกจากที่นั้นได้ประทานสาธุการแล้ว. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้น ตรัสเรียก
ท่านพระสารีบุตรมาว่า สารีบุตร ดีละ ดีนักแล สารีบุตร เธอได้กล่าว
สังคีติปริยายสูตรแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
สงฺคีติปริยาย ได้แก่ เหตุแห่งความสามัคคี. มีคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ดังนี้ว่า สารีบุตร ดีนักแล เธอเทียบเคียงด้วยสัพพัญญุตญาณของเรา
ได้กล่าวสามัคคีรสแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว. หลายบทว่า สมนุญฺโ สตฺถา
อโหสิ ความว่า ได้เป็นผู้พอใจด้วยการอนุโมทนาแล้ว. พระสูตรนี้ชื่อว่า
ชินภาษิต เกิดแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้. ในกาลเป็นที่สิ้นสุดแห่งพระ
เทศนา ภิกษุเหล่านั้น กระทำไว้ในใจซึ่งพระสูตรนี้ บรรลุพระอรหัตต์แล้ว
ดังนี้แล.
จบอรรถกถาสังคีติสูตรที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 404
๑๑. ทสุตตรสูตร
เรื่อง พระสารีบุตรเถระ
ว่าด้วยธรรมหมวด ๑
[๓๖๔] ข้าพเจ้า สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ
๕๐๐ รูป ประทับอยู่ที่ฝั่งสระโปกขรณี ชื่อ คัดครา ใกล้เมืองจำปา. ณ ที่นั้น
ท่านพระสารบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมา ภิกษุเหล่านั้น รับคำของท่าน
พระสารีบุตรแล้ว. ท่านพระสารีบุตร กล่าวว่า
[๓๖๕] เราจักกล่าวทสุตตรสูตร อันเป็นธรรมเพื่อ
ปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง เพื่อ
บรรลุถึงพระนิพพาน เพื่อทำที่สุดทุกข์.
[๓๖๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมาก
ธรรมอย่างหนึ่ง ควรเจริญ ธรรมอย่างหนึ่ง ควรกำหนดรู้ ธรรมอย่างหนึ่ง
ควรละ ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนเสื่อม ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไปใน
ส่วนวิเศษ ธรรมอย่างหนึ่ง แทงตลอดได้ยาก ธรรมอย่างหนึ่ง ควรให้
เกิดขึ้น ควรรู้ยิ่ง ธรรมอย่างหนึ่ง ควรทำให้แจ้ง.
[๓๖๗] ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมาก เป็นไฉน. คือความ
ไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 405
[๓๖๘] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรเจริญเป็นไฉน. คือกายคตาสติ
สหรคตด้วยความสำราญ. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง ควรเจริญ.
[๓๖๙] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรกำหนดรู้ เป็นไฉน. คือ ผัสสะ
ที่ยังมี อาสวะ มีอุปาทาน. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง ที่ควรกำหนดรู้.
[๓๗๐] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรละเป็นไฉน. คือ อัสมิมานะ. นี้
ธรรมอย่างหนึ่ง ควรละ.
[๓๗๑] ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนเสื่อมเป็นไฉน. คือ
อโยนิโสมนสิการ. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนเสื่อม.
[๓๗๒] ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. คือ
โยนิโสมนนิการ. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[๓๗๓] ธรรมอย่างหนึ่ง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. คือ
เจโตสมาธิ อันมีลำดับติดต่อกันไป. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง แทงตลอดได้ยาก.
[๓๗๔] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรให้เกิดขึ้น เป็นไฉน. คือ ญาน
อันไม่กำเริบ. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง ควรทำให้เกิดขึ้น.
[๓๗๕] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. คือ สัตว์ทั้งหลาย
ทั้งปวง อยู่ได้ด้วยอาหาร. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง ควรรู้ยิ่ง.
[๓๗๖] ธรรมอย่างหนึ่ง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. คือ เจโตวิมุติ
อันไม่กำเริบ. นี้ ธรรมอย่างหนึ่ง ควรทำให้แจ้ง. ธรรม ๑๐ อย่าง
เหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคต
ตรัสรู้แล้ว โดยชอบ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 406
ว่าด้วยธรรมหมวด ๒
[๓๗๗] ธรรม ๒ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๒ อย่าง ควรเจริญ
ธรรม ๒ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๒ อย่าง ควรละ ธรรม ๒ อย่าง
เป็นไปในส่วนเสื่อม ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๒ อย่าง
แทงตลอดได้ยาก ธรรม ๒ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๒ อย่าง ควร
รู้ยิ่ง ธรรม ๒ อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[๓๗๘] ธรรม ๒ อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน คือ สติ และ
สัมปชัญญะ ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[๓๗๙] ธรรม ๒ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. คือ สมถะ และ
วิปัสสนา ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๓๘๐] ธรรม ๒ อย่าง ควรกำหนดรู้เป็นไฉน. คือ นามและรูป
ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.
[๓๘๑] ธรรม ๒ อย่าง ควรละเป็นไฉน. คือ อวิชชา และ
ภวตัณหา ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ควรละ
[๓๘๒ ] ธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. คือ
ความเป็นผู้ว่ายาก และความคบคนชั่วเป็นมิตร. ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[๓๘๓] ธรรม ๒ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. คือ
ความเป็นผู้ว่าง่าย และความคบคนมีเป็นมิตร. ธรรม ๒ อย่างเหล่า
เป็นไปในส่วนวิเศษ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 407
[๓๘๔] ธรรม ๒ อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่
ธรรมใดเป็นเหตุ และเป็นปัจจัย เพื่อความเศร้าหมอง แห่งสัตว์ทั้งหลาย
ธรรมใดเป็นเหตุ และเป็นปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย
ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
[๓๘๕] ธรรม ๒ อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ญาณ
๒ คือ ญาณในความสิ้น ญาณในความไม่เกิด. ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้
ควรให้เกิดขึ้น.
[๓๘๖] ธรรม ๒ อย่าง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ ธาตุ ๒ คือ
สังขตธาตุ และอสังขตธาตุ. ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๓๘๗] ธรรม ๒ อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. คือ วิชชา
และวิมุติ. ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้
จริงแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้ชอบแล้ว
ด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๓
[๓๘๘] ธรรม ๓ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๓ อย่าง ควรเจริญ
ธรรม ๓ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๓ อย่าง ควรละ ธรรม ๓ อย่าง
เป็นในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๓ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๓ อย่าง
แทงตลอดได้ยาก ธรรม ๓ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๓ อย่าง ควรรู้ยิ่ง
ธรรม ๓ อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 408
[๓๘๙] ธรรม ๓ อย่างมีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ การคบ
คนดี การฟังธรรม การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ธรรม ๓ อย่าง
เหล่านี้มีอุปการะมาก.
[๓๙๐] ธรรม ๓ อย่างควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ สมาธิ ๓ คือ
สมาธิมีวิตก มีวิจาร สมาธิไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร.
ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๓๙๑] ธรรม ๓ อย่างควรกำหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ เวทนา
๓ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้
ควรกำหนดรู้.
[๓๙๒] ธรรม ๓ อย่างควรละเป็นไหน. ได้แก่ ตัณหา ๓ คือ
กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรละ.
[๓๙๓] ธรรม ๓ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
อกุศลมล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นไป
ในส่วนข้างเสื่อม.
[๓๙๔] ธรรม ๓ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่
กุศลมูล ๓ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ เป็นไป
ในส่วนวิเศษ.
[๓๙๕] ธรรม ๓ อย่างแทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่ ธาตุ
อันเป็นที่ตั้งแห่งการสลัดออก ๓ คือ เนกขัมมะ เป็นที่สลัดออกของกาม
อรูปเป็นที่สลัดออกของรูป นิโรธเป็นที่สลักออกของสิ่งที่เกิดแล้ว สิ่งที่
ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อาศัยเกิดแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้
แทงตลอดได้ยาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 409
[๓๙๖] ธรรม ๓ อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ญาณ ๓
คือ อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุปปันนังสญาณ. ธรรม ๓ อย่าง
เหล่านี้ควรให้เกิดขึ้น.
[๓๙๗] ธรรม ๓ อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ ธาตุ ๓ คือ
กามธาตุ รูปธาตุ และอรูปธาตุ. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง.
[๓๙๘] ธรรม ๓ อย่างควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ วิชชา
๓ คือ วิชชาคือความรู้ระลึกถึงชาติก่อนได้ วิชชาคือความรู้จุติและอุปบัติ
ของสัตว์ทั้งหลาย วิชชาคือความรู้ในความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลาย. ธรรม
๓ อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ จริง แท้
แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบ
ด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๔
[๓๙๙] ธรรม ๔ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๔ อย่างควรเจริญ
ธรรม ๔ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๔ อย่างควรละ ธรรม ๔ อย่างเป็น
ไปในส่วนข้างเสื่อม. ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๔ อย่าง
แทงตลอดได้ยาก ธรรม ๔ อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๔ อย่างควรรู้ยิ่ง
ธรรม ๔ อย่างควรทำให้แจ้ง.
[๔๐๐] ธรรม ๔ อย่างมีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ จักร ๔
คือการอยู่ในประเทศอันสมควร เข้าหาสัตบุรุษ ตั้งตนไว้ชอบ ความเป็น
ผู้ทำบุญไว้ในก่อน. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 410
[๔๐๑] ธรรม ๔ อย่างควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณากายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
ภิกษุพิจารณา เวทนา . .. .จิต . . . . . พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌานและโทมนัสในโลกเสียได้
ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๔๐๒] ธรรม ๔ อย่างควรกำหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ อาหาร
๔ คือ กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว หยาบ ละเอียด ๑ ผัสสาหาร ๑
มโนสัญเจตนาหาร ๑ วิญญาณาหาร ๑. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.
[๔๐๓] ธรรม ๔ อย่างควรละเป็นไฉน. ได้แก่ โอฆะ ๔ คือ
กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[๔๐๔] ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
โยคะ ๔ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ เป็นไป
ในส่วนข้างเสื่อม.
[๔๐๕] ธรรม ๔ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่
ความพราก ๔ คือ พรากจากกาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา. ธรรม ๔ อย่าง
เหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[๔๐๖ ] ธรรม ๔ อย่างแทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่ สมาธิ
๔ คือ สมาธิเป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนข้างดำรงอยู่ ๑
สมาธิเป็นไปในส่วนวิเศษ ๑ สมาธิเป็นไปในส่วนแทงตลอด ๑. ธรรม
๔ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 411
[๔๐๗] ธรรม ๔ อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ญาณ ๔
คือ ความรู้ในธรรม ๑ ความรู้ในการคล้ายตาม ๑ ความรู้ในการกำหนด ๑
ความรู้ในการสมมติ ๑. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[๔๐๘] ธรรม ๔ อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ อริยสัจ ๔ คือ
ทุกขอริยสัจ ๑ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธ
คามินีปฏิปทาอริยสัจ ๑. ธรรม อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๔๐๙] ธรรม ๔ อย่างควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ สามัญญ-
ผล ๔ คือ โสดาปัตติผล ๑ สกทาคามิผล ๑ อนาคามิผล ๑ อรหัตผล ๑.
ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม ๔ อย่างเหล่านี้ จริง แท้
แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้วโดยชอบ
ด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๕
[๔๑๐] ธรรม ๕ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๕ อย่าง ควรเจริญ
ธรรม ๕ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๕ อย่าง ควรละ ธรรม ๕ อย่าง
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๕ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๕
อย่าง แทงตลอดได้ยาก ธรรม ๕ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๕ อย่าง
ควรรู้ยิ่ง ธรรม ๕ . อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[๔๑๑] ธรรม ๕ อย่างมีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ องค์เป็นที่
ตั้งแห่งความเพียร ๕ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มี
ศรัทธา เชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาค
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 412
เจ้า พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก ฝึกผู้ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้
จำแนกธรรม ๑ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีทุกข์น้อย ประกอบด้วยไฟธาตุมีผล
สม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง ควรแก่การตั้งความเพียร ๑
ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้แจ้ง ตามเป็นจริงในพระศาสดา หรือ
ในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ๑ ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อเข้าถึงกุศลธรรม มีกำลังมีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ๑
มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเห็นความเกิดและความดับ อันเป็นจริยา
เป็นไปเพื่อความแทงตลอด อันจะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ๑ ธรรม
๕ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[๔๑๒] ธรรม ๕ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ สัมมาสมาธิ
ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ปีติแผ่ไป ๑ สุขแผ่ไป ๑ การกำหนดจิตผู้อื่น
แผ่ไป ๑ แสงสว่างแผ่ไป ๑ นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา ๑ ธรรม ๕ อย่าง
เหล่านี้ ควรเจริญ
[๔๑๓] ธรรม ๕ อย่าง ควรกำหนดรู้ เป็นไฉน. ได้แก่อุปาทาน-
ขันธ์ ๕ คือ รูปูปาทานขันธ์ ๑ เวทนูปาทานขันธ์ ๑ สัญญูปาทานขันธ์ ๑
สังขารูปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควร
กำหนดรู้.
[๔๑๔] ธรรม ๕ อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ นิวรณ์ ๕ คือ
กามฉันทะ ๑ พยาบาท ๑ ถีนมิทธะ ๑ อุทธัจจกุกกุจจะ ๑ วิจิกิจฉา ๑
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 413
ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[๔๑๕] ธรรม ๕ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน ได้แก่
เจตขีล ๕ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เคลือบแคลง
สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่
น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย
เพื่อความตั้งมั่น ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใด เคลือบแคลงสงสัย ไม่น้อม
ใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระศาสดา จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่น้อมไป เพื่อ
ความเพียร เพื่อการประกอบเนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความ
ตั่งมั่น จิตของภิกษุใด ไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนือง ๆ
เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น นี้ เป็นเจตขีลข้อที่หนึ่ง.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ เคลือบแคลง สงสัย
ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในธรรม . . . ในสงฆ์ . . . ในการศึกษา เป็น
ผู้โกรธ ไม่ชอบใจ ขัดใจ กระด้าง ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูก่อนผู้มี
อายุทั้งหลาย ภิกษุใด โกรธ ไม่ชอบใจ ขัดใจ กระด้างในเพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งหลาย จิตของภิกษุนั้น ไม่น้อมไป เพื่อความเพียร เพื่อการประกอบ
เนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย เพื่อความตั้งมั่น จิตของภิกษุใด ไม่น้อม
ไปเพื่อความเพียร เพื่อการประกอบเนือง ๆ เพื่อความเพียรไม่ขาดสาย
เพื่อความตั้งมั่น นี้ เป็นเจตขีลข้อที่ ๕. ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ เป็นไปใน
ส่วนข้างเสื่อม.
[๔๑๖] ธรรม ๕ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่
อินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญิน-
ทรีย์. ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 414
[๔๑๗] ธรรม ๕ อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่ ธาตุ
เป็น ที่ตั้งแห่งการสลัดออก ๕ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อภิกษุใน
ธรรมวินัย นี้ กระทำกามไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่
ไม่น้อมใจไป ในกามทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุนั้น กระทำเนกขัมมะไว้ในใจ
จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในเนกขัมมะจิตของภิกษุนั้น
ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้วพรากจากกาม อาสวะเหล่าใด
มีความคับแค้น มีความเร่าร่อนเกิดขึ้น เพราะกามเป็นปัจจัย ภิกษุนั้น พ้น
แล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เป็นที่สลัดออกแห่งกามทั้งหลาย.
ก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุกระทำพยาบาท
ไว้ในใจ จิต ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในพยาบาท
ก็เมื่อภิกษุนั้น กระทำความไม่พยาบาทไว้ในใจ จิต ย่อมแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งอยู่ น้อมใจไป ในความไม่พยาบาท จิตของภิกษุนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว
ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากพยาบาทได้แล้ว อาสวะเหล่าใดมีความ
คับแค้น มีความเร่าร้อน เกิดขึ้น เพราะมีพยาบาทเป็นปัจจัย ภิกษุนั้น
พ้นแล้ว จากพยาบาทเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เป็นที่สลัดออกแห่งพยาบาท.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุ กระทำความ
เบียดเบียนไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไป
ในความเบียดเบียน ก็เมื่อเธอ กระทำความไม่เบียดเบียนไว้ในใจ จิตย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 415
แล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในความไม่เบียดเบียน จิตของเธอนั้น
ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นไปดีแล้ว พรากจากความเบียด
เบียน อาสวะเหล่าใดมีความคับแค้นมีความเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะมีความ
เบียดเบียนเป็นปัจจัย เธอพ้นแล้ว จากอาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นที่สลัดออกแห่งความเบียดเบียน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุกระทำรูปไว้ในใจ จิตย่อมไม่แล่นไป
ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในรูปทั้งหลาย เธอเมื่อกระทำอรูปไว้
ในใจ จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมใจไปในอรูป จิตของเธอนั้น
ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากจากรูปทั้งหลาย
อาสวะเหล่าใดมีความคับแค้นมีความเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะมีรูปเป็นปัจจัย
เธอพ้นแล้วจากอาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เป็นที่สลัดออก แห่งรูปทั้งหลาย.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เมื่อภิกษุกระทำกายของตนไว้ในใจ จิตย่อมไม่
แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมใจไปในกายของตน ก็เมื่อเธอ
กระทำไว้ในใจถึงความดับกายของตน จิตย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่
น้อมใจไปในความดับกายของตน จิตของเธอนั้น ไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว
ออกไปดีแล้ว พ้นดีแล้ว พรากกายของตน และอาสวะเหล่าใดมีความคับ
แค้นมีความเร่าร้อน เกิดขึ้นเพราะมีกายของตนเป็นปัจจัย เธอพ้นแล้วจาก
อาสวะเหล่านั้น ไม่เสวยเวทนานั้น นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็น
ที่สลัดออกแห่งกายของตน. ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 416
[๔๑๘] ธรรม ๕ อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ สัมมา
สมาธิประกอบด้วยญาณ ๕ คือ ญาณ ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้
มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า
สมาธินี้ เป็นอริยะไม่มีอามิส. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้
อันบุรุษไม่ต่ำทรามเสพแล้ว ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า สมาธินี้ สงบ
ประณีต ได้ปฏิปัสสัทธิแล้ว ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่ข่มขี่
ห้าม สสังขารจิต ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า เรานั้นแล มีสติ เข้าสมาธิ
และเรามีสติออกจากสมาธินี้. ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[๔๑๙] ธรรม ๕ อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน ได้แก่ วิมุตตายตนะ ๕
คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระศาสดา หรือ เพื่อน พรหมจรรย์อยู่ใน
ฐานะควรเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ภิกษุรู้ อรรถกและรู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่พระศาสดาหรือเพื่อน
พรหมจรรย์อยู่ในฐานะเป็นครู รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุ
ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถ รูปธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด
เมื่อใจมีปีติ กาย ย่อมสงบ ผู้มีการสงบ ย่อมเสวยความสุข เมื่อเมื่อมีสุข
จิตย่อมตั้งมั่น นี้ ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่หนึ่ง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควร
เคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุ อีกอย่างหนึ่ง ย่อมแสดง
ธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอเป็นผู้รู้อรรถ
และรู้ธรรม ในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่
ได้เรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ความปราโมทย์ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถรู้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 417
ธรรม เมื่อปราโมทย์ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ
ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่สอง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควร
เคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งไม่แสดงธรรมตามที่
ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร อีกอย่างหนึ่ง ย่อมกระทำ
การท่องบ่นธรรมตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา โดยพิสดาร เธอเป็นผู้รู้
อรรถและเป็นผู้รู้ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุ กระทำการท่องบ่น
ธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอ
รู้อรรถผู้รู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด. เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ
ข้อที่สาม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควร
เคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่แสดงธรรม ทั้งไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟัง.
ตามที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร ทั้งไม่กระทำการท่องบ่นธรรมตามที่
ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา อีกอย่างหนึ่ง เธอตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตาม
ธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้รู้
ธรรมในธรรมนั้น โดยประการที่ภิกษุตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามธรรม
ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ ความปราโมทย์ ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้
อรรถรู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมีปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ
ข้อที่สี่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 418
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์อยู่ในฐานะควร
เคารพ รูปใดรูปหนึ่ง ย่อมแสดงธรรม ทั้งไม่แสดงธรรมตามที่ได้ฟัง ตาม
ที่ได้เรียนมาแก่ผู้อื่น โดยพิสดาร ทั้งไม่กระทำการท่องบ่นธรรม ตามที่
ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมา โดยพิสดาร ทั้งไม่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตาม
ธรรม ตามที่ได้ฟัง ตามที่ได้เรียนมาด้วยใจ อีกอย่างหนึ่ง สมาธินิมิต
อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เธอเรียนดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทง
ตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา เธอเป็นผู้รู้อรรถและเป็นผู้รู้ธรรมในธรรมนั้น
โดยประการที่สมาธินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ภิกษุเรียนดีแล้ว กระทำไว้
ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ความปราโมทย์
ย่อมเกิดแก่เธอผู้รู้อรรถ รู้ธรรม เมื่อปราโมทย์ ปีติย่อมเกิด เมื่อใจมี
ปีติ กายยู่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
นี้ก็เป็นวิมุตตายตนะ ข้อที่ห้า. ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๔๒๐] ธรรม ๕ อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ ธรรม
ขันธ์ ๕ คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้
จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว
โดยชอบ.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๖
[๔๒๑] ธรรม ๖ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๖ อย่างควรเจริญ
ธรรม ๖ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๖ อย่างควรละ ธรรม ๖ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 419
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๖ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๖
อย่าง แทงตลอดได้ยาก ธรรม ๖ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๖ อย่าง
ควรรู้ยิ่ง ธรรม ๖ อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[๔๒๒] ธรรม ๖ อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ สาราณีย-
ธรรม ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม
ประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้
ก็เป็นสาราณียธรรม ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
สงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ใน
เพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทำให้
เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท
เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา. . . ย่อม
เป็นไป เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุแบ่งปันลาภอันประกอบด้วยธรรม ได้มา
แล้วโดยธรรม แม้โดยที่สุด แม้เพียงของที่เนื่องด้วยบิณฑบาตเฉลี่ยกันบริโภค
กับเพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีล แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทำให้เป็นที่รัก เป็น
ที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี
เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีศีลเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้า
และลับหลังในศีลทั้งหลาย ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ต่าง ไม่พร้อย เป็นไท ผู้รู้-
สรรเสริญแล้ว กิเลสไม่ถูกต้องแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ แม้นี้ก็เป็นสาราณีย-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 420
ธรรม ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์
เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันเดียวกัน.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีทิฏฐิเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อ
หน้าและลับหลัง ในทิฏฐิอันเป็นอริยะนำออกจากทุกข์ นำผู้ปฏิบัติเพื่อความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ แม้นี้ก็เป็นสาราณียธรรม ทำให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ
ย่อม เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ เพื่อความไม่วิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อ
ความเป็นอันเดียวกัน. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[๔๒๓] ธรรม ๖ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ ที่ตั้งอนุสสติ ๖
คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ
เทวตานุสสติ ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๔๒๔] ธรรม ๖ อย่าง ควรกำหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ อายตนะ
ภายใน ๖ คือ จักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ
กายายตนะ มนายตนะ. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.
[๔๒๕] ธรรม ๖ อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ หมู่ตัณหา ๖
คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธัมมตัณหา. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[๔๒๖] ธรรม ๖ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
อคารวะ ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในความไม่
ประมาท ในการปฏิสันถาร. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[๔๒๗] ธรรม ๖ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 421
คารวะ ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพ
ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา ในความ
ไม่ประมาท ในการปฏิสันถาร. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ
[๔๒๘] ธรรม ๖ อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่
ธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความสลัดออก ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมตตาเจโตวิมุติอันเราเจริญแล้ว ทำให้
มากแล้ว ทำให้เป็นยาน ทำให้เป็นวัตถุแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว
ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น พยาบาทยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่.
ภิกษุนั้น พึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ อย่า
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีเลย เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงตรัส นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อ
เมตตาเจโตวิมุติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว
ทำให้เป็นวัตถุแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น
พยาบาทก็ยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ดังนี้ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้
เพราะเมตตาเจโตวิมุตินี้ก็เป็นที่สลัดออกจากพยาบาท.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
กรุณาเจโตวิมุติอันเราเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นยานแล้ว ทำ
ให้เป็นวัตถุแล้ว ตั้งมั่นแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น
ความเบียดเบียนยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่. ภิกษุนั้น พึงถูกกล่าวว่า
เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ... นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส... คำที่ว่า เมื่อกรุณา
เจโตวิมุติ... ปรารภดีแล้ว ก็เมื่อเป็นเช่นนั้นความเบียดเบียนยังครอบงำจิต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 422
ของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ กรุณาเจโตวิมุตินี้ ก็เป็นที่
สลัดออกจากความเบียดเบียน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
มุทิตาเจโตวิมุติ . . . . . ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่ยินดียังครอบ
งำจิตของเราตั้งอยู่. ภิกษุนั้น พึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ . . . . .
นั้นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อมุทิตาเจโตวิมุติ . . . . . ปรารภดีแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่ยินดียังครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นมิใช่
ฐานะที่จะมีได้ มุทิตาเจโตวิมุตินี้ ก็เป็นที่สลัดออกจากความไม่ยินดี.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
อุเบกขาเจโตวิมุติ . . . . . ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้น ราคะยังครอบงำจิต
ของเราตั้งอยู่. ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ . . . . . นั่นมิใช่
ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่ออุเบกขาเจโตวิมุติ . . . . . ปรารภดีแล้ว เมื่อ
เป็นเช่นนั้น ราคะยังครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้
อุเบกขาเจโตวิมุตินี้ ก็เป็นที่สลัดออกจากราคะ.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า
เจโตวิมุติ อันหานิมิตมิได้ . . . . ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นวิญญาณของ
เรา ย่อมไปตามนิมิต ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ . . . .
นั่นมิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อเจโตวิมุติ อันหานิมิตมิได้ . . . .
ปรารภดีแล้ว เมื่อเป็นเช่นนั้นวิญญาณอันไปตามนิมิต จักมีแก่ภิกษุนั้น
นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ เจโตวิมุติอันหานิมิตมิได้นี้ ก็เป็นที่สลัดออกจาก
นิมิตทั้งปวง.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 423
ถือว่าเรามีอยู่ดังนี้ ของเราหมดไปแล้ว เราย่อมไม่พิจารณาเห็นว่าเรานี้มีอยู่
เมื่อเป็นเช่นนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัยยังครอบงำจิตของเรา
ตั้งอยู่. ภิกษุนั้นพึงถูกกล่าวว่า เธออย่าพูดอย่างนี้ . . . . นั่นมิใช่ฐานะ
มิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อถือว่าเรามีอยู่ หายไปแล้ว และเมื่อเขาไม่พิจารณา
เห็นว่าเรานี้มีอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น ลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย ยัง
ครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ การถอนอัสมิมานะนี้
ก็เป็นที่สลัดออกจากลูกศรคือความเคลือบแคลงสงสัย. ธรรม ๖ อย่าง
เหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
[๔๒๙] ธรรม ๖ อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ธรรม
เป็นเครื่องอยู่เนือง ๆ ๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยตา ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ฟังเสียง
ด้วยหู . . . . ดมกลิ่นด้วยจมูก. . . . ลิ้มรสด้วยลิ้น . . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกาย . . . . รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย วางเฉย มีสติ
สัมปชัญญะอยู่. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[๔๓๐] ธรรม ๖ อย่าง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ อนุตตริยะ ๖ คือ
ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยา-
นุตตริยะ อนุสสตานุตตริยะ. ธรรม ๖ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง
[๔๓๑] ธรรม ๖ อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ อภิญญา
๖ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ การแสดงฤทธิ์
ได้หลายอย่าง แม้คนเดียวทำเป็นหลายคนได้ แม้หลายคนก็ทำเป็นคน
เดียวได้ ทำให้ปรากฏ ทำให้หายตัว ทะลุฝากำแพงภูเขาไปไม่ติดขัด เหมือน
ไปในอากาศก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 424
ไม่แยก เหมือนบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปบนอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบไล้
พระจันทร์พระอาทิตย์ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้
อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.
เธอได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งไกล
และใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์.
เธอ กำหนดรู้ใจ ของสัตว์อื่น บุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ
ย่อมรู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมี
โทสะ รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมี
โมหะ รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่
รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ. รู้ว่า จิตเป็น
มหัคคตะ หรือจิตเป็นอมหัคคตะ รู้ว่าจิตเป็นอมหัคคตะ. จิตเป็นสอุตตระ
รู้ว่าจิตเป็นสอุตตระ หรือ จิตเป็นอนุตตระ รู้ว่าจิตเป็นอนุตตระ จิตตั้งมั่น
รู้ว่าจิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นแล้ว รู้ว่า
จิตหลุดพ้นแล้ว หรือจิตยังไม่หลุดพ้น รู้ว่าจิตยังไม่หลุดพ้น.
ภิกษุนั้น ระลึกถึงชาติก่อนได้หลายอย่าง คือ หนึ่งชาติบ้าง สอง
ชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง
แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปไม่น้อยบ้าง วิวัฏฏกัปไม่น้อยบ้าง สังวัฏฏ-
วิวัฏฏกัปไม่น้อยบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้ มีผิว-
พรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้
จุติจากภพนั้นไปเกิดในภพโน้น ในภพนั้นเรามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 425
มีผิวพรรณอย่างนี้ มีอาหารอย่างนี้ เสวยสุขทุกข์อย่างนี้ มีกำหนดอายุอย่างนี้
ครั้นจุติจากภพนั้นมาเกิดในภพนี้ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายอย่างพร้อม
ทั้งอาการ อุเทศด้วยประการฉะนี้.
เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ อุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี
ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้
ถึงหมู่สัตว์ไปตามกรรมว่า สัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือกรรม
เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก หรือ สัตว์ผู้เจริญเหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ไม่ติเตียน พระอริยะเจ้าแล้ว เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือกรรมเป็น
สัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา เข้าถึง สุคติ โลกสวรรค์
เธอเห็นหมู่สัตว์ ที่กำลังจุติ อุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี
ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์
ย่อมรู้ถึงหมู่สัตว์ ไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้.
เธอกระทำให้แจ้ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรม เข้าอยู่. ธรรม ๖ อย่าง
เหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม ๖๐ เหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน.ไม่ผิดพลาดไม่
เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๗
[ ๔๓๒ ] ธรรม ๗ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๗ อย่างควรเจริญ
ธรรม ๗ อย่างควรกำหนดรู้ ธรรม ๗ อย่างควรละ ธรรม ๗ อย่าง
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๗ อย่างเป็นไปในส่วนพิเศษ ธรรม ๗
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 426
อย่างแทงตลอดได้ยาก ธรรม ๗ อย่างควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๗ อย่าง
ควรรู้ยิ่ง ธรรม ๗ อย่างควรทำให้แจ้ง.
[๔๓๓] ธรรม ๗ อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. คือ อริยทรัพย์
๗ ได้แก่ สัทธา สีล หิริ โอตตัปปะ สุตะ จาคะ ปัญญา ธรรม ๗ อย่าง
เหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[๔๓๔] ธรรม ๗ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ สัมโพชฌงศ์
๗ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา. ธรรม ๗
อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๔๓๕] ธรรม ๗ อย่าง ควรกำหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ วิญญาณ-
ฐิติ ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน มีสัญญา
ต่างกัน เหมือนมนุษย์ เทพบางพวก วินิปาติกะบางพวก นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ
ข้อที่หนึ่ง. สัตว์ทั้งหลายมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันเหมือนเทพ
ผู้นับเนื่องในพรหม ผู้เกิดในปฐมฌาน นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่สอง.
สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนพวกเทพอาภัสสรา
นี้ ก็เป็นวิญญาณฐิติข้อที่สาม. สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา
อย่างเดียวกัน เหมือนพวกเทพสุภกิณหา นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่สี่.
สัตว์ทั้งหลาย ล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญาได้ ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งสัญญา
ต่างกัน โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุด
นี้ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่ห้า. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงอากาสานัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้
ก็เป็นวิญญาณฐิติ ข้อที่หก. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 427
ประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไร นี้ก็เป็นวิญญาณ
ฐิติ ข้อที่เจ็ด. ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.
[๔๓๖] ธรรม ๗ อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ อนุสัย ๗ คือ
กามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ อวิชชา. ธรรม
๗ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[๔๓๗] ธรรม ๗ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
อสัทธรรม ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่มีศรัทธา
ไม่ละอาย ไม่เกรงกลัว สดับน้อย เกียจคร้าน ลืมสติ ปัญญาทึบ. ธรรม
๗ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[๔๓๘] ธรรม ๗ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่
สัทธรรม ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีศรัทธา
มีความละอาย มีความเกรงกลัว เป็นผู้สดับมาก ปรารภความเพียร มีสติ
ตั้งมั่น มีปัญญา ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[๔๓๙] ธรรม ๗ อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่
สัปปุริสธรรม ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
ผู้รู้จักเหตุ เป็นผู้รู้จักผล เป็นผู้รู้จักตน เป็นผู้รู้จักประมาณ เป็นผู้รู้จัก
กาลเวลา เป็นผู้รู้จักประชุมชน เป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล. ธรรม ๗ อย่าง
เหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
[๔๔๐] ธรรม ๗ อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ สัญญา ๗
คือ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา. อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา
วิราคสัญญา นิโรธสัญญา. ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 428
[๔๔๑] ธรรม ๗ อย่าง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ นิทเทสวัตถุ ๗
คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีฉันทะกล้าในการสมาทาน
สิกขา และไม่ปราศจากความรักในการสมาทานสิกขาต่อไป มีฉันทะกล้า
ในการพิจารณาธรรมและไม่ปราศจากความรัก ในการพิจารณาธรรมต่อไป
มีฉันทะกล้า ในการกำจัดความอยาก และไม่ปราศจากความรักในการกำจัด
ความอยากต่อไป มีฉันทะกล้าในการหลีกออกเร้น และไม่ปราศจากความรัก
ในการหลีกออกเร้นต่อไป มีฉันทะกล้า ในการปรารภความเพียร และไม่
ปราศจากความรักในการปรารภความเพียรต่อไป มีฉันทะกล้า ในสติและ
ปัญญาเครื่องรักษาตน และไม่ปราศจากความรัก ในสติและปัญญาเครื่อง
รักษาตนต่อไป มีฉันทะกล้าในการแทงตลอดทิฏฐิ และไม่ปราศจากความรัก
ในการแทงตลอดทิฏฐิต่อไป. ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๔๔๒] ธรรม ๗ อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ กำลัง
ของพระขีณาสพ ๗ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุขีณาสพในธรรม-
วินัยนี้ เห็นสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงดีแล้ว ข้อที่ภิกษุขีณาสพ เห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว นี้ก็เป็นกำลังของ
ภิกษุผู้ขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุผู้เป็นขีณาสพ เห็นกามเปรียบด้วยหลุมถ่าน
เพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว ข้อที่ภิกษุขีณาสพ เห็น
กามเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดีแล้ว
นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 429
แห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก จิตของภิกษุขีณาสพ น้อมไปในวิเวก โอนไป
ในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ สิ้นสุดจาก
ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพ
น้อมไปในวิเวก โอนไปในวิเวก เงื้อมไปในวิเวก อยู่ในวิเวก ยินดี
ในเนกขัมมะ สิ้นสุดจากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง
แม้นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรม
ดีแล้ว ข้อที่สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว
แม้นี้ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อินทรีย์ ๕ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรม
ดีแล้ว ข้อที่อินทรีย์ ๕ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว แม้นี้
ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรม
ดีแล้ว ข้อที่โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดีแล้ว แม้นี้
ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อมรู้ความสิ้นไป
แห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อริยมรรคมีองค์ ๘ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว
อบรมดีแล้ว ข้อที่ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันภิกษุขีณาสพ อบรมแล้ว อบรมดี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 430
แล้ว แม้นี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ กำลังที่ภิกษุขีณาสพอาศัย ย่อม
รู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว. ธรรม ๗ อย่าง
เหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง ธรรม ๗ อย่างเหล่านี้ จริง แท้ แน่นอน ไม่ผิด
ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบ ด้วยประการฉะนี้.
จบปฐมภาณวาร.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๘
[๔๔๓] ธรรม ๘ อย่างมีอุปการะมาก ธรรม ๘ อย่าง ควรเจริญ
ธรรม ๘ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๘ อย่าง ควรละ ธรรม ๘ อย่าง
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๘ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๘ อย่าง
ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๘ อย่าง ควรรู้ยิ่ง ธรรม ๘ อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[๔๔๔] ธรรม ๘ อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ เหตุ
๘ อย่าง ปัจจัย ๘ อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาเป็นอาทิพรหมจรรย์
ที่ยังไม่ได้ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว เหตุและปัจจัย ๘ อย่าง เป็นไฉน คือ
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยพระศาสดา หรือ
เพื่อนพรหมจรรย์ อยู่ในฐานะควรเคารพรูปใดรูปหนึ่ง หิริและโอตตัปปะ
แรงกล้า เข้าไปปรากฏแก่ภิกษุนั้น เป็นความรักและความเคารพในท่าน นี้
ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หนึ่ง ย่อมเป็นไป เพื่อได้ปัญญาอาทิพรหมจรรย์
ที่ยังไม่ได้ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความ
บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 431
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเข้าไปอาศัยพระศาสดา หรือ เพื่อนพรหม
จรรย์ อยู่ในฐานะควรเคารพนั้นรูปใดรูปหนึ่ง หิริและโอตตัปปะอย่างแรง
กล้าเข้าไปปรากฏแก่ภิกษุนั้นเป็นความรักและความเคารพในท่าน เธอเข้า
ไปหาท่านเสมอ ๆ สอบถามไต่สวนว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร เนื้อความของ
ข้อนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิด กระทำสิ่งที่ยากให้ง่าย
และบรรเทาความสงสัยในธรรม เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลาย ๆ อย่าง
แก่เธอ นี้ ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สอง. . .
ภิกษุฟังธรรมนั้นแล้ว ถึงพร้อมด้วยความหลีกออก ๒ อย่าง คือ
ความหลีกออกแห่งกาย ๑ ความหลีกออกแห่งจิต ๑ นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อ
ที่สาม . . .
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมในปาติโมกขสังวร ถึง
พร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบท นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สี่ . . .
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงสุตะไว้ สั่งสมสุตะ ธรรม
งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นธรรมอัน
ภิกษุนั้น สดับมาก ทรงไว้ คล่องปาก พิจารณาด้วยใจ แทงตลอดด้วย
ทิฏฐิ นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ห้า...
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุปรารภความเพียร ละอกุศลธรรม ยัง
กุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง ความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมอยู่
นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หก....
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 432
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุมีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกถึง สิ่งที่ทำไว้นาน ถ้อยคำที่พูดไว้นาน นี้ก็เป็น
เหตุเป็นปัจจัย ข้อที่เจ็ด . . .
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ พิจารณาถึงความเกิดและความเสื่อมใน
อุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า ดังนี้ รูป ดังนี้ ความเกิดแห่งรูป ดังนี้ ความดับ
แห่งรูป ดังนี้ เวทนา ดังนี้ ความเกิดแห่งเวทนา ดังนี้ ความดับแห่ง
เวทนา ดังนี้ สัญญา ดังนี้ ความเกิดแห่งสัญญา ดังนี้ ความดับแห่งสัญญา
ดังนี้ สังขารทั้งหลาย ดังนี้ ความเกิดแห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ความดับ
แห่งสังขารทั้งหลาย ดังนี้ วิญญาณ ดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณ ดังนี้
ความดับแห่งวิญญาน. นี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่แปด ย่อมเป็นไปเพื่อได้
ปัญญาอาทิพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อ
ความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว. ธรรม ๘ อย่าง เหล่านี้
มีอุปการะมาก.
[๔๔๕] ธรรม ๘ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. อริยมรรคมีองค์
๘ คือ เห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ ความ
เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ธรรม ๘ อย่าง เหล่านี้ ควรเจริญ.
[๔๔๖] ธรรม ๘ อย่าง ควรกำหนดรู้เป็นไฉน. โลกธรรม
๘ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์
ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.
[๔๔๗] ธรรม ๘ อย่าง ควรละเป็นไฉน. มิจฉัตตะ ๘ คือ
เห็นผิด ดำริผิด วาจาผิด การงานผิด อาชีพผิด เพียรผิด ระลึกผิด
สมาธิผิด ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 433
[๔๔๘] ธรรม ๘ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
เหตุของผู้เกียจคร้าน ๘ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย การงานเป็นสิ่งอันภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้พึงทำ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานจักเป็นสิ่งอัน
เราพึงทำแล ก็แหละเมื่อเราทำการงานอยู่ ร่างกายจักเหน็ดเหนื่อย ช่างเถิด
เราจะนอน. เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้
ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่หนึ่ง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก การงานเป็นสิ่งอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำแล้ว
เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้กระทำการงานแล้ว ก็แหละเมื่อเรา
กระทำการงานอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อยแล้ว ช่างเถิดเราจะนอน. เธอนอน
ไม่ปรารภความเพียร . . . เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็น
เหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่สอง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุจะต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
ก็เราจักต้องเดินทางผู้เดียว ก็แหละ เมื่อเราเดินทางไป ร่างกายจักเหน็ด
เหนื่อย ช่างเถิด เราจะนอน. เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร . . . นี้ก็เป็น
เหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่สาม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้เดินทางแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่าง
นี้ว่า เราได้เดินทางแล้ว ก็แหละเมื่อเราเดินทางไปอยู่ ร่างกายเหน็ดเหนื่อย
แล้ว ช่างเถิดเราจะนอน เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร . . . นี้ ก็เป็นเหตุ
ของผู้เกียจคร้านข้อที่สี่.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 434
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคมไม่ได้
โภชนะเศร้าหมองหรือประณีต เต็มตามความต้องการ เธอย่อมมีความ
คิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคมก็ไม่ได้โภชนะที่
เศร้าหมอง หรือประณีตเต็มความต้องการ ร่างกายของเรานั้น เหน็ด
เหนื่อยแล้ว ไม่ควรเเก่การงาน ช่างเถิดเราจะนอน. เธอนอนไม่ปรารภ
ความเพียร . . . เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้
เกียจคร้านข้อที่ห้า.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ย่อม
ได้โภชนะที่เศร้าหมองหรือประณีต เต็มตามความต้องการ เธอย่อม
มีความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ได้โภชนะที่
เศร้าหมอง หรือประณีต เต็มตามความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นหนัก
ไม่ควรแก่การงาน เหมือนถั่วราชมาส ที่เขาหมักไว้ ช่างเถิด เราจะนอน.
เธอนอน ไม่ปรารภความเพียร .. . เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่หก.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อาพาธเล็กน้อยเกิดแก่ภิกษุ เธอย่อมมีความคิด
อย่างนี้ว่า อาพาธเพียงเล็กน้อยนี้ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว สมควรเพื่อจะนอน
มีอยู่ ช่างเถิด เราจะนอน. เธอนอนไม่ปรารภความเพียร . . . เพื่อทำ
ให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ให้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้เกียจคร้านข้อที่เจ็ด.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากอาพาธยังไม่นาน
เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความอาพาธยัง
ไม่นาน ร่างกายของเรานั้นยังอ่อนเพลีย ไม่ควรแก่การงาน ช่างเถิดเรา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 435
จะนอน. เธอนอนไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
ธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุ
ของผู้เกียจคร้านข้อที่แปด. ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม.
[๔๔๙] ธรรม ๘ อย่างเป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่ เหตุ
ของผู้ปรารภความเพียร ๘ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย การงานเป็นสิ่งอัน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงทำ เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า การงานจักเป็นสิ่ง
อันเราควรทำ ก็แหละเมื่อเราทำการงานอยู่ การกระทำคำสอนของพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลายไว้ในใจ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ช่างเถิด เราจะปรารภความ
เพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง
ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง. เธอปรารภความเพียรอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่หนึ่ง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก การงานเป็นสิ่งอันภิกษุทำแล้ว เธอย่อมมีความคิด
อย่างนี้ว่า เราได้ทำการงานแล้วแล ก็แหละ เราเมื่อทำการงานอยู่ ก็
ไม่อาจทำคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ ช่างเถิด เราจะปรารภ
ความเพียร . . . เธอปรารภความเพียรอยู่... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้
ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อทีสอง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุต้องเดินทาง เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราจักต้องเดินทาง ก็แหละ เมื่อเราเดินทางไป การกระทำคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ช่างเถิดเราจะปรารภ
ความเพียร . . . เธอปรารภความเพียรอยู่ .. . เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 436
ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่สาม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเดินทางแล้ว เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า
เราได้เดินทางแล้วแล ก็แหละ เมื่อเราเดินทางอยู่ก็ไม่อาจทำคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไว้ในใจ ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร . . . เธอ
ปรารภความเพียรอยู่ ... เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็น
เหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่สี่.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้านหรือนิคม ย่อม
ไม่ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีต เต็มตามความต้องการ เธอย่อมมี
ความคิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้าน หรือนิคม ไม่ได้โภชนะ
เศร้าหมอง หรือประณีต เต็มตามความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นเบา
ควรแก่การงาน ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร . . . เธอปรารภความเพียร
อยู่ . . . เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภ
ความเพียร ข้อที่ห้า.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้าน หรือนิคม ย่อม
ได้โภชนะเศร้าหมอง หรือประณีต เต็มตามความต้องการ เธอย่อมมีความ
คิดอย่างนี้ว่า เราเที่ยวไปบิณฑบาตที่หมู่บ้าน หรือนิคมได้โภชนะเศร้าหมอง
หรือประณีต เต็มตามความต้องการแล้ว ร่างกายของเรานั้นมีกำลัง ควรแก่
การงาน ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร . . . เธอปรารภความเพียรอยู่ . . .
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร
ข้อที่หก.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก อาพาธเพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นแก่ภิกษุแล้ว เธอย่อม
มีความคิดอย่างนี้ว่า อาพาธเพียงเล็กน้อยนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ข้อที่อาพาธ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 437
ของเราจะพึงมากขึ้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร...
เธอปรารภความเพียรอยู่ . . . เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็
เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร ข้อที่เจ็ด.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุหายอาพาธแล้ว หายจากความเป็นผู้อาพาธยัง
ไม่นาน เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราหายอาพาธแล้ว หายจากความ
อาพาธยังไม่นาน ข้อที่อาพาธของเราจะพึงกลับกำเริบขึ้น เป็นฐานะที่จะ
มีได้ ช่างเถิดเราจะปรารภความเพียร . . . เธอปรารภความเพียรอยู่ . . .
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้ก็เป็นเหตุของผู้ปรารภความเพียร
ข้อที่แปด. ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[๔๕๐] ธรรม ๘ อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่
กาลมิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ คือ ดูก่อนผู้มีอายุ พระ
ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติในโลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรม
เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรม
อันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้เป็นผู้เข้าถึงนรกแล้ว นี้ก็เป็นกาล
มิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่หนึ่ง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติใน
โลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อ
ความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่
บุคคลนี้ เป็นผู้เข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย
เพื่อความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่สอง.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติในโลกนี้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 438
และทรงแสดงธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความดับ ให้สัตว์
ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว แต่บุคคลนี้ เข้าถึง
ปิตติวิสัย นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์
ข้อที่สาม.
ข้ออื่นยังมีอีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติในโลกนี้
ทรงแสดงธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ. . . แต่บุคคลนี้ เข้าถึงเทพนิกายซึ่ง
มีอายุยืน อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติ
พรหมจรรย์ ข้อที่สี่.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติใน
โลกนี้ และพระองค์ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ . . . แก่บุคคลนี้
เป็นผู้เกิดในปัจจันตชนบท เป็นถิ่นของชนมิลักขะ ผู้ไม่มีความรู้ ซึ่งมิใช่
คติของ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้ก็เป็นกาลมิใช่ขณะมิใช่สมัย
เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่ห้า.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบัติใน
โลกนี้ . . . ส่วนบุคคลนี้ เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความ
เห็นผิดไปว่า ทานที่บุคคลให้ ไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวง
ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี
มารดาไม่มี บิดาไม่มี เหล่าสัตว์ผุดเกิดไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไป
โดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบในโลกไม่มี ซึ่งกระทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้รู้ ไม่มีในโลกนี้ นี้ก็เป็นกาลมิใช่
ขณะมิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่หก.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติในโลก. . .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 439
ส่วนบุคคลนี้เป็นผู้เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขาเป็นคนมีปัญญาทึบ โง่เขลา
เป็นใบ้ ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิตและทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็น
กาล มิใช่ขณะ มิใช่สมัย เพื่อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่เจ็ด.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ
ในโลก และพระองค์ยังไม่ทรงแสดงธรรมเป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไป
เพื่อความดับ ให้สัตว์ถึงความตรัสรู้ เป็นธรรมอันพระสุคตประกาศแล้ว
ส่วนบุคคลนี้ เกิดในมัชฌิมชนบท แต่เขามีปัญญาไม่โง่เขลา ไม่เป็นใบ้
สามารถจะรู้เนื้อความแห่งคำสุภาษิต และทุพภาษิตได้ นี้ก็เป็นกาล มิใช่ขณะ
มิใช่สมัย เพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ข้อที่แปด. ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้
แทงตลอดได้ยาก.
[๔๕๑] ธรรม ๘ อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่ ความตรึก
ของมหาบุรุษ ๘ คือธรรมนี้ ของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความ
ปรารถนาใหญ่ ธรรมนี้ ของผู้สันโดษ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ ธรรมนี้
ของผู้สงัด ไม่ใช่ของผู้ยินดีในความคลุกคลี ธรรมนี้ ของผู้ปรารภความ
เพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน ธรรมนี้ของผู้เข้าไปตั้งสติไว้ ไม่ใช่ของผู้
ลืมสติ ธรรมนี้ของผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ใช่ของผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ธรรมนี้ของผู้
มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้มีปัญญาทึบ ธรรมนี้ของผู้ไม่มีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า
เป็นที่มายินดี ยินดีในธรรมเป็นเครื่องไม่เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้มีธรรมเป็น
เครื่องเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี ยินดีในธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ธรรม ๘
อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[๔๕๒] ธรรม ๘ อย่าง ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ อภิภายตนะ ๘
คือ ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญรูปภายใน เห็นรูปภายนอกน้อย มีผิวพรรณดี
ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้น มีสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น นี้ก็
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 440
เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง. ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญรูปภายนอก หาประมาณมิได้
มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เรารู้ เราเห็น นี้ก็เป็นอภิภาตนะข้อที่สอง. ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญอรูปภายใน
เห็นรูปภายนอกน้อยมีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้น
มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม. ภิกษุ
รูปหนึ่ง สำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก หาประมาณมิได้ มีผิวพรรณดี
ผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น
นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่. ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญอรูปภายในเป็นรูปภายนอก
เขียว สีเขียว แสงเขียว รัศมีเขียว ดอกผักตบเขียว สีเขียว แสงเขียว
รัศมีเขียว แม้ฉันใด หรือว่า ผ้านั้นทำในกรุงพาราณสี เนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง
เขียว สีเขียว รัศมีเขียว แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญอรูปภายในเห็นรูป
ภายนอก เขียว สีเขียว แสงเขียว รัศมีเขียว ครอบงำรูปเหล่านั้น
มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็นฉันนั้นเหมือนกัน นี้ก็เป็นอภิภายตนะ
ข้อที่ห้า. ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก เหลือง สีเหลือง
แสงเหลือง รัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์ เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง
รัศมีเหลือง แม้ฉันใด หรือว่า ผ้านั้นทำในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยง
ทั้งสองข้าง เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง รัศมีเหลือง แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่ง
สำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง รัศมี
เหลือง ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ฉันนั้น
เหมือนกัน นี้ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่หก. ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญอรูปภายใน
เห็น รูปภายนอก แดง สีแดง แสงแดด รัศมีแดง ดอกชะบาแดง สีแดง
แสงแดง รัศมีแดง หรือว่า ผ้านั้นทำในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสอง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 441
ข้าง แดง สีแดง แสงแดง รัศมีแดง แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญ
อรูปภายใน เห็นรูปภายนอก แดง สีแดง แสงแดง รัศมีแดง ครอบงำ
รูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็นฉันนั้นเหมือนกัน นี้
ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด. ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภาย
นอก ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว ดาวประกายพรึก ขาว สีขาว
แสงขาว รัศมีขาว แม้ฉันใด หรือว่า ผ้านั้นทำในกรุงพาราณสี มีเนื้อ
เกลี้ยงทั้งสองข้าง ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว แม้ฉันใด ภิกษุรูปหนึ่ง
สำคัญอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก ขาว สีขาว แสงขาว รัศมีขาว
ครอบงำรูปเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น ฉันนั้น นี้
ก็เป็นอภิภายตนะข้อที่แปด. ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๔๕๓] ธรรม ๘ อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็น ไฉน. ได้แก่ วิโมกข์
๘ คือ ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง. ผู้หนึ่งมีความ
สำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง. บุคคลย่อม
น้อมใจไปว่า สิ่งนี้งามทีเดียว นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม. เพราะล่วงรูปสัญญา
เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่กระทำนานัตตสัญญาไว้ในใจโดยประการ
ทั้งปวง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ นี้เป็นวิโมกข์
ข้อที่สี่. บุคคลล่วงอากาสานัญจาตยนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญา-
ณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุดดังนี้อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า. บุคคลล่วง
วิญญาณัญจตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่าไม่มีอะไร
ดังนี้อยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก. บุคคลล่วงอากิญจัญญายนะโดยประการ
ทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญานะอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด. บุคคล
ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 442
โรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด. ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง.
ธรรม ๘ อย่างเหล่านี้ จริงแท้แน่นอน ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถา-
คตตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๙
[๔๕๔] ธรรม ๙ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๙ อย่าง ควร
เจริญ ธรรม ๙ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๙ อย่าง ควรละ ธรรม ๙ อย่าง
เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ธรรม ๙ อย่าง เป็นไปในส่วนพิเศษ ธรรม
๙ อย่าง แทงตลอดได้ยาก ธรรม ๙ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๙ อย่าง
ควรรู้ยิ่ง ธรรม ๙ อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[๔๕๕] ธรรม ๙ อย่าง มีอุปการะมากเป็นไฉน. ได้แก่ธรรมมี
โยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ คือ เมื่อกระทำไว้ในใจ โดยแยบคาย ปราโมทย์
ย่อมเกิด ปีติย่อมเกิดแก่ผู้มีปราโมทย์ กายของผู้มีใจประกอบด้วยปีติย่อม
สงบ ผู้มีกายสงบ เสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่น ผู้มีจิตตั้งมั่นย่อมรู้
ย่อมเห็นตามเป็นจริง เมื่อรู้เห็นตามเป็นจริง ตนเองย่อมหน่าย เมื่อ
หน่าย ย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นเพราะคลายกำหนัด ธรรม ๙ อย่าง
เหล่านี้ มีอุปการะมาก.
[๔๕๖] ธรรม ๙ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่องค์เป็นที่ตั้ง
แห่งความบริสุทธิ์ ๙ อย่าง คือ ศีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล
เป็นองค์ เป็นที่ตั้งแห่งความบริสุทธิ์ จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต . . .
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 443
ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งทิฏฐิ. . . กังขาวิตรณวิสุทธิ ความหมดจดแห่ง
ญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย . . .มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ความ
หมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง . . .ปฏิปทาญาณทัสสน-
วิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ. . .ญาณทัสสน-
วิสุทธิ ความหมดแห่งญาณทัสสนะ . . . ปัญญาวิสุทธิ ความหมดจดแห่ง
ปัญญา ...วิมุตติวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความหลุดพ้น เป็นองค์ เป็นที่ตั้ง
แห่งความบริสุทธิ์. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ.
[๔๕๗] ธรรม ๙ อย่าง ควรกำหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ สัตตาวาส
๙ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีปัญญาต่างกัน
เหมือนมนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกบางพวก นี้ก็เป็นสัตตาวาส
ข้อที่หนึ่ง สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนพวก
เทพนับเนื่องในหมู่พรหม เกิดในปฐมฌาน นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่สอง.
สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เหมือนพวกเทพอาภัส-
สรา นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่สาม. สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกัน มี
สัญญาอย่างเดียวกัน เหมือนพวกเทพสุภกิณหา นี้เป็นสัตตาวาสข้อที่สี่
สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีสัญญา ไม่เสวยเวทนา เหมือนพวกเทพอสัญญีสัตว์ นี้ก็
เป็นสัตตาวาสข้อที่ห้า. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่
กระทำนานัตตสัญญาไว้ในใจ เข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุด
นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่หก. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงอากาสานัญจายตนะ โดย
ประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุด นี้ก็เป็น
สัตตาวาสข้อที่เจ็ด. สัตว์ทั้งหลาย ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 444
ทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไร นี้ก็เป็นสัตตาวาสข้อที่แปด
สัตว์ทั้งหลาย ล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนว-
สัญญานาสัญญายตนะว่า นั่นสงบ นั่นประณีต นี้ก็เป็นสัตตาวาส
ข้อที่เก้า. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.
[๔๕๘] ธรรม ๙ อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ธรรมมีตัณหา
เป็นมูล ๙ คือ การแสวงหาย่อมเป็นไปเพราะอาศัยตัณหา ลาภย่อมเป็นไป
เพราะอาศัยการแสวงหา ความตกลงใจย่อมเป็นไปเพราะอาศัยลาภ
ความกำหนดด้วยความพอใจ ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความตกลงใจ ความ
พอใจ ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ ความหวงแหน
ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความพอใจ ความตระหนี่ ย่อมเป็นไปเพราะอาศัย
ความหวงแหน การรักษาย่อมเป็นไปเพราะอาศัยความตระหนี่ อกุศลธรรม
อันลามกหลายอย่างคือ การถือไม้ ถือศัสตรา การทะเลาะแก่งแย่งวิวาท
กล่าวส่อเสียดว่า มึง มึง และการพูดเท็จ ย่อมเป็นไป เพราะอาศัยการ
รักษาเป็นเหตุธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ ควรละ
[๔๕๙] ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
เหตุเป็นที่ตั้งแห่งความอาฆาต ๙ คือ บุคคลย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้
ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้
ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้
จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้
ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว. ย่อม
ผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 445
ของเราอยู่. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบของเรา. ย่อมผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้ได้ประพฤติสิ่งเป็น
ประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราแล้ว. ย่อมผูกความอาฆาตว่า
ผู้นี้ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเราอยู่. ย่อม
ผูกความอาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็นที่รักที่
ชอบใจของเรา. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม
[ ๔๖๐ ] ธรรม ๙ อย่างเป็นไปในส่วนข้างวิเศษเป็นไฉน ได้แก่
ความกำจัดความอาฆาต ๙ คือบุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตว่าคือ ผู้นี้ได้
ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เราแล้ว ข้อนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่
ที่ไหน. ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
อยู่ ข้อนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้ แต่ที่ไหน. ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้
จักประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ข้อนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที
ไหน. ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ ได้ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้
เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเราแล้ว ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน
ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รัก
ที่ชอบใจของเราอยู่ ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้ แต่ที่ไหน. ย่อมกำจัดความ
อาฆาตว่า ผู้นี้จักประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นที่รักที่ชอบของเรา
ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่ไหน.
บุคคลย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ ได้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์
แก่ผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้แต่ที่
ไหน. ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 446
ที่รัก ที่ชอบใจ ของเราอยู่ ข้อนั้น จะหาได้ในบุคคลนี้ แต่ที่ไหน.
ย่อมกำจัดความอาฆาตว่า ผู้นี้ จักประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ไม่เป็น
ที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของเรา ข้อนั้นจะหาได้ในบุคคลนี้ แต่ที่ไหน.
ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ
[๔๖๑] ธรรม อย่างแทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่ นานัตตะ
๙ คือ ผัสสะต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยธาตุต่างกัน เวทนาต่างกัน ย่อม
เกิดเพราะอาศัยผัสสะต่างกัน สัญญาต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยเวทนา
ต่างกัน ความดำริต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยสัญญาต่างกัน ความพอใจ
ต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยความดำริต่างกัน ความเร่าร้อนต่างกัน ย่อม
เกิดเพราะอาศัยความพอใจต่างกัน การแสวงหาต่างกัน ย่อมเกิดเพราะ
อาศัยความเร่าร้อนต่างกัน ความอยากได้ต่างกัน ย่อมเกิดเพราะอาศัยการ
แสวงหาต่างกัน. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้แทงตลอดได้ยาก.
[ ๙๖๒ ] ธรรม ๙ อย่าง ควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. ได้แก่สัญญา
๙ คือ อสุภสัญญากำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย มรณสัญญา กำหนด
หมายในความตาย อาหาเรปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายในอาหารว่า เป็น
ปฏิกูล สัพพโลเกอนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่ายินดี ในโลก
ทั้งปวง อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยง อนิจเจ ทุกขสัญญา
กำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ทุกขอันตตสัญญา กำหนดหมาย
ในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ปหานสัญญา กำหนดหมายการละ วิราคสัญญา
กำหนดหมายความคลายกำหนัด ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 447
[๔๖๓] ธรรม ๙ อย่าง ที่ควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ อนุปุพพ-
วิหาร ๙ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร ปีติและสุขเกิดแต่
วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่
สมาธิอยู่ อนึ่ง เป็นผู้มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้
ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ ได้มีอุเบกขา
และสติบริสุทธิ์ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กระทำนานัตต-
สัญญาไว้ในใจ โดยประการทั้งปวง บรรลุอากาสานัญจายตนะว่า อากาศ
ไม่มีที่สุดอยู่ ล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุวิญญาณัญ-
จายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่ ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการ
ทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไรอยู่ ล่วงอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ ล่วงเนวสัญญานา-
สัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่. ธรรม ๙
อย่างเหล่านี้ ควรรู้ยิ่ง.
[๔๖๔] ธรรม ๙ อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่ อนุ-
ปุพพนิโรธ ๙ คือ เมื่อเข้าปฐมฌาน กามสัญญาดับ เมื่อเข้าทุติยฌาน
วิตกวิจารดับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะ-
ปัสสาสะดับ เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนะ รูปสัญญาดับ เมื่อเข้าวิญญา-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 448
ญัญจายตนะ อากาสานัญจายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนะ
วิญญาณัญจายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ อากิญ-
จัญญายตนะสัญญาดับ เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาดับ.
ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรม ๙ อย่างเหล่านี้ จริง แท้
แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคตตรัสรู้แล้ว โดยชอบ
ด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐
[๔๖๕] ธรรม ๑๐ อย่าง มีอุปการะมาก ธรรม ๑๐ อย่าง ควรเจริญ
ธรรม ๑๐ อย่าง ควรกำหนดรู้ ธรรม ๑๐ อย่าง ควรละ ธรรม ๑๐ อย่าง
เป็นไปในส่วนเสื่อม ธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษ ธรรม ๑๐ อย่าง
แทงตลอดได้ยาก ธรรม ๑๐ อย่าง ควรให้เกิดขึ้น ธรรม ๑๐ อย่าง
ควรรู้ยิ่ง ธรรม ๑๐ อย่าง ควรทำให้แจ้ง.
[๔๖๖] ธรรม ๑๐ อย่าง มีอุปการะมากเป็นๆไฉน. ได้แก่ นาถ-
กรณธรรม ๑๐ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล
สำรวมระวังปาติโมกข์ถึงพร้อมอาจาระและโคจรอยู่ มักเห็นภัยในโทษเพียง
เล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุมีศีลสำรวม
ระวังโนปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ มักเห็นภัยในโทษ
เพียงเล็กน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้ก็เป็นนาถกรณ-
ธรรม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 449
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นพหุสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรม
ที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ย่อมประกาศพรหมจรรย์.
พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง เห็นปานนั้น
อันเธอสดับแล้วมาก ทรงไว้แล้วคล่องปาก พิจารณาด้วยใจ แทงตลอด
ทิฏฐิ. ข้อที่ภิกษุเป็นพหุสูต . . . แทงตลอดด้วยทิฏฐิ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณ-
ธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี. ข้อที่
ภิกษุมีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้
เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับอนุศาสนีเบื้องขวา. ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้ว่าง่าย
ประกอบด้วยธรรม ที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย อดทน รับอนุศาสนีเบื้องขวา
แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วย
ปัญญา เครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในการงานนั้น สามารถทำ สามารถจัด
ในกรณียกิจ ใหญ่น้อยของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้
ขยันไม่เกียจคร้าน ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบาย
ในการงานนั้น สามารถทำ สามารถจัดในกรณียกิจใหญ่น้อยของเพื่อน
พรหมจรรย์ทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรม เจรจาน่ารัก มีความ
ปราโมทย์ยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในธรรมเจรจาน่า-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 450
รักมีความปราโมทย์ยิ่งในอภิธรรม ในอภิวินัย แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรปิณฑบาตเสนาสนะ
และเภสัชบริขารเป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมีตามได้. ข้อที่ภิกษุ เป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวรปิณฑบาตเสนาสนะและเภสัชบริขาร เป็นปัจจัยแก่คนไข้ตามมี
ตามได้ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อจะยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อมอยู่ มีกำลัง มีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระ
ในกุศลธรรมทั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ . . . แม้นี้ก็เป็น
นาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึก ระลึกถึง แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้ว
นานได้. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตนอย่างยิ่ง ระลึก ระลึกถึง แม้สิ่งที่ทำแล้วนาน แม้คำที่พูดแล้ว
นานได้. แม้นี้ก็เป็นนาถกรณธรรม.
ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา เห็น
ความเกิดและความดับเป็นอริยะชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา... ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ แม้นี้ก็เป็นนาถกรณ-
ธรรม. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ มีอุปการะ
[๔๖๗] ธรรม ๑๐ อย่าง ควรเจริญเป็นไฉน. ได้แก่ กสิณา-
ยตนะ ๑ คือ ผู้หนึ่งย่อมจำปฐวีกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง
ตามลำดับหาประมาณมิได้. ผู้หนึ่งจำอาโปกสิณได้. . . ผู้หนึ่งจำเตโชกสิณ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 451
ได้ . . . ผู้หนึ่งจำวาโยกสิณได้ . . . ผู้หนึ่งจำนีลกสิณได้ . . . ผู้หนึ่งจำปีต-
กสิณ . . . ผู้หนึ่งจำโลหิตกสิณได้ . . . ผู้หนึ่งจำโอทาตกสิณไดั . . . ผู้หนึ่ง
จำอากาสกสิณได้ . . . ผู้หนึ่งจำวิญญาณกสิณได้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง ตามลำดับหาประมาณมิได้. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรเจริญ
[๔๖๘] ธรรม ๑๐ อย่าง ควรกำหนดรู้เป็นไฉน. ได้แก่ อายตนะ
๑๐ คือ จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ
คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ธรรม
๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรกำหนดรู้.
[ ๔๖๙ ] ธรรม ๑๐ อย่าง ควรละเป็นไฉน. ได้แก่ มิจฉัตตะ
๑๐ คือ เห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด การงานผิด อาชีพผิด ความพยายามผิด
ระลึกผิด ตั้งใจผิด รู้ผิด พ้นผิด. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรละ.
[ ๔๗๐ ] ธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นไฉน. ได้แก่
อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ โลภอยากได้ของเขา พยาบาท
ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ เป็นไปใน
ส่วนข้างเสื่อม.
[ ๔๗๑ ] ธรรม ๑๐ อย่าง เป็นไปในส่วนวิเศษเป็นไฉน. ได้แก่
กุศลกรรมบถ ๑๐ คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ เว้นจากลักทรัพย์ เว้นจากประพฤติ
ผิดในกาม เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้น
จากพูดเพ้อเจ้อ ไม่โลภอยากได้ของเขา ไม่พยาบาทปองร้ายเขา เห็นชอบ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 452
ตามคลองธรรม. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ เป็นไปในส่วนวิเศษ.
[๔๗๒] ธรรม ๑๐ อย่าง แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน. ได้แก่
อริยวา ๑๐ คือ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละองค์
๕ ได้แล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา มีธรรม
เป็นพนักพิง ๔ ด้าน มีสัจจะเฉพาะอย่างบรรเทาแล้ว มีความแสวงหาทุก
อย่างอันสละแล้ว มีความดำริไม่ขุ่นมัว มีกายสังขารอันระงับแล้ว มีจิต
หลุดพ้นดีแล้ว มีปัญญาหลุดพันดีแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว. กามฉันทะ พยาบาท
ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจีกิจฉา เป็นโทษอันภิกษุในธรรมวินัยนี้ละ
ได้แล้ว. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ละองค์ ๕ ได้แล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยตา . . . ฟังเสียงด้วยหู . . . ดมกลิ่นด้วยจมูก . . . ลิ้มรสด้วยลิ้น. . . .
ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย . . . รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ยินดีไม่ยินร้าย
เป็นผู้วางเฉยมีสติสัมปชัญญะอยู่. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย
องค์ ๖.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา. ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ประกอบแล้วด้วยใจ มีสติเป็นเครื่องรักษา. อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ามีธรรมอย่างเดียวเป็นเครื่องรักษา.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน. ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง
พิจารณาแล้ว เว้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 453
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีธรรมเป็นพนักพิง ๔ ด้าน.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว. สัจจะ
เฉพาะอย่างเป็นอันมาก ของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก อันภิกษุในธรรม
วินัยนี้บรรเทาแล้ว บรรเทาดีแล้ว สละคายปล่อยละสละคืนเสียหมดสิ้น
แล้ว. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีการแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้ว. ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้สละการแสวงหากาม ละการแสวงหาภพ ละการแสวงหา
พรหมจรรย์. อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีการแสวงหาทุกอย่างอันสละแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีความดำริไม่ขุ่นมัว. ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ละความดำริในกาม ในความพยาบาท ในความเบียดเบียน. อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ามีความดำริไม่ขุ่นมัว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีกายสังขารอันระงับแล้ว. ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ เพราะดับ
โสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ เสียได้ มีอุเบกขาและสติบริสุทธิ์อยู่. อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ามีกายสังขารอันระดับแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีจิตหลุดพ้นดีแล้ว. จิตของภิกษุในธรรมวินัย
นี้ หลุดพ้นแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่ามีจิตหลุดพ้น
ดีแล้ว.
ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่ามีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว. ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมรู้ชัดว่า ราคะ โทสะ โมหะ อันเราละแล้ว ถอนรากแล้ว ทำให้เหมือน
ตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่ามีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว. ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ แทงตลอดได้ยาก.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 454
[๔๗๓] ธรรม ๑๐ อย่างควรให้เกิดขึ้นเป็นไฉน. คือ สัญญา ๑๐
ได้แก่ อสุภสัญญา กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย มรณสัญญากำหนด
หมายในความตาย อาหาเร ปฏิกูลสัญญา กำหนดหมายในอาหารว่า เป็น
ปฏิกูล สัพพโลเก อนภิรตสัญญา กำหนดหมายความไม่น่ายินดี ในโลก
ทั้งปวง อนิจจสัญญา กำหนดหมายความไม่เที่ยง อนิจเจ ทุกขสัญญา
กำหนดหมายในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ทุกเข อนัตตสัญญา กำหนดหมาย
ในทุกข์ว่าไม่ใช่ตัวตน ปหานสัญญา กำหนดหมายการละ วิราคสัญญา
กำหนดหมายวิราคธรรม นิโรธสัญญา กำหนดหมายนิโรธความดับ.
ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรให้เกิดขึ้น.
[๔๗๔] ธรรม ๑๐ อย่างควรรู้ยิ่งเป็นไฉน. ได้แก่ นิชชิณณวัตถุ
๑๐ คือ ความเห็นผิดอันบุคคลผู้เห็นชอบย่อมละได้ ทั้งอกุศลธรรมอัน
ลามกไม่น้อย ที่เกิดเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยเขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรม
ไม่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ความดำริ
ผิดอันบุคคลผู้ดำริชอบย่อมละได้ . . . เพราะมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย . . .
เพราะสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัย . . . เจรจาผิดอันบุคคลผู้เจรจาชอบยอม
จะได้ . . . เพราะมิจฉาวาจาเป็นปัจจัย . . . เพราะสัมมาวาจาเป็นปัจจัย. . .
การงานผิดอันบุคคลผู้ทำการงานชอบย่อมละได้. . .เพราะมิจฉากัมมันตะ
เป็นปัจจัย . . . เพราะสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย . . . เลี้ยงชีพผิดอัน
บุคคลผู้เลี้ยงชีพชอบย่อมละได้ . . . เพราะมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัย . . .
เพราะสัมมาอาชีวะเป็นปัจจัย . . . ความพยายามผิด อันบุคคลผู้พยายาม
ชอบย่อมละได้ . . . เพราะมิจฉาวายามะเป็นปัจจัย . . . เพราะสัมมา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 455
วายามะเป็นปัจจัย. . . ความระลึกผิด อันบุคคล ผู้ระลึกชอบย่อมละได้ . . .
เพราะมิจฉาสติเป็นปัจจัย . . . เพราะสัมมาสติเป็นปัจจัย . . . ความตั้ง
ใจผิด อันบุคคลผู้ตั้งใจชอบ ย่อมละได้ . . . เพราะมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย . .
เพราะสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย . . . ความรู้ผิด อันบุคคลผู้รู้ชอบ ย่อมละได้. . .
เพราะมิจฉาญาณเป็นปัจจัย . . . เพราะสัมมาญาณเป็นปัจจัย . . . ความพ้น
ผิดอันบุคคลผู้พ้นชอบ ย่อมสละได้ ทั้งอกุศลธรรมอันลามกไม่น้อย ที่เกิด
เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย เขาก็ละได้ ส่วนกุศลธรรมไม่น้อย ย่อมถึง
ความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย . ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้
ควรรู้ยิ่ง.
[๔๗๕] ธรรม ๑๐ อย่าง ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน. ได้แก่
อเสขธรรม ๑๐ คือ ความเห็นชอบเป็นของพระอเสขะ. .. ความดำริชอบ. . .
เจรจาชอบ . . . การงานชอบ . . . เลี้ยงชีพชอบ. . . พยายามชอบ . . .ระลึก
ชอบ. . . ตั้งใจชอบ . . . ความรู้ชอบ. . . ความพ้นชอบ เป็นของพระอเสขะ.
ธรรม ๑๐ อย่างเหล่านี้ ควรทำให้แจ้ง. ธรรมหนึ่งร้อยเหล่านี้ ดังพรรณนา
มานี้เป็นของจริงแท้ แน่นอน ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น พระตถาคต
ตรัสรู้แล้วโดยชอบด้วยประการฉะนี้. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวสูตรนี้แล้ว.
ภิกษุเหล่านั้นดีใจ ชื่นชมภาษิตของท่านพระสารีบุตร ด้วยประการฉะนี้
จบทสุตตรสูตรที่ ๑๑
จบปาฏิกวรรค.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 456
อรรถกถา ทสุตตรสูตร
ทสุตตรสูตรว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น
พรรณนาบทอันไม่เคยมี ในทสุตตรสูตรนั้น ดังต่อไปนี้. คำว่า
อาวุโส ภิกฺขเว นั้นเป็นคำร้องเรียกพระสาวกทั้งหลาย. จริงอยู่
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะตรัสเรียกบริษัท ย่อมตรัสว่า ภิกฺขเว ดังนี้.
พวกพระสาวกคิดว่า เราจักตั้งพระศาสดาไว้ในที่อันสูง ดังนี้แล้วไม่ร้องเรียก
ด้วยการร้องเรียกพระศาสดา ย่อมร้องเรียกว่า อาวุโส ดังนี้ . สองบทว่า
เต ภิกฺขู ความว่า ภิกษุผู้นั่งแวดล้อมพระธรรมเสนาบดีเหล่านั้น ถามว่า
ก็ภิกษุเหล่านั้น คือเหล่าไหน. แก้ว่า ภิกษุผู้อยู่ไม่ประจำที่คือ ผู้ไปสู่ทิศ.
จริงอยู่ ในครั้งพุทธกาล พวกภิกษุย่อมประชุมกัน ๒ วาระ คือ
ในกาลจวนเข้าพรรษาอันใกล้เข้าแล้ว ๑ ในกาลปวารณา ๑. ครั้นเมื่อดิถี
จวนเข้าพรรษาใกล้เข้ามา พวกภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๓๐ รูปบ้าง
๔๐ รูปบ้าง ๕๐ รูปบ้าง เป็นพวก ๆ ย่อมมาเพื่อต้องการกรรมฐาน. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงบันเทิงกับภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย
เพราะเหตุไร ครั้นเมื่อดิถีจวนเข้าพรรษา ใกล้เข้าแล้ว พวกเธอจึงเที่ยว
กันอยู่. ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พวกข้าพระองค์มาเพื่อพระกรรมฐาน ขอพระองค์จงให้พระกรรมฐานเเก่ข้า
พระองค์ทั้งหลายเถิด ดังนี้. ด้วยสามารถแห่งความประพฤติของภิกษุ
เหล่านั้น พระศาสดาจึงให้อสุภกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้ราคะจริต ให้เมตตา-
กัมมัฏฐาน แก่ภิกษุผู้โทสจริต ให้อุทเทส ปริปุจฺฉา การฟังธรรมตามกาล
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 457
การสนทนาธรรมตามกาล แก่ภิกษุผู้โมหะจริต ตรัสบอกว่า กัมมัฏฐานนี้
เป็นที่สบายของพวกเธอ ดังนี้ ทรงให้อานาปานัสสติกัมมัฏฐาน แก่ภิกษุ
ผู้วิตกจริต ทรงประกาศ ความเป็นผู้ตรัสรู้ดี แห่งพระพุทธเจ้า ความเป็น
ธรรมดีแห่งพระธรรม และความเป็นผู้ปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ ในปสาทนีย-
สูตร แก่ภิกษุผู้สัทธาจริต ทรงตรัสพระสูตรทั้งหลายอันลึกซึ้ง อันปฏิสังยุตต์
ด้วย อนิจจตา เป็นต้น แก่ภิกษุผู้ญาณจริต. พวกภิกษุเหล่านั้น เรียน
เอาพระกัมมัฏฐานแล้ว ถ้าที่ใด เป็นที่สบาย ก็อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ถ้าว่า
ไม่มีที่สบาย ถามถึงเสนาสนะ เป็นที่สบายแล้ว จึงไป. พวกภิกษุเหล่านั้น
อยู่ ในที่นั้น เรียนข้อปฏิบัติตลอด ๓ เดือน พากเพียรพยายามอยู่ เป็น
พระโสดาบันบ้าง เป็นพระสกทาคามีบ้าง เป็นพระอนาคามีบ้าง เป็นพระ-
อรหันต์บ้าง ออกพรรษา ปวารณาแล้ว จากที่นั้นจึงไปยังสำนักพระศาสดา
บอกแจ้งคุณที่ตนได้เฉพาะว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ เรียน
เอาพระกัมมัฏฐาน ในสำนักของพระองค์ บรรลุพระโสดาปัตติผลแล้ว ฯลฯ
ข้าพระองค์ บรรลุพระอรหัตต์อันเป็นผลอันเลิศแล้ว ดังนี้. พวกภิกษุ
เหล่านี้ มาในที่นั้น ในดิถีเป็นที่จวนเข้าพรรษา อันใกล้เข้ามาแล้ว. ก็
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงส่งเหล่าภิกษุผู้มาแล้วไปอยู่อย่างนั้น สู่สำนักของ
พระอัครสาวกทั้งหลาย. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า. ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงอำลาพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด. พวกภิกษุกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ยังมิได้อำลาพระสารีบุตร และ
พระโมคคัลลานะเลย ดังนี้. ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงส่งภิกษุเหล่านั้น
ไปในเพราะการเห็นพระอัครสาวกเหล่านั้น ด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 458
พวกเธอจงเสพ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเถิด ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงคบพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะเถิด ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต
อนุเคราะห์เพื่อนสพรหมจารี ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตร เปรียบเหมือนมารดา
ผู้ยังทารกให้เกิด โมคคัลลานะเปรียบเหมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกซึ่งเกิดแล้ว
ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตร ย่อมแนะนำในโสดาปัตติผล โมคคัลลานะย่อม
แนะนำในประโยชน์อันสูงสุดดังนี้. อนึ่ง แม้ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกระทำปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านี้แล้ว ใคร่ครวญอาสยะของภิกษุเหล่า-
นั้น ได้ทรงเห็นว่า ภิกษุเหล่านี้ เป็นสาวกเวไนย ดังนี้. ธรรมดาว่า
พระสาวกเวไนย ย่อมตรัสรู้ด้วยพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าบ้าง ของ
พระสาวกทั้งหลายบ้าง. แต่ว่า พวกพระสาวก ไม่อาจเพื่อจะยังพุทธเวไนย
ให้ตรัสรู้ได้. ก็พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นเป็นสาวกเวไนย
ตรวจดูอยู่ว่า จักตรัสรู้ด้วยเทศนาของภิกษุรูปไหน ก็ทรงเห็นว่า ของพระ-
สารีบุตร ดังนี้แล้ว จึงทรงส่งไปสู่สำนักของพระเถระ. พระเถระถามภิกษุ
เหล่านั้นว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านไปสำนักพระศาสดามาแล้วหรือ.
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ขอรับ พวกกระผมไปมาแล้ว ก็พระศาสดาทรงส่ง
พวกกระผมมายังสำนักของท่าน. ลำดับนั้น พระเถระคิดอยู่ว่า ภิกษุเหล่านี้
จักตรัสรู้ด้วยเทศนาของเรา เทศนาเช่นไรหนอแล จึงจะเหมาะแก่ภิกษุ
เหล่านั้น ดังนี้ จึงกระทำความตกลงใจว่า ภิกษุเหล่านี้ ผู้มีความสามัคคี
เป็นที่มายินดี ผู้แสดงสามัคคีรส พระเทศนา ( นี้แหละ ) เหมาะแก่เธอ
เหล่านั้น ดังนี้แล้ว ผู้ใคร่เพื่อจะแสดงพระเทศนาเช่นนั้น จึงกล่าวคำมีว่า
เราจักกล่าวทสุตตรสูตร ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น ที่ชื่อว่า ทสุตตระ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 459
อันท่านจำแนกตั้งมาติกาไว้อย่างละสิบ ๆ. ที่ชื่อว่า ทสุตตระ เพราะอรรถ
วิเคราะห์แม้ว่า ตั้งแต่มาติกาหนึ่ง ๆ ไป จนกระทั่งถึงหมวดสิบ. ที่ชื่อว่า
ทสุตตระ เพราะอรรถวิเคราะห์แม้ว่า อันท่านให้พิเศษ ปัญหาอย่างละสิบ.
ในบัพพะหนึ่ง ๆ. ซึ่งทสุตตรสูตรนั้น. บทว่า ปวกฺขามิ ได้แก่ จักกล่าว.
บทว่า ธมฺม ได้แก่ พระสูตร. บทว่า นิพฺพานปฺปตฺติยา ความว่า เพื่อ
ประโยชน์แห่งการได้เฉพาะซึ่งพระนิพพาน. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย
ความว่า เพื่อกระทำที่สุดรอบแห่งวัฏฏะทุกข์ทั้งสิ้น. บทว่า สพฺพคนฺถปฺป-
โมจน ความว่า การเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวง มีอภิชฌากายคันถะ
เป็นต้น. พระเถระเมื่อจะกระทำพระเทศนาให้สูง ยังความรักในพระเทศนา
นั้นให้เกิดแก่เหล่าภิกษุ จึงกล่าวพรรณนา ด้วย ๔ บทว่า เหล่าภิกษุจัก
สำคัญทสุตตรสูตรนั้น อันตนพึงเรียนพึงศึกษา พึงทรงจำ พึงบอก ด้วย
ประการฉะนี้ เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพรรณนา พระสูตรนั้น ๆ
โดยนัยเป็นต้นว่า เอกายโน อย ภิกฺขเว มคฺโค.
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่า พหูกาโร ความว่า มีอุปการะมาก. บทว่า
ภาเวตพฺโพ ความว่า ควรให้เจริญ. บทว่า ปริญเยฺโย ความว่า ควร
กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓. บทว่า ปหาตพฺโพ ความว่า ควรละ ด้วย
ปหานานุปัสสนา. บทว่า หานภาคิโย ความว่า มีปกติให้ไปสู่อบาย เป็น
ไปพร้อมเพื่อความเสื่อมรอบ. บทว่า วิเสสภาคิโย ความว่า ทุปฺปฏิวิชฺโฌ
ถึงซึ่งคุณวิเศษ เป็นไปพร้อมเพื่อความวิเศษ. บทว่า ทุปฺปฏิวิชฺโฌ
ความว่า กระทำให้ประจักษ์ได้ยาก. บทว่า อุปฺปาเทตพฺโพ ความว่า ควร
ให้สำเร็จ. บทว่า อภิญฺเยฺโย ความว่า ควรรู้ยิ่งด้วยญาตปริญญา. บทว่า
สจฺฉิกาตพฺโพ ความว่า ด้วยกระทำให้ประจักษ์. ในมาติกาทั้งปวง บัณฑิต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 460
พึงทราบเนื้อความ ด้วยประการฉะนี้. ท่านพระสารีบุตร ใคร่ครวญถึง
พระเทศนาอันเป็นที่สบายของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงตั้งมาติกา โดยส่วน ๑๐
โดยส่วน ๑๐ จำแนกบทหนึ่ง ๆ ในส่วนหนึ่ง ๆ ปรารภเพื่อจะยังพระเทศนา
ให้พิสดาร โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมอย่างหนึ่ง มีอุปการะมากเป็นไฉน
คือความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย เหมือนอย่างช่างจักสานผู้ฉลาด
ตัดไม้ไผ่อันอยู่ตรงหน้าแล้ว กระทำให้เป็นมัดแล้ว เจียกออกโดยส่วน ๑๐
กระทำท่อนหนึ่ง ๆ ให้เป็นชิ้น ๆ ผ่าออกฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า อปฺปมาโท กุสเลสุ ธมฺเมสุ
ความว่า พระเถระกล่าวความไม่ประโยคมาท อันเป็นอุปการะในประโยชน์
ทั้งปวง. จริงอยู่ธรรมดาว่า ความไม่ประมาทนี้ มีอุปการะมาก ในกุศลธรรม
ทั้งหลายทั้งปวง โดยอรรถว่า ไม่มีโทษ คือในการยังศีลให้บริบูรณ์ ใน
อินทรีย์สังวร ในความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ในชาคริยานุโยค
ในสัทธรรม ๗ ในการให้ถือเอาซึ่งห้วงแห่งวิปัสสนา ในปฏิสัมภิทาทั้ง
หลาย มีอัตถะปฏิสัมภิทาเป็นต้น ในธัมมขันธ์ ๕ มี ศีลขันธ์เป็นต้น
ในฐานะและอฐานะ ในมหาวิหารสมาบัติ ในอริยสัจจ์ ในโพธิปักขิยธรรม
มีสติปัฏฐานเป็นต้น ในวิชชา ๘ ประการ มีวิปัสสนาญาณเป็นต้น.
เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงเปรียบด้วย
เครื่องเปรียบทั้งหลาย มีรอยเท้าช้างเป็นต้น ทรงชมเชยพระเถระนั้น
มีประการต่าง ๆ ในอัปปมาทวรรค ในสังยุตตนิกาย โดยนัยเป็นต้นว่า
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ มีประมาณเพียงใด พระตถาคต
อันบัณฑิตย่อมกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าสัตว์เหล่านั้น ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้น
นั่นแล กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 461
ไม่ประมาทเป็นที่ประชุมลง ความไม่ประมาท อันบัณฑิตย่อมกล่าวว่าเป็น
ยอดแห่งธรรมเหล่านั้นดังนี้. พระเถระสงเคราะห์ ความไม่ประมาทนั้น
ทั้งหมดด้วยบทหนึ่งนั่นเทียวแล้วกล่าวว่า ความไม่ประมาทในกุศลธรรม
ทั้งหลาย ดังนี้. อนึ่ง ความที่ความไม่ประมาทนั้นมีอุปการะมาก อันบัณฑิต
พึงแสดง แม้ด้วยอัปปมาทวรรคในธรรมบทเถิด. พึงแสดงแม้ด้วยเรื่อง
ของพระเจ้าอโศก. จริงอยู่ พระเจ้าอโศก ทรงสดับคาถาของนิโครธ-
สามเณรว่าความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ดังนี้เท่านั้น ทรงเลื่อมใส
สามเณรด้วยตรัสว่า หยุดก่อน พ่อ ท่านกล่าวพระพุทธวจนะ คือพระ-
ไตรปิฏกแก่โยมแล้ว ดังนี้ จึงรับสั่งให้สร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลังแล้ว
ความที่ความไม่ประมาทมีอุปการะมาก อันภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยเรี่ยวแรง พึง
แสดงด้วยปีกทั้ง ๓ ดังกล่าวเถิดด้วยประการฉะนี้ บุคคลผู้นำมาซึ่งพระ
หรือคาถา อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อแสดงความไม่ประมาท อันใคร ๆ ไม่
กล่าวว่า ท่านดำรงในที่มิใช่ฐานะนำมาแล้ว ดังนี้. เรี่ยวแรงและกำลังของ
พระธรรมกถึกเท่านั้น เป็นประมาณในที่นี้. คำว่า กายคตาสติ นั่นเป็น
ชื่อของสติอันบังเกิดขึ้นในกรรมฐานเหล่านี้คือ ลมหายใจเข้าออก อิริยาบถ
๔ สติสัมปชัญญะ การ ๓๒ การกำหนดธาตุ ๔ อสุภะ ๑๐ สิวัฏฐิกสัญญา
๙ การกระทำไว้ในใจ ในผมเป็นต้นว่า เป็นของละเอียด รูปฌาน ๔.
บทว่า สาตสหคตา ความว่า เว้น จตุตถฌานเสีย กายคตาสติ ย่อม
สหรคตด้วยความยินดีในอารมณ์อื่น ประกอบด้วยความสุข. คำว่า สาต-
สหคตา นั่นท่านกล่าวหมายเอา กายคตาสตินั่น. องบทว่า สาสโว
อุปาทานิโย ความว่า เป็นปัจจัยแห่งอาสวะ และอุปาทานทั้งหลาย. พระ-
เถระกำหนดธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อสฺมิมาโน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 462
ความว่า มานะว่า เรามีในรูปเป็นต้น. บทว่า อโยนิโสมนสิกาโร ความว่า
มนสิการนอกทางที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า เที่ยง ในสิ่งที่ไม่เที่ยง บัณฑิต
พึงทราบ โยนิโสมนสิการ โดยปริยาย ตรงกันข้าม. สองบทว่า อานนฺต-
ริโก เจโตสมาธิ ความว่า ผลในลำดับแห่งมรรคในที่อื่น ชื่อว่า อานันต-
ริกะ เจโตสมาธิ (เจโตสมาธิ อันไม่มีระหว่าง ) แต่ในที่นี้ มรรคใน
ลำดับแห่งวิปัสสนา ท่านประสงค์เอาว่า อานันตริกะ เจโตสมาธิ เพราะ
มีในลำดับแห่งวิปัสสนา หรือเพราะให้ผลในลำดับแห่งตน. สองบทว่า
อกุปฺป าณ ความว่า ผลปัญญาในที่อื่น ชื่อว่า ญาณอันไม่กำเริบ ใน
ที่นี้ ท่านประสงค์เอาปัญญาที่เป็นเครื่องพิจารณา. บทว่า อาหารฏฺิติกา
ความว่า ดำรงอยู่เพราะปัจจัย. หลายบทว่า อย เอโก ธมฺโม ความว่า
สัตว์เหล่านั้น ดำรงอยู่เพราะปัจจัยใด ปัจจัยนี้ก็คือ ธรรมอย่างหนึ่ง. ควร
รู้ยิ่งด้วยญาตปริญญา คือ ด้วยอภิญญา. ความหลุดพ้นแห่งพระอรหัตผล
ชื่อว่า อกุปฺปา เจโตวิมุตฺติ. ในวาระนี้ ท่านกล่าวญาตปริญญา ด้วย
อภิญญา กล่าว ตีรณปริญญา ด้วยปริญญา. การกำหนดรู้ในการละ ด้วย
กิจที่ควรละและควรทำให้แจ้ง. ก็ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทนี้ว่า ทุปฺปฏิ-
วิชฺโฌ. ท่านกล่าวผลไว้ในบทว่า สจฺฉิกาตพฺโพ นี้. บัณฑิตย่อมได้มรรค
ในบทหนึ่งเท่านั้น. แต่ย่อมได้ผลแม้ในหลายบททีเดียว.
บทว่า ภูตา ความว่า มีอยู่โดยสภาวะ. บทว่า ตจฺฉา ความว่า
แน่นอน. บทว่า ตถา ความว่ามีสภาวะเหมือนดังที่กล่าวแล้ว. บทว่า อวิตถา
ความว่าไม่มีสภาวะเหมือนดังที่กล่าวแล้วหามิได้. บทว่า อนญฺถา ความว่า
ไม่เป็นโดยประการอื่นจากประการที่กล่าวแล้ว. หลายบทว่า สมฺมา ตถาค-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 463
เตน อภิชสมฺพุทฺธา ความว่า ธรรมทั้งหลายอันพระตถาคต ประทับนั่งที่
โพธิบัลลังก์ ตรัสรู้แล้ว คือ ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ได้แก่กระทำให้แจ้ง
แล้ว ด้วยพระองค์เองทีเดียว โดยเหตุคือ โดยการณ์. ด้วยเหตุนี้ พระเถระ
เมื่อจะแสดงชินสูตร ยังความปลงใจเชื่อให้เกิดว่า ธรรมเหล่านี้ อันพระ-
ตถาคตตรัสรู้แล้ว ส่วนเราเป็นเหมือนกับผู้บอกแนวของพระราชาแห่งพวก
ท่านดังนี้ .
หลายบทว่า อิเม เทฺว ธมฺมา พหูถารา ความว่า ธรรมคือ
สติและสัมปชัญญะ ๒ เหล่านี้ มีอุปการะ คือ นำประโยคโยชน์เกื้อกูลมาให้
ในที่ทั้งปวง เหมือนความไม่ประมาท มีอุปการะในกิจข้างหลายมีการบำเพ็ญ
ศีลเป็นต้น ฉะนั้น. หลายบทว่า สมโถ จ วิปสฺสนา จ ความว่า ธรรม
อันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ทั้ง ๒ เหล่านี้ ท่านกล่าวไว้ในสังคีติสูตร.
ส่วนเบื้องต้น ท่านกล่าวไว้ในทสุตตรสูตรนี้. หลายบทว่า สตฺตาน
สงฺกิเลสาย สตฺตาน วิสุทฺธิยา ความว่า อโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุ
และเป็นปัจจัยเพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย โยนิโสมนสิการเป็น
เหตุและเป็นปัจจัย เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย. เหมือนอย่างนั้น
ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความ
เศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหลาย ความเป็นผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เหมือนกัน. อกุศล
มูล ๓ กุศลมูล ๓ โยคะ ๔ วิสังโยคะ ๔ เจโตขีละ ๕ อินทรีย์ ๕
อคารวะ ๖ คารวะ ๖ อสัทธรรม ๗ สัทธรรม ๗ กุสีตวัตถุ ๘ อารัพภ-
วัตถุ ๘ อาฆาตวัตถุ ๙ อาฆาตปฏิวินัย ๙ อกุศลกรรมบถ ๑๐ กุศลกรรมบถ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 464
๑๐ ตกเป็นธรรม อย่างละ ๒ มีประเภทดังที่กล่าวมาน เหล่านี้ บัณฑิต
พึงทราบว่า แทงตลอดได้ยาก. สองบทว่า สงฺขตา ธาตุ ความว่า ขันธ์ห้า
อันปัจจัยทั้งหลาย กระทำแล้ว. สองบทว่า อสงฺขตา ธาตุ ความว่า พระ-
นิพพาน อันปัจจัยทั้งหลายมิได้กระทำ. พึงทราบวินิจฉัยในสองบทนี้ว่า
วิชฺชา จ วิมุตฺติ จ ดังต่อไปนี้ วิชชา ๓ ชื่อว่า วิชชา อรหัตตผล ชื่อว่า
วิมุตติ. ในวาระนี้ คุณพิเศษทั้งหลายมีอภิญญาเป็นต้น ก็เป็นเหมือนกับ
คุณพิเศษอย่างหนึ่ง ๆ. ส่วนมรรคท่านกล่าวไว้ในบทที่ควรให้บังเกิดขึ้น.
ผล ท่านกล่าวไว้ในบทที่ควรกระทำให้แจ้ง.
อนาคามิมรรค ท่านประสงค์เอาว่า เนกขัมมะ. ในคำนี้ ว่า คุณชาต
คือเนกขั่มมะนั่นเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลายดังนี้ . จริงอยู่ อนาคามิ-
มรรคนั้น เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งกามทั้งหลายโดยประการทั้งปวง. อรหัต-
มรรค ย่อมมีแม้ในอรูป ในคำนี้ว่า คุณชาตคืออรูปนั้น เป็นเครื่องสลัด
ออกซึ่งรูปทั้งหลาย ดังนี้ . อรหัตมรรค ชื่อว่าเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งรูป
ทั้งหลายโดยประการทั้งปวง เพราะห้ามความบังเกิดขึ้นอีก. หลายบทว่า
นิโรโธ ตสฺส นิชสฺสรณ ความว่า อรหัตตผล ท่านประสงค์เอาว่า เป็น
นิโรธ ในพระศาสนานี้. จริงอยู่ ครั้นเมื่อพระนิพพานอันพระอรหัตตผล
เห็นแล้ว สังขารทั้งปวงก็ย่อมไม่มีอีกต่อไป เพราะเหตุนั้น พระอรหัตต์ ท่าน
จึงกล่าวว่า เป็นนิโรธ เพราะเป็นปัจจัยแห่งสังขตะนิโรธ. บทว่า อตีต
สาณ ความว่า ญาณอันมีอดีตเป็นอารมณ์. แม้ในญาณนอกนี้ ก็นัยนี้
เหมือนกัน. แม้ในวาระนี้ อภิญญาเป็นต้น ก็เป็นเหมือนกับคุณวิเสสอย่าง
หนึ่งๆ. ก็ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่แทงตลอดได้โดยยาก. กล่าวผลไว้ใน
บทที่ควรกระทำให้แจ้ง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 465
พึงทราบวินิจฉัยในสองนี้ว่า จตฺตาริ จกฺกานิ ดังนี้ต่อไป
ธรรมดาว่า จักรมี ๕ อย่างคือ จักรคือไม้ ๑ จักรคือแก้ว ๑ จักรคือธรรม ๑
จักรคืออิริยาบถ ๑ จักรคือสมบัติ ๑ บรรดาจักรเหล่านั้น จักรนี้คือ แนะ
นายช่างรถผู้สหาย ก็ล้อนี้สำเร็จแล้วโดย ๖ เดือน หย่อน ๖ ราตรี ชื่อว่า
จักรคือไม้ ฯ จักรนี้คือ บุคคลให้เป็นไปตามจักร อันบิดาให้เป็นไปทั่วแล้ว
ชื่อว่า จักรคือแก้ว. จักรนี้คือ จักรอันเราให้เป็นไปทั่วแล้ว ชื่อว่า จักร
คือธรรม. จักรนี้คือ อวัยวะ อันมีจักร ๔ มีทวาร ๙ ชื่อว่า จักรคือ
อิริยาบถ. จักรนี้คือ ภิกษุทั้งหลายจักร ๔ ย่อมเป็นไปทั่งแก่เทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยจักร ๔ เหล่าใด จักร ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า
จักรคือสมบัติ. จักรคือสมบัตินั้นนั่นแหละ ท่านประสงค์เอาแม้ในที่นี้. บทว่า
ปฏิรูปเทสวาโส ความว่า บริษัท ๔ ย่อมปรากฏในที่ใด การอยู่ในประเทศ
อันสมควรเป็นปานนั้น ในที่นั้น. บทว่า สปฺปุริสูปนิสฺสโย ความว่า
การพึ่ง คือ การเสพ การคบ ได้แก่การเข้าไปนั่งใกล้ สัตบุรุษทั้งหลายมี
พระพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า อติตสมฺมาปณิธิ ความว่า การตั้งตนไว้ชอบ.
ก็ถ้าว่า บุคคล เป็นผู้ประกอบแล้ว ด้วยโทษทั้งหลายมีความเป็นผู้ไม่มี
ศรัทธาเป็นต้น ในกาลก่อน การละซึ่งโทษมีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็น
ต้นเหล่านั้นแล้ว ดำรงอยู่ในคุณมีศรัทธาเป็นต้น. สองบทว่า ปุพฺเพ จ
กตปุญฺาตา ความว่า ความเป็นผู้มีกุศลอันตนสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
คุณชาตคือความเป็นผู้มีกุศลอันตนสั่งสมไว้แล้ว ในกาลก่อนนี้นั่นแหละ
เป็นประมาณในที่นี้. จริงอยู่ กุศลกรรม ย่อมเป็นกรรมอันบุรุษ กระทำ
ด้วยญาณสัมปยุตตจิตใด ญาณสัมปยุตตจิตนั้น นั่นแหละ อันเป็นกุศล
ย่อมนำบุรุษนั้นไปในประเทศ อันสมควรคือ ให้คบสัตบุรุษทั้งหลาย. อนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 466
บุคคลนั้นนั่นแลชื่อว่าตั้งตนไว้โดยชอบแล้ว. โลกิยะที่หนึ่งเที่ยวท่านกล่าว
ไว้ในอาหาร ๔. ส่วนที่เหลือท่านกล่าวไว้ในสังคีติสูตร ว่าเจือด้วยโลกิยะ
และโลกุตตระ. ท่านกล่าว โลกิยะทั้งหลายเทียวไว้ในส่วนเบื้องต้น ในที่นี้.
บัณฑิตพึงทราบธรรมทั้งหลายมีกามโยคะ และกามวิสังโยคะเป็นต้น ด้วย
สามารถแห่งอนาคามิมรรคเป็นต้น. สัญญาและมนสิการ อันสหรคตด้วย
กาม ย่อมกลุ้มรุมบุคคลผู้ได้ปฐมฌานในธรรมที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม
เป็นต้น สมาธิก็เป็นหานภาคิยะ ( เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ) สติ อันคล้อย
ตามสมาธินั้น ย่อมตั้งมั่น สมาธิ จึงเป็นฐิติภาคิยะ สัญญาและมนสิการ
อันสหรคตด้วยอวิตก ย่อมปรากฏ สมาธิ ก็เป็นวิเสสภาคิยะ สัญญาและ
มนสิการ อันสหรคตด้วยนิพพิทาย่อมปรากฏ สมาธิก็เป็นนิพเพธภาคิยะ
อันวิราคะเข้าปรุงแล้ว เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึง ยังสมบัติทั้งปวงให้พิสดาร
แล้วทราบเนื้อความโดยนัยนี้ . ส่วนในวิสุทธิมรรค ท่านกล่าววินิจฉัยกถา
เนื้อความนั้นไว้แล้ว. แม้ในวาระนี้. อภิญญาเป็นต้น ก็เป็นเหมือนกับคุณ
วิเสสอย่างหนึ่งๆ. ก็มรรคท่านกล่าวไว้ในที่นี้ในอภิญญาบท. กล่าวผล
ไว้ในบทที่ควรกระทำให้แจ้ง.
พึงทราบวินิจฉัยในปีติแผ่ไปเป็นต้นต่อไป. ปีติ เมื่อแผ่ไปย่อม
เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปีติแผ่ไป. สุข เมื่อ
แผ่ไปย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่า สุขแผ่ไป.
ปัญญาเมื่อแผ่ไปสู่ใจของชนเหล่าอื่น บังเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น ปัญญา
ที่กำหนดรู้ใจ ชื่อว่าใจแผ่ไป. ปัญญา บังเกิดขึ้นในแสงสว่างแผ่ไป เพราะ
เหตุนั้น ปัญญา ในทิพยจักษุ ชื่อว่า แสงสว่างแผ่ไป. ญาณเป็นเครื่อง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 467
พิจารณา ชื่อว่า นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา. สมจริง ดังคำที่ท่านกล่าวไว้
ดังนี้ว่า ปัญญาในฌาน ๒ ชื่อว่า ปีติแผ่ไป ปัญญาในฌาน ๓ ชื่อว่า
สุขแผ่ไป ปัญญา ในจิตของผู้อื่น (รู้ใจของผู้อื่น) ชื่อว่า ใจแผ่ไป
ทิพยจักษุ ชื่อว่า แสงสว่างแผ่ไป ญาณเป็นเครื่องพิจารณา ของท่านผู้
ออกจากสมาธินั้น ๆ ชื่อว่า นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา. บรรดาบทเหล่านั้น
ปีติแผ่ไป สุขแผ่ไป เปรียบเหมือนเท้าทั้ง ๒. ใจแผ่ไป แสงสว่างแผ่ไป
เปรียบเหมือนมือทั้ง ๒. ฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา เปรียบเหมือนกาย
ท่อนกลาง นิมิตเป็นเครื่องพิจารณา เปรียบเหมือนศีรษะ. ท่านพระสารี-
บุตรเถระ แสดงสัมมาสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ กระทำให้เป็นเหมือน
บุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ ด้วยประการฉะนี้. สมาธิในอรหัตผล
ท่านประสงค์เอาในคำเป็นต้นว่า สมาธิ นี้เป็นสุขในปัจจุบัน ด้วยนั่นเทียว.
จริงอยู่ สมาธิในอรหัตผลนั้น ชื่อว่า สุขในปัจจุบัน. เพราะเป็นสุขใน
ขณะที่บรรลุแล้ว ๆ. สมาธิ ต้น ๆ เป็นวิบากแห่งสุขต่อไป เพราะเป็น
ปัจจัยแห่งสุขในสมาธิหลัง ๆ ที่ชื่อว่า อริยะ เพราะความเป็นผู้ห่างไกล
จากกิเลสทั้งหลาย. ที่ชื่อว่า นิรามิส เพราะความไม่มีแห่งอามิสคือ กาม
อามิส คือ วัฏฏะและอามิสคือโลก. ที่ชื่อว่า ไม่เสพคนชั่ว เพราะความ
เป็นผู้เสพมหาบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น. ที่ชื่อว่า สัตบุรุษ
เพราะอวัยวะสงบ เพราะอารมณ์สงบ และเพราะความกระวนกระวาย คือ
กิเลสทั้งปวงสงบ. ที่ชื่อว่าประณีต เพราะอรรถว่าไม่เดือดร้อน. ที่ชื่อว่า
ได้ความสงบระงับ เพราะได้ความสงบระงับกิเลส หรือเพราะได้ซึ่งความเป็น
คือสงบระงับกิเลส. จริงอยู่ สองบทนี้คือ ปฏิปฺปสฺสทฺธ ปฏิปฺปสฺสทฺธิ
โดยเนื้อความก็เป็นอันเดียวกัน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ได้ความสงบระงับ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 468
เพราะความที่พระอรหันต์ผู้มีกิเลสสงบระงับได้แล้ว. ที่ชื่อว่า บรรลุความ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ( การเข้าสมาธิที่มีจุดหมายเป็นหนึ่ง ) เพราะบรรลุ
โดยเอโกทิภาวะ หรือเพราะบรรลุซึ่งเอโกทิภาวะ. ชื่อว่า บรรลุเอโกทิภาวะ
เพราะอันพระโยคาวจร ข่มปัจจนีกธรรมห้ามกิเลส แล้วไม่บรรลุด้วยสัมป-
โยคจิต อันเป็นสสังขาร เหมือนสาสวะสมาธิ อันมีคุณน้อย ฉะนั้น และ
เพราะไม่ข่มสัมปโยคจิต อันเป็นสสังขาร ห้ามไว้. อนึ่ง พระโยคาวจร
เมื่อเข้าสมาธินั้น หรือ เมื่อออกจากสมาธินั้น ย่อมมีสติเข้าเทียว ย่อมมี
สติออกเทียว เพราะความเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ. อีกอย่างหนึ่ง
พระโยคาวจร ชื่อว่า มีสติเข้า มีสติออก ด้วยสามารถแห่งกาลตามที่ตน
กำหนดไว้. เพราะเหตุนั้นในที่นี้ เมื่อพระโยคาวจรพิจารณาอย่างนี้ว่า สมาธิ
นี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ดังนี้ อปรปัจจยญาณ อันเป็น
ของเฉพาะตนนั่นเอง ย่อมเกิดขึ้น อปรปัจจยญาณนั้นเป็นองค์อย่างหนึ่ง.
แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. สมาธินี้ ท่านเรียกว่า สัมมาสมาธิ
ประกอบด้วยญาณ ๕ ด้วยปัจจเวกขณญาณ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.
ในวาระนี้ ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่เป็นส่วนแห่งคุณวิเสส. กล่าวผลไว้
ในบทที่ควรกระทำให้แจ้ง. คำที่เหลือ เหมือนกับคำต้นนั่นแล. คำทั้งปวง
ในหมวด ๖ มีเนื้อความชัดทั้งนั้น. ก็ท่านกล่าวมรรคไว้ในที่นี้ ในบทว่า
แทงตลอดได้ยาก. คำที่เหลื่อ เหมือนกับคำต้น.
หลายบทว่า สมฺมปฺปญฺญาย สุทิฏฺา โหนฺต ความว่า ย่อม
เป็นผู้เห็นดี ด้วยวิปัสสนาญาณ โดยเหตุทั้ง ๒. บทว่า กามา คือ วัตถุกาม
และกิเลสกาม. กามแม้ทั้งสองเป็นสภาพอันพระโยคาวจรเห็นด้วยดี เหมือน
หลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า มีความเร่าร้อน. บทว่า วิเวกนินฺน ความว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 469
น้อมไปพระนิพพาน. คำว่า โน้มไป เงื้อมไป นั่น เป็นไวพจน์ของการ
น้อมไป. บทว่า พฺยนฺตีภูต ความว่า ผู้มีที่สุดอันควรนำไปไปปราศแล้ว
อธิบายว่า ผู้มีตัณหาออกแล้ว. ด้วยธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดย
ประการทั้งปวง แต่ไหน อธิบายว่า ด้วยธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓. ในที่นี้
ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่ควรเจริญ คำที่เหลือ เหมือนกับคำต้นนั่นแล.
สองบทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกาย ปญฺาย ความว่า แห่งสมถะ และ
วิปัสสนาปัญญา อย่างอ่อนในส่วนเบื้องต้น เพราะเป็นเบื้องต้นแห่งมรรค
พรหมจรรย์ สงเคราะห์ด้วยไตรสิกขา. อีกอย่างหนึ่ง แห่งปัญญาในสัมมา-
ทิฏฐิ อันเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคมีองค์ ๘. บทว่า ติพฺพ คือ มีกำลัง.
บทว่า หิโรตฺตปฺป ได้แก่ หิริและโอตตัปปะ. บทว่า เปม ได้แก่ ความ
รักอาศัยเรือน. บทว่า คารโว ได้แก่ ความเป็นผู้มีจิตหนัก. จริงอยู่ เมื่อ
บุคคลเข้าไปอาศัย บุคคลผู้ควรแก่การเคารพ กิเลสทั้งหลาย่อมไม่บังเกิด
ขึ้น เขาผู้นั้น ย่อมได้โอวาทและคำพร่ำสอน เพราะเหตุนั้น การอาศัย
บุคคลผู้นั้นอยู่ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการได้ปัญญา. พึงทราบวินิจฉัยในอขณะ
ต่อไป. เพราะเหตุที่พวกเปรตถึงอาวาหะ ถึงวิวาหะ กับพวกอสูร ฉะนั้น
อสุรกาย บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วยปิตติวิสัยนั่นเอง ( วิสัยแห่ง
เปรต ). พึงทราบวินิจฉัยในคำนี้ว่า อปฺปิจฺฉสฺส ต่อไป ความปรารถนา
น้อย ๔ อย่าง คือ ความปรารถนาน้อยในปัจจัย ๑ ความปรารถนาน้อยใน
คุณธรรมเป็นเครื่องบรรลุ ๑ ความปรารถนาน้อยในปริยัติ ๑ ความปรารถนา
น้อยในธุดงค์ ๑. บรรดาความปรารถนาน้อยเหล่านั้น บุคคลผู้ปรารถนา
น้อยด้วยปัจจัย เมื่อเขาให้มากก็รับเอาแต่น้อย เมื่อเขาให้น้อยก็รับเอาน้อย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 470
กว่า หรือว่า ไม่รับเอาเลย ย่อมเป็นผู้ไม่รับเอาโดยไม่เหลือไว้. บุคคลผู้
ปรารถนาน้อยในคุณธรรมเป็นเครื่องบรรลุ ย่อมไม่ให้ชนเหล่าอื่นรู้คุณ-
ธรรมเป็นเครื่องบรรลุของตน เหมือนพระมัชฌันติกเถระ ฉะนั้น. บุคคล
ผู้ปรารถนาน้อยโนปริยัติ แม้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก ก็ไม่ปรารถนาที่จะให้
คนอื่นรู้ว่าตนเป็นพหูสูต เหมือนพระสาเกตติสสะเถระฉะนั้น. บุคคลผู้
ปรารถนาน้อยในธุดงค์ ย่อมไม่ให้ชนเหล่าอื่นรู้ถึงการบริหารธุดงค์ เหมือน
พระเชฏฐกะเถระ ในพระเถระผู้พี่น้องชายกัน ๒ องค์ ฉะนั้น. ท่านกล่าว
เรื่องไว้ในวิสุทธิมรรคแล้ว. สองบทว่า อย ธมฺโม ความว่า โลกุตตร-
ธรรม ๙ นี้ ย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย เพราะซ่อนเร้นคุณ
ที่มีอยู่อย่างนี้ และเพราะความเป็นผู้รู้จักประมาณในการรับ หาสำเร็จแก่
บุคคลผู้อยากใหญ่ไม่. บัณฑิตพึงประกอบคำในที่ทั้งปวงด้วยประการฉะนี้.
บทว่า สนฺตุฏฺสฺส ความว่า ผู้สันโดษ ด้วยความสันโดษ ๓ อย่างใน
ปัจจัย ๔. ปวิวิตฺตสฺส ความว่า ผู้สงัดแล้วด้วยกายวิเวก จิตตวิเวก และ
อุปธิวิเวก. บรรดาวิเวกเหล่านั้น ความเป็นผู้บรรเทาการระคนด้วยหมู่
เป็นอยู่ผู้เดียว ด้วยสามารถแห่งอารัพภวัตถุ ๘ ชื่อว่า กายวิเวก. ก็กรรมย่อม
ไม่สำเร็จด้วยเหตุสักว่าความเป็นอยู่ผู้เดียว เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจร
กระทำการบริกรรมกสิณแล้ว ยังสมาบัติ ๘ ให้เกิด อันนี้ชื่อว่า จิตตวิเวก.
กรรม ย่อมไม่สำเร็จ ด้วยเหตุสักว่าสมาบัติเท่านั้น เพราะเหตุนั้น พระ
โยคาวจรกระทำฌานให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว บรรลุ
อรหัตต์พร้อมทั้งปฏิสัมภิทาทั้งหลาย อันนี้ชื่อว่า อุปฐิวิเวก. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า กายวิเวก ย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายอันตั้งอยู่
ในความสงัด ผู้ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ จิตตวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิต
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 471
บริสุทธิ์ ผู้ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง และอุปธิวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้หมด
อุปธิ ผู้ถึงความเป็นวิสังขาร ดังนี้.
บทว่า สงฺคณิการามสฺส ความว่า ผู้ยินดีอยู่ ด้วยการระคนด้วย
หมู่ และด้วยการระคนด้วยกิเลส. บทว่า อารทฺธวิริยสฺส ความว่า ผู้
ปรารภความเพียร ด้วยสามารถแห่งความเพียร ที่เป็นไปทางกาย และ
เป็นไปทางจิต. บทว่า อุปฏฺิตสฺสติสฺส ความว่า ผู้มีสติตั้งมั่นด้วย อำนาจ
แห่งสติปัฏฐาน ๔. บทว่า สมาหิตสฺส ความว่า ผู้มีจิตมีอารมณ์เลิศเป็นหนึ่ง.
บทว่า ปญฺวโต ความว่า ผู้มีปัญญา ด้วยกัมมัสสกตาปัญญา. บทว่า
นิปฺปปญฺจสฺส ความว่า ผู้มีความเนิ่นช้า คือ มานะ ตัณหาและทิฏฐิ
ไปปราศแล้ว. ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่ควรเจริญในที่นี้. คำที่เหลือ
เหมือนกับคำต้นนั่นแล.
บทว่า สีลวิสุทฺธิ ความว่า ปาริสุทธิศีล ๔ สามารถที่จะให้สัตว์
ถึงความหมดจดได้. บทว่า ปาริสุทฺธิปธานิยงฺค ความว่า องค์อันเป็น
ประธานแห่งภาวะความบริสุทธิ์. บทว่า จิตฺตวิสุทฺธิ ความว่า สมาบัติอัน
ช่ำชอง ๘ อย่าง เป็นปทัฏฐานแห่ง วิปัสสนา. บทว่า ทิฏฺิวิสุทฺธิ ความว่า
การเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย. บทว่า กงฺขาวิตรณวิสุทฺธิ ได้แก่ความรู้
ในปัจจยาการ. จริงอยู่ เมื่อบุคคลเห็นว่า ธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นไป ด้วย
อำนาจแห่งปัจจัย แม้ในกาลทั้ง ๓ นั่นเอง ดังนี้ ย่อมข้ามความสงสัยเสีย
ได้. บทว่า มคฺคามคฺคาณทสฺสนวิสุทฺธิ ได้แก่ ความรู้ว่า ทางมิใช่
ทางอย่างนี้ว่า อุปกิเลสมีแสงสว่างเป็นต้น มิใช่ทาง อุทยัพยญาณ อันดำ
เนินไปสู่วิถี เป็นหนทาง ( บรรลุ ) ดังนี้ .
บทว่า ปฏิปทาาณทสฺสนวิสุทฺธิ ความว่า วิปัสสนาอันเป็น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 472
วุฏฐานคามินี ท่านกล่าวไว้ในรถวินีตวัตถุ วิปัสสนาอย่างอ่อนท่านกล่าวไว้
ในที่นี้. บทว่า าณทสฺสนวิสุทฺธิ ความว่า ท่านกล่าวมรรคไว้ในรถวินี-
ตวัตถุ กล่าววุฏฐานคามินีวิปัสสนาไว้ในที่นี้. ก็วิสุทธิแม้ทั้ง ๗ เหล่านั้น
ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค โดยพิสดารแล้ว. บทว่า ปญฺา ได้แก่ปัญญา
ของพระอรหัตผล. บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ ความหลุดพ้นของพระอรหัตผล
นั่นเอง. หลายบทว่า ธาตุนานตฺต ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ ผสฺสนานตฺต
ความว่าเพราะอาศัยความเป็นต่างกันแห่งธาตุมีจักขุธาตุ เป็นต้น ความเป็น
ต่างกันแห่งจักขุสัมผัสเป็นต้นจึงบังเกิดขึ้น ดังนี้. สองบทว่า ผสฺสนานตฺต
ปฏิจฺจ ความว่า เพราะอาศัยความเป็นต่างกัน แห่งจักขุสัมผัสเป็นต้น.
บทว่า เวทนานานตฺต ความว่า ความเป็นต่างกันแห่งเวทนา มีจักขุ
สัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น. สองบทว่า สญฺานานตฺต ปฏิจฺจ ความว่า
เพราะอาศัยความเป็นต่างกันแห่งสัญญา มีกามสัญญาเป็นต้น. บทว่า
สงฺกปฺปนานตฺต ความว่า ความเป็นต่างกันแห่งความดำริมีความดำริในกาม
เป็นต้น หลายบทว่า สงฺกปฺปนานตฺต ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ ฉนฺทนานตฺต
ความว่า ความเป็นต่างกันแห่งความพอใจ ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างนี้ว่าความ
พอใจในรูป ความพอใจในเสียง เพราะความเป็นต่างกันแห่งความดำริ.
บทว่า ปริฬาหนานตฺต ความว่า ความเป็นต่างกันแห่งความเร่าร้อน ย่อม
เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ความเร่าร้อนในรูป ความเร่าร้อนในเสียง ย่อมมีเพราะ
ความเป็นต่างกันแห่งความพอใจ. บทว่า ปริเยสนานานตฺต ความว่า
ความเป็นต่างกันแห่งการแสวงหารูปเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะความเป็น
ต่างกันแห่งความเร่าร้อน. บทว่า ลาภนานตฺต ความว่า ความเป็นต่างกัน
แห่งการได้เฉพาะซึ่งรูปเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะความเป็นต่างกันแห่งการ
แสวงหา. พึงทราบวินิจฉัยในสัญญาทั้งหลายต่อไป. ที่ชื่อว่า มรณสญฺา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 473
ได้แก่ สัญญา ด้วยมรณานุปัสสนาญาณ. ที่ชื่อว่า อาหาเร ปฏิกูลสญฺา
ได้แก่ สัญญา อันบังเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้กำหนดอาหาร. ที่ชื่อว่า สพฺพโลเก
อนภิรตสญฺา ได้แก่สัญญาอันบังเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่พอใจในวัฏฏะ
ทั้งปวง. สัญญาที่เหลือ ท่านกล่าวไว้ในวิปัสสนา ในหนหลังนั้นแล
ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่มีอุปการะมาก ในที่นี้. คำที่เหลือ เหมือนกับ
คำต้นนั่นแล.
บทว่า นิชฺชิณฺณเวตฺถูนิ ได้แก่ เหตุที่หมดแรง. หลายบทว่า
มิจฺฉาทิฏิ นิชฺชิณฺณา โหติ ความว่า มิจฉาทิฏฐิ นี้หมดแรง คือ
อันบุคคลผู้เห็นชอบ ละได้แล้วด้วยวิปัสสนาในหนหลัง เพราะเหตุไร ท่าน
จึงจัดไว้อีก. แก้ว่า เพราะยังตัดไม่ได้. จริงอยู่ มิจฉาทิฏฐิ ย่อมหมดแรง
ด้วยวิปัสสนา แม้ก็จริง ถืออย่างนั้น อันพระโยคาวจรก็ยังตัดไม่ได้. ก็มรรค
บังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมตัดมิจฉาทิฏฐินั้น ไม่ให้ออกไปอีก เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงจัดไว้อีก. บัณฑิตพึงนำนัยในบททั้งปวง ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง
ในที่นี้ ธรรม ๖๔ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นโดยชอบ
เป็นปัจจัย. ธรรม ๖๔ เป็นไฉน. ธรรม ๖๔ เป็นอย่างละ ๘ ๆ ในมรรค ๔
ผล ๔ ถึงความบริบูรณ์ อย่างนี้คือ ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค สัทธินทรีย์
ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรรถคือ อธิโมกข์ วิริยินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ ด้วยอรรถคือ
การยกย่อง สตินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ ด้วยอรรถคือการระลึกถึง สมาธินทรีย์
ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรรถคือ ความไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์
ด้วยอรรถคือการเห็น มนินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ ด้วยอรรถคือ การรู้แจ้ง
โสมนัสสินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรรถคือ ความเพลิดเพลินยิ่ง ชีวิตินทรีย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 474
ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรรถคือความเป็นใหญ่แห่งการสืบต่อยังเป็นไป ฯลฯ ใน
ขณะแห่งอรหัตตผล สัทธินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ ด้วยอรรถคืออธิโมกข์ ฯลฯ
ชีวิตินทรีย์ ย่อมบริบูรณ์ด้วยอรรถคือความเป็นใหญ่แห่งการสืบอยู่เป็น
ไป. ในที่นี้ ท่านกล่าวมรรคไว้ในบทที่ควรรู้ยิ่ง. คำที่เหลือเหมือนกับคำต้น
นั่นแล. ภิกษุดำรงในพระศาสนานี้แล้ว พึงประชุมปัญหา ดังนี้ . ย่อม
เป็นอันท่านกล่าวปัญหา ๕๕๐ ปัญหา คือ กล่าว ๑๐๐ ปัญหา ในหมวด ๑๐
กล่าว ๑๐๐ ปัญหา ในหมวดหนึ่ง และหมวดเก้า กล่าว ๑๐๐ ปัญหา
ในหมวดสอง และหมวดแปด กล่าว ๑๐๐ ปัญหา ในหมวดสาม และ
หมวดเจ็ด กล่าว ๑๐๐ ปัญหา ในหมวดสี่ และหมวดหก กล่าว ๕๐ ปัญหา
ในหมวดห้า.
ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวคำนี้แล้ว พวกภิกษุเหล่านั้น แช่มชื่นใจ
เพลิดเพลินภาษิต ของท่านพระสารีบุตร เพลิดเพลินอยู่ด้วยกล่าวว่า ดีละ
ดีละ ดังนี้แล้ว รับไว้ด้วยเศียรเกล้า. ก็แล พวกภิกษุแม้ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น
นึกถึงอยู่ซึ่งพระสูตรนี้นั่นเอง ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัตต์ พร้อมทั้งปฏิสัมภิทา
ทั้งหลายแล้ว ก็เพราะความที่ตนมีใจแช่มชื่นนั้น ดังนี้แล.
พรรณนาความในทสุตตรสูตรแห่งอรรถกถา
ทีฆนิกาย ชื่อว่า สุมังคลวิลาสินี จบแล้ว
ด้วยประการฉะนี้
หมวด ๑๑ จบ
การพรรณนาปาฏิกวรรคก็จบแล้วดังนี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 475
อนึ่ง ข้าพเจ้าผู้อันพระทาฐานาคสังฆเถระ ผู้อยู่ในบริเวณอันเป็น
มงคลดี ผู้มีคุณอันมั่นคง ผู้ชื่อว่าเถระวงศ์ อ้อนวอนแล้วด้วยคำมีประมาณ
เท่านี้ ปรารภอรรถกถาใด ชื่อว่า สุมังคลวิลาสินี โดยชื่อ แห่งคัมภีร์ยาว
อันประเสริฐ อันแสดงซึ่งหมู่แห่งคุณของพระทศพล ก็อรรถกถานั้น อัน
ข้าพเจ้าถือเอาสาระ ในมหาอรรถกถาให้จบลงแล้ว. อรรถกถานั้น จบลง
แล้วด้วยภาณวารทั้งหลาย แห่งบาลีประมาณ ๘๑. แม้วิสุทธิมรรคอันมี
ประมาณ ๕๙ อันข้าพเจ้ารจนา คัมภีร์ไว้ ก็เพื่อประโยชน์แก่การประกาศ
เนื้อความ โดยภาณวารทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น อรรถกถานี้ พร้อมทั้ง
วิสุทธิมรรคนั้น อันข้าพเจ้านับกำหนดดีแล้ว ด้วยการนับภาณวารจึงเป็น
๑๔๐. ว่าโดยภาณวาร คำทั้งปวงประมาณ ๑๔๐ หมวด ด้วยประการ
ฉะนี้.
ข้าพเจ้าผู้ถือเอสาระในมูลอรรถกถา อันประกาศลัทธิ แห่งพระ-
เถระผู้อยู่ในมหาวิหารกระทำกรรมนี้ เข้าไปก่อบุญใดไว้ ด้วยบุญนั้น ขอ
ชาวโลกทั้งมวลจงมีสุขเถิด ดังนี้แล.
อรรถกถาแห่งทีฆนิกาย ชื่อว่า สุมังคลวิลาสินีนี้ อันพระเถระผู้มี
นามไธย อันครูทั้งหลาย ขนานว่า พุทธโฆษะ ผู้ประดับด้วยศรัทธา ความ
รู้และความเพียรอันหมดจดยิ่ง ผู้อันคุณสมุทัย มีศีล อาจาระ ความซื่อตรง
และความเป็นคนอ่อนเป็นต้น ตั้งขึ้นแล้ว ผู้สามารถในการศึกษาเล่าเรียน
ลัทธิของตนและลัทธิอื่น ผู้ประกอบด้วยความฉลาดด้วยปัญญา ผู้มีอำนาจ
แห่งญาณอันอะไร ๆ ไม่ขจัดแล้วในพระศาสนาของพระศาสดาพร้อมด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 476
อรรถกถาอันต่างโดยการศึกษาพระไตรปิฎก ผู้เป็นนักไวยากรณ์ใหญ่
ผู้ประกอบด้วยความสุขอันกรณสมบัติให้เกิดแล้วและความงามแห่งถ้อยคำ
อันคล่องแคล่ว อ่อนหวานไพเราะ ผู้พูดคำที่ควร และพ้น ( จากโทษ )
ผู้เป็นนักพูดประเสริฐ ผู้เป็นมหากวี ผู้มีความรู้อันไพบูลย์ หมดจด อัน
เป็นเครื่องประดับวงศ์ แห่งพระเถระทั้งหลาย ผู้แสดงเถระวงศ์ ผู้มีปกติ
อยู่ในมหาวิหาร ผู้มีความรู้อันตั้งมั่นดีแล้ว ในอุตตริมนุสสธรรม อัน
ประดับแล้วด้วยคุณ มีอภิญญา ๖ เป็นต้น เป็นประเภท อันมีปฏิสัมภิทา
อันตนแตกฉานแล้วเป็นบริวาร รจนาแล้ว
แม้พระนามว่า พุทฺโธ ของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ผู้มีจิตหมดจด ผู้คงที่ ผู้เจริญที่สุด
ในโลก ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ยังเป็นไป
อยู่ในโลกเพียงใด ขออรรถกถาชื่อว่าสุมังคล-
วิลาสินีนี้ อันแสดงอยู่ซึ่งนัย เพื่อความหมด
จดแห่งทิฏฐิ ของกุลบุตรทั้งหลาย ผู้แสวงหา
เครื่องสลัดออกจากโลก จงดำรงอยู่ในโลภ
เพียงนั้นเทอญ.
อนึ่ง การพรรณนาเนื้อความแห่งอรรถกถา
ทีฆนิกายก็จบลงแล้ว.